หนังสือ โรคเบาหวาน

Page 1


เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พิมพ์ครั้งที่ 1 : เมษายน 2561 จ�ำนวนหน้า : 20 หน้า จัดพิมพ์โดย

ทีป่ รึกษาด้านเนือ้ หา นางเพ็ญนิภา ช�ำนาญบริรักษ์ พญาบาลวิชาชีพ

อาจารย์ทปี ่ รึกษา ดร.เหมมิญช์ ธนปัทม์มณี

พัฒนาและออกแบบ นายยศพันธ์ ศรีสมสุข รหัสนิสิต 58010518026 นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและ คอมพิวเตอร์ศึกษา

I


โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีความผิดปกติเรื้อรังที่เกิดจากการมีน�้ำตาลในเลือด สูงเป็นเวลานานเนื่องจากขาด ฮอร์โมนอินซูลินที่หลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ซึ่ง การที่มีระดับน�้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย คือ เกิดภาวะแทรกซอนเฉียบพลัน เช่น ภาวะระดับน�้ำตาลในเลือดสูงที่ มี กรดคีโตนคั่ง ภาวะระดับน�้ำตาลในเลือดสูงจนท�ำให้เกิด ภาวะออสโมลาริตี้ใน เลือดสูง และภาวะน�้ำตาลในเลือดต�่ำ และ การเกิดภาวะแทรกซอนเรื้อรัง เช่น หลอด เลือดขนาดใหญ่และหลอดเลือดขนาดเล็กเสื่อมและมีการตีบอุดตันจนอาจท�ำให้เกิด อันตรายถึงชีวิตได้โรคเบาหวานแม้จะรักษาไม่หายแต่สามารถควบคุมโรคหรือระดับ น�้ำตาลได้ โดยการควบคุมอาหาร การออกก�ำลังกาย และการใช้ยา ดังนั้นพยาบาล จ�ำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคเบาหวาน ประเภท อาการ ภาวะ แทรกซ้อน การรักษาและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานทั้งในระยะเรื้อรังและ วิกฤติ เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพและป้องกันการเกิดภาวะ แทรกซ้อนต่างๆที่จะเกิดขึ้น

II


สารบัญ เรือ่ ง ผู้จัดท�ำ

I

ค�ำน�ำ

II

สารบัญ

III

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน

1

เรื่องที่ 1 โรคเบาหวานคืออะไร

1

เรื่องที่ 2 แนวทางการรักษา

9

เรื่องที่ 3 การดูเลตนเอง

15

บรรณานุกรม

III

หน้า

18



โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)

คือ ภาวะน�้ำตาลในเลือดสูงและมีความผิด ปกติของเมตาบอลิสมของคาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน และไม่สามารถน�ำน�้ำตาลไปใช้ หรือการลดลง ของปฏิกิริยาของการท�ำงานหรือลดการหลั่งอินสุลินลง

ค่าน�้ำตาลในเลือด(มก./ดล.) คนปกติ น�้ำตาลในเลือดเมื่องดอาหาร = 60 - น้อยกว่า 100 น�้ำตาลในเลือดหลังอาหาร = น้อยกว่า 140 ภาวะเสี่ยงต่อการ เป็นเบาหวาน น�้ำตาลในเลือดเมื่องดอาหาร = 100 - น้อยกว่า 126 น�้ำตาลในเลือดหลังอาหาร = 140 - น้อยกว่า 200 เบาหวาน น�้ำตาลในเลือดเมื่องดอาหาร = 126 ขึ้นไป น�้ำตาลในเลือดหลังอาหาร = 200 ขึ้นไป


โรคเบาหวานมีหลายประเภท สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ 2. เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ ต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) 3. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่าง การตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน 4. โรคเบาหวานชนิดที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ (other specific types of diabetes) มีสาเหตุ ส�ำคัญได้แก่ ความผิดปกติทางพันธุกรรม (gene) ของเบต้าเซลล์ของตับอ่อนและการออกฤทธิ์ของ อินซูลิน (Monogenic diabetes syndrome)


อินซูลิน คือฮอร์โมนที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มเซลล์ ภายในตับอ่อน จะมีหน้าที่ในการน�ำน�้ำตาลในเลือดไปสู่ เนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกายเพื่อที่จะใช้ในการสร้างพลังงาน และสร้างเซลล์ต่างๆ ซึ่งปรกติแล้วเมื่อมีน�้ำตาลเข้าสู่กระแส เลือดตับอ่อนก็จะถูกกระตุ้นให้หลั่ง อินซูลิน ตัวอินซูลินก็จะ เข้าไปจับน�้ำตาลเพื่อน�ำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ คนที่เป็นโรคเบาหวาน ร่างกายมี อินซูลิน ไม่เพียงพอก็จะ ท�ำให้มีน�้ำตาลในเลือดสูงขึ้นนั่นเอง

