The Knowledge vol.16

Page 1

ปก


CONTENTS

3

43

10 24 03 Word Power

OKMD Workshop กับการพัฒนาที่ย่ังยืน

10 the knowledge

การพัฒนาชุมชน เพื่อการเรียนรูแ ้ ละ การท�ำมาหากิน

24 digitonomy

วิส าหกิจชุมชนฯ

28 DECODE

Social Enterprise ถอดกลยุทธ์แนวคิด วิส าหกิจเพื่อสั งคม

38 INSIDE OKMD

การเตรียมความพร้อม เด็กและเยาวชนไทย สู่ ตลาดแรงงาน ในศตวรรษที่ 21

46 5ive

ต่อยอดไอเดียอาชีพ กับ 5 ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการท�ำมาหากิน

18 one of a kind

32 NEXTPERT

A-Z Workshop

50 talk to zine

เรียน+รู้ จากผู้ท�ำจริง Long Table Symposium กรณีศึกษา : วิส าหกิจชุมชน อาหารบ้านบ้าน กับการยกระดับคุณภาพ ชีวิตท้องถิ่น

20 next

36 ความรูก ้ ินได้

51 what's going on

ปรับตัวให้ทัน ปั ญญาประดิษฐ์ เทรนด์การจัดกิจกรรม การเรียนรูแ ้ ห่งโลกอนาคต

ผลิตภัณฑ์และ บริการสร้างสรรค์ ของวิสาหกิจชุมชน

Office of Knowledge Management and Development ที่ปรึกษา ดร.อธิปัตย์ บ�ำรุง ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ บรรณาธิการบริหาร ดร.อภิชาติ ประเสริฐ รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ฝ่ายศิลปกรรม บริษัท โคคูน แอนด์ โค จำ�กัด 32 ซอยโชคชัย 4 ซอย 84 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230 โทรศัพท์ 0 2116 9959 และ 087 718 7324 จัดท�ำโดย ส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) 69 อาคารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้น 18-19 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2105 6500 โทรสาร 0 2105 6556 อีเมล theknowledge@okmd.or.th เว็บไซต์ www.okmd.or.th

- The 3rd International Conference on Teaching, Learning and Education - Life Instyle - International Conference on Learning and Intellectual Capital (ICLIC 2021)

อนุญาตให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้ เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย จัดท�ำขึ้นภายใต้โครงการเผยแพร่กิจกรรมองค์ความรู้โดยส�ำนักงาน บริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เพือ่ สร้างแรงบันดาลใจ ในการน�ำองค์ความรูม้ าผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ เพือ่ ประโยชน์ ด้านการเรียนรู้ ต่อยอดธุรกิจ เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ

ผูส้ นใจรับนิตยสารโปรดติดต่อ 0 2105 6520 หรือดาวน์โหลดทีเ่ ว็บไซต์ www.okmd.or.th/knowledge/okmd-magazine


word power

OKMD Workshop กับ การพัฒนาที่ยั่งยืน

สแกน QR Code เพื่อรับชม Gif

“การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลดทอนความสามารถของคนรุ่นต่อไปในการตอบสนองความต้องการของตนเอง” องค์การสหประชาชาติได้น�ำแนวคิดข้างต้นมาเป็น แนวทางในการพัฒนาโลกในศตวรรษที่ 21 โดยก�ำหนด เป็ น เป้ า หมายการพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น (Sustainability Development Goals: SDGs) พ.ศ. 2573 ที่เน้นการ พัฒนาทีส่ มดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม ซึ่ ง ประเทศต่ า งๆ ทั่ ว โลก รวมทั้ ง ประเทศไทยได้ น� ำ เป้าหมายการพัฒนาทีย่ งั่ ยืนขององค์การสหประชาชาติ มาบรรจุเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาประเทศ หลายประเทศได้คน้ หาแนวคิดใหม่เพือ่ เป็นทางเลือก ในการพัฒนา เช่น การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง เศรษฐศาสตร์สีเขียว เป็นต้น ซึ่งแนวคิดที่มี

การกล่าวถึงมากทีส่ ดุ คือ “การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน” เนือ่ งจาก ได้ย้ายศูนย์กลางของการพัฒนามาอยู่ที่ “คน” แทนที่ จะให้ความส�ำคัญกับการสร้างความเจริญก้าวหน้าวัตถุ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างที่เป็นมา ประเทศไทยเองก็ มี ก ารปรั บ เปลี่ ย นแนวทาง การพัฒนาประเทศสูก่ ารพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของประชาชน ในการจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละคุ ณ ภาพ สิ่ ง แวดล้ อ ม เพื่ อ ให้ ก ารพั ฒ นาประเทศในทุ ก มิ ติ ประสบความส�ำเร็จอย่างยั่งยืนและเหมาะสมกับบริบท ของสังคมไทยมากที่สุด

W

3


4

W

word power

การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนกับ การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาทีย่ งั่ ยืนขององค์การสหประชาชาติ ประกอบด้วยเป้าหมาย 17 ประการ ล้วนมีความเชือ่ มโยง และส่งเสริมซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขจัด ความยากจน การขจั ด ความหิ ว โหย การศึ ก ษาที่ มี คุณภาพและเท่าเทียม การยกระดับคุณภาพชีวติ การลด ความเหลื่ อ มล�้ ำ ทางเศรษฐกิ จ หรื อ การเติ บ โตทาง เศรษฐกิจทีย่ งั่ ยืนครอบคลุมคนทุกกลุม่ ซึง่ ประเด็นเหล่านี้ มีความสัมพันธ์กนั อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ การเปิดโอกาส ให้ ค นได้ มี โ อกาสเรี ย นรู ้ แ ละพั ฒ นาทั ก ษะที่ เ ท่ า ทั น การเปลีย่ นแปลงของโลก เพือ่ น�ำความรูแ้ ละทักษะทีไ่ ด้รบั การพัฒนาไปใช้สร้างสรรค์ผลงานและประกอบอาชีพ จึงเป็นเรื่องส�ำคัญที่ส่งผลต่อสถานะทางเศรษฐกิจและ การยกระดับคุณภาพชีวติ ของคน โดยเฉพาะผูป้ ระกอบการ ชุ ม ชน ซึ่ ง อาจจะไม่ ไ ด้ รั บ ประโยชน์ จ ากการพั ฒ นา ของเศรษฐกิจกระแสหลักมากนัก แต่ก็มีความส�ำคัญ ในฐานะแหล่งจ้างงานหลักของคนในชุมชน การบรรลุเป้าหมาย SDGs ในข้อทีว่ า่ ด้วยการเติบโต

ทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนครอบคลุมคนทุกกลุ่มนั้น มีความ เชื่อมโยงกับการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนอย่างแยกกัน ไม่ อ อก โดยเฉพาะในช่ ว งที่ เ ศรษฐกิ จ โลกถดถอย อย่างในปัจจุบัน เพราะจะเน้นที่ความยั่งยืนในการหา รายได้ และการมีงานท�ำทีเ่ ท่าเทียมกันของคน ไม่วา่ จะเป็น คนกลุม่ ใดในสังคม ดังนัน้ การส่งเสริมให้ผปู้ ระกอบการ และคนในชุมชนได้น�ำเอาเทคโนโลยี นวัตกรรม และ ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ทั้ ง ในด้ า นเทคโนโลยี โมเดล ทางธุรกิจ และการบริหารจัดการ มาใช้เพิ่มคุณค่าของ ผลิตภัณฑ์ ไม่วา่ จะในภาคเกษตรหรือภาคอุตสาหกรรม ทัง้ ในงานทีใ่ ช้เทคโนโลยีเข้มข้นหรือแรงงานเข้มข้น รวมถึง ภาคการบริการ จึงเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ให้มศี กั ยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันทีส่ งู ขึน้ กว่าเดิม เพือ่ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ทุกภาคส่วน จะต้องร่วมมือกันสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างเป็น รูปธรรม ได้แก่

อ้างอิง: www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals

การเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ท� ำ ให้ ค นในท้ อ งถิ่ น มี ง านท� ำ และมี ร ายได้ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการและผู้ผลิตในชุมชนที่จะต้อง สามารถด�ำเนินธุรกิจของตนอยูไ่ ด้อย่างยัง่ ยืน แม้จะต้อง เผชิญกับสภาวะความผันแปรของโลกที่ไม่หยุดนิ่ง

การเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน และผู้ประกอบการในชุมชน

น� ำ เทคโนโลยี ที่ เ หมาะสมมาใช้ ใ นการท� ำ งาน ทั้ ง ในด้ า นการผลิ ต และการบริ ห ารจั ด การ รวมถึ ง การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สอดคล้องกับจุดแข็งและ บริบทของชุมชน ตลอดจนการสร้างสินค้าและบริการ ที่แตกต่าง มีเอกลักษณ์ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบ และตอบสนองความต้ อ งการของลู ก ค้ า ได้ อ ย่ า ง มีประสิทธิภาพ


word power

การมีนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริม การจ้างงาน และการประกอบธุรกิจ ในชุมชน

สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ความคิด สร้ า งสรรค์ และการคิ ด ค้ น นวั ต กรรม โดยเฉพาะ ในชุ ม ชนชนบทที่ อ าจจะมี ป ั ญ หาการว่ า งงานแฝง การขาดความรู้ ขาดทักษะสมัยใหม่ ขาดแคลนเงินทุน และขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสม

การใช้ทรัพยากร ภูมิปัญญา และทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สร้ า งสรรค์ คุ ณ ค่ า ให้ แ ก่ สิ น ค้ า และบริ ก ารชุ ม ชน รวมถึงการดูแลให้การบริโภคในชุมชนเกิดประโยชน์คมุ้ ค่า โดยค�ำนึงถึงความยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในพืน้ ที่ ทัง้ สิง่ แวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม ให้อยู่คู่ชุมชนตลอดไป

การส่งเสริมการจ้างงาน ในพื้นที่ให้เต็มศักยภาพ

ค� ำ นึ ง ถึ ง ความทั่ ว ถึ ง เท่ า เที ย ม เป็ น ธรรม และ สวัสดิภาพของแรงงาน การสนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาส ในสั ง คมมี โ อกาสพั ฒ นาตนเองและพั ฒ นาชุ ม ชน รวมถึงการส่งเสริมเยาวชนในชุมชนให้มีโอกาสฝึกงาน เรียนรู้ และพัฒนาทักษะสมัยใหม่ โดยเฉพาะทักษะ ที่ เ กี่ ย วกั บ เทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล เพื่ อ เตรี ย มความพร้ อ ม ในการเป็ น ผู ้ ป ระกอบการและแรงงานที่ มี คุ ณ ภาพ ในอนาคต

การส่งเสริมการท่องเทีย่ วชุมชนทีย่ งั่ ยืน

จั ด การท่ อ งเที่ ย วที่ ส อดคล้ อ งกั บ สภาพทาง ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ความเชี่ยวชาญ และความสนใจของคนในพื้นที่ เช่น การท่ อ งเที่ ย ว เชิงวัฒนธรรม การท่องเทีย่ วธรรมชาติ และการท่องเทีย่ ว เชิงการกีฬา ซึ่งจะท�ำให้เกิดการประกอบธุรกิจและ การจ้างงานในชุมชน นอกเหนือไปจากการประชาสัมพันธ์ ศิลปะ วัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่รู้จัก ของคนต่างพื้นที่

W

5


6

W

word power

การส่งเสริมการพัฒนาต่อยอด ความรู้และเทคโนโลยีในบริบทของพื้นที่

น� ำ กระบวนการบริ ห ารจั ด การความรู ้ ม าปรั บ ใช้ เพื่อสร้างเรื่องราว พัฒนาให้เกิดความแตกต่าง สร้าง จุ ด แข็ ง ของชุ ม ชน และส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด ความยั่ ง ยื น ในการน�ำความรู้และเทคโนโลยีไปใช้สร้างสรรค์สินค้า และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

฿

การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุน ในหลากหลายรูปแบบ

อ� ำ นวยความสะดวกในการเข้ า ถึ ง บริ ก ารทาง การเงิ น รู ป แบบต่ า งๆ การประกั น รวมถึ ง การให้ ความช่วยเหลือในด้านอืน่ ๆ อาทิ ความรูแ้ ละเทคโนโลยี การตลาด การวิจัยและพัฒนา การออกแบบสินค้า การพั ฒ นาสิ น ค้ า และการบริ ก าร และการค้ า ขาย ระหว่างประเทศ

ในปั จ จุ บั น สถานการณ์ ก ารแพร่ ร ะบาดของโรค โควิ ด -19 ท� ำ ให้ ก ารผลิ ต และการบริ โ ภคชะลอตั ว ลงมาก สร้างผลกระทบต่อผลิตภาพการผลิต และท�ำให้ การจ้างงานลดลง โดยเฉพาะในธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจ ขนาดย่อม ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ใช้แรงงาน ซึ่ง ได้ รั บ ผลกระทบที่รุนแรงกว่า เมื่อเปรียบเที ย บกั บ ธุรกิจขนาดใหญ่ ในทางกลับกันเศรษฐกิจชุมชนกลับ มี ค วามส� ำ คั ญ มากขึ้ น ในฐานะแหล่ ง จ้ า งงานของ ประชาชนในพืน้ ที่ และเป็นทีร่ องรับแรงงานที่กลับบ้าน เนือ่ งจากการจ้างงานในเมืองทีล่ ดน้อยลง จึงคาดการณ์ ว่าในอนาคตความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างชุมชน จะมีมากขึน้ เกิดการรวมกลุม่ ชุมชนในการผลิต จ�ำหน่าย และสร้างตลาดเพื่อเกื้อกูลและต่อยอดซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ บทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในการติดต่อ สื่ อ สารและการน� ำ เทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล มาปรั บ ใช้ กั บ ทุ ก กระบวนการทางธุ ร กิ จ จะช่ ว ยเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ ในการประกอบธุรกิจชุมชน เป็นช่องทางการตลาดที่ ท�ำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและ บริการได้ในวงกว้างอย่างไม่เคยมีมาก่อน และช่วย

ให้ เ กิ ด การปรั บ เปลี่ ย นรู ป แบบสิ น ค้ า และบริ ก ารได้ อย่างรวดเร็วเพื่อให้มีความหลากหลายและสอดรับกับ ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ด้วยเห็นความส�ำคัญของการเตรียมความพร้อม ผูป้ ระกอบการชุมชนให้สามารถน�ำความรู้ เทคโนโลยี และ หลักการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการด�ำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การส�ำรวจความต้องการ ของผูบ้ ริโภคและการวิเคราะห์ศกั ยภาพของผูป้ ระกอบการ ในการสนองตอบความต้ อ งการการออกแบบและ พั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละบริ ก าร การทดสอบตลาด การท�ำตลาด จนถึงขั้นตอนการให้บริการหลังการขาย ส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ สบร. จึงได้ด�ำเนินการจัดกิจกรรมเวิร์กช็อปอย่างต่อเนื่อง เพือ่ ให้ผทู้ สี่ นใจได้เข้ามาเรียนรู้ ทดลองคิด และทดลองท�ำ ภายใต้การให้คำ� ปรึกษาและค�ำแนะน�ำจากผู้เชีย่ วชาญ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งจากหลากหลายสาขาอาชี พ ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ความช� ำ นาญที่ แ ท้ จ ริ ง สามารถน� ำ ไปปรั บ ใช้ กั บ สถานการณ์จริงตามบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละคน


word power

“ศูนย์ความรู้กินได้” กับการส่งเสริม ศักยภาพของผู้ประกอบการชุมชน “ศูนย์ความรู้กินได้” เป็นหนึ่งในงานของ OKMD ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการท�ำมาหากิน โดยให้บริการองค์ความรูท้ จี่ ะน�ำไปต่อยอดสร้างอาชีพ ยกระดับ คุณภาพสินค้าและบริการในท้องถิ่นให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ผ่านกระบวนการถ่ายทอด ความรู้ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆ ที่ง่ายต่อการเข้าใจและเข้าถึง และ เหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น มีการน�ำวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถสร้างอาชีพและรายได้จากองค์ความรู้ที่มี ในท้ อ งถิ่ น เกิ ด การบริ ห ารจั ด การความรู ้ ใ นท้ อ งถิ่ น และต่ อ ยอดภู มิ ป ั ญ ญา ด้วยวิทยาการสมัยใหม่ รวมถึงสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เข้ า ถึ ง ง่ า ย และน� ำ ไปประกอบอาชี พ ได้ จ ริ ง ซึ่ ง กระบวนการส� ำ คั ญ ที่ น� ำ มาใช้ ในการสร้ า งและเผยแพร่ อ งค์ ค วามรู ้ ท ้ อ งถิ่ น คื อ กระบวนการจั ด การความรู ้ (Knowledge Management: KM)

