CU Around จุฬาสัมพันธ์ ฉบับที่ 10 ปีที่ 61

Page 1


CU feature | 2

สองพระมหากษัตริย์

“พระบรมราชูปถัมภกของจุฬาฯ”

“.....จุฬาลงกรณ์ หาได้เป็นแต่เพียงชื่อมหาวิทยาลัยนี้เท่านั้นไม่ ยังเป็นนามของผู้พระราชทานก�ำเนิดของสถานที่แห่งนี้ด้วย ฉะนั้นจึง เป็นการจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับเป็นผู้ที่ ได้รับการอบรมสั่งสอนไปจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้….” ความตอนหนึ่ ง ในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็ จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานแก่บัณฑิตจุฬาฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2493 แสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ของพระมหากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ผู้ทรงเป็น ”พระบรมราชูปถัมภกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” คือ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผูพ้ ระราชทานก�ำเนิดมหาวิทยาลัย แห่งนี้เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย และพระบาท

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชผูท้ รงเป็นทีร่ กั ยิง่ ของพสกนิกร ชาวไทยและได้เสด็จพระราชด�ำเนินมายังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสต่างๆ เสมอมา ในเดือนตุลาคมนี้ตรงกับวาระครบรอบ 150 ปีที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 150 ปี และในเดือนนี้มีวันส�ำคัญคือวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ล อดุลยเดช สองพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีผู้ทรงสถิตอยู่ในหัวใจ ของอาณาประชาราษฎร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมต่างๆเพื่อน้อมร�ำลึกใน พระมหากรุณาธิคุณของทั้งสองพระองค์เนื่องในโอกาสอันส�ำคัญยิ่งนี้


กิจกรรมน้อมร�ำลึกถึง พระบรมราชูปถัมภกของจุฬาฯ ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยและอดีตอธิการบดีจุฬาฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงปฏิรปู ประเทศไทย ทรงวางรากฐานการศึกษา ไม่เฉพาะแต่เพียงจุฬาฯ เท่านั้น แต่ทรงวางรากฐานระบบอุดมศึกษาทั้งประเทศ การที่นิสิตจุฬาฯ จ�ำนวนมากเข้าร่วมพิธีถวายบังคมในวันปิยมหาราชเป็นประจ�ำทุกปีนั้น เพื่อแสดงกตัญญุตาและ ร�ำลึกถึงความดีของพระองค์ท่าน ท�ำให้เห็นว่าความดีไม่มีเสื่อมสูญ แม้เวลาจะล่วงเลยผ่านมา เนิน่ นานเพียงใด ดังนัน้ จึงเป็นหน้าทีข่ องเราทีต่ อ้ งรักษาความดี โดยมีพระองค์ทา่ นเป็นแบบอย่าง เชื่อมโยงมาถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทรงเห็นความส�ำคัญในเรื่องการศึกษา เป็นอย่างยิ่ง โดยเสด็จฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษาด้วยพระองค์เอง เพื่อให้ผู้รับพระราชทานปริญญาบัตรเกิดความภาคภูมิใจ พระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานให้ แก่จุฬาฯ ที่มากกว่าทางด้านกายภาพคือเรื่องของความเสมอภาคทางการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระมหากรุณาธิคณ ุ ต่อประชาชนชาวไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิง่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพัฒนาประเทศในมิติใหม่ ในด้านการศึกษา ทรงมีพระราชปณิธานให้การศึกษาลงไปถึงประชาชนทั่วไป ทรงให้ความส�ำคัญในเรื่องการ พัฒนาคน และทรงมีแนวคิดในการพระราชทานทุนการศึกษาให้คนได้มโี อกาสเล่าเรียนในระดับที่ สู ง ขึ้ น เพื่ อ พั ฒ นาชาติ ต ่ อ ไปแนวคิ ด นี้ ยั ง ใช้ ม าจนถึ ง ปั จ จุ บั น น� ำ มาซึ่ ง บทบาทของจุ ฬ าฯ ในการผลิตคนดีและคนเก่งโดยน้อมน�ำ แนวพระราชด�ำ ริข องพระบาทสมเด็จ พระปรมิน ทร มหาภูมพ ิ ลอดุลยเดช ในเรือ่ งของความชือ่ สัตย์สจุ ริตและพอเพียงมาใช้ ในการอบรมสัง่ สอนนิสติ เพื่อออกไปรับใช้สังคมไทยและสังคมโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ ชาวจุฬาฯ เคารพ เทิดทูนบูชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์อยู่ในจิตใจมิรู้ลืม

พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย ์ ทั้ ง ส อ ง พระองค์ ท รงเห็ น ความส� ำ คั ญ ของ การศึกษา ท�ำให้มีจุฬาฯ ในทุกวันนี้ ต ล อ ด เ ว ล า ที่ ผ ่ า น ม า ต น รู ้ สึ ก ภาคภูมิใจที่ ได้เรียนและท�ำงานเป็น อาจารย์ จุ ฬ าฯ ในฐานะที่ เ ป็ น ครู จะตั้ ง ใจท� ำ ความดี แ ละท� ำ หน้ า ที่ ค รู ให้ดีที่สุด ดังเช่นพระราชด�ำรัสของ พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหา ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชเกี่ ย วกั บ ความ เป็นครูทวี่ า่ “ถ้าครูไม่ทำ� หน้าทีข่ องครู ที่ ดี แ ล้ ว ใครจะให้ ป ั ญ ญาให้ ส ติ กั บ ลูกศิษย์”

ผศ.นววรรณ วุฒฑะกุล โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั ทรงวางรากฐานประเทศของ เราให้ มั่ น คงแข็ งแรงด้ ว ยการศึ ก ษา สืบต่อมาถึงพระบาทสมเด็จพระปรมิน ทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชซึง่ เสด็จ ฯ มา พระราชทานปริญญาบัตรที่จุฬาฯ ด้วยพระองค์เองโดยไม่รสู้ กึ เหนือ่ ยยาก พระองค์ ท รงสนพระราชหฤทั ย ใน อาชีพครู ทรงขอให้ครูท�ำหน้าที่ดูแล ลูกศิษย์โดยไม่หวังผลตอบแทน เพื่อ ให้เติบโตไปเป็นก�ำลังส�ำคัญในการ พัฒนาประเทศต่อไป การรับผิดชอบ งานให้ดีที่สุด เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ ลูกศิษย์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวาระพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 150 ปี ณ ศาลาพระจอมเกล้า วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร - 13.30 - 16.00 น. ปาฐกถาเฉลิมพระเกียรติ ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 150 ปี ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ

13 ตุลาคม 2561 - 10.00 น. พิธีบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ - 12.30 - 16.00 น. การเสวนาเฉลิมพระเกียรติ “70 ปี พระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าชาวไทย” ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรมจุฬาฯ

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ

อ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านเลขานุการกิจ พิธีการ และกิจการพิเศษ

1 ตุลาคม 2561 - 07.00 น. พิธีบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่

ญาณิศา สาคะศุภฤกษ์ นิสิตปี 4 คณะครุศาสตร์จุฬาฯ รองชนะเลิศการประกวด สุนทรพจน์อุดมศึกษา เฉลิมพระเกียรติ ปี 2560 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงเป็ น ที่ รั ก ยิ่ ง ของปวงชน ชาวไทย “พระเกี้ ย ว” สั ญ ลั ก ษณ์ ข อง มหาวิ ท ยาลั ย เป็ น ตั ว แทนของพระราช ปณิธานอันมุง่ มัน่ ในการบ่มเพาะบุคลากร ผู้มีความรู้ความสามารถออกไปรับใช้ ประเทศชาติและประชาชนชาวไทย พระราชปณิธานนีถ้ กู สานต่อโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ ท รงปฏิ บั ติ พ ระราชกรณี ย กิ จ เพื่ อ ส่งเสริมการศึกษา ทรงเป็นขวัญก�ำลังใจให้ แก่ ช าวจุ ฬ าฯ เมื่ อ ใดที่ ม องไปยั ง ตรา พระเกีย้ วและต้นจามจุรที แี่ ผ่กงิ่ ก้านสาขา อย่ า งงดงาม สมดั ง ค� ำ กล่ า วที่ ว ่ า “เกียรติภมู จิ ฬุ าฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ ประชาชน”

23 ตุลาคม 2561 - 07.30 น. และ 08.30 น. พิธวี างพวงมาลาถวาย

ราชสั ก การะพระบรมราชานุ ส าวรี ย ์ ฯ เนื่ อ งในวั น ปิยมหาราช ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล และลานพระราชวังดุสิต - 10.30 น. พิธีบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - 21.30 - 23.00 น. รายการพิเศษ “ปิยมหาราชานุสรณ์” จัดโดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ทีวี

คุณเอกชัย วรรณแก้ว โครงการบ้านศิลปะเอกชัย วรรณแก้ว เพื่อผู้ด้อยโอกาส ย้อนไปประมาณ 20 ปีทแี่ ล้วผมได้เห็น รูปในหลวง รัชกาลที่ 9 ครั้งแรก ที่ติดอยู่บน ฝาบ้าน พ่อจึงเล่าให้ฟังว่าพระองค์ท่าน คื อ ในหลวง จนเมื่ อ ได้ เ ข้ า เรี ย นหนั ง สื อ ชั้น ป. 4-5 มีการแข่งขันวาดรูปในหลวง โดย ต้องบอกเล่าความรู้สึกที่มีต่อพระองค์ท่าน ยิ่งได้ศึกษาประวัติของพระองค์ท�ำให้ซาบซึ้ง ในความเสียสละ เข้มแข็ง ท�ำทุกอย่างเพื่อ ประชาชนของท่านได้อย่างมากมาย พระองค์ ทรงท�ำ มากกว่ า พูด ผมจึงอยากท� ำอะไร สักอย่าง เพือ่ คืนโอกาสทีผ่ มได้มากลับคืนสู่ สังคม ด้วยการเปิดโครงการสอนศิลปะฟรี แก่ผู้ด้อยโอกาส เพราะในสังคมไทยยังมีผู้ที่ ขาดโอกาสอยู่อีกมาก


CU Issue | 4

บูรณาการความรู้เพื่อความยั่งยืนทางสังคม เรื่อง : กนกวรรณ ยิ้มจู ภาพ : กาญจนาภา วัฒนธรรม

Bangkok Forum เป็นการประชุมวิชาการนานาชาติที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยจัดขึ้นในโอกาสก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ตามวิสัยทัศน์ของการเป็น มหาวิทยาลัยระดับโลกทีม่ งุ่ สร้างองค์ความรูแ้ ละนวัตกรรม โดยเน้นให้เกิดการ สนทนา การอภิปรายและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆ รวมถึงแสวงหาหนทางทีจ่ ะพัฒนาความคิดเหล่านัน้ ให้กลายเป็นนโยบาย แนว ปฏิบตั ทิ ดี่ แี ละสามารถน�ำไปใช้ในชีวติ จริงได้ เพือ่ เตรียมความพร้อมให้ภมู ภิ าค เอเชียสามารถพัฒนาภายใต้ความร่วมมือและอาทรแก่กันและกันสู่อนาคตที่ ยั่งยืน การประชุม Bangkok Forum 2018 จึงตอบรับกระแสโลกที่ก�ำลัง ตื่นตัวกับกระบวนทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) โดยจะมุง่ เน้น “มิตทิ างสังคม” ของการพัฒนา ทีย่ งั่ ยืน ชูประเด็นแนวคิดการ “บูรณาการความรูเ้ พือ่ ความยัง่ ยืนทางสังคม” (Integrating Knowledge for Social Sustainability) และแนวคิดเอเชียที่ ยัง่ ยืนในอนาคต (Future Sustainable Asia) โดยอาศัยพลังทางวิชาการของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผนึกกับภาคีท้ังในและต่างประเทศ ภายใต้ความ ร่วมมือกับมูลนิธิเกาหลีเพื่อการศึกษาขั้นสูง (Korean Foundation for Advanced Studies) ตลอดจนศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชีย (Asia Research Center หรือ ARC) อีก 18 แห่งจากประเทศต่าง ๆ ทั่วทวีปเอเชีย ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รองอธิการบดีกำ� กับดูแลด้านสือ่ สารบริการสังคม และพันธกิจสากล จุฬาฯ กล่าวว่า “ความยั่งยืนทางสังคม ถือเป็นฐานกลางที่ เชื่ อ มโยงดั ช นี ค วามยั่ ง ยื น ทุ ก ด้ า น ไม่ ว ่ า จะเป็ น ด้ า นเศรษฐกิ จ หรื อ ด้ า น สิง่ แวดล้อม ต่างก็ขนึ้ อยูก่ บั การนโยบายสาธารณะและบริหารจัดการทางสังคม” ดัชนีชี้วัดความยั่งยืนทางสังคม พิจารณาได้จากรายได้ ระดับการศึกษา ความเท่าเทียมกันในสังคม การเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ระบบโครงสร้างทาง สังคม หรือแม้กระทั่งเรื่องของศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ สะท้อนรูปแบบการพัฒนาที่ตอบสนองความ ต้องการของคนในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อคนรุ่น ต่อไปในอนาคตน้อยที่สุด การประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ จึงเป็น เสมือนการเปิดพื้นที่ในการหาแนวทางที่จะสร้าง ความยั่ ง ยื น ในภู มิ ภ าคเอเชี ย ที่ มั ก มุ ่ ง ความเจริ ญ เติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ละเลยมิติทางสังคมของ ภูมิภาคที่มีความหลากหลาย สลับซับซ้อน เพราะมี ทั้งกลุ่มประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึง กัน เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ในเอเชียตะวันออก แต่ใน ขณะเดียวกันก็มคี วามหลากหลายทางวัฒนธรรมและ สังคม ทั้งเรื่องเชื้อชาติ ภาษา ความเชื่อ เช่นในกลุ่ม ประเทศเอเชี ย ใต้ และเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้

