จุฬาวาทิต ครั้งที่ ๒๓๐
เสนาะเสียงคีตา ครูอุษา แสงไพโรจน์ โดย “วงดนตรีไทยสโมสรนิสิตจุฬาฯ และวงปี่พาทย์ไม้แข็ง คณะพาทยโกศล”
วันศุกร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายการแสดง
๑. โหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ ๒. การแสดงรามอญ ๓. เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา ๔. เพลงทยอยใน เถา ๕. เพลงอาถรรพ์ เถา ๖. เพลงลาพระอาทิตย์ชิงดวง สองชั้นเพลง
ครูอุษา แสงไพโรจน์
ครูอุษา แสงไพโรจน์ (ครูงาม) เกิด เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็น บุตรของ จ่าสิบเอกยรรยง กับ นาง สะอาด โปร่งน้าใจ นักร้องวงพิณพาทย์ วังบางขุนพรหม (วงบ้านพาทยโกศล) ครูเริ่มเรียนดนตรีโดยหัดเรียนเครื่อง หนัง (หน้าทับปรบไก่สามชั้น สองชั้น ชั้นเดียว) จนกระทั่งบิดาได้จับมือตี ตะโพนครั้งแรก เมื่ออายุ ๑๑ ปี โดยเริ่ม จากหน้าทับสาธุการ ตระนิมิต เชิด กราวนอก กราวใน เหาะ ฯลฯ ด้านการเรียนขับร้อง ครูเริ่มเรียนกับมารดาเมื่อศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนสตรี วิทยา ต่อมาภายหลังจึงได้รับการถ่ายทอดทางร้องจากคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ ครูเริ่มสอนที่โรงเรียนราชินีในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ และในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และเริ่มสอนขับร้องที่ตาหนักปลายเนิน โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม ราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ต่อเพลงขับร้องถวาย ในด้านการสอนขับ ร้อง ครูมีวิธีการต่อเพลงที่ทาให้ผู้เรียน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึง ระดับอุดมศึกษาสามารถเข้าใจได้เป็น อย่างดี ครูมีความอดทนและตั้งใจสั่งสอน ศิษย์ด้วยความเมตตา นอกจากด้านดนตรี แล้ว ครูยังมีความสนใจและชื่นชอบด้าน การรามอญด้วย ศาสตราจารย์ ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรม ดนตรีไทย สจม. ได้เชิญครูมาสอนที่ชมรมดนตรีไทย ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ในช่วงเย็นเป็นประจาทุก สัปดาห์ จนถึงปัจจุบัน
๑. โหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ ประวัติเพลง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้เข้ากราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลง ประจามหาวิทยาลัย เนื่องจากในขณะนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังไม่มีเพลงประจาสถาบัน พระบาทสมเด็จพระ บรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระราชนิพนธ์ทานองเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ โดยมีท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และนายสุภร ผลชีวิน เป็นผู้ประพันธ์คาร้อง และได้พระราชทาน เพลงมหาจุฬาลงกรณ์เป็นเพลงประจาสถาบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่นั้นมา ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล นาทานองเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นเพลงที่มี ทานองเพลงในแนวสากลมาปรับปรุงให้มีทานองเพลงในแนวไทยเดิม เพื่อใช้สาหรับเป็นเพลงโหมโรงก่อนการ บรรเลงดนตรีไทย ครูเทวาประสิทธิ์รับพระราชทานลงมาทาและบรรเลงถวายด้วยวงปี่พาทย์ถึงสองครั้งด้วยกัน หลังจากที่ทรงแก้ไขจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงพระราชทานเพลงนี้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็น เพลงโหมโรงประจาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒. การแสดงรามอญ ประวัติ
การแสดงรามอญ เป็นการแสดงของชาวมอญมา แต่ โ บราณ ใช้ แ สดงในงาน ม ง ค ล ต่ า ง ๆ เ ช่ น งานบวชนาค งานแต่ ง งาน และงานฉลองอื่น ๆ จะต้องใช้ ปี่ พาทย์ มอญประกอบการรา โดยทั่ ว ไปชาวมอญมี นิ สั ย รักดนตรีและศิลปะการแสดง เช่น มอญรา และทะแยมอญ ต่อมาทะแยมอญหาผู้แสดงได้ ยาก การแสดงรามอญนิยมใช้ แสดงในงานต้อนรับแขกและงานศพ ซึ่งถือกันว่าเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวมอญ ครูอุษา แสงไพโรจน์ กล่าวว่า รามอญที่ถ่ายทอดไว้ให้กับนิสิตชมรมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยนั้น เป็นการรามอญตามแบบของวัดประดิษฐาราม ซึ่งครูได้รับการถ่ายทอดกระบวนท่ารามาจาก พี่ส าวและญาติผู้ ใ หญ่ ในวัย เยาว์ นอกจากนี้ ครูอุษายัง ได้ อธิบ ายเพิ่ มเติ มว่ า การรามอญนี้นิ ย มร าในงานศพ ญาติพี่น้องชาวมอญของตนเอง การแต่งกายประกอบการรามอญจึงมีความเรียบง่าย โดยผู้หญิงจะสวมเสื้อแขน กระบอก นุ่งผ้าซิ่น และมีผ้าคล้องคอสีขาว ส่วนทรงผมมีการมวยผมและประดับมวยผมด้วยพวงมาลัยหรือดอกไม้ สีขาว
๓. แขกมอญบางขุนพรหม เถา ประวัติเพลง เพลงมอญตัดแตง อัตรา สองชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๓ ท่อน ท่อนที่ ๑ และท่อน ที่ ๒ มี ท่อนละ ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๓ มี ๖ จังหวะ ใช้บรรเลงในเพลงกราวในและเพลงพม่าห้าท่อน ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรง พระนิพนธ์ขยายขึ้นเป็นอัตรา สามชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว พร้อมด้วยทางร้องทั้งหมด ครบเป็นเพลงเถา บันทึก โน้ตสากลประสาทแตรวงทหารเรือบรรเลง ต่อมาได้ทรงปรับปรุงให้เป็นทางปี่พาทย์สาหรับวงวังบางขุนพรหม บรรเลง จึงประทานชื่อว่า “เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา” ตามชื่อตาบลบางขุนพรหมซึ่งเป็นที่ตั้ง วังของ พระองค์ บทร้อง เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา สามชั้น
ครานั้น จึงตอบว่าเราผู้เรืองฤทธิรุทธ์ ถิ่นฐานบ้านเมืองเรานี้ แมงตะยะและเม้ยมังตะยา อาจารย์เราหรือชื่อสุเมธ
พลายชุมพลได้ฟังก็ยั้งหยุด นามสมมุติชื่อสมิงมัตรา อยู่ยังธานีหงสา เป็นบิดรมารดาของเรา เรืองพระเวทไม่มีใครดีเท่า
สองชั้น
ตัวท่านที่ยกมาสู้เรา อนึ่งพระเจ้าอยุธยา ชื่อเดิมของท่านนั้นชื่อไร
คือเป็นลูกเต้าเหล่าใคร ตั้งตาแหน่งยศถาให้เพียงไหน ท่านผู้ใดเป็นครูอาจารย์ (เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน)
