ชุดความรู้กินได้ | พานบายศรีสู่ขวัญ

Page 1

พานบายศรีสู่ขวัญ

ผู้จัดทา นายชรัชวิช สุระสาย หน่วยงาน กศน.อาเภอเมืองอานาจเจริญ สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ ความรู้ 69/18-19 อาคารชุดมิว บิลดิง้ ชัน้ 18-19 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุ งเทพฯ 10400


พานบายศรีสู่ขวัญ

สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ ความรู้ 69/18-19 อาคารชุดมิว บิลดิง้ ชัน้ 18-19 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุ งเทพฯ 10400


ชุดความรู้ทามาหากิน“พานบายศรีสู่ขวัญ” หลักการและเหตุผล บทนา หลักการและเหตุผล ประเพณีท้องถิ่นของคนภาคอีสาน เมื่อถึงวาระสําคัญโอกาสพิเศษ ชาวบ้าน นิยมทําบุญรับขวัญโดยการทําพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อเป็นขวัญกําลังใจ และเป็นการเรียก ขวัญสําหรับผู้ทีผ่านเหตุการณ์ไม่ดี ตลอดจนใช้ในงานสําคัญต่างๆ เช่นงานแต่งงาน รั บ ขวั ญ เด็ ก การเจ็ บ งานบวช และงานขึ้ น บ้ า นใหม่ ในพิ ธี บ ายศรี สู่ ข วั ญ สิ่งทีนํามาประกอบพิธีคือพานบายศรีที่ทําจากใบตองกล้วยที่นํามาพับ จับจีบ เย็บร้อย ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้มงคลต่างๆให้สวยงาม พานบายศรีสู่ขวัญนี้มักเป็น ฝีมือของคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนทีเต็มใจจัดหาหรือทํามาเพื่อบุคคลอันเป็นทีรัก ในยุคปัจจุบันจึงมีความต้องการพานบายศรีเพื่อใช้ในการประกอบการบายศรี สู่ขวัญเป็นจํานวนมาก คนทําพานบายศรีสู่ขวัญมีจํานวนลดน้อยลง พานบายศรีสู่ขวัญ จึงมีความต้องของตลาดสูงขึ้น


วัตถุประสงค์ของการจัดทาชุดความรู้ทามาหา กิน /กลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของการจัดทาชุดความรู้ทามาหากิน 1. เพื่อเพิ่มความรู้เกี่ยวกับประเพณีท้องถิน่ การบายศรีสู่ขวัญ 2. เพื่อให้ตระหนักถึงความสําคัญ คุณค่าของภูมิปัญญาไทย และอนุรักษ์ วัฒนธรรม ไทย ความนิยมไทย ตลอดจนคุณค่าของความเป็นไทยให้คงไว้ตลอดไป 3. เพื่อศึกษาเรื่องราวและวิธีการทําพานบายศรีจากใบตอง 4. เพื่อให้สามารถจัดทําพานบายศรีได้อย่างถูกต้องสวยงาม 5. เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนที่คิดสร้างรายได้จากการใช้ใบตองกล้วยให้เกิด ประโยชน์ 6. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนที่ทําพานบายศรี

กลุ่มเป้าหมาย 1. ประชาชนทั่วไปในอําเภอเมืองอํานาจเจริญ และพื้นที่ใกล้เคียง ที่สนใจ ต้องการ อนุรักษ์ และสืบสารการทําพานบายศรีสู่ขวัญ ให้คงอยู่คู่บ้าน 2. ร้านขายดอกไม้สดในเขตจังหวัดอํานาจเจริญ 3. หมอพราหมณ์สู่ขวัญ 4. นักเรียนนักศึกษาที่มีความรู้พื้นฐานงานประดิษฐ์ใบตองกล้วย 5. ร้านรับจัดงานแต่งงาน


ชุดความรู้ทามาหากิน“พานบายศรีสู่ ขวัญ” ขั้นตอนการจัดทาชุดความรู้ทามาหากิน 1. เลือกอาชีพในการทํากล่องความรู้ 2. วิเคราะห์เนื้อหาในการทําพานบายศรี 3. เก็บรวบรวมเนื้อหาความรู้ตามที่วิเคราะห์การทําพานบายศรีไว้ 4. เรียบเรียงเนื้อหากล่องความรู้ในการทําพานบายศรี 5. นําเสนอและจัดเผยแพร่กล่องความรู้ในการทําพานบายศรี


Mind Map


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีท้องถิ่น การบายศรีสู่ขวัญ คุณค่าของภูมิปัญญาไทย และอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทย ตลอดจนคุณค่าของความเป็นไทยให้คงไว้ ตลอดไป ตระหนักและเห็นคุณค่าของประเพณีการทําพานบายศรีสู่ขวัญ ของท้องถิ่น สามารถจัดทํา วิธีการทําพานบายศรีสู่ขวัญได้อย่างถูกต้อง และการเปิดโอกาสให้กับคนที่คิดสร้างรายได้จากการใช้ ใบตองกล้วยให้เกิดประโยชน์ ยังเพิ่มรายได้ให้กับคนที่ทําพานบายศรี โดยการจําหน่ายพานบายศรี เป็นการหารายได้เสริมเพิ่มรายได้ในครอบครัว


