ลูกทุ่งผสานสมัย สู่ ๘๔ ปีลูกทุ่งไทย
เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้เกิดปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่ตรึงคนไทยไว้ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรม แห่ง ประเทศไทย และการรับชมทางสถานีวิทยุแห่ง ประเทศไทยช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ กว่า ห้า ชั่ วโมง นั่นคื อการ ถ่ายทอดสดงาน “กึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย” โดยสานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งมีการคัดเลือกบทเพลงลูกทุ่ง ดีเด่นไว้เผยแผ่ด้วย นอกจากนี้เพลงลูกทุ่งนับเป็นเครื่องมือหรือสื่อที่บันทึกประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่สะท้อนความสัมพันธ์ของผู้คน ชุมชน สังคม วัฒนธรรม อย่างหลากหลายและไม่หยุดนิ่ง คณะผู้จัดขออัญเชิญบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเรื่อง “ลูกทุ่งกับเพลงไทย” และพระราชทานไว้เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๒ ซึ่งเป็นตอนที่มีความสาคัญเป็นอย่างยิ่งในการนาเสนอมุ มมองด้านเพลงลูกทุ่งที่เป็นเครื่องมือบันทึกและเป็นภาพ สะท้อนประวัติศาสตร์ ดังต่อไปนี้ “สังเกตได้ว่าเวลาเกิดสถานการณ์อะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปากท้อง ฝนตก ฟ้าร้อง น้าท่วม ตลอดจนเหตุการณ์ ทางการเมืองทั้งนอกและในประเทศ เพลงลูกทุ่งก็จะออกมาใหม่ทันสมัยกับข่าวนั้นทันที ราวกับเป็นสมุดบันทึกเหตุการณ์ เหล่านั้น เนื้อร้องเพลงลูกทุ่งมักจะสะท้อนภาพชีวิตจริงของคน ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การเกิดสงคราม ปัญหาเศรษฐกิจ และการเมืองได้เป็นอย่างดี ใช้ภาษาที่เรียบง่าย เข้าใจและจาง่าย ฟังแล้วไม่ต้องแปลความหมาย เหนือไปกว่านั้นเพลงลู กทุ่งยัง สรรหาคาที่กระทบกระเทียบเปรียบเปรย มีสานวนกระแนะกระแหนเจ็บๆ คันๆ มาเสนอได้หลายรูปแบบ เรียกได้ว่าเข้าถึงใจ คนฟังในเวลาอันรวดเร็ว คุณสมบัติในข้อที่ว่าสามารถบันทึกเหตุการณ์ได้ดีนี้เองเป็นคุณสมบัติพิเศษที่เพลงชนิดอื่นทาได้ไม่ดี และมีความหลากหลายเท่าเทียมกับเพลงลูกทุ่ง คุณสมบัติข้อนี้ของเพลงลูกทุ่งคือการถ่ายทอดรูปแบบมาจากเพลงพื้นบ้าน นั่นเอง ขณะเดียวกันเพลงไทยแท้ๆ ก็ขาดคุณสมบัติในข้อนี้ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าประวัติศาสตร์สังคมไทยนั้น ได้ปรากฏอยู่ในเพลง ลูกทุ่งไม่น้อยทีเดียว” จะเห็ น ได้ ว่ า เพลงลู ก ทุ่ ง เป็ น ศิ ล ปะบั น เทิ ง ใจ จิ ต วิ ญ ญาณและความคิ ด ของคนไทยเสมอมา เป็ น สื่ อ ที่ ถ่ า ยทอด วัฒนธรรมและสะท้อนสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของผู้คน