CONTENTS 4 41 24 34
03 Word Power
24 DIGITONOMY
42 INSIDE OKMD
10 the knowledge
28 DECODE
46 5ive
หุน ่ ยนต์และระบบอัตโนมัติ นวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ และสั งคม
“หุน ่ ยนต์” ผู้ช่วยหรือคู่แข่ง?
ตัวเลขน่าสนใจ เกี่ยวกับสมองกล และหุน ่ ยนต์อุตสาหกรรม
OKMD กับการส่ งเสริม การเรียนรู้เกี่ยวกับ หุ่นยนต์
หลักสู ตรหุน ่ ยนต์น่าเรียน รองรับตลาดแรงงาน ในอนาคต
5 หุน ่ ยนต์เปลี่ยนโลก
18 one of a kind
32 NEXTPERT
50 talk to zine
20 next
40 ความรูก ้ ินได้
51 what's going on
Robotics
คน vs หุน ่ ยนต์ การแข่งขัน แห่งโลกอนาคต
ถอดความส� ำเร็จของญี่ป่ ุน “หุน ่ ยนต์” ช่วยเพิ่มคุณค่า ทางเศรษฐกิจและสั งคม
“วิชาหุน ่ ยนต์” ทักษะอาชีพแห่งอนาคต
Therapy Symposium สุ ขภาพองค์รวม
- Robosoft 2021 : IEEE International Conference on Soft Robotics - การแข่งขันหุน ่ ยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ ประเทศไทย รอบชิงชนะเลิศ - RoboCup 2022, การแข่งขันหุน ่ ยนต์ระดับโลก
Office of Knowledge Management and Development ที่ปรึกษา ดร.อธิปัตย์ บ�ำรุง ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ บรรณาธิการบริหาร ดร.อภิชาติ ประเสริฐ รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ฝ่ายศิลปกรรมและภาพถ่าย บริษัท โคคูน แอนด์ โค จำ�กัด 32 ซอยโชคชัย 4 ซอย 84 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230 โทรศัพท์ 0 2116 9959 และ 087 718 7324 จัดท�ำโดย ส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) 69 อาคารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้น 18-19 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2105 6500 โทรสาร 0 2105 6556 อีเมล theknowledge@okmd.or.th เว็บไซต์ www.okmd.or.th อนุญาตให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้ เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย จัดท�ำขึ้นภายใต้โครงการเผยแพร่กิจกรรมองค์ความรู้โดยส�ำนักงาน บริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เพือ่ สร้างแรงบันดาลใจ ในการน�ำองค์ความรูม้ าผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ เพือ่ ประโยชน์ ด้านการเรียนรู้ ต่อยอดธุรกิจ เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ
ผู้สนใจรับนิตยสารโปรดติดต่อ 0 2105 6520 หรือดาวน์โหลดที่เว็บไซต์ www.okmd.or.th/knowledge/okmd-magazine
word power
หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ นวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สแกน QR Code เพื่อรับชม GIF
ค�ำว่าหุ่นยนต์ (Robot) ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2464 โดยคาเรล ชาเปก (Karel Capek) นักเขียน ชาวเช็กโกสโลวาเกีย โดยปรากฏอยู่ในบทละครเรือ่ ง R.U.R. (Rossum’s Universal Robots) โดยในภาษาเช็ก ค�ำว่า Robot แปลว่า แรงงานที่ถูกบังคับ (Forced Labor) แต่ในโลกปัจจุบันหุ่นยนต์มีอิสระสามารถคิดและ เรียนรู้ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งท�ำให้มันสามารถท�ำงานได้อย่างอัตโนมัติ เพราะสามารถรับรู้และตอบสนองต่อ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวได้
W
3
4
W
word power
หุ่นยนต์ถูกน�ำมาใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา ราวปี พ.ศ. 2504 โดยท�ำหน้าที่ในการหยิบจับ อุปกรณ์ในกระบวนการหล่อโลหะโดยใช้แม่พิมพ์ 20 ปีต่อมา ผู้ผลิตในประเทศญี่ปุ่นได้ปรับใช้หุ่นยนต์ให้สามารถ ท�ำงานในสายงานการผลิต (Production Line) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุน และประหยัดแรงงาน มนุษย์ นับจากนัน้ มา หุน่ ยนต์ ได้ถกู น�ำมาใช้อย่างกว้างขวางในกระบวนการผลิตและการจัดการคลังสินค้า รวมถึง ใช้ในงานด้านอื่นๆ ในชีวิตประจ�ำวัน เราสามารถจัดล�ำดับวิวัฒนาการของหุ่นยนต์ได้ดังนี้
พ.ศ. 2490
พ.ศ. 2503
บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (General เริ่มมีการน�ำวงจรรวม (Integrated Circuit) Motors) ได้ ตั้ ง แผนกอั ต โนมั ติ ขึ้ น และคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มาใช้ เพื่อควบคุมดูแลระบบการท�ำงานของ ในการพัฒนาหุ่นยนต์ เครื่องจักรในสายการผลิต
พ.ศ. 2524
นวั ต กรรมด้ า นการออกแบบช่ว ยให้ หุ ่ น ยนต์ สามารถเคลื่ อ นไหวได้ อ ย่างรวดเร็ ว และ คล่อ งแคล่ว มากขึ้ น เริ่ ม มี ก ารน� ำ แขนกล มาใช้ในสายงานการผลิตของบริษัท มิตซูบิชิ ในประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2533
พ.ศ. 2504
เริ่ ม มี ก ารน� ำ หุ่น ยนต์ ม าใช้ ง านจริ ง ในประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า โดยใน ระยะแรกเป็น การใช้ ห ยิ บ จั บ สิ่ ง ของ ในกระบวนการหล่อโลหะ
พ.ศ. 2540
เริม่ มีการน�ำระบบอัตโนมัตมิ าเชือ่ มโยง คอมพิวเตอร์ ชื่อ ดีปบลู (Deep Blue) สามารถ เข้ากับกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจ เอาชนะ แกรี คาสปารอฟ (Garry Kasparov) (Business Process Management) แชมป์โลกหมากรุกสากลได้ส�ำเร็จ น�ำไปสู่การ พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์อย่างรวดเร็วและ จริงจัง
พ.ศ. 2554
บริษัท แอปเปิล คอมพิวเตอร์ พัฒนา “ซี รี ” หรื อ ที่ ค นไทยเรี ย กว่ า สิ ริ (SIRI) ซึง่ เป็นซอฟต์แวร์ทสี่ ามารถจดจ�ำเสียงได้ ท� ำ ให้ เ กิ ด การตื่ น ตั ว ในการพั ฒ นา เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality: VR)
พ.ศ. 2543
บริษัท ฮอนด้า ประเทศญี่ปนุ่ เปิดตัว อาซิโม (Advanced Step in Innovation Mobility: ASIMO) หุน่ ยนต์ฮวิ แมนนอยด์ (Humanoid Robot) หรือหุ่นยนต์ที่มี ลักษณะเหมือนมนุษย์
word power
ในระยะแรกหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ทดแทนแรงงานมนุษย์ในงานที่ต้องใช้ก�ำลัง งานที่มีความเสี่ยงสูง และงานที่ต้องท�ำซ�้ำๆ ในสายการผลิตทีต่ อ้ งการความแม่นย�ำ สม�่ำเสมอ และไม่หยุดหย่อน การน�ำหุ่นยนต์มาใช้ท�ำให้ระยะเวลาที่ต้องหยุดการท�ำงาน (Downtime) ที่เกิดจากอุบัติเหตุและความผิดพลาด ของมนุษย์ลดลงมาก รวมถึงลดของเสียที่เกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพในการผลิต แต่ในปัจจุบัน หุ่นยนต์ ได้ถูกพัฒนาให้เป็นมากกว่าหุ่นยนต์ที่ท�ำงานอันตรายและงานจ�ำเจน่าเบื่อหน่ายแทนมนุษย์ แต่เป็นเสมือนผู้ช่วย อัจฉริยะที่ฉลาดขึ้น รวดเร็วขึ้น ขนาดเล็กลง ราคาถูกลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมารองรับ อาทิ
ระบบอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things: IoT)
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)
การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning)
การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning)
เป็น เทคโนโลยี ที่ ท� ำ ให้ ม นุ ษ ย์ สามารถเชื่อมต่อและสั่งการอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ตา่ งๆ ผ่านทางเครือข่าย อิ น เทอร์ เ น็ ต รวมถึ ง ท� ำ ให้ หุ ่ น ยนต์ ติ ด ต่อ สื่ อ สารและท� ำ งานได้ อ ย่าง ประสานสอดคล้องกันในทันทีทันใด
เป็น การท� ำ ให้ เ ครื่ อ งจั ก รและ หุน่ ยนต์สามารถเรียนรูส้ งิ่ ต่างๆ ได้ดว้ ย ตนเอง รวมถึ ง สามารถวิ เ คราะห์ เชื่อมโยง เพื่อหาค�ำตอบที่ถูกต้องที่สุด โดยไม่ต้องสอน
ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยีต่างๆ ข้างต้น ปัจจุบันเราจึงได้เห็น รถเก็บเกี่ยวขนาดใหญ่ที่สามารถวิ่งไปมาตามร่องปลูกพืชผัก พร้อมระบบเซ็นเซอร์ทชี่ ว่ ยให้สามารถเก็บเกีย่ วผลผลิตได้อย่าง แม่นย�ำ พร้อมสายพานล�ำเลียงทีส่ ามารถแยกขนาดของผลผลิต ได้ โ ดยอั ต โนมั ติ พร้ อ มด้ ว ยระบบการบริ ห ารจั ด การฟาร์ ม ทั้ ง การปลู ก การให้ น�้ ำ ให้ ปุ ๋ ย การเก็ บ เกี่ ย ว การเก็ บ รั ก ษา การบรรจุหบี ห่อ และการขนส่ง ทีใ่ ช้หนุ่ ยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการท� ำ งานและประหยั ด แรงงาน นอกจากนี้ หุ่นยนต์จ�ำนวนไม่น้อยถูกน�ำมาใช้ในชีวิตประจ�ำวัน และในภาคบริการ เช่น หุ่นยนต์พนักงานต้อนรับ หุ่นยนต์ เสิร์ฟอาหาร หุ ่ น ยนต์ แ จกใบปลิ ว ตามทางเดิ น เท้า หุ่นยนต์ ท�ำความสะอาด หุน่ ยนต์ดแู ลผูส้ งู อายุ เป็นต้น หุน่ ยนต์ที่ท�ำงาน ร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงเหล่านี้ เรี ย กว่ า Cobot (Collaborative Robot) ซึ่ ง ท� ำ หน้ าที่ เป็น ผู้ช่วยของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในภาคการเกษตร การผลิต และ การบริการ
เป็น เทคโนโลยี ที่ ท� ำ ให้ หนุ่ ยนต์ สามารถเรียนรู้ วิเคราะห์ และตัดสินใจ ได้ดว้ ยตัวเองอย่างชาญฉลาด มีความ สามารถในการท�ำงานทีซ่ บั ซ้อนมากขึน้
เป็น เทคโนโลยี ที่ เ ลี ย นแบบการ ท�ำงานของสมองมนุษย์ ในรูปแบบของ “โครงข่ายประสาทเทียม” (Artificial Neural Network: ANN) ซึ่งช่วยให้ หุ ่ น ยนต์ ส ามารถจดจ� ำ แยกแยะ วิเคราะห์ และท�ำงานทีม่ คี วามซับซ้อน มากขึ้นได้ไม่จ�ำกัด
หากแบ่งตามประเภทของเทคโนโลยี ภายในหุน่ ยนต์เราอาจแบ่งหุน่ ยนต์ ออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robot) ซึ่ ง ถู ก โปรแกรมมาให้ ท� ำ งานขั้ น ตอนซ�้ ำ ๆ ในระบบ การผลิ ต และ หุ ่ น ยนต์ บ ริ ก าร (Service Robot) ซึ่งถูกน�ำมาใช้ ในงานสาขาอาชีพอื่นๆ ที่ไม่ใช่ อุตสาหกรรมการผลิต สามารถ ท� ำ งานร่ ว มกั บ มนุ ษ ย์ ใ นชี วิ ต ประจ�ำวันทัว่ ไปได้มากกว่าหุน่ ยนต์ ประเภทแรก
W
5
6
W
word power
อนาคตประเทศไทย กับการพัฒนา อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ในภาคผลิตของไทยในปัจจุบนั ท�ำให้ เราต้องอาศัยแรงงานจากประเทศ เพื่อนบ้านจ�ำนวนมาก ประกอบกับ ประเทศก�ำลังก้าวสู่การเป็นสังคม ผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และมีจ�ำนวน ประชากรวั ย ท� ำ งานลดน้ อ ยลง เป็นเหมือนตัวกระตุน้ ให้ประเทศต้อง หันมาพิจารณาอย่างจริงจังถึงการ ใช้ หุ ่ น ยนต์ แ ละระบบอั ต โนมั ติ ในภาคการผลิ ต เพื่ อ แก้ ป ั ญ หา ดังกล่าว เนือ่ งจากขณะนีป้ ระเทศไทย ยั ง พึ่ ง พาแรงงานมนุ ษ ย์ เ ป็ น หลั ก
โดยในจ�ำนวนแรงงาน 10,000 คน เรามี หุ ่ นยนต์เพียง 50 ตัวเท่านั้น ขณะที่ประเทศที่มีความเจริญทาง เทคโนโลยี ใ นระดั บแนวหน้ าจะมี การใช้หุ่นยนต์ราว 100 - 300 ตัว และคาดว่ า ในอี ก ไม่ กี่ ป ี ข ้ า งหน้ า ความต้ อ งการใช้ หุ ่ น ยนต์ ทั่ ว โลก อาจเพิ่มสูงขึ้นอีกเกือบ 2 เท่า นอกจากนี้ สถานการณ์ ก าร แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (Covid-19) ในช่วงเดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา เป็นเหมือน ตัวเร่งให้ประเทศไทยต้องปรับตัว
รั บ เอาเทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล มาใช้ ในการท�ำงานและในชีวติ ประจ�ำวัน เร็ ว ขึ้ น กว่าที่ เ คยคาดการณ์ กั น ไว้ จากข้ อ มู ล พบว่า ผู ้ ป ระกอบการ ในอุ ต สาหกรรมหุ ่ น ยนต์ แ ละ การควบคุ ม แบบอั ต โนมั ติ มี ก าร ลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 651 ล้านบาท และ มี ก ารใช้ หุ ่ น ยนต์ อุ ต สาหกรรม เพิ่ มขึ้ น เป็ น 10,000 ถึ ง 20,000 หน่วย เพื่อทดแทนแรงงานมนุษย์ ที่ ไ ด้ รั บผลกระทบจากโรคระบาด และจ�ำเป็นต้องเก็บตัวอยู่บ้าน
จากการศึ ก ษาของคณะท� ำ งานประสานงานด้ า นการพั ฒ นา บุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษตะวันออก (Eastern Economic Corridor Human Development Center: EEC HDC) คาดว่าความต้องการ แรงงานทีม่ ที กั ษะสูงด้านหุน่ ยนต์ในพืน้ ทีเ่ ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะอยู่ระหว่าง 30,000 ถึง 50,000 คน และด้วยการพัฒนา โครงข่าย 5G ที่ก�ำลังด�ำเนินการอยู่จะน�ำไปสู่ระบบการผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) ซึ่งเป็นการบูรณาการการท�ำงานระหว่าง ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และระบบคลาวด์ (Cloud) ในกระบวนการผลิตอย่าง มีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาประเทศไทยน�ำเข้าหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจนขาด ดุลการค้าเป็นมูลค่าถึง 132,000 ล้านบาท รัฐบาลจึงมีมาตรการเพื่อ ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมหุน่ ยนต์และระบบอัตโนมัตใิ นประเทศ เพิ่มมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี พ.ศ. 2569 ประเทศไทยจะ มีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ผลิตได้เอง ไม่ต้องน�ำเข้าชิ้นส่วนใดๆ จากต่างประเทศ ตลอดจนสามารถขยายไปสูภ่ าคบริการ เช่น การแพทย์ โลจิสติกส์ การท่องเทีย่ ว และบริการอืน่ ๆ ได้อย่างมัน่ คง ก้าวสูก่ ารเป็น ผู้น�ำในการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม และบริการของอาเซียน ดั ง นั้ น การวางยุ ท ธศาสตร์ ใ นทุ ก ระดั บ การพั ฒ นา ทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง การปรับ กระบวนการผลิตและการบริการ รวมถึงวางแผนในการน�ำ เทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ ม าใช้ ใ นการบริ ห ารจั ด การจึ ง เป็ น ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ของความส� ำ เร็ จ ทั้ ง ในระดั บ องค์ ก รและ ในระดับประเทศ
word word power power
ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเทศไทย 4.0 รัฐบาลไทยให้ความส�ำคัญกับนโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ในการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ที่เน้น การใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และ เทคโนโลยี ในการขับเคลื่อนและยกระดับเศรษฐกิจ และสังคม โดยเน้นภาคธุรกิจแห่งอนาคตที่สามารถ สร้ า งมูลค่าและคุณค่าเพิ่มในระดับสูง ซึ่งแน่นอนว่า ต้องเกีย่ วข้องกับการน�ำเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั มาใช้งานร่วมกับ เทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ ต ่ างๆ เช่ น หุ ่ น ยนต์ แ ละระบบ อัตโนมัติ ระบบอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่องจักร ฯลฯ เพือ่ สร้างสรรค์นวัตกรรม เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ และยกระดั บ ขี ด ความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ นอกจากนี้ อีกหนึ่งประเด็นเร่งด่วนที่รัฐให้ความส�ำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือ การยกระดับศักยภาพคนไทยเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยมีการบรรจุในแผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อาทิ
