สูจิบัตรออนไลน์ จุฬาวาทิตครั้งที่ 232 ละครชาตรี เมืองเพชรบุรี "คณะถนอม สอาดศิลป์"

Page 1

จุฬาวาทิต ครั้งที่ ๒๓๒ ละครชาตรี เมืองเพชร “คณะถนอม สอาดศิลป์” เรื่อง สังข์ทอง

ตอน พระสังข์เลียบเมือง ถึงนางจันท์เทวี สลักชิ้นฟัก วันศุกร์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗ ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ละครชาตรี คณะถนอม สอาดศิลป์ ละครชาตรี เป็นหนึ่งการแสดงพื้นบ้านที่มีเรื่องราวที่น่าสนจและมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของชาวบ้านที่รวมศาสตร์และศิลป์หลายแขนงไว้รวมกัน ได้แก่ การขับร้อง เจรจา วงดนตรี และการละเล่นพื้นบ้าน วาระที่จัดแสดง ได้แก่ ฉลองเนื่องในงานต่างๆ เช่น งานบวช งานศพ งานขึ้นบ้านใหม่ งานประเพณีของวัด เช่น กฐิน ผ้าป่า และที่สาคัญยังเป็นศาสตร์พื้นบ้านที่ยังคง

เกี่ยวข้องกับพิธีการในการแก้สิบบาทคาดสินบน ซึ่งเป็นความเชื่อที่มาแต่โบราณควบคู่ไปกับคนไทยทุก

ยุคทุกสมัย ที่นอกเหนือจากข้าวปลา อาหาร หวานคาวแล้ว ละครชาตรีก็ยังเป็นหนึ่งในศิลปะทาง วัฒนธรรมที่ถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อในสิ่งลึกลับที่มีอานาจเหนือมนุษย์อีกด้วย คณะละคร ถนอม สะอาดศิลป์ เป็นคณะละครรับจ้าง มีชื่อเสียงโด่งดังคณะหนึ่งในจังหวัด เพชรบุรี รับงานทั่วไปทั้งกรุงเทพมหานคร และลงไปถึงภาคใต้ ความรุ่งเรืองของคณะละครชาตรีนั้น ในช่วงหนึ่ง ถึงกับมีผู้ว่าจ้างไปแสดงประชันกับละครโนราห์ของทางใต้ รวมถึงการแสดงปิดวิกเพื่อเก็บ เงินค่าเข้าชมหาเลี้ยงชีพและครอบครัว โดยมี นายถนอม ลอยโพยม บิดาเป็นหัวหน้าคณะ มีนาง

สะอาด เป็นภรรยา (เป็นนางละคร ลูกศิษย์นางอุ่ม กลัดเข็มทอง) นายถนอมเรียนละครชาตรีกับครู

แจ่ม เอียงสวาท ตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ สามารถตีโทนและตุ๊ก รับงานแสดงทั่วไป โดยมากจะเป็นตัวตลก

ประจาคณะ จนสามารถมีคณะละครเป็นของตนเองได้เมื่ออายุ ๓๐ ปี โดยใช้ชื่อคณะว่า ถนอมน้อย

สอาดศิลป์ (ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๔) ปัจจุบันใช้ชื่อคณะว่า ถนอม สอาดศิลป์ มีผู้สืบทอด ทางเชื้อ

สายโลหิต คือ นางสุวรรณี วันเสือ และนายสุภาพ เขียวชอุ่ม (เขย) รับช่วงดูแลกิจการคณะละคร โดย

ยังคงรักษาและสืบทอด เพลงร้องและการแสดงแบบโบราณไว้อย่างดี พร้อมทั้งมีการปรับเปลี่ยนบท

เพื่อให้ทันยุคทันสมัย สามารถติดต่อได้ที่ ๒๘ หมู่ ๒ ตาบลเวียงคอย อาเภอเมือง จังหวัดเพชบุรี

๗๖๐๐๐ โทร.๐๙๕๒๕๒๐๗๘๔

ละครชาตรี เมืองเพชรบุรี

ชูศรี เย็นจิตร

นักวิชาการวัฒนธรรม ๗ ว สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี

ความเป็นมาของละครชาตรีเมืองเพชร จังหวัดเพชรบุรีมีคณะละครชาตรีอยู่มากมายหลายโรง แต่พอสืบได้ว่าเจ้าของคณะละครชาตรี

คณะแรกในเมืองเพชรบุรี ก็คือ คณะนายสุข จันทร์สุข หรือ คณะหลวงอภัยฯ นายสุข จันทร์สุข มีอายุอยู่ ในราว พ . ศ . ๒๓๗๘ - พ . ศ . ๒๔๕๔ เป็นชาวเมืองเพชรบุรี อยู่ที่ตาบลหน้าพระลาน เป็นบุคคลที่มี ความสามารถทางด้านโขนและละครชาตรี ในวัยเยาว์สนใจเกี่ยวกับการละครมากได้ติดตามคณะละคร ต่างๆ โดยเริ่มจากการช่วยขนเครื่อง การคลุกคลีนี้เองทาให้เกิดความสนใจในการละครมากขึ้น และเริ่ม ฝึกหัดจนได้แสดงจริง โดยเป็นตัวประกอบบ้าง เป็นเพื่อนพระเอกบ้าง แต่ก็ไม่ได้อยู่ประจาคณะใดคณะ หนึ่ง เมื่อเจริญวัยเป็นหนุ่มฉกรรจ์จึงคิดตั้งคณะละครเป็นของตนเอง โดยมีเพื่อนและญาติเข้าร่วมด้วย นายสุขได้ใช้ความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากการไปฝึกหัดแสดงละครกับชาวปักษ์ใต้ที่สนามควาย ( ที่อยู่ ของชาวนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา เมื่อครั้งอพยพมาอยู่กรุงเทพในสมัยรัชกาลที่ ๓ ) จัดตั้งเป็น

คณะละครขึ้น และคนทั่วไปเรียกละครคณะนี้ว่า “ละครนายทองสุข ” หรือ “ ละครนายสุข ” ในระยะ แรกเริ่มละครของนายสุข มีผู้แสดงเป็นชายล้วน เพราะละครผู้หญิงมีแสดงเฉพาะในวังหลวงเท่านั้น จนกระทั่งในปีพ.ศ.๒๓๙๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลทั่วไปใช้ผู้หญิงแสดงละครได้

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระนครคีรี ละครของ นายสุขได้มีโอกาสแสดงถวายเป็นที่พอพระราชหฤทัย โปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เป็น “หลวงอภัยพลรักษ์” นับแต่นั้นมาละครของนายสุขก็เป็นที่รู้จักในนาม “ละครหลวงอภัยฯ” มีชื่อเสียง เป็นอย่างมาก มีงานแสดงมาก ฐานะการเงินดีเป็นลาดับ และจากการที่การแสดงละครทาให้มีรายได้ดี นี่เอง รัชกาลที่ ๔ จึงได้กาหนดให้มีการเก็บภาษีละครขึ้น ด้วยทรงเห็นว่าเจ้าของละครได้ผลประโยชน์ จึง ต้องเสียภาษีช่วยราชการแผ่นดิน การกาหนดพิกัดภาษีของละครชาตรี คือ “เล่นวันหนึ่งยังค่า ให้เรียก

ภาษี ๕๐ สตางค์ เล่นกลางคืนให้เรียกภาษี ๒๕ สตางค์ เล่นทั้งกลางคืนกลางวันให้เรียกภาษี ๗๕ สตางค์ จากการเรียกเก็บภาษีละครชาตรี แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของละครชาตรีที่แสดงได้ทั้ง กลางวันและกลางคืน และมิได้เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นอาชีพได้อีกด้วย ขณะนั้นมีคณะละครชาตรีเมืองเพชรร่วมสมัยอยู่จานวน ๕ คณะ คือ ๑. ละครหลวงอภัยพลรักษ์ ๒.

