สูจิบัตรออนไลน์ “สำเนียงเสียงสยาม ชุด เว้ากถาอีสาน” วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2566

Page 1


สารจากผู้อานวยการดนตรี ตลอดเวลากว่า 35 ปี วงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน พระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช นครินทร์ เราเติบใหญ่และมีพัฒนาการทางด้านดนตรีอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ด้าน ด้วย จานวนคอนเสิร์ตที่นาเสนอในแต่ละฤดูกาลคอนเสิร์ต ประเภทของบทประพันธ์เพลงที่มี ความหลากหลายในคอนเสิร์ต อีกทั้งจานวนผู้ชมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการขยาย กลุ่มอายุของผู้ฟัง รวมทั้งการผลิดอกออกใบเป็นวงดนตรีอีกหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อสืบ สานพระดาริของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ ในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านดนตรีคลาสสิก ให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป วงเครื่องสายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU String Orchestra) อีกหนึ่งในการ นาเสนอโครงการทางด้านดนตรีของนิสิตแก่ผู้ชม จุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งหวังพัฒนาทักษะ ทางด้านดนตรีการบรรเลงกลุ่ม (Ensemble) ให้แก่นิสิตผู้เข้าร่วม การส่งเสริมพื้นที่การ เรียนรู้สร้างสรรค์ โดยครั้งนี้จะเป็นการนาเสนอผลงานการประพันธ์สาหรับวงเครื่องสาย ในชื่อบทเพลง “เว้ากถาอีสาน” ซึ่งเป็นบทประพันธ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากบทเพลง พื้นบ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ประพันธ์ดนตรีและอานวยเพลงโดย รศ. ดร. นรอรรถ จันทร์กล่า โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสานักงานการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในนามของวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาฯ ผมขอขอบคุณสถาบันและหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทุกส่วน ตลอดจนนักดนตรีและผู้ปกครองที่ มีส่วนร่วมให้การแสดงครั้งนี้สาเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี ผศ. พ.อ.ชูชาติ พิทักษากร ผู้อานวยการดนตรี


Program บทเพลง “เว้ากถาอีสาน” 1. Dawn of Isan 2. Mekong River 3. The Dance 4. Lullaby of the Winds 5. Tale of Isan Woods 6. Legacy of Isan นิรัฐศา อยู่สมบูรณ์ หัวหน้าวง Nirutsa Usomboon Concert Master โชติ บัวสุวรรณ เดี่ยวไวโอลิน Chot Buasuwan Violin Soloist รองศาสตราจารย์ ดร.นรอรรถ จันทร์กล่า ผู้อานวยเพลง Assoc. Prof. Dr. Nora-ath Chanklum Conductor ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันเอกชูชาติ พิทักษากร ผู้อานวยการดนตรี Asst. Prof. Col. Choochart Pitaksakorn Music Director