แผน 4
แผน 11
แผน 12
แผน 23
การพัฒนาและยกระดับ อุตสาหกรรมและบริการ แห่ ง อนาคต ครอบคลุ ม อุตสาหกรรมและบริการ ดิจิทัล ข้อมูล และปัญญา ประดิษฐ์
การพั ฒ นาศั ก ยภาพ คนตลอดช่ ว งชี วิ ต การ พัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการเรียนรู้ของคน และ การพัฒนาทักษะส�ำหรับ ศตวรรษที่ 21
การพัฒนาการเรียนรู้ ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 และ การส่ ง เสริ ม พหุ ป ั ญ ญา ที่หลากหลาย
การวิ จั ย และพั ฒ นา น วั ต ก ร ร ม ที่ เ น ้ น ก า ร พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ท า ง เ ท ค โ น โ ล ยี แ ล ะ วิทยาศาสตร์ การเพิม่ การ ลงทุนด้านการศึกษาวิจัย และพั ฒ นาของประเทศ การสร้างมูลค่าเพิ่มจาก ผลงานวิจยั และนวัตกรรม ในภาคธุรกิจต่างๆ และ การส่งเสริมวิสาหกิจที่ใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
W
7
8
W
word power
นอกจากนี้ ในยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ของกระทรวงอุตสาหกรรม ยังระบุวา่ ภาครัฐได้มองถึง การน� ำ เครื่ อ งมื อ อุ ป กรณ์ อั จ ฉริ ย ะ หุ ่ น ยนต์ และเครื่ อ งกลที่ ใ ช้ ร ะบบ อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนาประเทศ ให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศ ทีม่ รี ายได้สงู โดยการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมดัง้ เดิมทีเ่ คยเป็นกลไกหลัก ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สู่กลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ใช้เทคโนโลยี ขั้ น สู ง มี ก ารพั ฒ นาในด้ า นความคิ ด สร้ า งสรรค์ และนวั ต กรรมต่ างๆ แบ่งออกเป็น 1
2
3
การลงทุน ในอุตสาหกรรม กลุ่มเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) ซึ่ ง เป็ น อุ ต สาหกรรมที่ ประเทศไทยมี ศั ก ยภาพ ความเชี่ยวชาญในการผลิต และเป็ น อุ ต สาหกรรมที่ มี ศักยภาพในการสร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจ สร้างมูลค่า การค้าเป็นจ�ำนวนมาก
การแสวงหาและพัฒนา 5 อุตสาหกรรมแห่ง อนาคต (New S-Curve) ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม ใหม่ ที่ มี ก ารใช้ เ ทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างเข้มข้น มีศักยภาพที่จะเติบโตและ เป็นกลไกขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ ประเทศในอนาคต
การต่อยอดกลุ่ม อุตสาหกรรมที่ควรปฏิรูป (Second Wave S-Curve) ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ มี ก ารใช้ เ ทคโนโลยี แ บบ เดิมๆ ในการผลิต ท�ำให้มี ศักยภาพในการเติบโตจ�ำกัด
ยานยนต์ การแปรรูป สมัยใหม่ อาหาร
การบินเเละ หุ่นยนต์ โลจิสติกส์ (Robotics)
สิ่งทอเเละ แก้วเเละ เครื่องนุ่งห่ม กระจก
ท่องเที่ยว เกษตรเเละ เทคโนโลยี ชีวภาพ
เชื้อเพลิง ชีวภาพเเละ เคมีชีวภาพ
อัญมณีเเละ ปิโตรเคมี เครือ่ งประดับ เเละ พลาสติก
อิเล็กทรอนิกส์ อัจฉริยะ
อุตสาหกรรมแห่งอนาคต Future Industry
การแพทย์ ครบวงจร
ดิจิทัล
โลหะ
เซรามิก
ปูน เครื่อง ไม้ ซีเมนต์ หนัง แปรรูป
word power
ในกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 3 กลุ่มข้างต้น อุตสาหกรรมกลุ่มที่ 1 (First S-Curve) และ กลุ่มที่ 2 (New S-Curve) เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมี 5 กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็น ตัวช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทั้ง 2 กลุ่ม ประกอบด้วย
1
First S-Curve
2
New S-Curve
ยานยนต์สมัยใหม่
หุ่นยนต์
อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
การบินและโลจิสติกส์
การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เกษตรและ เทคโนโลยีชีวภาพ
เชื้อเพลิงชีวภาพและ เคมีชีวภาพ
การแปรรูปอาหาร
การแพทย์ครบวงจร
ดิจิทัล
ในส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotech) นั้น แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1 หุน่ ยนต์บริการทีส่ ร้างมูลค่า เช่น หุ ่ น ยนต์ แ ละระบบอั ต โนมั ติ ด ้ า น การแพทย์ การศึกษา การเกษตร และหุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้สูงอายุและ ให้บริการสังคม
2 หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมที่สามารถต่อยอดและส่งเสริมอุตสาหกรรม กลุ่มอื่นได้ เช่น หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ กระบวนการฉีดพลาสติก และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยแนวโน้ม ของเทคโนโลยีในกลุ่มนี้ ได้แก่ เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เทคโนโลยีหนุ่ ยนต์อตุ สาหกรรม การใช้อปุ กรณ์และเซ็นเซอร์ ไร้สาย เป็นต้น
แม้ จ ะยั ง คงมีความกังวลว่าเทคโนโลยีและเครื่ อ งจั ก รกลจะเข้ า มา แย่งงานในระบบแรงงาน แต่การพัฒนาที่ผ่านมาก็เป็นเครื่องพิสูจน์แล้ว ว่าหุ่นยนต์ ไม่ได้เข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ได้ในทุกกรณี หลายบริษัทที่ ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตได้ส�ำเร็จ พบว่า หุ่นยนต์เข้าไปเสริมการท�ำงาน ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพดีขึ้น ขณะที่แรงงานมนุษย์บางส่วนได้รับ การพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปท�ำหน้าที่ในต�ำแหน่งงานอื่นๆ ท�ำให้มีธุรกิจ ขยายตัวมากขึ้น ส่วนคนท�ำงานที่ได้รับการพัฒนาความรู้ขึ้นเป็นผู้ควบคุม ระบบหุ่นยนต์ก็สามารถมีรายได้ที่สูงขึ้น และมีโอกาสก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น OKMD ในฐานะหน่วยงานส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงได้รวบรวม องค์ ค วามรู ้ แ ละอั ป เดตเทรนด์ โ ลกที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ หุ ่ น ยนต์ แ ละระบบ อัตโนมัติ ด้วยหวังว่าจะช่วยเปิดสมอง กระตุ้นแรงบันดาลใจ และส่งเสริม ให้เกิดการพัฒนาหุ่นยนต์ทั้งในเชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ และ สร้างความเปลี่ยนแปลงในภาคการผลิตและบริการไทย ให้ก้าวทันกระแส การเปลี่ยนแปลงของโลก และสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ
W
9
10 10
T
The Knowledge
“หุ่นยนต์” ผู้ช่วยหรือคู่แข่ง? หุ่นยนต์ ในจินตนาการของคุณหน้าตาเป็นอย่างไร? หลายคนอาจนึกถึงภาพของหุ่นยนต์ หน้าตาล�้ำยุคในภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ เช่น หุ่นดรอยด์ ในภาพยนตร์เรื่องสตาร์วอร์ส (Star Wars) หรือ หุ่นที่มาช่วยต่อสู้กู้โลกอย่าง บัมเบิลบี (Bumblebee) ในภาพยนตร์เรื่อง ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส (Transformers) ซึ่งในอนาคตหุ่นยนต์ประสิทธิภาพสูงเหล่านี้อาจไม่ได้มี อยู่เพียงในโลกจินตนาการอีกต่อไป แม้ปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์ของโลกยังจัดอยู่ในช่วง “ก�ำลังพัฒนา” แต่ทุกวันนี้หุ่นยนต์ ก็เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ�ำวันของเรามากมาย ในหลากหลายรูปแบบ เช่น หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ทีส่ ามารถเดินซอกแซกก�ำจัดฝุน่ ไปทัว่ บ้านและเดินกลับมาชาร์จไฟได้เอง หรือ อเล็กซา (Alexa) ผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistant) ของแอมะซอน (Amazon) ที่ผู้ใช้สามารถสั่งงานด้วยเสียง ไปยังอุปกรณ์หรือล�ำโพงเพือ่ ให้อเล็กซาควบคุมอุปกรณ์อจั ฉริยะภายในบ้าน รวมถึงท�ำตามค�ำสัง่ อื่นๆ และช่วยอ�ำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น สั่งงานหุ่นยนต์ ดู ด ฝุ่น อั จ ฉริ ย ะ สั่ ง ให้ เ ปิ ด -ปิ ด ไฟแสงสว่ า งและปลั๊ ก ไฟ หรื อ แม้ แ ต่ ค วบคุ ม ระบบรั ก ษา ความปลอดภัยในบ้าน นอกจากนี้ ระบบเอไออัจฉริยะของอเล็กซายังช่วยให้มนั มีความสามารถ ใกล้เคียงกับผู้ช่วยที่เป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่วยหาค�ำตอบของค�ำถามทั่วไปผ่าน การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ค�ำนวณโจทย์คณิตศาสตร์ รายงานข่าวประจ�ำวัน ค้นหาและ อ่านบทความจากเว็บไซต์ต่างๆ อ่านหนังสือเสียงให้ฟัง โทรหาผู้คนในสมุดรายชื่อ จองเที่ยวบิน แจ้งตารางงานที่บันทึกไว้ในปฏิทินกูเกิล (Google Calendar) สร้างรายการสิ่งที่ต้องท�ำ (To-Do List) ไปจนถึงสั่งซื้อของจากเว็บไซต์แอมะซอน หรือสั่งอาหารเดลิเวอรี
The Knowledge
9 เทรนด์หุ่นยนต์
ที่จะมีบทบาทส�ำคัญในอนาคตอันใกล้ เดิมทีงานหลักของหุน่ ยนต์ทเี่ ราคุน้ เคยกันดีคอื การผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรมและ โรงงานประกอบชิ้นส่วนที่ต้องท�ำงานซ�้ำๆ กันตลอดเวลา แต่เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่พัฒนาอย่าง รวดเร็วในช่วงหลายปีนี้ ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ท�ำให้ ประสิทธิภาพของหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นจนสามารถเข้ามาช่วยงานมนุษย์ได้มากมาย หลากหลาย หน้าที่ จนหลายคนเริม่ กลัวว่าในอนาคตอันใกล้นี้ หุน่ ยนต์จะไม่เพียงมา “ช่วยงาน” แต่อาจมา “แย่งงาน” มนุษย์ ในหลายๆ ต�ำแหน่งงานก็เป็นได้
มาดูกนั ว่าหุน่ ยนต์ ทีก่ ำ� ลังจะเข้ามา มีบทบาทส�ำคัญ ในการท�ำงานและ ในธุรกิจต่างๆ มีอะไรบ้าง
SCAN QR CODE เพื่อรับชม Clip
T
11 11
12
T
The Knowledge
1 หุน่ ยนต์ขนส่งอัตโนมัติ ช่วงไม่กี่ปที ี่ผ่านมา การพัฒนายานยนต์ขับเคลื่อน อัตโนมัตกิ า้ วหน้าไปอย่างรวดเร็ว เราเริม่ เห็นบริษทั รถยนต์ ชั้นน�ำปล่อยต้นแบบยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติออกมา ทดสอบกันมากขึ้น โดยเป็นการน�ำเทคโนโลยีรถยนต์และ หุ่นยนต์ มาผสมผสานกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ ของเครื่อง หลายประเทศมีการน�ำยานยนต์ขับเคลื่อน อัตโนมัติมาใช้งานจริง เช่น รถไฟฟ้าอัตโนมัติไร้คนขับ (ประเทศญี่ปุ่น) รถเมล์ ไร้คนขับ (ประเทศสิงคโปร์) รถราง ไร้คนขับ (ประเทศรัสเซีย) รถไฟโดยสารไร้ราง-ไร้คนขับ (ประเทศจีน) โรโบแท็กซี่ไร้คนขับ (ประเทศจีน) และ อีกไม่นานเราคงจะได้ใช้รถยนต์ที่ไม่ต้องขับเอง ซึ่งจะช่วย อ�ำนวยความสะดวกและคาดว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุได้ อย่างมาก
นอกจากการขนส่งผู้โดยสาร บริษัทโลจิสติกส์ชั้นน�ำทั่วโลกยังมีการพัฒนาหุ่นยนต์และโดรน เพือ่ การขนส่งสินค้า เช่น แอมะซอนก�ำลังพัฒนาบริการเดลิเวอรีโดยใช้โดรน หรือ Amazon Prime Air Drone Delivery ซึง่ ให้บริการจัดส่งพัสดุทมี่ นี ำ�้ หนักไม่เกิน 5 ปอนด์ หรือ 2.27 กิโลกรัม ภายใน 30 นาที ในอีกด้านหนึง่ ร้านสะดวกซือ้ อย่างเซเว่น อีเลฟเว่น ได้จบั มือกับบริษทั ผูผ้ ลิตโดรนชัน้ น�ำ อย่างเฟลิร์ตเทย์ (Flirtey) สร้างโดรนเชิงพาณิชย์จ�ำนวน 77 ตัว เพื่อให้บริการส่งสินค้าในเมือง รีโน มลรัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา ประเดิมด้วยการส่งสินค้าแก่ลูกค้า 12 ราย ที่อาศัยอยู่ในรัศมี 1 ไมล์ หรือ 1.61 กิโลเมตรจากร้าน ท�ำให้เซเว่น อีเลฟเว่น เป็นผูใ้ ห้บริการจัดส่งสินค้าด้วยโดรนได้ ส�ำเร็จเป็นรายแรกในสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับแบรนด์พซิ ซ่าอย่างโดมิโนส์ (Domino’s) ทีอ่ อกมา ประกาศความส�ำเร็จในการจัดส่งพิซซ่าด้วยโดรนให้แก่ลูกค้ารายแรกในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ที่ยกระดับบริการเดลิเวอรีไปอีกขั้น
The Knowledge
2 หุน่ ยนต์รกั ษาความปลอดภัย หุ่นยนต์ที่มีชื่อเหมือนหลุดออกมาจากภาพยนตร์นี้ ท�ำหน้าที่รักษาความปลอดภัย ป้องกัน เฝ้า ส�ำรวจพื้นที่ ที่ต้องการ และแจ้งให้เจ้าของทราบทันทีหากมีความ ผิดปกติเกิดขึ้น เดิมทีถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทางการทหาร เช่น ใช้ในการวางระเบิดหรือปลดระเบิด หรือสอดแนม กิจกรรมของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นงานอันตรายส�ำหรับ ทหาร แต่ปจั จุบนั มีการน�ำมาประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน มากขึ้น เช่น เฝ้าบ้านเมื่อไม่มีคนอยู่บ้าน หรือใช้ในการ ตรวจสอบสภาพดิน น�้ำ อากาศ หรือเก็บข้อมูลในพื้นที่ ที่ต้องการศึกษา โดยผู้ใช้งานเพียงส่งหุ่นยนต์ไปยัง ต�ำแหน่งที่ต้องการและควบคุมหุ่นยนต์จากระยะไกล ให้ทำ� การตรวจสอบกิจกรรมในสถานทีน่ นั้ ๆ โดยไม่ตอ้ ง เดินทางไปด้วยตัวเอง
3 หุน่ ยนต์ชว่ ยท�ำอาหาร หลั ง จากเหน็ ด เหนื่ อ ยจากการท� ำ งานมาทั้ ง วั น จะดี ไ หมหากมี หุ ่ น ยนต์ ช ่ ว ยเตรี ย มอาหารให้ พ ร้ อ ม รับประทานทันทีทกี่ ลับถึงบ้าน? ปัจจุบนั มีผพู้ ฒ ั นาหุน่ ยนต์ ที่สามารถปรุงอาหารได้สารพัดเมนู เพียงแค่เลือกชื่อ อาหาร ก�ำหนดปริมาณและส่วนผสมของอาหาร ส่วนทีเ่ หลือ หุ่นยนต์จะจัดการปรุงอาหารให้เอง หุ่นยนต์ท�ำอาหารมีความสามารถในการเรียนรู้วิธี การท�ำอาหารของมนุษย์ เพียงให้ดูวิธีการท�ำอาหาร แค่ครั้งเดียว กล้องในตัวหุ่นยนต์จะบันทึกท่าทางการ เคลื่อ นไหวและขั้นตอนการท�ำอาหารทั้งหมดเอาไว้ จากนัน้ หุน่ ยนต์จะเลียนแบบและปรุงอาหารทีเ่ หมือนกัน ออกมาเสิร์ฟให้ถึงที่ ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น โมเลย์ โรโบติกส์ (Moley Robotics) ชาโดว์ โรบอต (Shadow Robot) ซึ่งผลิต หุ่นยนต์ท�ำอาหารป้อนให้แก่โรงแรม ร้านอาหาร และ บ้านพักอาศัยหลายแห่งทั่วโลก
T W
13
14
T
The Knowledge
