จุฬาวาทิต ครั้งที่ ๒๒๘ “90 ชาตกาล สืบสานเพลงบ้านบาตร” มโหรีปี่พาทย์ครูสุบิน จันทร์แก้ว วันศุกร์ที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ลาดับการแสดง 1.เพลงโหมโรงกระสุนทอง วงเครื่องสายผสมขิม ๒.เพลงลาวคาหอม เถา วงมโหรีพิเศษ ๓.เพลงเรื่องแปดบท วงเครื่องสายผสมเปียโน ๔.เพลงเทพบรรทม เถา วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ๕.เพลงอาหนู เดี่ยวฆ้องวงใหญ่ ๖.เพลงนกขมิ้น เดี่ยวฆ้องวงเล็ก ๗. เพลงอกทะเล สามชั้น วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
มโหรีปี่พาทย์ ครูสุบิน จันทร์แก้ว วงดนตรีที่แสดงในวันนี้เป็นวงดนตรีจากศิษย์ของครูสุบิน จันทร์แก้ว และวงดนตรีของสาขาวิชา ดนตรีไทย ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ครูสุบิน จันทร์แก้ว เคยเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยประจาภาควิชาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๔๖ ได้ถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรี ไทยในแก่นิสิตในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นเวลา ๑๗ ปี การบรรเลงในครั้งนี้จึงได้นาบทเพลงตาม แนวทางของครูสุบิน จันทร์แก้ว ได้ถ่ายทอดไว้ในอดีตมาบรรเลงและขับร้อง อีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งเป็น การแสดงรูปแบบวงต่างๆ ดังนี้ ชุดที่ ๑ วงเครื่องสายผสมขิม บรรเลงโดยนิสิตปัจจุบัน ควบคุมโดยคณาจารย์ศิษย์ของครูสุบิน จันทร์แก้ว ชุดที่ ๒ วงมโหรี บรรเลงโดยนิสิตปัจจุบัน ควบคุมโดยคณาจารย์ศิษย์ของครูสุบิน จันทร์แก้ว ชุดที่ ๓ วงเครื่องสายผสมเปียโน บรรเลงโดยศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบัน ควบคุมโดยคณาจารย์ ศิษย์ของครูสุบิน จันทร์แก้ว ชุดที่ ๔ วงปี่พาทย์ไม้แข็ง บรรเลงโดยนิสิตปัจจุบัน ควบคุมโดยคณาจารย์ศิษย์ของครูสุบิน จันทร์แก้ว ชุดที่ ๕ เดี่ยวฆ้องวงใหญ่ บรรเลงโดยนิสิตปัจจุบัน ควบคุมโดยคณาจารย์ศิษย์ของครูสุบิน จันทร์แก้ว ชุดที่ ๖ เดี่ยวฆ้องวงเล็ก นักเรียนโรงเรียนมัธยมสังคีต ควบคุมโดยคณาจารย์ศิษย์ของครูสุบิน จันทร์แก้ว
ประวัติเพลง 1. เพลงโหมโรงกระสุนทอง วงเครื่องสายผสมขิม เพลงโหมโรงกระสุนทอง ในการแสดงหนังใหญ่มักเรียกชื่อแผลงว่า “กระสุนทอง” เป็นเพลงที่ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) แต่งขึ้นโดยใช้ทานองจากเพลงกลม ซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ อยู่ในชุดโหมโรงเช้าและโหมโรงเย็น มาขยายขึ้นเป็นอัตราสามชั้นและต่อเติมทานองออกไป เป็นเพลง โหมโรงประเภทเสภาสั้นๆ เพื่อใช้บรรเลงออกอากาศ ณ สถานีวิทยุ 1.1.P.J เมื่อ พ.