Infographic


ประมวลเนื้อหา

ความรู้/ทักษะสาหรับ ดาเนินการ

ความรู้/ทักษะสาหรับดาเนินการ มีความรู้ความชํานาญทักษะวิชาชีพของตัวเองในการทําพานบายศรี ทํางานเป็นระบบขั้นตอนเกี่ยวกับการ ประกอบพานบายศรีสู่ขวัญ และการปฏิบัติการจัดตอง จีบตอง เย็บตอง ใส่ดอกไม้ ในการตกแต่งพานบายศรี ให้ สวยงานและสมบูรณ์ บายศรีใหญ่ ใช้ในงานพิธีสําคัญ เช่น พิธีทูลพระขวัญหรือเป็นพิธีทําขวัญที่ทําเป็นงาน ใหญ่ เช่น บวชนาค โกนจุก ไหว้ครู เป็นต้น พานบายศรีบางออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ ๑. บายศรีต้น บายศรีตั้ง หรือ บายศรีชั้น เช่น บายศรีทูลพระขวัญของชาวเชียงใหม่ บายศรีสําหรับทําขวัญ นาค ทําขวัญโกนจุกหรือไหว้ครูเป็นต้น บายศรีชนิดนี้ใช้ต้นกล้วยหรือไม้เนื้อแข็ง กลึงเป็นแกนวางบนพานหรือ โตก อาจทําเป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น ก็ได้ตามแต่ความสําคัญของผู้ที่จะได้รับการสู่ขวัญ ทางเหนือได้วาง ระเบียบการทําบายศรีต้นไว้ดังนี้ คือ บายศรีต้น ๙ ชั้น สําหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี บายศรีต้น ๗ ชั้น สําหรับเจ้านายชั้นเจ้าฟูา และพระราชอาคันตุกะชั้นประธานาธิบดี บายศรีต้น ๕ ชั้น สําหรับเจ้านายที่ทรงกลมหรือเสนาบดี บายศรีต้น ๓ ชั้น ใช้ในพิธีสมรสของชั้นหลานเจ้านายฝุายเหนือ ๒. บายศรีใหญ่ เป็นบายศรีปากชามขนาดใหญ่จัดใส่พาน โตกหรือตะลุ่มแทนชามดังจะเห็นได้จากบายศรีที่ จัดทั่ว ๆ ไป ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน การจัดบายศรีใส่ในพานหรือตะลุ่มนี้ จะจัดเป็นชั้นเดียว หรือใช้พา หรือตะลุ่มซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ก็ได้แล้วแต่ความสําคัญของพิธีอาหารที่ใส่ในบายศรีส่วนมากจะตีความหมายไปในทาง ปริศนาธรรม เช่น กล้วยน้ําไทย ๓ ชิ้น หมายความถึงภพ ๓ ภพ คือ สวรรค์ มนุษย์ และนรกเป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีแตงกวา ขนมต้มหรือขนมที่มีนามเป็นมงคล และมีอาหารคาวด้วย ส่วนเครื่องประกอบบายศรีอื่นนั้นก็ เช่นเดียวกับเครื่องประกอบของบายศรีหลวง


ประมวลเนื้อหา

ความรู้/ทักษะสาหรับ ดาเนินการ

ในการทําขวัญโดยทั่ว ๆ ไป หมอขวัญจะเป็นผู้ทําพิธีโดยจัดให้ผู้รับทําขวัญนั่งพับเพียบ พนมมือหันหน้าเข้า หาบายศรี ส่วนผู้ที่มาร่วมงานนั่งล้อมรอบ หมอทําขวัญจะปูายน้ํามันหอมลงบนไส้เทียนที่แว่นเวียนเทียน จุดเทียน ชัย และสวดมนต์ แล้วจึงสวดเรียกขวัญ เสร็จแล้วจะนําด้ายสายสิญจน์มาร่ายคาถา ขมวดสายสิญจน์ไปแกว่งวน เหนือข้อมือและศีรษะเจ้าของขวัญพร้อมกับอวยพรให้ แล้วจึงนําด้ายสายสิญจน์ผูกให้ที่ข้อมือข้างใดก็ได้เป็นอันเสร็จ พิธี ในภาคเหนือจะเรียกบายศรีว่า "ใบสี", "ใบสรี" หรือ "ใบสีนมแมว" และจะเรียกพานบายศรีว่า ขันใบสี เพราะ ชาวล้านนาจะเรียกพานว่า ขัน แล้วเรียกขันว่า สลุง บายศรีแยกเป็น 4 ประเภท คือ 1.บายศรีหลวง 3.บายศรีปากชาม 2.บายศรีนมแมว 4.บายศรีกล้วย ส่วนในภาคอีสานจะเรียกบายศรีว่า "พาบายศรี", "พาขวัญ" หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า "ขันบายศรี" ในภาค อีสานจะแยกบายศรีออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.พาขวัญ 2.พาบายศรี 3.หมากเบ็ง ประเภทของการสูตรขวัญ 1. การแต่งงาน 2. การสู่ขวัญบุคคลทั่วไป 3. การสู่ขวัญคนหายปุวย 4. การสู่ขวัญนาค 5. การสู่ขวัญข้าว (บุญคูนลาน) 6. การสู่ขวัญพระสงฆ์ ปัจจุบันยังใช้งานอยู่คือการแต่งงาน บวชนาค คนหายปุวย พระภิกษุ สู่ขวัญข้าว องค์ประกอบของ การสูตรขวัญในแต่ละประเภทขั้นตอนการทําพิธี บทสูต เครื่องประกอบพิธีต่างๆ คุณตาเคนได้ยึดหลักตามสมัยดั่ง เดิมตามที่คุณตาได้เรียนมาจากครูคือ นายพัน ภูธรรมมา ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) (ข้อมูลจาก //www.itrmu.net/web/10rs26/show-webcontent.php?cat_id=2&mid=8)