4 หุน่ ยนต์ผชู้ ว่ ยแพทย์ ปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์นับว่า ก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะเมือ่ มีการประดิษฐ์หนุ่ ยนต์ ทีช่ ว่ ยในการผ่าตัดได้สำ� เร็จ โดยไม่นานมานี้ กูเกิล และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ท�ำงานร่วมกันเพื่อสร้าง หุน่ ยนต์ทางการแพทย์รนุ่ ใหม่ทจี่ ะไม่ได้เป็นเพียงผูช้ ว่ ย ผ่าตัดเหมือนในอดีต แต่จะเข้ามาแทนที่ศัลยแพทย์ ในการเป็นผู้ผ่าตัดหลัก นั่นคือ ไมโครบอต (Microbot) และนาโนบอต (Nanobot) ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว ระดับนาโนเมตรทีส่ ามารถท�ำงานทีต่ อ้ งการความถูกต้อง และแม่น ย� ำ สู ง สุ ด เช่น การผ่าตั ด ที่ ล ะเอี ย ดอ่อ น การให้ยาเฉพาะจุดแก่คนไข้ หรือการค้นหาเนื้องอกที่ เป็นมะเร็งแล้วฉีดยาหรือตัดออกเฉพาะที่ โดยตั้งเป้า ให้เป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยลดข้อผิดพลาดอันเกิดจาก ข้อจ�ำกัดของมนุษย์ และเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ให้ดีขึ้นและตรงจุดยิ่งขึ้น
5 หุน่ ยนต์ผชู้ ว่ ยครู ปัจจุบันมีการน�ำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้ในวงการ การศึกษามากขึน้ ในฐานะผูช้ ว่ ยสอน แต่ยงั ไม่สามารถท�ำ หน้าที่ครูได้ด้วยตัวเองทั้งหมด สิ่งที่หุ่นยนต์ท�ำได้ขึ้นอยู่ กับงานที่ตงั้ โปรแกรมไว้ลว่ งหน้า โดยส่วนมากมักใช้ใน กิจกรรมการสอนภาษา ล่าสุดได้มกี ารพัฒนาหุน่ ยนต์ให้เป็นตัวแทนนักเรียน ที่ ไ ม่ ส ามารถไปโรงเรี ย นได้ ด ้ ว ยตั ว เอง เช่ น เด็ ก ที่ ป่วยหนัก หรือเด็กทีต่ อ้ งเก็บตัวอยูบ่ า้ นในช่วงทีม่ โี รคระบาด โดยเด็กจะเห็นและเรียนผ่านกล้องที่ติดอยู่ที่หุ่นยนต์ และควบคุมหุน่ ยนต์ให้ทำ� สิง่ ต่างๆ ทีต่ อ้ งท�ำในห้องเรียน ได้จากโรงพยาบาลหรือที่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการสร้าง หุน่ ยนต์ทดี่ คู ล้ายมนุษย์ เรียกว่า ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid) เพื่อช่วยในการสื่อสารและตอบโต้กับเด็กออทิสติกที่ มักมีปัญหาในการเข้าสังคมและการสื่อสารกับผู้อื่น รวมถึงยังรับหน้าทีส่ อนบทเรียนต่างๆ ให้แก่เด็กออทิสติก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
The Knowledge
6 หุน่ ยนต์ผชู้ ว่ ยดูแลบ้าน สภาพสังคมที่เร่งรีบวุ่นวายในปัจจุบันท�ำให้บริษัท ผูผ้ ลิตหุน่ ยนต์หนั มาพัฒนาหุน่ ยนต์ผชู้ ว่ ยทีเ่ น้นการน�ำไป ใช้งานส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น ในอนาคตอันใกล้ เราจึง น่าจะได้เห็นหุ่นยนต์ช่วยท�ำงานบ้านแบบเต็มรูปแบบ มากยิง่ ขึน้ โดยคาดว่าหุน่ ยนต์รนุ่ ใหม่จะมีความสามารถ ต่างๆ ใกล้เคียงกับผู้ช่วยที่เป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น เช่น
จดจ�ำกิจวัตรประจ�ำวัน และจัดเตรียมสิ่งของต่างๆ ให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
รายงานกิจกรรมที่ต้องท�ำ ในแต่ละวัน และแจ้งเตือน ก่อนถึงเวลานัดหมาย
ดูแลสัตว์เลี้ยงในเวลา ที่เจ้าของไม่อยู่บ้าน
ดูแลความปลอดภัย และแจ้งเตือนหากมี สิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
ช่วยหยิบสิ่งของต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ กุญแจรถ โทรศัพท์มือถือ
ดูแลความสะอาดเรียบร้อย ของบ้าน ซักรีดเสื้อผ้า เตรียมและปรุงอาหาร
รับโทรศัพท์แทนเจ้าของบ้าน และสามารถสนทนาอย่างง่ายๆ ได้
ประกอบเฟอร์นิเจอร์และ ช่วยเคลื่อนย้ายสิ่งของ ที่มีน�้ำหนักมาก
T
15
16
T
The Knowledge
7 หุน่ ยนต์ชว่ ยท�ำงานอันตราย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ท�ำให้มนุษย์ไม่ต้องเสี่ยง กับงานที่อันตรายหลายๆ อย่างที่เคยเป็นงานของมนุษย์ในอดีต โดยปัจจุบันหุ่นยนต์ ได้เข้ามาช่วยท�ำงานเหล่านั้นแทน เช่น การเชื่อมโลหะด้วยหุ่นยนต์ การใช้หุ่นยนต์ตรวจสอบท่อก๊าซ การน�ำหุ่นยนต์มาใช้ในการวางระเบิดและปลดระเบิด การใช้หุ่นยนต์ท�ำความสะอาดภายในโรงงานนิวเคลียร์ การใช้หุ่นยนต์ช่วยดับเพลิงและค้นหาผู้ที่ติดอยู่ในกองเพลิง การใช้หุ่นยนต์ท�ำความสะอาดท่อน�้ำทิ้ง
8 หุน่ ยนต์ตำ� รวจ หุ่นยนต์ที่ท�ำงานเพื่อรักษาความสงบสุขในสังคม ไม่ได้มีอยู่แค่ในนิยายและภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ อีกต่อไป ในชีวติ จริงเรามีหนุ่ ยนต์ทที่ ำ� งานเคียงบ่าเคียงไหล่ กับต�ำรวจในการต่อสู้อาชญากรรม เช่น หุ ่ น ยนต์ ล าดตระเวนพื้ น ที่ ข องบริ ษั ท ไนท์ ส โคป (Knightscope) ใช้ส�ำหรับห้างสรรพสินค้าและที่พัก อาศัย หุ่นยนต์ตรวจสอบ K1 ที่ติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อตรวจหา อาวุธหรือวัตถุต้องสงสัยต่างๆ หุ่นยนต์ติดล้อ K7 ที่สามารถส�ำรวจภูมิประเทศที่ ขรุขระ เต็มไปด้วยดินและทราย ใช้ในการลาดตระเวน พื้นที่อันตรายต่างๆ โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับขนาดจิว๋ ใช้สนับสนุน การเฝ้าติดตามทางอากาศของต�ำรวจ นอกจากนี้ ยังมี ก ารน� ำ โดรนติ ด กล้ อ งอิ น ฟราเรดมาใช้ ใ น งานติดตามหาตัวคนร้ายที่ซ่อนตัวใต้น�้ำ
The Knowledge
9 หุน่ ยนต์เพื่อนคลายเหงา ยุคนี้หุ่นยนต์ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องจักรไร้จิตใจอีกต่อไป ปัญญาประดิษฐ์ช่วยให้หุ่นยนต์ ฉลาดขึน้ จนสามารถเป็นเพือ่ นกับมนุษย์ ได้ หุน่ ยนต์บางตัวเฝ้าติดตามและสังเกตสิง่ ทีม่ นุษย์ทำ� เลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ เรียนรู้วิธีการสื่อสารและตอบโต้กับผู้คนรอบตัว จนพัฒนา ความสามารถให้ใกล้เคียงกับความเป็นมนุษย์มากขึน้ เรือ่ ยๆ สิง่ เหล่านีท้ ำ� ให้หนุ่ ยนต์กลายมาเป็น เพือ่ นทีด่ ขี องคนบางกลุม่ เช่น บูมเมอร์ (Boomer) หุน่ ยนต์กำ� จัดระเบิดของกองทัพอเมริกนั ทีไ่ ด้ ช่วยชีวติ ทหารเอาไว้หลายครัง้ และได้รบั การจัดพิธศี พอย่างสมเกียรติเมือ่ มันถูกท�ำลาย รวมถึง หุน่ ยนต์ดนิ สอ หุน่ ยนต์ไทยตัวแรกทีเ่ ป็นเพือ่ นแท้ชว่ ยดูแลผูส้ งู วัย ไม่วา่ จะเป็นคอยเตือนให้กนิ ยา น�ำเสนอสื่อบันเทิงแก้เหงา และโทรแจ้งลูกหลานเมื่อผู้สูงอายุล้มป่วยหรือหายตัวไป
?
หลายคนกั ง วลว่ า เร็ ว วั น นี้ หุ ่ น ยนต์ อ าจจะเข้ า มา “แย่งงาน” จนมนุษย์ต้อง “ตกงาน” แต่ในความเป็นจริง การท�ำงานและการใช้ชีวิตของมนุษย์ได้ถูกแทรกแซง โดยจักรกลมาโดยตลอด เริม่ จากเครือ่ งจักรอุตสาหกรรม เครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า ต่ า งๆ คอมพิ ว เตอร์ แ ละสมาร์ ต โฟน มาจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของหุ่นยนต์และปัญญา ประดิษฐ์ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ�ำวันของมนุษย์ มากขึ้น ใครที่รู้เท่าทันและปรับตัวได้ทันย่อมสามารถ ใช้ประโยชน์จากความฉลาดของหุ่นยนต์ ได้อย่างเต็มที่ ส่วนใครขาดการเตรียมความพร้อมที่ดีย่อมมีโอกาส ที่จะพ่ายแพ้ให้แก่คู่แข่งอย่างหุ่นยนต์ได้เช่นกัน งานนี้ใครจะอยู่ ใครจะไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสร้าง ประโยชน์ ให้แก่องค์กรได้มากกว่ากัน ดังนั้น ไม่ว่าจะ อาชีพไหนหากรู้จักหยิบเอาความถนัดของตัวเองมา ผนวกเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอดในสิ่งที่ ปัญญาประดิษฐ์ท�ำไม่ได้ ไม่ว่าหุ่นยนต์จะเก่งแค่ไหนก็ ยังคงมีพื้นที่ให้คุณได้แสดงฝีมืออยู่เสมอ ที่มา: engineering.eckovation.com mgronline.com
T
17
18
o
one OF a kind
ASSEMBLY ROBOT
หุ ่ น ยนต์ ป ระกอบชิ้ น ส่ ว น นิ ย มใช้ ใ น อุ ต สาหกรรมการประกอบชิ้ น ส่ว น อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ และงานบรรจุ สิ น ค้ า ที่ ต้องการความแม่นย�ำสูง
ROBOTICS COLLABORATIVE
DEGREES OF
BASIC
ROBOT
FREEDOM
EMERGENCY STOP
ภาษาเบสิ ก ย่อ มาจาก Beginners’ All-purpose Symbolic Instruction Code เป็ น ชุ ด โค้ ด ค� ำ สั่ ง ส�ำหรับเขียนโปรแกรมทีใ่ ช้ งานง่ายๆ
เรียกย่อๆ ว่า โคบอต (Cobot) คือหุน่ ยนต์ทเ่ี น้นให้ทำ� งาน ร่วมกับมนุษย์เพือ่ ช่วยเหลือ และเพิม่ ประสิทธิภาพงาน ในภาคอุตสาหกรรม
องศาอิสระ คือระยะขอบเขต หรือรัศมีการเคลือ่ นไหวของ ข้อต่อแขนกลอุตสาหกรรม ซึง่ เคลือ่ นทีอ่ ย่างอิสระจาก จุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่ง
ปุ่มหยุดฉุกเฉิน คือ สวิตช์ ค�ำสั่งหยุดการท�ำงานของ หุ่นยนต์อย่างกระทันหัน เพือ่ แก้ไขข้อผิดพลาดหรือ ป้อ งกั น อุ บั ติ เ หตุ ท่ี อ าจ เกิดขึ้น
FORTRAN
GEORGE DEVOL
HUMANOID
INDUSTRIAL ROBOT
ภาษาฟอร์แทรน คือหนึ่ง ในภาษาคอมพิ ว เตอร์ ที่ เก่าแก่ที่สุดในโลก ใช้ใน ระบบสัง่ การขัน้ สูงและการ ค�ำนวณทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
จอร์จ ดีวอล นักประดิษฐ์ ชาวอเมริกนั ผูส้ ร้างยูนเิ มต หุน่ ยนต์อตุ สาหกรรมตัวแรก จนได้รบั ยกย่องเป็น “บิดา แห่งหุ่นยนต์”
ฮิวแมนนอยด์ คือหุ่นยนต์ ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ มีแขน 2 ข้างล�ำตัว หรือ เดินด้วยขา 2 ข้าง นิยม ใช้ ใ นธุ ร กิ จ บริ ก ารและ อุตสาหกรรมต่างๆ
หุ่นยนต์อุตสาหกรรม คือ หุ ่ น ยนต์ ที่ ส ร้ า งขึ้ น เพื่ อ ท�ำงานแทนแรงงานมนุษย์ โดยเฉพาะงานที่ต้องการ ความแม่นย�ำสูงหรือเสี่ยง อันตราย
LASER BEAM JULES
KINEMATICS
WELDING: LBW
MOBILE ROBOT
จูลส์ คือ หุน่ ยนต์ทสี่ ร้างใน ปี พ.ศ. 2549 ด้วยเทคโนโลยี ขั้ น สู ง ที่ ท� ำ ให้ ส ามารถ แสดงออกทางสีหน้าและ ตอบสนองทางอารมณ์ได้ คล้ายมนุษย์
วิ ช ากลศาสตร์ คื อ การ ศึกษาการเคลือ่ นทีข่ องวัตถุ เพื่อหาความสัมพันธ์ของ เวลา ระยะทาง ความเร็ว ฯลฯ เป็น หนึ่ ง ในความรู ้ ที่ ใ ช้ ในการสร้างหุ่นยนต์
การเชื่ อ มด้ ว ยเลเซอร์ คื อ การใช้ พ ลั ง งานจาก ล� ำ เลเซอร์ ใ นการหลอม ชิน้ งาน สามารถเชือ่ มบริเวณ ที่แคบและลึก ใช้ ม ากใน อุตสาหกรรมยานยนต์
หุ่นยนต์เคลื่อนที่อิสระ คือ หุ่นยนต์ที่ใช้ในระบบการ ผลิ ต และการขนส่ ง เพื่ อ ขนย้ า ยสิ่ ง ของจากคลั ง สินค้าไปยังอีกจุดหนึ่ง
one Of a kind
NOBUYUKI OKUDE
โนบุยูกิ โอคุเดะ เจ้าของแนวคิดรถของเล่นที่แปลงเป็น หุ ่ น ยนต์ ไ ด้ ซึ่ ง เป็น ต้ น ก� ำ เนิ ด ของภาพยนตร์ เ รื่ อ ง ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส (Transformers)
ORDER MANAGEMENT
QUADRATURE
ROBOTIC PROCESS
SYSTEM: OMS
PICK AND PLACE
ENCODER
AUTOMATION: RPA
ระบบจัดการค�ำสั่งซื้อ คือ ซอฟต์แวร์บริหารร้านค้า อ อ น ไ ล น ์ แ ล ะ จั ด ก า ร รายการซื้ อ ขายภายใน ระบบเดียว เช่น เก็บข้อมูล ลูกค้า ตัดสต็อกสินค้า
หยิบและวาง คือค�ำสั่งให้ เครื่ อ งจั ก รหรื อ หุ ่ น ยนต์ หยิ บ สิ่ ง ของหรื อ ชิ้ น ส่ว น จากต�ำแหน่งหนึ่งไปวาง ยังอีกต�ำแหน่งหนึง่ มักใช้ใน การผลิตแบบอุตสาหกรรม
ตัวเข้ารหัสควอเดรเจอร์ คือ ระบบตรวจจับ 2 สัญญาณ พร้อมกัน คือ ทิศทางการ หมุ น และความเร็ ว การ เคลื่อนที่ เป็นเทคโนโลยี ส�ำคัญที่ใช้กับหุ่นยนต์
ก ร ะ บ ว น ก า ร หุ่น ย น ต ์ อัตโนมัติ เป็นการน�ำหุน่ ยนต์ มาท�ำงานที่เป็นงานซ�้ำๆ เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพและ ลดข้อผิดพลาดของมนุษย์
ULTRASONIC
VARIABLE ASSEMBLY
SCARA
TELEOPERATION
SENSOR
LANGUAGE: VAL
แขนกลหุ่นยนต์เคลื่อนที่ แบบหมุน 2 จุดมีมือจับ เหมาะกั บ อุ ต สาหกรรม ก า ร ป ร ะ ก อ บ ชิ้ น ส ่ ว น ข น า ด เ ล็ ก ที่ ต ้ อ ง ก า ร ความแม่นย�ำสูง
ระบบการสัง่ การระยะไกล มั ก ใช้ ใ นการศึ ก ษาวิ จั ย ห รื อ ก า ร ป ฏิ บั ติ ง า น ในพื้ น ที่ ที่ ไ ม่ ส ะดวกหรื อ ไม่ปลอดภัยส�ำหรับมนุษย์
เซ็นเซอร์ชนิดใช้เสียง คือ ระบบตรวจจั บ วั ต ถุ โ ดย อาศัยการสะท้อนของคลืน่ ความถี่เสียงเพื่อค�ำนวณ หาระยะทาง และส่งข้อมูล กลับมายังฐานปฏิบัติการ
ภาษาแอสเซมบลีส�ำหรับ ใช้ สั่ ง การหุ ่ น ยนต์ เริ่ ม มี ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2504 โดยพัฒนามาจากหุน่ ยนต์ อุตสาหกรรมตัวแรกที่ชื่อ ยูนิเมต
WALKTHROUGH
XPLORER
Y-AXIS
ZERO MOMENT POINT
การทดสอบอย่างไม่เป็น ทางการ ในระหว่ า งการ พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจหาข้อผิดพลาด ของโปรแกรม
เอ็ ก ซ์ พ ลอเรอร์ หุ ่ น ยนต์ ใต้ น�้ ำ อั ต โนมั ติ ไ ร้ ส าย ใช้ในงานตรวจสอบท่อส่ง ปิ โ ตรเลี ย มในทะเลของ บริษัท ปตท.ส�ำ รวจและ ผลิ ต ปิ โ ตรเลี ย ม จ� ำ กั ด (มหาชน)
แกนวาย ใช้ เ รี ย กแนว การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ในแนวตั้ ง ของหุ ่ น ยนต์ ส่ว น ก า ร เ ค ลื่ อ น ที่ เป็น เส้นตรงในแนวนอน เรียกว่า แกนเอ็กซ์ (X-Axis)
จุดโมเมนต์ศูนย์ คือจุดที่ การเคลื่ อ นที่ หุ ่ น ยนต์ มี ค่าแรงเฉื่อยเท่ากับ 0 ใช้ ก� ำ หนดลั ก ษณะท่ า ทาง การเดินของหุ่นยนต์ให้มี ความสมดุลและไม่ล้ม
O
19
20
N W
next
SCAN QR CODE เพื่อรับฟง Audio Text
คน VS หุ่นยนต์ การแข่งขันแห่งโลกอนาคต กาลครัง้ หนึง่ ไม่นานมานี้ มีมนุษย์บางกลุม่ ถูกสิง่ ประดิษฐ์ทเี่ รียกว่าเครือ่ งจักรและคอมพิวเตอร์เข้ามาแย่งงานไป ส่วนใหญ่เป็นพวกงานใช้แรงหรืองานที่ต้องท�ำซ�้ำๆ แต่ไม่นานเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วจนปัญญา ประดิษฐ์ (เอไอ) เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น มนุษย์แทบทุกอาชีพจึงต้องลุกขึ้นสู้อย่างเต็มที่ ก่อนที่งานต่างๆ จะถูกยึดครองโดยบรรดาจักรกลและสมองกลทั้งหลาย ปัจจุบันเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคปฏิวัติหุ่นยนต์ที่แท้จริง ไม่ใช่แค่จินตนาการในหนังสือ หรือภาพน่าตื่นตาตื่นใจ ในภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ที่นักเขียนและนักสร้างภาพยนตร์จ�ำลองขึ้นอีกต่อไป จะเห็นว่าปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ทั้งหลายได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ�ำวันของมนุษย์มากขึ้น ในแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบ ผูช้ ว่ ยอัจฉริยะบนโทรศัพท์สมาร์ตโฟน เอไอวิเคราะห์การรักษาโรค หุน่ ยนต์ ในอุตสาหกรรมการผลิต หุน่ ยนต์สำ� รวจ หุ่นยนต์ท�ำความสะอาด หุ่นยนต์บาริสต้า หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร หุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วย หุ่นยนต์ต�ำรวจลาดตระเวน หุ่นยนต์ส่งของ รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ฯลฯ ซึ่งล้วนมีอยู่จริง ท�ำงานได้จริง ที่ส�ำคัญหุ่นยนต์เหล่านี้ได้รับ การพัฒนาและป้อนโปรแกรมให้เรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง จนทุกวันนี้มีหลายต�ำแหน่งงานของมนุษย์ที่ถูกแทนที่ ด้วยหุน่ ยนต์ ในแทบทุกสาขาอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น พนักงานในสายการผลิต พนักงานขายทางโทรศัพท์ พนักงาน เสิร์ฟอาหาร คนขับรถบรรทุก เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
