บ้านกล้วยบ้านเอ๋ง

Page 1

ค�ำบอกกล่าว านกล้วยเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ มีร่องรอยของประวัติศาสตร์จาก สั ณ ฐานของหมู ่ บ ้ า นและศิ ล ปกรรมตลอดจนพื ช พั น ธุ ์ ที่ ป รากฏ โบสถ์โล่งหรือโบสถ์โถงกับพระประธานที่เป็นไม้แกะสลัก ต้นมะขามยักษ์ ในวัดสองต้นเป็นเครื่องยืนยันว่าวัดนี้มีความเก่าแก่ เสมียนเสนาะฯ เรือแข่งที่ เป็นเจ้าวารีมานานมาก มีช่ือเสียงขจรไกล เป็นเรือโบราณที่ช่างท�ำเรือเพียง เห็นกระดูกงูก็ยอมถอย บ้านกล้วย : บ้านเอ๋ง จึงมุ่งหวังให้คนบ้านกล้วยได้ทบทวน เรียนรู้ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและวัฒนธรรม ที่บ้านกล้วยเคยมีเคยเป็นของสังคม แบ่งปัน กลายมาเป็นสังคมแลกเปลี่ยนและสังคมซื้อขายในที่สุด เรื่องราวที่ ปรากฏจึงไม่ยึดโยงกับระบบการปกครองของมหาดไทยและปลายประสาทของ การเมืองท้องถิ่น ดังนั้น ซุมบ้าน จึงน�ำเสนอซุมแบบดั้งเดิมแทนหมู่ที่ของ มหาดไทย ขอบคุณผู้ให้ข้อมูลทุกๆท่าน โดยเฉพาะ เตี่ยแก้ว แม่ผัน ที่ถ่ายทอด เรื่องราวต่างๆ ให้ลูกได้ซึมซับ ขอบคุณ ผศ.ดร.วาสนา ภานุรักษ์ ที่ดูแล แผนที่สัณฐานของหมู่บ้าน ขอบคุณ คุณแม่วิบูลย์รัตน์ ตั้งธนาเกียรติ และลูกๆ ที่บริจาคทรัพย์ช่วยพิมพ์ ขอบคุณ แม่เลี่ยม อยู่นา ที่เก็บภาพเก่าไว้เล่าเรื่อง ในอดีต ขอบคุณผู้ให้ข้อมูลทุกๆ ท่าน ขอบคุณ อาจารย์คุญช่วย ปิยวิทย์ ที่ ขั บ รถพามาเก็ บ ข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ทุ ก ท่ า นที่ ไ ด้ เ อ่ ย นามและไม่ ไ ด้ เ อ่ ย นาม ล้วนเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยจาคะ อันเป็นการสั่งสมอริยทรัพย์และบารมีทาน ขอผลบุญกุศลที่ท่านได้บ�ำเพ็ญกอปรก่อเพื่อเป็นวิทยาทานนี้ จงเกื้อกูลให้ท่าน และครอบครัวมีแต่ความสุข ความเจริญ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย อันตรายใดๆ อย่ากรายใกล้ จะท�ำการใดขอให้ส�ำเร็จราบรื่นทุกประการเทอญ นฤมล ปิยวิทย์



บ้านกล้วย บ้านเอ๋ง ผศ. นฤมล ปิยวิทย์

การตั้งหมู่บ้าน

ชุ ม ชนบ้ า นกล้ว ยมีลักษณะทางกายภาพที่มีส ายน�้ำ คือ ล�ำน�้ำเค็ม หล่ อ เลี้ ย งชี วิ ต เป็ น ก� ำ แพงปราการทางด้ า นทิ ศ ตะวั น ตกและทิ ศ เหนื อ ด้ า นทิ ศ ใต้ ข องซุ ม บ้ า นหั ว นอน มี คู น�้ ำ ล้ อ มตลอดแนวจากทิ ศ ตะวั น ตกถึ ง ทิศตะวันออก ซึ่งมีหนองน�้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า หนองจิก เป็นแก้มลิง ต่อจาก หนองจิกจะมีคูน�้ำล้อมมาทางทิศเหนือ ผ่านท่าน�้ำบ่อไปลงน�้ำเค็มที่ท่าหลุมดิน ทางทิศตะวันตก ดังนั้น วัดซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งล�ำน�้ำเค็ม หมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ทิศหัวนอนและ ทิศปลายตีนของวัดจึงมีล�ำน�้ำและคูน�้ำล้อมรอบ น�้ำในฤดูน�้ำมากสามารถระบาย ลงไปสู่ล�ำน�้ำเค็มได้โดยง่าย ชุมชนบ้านกล้วยมีหลายซุม (ไม่แบ่งตามเขตการปกครอง) ชื่อบ้านกล้วย เป็นภูมินามที่ตั้งตามชื่อพืชท้องถิ่น คือ กล้วย ซึ่งพันธุ์ท้องถิ่น ได้แก่ กล้วยส้ม กล้วยมะลิอ่อง กล้วยตีบและมีซุมบ้าน ๖ ซุม ดังนี้ :3:


๑. ซุมบ้านหัวนอน เดิมชื่อบ้านโนนขี้ตุ่น ซุมนี้มีลักษณะเป็นโนนสูง แล้วลาดต�่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านทิศตะวันตก ท�ำให้น�้ำฝนไหลลงสู่ ล�ำน�้ำเค็มได้โดยง่าย ๒. ซุมบ้านใหญ่ หรือบ้านปะตีน๋ (ปลายตีน) อยูท่ างทิศตะวันออกของวัด เรียกซุมบ้านปะตีน๋ ให้สอดคล้องกับซุมบ้านหัวนอน (ทิศใต้) มีลกั ษณะเป็นโนนสูง แล้วลาดต�่ำลงทางทิศตะวันออก เวลาฝนตกน�้ำจะไหลลงไปสู่ล�ำน�้ำเค็มทาง ด้านทิศเหนือ ท�ำให้ถนนในหมู่บ้านเป็นร่องลึกตามแบบของชุมชนโบราณที่เป็น กายภาพทั่ว ๆ ไป ๓. ซุมบ้านซาด เป็นซุมที่เกิดจากการขยายหมู่บ้านออกไปต่อจาก ซุมบ้านใหญ่ ภูมินามนี้ตั้งตามชื่อพืช คือ ต้นซาด ๔. ซุมบ้านเขว้า ซุมนีต้ งั้ อยูต่ อ่ จากซุมบ้านหัวนอน มีคนู ำ�้ ทางทิศใต้ของ บ้านหัวนอนกั้นอยู่ บ้านเขว้าตั้งตามภูมินามที่มีต้นเขว้า ๕. ซุมบ้านหัวโล้น ซุมนีอ้ ยูต่ อ่ จากซุมบ้านเขว้า เดิมทีเดียวเป็นบ้านร้าง จึงเรียกว่าหัวโล้น ๖. ซุมบ้านม่วง อยูห่ า่ งออกไปติดกับล�ำน�ำ้ เค็มทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ชื่อนี้ภูมินามคือต้นมะม่วง ๗. ซุมบ้านโนนตะกุด ตะกุด หมายถึงล�ำน�้ำที่แยกออกไปแล้วไปสิ้นสุด ไม่มีทางไหลไปต่อ ตะกุดตรงนี้คือสาขาที่แยกไปจากล�ำน�้ำเค็มที่ท่าหลุมดินไป สิ้นสุดที่บ้านโนนตะกุด ภาษาโคราชเรียก ตะกุ๊ด เคยเป็นแหล่งน�้ำกินน�้ำใช้ ของคนซุมบ้านเขว้า บ้านหัวโล้น บ้านหัวนอน บางปีแห้งแล้งมาก บ้านหนองปรือ ก็เอาเกวียนมาบรรทุกน�้ำที่ท่าตะกุดนี้ บรรพบุรุษชาวบ้านกล้วยเป็นใครมาจากไหนไม่สามารถสืบค้นได้ แต่ ลักษณะทางกายภาพของหมูบ่ า้ นทีม่ นี ำ�้ และคูนำ�้ ล้อมตลอดจนถนนทีเ่ ป็นร่องลึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากท่าน�้ำบ่อไปวัดถนนเป็นร่องลึกมาก ชุมชนที่มีลักษณะ ทางกายภาพเช่นนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนโบราณ จากร่องรอยของเศษกระเบือ้ ง :4:


ดินเผาบริเวณโนนตาหิน (ที่ตั้งของโรงเรียนปัจจุบัน) ซึ่งมีอยู่มากมาย ประกอบ กับมีประเพณีการไหว้ผมี อญของซุมบ้านหัวนอน คงพอสันนิษฐานได้วา่ บริเวณนี้ เคยเป็นที่อยู่ของคนโบราณและอยู่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้

วัด

วัดบ้านกล้วยตัง้ ชือ่ ตามหมูบ่ า้ น ตั้งอยู่บนท�ำเลที่สูงที่สุดริมฝั่งล�ำน�้ำเค็ม ลาดลงไปจากวัดเป็นท่าน�้ำที่ใช้ในการ อุปโภคบริโภค เรียกว่า ท่าวัด ภายในวัด มี ต ้ น มะขามยั ก ษ์ ส องต้ น อายุ ค งจะ หลายร้อยปี มีพระอุโบสถเก่าเป็นโบสถ์ โถงหรือโบสถ์โล่ง เดิมหลังคามุงด้วย กระเบื้องหน้าวัว พื้นเป็นพื้นดินอัดแน่น รูปหลังเต่า เสาเป็นเสาไม้เหลี่ยมขนาด ใหญ่ ฐานชุกชีประดิษฐานพระไม้แกะ สลักขนาดใหญ่ ใบเสมาเป็นเสมาหิน

:5:


ปักเป็นคู่ ๆ เป็นศิลปกรรมเก่าแก่ที่น่าจะมีอายุราว ๆ ปลายกรุงศรีอยุธยา ซึ่ง โบสถ์โถงแบบนี้หาดูได้ยากแล้วในจังหวัดนครราชสีมา เคยมีความพยายามที่จะ รื้อฐานชุกชีเพื่อสร้างใหม่ แต่ขุดเจาะไปได้เพียงเล็กน้อย ทุกคนต่างฝันร้าย ตรงกันในคืนเดียวกัน คือมีผู้ชายร่างก�ำย�ำจะเข้ามาท�ำร้าย แม้หลวงพ่อโตก็ ฝันว่ามีคนนุ่งขาวเข้ามากราบ จึงต้องหยุดการรื้อ ฐานชุกชีของเดิมจึงอยู่มา ถึงทุกวันนี้ บนฐานชุกชีจะมีพระไม้แกะสลักหลายขนาดจ�ำนวนมาก แม้บน ศาลาโรงธรรมตรงอาสน์สงฆ์ที่ตั้งพระประธานก็มีมากเช่นเดียวกัน วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน หลวงพ่อปาน ได้รับความเคารพนับถือจาก ประชาชนมาก เล่ากันว่างานเผาศพของท่านผู้คนมาร่วมงานมากมายมหาศาล มาจากทุกสารทิศ เสียงผู้คนที่เดินทางมาอึงคะนึงราวกับเสียงพายุ ส่วนหลวงพ่อโต ก็เป็นเกจิอาจารย์ที่มีผู้คนเคารพนับถือจ�ำนวนมากเช่นกัน ท่านน�ำพระสงฆ์ สวดทิพย์มนต์ เพื่อขจัดสิ่งอัปมงคล ท่านน�ำพระสงฆ์และชาวบ้านท�ำพิธีสวด คาถาปลาช่อนเพือ่ แก้ปญ ั หาภัยแล้ง แม้ถนนหนทางจะไม่สะดวก แต่ผคู้ นทีเ่ คารพ นับถือท่านก็ดั้นด้นมาบ้านกล้วยเพื่อกราบนมัสการขอเครื่องรางของขลัง เสกเป่า

รูปท�ำบุญใหญ่ประจ�ำปี ประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๒

:6:


อาบน�้ำมนต์ ฯลฯ บางคนเดินมาจากพิมายระยะทางร่วม ๒๐ กิโลเมตร หรือ ขึ้นรถมาลงที่บ้านหนองปรือ แล้วเดินต่ออีก ๔ กิโลเมตร ด้วยความศรัทธา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่มีการคัดเลือกทหารเกณฑ์ หลวงพ่อโตมรณภาพ ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ และฌาปนกิจสรีระร่างของท่านในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ศาลาการเปรียญ เดิมตั้งอยู่บริเวณที่เป็นโบสถ์ใหม่ เป็นศาลาโล่ง อาสน์สงฆ์อยู่ริมทางทิศเหนือ มีบันไดขึ้น ๒ ทาง มีธรรมาสน์บุษบกตั้งอยู่ด้าน ทิศตะวันตก ใช้เป็นอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านกล้วย ระดับ ป.๑ – ป.๔ ชั้นสูงสุดคือ ป.๔ จะได้อยู่บริเวณอาสน์สงฆ์ โดยนักเรียนชายได้นั่งบนอาสน์สงฆ์ นักเรียนหญิงนั่งข้างล่าง กระดานใช้กระดานด�ำที่ทาด้วยดินหม้อ เขียนด้วย ชอล์กสีขาว นักเรียนป.๑ ใช้กระดานชนวนกับดินสอหิน ขึ้น ป.๒ จึงจะได้

ซ้ายมือคือศาลาโรงธรรมเก่า ขวามือคือโบสถ์เก่า ภาพนี้ประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๒ - ๒๕๐๓

:7:


นักเรียนชั้น ป.๑ กับคุณครูชื่น แนมกลาง ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๕

เขียนในสมุด ตามบันทึกประวัติของโรงเรียนระบุว่า โรงเรียนตั้งครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ เป็นโรงเรียนประชาบาล ต�ำบลท่าหลวง ๒ วัดบ้านกล้วย มีครู ๒ คน ครูใหญ่ ชื่อ นายปาน เข็มทอง และ ครูสิงห์ทอง ชูตระกูล มีนักเรียน ๑๓๘ คน ศาลาการเปรียญนี้ท�ำหน้าที่เป็นโรงเรียนที่ครูและนักเรียนได้หยุดใน วันโกนและวันพระ สอนเด็กบ้านกล้วย บ้านขามใต้มายาวนาน ต่อมาโรงเรียน ได้อาคารเป็นเอกเทศจึงเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนวัดบ้านกล้วยเป็นโรงเรียน บ้านกล้วย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ที่โนนตาหิน ผู้บริจาคที่ดินให้ตั้งโรงเรียน คือ นายเสงี่ยม นางสงัด ศรีทอง นายแก้ว นางเต็ม คงวงศ์ นายสุ่ม นางเพชร จันทร์พิมาย นางทอง กล้าดี นางม่วง อ่อนพิมาย นายเสงี่ยม นางสงัด กล้าดี นายชุ่ม นางแจ้ง กล้าพิมาย นายน้อย เศกสรรค์ ที่ดินทั้งหมด ๑๑ ไร่ ๒ งาน :8:


การไถปราบพื้นที่เพื่อสร้างอาคารได้ท�ำลายร่องรอยของการเป็นชุมชนโบราณ เสียสิ้น

นาหลวง เป็นที่นาของโรงเรียน เนื้อที่ ๒ ไร่ ๔๖ ตารางวา ตั้งอยู่ นอกหมู่บ้านทางไปบ้านหนองปรือ ทางการได้ยกให้เป็นที่ดินของโรงเรียน เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ เนื่องจากมีความขัดแย้งเรื่องขอบเขตของเจ้าของที่นาซึ่งอยู่ ใกล้เคียง ทางอ�ำเภอจึงตัดสินให้พนื้ ทีท่ มี่ คี วามขัดแย้งนัน้ เป็นทีห่ ลวง จึงเรียกว่า นาหลวง ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๔๗๘ โดยมีผู้ใหญ่ปุ๊ก คร�่ำสุข เป็นผู้ดูแล จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๙๘ ทางอ�ำเภอได้มอบหมายให้โรงเรียนวัดบ้านกล้วยเป็น ผู ้ ดู แ ล โรงเรี ย นได้ พ านั ก เรี ย นเรี ย นรู ้ ต ามหลั ก สู ต รการงานพื้ น ฐานอาชี พ จนปี พ.ศ.๒๕๔๕ จึงได้ขุดบ่อเลี้ยงปลาในที่นา พื้นที่ ๑ งาน เพื่อท�ำโครงการ อาหารกลางวัน ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ชาวบ้านเช่าท�ำนาจนถึงปัจจุบัน :9:


ป่าช้า

ป่าช้าเป็นสถานที่ฝังศพ อยู่ติดล�ำน�้ำเค็มทางทิศตะวัน ตกเฉียงใต้ของวัด เมือ่ มีคนตาย เขาจะน�ำศพมาฝังที่ป่าช้าก่อน ได้ เ วลาพอสมควรจึ ง จะขุ ด กระดูกมาเผา ป่าช้าจึงเป็นป่า ชุมชนที่งอกงามหนาแน่น มี พั น ธุ ์ ไ ม้ พื้ น บ้ า นนานาชนิ ด เช่ น มะค่ า มะกอก มะขาม ส�ำโรง ระก�ำ สะแก หัวลิง หนามพรม หนามเกาะไก่ หนามพุ ง ดอ ตาล กุ่ม ตะไก้ ฯลฯ ป่าช้าบ้านกล้วยใช้เป็น ที่ฝังศพที่ตายตามธรรมชาติ แล้วน�ำกระดูก มาเผาภายหลัง ส่วนศพที่ตายโดยอุบัติเหตุ จะไม่ฝัง แต่จะเผาที่ป่าช้า ศพสุดท้ายที่เผา ที่ป่าช้านี้คือ นายสุชาติ ชูชัย ที่เสียชีวิตจาก อุบัติเหตุฟ้าผ่า เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๖ หลังจากนี้ ป่าช้าก็ถกู ทิง้ ร้างเพราะมีการสร้างเมรุเผาศพ ในวัด และสุดท้ายถูกท�ำลายรื้อถอนไปท�ำ สนามกีฬา เมื่อพ.ศ. ๒๕๕๐ สวนกับกระแส การอนุรกั ษ์ปา่ ของสังคม ซึง่ ทุกวันนีช้ มุ ชนที่ รักษาป่าไว้ได้ย่อมเป็นความภาคภูมิใจของ คนในชุ ม ชนนั้ น ที่ ส� ำ คั ญ คื อ ช่ ว ยอนุ รั ก ษ์ พันธุกรรมพืชท้องถิ่น : 10 :

“เดิ่น” ที่เคยเป็นป่าช้า


ตาปู่

ศาลตาปู ่ เ ป็ น สถานที่ เ คารพ สักการะของคนในหมู่บ้าน เมื่อเกิดภัย พิบัติ ตาปู่จะเป็นที่พึ่งทางใจ ตาปู่ชื่อ พ่อเถ่าสัสดีศรีสงคราม ศาลตาปูเ่ ดิมจะ ตั้งอยู่ทางออกจากหมู่บ้าน (บ้านใหญ่) เพื่อจะไปบ้านวัดจันทร์ ต่อมาย้ายศาล ตาปูไ่ ปตัง้ ทีใ่ ต้ตน้ ไทร เชิงสะพานข้ามน�ำ้ เค็มตรงท่าวัด ตั้งแต่ยังเป็นสะพานคน เดินข้าม เมื่อมีการขยายสะพานเป็น สะพานคอนกรีตเสริมเหล็กให้รถยนต์ แล่นข้ามได้ จึงย้ายศาลมาตั้งที่ท่ากรวด หัวสะพานที่ข้ามจากบ้านใหญ่ไปบ้าน ซาด ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นศาลไม้ ครั้น มี ก ารท� ำ ถนนรื้ อ สะพานออก จึ ง ย้ า ย ศาลตาปู่มาตั้งบริเวณเชื่อมต่อระหว่าง บ้านใหญ่กับบ้านซาด และเปลี่ยนจากศาลไม้มาเป็นศาลปูนดังที่เห็นในปัจจุบัน การเลี้ยงตาปู่ จะเลี้ยงในวันขึ้น ๓ ค�่ำ เดือน ๓ เครื่องเซ่นไหว้มี หัวหมู ๑ หัว ไก่ต้ม ๑ คู่ เหล้าขาว ขนม ข้าวต้ม กล้วย และผลไม้ต่างๆ บุหรี่ ยาเส้น เจ้าพิธคี อื ผูส้ งู อายุในหมูบ่ า้ น ถวายช้าง ม้า ตัวใหม่ แล้วจุดธูปบอกกล่าว ให้ตาปู่มารับเครื่องสังเวย ดนตรีมีโทน กับปี่ บรรเลง คนทรงซึ่งเป็นเชื้อสายของ พ่อเถ่าหัวละมาน บ้านขามใต้ จะเป็นผูน้ ำ� ร�ำ ลูกหลานบ้านกล้วยจะร่วมร�ำ แสดง ความยินดีที่ได้เลี้ยงตาปู่ ตาปู่ได้ปกปักรักษาคุ้มครองลูกหลานให้ร่มเย็นเป็นสุข มาตลอดทั้งปี ตาปู่จึงเป็นบรรพบุรุษที่ดูแลลูกหลานตลอดมา ใครเดือดเนื้อร้อน ใจมาบนบานศาลกล่าวให้ตาปู่ช่วย ตาปู่ก็จะช่วยเหลือโดยเป็นที่พึ่งทางใจให้ : 11 :


นอกจากตาปู่แล้ว ซุมบ้าน หั ว นอน ยั ง มี โรงพ่ อ เถ่ า มา ปู ่ ม า ย่ามอญ เป็นที่เคารพนับถือ เดิมทีเดียว เป็นโรงไม้ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ติดถนน บริเวณบ้านของนางร่าน แจ้พิมาย ปั จ จุ บั น ย้ า ยมาอยู ่ ฝ ั ่ ง ตรงกั น ข้ า ม บริเวณบ้านของ นายเต็ม นางล้อม เสริมพิมาย และเปลีย่ นจากโรงไม้เป็น โรงปูน ขนาดกะทัดรัด คนบ้านหัวนอน ทุ ก ครั ว เรื อ น จะเลี้ ย งปู ่ ม าย่ า มอญ ในช่ ว งเดื อ นห้ า ทุ ก ปี ซึ่ ง จะต้ อ ง บอกไปยังคนบ้านประสุข บ้านดงใหญ่ ให้มาร่วมเลี้ยงผีมอญ ในท�ำนองเดียวกันเมื่อบ้านประสุข หรือบ้านดงใหญ่ จะเลี้ยงผีมอญ ก็จะบอกมายังบ้านกล้วยให้ไปร่วมเช่นเดียวกัน เครื่องเซ่นผีมอญมี หัวหมู ไก่ต้ม ขนมฝักบัว นางเล็ด ขนมต้มลอย ข้าวเหนียวแดง กล้วยสุก มะพร้าวอ่อน ๔ ลูก ผ้าขาว ๔ ผืน ดนตรีที่ใช้บรรเลง คือ วงปี่พาทย์ ผู้น�ำท�ำพิธีคนล่าสุดคือ นางจันทร์ นามพิมาย ซึ่งต้องแต่งกาย ด้วยผ้านุง่ ผ้าพืน้ มีผา้ คาดเอว และผ้าขาวโพกศีรษะ ผูเ้ ข้าร่วมพิธอี นื่ ๆ ก็แต่งกาย เช่นกัน การเลี้ยงผีมอญของคนซุมบ้านหัวนอนที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน คือร่องรอยของบรรพบุรุษของคนที่นี่หรือไม่เป็นสิ่งที่ต้องสืบค้นต่อไป ช่วงเทศกาลสงกรานต์มีการละเล่นเข้าผี นางอึ่ง ซึ่งมีวิธีการเล่นโดยเอาผ้าขาว คลุมผู้จะเข้านางอึ่ง ๒ คน ที่นั่งหันหน้าเข้าหากันเอามือจุ่มน�้ำในกะลา คนตีโทน นั่งสองข้างหันก้นโทนเข้าหาผู้ที่จะเข้านางอึ่ง จังหวะการตี ตีแบบเข้าผี คนอื่นๆ ร้องเพลงประกอบ มีเนื้อร้องว่า นางอึ่งเอย มาแต่เมืองไหน มาแต่เมืองมอญ : 12 :


ผีเจ้าร่อนผีเจ้ารน กระต่ายสวดมนต์มาตั๊ดหนทางให่นางอึ่งเดิ๋น เด๊กน่อย กะเทินมาเดิ๋นทางเก่า อุ้มลูกอุ้มเต้ามาเข่านางอึ่ง เมื่อนางอึ่งเข้าจะลุกขึ้นมา ร�ำ ท่าร�ำเป็นแบบท่าทรงผี นี่คือร่องรอยอีกร่องรอยหนึ่งของผีมอญหรือไม่

: 13 :


สัณฐานของหมู่บ้าน

: 14 :


: 15 :


สายบัว เรือโบราณ

ล�ำน�้ำเค็ม

สายน�้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนบ้านกล้วยทั้งการเกษตรและการจับปลา เป็นอาหาร คือ ล�ำน�้ำเค็ม คนบ้านกล้วยจะท�ำนาสองลุ่มน�้ำ คือ นาน�้ำเค็ม และนามูล ตลอดสายล�ำน�้ำเค็มที่ผ่านบ้านกล้วยจะมีวังน�้ำหลายจุด ดังนี้ ๑. วังกระทะ หรือท่ากะเบา (ต้นกะเบา) ๒. วังตะขรัว หรือท่าดินแดง ๓. วังเป็ด ๔. ตลาดม่วง ๕. วังรี ๖. ท่าหลุมดิน (ตลาดหลุมดิน) ๗. วังตะครอง ๘. ท่าวัด ๙. ท่าสงกรานต์ ๑๐. วังจิ๊บตาบาง ๑๑. วังโนนพุทรา ๑๒. วังท�ำนบ แล้วล�ำน�้ำเค็มก็ไหลไปสู่บ้านประสุข เรียกวัง เพราะบริเวณนั้นน�้ำกว้างและลึก เรียกตลาด เพราะน�้ำบริเวณนั้นกว้าง น�้ำไม่ค่อยลึกมาก : 16 :


เรียกท่า เพราะใช้เป็นท่าข้ามของคนและสัตว์ หรือเป็นที่ลงอาบน�้ำ หรือซักล้าง

ท่าน�้ำ ท่าวัด พ.ศ. ๒๕๑๐ เห็นสะพานคนข้ามและเรือที่ใช้บรรทุกเกวียนข้าม มีต้นสีตื๋อ (สะตือ) ใหญ่ อยู่ฝั่งตรงข้าม

ท่าวัดเป็นท่าข้ามของวัว ควาย ม้า ส่วนช้างจะมาข้ามที่ท่าหลุมดิน ส่วนเกวียนจะข้ามที่ท่าวัด เพราะมีเรือ ๒ ล�ำ คือ อีเป็ดกับอีสายบัว สามารถ บรรทุกเกวียน โดยเฉพาะอีเป็ดบรรทุกได้ครั้งละ ๒ เล่มพาข้ามไปได้โดยใช้ คนพาย ส่วนวัวที่ลากเกวียนมาก็ปล่อยให้ว่ายน�้ำข้ามไป

ท่าวัด ปัจจุบัน

: 17 :


ประเพณีและพิธีกรรม ประเพณี แ ละพิ ธี ก รรมเป็ น ภู มิ ป ั ญ ญาของชาวบ้ า นกล้ ว ยที่ สั่ ง สม สืบทอดต่อ ๆ กันมาตัง้ แต่บรรพบุรษุ อันแสดงถึงรากเหง้าของชุมชน ปูต่ าย่ายาย ย่อมมีวิธีคิดและกระบวนการที่จะท�ำให้วิถีชีวิตมีความสุข ดังนี้

๑. ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ๑.๑ ประเพณีการเกิด ชาวบ้านกล้วยในอดีตเกิดโดยพึ่งหมอต�ำแย

เมื่อตั้งท้องใกล้คลอด พ่อบ้านจะไปตัดฟืนมาเตรียมให้ภรรยาอยู่ไฟ พอเจ็บท้อง หมอต�ำแยและคนที่มีประสบการณ์จะมาช่วยกันดูแล หมอต�ำแยบ้านกล้วย คนสุดท้าย คือ นางแจ้ง เสกสรร และนางแจ้ง กล้าพิมาย ซุมบ้านหัวนอน เมื่อลูกตกฟาก หมอต�ำแยจะตัดสายสะดือลูก เช็ดตัวเด็กเอานอนบนกระด้ง แล้วสลัดรกให้แม่ แล้วเตรียมให้แม่ลูกอ่อนเข้านอนไฟ โดยท�ำเตาเชิงกราน ตั้งหม้อน�้ำร้อน และปูกระดานไฟข้าง ๆ เตาเชิงกราน แม่ลูกอ่อนต้องกินน�้ำร้อน บนกระดานไฟ หมอต� ำ แยจะเสกเกลื อ เพื่ อ ดั บ พิ ษ ไฟให้ แ ม่ ลู ก อ่ อ นอยู ่ ไ ฟ โดยทนร้อนได้ ในห้องที่อยู่ไฟจะต้องเปิดกระดานพื้นแผ่นหนึ่งเพื่อให้แม่ลูกอ่อน ใช้เป็นที่อาบน�้ำและขับถ่าย โดยขุดหลุมรองรับน�้ำที่ใต้ถุน หลุมที่ขุดรับน�้ำนั้น ต้องเอาหนามตะครองมาสะไว้ เพื่อกันสัตว์ต่าง ๆ เช่น หมู ไก่ เป็ด มากิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีปอบ ผีกระสือ จะไม่กล้าเข้าใกล้หนามตะครอง พ่อบ้าน จะเอารกไปฝังที่เชิงบันได ค�ำว่า รก-ราก จึงมาจากประเพณีการเกิด เมื่ออยู่ไฟได้ครบก�ำหนดเวลา เช่น ๑๕วัน หรือ ๓๐ วัน หมอต�ำแย จะพาออกจากไฟ เมื่อลูกครบเดือนจะท�ำพิธีโกนผมป่า ( ผมไฟ ) ตอนโกนผมป่า พ่อแม่อาจไว้ทรงผมต่าง ๆ ให้ลูก เช่นผมเปีย ผมจุก ผมแกละ ผมโปย เพื่อจะได้ มีโอกาสท�ำบุญอีกครั้งหนึ่งในพิธีโกนจุกเมื่อลูกอายุได้ ๙ ปี หรือ ๑๑ ปี : 18 :


เมื่อเด็กผ่านวัยทารกมาสู่วัยเด็ก เด็ก ๆ ชาวบ้านกล้วยจะฝึกฝนทักษะ ชีวิต ผ่านการละเล่น ทั้งการเล่นเดี่ยวและการเล่นเป็นหมู่ เช่นเล่นซุก(ซ่อนหา) เล่นลิงชิงหลัก เล่นขี่ม้าหลังแดง เล่นระวงตี๋นเกี๋ยน เล่นตากะเติ่ง เล่นชักชา เล่นตี่ เล่นตี่กืก เล่นขี่ม้าก้านกล้วย ยิงปืนก้านกล้วย กระโดดเชือก เดินขาหยั่ง เดินกุบกับ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการเล่นในน�้ำ เช่น เล่นต่างล่างต่าง เล่นงอ เล่นตีโป่งฯลฯ การละเล่นบางอย่างมีค�ำร้องประกอบ เช่น ขะมุ่กขะเม่า วิธีการเล่นคือเด็กทุกคนคว�่ำมือลง คนน�ำเล่นจิ้มบน หลังมือของเด็กทีละมือขณะที่ร้องว่า ขะมุ่กขะเม่า มกเขือหางเน่าใส่ขิงใส่ข่า มะย่ามะยม ขนมตีน๋ เจ๊าะ กะเท่าะหน่าแว่น พายเรืออ๊กแอ่นกะแท่นต้นกุม่ สาวๆ หนุ่มๆ อาบน่ามท่าไหน อาบน่ามท่าวั่ด ได้แป้งไหนพัด ได้กระจ๊กไหนส่อง เยี่ยม ๆ มอง ๆ น่กขุนทองร่องกรู๊ เสียงกรู๊ตกที่มือใดมือนั้นต้องชักออก ท�ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกว่า จะถึงมือสุดท้าย ซึ่งเป็นผู้ชนะ นางน่ก เป็นการเล่นถามตอบระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก ผู้ใหญ่จับเท้า ทั้งสองของเด็กไว้ ยกขึ้นพร้อมตั้งค�ำถาม พอเด็กตอบก็ลดขาลง มีค�ำร้อง ประกอบการเล่นดังนี้ นางน่กเอย - เอย กะเทยจั๊กร่อย - สองร่อย อ้อยจั๊กพัน - สองพัน จั๋นจั๊กหน่วย - สองหน่วย กล้วยจั๊กต้น - สองต้น แม่อ้นไปไหน - ไปรั่บขันหมาก เมื่อไรจิมา - เวลาเย็น ๆ รั่กทางพ่อฮึรั่กทางแม่ - รั่กทางแม่ ก็แถแรลงน่าม (ค�ำสุดท้ายยก ขาเด็กขึ้น ให้เด็กเอนตัวลง) : 19 :