4


สาเหตุของโรคเบาหวาน เบาหวานเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็คือ การรับประทานน�้ำตาลและไขมันในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลให้อินซูลิน เกิดความผิดปกติ และน�ำมาซึ่งอาการป่วยเบาหวานได้ นอกจากนี้ โรค เบาหวานก็ยังมีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้อีกด้วย 1. กรรมพันธุ์ ส�ำหรับผู้ที่มีพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เป็นเบาหวานมาก่อน ก็อาจจะ เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้เช่นเดียวกัน แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง เท่านั้น เพราะหากรู้จักดูแลตนเองให้ดี และควบคุมอาหาร โดยหลีกเลี่ยง การรับประทานของหวาน ของมัน คุณก็จะปลอดภัยจากโรคเบาหวานได้ มากขึ้น นอกเสียจากว่าจะเป็นโรคเบาหวานมาอยู่แล้วโดยก�ำเนิด

2. ความอ้วน

ร้อยละ 80 ของคนที่เป็นโรคอ้วนส่วนใหญ่มักมีความเสี่ยงต่อโรค เบาหวานค่อนข้างสูง เนื่องจากไขมันส่วนเกินจะท�ำให้เกิดภาวะดื้อ อินซูลิน ประสิทธิภาพในการจัดการกับน�้ำตาลและไขมันต�่ำลง และเป็น ผลให้เกิดโรคเบาหวานได้ในที่สุด

5


สาเหตุของโรคเบาหวาน

3. ความผิดปกติของตับอ่อน

4. อาหารการกิน

5. การออกก�ำลังน้อย

เนื่องจากตับอ่อนจะท�ำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน ดังนั้นหากตับอ่อนมีการ เสื่อมสภาพหรือเกิดความผิดปกติก็ย่อมส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ด้วย นอกจากนี้ ในคนที่ดื่มเหล้าหรือรับประทานยาที่มีผลต่อตับอ่อนก็จะมีความเสี่ยงต่อ การเกิดเบาหวานได้สูงอย่างมากทีเดียว เนื่องจากปัจจุบันนั้น วิธีการทานอาหารที่เปลี่ยนไป โดยพฤติกรรมการทาน อาหารที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งเต็มไปด้วยแป้งและไขมัน อีกทั้งรวมไปถึงเครื่องดื่มแต่ละ ชนิด ที่มีน�้ำตาลมากเกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถขจัดให้หมดไปจากร่างกาย ได้ใน 1 วัน ผู้คนในยุคนี้มีการขยับตัวกันน้อยจนเกินไป จนร่างกายมีประสิทธิภาพในการ ขจัดน�้ำตาลได้น้อย เนื่องจากมีกิจกรรมทางกายน้อยจนเกินไป จึงท�ำให้น�้ำตาลถูก สะสมในเลือดได้ง่าย

6


อาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน

ปัสสาวะบ่อยขึ้น

น�้ำหนักลด น�้ำหนัก ที่ลดผิดปกติ

อ่อนเพลีย อารมณ์ไม่คงที่

หิวบ่อย กินจุบจิบ

บาดแผลหายช้า

7


ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

7


การวินิจฉัยโรคเบาหวาน - แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของ บุคคลในครอบครัว และการตรวจร่างกาย และที่ส�ำคัญต้องอาศัยการตรวจเลือด เพื่อ ดูระดับน�้ำตาลในเลือดเป็นหลัก โดยมีวิธีการวิเคราะห์ระดับน�้ำตาลในเลือดหลายวิธี ได้แก่ - การตรวจระดับน�้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ (Random/Casual Plasma Glucose Test) - การตรวจระดับน�้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose: FPG) - การตรวจน�้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1c: HbA1c) - การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน�้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT) หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน�้ำมาก ปัสสาวะบ่อย และมาก น�้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจ�ำเป็น ต้องมีการตรวจซ�้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันผลการ วินิจฉัย

8


เรือ่ งที ่ 2 แนวทางการรักษา


แนวทางการรักษาโรคเบาหวาน

จริงอยู่ที่โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่เราก็สามารถ ควบคุมความรุนแรงของโรคให้อยู่ในระดับที่คงที่และบรรเทาเบาลงได้เช่นเดียวกัน โดยแนวทางในการรักษานั้นจะมีอยู่ 2 วิธีใหญ่ๆ ซึ่งก็คือการรักษาด้วยยาแพทย์แผน ปัจจุบันและการรักษาด้วยธรรมชาติบ�ำบัด ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. วิธีรักษาโรคเบาหวานตามแนวทางแพทย์แผนปัจจุบัน