ชั้นเดียว
ขับลาบรรเลงเป็นเพลงเถา แขกมอญบางขุนพรหมมีสมญา
เพลงมอญเก่าแสนเสนาะเพราะหนักหนา ฉันได้มาแต่วังบางขุนพรหม
(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต)
๔. ทยอยใน เถา ประวัติเพลง เพลงทยอย สองชั้น ของโบราณ เป็นเพลงเรื่อง ซึ่งมีเพลงหลายเพลงรวมบรรเลงติดต่อกัน สาหรับบรรเลง ประกอบกิริยาเดินทาง โดยมีอารมณ์เศร้าโศกเสียใจของตัวละคร ครูเพ็ ง นัยว่าเป็นน้องชายพระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือครูมีแขก ได้นามาแต่งขึ้น ทั้งสามชั้น สองชั้น และชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา บรรเลง ในเสียง ที่เรียกว่า “ทางใน” ให้มีเชิงเป็นลูกล้อลูกขัด แต่ชั้นเดียวได้เปลี่ยนขึ้นไปบรรเลงในทางนอก เหมาะที่เครื่องดนตรี ต่าง ๆ จะบรรเลงได้ อย่ างไพเราะสนิ ทสนม ความหมายในเรื่ อ งเศร้า โศกอั นเป็น ของเดิ ม จึงลดน้อยถอยไป คงมีทานองแสดงเศร้าโศกอยู่แต่ในการร้องเท่านั้น บทร้องในครั้งนี้มาจากบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขับร้องด้วยทางฝั่งธนฯ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากครูอุษา แสงไพโรจน์ โดยมีบทร้อง ดังนี้ บทร้อง เพลงทยอยใน เถา สามชั้น สองชั้น ชั้นเดียว
ครั้นออกมานอกนัคเรศ เหลียวหลังตั้งตาดูเวียงชัย โอ้ว่าเจ้าดวงยิหวาพี่ ใครจะปลอบโฉมงามสามสุดา สงสารน้าคาที่ร่าสั่ง
พระทรงเดชเศร้าสร้อยละห้อยไห้ ฤทัยหวั่นหวั่นถึงกัลยา ป่านฉะนี้จะคร่าครวญหวนหา แต่พอพาใจเศร้าบรรเทาคลาย คิดถึงความหลังแล้วใจหาย (บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒)
๕. อาถรรพ์ เถา ประวัติเพลง เพลงอาถรรพ์ อัตรา สองชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๓ ท่อน ท่อนละ ๔ จังหวะ ใช้บรรเลง ขับร้องในการแสดงละคร ต่อมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์ วรพินิ ตทรงพระนิพนธ์ขยายขึ้นเป็นอัตรา สองชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา ตั้งพระทัยจะให้มีท่วงทานอง อ่อนหวานและมีลักษณะเป็นเพลงกรอ บางท่อนมีขัดมีหยุด ทรงพระนิพนธ์เป็นทางปี่พาทย์โดยเฉพาะ ประทาน ร้อยเอก นพ ศรีเพชรดี กับนายสาลี่ มาลัยมาลย์ เพื่อนาไปต่อให้วงปี่พาทย์วังบางขุนพรหม บรรเลงทั้งวงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ทางร้องโปรดให้นางเจริญ พาทยโกศล เป็นผู้แต่งขึ้นตามรับสั่ง และใช้บทร้องจากนิทานคากลอนเรื่องพระ อภัยมณีของสุนทรภู่ การบรรเลงเพลงอาถรรพ์ เถา ครั้งนี้ ในอัตรา สามชั้น เป็นการเดี่ยวจะเข้ ซึ่งเป็นทางที่ครูสมาน ทองสุโชติ ร่วมกับครูระตี วิเศษสุรการ คิดประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยใช้โครงสร้างทางเพลงของสมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นพื้น และใช้กลวิธีในการประพันธ์เพลงเดี่ยวต่าง ๆ สร้างทานองเที่ยวโอด และเที่ยวพัน ให้มีกลวิธีคล้ายระนาด เสมือนทานองคาบลูกคาบดอก จนครบทั้ง ๓ ท่อน และมีทานองร่วมสมัยในขณะนั้น เช่นในทานองแรกของเพลงนางนาคทางเปลี่ยน ของอาจารย์มนตรี ตราโมท หรือเพลงไทยสากล เพลงเสียแรงรักใคร่ ของครูเอื้อ สุนทรสนาน มาใช้ร่วมในการประพันธ์ ทานองเพลงเดี่ยวจะเข้ อาถรรพ์ในท่อน ๓ อีกด้วย ส่วนอัตรา สองชั้นและชั้นเดียว บรรเลงด้วยวงเครื่องสายเครื่องคู่ บทร้อง เพลงอาถรรพ์ เถา สามชั้น
