เมื่อปลาจะกินดาว 6

Page 1

1


รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย 11 เรื่อง ในรอบปี 2549

1


เมือ่ ปลาจะกินดาว 6 รายงานสถานการณ์สง่ิ แวดล้อมไทย 11 เรือ่ ง ในรอบปี 2549 พิมพ์ครัง้ แรก: ISBN:

พฤศจิกายน 2549 974-94509-2-2

บรรณาธิการทีป่ รึกษา: วสันต์ เตชะวงศ์ธรรม วันชัย ตันติวทิ ยาพิทกั ษ์ รุจน์ โกมลบุตร ชวรงค์ ลิมป์ปทั มปาณี ภัทระ คำพิทกั ษ์ รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์ บรรณาธิการ: เกือ้ เมธา ฤกษ์พรพิพฒ ั น์ ผูเ้ ขียน: จิตติมา บ้านสร้าง ปองพล สารสมัคร บุษกร อังคณิต น.รินี เรืองหนู แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา นลินี เสนะรัตน์ เกษา นิม่ ระหงษ์ กุลธิดา สามะพุทธิ สุรชั อินทองปาน สุพตั รา ศรีปจั ฉิม เกษร สิทธิหนิว้ ผูป้ ระสานงาน: กชกร จูจนั ทร์ จัดทำโดย: ชมรมนักข่าวสิง่ แวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 0-2243-8739 โทรสาร 0-2668-7740 พิสจู น์อกั ษร: พรพรรณ อุน่ อนงค์ ออกแบบปก/รูปเล่ม: สยาม จีระพันธุ พิมพ์ท:่ี บริษทั ออฟเซ็ท ครีเอชัน่ จำกัด โทรศัพท์ 0-2870-2630 - 2

2


คณะดำเนินการจัดทำหนังสือ ฝ่ายกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ที่ปรึกษา มณทิพย์ ศรีรตั นา ทาบูกานอน พรทิพย์ ปัน่ เจริญ รัชนี เอมะรุจิ

อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม ผูอ้ ำนวยการสำนักส่งเสริมการมีสว่ นร่วม ของประชาชน

อำนวยการ สากล ฐินะกุล สาวิตรี ศรีสขุ ภาวินี ณ สายบุรี จริยา ชืน่ ใจชน บุญสม สุวรรณสุข ผกาภรณ์ ยอดปลอบ

ผูอ้ ำนวยการกองส่งเสริมและเผยแพร่ นักวิชาการเผยแพร่ 8ว. นักวิชาการเผยแพร่ 6ว. นักวิชาการเผยแพร่ 5 นักวิชาการเผยแพร่ 5 นักวิชาการเผยแพร่ 5

ประสานงาน วิลาสินี วัฒนาวงศ์ดอน วราภรณ์ อิเพ็ชร์ อภิวฒ ั น์ คล่องนาวา

นักวิชาการเผยแพร่ นักวิชาการเผยแพร่ นักวิชาการสิง่ แวดล้อม

3


คำนิยม ได้ติดตาม “เมื่อปลาจะกินดาว” มาตั้งแต่เล่มแรก และโดยส่วนตัวแล้ว ก็ประทับใจหนังสือเล่มนี้มาตั้งแต่เล่มแรกด้วยเช่นกัน คือประทับใจตั้งแต่การตั้งชื่อ ไปจนถึงประทับใจในการสืบค้นข้อมูล การวิเคราะห์และสังเคราะห์ รวมทั้งการชี้ ให้สังคมเห็นถึงปัญหา แม้การสืบค้นและวิเคราะห์นั้นบางครั้งยังไปไม่ถึงดวงดาว หรือแนวทางการแก้ปญ ั หาก็ตาม ยังเคยคิดในใจด้วยซ้ำไปว่างานทำวิทยานิพนธ์ของนิสติ นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ทำไมไม่ทำออกมาในแนวแบบนี้มากๆ ที่มีที่มาที่ไปและมีทั้งข้อมูลรวมทั้งข้อสรุป ข้อวิจารณ์ทเ่ี ห็นเป็นรูปธรรมจับต้องเป็นสาระได้ชดั เจน เรียกว่า สังคมจะหยิบฉวยไปทำอะไรต่อได้ทนั ทีกไ็ ม่ผดิ นัก แต่ก็ได้แต่คิด เพราะความที่ตัวเองเป็นนักวิชาการที่บางทีก็คิดในลักษณะ หัวสี่เหลี่ยม (แต่ไม่ใช่หน้าเหลี่ยม) ทำให้มีกรอบครอบความคิดอย่างแข็งตึง และความคาดหวั ง สู ง ทำให้ ใ นเวลาเดี ย วกั น ก็ อ ดไม่ ไ ด้ ท ี ่ จ ะวิ พ ากษ์ ว ิ จ ารณ์ ผลงานเขียนในหนังสือเล่มนี้ (ในใจ) ว่ายังทำได้ไม่สมบูรณ์ (ดังใจ) ซึ่งจะว่าไปแล้วก็คงไม่มีใครทำให้สมบูรณ์ได้ดอก เพราะงานเขียนหรืองาน ค้นคว้าลักษณะนี้ต้องไม่ใช่งานทางวิทยาศาสตร์ งานทางสังคมศาสตร์ งานทาง นิติศาสตร์ หรืองานทางเศรษฐศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ต้องเป็นงานที่รวมเอา ความรู้หลายศาสตร์มาบูรณาการเข้าด้วยกันและคิดแบบองค์รวม ซึ่งก็หาคน ทีจ่ ะทำเช่นนีใ้ ห้สมบูรณ์ได้ยาก พูดง่ายๆ หากให้นักศึกษาคนหนึ่งมาทำงานวิจัยในโครงการทางสิ่งแวดล้อม ที่ต้องเกี่ยวข้องกับศาสตร์ต่างสาขากัน แล้วนักศึกษาผู้นั้น หรืออาจเป็นอาจารย์ ของนักศึกษาผู้นั้น อยากให้ผลงานออกมาดีสมบูรณ์แบบ จึงไปเชิญผู้เชี่ยวชาญ แต่ละสาขามาเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านก็จะมีภูมิลึก และต้องการซักลึกในสาขาทีท่ า่ นลึก ผลก็คอื นักศึกษาผูน้ น้ั ไม่พน้ ทีจ่ ะตายอย่างเขียด ด้วยขีดจำกัดด้านเวลาและเป็นไปไม่ได้ทจ่ี ะมีใครสักคนทีเ่ ชีย่ วชาญไปได้ในทุกเรือ่ ง

4


งานแบบนีจ้ งึ ถึงจะทำให้ดอี ย่างไรก็ตอ้ งมีชอ่ งโหว่ให้เห็นได้หากใช้แว่นขยายไปส่องดู ดังนัน้ ผมจึงได้เกริน่ ไว้ตง้ั แต่บรรทัดแรกว่าประทับใจกับหนังสือเล่มนีต้ ง้ั แต่เล่มแรกๆ รวมถึงเล่มต่อๆ มา เพราะรู้ดีว่าการทำหนังสือแบบนี้ไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด โดยเฉพาะหากเอามาเรียบเรียงเขียนใหม่ให้ชาวบ้านอ่านแล้วรูเ้ รือ่ ง ดังนั้น เมื่อสมาชิกของชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมได้รวมตัวและผนึกกำลัง กันมาทำงานนี้แล้วมีการแบ่งงานกันไปเจาะลึกในแต่ละประเด็นที่ถนัด หรือได้รับ มอบหมาย จึงเป็นการทำงานแบบบนลงล่างและล่างขึ้นบนในลักษณะที่ผู้บริหาร หลายองค์กรน่าจะเอาไปเป็นแบบอย่างในการจัดการองค์กรของตัวเอง จึงต้องขอแสดงความคารวะมาพร้อมกับ “คำนิยม” น้อยนีอ้ ย่างจริงใจ รวมทัง้ ต้องขอแสดงความนิยมชมชืน่ ต่อแนวคิดเปิดกว้างของกรมส่งเสริมคุณภาพ สิง่ แวดล้อม ทีไ่ ด้สนับสนุนการรายงานสถานการณ์สง่ิ แวดล้อมของประเทศในรูปแบบ ชวนอ่านแบบนีม้ าโดยตลอดตัง้ แต่ตน้ เช่นกัน ธงชัย พรรณสวัสดิ์

5


คำนำกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม เป็นฉบับที่ 6 แล้วสำหรับ “ ปลาจะกินดาว ” รายงานสถานการณ์สง่ิ แวดล้อม ในมุมมองของสื่อมวลชน โดยการสนับสนุนของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ทีต่ อ่ เนือ่ งมาตัง้ แต่ ปี พ.ศ. 2544 “เมื่อปลาจะกินดาว 6” ได้รวบรวมเรื่องราวด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นประเด็น ทีน่ า่ สนใจสำหรับสาธารณชนทีเ่ กิดขึน้ ในรอบปี 2549 รวม 11 เรือ่ ง ซึง่ แต่ละเรือ่ ง มีทั้งสาระในเชิงวิชาการและการเติมความคิดเห็นในมุมมองของสื่อมวลชนไว้หลาย แง่มุมอย่างน่าสนใจ มีทั้งเรื่องที่เป็นปัญหาหนักในระดับโลก เช่น น้ำแข็งละลาย... ปฐมบทจากผลกระทบโลกร้อน และระดับประเทศ เช่น บทสุดท้าย...ทะเลสาบสงขลา รวมทั้งเรื่องของสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่สะท้อนถึงผลสำเร็จของการมีส่วนร่วม ของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียในเรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ การถ่ายทอดเรือ่ งราวของเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ โดยมีการวิเคราะห์เชิงวิชาการ ผสมผสานการลำดั บ เรื ่ อ งราวที ่ ม ี ก ารสอดแทรกความคิ ด เห็ น ของสื ่ อ มวลชน สายสิ่งแวดล้อม ทั้งนักข่าวหนังสือพิมพ์ นักข่าวโทรทัศน์ และวิทยุ เป็นงานเขียน ที่ต้องใช้ความสามารถและประสบการณ์จากการติดตามข่าว การสื่อองค์ความรู้ จากนักวิชาการ ประมวลนำเสนอเรื่องยากๆ ให้เป็นเรื่องราวที่น่าอ่าน เข้าใจง่าย และได้ความรู้ จนเป็น “เมือ่ ปลาจะกินดาว 6” ฉบับนี้ เป็นผลงานทีก่ รมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมเชื่อมั่นว่าจะสามารถสื่อสารให้สาธารณชนรับรู้สถานการณ์สิ่งแวดล้อม ทัง้ ในแง่ทน่ี า่ เป็นห่วง และในเรือ่ งราวทีด่ ๆี ต่อสิง่ แวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมคาดว่า “เมื่อปลาจะกินดาว 6” จะทำให้ ท่านผูอ้ า่ นทีต่ ดิ ตามหนังสือเล่มนีม้ าอย่างต่อเนือ่ ง ได้รบั ทราบสถานการณ์สง่ิ แวดล้อม และข้อมูลเชิงวิเคราะห์ เพือ่ ให้ทา่ นผูอ้ า่ นได้มโี อกาสทีจ่ ะเข้ามามีสว่ นร่วมในการดูแล รักษาสิง่ แวดล้อมของเราอย่างจริงจังต่อไป กรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม

6


คำนำประธานชมรมนักข่าวสิง่ แวดล้อม ชมรมนักข่าวสิง่ แวดล้อมได้จดั ทำหนังสือ “เมือ่ ปลาจะกินดาว” เป็นปีท่ี 6 แล้ว โดยมี เ จตนารมณ์ ท ี ่ จ ะให้ ห นั ง สื อ เล่ ม นี ้ เป็ น เหมื อ นกระจกที ่ ส ะท้ อ นภาพรวม ด้ า นสิ ่ ง แวดล้ อ มในรอบปี และพยากรณ์ ถ ึ ง ทิ ศ ทางในอนาคต นอกจากนี ้ ยังเป็นเวทีสำหรับพัฒนาทักษะของนักข่าวสายสิง่ แวดล้อมในการทำข่าวเชิงสืบสวน ค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ และนำเสนอด้วยรูปแบบสารคดีทอ่ี า่ นง่าย ในแต่ ล ะปี ชมรมนั ก ข่ า วสิ ่ ง แวดล้ อ มจะให้ ค วามสำคั ญ กั บ การคั ด เลื อ ก บรรณาธิ ก ารและนั ก เขี ย น ทั ้ ง นี ้ เ พื ่ อ เปิ ด โอกาสให้ น ั ก ข่ า วสายสิ ่ ง แวดล้ อ ม ได้มีโอกาสแสดงความสามารถ ฝึกปรือทักษะเชิงข่าว และพัฒนาให้เกิดความ หลากหลายด้านความคิด ในส่วนของกระบวนการทำงาน ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมยังส่งเสริมให้ งานเขี ย นในแต่ ล ะเรื ่ อ งมี ค วามเข้ ม ข้ น ด้ า นข้ อ มู ล เช่ น การกำหนดให้ นั ก เขี ย นลงพื ้ น ที ่ จ ริ ง การจั ด สั ม มนาเพื ่ อ ระดมความคิ ด เห็ น จากผู ้ เ กี ่ ย วข้ อ ง ในประเด็นนั้นๆ รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการเป็น ที ่ ป รึ ก ษาและให้ ค ำเสนอแนะด้ า นข้ อ มู ล ตลอดจนวิ ธ ี ก ารนำเสนอ จึ ง ทำให้ “เมื่อปลาจะกินดาว” ทุกเล่มที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากผู้อ่านเป็นจำนวนมาก ในฐานะที่เป็นงานเขียนสารคดีเชิงข่าวที่มีสีสัน สามารถสะท้อนภาพสิ่งแวดล้อม ทีเ่ กิดขึน้ ได้อย่างชัดเจน ตรงความเป็นจริง เข้มข้น และหลากรสหลายแง่มมุ สำหรับ “เมื่อปลาจะกินดาว” ฉบับที่ 6 ที่ผู้อ่านกำลังถืออยู่ในมือเล่มนี้ ได้รวบรวมสารคดีดา้ นสิง่ แวดล้อม 11 เรือ่ ง ทีฉ่ ายให้เห็นถึงการจัดการด้านสิง่ แวดล้อม ของทั้งภาครัฐและองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ ที่มีทั้งผลสำเร็จและล้มเหลว ทั้งในประเด็น สิ่งแวดล้อมเก่าที่ยังไม่บรรลุผล และประเด็นในเชิงนโยบายใหม่ๆ ซึ่งคาดว่า จะเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต ชมรมนั ก ข่ า วสิ ่ ง แวดล้ อ มหวั ง เป็ น อย่ า งยิ ่ ง ว่ า เนื ้ อ หาสาระที ่ ป รากฏ ในหนังสือเล่มนี้ จะทำหน้าทีท่ ง้ั กระตุน้ เตือน และทำให้ผอู้ า่ นตระหนักถึงสถานการณ์ ด้ า นสิ ่ ง แวดล้ อ มในบ้ า นเราที ่ ย ั ง มี ส ิ ่ ง ที ่ ต ้ อ งแก้ ไ ขเร่ ง ด่ ว น และต้ อ งอาศั ย

7


ความร่วมมือจากสังคม ตลอดจนมีส่วนในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรม ในระดับตัวบุคคล และการกำหนดนโยบายในระดับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพือ่ เอือ้ ต่อการดำรงไว้ซง่ึ สิง่ แวดล้อมทีด่ ี สุดท้ายนี้ ชมรมนักข่าวสิง่ แวดล้อมขอขอบคุณวิทยากรผูเ้ ข้าร่วมเสวนาทุกท่าน นักเขียนทุกท่านทีท่ มุ่ เททำงาน กรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม ในฐานะผูส้ นับสนุน การจัดพิมพ์ “เมื่อปลาจะกินดาว” มาอย่างต่อเนื่อง คุณวสันต์ เตชะวงศ์ธรรม อดีตประธานชมรมฯ และคุณจิตติมา บ้านสร้าง รองประธานชมรมฯ ในฐานะผูร้ เิ ริม่ และผลักดันให้มีการจัดทำหนังสือเล่มนี้มาจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงขอบคุณบุคคล และองค์กรที่เอื้อเฟื้อภาพประกอบ ได้แก่ มูลนิธิโลกสีเขียว โครงการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ทางความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำโขง และคุณศุภรา จันทร์ชดิ ฟ้า วันชัย ตันติวทิ ยาพิทกั ษ์ ประธานชมรมนักข่าวสิง่ แวดล้อม

5

1

8


สารบัญ บทบรรณาธิการ................................................................................................11 น้ำแข็งละลาย...ปฐมบท จากผลกระทบโลกร้อน................................................15

ความมัน่ คงทางอาหาร กับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง 43...........................................................ภัยใหม่ทต่ี อ้ งรับมือ

กัดเซาะชายฝัง่ 57..................................เมือ่ ทะเลจะกลืนแผ่นดิน

โรคอุบตั ใิ หม่-โรคอุบตั ซิ ำ้ มหันตภัยร้ายยิง่ กว่าทีค่ ดิ ...........................................79 บทสุดท้าย...ทะเลสาบสงขลา..................101

135.................................สงคราม...ลุม่ น้ำแห่งความหวัง

9


แก่งคอยในวันสำลักมลพิษ...............................163 สินค้าไทยเกรดเอ คุณภาพชีวติ แรงงานไทย 187...............................................เกรดเลว สองปีแห่งการประกาศใช้ กฎหมายจัดรูปทีด่ นิ ......................................215

“สวนดูซน” วิถมี สุ ลิม 233.............................ในมรสุมการเปลีย่ นแปลง

ผลไม้บา้ นสวนฝัง่ ธน-นนทบุรี ของดีทใ่ี กล้สญ ู พันธุ.์ .............................253 ภาคผนวก ความเป็นมาของชมรมนักข่าวสิง่ แวดล้อม.....................................................282 รายนามผูเ้ ขียนและผูเ้ ชีย่ วชาญทีร่ ว่ มวิจารณ์และเสนอแนะ........................287

10


63

5

3

บทบรรณาธิการ ในช่วงปลายปี 2549 หลายคนคงอยากเดินทางไปเยือนเมืองเชียงใหม่เพราะมี การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกอย่างเอิกเกริก ผมเองก็อดพลอยตื่นเต้นไม่ได้ และปรารถนาไปเที่ยวชมงานเหมือนเช่นคนทั่วไป ด้วยอยากเห็นพืชไม้ดอกไม้ นานาพันธุ์ที่สวยงาม บางชนิดก็หาชมได้ยาก ซึ่งผมคงลิงโลดใจมากไปกว่านี้ หากความจริงของช่วงเวลา ผมไม่ได้กำลังตรวจทานต้นฉบับเรื่อง “ผลไม้บ้านสวน ฝัง่ ธน-นนทบุรี ของดีทใ่ี กล้สญ ู พันธุ”์ รวมอยูด่ ว้ ย สารคดีเรือ่ งนีบ้ อกเล่าถึงสถานการณ์การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ของสังคมไทย โดยเฉพาะผลไม้บ้านสวนย่านฝั่งธนบุรีและนนทบุรี ที่ในอดีตเต็ม ไปด้วยส้มสูกลูกไม้มากมายชนิดพันธุ์ แต่ปัจจุบันแทบไม่หลงเหลือให้ได้ลิ้มกินกัน อีกแล้ว ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเด็กรุ่นใหม่ที่อาจไม่เคยแม้แต่ได้ชิมหรือเคยได้ยินชื่อพันธุ์ ทีฟ่ งั ดูประหลาดๆ เลยด้วยซ้ำ เช่น ทุเรียนกบแม่เฒ่า มะม่วงพราห์มขายเมีย ชมพู่ สากกะเบือ เป็นต้น นัน่ เพราะทีผ่ า่ นมา ประเทศไทยเราไม่เคยมีนโยบายอนุรกั ษ์พนั ธุ์ พืชท้องถิ่นอย่างจริงจังกันเลย หากจะว่าไปแล้ว ความคิดเห็นและความรูส้ กึ ของผมเช่นนีท้ ม่ี ตี อ่ ความเป็นไป ทางสิง่ แวดล้อมในบ้านเรา มักเกิดขึน้ อยูเ่ นืองๆ ซึง่ ก็รวมถึงกรณีการเกิดคลืน่ ยักษ์สนึ ามิ ใน 6 จั ง หวั ด ชายฝั ่ ง อั น ดามั น เมื ่ อ ก่ อ นสิ ้ น ปี 2547 และได้ ร ั บ การนำเสนอ อย่ า งมากมายในหนั ง สื อ เมื ่ อ ปลาจะกิ น ดาวฉบั บ ที ่ แ ล้ ว เหตุ ก ารณ์ ใ นครั ้ ง นั ้ น นอกจากนำความสูญเสียและโศกสลดมาให้กับคนไทยทั้งประเทศแล้ว ในชั่วโมงนั้น สังคมไทย หรือเรียกได้วา่ คนไทยแทบทุกคน ต่างจ่ายความสนใจต่อเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดข้อถกเถียงและแสวงหาแนวทางการรับมือกับปัญหา ซึ่งข้อเสนอหลายประการเป็นผลดีกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่นการโซนนิ่งพื้นที่ แล้วตามมาด้วยการอนุรกั ษ์หรือปลูกสร้างแนวกันชน อาทิ ป่าชายเลน ป่าชายหาด เป็นต้น แต่แล้วไม่เนิ่นนานหลังจากสังคมไทยคลายความตื่นกังวล แนวทาง การรับมือกับปัญหาเหล่านี้ก็มลายหายไปราวกับสังคมไทยไม่เคยได้ร่วมขบวน ขบคิดกันมาก่อน

11


แล้วคงไม่แตกต่างกันนักกับการเกิดอุทกภัยรุนแรงในหลายพื้นที่ของปีนี้ ซึง่ ฝนเพิง่ หมดฟ้าไปหมาดๆ สำหรับสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข มีการพูดกัน ซ้ำแล้ว...ซ้ำแล้วในทุกปีที่มีน้ำท่วมหนัก เพราะนอกจากวงรอบการมาเยือนของ ลานินญาที่ทำให้ฝนตกมากเกินพอดีแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า การสูญเสียพื้นที่ รองรับน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำหลากหลายประเภท การตัดถนนขวางทางน้ำ การปลูกสร้างบ้านเรือนในบริเวณที่น้ำท่วมเป็นประจำอยู่แล้ว ตลอดจนการบริหาร จัดการเขื่อนที่ขาดประสิทธิภาพ เหล่านี้ล้วนเป็นต้นสายปลายเหตุที่สำคัญทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อพิบัติภัยพ้นผ่าน การจะดำเนินการอะไรเพื่อแก้ไขปัญหา ส่วนใหญ่ก็มักจะ เหือดแห้งไปตามระดับน้ำด้วย คงเหลือไว้เพียงแนวคิดทีจ่ ะสร้างเขือ่ นให้ได้ลนุ้ ใจเต้น ตุม๊ ต่อมกัน เช่น เขือ่ นแก่งเสือเต้น เขือ่ นแม่วงก์ เป็นต้น ซึง่ ในอีกด้านหนึง่ เขือ่ นเหล่านีก้ ็ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าอันมีค่ามหาศาล มิพักต้องเอ่ยถึงความขัดแย้งทางด้านสังคมที่จะ ติดตามมาด้วย ตัวอย่างทีย่ กมา สะท้อนชัดว่าประเทศไทยพร่องนโยบาย คำว่า “พร่องนโยบาย” ในที่นี้ กินความตั้งแต่ในแง่การกำหนดนโยบาย การชั่งตวงวัดทางเลือก กระบวนการตัดสินใจทางนโยบาย ที่บ่อยครั้งอิงแอบกับ ผลประโยชน์ของนักการเมืองและนักลงทุนเสียเป็นสำคัญ รวมไปถึงในหลายคราว ที่แม้จะมีการกำหนดนโยบายที่ดีที่น่าชื่นชมออกมา แต่ในทางปฏิบัติกลับกลายเป็น ฉายหนังกันคนละม้วน กล่าวคือไม่มีการนำนโยบายไปปฏิบัติใช้ หรือนำไปปฏิบัติ ใช้อย่างไม่ถูกต้องนั่นเอง นอกจากนี้ การขาดการประเมินผลทางนโยบายก็ถือ เป็นเรื่องใหญ่ เพราะทำให้ไม่รู้เลยว่า นโยบายที่ดำเนินการไปนั้นดีร้ายประการใด จุ ด บกพร่ อ งอยู ่ ต รงไหน และควรพั ฒ นานโยบายต่ อ เนื ่ อ งไปในทิ ศ ทางใด ซึ่งเราท่านคงไม่อาจปฏิเสธกันได้ว่า นโยบายหลายๆ อย่างเองนั่นแหละที่เป็น ตัวปัญหา ข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกประการหนึ่งที่ผมได้รับจากการจัดทำหนังสือเล่มนี้ คือในกระบวนการจัดทำหนังสือนั้น จะมีการจัดเสวนาในหัวข้อต่างๆ ประกอบด้วย 12


ปรากฏว่าในหลายครัง้ วิทยากรผูท้ รงคุณวุฒิ ไม่วา่ จะเป็นนักวิชาการ ผูเ้ ชีย่ วชาญ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน หรือแม้กระทั่งข้าราชการซึ่งสังกัดรัฐ หลายคน ให้ความเห็นพ้องต้องกันว่า เรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองในระยะสั้น แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมองผลได้ผลเสียในระยะยาว พร้อมกันนั้นได้วินิจฉัย เชื้อโรคร้ายตัวหนึ่งว่า กระบวนการทางนโยบายของบ้านเรามักขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ของภาคการเมือง ซึง่ ได้รบั การกำหนดและกำกับโดยนักการเมือง ดังนัน้ จึงไม่แปลก อะไรที่การดำเนินการทางด้านนโยบายมีลักษณะอาการลูบหน้าปะจมูก ขาดความ จริงจังต่อเนื่อง นั่นเพราะนักการเมืองมักมองเพียงผลได้ในระยะสั้นตามวงรอบ การเลือกตัง้ 4 ปี และยิง่ หากการเมืองนัน้ ให้ความสำคัญกับประชานิยม ปัญหาใด ที่ไม่ได้อยู่ในความสนใจของสังคม ก็จะพลอยถูกละเลยเพิกเฉยไปโดยปริยาย แม้ปญ ั หานัน้ จะวิกฤตหรือน่าวิตกเพียงใดก็ตาม ทั้งหมดที่กล่าวมา ผู้อ่านหนังสือ “เมื่อปลาจะกินดาว 6” สามารถรับรู้ และทำความเข้าใจได้จากสารคดีทั้ง 11 เรื่องภายในเล่ม เช่นเดียวกับที่ผม ได้มีโอกาสสัมผัสก่อนหน้าท่านผู้อ่าน โดยถึงแม้ว่าจะไม่ได้ผนวกรวมเรื่องอุทกภัย และมาตรการหลังภัยพิบัติสึนามิไว้ด้วยก็ตาม หากทว่าเค้าโครงที่ปรากฏบน กระจกบานนี้ ก็มรี ปู รอยไม่แตกต่างกันนัก สุดท้าย หวังใจว่าหนังสือเล่มนี้จะไม่หยุดผู้อ่านเพียงการรับรู้ และทำความ เข้าใจเรือ่ งราว แต่สามารถก้าวล่วงสูก่ ารขบคิดและวิเคราะห์วา่ เราทัง้ หมดนีจ้ ะจับมือ ร่วมกันเดินไปในทางใดต่อดี เกือ้ เมธา ฤกษ์พรพิพฒ ั น์ 10 พฤศจิกายน 2549

13


14


น้ำแข็งละลาย... ปฐมบทจากผลกระทบโลกร้อน ผูเ้ ขียน จิตติมา บ้านสร้าง

15


คนไทยรู ้ จ ั ก ยอดเขาเอเวอร์ เ รสมานาน ในฐานะที่เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลกที่ใครๆ ก็อยากพิชิต และยังรู้อีกด้วยว่าสูงแบบนั้น ก็ จ ะถู ก ปกคลุ ม ไปด้ ว ยความหนาวเย็ น หิมะและน้ำแข็ง แต่วันนี้คนไทยส่วนใหญ่ อาจจะไม่รวู้ า่ น้ำแข็งบนนัน้ กำลังละลาย! พอๆ กับทีค่ นไทยรูจ้ กั ยอดเขาหิมาลัย ในทิเบตและภฏานว่า เป็นสุดยอดแห่งทิวทัศน์ ทีง่ ดงาม ซึง่ ถูกปกคลุมไปด้วยความขาวโพลน ของน้ำแข็ง และแอบฝันว่า สักครัง้ ...อยาก ไปเยือน และก็เช่นกันว่าคนไทยส่วนใหญ่ ก็อาจไม่รู้ว่ามันตกอยู่ในภาวะเดียวกันกับ เอเวอร์เรส!

16


ภาพจาก NASA Earth Observatory

จากข้อมูลในอดีต ประกอบกับภาพถ่ายดาวเทียม ขององค์ ก ารบริ ห ารการบิ น และอวกาศแห่งชาติของ สหรัฐ อเมริกา หรือ NASA ทีต่ ดิ ตาม ความเปลี ่ ย นแปลงของธาร น้ำแข็ง Gangotri บนยอดเขา หิมาลัยตั้งแต่ปี 1780 พบว่า มาถึงปี 1935 มันหดสัน้ ลงราว 1 กิโลเมตร และเมือ่ มาถึงปี 2001 มันหดหายลงไปอีกราว 1 กิโลเมตร สิง่ ทีเ่ ป็น นัยยะสำคัญก็คอื การหายไป 1 กิโลเมตรแรกคือช่วงปี 1780 – 1935 ซึง่ ใช้เวลาถึง 155 ปี แต่การหายไปของกิโลเมตรที่ 2 คือตัง้ แต่ปี 1935 – 2001 มันใช้เวลาเพียงแค่ 66 ปีเท่านัน้ แล้วทำไม? อาจเป็นคำถามทีต่ ามมาหลังจากทีร่ บั รูถ้ งึ สถานการณ์ทเ่ี กิดขึน้ เพราะน้ำแข็งหิมาลัยเป็นแหล่งน้ำหรือต้นน้ำของแม่นำ้ โขงและแม่นำ้ สาละวินที่ ขนาบข้างประเทศไทย ถ้าน้ำแข็งหิมาลัยหายไป น้ำโขงและสาละวินที่หล่อเลี้ยง คนไทยตอนบนของประเทศก็จะพลอยได้รบั ผลกระทบ ที่สำคัญก็คือน้ำแข็งเป็นสิ่งที่มีความอ่อนไหวในการตอบสนองต่อความ เปลีย่ นแปลงของอุณหภูมอิ ย่างมาก และมีปฏิกริ ยิ าหลายเท่าตัว เช่นการทีอ่ ณ ุ หภูมิ สูงขึน้ 1 องศา ทำให้นำ้ แข็งละลายจำนวนหนึง่ หากอุณหภูมสิ งู ขึง้ เป็น 2 องศา ไม่ใช่วา่ น้ ำ แข็ ง จะลายเพิ ่ ม ขึ ้ น อี ก เพี ย งเท่ า ตั ว แต่ อ าจจะลายเพิ ่ ม ขึ ้ น หลายเท่ า ตั ว ดังนัน้ คนไทยทีอ่ าศัยแม่นำ้ โขงและสาละวินอาจประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเร็วกว่าทีค่ ดิ

กำเนิดแห่งน้ำแข็ง ฤดู ห นาวเรามั ก จะเห็ น ว่ า ความมื ด มาเยื อ นเร็ ว กว่ า ฤดู ร ้ อ นและฤดู ฝ น ขณะที่ตอนเช้ากว่าที่เราจะเห็นดวงอาทิตย์ก็สายกว่าฤดูอื่นๆ เกือบครึ่งชั่วโมง วั ฏ จั ก รของความเย็ น ที ่ เ ราสั ม ผั ส อยู ่ ท ุ ก ปี มี ด วงอาทิ ต ย์ เ ป็ น ปั จ จั ย สำคั ญ เช่นเดียวกับการเกิดขึน้ ของน้ำแข็งบนโลก เพราะตัง้ แต่โลกถือกำเนิดขึน้ มาราว 4,600 17


ล้านปี ก็เป็นบริวารแห่งแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ ได้รับพลังงานความร้อนจาก ดวงอาทิตย์ เช่นนีด้ วงอาทิตย์จงึ มีอทิ ธิพลมหาศาลต่อความเป็นไปของโลกในทุกแง่มมุ และแน่นอนว่าการเกิดขึน้ ของน้ำแข็งบนโลกก็ถกู กำหนดโดยความสัมพันธ์ของโลก กับดวงอาทิตย์เป็นสำคัญ เราเรียนกันมาตั้งแต่เด็กว่า โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี แต่ความรู้ใหม่ ที่เราอาจยังไม่เคยเรียนก็คือ วงรีที่ว่าจะไม่เป็นรูปเดียวถาวร แต่จะค่อยๆ เปลี่ยนไป ตามธรรมชาติ ตั้งแต่รียาวมากที่สุดจนถึงรีน้อยที่สุด ซึ่งรูปรียาวจะมีระยะประชิด

ยุคของน้ำแข็ง (Ice Age) แม้วา่ ปัจจุบนั โลกเรายังคงมีนำ้ แข็งปกคลุมขัว้ โลกเหนือและขัว้ โลกใต้กต็ าม แต่เมือ่ พูดถึงยุคน้ำแข็ง จะหมายถึงช่วงเวลาทีภ่ มู อิ ากาศของโลกเกิดมีมวลน้ำแข็ง ก่อตัวปกคลุมพื้นที่นอกบริเวณขั้วโลก โดยเฉพาะในเขตอบอุ่นที่อยู่ใกล้ขั้วโลก และตามเขตภูเขาสูง ทำให้ภมู อิ ากาศโดยรวมเย็นลงกว่าปกติ มีการศึกษาว่าตัง้ แต่ โลกถือกำเนิดขึน้ มา มียคุ น้ำแข็งทีส่ ำคัญหรืออาจเรียกว่ายุคใหญ่ ซึง่ มีทง้ั หมด 4 ยุคใหญ่หรือมหายุค คือ มหายุ ค น้ ำ แข็ ง ยุ ค แรกของโลกเชื ่ อ กั น ว่ า เกิ ด ขึ ้ น ราว 2.7 – 2.3 พันล้านปีมาแล้ว ซึง่ ถ้าแบ่งตามยุคทางธรณีวทิ ยา ช่วงนีอ้ ยูใ่ นยุคทางธรณีทเ่ี รียกว่า โพรเทอโรโซอิค (Proterozoic Age) ในมหายุคน้ำแข็งยุคที่ 2 ของประวัตศิ าสตร์โลก เชือ่ กันว่าเกิดเมือ่ ราว 800 – 600 ล้านปีมาแล้ว หรือในยุคไครโอจีเนียน (Cryogenian Period) เชือ่ กันว่ายุคนี้ เป็นยุคมีนำ้ แข็งเกิดขึน้ มากทีส่ ดุ จนทำให้โลกดูเหมือนลูกบอลหิมะ เพราะมหาสมุทร เกือบทั้งหมดกลายเป็นน้ำแข็งจนเกือบถึงเส้นศูนย์สูตร และมีข้อสันนิษฐานว่า น้ ำ แข็ ง ในมหายุ ค นี ้ ล ะลายลงจนหมดไป เพราะเกิ ด การระเบิ ด ของภู เ ขาไฟ เป็นจำนวนมาก ในยุคแคมเบรียน (Cambrian Period) มหายุคน้ำแข็งยุคทีส่ าม เมือ่ ราว 460 – 260 ล้านปีมาแล้ว เริม่ จากเกิด ยุคน้ำแข็งย่อยในปลายยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician Period) จนกระทัง่ มีนำ้ แข็ง ปกคลุมบริเวณขั้วโลกไปเป็นบริเวณกว้างในช่วง 100 ล้านปีสุดท้ายของมหายุค ซึง่ ตรงกับยุคคาร์บอนิเฟรัสถึงต้นยุคเพอร์เมียน (Carboniferus - Permian Period) ทางธรณีวทิ ยา

18


และมหายุ ค ที ่ ส ี ่ ซึ ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น ยุ ค น้ ำ แข็ ง ปั จ จุ บ ั น ซึ ่ ง เรากำลั ง อยู ่ น ี ้ เริ่มเกิดขึ้นเมื่อราว 40 ล้านปีมาแล้ว โดยเริ่มจากการแผ่ขยายตัวของน้ำแข็ง จากขัว้ โลกใต้ และเพิม่ มากขึน้ ในยุคไพลโตซีน (Pleistocene Period) เมือ่ ราว 3 ล้านปีมานี้ โดยมีนำ้ แข็งแผ่ขยายปกคลุมทัว่ ไปทัง้ ซีกโลกเหนือ มหายุคน้ำแข็งแต่ละครั้งจะยาวนานหลายร้อยล้านปี แต่ในระหว่างแต่ละ มหายุคน้ำแข็ง โลกเราไม่ได้หนาวเย็นต่อเนือ่ งตลอดไป แต่จะมีชว่ งทีห่ นาวเย็นที่ น้ำแข็งขยาย พืน้ ทีอ่ อกไปเป็นบริเวณกว้าง ทีเ่ รียกว่ายุคน้ำแข็ง (Glacial Period) สลั บ กั บ ช่ ว งเวลาที ่ อ ากาศอบอุ ่ น มากพอให้ น ้ ำ แข็ ง ละลายลงได้ เรี ย กว่ า ยุคน้ำแข็งละลาย (Interglacial Period) สลับกันเป็นวัฏจักรที่มีคาบความถี่ที่ ค่อนข้างแน่นอน ในทุกครัง้ ของยุคน้ำแข็งและยุคน้ำแข็งละลาย จะมีการเปลีย่ นแปลงขึน้ บน พืน้ โลก ทัง้ ทางกายภาพและสรรพชีวติ เมือ่ อยูบ่ นโลกในยุคน้ำแข็งทีอ่ ณ ุ หภูมลิ ดต่ำลง ปริมาณน้ำทีม่ อี ยูใ่ นโลกก็จะลดลง เพราะกลายสภาพเป็นหิมะและน้ำแข็ง ทะเลทีเ่ ป็น ที่ตื้นก็จะแห้ง กลายเป็นแผ่นดินที่อาจต่อเชื่อมถึงกันเป็นบริเวณกว้าง ดัง เช่ น บริ เ วณประเทศไทยและเอเซี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ใ นยุ ค ไพลส์ โ ตซี น ซึง่ นักวิทยาศาสตร์สนั นิษฐานว่า ระดับน้ำทะเลต่ำกว่าปัจจุบนั ราวๆ 75-100 เมตร เมื่อโลกเข้ามาสู่ยุคน้ำแข็งละลายและอุณหภูมิสูงขึ้น น้ำที่เพิ่มมากขึ้น ก็กลับมาเอ่อท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ สภาพภูมิศาสตร์และระบบนิเวศก็เปลี่ยนแปลง ส่วนที่เคยเป็นพื้นแผ่นดินหรือทวีปติดกัน ก็ถูกตัดขาดออกจากกันและกลาย เป็นพื้นน้ำ ดังเช่นที่ เราพบหลักฐานของ ฟอสซิ ล หอยทะเล หลายชนิ ด ในเขต จ. นครปฐม และ ปทุมธานี ซึง่ ในอดีต เคยเป็ น ทะเลมา ระยะหนึง่ ภาพจาก The Field Museum

19


ดวงอาทิตย์มากกว่า ก็จะได้รับรังสีความร้อนมากที่สุดและดูดซับความร้อนไว้ จึงเป็นช่วงทีโ่ ลกอบอุน่ ทีส่ ดุ เมือ่ รูปวงโคจรเปลีย่ นรูปทีร่ นี อ้ ยลงจนเกือบเป็นวงกลม โลกจะได้รับรังสีความร้อนน้อยลง ช่วงนี้ก็จะเป็นช่วงที่โลกมีความเย็นสูงสุด การเปลี่ยนแปลงของรูปรีของวงโคจรจากรูปรีมากที่สุดจนมาเป็นรูปรีน้อยที่สุด จะมีระยะเวลาราว 100,000 - 150,000 ปี และเป็นวงรอบยุคน้ำแข็งหนึ่ง ไปสู ่ ย ุ ค น้ ำ แข็ ง ละลายและกลั บ เข้ า สู ่ ย ุ ค น้ ำ แข็ ง ใหม่ หมุ น เวี ย นกั น ไปเช่ น นี ้ ตลอดมานับแต่โลกถือกำเนิดขึน้ และเราก็เคยเรียนกันมาอีกว่าแกนโลกเอียงประมาณ 23 องศา แต่ทเ่ี ราอาจไม่รู้ ก็คือแกนโลกก็มีความเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ คือเอียงมากที่สุดไปจนถึง เอียงน้อยทีส่ ดุ หากแกนโลกเอียงมากก็จะมีพน้ื ทีท่ ร่ี อ้ นมากและเย็นมาก การเอียงของ แกนมากที่สุดจนกระทั่งคืนกลับมาจนกลับไปเอียงมากที่สุดอีกครั้งจะกินเวลาราว 50,000 ปี จึงเป็นช่วงของการเกิดยุคน้ำแข็งและน้ำแข็งละลายยุคย่อย ทีม่ คี วามเย็น ไม่มากเท่าความเย็นทีเ่ กิดจากการเปลีย่ นแปลงรูปรีของวงโคจร แต่เราอาจไม่เคยเรียนว่าขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง จะมีการแกว่งของแกน โลกไปด้วย โดยเฉพาะในช่วงทีแ่ กนโลกเอียงมาก จะมีการแกว่งตัวมาก ซึง่ จะส่งผล ต่อความร้อนเย็นของโลกด้วยในวงรอบ 25,000 ปี นอกจากนี้ยังมีบางช่วงที่พลังงานความร้อนของดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้นและ ลดต่ำลง เนื่องจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ภายในดวงอาทิตย์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่สม่ำเสมอ ก็สง่ ผลให้รงั สีความร้อนจากดวงอาทิตย์ทม่ี ายังโลกมากน้อยไม่เท่ากันด้วย นั่นคือปัจจัยจากนอกโลก แต่ถ้าเรามาดูปัจจัยภายในโลก ความรู้พื้นฐาน ในวัยเยาว์จะบอกเราว่า สัณฐานของโลกทำให้มีพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากรังสี ความร้อนของดวงอาทิตย์แตกต่างกันไป คือบริเวณตรงกลางที่ป่องออกหรือ บริเวณเส้นศูนย์สตู ร เป็นบริเวณทีไ่ ด้รบั อิทธิพลจากดวงอาทิตย์มาก ถัดขึน้ ไปด้านเหนือ และใต้เส้นศูนย์สูตรที่ได้รับอิทธิพลจากดวงอาทิตย์น้อยลง ภูมิอากาศก็เริ่มเย็นลง เช่ น เดี ย วกั น ในบริ เ วณขั ้ ว โลกที ่ ไ ด้ ร ั บ อิ ท ธิ พ ลจากดวงอาทิ ต ย์ น ้ อ ยที ่ ส ุ ด จึงเป็นพื้นที่ที่อากาศเย็นมากที่สุด จนภูมิประเทศมีน้ำแข็งเกิดขึ้นปกคลุม บริเวณนี้ ถูกเรียกว่าเป็นภูมอิ ากาศแบบน้ำแข็งปกคลุม (Ice Cap Climate) มีปจั จัยทีท่ ำให้เกิด ภูมปิ ระเทศแบบนีอ้ ยูห่ ลายอย่าง

20


อย่างแรกก็คอื เป็นพืน้ ทีใ่ นบริเวณละติจดู สูง คือบริเวณขัว้ โลกทัง้ เหนือและใต้ เพราะพื้นที่ละติจูดสูงหมายถึง พื้นที่ซึ่งสัณฐานของโลกโค้งออกห่างจากแนว เส้นศูนย์ส ูตรไปจนจรดขั้วโลก จะได้รับอิทธิพลจากดวงอาทิตย์น ้อยมากโดย ในแต่ละปีจะมีดวงอาทิตย์สงู เหนือเส้นขอบฟ้าทีจ่ ะแผ่รงั สีความร้อนได้มากทีส่ ดุ เพียง 6 เดือนเท่านัน้ จึงทำภูมอิ ากาศแบบน้ำแข็งปกคลุมมีอณ ุ หภูมสิ งู สุดไม่เกิน 17 องศาเซลเซียส ปัจจัยประการต่อมาก็คือ สีขาวของน้ำแข็งและหิมะที่ปกคลุมพื้นที่เหล่านี้ เป็นตัวสะท้อนรังสีของดวงอาทิตย์กลับออกไปสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นอิทธิพล ของดวงอาทิตย์ที่มีน้อยอยู่แล้ว ยังถูกสีขาวของน้ำแข็งสะท้อนรังสีกลับออกไปอีก จึงยิง่ ทำให้บริเวณเหล่านีม้ อี ณ ุ หภูมติ ำ่ ลง ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกับการนำพาความร้อนและความเย็น ไปสูพ่ น้ื ทีต่ า่ งๆ ก็คอื การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร (Ocean Circulation) ด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ ภูมิอากาศแบบน้ำแข็งปกคลุมจึงพบที่บริเวณ ขั้วโลกเหนือ คือบริเวณมหาสมุทรอาร์กติก (Arctic) ด้านในของเกาะกรีนแลนด์ และบริเวณขัว้ โลกใต้อนั เป็นทีต่ ง้ั ของทวีปแอนตาร์กติกา (Antarctica) ซึง่ เป็นพืน้ ที่ ภูมอิ ากาศแบบน้ำแข็งปกคลุมทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ แต่ก็มีน้ำแข็งในบางบริเวณที่อาจไม่ได้อยู่ในพื้นที่ละติจูดสูง แต่อยู่ใกล้ มาทางเส้นศูนย์สูตร โดยจะปกคลุมอยู่บนยอดเขาสูง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำแข็ง บริเวณนี้ก็คือ ความเป็นพื้นที่สูงที่ไม่ค่อยได้รับความร้อนจากการคายความร้อน ในพืน้ ทีล่ มุ่ ของโลก จึงทำให้อากาศเย็นกว่า ทัง้ หมดทัง้ มวลนีท้ ำให้โลกมีความร้อนเย็นเป็นตัวขับเคลือ่ นความเป็นไปของนิเวศ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องไม่ลืมเช่นกันว่า โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีน้ำเป็นจำนวนมาก หากไม่มนี ำ้ แล้ว น้ำแข็งก็ยอ่ มเกิดขึน้ ไม่ได้เลย เพราะน้ำเป็นตัวดูดซับและถ่ายทอด พลังงานทีโ่ ลกได้รบั จากดวงอาทิตย์ โดยมีนำ้ แข็งซึง่ ถือเป็นห่วงโซ่ทส่ี ำคัญในวัฏจักร น้ำและพลังงานความร้อนของโลก การทีห่ ว่ งโซ่ขอ้ นีเ้ ปลีย่ นแปลงไป จึงเป็นสัญญาณ บอกให้รู้ได้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรมาวัดเลยว่า วัฏจักรทั้งสอง ของโลกนีม้ กี ารเปลีย่ นแปลง ส่วนจะเปลีย่ นไปอย่างไร เปลีย่ นเท่าใด และจะกลับคืน สูส่ ภาพเดิมหรือไม่ เป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งมีการศึกษา และทำความเข้าใจกันต่อไป

21


รู้จักกับน้ำแข็ง ประเภทของน้ำแข็ง “ที่นี่...คุณสามารถยืนบนมหาสมุทรได้” คำโฆษณาสุดฮอตยอดฮิตทั้งทางทีวี หนังสือพิมพ์ และป้ายโฆษณาขนาดใหญ่รมิ ถนนทีค่ า่ ยเครือ่ งดืม่ ค่ายหนึง่ เริม่ โครงการ 4 คนไทยไปนอร์ธโพล และมีภาพแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่จนดูเหมือนแผ่นดินลอยอยู่ กลางทะเล นีค่ อื น้ำแข็งประเภทหนึง่ บนโลก จากทัง้ หมด 4 ประเภท ประเภทแรกเรียกว่าแผ่นน้ำแข็ง (Ice Sheet) เพราะมี ล ั ก ษณะเป็ น ผื น แผ่ น ปกคลุ ม พื ้ น ที ่ ก ว้ า ง เกิ ด จากการสะสม ของหิมะที่ตกลงมาทับถมบนแผ่นน้ำแข็ง ซึ่งมีทั้งที่ปกคลุมอยู่บนพื้นทวีป เช่นที่ทวีป แอนตาร์ ก ติ ก ที ่ ข ั ้ ว โลกใต้ หรื อ ปกคลุ ม ผืนน้ำอย่างที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก ทีข่ ว้ั โลกเหนือหรือนอร์ธโพล (North Pole) ภาพจาก Earth Observatory – NASA อย่างทีเ่ ห็นในโฆษณา ประเภททีส่ องเป็นธารน้ำแข็ง (Glacier) หรืออาจเรียกว่าเป็นน้ำแข็งบนยอดเขา มีลกั ษณะและพฤติกรรมคล้ายธารน้ำ คือไหลจากทีส่ งู ลงสูท่ ต่ี ำ่ ไปตามร่องหรือช่องเขา คล้ายแม่นำ้ ลำธาร มีความสามารถในการกัดเซาะพืน้ ทีต่ ามรายทางทีม่ นั ไหลผ่านไป ธารน้ำแข็งเกิดจากน้ำที่เย็นจนเป็นน้ำแข็งและการตกทับถมของหิมะด้วย ประเภทต่อมาคือน้ำแข็งในทะเล (Sea Ice) เกิดจากการทีน่ ำ้ ทะเลเย็นจนเป็น น้ำแข็ง มีลักษณะแบนราบ มีความหนาไม่มากนัก เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงฤดูหนาว และมักจะละลายจนหมดไปในช่วงฤดูร้อน จึงไม่ใช่น้ำแข็งถาวร แต่อาจเรียกได้ว่า เป็นน้ำแข็งตามฤดูกาลรายปี อย่างไรดี มีการจัดว่าน้ำแข็งถาวรบางแห่งที่ลอยอยู่ในทะเลเป็นน้ำแข็ง ในทะเลด้วยเหมือนกัน คือคงอยู่หลังจากผ่านพ้นฤดูร้อนไปแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และยื่นออกไปลอยเหนือผิวทะเลที่เรียกว่า Ice Shelf อย่างเช่นน้ำแข็งแผ่ขยาย ที ่ ต ่ อ เนื ่ อ งไปจากแผ่ น น้ ำ แข็ ง ที ่ ป กคลุ ม แผ่ น ดิ น ที ่ ข ั ้ ว โลกใต้ หรื อ ธารน้ ำ แข็ ง บนเกาะกรีนแลนด์ 22


แต่ขั้วโลกเหนือในมหาสมุทรอาร์กติก หรือนอร์ธโพลที่คนไทยรู้จัก ซึ่งแม้ว่า จะมีลักษณะเป็นแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ (Ice Sheet) และมีการตกทับถมด้านบน จากหิมะด้วยแต่เป็นแผ่นน้ำแข็งถาวรที่ลอยอยู่บนน้ำ ไม่ได้ปกคลุมอยู่บนแผ่นดิน เหมือนน้ำแข็งทีข่ ว้ั โลกใต้หรือแห่งอืน่ ๆ บนโลก สำหรับประเภทสุดท้าย เป็นเกล็ดน้ำแข็งทีแ่ ทรกตัวอยูใ่ นดิน คือความชืน้ ในดิน มีความเย็นจนกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็งหรือเพอร์มาฟรอสต์ (Permafrost) ซึ่งอาจมี หรือไม่มนี ำ้ แข็งปกคลุมอยูบ่ นผิวดินก็ได้ เช่นเขตทุนดร้าทีร่ สั เซีย แต่ไม่มที ข่ี ว้ั โลกใต้ เพราะแม้ขั้วโลกใต้จะเป็นแผ่นทวีป แต่ก็เป็นหินทั้งหมด ไม่มีดินที่มีรูพรุนมากพอ ทีจ่ ะเกิดเพอร์มาฟรอสต์ได้ ปริมาณของน้ำแข็งในโลก ข้อมูลจากดาวเทียมที่ติดตามศึกษาความเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งบนโลก สามารถประมาณได้ ว ่ า มี น ้ ำ แข็ ง ปกคลุ ม ผื น แผ่ น ดิ น อยู ่ ท ี ่ ท วี ป แอนตาร์ ก ติ ก ธารน้ำแข็งทีก่ รีนแลนด์และธารน้ำแข็งตามยอดเขาสูงแห่งต่างๆ รวมกันเป็นพืน้ ทีก่ ว่า 17 ล้านตารางกิโลเมตร คิดเป็นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่โลกทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแผ่นน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้กว่า 15 ล้านตารางกิโลเมตร และเป็น ธารน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ประมาณ 1.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีการประมาณการว่า แผ่นน้ำแข็งทีข่ ว้ั โลกใต้และบนเกาะกรีนแลนด์นม้ี ปี ริมาณรวมกันราว 28 ล้านลูกบาศก์ กิโลเมตร นอกนั้นเป็นน้ำแข็งที่ปกคลุมยอดเขาอีกไม่มากนัก ในขณะที่พื้นที่ ของแผ่นดินประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ จะมีเพอร์มาฟรอสต์แทรกตัวอยูใ่ นชัน้ ดิน ส่วนน้ำแข็งที่ปกคลุมโลกในส่วนที่เป็นผืนทะเลและมหาสมุทรจะมีอยู่ใน 2 พื้นที่หลักๆ คือบริเวณชายขอบของทวีปแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้ โดยเป็น แผ่นน้ำแข็งที่ยื่นต่อเนื่องมาจากแผ่นน้ำแข็งบนพื้นทวีปลงไปลอยตัวอยู่ในทะเล หรือเรียกว่า Ice Shelf ซึง่ ในฤดูหนาว Ice Shelf รอบๆ ทวีปแอนตาร์กติก จะมีพน้ื ที่ 17 – 20 ล้านตารางกิโลเมตร และลดลงเหลือ 3 – 4 ล้านตารางกิโลเมตรเท่านัน้ ในฤดูรอ้ น และน้ำแข็งในทะเลทีส่ ำคัญอีกส่วนก็คอื แผ่นน้ำแข็งทีป่ กคลุมมหาสมุทร อาร์ตกิ ทีข่ ว้ั โลกเหนือ ซึง่ มีพน้ื ทีใ่ นฤดูหนาวประมาณ 14 – 16 ล้านตารางกิโลเมตร และจะเหลือเป็นน้ำแข็งถาวรราว 7 – 9 ล้านตารางกิโลเมตรเมือ่ ผ่านพ้นฤดูรอ้ นไปแล้ว

23


หมอกเหมย แม่คะนิง้ ...น้ำแข็งของไทย “ฝนตกเหรอ” เสียงตัวเองร้องถามเมือ่ เห็นตัวช่างภาพรางๆ ทีเ่ ดินฝ่าความขาว ทึบของละอองน้ำกลับเข้ามาทีพ่ กั “เปล่า ไม่ใช่” เสียงช่างภาพตอบขณะปรากฏตัวชัดมากขึ้น “ไม่รู้เหมือนกัน แต่เปียกเหมือนตากฝนเลย” ด้วยความงุนงงสงสัย จึงเดินออกไปทีถ่ นนด้านหน้าทีพ่ กั สิง่ ทีป่ รากฏตรงหน้า ก็คอื อ. อุม้ ผางทัง้ อำเภอเลือนรางอยูภ่ ายใต้สขี าวของละอองน้ำฝอยๆ ยกแขนขึน้ มาดู เหมือนเริ่มมีน้ำเปียกๆ จับเต็มไปหมด เจ้าของที่พักแห่งนั้นเดินผ่านมาแล้วยิ้มขำๆ ที่คนต่างถิ่นไม่เคยเห็น แล้วบอกว่านี่คือหมอกเหมย ไม่ใช่หมอก แต่ก็ไม่ใช่ฝน เดินตากออกไปก็เปียกและเป็นหวัดได้ นัน่ คือเหตุการณ์ท่ี อ. อุม้ ผาง จ. ตาก เมือ่ เกือบสิบปีมาแล้วทีผ่ เู้ ขียนเพิง่ นึกถึง อีกครัง้ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ. ศูนย์เครือข่ายวิเคราะห์วจิ ยั และฝึกอบรม การเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia START Regional Centre) บอกว่า เราอาจจะจัดหมอกเหมยว่าเป็นน้ำแข็งตาม ธรรมชาติประเภทหนึ่งก็พอได้ แต่อุณหภูมิของหมอกเหมยยังไม่ต่ำถึงขั้นเป็นเกล็ด น้ำแข็งเหมือนหิมะ เพราะหิมะเป็นละอองน้ำที่ผ่านอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และกลายเป็นผลึกอย่างสมบูรณ์ แต่หมอกเหมยยังไม่เย็น ถึงขั้นกลายเป็นผลึก น้ำแข็งเท่านั้น ส่วนทีเ่ ย็นถึงขัน้ เป็นเกล็ดน้ำแข็งก็เห็นจะได้แก่แม่คะนิง้ เป็นการเรียกตามภาษา ทางภาคอีสาน ส่วนภาษาพืน้ เมืองทางภาคเหนือเรียกว่าเหมยขาบ ซึง่ เหมยหมายถึง หมอก ส่วนขาบแปลว่า แข็งอยูก่ บั ที่ แม่คะนิ้งเกิดขึ้นเนื่องจากไอน้ำในอากาศใกล้ผิวดินลดอุณหภูมิลงถึงอุณหภูมิ จุดน้ำค้าง แล้วกลัน่ ตัวเป็นหยดน้ำ ต่อจากนัน้ อุณหภูมยิ งั คงลดต่อไปอีก จนต่ำกว่า จุดเยือกแข็ง ทำให้นำ้ ค้างแข็งตัว กลายเป็นน้ำค้างแข็ง ซึง่ จะพบได้ในบริเวณพืน้ ที่ ภูเขาสูงตามบริเวณยอดดอยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึง่ เป็นบริเวณ ทีม่ อี ากาศหนาวจัด ศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงการศึกษาข้อมูล

24


เกี่ยวกับน้ำค้างแข็งว่า ด้วยความที่น้ำค้างแข็งจะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงเวลา คือในราว ช่ ว งปลายเดื อ นธั น วาคมถึ ง เดื อ นมกราคม และเกิ ด ขึ ้ น เฉพาะช่ ว งเช้ า มื ด พอสายมีแสงแดดและคลายความเย็นลงแล้ว น้ำค้างแข็งก็จะละลายหมดไป การศึกษาน้ำค้างแข็งจึงมีเพียงแค่การเก็บข้อมูลจำนวนวันทีเ่ กิดในแต่ละเดือนเท่านัน้ โดยไม่มกี ารวัดปริมาณการเกิดหรือปริมาณของพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ครอบคลุม “มันเป็นเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติเท่านั้น ถ้าจะมีผลก็คือน้ำค้างแข็ง จะทำความเสียหายแก่พืชไร่และผักต่างๆ เช่นข้าวที่กำลังออกรวงก็จะมีเมล็ดลีบ พืชไร่จะชะงักการเจริญเติบโต พืชผักใบจะหงิกงอ ไหม้เกรียม กล้วย มะพร้าว และทุเรียนใบจะแห้งร่วง ถ้าเกิดติดต่อกันหลายวัน ก็จะทำความเสียหายแก่พืช ที ่ ป ลู ก ได้ ม ากขึ ้ น ที ่ อ าจจะเป็ น ประโยชน์ ก ็ ค ื อ เป็ น เสน่ ห ์ ด ึ ง ดู ด นั ก ท่ อ งเที ่ ย ว ซึง่ ก็เป็นการเพิม่ รายได้ให้แก่จงั หวัดนัน้ ๆ” อธิบดีกรมอุตนุ ยิ มวิทยากล่าว เมืองร้อนอย่างบ้านเรา นอกจากน้ำแข็งในแก้วโอเลี้ยงแล้ว ก็เห็นจะมีแต่ แม่คะนิ้งนี่แหละที่เป็นน้ำแข็งที่ธรรมชาติผลิตให้เราได้คลายร้อนที่ใครหลายคน ใจจดใจจ่ออยากจะไปดูให้เห็นกับตาพร้อมๆ กับสัมผัสความหนาวแบบสุดขั้ว เท่าทีจ่ ะหาได้ในประเทศ คนทีเ่ คยไปเทีย่ วทีย่ อดดอยอินทนนท์ จ. เชียงใหม่ หรือภูเรือ จ. เลย ในฤดูหนาว นอกจากจะได้สัมผัสความสวยงาม และความหนาวเย็น ของที่นั่นแล้ว แทบทุกคนจะต้องรีบตื่นแต่เช้ามืดเพื่อไปดูและถ่ายภาพเกร็ดน้ำแข็ง สี ข าวที ่ ป กคลุ ม ยอดหญ้ า ที ่ ม ั ก รู ้ จ ั ก ในชื ่ อ แม่ ค ะนิ ้ ง จึ ง ดู เ หมื อ นมี ห น้ า ที ่ ด ึ ง ดู ด นักท่องเที่ยวให้ขึ้นไปชื่นชมความงามเพื่อผ่อนคลายความร้อน และเหนื่อยล้า จากการทำงานหรือร่ำเรียนมาตลอดทัง้ ปี

น้ำแข็ง...ไม่ใช่แค่เย็น ไม่วา่ แม่คะนิง้ ซึง่ เป็นน้ำแข็งของไทย หรือน้ำแข็งทีป่ กคลุมอยูต่ ามทีต่ า่ งๆ ในโลก เป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น มันจึงย่อมมีความหมายและหน้าที่ในโลกใบนี้มากกว่า ความสวยงาม และนีค่ อื 3 ภารกิจหลักของน้ำแข็งแห่งโลก ดูดซับและรับพลังงานตามวัฏจักรน้ำ น้ำแข็งเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรน้ำและวัฏจักรพลังงานของโลก กล่าวคือ การหมุนเวียนเปลีย่ นสถานะของน้ำ เมือ่ น้ำได้รบั ความร้อนจากดวงอาทิตย์กร็ ะเหย 25


กลายเป็นไอลอยขึ้นสู่เบื้องบน และได้รับความเย็นในอากาศก็จะกลั่นตัวกลายเป็น ละอองน้ำเล็กๆ เมือ่ รวมตัวกันมากขึน้ ก็กลายเป็นเมฆ จนกระทัง่ กระทบความเย็น อีกครัง้ ก็กลัน่ ตัวกลายเป็นหยดน้ำ ลูกเห็บ และหิมะตกลงสูพ่ น้ื การเปลีย่ นสถานะ ของน้ำเหล่านี้ ดำเนินไปโดยมีพลังงานเป็นตัวกระทำ ซึ่งเป็นกลไกของโลกที่จะมี การปรับตัวให้อยู่ในภาวะที่สมดุลกับปริมาณพลังงานที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ และความสามารถของโลกทีจ่ ะกักเก็บพลังงานงานเหล่านัน้ เอาไว้ แทนป่าไม้ในเมืองหนาว หากเขตร้อนอย่างบ้านเรามีปา่ ไม้ทำหน้าทีเ่ สมือนฟองน้ำดูดซับน้ำไว้ในฤดูฝน และค่อยๆ ปลดปล่อยออกมาหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตในฤดูแล้ง น้ำแข็งก็ไม่ต่างกัน เพราะในเขตหนาวและยอดเขาสูงๆ จะมีป่าไม้ที่จะเป็นแหล่งเก็บกักน้ำน้อยมาก ดั ง นั ้ น น้ ำ แข็ ง จึ ง ทำหน้ า ที ่ น ี ้ แ ทน คื อ เสมื อ นเป็ น ฟองน้ ำ ที ่ โ อบอุ ้ ม น้ ำ เอาไว้ ชะลอการไหลบ่าของกระแสน้ำด้วยความเย็นที่ทำให้น้ำเป็นน้ำแข็ง และค่อยๆ ละลายเป็นน้ำออกมาหล่อเลี้ยงในแม่น้ำสายต่างๆ ในฤดูร้อน น้ำแข็งทั่วโลก จึงเป็นแหล่งเก็บกักน้ำจืดทีม่ ปี ริมาณมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของน้ำจืดทัง้ หมดในโลก แม่นำ้ โขงและแม่นำ้ สะละวินตอนบนก็อยูภ่ ายใต้เงือ่ นไขนี!้ รักษาระดับอุณหภูมโิ ลก ถ้าจะว่ากันอย่างอย่างง่ายๆ ก็คือ ชั้นบรรยากาศและแผ่นดินเป็นส่วนที่รับ พลังงานรังสีมาจากดวงอาทิตย์ และเปลีย่ นให้เป็นพลังงานความร้อน น้ำและวัฏจักร ของน้ำเป็นธนาคารที่เก็บสะสมความร้อนส่วนเกินในช่วงฤดูร้อน และผ่อนออกมา ในช่วงฤดูหนาว โดยในฤดูรอ้ น พลังงานส่วนเกินในน้ำทะเลและบรรยากาศจะถูกใช้ไป ในการละลายน้ำแข็ง ดังนัน้ อุณหภูมขิ องน้ำทะเลและอากาศในฤดูรอ้ นจึงไม่รอ้ นมาก เท่าทีค่ วร ในขณะทีใ่ นฤดูหนาว น้ำทะเลและน้ำในบรรยากาศจะกลายสภาพเป็นน้ำแข็ง ซึ ่ ง ก็ จ ะมี ก ารคายความร้ อ นออกมาให้ น ้ ำ ทะเลและบรรยากาศ จึ ง ทำให้ โ ลก ในฤดูหนาวไม่หนาวจัดเท่าทีค่ วร ดังนัน้ น้ำแข็งต่างๆ ก็เป็นเสมือนบัญชีออมความร้อน ของโลกตามฤดูกาลอันหนึ่งนั่นเอง นั่งหมายถึงเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาระดับ อุณหภูมโิ ดยรวมให้แก่โลกด้วย ไม่เพียงเท่านัน้ น้ำแข็งทีป่ กคลุมพืน้ ทีต่ า่ งๆ ของโลก รวมทัง้ เพอร์มาฟรอสยังทำ หน้าที่อันสำคัญยิ่ง ก็คือการสะท้อนรังสีและความร้อนจากดวงอาทิตย์กลับออกสู่

26


ชัน้ บรรยากาศ เพราะสีขาวของมันทำหน้าทีค่ ล้ายกระจกทีส่ ะท้อนแสงและความร้อน ออกไปได้ 80-90 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำแข็งในทะเล มีหน้าที่เป็นฉนวนรักษาระดับอุณหภูมิ ของทัง้ น้ำทะเลและบรรยากาศในบริเวณนัน้ ๆ ไม่ให้มคี วามแตกต่างกันมากจนเกินไป นอกจากนี้ การมีแผ่นน้ำแข็งปกคลุมพืน้ ทีท่ ะเลหรือมหาสมุทร ยังช่วยทำให้ทะเลซึง่ มีสี คล้ำไม่สามารถดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ น้ำทะเลจึงยังคงมีอุณหภูมิเย็น เป็นปกติ ยิ่งช่วยให้น้ำแข็งมีการสะสมตัวได้ดีขึ้น แต่หากไม่มีน้ำแข็งในทะเล น้ำซึ่งมีสีคล้ำก็จะดูดซับความร้อนได้มาก เหมือนกับเราใส่เสื้อสีดำที่สามารถ ดูดความร้อนได้มากกว่าการใส่เสือ้ สีออ่ น นัน่ คือโลกยิง่ มีอณ ุ หภูมสิ งู ขึน้ น้ำแข็งก็จะไม่ สามารถสะสมตัวมาทดแทนได้ทนั และอาจทำให้นำ้ แข็งดัง้ เดิมเริม่ ละลายลงด้วย น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของทุกสรรพสิ่ง ซึ่งมนุษย์ก็ไม่ได้ อยู่เหนือกฎธรรมชาตินี้ แต่วันนี้น้ำแข็ง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของวงจรชีวิตของน้ำ กำลังเปลี่ยนไปชนิดที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด และแน่นอนว่าประเทศไทย ก็รว่ มอยูใ่ นชะตากรรมนีด้ ว้ ยเช่นกัน

น้ำแข็งของโลกกำลังละลาย! มีรายงานข่าวที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งจากประเทศอาร์เจนตินาว่า ประชาชนและ นักท่องเทีย่ วแห่ไปชมการพังทลายของธารน้ำแข็งทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในอาร์เจนตินาทีไ่ ด้รบั การ ขนานนามว่า ไวท์ ไจแอนต์ (White Giant) หรือชือ่ จริงคือธารน้ำแข็งเปริโต โมเรโน (Perito Moreno) ซึ่งเป็นธารน้ำแข็งขนาดมหึมาที่ก่อตัวเหมือนกับเขื่อนธรรมชาติ สูงประมาณ 60 เมตรในอุทยานธารน้ำแข็งแห่งชาติอาร์เจนตินา อยู่ในเมือง เอลคาลาฟาเต (El Calafate) รายงานข่าวชิน้ นีร้ ะบุวา่ เมือ่ คืนวันที่ 13 มีนาคม 2006 ธารน้ำแข็งส่วนที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างน้ำแข็งกับแผ่นดินใหญ่พังทลายลงมา เสียงดังสนั่นหวั่นไหว จึงเป็นที่สนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังรายงานอีกว่าธารน้ำแข็งอีก 12 สายในอุทยานน้ำแข็งเดียวกันนี้ ก็มกี ารละลาย ลงพร้อมๆ กัน โดยเริม่ ละลายอย่างช้าๆ มาตัง้ แต่ราวปี 1986 ข่าวในลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นในอีกมุมโลกหนึ่งเมื่อปี 2005 ที่ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ โดยคณะนักวิจยั ของสมาคมวิทยาศาสตร์สวิส ทีไ่ ด้ศกึ ษาธารน้ำแข็ง 27


จำนวน 1,800 ก้อน โดยเป็นน้ำแข็งทีม่ ขี นาดยักษ์ 91 ก้อน และ 84 ก้อนใน 91 ก้อนนีก้ ำลังหดตัวลงอย่างต่อเนือ่ ง โดยธารน้ำแข็งทริฟต์ (Trift) มีการละลายมากทีส่ ดุ คือในปี 2005 เพียงปีเดียว ธารน้ำแข็งทริฟต์หายไปถึง 216 เมตร ขณะที่ ธารน้ำแข็งอเลทช์ (Aletch) ที่เป็นธารน้ำแข็งที่ยาวที่สุดในทวีปยุโรปก็สั้นลง กว่าเดิมถึง 66 เมตร และแน่นอนว่าสวิสเซอร์แลนด์ก็วิตกกับเรื่องนี้มาก เพราะ ธารน้ำแข็งเหล่านี้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำขนาดยักษ์ที่นำมาปั่นกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ หล่อเลีย้ งประเทศถึง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ข่าวชิ้นไหนก็ไม่สั่นสะเทือนวงการเหมือนกับข่าวลาร์เซน บี (Larsen B) แผ่นน้ำแข็งทีย่ น่ื ออกไปในทะเลทีข่ ว้ั โลกใต้ ซึง่ นักวิชาการไทยก็รว่ มจับตาสถานการณ์ นีเ้ ช่นเดียวกัน เพราะมันกำลังบอกว่าโลกเราร้อนขึน้ เกินกว่าก้อนน้ำแข็งขนาดมหึมา จะต้านทานไหว! ลาร์เซน บี เป็น Ice Shelf ขนาดมหึมา คือมีพน้ื ทีถ่ งึ 3,250 ตารางกิโลเมตร หนา 200 เมตร แต่ระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 7 มีนาคม 2002 มันแตกออกเป็นภูเขา น้ำแข็ง (Iceberg) ชิน้ เล็กชิน้ น้อยแล้วลอยอยูใ่ นทะเล ซึง่ ชิน้ ทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ มีชอ่ื ว่า B15A มีความยาวราว 120 กิโลเมตร มีมวลถึง 720,000 ล้านตัน โดยเป็นการแตกออก ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี และในที่สุดความอบอุ่นของทะเลก็จะทำให้ B15A ละลายหายไป นอกจาก ลาร์เซน บี แล้ว น้ำแข็งทุกส่วนก็กำลังถูกความร้อนในโลกคุกคาม น้ำแข็งขัว้ โลกใต้…ชีว้ กิ ฤต ก่อนหน้านี้ในราวปี 1995 ลาร์เซน บี ก็เคยแตกออกมาครั้งหนึ่งแล้ว ก้อนทีแ่ ตกออกคราวนัน้ มีขนาดกว้าง 70 กิโลเมตร ยาว 25 กิโลเมตร ขณะทีล่ าร์เซน เอ Ice Shelf ในบริเวณใกล้เคียงก็เริม่ แตกออกและละลายมาตัง้ แต่ทศวรรษที่ 1980 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า แม้การละลายจะเป็นไปได้ตามธรรมชาติ แต่การละลายซึง่ กินพืน้ ทีถ่ งึ 2,000 ตารางกิโลเมตร ดูจะมากเกินความเป็นธรรมชาติไป ขณะที ่ น ั ก อุ ต ุ น ิ ย มวิ ท ยาซึ ่ ง สั ง เกตการหายไปของ Ice Shelf ทั ้ ง ที ่ ข ั ้ ว โลกใต้ และทีก่ รีนแลนด์ พบว่าตัง้ แต่ปี 1974 มี Ice Shelf 7 แห่งหายไปซึง่ คิดเป็นพืน้ ที่ รวมราว 13,500 ตารางกิโลเมตร

28


การศึกษาโดย British Antarctic Survey (BAS) เปิดเผยเมือ่ ปี 2005 ว่า ธารน้ำแข็งราว 84 เปอร์เซ็นต์ในทวีปแอนตาร์กติกมีการละลายอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 50 ปีทผ่ี า่ นมา โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีหลังนี้ ยิง่ เห็นได้อย่างชัดเจนมาก ทีมวิจยั นีเ้ ชือ่ ว่าอุณหภูมบิ ริเวณแอนตาร์กติกเคยมีความเย็นทีค่ งทีม่ ากว่า 1,800 ปี แต่ในช่วงระยะ 50 ปีสุดท้ายนี้เท่านั้นที่อุณหภูมิสูงขึ้นมาราว 2.5 องศาเซลเซียส ซึง่ ถือว่าสูงมากสำหรับเขตน้ำแข็งเช่นนี้ การทีอ่ ณ ุ หภูมขิ องน้ำแข็งเพิม่ สูงขึน้ ย่อมทำให้นำ้ ในมหาสมุทรทีอ่ ยูใ่ ต้ Ice Shelf เพิม่ มากขึน้ ด้วย ซึง่ ก็ยง่ิ ทำให้นำ้ แข็งละลายได้มากขึน้ Isabella Velicogna และ John Wahr จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด ศึกษาพบว่า เดือนเมษายน 2002 ถึงสิงหาคม 2005 น้ำแข็งขั้วโลกใต้มีอัตราการละลายเพิ่มขึ้นเป็น 150 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี ส่งผลต่อการเพิม่ ขึน้ ของระดับน้ำทะเลราว 0.4 มิลลิเมตรต่อปี สถานการณ์ทเ่ี กิดขึน้ กับน้ำแข็งขัว้ โลกใต้นม้ี คี วามสำคัญอย่างยิง่ เนือ่ งจากเป็น น้ำแข็งถาวรที่มีศักยภาพในการต่อต้านการละลายได้มากที่สุด เพราะเป็นน้ำแข็งที่ ปกคลุมอยูบ่ นพืน้ แผ่นดินซึง่ เป็นตัวช่วยรักษาความเย็น ต่างจากน้ำแข็งทีข่ ว้ั โลกเหนือ ทีล่ อยอยูเ่ หนือน้ำ ซึง่ สามารถนำพาความร้อนไปช่วยละลายน้ำแข็งได้งา่ ยกว่าอยูแ่ ล้ว นอกจากนี้ ปริมาณน้ำแข็งทีห่ นาและมีพน้ื ทีก่ ว้างของบริเวณขัว้ โลกใต้ ซึง่ ช่วยรักษา ความเย็นไว้ได้ดีกว่า ดังนั้นถ้าน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกเริ่มละลาย ก็หมายถึงว่าน้ำแข็งในพืน้ ทีอ่ น่ื ๆ ในโลกก็นา่ ทีจ่ ะมีอตั ราการละลายทีม่ ากกว่า และหาก น้ำแข็งทีแ่ อนตาร์กติกละลายหมดไป นัน่ ก็หมายถึงโลกเราสูญเสียน้ำแข็งไปอย่างถาวร ไม่มโี อกาสสะสมน้ำแข็งได้อกี เลย นอกจากนี้ มวลน้ำแข็งของทีน่ ย่ี งั ส่งผลอย่างมาก ต่อระดับน้ำทะเล โดยมีการคำนวณว่าหากน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติก ละลายหมด อาจมีผลให้ระดับน้ำทะเลทัว่ โลกเพิม่ สูงขึน้ โดยเฉลีย่ ถึงราว 60 เมตร ขณะทีแ่ ผ่นน้ำแข็งทีย่ น่ื ออกไปในทะเล (Ice Shelf) จะได้รบั ผลกระทบจากภาวะ โลกร้อนมากกว่าน้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่บนแผ่นพื้นทวีป เพราะน้ำทะเลใต้แผ่นน้ำแข็ง จะเป็นตัวรับและถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่า น้ำจึงมีความอบอุ่นกว่า และละลาย ฐานด้านใต้ของแผ่นน้ำแข็งให้แตกออกเป็นภูเขาน้ำแข็งที่ลอยน้ำ หรือ Iceberg ซึง่ ส่วนทีเ่ รามองเห็นจะมีเพียง 1 ส่วนเท่านัน้ แต่สว่ นทีจ่ มอยูใ่ ต้นำ้ อีกราว 8 ส่วนนัน้ ก็จะถูกละลายได้งา่ ยขึน้ คล้ายกับการทีเ่ ราเอาก้อนน้ำแข็งไปลอยในน้ำ น้ำซึง่ อุน่ กว่า