ศ. 2472 เรียกชื่อ ตามหน้าพาทย์แผลงว่า “โหมโรงกระสุนทอง” รายนามนักดนตรี 1. นายเกริกชัย ไชยคาหล้า ซอด้วง 2. นายนันทิพัฒน์ ศรีวิเศษ ซอด้วง 3. นางสาวรวิวรรณ น้อยประเสริฐ ซออู้ 4. นางสาวปภาดา วีระพงษ์ ซออู้ 5. นางสาวปริยาภัทร อินทปัญญา จะเข้ 6. นางสาวมณฑริกา ช่วยจันทร์ จะเข้ 7. นางสาวยุวภรณ์ ภานุโศภิษฐ์ ขิม 8. นายเกียรติศักดิ์ เรืองศรี ขิม 9. นางสาวปิยะธิดา ไทยทอง ขลุ่ยเพียงออ 10. นางสาวพิชฎานันท์ ทรัพย์พิทยากร ขลุ่ยหลิบ 11. นายปฏิภาณ สุกุมลจันทร์ โทน - รามะนา 12. นายอภิรักษ์ เฮงสังวอน ฉิ่ง 13. นางสาวอาภาภัทร พุ่มอุไร กรับพวง ผู้ควบคุมการฝึกซ้อม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล จันทราปัตย์ รองศาสตราจารย์ณรงค์ เขียนทองกุล อาจารย์ ดร.ฉัตรติยา เกียรตินาวี อาจารย์นัฐชา โพธิ์ศรี อาจารย์นาฐคุณ ถาวรปิยกุล
เพลงลาวคาหอม เถา วงมโหรีพิเศษ
“สองชั้นฉาย” จ่าเผ่นผยองยิ่ง (โคม) หรือจ่า
โคม แต่งทางร้องขึ้นโดยฉับพลันเพื่อร้องเล่นสักวา ทางร้องแต่งขึ้นเป็นอิสระไม่ได้ยึดทานองจากเพลงใด
ได้รับความนิยมร้องเล่นกันเป็นอย่างมาก พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) จึงได้ถอด
มีการนาเพลงลาวคาหอมไปบรรเลงและขับร้องในหลากหลายรูปแบบมาจนถึงปัจจุบัน
เพลงลาวคาหอม
2.
เป็นเพลงอัตราจังหวะที่เรียกว่า
นิยมแพร่หลาย
ในยุคที่นิยมเพลงเถา หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นาเพลงลาวคาหอม อัตรา สองชั้นมาแต่งขยายขึ้นเป็นสามชั้นและตัดลงเป็นชั้นเดียวครบเป็นเพลงเถา เมื่อ พ.ศ. 2485 มีหลาย สานวนด้วยกัน ถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ในสานักบ้านบาตรและวงดนตรีไทยคุรุสภา ซึ่งครูสุบิน จันทร์ แก้ว เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดเพลงลาวคาหอม เถา และส่งต่อบทเพลงสู่ลูกศิษย์ การบรรเลงใน ครั้งนี้จึงได้นาเพลงลาวคาหอม เถา แนวทางที่ครูสุบิน จันทร์แก้ว ถ่ายทอดไว้ในอดีตมาบรรเลงอีกครั้ง หนึ่ง โดยอาจารย์แนววิทย์ นิยมวงษ์ ได้ตัดทานองจากชั้นลงเป็นครึ่งชั้นบรรเลงเป็นหางเพลงออกลูก หมดเพิ่มต่อท้ายด้วย ทางขับร้องได้รับการถ่ายทอดจากครูประชิต ขาประเสริฐ บทร้องเพลงลาวคาหอม เถา สามชั้น ยามเมื่อลมพัดหวน ลมก็อวลแต่กลิ่นมณฑาทอง ไม้เอยไม้สุดสูง อย่าสู้ปอง ไผเอยบ่ได้ต้อง แต่ยินนามดวงเอย โอ้เจ้าดวง เจ้าดวงดอกโกมล กลิ่นหอมเพิ่งผุดพ้น พุ่มในสวนดุสิตา แข่งแขอยู่แต่นภา ฝูงภุมราสุดปัญญาเรียมเอย โอ้อกคิดถึง คิดถึงคะนึงนอนวัน นอนไห้ใฝ่ฝัน เห็นจันทร์แจ่มฟ้า ทรงกลด สวยสดโสภา