ละครหลวงทิพย์อาชา ๓. ละครตาไปล่ ๔. ละครยายปุ้ย และ๕. ละครบางแก้ว (ละครนอกเมืองในชุมชน

บ้านแหลม ที่ตาบลบางแก้ว ) หลวงอภัยพลรักษ์ ได้แต่งงานกับ นางนุ่น ซึ่งเป็นผู้แสดงละครด้วยกัน และ มีบุตรธิดา คือ • นางสาวพรหม จันทร์สุข • นายบุญยัง หรือ ขุนพิทักษ์ทัศนา • นายแก้ว จันทร์สุข • หม่อมเมือง เป็นภรรยาคนหนึ่งของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์(เทศบุนนาค)• นายเพ็ง จันทร์สุข • นายอิน จันทร์สุข • นายจัน จันทร์สุข • นางสาวอบ จันทร์สุข • นายเพชร จันทร์สุข บุตรธิดาของหลวงอภัย รวมทั้งลูกเขยและลูกสะใภ้ได้แสดงละครทุกคนนับว่าเป็นเชื้อสายละครโดยแท้ เมื่อหลวงอภัยสิ้นชีวิตลง นายบุญยัง จันทร์สุข ได้สืบทอดและดาเนินการต่อมา

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระทัยและเสด็จแปร พระราชฐานที่เมืองเพชรบุรี เช่นเดียวกับพระบรมชนกนาถ โดยมีเจ้าคุณจอมมารดาเอมผู้ฝึกละครในวัง หน้าตามแบบละครหลวง ได้มาถ่ายทอดท่ารา และการเล่นผสมผสานกันระหว่างละครเจ้าคุณจอม มารดาเอม กับละครของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) เจ้าเมืองเพชรบุรี ซึ่งเป็นละครที่ใช้ แสดงต้อนรับแขกเมือง ตัวละครล้วนเป็นสาวสาว เช่น หม่อมของท่านทั้งสิ้น โดยเฉพาะหม่อมเมือง ผู้มี เชื้อสายละครชาตรีเมืองเพชร เป็นบุตรีของหลวงอภัยพลรักษ์ และได้รับการฝึกหัดละครแบบละคร หลวง จึงมีบทบาทสาคัญต่อวงการละครชาตรีเมืองเพชรคนหนึ่ง เมื่อเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ถึงแก่ อนิจกรรม หม่อมเมืองก็ได้ถ่ายทอดละครในของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์และละครชาตรีให้กับลูกหลาน และชาวเมืองเพชร การแสดงละครชาตรีในสมัยรัชกาลที่ ๕ ละครชาตรีจะแสดงในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ งานวัด หน้าบ่อน งานมหรสพหลวง จึงอาจกล่าวได้ว่า ละครชาตรีเป็นมหรสพประจาเมือง ชาวเพชรบุรี

นิยมดูละครและแสดงละครกันทั้งเมือง มีทั้งละครอาชีพ ละครปิดวิก และแสดงหารายได้เพื่อการกุศล

เรื่องที่นิยมแสดงได้แก่ เรื่อง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี พระอภัยมณี สังข์ทอง และขุนช้างขุนแผน เป็นต้น

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะละครของนายบุญยัง จันทร์

สุข ได้มีโอกาสแสดงถวาย เป็นที่พอพระราชหฤทัยทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น “ขุนพิทักษ์ ทัศนา” เมื่อขุนพิทักษ์ทัศนา สิ้นชีวิต ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๖ นาย แก้ว น้องชาย และหม่อมเมืองได้ร่วมกัน ดาเนินการ และถ่ายทอดงานละครจนกระทั่งถึงปลายสมัยรัชกาลที่ ๖

ละครชาตรีในสมัยรัชกาลที่ ๖ ยังคงเป็นคณะละครที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ โดย

แบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้ ๑. กลุ่มละครในเมือง ได้แก่ ละครพ่อบุญยัง ละครหม่อมเมือง ละครยายมอญ ละครหลวง วิจารณ์ ละครยายพร้อม ละครนายผ่าว ละครครูศรีใส นอกจากนี้ก็ยังมีละครลูกศิษย์หม่อมเมือง เช่น ละครยายจิบ ละครยายแจ่ม ละครยายมา ละครยายผิว ๒. กลุ่มละครบางแก้ว ได้แก่ ละครตาถินยายลับ ละครตาบุญยายฉั่ว ละครยายหวลตา มา จากชื่อคณะละครแสดงให้เห็นว่า ชื่อคณะละคร ยังคงใช้ชื่อหัวหน้าคณะและผู้หญิงเริ่มมีบทบาท

เป็นหัวหน้าคณะละครมากขึ้น สาหรับผู้ชายมักหันไปเล่นปี่พาทย์แทน โดยมักจะมีการแบ่งหน้าที่กัน

อย่างชัดเจน คือ ผู้หญิงฝึกละคร ผู้ชายฝึกปี่พาทย์

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย เหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ เศรษฐกิจตกต่า สิ่งบันเทิงใจต่าง ๆ ซบเซา จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๘ สงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดผลกระทบต่ออาชีพละครเป็นอย่างมาก เนื่องจาก จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ออกพระราชกฤษฎีกา ให้กรมศิลปากรควบคุมการแสดงละคร กาหนดให้ผู้แสดงละครต้องมีประกาศนียบัตรรับรอง ผู้แสดงบางคนต้องเลิกอาชีพละคร ผู้ที่จะหัดละคร ใหม่มีน้อยลง ผู้แสดงอาวุโสบางท่านเลิกแสดง หยุดการถ่ายทอด เช่น หม่อมเมืองได้ย้ายไปอยู่กับ บุตรชายซึ่งเป็นนายอาเภออยู่ที่อาเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด และปล่อยให้หลานๆ ดาเนินการต่อไป

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ สภาพเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะฟื้นตัว วัฒนธรรมตะวันตกเริ่ม หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการแสดงละครชาตรี การทาพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เคยมีละคร

ชาตรีเป็นมหรสพประจางานเริ่มเปลี่ยนไป เช่น งานบวช ขึ้นบ้านใหม่ หันไปนิยมภาพยนตร์ ดนตรีสากล

แบบตะวันตก การแสดงละครชาตรีเมืองเพชรจึงซบเซาลงและ ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการแสดงเพื่อแก้ สินบนเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ละครชาตรีก็ยังมีความสาคัญกับชาวเมืองเพชร และยังคงเป็นการแสดงที่ ได้รับความนิยม และเป็นเอกลักษณ์ของชาวเพชรบุรี ถึงแม้ว่าในปัจจุบันละครชาตรีจะใช้เป็นเพียงการ

