จุฬาวาทิต ครั้งที่ ๒๒๙
วงดนตรีไทย “นายจักรี มโหรีปี ๒๕๖๖”
วันศุกร์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายจักรี มโหรี ปี ๒๕๖๖
วงดนตรีนายจักรมโหรี เป็นการรวมตัวเฉพาะกิจของบรรดาศิษย์เพื่อบรรเลงในรายการ จุฬา วาทิตครัง้ ที่ 229 เป็นการเฉพาะ บรรดาศิษย์ดังกล่าวที่มาบรรเลงมีทั้งที่มาเรียนดนตรีที่บ้านและที่ มหาวิทยาลัย และยังมีสว่ นหนึ่งที่เป็นนักดนตรีอาชีพ มารวมตัวกันฝึกซ้อม โดยมีแนวคิดทีน่ าบท เพลงผลงานการประพันธ์ของ ท่านศาสตราจารย์ อุทิศ นาคสวัสดิ์ คุณครูจาเนียร ศรีไทยพันธุ์ เเละ ตนเองที่เคยบรรเลงไปแล้ว นาออกเเสดงเผยเเพร่สสู่ าธารณะชนอีกครั้งหนึ่ง นายจักรี มงคล เกิดเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๐๖ (หลักฐานทางราชการ ๒๕๐๘ เนื่องจากว่า แจ้งเกิดล่าช้า) เรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนไผทอุดมศึกษา ประถมศึ กษาตอนปลาย โรงเรียนแสงหิรัญ มัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และจบปริญญาตรีจากคณะครุ ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันประกอบอาชีพช่างประดิษฐ์และซ่อมดนตรีไทยและสากล อีกทั้งยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนดนตรีในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงเป็นนักดนตรีอิสระ ศิ ลปิน รับเชิญในงานดนตรีไทยต่างๆ อาทิ เป็นนักดนตรีของคณะหุ่นกระบอก มูลนิธิอาจารย์จักรพันธ์ โปษย กฤต และรายการบรรเลงอื่นๆ อีกมาก เช่น งานดนตรีของมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลป บรรเลง) งานดนตรีรายการฟังดนตรีที่จุฬาฯ ในนามวงต่าง ๆ มีฝีมือที่โดดเด่น โดยเฉพาะเรื่องของ ซอสามสาย ตามแนวทางของ ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ผู้เป็นครู นอกจากฝีมือด้านซอสามสายแล้ว ยัง ได้เรียนการดนตรีไทย จากท่านอาจารย์จันทร์ โตวิสุทธิ์ อาจารย์เมธา หมู่เย็น ในสมัยเรีย นที่โรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย และเมื่อเข้าเรียนที่ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีโอกาสเรียนซอสาม สายและปี่ในเพิ่มเติมกับครูจาเนียร ศรีไทยพันธุ์ รวมถึงการเรียนสีคลอร้องกับครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ที่ชมรมดนตรีไทยของมหาวิทยาลัยอีกด้วย ในเรื่องของการพัฒนาการเป็นช่างประดิษฐ์ ท่านเป็นผู้นา รูปสลักครูดนตรีท่านสาคัญ ถอดเปลี่ยนโขนคันซอได้ เช่น อาจารย์ฉลวย จิยะจันทร์ อาจารย์เจริญใจ สุนทร วาทิน อีกทั้งยัง มีความสามารถในซ่อมเครื่องดนตรีไทย อีกหลายชนิด รวมถึงเครื่องดนตรี สากลเช่นไวโอลิน ออร์แกน ได้อกี ด้วย
รายการแสดง
๑. ประเลงพิณขับกาพย์อาศิรวาทราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ๒. โหมโรงสหัสวรรษ ๓. ตั บ ลมพั ด ชายเขา สองชั้ น และเพลงแขกปั ต ตานี (แลจั น ทร์ ) บทพระราชนิ พ นธ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๔. เพลงบุหลันดั่นเมฆา ( บุหลัน Lullaby ) ๕. เดี่ยวขลุ่ยเพียงออ เพลงเชิดนอก เตียว ๖. เพลงทยอยจีน (จีนรันทด) ๗. เพลงต้อยตลิ่ง สองชั้น บทร้อง ศาสตราจารย์ ดร. อุทศิ นาคสวัสดิ์