นอกจากการละเล่นที่เด็กได้เรียนรู้เพื่อฝึกทักษะชีวิตและมีความสุข สนุกสนานแล้ว เด็ก ๆ ยังได้รับความรักความอบอุ่นจากแม่ ย่า ยาย หรือพี่ป้า น้าอา ผ่ า นเสี ย งเพลงกล่อม เพื่อให้เ ด็กหลับ เนื้อหาของเพลงกล่อมอาจ เป็นเพลงปลอบหรือเพลงขู่ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักผสมผสานกัน เพลงกล่อม เด็กของบ้านกล้วยที่เป็นเพลงยอดนิยมคือเพลง แมวขาวเอย มีเนื้อร้องดังนี้ แมวขาวเอย ไต่ไม่ราวหางยาวโหย่นเย่น หุงเข่าเอาไว่ถ่าเพล นาง(นาย) น่อยหนูเณรจินอนล่ะวา บางทีเนื้อหาก็ติดตลกเช่น เอ่ เอ หัวล่านนอนเปลแม่จิเป็นคนกวย( ไกว ) เอ่ เอ เจ็กน่อยเอย มานัง่ กิน๋ อ้อยอยูบ่ นหัวตะพาน ...............ยานๆ พานหัวเจ็กน่อย ความสุขอีกอย่างของเด็ก ๆ คือ การได้ฟังนิทาน ผู้ใหญ่มักเล่านิทาน ประจ� ำ ถิ่ น คื อ เรื่ อ ง ปาจิ ต -อรพิ ม เรื่ อ ง งู น าคราช เรื่ อ ง ศุ ภ มิ ต ร-เกศิ นี เรื่ อ ง พ่ อ ตากั บ ลู ก เขย เรื่ อ งกระต่ า ยเจ้ า ปั ญ ญา เป็ น ต้ น ปาจิ ต -อรพิ ม เป็นต�ำนานเมืองพิมาย ซึ่งมาจากค�ำร้องทักของนางอรพิมทักพระปาจิตว่า พี่มา จากเมืองพี่มา กลายเป็นเมืองพิมาย เรื่องงูนาคราช เป็นเรื่องราวของพี่ชายกับ น้องสาวต้องพลัดพรากกันเพราะพี่ชายกลายเป็นงูนาคราช ศุภมิตร-เกศินี เป็น เรื่องความพลัดพรากของพ่อแม่ลูกเพราะกรรมที่เล่นลูกนก เรื่องพ่อตากับลูกเขย เป็นเรื่องที่ลูกเขยมีเชาวน์ปัญญา สามารถเอาชนะพ่อตาได้ ส่วนเรื่องกระต่าย เจ้าปัญญาก็เป็นเรื่องที่กระต่ายฉลาดแกมโกงสามารถเอาชนะเสือได้ เช่น หลอกให้ตีรังผึ้งว่ารังผึ้งเป็นฆ้องพระอินทร์ พอเสือตีก็ถูกผึ้งรุมต่อย พอวิ่ง ไปพบต้นเล็บเหยี่ยวมีผลสุกเต็มต้น กระต่ายร้องว่า มือใครน่อยค่อยยิบค่อยบ๋าย มือใครใหญ่ตะโป๋ได้ตะโป๋เอ๋า เสือเชื่อก็โดนหนามเล็บเหยี่ยวต�ำเอาสาหัส ปริศนาค�ำทาย เป็นการเล่นเพื่อฝึกเชาวน์ปัญญา ปัญหาที่น�ำมาถาม มักเป็นรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เช่น พืช สัตว์ ธรรมชาติ วิ ถี ชี วิ ต ค� ำ ขึ้ น ต้ น หรื อ ค� ำ ลงท้ า ยของปริ ศ นามั ก ใช้ ค� ำ ว่ า แมงไอเอ๊ า ถ้ า : 20 :


คนตอบ ตอบไม่ได้จะต้องมีการขาย เช่น ตัง้ แต่นไี่ ปเมืองมะละก๋า ให่มงึ กิน๋ ขีห่ มา ๒ ก้อน กิ๋นไหม ถ้าคนตอบไม่ตกลงก็ไม่เฉลย ตัวอย่างค�ำปริศนา นกกระยางบิ๋นมาระเยะขี่ต๊กเป๊ะเช่ดไม่ออก แมงไอเอ๊า แมงไอเอ๊า ไอ้ด�๋ำก๊ะไอ้แด๋งต่อยกั๋นขี่มูกโป่ง ต�่ำอย่างเป๊ดกะเต็ดอย่างม่า ต�่ำกั่วหญ่าเอ๋าไม่สอยกิ๋น แมงไอเอ๊า แมงไอเอ๊า ต้นเท่าคร่กใบ๋ฮกวา ต้นเท่าขาใบ๋วาเดี๋ยว ต้นเท่าแขน ใบแล่นเสี่ยว สาวน่อย ๆ นั่งอยู่ในวัง ได้รับค�ำสั่งก็วิ่งออกมา แมงไอเอ๊า เสาสองเสา หญ่าสองตั๊บนอนไม่ลับลุกขึ่นว่าเพลง แมงไอเอ๊า ซุกแค่ะ ซุกขาง ซุกคารัง ซุกคารู แมงไอเอ๊า

๑.๒ ประเพณีการบวช เป็นประเพณีที่ชาวบ้านกล้วยสืบทอดกันมา

ทุกครอบครัวที่มีลูกชาย ต้องให้ลูกชายได้บวชเรียนเพื่อสืบทอดพระศาสนา ชายที่บวชเรียนแล้วถือว่าเป็นคนสุก เป็นบัณฑิต จึงเรียกค�ำน�ำหน้าว่า ทิด

น�ำนาค มาจากวัด

: 21 :


ลานาค

ก่อนบวช ๗ วัน นาคต้องไปอยู่วัดเพื่อท่องบทขานนาค และพระธรรม เจ็ดคัมภีร์ ประเพณีการบวชจะท�ำ ๒ วัน คือวันงันนาค และวันบวช ก่อนถึง วันงันนาค จะต้องเตรียมฟืน ข้าวสาร เส้นหมี่ หาปลามาย่างไว้จ�ำนวนมาก โดยใช้การหาคือวานกันในหมู่บ้าน ก่อนถึงวันงันนาค จะต้องวานกันไปหาผัก เช่น หัวตาลอ่อน บอน ขี้เหล็ก ฯลฯ ทั้งนี้ทุกคนเต็มใจที่ได้ช่วยงาน เมื่อเริ่มงาน วงมโหรีซึ่งเป็นดนตรีพื้นบ้านโคราชจะมาบรรเลงให้งานคึกครื้น วงมโหรีจะ ไปรับนาคที่วัดซึ่งปลงผมและแต่งตัวนาคแล้ว ในอดีตนิยมให้นาคนุ่งผ้าไหม หางกระรอก และห่มสไบเฉียงด้วยผ้าขาวม้าไหม น�ำนาคกลับมาบ้านเพื่อท�ำ พิ ธี ล านาค โดยมโหรี จ ะแห่ น าคไปลาญาติ ผู ้ ใ หญ่ กล่ า วค� ำ ขออโหสิ ก รรม ทุ ก หลั ง คาเรื อ นที่ มี ผู ้ สู ง อายุ ที ล ะบ้ า น ช่ ว งที่ ท� ำ พิ ธี ม โหรี จ ะหยุ ด บรรเลง แต่พอท�ำพิธีเสร็จจะเริ่มบรรเลงน�ำนาคไปบ้านต่อไป เจ้าของบ้านเมื่อได้ยิน เสียงมโหรีมาจะเตรียมปูเสือ่ ตัง้ ขันน�ำ้ รอรับ เมือ่ ลาครบแล้ว น�ำนาคกลับมาบ้าน เพื่ อ เรี ย กขวั ญ นาคต่ อ ไป เช้ า วั น รุ ่ ง ขึ้ น มโหรี แ ห่ น าคไปวั ด เพื่ อ ท� ำ พิ ธี บ วช (ปัจจุบันนายเล็ก พิณพิมาย เป็นหัวหน้าวงมโหรีศิษย์หลวงปู่โต) บวชเสร็จแล้ว : 22 :


มีพิธีสรงน�้ำพระใหม่ พระใหม่ออกโปรดญาติโยมโดยการบิณฑบาตตอนเช้า หรือไปให้ศีลตอนเย็น เมื่อลาสิกขา ต้องอยู่วัด ๓ วัน เพื่อท�ำความสะอาดวัด และลาญาติโยมผู้ใหญ่ที่ใส่บาตรให้ฉันแล้วจึงออกมาครองเรือน มีส่ิงที่ควรบันทึกไว้ของประเพณีการบวชของชาวบ้านกล้วยในอดีต คือ การแห่ช้าง เจ้าภาพที่มีทรัพย์จะไปจ้างช้างจากบ้านหนองพลวง จักราช ๓-๕ เชือก มาแห่นาคในวันงันนาค ภายหลังมีช้างจากสุรินทร์มารับจ้างแห่ โดยช้างเชือกหนึ่งจะบรรทุกวงปี่พาทย์ เชือกหนึ่งเป็นที่นั่งของนาคกับพ่อแม่ เชือกถัดมาเป็นที่นั่งของญาติ หรือคนส�ำคัญโดยเฉพาะสาวที่เป็นคู่หมายของนาค วงปี่พาทย์จะบรรเลงบนหลังช้างตลอดของการแห่ เล่ากันว่า ลูกชายที่โยกโย้ ไม่ยอมบวชง่าย ๆ แม่จะถามว่า มึงจิเอ๋าช่างเอ๋าม่านี หรือ มึงจิเอ๋าไอ้เท่ง ติ๋งตุมนี เส้นทางของการแห่จะเป็นวงกลม จากบ้านกล้วย ไปบ้านหนองปรือ บ้านหนองจิก บ้านวัดจันทร์ แล้วกลับมาบ้านกล้วย เสียงกลองตุม ๆๆๆ บนหลังช้างดังลอยมาแต่ไกลให้คนในหมู่บ้านถัดไปเตรียมตัวที่จะเข้าร่วม ขบวนแห่ หนุ่มสาวร่วมเดินแห่ อย่างสนุกสนานที่ได้ใกล้ชิดกัน หนุ่ม ๆ ที่มีม้า จะขี่ม้าไปล่อช้างได้อวดสาว ๆ ที่กล้าขี่ม้าไปใกล้ช้างสามารถหยิบเงินจากคน บนหลังช้างได้ ทุ่งนาระหว่างบ้านกล้วยกับบ้านหนองปรือ หนองจิก คือทุ่งที่ เล่นม้าล่อช้าง การแห่ช้างของขบวนแห่นาคเป็นอุบายที่เปิดโอกาสให้ญาติมิตร ในหมู่บ้านใกล้เคียงได้ร่วมอนุโมทนาบุญ ๑.๓ ประเพณี ก ารแต่ ง งาน บ้ า นกล้ ว ยเรี ย กประเพณี นี้ ว ่ า เซ่ น ผี เรียกเซ่นผีเพราะต้องไหว้ผีบรรพบุรุษทั้งสองฝ่าย เพื่อบอกกล่าวบรรพบุรุษ ให้รู้ว่าจะมีเขยหรือสะใภ้มาร่วมวงศ์ตระกูล การเซ่นไหว้บรรพบุรุษต้องใช้ หั ว หมู ไก่ ต ้ ม เหล้ า ขาว (มี ส� ำ นวนว่ า เหล้ า ไห ไก่ ตั ว ) ขนม และผลไม้ ผีบรรพบุรุษบางตระกูลกินเครื่องเซ่นแปลกๆ เช่นกินเต่า ในอดีตต้องเตรียมเต่า ไว้เซ่นไหว้ ต่อมามีการประยุกต์โดยเอาแป้งมาปั้นเป็นรูปเต่าแล้วนึ่งให้สุก : 23 :


นอกจากเซ่นผีบรรพบุรุษแล้ว เจ้าสาวต้องเตรียมไหว้พ่อแม่ของ เจ้าบ่าวด้วยผ้าไหว้ ซึ่งนิยมใช้ผ้าไหมหางกระรอก เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน พร้อมเสื้อและผ้าพาดบ่า การจัดขันหมาก ฝ่ายเจ้าบ่าวต้องให้คนที่มีคู่อยู่ครบเป็นผู้จัดให้ ขันหมากเอก ขันหมากโท ขันเงิน ขันทอง ตามที่ มาด (ตกลง) ไว้ รวมทั้ง ขันหมากราย เถ้าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวที่อุ้มขันหมากมา จะมอบขันหมากให้เถ้าแก่ ฝ่ายเจ้าสาวโดยนั่งให้ตรงคู่ให้เข่าเกยกัน แล้วส่งขันหมากให้ ฝ่ายเจ้าสาวรับ แล้วอุ้มไว้ก่อนจะส่งต่อให้เจ้าพิธีด�ำเนินการต่อไป

เจ้ า บ่ า วเดิ น ทางมาพร้ อ มขบวนขั น หมาก ขณะที่ ข บวนขั น หมาก เข้าเรือนไป เถ้าแก่จะน�ำเจ้าสาวลงมารับเจ้าบ่าวที่เชิงบันได เจ้าบ่าวยืนบน ก้อนหินที่ปูด้วยใบตอง เจ้าสาวกราบแล้วล้างเท้าเจ้าบ่าวแล้วจูงมือเจ้าบ่าว ขึ้นเรือน โดยมีเถ้าแก่จูงมือเจ้าสาวน�ำหน้าพาไปนั่งในที่ที่จัดไว้ เคล็ดตรงนี้ : 24 :


คือ ต้องจับมือกันให้แน่นอย่าให้หลุดเป็นอันขาด เจ้าพิธีจะท�ำพิธี มอบ คือ ยกเจ้าบ่าวให้เจ้าสาว และยกเจ้าสาวให้เจ้าบ่าว หลังพิธีมอบอาจเป็นพิธีรดน�้ำ ซึ่ ง ญาติ ผู ้ ใ หญ่ จ ะเป็ น ผู ้ เ จิ ม หน้ า ผากและสวมมงคลแฝด การเจิ ม จะใช้ นิ้วหัวแม่มือ ในขบวนขันหมากของเจ้าบ่าว ต้องมีต้นกล้วย ต้นอ้อย ซึ่งคัดเอา พันธุ์ดี ต้นสวย มาเพื่อเป็นพืชพันธุ์ ปลูกต้นกล้วย อ้อย วันแต่งงาน ครบปี มีลูกเกิดมาก็ได้กินกล้วยที่พ่อน�ำพันธุ์มาปลูกไว้พอดี การหาคู่ครองจึงต้องเลือก หน่ อ -แนว ที่ ดี ต้ อ งสื บ ให้ รู ้ ถึ ง สายตระกู ล ว่ า ผี บ รรพบุ รุ ษ เป็ น ผี ดี ห รื อ ไม่ ถ้าการเลือกคู่ครองไม่เป็นไปตามประเพณี เช่นหนีตามกันเรียกว่า วิ่งต๋ามกั๋น จึงไม่ได้ผ่านขั้นตอนของพิธีกรรมเรียกว่า ผัวควยเมียควย(ควาย)

๑.๔ ประเพณีงานศพ (เผาผี) เมื่อมีคนตาย บ้านกล้วยนิยมน�ำศพ

ไปฝังที่ป่าช้า ในอดีตไม่มีการตั้งศพหลาย ๆ วัน แต่นิยมน�ำไปฝังเลย โดยน�ำ ไม้ไผ่มาจักให้เป็นซี่ ๆ แล้วสานให้เป็นแผ่น เรียกว่า รังเรื่อ ห่อศพ เอาล�ำไม้ไผ่ สอดเป็นคานหาม หามไปป่าช้า กิจกรรมนี้มักเป็นผู้ชายที่จะน�ำศพไป หาที่ เหมาะสมมีตน้ ไม้ใหญ่เป็นเครือ่ งหมายให้จดจ�ำว่าฝังไว้ทใี่ ด เมือ่ ครบก�ำหนดเวลา อาจเป็นปีหรือ ๒ ปี ๓ ปี ก็จะไปขุดศพ (กระดูก) ขึ้นมาเผา

แม้จะเผาศพแบบสมัยใหม่ แต่ยังคงรักษาหม้อธาตุ สัญญลักษณ์ของความแตกสลายของ ลม ไฟ น�้ำ ดิน ไว้

: 25 :


ลูกหลานจะต้องเตรียมจัดงาน เตรียมท�ำโลงศพ ซึ่งเป็นโลงไม้เล็ก ๆ มีฝาเป็นมณฑป ช่างจะตีกระดาษทอง กระดาษเงินเพื่อปิดโลงศพให้สวยงาม มีดอกไม้ไหวที่ฝาโลงงดงามมาก ช่างตีทองคนสุดท้าย ชื่อ นายเยื้อน ภิญโญ อยู่ซุมบ้านหัวนอน วันเผาผีมักมีเทศน์โจทย์บ้าง เทศน์อานิสงส์บ้าง หลังเพลจะท�ำพิธีเผา โดยแห่โลงศพลงจากศาลาไปที่เชิงตะกอน ซึ่งอยู่ต�่ำลดหลั่นลงไปก่อนถึงท่าน�้ำ วางโลงศพบนเชิงตะกอน ญาติพี่น้องจะมา ใส่ไฟ คือน�ำดุ้นฟืนมาใส่ไฟเผา กันจริง ๆ ดุ้นฟืนนั้นต้องเลือกที่เป็นดุ้นตรง ๆ ไม่คดงอ ก่อนจุดไฟเผา คนท�ำพิธี จะทุบมะพร้าวล้างหน้า (กะโหลก) ศพ และให้ญาติพี่น้อง ลูกหลานดูเป็น ครั้งสุดท้าย แล้วจึงจุดไฟเผา คนที่มาร่วมงานเผาศพ ลงไปล้างหน้าล้างตา ก่อนกลับบ้าน ตกกลางคืนก็มีมหรสพสมโภช เช้าก็เก็บกระดูกและท�ำบุญ ถวายภัตตาหาร

๑.๕ ประเพณีการหา (ลงแขก) ชาวบ้านกล้วยเคยมีการมาช่วยงาน

ต่าง ๆ ที่ต้องการก�ำลังคน โดยไม่มีการจ้างวาน เช่น หากันยกเรือน หากันด�ำนา หากันเกี่ยวข้าว หากันจับปลา หากันเก็บผัก หากันขนฟืน ฯลฯ วิธีการหาเพียง เจ้าของงานเดินบอกตามบ้านว่าจะหาไปท�ำ อะไร เมื่อไร เจ้าของงานเพียงเตรียมข้าวปลา อาหารไว้เลี้ยงคนที่มาช่วยงาน (แน่นอนที่สุด คือ ต้องมีเหล้ายาปลาปิ้ง)

นาวานเกี่ยวข้าว

เตรียมตัวไปลงนาวาน

: 26 :


๒. ประเพณีส่วนรวม ๒.๑ ประเพณี ต รุ ษ สงกรานต์ เป็ น ประเพณี ป ี ใ หม่ ไ ทยที่ ก ่ อ นถึ ง