เพราะฉะนั้ น ความหลากหลายเหล่านี้จึ ง เป็ น ความท้ า ทายร่ ว มกั น ที่ ทุกประเทศในเอเชียจะเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ในวันแรกของการประชุมวิชาการนานาชาติ สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดการประชุมและ แสดงปาฐกถาพิ เ ศษ นอกจากนี้ ยั ง มี ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ใ นระดั บ นานาชาติ ร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการประชุมสหประชาชาติวา่ ด้วยการค้าและการพัฒนา และอดีต ผู้อำ� นวยการใหญ่องค์การการค้าโลก ในหัวข้อ “Future Governance for Sustainable Asia” Dr. Noeleen Heyzer ทีป่ รึกษาระดับสูงของเลขาธิการ สหประชาชาติดา้ นการระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลีย่ ในหัวข้อ “Towards an Inclusive and Sustainable ASEAN” และ Dr. Hongjoo Hahm ผู้อ�ำนวยการคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ในหัวข้อ “The Challenges of SDGs in the Asia Pacific Region” Bangkok Forum 2018 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม 2561 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบูรณาการองค์ความรูแ้ ละหลักการ ต่างๆ ในการสร้างความยั่งยืนเข้าไปในการวางแผนพัฒนา โดยเฉพาะ เรื่องการศึกษา หลักสูตรการเรียนการสอนและแผนการด�ำเนินการด้าน ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย อีกทั้งการขยายผลของการร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้จาก Bangkok Forum ไปในระดับภูมิภาคอีกด้วย ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ทาง https:// bkkforum.chula.ac.th/ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สื่อสาร องค์กร จุฬาฯ โทร. 0-2218-3364-5 หรืออีเมล bkkforum@chula. ac.th ■


CU capture | 5

“23 ตุลา” ในฐานะนิสิตเก่าจุฬาฯ ผมไม่เคยลืมวันที่ 23 ตุลาคม ที่ทุกปีนิสิต จุฬาฯ จะร่วมพิธถี วายบังคมพระบรมรูปทรงม้า ณ ลานพระราชวังดุสติ เพือ่ น้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระปิยมหาราช พระผู้ พระราชทานก�ำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส�ำหรับผม พิธนี ้ี ในวันนี้ ช่วย เติมเต็มความหมายของชีวิตนิสิตจุฬาฯ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจวบจนวันนี้ ผมได้มีโอกาสร่วมพิธีถวายบังคมเป็นครั้งแรกในปี 2546 เมื่อครั้งที่ ผมเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ยังจ�ำได้ดีว่าในวันนั้น ตั้งแต่ 7 โมงเช้า รุ่นพี่นำ� น้องๆ นิสิตใหม่กว่า 2,000 คนมารวมกันที่สนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ สองรัชกาล เพื่อซักซ้อมการถวายบังคมโดยพร้อมเพรียงกัน ทุกคนสวม เครื่องแบบนิสิตในชุดพิธีการ จากนั้นพวกเราเดินทางไปยังสนามเสือป่า ลานพระราชวังดุสิต ซึ่งมีนิสิตอีกหลายร้อยคนมาตั้งขบวนรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อถึงเวลานัดหมาย 8.45 น. ขบวนจุฬาฯ น�ำโดยวงดุริยางค์และ ขบวนพระเกี้ยว ตามด้วยขบวนนิสิตจึงได้เคลื่อนออกจากสนามเสือป่าไป ยังถนนราชด�ำเนิน เพือ่ มุง่ หน้าสูล่ านพระบรมรูปทรงม้า ซึง่ ขบวนนิสติ จุฬาฯ ถือเป็นขบวนที่ยาวที่สุดในบรรดาหน่วยงานทั้งหลายที่มาร่วมพิธี

เติมเต็มความหมายชีวิต นิสิตจุฬาฯ อธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ประธานฝ่ายนิสิตสัมพันธ์ องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯปีการศึกษา 2549

ในเวลานั้น ผมรู้สึกภาคภูมิใจและซึมซับความเป็นจุฬาฯ มากยิ่งขึ้น โดยไม่รู้ตัว เข้าใจแล้วว่าเหตุใดนิสิตรุ่นพี่และนิสิตเก่าจุฬาฯ จึงผูกพันและ ยังคงมาร่วมงานในวันปิยมหาราชเป็นประจ�ำทุกปี ตอนทีผ่ มเป็นนิสติ ปี 4 และท�ำหน้าทีป่ ระธานฝ่ายนิสติ สัมพันธ์ อบจ. ในปีนั้น ปี 2549 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก้าวสู่ปีที่ 90 แห่งการสถาปนา “23 ตุลาคม” ผมได้มีส่วนเข้าร่วมกิจกรรมที่พิเศษเพิ่มขึ้นจากธรรมเนียม ปฏิ บั ติ เช่ น ทุ ก ปี นิ สิ ต จุ ฬ าฯ กว่ า สามพั น ชี วิ ต แสดงความส� ำ นึ ก ใน พระมหากรุณาธิคณ ุ ของสมเด็จพระปิยมหาราช ด้วยการถวายบังคมในแถว รูปพระเกี้ยว ณ บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เป็นการ แสดงพลังเชิงสัญลักษณ์ ประกาศนับถอยหลังเข้าสู่ปีที่ 90 ของจุฬาฯ ทุกวันนี้ แม้ผมจะไม่ได้มาร่วมพิธีถวายบังคมในวันที่ 23 ตุลาคม แต่ผมก็ได้ท�ำหน้าที่เชิญชวนนิสิตเก่าจุฬาฯ และประชาชนทั่วประเทศให้ ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนจุฬาฯ สงเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือนิสิตจุฬาฯ ทีข่ าดแคลนทุนทรัพย์ ผ่านรายการพิเศษเนือ่ งในวันปิยมหาราชซึง่ สมาคม นิสิตเก่าจุฬาฯ จัดขึ้นเป็นประจ�ำทุกปี ■

คอลัมน์ CU Capture เปิดพื้นที่ให้ประชาคมจุฬาฯ ได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวและภาพประทับใจในแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับจุฬาฯ ผู้ที่สนใจกรุณาส่งข้อเขียน ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 หรือรูปภาพพร้อมค�ำบรรยายขนาดสั้น มาที่ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ E-mail : pr@chula.ac.th


CU PRIDE | 6

ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม หัวใจสิงหดํา ของผูว�ฯ เมืองเลย เรื่อง : กาญจนาภา วัฒนธรรม ภาพ : รัชนาท วานิชสมบัติ

เป็นข่าวฮือฮาอยู่พักใหญ่ในกระแสโซเซียล เมื่อภาพผู้ว่า ราชการจังหวัดเลยก้มตัวลงผูกเชือกรองเท้าให้เด็กนักเรียนทีข่ นึ้ มารับทุน การศึกษา แพร่สะพัดออกไป ภาพของความอ่อนโยนและไม่ถือตนของ ผูใ้ หญ่ ทีม่ ที งั้ วัยวุฒแิ ละคุณวุฒิ สร้างความประทับใจให้กบั ผูค้ นในสังคม เป็ น อย่ า งมาก จากนั้ น ก็ มี ภ าพอื่ น ๆ ตามมาเป็ น ระลอก ทั้ ง ภาพ ผู้ว่าฯ เก็บกวาดขยะบริเวณศาลากลางจังหวัด ปั่นจักรยานมาท�ำงาน จนท�ำให้ ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ได้รับฉายาว่า ผู้ว่าฯ ติดดิน ครองใจทั้ง ลูกน้องและประชาชน “แม้ผมจะเป็นข้าราชการ แต่ผมก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง เช่นกัน” พ่อเมืองเลย ศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว “ผมก็แค่ทำ� หน้าที่ พลเมืองอย่างที่คนทั่วไปท�ำกัน อย่างการปั่นจักรยานมาท�ำงานก็มี ประโยชน์มาก ทั้งช่วยลดมลภาวะ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ประหยัด พลังงาน และยังเป็นการประหยัดพื้นที่จอดรถเพื่อให้คนอื่นได้จอดรถ

บ้าง ส่วนเรือ่ งการกวาดและเก็บขยะก็เป็นการช่วยกันรักษาความสะอาด ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผมจะท�ำ” ผู ้ ว ่ า ฯ ชั ย วั ฒ น์ จ บการศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี จ ากคณะ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับ 2 และรัฐศาสตรมหา บัณฑิต จากจุฬาฯ ก่อนเข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทยจนถึงวันนี้ เป็นเวลา 26 ปีแล้ว ในการท�ำงาน เขาใช้ทงั้ วิชาการความรูด้ า้ นรัฐศาสตร์ ที่รำ�่ เรียนมา และวิชาจากประสบการณ์ชีวิต มาเป็นหลักในการครองใจ ลูกน้องและประชาชน ผู้ว่าฯ ชัยวัฒน์เกิดในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ตั้งแต่เด็ก เขาต้องดิน้ รนเพือ่ ความอยูร่ อดและหาโอกาสทางการศึกษาให้ตนเอง เขา ไม่ได้เรียนต่อระดับชัน้ มัธยมศึกษา แต่กพ็ ยายามขวนขวายไปสมัครสอบ เทียบชั้น ม. 3 ของส�ำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย และขณะเดียวกัน นั้น ก็เรียนการศึกษาผู้ใหญ่ภาคค�่ำไปด้วยจนได้วุฒิ ม.3 มาพร้อมกัน 2 ใบ “ระหว่างนัน้ ผมก็หารายได้เลีย้ งตัวเองไปด้วย ไปเป็นกระเป๋า รถเมล์ รถสองแถว รับจ้างปั้นอิฐ ท�ำไร่ทำ� นา รับจ้างซักผ้าตามบ้าน ขาย กับข้าวตามตลาด พอขึ้น ม.ปลาย ก็ไปปั่นสามล้อ อาศัยวัดอยู่ เพื่อทุ่น ค่าใช้จ่าย” ผู้ว่าฯ ชัยวัฒน์ย้อนความในวัยเด็ก เมื่อจบการศึกษาผู้ใหญ่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนเลยพิทยาคม เขาเข้าโครงการจุฬาฯ ชนบท ซึ่งเป็นโครงการที่ มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กเรียนดี แต่ขาดทุนทรัพย์ โดยมีเกณฑ์การ พิจารณาให้ทุนจากผลการสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์ การอยู่ใน พื้นที่ห่างไกล และฐานะยากจน ซึ่งผู้ว่าฯ ชัยวัฒน์ในสมัยนั้นเข้าเกณฑ์ ได้รับทุนทุกประการ “ชีวติ ของผมอาจจะไม่มเี วลาไปติวหนังสือ ไม่มโี อกาสได้เรียน ในระบบ แต่จุฬาฯ ให้โอกาสผมในการที่จะศึกษา ทุนจุฬาฯ ชนบทไม่มี ข้อผูกมัดใดๆ นอกจากจะให้ค่าเล่าเรียนฟรีแล้ว ยังให้ทุนส�ำหรับใช้จ่าย ในชีวิตประจ�ำวันด้วย ซึ่งสมัยนั้น ผมได้ประมาณพันกว่าบาทต่อเดือน และยังให้พักที่หอพักซีมะโด่งฟรีอีกด้วย” ชีวิตในรั้วจามจุรีให้ความรู้ ให้โอกาสในอาชีพการงาน และ ที่ส�ำคัญคือ ปลูกฝังให้เขามีจิตสาธารณะ