สองชั้น
ชั้นเดียว
ฝ่ายปาโมกข์โลกเชษฐ์พระเวทขลัง ริมรอบวังฝังอาถรรพ์กันพาลา แล้วลงยันต์กันปืนธนูแผลง เสกสะเดาะเคราะห์เมืองเครื่องสุปัง แล้วปักธงข้างประตูศัตรูเข้า จุดเทียนเวียนรอบแล้วนอบนบ ฝ่ายท่านครูอยู่กับองค์พระทรงยศ ทรงสะเดาะเคราะห์ท้าวเจ้ากรุงไกร ส่วนเสนาข้าเฝ้าเหล่าทหาร กรมวังนั่งยามตามอัคคี
จึงให้ตั้งศาลสถิตแปดทิศา เพลิงไหม้มามิได้ไหม้ถึงในวัง ข้ามกาแพงมิได้พ้นด้วยมนต์ขลัง บายศรีตั้งสังเวยนมเนยครบ ให้มัวเมามืดคลุ้มกลุ้มตลบ กว่าจะครบเจ็ดวันป้องกันภัย เสกน้ารดกับสุคนธ์ด้วยมนต์ไสย ตัง้ อยู่ในศีลสัตย์สวัสดี ต่างเตรียมการรบศึกไม่นึกหนี ทุกหน้าที่ตามตาแหน่งจัดแจงการ
(นิทานคากลอนเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่)
๖. พระอาทิตย์ชิงดวง สองชั้น ประวัติเพลง พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือครูมีแขก ได้รับพระประศาสน์จากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ให้แต่งเพลงลาขึ้นเพลงหนึ่ง เพื่อใช้แทนเพลงเต่ากินผักบุ้งและเพลงอกทะเลซึ่งเป็ นที่ นิยมทั่วไปในสมัยนั้น พระประดิษฐ์ไพเราะจึงได้แต่งทานองเพลงขึ้นเลียนแบบทานองเพลงเต่ากินผักบุ้ง พร้อมทั้ง สอดแทรกทานองมอญให้มีท่วงทีน่าฟังยิ่งขึ้น จนเป็นที่โปรดปรานและประทานชื่อว่า “เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง” ตามสร้ อ ยแห่ ง ราชทิ น นามและตราสุ ริ ย มณฑลอั น เป็ น ดวงตราประจ าต าแหน่ ง ของท่ า น ครั้ ง แรกใช้ บ ทร้ อ ง ในเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งเป็นบทร้องขึ้นต้นตรงกับชื่อเพลง แต่เพิ่มสร้อยและดอกขึ้นให้ครบกับทานองเพลง ต่อมา มีผู้แต่งบทสร้อยไว้หลายทาง ส่วนการบรรเลงในครั้งนี้ ได้บรรเลงตามแนวทางของบ้านพาทยโกศล โดยมีครูอุษา แสงไพโรจน์ เป็นผู้ถ่ายทอดทางร้อง ส่วนบทสร้อยที่ใช้ในการแสดงครั้งนี้ เป็นบทร้องภาษามอญ ของ จ่าเอก อิน อ๊อกกังวาล ผู้เป็นคุณตาของครูอุษา แสงไพโรจน์ บทร้อง เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง สองชั้น พระอาทิตย์ชิงดวงพระจันทร์เด่น หิ่งห้อยพร้อยไม้ไหวระยับ
ดาวกระเด็นใกล้เดือนดาราดับ แมลงทับท่องเที่ยวสะเทื้อนดง (เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน)
นายชานประกายี่เหนาะหละ ดอกเอ๋ย เจ้าดอกจิก หนาเจ้าเอย (ดนตรีรับ) เลาเละบายเยียมหยิเนาะเกริง ดอกเอ๋ย เจ้าดอกสวาท หนาเจ้าเอย (ดนตรีรับ) เลาเละบายอัวะบาเก๊าะนาย ดวงเอ๋ย เจ้าดวงจิต
เจ้าช่อสละของเรียมนี่เอย เห็นใจเจ้าจะพลิก พลิกเสียแล้วเอย เกอะชานนายหยิมิเอย เจียะเปิงสะโอน นายสักขมาโมดเอย เห็นใจเจ้าจะขาด ขาดเสียแล้วเอย เหยียะซ้อดเหยียะซายนายเอย ซางซางชายกาม นายสักขมาโมดเอย เจ้าคู่ชีวิต ชีวิตของเรียมเอย (จ่าเอก อิน อ๊อกกังวาล)