next
หุ่นยนต์ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นของญี่ปุ่น แบรนด์เสื้อผ้ายักษ์ใหญ่อย่างยูนิโคล่ (Uniqlo) เริ่มน�ำร่องใช้ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติในการ จัดการคลังสินค้าแบบเต็มรูปแบบ ท�ำให้ลดการพึ่งพาแรงงานมนุษย์ได้ถึง 90% โดยหุ่นยนต์ของ ยูนิโคล่มีหน้าที่หลัก ได้แก่ เคลื่อนย้ายสินค้าไปยังคลังสินค้าโดยใช้รถบรรทุก อ่านป้ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลอืน่ ๆ ทีแ่ นบมากับสินค้า เพือ่ ยืนยันสต็อกสินค้าในคลัง ห่อบรรจุภัณฑ์ ล�ำเลียงสินค้า และติดป้ายสินค้าก่อนน�ำออกไปส่งให้แก่หน้าร้านสาขาต่างๆ ทั่วญี่ปุ่น
คน “ไม่พอดี” หรือ “ดี ไม่พอ” กับงานยุคใหม่ แนวโน้มการใช้งานหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และ ระบบอัตโนมัตติ า่ งๆ อยูใ่ นช่วงขาขึ้นมาตลอดหลายปี ที่ผ่านมา จากการศึกษาของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ระบุวา่ วิกฤติโควิด-19 ในปี พ.ศ. 2563 ยิ่งเป็นเสมือนตัวเร่งให้บริษัทต่างๆ หันมาใช้งานและ/ หรือลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงการน�ำหุ่นยนต์ มาใช้งานแทนที่มนุษย์มากขึ้นเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของระบบ อัตโนมัติในที่ท�ำงานและมุมมองต่อหุ่นยนต์ปฏิวัติหรือ Robot Revolution พบว่า โลกการท�ำงานในอนาคต เกิ ด ขึ้ น ก่ อ นก� ำ หนด เนื่ อ งจากสถานการณ์ ก ารแพร่ ระบาด ของโรคโควิด-19 ซึง่ มีผลให้ตำ� แหน่งงานจ�ำนวน 85 ล้านต�ำแหน่งในธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ ต้องถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี และคาดว่าจะครอบคลุม 15 อุตสาหกรรมและ 26 ระบบเศรษฐกิจ ในอีก 5 ปี ข้างหน้า โดยเฉพาะงานด้านการประมวลผลข้อมูล และงานประจ�ำวันที่ท�ำซ�้ำๆ เช่น งานเสมียน งานบัญชี งานธุรการ โอเปอเรเตอร์ และคอลเซ็นเตอร์ รวมถึง งานวิ เ คราะห์ ข ้อมูล ด้านการตลาดและการโฆษณา ที่ ต ้ อ งจั ด การกั บ ข้ อ มู ล จ� ำ นวนมหาศาลบนโลก อินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันมีการน�ำเทคโนโลยีอัจฉริยะ ปัญญาประดิษฐ์ และแอปพลิเคชันต่างๆ เข้ามาแทนที่
แรงงานมนุ ษ ย์ ใ นการจั ด เก็ บ และวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล จ� ำ นวนมาก ซึ่ ง ช่ว ยลดเวลา ค่ า ใช้ จ ่ า ย และความ ผิดพลาดอันเกิดจากข้อจ�ำกัดของมนุษย์ลงได้มาก หรือ แม้แต่กลุ่มงานที่มีกระบวนการท�ำซ�้ำ มีความสกปรก เสี่ยงอันตราย หรือมีความเปราะบางสูง ก็มีการน�ำ หุน่ ยนต์มาใช้ทำ� งานแทนมนุษย์เพือ่ ความปลอดภัยของ แรงงานและยกระดับสุขอนามัยในการท�ำงาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ยั ง ไม่ ส ามารถแทนที่ แ รงงานมนุ ษ ย์ ไ ด้ ใ นทุ ก อาชี พ เพราะมีงานหลายอย่างที่มนุษย์มีความได้เปรียบกว่า หุ่นยนต์ เช่น งานให้ค�ำปรึกษา การตัดสินใจ การใช้ เหตุผล การสือ่ สารและการสร้างปฏิสมั พันธ์ รวมถึงงาน ที่ต้องใช้ทักษะของมนุษย์ เช่น งานจิตอาสา งานด้าน จิตวิทยา งานเจรจา ตลอดจนงานทีใ่ ช้ทกั ษะขัน้ สูงอย่างเช่น แพทย์ ทนายความ ศิลปิน นักเขียน นักดนตรี จิตรกร แต่ในอนาคตอันใกล้อาชีพเหล่านี้ก็อาจถูกแทรกแซง โดยหุน่ ยนต์และปัญญาประดิษฐ์ได้เช่นกัน หากหุน่ ยนต์ ได้ รั บ การพั ฒ นาให้ ส ามารถรองรั บ การท� ำ งานที่ มี ความซับซ้อนมากขึ้น ดังที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ไว้ว่า อีกไม่นานเราน่าจะได้เห็นหุน่ ยนต์ผา่ ตัดทีม่ คี วามแม่นย�ำ ในการผ่าตัดสูง หรือแม้แต่หุ่นยนต์นักร้องนักดนตรีที่ ไม่มีข้อจ�ำกัดในการใช้เสียงแบบมนุษย์
N
21
22
N
next
รับมืออย่างไร ไม่ให้ถกู แทนทีด่ ว้ ยหุน่ ยนต์
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ คงพอมองเห็นภาพแล้วว่า ไม่นานต่อจากนีอ้ าจไม่มอี าชีพใดทีจ่ ะปลอดภัย 100% จากการถูกหุน่ ยนต์และปัญญาประดิษฐ์แทรกแซง การเตรียมความพร้อมรองรับการท�ำงานร่วมกับ ผู ้ ช ่ ว ยอั จ ฉริ ย ะเหล่ า นี้ โ ดยไม่ ถู ก แทนที่ รวมถึ ง การใช้ ป ระโยชน์ จ ากเทคโนโลยี ใ ห้ ม ากที่ สุ ด คือทางรอดของคนท�ำงานยุคใหม่ทตี่ อ้ งท�ำให้สำ� เร็จ โดยเริ่มจาก 9 ข้อ ต่อไปนี้ SCAN QR CODE เพื่อรับชม Clip
2 ฝึก ทั ก ษะความช� ำ นาญขั้ น สู ง เฉพาะด้ า น เช่น ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์และ สังเคราะห์เพื่อประเมินผล การคิดแบบ Original Ideas หรือการคิดนอกกรอบที่ยากแก่การเลียนแบบเพราะ ไม่มีรูปแบบตายตัว รวมถึงทักษะการเจรจาต่อรอง ซึ่งเป็นสิ่งที่หุ่นยนต์ยากจะเลียนแบบ
4
1 ยอมรับว่าการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่กำ� ลังจะเกิดขึน้ อย่าวิ ต กกั ง วลจนเกิ ด ความเครี ย ด เพราะนี่ คื อ สถานการณ์ที่ทุกคนต้องเผชิญในอนาคต เตรียมใจ เตรียมพร้อมทีจ่ ะปรับตัวและสนุกสนานไปกับการเรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ ในชีวิต
3 ฝึก ทั ก ษะความสามารถในการตรวจสอบและ เลือกใช้ข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อน�ำมาแก้ไขปัญหา หรือรับมือกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน เพราะมนุษย์ย่อม เข้ า ใจปั ญ หาของมนุ ษ ย์ ไ ด้ ดี ก ว่ า จั ก รกล ในขณะที่ หุน่ ยนต์จะท�ำตามเหตุและผลจากข้อมูลและข้อเท็จจริง เป็นหลัก
5
ฝึก ทั ก ษะทางสั ง คม เนื่ อ งจากมนุ ษ ย์ มี เ รื่ อ งของ เพิ่ ม ความเชี่ ย วชาญด้ า นเทคโนโลยี แ ละปั ญ ญา ประดิษฐ์ รู้จักน�ำเอาเทคโนโลยีหลายอย่างมารวมกัน อารมณ์ ความรู ้ สึ ก มารยาททางสั ง คม คุ ณ ธรรม และการประยุกต์น�ำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จริยธรรม และขนบธรรมเนียมต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง การพัฒนาทักษะทางสังคมช่วยให้มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ สูงสุดต่อตนเองและองค์กร และเครือข่ายที่ดีที่เชื่อมต่อผู้คนที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น ให้ มา สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
next
6
7
ติดตามข่าวสาร นวัตกรรม และความรู้ใหม่ในโลก กระหายการเรียนรูแ้ ละลงมือพัฒนาศักยภาพของตน ดิจิทัลอย่างสม�่ำเสมอ น�ำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์ม อยู่เสมอ ในขณะที่หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ ใหม่ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในด้านการท�ำงานและ ยังไม่สามารถพัฒนาตนเองได้หากปราศจากมนุษย์ การพัฒนาตนเอง คอยป้อนข้อมูล
8 องค์กรต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับโลก การท�ำงานยุคใหม่ เช่น จัดการฝึกอบรมด้านดิจิทัล เพื่ อ เพิ่ ม ศั ก ยภาพและการมี สว่ นร่ว มของพนั ก งาน ในองค์กร รวมถึงการสร้างทักษะใหม่ที่จ�ำเป็นในการ ท�ำงาน (ReSkill) และ/หรือการยกระดับทักษะเดิมให้ดขี นึ้ (Upskill)
9 ภาครัฐต้องปรับการศึกษารูปแบบใหม่ เน้นเสริมสร้าง ความรู้ทางด้านวิชาการควบคู่ไปกับทักษะทางอาชีพที่ เด็กและเยาวชนยุคใหม่พึงมี ความรู้ยุคใหม่ต้องไม่ใช่ แค่การท่องจ�ำแต่เน้นการลงมือท�ำและเรียนรู้ทักษะ จากการท�ำงานจริง
หากยังกังวลว่า งานทีท่ ำ� อยูจ่ ะถูกกลืนหายไปมากน้อยแค่ไหน เว็บไซต์ Will Robots Take My Job ซึง่ ออกแบบ และพัฒนาโดยอ้างอิงฐานข้อมูลจากรายงานเรื่อง The Future of Employment : How Susceptible are Jobs to Computerization จะช่วยวิเคราะห์ความเสีย่ งทีเ่ ป็นไปได้ เพียงกรอกชื่อหรือต�ำแหน่งงานที่ต้องการตรวจสอบเป็น ภาษาอังกฤษ ระบบจะแสดงอัตราความเสี่ยงออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ พร้อมให้เหตุผลประกอบที่เข้าใจง่าย
หากอาชี พ ของคุ ณ มี ค วามเสี่ ย งที่ จ ะถู ก แทนที่ ด ้ ว ยหุ ่ น ยนต์ สิ่งที่ต้องเริ่มท�ำในตอนนี้คือการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้ตัวเอง อย่ากลั ว หุ ่ น ยนต์ แต่ จ งใช้ หุ ่ น ยนต์ แ ละเทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล ต่ า งๆ เพือ่ ทุน่ แรงและประหยัดเวลา ประยุกต์การท�ำงานของเหล่าสมองกล เข้ากับสมองมนุษย์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของงานที่ทรงพลังและเกิด ประโยชน์สงู สุด ไม่แน่วา่ ในอนาคตคุณอาจจะมีหนุ่ ยนต์และปัญญา ประดิษฐ์เป็นคูห่ ใู นการคิด วิเคราะห์และท�ำงาน เช่นเดียวกับตัวเอก ในภาพยนตร์หลายๆ เรื่องที่เคยดูกันมาก็เป็นได้
สแกน QR Code เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง การถูกทดแทนด้วยหุ่นยนต์
N
23
D
DIGITONOMY
ตัวเลขน่าสนใจเกี่ยวกับสมองกล และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
5 อันดับ
ญี่ปุ่น
ประเทศที่นำ�หุ่นยนต์ ไปใช้ใน อุตสาหกรรมมากที่สุด
364
เกาหลีใต้
เยอรมนี
346
855 สิงคโปร์
สวีเดน
918
277
หมายเหตุ: เทียบอัตราส่วนจ�ำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่อแรงงาน 10,000 คน
15 ประเทศผู้ส่งออกหุ่นยนต์อุตสาหกรรม สูงสุด พ.ศ. 2562
4 ญี่ปุ่น
เยอรมนี
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
1,600
6
669
7
5
อิตาลี
ฝรั่งเศส
เดนมาร์ก
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
462
8
335
9
259
10
จีน
สหรัฐอเมริกา
เกาหลีใต้
เนเธอร์แลนด์
ออสเตรีย
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
240
11
225
12
204
13
157
14
155
15
สวีเดน
ไต้หวัน
สิงคโปร์
เบลเยียม
สหราชอาณาจักร
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
137
136
129
118
109
ที่มา: worldstopexports
24
DIGITONOMY
แนวโน้มการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในอุตสาหกรรมต่างๆ พ.ศ. 2560
100
พ.ศ. 2562
75
31% 28%
50
31% 24%
14% 20%
11% 12%
ทั่วไป
เครื่องจักร และโลหะการ
25
0
ยานยนต์
อิเล็กทรอนิกส์
6% 8%
5% 5%
2% 3%
อื่นๆ
พลาสติก และเคมีภัณฑ์
อาหาร
ที่มา: World Robotics, 2563
15 ประเทศที่มีการใช้งานหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมสูงสุด พ.ศ. 2562 จีน
140,500 unit
6
ไต้หวัน
11,100 unit
11
3,800 unit
ญี่ปุ่น
49,900 unit
7
อิตาลี
6,700 unit
12
สิงคโปร์
3,600 unit
สหรัฐอเมริกา unit
8
ฝรั่งเศส
13
แคนาดา
เกาหลีใต้
9
เม็กซิโก
14
เยอรมนี
10
สเปน
15
33,300 4 5
27,900 unit 20,500 unit
ที่มา: World Robotics, 2563
6,400 unit 4,600 unit 4,300 unit
อินเดีย
2,900 unit ไทย
2,600 unit สาธารณรัฐเช็ก unit
2,600
D
25
26
D
DIGITONOMY
ปริมาณความต้องการหุ่นยนต์ แบ่งตามภูมิภาค พ.ศ. 2554-2564 อเมริกา
หนวย
ยุโรป
เอเชีย
ที่มา: International Federation of Robotics, 2562
500 450 400 350 300 250 200 150 100 50 2554
2555
2556
2557 2558
2559
2560 2561
2562 2563
2564
ปริมาณความต้องการหุ่นยนต์ ในเอเชีย พ.ศ. 2560
53% จีน
1% 1% 4% ไทย
18%
ญี่ปุ่น
อินเดีย
15%
เกาหลีใต้
ที่มา: International Federation of Robotics, 2562
8% อื่นๆ
ไต้หวัน
DIGITONOMY
D
แนวโน้มการใช้งานหุ่นยนต์และจักรกล ในแต่ละอุตสาหกรรมทั่วโลก พ.ศ. 2543
พ.ศ. 2559
ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก
0 16,000
อื่นๆ
53,000 84,000
ชิ้น ชิ้น
ชิ้น ชิ้น
เทคโนโลยี
21,000 91,000
ยานยนต์
25,000 103,000
ชิ้น
SCAN QR CODE เพื่อรับชม GIF
ชิ้น
ที่มา: Oxford Economics
เมื่อหุ่นยนต์แย่งงานมนุษย์
จ�ำนวนงานที่ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ 1 หน่วย กลุ่มผู้มีรายได้สูง
-1.3 งาน ที่มา: Oxford Economics
กลุ่มผู้มีรายได้น้อย
-2.2 งาน ค่าเฉลี่ย
-1.6 งาน
ชิ้น ชิ้น
27
28
D
DECODE
หลักสูตรหุ่นยนต์น่าเรียน รองรับตลาดแรงงานในอนาคต ทุ ก วั น นี้ หุ ่ น ยนต์ เ ข้ า มามี บ ทบาทในชี วิ ต ประจ� ำ วั น ของมนุ ษ ย์ อ ย่ า งมาก เราน� ำ หุ ่ น ยนต์ เ ข้ า มาช่ ว ย อ�ำนวยความสะดวกและแก้ปญ ั หาต่างๆ ซึง่ ไม่เพียงช่วยลดความผิดพลาดของมนุษย์ แต่ยงั เพิม่ ขีดความสามารถ ในการผลิตในส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถท�ำได้ หุ่นยนต์ที่ว่านี้อาจไม่ได้มีลักษณะรูปร่างหน้าตาใกล้เคียงกับมนุษย์เสมอไป เพราะหุ่นยนต์ยังสามารถ อยูใ่ นรูปแบบของแขนกล จักรกล สมองกล หรือปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) หรือรูปแบบอื่นใด ก็ ต ามที่ ส ามารถอ� ำ นวยความสะดวกให้การท�ำงานและด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันของมนุษย์เราราบรื่ น ยิ่ ง ขึ้ น เช่ น ผูช้ ว่ ยอัจฉริยะ โปรแกรมวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า เครือ่ งมือช่วยแปลภาษา ระบบขับเคลือ่ นอัตโนมัติ หรือแม้แต่ รับค�ำสั่งส่งอาหารเดลิเวอรี เป็นต้น เมื่อเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราแทบทุกมิติ กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน ดังนั้น องค์ความรู้เรื่องหุ่นยนต์จึงได้รับการบรรจุเป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยชั้นน�ำทั่วโลก ทั้งการเขียนโปรแกรม การสร้างหุ่นยนต์ และทักษะอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ออกมารองรับความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรมโลกในศตวรรษที่ 21
10
หลักสูตรหุ่นยนต์ ในมหาวิทยาลัยระดับโลก
ที่มา: news.mit.edu/2017/masters-supply-chain-management-ranked-number-one-0425