สังคม ทั้งของไทยและของโลก เสมอมาแบบมีพลวัต ข่าวสารและภาพของสังคมชนบทและสังคมเมืองถูกถ่ายทอดซึ่งกันและกัน และไม่จากัดเฉพาะส่วนใด ของประเทศ เพราะเพลงลูกทุ่งไทยมีครบทุกภาค ทั้งลูกทุ่งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคใต้ วิธีการขับร้อง เนื้อหา ดนตรี หางเครื่อง และการแสดงที่นาเสนอแม้จะมีวิวัฒน์แต่ก็ยัง มีแก่นของลูกทุ่งที่มีเสน่ห์ให้ผู้คนได้ชื่นชอบและสะท้ อน วัฒนธรรมบันเทิงที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
พนม นพพร
วงดนตรี จุฬารัตน์
ศิลปินลูกทุ่งชั้นครูหลายท่านก็ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติในฐานะนักร้อง อาทิ ผ่องศรี วรนุช / ชาย เมือง สิงห์ / ไวพจน์ เพชรสุพรรณ / ชัยชนะ บุญนะโชติ /ชินกร ไกรลาศ / และเพลิน พรหมแดน และในฐานะผู้ประพันธ์เพลง อาทิ ชลธี ธารทอง และ ลพ บุรีรัตน์ ก็ยังคงเป็นดาวค้างฟ้าหรือศิลปินคนสาคัญของเมืองไทย แม้บางท่านจะล่วงลับไปแล้ว อีกทั้ง ศิลปินลูกทุ่งรุ่นกลางที่ชื่อตัวและบทเพลงยังคงเป็นอมตะแม้ท่านเหล่านั้นจะล่วงลั บไปแล้วก็ตาม อาทิ พุ่มพวง ดวงจันทร์ / สายัณห์ สัญญา / ยอดรัก สลักใจ / ศรคีรี ศรีประจวบ / บุปผา สายชล และศิลปินรุ่นกลางและรุ่นใหม่อีกหลายท่านที่ยังคงทา หน้าที่สร้างสรรค์วัฒนธรรมบันเทิงไทยอย่างต่อเนื่อง อาทิ คัมภีร์ แสงทอง / สดใส รุ่งโพธิ์ทอง / เสรี รุ่งสว่าง /ศรชัย เมฆ วิเชียร/สัญญา พรนารายณ์/ ศิรินทรา นิยากร / สุนารี ราชสีมา / คัฑลียา มารศรี / ฝน ธนสุนทร / น้าอ้อย พรวิเชียร ฯลฯ รวมถึงศิลปินผู้ที่เคยขับร้องเพลงโด่งดังที่เป็นอมตะ แต่อาจจะไม่ได้มีโอกาสนาเสนอผลงานต่อสาธารณะมากนัก อาทิ จีรพันธ์ วีระพงษ์ (เพลงไก่นาตาฟาง) ชายธง ทรงพล (เพลงปูไข่ไก่หลง) ภูมินทร์ อินทพันธ์ (ขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน) เกรียงไกร กรุงสยาม (เพลงชวนน้องแต่งงาน) และ รักชาติ ศิริชัย (เพลงฉันทนาที่รัก) เป็นอาทิ ซึ่งท่านเหล่านี้ (และอีกหลายท่าน) ทั้งที่ยังมีชีวิตและ ล่วงลับไปแล้วนั้น ควรจะได้รับการบั นทึกและถ่ายทอดสู่สังคมไทยเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เคลื่อนไหวและปรับปรน ตลอดเวลา
ครูมงคล อมาตยกุล เล่นเปียโน
คนที่ 4 จากซ้าย สายัณห์ สัญญา สมัยเป็นหางเครื่อง
ชาตรี ศรีชล
ครูสุรพล สมบัติเจริญ กับละครเพลงหน้าเวที