นรอรรถ จันทร์กล่า


“เว้ากถาอีสาน” บทประพันธ์เพลง ชุดสาเนียงพื้นบ้านไทยสาหรับวงเครื่องสายตะวันตก บทประพันธ์เพลงสาเนียงเสียงสยาม ชุดที่ 2 “เว้ากถาอีสาน” บทประพันธ์เพลง ชุด ส าเนีย งพื้น บ้ า นไทยนี้ เป็น บทประพัน ธ์เ พลงที่ไ ด้รั บ แรงบั นดาลใจจากบทเพลง พื้นบ้านทางภาคตะวันออกเฉีย งเหนือของไทย โดยผู้วิจัย ได้ป ระสมประสานบทเพลง พื้นบ้านดั้งเดิมกับบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ ซึ่งบรรเลงโดยวงเครื่องสายตะวันตก เป็น เพลงชุดมีทั้งหมด 6 ท่อน โดยจะมีความยาวในการบรรเลงประมาณ 40 นาที ผู้วิจัยเริ่มต้นกระบวนการทางานด้วยการค้นคว้า สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเพลงอีสาน ตั้ ง แต่ ที่ ม า ประวั ติ ก ารสร้ า ง การพั ฒ นาทั้ ง บทเพลง เครื่ อ งดนตรี แ ละวั ฒ นธรรม ประเพณีที่เกี่ยวข้องและผู้คน ทั้งที่เป็นผู้ผลิตงานและผู้สัมผัสงาน จากนั้นได้คัดเลือกเพลง ที่เหมาะสมเพื่อที่จะเป็นเพลงตั้งต้น ในการเป็นวัตถุดิบสาคัญในการประพันธ์เพลง การประพันธ์เพลงชุดนี้ได้คานึงถึงสุ้มเสียง สาเนียงเพลงโดยรวม เพื่อที่ให้มีความ สมดุลระหว่างเพลงดั้งเดิมและเพลงที่ป ระพันธ์ขึ้นใหม่ โดยที่สาเนีย งเพลงดั้งเดิม นั้น อาจจะแสดงด้วย บันไดเสียง ทานอง รูปแบบจังหวะ สาเนียง วิธีการเลียนเสียงการ บรรเลงเฉพาะ ของเครื่องดนตรีดั้งเดิม ฯลฯ ในส่วนของการประพันธ์และการเรีย บเรีย งเพลง ใช้เทคนิค การประพันธ์เพลง ตะวั น ตก โดยน าบางส่ ว นของเทคนิ ค การประพั น ธ์ เ พลงตะวั น ตกมาประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ ห้ สอดคล้อง เหมาะสมกับทานองดั้งเดิม เพื่อให้บทเพลงโดยรวมมีเอกลักษณ์และมีสมดุล ของการผสมผสานระหว่างท านองดั้ง เดิม ที่เป็น ตะวันออกและท านองเพลงใหม่ที่เป็ น ตะวันตก ให้เกิดเป็นบทเพลงที่มีเสียงใหม่จากการผสมผสานนี้ สาหรับเพื่อความอภิรมย์ ในการฟังและให้เกิดผลกระทบต่อผู้สร้างงาน เป็นตัวอย่างและเป็นแรงบันดาลใจในการที่ จะสร้างผลงานดนตรีสร้างสรรค์เชิงวิชาการต่อไป

นรอรรถ จันทร์กล่า 19 กรกฎาคม 2566


Siam Folk Tunes “Isan” A New Composition based on Thai Folk Tunes for String Orchestra Siam Folk Tune Suite No.2, “Isan” is inspired by folk tunes from the Northeastern of Thailand. The researcher incorporates selected folk tunes with newly-composed materials for Western string orchestra. The suite comprises six movements, with a duration of 40 minutes. The process of this creative work starts with researching into information on Isan music from its history, development, musical instruments, cultures and traditions, as well as individuals who created and utilized the music. The researcher then selects the tunes appropriate to implement as musical models and material for this works. In composing, Thai musical idiomatic writing is considered to render a balance between the borrowed and the new materials through a careful use of original elements including keys, melodies, rhythmic patterns, idioms, and re-creating the sound and imitation of performance techniques of the original instruments. In regards to composing and arranging, Western compositional techniques are carefully chosen and adapted to fit the original melodies in order to retain the identity of the work and provide a balanced blend of the original Eastern and the new Western melodies, so as to create a new sound for the aesthetics for the listeners, and an impactive inspiration for the creator to continue crafting music of this fashion. Nora-ath Chanklum July19, 2023


1. Dawn of Isan ท่อนแรกของบทประพันธ์เพลงชุด “เว้ากถาอีสาน” นาเสนอภาพของดินแดนอีสาน ยามรุ่งอรุณ ผู้วิจัยใช้ชื่อท่อนนี้ว่า Dawn of Isan แนวไวโอลินเดี่ยวมีบทบาทสาคัญ ทั้ง การบรรเลงทานองหลักและการบรรเลงประกอบ ซึ่งนาบางส่วนจากลายสุดสะแนนและ จากการประพั น ธ์ ขึ้ น ใหม่ โดยการประยุ ก ต์ ก ารบรรเลงไวโอลิ น ด้ ว ยเทคนิ ค ขั้ น สู ง โดยเฉพาะการศึกษาผลงานของนักประพันธ์เอกคือ Bach และ Ysaye เพื่อที่จะนา ความรู้ ความเข้าใจของทั้งสองศาสตร์ มาบูรณาการในเชิงสร้างสรรค์การสร้างสาเนียง แคนจากการบรรเลงด้วยไวโอลิน ท่อนแรกนี้จะเริ่ม ต้นด้วยการท านองเดี่ยวไวโอลิน คล้ายการเกริ่นนา ในจังหวะช้า ตามขนบของการเกริ่นก่อนเริ่มทานองหลักหรือก่อนการนาเข้าสู่จังหวะจริงของบทเพลง ที่ส่วนใหญ่จะมีจังหวะเร็ว ก่อนจะถึงทานองหลักคือลายสุดสะแนน ลายสุดสะแนนหรือลายเสมอ เป็นลายต้นแบบหรือลายครู ประกอบการลาทางสั้น ตั้งชื่อตามลูกแคนที่ชื่อ สะแนน คือไม้กู่แคนลูกที่ 6 เป็นลายที่สามารถบรรเลง และ สร้างสรรค์ทานองได้อย่างกว้างขวาง เพราะกลุ่มเสียงลายนี้ เทียบได้คล้ายกับบันไดเสียง C เมเจอร์ หมอแคนจึ งสามารถบรรเลงได้อ ย่างสะดวก และสามารถที่จ ะเปลี่ย น ศูนย์กลางเสียงได้อีกด้วย ผู้วิจัยได้ใช้โน้ต ลายสุดสะแนน ที่บันทึกแบบไทยนามาแปลงเป็นโน้ตสากล เพื่อนามา อ้างอิงถึงทานองหลักเพื่อที่จะด าเนินการประพันธ์เพลง ทั้งนี้ไ ด้ต ระหนักถึงบริบ ทอื่น นอกเหนือจากทานอง เช่น เสียงค้าง เสียงขั้นคู่ ที่เกิดขึ้นควบคู่กับทานอง เช่น คู่ 4-5 การเน้นจัง หวะ โดยเฉพาะจังหวะยก ฯลฯ ซึ่งจะต้อ งใช้พิจารณาในการเลือกใช้และ ผสมผสานกับเทคนิคการบรรเลงของเครื่องสายตะวันตก 2. Mekong River ในท่อนที่ 2 ผู้วิจัยได้นาลายเต้ยโขง ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านอีสานที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด เพลงหนึ่ง มาเป็นเพลงตั้งต้นในการประพันธ์ โดยให้ชื่อว่า Mekong River แม่น้าโขงมีส่วนสาคัญต่อชุมชน ผู้คนในภูมิภาคทีแ่ ม่น้าได้ไหลผ่าน เป็นแหล่งกาเนิด อารยธรรมมาเนิ่นนาน ผู้วิจัยได้ผสมผสานเทคนิคการประพันธ์และเรียบเรียงดนตรีที่ หลากหลายกับทานองเต้ยโขง และประพันธ์เพิ่มเติม โดยยังใช้แนวไวโอลินเดี่ยว เป็น