29


ก็จะละลายน้ำแข็งจากส่วนทีจ่ มอยูใ่ นน้ำไปจนกระทัง่ ละลายหมดไป แม้วา่ การแตกออก และการละลายของ Ice Shelf จะไม่ส่งผลโดยตรงต่อการที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เพราะตัวมันเองส่วนมากเป็นส่วนหนึ่งของน้ำทะเลอยู่เดิม แต่การแตกหลุดออกมา จะส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมแผ่นดินเลื่อนตัวลงสู่ทะเลเร็วขึ้น ซึ่งน้ำแข็งส่วนนี้ จะส่งผลโดยตรงต่อการสูงขึน้ ของระดับน้ำทะเล ธารน้ำแข็งยอดเขากำลังหดหาย ปลายเดือนธันวาคม 2004 ทีมสำรวจน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์รายงานว่า ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดของกรีนแลนด์ที่ชื่อว่า Jakobshavn Isbrae มีอัตรา การละลายเป็น 2 เท่าจากเดิม และไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติกอย่างรวดเร็ว ธารน้ำแข็งนีเ้ คยเคลือ่ นทีด่ ว้ ยความเร็วเฉลีย่ 3.45 ไมล์ตอ่ ปีในระหว่างปี 1992 – 1997 แต่ในปี 2003 มันเคลือ่ นทีด่ ว้ ยความเร็วถึง 7.83 ไมล์ตอ่ ปี และความหนาลดลงราว 49 ฟุตในทุกๆ ปี นับตัง้ แต่ปี 1997 เป็นต้นมา

Melt

สอดคล้องกับการติดตามโดยดาวเทียมขององค์การอวกาศแห่งยุโรป (European Space Agency - ESA) ทีเ่ ก็บข้อมูลระหว่าง 1996 - 2005 และยังประเมินอีกว่า น้ำแข็งทีก่ รีนแลนด์กำลังหายไปปีละ 0.5 มิลลิเมตร หรือราว 50 ลูกบาศก์กโิ ลเมตรต่อปี เป็นการละลายทีเ่ พิม่ ขึน้ ถึง 2 เท่าในระยะ 10 ปี ซึง่ จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึน้ ถึง

30


2.5 มิลลิเมตรต่อปี นอกจากนี้ ยังมีการคำนวณเป็นข้อมูลในเชิงทฤษฎีวา่ หากน้ำแข็ง ทีก่ รีนแลนด์ละลายทัง้ หมด จะทำให้ระดับน้ำทะเลทัว่ โลกสูงขึน้ ถึง 7 เมตร นอกจากนี้ ลั ก ษณะการละลายของน้ ำ แข็ ง กรี น แลนด์ ย ั ง ผิ ด ปกติ ไ ปด้ ว ย กล่ า วคื อ จากเดิมที่น้ำแข็งจะละลายจากขอบนอกของน้ำแข็งเข้าสู่ใจกลาง แต่ในปี 2002 กลับพบว่าการละลายเริ่มเกิดขึ้นในพื้นที่ผิวหน้าน้ำแข็ง ที่ระดับความสูง 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางอีกด้วย ซึง่ โดยปกติความสูงระดับนี้ เคยมีความเย็น เกินกว่าที่น้ำแข็งจะละลายได้ การละลายที่ผิวหน้าน้ำแข็งดังกล่าวกินพื้นที่กว้างถึง 686,350 ตารางกิโลเมตร เรียกว่าเป็นพืน้ ทีท่ ใ่ี หญ่กว่าประเทศไทยทัง้ ประเทศเสียอีก ซึง่ ถือว่าเป็นปริมาณทีล่ ะลายเพิม่ ขึน้ ถึง 16 เปอร์เซ็นต์จากค่าทัง้ หมดทีว่ ดั มา 24 ปี ขณะที่ Jonathan Gregory จากมหาวิทยาลัยรีดดิง้ สหราชอาณาจักร และ Phillippe Huybrechts จากมหาวิทยาลัยบรัสเซล คำนวณว่า หากอุณหภูมิของ กรีนแลนด์สงู ขึน้ ไม่เกิน 3 องศาเซลเซียส น้ำแข็งกรีนแลนด์จะคงอยูต่ อ่ ไปอีกหลายพันปี แต่หากอุณหภูมิสูงเกินกว่านั้น การละลายของน้ำแข็งจะมากกว่าหิมะที่ตกลงมา เติม ปริมาณน้ำแข็งจะค่อยๆ ลดลง แต่ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 8 องศาเซลเซียส น้ำแข็งกรีนแลนด์จะหมดไปภายใน 1,000 ปี กรีนแลนด์เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีน้ำแข็งปกคุลมพื้นแผ่นดิน มากเป็นที่สองรองจากทวีปแอนตาร์กติก กรีนแลนด์อยู่ต่ำลงมากว่าขั้วโลกเหนือ จึงมีความอบอุน่ กว่า นอกจากนี้ ยังเป็นพืน้ ทีท่ ม่ี กี จิ กรรมของมนุษย์มากกว่าทีข่ ว้ั โลกใต้ ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น น้ำแข็งที่กรีนแลนด์จะได้รับผลกระทบมากกว่า น้ำแข็งทีข่ ว้ั โลกใต้ แม้จะเป็นน้ำแข็งทีป่ กคลุมพืน้ ทวีปเหมือนกัน ส่วนการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็งหรือน้ำแข็งยอดเขาอื่นๆ กระจัดกระจายไปตามที่ต่างๆ ซึ่งราว 70 เปอร์เซ็นต์เป็นการศึกษาในพื้นที่ภูเขา แถบยุโรป อเมริกาเหนือ และสหภาพโซเวียต โดยมีความพยายามวัดปริมาณ ธารน้ำแข็งกว่า 300 แห่งมาตัง้ แต่ปี 1946 แต่มกี ารบันทึกข้อมูล อย่างต่อเนือ่ งเพียง 40 แห่งเท่านัน้ ซึง่ ก็พบว่าตัง้ แต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา มวลของธารน้ำแข็ง ลดลงอย่างต่อเนือ่ ง นอกจากนี้ ความหนาของ ธารน้ำแข็งต่างๆ ยังลดลงประมาณ 8 เมตร ซึง่ คิดเป็นน้ำทีล่ ะลายออกมาในทะเล มากกว่า 6,000 ลูกบาศก์กโิ ลเมตร

31


นอร์ธโพลอุน่ ขึน้ ..น้ำแข็งในทะเลแตกกระจาย น้ำแข็งบริเวณขัว้ โลกเหนือก็ไม่นอ้ ยหน้าไปกว่าน้ำแข็งทีอ่ น่ื เพราะจากข้อมูล ดาวเทียมชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 ขอบเขตของน้ำแข็ง ขัว้ โลกเหนือหดตัวลงในอัตรา 3 เปอร์เซ็นต์ตอ่ 10 ปี ขณะที่การตรวจวัดอุณหภูมิด้วยดาวเทียมระหว่างปี 1981 – 2001 พบว่า บางพื้นที่ของขั้วโลกเหนือกำลังอุ่นขึ้นในอัตรา 2.5 องศาเซลเซียสต่อ 10 ปี ซึ ่ ง ถื อ ว่ า อุ ่ น ขึ ้ น เร็ ว กว่ า ในช่ ว ง 100 ปี ก ่ อ นหน้ า นั ้ น มาก ขณะที ่ ด าวเที ย ม ทีเ่ ก็บข้อมูลระหว่างปี 1979 – 2004 พบว่าน้ำแข็งในทะเลบริเวณมหาสมุทรอาร์กติก มีการสะสมตัวลดลง 7.7 เปอร์เซ็นต์ตอ่ 10 ปี ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ประกอบกับการศึกษาด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ตา่ งๆ ทำให้ น ั ก วิ ท ยาศาสตร์ ก ลุ ่ ม ต่ า งๆ สามารถทำนายสภาวะน้ ำ แข็ ง ในอนาคตได้ และในจำนวนนี ้ ม ี แ บบจำลองถึ ง 5 ชิ ้ น ที ่ ใ ห้ ผ ลตรงกั น ว่ า ในปี 2100 มหาสมุทรอาร์กติกจะสูญเสีญน้ำแข็งไปอย่างถาวรถึงครึง่ หนึง่ ของทีเ่ คยมี องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ NASA ได้ ต ิ ด ตามความเปลี ่ ย นแปลงของน้ ำ ทะเลแข็ง (Sea Ice) ในปี 2002 พบว่า น้ำแข็งในทะเลที่ขั้วโลกเหนือในมหาสมุทร อาร์กติกกำลังละลายในอัตรา 9 เปอร์เซ็นต์ ต่อ 10 ปี และยังมีปริมาณน้อยทีส่ ดุ ในรอบ หลายศตวรรษทีผ่ า่ นมา นอกจากนี้ รูปร่างของ น้ำทะเลแข็ง ก็มักจะผอมบางลง และไม่จับ กันเป็นแผ่นกว้างอย่างที่เคยเป็น จนในทีส่ ดุ เมือ่ วันที่ 22 – 24 กันยายน 2003 Ice Shelf ที่ใหญ่ที่สุด ของน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก ก็แตกออกจาก แผ่นใหญ่ และละลายหายไป อย่ า งไรก็ ต าม ก็ ย ั ง มี แ นวทฤษฎี อ ี ก แนวหนึ ่ ง ที ่ เ ชื ่ อ ว่ า การละลายของ น้ำแข็งในทะเลเหล่านี้ อาจจะเป็นผลเนื่องมาจากการแปรปรวนของบรรยากาศ ในเขตอาร์กติก (Arctic Occillation) ซึ่งเป็นวงรอบปกติที่จะมีความอบอุ่น

32


เพิม่ ขึน้ อย่างฉับพลันในระยะหนึง่ และจะกลับเข้าสูภ่ าวะปกติ ในระยะเวลาทีไ่ ม่นานนัก แต่ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากโลกร้อนหรือความแปรปรวนตามวงรอบ ข้อเท็จจริง ณ วันนีก้ ค็ อื น้ำแข็งขัว้ โลกเหนือและน้ำแข็งในทะเลกำลังละลาย หมอกเหมย แม่คะนิง้ : น้ำแข็ง...ร่วมชะตากรรมน้ำแข็งโลก มานพ สุขมุ วัฒนะ ผูเ้ ฒ่าแห่ง อ. อุม้ ผาง จ. ตาก ใช้เวลาไม่นานในการทบทวน ย้อนหลังถึงภาพบ้านเกิดในวัยเด็กเมือ่ กว่า 80 ปีกอ่ น แล้วเล่าด้วยเสียงหนักๆ ว่า เมือ่ ก่อนป่าไม้สมบูรณ์กว่านี้ มีความชืน้ มาก เช้าๆ เดินออกไปนอกบ้านมองเห็นได้ไม่เกิน 10 เมตรเท่านัน้ เพราะหมอกเหมยคลุมขาวไปหมด สักพักก็จะเปียกเหมือนตากฝน โดยเฉพาะฤดูหนาวจะหนาวจัดมาก หมอกเหมยลงจัดมากขึน้ ติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน “เดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่ แต่ไม่มีทุกวันเหมือนเมื่อก่อน เฉพาะปีที่หนาวจัดจริงๆ ถึงจะลงหนาเป็นบางวัน เพราะป่าไม้ไม่มี ความชุม่ ชืน้ ก็นอ้ ยลง” คุณตามานพบอกเล่า ราวกับเห็นความเปลี่ยนแปลงมาจนชาชิน ส่วน อรุณ อุไร หนุม่ วัย 37 ปีทข่ี น้ึ ลงยอดดอยหลวงเชียงดาว จ. เชียงใหม่ เป็นว่าเล่นมาตัง้ แต่อายุ 13 - 14 ปี เพราะตามคุณตาซึง่ เป็นผูบ้ กุ เบิกนำเทีย่ วบนยอด ดอยหลวง อรุณเล่าให้ฟงั ถึงหมอกเหมยบนยอดดอยแห่งนีท้ ไ่ี ม่ตา่ งอะไรจากอุม้ ผาง “ขึน้ ดอยเช้าๆ เมือ่ ก่อนต้องใส่เสือ้ กันฝนเดินนะ ไม่งน้ั เปียกหมด ผมเคยหลง กับพวกด้วย เดินห่างกันแค่สิบเมตรมั้ง มองไม่เห็นแล้ว เดี๋ยวนี้เหรอ ผมว่ามันมี แค่บางวันนะ บางวันก็บาง บางวันก็ทึบ และก็ไม่ยาวหลายเดือนเหมือนเมื่อก่อน” อรุณเล่าด้วยสำเนียงคำเมือง หนุ่มเชียงดาวยังเล่าถึงแม่คะนิ้งบนยอดดอยด้วยว่า เหมยขาบมีมากทุกปี แต่ ท ี ่ จ ำติ ด ตามากคื อ ในปี 2542 ที ่ ข ึ ้ น ไปมองที ่ จ ุ ด สู ง สุ ด แล้ ว ยอดดอยหลวง เหมือนภูเขาหิมะ ไปดูใกล้ๆ เป็นเกร็ดหนาๆ คล้ายกับเป็นขน ปัจจุบันอรุณยังคงขึ้นลงยอดดอยหลวงเชียงดาวอยู่ เพราะเป็นทั้งผู้นำเที่ยว และผู ้ ช ่ ว ยนั ก วิ จ ั ย คณะต่ า งๆ เมื ่ อ ถู ก ถามว่ า ปั จ จุ บ ั น แม่ ค ะนิ ้ ง เป็ น อย่ า งไร จึงตอบอย่างไม่ลังเลว่า “ผมว่าสองสามปีนี้มันบางลง สีขาวไม่จัด แบบไม่มีขนน่ะ ถ้าขึ้นไปยืนที่สูงๆ จะเห็นมีแค่เป็นหย่อมๆ ตามที่เป็นแอ่งกว้างสักจุดละยี่สิบถึง สามสิบตารางเมตรเท่านัน้ ”

33


ขยับมาทางดอยอินทนนท์ที่หน่วยพิทักษ์ป่ายอดดอยของอุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ จ. เชียงใหม่ ตัน๋ มณีโต พนักงานพิทกั ษ์ปา่ วัย 53 ปี ทีท่ ำงานป้องกัน และปราบปรามที่นี่มากว่าสิบปี แล้วพลิกผันตัวเองมาเป็นเจ้าหน้าที่สื่อความหมาย ธรรมชาติ เล่าอย่างคล่องแคล่วเหมือนงานที่ทำอยู่ทุกวันว่า เมื่อก่อนมีแม่คะนิ้ง เกิดคลุมตั้งแต่ยอดดอยลงไปจนถึงที่สำนักงานที่อยู่ห่างออกไปหลายสิบกิโลเมตร เวลาขี่มอเตอร์ไซค์ก็มองเห็นเรื่อยไปตามทาง บางปีที่ลงจัดใบกล้วยป่าที่ว่าหนาๆ จะม้าน คือช้ำเหมือนเอาผักไปแช่ตเู้ ย็นในช่องน้ำแข็ง “เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นลงหนักๆ จนใบกล้วยป่าม้านนะ สักสี่ห้าปีถึงจะลงหนัก สักที แต่ทเ่ี ห็นชัดเลยก็คอื ไม่กนิ พืน้ ทีก่ ว้างแล้ว คือมีแต่เฉพาะทีห่ น่วยยอดดอยเท่านัน้ ไม่ค่อยมีคลุมไปถึงสำนักงานข้างล่าง บางปีที่สำนักงานก็อาจจะมีให้เห็นบ้างบางๆ ไม่ ห นาเหมื อ นเมื ่ อ ก่ อ น แล้ ว เดี ๋ ย วนี ้ ห นาวสั ้ น ลงนะ ไม่ ห นาวยาวหลายเดื อ น เหมือนเมือ่ ก่อน” คำบอกเล่าของตัน๋ ขณะที ่ อ ธิ บ ดี ก รมอุ ต ุ น ิ ย มวิ ท ยาบอกว่ า ในปี ใ ดจะเกิ ด น้ ำ ค้ า งแข็ ง มาก หรื อ น้ อ ยขึ ้ น อยู ่ ก ั บ ความกดอากาศสู ง หรื อ มวลอากาศเย็ น จากประเทศจี น หรือมองโกเลียทีพ่ ดั ผ่านเข้ามาในบ้านเราว่ามีความเย็นมากน้อยแค่ไหน และปกคลุม อยู่ในประเทศไทยยาวนานเพียงใด ซึ่งถ้ามีความหนาวเย็นมาก และคงอยู่ใน ประเทศไทยนาน ก็มีโอกาสเกิดน้ำค้างแข็งได้มากขึ้น ส่วนการมีปฏิกิริยากับ ภาวะโลกร้อนนั้น ยังไม่เห็นเด่นชัด เพราะจะขึ้นอยู่กับมวลอากาศเย็นจากประเทศ จีนเป็นหลัก ซึง่ ถ้ามวลอากาศเย็นจากประเทศจีนเป็นไปตามปกติ ถูกต้องตามฤดูกาล น้ำค้างแข็งก็จะยังคงเกิดให้เห็นอยูต่ อ่ ไป แม้ไม่มกี ารศึกษาความเปลีย่ นแปลงของหมอกเหมยและแม่คะนิง้ อย่างจริงจัง แต่คำบอกเล่าของคนพื้นที่ที่คลุกคลีมาทั้งชีวิต คงพอทำให้เห็นภาพของความ เปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งไทยได้ เพราะมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนก็ไม่อยู่ นอกเหนือกฎของโลกที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก เช่นเดียวกับน้ำแข็งและความเย็นแห่งอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผลจากการคำนวณด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หลายชิน้ ทีค่ าดการณ์วา่ น้ำแข็งแต่ละแห่งอาจจะละลายหมดไป แต่กม็ นี กั วิทยาศาตร์ อีกกลุ่มหนึ่งไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ เพราะโลกย่อมมีกลไกในการรักษาเยียวยาตัวเอง

34


แต่ในระหว่างนี้ ทุกชีวิตบนโลกจำเป็นต้องยอมรับผลทุกอย่างไม่ว่าจะดีหรือเลว จากปรับตัวของโลก

น้ำแข็งโลกละลาย...ไทยไม่พ้นเป็นเหยื่อ 4 คนไทยไปนอร์ ธ โพล อาจสื ่ อ ให้ เ ห็ น ถึ ง รสชาติ ค วามหนาวเย็ น ความพยายามฝึ ก ฝนร่ า งกายให้ แ ข็ ง แกร่ ง เพื ่ อ ต่ อ สู ้ ก ั บ อุ ณ หภู ม ิ เ ยื อ กแข็ ง แต่ ค นไทยในประเทศอาจไม่ เ ห็ น ภาพความวิ ก ฤตของสถานการณ์ น ้ ำ แข็ ง และความหมายของมัน อาจแม้กระทัง่ 4 คนไทยทีไ่ ปเยือน นักวิทยาศาสตร์สว่ นใหญ่เชือ่ ว่า วิกฤตการละลายจนผิดธรรมชาติของน้ำแข็ง ทัว่ โลก มาจากภาวะการเปลีย่ นแปลงภูมอิ ากาศโลก อันเนือ่ งจากมนุษย์เป็นตัวการหลัก แม้วา่ จะมีอกี แนวทฤษฎีหนึง่ ทีเ่ ชือ่ ว่านีเ่ ป็นปรากฏการณ์ตามวงรอบปกติของโลก แต่ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา บอกว่าหลักฐานทีส่ นับสนุนว่าภาวะน้ำแข็งละลาย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกปรากฏมากขึ้น และได้รับการยอมรับ มากขึน้ เรือ่ ยๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ หากมองวงรอบระยะ 100,000 ปีทเ่ี ป็นคาบใหญ่ ของยุคน้ำแข็งสลับกับยุคน้ำแข็งละลายแล้ว ในศตวรรษนี้โลกควรกำลังเย็นลง เพื่อกลับเข้าสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้ง หากแต่ข้อมูลที่ปรากฏกลับกลายเป็นว่าอุณหภูมิ กำลังพุง่ สูงขึน้ โดยยังไม่มที า่ ทีวา่ จะลดลง นอกจากเป็นปัจจัยชี้วัดความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกแล้ว น้ำแข็ง ละลายมีความหมายมากกว่านั้น ซึ่งนี่คือคำอธิบายตามหลักวิชาการที่ได้รับการ ยอมรับมากทีส่ ดุ ยิง่ ละลายยิง่ ร้อน...ยิง่ ร้อนก็ยง่ิ ละลาย อย่ า งที ่ ก ล่ า วแล้ ว ว่ า น้ ำ แข็ ง มี ส ่ ว นสำคั ญ ในการรั ก ษาอุ ณ หภู ม ิ โ ลก โดยเป็ น ตั ว สะท้ อ นรั ง สี ค วามร้ อ นของดวงอาทิ ต ย์ น้ ำ แข็ ง ในทะเลยั ง ปกป้ อ ง ไม่ ใ ห้ พ ื ้ น ผิ ว ทะเลซึ ่ ง มี ค วามมื ด ดำสั ม ผั ส กั บ แสงอาทิ ต ย์ เมื ่ อ น้ ำ แข็ ง ละลาย ความสามารถในการแผ่ ค วามเย็ น เพื ่ อ รั ก ษาอุ ณ หภู ม ิ ก ็ ล ดลง หิ ม ะตกน้ อ ยลง ความสามารถในการสะท้ อ นรั ง สี ค วามร้ อ นของดวงอาทิ ต ย์ ก ็ ล ดลง ขณะที ่ น้ำแข็งในทะเลที่หดหายไป เป็นการเปิดพื้นที่สีดำของทะเลให้สามารถดูดซับ ความร้อนได้มากขึน้ ยิง่ ทำให้นำ้ แข็งละลายเร็วขึน้ 35


ทั้งหมดทั้งมวลนี้ คงฉายภาพได้อย่างชัดเจนว่า การละลายของน้ำแข็ง ยิง่ ทำให้อณ ุ หภูมใิ นโลกสูงขึน้ และในปฏิกริ ยิ าสนองกลับ น้ำแข็งก็จะยิง่ ละลายมากขึน้ เป็นทวีคณ ู ต่อกันเป็นงูกนิ หาง สุ ด ท้ า ยระบบนิ เ วศที ่ ต ้ อ งอาศั ย ความเย็ น จะถู ก กระทบทั ่ ว โลก เหมื อ น หมี ข ั ้ ว โลกที ่ ม ั น เริ ่ ม มี น ้ ำ หนั ก ลดลง และสื บ พั น ธุ ์ ย ากมากขึ ้ น เช่ น เดี ย วกั บ ภาคการท่องเทีย่ วทีอ่ าจไม่มแี ม่คะนิง้ เป็นจุดขายในทีส่ ดุ น้ำจะท่วมฟ้า ปลาจะกินดาว นักวิทยาศาสตร์พยายามทีจ่ ะพยากรณ์ระดับน้ำทะเลในอนาคตโดยให้ความสำคัญ ที่การละลายของน้ำแข็ง ที่ทวีปแอนตาร์กติกและที่กรีนแลนด์เป็นหลัก เพราะเป็น น้ำแข็งที่เกิดจากการตกและทับถมตัวของหิมะซึ่งส่งผลโดยตรงต่อระดับน้ำทะเล และมีปริมาณมหาศาล ถ้าน้ำแข็งทัง้ สองแห่งนีล้ ะลายหมด นัน่ หมายถึงระดับน้ำทะเล ทีอ่ าจสูงขึน้ ถึงราว 67 เมตร หรือคำทายทักของคนโบราณกำลังจะมาถึง?! แต่ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวทิ ยา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า น้ำแข็งคงไม่ละลายหมดโลก เพราะโลกมีกลไก ในการปรับตัวเองให้เย็นลง แม้การละลายในภาวะที่มากที่สุดอาจจะทำให้น้ำทะเล ทั ่ ว โลกสู ง ขึ ้ น ในระยะยาวประมาณ 2 - 3 เมตรเท่ า นั ้ น แต่ ใ นทางระนาบ กลับจะกินพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ของประเทศไทยเข้ามามาก โดยอาจจะร่นเข้ามาใกล้เคียงกับเมือ่ ราว 6,000 ปีทแ่ี ล้วทีโ่ ลกร้อนทีส่ ดุ ทีม่ อี ณ ุ หภูมสิ งู กว่าปัจจุบนั ราว 2 - 4 องศาเซลเซียส “ชายฝั ่ ง ของไทยก็ น ่ า จะถอยไปอยู ่ แ ถวๆ อยุ ธ ยาเหมื อ นเมื ่ อ ในอดี ต เพราะที่ราบภาคกลางนี่เกิดใหม่หลังจากที่บรรยากาศของโลกเย็นลง และน้ำทะเล ลดระดับลง หลังจากนั้นโลกก็จะปรับตัวเองค่อยๆ เย็นลง เข้าสู่ภาวะปกติ” ดร.ธนวัฒน์กล่าว ขณะที่การคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในระยะสั้น ส่วนใหญ่ ยอมรับกันทีป่ ลี ะประมาณ 1 - 2 มิลลิเมตร หรือสูงขึน้ 1 - 2 เซนติเมตรใน 10 ปี ซึง่ ในศตวรรษหน้าหรือในราวปี 2100 ระดับน้ำทะเลน่าจะสูงขึน้ ราว 90 เซนติเมตร อันเป็นผลมาจากทั้งน้ำแข็งละลายและน้ำทะเลอุ่นขึ้นจนมีการขยายตัว แม้การละลายของน้ำทะเลแข็ง (Sea Ice) ในทะเลจะไม่มีผลโดยตรงต่อ

36


การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล แต่ก็จะทำให้ชั้นน้ำแข็งถาวรที่มีผลกับระดับน้ำทะเล เลือ่ นไหลลงสูท่ ะเล และละลายได้งา่ ยขึน้ นอกจากนี้ การละลายของน้ำแข็งทีล่ อย ในทะเลจะเปิดพื้นที่โล่งให้น้ำทะเลกระทบกับความร้อน ทำให้น้ำระเหยไปเป็น ไอน้ำ สะสมตัวในอากาศมากขึน้ นัน่ หมายถึงปริมาณฝนก็จะมากตามมา สึนามิจากภูเขา บนยอดเขาที่ปกคลุมไปด้วยธารน้ำแข็ง มักจะมีทะเลสาบ (Glacier Lake) ขนาดมหึมา ซึง่ มีขอบอ่างเป็นน้ำแข็ง ดังนัน้ ถ้าหากมีการละลายและบางลง บางลง ก็อาจทำให้เกิดการแตกของอ่างอย่างฉับพลัน และเมื่อนั้นน้ำปริมาณมหาศาล ก็จะทะลักทลายลงสูท่ ร่ี าบเชิงเขาซึง่ เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัย ภาพทีเ่ กิดขึน้ คงคล้ายๆ เขือ่ นแตก หรือสึนามิจากภูเขา ธารน้ำแข็งยอดเขาทุกแห่งมักจะมีทะเลสาบอย่างที่ว่านี้ รวมทัง้ ภูเขาหิมาลัยด้วยเช่นกัน มีรายงานว่าบนยอดเขาหิมาลัย มีทะเลสาบน้ำแข็ง ทีอ่ ยูใ่ นภาวะเสีย่ งถึง 2,300 แห่งทีเดียว แต่ยงั ไม่มกี ารศึกษาถึงปริมาณ ความเร็ว ความแรงของน้ำ ว่าจะมีพสิ ยั การทำลายใกล้ไกลแค่ไหน หรือจะถึงประเทศไทยหรือไม่ น้ำจืดแห้ง น้ำทะเลหนุน กระทบทัง้ ขึน้ ทัง้ ล่อง แม้ว่าแม่น้ำโขงและสาละวินจะรับน้ำจากการละลายของน้ำแข็งบนเทือกเขา หิมาลัยเพียงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำทัง้ หมดตลอดแม่นำ้ ทัง้ สาย แต่ในบริเวณ ใกล้ตน้ น้ำโขงที่ อ. เชียงแสน จ. เชียงราย และใกล้ตน้ น้ำสาละวินที่ จ. แม่ฮอ่ งสอน น้ำที่ไหลผ่านช่วงนี้ราว 50 เปอร์เซ็นต์เป็นน้ำที่มาจากน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัย ถ้าโลกร้อนจนน้ำแข็งบนภูเขาหิมาลัยซึ่งเปรียบเสมือนฟองน้ำธรรมชาติของต้นน้ำ นี ้ ห ายไปหมด ไม่ ต ้ อ งหลั บ ตาก็ พ อจะนึ ก ภาพออกว่ า คนไทยและคนชาติ อ ื ่ น ๆ ทีต่ อ้ งอาศัยน้ำโขงและสาละวินตอนต้นจะขาดน้ำแค่ไหนในฤดูรอ้ น แม้ว่าผืนแผ่นดินทั้งฝั่งไทย ลาว และกัมพูชา จะให้น้ำลงแม่น้ำโขงได้ และป่าพม่าและไทยจะให้น้ำกับสาละวินได้เช่นกัน แต่ถ้าน้ำจืดจากต้นน้ำลดลง อย่างมาก ปริมาณน้ำทีป่ ลายน้ำก็อาจไม่พอทีจ่ ะต้านทานน้ำทะเล ทีน่ บั วันจะมีระดับสูง ขึ ้ น และรุ ก เข้ า มาในแม่ น ้ ำ มากขึ ้ น และยั ง อาจจะไม่ พ อที ่ จ ะเจื อ จางน้ ำ เสี ย จากแหล่งต่างๆ ที่ถูกปล่อยมามากขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นกับระบบนิเวศปากแม่น้ำ อันเป็นแหล่งป้อนอาหารให้กบั คนจำนวนมหาศาล และยังระบบนิเวศอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วพันกัน นี่ยังไม่นับถึงการคาดการณ์ว่า คนในลุ่มน้ำจำนวนไม่น้อยจะมีการอพยพไปอยู่ใน

37


บริเวณใกล้ปากแม่น้ำและชายฝั่งทะเลมากขึ้น ก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับระบบนิเวศ ชายฝัง่ เป็นทวีคณ ู แม่นำ้ ทัว่ โลกก็จะตกอยูภ่ ายใต้ภาวะนีเ้ ช่นกัน!! ทะเลลดความเค็ม กระแสน้ำในมหาสมุทรอาจหยุดไหล? ถ้าใครเคยดูหนังเรื่องวิกฤตวันสิ้นโลก หรือ The Day After Tomorrow ที ่ ม ี ป ระเด็ น นำเรื ่ อ งอยู ่ ท ี ่ ภ าวะโลกร้ อ นและน้ ำ แข็ ง ละลาย จนทำให้ อ ุ ณ หภู ม ิ ของน้ำในมหาสมุทรเปลีย่ นแปลง และความเค็มถูกเจือจางลง เพราะมีนำ้ จืดจากการที่ น้ ำ แข็ ง ละลายลงมาเติ ม จนในที ่ ส ุ ด กระแสน้ ำ อุ ่ น -กระแสน้ ำ เย็ น ถู ก ปิ ด กั ้ น ไม่ไหลเวียนตามปกติ ส่งให้ประเทศแถบแคนนาดาและอเมริกาเหนือ กลายเป็นเมือง แห่งน้ำแข็งไปในที่สุด หนังเรือ่ งนีม้ คี วามเป็นไปได้ในทางฟิสกิ ส์!

ภาพจาก UNEP

กระแสการไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทร (Great Ocean Conveyor Belt) เกิดจากการขับเคลื่อนโดยอุณหภูมิและความเค็มของน้ำทะเล จึงได้ชื่อว่าเป็น Themohaline Cerculation โดยจะไหลหมุนเวียนตามเส้นทางทีผ่ า่ นพืน้ ทีม่ หาสมุทร

38


หลักๆ ก็คือในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและใต้ น้ำทะเลถูกทำให้เย็นและ จมลงสู่ก้นมหาสมุทร จากนั้นก็จะไหลลงทางใต้ เลี้ยวไปทางตะวันออกเข้าสู่ มหาสมุทรอินเดีย และไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิค ตามลำดับ กระแสน้ำในที่ลึกเหล่านี้ เมื่อไหลไปนานๆ ก็จะอุ่นขึ้นและค่อยๆ ทะยอยผุดขึ้นมาตามทางที่เคลื่อนที่ไป กลายเป็ น น้ ำ อุ ่ น ที ่ ผ ิ ว หน้ า มหาสมุ ท ร ซึ ่ ง จะไหลย้ อ นกลั บ ไปยั ง มหาสมุ ท ร แอตแลนติคเหนือและใต้ เข้าสู่กระบวนการจมตัวอีกครั้งหนึ่ง เป็นวัฏจักรไม่สิ้นสุด และเป็นกระบวนการควบคุมอุณหภูมทิ ส่ี ำคัญทีส่ ดุ ของโลก ดังนัน้ เมือ่ น้ำแข็งละลายก็จะมีนำ้ จืดเติมลงไปในมหาสมุทรแอตแลนติคมากขึน้ กลายเป็นชั้นน้ำจืดที่ลอยขวางแนวทางการไหลของกระแสน้ำ กระทบถึงระบบ การถ่ายเทความร้อนระหว่างมหาสมุทรต่างๆ อย่างรุนแรง “ถ้าเป็นอย่างในหนังที่กระแสน้ำไม่ไหลเวียน ก็ไม่มีกระแสน้ำอุ่นมาสร้าง ความอบอุ ่ น ให้ ก ั บ มหาสมุ ท รแอตแลนติ ก โดยเฉพาะตอนเหนื อ อุ ณ หภู ม ิ น้ำทะเลก็จะลดลงอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นแนวคิดว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โลกอาจจะไม่ใช่ทำให้โลกร้อนขึน้ อย่างเดียว แต่อาจทำให้หมิ ะตกหนักในบางพืน้ ทีก่ ไ็ ด้ แต่ ส ิ ่ ง เหล่ า นี ้ ก ็ ย ั ง เป็ น เพี ย งแนวคิ ด หรื อ ข้ อ สมมติ ฐ านเท่ า นั ้ น จะเกิ ด ขึ ้ น จริ ง หรื อ เปล่ า ต้ อ งอาศั ย การคำนวณอย่ า งละเอี ย ด ว่ า ต้ อ งมี น ้ ำ จื ด มากเท่ า ไหร่ ไหลลงไปจึงจะไปปิดกัน้ การไหลเวียนของกระแสน้ำได้” ดร.อานนท์กล่าว ดร.อานนท์กล่าวต่อไปว่า สิ่งทีอ่ าจจะกระทบกับประเทศไทยถ้าการไหลเวียน ของน้ำในมหาสมุทรช้าลงอย่างรุนแรงเหมือนในภาพยนต์ดังกล่าว อุณหภูมิของ ทะเลบริเวณเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็น่าจะสูงขึ้นเนื่องจากการสะสมความร้อน ลมมรสุมทั้งตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้น่าจะแรงขึ้น ปะการัง จะฟอกขาวมากขึ้น น้ำระเหยและตกลงเป็นฝนมากขึ้น อันจะนำไปสู่ภาวะน้ำท่วม ดินถล่มทีร่ นุ แรงขึน้ ก็ได้ “แต่ตอ้ งย้ำว่านักวิทยาศาสตร์ทว่ั โลกก็ยงั ไม่รเู้ รือ่ งนีม้ ากนัก เราต้องรูอ้ กี หลาย ปัจจัย เช่น ความเร็ว อัตราการไหล ปริมาณของกระแสน้ำ อืน่ ๆ อีกเยอะแยะ ถึงจะเอา มาสร้างเป็นแบบจำลองได้ ตอนนี้เรารู้อย่างเดียวคือรูปแบบการไหล ซึ่งก็ยังเป็น เพียงการสันนิษฐานทีเ่ ผอิญได้รบั การยอมรับมากทีส่ ดุ เท่านัน้ ยังมีอะไรในมหาสมุทร ทีเ่ รายังไม่รอู้ กี มาก เพราะเรือ่ งใต้ทะเลเป็นเรือ่ งทีศ่ กึ ษายากมาก” ดร.อานนท์สรุป

39


www.climatescience.gov

เราทำอะไรได้มากกว่าการปักธงที่นอร์ธโพล ดูเหมือนว่ามนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเราจะถูกธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ของโลกใบนี้ กลบความสำคัญเสียสิน้ จนดูเหมือนว่าไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลยนอกจากทำลาย วงจรอั น ปกติ ข องธรรมชาติ ด ้ ว ยความขาดเขลารู ้ เ ท่ า ไม่ ถ ึ ง การณ์ ใ นอดี ต และดันทุรงั ในปัจจุบนั แล้วรอรับวาระการลงทัณฑ์ทค่ี บื คลานมาถึงในรูปของภัย จาก พายุซัด น้ำท่วม ดินถล่ม และขาดแคลนน้ำจืดคุณภาพดี โรคร้ายสายพันธุ์ใหม่ ชายฝัง่ ถูกกัดเซาะรุนแรง ฤดูการผิดเพีย้ น ผลิตผลทางการเกษตรตกต่ำ และอีกมาก มายอย่างคาดไม่ถงึ เมื่อน้ำแข็งละลายอันเกิดจากภาวะโลกร้อน ดังนั้นการลดก๊าซเรือนกระจก เป็นคำตอบแรกที่แทบทุกคนนึกถึง ซึ่งสิ่งนี้แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ภารกิจที่ยิ่งใหญ่ ทีจ่ ะต้องรอเพียงประชาคมโลกเท่านัน้ ในการแก้ปญ ั หา เพราะเฟืองใหญ่ยอ่ มอาศัยเฟืองเล็ก ฉันใดก็ฉนั นัน้ เมื่อเราเป็นผู้บริโภคที่สามารถผลักดันให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ออกมามากเกินกว่าทีธ่ รรมชาติจะยอมรับ จนโลกร้อนและน้ำแข็งละลาย เราก็สามารถ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดว้ ยตัวของเราเองเช่นกัน ด้วยวิธรี อ้ ยแปดประการ ทีห่ าได้ทว่ั ไปในทุกวันนี้ สิง่ เดียวทีย่ งั อาจหาได้ยากในวันนีก้ ค็ อื ความตัง้ ใจจริงทีจ่ ะกระทำ ถึงกระนัน้ ก็ตาม การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเดียว ก็ยงั ไม่พอ! คงจะไม่เป็นการมองโลกในแง่รา้ ยเกินไปทีจ่ ะบอกว่า นักวิทยาศาสตร์สว่ นใหญ่ เชื่อว่า แม้ทุกคนทุกประเทศในโลกพยายามอย่างเต็มที่เท่าที่จะเป็นไปได้ด้วย

40


เทคโนโลยีทเ่ี รามี และจะมีในช่วง 50 - 100 ปีขา้ งหน้านี้ เราก็คงไม่สามารถลดระดับ ของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศกลับไปอยูท่ ่ี 280 ส่วนในล้านส่วนเหมือนเมือ่ 100 ปีที่แล้วได้ ทั้งนี้เพราะเรายังต้องใช้พลังงานจากน้ำมันและถ่านหินไปอีกนาน ดังนั้นนอกจากจะช่วยกันลดการกระทำใดๆ ที่จะทำให้ก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์ บ อนไดออกไซด์ มี เ ธน และไนโตรเจนออกไซด์ ในบรรยากาศเพิ ่ ม ขึ ้ น โดยไม่จำเป็นแล้ว เราทุกคนก็ควรจะเริ่มคิดว่าเราจะปรับตัวกันในอนาคตอย่างไร อีกด้วย การปรับตัวของแต่ละคน แต่ละอาชีพ แต่ละบริเวณ ก็ต้องมีการศึกษา และทำความเข้ า ใจ อย่ า งไรก็ ด ี เนื ่ อ งจากการเปลี ่ ย นแปลงภู ม ิ อ ากาศ เป็นกระบวนการทีค่ อ่ ยๆ เกิดขึน้ ทำให้เราสามารถเตรียมตัวและคาดการณ์ลว่ งหน้าได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องตื่นตระหนกจนเกินเหตุ ณ วันนี้ และขณะเดียวกัน ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะปล่อยเลยตามเลยให้ธรรมชาติปรับแก้ตัวเอง เพราะว่าในปัจจุบัน สภาพแวดล้ อ มของโลกถู ก กดดั น อย่ า งรุ น แรงจนไม่ เ หลื อ ช่ อ งให้ ม ั น ปรั บ ตั ว ได้ดว้ ยตัวเองอีกแล้ว คนหรือสังคมทีป่ รับตัวได้นอ้ ย หรือไม่ปรับเลย ก็จะเสียเปรียบ และแข่งขันกับคนอืน่ ได้ไม่ดี

41


บรรณานุกรม “กัดเซาะชายฝัง่ : อนาคตชายฝัง่ ประเทศไทย”. ชมรมนักข่าวสิง่ แวดล้อม สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, เสวนา. 23 มิถนุ ายน 2549. “เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกลาย”. ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทย,เสวนา. 20 เมษายน 2549. www.bbc.co.uk www.ciel.org www.esa.int www.darasart.com www.geocities.com www.ipcc.ch www.ipst.ac.th www.manager.co.th www.nasa.gov www.newsciencetist.com www.skn.ac.th www.tmd.go.th www.unep.org www.wikipedia.org http://web.geol.science.cmu.ac.th http://earthobservatory.nasa.gov/newsroom http://nsidc.org/daac

สัมภาษณ์ รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวทิ ยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อานนท์ สนิ ท วงศ์ ณ อยุ ธ ยา ผอ.ศู น ย์ เ ครื อ ข่ า ยวิ เ คราะห์ ว ิ จ ั ย และฝึ ก อบรม การเปลีย่ นแปลงของโลกแห่งภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มานพ สุขุมวัฒนะ ชาวบ้าน อ. อุ้มผาง จ. ตาก ตั๋น มณีโต พนักงานพิทักษ์ป่าหน่วยพิทักษ์ป่ายอดดอยของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ. เชียงใหม่ ศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา อรุณ อุไร ชาวบ้าน อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่

ภาพนำเรือ่ งจาก www.skn.ac.th

42


ความมัน่ คงทางอาหาร กับสภาพภูมอิ ากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลง ภัยใหม่ทต่ี อ้ งรับมือ ผูเ้ ขียน ปองพล สารสมัคร

43


ท่ า มกลางเปลวแดดอั น ร้ อ นระอุ ใ นเดื อ น เมษายน แม่ใหญ่ลา รัตนพงศ์ ชาวนาวัย 80 ปี ยกมื อ ปาดเหงื ่ อ ที ่ ไ หลย้ อ ยลงมาตาม ใบหน้ า ขณะยื น มองต้ น มะขามอั น สู ง ชลู ด ที่ขึ้นอยู่ข้างๆ บ้าน แม่ใหญ่ลาทำหน้าฉงน เล็กน้อย เมื่อพบว่าต้นมะขามปีนี้ให้ผลน้อย กว่าทีผ่ า่ นมา “มะขามไม่ ข ึ ้ น เลย ไม่ ด กเหมื อ นปี ที่ผ่านมา ช่วงสองสามปีมานี้ให้ผลน้อยมาก ปกติถา้ ไม่ได้ทำนาก็เก็บมะขามไปขายได้วนั ละ 300 – 400 บาท แต่ปนี ไ้ี ด้นอ้ ยมาก ไม่ได้เป็น ที่บ้านยายคนเดียวนะ เป็นกันทั้งหมู่บ้าน ไม่รเู้ ป็นเพราะอะไร หรือเป็นเพราะอากาศมัน แปรปรวนอยู่เรื่อยๆ” แม่ใหญ่ลารำพึงถึง ผลผลิตริมรั้ว จากที่เคยเก็บไปขายได้เงินมา เลี้ยงชีพ

44


ชาวบ้านคนอืน่ ๆ ใน ต. ท่าช้าง กิง่ อ. สว่างวีรวงศ์ จ. อุบลราชธานี ก็เป็น เช่นเดียวกับแม่ใหญ่ลา ที่ต้องพึ่งพารายได้จากการเก็บผลมะขามไปขายในตัวเมือง ในช่วงว่างเว้นจากการทำนา

แม่ใหญ่ลาเล่าว่า ปีนี้รายได้จากการปลูกข้าวไม่ได้ลดลง เพราะน้ำที่ไหลจาก คลองชลประทานเพียงพอต่อการทำนา ข้าวก็ออกรวงตามปกติ แต่รายได้เสริม จากการเก็บผลมะขามไปขายในตลาดกลับลดน้อยลง แม้แม่ใหญ่ลายังไม่สามารถคลายข้อสงสัยว่าทำไมมะขามจึงไม่ออกผลดกในปีน้ี แต่กไ็ ม่อาจปฏิเสธได้เช่นกันว่าในระยะหลังทีผ่ า่ นมา การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ของประเทศไทยส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคเกษตรกรรมและการเจริญเติบโตของพืช ในแต่ละชนิดอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้

นักวิทยาศาสตร์ชภ้ี มู อิ ากาศเปลีย่ นแปลง กระทบต่อระบบนิเวศโลก ปัญหาผลผลิตทีเ่ กิดขึน้ กับต้นมะขามและพืชชนิดอืน่ ๆ นักวิทยาศาสตร์เชือ่ ว่า ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศของโลก โดยเฉพาะในช่วง สองศตวรรษที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากการที่ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ได้เพิม่ สูงขึน้ อย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกขึน้ ทัง้ นี้ นักวิจยั ในต่างประเทศได้วเิ คราะห์ชน้ั น้ำแข็งและปริมาณก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ยอ้ นหลังไป 400,000 ปี พบว่า ลักษณะของชัน้ น้ำแข็งบางลง ซึง่ สัมพันธ์กบั 45


พืชพันธุท์ ต่ี กอยูใ่ นบริเวณชัน้ น้ำแข็งทีน่ ำมาวิเคราะห์ ทีส่ ำคัญในอดีต ชัน้ บรรยากาศ ของโลกโดยทั่วไปไม่เคยมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงเกินกว่า 250 ส่วน ในล้านส่วน (ppm) ขณะทีป่ จั จุบนั มีปริมาณสูงกว่า 360 ส่วนในล้านส่วน

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่คาดการณ์ด้วยว่า หากปริมาณก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ อย่างหนักหน่วง จนทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สงู ถึง 700 – 1,000 ส่วนใน ล้านส่วน โลกก็จะถึงจุดอันตรายมาก เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะดูดซับ ความร้อนเข้ามาในโลก ผศ.ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย รามคำแหง กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงสถิตพิ บว่า หากปริมาณก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์เพิ่มขึ้นถึง 550 ส่วนในล้านส่วน จะทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส และหากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นถึง 1,000 ส่วนใน ล้านส่วน อุณหภูมขิ องโลกจะเพิม่ สูงถึง 5.8 องศาเซลเซียส ซึง่ จะส่งผลกระทบต่อระบบ ภูมอิ ากาศของโลกอย่างมากมายมหาศาล

46


นักวิชาการท่านนีอ้ ธิบายเพิม่ เติมว่า ระบบภูมอิ ากาศของโลกประกอบไปด้วย บรรยากาศ พืน้ น้ำ พืน้ ดิน สิง่ มีชวี ติ โดยปกติองค์ประกอบเหล่านีจ้ ะได้รบั พลังงาน ความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ไม่เท่ากัน หลังจากนั้นจะคายความร้อนและถ่ายเท ความร้อน เช่น ระบบลม และวัฏจักรของน้ำ เป็นต้น ซึง่ กระบวนถ่ายเทความร้อนนีเ้ อง ทีท่ ำให้เกิดฤดูกาล ดังนัน้ หากปัจจัยอย่างใดอย่างหนึง่ เกิดการเปลีย่ นแปลง ลักษณะ ของฤดูกาลก็จะพลอยเปลีย่ นแปลงตามไปด้วย ซึง่ ในทีส่ ดุ ย่อมส่งผลกระทบโดยตรง ต่อระบบนิเวศ รวมไปถึงการผลิตในภาคเกษตร ซึ่งจากการศึกษาของสถาบันวิจัย ข้าวนานาชาติ (IRRI) พบว่า พืชมีการตอบสนองต่ออุณหภูมทิ เ่ี ปลีย่ นไป โดยเฉพาะ ละอองเกสรทีม่ คี วามอ่อนไหวต่อสภาพอากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลงมากทีส่ ดุ “ในธรรมชาติหากพืชออกดอกติดเมล็ดซึ่งมีเงือ่ นไขขึน้ อยูก่ บั สภาพภูมอิ ากาศ นัน่ หมายถึงผลผลิตทางการเกษตรเหล่านีถ้ กู ควบคุมด้วยสภาพภูมอิ ากาศ แม้ในปัจจุบนั จะมีเทคโนโลยีจำนวนมากทีส่ ามารถควบคุมการออกดอกออกผลของพืชให้ตรงตามฤดูกาล แต่เมือ่ เปรียบเทียบกับพืชพันธุท์ ง้ั หมด ก็ถอื ว่ายังเป็นสัดส่วนทีน่ อ้ ยมาก” ผลกระทบจากโลกร้อน นอกจากจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นแล้ว ยังมีผลต่อการเปลีย่ นแปลงของปริมาณน้ำฝนและรูปแบบการตกของฝนในภูมภิ าคต่างๆ ด้วย ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์โดยตรงกับผลผลิตทางการเกษตร กล่าวคือ หากฝนตกน้อยในช่วงแรกของฤดูกาล ก็อาจทำให้พืชเหี่ยวเฉา หรือหากฝนไม่ตก ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็อาจเกิดไฟป่าติดตามมาในภายหลัง ในทางตรงกันข้าม หากฝนตกมากจนเกินไป ก็จะเกิดน้ำท่วม ทำให้ผลผลิตเสียหาย เหล่านีเ้ ป็นต้น

เกษตรกรไทยรับภาวะเสี่ยง ผศ.ดร.กัณฑรียร์ ะบุผลการศึกษาผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ต่อผลผลิตทางการเกษตรของไทย พบว่าหากอุณหภูมอิ ยูท่ ร่ี ะดับ 32 องศาเซลเซียส ในช่วงติดเมล็ด ข้าวพันธุบ์ างเขนจะมีเมล็ดทีส่ มบูรณ์เกิน 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ถา้ อุณหภูมิ เกิดสูงถึงระดับที่ 34 องศาเซลเซียส อัตราความสมบูรณ์ของเมล็ดจะลดลงเหลือ 40 เปอร์เซ็นต์ และหากเพิม่ มากถึง 36 องศาเซลเซียส ความสมบูรณ์ของเมล็ดก็จะลดลง อย่างมาก

47


นอกจากข้าวที่ถือเป็นผลผลิตที่สำคัญของประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบแล้ว พืชชนิดอืน่ ๆ อาทิ พืชจำพวกถัว่ และมะนาว ก็ลว้ นได้รบั ผลกระทบจากระดับอุณหภูมิ ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ซึ่งพบว่า หากอุณหภูมิในช่วงแตกละอองเกสร เพิม่ สูงขึน้ เกินกว่า 32 องศาเซลเซียส พืชตระกูลถัว่ จะมีผลผลิตลดลง เช่นเดียวกับ มะนาว ซึง่ ปกติจะออกผลดีในช่วงอุณหภูมทิ ต่ี ำ่ ผศ.ดร.กัณฑรียอ์ ธิบายเพิม่ เติมด้วยว่า พืชโดยทัว่ ไปจะให้ผลผลิตได้ดใี นระดับ อุณหภูมิ 20 – 27 องศาเซลเซียส ดังนัน้ หากอุณหภูมเิ พิม่ ขึน้ หรือลดลงมากกว่าระดับ ดังกล่าว ผลผลิตทางการเกษตรก็อาจจะลดลงตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ ในเขตร้อน ซึ่งโดยปกติจะมีอุณหภูมิสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงมีความเสี่ยงสูงกว่าในเขตอบอุ่น เพราะฉะนั้นหากอุณหภูมิในช่วงออกดอกติดเมล็ดสูงขึ้น 2 – 3 องศาเซลเซียส ก็คาดว่าผลผลิตต่อไร่นา่ ทีจ่ ะลดลง ขณะเดียวกันทางด้านศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วจิ ยั และฝึกอบรมการเปลีย่ นแปลง ของโลกแห่งภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังศึกษา ถึงผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ จากสภาพอากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลงต่อประเทศไทย โดยในเบือ้ งต้น

48


ได้ศกึ ษาในพืน้ ทีภ่ าคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้โครงการ Assessment on Impact and Adaptation to Climate Change in Multiple Regions and Multiple Sectors (AIACC) โดยโครงการดังกล่าวเป็นการศึกษาถึงการเปลีย่ นแปลง สภาพภูมอิ ากาศ ผลกระทบและแนวทางการปรับตัวในพืน้ ทีต่ า่ งๆ และในประเด็นหัวข้อ ต่างๆ ในพืน้ ทีท่ ก่ี ระจายไปทัว่ โลกจำนวน 24 แห่ง ซึง่ ทางศูนย์เครือข่ายฯ ทำหน้าที่ ศึกษาในพืน้ ทีข่ องประเทศในเขตลุม่ แม่นำ้ โขงตอนล่าง และเป็นการศึกษาถึงผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อทรัพยากรน้ำและภาคเกษตรในพื้นที่ ทีอ่ าศัยน้ำฝน ตลอดจนการประเมินภาวะเสีย่ งต่อความเดือดร้อนและแนวทางปรับตัว ศุภกร ชินวรรโณ ผูป้ ระสานงานเครือข่ายฯ เปิดเผยว่า การศึกษาดังกล่าวเริม่ ต้น จากการจำลองสภาพภูมิอากาศโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งพัฒนาขึ้น โดยศูนย์วิจัยทางด้านบรรยากาศวิทยา ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นการจำลอง สภาพภูมอิ ากาศในพืน้ ทีเ่ อเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ละเอียดถึงระดับ 0.1 องศาเซลเซียส หรือประมาณ 10 กิโลเมตร หลังจากนั้นใช้ข้อมูลจำเพาะของภูมิภาคเป็นฐาน ในการคำนวณ และกำหนดให้แบบจำลองประมวลผลทุกๆ 1 วัน เป็นเวลา 3,650 วัน หรื อ ประมาณ 10 ปี ภายใต้ เ งื ่ อ นไขที ่ ก ำหนดระดั บ ความเข้ ม ข้ น ของก๊ า ซ คาร์บอนไดออกไซด์ไว้ 3 ระดับ คือ 360 ส่วนในล้านส่วน, 540 ส่วนในล้านส่วน, และ 720 ส่ ว นในล้ า นส่ ว น อี ก ทั ้ ง พิ จ ารณาด้ ว ยว่ า เหตุ ก ารณ์ น ี ้ จ ะเกิ ด ขึ ้ น เมื ่ อ ใด ก็จะต้องเทียบเคียงกับแนวโน้มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของสังคมโลกโดย รวมด้วย ซึ่งจะเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ที่แตกต่างกัน จากผลการคำนวณโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เมื่อมองภาพรวม ของการเปลีย่ นแปลงภูมอิ ากาศเฉลีย่ และความแปรปรวนของภูมอิ ากาศโดยรวมแล้ว พบว่าระดับอุณหภูมิในประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และเห็นได้ชัดเจน ในสภาพภูมอิ ากาศเมือ่ ระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชัน้ บรรยากาศเพิม่ สูงขึน้ ถึงระดับ 720 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 – 2.5 องศาเซลเซียสในตลอดช่วงปี อย่างไรก็ดี หากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีความเข้มข้นที่ระดับ 540 ส่วนในล้านส่วน การเปลี่ยนแปลงของระดับอุณหภูมิ โดยเฉลีย่ จะมีนอ้ ยมากเมือ่ เทียบกับช่วงปีฐาน

49


สภาวะการณ์อีกอย่าง หนึ่งที่สามารถบ่งชี้ถึงกรณีที่ ภู ม ิ ภ าคนี ้ ร ้ อ นขึ ้ น ในอนาคต คือจำนวนวันที่ร้อนจัด หรื อ วั น ที ่ ม ี อ ุ ณ หภู ม ิ ส ู ง เกิ น กว่า 33 องศาเซลเซียส โดย พบว่าสภาพภูมอิ ากาศในอนาคต ภายใต้ ส ถานการณ์ เ มื ่ อ ก๊ า ซ คาร์บอนไดออกไซด์เพิม่ ขึน้ เป็น 720 ส่วนในล้านส่วน จำนวนวันทีร่ อ้ นจัดจะมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น กระนั้นยังพบว่าบางจังหวัดมีจำนวนวันที่ร้อนจัดเพิ่มขึ้น แต่บางจังหวัด ก็มีจำนวนวันที่ร้อนจัดลดลง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอีกประการหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คื อ การเปลี ่ ย นแปลงของสภาพฝน โดยผลจากการคำนวณแสดงให้ เ ห็ น ว่ า สภาพภูมิอากาศภายใต้สถานการณ์ที่ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ เพิม่ ขึน้ เป็น 540 ส่วนในล้านส่วน ภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะอย่างยิง่ ฝัง่ ตะวันตก มีแนวโน้มที่ฝนจะลดลง ส่วนภาคอีสานมีแนวโน้มที่ฝนจะมากขึ้นบ้างเล็กน้อย ในตอนล่างของภาคและมากขึ้นเกือบทุกพื้นที่ในภาคอีสานในช่วงปลายศตวรรษ เมื่อระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นแตะระดับ 720 ส่วนในล้านส่วน โดยทีร่ ะดับเดียวกันนี้ ปริมาณฝนในภาคเหนือจะกลับคืนสูส่ ภาวะปัจจุบนั ศุภกรชีว้ า่ ผลการศึกษาการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศของประเทศไทยในขัน้ ต้น ครั้งนี้พบว่า สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยภายใต้สถานการณ์จำลองในอนาคต จะไม่ร้อนหรือเย็นไปกว่าเดิมมากนัก หากแต่ฤดูร้อนและภาวะแห้งแล้งจะยาวนาน กว่าเดิม ขณะเดียวกัน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา จากสถาบันเดียวกัน ยังได้ศกึ ษาถึงผลกระทบของการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศต่อปริมาณน้ำไหลเข้า อ่างเก็บน้ำเขือ่ นภูมพิ ลและเขือ่ นสิรกิ ติ ์ิ โดยศึกษาในพืน้ ทีล่ มุ่ น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อทรัพยากรน้ำของประเทศไทย เนื่องจากเป็นต้นน้ำ ที่สำคัญของแม่น้ำหลายสายสำคัญของประเทศ ซึ่งหล่อเลี้ยงชุมชนจำนวนมาก

50


ตลอดจนพื ้ น ที ่ ท ำการเกษตรต่ า งๆ และยั ง มี เ ขื ่ อ นผลิ ต กระแสไฟฟ้ า พลั ง น้ ำ ทีส่ ำคัญหลายเขือ่ นในพืน้ ทีน่ ้ี ดังนัน้ การเปลีย่ นแปลงภูมอิ ากาศในอนาคตอาจจะมีผล ต่อทรัพยากรของลุม่ น้ำต่างๆ ในภาคเหนือ ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้สถานการณ์จำลองเมือ่ ปริมาณน้ำฝนในช่วงกลาง ศตวรรษในบริเวณภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะฝัง่ ตะวันตกลดน้อยลง ก็อาจส่งผลให้ ปริมาณน้ำทีไ่ หลเข้าสูเ่ ขือ่ นภูมพิ ลลดลงด้วย ทีส่ ำคัญ ปริมาณน้ำทีไ่ หลเข้าสูเ่ ขือ่ นภูมพิ ลในอนาคตอาจเกิดการเปลีย่ นแปลง อย่างเห็นได้ชดั กล่าวคือน้ำทีไ่ หลเข้าสูเ่ ขือ่ นภูมพิ ลในบางช่วงปีอาจลดลงถึงประมาณ 1 ใน 3 ของปัจจุบนั ซึง่ จะส่งผลกระทบตามมาในอีกหลายรูปแบบ ทัง้ นีเ้ พราะเขือ่ น ภูมิพลเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สามารถกักเก็บน้ำได้ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร อำนวยประโยชน์ในด้านชลประทานแก่พื้นที่ถึง 1,500,000 ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์ ในการเพาะปลูกในพื้นที่ จ. ตาก กำแพงเพชร และอำนวยประโยชน์แก่ลุ่มน้ำ เจ้าพระยาอีกประมาณ 7,500,000 ไร่ในฤดูฝน และประมาณ 3,000,000 ไร่ในฤดูแล้ง ซึ่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยานี้ มีพื้นที่ทางการเกษตรรวม 3,600,000 ไร่ และมีจำนวน ฟาร์มทั้งสิ้นประมาณ 1,100 แห่ง ดังนั้น การที่ปริมาณน้ำในเขื่อนลดน้อยลง ย่อมส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ และลุ่มน้ำเจ้าพระยา กระนั้นก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการไหล ของน้ำเข้าสู่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนนอกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ การเปลีย่ นแปลงสภาพของพืชคลุมดิน และสภาพการใช้ทด่ี นิ ในพืน้ ทีร่ บั น้ำ ซึง่ อาจ เปลีย่ นแปลงมากในอนาคต ภายใต้สภาพสิง่ แวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ทีอ่ าจจะ เปลีย่ นแปลงไปอย่างมากในอนาคตระยะยาว โดยการเปลีย่ นแปลงดังกล่าวอาจก่อ ให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำในพืน้ ทีศ่ กึ ษาทีร่ นุ แรงขึน้ กว่าผลทีไ่ ด้จากการศึกษา ในครัง้ นี้ ทัง้ ในแง่ผลดีหรือผลร้าย อย่างไรก็ตาม แม้วา่ ผลการศึกษาเหล่านีจ้ ะให้ผลดูเหมือนว่าการเปลีย่ นแปลง ภูมิอากาศในอนาคตจะส่งผลดีต่อการเกษตรในพื้นที่ศึกษา แต่ในขณะเดียวกัน ผลกระทบในเชิงพิบตั ภิ ยั ทางธรรมชาติอนั สืบเนือ่ งมาจากภาวะโลกร้อน ก็อาจจะเพิม่ สูง ด้วยเช่นกัน ซึง่ เรือ่ งนีถ้ อื เป็นประเด็นสำคัญทีต่ อ้ งคำนึงถึงด้วย

51


ผลการศึ ก ษาและคำนวณผลผลิ ต ของพื ช ต่ า งๆ ในสภาพภู ม ิ อ ากาศ ทีแ่ ตกต่างกันภายใต้สถานการณ์จำลอง ได้ขอ้ สรุปขัน้ ต้นแล้วดังนี้ ข้าว ผลผลิตข้าวในพืน้ ทีต่ า่ งๆ โดยภาพรวมของประเทศไทยน่าจะเพิม่ สูงขึน้ ภายใต้สภาพภูมิอากาศตามสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น โดยตัวอย่างในส่วน ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในทุ่งกุลาร้องไห้นั้น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มีผลกระทบในทางบวก ซึ่งทำให้ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศสูงขึ้น 1.5 – 2.0 เท่า ของปัจจุบัน จะทำให้พืชปรุงอาหารได้ดีขึ้น แม้อุณหภูมิอากาศโดยเฉลี่ยจะสูงขึ้น แต่ปริมาณน้ำฝนก็จะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ทำให้ไม่กระทบต่อการเจริญเติบโต และการสังเคราะห์แสงของข้าว และข้าวไม่ขาดน้ำตลอดช่วงฤดูการเพาะปลูก ภายใต้เงือ่ นไขของการปลูกข้าวนาหว่านวันที่ 1 มิถนุ ายน ขณะเดียวกันก็ไม่ถงึ ขัน้ เกิดน้ำท่วมขังจนทำให้ขา้ วเสียหาย ข้าวโพด ในระยะออกดอก มีผลทำให้วนั ออกดอกเร็วขึน้ 1 - 2 วัน และอายุ การเก็ บ เกี ่ ย วเร็ ว ขึ ้ น 12 - 25 วั น โดยผลผลิ ต จะลดลงที ่ ร ะดั บ ของก๊ า ซ คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มเป็น 1.5 เท่าของปัจจุบัน และกลับสูงขึ้นที่ระดับ 2 เท่ า ของปั จ จุ บ ั น โดยที ่ ก ารใส่ ป ุ ๋ ย สามารถให้ ผ ลผลิ ต เพิ ่ ม ขึ ้ น เช่ น เดี ย วกั บ น้ำหนักมวลชีวภาพ อ้ อ ย น้ ำ หนั ก มวลชี ว ภาพในระยะใบที ่ 14 เพิ ่ ม ขึ ้ น ในสภาวะที ่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ในขณะที่การพัฒนาการใช้ระยะเวลาสั้นลง ยกเว้นปีที่ฝนตกชุก นอกจากนี้ น้ำหนักต้นสดและผลผลิตน้ำตาลจะมีแนวโน้ม สูงขึ้นอย่างเด่นชัดในปีที่ฝนตกน้อย ภายใต้สภาวะที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพิม่ ขึน้ เป็น 2 เท่า มันสำปะหลัง น้ำหนักหัวสดมีแนวโน้มลดลงอย่างเด่นชัดในปีที่มีฝนตก ปานกลางและฝนตกน้อย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าผลผลิตกลับเพิ่มขึ้นในปีที่ฝนตกชุก ขณะที่การแตกกิ่งแรกใช้เวลาสั้นลงเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสภาวะการเพิ่มขึ้น ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับสภาวะปกติ ส่วนค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวจะลดลง เมือ่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิม่ ขึน้ ยกเว้นปีทฝ่ี นตกน้อย

ศุภกรยกตัวอย่างในพืน้ ทีภ่ าคอีสานว่า ในปลายศตวรรษนี้ ภาคอีสานจะมีระยะ เวลาของฤดูฝนเท่าเดิม แต่ปริมาณน้ำฝนเพิม่ สูงขึน้ ซึง่ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วม

52


ในเขตลุม่ น้ำชีครอบคลุมพืน้ ที่ 10 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา ขอนแก่น เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร ยโสธร และ อุบลราชธานี โดยมีพน้ื ทีพ่ ชื ไร่ 23.5 เปอร์เซ็นต์ ป่าไม้ 22.2 เปอร์เซ็นต์ ทีล่ มุ่ และทุง่ หญ้า ธรรมชาติ 2.7 เปอร์เซ็นต์ พืชสวนและไม้ยืนต้น 0.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนลุ่มน้ำมูล ที่ครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีษะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร และอำนาจเจริญ ก็คาดว่าจะ ประสบปัญหาอุทกภัยรุนแรงขึน้ กว่าเดิมเช่นกัน โดยส่วนใหญ่เป็นพืน้ ทีน่ าข้าว คิดเป็น 53.7 เปอร์เซ็นต์ และเป็นพืน้ ทีป่ า่ ไม้ 17.7 เปอร์เซ็นต์ “ดังนั้นผลผลิตรายปีที่เพิ่มขึ้นบ้างจากสภาพภูมิอากาศ อาจไม่คุ้มกับผลเสีย จากภัยธรรมชาติทเ่ี พิม่ สูงขึน้ ” ศุภกรเน้นย้ำ

แนวทางใหม่รับมือภัยโลกร้อน นับตัง้ แต่ปี 2543 เป็นต้นมา ประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก นับหมืน่ ล้านบาท สำหรับชดเชยความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ กับภาคเกษตรกรรม ขณะทีข่ อ้ มูลจากกรมอุตนุ ยิ มวิทยาระบุวา่ นับตัง้ แต่ปี 2495 – 2545 พบว่า อุณหภูมิต่ำสุดและสูงสุดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นหากไม่เร่งศึกษาผลกระทบ ทีจ่ ะตามมา รวมทัง้ หาแนวทางป้องกันและรับมือความเสียหายในอนาคต ก็อาจรุนแรง ถึงขัน้ ประเมินค่าไม่ได้ ผศ.ดร.กัณฑรียเ์ สนอแนวทางรับมือปัญหาว่า ควรมีการปรับเปลีย่ นสายพันธุ์ ทีใ่ ช้ในการผลิตภาคเกษตรให้มลี กั ษณะคงทนต่อสภาพแวดล้อมทีเ่ ปลีย่ นไป การเปลีย่ น วิธีการปลูกพืชให้เหมาะสมกับฤดูกาล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มี ประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนรักษาความ หลากหลายทางชีวภาพ “เราต้องมีความหลากหลายของพันธุ์ข้าวชนิดต่างๆ ไว้ โดยเฉพาะพันธุ์ป่า เพื่อเอาลักษณะเด่นที่ทนต่อสภาพภูมิอากาศมาผสมจนได้สายพันธุ์ที่ต้องการ อันที่จริงพันธุ์ป่าที่ใช้ในทางการเกษตรมีเยอะ ส่วนใหญ่ก็ได้คัดยีนมาเรียบร้อยแล้ว โดยพืชพวกนีต้ อ้ งการการดูแลเป็นพิเศษ เช่น ให้นำ้ ให้ปยุ๋ แต่เราต้องการยีนบางอย่าง ที่ต้านทานความรุนแรงของสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันพันธุ์เหล่านี้อาจจะหายไป 53


ทีส่ ำคัญคือ เราต้องการยีนจากพันธุป์ า่ เพือ่ รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ” จากการคาดการณ์ของ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ระบุว่า ประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มากที่สุด คือประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากขาดการพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับ ภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น ในความเห็นของ ผศ.ดร.กัณฑรีย์จึงคิดว่าสิ่งที่ประเทศไทย ต้องเร่งดำเนินการ คือจัดตั้งศูนย์วิจัยเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติในอนาคต นั่นเพราะเรายังไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับ พื ช พรรณและสั ต ว์ อ ี ก นั บ หลายพั น ชนิ ด ว่ า มี ก ารตอบสนองต่ อ อุ ณ หภู ม ิ ท ี ่ จ ะ เปลีย่ นแปลงอย่างไร อย่างไรก็ดี การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ถึงการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบ ทางด้านต่างๆ เหล่านี้ เป็นเพียงผลกระทบในลำดับแรกเท่านั้น โดยศุภกรเห็นว่า แนวทางการรับมือผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ควรอยู่บนพื้นฐาน การศึกษาในวงกว้าง โดยประเด็นที่สำคัญคือ ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อเนื่อง ในลำดับที่สองหรือที่สาม ซึ่งเป็นผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคมอันเนื่อง มาจากผลกระทบทางกายภาพหรือผลกระทบในลำดับที่หนึ่งด้วย และคำนึงถึง สถานที ่ ท ี ่ ไ ด้ ร ั บ ผลกระทบ เนื ่ อ งจากภาวะความเดื อ ดร้ อ นจากผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่นั้น ก็มีความแตกต่างกันไป ซึ่งการวางนโยบายเพื่อเตรียมการรับมือจึงควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับพื้นที่ และกลุม่ สังคมทีต่ กอยูใ่ นภาวะเสีย่ ง รวมไปถึงความสามารถในการรับมือ ด้ ว ยเหตุ น ี ้ ภาวะความเสี ่ ย งต่ อ ความเดือ ดร้ อ นจากผลกระทบโลกร้ อ น จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผลกระทบเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับขีด ความสามารถในการรับมือกับผลกระทบนัน้ ด้วย โดยในการวางนโยบายเพือ่ เตรียมการ รับมือ จึงควรมุง่ ไปทีก่ ลุม่ สังคมหรือพืน้ ทีท่ ต่ี กอยูใ่ นภาวะความเสีย่ งสูงก่อน ศุภกรระบุวา่ การเตรียมการวางแผนนโยบายในอนาคตควรต้องอยูบ่ นพืน้ ฐาน การศึกษาถึงภาวะเสีย่ งต่อความเดือดร้อนและขีดความสามารถในการรับมือในระดับต่างๆ กัน เช่น ระดับครัวเรือน ระดับชุมชน ระดับจังหวัด และระดับชาติ เป็นต้น ส่วนการ ดำเนินการในระดับท้องถิน่ ก็ตอ้ งนำผูท้ ม่ี สี ว่ นเกีย่ วข้องเข้ามามีสว่ นร่วมในการกำหนด นโยบายด้วย

54


“นโยบายทางด้านการปรับตัวนัน้ หลายประเด็นต้องดำเนินการในระดับท้องถิน่ ระดับชุมชน หรือแม้กระทั่งระดับครัวเรือน และเพื่อให้ตอบสนองต่อสภาพเงื่อนไข ที่แตกต่างกัน นโยบายควรมีความหลากหลายเช่นเดียวกัน เพื่อรับมือหรือปรับตัว เข้ากับผลกระทบเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ ” นอกจากนี้ ศุภกรเสนอว่าการวางนโยบายเพื่อรับมือในอนาคต ควรตั้งอยู่ บนสถานการณ์จำลองที่หลากหลาย เพื่อให้เห็นถึงขอบเขตของสิ่งที่อาจเกิดขึ้น ในอนาคต เนื่องจากการทำนายถึงผลกระทบในอนาคตเป็นการทำนายถึงสภาพ ภูมิอากาศในอีกหลายสิบปีหรือกระทั่งร้อยปี การระบุถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่าง เฉพาะเจาะจง จึงทำได้ยาก อีกทัง้ มีความไม่แน่นอนอยูส่ งู แม้ว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยจะยังไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมอิ ากาศทีช่ ดั เจนมากนัก โดยเฉพาะภาคเกษตร แต่ผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ จาก ภาวะแห้งแล้งอันยาวนาน และฝนตกหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายวัน คงจะเป็น ภาพสะท้อนได้ดถี งึ สภาพปัญหาทีเ่ กิดขึน้ จากสภาพอากาศทีไ่ ม่ปกติ และทำให้ผลผลิต ทางเกษตรได้ ร ั บ ความเสี ย หายไปจำนวนมาก จนส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ดังนั้นการวางแผนนโยบายเพื่อรับมือกับปัญหา ดังกล่าว จึงเป็นเรือ่ งเร่งด่วนทีต่ อ้ งรีบดำเนินการ เพราะยังมีเรื่องที่ต้องศึกษาอีกมาก และต้อง ศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนโยบายหรือ แนวทางบางอย่างจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานาน พอสมควรในการเตรียมการ เช่นพันธุ์พืชใหม่ ทีเ่ หมาะกับสภาพภูมอิ ากาศในอนาคต เป็นต้น ...หากไม่ เ ร่ ง เตรี ย มการรั บ มื อ ในวั น นี ้ บางทีในอนาคตอาจเข้ากับสุภาษิตที่ว่า “วัวหาย แล้วล้อมคอก” ก็เป็นได้ และแน่นอนว่าผูท้ จ่ี ะได้รบั ผลกระทบมากที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นเกษตรกรไทย ซึง่ เป็นกระดูกสันหลังของชาตินน่ั เอง ภาพจาก มูลนิธโิ ลกสีเขียว

55


บรรณานุกรม เอกสารการเปลีย่ นแปลงภูมอิ ากาศกับอนาคตฐานการผลิตการเกษตร, ศุภกร ชินวรรโณ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสวนา “สภาพภูมอิ ากาศเปลีย่ นแปลงกับผลกระทบต่อภาคเกษตร: ภัยใหม่ทต่ี อ้ งรับมือ”. ชมรมนักข่าวสิง่ แวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, กรกฎาคม 2549.

