หนังสือ โรคหลอดเลือดสมอง

Page 1


หนังสือ เสริมความรู้กับโรคหลอดเลือดสมอง ฉบับนี้พัฒนาจาก ความร่วมมือของภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลเขวา อำ�เภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ภายใต้วิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและผลิตสื่อให้ ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งประกอบด้วย ความหมายและสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อาการของโรคหลอดเลือด สมอง การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง และการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง คณะผู้จัดทำ�หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ บุคคลากรทางการแพทย์และผู้มารับบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำ�บลเขวา อำ�เภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ให้สามารถสื่อสารให้ความรู้ ความเข้าใจระหว่างกันได้มากขึ้น อันจะนำ�มาซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพที่ถูก ต้อง เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรงยิ่งขึ้น

คณะผู้จัดทำ�


ความหมายและสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง

1

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

3

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

4

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

5

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

9

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากสมอง ขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือด อุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผล ให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำ�ลาย ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆขึ้น ความผิดปกติของโรคหลอดเลือด สมองแบ่งออกได้เป็นชนิดต่างๆ ดังนี้คือ 1. โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) เป็นชนิดของหลอดเลือดสมองที่พบได้กว่า 80% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด เกิดจาก อุดตันของหลอดเลือดจนทำ�ให้เลือดไปเลี้ยง สมองไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่ แล้วมักเกิดร่วม กับภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งมีสาเหตุ มาจากไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดจน ทำ�ให้เกิดเส้นเลือดตีบแข็ง โรคหลอดเลือด สมองชนิดนี้ยังแบ่งออกได้อีก 2 ชนิดย่อย ได้แก่ • โรคหลอดเลือดขาดเลือดจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ (Thrombotic Stroke) เป็นผลมาจากหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เกิดจาก ภาวะไขมันในเลือดสูงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ทำ�ให้เลือด ไม่สามารถไหลเวียนไปยัง สมองได้ • โรคหลอดเลือดขาดเลือดจากการอุดตัน (Embolic Stroke) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดจนทำ�ให้ เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปที่สมอง ได้อย่างเพียงพอ ที่มาภาพ : http://www.thearokaya.co.th/web/wp-content/uploads/2014/Blog/622880.jpg

1


2. โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) เกิด จากภาวะหลอดเลือดสมองแตก หรือ ฉีกขาด ทำ�ให้เลือดรั่วไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อสมอง พบ ได้น้อยกว่าชนิดแรก คือประมาณ 20% สามารถแบ่งได้อีก 2 ชนิดย่อย ๆ ได้แก่ • โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Aneurysm) เกิดจากความอ่อนแอ ของหลอดเลือด • โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ(Arteriovenous Malformation) ที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด สมองตั้งแต่กำ�เนิด

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมีหลายสาเหตุ โดยอาจแบ่งออกเป็น ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้และปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้คือ 1. ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ - อายุ : ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีเนื่องจากอายุมากขึ้นหลอด เลือดจะมีการแข็งตัวมากขึ้น และมีไขมัน เกาะหนาตัวทำ�ให้เลือดไหลผ่านได้ลำ�บากมากขึ้น - เพศ : เพศชาย มีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง - ประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหลอด เลือดหัวใจ โดยเฉพาะในขณะที่มีอายุยังน้อย 2. ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่เกิดจากรูปแบบการ ดำ�เนินชีวิต โดยมากสามารถ ปรับเปลี่ยนได้ไม่ว่าจะด้วยการปรับเปลี่ยนทางพฤติกรรม หรือการใช้ยา ได้แก่ - ความดันโลหิตสูง - เบาหวาน - ไขมันในเลือดสูง - การสูบบุหรี่ - โรคหัวใจ ทั้งโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโรคลิ้นหัวใจต่างๆ สิ่งที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ที่มาภาพ : https://i.pinimg.com/originals/bf/79/06/bf79067772faba463ed41e38a8a8571f.jpg