คอนเสิร์ต “ลูกทุ่งผสานสมัย” สู่ ๘๔ ปีลูกทุ่งไทย จึงเป็นการนาเสนอบทเพลงลูกทุ่งในยุคและรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ลูกทุ่งหวานอมตะ รถแห่แตรวง ลายไทย อาชีพ เพลงคู่ เป็นต้น ซึ่งเป็นโอกาสพิเศษที่วงดนตรีสากล “ลูกทุ่งบางใหญ่” ที่เคย เป็นวงแบคอัพให้ศิลปินลูกทุ่งที่มีชื่อเสียงมากมายมาร่วมบรรเลงกับ “วงกอไผ่” วงดนตรีไทยเดิมร่วมสมัยที่จะสอดประสาน เส้นลายไทยและพื้นบ้านที่ปรากฏอย่างชัดเจนในทานองเพลงลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังได้รับเกีย รติจากนักร้องลูกทุ่งผู้มีชื่อเสียงต่าง ยุคต่างสมัยรวมทั้งศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ละครร่วมสมัย) มาร่วมขับร้องด้วย หลังจากนี้จะมีคอนเสิร์ต ๘๔ ปีลูกทุ่งไทยในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่ง ประเทศไทย เพื่อสร้างสรรค์และนาเสนอประวัติศาสตร์เพลงลูกทุ่งไทย ที่รวบรวมความทรงจาของเพลงลูกทุ่งที่เดินทางผ่าน การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัย เพื่อชี้ให้เห็นถึงความเป็นวัฒนธรรมบันเทิงร่วมสมัย และผสานสมัยจากอดีต มาถึงปัจจุบันและจะดาเนินต่อไปในอนาคตก่อนที่จะเฉลิมฉลอง ๑ ศตวรรษลูกทุ่งไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งมีความสาคัญทั้ง เชิงอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมบันเทิงของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างบทเพลง บทเพลงคู่ที่ใช้ในคอนเสิร์ตครั้งนี้เป็นผลงานการประพันธ์โดยครูไพบูลย์ บุตรขัน ขับร้องต้นฉบับระหว่างไพรวัลย์ ลูก เพชร กับวิภารัตน์ เปรื่องสุวรรณ เป็นบทเพลงไพเราะที่ใช้ทานองเพลงไทยเดิมมาประยุกต์ให้เป็นดนตรีลูกทุ่งทานองคุ้นหู จังหวะสนุกเร้าใจ อาทิ “มะนาวไม่มีน้า” ทานองเพลง “ลาวกระทบไม้” กับ “ลาวล่องน่าน” / “กีฬารัก” ทานองเพลง “คางคกปากสระ” / “ไม่รู้ไม่ชี้” ทานองเพลง “พม่าแทงกบ” เป็นต้น
หุ่นปั้น ครูไพบูลย์ บุตรขัน
ตัวอย่างเนื้อเพลง เพลงมะนาวไม่มีน้า (ช) ขออภัย คุณชื่ออะไรบอกที (ญ) ไม่รู้จักมักจี่ ดูซีถามชื่อทาไม (ช) อยากจะรู้ ถามดูนิดหน่อยเป็นไร ถามแค่นี้ (ญ) ไม่ได้ (ช) แหมใจช่างดาหนักหนา (ญ) ขอโทษทีฉันมีธุระจะทา (ช) ตอบฉันก่อนสักคา ฉันถามชื่อโปรดตอบมา (ญ) ฉันไม่รู้ เอ๊ะดูซิอย่ายักท่า (ช) โธ่คนสวย (ญ) บ้าบ้า (ช) พูดจาไม่เพราะเลยเธอ โอ้ละเน้อ น้องเอย (ญ) ฉันไม่ใช่น้องเธอ (ช) แหมมาเจอผู้หญิงเก่ง (ญ) ฉันไม่ใช่ผู้หญิงนักเลง เธอมาเบ่งกับฉันทาไม (ช) ถามดูอยากรู้จัก (ญ) ฉันยิ่งชักไม่ไว้ใจ (ช) ฉันไม่ใช่ไอ้เสือที่ไหน เพียงถามไถ่เอาไว้คุยกัน (ญ) ขออภัย เธอไม่ใช่นายอาเภอ จะได้บอกให้เธอ สัมภาษณ์แล้วจดชื่อฉัน (ช) ไม่เป็นไร ชื่อเธอนั้นไม่สาคัญ โปรดจงรู้ชื่อฉัน ไพรวัลย์ ลูกเพชร รู้ไหม