รายนามผู้ขับร้องบรรเลง โหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ ลาดับ ชื่อ - นามสกุล 1. นางสาวปัญญดา เหลืองอร่ามกุล 2. นายภูร่องกล้า ลาภตระการ 3. นายลภน ศรีบานแจ่ม 4. นายชนาธิป แสงเดือน 5. นางสาวพิมดาว อินทะวงษ์ 6. นายนนทนันทร์ พลิ้งลูกอินทร์ 7. นายจริพัฒน์ นิลทอง 8. นางสาวรสิตา สิทธิเดชากุล 9. นายธนภัทร เพชรสัมฤทธิ์ 10. นายมณต์มนัส ลือชัย 11. นายศุภวิชญ์ สุวรรณนิกวณิช 12. นายกรธวัช ตันสุธรรม 13. นายธาราวรรษ สังข์ป่า 14. นายสิทธิโชติ บุญรอด 15. นายปิยวัฒน์ เขมาทานต์ 16. นางสาวเกลียวกมล ทูลสันเทียะ 17. นายคณาธิป อ้วนล่า 18. นายพงศกร พูลเอม 19. นายพงศพัฒน์ เทศจนะกุล 20. นายเรน ฮิชิยามา 21. นางสาววิชญาพร ทาริยะชัย 22. นายเตือนตน สุริยบรรเจิด
เครื่องมือ ซอสามสาย ซอสามสาย ซอด้วง ซอด้วง ซออู้ ซออู้ จะเข้ จะเข้ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลิบ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองแขก กลองแขก ฉิ่ง กรับพวง กรับพวง โหม่ง
รามอญ ลาดับ ชื่อ - นามสกุล 1. นางสาววิชญาพร ทาริยะชัย 2. นางสาวญาณิศา อุ่นจิตต์พันธุ์ 3. นางสาวกัสมาพร เพ่งเล็งดี 4. นายวีรปรัชญ์ พุ่มศุขโข 5. อาจารย์สมพงษ์ ภู่สร 6. นายธีรวิชชุ์ อรรถศิริ 7. นางสาวภัทราพร กิขุนทด 8. นายธนภัทร เพชรสัมฤทธิ์ 9. นายคณาธิป อ้วนล่า 10. นายมณต์มนัส ลือชัย 11. นายกรธวัช ตันสุธรรม 12. นายพงศกร พูลเอม 13. นางสาวเกลียวกมล ทูลสันเทียะ
เครื่องมือ รามอญ รามอญ รามอญ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก โหม่งสามใบ
เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา วงพาทยโกศล ลาดับ ชื่อ - นามสกุล 1. นายนพพลน์ น้อยเศรษฐี 2. นายอภิสิทธิ์ วงค์กาภู 3. นายบวร ไตรย์วาสน์ 4. นายคณิน พรหมสวัสดิ์ 5. นายอนุกูล จิตรอรุณ 6. นายธรรมนูญ เผือกรื่น 7. นายประจักษ์ จิตรอรุณ 8. นายพรเทพ เชยนิ่ม 9. นายรุ่งเพชร เชยนิ่ม 10. นายรุ่งเรือง ระฆังทอง 11. นายจันทร จิตรอรุณ 12. นายวรพจน์ แพทย์ปรีชา 13. นายครรชิต มีสัตย์ 14. นายชัยพร ทับพวาธินท์
เครื่องมือ ปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองแขก กลองแขก ฉิ่ง เครื่องประกอบจังหวะ เครื่องประกอบจังหวะ เครื่องประกอบจังหวะ ขับร้อง
ทยอยใน เถา ชื่อ - นามสกุล
ลาดับ 1. นายจุฑาภัทร บุญศรี 2. นายพลวัต เชาวรานนท์ 3. นางสาวปัญญดา เหลืองอร่ามกุล 4. นางสาวพิมดาว อินทะวงษ์ 5. นายธนะพัฒ ฐานิตสรณ์ 6. นายประสิทธิ์ ทิมสีคร้าม 7. นายสรสิช แจ่มอัมพร 8. นายนราธิป เพียรทอง 9. นายภูร่องกล้า ลาภตระการ 10. นายมณต์มนัส ลือชัย 11. นายธาราวรรษ สังข์ป่า 12. นายธนภัทร เพชรสัมฤทธิ์ 13. นายปิยวัฒน์ เขมาทานต์ 14. นายสิทธิโชติ บุญรอด 15. นายคณาธิป อ้วนล่า 16. นายพงศกร พูลเอม 17. นางสาวภัทราพร กิขุนทด 18. นายเรน ฮิชิยามา 19. นางสาวรสิตา สิทธิเดชากุล 20. นายนนทพันธ์ ชะรานรัมย์