ประมวลเนื้อหา

ความรู้/ทักษะสาหรับ ดาเนินการ

1. แต่งงาน - พาขวัญ หรือ บายศรี ส่วนดอกไม้ประดับใช้ดอกอะไรก็ได้สีอะไรก็ได้ยกเว้นดอกไม้ที่มีสีดําเพราะเชื่อว่าสีดํา เป็นสีไม่ดีเป็นสีอัปมงคล - เทียนฮอบหัวค่าคีง 2 เล่ม(บางหมู่บ้านจะเรียกเทียนรอบหัวค่าคีง จะเพี้ยนไปตามสําเนียงของ หมู่บ้าน) คือ เทียนที่นํามาใช้ในการประกอบพิธี ซึ่งจะมี 2เล่ม เล่มแรกถ้าทําพิธีสู่ขวัญใครก็จะนําไปวัดรอบหัวคน นั้น เล่ม2 ให้นําไปวัดจากคอจนถึงสะดือ มีความหมายว่า ให้เสนียดจัญไรที่มีในตัวไหม้ไปตามเทียนที่จุด - เทียนไขสีเหลืองหรือขาว - ขันธ์ 5 ใช้เป็นคายของหมอสูตร ( คาย หมายถึง เครื่องบูชาครูของหมอสูตร ) ประกอบด้วย 1.เทียนเล็ก 5 คู่ 2. ดอกไม้สีขาว 5 คู่ 3. เงิน ไม่ระบุจํานวน - ไข่ไก่ 2 ฟอง แบ่งให้คู่บ่าวสาวคนละฟอง ชาย 1 ฟอง หญิง 1 ฟองไข่ไก่จะเป็นการเสี่ยงทายของคู่บ่าว สาว โดยจะใช้เส้นผมตัดแบ่งครึ่งของไข่เพื่อดูไข่แดง ถ้าไข่สวยแสดงว่าอนาคตจะดี สาเหตุที่ใช้เส้นผมเพราะเป็นสิ่งที่ บริสุทธิ์จะไม่ไปทําให้ไข่เปื้อนสิ่งต่างๆอันเป็นผลในการเสี่ยงทายของไข่แดง ต้องเป็นไข่ไก่เท่านั้น ( เพราะคนนิยม ) ต้องใช้ไข่ที่ยังไม่ได้ฟัก ถ้าแม่ไก่อยู่ที่รังต้องขอ โดยพูดว่า “ ขอไข่จักหน่วยแน่เด้อซิเอาไส่พาขวัญแล้วแต่กรณีที่เราจะ นําไปประกอบพิธีได้ - ข้าวต้มมัด ( ต้มสุกแล้ว ) ข้าวต้มมัดหมายความว่า ไม่ให้บ่าวสาวแยกออกจากกัน - ด้ายฝูายผูกแขน ฝูายผูกแขนสีขาวเท่านั้น เพราะเป็นสีบริสุทธ์ มงคล - พาข้าว สํารับข้าว 1สํารับ ประกอบด้วย เผือก มัน พาข้าว ไม่รู้สาเหตุว่าทําไม ต้องใส่เผือก มัน แต่ทํากันมา ตั้งแต่สมัยก่อนเลยปฏิบัติสืบต่อกันมา กล้วยน้ําหว้าหรือกล้วยอื่น ยกเว้นกล้วยตานีเพราะเชื่อว่าเป็นกล้วยผีสิง ข้าว เหนียวนึ่งสุก 1 ปั้น เหล้าขาว (สิ่งเหล่านี้ไม่มีความหมายแต่ทุกอย่างลงท้ายด้วยคี่ เพราะถือว่าคี่อยู่ คู่หนี) (ข้อมูลจาก //www.itrmu.net/web/10rs26/show-webcontent.php?cat_id=2&mid=8)


ประมวลเนื้อหา

ความรู้/ทักษะสาหรับ ดาเนินการ

2. การสู่ขวัญบุคคลทั่วไป - เช่น กลับจากทํางานต่างประเทศ จะไปทหาร เชื่อว่าเป็นการเรียกขวัญให้เข้ากายเพื่อพร้อมที่จะเดินทางออก จากบ้านและให้กลับบ้านมาโดยปลอดภัย - เครื่องประกอบพิธีการสู่ขวัญบุคคลทั่วไปจะมีพิธีการขั้นตอนทุกอย่างเหมือนกันกับการสู่ขวัญแต่งงาน จะแตกต่าง กันที่บทสู่ขวัญ เท่านั้น(สืบค้นได้จากเอกสารสําเนาลายมือของคุณตาเคน) 3. การสู่ขวัญคนหายป่วย เครื่องประกอบพิธีการสู่ขวัญคนหายปุวยจะเหมือนการสู่ขวัญแต่งงานและพิธีการ ขั้นตอนของการสู่ขวัญคนปุวยทุกอย่างเหมือนกันกับการสู่ขวัญแต่งงานจะแตกต่างกันที่บทสู่ขวัญ เท่านั้น 4. การสู่ขวัญนาค - ใช้เครื่องประกอบในพิธีเหมือนกันกับพิธีแต่งงาน แต่เปลี่ยนน้ํามิดฟายจากน้ําเหล้าเป็นน้ําหอม ( ใช้ขมิ้นหรือ แปูงหอมในการทําน้ําหอมก็ได้ ) เพราะการบวชต้องถือศีล 8 ถ้ามีเหล้าในพิธีถือว่าผิดศีล - ขั้นตอนการประกอบพิธีเหมือนกันกับ 5. การสู่ขวัญข้าว (บุญคูนลาน) - ต้องมีข้าวเปลือกเป็นองค์ประกอบสําคัญ จะเอาทั้งเป็นรวงข้าวและเป็นเมล็ดแล้วส่วนที่เป็นเมล็ดจะนํามา กอง ส่วนที่เป็นรวงข้าวจะนํามาสร้างเป็นปราสาทข้าวล้อมกองข้าวไว้ โดยจะมีตาแหลมหน้าวัว ปัก 4 มุมล้อมรอบ ปราสาทข้าวเพื่อเป็นยันรักษาพระแม่โพสพส่วนข้าวที่ประกอบพิธีแล้วประชาชนจะมาขอ เพื่อจะนําไปไว้ที่เหล้าเป็น ขวัญของเหล้า ส่วนข้าวที่เหลือจะนําไปขายเพื่อจะนําเงินที่ได้ไปเข้าวัดเครื่องประกอบพิธีและพิธีการขั้นตอนจะ เหมือนกันกับการสู่ขวัญแต่งงานแต่จะเพิ่มบางอย่างเข้าไปในพิธี ประกอบด้วย 1. คันหลาว คือ เครื่องมือในการทํานา ใช้หาบข้าวเปลือกที่มัดรวมกันเป็นมัดใหญ่แล้วจะใช้ไม้คันหลาว เป็นตัวหาบข้าวโดยจะใช้เสียบรวงข้าว 2 ข้างแล้วหาบข้าวมายังลานที่จะเก็บข้าว 2. ตระกร้า , กะบุง เป็นเครื่องมือในการทํานา 3. ภาชน์ข้าว ( เครื่องสังเวย ) ประกอบด้วย 4. ไก่ต้ม (ไม่เอาไก่งวงเพราะไม่นิยม) ไม่ต้องเอาเครื่องในออกต้มทั้งตัว(เหตุที่ไม่เอาเครื่องในออกไม่ทราบ สาเหตุที่แน่ชัดแต่คนรุ่นก่อนๆเป็นผู้ปฏิบัติมาเช่นนี้เลยต้องถือเป็นแบบอย่าง) ใช้เป็นเครื่องสังเวย 5. เหล้าขาว โดยเชื่อกันว่าเป็นน้ําอมฤทธิ์ ใช้เป็นเครื่องสังเวย 6. เผือก , มัน ใช้เป็นเครื่องสังเวย 7. อ้อย ต้องใช้เป็นลํา สาเหตุที่ใช้เป็นลําไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดแต่บรรพบุรุษปฏิบัติสืบต่อกันมานา - ขั้นตอนในการทําพิธีจะเหมือนกันกับพิธีแต่งงานจะต่างกันที่ คําสู่ขวัญ 6. การสู่ขวัญพระสงฆ์ - โดยส่วนมากการสูตรขวัญพระสงฆ์จะไม่เป็นการสอนพระสงฆ์แต่จะเป็นการขอพรพระสงฆ์ มักจะได้ทําพิธีเนื่อง ในโอกาสการเลื่อนสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ - ขั้นตอนการทําพิธีเหมือนกันกับการบวชนาค แต่จะไม่มีบทสูตคําสอนเพราะการสูตรขวัญของแต่ละประเภทจะ แฝงคําสอนไว้ แต่พระสงฆ์จะถือเป็นคําสอนไม่ได้จะต้องเป็นการให้พรแทน อย่างใช่อวยพรให้ท่านมีสุขภาพดีและมี อายุให้ยาวนาน (ข้อมูลจาก //www.itrmu.net/web/10rs26/show-webcontent.php?cat_id=2&mid=8)