CU PRIDE| 7 “สมัยเรียนที่จุฬาฯ ผมได้มีโอกาสไปท�ำกิจกรรมค่ายอาสา สร้างอาคารเรียนให้เด็กตามถิน่ ทุรกันดารในจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด กาญจนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ท�ำให้ผมได้ท�ำงานร่วมกับพี่น้อง ประชาชน ซึง่ ผมรูส้ กึ สนุกมาก และซึง้ ใจยิง่ ขึน้ ว่า การศึกษานัน้ ส�ำคัญกับ ประชาชนเพียงใด” หลังจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ชัยวัฒน์เข้าท�ำงานใน บริษทั เอกชนใหญ่รายหนึง่ ประมาณ 1 ปี ก่อนจะกลับมาเรียนต่อในระดับ ปริญญาโททีค่ ณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และพบเส้นทางชีวติ ทีเ่ ขาต้องการอย่าง แท้จริง “ผมอยากจะตอบแทนคุณแผ่นดินให้สมกับค�ำที่ถูกปลูกฝัง เมื่อครั้งยังเรียนในรั้วจามจุรีที่กล่าวว่า ‘เกียรติของจุฬาฯ คือเกียรติแห่ง การรับใช้ประชาชน’ หลังเรียนจบปริญญาโท ผมจึงตัดสินใจไปรับราชการ เป็นปลัดอ�ำเภอที่อ�ำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เพราะตอนสมัย เด็กๆ ผมเคยประทับใจกับการท�ำงานของข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นนาย อ�ำเภอ ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน” ผู้ว่าฯ ชัยวัฒน์เล่าถึงแรงบันดาลใจที่ผลักดัน ให้เขามาเดินบนเส้นทางชีวิตข้าราชการด้านการปกครองมากว่า 26 ปี จนเมือ่ ปี 2560 เขาก็ได้รบั โอกาสกลับมาดูแลบ้านเกิดของเขาเองในฐานะ ผู้ว่าราชการจังหวัด “ผมระลึกเสมอว่า หน้าทีผ่ วู้ า่ ฯ คือการท�ำให้ประชาชนมีความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น ท�ำอย่างไรจึงจะแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชนได้” ผู้ว่า ชัยวัฒน์เล่าถึงหลักคิดในการท�ำงานฐานะพ่อเมือง และในช่วงแรกทีด่ ำ� รง ต�ำแหน่งนี้ใหม่ๆ เมื่อได้รับเชิญไปร่วมงานแต่งงานอยู่หลายครั้ง เขา สอบถามเจ้าภาพและทราบว่าค่าใช้จ่ายในงานแต่งค่อนข้างสูง “คนไม่มีเงินจะแต่งงานได้อย่างไร? หากแต่งงานแล้วเป็นหนี้ จะมีความสุขหรือ? แล้วหากจัดงานแต่งไม่ดกี ค็ งไม่กล้าเชิญผูว้ า่ ฯ มางาน แต่ง?” เป็นค�ำถามที่ผู้ว่าฯ ชัยวัฒน์ขบคิดก่อนที่จะเกิดไอเดียโครงการ “เปิดจวนผู้ว่าฯ ส�ำหรับงานแต่งงาน”

“หากให้ประชาชนได้จัดงานแต่งที่จวนผู้ว่าฯ และให้เราเป็น ประธาน พี่น้องประชาชนไม่ต้องล�ำบากที่จะมาเชิญคงจะดีกว่า ทั้งยัง เป็นการช่วยให้เขาประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย เอาเงินที่จะจัดงานไป สร้างเนื้อสร้างตัวคงจะดีกว่า แอลกอฮอล์ก็ไม่ต้องดื่มให้เสียสุขภาพ” ผู้ว่าฯ ชัยวัฒน์เปิดจวนผู้ว่าฯ ส�ำหรับการแต่งงาน (ยกเว้นช่วง เข้าพรรษา) โดยงานแต่งที่จะจัดให้นั้น เป็นงานแต่งแบบเรียบง่ายตาม วิถีไทเลยดั้งเดิม เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่ นอกจากแนวคิดโครงการเพื่อบรรเทาปัญหาปากท้องของ ประชาชนแล้ ว ผู ้ ว ่ า ฯ ชั ย วั ฒ น์ ยั ง มี โ ครงการที่ มุ ่ ง หวั ง เสริ ม สร้ า ง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนกับข้าราชการ อย่างเช่น โครงการ ฉายหนังกลางแปลงเรื่อง ‘หมวกกันน็อค’ “หนังเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงความรักความเข้าใจของ ครอบครัวที่จะเป็นเกราะคุ้มครองลูกหลานของเรา ซึ่งจะตระเวณฉายไป ตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อให้ข้าราชการและประชาชนได้มีโอกาสพบปะ พูดคุยกันมากขึ้น โดยมานั่งดูหนัง ทานข้าว ออกก�ำลังกาย และมาร�ำวง ด้วยกัน เป็นการลดช่องว่างระหว่างประชาชนและข้าราชการ” ผู้ว่าฯ ชัยวัฒน์กล่าวด้วยความภูมิใจ นอกจากนี้ พ่อเมืองเลยผู้นี้ยังมีอีกหลายโครงการที่จะลดช่อง ว่างระหว่างภาครัฐและประชาชน อาทิ การเปิดจวนผู้ว่าฯ เลี้ยงปีใหม่ให้ แก่คนเก็บขยะ - คนกวาดถนน การเข้าถึงประชาชนโดยที่ผู้ว่าฯ แต่งชุด ผีตาโขนไปร่วมเปิดงานประจ�ำปีของจังหวัดเลย แต่ที่สุดแล้ว ผู้ว่าฯ ชัยวัฒน์มองว่า การใช้ชวี ติ แบบเรียบง่าย พอเพียง และให้ประชาชนสัมผัส ได้เสมือนประชาชนคนหนึ่ง อย่างที่เขาปั่นจักรยานไปท�ำงาน ก็เป็นวิธี ที่ดีที่ข้าราชการจะเข้าใกล้ประชาชน “ผมอยากเห็นผูว้ า่ ฯ กับประชาชนท�ำงานร่วมกัน เพือ่ ความสุข ของสังคม สามารถปรึกษาหารือกันได้ในทุกโอกาส พบกันได้ทุกที่ ทุกเวลาทุกโอกาสครับ” ผู้ว่าฯ ชัยวัฒน์กล่าวพร้อมรอยยิ้ม ■

ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ --------

• ปี 2558 - 2559 รองอธิบดี กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น • ปี 2559 - 2560 ที่ปรึกษา ด้านการปกครอง ส�ำนักงานปลัด กระทรวงมหาดไทย • ปี 2560 ผู้ว่าราชการจังหวัด ราชบุรี • ปี 2560 ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย


CU knowledge | 8

ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ออนไลน์ เรื่อง : นิธิกานต์ ปภรภัฒ

ในยุคทีข่ อ้ มูลข่าวสารท่วมท้น การเข้าถึงความเป็นตัวเองเกิดขึน้ ได้ เพี ย งเสี้ ย ววิ น าที ผ่ า นช่ อ งทางการเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ได้ จ ากทั่ ว ทุ ก มุ ม โลก สถานการณ์เช่นนีท้ ำ� ให้เกิดเส้นแบ่งบางๆ ระหว่างความเป็นส่วนตัวของเรา กับความเป็นสาธารณะ ซึง่ เป็นประเด็นค�ำถามในงานเสวนา เรือ่ ง “เมือ่ ข้อมูล ส่วนบุคคลออนไลน์โดนละเมิด: ถอดบทเรียนจากกรณีศกึ ษาปัจจุบนั ” ซึง่ จัดทีค่ ณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมือ่ เร็วๆ นี้ “การตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยไม่ได้อยู่แค่ในโลกไซเบอร์เพียง อย่างเดียว เป็นเรือ่ งส�ำนึกของคนทีใ่ ช้งานอยูใ่ นสังคม คุณรูห้ รือไม่วา่ บุคคล ุ โพสต์เล่นๆ บนโซเชียลมาสร้างความเสียหายใดต่อ อืน่ สามารถน�ำสิง่ ทีค่ ณ ตัวคุณได้บ้าง ถ้าทราบแล้ว คุณไม่ได้คิดจะใส่ใจ ก็เป็นเรื่องที่บุคคลอื่น ไม่สามารถตัดสินใจ” วสันต์ ลิว่ ลมไพศาล วิศวกรซอฟต์แวร์และผูร้ ว่ มก่อตัง้ เว็บไซต์ blognone.com กล่าว ค�ำถามแรกคือ เราเข้าใจขอบเขตเรื่องความเป็นส่วนตัวมากน้อย แค่ไหน วสันต์ อธิบายว่า ข้อมูลส่วนบุคคล คือข้อมูลแสดงอัตลักษณ์ระบุ ตัวตนของเราได้ เช่น ดีเอ็นเอ ลายนิว้ มือ เป็นข้อมูลทีม่ นั ตายตัว แต่สว่ นข้อมูล ที่แสดงถึงความเป็นส่วนตัว เช่น เลขบัญชี เลขหมายโทรศัพท์ เป็นสิ่งที่ ไม่จ�ำเป็นต้องปกปิดแต่เป็นข้อมูลที่ต้องการการควบคุม ขึ้นอยู่กับความ ต้องการของเจ้าของที่อยากจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวต่อ สาธารณะมากน้อยแค่ไหน เป็นการตัดสินใจและสิทธิของ บุคคลนัน้ อ.ดร.นคร เสรีรักษ์ อาจารย์ประจ�ำวิทยาลัยการ ปกครองท้องถิน่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “ความ เป็นส่วนตัวเป็นสิทธิประเภทหนึง่ และเป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ มา โดยธรรมชาติพร้อมตัวตนของมนุษย์ทุกคน การเปิดเผย ข้อมูลของเราต่อธนาคาร สถานทูตหรือหน่วยงานอืน่ ของรัฐ ยังไม่ใช่การเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่เป็นการเปิดเผยต่อรัฐ หรือเป็นการให้ขอ้ มูลระหว่างการท�ำธุรกรรมเพือ่ การออก เอกสารสิทธิให้กบั ตนเอง แต่เมือ่ ไหร่ทหี่ น่วยงานคูส่ ญ ั ญา น�ำข้อมูลของเราไปเปิดเผย ถือว่าละเมิดและเข้าข่ายการ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต่อสาธารณะ” คุณอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กรรมการมูลนิธิเพื่อ อินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง ตัง้ ประเด็นให้คดิ ตาม ว่า “โดยมากการโดนละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเกิดจากความ เผอเรอของผูท้ เี่ กีย่ วข้อง โดยอันทีจ่ ริงระบบมันมีการป้องกัน ในตัวเองอยูร่ ะดับหนึง่ แต่กไ็ ม่สามารถป้องกันได้ 100% ดังนั้นเราจะดูว่าจะเชื่อใจองค์กรไหนได้เมื่อมีข้อผิดพลาด