แสงทองส่องหล้า ขวัญตาเรียมเอย สองชั้น หอมดอกไม้เมื่อยามหอม อยากดอมเด็ดได้เอาไว้เหย้า กาหลงลงคัดเค้า แก้วจับกิ่งแก้วเศร้า โศกเอย สูเพื่อนเอย โอ้เจ้าดวงดอกโกมุท เมื่อสายก็หายสุด ให้เสียดายอันเจ้าหอมแม่นแท้ อ้ายเอยสาวเคยคือแล เหมือนแพรห่มเหย้า รักเจ้าสาวคาเอย โอ้ระนุนอุ่นอุราของเรียมนี่เอย น้องจะไปต่อเตย หวีผมสูงสวยสวยสมหน้าน้อง เจาะหูสองข้างหูใส่ต่างแต่ล้วนทอง สายสร้อยสอดคล้อง เจ้าทองคาเอย (บทร้องของเก่า) ชั้นเดียว โอ้ละหนอ น้องนางเอย เจ้าอยู่สูงพี่เหลือปอง ไฝเอยบ่ได้ต้อง นวลแขชื่นใจเอย โอ้เจ้าดวงดอกชมนาด กลิ่นหอมผุดผาดขาวสะอาดเย็นตา คอยแลตั้งแต่นัยนา ฝูงภุมราบินมาเวียนเอย
ทานองจากทางร้องเรียบเรียงเป็นทางดนตรีสาหรับรับร้อง เพลงลาวคาหอมถือเป็นเพลงที่ได้รับความ
โอ้อกใฝ่ถึงราพึงราพัน ร่าไห้ใฝ่ฝันแสงจันทร์แจ่มฟ้า แต่วนเวียนเพียรคิดถึงน้องยา จันทร์เจ้าจนจะลาจากฟ้าแล้วเอย (นางจันทนา พิจิตรคุรุการ แต่งเมื่อ พ.ศ.2493) รายนามนักดนตรี 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาณุภัค โมกขศักดิ์ ขับร้อง 2. นายนันทิพัฒน์ ศรีวิเศษ ซอสามสาย 3. นายอัษฎาวุธ ฉ่ารักษ์สินธุ์ ซอสามสายหลิบ 4. นายกฤษฎิ์ กิจวิเศษ ซอด้วง 5. นายเกริกชัย ไชยคาหล้า ซอด้วง 6. นายเบญจพล มาศจังหรีด ซออู้ 7. นายปฐมพงศ์ พงศธรเจริญศรี ซออู้ 8. นางสาวรัชษา งามสะอาด จะเข้ 9. นางสาวอาภาภัทร พุ่มอุไร จะเข้ 10. นางสาวศรันย์รักษ์ วงศ์สง่า ขลุ่ยเพียงออ 11. นางสาวพิชฎานันท์ ทรัพย์พิทยากร ขลุ่ยหลิบ 12. นายฤทธิรงค์ เหมือนทองจีน ระนาดเอก 13. นายบูรพา ต้นหนองสวง ระนาดทุ้ม 14. นางสาวอนุธิดา วาศภูติ ฆ้องวงใหญ่ 15. นายศิกพัฒน์ นวลปลอด ฆ้องวงเล็ก 16. นายสรัล น้อยประสิทธิ์ กลองแขก 17. นายพลพล เทพณรงค์ กลองแขก 18. นางสาวนันทิกานต์ ใจเย็น ฉิ่ง 19. นางสาวปณิดา ฝ่ายเพชร กรับ 20. นางสาวสราธร เกษทรัพย์ ฉาบเล็ก 21. นายวิริยะ ธนาวิรัตนานิจ โหม่ง ผู้ควบคุมการฝึกซ้อม รองศาสตราจารย์ณรงค์ เขียนทองกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุภัค โมกขศักดิ์ อาจารย์ ดร.ฉัตรติยา เกียรตินาวี อาจารย์แนววิทย์ นิยมวงษ์ อาจารย์นัฐชา โพธิ์ศรี
3. เพลงเรื่องแปดบท วงเครื่องสายผสมเปียโน เพลงเรื่องแปดบท เป็นเพลงเรื่องที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ มีลักษณะแปลกไปจากลักษณะเพลงเรื่อง ของเก่า ประกอบด้วย 1. ช่วงเพลงหน้าทับปรบไก่ สามชั้น ประกอบด้วย เพลงแปดบท และเพลง สะบัดสะบิ้ง 2. ช่วงเพลงหน้าทับสองไม้ สามชั้น ประกอบด้วย เพลงชมแสงทอง 3. เพลงหน้าทับสอง ไม้ สองชั้น ประกอบด้วย เพลงต้นบรเทศ ออกต้นบรเทศฝรั่ง 3. เพลงเร็ว (ชั้นเดียว) และลงด้วยเพลง ลา ครูสุบิน จันทร์แก้ว เป็นผู้นาเพลงนี้ออกเผยแพร่และถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ การบรรเลงในครั้ง นี้จึงได้นาเพลงเรื่องแปดบทแนวทางที่ครูสุบิน จันทร์แก้ว ได้ถ่ายทอดไว้มาบรรเลงอีกครั้งหนึ่งโดยใช้วง เครื่องสายผสมเปียโน ปรับปรุงแนวทางการบรรเลงโดยรองศาสตราจารย์ณรงค์ เขียนทอยงกุล และ อาจารย์ ณกฤศ จิรารัฐพัชร บรรเลงครั้งแรกในการแสดงดนตรีไทย “นนทรีคีตวาทิต ครั้งที่ 10 “เสียง ฆ้องสืบวิถี 90 ปี ครูสุบิน จันทร์แก้ว วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องแสดงดนตรี ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายนามนักดนตรี 1. นายพีรพันธุ์ กาญจนโหติทัศ เปียโน 2. นายนัฐชา โพธิ์ศรี ซอด้วง 3. นางสาวธัญมน ปราโมช ณ อยุธยา จะเข้ 4. นายเกริกชัย ไชยคาหล้า ซออู้ 5. นายพลพล เทพณรงค์ ขลุ่ย 6. นายกฤศกร เรืองลั่น ขิม 7. นายบารมี เพ็งกระจ่าง เครื่องกากับจังหวะ 8. นายสรัล น้อยประสิทธิ์ เครื่องกากับจังหวะ 9. นายอติรุจ ลาพึงคิด ฉิ่ง ผู้ควบคุมการฝึกซ้อม รองศาสตราจารย์ณรงค์ เขียนทองกุล อาจารย์ณกฤศ จิรารัฐพัชร
4. เพลงเทพบรรทม เถา วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพลงเทพบรรทม สามชั้น เป็นเพลงที่จ่าเผ่นผยองยิ่ง (โคม) หรือจ่าโคม แต่งขึ้นในช่วงต้นรัชกาล ที่ 5 ในรูปแบบของเพลงสักวาโดยได้แต่งทั้งทางร้องและบทร้อง มี 2 ท่อน ท่อนที่ 1 ได้ยึดทานองของ เพลงเสภานอก สองชั้น และท่อน 2 ยึดทานองเพลงเสภากลาง โดยแต่งขยายขึ้นเป็นสามชั้น ต่อเติม ทานองและตัดทอนจนห่างออกไปจากโครงสร้างเพลงเดิม ท่อน 1 จึงมี 8 จังหวะหน้าทับปรบไก่ และ ท่อน 2 มี 6 จังหวะหน้าทับปรบไก่ เรียกชื่อว่า “สักวาเทพบรรทม” ต่อมาครูทัด ครูร้องครูปี่พาทย์ประจาวงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้แต่งทานองดนตรีขึ้นเพื่อรับร้องสักวาเทพบรรทมของจ่าโคม โดยได้ถอดทานองจากทางร้อง แล้วแต่งเติมและตัดทอนเพลงออกอย่างกว้างขวางทาให้ทานองดนตรีท่อน 1 เหลือเพียง 7 จังหวะ ทางร้องมี 8 จังหวะ ท่อน 2 มี 9 จังหวะ ทางร้องมี 6 จังหวะ เพลงนี้เป็นเพลงที่ได้รับความนิยม แพร่หลายในวงปี่พาทย์เมื่อนาออกมาจากวงสักวาแล้วนิยมเรียก “เพลงเทพบรรทม” ทางด้านคีตศิลป์ ถือว่าเพลงเทพบรรทมเป็นเพลงสาคัญที่แสดงศักยภาพของผู้ขับร้อง และถือว่านักร้องเพลงไทยต้อง ร้องเพลงเทพบรรทมได้ดี ในยุคที่นิยมเพลงเถา หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นาเพลงเทพ บรรทม อัตราสามชั้น มาตัดลงเป็นสองชั้นและชั้นเดียวครบเป็นเพลงเถา ทั้งทางร้องและทานองดนตรี เมื่อ พ.