วันตรุษทุกหลังคาเรือนจะท�ำขนมจีน เริ่มจากหมักข้าวสารหักก่อนล่วงหน้า ๓ วัน โดยแช่ข้าวก่อน แล้วสงมาใส่กระเชอ ปิดด้วยใบมะละกอ ล้างน�้ำทุกวันไม่ ให้ข้าวเหม็น ครบ ๓ วัน เอามากรองให้ได้แป้งละเอียด หาหินลับมีดมาทับไว้ ๑ คืน เช้ามืดวันรุง่ ขึน้ เอาแป้งทีท่ บั ไว้มานวดให้เป็นก้อน น�ำไปต้มในหม้อใหญ่ให้ แป้งข้างนอกสุกเล็กน้อย เสร็จแล้วน�ำไปต�ำให้เหนียวเป็นแป้งจี่ เอาแป้งมายี ให้เหลวพอดี เพื่อที่จะโรยเป็นเส้นขนมจีนได้ การโรยจะต้องโรยในน�้ำเดือด เมื่อเส้นสุกจะลอยขึ้น เอากระชอนช้อนขึ้นมาล้างในน�้ำเย็น แล้วจับเป็นหัว ๆ วางในกระด้งหรือตะกร้า ได้เส้นแล้วท�ำน�้ำยาหรือเหมือด เหมือด คือ ปลาผง หอมแดงซอย พริกป่น น�ำ้ ปลาร้าต้มสุก (น�ำ้ ปลา) กินกับเส้นขนมจีน ทุกครอบครัว จะน�ำขนมจีนไปถวายพระตอนเพล นอกจากเอาขนมจีนท�ำบุญวันตรุษแล้ว ยังท�ำบุญวันสารทด้วย ส่วนวันสงกรานต์จะต้องเตรียมท�ำขนมห่อซึ่งไส้เป็นมะพร้าวกวนกับ น�้ำตาล ห่อด้วยใบตอง แล้วน�ำไปนึ่ง หรืออาจห่อข้าวต้มมัด เป็นขนมข้าวต้ม เช้าวันสงกรานต์ทุกคนแต่งตัวสวยทั้งหญิงและชาย แม่บ้านจะท�ำ กระทงกาบกล้วย ปักธง เอาแป้งมาปั้นเป็นรูปคน เอาหัวปลา หางปลามาวาง เอาข้าวมาคลุกดินหม้อเป็นข้าวด�ำ คลุกกับขมิ้นเป็นข้าวแดง ทุกบ้านน�ำกระทง ไปพร้อมอาหารคาวหวาน คือ ขนมข้าวต้มที่ท�ำไว้ไปวัด สถานที่ท�ำบุญ คือ ที่ท่าน�้ำ (ท่าวัด) ใช้หาดทรายริมน�้ำจัดเป็นอาสน์สงฆ์ จัดอาหารคาวหวาน เมื่อพิธีสงฆ์เสร็จ ทุกบ้านน�ำกระทงไปลอยเคราะห์ให้ไปกับสายน�้ำ หลังจากนั้น คนแข็งแรง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย จะมาอุ้มคนแก่ผู้หญิงไปลอยน�้ำ เรียกการเล่น นี้ว่า แม่เถ่าต๊กน่าม ตกกลางคืน มีการเล่นสีบ้า (สะบ้า) ทั้งสีบ้ายิงและสีบ้าโยน ส่วนใหญ่ บ้านที่มีลูกสาว พ่อจะท�ำลูกสะบ้าไว้ให้เล่น : 27 :


สีบ้ายิง จะจับคู่กันเล่น ฝ่ายหนึ่งเป็น ฝ่ายตั้งลูก อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายเล่น เมน คือ ระยะห่ า งระหว่ า งลู ก ตั้ ง กั บ จุ ด เริ่ ม ต้ น ของ การเล่ น แล้ ว แต่ จ ะตกลงกั น โดยทั่ ว ไปจะใช้ ประมาณเมตรครึ่ ง ถึ ง สองเมตร ฝ่ า ยเล่ น จะ เริ่มเล่นกร๋า(ท่า)แรก คือ อีคอโดยวางลูกสีบ้า ที่คอแล้วทิ้งให้ลูกสีบ้ากลิ้งไปให้ใกล้กับลูกตั้ง มากที่สุด ขณะนั้นผู้ล่นต้องวิ่งตามไปแล้วตะปบ ให้ ลู ก หยุ ด จุ ด ที่ ลู ก หยุ ด คื อ จุ ด ที่ จ ะยิ ง ลู ก ตั้ ง ผู้ยิง จะนั่ งบนส้ น เท้าเข่าข้างหนึ่งแตะพื้นเข่า อีกข้างลอยขึ้น วางสีบ้าบนเข่าที่ลอย เล็งไปที่ ลูกตัง้ คูข่ องตน ใช้ไม้ไผ่ทเี่ หลาบาง ๆ ดีดลูกสะบ้า ให้ลอยไปกระทบกับลูกตั้ง ถ้ายิงถูกก็เล่นกร๋า ต่อไป ถ้ายิงผิดฝ่ายตั้งลูกจะมาเล่นแทน ตนเองต้องไปตั้งลูก ถ้าเล่นกันหลายคู่ แม้ยิงผิดก็สามารถให้คู่อื่นเล่นไถ่ให้ได้ ฝ่ายไหนเล่นไปถึงกร๋าสุดท้ายก่อนเป็น ฝ่ายชนะ

ลูกสีบ้ายิง

: 28 :


กร๋าหรือท่าต่าง ๆ มีดังนี้ อีสีลอย อีคอ อีอ๊ก อีจื๋อ (วางที่สะดือ) อีสะลัดพ่ก อีหัวเข่าอ่อน อีหัวเข่าแก่ อีเหยียบม่วง อีตากแดด อีทะเลื่อนส่น อีตาส่น อีตากล๋าง อีตาข่อ อี ต ามิ ด อี ต ะหมู ก ดุ ๊ ด อี ม าบหญ่ า อี ข ้ า ถี บ อี คี บ ต่ อ ย อี ก ้ อ ยตะปั ๊ ด อีกะเทิงกระทะ อีตะเซิงซูด อีบ๋องเข่าไปเรียด อีเรียดเข่าไป๋บ๋อง อีหงาย อีคว�่ำ อียิงกร๋านอก อียิงกร๋าใน อีสีลอยส่งก้น สีบ้าโยน จะมีลูกตั้งและลูกโยน โดยมีไม้แผ่นกระดานกั้นไว้ไม่ให้ กระเด็นไปไกล จึงมีเสียงลูกสะบ้ากระทบคานดังเปรี้ยง ๆ ตลอดการเล่น ทั้ง สี บ ้ า ยิ ง และสี บ ้ า โยนจะแบ่ ง ผู ้ เ ล่ น เป็ น ฝ่ า ยหญิ ง - ชาย ฝ่ า ยไหนแพ้ จ ะต้ อ งร� ำ โทน โดยฝ่ า ยชายจะต้ อ งออกมา ต้อน ฝ่ายหญิง (ต้อน คือ โค้ง ค�ำนับ) คนตีโทนจะต้องตีโทน ตลอดเวลา เสียงโทนกระหึ่ม ตั้งแต่หัวค�่ำยันดึก ตลอดเวลา ๗ วัน เป็นการละเล่นที่หนุ่ม สาวมี โ อกาสได้ ใ กล้ ชิ ด กั น บ้ า นที่ มี ลู ก สาวจึ ง ต้ อ งมี โ ทน มี ส ะบ้ า ไว้ ส� ำ หรั บ วั น ตรุ ษ สงกรานต์ เด็ ก ๆ จะเล่ น สีบ้ายิง ส่วนคนหนุ่มสาวจะ สาวๆ บ้านกล้วย เล่นสีบ้าโยน เมื่อ ๑๘ เม.ย. ๒๕๐๘ : 29 :


๒.๒ ประเพณี วั น สารท วันสารทเดือนสิบ ทุกหลังคาเรือนจะท�ำ

กระยาสารทเพื่อเตรียมไปวัดและน�ำไปให้ญาติผู้ใหญ่ ปู่ย่าตายายที่รักเคารพ สะใภ้หรือว่าที่ลูกสะใภ้จะหาบกระยาสารทไปไหว้พ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ของสามี หรือว่าที่สามี การท�ำข้าวเม่าจะเริ่มจากเอาข้าวเปลือกมาแช่แล้วคั่ว แล้วจึงน�ำไปต�ำ ให้เปลือกหลุด แล้วเอาไปพอง (คั่ว) กับทราย หลังจากนั้นท�ำข้าวตอก โดยเอาข้าวเปลือกข้าวเหนียวมาคั่วให้แตก เก็บกากออก เอาถั่ว งา คั่วให้หอม มะพร้าวแก่ ขูดด้วยกระต่าย คั้นเอาน�้ำกะทิ เคี่ยวน�้ำกะทิกับน�้ำตาล ใส่ ถั่ ว งา แล้ ว เอาข้ า วเม่ า พองและข้ า วตอกลงไปคน คลุ ก เคล้ า ให้ เข้ า กั น เสร็จแล้วตักใส่กระเชอไว้กินได้เป็นเดือน

๒.๓ ประเพณีวันเข้าพรรษา – ออกพรรษา มีการไปท�ำบุญตักบาตร

ที่วัด โดยท�ำขนมห่อไว้ล่วงหน้า ๑ วัน เช้าวันเข้าพรรษาน�ำอาหารคาวหวาน ไปถวายพระ ญาติโยมผู้ใหญ่จะอยู่รักษาศีล ๑ คืน รุ่งเช้าจึงกลับบ้าน และ ท�ำเช่นนี้ทุกวันพระ ส่วนวันออกพรรษาก็น�ำอาหารคาวหวานไปถวายพระ และ น�ำขนม ข้าวต้มจากวัดไปเรียกขวัญแม่โพสพ เพราะข้าวก�ำลังตั้งท้อง

พระและอุบาสกในโบสถ์ เห็นฐานชุกชีชัดเจน

: 30 :


๒.๔ ประเพณีการแข่งเรือ หลัง

ออกพรรษาน�้ ำ นองตลิ่ ง ก็ ถึ ง เทศกาล แข่งเรือ เรือแข่งส�ำคัญของบ้านกล้วย มี ชื่ อ เสี ย งเป็ น ที่ รู ้ จั ก มายาวนานร่ ว ม ๑๐๐ ปี คือ เสมียนเสนาะเพราะสนั่น หมื่นสะท้านแผ่นดินไหว เป็นเรือแข่ง ขนาดเล็ก จ�ำนวน ๒๐ ฝีพาย ขุดจาก ไม้ทั้งต้น ก่อนน�ำไปแข่ง ต้องมีพิธีเซ่น แม่ย่านางเรือโดยมีคนทรงชื่อ นางค�ำ คงเพียร ซุมบ้านซาด เป็นคนทรงและ รับเครื่องสังเวยที่ท่าวัด นางค�ำเสียชีวิต คนทรงต่ อ มาคื อ นางชื่ น แจ้ พิ ม าย ซุมบ้านหัวนอนเป็นคนทรง เมื่อสังเวย เสร็จได้ฤกษ์ดี ก็ออกเรือ มีเรือเสบียง และเรืออืน่ ๆ ตามกันไปตามล�ำน�ำ้ เค็มไป ออกล�ำมูล ไปพิมายเพือ่ แข่งเรือประเพณี ความเก่ ง กาจของ เสมี ย นเสนาะฯ ชาวบ้ า นบางหมู ่ บ ้ า นเอาไปเล่ า ลื อ ว่ า เสมียนเสนาะฯ ด�ำน�้ำได้ ขณะที่แข่งขัน เสมียนเสนาะฯ ด�ำน�ำ้ ไปโผล่ใกล้ๆ เส้นชัย คุ ณ ครู ส มคิ ด สุ ข สบาย ครู โรงเรี ย น บ้านกล้วย ลงเป็นฝีพายเสมียนเสนาะฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ปัจจุบันยังดูแล จัดฝีพายส�ำหรับเรือล�ำใหม่ เช่น เจ้าแม่ ไทรทอง (๔๐ ฝี พ าย) ธิ ด าไทรทอง : 31 :


(๓๐ ฝีพาย) เล่าว่า เคยด�ำริที่จะปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เสมียนเสนาะฯ ให้ยาวขึ้น มี ฝ ี พ ายมากขึ้ น จึ ง น� ำ เรื อ ไปที่ อู ่ ต ่ อ เรื อ อยุธยา ช่างรื้อดูแล้วตอบว่า เรือล�ำนี้เป็น เรือโบราณ ดูจากกระดูกงูแล้วไม่สามารถ ต่ อ ได้ และอาจพบเห็ น สิ่ ง อั ศ จรรย์ บางอย่ า ง จึ ง รี บ น� ำ เสมี ย นเสนาะฯ กลับมาส่งคืน เสมียนเสนาะฯ เป็นเจ้าวารี มาตลอดร่วม ๑๐๐ ปี เพิ่งปลดระวางไป เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗ เสมียนเสนาะเพราะสนั่นหมื่น สะท้ า นแผ่ น ดิ น ไหว เป็ น เรื อ โบราณ ที่ เ ป็ น วั ต ถุ โ บราณส� ำ คั ญ อี ก สิ่ ง หนึ่ ง ของ บ้านกล้วย ส่ ว นเรื อ รุ ่ น ใหม่ ชื่ อ เจ้ า แม่ ไ ทรทอง และธิ ด าไทรทอง เป็ น เรื อ ที่ ขุดจากไม้ตะเคียนทอง ซึ่งไปตัดมาจากบ้านคลองทราย เขาใหญ่ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ มีชาวบ้านกล้วยร่วมร้อยคนหมุนเวียนกันไปช่วย โดยมีคนที่อยู่ประจ�ำคือนายเชย ไคลพิมาย นายทิม วิโรจน์สิริ เมื่อชักลาก มาแล้วก็ท�ำการขุดโดย มีช่างดูแลคือนายเชย ไคลพิมาย และนายย้อย สุขสุทธิ์ มีชาวบ้านกล้วยเป็นลูกมือ ได้เจ้าแม่ไทรทอง ยาว ๒๘ เมตร ๔๐ ฝีพาย เป็นเรือแข่งรุ่นกลาง ส่วนธิดาไทรทองยาว ๒๒ เมตร ๓๐ ฝีพายเป็นเรือรุ่นเล็ก เรือทั้ง ๒ ล�ำ ลงแข่งทุกปีล่าสุดได้แชมป์ ๔ สมัย ของบึงแก่นนคร

: 32 :


๒.๕ ประเพณี วั น เทศน์ ม หาชาติ เป็ น ประเพณี ที่ จั ด ขึ้ น ใน วั น ขึ้น ๑๕ ค�่ำเดือน ๑๑ เป็นงานบุญใหญ่ที่คนทุกวัยรอคอย คนสูงอายุจะมา ช่ ว ยเตรี ย มสถานที่ ท� ำ ราชวั ต รฉั ต รธง และประตู ป ่ า เข้ า สู ่ เขาวงกต คนหนุ ่ ม คนสาวมาจัดตกแต่งธรรมาสน์ให้สวยงาม เหมือนเป็นอาศรมพระเวสสันดร ตกแต่ง ศาลาโรงธรรมด้วยต้นกล้วยต้นอ้อยและ ตกแต่งประดับประดาให้ได้บรรยากาศ ของป่า สาว ๆ เตรียมเสื้อผ้าชุดใหม่ไว้ ใส่อวดกัน วงปี่พาทย์ก็ซ้อมเพลงที่จะ รั บ ในแต่ ล ะกั ณ ฑ์ แต่ ล ะบ้ า นเตรี ย ม เครื่องกัณฑ์ที่ได้รับมอบหมาย ถึงวันงาน ทุกคนแต่งตัวสวย ผูใ้ หญ่นงุ่ ผ้าโจงกระเบน ไหมหางกระรอกที่ลูกสะใภ้ไหว้ งานเริ่ม แต่เช้ามืดเพราะต้องเดินคาถาพัน ก่อนที่ จะเป็นกัณฑ์ทศพร หิมพานต์ ทานกัณฑ์ ไล่ ไ ปจนถึ ง กั ณ ฑ์ สุ ด ท้ า ยคื อ นครกั ณ ฑ์ ครบทั้ ง ๑๓ กั ณ ฑ์ ใ นหนึ่ ง วั น ตาม ความเชื่ อ เดิ ม ที่ เ ชื่ อ ว่ า ใครฟั ง เทศน์ มหาชาติครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ในวันเดียว จะมีอานิสงส์มาก

: 33 :