เงินลงทุนเท่าไหร่/ การจัดการเงิน

ประมวลเนื้อหา เงินลงทุนเท่าไหร่/การจัดการเงิน ที่

การลงทุนครั้งเดียว

บาท

การลงทุนทุกครั้ง

บาท

1

กรรไกร

30

ใบตอง

200

2

Staples เย็บกระดาษ เบอร์ 10

50

ดอกไม้

300

3

คัดเตอร์

20

เข็มหมุด บาท

150

4

เข็มเย็บผ้า เบอร์ 9

10

5

ผ้าสะอาด

10

6

กะละมังพลาสติก

50

7

พาน

300 รวม

470 รวม 1,120 บาท

ค่าตอบแทนในการทาพานบายศรี 3,500 บาท - ลงทุน 1,120 บาท - ค่าแรง 1,000 บาท - กําไร 1,380 บาท ระยะเวลาในการทาพานบายศรี 1 วัน / พาน

รวม

650


ประมวลเนื้อหา

การจัดการกาลังคน/ เครื่องมือและอุปกรณ์

การจัดการกาลังคน ในการทําพานบายศรีและประกอบพานบายศรี จะต้องใช้แรงงาน 1 คน ในการช่วยกันจีบตองและเข้ารูป ในพานบายศรี และก็สามารถใช้แรงงานเพียงคนเดี่ยวก็ได้แต่จะใช้เวลาในการทําเป็นเวลาเพิ่มมากขึ้น

เครื่องมือและอุปกรณ์ 1. เครื่องมือ 1.1 กรรไกร 1.2 Staples เย็บกระดาษ เบอร์ 10 1.3 คัดเตอร์

1.4 เข็มเย็บผ้า เบอร์ 9 1.5 ผ้าสะอาด 1.6 กะละมังพลาสติก

2. วัสดุ อุปกรณ์ 2.1 ด้ายสีเขียว 2.2 ลวดเย็บกระดาษ เบอร์ 10 2.3 ใบตองกล้วยตานี 2.4 น้ํามันมะกอก

2.5 ใบคัดเตอร์ 2.6 โฟมพลาสติก 2.7 ดอกพุดพลาสติก 2.8 พาน


ประมวลเนื้อหา

วัตถุดิบ

วัตถุดิบ

ใบตองกล้วยตานี

น้ํามันมะกอก

โฟมพลาสติก

พาน

ดอกพุด


ประมวลเนื้อหา

กระบวนการ/ ขั้นตอนในการทา

กระบวนการ/ขั้นตอนในการทา ขั้นตอนที่ 1 นามีดขอไปเลือกตัดใบตองและเลาะใบตองออกจากกาน

ขั้นตอนที่ 2 นาใบตองมาเช็ดฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่างๆออกจากใบตองเสียก่อน โดยการเช็ด จะต้องใช้ผ้าเช็ดตามรอยของเส้นใบไปในทางเดียว อย่าเช็ดกลับไปกลับมา แล้วฉีกใบตองประมาณ 2 นิ้ว


ประมวลเนื้อหา

กระบวนการ/ ขั้นตอนในการทา

ขั้นตอนที่ 3 ทาลูกบายศรี เริ่มใส่ดอกพุดพันพับใบตองม้วนข้างขวาให้ปลายแหลมโคนใหญ่ให้ถึง ครึ่งใบเสร็จแล้วเหลืออีกครึ่งใบให้พับมาตรงกลางของที่เราม้วนทางด้านขวาไว้แล้วพับกลีบข้าง แล้วเย็บด้วยแม็กซ์ โดยจะทาลูกบายศรีไว้เยอะๆ ดังรูป