ศ. 2490 ถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ในสานักบ้านบาตร ซึ่งครูสุบิน จันทร์แก้ว เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับ การถ่ายทอดเพลงเทพบรรทม เถา และส่งต่อบทเพลงสู่ลูกศิษย์การบรรเลงในครั้งนี้จึงได้นาเพลงเทพ บรรทม เถา แนวทางที่ครูสุบิน จันทร์แก้ว ถ่ายทอดไว้ในอดีตมาบรรเลงอีกครั้งหนึ่ง แนวทางการขับร้อง เพลงเทพบรรทม เถา รับการถ่ายทอดจากครูองุ่น บัวเอี่ยม และครูประชิต ขาประเสริฐ ซึ่งเป็นศิษย์ สานักบ้านบาตรเช่นกัน บทร้องเพลงเทพบรรทม เถา สามชั้น สาวสวรรค์กัลยาเป็นข้าบาท บาเรอองค์เทวราชอันเรืองศรี ได้ทรงฟังวังเวงเพลงดนตรี สาหรับที่เทวัญเธอบรรทม องค์เทวราชของข้าบาทนี่เอย พระกรเกยเขนยทอง เสียงพิณพาทย์ระนาดฆ้อง เสนาะก้องอยู่วังเวง นภาพื้นเสียงครื้นเครง ได้ทรงฟังวังเวงเพลงสวรรค์นั่นเอย (จ่าเผ่นผยองยิ่ง (จ่าโคม) แต่ง) สองชั้น สาวสวรรค์ร่ายราตามจังหวะ บ้างเคล้าคละบ้างแยกเสียงสาเนียงสนอง บ้างเพลิดเพลินเจริญใจชวนให้มอง ระนาดฆ้องบรรเลงรับกันฉับไว กระจับปี่ซอสีจะเข้อู้ พินิจดูแต่ละอย่างช่างขานไข ผู้ใดหนอช่างจัดบัญญัติไว้ ฟังแล้วพาใจให้ครื้นเครง เหมือนได้ฟังวังเวง เพลงสวรรค์นั่นเอย
ชั้นเดียว พระทรงฟังวังเวงซึ่งเพลงขับ ร้องรับราร่ายกระจายเสียง ครื้นเครงวังเวงไปทั่วเวียง สวรรค์เพียงพิมานแก้วแพร้วเพริศพราย องค์เทวราชของข้าบาทนี้เอย พระกรเกยเขนยทอง ฟังพิณพาทย์ระนาดฆ้อง เสนาะก้องเพลิดเพลินใจ เยือกเย็นเป็นสุขหฤทัย เวียงสวรรค์เทพไท้ของข้านี้เอย (นางจันทนา พิจิตรคุรุการ แต่ง เมื่อพ.ศ.2493) รายนามนักดนตรี 1. นางสาวธัญญารัตน์ เนียมหอม ขับร้อง 2. นางสาววริศรา จดจา ขับร้อง 3. นายณฐภพ บุญเพิ่ม ปี่ใน 4. นายอติรุจ ลาพึงคิด ระนาดเอก 5. นายสุกิตติ สุดแสวง ระนาดทุ้ม 6. นายนครินทร์ สุขชูศรี ฆ้องวงใหญ่ 7. นายกลินท์ มีเทศ ฆ้องวงเล็ก 10. นายพลพล เทพณรงค์ กลองแขก 11 นายสรัล น้อยประสิทธิ์ กลองแขก 12. นายศักดิ์สิทธิ์ มนหอม ฉิ่ง 13. นายศิกพัฒน์ นวลปลอด กรับ 14. นางสาวนฤมล กุลเดช ฉาบเล็ก ผู้ควบคุมการฝึกซ้อม อาจารย์ ดร.สมาน น้อยนิตย์ เรือโทหญิงเลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย อาจารย์ภาวัช หลวงสุนทร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุภัค โมกขศักดิ์
สามชั้นอีกทางหนึ่ง พร้อมทั้งได้ตัดลงเป็นชั้นเดียว
ครบเป็นเพลงเถาในยุคที่นิยมเพลงเดี่ยวมีผู้นาเพลงอาหนูมาเรียบเรียงเป็นเพลงเดี่ยวสาหรับเครื่องมือ