สัมภาษณ์ ลา รัตนพงศ์ ชาวบ้าน ต. ท่าช้าง กิง่ อ. สว่างวีรวงศ์ จ. อุบลราชธานี ศุภกร ชินวรรโณ นักวิจยั อิสระ ศูนย์เครือข่ายวิเคราะห์วจิ ยั และฝึกอบรมการเปลีย่ นแปลง ของโลกแห่งภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ภาพนำเรือ่ งจาก มูลนิธโิ ลกสีเขียว

56


กัดเซาะชายฝัง่ เมือ่ ทะเลจะกลืนแผ่นดิน ผูเ้ ขียน บุษกร อังคณิต

57


“สำหรับเราแล้ว การกัดเซาะเปรียบเสมือน มะเร็งร้ายทีค่ อ่ ยกัดกร่อนชีวติ เราไปทีละน้อย โดยทีไ่ ม่มใี ครเหลียวแล หรือเข้ามาให้ความ ช่วยเหลือ” นี่คือคำพูดเจือความสะเทือนใจ จากปาก สมร เข่งสมุทร หญิงแกร่งที่รับ บทหนักเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านขุนสมุทรจีน ต. แหลมฟ้ า ผ่ า อ. พระสมุ ท รเจดี ย ์ จ. สมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เจอกับปัญหา การกัดเซาะรุนแรงทีส่ ดุ ในเวลานี้ การกัดเซาะชายฝัง่ ดูจะเป็นเรือ่ งไกลตัว สำหรั บ คนที ่ ไ ม่ ไ ด้ ม ี ว ิ ถ ี ช ี ว ิ ต อยู ่ ก ั บ ทะเล แต่สำหรับคนทีใ่ ช้ชวี ติ อยูก่ บั ทะเลนัน้ พวกเขา ได้สัมผัสถึงความน่ากลัวจากภัยธรรมชาติ ในรูปแบบนี้มานานแล้ว และหากใครคิดว่า การกัดเซาะน่าจะส่งผลกระทบในวงจำกัด เฉพาะพื้นที่ชายฝั่งเท่านั้น ก็อาจจะไม่ใช่ เรือ่ งจริงเสมอไป

58


สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทย กรมทรั พ ยากรทางทะเลและชายฝั ่ ง กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อม ให้นยิ ามของการกัดเซาะชายฝัง่ ไว้วา่ เป็นการลดลงของพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทั ้ ง ในแนวราบและแนวตั ้ ง ฉาก โดยเป็ น การลดลงที ่ ถ าวรเท่ า นั ้ น จึ ง จะถื อ ว่ า เป็นการกัดเซาะ เพราะหากมีการกัดเซาะในฤดูหนึ่งและอีกฤดูหนึ่งมีตะกอน กลับมาเติมเต็ม ก็จะเป็นพลวัตรของธรรมชาติ ไม่ถอื ว่าบริเวณนัน้ เกิดการกัดเซาะ การเปลี่ยนแปลงแบบพลวัตรของชายฝั่งทะเลเช่นนี้ ทำให้เป็นเรื่องยาก ที่จะกำหนดขอบเขตชายฝั่งทะเลที่แน่นอนตายตัวได้ แต่ที่ชัดเจนคือชายฝั่งทะเล มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่า มากมายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และนิเวศวิทยา เช่น ป่าชายเลน ชายหาด ปะการัง สัตว์นำ้ ชายฝัง่ และทีอ่ ยูอ่ าศัย ด้ า นข้ อ มู ล จากกรมทรั พ ยากรธรณี กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม ระบุว่า ชายฝั่งทะเลไทยซึ่งมีความยาว 2,600 กิโลเมตร ครอบคลุม พืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเล 23 จังหวัด ปัจจุบนั ชายฝัง่ เหล่านีก้ ำลังเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะ เกือบทุกพื้นที่ ส่วนความรุนแรงก็จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะทางกายภาพ ของพื้นที่นั้นๆ ปัจจุบนั พบว่าการกัดเซาะชายฝัง่ ทะเลด้านอ่าวไทย เริม่ ตัง้ แต่ชายฝัง่ ทะเลของ จ. ตราด ถึงบริเวณชายแดนภาคใต้ของ จ. นราธิวาส ถูกกัดเซาะรุนแรงมากกว่า 5 เมตรต่อปี จนถึง 20 เมตรต่อปี เป็นความยาวประมาณ 485 กิโลเมตร คิดเป็น 17 เปอร์ เ ซ็ น ต์ ข องพื ้ น ที ่ ช ายฝั ่ ง ทั ้ ง ประเทศ ขณะที ่ ช ายฝั ่ ง ด้ า นทะเลอั น ดามั น ซึง่ มีความยาวของชายฝัง่ 1,014 กิโลเมตร พบว่ามีการกัดเซาะทีร่ นุ แรงประมาณ 114 กิโลเมตร คิดเป็น 4 เปอร์เซ็นต์ของพืน้ ทีช่ ายฝัง่ เลยทีเดียว ดังรายละเอียดตามนี้ ชายฝัง่ อ่าวไทยตอนบน ชายฝั ่ ง อ่ า วไทยตอนบนประกอบด้ ว ย จ. ฉะเชิ ง เทรา สมุ ท รปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม มีแนวชายฝัง่ ยาว 65.5 กิโลเมตร พืน้ ที่ ทีส่ ญ ู เสียจากการถูกกัดเซาะชายฝัง่ อย่างรุนแรง 11,188 ไร่ มูลค่าทีด่ นิ ทีส่ ญ ู เสียไร่ละ 1 ล้านบาท โดยจุดวิกฤตคือ ชายฝัง่ จ. สมุทรปราการ ทีส่ ถานการณ์การกัดเซาะ

59


จัดว่ารุนแรงที่สุดในประเทศ ทั้งนี้ในช่วงปี 2510 – 2548 พื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย ตอนบนถูกกัดเซาะหายไปแล้วกว่า 11,104 ไร่ และข้อมูลจากศูนย์ศึกษาพิบัติภัย และข้อสนเทศเชิงพื้นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าพื้นที่ชายฝั่งกำลังจะถูก กัดเซาะอีกประมาณ 36,657 ไร่ในอีก 20 ปีขา้ งหน้า ชายฝัง่ อ่าวไทยด้านตะวันออก ชายฝัง่ อ่าวไทยด้านตะวันออกประกอบด้วย จ. ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ต้องสูญเสียพื้นที่จากการถูกกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงไปแล้วประมาณ 2,394 ไร่ โดยเฉพาะชายฝั่งทะเล จ. ระยอง พบว่ามีการกัดเซาะขั้นรุนแรงทั้ง 2 ด้าน ของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด คือด้านตะวันตกบริเวณชายฝั่งบ้านหนองแฟบ และด้านตะวันออกบริเวณหาดทรายทอง ด้วยอัตราการกัดเซาะประมาณ 5 - 10 เมตรต่อปี และอีกจุดทีม่ คี วามรุนแรงไม่ตา่ งกัน คือบริเวณทางทิศใต้ของบ้านกะแมว จนถึงแหลมหญ้า พบอัตราการกัดเซาะ 5 เมตรต่อปี ทำให้ปา่ ชายเลนล้มตายเป็นระยะ ทางยาวประมาณ 16 กิโลเมตร ชายฝัง่ อ่าวไทยด้านตะวันตกส่วนบน ชายฝัง่ อ่าวไทยด้านตะวันตกส่วนบนประกอบด้วย จ. เพชรบุรี ประจวบคีรขี นั ธ์ ชุมพร และสุราษฏร์ธานี มีแนวชายฝัง่ เป็นแนวยาว 585 กิโลเมตร พบการกัดเซาะ ทีร่ นุ แรงโดยเริม่ ทีด่ า้ นทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี มีอตั ราการ กัดเซาะ 7.3 เมตรต่อปี ชายฝัง่ ทะเลทางทิศใต้ของปากแม่นำ้ ปราณบุรี จ. ประจวบ คีรขี นั ธ์ เกิดการกัดเซาะยาวตัง้ แต่ทา่ เรือบ้านปากน้ำปราณบุรลี งมา โดยในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา อัตราการกัดเซาะอยู่ที่ประมาณ 8 เมตรต่อปี ส่วนที่สุราษฏร์ธานี พบการกัดเซาะทีบ่ า้ นพอด บ้านปากคลองคราม อ. ดอนสัก อัตราการกัดเซาะประมาณ 16 เมตรต่อปี ชายฝัง่ ทะเลด้านตะวันตกส่วนล่าง จ. สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส คือจังหวัดทีม่ ี ชายฝั่งติดกับทะเลด้านตะวันตกส่วนล่าง และกำลังเผชิญกับการกัดเซาะ ซึ่ง

60


จ. นครศรีธรรมราชถือว่ามีการกัดเซาะกระจายตัวเป็นบริเวณกว้าง เริม่ ตัง้ แต่บา้ น เคียนดำ บ้านบ่อนนท์ อ. ท่าศาลา บ้านแหลมตะลุมพุก บ้านบางบ่อ อ. ปากพนัง บ้านเกาะทัง บ้านหน้าศาล อ. ปากพนังและหัวไทร บางพืน้ ทีม่ อี ตั ราการกัดเซาะถึง 12 เมตรต่อปี จ. สงขลา พบการกัดเซาะทีบ่ า้ นอูต่ ะเภา บ้านปากแตระ อ. ระโนด ส่วน จ. ปัตตานี พบทีบ่ า้ นตันหยงเปาร์ อ. หนองจิก บ้านตะโละสะมิแล บ้านท่ากุล บ้านท่าด่านใน อ. ยะหริง่ แต่ละทีม่ อี ตั ราการกัดเซาะไม่ตำ่ กว่า 5 เมตรต่อปี ชายฝัง่ ทะเลอันดามัน ชายฝั่งทะเลอันดามันตั้งแต่ จ. พังงา กระบี่ ภูเก็ต สตูล ระนอง ตรัง พบพื้นที่วิกฤตบริเวณบ้านทะเลนอก อ. กะเปอร์ จ. ระนอง มีการกัดเซาะตั้งแต่ ปากคลองลงมาจนถึงหัวแหลมของเขาทะเลนอก ชายฝัง่ ทะเลหาดเลพัง บ้านบางเทา อ. ถลาง ของ จ. ภูเก็ต ซึง่ เป็นชายหาดทีม่ คี วามลาดชันสูง ทำให้มอี ตั ราการกัดเซาะ มากถึง 10 เมตรต่อปี ส่วนจังหวัดกระบีม่ ี 2 จุด คือบ้านคลองทรายและชายฝัง่ ทะเล คลองประสงค์-แหลมขาว อ. เมือง ซึง่ เกิดการกัดเซาะมากว่า 30 ปีแล้ว และชายหาด บ้านทุง่ สะโบ๊ะ บ้านราไวใต้ อ. ทุง่ หว้า จ. สตูล ก็เกิดการกัดเซาะมาเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้วเช่นกัน และอีกที่หนึ่งคือบริเวณบ้านระงู ใน อ. ระงู ซึ่งมีการพัดพาตะกอน ออกจากชายฝัง่ ทำให้ชายหาดลึกตัง้ ฉากกับแนวชายฝัง่ บริเวณพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเลจำนวน 30 แห่งทีเ่ ป็นจุดวิกฤติ (Hot Spot) ของการ กัดเซาะ รุนแรงทีส่ ดุ ของประเทศไทย ชื่อจังหวัด / ชื่อชายฝั่ง

ชนิดของชายฝั่ง

ระยะทางยาว ทีถ่ กู กัดเซาะ

จันทบุรี เกาะแมว-บ้านแหลมหญ้า ทีร่ าบน้ำขึน้ ถึง 16 กม. อ. แหลมสิงห์ ระยอง มาบตาพุด อ. เมือง หาดทรายปัจจุบัน 4.7 กม. (บ้านหนองแฟบและหาด ตากวน) ฉะเชิงเทรา บ้านคลองเจริญไว-บ้าน ทีร่ าบน้ำขึน้ ถึง 9 กม. คลองสีลัง อ. บางปะกง

อัตราการกัดเซาะ > 5 เมตร/ปี 5 - 10 เมตร/ปี หายไป 35 - 60 เมตร 12 เมตร/ปี หายไป 300 - 400 เมตร (28 ปี)

61


ชื่อจังหวัด / ชื่อชายฝั่ง สมุทรปราการ ตะวันตกบ้านคลองสีลงั อ. บ้านบ่อ-บ้านบาง สำราญ อ. เมือง บ้านแหลมสิงห์-ปากคลอง ขุนราชพินติ ใจ อ. พระ สมุทรเจดีย์ กรุงเทพ ปากคลองขุนราชพินิตใจ -บ้านท่าตะโก เขตบางขุนเทียน เพชรบุรี บ้านดอนมะขาม-บ้านท่า ทำเนียบ อ. บ้านแหลม บ้านบางเกตุ ประจวบคีรขี นั ธ์ บ้านหนองเก่า-บ้าน หนองเสือ อ. ปราณบุรี สุราษฎร์ธานี บ้านพอด-บ้านปากคลอง คราม อ. ดอนสัก นครศรีธรรมราช บ้านเคียนดำ-บ้านบ่อนนท์ อ. ท่าศาลา บ้านแหลมตะลุมพุก-บ้าน บางปอ อ. ปากพนัง บ้านเกาะทัง-บ้านหน้าศาล อ. ปากพนังและหัวไทร สงขลา บ้านอูต่ ะเภา-บ้านปาก แตระ อ. ระโนด ปัตตานี บ้านบะอิง–บ้านบางตาวา อ. หนองจิก บ้านตันหยงเปาว์ อ. หนองจิก

62

ชนิดของชายฝั่ง

ระยะทางยาว ทีถ่ กู กัดเซาะ

อัตราการกัดเซาะ

ทีร่ าบน้ำขึน้ ถึง

17.5 กม

ทีร่ าบน้ำขึน้ ถึง

12.54 กม.

15 - 25 เมตร/ปี หายไปประมาณ 4 - 600 เมตร (28 ปี) >25 เมตร/ปี หายไป ประมาณ 1 กม. (28 ปี)

ทีร่ าบน้ำขึน้ ถึง

5.5 กม.

15 - 25 เมตร/ปี หายไป 4 - 800 เมตร (28 ปี)

ทีร่ าบน้ำขึน้ ถึง

5 กม.

10 เมตร/ปี หายไป 200 เมตร (28 ปี) 7.3 เมตร/ปี

หาดทรายปัจจุบัน 1.5 กม. หาดทรายปัจจุบนั 1 กม.

8 เมตร/ปี หายไป 200 เมตร (25 ปี)

หาดทรายปัจจุบัน 8 กม.

16 เมตร/ปี หายไป 80 เมตร (4 ปี)

หาดทรายปัจจุบัน 8 กม.

6 เมตร/ปี

หาดทรายปัจจุบัน 29 กม.

8 เมตร/ปี

หาดทรายปัจจุบัน 23 กม.

12 เมตร/ปี

หาดทรายปัจจุบัน 4 กม.

5.5 เมตร/ปี

หาดทรายปัจจุบัน 4.5 กม.

10 - 20 เมตร/ปี

หาดทรายปัจจุบัน 1 กม.

10 - 12 เมตร/ปี


ระยะทางยาว ทีถ่ กู กัดเซาะ บ้านตะโลสะมิแล อ. ยะหริง่ หาดทรายปัจจุบัน 2 กม. บ้านท่ากุน–บ้านท่าด่าน หาดทรายปัจจุบัน 0.5 กม. อ. ยะหริ่ง 0.3 กม. แหลมตาชี (แหลมโพธิ์) สันดอนจะงอย อ. เมือง นราธิวาส หาดทรายปัจจุบัน 4 กม. บ้านบาเกะ อ. เมือง บ้านลาฆอปาละ อ. เมือง หาดทรายปัจจุบัน 0.2 กม. หาดทรายปัจจุบัน 21 กม. บ้านคลองตัน ระนอง บ้านทะเลนอก อ.กะเปอร์ หาดทรายปัจจุบัน 4 กม. ภูเก็ต หาดเลพัง บ้านบางเทา หาดทรายปัจจุบัน 3 กม. อ. ถลาง กระบี่ บ้านคลองทราย อ. เมือง หาดทรายปัจจุบัน 1 กม. หาดทรายปัจจุบัน 3 กม. บ้านคลองประสงค์ -แหลมขาม อ. เมือง ตรัง หาดทรายปัจจุบัน 4 กม. หาดปากเมง อ. สิเกา สตูล หาดทรายปัจจุบัน 3 กม. บ้านทุง่ สะโบ๊ะ–บ้าน ราไวใต้ อ. ทุง่ หว้า หาดทรายปัจจุบัน 1 กม. ปากละงู อ. ละงู บ้านบากันเกย–บ้านกลาง หาดทรายปัจจุบัน 2 กม. อ. เมือง

ชื่อจังหวัด / ชื่อชายฝั่ง

ชนิดของชายฝั่ง

อัตราการกัดเซาะ 5 - 6 เมตร/ปี 6 เมตร/ปี 5 - 6 เมตร/ปี 10 เมตร/ปี 5 - 6 เมตร/ปี 7 - 10 เมตร/ปี 6 เมตร/ปี 8 - 10 เมตร/ปี 5 เมตร/ปี 5 เมตร/ปี 5 เมตร/ปี 5 - 7 เมตร/ปี 5 เมตร/ปี 5 - 6 เมตร/ปี

ที ่ ม า : ข้ อ มู ล จากหน่ ว ยศึ ก ษาพิ บ ั ต ิ ภ ั ย และข้ อ สนเทศเชิ ง พื ้ น ที ่ คณะวิ ท ยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากข้อมูลที่ปรากฏ ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนของสถานการณ์การกัดเซาะ ชายฝั ่ ง ทะเลไทยได้ ช ั ด เจนมากยิ ่ ง ขึ ้ น ขณะที ่ แ นวโน้ ม การกั ด เซาะไม่ ไ ด้ ห ยุ ด อยูแ่ ค่จดุ ทีน่ ำเสนอไปเท่านัน้ แต่ยงั มีแนวโน้มทีจ่ ะขยายวงกว้างออกไปอย่างไม่จำกัด อันเกิดจากสาเหตุและตัวกระตุ้นหลายปัจจัย และแน่นอนว่ากิจกรรมของมนุษย์ ก็เป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยเหล่านั้นด้วยเช่นกัน 63


สาเหตุการกัดเซาะชายฝั่งของไทย “พีอ่ ยูท่ ะเลมาตัง้ แต่เด็ก ธรรมชาติของทะเลจะมีการเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา อย่างหน้ามรสุมคลืน่ แรง ก็จะซัดเอาทรายลงทะเลไป แต่พอหน้าหนาว คลืน่ ก็จะพัด เอาตะกอนกลับมาเติมที่เดิม ส่วนหน้าฝนก็จะมีตะกอนจากการชะล้างลงมาเติม ที่ถูกเซาะไปก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม แต่สภาพตอนนี้มันเปลี่ยนไปหมดแล้ว” เจ้าของรีสอร์ตรายหนึง่ ละแวกคลองละวนใน จ. ระยอง ย้อนภาพทะเลในอดีตให้ฟงั ถึงวันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับชายฝั่งทะเลที่พวกเขาอาศัยมาช้านาน แม้คำถาม จะยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน แต่ผู้ประกอบการรีสอร์ตส่วนใหญ่ในบริเวณดังกล่าว ต่างมีความเห็นที่ตรงกันว่า พวกเขาเห็นความเปลี่ยนแปลงเริ่มขึ้นตั้งแต่มีการสร้าง สิง่ ก่อสร้างขนาดใหญ่มากมายลงไปในทะเล ซึง่ เชือ่ ว่าสิง่ ก่อสร้างเหล่านีไ้ ด้ไปปิดกัน้ การไหลเวียนของตะกอนทีเ่ ป็นพลวัตรของทะเลชายฝัง่ แต่สง่ิ ทีก่ ล่าวมาข้างต้นคงเป็นเพียงสาเหตุสว่ นหนึง่ เท่านัน้ เพราะการกัดเซาะ ยังมีปัจจัยซึ่งเป็นตัวกระตุ้นที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จากการรวบรวมข้อมูลของ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำภาค วิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย ซึ่งทำการค้นคว้าวิจัย ปัญหาการกัดเซาะ ได้จำแนกสาเหตุของการกัดเซาะชายฝัง่ ไว้ใน 2 ลักษณะ กล่าวคือ เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ และเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ การเบีย่ งเบนและความรุนแรงของคลืน่ ลมในทะเลทีพ่ ดั เข้าหาชายฝัง่ โดยความรุนแรงของคลื่นซึ่งเป็นตัวพัดพาตะกอน โคลน หรือทรายออกจากฝั่ง ขึน้ อยูก่ บั ทิศทางและความเร็วของลมประจำถิน่ และลมพายุจรเป็นหลัก ทัง้ นีส้ ภาพ ภูมิอากาศของประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมประจำถิ่น ทั้งจากมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพาดผ่าน ตอนบนของประเทศและอ่ า วไทย ทำให้ เ กิ ด ฝนตกชุ ก ในภาคใต้ แ ละมี อ ิ ท ธิ พ ล ต่อการกัดเซาะฝั่งในด้านอ่าวไทย ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจาก ทะเลอันดามัน ทำให้เกิดฝนตกชุกในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึง่ จะมี อิทธิพลต่อการกัดเซาะชายฝัง่ ด้านตะวันออก อ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ฝง่ั ตะวันตก

64


สำหรับลมพายุจรทีม่ กั สร้างความเสียหายและมีอทิ ธิพลต่อการกัดเซาะมากกว่า ลมประจำถิน่ นัน้ ส่วนใหญ่ประเทศไทยจะได้รบั อิทธิพลจากพายุดเี ปรสชัน่ ซึง่ เกิดจาก พายุโซนร้อนทีก่ อ่ ตัวบริเวณทะเลจีนใต้และเคลือ่ นตัวเข้าไทยผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ก่อให้เกิดคลื่นลมในทะเลที่มี ความรุนแรงมาก จึงมีผลต่อการกัดเซาะชายฝั่งที่ชัดเจน ส่วนพื้นที่ไหนจะได้รับ ความเสียหายในระดับใด ก็จะขึน้ อยูก่ บั ลักษณะทางกายภาพของพืน้ ทีน่ น้ั ๆ การทรุดตัวของแผ่นดิน ผลจากการศึกษาของสถาบันพัฒนาเทคโนโลยี แห่งเอเชีย (AIT) พบว่า สาเหตุที่ชัดเจนของการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบริเวณ อ่าวไทยตอนบนเป็นผลจากแผ่นดินที่ทรุดตัว ซึ่งมีผลต่ออัตราการกัดเซาะชายฝั่ง โดยพบว่าบริเวณกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีอตั ราการทรุดตัวในช่วงปี 2521 – 2524 มากกว่า 10 เซนติเมตรต่อปี ซึง่ เป็นช่วงเวลาเดียวกับทีม่ พี น้ื ทีถ่ กู กัดเซาะ มากถึง 6,419 ไร่ แต่เมื่อมีการควบคุมการใช้น้ำบาดาลหลังปี 2526 เป็นต้นมา พบว่าอัตราการกัดเซาะและอัตราการทรุดตัวลดน้อยลงเหลือประมาณ 3,044 ไร่ การเปลีย่ นแปลงของระดับน้ำทะเล ข้อมูลจากเวบไซต์ของ UNEP เรือ่ ง Climate Change 2001 ในหมวด Working Group I: The Scientific Basis พบข้อมูลทางธรณีวทิ ยาทีบ่ ง่ ชีว้ า่ การเปลีย่ นแปลงของระดับน้ำทะเลในอดีตเมือ่ 6,000 ปีกอ่ น มีปริมาณน้ำทะเลเฉลีย่ ทัว่ โลกเพิม่ ขึน้ ในแต่ละปี จาก 0.4 มิลลิเมตร เป็น 0.6 มิลลิเมตร นั่นหมายความว่า ระดับน้ำทะเลมีการเพิ่มขึ้นตั้งแต่หลายพันปีก่อน แต่เป็นการเพิม่ ระดับเพียงเล็กน้อย และไม่สง่ ผลกระทบให้ชายฝัง่ มีการเปลีย่ นแปลง ขณะที่ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา เมื่อโลกเผชิญกับปัญหา “ภาวะโลกร้อน” (Global Warming) จากการตรวจวัดระดับน้ำทะเลจากทวีปต่างๆ ทั่วโลก พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมากถึง 12 - 15 เซนติเมตร โดยนักวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่สันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากการขยายตัวของน้ำทะเล อันเป็นผลมาจาก การเพิม่ ขึน้ ของอุณหภูมโิ ลก การเปลีย่ นแปลงของระดับน้ำทะเลทีส่ งู ขึน้ ประกอบกับการทรุดตัวของแผ่นดิน มี ค วามสั ม พั น ธ์ ต ่ อ อั ต ราการกั ด เซาะโดยตรง ดร.ธนวั ฒ น์ พ บความสั ม พั น ธ์ ระหว่างอัตราการกัดเซาะกับอัตราแผ่นดินทรุด โดยใช้สูตรคำนวณความสัมพันธ์ จากอัตราการสะสมตัวของตะกอนบริเวณชายฝั่ง ทำให้เห็นอัตราการทรุดตัว

65


และอัตราการกัดเซาะในอนาคตของชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน โดยแสดงค่าสัมพันธ์ ทีเ่ กิดขึน้ ในอีก 20 ปี 50 ปี และ 100 ปี พบว่า อัตราการกัดเซาะรุนแรงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง โดยคาดว่าในช่วง 20 ปีขา้ งหน้า หากไม่มมี าตรการป้องกัน พืน้ ทีช่ ายฝัง่ จะหายไป ประมาณ 1.3 กิโลเมตร โดยเฉพาะพืน้ ทีฝ่ ง่ั ตะวันออกของแม่นำ้ เจ้าพระยา และในอีก 100 ปีขา้ งหน้า อาจรุกเข้ามาถึง 6 - 8 กิโลเมตร ซึง่ หากเป็นไปตามการคำนวณ การกัดเซาะ ก็ไม่ใช่เรือ่ งไกลตัวสำหรับคนกรุงเทพฯ อีกต่อไป การกัดเซาะทีเ่ กิดจากกิจกรรมของมนุษย์ การสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นแม่น้ำ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการ พั ง ทลายของชายฝั ่ ง ทะเล เนื ่ อ งจากตะกอนถู ก กั ก ไว้ ท ี ่ ห น้ า เขื ่ อ นหรื อ ฝาย ทำให้ ต ะกอนที ่ ไ หลลงมาทั บ ถมมี น ้ อ ยลง รวมถึ ง การดู ด ทรายในแม่ น ้ ำ เพื ่ อ ใช้ ใ นการก่ อ สร้ า งและเพื ่ อ การถมที ่ ก็ เ ป็ น อี ก ปั จ จั ย หนึ ่ ง ที ่ ท ำให้ ต ะกอน ทีล่ งสูท่ ะเลมีปริมาณน้อยลง การสร้างกำแพงกันคลื่น (seawall) เขื่อนดักตะกอน (groin) เขือ่ นหินทิง้ (revetment) และแนวหินทิง้ (riprap) การสร้างสิง่ ก่อสร้างเหล่านี้ ในบริเวณหนึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียงได้ เช่น เกิดการกัดเซาะ พื ้ น ที ่ ช ายฝั ่ ง บริ เ วณท้ า ยน้ ำ เนื ่ อ งจากตะกอนที ่ เ คยพั ด มาสะสมถู ก ดั ก และ ตกตะกอนอยู่ที่เขื่อนดักตะกอน นอกจากนั้นการก่อสร้างถาวรวัตถุเพื่อการป้องกัน

66

ภาพจากมูลนิธิโลกสีเขียว


ชายฝัง่ ดังทีก่ ล่าวมา ทำให้ความลาดชันของชายหาดสูงขึน้ ซึง่ เป็นการเร่งให้เกิดการ กัดเซาะชายฝัง่ มากขึน้ การก่ อ สร้ า งกำแพงปากแม่ น ้ ำ (jetty) ทำให้ ต ะกอนถู ก ส่งออกไปไกลจากบริเวณชายฝัง่ มากกว่าปกติ มีผลให้เกิดการสูญเสียตะกอนออกไป จากระบบ ปริมาณตะกอนทีต่ กทับถมบริเวณชายหาดจึงมีนอ้ ยลง และขัดขวางการ พัดพาของตะกอนในแนวเข้า-ออกฝัง่ ก่อให้เกิดการพังทลายของชายฝัง่ นอกจากนี้ การขุดลอกร่องน้ำโดยนำตะกอนปากแม่นำ้ ไปทิง้ ยังบริเวณอืน่ ก็เป็นการลดปริมาณ ของตะกอนทีค่ วรจะสะสมตัวตามธรรมชาติ การก่ อ สร้ า งท่ า เที ย บเรื อ บริ เ วณชายฝั ่ ง ทำให้ เ กิ ด ร่ อ งน้ ำ ลึ ก (ช่องทางเดินเรือ) ที่ขวางกั้นการไหลของตะกอนบริเวณชายฝั่ง รวมถึงสิ่งก่อสร้าง บริเวณท่าเรือ เช่น สะพานเทียบเรือ ท่อขนถ่ายสินค้า ก็เป็นสิง่ กีดขวางการพัดพา ของกระแสน้ำ และตะกอนบริเวณชายฝัง่ ตลอดจนทำให้เกิดการเปลีย่ นแปลงของ ทิศทางคลื่นอีกด้วย การถมสร้างชายหาดเทียม (beach nourishment) ซึ่งต้องมีการ ขุ ด ทรายในทะเลจากสถานที ่ ห นึ ่ ง มาถมในบริ เ วณชายหาด ทำให้ เ กิ ด หลุ ม ลึ ก ซึ่งเป็นการเร่งให้เกิดการไหลของตะกอนมาเติมเต็มในหลุม และมีผลต่อเนื่อง ถึงการพังทลายของชายฝัง่ บริเวณใกล้เคียง ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ. ศูนย์เครือข่ายวิเคราะห์วจิ ยั และฝึกอบรม การเปลีย่ นแปลงของโลกแห่งภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงการแก้ไขปัญหา การกัดเซาะชายฝั่งด้วยการสร้างเขื่อนดักตะกอนหรือการสร้างกำแพงป้องกัน น้ำซัดนั้นว่า เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะโครงสร้างที่สูง เช่นกรณีของ โรงแรมอัยยะปุระ บนเกาะช้าง จ. ตราด ทีส่ ร้างเป็นกำแพง พืน้ ปูนตัดหน้าชายหาด ก็เป็นการสร้างที่ผิดแบบมาตั้งแต่ต้น ซึ่งโครงสร้างที่ดีไม่ควรมีความสูงเกิน 1 ฟุต ก็สามารถป้องกันได้ ไม่เพียงแต่ปจั จัยทีก่ ล่าวมาในข้างต้นเท่านัน้ ทีเ่ ป็นตัวกระตุน้ ให้เกิดการกัดเซาะ ชายฝั่งทะเล แต่กิจกรรมที่ใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณชายฝั่งอย่างไม่เหมาะสม เช่น การตัดป่าชายเลน หรือการพัฒนาพืน้ ทีท่ ท่ี ำให้ตะกอนในแม่นำ้ ลดลง ก็เป็นส่วนหนึง่ ทีท่ ำให้เกิดการกัดเซาะเช่นกัน

67


ผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้านบนพื้นที่เสี่ยง การกัดเซาะชายฝัง่ ทีร่ นุ แรงกระจายอยูโ่ ดยทัว่ ไปตามชายฝัง่ ของประเทศไทย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ทางกายภาพของพื้นที่เท่านั้น แต่ยังมีผล ต่อด้านเศรษฐกิจ สังคม วิถชี วี ติ ความเป็นอยูข่ องผูค้ นทีอ่ าศัยอยูท่ น่ี น้ั เป็นอย่างมาก เพราะพื ้ น ที ่ ช ายฝั ่ ง อุ ด มสมบู ร ณ์ ไ ปด้ ว ยทรั พ ยากรทางทะเล จึ ง เป็ น ศู น ย์ ร วม ของการทำมาหากินของคนในท้องถิ่นดั้งเดิม โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการ กัดเซาะอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่เห็นชัดเจนที่สุด คือบ้าน ขุนสมุทรจีน จ. สมุทรปราการ ขณะทีช่ ายฝัง่ บริเวณ จ. ระยอง เป็นอีกตัวอย่างหนึง่ ทีด่ ที ส่ี ะท้อนถึงปัญหาการกัดเซาะอันมีสาเหตุมาจากกิจกรรมทีม่ นุษย์สร้างขึน้ กัดเซาะชายฝัง่ กับการล่มสลายของชุมชนขุนสมุทรจีน “โรงเรียนเดิมของลุงอยู่ตรงนี้ ตอนสมัยเรียนประถมอยู่ตรงกลางน้ำนี้แหละ ลุงจำได้วา่ ต้องย้ายสองครัง้ ครัง้ ทีส่ องพอจำได้ลางๆ ว่าโรงเรียนเป็นยังไง แต่วา่ ที่ เรียนทีแ่ รก ลุงจำไม่ได้แล้วว่ามันอยูต่ รงไหน หน้าตาเป็นยังไง มันจมไปกับน้ำหมดแล้ว ถ้าคนข้างนอกมาดู บางคนคงไม่เชื่อ แต่ว่าลุงนะจำได้ ไม่เคยลืมเลยว่าบ้านเดิม โรงเรียนเดิม อยูต่ รงนี้ เคยวิง่ เล่นตรงนี้ นีเ่ ขาเรียกว่าทะเลกลบทะเลกลืน” คำบอกเล่าถึงสถานทีต่ ง้ั เมือ่ ครัง้ เรียนชัน้ ประถมศึกษาของ บุญโชติ ตัน้ เจริญ อายุ 52 ปี หนึง่ ในชาวบ้านขุนสมุทรจีน บ่งบอกถึงความรูส้ กึ ทีต่ อ้ งสูญเสียโรงเรียน บ้าน และชุมชนขุนสมุทรจีนในอดีตได้เป็นอย่างดี แม้จะผ่านมานานกว่า 40 ปีแล้วก็ตาม แต่ความทรงจำต่างๆ ก็ไม่ได้เลือนหายไปตามการกัดเซาะของทะเล เพราะชาวบ้าน ทีน่ ย่ี งั มีสง่ิ เตือนใจ นัน่ คือเสาไฟฟ้าทีเ่ รียงรายอยูก่ ลางทะเล อันบอกถึงทีต่ ง้ั ของหมูบ่ า้ น เดิมทีจ่ มอยูใ่ ต้นำ้ หมู่บ้านขุนสมุทรจีน ตั้งอยู่ หมู่ 9 ต. แหลมฟ้าผ่า อ. พระสมุทรเจดีย์ จ. สมุทรปราการ มีพน้ื ทีท่ ง้ั หมด 790 ไร่ ในอดีตมีประชากรกว่า 420 คน จาก 168 หลังคาเรือน แต่ปัจจุบันนี้เหลือไม่ถึง 100 หลังคาเรือน เนื่องจากได้รับผลกระทบ จากการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง แม้ชาวบ้านจะพยายามนำภูมิปัญญาชาวบ้าน มาใช้เป็นฐานในการแก้ไขปัญหาแล้วก็ตาม เช่น การใช้ไม้ลวกมาปัก การใช้เสาไฟฟ้า มาสร้างเป็นแนวกันคลื่น แต่ก็ไม่สามารถทัดทานปัญหาได้ ทำให้ในปัจจุบันที่ตั้ง

68


ของหมู ่ บ ้ า นเดิ ม จมอยู ่ ใ ต้ น ้ ำ และถู ก กั ด เซาะเป็ น ระยะทางกว่ า 2 กิ โ ลเมตร ขณะที่ชาวบ้านต้องย้ายที่อยู่อาศัยนับครั้งไม่ถ้วน โดยบางครอบครัวเหลือการย้าย อีกเพียงไม่กค่ี รัง้ ก็จะนับเป็นครัง้ ที่ 10 แล้ว สมร เข่งสมุทร ผู้ใหญ่บ้านหญิงคนแกร่ง ซึ่งเป็นผู้นำชุมชนต่อสู้กับปัญหา มานานหลายสิบปี เล่าว่า ทุกวันนีช้ าวบ้านไม่มที างเลือกมากนัก และยังคงอาศัยอยู่ ในหมูบ่ า้ น เนือ่ งจากไม่มเี งินพอทีจ่ ะไปซือ้ ทีท่ อ่ี ยูใ่ นตัวเมือง จึงต้องทนกับสภาพทีเ่ กิดขึน้ และก็ตอ้ งอพยพทุกครัง้ ทีพ่ น้ื ทีข่ องตัวเองถูกน้ำทะเลเข้ามารุกไล่ ซึง่ ปัญหาดังกล่าวนอก จากจะทำลายทีด่ นิ บ้านเรือนและทรัพย์สนิ ของชาวบ้านแล้ว ยังทำลายสังคม ประเพณี และวัฒนธรรมอันงดงามของชุมชนด้วย “แต่เดิมชาวบ้านขุนสมุทรจีน มีอาชีพประมงแบบพื้นบ้าน แต่ว่า พอมาเจอปัญหาดินพัง สัตว์ทะเล จำพวกพวกปู กุง้ ปลาก็พลอยหาย ไป คนในชุมชนจึงต้องเปลีย่ นวิถชี วี ติ ออกไป ใช้แรงงาน ไปรับจ้างในเมือง ทำให้ไม่มีเวลาอยู่ดูแลครอบครัว บางคนพอมีเงินมีทองเก็บไว้ ก็ไปซื้อที่ดินในเมือง พากันไปอยู่ทั้งครอบครัว ชุนชน ทีเ่ คยอยูด่ ง้ั เดิมก็ลม่ สลาย ทีอ่ ยูก่ ไ็ ม่มเี งิน ไม่มกี ไ็ ม่มที จ่ี ะไป หรือว่าอยูเ่ พราะว่าเป็น บ้านเกิด จะยังไงก็จะอยู่ ไม่ไปไหน” สมรกล่าว การเผชิญภัยธรรมชาติมานานกว่า 30 ปี ไม่ได้ทำให้คนขุนสมุทรจีนหมดหวัง เสียทีเดียว เพราะวัดขุนสมุทรทราวาสอันเป็นสถานทีย่ ดึ เหนีย่ วจิตใจและเป็นเสมือน สัญลักษณ์แห่งการไม่ยอมจำนนของคนในชุมชน ยังคงตัง้ ตระหง่านต้านแรงกัดเซาะ อยูต่ รงทีเ่ ดิมทีเ่ คยเป็นชุมชนเก่า โดยชาวบ้านต่างร่วมมือร่วมใจ สร้างกำแพงป้องกัน การกัดเซาะไว้รอบวัด แม้ปจั จุบนั ศาสนสถานทัง้ หมดจะต้องยกพืน้ สูงขึน้ มากกว่า 1 เมตร เพือ่ ป้องกันน้ำท่วม และถูกทิง้ ห่างจากชุมชนเกือบ 2 กิโลเมตรก็ตาม พระอธิการสมนึก อติปญ ั โญ เจ้าอาวาสวัดขุนสมุทรทราวาส บอกเล่าว่า ทุกวันนี้ ต้องเดินบิณฑบาตรไปยังหมูบ่ า้ นวันละประมาณ 3 - 4 กิโลเมตร แต่กถ็ อื เป็นกิจของสงฆ์ ทีต่ อ้ งปฏิบตั ิ แม้จะลำบากอยูบ่ า้ งก็ตาม แต่กไ็ ม่ถอื ว่าเป็นผลกระทบ เพราะนึกถึงน้ำใจ

69


และความใจสู้ของคนในหมู่บ้านนี้ ฉะนั้นสิ่งที่สามารถทำได้ ก็คืออยู่เป็นขวัญ และกำลังใจให้กบั ชาวบ้านต่อไป กัดเซาะชายฝัง่ ในเงาอุตสาหกรรมทีม่ าบตาพุด มีผลการศึกษาจากนักวิชาการหลายสำนักระบุตรงกันว่า อัตราการกัดเซาะ ที่รุนแรงใน จ. ระยอง เกิดจากการสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ยื่นออกไปในทะเล ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด หลังจากมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเสร็จในปี 2535 ก็เกิดการกัดเซาะที่ รุนแรงของชายฝัง่ ทะเลทัง้ 2 ด้าน จนในทีส่ ดุ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ต้ อ งสร้ า งเขื ่ อ นคอนกรี ต เพื ่ อ ป้ อ งกั น การกั ด เซาะ แต่ ส ิ ่ ง นี ้ ก ็ ย ิ ่ ง ทำให้ ป ั ญ หา ขยายวงกว้างมากขึน้ จนในปัจจุบนั ไม่หลงเหลือสภาพชายหาดเดิมให้เห็นอีกต่อไป ปิยะดา ควรหา ผูป้ ระกอบการรีสอร์ตบ้านบุญเพชร ซึง่ ตัง้ อยูบ่ ริเวณแหลมทอง หลาง ต. ทั บ มา อ. เมื อ ง จ. ระยอง หรื อ ที ่ ช าวระยองนิ ย มเรี ย กบริ เ วณ ดังกล่าวว่าคลองละวน ได้เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงของชายหาดใน จ. ระยอง

(บน) สภาพการกัดเซาะชายฝัง่ อย่างรุนแรงอันเนื่องมาจาก การพัฒนา นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด (ล่าง) ชายฝัง่ ทีไ่ ม่หลงเหลือ สภาพชายหาดอีกต่อไปแล้ว ภายหลังการก่อสร้างกำแพง กันคลื่น

70


หลังจากที่นิคมอุตสาหกรรมผุดขึ้นมาว่า สภาพของชายหาดค่อยๆ เปลี่ยนไป เกิดการกัดเซาะในส่วนทีอ่ ยูใ่ กล้กบั ท่าเรือขนถ่ายสินค้าก่อน จนชายหาดทีเ่ คยเดินเล่น เมือ่ ครัง้ เป็นเด็กไม่หลงเหลือให้เห็น เพราะต้องสร้างถนนคอนกรีตกัน้ แต่สง่ิ ทีต่ ามมาคือ การกัดเซาะกลับลุกลามไปยังหาดต่างๆ ทีละเล็กละน้อย จนกลายเป็นปัญหาใหญ่อยูใ่ น ปัจจุบนั นี้ ซึง่ ผูป้ ระกอบการทีม่ ที นุ ทรัพย์กจ็ ะทำการก่อสร้างเขือ่ นกันคลืน่ เพือ่ ป้องกัน ในส่วนของตัวเอง แต่ไม่คำนึงว่าการสร้างเขือ่ นเหล่านี้ จะมีผลให้การกัดเซาะรุนแรง มากขึน้ “พีค่ ดิ ว่าการเปลีย่ นแปลงทัง้ หมด ทัง้ การกัดเซาะ สภาพแวดล้อม ไม่ได้มาจาก ธรรมชาติเป็นตัวนำ แต่มนุษย์นั่นแหละเป็นตัวนำ นายทุนนำความเจริญมาให้จริง แต่คุณเคยคิดไหมว่าคุณทำลายทุกอย่าง บอกได้เลยว่าเป็นคนทำลายทุกอย่าง ถึงวันนีพ้ ไ่ี ม่ตอ้ งการให้กน้ั ชายหาด เพราะคนทีม่ าเทีย่ วน่าจะได้สมั ผัสกับธรรมชาติจริงๆ มันเป็นผลประโยชน์ของคนบางกลุม่ บางคน พวกนักลงทุนเขาอาจจะคิดว่ามาสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชมุ ชนจริง อันนัน้ พีไ่ ม่เถียง แต่อย่าลืมว่าคุณเอาอะไรไปมากกว่าทีค่ ดิ มันมีมลู ค่ามหาศาล หาอะไรมาทดแทนไม่ได้” เจ้าของรีสอร์ตกล่าว ภาพรวมสถานการณ์การกัดเซาะชายฝัง่ ของจังหวัดระยอง ถึงวันนีม้ ชี ายหาด ทีส่ ามารถรักษาสภาพแวดล้อมไว้ได้ไม่กห่ี าดเท่านัน้ ส่วนหาดอืน่ แทบไม่เหลือหาดทราย ขาวสะอาดในอดีตให้เห็น เพราะพิษจากการกัดเซาะทีร่ นุ แรงมากขึน้ ผูป้ ระกอบการ รีสอร์ตหลายรายตัง้ ข้อสังเกตว่า ในช่วง 3 ปีทผ่ี า่ นมา น้ำทะเลขึน้ สูงและมีความแรง จนน่ากลัว ประกอบกับมีการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่นท่าเรือ ยื่นออกไปในทะเล ขวางทางไหลเวียนของตะกอนที่จะกลับมาเติมเต็มในช่วงหมด ฤดูมรสุม ทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง ขณะทีผ่ ปู้ ระกอบการซึง่ มีเงินทุนก็สร้าง เขือ่ นกันคลืน่ ขึน้ เพือ่ รักษาชายหาดของตัวเอง แต่กลับพบว่าการกัดเซาะเริม่ ลุกลาม ไปยังชายหาดทีอ่ ยูเ่ หนือขึน้ ไปอย่างรวดเร็ว “ตรงบริเวณหาดที่เป็นของเอกชน จะไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่ เพราะเป็นที่ของคนในพื้นที่ การก่อสร้างก็จะมีไม่มากนัก แต่เป็นการเปลี่ยนแปลง ในลักษณะค่อยๆ เกิดขึน้ มากกว่า เมือ่ ก่อนน้ำทะเลจะไม่มาแรงขนาดนีน้ ะ แต่วา่ ช่วง 2 ปี สังเกตว่าน้ำทีเ่ คยขึน้ มาถึงแค่หน้าหาด ได้ลน้ ขึน้ มาในบริเวณรีสอร์ต เมือ่ เดือน กันยายนปีทแ่ี ล้ว เกิดมรสุมแรงขนาดทีพ่ ไ่ี ม่เคยเจอ เพราะวันนัน้ เป็นวันทีค่ ลืน่ ลม

71


แรงมากๆ คลื่นชายฝั่งสูงขนาดคิดว่าน่าจะถึง 2 - 3 เมตร วันนั้นปลายน้ำ สุดท้ายขึ้นมาถึงข้างบนรีสอร์ต ทรายและขยะขึ้นมาเกลื่อนรีสอร์ตเต็มไปหมด พีก่ ไ็ ด้แต่ยนื มอง ก็ไม่รจู้ ะทำอะไร พีก่ เ็ คยคิดเหมือนกันนะว่าอยากจะสร้างเขือ่ นกัน้ แต่ถ้าคิดว่าสร้างแล้วมันจะไปเดือดร้อนคนอื่น พี่ก็ไม่ทำ” เจ้าของรีสอร์ตคนเดิม กล่าวถึงสภาพปัญหา นอกจากหาดในละแวกคลองละวนแล้ว หาดทรายอีกหลายแห่งทีป่ รากฏรายชือ่ อยู่ตามหน้าเวบไซต์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวของ จ. ระยอง ที่โฆษณาเชิญชวน ให้มาเทีย่ ว เช่น “หาดพะยูน หาดพลา เป็นชายหาดยาวติดต่อกัน มีความสวยงาม และเงียบสงบ อยูห่ า่ งจากตัวเมืองระยอง 32 กิโลเมตร บริเวณหาดพลามีสวนสนปลูก อยูห่ นาแน่นและร่มรืน่ มีโรงแรมและบังกะโลให้เลือกหลายแห่ง” แต่เมือ่ ไปเยือนแล้ว อย่าหวังเลยว่าจะเจอกับภาพตามทีเ่ ราจินตนาการตามคำเชิญชวน ปริญญา กลัน่ วง ผูป้ ระกอบการร้านอาหารชายหาดพะยูน อ. บ้างฉาง จ. ระยอง ฉายภาพวั น เก่ า เมื ่ อ ครั ้ ง ที ่ ช ายหาดยั ง ไม่ เ ผชิ ญ กั บ การกั ด เซาะว่ า หาดพะยู น เป็นชายหาดทีส่ วยงามแห่งหนึง่ มีการสร้างถนนเลียบชายหาดไว้สำหรับออกกำลังกาย ตั ้ ง แต่ ช ายหาดพะยู น ไปถึ ง หาดริ น ระยะทางประมาณ 600 เมตร แต่ ท ั น ที ที ่ ม ี ก ารสร้ า งเขื ่ อ นกั น การกั ด เซาะบริ เ วณเหนื อ หาดพะยู น ขึ ้ น ไป ผลก็ ท ำให้ มีการกัดเซาะอย่างรุนแรงในช่วงเวลาไม่ถึง 1 ปี ถนนที่ราดด้วยคอนกรีตก็พัง จนไม่เหลือสภาพให้เห็น พอมาถึงปีนี้ ศาลาที่อยู่ถัดขึ้นมาก็กำลังถูกกัดเซาะ และไม่นา่ จะอยูร่ อดได้ถงึ ปีหน้า “สังเกตว่ามีการกัดเซาะรุนแรงขึน้ ในช่วงประมาณ 2 ปีทผ่ี า่ นมา แต่กอ่ นเมือ่ ช่วงหน้าฝนก็จะมีการกัดเซาะเป็นเรือ่ งธรรมชาติ แต่เมือ่ พ้นหน้ามรสุม ตะกอนทราย ก็จะกลับมาเติมเต็ม ซึง่ ก็ยงั พอรับได้ แต่พอเขามาสร้างเขือ่ นตรงนี้ กระแสน้ำก็เปลีย่ น ทิศทาง ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่าทางน้ำมันเปลีย่ นนะ มันไม่พดั พาหอบหิว้ เอาตะกอน มาเหมือนเก่า ทำให้ปนี ค้ี าดว่าน่าจะเซาะเข้ามาจนศาลาพัง พีก่ เ็ สียดายนะ แต่กย็ งั ไม่รวู้ า่ จะทำยังไงดี” ผูป้ ระกอบการร้านค้าริมชายหาดหลายรายยังเห็นตรงกันด้วยว่า สาเหตุทก่ี าร กัดเซาะรุนแรงขึ้น น่าจะมาจากตัวเขื่อนที่ผู้ประกอบการรายใหญ่สร้างเพื่อกันการ กัดเซาะ โดยทำให้หาดบริเวณใกล้เคียงพลอยได้รบั ผลกระทบไปด้วย ไม่ตา่ งอะไรกับ

72


ลูกโซ่ และสุดท้ายก็จะไม่มชี ายหาดให้นกั ท่องเทีย่ วได้เล่น ซึง่ ก็จะกระทบกับกิจการ ทีท่ ำอยูอ่ ย่างแน่นอน “ตอนนี้หาดพะยูนถือว่าคงสภาพสวยที่สุดในละแวกนี้ แต่การสร้างเขื่อนกัน ก็ไม่เห็นด้วย เพราะมันไม่เป็นธรรมชาติ แต่ถา้ ไม่ทำก็จะต้องเจอกับธรรมชาติลงโทษ พีย่ งั ตัดสินใจไม่ได้นะว่าจะเอาแบบไหน เพราะไม่มที างเลือกมากนัก แนวโน้มก็จะเหมือน หาดอื่น เพราะตอนนี้มันกินเข้ามาปีละเกือบ 2 เมตร” ผู้ประกอบการร้านอาหาร รายหนึง่ บนหาดพะยูน แสดงความเห็นถึงความจำเป็นว่าสุดท้ายแล้วอาจต้องตัดสินใจ สร้างเขื่อนกันการกัดเซาะเหมือนกับรายอื่นๆ รวมทั้งหาดรินที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างสร้างแนวกันการกัดเซาะ ด้วยการเอาท่อน้ำมาวางเรียงกัน เพราะหากไม่มกี ารสร้างแนวป้องกัน ชายหาดก็จะร่นเข้ามาปีละไม่ตำ่ กว่า 1 เมตร ทั ้ ง หมดนี ้ น ่ า จะทำให้ เ ห็ น ภาพได้ ช ั ด เจนในระดั บ หนึ ่ ง ว่ า แม้ ค นในพื ้ น ที ่ จะทราบดีวา่ การสร้างแนวกันคลืน่ เพือ่ ป้องกันการกัดเซาะจะไม่เป็นผลดีตอ่ อนาคต ชายหาดทั้งหมดในจังหวัด แต่ผู้ประกอบการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ยังคงตัดสินใจสร้างแนวป้องกันเหล่านี้ เพราะไม่มีทางเลือกมากนัก ขณะที่ ความชัดเจนในการแก้ปญ ั หาทัง้ ระบบก็ดเู หมือนจะเลือนราง

นโยบายภาครัฐต่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ความเสียหายทีเ่ กิดจากการกัดเซาะชายฝัง่ ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในช่วง 10 ปีทผ่ี า่ นมา ทำให้ภาครัฐเริม่ หันมาให้ความสำคัญกับปัญหานี้ ด้วยการจัดทำแผนแม่บท และแผนการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝัง่ ทะเล หลังจากถูกมองว่าไม่มคี วามจริงใจ ในการแก้ไข จนกระทั่งปัญหาบานปลาย ยากที่จะแก้ไข จะเห็นตัวอย่างได้ชัดเจน ดังในกรณีของบ้านขุนสมุทรจีน ทีช่ าวบ้านต้องต่อสูก้ บั การกัดเซาะด้วยตัวเองมานาน หลายสิบปี กว่าจะมีหน่วยงานทีเ่ ข้าไปให้ความช่วยเหลือชุมชนแห่งนี้ หรือแม้กระทัง่ การปล่อยให้มกี ารสร้างสิง่ ป้องกันการกัดเซาะทีไ่ ม่ถกู ต้องในหลายพืน้ ทีต่ ลอดช่วงเวลาที่ ผ่านมา ซึง่ ส่งผลให้การกัดเซาะขยายวงกว้างออกไป ทั้งนี้ในการแก้ไขปัญหา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ตั้ง คณะกรรมการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินการศึกษาสภาพและ แก้ ไ ขปั ญ หาการกั ด เซาะชายฝั ่ ง ทะเลระหว่ า งกรมทรั พ ยากรธรณี ในฐานะ

73


เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการจัดทำแผนแม่บทและแผนการแก้ไขปัญหา การกัดเซาะชายฝัง่ ทะเล กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง่ ทีม่ ภี ารกิจเกีย่ วกับ การอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งของประเทศ โดยร่วมกันวางแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝัง่

การแก้ไขปัญหาของคณะกรรมการแผนแม่บทฯ

กรอบระยะเวลาทีค่ ณะกรรมการแผนแม่บทฯ วางไว้ ปีงบประมาณ 2547-2548 ประเมินพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัยจากการกัดเซาะชายฝัง่ ทัว่ ประเทศโดยเฉพาะพืน้ ทีท่ ม่ี กี ารกัดเซาะ อย่างรุนแรง เพือ่ เร่งหามาตรการแก้ไข ในระยะสัน้ ปีงบประมาณ 2548-2552 สำรวจและศึกษาสาเหตุการกัดเซาะชายฝั่ง รายจังหวัด และแนวทางแก้ไขในแต่ละพืน้ ที่ ซึ่งมีความแตกต่างกันของการกัดเซาะ

แนวทางการแก้ปญ ั หาการกัดเซาะชายฝัง่ ของคณะกรรมการแผนแม่บทฯ 1. ประเมินสถานภาพชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ โดยสำรวจข้อมูลวิชาการ ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ ปั ญ หาการกั ด เซาะ เพื ่ อ ให้ ท ราบถึ ง ปั จ จั ย หลั ก ที ่ เ ป็ น สาเหตุ และกระบวนการที่ทำให้เกิดการกัดเซาะ 2. จำแนกพื้นที่เสี่ยงภัยจากการกัดเซาะชายฝั่งรายจังหวัด โดยการ วิเคราะห์ขอ้ มูลวิชาการร่วมกับการประเมินปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด ชายฝัง่ ทะเล 23 จังหวัด 3. เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยจัดทำแผนแม่บทการจัดการ ป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝัง่ ทะเลและลำน้ำแห่งชาติ และแผนปฏิบตั กิ าร ซึ ่ ง ประกอบด้ ว ยแผนระยะสั ้ น เพื ่ อ ลดการสู ญ เสี ย ที ่ ด ิ น และทรั พ ย์ ส ิ น ของ ประชาชนในพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัยการกัดเซาะชายฝัง่ รุนแรง และแผนปฏิบตั กิ ารระยะยาว ในการจัดการการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ พร้อมทัง้ วางกฎเกณฑ์ในการพัฒนาพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเลให้มผี ลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมน้อยทีส่ ดุ

ต่อมาในวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 ในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี นอกสถานที่ จ. นครศรีธรรมราช คณะรัฐมนตรีได้พิจารณารับในหลักการเรื่อง 74


การจัดทำร่างกฎหมาย การบริหารจัดการพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเลอย่างยัง่ ยืนทีก่ รมทรัพยากร ธรณีได้ดำเนินการเสนอเรือ่ ง โดยรับทราบและมีมติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และการบริหารจัดการพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเลของประเทศ อย่างไรก็ตามจนถึงวันนี้ แผนแม่บทการจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝัง่ ทะเลและลำน้ำแห่งชาติ ยังไม่สามารถเข้าเข้าสูก่ ารพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ได้ เนือ่ งจากยังไม่ผา่ นการพิจารณาจากคณะกรรมการกลัน่ กรอง ทำให้ยงั ไม่มคี วาม ชัดเจนในแนวทางการแก้ไขปัญหาในภาพรวม ข้าราชการระดับสูงในกรมทรัพยากรธรณีท่านหนึ่งให้ความเห็นว่า แม้แผน แม่บทฯ จะออกมาเสร็จสมบูรณ์ ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ก็ยังมี ปัญหาในหลักปฏิบตั ิ เพราะเรือ่ งกัดเซาะชายฝัง่ มีความเชือ่ มโยงกับหลายหน่วยงาน แต่ ไ ม่ ม ี เ จ้ า ภาพหลั ก ในการดำเนิ น การ และยั ง โยงถึ ง อำนาจในการจั ด การ ของท้องถิ่นนั้นๆ เพราะสุดท้ายแล้วเรื่องนี้ถือเป็นภารกิจของท้องถิ่นที่มีอำนาจ บริหารจัดการในพืน้ ทีน่ น้ั ๆ “แผนก็ยังเป็นแผน ต่อให้ออกมารูปร่างหน้าตาดีแค่ไหนก็ยังเป็นแค่แผน แต่ในทางปฏิบัติ ต้องเป็นคนท้องถิ่นเป็นคนบริหารจัดการ สุดท้ายใครจะเป็นผู้ รั บ ผิ ด ชอบ ในเมื ่ อ งบประมาณมหาศาลไม่ ม ี ล งไป ก็ ไ ม่ ร ู ้ จ ะเดิ น หน้ า อย่ า งไร ต่อให้แผนดีอย่างไรก็ไปไม่รอด” ข้าราชการระดับสูงให้ความเห็น ด้าน วรวุฒิ ตันติวนิช ผูเ้ ชีย่ วชาญระดับ 9 กรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า แนวทางการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งในภาพรวมทั้งประเทศของแผนแม่บทฯ จะเน้นไปที่โครงสร้างแบบอ่อน (Soft Structure) หมายถึงโครงสร้างธรรมชาติ เดิมทีม่ อี ยูแ่ ล้วของชายฝัง่ เช่น การปลูกป่าชายเลน การเปลีย่ นแปลงการใช้ประโยชน์ ของพื้นที่บริเวณนั้นให้เหมาะสมกับการป้องกันการกัดเซาะมากขึ้น เพราะจาก ผลการศึกษา วิธีนี้จะเป็นแนวทางที่สมดุลที่สุด เพราะสามารถลดการกัดเซาะได้ ในขณะเดียวกันก็ไม่สง่ ผลกระทบกับพืน้ ทีใ่ กล้เคียงเหมือนโครงสร้างขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดี วรวุฒยิ อมรับว่า ยังมีปญ ั หาในหลักปฏิบตั อิ ยูม่ าก เพราะการนำเสนอ โครงสร้างแบบอ่อน กลับไม่ได้รบั ความพอใจจากคนในท้องถิน่ เพราะคนในท้องถิน่ ต้องการโครงสร้างขนาดใหญ่ที่เห็นผลได้เร็วกว่า ขณะที่โครงสร้างแบบอ่อน

75


ต้องใช้เวลานานกว่าทีจ่ ะเห็นผล ทำให้ปจั จุบนั ยังมีความขัดแย้งทางความคิดระหว่าง ภาครัฐและคนในพื้นที่ จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจว่าปัญหาการกัดเซาะมีลักษณะ เป็นพลวัตร หากแก้ปญ ั หาไม่ถกู ต้องก็จะส่งผลกระทบไปยังจุดอืน่ ไม่มที ส่ี น้ิ สุด นอกจากปัญหาเรื่องความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ในบางพื้นที่ที่มีการกัดเซาะ ชายฝั่งอย่างรุนแรง ซึ่งจำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการแก้ไขปัญหา ก็ตดิ ปัญหาเรือ่ งงบประมาณด้วยเช่นกัน “มีหลายหน่วยงานจ้างบริษทั เอกชนทำวิจยั เกีย่ วกับการกัดเซาะชายฝัง่ เพือ่ หา ทางออก เช่นบริเวณบางขุนเทียน มีการทำวิจยั มาแล้วไม่นอ้ ยกว่า 10 ฉบับ แต่กย็ งั ไม่มกี ารดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ไม่มอี ะไรเกิดขึน้ ไม่ได้ตดิ ทีอ่ ะไรนะ เป็นเรือ่ งของ งบประมาณอย่างเดียว ต้องใช้งบ 100 ล้าน 1,000 ล้าน ก็จะมีปัญหาว่าลงทุน ไปแล้วใครกันได้ประโยชน์ เพราะที่ดินในน้ำนั้นอย่าลืมว่ามีเจ้าของ มีกรรมสิทธิ์ ปัญหานีซ้ บั ซ้อนมาก มากกว่าการว่าเราจะแก้ปญ ั หาอย่างไร” วรวุฒกิ ล่าว ผู้เชี่ยวชาญของกรมทรัพยากรธรณียังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ในอนาคต อาจต้องมีการประเมินค่าความสำคัญของพื้นที่น ั้นๆ ว่าสมควรที่จะลงทุนงบ มหาศาลเพื่อรักษาไว้หรือไม่ เพราะชายฝั่งทะเลที่ยาวมาก คงไม่สามารถรักษา ไว้ได้ทุกจุด ขณะที่พื้นที่ที่มีความสำคัญก็มีความจำเป็นในการทุ่มงบประมาณลงไป ส่ ว นมาตรการแก้ ไ ขในระยะยาว ก็ จ ะมี ก ารออกกฎหมายกำหนดรู ป แบบการ ใช้ประโยชน์ของทีด่ นิ ในบริเวณนัน้ “ถ้าหากเราไม่มีการควบคุม ปล่อยให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงใช้พื้นที่อย่าง ตามสบาย ก็เป็นการเพิม่ ความเสีย่ งทีจ่ ะทำให้เกิดการกัดเซาะ ยกตัวอย่างเช่นพืน้ ที่ ชายฝั่งที่เป็นบ่อเลี้ยงกุ้งก็ควรจะไปทำอย่างอื่น เช่นปลูกพืชยืนต้นที่ทนเค็มแทน ซึง่ การใช้ประโยชน์กเ็ ป็นเรือ่ งสำคัญ” วรวุฒกิ ล่าว ในช่วงที่หลายฝ่ายกำลังแสวงหาแนวทางและดิ้นรนแก้ไขปัญหาอยู่นี้ ในอีก ด้านหนึ่ง การกัดเซาะกลืนกินแผ่นดินก็ยังคงเกิดอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้ม ทวีความรุนแรงมากขึ้น ถึงเวลานี้เหมือนว่าการที่เราต้องไปต่อสู้กับธรรมชาตินั้น ดูจะเป็นเรือ่ งทีท่ ำได้ยากมากยิง่ ขึน้ ในยุคทีโ่ ลกพัฒนามาไกล แต่นอ่ี าจจะถึงเวลาแล้ว ที่เราจะหันกลับมาเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติอย่างสมดุล เพื่อประโยชน์สูงสุด ในการดำรงชีวติ และประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติทม่ี อี ยูอ่ ย่างยัง่ ยืน

76


อีกหนึ่งความหวังที่จะหยุดการกลืนกินของทะเล ทีผ่ า่ นมามีความพยายามจากนักวิชาการหลายสำนักในอันทีจ่ ะคิดหาทางออก ให้กับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง หนึ่งในนั้นคือทีมงานของ รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ซึ่งอยู่ในระหว่างการวิจัยศึกษารูปแบบการแก้ปัญหาการกัดเซาะ ชายฝัง่ ของสมุทรปราการ จากการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) โดยมีบา้ นขุนสมุทรจีนซึง่ กำลังเผชิญการกัดเซาะรุนแรงทีส่ ดุ เป็นพืน้ ทีท่ ดลอง รศ.ดร.ธนวัฒน์กล่าวว่า จากการศึกษาวิจยั มากว่า 10 ปี พบว่าวิธที เ่ี หมาะสม ในการป้องกันการกัดเซาะสำหรับพืน้ ทีท่ ม่ี รี ะดับความรุนแรงอย่างบ้านขุนสมุทรจีน คือควรหันมาใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่ง ด้วยการผสมผสานระหว่าง โครงสร้างแบบแข็ง ก่อนทีจ่ ะมาใช้โครงสร้างแบบอ่อนตามมา “วิธที ค่ี ดิ ไว้คอื ใช้การปักเสาลงไปในลักษณะคล้ายเสาไฟฟ้า แต่เป็นรูปทรง สามเหลีย่ ม เพราะเวลาคลืน่ มาก็จะสะท้อนและชนกัน ทำให้ตะกอนม้วนลงข้างล่าง เกิ ด การสะสมของดิ น ตามมาด้ ว ย คาดหวั ง ไว้ ว ่ า นอกจากจะป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ เกิดการเซาะฝั่งได้แล้ว ก็ยังมีลุ้นให้เกิดแผ่นดินงอกเพิ่มอีกด้วย วิธีนี้ทีมวิจัยกับ ชาวบ้านจะต้องร่วมกันตรวจหาตะกอนเป็นระยะๆ ด้วย” ดร.ธนวัฒน์กล่าว สำหรับขัน้ ตอนหลังจากใช้โครงสร้างแบบแข็งแล้ว ก็จะใช้โครงสร้างแบบอ่อน เป็นลำดับถัดมา เช่นอาจจะมีการเติมทรายให้ชายหาด หรือปลูกป่าชายเลน หรืออาจทำควบคู่กันไป แต่หลักสำคัญต้องได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน เพราะต้องร่วมมือกันทำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี และจนถึงเวลานี้ก็ยัง ไม่ ส ามารถบอกได้ ว ่ า ทั ้ ง หมดนี ้ เ ป็ น วิ ธ ี ท ี ่ ถ ู ก ต้ อ งร้ อ ยเปอร์ เ ซ็ น ต์ ห รื อ ไม่ เมือ่ ทดลองทำซักระยะแล้วอาจต้องเปลีย่ นเป็นวิธที ่ี 2 หรือวิธที ่ี 3 ตามมา แต่กถ็ อื เป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะหากทำสำเร็จ ที่นี่ก็จะกลายเป็นกรณีศึกษาเพื่อ นำไปประยุกต์ใช้กบั พืน้ ทีอ่ น่ื ๆ ทีป่ ระสบกับปัญหาในลักษณะเดียวกัน

77


บรรณานุกรม กรรมการสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน. (2548). รายงานผลกระทบด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน วิ ถ ี ช ี ว ิ ต ของประชาชนที่อาศัย บริเวณชายฝั่งภาคใต้. อัดสำเนา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2548). รายงานฉบับสมบูรณ์ : โครงการศึกษา หาสาเหตุการกัด เซาะชายฝัง่ ทะเลและแนวทางการแก้ไขป้องกันชายฝัง่ ทะเลทีไ่ ด้รบั ผลกระทบบริเวณ พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กรมทรัพยากรธรณี. (2547). อัดสำเนา ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล. (2548). การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย : ปัญหา และแนวทางการจัดการ; หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย http://www.dmr.go.th/geohazard/coastero/CZMEROS/Ce_cause2.files/ slide0001.htm http://www.eng.ubu.ac.th/~nyakobo/Geology-02.pdf http://www.grida.no/climate/ipcc_tar/wg1/338.htm http://www.nakhon.org/modules.php?name http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=rayong&topic=31

สัมภาษณ์ รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวทิ ยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมร เข่งสมุทร ผู้ใหญ่บ้านบ้านขุนสมุทรจีน ต. แหลมฟ้าผ่า อ. พระสมุทรเจดีย์ จ. สมุทรปรากการ ปริญญา กลัน่ วง ผูป้ ระกอบการร้านอาหารชายหาดพะยูน อ. บ้างฉาง จ. ระยอง ปิยะดา ควรหา ผู้ประกอบการรีสอร์ตบ้านบุญเพชร ต. ทับมา อ. เมือง จ. ระยอง

78


โรคอุบัติใหม่-โรคอุบัติซ้ำ มหันตภัยร้ายยิ่งกว่าที่คิด ผูเ้ ขียน น.รินี เรืองหนู

79


โลกที่เสมือนถูกย่อให้ใบเล็กลงนี้ มนุษย์ได้ บุ ก รุ ก ทำลายธรรมชาติ ใ นทุ ก หนทุ ก แห่ ง มากขึ้น สุดท้ายจึงทำให้เชื้อโรคจากสัตว์ป่า แพร่กระจายมาสูค่ น ในขณะเดี ย วกั น การเดิ น ทางที ่ สามารถเชื่อมถึงกันได้ทั่วทุกมุมโลกอย่าง รวดเร็ ว อั น เป็ น ผลจากความชาญฉลาด ของมนุษย์ในการคิดค้นเทคโนโลยีท่ี ทันสมัย ไม่เพียงแต่นำความสะดวกสบาย มาสู่ชีวิต แต่ ใ นอี ก ด้ า นหนึ ่ ง ก็ น ำพาเชื ้ อ โรค ร้ า ยจากสถานที ่ ห นึ ่ ง ไปสู ่ อ ี ก สถานที ่ ห นึ ่ ง ได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน สิ่งที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ คือเงื่อนไข สำคัญของอุบตั กิ ารณ์ “โรคระบาด” ทีเ่ กิดขึน้ อยู ่ ท ั ่ ว ทุ ก มุ ม โลก และกำลั ง รุ ก คื บ เข้ า ทำลายล้างสิ่งมีชีวิตอยู่ในขณะนี้

80


ย้อนรอยโรคระบาดร้ายคุกคามชาวโลก การแพร่ระบาดของโรคจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งเกิดขึ้นมานาน นับศตวรรษ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากประชาคมโลกเท่าที่ควร จนกระทั่งปี 2524 เมื่อมีรายงานจากวงการแพทย์ว่าพบโรคเอดส์ในสหรัฐอเมริกา นับแต่นั้นมา ความตื่นตัวต่อโรคระบาดข้ามทวีปก็มีมากขึ้นมาเป็นลำดับ อย่างไรก็ดี จากการศึกษาย้อนหลังพบว่า โรคเอดส์อบุ ตั ขิ น้ึ ครัง้ แรกปี 2513 ในทวีปแอฟริกา โดยสันนิษฐานว่าคนติดเชือ้ เอชไอวี (HIV) จากลิงแอฟริกา จากนัน้ จึงระบาดไปทัว่ โลก สำหรับประเทศไทยพบว่ามีการระบาดของโรคเอดส์ในปี 2520 โดยพบในกลุม่ รักร่วมเพศ ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นผูป้ ว่ ยทีต่ ดิ เชือ้ มาจากต่างประเทศ จากนัน้ ปี 2531 ก็แพร่ระบาดเข้าไปในกลุม่ ผูต้ ดิ สารเสพติดชนิดฉีด และอีก 1 ปีถดั มา คือปี 2532 ก็ระบาดในกลุม่ หญิงขายบริการทางเพศ ไม่เพียงแต่โรคเอดส์เท่านั้นที่สร้างความหวาดหวั่นให้กับคนไทย กลางเดือน พฤศจิกายน ปี 2545 ก็เกิดเหตุการณ์ที่ชาวมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งอาศัยอยู่ทาง ตอนใต้ของประเทศจีน ป่วยเป็นโรคปอดบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมาแพทย์ ก็ได้ระบุว่าเป็น “โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง” หรือโรคซาร์ส ซึ่งเกิดจาก เชือ้ ไวรัสสายพันธุใ์ หม่ “กลุม่ โคโรนาไวรัส” (Corona Virus) หลังจากนั้นไม่นาน โรคซาร์สก็ได้สร้างความน่าสะพรึงกลัวให้กับผู้คนทั่วโลก เนื่องจากมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว มีผู้ป่วยติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ในระยะเวลาเพียงไม่กเ่ี ดือน โดยเฉพาะในแถบภูมภิ าคเอเชียทีไ่ ด้รบั ผลกระทบรุนแรง ไม่วา่ ประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ และเวียดนาม ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 มีผปู้ ว่ ยจาก 29 ประเทศ นับเป็นจำนวนทัง้ สิน้ 8,437 ราย เสียชีวติ 813 ราย สำหรับประเทศไทย มีรายงานผูป้ ว่ ยต้องสงสัยว่า จะเป็นโรคนี้ 9 ราย เสียชีวติ 2 ราย และทุกรายมีประวัตวิ า่ เดินทางมาจากประเทศทีม่ ี การระบาดของโรคนีท้ ง้ั สิน้ อีกโรคหนึง่ ทีส่ ำคัญ และร้ายกาจไม่ยง่ิ หย่อนไปกว่ากัน นัน่ คือ “โรคไข้หวัดนก” (Avian Influenza) กระทรวงสาธารณสุขจีนรายงานว่า เมือ่ เดือนพฤศจิกายน 2546 ทหารในกรุ ง ปั ก กิ ่ ง ป่ ว ยด้ ว ยอาการปอดอั ก เสบ มี อ าการทรุ ด หนั ก รวดเร็ ว 81


และเสียชีวติ ด้วยอาการทางระบบหายใจอย่างรุนแรง ครัง้ นัน้ คณะแพทย์ทท่ี ำการรักษา สรุปว่าติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช 5 เอ็น 1 (H5N1) โดยสาเหตุของการ แพร่ระบาด มาจากสัตว์ปกี ต่อมาในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน พบว่ามีผู้ติดเชื้อชนิดเดียวกันในประเทศ เวียดนาม ถัดจากนัน้ อีก 2 ปี คือในเดือนตุลาคม 2548 จีนได้รายงานว่าพบผูต้ ดิ เชือ้ อีกครัง้ ในมณฑลเหอหนาน จากนัน้ พบว่ามีการระบาดในภูมภิ าคต่างๆ ทัว่ โลก ได้แก่ อาเซอร์ไบจัน จิบูตี อียิปต์ เวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชา ตุรกี อิรัก รวมทั้ง ประเทศไทย โรคร้ายที่กำลังระบาดอยู่ในทั่วทุกมุมโลกในขณะนี้ เป็นสิ่งที่น่าวิตกกังวล อย่างมาก ถึงขั้นที่องค์การอนามัยโลกต้องประกาศเตือนว่า ศตวรรษที่ 21 ประชากรโลกจะต้องเผชิญกับโรคติดเชือ้ เพิม่ ขึน้ ทัง้ โรคติดเชือ้ อุบตั ซิ ำ้ ทีม่ แี นวโน้มว่า จะกลับมาระบาดอีกกว่า 180 โรค และโรคติดเชือ้ ทีเ่ กิดขึน้ ใหม่ โดยเฉพาะโรคติดเชือ้ จากสัตว์สู่คนที่เป็นอันตรายร้ายแรง เช่น โรคซาร์ส โรคไข้หวัดนก และโรค ไข้สมองอักเสบนิปาห์ ฯลฯ ขณะที่ฝ่ายนักวิทยาศาสตร์เองก็มีความเห็นสอดคล้อง กั น ว่ า ในอนาคตตราบใดที ่ ม นุ ษ ย์ ย ั ง ไม่ ห ยุ ด การบุ ก รุ ก ธรรมชาติ ย ั ง ไม่ ห ยุ ด ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในป่าเขตร้อน มนุษย์กจ็ ะยังต้องเผชิญกับเชือ้ โรค หรือโรคติดเชื้อใหม่ๆ อีกหลายชนิดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับมนุษย์มาก่อน

รูจ้ กั โรคอุบตั ใิ หม่-โรคอุบตั ซิ ำ้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการค้นพบยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรค ทำให้คนตื่นเต้นดีใจว่ามียาที่สามารถปราบโรคร้ายต่างๆ ได้ ประกอบกับการ ที่มีวัคซีนฉีดป้องกันโรค คนจึงคิดว่าเทคโนโลยียาปฏิชีวนะและวัคซีนดีที่สุดแล้ว ทำให้ไม่มีใครทำการวิจัยและพัฒนาในเรื่องยาอีก แต่หันไปวิจัยเรื่องอื่นๆ แทน และในช่ ว งนี ้ เ องที ่ เ ชื ้ อ โรคบางตั ว เริ ่ ม ดื ้ อ ยาและโรคบางโรคเริ ่ ม ไม่ ม ี ย ารั ก ษา แล้วเมื่อเชื้อโรคมีการดื้อยามากขึ้น จำนวนผู้ป่วยเรื้อรังก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว สุดท้ายจึงก่อให้เกิดโรคติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ขณะเดียวกัน การบุกรุกธรรมชาติอย่างหนัก และทำลายความหลากหลาย ทางชีวภาพในป่าเขตร้อน ก็ทำให้มนุษย์ต้องเผชิญกับเชื้อโรคใหม่ๆ อีกหลายชนิด 82


อย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน การระบาดของโรคติดต่อเหล่านี้ ทั้งเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ และเป็นโรคที่เคย เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อในอดีต รวมเรียกว่า “โรคติดเชื้ออุบัติใหม่” และ “โรคติดเชื้อ อุบตั ซิ ำ้ ” หรือทีเ่ รียกย่อๆ ว่า โรคอุบตั ใิ หม่และโรคอุบตั ซิ ำ้ “โรคอุบตั ใิ หม่” และ “โรคอุบตั ซิ ำ้ ” คืออะไร เชือ่ ว่าสังคมไทยในปัจจุบนั ยังมีอกี หลายคนที่ไม่เคยรู้จัก แต่สำหรับในทางวิชาการได้อธิบายปรากฏการณ์ของการ เกิดโรคไว้อย่างชัดเจน กล่าวคือ กรณีที่เป็นโรคใหม่ๆ แม้จะรู้สาเหตุแน่นอน แต่ถา้ ยังไม่เคยเกิดขึน้ ในพืน้ ทีใ่ ดในโลก เพิง่ พบครัง้ แรก จะเรียกว่าโรคติดเชือ้ อุบตั ใิ หม่ (Emerging or New infectious disease: EID,NID) แต่ถา้ โรคทีเ่ คยเป็นปัญหา มาก่อนในอดีต และได้รบั การควบคุม ทว่ายังกลับมาเป็นหรือระบาดซ้ำอีก จะเรียกว่า โรคติดเชือ้ อุบตั ซิ ำ้ (Remerging or Resurgent infectioua disease: RID) การทีจ่ ะบ่งบอกว่าโรคใดคือโรคอุบตั ใิ หม่ หรือโรคอุบตั ซิ ำ้ นัน้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขยายความว่า คือโรค ที่เกิดจากเชื้อใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนหรือเป็นเชื้อเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่ทั้งหมดนี้ ต้องมีความสามารถในการติดต่อครอบคลุมในบริเวณกว้างขวางขึ้นมีความสามารถ แพร่ข้ามสายพันธุ์ในสัตว์ต่างๆ หรือข้ามมาในคน และต้องก่อให้เกิดความรุนแรง หรือผลกระทบในวงกว้างทางชีวติ เศรษฐกิจ ทรัพย์สนิ และความมัน่ คงของประเทศ ขณะที่ สพ.ญ.ดร.วันทนีย์ กัลล์ประวิทธิ์ สัตวแพทยสภา ให้ความเห็นเกีย่ วกับ โรคอุบตั ใิ หม่และโรคอุบตั ซิ ำ้ ในเชิงสัตวแพทย์วา่ โรคอุบตั ใิ หม่คอื โรคทีร่ สู้ าเหตุแน่นอน แต่ไม่เคยเกิดในสัตว์ หรือเคยเกิดในสัตว์ แต่ไม่เคยเกิดในคน และไม่เคยเกิดขึ้น ในพื้นที่ใดมาก่อน ซึ่งสังเกตได้ว่ามีความผิดปกติ ส่วนโรคอุบัติซ้ำคือโรคที่เคยเป็น ปัญหามาก่อนในอดีต แม้ได้รับการควบคุม แต่ไม่ได้ถูกกำจัดอย่างสิ้นเชิง ในที่สุด กลับมาเป็นปัญหาอีกครั้ง ลั ก ษณะสำคั ญ เฉพาะตั ว ที ่ จ ะก่ อ ให้ เ กิ ด โรคอุ บ ั ต ิ ใ หม่ แ ละโรคอุ บ ั ต ิ ซ ้ ำ คือกระบวนการทะลักล้นของเชื้อโรคจากแหล่งรังโรคมาสู่คนและสัตว์ มีรายงาน ทางวิชาการแพทย์ระบุว่า เมื่อปลายปี 2547 พบเชื้อโรคที่สามารถติดต่อสู่คนได้มี 1,407 ชนิด ถัดมาในปี 2548 พบว่าเชือ้ โรคเพิม่ ขึน้ เป็น 1,415 ชนิด ในจำนวนนี้ 3 ใน 4 เกิดจากการติดต่อจากสัตว์สคู่ น และประมาณ 177 ชนิด จัดเป็นโรคติดเชือ้