ประมวลเนื้อหา

กระบวนการ /ขั้นตอนในการทา

ขั้นตอนที่ 4 นุ่งลูกบายศรี ใช้ลูกบายศรีที่เราทาไว้มานุ่งด้วยริมบิ้นหรือใบตองก็ได้ 2 รอบ โดยตัด ริม บิ้นยาวประมาณ 3 นิ้ว แล้วนามานุ่งลูกบายศรีพับกลีบทางด้านซ้ายและด้านขวาแล้วเย็บด้วยแม็กซ์ ดังรูป


ประมวลเนื้อหา

กระบวนการ/ ขั้นตอนในการทา

ขั้นตอนที่ 5 เข้าลูกบายศรี โดยจะเข้าลูกไว้ให้ครบทั้ง 3 ชั้น เริ่มจากนาลูกบายศรีมาเข้าลูกใช้ใบตองมา พับเข้าหากันทั้งซ้ายและขวาแล้วเย็บด้วยแม็กซ์ทาแบบนี้ไปเรื่อยๆ ให้ครบทั้ง 3 ชั้น ดังรูป

ชั้นที่ 1 ประกอบด้วยบายศรี 6 ริ้ว มีบายศรี 16 ลูกหงาย และบายศรี 7 ลูกคว่า

บายศรี 16 ลูกหงาย

บายศรี 7 ลูกคว่า


ประมวลเนื้อหา

กระบวนการ/ ขั้นตอนในการทา

ชั้นที่ 2 ประกอบด้วยบายศรี 6 ริ้ว มีบายศรี 14 ลูกหงาย และบายศรี 7 ลูกคว่า

บายศรี 14 ลูกหงาย

บายศรี 7 ลูกคว่า

ชั้นที่ 3 ประกอบด้วยบายศรี 6 ริ้ว มีบายศรี 12 ลูกหงาย แต่การเข้าลูกบายศรีจะแตกแต่งจากชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 คือ 3 ลูกแรกจะเข้าลูกด้วยใบตองหงาย และอีก 9 ลูกที่เหลือจะเข้าลูกด้วยใบตองคว่า และ มีลิ้นมังกรประกอบรอบกรวยด้วยในชั้นนี้


ประมวลเนื้อหา

กระบวนการ/ ขั้นตอนในการทา

การทาลิ้นมังกร เริ่มจากการนาริมบิ้นมานุ่งลูกบายศรีพับกลีบซ้ายและขวาเข้าหากันแบบนี้ 3 รอบ แล้ว ก็นามานุ่งด้วยใบตองพับกลีบข้างทั้งซ้ายและขวาแบบนี้ 23 รอบ ดังรูป

ขั้นตอนที่ 6 การทาฐานชั้นบายศรีทั้ง 3 ชั้น นาโฟมที่เตรียมไว้มาห่อด้วยใบตอง โดยเริ่มจากพับครึ่งใบตอง แล้วนาตะปูเล็กเสียบตรงกลางท้ายและหัวทาแบบนี้ทั้ง 3 ชั้น หลังจากนั้นนามาประกอบกันโดยใช้ไม้เสียบ ลูกชิ้นหรือไม้ปลายแหลมยึดติดกันเป็นชั้นๆ ดังรูป


ประมวลเนื้อหา

กระบวนการ/ ขั้นตอนในการทา

ขั้นตอนที่ 7 การทากรวยบายศรีตรงกลางฐานชั้นที่ 3 เริ่มจากนาใบตองยาวประมาณ 24 นิ้ว 1 แผ่น ที่ฉีกไว้มาม้วนให้เป็นกรวย แล้วใช้แม็กซ์เย็บและตัดปากกรวยให้เรียบ ความสูงจากยอดประมาณ 15 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว ดังรูป


ประมวลเนื้อหา

กระบวนการ/ ขั้นตอนในการทา

ขั้นตอนที่ 8 การประกอบบายศรี เริ่มจากชั้นที่ 1 ใช้บายศรี 7 ลูกคว่า วางเป็นริ้ว 6 ริ้ว กะระยะให้ เหมาะสมกับพาน แล้วใช้ไม้เสียบลูกชิ้นยึดไว้และใช้บายศรี 16 ลูกหงาย วางบนกลีบลูกคว่าให้ครบ 6 ริ้ว รอบพาน ชั้นที่ 2 ทาเหมือนกันกับชั้นที่ 1 ต่างกันที่ใช้บายศรี 14 ลูกหงาย และวางสับหว่างกับชั้น แรกแล้วใช้ไม้เสียบลูกชิ้นยึดไว้ ชั้นที่ 3 ใช้บายศรี 12 ลูกหงาย วางสับหว่างกันเป็นริ้ว 6 ริ้ว แล้วใช้ไม้ เสียบลูกชิ้นยึดไว้ นากรวยที่ทาไว้แล้ววางตรงกลางชั้นที่ 3 ใช้เข็มหมุดยึดไว้ และหลังจากนั้นนาลิ้น มังกรที่ทาไว้เสียบลวดตกแต่งรอบกรวยทั้ง 6 อัน ยึดให้รอบกรวย ดังรูป


ประมวลเนื้อหา

กระบวนการ/ ขั้นตอนในการทา

ขั้นตอนที่ 9 การฉีดน้ามันมะกอกและตกแต่งด้วยดอกไม้ หลังที่ประกอบบายศรีเสร็จแล้วเราก็จะฉีดน้ามัน มะกอกใส่บายศรีเพื่อให้มีความเงางามยิ่งขึ้น และใช้ไม้ปลายแหลมเฉียบดอกไม้ตกแต่งให้สวยงามตาม ความเหมาะสม ดังรูป

ขั้นตอนที่ 10 ตรวจสอบความเรียบร้อย หลังจากที่เราประกอบบายศรีและตกแต่งให้สวยงามแล้วเรา ก็จะตรวจสอบความแข็งแรง ความเรียบร้อยของบายศรีก่อนที่จะนาไปใช้ในงานต่างๆเป็นขั้นสุดท้าย (การทาบายศรีครั้งนี้ใช้เวลาทาทั้งหมด 2 วัน)


