สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โครงการอนามัยนำ�พา ชราสุขใจ ทุกวัยเข้มแข็ง
รู้จักและป้องกัน
โรคติดอาการ ต่อทางเพศสั ม พั น ธ์ สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง วิธีการรักษา
ภายใต้โครงการ ETC เป็นหนึ่ง เพื่อเป็นที่พึ่งของชุมขุน (ETC For All) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลเขวา ตำ�บล เขวา อำ�เภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดย นิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา
คำ�นำ�
โครงการอนามัยนำ�พา ชราสุขใจ ทุกวัยเข้มแข็ง
หนังสือ รู้จักและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ฉบับนี้พัฒนาจาก ความร่วมมือของ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามและโรง พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลเขวา อำ�เภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ภายใต้วิชาหนึ่งหลักสูตร หนึ่งชุมชน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและผลิตสื่อให้ความ รู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งประกอบด้วยสาเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ ์ปัจจัย เสี่ยงต่อการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการ ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วิธีการรักษาโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คณะผู้จัดทำ�หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่บุคคล ากรทางการแพทย์และผู้มารับบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลเขวา อำ�เภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ให้สามารถสื่อสาร ให้ความรู้ความเข้าใจระหว่างกันได้มากขึ้น อันจะนำ�มา ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพที่ถูก ต้อง เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรงยิ่งขึ้น
คณะผู้จัดทำ�
สารบัญ เรื่อง หน้า
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ......................................... โรคเอดส์ ................................................................... โรคหนองใน .............................................................. โรคเริมที่อวัยวะเพศ .................................................. โรคหูดหงอนไก่ .......................................................... โรคซิฟิลิส .................................................................. โลน ...........................................................................
1 3 7 9
11 13 17
1
2
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
สาเหตุของการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ บางชนิดไม่มียารักษา และบางชนิดยังสามารถ ฝังตัวอยู่ และกลับมาเป็นซ้ำ�ได้อีก โรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ เริมที่ อวัยวะเพศ หูดหงอนไก่ ไวรัสตับอักเสบบี ฯลฯ
อาการที่น่าสงสัย ??
อาการแบบไหนสงสัยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากมีอาการเหล่านี้ สามารถสงสัยได้ว่าเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ชาย จะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ขาหนีบบวม หรือเป็นฝี เจ็บปวดอวัยวะเพศ มีผื่น ตุ่ม แผล บริเวณอวัยวะเพศ มีเมือกใส หรือหนองไหลออกมา ผู้หญิง จะรู้สึกเจ็บ เสียวท้องน้อย ขาหนีบบวม หรือเป็นฝี เจ็บปวด คันอวัยวะเพศ มีผื่น ตุ่ม แผลบริเวณอวัยวะเพศ มีตกขาวสีเหลือง มีกลิ่นเหม็น
ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
สาเหตุที่ทำ�ให้เกิดโรค
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ โรคส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์ อาจเรียกว่า “กามโรค” (Venereal disease) หรือ “วีดี” เกิดขึ้นจากการติดต่อกันผ่านทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก กับผู้ที่กำ�ลังมีเชื้อ ปัจจุบันใช้คำ�ว่า “การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์”
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคที่สามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่พบมากในหมู่วัยรุ่น เนื่องจาก วัยรุ่นในปัจจุบัน นิยมมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน โดยที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง รวมทั้ง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่าง ๆ นอกจากนี้ในปัจจุบัน คู่แต่งงานมีอัตราการหย่าร้างสูงขึ้น ทำ�ให้ คนมีสามี หรือภรรยาหลายคนจึงเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มากขึ้น สิ่งที่อันตรายของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ เมื่อเป็นแล้วมักจะไม่เกิดอาการ บางคนจึงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้วโดยไม่รู้ตัว และเป็นปัญหาในการจัดการ ทางระบบสาธารณสุขและที่สำ�คัญโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถติดต่อไปยังทารก ในครรภ์ได้
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม ท่อปัสสาวะ อักเสบ ช่องคลอดอักเสบ ฯลฯ เกิดจากเชื้ออื่นๆ พยาธิ สามารถรักษาให้ หายขาดได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ
กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - คนที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย หรือหญิงบริการ ใน 3 เดือนก่อนหน้า - คนที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า - คนที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่คนใหม่ ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า - ผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใน 1 ปีที่ผ่านมา - ผู้ที่มีคู่ครองอยู่คนละที่
3
4
โรคเอดส์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
โรคเอดส์ (AIDS) หรือ กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม เกิดจากการรับเชื้อ Human immunodeficiency virus หรือ HIV เข้าไปทำ�ลายเม็ดเลือดขาวที่เป็นแหล่งสร้าง ภูมิคุ้มกันโรค ทำ�ให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลงจึงทำ�ให้เชื้อโรคฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ ง่ายขึน้ เช่น มะเร็ง วัณโรค และสาเหตุการเสียชีวติ ก็มกั เกิดขึน้ จากโรคติดเชือ้ ฉวยโอกาสต่างๆเหล่านี้ ที่จะทำ�ให้อาการรุนแรง และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
โรคเอดส์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร ไม่ใช้ถุงยาง
การรับเชื้อทางเลือด
การร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ทั้งชายกับชาย หญิงกับหญิง หรือชายกับหญิง จะเป็นช่องทาง ธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติก็ตาม ล้วนมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรค เอดส์ทั้งนั้น ซึ่งมีข้อมูลจากกองระบาดวิทยาระบุว่า ร้อยละ 83 ของผู้ติดเชื้อเอดส์ รับเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์
โอกาสติดเชื้อเอดส์ พบได้ 2 กรณี คือ - ใช้เข็มฉีดยา หรือกระบอกฉีดยา ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น - รับเลือดมาจากการผ่าตัดหรือเพื่อรักษาโรคเลือดบาง ชนิด แต่ปัจจุบันเลือดที่ได้รับการบริจาคมา จะถูกนำ�ไป ตรวจหาเชื้อเอดส์ก่อน จึงมีความปลอดภัยเกือบ 100%
สายพันธุ์ของโรคเอดส์
เชื้อไวรัสเอดส์มีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักดั้งเดิมคือ
HIV-1
HIV-2
แพร่ระบาดในแถบสหรัฐอเมริกา แพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก ยุโรป และแอฟริกากลาง นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์อื่น ๆ ที่กลายพันธุ์ มาอีกมากมาย
?