การรักษาโรคเบาหวานด้วยวิธีทางแพทย์แผนปัจจุบันนั้น ในเบื้องต้นแพทย์ จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรงของโรคและการวินิจฉัยของแพทย์ด้วย โดยการรับประทานยาหรือการ ฉีดอินซูลินนั้นผู้ป่วยจะต้องปฎิบัติตามค�ำแนะน�ำของแพทย์อย่างเคร่งครัดต่อเนื่อง ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น ก็เนื่องจากการไม่ปฎิบัติตามแพทย์สั่ง และไม่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจ�ำวันใหม่นั่นเอง

10


แนวทางการรักษาโรคเบาหวาน 2. วิธีรักษาโรคเบาหวานตามแนวทางธรรมชาติบ�ำบัด

การรักษาโรคเบาหวานด้วยธรรมชาติบ�ำบัดนั้นเป็นวิธีแบบค่อยเป็นคอยไป และเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานในระยะแรก หรือผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมากนัก โดยวิธี ธรรมชาติบ�ำบัดนั้นจะช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยได้เป็นอย่างมาก และหากท�ำ ควบคู่กับการรับประทานยาหรือการฉีดอินซูลินด้วยแล้วก็จะยิ่งได้ผลดีมากทีเดียว ส�ำหรับวิธีรักษาก็มีด้วยกันดังต่อไปนี้ 2.1 ควบคุมเมนูอาหาร ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถรับประทานอาหารได้ เหมือนกับคนปกติทั่วไป ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารต้องห้ามและเลือกเสริมด้วย อาหารที่มีประโยชน์ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร รวมทั้งเลือกรับ ประทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการลดระดับน�้ำตาลในเลือดด้วย อย่างเช่น ต�ำลึง มะระขี้นก และอบเชย เป็นต้น ซึ่งหากสามารถควบคุมการรับประทานอาหารได้ดังนี้ อาการป่วยเบาหวานก็จะบรรเทาลงอย่างแน่นอน 2.2 ออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอ การออกก�ำลังกาย ถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ในการรักษาเบาหวานด้วยวิธีธรรมชาติบ�ำบัด เพราะเบาหวานเกิดจากการมีระดับ น�้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไป เราจึงต้องรักษาอาการด้วยการลดปริมาณน�้ำตาลในเลือด ให้ได้ ซึ่งก็สามารถท�ำได้ด้วยการออกก�ำลังกาย เพื่อให้มีการดึงเอาน�้ำตาลออกมาใช้ เป็นพลังงานมากขึ้นนั่นเอง 2.3ท�ำจิตใจให้ผ่อนคลาย ความกลัว ความกังวลและความเครียด อาจท�ำให้ ภาวะน�้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น ดังนั้น จึงควรท�ำจิตใจให้ผ่อนคลายเพื่อรักษาระดับ น�้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ นอกจากนี้ การท�ำใจให้ผ่อนคลายอยู่เสมอยังท�ำให้ เรามีความสุขมากยิ่งขึ้นแม้จะเป็นโรคเบาหวานหรือโรคใดก็ตาม แต่พื้นฐานจิตใจที่ดี ย่อมช่วยยกระดับการมีคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างง่ายๆ สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน

11


แนวทางการรักษาโรคเบาหวาน นอกจากการรักษาโรคเบาหวานตามวิธีทางการแพทย์และธรรมชาติบ�ำบัด แล้ว ก็ยังมีอีกวิธีหนึ่งซึ่งคือการรับประทานสมุนไพรที่มีสรรพคุณป้องกันและรักษา อาการของโรคเบาหวานให้ทุเลาลง โดยมี 5 ชนิด ดังนี้ 1. มะระขี้นก มะระขี้นก เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารซาแลนติน มีสรรพคุณช่วยลด ระดับน�้ำตาลในเลือด กระตุ้นการผลิตอินซูลินของตับอ่อนจึงสามารถช่วยบรรเทา อาการของผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ มะระขี้นกยังไปเปี่ยมไปด้วยคุณ ประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันโรคต้อกระจก ชะลอความ เสื่อมของไต ซึ่งก็เรียกได้ว่าเป็นสมุนไพรที่มากไปด้วยประโยชน์อย่างแท้จริง

2. อบเชย สมุนไพรที่สามารถลดระดับน�้ำตาลในเลือดได้อย่างดีเยี่ยม แถมยังรับ ประทานง่าย เพียงแค่น�ำอบเชยมาโรยลงบนอาหาร ก็สามารถรับประทานเพื่อ บรรเทาอาการของโรคเบาหวานลงได้แล้ว ที่ส�ำคัญอบเชยยังสามารถรักษาได้ทั้ง เบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เพียงแต่ต้องหมั่นรับประทานอย่างต่อ เนื่องเป็นประจ�ำ