83


อุบตั ใิ หม่และโรคอุบตั ซิ ำ้ ซึง่ ในจำนวนมีถงึ 37 เปอร์เซ็นต์ทเ่ี กิดจากเชือ้ ไวรัสในกลุม่ ที่มีสารพันธุกรรมเป็น Ribonucleic acid: RNA โดยกลุ่มอาร์เอ็นเอไวรัสนั้น มีมากถึง 77 ชนิด และในจำนวนนีป้ ระมาณ 49 เปอร์เซ็นต์ทำให้เกิดสมองอักเสบ อาร์เอ็นเอไวรัสมีคุณสมบัติในการปรับตัว แพร่พันธุ์ ปรับแต่งกลไกการรุกล้ำ เพิม่ ประสิทธิภาพของการติดเชือ้ ทำให้กอ่ โรคได้รนุ แรงขึน้ เพราะสามารถแพร่กระจาย ในวงกว้างทั้งจากสัตว์ ยุง แมลง สู่คน จากคนสู่คน ด้วยวิธีการไอ จาม สัมผัส เพศสัมพันธ์ การปลูกถ่ายอวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือแม้แต่การกิน เช่น ไวรัสเอชไอวี โรคซาร์ส ไข้หวัดนก ไวรัสสมองอักเสบแบบต่างๆ ไข้เลือดออก ฯลฯ จะเห็นได้ว่าโรคติดต่อเหล่านี้ เป็นทั้งโรคที่เกิดขึ้นใหม่ และโรคที่เคยเกิดขึ้น มาแล้ ว เมื ่ อ หลายปี ก ่ อ น แต่ ท ี ่ ส ำคั ญ คื อ ล้ ว นแต่ เ ป็ น โรคที ่ ร ะบาดเป็ น วงกว้ า ง ไม่จำกัดอยูเ่ ฉพาะในประเทศใดประเทศหนึง่ หากแต่เป็นการระบาดไปอย่างทัว่ ถึงกัน ยังประเทศข้างเคียงหรือในภูมิภาคเดียวกัน หรือเลยไปถึงทวีปที่อยู่ติดกัน กระทั่ง อาจเลยเถิดถึงขั้นระบาดเผื่อแผ่กันทั่วโลก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุก ประเทศจะต้องหันมาให้ความสำคัญ และร่วมมือกันในการเฝ้าระวัง และควบคุม ป้องกันโรคติดต่อเหล่านี้ ไม่ให้ออกมาอาละวาดคร่าชีวิตผู้คนเป็นว่าเล่นเช่นนี้

ต้นสายปลายเหตุแห่งโรคระบาด ในช่วง 2 - 3 ทศวรรษที่ผ่านมา เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จนมนุษย์เราแทบจะตามไม่ทัน สาเหตุของวิวัฒนาการโรคและการแพร่ระบาด พอจะประมวลได้ 3 ประการเป็นสำคัญ คือ วิวัฒนาการเชื้อโรค: ยิ่งต้านยิ่งแข็งแกร่ง เนือ่ งจากเชือ้ โรคเป็นสิง่ มีชวี ติ จึงมีกระบวนการให้คนหรือสัตว์มคี วามสามารถ ในการแพร่เชือ้ โรคได้ ไม่ใช่วา่ พอติดเชือ้ แล้วคนตายเชือ้ ก็จะตายไปด้วย นอกจากนีใ้ น กระบวนการของเชือ้ ยังมีการเปลีย่ นแปลงสารพันธุกรรมของตัวเชือ้ อยูเ่ รือ่ ยๆ จะมีการ เปลีย่ นแปลงทัง้ ผลร้ายและผลดีตอ่ เชือ้ สำหรับผลดีตอ่ เชือ้ คือสามารถทะลุทะลวง เข้าไปติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และยังสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันต่างๆ ของสัตว์และคน เพื่อที่จะทำให้เกิดโรค แล้วส่งผ่านไปได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง กลไกของการป้องกัน 84


ของคนยังส่งผลให้เชือ้ โรคพัฒนาตัวเองให้แกร่งมากขึน้ เรือ่ ยๆ เพือ่ จะดำรงเผ่าพันธุ์ ของเชื้อด้วยนั่นเอง พฤติกรรมของมนุษย์: ยิ่งใกล้ยิ่งอันตราย ศ.นพ.ธี ร ะวั ฒ น์ ก ล่ า วว่ า การที ่ ค นและสั ต ว์ ม ี ค วามใกล้ ช ิ ด กั น มากขึ ้ น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรค เนื่องจากสัตว์เป็นแหล่งเพาะหรือซ่องสุมเชื้อ เชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสัตว์ในขณะที่สัตว์เหล่านี้ไม่ตาย แต่พอคนเข้ามาใกล้ชิด และสัมผัสกับสัตว์เหล่านี้ เช่นมีการบุกรุกป่าเพือ่ สร้างสนามกอล์ฟ มีการตัดถนนผ่าน ผืนป่า ก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ ด้าน รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผูอ้ ำนวยการศูนย์พนั ธุวศิ วกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค ขยายความในประเด็นสาเหตุที่เกิด จากการเปลี ่ ย นแปลงพฤติ ก รรมของมนุ ษ ย์ ว ่ า “หลายคนสงสั ย ว่ า มนุ ษ ย์ เ ป็ น โรคติดเชื้อได้อย่างไร คิดว่าโรคที่มีในปัจจุบันก็มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา แต่จริงๆ บางโรคนั้นไม่ใช่ เช่นโรคไข้เลือดออก ก่อนปี 2500 ไม่เคยปรากฏโรคนี้ หากถามว่าแต่ละโรคมีอายุประมาณเท่าไหร่ กรณีเชื้อวัณโรคมีอายุประมาณหมื่นปี โดยเกิ ด จากการเลี ้ ย งวั ว เนื ่ อ งจาก วั น หนึ ่ ง มนุ ษ ย์ เ กิ ด อยากเริ ่ ม เลี ้ ย งวั ว พออยูไ่ ปเรือ่ ยๆ วัวใกล้ชดิ คน เชือ้ ก็เริม่ กระจายจากหมู่บ้านเล็กๆ ไปสู่ในเมือง สิ่งเหล่านี้ชี้เห็นได้ว่า เมื่อมนุษย์เปลี่ยน พฤติกรรมก็จะมีเชื้อเกิดขึ้นใหม่ได้” “อีกตัวอย่างหนึ่งคืออหิวาตกโรค มาจากไหนไม่มใี ครรู้ แต่เข้าใจว่าเริม่ จาก ประเทศอินเดีย บังกลาเทศ เกิดขึน้ เมือ่ ประชากรมากพอที่จะสร้างเมืองใหญ่ จึ ง เกิ ด ปั ญ หา คื อ การกำจั ด อุ จ จาระ เพราะเรื่องส้วมสำคัญ สมัยแรกเรื่อง เทคโนโลยีในการจัดการสิ่งปฏิกูลยังไม่ ภาพจาก http://cropwatch.unl.edu เกษตรกรกำลังเปิดพื้นที่เพื่อทำเกษตร

85


ค่อยดี คนไม่ค่อยรู้วิธีอุจจาระที่ถูกสุขลักษณะ จึงเข้าไปปนเปื้อนกับน้ำวนเวียน อยู่ในประชากรระยะหนึ่ง เชื้อจึงเริ่มปรับตัวกลายเป็นอหิวาตกโรค ตั้งแต่นั้นมา ก็เกิดโรคนี้ แต่พอมีการสร้างส้วม มีนำ้ สะอาดใช้ ก็ควบคุมได้” “หรือกรณีของโรคไข้หวัดใหญ่ เข้าใจว่าอาจมาจากการที่คนเลี้ยงสัตว์ปีก จำพวกเป็ด ในประเทศจีนมีการเลีย้ งเป็ดมาหลายพันปี ทำให้เริม่ สัมผัสกับเป็ดติดเชือ้ ดังนัน้ ระยะหลังทำให้เข้าใจว่า ตราบใดทีม่ นุษย์ชอบเปลีย่ นพฤติกรรมก็จะเจอเชือ้ ใหม่ๆ ทีก่ อ่ ให้เกิดโรคใหม่ๆ บางโรคอุบตั ขิ น้ึ ไม่นานก็รวู้ ธิ จี ดั การ แต่บางโรคอุบตั มิ านานแล้ว ก็ยงั ระบาดอยู่ เช่นเอชไอวี อย่างไรก็ตาม สิง่ หนึ่งที่สงั เกตได้คอื โรคติดเชือ้ มักมา กับสัตว์ ไม่ได้ลอยมาจากดินและน้ำ” ในขณะที่ สพ.ญ.วันทนีย์ กัลล์ประวิทธิ์ สัตวแพทยสภา กล่าวเสริมว่า ในบางครัง้ ความโลภของมนุษย์กเ็ ป็นสาเหตุสำคัญของการนำเชือ้ โรคเข้าสูร่ ะบบนิเวศ และเข้าถึงตัวคนได้อย่างง่ายดาย “การเลี้ยงสัตว์เชิงการค้าที่ไม่ดูแลกระบวนการควบคุมป้องกันโรคทำให้ สั ต ว์ เ หล่ า นี ้ ม ี โ อกาสเข้ า ไปสั ม พั น ธ์ ใ นระบบนิ เ วศของพวกสั ต ว์ ป ่ า อาทิ น กป่ า ทำให้มีการนำเชื้อไข้หวัดนกไปสู่เป็ดหรือไก่ เมื่อคนไปจับสัตว์กินเป็นอาหาร ก็อาจติดเชื้อโรคได้” สพ.ญ.วันทนีย์ยกตัวอย่าง หรือในกรณีของโรควัวบ้าก็เช่นกัน ที่ในอดีตเวลาเลี้ยงวัวนมและวัวเนื้อ ต้องให้อาหารโปรตีนมากๆ จำพวกเนือ้ ป่น กระดูกป่น ซึง่ สมัยก่อนในกระบวนการผลิต อาหารจำพวกนี้ จะใช้อุณหภูมิสูง ใช้ความดันสูง แต่ด้วยความโลภของมนุษย์ เพื่อให้ได้ปริมาณเพิ่มขึ้น จึงมีการเปลี่ยนกระบวนการผลิตโดยไม่ใช้ความดันและ อุณหภูมิที่เหมาะสม ทำให้โปรตีนที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อไม่ถูกทำลาย เป็นต้น ธรรมชาติ: ปัจจัยที่ไม่อาจฝืน การติดเชือ้ จากสิง่ แวดล้อมในธรรมชาติ แม้ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือยากทีจ่ ะ แก้ไข เช่น ภาวะโลกร้อน ความแห้งแล้ง ไฟไหม้ปา่ เป็นต้น แต่หากพิจารณาให้ดี มนุษย์ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ศ.นพ.ธีระวัฒน์ยกตัวอย่างประกอบถึงกรณีที่เกิดไฟไหม้ป่าที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ว่า

86


“ค้างคาวนำเชื้อไวรัสนิป้า (nipah) ปัญหาคือ เมื่อเกิดไฟไหม้ป่าที่เกาะ สุมาตรา ค้างคาวก็ลี้ภัยไปอยู่ประเทศมาเลเซีย ที่นั่นมีการเลี้ยงหมูในบริเวณที่มี ต้นไม้หนาแน่น ค้างคาวที่มีเชื้อเมื่อกินผลไม้บริเวณนั้นก็จะถ่ายมูลและเยี่ยวออกมา เมื่อหมูไปกินผลไม้ที่ปนเปื้อนเหล่านั้นก็จะติดเชื้อ หรือบางทีค้างคาวไปฉี่ตกใส่หมู ก็จะเกิดการติดเชื้อเช่นกัน พอหมูติดเชื้อ เมื่อคนไปสัมผัสหมู เช่นทำงานในโรงฆ่า ชำแหละ ก็จะติดเชื้อเป็นโรคตาย ซึ่งในประเทศบังคลาเทศ พบว่าโรคร้ายแรงขึ้น โดยติดเชื้อโดยตรงจากค้างคาวสู่คนโดยไม่ผ่านหมู และยังติดต่อตรงจากคนสู่คน โดยพบว่ามีการระบาดใหญ่ของไวรัสนิป้าติดต่อจากคนสู่คนถึง 4 ครั้ง และอัตรา การตายยังสูงขึน้ จาก 40 เปอร์เซ็นต์ เป็น 75 เปอร์เซ็นต์อกี ด้วย อีกตัวอย่างหนึ่งที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ยกขึ้นมาประกอบ คือความแปรปรวน ของสภาพภูมอิ ากาศ ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพเปลีย่ นแปลง และส่งผลให้ เชือ้ โรคทีซ่ อ่ งสุมอยูใ่ นตัวสิง่ มีชวี ติ เปลีย่ นแปลงไปด้วย อาทิ ไวรัสในตระกูล Flavivirus เช่น ไข้สมองอักเสบ JE ในช่วงแห้งแล้งมากๆ ไวรัสจะไปซ่อนอยูใ่ นสัตว์จำพวกหนูขดุ รู เมือ่ ความแห้งแล้งหายไป ไวรัสพวกนีจ้ ะย้ายไปอยูใ่ นนกและหนู โดยมียงุ เป็นตัวถ่าย เชื้อไวรัสจากแหล่งรังโรคแต่ละแห่ง และส่งต่อไปยังคน การปรับเปลี่ยนจาก แหล่งซ่องสุมตัวหนึง่ ไปสูอ่ กี ตัวหนึง่ จะมีกลไกตามธรรมชาติ ทำให้ไวรัสเพิม่ จำนวน ปริมาณได้มากขึน้ และส่งผลให้ยงุ สามารถรับเชือ้ ได้มากขึน้ ตลอดจนเกิดการติดเชือ้ ได้มากขึ้นด้วย เมื่อไปกัดคน การเปลีย่ นย้ายแหล่งเพาะโรคหรือแหล่งซ่องสุมโรค ยังอาจทำให้เชือ้ พัฒนาขึน้ และติดเชือ้ ในคนได้เก่งขึน้ และรุนแรงขึน้ เช่น โรคซาร์ส หรือ อีโบล่า ซึง่ อยูใ่ นค้างคาว และย้ายลงมาในสัตว์อน่ื ทีใ่ กล้ชดิ คนมากขึน้ เช่น ชะมด อีเห็น ในโรคซาร์ส

ความเสีย่ งของประเทศไทย: มหันตภัยใกล้ตวั ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยและภูมิภาคนี้มีโรคที่จัดเป็นโรคอุบัติใหม่ หรืออุบัติซ้ำที่รุนแรงเกิดขึ้นหลายชนิด และก่อผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิต การท่องเที่ยว เศรษฐกิจ โรคเหล่านี้เกือบทั้งหมดติดต่อจากสัตว์สู่คน และต่อมา บางโรคยังพัฒนาเป็นการติดเชือ้ จากคนสูค่ น ผ่านการกิน หายใจ สัมผัสทางผิวหนัง หรือเพศสัมพันธ์ 87


รศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าวว่า สาเหตุส่วนใหญ่ของประเทศไทยเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการ ตัดไม้ทำลายป่า การทำลายธรรมชาติ การเปิบพิสดาร ฯลฯ เป็นการเพิม่ โอกาสให้คน เข้าไปอยูใ่ กล้ชดิ กับสัตว์ ซึง่ เป็นทัง้ แหล่งรังโรคและแหล่งนำโรคมากขึน้ “กรณีการตัดถนนผ่านป่า ผ่านภูเขา ทำให้แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร ของค้างคาว และสัตว์ปา่ ลดน้อยลงหรือหายไป ทำให้สตั ว์เหล่านีต้ อ้ งอพยพไปอยู่ ที่แห่งใหม่ ขณะเดียวกันเมื่อมีถนน คนจะเข้าไปสร้างที่พักอาศัย ทำเกษตรกรรม ทำปศุสตั ว์ ถ้าเป็นการเลีย้ งสัตว์ระบบฟาร์มในบริเวณทีม่ คี า้ งคาว เมือ่ ค้างคาวกินผลไม้ ก็จะมีการถ่ายมูลรดลงไปในฟาร์ม สัตว์ที่เลี้ยงไว้ก็มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย” รศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าวเสริม สำหรับสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบัน เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุ ม โรค กระทรวงสาธารณสุ ข ได้ ป ระกาศเตื อ นคนไทยให้ เ ฝ้ า ระวั ง การระบาดใหญ่ของโรค 4 ชนิด ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ จากเชือ้ ไวรัสเอช 1 เอ็น 1 (H1N1) โรคไข้หวัดนกจากเชือ้ ไวรัสเอช 5 เอ็น 1 (H5N1) โรคไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ และโรคมือเท้าปากเปื่อย จากเชื้อไวรัส เอ็นเทอโร 71 ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานสถานการณ์ของโรคทั้ง 4 ชนิดนี้ ในประเทศไทยว่า ตั้งแต่ต้นปี 2549 จนถึงเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน พบผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออกมากถึง 21,000 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 23 ราย พบผู้ป่วย โรคไข้หวัดใหญ่ 7,430 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยในถึง 868 ราย แต่ไม่มี รายงานผูเ้ สียชีวติ ส่วนโรคมือเท้าปากเปือ่ ย แต่ละปีพบผูป้ ว่ ย 2,000 - 3,000 ราย โดยในปีน้ี พบว่ามีเด็กป่วยและเสียชีวติ ด้วยโรคดังกล่าวแล้วถึง 8 ราย และคาดการณ์ ว่าในระยะนี้ทั้ง 4 โรคข้างต้นจะแพร่ระบาดรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วง วัฏจักรของการระบาด นอกจากการเตือนภัยข้างต้นของหน่วยงานรัฐ ยังมีโรคอุบตั ใิ หม่และโรคอุบตั ซิ ำ้ อีกหลายชนิดทีส่ งั คมไทยพึงเฝ้าระวัง ดังตาราง

88


89

เชื้อ/สาเหตุ หนู กระต่ายป่า กระรอก หน สุนขั โค กระบือ สุกร สัตว์ปา่ อืน่ ๆ

สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม

พยาธิฝงั ใน กล้ามเนื้อสัตว์ หนูตามไร่นา บ้าน

พฤติกรรมมนุษย์ ที่อยู่อาศัยเสื่อมโทรม

ตัวอ่อนของพยาธิ ตัวกลมลำไส้ Trichinella spiralis ไวรัสฮันตา

4. พยาธิ ทริคเิ นลโลซิส

5. ฮันตาไวรัส

หนู

การเลี้ยงสัตว์ ที่อาศัยเสื่อมโทรม

ริคเก็ตเซีย Rickettsia mooseri

โลกร้อน อุทกภัย

แหล่งเชื้อโรค

ปัจจัยเกิดโรค

3. มิวรีนทัยฟัส

1. กาฬโรค

แบคทีเรีย Yersinia pestis แบคทีเรีย 2. ฉีห่ นู (เล็ปโตสไปโรซิส) Leptospira interrogans

โรค

โรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำที่ต้องเฝ้าระวัง

หมัดกัดที่หนูติดเชื้อ แล้วมากัดคน คนติดเชื้อจากการสัมผัส ปัสสาวะสัตว์หรือติดจาก คราบที่ปนเปื้อนปัสสาวะ โดยเชื้อ เข้าร่างกายทางผิวหนัง เยือ่ บุตา จมูก ปาก หมัดดูดเลือดหนูแล้วไปกัดคน หรือคนไปบดขยี้ตัวหมัดหรือมูล หมัด หรือหายใจเอาละอองเชื้อ เข้าไปในร่างกาย คนกินเนื้อสัตว์ที่มีพยาธิตัวอ่อน ซึง่ มักปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ ลู่ แหนม ไวรัสอยู่ในปัสสาวะ น้ำลาย อุจจาระหนู คนติด จากการสูดละอองจากสิง่ ขับถ่าย

วิธีติดต่อ


90 ไวรัสพิษสุนัขบ้า แบคทีเรีย Spirillum minus พลาสโมเดี่ยม ฟาลซิฟารั่ม

ไวรัสเด็งกี่

6. พิษสุนขั บ้า 7. ไข้หนูกดั

9. ไข้เลือดออก

8. มาเลเรีย

เชื้อ/สาเหตุ

โรค

บุกรุกป่า ภาวะโลกร้อน การเปลีย่ นแปลงการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงระบบ ชลประทานและนิเวศ วิทยาของน้ำ การเปลีย่ นแปลงทาง สังคม เช่น ชุมชนเมือง การเดินทาง ภาวะ โลกร้อน

ที่อยู่อาศัยเสื่อมโทรม

พฤติกรรมมนุษย์

ปัจจัยเกิดโรค

ยุงมีเชื้อกัดคน

ยุงกัดคน

ยุงลาย

คนติดเชือ้ จากการถูกหนูกดั

ถูกสัตว์กัดหรือเชื้อเข้าทาง เยือ่ บุตา จมูก ปาก

วิธีติดต่อ

ยุงก้นปล่องสายพันธุ์ - อะนอฟฟีลสิ ไดรัส - อะนอฟฟีลสิ มนิมสั - อะนอฟฟีลสิ แมคคู ลาตัส

สุนขั แมว โค กระบือ หนู กระรอก กระแต ค้างคาว หนู กระรอก

แหล่งเชื้อโรค

โรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำที่ต้องเฝ้าระวัง


91

นิปปาห์ไวรัส เวสต์ไนล์ไวรัส

14. ไข้สมอง อักเสบ

15. ไข้สมอง อักเสบ

เอ็นเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71)

พยาธิตวั กลม ขนาดเล็ก ไวรัสแจแปนิส เอนเซบ ฟาไลติส เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต

10. เท้าช้าง

11. ไข้สมอง อักเสบ 12. อหิวาตกโรค หรืออุจจาระร่วง เฉียบพลัน 13. ปากเปือ่ ย เท้าเปือ่ ยในเด็ก

เชื้อ/สาเหตุ

โรค ยุงเสือ ยุงลายป่า ยุงรำคาญ นก หนู

คน

ค้างคาว หมู นก ยุง

บุกรุกป่า ภาวะโลกร้อน บุกรุกป่า ภาวะโลกร้อน สภาวะโลกร้อน พฤติกรรมมนุษย์ อุทกภัย การบุกรุกป่า

การบุกรุกป่า การบุกรุกป่า

แมลงวัน

แหล่งเชื้อโรค

ปัจจัยเกิดโรค

โรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำที่ต้องเฝ้าระวัง

คนรับประทานอาหารที่มี เชือ้ โรคปนเปือ้ น โดยปรุงอาหาร แบบสุกๆ ดิบๆ เชื้ออยู่ในลำไส้คน เมือ่ ร่างกายขับออก เชือ้ สามารถ แพร่ปนเปือ้ นไปกับน้ำ หรืออาหาร เมื่อคนกินก็ติดเชื้อ ค้างคาวถ่ายมูล จากนัน้ คนติดต่อ ผ่านมูลค้างคาวหรือสัมผัสหมู ทีต่ ดิ เชือ้ และคนสูค่ น ยุงกัดนกแล้วกัดคนหรือสัตว์อื่น เช่น ม้า ทำให้ตดิ เชือ้

ยุงกัดคน

ถูกยุงกัดคน

วิธีติดต่อ


92 ไวรัส H5N1 (Avian influenza type A) แบคทีเรีย ไวรัส Mycobacterium tuberculosis โคโรนาไวรัส ไวรัสอีโบลา แบคทีเรีย Neisseriae meningitidis

16. ไข้หวัดนก

17. วัณโรค

19. ไข้เลือดออก อีโบลา

20. ไข้กาฬ หลังแอ่น

18. ซาร์ส

เชื้อ/สาเหตุ

โรค

ความแออัดในชุมชน

คน สัตว์ เช่น ชะมด อีเห็น

ความแออัดในชุมชน ประชากรไวต่อการ ติดเชื้อ บุกรุกป่า ความแออัดในชุมชน บุกรุกป่า

คน

ค้างคาว สัตว์ปา่ เช่น ชะมด อีเห็น ลิงชิมแปนซี ค้างคาว หนู

นก เป็ด ไก่

แหล่งเชื้อโรค

การบุกรุกป่า

ปัจจัยเกิดโรค

คนติดเชื้อผ่านทาง ระบบการหายใจ ติดต่อจากการสัมผัสกับ เลือดโดยตรง สารคัดหลัง่ อวัยวะภายใน อสุจขิ องผูป้ ว่ ย เชื้อนี้ติดจากคนไปสู่คน ผ่านทางละอองน้ำมูล น้ำลาย

คนสัมผัสน้ำมูกน้ำลาย มูลของสัตว์ที่มีเชื้อ หรือรับประทานสัตว์ที่เป็นโรค เพราะปรุงอาหารสุกๆ ดิบๆ คนติดเชื้อผ่านทาง ระบบการหายใจ

วิธีติดต่อ

โรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำที่ต้องเฝ้าระวัง


บทเรียนร่วมสูร่ ะบบเฝ้าระวังทีด่ ี ปัจจุบันมีสถานการณ์โรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ประกอบกับสถานการณ์ ไข้ ห วั ด นกที ่ ร ะบาดรุ น แรง ทำให้ อ งค์ ก ารอนามั ย โลกต้ อ งทบทวนกฎอนามั ย ระหว่างประเทศ ค.ศ. 2005 (International Health Regulations 2005) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2550 และประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบ ในหลักการแล้ว โดยมีสาระสำคัญคือ เพื่อป้องกัน ควบคุมการแพร่กระจายโรค และภั ย สุ ข ภาพข้ า มประเทศ ไม่ ใ ห้ ม ี ผ ลกระทบต่ อ การคมนาคมและการค้ า ระหว่างประเทศ (International traffic and trade) และต้องไม่ขดั ต่อสิทธิมนุษยชน (Human right) และอธิปไตยของแต่ละประเทศ แบ่งเป็น 1. โรคติดต่อที่ประเทศภาคีต้องแจ้งให้องค์การอนามัยโลกทราบภายใน 24 ชัว่ โมง และควบคุมป้องกันโรค หากทราบว่ามีการระบาดของโรคดังกล่าวในประเทศ ได้แก่ ไข้ทรพิษ (ฝีดาษ) โปลิโอมัยอิลัยติส ซาร์ส และไข้หวัดใหญ่ (ในคนที่เป็น เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่) 2. โรคติดต่อที่ประเทศภาคีจะพิจารณาว่าเป็นโรคที่มีแนวโน้มว่าแพร่ระบาด ข้ามประเทศ (Public Health Emergency of International Concern: PHEIC) ให้แจ้งองค์การอนามัยโลกหากพบโรค ได้แก่ อหิวาตกโรค กาฬโรคปอดบวม ไข้เหลือง ไข้เลือดออกจากไวรัส (อีโบลา ลัสสา มาร์เบิรก์ ไข้สมองอักเสบเวสต์ไนล์) และโรคอืน่ ๆ ซึง่ เป็นทีห่ ว่ งกังวลเป็นพิเศษ อาทิ ไข้เลือดออกเด็งกี ลิฟท์วลั ลีย์ ไข้กาฬหลังแอ่น 3. โรคหรือภัยสุขภาพอื่นๆ ให้พิจารณาว่าเป็นโรคที่มีแนวโน้มว่าแพร่ระบาด ข้ามประเทศ 4. ประเทศจะต้องจัดให้มกี ารพัฒนา ปรับปรุง ระบบเฝ้าระวังและควบคุมโรค ให้สามารถตรวจจับ ประเมินรายงาน และควบคุมโรคหรือภัยสุขภาพ ตั้งแต่ระดับ หมู่บ้านจนถึงระดับประเทศ และปรับปรุงพัฒนามาตรการการป้องกันควบคุมโรค ทีด่ า่ นเข้าออกระหว่างประเทศ โดยกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีหลังจากการรับรอง กฎอนามัย 5. ให้ ป ระเทศมี ก ารพั ฒ นามาตรฐานและสุ ข อนามั ย ของด่ า นเข้ า ออก ระหว่างประเทศ 6. ให้แต่ละประเทศสมาชิกจัดหน่วยงานในการประสานงานและดำเนินการ 93


ตามกฎฯ (National IHR Focal Point) และองค์การอนามัยโลกจะต้องจัดให้มี WHO IHR Contact point สำหรั บ ประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุ ข โดยกรมควบคุมโรคได้รับมอบหมายเป็นผู้ประสานงานกับองค์การอนามัยโลก 7. องค์การอนามัยโลกต้องจัดให้มีคณะผู้เชี่ยวชาญ 2 คณะ คือ Review Committee ทำหน้ า ที ่ ท บทวนร่ า งกฎฯ และ Emergency Committee ทำหน้าที่พิจารณาโรคที่มีแนวโน้มว่าสามารถแพร่ระบาดข้ามประเทศที่เกิดขึ้น และให้ขอ้ เสนอแนะต่อองค์การอนามัยโลก 8. หากมีโรคที่มีแนวโน้มว่าแพร่ระบาดข้ามประเทศเกิดขึ้น ประเทศนั้น จะต้ อ งรายงานองค์ ก ารอนามั ย โลกภายใน 24 ชั ่ ว โมง องค์ ก ารอนามั ย โลก สามารถใช้ขอ้ มูลการเกิดโรคจากแหล่งข้อมูลอืน่ ทีไ่ ม่ใช่ของประเทศนัน้ ตรวจสอบกับ ประเทศเพื่อยืนยัน หากมีจริงประเทศต้องจัดการควบคุมป้องกัน โดยองค์การ อนามัยโลกจะส่งทีมผูเ้ ชีย่ วชาญเข้ามาช่วยเหลือ เมือ่ มีการร้องขอจากประเทศนัน้ ๆ 9. แต่ละประเทศต้องทำแผนดำเนินการ เช่น จัดประชุมหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง แต่งตัง้ คณะกรรมการกฎอนามัยระหว่างประเทศ เผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสาร ฯลฯ

เราจะช่วยกันเฝ้าระวังได้อย่างไร การเกิดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา บ่งบอก ชั ด เจนว่ า พฤติ ก รรมของมนุ ษ ย์ ท ี ่ เ ปลี ่ ย นแปลง รวมทั ้ ง ความหลากหลาย ทางชีวภาพที่ผันผ่านไป อาทิ การบุกรุกป่า การทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านั้น ได้นำมาซึ่งหายนะแก่ผู้คนในโลก และยากที่จะคิดค้นหายาหรือวัคซีนมารักษา หรือป้องกัน เพราะการแพร่ระบาดของเชือ้ โรคในยุคสมัยใหม่นร้ี วดเร็วและไร้พรมแดน ดังนั้นกรณีที่เกิดโรคระบาด ทุกภาคส่วนในสังคมจึงมีส่วนสำคัญในการ ยับยัง้ เหตุ ซึง่ หากเป็นระดับประเทศนัน้ ประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกจะต้อง ใช้โครงสร้างการเฝ้าระวัง การรายงาน การแจ้งความ การตอบโต้ ความร่วมมือในการ ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในท่าอากาศยาน ท่าเรือ และช่องทางผ่านเข้าออกทางบก ภายใต้กฎอนามัยระหว่างประเทศ ดังนี้ ระดับชุมชน เมื่อค้นพบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับโรคหรือการเสียชีวิตที่ไม่ทราบ สาเหตุ ให้ ร ายงานข้ อ มู ล ข่ า วสารที ่ จ ำเป็ น ได้ แ ก่ อาการ ผลการตรวจทาง 94


ห้องปฏิบตั กิ าร จำนวนผูป้ ว่ ยและผูเ้ สียชีวติ จากโรค แหล่งและชนิดของความเสีย่ ง ผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของโรค และมาตรการสาธารณสุขที่ดำเนินการแล้ว ไปยังสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข เพื่อดำเนินการ ควบคุม ป้องกันในเบื้องต้นทันที ระดับหน่วยงานสาธารณสุขชัน้ ต้น ยืนยันเหตุการณ์ทร่ี ายงาน และสนับสนุน หรือดำเนินมาตรการควบคุมป้องกันเพิ่มเติม และประเมินเหตุการณ์ที่รายงาน ถ้าพบว่าเป็นเหตุเร่งด่วน ให้รายงานข้อมูลไปยังหน่วยงานส่วนกลางเพื่อระบุ มาตรฐานของเหตุการณ์เร่งด่วน เหตุการณ์ที่มีผลกระทบอย่างรุนแรง และ/หรือ เกิดจากธรรมชาติที่ผิดปกติ และมีแนวโน้มการแพร่ระบาดในวงกว้างสูงมาก ระดับสาธารณสุขส่วนกลาง ประเมินรายงานเหตุการณ์เร่งด่วนทุกเหตุการณ์ ภายใน 24 ชัว่ โมง แจ้งความไปยังองค์การอนามัยโลกทันที ผ่านผูป้ ระสานกฎอนามัย ระหว่างประเทศระดับชาติ เมือ่ พบว่าเหตุการณ์ดงั กล่าวเป็นเหตุการณ์ตอ้ งแจ้งความ กำหนดมาตรการควบคุมป้องกันโรคอย่างรวดเร็วเพือ่ ป้องกันการแพร่ระบาดในประเทศ และระหว่างประเทศ สนับสนุนเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ตัวอย่าง ทางห้องปฏิบัติการ (ในประเทศหรือผ่านศูนย์ความร่วมมือ) การส่งกำลังบำรุง (เช่นเครือ่ งมืออุปกรณ์ วัสดุ การขนส่ง และการเดินทาง) ให้ความช่วยเหลือภาคสนาม ตามทีไ่ ด้รบั การร้องขอ เพือ่ สนับสนุนการสอบสวนในพืน้ ที่ มีเครือข่ายปฏิบตั กิ ารใน พื้นที่และผู้บริหารระดับสูง เพื่ออนุมัติหรือสั่งการควบคุมโรค ติดต่อประสานงาน หน่วยงาน กระทรวง ทีเ่ กีย่ วข้องอืน่ ๆ มีระบบการสือ่ สารทีเ่ หมาะสมและมีประสิทธิผล เชื่อมโยงโรงพยาบาล คลินิก ท่าอากาศยาน ท่าเรือ ช่องทางคนเข้าเมือง ห้อง ปฏิบตั กิ าร และพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารหลัก เพือ่ การส่งข้อมูลข่าวสาร คำแนะนำ ทีเ่ กีย่ วข้อง กับเหตุการณ์ในประเทศ และ/หรือนอกประเทศที่ได้รับจากองค์การอนามัยโลก จัดทำแผนฉุกเฉินระดับชาติ โดยดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ท่าอากาศยานท่าเรือและช่องทางเข้าเมืองทางบก เตรียมพร้อมตลอด เวลา โดยจัดเตรียมแพทย์ เจ้าหน้าที่ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ในการดูแลรักษา ผู้เดินทางที่ป่วย จัดเตรียมยานพาหนะและเจ้าหน้าที่ในการขนย้ายผู้ป่วยไปยัง สถานบริการการแพทย์ทเ่ี หมาะสม จัดเตรียมสิง่ แวดล้อมทีป่ ลอดภัยสำหรับผูเ้ ดินทาง ณ ช่องทางเข้าเมือง รวมทัง้ น้ำ อาหาร ห้องน้ำ สาธารณะ ขยะ และพืน้ ทีเ่ สีย่ งอืน่ ๆ

95


96


กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและมีแนวโน้มลุกลามข้ามประเทศ ให้จัดทำแผน ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและมีความพร้อมตลอดเวลา พร้อมรายชื่อผู้ประสานงาน กับสถานบริการทางการแพทย์ และสัตวแพทย์ในพืน้ ที่ เพือ่ การแยกกัก รักษาพยาบาล และบริ ก ารสนั บ สนุ น อื ่ น ๆ ที ่ ต ้ อ งการ จั ด เตรี ย มห้ อ งแยก เพื ่ อ สั ม ภาษณ์ ผู้เดินทางต้องสงสัยหรือป่วย ประเมินผู้ต้องสงสัย และอาจดำเนินการกักกัน ในสถานที่นอกช่องทางเข้าเมือง จัดตั้งจุดควบคุมขาเข้า-ขาออกสำหรับผู้โดยสาร เข้าและออก จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ป้องกันตัวที่เหมาะสม เพื่อการส่งต่อ ผู้โดยสารที่อาจติดเชื้อหรือปนเปื้อน

กรณีศกึ ษาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก จ. สมุทรสาคร เพื่อให้เห็นปรากฏการณ์ความเสี่ยงของประเทศไทย และความรุนแรง ของการแพร่ ร ะบาดของโรคอุ บ ั ต ิ ใ หม่ แ ละโรคอุ บ ั ต ิ ซ ้ ำ จึ ง ได้ ห ยิ บ ยกพื ้ น ที ่ จ. สมุทรสาคร ซึง่ เป็นหนึง่ ในพืน้ ทีข่ องประเทศไทยทีอ่ าจจะกล่าวได้วา่ เป็นพืน้ ที่ ที่มีปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน “สมุทรสาคร” เป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ในเขตพืน้ ทีต่ อนล่างของภาคกลางติดต่อกับภาคตะวันออกของประเทศไทย มีขนาด พืน้ ทีป่ ระมาณ 872.347 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 3 อำเภอ ได้แก่ อ. เมือง อ. กระทุม่ แบน และ อ. บ้านแพ้ว มี 184,369 หลังคาเรือน โรงงาน 3,291 แห่ง มีประชากรประมาณ 442,687 คน เฉลีย่ ความหนาแน่น 507 คนต่อตารางกิโลเมตร ในจำนวนนีเ้ ป็นผูใ้ ช้แรงงานมากถึง 249,616 คน สภาพพืน้ ทีท่ ว่ั ไปของ จ. สมุทรสาคร เป็นทีร่ าบลุม่ ติดชายฝัง่ ทะเลยาว 41.8 กิโลเมตร และป่าชายเลนสูงจากระดับน้ำทะเล 1 - 2 เมตร เหมาะสำหรับประกอบ อาชีพประมงทะเล เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และทำนาเกลือ ส่วนที่อยู่ถัดไป มีการพัฒนาพืน้ ทีโ่ ดยการขุดคลองเพือ่ นำน้ำจืดเข้าไปเพาะปลูก และเลีย้ งสัตว์นำ้ จืด บางส่วนเป็นย่านประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม และเป็นทีอ่ ยู่ อาศัย นพ.ชัยรัตน์ เวชพานิช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยว่า สมุทรสาครเป็นจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะโรงงาน ผลิตอาหารทะเล จากการสำรวจและขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตอาหารทะเลพบว่า มีโรงงานขนาดใหญ่มากถึง 495 แห่ง นอกจากนี้ ยังมี “ล้ง” หรือโรงงาน

97


ขนาดเล็กที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกกว่า 600 แห่ง และโรงงานเหล่านี้คือส่วนหนึ่ง ทีส่ ร้างมลพิษและทำลายสิง่ แวดล้อมในพืน้ ที่ ทัง้ การปล่อยกลิน่ ควัน น้ำเสีย ขยะ ฯลฯ รวมทัง้ ยังพบด้วยว่า พฤติกรรมของมนุษย์กเ็ ป็นอีกปัจจัยหนึง่ ทีก่ อ่ ปัญหา “แม้ว่าสมุทรสาครจะมีประชากรเพียงสี่แสนคนเศษก็จริง แต่ข้อเท็จจริง ในจำนวนนั้นเราพบว่ายังมีคนต่างด้าวซึ่งเป็นแรงงานจากประเทศพม่ามากถึง แสนกว่าคน นอกจากนีป้ ระเมินว่ายังมีประชากรแฝงอีกจำนวนไม่นอ้ ยคน ทัง้ หมดนี้ เองทีเ่ ป็นต้นเหตุและกระตุน้ ให้เกิดการระบาดของโรคต่างๆ” นพ.ชัยรัตน์กล่าว จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สมุทรสาคร ระบุว่า ในช่วงปี 2547 ถึงเดือนพฤษภาคม 2549 พบว่าในพื้นที่ จ. สมุทรสาคร มีจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคทางระบาดวิทยา 10 อันดับแรก คือ อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ ตาแดง ปอดบวม ไข้เลือดออก วัณโรคปอด ไข้สกุ ใส ไข้ไม่ทราบสาเหตุ อหิวาห์ตกโรค และไข้หวัดใหญ่ นพ.ชั ย รั ต น์ ใ ห้ เ หตุ ผ ลว่ า ปั จ จุ บ ั น สภาพแวดล้ อ มของสมุ ท รสาคร เสื่อมโทรมลงมาก หากใครได้เดินทางไปในพื้นที่ จะพบว่าแหล่งน้ำธรรมชาติ ในปัจจุบนั เน่าเสีย มีขยะเกลือ่ น คนโดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวอยูก่ นั อย่างแออัด ใช้ชวี ติ อย่างไม่ถกู สุขอนามัย เมือ่ มีหนึง่ คนเป็นโรคใดโรคหนึง่ ก็จะแพร่กระจายไปถึง อีกคนหนึง่ อย่างรวดเร็ว ผูป้ ว่ ยเหล่านีส้ ว่ นหนึง่ จะไม่ไปพบแพทย์ เนือ่ งจากกลัวภาระ ค่ารักษาพยาบาล อีกทั้งบางคนเป็นแรงงานหลบหนีเข้าเมือง จึงไม่กล้าไป สถานพยาบาลเพราะกลัวถูกจับส่งกลับประเทศ นพ.ชัยรัตน์เล่าว่า ขณะนีโ้ รคทีส่ ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาครวิตก มากทีส่ ดุ คือโรคไข้เลือดออก เพราะปีนเ้ี ป็นช่วงของการระบาดทีร่ นุ แรงทีส่ ดุ เฉพาะ เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2549 มีผู้ป่วย 171 ราย และมีแนวโน้มจะระบาด รุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าในเดือนเมษายนปีเดียวกัน เกิดการระบาด ของโรคไข้หวัดใหญ่ในบริเวณโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล 3 แห่ง เพราะสภาพพืน้ ทีข่ องจังหวัดเอือ้ ต่อการระบาดอย่างมาก และยากต่อการควบคุม เพราะเป็นเขตประมง และมีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก “เมือ่ ทีมสอบสวนโรคลงพืน้ ที่ พบว่าโรงงานทัง้ 3 แห่งมีคนงานรวมกันทัง้ สิน้ 3,400 คน เป็นคนไทย 1,122 คน เป็นคนต่างด้าว 2,278 คน แรงงานกลุม่ นีม้ ผี ปู้ ว่ ย จากโรคต่างๆ 369 ราย และน่าตกใจว่าในจำนวนนี้ เป็นไข้หวัดใหญ่มากถึง 136 ราย โดยผูป้ ว่ ยส่วนใหญ่เป็นคนต่างด้าว นอกจากนี้ ยังพบว่าเหตุทเ่ี กิดการ

98


ระบาดรุนแรงในโรงงานทัง้ 3 แห่ง เป็นเพราะโรงงานเป็นห้องปรับอากาศ สภาพ โดยรอบโรงงานเป็นแหล่งเสื่อมโทรมไม่ถูกสุขลักษณะ และเมื่อลงพื้นที่สำรวจ แหล่งที่พักอาศัยของแรงงานต่างด้าวย่านมหาชัยนิเวศน์ ตลาดกุ้ง ชุมชนท่าจีน ชุมชนโกรกกรากใน ชุมชนณรงค์มติ ร ฯลฯ พบว่าแรงงานต่างด้าวมักเช่าทีพ่ กั อยูก่ นั อย่างแออัดเฉลี่ยห้องละ 8 - 10 คน สภาพแวดล้อมภายในห้องและบริเวณ โดยรอบอับทึบ อากาศไม่ถา่ ยเท ทำให้เชือ้ หวัดแพร่กระจาย นอกจากนี้ เจ้าของ ห้องพักไม่ได้ดูแลรักษาความสะอาด อยู่ใกล้กองขยะ ห้องน้ำที่มีถังสำรองน้ำ ขนาดใหญ่เหมาะที่จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างดี เพราะเมื่อทดลองตักน้ำ 1 ขัน จะพบว่ามีลกู น้ำยุงลายไม่ตำ่ กว่า 100 ตัวปะปนมาด้วยเสมอ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาครรายหนึ่งเล่าว่า จังหวัดได้มีการ รณรงค์ประชาสัมพันธ์เรือ่ งการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนือ่ ง แต่การป้องกัน ไม่ ค ่ อ ยได้ ผ ลนั ก เพราะแรงงานต่ า งด้ า วเหล่ า นี ้ ม ี พ ฤติ ก รรมในการใช้ ช ี ว ิ ต แตกต่างจากคนทัว่ ไป คือทำงานกลางดึก เข้านอนตอนเช้า ทำให้เจ้าหน้าทีเ่ ข้าไป สร้างความเข้าใจไม่ทั่วถึง “แรงงานต่ างด้าวเหล่านี้ เข้านอนเวลาเดียวกับที่ยุงลายออกหากิน ก็มักจะถูกยุงกัด ยุงตัวนั้นก็จะบินไปกัดคนอื่นๆ ในห้องด้วย จึงทำให้หลายครั้ง ทีม่ ผี ปู้ ว่ ยเข้าไปรักษาในโรงพยาบาลพร้อมกัน 2 - 3 คน และเมือ่ มีการสอบสวน โรคก็พบว่าผู้ป่วยทั้งหมดมาจากที่เดียวกัน เราพยามเข้าไปให้ความรู้ในการกำจัด ลูกน้ำยุงลาย เข้าไปตรวจสภาพห้องอย่างต่อเนื่อง แต่บางครั้งการสื่อสาร อาจลำบาก จึงต้องใช้ลา่ มทีส่ อ่ื ภาษาพม่าได้” เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขกล่าว

แหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัยของแรงงานมีสภาพแออัดและเสือ่ มโทรม ซึง่ เป็นสาเหตุหนึง่ ทีท่ ำให้เกิดโรคระบาด

99


ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ได้มเี ฉพาะในกลุม่ แรงงานต่างด้าว เท่านัน้ แต่ยงั พบว่าคนไทยในพืน้ ทีเ่ องก็เสีย่ งทีจ่ ะเป็นไข้เลือดออกเช่นกัน เพราะจาก การสำรวจสภาพบ้านเรือนของคนไทยในเขตเมือง ก็พบว่ามีสภาพที่เอื้อต่อ การระบาดของโรคได้เช่นกัน กล่าวคือบ้านในเขตเมืองถูกสร้างอย่างแออัด อยู่ใกล้แหล่งเสื่อมโทรม การเข้าไปฉีดพ่นยากำจัดยุง หรือแม้แต่การให้ความรู้ แก่ประชาชน ทำได้ยากลำบาก เพราะบ้านเรือนส่วนใหญ่ชว่ งกลางวันมีแต่ผสู้ งู อายุ และเด็ก ขณะที่คนวัยทำงานจะออกไปทำงาน จะกลับบ้านก็เย็นค่ำ นอกจากนี้ บ้านเรือนในเขตชนบทเป็นลักษณะบ้านสวน อาทิ สวนมะพร้าว เรือนกล้วยไม้ ฯลฯ ยิง่ ในช่วงฤดูฝนอาจจะมีนำ้ ขังตามกระถาง กาบมะพร้าว หรือยางรถยนต์ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเหมาะที่ยุงลายจะวางไข่ทั้งสิ้น

บรรณานุกรม กฎอนามัยระหว่างประเทศ, ค.ศ. 2550. (2549). รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ ฉบับที่ 28. สำนักระบาดวิทยา, กรกฎาคม 2549. นลินี อัศวโภคี, สมบัติ ลีลาสุภาศรี และ สุรภี เทียนกริม. (2543). โรคติดเชื้อ ที่ปรากฏภายหลังปี 2000. สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. สุพตั รา ศรีปจั ฉิม. “เตือนภัย...โรคระบาด” ฝันร้ายแห่งศตวรรษที่ 21. โลกสีเขียว ฉบับที่ 4 กันยายน-ตุลาคม 2548. เสวนา “โรคอุบัติใหม่-โรคอุบัติซ้ำ ภัยมืดแห่งโลกยุคใหม่”. ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. 6 พฤษภาคม 2549. www.si.mahidol.ac.th www.ddc.moph.go.th

สัมภาษณ์ นพ.ชัยรัตน์ เวชพานิช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชีวภาพแห่งชาติ สพ.ญ.ดร.วันทนีย์ กัลล์ประวิทธ์ สัตวแพทยสภา ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาพนำเรื่องจาก www.pbase.com 100


บทสุดท้าย...ทะเลสาบสงขลา ผูเ้ ขียน แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา

101


ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ท้องน้ำที่รู้จักกันดี ถึ ง ความเป็ น ทะเล 3 น้ ำ แต่ ท ำไมวั น นี ้ ชาวประมงในลุ่มน้ำฯ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ต่ า งร้ อ งระงมเรี ย กหา “น้ ำ กร่ อ ย” และ “น้ำเค็ม” กันถ้วนหน้า อะไรทำให้นักวิชาการคาดการณ์ว่า อีก 400 ปีข้างหน้า ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จะตื ้ น เขิ น จนกลายเป็ น แผ่ น ดิ น ธรรมดาๆ ผืนหนึ่งเท่านั้น และแม้ในหลายทศวรรษ ทีผ่ า่ นมา จะมีการทุม่ งบประมาณ ระดมสมอง รวมแรงกำลัง แต่เหตุใดการเยียวยาทะเลสาบ ยังไม่เห็นผล “เมื่อก่อนใครมาทะเลน้อย ต้องเดิน บนไม้สองแผ่นที่วางไว้เป็นสะพานเชื่อมต่อ ไปมาในหมู่บ้าน ใต้ถุนบ้านจะมีแต่น้ำ” ฉิ้น บัวบาน อดีตคุณครู จ. พัทลุง ที่ผันตัวเอง มาทำงานเป็นนักวิจัยในบ้านเกิดย้อนภาพ อดีตของชุมชนหมูบ่ า้ นในทะเลน้อย 102


มาในวันนี้ สะพานไม้เดิมของหมูบ่ า้ นถูกเปลีย่ นเป็นปูนไปหมดแล้ว ใต้ถนุ บ้าน ทีเ่ คยมีนำ้ ทะเลรินไหลก็กลายเป็นโคลนเลนสีดำ ชุมชนทีข่ ยายตัวขึน้ เรือ่ ยๆ ด้วยสิง่ ปลูกสร้าง ถูกกัน้ ขวางจากทะเลด้วยถนนสองเลนจนสุดชายหาด มีการถมดินให้เท่ากับ ระดั บ ถนนเพื ่ อ ปลู ก บ้ า นไปตลอดแนว ชุ ม ชนทะเลน้ อ ยแทบไม่ เ หลื อ ร่ อ งรอย ของชุมชนในน้ำอย่างที่ฉิ้นเคยเห็น ความตื้นเขินขึ้นเรื่อยๆ ของทะเลสาบและการกลายเป็นแผ่นดิน ไม่ได้เห็น ชัดเจนในทะเลน้อยเท่านั้น แต่เป็นสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วทั้งลุ่มน้ำ สำหรับ ชาวประมงแล้ว พวกเขาเชือ่ หมดใจว่าสาเหตุของความตืน้ เขินทีเ่ กิดขึน้ เริม่ จากการ สร้างประตูระบายน้ำปิดปากระวะ ท่าเรือน้ำลึกสงขลา และเขื่อนกันคลื่น แล้วถ้า ไม่ ส ามารถแก้ ป ั ญ หาทั ้ ง สามกรณี น ี ้ ไ ด้ ทะเลบ้ า นเกิ ด และชี ว ิ ต ของพวกเขา จะประสพเคราะห์กรรมต่อไปอย่างไม่จบสิ้น โดยเฉพาะอาชีพประมงอย่างพวกเขา ทีผ่ าสุกได้ ก็เพราะพึง่ พิงทัง้ กระแสน้ำเค็ม น้ำกร่อย และน้ำจืดตามธรรมชาติ

ปิดปากระวะ: น้ำจืดสำคัญกว่าน้ำเค็ม? สมมิตร หมวดจันทร์ บ้านไร่ ต. ลำปำ อ. เมือง จ. พัทลุง หยัง่ ไม้ไผ่ดา้ มยาว ลงไปในทะเลวัดระดับน้ำ พอยกขึ้นมาก็เห็นรอยเปียกของน้ำสะท้อนแสงอยู่เพียง เล็กน้อย “ลึกประมาณเมตรกว่าๆ เท่านัน้ แหละ ขนาดปีนน้ี ำ้ จืดลงเยอะ” เรือแล่นมาถึงที่หมาย สมมิตรสาวเชือกยกไซทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขึ้นจาก ใต้น้ำขุ่นเหลือง สาหร่ายกระจุกใหญ่เกี่ยวพันตามไซขึ้นมาด้วย เขาเล่าต่อไป พลางในขณะทีม่ อื เป็นระวิงแกะสาหร่ายทิง้ ลงน้ำ “พอปิดปากระวะ น้ำมันตืน้ ขึน้ เรือ่ ยๆ สาหร่ายพวกนีเ้ พิม่ ขึน้ มาก ยิง่ ปีนน้ี ำ้ จืด ลงมาเยอะ แต่นำ้ นิง่ ไม่ถา่ ยเท...แถวนีถ้ งึ เกิดน้ำเสียขึน้ บ่อยๆ ในหลายปีมานี้ ก็ได้แต่ รอลมรอน้ำมาไล่มนั ออกไปเอง” สองสามีภรรยา สมมิตรกับอาภรณ์ ยึดอาชีพชาวประมงไซนอน (ไซทิ้ง) ในทะเลหลวงมานานนับ 25 ปีแล้ว ไซของพวกเขาราว 1,000 ลูก ถูกวางอยูใ่ นแถบ ทะเลหน้าบ้าน วันหนึง่ พวกเขาจะออกเรือมากูไ้ ซประมาณ 100 ลูก สัตว์นำ้ ทีไ่ ด้สว่ นใหญ่ จะเป็นกุง้ ก้ามกราม การทำงานทีเ่ ริม่ จากรุง่ เช้าถึงแดดตรงหัว เรือเทีย่ วนีข้ องเขาได้กงุ้ ติดมือกลับบ้าน 4 ตัวเท่านัน้ อาภรณ์บอกว่า “เมือ่ ก่อนได้กงุ้ มากกว่านีเ้ ยอะ แต่เดีย๋ วนี้ ก็ได้วนั ละประมาณสองสามโล แถมไม่คอ่ ยแน่นอนหรอก” 103


ในละแวกน้ำเดียวกัน อุโฆษก์ กาญจโนพาส เถ้าแก่ใหญ่ทร่ี บั ซือ้ สัตว์นำ้ เก็บความ ทรงจำของทะเลหลวงขึน้ มารำลึก เขาไล่นว้ิ มือนับสัตว์นำ้ ทีเ่ คยรับซือ้ จากชาวประมง ในอดีต 104


“สมัยก่อนในทะเลเรามีกุ้งเยอะ กุ้งหัวมัน กุ้งหัวแข็ง กุ้งแชบ๊วย กุ้งขาว กุง้ ก้ามกราม ได้มาจะหักก้ามทิง้ หมดเพราะไม่มรี าคา วันหนึง่ ซือ้ ขายกันเป็นพันกิโล ปลาก็มมี าก ปลากะพง ปลาตุม่ ปลาพรม ปลาตือตัวใหญ่ๆ แต่คา้ กุง้ มาได้ยส่ี บิ กว่าปี เข้าปีทส่ี ามสิบก็มไี ม่มากแล้ว เพราะเขาปิดปากระวะ เอาน้ำไปใช้ทำนา...ระบบนิเวศ ก็เปลีย่ น เดีย๋ วนีก้ งุ้ ทะเลหายหมด แค่กงุ้ ก้ามกรามก็ยงั แทบจะหาไม่ได้ ต้องพึง่ กุง้ ทีก่ รม ประมงปล่อย” อุโฆษก์ก่อสร้างต่อเติมร้านรับซื้อขายกุ้งปลาเดิมเพื่อเปิดเป็นรีสอร์ท หวังว่า ธุรกิจจะทำรายได้อย่างยัง่ ยืนและมัน่ คงขึน้ แต่หลังจากเปิดกิจการได้ไม่นาน ปลายปี 2548 ก็เกิดน้ำท่วมใหญ่ “ห้าหกปีมาที่นี่น้ำท่วมตลอด ปีที่แล้วหนักมาก ข้าวของในรีสอร์ททุกอย่าง เสียหายหมด ต้องเสียเงินซ่อมแซมไปหลายแสน นี่ก็เป็นไปได้ว่าเกิดจากการ ปิดปากระวะ” ถึงอุโฆษก์จะไม่แน่ใจนักว่าการปิดปากระวะทำให้นำ้ ท่วม แต่ผลกระทบด้านหนึง่ เขามัน่ ใจว่าเกิดขึน้ เพราะการปิดปากระวะแน่ๆ คือการหายไปของการสัญจรทางน้ำ “ก่อนปิดปากระวะในทะเลสาบจะมีเรือขนสิ่งสินค้าเจ็ดสิบถึงแปดสิบตันเดิน เข้าออกทางคลองปากพนัง-หัวไทร-ระโนด ไปออกทะเลสาบสงขลาทีป่ ากคลองระโนด พ่ อ ค้ า แม่ ข ายทางปากพนั ง เขาจะเอา น้ ำ ตาล-เป็ ด -ไก่ - ปลา บรรทุ ก บนเรื อ ลำใหญ่ เ ดิ น รอบทะเลสาบและตามเกาะต่ า งๆ ตลาดนั ด ตามหมู ่ บ ้ า นริ ม ทะเล จะคึกคักมาก ลำปำนี่เป็นเมืองท่าเลย เรือที่มาจากทุกที่จะมาขึ้นที่นี่หมด กุ้งทะเล เรามีเรือจากจีนมารับซื้อกันถึงที่ ชาวบ้านชาวประมงเองก็จะใช้เรือโดยสารสองชั้น ไปมาหาสู่กัน เมื่อก่อนไม่มีใครมีรถ เราใช้เส้นทางในทะเลสัญจร แต่เดี๋ยวนี้ น้ำตืน้ เขินจนเรือหางยาวยังเดินลำบาก บางแห่งกลายเป็นดอน หรือไม่กม็ แี ต่ผกั ตบสาหร่าย-จอกแหน เรือก็ค่อยๆ หยุดวิ่งกันไปหมด ยิ่งมีถนนรอบทะเลสาบก็ไม่ต้อง ใช้เรือกันแล้ว” อุโฆษก์พดู เหนือขึน้ ไปทางทะเลน้อย สมพงศ์ กีนคง ต. ทะเลน้อย อ. ควนขนุน จ. พัทลุง ชาวประมงที ่ ห าอาชี พ เสริ ม ด้ ว ยการรั บ จ้ า งพานั ก ท่ อ งเที ่ ย วนั ่ ง เรื อ ชมนกและ ทะเลบัว กำลังค้ำถ่อพาเรือฝ่าโคลนแหวกพืชน้ำหนาทึบหาพื้นที่ที่พอจะว่างในน้ำ สมพงศ์ใช้เวลาอยู่นานกว่าจะพาเรือออกมาไกลพอจะติดเครื่องหางยาวจุ่มน้ำได้ แต่การแล่นเรือในทะเลน้อยก็จำเป็นต้องหยุดใช้ถ่อค้ำเป็นระยะๆ หรือต้องหยุดถี่ๆ 105


ครั้ง ยกหางเรือเพื่อแกะสาหร่ายที่พันใบพัดออก และทุกครั้งที่ใบพัดเรือลงไป ทำงานอยูใ่ ต้นำ้ ก็จะพัดปัน่ เอาเลนดำๆ เป็นก้อนกระเด็นฟุง้ ขึน้ มาเสมอ จนเรือแล่นห่างออกมาจากฝั่งได้กว่ากิโลเมตรถึงค่อยแล่นได้สะดวกขึ้น สมพงศ์ ช ี ้ ใ ห้ ด ู พ ื ช น้ ำ หนาแน่ น นานาชนิ ด ที ่ ด ำทะมึ น อยู ่ ใ ต้ น ้ ำ และเขี ย วขจี อยูเ่ หนือน้ำ “น้ำตืน้ ขึน้ เยอะ ผักตบชวา สาหร่ายหางหมา (สาหร่ายหางกระรอก) หัวบัว พวกนี้ทำให้น้ำตื้นทั้งนั้น กลางทะเลลึกสุดไม่เกินเมตรครึ่ง ใต้น้ำลงไปจะเป็นโคลน หนามาก พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ในทะเลเอาเรือเข้าไปไม่ได้ มันติดท้อง” สมพงศ์อยู่กับทะเลน้อยมาตั้งแต่เกิดแล้ว เขาบอกอย่างภูมิใจว่าเขาคือ ผู้เชี่ยวชาญที่สุดคนหนึ่งที่รู้ทุกอย่างที่อยู่ในทะเลแห่งนี้ “ผักตบชวานี่เอาออก ไม่ทันหรอกครับ เก็บยังไงก็ไม่หมด ถ้าหน้าน้ำเดือนธันวาน้ำมาจะพัดมันเข้าฝั่ง เพราะมันลอยน้ำ ก็จะได้เก็บกันปีละครั้ง แต่แป๊บเดียวก็แพร่เต็มอีก แต่พวกบัว สาหร่ายหางหมากับวัชพืชอื่นๆ นี่มันหยั่งรากลงไปในเลนได้ น้ำมาก็ไม่ไปไหนแล้ว พอตายก็ทบั ถมอยูใ่ นนี้ กลายเป็นอาหารให้มนั เจริญขึน้ มาอีก พอนานๆ เข้าก็ทำให้ ทะเลตื้นขึ้น แต่ก่อนพืชน้ำพวกนี้ไม่ได้ทับถมขนาดนี้หรอก เพราะก่อนปิดปากระวะ น้ำกร่อยทางปากคลองนางเรียม (คลองสายสัน้ ๆ เชือ่ มต่อทะเลน้อยกับทะเลหลวง) จะทำให้วัชพืชตายไปเอง แล้วก็พัดเอาซากออกไปลงทะเลหลวงด้วย แต่เดี๋ยวนี้ น้ำในทะเลน้อยไม่ถา่ ยเทแล้ว น้ำในทะเลหลวงก็จดื วัชพืชก็ระบาด พอน้ำตืน้ ขึน้ มากๆ ปลาก็ลดลงไปด้วย เพราะน้ำจะร้อนขึน้ ปลามันไม่วางไข่ มันไม่ชอบอยู”่ พอเรื อ หางยาวของสมพงศ์ แ ล่ น เข้ า คลองนางเรี ย ม เหนื อ คลองขึ ้ น ไป กำลังมีการก่อสร้างสะพานสายยาวเหยียดเพื่อเชื่อมต่อทะเลน้อยกับ อ. ระโนด และเชื่อมโยงถนนรอบทะเลสาบสงขลาให้สมบูรณ์ขึ้น เมื่อเรือแล่นลอดใต้สะพาน มาเบือ้ งหน้าคือรอยต่อระหว่างทะเลน้อยแห่งพืชน้ำกับเวิง้ น้ำเตียนโล่งของทะเลหลวง เรือนำเที่ยวของสมพงศ์มาถึงปลายทางแล้ว เขาหันเรือกลับสู่ทะเลหน้าบ้าน และสะท้อนชีวติ ทีต่ อ้ งดิน้ รน ณ วันนีว้ า่ “เราจะเอาการท่องเทีย่ วมาทำเป็นอาชีพหลัก ก็ไม่ได้ เพราะนักท่องเทีย่ วยังมีไม่มาก ชาวเรือทีน่ ท่ี กุ คนต้องหาปลาเป็นอาชีพหลักอยู่ ถึงวันนีจ้ ะขายปลามีรายได้แค่วนั ละร้อยสองร้อย แต่มนั ก็พออยูไ่ ด้...” การใช้ไม้ถอ่ เรือของ ผูใ้ หญ่ปรีชา คำเจริญ และ วันชัย พูเรือง ทีห่ มูบ่ า้ นศรีไชย ต. คูขดุ อ. สทิงพระ จ. สงขลา ยังให้ผลระดับน้ำประมาณเมตรกว่าๆ เช่นเดียวกับ ท้องน้ำบริเวณอืน่ ๆ ในทะเลหลวง 106


“น้ำมันจืด ป่าเสม็ดกับป่าลำพูถงึ แพร่ไปเร็วมาก รากมันทำให้นำ้ ทีต่ น้ื อยูแ่ ล้ว ยิ่งตื้นเร็วเข้าไปอีก ลดพื้นที่หากุ้งปลาของคนที่เพิ่มขึ้นทุกวันๆ” วันชัยตั้งข้อสังเกต การขยายพืน้ ทีป่ า่ อย่างรวดเร็วผิดปกติในท้องทะเลหน้าบ้าน ส่ ว นผู ้ ใ หญ่ ป รี ช าเชื ่ อ ประสบการณ์ จ ากรุ ่ น สู ่ ร ุ ่ น ว่ า สภาพในทะเลสาบ ตอนกลางทีเ่ กิดขึน้ นี้ เพราะการไหลเวียนของน้ำตามธรรมชาติเปลีย่ นแปลงไป “คนในทะเลสาบจะทำนา ทำสวน ทำประมงกันตามฤดู คนข้างนอกเขาไม่รวู้ า่ ทะเลสาบจะเปลีย่ นไปตามฤดูโดยธรรมชาติของมันเอง ปีไหนน้ำเค็มก็มกี งุ้ ตำน้ำพริก ปีไหนน้ำจืดก็หาปลาน้ำจืดกินกันขายกัน ได้วันละสามสี่ร้อย เมื่อก่อนน้ำเค็ม จากปากระวะจะเข้ า มาผลั ก น้ ำ จื ด ที ่ ไ หลลงมาจากเทื อ กเขาบรรทั ด กุ ้ ง ปลา จะตามเข้ามากับน้ำเค็มด้วย น้ำเค็มจะเข้ามาผสมกับน้ำในทะเลสาบกลายเป็นน้ำกร่อย ทะเลบ้ า นเราถึ ง มี ท ั ้ ง สั ต ว์ น ้ ำ จื ด สั ต ว์ ส องน้ ำ และสั ต ว์ น ้ ำ เค็ ม ด้ ว ย น้ ำ เค็ ม ที่เข้ามาจะฆ่าวัชพืชจนตายหมด พอน้ำลงก็จะพาซากตะกอนทับถมออกทะเล อ่าวไทย การปิดปากระวะทำให้น้ำเค็มหายไป น้ำจืดขึ้น วัชพืชก็ระบาดมาก พอตายก็หมักหมมเป็นเลนใต้ท้องน้ำ ทำให้น้ำตื้นเขินมากขึ้นทุกปี เดือนตุลานี่ ลงแตะฟุตบอลในทะเลสาบได้เลย เมื่อน้ำน้อยลง ร้อนขึ้น กุ้งก็ไม่ติด (กุ้งกุลาดำ ที่กรมประมงปล่อย) ปลาสองน้ำก็ลดลง กุ้งหัวมัน กุ้งหัวแข็งที่เข้ามาจากอ่าวไทย นีห่ ายไปเลย” ผูใ้ หญ่ปรีชาบอกว่า “การปิดปากระวะเพือ่ เก็บน้ำจืดเป็นการคิดทีผ่ ดิ พลาด” เช่นเดียวกับอุโฆษก์ทค่ี ดิ ว่า ไม่ควรจะมาสูบน้ำจืดเอาจากทะเลสาบ แต่ควรจะ เอามาจากเทือกเขาบรรทัด โดยการสร้างฝายหรืออ่างเก็บน้ำขนาดเล็กทุกระยะทีท่ ำได้ ใช้ ร ะบบชลประทานส่ ง น้ ำ ให้ ช าวนาที ่ ต ้ อ งการทำนาทั ้ ง ปี และเปิ ด ปากระวะ ให้นำ้ เค็มกลับเข้ามาในทะเลสาบได้เหมือนเดิม สุพจน์ จันทรพรศิลป์ ผอ. ศูนย์วจิ ยั ทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง่ จ. สงขลา เพิ่มเติมข้อมูลในเรื่องระบบน้ำและการขยายของพื้นที่ป่า “ต้องเข้าใจก่อนว่า ทะเลสาบสงขลาเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่รองรับน้ำจืดจากบนบก แต่ก็ได้รับอิทธิพล น้ำขึ้น-น้ำลงจากปากน้ำและปากคลองต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับอ่าวไทย ความเค็ม ของน้ ำ ในแต่ ล ะช่ ว งจึ ง ต่ า งกั น ไปตามฤดู ในทะเลถึ ง มี ท ั ้ ง ป่ า พรุ ป่ า ชายเลน น้ำมีการถ่ายเทระหว่างน้ำในทะเลสาบกับน้ำทะเลในอ่าวไทยตลอดเวลา มีการชะล้าง ตะกอน และลำเลียงสัตว์นำ้ เข้าออกสม่ำเสมอ เมือ่ ก่อนทะเลสาบถึงอุดมสมบูรณ์มาก 107


และไม่ ค ่ อ ยตื ้ น เขิ น เหมื อ นทะเลสาบอื ่ น ๆ แต่ เ ดี ๋ ย วนี ้ ร ะบบนิ เ วศในทะเลสาบ แทบจะเรียกว่าไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ความหลากหลายทางชีวภาพหายไป อีกหน่อย ทะเลสาบจะกลายเป็นพรุไปหมด ตัวอย่างที่ทะเลน้อยตอนนี้เป็นพรุไปเกินครึ่งแล้ว น้ำยิง่ จืดเร็ว ทะเลสาบยิง่ ไปเร็ว เพราะวัชพืชน้ำจืดมีมากกว่าวัชพืชทีอ่ ยูไ่ ด้ในน้ำกร่อย มี ต ะกอนดิ น จากบนบกลงมาเสริ ม ไม้ ป ่ า พรุ ก ็ จ ะขึ ้ น มาก อี ก หน่ อ ยทะเลสาบ อาจจะเหลือท่อนล่างท่อนเดียว เพราะน้ำเค็มยังเข้าทีป่ ากน้ำสงขลาได้อยู่ วัชพืชจะน้อย รับไว้แต่ตะกอนอย่างเดียว” ความเสื่อมถอยของทรัพยากรและระบบนิเวศที่คนในพื้นที่เริ่มสังเกตเห็น เกิดขึ้นหลังจากปี 2498 เมื่อกรมชลประทานแสวงหา “น้ำจืด” เพื่อการทำนา ด้วยระบบชลประทานบนคาบสมุทรสทิงพระ และนำมาซึง่ การสร้างประตูระบายน้ำ ปิดปากระวะที่มีคลองอยู่ 5 สาย การปิดปากระวะกลายเป็นประเด็นที่ชาวประมง ทั้งลุ่มน้ำวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง และยังนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่าง ชาวนาข้าวใน อ. ระโนด ทีก่ ลัวว่าน้ำเค็มจะทำให้นาข้าวเสียหาย ขณะทีช่ าวประมง ในทะเลสาบก็ต้องการให้น้ำเค็มเข้า เพราะเข้าใจว่าจะทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำ อุดมสมบูรณ์ขน้ึ และชาวนากุง้ ก็ตอ้ งการน้ำเค็มในคลอง เพือ่ ผันน้ำเข้าบ่อเลีย้ งกุง้ ในปี 2546 ชาวประมงรวมตัวกันหลายร้อยคนที่ อ. ปากพะยูน เรียกร้องให้เปิด ปากระวะ หรืออย่างน้อยทีส่ ดุ ก็ขอให้ทดลองเปิดดูกอ่ น กัมปนาท ภักดีกลุ อาจารย์คณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม. มหิดล เล่าถึงเรื่องนี้ว่า “ชาวบ้านบางส่วนยังเข้าใจกันว่าประตูน้ำถูกสร้างขึ้น เพื่อปิด ปากคลองระวะโดยถาวร ปัญหาความขัดแย้งในการใช้นำ้ ของคนแต่ละอาชีพจึงเกิดขึน้ แต่สถานการณ์ในปัจจุบัน คือแม้ประตูน้ำนี้เปิดอยู่ตลอดเวลา น้ำเค็มก็ไม่สามารถ ไหลเข้าไปถึงทะเลสาบได้ เพราะตลอดรายทางมีฝายและประตูนำ้ เล็กๆ ทีส่ ร้างกันขึน้ โดยชาวบ้านและหน่วยงานต่างๆ เพือ่ ผันน้ำเค็ม-น้ำจืดไปใช้ตามอาชีพ” กัมปนาทอธิบายผลการศึกษาการเปลีย่ นแปลงความเค็มหากมีการเปิดปากระวะ โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ว่า ความเค็มในทะเลสาบตอนบนจะแพร่ขึ้นมา เป็นทอดๆ จากปากรอ และปากน้ำสงขลา ดังนั้นการเปิด-ปิดประตูกั้นน้ำเค็ม ที ่ ป ากระวะและคลองระโนดจึ ง ไม่ ม ี ผ ลถึ ง การไหลเวี ย นของน้ ำ ในทะเลสาบ ตั ว การที ่ ค วบคุ ม การไหลของน้ ำ ในคลองคื อ สั น ทรายปากคลองระวะ ซึ ่ ง ต้ อ ง ขุดลอกทุกปี หากต้องการให้น้ำในคลองไหลเวียนถ่ายเทกับอ่าวไทยได้ตลอดทั้งปี 108


หากทำเช่นนั้นได้ น้ำเค็มก็อาจแพร่เข้าไปในทะเลสาบตอนบนเพิ่มขึ้นประมาณ 0.1 - 0.3 psu (Practical Salinity Unit) เท่านัน้ น้ำในทะเลสาบยังเป็นน้ำจืดอยู่ แต่โอกาสจะน้อยเพราะมีประตูน้ำกีดขวางการไหลของน้ำในคลอง อีกทั้งคลอง ยังมีขนาดเล็กลงเมือ่ ห่างจากปากระวะไป และในปีทฝ่ี นแล้ง ความเค็มในทะเลสาบ ตอนบนจะมีคา่ สูงมากกว่า 2 psu ความหวังทีว่ า่ เปิดคลองแล้วปลาทะเลจะว่ายเข้ามา อาศัยในทะเลสาบตอนบนก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะน้ำยังเป็นน้ำจืดอยู่ แต่ก็ อาจจะทำให้ ป ลาที ่ ท นน้ ำ เค็ ม ไม่ ไ ด้ ม ี จ ำนวนลดลง ส่ ว นปลาที ่ ท นความเค็ ม ได้ เล็กน้อยจะมีมากขึน้ ส่วนการเปิดประตูน้ำปากระวะและทะลวงฝายต่างๆ ออกเพื่อให้น้ำทะเล ไหลเข้าได้สะดวก จะพบว่าถ้าไม่มีการสูบน้ำจากทะเลสาบตอนบนไปใช้ในการ ชลประทานบริ เ วณทุ ่ ง ระโนด น้ ำ ทะเลที ่ ห นุ น เข้ า มาจะทำให้ น ้ ำ ในทะเลสาบ ตอนบนมี ค วามเค็ ม ถึ ง ประมาณ 0.2 psu แต่ ถ ้ า มี ก ารสู บ น้ ำ ไปใช้ น้ ำ ที ่ ม ี ความเค็มสูงกว่าในทะเลสาบส่วนล่างลงมาจะไหลเข้าแทนที่ ทำให้ความเค็ม สูงขึน้ อีก จนสามารถทำความเสียหายให้นาข้าวในบริเวณทุง่ ระโนด ดั ง นั ้ น การเปิ ด คลองระวะและคลองระโนด จะทำให้ ส ิ ่ ง แวดล้ อ มใน ทะเลสาบตอนบนเปลีย่ นแปลงน้อย แต่จะทำให้ความเค็มในคลองระโนด ซึง่ เป็นคลอง ส่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมสูงขึ้น (เมื่อไม่มีประตูน้ำหรือฝายกั้นคลองเป็นช่วงๆ) จนไม่สามารถทำการเกษตรกรรมได้ แต่จะเหมาะกับการเพาะเลีย้ งสัตว์นำ้ กร่อย กัมปนาทให้ความเห็นไว้ว่า การเปิด-ปิดปากระวะและคลองระโนดควร ขึ ้ น กั บ ความต้ อ งการของชุ ม ชนในพื ้ น ที ่ ว ่ า ต้ อ งการประกอบอาชี พ ใดเป็ น หลั ก ตลอดจนการบริหารจัดการควบคุมเปิด-ปิดประตูระบายน้ำตามจังหวะที่เหมาะสม รวมทั ้ ง การหมุ น เวี ย นระบบการใช้ น ้ ำ เค็ ม และรั ก ษาระดั บ น้ ำ ที ่ เ หมาะสม ในคลอง ควรโอนให้กบั องค์การบริหารส่วนท้องถิน่ ในพืน้ ที่ ซึง่ ประกอบด้วยตัวแทน ผู้มีส่วนได้เสียจากประตูระบายน้ำร่วมกัน หากฎกติกาและข้อตกลงร่วมกันในการ เปิด-ปิดประตูระบายน้ำ ส่วนการซ่อมแซมบำรุงรักษาควรเป็นความรับผิดชอบ ของหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง เช่นกรมชลประทาน แต่การหาข้อยุติหรือการบรรลุข้อตกลงระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องจากหลายฝ่าย รวมทัง้ ชาวบ้านในพืน้ ทีท่ ม่ี ที ง้ั ส่วนได้สว่ นเสีย ไม่ใช่เรือ่ งทีจ่ ะเกิดขึน้ ได้งา่ ยๆ นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ นักวิจัยจากโครงการพัฒนาชุมชนประมงขนาดเล็ก 109


จ. สงขลา กล่ า วว่ า ปั จ จุ บ ั น พื ้ น ที ่ บ ริ เ วณทุ ่ ง ระโนดมี ก ารทำนาและเลี ้ ย งกุ ้ ง ปะปนกันไปหมด ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว การกำหนดเขตพื้นที่อาชีพ ตามลักษณะการใช้น้ำจืด-น้ำเค็มจึงเป็นไปได้ยาก เขายอมรับว่าการเปิดประตู ระบายปากระวะจะส่งผลกระทบต่อคนในพืน้ ทีอ่ ย่างมาก 51 ปีแห่งการถกเถียงเรือ่ งการเปิด-ปิดปากระวะจึงอาจจะมาถึงวาระสุดท้าย ชาวประมงในลุ ่ ม น้ ำ ฯ อาจทำได้ แ ค่ เ พี ย งรอดู ส ิ ่ ง ที ่ จ ะเกิ ด ต่ อ ไปในภายหน้ า และได้แต่จดจำว่าการปิดปากระวะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไรในทะเลสาบ และในชีวติ พวกเขาบ้าง ผลกระทบจากการปิดปากระวะ แม้จะเป็นที่รับรู้และพูดถึงกันทั้งลุ่มน้ำฯ มานานแล้ว และเป็นประเด็นร้อนสำหรับชาวประมงในทะเลหลวง-ทะเลสาบตอนกลาง และทะเลน้อย แต่ถา้ เป็นชาวประมงในแถบทะเลสาบตอนล่าง หรือทะเลสาบสงขลา ท่าเรือน้ำลึกสงขลาและเขื่อนกันคลื่น คือสิ่งปลูกสร้างที่พวกเขาอยากให้รื้อถอน มากทีส่ ดุ ในเวลานี้