ติดต่อผ่านทางแม่สู่ลูก เกิ ด จากแม่ ที่ มี เชื้ อ เอดส์ แ ละถ่ ายทอดให้ ท ารกในขณะตั้ ง ครรภ์ขณะคลอดและภายหลังคลอด ปัจจุบันมีวิธีป้องกันการแพร่เชื้อ เอดส์จากแม่สู่ลูกโดยการทานยาต้านไวรัสในช่วงตั้งครรภ์จะสามารถ ลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์เหลือเพียงร้อยละ 8 แต่ยังคง มีความเสี่ยงอยู่ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การตรวจเลือดก่อนแต่งงาน
นอกจากนี้ โรคเอดส์ ยังสามารถติดต่อผ่านทางอื่นได้ แต่โอกาสมีน้อยมาก เช่น การใช้ของมีคมร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ทำ�ความสะอาด, การเจาะหูโดยการใช้เข็ม เจาะหูร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์, การสักผิวหนัง หรือสักคิ้ว เป็นต้น ซึ่งวิธีดังกล่าวเป็นการ ติดต่อโดยการสัมผัสกับเลือด หรือน้ำ�เหลืองโดยตรง แต่โอกาสติดโรคเอดส์ด้วยวิธีนี้ ต้องมีแผลเปิด และปริมาณเลือดหรือน้ำ�เหลืองที่เข้าไปในร่างกายต้องมีจำ�นวนมาก
5
6
6
โรคเอดส์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
โรคเอดส์
โรคเอดส์มีกี่ระยะ
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
การป้องกันโรคเอดส์
เมื่อติดเชื้อเอดส์แล้วจะแบ่งช่วงอาการออกเป็น 3 ระยะ คือ
การป้องกันโรคเอดส์ เราสามารถป้องกันโรคเอดส์ ได้โดย
Lv.1
ระยะไม่ปรากฎอาการ (Asymptomatic stage) หรือระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆออกมา จึงดูเหมือนคนมีสุขภาพแข็งแรงเหมือนคนปกติ แต่อาจจะเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ จากระยะแรกเข้าสู่ ระยะต่อไปโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 7-8 ปี แต่บางคนอาจไม่มีอาการนานถึง 10 ปี จึงทำ�ให้ผู้ติดเชื้อ สามารถแพร่เชื้อต่อไปให้กับบุคคลอื่นได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์
Lv.2 ระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ (Aids Related Complex หรือ ARC)
หรือระยะเริ่มปรากฏอาการ ในระยะนี้จะตรวจพบผลเลือดบวก และมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ให้เห็น เช่น ต่อมน้ำ�เหลืองโตหลายแห่งติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน, มีเชื้อราในปากบริเวณกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก, เป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม และมีอาการเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน โดยไม่ทราบ สาเหตุ เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำ�หนักลด เป็นต้น ระยะนี้อาจเป็นอยู่นานเป็นปีก่อนจะกลาย เป็นเอดส์ระยะเต็มขั้นต่อไป
Lv.3
+
ระยะเอดส์เต็มขั้น (Full Blown AIDS)
หรือระยะโรคเอดส์ ในระยะนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำ�ลายลงไปมาก ทำ�ให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย หรือที่เรียกว่า “โรคติดเชื้อฉวยโอกาส” ซึ่งมีหลายชนิด แล้ว แต่ว่าจะติดเชื้อชนิดใด และเกิดที่ส่วนใดของร่างกาย หากเป็นวัณโรคที่ปอด จะมีอาการ ไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด ถ้าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Cryptococcus จะมีอาการ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้อาเจียน หากเป็นโรคเอดส์ของระบบประสาทก็ จะมีอาการความจำ�เสื่อม ซึมเศร้า แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น ส่วนใหญ่เมื่อผู้เป็นเอดส์เข้า สู่ระยะสุดท้ายนี้แล้วโดยทั่วไปจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1-2 ปี
รักเดียว ใจเดียว
ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรตรวจ ร่างกาย ตรวจเลือด และขอรับคำ� ปรึกษาเรื่องโรคเอดส์ จากแพทย์ก่อน