Institute 1 Massachusetts of Technology (MIT)
ที่ตั้ง: เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร: Master of Science in Mechanical Engineering (SMME) เรียนอะไร? MIT เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของโลก มีชื่อเสียงด้านการเรียน การสอนเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์มายาวนาน และอยูใ่ นอันดับ 1 ของ QS World University Rankings ประจ�ำปี พ.ศ. 2564 MIT เริม่ ท�ำการศึกษาวิจยั ด้านปัญญาประดิษฐ์มาตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2502 โดยคณาจารย์ผทู้ รงคุณวุฒแิ ละนักวิจยั นับล้านคน ท�ำให้ในแต่ละปี MIT มีงบประมาณเพื่อการวิจัยสูงถึง 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 1.94 หมื่นล้านบาท หลักสูตรหุ่นยนต์ของ MIT เน้นผลิต บัณฑิตทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถด้านเทคโนโลยีหนุ่ ยนต์และปัญญา ประดิษฐ์ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สังคมสามารถน�ำไปประยุกต์ ใช้ได้จริง
DECODE
2 Carnegie Mellon University
ที่มา: www.cmu.edu
ที่ตั้ง: เมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร: Master of Science in Robotics Systems Development เรียนอะไร? อีกหนึง่ สถาบันทีม่ ชี อ่ื เสียงด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีหลักสูตร ปริญญาตรีสาขาปัญญาประดิษฐ์โดยเฉพาะ เรียกว่า B.S. in Artificial Intelligence และปริญญาโทด้านการพัฒนาหุ่นยนต์และระบบ อัตโนมัติ จุดเด่นของหลักสูตรนี้คือการศึกษาทฤษฎี ศาสตร์ และ เทคโนโลยีเกีย่ วกับหุน่ ยนต์ทงั้ ในและต่างประเทศ เน้นการฝึกปฏิบตั จิ ริง เช่น การเขียนโปรแกรม การสร้างแบบจ�ำลอง การวางแผนพัฒนา เทคโนโลยี ตลอดจนทักษะการบริหารจัดการนวัตกรรม พร้อม เรียนรูห้ ลักการทางธุรกิจเพือ่ ให้สามารถท�ำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างครบวงจร
3 University of Maryland ที่ตั้ง: เมืองคอลเลจพาร์ก รัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร: Master of Engineering and Graduate Certificate in Engineering เรียนอะไร? มหาวิ ท ยาลั ย แมริ แ ลนด์ ไ ด้ รั บ การจั ด ให้ อ ยู ่ ใ นล� ำ ดั บ ต้ น ๆ ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงด้านวิศวกรรมศาสตร์ มีการ บรรจุหลากหลายหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ โดดเด่นเรื่องการ ออกแบบโมเดล การเขียนโปรแกรม การสร้างหุ่นยนต์ และการวาง ระบบให้หุ่นยนต์สามารถท�ำงานร่วมกับมนุษย์ได้จริง โดยเฉพาะ การให้ความส�ำคัญกับพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อมลพิษต่อสภาพ แวดล้อมเมื่อน�ำหุ่นยนต์หรือเทคโนโลยีล�้ำสมัยไปปรับใช้ในงาน ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรม ทีเ่ กีย่ วข้องกับสาธารณสุข หรือแม้แต่อตุ สาหกรรมการบินและอวกาศ
ที่มา: studyabroad.shiksha.com/usa/universities/university-of-maryland
4 Colorado State University
ที่มา: music.colostate.edu
ที่ตั้ง: รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร: Materials Science and Engineering (M.S.) เรียนอะไร? มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีชื่อเสียงด้านงานวิจัยที่เข้มข้น โดยการ ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ถูกบรรจุอยู่ในสาขาวัสดุศาสตร์และ วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งมุ่งเน้นการวิจัยด้านวัสดุและการประยุกต์ใช้ ในงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการผลิตชิ้นส่วนหุ่นยนต์ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือ ทางการแพทย์ ยานยนต์ของระบบคมนาคมขนส่ง ฯลฯ โดยยึดหลักว่า วัสดุเป็นพื้นฐานส�ำคัญในการสร้างเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่มี คุณภาพและมีประโยชน์สูงสุด
D
29
30
D
DECODE
Polytechnic Institute 5 Worcester of Massachusetts ที่ตั้ง: เมืองวูสเตอร์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร: Master of Science in Robotics Engineering เรียนอะไร? มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีผลงานวิจัยด้านวิชาการตีพิมพ์ออกมามากมาย และมีหลักสูตร ด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์โดยเฉพาะ มีเครื่องมือการเรียนการสอนที่ เพียบพร้อมและทันสมัย เน้นการคิดนอกกรอบและการสร้างสรรค์ งานที่ ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยจิ น ตนาการเกี่ ย วกั บ หุ ่ น ยนต์ เพื่ อ สร้ า ง เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่สู่อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ นอกจากนี้ เมืองวูสเตอร์ซงึ่ เป็นทีต่ งั้ ของสถาบันการศึกษาแห่งนี้ ยังเป็นฐานทีต่ งั้ ส�ำคัญของอุตสาหกรรมหุน่ ยนต์ และโรงงานที่มีการใช้งานหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างยิ่ง
ทีม่ า: smapse.com/worcester-polytechnic-institute-wpi
6 University of Sussex
ทีม่ า: www.jeduka.com/uk/universities/university-of-sussex
ที่ตั้ง: เทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์ ประเทศอังกฤษ หลักสูตร: Mechanical Engineering with Robotics MEng เรียนอะไร? มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรด้านวิศวกรรมที่เข้มข้น เพื่อปูทางให้ ผูเ้ รียนก้าวสูก่ ารเป็นวิศวกรทีม่ ใี บประกอบวิชาชีพ หลักสูตรหุน่ ยนต์ ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้เน้นการสร้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้าน การผลิตหุ่นยนต์ ควบคู่กับทักษะด้านวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering) ที่ประยุกต์ความรู้ด้านเครื่องกล และอิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน ท�ำให้ผเู้ รียนสามารถสร้างและแก้ไข ปัญหาเชิงเทคนิคได้อย่างครบวงจร โดยมหาวิทยาลัยมีผลงาน สร้างชือ่ มากมาย ตัง้ แต่การพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ การสร้างหุน่ ยนต์ อั ตโนมั ติ ไปจนถึ ง การค้ น คว้ า วิ จั ย เกี่ ย วกั บพลั ง งานหมุ น เวี ย น ซึ่งสามารถน�ำมาปรับใช้เป็นพลังงานแห่งอนาคต
7 University of Southern Denmark ที่ตั้ง: เดนมาร์กตอนใต้ ประเทศเดนมาร์ก หลักสูตร: MSc in Engineering – Robot Systems เรียนอะไร? มหาวิทยาลัยในยุโรปที่ชื่อเสียงด้านหุ่นยนต์ โดยจัดเป็นสาขา หนึง่ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มุง่ เน้นการศึกษาด้านการวางระบบ หุ่นยนต์แบบครบวงจร และการสร้างเทคโนโลยีที่ใช้ได้จริงใน ชีวิตประจ�ำวัน ครอบคลุมเรื่องการสร้างหุ่นยนต์ การสร้างโดรน การพั ฒ นาเทคโนโลยี ร ะบบอั ต โนมั ติ แ บบไร้ ค นขั บ นั ก ศึ ก ษา จะได้เรียนเขียนชุดค�ำสั่งปัญญาประดิษฐ์ให้ท�ำงานในโรงพยาบาล โปรแกรมค�ำสั่งโดรนให้ท�ำหน้าที่ส่งตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยฉุกเฉิน ไปถึ ง มื อ แพทย์ อ ย่ า งรวดเร็ ว รวมถึ ง การผลิ ต หุ ่ น ยนต์ ส� ำ หรั บ ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
ทีม่ า: scholarship-positions.com/university-of-southerndenmark-phd-fellowships-law-department-of-lawdenmark/2017/08/12
DECODE
8 Vilnius Gediminas Technical University ที่ตั้ง: กรุงวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย หลักสูตร: Master of Engineering Sciences in Mechatronics เรียนอะไร? มหาวิ ท ยาลั ย ซึ่ ง รู ้ จั ก กั น ในชื่ อ วิ ล นี อุ ส เทค (Vilnius Tech) มีชื่อเสียงโด่งดังด้านเทคโนโลยีและกลศาสตร์ บรรจุหลักสูตร สหวิ ท ยาการที่ น� ำ ความรู ้ ด ้ า นวิ ศ วกรรม 3 แขนง มาใช้ อ ย่ า ง บูรณาการ ได้แก่ วิศวกรรมเครือ่ งกล วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรม วิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ท�ำให้สามารถสร้างแบบ จ�ำลองหุ่นยนต์ ชิ้นส่วนโรงงานอุตสาหกรรม ครอบคลุมถึงการ สร้างสรรค์เทคโนโลยีล�้ำสมัยมารองรับการเติบโตของวงการดิจิทัล ในปัจจุบัน บัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้มีส่วนส�ำคัญในการขับเคลื่อน อุ ต สาหกรรมของประเทศ และยั ง ท� ำ หน้ า ที่ ใ ห้ ค� ำ ปรึ ก ษาแก่ หน่วยงานต่างๆ ในการสร้างหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
ที่มา: www.vgtu.lt/environmental-engineering/aboutfaculty/latest-news/qs-regional-rankings-an-
Polytechnique Federale 9 Ecole De Lausanne (EPFL)
ทีม่ า: www.unifr.ch/studies/en/mobility/outgoing/explore/ en-partner.html?show=30
10 University of Michigan
ที่ตั้ง: เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลักสูตร: Master’s Degree in Robotics เรียนอะไร? สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ณ เมืองโลซาน เปิดสอน หลักสูตรวิศวกรรมด้านหุ่นยนต์ที่ครอบคลุมทั้งด้านทฤษฎี และ การน� ำ ความรู ้ ม าลงมื อ ปฏิ บั ติ จ ริ ง เพื่ อ สร้ า งต้ น แบบหุ ่ น ยนต์ ทีส่ ามารถใช้งานได้จริงในชีวติ ประจ�ำวัน ไม่วา่ จะเป็นระบบปฏิบตั กิ าร สมาร์ตโฟน หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ หุ่นยนต์เชื่อมต่อสมอง ตลอดหลักสูตรผู้เรียนจะได้ท�ำงานร่วมกับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ เพือ่ แก้ปญ ั หาต่างๆ ทัง้ ในห้องทดลองและในโรงงานอุ ต สาหกรรม ประเภทต่างๆ โดยหุน่ ยนต์ทมี่ ชี อื่ เสียงของสถาบันแห่งนี้ คือ หุน่ ยนต์ นาโนเลียนแบบแบคทีเรีย ซึง่ สามารถพัฒนาต่อยอดไปเป็นหุน่ ยนต์ จัดส่งยาเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์
ที่ตั้ง: เมืองแอนอาร์เบอร์ รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร: Master of Science / Doctorate in Robotics เรียนอะไร? สถาบันแห่งนี้มักติดอันดับในรายชื่อ 100 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ในโลก จากความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีหนุ่ ยนต์ โดยมีการจัดการเรียน การสอนระดั บ ปริ ญ ญาโทและปริ ญ ญาเอกเพื่ อ ผลิ ต บุ ค ลากร ที่มีความรู้ความสามารถ และมีผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อ แวดวงวิชาการ โดยเน้นการเรียนการสอนด้านการผลิตหุ่นยนต์ เพื่ อ น� ำ ไปใช้ ง านได้ จ ริ ง ในสภาพแวดล้ อ มต่ า งๆ นอกจากนี้ ยังให้ความส�ำคัญกับการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์รักษ์โลกที่ผลักดันให้มหาวิทยาลัยระดับ โลกหลายแห่งหันมามุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อโลก มากยิ่งขึ้น
ที่มา: testmaxprep.com/blog/lsat/university-of-michiganlaw-school-lsat-gpa
D
31
32
D N
nexTPERT
ถอดความส�ำเร็จของญี่ปุ่น “หุ่นยนต์” ช่วยเพิ่มคุณค่า ทางเศรษฐกิจและสังคม ทศวรรษทีผ่ า่ นมาเป็นช่วงเวลาทีเ่ ทคโนโลยี นวัตกรรม เครือ่ งจักร เครือ่ งมือเครือ่ งใช้ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ล้วนถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและอ�ำนวย ความสะดวกให้แก่มนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้าง “สิ่งเทียมมนุษย์” อย่าง “หุน่ ยนต์” และ “ปัญญาประดิษฐ์” มาท�ำงานทดแทนมนุษย์ในทุกด้าน กระจายอยูใ่ น แทบทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล หน่วยงานทหาร หรือแม้แต่ ในบ้านของเราเอง ปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์มีบทบาทและความก้าวหน้าอย่างมาก หลายประเทศ น� ำ หุ ่ น ยนต์ ม าปรั บ ใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ ต ่ อ การพั ฒ นาในอุ ต สาหกรรมการผลิ ต การคมนาคมขนส่ง การเกษตรกรรม การศึกษา การแพทย์และสาธารณสุข ไปจนถึง การปฏิบัติงานในสถานที่ล�ำบากและอันตราย เช่น งานส�ำรวจในพื้นที่ขาดออกซิเจน งานกู้ภัยในพื้นที่ภัยพิบัติ งานส�ำรวจพื้นผิวดาวเคราะห์ในอวกาศ ฯลฯ
nextPERT
ท�ำไมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ในญี่ปุ่น ถึงเติบโตแบบก้าวกระโดด? นับตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ประเทศญี่ปน่ ุ เริ่มผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ให้เติบโต อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่วา่ จะเป็นเครือ่ งจักรอิเล็กทรอนิกส์ และระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เพื่ อ แก้ ป ั ญ หาขาดแคลนแรงงาน เนื่ อ งจากญี่ ปนุ่ กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ท�ำให้คนวัยท�ำงานไม่มีก�ำลัง ผลิตเพียงพอเพื่อคนทั้ ง ประเทศ การน� ำ เทคโนโลยี หุน่ ยนต์เข้ามาช่วยเพิม่ การผลิตและทุน่ แรงในการท�ำงาน จึงเป็นหนทางที่ตอบโจทย์สังคมญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี รั ฐ บาลญี่ ปุ่น วางนโยบายด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีนวัตกรรมของชาติให้ระหว่างปี พ.ศ. 2559 2564 ประเทศญีป่ นุ่ กลายเป็นสังคม 5.0 (Society 5.0) และวางโครงสร้ า งพื้ น ฐานด้ า นอุ ต สาหกรรมและ การคมนาคมขนส่งให้มกี ารน�ำหุน่ ยนต์มาใช้ โดยคาดว่า ภายในปี พ.ศ. 2568 มูลค่าของตลาดหุน่ ยนต์ในญีป่ นุ่ จะ เติบโตถึง 5.4 หมื่นล้านเยน หรือราว 15.4 พันล้านบาท การจะเดินหน้าไปยังทิศทางดังกล่าวได้ สิ่งส�ำคัญ คือต้องมีการปรับมุมมองให้ชาวญี่ปน่ ุ มีทัศนคติที่ดีต่อ การน�ำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาผนวกกับการท�ำงานด้าน ต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวัน รวมถึงการสนับสนุนให้ธุรกิจ