เราดูที่ว่าเขาตอบสนองในเวลาใด มีแนวทางแก้ไขในเบื้องต้นและขั้นตอน ต่อไปอย่างไร ต้องมีการตรวจเช็คเป็นประจ�ำและมีการซ้อมเผือ่ เกิดเหตุฉกุ เฉิน เตรียมรับมือเสมอ องค์กรมีความตัง้ ใจในการแก้ไขปัญหาแค่ไหน” “ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือส�ำนึกส่วนบุคคลในการใช้ขอ้ มูลอย่างถูกต้อง รักษา สิทธิตวั เองและไม่ละเมิดสิทธิผอู้ นื่ ศึกษามารยาททางสังคมไซเบอร์และใช้ ข้อมูลอย่างมีสติไตร่ตรอง โดยเรียนรูว้ ฒ ั นธรรมทีอ่ ยูภ่ ายในโลกโซเชียลมีเดีย เช่น เรือ่ งการปิดหน้าคนทีไ่ ม่เกีย่ วข้อง ก็เป็นหนึง่ ในเรือ่ งส�ำนึกของผูค้ นที่ ถ่ายทอดจากสังคมหนึ่งสู่สังคมหนึ่งผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นการคัดกรอง พฤติกรรมทางสังคมว่าอะไรเหมาะสมในบริบทนัน้ ๆ หรือไม่” วสันต์ กล่าว อ.นครสรุปว่า ในประเทศไทยเมือ่ ข้อมูลส่วนตัวถูกละเมิด เราก็สามารถ ไปฟ้องศาลหรือร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารภายใต้ พรบ.ข้อมูล ข่าวสารราชการได้ แต่เสนอว่าควรให้มกี ฏหมายคุม้ ครองตัง้ แต่ระดับจังหวัดไป ถึงระดับประเทศ เพือ่ ให้เจ้าหน้าทีร่ ะดับจังหวัดมีอำ� นาจในการคุม้ ครองดูแล ประชาชนอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ในปัจจุบันทางสหภาพยุโรปได้บังคับใช้ ระเบียบการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (The EU General Data Protection Regulation) แล้ว นับเป็นการเปลีย่ นแปลงครัง้ ส�ำคัญเรือ่ งการป้องกันการละเมิด ข้อมูลส่วนบุคคลทีน่ า่ จะส่งผลกระทบเป็นแนวปฏิบตั นิ านาชาติตอ่ ไป ■ ข้อแนะน�ำเพือ่ ปกป้อง การถูกละเมิดข้อมูลส่วนตัว

1

หน่วยงานทีม่ อี ำ� นาจในการก�ำกับดูแลข้อมูล ข่าวสารส่วนบุคคล ต้องคุ้มครอง ป้องกันการใช้ ข้อมูลโดยผิดวัตถุประสงค์ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ก็ตอ้ งขออนุญาตใหม่แม้จะเป็นข้อมูลเดิม 2 หน่วยงานใดไม่มีสิทธิ์ในการเปิดเผยข้อมูล ส่วนตัวโดยอัตโนมัติ โดยมิได้รบั อนุญาตจากเจ้าของ ข้อมูล 3 การให้ขอ้ มูลส่วนบุคคล ต้องก�ำกับให้ชดั เจน ว่าข้อมูลเหล่านีจ้ ะถูกใช้เฉพาะเรือ่ งและวัตถุประสงค์ใด 4 กฏหมายคุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สทิ ธิ การมี อ� ำ นาจเพื่ อ ควบคุ ม กลั บ ไปสู ่ ผู้ บ ริ โ ภคเอง เมือ่ ใดทีผ่ บู้ ริโภคอยากจะเปลีย่ นหรือย้ายโอนข้อมูล เจ้าหน้าทีผ่ ดู้ แู ลข้อมูลจะต้องอ�ำนวยความสะดวกให้ 5 ควรมีกฏหมายบังคับใช้กบั ผู้ให้บริการ ต้องมี เอกสารแสดงถึงข้อมูลด้านความปลอดภัยในการน�ำ ข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้


CU Health | 9

เศร้าอย่างไร

เข้าข่ายโรคซึมเศร้า เรื่อง : ขนิษฐา จันทร์เจริญ

“เหนื่อย เครียด ท้อ ล้า” ดูจะเป็นประโยคที่คน เมืองทุกวันนี้พูดกันจนติดปาก จังหวะชีวิตของคนเมือง หมุนเร็วมาก เรื่องราวรอบตัวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปรียบเทียบแข่งขันสูง ผู้คนที่อยู่ในสภาพแวดล้อม เช่นนี้จะใช้พลังกายและพลังใจมาก ท�ำให้เกิดความรู้สึก กดดัน ส่งผลให้จิตตก เกิดอารมณ์ลบต่างๆ นานา อาทิ เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคซึมเศร้า - ผู้ที่มีอารมณ์เศร้า และภาวะซึมเศร้าต่อเนื่อง - กรรมพันธุ์ มีความผิดปกติของเซลล์สมองต่อการ รับสารเคมีสื่อน�ำประสาทที่ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ - การใช้สารเสพติด - การประสบเหตุการณ์สะเทือนใจ บอบช�้ำทางใจ - ความคิดฆ่าตัวตายผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ

“อารมณ์เศร้าเกิดขึน้ เมือ่ ชีวติ เสียสมดุล ปรับตัวไม่ ได้และมักมาพร้อมกับความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่ง เมื่อเกิดขึ้นในระยะแรก ดูภายนอกอาจคล้ายกับว่าคนๆ นั้ น เป็ น คนที่ ไ ม่ ป ล่ อ ยวาง มุ ่ ง ความส� ำ เร็ จ และความ สมบูรณ์แบบมากเกินไป ภาวะเหล่านี้เมื่อปล่อยไว้นาน จะน�ำไปสู่ความเจ็บป่วยทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า ซึ่งจะ ท�ำให้ไม่สามารถด�ำเนินชีวติ แบบปกติได้” รศ.ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ กล่าว

สัญญาณเตือนของภาวะซึมเศร้า ทีค่ วรพบนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ เพือ่ ประเมินผลกระทบและหาทางรักษาให้ เร็วที่สุด - คิดจะเลิกทุกสิ่งที่ท�ำ เช่น ออกจากงาน ไม่เรียน มองหาเป้าหมายในชีวิตไม่เจอ เสียใจ และสิ้นหวังบ่อยๆ - เก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร มีโลกส่วนตังสูง - อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดขมับร้าวมาที่หน้าผาก - ไม่มเี รีย่ วแรงในการท�ำงาน หรือใช้ชวี ติ ประจ�ำวัน - กินเหล้า ใช้สารเสพติด มีความรู้สึกแย่ ร�ำคาญตนเอง

สาเหตุของโรคซึมเศร้า เกิดจาก 1. ทางกายภาพ การเปลี่ยนแปลงของสมอง เนื่องจากโรคต่างๆ เช่น การติดเชื้อ ภาวะไทรอยด์ ฮอร์โมนต�่ำ และการดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติด 2. ทางจิตวิทยา ความวิตกกังวลด้านสุขภาพ ความทรงจ�ำทีเ่ จ็บปวด ซึง่ น�ำไปสูค่ วามคิดและอารมณ์เชิง ลบ หรือการมีความเครียดที่มากเกินไป 3. ทางสิ่ ง แวดล้ อ ม แรงกดดั น ในชี วิ ต และ การท�ำงาน ปัญหาทางการเงิน ปัญหาเรือ่ งความรัก ความ ขัดแย้งในครอบครัว เป็นต้น 4. ทางพันธุกรรม โรคซึมเศร้าบางครั้งพบใน ครอบครัว หากครอบครัวคุณมีประวัตเิ กีย่ วกับโรคซึมเศร้า คุณจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้น ความแตกต่างระหว่างโรคซึมเศร้า และภาวะเศร้าปกติ ภาวะเศร้ า ที่ เ ป็ น ปกติ ใ นคนทั่ ว ไปนั้ น เมื่ อ สถานการณ์หรือเหตุการณ์ทมี่ ากระทบแล้วท�ำให้เศร้าผ่าน ไปแล้ว หรือเมื่อเวลาผ่านไป ก็จะท�ำใจได้ รู้สึกดีขึ้น แต่ ในโรคซึมเศร้า แม้เรื่องราวจะผ่านไปแล้วเป็นปี แต่ความ หดหู่กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วนเวียนอยู่อย่างนั้นไม่จบสิ้น

พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็กให้รู้จักคิดบวก บริหารจัดการอารมณ์เมื่อพบกับความผิดหวัง และความ กดดันจากสิง่ รอบข้าง เป็นสิง่ ส�ำคัญทีจ่ ะช่วยให้เรามีความ เข้มแข็งทางจิตใจ รวมถึงความรัก ความเอาใจใส่ การให้ ก�ำลังใจจากคนรัก คนรอบข้าง คนในครอบครัว ก็เป็นสิ่ง ส�ำคัญทีจ่ ะรักษา เยียวยาและลดการเกิดขึน้ ของปัญหาโรค ซึมเศร้าได้ รศ.ดร.อรัญญา กล่าว ■

การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้ หมายความว่าผูท้ เี่ ป็นนัน้ เป็น คนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มี ความสามารถ แต่เป็นเพียง การเจ็บป่วยทีส่ ามารถรักษา หายได้ ด้วยการใช้ยา การ รักษาทางจิตใจ หรือทั้งสอง อย่างรวมกัน รศ.ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ


Star l | 12 10 CUCUstar

ระยะทางไกล แพวินัยและใจรัก เสนทางนักวายน�้ามาราธอนเหรียญเงินซีเกมส

พีระพัฒน เลิศสถาพรสุข การแขงขันวายน�ามาราธอนในระยะทางไกลกวา 10 กิโลเมตร โดยไมหยุดพัก นับเปนการแขงขันที่ทาทายความสามารถและความอึดของ ฉลามหนุม-เงือกสาวอยางยิ่งยวด ในบานเรานักกีฬาวายน�้าประเภทนี้ยังมีจ�านวนนอย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนิสิตโครงการพัฒนากีฬาชาติ พีระพัฒน เลิศสถาพรสุข หรือ “การฟล ด” นิสติ ป 4 คณะวิทยาศาสตรการกีฬา จุฬาฯ ผูท ค่ี วาเหรียญเงินวายนา� มาราธอนประเภทบุคคลในกีฬาซีเกมส ครั้งที่ 29 ณ ประเทศมาเลเซีย เมื่อปที่แลว เขาท�าสถิติในการวายน�้าที่ 2 ชั่วโมง 5 นาที 41 วินาที โดยแพนักกีฬาเจาภาพไปเพียง 2 นาทีเทานั้น เรื่อง : สุรเดช พันธุ์ลี ภาพ : สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร

ก้าวขึ้นมาเป็นนักกีฬาว่ายน�ำ้ มาราธอนได้อย่างไร คุณแม่สง่ ผมและพีช่ ายไปเรียนว่ายน�ำ้ ตัง้ แต่อนุบาล เพือ่ ให้วา่ ยน�ำ้ เป็น และเพื่อออกก�ำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง แต่ไม่ได้คิดจริงจังว่าจะเป็น นักกีฬาว่ายน�ำ้ จนเมือ่ ผมได้มโี อกาสลงแข่งขันว่ายน�ำ้ ครัง้ แรกตอนเรียนชัน้ ป.5 แล้วผมได้เหรียญรางวัล ก็รู้สึกสนุกกับการแข่งขันว่ายน�ำ้ ขึน้ มา เลยลง แข่งขันว่ายน�ำ้ เรื่อยมา ผมติดทีมชาติครั้งแรกตอนใกล้เรียนจบ ม.6 ได้ไป แข่งกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 28 ที่สิงคโปร์ ผมได้ที่ 4 ในการว่ายน�้ำฟรีสไตล์ 1,500 เมตรชาย สองปีต่อมา ผมอยากลองอะไรใหม่ๆ ที่ท้าทายกว่า จึงเข้ารับการ คัดเลือกแข่งว่ายน�ำ้ มาราธอนจนได้ไปแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครัง้ ที่ 29 ทีม่ าเลเซีย และสามารถคว้าเหรียญเงินมาได้ ด้วยสถิติ 2 ชั่วโมง 5 นาที 41 วินาที นับเป็นความส�ำเร็จสูงสุดของชีวิตครับ

อะไรคือปัจจัยแห่งความส�ำเร็จในการแข่งขันว่ายน�้ำมาราธอน ความส�ำเร็จในครั้งนั้นเป็นผลมาจากการทุ่มเทฝึกซ้อมที่หนักกว่า นักว่ายน�้ำทั่วไป ส�ำหรับผู้ที่จะเป็นนักว่ายน�้ำมาราธอน แค่มีใจรักในการ ว่ายน�้ำมาราธอนและมีวินัยในการฝึกซ้อม ก็เพียงพอแล้วครับ นักกีฬาว่ายน�้ำมาราธอนต้องอดทนกว่านักว่ายน�้ำระยะอื่น เพราะ ว่าการว่ายน�้ำมาราธอนไม่มีการพัก ต้องว่ายน�้ำยาวต่อเนื่องราว 2 ชั่วโมง ดังนั้นการฝึกซ้อมจะใช้ระยะเวลานาน ผมฝึกซ้อมว่ายน�้ำทุกวันที่ CU Sports Complex โดยวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ จะซ้อมทั้งเช้าและ เย็น วันละ 4 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังออกก�ำลังกายด้วยวิธีเวทเทรนนิ่งเป็น ประจ�ำเพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง นอกจากการมีสมาธิในการแข่งขัน แล้ว ช่วงเวลาที่แข่งว่ายน�้ำมาราธอน ผมจะวางแผนตลอดเวลาว่าในแต่ละ รอบควรจะว่ายแบบไหนถึงจะท�ำให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด

ประทับใจอะไรบ้างช่วงแข่งขันว่ายน�ำ้ มาราธอนในซีเกมส์ บ้านเรายังไม่ค่อยมีนักกีฬาว่ายน�้ำมาราธอน และผมก็ไม่ได้เป็น นักกีฬาทีถ่ กู จับตามองว่าจะได้ลนุ้ เหรียญใดๆ เพราะมีนกั ว่ายน�ำ้ เก่งๆ จาก หลายชาติลงแข่งขัน ผมคิดเพียงว่า จะพยายามท�ำผลงานให้เต็มที่เท่านั้น ในกีฬาซีเกมส์ที่มาเลเซีย นักว่ายน�้ำมาราธอนแข่งขันกันในบึง ที่วอเตอร์ สปอร์ต คอมเพล็กซ์ ผมใช้เวลาว่ายน�ำ้ กว่า 2 ชั่วโมง ว่ายทั้งหมด 6 รอบ ต้องขับเคี่ยวกับนักว่ายน�ำ้ ตัวเต็งจากเจ้าภาพมาเลเซีย ผมพยายาม อย่างเต็มทีต่ ามแผนและเทคนิคทีว่ างไว้ เมือ่ ใกล้ถงึ เส้นชัย ผมพยายามเร่ง ความเร็วครัง้ สุดท้าย ในทีส่ ดุ ก็สามารถแซงนักว่ายน�ำ้ จากอินโดนีเซีย ซึง่ ได้ อันดับสาม ภาพแรกที่ผมเห็นเมื่อแข่งเสร็จคือแม่ของผมมาให้ก�ำลังใจถึงสปอร์ต คอมเพล็กซ์ ด้วยรอยยิม้ แห่งความสุข ท�ำให้ผมหายเหนือ่ ยเป็นปลิดทิง้ เป็น นาทีแห่งความประทับใจทีอ่ ยูใ่ นความทรงจ�ำของผมจนทุกวันนี้ ผมดีใจมาก ครับที่ได้สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย

ดูแลตัวเองอย่างไร เวลาที่เหนื่อยหรือท้อ เวลาทีผ่ มเหนือ่ ยจากการแข่งขัน ก�ำลังใจทีท่ ำ� ให้ผมมีแรงอีกครัง้ คือ การมองย้อนกลับไปเมือ่ ครัง้ ทีย่ งั ไม่มใี ครรูจ้ กั ไม่ได้รบั รางวัลใดๆ จากการ แข่งว่ายน�ำ้ ตรงนัน้ ถือเป็นแรงผลักดันส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ผมก้าวต่อไป ผมทุม่ เท มาขนาดนี้แล้ว ถ้าผมหยุดอยู่กับที่ ผมก็จะกลับไปเป็นเหมือนเดิม มองอนาคตชีวิตและการเป็นนักกีฬาว่ายน�้ำของตนเองอย่างไร ผมตั้งใจจะเป็นนักกีฬาว่ายน�ำ้ อีก 2 ปี เหรียญเงินซีเกมส์เป็นผลงานที่ ดีทสี่ ดุ ของผมในเวลานี้ ผมจะพยายามท�ำผลงานให้ดที สี่ ดุ ในกีฬาซีเกมส์ 2019 ทีฟ่ ลิ ปิ ปินส์ ผมอยากประสบความส�ำเร็จเหมือน Yasunari Hirai นักกีฬาว่ายน�ำ้ มาราธอนชาวญีป่ นุ่ ทีไ่ ด้ไปแข่งกีฬาโอลิมปิกมาแล้ว และหลังเรียนจบจากจุฬาฯ ผมอยากเป็นโค้ชสอนว่ายน�้ำในโรงเรียนนานาชาติครับ ■


CU engagement | 11

บางครั้ง คนเราก็เห็นชัดขึ้นเมื่อ อยู ่ ใ นความมื ด อย่ า งเช่ น ผู ้ เข้ า ร่ ว ม ประสบการณ์ในนิทรรศการ Dialogue in the Dark ทีจ่ ามจุรสี แควร์ บรรยากาศ ที่มืดสนิทท�ำให้ผู้ที่สายตาปกติ “มอง เห็น” และเข้าใจโลกที่ไร้แสงสว่างของ ผู้พิการทางสายตา “แม้ จ ะเป็ น นิ ท รรศการจ� ำ ลอง เหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวัน ที่เรา คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่เมื่ออยู่ท่ามกลาง ความมืด เรารู้สึกต่างออกไปมากจริงๆ ตอนแรกรู้สึกกลัว แต่พอเริ่มชิน ก็สนุก และเข้ า ใจผู ้ พิ ก ารทางสายตามากขึ้ น จากนีไ้ ปหากพบเห็นผูพ้ กิ ารทางสายตาทีใ่ ด ก็จะพยายามให้ความช่วยเหลือ อย่างเต็มที่” พิมพ์ลักษณ์ สิริวัชราทร ผู้เข้าชมนิทรรศการ กล่าว Dialogue in the Dark เป็นนิทรรศการทีป่ ระกอบด้วยห้องทีม่ ดื สนิท จ�ำนวน 6 ห้อง แต่ละห้องจ�ำลองพื้นที่และสถานการณ์ในชีวิตประจ�ำวันที่ ผูพ้ กิ ารทางสายตาจะต้องพบเจอ อย่างเช่น สวนสาธารณะ ท้องถนน ตลาด ร้านอาหาร ฯลฯ ในช่วงระยะเวลาหนึง่ ชัว่ โมงครึง่ ผูเ้ ข้าชมจะได้ทดลองเดิน ด้วยไม้เท้าขาวและใช้มือคล�ำทาง หรือสัมผัสสิ่งของ ลองมีประสบการณ์ใช้ ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ ลองขึ้นรถ แยกแยะเสียงต่างๆ ซื้อของที่ตลาด หรือ สั่งเครื่องดื่มและขนมในร้านอาหาร เป็นต้น “เราจะได้ฝกึ ใช้ประสาทสัมผัสทัง้ 4 คือ ใช้หฟู งั เสียง ใช้มอื สัมผัสเพือ่ น�ำทางและรับรู้สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบกาย ใช้จมูกเพื่อดมกลิ่น และใช้ปากเพื่อ การรับรส ผูค้ นในสังคมจะได้เข้าใจศักยภาพและวัฒนธรรมของผูพ้ กิ ารทาง สายตา” ธีรวศิษฐ์ ศิริโยธา นักวิชาการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ (อพวช.) กล่าว นิทรรศการ Dialogue in the Dark ก่อตั้งในประเทศไทยเมื่อ 8 ปี ก่อน โดยเริ่มแรก เป็นเพียงนิทรรศการชั่วคราวที่จัดแสดงในงานมหกรรม วิทยาศาสตร์แห่งชาติเท่านั้น แต่เมื่อได้รับการตอบรับที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ องค์การพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาศาสตร์แห่งชาติ จึงได้จดั แสดงเป็นนิทรรศการถาวร ที่จามจุรีสแควร์ ชั้น 4 ผูส้ ร้างนวัตกรรม Dialogue in the Dark คือ ดร.อันเดรอัส ไฮเนอเกอ (Andreas Heinecke) อดีตนักหนังสือพิมพ์ชาวเยอรมัน ผูผ้ นั ตัวเองมาเป็น ผู้ประกอบการทางสังคม หลังจากประสบเหตุไฟฟ้าดับที่ส�ำนักงาน ในความมืด เขาและเพื่ อ นร่ ว มงานอี ก หลายคนกลั บ รู ้ สึ ก เหมื อ นว่ า “ตาบอด” ในขณะทีเ่ พือ่ นร่วมงานของเขาทีเ่ ป็นผูพ้ กิ ารทางสายตากลับเป็นผูท้ ี่ “มองเห็น”

และสอนให้เขารู้จักสิ่งรอบข้าง และ ช่ ว ยเหลื อ น� ำ ทางให้ เขากลั บ บ้ า น ได้อย่างปลอดภัย เหตุการณ์ครั้งนั้นเปลี่ยนมุม มองของ ดร.ไฮเนอเกอ ไปตลอดกาล จากความสงสาร เห็นใจ กลายมาเป็น ความเข้าใจและชื่นชมในศักยภาพ ของเพื่อนผู้พิการทางสายตา และยัง เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของนวั ต กรรมทาง สังคม นิทรรศการ Dialogue in the Dark ซึง่ มีผเู้ ข้าชมมากกว่า 9 ล้านคน ในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก จุ ด เด่ น ของนิ ท รรศการนี้ นอกจากการจ�ำลองพื้นที่ชีวิตประจ�ำวันให้ผู้เข้ารับประสบการณ์ได้สัมผัส ในความมืดสนิทแล้ว ยังเป็นเรื่องของการมีผู้น�ำชมนิทรรศการในโลกมืด ที่ ค อยช่ ว ยเหลื อ ผู ้ เข้ า นิ ท รรศการให้ เ ดิ น ไปในทิ ศ ทางที่ ถู ก ต้ อ งและ ปลอดภัย รวมถึงสอนให้ผู้เข้าชมเข้าใจการสัมผัส ซื้อของ การขึ้นรถ การใช้จ่ายเงินด้วยธนบัตร เป็นต้น “ผู้พิการทางสายตาไม่ต่างจากคนอื่นๆ พวกเขาสามารถใช้ชีวิต ประจ�ำวันได้เหมือนกับคนตาดี รวมถึงการท�ำงานได้ดีเช่นเดียวกัน” ธีรวศิษฐ์ นักวิชาการ จาก อพวช. กล่าว ผู้น�ำชมนิทรรศการ Dialogue in the Dark มีจ�ำนวน 26 คน ทุกคนล้วนเป็นผูพ้ กิ ารทางสายตาทีจ่ ะผลัดเปลีย่ นหมุนเวียนกันมาน�ำชม นิทรรศการในแต่ละรอบ และในแต่ละวัน ทุกคนต้องผ่านการสัมภาษณ์ ถึงทัศนคติในการใช้ชวี ติ จากนัน้ ก็รบั การฝึกอบรม เพือ่ เตรียมความพร้อม ในการเป็นผู้ให้บริการที่ดี ผ่านสถานการณ์จ�ำลองต่างๆ ที่ผู้นำ� ชมจะต้อง สามารถจัดการได้ “การท�ำงานทีน่ ี่ นอกจากจะท�ำให้เรามีรายได้แล้ว ยังเป็นการสร้าง โอกาสให้เราได้มีสังคมเพิ่มขึ้น ท�ำให้คนทั่วไปเข้าใจเราผ่านการพูดคุย ระหว่างน�ำชมนิทรรศการ เป็นการลดช่องว่างระหว่างเรากับสังคม” วุฒิชัย อิ่มมา หนึ่งในผู้น�ำชมนิทรรศการ กล่าวด้วยรอยยิ้ม สนใจสนทนาในความมืดกับนิทรรศการ Dialogue in the Dark ได้ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 10.00 – 18.00 น. วันเสาร์-วันอาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.30 – 18.30 น. ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 จามจุรีสแควร์ และติดตามข่าวสารที่ Facebook Page: Dialogue in the Dark–Thailand หรือ โทรศัพท์: 0 - 2160 - 5356 ■