แสดงแก้บนก็ตาม

ลักษณะและขั้นตอนการแสดงละครชาตรีเมืองเพชรบุรี

ละครชาตรีเมืองเพชร ถือเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของคนเพชรบุรี ที่ไม่มีใคร เหมือน และไม่เหมือนใคร ที่คนเพชรบุรีมีความภูมิใจ มีลักษณะและขั้นตอนการแสดง ดังนี้ ๑. การโหมโรง คือ การบรรเลงดนตรีเพื่อเรียกร้องให้คนรู้ว่ากาลังมีงานที่ใด ถ้าเล่นเป็นละคร ชาตรีแก้บนตอนกลางวันก็จะใช้ตีกลองชาตรี ( กลองตุ๊ก ) เป็นเสียงตุ้มๆ ๆ ๆ ต้อมๆ ๆ ๆ จนถึงเวลาแสดง แล้วชะงักกลองเป็นครั้งสุดท้ายอีกทีหนึ่ง ๒. การราถวายมือ เป็นการราบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และครูบาอาจารย์ที่ได้อบรมสั่งสอนมา และ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ละครทุกตัวจะออกมาราถวายมือ ปัจจุบันใช้เพียง ๔ คน ถ้าเป็นละครชาตรีแก้บน ผู้แสดงจะออกมานั่งคุกเข่าแบบละครที่กลางโรง พอ เรียบร้อยนักดนตรีจะหยุดและขึ้นเพลงทานองใดทานองหนึ่งซึ่งทราบกันโดยอาศัย ความเคยชิน (แต่ใน อดีตนิยมใช้เพลงทานอง “ เชื้อ ” เพียงเพลงเดียวเท่านั้น) ตัวพระที่เป็นต้นเสียงจะร้องเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่

เจ้าภาพแจ้งให้ทราบแล้วตั้งแต่ก่อนลงโรง (โหมโรง)

เมื่อร้องมาถึงตอนนี้ผู้แสดงทั้งหมดก็จะเริ่ม “ราถวายมือ” คือ การราท่าราแม่ท่าของละคร

ประกอบด้วยท่าราในเพลงช้า เพลงเร็ว และเพลงลา โดยผู้ราจะตัดมาเพียงเพลงละไม่กี่ท่าเพื่อไม่ให้ยืด ยาว เพราะยังมีขั้นตอนอื่น ๆ ตามมาอีก เมื่อราจบกระบวนท่าของราถวายมือแล้ว ตัวละครจะหายเข้า โรงไป คราวนี้ก็จะมีการร้อง “กาศครู” หรือ “ประกาศโรง” เป็นการร้องโดยใช้ทานองเดียวกับที่พวก มโนห์ราร้อง พอร้องจบ ตัว “นายโรง” (ตัวพระ) จะออกมารา “ซัดชาตรีไหว้ครู” แต่เดิมจริง ๆ นั้น ใช้ผู้ แสดงเกินกว่า ๑ คน แต่ปัจจุบันใช้เพียงคนเดียว และหาดูได้ยาก เมื่อราซัดชาตรีไหว้ครูจบแล้ว ก็เดินเข้า

โรงไประหว่างที่ราอยู่นั้น จะมีพิธีการประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเรียกกันง่าย ๆ ว่า “ทับที่” จากนั้นก็มีการ

บริกรรมคาถาป้องกันการกระทาย่ายีจากผู้ไม่ปรารถนาดี มีการขอที่ธรณีสงฆ์ (หากแสดงในบริเวณวัด)

และร่ายคาถากาหนดสี่มุมโรง เพื่อป้องกันคุณไสยที่ถูกปล่อยมาทาร้ายคนในคณะ จากนั้นจึงเริ่มจับ

เรื่อง (เริ่มแสดง)

การราถวายมือ ของคณะเบญจาศิษย์ฉลองศรี

๓. การแสดง เมื่อราซัดเสร็จ ผู้ราก็จะมานั่งที่เตียงและเริ่มดาเนินเรื่อง การแสดงจะดาเนินเรื่อง ไปเรื่อย ๆ จนถึงเวลา ๑๒.๐๐ น. และจะหยุดพักให้ตัวละครรับประทานอาหารกลางวันก่อน พอเวลา ๑๓.๐๐ น. ก็จะเริ่มการแสดงต่อจนถึงเวลาเย็น ๑๖.๐๐ น. จึงจะเลิกการแสดงแม้เรื่องจะยังไม่จบ ถ้า แสดงตอนกลางคืนจะเริ่มเวลา ๒๐.๐๐ น. หรือ ๒๑.๐๐ น. จนถึงเวลา ๒๔.๐๐ น การแสดงละครชาตรีเมืองเพชร ขณะที่ผู้แสดงนั่งที่เตียง เจ้าของคณะจะเป็นผู้บอกบทนาโดย ไม่ต้องดูบท ผู้แสดงจะร้องเอง ๑ วรรค และมีลูกคู่รับ เช่นนี้ตลอดไป เมื่อผู้แสดงร้องและราไปจบตอน หนึ่งแล้วจะมีการหยุดให้เจรจาเพื่อแนะนาตัวเองและเล่าเหตุการณ์ตามบทบาทของตนเอง เมื่อแสดงจน จบบทของตนแล้วก็นั่งลงข้างเตียงแล้วตัวอื่นก็ลุกขึ้นแสดงต่อไป ผู้ที่พักการแสดงจะทาหน้าที่ลูกคู่ร้อง รับต่อไป ผู้แสดงจะต้องร้องเอง เจรจาเอง และออกมุขตลกเองจะนอกเรื่องบ้างก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับไหว

พริบและความสามารถของผู้แสดง ในการแสดง ผู้แสดงและนักดนตรีจะนั่งเป็นวงกลม ตรงกลางว่างไว้สาหรับให้ตัวละครแสดง บทบาทวนเวียนอยู่ในนั้น

ละครชาตรีคณะพรวันเพ็ญ แสดงเรื่อง พระสังข์ทอง ตอนตีคลี ละครชาตรีคณะเบญจาศิษย์ฉลองศรี แสดงเรื่อง พระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทร ๔. ฉาก ส่วนใหญ่การแสดงละครชาตรีที่ใช้ในการแก้บนจะไม่มีฉาก แต่ถ้าแสดงในงานวัดหรือ

ที่ไม่ใช่การแก้บน จะใช้ฉากแต่ก็มีไม่มากเพียง ๒ ฉากเท่านั้น คือ ฉากท้องพระโรงและฉากป่า หรือให้

เหมาะกับเนื้อเรื่อง

สมัยก่อนไม่มีฉาก แสดงตามที่โล่ง ๆ มีเพียงเตียงนั่งตรงกลางบริเวณโรงละคร ( อาจเป็นศาลา

กลางวัดหลังหนึ่ง ) และมีม้ายาวสูงกว่าเตียงเล็กน้อยสาหรับวางศีรษะพ่อแก่ หรือศีรษะฤาษี ชฎา มงกุฎ กระบังหน้า และหัวโขนเบ็ดเตล็ดที่ใช้ในการแสดง

๕. การแต่งกาย ละครชาตรีเมืองเพชรบุรี นิยมเล่นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ เช่น สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ ฯลฯ นานๆจะได้เห็นบางคณะแสดงเรื่องพระอภัยมณี, ลักษณาวงศ์, ขุนช้างขุนแผน สักครั้งหนึ่ง ผู้ที่

แสดงเป็นตัวพระ เป็นตัวนางจะแต่งเครื่องใหญ่ทั้งหมด ตัวฤาษี เสนา ตัวยักษ์ ก็จะสวมหัวฤาษีหรือหัว