ถุงยางอนามัย
ป้องกันโรคเอดส์ได้แค่ไหน ถุงยางอนามัยป้องกันโรคเอดส์ได้แค่ไหน ถุงยางอนามัย สามารถป้องกันโรคเอดส์ได้แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้ ว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น ถุงยางมีคุณภาพดีพอหรือไม่ หมดอายุการใช้งานหรือยัง โดยปกติให้ดูจากวันผลิตไม่เกิน 3 ปี หรือดูวันหมดอายุที่ซอง ซองต้องไม่ชำ�รุด หรือฉีกขาด นอกจากนี้ต้องเลือกขนาดใช้ให้เหมาะสม ถ้าขนาดไม่พอดี ก็อาจฉีกขาด หรือหลุดออกง่าย ซึ่งจะไม่สามารถป้องกันโรคเอดส์อย่างได้ผล
งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดใช้สารเสพติดทุกชนิด
7
8
โรคหนองใน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
โรคหนองใน หนองใน (Gonorrhoea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoeae ทำ�ให้เกิดอาการระคายเคืองในท่อปัสสาวะ แสบขัดเวลาปัสสาวะ และมีหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ อาจจะ ทำ�ให้เกิดการอักเสบในช่องท้อง หรือเป็นหมันหากไม่ได้รับการรักษา
หนองใน คือ แบคทีเรีย
โรคหนองใน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โรคหนองในแท้ หรือ โกโนเรีย (Gonorrhoea) เกิดจากการติดเชื้อ Neisseria gonorrhoeae ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีรูปร่างค่อนข้างกลม อยู่กัน เป็นคู่หันด้านเว้าเข้าหากัน ดูคล้ายเมล็ดกาแฟหรือเมล็ดถั่ว ย้อมสีแกรมติดสี แดง เชื้อนี้จะทำ�ให้เกิดโรคเฉพาะเยื่อเมือก Mucous Membrance เช่น เยื่อ เมือกในท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ปากมดลูก เยื่อบุมดลูก ท่อรังไข่ ทวารหนัก เยื่อบุตา คอ เป็นต้น โดยเชื้อนี้มีระยะฟักตัวเร็ว คือประมาณ 1-10 วัน โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) หรือ NSU เป็นการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หนองในแท้
หนองในติดต่อกันทางไหน ?
หนองในบริเวณท่อนำ�ไข่
โรคหนองใน ไม่ว่าจะโรคหนองในแท้ หรือโรคหนองใน เทียม สามารถติดต่อกันจากการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะทางปาก ช่องคลอด หรือทางทวารหนัก รวมทั้งหากมีการร่วมเพศทางปาก ก็อาจทำ�ให้ติดโรคที่ลำ�คอได้ นอกจากนี้ โรคหนองในเทียม ยังเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น เช่น การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ, การอักเสบของต่อมลูก หมาก, ท่อปัสสาวะตีบ, การอักเสบของหนังหุ้มอวัยวะเพศ หรือ การใส่สายสวนปัสสาวะ
โรคหนองใน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
อาการหนองใน สังเกตแต่เริ่มแรกรักษาได้เร็ว อาการหนองใน สังเกตแต่เริ่มแรกรักษาได้เร็ว อาการหนองในผู้ชาย ในผู้ชายที่เป็นหนองในจะมีอาการปัสสาวะขัดอย่าง รุนแรง และมีหนองสีเหลืองข้น ไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ มักเกิดอาการหลังรับเชื้อ ไปแล้ว 2-5 วัน ถ้าไม่รักษาอาจทำ�ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ลุกลามไปยังต่อมลูก หมาก ทำ�ให้ต่อมลูกหมากอักเสบ อัณฑะอักเสบ ฯลฯ ซึ่งทำ�ให้เป็นหมันได้ อาการหนองในผู้หญิง ในผู้หญิงที่เป็นหนองใน ส่วนใหญ่จะไม่มี อาการ จนกระทั่ง 10 วันไปแล้ว จะมีอาการตกขาว มีกลิ่นเหม็น ปัสสาวะ แสบขัด เพราะเกิดการอักเสบที่ท่อปัสสาวะ และปากมดลูก ถ้าไม่รีบรักษา เชื้อโรคจะลุกลาม ทำ�ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ต่อมบาร์โธลินอักเสบ เป็น ฝีบวมโต การอักเสบในอุ้งเชิงกราน ปีกมดลูกอักเสบ การอุดตันของท่อรังไข่ ซึ่งทำ�ให้เป็นหมันหรือตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