อาชีพ

บ้ านกล้วยเป็น ที่ราบลุ ่ม มีล�ำ น�้ ำ เค็ม อยู่ติ ดหมู่ บ้าน และล�ำ น�้ ำ มูล ห่ า งออกไปประมาณ ๓ กิ โ ลเมตร อาชี พ ที่ ส� ำ คั ญ ของคนบนที่ ร าบลุ ่ ม คื อ การท�ำนา และอยู่ใกล้แหล่งน�้ำจึงมีการหาปลา ๑. ท�ำนา การท�ำนาปลูกข้าวเป็นอาชีพชั้นสูง พระราชามหากษัตริย์ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การท� ำ นาปลู ก ข้ า วมาตั้ ง แต่ ส มั ย พุ ท ธกาล พระเจ้ า สุ ท โธทนะ พระบิ ด าของพระพุ ท ธองค์ มี พ ระนามที่ แ ปลว่ า ข้ า วอั น บริ สุ ท ธ์ ทรงท� ำ พิ ธี แรกนาขวัญ เกินกว่า ๒,๖๐๐ ปีมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงรื้อฟื้นพระราชพิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ ทรงมี แปลงนาในพระราชวั ง สวนจิ ต รลดา คื อ ทรงท� ำ นาทั้ ง ในวั ง และนอกวั ง ในวรรณคดีเรื่องท้าวฮุ่งขุนเจือง ซึ่งเชื่อว่าอาจเป็นบรรพบุรุษไทย กวีกล่าวถึง กษัตริย์พระองค์นี้ว่าเป็นกษัตริย์นักรบ แต่เมื่อว่างจากสงคราม ก็จะเสด็จ ไปท�ำนา ดังนั้นอาชีพท�ำนาจึงไม่ใช่อาชีพต�่ำต้อย ชาวบ้านกล้วยท�ำนาเป็น อาชีพหลักมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีความเชื่อในวิธีการคิดและสืบทอดกระบวน การท�ำนาทุกขั้นตอน ตั้งแต่เมล็ดข้าวปลูก จนไปถึงได้เมล็ดข้าวใหม่ ขั้นตอน และพิธีกรรมมีมากมาย ดังนี้

นามูล จะมีระหัดวิดน�้ำเข้านา

: 34 :


๑.๑ พิ ธี ข อฝน หากฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านกล้วย จะท�ำพิธีขอฝน ๒ พิธี คือ พิธี สวดคาถาปลาช่อน หลวงพ่อโต ท่านจะพา ท�ำพิธีนี้ โดยนิมนต์พระมานั่งกลางแจ้งที่สี่แยก แล้วท�ำพิธีสวด โดยมีปลาช่อน ขั ง อยู ่ ใ นอ่ า งดิ น เป็ น ของส� ำ คั ญ ประกอบพิ ธี อี ก พิ ธี ห นึ่ ง คื อ แห่ น างแมว หาแมวตัวเมีย ใส่ตะเหลวมีคานหาม หามแห่ไปในหมู่บ้าน ทุกหลังคาเรือน ผู้ไปร่วมแห่จะร้องเพลงดังนี้ นางแมวเอย ร่องแกว ๆ นางแมวขอฝน ขอน่ามมนต์ร่ดแมวข้าที แมวข้าดีมีแก้วในตา ขึ่นหลังคาลงมาไม่ได้ ลงมาได้คาบไข่วิ่งหนี ถึงยาม เดือนฮกฝนต๊กทุกที ท�ำนาปี๋นี่ไม่มีฝนเลย พ่อเถ่าก๊ะลูกเขยนอนเก๋ยหน่าผาก แม่ไหม่(หม้าย)ลูกมากมายากย่อนเข่า แส่ ๆ สาว ๆ มาแห่นางแมว ร่องแกว ๆ ฝนเทลงมา ต๊กเทลงมา ตุ้มเทลงมา พอร้องว่า ฝนเทลงมา ต๊กเทลงมา ตุ้มเทลงมา คนบนเรือนจะต้อง สาดน�้ำลงมาให้ขบวนแห่เปียกน�้ำทั่วถึงกันแล้วจึงเคลื่อนขบวนต่อไป ส่วนใหญ่ แห่นางแมวจะแห่ช่วงบ่ายถึงค�่ำ

: 35 :


๑.๒ การคัดข้าวปลูก พันธุ์ข้าวได้จากการคัดเมล็ดพันธุ์ พันธุ์ข้าว โบราณมีข้าวหนัก ส�ำหรับนาลึก ข้าวเบา ส�ำหรับนาเขิน นาน�้ำท่วมมักใช้ข้าวลอย ข้าวปลูกมักจะแบ่งแยกไว้ไม่น�ำมากินหรือขาย ได้ข้าวปลูก แล้วก็เตรียมอุปกรณ์ มีไถ คราด อุงพุ่ง จอบ เคียว ตะละวี ไม้ตีข้าว กระด้ง กระเชอ หนังหัวไถ คล่าว คราดและวัวคู่ใจ ๑.๓ เลือกวันไถแถกแรกนา ซึ่งอาจเป็นวันพุธหรือพฤหัสบดีของ เดือนหก โดยไถเวียนขวา เริ่มจากทิศอีสาน ๓ รอบ แล้วไถเป็นเส้นทแยงมุม จากทิศอีสานมาหรดี เป็นเสร็จพิธี ๑.๔ พิ ธี ท อดกล้ า มั ก ก� ำ หนดเป็ น วั น เสาร์ เ พื่ อ ต้ น กล้ า งอกงาม เตรียมตากล้า โดยไถคราดให้พื้นตากล้าเรียบ มีร่องน�้ำล้อม ก่อนทอดกล้า ต้องเอาข้าวปลูกแช่น�้ำ ๓ คืน แล้วสงใส่กระบุงทิ้งไว้ ๒ – ๓ คืน ให้ข้าวงอก แล้วจึงน�ำไปทอด ก่อนทอดต้องท�ำกรวยก้นแหลม ใส่หมากพลู บุหรี่ ดอกไม้ ปักที่ตากล้า แล้วกล่าวค�ำอธิษฐานว่า “วันนี่เดอ ข้าพเจ้าจะขอหว่านเข่า เอาวัน เข่าแต่ละเม็ดที่หว่าน ลงไปฝากแม่พระธรณี ขออย่าให่ฮกต๊กเรี่ยเสียหาย ขอให้แม่โพซพป๊กปั๊ก รักษาเม็ดเข่าที่หว่านลงไปนี่ ให่งอกงามหว่านเม็ดไหนขอให่ได้เม็ดนั่น ศัตรู๋ หมู่มารอย่ามาแผ้วพานเดอ ...” ๑.๕ พิธีแรกนาก่อนปักด�ำ เมื่อต้นกล้ายาวประมาณ ๑ ฟุต จะถอนกล้ามาปักด�ำในแปลงนาที่ เตรี ย มไว้ ก่ อ นปั ก ด� ำ จะท� ำ พิ ธี แรกนาด้วยการท�ำพระภูมินา คือ ปั ก เสาสี่ เ สาที่ มุ ม แปลงนาซึ่ ง เตรียมปักด�ำ เอาไม้ระเนียดมาวาง พระภูมินา แล้ ว มั ด ด้ ว ยตอก เอาดิ น ที่ มุ ม : 36 :


นานั้นมาปั้นเป็นจอมปลวกเล็กๆ วางบนไม้ระเนียด แล้ววางกรวยก้นแหลม หมากพลู บุหรี่ ขี้ผึ้งสีปาก กราบ ๓ ครั้งแล้วกล่าวค�ำอธิษฐานว่า “วันนี่วันดี๋เดอ ข้าพเจ้ามาแรกนา ขอแม่พระธรณีจากดิ๋นหัวนา ก้อนนี่เป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ในนาของข้าพเจ้า วันนี่วันดี๋เศรษฐีพญาวัน ข้าพเจ้า จิด�๋ำนา ด�๋ำลงไป๋ก๋อไหนอย่าให่เสียหาย อย่าให่มีศัตรู๋หมู่มาร สัตว์ทั่งหลาย ปู๋เปี้ยวก็ดี หนูก็ดีอย่ามาท�ำลาย ขอแม่พระธรณีช่วยป๊กปั๊กรั๋กษา ให่ได้เข่า แตกก๋องามเป็นก๋อใหญ่ๆเดอ “ เมื่อกล่าวค�ำอธิษฐานแล้ว กราบ ๓ ครั้ง แล้วปักด�ำที่มุมนั้น ๗ ปัก หลังจากนั้นก็ปักด�ำจนหมดกล้า ๑.๖ พิธีเรียกขวัญข้าว หรือพิธีเรียกขวัญแม่โพสพ จะท�ำพิธีเมื่อ ข้าวตั้งท้องซึ่งมักจะตรงกับวันออกพรรษา แม่บ้านจะเป็นผู้ท�ำพิธี หลังจากไป ท�ำบุญที่วัดแล้วขอแบ่งขนมข้าวต้ม เตรียมกล้วยสุก ต้นอ้อย หมาก พลู บุหรี่ กรวยก้นแหลม ๒ กรวย ขี้ผึ้งสีปาก แป้งผัดหน้า น�้ำมันใส่ผม และไม้ไผ่ที่จัก ให้เป็นดอกคล้ายรวงข้าว ปักไม้ไผ่และต้นอ้อยที่หัวนาด้านทิศเหนือ ท�ำตะกร้า สานหยาบ ๆ ติดที่ไม้ไผ่ น�ำสิ่งของทุกอย่างใส่ในตะกร้า กราบ ๓ ครั้งแล้วกล่าว ค�ำเรียกขวัญ ดังนี้

: 37 :


“เดอ วันนี่วันดี๋ ขึ่นซิบห้าค�่ำเดือนซิบเอ๊ด พระแม่โพสพคงจิซะเอี๋ย จึงเอ๋าขนมเข่าต้ม กล้วย อ้อยมาถวายแม่โพสพ ขอเชิญมากิ๋นเครื่องสังเวย พวกนี่ซะเดอ กิ๋นอิ่มแล่วก็พัดหน่าทาแป้ง ทาน่ามมัน ขี่ผึ่งสีปาก กิ๋นหมาก สูบหยา ซะเนอ อุ้มท่องปี๋นี่ขอให่อุ้มท่องใหญ่ๆ ได้รวงละหม่อ ก๋อละเกี๋ยน เดอ ให่ได้เข่าได้เลี่ยงลูกปลูกโพเดอ อย่าให่ได้อ๊ดได้อยากได้ยากได้จ๋นเดอ ข็วญแม่ โพสพเอยมา.....กู๊” ๑.๗ พิธีเด็ดรวงข้าวเอาวัน เมื่อข้าวสุกเหลืองใบตอง ก่อนเอามา ต�ำข้าวเม่า จะมีพิธีเด็ดรวงข้าวเอาวัน โดยไปที่นานั่งบนคันนาหันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก กราบ ๓ ครั้ง แล้วกล่าวค�ำอธิษฐาน “เดอ ..วันนี่วันดี๋เศรษฐีพญาวัน ลูกจิมาเด็ดรวงเข่าเอาวัน ขอเชิญ พระแม่ โ พสพไปเป็ น มิ่ ง เป็ น ข็ ว ญซั ก ๗ รวง เดอ แล่ ว ลู ก จิ ม าเก็ บ เกี่ ย ว ภายหลัง วันนี่ขอเชิญไปเป็นมิ่งเป็นข็วญก่อนเดอ “ ได้รวงข้าว ๗ รวง แล้ว เอาใส่ผ้าห่อกลับบ้าน ๑.๘ พิ ธี น� ำ ข้ า วขึ้ น ลาน เมื่ อ เกี่ ย วข้ า วเสร็ จ ก็ จ ะต้ อ งท� ำ ลานโดย เลือกท�ำเลที่เหมาะสมแล้วถากหญ้าท�ำพื้นให้เรียบ เก็บขี้ควายสด ๆ มาทาละเลง ที่ พื้ น ลาน เมื่ อ ลานแห้ ง ดี แ ม่ บ ้ า นจะเลื อ กวั น ดี เ อาหลาวไปหาบฟ่ อ นข้ า ว มาวางเรียงด้านทิศเหนือของลาน โดยกล่าวค�ำอัญเชิญว่า มาเดอ วันนี่วันดี๋ เศรษฐีพญาวัน จิขอเชิญพระแม่โพสพไปขึ่นลาน ในวันนี่ เดอ หลังจากนั้นก็จะช่วยกันขนข้าวขึ้นลานในช่วงบ่ายถึงเย็น เอามาตั้งลอม เพื่อเตรียมนวด ลานข้าวเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงห้ามสวมรองเท้าเข้าลาน ๑.๙ การตี ข ้ า ว (นวดข้ า ว) อุ ป กรณ์ ที่ ใช้ ใ นการตี ข ้ า วมี ไ ม้ ตี หั ว ไม้ ข อฉาย ไม้ มื อ เสื อ พั ด ตะละวี ไม้ ก วาดต้ น ขั ด มอน กระด้ ง ฝั ด ข้ า ว การตีข้าวมีขั้นตอนคือ ใช้ไม้ตีหัวคีบฟ่อนข้าว สองมือจับไม้ตีหัวยกฟ่อนข้าว ขึ้นฟาดกับพื้นลาน เมื่อเมล็ดข้าวร่วงจากรวงหมดแล้วก็โยนฟ่อนไปรวมไว้ : 38 :


หลังจากนั้นจะตีฟางหรือตีกากซึ่งเป็นงานของเด็กและผู้หญิง วิธีการตีกากจะใช้ เคียวตัดคะเน็ด ( ที่รัดฟ่อนข้าวซึ่งท�ำจากต้นข้าว ) จับที่ปลายฟ่อนสลัดฟาง ที่เหลือลงกอง ส่วนที่เหลือติดมือส่งออกนอกลาน เมื่อสลัดได้กองโตพอสมควร ก็จะใช้ไม้ขอฉายตีกองฟางให้เมล็ดข้าวที่ติดอยู่ร่วงลงสู่พื้น หลังจากนั้นใช้ไม้ขอ ฉายด้านที่เป็นตะขอสงฟางออกจากลาน ๑.๑๐ การท�ำล�ำพวน คือ การน�ำข้าวที่ตีมาแยกข้าวลีบและล�ำพวน (ฝุ่นละออง) ออกจากเมล็ดข้าวดี วิธีการคือเอาข้าวใส่กระเชอยกขึ้นโปรยให้ลม ช่วยพัดข้าวลีบและล�ำพวนออก ๑.๑๑ การท� ำ กองข้ า ว เมื่อตีข้าวแล้วทีละยกจะใช้ไม้มือเสือเขี่ย เอาฟางหรือใบข้าวทีร่ ว่ งอยูอ่ อกจากกองข้าว หลังจากนัน้ จะใช้ไม้กวาดต้นขัดมอน กวาดข้าวมารวมกัน ใช้ตะละวีพัดให้ข้าวลีบออกจากเมล็ดข้าวดีอีกที ๑.๑๒ พิธีเชิญขวัญข้าวขึ้นยุ้ง เมื่อขนข้าวขึ้นยุ้งแล้ว แม่บ้านจะเลือก วันดีไปเชิญขวัญข้าวที่ตกหล่นอยู่ โดยเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นก้อน น�ำไปคลุก กับเมล็ดข้าวที่ตกหล่นอยู่ พร้อมกล่าวค�ำอัญเชิญ “เอา ... เดอ ... ลู ก หลานได้ ม าเกี่ ย วเข่ า แล่ ว วั น นี่ จ ะขอเอา พระแม่ธรณี น�ำพระโพสพไปอยู่บ้านอยู่ช่อง ไปขึ่นยุ่งใหญ่ หัวกะไดสูง ... เดอ ... อย่าไปเอาร่มไม่ต่างเรือน อย่าไปเอาแสงเดือนต่างไต้ ทีเดียว ... เดอ ... ขวัญพระแม่โพสพเอยมากู๊” เสร็จแล้วก็น�ำดินดังกล่าวไปวางไว้ในยุ้ง มุมด้านตรงกับประตูยุ้งข้าว ๑.๑๓ ตาปุ้กเฝ้ายุ้ง เมื่อขนข้าวขึ้นยุ้งแล้ว จะตักข้าวออกจากยุ้งไม่ได้ จนกว่าจะได้สังเวยตาปุ้กก่อน ตาปุ้กท�ำด้วยฟางเป็นรูปหุ่นคน เมื่อขนข้าว ขึ้นยุ้งเสร็จแล้ว จะวางตาปุ้ก ๒ ตัวบนกองข้าว ตาปุ้กจะท�ำหน้าที่เฝ้าข้าวในยุ้ง ไม่ให้อันตรายใดมาแพ้วพาน พิธีสังเวยตาปุ้กจะท�ำในวันขึ้น ๓ ค�่ำ เดือน ๓ เครื่องสังเวยมีอุปกรณ์ในการตีข้าว ดินขวัญข้าว ถาดอาหารมีข้าวสุกหัวหม้อ ขนมต้มลอย น�้ำ เทียนไข กรวยก้นแหลม บุหรี่ ขี้ผึ้งสีปาก กระดองเต่า ช่วงเวลา ที่สังเวยคือช่วงเย็นที่ตะวันส่องประตูยุ้งข้าว ค�ำกล่าวสังเวยหลังจากกราบ ๓ ครั้ง : 39 :


ตาปุ้ก “เอา ... เดอ ... ลูกได้เก็บเกี่ยวแล้ว เอาข้าวขึ้นยุ้งแล้ว ลูกขอเชิญ พระแม่โพสพและตาปุ้กมารับเครื่องสังเวย รับเครื่องสังเวยแล้ว ก็สีขี่ผึ่ง กินหมาก สูบบุหรี่มวนใบตองซะเดอ ... ขอให้ตาปุ้กช่วยดูแลรักษายุ้งฉาง อย่ า ให่ เ สี ย เม็ ด เสี ย รวงที เ ดี ย ว เข่ า ในยุ ่ ง อย่ า ให่ เ ป็ น อั น ตราย นาที่ จ ะท� ำ ในปีหน้าก็ขอให้ได้ผลมาก ท�ำน่อยก็ขอให้ได้หลาย ท�ำหลายก็ขอให้ได้เหลือ ยุ่งเหลือฉาง ได้เลี่ยงลูกปลูกโพให้โตเดอ” วางเครื่องสังเวยไว้ ๓ วัน หลังจากนั้นเก็บอุปกรณ์ท�ำขวัญข้าวไว้บนขื่อ ดินขวัญข้าวน�ำไปเก็บที่เดิม เวลาจะเอาข้าวออกจากยุ้งให้เอากระดองเต่าตักข้าว ใส่กระเชอ ห้ามโก้งโค้งกวาดข้าวเข้ากระเชอ ถือว่าไม่เคารพแม่โพสพ ๒. หาปลา ชาวบ้านกล้วยมีวิธีการจับปลาหลายวิธี ๒.๑ การจับละมุ อุปกรณ์การจับละมุมีสวิง เป็ดขังปลา และเฝือก ที่ใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ๆ ถักด้วยเครือชุด เวลาจะลงจับปลาผู้หญิงแต่งกายรัดกุม : 40 :