เครื่องดนตรีนา และบางครั้งเป็นส่วนหนึ่งของวงดนตรีในการสนับสนุนทั้งหน้าที่ในการ บรรเลงทานองรองและเสียงประสาน ในท่อนนี้ ผู้วิจัยสร้างทานองจากบันไดเสียงเพนตาโทนิกหลายบันไดเสียงมาเรียงต่อ กัน ทาให้เกิดแนวทานองที่น่าสนใจ อีกทั้งยังคงให้ความรู้สึกเป็นสาเนียงเพลงพื้นบ้าน ที่ สร้างจากบันไดเสียงเพนตาโทนิกเหล่านี้ ท่อนที่ 2 นี้ มีลักษณะของบทเพลงพรรณนา ในแง่ของการบรรยายลักษณะการ เคลื่อนไหวของสายน้าที่บางคราวก็นิ่งสงบ บางคราวก็ไหลเชี่ยวรุนแรง ในตอนท้าย ผู้วิจัยตั้งใจบรรยายถึงสายน้าโขงอันกว้างใหญ่ที่ถาโถมไหลลงปากอ่าวที่กว้างใหญ่โดยใช้ เทคนิคการเรียบเรียงดนตรี เช่น การใช้ช่วงเสียงที่กว้าง การใช้การดาเนินของคอร์ดที่ น่าสนใจ การใช้โน้ตเสียงค้าง และในทานองจบ ผู้เขียนใช้การประสานเสียงแบบเสียง เดียว (unison) เพื่อแสดงถึงการรวมตัวของแม่น้าโขงที่ไหลผ่านดินแดนต่างๆ มาอย่าง ยาวไกลเพื่อไหลลงสู่ทะเล 3. The Dance เนื่องด้วยวิถีการดาเนินชีวิต วัฒนธรรมประเพณีของชาวอีสานสะท้อนถึงความรัก สนุก ดูได้จากศิลปะการละเล่น ดนตรี ร้อง ฟ้อนราอันเป็นเอกลักษณ์ อาจพู ด ได้ว่า ภาพลั ก ษณ์ ข องคนอี ส าน คื อ เป็ น คนที่ รั ก สนุ ก อารมณ์ ดี จริ ง ใจ ผู้ วิ จั ย จึ ง สะท้ อ น บุ ค ลิก ลัก ษณะของชาวอีส านไว้ ในท่ อนนี้ โดยใช้เ พลงนกไซบิ น ข้า มทุ่ง มาเป็น เพลง ต้นแบบ เทคนิค ในการประพันธ์มีห ลายรูปแบบ เช่น การใช้ขั้นคู่เสียงกระด้าง การสร้าง ทานองใหม่จากบั นไดเสีย งเพนตาโทนิก การใช้การประสานเสียงแบบคู่ขนาน การใช้ บันไดเสียงโครมาติก การแปรทานองเพลงต้นแบบ โดยใช้เนื้อดนตรีที่หลากหลาย เป็น ต้น 4. Lullaby of the Winds ในวรรณกรรมเพลงอีสาน เราจะคุ้นเคยกับบทเพลงสนุกสนาน มีจังหวะปานกลาง จนถึงเร็ว บทเพลงสาหรับราฟ้อน สะท้อนถึงวิถีชีวิ ตที่เรียบง่ายและจริงใจของชาวอีสาน แต่บทเพลงที่มีจังหวะช้าเนื้อหา ลีลาที่เศร้าโศกจะไม่เด่นชัดเท่าเพลงเร็ว