2

ที่มาภาพ : https://www.yaklai.com/featured/cholesteral/

ที่มาภาพ : https://talk.mthai.com/inbox/439204.html

3


อาการของโรคหลอดเลือดสมอง สามารถพบอาการได้หลายรูปแบบ ขึ้นกับตำ�แหน่งของสมองที่เกิดการ ขาดเลือดหรือถูกทำ�ลาย โดยอาการที่สามารถพบได้บ่อย ได้แก่ - อาการอ่อนแรง หรือมีอาการอัมพฤกษ์ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของ ร่างกาย โดยมากมักเกิดกับร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ครึ่งซีกด้านซ้ายเป็นต้น - อาการชา หรือสูญเสียความรู้สึกของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกันกับอาการอ่อนแรงที่มักเกิดกับ ร่างกายครึ่งซีกใดครึ่งซีกหนึ่ง - มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดไม่ได้พูดติด เสียงไม่ชัด หรือไม่เข้าใจคำ�พูด - มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่น เดินเซ หรือมีอาการเวียน ศีรษะเฉียบพลัน - การสูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือเห็นภาพซ้อน อาการ เหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ในบางกรณีอาจเกิดเป็นอาการเตือนเกิดขึ้นชั้วขณะหนึ่ง แล้ว หายไปเอง หรือเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร เรียกว่า ภาวะมีสมองขาดเลือดชั่วคราว (transient ischemic attack) ซึ่งพบได้ประมาณ 15%

ความรวดเร็วในการรักษาถือเป็นสิ่งที่สำ�คัญที่สุด เพราะยิ่งปล่อยไว้จะทำ�ให้สมอง เกิดความเสียหายมากขึ้น โดยการรักษาโรคหลอดเลือดสมองจะแตกต่างกันไปตามชนิดของ โรคดังนี้ โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) การรักษาจะเน้นไปที่การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ในภายหลัง ยาบางชนิดจะต้องรีบใช้ทันทีเมื่อเกิดอาการ และใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ จนกว่า อาการจะเริ่มดีขึ้น แต่ยาบางชนิดอาจต้องใช้ต่อเนื่องในระยะยาว ยาที่แพทย์มักใช้ในการ รักษาได้แก่ - ยาละลายลิ่มเลือด ในการรักษามักจะใช้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อกำ�จัดลิ่มเลือดที่อุดตันอยู่ ซึ่งจะทำ�ให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น หากผู้ป่วยถูก นำ�ตัวส่งโรงพยาบาลภายใน 4.5 ชั่วโมง และไม่มีความเสี่ยงเลือดออกในสมอง แพทย์อาจ พิจารณาใช้ยาละลายลิ่มเลือดชนิดฉีด ยาชนิดนี้หากยิ่งได้รับเร็วประสิทธิภาพในการรักษา ก็จะยิ่งดีขึ้น ทว่าก่อนใช้ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดว่ามีภาวะสมองขาด เลือด เพราะหากวินิจฉัยผิด การใช้ยาจะยิ่งทำ�ให้อาการร้ายแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ยาดัง กล่าวยังมีผลข้างเคียงที่อันตราย โดยอาจทำ�ให้เกิดเลือดออกในสมอง จึงทำ�ให้ยาชนิดนี้ยัง คงอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบ ระหว่างข้อดีและข้อเสีย และระยะเวลาที่ยา ชนิดนี้สามารถใช้เพื่อรักษาอาการของโรค หลอดเลือดสมอง หรือประสิทธิภาพของยาที่ จะเกิดขึ้นหลังจากใช้ยา 4.5 ชั่วโมง

ที่มาภาพ : http://www.healthy2balance.com/uploads/5/2/7/3/52731413/8829091_orig.jpg