ยักษ์ ตัวเสนาจะนุ่งผ้าโจงกระเบน ไม่ใส่เครื่องประดับตกแต่ง สาหรับตัวละครที่เป็นสัตว์ก็จะสวมหัวสัตว์ นั้น ๆ ปัจจุบันการแต่งกายมักนิยมเอาเครื่องแต่งกายของลิเกมาผสม ถ้าแสดงแบบละครไทย เช่น นาง ตลกจะแต่งกายแบบง่ายๆ คือ เอาผ้าถุงมาทาเป็นกระโปรงบานรูด บางทีก็แต่งกายชุดไทยสไบเฉียง แล้วแต่ความเหมาะสม

๖. เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง จะเป็นเพลงที่ร้องง่าย ๆ ไม่คานึงถึงอารมณ์ของเพลงเท่าใด นัก เพราะตัวละครจะต้องร้องเอง ดังนั้นจึงเลือกเพลงที่หัดง่าย เช่น เพลงร่าย ช้าปี่ นางนาค ขึ้น พลับพลา โทน ช้างประสานงา เชิด เสมอ ลา โลม โอด เป็นต้น

๗. ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ถ้าเป็นละครเล่นแก้บนตามลานวัด ไม่มีโรง เครื่องดนตรีจะ มีน้อยชิ้น เช่น โทน กลองทัด กลองชาตรี ( กลองตุ๊ก ) โหม่ง กรับ ฉิ่ง บางครั้งอาจมีระนาดเอกเพิ่ม ด้วย และบางครั้งก็มีเครื่องดนตรีเพียง ๒ ชิ้น คือ กลองตุ๊ก และกรับเท่านั้น แล้วแต่ว่าเราจะเป็นโรงเล็ก หรือโรงใหญ่ ถ้าเป็นละครที่ไปเล่นตามงานเครื่องดนตรีจะเพิ่มขึ้น ดังนี้ ระนาดเอก ระนาคทุ้ม ฆ้องวง ตะโพน กลองแขก ฉาบ และปี่

๘. บทละครที่ใช้แสดง บทละครชาตรีเมืองเพชรบุรี ส่วนใหญ่เป็นบทละครที่พิมพ์เป็นเล่ม เล็กๆ มีหลายเล่มต่อ ๑ เรื่อง ที่นิยมบทละครของสานักวัดเกาะ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ บาง คณะก็เอาบทพระราชนิพนธ์ละครนอก ๖ เรื่องของรัชกาลที่ ๒ มาแสดง ภาพการแสดงของคณะสี่พี่น้อง เรื่อง กายเพชรกายสุวรรณ ๙. โอกาสที่ใช้ในการแสดง ละครชาตรีเมืองเพชรปัจจุบันส่วนใหญ่จะแสดงในงานแก้สินบน นอกจากนั้นก็มีแสดงในงานประจาปีของจังหวัด งานวัด งานบวช งานโกนจุก และงานมงคลต่าง ๆ

ปัจจุบันจังหวัดเพชรบุรีมีคณะละครชาตรีที่แสดงอยู่ เท่าที่สารวจพบมี ดังนี้

๑.คณะปทุมศิลป์ ๒.คณะประทินทิพย์ ๓.คณะยอดเยาวมาลย์

๔.คณะพรหมสุวรรณ ๕.คณะเบญจาศิษย์ฉลองศรี ๖.คณะสี่พี่น้อง

๗.คณะชูศรีนาฏศิลป์ ๘.คณะพรวันเพ็ญ ๙.คณะขวัญเมืองประดิษฐ์ศิลป์ ๑๐.คณะเพชรสุมาพร ๑๑.คณะยอดรักสุนันทา ๑๒.คณะ พ.เทพประสิทธิ์ ๑๓.คณะบัลลังก์แก้วนาฏศิลป์ ๑๔.คณะแน่งน้อยศิษย์ฉลองศรี ๑๕.คณะประชุม พรนิมิตร ๑๖.คณะอนงค์นาฏศิลป์ ๑๗.คณะถนอม สอาดศิลป์ ๑๘.คณะมณีเทพ ๑๙.คณะบุญยิ่งศิษย์ฉลองศรี

๒๐.คณะนาตยานิยมศิลป์ ๒๑.คณะรุ่งสุริยา

https://www2.m-culture.go.th/phetchaburi/ewt_news.php?nid=186&filename=intro

ภาพการแสดง ของคณะบัลลังก์แก้วนาฏศิลป์ เรื่องวงศ์สวรรค์ จันทราวาส ที่มา :
กระทรวงวัฒนธรรม ภาพละครชาตรี คณะถนอม สอาดศิลป์ (นางสอาดเจ้าของคณะ นั่งตรงกลาง)

สังข์ทอง

ประวัติและที่มาของเรื่อง

สังข์ทอง เป็นหนึ่งในบทละครนอก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย มี ๙ ตอนคือ

๑.กาเนิดพระสังข์

๒.ถ่วงพระสังข์

๓.นางพันธุรัตน์เลี้ยงพระสังข์

๔.พระสังข์หนีนางพันธุรัต

๕.ท้าวสามนต์ให้นางทั้งเจ็ดเลือกคู่

๖.พระสังข์ได้นางรจนา

๗.ท้าวสามนต์ลูกเขยหาปลาหาเนื้อ

๘.พระสังข์ตีคลี

๙.ท้าวยศวิมลตามพระสังข์

สังข์ทองเป็นเรื่องที่ได้มาจากสุวัณสังขชาดก ซึ่งเป็น นิทาน เรื่องหนึ่งใน ปัญญาสชาดก ของ

ท้องถิ่น ในภาคเหนือและภาคใต้มีสถานที่ที่กล่าวถึงเนื้อเรื่องในสังข์ทองกล่าวคือเล่ากันว่าเมืองทุ่งยั้ง เป็นเมืองท้าวสามนต์ ใกล้วัดมหาธาตุมีลานหินเป็นสนามตีคลีของพระสังข์ ส่วนในภาคใต้ เชื่อว่าเมือง ตะกั่วป่าเป็นเมืองท้าวสามนต์ต์ และเรียกภูเขาลูกหนึ่งว่า "เขาขมังม้า" เนื่องจากเมื่อพระสังข์ตีคลีชนะได้ ขี่ม้าข้ามภูเขานั้นไป

ความย่อ

เจ้าเมืองพาราณสีขัดแค้นใจที่ทาอันตรายเงาะป่าไม่ได้ก็เฝ้าคิดหาวิธีการอื่นที่จะกาจัดเงาะป่า พระอินทร์บนสวรรค์ทราบถึงการคิดร้ายของเจ้าเมืองพาราณสีต่อเงาะป่าจึงลงมาช่วย โดยเหาะลงมา

ลอยอยู่หน้าพระที่นั่งของเจ้าเมืองพาราณสี และกล่าวท้าทายว่าให้เจ้าเมืองพาราณสีหาคนดีมีฝีมือเหาะ

ขึ้นมาตีคลีกับพระอินทร์บนอากาศภายในเจ็ดวัน ถ้าหาไม่ได้ก็จะฆ่าเจ้าเมืองพาราณสี เจ้าเมืองพาราณ

สีตกใจมากให้หกเขยและบรรดาเสนาอามาตย์ช่วยกันหาผู้อาสาเหาะไปตีคลี ทุกคนก็จนปัญญา เจ้า