5. เพลงอาหนู เดี่ยวฆ้องวงใหญ่ เพลงอาหนู อัตราสองชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับสองไม้ มี 2 ท่อน เป็นเพลงสาเนียงจีน ดัดแปลง เพิ่มเติมมาจากเพลงของจีน ครูปุย บาปุยะวาทย์ ได้แต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา สามชั้นทางหนึ่ง จางวางทั่ว พาทยโกศล ได้แต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา
ต่าง ๆ นิยมบรรเลงกันอย่างแพร่หลายเพลงหนึ่ง ครูสุบิน จันทร์แก้ว ได้ถ่ายทอดทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงอาหนู สามชั้น ให้แก่นายกิติศักดิ์ พวงแก้ว เมื่อครั้งศึกษาอยู่ที่สาขาวิชาดนตรีไทย ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาหรับการแสดงครั้งนี้ นายกิติศักดิ์ พวงแก้ว ได้ถ่ายทอดให้แก่นายสร ธัญ พวกดี เพื่อนามาถ่ายทอดให้แก่ นางสาวอนุธิดา วาศภูติ นายศิกพัฒน์ นวลปลอด นายบูรพา ต้นหนองสวง นายสุกิตติ สุดแสวง นายนครินทร์ สุขชูศรี และ นางสาวปิยะธิดา ไทยทอง นิสิต สาขาวิชาดนตรีไทย ภาควิชาดนตรี รุ่นปัจจุบัน ที่เป็นผู้บรรเลงในวันนี้ รายนามนักดนตรี
นางสาวอนุธิดา วาศภูติ ฆ้องวงใหญ่ 2. นายศิกพัฒน์ นวลปลอด ฆ้องวงใหญ่ 3. นายบูรพา ต้นหนองสวง ฆ้องวงใหญ่ 4. นายสุกิตติ สุดแสวง ฆ้องวงใหญ่ 5. นายนครินทร์ สุขชูศรี ฆ้องวงใหญ่ 6. นางสาวปิยะธิดา ไทยทอง ฆ้องวงใหญ่ 7. นายสรัล น้อยประสิทธิ์ กลองสองหน้า 8. อาจารย์สรธัญ พวกดี ฉิ่ง ผู้ควบคุมการฝึกซ้อม อาจารย์ ดร.สมาน น้อยนิตย์ อาจารย์สรธัญ พวกดี
1.
6. เพลงนกขมิ้น เดี่ยวฆ้องวงเล็ก เพลงนกขมิ้น อัตราสองชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี 3 ท่อน ท่อน 1 มี 3 จังหวะ ท่อน 2 มีและท่อน 3 มี 2 จังหวะ เพลงที่ชื่อนกขมิ้นมีอยู่ด้วยกัน 2 เพลง คือเพลงนกขมิ้นตัวผู้ และ เพลงนกขมิ้นตัวเมีย เพลงนกขมิ้นตัวเมียเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เพลงแม่ม่ายคร่าครวญ” ราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครูเพ็งได้นาเพลงนกขมิ้นตัวผู้ อัตราจังหวะ สองชั้น มาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตราจังหวะสามชั้น สอดแทรกการว่าดอกในท่อน 3 นิยมนาไปใช้เป็นเพลง ลาในการเล่นสักวา เรียกชื่อว่า “เพลงนกขมิ้น” ต่อมามีนักดนตรีได้นาเพลงนกขมิ้นสามชั้นนี้ ไปทาทาง สาหรับเดี่ยวสาหรับเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ นิยมเดี่ยวทั้งปี่พาทย์และเครื่องสาย ในการแสดงในครั้งนี้ เป็นการบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงเล็กทางของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลป บรรเลง) ได้เรียบเรียงขึ้นถ่ายทอดให้แก่ครูสุบิน จันทร์แก้ว ที่สานักดนตรีบ้านบาตร และครูสุบิน จันทร์แก้ว ได้ถ่ายทอดให้แก่นายโชติพัฒน์ วุฒิหทัยโชติ เมื่อ พ.