CU culture | 12

จุฬาฯ ขวัญผวา เรื่อง : กองบรรณาธิการ CU Around ภาพ: พิมพ์ลักษณ์ สิริวัชราทร

ห้วงเวลา 101 ปี ตั้งแต่กำ� เนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือเป็นเวลา ที่ยาวนาน ซึ่งนอกจากสถานที่แห่งนี้จะสั่งสมองค์ความรู้แล้ว ยังสั่งสม ต�ำนานและความเชือ่ มากมายทีช่ าวจุฬาฯ เล่าขานต่อกันจากรุน่ สูร่ นุ่ อย่าง ไม่รู้จบ เริม่ ตัง้ แต่ความเชือ่ สไตล์วยั รุน่ กุก๊ กิก๊ เกีย่ วกับเรือ่ งความรักอย่างเช่น ถ้าใครเดินสะดุดที่ลานเกียร์ จะได้แฟนเป็นนิสิตวิศวะ หรือคนที่เป็นแฟน กันถ้าไปลอยกระทงด้วยกันที่สระน�้ำจุฬาฯ จะเลิกกัน แต่ถ้าไปลอยกับคน ที่แอบชอบจะได้เป็นแฟนกัน เป็นต้น ในขณะเดียวกันความเชื่อที่นิสิตกลัวมากที่สุด ก็คือการเรียนไม่จบ นิสิตจากคณะอักษรศาสตร์ เชื่อกันว่าห้ามถ่ายรูปกับเศียรพญานาคที่หัว บันไดของตึกเทวาลัย (ปัจจุบนั คืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์) เพราะจะท�ำให้ เรียนไม่จบ และที่คณะอักษรศาสตร์เดิมเคยมีลานกว้างที่มีเวทีขึ้นมาและ มีเสา 4 ต้นรอบๆ จะมีความเชือ่ ทีว่ า่ นิสติ ทีข่ นึ้ ไปบนพืน้ ทีต่ รงนัน้ จะไม่จบ ภายใน 4 ปี ส่วนนิสติ คณะครุศาสตร์ มีความเชือ่ ว่า นิสติ ปี 1 ห้ามเดินขึน้ ลงตรง บันไดกลางหน้าอาคาร 1 (อาคารพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา) โดยเด็ดขาด มิเช่นนั้นจะเรียนไม่จบทั้งๆ ที่เป็นเพียงกุศโลบายสอนให้นิสิตเดินออก บันไดข้างไม่เดินสวนกับครูอาจารย์ ในเรือ่ งของความเชือ่ ในสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิก์ ม็ หี ลายแห่งตัง้ แต่ศาลต้นไทร ทีค่ ณะนิเทศฯ ทีช่ ว่ ยให้หลายคนสมปรารถนา แต่ทเี่ ชือ่ ว่าศักดิส์ ทิ ธิม์ ากคือ ศาลพระภูมิที่คณะรัฐศาสตร์ ว่ากันว่าเป็นศาลที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ก่อตั้งคณะ

เคยมีถึง 5 ศาลต่อมาจึงลดลงเหลือศาลเดียว และที่ลานไทร ยังมีต้นไทร ใหญ่ผกู ผ้าสี แม้จะไม่ทราบทีม่ าแต่เชือ่ กันว่าอาจจะเป็นนิสติ ทีเ่ คยบนไว้ให้ สอบผ่านและใช้ผ้าผูกไว้เพื่อแก้บน นอกจากนี้ ความเก่าแก่ของอาคารสถานที่ต่างๆ ในจุฬาฯ ก็เป็น วัตถุดิบชั้นดีในการผลิตต�ำนานเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งลี้ลับหรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “เรือ่ งผีในจุฬาฯ” มักจะมีการเล่าต่อๆ กันว่าเห็นผีทตี่ กึ นัน้ ตึกนีม้ ากมาย หนึ่งในต�ำนานที่เด็กนิเทศฯ ทุกคนต้องเคยได้ยิน คือเรื่องราวของ พีธ่ าดา รุน่ พีน่ เิ ทศฯ ทีเ่ ดินหายไปในห้องล้างฟิลม์ แล้วบางคืนก็มาปรากฏ ตัวให้น้องๆ ได้เห็น เบื้องหลังเรื่องผีพี่ธาดาที่ท�ำให้นิสิตนิเทศฯ ขวัญผวา มาหลายต่อหลายรุน่ นีก้ ไ็ ม่ใช่ใคร พีเ่ ก้ง จิระ มะลิกลุ ผูก้ ำ� กับภาพยนตร์ ชือ่ ดัง และนิสติ เก่านิเทศฯ รุน่ 15 นัน่ เอง เริม่ ต้นทีง่ านรับน้อง ซึง่ มักจะให้ น้องไปเต้นก�ำร�ำเคียว ตนกับเพื่อนสนิทจึงคิดท�ำเรื่องพี่ธาดาขึ้นมาแทน โดยช่วยกันเขียนบทบรรยายสไลด์ขนึ้ มาในวันก่อนวันรับน้องและมี เพื่อนมาแสดงเป็นพี่ธาดา “เราพาน้องเข้าในห้องฉายหนัง เอาธูปมาจุด แล้ววนๆ ก่อนน้องขึน้ มา เพือ่ ให้ดศู กั ดิส์ ทิ ธิ์ ตอนท้ายจะเล่าว่าผีพธี่ าดามา ปรากฏกายให้เห็นในห้องนี้เป็นประจ�ำ แล้วแอบฉายภาพสไลด์เป็นภาพ พี่ธาดาอยู่บนเวทีพร้อมกับมีเพื่อนปิดประตูดังปึ้ง ถือเป็นจุดพีค พอฉาย จบ เปิดไฟขึ้นมา น้องกอดกันกลมอยู่กลางห้อง คนรุ่นผมเองที่ไม่เคยดู ยังตกใจไปด้วย” จากนั้นกลายเป็นว่าการรับน้องรุ่นต่อๆ มาก็จะมาขอ สไลด์เรือ่ งนีไ้ ปใช้ตอ่ ท�ำให้เรือ่ งพีธ่ าดาถูกถ่ายทอดต่อมาเรือ่ ยๆ จนปัจจุบนั ซึ่งกาลเวลาก็กลับท�ำให้เรื่องพี่ธาดายิ่งดูขลังมากขึ้น ■


CU culture | 13

อ.ดร.ธนศิลป์ ชุตนิ ธรานนท์ อธิบายว่า ธรรมชาติของความเชื่อที่ก่อเกิดเป็นเรื่องราว มีทงั้ ทีไ่ ม่สามารถสืบหาทีม่ าได้ แต่มคี นแต่งเรือ่ ง ขึน้ มาและความเชือ่ ทีไ่ ด้รบั การถ่ายทอดภายใน ประชาคม หรือสังคมหนึง่ ๆ ผ่านวิธกี ารมุขปาฐะ เป็นสิง่ ทีค่ นในสังคมยอมรับและเชือ่ ร่วมกัน

อ.ดร.ธนศิลป์ ชุตนิ ธรานนท์ อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวาทวิทยา และสือ่ สารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์

สิง่ ทีน่ า่ สนใจอยูท่ วี่ า่ ต�ำนานหรือเรือ่ งเล่า บางครัง้ ใช้เป็นการเติมเต็มจินตนาการเรือ่ งของ ความศักดิ์สิทธิ์ของในพื้นที่เหล่านั้น ดังนั้น บางครัง้ ชุดความเชือ่ มักจะมีองค์ประกอบทีอ่ าจ ไม่ จ ริ ง หรื อ ถ้ า เรี ย กในทางคติ ช นวิ ท ยาจะ เรียกว่า “อานุภาพ” เป็นสิง่ ทีส่ ร้างลักษณะเด่น ให้เป็นทีจ่ ดจ�ำ สิง่ ทีเ่ ล่าร้อยจากรุน่ สูร่ นุ่ ท�ำให้มนั “ความเชื่อภายในจุฬาไม่ได้มีความเชื่อ สามารถคงอยูไ่ ด้ หรื อ ต� ำ นานเพี ย งแค่ ชุ ด เดี ย ว เรามี ต� ำ นาน ความเชื่ อ ที่ ห ลากหลาย บางครั้ ง ในต� ำ นาน แม้รายละเอียดจะเปลีย่ นไปแต่สว่ นใหญ่ แต่ละเรือ่ งก็มหี ลากหลายเวอร์ชนั่ ความส�ำคัญ แล้วอานุภาพไม่เคยเปลีย่ น “เพราะว่า ความเชือ่ ไม่ได้อยูท่ กี่ ารหาความจริงเท็จของข้อมูล แต่อยูท่ ี่ และต�ำนานเป็น “ผลิตผล” ที่มีการเชื่อมโยง หลักการท�ำงานหรือหน้าที่ของความเชื่อนั้น กับความเป็นมนุษย์ เมือ่ ยังมีมนุษย์สงิ่ เหล่านัน้ ต่างหาก ความน่าสนใจของความเชือ่ หรือต�ำนาน ก็ยงั คงสามารถเข้าใจ ซึมซับ ยอมรับได้โดยง่าย เหล่านีม้ คี วามส�ำคัญในการสร้างความเป็นกลุม่ พ้องกับความเป็นมนุษย์ได้ในแต่ละสมัย สิ่งนี้ ผูกเข้าเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกันในชุมชนนัน้ ๆ เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและสร้างความ สร้างความประสานกลมกลืนภายในกลุม่ ชุมชน หลากหลายในความเชือ่ ต่าง ๆ ในสังคมด้วย” นัน้ ขณะเดียวกันก็เป็นกลไกเพือ่ ควบคุมระเบียบ แบบแผนปฏิบตั ขิ องชุมชนนัน้ ๆ ด้วย

CU Global

WEATHER IDIOMS

To be under the weather หมายถึง

รู้สึกไม่สบาย หรือ สุขภาพไม่ดี I feel a bit under the weather so I might not go to the party.

ภาษาไทยมีส�ำนวนเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศที่คุ้นหูอยู่ หลายค�ำ ส่วนใหญ่จะเกีย่ วกับฟ้าฝน เช่น มาเหนือเมฆ พลอย ฟ้าพลอยฝน ฝนสั่งฟ้าปลาสั่งน�ำ้ เป็นต้น ในภาษาอังกฤษก็ มีการใช้ส�ำนวนที่เกี่ยวกับลมฟ้าอากาศเช่นเดียวกัน

Fair-weather friend

หมายถึง เพื่อนกิน เพื่อนที่อยู่ ด้วยเฉพาะเวลาที่ดี และตีจาก ในเวลาที่ล�ำบาก I know that she was a fair-weather friend, she left me when I lost my job.

Steal someone’s thunder หมายถึง แย่ง

ซีน ขโมยความสนใจ Show up in that dress, she really steals the bride’s thunder.

Rain on someone’s Have your head in parade หมายถึง the clouds หมายถึง

ท�ำให้เสียแผน I hate to rain on your parade, but your trip was cancelled due to the booking error.

ไม่อยู่ในโลกความจริง คิดเข้าข้างตัวเอง เพ้อเจ้อ He has his head in the clouds if he thinks that girl will marry him.

Throw caution to the wind(s)

หมายถึง ช่างหัวมัน แหกกฎ เลือกที่จะเสี่ยง The man threw caution to the wind, he quit his job to travel the world.


CU relax | 14

เติมความหวานให้ชีวิต

งาด�ำลาวาน�้ำขิง

@SWEET

CIRCLE

เรื่องและภาพ: กาญจนาภา วัฒนธรรม

Double Purple

Chocolate Banana

รวมรสนมสด

ราคาเฉลีย่ ต่อคน : 45 – 120 บาท Facebook Page : Sweet Circle

ทีต่ งั้ : สวนหลวงสแควร์ จุฬาฯ ซอย 5 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 เบอร์โทรศัพท์: 09-1951-9656 เวลาเปิดบริการ: เปิดทุกวัน 17.00 – 23.00 น.