เมืองพาราณสีจึงให้ป่าวประกาศว่าผู้ใดที่สามารถเหาะไปตีคลีกับพระอินทร์บนอากาศได้จะยกราช สมบัติให้ แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดมาอาสา นางมณฑาเทวีพระมเหสีของเจ้าเมืองพาราณสีจึงแอบไปหานาง รจนา และขอให้นางรจนาอ้อนวอนให้เงาะป่าช่วย เงาะป่าสงสารทั้งสองนางจึงรับปาก และในวันที่เจ็ด เงาะป่าก็ถอดรูปเป็นพระสังข์ทองใส่เกือกแก้วเหาะขึ้นไปตีคลีกับพระอินทร์จนชนะ พระอินทร์ก็กลับไป บนสวรรค์

เจ้าเมืองพาราณสีดีพระทัยมากได้ขอโทษพระสังข์ทองและยกราชสมบัติให้ตามสัญญา พระสังข์

ทองขอลาไปตามหาพระนางจันทราเทวีก่อน พระสังข์ทองเดินทางไปตามเมืองต่าง

เมืองมัทราษฎร์ จึงไปสืบถามที่บ้านธนัญชัยเศรษฐีว่ารู้จักหญิงที่ชื่อจันทราเทวีหรือไม่ ธนัญชัยเศรษฐี บอกว่าไม่รู้จัก แต่ก็เชิญพระสังข์ทองอยู่รับประทานอาหาร พระสังข์ทองสังเกตว่าอาหารมีรสปราณีต

ซึ่งผู้ทาจะต้องเป็นผู้ทาอาหารถวายพระเจ้าแผ่นดิน จึงขอพบแม่ครัวและซักถามประวัติก็ทราบว่าเป็น พระนางจันทราเทวีจึงดีใจมาก และขอธนัญชัยเศรษฐีที่จะรับพาพระมารดากลับไป พระสังข์ทองนาพระมารดากลับไปอยู่ที่เมืองพาราณสี พระสังข์ทอง ปกครองเมืองพาราณสีจน เจริญรุ่งเรือง กิติศัพท์แพร่ไปยังนครอื่น ๆจนถึงเมืองพรหมนคร ชาวเมืองพรหมนครก็อพยพมาอยู่เมือง พาราณสี เสนาอามาตย์เมืองพรหมนครจึงทูลเสนอพระเจ้าพรหมทัตว่าพระสังข์ทองพระราชโอรสครอง เมืองพาราณสีมีความสามารถทาให้รุ่งเรืองจึงเห็นสมควรที่จะอัญเชิญพระสังข์ทองมาครองเมืองพรหม นครเพื่อสร้างความเจริญ พระเจ้าพรหมทัตเมื่อทรงทราบว่าพระโอรสยังมีชีวิตอยู่และมีความสามารถก็ ยินดี และสานึกผิดให้อามาตย์ผู้ใหญ่ไปเมืองพาราณสีและทูลเชิญพระสังข์ทองและพระนางจันทราเทวี กลับเมืองพรหมนคร พระสังข์ทองสงสารพระบิดาจึงอ้อนวอนพระมารดาให้อภัยพระเจ้าพรหมทัตและ เดินทางกลับเมืองพรหมนคร พระเจ้าพรหมทัตก็มอบราชสมบัติให้พระสังข์ทองปกครองบ้าน เมืองเป็น

สุขสืบมา

เครดิต: https://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0

%B8%82%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87

ๆ จนกระทั่งมาถึง

รายนามผู้แสดง

นายกมล เรืองศิลป์

นายณัฐวุฒิ เนียมนิ่ม

นายเชิด พลับแย้ม

นายโสภณ รักษาดี

นางสาวสุชานันท์ พุ่มกระจ่าง

นางสาวสุวรรณี วันเสือ

นางทองศรี นาคสิงห์

นางบุญเตือน คัชชา

นางวาสนา คมปาน

นางระพีพรรณ โถสกุล

รายนามผู้บรรเลง

นายสุภาพ เขียวชอุ่ม

นายสุรศักดิ์ อยู่คง

นายสุรธี สวนชูผล

นายจาเริญ เกิดรอด

นายอรรถพล เนียมนิ่ม

นายผดุงพงษ์ แย้มนาค

นายบุญช่วย ขาเจริญพร

นายเชาว์ กลัดเข็มทอง

นางสุนันทา กลัดเข็มทอง

เด็กชาย โชติสุวรรณ กลัดเข็มทอง

ควบคุมการแสดงโดย

นางสาวสุวรรณี วันเสือ

บทละครชาตรี เรื่องสังข์ทอง

ตอน พระสังข์เลียบเมือง ถึงนางจันท์เทวี สลักชิ้นฟัก

จากบทพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย คณะละครชาตรี ถนอม สะอาดศิลป์ นามาคัดตัดปรับ เพื่อใช้ในการแสดง

ณ อาคารหอแสดงดนตรี สานักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗

⦿ ครั้นเข้าไปใกล้กาแพงเมือง หญิงชายเดินเนื่องกลางถนน

พระแกล้งทาเหมือนเหล่าชาวชน ปลอมปนเบียดเสียดไปตามทาง

เห็นถิ่นฐานบ้านช่องแน่นหนา ริมแถวมรคาทั้งสองข้าง

เหย้าเรือนฝากระดานบ้านขุนนาง รั้วทึบรั้วตารางเรียงราย –เจรจา⦿ ครั้นตลาดเลิกเวลาค่า พอแลเห็นศาลาอาศัย

พระชวนโฉมนางจันท์คลาไคล เข้าไปหยุดยั้งศาลา –เชิดแล้วแก้ย่ามทันทีตีเหล็กไฟ เก็บสะเก็ดไม้ไล่ก่อไฟสุม

ไม่มีม่านมีมุ้งยุงชุม มันกัดตัวเป็นตุ่มเต็มไป-เพลงฉิ่ง⦿ เมื่อนั้น พระสังข์ทองทรงโฉมเสน่หา