ท่าเรือน้ำลึกสงขลาถึงเขือ่ นกันคลืน่ : รูเ้ ท่า ‘ไม่’ ถึงการณ์ “สร้างได้ก็รื้อได้ มันเป็นผลประโยชน์ของคนไม่กี่คนเอง แต่ชาวบ้านเป็นพัน ครอบครัวเดือดร้อน” อาหมัด วงศ์อาหมัด ประมงอาวุโสทีป่ จั จุบนั เกษียณจากอาชีพแล้ว พูดถึงท่าเรือน้ำลึกและเขื่อนกันคลื่นที่ปากน้ำสงขลาด้วยความขุ่นเคือง อาหมัดเป็นหนึง่ ในชาวประมงบ้านหัวเขา ต. หัวเขา อ. สิงหนคร จ. สงขลา หรือชุมชนที่ถูกเรียกกันจนติดปากว่า “หมู่บ้านโพงพาง” ความคิดเห็นของเขา ทีก่ ล่าวขึน้ มาได้รบั การเห็นพ้องจากชาวประมงกลุม่ ใหญ่ในวงน้ำชาของหมูบ่ า้ น ท่าเรือน้ำลึกสงขลาตัง้ อยูท่ ่ี ม. 7 ต. หัวเขา อ. สิงหนคร เริม่ ก่อสร้างในปี 2528 และเปิดดำเนินการในปี 2532 มีทา่ เทียบเรือสินค้า 3 ท่า รวมความยาวทัง้ หมด 510 เมตร กว้าง 30 เมตร ความลึกหน้าท่าในเวลาน้ำลงต่ำสุดลึก 10 เมตร เป็นโครงการ ทีส่ ร้างขึน้ เพือ่ ผลักดันการพัฒนาเมืองหลักและเศรษฐกิจของภาคใต้ จากข้อมูลในปี 2548 ของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ท่าเรือน้ำลึก สงขลามีเรือเทียบท่า 478 เทีย่ วต่อปี ขนส่งสินค้าประมาณ 1,242,119 ตันไปยังสิงคโปร์ เพือ่ ขนถ่ายสินค้าไปยังทวีปต่างๆ ทัว่ โลก และแม้จะเทียบไม่ได้กบั ท่าเรือกรุงเทพ ทีต่ อ่ ปี จะมีเรือเข้าออก 2,402 เที่ยว ขนส่งสินค้ากว่า 15 ล้านตัน (ข้อมูลปี 2547) 110


แต่สำหรับชาวประมงในทะเลสาบสงขลาแล้ว ตัวเลขทางเศรษฐกิจทีเ่ กิดจากท่าเรือ ไม่วา่ จะมากหรือน้อย หาได้นา่ ชืน่ ชมไม่ พวกเขามุง่ ประเด็นไปที่ ปากน้ำสงขลาทีเ่ คย กว้าง 900 เมตร แต่กลับแคบลงเหลือ 390 เมตร เพราะมีท่าเรือน้ำลึกมาขวาง ทำให้ปากน้ำกลายเป็นคอขวด ซึง่ ส่งผลต่อการประมงด้วยระบบน้ำเชีย่ วของน้ำเค็ม ที่จะขึ้นมาจากอ่าวไทย และทำให้อาชีพประมงรายวันของพวกเขาหยุดชะงัก หนำซ้ำในบริเวณเดียวกัน ยังสร้างเขือ่ นกันคลืน่ ยืน่ ออกไปในทะเลยาวประมาณ 450 เมตรตามมาอีกในปี 2546 ความเดือดร้อนของชาวประมงก็ยง่ิ รุนแรงถึงขัน้ วิกฤต “ธรรมดาเดือนเจ็ดเดือนแปดน้ำจะเค็มแล้ว แต่ตอนนีน้ ำ้ ยังจืดอยูเ่ ลย น้ำมันจืด ไม่มขี อง (“ของ” หมายถึงสัตว์นำ้ ) เป็นมาตัง้ แต่ปที แ่ี ล้ว ปลายปีทแ่ี ล้วเลีย้ งปลากะพง ในกระชังไว้สล่ี กู ก็ตายหมด มันไม่เคยเป็นแบบนีม้ าก่อน” พิชยั โต๊ะหล๊ะหมาน หรือ “บังกอซิม” เล่าถึงสิง่ ทีก่ ำลังเกิดขึน้ บ่ายสามโมงตรง เรือหางยาวออกจากท่าเรือเล็กๆ หน้าหมู่บ้านแล่นฉิว ไปบนระดับน้ำตื้นๆ เส้นทางเดินเรือก่อนจะออกทะเลสาบตลอดสาย มีบ้านไม้ ยกใต้ถนุ สูงปลูกเรียงรายอยูใ่ นทะเลเป็นทิวแถว เด็กๆ ตัวเล็กๆ เล่นน้ำทีล่ กึ แค่เอว เรือส่วนใหญ่ถูกแขวนอยู่บนคานข้างๆ บ้านเหมือนร้างจากการทำงานมานานพอดู บังกอซิมเทียบเรือซื้อน้ำมัน 1 ขวดน้ำอัดลมพลาสติกจากบ้านหลังหนึ่ง เขาเติม พลังงานให้เครื่องยนต์ก่อนจะบ่ายหัวเรือออกสู่ทิวไม้ปักชี้ที่เห็นเป็นแถวเป็นแนว อยู่กลางทะเลสาบ เมื่อถึงร่องน้ำที่มีสีขุ่นข้น กระแสน้ำไหลแรง ก็มีเรือประมาณ 10 ลำเรียงจอดรอทีแ่ นวไม้นน้ั อยูก่ อ่ นแล้ว “วั น นี ้ เ ขาออกมาวางโพงพางไว้ ต ั ้ ง แต่ ส ิ บ เอ็ ด โมงเช้ า ตอนน้ ำ เริ ่ ม ลง พอน้ำลงเริ่มอ่อนแรงถึงค่อยออกมากู้” บังกอซิมอธิบายถึงกระแสน้ำที่เห็นไหล ในตอนนี้ว่า เป็น “น้ำอ่อน” ไม่ใช่กระแสไหลเชี่ยวอย่างที่เคยเป็นมา ซึ่งโพงพาง จะวางตอนน้ำลงเท่านัน้ ยิง่ น้ำใหญ่ (น้ำใหญ่หมายถึงน้ำขึน้ แรง-น้ำลงแรง) โพงพาง จะยิ่งดักสัตว์น้ำได้มาก และวันนี้เกือบจะเป็นวันแรกๆ ในรอบปีที่ชาวประมง ในหมูบ่ า้ นลองออกมาวางโพงพางกัน บังกอซิมชี้มือไปทางปากน้ำให้ดูแนวทะมึนไกลๆ ของท่าเรือน้ำลึกสงขลา และแทบจะมองไม่เห็นช่องทางออกทีเ่ ชือ่ มต่อทะเลสาบกับทะเลอ่าวไทย เขาบอกว่า “ปีนี้ฝนตกมาก น้ำจากหาดใหญ่-พัทลุง จากคลองอู่ตะเภา-สะเดา ไหลลงมา ในทะเลสาบเยอะมาก ท่าเรือกับเขื่อนกันคลื่นก็มาอุดที่ปากรู น้ำจืดระบายออก 111


ทะเลนอกไม่ ท ั น น้ ำ ขึ ้ น ในทะเลก็ เ ข้ า มาในทะเลสาบไม่ ไ ด้ น้ ำ ทะเลไม่ ข ึ ้ น ก็ไม่มขี อง...ผลกระทบจากปากคลองมันรุนแรงมาก” ได้เวลาน้ำอ่อนแรงลง ชาวประมงบนเรือทุกลำก็เริ่มกู้โพงพางกันกลาง ทะเลสาบ วันนี้เป็นวันแรกของปีนี้เหมือนกันที่ ตอเหล็บ หมุนลิมีน เพื่อนสนิท ของบั ง กอซิ ม ออกมาวางโพงพาง เขาได้ ก ุ ้ ง หางแดง กุ ้ ง ขาว กุ ้ ง หั ว มั น และปลาเล็กปลาน้อยมา 1 เข่ง ถ้าขาย จะได้เงินประมาณ 700 - 800 บาท ร่องน้ำที่ตอเหล็บดักโพงพางเป็นร่องน้ำที่น้ำไหลเชี่ยวที่สุดร่องหนึ่งในเขตนี้แล้ว เขาพูดด้วยสีหน้ากังวลว่า “ถ้าปากอ่าวไม่ถกู กัน้ น้ำลงช่วงนีจ้ ะได้เป็นสิบๆ เข่ง” ตอเหล็บตะโกนถามเจ้าของเรือลำข้างๆ “เมือ่ วานมีของมัย้ ” “ไม่มี ได้ร้อยเดียว น้ำมันไม่แรง” เสียงตอบกลับมาทำให้ตอเหล็บส่ายหน้า แล้วติดเครือ่ งเรือกลับเข้าหมูบ่ า้ นเช่นเดียวกับเรือลำอืน่ ๆ อาหมัดบอกเล่าสถานการณ์นา่ เป็นห่วงทีเ่ กิดขึน้ มานานนับปีนว้ี า่ “พอน้ำจาก ทะเลนอกขึ้น น้ำจะพัดเอาสัตว์น้ำในทะเลขึ้นมาตามร่องน้ำ โพงพางมันวางอยู่ ที่เดิมในร่องน้ำ น้ำลงกาง น้ำขึ้นไม่กาง น้ำแรงสัตว์น้ำถึงจะถูกพัดเข้าโพงพาง น้ ำ ไม่ แ รงก็ ไ ม่ เ ข้ า แต่ เ ขื ่ อ นกั บ ท่ า เรื อ น้ ำ ลึ ก มาขวางปากน้ ำ ไว้ ขวางทางน้ ำ ทำให้ น ้ ำ จื ด ไหลลงทะเลไม่ ไ ด้ เมื ่ อ ก่ อ นน้ ำ ลงมั น ก็ จ ะดั น น้ ำ เสี ย ออกไปด้ ว ย เดี๋ยวนี้น ้ำท่วมขังอยู่ในทะเลสาบ ปีท ี่แล้วท่วมสูงมาก น้ำทะเลก็ขึ้นมาไม่ได้ เราทำงานหมุ น ตามเวลาน้ ำ ขึ ้ น -น้ ำ ลงจากทะเลนอก หยุ ด ตามน้ ำ ไม่ เ หมื อ น อวนรุนทีว่ ง่ิ หาไปได้เรือ่ ย ตำบลหัวเขา แปดหมูบ่ า้ น หนึง่ พันกว่าครอบครัว ทำโพงพาง เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ แต่มาเดือดร้อนเพราะเขือ่ นกับท่าเรือน้ำลึกทีเ่ รือต่างชาติใช้” สาฟาอี คงคามีน อดีตชาวประมงโพงพางทีห่ นั ไปเปิดร้านน้ำชาแทน เล่าในมุม เศรษฐกิจของหมู่บ้าน “เดี๋ยวนี้ไปดูตลาดนัด คนน้อยมาก ไม่มีคนซื้อของเลย หมูบ่ า้ นเงียบ ร้านค้าขายของกันไม่ได้ เพราะคนไม่มเี งินซือ้ ” บังกอซิมเสริม “ก่อนกัน้ เขือ่ น เราเคยหากุง้ หาปลาได้กนั วันละสีห่ า้ ร้อย น้ำดีๆ เดือนสิบเอ็ดสิบสองได้วนั ละพันกว่า สีห่ า้ พันก็ถงึ เดีย๋ วนีอ้ อกไปก็ไม่คมุ้ ค่าน้ำมันแล้ว มันกระทบกับเรามาก...เราจะเอาอะไรไปสูก้ บั เขา” อี ก ด้ า นหนึ ่ ง ชาวประมงไซนั ่ ง ที ่ ใ ช้ พ ื ้ น ที ่ ใ นทะเลสาบใกล้ ๆ กั บ โพงพาง ก็กำลังตั้งหน้าตั้งตารอคอยน้ำเค็มมานานนับปี เหมือนกับที่ชาวประมงโพงพาง ประสบอยู่ 112


บรรยากาศในหมู่บ้านประมงไซนั่ง บ้านท่าเสา ต. สทิงหม้อ อ. สิงหนคร จ. สงขลา มีแต่หญิงสูงวัยนั่งซ่อมแซมอวนกันอยู่หน้าบ้าน ติเก๊าะ หวันยะกุบ เองก็เช่นกัน เธอบอกว่า “ช่วงนี้ก็ได้แต่เอาอวนมานั่งซ่อมกันหมด อันนี้ทำใหม่ เสร็จนานแล้ว แต่ไม่ได้ลงน้ำซักที คนเคยหากินเลทุกวัน เมื่อก่อนเคยเป็นแบบนี้ เก้าถึงสิบวันก็แย่แล้ว แต่นานแบบนีม้ นั ไม่ไหว ไม่รจู้ ะดีขน้ึ เมือ่ ไหร่ นีก่ ร็ อน้ำอยู”่ ติเกาะเล่าว่า สมัยก่อนทำไซนั่งอย่างเดียวก็อยู่กันได้ทั้งครอบครัว ส่งลูก เรียนจนจบ แต่ปีที่ผ่านมานี้หากุ้งหาปลาได้น้อยมาก กระทั่งหลายเดือนที่ผ่านมานี้ หญิงสาวในหมู่บ้านต้องออกไปทำงานในโรงงานกันหมด ส่วนผู้ชาย ต้องไปรับจ้าง จับกุง้ ในบ่อเลีย้ ง หรือไม่กไ็ ปทำงานก่อสร้าง เหลือแต่คนสูงวัยทีอ่ ยูบ่ า้ นคอยเลีย้ งเด็กๆ ในทะเลสาบด้านหลังหมูบ่ า้ น ยูซบ กับอาหมัด หิมละ ยืนวางไซอยูก่ ลางทะเล น้ำลึกแค่เอวเขาเท่านัน้ สองพีน่ อ้ งมีไซนัง่ อยู่ 9 ลูก ในรอบปีทผ่ี า่ นมา วันนีเ้ ป็นวันแรก ทีเ่ ขาลองออกมาดักไซ “จะไม่ดักก็ไม่ได้ มันลำบาก น้ำจืดจากหาดใหญ่ลงมาเยอะ น้ำจืดตลอดปี ปีนโ้ี ดนหนักมาก ท่าเรือน้ำลึกมันกัน้ น้ำเค็มไม่ให้เข้ามา น้ำเลยไม่เค็ม น้ำมีถา่ ยมีลง ตามธรรมชาติของมัน ตอนนี้น้ำเลยตายเหมือนน้ำในอ่าง ถ้าปีหน้ายังเป็นแบบนี้ ก็ตวั ใครตัวมัน” ยูซบพูด ไซนั่งทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งชี้ฟ้าอยู่บนผืนน้ำ มองเห็นไปจนสุดลูกหูลูกตา กระชังเลี้ยงปลากะพงว่างเปล่าเพราะไม่มีน้ำเค็ม บางกระชังเจ้าของหันไปเลี้ยง ปลาทับทิมทีร่ าคาขายถูกกว่า แต่อยูใ่ นน้ำจืดได้ ลี หวันยะกุบ สามีของติเกาะ ลงจากเรือไปกูไ้ ซ เขาตัง้ ความหวังว่าในไซจะมีกงุ้ ที่ขึ้นมาจากอ่าวไทยให้เห็นบ้าง แต่มันก็ว่างเปล่า เขายกไซจากน้ำตื้นๆ ประมาณ เมตรกว่าขึน้ มาดู 7 - 8 ลูก มีไซเพียงลูกเดียวเท่านัน้ ทีม่ ปี ลาดุกทะเล 2 ตัวติดอยูข่ า้ งใน ลีเล่าว่า เมือ่ เช้าออกมายกไซ 11 ลูกทีด่ กั ไว้ตง้ั แต่เมือ่ คืน โชคดีทไ่ี ด้ปลาหัวโหม่ง ปลาเงี่ยง (ปลาดุกทะเล) เอาไปขายในตลาดนัด ได้เงินมาสี่ห้าร้อย แต่ลีบอกว่า การวางไซในแต่ละครั้งก็ได้ปลาจำนวนไม่แน่นอน และส่วนใหญ่จะไม่คุ้มกับต้นทุน ค่าน้ำมัน 100 บาททีต่ อ้ งจ่าย รวมทัง้ ค่าน้ำมันก๊าซเกือบ 100 บาทสำหรับจุดตะเกียง ทีต่ อ้ งแขวนไว้เหนือไซเพือ่ ล่อกุง้ ปลา ขณะที ่ ย ื น อยู ่ ใ นกระแสน้ ำ ไหลเอื ่ อ ยๆ ลี บ อกว่ า “เมื ่ อ ก่ อ นน้ ำ เชี ่ ย ว ยืนไม่ค่อยติดเลย น้ำขึ้นแรง-ลงแรง คืนหนึ่งได้สี่ห้าพัน เดี๋ยวนี้ท่าเรือมันอุดปากรู 113


ทางเหนือปากระวะก่อนปิด น้ำเค็มก็เข้าเหมือนกัน แต่พอมีประตู เวลาน้ำขึน้ ก็จะปิด พอน้ำลงก็จะเปิด กุง้ หัวมันหายหมด ปกติเดือนห้าก็ได้กงุ้ หัวมันกันแล้ว” กอนะ ขุนฤทธิ์ เถ้าแก่รับซื้อกุ้งปลาจากชาวประมงบ้านท่าเสา ปัจจุบันลาน รับซื้อกุ้งปลาหน้าบ้านถูกดัดแปลงเป็นร้านขายน้ำแข็งใส-ไก่ย่างส้มตำ ถังใบใหญ่ ทีใ่ ช้แช่เย็นสัตว์นำ้ หลายใบยังวางคว่ำระเกะระกะอยูห่ น้าบ้าน เธอเล่าว่า “น้ำจืดตัง้ แต่ ปลายปีทแ่ี ล้วมาจนถึงปีน้ี เจ็ดถึงแปดเดือนต้องปิดร้านกันหมดเลย เรือไม่มอี ะไรจะขาย เราก็ไม่มอี ะไรจะซือ้ ถ้าตอนน้ำดีๆ เราจะรับซือ้ กุง้ ปลา สองถึงห้าหมืน่ บาททุกวัน ซือ้ มา จะเอาไปขายที่แพขึ้นเรือส่งมาเลย์ แต่วันนี้ไม่มีเลย …เคยเจอแบบนี้เหมือนกันเมื่อ ห้าถึงยีส่ บิ ปีกอ่ น แต่กไ็ ม่จดื นานเป็นปีเหมือนตอนนี”้ ดุลเลาะ ลูกชายของกอนะ และในฐานะที่เป็นประมงไซนั่งด้วย เขาคิดว่า ปัญหาทัง้ หมดมีทางออก “ไซนัง่ เป็นการทำประมงในแหล่งน้ำตืน้ และต้องการระบบ น้ำไหลเอือ่ ยๆ ทีแ่ ผ่มาจากกระแสน้ำไหลขึน้ -ลงในร่องน้ำ น้ำขึน้ แรง-ลงแรงก็เป็นเรือ่ งดี ถ้าเอาเขือ่ นกับท่าเรือออก เปิดปากคลองทางระโนดก็ไม่ใช่เรือ่ งยาก หรือจะขุดทาง ระบายน้ำออกจากทะเลสาบอีกทางหนึง่ ในพืน้ ทีแ่ คบๆ ทีเ่ หมาะสมก็ได้” ไม่เพียงแต่ปญ ั หาตามคำบอกเล่าของคนลุม่ น้ำทะเลสาบสงขลา แต่เจ้าหน้าที่ ของบริษัทเจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด ที่บริหารท่าเรือน้ำลึกมากว่า 15 ปี ยั ง ออกมายอมรั บ ว่ า การคำนวณดิ น ตะกอนที ่ ท ั บ ถมในร่ อ งน้ ำ ตามธรรมชาติ ทีค่ าดว่าจะลดลง 20 - 25 เปอร์เซ็นต์ ถ้าสร้างเขือ่ นหินกันคลืน่ เป็นการคำนวณ ที่ผิดพลาดไปครึ่งหนึ่ง ทำให้ทุกปีกรมเจ้าท่าต้องเสียค่าใช้จ่าย 15 - 16 ล้านบาท ในการขุดลอกร่องน้ำตลอด 4 กิโลเมตร เพือ่ ให้เรือสินค้าขนาดใหญ่เข้าเทียบท่าได้ และหากจ้างเอกชนก็ตอ้ งเสียค่าใช้จา่ ยสูงถึง 20 - 30 ล้านบาท (สำนักข่าวประชาไท 12/12/2547) อย่างไรก็ตาม ชาวลุม่ น้ำในแถบนีก้ ย็ งั มีโชคอยูบ่ า้ ง เมือ่ แนวคิดเรือ่ งการก่อสร้าง ขยายท่าเรือน้ำลึกสงขลาตามโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ที่ธนาคารพัฒนาเอเชียให้ทุนแบบให้เปล่าว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษา ความเป็นไปได้ในปี 2539 ถูกพับไป เพราะการศึกษาผลกระทบทางสิง่ แวดล้อมพบว่า บริเวณที่จะขยายท่าเรือเป็นเขตโบราณสถาน มีปัญหาเรื่องการอพยพโยกย้าย ชุ ม ชนซึ ่ ง เป็ น ปั ญ หาด้ า นมวลชนในพื ้ น ที ่ และลั ก ษณะกายภาพของร่ อ งน้ ำ มีอัตราการตกตะกอนที่ต้องมีการบำรุงรักษาร่องน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ 114


รวมถึงมีโพงพางที่กีดขวางทางเดินเรือ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาร่องน้ำ เพือ่ ให้เกิดเสถียรภาพและลดปัญหาการตกตะกอน

ตำนานชาวประมง: เหรียญอีกด้านของผูถ้ กู กระทำ “สัตว์นำ้ กว่าจะผ่านโพงพางกับไซนัง่ ขึน้ มาจากปากอ่าวพบว่ามีนอ้ ยมาก ทัง้ ๆ ทีท่ ะเลด้านบนของเรามีศกั ยภาพ มีสตั ว์หน้าดินทีเ่ ป็นอาหารของกุง้ ปลาอุดมสมบูรณ์” ไม่เพียงแต่สิ่งก่อสร้างที่ปิดกั้นการขึ้นลงของกระแสน้ำ ปัญหาการลดลง ของทรั พ ยากรสั ต ว์ น ้ ำ ก็ เ ป็ น สิ ่ ง ที ่ ช าวประมงโดยเฉพาะไซนั ่ ง และโพงพาง ต้องมีสว่ นรับผิดชอบด้วย

ผู ้ ใ หญ่ ป รี ช าเล่ า ต่ อ ถึ ง การลดลงของทรั พ ยากรสั ต ว์ น ้ ำ ในพื ้ น ที ่ ว ่ า ในปี 2540 – 2545 ทะเลสาบตอนกลางมีศกึ 2 ด้าน ด้านบนเป็นผลสืบเนือ่ งมาจากการ ปิ ด ปากระวะที ่ ป ิ ด กั ้ น สั ต ว์ น ้ ำ จากทะเล รวมกั บ การขยายพื ้ น ที ่ น ากุ ้ ง รอบๆ ทะเลสาบที ่ ป ล่ อ ยน้ ำ เสี ย ลงมาเป็ น จำนวนมาก ส่ ว นด้ า นล่ า งมี ท ่ า เรื อ น้ ำ ลึ ก เขื่อนกันคลื่น รวมกับเครื่องมือโพงพางและไซนั่งเต็มพื้นที่ ดักสัตว์น้ำไว้ก่อน จะเดินทางขึ้นไปถึงทะเลด้านบน “ชุมชนหนึง่ ร้อยยีส่ บิ หกครอบครัว มีเรือห้าสิบลำ ปลายปีสห่ี า้ เหลือเรือประมง ในหมู่บ้านแค่สามลำ ชาวบ้านออกไปทำงานนอกบ้านกันหมด ทะเลบ้านเราที่อยู่ ตรงกลางไม่เหลือกุง้ ปลาให้จบั เลย” 115


ผู้ใหญ่ปรีชาสรุปผล ในปี 2546 ชาวประมงที่เหลือในหมู่บ้านต้องร้องขอ ไปยังกรมประมงให้นำลูกกุ้งกุลาดำ 400,000 - 500,000 ตัวมาปล่อยเลี้ยง ตามธรรมชาติ ในทะเลหน้าบ้าน 2 เดือนครั้ง เพราะชาวประมงไม่สามารถหา สัตว์น้ำตามธรรมชาติเลี้ยงชีพต่อไปได้ สุดท้ายทะเลสาบตอนกลางกลายเป็น ฟาร์มธรรมชาติที่ต้องพึ่งพิงลูกกุ้งกุลาดำเพาะเลี้ยงและเป็นหมัน ด้วยงบประมาณ จากกรมประมง และมีวงจรการปล่อยจับเรือ่ ยมาจนถึงบัดนี้ ในปีเดียวกัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายงานการวิจัยผลการ จับสัตว์น้ำด้วยโพงพางว่ามีแนวโน้มลดลงไม่ชัดเจน แต่สัตว์น้ำที่จับได้เกือบทั้งหมด มี ข นาดเล็ ก ลง และมี ส ั ด ส่ ว นของกุ ้ ง ลดลงอย่ า งมากเมื ่ อ เที ย บกั บ ปลา ซึ ่ ง มี ม ู ล ค่ า ทางเศรษฐกิ จ ต่ ำ กว่ า ส่ ว นสั ต ว์ น ้ ำ ที ่ จ ั บ ได้ ด ้ ว ยไซนั ่ ง มี ผ ลการจั บ สัตว์นำ้ เฉลีย่ ลดลงอย่างต่อเนือ่ ง จากผลการจับเฉลีย่ ในปี 2546 ลดลงจากปี 2539 ถึง 4 เท่า หรือจาก 3.6 กิโลกรัมต่อวัน เหลือ 0.9 กิโลกรัมต่อวัน ผลการจับสัตว์นำ้ ในทะเลสาบสงขลา ปี 2527 - 2529 และปี 2537 - 2538 ปี 2527 - 2529 ปี 2537 - 2538 พืน้ ที่ ผลการจับรวม ผลการจับเฉลีย่ ผลการจับรวม ผลการจับเฉลีย่ (ตัน/ปี) ต่อครัวเรือน(กก./ปี) (ตัน/ปี) ต่อครัวเรือน(กก./ปี) ทะเลน้อย 950 1,154 528 561 ทะเลสาบตอนกลาง 8,860 1,349 5,745 1,255 และตอนบน ทะเลสาบตอนล่าง 2,480 836 3,361 1,350 รวม 12,290 9,634

ล่ า สุ ด การตรวจสอบสถานภาพสั ต ว์ น ้ ำ จากเครื ่ อ งมื อ ประมงประจำที ่ ในทะเลสาบสงขลา โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง จ. สงขลา ระบุวา่ ระหว่างตุลาคม 2546 - สิงหาคม 2547 โพงพางจับสัตว์นำ้ เฉลีย่ 11.13 กิโลกรัมต่อช่องต่อชัว่ โมง สัตว์นำ้ ส่วนใหญ่เป็นปลา 77.17 เปอร์เซ็นต์ กุง้ 15.59 เปอร์เซ็นต์ ปู 3.73 เปอร์เซ็นต์ กัง้ และอืน่ ๆ 3.51 เปอร์เซ็นต์ ส่วนไซนัง่ จับสัตว์นำ้ เฉลีย่ 0.08 กิโลกรัมต่อลูกต่อชัว่ โมง สัตว์นำ้ ส่วนใหญ่เป็นกุง้ 50.54 เปอร์เซ็นต์ ปลา 42.21 116


ย (กก./ปี) 1 5

0

เปอร์เซ็นต์ กัง้ ตัก๊ แตน 4.08 เปอร์เซ็นต์ ปูและอืน่ ๆ 2.17 เปอร์เซ็นต์ แม้ตวั เลขทีป่ รากฏและชาวประมงจะสัมผัสได้วา่ สัตว์นำ้ ลดจำนวนลงอย่างมาก แต่ข้อมูลทั้งหมดที่มีก็ยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่า ปริมาณสัตว์น้ำในทะเลสาบ ลดลงเพียงใด เนือ่ งจากไม่มขี อ้ มูลเชิงปริมาณเพียงพอ เพราะสถิตทิ ก่ี รมประมงรายงาน เป็นข้อมูลรวมของสัตว์น้ำที่จับได้ ทั้งจากแหล่งธรรมชาติและการเพาะเลี้ยง จึงไม่สะท้อนถึงผลการจับสัตว์นำ้ ตามธรรมชาติในทะเลสาบโดยตรง ยงยุ ท ธ ปรี ด าลั ม พะบุ ต ร หั ว หน้ า กลุ ่ ม วิ จ ั ย ระบบและการจั ด การ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สถาบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เสนอรายงาน การสำรวจเครือ่ งมือประมงประจำทีข่ องกรมประมงในปี 2546 ว่า จ. สงขลา และ จ. พัทลุง มีโพงพางทั้งสิ้น 2,074 ช่อง (บริเวณร่องน้ำทั้งหมดในปากน้ำสงขลาและ ปากพะยูน) มีไซนั่งจำนวน 354 แถว จำนวนรวม 29,604 ลูก มีความหนาแน่น มากในบริ เ วณใกล้ ป ากน้ ำ ทะเลสาบสงขลา (โพงพางเป็ น เครื ่ อ งมื อ อั น ดั บ 2 รองจากอวนรุน ทีม่ ปี ระสิทธิภาพจับสัตว์นำ้ ได้ในปริมาณมาก) อย่างไรก็ตาม ความพยายามของรัฐในสมัยต่างๆ ทีต่ อ้ งการลดจำนวนไซนัง่ ลง จำกัดเวลาในการทำโพงพางปีละ 6 เดือน หรือลดจำนวนโพงพาง โดยการมอบ ทีด่ นิ ทำกินเพือ่ ทำการเกษตร หรือแม้แต่การชดเชยด้วยเงิน ก็เป็นปัญหาทีห่ าข้อยุติ ไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม ชาวประมงในพืน้ ทีเ่ องกลับมีความคิดและมุมมองเดียวกันว่า ไซนั ่ ง และโพงพางมี จ ำนวนมากก็ จ ริ ง แต่ ก ารจะให้ จ ำกั ด หรื อ ลดจำนวนลง ก็มคี วามซับซ้อนทางเทคนิคและกระทบจิตใจอีกหลายข้อ “ถ้าซือ้ จากเจ้าของเดิม ไซนัง่ หนึง่ แถวประมาณห้าถึงสิบลูก ตกสีถ่ งึ ห้า หมืน่ บาท แต่ ถ ้ า เขาให้ เ อาไซออก ซื ้ อ คื น ลู ก ละห้ า พั น หรื อ หมื ่ น ให้ เ ท่ า ไหร่ ก ็ ไ ม่ ค ุ ้ ม ไม่มใี ครอยากขายหรอก เพราะถ้าเรามี เราก็หากินกันได้ตลอด คนทีน่ ห่ี ากินในทะเลกัน เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ บ้านติดเขา ไม่มีนา ไม่มีสวน หันไปเลี้ยงปลาพง (ปลากะพง) ในกระชัง ก็ไม่ขึ้น เหยื่อก็แพงกิโลละเก้าถึงสิบบาท ลูกพันธุ์ตัวละสี่บาทห้าสิบ สตางค์แล้ว ให้อาหารวันเว้นวัน สองปีกว่าจะจับขายได้โลละเก้าสิบห้าถึงหนึง่ ร้อย บาท เลีย้ งยังไม่ทนั โต น้ำจืดลงมาทีเดียว ก็ตายหมด” ลีพดู ลียืนอยู่กลางทะเลสาบ ในระยะสุดสายตาของเขามีไซนั่งล้อมซ้ายขวา หน้าหลังเต็มพื้นที่ เขาคาดคะเนว่า “ไซนั่งที่มีในทะเลสาบไม่ใช่มีเป็นหมื่นหรอก มีเป็นแสนลูก ถ้าน้ำดีตอนกลางคืนมาดูจะเห็นไฟระยิบระยับไปทั่ว ทะเลสาบ 117


เราทำอย่างนีก้ นั มาตัง้ แต่บรรพบุรษุ แล้ว พืน้ ทีท่ กุ ทีท่ ว่ี างไซได้ วางกันหมดเต็มพืน้ ที่ เพิม่ ขึน้ มากกว่านีไ้ ปไม่ได้อกี แล้ว” คำว่า “เต็มพืน้ ที”่ และ “เพิม่ ขึน้ ไม่ได้แล้ว” อยูใ่ นคำบอกเล่าของชาวประมง โพงพางด้วย “เมือ่ ก่อนโพงพางมีอยูห่ า้ ถึงหกแถวเอง เดีย๋ วนีต้ า่ งคนต่างทำ เต็มพืน้ ทีไ่ ปหมด ในทะเลจะมีโพงพางหมดทุกร่องน้ำ”...“เรือ่ งเพิม่ ขึน้ เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด มันเต็มแล้ว เต็มมานานมาก ใครเอามาวางทับวางซ้อนกันเจอไข้โป้งแน่ เรือ่ งแบบนีเ้ คยเกิดขึน้ มา แล้ว” อาหมัด-บังกอซิมเล่า และยังเล่าย้อนอดีตไปในยุคทีโ่ พงพางเคยรุง่ เรืองด้วย ผ่านสุม้ เสียงของชาวโพงพางผสานการค้นคว้าของนฤทธิ์ ตำนานชาวประมง เริม่ ขึน้ ตัง้ แต่พทุ ธศตวรรษที่ 10 (อยูร่ ะหว่างปี พ.ศ. 901 – พ.ศ. 1000) เป็นอย่างช้า พร้อมๆ กับคำเรียกขานชุมชนประมงในทะเลสาบว่า “ชุมชนหมูเ่ ล” มีชมุ ชนหัวเขา เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าสำคัญ เพราะเป็นชุมชนเก่าแก่เพียงไม่กช่ี มุ ชนทีห่ าสัตว์นำ้ เพื่อการค้าขาย ชาวประมงในชุมชนเลือกใช้โพงพางในการจับสัตว์น้ำมาแต่บัดนั้น วิถชี วี ติ อันยาวนานของพวกเขามีหลักฐานยืนยัน อาหมัดบอกว่า โพงพางเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงคนในทะเลสาบมาแต่ โบราณ ดังนัน้ ไม่ใช่เรือ่ งแปลกทีช่ าวประมงในยุคหลังจะได้รบั มรดกเพือ่ วางโพงพาง ในร่องน้ำที่คนรุ่นเก่าจับจองมาก่อน มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนร่องน้ำกันในหมู่ ชาวประมง และมีการขยายพืน้ ทีไ่ ปตามจำนวนประชากรทีเ่ พิม่ ขึน้ ซึง่ ปัจจุบนั ราคา โพงพางในร่องน้ำจะซือ้ ขายกันเองในราคา 100,000 - 500,000 บาท ชาวประมงยุคใหม่ สาฟาอี-บังกอซิมเล่าบ้าง “ตอนที่เขาชดเชยและให้ที่ดิน มีชาวบ้านบางคนขายโพงพางแล้วออกจากหมูบ่ า้ นไป แต่เดีย๋ วนีก้ ก็ ลับมาทำโพงพาง กั น เหมื อ นเดิ ม ” ...“มั น พู ด ยากนะ ถ้ า จะมาซื ้ อ คื น ใครที ่ อ ยู ่ ใ นร่ อ งน้ ำ ดี ๆ เขาก็ไม่ขายหรอก เขามีรายได้กนั เกือบทุกวัน ออกแรงทำงานวันละสีช่ ว่ั โมง น้ำดีๆ ก็มรี ายได้วนั ละสามพันแล้ว แต่เงินทีไ่ ด้มาเราก็ตอ้ งซือ้ ทุกอย่าง ซือ้ ผัก ซือ้ ข้าว ซือ้ หมด ทุกอย่าง ลูกก็กำลังเรียน ก็อย่างทีเ่ ห็นอยู่ บ้านเราอยูต่ ดิ เขา ทีด่ นิ ไม่มี นาสวนไม่มี เราทำโพงพางกันอย่างเดียว คนอืน่ เขาไม่เข้าใจ คิดว่าเราหัวหมอ...เรามีอยูเ่ ท่านีจ้ ริงๆ และถ้าบอกว่าเราทำให้สตั ว์นำ้ ลดลง ก็ไม่นา่ จะใช่ เราก็ทำกันมาแบบนี้ ถ้าน้ำเค็มเข้า ก็มสี ตั ว์นำ้ ให้จบั อยูต่ ลอด” ปี 2547 มีการเปิดเวทีรับฟังเรื่องการจัดระเบียบการทำประมงในลุ่มน้ำ 118


ทะเลสาบสงขลา ตามข้อบังคับของภาครัฐ และข้อเรียกร้องของชาวประมง ผู้มี ส่วนได้เสีย 9 อำเภอ 2 จังหวัด ได้ผลออกมาว่า ให้ชดเชยโพงพางในช่องน้ำหลักช่องน้ำรอง 500,000 - 100,000 บาท หรือจัดหาทีด่ นิ 20 - 30 ไร่ทม่ี เี อกสารสิทธิ์ และให้รัฐสนับสนุนกิจกรรมอาชีพในพื้นที่นั้น ส่วนไซนั่งต้องเว้นระยะห่างให้มากขึ้น ตามความเหมาะสมของพืน้ ที่ โดยระยะห่างของแถว 200 - 400 เมตร ระยะห่าง ระหว่างลูกเว้นช่วง 20 - 40 เมตร เว้นระยะห่างในช่องทางเดินเรือ ห้ามทำไซนัง่ ในร่องน้ำ จำกัดจำนวนไซนัง่ 1 ครอบครัวไม่เกิน 20 ลูก ผูไ้ ด้รบั ผลกระทบได้เงินชดเชย 10,000 บาทต่อลูก หรือให้หาทีท่ ำกินทดแทนหรือหาอาชีพเสริมทดแทน ทุกโซนห้าม เพิม่ จำนวนไซนัง่ เมือ่ มีการจัดระเบียบ ปัจจุบัน ความคืบหน้าของแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดระเบียบโพงพาง และไซนั่งในลุ่มน้ำยังไม่เกิดขึ้น ชาวประมงในพื้นที่คิดว่าส่วนหนึ่งของปัญหา ทีย่ งั แก้ไขไม่ได้ เป็นเพราะความหย่อนยานในการบังคับใช้กฎหมายของกรมประมงเอง ภายหลังจะเข้ามาจัดระเบียบจึงเป็นไปได้ยาก ส่วนนฤทธิ์มองว่า หน่วยงานภาครัฐ ไม่มองถึงวิถีชีวิตและระบบสัมปทานโพงพางและไซนั่งตามความเป็นจริงในพื้นที่ ทำให้การเจรจาเรือ่ งการชดเชยไม่เป็นผล ในภาพรวมด้านทรัพยากรสัตว์นำ้ ยงยุทธยกตัวเลขในอดีตทีเ่ คยมีการสำรวจ สัตว์นำ้ ในทะเลสาบว่าเคยมีกว่า 700 ชนิด แต่การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ในทะเลสาบอย่างเป็นระบบมีอยูค่ อ่ นข้างน้อยและกระจัดกระจาย ในปี 2545 จึงมีการ สำรวจอย่างเป็นระบบอีกครั้งโดยสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ผลการ สำรวจพบว่าในทะเลสาบมีปลาประมาณ 450 ชนิด กุง้ ทะเล-กุง้ น้ำจืดรวมกัน 30 ชนิด ในปี 2538 พบสัตว์น้ำบางชนิดหายไปหรือพบได้น้อยมาก เช่น ปลาดุกลำพัน ปลาโพกมัน ปลาตะลุมพุก ปลากระเบนขนาดใหญ่ ปลาฉลามเจ้ามัน ปลาตุ่ม ปลาคันหลาว ส่วนปลาที่พบว่ามีจำนวนลดน้อยลง ได้แก่ ปลากุเลา ปลากดขี้ลิง ปลากะพงหิน ฯลฯ ยงยุ ท ธคิ ด ว่ า วิ ก ฤตที ่ ก ำลั ง เกิ ด ขึ ้ น โพงพางในร่ อ งน้ ำ และไซนั ่ ง เป็ น องค์ประกอบสำคัญที่ตัดตอนวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำ ที่เดินทางเข้าออกระหว่างอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา นำไปสู่ปัญหาปากท้อง ของชาวประมงด้วยกันเอง การปล่อยสัตว์น้ำในทะเลสาบเพื่อให้ชาวประมงได้ เก็ บ เกี ่ ย วแทนสั ต ว์ น ้ ำ ธรรมชาติ จึ ง กลายเป็ น ภารกิ จ หลั ก ของกรมประมง 119


ที ่ ท ำมาไม่ ต ่ ำ กว่ า 15 ปี โดยเน้ น การปล่ อ ยกุ ้ ง ปลาที ่ เ ป็ น สั ต ว์ น ้ ำ เศรษฐกิ จ ใช้งบประมาณประมาณปีละ 5 ล้านบาท เพือ่ ให้ชาวประมงสามารถจับสัตว์นำ้ ขายได้ ประมาณปี ล ะ 40 ล้ า นบาท ซึ ่ ง ถ้ า ไม่ ส ามารถแก้ ไ ขปั ญ หาโพงพางกั บ ไซนั ่ ง การฟืน้ ฟูทะเลสาบก็คงเป็นไปได้ยาก มาถึงเวลานี้ นอกจากตำนานจะตกเป็นจำเลยแล้ว ก็มีการกล่าวอีกมากว่า การปักสร้างไซนั่งและโพงพางทำให้น้ำถ่ายเทไม่สะดวก การดักตะกอนทราย และสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ทำให้ตะกอนกองทับถมในพื้นที่บางส่วน ทำให้ตื้นเขินหรือ เป็นสันดอนในหลายพื้นที่ แต่การกล่าวกันมากในเรื่องนี้ กลับไม่มีการศึกษาวิจัย ที่ชัดเจนรองรับ จะมีก็แต่ตะกอนที่ไหลลงมาจากแผ่นดินที่นักวิชาการเฝ้ามอง กันอย่างใกล้ชิด เพราะส่งผลเชื่อมโยงถึงปัญหาอีกหลายประการ และกลายเป็น เรือ่ งใหญ่ทส่ี ดุ ในลุม่ น้ำ

ปลายทางก็ทะเล: จากต้นน้ำถึงผืนดิน “ไม่เกิน 200 ปี ไปปักโฉนดได้เลยในทะเลสาบ” ผศ.ดร.ฉัตรไชย รัตนชัย คณบดี คณะการจั ด การสิ ่ ง แวดล้ อ ม มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ในฐานะหั ว หน้ า ร่วมโครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาลุม่ น้ำทะเลสาบสงขลา เปิดประเด็นในเรือ่ ง ตะกอนไว้อย่างเร้าใจ และขยายความต่อว่า “ยี่ส ิบกว่าปีท ี่ผ่านมา ในทะเลสาบสงขลามีโครงการเกิดขึ้นมากมาย... แต่จำเลยเชิงโครงสร้างมันเห็นได้ชดั จำเลยทีม่ าเป็นตะกอน ฟอสฟอรัส ปุย๋ อะไรทีเ่ รา มองไม่เห็น ไม่สามารถวัดปริมาณได้ พวกนี้น่ากลัวมาก ตอนนี้ในทะเลสาบมีพืชน้ำ หกแสนตัน หนึ่งร้อยหกสิบตารางกิโลเมตร คือเกือบเท่ากับกรุงเทพทั้งจังหวัด ...ตอนนี้ยังไม่รู้จะทำยัง ไม่รู้จะเอาออกยังไง ถ้าเอาออกได้จะเอาไปทิ้งที่ไหน” ผศ.ดร.ฉัตรไชยพูด ด้านกัมปนาทกล่าวถึงข้อเท็จจริงที่ไม่ค่อยเป็นที่รับรู้ว่า ทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลประเภททีบ่ ริเวณชายฝัง่ มีการเปลีย่ นแปลงสูง ทำให้ตะกอนทรายมาทับถมกัน จนเป็นสันทรายโอบล้อมและปิดกัน้ มวลน้ำไว้จนเกิดขึน้ เป็นทะเลสาบ ในทางธรรมชาติ ทะเลสาบประเภทนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วเมื่อเทียบกับอายุทางธรณีกาล ดังนั้น ช่วงเวลาระดับ 100 - 1,000 ปี ก็จะเห็นการเปลีย่ นแปลงไปของระบบนิเวศ และโดย ทัว่ ไปทะเลสาบแบบนีจ้ ะค่อยๆ ตืน้ เขินจนกลายเป็นแผ่นดินในทีส่ ดุ ซึง่ ปัจจุบนั อายุขยั 120


ของทะเลสาบสงขลาได้ดำเนินมาถึงตอนปลายแล้ว แต่กิจกรรมต่างๆ ของชุมชน รอบทะเลสาบ จะเร่งให้ทะเลสาบกลายเป็นแผ่นดินเร็วยิง่ ขึน้ ปัจจัยทีส่ ำคัญข้อหนึง่ คื อ การลดลงของพื ้ น ที ่ ป ่ า การเปิ ด หน้ า ดิ น เพื ่ อ ทำการเกษตรหรื อ สวนยาง พอฝนตกหนัก หน้าดินจะถูกน้ำฝนกัดเซาะได้ง่าย ตะกอนดินที่ไหลลงมาพร้อมๆ กับน้ำท่า คือแรงหนุนสำคัญทีท่ ำให้ทะเลสาบตืน้ เขินเร็วขึน้ สถานีวิจัยป่าต้นน้ำทะเลสาบสงขลาศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ ป่าต้นน้ำด้วยภาพถ่ายดาวเทียมในปี 2548 พบว่าพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ในลุ่มน้ำ ลดลงจาก 12.4 เปอร์เซ็นต์ เหลืออยู่เพียง 11.10 เปอร์เซ็นต์ โดยถูกเปลี่ยนไป เป็นพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม การศึกษายังระบุดว้ ยว่าพืน้ ทีป่ า่ สมบูรณ์จะมีอตั ราการชะล้าง หน้าดินประมาณ 0.5 ตันต่อปีตอ่ ตารางกิโลเมตร ขณะทีพ่ น้ื ทีเ่ กษตรจะมีการชะล้าง สูงถึง 6 ตันต่อปีตอ่ ตารางกิโลเมตร ซึง่ สุดท้ายตะกอนดินเหล่านีจ้ ะไหลลงสูท่ ะเลสาบ สงขลา (ประชาไท 24/1/2549) ในแผนแม่บทฯ ก็ระบุไว้สอดคล้องกันว่า ในปี 2528 มีพื้นที่ปลูกยางพารา 1,969,019 ไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 2,178,075 ไร่ในปี 2545 และปี 2547 ได้มีการ ขยายพื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่นาดอนมากขึ้น และการบุกรุกป่าเพื่อทำสวนยาง พาราทางด้านฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียพื้นที่ ป่าต้นน้ำ ทิศองศาเดียวกับที่แผนแม่บทฯ กล่าวถึง เมฆดำกำลังครอบคลุมอยู่บนเขา หัวช้าง มีเทือกเขาบรรทัดเขียวครึม้ เป็นฉากหลัง สวนยางพาราใน ต. ตะโหมด วรรณ ขุนจันทร์ ปราชญ์ชาวบ้านแห่งสภาลานวัดตะโหมด ต. ตะโหมด อ. ตะโหมด จ. พัทลุง คือผูท้ ม่ี องปัญหาเรือ่ งการบุกรุกป่าของชาวสวนยางได้ละเอียดยิง่ อาวุโสผูน้ เ้ี ล่าว่า สวนยางในอดีตเป็นป่าทีม่ พี ชื คลุมดิน พืชอาหาร และป่าใช้สอย อยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่วนเกษตรแบบเก่าถูกรื้อทิ้งในปี 2503 เมื่อรัฐให้เกษตรกร โค่นยางพันธุเ์ ก่า ไถพืน้ ทีใ่ ห้เตียนโล่งเพือ่ ปลูกยางพันธุใ์ หม่ ทีต่ อ้ งขุดหลุมเอาเมล็ดพันธุ์ ลงปลูก และเมื่อยางหมดอายุก็จำเป็นต้องโค่นยางเพื่อไถหน้าดินให้เตียนโล่ง ก่อนจะปลูกยางชุดใหม่เป็นวัฏจักร “รัฐสัง่ ให้โค่นไม้อน่ื ออกให้หมด ถ้าไม่โค่น ไม่ให้เมล็ดพันธุ์ ชาวบ้านก็ตอ้ งโค่น เพราะอยากมีตน้ ยางทีใ่ ห้นำ้ ยางดี ต่อจากนัน้ มาการปลูกยางก็เป็นการปลูกพืชเชิงเดีย่ ว ต้องเปิดหน้าดินเพือ่ ปลูกยาง ระบบนิเวศเปลีย่ น ต้องใช้ปยุ๋ เคมี ใช้สารเคมีฆา่ หญ้า 121


ที่ดินก็เริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ...สารเคมี ยาฆ่าหญ้าตกค้างอยู่ในดิน ฝนตกก็ ลงคลองในเทือกเขานีค้ ลองทุกสายไหลลงทะเลสาบ” วรรณพูด สมบูรณ์ จิตสาระอาภรณ์ หนึ่งในแกนนำรุ่นใหม่ใน ต. ตะโหมด ที่รณรงค์ ให้ ช าวสวนยางเปลี ่ ย นจากการปลู ก ยางเชิ ง เดี ่ ย ว แล้ ว หั น มาทำป่ า ยางแทน เล่าอดีตทีเ่ กิดขึน้ กับ ชีวติ คนกรีดยางหลังจากเหตุการณ์นำ้ ท่วมครัง้ ใหญ่ ภาคใต้ในปี 2531 เมือ่ รัฐบาลสมัยนัน้ ประกาศปิดสัมปทานป่าทัว่ ประเทศ มีการประกาศเขตอุทยาน แห่งชาติ เพือ่ เก็บรักษาไว้เป็นป่าอนุรกั ษ์ เขตอุทยาน และเขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ “ประสบการณ์ที่ผ่านมา ป่าสงวนคือพื้นที่ของรัฐ เมื่อก่อนยังไม่ประกาศ ชาวบ้านกันที่ป่าหลังเขา (ป่าชุมชนคลองหัวช้าง) ไว้สองพันไร่ ไม่ถอน ไม่ตัดไม้ แต่พอประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติเขาหัวช้าง ชาวบ้านคิดว่ามันไม่ใช่ปา่ ของเราแล้ว มี ส.ป.ก. ก็มกี ารบุกรุกมากขึน้ เรือ่ ยๆ ตอนนีก้ รมชลกำลังปรับพืน้ ทีป่ า่ ทำอ่างเก็บน้ำ คลองหัวช้างขนาดใหญ่เพื่อเก็บน้ำไว้ทำเกษตร ต้องทำลายป่าไปเท่าไหร่ไม่รู้ เราพูดกันไม่ร้เู รือ่ ง พูดกันคนละภาษา” สมบูรณ์พดู วรรณยังกังวลถึงนโยบายแห่งยุควัตถุนิยมที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่น้ำยางให้รายได้กิโลละ 95 - 100 บาทเช่นทุกวันนี้ “รัฐออกนโยบาย แปลงทรัพย์สนิ เป็นทุน มีสวนยางเอือ้ อาทร สามารถเอาสวนยางไปจำนองจำนำได้ ป่าก็ยิ่งมีการบุกรุกป่ามากขึ้น เอาป่าไปทำอ่างเก็บน้ำอีก ทรัพยากรของพวกเรา ที่มีอยู่ก็ยิ่งลดน้อยลงไปด้วย ...นี่เรายังห่วงอยู่ว่า เมื่อไหร่จะโดนโคลนถล่ม เหมือนภาคเหนือ” การประกาศของกรมทรัพยากรธรณีทก่ี ำหนดให้ 5 หมูบ่ า้ นของ อ. ตะโหมด เป็นพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัยน้ำท่วมและดินถล่ม เป็นสิง่ ทีต่ อกย้ำความเสีย่ งทีว่ รรณพูด แต่สง่ิ ที่ สะท้ อ นใจมากไปกว่ า นั ้ น และคนทั่ ว ไปอาจนึก ไม่ ถึ ง คื อ ในปี 2545 ป่ าชุ ม ชน คลองหัวช้างเหนือหมูบ่ า้ นขึน้ ไปเคยเป็น 1 ใน 7 ป่าชุมชนดีเด่นระดับชาติ ด้านพระครูสนุ ทรกิจจานุโยค (รักษาการเจ้าอาวาสวัดตะโหมด-ปราชญ์ชาวบ้าน) ศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านใน ต. ตะโหมด สะท้อนความคิดและแนวทางปฏิบัติ ของชาวตะโหมดว่า “ตอนนีเ้ ราไม่ปลูกป่าในป่าสงวน เพราะเวลามีโครงการของรัฐ เข้ามา เราไม่สามารถทำอะไรได้ ปลูกข้างทางหลวงไม่เอา พอจะขยายถนนก็เอาออก เราจะปลูกป่าในพื้นที่ของเรา ตามสวนไร่ปลายนา ในสวนยางของเราเท่านั้น เลิกใช้สารเคมี ยึดเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของในหลวง วันนี้เรามี 122


ความตืน่ ตัวสูงในเรือ่ งการอนุรกั ษ์ปา่ การอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม เราทำของเราเองได้” ปัจจุบันชาวบ้าน ต. ตะโหมดได้รับการยกย่องว่าเป็นชุมชนที่เข้มแข็งที่สุด ในภาคใต้ มี ห ลั ก คิ ด และแนวทางชั ด เจนเป็ น ของตนเอง รวมทั ้ ง ยั ง โดดเด่ น ในเรื ่ อ งการใช้ ภ ู ม ิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ ่ น ในการอนุ ร ั ก ษ์ ธ รรมชาติ โครงการป่ า ยาง ที ่ ร ณรงค์ ก ำลั ง แผ่ ข ยายพื ้ น ที ่ ข ึ ้ น เรื ่ อ ยๆ ป่ า ชุ ม ชนเปิ ด เป็ น แหล่ ง ศึ ก ษาความ หลากหลายทางชีวภาพให้กับประชาชนทั่วไปและเยาวชนใน จ. พัทลุง ตาม ลำธาร-ลำคลองมี ก ารก่ อ สร้ า งฝายแม้ ว หลายแห่ ง เพื ่ อ ชะลอเก็ บ กั ก น้ ำ และดักตะกอน อีกทั้งสภาลานวัดตะโหมดยังมีการจัดประชุมเครือข่ายรักษา ป่ า ต้ น น้ ำ กั น ทุ ก เดื อ น แนวคิ ด ดี ๆ ที ่ ไ ด้ ร ั บ การยอมรั บ มี ก ารแลกเปลี ่ ย นและ แผ่ ข ยายไปทั ่ ว พื ้ น ที ่ ป ่ า ต้ น น้ ำ แต่ ก ารป้ อ งกั น การบุ ก รุ ก ป่ า เพื ่ อ ตั ด ไม้ ห รื อ เปิดหน้าดินทำการเกษตร หรือการจะเก็บรักษาป่าต้นน้ำไว้ได้มากน้อยเพียงใด นักคิดใน ต. ตะโหมด ล้วนกล่าวตรงกันว่าขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของชุมชน แต่ละพื้นที่ เพราะการรักษาป่าไม่สามารถพึ่งกำลังของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่มีอยู่ เพียงน้อยนิดได้ สมบูรณ์กล่าวปิดท้ายว่า “การพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่มองว่าต้นน้ำ ต้ อ งมี ส ่ ว นเพิ ่ ง มาเกิ ด เมื ่ อ ไม่ ก ี ่ ป ี น ี ้ เ อง แต่ ค วามจริ ง เราทำกั น มานานแล้ ว เราทำในส่ ว นของเราให้ ด ี ถ้ า ทุ ก คนช่ ว ยกั น ทำ ทะเลสาบจะดี ข ึ ้ น แน่ น อน แต่ทอ่ี นั ตรายทีส่ ดุ คือนโยบายและโครงการของรัฐ” กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าพรุ ก็มีการรายงานสถานการณ์ในแผน แม่บทฯ ว่า พรุควนเคร็งทีอ่ ยูใ่ นเขตรอยต่อ จ. พัทลุง-สงขลา-นครศรีธรรมราช เดิม เป็นพรุขนาดใหญ่แห่งหนึง่ ของภาคใต้ มีพน้ื ทีเ่ กือบ 200,000 ไร่ มาในปี 2547 เหลืออยู่ 85,560 ไร่ สาเหตุเพราะพายุที่พัดเข้าทำลายต้นไม้ในป่าไปกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้นไม่นานเกิดฝนแล้ง จึงเกิดไฟป่าติดต่อกัน หลายปี พอหน้าดินถูกเปิดก็เริ่มมีคนเข้าไปจับจอง มีการขุดลอกลำน้ำธรรมชาติ และตัดถนนผ่านเข้าไปในป่าพรุ เมื่อหนทาง เข้าไปสะดวกขึ้น การหักร้างถางพง หรือการตัดไม้ไปขายก็ทำได้สะดวกขึน้ ป่าพรุเสือ่ มสภาพลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนัน้ ยังมีนำ้ ท่วมใหญ่ในปี 2518 และปี 2531 ทีท่ ำให้ปา่ พรุเสียหายไปเป็นจำนวนมาก ส่วนพรุควนขี้เสี้ยนเนื้อที่ 3,087.5 ไร่ อยู่ภายใต้ภาคีอนุสัญญาแรมซาร์ใน ปี 2541 แนวพรุควนขีเ้ สีย้ นอยูใ่ น อ. ระโนด จ. สงขลา - อ. หัวไทร จ. นครศรีธรรมราช 123


รวมถึงพรุควนขีเ้ สีย้ นในทะเลน้อย อ. ควนขนุน จ. พัทลุง อยูใ่ นเขตห้ามล่าสัตว์ปา่ ทะเลน้อย ถาวร เกตุดว้ ง อาชีพปลูกกระจูดขาย เล่าว่า ตัง้ แต่อดีตถึงปัจจุบนั ป่าพรุ แห่งนีถ้ กู คุกคามด้วยไฟป่าและน้ำท่วมเป็นระยะๆ ผอ. สุพจน์กล่าวเชือ่ มโยงว่า ป่าพรุเป็นพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั ระบบนิเวศ ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามาก เพราะพรุจะรับน้ำจากเทือกเขาบรรทัด ทำหน้าที่ ดักตะกอนไว้ ก่อนจะระบายน้ำลงทะเลน้อยไปสูท่ ะเลสาบ ความเสือ่ มโทรมของป่าพรุ ทำให้ระบบการกรองตะกอนตามธรรมชาติทม่ี อี ยูห่ ายไป นอกจากนี้ กรมป่าไม้ได้สำรวจพืน้ ทีป่ า่ ชายเลนในลุม่ น้ำ พบว่าป่าชายเลนใน จ. สงขลา 8,125 ไร่ในปี 2504 ลดลงเหลือ 3,896 ไร่ในปี 2539, จ. พัทลุงลดลง จาก 8,750 ไร่ เหลือ 881 ไร่ อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในทะเลน้อยและทะเลหลวง ยืนยันว่า มีตน้ เสม็ดและลำพูตามธรรมชาติแพร่กระจายมากขึน้ อย่างเห็นได้ชดั กัมปนาทกล่าวว่า นอกจากสาเหตุการตื้นเขินที่เกิดจากตะกอนในคลอง ที่ไหลลงสู่ทะเลสาบแล้ว กระแสน้ำในทะเลสาบตอนบนที่เป็นพื้นน้ำเปิดกว้าง โดยทั่วไปจึงมีความเร็วอ่อนมาก (ยกเว้นบริเวณปากรอ) เพราะไม่ได้รับอิทธิพล ของน้ำขึ้น-น้ำลง แต่จะมีคลื่นในช่วงบ่ายกวนให้ตะกอนแขวนลอยฟุ้งกระจายอยู่ ส่วนทะเลสาบตอนกลางมีเกาะขวางกั้น อิทธิพลของคลื่นไม่รุนแรง ทำให้อนุภาค ทรายแป้งและดินเหนียวสามารถตกตะกอนได้มาก รวมทั้งการถมที่ล้ำเข้าไป ในทะเลสาบ ในบริเวณที่ชายฝั่งเกิดการตื้นเขิน ซึ่งปรากฏให้เห็นอยู่ในหลายพื้นที่ ก็เป็นตัวเร่งการลดขนาดของทะเลสาบทีส่ ำคัญเช่นกัน ในปี 2548 ปัญญา จารุศริ ิ นักวิชาการประจำศูนย์วจิ ยั แห่งชาติดา้ นการจัดการ สิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาบริเวณลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลาตอนกลางพบการกัดเซาะและพังทลายของหน้าดินเฉลี่ย 2.8 ตัน ต่อปีต่อไร่ แต่จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศกลับพบว่า มีพื้นที่สะสม ตะกอนชายฝั่งสูงถึง 1.45 ตารางกิโลเมตร ขณะที่มีการกัดเซาะชายฝั่งมีเพียง 0.19 ตารางกิโลเมตร (www.thaingo.org) กัมปนาทประเมินว่า การสะสมตัวของตะกอนที่มากับน้ำท่า ตะกอนที่ถูกพัด มาตามชายฝั ่ ง ทะเล และตะกอนจากการทั บ ถมของซากพื ช ซากสั ต ว์ ใ นน้ ำ โดยไม่ทราบสัดส่วนที่แน่ชัดของตะกอนแต่ละชนิด จะส่งให้อัตราการตกตะกอน เฉลีย่ ในทะเลสาบมีประมาณ 5.0 - 6.9 มิลลิเมตรต่อปี และถ้าพิจารณาทะเลสาบ 124


แต่ ล ะบริ เ วณ ทะเลสาบตอนล่ า งจะมี ป ั ญ หาความตื ้ น เขิ น ค่ อ นข้ า งรุ น แรง ประมาณการณ์ว่า ในอีก 400 - 1,000 ปี พื้นที่ทะเลสาบตอนล่างส่วนใหญ่ จะกลายเป็นแผ่นดิน และทะเลสาบตอนบนและตอนกลางจะเป็นทะเลสาบน้ำจืด ในแผ่นดิน แล้วก็จะตืน้ เขินจนเป็นพรุและแผ่นดินในทีส่ ดุ ส่วนความพยายามในการแก้ไขเรื่องตะกอนด้วยการขุดลอก กลับเป็นที่ ถกเถียง และหวัน่ วิตกกันมากถึงเรือ่ งผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม สิน้ เปลืองงบประมาณ โดยใช่เหตุ และไม่ใช่หนทางแก้ปญ ั หา ในขณะเดียวกัน อีกด้านหนึง่ ก็มกี ารยืนยันว่า การขุดลอกจำเป็นต้องเกิดขึ้น หากแต่จำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิด ตามมาด้วย กัมปนาทยกตัวอย่างการขุดลอกเพื่อการเดินเรือในอดีตว่า กรมเจ้าท่า (กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี) เคยขุดลอกร่องน้ำที่บริเวณคูขุดเมื่อ 10 กว่าปีกอ่ น แต่ไม่มกี ารบำรุงรักษา ปัจจุบนั ร่องน้ำตืน้ เขินจนไม่เหลือสภาพร่องน้ำ อยู ่ เ ลย ดั ง นั ้ น แนวความคิ ด ที ่ จ ะขุ ด ลอกร่ อ งน้ ำ สายหลั ก เพื ่ อ ให้ เ รื อ โดยสาร หรือเรือสินค้าใช้เป็นเส้นทางถาวรไปมาในทะเลสาบทั้ง 4 ส่วน หรือทะเลสาบ ตอนล่างทีเ่ สนอให้มกี ารขุดลอกร่องน้ำ 2 ร่อง กว้างประมาณ 200 เมตร ลึก 3 เมตร เริ่มจากร่องน้ำปากทางเข้าทะเลสาบตอนล่าง ผ่านด้านเหนือและใต้เกาะยอ แล้ ว มาบรรจบกั น อี ก ที ท ี ่ ช ่ อ งแคบปากรอ (งบประมาณสองพั น ล้ า นบาท) รวมทั ้ ง การว่ า จ้ า งบริ ษ ั ท ที ่ ป รึ ก ษาให้ ศ ึ ก ษาและสำรวจออกแบบการขุ ด ลอก พืน้ ทีท่ ะเลน้อยทัง้ หมด โดยตะกอนจะนำมาถมบริเวณตอนบนของทะเลสาบตอนบน ซึง่ มีปญ ั หาคลืน่ ลมกัดเซาะตลิง่ ซึง่ ก่อนการถมทะเลสาบ จะต้องสร้างเขือ่ นกันตลิง่ พัง ยาวกว่า 8 กิโลเมตรเพือ่ รองรับดินตะกอนจากการขุดลอก การจะดำเนินโครงการ ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงงบประมาณจำนวนมากในการขุดลอก และดูแล การขุดลอกทุกปี เพื่อรักษาให้ร่องน้ำที่ขุดอยู่ในสภาพเดิมไปตลอด นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงพื้นที่สำหรับทิ้งตะกอนเลนที่มีความเค็ม เพราะนำไปใช้ประโยชน์ บนบกหรือถมทำพื้นที่ใช้สอยในทะเลสาบไม่ได้ ภาพรวมของการพัฒนาส่งเสริม การขนส่งสินค้า ศักยภาพของท่าเรือรอบทะเลสาบสงขลาที่สามารถขนส่งสินค้า ทางเรื อ ได้ ปริ ม าณผู ้ โ ดยสารประจำทางและนั ก ท่ อ งเที ่ ย ว ความเหมาะสม และความคุม้ ค่าทางเศรษฐกิจ รวมทัง้ ยังต้องศึกษาผลกระทบสิง่ แวดล้อมให้ละเอียด ชัดเจนอีกด้วย 125


กัมปนาทให้ความเห็นถึงมาตรการในการจัดการและแก้ไขปัญหาการตืน้ เขินว่า ต้องเลือกขุดลอกในบางพืน้ ที่ กำจัดพืชน้ำทีด่ กั ตะกอนออกให้เหลือเพียงตามขอบตลิง่ ให้เป็นทีอ่ นุบาลและเพาะพันธุส์ ตั ว์นำ้ และจัดระเบียบไม่ให้เครือ่ งมือประมงกีดขวาง การไหลของน้ำ อีกทางหนึง่ แม้จะมีการยอมรับในเหตุผลเดียวกันอยูห่ ลายกรณี แต่ ผอ. สุพจน์ ยังมีแนวคิดที่เป็นความหวาดวิตกของหลายฝ่าย “ถ้าจะแก้ปัญหาตะกอนโดยการ ขุดลอก มีใครรู้บ้างว่าตะกอนจะฟุ้งกระจายในน้ำมากแค่ไหน ใช้เวลาแค่ไหนน้ำถึง จะเป็นปกติ จะมีของเสียหรือสารพิษที่สะสมอยู่ในตะกอนฟุ้งขึ้นมาหรือเปล่า มีมากน้อยแค่ไหนก็ไม่มีใครรู้ จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าเป็นแบบนั้น...วิธีการแก้ไขที่ ต้นเหตุคือต้องเปิดประตูระบายน้ำ เอาท่าเรือน้ำลึกออก หรืออย่างน้อยที่สุด ก็เอาเขื่อนกันคลื่นออก ต้องยกเลิกเครื่องมือประมงที่ขวางทางน้ำออกให้หมด ให้นำ้ ถ่ายเทตะกอนออกไปเอง แต่จะทำได้กนั หรือเปล่า” ด้านนักวิชาการชาวบ้าน วรรณแสดงความคิดเห็นไว้วา่ “ป่าชุม่ น้ำ ป่าโกงกาง ไม้จิก หว้า ไผ่ สาคู คุณต้องรักษาไว้ แต่การขุดลอกคลองที่ใช้แทร็คเตอร์ ดั น ทำลายไม้ พ วกนี ้ ห มด การขุ ด คลองตามภู ม ิ ป ั ญ ญาชาวบ้ า นใช้ เ สี ย ม ใช้จอบ ในคลองจะมีระดับน้ำทีเ่ ป็นแอ่ง มีตน้ื มีลกึ แต่เอารถดันระดับของท้องน้ำ เท่ากันหมด ไม่มีการลดหลั่น ขุดลอกแล้วไปทำลาย เมื่อก่อนมีต้นสาคูเยอะ ตลอดคลอง มีไม้หมดทุกอย่างทีร่ ากอุม้ น้ำ หน้าแล้งน้ำก็ยงั ไหลออก มีโคลนข้างใต้ มีปลากุ้งหอย พอดันแทร็คเตอร์ จบเลย มีปัญหาแน่นอน จะขุดไปลึกแค่ไหน โคลนก็ลงมาถมเต็มอีก การพัฒนาทำให้ปัญหายิ่งเกิด นี่คือการพัฒนาที่ไร้ทิศทาง ขาดวิสัยทัศน์” ตามแผนแม่ บ ทฯ โครงการขุ ด ลอกคลองในทะเลสาบตั ้ ง งบประมาณไว้ 280 ล้านบาท โดยให้ศกึ ษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการขุดลอกคลอง และปากคลองสายหลัก 20 สาย มากกว่า 322 กิโลเมตร ใน 12 ลุม่ น้ำ ทว่าปัญหา ตะกอนที ่ ม ากั บ น้ ำ ท่ า บนบก ก็ เ ป็ น อี ก ปั ญ หาหนึ ่ ง ที ่ ย ั ง ไม่ ม ี ห นทางที ่ ท ุ ก ฝ่ า ย คิดเห็นตรงกันเป็นบทสรุป ...หรือทะเลสาบจะกลายเป็นแผ่นดินจริงในอีก 400 ปีขา้ งหน้า

126


น้ำเสียสมทบ: ว่าด้วยอาชีพ ชุมชน เมือง จะเห็นได้จากการตายของปลาในกระชังโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชดั ทีก่ ำลังเกิดขึน้ ทั่วไปในทะเลสาบ ชาวประมงส่วนใหญ่ตั้งข้อสังเกตว่า ในฤดูฝนที่มีน้ำจืดไหลลง ทะเลสาบมาก จะเป็นช่วงเวลาทีป่ ลาในทะเลสาบ-ปลาในกระชังตายมากทีส่ ดุ ซึง่ ตาม ความเห็นของชาวประมงในพื้นที่ พวกเขาเชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะน้ำจืดที่ไหลมา จากบนบกมีความสกปรกมาก ผศ.ดร.ฉัตรไชย-กัมปนาท ให้ขอ้ มูลในเชิงวิชาการว่า น้ำทิง้ -น้ำเสียจากชุมชน เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม จะมีสารอินทรีย์และธาตุอาหารของพืช เป็น องค์ประกอบ เมื่อสารเหล่านี้ไม่สามารถถ่ายเทออกจากทะเลสาบได้หมดก็จะสะสม อยู่ในมวลน้ำและในตะกอนท้องน้ำ สารอินทรีย์ที่สะสมในตะกอนจะถูกย่อยสลาย และปลดปล่อยธาตุอาหารพืชสู่มวลน้ำ ก่อให้เกิดสภาวะยูโทรฟิเคชัน1 ขึ้นใน ทะเลสาบบ่อยครั้งมานานกว่า 20 ปีแล้ว บางปีที่รุนแรงและกินเวลานานจน ทำให้ ส ั ต ว์ น ้ ำ ในทะเลสาบตอนบนตายเป็ น บริ เ วณกว้ า ง ระดั บ ของกรด-ด่ า ง และออกซิเจนในน้ำแปรปรวน ทำให้ตะกอนดินเน่าเสีย ลดความเข้มข้นของ ธาตุอาหารในน้ำ อีกทั้งถ้าช่วงไหนที่แดดดี อุณหภูมิและน้ำมีความเค็มพอเหมาะ แพลงก์ตอนพืชก็จะเจริญเติบโตในบริเวณน้ำลึกที่แสงส่องไม่ถึง แต่ในบริเวณ ที่น้ำตื้นแสงส่องถึงท้องน้ำ พืชน้ำประเภทที่มีรากยึดกับท้องน้ำ เช่นสาหร่ายหนาม ก็จะเจริญได้ดีและแพร่กระจายจนเต็มทะเลสาบตอนกลาง พอถึงฤดูน้ำหลาก สาหร่ายเหล่านีจ้ ะเป็นตัวการทีก่ กั ตะกอนไม่ให้ถา่ ยเทออกไปจากทะเลสาบ นฤทธิ์หยิบยกสถานการณ์น้ำเสียในพื้นที่ประกอบกับข้อมูลที่แสดงไว้ในแผน แม่ บ ทฯ โดยเริ ่ ม จากน้ ำ เสี ย ชุ ม ชนในปี 2544 ว่ า ลุ ่ ม น้ ำ ที ่ ม ี ป ั ญ หาในเรื ่ อ ง คุณภาพน้ำมากทีส่ ดุ คือ ลุม่ น้ำคลองอูต่ ะเภา รองลงมาคือคาบสมุทรสทิงพระ มีนำ้ เสีย 97,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน แต่มรี ะบบบำบัดน้ำเสียชุมชนในเทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลนครสงขลาเพียง 2 แห่ง โดยระบบท่อรวบรวมสามารถบำบัดได้เพียง ยูโทรฟิเคชัน (Eutrophication) คือการที่แหล่งน้ำมีการสะสมสารอาหารพวกไนเตรต ฟอสเฟต และอื่นๆ จากแหล่งต่างๆ มากเกินไป จนทำให้เกิดการเจริญอย่างรวดเร็วของสาหร่ายและการเจริญของพืชน้ำ จนในที่สุดมีการตายทับถมของพืชน้ำและเกิดการเน่าเสียของน้ำ เนื่องจากการย่อยสลายซาก และเป็น สาเหตุให้แหล่งน้ำขาดออกซิเจนได้ 1

127


7 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำเสียทีเ่ กิดขึน้ ระบบบำบัดยังออกแบบไว้เพือ่ กำจัดสารอินทรีย์ ในรูปค่าบีโอดีและสารแขวนลอยเท่านัน้ ไม่สามารถบำบัดสารอาหารซึง่ เป็นต้นเหตุ สำคัญทีท่ ำให้เกิดยูโทรฟิเคชันได้ จากการสำรวจในปี 2546 จ. สงขลามีโรงงานอุตสาหกรรม 1,166 โรง, ปี 2545 จ. พัทลุงมี 371 โรง และในการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรม 74 โรง มีโรงงาน ที่มีบ่อเก็บกักโดยไม่ปล่อยลงคลอง 48 โรง มีน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดก่อนปล่อย ลงคลอง 26 โรง ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย 70 – 99 เปอร์เซ็นต์ แต่มาตรการ ในการดูแลปลายท่อยังไม่เพียงพอ และบางโรงงานยังไม่เปิดระบบบำบัดน้ำเสีย เต็มเวลา ทำให้คลองอูต่ ะเภาต้องรับภาระความสกปรกประมาณ 500 กิโลกรัมบีโอดี ต่อวัน นอกจากนัน้ ยังมีการระบุเฉพาะถึงน้ำเสียจากโรงงานผลิตภัณฑ์ยางขนาดย่อมใน จ. สงขลา 7 โรง ที่ก่อให้เกิดมลสารมากกว่า 100 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน, 16 โรง อยูร่ ะหว่าง 40 - 100 กิโลกรัมบีโอดีตอ่ วัน ทีเ่ หลือเป็นโรงงานขนาดเล็กก่อมลสาร ต่ำกว่า 40 กิโลกรัมบีโอดีตอ่ วัน ส่วนน้ำเสียจากนากุง้ มีความผันแปรค่อนข้างสูง เพราะการเลีย้ งกุง้ ขึน้ อยูก่ บั ตลาดค้ากุง้ ในต่างประเทศ ในปี 2543 ลุม่ น้ำแห่งนีม้ นี ากุง้ อยูป่ ระมาณ 34,200 ไร่ เพิม่ เป็น 73,511 ไร่ในปี 2545 โดยส่วนใหญ่พบมากในพืน้ ทีร่ ะโนด อ. หัวไทร ปัจจุบนั

128


คาดว่าถูกทิง้ ร้างประมาณ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ ประเมินนากุง้ ทีป่ ล่อยมลสารลงทะเล สาบจึงมีประมาณ 6,800 - 9,500 ไร่ ปล่อยมลสารประมาณ 13,530 - 18,900 กิโลกรัมบีโอดีตอ่ วัน สำหรับน้ำเสียจากฟาร์มเลีย้ งสุกรทีค่ นในพืน้ ทีห่ นั มาสนใจ เพราะกำลังเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็ว และมีจำนวนมากทีเ่ ป็นการเลีย้ งในครัวเรือน โดยไม่มกี ารขึน้ ทะเบียน ล่าสุดทีม่ กี ารสำรวจฟาร์มสุกรทีข่ น้ึ ทะเบียนทัง้ หมด 108 ฟาร์ม อัตราการเกิดน้ำเสีย จากฟาร์มขนาดเล็ก 6 - 60 หน่วยปศุสตั ว์ (นปส.) เท่ากับ 20 ลิตรต่อตัวต่อวัน มีคา่ มลสารถึง 1,500 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนฟาร์มขนาดกลาง 60 – 600 หน่วย ปศุสตั ว์ มีอัตราการเกิดน้ำเสีย 15 ลิตรต่อตัวต่อวัน ค่ามลสาร 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่นฤทธิ์และคนในพื้นที่เป็นห่วง คือฟาร์มสุกรส่วนใหญ่ระบายน้ำเสียลงแหล่งน้ำ โดยตรง ซึง่ พบมากตามริมคลองและริมทะเลสาบในหลายอำเภอ อีกกรณีที่ยังไม่มีการศึกษาแน่ชัด แต่มีการพูดถึงกันทั่ว คือความหนาแน่น ของการเลี้ยงปลาในกระชังในทะสาบหน้าชุมชนหัวเขาแดงและชุมชนเกาะยอ ทำให้เกิดการสะสมสารอินทรีย์ในตะกอนบริเวณใต้กระชังปลา ตลอดจนน้ำเสีย จากชุมชนริมทะเลทีป่ ล่อยน้ำเสียลงทะเลสาบโดยตรง เป็นต้น มีความน่าสนใจในรายงานอีกชิน้ หนึง่ ของปัญญา จารุศริ ิ คือผลการเก็บตัวอย่าง แหล่งน้ำธรรมชาติในทะเลสาบสงขลาตอนกลางรวม 622 ตัวอย่างในปี 2548 ทีพ่ บว่าตะกอนท้องน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำผิวดิน น้ำและตะกอนดินจาก ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง มี โ ลหะหนั ก ที ่ ม ี ค ่ า ความเข้ ม ข้ น สู ง เกิ น มาตรฐาน ทีอ่ าจเป็นพิษต่อสิง่ มีชวี ติ ได้แก่ อาร์ซนิ กิ (สารหนู) ตะกัว่ แมงกานีส เหล็ก ปรอท คลอไรด์ และฟลู อ อไรด์ ส่ ว นตั ว อย่ า งดิ น จากพื ้ น ที ่ ก ารเกษตร พบอาร์ ซ ิ น ิ ก เกินมาตรฐานสูงถึง 52.5 เปอร์เซ็นต์ ผู้ศึกษายังคาดการณ์ว่า ปริมาณโลหะหนัก บางชนิดทีม่ คี วามเข้มข้นเกินค่ามาตรฐานเล็กน้อยในปัจจุบนั ก็มแี นวโน้มจะเพิม่ สูงขึน้ ในอนาคตอันใกล้ ในปี 2547 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปปริมาณ ความสกปรกรวมทีร่ ะบายลงสูท่ ะเลสาบในช่วงฤดูฝนมีประมาณ 90,009.45 กิโลกรัม บีโอดีต่อวัน คลองที่มีการระบายความสกปรกลงสู่ทะเลสาบสงขลามากที่สุด คือ ปากคลองอู่ตะเภา 23,776.62 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน คลองท่าแนะ 17,231.37 กิโลกรัมบีโอดีตอ่ วัน ปากคลองลําปำ 17,174.08 กิโลกรัมบีโอดีตอ่ วัน โดยมาจากชุมชน 129