ผู้วิจัยค้นงานเพลงจังหวะ ลีลาช้าเพื่อที่จะนามาใช้เป็นเพลงต้นแบบสาหรับท่อนช้า ในชุดเพลงนี้ ก็พบว่าทานองเพลงกล่อมเด็กของชาวอีสาน มีความน่าสนใจ ลักษณะของ บทเพลงกล่อมเด็กส่วนใหญ่แล้ว จะมีจังหวะช้า เนิบนาบ ชวนให้เด็กเคลิ้มและหลับใหล บทเพลงกล่อมเด็กของชาวอีสานส่วนใหญ่ เนื้อหาบทเพลงจะบอกเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ การดารงชีวิต บทเพลงต้นแบบอีกบทเพลงหนึ่งที่นามาใช้ในท่อนนี้คือเพลง ลายลมพัดพร้าว เป็น เพลงที่ไ ด้รับความนิย ม มีการนาไปบรรเลงในจังหวะที่เร็วปานกลางและค่อนข้างเร็ว โดยเครื่องดนตรีอีสานและวงดนตรีอีสานประเภทต่างๆ ผู้วิจัยเห็นว่าแนวทานองเพลงลม พัดพร้าวนี้ การใช้เครื่องดนตรีพิณ ในจังหวะปานกลางค่อนข้างช้า น่าจะเข้ากันได้ดีกับ ท านองเพลงกล่ อ มเด็ก อี ส าน เนื่ อ งจากท านองมีค วามไพเราะ เยื อ กเย็ น อีก ทั้ ง ยั ง สามารถนาเอาเอกลักษณ์ของเสียงพิณ มาประยุกต์เข้ากับวงดนตรีเครื่องสายฝรั่งในวิ ธี ใหม่ เพื่อสร้างเสียงใหม่แต่ยังสะท้อนถึงเครื่องดนตรีดั้งเดิมคือ พิณ ได้ ท่อน Lullaby of the Winds นี้ ผู้วิจัยต้องการสื่อถึงธรรมชาติของชนบทอีสาน ที่มีความสงบ ร่มรื่น ร่มเย็น ในบริบทที่หลากหลาย ทั้งบรรยากาศ (สายลม) เครื่อง ดนตรีเครื่องลมไม้ (โหวด ปี่ผู้ไทยหรือปี่ลูกแคน) โดยเสนอผ่านบทเพลง 2 เพลง เพลง กล่อมเด็กอีสาน เพลงลมพัดพร้าว โดยทานองทั้งเพลง ผู้วิจัยนามาใช้ในหลายรูปแบบ 4. Tale of the Woods Tale of Isan Woods นี้ มีความเกี่ยวโยงกับสองความหมาย ความหมายแรกคือ เครื่องดนตรีอีสานที่ทาด้วยไม้ เช่น โปงลาง แคน พิณ โหวด ขลุ่ย และเครื่องตี ความหมายที่ 2 คือการบรรยายถึงธรรมชาติของดินแดนอีสาน ป่าเขาที่เป็นทั้งที่อยู่ อาศัยและแหล่งทามาหากิน วิถีที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ผู้วิ จั ย เลื อ กใช้ท านองลายโปงลาง เป็ นเพลงต้น แบบและเป็น วั ต ถุดิ บ หลั กในการ ประพันธ์เพลง ลายโปงลางเป็นลายที่เป็นที่นิยมในการบรรเลงในวงดนตรีหลากหลาย เนื่องจากเป็นทานองที่สนุก จดจาง่าย เป็นเพลงขนาดสั้น ไม่ซับซ้อน สามารถบรรเลง ย้อนพร้อมเติมแต่งกลเม็ดเด็ดพรายตามที่นักดนตรีต้องการ เมื่อได้ยินทานองลายโปงลาง สาเนียงของการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีโปงลางก็จะ เด่นชัดกว่าการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีชนิดอื่น เสียงการเคาะลูกโปงลางจะมีเอกลักษณ์


คือเสีย งที่ก้ องกังวาน คึ กคัก มีค วามมั่น ใจ ส่ว นใหญ่ บ ทเพลงจะบรรเลง เร็ว และ กระชั้นขึ้นอย่าง เร้าใจจนจบ 6. Legacy of Isan ท่อนสุด ท้าย ผู้วิจัย เลือกท านองลายบายศรี เนื่องจากเป็น ท านองเพลงอีสานที่ ไพเราะอ่อนหวาน ลายบายศรีใช้ป ระกอบการแสดงฟ้อนบายศรี เป็นเพลงจังหวะช้า ลีลาทานองในแต่ละท่อนจะไม่ซ้ากัน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ท่อนเพลง โดยแบ่งท่อนแยกจาก กัน ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ ท่อน A B C D C’ E ท่อนจบ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียบเรียงและ ประพันธ์เพลงเพิ่มเติม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ภาพ โน้ตเพลง ลายบายศรี

ท่อนเพลง Legacy of Isan นี้ ผู้วิจัยต้องการให้เป็นท่อนสรุปที่มีลีลาที่สง่างาม ยิ่งใหญ่ ดังการน าเสนอลีลาดนตรี ในช่วงท้าย ในช่ วงกลางเพลงจะเป็นการนาเสนอ ทานองเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยสะท้อนความสนุกสนานของคนอีสานผ่านบทเพลงที่ ได้ แ รงบั น ดาลใจจากการประยุ ก ต์ ล ายแคนต่ า งๆ พร้ อ มกั บ ได้ ซ าบซึ้ ง ถึ ง รากของ วัฒนธรรมดนตรีอีสานที่น่าภูมิใจจากทานองอันสง่างามของลายบายศรีที่หวนกลับมาใน ตอนท้ายเพลง