ประมวลเนื้อหา

การตลาด/ปัญหา/วิธีการ ตัดสินใจ/กระบวนการแก้ปัญหา

การตลาด คนไทยส่วนใหญ่ยึดถือและปฏิบัติตามประเพณีวัฒนธรรมที่มีมาแต่เดิม จะเห็นว่าคนไทยมีการทํา พิธีกรรมต่าง ๆ ในช่วงสําคัญของชีวิต เช่น รับขวัญเด็ก ทําขวัญนาค พิธีบายศรีสู่ขวัญต้อนรับคนสําคัญ ฯลฯ การ ทําพานบายศรีจึงเป็นวิถีชีวิตของชุมชนชาวอีสานที่มีความสําคัญต่อขวัญและกําลังใจของคนใน ชุมชน โดยเฉพาะผู้มาใหม่หรือผู้จากไป พานบายศรีนับเป็นเครื่องมือที่สําคัญของการให้ขวัญและกําลังใจ ซึ่งกันและกัน การจัดทําพานบายศรีจึงเป็นศิลปะที่มีความประณีตลอด บรรจงควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์ ค่าตอบแทนในการทําพานบายศรี 3,500 บาท - ลงทุน 1,120 บาท - ค่าแรง 1,000 บาท - กําไร 1,380 บาท ระยะเวลาในการทําพานบายศรี 1 วัน

ปัญหา

1. ใบตองแตก 2. ใบตองขาดตลาด 3. ขาดความรู้ในการจับและจีบตองให้เป็นลวดรายต่างๆ

กระบวนการแก้ปัญหา 1. ใช้น้ํามันมะกอกทาใบตองก่อนจับตอง 2. ต้องสั่งใบตองจากร้านเพื่อเพิ่มจํานวนตองในทองถิ่น 3. ศึกษาจากตําราหนังสือในการทําพานบายศรี


ประมวลเนื้อหา

ปัจจัยสู่ความสาเร็จ /แนวคิด ใหม่ในการพัฒนาอาชีพ

ปัจจัยสู่ความสาเร็จ ปัจจัยสู่ความสําเร็จต้องมีใจรัก ในการทําพานบายศรี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และค้นหารวด ลายใหม่ๆ นํามาประยุกต์ใช้การทําพานบายศรี ฝึกและปฏิบัติการจับตอง จีบตอง อยู่ตลอด เพื่อเป็น การฝึกฝีมือ ให้มีความเชี่ยวชาญและความถนัดในการทําพานบายศรี และเพื่อเป็นการสร้างรายได้ ให้กับครอบครัว

แนวคิดใหม่ในการพัฒนาอาชีพ บายศรีจิ๋วจากผ้า จัดทาโดย นาง แสงจันทร์ เขจรศาสตร์ เป็นการทําพานบายศรีที่มีขนาดเล็กลงเพื่อใช้ในการตกแต่งในห้องหรือในสถานที่ต่างๆ เป็นการต่อยอดจากการ ทําพานศรีขนาดใหญ่ อ่านต่อได้ที่ https://www.gotoknow.org/posts/453040

บายศรีกระดาษ จัดทาโดย นางวันเพ็ญ พรรบัว นางวันเพ็ญ พรรบัว ปัจจุบันอายุ ๕๕ ปี ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีความชํานาญด้านการจัดทําบายศรี คําว่า บาย ภาษาอิสาน แปลว่า จับ สัมผัส จับต้อง และศรี มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า สิริ มิ่งขวัญ โดยรวมกันแล้ว บายศรี ในความเชื่อของชาวบ้าน หมายถึง สิ่งของ ของสูง ที่ทําให้สัมผัส หรือเข้าถึงความดีงาม การทําบายศรี จึงเป็นการจัดทําสิ่งของที่มีค่าสูง (ของสูง) เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า และสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย อ่านต่อได้ที่ http://www.m-culture.in.th/moc_new/album


ประมวลเนื้อหา

ปัจจัยสู่ความสาเร็จ

แหล่งอ้างอิง (รายชื่อบุคคล/ชื่อหนังสือ/เว็ปไซต์ ฯลฯ) นางแสงจันทร์ เขจรศาสตร์ การทาพานบายศรี https://www.gotoknow.org/posts/453040 การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ โดย นางแสงจันทร์ เขจรศาสตร์

การประดิษฐ์บายศรีจากใบตอง โดย อาคม ยะหัตตะ การประดิษฐ์บายศรีจากใบตอง สร้างสรรค์งานศิลป์ชั้นครู ด้วยเทคนิควิธีการประดิษฐ์จากขั้นพื้นฐาน สู่งานชิ้นเอก เรียนรู้ง่าย ทําได้ทุกขั้นตอน


พานบายศรีสู่ขวัญ

การประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ โดย นางแสงจันทร์ เขจรศาสตร์ เป็นเอกสารการเรียนรู้ที่ประกอบ ด้วยเนื้อหาการประดิษฐ์บายศรีสู่ขวัญอย่างละเอียด แบบทีละขั้นตอน ตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบายศรี การประดิษฐ์พานบายศรี อีสาน การประดิษฐ์บายศรียกยอ การประดิษฐ์บายศรีนาค การประดิษฐ์บายศรี นกยูง และ การประกอบอาชีพและการ

งานประดิษฐ์บายศรีจากผ้า โดย อ.ศรราม ดีรอด อธิบายขั้นตอนการประดิษฐ์บายศรีแบบต่างๆ จากริบบิ้นผ้าแทนการใช้ใบตองสด ด้วยความคงทนอายุใช้งานยาวนาน สีสันสดใสสวยงาม และเป็นมันวาว นํามาออกแบบประดิษฐ์เป็นกรวยอุปชฌาย์ พานพุ่ม พานแหวนหมั้น พานบายศรีแบบต่างๆ พานกรวยกระทง ฯลฯ