68.3 เปอร์เซ็นต์ การเพาะเลี้ยงกุ้ง 16.0 เปอร์เซ็นต์ ฟาร์มสุกร 7.2 เปอร์เซ็นต์ โรงงานอุตสาหกรรม 4.3 เปอร์เซ็นต์ และจากท่าเทียบเรือประมงสงขลา 4.2 เปอร์เซ็นต์ ภาพรวมของคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำและคลองต่างๆ ที่จะไหลลงทะเลสาบ ตอนบนจึงค่อนข้างเสื่อมโทรมถึงเสื่อมโทรม โดยทะเลสาบตอนบนและตอนกลาง ดี ถ ึ ง พอใช้ บริ เ วณปากรอเสื ่ อ มโทรมตลอดทั ้ ง ปี ทะเลสาบสงขลาตอนล่ า ง น้ำยังสามารถถ่ายเทกับน้ำทะเลในอ่าวไทย คุณภาพน้ำจึงยังไม่ต่ำมาก แต่ก็จัดว่า มีคณ ุ ภาพต่ำกว่าน้ำทะเลทัว่ ไป

ถนนรอบทะเลสาบขวางทางน้ำไหล พฤศจิกายน 2548 – ต้นปี 2549 อุทกภัยทางภาคใต้สร้างความห่วงใยให้คนไทย ทัง้ ประเทศ ใน จ. สงขลา 16 อำเภอ 125 ตำบล 971 หมูบ่ า้ น 5 เทศบาล (คม ชัด ลึก 20/7/2549) น้ำท่วมสร้างความเสียหายไว้มูลค่าเกือบ 900 ล้านบาท หายนะนี้ ไม่ได้กล่าวรวมถึงพืน้ ทีท่ ง้ั ลุม่ น้ำทะเลสาบสงขลาแต่อย่างใด และหากย้อนกลับไปดูในปี 2531 และปี 2543 ลุม่ น้ำแห่งนีก้ เ็ คยประสบน้ำท่วมใหญ่แบบเดียวกันนีม้ าก่อน ผู้ใหญ่ปรีชาเล่าว่า “ปีที่แล้วน้ำท่วมหนัก ยายผมอายุเก้าสิบบอกไม่เคยเห็น น้ำท่วมขนาดนี้มาก่อนในชีวิต หมู-วัว-ควายที่เลี้ยงไว้ตายหมด ข้าวที่ปลูกไว้ก็ตาย ค่าชดเชยพูดแล้วพูดอีกว่าจะให้ ก็เห็นแต่ตวั เลข ไม่เห็นตัวเงิน” ร่องรอยของระดับน้ำท่วมทีป่ ระดับอยูต่ ามบ้านเรือน เป็นจุดเด่นทีผ่ คู้ นในทะเล สาบต่ า งชี ้ ใ ห้ ด ู แ ทนคำบรรยายถึ ง ความลำบากที ่ พ วกเขาได้ ร ั บ โดยเฉพาะ ชาวประมงในลุ่มน้ำ พวกเขาคุยกันด้วยน้ำเสียงน้อยใจถึงการป้องกันน้ำท่วมให้ หาดใหญ่ ทำให้ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา มีการขุดลอกขยายคลอง ร.1 - ร.6 และ คลองอู่ตะเภาผันน้ำท่วมออกนอกพื้นที่เศรษฐกิจ แต่กลับมาทิ้งภาระไว้ให้ชาว ทะเลสาบ กัมปนาทมองปัญหาน้ำท่วมไปไกลขึ้นว่า ถ้าฝนตกในพื้นที่เมืองมากกว่า 40 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง จะเกิดน้ำท่วมขังบางบริเวณ แต่ถ้าตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำฯ เป็นบริเวณกว้าง จะเกิดปัญหาน้ำท่วมรุนแรงมากขึน้ เพราะน้ำท่าทีจ่ ะไหลหลากลง ทะเลสาบสงขลา ต้องผ่านชุมชนเมืองหลายแห่ง รวมทัง้ เทศบาลนครหาดใหญ่ซง่ึ มี ถนนสายหาดใหญ่-พัทลุงกั้นขวางการไหลบ่าของน้ำอยู่ ส่วนการตัดถนนเชื่อมต่อ 130


ระหว่างอำเภอต่างๆ ใน จ. สงขลา-พัทลุง ก็ขวางกั้นเส้นทางน้ำหลาก ในขณะที่ ท่ อ ลอดใต้ ถ นนสำหรั บ ระบายน้ ำ มี ข นาดเล็ ก เกิ น ไป และมี จ ำนวนไม่ เ พี ย งพอ ซึง่ ในช่วงทีม่ นี ำ้ หลากไหลลงทะเลสาบในปริมาณมาก มาเจอกับเวลาทีน่ ำ้ ทะเลอ่าวไทย ขึน้ สูง น้ำในทะเลสาบสงขลาอาจเอ่อสูงขึน้ จากระดับน้ำทะเลปานกลางถึง 2 เมตรเมือ่ เทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง น้ำจากคลองอูต่ ะเภาและคลองอืน่ ๆ ก็ไม่สามารถ ไหลลงทะเลสาบได้ ก็จะไหลล้นตลิง่ เข้าท่วมพืน้ ทีช่ มุ ชนทัง้ สองฝัง่ รวมถึงการถมดิน เพือ่ ก่อสร้างอาคารหรือถนนในพืน้ ทีร่ ะบายน้ำหลากทีท่ ำให้หน้าตัดการระบายน้ำลดลง ก็ทำให้ระดับน้ำยกสูงขึน้ ตลอดจนอัตราการไหลเร็วขึน้ ของน้ำท่า เพราะพืน้ ทีอ่ มุ้ น้ำ ได้นอ้ ยลง ทุกอย่างล้วนทำให้ปญ ั หาน้ำท่วมทวีความรุนแรงขึน้ ในแผนแม่บทฯ ตัง้ งบประมาณ 860 ล้านบาทเพือ่ ปรับปรุงถนนทีข่ วางทางน้ำ และเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วม (ปี 2549-2558) ตัวเลขดังกล่าวน่าจะชี้ให้เห็น ถึงความผิดพลาดของถนนที่ก่อสร้างขึ้น โดยไม่ได้คำนึงถึงการกีดขวางทางน้ำ ธรรมชาติได้

บทสุดท้าย...ทะเลสาบสงขลา “ถ้าจะแก้ไขปัญหาในลุม่ น้ำทะเลสาบสงขลา คำว่าบูรณาการต้องทำให้เป็นจริง ขึน้ มาให้ได้” คำพูดของวรรณคือคำพูดเดียวกันกับนักวิชาการ หน่วยงานรัฐ และผูเ้ กีย่ วข้อง ทีต่ ดิ ตามความคืบหน้าการฟืน้ ฟูทะเลสาบมาอย่างใกล้ชดิ สำหรับ ผศ.ดร.ฉัตรไชยตัง้ ความหวังไว้ทแ่ี ผนแม่บทการพัฒนาลุม่ น้ำทะเลสาบ สงขลาทีน่ กั วิชาการจาก 3 สถาบันจัดทำจนแล้วเสร็จตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 ธันวาคม 2545 เขากล่าวหนักแน่นว่า “เป้าหมายของแผนแม่บทฯ คือทำลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลาให้เหมือนเดิมให้ได้มากทีส่ ดุ นัน่ คือพัฒนาให้ยง่ั ยืน เพราะมันถูกใช้แบบ ลืมฟืน้ ฟูมานาน เราไม่อยากให้ทะเลสาบมาตายในยุคเรา ดังนัน้ ต้องทำให้เกิดสมดุล ระหว่างระบบนิเวศ วิชาการ ชุมชน เศรษฐกิจต้องอยูไ่ ด้” ตามการพัฒนาในแผนแม่บทฯ โครงการระหว่างปี 2549 - 2558 มีมลู ค่ารวม 13,690 ล้านบาท งบประมาณก้อนนีก้ ำลังจะถูกนำไปใช้เพือ่ ฟืน้ ฟูลมุ่ น้ำทะเลสาบสงขลา อีกครัง้ ถ้ารัฐบาลนำแผนแม่บทฯ ชุดนีไ้ ปเป็นกรอบในทางปฏิบตั ิ แต่ความเป็นจริง อาจทำได้แค่ตง้ั ความหวัง 131


ผศ.ดร.ฉัตรไชยกล่าวถึงความขัดข้องที่อาจจะทำให้แผนแม่บทฯ ฉบับนี้ ไร้ความหมายว่า ที่ผ่านมาแม้การฟื้นฟูทะเลสาบจะมีการสรรหาคณะกรรมาธิการ พัฒนาลุม่ น้ำทะเลสาบสงขลาขึน้ มาทำงาน เพราะลุม่ น้ำครอบคลุมพืน้ ที่ 3 จังหวัด การไม่มอี งค์กรกลางทำให้รฐั บาลและราชการส่วนกลางต้องเข้ามาเป็นเจ้าภาพในการ ดำเนินงานด้านต่างๆ แต่สดั ส่วนของกรรมการฯ มีขา้ ราชการจากส่วนกลางเสีย 3 ต่อ 1 มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทิศทางและความต่อเนือ่ งในการฟืน้ ฟูทะเลสาบ จึงผูกติดไปตามการเมืองที่ผันผวน และเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายของรัฐบาล ในแต่ละยุคมาโดยตลอด “กรรมการฯ ไม่มีตัวบท กฎหมายรองรับ ผู้ว่าฯ ซีอีโอ อธิบดี ทุกคนมีอำนาจสั่งการได้ แต่ ก รรมการฯ ไม่ ม ี อ ะไรเลย นอกจากคำสั่งจากนายกฯ สรุป จะทำอะไร ก็ต้องเอาเข้า ครม. มั น ไม่ ท ั น สถานการณ์ รั ฐ บาล เปลีย่ นหรือนายกฯ เปลีย่ นก็ตอ้ ง มาแต่งตั้งกรรมการใหม่รอคำสั่ง นายกฯ ใหม่” ผศ.ดร.ฉัตรไชยพูด นอกจากนั ้ น ยั ง มี ก ระแส เสียงทัง้ จากชาวบ้าน นักวิชาการ และเจ้ า หน้ า ที ่ ใ นพื ้ น ที ่ ท ี ่ ก ล่ า ว ตรงกันเรื่องการจัดงบประมาณ ที ่ ไ ม่ ส อดคล้ อ งกั บ ข้ อ เท็ จ จริ ง การเลื อ กปฏิ บ ั ต ิ ต ามนโยบาย ของต้ น สั ง กั ด ต่ า งคนต่ า งขอ งบประมาณทำงานกั น ตาม แนวทางของตั ว เอง ขณะที ่ ประชาชนในพื้นที่ก็ยังไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง สรุปความสั้นๆ คือขาดการ บูรณาการ 132


ผศ.ดร.ฉัตรไชยกล่าวถึงความพยายามสุดท้ายที่จะช่วยทำให้แผนแม่บทฯ ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา คือต้องเสนอให้มี การตั้งองค์กรหรือสถาบันที่มีกฎหมายรองรับขึ้นมา เพื่ออำนาจในการควบคุม ให้การดำเนินการในด้านต่างๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนให้ประชาชน ในลุ่มน้ำผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนได้เข้าร่วม ในการแก้ไขอย่างมั่นคงและถาวร ซึ่งต่อไปการฟื้นฟูลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จะไม่ขึ้นเพียงแต่กับรัฐบาล หรือการ เปลีย่ นแปลงทางการเมืองอีก

133


บรรณานุกรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2548). แผนแม่บท การพัฒนาลุม่ น้ำทะเลสาบ สงขลา เล่ม 1, เล่ม 2. จังหวัดสงขลา. ห้างหุน้ ส่วน สามัญนีโอ พ้อยท์. เสวนา “ทะเลสาบสงขลา”.ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทย. 10 มิ.ย. 2549

สัมภาษณ์ ฉิน้ บัวบาน นักวิจยั ท้องถิน่ จ. พัทลุง สมมิตร-อาภรณ์ หมวดจันทร์ ชาวประมงทะเลหลวง บ้านไร่, อุโฆษก์ กาญจโนพาส เจ้าของร้านรับซือ้ สัตว์นำ้ และลำปำ รีสอร์ท ต. ลำปำ อ. เมือง จ. พัทลุง สมพงศ์ กีนคง ชาวประมงทะเลน้อย, ถาวร เกตุด้วง ปลูก-ขายกระจูด ต. ทะเลน้อย อ. ควนขนุน จ. พัทลุง ปรีชา คำเจริญ ผูใ้ หญ่บา้ น, ชาวประมง บ้านศรีไชย, วันชัย พูเรือง ชาวประมง บ้านศรีไชย ต. คูขดุ อ. สทิงพระ จ. สงขลา อาหมัด วงศ์อาหมัด ชาวประมง บ้านหัวเขา, พิชัย โต๊ะหล๊ะหมาน ชาวประมง, ตอเหล็บ หมุนลิมนี ชาวประมง, สาฟาอี คงคามีน เจ้าของร้านขายน้ำชา บ้านหัวเขา ต. หัวเขา อ. สิงหนคร จ. สงขลา ลี-ติเก๊าะ หวันยะกุบ ชาวประมง, ยูซบ-อาหมัด หิมละ ชาวประมง, กอนะ ขุนฤทธิ์ เจ้าของร้านรับซือ้ สัตว์นำ้ , ดุลเลาะ ขุนฤทธิ์ ชาวประมง บ้านท่าเสา ต. สทิงหม้อ อ. สิงหนคร จ. สงขลา พระครูสนุ ทรกิจจานุโยค รักษาการเจ้าอาวาสวัดตะโหมด, วรรณ ขุนจันทร์ ปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกรสวนยางพารา, สมบูรณ์ จิตสาระอาภรณ์ เกษตรกรสวนยางพารา ต. ตะโหมด อ. ตะโหมด จ. พัทลุง นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ นักวิจยั จากโครงการพัฒนาชุมชนประมงขนาดเล็ก จ. สงขลา ยงยุทธ ปรีดาลัมพะบุตร หัวหน้ากลุ่มวิจัยระบบและการจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สถาบันการเพาะเลีย้ ง สัตว์น้ำชายฝัง่ สุพจน์ จันทรพรศิลป์ ผอ. ศูนย์วจิ ยั ทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง่ จ. สงขลา ผศ.ดร.ฉัตรไชย รัตนชัย คณบดีคณะการจัดการสิง่ แวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกลุ อาจารย์คณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

134


สงคราม...ลุม่ น้ำแห่งความหวัง ผูเ้ ขียน นลินี เสนะรัตน์

135


“โขงกะขุ ่ น มู ล กะหมอง พองกะเน่ า สงครามเฮาอย่าให้หม่น เฮาทุกคนต้องออก ฮ้องปกป้องซ่อยกัน” นีเ่ ป็นคำขวัญทีช่ าวบ้านใช้ในการเคลือ่ น ไหวรณรงค์คัดค้านโครงการสร้างเขื่อนปิด ปากแม่นำ้ สงครามตามโครงการพัฒนาลุม่ น้ำ สงคราม ภายใต้ แ นวทางพั ฒ นาลุ ่ ม น้ ำ อีสานของโครงการโขง ชี มูล ทีท่ ำลายระบบ นิเวศลุม่ น้ำอีสานย่อยยับมาแล้วหลายต่อหลาย โครงการ ไม่ว่าจะเป็นลุ่มน้ำมูล หรือลุ่มน้ำชี คำขวัญนีส้ ะท้อนให้เห็นว่าพวกเขาตระหนักใน หายนะที ่ ก ำลั ง คื บ คลานสู ่ ล ุ ่ ม น้ ำ สงคราม เฉกเช่นที่ แม่นำ้ โขง แม่นำ้ มูล และแม่นำ้ พอง ได้ ร ั บ การต่ อ สู ้ อ ย่ า งเข้ ม ข้ น ของชุ ม ชน คนลุ่มน้ำสงครามนำไปสู่มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 มีนาคม 2545 ให้ยบั ยัง้ โครงการสร้าง เขื่อนกั้นแม่น้ำสงครามในที่สุด เนื่องจาก ไม่ ค ุ ้ ม ค่ า ทางเศรษฐกิ จ และมี ผ ลกระทบ ต่อชุมชนและสิง่ แวดล้อมในวงกว้าง 136


แต่ชัยชนะนี้ก็ไม่ใช่ชัยชนะที่ถาวร เพราะลุ่มน้ำสงครามยังคงเผชิญกับภัย คุกคามรอบด้าน หากทุกภาคส่วนของสังคมไทยยังไม่เข้าใจสภาพทางธรรมชาติ ว่าบางคราวน้ำท่วมบางครั้งน้ำแล้งนั้นไม่ใช่ปัญหา ตลอดจนวิถีอยู่กินของชาวบ้าน ทีต่ อ้ งพึง่ พิงฐานทรัพยากรอันหลากหลาย ตราบนัน้ ชัยชนะทีว่ า่ ก็จะยังไม่เกิดขึน้

รู้จัก...สงคราม “ขึน้ รถทัวร์สายกรุงเทพ-บ้านแพงนะพี่ แล้วบอกเขาว่าลงทีอ่ ำเภอศรีสงคราม” นีเ่ ป็นจุดเริม่ ต้นของการเดินทางไปเยือนลุม่ น้ำสงคราม และเมือ่ เข้าเขตรอยต่อ จังหวัดสกลนครกับนครพนม ภาพผืนน้ำกว้างใหญ่ตลอดสองข้างทาง ก็ปรากฏ แก่ ส ายตา และเป็ น เช่ น นี ้ ไ ปจนเข้ า เขตอำเภอศรี ส งคราม นี ่ ถ ื อ ว่ า เป็ น เรื่องปกติสำหรับลุ่มน้ำสงครามในช่วง ฤดูฝน ระยะทาง 26 กิโลเมตรจากตัว อ. ศรี ส งคราม เป็ น ที ่ ต ั ้ ง ของบ้ า น ปากยาม หรือชื่อเดิมคือดอนหลักดิน บ้านปากยามเป็นหมู่บ้านสุดท้ายของ จังหวัดนครพนม ในวันที่ไปถึงที่นั่น มีสภาพไม่ต่างไปจากเกาะที่มีน้ำล้อม รอบ ด้านหนึ่งถูกกั้นด้วยน้ำสงคราม ส่ ว นอี ก ด้ า นก็ ม ี น ้ ำ ยามเอ่ อ ล้ น จึ ง ไม่ แ ปลกที ่ ห มู ่ บ ้ า นแห่ ง นี ้ จ ะขึ ้ น ชื ่ อ ในฐานะเป็นหมูบ่ า้ นประมง ทีม่ กี ารจับ ปลาเป็นอาชีพหลักมาหลายชั่วอายุคน แล้ว อย่างไรก็ดี แม่นำ้ สงครามไม่ได้มี ความสำคัญเพียงการเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้านเท่านั้น หากแต่แม่น้ำ สายนี้ยังเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นเสมือนหนึ่งตู้กับข้าว ของชุมชน

137


แหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ แม่น ้ำสงครามที่มีความยาวประมาณ 420 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดจาก เทือกเขาภูพานในเขต จ. สกลนคร ไหลผ่านอุดรธานี หนองคาย และบรรจบกับ แม่นำ้ โขงที่ ต. ไชยบุรี อ. ท่าอุเทน จ. นครพนม ด้วยลักษณะภูมสิ ณ ั ฐานของลุม่ น้ำ สงครามตอนบนและสงครามตอนล่างที่มีความแตกต่างกันมาก กล่าวคือลุ่มน้ำ สงครามตอนล่างจะมีความลาดชันต่ำ เมื่อถึงฤดูฝน น้ำจะหลากจากตอนบน ลงมาท่ ว ม ขณะเดี ย วกั น น้ ำ จากแม่ น ้ ำ โขงก็ จ ะไหลย้ อ นกลั บ เข้ า มา จึ ง เกิ ด น้ำท่วมหลากเป็นบริเวณกว้างประมาณ 3 – 4 เดือน คล้ายทะเลสาบน้ำจืดกว้างใหญ่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 5 – 6 แสนไร่ มีความยาวกว่า 200 กิโลเมตร นับจาก ปากแม่นำ้ ขึน้ มา ทำให้เกิดระบบนิเวศทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะ ทีเ่ รียกว่าระบบนิเวศป่าบุง่ ป่าทาม แต่หลังจากฤดูฝนผ่านพ้นไป น้ำในป่าบุ่งป่าทามจะแห้งลง ลักษณะเฉพาะ เช่นนีท้ ำให้ลมุ่ น้ำสงครามตอนล่างมีระบบนิเวศทีห่ ลากหลาย เช่น ห้วย หนอง วัง ดอน โนน โคก เป็นต้น มีปา่ ชนิดต่างๆ ขึน้ อยูต่ ามทีร่ าบน้ำท่วมถึงริมแม่นำ้ และห้วยสาขา ที่ทนต่อน้ำท่วมเป็นเวลา 3 - 4 เดือน โดยเฉพาะป่าไผ่ แต่ในพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง ก็ยงั มีปา่ ดิบแล้งให้เห็นอยูบ่ า้ ง ป่าบุ่งป่าทามเป็นคำพื้นเมืองที่ชาวอีสานใช้เรียกป่าน้ำท่วมซึ่งเป็นพื้นที่ ลุ ่ ม ต่ ำ อยู ่ ร ิ ม ฝั ่ ง น้ ำ ทุ ก ปี จ ะมี ด ิ น ตะกอนที ่ ไ หลพั ด มากั บ น้ ำ จากแม่ น ้ ำ ทั บ ถม ซึ่งอุดมด้วยธาตุอาหาร จึงเป็นถิ่นที่อยู่ของพืชพรรณ และพันธุ์ปลานานาชนิด ที ่ ป รั บ ตั ว ดำรงชี ว ิ ต อยู ่ ไ ด้ ใ นเขตนิ เ วศบุ ่ ง และทาม เสมื อ นเป็ น ป่ า ชายเลน ที่เกิดและเติบโตในพื้นที่น้ำจืด จากคำบอกเล่าของชาวบ้านทำให้รู้ว่าในอดีตเมื่อ 40 – 50 ปีที่แล้ว ป่าบุ่งป่าทามที่ทุกวันนี้เป็นเหมือนป่าละเมาะขึ้นเป็นหย่อมๆ ไปทั่วบริเวณนั้น เคยมีต้นไม้ใหญ่มากมายที่ทนต่อน้ำท่วมเป็นเวลาหลายเดือน และเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยของสัตว์ปา่ นานาชนิด เช่น เก้ง ละมัง่ หมูปา่ หมาไน แต่ทกุ วันนี้ พบเห็นเพียงงู หนู กระรอก กระแต และนกชนิดต่างๆ เท่านัน้ จากการสำรวจข้อมูลโดยเครือข่ายนักวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสงคราม 4 หมู่บ้าน คือบ้านปากยาม บ้านยางงอย บ้านอ้วน และบ้านท่าบ่อ อ. ศรีสงคราม จ. นครพนม พบว่าป่าบุง่ ป่าทามในพืน้ ทีล่ มุ่ น้ำสงครามตอนล่างมีระบบนิเวศย่อยถึง 28 ระบบ เช่น ระบบนิเวศที่สูงหรือที่ดอน ระบบนิเวศที่ราบ ระบบนิเวศที่ลุ่ม และมีพรรณพืชใน

138


ป่ า ทามที ่ ใ ช้ ป ระโยชน์ ไ ด้ ม ากถึ ง 208 ชนิ ด นอกจากนั ้ น ยั ง เป็ น ที ่ อ ยู ่ ท ี ่ อ าศั ย หากินของพันธุ์ปลากว่า 200 ชนิด ทั้งปลาประจำถิ่นและปลาอพยพระหว่าง แม่นำ้ โขงกับแม่นำ้ สงคราม ทีผ่ า่ นมาชาวบ้านยังพบปลาน้ำจืดทีใ่ กล้สญ ู พันธุอ์ ย่างยิง่ ยวดในแม่นำ้ โขงอย่าง ปลาหมากผาง ซึง่ มีชอ่ื ทางวิทยาศาสตร์วา่ Tenualosa thibaudeaui (Durand) ในปริมาณมาก โดยพบอาศัยรวมเป็นฝูงอยู่ตามป่าบุ่งป่าทาม ตามโพรงไม้ ตอไม้ หรือขอนไม้ใต้น้ำ นอกจากนั้นลุ่มน้ำสงคราม ตอนล่างยังเป็นลำน้ำสาขาเดียวของแม่นำ้ โขง ที่สามารถพบปลาบึกธรรมชาติที่อพยพจาก ลำน้ำโขงเข้ามาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือน กรกฎาคม ปัจจัยสำคัญเป็นเพราะที่นี่มีดิน ปลาหมากผาง เอือดหรือดินทีม่ สี า่ เกลือ และเทาซึง่ เป็นพืชน้ำ ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอาหารของปลาบึก ดังนั้น จึงไม่ใช่เรือ่ งแปลกหากจะเรียกลุม่ น้ำสงครามตอนล่างว่าบ้านของปลา แต่นา่ เสียดาย ที่เราไม่พบปลาบึกในลุ่มน้ำสงครามมา 5 ปีแล้ว ปลาบึกจึงอาจจะเป็นดัชนีชี้วัด ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำสงคราม และกำลังบอกให้เรารู้ว่า น้ำสายนี้กำลัง เปลี่ยนแปลงไป ตูก้ บั ข้าวชุมชน แทบทุกครัวเรือนของบ้านปากยามมีเครือ่ งมือจับปลาพืน้ บ้านทีเ่ รียกว่าโต่งแขวน รอเวลาที่จะทำหน้าที่ของมันในช่วงฤดูน้ำหลากกลางเดือนกันยายน โดยในช่วง เวลานัน้ ประมาณ 15 – 20 วัน ชาวบ้านจะลงจับปลากัน ซึง่ แทบไม่นา่ เชือ่ เลยว่า ในชั่วระยะเวลาเพียงสั้นๆ ของการจับปลาที่ถือเป็นอาชีพหลัก จะทำให้ชาวบ้าน ปากยามพอกินพอใช้ไปจนถึงฤดูจับปลาปีถัดไป โดยในช่วงน้ำลด อาศัยเพียง การทำนาปรัง เลีย้ งวัวควาย และหาพืชผักเศรษฐกิจในป่าบุง่ ป่าทามประกอบเท่านัน้ สุรยิ า โคตะมี ชาวบ้านปากยาม อ. ศรีสงคราม จ. นครพนม ทีส่ วมหมวกอีกใบ หนึง่ ในฐานะเลขานุการชมรมอนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูลมุ่ น้ำสงคราม กล่าวว่า “ในช่วงน้ำท่วม ชาวบ้านเขาดีใจ เพราะปลาจากแม่น้ำโขงจะได้มาวางไข่เยอะๆ เขาไม่เดือดร้อน

139


เพราะอาชีพของเขาก็คอื การจับปลาในลุม่ น้ำสงครามตอนล่าง ถ้าน้ำน้อย ชาวบ้าน ไม่ดใี จเลย เพราะปริมาณปลาจะลดลง” ขณะที ่ ไชยณรงค์ เศรษฐเชื ้ อ นิ ส ิ ต ปริ ญ ญาเอก สาขาวิ ช าไทศึ ก ษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และที่ปรึกษา ด้านวิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง (งานวิจัยไทบ้าน) โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จาก ความหลากหลายทางชี ว ภาพลุ ่ ม น้ ำ โขง (MWBP) ระบุ ว ่ า “เศรษฐกิ จ ของ ชุมชนเกี่ยวพันอยู่กับน้ำท่วม-น้ำลด รายได้หลักๆ ของพวกเขามาจากการจับปลา เลี้ยงวัวควาย และเก็บผลผลิตจากป่า ชาวบ้านเขาไม่ได้มีปัญหากับน้ำท่วมน้ำแล้ง เพราะนั่นคือวิถีชีวิตของเขา เขาอยู่กับระบบนิเวศแบบนั้นมาตั้งแต่บรรพบุรุษ หน้าฝนก็จบั ปลา หน้าแล้งก็เลีย้ งวัว หาพืชผัก ชีวติ อยูก่ บั ป่าบุง่ ป่าทามเป็นหลัก” ถ้อยคำทีบ่ อกเล่าถึงลุม่ น้ำสงครามสะท้อนให้เห็นว่า พืน้ ทีส่ องฝัง่ ลำน้ำสงคราม ตอนล่างจากบริเวณ อ. โซ่พสิ ยั คำตากล้า เซกา ไปจนถึง อ. ศรีสงคราม และท่าอุเทน จ. นครพนม ล้วนมีความเหมาะสมสำหรับการเป็นที่ตั้งชุมชนเพื่อหาอยู่หากิน เนื่องจากมีความสมบูรณ์ของสรรพอาหาร และปัจจัยดำรงชีวิตในผืนป่าและผืนน้ำ ดังนั้นการที่สามารถใช้ชีวิตอย่างกลมกลืนในสภาพธรรมชาติเช่นนี้ ชาวบ้านจึง ไม่เคยมองว่า น้ำท่วม 3 – 4 เดือน หรือน้ำแล้งในฤดูรอ้ นเป็นปัญหา 140


แล้วด้วยระบบนิเวศที่หลากหลายนี้เอง ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ของชาวบ้านที่ตั้งถิ่นฐานตามพื้นที่ราบสูง ที่แทรกตัวอยู่ในป่าบุ่งป่าทาม และ ชุมชนรอบนอกทั้งในด้านของการหาปลา การพึ่งพาพรรณพืชในป่า การใช้ที่ดิน ป่าบุ่งป่าทามในการเลี้ยงสัตว์ ทำการเกษตร ซึ่งทำให้วิถีชีวิตคนลุ่มน้ำสงคราม นั้นผูกพันกับแม่น้ำสงครามและป่าบุ่งป่าทามอย่างแยกกันไม่ออก จนชาวบ้าน ที่ได้พึ่งพาทรัพยากรด้านต่างๆ จากความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้ ถึงกับ ขนานนามป่าบุง่ ป่าทามว่าเป็นตูก้ บั ข้าวของชุมชน ทั้งนี้ ชาวบ้านพึ่งพาป่าทามในสามรูปแบบ คือการจับปลา การเก็บพืชผัก ในป่าทาม และการเลี้ยงวัวควาย ที่สำคัญ ผลผลิตจากป่าทามนั้นไม่ได้เลี้ยง เฉพาะคนในพื้นที่ แต่ยังหล่อเลี้ยงคนที่อยู่ในเมืองอีกด้วย ความอุดมสมบูรณ์ ของลุ ่ ม น้ ำ ก่ อ ให้ เ กิ ด ระบบเศรษฐกิ จ แบบดั ้ ง เดิ ม ที ่ อ ยู ่ ค ู ่ ก ั บ ชุ ม ชนมาช้ า นาน เห็นได้จากในอดีตมี “ระบบเศรษฐกิจข้าวแลกปลา-ปลาแลกข้าว” ซึ่งเป็นระบบ เศรษฐกิจของชุมชนชาวอีสานตั้งแต่โบราณ อันเกิดจากการที่ผลผลิตแต่ละชุมชน มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละระบบนิเวศ ฐานทรัพยากร และความสามารถ ในการผลิ ต สั ด ส่ ว นของปลาแลก ข้าวของแต่ละหมู่บ้านจะไม่เท่ากัน ขึ ้ น อยู ่ ก ั บ ระดั บ ความสั ม พั น ธ์ ข อง ทั้งสองฝ่าย ในบางครั้งหากคุยกัน ถูกคอ หรือไปแลกบ้านเสีย่ วหรือบ้าน ญาติพน่ี อ้ ง ก็อาจแลกได้ปริมาณมาก สินสมุทร พักตร์พรหม อดีต ผู้ใหญ่บ ้านบ้านปากยาม ยังคงจำ บรรยากาศเช่ น นั ้ น ได้ เ ป็ น อย่ า งดี แม้วันนี้อายุจะล่วงเลยเข้าสู่วัยชรา แล้วก็ตาม เขาบอกว่า เมือ่ กาลก่อน ปลาเยอะและตัวใหญ่ น่าเสียดาย ที่สมัยนั้น ปลายังไม่มีราคา ดังนั้น เมื่อจับได้ทีละมากๆ ส่วนหนึ่งก็นำ

141


แจกจ่ายญาติสนิทมิตรสหาย บางส่วนก็นำไปแปรรูปแล้วนำไปแลกข้าว บางครัง้ ไป ไกลถึง จ. อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรรี มั ย์ ได้ทง้ั ข้าวและมิตรภาพกลับมา แต่ปจั จุบนั ระบบเศรษฐกิจแบบนีไ้ ด้สญ ู หายไป เนือ่ งจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเข้ามาแทนที่ การแลกเปลีย่ นในอดีตนัน้ มีทง้ั ในส่วนของปลาสด และผลผลิตจากการแปรรูป ซึ่งหลายอย่างมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดีจนถึงปัจจุบัน เช่นเมื่อพูดถึงปลาส้ม ก็จะต้องนึกถึงบ้านท่าบ่อ ส่วนปลาตากแห้ง ปลาร้าบอง (แจ่วบอง) ก็ต้องมาจาก บ้านปากยาม นอกจากนัน้ ยังมีพชื เศรษฐกิจจากป่าทามทีช่ าวบ้านนำไปขายสร้างรายได้ เช่น หน่อกะซะ เห็ดผึง้ ทาม และหอยทราย เป็นต้น ...อาจกล่าวได้ว่า ลุ่มน้ำสงครามคือภาพความสัมพันธ์ระหว่างแม่น้ำ ปลา ป่าบุ่งป่าทาม ผู้คน และชุมชนลุ่มน้ำ ที่เกื้อกูลกันมายาวนานจนไม่อาจขาดส่วนใด ส่วนหนึง่ ไปได้ แต่ในเมือ่ ความเปลีย่ นแปลงเป็นนิรนั ดร์ ยิง่ เมือ่ มีการเปลีย่ นแปลงจาก ภายนอกเข้ามาคุกคาม จึงเกิดคำถามว่า ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำสงคราม ทีห่ ล่อเลีย้ งผูค้ นจะยืนยาวสักเพียงใด...

ศึก...สงคราม “อะไรเป็นปัญหาล่าสุดของลุม่ น้ำสงคราม” คำถามนีเ้ กิดขึน้ ในวงสนทนาระหว่างกินข้าวเย็นกันริมแม่นำ้ โขงที่ จ. นครพนม ผู้ที่ตอบคำถามนี้ก็คือ รัฐพล พิทักษ์เทพสมบัติ ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์และใช้ ประโยชน์ทางความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำโขง พื้นที่ลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง รัฐพลไขข้อข้องใจว่า ประเด็นที่กำลังถกเถียงกันอยู่ ในขณะนี้ก็คือโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำน้ำอูน ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาหลัก ของแม่นำ้ สงคราม โดยโครงการนีจ้ ะกระทบต่อพืน้ ทีป่ า่ ทามอันอุดมสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ลุม่ น้ำสงครามมิได้กำลังเผชิญหน้าจากภัยคุกคามของการสร้าง ประตูระบายน้ำน้ำอูนเท่านัน้ แต่กำลังถูกคุกคามจากหลายปัจจัยทีต่ อ่ เนือ่ งมาอย่าง ยาวนาน แม้บางปัจจัยจะไม่ส่งผลกระทบที่ชัดเจนทันที แต่หากปล่อยปละไว้เช่นนี้ แม่นำ้ สงครามซึง่ เป็นเสมือนอูข่ า้ วอูน่ ำ้ ของคนทีร่ าบสูง ก็คงมีชะตากรรมทีไ่ ม่แตกต่าง ไปจากลำน้ำสายอืน่ ๆ

142


ก่อนการแย่งชิงทรัพยากร ย้ อ นกลั บ ไปก่ อ นสงครามโลกครั ้ ง ที ่ 2 ลุ ่ ม น้ ำ สงครามเป็ น แหล่ ง รวม ทรัพยากรอันหลากหลาย ชาวบ้านหาอยู่หากินด้วยการจับปลาโดยใช้เครื่องมือ หาปลาแบบพื้นบ้านเป็นหลัก แม้ว่าในช่วงเวลานั้นกระแสอนุรักษ์จะยังไม่เข้มข้น แต่ ช ุ ม ชนก็ ไ ด้ ม ี แ นวคิ ด อนุ ร ั ก ษ์ เ กิ ด ขึ ้ น อย่ า งเป็ น รู ป ธรรมแล้ ว เช่ น มี ก าร กำหนดเขตสงวนพันธุป์ ลาตามแหล่งน้ำธรรมชาติทพ่ี วกเขาเรียกว่า วังปลา มาตัง้ แต่ปี 2475 โดยมักจะพบวังปลาในบริเวณที่มีท้องน้ำกว้างและลึก รวมถึงที่ที่ชาวบ้าน ให้ความเคารพในฐานะเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งวิถีชีวิตที่ผสมผสานกับความเชื่อนั้น นำไปสูแ่ นวทางการอนุรกั ษ์อย่างลงตัว แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เมื่อชุมชนเริ่มมีการติดต่อ ค้าขายกับชุมชนต่างถิ่น และมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในลุ่มน้ำสงคราม มากขึ ้ น เรื ่ อ ยๆ จึ ง เกิ ด ความเปลี ่ ย นแปลงกั บ ระบบนิ เ วศป่ า ทาม รวมไปถึ ง การคุกคามพันธุป์ ลาในรูปแบบต่างๆ ตามมา การเข้ามาของเครือ่ งมือจับปลาขนาดใหญ่ และการสัมปทานแหล่งจับปลา เป็ น ความจริ ง ที ่ ป ลาจากลุ ่ ม น้ ำ สงครามสร้ า งรายได้ ห ลั ก ให้ ก ั บ ผู ้ ค นที ่ น ี ่ และยังเผือ่ แผ่ไปถึงคนต่างพืน้ ทีจ่ นกลายเป็นวิถชี วี ติ ของพวกเขา และเป็นความจริง อีกเช่นกันว่าความต้องการในการบริโภค ปลาจากลุ ่ ม น้ ำ สงครามเพิ ่ ม ขึ ้ น ทุ ก วั น เช่ น เดี ย วกั บ ความต้ อ งการที ่ จ ะพั ฒ นา ท้องถิ่นให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆ ดังนั้น ตั ้ ง แต่ ร ั ฐ บาลมี น โยบายพั ฒ นาระบบ สาธารณู ป โภคในปี 2524 เป็ น ต้ น มา รูปแบบการจับปลาของผู้คนที่นี่ก็เปลี่ยน แปลงไป จากเดิ ม ที ่ ช าวบ้ า นใช้ เ ครื ่ อ งมื อ จั บ ปลาดั ้ ง เดิ ม ซึ ่ ง ไม่ ท ำลายปลาเล็ ก ปลาน้อย ปริมาณปลาที่จับได้ก็เรียกได้ว่า

143


เพี ย งพอสำหรั บ บริ โ ภคในครั ว เรื อ น และยั ง เหลื อ พอที ่ จ ะแปรรู ป เป็ น สิ น ค้ า ส่งไปขายต่างถิ่น แต่หลังจากนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็นำไปสู่การใช้ เครือ่ งมือประมงขนาดใหญ่ ใช้ตาข่ายตาถีม่ าขวางกัน้ ลำน้ำแทน ทีแ่ ม้แต่ปลาตัวเล็กๆ ก็ไม่สามารถหลุดรอดไปได้ และสิง่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงชัดเจนอีกอย่าง ก็คอื การเข้ามาของ ระบบสัมปทานกัดหนอง ซึ่งเป็นการนำแนวคิดเชิงพาณิชย์เข้ามาจัดการทรัพยากร โดยมุง่ หวังกำไรสูงสุด โดยมี อบต. เป็นผูใ้ ห้สมั ปทาน เปิดโอกาสให้คนทัง้ ในและนอก หมู่บ้านมาประมูล ซึ่งเงินที่ได้จะนำไปพัฒนาท้องถิ่น มูลค่าของการประมูลอาจสูง ตั้งแต่หลักหมื่นถึงแสนบาท ดังนั้นผู้ที่ประมูลได้จึงใช้เครื่องมือจับปลาทุกขนาด เพื่อให้คุ้มกับเงินที่ลงทุนไป ปัจจุบันระบบสัมปทานกัดหนองยังคงได้รับความนิยม อย่างแพร่หลาย และพบได้แทบจะทุกหมูบ่ า้ นในลุม่ น้ำสงคราม การเผาถ่าน “ตามทีร่ าบน้ำท่วมถึงริมแม่นำ้ สาขาและห้วยสาขา เราจะพบว่า มีปา่ ชนิดต่างๆ ที ่ ท นต่ อ น้ ำ ท่ ว มเป็ น ระยะเวลานานขึ ้ น อยู ่ โดยเฉพาะป่ า ไผ่ หรื อ ที ่ ช าวบ้ า น เรียกกันว่าไผ่กะซะ” นี่คือสิ่งที่ได้ยินเสมอเมื่อถามถึงพันธุ์ไม้ที่เติบโตอยู่ในป่าบุ่ง ป่าทามแห่งลุม่ น้ำสงคราม คำถามก็คอื ทำไมเราจึงเห็นแต่ปา่ ไผ่ ส่วนไม้ใหญ่ยนื ต้น นั้นเหลือให้เห็นอยู่เฉพาะตามดอนปู่ตา ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความ เคารพนับถือเท่านัน้ คำตอบก็คือป่าไผ่เป็นไม้รุ่นที่สอง คำตอบนี้ชี้ให้เห็นถึงผลพวงจากการ สัมปทานเผาถ่านทีท่ ำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันในช่วงระยะเวลาตัง้ แต่ ปี 2508 - 2522 โรงเกลือบริเวณเหนือฝายหนองกา

144


จากการคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ทำให้เรารู้ว่า บางหมู่บ้านเริ่มเผาถ่าน เพือ่ ใช้กนั ในครัวเรือนมาตัง้ แต่ปี 2500 โดยไม้ใหญ่ในพืน้ ทีน่ ำ้ ท่วมเช่นลุม่ น้ำสงคราม เป็นเนือ้ ไม้แกร่ง เมือ่ นำมาเผาก็จะได้ถา่ นคุณภาพดีทใ่ี ห้พลังงานความร้อนสูง จนกระทัง่ 8 ปีต่อมา ก็เริ่มมีพ่อค้าจาก จ. นครพนม สกลนคร อุดรธานี เข้ามาติดต่อ ซือ้ ถ่านจากชาวบ้าน เมือ่ ความต้องการถ่านเพิม่ ขึน้ ไม้ใหญ่รอบๆ หมูบ่ า้ นจึงร่อยหรอ หมดลง ขณะเดียวกันการตัดไม้เพือ่ เผาถ่านก็ขยายวงลุกลามเข้าไปในป่าทาม ถ่านจึง กลายเป็นสินค้าหลักแห่งลุ่มน้ำในห้วงเวลานั้น เรียกได้ว่าแทบทุกหมู่บ้านมีอาชีพ เผาถ่าน และเผากันตลอดปีเลยทีเดียว จนกระทัง่ ปี 2522 การเผาถ่านจึงยุตลิ ง พร้อมๆ กับไม้ยนื ต้นขนาดใหญ่ทห่ี ายไปจากป่าทาม เหลือเพียงป่าไผ่ให้เราได้เห็นกันในวันนี้ การเข้ามาของบริษทั เกษตรอุตสาหกรรม นโยบายสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีความต้องการ พัฒนาพืน้ ทีภ่ าคอีสานให้เป็นเขตเศรษฐกิจ จึงได้เชิญชวนนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามา สำรวจพืน้ ทีล่ มุ่ น้ำสงครามในเขต จ. นครพนม เพือ่ พัฒนาให้เป็นเขตอุตสาหกรรม เหตุผลทีพ่ น้ื ทีด่ งั กล่าวได้รบั ความสนใจเป็นพิเศษ เนือ่ งจากสามารถเชือ่ มต่อกับ ลาว เวียดนาม และท่าเรือดานังได้สะดวก และอีกปัจจัยหนึง่ คือ รัฐบาลมองว่าสภาพ พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างเป็นประจำทุกปีเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ไม่เหมาะกับ การทำการเกษตรรายย่อย ควรพัฒนาเป็นพื้นที่ปลูกไม้โตเร็วเพื่อป้อนโรงงาน อุตสาหกรรม มุมมองเช่นนี้นี่เองที่เปิดทางให้บริษัทเกษตรอุตสาหกรรมหลายแห่ง เข้ามาจับจองทีด่ นิ และลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึง่ นำไปสูก่ ารปรับพืน้ ทีป่ า่ บุง่ ป่าทาม หลายหมื่นไร่ให้เตียนโล่ง พร้อมสำหรับการปลูกมะเขือเทศ ยูคาลิปตัส ยางพารา และปาล์ม การเปลี่ยนสภาพพื้นที่ป่าเพื่อทำสวนยางพารา เหลาไท นิลนวล ประธาน ที ่ ป รึ ก ษาชมรมอนุ ร ั ก ษ์ แ ละฟื ้ น ฟู ลุ่มน้ำสงคราม บอกว่า การเข้ามา ของกลุ่มบริษัทเกษตรอุตสาหกรรม นอกจากจะทำให้พื้นที่ป่าบุ่งป่าทาม ซึ ่ ง เป็ น แหล่ ง ทรั พ ยากรท้ อ งถิ ่ น

145


ถูกทำลายแล้ว ยังทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบริษทั กับชาวบ้านในพืน้ ที่ โดยมีสาเหตุ มาจากการได้มาซึ่งที่ดินโดยมิชอบ ยกตัวอย่างเช่นกรณีความขัดแย้ง ที่บ้านท่าบ่อ อ. ศรีสงคราม ซึง่ เกิดจากการทีบ่ ริษทั ซันเทค กรุป๊ จำกัด (มหาชน) นำชือ่ ชาวบ้าน ไปออกเอกสารสิทธิในที่ดินสาธารณประโยชน์โดยที่เจ้าตัวไม่ทราบเรื่องมาก่อน จนกระทัง่ ปลายปี 2548 มีหนังสือแจ้งจากบริษทั ให้ชาวบ้านทีม่ ชี อ่ื อยูใ่ นเอกสารสิทธิ จำนวน 53 ราย เซ็นหนังสือมอบอำนาจในการโอนที่ดินให้กับบริษัท

การเข้ามาของบริษัทเกษตรอุตสาหกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำสงคราม พ.ศ. 2521 บริษัทตะวันฟาร์ม จำกัด ก่อตั้งขึ้นบนพื้นที่กว่า 10,000 ไร่ บริเวณบ้านซาง อ. เซกา จ. หนองคาย พ.ศ. 2527 บริษทั เกษตรอุตสาหกรรมอีสาน จำกัด บุกเบิกพืน้ ที่ 10,000 ไร่ ที่ อ. เซกา จ. หนองคาย ซึง่ เป็นพืน้ ทีข่ องบริษทั ตะวันฟาร์ม จำกัด พ.ศ. 2531 บริษทั ซันเทค กรุป๊ จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจผลิตมะเขือเทศ ปอกเปลือกบรรจุกระป๋องและสัปปะรดบรรจุกระป๋องแบบครบวงจร บนพืน้ ที่ 12,000 ไร่ ที่ อ. ศรีสงคราม จ. นครพนม พ.ศ. 2533 มีการก่อตัง้ บริษทั ทุง่ สงครามอินดัสทรี จำกัด ก่อนจะแปรสภาพ เป็นบริษทั เอเซียเทค กรุป๊ จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2539 บริษัทเอเซียเทค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ตั้งบริษัทลูกชื่อ บริษทั เอเชียเทค พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) โดยมีแผนผลิตเยือ่ เซลลูโลส คุณภาพสูงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยบริษัทมีเป้าหมายส่งเสริมการ เกษตรในพืน้ ที่ จ. หนองคาย สกลนคร นครพนม และอุดรธานี รวม 1 ล้านไร่ ด้ ว ยการทำเกษตรกรรมในรู ป แบบพั น ธะสั ญ ญา โดยปลู ก ต้ น กระถิ น เทพา ซึง่ เป็นไม้โตเร็ว

ชาวบ้านจึงเริ่มมีการตรวจสอบ และนำไปสู่การฟ้องร้อง โดยระบุว่าบริษัทได้แปลง สภาพที่ดินสาธารณประโยชน์มาเป็นของเอกชนโดยมิชอบ และต้องการให้บริษัท คืนพื้นที่สาธารณประโยชน์ให้กับชาวบ้านท่าบ่อ โดยในขณะนี้คดียังอยู่ในขั้นตอน การพิจารณาของศาลฎีกา และปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้ ยังปรากฏให้เห็นที่ อ. อากาศอำนวย จ. สกลนคร และ อ. เซกา จ. หนองคาย อีกด้วย

146


การบุกรุกป่าบุ่งป่าทาม โดยใช้รถตักดินเพื่อทำ อาณาเขต

ทั้งนี้มีการตั้งข้อสังเกตกันด้วยว่า การที่บริษัทต้องการได้รับสิทธิครอบครอง ที่ดินก็เพื่อไปขอค่าชดเชยจากรัฐบาล เพราะเคยมีมติคณะรัฐมนตรีออกมาว่า พื ้ น ที ่ น ้ ำ ท่ ว ม ที ่ ร ั ฐ ต้ อ งจ่ า ยค่ า ชดเชยรายปี น ั ้ น รั ฐ บาลจะรั บ ซื ้ อ ทั ้ ง หมด เพื ่ อ ตั ด ปั ญ หาการจ่ า ยเงิ น ชดเชยปี ต ่ อ ปี ซึ ่ ง เมื ่ อ ชาวบ้ า นลองคำนวณดู แ ล้ ว บริษทั ดังกล่าวน่าทีจ่ ะได้รบั เงินไม่ตำ่ กว่า 400 ล้านบาทเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี ภายหลังจากการสอบถามไปยังสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จ. นครพนม ก็ได้รับทราบว่า นี่เป็นเพียงแนวคิดที่เกิดขึ้นระหว่างการประชุม คณะรัฐมนตรีสญ ั จรที่ จ. นครพนม เมือ่ ปี 2548 เท่านัน้ ยังไม่มกี ารดำเนินการใดๆ ทีเ่ ป็นรูปธรรม นอกจากไร่มะเขือเทศขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่กว่า 4 พันไร่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ สงครามตอนล่างแล้ว ป่าทามจำนวนมากก็ยงั ถูกปรับไถให้กลายเป็นพืน้ ทีป่ ลูกยางพารา และปาล์มโดยฝีมือของนักลงทุนรายย่อยและผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น ที่กว้านซื้อที่ดิน เพื่อเก็งกำไรในช่วงที่มีข่าวว่าจะมีการสร้างเขื่อนกั้นน้ำสงครามตอนล่าง แต่เมื่อ โครงการนั้นพับไป จึงจำเป็นต้องหาประโยชน์โดยวิธีการอื่นๆ ขณะเดียวกัน ยู ค าลิ ป ตั ส ก็ เ ป็ น พื ช เศรษฐกิ จ ที ่ ก ำลั ง ได้ ร ั บ ความนิ ย มในหมู ่ ช าวบ้ า น เพราะ ตัดขายได้ราคา โดยจะเห็นได้วา่ มีปลูกอยูท่ ว่ั ไปในพืน้ ทีล่ มุ่ น้ำสงคราม แต่เนือ่ งจาก ยูคาลิปตัสไม่ได้เป็นพืชประจำถิ่น ดังนั้นหลายฝ่ายจึงมองด้วยสายตาเป็นห่วงว่า อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของลุม่ น้ำสงครามในอนาคต

147


การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หลายฝ่ายต่างก็ยอมรับกันว่า ปัญหาของหน่วยงานรัฐก็คือการมองว่า น้ำท่วมและน้ำแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำสงครามเป็นปัญหา ด้วยเหตุนี้จึงมีความพยายาม จะแก้ ป ั ญ หาเรื ่ อ งน้ ำ เป็ น หลั ก โดยไม่ ม ี ก ารมองถึ ง ประวั ต ิ ศ าสตร์ ช ุ ม ชนว่ า ชาวบ้านมีวิถีชีวิตในสภาพธรรมชาติเช่นนี้มานานแล้ว อีกทั้งเมื่อมีโครงการ พัฒนาแหล่งน้ำเกิดขึน้ ในหลายพืน้ ที่ กลับเกิดปัญหาต่างๆ ติดตามมาเสียมากกว่า ถ้าไล่เรียงตลอดแนวลำน้ำสงครามตัง้ แต่ตอนบนช่วง จ. อุดรธานี สกลนคร กระทั่งถึงตอนล่างในพืน้ ที่ จ. นครพนม จะพบว่าตอนบนนัน้ มีเขือ่ นเพือ่ ชลประทาน ที่สร้างเสร็จแล้ว 2 แห่ง คือเขื่อนบ้านหนองกาและเขื่อนบ้านม่วง สร้างโดย สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำสงครามตอนบน ซึ่งถือกำเนิดขึ้นหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกโครงการเขื่อนน้ำสงครามไป โดยภายใต้โครงการรูปโฉมใหม่นี้ มีการเสนอให้สร้างทั้งหมด 6 โครงการ คือ เขือ่ นบ้านหนองกา เขือ่ นบ้านม่วง เขือ่ นบ้านท่าช่วง เขือ่ นบ้านธาตุนอ้ ย เขือ่ นบ้านคำ และเขือ่ นบ้านท่าวารี ทัง้ หมดอยูใ่ นบริเวณรอยต่อระหว่าง จ. อุดรธานีกบั สกลนคร

ฝายหนองกา เขื่อนกั้นแม่น้ำ สงครามตอนบน อ. บ้านดุง จ. อุดรธานี

แม้จะมีการสร้างเขือ่ นเสร็จไปแล้ว 2 แห่ง แต่กลับปรากฏว่าไม่สามารถใช้งานได้ เนื ่ อ งจากประสบปั ญ หาการแพร่ ก ระจายของเกลื อ ดั ง เป็ น ที ่ ร ั บ รู ้ ก ั น ดี ว ่ า บริเวณลุ่มน้ำสงครามตอนบนในเขต จ. อุดรธานีและสกลนครเป็นแหล่งเกลือ

148


ใต้ดินขนาดใหญ่ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีการผลิตเกลือสินเธาว์กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ดังนั้นการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำขึ้นจึงส่งผลให้เกลือที่มีคุณสมบัติเสถียรอยู่ใต้ดิน เกิดการแพร่กระจาย นำไปสู่ปัญหาดินเค็มและน้ำเค็มบริเวณรอบๆ อ่างเก็บน้ำ และพืน้ ทีใ่ ต้เขือ่ น ธวัช ปทุมพงษ์ ผอ. สำนักงานสิง่ แวดล้อมภาค 9 อุดรธานี ระบุวา่ ได้มกี าร เฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสงครามหลังจากมีการตรวจพบว่า มีค่าความเค็ม อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูงเกินกว่ามาตรฐาน แม้ขณะนี้ปัญหาเรื่องเกลือจะปรากฏ เด่นชัดอยูใ่ นพืน้ ที่ จ. อุดรธานีและสกลนคร แต่หากเป็นเช่นนีต้ อ่ ไป จะส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศในวงกว้างของลุม่ น้ำสงครามอย่างแน่นอน ในส่วนของลุม่ น้ำสงครามตอนล่างนัน้ เมือ่ ปี 2532 คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ได้อนุมัติโครงการเขื่อนน้ำสงครามภายใต้โครงการโขง ชี มูล หลังจากการต่อสู้คัดค้านของชาวบ้านยาวนานกว่า 10 ปี ในปี 2545 รัฐบาลจึงมีมติให้ยกเลิกการก่อสร้างโครงการเขือ่ นน้ำสงครามตามความเห็นของคณะ กรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เนื่องจากมีผลกระทบสูงและไม่คุ้มทุน โครงการนี้ จึงถูกล้มเลิก แม้การต่อสู้ของชาวบ้านจะทำให้โครงการกั้นลำน้ำสงครามถูกยกเลิกไป แต่หากกล่าวกันตามจริงจะพบว่า นอกจากน้ำอูนที่ถือเป็นลำน้ำสาขาหลักแล้ว ลำน้ำสาขาที่เหลือทั้ง 5 สายของแม่น้ำสงครามล้วนมีอา่ งเก็บน้ำหมดแล้ว รวมทั้ง ทุกลำห้วยก็มีอ่างเก็บน้ำด้วยเช่นกัน สิ่งที่ตามมาก็คือป่าบุ่งป่าทามที่ชาวบ้านเคย ได้ใช้ประโยชน์ก็ถูกน้ำท่วมตาย ปริมาณปลาและชนิดพันธุ์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด พืน้ ทีท่ ำนาก็หายไปเพราะถูกน้ำท่วมขังในสภาพของอ่างเก็บน้ำ “ลำห้วยเล็กๆ รวมถึงลำน้ำสาขาทีม่ อี ยูห่ า้ สาขา ล้วนมีความสำคัญต่อแม่นำ้ สงคราม เพราะมันคือเส้นทางเข้าออกของปลาจากแม่นำ้ โขง เพราะฉะนัน้ เมือ่ มีการ ปิดกัน้ ห้วย ก็ยอ่ มส่งผลกระทบต่อความหลากหลายของชนิดปลา โดยเฉพาะปลาบึก ทีไ่ ม่มรี ายงานการพบในแหล่งต่างๆ เช่นห้วยซิง กุดตากล้า และห้วยโคน อ. ศรีสงคราม จ. นครพนม มานานกว่า 5 ปีแล้ว ความเปลีย่ นแปลงลักษณะนีเ้ ป็นทีร่ กู้ นั ในหมูช่ าวบ้าน อันที่จริงพวกเขาอยากทุบฝายทิ้งเพื่อให้สายน้ำไหลได้อย่างอิสระเหมือนเดิม แต่มนั คงเป็นไปไม่ได้” รัฐพลบอกอย่างนัน้

149


อย่างไรก็ดี ลำน้ำอูนทีป่ จั จุบนั ยังคงไหลอย่างอิสระ แต่ในอนาคตอันใกล้กอ็ าจจะ ถูกปิดกัน้ ด้วยโครงการก่อสร้างเขือ่ นโดยสำนักชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน ทัง้ นี้ โครงการดังกล่าวมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำน้ำอูน ที่ตั้งจะอยู่บริเวณบ้านปากอูน ต. ศรีสงคราม อ. ศรีสงคราม จ. นครพนม ในการศึกษาของกรมชลประทาน คาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 250 ล้านบาท และหากโครงการแล้วเสร็จ จะมีน้ำพอที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในการ เพาะปลูกข้าวในฤดูฝนประมาณ 60,000 ไร่ และพืชไร่ในฤดูแล้งประมาณ 28,000 ไร่ รวมไปถึงการเป็นแหล่งน้ำดิบเพือ่ การอุปโภคบริโภคให้กบั 10 หมูบ่ า้ น ประมาณ 1,500 ครั ว เรื อ น และเป็ น แหล่ ง น้ ำ เพื ่ อ การแพร่ เพาะ และขยายพั น ธุ ์ ป ลาน้ ำ จื ด ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยทีเ่ กิดจากน้ำในลำน้ำสงครามเอ่อหนุน

ลำน้ำอูน ลำน้ำอูนเป็นลำน้ำสาขาหลักของแม่นำ้ สงคราม มีตน้ กำเนิดจาก จ. สกลนคร ไหลผ่านพืน้ ที่ อ. กุดบาก อ. วาริชภูมิ อ. พรรณนานิคม จ. สกลนคร อ. นาหว้า จ. นครพนม แล้วไหลมาบรรจบกับลำน้ำสงครามที่บ้านปากอูน ต. ศรีสงคราม จ. นครพนม

เหตุผลทีก่ รมชลประทานตัดสินใจจะดำเนินการโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำ น้ำอูน เนือ่ งจากพิจารณาเห็นว่า ในฤดูฝนพืน้ ทีล่ มุ่ น้ำอูนมักจะประสบปัญหาน้ำท่วม บริ เ วณสองฝั ่ ง ลำน้ ำ เพราะอิ ท ธิ พ ลของลำน้ ำ สงครามหนุ น ส่ ว นในฤดู แ ล้ ง จะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำทำการเกษตรและอุปโภคบริโภค เนื่องจาก ในช่วงหน้าแล้งที่น้ำในลำน้ำสงครามอยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำในลำน้ำอูน จึงระบาย ลงสูล่ ำน้ำสงครามอย่างรวดเร็ว และเก็บกักไว้ได้คอ่ นข้างน้อย ถึงแม้โครงการนี้จะผ่านการทำประชาพิจารณ์ไปแล้วก็ตาม แต่รัฐพลระบุว่า เป็นการทำประชาพิจารณ์โดยไม่มกี ารศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน และเชือ่ ว่าชาวบ้าน รวมถึงหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นคงไม่ยอมให้การสร้างเขื่อนเกิดขึ้นโดยง่าย เพราะน้ำอูนเป็นแหล่งอาหารของปลาอพยพ แถมโครงการนี้ยังตั้งอยู่ในพื้นที่ ป่าทามอันอุดมสมบูรณ์ 150


แสงสว่าง…กลางสงคราม การเคลือ่ นไหวของชุมชนคนลุม่ น้ำสงครามในการคัดค้านโครงการก่อสร้างเขือ่ น แม่น้ำสงครามจนได้รับชัยชนะเมื่อ 4 ปีก่อน นอกจากจะเป็นจุดเริ่มของการแสดง พลังในการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของแผ่นดินที่ให้พวกเขาหาอยู่หากินกันมาตั้งแต่ บรรพบุรษุ แล้ว ยังทำให้ชาวบ้านรูว้ า่ พวกเขามีศกั ยภาพทีจ่ ะรักษาทรัพยากรท้องถิน่ ไว้ให้อยูอ่ ย่างยัง่ ยืน งานวิจยั ไทบ้านลุม่ น้ำสงครามตอนล่าง หนังสือ “พันธุ์ปลาในป่าทาม ความรู้พื้นถิ่นของคนหาปลาลุ่มน้ำสงคราม ตอนล่าง” และหนังสือ “นิเวศวิทยาและประวัตศิ าสตร์ปา่ บุง่ ป่าทามลุม่ น้ำสงคราม” ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นผลงานของเครือข่ายนักวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสงคราม ตอนล่าง นับเป็นก้าวเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของชาวบ้านอันสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการ ของชุมชนได้เป็นอย่างดี งานวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสงครามตอนล่างนี้ เป็นฝีมือของนักวิจัยชาวบ้านจาก 4 หมู่บ้านในลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง คือ บ้านท่าบ่อ บ้านอ้วน บ้านปากยาม และบ้านยางงอย อ. ศรีสงคราม โดยการสนับสนุนของโครงการอนุรักษ์และใช้ ประโยชน์ทางความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำแม่โขง สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ ชมรมอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อมนครพนม บทเรียนที่ผ่านมาสอนให้ชาวบ้านรู้ว่า ข้อมูลมีความสำคัญเนื่องจากเป็นข้อ เท็จจริงที่จะยืนยันถึงความสมบูรณ์ที่มีอยู่จริงของทรัพยากรในลุ่มน้ำสงคราม การติดอาวุธทางความคิดให้กับนักรบแห่งลุ่มน้ำสงครามจึงเกิดขึ้น การศึกษา วิจัยเริ่มขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม 2546 ถึงมีนาคม 2548 โดยให้ความสำคัญ กั บ ความรู ้ ข องชาวบ้ า นเรื ่ อ งระบบนิ เ วศและการเข้ า ถึ ง ทรั พ ยากร รวมไปถึ ง ประวัติศาสตร์ชุมชน ทั้งการตั้งถิ่นฐาน ระบบเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ของชาวบ้านในป่าทาม ไชยณรงค์บอกเล่าว่า “แนวคิดวิจัยไทบ้านคือการสร้างองค์ความรู้อัน เป็ น ความรู ้ ท ้ อ งถิ ่ น ที ่ ส ะสมกั น มาเฉพาะกลุ ่ ม คน และการที ่ ง านวิ จ ั ย ไทบ้ า น

151


ประสบความสำเร็ จ ก็ เ พราะชาวบ้ า นเขาเป็ น ผู ้ ว ิ จ ั ย เป็ น เจ้ า ของงานวิ จ ั ย เขาสามารถเอาความรูจ้ ากงานวิจยั ไปต่อรองกับหน่วยงานรัฐให้หนั มาช่วยเหลือพวกเขา ราชการท้องถิ่นก็จะเห็นภาพ และผลดีที่เกิดขึ้นแน่ๆ ก็คืองานวิจัยไทบ้านทำให้ ทัง้ ชาวบ้าน รวมทัง้ ข้าราชการในพืน้ ทีเ่ กิดความภาคภูมใิ จ เกิดความรักและหวงแหน พืน้ ทีข่ องตนเอง” มาตรการอนุรกั ษ์เพือ่ การใช้ประโยชน์อย่างยัง่ ยืน “ที่เห็นนั่นเป็นกระชังเลี้ยงปลา แต่ว่าเป็นปลาธรรมชาติตัวเล็กตัวน้อย ที่ติดแหติดอวนมา แล้วชาวบ้านเอาไปปล่อยไว้เพื่อให้โตพอที่จะนำไปบริโภคได้ ในอนาคต” สุริยาชี้ชวนให้ดูพื้นที่บริเวณหลังวัดประจำหมู่บ้านปากยามที่ถูกกันไว้ให้เป็น เขตอนุรกั ษ์วงั ปลาอย่างภาคภูมใิ จ ตอนนี้แทบทุกหมู่บ้านใน อ. ศรีสงคราม มีพื้นที่สำหรับอนุรักษ์ในลักษณะ เดียวกันนี้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งทั้งหมดเป็นผลพวงจากความพยายามในการรณรงค์ของ ชมรมอนุ ร ั ก ษ์ แ ละฟื ้ น ฟู ล ุ ่ ม น้ ำ สงครามที ่ ก ่ อ ตั ้ ง ขึ ้ น โดยชาวบ้ า นเมื ่ อ ปี 2538

152


ความตืน่ ตัวในเรือ่ งสิง่ แวดล้อมของชาวบ้านเกิดขึน้ หลังจากรัฐบาลมีโครงการสร้างเขือ่ น แม่น้ำสงคราม และทำให้พวกเขาเริ่มเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของน้ำ ปลา และ ป่าทาม ที่ส่งผลถึงการหาอยู่หากินของชาวบ้าน นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการหา แนวทางที่เหมาะสมในการดูแลลุ่มน้ำสงครามให้ยั่งยืน เพื่อให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ ทีด่ ขี น้ึ ให้ลกู หลานมีกนิ มีใช้ในอนาคต สิ น สมุ ท ร พั ก ตร์ พ รหม ที ่ ป รึ ก ษาอาวุ โ สชมรมอนุ ร ั ก ษ์ แ ละฟื ้ น ฟู ล ุ ่ ม น้ ำ สงคราม เล่าถึงแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์ของชุมชนว่า “เมื่อก่อนลุ่มน้ำสงคราม ขึ ้ น ชื ่ อ ว่ า มี ป ลาอร่ อ ย มี ป ลามาก กิ น ปลาน้ ำ สงครามก็ เ หมื อ นกั บ ได้ ล ิ ้ ม รส ชาติปลาแม่น้ำโขง แต่ตอนนี้รู้สึกเป็นห่วงว่าทำไมปลาลดลง สาเหตุส่วนหนึ่ง น่าจะเกิดจากการใช้เครื่องมือจับปลาขนาดใหญ่ น้ำก็น้อยลง หลายหมู่บ้าน เลยมีแนวคิดจัดทำเขตอนุรกั ษ์ขน้ึ โดยเน้นการฟืน้ ฟูปา่ ทามและจัดทำวังปลา” การรวมตัวกันทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลาและป่าทามนั้น ได้รับการ สนับสนุนจากหน่วยงานราชการใน อ. ศรีสงคราม รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชน ที ่ ท ำงานอยู ่ ใ นพื ้ น ที ่ โดยในการอนุ ร ั ก ษ์ ชาวบ้ า นได้ น ำภู ม ิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ ่ น จากการหาปลามาปรับใช้ มีการทำอุปกรณ์พน้ื บ้านเพือ่ ให้เป็นทีอ่ ยูข่ องปลาและสัตว์นำ้ ดูแลชนิดของเครื่องมือจับปลา รวมทั้งมีการประกาศเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ขึน้ ในหลายพืน้ ที่ ไม่วา่ จะเป็นทีบ่ า้ นท่าบ่อ บ้านยางงอย บ้านอ้วน หรือบ้านปากยาม และมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลและร่างกฎระเบียบในการอนุรักษ์ร่วมกัน นอกจากนัน้ ทางชมรมอนุรกั ษ์ฯ ยังพยายามผลักดันให้มกี ารฟืน้ ฟูปา่ ทามในรูปแบบ ของการแบ่งพืน้ ทีก่ ารใช้งานให้ชดั เจน แต่ยงั ไม่ได้รบั ความร่วมมือจากชุมชนมากนัก เนือ่ งจากพืน้ ทีป่ า่ ทามส่วนใหญ่ถกู จับจองเพือ่ ใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เสียแล้ว ปัจจุบนั ชาวบ้าน องค์กรชุมชน และหน่วยงานราชการ ได้กำหนดแนวทาง ร่วมกันในการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำสงครามไว้ 5 แนวทางด้วยกัน คือ 1) ร่วมกันค้นหาและพัฒนาความสามารถของชุมชนในการจัดการทรัพยากรโดยรวม ในพื ้ น ที ่ 2) ช่ ว ยกั น เฝ้ า รั ก ษาอนุ ร ั ก ษ์ แ ละฟื ้ น ฟู ท รั พ ยากรลุ ่ ม น้ ำ ชุ ม ชน เพื่อให้เหลือถึงลูกหลาน 3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรตลอดลำน้ำ 4) สร้างการเรียนรู้ สานความรูจ้ ากผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่สลู่ กู หลาน และ 5) พัฒนาหลักสูตรท้องถิน่ สืบสานความรูข้ องคนลุม่ น้ำ

153


โครงการคนและชุมชนอยูร่ ว่ มกับน้ำ โครงการนี้ริเริ่มขึ้นมานานกว่า 1 ปีแล้ว หลังจากสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินนี าถ ทรงมีพระราชดำรัสเกีย่ วกับลุม่ น้ำสงครามตอนหนึง่ มีใจความว่า คนและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับน้ำได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจในความ หลากหลายและสภาพพื้นที่ของลุ่มน้ำเป็นอย่างดี คณะกรรมการทีม่ รี องผูว้ า่ ราชการจังหวัดนครพนมเป็นประธานได้เดินหน้าโครงการ โดยคัดเลือกให้บา้ นท่าโข่ง อ. ศรีสงคราม เป็นพืน้ ทีน่ ำร่องในการพัฒนา สรรค์สนธิ บุณโยทยาน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม เล่าว่า ได้ทำความเข้าใจร่วมกัน กับทุกหน่วยงานว่า ลุม่ น้ำสงครามเป็นพืน้ ทีท่ ม่ี ลี กั ษณะเฉพาะ คือน้ำท่วมและน้ำแล้ง เป็นสภาพปกติ ดังนั้นต้องหามาตรการที่จะทำให้ชาวบ้านสามารถทำมาหากิน ในสภาพธรรมชาติเช่นนีใ้ ห้ได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ซึง่ การสร้างเขือ่ น อ่างเก็บน้ำ หรือฝายเหมือนทีผ่ า่ นๆ มา คงไม่ใช่คำตอบ สำหรับรูปแบบการดำเนินการนัน้ อาจจะมี การพั ฒ นาแหล่ ง น้ ำ ในรู ป แบบของการขุ ด ลอกหรื อ ทำแก้ ม ลิ ง สำหรั บ ไว้ ใ ช้ ท ำ การเกษตรในฤดูแล้ง รวมทัง้ อาจจะมีการส่งเสริมอาชีพอืน่ ร่วมด้วย เช่นเลีย้ งสัตว์และ หัตถกรรมพืน้ บ้าน เป็นต้น

ในฤดูนำ้ หลาก น้ำก็จะท่วมป่าบุง่ ป่าทาม แต่พอฤดูฝน ผ่านพ้นไป น้ำก็จะแห้งลง สิง่ นีค้ อื สภาพปกติของพืน้ ที่

154


นอกจากนี้ คณะกรรมการยังมีแนวคิดในการกำหนดแนวเขตลุ่มน้ำสงคราม ให้ชัดเจน โดยจะดำเนินการทั้งลุ่มน้ำ เพื่อที่จะได้วางมาตรการในการอนุรักษ์และ พัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และแน่นอนว่า โครงการทั้งหมดนี้มีองค์กร พัฒนาเอกชนรวมทัง้ องค์การบริหารส่วนท้องถิน่ เข้าร่วมในการดำเนินการด้วย เตรียมขึน้ ทะเบียนเป็นพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำ คนอีสานคุน้ เคยกับการเรียกพืน้ ทีป่ า่ น้ำท่วมในลุม่ น้ำสงครามตอนล่างว่าป่าบุง่ ป่าทามมานานแล้ว แต่การให้ความสำคัญในบริบทของพื้นที่ชุ่มน้ำเพิ่งเกิดขึ้น เมือ่ ไม่กป่ี มี านีเ่ อง ด้วยที่ผ่านมา เรื่องราวของ พื ้ น ที ่ ช ุ ่ ม น้ ำ ไม่ ไ ด้ ร ั บ ความสนใจ เท่ า ที ่ ค วร เนื ่ อ งจากมี ล ั ก ษณะ เป็ น พื ้ น ที ่ ช ื ้ น แฉะที ่ ม ี น ้ ำ ท่ ว มขั ง ตลอดปี หรื อ เป็ น ที ่ ท ี ่ น ้ ำ แห้ ง ใน ฤดูแล้งและท่วมขังในฤดูน้ำหลาก ทำให้เกือบทัง้ หมดมีสถานะเป็นพืน้ ที่ สาธารณะประโยชน์หรือพื้นที่ว่าง เปล่ า แต่ ห ลั ง จากที ่ ป ระเทศไทย ได้ เ ข้ า เป็ น ภาคี อ นุ ส ั ญ ญาว่ า ด้ ว ย พื ้ น ที ่ ช ุ ่ ม น้ ำ ที ่ ม ี ค วามสำคั ญ ระดั บ นานาชาติ ลำดับที่ 110 มีพรุควนขี้เสียนบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งแรกของประเทศ นับแต่นั้นเรื่องราวของพื้นที่ชุ่มน้ำก็ได้รับ การยกระดั บ ความสนใจมากขึ ้ น โดยล่ า สุ ด คณะอนุ ก รรมการพื ้ น ที ่ ช ุ ่ ม น้ ำ มีมติจะเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำเพิ่มเติมอีก 5 แห่งเป็นแรมซาร์ไซต์ หรือเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาฯ ดังกล่าว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ แม่ น ้ ำ สงครามตอนล่ า ง จ. นครพนม โดยในขณะนี ้ สำนั ก งานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) อยู่ในระหว่างจัดทำรายละเอียด เพื่อเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา หลังจากนั้นก็จะมีการ

155


เสนอคณะกรรมการภาคีอนุสญ ั ญาว่าด้วยพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำต่อไป ซึง่ หากได้รบั การขึน้ ทะเบียน ก็จำเป็นอย่างยิง่ ทีภ่ าครัฐจะต้องมีมาตรการในการอนุรกั ษ์เพือ่ ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่าง ยั่งยืนสืบไป

ความสำคัญของการศึกษาและวางแผนการจัดการพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำของไทย พืน้ ทีช่ มุ่ น้ำ (Wetlands) ในประเทศไทยประกอบด้วย ป่าชายเลน ป่าพรุ หนอง บึง ทุ่งนา ทะเลสาบ และแม่น้ำ กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย มีเนือ้ ทีร่ วมทัง้ หมดประมาณ 21.63 ล้านไร่ คำจำกั ด ความตามอนุ ส ั ญ ญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรื อ อนุ ส ั ญ ญาว่ า ด้ ว ยพื ้ น ที ่ ช ุ ่ ม น้ ำ ที ่ ม ี ค วามสำคั ญ ระดั บ นานาชาติ บอกว่ า พื้นที่ชุ่มน้ำหมายถึง ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม ที่ลุ่มชื้นแฉะ พรุ แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้น เองตามธรรมชาติ และทีม่ นุษย์สร้างขึน้ ทัง้ ทีม่ นี ำ้ ขังหรือท่วมอยูถ่ าวรและชัว่ ครัง้ ชัว่ คราว ทัง้ ทีเ่ ป็นแหล่งน้ำนิง่ และน้ำไหล ทัง้ ทีเ่ ป็นน้ำจืด และน้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึ ง ที ่ ช ายฝั ่ ง ทะเลและที ่ ใ นทะเล ในบริ เ วณซึ ่ ง เมื ่ อ น้ ำ ลดลงต่ ำ สุ ด มีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นระบบนิเวศที่มีบทบาทหน้าที่ที่มีคุณค่า และมีความสำคัญ ต่ อ มนุ ษ ย์ สั ต ว์ และพื ช ทั ้ ง ทางนิ เ วศวิ ท ยา เศรษฐกิ จ สั ง คม การเมื อ ง