การจัดการความรู้เพื่อเพิ่มมูลค่าต้นทุนท้องถิ่น จากเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่

1

2

3

“ต่อยอดอดีต”

“ปรับปัจจุบัน”

มองกลั บ ไปที่ ร ากเหง้ า ทาง เศรษฐกิ จ อั ต ลั ก ษณ์ วั ฒ นธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทาง ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมถึงความได้เปรียบในด้านอื่นๆ น� ำ มาประยุ ก ต์ ผ สมผสานกั บ เทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมเพื่ อ ให้ สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและ สังคมโลกสมัยใหม่

ปรับเปลี่ยนเพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของประเทศในมิตติ า่ งๆ ทัง้ โครงข่าย ระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้าง พืน้ ฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ ดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และบริการในอนาคต

“สร้างคุณค่าใหม่ ในอนาคต”

เพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พั ฒ นาคนรุ ่ น ใหม่ รวมถึ ง ปรั บ รูปแบบธุรกิจเพื่อตอบสนองความ ต้องการของตลาด ควบคู่ไปกับการ ส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ ให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐาน รายได้และการจ้างงานใหม่ ขยาย โอกาสทางการค้าและการลงทุนใน เวที โ ลก ยกระดั บ รายได้ แ ละการ กินดีอยูด่ ี เพือ่ ลดจ�ำนวนผูข้ าดโอกาส เพิ่ ม จ� ำ นวนคนชั้ น กลางในระบบ เศรษฐกิจ และลดความเหลื่อมล�้ำ ของคนในประเทศ

w W

7


8

W

word power

แผนแม่บ ทภายใต้ ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ยังเน้นย�ำ้ เรือ่ งการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่ ง เป็น แนวทางการพั ฒ นาและยกระดั บ ประเทศให้ เป็น ประเทศรายได้ สู ง ที่ มี การ กระจายรายได้ อ ย่ า งทั่ ว ถึ ง เพื่ อ วาง รากฐานที่ มั่ น คงให้ กั บ เศรษฐกิ จ ไทย ในอนาคต โดยการส่ ง เสริ ม เศรษฐกิ จ ระดับชุมชนและท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพา ตนเองได้ ซึ่ ง จะท� ำ ให้ เ กิ ด การยกระดั บ มาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ ของประชาชนในชุ ม ชนให้ ดี ขึ้ น และ น� ำ ไปสู ่ ก ารแก้ ไ ขปั ญ หาความยากจน ความเหลือ่ มล�ำ้ และความไม่เสมอภาคของ คนในประเทศ เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์ จากการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

ภายใต้แผนแม่บทดังกล่าว OKMD จึงได้นำ� แนวคิด “ศูนย์ความรูก้ นิ ได้” และ “กระบวนการ จัดการความรู้” มาพัฒนา ต่อยอด และด�ำเนินการตามขั้นตอน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และ ส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่น ดังนี้

ต่อยอดอดีต

ปรับปัจจุบัน

สร้างคุณค่าใหม่ ในอนาคต

ค้นหาต้นทุนดั้งเดิมของ เชื่อมต่อต้นทุนท้องถิ่น ศึ ก ษ า แ น ว โ น ้ ม ก า ร ท้ อ งถิ่ น เช่ น ภู มิ ป ั ญ ญา เข้ากับนวัตกรรม เทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงของโลก และ ประเพณี วิ ถี ชี วิ ต และ งานวิจัย และองค์ความรู้ เทรนด์ความต้องการของ ทรัพยากรต่างๆ สมัยใหม่ ผู้บริโภค กระบวนการจัดการความรู้ของศูนย์ความรู้กินได้ เน้นการสร้างความรู้ที่คนในท้องถิ่น สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของ ผู้บริโภคยุคใหม่ ช่วยให้ผู้ประกอบการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับ เศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน รวมถึงยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมการใช้ความรู้เพื่อแก้ปัญหา และสร้างโอกาสที่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้และ โครงสร้างทางปัญญาให้เกิดขึ้นและคงอยู่ในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน


word power

ความรู้สร้างคุณค่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ถึงปัจจุบัน ศูนย์ความรู้กินได้เน้นการด�ำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจัดการ ความรู้เพื่อการท�ำมาหากินที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นและการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีผลการด�ำเนินงาน 4 ด้าน ดังนี้

สร้างองค์ความรู้เพื่อการท�ำมาหากิน

พั ฒ น า แ ห ล ่ ง เ รี ย น รู ้ ด ้ า น ก า ร ท� ำ ม า ห า กิ น มี ศู น ย์ ค วามรู ้ กิ น ได้ ต ้ น แบบตั้ ง อยู ่ ที่ ห ้ อ งสมุ ด ประชาชนจั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี และขยายผล ไปเป็ น ศู น ย์ ค วามรู ้ กิ น ได้ แ ละมุ ม ความรู ้ กิ น ได้ รวม 16 แห่งทั่วประเทศ พัฒนาองค์ความรู้ท�ำมาหากิน 293 อาชีพ พัฒนานักจัดการความรู้ 317 ราย

สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

สร้ า งวั ฒ นธรรมการใช้ ค วามรู ้ เ พื่ อ ยกระดั บ คุณภาพคนในท้องถิน่ ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) ได้แก่ การสร้างความรู้ (Knowledge Creation) การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer) การน�ำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Knowledge Utilization)

สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชน

พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน จ�ำนวน 16 ผลิตภัณฑ์ พั ฒ นาองค์ ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ การสร้ า งผลิ ต ภั ณ ฑ์ ชุมชน 16 องค์ความรู้ พั ฒ นาศั ก ยภาพด้ า นการพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ให้แก่กลุ่มอาชีพ/วิสาหกิจชุมชน จ�ำนวน 221 ราย จาก 25 กลุ่ม

สร้างเครือข่ายคนและความรู้

จั ด กิ จ ก ร ร ม ถ ่ า ย ท อ ด ค ว า ม รู ้ แ ล ะ พั ฒ น า เครื อ ข่ า ย เช่ น นิ ท รรศการหมุ น เวี ย น เวิ ร ์ ก ช็ อ ป สร้ า งอาชี พ กิ จ กรรมมหกรรมความรู ้ ส ร้ า งอาชี พ กิจกรรมเปิดบ้านการเรียนรู้ (Open House) กิจกรรม ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice: CoP)

“เพราะความรู ้ ใช้ ท� ำ มาหากิ น ได้ ” กิ จ กรรมของศู น ย์ ค วามรู ้ กิ น ได้ จึ ง เป็ น การกระตุ ้ น ให้ เ กิ ด ชุ ม ชน แห่งการเรียนรู้ที่พึ่งพาตนเองได้ และกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น ผ่านการน�ำเสนอและสนับสนุน องค์ ค วามรู้ตามความจ�ำเป็นและความต้องการในพื้ น ที่ ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ ป ระชาชนและผู ้ ป ระกอบการได้ พัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถในการประกอบธุรกิจให้มีศักยภาพ พัฒนาสินค้าให้มีความโดดเด่น มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว และมีความสามารถในการแข่งขัน อันจะน�ำไปสู่การพึ่งพาตัวเองได้ในระยะยาวและยั่งยืน ได้ในอนาคต

w W

9


10

T

THE KNOWLEDGE

การพัฒนาชุมชน เพื่อการเรียนรู้และการท�ำมาหากิน การจัดการความรู้ชุมชน ถือเป็นการยกระดับสมรรถนะวิสาหกิจชุมชนให้เป็น “วิสาหกิจชุมชน ต้นแบบด้านการจัดการกระบวนการเรียนรู้” โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนจ�ำเป็นต้องเรียนรู้แนวทาง ในการประเมินศักยภาพของตนเองในการยกระดับสมาชิกในชุมชนให้สามารถจัดท�ำแผนการบริหาร ชุมชนและขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาคนซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชน จึงเป็นหัวใจส�ำคัญในการยกระดับความสามารถในเชิง การบริหารจัดการและการเรียนรู้เพื่อการท�ำมาหากินได้ในระยะยาว โดยเฉพาะในระดับปัจเจกบุคคล ซึ่งความสามารถและทักษะในการคิดวิเคราะห์และการวางแผนยุทธศาสตร์ชุมชนจะท�ำให้วิสาหกิจ ชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รู้จักวางแผนก�ำหนดกลยุทธ์ การพัฒนาชุมชน มีภูมิปัญญา ท้องถิ่น

รู้จักก�ำหนด เป้าหมายชุมชน

เข้าใจพื้นที่/ รู้สภาพปัญหา

รู้จักประเมิน ศักยภาพ

SCAN QR CODE เพื่อรับชม Clip

ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น มี ทิ ศ ทางและ เป้าหมายในการพัฒนาทีค่ รอบคลุม ทั้ ง ด ้ า น สั ง ค ม แ ล ะ เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ตอบสนองความต้องการของชุมชน สามารถเข้ า ถึ ง และใช้ ป ระโยชน์ จากทรั พ ยากรและทุ น ในชุ ม ชน รวมถึงเชื่อมโยงแผนพัฒนาชุมชน ท้องถิน่ สูย่ ทุ ธศาสตร์จงั หวัด เพือ่ เป็น รากฐานที่ มั่ น คงของสั ง คม


THE KNOWLEDGE

อย่างไรก็ตาม ในการเรียนรู้การพัฒนาชุมชนเพื่อการท�ำมาหากิน มีประเด็นในการวิเคราะห์และการเรียนรู้ที่ส�ำคัญ 4 ด้าน ได้แก่

1. กระบวนการหลักในการวิเคราะห์ภาพรวมชุมชน

ประกอบด้วย...

1

2

3

วิเคราะห์ความพร้อม ศักยภาพในการพัฒนา และความต้องการ ของชุมชน

วิเคราะห์พื้นที่และ สภาพแวดล้อมของ วิสาหกิจชุมชน

ออกแบบแนวทาง การยกระดับศักยภาพ วิสาหกิจชุมชน

5

4

ถ่ายทอดองค์ความรู้และ กระบวนการวิเคราะห์ศักยภาพ เพื่อออกแบบแผนยุทธศาสตร์ฯ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของชุมชน

เกษตรกรในชุมชน ร่วมก�ำหนดเป้าหมายและ แนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน และเป็นระบบ

2. การวิเคราะห์ภาพรวมการด�ำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย... การขนส่ง (โลจิสติกส์) เเละถ่ายทอดข้อมูล ที่เก็บสต็อกสินค้า เเรงงานในการขนส่ง เงินทุนในการขนส่งเเละถ่ายทอดข้อมูล ความรู้เเละเทคโนโลยีในการขนส่งเเละ ถ่ายทอดข้อมูล อุปกรณ์ในการขนส่งเเละถ่ายทอดข้อมูล

ผลิตและเก็บเกี่ยว ที่ดินในการเพาะปลูก แรงงาน เงินทุน ความรู้เเละเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องจักร

แปรรูปผลผลิต สถานที่แปรรูปผลผลิต แรงงาน เงินทุน ความรู้เเละเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องจักร

กฎระเบียบ ข้อบังคับ เเละลิขสิทธิ์ กฎระเบียบเกี่ยวกับพื้นที่เพาะปลูกและ โรงเรือน กฎระเบียบเกี่ยวกับเเรงงาน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ กฎระเบียบเเละลิขสิทธิ์ ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ กฎระเบียบเกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องจักร

การตลาดเเละ พัฒนาผลผลิตภัณฑ์ สถานที่จ�ำหน่ายสินค้า เเรงงาน เงินทุนด�ำเนินการ ความรู้เเละเทคโนโลยี อุปกรณ์เเละเครื่องมือ

T

11


12

T

THE KNOWLEDGE

3. เครื่องมือในการประเมินความต้องการและศักยภาพของชุมชน ได้แก่...

ขั้นตอน

แนวทาง

เครื่องมือที่ใช้

ประเมินสภาพและ ความต้องการชุมชน

เครื่องมือในการประเมิน และเปรียบเทียบ ความสามารถในปัจจุบัน และเป้าหมายที่ ต้องการพัฒนา (GAP)

Priority Need Index การประเมินความต้องการ เพื่อทราบถึงสิ่งจ�ำเป็นในชุมชน ที่ยังไม่มีการด�ำเนินการหรือ ด�ำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ

วิเคราะห์ปัจจัย และบริบทชุมชน

วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และปัจจัยภายนอก ตามสภาพ และบริบทของชุมชน

SWOT Analysis การวิเคราะห์สภาพชุมชน ในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย ที่มีผล ต่อการพัฒนาในอนาคต

ก�ำหนดเป้าหมายและ ยุทธศาสตร์ชุมชน

ระดมความเห็นชุมชน เพื่อก�ำหนดเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาที่เหมาะสม กับศักยภาพชุมชน

TOWS Matrix การประเมินสถานการณ์ ปัจจุบันของชุมชน โดยดูจาก ปัจจัยภายใน (จุดแข็ง/จุดอ่อน) และปัจจัยภายนอก (โอกาส/อุปสรรค)


THE KNOWLEDGE

4. แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วย... 1

2

3

ผลิต/จ�ำหน่ายวัตถุดิบ การเกษตร

ปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์/ ประมง

แปรรูปผลผลิต

4

5

สร้างแบรนด์ เเละพัฒนาการตลาด

บริหารจัดการ ทรัพย์สินทางปัญญา

พัฒนาคุณภาพ ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ

สร้างเเละบริหารแบรนด์ เพิ่มช่องทางการขายสินค้า ขยายฐานลูกค้า/ เพิ่มส่วนเเบ่งการตลาด

พัฒนาคุณภาพ ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ

สร้างรายได้จากทรัพย์สิน ทางปัญญา น�ำทรัพย์สินทางปัญญา มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้ผลิตภัณฑ์ เฝ้าระวังการถูกละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา

พัฒนาคุณภาพ ลดต้นทุน เพิ่มความหลากหลาย ของผลิตภัณฑ์

T

13


14

T

THE KNOWLEDGE

การบริหารจัดการความรู้ เพื่อสร้างความสามารถ ในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ต้นทุนท้องถิ่นและการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

โลกก�ำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้อย่างชัดเจน ผู้ผลิตไม่ได้แข่งขันกันด้วยราคา เหมือนในอดีต แต่มุ่งเน้นการน�ำความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีมาเพิ่มความสามารถในการ แข่งขันของธุรกิจ ส่วนผู้บริโภคในปัจจุบันต่างต้องการผลิตภัณฑ์และบริการที่มีนวัตกรรมและ เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาในชีวิต นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนในธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและมีนวัตกรรมมากขึ้น สัญญาณเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความจ�ำเป็นที่จะต้องพัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยน�ำต้นทุนที่มีอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็น Core Value หรือ “คุณค่าหลัก” ของแต่ละท้องถิน่ มาเชือ่ มต่อกับ องค์ความรู้ และการบริหารจัดการสมัยใหม่ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งการ จัดการความรู้ได้เข้ามามีบทความส�ำคัญในฐานะเครื่องมือช่วยคัดเลือกและเชื่อมโยงองค์ความรู้ ที่มีเข้ากับองค์ความรู้ใหม่เพื่อน�ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ต่อยอดอดีตเพื่อสร้างคุณค่าในอนาคต