โชติ บัวสุวรรณ เดี่ยวไวโอลิน โชติเริ่ม เรีย นไวโอลิน เมื่ออายุ 7 ปี กับ รศ. ดร. นรอรรถ จั น ทร์ ก ล่ า ต่ อ มาโชติ ไ ด้ เ ข้ า ศึ ก ษาที่ โ รงเรี ย น วชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย และได้ รั บ รางวั ล ผู้ มี ค วามสามารถทาง ดนตรีจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ต่อมามีโอกาสเข้าร่วมวงดุริยางค์ เยาวชนไทย ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ต่อมาได้รับ เลือกเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ณ เมือง Palmerston North นิ ว ซี แ ลนด์ และในระหว่ า งศึ ก ษาเข้ า ร่ ว มวง Manawatu Youth Orchestra และ Manawatu Sinfonia Orchestra ที่นั่นด้วย นอกจากนั้นโชติยังได้มีโอกาสเรียนไวโอลินกับ อาจารย์ประทักษ์ ประทีปะเสน, อาจารย์ทัศนา นาควัชระ, Leo Phillip และอาจารย์ศิริพงษ์ ทิพย์ธัญ โชติสาเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเอก โดยศึกษาไวโอลินกับ รศ. ดร. นรอรรถ จันทร์กล่า จากภาควิชาดุริยางคศิลป์ต ะวันตก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างศึกษาโชติได้เข้าร่วมการแสดงร่วมกับวงดนตรีต่าง ๆ เช่น วงในระดับเยาวชน Siam Sinfonietta และวงอาชีพ เช่น Siam Philharmonic Orchestra, Royal Bangkok Symphony Orchestra รวมไปถึงได้ร่วมงานกับศิลปิน ต่าง ๆ เช่น Bodyslam, Cocktail, Modern dog, แสตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข, อะตอม ชนกันต์ รัตนอุดม, อิงค์ วรันธร เปานิล เป็นต้น ปัจจุบันรับตาแหน่งเป็น Assistant Concertmaster (ผู้ช่วยหัวหน้าวง) วง Royal Bangkok Symphony Orchestra และ เป็นสมาชิกวง National Symphony Orchestra


นรอรรถ จันทร์กล่า ผู้ประพันธ์เพลง ผู้อานวยเพลง เริ่ ม สร้ า งผลงานจากการบรรเลงไวโอลิ น ทั้ ง นั ก ไวโอลิ น เดี่ ย วและหั ว หน้ า วงทั้ ง ระดั บ อาชี พ และระดั บ มหาวิท ยาลัย นรอรรถมี ผลงานการแสดงและบั นทึ กเสีย ง มากมาย และได้ ร างวั ล เพลงบรรเลงยอดเยี่ ย ม คมชัด ลึ ก อวอร์ด จากอัลบั้ม “ไตร” ในปี พ.ศ.2550 มีผลงานการ อ านวยเพลงให้ กั บ วงรอยั ล ซิ ม โฟนี อ อร์ เ คสตรา ตั้ ง แต่ ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน และเป็นผู้อานวยเพลงประจาวงซิมโฟนี ออร์เคสตราแห่งจุฬาฯ (CU Symphony Orchestra) และวง เครื่องสายแห่งจุฬาฯ (CU String Orchestra) มีผลงานการ อานวยเพลงในบทเพลงของนักประพันธ์ที่หลากหลาย นอกจากนั้นยังสร้างผลงานการเรียบเรียงเพลงไทยสากลสาหรับวงซิมโฟนีออร์เคส ตรากว่ า 200 เพลง ผลงานการเรี ย บเรี ย งที่ เ ป็ น ที่ จ ดจ าคื อ การรั ง สรรค์ ผ ลงาน นวัต กรรมเพลงไทยสากลชุด “บีเอสโอบรรเลงสุนทราภรณ์ ” ซึ่งทาหน้าที่อานวยเพลง เรีย บเรีย งเสีย งประสาน ขับร้องและอานวยการผลิต อัลบั้ มได้รับ การเสนอชื่อรางวัล อัลบั้มยอดเยี่ยมแห่งปี และศิลปินชายเดี่ยว คมชัดลึก อวอร์ด ประจาปี 2555 ได้ร่วมงานกับ ชรินทร์ นันทนาคร ศิลปินแห่งชาติ ในคอนเสิร์ต ชรินทร์อิน คอนเสิ ร์ ต ตั้ งแต่ปี 2549 จนถึงปัจ จุบัน ได้มีโอกาสเรีย บเรีย งเพลงไทยสากลเป็ น จานวนมาก รวมถึงการได้รับเกีย รติป ระพันธ์เพลงร่วมกับ ชาลี อินทรวิจิต ร ศิลปิน แห่งชาติ หลายบทเพลงเช่น เพลงกล่อมแผ่นดิน และเพลงจากละครเพลงเรื่อง สงคราม ชีวิต ประพันธ์โดย ศรีบูรพา ได้ ป ระพั น ธ์ เ พลงชุ ด “วรรคทอง” ประกอบบท วรรณคดีที่เป็นอมตะ 26 บท โดยความสนับสนุนจากราชบัณฑิตยสภา และการเรียบ เรียงเพลงไทยเดิม สาหรับวงเครื่องสายตะวันตก “สยามดุริยางค์เครื่องสาย” โดยได้รับ การสนับ สนุ นจาก สานั กงานกองทุ นสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในปี 2563 ได้รั บ รางวัล ศิลปินศิลปาธร สาขาดนตรี ในปี 2561 ได้ก่อตั้งค่ายดนตรีใ นนาม Siam Masterpiece Record ผลิตผลงานบทเพลงไทยร่วมสมัย อาทิเช่น คลาสสิกไพบูลย์ บุตรขัน คลาสสิกสุนทราภรณ์ เป็นต้น ปัจจุบัน นรอรรถมีผลงานการอานวยเพลง การ ประพันธ์เพลง การเรียบเรียงเพลงอย่างสม่าเสมอและต่อเนื่อง