หนองใน รักษาได้อย่างไร ผู้ที่เป็นโรคหนองใน มักจะเป็นโรคหนองในเทียมด้วย ดังนั้นจึงต้องรักษาอาการไปพร้อม ๆ กัน โดย การใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Cephalosporin และ Quinolone อาจเป็นชนิดรับประทานหรือชนิดยาฉีด ยาที่ นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Cefixime, Ceftriaxone, Ciprofloxacin, Ofloxacin, Levofloxacin เป็นต้น ทั้งนี้ การรักษาหนองในจะได้ผลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยที่จะต้องรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง และปฏิบัติตน รวมทั้งตรวจซ้ำ�ตามแพทย์แนะนำ� และหากใครเป็นโรคหนองในควรพาคู่สามีและภรรยาไป ตรวจรักษาด้วย นอกจากนี้เมื่อหายแล้ว ยังควรกลับไปตรวจซ้ำ�ตามแพทย์นัด จนกว่าจะแน่ใจว่าหายสนิทในทุกตำ�แหน่งที่มีเพศสัมพันธ์
9
10
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
โรคเริมที่อวัยวะเพศ
เริมที่อวัยวะเพศ (Genita Herpes Simplex Virus Infection)
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดเชื้อไวรัส herpes simplex virus ทำ�ให้เกิดอาการปวด แสบบริเวณขา ก้นหรืออวัยวะเพศ และตามด้วยผื่นเป็นตุ่มน้ำ�ใส แผลหายได้เองใน 2-3 สัปดาห์ แต่เชื้อยังอยู่ในร่างกาย เมื่อร่างกายอ่อนแอ เชื้อก็จะกลับเป็นใหม่
โรคเริมที่อวัยวะเพศ
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
อาการของเริมที่อวัยวะเพศ
ถ้าเป็นเริมที่ติดเชื้อครั้งแรกมักมีอาการรุนแรง เป็นตุ่มน้ำ�ใสจำ�นวนมากและเจ็บ บางครั้งอาจมีไข้หรือ ปัสสาวะไม่ออกร่วมด้วย ซึ่งควรพบแพทย์เพื่อรับยารักษา แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อซ้ำ� อาการมักไม่รุนแรง อาจมีเพียง ตุ่มน้ำ�ใสไม่กี่ตุ่ม และไม่มีไข้
ยาฆ่าเชื้อเริม หรือยาต้านเชื้อเริม เริมเป็นแล้วไม่หายขาด โรคเริมสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ ์และการสัมผัส หลังจากการติดเชื้อเริมแล้วเชื้อเริม จะซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาทรับความรู้สึกและรอคอยที่ จะขึ้นมาที่ผิวหนังเมื่อร่างกายอ่อนแอ คนส่วนใหญ่ติดเริมจากคู่นอนที่ไม่มีแผลเริมให้เห็น เนื่องจากเริมจะซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาทของผู้เคยติดเชื้อและเมื่อเชื้อเริมกลับมาที่ผิวหนังอีกครั้ง คนส่วน ใหญ่เข้าใจผิดว่าจะทำ�ให้เกิดอาการทุกครั้ง แต่ความเป็นจริงแล้วการกลับมาของเชื้อเริมที่ผิวหนังอาจจะก่อให้เกิด อาการทางเริมหรือไม่เกิดอาการก็ได้ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือการกำ�เริบของเชื้อส่วนใหญ่มักไม่ทำ�ให้ผู้ติดเชื้อเกิดอาการ ดังนั้นจึงสามารถถ่ายทอด เชื้อเริมให้กับคู่นอน โดยที่คู่นอนไม่รู้ตัว
ปัจจุบันแม้ว่าจะมียาฆ่าเชื้อเริม (Anti-heres simplex virus) แต่เป็นที่ ทราบกันดีว่าการติดเชื้อเริมสามารถเกิดซ้ำ�ได้อีก เนื่องจากเชื้อเริมจะไปซ่อนตัวอยู่ที่ ปมประสาทรับความรู้สึก ดังนั้นการที่แพทย์ให้ยาฆ่าเชื้อเริม จะช่วยให้ระยะเวลาใน การเป็นเริมสั้นลง และบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ แต่ไม่มีผลที่จะหยุดหรือลดการ กลับเป็นซ้ำ�
กลับมาเป็นอีกทำ�อย่างไรดี
กรณีที่เป็นเริมมากกว่า 6 ครั้งต่อปี แนะนำ�ให้ไปพบแพทย์ เพื่อให้ แพทย์พิจารณาว่าจำ�เป็นต้องได้รับยาเพื่อกดเชื้อเริมไม่ให้เกิดอาการ
12
11
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
โรคหูดหงอนไก่
หูดหงอนไก่ (Condyloma Acuminata)