การจะได้มาซึง่ ความรูท้ จี่ ะน�ำไปพัฒนาต่อเพือ่ สร้าง มูลค่าทางเศรษฐกิจ สามารถเริม่ ต้นโดยน�ำกระบวนการ จัดการความรู้ (Knowledge Management Process) มาช่วยค้นหาความรูท้ มี่ ศี กั ยภาพในการน�ำไปพัฒนาต่อ เป็นเทคโนโลยี นวัตกรรม สินค้าและบริการ โดยน�ำ ความรู้ 2 ประเภท คือ ความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าจาก แหล่งข้อมูลต่างๆ (Explicit Knowledge) และความรู้ ที่ เ กิ ด จากการเรี ย นรู ้ ฝึ ก ฝน จนเกิ ด เป็น ทั ก ษะและ ความช�ำนาญ (Tacit Knowledge) มาศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่ และเชื่อมโยง เพื่อให้พร้อม ส�ำหรับน�ำไปใช้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ชุมชน A มีความรู้ความช�ำนาญเรื่อง สมุ น ไพรและการแพทย์ แ ผนโบราณ รวมทั้ ง ยั ง เก่ ง ในการเลีย้ งไก่ชน จึงได้นำ� กระบวนการจัดการความรูม้ า ช่วยวิเคราะห์เพื่อหาทุนท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการน�ำ มาพัฒนาเป็นสินค้าสร้างรายได้ให้กบั ชุมชน ผลทีไ่ ด้คอื ผลิตภัณฑ์สมุนไพรส�ำหรับไก่ชน เป็นต้น หลังจากได้แนวคิดและแนวทางแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการเปลีย่ นความรูใ้ ห้เป็นสินค้า โดยมีการด�ำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ


THE KNOWLEDGE

1 ส�ำรวจตลาด (Market Survey)

การศึ ก ษาเทรนด์ โ ลก รวมทั้ ง ความ ต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อเข้าใจ ความต้องการของตลาดเป้าหมายที่ชุมชน สามารถตอบสนองได้

2 วิเคราะห์และคัดเลือกแนวทาง (Ideate)

การประชุมระดมสมองทัง้ ในมุมมองทางการตลาด การออกแบบ และการผลิต เพื่อหาแนวคิดและ แนวทางในการผลิตสินค้า โดยต้องค�ำนึงถึงเกณฑ์ ในการคัดเลือกแนวทางที่เหมาะสม 3 ข้อ ได้แก่ 1. ตลาดต้องการหรือไม่ 2. ชุมชนมีความสามารถในการผลิตสินค้านี้ ภายใต้ศักยภาพของชุมชนหรือไม่ 3. ชุมชนสามารถเติบโตและพัฒนาต่อยอดจาก แนวทางที่จะด�ำเนินการหรือไม่ ในกรณีของการสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรส�ำหรับ ไก่ ช นอาจเลื อ ก 3-4 แนวคิ ด ที่ มี ศั ก ยภาพทาง การตลาดเพื่อน�ำไปพัฒนาต่อ ตัวอย่างเช่น ลูกประคบสมุนไพรส�ำหรับไก่ชน กระโจมอบสมุนไพรส�ำหรับไก่ชน ขี้ผึ้งสมุนไพรนวดคลายกล้ามเนื้อ ส�ำหรับไก่ชน

T

15


16

T

THE KNOWLEDGE

3 พัฒนาสินค้าต้นแบบ (Prototyping)

การน�ำแนวคิดทีค่ ดั เลือกแล้วมาท�ำเป็นสินค้า ต้นแบบตามแนวทางที่วางไว้ เช่น ทดลองท�ำ ลูกประคบสมุนไพรขนาดเล็กๆ ส�ำหรับไก่ชน

4 ทดสอบตลาด (Market Testing)

การน�ำสินค้าต้นแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดสอบกับ ลูกค้า เพื่อเก็บข้อมูลการตอบรับเกี่ยวกับรูปลักษณ์ (Design) ประโยชน์ใช้สอย (Function) และราคา (Price) จากลูกค้ากลุม่ เป้าหมาย และน�ำมาปรับปรุง ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากยิง่ ขึน้ ในทีน่ คี้ อื การน�ำตัวอย่างลูกประคบสมุนไพรส�ำหรับไก่ชนไป ให้ผู้เลี้ยงไก่ชนทดลองใช้งาน

5 ผลิตสินค้าเพื่อจ�ำหน่าย (Production)

เริม่ ผลิตสินค้าทีผ่ า่ นการปรับปรุง ให้ ต อบสนองความต้ อ งการของ ลูกค้ากลุม่ เป้าหมายมากยิง่ ขึน้ และ น� ำ ไปจ� ำ หน่ า ยผ่ า นช่ อ งทางการ ตลาดที่วางไว้ พร้อมทั้งเก็บข้อมูล เพื่อน�ำมาวิเคราะห์โอกาสในการ ขยายธุ ร กิ จ ในอนาคต ในกรณี นี้ ชาวชุมชน A อาจเลือกน�ำลูกประคบ สมุนไพรส�ำหรับไก่ชนไปจ�ำหน่าย ที่ ศู น ย์ OTOP ประจ� ำ จั ง หวั ด สนามชนไก่ ทั้ ง ในและนอกชุ ม ชน รวมถึงสื่อสังคมต่างๆ


THE KNOWLEDGE

แนวคิดและกระบวนการ จัดการความรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดอดีต

กระบวนการจัดการความรู้ Knowledge Management Process

ต้นทุน ท้องถิ่น

ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ทักษะ ความช�ำนาญ วัตถุดิบ ผลผลิต

สร้างคุณค่าในอนาคต

กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Product Development Process

องค์ความรู้ ท�ำมาหากิน

สินค้า เเละบริการ

สร้างความรู้ (Knowledge Creation)

ส�ำรวจตลาด (Market Survey)

ถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer)

วิเคราะห์เเละ คัดเลือกเเนวทาง (Ideate)

น�ำความรู้ ไปใช้ประโยชน์ (Knowledge Utilization)

พัฒนาสินค้าต้นแบบ (Prototyping) ทดสอบตลาด (Market Testing) ผลิตสินค้าเพื่อจ�ำหน่าย (Production)

ปั จ จุ บั น รวมถึ ง ในอนาคตข้ า งหน้ า ตลาดจะมี ก ารแข่ ง ขั น สู ง และคู ่ แ ข่ ง ต่ า งเร่ ง พั ฒ นา ความสามารถในการตอบสนองความต้องการลูกค้าให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากฐาน ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) นวัตกรรม และเทคโนโลยี ผู้ประกอบการจึงควรน�ำความรู้ที่มีอยู่ มาเชื่อมต่อกับองค์ความรู้สมัยใหม่ เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจของตนเอง และเพื่อให้สามารถ แข่งขันได้อย่างยั่งยืนในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้

T

17


18

O

one OF a kind

ANGEL INVESTOR

นั ก ลงทุ น ซึ่ ง ไม่ เ พี ย งลงทุ น เป็ น ตัวเงินแต่อาจมาพร้อมค�ำแนะน�ำจาก ประสบการณ์ของผูล้ งทุน เพือ่ ช่วยให้ ธุรกิจเริ่มต้นและด�ำเนินไปได้

Workshop B B-CORP

CROWDFUNDING

DOUBLE BOTTOM

E-TRAINING

LINE

ค�ำทีน่ ยิ มใช้ในสหรัฐอเมริกา เพือ่ สือ่ ถึงบริษทั หรือองค์กร ที่เน้นการสร้างผลกระทบ เชิ ง บวกต่ อ สั ง คม ควบคู ่ ไปกับการสร้างผลก�ำไร

การระดมทุ น คนละเล็ ก ละน้อยจากผูค้ นจ�ำนวนมาก เพื่ อ สนั บ สนุ น กิ จ กรรม โครงการ หรื อ วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน ผ่ า นแพลตฟอร์ ม ออนไลน์ B

B

FINTECH

ก า ร ป ร ะ เ มิ น ผ ล ธุ ร กิ จ ที่ ไม่เ พี ย งพิ จ ารณาจาก ผลก�ำไร-ขาดทุนทางการเงิน แต่ ร ว ม ถึ ง ผ ล ก ร ะ ท บ ทางสั ง คมที่ เ กิ ด จากการ ด�ำเนินธุรกิจด้วย

การฝึ ก อบรมออนไลน์ เป็นการจัดการเรียนรู้ผ่าน สื่ อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละ อิ น เทอร์ เ น็ ต โดยเน้ น ให้ ผู ้ เ ข้ า รั บ การอบรมเรี ย นรู ้ ด้วยตนเอง

HYBRID MARKETING

IMPACT INVESTING

B

GLOBAL INNOVATION FUND

การน�ำเอาการเงิน (Financial) มาบวกเข้ากับเทคโนโลยี (Technology) เพื่อสร้าง นวัตกรรมใหม่ด้านการเงิน การธนาคาร และการลงทุน

องค์กรที่เน้นการลงทุนกับ ธุ ร กิ จ เพื่ อ สั ง คม นั ก วิ จั ย นวัตกรรมเพื่อสังคม และ หน่วยงานรัฐที่ท�ำงานด้าน การพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต คนยากไร้ทั่วโลก

การสร้างเครือข่ายกับธุรกิจ ที่ แ ตกต่ า งกั น แต่ มี ก ลุ ่ ม ลูกค้าเดียวกันเพือ่ ประโยชน์ ร่วมกัน เช่น ผู้ผลิตสินค้า OTOP กั บ แพลตฟอร์ ม มาร์เก็ตเพลส

รูปแบบการลงทุนทีเ่ น้นสร้าง ผลกระทบเชิ ง บวกในมิ ติ ของสังคมหรือสิ่งแวดล้อม เป็นหลัก นอกจากการได้รบั ผลตอบแทนทางการเงิน

JIGSAW CLASSROOM

KICKSTARTER

LIVE STREAMING

MEANINGFUL LEARNING

เทคนิ ค การจั ด การเรี ย นรู ้ แบบแบ่งกลุม่ แต่ละกลุม่ มี เนื้อหาของตัวเองและต้อง น� ำ เนื้ อ หามาประกอบกั น เป็นชุดความรู้เหมือนการ ต่อจิก๊ ซอว์

แพลตฟอร์ ม ระดมทุ น สาธารณะ เป็นช่องทางให้ นั ก คิ ด และสตาร์ ต อั ป มา น� ำ เสนอโครงการของ ตนเอง เพื่อระดมทุนจาก นักลงทุนทั่วโลก

การไลฟ์สด เป็นเครื่องมือ ถ่ายทอดภาพและเสียงจาก ห้องเรียน การบรรยาย อบรม สัมมนา ผ่านแพลตฟอร์ม สื่ อ สั ง คมบนเครื อ ข่ า ย อินเทอร์เน็ต

การเรียนอย่างมีความหมาย เป็ น วิ ธี ก ารเรี ย นโดยเน้ น ก า ร น� ำ ค ว า ม รู ้ เ ดิ ม ม า เชื่อมโยงกับชุดความรู้ใหม่ เน้นความเข้ า ใจ ไม่ เ น้ น ท่องจ�ำ


one Of a kind

O

NICHE MARKETING

การผลิตและจ�ำหน่ายสินค้า/บริการให้แก่ลูกค้าเฉพาะ กลุ่มที่มีความสนใจและความต้องการในบางเรื่องอย่าง ชัดเจน

ONE TAMBON, ONE

PAY IT FORWARD

RETURN ON INVESTMENT

LEARNING

PRODUCT (OTOP)

โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ท้องถิ่นผ่านการถ่ายทอด ความรู ้ ใ นชุ ม ชน และ การสนั บ สนุ น การแปรรู ป ทรั พ ยากรท้ อ งถิ่ น เป็ น ผลิตภัณฑ์ประจ�ำต�ำบล

แนวคิดส่งต่อความดีโดย เริ่มจากการช่วยเหลือผู้อื่น จากนั้ น ผู ้ ที่ ไ ด้ รั บ ความ ช่วยเหลือจะตอบแทนด้วย การส่งมอบความช่วยเหลือ ให้แก่ผู้อื่นต่อไป

SOCIAL

THAITAMBON

ENTREPRENEUR

QUESTION-BASED

กระบวนการเรี ย นรู ้ ที่ เ น้ น การพั ฒ นาความคิ ด ผ่ า น การป้อนค�ำถามทีเ่ หมาะสม ไปยั ง ผู ้ เ รี ย น เพื่ อ กระตุ ้ น การคิดวิเคราะห์และการ คิดเชิงเหตุผล

UNLTD.

การวั ด ผลตอบแทนจาก การลงทุ น โดยพิ จ ารณา จากอัตราส่วนระหว่างเงิน ลงทุ น กับผลก�ำไร ซึ่งเป็ น ตัวชีว้ ดั ว่าการลงทุนนัน้ คุม้ ค่า หรือไม่

VIRTUAL WORKSHOP

ผู ้ ป ระกอบการเพื่ อ สั ง คม ไม่เน้นท�ำธุรกิจเพือ่ หวังก�ำไร เพียงอย่างเดียว แต่ยงั ค�ำนึง ถึ ง ประโยชน์ ที่ สั ง คมและ ชุมชนจะได้รับอย่างยั่งยืน

เว็บไซต์ไทยต�ำบล รวบรวม ข้อมูลผลิตภัณฑ์และงาน กิ จ กรรมเกี่ ย วกั บ สิ น ค้ า โอทอป รวมถึงแนะน�ำแหล่ง ท่องเที่ยว ที่พัก และร้าน อาหารในชุมชน

ศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับ กิจการเพื่อสังคมในสหราช อาณาจักร รวมถึงช่วยให้ ผูป้ ระกอบการสังคมรุน่ ใหม่ ได้ก่อตั้งธุรกิจและเข้าถึง ชุมชนอย่างยัง่ ยืน

การจ�ำลองสภาพแวดล้อม ในการจัดการเรียนรูเ้ สมือนจริง บนโลกออนไลน์ โดยเปิดให้ ผู ้ ส นใจรั บ ชมผ่านการ ถ่ายทอดสดแบบสตรีมมิ่ง

WEBINAR

X-TRANSFER

YEP YEP

ZILINGO

HANDICRAFT

การฝึกอบรม สัมมนา และ แลกเปลี่ ย นความเห็ น ระหว่ า งผู ้ น� ำ เสนอและ ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มสั ม มนาจ� ำ นวน มากผ่านซอฟต์ แ วร์ ห รื อ แพลตฟอร์มออนไลน์

แอปพลิเคชันส�ำหรับถ่ายโอน เนื้ อ หาและส� ำ รองข้ อ มู ล จากอุ ป กรณ์ ห นึ่ ง ไปยั ง อุปกรณ์อนื่ เช่น ไฟล์เอกสาร รูปภาพ ไฟล์เสียง คลิปวิดโี อ

เวิ ร ์ ก ช็ อ ปสอนออกแบบ และท� ำ สมุ ด ท� ำ มื อ ดี ไ ซน์ สวยๆ พร้ อ มสอนเทคนิ ค การเย็บสมุดรูปแบบต่างๆ โดยผู้เรียนไม่จ�ำเป็นต้องมี ประสบการณ์มาก่อน

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ เน้นจ�ำหน่ายสินค้าแฟชั่น และไลฟ์ ส ไตล์ จ ากกลุ ่ ม ธุ ร กิ จ และวิ ส าหกิ จ ขนาด กลางและขนาดเล็ก (SMEs) เป็นหลัก