๑.ประเลงพิ ณ ขั บ กาพย์ อ าศิ ร วาทราชสดุ ดี พระบาทสมแด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรม นาถบพิตร ในการบรรเลงครั้งนี้ ตรงกับเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ประชาชนชาวได้น้อมระลึกถึงคุณของ บูรพมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ คือ ในวันที่ ๑๓ ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็นวัน คล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการนี้ทางวงดนตรีจึงขอน้อมถวาย ราชสดุดีด้วยการบรรเลงพิณในเพลงมหาจุฬาลงกรณ์และกาพย์ขับไม้เทิดพระเกียรติ เป็นรายการแรก
บทอาศิรวาทราชสดุดี กาพย์ยานี ๑๑ ชุลีกรบังคมบาท องค์ปิยราช พระมิ่งเกล้าชาวจุฬาฯ ทรงยศมหาราชา กอปรพระเมตตา พระคุณปกเกล้าเกศี ชาวประชาอัญชลี ถวายราชสดุดี ซ้องพระนามปิยราชัน อนึ่งน้อมบังคมคัล องค์ไอศวรรย์ นวมินทราชา ชนผองซึ้งพระเมตตา ราชกิจนานา จรุงเมืองเจริญเห็น พระเกียรติยศเพียบเพ็ญ ปกไทยร่มเย็น ประชาสานึกมิรู้วาย ผูป้ ระพันธ์ กวินภพ ทองนาก
๒. โหมโรงสหัสวรรษ เมื่อครั้งเข้าสู่ปีคริสตศักราช ๒๐๐๐ ประชากรโลกกาลังตื่นตระหนกกับปรากฎการณ์ที่คาดกัน ว่าระบบต่างๆในโลกจะรวนเร "สหัสวรรษ" จึงเป็นคาที่คนนิยมในเวลานั้นที่พูดกันแพร่หลาย ประเทศ และเศรษฐกิจโลกได้พบเจอกับวิกฤตการณ์ความวุ่นวายอยู่มาก คุณครูจักรี มงคล ผู้ประพันธ์ โดย ได้รับแรงบันดาลใจและใช้วิธีการเดียวกั บเพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์อันเป็นเพลงโหมโรงประจา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเป็นแบบในการดาเนินทานองในท่อนแรก ท่อนสอง มีการผสมผสานวิธีการ บรรเลงประสาน ทานองที่เป็นทางโอดและพันประสานกันชีใ้ ห้เห็นถึงวิกฤตการณ์ความวุ่นวายเศรษฐกิจ อาการตื่ น ตระหนกของยุ ค นั้ น และได้ บรรเลงครั้ ง แรกในครุ ศ าสตร์ ค อนเสิ ร์ ต ปี พ.ศ.๒๕๔๓ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๓. ตับลมพัดชายเขา สองชั้น และเพลงแขกปัตตานี (แลจันทร์) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโปรดบท ร้องเพลงพญาโศก ๓ ชั้น จากเสภาเรื่อง พระยาราชวังสันซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า
โอ้วันใดมิได้พบประสบพักตร์ หวามอุราน้าตาก็ตกใน
ราวหัวอกจะหักเสียให้ได้ กลายเป็นไฟเผาร้อนรอนชีวี
จึงทรงพระราชนิพนธ์กลอนสุภาพ ๘ คากลอน แทรกลงระหว่างกลางเพลงพญาโศกข้างต้น โดยคงคากลอนแรกและคากลอนสุดท้ายไว้อย่างเดิม แล้วพระราชทานบทร้องนี้แก่อาจารย์เจริญ ใจ สุนทรวาทิน นาไปบรรจุเพลง อาจารย์เจริญใจใช้เพลงลมพัดชายเขา ๒ ชั้น กล่อมนารี ๒ ชั้น และสร้อย เพลง ๒ ชั้น บทพระราชนิพนธ์บทนี้จึงกลายเป็นเพลงตับสั้นๆ ที่มีความไพเราะน่าฟั ง บทร้องนี้มีแรง บันดาลพระราชหฤทัยมาจากการที่ทรงขาดโอกาสร่วมฝึกซ้อมร้องเพลงไทยกับชมรมดนตรีไทย สจม. เนื่องจากทรงติดพระราชกิจอื่นต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ที่มา : หนังสือรวมบรรเลงเพลงดนตรีมี่เสนาะ รวมพระราชนิพนธ์บทร้องเพลงไทย ใน สมเด็จพระ กนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช ๒๕๑๐ – ๒๕๕๙