นักดนตรี - Musician ไวโอลิน 1 นิรัฐศา อยู่สมบูรณ์ ณิชชา แป้นเหมือน อติกานต์ นาคเสน ฟ้าใส บูรณศิริ ชินพงศ์ ไหลสกุล ปุญญพันธุ์ พิริปุญโญ รัชพล แสงจันทร์ ฉัตรดนัย นวลละออง

1st Violin Nirutsa Usomboon Nicha Panmuan Atikarn Naksen Fhasai Buranasiri Chinnapong Laisakul Poonyaphan Phiripoonyo Rachapol Saengchan Chaddanai Nulla-ong

ไวโอลิน 2 อติภา วิเศษโอภาส ณัฐชา วงศ์อริยะกวี ณัฐชา หมวดทอง พิยดา คงพรหม วรากุล ศรีนวล ปัญรัฏฐ์ วงศ์ปทั มภาส ธนธัช ศรีอรัญญากุล เบญมาภา พัทธธรรม

2nd Violin Atipa Wisedopas Nuttacha Wongareyakawee Natcha Muadthong Piyada Kongprom Warakul Srinoan PunRat Wongpattamapad Thanatat Sriaranyakul Benjamapa Pattatham

วิโอลา สราวุฒิ ผลาชีวะ ฉัตรชัย สุขนิยม ภาณุพงศ์ เสริมพงษ์ไพศาล ธนวรรณ ฤทธิ์เดชขจร สิริรักษ์ ดีตะนะ ภัทรพล บุญฉิม

Viola Sarawut Palacheeva Chatchai Sukniyom Phanupong Sermpongpaisal Thanawan Ritdechkajorn Sirirak Deetana Pattharapol Bunchim


เชลโล สมัชชา พ่อค้าเรือ วิชญ์วิน สุรีย์รัตนากร ทศพร โพธิ์ทอง ประทีป วรศริน เสาวภา แจ่มโคกสูง

Cello Smatcha Porkharue Wishwin Sureerattanakorn Thosaporn Pothong Prateep Worasarin Saowapha Jamkoksoong

ดับเบิลเบส ภูมิรพี วงศ์อนุสรณ์ ฉัทมน ปั้นประเสริฐ

Double Bass Phumrapee Wong-anusorn Chattamon Punprasert

ขอขอบพระคุณ สานักงานการวิจัยแห่งชาติ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สานักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน่วยปฎิบตั ิการวิจัยดนตรีสร้างสรรค์เชิงวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬรักษ์ ศาสตราจารย์ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร นักดนตรีและคณะทางานทุกท่าน



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.