ขนาดเล็กและ SMEs น�ำหุ่นยนต์ประเภทต่างๆ มาใช้ ในการท�ำงานร่วมกับมนุษย์ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีญี่ปน่ ุ นายชินโซ อาเบะ ยังวางเป้าหมายเพื่อสนับสนุนบริษัทญี่ปน่ ุ ให้ก้าวไปสู่ การเป็น “ยูนิคอร์นสตาร์ตอัป” หรือธุรกิจที่มีมูลค่า มากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้ได้มากกว่า 20 บริษัท ภายในปี พ.ศ. 2566 ซึ่ง ถื อ เป็ น การเปิ ด โอกาสให้ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีได้สร้างสรรค์ ไอเดียและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ มาสูแ่ วดวงธุรกิจและ อุตสาหกรรมของประเทศ เห็นได้ว่า สาเหตุที่ท�ำให้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ หุ ่ น ยนต์ ใ นประเทศญี่ ปนุ่ ก้ า วหน้ า ได้ นั้ น ขึ้ น อยู ่ กั บ หลายปัจจัย แต่สิ่งส�ำคัญที่สุดคือการได้รับการส่งเสริม อย่างจริงจังจากภาครัฐให้มีการยกระดับการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีหนุ่ ยนต์ และการสนับสนุนให้ผปู้ ระกอบการ น� ำ หุ ่ น ยนต์ แ ละระบบอั ต โนมั ติ ม าช่ ว ยแก้ ป ั ญ หา ด้านก�ำลังการผลิต อันเป็นผลมาจากปัญหาเชิงสังคม ด้านการขาดแคลนประชากรวัยท�ำงาน และมีประชากร ผูส้ งู วัยเพิม่ ขึน้ ซึง่ จะส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและ ภาคการผลิตในอนาคต
N
33
34
D N
nexTPERT
หุ่นยนต์ ช่วยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและสังคม ทีผ่ า่ นมาทัว่ โลกมีการน�ำหุน่ ยนต์เข้าไปใช้ในงานด้านต่างๆ เพิม่ ขึน้ ปีละ 2 เท่าจากปีกอ่ น ซึง่ ประเทศญีป่ นุ่ ถือเป็นผูน้ ำ� ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสร้างสรรค์ระดับโลกทีม่ สี ว่ นแบ่ง ของตลาดการผลิตหุ่นยนต์มากถึง 60% และคาดการณ์ว่า ในอนาคตจะมีความต้องการ หุ่นยนต์ส�ำหรับผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าของ โครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆ ที่ล้วนส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมญี่ปุ่น อีกทั้งยัง ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตให้ก้าวหน้าและล�้ำสมัยกว่าประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะ ในด้านการน�ำหุน่ ยนต์ สมองกล และปัญญาประดิษฐ์เข้ามาเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต และ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในญี่ปุ่นมีหลากหลายประเภท ตั้งแต่ แขนกลหรือหุ่นยนต์ที่มี แต่แขน ฮิวแมนนอยด์ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ 2 แขน 2 ขาคล้ายมนุษย์ หุ่นยนต์รูปสัตว์ หุ่นยนต์ เคลื่อนที่ผ่านการควบคุมระยะไกล เป็นต้น โดยมีตัวอย่างความส�ำเร็จของญี่ปุ่นในการน�ำ หุ่นยนต์มาปรับใช้เพื่อสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
SCAN QR CODE เพื่อรับฟง Audio Text
nextPERT
ที่มา: www.creativemove.com/design/ hybrid-assistive-limb
HAL Robot Suit หุ่นยนต์กู้ภัยพิบัติ บริษัท Cyberdyne ประเทศญี่ปุ่น “ชุดหุ่นยนต์ลดภาระจากการใช้แรงงานหนัก”
จุดเริ่มต้น ประเทศญี่ ปนุ่ มี ภั ย พิ บั ติ ท าง ธรรมชาติ เ กิ ด ขึ้ น บ่อ ยครั้ ง เช่น แผ่น ดิ น ไหว พายุ ไ ต้ ฝนุ่ น�้ ำ ท่ ว ม คลื่นสึนามิ ภัยพิบัติเหล่านี้ได้สร้าง ความเสี ย หายทั้ ง ชี วิ ต ทรั พ ย์ สิ น และส่ ง ผลกระทบต่ อ เศรษฐกิ จ อย่างหนัก ท�ำให้บริษัท Cyberdyne ของญี่ปุ่นคิดค้นชุดหุ่นยนต์ HAL® (Hybrid Assistive Limb) เป็น ชุดหุ่นยนต์ส�ำหรับสวมใส่ซึ่งมีพลัง ขั บ เคลื่ อ นในการยกแขนขาของ ผู้สวม สามารถรับน�้ำหนักได้มาก ใช้ในการขนย้ายสิ่งของ ซากปรัก หั ก พั ง ในเหตุ ก ารณ์ ภั ย พิ บั ติ ต ่ า งๆ ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เพื่ อ ให้ สามารถปฏิ บั ติ ก ารค้ น หาและ ให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
กลไกการท�ำงาน ภายในชุ ดหุ ่ น ยนต์ มี ก ารติ ดตั้ ง เซ็นเซอร์จับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าที่ ส่ ง มาจากสมองเพื่ อ สั่ ง ให้ แ ขนขา เคลือ่ นไหว โดยชุดหุน่ ยนต์จะตรวจจับ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อด้วย เลเซอร์ จากนั้นจะส่งข้อมูลไปยัง ระบบประมวลผลเพื่ อ สั่ ง การให้ กลไกแขนหรือขาขยับไปตามทิศทาง ที่สมองสั่งการ ชุดหุ่นยนต์นี้ถูกน�ำ มาใช้ ใ นการช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ปว่ ยและ คนชราเพื่อเสริมการเคลื่อนไหวของ ผู ้ ส วมชุ ด รวมถึ ง ช่ ว ยให้ ผู ้ ดู แ ล สามารถเคลือ่ นย้ายและยกตัวผูป้ ว่ ย ได้ง่าย ก่อนจะถูกน�ำมาประยุกต์ ใช้ในงานกู้ภัยต่างๆ ในภายหลัง
ผลลัพธ์ เป็น เวลากว่ า 10 ปี ที่ บ ริ ษั ท Cyberdyne ได้ให้โรงพยาบาลและ สถานดูแลคนชราทั่วประเทศญี่ปุ่น เช่าชุดหุ่นยนต์ HAL มาใช้ในการ ดูแลและฟืน้ ฟูสมรรถนะร่างกายของ ผู้ป่วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 บริษัท ได้ส่งชุดหุ่นยนต์ HAL ไปให้อาสา สมั ค รในพื้ น ที่ อุ ท กภั ย ของจั ง หวั ด คุมาโมโตะใช้ปฏิบัติงาน เนื่องจาก ผลกระทบของการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ท�ำให้มีจ�ำนวน อาสาสมัครมาช่วยงานในพืน้ ทีน่ อ้ ยลง ชุ ด หุ ่ น ยนต์ HAL จึ ง เข้ า มาช่ ว ย ทุ่นแรงคนและอ�ำนวยความสะดวก ในการกูภ้ ยั ได้มาก ท�ำให้อาสาสมัคร สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ แม้ว่ามีจ�ำนวน แรงงานมนุษย์น้อยลง
N
35
36
D N
nexTPERT
หุ่นยนต์ช่วยประกอบหน้าต่างรถยนต์ บริษัท KEYENCE ประเทศญี่ปุ่น “การอยู่และท�ำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์”
จุดเริ่มต้น ในสายการผลิ ต เพื่ อ ประกอบ รถยนต์ มี ขั้ น ตอนหนึ่ ง ที่ พ นั ก งาน ต้ อ งประกอบหน้ า ต่างเข้ า กั บ ตั ว รถยนต์ ซึ่ ง เป็น ขั้ น ตอนที่ ต ้ อ ง ออกแรงยกหน้ า ต่ า งที่ มี น�้ ำ หนั ก มาก และต้องใช้ความแม่นย�ำสูง ในการประกอบหน้าต่างเข้ากับตัวรถ อีกทั้งยังเสี่ ย งต่อ การเกิ ด อุ บั ติ เ หตุ และการบาดเจ็บได้ง่าย
กลไกการท�ำงาน บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น KEYENCE ผู ้ ผ ลิ ต และจ� ำ หน่ า ยเซ็ น เซอร์ ประเภทต่างๆ ต้องการแก้ปัญหานี้ จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยประกอบ หน้ า ต่ า งรถยนต์ ขึ้ น มา โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้คนและหุ่นยนต์ สามารถท� ำ งานร่ ว มกั น ได้ อ ย่ า ง มีประสิทธิภาพ
ที่มา: www.keyence.co.jp/ss/products/vision/fa-robot/articles/cobot.jsp
ผลลัพธ์ ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต ของ โรงงานดีขนึ้ เพราะหุน่ ยนต์ทำ� หน้าที่ ประกอบหน้าต่างได้อย่างรวดเร็ว แม่ น ย� ำ นอกจากช่ ว ยลดจ� ำ นวน พนักงานแล้ว ยังช่วยลดขัน้ ตอนและ เพิ่มความปลอดภัยให้แก่พนักงาน ผูป้ ฏิบตั งิ านภายในโรงงาน นอกจากนี้ การน�ำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในส่วน ที่เป็นงานหนักยังส่งผลให้สามารถ ใช้ พ นั ก งานหญิ ง มาปฏิ บั ติ ง าน ในขั้ น ตอนนี้ เ พื่ อ ควบคุ ม หุ ่ น ยนต์ ได้อีกด้วย
nextPERT
ที่มา: www.japantimes.co.jp/news/2020/10/07/business/corporate-business/japan-post-delivery-robot
DeliRo หุ่นยนต์เดลิเวอรี บริษัท ZMP ประเทศญี่ปุ่น “การพัฒนาระบบอัตโนมัติ สู่สังคมที่สะดวกสบายมากขึ้น”
จุดเริ่มต้น ประเทศญี่ ปนุ่ ประสบปั ญ หา ขาดแคลนแรงงาน เนื่ อ งจาก ประชากรญีป่ นุ่ ส่วนใหญ่เป็นผูส้ งู อายุ และมี แ นวโน้ ม จะเพิ่ ม มากขึ้ น เรื่ อ ยๆ ท� ำ ให้ สั ด ส่วนคนท� ำ งานที่ เป็นวัยหนุ่มสาวมีสัดส่วนน้อยกว่า ผูส้ งู อายุ ดังนัน้ บริษทั ZMP จึงสร้าง หุ่นยนต์ส่งของเดลิเวอรี ที่สามารถ ช่วยส่งของและจัดส่งอาหาร เพื่อให้ เข้ามาท�ำงานชดเชยแรงงานในส่วน ที่ขาดไป
กลไกการท�ำงาน หุ่น DeliRo สามารถขับเคลื่อน ได้ อั ต โนมั ติ และบรรทุ ก ของ ได้มากสุดถึง 50 กิโลกรัม อีกทั้งยัง สามารถแสดงสี ห น้ า อารมณ์ ความรู ้ สึ ก ผ่ า นหน้ า จอ และพู ด ทักทายกับมนุษย์ได้อย่างเป็นมิตร หุน่ ยนต์ตวั นีข้ บั เคลือ่ นด้วยความเร็ว เพียง 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น จึงไว้ใจได้ในเรื่องความปลอดภัย โดยผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้ ง่ายๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน และลงทะเบียน
ผลลัพธ์ หุน่ ยนต์ DeliRo สามารถเคลือ่ นที่ ไปยังจุดที่ก�ำหนดได้อย่างถูกต้อง แม่น ย� ำ ในระยะเวลาที่ ก� ำ หนด โดยผู้ใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน จะได้รับคิวอาร์โค้ด (QR Code) เพื่ อ เป็ น กุ ญ แจส� ำ หรั บ เปิ ด กล่ อ ง บรรจุสิ่งของหรืออาหารที่หุ่นยนต์ น�ำมาส่งในอนาคตทางบริษัทยังมี โครงการที่จะน�ำ DeliRo ไปทดสอบ ใช้ ใ นพื้ น ที่ ที่ มี ป ระชากรหนาแน่ น เช่น ใจกลางเมือง หรือกลุ่มอาคาร พักอาศัยที่มีลักษณะเป็นชุมชน
N
37
38
D N
nexTPERT
PARO หุ่นยนต์แมวน�้ำ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออุตสาหกรรมขั้นสูงแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น “หุ่นยนต์แมวน�้ำ ส�ำหรับช่วยบ�ำบัดและดูแลผู้สูงอายุ”
จุดเริ่มต้น ประเทศญี่ ปุ่น ไม่เ พี ย งประสบ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทาง เศรษฐกิ จ ในเมื องชนบทห่างไกล ของญี่ ปุ่น ยั ง ต้ อ งเผชิ ญ กั บ วิ ก ฤติ ผู ้ สู ง อายุ ต ้ อ งอยู่อ ย่างโดดเดี่ ย ว เนื่องจากลูกหลานวัยท�ำงานเลือก ที่จะเดินทางไปท�ำงานในเมืองใหญ่ ท� ำ ให้ ป ระชากรผู ้ สู ง อายุ บ างส่ ว น เลื อ กที่ จ ะพั ก อาศั ย ในสถานดู แ ล คนชราเนือ่ งจากมีความสะดวกสบาย มากกว่า อย่างไรก็ดีพบว่าผู้สูงอายุ ส่วนหนึง่ ไม่มคี วามสุข หดหู่ ซึมเศร้า กับการต้องอยู่ในสถานดูแลคนชรา เพราะแตกต่างจากที่บ้านของตน ทางสถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เ พื่ อ อุ ต สาหกรรม ขั้นสูงแห่งชาติ จึงพัฒนาหุ่นยนต์ แมวน�้ ำ PARO ซึ่ ง ช่ ว ยเยี ย วยา ปั ญ หาทางจิ ต ใจที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น กั บ ผู้สูงอายุ
ที่มา: www.parorobots.com
กลไกการท�ำงาน ระบบเซ็ น เซอร์ แ ละปั ญ ญา ประดิษฐ์ภายในหุน่ PARO จะพยายาม เรี ย นรู ้ พ ฤติ ก รรมที่ เ จ้ า ของชอบ และไม่ชอบ เช่น ทุกครั้งที่ผู้สูงอายุ ลูบตัว PARO หุ่นยนต์ตัวนี้จะเรียนรู้ ว่าพฤติกรรมใดที่เมื่อท�ำแล้วได้รับ การลูบจากเจ้าของ จากนัน้ เจ้าหุน่ ยนต์ แมวน�้ำก็จะท�ำพฤติกรรมนั้นซ�้ำอีก หรือพฤติกรรมใดที่ท�ำแล้วจะถูกตี ก็จะไม่ท�ำอีก นอกจากนี้ยังสามารถ เรี ย นรู ้ แ ละจดจ� ำ ชื่ อ ของเจ้ า ของ ได้อีกด้วย
ผลลัพธ์ จากการน�ำไปใช้งานในสถานดูแล คนชรา พบว่า PARO ช่วยผ่อนคลาย ความเครี ย ดของผู ้ สู ง อายุ ภ ายใน สถานดูแลได้เป็นอย่างดี และยังช่วย ส่ ง เสริ ม การมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง ผู้สูงอายุกับผู้ดูแล รวมถึงระหว่าง ผูส้ งู อายุดว้ ยกันเอง เมือ่ บรรยากาศ ภายในสถานดูแลคนชราดีขนึ้ ผูส้ งู อายุ ก็ รู ้ สึ ก สบายใจและมี ค วามสุ ข ขึ้ น ลดความเสีย่ งของการเกิดโรคซึมเศร้า ในผู้สูงอายุอย่างได้ผล
nextPERT
ที่ ม า: www.toyota-europe.com/ world-of-toyota/articles-newsevents/introducing-kirobo-mini
Kirobo หุ่นยนต์อวกาศตัวแรกของญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียว ร่วมกับบริษทั โตโยต้า และบริษทั เดนท์สุ ประเทศญีป่ นุ่ “หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid) ตัวแรกของญี่ปุ่นที่ปฏิบัติงานได้จริงในอวกาศ”
จุดเริ่มต้น ในระหว่างปี พ.ศ.2556-2557 นักบินอวกาศสัญชาติญี่ปนุ่ ดร.โคอิจิ วากาตะ (Dr.Koichi Wakata) เดินทางไปปฏิบัติ ภารกิ จ บนสถานี อ วกาศ นานาชาติ (International Space Station: ISS) ใน โครงการ Soyuz TMA-11M/ Expedition 38/Expedition 39 ซึง่ เป็นการบินอวกาศระยะยาว ญี่ปุ่นจึงสร้างหุ่นยนต์เสมือน มนุษย์ที่ท�ำงานได้ในสภาวะ ไร้แรงโน้มถ่วง และสามารถ สนทนาโต้ตอบกับมนุษย์ได้ ถือเป็นหุน่ ยนต์อวกาศตัวแรก ของญี่ ปนุ่ ที่ ไ ด้ ขึ้ น ไปร่ว ม ปฏิบัติภารกิจจริงในอวกาศ
กลไกการท�ำงาน มหาวิ ท ยาลั ย โตเกี ย ว ร่ ว มกั บ หน่ ว ยงานวิ จั ย ด้ า น หุน่ ยนต์ “โรโบการาจ” (Robo Garage) และองค์การส�ำรวจ อวกาศญีป่ น่ ุ (JAXA) รับผิดชอบ การพัฒนาฮาร์ดแวร์หุ่นยนต์ โดยมีภาคเอกชนอย่างบริษัท โตโยต้า (Toyota) และเดนท์สุ (Dentsu) เข้ามาช่วยในด้าน ระบบปฏิบัติการและฟังก์ชัน การท�ำงานต่างๆ ของหุน่ ยนต์ โดยคิ โ รโบะ (Kirobo) จะ เน้ น การจดจ� ำ เสี ย งและ บทสนทนา บั น ทึ ก ภาพ วิดีโอเพื่อเก็บข้อมูล โดยใช้ เทคโนโลยี ก ารประมวลผล ภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NPL) ช่วยประมวลผลในการ สื่อสารระหว่างหุ่นยนต์และ มนุษย์
ผลลัพธ์ คิโรโบะ เป็นหุน่ ยนต์ขนาดเล็ก มีความสูง 13 นิว้ มีน�้ำหนักเพียง 1 กิโลกรัม พูดภาษาญี่ปนุ่ และ มี ค วามสามารถในการจดจ� ำ เสี ย งบทสนทนา ต่ า งๆ บั น ทึ ก วิ ดี โ อ และโต้ ต อบกั บ มนุ ษ ย์ ไ ด้ ถื อ เป็ น หุ ่ น ยนต์ ป ระเภทฮิ ว แมนนอยด์ ตั ว แรก ของญี่ ปุ่น ที่ ไ ด้ ขึ้ น สู่อ วกาศเพื่ อ เป็ น เพื่ อ น คลายเหงาให้แก่นักบินอวกาศ รวมถึงช่วยงาน ทดลองอืน่ ๆ ในอวกาศ ผ่านการสัง่ การด้วยค�ำพูด ของ ดร.วากาตะ และการสั่งงานทางไกลจาก ศูนย์ควบคุมบนโลก โดยคิโรโบะท�ำงานอยู่บน สถานีอวกาศนานาชาตินานถึง 18 เดือน และได้รบั การบั น ทึ ก ชื่ อ ในบั น ทึ ก สถิ ติ โ ลกกิ น เนสส์ (Guinness World Records) 2 เรื่อง ได้แก่ 1 คิ โ รโบะ คื อ หุ ่ น ยนต์ เ พื่ อ นมนุ ษ ย์ ที่ ขึ้ น สู่ อวกาศเป็นครัง้ แรกของโลก (The first companion robot in space) 2 414.2 กิโลเมตรเหนือระดับน�้ำทะเล คือ ระดับความสูงที่สุดที่เคยมีการสนทนาระหว่าง มนุษย์และหุ่นยนต์ โดยเป็นการสนทนาระหว่าง ดร.โคอิจิ วากาตะ และหุ่นยนต์คิโรโบะ
N
39
40
ค W
ความรู้กินได้
“วิชาหุ่นยนต์” ทักษะอาชีพแห่งอนาคต
SCAN QR CODE เพื่อรับชม Clip
ทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจทิ ลั กลายเป็นองค์ความรูท้ จี่ ำ� เป็นของศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะการสร้าง “หุน่ ยนต์” ที่ปัจจุบันนี้ไม่เพียงใช้ประโยชน์ในวงการอุตสาหกรรมและการผลิตขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังมีการออกแบบ ให้สามารถเป็นส่วนหนึง่ ในชีวติ ประจ�ำวันของมนุษย์ เพือ่ อ�ำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นหุน่ ยนต์ตดิ ตัง้ อยู่กับที่ (Fixed Robot) หรือ หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ (Mobile Robot) มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่แตกต่างกันออกไป หุน่ ยนต์ในปัจจุบนั ยังติดตัง้ ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้สามารถวิเคราะห์และท�ำงานได้เองตามชุดค�ำสัง่ ขึน้ อยูก่ บั ต้องการใช้ประโยชน์ด้านใด ซึ่งหากผู้ประกอบการมีวิสัยทัศน์ สนใจเทคโนโลยี และมีความรูเ้ บื้องต้นในการใช้ หุน่ ยนต์กจ็ ะสามารถน�ำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอาชีพด้านต่างๆ ได้ โดยหุน่ ยนต์สามารถเข้ามาช่วยลดการจ้างงาน ท�ำงานทดแทนมนุษย์ในบางต�ำแหน่งงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของงานได้มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
บ้านเรือนที่อาศัย
ส�ำนักงาน
ร้านอาหารและ สถานที่ท่องเที่ยว
ท�ำงานบ้าน พับผ้า ล้างจาน รดน�้ำต้นไม้ ดูดฝุ่น
บริการข้อมูล ท�ำความสะอาด สอนภาษา ชงกาแฟ
โรงงานอุตสาหกรรม
งานวิชาการ
การแพทย์
ผลิตชิ้นส่วน พิมพ์แบบ 3 มิติ หลอมวัสดุที่ใช้ความร้อนสูง
วิเคราะห์ข้อมูล ส�ำรวจปิโตรเลียมในทะเลลึก ส�ำรวจอวกาศ
ช่วยผ่าตัด ช่วยจ่ายยา บริการน�ำทางแก่ผู้ป่วย
ต้อนรับ เสิร์ฟอาหาร จ�ำหน่ายตั๋ว
อยากสร้างหุ่นยนต์ ควรเรียนอะไร? ปัจจุบนั มีผสู้ นใจศึกษาวิชาความรูด้ า้ นวิทยาการหุน่ ยนต์กนั มากขึน้ เนือ่ งจากต้องการน�ำมาปรับใช้ในการสร้าง นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนโลกด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ตั้งแต่เรียนรู้แนวคิดทฤษฎี กระบวนการ คิดค้น ออกแบบ วิเคราะห์ข้อมูล สร้างหุ่นยนต์ และควบคุมหุ่นยนต์ ให้ออกมาใช้งานได้จริง ผู ้ ที่ ส นใจและต้ อ งการเรี ย นรู ้ เ พื่ อ ปู ท างไปสู ่ ก ารสร้ า งหุ ่ น ยนต์ จ ะต้ อ งศึ ก ษาด้ า นวิ ท ยาการหุ ่ น ยนต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ แล้วน�ำไปประยุกต์ใช้แบบบูรณาการเข้ากับสาขาวิชาต่างๆ ดังต่อไปนี้ วิศวกรรมข้อมูล
วิศวกรรมชีวภาพ
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรม เมคคาทรอนิกส์
วิศวกรรม คอมพิวเตอร์
วิทยาการ คอมพิวเตอร์
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
อิเล็กทรอนิกส์
นาโนเทคโนโลยี
ปัญญาประดิษฐ์
สแกน QR Code เพื่อรับฟัง Audio Text
ค ความรู้กินได้ W n
วิทยาการพัฒนาหุ่นยนต์
1
2
3
ส�ำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นหน่วยงาน วิทยาการด้านปฏิสัมพันธ์ ความรู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การใช้ ป ั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ ส�ำคัญของไทยที่มีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนา ความรู ้ ด ้ า นดิ จิ ทั ล ได้ ส รุ ป วิ ท ยาการส� ำ คั ญ 5 ด้ า น การพัฒนาการตีความของหุน่ ยนต์ทมี่ ตี อ่ ปฏิกริ ยิ ากลุม่ ค�ำ และสิง่ ต่างๆ เพื่อให้หุ่นยนต์ประมวลผลอย่างถูกต้อง ที่มีส่วนในการพัฒนาหุ่นยนต์ในยุคปัจจุบัน ดังนี้
วิทยาการด้านการเคลื่อนที่
วิทยาการด้านการน�ำทาง
การศึ ก ษาเพื่ อ พั ฒ นาด้ า นการเคลื่ อ นไหวและ ความรู้เกี่ยวกับระบบน�ำทางอัตโนมัติ เพื่อพัฒนา เคลื่ อ นที่ ข องหุ ่ น ยนต์ ใ ห้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ซึ่ ง จ� ำ เป็ น ให้ หุ ่ น ยนต์ ส ามารถตรวจจั บ เส้ น ทางและวางแผน ต้องใช้ความรู้ด้านพลศาสตร์ควบคู่ไปด้วย การเคลื่อนที่โดยไม่ชนสิ่งกีดขวาง
4
5
วิทยาการด้านการเคลื่อนย้ายชิ้นงาน
วิทยาการด้านปัญญา
ความรูเ้ กีย่ วกับการใช้คำ� สัง่ หยิบและวาง (Pick and การศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของหุ่นยนต์ให้ Place) เพื่อให้หุ่นยนต์หยิบและยกวัตถุจากต�ำแหน่ง ท�ำความเข้าใจข้อมูลได้ดว้ ยตัวเอง สามารถเข้าใจข้อมูล หนึ่งไปวางยังอีกต�ำแหน่งหนึ่ง ซึ่งอาศัยความรู้ด้านการ ทีไ่ ด้รับและสื่อสารออกมาโดยไม่ผิดพลาด เคลื่อนไหวแขนขาหุ่นยนต์ในลักษณะต่างๆ ในยุคนี้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิทยาการหุ่นยนต์ก�ำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน เพราะเป็นฟันเฟืองส�ำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีดา้ นนีใ้ ห้กา้ วหน้ารองรับอุตสาหกรรม รวมถึงสินค้าและ บริการด้านต่างๆ แต่ส�ำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนหรือศึกษาทางวิทยาการหุ่นยนต์โดยตรง ก็ยังสามารถปรับตัว เป็น “ผู้ใช้เทคโนโลยี” ที่มีทักษะในการน�ำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอาชีพ ของตนเองได้เช่นกัน ซึ่งไม่จ�ำกัดอยู่แค่หุ่นยนต์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการฝึกฝนทักษะดิจิทัลให้ช�ำนาญ เพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่นับวันจะยิ่งพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว
41
42
I W
INSIDE OKMD
OKMD กับการส่งเสริมการเรียนรู้ เกี่ยวกับหุ่นยนต์ การเรี ย นรู ้ เ พื่ อ น� ำ ไปสู ่ ทั ก ษะแห่ ง อนาคตใหม่ ใ น ศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ถือว่าเป็นทักษะที่ จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวติ ในโลกทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงอย่าง รวดเร็ว การที่เราต้องอยู่ท่ามกลางโลกแห่งเทคโนโลยี และเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการเชื่อมโยงกัน เพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคม ไม่ว่าจะเป็น เครือข่ายองค์ความรู้ หรือเครือข่ายความสัมพันธ์ในกลุม่ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นผลให้มีการน�ำเอา เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในชีวิตประจ�ำวัน และชี วิ ต การท�ำงานมากขึ้น ปัจจุบันเราใช้และพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก การ ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ที่น�ำไปสู่การสร้างทักษะ ความเข้าใจ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ดิจิทัลจึงมีความจ�ำเป็น และถือเป็นทักษะที่เหมาะสม กั บ บริ บ ทของโลกปั จ จุ บั น ไม่ ว ่ า จะเป็ น การใช้ ง าน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต โปรแกรม คอมพิวเตอร์ และสือ่ ออนไลน์ตา่ งๆ คนยุคนีค้ วรสามารถ ใช้งาน ท�ำความเข้าใจ สร้าง และเข้าถึงเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ในการท�ำงานหรือในชีวิตประจ�ำวันอย่างรู้เท่าทัน และ มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังควรพัฒนาทักษะในด้านอื่นๆ ควบคู่ ไปด้วย เช่น การคิดอย่างมีวจิ ารณญาณ การคิดแก้ปญ ั หา
การคิดเชิงสร้างสรรค์ การสือ่ สาร และการท�ำงานเป็นทีม ซึ่ ง เชื่ อ กั น ว่ า ทั ก ษะเหล่ า นี้ ไม่ส ามารถสร้ า งได้ ด ้ ว ย กระบวนการที่ใช้ในห้องเรียนแบบเดิมๆ แต่สามารถ ใช้ ก ลวิ ธี แ ละกระบวนการเรี ย นรู ้ ต ามแนวทางของ สะเต็มศึกษา (STEM Education) การเรียนรู้แบบ มีส่วนร่วม (Active Learning) การเรียนรู้ตามหลักการ พัฒนาสมอง (Brain-Based Learning) แและการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) มาใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผล ท� ำ ให้ เ ด็ ก เกิ ด การพั ฒ นาทั ก ษะด้ า นต่างๆ อย่างมี ประสิทธิภาพ และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง สามารถ น� ำ ทั ก ษะที่ ไ ด้ ไ ปเป็น ฐานในการสร้ า งผลผลิ ต หรื อ นวัตกรรมในอนาคต
การเรียนรู้ของช่วงวัย แบบไหนที่ใช่ในโลกยุคใหม่ ในการศึกษายุคใหม่ เด็กจ�ำเป็นต้องรู้วิธีการเรียนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย ที่ส�ำคัญวิธีการเรียนรู้นั้นต้อง น�ำพาเด็กไปสูก่ ารสร้างการคิดแบบ Growth Mindset คือ การอยากเรียนรู้ พร้อมทีจ่ ะปรับตัว พร้อมเปิดรับสิง่ ใหม่ มีความเชือ่ ว่าคนเราสามารถพัฒนาตัวเองได้ มีเจตคติทดี่ ี มองเรือ่ งยากเป็นเรือ่ งทีท่ า้ ทายและตืน่ เต้นทีจ่ ะได้เรียนรู้ และลงมือท�ำ แม้เจอปัญหาหรืออุปสรรคก็มองว่าจะผ่านไปได้ และเชือ่ ว่าความพยายามจะน�ำพาไปสูค่ วามส�ำเร็จ การออกแบบการเรียนรูข้ องเด็กยุคใหม่จึงควรน�ำพาเด็กให้สามารถค้นพบวิธกี ารเรียนรู้ ค้นพบความสามารถและ ความถนัดของตนเอง โดยมีผใู้ หญ่คอยช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรูด้ ว้ ยการคิด ตัดสินใจ ทดลอง และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ตามธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กแต่ละช่วงวัย • เด็กปฐมวัย เรียนรู้ผ่านการเล่น และการกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่าน สิ่งแวดล้อมรอบตัว
• เด็กวัยประถม เรียนรูผ้ า่ นการลงมือ ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
INSIDE OKMD
• เด็กวัยมัธยม ไม่ชอบอยู่ในกฎกติกา ชอบคิดเอง อยากทดลองและลงมือท�ำด้วยตัวเอง หากท�ำส�ำเร็จจะเกิดความมั่นใจในตนเอง เมื่อรู้ถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กแล้ว จ�ำเป็นต้องรู้วิธีการออกแบบการเรียนรู้ให้สอดรับกับ ช่วงวัยของเด็ก รวมถึงการคัดสรรองค์ความรู้ที่น่าสนใจและทันสมัย ทั้งในรูปแบบออนไลน์และ ออฟไลน์ ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสดีของเด็กรุ่นใหม่ที่มีช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายและสามารถ เลือกรูปแบบได้ตามความสนใจ
แนวทางการจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ของ OKMD OKMD ตระหนักถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของเด็กรุ่นใหม่ ซึง่ เทคโนโลยีเข้ามามีสว่ นในการเปลีย่ นแปลงระบบการศึกษาและตลาดแรงงาน ท�ำให้เกิดอาชีพใหม่ๆ และผลักดันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะ รูปแบบการศึกษาเดิมอาจไม่รองรับการสร้างอาชีพใหม่ในอนาคต การน�ำ องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีมาผนวกกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนา สมองจึ ง เป็ น หนึ่ ง ในแนวทางส� ำ คั ญ ที่ OKMD น� ำ มาใช้ ใ นการออกแบบ ชุดความรู้เพื่อพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ ให้มีความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีทเี่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมใหม่ ซึง่ ประกอบด้วย อินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (IoT) หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เกมและแอนิเมชัน เทคโนโลยีการบินและ อวกาศ และเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยกระบวนการเรียนรู้นั้นต้องอาศัย การเชื่อมโยงความรู้ใน 4 สาขาวิชาสะเต็มศึกษาเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบ องค์รวม ไม่แยกส่วน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมถึงการน�ำขั้นตอนการ จัดการเรียนรู้แบบสเต็ปอัป (STEP UP) เข้ามาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ การจัดกระบวนการเรียนรูเ้ พือ่ ให้สมองสนใจและอยากเรียนรูม้ ากขึน้ ประกอบด้วย Set Up การเตรี ย มความพร้ อ ม ของผู ้ เ รี ย นทั้ ง ด้ า นร่ า งกาย และอารมณ์ เพื่อให้มีความ ผ่อนคลาย ตืน่ ตัว พร้อมเปิดรับ การเรียนรู้อย่างเต็มที่
Perform ก า ร ท ด ล อ ง ล ง มื อ ปฏิบัติ ฝึกฝน ท�ำซ�้ำจนเกิด ความเข้าใจ
Tie–In การทบทวนความรู ้ เ ดิ ม เพื่ อ เชื่ อ มโยงความรู ้ ใ หม่ ที่ ก�ำลังจะเรียนรู้
Use การน�ำความรู้และทักษะ ทีไ่ ด้ไปใช้ในสถานการณ์ตา่ งๆ จนเกิดความช�ำนาญ
Engage การกระตุ ้ น เร้ า ให้ เ กิ ด ความสนใจใคร่รู้ อยากเรียนรู้ และจดจ่ อ กั บ สิ่ ง ที่ ก� ำ ลั ง เรียนรู้
Pack การสรุ ป ความรู ้ แ ละ น�ำองค์ความรูไ้ ปต่อยอด หรือ ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้
N W
43
44
I W
INSIDE OKMD
การน�ำองค์ความรู้ ไปสร้างการเรียนรู้ ในปีงบประมาณ 2560 OKMD และส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้รว่ มกันด�ำเนินงาน “โครงการศึกษา และจัดท�ำมาตรการส�ำคัญภาครัฐเพือ่ พัฒนาบุคลากรรองรับ EEC” เพือ่ การ ศึกษา วิจัย และจัดท�ำหลักสูตรการอบรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีเด็ก เยาวชน และครู ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 4,800 คน และในปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้อง กับความต้องการของพืน้ ทีม่ ากขึน้ ในชือ่ “โครงการพัฒนาบุคลากรต้นแบบ เพื่อผลิตบุคลากรรองรับนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC: ระดับมัธยมศึกษา” เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ ให้แก่เด็กและเยาวชน ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 500 คน รวมถึงพัฒนาครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมใหม่ ให้สามารถน�ำ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นการ คิดวิเคราะห์ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ สร้างความรู้ ความเข้าใจจากการ ลงมือปฏิบัติจริง โดยแบ่งเป็น 2 หลักสูตร ประกอบด้วย
1
สแกน QR Code เพื่อรับฟัง Audio Text
หลักสูตรค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมใหม่ (EEC Innovation Youth Camp) เนื้อหาประกอบด้วย
• อินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (IoT) หลั ก สู ต รพื้ น ฐานความรู ้ ด ้ า น เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั เรียนรูก้ ารเชือ่ มโยง อุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับอินเทอร์เน็ต การสั่ ง การและการควบคุ ม การ ใช้ ง านอุ ป กรณ์ ผ ่ า นเครื อ ข่ า ย อินเทอร์เน็ต