ราตรีเข้าที่ไสยา ด้วยนวลนางรจนานงคราญ

เมื่อมารดามาถึงพระนคร ให้เดือดร้อนเคืองขุ่นงุ่นง่าน

เมียรักชักชวนให้สาราญ

จะอยู่งานพัดวีก็มิฟัง

⦿ เนื้อตัวไม่สบายระคายคัน ผินผันให้นงเยาว์เกาหลัง

แต่พบค่าย่าฆ้องจนเคาะระฆัง เวียนนั่งเวียนลุกขลุกขลุยไป–เจรจา-

⦿ คิดจะใคร่ไปเลียบพระนคร ให้สบายคลายร้อนหม่นไหม้

จึงตรัสสั่งรจนายาใจ

พรุ่งนี้พี่จะไปเลียบธานี

บ่ายคล้อยหน่อยหนึ่งจะกลับมา แก้วตาอย่าเศร้าหมองศรี

ครั้นรุ่งแจ้งแสงสว่างราตรี ก็เข้าที่โสรจสรงคงคา–เจรจา-

⦿ แต่งองค์ทรงสอดเครื่องประดับ สองแก้วแวววับจับเวหา

เสร็จสั่งทรามวัยไคลคลา ออกมาพระโรงคัลทันที-เสมอ-

ลดองค์ลงนั่งเหนืออาสน์

ตรัสสั่งอามาตย์น้อยใหญ่

จงผูกช้างเตรียมพลสกุลไกร เราจะไปเที่ยวรอบขอบบุรี–เจรจา-

⦿ เมื่อนั้น พระสังข์ทรงศักดิ์ดากล้าหาญ

เสด็จยังเกยลาหน้าพระลาน

ขึ้นทรงคชสารชาญชัย

ช้างทรงตรงออกทวารวัง โยธาหน้าหลังไม่นับได้

เสียงฆ้องกลองชนะสนั่นไป คลาไคลไปตามมรคา-เชิด⦿ เมื่อนั้น ท้าวศวิมลนาถา

อยู่กับมเหสีที่ศาลา

เห็นเขามาอืออึงคะนึงไป

ทั้งเกณฑ์แห่เกษณ์แหนแน่นเนือง ชะรอยท้าวเจ้าเมืองจะไปไหน

จึงตรัสชวนเมียขวัญทันใด เราจะไปเมียงหมอบลอบดู–เจรจา-

⦿ ว่าพลางทางลงจากศาลา ถึงริมมรคานั่งคอยอยู่

รี้พลคับคั่งพรั่งพรู เขาเดินกรายหัวหูไม่ว่าไร-เชิด-

⦿ ครั้นสิ้นแห่แลเห็นช้างทรง กับองค์พระสังข์ทองผ่องใส

สะกิดถามเมียพลันทันใด คนนี้หรือมิใช่พระลูกรัก–เจรจา-

⦿ เมื่อนั้น นางจันท์เทวีมีศักดิ์

ตั้งตาแลดูเป็นครู่พัก แล้วนงลักษณ์บอกกับภัสดา

ข้าพินิจพิศดูรูปทรง ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์ไอรสา

แต่เนื้อเหลืองเรืองรองเป็นทองทา ผิดกับลูกยาข้าแคลงใจ

ว่าพลางทางชวนกันดูพลาง จนช้างที่นั่งเข้ามาใกล้

ลืมตัวกลัวเกรงภูวนัย

ลุกยืนขึ้นได้ตั้งใจดู–เจรจา-

⦿ บัดนั้น พวกเกณฑ์แห่แลเห็นคนยืนอยู่

ตกใจต่างชิงกันวิ่งพรู มาขู่รู่ยื้อยุดฉุดตัว

บ้างโกรธท่านตาว่าท่านยาย จะพาคนหลังลายยายชาติชั่ว

บ้างชักหวายเงื้อง่าน่ากลัว เคยตัวตีเสียให้แทบตาย–เจรจา-

⦿ เมื่อนั้น

พระสังข์ทองร้องห้ามคนถือหวาย

ช่างหเถิดเสนาอย่าวุ่นวาย ตายายชาวบ้านนอกคอกนา

ให้เมตตาปราณีหนักหนา
พลางพินิจพิศดูเหมือนผู้ดี
ดูท่านยายคล้ายกันกับพระมารดา พระราชาลอช้างที่นั่งไว้–เจรจา-

⦿ ครั้นจะถามหตุผลต้นปลาย ให้นึกอายเสนาน้อยใหญ่

แต่พินิจพิศดูตะลึงตะไล นึกพะวงสงสัยในวิญญา

พระคิดคะนึงถึงมารดร จะทุกข์ร้อนถึงลูกนี้หนักหนา

แล้วแข็งขืนกลืนกลั้นน้าตา

ให้โยธากลับหลังเข้าวังใน-โอด-เชิด-

⦿ เมื่อนั้น ท้าวยศวิมลให้สงสัย

เห็นแห่เสด็จกลับลับไป

ภูวนัยปรึกษากับเมียรัก

มี่ดูพระโฉมยงค์องค์นี้ ทาท่วงทีจะเหมือนรู้จัก

แต่หากเธอคิดอายไม่ทายทัก เห็นจะเป็นลูกรักเราคนนี้

จึงหยุดอยู่ดูเจ้าเป็นหนักหนา แล้วหน้าตาโศกเศร้าหมองศรี

จะคิดอ่านแก้ไขอย่างไรดี

⦿ เมื่อนั้น

จึงว่าเราจะเข้าไป

พี่นี้อั้นอ้นจนใจ–เจรจา-

นางจันท์เทวีก็คิดได้

อาศัยอยู่ที่นายประตู

แต่ตัวน้องจะเข้าไปในนิเวศน์ ให้นายวิเศษเขาใช้อยู่

เห็นชอบกลจะได้ไต่ถามดู ให้รู้ตระหนักประจักษ์ใจ

แม้นลูกน้อยหอยสังข์คนนี้แน่ จึงจะคิดผันแปลแก้ไข

ให้รู้ว่าข้าน้อยกับท้าวไท ตามมาถึงในพารา–เจรจา-

⦿ เมื่อนั้น

เจ้าช่างคิดขยันกัลยา

สามีดีใจหัวเราะร่า

นั่งอยู่ไยช้ามาจะไป

จึงหยิบย่ามละว้ามาสพาย นางกระเดียดกระทายทาเหมือนไพร่

แล้วเดินตามกันมาทันใด เข้าไปยังที่ทวารา-เชิด⦿ ครั้นถึงจึงเห็นนายประตู นั่งบนร้านสานตะกร้า

ตรงเข้าไปไต่ถามพูดจา

ข้าเจ้าจะขอถามตามชื่อ

แกล้งเจ้าคะเจ้าขาให้ชอบใจ

ท่านหรือเป็นนายประตูใหญ่

ข้านี้ยากจนเป็นพ้นไป คิดจะมาอาศัยเจ้าขรัวตา

จะอยู่ให้ใช้สอยเป็นลูกจ้าง เฝ้าประตูประต่างก็ไม่ว่า

พอได้กินอิ่มท้องสองเวลา ตามประสาแก่เฒ่าเฝ้ารั้ววัง–เจรจา-
⦿ เมื่อนั้น นางจันท์ชื่นชมสมหมาย
อุตส่าห์ยากลาบากกาย ให้วิเศษทั้งหลายเขาเมตตา

นางต้มแกงแต่งเครื่องเวลาไร ชอบพระทัยลูกรักหนักหนา

สมหวังดังจิตรคิดมา

กัลยาจะแกล้งแกงฟัก

จึงหยิบยกมาตั้งนั่งผ่าน เอาวางไว้ในจานเจียนจัก

แกะเป็นรูปองค์นงลักษณ์

เมื่ออยู่กับผัวรักที่ในวัง–เจรจา-

⦿ ชิ้นหนึ่งทรงครรภ์กัลยา คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์

ชิ้นสองต้องขับออกเซซัง

อุ้มลูกไปยังพนาลัย

ชิ้นสามเมื่อมาอยู่กับยายตา ลูกยาออกมาช่วยขับไก่

ชิ้นสี่มารดามาแต่ไพร

ทุบสังข์ป่นไปที่นอกชาน

ชิ้นห้าบิตุรงค์ทรงศักดิ์ ให้จับลูกรักมาจากบ้าน ชิ้นหกจองจาทาประจาน ให้ประหารฆ่าฟันไม่บรรลัย ชิ้นเจ็ดเพชฌฆาตเอาลูกยา ไปถ่วงลงคงคาแม่น้าไหล