บทขับร้องตับลมพัดชายเขา สองชั้น
แขกปัตตานี
(บทพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
๔. บุหลันดั่นเมฆา เถา (บุหลันLullaby) บุหลันดั้นเมฆ เถา คุณครูจักรี มงคลได้ประพันธ์ทางเดี่ยวซอสามสายไว้เป็นสามชั้น โดยได้รับ แรงบันดาลใจจากพระนิพนธ์เพลงสรรเสริญเสื อป่า ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุม พั น ธุ์ กรมพระนครสวรรค์ ว รพิ นิ ต ที่ ท รงพระนิ พ นธ์ จ ากเพลงบุ ห ลั น ลอยเลื่ อ นในพระราชนิ พ น ธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยได้รับคาแนะนาจากคุณครู กาหลง พึ่งทองคา ศิลปินแห่งชาติ และได้บรรเลงเดี่ยวซอสามสายครั้งแรก ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ คุณครูกาหลง พึ่ง ทองคา ในปี ๒๕๕๕ จากนั้นได้ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ และได้ตัดลงเป็นชั้นเดียวจนครบเถา
ในอัตรา
สามชั้นใช้แนวคิดสร้างสรรค์จากเพลงกล่อมลูกของยุโรป และเรียบเรียงเสียงประสานโดยนายพีรทัต วงษ์ประเสริฐ
๕. ขลุ่ยเชิดนอกออกเตียว เพลงเชิดนอกเป็นเพลงโบราณที่แต่งขึ้นเฉพาะในปี่บรรเลงคู่กับการแสดงหนังใหญ่ในตอนเบิก โรงชุดจับลิงหัวค่าการแสดงชุดจับลิงหัวค่าที่ใช้เป่ าปี่เพลงเชิดนอก ก็คือตอนที่ลิงขาวกับลิงดารบกัน ใน ตอนท้ายจะเป่าเลียนเป็นเสียงพูดว่า "จับให้ติด ตีให้ตาย" หรือ "ฉวยตัวให้ติด ตีให้แทบตาย" ตาม แบบแผนของการแสดง รบหนังใหญ่ที่แทรกภาพหนังจับและเป่าปี่จับถึง ๓ ครั้ง ต่อจากนั้นจึงออกเพลง เตียว หมายถึง มัดได้แล้ว ต่อมาแม้ปีจะเป่าเดี่ยวโดยเฉพาะ ไม่ประกอบกับหนังใหญ่ก็ยังเรียกกันว่า "จับ" คือ จับหนึ่ง จับสอง และจับสาม ไม่เรียก "ตัว" อย่างเชิด ในการบรรเลงครัง้ นี้ คุณครูจักรี มงคล คุณครูได้รับการถ่ายทอดทางเดี่ยวนีจ้ าก ศาสตราจารย์ ดร.อุ ทิ ศ นาคสวั ส ดิ์ กอปรกั บ องค์ ค วามรู้ ก ารบรรเลงเดี่ ย วขลุ่ ย เพี ย งออที่ ไ ด้ รั บ ถ่ า ยทอดจาก คุณครูจาเนียร ศรีไทยพันธุ์ (ศิลปินแห่งชาติ) จึงได้สร้างสรรค์ทางเดี่ยวขลุ่ยเพียงออ บทเพลงเชิดนอก ขึ้นโดยได้แนวคิดจากทางเดี่ยวซอสามสายของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ที่มีการบรรเลงในช่วง ขอกอดขอจูบ มาเป็นเดี่ยวขลุ่ยเพียงออได้อย่างน่าฟัง
๖. ทยอยจีน (จีนรันทด) ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ เป็นผู้ประพันธ์ทั้งทางขับร้องและทางบรรเลงในบทเพลง ทยอยจีน หรือ จีนรันทดนี้คือ ด้วยเห็นว่าบทเพลงทยอยได้มีสาเนียงที่ออกภาษากันไปมาก แต่ยังไม่มี ผู้ใ ดประพั นธ์ ส าเนีย งจี นไว้ไ ด้ศ าสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์จึงได้คิดขึ้น โดยสันนิษ ฐานกั น ว่ า ประพั น ธ์ โ ดยได้ แ รงบัน ดาลใจมาจากเพลง จี น ไหว้ เ จ้ า สองชั้ น และได้ บั น ทึก เสี ย งไว้ ค รั้ง แรก ที่ สถานีโทรทัศน์กองทับบกช่อง ๕ ในรายการ ดร.อุทิศ แนะดนตรีไทย พ.ศ.๒๕๔๐ โดยวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ผสมซอด้วงในความควบคุมดูแล ของศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ โดยศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์เป็นผู้บรรเลงซอด้วงเองในส่วนของทางขับร้องนั้นมีการออกเสียงเอื้อนที่ให้สาเนียงจีนอย่าง ชัดเจน โดยใช้เสียง “ออ” และ “อา” เพื่อสุนทรียรสในสาเนียงภาษาของเพลงนั้น