แม้ยุคนี้เราจะต้องใส่ใจคุมการบริโภคน�ำ้ ตาล แต่ความหวาน ก็ยงั คงเป็นสีสนั และรสชาติของชีวติ หวานกันบ้างในปริมาณทีพ่ อควร ท�ำให้ชีวิตมีชีวาดีเหมือนกันนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการ ท�ำงานและประชุมอย่างเหนื่อยล้ามาทั้งวัน เพิ่มน�้ำตาลในกระแส เลือดกันสักนิดก็น่าจะดี มาเตร็ดเตร่หาความหวานแถวสวนหลวงสแควร์ แล้วก็ต้อง สะดุดตากับผู้คนที่ยืนออกันอยู่หน้าร้าน “Sweet Circle” คงต้อง ไปเช็คอินกันหน่อยแล้วว่า ร้านนี้มีดีอะไร? เราตรงปรี่ไปขอบัตรคิว ทันใด แล้วก็รอ... ระหว่างนั้น พลิกดูเมนูคร่าวๆ เพื่อพร้อมสั่งขนมทันทีเมื่อคิว มาถึง เมนูส่วนใหญ่ของร้านนี้เป็นแนว Fusion Dessert โดยมี ‘บัวลอย’ เป็นจุดขายหลัก บัวลอยที่นี่มีหลากไส้ หลายสีและหลาย ขนาด แต่ถ้าใครไม่ชอบบัวลอย ก็มีเมนูอื่นๆ ให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น ไอศกรีม บิงซู เฉาก๊วย รวมทั้งขนมปัง กว่าครึ่งชั่วโมงผ่านไป! เราก็ได้ที่นั่ง ไม่รอช้า รีบสั่งขนมที่เล็ง ไว้ทันที รวมรสนมสด (65 บาท) มีทั้งแบบร้อนและเย็นตามแต่ สั่ง เป็นบัวลอยแป้งบาง 3 สี สอดไส้ด้วยเกาลัด เผือก และถั่วแดง เสิร์ฟพร้อมนมสด รสหวานกลมกล่อม เมนูถัดมา Double Purple (108 บาท) ไอศกรีมกะทิ 2 ลูก เสิรฟ์ พร้อมมันม่วงล้วนไม่ผสมแป้ง 2 ลูก และบัวลอยฟักทองลูกเล็กๆ ราดทับด้วยนมสดหอมหวาน ชิมค�ำแรกสัมผัสได้ถึงรสชาติเค็มปน หวานระหว่างนมสดและไอศกรีมกะทิ รสสัมผัสของมันม่วงเนียนนุม่ ละมุนลิน้ ส่วนบัวลอยฟักทองก็เคีย้ วสนุกหนุบหนับ ยกให้เมนูนเี้ ป็น สุดยอดของวันนี้ไปเลย! คนรักสุขภาพทีย่ งั อยากหวาน เมนู งาด�ำลาวาน�ำ้ ขิง (45 บาท) อาจเข้าทางค่ะ บัวลอยแป้งบางนิ่ม หอมกลิ่นงาด�ำ กัดเข้าไปค�ำแรก ไส้งาด�ำแน่นๆ ทะลักออกมา ยิง่ ทานกับน�ำ้ ขิงรสเผ็ดร้อนทีม่ สี รรพคุณ ช่วยการเผาผลาญและคุมน�ำ้ หนักด้วยแล้ว บอกตัวเองได้เต็มปากเลย ว่า ทานได้...ไม่รู้สึกผิด (เท่าไร) นอกจากบัวลอย ขอลองของหวานสุดฮิตอย่างบิงซูกันบ้าง Chocolate Banana (108 บาท) น�้ำแข็งปั่นเนื้อนุ่ม โรยด้วยผง ช็อกโกแลตถึงสามชัน้ มีทอ็ ปปิง้ เป็นกล้วยหอมฝานบางๆ และขนมปัง ชิ้นเล็กๆ ราดทับด้วยนมสด ใครจะสั่งเมนูนี้ ขอให้เผื่อเวลารอด้วย นะคะ เมนูนี้มาเป็นถ้วยใหญ่ ทานได้ 3 - 4 คนเลยทีเดียว คุ้มที่จะ ทานกับเพื่อนหรือคนรู้ใจ ฟินได้ไม่แพ้กัน ใครที่ชอบความหวาน ลองมา Sweet Circle นะคะ แนะน�ำ ให้หยิบบัตรคิวทีร่ า้ นก่อน แล้วเดินเล่นหรือหาอาหารคาวบริเวณนัน้ ทานไปก่อน จะได้ไม่รสู้ กึ ว่าท�ำไมความหวานอร่อยนัน้ ต้องรอกันนาน เหลือเกิน บางทีการรอคอยอาจเป็นส่วนหนึง่ ทีเ่ พิม่ รสชาติความอร่อย ให้อาหารและชีวิตก็เป็นได้ ■


CU game | 15

“กระรอกอยู่ไหน...ถามใจดู” โจทย์ : จงหากระรอกที่ซ่อนอยู่ในภาพให้ครบ 9 ตัว

สวัสดีชาว CU Game ในเดือน ตุ ล าคม เดื อ นนี้ เ ป็ น เดื อ นแห่ ง การ แสดงความยิ น ดี กั บ เหล่ า บั ณ ฑิ ต ที่ ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาจากจุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย กั น นะคะ ไม่ เ พี ย งแต่ พวกเราชาว CU Game เท่านัน้ ทีอ่ ยาก แสดงความยิ น ดี กั บ ว่ า ที่ บั ณ ฑิ ต ใหม่ ทุกคน แต่นอ้ งกระรอกตัวน้อยๆ ทีแ่ อบ ซ่ อ นอยู ่ ต ามที่ ต ่ า งๆ ก็ อ ยากจะร่ ว ม แสดงความยิ น ดี กั บ พี่ ๆ ทุ ก คนด้ ว ย นะจ๊ะ

ถ่ายรูปค�ำตอบพร้อมเขียนชื่อ คณะ / หน่วยงานที่สังกัด และเบอร์โทรศัพท์ ส่งมาทาง Inbox CUAround

ของรางวัลคือ Gift Voucher จากร้าน จากราน Common Room จามจุรีสแควร จ�านวน 5 รางวัล รวมมูลคากวา 2,000 บาท

ติดตามรายชื่อผู้ได้รับรางวัลทาง www.facebook.com/CUAround

ชื่อผู้ส่ง............................................................................คณะ / หน่วยงาน.......................................................... เบอร์โทรศัพท์....................................................................อีเมล.........................................................................

ผูโชคดีประจําเดือนกันยายน 2561 1. นิพนธ์ รักประทานพร โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม 2. ฉลวย นุตะธนผล ส�ำนักงานจัดการทรัพย์สิน 3. เมทินี คงด�ำ ศูนย์ทดสอบทางวิชาการ

4. ณปรินทสิทธิ์ ปรีชาหาญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 5. นิชกานต์ กล้าแข็ง คณะสหเวชศาสตร์

ติดต่อรับของรางวัลได้ที่ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ อาคารจามจุรี 1 ชั้น 1 โทร. 0-2218-3364-5


CU meeting board | 16

ข่าวที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 818 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม 2561 มีมติพิจารณาผู้ดำ� รงต�ำแหน่งต่างๆ ดังนี้

คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พบิ ลู ย์ เป็นคณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ตัง้ แต่วนั ที่ 31 สิงหาคม 2561 วาระ 4 ปี ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พบิ ลู ย์ จบการศึกษาปริญญาตรี Exercise Science และปริญญาโท Exercise Physiology in Cardiopulmonary Rehabilitation จาก University of Pittsburgh และปริญญาเอก Sports Science จากจุฬาฯ การบริหารงานทีผ่ า่ นมาเคยด�ำรงต�ำแหน่งรองคณบดีฝา่ ยบริการวิชาการ รองคณบดีฝา่ ยวิจยั และบริการวิชาการ ผูอ้ ำ� นวยการศูนย์บริการวิชาการและวิจยั ฯลฯ

คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

รศ.ดร.ปิน่ รัชฎ์ กาญจนัษฐิติ เป็นคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต่อไปอีกวาระหนึง่ ตัง้ แต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2561 วาระ 4 ปี รศ.ดร.ปิน่ รัชฎ์ กาญจนัษฐิติ จบการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากจุฬาฯ M.Arch (Architecture) จาก School of Architecture and Environmental Design, State University of New York at Buffalo สหรัฐอเมริกา และ D.Phil (Architecture) จาก Institute of Advanced Architectural Studies, University of York ประเทศอังกฤษ การบริหารงานทีผ่ า่ นมาด�ำรงต�ำแหน่ง คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ฯลฯ

คณบดีคณะรัฐศาสตร์

รศ.ดร.เอก ตัง้ ทรัพย์วฒ ั นา เป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ต่อไปอีกวาระหนึง่ ตัง้ แต่วนั ที่ 12 กันยายน 2561 วาระ 4 ปี รศ.ดร.เอก ตัง้ ทรัพย์วฒ ั นา จบการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต จากจุฬาฯ M.A.in Political Theory และ Ph.D. in Sociology, University of Essex สหราชอาณาจักร การบริหารงานทีผ่ า่ นมาด�ำรง ต�ำแหน่งคณบดี รองคณบดีฝา่ ยวิชาการ วิจยั และวิเทศสัมพันธ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย ประเภท คณาจารย์ประจ�ำ 4 สมัย และกรรมการสภาจุฬาฯ ประเภทหัวหน้าส่วนงาน 2 สมัย กรรมการในคณะ กรรมการจัดท�ำยุทธศาสตร์จฬุ าฯ 15 ปี ฯลฯ

ผู้อ�ำนวยการสถาบันการขนส่ง

ผศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ เป็นผูอ้ ำ� นวยการสถาบันการขนส่ง ตัง้ แต่วนั ที่ 31 สิงหาคม 2561 วาระ 4 ปี ผศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ จบการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินยิ มอันดับ 1 เหรียญทอง จากจุฬาฯ Master of Science in Operation Research, Master of Science in Transportation และ Doctor of Science in Transportation and Logistics Systems จาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) การบริหารงานที่ผ่านมาด�ำรงต�ำแหน่งรองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผูช้ ว่ ยคณบดีดา้ นวิรชั กิจ ผูอ้ ำ� นวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการ โลจิสติกส์และโซ่อปุ ทาน


แต่งตั้งหัวหน้าภาควิชา

คณะศิลปกรรมศาสตร์

แต่งตั้งศาสตราภิชาน

ผศ.ดร.ทวี ธนะเจริญกิจ เป็น ศาสตราภิชานเงินทุนบริษทั เอสเอ็มที ไบโอแมส จ�ำกัด กองทุนเพือ่ การบริหาร วิชาการและการศึกษา คณะวิศวกรรม ศาสตร์ ระยะเวลา 1 ปี ตัง้ แต่วนั ที่ 1 กันยายน 2561 - 31 สิงหาคม 2562

• ผศ.สุรชัย เอกพลากร เป็นหัวหน้าภาควิชาทัศนศิลป์ ตั้งแต่ วันที่ 31 สิงหาคม 2561 วาระ 4 ปี

คณะรัฐศาสตร์

• รศ.ดร.ปกรณ์ ศิรปิ ระกอบ เป็นหัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ ตัง้ แต่วนั ที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป วาระ 4 ปี

คณะทันตแพทยศาสตร์

• ผศ.ทญ.ดร.ผกาภรณ์ พันธุวดี เป็นหัวหน้าภาควิชาทันตกรรม ชุมชน ตัง้ แต่วนั ที่ 31 สิงหาคม 2561 วาระ 4 ปี • รศ.ทญ.ดร.สุคนธา เจริญวิทย์ เป็นหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ตัง้ แต่วนั ที่ 31 สิงหาคม 2561 วาระ 4 ปี

แสดงความยินดีกับต�ำแหน่งทางวิชาการ ดังต่อไปนี้

เสนอขอโปรดเกล้าฯ ให้ด�ำรงต�ำแหน่งศาสตราจารย์ จ�ำนวน 1 ท่าน ได้แก่ • รศ.นพ.ศุภฤกษ์ ปรีชายุทธ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

รองศาสตราจารย์ จ�ำนวน 8 ท่าน ประกอบด้วย • อ.ดร.ธีรนันท์ เจนจรัสสกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร • ผศ.ทญ.ดร.ฑัณฑริรา พรทวีทัศน์ สาขาวิชาชีววิทยาช่องปาก • ผศ.ทพ.ดร.วิริทธิ์พล ศรีมณีพงศ์ สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ • ผศ.ทพ.ดร.ชาญวิทย์ ประพิณจ�ำรูญ สาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปาก • ผศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง • ผศ.วิไล อัศวเดชศักดิ์ สาขาวิชานฤมิตรศิลป์ • ผศ.นพ.สารัช สุนทรโยธิน สาขาวิชาอายุรศาสตร์ • ผศ.อรนุชา อัฏฏวัชระ สาขาวิชาประถมศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะครุศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จ�ำนวน 9 ท่าน ประกอบด้วย • อ.ดร.สิทธิโชค พวงทับทอง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์วิ่งแวดล้อม • อ.ดร.พงษ์ชัย ด�ำรงโรจน์วัฒนา สาขาวิชาชีววิทยา • อ.ทญ.ดร.สุภาพร สุทธมนัสวงษ์ สาขาวิชาชีววิทยาช่องปาก • อ.ดร.ศุภวรรณ วิเศษน้อย สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร • อ.ดร.วริพัสย์ เจียมปัญญารัช สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร • อ.ดร.สุรสา โค้งประเสริฐ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา • อ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ สาขาวิชาศิลปศึกษา • อ.ดร.อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร สาขาวิชาพัฒนศึกษา • อ.ดร.จงกล ท�ำสวน สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ส�ำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร ส�ำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์