การประดิษฐ์บายศรีจากใบตอง โดย อาคม ยะหัตตะ การประดิษฐ์บายศรีจากใบตอง สร้างสรรค์งานศิลป์ชั้นครู ด้วยเทคนิควิธีการประดิษฐ์จากขั้นพื้นฐาน สู่งานชิ้นเอก เรียนรู้ง่าย ทําได้ทุ ก ขั้นตอน

บายศรี ของสูงที่ทรงคุณค่า โดย ภัทราวุธ ทองแย้ม สร้างสรรค์งานศิลป์ชั้นครู ด้วยเทคนิควิธีการประดิษฐ์จากขัน้ พื้นฐาน สู่งานชิ้นเอก เรียนรู้ง่าย ทําได้ทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นพานบาศรีเทพ 5 พระองค์ พานบายศรีขันหมากเบ็ง พานบายศรีแก้วรัศมี พานบายศรีเสมาอินทรานิมิต พานบายศรีรัศมีมาลา บายศรีเสมา และอื่นๆ

บายศรีใหญ่ ภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่า โดย ชัยเกียรติ ศรีอ่อนจันทร์ หนังสือเล่มนี้นําเสนอรูปแบบการประดิษฐ์บายศรี 5 ชั้น โดยเริ่มตั้งแต่การทําตัวบายศรี ร้อยมาลัยตุ้ม การเย็บตัวแมงดา การเย็บกนก ใบตอง การทํากรวยบายศรี พร้อมขั้นตอนการประกอบพานบายศรีอย่างละเอียด

67 Idea พับจับจีบกลีบใบตอง โดย เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล ศิลปะการพับใบตองสด ที่สามารถนํามาประกอบบายศรีต่างๆ พานไหว้ครู พนมหมาก พนมดอกไม้ เพื่อใช้ในงานมงคล ในเล่มได้ให้วิธีการ อย่างเป็นลําดับขั้นตอน พร้อมภาพประกอบสวยงาม ซึ่งคุณสามารถนําไปประยุกต์ประดิษฐ์เป็นงานชิน้ ใหม่ในแบบที่คุณต้องการได้

สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ 69/18-19 อาคารชุดมิว บิลดิ้ง ชั้น 18-19 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400


พานบายศรีสู่ขวัญ

พับ จับจีบ กลีบใบตอง โดย เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล ศิลปะการพับใบตองสด ที่สามารถนํามาประกอบบายศรีต่างๆพานไหว้ครู พนมหมา พนมดอกไม้ เพื่อใช้ในงานมงคล

บายศรีดอกไม้เครื่องสด โดย สุพัสดา ศรีอุดร และ สมัย ศรีอุดร รวบรวมบายศรีต่างๆ พร้อมทั้งขั้นตอนการประดิษฐ์บายศรีชนิดต่างๆ ไว้อย่างละเอียด ผ่านการแสดงภาพ เพื่อเป็นแนวทางสําหรับผู้ที่สนใจ ศึกษาและปฏิบัติตาม เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมและงานประดิษฐ์แขนงนี้ไว้

บายศรีเครื่องบวงสรวงแบบโบราณ โดย อุมาวดี ทรัพย์สิน รวบรวมรูปแบบ และแนะนําวิธกี ารประดิษฐ์บายศรีเพื่อใช้ในการประกอบพิธกี รรมต่าง ๆ ด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง ใบไม้ ดอกไม้ เป็นต้น ซึ่งรูปแบบบายศรีที่นํามาเป็นตัวอย่างในเล่ม เช่น บายสรีเทพชั้นสูง บายศรีพรหมชั้นสูง บายศรีเทพยพิมาน เป็นต้น

ม้วน พับ จับจีบ เย็บกลีบใบตอง โดย อุมาวดี ทรัพย์สิน ซึ่งงานใบตองหรืองานผ้าในแต่ละรูปแบบ มีทั้งการม้วน พับ จับจีบ หรือการเย็บกลีบ ล้วนเป็นพื้นฐานของการประดิษฐืงานใบตอง เช่นงาน บายศรี ซึ่งในแต่ละรูปแบบทั้งแบบครูโบราณ และแบบประยุกต์ร่วมสมัย จะต้องผ่านงานม้วพับจับจีบและเย็บจีบทัง้ สิ้น และไม่ว่าจะเป็น รูปแบบใดก็ตามล้วนเป็นงานศิลปะของไทยเราโดยท่องแท้

งานประดิษฐ์จากใบตอง บายศรีวิจิตร โดย พจน์นรินทร์ แสงอิ่ม "ใบตอง" เป็นวัสดุสําคัญชิ้นหนึ่ง และนับว่าเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการทําบายศรี เพื่อเป็นภาชนะใส่เครื่องสังเวยในพิธี มีการประดิดประดอย ตกแต่งให้สวยงามหลากหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถทําได้ตามขั้นตอนพร้อมภาพประกอบในเล่ม

ปั้นดินจิ๋ว บายศรีใบตอง โดย จุติกาญจน์ ภากรเกียรติสกุล งานปั้นดินจิ๋วเลียนแบบงานใบตอง เป็นการประยุกต์งานใบตองและดอกไม้ ซึ่งคัดแปลงมาจากของจริงในขนาดเล็กจิ๋ว น่านัก น่าเก็บสะสม เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยทีบ่ รรพชนไทยของเราได้ประดิษฐ์คิดค้นได้สวยงามมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร

บายศรี โดย ผศ.อัญชลี จรรยารยชน บายศรี นําเสนอรูปแบบการทําบายศรีในรูปแบบต่างๆ ถึง 11 แบบ อาทิ บายศรีปากชามหน้านาง, บายศรีปากชามหางหงส์ทรงกุหลาบแย้ม บายศรีปากชามกล้วยไม้ไพลิน บายศรีเทพ บายศรีตอ และบายศรีพรหมสี่หน้าสิบหกชั้น โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมใบตอง การทํากรวยและ การตกแต่ง การทําบายศรีแบบพืน้ ฐานและบายศรีที่มีการพัฒนารูปแบบให้สวยงามยิ่งขึ้น