12


แนวทางการรักษาโรคเบาหวาน 3. ต�ำลึง สมุนไพรหาง่ายที่มักจะพบตามข้างรั้วบ้าน หรือขึ้นเป็นเถาพันต้นไม้อื่นๆ ซึ่ง นอกจากจะมีรสชาติอร่อย รับประทานง่ายแล้ว ต�ำลึงยังมีส่วนช่วยในการลดระดับ น�้ำตาลในเลือดอีกด้วย แนะน�ำส�ำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรรับประทาน ต�ำลึงวันละ 50 กรัม และเมื่อรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน คุณจะพบว่าระดับ น�้ำตาลในเลือดลดลง อีกทั้งยังอาจกลับมาอยู่ในระดับปกติได้อีกด้วย

4. ชาเขียว หลายคนอาจจะมองว่าชาเขียวไม่มีประโยชน์ในด้านการรักษาเบาหวาน แต่ ความเป็นจริงแล้ว ชาเขียวก็สามารถดื่มเพื่อบรรเทาโรคเบาหวานได้ดีเช่นกัน โดยชา เขียวนั้นจะช่วยควบคุมระดับน�้ำตาลในเลือดและค่อยๆ ลดลงจนปกติ อีกทั้งยังช่วย กระตุ้นการท�ำงานของอินซูลินได้ดี แต่ทั้งนี้ ควรเลือกดื่มเฉพาะชาเขียวแท้ที่ไม่มีความ หวานสูงจะดีที่สุด

13


แนวทางการรักษาโรคเบาหวาน 5. กระเทียม กระเทียมเป็นสมุนไพรในครัวเรือนที่หลายคนอาจยังไม่รู้ ว่าสามารถ ช่วยรักษาโรคเบาหวานได้เช่นกัน โดยกระเทียมนั้นมีสารอัลซิลีนที่มีสรรพคุณ ในการลดความดันโลหิต ช่วยลดไขมันในเลือดและลดระดับน�้ำตาล ในเลือด ส�ำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แต่แนะน�ำว่าควรรับประทานแบบสดๆ เพราะอุดมไป ด้วยคุณประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการรักษาเบาหวานได้สูงกว่าการรับ ประทานแบบสุกนั่นเอง

14


เรือ่ งที ่ 3

การดูเลตนเอง


การดูแลตัวเอง เมือ่ เป็ นโรคเบาหวาน อย่างที่เรารู้กันดีว่า คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นต้องมีการ ดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นขึ้นมาอีก ซึ่ง วิธีการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีดังนี้ - เน้นรับประทานอาหารจ�ำพวกผัก หรือผลไม้ให้มากขึ้น โดย เฉพาะอย่างยิ่งผัก เพราะจะช่วยในเรื่องของการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี - หากผู้ป่วยเป็นคนที่มีน�้ำหนักเกิน หรือมีภาวะโรคอ้วนร่วม ด้วย แนะน�ำว่าให้ลดปริมาณอาหารลงเหลือเพียงครึ่งเดียวของที่เคยกิน ในแต่ละมื้อ เพื่อช่วยในการควบคุมน�้ำตาล - อย่าอดอาหาร เพราะการอดอาหาร หรือทานอาหารน้อย เกินไป จะท�ำให้ระดับน�้ำตาลในเลือดไม่คงที่ และวัดระดับน�้ำตาลได้ ยากมากขึ้น - ระวังอย่าให้เป็นแผล เพราะคนเป็นโรคเบาหวานมักจะแผล หายช้า และอาจจะก่อให้เกิดการติดเชื้อจนต้องตัดอวัยวะที่เป็นแผลทิ้ง เพื่อรักษาอาการในส่วนอื่น

16


เบาหวาน รู้จักเพื่อป้ องกัน รู้ทัน เพื่อควบคุม แต่งโดย ด.ญ. ปานปั้น เล้าสกุล

17


บรรณานุกรม กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.(2542).ความรู้เรื่องเบาหวาน.พิมครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2548).คู่มือดูแลเบื้องต้นเรื่องเบาหวาน. “รู้ทันเบา หวาน”. พิมพ์ครั้งที่ 7 ใกรุงเทพฯ : กราฟฟิคแมส. กระทรวงสาธารณสุข.(2547).แนวทางการเฝ้าระวังโรคเบาหวาน ความดันโลหิต และโรคหัวใจขาด เลือด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์. ผ่องศรี ศรีมรกต. (2553). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ป เพรส.้ สมาคมตอมไรทอแหงประเทศไทย. (2543). แนวทางการดูแลผูปวยเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร. สํานักโรคไมติดตอ.

18



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.