เป็นเจ็ดชิ้นสิ้นเรื่องอรไท ใครใครไม่ทันจะสงกา–เจรจา-

⦿ นางจัดแจงแกงต้มดิบดี แล้วตักใส่ในที่ชามฝา

ทั้งปิ้งจี่มี่มันนานา ใส่โต๊ะตรีตราเตรียมไว้–เจรจา-

⦿ บัดนั้น

เหล่านางพนักงานน้อยใหญ่

ถึงเวลามาเชิญเครื่องไป เรียงเรียบเทียบไว้เหมือนอย่างเคย-เชิด-

⦿ เมื่อนั้น พระสังข์สุริยวงศ์พงศา

เสวยเครื่องเอมโอชโภชนา อร่อยรสโอชาชอบพระทัย

เอาช้อนทองลองตักแกงฟัก เห็นชิ้นสลักก็สงสัย

พระพินิจพิศดูพลางเอาวางไว้ แล้วตักขึ้นมาใหม่ก็เหมือนกัน

จึงเลือกตักแต่ชิ้นสิ้นชามฝา เพ่งพิจารณาทุกสิ่งสรรพ์

หลากใจหนักหนาน่าอัศจรรย์ พระทรงธรรม์ไม่บอกให้ใครฟัง–เจรจา-

⦿ จึงเอาน้ามาล้างแล้ววางราย เห็นเป็นเรื่องนิยายหอยสังข์

พระมารดามาตามแล้วกระมัง คนอื่นทั้งเมืองเราไม่เข้าใจ

ไม่เสวยเลยอิ่มโภชนา

จะกลืนกล้าน้าตามิใคร่ได้

หยิบเอาชิ้นฟักนั้นถือไว้ สะอื้นไห้ถึงพระชนนี-โอด⦿ แล้วระงับดับความโศกศัลย์ จึงสั่งนางกานัลสาวศรี

ใครแกงฟักขึ้นมาเวลานี้ ไปหาตัวมานี่อย่าได้ช้า–เจรจา-

⦿ บัดนั้น นางกานัลรับสั่งใส่เกศา

ลงจากปราสาทชัยไคลคลา ตรงมายังที่วิเศษใน-เชิด-

⦿ ว่าพลางนางเรียกนางจันท์ มาเอาคามั่นสัญญา

เจ้าช่างตกแต่งแกงฟักดี

เดี๋ยวนี้มีรับสั่งให้หา–เจรจา⦿ เมื่อนั้น

ดีใจจะได้พบพระลูกชาย

ท่านอย่าประหวั่นพรั่นจิต

นางจันท์เทวีโฉมฉาย

จึงเสแสร้งแกล้งอุบายพูดจา

อันชอบผิดจะรับแต่ตัวข้า

ถึงพระโฉมยงลงอาญา ก็นึกว่าเคราะห์กรรมทาอย่างไร–เจรจา-

⦿ บัดนั้น สาวใช้ฟังว่าเห็นกล้าหาญ

ดูไม่งันงงสะทกสะท้าน ก็ลนลานรีบพากันคลาไคล-เชิด-

⦿ เมื่อนั้น องค์พระสังข์ทองผ่องใส

เห็นพระมารดามากับสาวใช้ จาได้ว่าพระชนนี

ลดองค์ลงจากบัลลังก์อาสน์ วิ่งเข้ากอดบาทนางโฉมศรี

มิทันจะพูดจาพาที โศกีเสือกซบสลบไป-โอด-รัว⦿ เมื่อนั้น นางจันท์เทวีศรีใส

เห็นพระโอรสยศไกร มาร้องไห้แน่นิ่งไม่ติงกาย

นางสวมสอดกอดองค์พระลูกรัก นงลักษณ์อกสั่นขวัญหาย

ชลนัยไหลหลั่งพรั่งพราย โฉมฉายนิ่งไปไม่สมประดี-โอด-รัว⦿ เมื่อนั้น นวลนางรจนามารศรี

ตกใจนักหนาเห็นสามี โศกีนิ่งไปไม่ไหวองค์

มิได้รู้เหตุผลต้นปลาย โฉมฉายดังจะม้วยเป็นผุยผง

วิ่งเข้ากอดบาทพระโฉมยง

โศกทรงกรรแสงสลบไป-โอด-รัว-

⦿ บัดนั้น ฝูงสนมกานัลน้อยใหญ่

ต่างคนตระหนกตกใจ

เข้าแก้ไขไม่ฟื้นสมประดี-เชิด-

⦿ เมื่อนั้น ท้าวสามนต์อกสั่นขวัญหาย

ร้องเรียกนางมณฑาว่าท่านยาย ลูกตายเสียแล้วมาจะไป

ย่างลงจากอาสน์พลาดล้มผลุง นางมณฑาเข้าพยุงลุกขึ้นได้

ออกจากปรางมาศปราสาทชัย วิ่งร้องไห้ตามกันมาทันที-เชิด⦿ ครั้นถึงปราสาทพระลูกรัก หอบฮักเข้าไปในที่

สาคัญว่าลูกตายวายชีวี ต่างตีอุราโศกาลัย-โอด⦿ ครั้นรู้สึกขึ้นมาให้หาหมอ ใครใครไม่รอหน้าได้

ชี้นิ้วกกริ้วหมู่กานัลใน ไม่ทันใจพิโรธโกรธฮึกฮัก

เต้นแร้งเต้นกาด่าทอ

เร่งหมอให้แก้อยู่แออัด

บ้างนวดบ้างเข้าเป่ายานัตถุ์ สามกษัตริย์ก็ฟื้นคืนมา-รัว⦿ เมื่อนั้น พระสังข์สุริวงศ์พงศา