เพลงกีฬารัก (ช) น้องสบายดีหรือจ๊ะแม่ศรีสาวสะ (ญ) ยังงั้นละจ๊ะ แล้วเธอละจ๊ะคงสบายดี (ช) สบายอะไร นอนป่วยไข้อยู่ตลอดปี (ญ) อุ๊ย อ้วนท้วนอย่างนี้ ไปหาหมอซิว่าเป็นอะไร (ช) ไปหาหมอโดนไล่มา หมอบอกว่าเป็นไข้ใจ (ญ) เพิ่งเคยได้ยิน แล้วหมอให้กินยาอะไร (ช) ไม่ต้องกินก็ได้ หมอให้อยู่ใกล้คนสวยอย่างนี้ (ญ) แหมคนอะไร ไม่รู้จักอายพูดพล่อย (ช) กระซิบค่อยค่อย เธอสวยหยดย้อยเหมือนกับเทพี (ญ) เจอกันทีไร หาเรื่องเกี้ยวได้เกี้ยวดี (ช) ก็ฉันรักเธอนี่
(ญ) คอยอีกสามปี (ช) แหมคอยนานจัง (ญ) คอยแค่นี้ (ช) คอยไม่ไหว (ญ) คอยต่อไป (ช) คงอกพัง (ญ) คนเป็นไข้ใจ ทาไมปากคอเก่งเสียจัง (ช) ไข้รกั ขึน้ จนคลัง่ อยากจะนัง่ อยูใ่ กล้คนสวย (ญ) ระวังให้ดี พี่ชายฉันเป็นแชมเปี้ยนนักมวย (ช) ฉันเป็นนักวิ่งเร็วได้ถ้วย (ญ) ฉันน้องนักมวย (ช) ฉันนักวิ่งเร็ว เพลงไม่รู้ไม่ชี้ (ช) ไปไหนมาจ๊ะ บอกหน่อยนะคนดี (ญ) ไม่รู้ไม่ชี้ อย่าเซ้าซี้อย่ากวนใจ (ช) ฉันถามดีดี ดูซิเป็นฟืนเป็นไฟ (ญ) จะถามก็ถาม ก็แล้วเดินตามทาไม (ช) เพราะความสนใจ เธอสวยกว่าใครทั้งบาง (ญ) ปากพล่อยน่าดู แถมเจ้าชู้ไม่สร่าง (ช) แม่หยดน้าค้าง (ญ) โอ้พ่อยอดใบตาแย (ช) บ้านเธออยู่ไหน (ญ) ไม่ใกล้ไม่ไกล (ช) อยู่ที่ไหนกันแน่ (ญ) ไม่รู้ไม่ชี้ (ช) บอกมาซิอย่าเชือนแช (ญ) ไม่รู้ไม่ชี้ (ช) บอกให้แน่อย่าแชเชือน อย่าทาแสนงอนค้อนเคืองเลยแม่คุณ (ญ) จะบอกให้เอาบุญ อยู่บ้านนายพลตารวจตรี (ช) ฉันขอลา (ญ) เดี๋ยวก่อนน่า (ช) ขอลาที (ญ) ฉันลูกนายพลตารวจตรี (ช) ฉันลูกตาสีคนทานา
วงดนตรี ยอดรัก สลักใจ
วงดนตรี สายัณห์ สัญญา
รายชื่อบทเพลงในการแสดงคอนเสิร์ต ลูกทุ่งหวาน คลาสสิก เพลง หนาวลมที่เรณู คนกล่อมโลก น้าตาลาไทร สาวเมืองกาญจน์ ดวงจันทร์ไม่มี
ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง สุรินทร์ ภาคศิริ ชลธี ธารทอง พร ภิรมย์ ปิยะ ตระกูลราษฎร์ ระพี เรือนเพ็ชร์
ผู้ประพันธ์ท้านอง สุรินทร์ ภาคศิริ ชลธี ธารทอง พร ภิรมย์ ปิยะ ตระกูลราษฎร์ ระพี เรือนเพ็ชร์
นักร้องต้นฉบับ ศรคีรี ศรีประจวบ เสรี รุ่งสว่าง พร ภิรมย์ ปริศนา วงศ์ศิริ พุม่ พวง ดวงจันทร์
เพลง มะนาวไม่มีน้า
ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง ไพบูลย์ บุตรขัน
ผู้ประพันธ์ท้านอง ไพบูลย์ บุตรขัน
ไม่รู้ไม่ชี้
ไพบูลย์ บุตรขัน
ไพบูลย์ บุตรขัน
กีฬารัก
ไพบูลย์ บุตรขัน
ไพบูลย์ บุตรขัน
นักร้องต้นฉบับ ไพรวัลย์ ลูกเพชร-วิภารัตน์ เปรื่องสุวรรณ ไพรวัลย์ ลูกเพชร-วิภารัตน์ เปรื่องสุวรรณ ไพรวัลย์ ลูกเพชร-วิภารัตน์ เปรื่องสุวรรณ
ลูกทุ่งเพลงคู่ (ท้านองไทยเดิม)
ลุกทุ่งพื้นบ้าน / ลายไทย ลายท้องถิ่น เพลง เต้ยสาวจันทร์กั้งโกบ เทพธิดาผ้าซิ่น กอดแก้จน
ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง สุมทุม ไผ่ริมบึง ชลธี ธารทอง ชลธี ธารทอง
ผู้ประพันธ์ท้านอง สุมทุม ไผ่ริมบึง ชลธี ธารทอง ชลธี ธารทอง
นักร้องต้นฉบับ พรศักดิ์ ส่องแสง เสรี รุ่งสว่าง เสรี รุ่งสว่าง