156


และจนถึ ง เดื อ นธั น วาคม 2543 ได้ ม ี ป ระเทศต่ า งๆ รวมทั ้ ง ประเทศไทย เข้ า เป็ น ภาคี อ นุ ส ั ญ ญาว่ า ด้ ว ยพื ้ น ที ่ ช ุ ่ ม น้ ำ แล้ ว กว่ า 123 ประเทศ มีจำนวนพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำทีม่ คี วามสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) 1,045 แห่ง รวมพืน้ ที่ 78,608,203 ล้านเฮกแตร์ ปัจจุบัน เป็นที่น่าวิตกอย่างยิ่งว่า พื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทยถูกทำลาย ไปแล้วเป็นจำนวนมาก ทีเ่ หลือก็อยูใ่ นสภาพเสือ่ มโทรม หรือถูกเปลีย่ นแปลงอย่าง รวดเร็ว สาเหตุเกิดจากจำนวนประชากรทีเ่ พิม่ ขึน้ ความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมสูงขึน้ อัตราการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพืน้ ชุม่ น้ำจึงสูงขึน้ เช่นกัน รวมทัง้ มีการเปลีย่ นแปลงสภาพพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำไปเพือ่ ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ทีไ่ ม่เหมาะสม และที่สำคัญคือมิได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมทัง้ ผลกระทบทีจ่ ะเกิดกับชุมชนทีต่ อ้ งพึง่ พาอาศัยพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำ ประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการในการบริหาร จัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ทั้งที่พื้นที่ชุ่มน้ำมีความสำคัญและมีบทบาทหน้าที่มากมาย แต่สงั คมซึง่ หมายถึงองค์กรต่างๆ ทัง้ ภาครัฐและเอกชน ยังขาดความรูค้ วามเข้าใจ ที ่ ถ ู ก ต้ อ งเพี ย งพอในคุ ณ ลั ก ษณะทางธรรมชาติ ข องระบบนิ เ วศพื ้ น ที ่ ช ุ ่ ม น้ ำ และขาดความตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ คุณค่า และคุณประโยชน์ที่ครบถ้วน แท้จริงของพื้นที่ชุ่มน้ำ จึงเป็นผลให้ขาดความระมัดระวังและใช้ประโยชน์ อย่างไม่ถกู ต้องเหมาะสม นอกจากนัน้ ยังมีความไม่สอดคล้อง ขาดการประสานการ ปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงาน ในการจัดการพื้นที่ และในหลายกรณีกฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องไม่มีประสิทธิผลในการบังคับใช้ และไม่เอื้ออำนวยต่อการ จัดการพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำอย่างยัง่ ยืน การศึกษาและการวางแผนจัดการพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำในรูปแบบของโครงการนำร่อง จึงจำเป็นต้องกระทำโดยด่วน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ และให้ได้มาซึง่ แนวทางตัวอย่างในการจัดการพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำทีก่ ำลังถูกคุกคาม ดร.ศันสนีย์ ชูแวว คณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

157


สงคราม...ลุ่มน้ำแห่งความหวัง ...น่าดีใจที่ตลาดสดของ อ. ศรีสงครามในวันนี้ยังมีปลาจากลุ่มน้ำสงคราม ให้เห็น ทั้งปลาสดและผลผลิตที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เทศกาลกินปลาลุ่มน้ำ สงครามที่มีขึ้นเป็นประจำทุกปีอาจจะช่วยยืนยันอีกแรงว่า แม่น้ำสงครามยังมี ความอุดมสมบูรณ์ให้ชาวบ้านได้หาอยูห่ ากินเช่นเดิม ขณะเดียวกันชาวบ้านก็มีความกระตือรือร้นที่จะฟื้นฟูลำน้ำและป่าทาม เพื ่ อ ให้ ป ลาและต้ น ไม้ ม ี โ อกาสได้ เ ติ บ ใหญ่ พวกเขาจึ ง ร่ ว มมื อ กั น จั ด ตั ้ ง ให้ ป่าโคกในทามและป่าทามเป็นเขตป่าชุมชน มีการกำหนดเขตวังปลาอนุรักษ์ขึ้น โดยดูแลและบริหารจัดการกันตามกฎเกณฑ์ทช่ี าวบ้านตัง้ ขึน้ เอง ทั ้ ง ป่ า ทามและปลาแห่ ง ลุ ่ ม น้ ำ กำลั ง ได้ ร ั บ การดู แ ล ทั ้ ง จากหน่ ว ยงาน ราชการท้ อ งถิ ่ น และจากชาวบ้ า นที ่ ต ระหนั ก ถึ ง ความสำคั ญ ของทรั พ ยากร ที่พวกเขามีอยู่ โดยชาวบ้านไม่ได้เรียนรู้บทเรียนของการอนุรักษ์ภายในชั่วข้ามคืน หากแต่เรียนรู้มาชั่วชีวิต ขณะที่การอนุรักษ์ของพวกเขาก็คือการดูแลชีวิตของ ตนเองและครอบครัวด้วยเช่นกัน ...แน่นอนว่า กระแสสีเขียวที่แผ่คลุมทั่วลุ่มน้ำสงคราม แม้จะยังมิอาจยุติภัย คุกคามได้ในชัว่ ข้ามคืน แต่กถ็ อื เป็นนิมติ หมายทีด่ ที ม่ี กี ารเริม่ ต้น ลุ่มน้ำสงครามถือเป็นตัวอย่างที่ดี และเป็นสัญลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่ของการ พัฒนาจากภายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการที่ชาวบ้านคัดค้านให้หยุดสร้างเขื่อน การดึงที่ดินคืนจากนายทุนกลับมาเป็นที่สาธารณประโยชน์ เพราะคนภายใน มีสิทธิที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรทุกอย่างในลุ่มน้ำเพื่อความอยู่รอด การแก้ไขปัญหา จากภายในจึงเป็นหัวใจสำคัญ เนือ่ งจากจะสัมพันธ์กบั วัฒนธรรมชุมชน เป็นการพัฒนา บนฐานนิเวศและวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งนับเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ในการ อนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ดำรงอยูอ่ ย่างยัง่ ยืนต่อไป

158


นานาทัศนะเกี่ยวกับลุ่มน้ำสงคราม สุรยิ า โคตะมี ชาวบ้านปากยาม อ. ศรีสงคราม จ. นครพนม และในฐานะ เลขานุการชมรมอนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูลมุ่ น้ำสงคราม, 15 สิงหาคม 2549 “ลุ่มน้ำสงครามเปรียบเหมือนคน ลำห้วยสาขาก็เหมือนแขนขา ตอนบน เป็นหัว ตอนล่างเป็นร่างกาย ถ้าส่วนใดถูกทำลาย ลุ่มน้ำสงครามก็ไม่ต่าง อะไรกั บ คนพิ ก าร ยอมรั บ ว่ า การทำงานอนุ ร ั ก ษ์ ก ั บ ชาวบ้ า นไม่ ใ ช่ เ รื ่ อ งง่ า ย เพราะต้องสู้กับปัญหาปากท้อง สู้ กับกระแสทุนนิยม แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็จะไม่เหลืออะไรให้ลูกหลาน อยากให้ภาครัฐมีความจริงจัง จริงใจในการทำงาน เพราะทีผ่ า่ นมา มักจะทิง้ แต่ปญ ั หาไว้ให้กบั ชาวบ้าน เพราะฉะนัน้ ถ้าจะมีโครงการ พั ฒ นาใดๆ เกิ ด ขึ ้ น กั บ ลุ ่ ม น้ ำ สงคราม ก็ ค วรจะให้ ค นในพื ้ น ที ่ ไ ด้ เ ข้ า ไปรั บ รู ้ และมีสว่ นร่วมในการตัดสินใจ เพราะมันกระทบกับชีวติ ของพวกเรา”

ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ที่ปรึกษาด้านวิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง (งานวิจัยไทบ้าน) โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพลุ่มน้ำโขง (MWBP), 13 พฤษภาคม 2549 “สองเรื่องที่เราต้องเร่งจัดการเพราะจะส่งผลกระทบต่อทั้งลุ่มน้ำก็คือ การบุกรุกพืน้ ทีป่ า่ ทามโดยบริษทั เกษตรอุตสาหกรรม รวมทัง้ นโยบายเกษตรแผนใหม่ ของรัฐที่กำลังรณรงค์ให้ชาวบ้านปลูกปาล์ม ซึ่งเป็นพืชที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ และทำลายป่ า ทามเช่ น กั น และที ่ ส ำคั ญ ที ่ ส ุ ด ก็ ค ื อ โครงการเขื ่ อ นต่ า งๆ ที่แม้จะยังไม่เกิดในลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง แต่ที่อยู่รายรอบก็จะสร้างปัญหา ให้กับทั้งลุ่มน้ำอย่างแน่นอน เพราะการสร้างเขื่อนไม่ใช่วิธีการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ แนวทางการจัดการทรัพยากรที่ดีก็คือ การนำวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านกลับ คืนมา ทำอย่างไรให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างไม่เป็นการ ทำลาย เราควรทำให้ทกุ อย่างคืนสูส่ ภาพดัง้ เดิม”

159


สรรค์สนธิ บุณโยทยาน เกษตรและสหกรณ์จงั หวัดนครพนม, 15 สิงหาคม 2549 “โครงการเดิมๆ ที่สร้างปัญหาไม่อยากไปกล่าวถึง คือเรารู้หมดแล้ว ว่าอะไรเป็นอะไร ยังไงมันก็เอาคืนไม่ได้แล้ว จะไปรื้อของหลวงก็เป็นเรื่องใหญ่ ต้องมีมติคณะรัฐมนตรี แต่ทั้งหมดก็ถือเป็นบทเรียนว่าคราวหลังจะทำอะไร ต้องมองมุมกว้างกว่านี้ ตอนนี้เราไม่ได้สนใจลุ่มน้ำสงครามเฉพาะที่จังหวัด นครพนมเท่านัน้ แต่เราจะดูแลร่วมกันทัง้ ลุม่ น้ำคือ อุดรธานี สกลนคร นครพนม การดู แ ลสิ ่ ง แวดล้ อ มต้ อ งไม่ ม ี เ ส้ น แบ่ ง จั ง หวั ด มากั ้ น และเราจะพู ด คุ ย กั น ในฐานะคนลุม่ น้ำสงคราม”

160


บรรณานุกรม เครือข่ายนักวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง. (2548). นิเวศวิทยา และประวัติศาสตร์ ป่าบุง่ ป่าทามลุม่ น้ำสงครามตอนล่าง. เชียงใหม่ : วนิดา เพรส. เครือข่ายนักวิจยั ไทบ้านลุม่ น้ำสงครามตอนล่าง. (2548). พันธุป์ ลาในป่าทาม: ความรูพ้ น้ื ถิน่ ของคนหาปลาลุม่ น้ำสงครามตอนล่าง. เชียงใหม่: วนิดา การพิมพ์. สนิท ทองสง่า. (2548).ลุม่ น้ำสงครามแหล่งพันธุป์ ลาน้ำจืดทีใ่ หญ่และสำคัญของ ประเทศไทย. อนุกรรมาธิการความมั่นคงของฐานทรัพยากร ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความ มัน่ คงของมนุษย์ วุฒสิ ภา. อัดสำเนา. สำนักชลประทานที่ 7. (2547). โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำน้ำอูน และโครงการขุดลอก หนองสังข์ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. อัดสำเนา. ข่าวสด, 9 กุมภาพันธ์ 2547 เดสินวิ ส์, 7 - 10 กุมภาพันธ์ 2549 ไทยโพสต์, 16 มกราคม 2547 มติชน, 3 พฤษภาคม 2547 สยามรัฐ, 27 กุมภาพันธ์ 2546 สยามรัฐ, 11 กุมภาพันธ์ 2547 สยามรัฐ, 21 กุมภาพันธ์ 2547 เครือข่ายพัฒนา คนชุมชนลุ่มน้ำสงคราม, www.siamrath.co.th ป่าบุง่ ป่าทาม ป่าชายเลนของลุม่ น้ำแดนอีสาน, www.biothai.net การจัดการลุม่ น้ำสงครามไม่มเี ขือ่ นก็มคี วามสุขได้, www.matichon.co.th/khaosod พืน้ ทีช่ มุ่ น้ำ, www.wildlifefund.or.th มหกรรมวันป่าบุ่งป่าทาม ลุ่มน้ำสงครามครั้งที่ 3, www.thaingo.org วิถนี กั รบแห่งลุม่ น้ำสงคราม, www.manager.co.th ลุ่มน้ำสงครามเมื่อความวิบัติที่แอบซ่อนอยู่เผยโฉม, www.thaingo.org หมายเหตุประชาชน: ไม่มีเขื่อนมีแต่ฝายแฝดสาม, www.dailynews.co.th หมายเหตุประชาชน: แม่น้ำสงคราม ความบริสุทธิ์กำลังจะหมดไป (2) จากผลกระทบ สูแ่ ผนจัดการฉบับประชาชน (จบ), www.dailynews.co.th หวัน่ เขือ่ นแม่นำ้ สงครามทำลายอาชีพทำปลาร้า, www.manager.co.th

สัมภาษณ์ ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ที่ปรึกษาด้านวิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง (งานวิจัยไทบ้าน) โครงการ อนุรกั ษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพลุม่ น้ำโขง (MWBP)

161


ธวัชชัย ปทุมพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 9 อุดรธานี รัฐพล พิทักษ์เทพสมบัติ ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทางความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างยัง่ ยืนในพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำลุม่ น้ำโขงพืน้ ทีล่ มุ่ น้ำสงครามตอนล่าง เหลาไท นิลนวล ประธานทีป่ รึกษาและฟืน้ ฟูลมุ่ น้ำสงคราม สรรค์สนธิ บุณโยทยาน เกษตรและสหกรณ์จงั หวัดนครพนม สินสมุทร พักตร์พรหม ทีป่ รึกษาอาวุโสชมรมอนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูลมุ่ น้ำสงคราม สุริยา โคตะมี ชาวบ้านปากยาม อ. ศรีสงคราม จ. นครพนม

ภาพประกอบเรื ่ อ งจาก โครงการอนุ ร ั ก ษ์ แ ละใช้ ป ระโยชน์ ท างความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างยัน่ ยืนในพืน้ ทีล่ มุ่ น้ำโขง

162


แก่งคอยในวันสำลักมลพิษ ผูเ้ ขียน เกษา นิม่ ระหงษ์

163


ทั น ที ท ี ่ เ สาเข็ ม ต้ น แรกของโรงงาน อุ ต สาหกรรมตอกตรึ ง ลงบนผื น แผ่ น ดิ น อ. แก่งคอย จ. สระบุรี ก็เป็นเหมือนการ ส่ ง สั ญ ญาณเริ ่ ม ต้ น ของการปล่ อ ยมลพิ ษ อันเป็นผลพวงจากการพัฒนา ย้อนอดีตกลับไปเมื่อราว 40 ปีก่อน แก่ ง คอยถู ก กำหนดให้ เ ป็ น แหล่ ง ผลิ ต ปู น ซีเมนต์เพื่อป้อนอุตสาหกรรม หลังจากนั้น อุตสาหกรรมต่อเนือ่ งต่างๆ ก็เริม่ ทยอยเข้ามา จั บ จองพื ้ น ที ่ ส ร้ า งโรงงานอย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง โดยโรงงานหลายแห่งได้กลายเป็นแหล่งกำเนิด มลพิษทั้งทางน้ำและทางอากาศ ซึ่งในรอบ 10 ปีทผ่ี า่ นมา (ปี 2536 - 2549) หลายต่อ หลายครั้งที่ชาวแก่งคอยได้ร้องเรียนไปยัง กรมควบคุ ม มลพิ ษ กระทรวงทรั พ ยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มาตรวจสอบ

164


โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทีก่ อ่ ปัญหา รวมทัง้ บ่อฝังกลบกากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่มรสุมปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งน้ำเสีย กลิ่นเหม็น สารพิษในอากาศ ฝุ่นละออง และเขม่าควัน ก็ไม่ได้คลี่คลาย ซ้ำร้ายนับวันความรุนแรงจะทวีขึ้นเรื่อยๆ โดย ชาวแก่งคอยต้องทนแบกรับปัญหามลพิษที่ไม่ได้ก่ออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หลายคน ต้องล้มป่วยด้วยโรคต่างๆ กลายเป็นวิบากกรรมรันทดที่ไม่อาจเลือกได้

แก่งคอยกับการเผชิญหน้ามลพิษ ดัชนีบง่ ชีป้ ญ ั หามลพิษทางอากาศใน อ. แก่งคอย ทีด่ ที ส่ี ดุ คือปริมาณผูป้ ว่ ย ด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ จากสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ของประชาชนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแก่งคอย และโรงพยาบาลสระบุรี ในช่วงปี 2544 – 2546 พบว่ามีผเู้ จ็บป่วยมากถึง 70,825 ราย และ 53,362 ราย ตามลำดับ ส่วนข้อมูลที่จัดทำโดยสาธารณสุขอำเภอแก่งคอย ก็แสดงถึงวิกฤตการณ์ ที่สอดคล้องกัน กล่าวคือจากการสำรวจชาวบ้านทั้ง 14 ตำบล พบว่าในแต่ละปี มีผู้มาขอรับการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจที่สถานีอนามัยไม่ต่ำกว่า 20,000 ราย ในขณะที่ประชากรทั้งอำเภอมีจำนวน 80,000 กว่าคน โดยในปี 2548 ต. ทับกวาง เป็นพื้นที่ที่มีผู้ป่วยสูงสุด ซึ่งมีจำนวนถึง 5,062 ราย สันนิษฐานว่า เพราะตำบลแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงงานปูนซีเมนต์ขนาดใหญ่นั่นเอง สำหรับสถานการณ์มลพิษทาง สถิติผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินทางที่รับการรักษา จากสถานีอนามัยแก่งคอยในช่วงปี 2542 – 2548 อากาศในภาพรวม จากรายงาน ผลการวิ จ ั ย ปั ญ หาฝุ ่ น ละอองในเขต ปี พ.ศ. จำนวนผู้ป่วย เทศบาลแก่งคอย ซึ่ง รศ.นพ.อภิณพ 2542 29,826 จั น ทร์ ว ิ ท ั น นายกเทศมนตรี อ ำเภอ 2543 28,966 2544 23,389 แก่ ง คอย ควั ก งบประมาณของ 2545 26,278 เทศบาลจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา พบว่า 2546 23,910 นั บ ตั ้ ง แต่ ป ี 2543 – 2546 2547 23,785 ค่าเฉลี่ยต่อปีของปริมาณฝุ่นละออง 2548 25,300 ขนาดเล็ ก กว่ า 10 ไมครอนในเขต ที่มา: สาธารณสุขอำเภอแก่งคอย 165


เทศบาลมีสงู ถึง 58.18 ไมโครกรัม ต่ อ ลู ก บาศก์ เ มตร ในขณะที ่ ค่ามาตรฐานกำหนดไว้ ต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผลจากการเปิดโปงข้อมูล ที ่ น ่ า ตกใจขั ้ น ต้ น สำนั ก งาน นโยบายและแผนทรั พ ยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงไม่อาจนิ่งนอนใจอยู่ได้ โดยในปี 2547 ก็ได้ศึกษาวิจัยปัญหาฝุ่นละอองใน อ. แก่งคอยซ้ำอีกครัง้ และระบุวา่ ผลการตรวจวัดฝุน่ ละอองใน อ. แก่งคอย 4 สถานี ในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2543 มีความเข้มข้นของฝุ่นละอองรวม (ขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน) มีค่า 48 - 159 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และฝุน่ ละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีคา่ 10 - 49 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน พร้อมกับระบุถึงสาเหตุความเจ็บป่วยเรือนหมื่น ของชาวแก่งคอยในแต่ละปีว่า ไม่ได้เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก แต่มีต้นเหตุจาก การสูบบุหรี่ ได้รับเชื้อโรค ความชรา และการเจ็บป่วยด้วยโรคภูมิแพ้เท่านั้น ซึง่ แน่นอนว่า การระบุสาเหตุของโรคดังกล่าวย่อมค้านสายตาผูป้ ระสบปัญหามลพิษ ไม่เพียงแต่มลพิษทางอากาศที่สร้างปัญหาสุขภาพให้กับชาวบ้าน แต่การ ขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและการเติบโตของเมืองยังทำให้แม่น้ำป่าสักเน่าเสีย จากการเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำของแม่นำ้ ป่าสักโดยสำนักสิง่ แวดล้อม ภาค 7 จ. สระบุรี ในปี 2549 จำนวน 4 ครัง้ ทีบ่ ริเวณสะพานท้ายเมืองสระบุรี ต. ดาวเรือง อ. เมือง พบว่ามีคา่ บีโอดี 4.26 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึง่ จัดว่าเป็นแหล่งน้ำ ที่ไม่เหมาะสมต่อการอุปโภค-บริโภค แต่ใช้เพื่อการเกษตรและคมนาคมเท่านั้น ส่วนสถานีตรวจวัดบริเวณสะพานอดิเรกสาร ต. ตาลเดี่ยว อ. แก่งคอย พบว่า มีค่าบีโอดี 2.55 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งจัดว่าเป็นแหล่งน้ำที่ยังสามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ แต่ตอ้ งผ่านการฆ่าเชือ้ โรคและปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษก่อน อย่างไรก็ดี ผลการตรวจวัดเมื่อปี 2548 แม่น้ำป่าสักบริเวณนี้ก็มีค่าบีโอดีสูงมาก จนจัดว่า เป็นแหล่งน้ำที่ไม่เหมาะสมต่อการอุปโภค-บริโภคด้วยเช่นกัน

166


ตำนานแก่งคอย

ในอดีต แก่งคอยมีสภาพเป็นป่าดงดิบหนาทึบและเทือกเขา เคยเป็นส่วนหนึง่ ของแขวงแก่งคอยซึ่งยังไม่มีการสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 1 มีการกวาดต้อนเชลยศึกจากหัวเมืองทางเหนือ เช่นนครเวียงจันท์ให้มาตั้งรกราก อยู่ริมแม่น้ำป่าสัก และกลายมาเป็นชุมชนแก่งคอยในปัจจุบัน สำหรับทีม่ าของชือ่ แก่งคอย ตามตำนานเล่าว่า เดิมแม่นำ้ ป่าสักบริเวณทีว่ า่ การอำเภอ มีแก่งที่อยู่สูงและมีน้ำไหลเชี่ยว ทำให้เรือค้าขายที่ล่องเรือมาถึง บริเวณนี้ ต้องหยุดรอกันเพือ่ ช่วยเข็นเรือขึน้ แก่ง ประกอบกับมีโจรดักปล้นสะดม อยูเ่ สมอ จึงเรียกว่าแก่งคอย ส่ ว นอี ก ตำนานบอกว่ า เดิ ม ที อ. แก่ ง คอยเป็ น ชื ่ อ ของหมู ่ บ ้ า นแก่ ง ต. ขอนขว้าง ซึง่ มีสภาพเป็นแก่งหินทีค่ นต้องมาหยุดพักแรม จนกลายเป็นแหล่ง ชุมชนหนาแน่น และเป็นแหล่งโรคระบาด 2 ชนิด คือ โรคไข้ป่า (มาลาเรีย) และไข้ปว่ ง (อหิวาตกโรค) มีคนเสียชีวติ จำนวนมาก บางคนแรมทางมาคนเดียว ไม่มญ ี าติพน่ี อ้ ง ก็ถกู ปล่อยทิง้ จนแร้งลงมากินซากศพ ทำให้คนต่างถิน่ เรียกบ้านแก่ง นีว้ า่ บ้านแร้งคอย ก่อนจะแผลงเป็นคำว่าแก่งคอย ปัจจุบัน อำเภอแห่งนี้ตั้งอยู่ใน จ. สระบุรี ประกอบด้วย 14 ตำบล คือ ต. แก่งคอย หินซ้อน ท่าคล้อ ท่าตูม สองคอน ตาลเดีย่ ว เตาปูน ทับกวาง บ้านป่า บ้านธาตุ ห้วยแห้ง ชำผักแผว ชะอม และท่ามะปราง มีประชากรทัง้ สิน้ รวม 86,741 คน ซึง่ ทุกๆ ชีวติ กำลังเคลือ่ นไหวร่วมกันในพืน้ ที่ 801.162 ตารางกิโลเมตร

แม้ทกุ วันนี้ มลพิษจะรุมเร้า อ. แก่งคอย แต่อำเภอแห่งนีย้ งั ถูกกำหนดให้เป็น แหล่ ง พั ฒ นาอุ ต สาหกรรมใหม่ ด้ ว ยการประกาศผั ง เมื อ งรวมเป็ น พื ้ น ที ่ ส ี ม ่ ว ง เพื่อรองรับการลงทุนอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้รับส่งเสริมจากสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่จัดให้ จ. สระบุรี เป็นเขตส่งเสริม การลงทุ น เขต 2 ซึ ่ ง หมายถึ ง โครงการที ่ ต ั ้ ง อยู ่ ใ นนิ ค มหรื อ เขตอุ ต สาหกรรม จะได้รบั การยกเว้นภาษีนำเข้าเครือ่ งจักร ยกเว้นภาษีเงินได้นติ บิ คุ คลเป็นเวลา 7 ปี และยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต 1 ปี ส่วนโครงการที่ตั้ง นอกนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม จะได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าเครื่องจักรกึ่งหนึ่ง ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี และยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบ ทีใ่ ช้ในการผลิต 1 ปี

167


จึงไม่นา่ แปลกใจเลยว่า เพราะเหตุใดกระแสการลงทุนภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จึงมุง่ หน้ามาสู่ อ. แก่งคอย พร้อมๆ กับการมาเยือนของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทเ่ี พิง่ ถูกขับไล่โดยชาวบ้านบ่อนอก จ. ประจวบคีรีขันธ์ แถมพ่วงด้วยท่อก๊าชธรรมชาติ ที ่ ร ะโยงระยางอยู ่ ใ ต้ ด ิ น เพื ่ อ ขายก๊ า ชธรรมชาติ ใ ห้ โ รงไฟฟ้ า รวมทั ้ ง โรงงาน รั บ กำจั ด กากอุ ต สาหรรมขนาดใหญ่ ข องบริ ษ ั ท เบตเตอร์ เวิ ล ด์ กรี น จำกั ด ที่กำลังประกอบกิจการอยู่ในเทือกเขาเหนือพื้นนาของชาวบ้าน และทุกๆ ปี สายฝนจะนำน้ำเสียจากบ่อฝังกลบขยะมาท่วมไร่นาของชาวบ้านอยู่เสมอ ณ วันนี้ แก่งคอยกลายเป็นพืน้ ทีอ่ ตุ สาหกรรมใหม่ทช่ี ว่ ยขับเคลือ่ นผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ให้เติบโต แต่กลับกำลังหลงลืมความสุขรวมของ คนแก่งคอยไปเสียแล้ว

แก่งคอยสะเทือน สัมปทานระเบิดหินและโม่หนิ “ระเบิดหินทุกวัน เสียงดังมาก พื้นบ้านสะเทือน นอนไม่หลับเลย” หวัง ปลิงกระโทก อายุ 53 ปี อดีตพ่อค้ารับซื้อขี้ค้างคาว ย้อนความทรงจำแรก เมือ่ เสียงระเบิดหินแผดก้องทัว่ ต. ทับกวาง อ. แก่งคอย จ. สระบุรี “แต่ตอนนี้ชินแล้ว” หวังสะท้อนความรู้สึกหลังเสียงระเบิดหินเงียบลง แต่คราบฝุ่นสีแดงๆ จากผลพวงธุรกิจสัมปทานระเบิดหินยังไม่เคยเจือจางไปจาก ชุมชน

168


จั ง หวั ด สระบุ ร ี เ ป็ น แหล่ ง หิ น ปู น และหิ น อ่ อ นที ่ ส ำคั ญ ที ่ ส ุ ด ของประเทศ โดยรัฐบาลได้ให้สมั ปทานเอกชนเพือ่ ประกอบกิจการเหมืองหินมายาวนานหลายสิบปี ซึง่ อาจย้อนความได้ตง้ั แต่สมัยทีม่ กี ารประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ที ่ ก ำหนดว่ า ในปี 2514 จะต้ อ งผลิ ต ปู น ซี เ มนต์ ใ ห้ ไ ด้ 2.5 ล้ า นตั น ต่ อ ปี นับตั้งแต่นั้นมา รัฐบาลก็เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนลงทุนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในพื้นที่แก่งคอยอย่างเต็มที่ การเข้ามาของกิจกรรมระเบิดหินและโม่ห ิน ได้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษ อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นละอองขนาดเล็ก ดังเช่นที่ ต. หน้าพระลาน อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. สระบุรี ทีผ่ ลการตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนือ่ งบริเวณ โรงเรียนหน้าพระลาน ปรากฏว่า ในปี 2547 มีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุดของฝุ่น ขนาดเล็ ก กว่ า 10 ไมครอน เท่ า กั บ 415.7 ไมโครกรั ม ต่ อ ลู ก บาศก์ เ มตร ขณะทีค่ า่ มาตรฐานเฉลีย่ 24 ชัว่ โมง ต้องไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วิกฤตมลพิษที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มีการประกาศย่านดังกล่าวเป็นเขตควบคุม มลพิษ โดยภายหลังการประกาศและมีแผนในการควบคุม พบว่าในปี 2548 ระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ลดลงเหลือ 300.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ก็ยังเกินค่ามาตรฐานอยู่ดี ส่วนที่ อ. แก่งคอย ซึง่ เป็นย่านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ พบว่ามีบริษทั ปูนซีเมนต์ ขนาดใหญ่ถงึ 3 แห่ง ตัง้ อยูใ่ น ต. ทับกวาง และ ต. บ้านป่า ได้แก่ บริษทั ปูนซีเมนต์ นครหลวง จำกัด (มหาชน) มีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ผสม 1,575,101 ตันต่อปี ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ 1,004,029 ตันต่อปี ปูนเม็ด 2,700,000 ตันต่อปี ปูนซีเมนต์ ผง 2,900,000 ตันต่อปี, บริษทั ทีพไี อโพลีน จำกัด (มหาชน) มีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ 4,380,000 ตันต่อปี และบริษทั ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด มีกำลังการผลิต 3,132,000 ตันต่อปี รวมถึงยังมีโรงงานผลิตปูนซีเมนต์รายย่อยๆ อีกหลายแห่งกระจายรอบตัว อ. แก่งคอย แต่สำหรับพืน้ ทีน่ ย้ี งั ไม่ได้รบั การประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ ท่ามกลาง เสียงระเบิดหินที่ดังกึกก้องทุกวันคืน ฝุ่นละอองจากเศษหิน ตลอดจนกระบวนการ ผลิตและแปรรูปปูนซีเมนต์ ล้วนสร้างปัญหากวนใจชาวบ้านรอบๆ โรงงานปูนซีเมนต์ ยิ่งนัก แต่ก็มิอาจมีใครปริปากเรียกร้องอะไรมากไปกว่าการยอมรับสภาพและ ชะตากรรมที่พวกเขาบังเอิญมีบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆ กับโรงงานปูนซีเมนต์เท่านั้นเอง

169


ธุรกิจแปรรูปภูเขาและแผ่นดิน “ภูเขาหินปูน” ที่เคยเขียวชะอุ่ม เป็นแหล่งที่พักพิงของสัตว์ป่าใหญ่น้อย ถูกระเบิดครัง้ แล้วครัง้ เล่าเพือ่ แปรรูปเป็น “ปูนซีเมนต์” วัสดุกอ่ สร้างส่งออกอันดับ 1 ของโลก โดยเฉพาะ อ. แก่งคอยมีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์รวมกันไม่ต่ำกว่า 20 ล้านตันต่อปี ปูนขาวเกือบ 20,000 ตันต่อปี คอนกรีตบล็อกไม่ต่ำกว่า 1 ล้านก้อนต่อปี คอนกรีตผสมเสร็จไม่ต่ำกว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และผลิ ต ภั น ฑ์ จ ากยิ ป ชั ่ ม หิ น อ่ อ น แคลเซี ย มซิ ล ิ เ กต อี ก นั บ ไม่ ถ ้ ว น แถมด้วยเครื่องสุขภัณฑ์ท ี่ต้องใช้ส ่วนผสมของหินปูนอีกหลายแสนตันต่อปี โดยส่งไปจำหน่ายทั่วโลก ขณะที่ภ ูเขาหินปูนสีเขียวๆ รอบเมืองแก่งคอย ล้วนก็ถูกจับจองขอ สัมปทานเกือบทุกลูก เหลือภูเขาไม่กล่ี กู เท่านัน้ ทีช่ าวบ้านและพระขออนุรกั ษ์ไว้ ส่ ว น “แผ่ น ดิ น ” อั น เคยอุ ด มสมบู ร ณ์ ท ี ่ ช าวบ้ า นเคยใช้ ท ำไร่ ท ำนา หาเลี ้ ย งชี ว ิ ต ก็ ถ ู ก กว้ า นซื ้ อ เพื ่ อ ขายแร่ เ หล็ ก หิ น ดิ น ดาน และแร่ อ ื ่ น ๆ ที ่ ใ ช้ ใ นอุ ต สาหกรรมปู น ซี เ มนต์ ส่ ว นดิ น ลู ก รั ง ก็ ถ ู ก นำไปใช้ ใ นการก่ อ สร้ า ง ซึง่ จากการรวบรวมอัตราการผลิตของโรงงานทีม่ าขอจดทะเบียนกับอุตสาหกรรม จังหวัดสระบุรใี นพืน้ ที่ อ. แก่งคอย เพือ่ ขุดดินจำหน่าย พบว่ามีรวมกันมากถึงขนาด ไม่ตำ่ กว่า 10,000 ตันต่อวัน

แม้แต่การตรวจวัดฝุ่นในบรรยากาศของบริษัททีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) บริเวณจุดตรวจวัดเส้นทางวัดถ้ำพระโพธิสตั ย์ สถานีท่ี 1 ก็มเี พียงโครงเหล็กเดียวดาย ซึ่งปราศจากเครื่องตรวจวัดอากาศอยู่หน้าวัด และถึงจะมีการตรวจวัดฝุ่นอย่างไร ก็คงพบแต่อากาศบริสุทธิ์ใต้ร่มไม้ใหญ่นั่นเอง “เสียงระเบิดหินทำให้ค้างคาวหนีและตายจำนวนมาก เมื่อก่อนค้างคาว บินออกจากถ้ำใช้เวลาเป็นชัว่ โมงกว่าจะบินออกจากถ้ำหมด แต่ตอนนีแ้ ค่ 10 - 15 นาทีก็หมดถ้ำแล้ว” หวังเล่าถึงผลกระทบ ซึ่งสุดท้ายตนต้องเลิกอาชีพนายหน้า ขายขีค้ า้ งคาว เพราะประชากรค้างคาวลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย ส่วนผลกระทบจากโรงงานปูนซีเมนต์ต่อสุขภาพของหวังและคนในชุมชนเป็น อย่างไร ยังไม่มใี ครทราบ เพราะโรคภัยไข้เจ็บทีเ่ กิดขึน้ กับคนในชุมชนได้รบั การวินจิ ฉัย จากแพทย์ว่าเป็นอาการป่วยด้วยโรคธรรมดาสามัญเท่านั้น มิใช่ผลกระทบจาก

170


โรงงานปูนซีเมนต์ “การผลิตปูนซีเมนต์สร้างมลพิษแก่สง่ิ แวดล้อมหลายด้าน ทัง้ เสียง ฝุน่ ละออง ป่ า ไม้ ถ ู ก ทำลาย ซึ ่ ง แก่ ง คอยมี ศ ั ก ยภาพในการทำปู น ซี เ มนต์ ถู ก กำหนดให้ เป็นฐานการผลิตแหล่งใหญ่ แต่ไม่แน่ใจว่ามีการควบคุมดูแลและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต หรือไม่” ศศิน เฉลิมลาภ รองประธานมูลนิธสิ บื นาคะเสถียรตัง้ คำถาม ศศิ น มองว่ า กรณี โ รงโม่ ห ิ น หน้ า พระลานมี ป ั ญ หาเรื ่ อ งฝุ ่ น ละอองที ่ ม ี แนวโน้มเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนและสิง่ แวดล้อม เมือ่ ย้อนกลับมามอง ที่แก่งคอย ก็มีโรงโม่หินเช่นเดียวกัน แถมยังเป็นพื้นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม มากมาย ประกอบกับสภาพพืน้ ที่ อ. แก่งคอยเป็นพืน้ ทีเ่ งาฝน ซึง่ มีสภาพเป็นเนินเขา สลับที่ราบสูง สภาพพื้นที่เช่นนี้มักประสบปัญหาอากาศร้อนและแห้งแล้งค่อนข้าง รุนแรง ถ้ายิง่ ไม่มปี า่ ไม้ปกคลุม อากาศก็จะยิง่ ร้อนมาก “ภูเขาทุกลูกรอเวลาหมดไป แก่งคอยจะเป็นอำเภอทีไ่ ม่มอี นาคต” ศศินกล่าว พร้ อ มทั ้ ง อธิ บ ายอี ก ว่ า คนแก่ ง คอยต้ อ งเผชิ ญ ทั ้ ง ปั ญ หาฝุ ่ น ควั น จากโรงงาน อุตสาหกรรม ฝุ่นจากโรงงานปูนซีเมนต์ ถ้ายิ่งฤดูฝน ชาวบ้านจะใช้น้ำฝนไม่ได้ เพราะอาจมี ก ารปนเปื ้ อ นของสารพิ ษ ที ่ อ าจไม่ ร ุ น แรงเฉี ย บพลั น แต่ จ ะค่ อ ยๆ ทำลายสุขภาพ ในมิตขิ องผลกระทบด้านสุขภาพจากธุรกิจแปรรูปภูเขา ยังมิอาจบ่งชีไ้ ด้ชดั เจน ในทางการ เพราะต้องรอผูเ้ ชีย่ วชาญวินจิ ฉัย แต่ผลกระทบด้านการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ เห็นได้ชดั จากภาพถ่ายดาวเทียมของ อ. แก่งคอย ปรากฏเป็นร่องรอยแหว่งวิน่ สีขาวๆ ขนาดใหญ่หลายแห่ง ซึง่ เป็นทีต่ ง้ั ของโรงงานปูนซีเมนต์ขนาดใหญ่ ส่วนรอบตัวพืน้ ที่ ยังพบรอยแหว่งวิ่นสีขาวเล็กๆ กระจายอยู่โดยรอบอำเภอ ร่องรอยดังกล่าว บ่งชี้ถึงสภาพดินไร้ต้นไม้ปกคลุมที่แต่เดิมเคยปลูกข้าวโพด ปลูกมันสำประหลัง แล้วภายหลังถูกกว้านซื้อเพื่อขายสินแร่ที่ปนอยู่ในดินสีแดงๆ อันอุดมไปด้วย แร่เหล็กมีราคา เพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานปูนซีเมนต์ ทั ้ ง นี ้ เล่ ห ์ ก ลทางธุ ร กิ จ ขายแร่ เ หล็ ก ที ่ ใ ช้ เ ป็ น ส่ ว นผสมของปู น ซี เ มนต์ ของกลุม่ นายทุนใหญ่นอ้ ยใน อ. แก่งคอย คือการจดทะเบียนโรงงานว่า “ขุดดินเพือ่ จำหน่าย” ทำให้งา่ ยต่อการขออนุญาต นักธุรกิจหนุม่ ใหญ่ใน อ. แก่งคอยรายหนึง่ เคยคิดจะเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวน

171


หาซื้อแร่เหล็กจากชาวบ้านเพื่อส่งป้อนโรงงานปูนซีเมนต์ แต่แล้วความคิดของเขา ก็สะดุดลงเมื่อมารู้จักกับคนที่ทำงานในโรงงานปูนซีเมนต์ และพบความไม่ชอบ มาพากลเกี่ยวกับการถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งเรื่องมาตรฐานการขายแร่และเรื่อง อิทธิพลในท้องถิ่น “ธุรกิจขายแผ่นดินนะ” นักธุรกิจหนุ่มใหญ่ให้นิยาม ก่อนจะขยายความว่า แถมมันกึ่งๆ ผิดกฎหมาย เพราะมักจะมีการลุกล้ำพื้นที่ป่าสงวนด้วย จึงต้องจ่าย ส่วยสารพัดให้เจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ นักธุรกิจหนุ่มใหญ่พาลัดเลาะไปตามแนวรอยเชื่อมต่อกับเขตป่าสงวนฯ พบหลุมเหวขนาดใหญ่กว่าสนามฟุตบอลรวมกัน 5 สนาม ความลึกคาดคะเน ด้วยสายตาไม่ต่ำกว่า 20 เมตร บางพื้นที่ก็เหมือนทะลุมิติไปยังยุคไนโนเสาร์ ที่มี ก้อนหินใหญ่น้อยตะปุ่มตะป่ำไร้แผ่นดินปกคลุม ส่วนพื้นบางแห่งได้แปรสภาพ เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ “แก่งคอยก็เป็นอย่างนีแ้ หละ ข้างนอกสดใส ข้างในตะติง๊ โหน่ง ซึง่ ทีด่ นิ เหล่านี้ ก็ใช้ประโยชน์อะไรอีกไม่ได้ คงเป็นได้แค่บอ่ ขยะ” นักธุรกิจหนุม่ ใหญ่สรุป

นิคมอุตสาหรรมกลับร้าง โรงงานกลับผุดแทรกชุมชน แม้ อ. แก่งคอย จะมีนคิ มอุตสาหกรรม 1 แห่ง ทีก่ อ่ ตัง้ เมือ่ ปี 2533 บนพืน้ ที่ เกือบ 600 ไร่ แต่กลับมีโรงงานภายในนิคมเพียงรายเดียว คือโรงงานไม้อัด ด้วยเหตุผลของต้นทุนการเช่าพื้นที่ปีละ 51,800 บาทต่อไร่ หรือขายในราคาไร่ 950,000 บาท นายทุนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะกว้านซื้อที่ดินของชาวบ้าน เพื่อ ตั้งโรงงานแทน ซึ่งต้นทุนถูกกว่า ดังนั้นโรงงานนานาประเภท จึงแทรกตัวอยู่ตาม แหล่งชุมชนต่างๆ เป็นเสมือนเพื่อนบ้าน ปัจจุบนั แก่งคอยเป็นทีต่ ง้ั ของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ถงึ 22 โรงงาน เฉพาะในปี 2549 อำเภอแห่งนีม้ โี รงงานทัง้ หมด 133 แห่ง โดยมีโรงงานหลากหลาย ประเภท อาทิ โรงงานฆ่าชำแหละสัตว์ปกี โรงงานผลิตน้ำเชือ่ ม โรงงานผลิตเส้นใย สังเคราะห์ โรงงานผลิตเส้นด้านไหมปั่น โรงงานผลิตสารเคมี โรงงานผลิตตะกั่ว โรงงานใยไม้อดั เป็นต้น โรงงานต่างๆ เหล่านี้ หลายโรงงานเป็นต้นเหตุของมลพิษ ทางอากาศและทางน้ำ หรือแม้กระทัง่ กลิน่ เหม็นรำคาญ 172


ตัวอย่างเช่นที่ ต. สองคอน ทุกๆ วัน ชาวบ้านจะได้กลิน่ เหม็นคล้ายกลิน่ กาแฟ คั่วโชยมาตามลม โดยมีต้นตอมาจากปล่องควันขนาดใหญ่ของบริษัท อินโดรามา เคมีคอลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแอลกอฮอล์ จากซังข้าวโพด โดยใช้ ซ ั ง ข้ า วโพด 6,000 ตั น กรดซั ล ฟู ร ิ ก (กรดกำมะถั น ) 2,000 ตั น คัลเซียมไฮดรอกไซด์ (น้ำปูนใส) 1,550 ตัน เมนาทอล 2,500 ตัน คะตะไลต์ (สารเร่ ง ปฏิ ก ริ ย า) 10 ตั น เป็ น วั ต ถุ ด ิ บ เพื ่ อ ผลิ ต เฟอฟู ร ั ล 7,500 ตั น เฟอฟูริลแอลกอฮอล์ 16,000 ตัน กรดอะเซติก (น้ำส้มสายชู) และกรดฟอร์มิก (กรดกัดยาง) ซึ่งสารเคมีและสารที่ผลิตได้บางชนิดมีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ขอ้ กังวลของชาวบ้านก็ได้รบั การชีแ้ จงจากเจ้าหน้าทีส่ ำนักงานสิง่ แวดล้อม ภาค 7 จ. สระบุรี ว่า กลิน่ เหม็นจากโรงงานไม่มสี ารทีเ่ ป็นอันตรายต่อร่างกาย เพียง แค่เป็นกลิ่นที่สร้างความรำคาญเท่านั้น “หลายปีที่ผ่านมา ชาวบ้านและเด็กๆ ต้องสูดดมกลิ่นจากโรงงานที่ใช้ ซังข้าวโพดมาเป็นเชื้อเพลิงต้มทำแอลกอฮอล์ประจำ จนรู้สึกแสบจมูกกันถ้วนหน้า บางคนก็เวียนหัว เด็กๆ ทีเ่ กิดใหม่กเ็ ป็นภูมแิ พ้กนั มาก” พิชยั เจริญกุล ประธานชมรม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอยสะท้อนปัญหา พิชัยกล่าวอีกว่า ในกรณีกลิ่นเหม็นจากโรงงานแห่งนี้ ได้มีการร้องเรียนให้ ปรับปรุงท่อปล่อยกลิน่ แล้ว แต่สดุ ท้ายก็กลับสูส่ ภาพเดิม ขณะทีช่ าว ต. ตาลเดีย่ ว เจอปัญหาโรงงานผลิตเส้นใยทำแม่นำ้ ป่าสักเน่าเสีย และก่อมลพิษทางอากาศ แถมต้องเผชิญกับโรงงานผลิตสารเคมีทม่ี ปี ญ ั หาฝุน่ ละออง เขม่าควัน และส่งกลิน่ เหม็น ตลอดจนโรงงานผลิตเส้นใยอคริลคิ (เส้นใยสังเคราะห์) ของบริ ษ ั ท ไทยอคริ ล ิ ค ไพเบอร์ จำกั ด ซึ ่ ง มี ก ำลั ง ผลิ ต ถึ ง ปี ล ะ 14,600 ตั น โดยโรงงานยังผลิตกระแสไฟฟ้าและผลิตไอน้ำจากถ่านหินอีกด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมควบคุมพิษ แม้จะไม่ละเอียดถึงขั้นระบุ สถานการณ์ ม ลพิ ษ จากภาคอุ ต สาหกรรมใน อ. แก่ ง คอย แต่ ก ็ บ ่ ง ชี ้ ป ั ญ หา ในระดับจังหวัดว่า สระบุรีมีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 677 แห่ง มีโรงงานที่ก่อ มลพิษทางอากาศมากถึง 191 แห่ง ก่อพิษทางน้ำ 247 แห่ง และยังมีปัญหา เรือ่ งกากของเสียอันตรายอีกหลายโรงงาน

173


ภูเขาขยะ ความอับยศเหนือท้องทุง่ หลังเทือกสูงใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่าเขาไม้โค่น ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่าง ต. ห้วยแห้ง อ. แก่งคอย กับ ต. หนองปลาไหล อ. เมือง จ. สระบุรี คือสถานที่ ฝังกลบกากอุตสาหกรรมใหญ่บนเนื้อพื้นที่กว่า 200 ไร่ ที่ได้รับอนุญาตถูกต้อง ตามกฎหมาย แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า บ่อฝังกลบกากอุตสาหกรรมดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่ต้นน้ำ ที่ชาวบ้านใช้น้ำทำการเกษตรและอุปโภคบริโภค ซึ่งในช่วงฤดูฝนพื้นที่ดังกล่าว จะมีฝนตกค่อนข้างมาก เนื่องจากอยู่ใกล้พื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยาน แห่งชาติพระพุทธฉาย แถมซ้ำร้ายบริเวณพื้นที่ตั้งบ่อฝังกลบมีรอยแตกของชั้นหิน และเป็นพื้นที่เติมน้ำบาดาล ดังนั้นถ้าหากบ่อฝังกลบมีการรั่วซึม ก็จะทำให้เกิดการ ปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำใต้ดินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ “ตัง้ แต่ปี 2541 ชาวบ้านได้รบั ผลกระทบจากบ่อขยะ เพราะน้ำเสียจากบ่อขยะ ไหลลงมาท่วมเรือกสวนไร่นา ทำให้ต้นข้าวเปื่อย ปลาตายเกลื่อน แต่เขาก็อ้างว่า ปลาผิดน้ำเลยตาย ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ ล่าสุดเมษายน ทีผ่ า่ นมา (2549) ก็ยงั พบปลาในลำห้วยตายเกลือ่ น” ประวิทย์ บุญทัพ ผูใ้ หญ่บา้ นหมู่ 8 บ้านเขาไม้โค่น ต. หนองปลาไหล สะท้อนปัญหาการเข้ามาของบ่อขยะ ทีส่ ง่ ผล กระทบต่อวิถีเกษตรกรรม กลิน่ เหม็นอย่างรุนแรงโชยมาตลอดเส้นทางลำลางแคบๆ ผ่านช่องเขาไม้โค่น บ่อขยะขนาดเท่าสนามฟุตบอล 2 บ่อ สูงกว่า 5 เมตร ตัง้ ตระหง่านอยูห่ ลังเทือกเขา รอบๆ ลำลางสาธารณะใกล้ ๆ บ่ อ ฝั ง กลบขยะ มี น ้ ำ สี ส นิ ม ปนสี ด ำเจิ ่ ง นอง ซึง่ คลองลำลางเส้นนี้ ยังเชือ่ มต่อกับลำลางสาธารณะทีช่ าวบ้านใช้ทำการเกษตรอีกด้วย ย้อนกลับไปเมือ่ 1 กันยายน 2546 ชาวบ้าน ต. หนองปลาไหล ต. กุดนกเปล้า อ. เมือง และประชาชน ต. ห้วยแห้ง อ. แก่งคอย ได้ร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการ จังหวัดสระบุรี และต่อมาได้มาชุมนุมประท้วงบริเวณทางเข้าพื้นที่ฝังกลบขยะ ของบริษทั เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) จนเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการฝังกลบกาก อุตสาหกรรม ทัง้ ในเรือ่ งกลิน่ เหม็น การปนเปือ้ นของน้ำผิวดิน และน้ำประปาบาดาล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนและสัตว์ ทำให้คนเจ็บป่วย และวัวควายล้มตาย 174


นอกจากนี้ กลุ่มชาวบ้านยังได้รวมตัวกันฟ้องศาลปกครอง โดยศาลสั่งให้มี การกำหนดมาตรการหรือวิธีคุ้มครอง เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยระงับการนำกากอุตสาหกรรมเข้าไปฝังกลบในพื้นที่ เว้นแต่กากอุตสาหกรรม ทีไ่ ม่กอ่ ให้เกิดอันตราย ซึง่ ทางผูว้ า่ ราชการจังหวัดได้ใช้อำนาจตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ. โรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2535 สัง่ ให้บริษทั เบตเตอร์ฯ ถือปฏิบตั ติ ง้ั แต่วนั ที่ 3 พฤษภาคม 2547

รูจ้ กั “เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน” บริษทั เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) ตัง้ อยู่ ต. ห้วยแห้ง อ. แก่งคอย ได้รบั อนุญาตให้ประกอบกิจการรับฝังกลบวัสดุทไ่ี ม่ใช้แล้วทีไ่ ม่เป็นอันตรายจากกรมโรงงาน อุตสาหกรรม เมือ่ วันที่ 31 กรกฎาคม 2540 จัดเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 ลำดับที่ 101 มีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ โดยบริษัทเบตเตอร์ฯ ให้บริการฝังกลบกาก อุตสาหกรรมประเภทไม่เป็นอันตรายมาตัง้ แต่เดือนมกราคม 2541 และเมือ่ เดือน มีนาคม 2546 ได้ปดิ บ่อฝังกลบที่ 1 โดยมีปริมาณการฝังกลบทัง้ หมด 67,774 ตัน ปัจจุบันกำลังเปิดดำเนินการฝังกลบกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย ในบ่ อ ฝั ง กลบที ่ 2 รวมทั ้ ง ได้ ข อขยายกิ จ การทั ้ ง ในส่ ว นของการฝั ง กลบ กากของเสียที่ไม่เป็นอันตรายและกากของเสียที่เป็นอันตรายเพิ่ม โดยล่าสุด ทางบริษทั ได้รบั อนุญาติให้เปิดดำเนินการรับฝังกลบกากของเสียทีเ่ ป็นอันตรายแล้ว

175


ต่ อ มาเมื ่ อ วั น ที ่ 3 มิ ถ ุ น ายน 2548 กรมควบคุ ม มลพิ ษ ได้ ร ่ ว มประชุ ม หารือกับจังหวัดสระบุรี ซึ่งมีความเห็นให้ตั้งคณะทำงานไตรภาคี ประกอบด้วย ตัวแทนประชาชนทีไ่ ด้รบั ความเดือดร้อน ส่วนราชการทีเ่ กีย่ วข้อง ทัง้ ในระดับจังหวัด และส่วนกลาง รวมทั้งสถาบันการศึกษา เพื่อดำเนินการตรวจสอบว่าบริษัท เบตเตอร์ฯ มีการนำกากของเสียอันตรายเข้ามาฝังกลบหรือไม่ และพิจารณา แก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากประชาชนยังร้องเรียนว่าทางบริษัทนำกากของเสีย อันตรายเข้ามาฝังกลบ แต่ภายหลังจังหวัดสระบุรแี จ้งว่า กรณีปญ ั หานีก้ ำลังอยูร่ ะหว่างการพิจารณา ของศาลปกครองกลาง เห็นควรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ท ี่เกี่ยวข้องดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ไปก่อน นั่นคือผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีอนุญาติให้ดำเนินการ ฝังกลบกากอุตสาหกรรมตามการขออนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมายไปก่อนหรือ อีกนัยหนึง่ คืออนุญาตให้ดำเนินการฝังกลบกากอุตสาหกรรมทีไ่ ม่เป็นพิษไปก่อนนัน่ เอง หลังจากเกิดข้อพิพาทรุนแรงระหว่างชาวบ้านกับผู้ประกอบการ กรมควบคุม มลพิษจึงส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำตั้งแต่ตุลาคม 2546 จนถึงปัจจุบัน ระบุว่ามีการปนเปื้อนโลหะหนักในบริเวณที่ฝังกลบ แต่ยังไม่กระจาย ออกไปนอกพื้นที่ โดยการปนเปื้อนสารโลหะหนักที่เคยตรวจพบนั้น สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ได้เคยแถลงผลการเก็บตัวอย่างน้ำชะขยะจากหลุม ขยะบ่อที่ 1 พบว่า มีปริมาณนิเกิล 2,042 ไมโครกรัมต่อลิตร ซึ่งเกินกว่าค่า มาตรฐานที่ 1,000 ไมโครกรัมต่อลิตร มีโครเมียม 666 ไมโครกรัมต่อลิตร จากค่ามาตรฐาน 250 ไมโครกรัมต่อลิตร ส่วนผลการตรวจสอบน้ำจากลำห้วยที่ชาวบ้านใช้อุปโภคทั้งหมด 8 ลำห้วย พบว่าในลำห้วยหนองน้ำเขียว ซึ่งห่างจากหลุมฝั่งกลบขยะเพียง 2 กิโลเมตร มีปริมาณนิเกิลสูง 245 ไมโครกรัมต่อลิตร และโครเมียม 61 ไมโครกรัมต่อลิตร นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่ามีการปนเปือ้ นของสารอาร์เซนิกและตะกัว่ อีกด้วย ดังนัน้ ถ้ายัง ไม่ปรับปรุงแก้ไขหลุมจัดเก็บขยะด้วยการใช้วสั ดุรองพืน้ ก็มโี อกาสทีโ่ ลหะหนักต่างๆ อาจจะแพร่กระจายขยายมาสู่แหล่งน้ำชาวบ้านได้

176


พิษโลหะหนักบางชนิด ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงอันตราย จากสารโลหะหนักต่างๆ เหล่านีว้ า่ นิเกิล อาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ซึง่ นิเกิลใช้ในการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ผลิตเหรียญกษาปณ์ แบตเตอรี่ สารเร่งปฏิกิริยาและอัลลอยด์ของโลหะ เช่น สแตนเลสสตีล กิจการเกีย่ วกับยานยนต์ เครือ่ งจักรหรือเครือ่ งกล กิจการเกีย่ วกับ ปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี โครเมียม การสูดหายใจเอาฝุน่ ละอองหรือควันของกรดโครมิก ทำให้ระบบ ทางเดินหายใจส่วนต้นบริเวณจมูก โดยเฉพาะแผ่นกั้นระหว่างจมูกซึ่งเป็น กระดูกอ่อน ถูกทำลาย และทำให้เป็นมะเร็งที่ปอด ซึ่งโครเมียมใช้ผสมกับโลหะ ทำให้เกิดความแข็งแรง มีความเหนียวทนทาน ทำให้โลหะไม่เป็นสนิม ทนต่อการ ผุ ก ร่ อ น โลหะโครเมี ย มบริ ส ุ ท ธิ ์ ใ ช้ ม ากในอุ ต สาหกรรมชุ บ โลหะด้ ว ยไฟฟ้ า สารประกอบของโครเมต ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา อุตสาหกรรม ฟอกหนัง การย้อมสีขนสัตว์ อาร์เซนิก หรือสารหนู เป็นสารก่อมะเร็งผิวหนังและปอด และอาจมีผลต่อ ทารก ในระยะ 3 เดือนแรกของการตัง้ ครรภ์ ซึง่ อาร์เซนิกใช้ผสมกับโลหะหนักเพือ่ การผลิ ต ลู ก ปื น แผ่ น ตะกั ่ ว ของหม้ อ แบตเตอรี ่ และใช้ ใ นการบั ด กรี ใช้ ใ น อุตสาหกรรมผลิตสารกำจัดวัชพืชและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ตะกั่ว ถ้ามีการสะสมของสารตะกั่ว ก่อให้เกิดโรคต่างๆ หลายชนิด และยังเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ซึ่งตะกั่วใช้งานอย่างกว้างขวาง ในวงการอุตสาหกรรม ทั้งกิจการเกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง กิจการเกี่ยวกับโลหะหรือแร่ กิจการเกี่ยวกับ ยานยนต์ เครือ่ งจักรหรือเครือ่ งกล และกิจการเกีย่ วกับการบริการ

ต้ น เดื อ นเมษายน 2549 หลั ง สายฝนโปรยปราย และน้ ำ หลาก... ปลาในหนองตัวเล็กตัวน้อยก็กลับมาลอยตายเกลื่อนอีกครั้ง เหตุการณ์ดังกล่าว ได้ ร ั บ การชี ้ แ จงจากนั ก วิ ช าการสิ ่ ง แวดล้ อ มว่ า การตายของปลาเหล่ า นั ้ น เป็นเพราะว่าปลาผิดน้ำ! แต่ชาวบ้านยังคงยืนยันว่า ในอดีตก่อนที่จะมีโรงงาน ฝังกลบมาตั้ง ไม่เคยประสบเหตุการณ์ปลาตายเกลื่อนเช่นนี้มาก่อน

177


เฒ่ารายหนึง่ ใช้ไม้เท้าค้ำยันร่างกายทีร่ ว่ งโรยออกมายืนดูเจ้าหน้าทีข่ องบริษทั รับกำจัดขยะกำลังขุดบ่อน้ำขนาดใหญ่ใกล้ผืนนาของพ่อเฒ่า เพื่อกักกั้นน้ำเสีย ทีไ่ หลมาจากเทือกเขาไม่ให้ทว่ มไร่นาของชาวบ้าน ผูเ้ ฒ่ามิได้คดั ค้านในสิง่ ทีเ่ จ้าหน้าที่ ของบริษัททำ แต่ผู้เฒ่าไม่เชื่อว่ามันจะช่วยป้องกันน้ำเสียที่จะบ่ามาท่วมนาข้าวได้ ผู้เฒ่าทอดสายตาที่ฝ้ามัวไปยังแปลงนาข้าวรกร้าง ซึ่งทำนาไม่ได้มาหลายปี ก่อนถอนหายใจเสมือนกับปลงๆ กับบ่อฝังกลบขยะทีไ่ ด้ฝงั กลบวิถชี วี ติ ชาวนาไปแล้ว

โรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ฉากใหม่ของปัญหา “...เขากำลังซือ้ พวกเรา พวกเราต้องช่วยกันหาให้พบว่า เขาจะให้อะไรเราอีก เมื่อตั้งโรงไฟฟ้าแล้ว ให้แสงสว่างทั้งคืนจนพืชผลไม่ออกลูกออกผล ให้เสียงดัง ให้ฝนุ่ ละอองในอากาศ ให้ไอน้ำและความชืน้ มหาศาล ให้กา๊ ชพิษ ให้ฝนกรด ให้นำ้ เสีย ให้น้ำร้อนลงแม่น้ำป่าสัก... ...แล้วเขามาเอาอะไรจากเราไปบ้าง เอาน้ำในแม่นำ้ ป่าสักไปใช้วนั ละ 54,400 ลูกบาศก์เมตร เอาอากาศบริสทุ ธิ์ เอาทรัพยากรธรรมชาติ (ก๊าชธรรมชาติวนั ละ 260 ล้านลูกบาศก์เมตร)” ลงชือ่ “สมัชชาประชาชนเพือ่ การตรวจสอบ ผลกระทบจากการสร้างโรงปัน่ ไฟฟ้า” ใบปลิวคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุดแรกถูกแจกจ่ายให้ชาวบ้านที่มา จับจ่ายซื้อของในตลาดสดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2547 และเป็นเสมือนปฐมบท ของสงครามใบปลิวที่ทั้งฝ่ายต่อต้านและฝ่ายสนับสนุนโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ใช้เป็น เวทีโจมตีกันอย่างดุเดือดตลอดทั้งปี ในด้ า นของฝ่ า ยคั ด ค้ า นโครงการ ชาวบ้ า นในเขตเทศบาลแก่ ง คอย ได้รวมตัวและหาแนวร่วมเพื่อต่อต้านโรงไฟฟ้าในนามชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก่งคอย โดยมีการศึกษากระบวนการต่อสูข้ องชาวบ้านทีบ่ อ่ นอก-หินกรูด ทีส่ ามารถ คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินได้จนสำเร็จ ตลอดจนค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับผลกระทบ จากโรงไฟฟ้าทีอ่ าจจะเกิดขึน้ อาทิ ประเด็นการแย่งชิงน้ำจากภาคเกษตร มลพิษทาง อากาศและเสียง ประเด็นผลประโยชน์ทบั ซ้อนของธุรกิจพลังงานฯลฯ นัน่ เพียงเพราะ 178


พวกเขารู้สึกว่าได้แบกรับปัญหามลพิษที่มีอยู่เดิมอย่างเต็มกลั้นแล้ว ทั้งจาก โรงงานปูนซีเมนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม ในขณะทีฝ่ า่ ยมวลชนสัมพันธ์ของ โรงไฟฟ้าฯ ก็เร่งทำงานมวลชนกันอย่างหนัก มีการออกจุลสารเกี่ยวกับการเข้ามาของโรงไฟฟ้า การใช้พลังงานสะอาดอย่าง ก๊าซธรรมชาติ รวมถึงอ้างความจำเป็นของการสร้างโรงไฟฟ้า เพราะประเทศไทย ต้องมีไฟฟ้าสำรองไว้ใช้ในอนาคต

ด้วยเหตุนี้ ข้อมูลจากรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ของโครงการโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 จึงถูกนำมาตีแผ่ วิเคราะห์ และสรุปถึงผล กระทบในรายประเด็นเลยทีเดียว เช่น รายงานอีไอเอ หน้า 1 ระบุว่า “ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการใช้ พลังงานสะอาด คือก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ” แต่ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอยกลับมองว่า การเผาไหม้เชื้อเพลิง จากฟอสซิล ไม่วา่ จะเป็นถ่านหิน น้ำมัน หรือว่าก๊าซธรรมชาติกต็ าม ล้วนก่อให้เกิด มลพิษได้ทง้ั สิน้ แม้การเผาไหม้กา๊ ซธรรมชาติจะก่อให้เกิดฝุน่ ละอองแขวนลอยและก๊าซ

179


ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณทีต่ ำ่ กว่าการเผาไหม้นำ้ มันเตาและถ่านหิน หากแต่การใช้ ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงนั้น จะปล่อยมลพิษที่สำคัญคือก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าชไนโตรเจนไดออกไซด์ในปริมาณที่สูงกว่าการใช้น้ำมัน ทั้งนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและการแปรปรวน ของสภาพดินฟ้าอากาศ อีกทั้งถ้ามีในปริมาณที่เข้มข้นมากๆ ก็จะทำให้เกิดอาการ วิ ง เวี ย นและปวดศี ร ษะ ส่ ว นก๊ า ซไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็ น ก๊ า ซที ่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ฝนกรดได้เช่นเดียวกับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึง่ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย พืชผลทางการเกษตร และสิง่ แวดล้อมอย่างใหญ่หลวง

รูจ้ กั โรงไฟฟ้าแก่งคอย โครงการโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 เกิดขึน้ ภายใต้โครงการผูผ้ ลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) ตามนโยบายของรัฐ เพื่อรักษาเสถียรภาพและสนองความต้องการใช้ไฟฟ้า ตามแผนในอนาคต และลดการลงทุนและการกูเ้ งินของรัฐ แต่เดิมมีกำลังการผลิต 734 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 18,000 - 32,000 ล้านบาท ใช้กา๊ ชธรรมชาติเป็นเชือ้ เพลิง โดยจะขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมีบริษัทกัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด ในเครือบริษัทกัลฟ์อิเล็กตริก จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาวันที่ 24 สิงหาคม 2547 มติคณะรัฐมตรีเห็นชอบแผนการผลิตไฟฟ้า ของประเทศ ตามทีค่ ณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเสนอให้ทำการติดตัง้ เครือ่ งกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 2 ชุด ตามโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ซึง่ มี กำลังการผลิตชุดละ 734 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิต 1,468 เมกะวัตต์ บนเนือ้ ที่ 450 ไร่ ณ ต. บ้านป่า อ. แก่งคอย จ. สระบุรี โดยผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน ร่วม มีการใช้น้ำจากแม่น้ำป่าสักเป็นวัตถุดิบ กรณีใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง จะใช้นำ้ วันละ 44,800 ลูกบาศก์เมตร และถ้าใช้นำ้ มันดีเซล จะใช้นำ้ วันละ 54,400 ลูกบาศก์เมตร อนึง่ แก่งคอยยังเป็นทีต่ ง้ั ของโรงโรงไฟฟ้าแก่งคอย 1 ตัง้ อยูท่ ่ี ต. ตาลเดีย่ ว อ. แก่งคอย จ. สระบุรี ซึง่ เป็นเจ้าของเดียวกับโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 มีกำลังการผลิต กระแสไฟฟ้า 810 ล้านกิโลวัตต์ตอ่ ชัว่ โมง และผลิตไอน้ำ 140,000 ตันต่อปี โดยใช้ ก๊าชธรรมชาติ 6,387.5 ล้านลูกบาศก์ฟตุ ต่อปี ใช้นำ้ 1,923,915 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

180


สำหรับประเด็นการแย่งชิงน้ำ ในรายงานอีไอเอระบุวา่ ทางโรงไฟฟ้าจะมีการ สูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักในอัตรากว่า 50,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยสถานี สูบน้ำตัง้ อยูร่ มิ แม่นำ้ ป่าสัก เขต ต. บ้านป่า ต่อประเด็นดังกล่าว กลุม่ คัดค้านเกรงว่า จะทำให้เกิดปัญหาแย่งชิงน้ำ เนือ่ งจากปัจจุบนั ปริมาณน้ำของแม่นำ้ ป่าสักในหน้าแล้ง ก็มีไม่เพียงพอสำหรับการเกษตรอยู่แล้ว และชาวบ้านก็ถูกห้ามทำนาปรังในทุกปี ในขณะที ่ ป ระเด็ น น้ ำ ทิ ้ ง จะพบว่ า คุ ณ ภาพน้ ำ ป่ า สั ก ในวั น นี ้ ก ็ เ ลวร้ า ยอยู ่ แ ล้ ว ฉะนั้นน้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้าจึงอาจทำให้สถานการณ์ปญ ั หารุนแรงขึ้น นอกจากนี้ สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ยังอยู่ใกล้พื้นที่ชุมชน โดยมี ระยะห่างเพียง 2 กิโลเมตร ทำให้มีความวิตกถึงความปลอดภัยจากอุบัติภัยต่างๆ แต่แล้วเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างกลุม่ ชมรมอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อมแก่งคอยกับ โรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ก็บานปลายมากยิง่ ขึน้ เมือ่ แกนนำคัดค้านโรงไฟฟ้าถูกตำรวจ จับกุมดำเนินคดี ข้อหาร่วมกันแพร่หรือไขข่าวที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับอันตราย จากโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 โดยมีเจตนาที่จะทำลายชื่อเสียงหรือความไว้วางใจของ สาธารณชนต่อการดำเนินกิจการของโรงไฟฟ้าฯ ด้วยการประกาศโฆษณาตามมาตรา 101 ของ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิง่ แวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เมือ่ กฎหมายสิง่ แวดล้อมถูกนำมาใช้เป็นเครือ่ งมือในการลดกระแสกลุม่ ทีต่ อ่ ต้าน โรงไฟฟ้าฯ ซึง่ ผลพวงจากกฎหมายสิง่ แวดล้อมทำให้แกนนำชมรมอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม แก่งคอย 6 คนถูกจับดำเนินคดี และส่งผลสะเทือนต่อชาวบ้านหลายๆ คนที่เริ่ม ขวัญเสียและหมดกำลังใจจะต่อสู้ อย่างไรก็ดี ต่อกรณีนี้ การเป็นประเด็นถกเถียง ในเวลาต่อมาว่าการนำข้อกฎหมายดังกล่าวมาใช้นั้น ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เนือ่ งจากโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ยังอยูใ่ นระหว่างการก่อสร้าง มิใช่แหล่งกำเนิดมลพิษ ตามเจตนารมย์ของมาตรานี้ อีกทัง้ หากประชาชนต้องถูกจับเพราะการวิพากษ์วจิ ารณ์ โครงการที่กำลังจะเกิดขึ้น และอาจก่อผลกระทบต่อท้องถิ่นของตน ซึ่งถือเป็นการ ใช้สิทธิที่ได้รับการรองรับโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ปัจจุบันคดีนี้ยังไม่ส่งฟ้องศาล โดยกำลังอยู่ในขั้นตอนรายงานตัวต่อพนักงาน อัยการจังหวัด เหตุการณ์ความรุนแรงมาปะทุอีกครั้งเมื่อกลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าไม่ยอมให้มี การวางท่ อ น้ ำ ทิ ้ ง ลงแม่ น ้ ำ ป่ า สั ก จนถึ ง ขั ้ น ทะเลาะวิ ว าทกลายเป็ น คดี ค วาม

181


ขึ้นโรงพักกันอีกรอบ แต่ในท้ายที่สุด ชาวบ้านก็ไม่อาจทัดทานโครงการไว้ได้ เพราะปัจจุบนั ท่อน้ำทิง้ ความยาวร่วม 10 กิโลเมตรสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมๆ กับท่อลำเลียงก๊าชธรรมชาติทน่ี ำเชือ้ เพลิงมาป้อนให้กบั โรงไฟฟ้านัน่ เอง “เราสูเ้ ขาไม่ไหว ก็ไม่สแู้ ล้ว พยายามทำใจให้สงบ ป้าต้องขายของ” จุก๊ จันทุมมี อายุ 55 ปี สะท้อนความรูส้ กึ แม้วา่ ครัง้ หนึง่ เธอเคยนอนขวางรถแบ็คโฮทีจ่ ะมาขุดดิน หน้าบ้านเพื่อฝังท่อน้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้า แต่สุดท้ายก็ต้องจำใจยอมรับเงินชดเชย ค่าวางท่อน้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้าเพียงน้อยนิด ป้าจุ๊กซึ่งเปิดร้านขายของชำอยู่ริมถนน ต. สองคอน ใน อ. แก่งคอย มองว่าโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ได้เข้ามาสร้างความแตกแยกให้คนในชุมชนแล้ว “น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ เราพูดอะไรมากไปคนก็เกลียดเรา ดูซิแนวท่อที่ขุด ทำให้ ด ิ น เป็ น หลุ ม เป็ น บ่ อ ยิ ่ ง เวลาฝนตก คนจะเดิ น เข้ า มาซื ้ อ ของก็ ล ำบาก” ป้าจุ๊กชี้ให้ดูแนวท่อที่พาดผ่านหน้าบ้าน เช่นเดียวกับ เตียน ริดจนา อายุ 45 ปี ชาวบ้านในตำบลเดียวกัน ซึง่ ได้รบั ผลกระทบจากท่อน้ำทิ้งของโรงไฟฟ้าไม่แตกต่างกัน แม้ว่าจะไม่ยอมให้ท่อน้ำทิ้ง ของโรงไฟฟ้าผ่านอย่างเด็ดขาด จนทางโรงไฟฟ้าต้องใช้วิธีเจาะลอดใต้ดิน แต่ก็ยังมิวายได้รับผลกระทบจากการวางท่อน้ำทิ้งของโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ทำให้บ้านของเธอแตกร้าวเกือบทั้งหลัง เพราะเกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ที่แรงดันน้ำจากเครื่องจักรที่ใช้ขุดท่อบังเอิญไปโผล่ข้างๆ บ้าน จนทำให้ผนังบ้าน มีรอยร้าวจากพื้นดินจนถึงหลังคา แม้ว่าจะได้รับการชดเชยค่าเสีย แต่ก็มิมากพอ จะชดเชยความรูส้ กึ ทีส่ ญ ู เสียไปได้ ขณะที ่ โ รงไฟฟ้ า ฯ กลั บ มองการเคลื ่ อ นไหวต่ อ ต้ า นของชมรมอนุ ร ั ก ษ์ สิง่ แวดล้อมแก่งคอยเป็นแค่เรือ่ งการเมืองท้องถิน่ “ทั ้ ง หมดคื อ การเมื อ ง เราไปอยู ่ ว ั น ที ่ เ ขาขั ด แย้ ง ทางการเมื อ งอยู ่ แ ล้ ว เราทำประชาคมคนเก้าตำบล เป็นเสมือนยันต์แห่งความชอบธรรม” ธีระศักดิ์ จตุรพรประสิทธิ์ ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั กัลฟ์อเิ ล็คตริก จำกัด (มหาชน) กล่าว ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 กำหนดเดินเครื่องก่อสร้างโรงไฟฟ้าอย่างเต็มสูบ โดยโรงไฟฟ้ า หน่ ว ยที ่ 1 ดำเนิ น การก่ อ สร้ า งเกื อ บ 100 เปอร์ เ ซ็ น ต์ แ ล้ ว

182


จะเริ่มจ่ายไฟเข้าสู่ระบบในวันที่ 1 มีนาคม 2550 ส่วนหน่วยที่ 2 จะจ่ายไฟ เข้าสู่ระบบวันที่ 1 มีนาคม 2551 โดยจะเริ่มทดลองเดินเครื่องกันยายน 2549 เป็นเวลา 6 เดือน เพือ่ ทดสอบความปลอดภัยอย่างเข้มงวด “ส่วนการใช้น้ำ เราไม่ได้ใช้น้ำเหมือนโรงงานอุตสาหกรรม แต่เราใช้น้ำ เพือ่ ลดอุณหภูมิ โดยสูบน้ำมาทำน้ำประปา และน้ำปราศจากแร่ธาตุ เพือ่ ใช้ในหม้อไอน้ำ และมีการตรวจสอบมาตรฐานของน้ำทุกครั้งก่อนปล่อยทิ้งลงแม่น้ำป่าสัก” “แม้ว่าน้ำทิ้งไม่มีสิ่งเจือปน แต่ไม่อาจแน่ใจว่า ถ้าเกิดพืชผลทางการเกษตร เสียหายจากปัจจัยอื่นๆ เราอาจตกเป็นจำเลยคนแรก เราจึงไม่เสี่ยงที่จะนำน้ำ ไปใช้เพื่อการเกษตร เช่นเดียวกับการลงทุนสร้างท่อน้ำทิ้งยาวร่วมสิบกิโลเมตร แทนทีจ่ ะทิง้ น้ำจุดเดียวกับโรงงานอุตสาหกรรม เพราะไม่อยากตกเป็นจำเลยสังคม” ธีระศักดิ์ยังมั่นใจว่า บทเรียนจากการคัดค้านโรงไฟฟ้าที่บ่อนอก มีส่วนทำให้ ภาคธุรกิจใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิตรวจสอบ โรงไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชัว่ โมง “การตรวจสอบเรายี่สิบสี่ชั่วโมง เป็นระเบียบที่คณะกรรมการชุมชนยกร่าง ขึ้นมา เพื่อตรวจสอบการการทำงานของโรงไฟฟ้า และปีหน้าก็จะมีการสรรหา คณะกรรมการชุมชนชุดใหม่ ใครจะมาสมัครก็ได้ แต่ไม่รวู้ า่ ชาวบ้านจะเลือกหรือเปล่า” ธีระศักดิ์กล่าวในเชิงเสียดสีกลุ่มผู้คัดค้าน อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงที่ว่าจะเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้าไปตรวจสอบการ ทำงานของโรงไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง ในสภาพความเป็นจริงคณะกรรมการ ชุ ม ชนนั ้ น ก็ เ กิ ด จากการจั ด ตั ้ ง ของที ม มวลชนสั ม พั น ธ์ ข องโรงไฟฟ้ า ฯ นั ่ น เอง ไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งอันที่จริงสมควรผนวกเอาเสียงของ ผู้คัดค้านเป็นส่วนหนึ่งด้วย ดังนั้นแล้วคณะกรรมการชุมชนที่ว่าจะกล้าเข้าไป ตรวจสอบโรงไฟฟ้าตลอด 24 ชัว่ โมงหรือไม่

ภาพฝันวันวานทีย่ งั เหลืออยู่ “ถ้ำโพธิสัตย์” เป็นถ้ำประวัติศาสตร์ที่ปรากฏรอยจารึกสมัยทาวารวดี นั ่ น คื อ ภาพเขี ย นบนกำแพงถ้ ำ เกี ่ ย วกั บ พระพุ ท ธศาสนาที ่ บ รรจงวาดลวดลาย อ่อนช้อยลงบนผนังถ้ำทีส่ งู เกือบ 3 เมตร 183