ลืมเนตรเห็นองค์พระมารดา ทั้งแม่ยายพ่อตามาพร้อมกัน

จึงบังคมก้มกราบสามกษัตริย์ เชิญขึ้นแท่นรัตน์เฉิดฉัน

แล้วจึงทูลแจ้งกิจจาพ่อตาพลัน ลูกโศกศัลย์สิ้นสมปฤดี

ด้วยองค์สมเด็จพระมารดา อุตส่าห์ติดตามหามาถึงนี่

ได้ความยากแค้นแสนทวี มาอยู่ที่วิเศษเป็นหลายวัน–เจรจา-

⦿ เมื่อนั้น นางจันท์เทวีบังคมไหว้

จึงเล่าความตามจริงทุกสิ่งไป จนได้มาถึงพระพารา

แล้วผินหน้ามาว่ากับลูกแก้ว เหมือนตายแล้วเกิดใหม่ได้เห็นหน้า

อันซึ่งความผิดของบิดา มืดมัวชั่วช้าช้างมงาย

เดี๋ยวนี้ตามมาง้อขอโทษ ลูกรักหักโกรธเสียให้หาย

เจ้าอย่าปองจิตรคิดร้าย พยาบาทมาดร้ายกับบิดา–เจรจา-

⦿ เมื่อนั้น พระสังข์ฟังคาชนนีว่า

นบนอบแล้วตอบวาจา

ซึ่งพระบิตุรงค์ให้ลงโทษ

พระมารดาอย่าถวิลกินใจ

จะผูกจิตคิดโกรธนั้นหาไม่

เป็นเพราะเคราะห์กรรมที่ทาไว้ จึงจาให้พลัดพรากจากพระองค์

ถึงดวงหทัยนัยนา

ถ้าผ่านฟ้าทั้งสองต้องประสงค์

จะแขวะควักออกให้ดังใจจง ด้วยคุณของพระองค์เป็นพ้นไป

ตรัสพลางทางถามชนนี

เดี๋ยวนี้เสด็จมาอยู่ไหน

จงโปรดเกล้าเล่าแถลงให้แจ้งใจ ลูกจะใคร่ได้พบพระบิดา–เจรจา-

⦿ เมื่อนั้น

ฟังลูกรักตอบชอบวิญญา

บัดนี้สมเด็จบิตุรงค์

นุ่งห่มสมเพชสุดใจ

พระชนนีดีใจเป็นหนักหนา

ลูบหลังลูบหน้าแล้วว่าไป

ปลอมแปลงแต่งองค์เหมือนอย่างไพร่

มาอาศัยตาเฒ่าเฝ้าประตู

เขาใช้สอยพลอยทาคะมุกคะมอม สานกระบุงสานพ้อมนั่งหง่อมอยู่

อดหยากยากจนเป็นพ้นรู้

อุตส่าห์สู้ตามมาหาลูกรัก

ถ้าแม้นเจ้ามีแก่ใจออกไปรับ เห็นว่านับถือองค์พระทรงศักดิ์

จะดีเนื้อดีใจนักหนานัก เพราะลูกรักไปรับพระบิดา–เจรจา⦿ เมื่อนั้น พระสังข์บังคมด้วยหรรษา

จึงว่าลูกจะถวายบังคมลา ออกไปรับพระบิดามาวังใน

พระมารดาว่าแม่จะไปด้วย เจ้าแปลกจะได้ช่วยบอกให้

ท้าวสามนต์ว่าพ่อก็จะไป ก็จะได้รู้จักมักจี่กัน

นางมณฑาเทวีว่าดีแล้ว รจนาลูกแก้วมาผายผัน

ทั้งห้าองค์ลงจากปราสาทพลัน สาวสนมกานัลก็ตามมา

⦿ ครั้นถึงทิมริมที่ทวารวัง เห็นสองคนนั่งสานตะกร้า

จึงถามชนรนีมิได้ช้า ไหนพระบิดาข้าองค์ใด–เจรจา-

⦿ เมื่อนั้น นางจันท์เทวีศรีใส

ชี้บอกลูกรักทันใด

ภูวไนยท้าวนั่งอยู่ข้างนั้น

ที่นุ่งผ้าตาโถงถือมีดตอก นางบอกแล้วพากันผายผัน

เข้าไปใกล้องค์พระทรงธรรม์ ก้มเกล้าอภิวันท์ภัสดา

พระสังข์กอดบาทเบื้องซ้าย นางโฉมฉายกอดบาทเบื้องขวา

ทั้งสององค์ทรงโศกโศกา ปิ้มว่าชีวันจะบรรลัย-โอด-

⦿ เมื่อนั้น

ท้าวยศวิมลแถลงไข

เดินท้าวมัฆวานชาญชัย ถือตระบองเหล็กใหญ่เท่าลาตาล

เข้าไปถึงบรรจถรณ์ข้านอนอยู่ จะทุบตีหัวหูทาหักหาญ

นี้หากข้าสารภาพกราบกราน มัฆวานจึงแถลงให้แจ้งใจ

ว่าพระสังข์ทองครองเมืองนี้ พระภูมียกราชธิดาให้

ให้ข้ามารับไปกรุงไกร

แต่ในเจ็ดวันดังสัญญา

จึงรีบเร่งยกรี้กรีพล

สิบห้าวันดั้นด้นเดินป่า

พักพลไว้นอกพารา ปลอมมาแต่ข้ากับท่านยาย

เดี๋ยวนี้ได้ประสบพบพระสังข์ ที่ธุระปะปังก็สมหมาย

หาไม่ท้าวโกสีห์เธอตีตาย มิเชื่อถามท่านยายตะแกดู –เจรจา-

⦿ เมื่อนั้น

จึงทูลสนองพระบัญชา

ซึ่งจะพาข้าน้อยไปเมือง

พระสังข์บังคมก้มเกศา

พระบิดาอย่าประหวั่นพรั่นฤทัย

จะให้เคืองบาทาก็หาไม่

ทุกวันนี้ก็หวังตั้งใจ จะใคร่แทนคุณของทรงธรรม์–เจรจา-

ทูลพรางทางผินพักตรา ตรัสกับรจนาเมียขวัญ

เจ้าจะคลาไคลไปด้วยกัน หรือแจ่มจันทร์จรอยู่บุรี–เจรจา⦿ เมื่อนั้น นวลนางรจนามารศรี

นบนอบตอบคาพระสามี เมียนี้มิได้ไกลองค์

แม้นเสด็จไปไหนจะไปด้วย กว่าชีวิตจะม้วนเป็นผุยผง

สุดจริตคิดไว้ในใจจง ตกไหนน้องคงจะตามไป–เจรจา-

⦿ เมื่อนั้น พระสังข์ยิ้มย่องสนองไข

ไม่เสียทีที่รักทรามวัย

จะหาเมียที่ไหนได้อย่างนี้

มาเราจะไปทูลลา พระบิตุเรศมารดาทั้งสองศรี

ธุระพระบิดรร้อนเต็มที

พรุ่งนี้จะยกยาตรา–เจรจา-

⦿ ว่าพลางทางถวายบังคมคัล สองพระองค์ทรงธรรพ์นาถา

ชวนเมียรักร่วมใจไคลคลา สาวสวรรค์กัลยาก็ตามไป-เพลงเร็ว-

⦿ ครั้นถึงจึงถวายอัญชลี พระชนกชนนีเป็นใหญ่

แล้วทูลว่าบิตุรงค์ทรงไชย จะรับข้าคืนไปยังพารา

ด้วยท้าวมีความผิดติดตัว

พรุ่งนี้ลูกกับนางรจนา

เกรงกลัวพระอินทร์เป็นหนักหนา

ขอถวายบังคมลาไปด้วยกัน–เจรจา⦿ เมื่อนั้น

ท้าวสามนต์ฟังคาลูกเขยขวัญ

เป็นธุระแม่พ่อข้อสาคัญ สุดที่จะผ่อนผันฉันใด

จึงว่าพ่อหมายหมั้นทุกวันนี้ จะฝากผีลูกรักเมื่อตักษัย

ครั้งนี้จะพรากจากไป เป็นจนใจไม่รู้จะทัดทาน–เจรจา-

⦿ เมื่อนั้น

พระสังข์สุริวงศ์พงศ์ศา

ครั้นบ่ายชายแสงสุริยา จึงก้มกราบพ่อตาลาแม่ยาย

แล้วตรัสชวนนวลนนางเมียขวัญ สาวสนมกานัลทั้งหลาย

ลงจากปราสาทแก้วแพรวพราย ผันผายออกท้องพระโรงชัย-เสมอ-

⦿ ลดองค์ลงนั่งเหนืออาสน์ แล้วตรัสสั่งอามาตย์ผู้ใหญ่

เวลารุ่งพรุ่งนี้เราจะไป

ยังกรุงไกรบิตุรงค์ทรงธรรม์–เจรจา-

⦿ ท้าวยศวิมลกับพระสังข์ ต่างทรงช้างที่นั่งน้อยใหญ่

นางจันท์รจนาทรามวัย ต่างขึ้นพิไชยรถทอง

สาวสรรค์กานัลในซ้ายขวา ขี่ช้างหลังคาเป็นแถวถ้อง

เสียงแซ่แตรสังข์ฆ้องกลอง ให้เดินทัพหน้าคลาไคล-เชิด -จบการแสดง-

Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.