ที่มาภาพ : http://www.naewna.com/lady/332320

4

5


- ยาต้านเกล็ดเลือด เป็นยาที่ช่วยป้องกันการก่อตัวของเกล็ด เลือด ทำ�ให้การอุดตันลดลง ยาในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้ ได้แก่ ยาแอสไพริน - ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะผู้ ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ มีอาการใจสั่น และผู้ที่มีลิ่มเลือดที่ขา หรือผู้ที่เคยมี ประวัติการเกิดลิ่มเลือด อาจต้องใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ เพื่อป้องกันการก่อตัวของ ลิ่มเลือดในอนาคต ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาวาฟาริน ยาอะพิซาแบน ยาดาบิกาทราน ยาเอโด ซาแบน และยาริวาโรซาแบน - ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยบางรายต้องใช้ยาลดความดัน โลหิตร่วมด้วยเพื่อป้องภาวะเลือดออกในสมองในระยะยาว - ยาลดไขมันในเลือด หากระดับไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยจะ ต้องใช้ยาลดไขมันในเลือดเพื่อป้องกันไขมันสะสมกลายเป็นคราบพลัคเกาะที่ผนังหลอด เลือด จนกลายเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด นอกจากการใช้ยาเพื่อรักษาภาวะสมองขาดเลือดแล้ว ก็ยังมีวิธีการรักษาอื่น ๆ ได้แก่ - การผ่าตัดเปิดหลอดเลือด แดงใหญ่ที่คอ (Carotid endarterectomy) ในกรณี ที่ผู้ป่วยมีภาวะหลอดเลือดตีบ อย่างรุนแรง อาจต้องใช้การ ผ่าตัดเพื่อเปิดหลอดเลือดแดง ใหญ่ที่คอเพื่อกำ�จัดสิ่งที่ขัด ขวางหลอดเลือดออก - การผ่าตัดเพื่อกำ�จัดลิ่มเลือด (Thrombectomy) ในกรณี ที่มีลิ่มเลือดขัดขวางการไหลเวียนของหลอดเลือดอย่างรุนแรง การผ่าตัดเพื่อกำ�จัดลิ่มเลือด จะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น และไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้อย่างเต็มที่ ที่มาภาพ : http://www.healthy2balance.com/uploads/5/2/7/3/52731413/188198_orig.jpg

6

โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดจำ�นวนไม่น้อยที่อาจมีอาการเลือดออกในสมองด้วย และต้องได้รับยาเพื่อลดความดันโลหิต และยาที่ช่วยป้องกันอาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคต ซึ่งต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อกำ�จัดลิ่มเลือดออกจากสมอง และซ่อมแซมหลอดเลือด ในสมองที่แตก หรือฉีกขาด นอกจากนี้ หากเกิดภาวะแทรกซ้อน อย่าง ภาวะโพรงสมองคั่ง นํ้า (Hydrocephalus) ผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อระบายของเหลวออกจากสมอง ซึ่ง แพทย์อาจต้องต่อท่อพลาสติกเล็ก ๆ เพื่อระบายของเหลวออกจากสมองด้วย โดยการรักษาหลัก ๆ ที่ใช้ในโรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้ ได้แก่ - การผ่าตัดหยุดเลือด (Surgical Clipping) แพทย์จะนำ�คลิป ขนาดเล็ก ๆ หนีบที่บริเวณฐานของหลอดเลือดที่โป่งพองและมีเลือดออก วิธีนี้จะช่วยหยุด การไหลของเลือดและทำ�ให้บริเวณหลอดเลือดที่โป่งพอไม่มีเลือดไหลออกมาอีก - การใส่ขดลวด (Endovascular Embolization) เป็น วิธีการรักษาด้วยการสวนท่อขนาดเล็กเข้าไปที่หลอดเลือดสมองผ่านทางขาหนีบ จากนั้น แพทย์จะใส่ขดลวดเข้าไปยังหลอดเลือดที่โป่งพอง โดยขดเลือดนี้จะเข้าไปขัดขวางการไหล เวียนเลือดที่เข้าไปในหลอดเลือดที่โป่งพอและป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือด - การผ่าตัดกำ�จัดเส้นเลือดที่มีปัญหา (Surgical AVM Removal) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีหลอดเลือดสมองที่ผิดปกติ แพทย์จะผ่าตัดเพื่อนำ�ส่วนที่ผิดปกติ ออก โดยจะคำ�นึงถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น หากการนำ�หลอดเลือดที่ผิดปกติออกนั้น จะส่งผลต่อการทำ�งานของสมอง แพทย์อาจใช้วิธีอื่นรักษาแทน - การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดสมอง (Intracranial Bypass) ในบางกรณีการผ่าตัดวิธีนี้ก็มีความจำ�เป็นเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนไปที่สมองได้ดีขึ้น - การผ่าตัดด้วยรังสี (Stereotactic Radiosurgery) เป็นการผ่าตัดโดยใช้รังสีเพื่อซ่อมแซมหลอดเลือดที่มีความผิดปกติ