19


20

N

NEXT

ปรับตัวให้ทัน “ปัญญาประดิษฐ์” เทรนด์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แห่งโลกอนาคต ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและสารสนเทศมีบทบาทส�ำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ ในด้านต่างๆ โดยสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมน�ำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ในขณะที่รูปแบบ การจัดประชุม สัมมนา นิทรรศการ และเวิรก์ ช็อปต่างๆ เห็นได้ชดั ว่ามีความทันสมัยมากขึน้ มีการน�ำเทคนิคสมัยใหม่ มาช่วยดึงดูดความสนใจของผูร้ ว่ มงาน รวมทัง้ กระตุน้ ให้มกี ารน�ำองค์ความรูแ้ ละนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดตามวัตถุประสงค์ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (Artificial Intelligence: AI) คือระบบประมวลผลอัจฉริยะที่จ�ำลองความฉลาด ของมนุษย์ สามารถเข้าใจเหตุและผล วิเคราะห์ วางแผน และแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ โดยการประมวลและ เก็บข้อมูลผ่านซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อให้สามารถตอบโต้กับผู้ใช้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ถือเป็น อีกหนึง่ เทคโนโลยีลำ�้ สมัยแห่งศตวรรษที่ 21 ทีเ่ ข้ามาช่วยเติมเต็มข้อจ�ำกัดบางประการของมนุษย์ เช่น การค�ำนวณ ตัวเลขจ�ำนวนมหาศาลภายในเวลาไม่กี่วินาที การบอกเส้นทางการขับขี่ในพื้นที่ที่ไม่ช�ำนาญ เป็นต้น การถือก�ำเนิดของเอไอได้กลายเป็นหมากตัวส�ำคัญที่เข้ามาขับเคลื่อนโลกการเรียนรู้และการท�ำงานให้เข้าสู่ ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว ยิ่งเทคโนโลยีเอไอได้รับการพัฒนาให้ฉลาดและมีการคิดวิเคราะห์ที่ซับซ้อนมากขึ้นเท่าใด มนุษย์ก็สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างประโยชน์ในด้านการเรียน การท�ำงาน และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้หลากหลายยิ่งขึ้นเท่านั้น SCAN QR CODE เพื่อรับฟง Audio Text


NEXT

เทรนด์โลกเพื่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้อย่างยั่งยืน การจัดอีเวนต์และงานประชุมถือว่าเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีความส�ำคัญส�ำหรับภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ เนื่องจากจะน�ำมาซึ่งโอกาสอันหลากหลาย เช่น การถ่ายทอดความรู้สู่คนในวงกว้าง การสร้างเครือข่ายกับ พันธมิตรใหม่ๆ รวมถึงการขยายผลต่อไปในระยะยาว Spacehuntr ซึง่ เป็นเว็บไซต์สำ� คัญทีร่ วบรวมข้อมูลการจัดกิจกรรมอีเวนต์ทวั่ โลก ได้ศกึ ษารูปแบบการจัดงาน ของ 3 อีเวนต์ใหญ่ระดับโลก ได้แก่ South by Southwest (SXSW) เทศกาลดนตรีในรัฐเท็กซัส ประเทศ สหรัฐอเมริกา Web Summit งานสัมมนาเทคโนโลยี ณ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส และ Slush งานอีเวนต์ ส�ำหรับสตาร์ตอัป ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ และได้สรุปถึงแนวทางการจัดกิจกรรมที่ไม่เพียง ท�ำให้ทงั้ 3 งานประสบความส�ำเร็จอย่างสูง แต่ยงั สร้างเทรนด์ใหม่ของการจัดกิจกรรมทีส่ ง่ ต่อความรูแ้ ละประโยชน์ ต่อสังคมในวงกว้าง ดังนี้

ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยผลักดัน

การใช้เทคโนโลยียุคใหม่ เช่น เอไอ สือ่ สังคม รวมถึงอุปกรณ์ตา่ งๆ มาปรับ ใช้ในกระบวนการจัดกิจกรรมจะสามารถลดต้นทุนและลดก�ำลังมนุษย์ในการ ด�ำเนินงานได้มาก เช่น การใช้เอไอในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เข้าร่วมงานเพื่อจัดกิจกรรมที่ตรงกับความสนใจมากที่สุด หรือการจัดให้ ผู้เข้าร่วมงานสนทนาโต้ตอบเพื่อทราบข้อมูลสินค้าและสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ เอไออัจฉริยะ

เปิดให้สัมผัสประสบการณ์ด้วยตัวเอง

การเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์จริง “Everything is User Experience” คือหัวใจส�ำคัญที่จะท�ำให้ผู้เข้าร่วมงานเกิดความประทับใจและ รู้สึกมีส่วนร่วม ผู้จัดงานจึงต้องเน้นด้านความสะดวกในการเข้าร่วมในกิจกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และประโยชน์ทจี่ ะมอบคืนสู่ผู้ใช้ อันจะส่งผลให้เกิดการรับรู้ และกระแสบอกต่อผ่านช่องทางต่างๆ

จัดกิจกรรมเพื่อกระจายองค์ความรู้

สตาร์ตอัปและวิสาหกิจชุมชนจะเป็นที่รู้จักและเติบโตต่อไปได้ ต้องผ่าน การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในวงกว้าง เพื่อ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน รวมถึงการสร้างเครือข่ายใหม่ๆ เพื่อ เพิ่มโอกาสในการพัฒนาสินค้าและบริการ กิจกรรมที่มีการบริหารจัดการดี และได้รับการตอบรับที่ดี จะสามารถขยายผลจัดเป็นงานอีเวนต์หรือเทศกาล ประจ�ำปีเพื่อกระจายองค์ความรู้ สร้างพันธมิตร และสร้างโอกาสใหม่สู่การ เพิ่มรายได้ให้ชุมชน

มุ่งเน้นความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เทรนด์ส�ำคัญที่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจคือการ ค�ำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใส่ใจเรื่องความยั่งยืน กิจกรรมที่ จัดขึ้น รวมถึงสินค้าและบริการที่ผลิตออกมา จึงควรเป็นมิตรต่อผู้ใช้และ สภาพแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะเพิ่มคุณค่าให้กับแบรนด์แล้ว ยังสะท้อนถึง แนวคิดด้านการรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ

N

21


22

N

NEXT

แนวคิดการประยุกต์ ใช้เอไอ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library)

ห้ อ งสมุ ด เสมื อ นจริ ง ถู ก ยกมาไว้ บ นแพลตฟอร์ ม ออนไลน์ เพื่ออ�ำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าใช้งาน และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นย�ำผ่านระบบ สืบค้นอัจฉริยะ โดยผู้ใช้งานสามารถระบุชื่อหนังสือ ชือ่ ผูแ้ ต่ง หมวดหมู่ หรือประเภทของสือ่ เช่น หนังสือเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือเสียง วีดทิ ศั น์ เพือ่ ให้เอไอ แนะน�ำหนังสือที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด รวมถึง หนังสือยอดนิยมโดยอิงจากสถิติการค้นหา ซึ่งช่วยให้ ผูใ้ ช้งานสามารถค้นหาหนังสือในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ได้รวดเร็วและแม่นย�ำยิ่งขึ้น

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

(Computer Assisted Instruction: CAI)

โปรแกรมการเรี ย นซึ่ ง ใช้ ค วามสามารถของ คอมพิวเตอร์ในการน�ำเสนอสื่อประสม เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพือ่ ถ่ายทอดเนือ้ หาบทเรียนหรือองค์ความรูใ้ นลักษณะ ที่ ใ กล้ เ คี ย งกั บ การสอนจริ ง ในห้ อ งเรี ย นมากที่ สุ ด โดยมีเป้าหมายคือการดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการเรียนรู้ผ่านการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างผู้เรียนกับ คอมพิวเตอร์

ระบบประมวลผลภาษาธรรมชาติ

(Natural Language Processing: NLP)

เทคโนโลยี ที่ ผ สมผสานวิ ท ยาการคอมพิ ว เตอร์ และภาษาศาสตร์ เ ชิ ง ค� ำ นวณเข้ า ด้ ว ยกั น เพื่ อ ท� ำ ให้ ค อมพิ ว เตอร์ เ ข้ า ใจภาษาของมนุ ษ ย์ แ ละ สามารถแปลงค� ำ สั่ ง ให้ อ ยู ่ ใ นรู ป แบบข้ อ มู ล ที่ คอมพิ ว เตอร์ ส ามารถน� ำ ไปใช้ ง านได้ นอกจากนี้ ยังครอบคลุมถึงความสามารถในการสร้างรูปประโยค ธรรมชาติเพื่อใช้ตอบสนองต่อผู้ใช้งานได้อย่างเป็น ธรรมชาติ


NEXT

ระบบจ�ำลองบทสนทนาอัตโนมัติ หรือ แช็ตบอต (Chatbot)

โปรแกรมคอมพิ ว เตอร์ ที่ พั ฒ นาขึ้ น เพื่ อ ใช้ ใ น การตอบกลั บ การสนทนาด้ ว ยตั ว อั ก ษรเสมื อ นกั บ การพิมพ์โต้ตอบกันจริงๆ ของมนุษย์ โดยน�ำระบบ ประมวลผลภาษาธรรมชาติมาใช้ในการประมวลผล ท�ำให้แช็ตบอตฉลาดและเข้าใจภาษามนุษย์มากขึ้น ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้กับการศึกษาโดยให้ผู้เรียน พูดคุย (Chat) กับเอไอทีร่ บั หน้าทีส่ อนตามระดับความรู้ ของผูเ้ รียน รวมถึงปรับระดับของบทเรียนให้ยากขึน้ หรือ ง่ายลงตามความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคน (Adaptive Content)

Smart Wearable

อุ ป กรณ์ ส วมใส่ อั จ ฉริ ย ะที่ ส ามารถสวมติ ด ตั ว ได้ เ หมื อ นเครื่ อ งประดั บ ทั่ ว ไป แต่ มี ก ารผสมผสาน เทคโนโลยีอันทันสมัยเพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตยุคดิจิทัล เช่น สายรัดข้อมือส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีฟังก์ชันเตือน ความจ� ำ และช่ ว ยติ ด ต่ อ คนใกล้ ชิ ด ในกรณี ที่ เ กิ ด อุบตั เิ หตุ ไปจนถึงชุดออกก�ำลังกายทีส่ ามารถวัดผลการ ออกก�ำลังกายและน�ำไปประมวลผลร่วมกับแอปพลิเคชัน บนสมาร์ตโฟน เพือ่ การพัฒนาโปรแกรมการฝึกส�ำหรับ นักกีฬาที่ดียิ่งขึ้น

Voice Assistant

ระบบสั่ ง งานด้ ว ยเสี ย งที่ ป ฏิ บั ติ ต ามค� ำ สั่ ง อย่ า ง รวดเร็ว เพียงผู้ใช้งานป้อนค�ำถามหรือค�ำสั่งใดๆ ด้วย การพู ด ราวกั บ ก� ำ ลั ง สื่ อ สารกั บ ผู ้ ช ่ ว ยส่ ว นตั ว ที่ เ ป็ น มนุษย์ โดยมีการน�ำระบบประมวลผลภาษาธรรมชาติ เข้ามาใช้เพื่อให้เอไอสามารถสื่อสารกับมนุษย์อย่าง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ซีรี หรือ สิริ (Siri) บิ๊กซ์บี้ (Bixby) อเล็กซา (Alexa) โดยคาดว่า ภายในปี พ.ศ. 2565 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการร้อยละ 40 จะหันมาใช้เทคโนโลยีนี้มากขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีและเอไอเข้ามามีบทความส�ำคัญในแทบทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่ในการจัดกิจกรรมเพื่อ การเรียนรู้ ดังนั้นการเตรียมความพร้อม เพิ่มพูนความรู้ และท�ำความเข้าใจนวัตกรรมและเทรนด์ใหม่ๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีแห่งอนาคตและสามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับองค์ความรู้และลักษณะ งานที่ท�ำ จึงถือเป็นกระบวนการเรียนรู้และทักษะส�ำคัญที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบในการด�ำเนินธุรกิจและ ความก้าวหน้าทางอาชีพทั้งในปัจจุบันและอนาคต

N

23


24

D

DIGITONOMY

วิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และจ�ำนวนสมาชิก ภาคเหนือ

22,346 แห่ง 354,397 ราย

ภาคตะวันตก

3,886 แห่ง 66,284 ราย ภาคกลาง

ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

3,308 แห่ง 47,612 ราย

50,606 แห่ง 872,653 ราย ภาคตะวันออก

ภาคใต้

3,917 แห่ง 59,285 ราย

8,998 แห่ง 178,554 ราย

รวมทั้งประเทศ วิสาหกิจชุมชน

สมาชิก

แห่ง

ราย

93,061 1,578,785 ที่มา: กรมส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์ พ.ศ. 2563

สแกน QR Code

เพื่อรับชม GIF


DIGITONOMY

D

โครงสร้างกิจการวิสาหกิจ ที่จดทะเบียน การบริการ 15,611 แห่ง

12% 26%

การเกษตร 64,700 แห่ง

49%

ออมทรัพย์ชุมชน

13% ท่องเที่ยว 10%

51% เลี้ยงสัตว์ 42% ประมง 7%

ร้านค้าชุมชน

การผลิตสินค้า 51,938 แห่ง

39%

ปลูกพืช

แปรรูป/ผลิตภัณฑ์อาหาร

18% ผ้าทอ/เสื้อผ้า 16% ปัจจัยการผลิต

24%

25


26

D

DIGITONOMY

หนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในปี พ.ศ. 2562

87,468 จำ�นวนผู้ประกอบการ OTOP

กลุม่ /ราย

จังหวัดที่มีผู้ประกอบการ OTOP ขึ้นทะเบียน มากที่สุด 3 ลำ�ดับ ได้แก่

OPEN

OPEN

O T O OT PO

P

บุรีรัมย์

สุรินทร์

ขอนแก่น

กลุ่ม/ราย

กลุ่ม/ราย

กลุ่ม/ราย

3,143 2,831 2,682

จังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์ขึ้นทะเบียนเป็น สินค้า OTOP มากที่สุด 3 ลำ�ดับ ได้แก่

เชียงใหม่

บุรีรัมย์

อุบลราชธานี

ผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์

6,501 5,700 5,409

ที่มา : ส�ำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2562-2563


DIGITONOMY

ผลการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ไทย ประจำ�ปี พ.ศ. 2562 ระดับผลิตภัณฑ์ ระดับผลิตภัณฑ์

1,688 ผลิตภัณฑ์

ระดับผลิตภัณฑ์

861 ผลิตภัณฑ์

5,252 ผลิตภัณฑ์

ระดับผลิตภัณฑ์

8,017 ผลิตภัณฑ์

ระดับผลิตภัณฑ์

3,742 ผลิตภัณฑ์

จำ�นวน Young OTOP

จำ�นวน OTOP Senior

ราย

กลุ่ม/ราย

1,016 หมายเหตุ : ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP หรือทายาท ที่อายุระหว่าง 15-30 ปี

120 หมายเหตุ : ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP หรือ ทายาท ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป

ข้อมูล ปี พ.ศ. 2560-2563

D

27


28

D

DECODE

Social Enterprise ถอดกลยุทธ์แนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคม เมื่อค�ำว่า Social (สังคม) และ Enterprise (วิสาหกิจ) มารวมเข้าด้วยกัน ก่อเกิดเป็นรูปแบบธุรกิจที่เรียกว่า “วิสาหกิจ เพือ่ สังคม” ซึง่ มีกลไกการบริหารแบบภาคธุรกิจผสมผสานกับความรูแ้ ละนวัตกรรมทางสังคม ไม่พงึ่ พาเงินบริจาค แต่เน้นความ ยัง่ ยืนของรายได้หลักทีม่ าจากสินค้าและบริการไม่ตา่ งจากธุรกิจทัว่ ไป โดยมีเป้าหมายคือการน�ำผลก�ำไรทีไ่ ด้ไปสร้างประโยชน์ และสวัสดิการให้แก่สงั คม ถือเป็นการด�ำเนินงานของภาคเอกชนอีกรูปแบบหนึง่ ทีเ่ ข้ามาช่วยลดความเหลือ่ มล�ำ้ ทางเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งก�ำลังเป็นเทรนด์ที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้ความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