หูดหงอนไก่ (Condyloma Acuminata) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากไวรัส Human papilloma virus ลักษณะเป็นติ่งเนื้ออ่อน ๆ สีชมพูคล้ายหงอนไก่ ชอบขึ้นที่อุ่นและอับชื้น ในผู้ชายมักพบที่อวัยวะเพศบริเวณใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ตลอดทั้งบริเวณรอบรอยเปิดขอบ, ท่อปัสสาวะ และอัณฑะ ส่วนผู้หญิงจะพบที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูก ปากทวารหนักและฝีเย็บ หูดมีขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ การตั้งครรภ์จะทำ�ให้หูดโตเร็วกว่าปกติ ถ้าไม่รีบ รักษาจะเป็นมากขึ้นและยากต่อการรักษา และทารกอาจติดเชื้อได้ขณะคลอด
หูดหงอนไก่
โรคหูดหงอนไก่
แม้ “หูดหงอนไก่” จะจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่จริง ๆ แล้ว แม้จะไม่มีเพศสัมพันธ์ก็สามารถรับเชื้อนี้เข้าไปได้โดยการสัมผัส เพราะเชื้อเหล่านี้อาจพบ ได้ตามร่างกาย ผม ซอกเล็บ เครื่องใช้ต่าง ๆ บางคนอาจนำ�สิ่งของ หรือมือที่เปื้อนเชื้อไวรัส HPV มาสัมผัสอวัยวะเพศ ก็สามารถติดเชื้อไวรัสตัวนี้ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยมีการสัมผัสระหว่างผิวหนังกับผิวหนัง เป็นช่องทางติดต่อที่พบบ่อยที่สุด ส่วนการใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว สบู่ รวมทั้งการสัมผัสหรือเกา แล้วไปสัมผัสบริเวณอื่น เป็น ปัจจัยรองลงมา โดยมีระยะฟักตัวนาน 1-6 เดือน
?
โรคนี้ไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ทำ�ลายความมั่นใจของคนที่เป็นได้มากที เดียว ดังนั้นจึงต้องรักษา ซึ่งอาจจะหายขาด หรือกลับมาเป็นซ้ำ�ก็ได้ หากไปติดเชื้อซ้ำ� จากคู่นอน หรือการเกิดรอยโรคจากเชื้อในร่างกายตนเองที่เพิ่งก่อให้เกิดรอยโรค มาดูวิธีการรักษากัน...วิธีการรักษามีหลายทาง โดยหากเป็นหูดขนาดเล็กจะ รักษาได้ง่ายกว่า ใช้เพียงยารักษาก็ช่วยได้แล้ว ยาที่แพทย์จะใช้รักษาหูดหงอนไก่มีดังนี้
ยาที่ใช้รักษา
หงอนของไก่
เสี่ยงต่อการ
ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
หูดหงอนไก่รักษาอย่างไร
จะมีลักษณะคล้ายกับ
การสัมผัส ติด เชื้อ
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ไตรคลอโรเซติกแอซิด (80-90% Trichloroacetic acid; TCA) มีฤทธิ์ทำ�ให้โปรตีนในเซลล์เสื่อมสภาพ เป็นเซลล์ตาย ทำ�ให้หูดที่มีก้านหลุดออกไป ได้ภายใน 2-3 วัน แต่อาจมีผลข้างเคียงทำ�ให้ ผิวหนังระคายเคือง มีเลือดออกได้ ยาชนิดนี้ก็ ต้องให้แพทย์เป็นผู้ทาให้เช่นกัน โพโดฟิลอก (Podofilox 0.5%) ยานี้จะเข้าไปยังยั้ง การแบ่งเซลล์ สามารถใช้ทาได้เองเช่นกัน ผลข้าง เคียงคืออาจทำ�ให้เกิดระคายเคืองได้
โพโดฟีโลทอกซิน (Podophylotoxin) เป็นยาทาที่จะช่วยไปยับยั้งการแบ่งตัวของ เซลล์ แต่ก็มีผลข้างเคียงคือ อาจทำ�ให้ผิวหนังระคาย เคือง เป็นแผล และปวด หากเข้าสู่กระแสเลือดอาจ ทำ�ให้เส้นประสาทอักเสบ ชาตามตัว เม็ดเลือดขาวต่ำ� และเกล็ดเลือดต่ำ�ได้ โดยยานี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้ทาให้ ตามเวลานัด
อิมิควิโมด (5% Imiquimod/ Aldara) ผู้ป่วย สามารถใช้ยานี้ทาได้เอง โดยยานี้จะเข้าไปกำ�จัด ไวรัส HPV ในร่างกาย แต่ใช้แล้วอาจเกิดผื่นได้ เฉพาะที่ขึ้นเป็นผลข้างเคียง
13
14
โรคซิฟิลิส
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
โรคซิฟิลิส
โรคซิฟิลิส
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
อาการของโรคซิฟิลิส
(Syphilis)
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อ Treponema pallidum เป็นโรคที่มีอันตราย และมีอาการเรื้อรัง สามารถติดต่อยาวนานกว่า 2 ปี ลักษณะการ ติดเชื้อเริ่มแรกจะเป็นก้อนแข็ง แต่ไม่เจ็บที่บริเวณอวัยวะเพศ หากไม่รักษาจะกลาย เป็นระยะที่สองที่เรียกว่า เข้าข้อหรือออกดอก ถ้าทิ้งไว้นานจะทำ�ให้เกิดโรคแก่ ระบบต่างๆ ของร่างกายหลายระบบ ทั้งซิฟิลิสระบบหัวใจและหลอดเลือด ซิฟิลิส ระบบประสาท เป็นต้น นอกจากนี้ มารดาที่เป็นโรคซิฟิลิสจะถ่ายทอดโรคสู่ทารก ในครรภ์ได้เรียกว่า ซิฟิลิสแต่กำ�เนิด (congenital syphilis) จึงถือว่าซิฟิลิสเป็น โรคที่มีอันตราย และมีอาการเรื้อรัง สามารถติดต่อยาวนานกว่า 2 ปี