7


นอกจากนี้ในระหว่างการรักษาข้างต้น ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการรักษาอื่น ๆ เพิ่ม เติมเพื่อช่วยบรรเทาอาการ และช่วยให้การรักษาหลักเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ - การให้อาหารทางสายยาง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับ การหายใจและไม่สามารถรับประทานอาหารได้เอง การสอดสายยางเข้าไปที่ช่องท้องผ่าน ทางจมูกจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเหลวได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย - การให้สารอาหารเสริม ผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายยาง อาจเกิดภาวะขาดสารอาหาร จึงต้องได้รับสารอาหารเสริม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร อย่างครบถ้วน - การให้สารนํ้าทางหลอดเลือดดำ� ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงภาวะ ขาดนํ้า แพทย์จะสั่งให้สารนํ้าทางหลอดเลือดดำ�เพิ่มเพื่อลดความเสี่ยง - การให้ออกซิเจน ในกรณีที่ออกซิเจนในเลือดลดลง แพทย์ จะให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก เพื่อป้องกันภาวะสมองขาดออกซิเจนซึ่งจะยิ่ง ทำ�ให้อาการรุนแรง ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ถุงน่องป้องกันเส้นเลือดขอด (Compression Stockings) ร่วมด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดที่บริเวณขา ซึ่งจะไปอุดตันหลอดเลือดที่เชื่อม ต่อกับหัวใจและสมอง จนทำ�ให้อาการรุนแรงมากขึ้น หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว อาการของผู้ป่วยจะเริ่มดีขึ้นตามลำ�ดับ และอาจกลับมาเป็นปกติได้ภายใน 6 เดือน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเสียหาย ของสมอง และในระหว่างการพักฟื้น ผู้ป่วยจะต้องได้รับการกายภาพบำ�บัด เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการสื่อสาร และการเคลื่อนไหวเพื่อให้กลับมาใกล้ เคียงปกติมากที่สุด

โรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ด้วยการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือด ซึ่งการลดความเสี่ยงทำ�ได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทาน อาหาร และการออกกำ�ลังกาย ดังนี้ - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะจะส่งผลให้เกิดภาวะ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง รวมถึงอาหารที่มีรสเค็มจัด ที่เป็น สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง - ควบคุมนํ้าหนัก โรคอ้วนเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงต่าง ๆ รวมทั้งโรค หลอดเลือดสมอง การควบคุม นํ้าหนักจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้ - ออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอ โดยระยะเวลาในการออกกำ�ลังกายที่ เหมาะสมคือ 2.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยควรเป็นการออกกำ�ลังกายแบบแอโรบิก - งดสูบบุหรี่

ที่มาภาพ : http://www.neurologistasp.com.br/blog/wp-content/uploads/2013/07/ parkinson-exercicio-fisico-e1374941614370.jpg

ที่มาภาพ : http://www.thaihealth.or.th/data/content/2016/05/31492/cms/thaihealth_c_cfhijltwxz57.jpg

ที่มาภาพ : https://images.thaiza.com/content/b/291991.jpg

ที่มาภาพ : https://i2.wp.com/www.apexprofoundbeauty.com/wp-content/uploads/2017/10/shutterstock_602908772. jpg?resize=640%2C427

8

9


นอกจากนี้ควรรับการตรวจรักษาต่อเนื่องกับแพทย์อย่างสมํ่าเสมอเพื่อควบคุม ปัจจัยเสี่ยงต่างๆโดยการใช้ ยาร่วมกัน ได้แก่ - การให้ยาควบคุมระดับคอเลสเตอรอล โดยควรได้รับการตรวจ วัดระดับไขมันในเลือดอย่างน้อยทุก 6-12 เดือน หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง หรือมีภาวะ คอเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว ควรไปพบแพทย์อย่างสมํ่าเสมอเพื่อติดตามอาการ - ควบคุมระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยความดันโลหิตที่ เหมาะสม คือ ตํ่ากว่า 140/90 มม. ปรอท - ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน อาหาร และการใช้ชีวิตนอกจากนี้ ควรรับประทานยาอย่างสมํ่าเสมอ จะช่วยควบคุมอาการ ได้และทำ�ให้ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองลดลง - กรณีเป็นโรคหัวใจ ควรรับการรักษาโรคหัวใจอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยกรณีเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรได้รับยาป้องกันเลือดแข็งตัว

โรคหลอดเลือดสมอง. (2556). [ระบบออนไลน์]. 29 มีนาคม 2561. แหล่งที่มา https://www.pobpad.com/โรคหลอดเลือดสมอง แพทย์หญิงพรรณวลัย ผดุงวณิชย์กุล. 2560. “โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/106_2017-08-19.pdf (29 มีนาคม 2561)

ที่มาภาพ : http://articlekey.com/wp-content/uploads/2017/01/189523963c669808d1 dda80610543850.jpg

ที่มาภาพ : https://www.organicbook.com/health/ อาหารของผู้ป่วยเบาหวาน/

10

11



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.