ลูกทุ่งอาชีพ เพลง น้าตาบ๋อย พาร์ทเนอร์เบอร์ห้า ทหารเกณฑ์ผลัดสอง
ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง ชลธี ธารทอง ชลธี ธารทอง สุรินทร์ ภาคศิริ
ผู้ประพันธ์ท้านอง ชลธี ธารทอง ชลธี ธารทอง สุรินทร์ ภาคศิริ
นักร้องต้นฉบับ พรชัย พรหมบัญชา พุ่มพวง ดวงจันทร์ ศรชัย เมฆวิเชียร
เพลง ไก่นาตาฟาง มาดามดิงดอง เจ้าซินอนกอดไผ คนดังลืมหลังควาย อยากเจอคนจริงใจ
ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง ฉลอง ภู่สว่าง ฉลอง ภู่สว่าง ฉลอง ภู่สว่าง ฉลอง ภู่สว่าง ธนัญชัย ศรีเหลา
ผู้ประพันธ์ท้านอง ฉลอง ภู่สว่าง ฉลอง ภู่สว่าง ฉลอง ภู่สว่าง ฉลอง ภู่สว่าง ธนัญชัย ศรีเหลา
นักร้องต้นฉบับ จีรพันธ์ วีระพงษ์ จีรพันธ์ วีระพงษ์ จีรพันธ์ วีระพงษ์ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ดวงตา คงทอง
ผู้จัดการการแสดง
ตรีเทพ ไทยคุรุพันธุ์, สุกัญญา สมไพบูลย์, อานันท์ นาคคง, ปัญญา พิศรูปพรรณ์, นคร ศรีเพชร (เคน สองแคว)
วงดนตรีสากล
ปัญญา พิศรูปพรรณ์ วรยศ กองเมือง สุรพล ศิริวรรณ เจษดา คงสมปราชญ์ ปัญญา ทวีสุข สุรินทร์ กุศลส่ง มีชัย มีชัยภูมิ อิสระ กลิ่นเอี่ยม อัครพล พูลผล
KEYBORD DRUMS BASS GUITAR ALTO SAX TENOR SAX TRUMPET TROMBONE PERCUSTION
วงดนตรีไทย
อานันท์ นาคคง ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์ ร้อยเอกสมนึก แสงอรุณ เกรียงไกร วรีวัฒน์ โชติพัฒน์ วุฒิหทัยโชติ ธีรชีพ ไกรธีรางกูร
ซอ ฉิ่ง ระนาดทุ้ม ขลุ่ย-แคน เปิงมาง ระนาดเอก แคน-พิณ
ลูกทุ่งรถแห่ แตรวง
แสง/สี/เสียง
ประณต ด้วงเจริญ
นักร้อง
เสรี รุ่งสว่าง
คนกล่อมโลก เทพธิดาผ้าซิ่น กอดแก้จน มะนาวไม่มีน้า (ร้องคู่ดวงตา คงทอง)
จีรพันธ์ วีระพงษ์
ไก่นาตาฟาง มาดามดิงดอง เจ้าซินอนกอดไผ ไม่รู้ไม่ชี้ (ร้องคู่ใบเฟิร์น สุทธิยา)
เอ๋ พจนา
หนาวลมที่เรณู ทหารเกณฑ์ผลัดสอง เต้ยสาวจันทร์กั้งโกบ
ดวงตา คงทอง
อยากเจอคนจริงใจ สาวเมืองกาญจน์ มะนาวไม่มีน้า (ร้องคู่เสรี รุ่งสว่าง)
ใบเฟิร์น สุทธิยา
คนดังลืมหลังควาย ดวงจันทร์ไม่มี ไม่รู้ไม่ชี้ (ร้องคู่จีรพันธ์ วีระพงษ์)
ประดิษฐ ประสาททอง
น้าตาลาไทร น้าตาบ๋อย กีฬารัก (ร้องคู่สุกัญญา สมไพบูลย์)
สุกัญญา สมไพบูลย์
พาร์ทเนอร์เบอร์ห้า กีฬารัก (ร้องคู่ประดิษฐ ประสาททอง)
หางเครื่อง
ผู้ด้าเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์
ขอขอบคุณ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สมาคมนักร้องลูกทุ่งแห่งประเทศไทย สมาคมนักแต่งเพลงลูกทุ่งประเทศไทย สมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย คุณชินวัตน์ ตั้งสุทธิจิต คุณสัมพันธ์ ณ พัทลุง คุณณภัทร พรหมพฤกษ์ คนรักลูกทุ่งทุกคน
จ๋อย แดนซ์ และทีมงาน