โรคซิฟิลิส
ติดต่อกันได้อย่างไร
คนเราสามารถรับเชื้อซิฟิลิสได้ 3 ทาง คือ 1. ทางเพศสัมพันธ์ โดยติดต่อผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก 2. ติดต่อผ่านการสัมผัสแผลที่มีเชื้อ โดยผ่านทางผิวหนัง เยื่อบุตา ปาก 3. จากแม่สู่ลูก โดยหากมารดาเป็นซิฟิลิส จะถ่ายทอดโรคนี้สู่ทารกในครรภ์ได้ โดย เรียกเด็กที่เป็นซิฟิลิสจากสาเหตุนี้ว่า ซิฟิลิสแต่กำ�เนิด จะแสดงอาการ หลังคลอดได้ 3-8 สัปดาห์ และเป็นอาการเล็กน้อยมากจนแทบไม่ทันได้สังเกต เช่น มีตุ่มผื่นขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่มาออกอาการมากๆ เข้าเมื่อตอนโต ซึ่งก็เข้า สู่ระยะ ที่สี่แล้ว หรือบางคนอาจแสดงอาการพิการออกมาให้เห็นได้ชัด
ซิฟิลิส ส่วนใหญ่มักพบในผู้ชาย โดยผู้ป่วยซิฟิลิสจะมีอาการหลายแบบ ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้น คือ ซิฟิลิส ระยะแรก Primary Syphilis เชื้อซิฟิลิสจะเข้าทางเยื่อบุ หรือรอยถลอก รอยแผลที่ผิวหนังซึ่งมักพบที่อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด ริมฝีปาก และมักเป็นเพียงแผลเดียว ลักษณะเป็นแผลริมแข็ง คือแผลมีขอบนูนแข็ง แต่ไม่เจ็บ และดู สะอาด ต่อมน้ำ�เหลืองจะโต จากนั้นอีก 10-90 วัน หลังจากได้รับเชื้อจะเกิดตุ่มแดงแตกออกเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ตรงบริเวณที่เชื้อเข้า แผลที่เห็นจะเป็นอยู่ 1-5 สัปดาห์ แล้วจะหายไปเองได้ แต่แม้แผลจะหายแล้ว ยังคงมีเชื้อซิฟิลิสในกระแสเลือดอยู่ อย่างไรก็ตาม หากผู้ได้รับเชื้อซิฟิลิสเป็นโรคเอดส์อยู่ก่อนหน้า แผลที่ปรากฏจะมีขนาดใหญ่ และกดเจ็บมาก ซิฟิลิส ระยะที่ 2 Secondary Syphilis หากผู้ป่วยซิฟิลิสไม่ได้รับการรักษาในระยะแรก จนกระทั่งล่วงเลยมาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ซิฟิลิสจะเข้าสู่ระยะที่สอง โดยเชื้อจะกระจายไปตามกระแสเลือด ทำ�ให้เป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามข้อ เพราะข้ออักเสบ นอกจากนี้ยังปรากฏอาการสำ�คัญ คือ ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ มีผื่น สีแดงน้ำ�ตาลขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจพบได้ทั่วตัว โดยที่ไม่คัน รวมทั้งยัง อาจพบผื่นสีเทาในปาก คอ และปากมดลูก และอาจพบหูด Condylomata lata ในบริเวณที่อับชื้น เช่น รักแร้ ทวารหนัก ขาหนีบ ระยะนี้จึงอาจเรียกได้ว่า ระยะเข้าข้อ หรือออกดอก อย่างไรก็ตาม อาการในขั้นนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-3 เดือนและ จะหายไปได้เอง โดยอาจกลับมาเป็นซ้ำ�ได้ใหม่
15
16
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
โรคซิฟิลิส
โรคซิฟิลิส
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
การรักษาโรคซิฟิลิส ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสไม่ต้องกังวลไป เพราะหากตรวจพบเชื้อตั้งแต่ระยะต้น ๆ จะสามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการ ฉีดยาเพนิซิลลินเข้ากล้าม หรือให้ยาเตตราไซคลีนมารับประทาน เป็นเวลา 1-3 สัปดาห์ทั้งนี้ระยะ เวลาการรักษาขึ้นกับระยะของโรคที่เป็นด้วย และหากผู้ป่วยมีคู่สมรสก็ควรได้รับการรักษาคู่กัน อย่างไรก็ตาม แม้จะรักษาหายแล้วต้องกลับมาตรวจซ้ำ�อีกในช่วงแรก ทุก ๆ 3 เดือน จนครบ 3 ปี เพราะอาจมีเชื้อหลบในแอบแฝงอยู่ และจะได้แน่ใจว่าโรคหายขาด ทั้งนี้ ระหว่างการรักษาโรคซิฟิลิส ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำ�สั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด งดการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น