เย็บร้อย ค่อยจีบ ประดิษฐ์ใบตอง ๑โดย ณภัทร ทองแย้ม เป็นงานประกวดงานศิลปะประดิษฐ์ โครงการ เย็บร้อย ค่อยจีบ ประดิษฐ์ใบตอง ระดับชาติครั้งที่ ๑ รวบรวมผลงานการประกวดต้นเทียน พรรษา การจัดพานพุ่มเฉลิมพระเกียรติ และการจัดดอกไม้แนวประณีตศิลป์ ด้วยรูปภาพสีสันสวยงามตลอดเล่ม

สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ 69/18-19 อาคารชุดมิว บิลดิ้ง ชั้น 18-19 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400


พานบายศรีสู่ขวัญ

พานบายศรีสู่ขวัญ ขั้นตอนและวิธีการทาบายศรี https://www.google.co.th/url?sa=t&rct มีขั้นตอนและวิธีการทําพานบายศรี อุปกรณ์ วัสดุ ขั้นตอนการประกอบพาน บายศรีและตกแต่งพานบายศรี ตลอดจนการตลาดในการจําหน่ายพานบายศรี ที่ทําเสร็จเรียบร้อย (วิธีการทาบายศรี) https://sites.google.com/site/baysri00/home/phithikrrm-keiyw-kab-baysri/withi-kar-tha-baysri

(การทาพานบายศรี) http://emuseum.treasury.go.th/article/606-baisri.html

(ชุดการเรียนการประดิษฐ์พานบายศรีสู่ขวัญ..... อ่านต่อได้) https://www.gotoknow.org/posts/550906 วิธีทําบายศรี 3 ชั้น https://9a23345.wordpress.com/2012/02/22 (บายศรีสด (ทาจากใบตอง)) http://www.baanbaisri.com/product/2_0.html สอนบายศรีสู่ขวัญโรงเรียนบ้านโนนจิก..... อ่านต่อได้ https://www.gotoknow.org/posts/314901 สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ 69/18-19 อาคารชุดมิว บิลดิ้ง ชั้น 18-19 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400


พานบายศรีสู่ขวัญ พิธีบายศรี-สู่ขวัญ http://www.prapayneethai.com/ พานบายศรี http://www.otoptoday.com/wisdom/8462/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8

ประเพณี บายศรีสู่ขวัญ http://chuennapa1.blogspot.com/2013/02/blog-post.html

แหล่งที่มาวัตถุดิบในการทาพานบายศรี ๑. ตลาดวิชิตสิน จังหวัดอํานาจเจริญ ๒. ตลาดหนองบัว จังหวัดอุบลราชธานี ๓. ร้านดอกไม้ในจังหวัดอํานาจเจริญ เช่น ร้านจิปาถะ ถนนชยางกูร ตําบลบุ่ง อําเภอเมือง จังหวัดอํานาจเจริญ 045-270161 ร้านโสภา ๑๒๗ หมู่ 12 ถนนชยางกูร ตําบลบุ่ง อําเภอเมือง จังหวัดอํานาจเจริญ 045-511763

สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ 69/18-19 อาคารชุดมิว บิลดิ้ง ชั้น 18-19 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400


แหล่งเรียนรู้

บ้านคุณแม่ลําใย ทองโสภา ๒๒๖ หมู่ ๘ ตําบลบุ่ง อําเภอเมือง จังหวัดอํานาจเจริญ โทร 088097635

บ้านคุณแม่สุมารี จันทะโส ๑๒๗/๑๒ หมู่ ๑๒ ตําบลบุ่ง อําเภอเมือง จังหวัดอํานาจเจริญ โทร 0893457119 สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ 69/18-19 อาคารชุดมิว บิลดิ้ง ชั้น 18-19 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400


แหล่งเรียนรู้

นางแสงจันทร์ เขจรศาสตร์ สถาบัน กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตําบลในเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

นางศรีบันภา วิตรพันธ์ 63 หมู่ 10 บ้านน้ําปลีก ตําบลน้ําปลีก อําเภอเมือง จังหวัด อํานาจเจริญ


พานบายศรีสู่ขวัญ มีดขอ

พาน

กรรไกร

ใบตอง

โฟม

ลวดเย็บกระดาษ

สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ 69/18-19 อาคารชุดมิว บิลดิ้ง ชั้น 18-19 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400


พานบายศรีสู่ขวัญ แม็กซ์เย็บกระดาษ

เข็มหมุด

ไม้เสียบลูกชิ้นหรือไม้ปลายแหลม

ตะปูเล็ก

ลวด

ริบบิ้น

สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ 69/18-19 อาคารชุดมิว บิลดิ้ง ชั้น 18-19 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400


พานบายศรีสู่ขวัญ น้ามันมะกอกชนิดสีเหลือง หรือสีขาว

ดอกพุด

ดอกดาวเรือง

สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ 69/18-19 อาคารชุดมิว บิลดิ้ง ชั้น 18-19 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400


ราคาพานบายศรี

พานศรีสู่ขวัญขนาด 3 ชั้น พานละ ๓,๕00 บาท

พานศรีสู่ขวัญ ขนาด 5 ชั้น พานละ ๕,๕00 บาท

พานศรีสู่ขวัญขนาด 3 ชั้น พญานาค พานละ ๕,๐00 บาท

พานศรีสู่ขวัญ ขนาด 5 ชั้น พญานาค พานละ ๗,000 บาท


ราคาต่อพานบายศรี

พายศรีสู่ขวัญ ขนาด 7 ชั้น พานละ ๗,๕00 บาท

พานศรีสู่ขวัญ ขนาด 9 ชั้น พานละ ๙,๕00 บาท

พายศรีสู่ขวัญ ขนาด 7 ชั้น พญานาค พานละ ๙,000 บาท

พานศรีสู่ขวัญ ขนาด 9 ชั้น พญานาค พานละ ๑๑,000 บาท


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.