โดยม้วนผ้าถุงตรงหว่างขา ใช้เครือมัด ที่ต้นขา ๒ ข้าง แล้วมัดเอว เพื่อกันปลิง วิธีการจับคือใช้เฝือกปักอ้อม ๆ เป็น วงกลม เปิ ด ทางไว้ แล้ ว ช่ ว ยกั น ตี น�้ ำ ไล่ปลาให้เข้าไปอยูใ่ นวงล้อม หลังจากนัน้ คนรีบเข้าไปในวงล้อม เอาเฝือกที่เปิด ปิดเป็นวงกลม ใช้สวิงช้อนตามรอยเฝือก เมื่ อ หมดปลาก็ ย ้ า ยที่ ไ ปปั ก เฝื อ กใน ที่ใหม่ที่คิดว่ามีปลามาอาศัย

๒.๒ จับกร�่ำ ช่วงหน้าน�้ำ หลากจะท�ำกร�่ำ คือ เอากิ่งไม้ไปสุมไว้ ในล� ำ น�้ ำ พอหน้ า แล้ ง น�้ ำ แห้ ง ก็ ช่วยกันเอาเฝือกไปล้อม แล้วขนไม้ ออกจากวงล้ อ ม เสร็ จ แล้ ว เอาสวิ ง ช้อนปลาที่ถูกล้อมไว้ เวลาจะท�ำบุญ มักท�ำกร�่ำ ๒ – ๓ หลัง เพราะปลา จะมาอาศัยอยู่ในกร�่ำมาก ๒.๓ ทอดแห – กางมอง ช่างฝีมือในหมู่บ้านจะถักแหไว้ใช้เอง ถั ก เสร็ จ แล้ ว ย้ อ มด้ ว ยลู ก ตะโกดิ บ ให้ยางตะโกช่วยรักษาเส้นด้าย แล้ว : 41 :


ย้อมด้วยเลือดสัตว์ เช่น วัว ควาย มองก็ เ ช่ น เดี ย วกั น ช่ า งฝี มื อ ในหมู ่ บ ้ า นจะถั ก มองใช้ เ อง วิ ธี กางมองคือตกเย็นไปกางที่ล�ำน�้ำ เค็ม รุ่งเช้าจึงไปกู้มอง ๒.๔ ท� ำ ระบั ง ระบั ง คื อ เครื่องมือการจับปลาชนิดหนึ่งที่ ต้องอาศัยแรงคนมาก เขาจะหากัน มาถมดิ น ตรงบริ เวณที่ แ คบของ ช่องล�ำน�้ำ ถมดินขึ้นมาพอสมควร คนสามารถเดิ น ข้ า มได้ แล้ ว จึ ง ปั ก เฝื อ กเว้ น ระยะส� ำ หรั บ การ วางลอบ ลอบที่ใช้กับระบังจะเป็น ลอบตั้ง เป็นลอบขนาดใหญ่ ปลา ที่เข้าลอบก็จะเป็นปลาขนาดใหญ่ เช่ น ปลาค้ า ว บางตั ว หนั ก เกิ น ๑๐ กิโลกรัม ๒.๕ นั่งจิ๊บ จิ๊บเป็นเครื่องมือ ชนิดหนึ่ง คนนั่งจิ๊บจะหาท�ำเลที่เหมาะ มีช่องที่น�้ำไหล มีต้นไม้ แล้วจึงท�ำร้านนั่ง มี จิ๊บวางข้างหน้า เมื่อปลาเข้าจิ๊บเขาจะยกจิ๊บขึ้น การนั่งจิ๊บจะนั่งทั้งคืน ๒.๖ การแขวนเบ็ ด (แขนเบ๊ ด ) แขวนเบ็ดต้องมีเหยื่อ ส่วนใหญ่จะเป็น เหยื่อไส้เดือน อาจปักในบิ้งนาข้าว หรือ แหล่งน�ำ้ อื่น ๆ โดยปักตอนเย็น เช้าจึงจะ ไปกู้เบ็ด : 42 :


๓. ตีหม้อ ช่างตีหม้อประจ�ำหมู่บ้านจะสืบทอดกันมา มีหม้อดิน

ส�ำหรับให้คนในหมู่บ้านได้ใช้ ทั้งหม้อข้าว หม้อแกง หม้อปลาร้า (หม่อปร้า) หม้อนึ่ง หม้อกระเบื้อง (ไว้ส�ำหรับคั่ว เช่น คั่วพริก คั่วข้าวตอก คั่วข้าวเม่า) ชุมชนไม่ต้องพึ่งพาภายนอก เศษกระเบื้องที่โนนตาหินสถานที่ก่อสร้างโรงเรียน พบเศษกระเบื้องมากมาย ก็คงเป็นที่ตั้งชุมชนมาก่อน และมีการใช้หม้อดิน ในชีวิตเป็นจ�ำนวนมาก ช่างตีหม้อคนสุดท้ายอยู่บ้านโนนตะกุด ชื่อ นางป้อม โอนกลาง และอยู่บ้านหัวโล้น ชื่อ นางอบ รักกลาง

๔. ช่ า งตี มี ด เครื่ อ งมื อ ในการด� ำ รงชี วิ ต ท� ำ มาหากิ น อี ก

อาชีพหนึ่ง คือ ตีมีดหรือตีเหล็ก ทุกครัวเรือนต้องมีอุปกรณ์เพื่อยังชีพ เช่น มีด จก (จอบ) จอบ (เสียม) เคียว ดังนั้น เพื่อการพึ่งตนเองในชุมชน จึงมี ช่างตีเหล็กในหมู่บ้าน ถึงเวลาจะลงนา ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม มีดที่ไม่มีคม จะน�ำมาให้ช่าง เข่น ให้ใหม่ ก็จะคมกริบเหมือนเดิม ช่างตีเหล็กคนสุดท้าย ชื่อ นายน้อย (นิด) เพ็ญสุข อยู่ซุมบ้านซาด

สากเหมิ่งต�ำข้าวเม่า

: 43 :


วิถีชีวิต (ปัจจัยสี่)

วิถีชีวิตของคนบ้านกล้วย เป็นวิถีชีวิตที่พึ่งปัจจัยสี่แบบพอเพียง ดังนี้ ๑. อาหาร คนบ้านกล้วยกินข้าวเป็นหลัก กินผักกินปลาเป็นพื้น แหล่งอาหารปลา คือ ล�ำน�้ำเค็มและล�ำมูล อาหารประจ�ำบ้าน คือ น�้ำพริก ปลาร้ า ในครั ว จะมี หม่ อ ปร้ า เป็ น หลั ก ไม่ มี อ ะไรกิ น ก็ จ ะ ลุ ก น่ า มปร้ า อาหารหลักมีดังนี้

เต๋าชั่งกร๋าน ๑.๑ น�้ำพริก ช่วงฤดูฝนจะมีพริกสดที่ปลูกกันเอง เด็ดพริกมาคั่ว ต�ำกับปลาที่ต้มในหม้อปลาร้า เวลาจะกินก็น�ำน�้ำปลาร้าที่ต้มร้อน ๆ มาละลายกับ พริกที่ต�ำไว้ บีบมะนาวนิดหน่อย กินกับอ่อมหน่อไม้ซึ่งเผาทั้งหน่อ ปอกเปลือก แล้วเอาหนามไผ่มาเขี่ยนให้เป็นเส้น ๆ น�ำไปต้มจนจืด จึงผสมกับน�้ำใบย่านาง ที่ต�ำให้แหลกละเอียด พร้อม ๆ กับข้าวสารที่แช่จนนิ่ม ได้น�้ำใบย่านางแล้วเอามา ผสมกับหน่อไม้ ตั้งไฟให้สุกดี แล้วโรยด้วยใบแมงลัก กินกับน�้ำพริกปลาสด บีบมะนาว อร่อยอย่างเหลือเชื่อ ส่วนน�้ำพริกปลาผง คือน�ำพริกแห้งที่คั่วแล้ว ต�ำให้ละเอียด ผสมกับปลาผง (ปลาป่น) เก็บไว้กินได้นาน เวลาจะกินก็เอามา ละลายกับน�้ำปลาร้าต้มเช่นกัน : 44 :


๑.๒ แกงบอน แกงหั ว ตาล แกงขี้ เ หล็ ก เป็ น แกงป่ า ที่ มี ป ลา เป็นเหมือด มีน�้ำปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรส ส่วนใหญ่ใช้แกงในการท�ำบุญ

๑.๓ ขัว่ หมี่ หมีส่ ว่ นใหญ่จะได้กนิ ในงานบุญ เช่น งานบวช งานแต่งงาน ซึ่ ง เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการท� ำ เส้ น หมี่ วิ ธี ก ารคื อ แช่ ข ้ า วเจ้ า ให้ นิ่ ม แล้ ว น� ำ ไปโม่ ใ น เครื่องโม่แป้ง ได้แป้งแล้วน�ำมากวาดให้เป็นแผ่นบนผืนผ้าที่ขึงไว้ที่ปากหม้อ (ขนาดใหญ่) ที่ตัดเอาก้นออก วางอยู่บนกระทะใบบัวที่น�้ำก�ำลังเดือด กวาดแล้ว เอาฝาปิด พอแป้งสุกเอาไม้ไผ่ที่เหลาจนบางเหลือแต่ผิวไผ่สอดงัดยกเอาแผ่นแป้ง ไปผึ่งลม พอหมาดๆ เอามาทาน�้ำมันหมู หั่นเป็นเส้นบางๆ แล้วน�ำไปตากแดด บนแผงให้แห้ง แห้งแล้วเก็บใส่กระเชอไว้ใช้ เวลาคั่วมักใช้ปลาผงเป็นเหมือด หรือปลาย่างที่แกะเป็นชิ้นเล็กๆ ๑.๔ ข้าวเม่า เมื่อข้าวในนาสุกเหลืองใบตอง จะเด็ดรวงมาต�ำข้าวเม่า โดยเอาเมล็ดข้าวคัว่ พอสุกหอม เทใส่ครกแล้วต�ำด้วยสาก อุบ และมีไม้จกั๊ กะไหล่ คอยช่วยจั๊กกะไหล่ให้ข้าวเม่าถูกต�ำได้ทั่วถึง ถ้าต�ำด้วยสากเหมิ่ง ซึ่งเป็นสากคู่ เป็นเสียงเหมิงและเหมิ่ง สากเหมิ่งเป็นสากที่ยาวมากและหนัก ผู้ต�ำมักเป็น ชายหนุ่มที่มาเกี้ยวสาว มีสาวเป็นผู้ถือไม้จั๊กกะไหล่ คอยงัดให้ข้าวเม่าถูกต�ำ ได้ทั่วถึง ทั้งข้าวเม่าสากอุบและสากเหมิ่งต้องน�ำมาฝัดให้ร�ำออก เหลือข้าวเม่า น�ำไปคลุกกับมะพร้าวอ่อน : 45 :


๑.๕ กวนลอดช่อง มักท�ำในงานบุญ น�ำแป้งมากวนในกระทะใบบัว ผสมกับน�้ำใบเตย พอแป้งสุกเหนียวกินเป็นขนมข้าวปาดได้ และน�ำไปท�ำเป็น ตัวลอดช่อง คือ กดลงบนตะแกรงที่เจาะรู วางบนถังน�้ำเย็น จะได้ตัวลอดช่อง ท�ำน�้ำลอดช่องโดยน�ำมะพร้าวขูดมาคั้นกะทิ เอาน�้ำตาลปีบหรือน�้ำตาลมะพร้าว มาผสม เวลาจะกินตักตัวลอดช่อง ผสมน�้ำลอดช่อง เป็นของหวานในงานบุญ ชาวบ้านกล้วยกินอาหารตามฤดูกาล ตามเทศกาล และอาหารตาม ประเพณี ผักพื้นบ้านนานาชนิดทั้งบนบกและในน�้ำ เช่น บอน ไหลบอน ผักกูด ผักคันช้อน ผักตะเกียด ผักกะโตวา เทา สาหร่าย ผักแว่น ผักบุ้ง ผักกะเสด น�้ำ แพงพวย สายบัว ฯลฯ ผักเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อไม่รู้จักรักษา ย่อมสูญพันธุ์ได้ ๒.๖ การท�ำขนม ทั้งขนมในฤดูกาล เช่น ขนมตาลเม็ด ขนมต๊ดหมา ขนมในเทศกาล คือ ขนมห่อ ข้าวต้มมัด

ขนม ตาลเม็ด

ขนม ต๊ดหมา

: 46 :


ฝากรุเซ็งค�ำ

๒. ที่ อ ยู ่ อ าศั ย บ้ า นเรื อ นของชาวบ้ า นกล้ ว ย ในสมั ย ก่ อ น

จะมุงด้วยหญ้าคา ทุกครัวเรือนต้องไปเกี่ยวหญ้าคามาตากให้แห้งแล้วกรอง ให้เป็นตับ ไว้มุงหลังคา ๕ ปีข้ึนไปก็ต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะหลังคาเก่าผุ หลังคาที่มุงด้วยหญ้าคารองน�้ำฝนไว้ดื่มไม่ได้เพราะสีหญ้าคาออกเป็นสีเหลือง ต้องไปรองจากบ้านที่มีหลังคาเป็นสังกะสี ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๙ เกิดไฟไหม้ บ้านหัวนอน ไฟลุกลามไหม้ทั้งหมู่บ้าน ต่อมามีการสร้างบ้านเรือนใหม่ ลักษณะ เรือนเป็นแบบเรือนโคราช เป็นเรือนใต้ถุนสูง มี ๓ ระดับ คือ หอนอน หอนั่ง มีระเบียงเชื่อมกลาง ระดับที่ ๓ เป็นชานที่เชื่อมระเบียงเข้ากับเรือนครัวและ เรือนน�้ำ บันไดพาดขึ้นลงที่ชานด้านหน้าเรือนและด้านครัว เรือนลักษณะนี้ มีหลายหลัง เช่น บ้านพ่อเฒ่าผึ้ง แม่เฒ่าจันทร์ อิ่มพิมาย พ่อเฒ่าจันทร์ แม่เฒ่าอยู่ ศรีทอง ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะพอสมควร : 47 :


๓. เสื้อผ้า คนบ้านกล้วยไม่ทอผ้าใช้เอง จะซื้อผ้าจากร้านค้า แต่สมัย

สงครามโลกครั้งที่ ๒ เนื่องจากขาดแคลนเสื้อผ้าจึงมีการปลูกฝ้าย ปั่นฝ้าย และทอผ้าใช้เองทุกครัวเรือน สืบเนื่องมาจนถึงการท�ำผ้าห่มนวมในฤดูหนาว การน�ำฝ้ายมาปูที่ผ้าสไบ เรียกว่า เยาะนวม ได้ผ้านวมเป็นผืนแล้วจึงท�ำปลอกใส่ อีกที ผ้าที่ใช้นุ่งเรียกว่า ผ้านุ่งโจงกระเบน ทั้งหญิงและชาย เวลาไปงาน ชายนุ่งผ้าโจงกระเบน ถ้าเป็นงานพิธีจะนุ่งผ้าหางกระรอก สวมเสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าพาดบ่า หญิงนุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อปักกะแหล่ง ข้างใน เสื้อตัว นอกเป็นแขนกระบอก ผ่าหน้า ถ้าอยู่บ้านทั้งชายหญิงไม่สวมเสื้อ หรือถ้าผู้หญิง จะสวมเสื้อก็จะเป็นเสื้อปักกะแหล่ง หรือเสื้อคอกระเช้า โดยปกติผู้หญิงที่ มีลูกแล้วหรืออายุมากแล้วจะเปลือยอก

ผ้านุ่งโจงกระเบนไหมหางกระรอก

: 48 :

เสื้อปักกะแหล่งหรือก้ะแล่ด


๔. ยารักษาโรค คนบ้านกล้วยในอดีตพึ่งยาและหมอพื้นบ้าน

ซึ่งมีหมอยาสมุนไพร หมอบูน หมอส่อง หมอต�ำรา หมอต�ำแย หมอไล่ผีชะมก หมอเรียกขวัญ

ยาและหินบดยา

: 49 :