CU inside | 18

บริจาคที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

กิจกรรมวันเครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดในจุฬาฯ คณะกรรมการการประสานงานระหว่ า งห้ อ งสมุ ด ในมหาวิ ท ยาลั ย จัดกิจกรรมวันเครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดในจุฬาฯ (Chulalinet Fair) ครั้งที่ 9 ประจ�ำปี 2561 ณ ชั้น 1 ส�ำนักงานวิทยทรัพยากร โดยมี รศ.ดร. อมร เพชรสม ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานวิทยทรัพยากร เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ในงานมีการเสวนา “ท้าวทองกีบม้า OK บุพเพสันนิวาส” โดย รศ.ศึกเดช กันตามระ ผู้ประพันธ์นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “ท้าวทองกีบม้า” คุณจันทร์ยวีร์ สมปรีดา (รอมแพง) ผู้ประพันธ์นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “บุพเพสันนิวาส” พร้อมด้วยนักร้อง นักดนตรีผู้พิการทางสายตา ร่วมขับร้องเพลงในงานนี้ด้วย

ศ.ดร.บัณฑิต เอือ้ อาภรณ์ อธิการบดี พร้อมด้วย รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์ สมพล รองอธิการบดี รับมอบโฉนดที่ดินจ�ำนวน 2 แปลง รวมพื้นที่ 186 ตารางวา บริเวณเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร จาก ศ.กิตติคณ ุ มงคล เดชนครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งบริจาคให้กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อน�ำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษา เนื่องในโอกาสครบรอบ 101 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาฯ

เปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรม “เจลแต้มสิวทาเรล (TAREL)”

สาธิตจุฬาฯ คว้า 14 รางวัลการประกวดนวัตกรรม “World Invention Creativity Olympic” 2018 ที่เกาหลีใต้ ศูนย์นวัตกรรมโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ได้รบั รางวัลจากการ ส่งผลงานนักเรียนเข้าประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในเวทีระดับ นานาชาติ ประจ�ำปี 2561 “World Invention Creativity Olympic” (WICO) 2018 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี รวมทั้งสิ้น 14 รางวัล ประกอบด้วย Grand Prize 1 รางวัล เหรียญทอง 10 รางวัล และ Special Award อีก 3 รางวัล

ศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี เป็น ประธานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเจลแต้มสิว ทาเรล (TAREL) เทคโนโลยีนวัตกรรมน�ำส่งสารสกัดจาก ธรรมชาติสตู่ อ่ มไขมันใต้ผวิ หนังเพือ่ รักษาและป้องกันสิว อย่างตรงจุด ซึ่งเป็นผลงานวิจัยระหว่างคณาจารย์คณะ แพทยศาสตร์ จุฬาฯ กับคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ณ เมือง นวัตกรรมแห่งสยาม ชั้น 2 อาคารสยามสแควร์วัน โดยมี รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและ พัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิ ช คณบดี ค ณะวิ ท ยาศาสตร์ จุ ฬ าฯ กล่ า วถึ ง ความร่วมมือและแสดงวิสยั ทัศน์ในการพัฒนานวัตกรรม ทางการแพทย์


นิสิตจุฬาฯ และ “บทบาทคนรุ่นใหม่กับการเมือง”

CU echo | 19

เดือนตุลาคมเป็นช่วงเวลาที่เราหวนร�ำลึกถึงพลังของนิสิตนักศึกษาที่ได้สร้างประวัติศาสตร์การเมืองไทย ซึ่งยังคงความหมายจวบจน ปัจจุบนั ในวันนี้ เราจึงขอฟังเสียงนิสติ จุฬาฯ ในฐานะตัวแทนคนรุน่ ใหม่วา่ พวกเขามองการเมืองไทยและบทบาทของคนรุน่ ใหม่อย่างไรกันบ้าง

ศิริ เต็งไตรรัตน์ นายกองค์การบริหาร สโมสรนิสิตจุฬาฯ “ทุกวันนี้การรับข่าวสารหรือแสดง ความเห็นทางการเมืองสามารถท�ำได้ ง่าย จนบางครั้งก็ลืมไตร่ตรองให้ดี จนเกิ ด ผลลบกั บ ตั ว เองและคนอื่ น ดั ง นั้ น การแสดงความเห็ น ทาง การเมื อ งในโลกที่ เ ปิ ด กว้ า งทาง ความคิดอย่างนี้ ควรตั้งอยู่บนสิทธิ ของตน และรู ้ ถึ ง หน้ า ที่ ข องตนที่ มาจากสิทธินั้นด้วย”

ทัตพล วงศ์สามัคคี นิสิตปี 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ “ทุกคนมองเห็นปัญหาหลายๆ อย่าง ของประเทศ นิสิตเป็นส่วนหนึ่งที่ สามารถเข้าร่วมมีบทบาทในด้าน ต่ า งๆ เพื่ อ ท� ำ ให้ ป ระเทศนี้ เ ป็ น อย่างที่เราต้องการได้ ทุกคนควร ตระหนักถึงสิทธิที่เรามี และกล้าที่ จะมีบทบาท เพื่อเป็นส่วนหนึ่งใน การก�ำหนดทิศทางของประเทศได้ อยากให้เสียงจากนิสิตเป็นเสียงที่ ดังพอให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองรับฟัง และให้ความส�ำคัญ”

ADVISORS ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รองอธิการบดี อ.ดร.อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดี

ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ นิสิตปี 4 คณะนิเทศศาสตร์

วรเมธ โกศัลวัฒน์ นิสิตปี 3 คณะนิติศาสตร์

“บทบาทเล็กๆ ทีส่ ามารถท�ำได้คอื การติดตาม ข่ า วสาร สถานการณ์ ก ารเมื อ ง รู ้ เ ท่ า ทั น เหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น อะไรที่ยังคงเป็น ปัญหา และเรียนรู้ความผิดพลาดที่ผ่านมา ความรู้เหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง การเมืองที่ดีตามแบบของคนรุ่นใหม่จริงๆ”

“การเมืองเป็นเรือ่ งของเราทุกคน เพราะทุกๆ มิติ ในสังคม มีการเมืองเป็นพืน้ ฐานทัง้ สิน้ เราจึงควร เอาใจใส่การเมืองอย่างใกล้ชิดและใช้เสรีภาพ แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ ในขอบเขต ที่เหมาะควร ที่ส�ำคัญต้องพร้อมเปิดใจรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่นโดยปราศจากอคติด้วย”

อนุตรา ช่วยศิริ นิสิตปี 3 คณะครุศาสตร์

มิษฎา เหมานนท์ นิสิตปี 1 คณะแพทยศาสตร์

“นิสิตนักศึกษาควรมีบทบาททางการเมือง ในฐานะพลเมืองของประเทศ มีสิทธิในการ แสดงความคิดเห็นทางการเมือง การแสดงออก ทางการเมืองต้องพิจารณาอย่างรอบคอบใน หลายแง่มุม เพราะสังคมไม่ได้มีแค่ด้านเดียว หรื อ สองด้ า น ในขณะเดี ย วกั น สั ง คมควร ยอมรั บ ว่ า นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษามี เ สรี ภ าพในการ แสดงออก”

“นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาควรมี ค วามรู ้ ค วามเข้ า ใจที่ ถูกต้องทางการเมือง อนาคตอยากเห็นนักการเมือง ทีซ่ อื่ สัตย์สจุ ริต เห็นประโยชน์สว่ นรวมมากกว่า ส่วนตน ที่ส�ำคัญอยากเห็นทุกคนรู้จักหน้าที่ ของตัวเอง เพราะเพียงแค่รู้ว่าหน้าที่ของเราคือ อะไร ความความขัดแย้งต่างๆ ในสังคมก็จะ หมดไป”

EDITORIAL

บรรณาธิการ-อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์ , ธาริณี ไชยประพาฬ , สุรเดช พันธุ์ลี , กรรณจริยา สุขรุ่ง นักเขียน-ขนิษฐา จันทร์เจริญ , กนกวรรณ ยิม้ จู , อุมาพร โกมลรุจนิ นั ท์ , กาญจนาภา วัฒนธรรม, นิธกิ านต์ ปภรภัฒ กราฟิก ดี ไซเนอร์-กาญจนาภา วัฒนธรรม , ภัสสร อ้นมี ช่างภาพ-สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร , พิมพ์ลักษณ์ สิริวัชราทร หน่วยงานที่รับผิดชอบ-ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรี 1 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 เบอร์โทรศัพท์ 0-2218-3364-5 อีเมล pr@chula.ac.th สถานที่พิมพ์- โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 เบอร์โทรศัพท์ 0-2218-3563 อีเมล cuprint@hotmail.com ภาพปก- จากหอประวัติคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


CU calendar | 20

19 OCT 2018

4-5 OCT 2018

NOW to19 OCT 2018

การประกวดนวัตกรรม การขับเคลื่อนประเด็นธุรกิจ กับสิทธิมนุษยชน โดยคณะนิติศาสตร จ�ฬาฯ ร วมกับกระทรวงการต างประเทศ

สอบถามเพ��มเติม : โทร. 0-2203-5000 ต อ 12245 facebook.com/rights.now.thailand/

บร�การทางทันตกรรมฟร� เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห งชาติ 06.30 น. เป นต นไป ณ คณะทันตแพทยศาสตร จ�ฬาฯ

พ�ธีพระราชทานปร�ญญาบัตร แก ผู สำเร็จการศึกษาจากจ�ฬาฯ ป การศึกษา 2560 เวลา 09.00 และ 14.00 น. ณ หอประชุมจ�ฬาฯ

สอบถามเพ��มเติม : โทร. 0-2218-8705 www.dent.chula.ac.th

สอบถามเพ��มเติม : ศูนย บร�หารกลาง จ�ฬาฯ โทร. 0-2218-0162, 0-2218-0184

“PLEARN Space” พื้นที่การเรียนรูสําาหรับชาวจุฬาฯ

จุฬาฯ เปดพื้นที่ “PLEARN Space” ณ ชั้น 1 อาคารเปรมบุรฉัตร เปน Digital Co-Learning Space ที่ผสมผสานระหวาง PLAY และ LEARN เพื่อการเรียนรูแ ละการทําากิจกรรมสําาหรับชาวจุฬาฯ ครบครันดวยสิ่งอําานวยความสะดวก ตอบสนอง digital life โดยในระยะแรกเปดใหบริการสําาหรับนิสิตจุฬาฯ เริ่มตั้งแตวันที่ 24 กันยายน 2561 เปนตนไป ขอมูลเพิ่มเติมติดตามไดที่ แอปพลิเคชัน CU NEX

24-25 OCT 2018 การประชุมว�ชาการนานาชาติ Bangkok Forum 2018 ณ หอประชุมจ�ฬาฯ อาคารมหาจ�ฬาลงกรณ และหอแสดงดนตร� อาคารศิลปวัฒนธรรม สอบถามเพ��มเติม : ศูนย สื่อสารองค กร จ�ฬาฯ โทร. 0-2218-3364-5

27 OCT 2018 การแสดงของอนิรุทธ ไนท “Born to the Tradition,

The Dance and Musical Heritage of the Court of Thanjavur” 16.30 – 19.00 น. ณ หอประชุมจ�ฬาฯ สอบถามเพ��มเติม : ศูนย อินเดียศึกษาแห งจ�ฬาฯ โทร. 0-2218-3945

CU SOON

24-26 OCT 2018 สัมมนา “Design Thinking” ณ อาคารศศปาฐศาลา

สอบถามเพ��มเติม : สถาบันบัณฑิต บร�หารธุรกิจ ศศินทร โทร. 0-2218-4001 – 7

3 NOV 2018

งาน “พาน องเตร�ยมตัว สู รั้วจ�ฬาฯ 10.00 - 15.30 น. ณ หอประชุมจ�ฬาฯ

สอบถามเพ��มเติม : ศูนย สื่อสารองค กร จ�ฬาฯ โทร. 0-2218-3364-5

CU Around เดือนพฤศจิกายน เข้มข้นด้วยเนือ้ หาสาระน่าสนใจ เต็มอิม่ กับความรูท้ ห่ี ลากหลายในคอลัมน์ตา่ งๆ

• CU Engagement มิตใิ หม่ของจุฬาฯ สู่ Digital Transformation • CU Pride รศ.น.สพ.ดร.กฤษ อังคนาพร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กับรางวัลนวัตกรรมระดับนานาชาติแก้ปญั หาสุกรท้องเสีย • CU Knowledge กับพันธกิจของ Chula UDC ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพือ่ ทุกคน • CU Health รูจ้ กั Food Coma อาการง่วงจัดหลังอาหารมือ้ กลางวัน • CU Culture งานลอยกระทงทีจ่ ฬุ าฯ สืบสานประเพณีไทย

หากมีขอ้ เสนอแนะใดๆ เกีย่ วกับ CU Around สามารถส่งมาได้ท่ี inbox Facebook : CUAround หรือทางอีเมล pr@chula.ac.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.