• เทคโนโลยีหนุ่ ยนต์ (Robotic) หลั ก สู ต รพื้ น ฐานความรู ้ แ ละ ทักษะด้านกลศาสตร์ (การออกแบบ หุ่นยนต์) อิเล็กทรอนิกส์ (พื้นฐาน ไฟฟ้ า และการต่ อ วงจรไฟฟ้ า ) การเขี ย นโปรแกรม (พื้ น ฐาน โปรแกรม และการใช้งานอุปกรณ์ ค ว บ คุ ม ข น า ด เ ล็ ก ห รื อ ไ ม โ ค ร คอนโทรลเลอร์) และการบูรณาการ ความรู ้ ต ่ า งๆ เข้ า ด้ ว ยกั น โดยปู พื้นฐานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการน�ำ ความรู้ไปประยุกต์ใช้งานจริงผ่าน กิจกรรมที่เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ จากการลงมือท�ำ
• เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality : AR) หลักสูตรเบือ้ งต้นด้านคอมพิวเตอร์ กราฟิ ก เช่ น การเขี ย นโปรแกรม Unity3D การสร้างโมเดลต้นแบบ และการออกแบบฉาก รวมถึงความรู้ เบือ้ งต้นเกีย่ วกับการสือ่ สารระหว่าง อุปกรณ์ภายนอกกับคอมพิวเตอร์ ซึง่ น�ำมาบูรณาการร่วมกับเทคโนโลยี ความจริงเสริม
INSIDE OKMD
2
หลักสูตรการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมใหม่ให้กบั บุคลากรต้นแบบในพื้นที่ EEC (Technologies Integration For Modern Education)
หลักสูตรที่เน้นการพัฒนาบุคลากรต้นแบบให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมถึงพัฒนาสมรรถนะด้านการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และการปฏิบัติจริง ไปยังภาคี เครือข่ายได้ โดยกิจกรรมของหลักสูตรนีอ้ อกแบบมาส�ำหรับครูผสู้ อนทีส่ นใจการสอนแบบบูรณาการศาสตร์ เพิม่ พูน ความรู้ให้เท่าทันเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเนื้อหาความรู้ประกอบด้วย อินเทอร์เน็ตออฟติงส์และการประยุกต์ใช้งาน การออกแบบกราฟิกสองมิติ สามมิติ และแอนิเมชัน ความเป็นจริงเสมือน (VR) และความเป็นจริงเสริม (AR) ส�ำหรับเกมและสื่อความบันเทิง
การควบคุมและติดตามการท�ำงานของหุ่นยนต์ ในระบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ด้วยตนเองของ เครื่องจักร
ทั้ง 2 หลักสูตรเชื่อมโยงให้เห็นถึงแนวทางการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ที่จะช่วยเพิ่มทักษะของผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ (Science: S) เรียนรูเ้ รื่องวงจรไฟฟ้า ฟิสิกส์ การค�ำนวณ การเคลื่อนที่ ของวัตถุ และกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะด้านวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering: E) เรียนรู้การเขียนแบบทางกล การวาดแบบ แขนกล และการประกอบแขนกล การใช้งาน อุปกรณ์พื้นฐานไฟฟ้า พื้นฐานมอเตอร์ การเขียนโปรแกรมเพือ่ สร้างความจริงเสริม และการสร้างแอปพลิเคชันด้วยโปรแกรม Unity3D
ทักษะด้านเทคโนโลยี (Technology: T) เรียนรูก้ ารเขียนโปรแกรมควบคุมหุน่ ยนต์ การใช้โปรแกรมควบคุมการท�ำงานของ มอเตอร์ ทั ก ษะด้ า นคณิ ต ศาสตร์ (Math: M) เรียนรูเ้ รือ่ งการค�ำนวณมุมองศาของแขนกล ในหุ่นยนต์ การก�ำหนดต�ำแหน่งมุมและ ขนาดของวัตถุในพื้นที่สามมิติ
นอกจากเชื่อมโยงกับแนวทางการเรียนรู้แบบ STEM แล้ว ยังมีการต่อยอดไปสู่การเรียนรู้แบบ STE(A)M โดยเพิ่มเติมทักษะด้านศิลปะ (Art: A) ได้แก่ การออกแบบและการสร้างผลงานศิลปะโดยบูรณาการเข้ากับ งานคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างผลงานของตนเองและเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบให้แก่เด็กและเยาวชน
OKMD กับสิ่งที่คาดหวัง
OKMD ในฐานะที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เห็นถึงความส�ำคัญในการสนับสนุนหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้ในเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศ การเตรียมคน ให้พร้อมเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว รวมถึงการยกระดับความสามารถของ เด็กและเยาวชนให้มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เนื่องจากปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ทั้งในด้านการท�ำงานและการใช้ชีวิตประจ�ำวัน เช่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นช่องทางการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ช่วยพัฒนาและลดช่องว่างทางการศึกษา อ�ำนวยความสะดวกในการจับจ่ายซื้อของ และช�ำระเงิน ช่วยยกระดับและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แน่นอนว่าในอนาคตเทคโนโลยีจะต้องพัฒนายิง่ ขึน้ ไปอีก การเตรียมคนเพือ่ ให้รเู้ ท่าทันเทคโนโลยีจงึ เป็นภารกิจ ส�ำคัญของ OKMD ที่จะน�ำพาไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
I
45
46
5
5ive
5
หุน่ ยนต์เปลีย่ นโลก
ในอดีต “หุ่นยนต์” อาจเคยเป็นสิ่งประดิษฐ์สุดล�้ำที่มีตัวตนอยู่ เพีย งในนวนิ ย าย ภาพยนตร์ และละครแนววิท ยาศาสตร์ แต่ปัจจุบันหุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทในชีวิตการท�ำงานและชีวิต ประจ�ำวันของมนุษย์มากขึ้น ในหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับ หน้าที่และการท�ำงานของหุ่นยนต์นั้นๆ ดังเช่น หุ่นยนต์ 5 ตัวนี้ ที่เข้ามาเปลี่ยนโลกของเราให้ ใกล้เคียงกับโลกอนาคตจนคุณ อาจนึกว่าก�ำลังอ่านนิยายวิทยาศาสตร์อยู่ก็เป็นได้
5ive
1 SPOT
หุน่ ยนต์รปู ร่างคล้ายสุนขั ทีม่ คี วามสามารถหลากหลาย พั ฒ นาขึ้ น โดยบริ ษั ท Boston Dynamic ประเทศ สหรัฐอเมริกา ในราคา 74,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 2,240,000 บาท สามารถ เคลื่อนที่ได้ทั้งภายในอาคารและนอกอาคาร มีความ ทนทาน และใช้งานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น งานตรวจสอบพื้ น ที่ ที่ มี อั น ตรายหรื อ เข้ า ถึ ง ได้ ย าก รวมถึงการใช้งานในพื้นที่ห่างไกล การควบคุมเบื้องต้น สามารถท�ำได้ด้วยระบบออโต้วอล์ก (Autowalk) ที่ช่วย ออกแบบเส้นทางการเคลือ่ นทีอ่ ตั โนมัตไิ ด้อย่างง่ายดาย เหมาะส� ำ หรั บ การใช้ ง านในพื้ น ที่ อุ ต สาหกรรมหรื อ การพาณิชย์ต่าง ๆ
ที่มา: www.bostondynamics.com
2 PERSEVERANCE ROVER
ที่มา: mars.nasa.gov/mars2020
หุ่นยนต์ส�ำรวจดาวอังคารของ องค์การบริหารการบินและอวกาศ แห่งชาติ หรือ องค์การนาซา (NASA) ทีม่ กี ำ� หนดการเดินทางถึงดาวอังคาร ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 และจะใช้ เ วลาอย่ า งน้ อ ยหนึ่ ง ปี ดาวอังคาร หรือเทียบเท่า 2 ปีโลก เพื่ อ ท� ำ ภารกิ จ ส� ำ รวจดาวอั ง คาร ค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในสมัย โบราณ เก็บตัวอย่างดินและหินแร่ กลับสูโ่ ลก รวมถึงทดสอบเทคโนโลยี ใหม่ส� ำ หรั บ หุ ่ น ยนต์ ใ นอนาคต และภารกิจของมนุษย์สู่ดาวอังคาร ทัง้ ระบบนักบินอัตโนมัติ (Autopilot) ชุดเซ็นเซอร์สำ� หรับหลีกเลีย่ งอันตราย และการลงจอดอย่ า งปลอดภั ย และระบบน�ำทางอัตโนมัตทิ จี่ ะท�ำให้ เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นในภูมิประเทศที่ ท้าทาย
5
47
48
5
5ive
3 PEPPER
หุ ่ น ยนต์จ าก ซอฟต์แ บงก์ (Softbank) บริ ษั ท ด้านโทรคมนาคมชั้นน�ำจากประเทศญี่ปุ่น เป็นหุ่นยนต์ ฮิวแมนนอยด์ตัวแรกของโลกที่สามารถจดจ�ำใบหน้า และอารมณ์ พื้ น ฐานของมนุ ษ ย์ สร้ า งขึ้ น เพื่ อ มอบ ความสุขให้แก่มนุษย์ และได้รบั การปรับปรุงให้สามารถ มีปฏิสมั พันธ์โต้ตอบกับผูค้ นผ่านการสนทนาและสัมผัส ทีห่ น้าจอ โดยตัง้ แต่เปิดตัวในเดือนมิถนุ ายน พ.ศ. 2557 และเริ่มผลิตเพื่อจ�ำหน่ายในช่วงกลางปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบนั มีโรงเรียนและบริษทั ต่างๆ กว่า 2,000 แห่ง ทั่วโลก น�ำเปปเปอร์มาเป็นผู้ช่วยในการต้อนรับแขก แจ้งข้อมูล และให้ค�ำแนะน�ำแก่ผู้มาเยี่ยมชม ที่มา: www.softbankrobotics.com/emea/en/pepper
4 EELUME
ที่มา: www.kongsberg.com/maritime/products/marine-robotics/autonomousunderwater-vehicles/AUV-eelume
หุ ่ น ยนต์ รู ป ร่ า งคล้ า ยปลาไหล พั ฒ นาขึ้ น โดยบริ ษั ท Eelume, Kongsberg Maritime และ Statoil เพื่อใช้ตรวจสอบ เช็คสภาพ และ ซ่อมแซมอุปกรณ์เครือ่ งจักรทีอ่ ยูก่ น้ ทะเล หุน่ ยนต์ อี ล ลู ม ได้ รั บ การออกแบบให้ อ ยู่อ ย่างถาวร ก้นทะเลเพือ่ ปฏิบตั งิ านต่างๆ เช่น การซ่อมเรือใต้นำ�้ ในจุดที่มนุษย์เข้าถึงได้ยาก เนื่องจากหุ่นยนต์ ถู ก ออกแบบมาสามารถให้ เ ลื้ อ ยได้ เ หมื อ นงู ท�ำให้สามารถพันรอบท่อหรือมุดเข้าซอกเล็กๆ เพื่ อ ตรวจสอบและซ่อ มแซมส่ว นที่ เ สี ย หายได้ จึงช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของบริษัท รวมถึ ง ลดความเสี่ ย งของการส่ง มนุ ษ ย์ ล งไป ท�ำงานใต้ทะเลลึก
5ive
SCAN QR CODE เพื่อรับฟง Audio Text
ที่มา: www.festo.com/group/en/cms/13130.htm
5 BIONIC FLYINGFOX
หุ่นยนต์ค้างคาวแม่ไก่ พัฒนาโดยบริษัทเฟสโต้ (Festo) ประเทศเยอรมนี เป็นหุ่นยนต์ต้นแบบกึ่งอิสระ ที่เลียนแบบรูปร่างหน้าตามาจากค้างคาวแม่ไก่ ได้รับ การขนานนามว่าเป็น วั ต ถุ บิ น ได้ น�้ ำ หนั ก เบาพิ เ ศษ พร้ อ มจลนศาสตร์ อั จ ฉริ ย ะ เนื่ อ งจากมี ค วามยาว 87 เซนติเมตร ปีกกว้าง 228 เซนติเมตร แต่มนี ำ�้ หนักเพียง 580 กรัม สามารถเคลื่อนที่กึ่งอิสระในน่านฟ้าที่ก�ำหนด ได้ด้วยการผสมผสานระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บนหุ่นยนต์ กับระบบติดตามการเคลื่อนไหวภายนอก ปี ก ถู ก ออกแบบให้ ค ล้ า ยกั บ ปี ก ของค้ า งคาวแม่ ไ ก่ ในธรรมชาติ ซึ่งมีพังผืดเชื่อมติดจากปีกไปยังนิ้ว ท�ำให้ ปีกของหุ่นยนต์ต้นแบบมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ เบา และแข็งแรง
5
49
50
T
TALK TO ZINE
Therapy Symposium สุ ขภาพองค์รวม เป็ น เรื่ อ งน่ า สนใจที่ ไ ด้ เ ห็ น ว่ า ในยุ ค ที่ เ ทคโนโลยี ทางการแพทย์ก้าวหน้ามากขึ้น ผู้คนกลับหันไปแสวงหา ทางเลือกทีแ่ ตกต่างจากภูมปิ ญ ั ญาดัง้ เดิมในท้องถิน่ มากขึน้ คุณกรด โรจนเสถียร นพ.ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล และ คุ ณ ธารณี เกรแฮม จึ ง พาทุ ก คนไปเปิ ด โลกการดู แ ล สุขภาพยุคใหม่ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยเดิม ในงาน มหกรรมความรูค้ รัง้ ที่ 3 ไท(ย)ม์แมชชีน “เมือ่ เทรนด์โลก (ย้อนสู่) ภูมิปัญญาไทย ตอน Therapy Symposium: สุขภาพองค์รวม “แม้ เ ทคโนโลยี ท างการแพทย์ จ ะมี ค วามก้ า วหน้ า อย่างมาก แต่ผู้คนก็ยังเผชิญปัญหาสุขภาพ ทุกอย่าง ในร่างกายของมนุษย์ล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันหมด แบบองค์รวม การแพทย์แผนไทยถือเป็นศาสตร์การแพทย์ แบบองค์ ร วม ตั้ ง แต่ ก ารจ� ำ แนกผู ้ ป ่ ว ยลึ ก ไปถึ ง นิ สั ย ใจคอ มองร่างกายเป็นระบบ แนวคิดแพทย์แผนไทยจึงมี ความสอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด การแพทย์ แ บบโฮลิ ส ติ ก สมัยใหม่ทเี่ ทรนด์โลกก�ำลังสนใจ... เดินทางสูอ่ นาคตต่อไป ภูมิปัญญาไทยสู่เทรนด์โลก” ประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ
เทรนด์โลกด้านสุขภาพและ โอกาสของภูมิปัญญาไทย Holistic Health
ธาตุเจ้าเรือน การพัฒนาการรักษาตาม ศาสตร์แพทย์แผนไทยด้วย เทคโนโลยีที่ตอบสนองกับ ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่
คุณค่าและความงดงาม ของการคลอดตาม ธรรมชาติกับหมอต�ำแย
ที่มา: www.okmd.or.th/knowledge-festival/video/kf3/451/
WHAT's GOiNG ON
WHAT'S GOING ON 12 - 16 APR 2564
Robosoft 2021 : IEEE International Conference on Soft Robotics
การประชุมนานาชาติทเี่ ป็นการรวมตัวของผูท้ สี่ นใจเทคโนโลยีหนุ่ ยนต์ ทีส่ ร้างจากวัสดุออ่ นและนิม่ (Soft Robotics) โดยเป็นการน�ำเสนอแนวคิด มหาวิทยาลัยเยล และอภิปรายแลกเกีย่ วกับนวัตกรรมหุน่ ยนต์ทเี่ น้นตอบโจทย์ในอุตสาหกรรม รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา และธุรกิจทีต่ อ้ งการความละเอียดอ่อน เช่น การหยิบจับวัสดุทแี่ ตกหักง่าย หรือการผ่าตัดที่ละเอียดอ่อน เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี “หุ่นยนต์นิ่ม” ทีก่ ำ� ลังได้รบั ความสนใจ ให้มคี วามก้าวหน้าและถูกน�ำมาใช้ในอุตสาหกรรม อย่างแพร่หลายมากขึน้ รายละเอียดเพิ่มเติม softroboticsconference.org
29 - 30 MAY 2564
การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ ประเทศไทย รอบชิงชนะเลิศ
การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต บรมราชกุมารี จัดโดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) โดยเป็น จังหวัดปทุมธานี การแข่งขันเพื่อคัดเลือกเยาวชนระดับอุดมศึกษา และระดับอาชีวศึกษา ที่มีความสามารถด้านการออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติ เพื่อเป็น ตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน ABU ASIA-PACIFIC ROBOT CONTEST 2021 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน รายละเอียดเพิ่มเติม www.tpa.or.th/robot/index.php
29 - 30 MAY 2564
RoboCup 2022, การแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก
การแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก RoboCup 2022 ซึ่งประเทศไทยได้รับ เกียรติให้เป็นเจ้าภาพ กิจกรรมภายในงานแบ่งเป็น การแข่งขัน RoboCup ศูนย์นิทรรศการ ประเภทอายุไม่เกิน 19 ปี การแข่งขัน RoboCup ประเภทอายุ 19 ปี และการประชุมไบเทค บางนา ขึน้ ไป นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ การจัดแสดงวัฒนธรรมไทย การน�ำเสนอ และแลกเปลีย่ นความรูโ้ ดยนักวิชาการด้านหุน่ ยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และ ระบบอัตโนมัติที่มีชื่อเสียงระดับโลก รวมถึง Startup Pitching ซึ่งเป็นเวที กลางที่เปิดโอกาสให้นักประดิษฐ์ ผู้ประกอบการ นักวิจัย และนักพัฒนา หุน่ ยนต์ได้มโี อกาสน�ำเสนอนวัตกรรมการประดิษฐ์ของตนต่อกลุม่ ผูล้ งทุน รายละเอียดเพิ่มเติม www.robocup.org
W
51
OKMD
family รวมสาระและบันเทิง สำหรับครอบครัว สนุกได ทุกไลฟ สไตล
ออกอากาศทุกวันจันทร พ�ธ ศุกร จันทร พ�ดคุยในหัวข อที่เป นประโยชน มีสาระ
สำหรับทุกวัย
พ�ธ�ด
ช างพ
ครบรสทุกเร�่อง คุยเฟ��องเร�่องดีมีสาระ
ศุกรา
วาไรตี้ดีๆ แนะนำกิจกรรมอ�ดมสุข ในวันหยุดสุดสัปดาห
หรรษ
เร็วๆ นี้ www.facebook.com/OKMDInspire