ภาษาพูดของคนบ้านกล้วย ภาษาพูดของคนบ้านกล้วยจะเป็นภาษาโคราชส�ำเนียงพิมาย ซึ่งมีลักษณะ ที่แตกต่างไปจากภาษาไทยกลางทางด้านเสียง ศัพท์และส�ำนวน ดังนี้ ๑. ด้านเสียง มีลักษณะออกเสียง ดังนี้ อักษรกลางค�ำเป็น เสียงสามัญ คนบ้านกล้วยจะออกเสียงเป็นเสียงจัตวา เช่ น กิ น เป็ น กิ๋น , บาน เป็น บ๋าน, ด�ำ เป็น ด�๋ำ, แดง เป็น แด๋ง, เอง เป็น เอ๋ง, เอา เป็น เอ๋า, จาน เป็น จ๋าน, ปาน เป็น ป๋าน อักษรสูงค�ำเป็น เสียงโท คนบ้านกล้วยจะออกเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ผ้า เป็น ผ่า, เสื้อ เป็น เสื่อ, ผึ้ง เป็น ผึ่ง, ให้ เป็น ให่, ห้อง เป็น ห่อง, ข้าว เป็น เข่า, ข้าง เป็น ข่าง, ฝ้า เป็น ฝ่า อักษรต�่ำค�ำเป็น เสียงตรี คนบ้านกล้วยจะออกเสียงเป็นเสียงโท เช่น ม้า เป็น ม่า, น้า เป็น น่า, ค้า เป็น ค่า, เพ้อ เป็น เพ่อ, เงื้อ เป็น เงื่อ, แง้ม เป็น แง่ม, เชื้อ เป็น เชื่อ, เฟ้อ เป็น เฟ่อ อักษรสูง อักษรกลาง ค�ำตายเสียงเอก คนบ้านกล้วยจะออกเสียงเป็น เสียงตรี เช่น ขัด เป็น คัด, สัตว์ เป็น ซัด, หวัด เป็น วัด, กัด เป็น กั๊ด, ปด เป็น ป๊ด, ติด เป็น ติ๊ด, กบ เป็น ก๊บ, จด เป็น จ๊ด อักษรต�่ำค�ำตาย เสียงตรี คนบ้านกล้วยจะออกเสียงเป็นเสียงโท เช่น วัด เป็น วั่ด, คัด เป็น คั่ด, คิด เป็น คิ่ด, นก เป็น น่ก, พิษ เป็น พิ่ษ, พุด เป็น พุ่ด, เช้า เป็น ช่าว, ซด เป็น ซ่ด อักษรต�่ำค�ำเป็น เสียงสามัญ บางค�ำก็ออกเสียงเป็นเสียง จัตวา เช่า ยา เป็น หยา, เย็น เป็น เหย็น, ยืม เป็น หยืม, ยืน เป็น หยืน ดังนั้นประโยคภาษาไทยกลางว่า น�้ำตาลมดกินหมด คนบ้านกล้วยจะพูดว่า น่ามต๋าลม่ดกิ๋นมด : 50 :


๒. ด้านค�ำศัพท์ มีค�ำศัพท์เฉพาะตัว เช่น อาหารเช้า ใช้ว่า เข่าช่าว อาหารกลางวัน ใช้ว่า เข่าเหย็น (ข้าวเย็นเพราะหุงตั้งแต่มื้อเช้า) อาหารเย็น ใช้ว่า เข่าค�่ำ ค�ำว่า แม่น หมายถึง ใช่, ถูก ถ้าพูดว่า แม่นมด คือ ใช่ หรือถูกทั้งหมด ค�ำว่า มิรอด หมายถึง ไม่ ไ หว สามารถขยายค� ำ อื่ น ได้ หลากหลาย เช่น เดิ๋นมิรอด คือ เดินไม่ไหว ย่กมิรอด คือ ยกไม่ไหว ค�ำเรียกทิศ ได้แก่ ตันออก คือ ทิศตะวันออก ตันต๊ก คือ ทิศตะวันตก หัวนอน คือ ทิศใต้ และป้ะตี๋น คือ ทิศเหนือ ถ้าเป็นค�ำถามจะลงท้ายว่า ไอ แมงไอ แมงไอ๋ แมงไอเหว่ย ในความหมาย ว่า อะไร ถ้าค�ำถามที่ลงท้ายด้วย หรือ รึ ภาษาบ้านกล้วยจะลงท้ายว่า นี เช่น ไม่หิวนี บางทีเป็นดอกนี เช่น ไม่หิวดอกนี เฮย เป็นค�ำขึ้นต้นหรือลงท้ายที่แสดงความสนิทสนมระหว่างคนเสมอกัน หรือผู้ใหญ่พูดกับเด็ก เช่น เฮยพวกเด๊กน่อยไปกิ๋นเข่าไป หรือ ซุกเฮยเขาท่ามึง ต่อยเด่ (สุข เขาท้ามึงต่อย) ถ้าเป็นค�ำตอบรับ มักใช้ว่า อือ, อือเนาะ ถ้าเป็นค�ำปฏิเสธ มักลงท้ายว่า ฮึ, ฮึอื้อ, จั๊ก, จั๊กเด่, จั๊กแล่ะ จั๊กแหล่ว ถ้าเป็นค�ำตอบรับเห็นด้วย มักลงท้ายว่า เจ็น เช่น ดี๋เจ็นเน่าะ อร่อยเจ็น บางทีออกส�ำเนียงเป็นเจ๊น ถ้าเป็นการสนทนา การรับหรือการปฏิเสธจะเข้าใจชัดเจนเฉพาะคนในพื้นที่ เช่น “แก่จิไป๋ปิ๊ดทองพร่ะไหมเหล่า” ผู้ตอบตอบว่า “ไป๋ด๊อก” หมายถึง ไม่ไป ถามว่ามีไหม ตอบว่า มีด๊อก คือ ไม่มี : 51 :


ค�ำลงท้ายการสนทนา จะแสดงให้เห็นภูมปิ ญ ั ญาของการไม่หกั หาญน�ำ้ ใจกัน เช่น ดอกวา ใช้ในกรณีไม่แน่ใจ เช่น เอ ปากก๋านี่ของอีนางดอกวา ดอกเด ใช้ในกรณีแน่ใจ เช่น ฮึมิใช่ปากก๋าฉันดอกเด ค�ำหรือวลีท้ายค�ำพูดจะบอกอารมณ์ของผู้พูดที่แตกต่างกันออกไป เช่น ไปกันมด (หมด) ล่ะนอ หมายถึง ปรารภในเชิงต้องการ ค�ำตอบ ของฉันล่ะวะ หมายถึง การบอกเล่าในเชิงไม่พอใจ ไม่ถูกอารมณ์ ยังงั่นล่ะเด่ หมายถึง การเห็นด้วย ของฉันนี่แล่ะ หมายถึง การบอกเล่ า หรื อ ตอบ เพื่อย�้ำ เออยังงั่นแล่ะ หมายถึง การเห็นด้วย ฉันท�ำกั๊บเข่าเซ็ด (เสร็จ) แล่วแล่ะ หมายถึง การบอกเล่า ให่ฉันไป๋ดาว่ะ หมายถึง การบอกเชิงบังคับ ขอฉันกิ๋นเดิ้งว่ะ หมายถึง การบอกเชิงบังคับ ขอฉันกิ๋นเดิ้ง หมายถึง การบอกเชิงขอความเห็นใจ ขอฉันกิ๋นเบิ้ง หมายถึง การบอกเชิงขอความเห็นใจ ค� ำ วิ เ ศษณ์ ที่ ใช้ ข ยายค� ำ กริ ย า เป็ น ค� ำ วิ เ ศษณ์ ที่ แ สดงความรู ้ สึ ก ลึ ก ซึ้ ง ชัดเจน มากกว่าค�ำพูดธรรมดา เช่น จ้อย ในค�ำว่า หายจ้อย เงียบจ้อย ลืมจ้อย มุ่น หมายถึง แหลกละเอียด แต่ถ้าจะให้ชัดเจนกว่านี้ต้องใช้ว่า มุ่นกะต้อย หรือ มุ่นกะเต้อะ ท่าเดิน มีหลายอาการ เช่น เดิ๋นโหง่มๆ เดิ๋นหร่าย เดิ๋นหร�ำระหร�ำหร่าย เดิ๋นต้ะระต้ะรุน เดิ๋นโก้มเก้ม เดิ๋นแหนแฮะแหนแห่ : 52 :


ท่านั่ง มีหลายอาการเช่นกัน เช่น นั่งโต่งโหม่ง นั่งต่องหม่อง นั่งโซ่โม่ นั่งตึ้กมึ่ก นั่งเค่าเม่า นั่งอ้อค่อ ท่านอน มีนอนเอ้ดเลด นอนอ้าดลาด นอนแอ้ดแลด นอนอื้ดลืด ท่ายืน มีหยืนสวึง คือ ยืนอย่างคิดไม่ออก ยืนโด่ การพูด มีพูดบ้บๆ คือพูดพล่ามเสียงดัง ถ้าพูดเสียงเบาไม่หยุดปากใช้ว่า พูดบ้อบๆ พูดผลอ คือ ชอบพูดแทรกกลางคัน ท่าทาง มีท่าทางหลีเหลอ คือ แสดงอาการเหงา หรือวังเวง ท่าทาง แชะแฉด คือ ท่าทางแบบไม่ถือตัว ส่วนท่าทางก้ะท่ะร่ะราย คือ ท่าทางของ นักประชาสัมพันธ์ดี ค�ำพิเศษใช้แสดงอารมณ์ หรือมีความหมายที่แตกต่างจากภาษากลาง เช่น ซงๆ จิเป๋นไข่ หมายถึง เหมือนจะเป็นไข้ จั๊กไอ หมายถึง อะไร จั๊กไอซะปาย หมายถึง อะไรกันนักหนา เช่น แก่จิพูดไอซะปาย ไอ้แนวว่า ไอ้เนียวว่า ไอ้ชาติว่า หมายถึง เพราะว่า เป็นความพยายาม ที่จะให้เหตุผล เช่น ไอ้ชาติว่าน่ามมันมดร่ถเลยวิ่งไม่ได้ ไปเหล่นบ้าน หมายถึง ไปเที่ยวที่บ้าน ฝนก๊ะบ้าน หมายถึง ฝนตกที่บ้าน ฝนลงเม็ด หมายถึง ฝนตก ต๊กพอดิ๋นลาย หมายถึง ตกนิดหน่อย ต๊กพอผ่าเปียก หมายถึง ตกมากหน่อยหนึ่ง ขนาดเดินตากฝน แล้วผ้าเปียก ต๊กเกนน่ามไหลทาง หมายถึง ตกมากเพราะมีนำ�้ ไหลตามทางจากทีส่ งู ไปสู่ที่ต�่ำ อย่าด่วน อย่าเพิ่ง หมายถึง อย่ารีบ รอประเดี๋ยว : 53 :


ค�ำศัพท์ที่น่าสนใจบางค�ำ ก่วง กล่อน ก้องแขน ก๋อง ก้ะจ้อน ก้ะเจิ้บ ก้ะดึ๊บ ก้ะต้อนม่อนแม่น ก้ะต้อด กะต๊ะกะเติ้ง กะแด้ง ก้ะตุ้มหุ่มห่อ ก้ะร่ะกะราย ก�ำดึ๋ง ก�ำพวง กิ๋นจ่งกิ๋นหยอม กุ่ง กิ้น แก่ โกรกกราก ไก่โอก ขนมขี่ก๋วง ข่อหล่อแข่แหล่ ข้ะโม่ม ข้ะหยอน

หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง

ความงดงาม กระจ่าง เช่น หน่าไสก่วง เป็นนิ่ว โรคนิ่ว คือ เป็นกล่อน ก�ำไลมือ ก�ำไลใส่ข้อเท้าเด็ก เล็ก แคระ เช่น ม่ากะจ้อน เหยียบย�่ำ การเหยียบย�่ำน�้ำโสโครก ผลอ่อนๆ ของผักผลไม้ ชิ้นเล็กชิ้นน้อย เอาก้นถัดไปทีละนิด ไม่มีความช�ำนาญ แคระแกร็น ดูแล เอาใจใส่ มักใช้กับลูกหลานที่ดูแลพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย มีประปราย คิดถึง เป็นห่วง ก�ำลัง เช่น ก�ำพวมมา ก�ำพวมท�ำ กินอย่างประหยัด อดออม ขึ้นขี่บนหลัง กุด เช่น เสื่อแขนกิ้น คือ เสื้อที่ไม่มีแขน ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่สอง รีบด่วน ไก่พ่อเล้า หรือไก่โต้ง ดอกไก่โอก คือ ดอกหงอนไก่ หรือดอกไม้ป่าชนิดหนึ่ง ขนมบัวลอย ก้อนเล็กก้อนน้อย หรือไม่เป็นแก่นสาร กินค�ำใหญ่ๆ อย่างตะกละ น่าชื่นชม เพราะท�ำในสิ่งที่ท�ำได้ยาก

: 54 :


ข้ะหยินฟัน ขี่สีก เข่าเปียก เข่าแพะ เข่าเหย็น เข่าค�่ำ เขี่ยว ควด ค่อนก๊กไม่ ค�่ำคาง แค่นคอ คือ งวม เง่าะ แง่ด แง่ม จ๊ก จ่น จอบ จ้ะบู๋น จ้ะหลึน จ�ำโอ๋ แจบ ช่ะมุดน่าม ชามเหลี่ยม ช�ำแร่ะ ซ่ะๆ

หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง

ยิงฟัน น�้ำคร�ำ น�้ำโสโครก ข้าวต้มข้นๆ ข้าวที่หุงหรือต้มปนกับพืชผัก เผือกมัน บางที เรียก แพะเข่า อาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น งอแง เป็นอาการของเด็กๆ ที่ร้องอ้อนพ่อแม่ พิธีกรรมการปัดรังควาน ตัดต้นไม้ ชายที่เป็นคู่เขยกัน ติดคอ เหมาะสม หรือ เหมือน คว�่ำไว้ สรรพนามแทนคนที่เราสงสาร งัด มือที่มีหกนิ้ว เรียกมือแง่ม จอบ หรือล้วง ยุ่งมาก เสียม มดลูก ทะเล้น อาเจียน หมดตัว หรือ ราบ หรือ สนิท เช่น นั่งให่แจบ ด�ำน�้ำ ชามกระเบื้อง / ชามตราไก่ ร่องเล็กๆ เช่น เดิ๋นตกช�ำแร่ะเลยขาแพลง ใหญ่ๆ งามๆ เช่น จั๊บปล๋าได้แต่ตั๋วซ่ะๆ

: 55 :


ซา ซุม ด้ดๆ ด๋อง ด๊ะดาด ดินหุน เดิ่น เดินโหง่มๆ ตอด ต่อน ต้ะลุก ตาบ ตี่กืก ตึ่ง ตื่ม เต้นเด๊าะเต้นด่อง แต้มแก่ เต๊อะเติ๋น เต๊าะ โต่งน่าม ทะวายท่อง ท่ะแหล ท�ำเพด

หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง

หยาบ กร้าน เช่น มือซา หรือหมายถึงตอแย หรือ ต่อล้อต่อเถียง คนที่อยู่ชุมชนเดียวกัน เช่น ซุมตันต๊กวั่ดเดิ๋ม ซุมบ้านใหญ่ ซุมบ้านหัวนอน หรือ หมายถึง ยา ที่เรียกว่า หยาซุม เจ้ากี้เจ้าการ พ่อแม่ของคู่บ่าวสาว เรียกว่า พ่อด๋อง แม่ด๋อง มากมาย ตัวปลวก ลานกว้าง เช่น เดิ่นบ้าน เดินดุ่มๆ เดินให้เห็นอย่างชัดเจน ต่อย เช่น แมงป่องตอด หรืออาการที่ไก่ตัวเมีย ร้องหา ไก่ตัวผู้ เรียกว่า ไก่ตอด ชิ้น เช่น ได้เนื่อต่อนหนาได้ปล๋าต่อนใหญ่ หลุมเล็กๆ ปะรอยขาด ตี่ไม่ออกเสียง กืก คือ เป็นใบ้ บวม พอง ขึ้นอืด เติม เพิ่ม ท�ำตามบทบาทหน้าที่ ฉลาดแกมโกง มากมาย แตะต้อง หรือ ทาบทาม เช่น ไปเต๊าะสาวๆ ให่ไอ้นาย รองน�้ำฝน โต่งผ่า คือ เย็บผ้านุ่ง อาการคลื่นไส้ ลาดเอียง แต่งตัวเป็นสาวเกินวัย

: 56 :


นางด�๋ำ บ๊ก บ่อน บุ่งตาหลัว บุ้ม เบื๋อ ป้ะตี๋น ป้ะวะ เป็นเลือด ผ่าน่อย ผูกเพื่อน/ผูกเกล๋อ ผูกมือ ไผ พิดกั๋น เพ่าะ แพ่เปรียบ โพด มอด ม่อต๋าย ม่าก้ะจ้อน มุๆ มิๆ มุ่นก้ะเตอะ แม่ะ แม่น่าม แม่ท่อง โมง

หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง

เมล็ดลูกหยี อีสานเรียก มะเค็ง พร่องไป ที่ เช่น บ่อนนอน คือ ที่นอน บ่อนเที่ยว คือ ที่เที่ยว แหล่งน�้ำที่ตาน�้ำมาจากป่าไม้รวก บุบ มีต�ำหนิ วางยาพิษ เช่น เบื๋อหมา ทิศเหนือ ส่วนทิศใต้ คือ หัวนอน ปลีกเวลามาท�ำ เป็นประจ�ำเดือน ผ้าเช็ดหน้า ผูกเป็นเพื่อนตาย อีสานว่า ผูกเสี่ยว (เพื่อนใช้กับผู้หญิง เกล๋อใช้กับผู้ชาย) เงินช่วยในงานแต่งงาน ไฝ ชายหญิงได้เสียกัน พ่อ เสียทีเขา เกินไป เหลือหลาย เช่น มากโพด ลอด มุด เกือบตาย ม้าแกลบ อยู่ตามประสา หรืออยู่เงียบๆ ป่นจนไม่มีชิ้นดี แม่ ลูกน�้ำ ลูกยุง พยาธิ ผลไม้สุกผลใหญ่ เรียก หน่วยโมง