ซิฟิลิส ระยะที่ 3 Latent Stage หรือ ระยะแฝง ระยะนี้อาจกินเวลานานหลายปีหลังจากได้ รับเชื้อเลยทีเดียว และจะเป็นระยะที่ไม่มีอาการใด ๆ ของโรคปรากฏออกมา แต่อาจจะเกิดผื่นได้เหมือนใน ระยะที่ 2 ดังนั้นการเจาะเลือดไปตรวจเป็นทางเดียว ที่จะตรวจสอบได้ว่า เป็นโรคซิฟิลิสหรือไม่ และหาก สตรีที่มีเชื้อซิฟิลิสเข้าสู่ขั้นที่ 3 นี้เกิดตั้งครรภ์ เชื้อ ซิฟิลิสจะสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกในครรภ์ได้
ซิฟิลิส ระยะที่ 4 Late Stage (Tertiary) ระยะนี้จะกินเวลา 2–30 ปี หลังได้รับเชื้อ โดยเชื้อจะเข้าไป ทำ�ลายอวัยวะต่าง ๆ ภายใน ทำ�ให้เกิดความผิดปกติ เช่น ซิฟิลิส ระบบหัวใจและหลอดเลือด ซิฟิลิสระบบประสาท อาจทำ�ให้ตาบอด หูหนวก กระดูกหักได้ง่าย ซึ่งหากรักษาไม่ทัน จะทำ�ให้อวัยวะต่าง ๆ ทั้งสมอง หัวใจ ไขสันหลัง ถูกทำ�ลายจนไม่สามารถกลับเป็นปกติ ได้ ส่วนเด็กในครรภ์ที่ได้รับเชื้อจากมารดาก็อาจเกิดความผิดปกติ พิการ เสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ หรือเสียชีวิตหลังคลอดได้ จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น ซิฟิลิส
การจะพิสูจน์ว่าเป็นซิฟิลิสหรือไม่ สามารถทำ�โดยนำ�น้ำ�เหลืองจากแผล หรือผื่นที่ปรากฏบนตัวผู้ป่วยไปส่อง กล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ เพื่อหาตัวเชื้อโรค หรือหากติดเชื้อไปแล้วอาจจะเจาะเลือดตรวจหาวีดีอาร์แอล (เลือด บวก) ไม่สามารถดูจากอาการเพียงอย่างเดียวได้
ป้องกัน ซิฟิลิส ได้อย่างไร ที่ทำ�ได้และง่ายที่สุดในการป้องกันเจ้าโรคซิฟิลิสก็คือ ควรป้องกันด้วย การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อจะมีเพศสัมพันธ์ และไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หากจะแต่งงานต้องจูงมือคนรักไปตรวจเลือดก่อนแต่งงาน เพื่อว่าหากพบใคร เป็นโรคนี้จะได้รักษาให้หายขาดก่อน นอกจากนี้ใครที่มีอาการผิดปกติ ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นโรค ควรรีบไปพบ แพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้รักษาโรคได้ทันท่วงที
17
18
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
โลน
โลน (Pediculosis Pubis) โลน (Pediculosis Pubis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากแมลงตัวเล็กที่เรียกว่า pediculosis pubis อาศัยอยู่ที่ขนหัวเหน่า ชอบไชตามรากขนอ่อน และดูดเลือดคนเป็น อาหาร ผู้ที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการคัน เมื่อเกาจะทำ�ให้เจ้าตัวเชื้อแพร่ไปยังบริเวณ อื่นได้ การวินิจฉัยสามารถทำ�ได้ด้วยตาเปล่า จะพบไข่สีขาวเกาะตรงโคนขน ไข่จะ มีลักษณะวงรี ส่วนตัวแมลงเมื่อกินเลือดเต็มที่จะออกสีน้ำ�ตาล ติดต่อได้จากการ สัมผัสทางเพศกับผู้ป่วย หรือใช้กางเกงในร่วมกัน
ตัวโลนคืออะไร เกิดจากอะไร ตัวโลนคืออะไร เกิดจากอะไร ตัวโลน เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ไม่มีปีก มีขนาดเล็กมากประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีขา 3 คู่ แต่ที่ปลายขาหน้าจะ มีลักษณะพิเศษเป็นก้ามคล้ายขาปู ภาษาอังกฤษเรียกว่า “crab louse” ส่วนขานี้เองที่ใช้เป็นตัวเกี่ยวเส้นขนตาม ร่างกายมนุษย์ เพราะโลนจะชอบอาศัยอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกายที่มีขนหนา ๆ แต่บริเวณที่พบโลนบ่อยที่สุดก็คือที่อวัยวะเพศนั่นเอง เพราะเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิเหมาะสมกับการที่ โลนจะไปอยู่ หลายคนจึงเรียกโลนว่า “เหาที่อวัยวะเพศ” แต่บางครั้ง