เครื่องมือ ขับร้อง ขับร้อง ซอสามสาย ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ ซออู้ จะเข้ จะเข้ ขลุ่ยเพียงออ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองแขก กลองแขก ฉิ่ง กรับพวง กรับพวง โหม่ง
อาถรรพ์ เถา ชื่อ - นามสกุล
ลาดับ 1. นายปริญญา ทัศนมาศ 2. นางสาวปัญญดา เหลืองอร่ามกุล 3. นายภูร่องกล้า ลาภตระการ 4. นายประสิทธิ์ ทิมสีคร้าม 5. นายสรสิช แจ่มอัมพร 6. นายนราธิป เพียรทอง 7. นายพิชญพงษ์ ศรีโภคา 8. นายธนภัทร เพชรสัมฤทธิ์ 9. นายนนทนันทร์ พลิ้งลูกอินทร์ 10. นายมณต์มนัส ลือชัย 11. นางสาวภัทราพร กิขุนทด 12. นายปิยวัฒน์ เขมาทานต์ 13. นายนนทพันธ์ ชะรานรัมย์
เครื่องมือ ขับร้อง ซอด้วง ซอด้วง ซออู้ ซออู้ จะเข้ จะเข้ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลิบ โทน-รามะนา ฉิ่ง กรับพวง โหม่ง
พระอาทิตย์ชิงดวง ลาดับ ชื่อ - นามสกุล 1. นางสาววิชญาพร ทาริยะชัย 2. นางสาวญานิศา อุ่นจิตตพันธุ์ 3. นางสาวกัสมาพร เพ่งเล็งดี 4. นายอัครินทร์ ทองไม้ 5. นายอิศรุณวงศ์ ภัทรรุ่งเรืองกุล 6. นายวัสสา ชาวคาเขต 7. นายจุฑาภัทร บุญศรี 8. นายปริญญา ทัศนมาศ 9. นายนนทพันธ์ ชะรานรัมย์ 10. นางสาวปัญญดา เหลืองอร่ามกุล 11. นายภูร่องกล้า ลาภตระการ 12. นายลภน ศรีบานแจ่ม 13. นายชนาธิป แสงเดือน 14. นายธนะพัฒน์ ฐานิตสรณ์ 15. นางสาวพิมดาว อินทะวงษ์ 16. นายประสิทธิ์ ทิมสีคร้าม 17. นายสรสิช แจ่มอัมพร 18. นายจริพัฒน์ นิลทอง 19. นางสาวรสิตา สิทธิเดชากุล 20. นายนราธิป เพียรทอง 21. นายพิชญพงษ์ ศรีโภคา 22. นายนนทนันทร์ พลิ้งลูกอินทร์ 23. นายสิทธินันท์ แสงอุทัย 24. นายธนภัทร เพชรสัมฤทธิ์ 25. นายมณต์มนัส ลือชัย 26. นายศุภวิชญ์ สุวรรณนิกวณิช 27. นายวีรปรัชญ์ พุ่มศุขโข 28. นายธาราวรรษ สังข์ป่า 29. นายกรธวัช ตันสุธรรม 30. อาจารย์สมพงษ์ ภู่สร 31. นายสิทธิโชติ บุญรอด
เครื่องมือ ขับร้อง ขับร้อง ขับร้อง ขับร้อง ขับร้อง ขับร้อง ขับร้อง ขับร้อง ขับร้อง ซอสามสาย ซอสามสาย ซอด้วง ซอด้วง ซอด้วง ซออู้ ซออู้ ซออู้ จะเข้ จะเข้ จะเข้ จะเข้ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลิบ ระนาดเอก ระนาดเอก ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก
32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40.
นายปิยวัฒน์ เขมาทานต์ นางสาวเกลียวกมล ทูลสันเทียะ นายธีรวิชชุ์ อรรถศิริ นางสาวภัทราพร กิขุนทด นายคณาธิป อ้วนล่า นายพงศกร พูลเอม นายพงศพัฒน์ เทศจนะกุล นายเรน ฮิชิยามา นายเตือนตน สุริยบรรเจิด
ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก กลองแขก กลองแขก ฉิ่ง กรับพวง โหม่ง
ควบคุมการฝึกซ้อมและบรรเลงโดย ครูอุษา แสงไพโรจน์ ครูสมพงษ์ ภู่สร ครูศักรินทร์ สู่บุญ อานวยการฝึกซ้อมและบรรเลงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.สร้อยสุดา โชติมานุกูล ศาสตราจารย์ ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ ขอขอบคุณ วงดนตรีไทย คณะพาทยโกศล ควบคุมวงโดย พันโทหญิงราตรี พาทยโกศล และทายาท รูปภาพ จาก Facebook : @นราธิป เพียรทอง @Anant Narkkong @ปริญญา ทัศนมาศ @โกญจนาท วิบูลย์เพ็ง