: 57 :


ยงดิ๋น ยอบ ยอดตะปิ๊ด ร่ะเงียว ร่ะซ่อง ร่ะหึนร่ะเหือย ร่ะฮ้าด เร็ง ละลึม ละหลูด ล่า ลุก ลูกทาง วิ่งต๋าม โว่เว่ สมปุ๊สมปุ้ย สมอร่องแร่ง ส่วย ส่มละก๋อ สะหวอย ส้ะอ๋อน สังๆ สัง ส�ำมะปิ๊ สีหยืด โสน

หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง

พรวนดิน ยุบลง ยอดสุด ใจหงุดหงิด สลอน เช่น หน่าระซ่อง คือ หน้าสลอน อิดโรย ฟูมฟาย ร้องไห้ร�่ำไร กระปรี้กระเปร่า กระดี๊กระด๊า รังแก หรือข่มเหงผู้อื่น ฝนตกปรอยๆ ตกออกไปแบบไม่รู้ตัว เช่น ลูกล่ะหลูด ไข่ล่ะหลูด ยอดผักที่เลื้อยไปบนดิน คลุกเคล้าข้าวกับอาหารที่เป็นน�้ำ หญิงตั้งท้องโดยไม่มีพ่อ เรียกว่า ได้ลูกทาง หญิงที่หนีตามผู้ชาย อ้างว้าง เปล่าเปลี่ยว หมักหมม ไม่สะอาด หยากไย่ในครัวไฟ ล้างให้สะอาด ส้มต�ำมะละกอ เหนื่อย หมดแรง ชื่นชม น่ารัก ขนาดเท่าๆกัน เช่น เข่าสารนี่สังๆ คือ เมล็ด เท่าๆ กัน คนมางานมีแต่สังๆ คือ มีแต่ผู้ใหญ่ ตายนานแล้ว เช่น สังพ่อ สังแม่ บางทีเรียกว่า ประสัง สาระพัดเรื่อง หวาดเสียว บางที พูดว่า ไสหยืด เหี่ยวเฉา (อ่านแบบมีตัว “น” สะกด)

: 58 :


โหง่มๆ โหง่ย หย�่ำแข่ว หรองๆ หร�ำระหร�ำหร่าย หล็อย หลีเหลอ เหล่นกัน หอยจูบ หืน เห็นว่าก็ด๋าย แห่น โห่ง อ่วย ออดหลอด อ้อบพอบ อีนาง ไอ้นาย เอก เอี๊ยะ

หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง

เดินดุ่มๆ ล้ม หรือ โงนเงน ได้ใจ น�้ำขึ้นทีละน้อย หรือค่อยๆ อ้วน เดินไปมาอย่างไม่มีจุดหมาย ค่อยๆ ปลีกตัวออกมา หรือ ขโมยไปเล็กน้อย อ้างว้าง หรือ ว้าเหว่ แอบได้เสียกัน หอยขม ขื่น เช่น มะเขือหืน ไม่ใช่อย่างนั้นหรอก แทะ น�้ำขัง เวลาฝนตก หัน เลี้ยว บริสุทธิ์ สะอาด หมดเรี่ยวแรง หมดปัญญาที่จะไปท�ำอะไรได้ ค�ำเรียกเด็กผู้หญิง อีนางน่อย คือ น้องคนเล็ก ค�ำเรียกเด็กผู้ชาย ไอ้นายน่อย คือ น้องชาย คนเล็ก ตาเข เรียกว่า ตาเอก เพลงโคราชบทหนึ่งว่า “ส�่ำคนตาเอกยังมาลับต๋าเอ๋า” การส�ำรอกของเด็กทารก

๓. ด้านส�ำนวน

ส�ำนวนเป็นถ้อยค�ำที่ไพเราะสละสลวยและมีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ ภาษา คนบ้านกล้วยมีส�ำนวนที่ใช้ในชีวิตประจ�ำวันมากมาย ยกตัวอย่างพอสังเขป ดังนี้ กิ๋นไม่รู่บ๊กจ๊กไม่รู่เมิ้ด หมายถึง จะกินจะใช้อย่างไรก็ไม่มีวันหมด

: 59 :


งัวใครเข่าคอกคนนั่น หมายถึง บุ๋ญกึ่งถึงกัน หมายถึง ม่าไม่มีท�ำเล หมายถึง บุ๋ญหลายสายยาว หมายถึง เป็นหอยลอยต๋ามคราด หมายถึง เป็นด้วงเป็นแมง หมายถึง ไอ้หนึ่งพาเป๋นไอ้หนึ่งพาต๋าย หมายถึง แก๊ะหัวเลาเก๋าหัวหญ่า หมายถึง กิ๋นน่ามร่อนนอนไฟ หมายถึง ให่อ่อนอย่างก๊บให่น่บอย่างเขียด หมายถึง ให่เดิ๋นอย่างช่างให่ย่างอย่างแมว หมายถึง

ใครท� ำ สิ่ ง ใดไว้ ย ่ อ มได้ รั บ สิ่ ง นั้ น ตอบแทน มีวาสนาร่วมกัน เที่ยวไปอย่างไร้จุดหมาย มีอายุยืน คนไม่ มี ห ลั ก การใครพู ด อะไรก็ พู ด ตามเขา หญิงสาวที่เสียความบริสุทธิ์ สิ่งหนึ่งให้คุณสิ่งหนึ่งให้โทษ หากินอย่างยากล�ำบาก การอยู่ไฟของแม่ลูกอ่อน การอ่อนน้อมถ่อมตน ให้มีระเบียบเรียบร้อย มีมารยาท

ค�ำเรียกขวัญ เป็นกลุ่มค�ำที่คนเฒ่าคนแก่ใช้เรียกขวัญให้ลูกหลาน เมื่อพา ลูกหลานไปอาบน�้ำที่ท่าน�้ำ ไปนา เมื่อจะกลับบ้านจะเรียกขวัญให้ลูกหลานว่า ข็วนอีนาง..... (ไอ้นาย) เอย ไป๋บ้านตะกู๊... เพราะถือว่า ขวัญ คือมงคลสูงสุดของชีวิต ถ้าขวัญหายจะเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ขวัญจึงต้องอยู่กับตัว ฉะนั้นเมื่อเด็กหกล้ม หรือมีอุบัติเหตุจึงต้องเรียกขวัญในกลับมาว่า ข็วนเอย ... มากู๊...... ค�ำเรียกขวัญของคนบ้านกล้วยเพื่อรักษาใจ ข็วนอีนาง (ไอ้นาย) เอย มากู๊ ... ให่มาเข่าโครงอย่าได้หลาบ ให่มาเข่าคราบอย่าได้ถอย ซิบปึ๋อย่าไป๋อื่น หมื่นปี๋อย่าไป๋ไกล๋ ให่มาอยู่เรือนพ่อเรือนแม่ ให่มาอยู่ซุมพี่ซุมน่อง ข็วนพี่จิไป๋ให่น่องชั่กไว่ ข็วนน่องจิไป๋ให่พี่ชั่กไว่ ให่ผูกกั๋นอย่างเครือมัน ให่พันกั๋นคือเครือถั่ว ให่มานอนฟูกถ่วมหน่า ให่มานอนผ่าถ่วมตั๋ว อย่าไปกิ๋นเข่าเด๋นผีราก อย่าไปกิ๋นหมากเด๋นผีคาย

: 60 :


อย่าไปเอ๋ารากไม่ต่างหมอน อย่าไปนอนข่วมกิ๋นน่ามลาย อย่ามัวไปหลงในน่ามเป็นเพื่อนปล๋า ให่มาอยู่เรือนใหญ่ฮกกะได๋สูง มาอยู่ซุมพ่อซุมแม่ซุมพี่ซุมน่อง

อย่าไปเอ๋าขอนต่างบ้าน อย่าไปนอนหงายกิ๋นน่ามค่าง อย่ามัวไปหลงในนาเป็นเพื่อนเข่า มาเดอข็วนเอย ... มากู๊ เดอข็วนเอย ... มากู๊

ค�ำให้พร เป็นค�ำกล่าวของผู้ใหญ่ให้พรลูกหลาน ดังนี้ - ให่ได้ผัวคนรู่ ให่ได้ชู่คนงาม เดอลูกเดอ - มีลูกหญิงให่ได้สืบสาย มีลูกชายให่ได้สืบศาสนา เดอลูกเดอ - ให่มีควมซุกสะนุ้กสะบ๋ายเดอลูกเดอ ความเจ๊บอย่าได้ความไข่อย่ามี จิ๋ไป๋ทางไหนให้มีคนเดิ๋นหน่า มีขี่ข่าเดิ๋นตามหลังเดอ - ให่เหย็นอย่างฟั่กให่นักอย่างหินเดอลูกเดอ

ค�ำร้องเล่น - ฝนเอยต๊กแรงๆ ให่แต๋งเป็นหน่วย ให่กล้วยเป็นหวี - ลมเอยอย่ามา เด๊กน่อยขึ่นต้นไม่เขาไม่ให่ลมมา - นางอึ่งเอย อึ่งกะโด๋น ได้ยินเสียงโทนก็โป่งแวบ โป่งแวบ - โอ้ โอ่ กระต่ายต๋าโล ใครว่าใครก่อน - ไก่น่อยเมาเหล่า ไก่เถ่าเมาหยา ดูดกัญชา แล่วก็นอนเขล็ง - อันซุราแปลว่าเหล่า กิ๋นแต่เช่าแม่ท่องต๋าย - นางกะโหลกเอย ขื่นไป๋โคก ไปเก๊บเฮ็ดเพาะ เฮ็ดเรี่ย เฮ็ดรายเสียด๋าย เฮ็ดเอย - เจ็กน่อยนั่งกิ๋นอ้อย บนหัวตะพาน ... ยาน ๆ พานหัวเจ็กน่อย - ฝนต๊กอย่าเชื่อด๋าว มีลูกสาวอย่าเชื่อใจ๋ ถ้ามันวิ่งต๋ามเขา มันบอกเรา เมื่อไร - ไอ้เหมนตั๊บด�๋ำตั๊บช�่ำตั๊บชอก ไอ้เหมนขี่ครอกไปบ้านมึงซะ - อีแม่ควยเขาก๋าง อีแม่ช่างงาเกก ส�่ำคนต๋าเอก ใครจิลับต๋าเอ๋า - กํ๋าๆ ได้ก๊ะอีด�๋ำ พอปานได้ก๊ะผี ไหนจิซักผ่านุ่ง ไหนจิกุ่งไปขี่ - อีแม่ตูดตุ๋งๆ มาพี่จิกุ่งไปต้อยๆ

: 61 :


บทส่งท้าย ศิลปกรรมและธรรมชาติสง่ิ แวดล้อมเป็นสิง่ ทีช่ าวบ้านกล้วยควรช่วยกันดูแลรักษา ให้ ค งอยู ่ แ ละสื บ ทอดไปยั ง ลู ก หลาน เหมื อ นที่ บ รรพบุ รุ ษ ได้ ส ่ ง ต่ อ ให้ ค นรุ ่ น ปั จ จุ บั น โบสถ์เก่าก็ดี พระพุทธรูปไม้ก็ดี ต้นมะขามยักษ์ ๒ ต้นก็ดี เรือเสมียนเสนาะฯ ก็ดี ล้วนเป็นสิ่งมีค่าที่วันเวลาอันยาวนานเท่านั้นที่สร้างไว้ให้ลูกหลานชาวบ้านกล้วย บอกเล่า เรื่องราวว่าชาวบ้านกล้วยทุกซุม ทุกหมู่ล้วนมีรากเหง้า ศิลปกรรมเหล่านี้ใช้แทนค�ำพูด ได้หลายหมื่นหลายแสนค�ำ สายน�้ำและป่าไม้มีคุณค่าต่อชีวิต ในแง่ของสิ่งแวดล้อม ดินน�้ำ อากาศ ต้นไม้ เป็นสิ่งที่ธรรมชาติจัดสรรมาให้ คนบ้านกล้วยโชคดีที่มีล�ำน�้ำเค็มช่วย หล่อเลี้ยงชีวิต ควรช่วยกันปกปักรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรในล�ำน�้ำเค็มคือ ปลา ถ้าคนต่างถิ่นเข้ามาฉกฉวยเอาทรัพยากรของเราไปแบบไม่มีขีดจ�ำกัด จับปลาแบบไม่เหลือ ไว้ให้มันเป็นเผ่าพันธุ์ คนบ้านกล้วยต้องลุกขึ้นมาปกป้องแม่น�้ำเค็มของเรา ช่วยดูแล แม่ ของเราทุกคน ให้ แม่ อยู่กับลูกหลานไปชั่วกาลนาน อย่าปล่อยให้แม่เผชิญชะตากรรม เพียงล�ำพัง ป่าชุมชนที่เคยมีติดกับโรงเรียนเป็นป่าผืนใหญ่ที่ชุมชนสร้างไม่ได้ในวันเดียว เดือนเดียว ปีเดียว แต่อาศัยเวลาเป็นร้อย ๆ ปี ภาพถ่ายดาวเทียมปี ๒๕๔๓ เห็นชัดเจน ว่ามีป่าชุมชนที่ใหญ่มาก แต่ภาพถ่ายดาวเทียมปี ๒๕๖๐ ผืนดินตรงนั้นเป็นดินสีเหลือง อันที่จริงบ้านกล้วยเป็นแหล่งดินด�ำ น�้ำชุ่ม แต่กระแสการอนุรักษ์ได้ผิดพลาดไป ทรัพยากร ดิน น�้ำ อากาศ ป่าไม้ เป็นสิ่งที่ชุมชนควรหวงแหน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงส่งเสริมให้มีการรักษาพันธุ์ไม้พื้นบ้านไว้ จึงมีโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชในโรงเรียนชุมชนควรจับเอาประเด็นนี้มาสร้างใหม่ได้ ต้นเขว้าก็ดี ต้นซาด ก็ ดี คนรุ ่ น ใหม่ เด็ ก ๆ ทั้ ง หลายรู ้ จั ก หรื อ ไม่ นอกจากการรั ก ษาพั น ธุ ก รรมพื ช แล้ ว พระองค์ท่านยังเน้นให้เก็บเมล็ดพันธุ์ สมควรที่คนรุ่นเราจะได้เตรียมเพื่อส่งต่อให้คนรุ่น ต่อไป ที่เล่ามาทั้งหมดเป็นประวัติศาสตร์หรืออดีตของบ้านกล้วย เพราะมีอดีตจึงมี ปัจจุบัน และปัจจุบันจะส่งต่อไปยังอนาคต บ้านกล้วยของเราจะเปลี่ยนแปลงไปอีกมาก เรียนรู้อดีตไว้จะได้ไม่ลืมรากเหง้าของตนเอง

: 62 :


เกี่ยวกับผู้เขียน

เกิดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ที่ บ้านเลขที่ ๗๕ หมู่ ๑๑ ต�ำบลท่าหลวง ภายหลัง เป็นหมู่ ๗ ต�ำบลดงใหญ่ อ�ำเภอพิมาย จังหวัด นครราชสีมา เป็นลูกคนที่ ๙ ของ เตี่ยแก้ว – แม่ผัน แซ่หย่อง พี่น้องลูกเตี่ยแก้ว – แม่ผัน แซ่หย่อง พร้อมทั้งหลาน ๆ ตั้งกองทุนและสร้างห้องสมุด อนุสรณ์เตี่ยแก้ว – แม่ผัน แซ่หย่อง ให้โรงเรียน บ้านกล้วย ท�ำพิธีมอบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีผู้อ�ำนวยการ อาณัช ศรีทอง เป็นผู้รับมอบ ปัจจุบันเป็น ข้าราชการบ�ำนาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

: 63 :


ผู้ ให้ข้อมูล ๑. นายทองอยู่ ธิติเสรี อายุ ๘๘ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๗๗ หมู่ ๑๐ ต.ดงใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ๒. นายอิ่ม เจนพิมาย อายุ ๘๙ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๖ หมู่ ๑๐ ต.ดงใหญ่ อ. พิมาย จ.นครราชสีมา ๓. นางห่าม ชวดสูงเนิน อายุ ๖๙ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๙๓ หมู่ ๑๐ ต.ดงใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ๔. นางจันทร์ นามพิมาย อายุ ๙๐ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๖๖ หมู่ ๗ ต.ดงใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ๕. นางแต๊ะ พิณพิมาย อายุ ๗๗ ปี อยู่บ้านเลข ๗๙ หมู่ ๗ ต. ดงใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ๖. นางเจิมจิต อัตวีระพัฒน์ อายุ ๖๖ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๗๕ หมู่ ๗ ต. ดงใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ๗. นายส�ำราญ วาจามั่น อายุ ๖๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๘๔ หมู่ ๗ ต.ดงใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ๘. นายสมคิด สุขสบาย อายุ ๕๙ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๔๕๐/๔ หมู่ ๒๑ ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ๙. นายมานพ เจนพิมาย อายุ ๖๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๖ หมู่ ๑๐ ต.ดงใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ๑๐. นางสาวกุสุมา ผึ่งพิมาย อายุ ๕๙ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๓๒ หมู่ ๑๘ ต.ดงใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา : 64 :


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.