ลักษณะส�ำคัญของวิสาหกิจเพื่อสังคม มีเป้าหมายเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่เน้นท�ำก�ำไรสูงสุด แต่ค�ำนึงถึง สิ่งแวดล้อมและการคืนประโยชน์ขยายผล สู่สังคม

เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทุกกระบวนการของธุรกิจ ตั้งแต่การผลิต และการด�ำเนินงานต้องไม่สง่ ผลกระทบต่อ สภาพแวดล้อมในระยะยาว

รูปแบบด�ำเนินการต้องมีความยั่งยืน ทางการเงิน มีขนั้ ตอนการขายทีเ่ ห็นรายได้และผลก�ำไร อย่างชัดเจน ในสัดส่วนทีม่ ากกว่าการระดมทุน

ด�ำเนินงานอย่างสุจริตโปร่งใส มีธรรมาภิบาลในการประกอบกิจการ ตัง้ อยู่ บนความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้

ความแตกต่างระหว่าง Social Enterprise และ CSR

หลายองค์กรมีการสื่อสารทางการตลาดที่เรียกว่า Corporate Social Responsibility หรือ CSR ซึ่งเป็นภารกิจที่แสดงถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิง่ แวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม แต่สว่ นใหญ่ไม่ได้เน้นการแก้ปญ ั หาเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ อย่างต่อเนือ่ ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายองค์กรและสถานการณ์เด่นในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี ส่งผลต่อแผนการจัดกิจกรรมและ การจัดสรรงบประมาณให้แต่ละโครงการ ส่วน Social Enterprise จัดตัง้ ขึน้ จากโจทย์ปญ ั หาสังคมและสิง่ แวดล้อมทีผ่ กู้ อ่ ตัง้ องค์กรต้องการแก้ไข พร้อมระบุแนวทาง ในการแก้ปญ ั หาอย่างชัดเจน รายได้ขององค์กรอาจไม่แน่นอนขึน้ อยูก่ บั ผลก�ำไรของสินค้าและบริการ แต่จะมีการน�ำไปลงทุนซ�ำ้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เน้นการมอบความรู้และสร้างรากฐานที่ยั่งยืนให้แก่พื้นที่ เป้าหมาย เพื่อให้ชุมชนสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้รับถ่ายทอดจากองค์กรวิสาหกิจ เพื่อสังคมเป็นเครื่องมือในการด�ำเนินการ ดังนั้น งานของวิสาหกิจเพื่อสังคมจึงเป็นงานที่ต้องใช้ทั้งเงินทุนและระยะเวลา กว่าจะแล้วเสร็จ

ต้นแบบการสร้างธุรกิจเพื่อคืนก�ำไรสูช่ มุ ชน

ปัจจุบันมีผู้ประกอบการหลายรายที่ก่อตั้งธุรกิจโดยเริ่มต้นจากการ ตัง้ โจทย์เพือ่ หวังแก้ปญ ั หาในสังคมและเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม โดยส่วนใหญ่ เน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนในชุมชน เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ และการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้ธุรกิจและชุมชน สามารถอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ในประเทศไทยเองมีหลายวิสาหกิจเพื่อ สังคมที่มีแผนพัฒนาที่ยั่งยืนและประสบความส�ำเร็จชัดเจน อาทิ


DECODE

D

สิงห์ปาร์ค เชียงราย สร้างอาชีพบนพื้นที่ 8,000 ไร่ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิมของไร่บุญรอด ต�ำบลแม่กรณ์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีจุดเด่นเรื่องทิวทัศน์ที่สวยงามจนกลายเป็นแลนด์มาร์กส�ำคัญของเชียงรายที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว จ�ำนวนมากมาเยือนในแต่ละปี ท�ำให้เงินสะพัดสู่ชุมชน เป็นตัวอย่างธุรกิจแบบวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ประสบความส�ำเร็จ ระดับประเทศ โดยแนวคิดเริม่ ต้นมาจากสันติ ภิรมย์ภกั ดี ประธานกรรมการบริหาร บริษทั บุญรอดบริวเวอรี่ จ�ำกัด ทีเ่ ล็งเห็นว่า เชียงรายเป็นจังหวัดทีย่ งั ไม่มแี ลนด์มาร์กหรือสินค้าหลักทีช่ ดั เจนให้นกั ท่องเทีย่ วนึกถึงเมือ่ มาเยือน จึงตัง้ ใจสร้าง “เชียงรายโมเดล” เพื่อเป็นต้นแบบในการด�ำเนินงานแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม

ความท้าทาย

เชียงรายมีประชากรประมาณ 1.2 ล้านคน ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ และยังมีชาวไทยภูเขาที่ยากจน ขาดโอกาส ด้านอาชีพและรายได้ ชาวเขาส่วนใหญ่ท�ำเกษตรแบบไร่เลื่อนลอย ท�ำให้ต้องย้ายที่เพาะปลูกไปเรื่อยๆ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เชียงรายยังไม่มีแลนด์มาร์กหรือสินค้าหลักที่เป็นเอกลักษณ์ให้นักท่องเที่ยวนึกถึงและจดจ�ำได้ บริษัทมีพื้นที่กว้างกว่า 8,000 ไร่ ควรน�ำมาสร้างประโยชน์ที่สามารถคืนก�ำไรสู่ชุมชน บริษัทต้องการสร้างอาชีพและกระตุ้นเศรษฐกิจให้แก่จังหวัดเชียงราย

จุดเด่นของ สิงห์ปาร์ค เชียงราย

จากไร่บญ ุ รอดทีเ่ ปิดให้เข้าชมครัง้ แรกในปี พ.ศ. 2554 สูก่ ารด�ำเนินงานในลักษณะวิสาหกิจเพือ่ สังคม และเปลีย่ นชือ่ เป็น “สิงห์ปาร์ค เชียงราย” (Singha Park Chiang Rai) โดยออกแบบให้มีจุดเด่นส�ำคัญหลายประการที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่กว้าง 8,000 ไร่ พืน้ ทีก่ ว้างใหญ่ มีศกั ยภาพ ในการต่อยอดโครงการต่างๆ ในอนาคต การเกษตรแบบผสมผสาน แปลงทดลองส�ำหรับปลูกพืช หลากหลายสายพั น ธุ ์ เป็ น แหล่งเรียนรู้ส�ำคัญในพื้นที่ การส่งเสริมวิชาชีพให้เกษตรกร นั ก วิ ช าการด้ า นการเกษตร คอยถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกร ท้องถิ่น

รถไฟฟ้าไม่ก่อมลพิษ Electric Bus รถบริการนักท่องเที่ยว เป็ น รถพลั ง งานไฟฟ้ า ที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ไร่ชาอู่หลงบนพื้นที่ 600 ไร่ ไร่ชาอู่หลงที่สวยงามและให้ ผลผลิตปริมาณ 400 ตัน/ปี ท�ำเลดีเดินทางสะดวก ตั้ ง อยู ่ ไ ม่ ไ กลจากตั ว เมื อ ง ห่างจากสนามบินเชียงรายเพียง 12 กิโลเมตร รูปปั้นสิงห์สีทองขนาดใหญ่ Farm Festival on the Hill แลนด์ ม าร์ ก ส� ำ คั ญ ที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วต้ อ งถ่ า ยรู ป เทศกาลดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และเช็กอิน ของภาคเหนือ ฟังเพลงท่ามกลาง ธรรมชาติ กิจกรรมหลากหลาย กิจกรรมที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยว ทุกเพศทุกวัย เช่น โหนสลิง (Zipline) เที่ยวสวนสัตว์ ชมฟาร์ม ปั่นจักรยาน ชมวิว ชิมชาสดใหม่จากไร่ Singha Park Chiang Rai International Balloon Fiesta เทศกาลบอลลูนนานาชาติ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก

29


30

D D

DECODE

ประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ

คนเชียงรายมีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและ การท่องเที่ยว ท�ำให้มีนักท่องเที่ยว เดินทางมาเยือนจังหวัดเชียงรายมากขึน้

เกิดการกระจายรายได้ ชุมชนใกล้เคียงมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการจ�ำหน่ายสินค้าและบริการ ให้แก่นักท่องเที่ยว

เกิดอาชีพหลากหลายรอบ พื้นที่สิงห์ปาร์ค คนเชียงรายหันมาประกอบอาชีพอื่นๆ นอกจากเกษตรกรรม เช่น บริการที่พัก แบบโฮมสเตย์ จ�ำหน่ายอาหารและ สินค้าพืน้ เมือง บริการรับ-ส่งนักท่องเทีย่ ว

สร้างงาน สร้างอาชีพ สิงห์ปาร์คมีการจ้างงานมากกว่า 1,200 คน ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นคนท้องถิ่น

ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม คุณภาพชีวิต ดีขึ้น โดยไม่ต้องไปท�ำงาน ไกลบ้านเกิด

เกิดส�ำนึกรักบ้านเกิด คนเชียงรายตระหนักว่าตนมีสว่ นร่วม ในการพัฒนาชุมชน เห็นคุณค่า และโอกาสประกอบอาชีพ ในบ้านเกิด

Local Alike แพลตฟอร์มท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน โลเคิล อไลค์ (Local Alike) ก่อตัง้ โดยสมศักดิ์ บุญค�ำ ชาวร้อยเอ็ดซึง่ จบปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจอย่างยัง่ ยืน จากประเทศสหรัฐอเมริกา และมีโอกาสไปท�ำงานด้านวิศวกรรมทีป่ ระเทศเยอรมนี ระหว่างเดินทางท่องเทีย่ วเขาได้เห็น ความส�ำคัญของการกระจายโอกาสเพือ่ แก้ปญ ั หาความยากจน จึงเลือกกลับมาท�ำงานทีม่ ลู นิธแิ ม่ฟา้ หลวงเพือ่ ช่วยเหลือ ชาวเขาในพื้นที่ต่างๆ ก่อนจะก่อตั้งโมเดลธุรกิจสร้างสรรค์ “Local Alike” แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนา ชุมชนอย่างยัง่ ยืน ท�ำหน้าทีเ่ ป็นตัวกลางเชือ่ มโยงนักท่องเทีย่ วสูช่ มุ ชน เพือ่ ให้เจ้าของทรัพยากรในท้องถิน่ ได้รบั ประโยชน์ อย่างแท้จริง โดยด�ำเนินธุรกิจควบคู่กับการส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนในลักษณะวิสาหกิจเพื่อสังคม

ความท้าทาย

รายได้จากการท่องเที่ยวกระจายไม่ถึงชุมชนท้องถิ่น ชุมชนไม่มสี ว่ นร่วมกับวิถที อ่ งเทีย่ วและไม่ได้รบั ประโยชน์อย่างเต็มที่ จากภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวยังเข้าไม่ถึงการท่องเที่ยวระดับชุมชน ไม่มีโอกาสได้ สัมผัสวิถีชุมชนที่แท้จริง โฮมสเตย์ชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก ในวงกว้าง ในฐานะทางเลือกใหม่ของนักท่องเที่ยว อุปสรรคด้านภาษาท�ำให้ชมุ ชนขาดโอกาสในการจ�ำหน่ายสินค้าและ ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ขาดการส่งเสริมให้คนท้องถิน่ มีอาชีพ รายได้ และคุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ขาดแนวทางการท�ำงานร่วมกับชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิด องค์ความรู้ใหม่ในชุมชน

ที่มา: www.creativemove.com/interview/local-alike/

SCAN QR CODE เพื่อรับชม Clip


DECODE

ลักษณะการด�ำเนินงาน

D

วัตถุประสงค์ของ Local Alike คือ การกระจายรายได้สชู่ มุ ชนผ่านการท่องเทีย่ วแบบยัง่ ยืน รูปแบบการจัดทัวร์จงึ เน้นประสาน ความร่วมมือกับชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ ให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวและเป็น “ไกด์ท้องถิ่น” น�ำเที่ยวด้วย ตนเอง โดยมีเป้าหมายหลักเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งแบบองค์กรและแบบส่วนตัวที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมและวิถีชุมชน รวมถึงมีโครงการอบรมและสอนภาษาอังกฤษให้ชาวบ้านเพื่อเตรียมความพร้อมในการต้อนรับ นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยปัจจุบัน Local Alike มีลักษณะการด�ำเนินงาน 4 รูปแบบ ได้แก่

1

ให้ค�ำปรึกษาด้านการท่องเที่ยว การให้ ค� ำ ปรึ ก ษาด้ า นการท่ อ งเที่ ย วชุ ม ชนแก่ องค์กรต่างๆ รวมถึงจัดโปรแกรมท่องเที่ยวสัมผัสวิถี ชุมชนให้แก่ลูกค้าขององค์กร โดยให้ผู้เข้าร่วมมีส่วน ในการพัฒนาชุมชนควบคู่ไปด้วย

3 สร้างมาร์เก็ตเพลสเพื่อชุมชน การสร้างแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสเพื่อส่งเสริม การขายสิ น ค้ า และบริ ก ารของชุ ม ชน รวมถึ ง การ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว จากทั่วโลก

2

บริการด้านการท่องเที่ยว การลงพืน้ ทีไ่ ปท�ำงานกับชาวบ้านเพือ่ ศึกษาความ ต้องการที่แท้จริงของชุมชน ร่วมแก้ปัญหา และ ปรับแนวคิดเพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง ก่อนที่จะเปิด ต้อนรับนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชน

4 สร้างโมเดลกองทุน การน�ำเงินจากองค์กรและบริษัทภาคีเครือข่าย ที่ต้องการสนับสนุนการท่องเที่ยวท้องถิ่นมาพัฒนา ศักยภาพชุมชนในด้านต่างๆ เพือ่ น�ำไปสูก่ ารสร้างงาน และสร้างรายได้ในอนาคต

ประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรมีส่วนร่วมในวิถี ท่องเที่ยวอย่างแท้จริง องค์กรเป็นพันธมิตรกับชุมชน องค์กรใหญ่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนและ ส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สร้างอาชีพและรายได้ในชุมชน เกิดโอกาสทางการประกอบอาชีพใหม่ๆ ในชุมชน เช่น ไกด์ท้องถิ่น โฮมสเตย์ รถรับส่งนักท่องเที่ยว องค์ความรูก้ ระจายสูช่ มุ ชน ชุมชนเรียนรูท้ จี่ ะพัฒนาอาชีพ สินค้า และบริการ ให้ตอบโจทย์การท่องเที่ยว ชุมชนเข้มแข็ง ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนา และออกแบบชุมชนที่ยั่งยืน

31


32

N

NEXTPERT

เรียน+รู้ จากผู้ท�ำจริง

กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนกับการ ยกระดับคุณภาพชีวิตท้องถิ่น

วิสาหกิจชุมชน (Community Enterprise) คือ การประกอบกิจการเพือ่ จัดการ “ทุนของชุมชน” อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการพึ่งตนเอง ซึ่งทุนของชุมชนไม่ได้หมายถึงเพียงตัวเงิน แต่ยังรวมถึงทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคมที่ท�ำให้ผู้คนมีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกัน และอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน ในประเทศไทยมีวิสาหกิจชุมชนอยู่มากมาย ภายใต้ชื่อเรียกหลากหลาย เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ ฯลฯ แต่วิสาหกิจชุมชนที่ประสบความส�ำเร็จนั้น จ�ำเป็นจะต้องมีการจัดการความรู้และการถ่ายทอด ความรู้อย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นอย่างฉลาดและเกิดประโยชน์สูงสุด มีแนวโน้ม การพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น รวมถึ ง เป็ น ตั ว อย่ า งหรื อ ต้ น แบบส� ำ หรั บ วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนอื่ น ในการแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ เพื่อกระตุ้นและพัฒนาประสิทธิภาพการประกอบวิสาหกิจชุมชนให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตัวเอง และสร้างรายได้จากสินค้าและบริการของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ในต่างประเทศเองก็มีการด�ำเนินงานในลักษณะของวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมในหลากหลายรูปแบบ มีการน�ำ องค์ความรู้ใหม่ๆ ผสมผสานกับเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาให้มีความทันสมัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหา เศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวติ ของประชาชนในท้องถิน่ ให้ดยี งิ่ ขึน้ วิสาหกิจชุมชนบางแห่งทีป่ ระสบความส�ำเร็จสูง อาจพัฒนาไปสู่การจัดตั้งเป็น “วิสาหกิจเพื่อสังคม” (Social Enterprise) ซึ่งน�ำรายได้กลับมาช่วยแก้ปัญหา ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป ตัวอย่างกรณีศึกษาในต่างประเทศที่ประสบความส�ำเร็จและเป็นแรงบันดาลใจส�ำหรับผู้ที่สนใจ ดังนี้