มือของเราอาจไปสัมผัสถูกโลนที่อวัยวะเพศ ทำ�ให้โลนมาติดตามขนรักแร้ ขนหน้าอก หนวดเครา ขนคิ้ว หรือแม้แต่ขนตา ก็พบโลนได้เหมือนกัน แต่จะไม่พบบน เส้นผม ตัวโลนที่เกาะอยู่ตามเส้นขนนั้นจะมีทั้งตัวผู้ตัวเมีย เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวผู้จะตายไป ส่วนตัวเมียจะวางไข่ บนเส้นขน ซึ่งโดยปกติแล้วโลนตัวเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ประมาณ 30 ฟอง เมื่อวางไข่แล้ว อีก 7 วัน ไข่จะฟัก ออกมาเป็นตัวอ่อน และต้องใช้เวลาอีกประมาณ 3 สัปดาห์ จึงจะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย เพื่อผสมพันธุ์และออก ไข่ต่อไป
โลน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยง-อาการ-การรักษา-วิธีป้องกัน
โรคโลนติดต่อกันได้อย่างไร
โรคโลนถือเป็นโรคติดต่อเช่นกัน เพราะสามารถติดต่อกันได้ 2 ทาง จากการสัมผัส คือ 1. ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างที่รู้แล้วว่า ตัวโลนมักอาศัยอยู่ที่อวัยวะเพศ ดังนั้นเวลามีเพศสัมพันธ์ โลนก็สามารถติดไปยังอีกคนหนึ่งได้ง่าย ๆ 2. ติดต่อจากการใช้ของใช้ร่วมกัน หากใครในบ้านเป็นโรคโลน แล้วเราไม่ระวังไปใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับคนที่ ติดเชื้อ ใส่เสื้อผ้าของคนที่ติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งนั่งบนโถส้วมที่มีเชื้ออยู่ โลนก็สามารถติดต่อมาที่เราได้เช่นกัน
กลุ่มไหนเสี่ยงติดโรคโลน !!! โดยส่วนใหญ่แล้วจะมี 2 กลุ่มหลัก ๆ 1. ผู้ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ 2. คนที่มีความใกล้ชิดกัน เช่น ครอบครัวเดียวกัน อยู่บ้าน เดียวกัน นอนเตียงเดียวกัน หากใครคนหนึ่งเป็นโรคโลน ก็อาจถ่ายทอด โรคนี้ไปยังบุคคลอื่นได้ผ่านการสัมผัส หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน
การรักษาโลน โดยทั่วไปแล้วโลนสามารถรักษาให้หายได้ด้วยแชมพู โลชั่น หรือครีมที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่มีฤทธิ์ใน การกำ�จัดแมลงจำ�พวกโลนหรือเหา โดยแพทย์หรือเกสัชจะแนะนำ�ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้มากที่สุด ผู้ใช้จะต้อง ปฏิบัติตามคำ�แนะนำ�ของแพทย์ และเอกสารกำ�กับยา ตัวยาที่ใช้ได้แก่ เพอร์เมทริน (Permethrin) ซึ่งมีวิธีการใช้โดยการทายาบริเวณที่มีอาการ หรือบริเวณที่มีเส้นขนเยอะๆ เช่น บริเวณอวัยวะเพศ คิ้ว หนวด เครา
บรรณานุกรม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคอะไรบ้างที่คู่รักต้องระวัง. (2552). 4 เมษายน 2561,จาก https:// health.kapook.com/view1433.html ตัวโลนคืออะไร คันที่ลับจนทนไม่ไหว ต้องตรวจดูแล้วล่ะ ! . (2557).4 เมษายน 2561,จาก https:// health.kapook.com/view85268.html ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตัวร้าย ป้องกันง่ายแค่สวมถุงยาง . (2553). 4 เมษายน 2561,จาก https://health.kapook.com/view19487.html เรื่องของ โรคหิด. (2553). 4 เมษายน 2561,จาก https://health.kapook.com/view15970.html หูดหงอนไก่...ของฝากตัวร้ายที่ติดต่อได้จากเพศสัมพันธ์ . (2556). 4 เมษายน 2561,จาก https:// health.kapook.com/view58951.html 10 คำ�ถามน่ารู้...เริมที่อวัยวะเพศ. (2556). 4 เมษายน 2561,จาก https://health.kapook.com/ view77091.html โรคหนองในแท้ หนองในเทียม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยอดฮิต. (2552). 4 เมษายน 2561,จาก https://health.kapook.com/view4710.html โรคเอดส์ AIDS โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่อันตราย. (2552). 4 เมษายน 2561,จาก https://health. kapook.com/view2757.html
“ สังเกต รู้ทัน
ช่วยกันรักษา
“