ทยอยจีน (จีนรันทด) สามชั้น แสนสงสารเตียวเสีย้ นใจเจียนขาด โอ้อนาถต้องพลีกกายชายสู่สม ยอมสละคนรักไปใจระทม โอ้อกตรมแสนช้าระกาทรวง โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก จาต้องหักกายใจให้หายหวง จะกู้ชาติกู้ชนคนทั้งปวง พลิกแผ่นดินให้ลุล่วงในครั้งนี้
๗. เพลงลา ต้อยตลิ่ง สองชั้น บทร้อง ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ลาวต้อยตลิ่งเดิมเพลงอัตราจังหวะสองชั้นทานอง เก่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงนามาบรรจุเป็นเพลงละครปรีดาลัยของ คณะหลวงนฤมิต เรียกชื่อใหม่ว่า เพลงลาวเดินดง ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ได้ประพันธ์บท ร้องขึน้ ใหม่มีเนื้อความอาลาอานวยพรแด่ท่านผู้ฟัง
บทร้องเพลงต้อยตลิ่ง สองชั้น ได้ฟังดนตรีเครื่องตีเป่า เสียงเกรียวกราวพวกของเราที่มา แสนเสียดายจวนจะได้เวลา
พวกของเราที่มา
จะต้องขอลากลับไป
ขอเชิญท่านอยู่ให้จงดี
อย่าได้มที ุกข์เป็นสุขี
ขออย่าได้มโี พยภัย
ขอให้สมดังจิต สมคิดดังใจ
ท่านจะนึกสิ่งใดให้ได้ดังจินดา
สารพัด อีกทั้งเงินทอง
ของให้ไหลมาเทมา
สารพัดขอให้ท่านสมมารต
จิตปรารถนา
อีกทั้งโรคาอย่าได้แผ้วพาล
ผูใ้ ดอย่าพาล ขอให้สราญใจเอย
ขอให้จงสุขสวัสดิ์
ภัยพิบัติอีกทั้งโรคา
ให้สุขเกษมเปรมปรีดา
อีกทั้งชันษาให้ยั่งยืนนาน
ทั้งทุกข์โศกและโรคภัย
สิ่งที่จะร้อนใจ
ขออย่าให้แผ้วพาล
ขอให้สาเร็จประโยชน์
องค์พระโพธิญาณ
ให้ท่านบรรลุนพิ พาน สมดังจินดา
สารพัด อีกทั้งศัตรู ที่
มีอยู่ใกล้ไกล
สารพัด ทั้งโรคาราคี
สิ่งที่จะร้อนใจ
อย่าได้เข้ามาใกล้ศาลามณฑล ออกไปให้พ้น ให้มันวินาศสันติ บทร้อง โดย ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์
รายนามผู้ขับร้องบรรเลง นายกวินภพ ทองนาค (ร้อง)
นายลัทธวิทย์ เปรื่องวิชา (ร้อง)
นางสาวพัชมณฑ์ รุ่งเรือง (ขับร้อง)
นายวรุตม์ ปัทมดิลก (ซอสามสาย)
นายฉัตรมงคล รัตนวิจารณ์ (พิณน้าเต้า ฉาบ) นายจักรี มงคล (ซอสามสายมหึมามโหฬาร) นายพีรทัต วงษ์ประเสริฐ (ซอสามสายหลิบ, ซอด้วงเสียงสูง) นายอณุวุฒิ ลาภพาณิชยกุล (ซอสามสาย ซอสามสายมโหฬาร) นายมารุต คนหลัก (กระจับปี่)
นายภูร่องกล้า ลาภตระการ (จะเข้)
นายธีรภัทร บุตรเทศน์ (ซอด้วง)
นายประสิทธิ์ ทิมสีคร้าม (ซออู้)
นายจิรภัทร จิระ (ขลุ่ยเพียงออ)
นายสุกิจพิพัฒน์ สุขธนะไพศาล (ขลุ่ย)
นายผดุงพงษ์ แย้มนาค (ระนาดเอกมโหรี)
นายสหภาพ แก่นหิรันต์ (ระนาดทุ้มมโหรี)
นางสาวปณิดา บุตรดี (ฆ้องมโหรี)
นายกฤติน ศิรพิ ุฒ (กลอง)
นายธนะพัฒ ฐานิตสรณ์ (โทน-รามะนา)
ด.ญ. ศุภสุดา สว่างศรี (โทน)
ด.ญ.เปรมอัปสร อานวยชัยศิลป์ (รามะนา)
นายวรรณรัตน์ เจริญศิริ (ฉิ่ง)
ควบคุมการฝึกซ้อมและบรรเลงโดย นายจักรี มงคล