NEXTPERT

ประเทศอังกฤษ

Bikeworks แก้ปัญหาสังคม ด้วยจักรยาน จุดเริ่มต้น ไบก์เวิรก์ ส (Bikeworks) ก่อตัง้ ในปี พ.ศ. 2549 ภายใต้การสนับสนุนจากองค์กรการกุศลอย่าง Social Business Trust และธนาคารรายใหญ่ของอังกฤษอย่างธนาคารบาร์เคลย์ส (Barclays Bank) โดยเปิดเป็น ศูนย์บริการด้านจักรยานแบบครบวงจร ตั้งแต่ขายจักรยานและอะไหล่ ซ่อมบ�ำรุง และเปิดอบรมการ ซ่อมจักรยานให้แก่คนตกงาน คนไร้บ้าน ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ เพื่อให้คนเหล่านี้มีวิชาชีพติดตัว ลดอัตราว่างงานท�ำให้สามารถเข้าสูร่ ะบบการจ้างงานและมีรายได้เลีย้ งชีพ นอกจากนีย้ งั เป็นการรณรงค์ ให้ชาวลอนดอนหันมาปัน่ จักรยานในชีวติ ประจ�ำวันมากขึน้ เพือ่ ลดปัญหาจราจรและมลพิษในอากาศ

ผลลัพธ์ ไบก์เวิรก์ สประสบความส�ำเร็จอย่างสูงในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มคน ไร้บา้ น ไร้อาชีพ ทีไ่ ด้มวี ชิ าชีพติดตัว สามารถเข้าท�ำงาน ในร้านจักรยานหรือศูนย์ซ่อมจักรยานต่างๆ นอกจากนี้ การเปิดคลาสสอนการซ่อมบ�ำรุงจักรยานให้แก่เด็ก และผู้ใหญ่ ท�ำให้การขับขี่จักรยานเข้าถึงคนในวงกว้าง ช่ ว ยลดปั ญ หาด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มและช่ ว ยประหยั ด ค่าใช้จ่ายของประชาชนอย่างได้ผล

N

33


34

N

NEXTPERT

ประเทศญี่ปุ่น

One Village One Product (OVOP) หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ จุดเริ่มต้น

OVOP หรือโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นต้นแบบของ “โอทอป” (OTOP) หรือโครงการ หนึง่ ต�ำบลหนึง่ ผลิตภัณฑ์ของไทย ถือก�ำเนิดขึน้ ในเมืองโออิตะ เมืองเล็กๆ บนเกาะคิวชู ประเทศญีป่ นุ่ โดยมีจดุ เริม่ ต้น จากการขยายการพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่เมืองหลักตามภูมิภาคต่างๆ ผลักดันให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน จากชนบทสู่เขตเมืองอุตสาหกรรม และส่งผลให้เกิดความซบเซาในเขตชนบท ข้าราชการและชาวบ้านในชุมชน จึงร่วมแรงร่วมใจกันจัดท�ำโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนโออิตะ เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ ให้คนในหมู่บ้าน โดยเน้นการน�ำภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประจ�ำหมู่บ้าน ลดการพึ่งพาภาครัฐ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ โครงการ “บ๊วยและเกาลัดแบบใหม่” (New Plum and Chestnut: NPC) เพือ่ ส่งเสริมการเพาะปลูก บ๊วยและเกาลัดโดยใช้รูปการเกษตรแบบผสมผสานเข้ามาแทนการปลูกข้าวที่เป็นพืชหลักเดิม ส่งผลให้ชาวบ้านมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น การส่งเสริมการแปรรูปบ๊วยเป็น “เหล้าบ๊วยอูเมะ” ซึ่งกลายเป็นสินค้าประจ�ำจังหวัดที่โด่งดัง ไปทั่วประเทศ การก่อตั้งร้านค้าโคโนฮานะ การ์เท้น (Konohana Garten) ซึ่งบริหารจัดการโดยชาวบ้าน การสร้างเครือข่ายและถ่ายทอดองค์ความรูด้ า้ นต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องให้แก่ชมุ ชนอืน่ รวมถึงการสร้าง ผู้น�ำรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

ผลลัพธ์

โครงการ OVOP ช่วยให้ประชากรในโออิตะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า คนหนุ่มสาวที่เคยเดินทางออก ไปท�ำงานนอกพื้นที่ก็กลับมาท�ำงานและช่วยพัฒนาบ้านเกิดอีกครั้ง ปัจจุบันในโออิตะมีผลิตภัณฑ์ OVOP มากกว่า 300 รายการ ตั้งแต่ผัก ผลไม้ สินค้าแปรรูปต่างๆ ไปจนถึงสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมต่างๆ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายล้านคนเข้ามาเยี่ยมชมตลอดทั้งปี


NEXTPERT

ประเทศไนจีเรีย

จุดเริ่มต้น

ไนจี เ รี ย เป็ น ประเทศในทวี ป แอฟริ ก าที่ มี อั ต ราคนหนุ ่ ม สาวว่ า งงานจ� ำ นวนมาก เนื่ อ งจากต้ อ งพึ่ ง พา การน� ำ เข้ า อาหารจากต่ า งประเทศ ไม่ มี ก ารเติ บ โตของการจ้ า งงาน อี ก ทั้ ง ยั ง มี ป ั ญ หากลุ ่ ม คนหั ว รุ น แรง ในประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่หันไปร่วมกับผู้ก่อความไม่สงบ จึงได้ก่อตั้งโครงการบับบันโกนา (Babban Gona) ซึง่ ในภาษาฮัวซามีความหมายว่า “ไร่นาทีย่ งิ่ ใหญ่” โดยเข้ามาสนับสนุนและอ�ำนวยความสะดวก ให้ แ ก่ ชุ ม ชนเกษตรกรรมในด้ า นการเพาะปลู ก การเก็ บ เกี่ ย ว การเก็ บ รั ก ษาผลผลิ ต รวมถึ ง ให้ ค� ำ ปรึ ก ษา ด้านการจัดจ�ำหน่ายและการหาตลาดทีใ่ ห้ราคาสมเหตุสมผล ท�ำให้ประชาชนในพืน้ ทีส่ ามารถรวมกลุม่ กันเพาะปลูก ผลิตอาหารให้ชุมชน และมีรายได้ใช้เลี้ยงครอบครัว

ผลลัพธ์

การท� ำ งานของโครงการบั บ บั น โกนาท� ำ ให้ ค นหนุ ่ ม สาวได้ เ ข้ า สู ่ ร ะบบ การท�ำงาน เกิดการจ้างงานในภาคธุรกิจการเกษตร ท�ำให้ประชาชนมีรายได้เพิม่ ขึน้ และเศรษฐกิจท้องถิ่นขยายตัวขึ้น โครงการนี้ยังสามารถขยายเครือข่ายภายใต้ การสนับสนุนจากกระทรวงเกษตร ธนาคาร และหน่วยงานต่างๆ เพือ่ การพลิกฟืน้ เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ส่งผลให้บับบันโกนากลายเป็น วิสาหกิจเพื่อสังคมที่แสวงหาผลก�ำไรรายแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัล สกอลล์ (Skoll Award) อันทรงเกียรติ ส่วนโคลา มาชา ผู้ก่อตั้งบับบันโกนา ได้รับเชิญไปกล่าวสุนทรพจน์บนเวที TED Talk อีกด้วย

ท่ามกลางระบบทุนนิยมที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ บรรดานวัตกรและผู้ประกอบการ ทางสั ง คมกลายเป็ น ฟั น เฟื อ งส� ำ คั ญ ที่ เ ข้ า มาช่ ว ยแก้ ป ั ญ หาเร่ ง ด่ ว นของชาวบ้ า นและขั บ เคลื่ อ น การเปลี่ยนแปลงในชุมชน อย่างไรก็ดี การด�ำเนินการดังกล่าวไม่อาจส�ำเร็จได้หากขาดความร่วมมือ อย่างเข้มแข็งของคนในชุมชนในการสร้างสินค้าหรือบริการของท้องถิน่ โดยใช้ทรัพยากร จุดเด่น และอัตลักษณ์ ของพื้นที่มาเป็นวัตถุดิบหลักในการด�ำเนินธุรกิจในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน รวมถึงการน�ำเอาองค์ความรู้ ที่ได้รับถ่ายทอดมาใช้ประโยชน์ในการน�ำพาชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างตลอดรอดฝั่งและยั่งยืน

N

35


36 ค

ความรู้กินได้

SCAN QR CODE เพื่อรับฟง Audio Text

ผลิตภัณฑ์และบริการสร้างสรรค์ ของวิสาหกิจชุมชน

แม้ ชุ ม ชนจะเป็ น หน่ ว ยเล็ ก ๆ ในระบบสั ง คม แต่ ก็ มี ค วามส� ำ คั ญ ต่ อ การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ของประเทศ หากชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตัวเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมจะน�ำไปสู่ความร่วมมือในรูปแบบ วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนเพื่ อ ประกอบกิ จ การ หรื อ รวมกลุ ่ ม ผลิ ต สิ น ค้ า และบริ ก ารร่ ว มกั น มี ก ารบริ ห ารจั ด การทุ น วางแผนการด�ำเนินการ ถ่ายทอดความรู้ ฝึกฝนทักษะความช�ำนาญให้สมาชิก และเกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และการพัฒนากลับคืนสู่ชุมชน สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (ม.ป.ป.) ได้แบ่งวิสาหกิจชุมชนออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

1 วิสาหกิจชุมชนพื้นฐาน

เน้นการผลิตสินค้าและบริการทีส่ ง่ เสริมให้คนในชุมชนพึง่ พาตนเองตามวิถพี อเพียง โดยน�ำทรัพยากร ในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส�ำหรับจ�ำหน่ายและใช้ภายในครัวเรือน เช่น อาหารสดและอาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากพืชและสมุนไพร ปุ๋ยชีวภาพ เครื่องมือเครื่องใช้จากวัสดุในท้องถิ่น


ความรู้กินได้ ค

37

2 วิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า

เน้ น การดึ ง อั ต ลั ก ษณ์ ท ้ อ งถิ่ น มาใช้ ผ ลิ ต สิ น ค้ า และบริ ก าร มี ก ารน� ำ ภู มิ ป ั ญ ญา สู ต รต� ำ รั บ หรื อ เคล็ ด ลั บ เฉพาะท้ อ งถิ่ น มาใช้ ส ร้ า งสิ น ค้ า หรื อ บริ ก ารที่ มี เ อกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตั ว เพื่ อ ดึ ง ดู ด ผู้บริโภคทั้งในชุมชนและนอกชุมชน และสามารถส่งออกไปแข่งขันในพื้นที่อื่นได้ เช่น อาหารหรือวัตถุดิบบรรจุกระป๋อง งานศิลปะและงานฝีมือจากวัสดุท้องถิ่น โฮมสเตย์และบริการท่องเที่ยวในชุมชน เสื้อผ้าและของที่ระลึก

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์และบริการของวิสาหกิจชุมชน

รูปหนังตะลุง วิสาหกิจชุมชนแกะสลัก รูปหนังตะลุง ต�ำบลห้วยนาง อ�ำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

เสื่อกระจูด วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรม จักสานกระจูดบ้านห้วยลึก ต�ำบลท่าสะท้อน อ�ำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ข้าวฮาง วิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวหอมทอง บ้านจ�ำปา ต�ำบลหนองลาด อ�ำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

ไม้กวาดดอกอ้อ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรบ้านคลองห้าง ต�ำบลล�ำภี อ�ำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

ผลิตภัณฑ์จมูกข้าวน�้ำนม วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรจมูกข้าว ข้าวยา ต�ำบลคอโค อ�ำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ กระเป๋าถักเชือกมัดฟาง วิสาหกิจชุมชนกลุ่ม MLEH (เอ็มลิช) ต�ำบลหนองโดน อ�ำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี สบู่จากกระเจี๊ยบ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกระเจี๊ยบแดง บ้านหนองคู ต�ำบลก้านเหลือง อ�ำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ผ้าฝ้ายทอมือลายโบราณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าฝ้าย ดอยเต่า ต�ำบลท่าเดื่อ อ�ำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่

ทีม่ า: ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร


38

I

INSIDE OKMD

การเตรียมความพร้อม เด็กและเยาวชนไทยสู่ตลาดแรงงาน ในศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกในปัจจุบนั มีการเปลีย่ นแปลงทีร่ วดเร็วและสลับซับซ้อนมากกว่า ในอดีต ผลกระทบที่ก�ำลังเกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 ได้น�ำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ทั้งด้านธุรกิจ การลงทุน และการใช้ชีวิต ดังนั้นการปรับตัวเพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทาย ที่เกิดขึ้นจึงถือเป็นโจทย์ที่หลายประเทศทั่วโลกก�ำลังเผชิญ ส�ำหรับประเทศไทยได้มีการผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ให้เป็นโมเดลในการยกระดับ ขีด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ของประเทศไปสู ่ การแข่งขันด้วยฐานขององค์ความรู้ การใช้นวัตกรรม การกระจายโอกาสในการพัฒนา อย่างทั่วถึง และการค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีปัจจัยส�ำคัญที่ใช้รับมือ กับกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงระดับโลกคือ “ทุนทรัพยากรมนุษย์”


INSIDE OKMD

เพิ่มประสิทธิภาพคน ลดปัญหาในการท�ำงาน ด้วยหลักการ BBL ท�ำงานได้ผล คนมีความสุข คือเป้าหมายหลักในการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดปัญหาในการท�ำงาน โดย OKMD ได้น�ำหลักการเรียนรู้ตามการพัฒนาสมองของ แต่ละช่วงวัย หรือ Brain-based Learning (BBL) มาเป็นแนวทางในการเรียนรู้และท�ำงาน โดยปรับใช้กับกระบวนการพัฒนาบุคลากร การจัดสภาพแวดล้อมในที่ท�ำงาน ตลอดจน การจัดกิจกรรมทีเ่ อือ้ ให้ผปู้ ฏิบตั งิ านสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข ในการท�ำงาน

เมื่อสมองต้องท�ำงาน สมองต้องการความท้าทาย

สมองมี ศั ก ยภาพสู ง ในการเรี ย นรู ้ สามารถเรี ย นและรู ้ เ พิ่ ม เติ ม ต่ อ ยอด ได้ตลอดชีวิต แม้ว่าการท�ำงานซ�้ำเดิม เป็ น เวลานานจะสร้ า งทั ก ษะความ ช�ำนาญในงานนัน้ ๆ แต่การท้าทายด้วย การท�ำสิง่ ใหม่จะกระตุน้ ให้สมองเรียนรู ้ และตื่นตัว ดังนั้นการมอบหมายหน้าที่ รับผิดชอบหรือขยายขอบเขตของงาน ทีใ่ ช้ทกั ษะทีส่ งู ขึน้ หรือต้องใช้ทกั ษะอืน่ ๆ เพิ่มเติม จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงาน ตื่ น ตั ว ที่ จ ะเรี ย นรู ้ แ ละพั ฒ นาตนเอง ได้ดีขึ้น