ศ.2543 และบรรเลงครั้งแรกในงาน ไหว้ครูที่บ้านจันทร์นิมิตร รามคาแหง เมื่อ พ.ศ.2545 จากนั้นนายโชติพัฒน์ วุฒิหทัย ได้สืบทอดทาง เพลงของครูต่อไปจนถึงนายธนิชศร สุขสุมิตร รายนามนักดนตรี 1. นายธนิชศร สุขสุมิตร ฆ้องวงเล็ก 2. นายปิติ ขาวปลื้ม สองหน้า 3. นายศักดิ์พจน์ วุฒิหทัยโชติ ฉิ่ง ผู้ถ่ายทอดทางเพลงและควบคุมการฝึกซ้อม อาจารย์โชติพัฒน์ วุฒิหทัยโชติ
วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
เพลงอกทะเล เป็นเพลงลาในการเล่นสักวา โดยแต่งมาจากทานองเพลงทะเลบ้า
มี 2 ท่อน เพลงนี้เกิดจากนักร้องสักวาได้แต่งขยายทางร้องเพลงทะเลบ้าขึ้นเป็นสามชั้นแบบสักวา โดยดัดแปลง บิดทานองเอื้อนออกไปจากทานองเดิมจนแทบจะเป็นคนละเพลง
เรียกชื่อทางร้องที่แต่ง ใหม่นี้ว่า “เพลงอกทะเล” นิยมร้องเป็นลาลาในการเล่นสักวา ในยุคที่นิยมฟังเพลงปี่พาทย์ ครูช้อย สุนทรวาทิน ได้แต่งทานองดนตรีสาหรับบรรเลงรับและใช้เป็นเพลงลา เช่น เดียวกับการเล่นสักวา ในการแสดงในครั้งนี้ ได้นาเพลงอกทะเล สามชั้น ตามแนวทางที่ครูสุบิน จันทร์แก้ว ถ่ายทอดไว้ กลับมาบรรเลงเผยแพร่อีกครั้ง ในวาระครบ 90 ปี ชาตกาล สุบิน จันทร์แก้ว นี้ ได้แต่งบทร้องเพลงอก ทะเลเที่ยวกลับขึ้นเพื่อเชิดชูบูชา ราลึกถึงคุณูปการของครูสุบิน จันทร์แก้ว ในวาระดังกล่าว บทร้องเพลงอกทะเล สามชั้น เที่ยวแรก เอ๊ะเวลาร้องมาเพียงสักครู่ พินิจดูแสงเดือนแสงเกลื่อนแสง แสงไฟพรายงามอร่ามแรง จวนจะแจ้งแสงสว่างนี่อย่างไร (พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์) เที่ยวแรก นบบูชาพระคุณอุ่นเกศี เก้าสิบปีน้อมจิตพิสมัย เสียงเพลงที่บรรเลงเสนาะไกล ร้อยดวงใจระลึกถึงครูสุบิน (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุภัค โมกขศักดิ์ แต่ง) รายนามนักดนตรี 1. เรือโทหญิงเลี่ยมลักษณ์ สังจุ้ย ขับร้อง 2. ครูสิงหล สังจุ้ย ปี่ใน 3. นายกลินท์ มีเทศ ระนาดเอก 4. นางสาวนฤมล กุลเดช ระนาดทุ้ม 5. นายนครินทร์ สุขชูศรี ฆ้องวงใหญ่ 6. นายสุกิตติ สุดแสวง ฆ้องวงเล็ก 7 อาจารย์ ดร.สมาน น้อยนิตย์ กลองสองหน้า 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุภัค โมกขศักดิ์ ฉิ่ง 9 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจี บารุงสุข กรับ 10. รองศาสตราจารย์ณรงค์ เขียนทองกุล ฉาบเล็ก 11. อาจารย์ ดร.ฉัตรติยา เกียรตินาวี โหม่ง ผู้ควบคุมการฝึกซ้อม อาจารย์ ดร.สมาน น้อยนิตย์ อาจารย์ภาวัช หลวงสุนทร
7. เพลงอกทะเล สามชั้น
สองชั้น ของ เก่า