สมองมุ่งสัมฤทธิ์

สมองมนุ ษ ย์ ถู ก ออกแบบมาเพื่ อ เรี ย นรู ้ มุ ่ ง ไปสู ่ ความส�ำเร็จ สมองจะเรียนรูแ้ ละท�ำงานได้ดเี มือ่ มีเป้าหมาย ที่ ชั ด เจน โดยเป้ า หมายนั้ น ต้ อ งมี ค วามหมายและ ความส�ำคัญที่ท้าทายให้บรรลุ และล�ำดับขั้นตอนที่ น�ำไปสู่เป้าหมายก็มีความส�ำคัญต่อการเรียนรู้ ดังนั้น การเรียนรู้ผ่านตัวอย่างที่ดีเลิศ (Best Practice) จึงเป็น เครื่องมือช่วยให้สมองเห็นเส้นทาง กระบวนการ และ ล� ำ ดั บ ขั้ น ตอนที่ น� ำ ไปสู ่ ค วามส� ำ เร็ จ อย่ า งชั ด เจน และสามารถปฏิบัติตามได้ด้วยความมั่นใจว่าจะบรรลุ เป้าหมายที่ตั้งไว้

I

39


40

I

INSIDE OKMD

สมองต้องการสมาธิจดจ่อ

สภาพแวดล้ อ มมี ผ ลกระทบต่ อ การ ท�ำงานและการเรียนรู้ของสมองอย่างเลี่ยง ไม่ได้ เพราะสมองรับรู้สภาพแวดล้อมผ่าน ประสาทสัมผัสทุกด้าน การจัดบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมในการท�ำงานจึงควรลด หรื อ หลี ก เลี่ ย งภาพและเสี ย งรบกวนที่ เบี่ ย งเบนความสนใจไปจากงานที่ ท� ำ อยู ่ การก�ำหนดเวลาใช้สมาร์ตโฟนและสือ่ สังคม ช่ อ งทางต่ า งๆ เป็ น วิ ธี ห นึ่ ง ที่ ช ่ ว ยลดการ เบีย่ งเบนความสนใจในเวลาท�ำงาน อย่างไรก็ดี ควรจัดช่วงเวลาให้มีการผ่อนคลาย จัดการ กิจธุระส่วนตัว และยืดหยุ่นได้ตามสมควร เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ กิ ด บรรยากาศที่ เ คร่ ง เครี ย ด จนเกิ น ไป ขณะเดี ย วกั น อาจจั ด เตรี ย ม พื้นที่และสื่อการเรียนรู้ตามอัธยาศัยไว้ให้ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านเพิ่ ม พู น ความรู ้ แ ละทั ก ษะ ของตนเองในยามว่างหรือในช่วงเวลาพัก เช่น มุมอ่านหนังสือ โต๊ะประชุมกลุ่มย่อย

สมองต้องการตัวช่วย

การท� ำ งานให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ต้องไม่ละเลยเครือ่ งมือและอุปกรณ์ ที่จ�ำเป็นต่องานนั้นๆ นอกจากการ จัดเตรียมอุปกรณ์ทเี่ หมาะสม ครบครัน จั ด วางในต� ำ แหน่ ง ที่ เ หมาะสม สามารถเข้าถึงและใช้งานได้งา่ ยแล้ว ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการถ่ายทอด ความรู ้ ใ นการใช้ เ ครื่ อ งมื อ และ อุ ป กรณ์ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง และควร จั ด เตรี ย มคู ่ มื อ การใช้ ง านไว้ ใ น ต�ำแหน่งที่ผู้ใช้งานสามารถศึกษา และทบทวนได้ ส ะดวก การจั ด ระเบี ยบในที่ ท� ำ งานช่ วยให้ สมอง เรี ย นรู ้ แ ละจดจ� ำ ได้ ร วดเร็ ว และ แม่นย�ำขึน้ ไม่สนิ้ เปลืองเวลาในการ ค้นหา และช่วยลดความเสียหาย ที่เกิดจากความผิดพลาด


INSIDE OKMD

สมองชอบสบาย

สภาพแวดล้ อ มทางกายภาพ ส่ ง ผลต่ อ การท� ำ งานเช่ น เดี ย วกั บ สภาพแวดล้อมทางจิตสังคม การจัด สถานทีท่ ำ� งานให้มอี ณ ุ หภูมเิ หมาะสม ไม่หนาวไม่รอ้ นจนเกินไป มีแสงสว่าง เพียงพอ มีความสะอาดปลอดภัย ไม่ต้องคอยหวาดระแวงในระหว่าง ท� ำ งานจะช่ ว ยสร้ า งบรรยากาศที่ เอื้อต่อการท�ำงานของสมอง ท�ำให้ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านท� ำ งานได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ

สมองต้องได้ลงมือปฏิบัติจริง

การวางแผนปฏิบัติงานโดยเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วม เพื่อให้สามารถน�ำแผนงาน ไปสูก่ ารปฏิบตั ไิ ด้จริง ผูป้ ฏิบตั งิ านควรมองเห็นต�ำแหน่งและหน้าทีข่ องตนเองอย่างชัดเจน ว่าอยูต่ รงส่วนไหนของแผนงานทัง้ หมด มีหน้าทีแ่ ละขอบเขตรับผิดชอบอย่างไร ต้องรับงาน จากแผนกหรือส่วนงานใดและจะส่งต่อไปให้ใคร รวมถึงใครเป็นผู้ควบคุมดูแลและ ให้ความช่วยเหลือเมือ่ ประสบปัญหาอุปสรรค เพือ่ ให้ผปู้ ฏิบตั งิ านสามารถบรรลุวตั ถุประสงค์ เมื่ อ อยู ่ ห น้ า งาน การปล่ อ ยให้ ส มองของผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านคาดเดาเอาเองโดยให้ ข ้ อ มู ล ไม่เพียงพอ นอกจากจะท�ำให้มองเป้ าหมายและกระบวนการท� ำ งานไม่ ชั ดเจนแล้ ว ยังอาจก่อให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล รวมถึงความท้อแท้เบื่อหน่าย ซึ่งส่งผลเสีย อย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการท�ำงาน

I

41


42

I

INSIDE OKMD

สมองไม่ชอบความเครียด

การทีร่ า่ งกายตกอยูใ่ นภาวะตึงเครียด จะท�ำให้มีการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมามากเกินความจ�ำเป็น ส่งผลเสียต่อความสามารถในการเรียกคืน ความทรงจ� ำ ท� ำ ให้ ห ลงลื ม และ ยังส่งผลต่ออารมณ์ ท�ำให้หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ขาดสมาธิ ซึ่งส่งผลเสียต่อ การท� ำ งานโดยรวม ดั ง นั้ น การลด ความเครียดในที่ท�ำงานจึงมีส่วนส�ำคัญ ในการเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการท� ำ งาน ของผู้ปฏิบัติงาน การสร้างบรรยากาศ ที่ ผ่อ นคลาย มี ช ่ ว งเวลาพั ก ผ่อ น จัดกิจกรรมออกก�ำลังกาย ยืดเส้นยืดสาย คลายความเครี ย ดของร่ า งกายเป็น วิธหี นึง่ ทีช่ ว่ ยลดความเครียด ลดการหลัง่ ฮอร์โมนคอร์ตซิ อล และช่วยให้ผปู้ ฏิบตั งิ าน ท� ำ งานได้ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข เต็ ม ตาม ศักยภาพของตนเอง

สมองต้องการการเสริมแรง

ความส� ำ เร็ จ คื อ ก� ำ ลั ง ใจที่ มี พ ลั ง ที่ สุ ด ส� ำ หรั บ ผู้ปฏิบัติงาน รางวัลหรือค�ำชมเป็นเพียงส่วนเสริม ให้เห็นถึงความส�ำเร็จชัดเจนยิ่งขึ้น การแบ่งระดับ ความส� ำ เร็ จ เป็ น ขั้ น ย่ อ ยๆ ช่ ว ยให้ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง าน มีแรงบันดาลใจที่จะผลักดันตนเองไปสู่การพัฒนา ทั ก ษะความสามารถเพื่ อ มุ ่ ง ไปสู่ค วามส� ำ เร็ จ ในขั้นที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีค�ำชมที่พร�่ำเพรื่อเกินไป ไม่ก่อให้เกิดผลในเชิงบวก เช่นเดียวกับการต�ำหนิ ทีไ่ ม่สร้างสรรค์จะท�ำให้ผปู้ ฏิบตั งิ านท้อใจ เสียก�ำลังใจ ในทางกลับกัน ความใส่ใจจากผู้บังคับบัญชา หรือ หัวหน้างาน ไม่ว่าจะเป็นค�ำชม การให้ก�ำลังใจ หรือ ค�ำแนะน�ำเพื่อแก้ไขปรับปรุงจุดบกพร่องให้ตรงจุด จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานมากกว่าในการ เพิม่ ประสิทธิภาพการท�ำงาน นอกจากนี้ การแสดงให้ ผู้ปฏิบัติงานตระหนักถึงความส�ำคัญของตนเองที่มี ต่อองค์กรนับเป็นแรงจูงใจอีกประการหนึ่งที่ท�ำให้ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านมี ใ จรั ก และทุ ่ ม เทให้ กั บ การท� ำ งาน อย่างเต็มความสามารถ


INSIDE OKMD

Science Youth Camp เตรียมความพร้อมเด็กและเยาวชนไทย สู่ตลาดแรงงาน นอกเหนื อ จากการพั ฒ นาบุ ค ลากรเพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพและลดปั ญ หาในการท� ำ งาน OKMD ยังเล็งเห็นว่าการเตรียมความพร้อมเด็กและเยาวชน เป็นงานส�ำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการ แข่งขันของประเทศ จึงได้มงุ่ เป้าหมายในการพัฒนาเด็ก และเยาวชน ให้สามารถเรียนรูไ้ ด้เต็มศักยภาพ มีทกั ษะ การเรียนรูด้ า้ นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีทกั ษะ ชีวติ ทีจ่ ำ� เป็นในศตวรรษที่ 21 มีคณ ุ ธรรมจริยธรรม และ สามารถปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้จัดกิจกรรมส่งเสริม การจัดการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “Science Youth Camp” ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย นระดั บ มัธยมศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี รวมถึงพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะ การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และความเข้าใจ ในเทคโนโลยีสมัยใหม่ กิจกรรม Science Youth Camp พัฒนาขึน้ บนพืน้ ฐาน

ของหลั ก การ BBL โดยมี ก รอบเนื้ อ หาสอดคล้ อ ง กั บ แนวคิ ด สะตี ม ศึ ก ษา (STE(A)M Education) ซึ่งประกอบด้วย วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิ ศ วกรรมศาสตร์ (Engineering) คณิตศาสตร์ (Mathematics) และ ศิลปะ (Arts) และ สอดรับกับทักษะจ�ำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น การเรียนรู้ และการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) การคิดเชิงวิพากษ์และการคิดแก้ปญ ั หา (Critical Thinking and Problem Solving) ความคิดสร้างสรรค์ และนวั ต กรรม (Creativity and Innovation) การสื่อสารและการท�ำงานเป็นทีม (Communication and Teamwork) ทักษะชีวติ และทักษะอาชีพ (Life and Career Skills) โดยหลั ก สู ต รกิ จ กรรมที่ พั ฒ นาขึ้ น เน้ น ความ หลากหลายทั้งด้านเนื้อหาและระดับความรู้ เพื่อให้ สอดคล้องกับวัยและความสนใจของผู้เรียน แบ่งเป็น 2 หลักสูตร คือ

I

43


44

I

INSIDE OKMD

1. หลักสูตรขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1 เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ผู้เรียนจะ ได้รับการปูพื้นความรู้ด้านหุ่นยนต์ เน้นให้เข้าใจภาพรวมและแนวคิด หลักของการเขียนโปรแกรม เรียนรู้ ระบบอั ต โนมั ติ ข องหุ ่ น ยนต์ และ สามารถประยุ ก ต์ ใ ช้ อ งค์ ค วามรู ้ เชิ ง ทฤษฎี ที่ ผู ้ เ รี ย นเคยผ่ า นมา ทั้งวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงการปูพนื้ ฐาน และต่อ ยอดความรู ้ ไ ปสู่ด ้ า น วิศวกรรมศาสตร์และศิลปะ โดยเรียนรู้ ผ่านหุ่นยนต์ mBot version1 2.4G

2

3

เทคโนโลยีการบินและอวกาศ ผูเ้ รียนจะได้ทำ� ความเข้าใจหลักการ ล อ ย ตั ว ข อ ง เ ค รื่ อ งร่อ น แ ล ะ อากาศยาน การทดลองประกอบ โดรน (Drone) การควบคุมการบิน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การฝึก ก า ร แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น แ ล ะ การท� ำ งานเป็น กลุ ่ ม ตลอดจน การเล่นเกมท�ำภารกิจให้ส�ำเร็จใน เวลาทีก่ ำ� หนด ซึง่ ผูเ้ รียนจะได้เรียนรู้ ทฤษฎีและหลักการต่างๆ ไปพร้อมกับ การลงมือปฏิบัติจริง

4 เทคโนโลยีเกมและแอนิเมชัน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ การเขี ย นโปรแกรมเชิ ง สร้ า งสรรค์ ด ้ ว ยซอฟต์ แ วร์ ส� ำ เร็ จ รู ป ซึ่ ง สอนพื้ น ฐานการเขี ย นโปรแกรมทั้ ง ใน รู ป แบบแอนิ เ มชั น แอปพลิ เ คชั น และเกม ซึ่ ง เป็ น สิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้เรียนที่เป็นเด็กและเยาวชน กระบวนการเรี ย นรู ้ เ น้ น การจุ ด ประกายความคิ ด สร้างสรรค์ และการลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing) ซึ่งผู้เรียนจะได้สร้างโปรแกรมของตนเองโดยมีผู้สอน คอยให้ ค� ำ แนะน� ำ ที ล ะขั้ น ตอน เน้ น ให้ ส ามารถใช้ กลุ่มค�ำสั่ง ภาษา และเครื่องมือในเชิงกว้าง รวมถึง แนะน�ำให้ผู้เรียนรู้จักเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนค�ำสั่ง เช่น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JavaScript รวมถึง การสร้างและออกแบบเว็บไซต์ด้วย HTML/CSS

เทคโนโลยีความจริงเสริม ผูเ้ รียน จะได้รับความรู้และทักษะเบื้องต้น เกี่ยวกับเทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality: AR) การใช้ งานโปรแกรม Unity 3D ที่ ใ ช้ ในการสร้างเกม รวมถึงการสร้าง แอปพลิ เ คชั น AR ด้ ว ยตนเอง การเขี ย นโปรแกรมในไมโคร คอนโทรลเลอร์ดว้ ยบอร์ด Micro:bit และได้ ล งมื อ สร้ า งฉาก ตั ว ละคร และการแข่ ง ขั น ที่ สนุ ก สนานผ่ า น การประยุกต์ใช้งานแอปพลิเคชัน AR

5 อินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (Internet of Things: IoT) ผูเ้ รียนจะได้เรียนรูแ้ ละพัฒนาทักษะพืน้ ฐานทีเ่ กีย่ วข้อง กับระบบอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ เข้าด้วยกัน และรู้ถึงประโยชน์และผลกระทบที่ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจ�ำวันทั้งในปัจจุบันและอนาคต กิจกรรมการเรียนมีทงั้ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบตั ิ เนือ้ หา ครอบคลุมตัง้ แต่พนื้ ฐานทางวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์และวงจร อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ และการเขี ย นโปรแกรมคอมพิ ว เตอร์ ใ ห้ ท� ำ งานบน เว็บเบราว์เซอร์ซงึ่ สามารถใช้งาน ผ่านคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์แบบพกพาสมัยใหม่แบบต่างๆ ได้ โดยผู้เรียน จะได้ทดลองต่อวงจรต่างๆ กับอุปกรณ์จริง ได้ใช้ความคิด สร้างสรรค์เพื่อสร้างอุปกรณ์ IoT ส�ำหรับระบบบ้าน อัจฉริยะ และระบบอื่นๆ ตามจินตนาการของตัวเอง


INSIDE OKMD

2. หลักสูตรขั้นต่อยอดความรู้ ประกอบด้วย 1 หลักสูตรเทคโนโลยีหุ่นยนต์ (แขนกล) ผู้เรียน จะได้ เ รี ย นรู ้ เ รื่ อ งหุ ่ น ยนต์ ป ระเภทต่ า งๆ แนวโน้ ม การใช้ ป ระโยชน์ จ ากหุ ่ น ยนต์ ใ นอนาคต พื้ น ฐาน กลศาสตร์ส�ำหรับการออกแบบหุ่นยนต์ การเคลื่อนที่ ของแขนกลต้ น แบบ พื้ น ฐานอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ส� ำ หรั บ หุ่นยนต์ และพื้นฐานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส�ำหรับ หุ ่ น ยนต์ นอกจากนี้ ยั ง มี โ อกาสได้ ล งมื อ ออกแบบ และประกอบแขนกล ต่ อ วงจรไฟฟ้ า เพื่ อ ควบคุ ม การเคลื่อนที่ของแขนกลต้นแบบ วงจรขับมอเตอร์และ การควบคุมมอเตอร์หุ่นยนต์ รวมถึงการสั่งงานแขนกล ให้ท�ำภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย

2 หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทเ่ี กีย่ วข้อง กั บ อุ ต สาหกรรมใหม่ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ความส� ำ คั ญ และการเชื่ อ มโยงของเทคโนโลยี ต ่ า งๆ ในแต่ละภาคส่วน ตั้งแต่อิเล็กทรอนิกส์ ระบบสมองกล ฝังตัว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์กราฟิก สมัยใหม่ทั้ง 2D และ 3D ระบบ VR ระบบ AR เกม และแอนิเมชัน ไปจนถึงการควบคุมเครื่องจักรต่างๆ เช่น ยานยนต์ อากาศยาน และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ผ่านโลกเสมือนจริง โดยเป็นการเรียนคู่ขนานกันไป ระหว่ า งการคิ ด ออกแบบสร้ า งสรรค์ แ ละการลงมื อ ปฏิ บั ติ จ ริ ง อย่ า งเข้ ม ข้ น ผู ้ เ รี ย นจะได้ ท ดลองเขี ย น โปรแกรมจริง ฝึกแก้ปญ ั หาเกีย่ วกับการออกแบบ รวมถึง ลงมือออกแบบและสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์รปู แบบใหม่ ซึง่ เกิดจากการรวมกันของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบ สมองกลฝังตัว และระบบเสมือนจริง

โดยทุกหลักสูตรได้น�ำไปใช้ในการจัดกิจกรรมกับนักเรียนและเยาวชนจากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและ อาชีวศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบัน และอยู่ในระหว่างขยายผล การจัดกิจกรรมไปสู่โรงเรียนมัธยมศึกษาในภูมิภาคอื่นของประเทศ เพื่อให้เยาวชนไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ และทักษะใหม่ๆ ทีอ่ าจจะไม่พบในชัน้ เรียนปกติ และเป็นการเตรียมความพร้อมเยาวชนทีส่ นใจเข้าสูต่ ลาดแรงงาน ที่ทันสมัยในโลกยุคใหม่ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

I

45


46

5

5ive

ต่อยอดไอเดียอาชีพ กับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการท�ำมาหากิน

5

ท้องถิ่นไทยในแต่ละพืน้ ที่ล้วนมีภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดบอกต่อกัน มาจากรุ่นสู่รุ่น เพียงแต่ในอดีตมักเป็นการ “ต่างคนต่างท�ำ” ท�ำให้เสียโอกาส ในการพัฒนาสินค้า บริการ และอาชีพใหม่ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการกินดีอยู่ดี ของคนในชุมชน เพื่อไม่ให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้อง “เสียของ” หลายภาคส่วน รวมถึง OKMD จึงเข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นรวมตัวกันน�ำทุนและองค์ความรูท้ มี่ ี ในพื้นที่มาใช้ ให้เกิดประโยชน์ น�ำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาด้วยความคิด สร้างสรรค์ ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ทมี่ เี อกลักษณ์เป็นของตนเอง เพื่อการท�ำมา หากินของคนในชุมชนและการพัฒนาท้องถิ่นให้ย่ังยืน จนปัจจุบันเราจึงได้เห็น สินค้าและบริการมากมายทีเ่ กิดขึ้นใหม่จากภูมปิ ญ ั ญาเดิม ดังเช่น 5 กลุม่ สินค้า ต่อไปนี้


5ive

1 งานย้อมสีจากธรรมชาติ หนึง่ ในภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ทีม่ กี ารต่อยอด ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ โดยอาศัยองค์ความรูท้ ถี่ า่ ยทอดกันมาตัง้ แต่ กระบวนการปลู ก ที่ เ หมาะกั บ สภาพ ภูมิศาสตร์ การคัดเลือกวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ฝ้าย ไหม ใยกัญชง การสร้างสีใหม่ๆ จากวัตถุดิบธรรมชาติที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ของท้ อ งถิ่ น เช่ น ใบหู ก วางให้ สี เ ขี ย ว อมเหลือง ฝักสะตอให้สีเทา การมัดลาย แบบต่างๆ ทัง้ ลายพืน้ เมืองและลายร่วมสมัย ไปจนถึงการประยุกต์ใช้กับสินค้าประเภท ต่างๆ เช่น เครื่องนุ่งห่ม เครื่องนอน ของ ตกแต่ง รวมถึงต่อยอดไปเป็นผลิตภัณฑ์อนื่ ๆ ตามสมัย เช่น หน้ากากผ้า กระเป๋าถือ

2 งานผ้าไทย ผ้ า ไทยเป็ น เอกลั ก ษณ์ ภู มิ ป ั ญ ญา ท้องถิ่นที่สืบสานมายาวนาน แต่ละพื้นที่ ต่างก็มผี า้ พืน้ เมืองทีเ่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน เช่น ผ้าไหมปักธงชัย จ.นครราชสีมา ผ้ากาบบัว จ.อุบลราชธานี ผ้าไหมแพรวา จ.กาฬสินธุ์ ผ้ า ขาวม้ า จ.ราชบุ รี ซึ่ ง มี ค วามโดดเด่ น แตกต่างกันทัง้ ในด้านรูปลักษณ์ สีสนั สัมผัส เรื่องราว และความหมาย ท�ำให้สามารถ น�ำไปพัฒนาและต่อยอดในรูปแบบต่างๆ ทั้งแบบอนุรักษ์รูปแบบและลวดลายดั้งเดิม ไปจนถึงแบบประยุกต์ให้รว่ มสมัย เพิม่ มูลค่า ให้แก่ผลิตภัณฑ์ เช่น พัฒนาไปเป็นสินค้า แฟชั่ น เครื่ อ งประดั บ เครื่ อ งแต่ ง กาย เครื่องนุ่งห่ม หีบห่อบรรจุภัณฑ์ เครื่องเรือน และของตกแต่งบ้าน

5

47


48

5

5ive

3 งานจักสาน ภู มิ ป ั ญ ญาไทยในการน� ำ วั ต ถุ ดิ บ ตาม ธรรมชาติ ที่ ห าได้ ใ นท้ อ งถิ่ น อาทิ หวาย ไม้ไผ่ กก มาผสานกับกระบวนการจักสานทีม่ ี ความเป็ น เอกลั ก ษณ์ สร้ า งสรรค์ เ ป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ครื่ อ งเรื อ นและเครื่ อ งใช้ ส อย ในท้องถิน่ ในอดีตมักผลิตเป็นของใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน เช่น ฝาบ้าน โต๊ะเก้าอี้ ฝาชี สุ่มไก่ ตะกร้ า เข่ ง กระชั ง แต่ ปั จจุ บัน ได้ มีก าร พัฒนาโดยนักออกแบบและช่างฝีมอื ท้องถิน่ มีการน�ำเอาวัสดุต่างๆ มาตีความ เล่าเรื่อง และต่อยอดให้กลายเป็นสินค้าที่มีความ ทันสมัย ใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น อาทิ กระเป๋าถือ กระเป๋าใส่คอมพิวเตอร์ โคมไฟ ไม้ ไ ผ่ ส าน ฉากกั้ น ห้ อ ง ซึ่ ง ช่ ว ยกระจาย รายได้ให้แก่ชุมชน ทั้งในด้านวัตถุดิบและ การผลิตโดยช่างฝีมือท้องถิ่น

4 งานเซรามิก หนึ่งในสินค้าส่งออกที่มีความส�ำคัญของไทย มีฐาน การผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดล�ำปาง จังหวัดราชบุรี จังหวัด สระบุรี จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดสมุทรสาคร โดย ผู้ประกอบการราว 70% อยู่ในจังหวัดล�ำปางซึ่งเป็น แหล่งดินขาวคุณภาพสูง ผลิตภัณฑ์เซรามิกของไทย ไม่เพียงมีคุณภาพดี แต่ยังมีเรื่องราวและภูมิปัญญา ที่ ส ะท้ อ นอยู่ใ นผลงาน ไม่ว ่ า จะเป็น ชามตราไก่ เครื่องเบญจรงค์ โอ่งมังกร ปัจจุบันนักออกแบบได้น�ำ องค์ความรู้ใหม่ๆ และความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ เข้ า กั บ งานผลิ ต เซรามิ ก มี ก ารตี ค วามเล่ า เรื่ อ งใหม่ เพือ่ สร้างสินค้าทีเ่ ข้ากับยุคสมัยมากขึน้ อาทิ งานเซรามิก ร่วมสมัยสไตล์อาร์ต ของโรงงานเซรามิคเถ้า ฮง ไถ่ จั ง หวั ด ราชบุ รี รวมถึ ง การต่ อ ยอดไปยั ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เช่ น สี เ คลื อ บเซรามิ ค “ไทยโทน” โดย เคลย์ช็อป (Clay Shop)


5ive

5 สมุนไพร ชีวติ ประจ�ำวันของคนไทยเกีย่ วพันกับการใช้สมุนไพร มาตั้ ง แต่ อ ดี ต ทั้ ง ในอาหารการกิ น เครื่ อ งดื่ ม ยา รักษาโรค และเครื่องส�ำอาง ปัจจุบันกระแสรักสุขภาพ ประกอบกั บ การก้ า วเข้ า สู่สั ง คมผู ้ สู ง อายุ ข อง หลายประเทศทั่วโลก กลายเป็นโอกาสของตลาดสินค้า สมุ น ไพรไทยเพื่ อ การดู แ ลสุ ข ภาพและความงาม เมือ่ ผสมผสานกับเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางการ ผลิ ต ท� ำ ให้ เ กิ ด การต่ อ ยอดสมุ น ไพรไทยไปเป็ น สิ น ค้ า ต่ า งๆ อย่ า งหลากหลาย อาทิ เครื่ อ งส� ำ อาง ผลิตภัณฑ์ทำ� ความสะอาด อาหารและเครือ่ งดืม่ สุขภาพ ยารั ก ษาโรคและอาหารเสริ ม ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส� ำ หรั บ สัตว์เลีย้ ง และยังขยายวงไปยังธุรกิจสปา สถานพยาบาล สถานเสริมความงาม แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น

5

49


T

TALK TO ZINE

LONg Table Symposium อาหารบ้านบ้าน

เชฟโบ ดวงพร ทรงวิศวะ เมื่อนึกถึงอาหารที่อร่อยที่สุดต้องนึกถึง “อาหารบ้านบ้าน” ที่สรรค์สร้างขึ้นจาก ความรักความเอาใจใส่ของคนในบ้าน และการถ่ายทอดสืบต่อกันมาของคนใน ท้องถิ่น แม้อาหารแต่ละบ้าน แต่ละถิ่น จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่ก็เป็น อัตลักษณ์ที่ “เชฟโบ” ดวงพร ทรงวิศวะ แห่งร้าน “โบ.ลาน” อยากเก็บรักษาไว้ และน�ำมา ถ่ายทอดให้คนในเมืองได้รับรู้ถึงความน่าสนใจและน่ากินของอาหารพื้นบ้านไทย 4 ภาค ในงานมหกรรมความรูค้ รัง้ ที่ 3 Long Table Symposium: อาหารบ้านบ้าน ตอน มรดกจากบรรพบุรุษ

เรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่และเรื่องส�ำคัญ ในอนาคตข้างหน้า อาหารจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่ หากขาดทรัพยากรที่สมบูรณ์อาหารจาก ธรรมชาติย่อมลดน้อยลงไปด้วย กิจกรรมการกินและการท�ำอาหารของมนุษย์ ส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้ไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับเราจะเลือกแบบไหน พวกเราใน ฐานะมนุษย์ต้องพยายามรักษาธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไว้ เพราะนั่นคือก้าวแรก ของวัฏจักรการรับประทานอาหารที่ดี และยั่งยืน ที่มา : www.okmd.or.th/knowledge-festival/video/kf3/466/

50

SCAN QR CODE

ดูเพิ่มเติม สแกนเลย!


WHAT's GOING ON

WHAT'S GOING ON 26-28 FEB 2021

อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์

The 3rd International Conference on Teaching, Learning and Education

งานมหกรรมนานาชาติ ที่ เ ปิ ด โอกาสให้ บุ ค คลากรทางการศึ ก ษา จากทั่วโลกได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อภิปราย รวมถึงน�ำเสนอผลงาน และแชร์ประสบการณ์กับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่างๆ เช่น การจั ด การศึ ก ษาส� ำ หรั บ เด็ ก ปฐมวั ย นโยบายการศึ ก ษาสาธารณะ การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) อีเลิร์นนิง (E-Learning) เป็นต้น อ้างอิง: www.ictle.com

20-23 FEB 2021

ซิดนีย์, ออสเตรเลีย

Life Instyle

งานแสดงสินค้าจากไอเดียและการสร้างสรรค์ของนักออกแบบจากทัว่ โลก รวบรวมสินค้าน่าสนใจจากหลากหลายบริษทั ชัน้ น�ำทัง้ ของใช้ในครัวเรือน ของขวัญของที่ระลึก สินค้าไลฟ์สไตล์ ผลิตภัณฑ์ส�ำหรับเด็ก ฯลฯ รวมถึง เป็นเวทีน�ำเสนอผลงาน แนวคิด และนวัตกรรมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับ การพั ฒ นาสิ น ค้ า เทคโนโลยี ก ารผลิ ต เทรนด์ โ ลก รวมถึ ง ไอเดี ย การออกแบบสินค้าและบริการที่สดใหม่ อ้างอิง: www.lifeinstyle.com.au

25-26 OCT 2021

บาหลี, อินโดนีเซีย

International Conference on Learning and Intellectual Capital (ICLIC 2021)

เปิดโลกการศึกษากับงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่รวบรวม นักวิทยาศาสตร์ นักวิจยั และนักวิชาการมาร่วมแลกเปลีย่ นประสบการณ์ และผลงานการวิ จั ย เกี่ ย วกั บ การเรี ย นรู ้ ทุ น ปั ญ ญา และทุ น มนุ ษ ย์ เพือ่ ประโยชน์แก่บคุ ลากรทางการศึกษาทุกระดับจากทัว่ โลก ในการน�ำไป พัฒนาและปรับใช้ในการจัดการเรียนรูใ้ ห้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพ สูงสุด อ้างอิง: waset.org/learning-and-intellectual-capital-conference-in-october-2021-in-bali

W

51


การผลิตผัก ปลอดสารพ�ษ เลี้ยงปลาในนาข าว เคร�่องจักสานล านนา เสร�มมงคล

ธุรกิจ Catering ขนมไทย

นํ้ามันงา สกัดเย็น

ไป ณ มหาชัย

ศูนย ความรู กินได SCAN

สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) The Office of Knowledge Management & Development


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.