เมื ่ อ เข้ า สู ่ บ ริ เ วณวั ด จะพบกั บ ความร่ ม รื ่ น ตามแบบฉบั บ วั ด ป่ า ทั ่ ว ไป ฝูงลิงทโมนนับร้อยๆ ตัวที่ทนความแห้งแล้งจากยอดเขาไม่ไหว จึงต้องลงมา ขอเศษอาหารยังพื้นราบ ที่นี่อาจเป็นภูเขาหินปูนหนึ่งในจำนวนไม่กี่ลูกของแก่งคอย ที่รอดพ้นเงื้อมมือนายทุน เพราะภูเขาลูกนี้เป็นที่ตั้งของวัดนั่นเอง ดังนั้นภูเขาลูกนี้ จึงยังพอเป็นแหล่งพักพิงของสัตว์นอ้ ยใหญ่ ขณะทีภ่ เู ขาหินปูนลูกอืน่ ๆ ถูกระเบิดไปแล้ว ครั้นลัดเลาะบันไดปูนที่แล้งผู้คนมานาน เส้นทางคดเคี้ยวสู่ยอดเขาที่ต้อง ย่ ำ เดิ น กว่ า 1 ชั ่ ว โมง เพื ่ อ ชมซากประวั ต ิ ศ าสตร์ ตลอดจนหิ น งอกหิ น ย้ อ ย ที่ในอดีตล่ำลือกันว่าสวยงามนักหนา แต่ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้ากลับเห็นเพียง คราบดำๆ เกาะติดหยดหิน “แต่ก่อนถ้ำนี้เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก คนจากต่างจังหวัด มาเที่ยวชมกันเยอะมาก” พี่เบิ้ม ไกด์จำเป็นจากชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่งคอย เอ่ยถึงความทรงจำเมื่อ 20 ก่อน แต่น้ำเสียงแฝงแววตื่นเต้นก็ต้องเจื่อนลง เพราะภาพที่เห็นเบื้องหน้าแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเมื่อครั้งอดีต “ดูซ!ิ หินตายหมดแล้ว” พีเ่ บิม้ ชีใ้ ห้ดหู นิ งอกทีม่ รี อยคราบดำๆ และปราศจาก ความชุ่มชื่นของน้ำที่จะมาคอยหล่อเลี้ยงเพื่อเป็นหินงอกต่อไป กลิ่นอับๆ ของมูลค้างค้าวภายในถ้ำโชยมาอย่างเจือจาง ค้างคาวตัวเล็กๆ ยังเกาะเกี่ยวผนังและเพดานถ้ำอย่างเงียบเหงา เพราะประชากรของพวกมัน กำลังเหลือน้อยเต็มทีแล้ว

184


มิรู้ว่า...จะเรียกว่าความรื่นรมย์หรือขมขื่นกันแน่ ที่ปลีกหนีอากาศร้อน ระอุจากพืน้ ล่าง และภาพการพัฒนาอย่างไร้ทศิ ทาง แต่กลับต้องมาพบกับธรรมชาติ ทีใ่ กล้จะล่มสลาย “วัดเขาพระ” ...อีกจุดหมายหนึ่งที่อยากดั้งด้นไปเพื่อเห็นเมืองแก่งคอย ทั้งอำเภอ เนื่องจากวัดเขาพระจะอยู่บนภูเขาหินปูนที่ใกล้ อ. แก่งคอยมากที่สุด และยังอยูใ่ กล้กบั สถานทีต่ ง้ั โรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ด้วย เกือบครึง่ ชัว่ โมงทีไ่ ต่ระดับความสูงเหนือน้ำทะเลขึน้ มา ทอดสายตาออกไปไกล สิง่ ทีเ่ ห็นคือเมืองในหมอกควัน เห็นโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 เห็นตึกอาคารและโรงงาน อุ ต สาหกรรมกระจั ด กระจายอย่ า งไม่ เ ป็ น ระเบี ย บ มองเห็ น ภู เ ขาแหว่ ง วิ ่ น รายล้ อ มตั ว เมื อ ง ภาพฉากการพั ฒ นาทั ้ ง ด้ า นอุ ต สาหกรรมและพลั ง งาน ประเดประดังเข้ามาในความคิด...สิ่งนี้หรือที่เรียกว่าผลได้จากการพัฒนา

185


บรรณานุกรรม กรมควบคุมมลพิษ. เรือ่ งร้องเรียน อ. แก่งคอย จ. สระบุรี ปี 2536-2549 และปัญหามลพิษ จากบ่อฝังกลบกากอุตสาหกรรมของบริษทั เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน). อัดสำเนา ชมรมอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อมแก่งคอย. (2547). วารสารชมรมอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อมแก่งคอย. บริษทั กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชัน่ จำกัด. โครงการศึกษาโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2. อัดสำเนา ยุทธนา วรุณปิติกุล . (2549). รายงานสถานการณ์ความมั่นคงของฐานทรัพยากร ภาคปฎิบัติของรัฐธรรมนูญ และข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อคณะกรรมาธิการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา. ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพชีวิต กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อม. (2547). ฐานข้อมูลเชิงพืน้ ทีด่ า้ นทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมจังหวัดสระบุร.ี กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษทั โอเชีย่ น บลูพรินทร์ จำกัด สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์. (2548). สถานการณ์สง่ิ แวดล้อมไทย 2548. มูลนิธโิ ลกสีเขียว. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2547). การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านฝุ่นละอองต่อสุขภาพ อนามัยของประชาชนบริเวณอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุร.ี อัดสำเนา สำนักงานสิง่ แวดล้อมภาค 7 สำนักงานปลัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. รายงานสถานการณ์คณ ุ ภาพน้ำปี 48. สำนักอุตสาหรรมจังหวัดสระบุรี. (2549). ทำเนียบโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี อ.แก่งคอย .อัดสำเนา อภิณพ จันทร์วทิ นั . (2547). ตำนานเมืองแก่งคอย. สระบุร.ี www.boi.go.th www.ieat.go.th www.nesdb.go.th www.pcd.go.th

สัมภาษณ์ ธีระศักดิ์ จตุรพรประสิทธิ์ ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บ. กัลฟ์อเิ ล็คตริก จำกัด (มหาชน) ประวิทย์ บุญทัพ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านเขาไม้โฃ่น ต. หนองปลาไหล ศศิน เฉลิมลาภ รองประธานมูลนิธสิ บื นาคะเสถียร รศ.น.พ.อภิณพ จันทร์วทิ นั นายกเทศมนตรีแก่งคอย สมาชิกชมรมอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อมแก่งคอยและชาวบ้านในพืน้ ที่

186


สินค้าไทยเกรดเอ คุณภาพชีวติ แรงงานไทยเกรดเลว ผูเ้ ขียน กุลธิดา สามะพุทธิ

187


“คนที่ซื้อวอลเล่ย์บอลชายหาดของมิกาซ่า ไปเล่น คงไม่รู้ว่าคนงานที่เย็บลูกบอลนี้ โดนกดขี่ขนาดไหน...ทุกครั้งที่ดูถ่ายทอด การแข่งขันวอลเล่ยบ์ อลชายหาด หนูไม่รวู้ า่ จะสนุกหรือเศร้าดี” สำราญ โชติ คนงานบริษัทมิกาซ่า อินดัสตรีย์ ไทยแลนด์ จำกัด นิคมอุตสาหกรรม อีสต์เทิรน์ ซีบอร์ด จ. ระยอง “เจ้ า ของรถยนต์ ค งไม่ ร ู ้ ห รอกว่ า คนงานที ่ ผ ลิ ต แผงวงจร PCB ควบคุ ม การทำงานของรถที่เขาขับนั้น ต้องเสี่ยง ชีวติ อยูก่ บั กรดสารพัดชนิด ต้องดมกลิน่ สาร เคมีในโรงงานทั้งวัน ยืนทำงานในโรงงานที่ แสนจะร้อนอบอ้าว...เหมือนกับอยูใ่ นนรก” สมหมาย สว่างอารมณ์ คนงานบริษทั ซีเคแอล อิเล็คทรอนิคส์ จำกัด นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ. อยุธยา

188


เมษายน 2549 ประมาณสองเดือนก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกจะเริม่ ต้นขึน้ ผู้เขียนได้อ่านข่าวชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับโรงงานผลิตลูกฟุตบอลยี่ห้อ Adidas รุ่น “Teamgeist” (Team Spirit) ซึ่งเป็นลูกฟุตบอลที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก อย่างเป็นทางการ มีภาพประกอบข่าวเป็นรูปคนงานหญิงวัยรุ่นหอบลูกฟุตบอล นับสิบลูกเอาไว้ในอ้อมแขน ลูกฟุตบอลสีขาวมีลวดลายสีทองขลิบดำสะท้อนแสงไฟเงางาม โรงงานนีเ้ ป็นของบริษทั มอลเท่น ไทยแลนด์ จำกัด - บริษทั ร่วมทุนระหว่าง เครือสหพัฒน์และมอลเท่น กรุป๊ ของญีป่ นุ่ ตัง้ อยูท่ ่ี อ. ศรีราชา จ. ชลบุรี มีคนงาน ประมาณ 1,000 คน ประมาณ 150 คนทีอ่ ยูใ่ นส่วนการผลิตลูกฟุตบอล Teamgeist ลูกฟุตบอลรุ่นพิเศษนี้ราคา 138 เหรียญสหรัฐ หรือราว 5,200 บาท ซึง่ คิดเป็นเงินเท่าๆ กับค่าแรงทีค่ นงานผลิตลูกฟุตบอลได้รบั ทัง้ เดือน ข่าวชิน้ นัน้ บอกด้วยว่า “มอลเท่นก็เหมือนบริษทั อืน่ ๆ ในญีป่ นุ่ ทีย่ า้ ยโรงงานผลิต สินค้ามาที่ประเทศไทยในช่วงปี 1989 เพื่อหนีภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงลิบลิ่ว ในประเทศของตน” เมื่อการแข่งขันฟุตบอลโลกเริ่มต้นขึ้นในเดือนกรกฎาคม รายการข่าวกีฬา และผูบ้ รรยายฟุตบอลกล่าวถึง Teamgeist อีกเป็นระยะๆ ตอกย้ำว่า เป็น “ความภาค ภูมิใจของคนไทย” และทำให้เราได้มีส่วนร่วมกับเกมที่มีคนดูนับพันล้านคนทั่วโลก แม้วา่ ทีมฟุตบอลไทยจะไม่ได้เข้ารอบก็ตาม แต่การที่แรงงานไทยต้องตรากตรำทำงานตัดแผ่นหนัง เย็บลูกบอล ติดกาว สกรีนลวดลาย ประทับตรา “Adidas” ฯลฯ เพื่อผลิตลูกฟุตบอลให้ทีมระดับโลก เตะกันสนุกสนานนี้ เป็นเรือ่ งทีน่ า่ ยินดีและภาคภูมใิ จจริง หรือเป็นเรือ่ งน่าเศร้ากันแน่? เรือ่ งราวของลูกฟุตบอลโลกฝีมอื สาวโรงงานไทยนี้ ทำให้ผเู้ ขียนนึกถึงชะตากรรม ของคนงานอีกหลายล้านคนที่ทำงานอยู่ในโรงงานผลิตสินค้าแบรนด์เนมชื่อดัง ราคาแพงลิบลิว่ ตัง้ แต่รถยนต์ เครือ่ งกีฬา เครือ่ งไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ เครือ่ งสำอาง ไปจนกระทัง่ ถึงชุดชัน้ ใน ขณะทีพ่ วกเขาและเธอได้คา่ แรงเพียงน้อยนิดถึงขนาดต้อง “อดมื้อกินมื้อ” ในบางเวลา อีกทั้งยังต้องทำงานอยู่กับวัตถุอันตราย ภายในห้อง ที่ร้อนอบอ้าวและอบอวลไปด้วยกลิ่นเหม็นฉุนของสารเคมี ถูกบังคับให้ทำล่วงเวลา (โอที) จนดึกดืน่ และต้องเสีย่ งกับอุบตั เิ หตุหลากหลายรูปแบบ

189


ประเด็นว่าด้วยสิง่ แวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานไทยนัน้ ดูเหมือนจะได้รับความสนใจจริงๆ เพียงไม่กี่ครั้ง คือหลังจากเหตุการณ์ที่คนงาน 188 คน ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นผูห้ ญิงวัยรุน่ เสียชีวติ ในเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานผลิตตุก๊ ตา เคเดอร์เมื่อ 13 ปีก่อน ซึ่งถูกบันทึกว่าเป็นอุบัติเหตุไฟไหม้โรงงานอุตสาหกรรม ทีเ่ ลวร้ายทีส่ ดุ ในโลก อีกครั้งหนึ่งก็เห็นจะเป็นเมื่อครั้งมีการประท้วงบริษัทไนกี้ผ่านไทเกอร์ วู้ด นักกอล์ฟเชือ้ สายไทยมือหนึง่ ของโลกทีม่ รี ายได้ถงึ 4 พันล้านบาทจากการเซ็นสัญญา เป็นพรีเซนเตอร์ให้กบั ผลิตภัณฑ์ไนกีเ้ มือ่ ปี 2543 เพีอ่ เรียกร้องให้บริษทั ฯ เคารพสิทธิ แรงงานไทยทีท่ ำงานในโรงงานผลิตเสือ้ ผ้าและอุปกรณ์กฬี ายีห่ อ้ นี้ มีการคำนวณว่าเงินจำนวน 4 พันล้านบาททีน่ ายวูด้ ได้จากไนกีเ้ ท่ากับจำนวน ค่าแรงที่คนงานไทยต้องทำงานถึง 72,000 ปีโดยไม่มีวันหยุด และนักกิจกรรม ด้านแรงงานไม่พอใจที่บริษัทไนกี้ใช้เงินไปกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์มหาศาล แทนทีจ่ ะเพิม่ ค่าแรงให้กบั คนงานในโรงงานเหล่านี้ นับจากสองเหตุการณ์ขา้ งต้น ข่าวคราวเรือ่ งโรคและอุบตั เิ หตุจากการทำงาน รวมทัง้ การละเมิดสิทธิแรงงานของบริษทั ยักษ์ใหญ่ทง้ั หลายดูเหมือนแทบจะไม่เป็นข่าว ชะตากรรมของคนงานในภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็น “เหยื่อ” โดยตรงของนโยบาย ส่งเสริมการลงทุน ดูเหมือนจะถูกนำมาพูดถึงเฉพาะในวาระครบรอบปีโศกนาฏกรรม เคเดอร์เท่านัน้ ซึง่ ทางรัฐบาลได้ประกาศให้เป็น “สัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน แห่งชาติ” ซึ่งปัจจุบันนี้กลายเป็นงานประกาศรางวัลโรงงานดีเด่น และเป็นเวที ให้บริษทั ต่างๆ โฆษณามาตรการความปลอดภัย การจัดการสิง่ แวดล้อมและสวัสดิการ ลูกจ้างมากกว่าเสียแล้ว แต่การ “ไม่เป็นข่าว” ไม่ได้หมายความว่าปัญหาลดน้อยลง ระหว่างที่สังคมไทยกำลังสนุกสนานครึกครื้นอยู่กับฟุตบอลโลก ผู้เขียนได้ เดินทางไปพบปะพูดคุยกับคนงานสามคน – สองคนแรกเป็นคนงานหญิงทีท่ ำงานเย็บ ลูกวอลเล่ย์บอลยี่ห้อมิกาซ่า อีกคนหนึ่งเป็นคนงานชายในโรงงานผลิตแผงวงจร อิเล็คทรอนิคส์ของบริษทั ซีเคแอล อิเล็คทรอนิคส์ ซึง่ ส่งขายให้กบั คอมพิวเตอร์ DELL เครื่องใช้ไฟฟ้าโซนี่ และรถยนต์ชื่อดังหลายยี่ห้อ เช่น โตโยต้าวีออส และมอเตอร์ ไซด์ฮอนด้า

190


เรื่องราวของทั้งสามคนเป็นเพียง “หนังตัวอย่าง” ของชีวิตแรงงานไทย จำนวนกว่า 3.3 ล้านคน ในโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 122,000 แห่ง1 ซึง่ หลายแห่ง มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ย่ำแย่และระบบการผลิตที่ “โหด” บางคนต้อง ยืนทำงานนานกว่า 12 ชัว่ โมงต่อวัน2 ในห้องทีม่ คี วามร้อนจัดและเสียงดังเกินมาตรฐาน คลุกคลีอยู่กับสารเคมีอันตรายโดยปราศจากเครื่องป้องกัน สูดดมฝุ่นผงและ ควันพิษสารพัดชนิด หรือต้องยกของหนักโดยไม่มเี ครือ่ งทุน่ แรง หลายคนทำงานต่อไปไม่ไหวเพราะเจ็บป่วย อีกหลายคนเสียชีวิตไปโดยที่ ไม่มแี พทย์คนใดกล้ายืนยันว่าป่วยด้วยโรคจากการทำงาน เพราะเป็นเรือ่ งทีพ่ สิ จู น์ยาก และเสีย่ งต่อการถูกฟ้องร้องจากเอกชน อาจกล่าวได้วา่ นอกจากตัวคนงานเองแล้ว น้อยคนนักทีจ่ ะรูถ้ งึ สิง่ ทีพ่ วกเขา ต้องเจอภายในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเหมือนแดนสนธยา ไม่มีใครล่วงรู้ว่า เกิดอะไรขึน้ ข้างในนัน้

เรือ่ งราวของแมว แตน และสมหมาย แมว กับ แตน ยังจำความรูส้ กึ ในวันทีเ่ ธอสองคนเดินเข้าไปในร้านขายเครือ่ ง กีฬาย่านสำโรงได้ดี “เราเห็นลูกวอลเล่ย์บอลยี่ห้อมิกาซ่าแบบที่เราเย็บในโรงงานแขวนโชว์ อยูใ่ นร้าน ก็เลยเดินเข้าไปหยิบดู คนขายบอกเราว่า ‘ถ้าเป็นของมิกาซ่าก็ 690 บาท’... คนขายหรือคนซื้อจะรู้บ้างไหมว่าคนงานที่ผลิตลูกบอลราคาแพงนี้ต้องทำงานใน สภาพอย่างไร เหนือ่ ยแค่ไหน ถูกนายจ้างบังคับให้ทำตามเป้าหมาย บังคับให้ทำโอที แถมยังโดนกลัน่ แกล้งสารพัด” แมว - จันทร์สดุ า ศิลไชย์ อายุ 28 ปี เป็นคนจังหวัดตราด ส่วนแตน - สำราญ โชติ เป็นคนชลบุรี สองสาวทำงานอยู่ด้วยกันที่บริษัทมิกาซ่าอินดัสตรีย์ จำกัด ภายในนิคมอุตสาหกรรมอีสต์เทิรน์ ซีบอร์ด อ. ปลวกแดง จ. ระยอง งานของพวกเธอ 1

สถิติสะสมของโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการปี 2548, กรมโรงงาน อุตสาหกรรม 2 หลักการบริหารโรงงานแบบญีป่ นุ่ ทีใ่ ช้กนั อย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรมระบุวา่ การยืน ทำงานจะทำให้คนงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

191


แมว - จันทร์สุดา ศิลไชย์

คือผลิตลูกวอลเล่ย์บอล ซึ่งถูกส่ง ไปขายทั ่ ว โลก ทั ้ ง อเมริ ก า ยุ โ รป สิงคโปร์ แมวเคยทำงานมาหลาย อย่างตั้งแต่งานก่อสร้าง พนักงาน ขายของในห้าง แต่อาชีพในฝันของเธอ คือ “สาวโรงงาน” “เรารูส้ กึ ว่าทำงานในโรงงานทีผ่ ลิตสินค้ายีห่ อ้ ดังๆ มันโก้ดี แล้วก็นา่ จะเป็นอาชีพ ทีด่ ที ส่ี ดุ ทีค่ นความรูน้ อ้ ยอย่างเราจะทำได้ งานก็สบายกว่างานก่อสร้างทีเ่ คยทำมา” แมวอธิบาย จากโรงงานเย็บเสือ้ ผ้าของนักธุรกิจชาวไต้หวันทีส่ มุทรปราการ ซึง่ แมวมีหน้าที่ “ยืนรีดผ้าด้วยเตารีดทีร่ อ้ นระอุอยูว่ นั ละสิบกว่าชัว่ โมง” เธอย้ายมาทำงานทีโ่ รงงาน ผลิตอะไหล่รถมอเตอร์ไซด์ทน่ี คิ มอุตสาหกรรมบ่อวิน จ. ชลบุรี ทำงานอยูท่ น่ี ไ่ี ด้เพียง สิบกว่าวันก็ตัดสินใจลาออก เพราะ “ในโรงงานร้อนเหมือนอยู่ในเตาอบ ฝุ่นผง ตะไบเหล็กและเศษตะกั่วติดตามเนื้อตัวเต็มไปหมด คิดว่าถ้าทำงานที่นี่ต่อไป เรา ต้องตายเพราะพิษตะกัว่ แน่ๆ” ปี 2547 แมวย้ายมาทำงานทีม่ กิ าซ่า ซึง่ ตัง้ อยูไ่ ม่ไกลนักจากนิคมฯ บ่อวินทีเ่ ธอ เช่าห้องแถวอยู่ ที ่ โ รงงานมิ ก าซ่ า เธอทำหน้ า ที ่ ห ลายอย่ า งตั ้ ง แต่ เ ย็ บ ชิ ้ น หนั ง ให้ ต ิ ด กั น เป็นทรงลูกบอล ทากาวเพือ่ ติดยางในลูกบอลกับแผ่นหนัง ติดวาล์วสำหรับสูบลม ฯลฯ เรียกได้วา่ เป็นคนงานคนโปรดคนหนึง่ ของ “นากายาม่าซัง” - ผูบ้ ริหารชาวญีป่ นุ่ แมวสาธิตการนัง่ เย็บลูกวอลเล่ยบ์ อลด้วยมือ โดยต้องใช้ขาหนีบลูกเอาไว้

192


แตน - สำราญ โชติ

ด้วยมือ

ต่อไปนีเ้ ป็นคำบอกเล่าของแมวและแตนเกีย่ วกับสภาพการทำงานภายในโรงงาน ผลิตลูกวอลเล่ยบ์ อลมิกาซ่า - โรงงานเป็ น ห้ อ งสี ่ เ หลี ่ ย มโล่ ง ๆ คนงานเรี ย กกั น ว่ า “ห้ อ งบอลเย็ บ ” มีหลายแผนกอยูร่ วมกัน เช่น แผนกตัดและคัดแยกแผ่นหนัง, เย็บลูกบอลด้วยจักร (สำหรับลูกวอลเลย์บอลชายหาด), เย็บด้วยมือ, ใส่ยางในลูกบอล, พ่นกาว, ใส่วาล์วสูบลม ฯลฯ ในห้องนีม้ คี นงานแออัดอยูเ่ กือบ 100 คน อากาศค่อนข้างร้อน อึดอัด รู้สึกเหมือนต้องแย่งกันหายใจ คนงานเป็นลมกันบ่อย จักรที่ใช้เย็บลูกบอล เสียงดังมาก ต้องตะโกนคุยกัน - คนงานต้องทำงานด้วยความเร่งรีบและกดดัน เพราะต้องทำงานให้ได้ตาม เป้ า ที ่ น ายจ้ า งกำหนดให้ เช่ น พนักงานในห้องบอลเย็บต้องเย็บ ลูกบอลให้ได้ไม่ตำ่ กว่า 60 ลูกต่อวัน ถ้าคนไหนทำไม่ได้กจ็ ะไม่ได้ “ค่าเป้า” (ค่า Incentive ซึ่งจะถูกปรับลด ไปตามเป้าทีท่ ำได้ อยูร่ ะหว่าง 300 - 900 บาทต่อเดือน) และจะถูก หมายหั ว ว่ า ไม่ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ กั บ บริ ษ ั ท ฯ ถ้ า คนงานคนอื ่ น ในแผนกเดี ย วกั น เย็ บ ได้ ว ั น ละ 80 ลูก เดือนต่อไปบริษทั ฯ ก็จะเพิม่ เป้าไปที่ 80 ลูก ซึง่ คนงานก็มกั จะทำให้ได้มากกว่า เป้าอีกเพราะอยากได้เงินพิเศษ โดยมากเป้าจะสูงขึน้ ตามปริมาณออเดอร์จากลูกค้า ซึ่งจะเยอะช่วงธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ เพราะเป็นช่วงที่คนนิยมเล่นกีฬากลางแจ้ง ช่วงหน้าฝนงานจะน้อยลง แมวบอกด้วยว่าช่วงที่มีกีฬาระดับโลก เช่น ฟุตบอลโลก ชิงแชมป์โลก วอลเล่ย์บอลชายหาด หรือโอลิมปิกเกม ออเดอร์จะพลอยสูงขึ้นด้วย เพราะ “กระแสกีฬามาแรง” ขณะนีแ้ มวถูกสัง่ ให้ตดิ วาล์วลูกบอลให้ได้ไม่ตำ่ กว่า 800 ลูกต่อวัน ส่วนแตน ซึง่ มีหน้าทีต่ ดั และคัดแยกแผ่นหนังสำหรับลูกบอลรุน่ ต่างๆ ต้องคัดแยกแผ่นหนังให้ได้

193


3,000 ชิน้ ต่อชัว่ โมง หรือ 20,000 ชิน้ ต่อวัน แต่แตนบอกว่าคนงานทำได้เต็มทีแ่ ค่ 1,600 - 2,000 ชิน้ ต่อชัว่ โมงเท่านัน้ เพื่อที่จะทำงานให้ได้ตามเป้า คนงานส่วนใหญ่จึงเร่งทำงานอย่างหนัก ดื ่ ม น้ ำ น้ อ ยๆ เพราะไม่ อ ยากเสี ย เวลาเข้ า ห้ อ งน้ ำ เวลาพั ก เที ่ ย งก็ ร ี บ กิ น ข้ า ว แล้วรีบกลับไปทำงาน ส่วนเวลาทำงานคือ 7.30 - 17.00 น. แต่โดยอัตโนมัติ คนงานจะทำโอทีตอ่ อีกวันละสามชัว่ โมง คือตัง้ แต่ 17.00 - 20.00 น. เพราะค่าโอทีนเ้ี องทีเ่ ป็นรายได้หลัก ของคนงาน แมวได้เงินเดือนเดือนละ 5,340 บาท + ค่าโอทีประมาณ 3,000 - 4,000 บาท ค่าเช่าบ้าน 700 บาท + ค่าทำงานได้ตามเป้าอย่างน้อย 300 บาท + เบีย้ ขยัน 400 บาท (กรณีทไ่ี ม่ขาด ไม่สาย ไม่ลาแม้แต่นาทีเดียวหรือวันเดียวในหนึง่ เดือน) นอกจากใส่จบุ๊ ลมแล้ว แมวยังมีหน้าทีผ่ สมกาวสำหรับติดลูกบอลด้วย โดยผสม ตามสูตรทีบ่ ริษทั ฯ กำหนดมาให้ “สารเคมีที่ใช้ไม่รู้ว่าชื่ออะไรบ้าง รู้แต่ว่ามีน้ำยาทำความเหนียวที่มีตรา กะโหลกไขว้อยู่ที่ขวด น้ำยากลิ่นเหม็นมาก ทางโรงงานมีผ้าปิดจมูกให้ แต่คนงาน ไม่คอ่ ยใช้เพราะอึดอัด ทำงานไม่สะดวก” “ในโรงงานมีกล้องวงจรปิดทั้งหมด 18 ตัว คอยจับตาดูคนที่ไม่ทำงาน และป้ อ งกั น การขโมยของ และอาจจะมี ไ ว้ ส ำหรั บ จั บ ตาดู ค วามเคลื ่ อ นไหว ของสหภาพแรงงานด้วย” แมวทำงานที่มิกาซ่ามาได้ 2 ปี ส่วนแตนอยู่มานาน 5 ปี แม้ว่าจะไม่พอใจ กับสภาพการทำงานและการปฏิบตั ขิ องนายจ้างต่อคนงาน แต่ทง้ั สองคนก็ไม่ได้รสู้ กึ เดือดร้อนเท่าใดนักตราบใดทีเ่ ธอยังได้คา่ แรงและโอทีสำหรับยังชีพและดูแลลูกๆ แต่หลังจากทีแ่ มวและแตนตัดสินใจเข้าร่วมการทำงานกับสหภาพแรงงานมิกาซ่า ท่าทีของนายญี่ปุ่นและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เธอบอกว่า ถูกนายจ้างกลัน่ แกล้ง โดนจับผิด บังคับใช้กฎระเบียบทีเ่ ข้มงวดกว่าปกติ รวมทัง้ ย้ายให้ ไปทำงานในแผนกทีไ่ ม่มคี า่ ล่วงเวลา ทำให้ขาดรายได้ “จากทีเ่ คยดีกบั เราเหมือนลูก เหมือนน้องสาว เขากลับทำกับเราเหมือนเป็น ศัตรู” แมวพูดถึงผู้บริหารชาวญี่ปุ่นที่ควบคุมคนงานในโรงงานและเจ้าหน้าที่

194


ฝ่ายบุคคลชาวไทย “เขาเป็นคนญี่ปุ่นที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย ควรจะเคารพคนไทยและกฎหมาย คนไทยบ้าง...แต่หนูโทษผู้บริหารคนไทยมากกว่า ที่ไม่ดูแลคนไทยด้วยกันให้ดี และรัฐบาลไทยที่เอาใจนักลงทุนต่างชาติมากเกินไป ปล่อยให้เขาเอารัดเอาเปรียบ คนงานไทยได้ เพือ่ เขาจะได้มาลงทุนในบ้านเรา” แตนกล่าวด้วยความอึดอัด 23 ธันวาคม 2548 ขณะตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน แมวตกเลือดขณะทำงาน อยู่ในโรงงาน แต่นายจ้างปฏิเสธที่จะพาเธอไปส่งโรงพยาบาล กรณีนี้เป็นฟาง เส้นสุดท้ายทีท่ ำให้เธอตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพือ่ ร้องเรียนกับโครงการรณรงค์ เพือ่ แรงงานไทยและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แมวเล่าว่า บ่ายวันนัน้ เธอปวดท้องอย่างรุนแรง และมีเลือดออกทางช่องคลอด แพทย์ทโ่ี รงพยาบาลปลวกแดงซึง่ เป็นโรงพยาบาลทีใ่ กล้โรงงานมากทีส่ ดุ แนะนำให้ เจ้าหน้าทีห่ อ้ งพยาบาลของโรงงานนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยด่วน แต่ฝา่ ยบุคคลของ บริษทั ฯ อ้างว่าไม่มรี ถไปส่ง และบอกให้แมวไปโรงพยาบาลเอง หลังจากเลิกงานแล้ว เนือ่ งจากฝ่ายบุคคลเห็นว่า “อาการไม่หนัก” เธอนอนตกเลือดอยูใ่ นห้องพยาบาลของโรงงานนานกว่า 4 ชัว่ โมง “ระหว่างที่รอขึ้นรถมอเตอร์ไซด์ของเพื่อนไปโรงพยาบาล หนูปวดท้องมาก และเลือดก็ไหลทะลักออกมา หนูทรุดลงไปกองอยู่กับพื้น” เธอโทรศัพท์ไปขอ ความช่วยเหลือเรือ่ งรถกับฝ่ายบุคคลอีกครัง้ แต่กถ็ กู ปฏิเสธ หมอบอกว่าแมวแท้งลูก จึงทำการขูดมดลูก และให้หยุดงานสามวัน แม้ว่าจะไม่พอใจนายจ้างและรู้สึกว่าถูกละเมิดสิทธิอย่างรุนแรง แต่แมวก็ ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากทำงานที่มิกาซ่าต่อไปเพื่อหาเงินส่งเสียครอบครัวและ ลู ก ชายวั ย แปดขวบ แต่ ค วามกดดั น จากนายจ้ า งทำให้ เ ธอตั ด สิ น ใจลาออก จากบริษัทมิกาซ่าเมื่อต้นเดือนกันยายน 2549 และย้ายไปทำงานที่โรงงานผลิต บรรจุภณ ั ฑ์โลหะแห่งหนึง่ ใน จ. ชลบุรี ในขณะทีแ่ ตนซึง่ เริม่ มีอาการหอบหืด (อาจเป็นผลจากทำงานในห้องทีม่ ฝี นุ่ หนัง มาเป็นเวลานาน) และปวดหัวอย่างรุนแรงเมือ่ ได้กลิน่ กาวในโรงงาน ตัดสินใจลาออก จากมิกาซ่าก่อนหน้าแมวประมาณหนึ่งเดือน แตนได้งานใหม่ที่โรงงานผลิตอะไหล่ รถยนต์ใกล้ๆ กับโรงงานเดิม โดยหวังว่าชีวติ และสุขภาพของเธอจะดีขน้ึ กว่าเดิม

195


Mikasa Industries Co.,Ltd. บนเว็บไซต์ mikasasports.com วอลเล่ยบ์ อลชายหาดรุน่ บีชโปรทำจากหนัง ชัน้ ดีทจ่ี ดั อยูใ่ น “Champion Series” ราคาลูกละ $ 49.99 (ประมาณ 2,000 บาท) “ไม่วา่ คุณจะเป็นนักกีฬาสมัครเล่นหรือมืออาชีพ บอลลูกนีจ้ ะทำให้คณ ุ เล่นได้ดี ขึน้ กว่าเดิม ด้วยกระบวนการผลิตทีไ่ ด้มาตรฐาน ฝีมอื การเย็บอันประณีต ยางใน ผลิตจากยางบูทลิ คุณภาพเยีย่ ม เราพร้อมรับประกันอายุการใช้งานของวอลเล่ยบ์ อล ลูกนีส้ ามปีเต็ม...บางทีคณ ุ อาจจะอยากใช้มนั หนุนนอนต่างหมอน หลังจากเหนือ่ ยกับ การฝึกซ้อมมาทัง้ วันก็เป็นได้...” mikasasports ประกาศสรรพคุณ ของเจ้าบีชโปร ซึ่งเป็นหนึ่งในลูกบอลวอลเล่ย์บอลนับหมื่นนับแสนลูกที่คนงานในโรงงานมิกาซ่า ผลิตขึน้ Mikasa Corporation เป็นบริษัทผู้ผลิตลูกบอลสำหรับการแข่งกีฬา ทัง้ ลูกวอลเล่ยบ์ อล วอลเล่ยบ์ อลชายหาด บาสเก็ตบอล ฟุตบอล โปโลน้ำ แฮนด์บอล ฯลฯ สินค้าของเราส่งไปจำหน่ายทัว่ โลก ลู ก บอลของมิ ก าซ่ า มี ช ื ่ อ เสี ย งโด่ ง ดั ง ระดั บ โลก และได้ ร ั บ เลื อ ก เป็นลูกบอลสำหรับการแข่งขันระดับโลก รวมทั้งโอลิมปิก และเมื่อไม่นานมานี้ ลูกวอลเล่ย์บอลของมิกาซ่าได้รับเลือกจากสมาพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ให้เป็นลูกบอลทีใ่ ช้ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการในการแข่งขันนัดสำคัญตัง้ แต่ปี 2002 ไปจนถึง 2008 บทความแนะนำบริษทั ทีป่ รากฏบนเว็บไซต์เขียนไว้สน้ั ๆ ว่า “เมือ่ 89 ปีทแ่ี ล้ว ทีเ่ มืองฮิโรชิมา่ บริษทั มิกาซ่าได้ถกู ก่อตัง้ ขึน้ เพือ่ สร้างสรรค์ สิ่งที่สำคัญที่สุดในเกมกีฬา นั่นคือลูกบอล เราเป็นบริษัทแรกที่คิดค้นเทคนิค การผลิตและมาตรฐานของลูกบอล ต่อมาในปี 1973 มิกาซ่าตั้งสำนักงานที่ แคลิ ฟ อร์ เ นี ย สหรั ฐ อเมริ ก า เพื ่ อ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าใน ทวีปอเมริกาเหนือให้ได้ดยี ง่ิ ขึน้ “เรารู้ดีว่าผู้ที่จะเป็นนักกีฬา ที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องเปี่ยม ไปด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า และแรงบั น ดาลใจ ซึ ่ ง เราได้ ใ ส่ ท ั ้ ง

196


สองสิง่ นีล้ งไป ในกระบวนการผลิตลูกบอลของมิกาซ่า ผสานกับเทคโนโลยีทท่ี นั สมัย ลูกบอลทีก่ ลิง้ ออกมาจากแท่นผลิตของเราจึงเป็นสิง่ ทีส่ มบูรณ์แบบ... “Mikasa. It all starts with the ball.” ปัจจุบัน บริษัทมิกาซ่ามีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น และมีสำนักงานย่อยอีกหลายแห่งในเมืองสำคัญๆ ของญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังได้ ตัง้ บริษทั ลูกในต่างประเทศ คือ Mikasa AG ทีส่ วิสเซอร์แลนด์, Mikasa Sports USA, Mikasa Industries (Thailand) และ Mikasa Sports Asia ทีป่ ระเทศไทย ซึง่ ก่อตัง้ ได้ประมาณ 5 ปี ผู้เขียนได้ติดต่อขอสัมภาษณ์คุณชิโนบุ โทกุโนะ กรรมการบริหารบริษัท Mikasa Industries Thailand จำกัด ซึง่ เป็นเจ้าของโรงงานผลิตลูกวอล์เล่ยบ์ อล มิกาซ่า เพือ่ เยีย่ มชมโรงงาน แต่ได้รบั การปฏิเสธ น้ำผึ้ง การุณ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลให้เหตุผลว่า “ผู้บริหารไม่พร้อมที่จะให้ สัมภาษณ์” และ “โรงงานกำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุง มีการก่อสร้าง ภายในโรงงาน ทำให้ไม่เหมาะสำหรับการเยี่ยมชม ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับการดูแล ความปลอดภัยของลูกจ้างและการแท้งลูกของ จันทร์สดุ า ศิลไชย์ นัน้ ทางบริษทั ฯ ได้ชแ้ี จงข้อเท็จจริงกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไปหมดแล้ว”

สมหมาย สว่ า งอารมณ์ คนงานวั ย 32 ปี ในเครื ่ อ งแบบมอมๆ สี ฟ ้ า เดินออกมาจากโรงงานซีเคแอล อิเล็คทรอนิคส์ บริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ. อยุธยา ในเวลาพักเทีย่ งตามทีน่ ดั หมาย ทันทีที่พบกัน เขาก็ยื่นเศษกระดาษยับๆ สามสี่แผ่นมาให้ แต่ละแผ่น มีข้อ ความเขียนด้วยลายมือโย้เย้ “อากาศมีกลิ่นเหม็น ขณะเติมน้ำยา แสบจมูก ตา มีกลุ่มควันเยอะมาก ถ้าเติม น้ำยาขณะที่มีความร้อนสูง กลิ่นของน้ำยา ก็จะยิ่งแรงและมีกลิ่นนานกว่าปกติ ทำให้ หายใจลำบาก บางที จ ะเกิ ด อาการคั น ตามผิ ว หนั ง เติ ม น้ ำ ยาที ก ็ ต ้ อ งวิ ่ ง หนี ออกจากไลน์การผลิต นอกจากนี้ การขนถ่าย สมหมาย สว่างอารมณ์

197


เคมีและแผ่นงานทีม่ นี ำ้ หนักมาก ยังใช้คนอยู่ ซึง่ ทำให้ปวดหลัง หลังยอก / รายงานจาก พนักงานแผนก Plating” “พนักงานในแผนก s/m L.P.I. ซึ่งมีความร้อนและน้ำยาพร้อมสารเคมี ทำให้มีเม็ดผื่นคันขึ้นตามตัว ขา แขน และใบหน้า รักษาแล้วก็ไม่หาย มีจุด ด่างดำขึน้ ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายส่วนทีส่ มั ผัสกับสารเคมี น้ำยาทีใ่ ช้ คือ โซเดียม กรดซัลฟูรกิ โซดาไฟ” “ปัญหาในการปฏิบตั งิ านของแผนก Masslam คือ ต้องยก p/p หนักม้วนละ 50 กิโลกรัมคนเดียวโดยไม่มเี ครือ่ งทุน่ แรง ทำให้ปวดหลังมาก และพนักงานต้องยก Copper หนักม้วนละ 100 กิโลกรัมอีกด้วย ซึ่งถ้ายกเป็นประจำนานๆ ก็จะ ทำให้ปวดหลัง” นีเ่ ป็นปัญหาและความเจ็บป่วยจากการทำงานทีค่ นงานในโรงงานซีเคแอลช่วยกัน เขียนมา เพือ่ บอกให้ “คนข้างนอก” ได้รบั รู้ สำหรับสมหมายเองนั้น มีอาการปวดหลังจากการยกม้วนทองแดงมาตลอด ระยะเวลา 4 ปีที่เขาทำงานในโรงงานผลิตแผงวงจรอิเล็คทรอนิคส์ PCB (Print Circuit Board) ของบริษทั ซีเคแอล อิเล็คทรอนิคส์ ซึง่ มีเจ้าของเป็นชาวไต้หวัน “คนงานหญิงคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังขณะยกม้วนทองแดง จนต้องผ่าตัดถึงสองครัง้ ” เขาเล่ า ว่ า ในกระบวนการผลิ ต แผงวงจรนั ้ น ต้ อ งใช้ ส ารเคมี ห ลายชนิด คนงานต้องจุ่มแผงวงจรในถังขนาดใหญ่ที่บรรจุน้ำยาเคมีเหล่านี้ พวกเขาทำงาน ในอาคารที ่ ม ี ห ลายสายการผลิ ต อยู ่ ร วมกั น เวลาเติ ม กรดไนตริ ก ลงในถั ง จะมีควันสีเหลืองฟุ้งเต็มห้อง กลิ่นเหม็นมาก คนงานหายใจไม่ออกและแสบตา ต้องวิง่ หนีออกมานอกโรงงาน คนงานหลายคนเป็นโรคผิวหนัง แผลพุพอง เพราะสัมผัสสารเคมี นอกจากนี้ เวลาเกิ ด อุ บ ั ต ิ เ หตุ ส ารเคมี ร ั ่ ว ไหล ผู ้ บ ริ ห ารและเจ้ า หน้ า ที ่ ค วามปลอดภั ย ก็มกั จะไม่สนใจว่าจะเกิดอันตรายกับคนงานหรือไม่ ปล่อยทิง้ ไว้ให้คนงานจัดการเอง สมหมายมองไปที่อาคารสีขาวสะอาด มีป้ายชื่อโรงงานเป็นภาษาอังกฤษ สวยเด่นสะดุดตา แล้วพึมพำว่า “ภายนอกก็ดูดีอยู่หรอก...แต่ข้างในเหมือน อยูใ่ นนรกเลย”

198


ตอนนีค้ นงานในแผนกทีต่ อ้ งทำงานอยูก่ บั ความร้อนมากๆ กำลังเรียกร้องขอ “ค่าร้อน” คนละ 15 บาทต่อวัน เช่นเดียวกับคนงานในแผนก plating ทีไ่ ด้รบั “ค่าเคมี” คนละ 15 บาทต่อวัน เป็นค่าความเสี่ยงที่ต้องทำงานอยู่กับสารเคมีอันตราย ซึ่งคนงานต้องต่อสู้กันอย่างยาวนานกว่าที่นายจ้างจะยอมจ่าย “ค่าเคมี” ให้ โดยนายจ้างอ้างว่าของเหลวทีใ่ ช้ในโรงงานนัน้ เป็นเพียง “น้ำเปล่า” ไม่มอี นั ตราย “เราเป็นคนเทน้ำยาเองกับมือ รู้ดีว่ามันเป็นสารเคมีทั้งนั้น ทั้งโซเดียม กรดซัลฟูรกิ เข้มข้น 98 เปอร์เซ็นต์ โดนมือเราก็พองแล้ว บางทีกเ็ ป็นเม็ดผืน่ คันเต็มตัว เป็นแผลพุพอง เหมือนเป็นอีสกุ อีใส” สมหมายบอก คนงานที่นี่ต้องยืนทำงานตลอด โดยเฉลี่ยแล้วทำงานวันละ 9.6 ชั่วโมง โดยมีนายจ้างชาวไต้หวันเดินตรวจตลอดเวลา เพื่อป้องกันคนงานอู้งาน และแม้ บริษทั ฯ จะให้หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ แต่คนงานส่วนใหญ่จะทำโอทีกนั ทัง้ เสาร์อาทิตย์ เพื่อให้ได้ค่าโอที บ่อยครั้งที่สมหมายทำงานตลอด 24 ชั่วโมง คือทำงานตั้งแต่ 7.15 น. จนถึง 7.15 น. ของวันรุง่ ขึน้ “ถ้ารัฐบาลกำหนดค่าแรงขัน้ ต่ำสูงกว่านี้ เราก็คงทำโอทีกนั น้อยลง” เขาบอก ตอนนีส้ มหมายได้เงินเดือน 5,940 บาท + ค่าข้าว 17 บาทต่อวัน เบีย้ ขยัน 450 - 800 (กรณีไม่หยุดงานแม้แต่วันเดียวและสายไม่เกิน 15 นาทีใน 1 เดือน) ถ้าทำโอทีตลอดทัง้ เดือนจะได้คา่ แรงสูงสุด 13,000 บาท ทีซ่ เี คแอลไม่ได้กำหนดเป้าจำนวนชิน้ งานเหมือนกับทีม่ กิ าซ่า แต่คนงานมีหน้าที่ จะต้องทำให้บริษทั ฯ มีรายได้ตอ่ ปีตามเป้าหมายทีผ่ บู้ ริหารตัง้ ไว้ “บริษทั จะบอกเราว่าเดือนนีต้ อ้ งการมีรายได้ 80 ล้านบาท คนงานก็ตอ้ งทำงาน ให้บริษทั มีรายได้ 80 ล้านบาท ...ผมได้ขา่ วว่าเดือนนี้ (มิถนุ ายน) เขาจะเพิม่ เป็น 120 ล้านบาท ถ้าบริษทั มีรายได้ตามเป้า คนงานก็จะได้เงินปันผลสิน้ ปีประมาณ 2,400 บาท” สมหมายบอกว่า แม้พวกเขาจะต้องทำงานอยู่กับกรดและสารเคมีอันตราย แต่ทุกครั้งที่บริษัทฯ จัดการตรวจร่างกายพนักงานประจำปี ผลก็ออกมาว่าทุกคน แข็งแรงดี แม้แต่คนทีท่ ำหน้าทีเ่ อาแผงวงจรชุบตะกัว่ มาสิบกว่าปี “ผมก็แปลกใจเหมือนกันทีห่ มอไม่เคยเจอความผิดปกติอะไรเลย จริงๆ เราไม่เชือ่ ถือแพทย์ทบ่ี ริษทั จ้างมาตรวจหรอก แต่ไม่มเี งินไปตรวจร่างกายทีโ่ รงพยาบาล” เขาบอกอีกด้วยว่า เจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษและสาธารณสุขมาตรวจ

199


คุณภาพอากาศและน้ำที่โรงงาน ก็ไม่พบความผิดปกติ เพราะนายจ้างพาไปดู ส่วนทีไ่ ม่มปี ญ ั หา “พอหน่วยงานรับรองสิ่งแวดล้อมของโรงงาน (ISO 14000) มาตรวจ เขาจะเตรียมโรงงานเสียสวยหรูเลย ปิดไลน์การผลิตที่มีอันตรายต่อคนงานสูง งดการเติมน้ำยาเคมีทท่ี ำให้เกิดควันคลุง้ กลิน่ เหม็น และขอความร่วมมือจากพนักงาน ให้บอกเจ้าหน้าทีว่ า่ โรงงานเรามีการจัดการสิง่ แวดล้อมทีด่ ”ี สมหมายบอกว่า เขาเองก็มคี วามรูส้ กึ เช่นเดียวกับแตนและแมวทีโ่ รงงานมิกาซ่า คือผิดหวังกับผูบ้ ริหารคนไทยทีไ่ ม่ยอมลุกขึน้ มาปกป้องสิทธิและศักดิศ์ รีของคนงานไทย จากการแสวงหากำไรสูงสุดของนักธุรกิจต่างชาติ “คนไทยน่ า จะเห็ น ใจคนไทยด้ ว ยกั น น่ า จะปกป้ อ งเราจากการถู ก นาย จ้างเอาเปรียบ แต่เขาทำทุกอย่างเพือ่ ช่วยนายไต้หวัน” สมหมายทิง้ ท้ายก่อนจะเดิน กลับเข้าไปในโรงงานที่มีประตูรั้วปิดมิดชิด (ซึ่งเขาจะต้องทำงานต่อไปจนถึง 7 โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น)

CKL Electronics Co.,Ltd “เราสร้ า งมู ล ค่ า ให้ ก ั บ ธุ ร กิ จ ของคุ ณ ” ข้ อ ความภาษาอั ง กฤษสี ส ดใส กะพริบขึน้ บนหน้าแรกของเว็บไซต์ของบริษทั ซีเคแอล (www.cklpcb.com) “โรงงานซีเคแอลเป็นโรงงานระดับโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/ TS16949 และ ISO 14001 (มาตรฐานด้ า นการจั ด การสิ ่ ง แวดล้ อ ม) ซึ่งเป็นหลักประกันว่าลูกค้าของเราจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพสูงและตรงเวลา ในราคาที ่ เ หมาะสม บุ ค ลากรที ่ ม ี ป ระสบการณ์ ส ู ง และอุ ท ิ ศ ตนให้ ก ั บ งาน ทั ้ ง ในด้ า นการบริ ห ารและการควบคุ ม การผลิ ต ในโรงงานของเรา ขอรั บ รองว่ า ลู ก ค้ า ของเราจะได้ ร ั บ ความพึ ง พอใจอย่ า งสู ง สุ ด ในสิ น ค้ า เทคโนโลยี ข ั ้ น สู ง ในโรงงานซี เ คแอลของเราจะช่ ว ยให้ ล ู ก ค้ า ได้ ช ิ ้ น งาน ที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ” ก่อตัง้ บริษทั : เมษายน 2533 ทีต่ ง้ั : นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน อ. บางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา โรงงานเปิดดำเนินการ: มกราคม 2534 เงินจดทะเบียน: 350 ล้านบาท

200


พืน้ ทีโ่ รงงานทัง้ หมด: 12,000 ตารางเมตร ส่วนการผลิต: 9,000 ตารางเมตร ผลิตภัณฑ์หลัก: แผงวงจร (Print Circuit Board—PCB) จำนวนพนักงาน: 900 คน ผู้เขียนได้ติดต่อขอสัมภาษณ์ และเยี่ยมชมโรงงาน แต่ได้รับการ ปฏิ เ สธจาก คุ ณ สุ บ ิ น รั ต นธรรม ผู ้ อ ำนวยการฝ่ า ยบริ ห าร บริ ษ ั ท ซี เ คแอล อิ เ ล็ ค ทรอนิ ค ส์ จำกั ด ซึ ่ ง คุ ณ สุ บ ิ น ได้ ใ ห้ ส ั ม ภาษณ์ ท าง โทรศัพท์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 มีใจความดังนี้ “เราไม่สะดวกจะให้สัมภาษณ์หรือให้คุณเข้ามาเยี่ยมชมโรงงานในตอนนี้ เพราะเรากำลั ง อยู ่ ใ นช่ ว งปรั บ ปรุ ง ครั ้ ง ใหญ่ รอให้ โ รงงานสวยหรู เ สี ย ก่ อ น แล้วจะเชิญมาดู ตอนนีอ้ ยูใ่ นช่วงก่อสร้าง อุปกรณ์เกะกะไปหมด ไม่สวย “เรายอมรับว่าโรงงานมีปญ ั หาเรือ่ งสภาพแวดล้อมในการทำงานบ้าง เช่น ความร้อนในโรงงานและการสัมผัสสารเคมี แต่มันเป็นธรรมชาติของโรงงาน อิ เ ล็ ค ทรอนิ ค ส์ ท ี ่ จ ะมี ป ั ญ หาพวกนี ้ เพราะกระบวนการผลิ ต ต้ อ งใช้ ส ารเคมี เด็กก็บน่ บ้างเป็นธรรมดา “การขยายโรงงานครัง้ นี้ เราลงทุนไปตัง้ 3,000 ล้านบาท คนงานจะได้ทำงาน ในสภาพทีด่ ขี น้ึ แน่นอน ทุกอย่างจะเป็นไปตามมาตรฐานสากล การขยายโรงงาน ครั ้ ง ใหญ่ น ี ้ ย ั ง จะทำให้ ซ ี เ คแอลเป็ น ที ่ ห นึ ่ ง ในด้ า นการผลิ ต แผงวงจร PCB ในประเทศไทยและทวีปเอเชีย เพราะตอนนี้เรายังเป็นรองโรงงานผลิต PCB อีกสองแห่งทีน่ คิ มอุตสาหกรรมโรจนะและระยอง...แต่อกี หน่อยเราจะเป็นทีห่ นึง่ “สำหรั บ การแก้ ป ั ญ หาสภาพแวดล้ อ มในโรงงาน เรื ่ อ งความร้ อ น เราก็แก้ปญ ั หาเฉพาะหน้าให้ โดยการเพิม่ พัดลมเป่าอากาศ โรงงานใหม่จะมีระบบ ระบายอากาศที่ดีกว่านี้ แต่สำหรับเรื่องยกของหนักนั้นไม่จริง เรามีรถยกให้ ส่วนเรื่องการเทกรดและสารเคมีนั้น เราก็มีชุดป้องกันให้ แต่เด็กไม่ยอมใส่เอง เพราะเขาอึดอัด ทัง้ ๆ ทีผ่ บู้ ริหารกำชับให้ใส่ตลอด

201


“เรือ่ งความปลอดภัยของคนงาน เรือ่ งสิง่ แวดล้อม เราทำตามกติกาทุกอย่าง เราได้ทั้งมาตรฐาน ISO และ TIS (มาตรฐานโรงงานที่ออกโดยสำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม) ซึง่ ใบรับรองพวกนีม้ นั ได้ มายากที่สุดเลย จริงๆ ถ้าคุณเห็นมาตรฐานที่เราได้ ก็ไม่ต้องสงสัยแล้วว่า กระบวนการผลิตหรือสภาพภายในโรงงานของเราจะเป็นอย่างไร นอกจากนีเ้ รายังมี เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย 2 คน คอยดูแลความปลอดภัยและวางมาตรการ ป้องกันอุบตั เิ หตุในโรงงาน “เรื ่ อ งมาตรฐานสิ ่ ง แวดล้ อ มและสิ ท ธิ แ รงงานนี ้ ทั ้ ง ลู ก ค้ า ผู ้ ถ ื อ หุ ้ น และบริษทั ร่วมทุนของเราเข้มงวดกว่ากฎหมายไทยเสียอีก โดยเฉพาะลูกค้าในญีป่ นุ่ เพราะฉะนัน้ คุณไม่ตอ้ งมาดูหรอก “สิง่ ทีค่ นงานเอาไปพูดมันก็จริงแค่บางส่วน...คุณก็รวู้ า่ ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่าย บริหารกับสหภาพแรงงานมันเป็นยังไง มีปญ ั หากันตลอด บางทีเขาก็พดู เรือ่ งไม่จริง ใส่รา้ ยบริษทั ฯ บ้าง “โรงงานของเราตั้งมา 15 ปีแล้ว...เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านคุณแทบทุกชิ้น มีแผงวงจรทีซ่ เี คแอลผลิตหมดนัน่ แหละ...กระจกไฟฟ้าในรถยนต์ ปรินต์เตอร์ยห่ี อ้ Canon ก็ใช้ PCB ของเรา ตอนนี้เราเน้นส่งแผงวงจรไปที่บริษัทประกอบ รถยนต์เป็นหลักเลย ทั้ง General Motor (ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ Chevrolett) และฮอนด้า นอกจากนี้ยังส่งให้บริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ก็มี DELL ซึ่งเราได้ป้าย “Green” จาก DELL ด้วย คือ ผลิตภัณฑ์ไม่มสี ารอันตรายเจือปน”

มัจจุราชในโรงงาน แมว แตน และสมหมาย ยั ง นั บ ว่ า โชคดี ก ว่ า ผู ้ ใ ช้ แ รงงานคนอื ่ น ๆ ทีต่ อ้ งทนทุกข์กบั ความเจ็บป่วยด้วยโรคและอุบตั เิ หตุจากการทำงาน ที่โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี นายแพทย์อดุลย์ บัณฑุกุล ผู้อำนวยการ ทีศ่ นู ย์อาชีวเวชศาสตร์ ซึง่ เป็นหน่วยงานทีก่ ระทรวงสาธารณสุขตัง้ ให้เป็นศูนย์กลาง ด้านโรคและอุบ ัติเหตุจากการทำงาน กำลังเตรียมนัดคนงานเกือบ 20 ราย มาตรวจร่างกายอย่างละเอียด เนือ่ งจากคุณหมอสงสัยว่าทัง้ หมดป่วยเป็นโรคพิษตะกัว่ จากการทำงานในโรงงานแห่งหนึ่ง แต่รายละเอียดการวินิจฉัยรวมทั้งชื่อโรงงาน และคนงานยั ง คงถู ก ปิ ด เป็ น ความลั บ และกระบวนการทั ้ ง หมดจะมี ต ั ว แทน

202


ของนายจ้างสังเกตการณ์ดว้ ยตลอด นพ.อดุลย์กล่าวว่า สถานการณ์โรคทีเ่ กิดจากการทำงานนัน้ น่าเป็นห่วงอย่างยิง่ ไม่เพียงเพราะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรม หรือเพราะนายทุน ละเมิดกฎหมายสิง่ แวดล้อมและสิทธิแรงงานมากขึน้ แต่ยงั เป็นเพราะความอ่อนแอ ของระบบตรวจสอบโรงงานและปัญหาในการวินจิ ฉัยโรคทีเ่ กิดจากการทำงานอีกด้วย สาเหตุสำคัญอีกประการหนึง่ ทีท่ ำให้ชวี ติ คนงานตกอยูใ่ นอันตรายมากขึน้ คือการ ทีผ่ ปู้ ระกอบการหันมาใช้ระบบ “จ้างเหมาแรงงาน” หรือ subcontract คือระบบที่ ผู้ประกอบการจ้างคนงานผ่านบริษัทนายหน้าจัดหาคนงาน หรือส่งมอบงานให้กับ โรงงานรายย่อยๆ หรือทีเ่ รียกว่า “โรงงานห้องแถว” นพ.อดุลย์อธิบายว่า ระบบนี้ทำให้นายจ้างไม่ต้องจัดระบบสวัสดิการให้กับ คนงาน (เพราะถือว่าเป็นลูกจ้างของบริษทั นายหน้า) ส่วนโรงงานห้องแถวก็มกั จะไม่มี ระบบคุม้ ครองความปลอดภัยของคนงาน แต่โจทย์ใหญ่ทท่ี ำให้สถิตกิ ารเจ็บป่วยและการประสบอุบตั เิ หตุของแรงงานไทย เพิ่มสูงขึ้นก็คือ นโยบายของรัฐที่มุ่งเน้นการ “ลดแลกแจกแถม” ให้กับนักลงทุน ทัง้ ชาวไทยและต่างชาติ เพือ่ ดึงดูดเงินลงทุนเข้าสูป่ ระเทศนัน่ เอง สำนักงานกองทุนเงินทดแทนของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม3 รายงานว่า ในปี 2548 มีลกู จ้างทีป่ ระสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนือ่ งจากการทำงาน กองทุ น เงิ น ทดแทนตั ้ ง ขึ ้ น ตามพระราชบั ญ ญั ต ิ เ งิ น ทดแทน พ.ศ. 2537 เพื ่ อ เป็ น ทุ น ในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลกู จ้างแทนนายจ้างเมือ่ ลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือถึงแก่ความ ตาย หรือสูญหายเนือ่ งจากการทำงาน นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนปี ละหนึง่ ครัง้ มีลกั ษณะเหมือนเบีย้ ประกัน เมือ่ ลูกจ้างเจ็บป่วยจากการทำงาน ลูกจ้างก็มสี ทิ ธิได้รบั เงิน ทดแทนจากกองทุ น เงิ น ทดแทน ซึ ่ ง ประกอบด้ ว ยค่ า รั ก ษาพยาบาล ค่ า ทดแทนรายเดื อ น ค่าฟืน้ ฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ จำนวนเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่ายนี้จะคิดจากค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน คูณด้วยอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการนัน้ โดยนายจ้างแต่ละประเภทจะจ่ายเงินสมทบในอัตรา ส่วนทีไ่ ม่เท่ากัน ทัง้ นีข้ น้ึ อยูก่ บั การเสีย่ งภัยตามลักษณะงานของกิจการ นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบ ตามอัตราหลักสี่ปีติดต่อกัน และในปีที่ห้าเป็นต้นไปจะมีการคำนวณอัตราส่วนอุบัติเหตุและความ เจ็บป่วยของคนงานเพือ่ ลดหรือเพิม่ อัตราเงินสมทบให้นายจ้าง 3

203


214,235 คน เสียชีวติ 1,444 คน จำนวนสูงกว่าปี 2547 ซึง่ มีคนงานเสียชีวติ 861 คน ถึงเกือบเท่าตัว และยังเป็นสถิตทิ ส่ี งู ทีส่ ดุ ในรอบ 12 ปีอกี ด้วย ส่วนในครึง่ ปีแรก ของปี 2549 มีลกู จ้างทีป่ ระสบอันตรายแล้วจำนวน 26,391 คน เสียชีวติ 354 คน กว่า 3,400 คนสูญเสียอวัยวะบางส่วนอย่างถาวร โรคภัยไข้เจ็บของผู้ใช้แรงงานเหล่านี้มีตั้งแต่โรคประสาทหูเสื่อม โรคกระดูก และกล้ามเนือ้ จากการเคลือ่ นไหวซ้ำซาก โรคปอด (จากการสูดดมฝุน่ ฝ้ายในโรงงาน ทอผ้ า ฝุ ่ น หิ น จากโรงโม่ ห ิ น แร่ ใ ยหิ น จากโรงงานผลิ ต ซี เ มนต์ แ ละฝ้ า เพดาน) โรคผิวหนังอักเสบจากการแพ้สารเคมีอันตราย โรคพิษจากสารตะกั่ว-กรด-ปรอทสังกะสี เจ็บป่วยจากรังสีความร้อน (Heatstroke) หายใจไม่ออกจากภาวะอับอากาศ โรคจากความเย็น โรคจากความสั่นสะเทือน โรคจากความกดดันอากาศ และการ เจ็บป่วยจากการยกหรือเคลือ่ นย้ายของหนัก อุบัติเหตุก็มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งตกจากที่สูง วัตถุหรือสิ่งของหล่น ทับ-กระแทก-ชน-ตัด-บาด-ทิม่ แทง-ระเบิด ไฟฟ้าช็อต ฯลฯ เป็นที่น่าสังเกตว่า กองทุนเงินทดแทนและสำนักโรคจากการประกอบอาชีพ และสิง่ แวดล้อมของกระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้บรรจุโรคมะเร็งไว้ในบัญชีรายชือ่ โรค จากการทำงาน ซึ่ง นพ.อดุลย์มองว่า เป็นโรคจากการทำงานที่ร้ายแรงที่สุด ที่กำลังคุกคามแรงงานไทย อย่างไรก็ตาม ในรอบสิบปีที่ผ่านมา ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์ยังไม่พบผู้ป่วย โรคมะเร็งจากการทำงาน ซึ่งอาจเพราะเป็นเรื่องที่พิสูจน์ยาก เนื่องจากมะเร็ง เกิ ด ได้ จ ากหลายสาเหตุ นอกเสี ย จากคนงานจะสั ม ผั ส กั บ สารก่ อ มะเร็ ง อย่ า ง ชัดเจนจริงๆ “เช่นเมือ่ ต้นปี 2549 มีคนงานทีท่ ำงานอยูก่ บั ไอกรดแบตเตอรีม่ า 30 ปี ป่วย เป็นโรคมะเร็งปอด กรณีนี้ก็เป็นไปได้สูงว่าอาจเกิดจากการสัมผัสสารก่อมะเร็ง ในโรงงาน แต่กอ็ าจเป็นไปได้วา่ เกิดจากการสูบบุหรี”่ คุณหมออธิบายว่า ปัจจุบนั นีแ้ พทย์จะยึดบัญชีรายชือ่ สารก่อมะเร็งของ International Labour Office ขององค์การสหประชาชาติเป็นหลัก ถ้าหากว่าคนงาน ป่วยเป็นมะเร็ง แต่ไม่มปี ระวัตสิ มั ผัสสารเคมีทอ่ี ยูใ่ นบัญชี “Class1” ก็จะไม่วนิ จิ ฉัยว่า เป็นมะเร็งจากการสัมผัสสารเคมี

204


แม้วา่ จะยังไม่มกี ารยืนยันว่าการสัมผัสสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสาเหตุ ของการป่วยเป็นโรคมะเร็งของคนงานโรงงานอุตสาหกรรม และสถิตกิ ารเกิดโรคมะเร็ง ในกลุม่ ผูใ้ ช้แรงงานก็ยงั ไม่ปรากฏ แต่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงาน ความเสีย่ งต่อการเป็นมะเร็งของคนงานในภาคอุตสาหกรรมไว้ดงั นี้ มะเร็งโพรงจมูก: โรงงานผลิตเฟอร์นเิ จอร์ ฟอร์มลั ดิไฮด์ เรซิน ไม้อดั มะเร็งเยื่อหุ้มปอด: เหมืองแร่ใยหิน อุตสาหกรรมผลิตท่อใยหิน อู่ต่อเรือ อูร่ ถยนต์ มะเร็งกระเพาะอาหาร: อุตสาหกรรมเคมีและยาง มะเร็งตับ: โรงงานกลั่นน้ำมัน เคมีและปิโตรเคมี สิ่งทอ โรงงานพลาสติก ปัม๊ น้ำมัน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ: โรงงานย้อมผ้าทีใ่ ช้สารประกอบแอนิลนี ส่วนโรคจากการทำงานอื่นๆ ที่พบบ่อยและอยู่ภายใต้การเฝ้าระวังของกรม ควบคุมโรค ได้แก่ โรคประสาทหูเสื่อม: การได้รับเสียงดังมากๆ เป็นเวลานาน ทำให้เซลล์ขน ในหูเสือ่ มและตาย ผูป้ ว่ ยจะกลายเป็นคนหูตงึ หรือหนวก ซึง่ เป็นความพิการอย่างถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายได้ คนงานที่ได้รับเสียงดังจะเกิดความเครียด เบื่อหน่าย หงุดหงิด ทำงานล่าช้า สือ่ สารไม่รเู้ รือ่ ง ทำให้เกิดอุบตั เิ หตุงา่ ยขึน้ โรคปอดอักเสบ พังผืดในปอด: เกิดจากการสูดดมฝุน่ ละออง ควัน สารพิษ ทีก่ อ่ ให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ หรือแทรกผ่านเข้าสูก่ ระแสเลือด เช่น โรคปอดฝุน่ หิน (โรงโม่หนิ โรงงานหลอมโลหะ อุตสาหกรรมแก้ว กระจกฝ้า), โรคปอด ฝุน่ ฝ้าย (โรงงานสิง่ ทอ ตัดเย็บเสือ้ ผ้า), โรคปอดจากแร่ใยหิน (โรงงานผลิตท่อซีเมนต์ กระเบือ้ งมุงหลังคา ฝ้า เพดาน เบรก คลัช) โรคหืด: สารทีก่ อ่ ให้เกิดโรคหืดมีมากกว่า 300 ชนิด ซึง่ เป็นส่วนประกอบใน สียอ้ มผ้า กาวติดผนัง แป้งทำขนมปัง (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุวา่ มีสารเคมีมากกว่า 500 ชนิด เป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ ในคนงาน) โรคพิษตะกั่ว: มักเกิดกับคนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ตะกั่ว เป็นวัตถุดบิ เช่น โรงหล่อตัวพิมพ์ โรงหล่อภาชนะบรรจุ โรงผลิตเครือ่ งประดับ โรงงาน แบตเตอรี่ โรงงานผลิตสี โรงงานเครื่องเคลือบดินเผา โรงงานผลิตชิ้นส่วน

205


อิเล็คทรอนิคส์ โรงกลัน่ น้ำมัน เหมืองแร่ และโรงงานผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพชื โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง: เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับระบบ กล้ามเนือ้ เอ็น กระดูก เส้นประสาท ไม่สามารถระบุสาเหตุทช่ี ดั เจนได้ ความผิดปกติ นีเ้ พิม่ ขึน้ ทุกปีในกลุม่ ผูท้ ท่ี ำงานกับสายพานการผลิต ทำงานโดยมีการเคลือ่ นไหวซ้ำๆ เป็นเวลานาน ใช้เครือ่ งมือทีส่ น่ั สะเทือนหรือทำงานในทีอ่ ณ ุ หภูมติ ำ่ มาก เช่นห้องเย็น โรคระบบประสาทจากการทำงาน: เกิดจากการสัมผัสสารพิษ เช่น ตะกั่ว แมงกานีส ปรอท ไซยาไนด์ สารฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช คาร์บอนมอนอกไซด์ จนทำลายระบบประสาทบริเวณเปลือกสมอง ปลอกหุม้ ประสาท ก้านเซลล์ประสาท เซลล์ประสาท พบในคนงานโรงงานเยื่อกระดาษ โรงกลั่นน้ำมัน ถลุงหลอมเหล็ก ถ่านหิน งานชุบโลหะ และโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสติก นพ.อดุลย์อธิบายถึงการวินิจฉัยโรคจากการทำงานว่า แพทย์จะเริ่มต้นจาก การวินิจฉัยโรคที่คนงานเป็นก่อน โดยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ ยืนยัน เช่น โรคปอด โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจ โรคสมองอักเสบ จากนัน้ จึงซักประวัตกิ าร ทำงาน และนำมาเชือ่ มโยงกับความเจ็บป่วย “ประวัติที่สำคัญที่สุดคือระยะเวลาในการทำงาน เพราะโรคจากการทำงาน มักเกิดจากการได้รับสารพิษสะสม หรือทำงานในท่าเดิมนานๆ นอกจากนี้แพทย์ อาชี ว เวชศาสตร์ ย ั ง ต้ อ งเก็ บ ข้ อ มู ล เกี ่ ย วกั บ ลั ก ษณะของงาน สภาพแวดล้ อ ม ในการทำงาน มีเครื่องป้องกันอันตรายหรือไม่ ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องมีการลงพื้น ที่ตรวจสอบสภาพภายในโรงงาน ขั้นตอนสุดท้ายคือนำข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน มาเชือ่ มโยงกับโรคทีพ่ บ” แต่ทง้ั หมดนีไ้ ม่ใช่เรือ่ งง่าย อุปสรรคนัน้ มีตง้ั แต่นายจ้าง ไม่ยอมส่งตัวคนงานมารักษาเพราะ กลัวจะเสียชื่อเสียงและประวัติ เรื ่ อ งความปลอดภั ย ในโรงงาน คนงานไม่ยอมมารักษาเองเพราะ กลัวเสียค่าใช้จา่ ย การขาดแคลน แพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์ไปจน ภาพจาก www.eftithai.com

206


กระทัง่ ถึงนายจ้างไม่ให้ความร่วมมือในการสอบสวนโรค และไม่ยอมให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับ สภาพการทำงานหรือสารเคมีทใ่ี ช้ในโรงงาน “เมื่อเร็วๆ นี้ มีคนงานมาตรวจที่คลินิก เขามีหน้าที่เททินเนอร์ผสมสี ในโรงงานผลิตสียี่ห้อดังแห่งหนึ่งที่จังหวัดฉะเชิงเทรามาเป็นเวลาห้าปี ต่อมา มีอาการเวียนหัวและมึนงง ผมวินิจฉัยว่าเป็นโรคจากพิษโซลเวนท์ (ตัวทำละลาย) พอเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำโรงงาน4 เห็นรายงานของแพทย์ ก็โกรธจัด และโทรศั พ ท์ ม าต่ อ ว่ า เราทั น ที โดยอ้ า งว่ า โรงงานของเขามี ค วามปลอดภั ย ตามมาตรฐานทุกอย่าง แต่พอผมจะขอเข้าไปตรวจในโรงงาน กลับไม่ยอม” “พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เข้าไปตรวจโรงงานทีม่ ปี ญ ั หาได้ แต่ในทางปฏิบตั ผิ ปู้ ระกอบการมักจะไม่ให้เจ้าหน้าที่ เข้าไปตรวจ หรือไม่กผ็ ดั ผ่อนจนกว่าจะมีการ “จัดฉาก” เรียบร้อยแล้ว” นพ.อดุลย์กล่าว แต่ก็มีนายจ้างอยู่จำนวนหนึ่งที่ให้ความร่วมมือด้วยดี เช่นพาคนงานที่ เจ็บป่วยมาพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ และยินยอมให้ตรวจร่างกายคนงานอื่นๆ ในโรงงาน รวมทัง้ ทำตามข้อแนะนำของผูเ้ ชีย่ วชาญในการปรับปรุงแก้ไขสถานทีท่ ำงาน เช่นโรงงานห้องแถวแห่งหนึ่งที่รับล้าง Hard Disk ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการใช้ ตัวทำละลาย (Solvent) พบว่ามีคนงาน 4 - 5 คนป่วยเป็นโรคพิษจากตัวทำละลาย มีอาการยกเท้าไม่ขน้ึ หรือเดินไม่ได้ เนือ่ งจากปลายประสาทอักเสบ เจ้าของโรงงาน จึงพาหมอมาตรวจสุขภาพคนงานและหาสาเหตุที่ทำให้คนงานป่วย ซึ่งพบว่าระบบ ระบายอากาศของโรงงานบกพร่ อ ง ทำให้ ค นงานสู ด ดมสารเคมี ข ณะทำงาน เจ้าของโรงงานก็ดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว ทางด้าน สุทพิ ย์ ไม้แก้ว เจ้าหน้าทีก่ องตรวจความปลอดภัย กรมสวัสดิการ และคุม้ ครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม มองว่าสถานการณ์โรค และอุบัติเหตุจากการทำงานไม่ได้เลวร้ายจนเกินไปนัก เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการบังคับใช้กฎหมาย และมีกระบวนการตรวจสอบโรงงาน และการช่วยเหลือ คนงานที่เข้มแข็งในระดับหนึ่ง ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรือ่ ง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง กำหนดให้นายจ้างทีม่ ลี กู จ้างตัง้ แต่ 50 คนขึน้ ไป แต่งตัง้ เจ้าหน้าทีค่ วามปลอดภัยในการทำงาน (จป.) อย่างน้อย 1 คน เพือ่ ปฏิบตั งิ านด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการ 4

207


“เราสามารถขอเข้าไปดูโรงงานในเวลาทำการได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกเจ้าของ กิจการล่วงหน้า เราจะขอดูขอ้ มูลบัญชีรายชือ่ สารเคมีทใ่ี ช้ สถิตอิ บุ ตั เิ หตุ การเตรียม อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยให้คนงานและมาตรการป้องกันอุบัติเหตุ ถ้ามี การละเมิดกฎหมายอย่างรุนแรง เราจะออกคำสัง่ ให้แก้ไขหรือปิดโรงงานจนกว่าจะมี การปรับปรุงสภาพการทำงาน” เธอกล่าวและตัง้ ข้อสังเกตว่า โรงงานขนาดใหญ่และ โรงงานของชาวต่างชาติมกั จะให้ความสำคัญการคุม้ ครองแรงงานมากกว่าโรงงานไทย แต่กม็ บี อ่ ยครัง้ ทีเ่ จ้าหน้าทีต่ รวจความปลอดภัยไม่สามารถเข้าไปตรวจโรงงานได้ “บางทีเจ้าของโรงงานปิดโรงงานไม่ยอมให้เราเข้าไป...ปล่อยสุนขั มาไล่กดั เราก็ม”ี สุทิพย์ยอมรับว่า ระบบการตรวจสอบโรงงานและการคุ้มครองแรงงาน จะดีกว่าที่เป็นอยู่มากหากว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานกันดีกว่านี้ หรือตั้ง องค์กรใหม่ทร่ี วมหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องทัง้ หมดไว้ดว้ ยกัน “ตอนนี้เรียกได้ว่าทั้งกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม, กระทรวงสาธารณสุข, กรมโรงงาน และกระทรวงแรงงานฯ ต่างคนต่างทำงาน” สุทพิ ย์กล่าว ข้ อ เป็ น ห่ ว งอี ก ประการหนึ ่ ง ในมุ ม มองของเจ้ า หน้ า ที ่ ก ระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม คือการขาดแคลนแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันนี้ มีอยูเ่ พียง 600 คนทัว่ ประเทศ ในขณะทีป่ ระเทศไทยมีลกู จ้างทีข่ น้ึ ทะเบียนกับกระทรวง ถึง 7.8 ล้านคน อย่างไรก็ตาม สุทิพย์เชื่อว่าจำนวนแพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะเพิ่มขึ้นเร็วๆ นี้ เนือ่ งจากกระทรวงแรงงานฯ ได้บงั คับใช้ “กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธกี ารตรวจสุขภาพ และส่งผลการตรวจสุขภาพต่อพนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547” ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่กำหนดว่าแพทย์ ที่ตรวจสุขภาพคนงานต้องเป็นแพทย์ที่ผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์เท่านั้น เพราะที่ผ่านมา การตรวจสุขภาพคนงานนั้นทำโดยแพทย์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ ทำให้ค้นพบโรคที่เกิดจากการทำงานน้อย อีกทั้งยังไม่ได้รับความเชื่อถือจาก ทั้งคนงานและนายจ้าง ในอนาคตอันใกล้ กระทรวงแรงงานฯ จะเสนอกฎหมายอีกสองฉบับที่สุทิพย์ เชือ่ มัน่ ว่าจะเป็นเกราะคุม้ กันคนงานจากความเจ็บป่วยได้ คือ “ประกาศกระทรวงว่า

208


ด้วยบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย” ซึ่งกำหนดให้โรงงานที่ใช้สารเคมีที่อยู่ในบัญชี จะต้องจัดตรวจสุขภาพคนงานเพือ่ ดูผลกระทบของสารเคมีชนิดนัน้ ๆ ต่อคนงาน และ “กฎหมายเฝ้าระวังสุขภาพลูกจ้าง” ซึ่งกำหนดว่า สถานประกอบการที่ทำงาน เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง จะต้องมีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ประจำในโรงงาน ซึ่งตอนนี้ กฎหมายกำหนดเพียงว่า ให้สถานประกอบการทีม่ ลี กู จ้าง 200 คนขึน้ ไป จัดการตรวจ สุขภาพคนงานโดยแพทย์ทว่ั ไปอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครัง้ แต่ในความเห็นของสุทิพย์ ความพยายามทั้งหมดนี้จะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าหากว่าคนงานไม่ดูแลตัวเองด้วย เช่นไม่ยอมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่นายจ้างจัดให้ หรือทำโอทีมากเกินไปเพราะอย่างได้คา่ แรงเยอะๆ ทำให้รา่ งกายอ่อนเพลียและเสีย่ ง ต่อการได้รบั บาดเจ็บขณะทำงาน “ปัญหาเรือ่ งความเจ็บป่วยจากการทำงาน ส่วนหนึง่ เป็นเพราะลูกจ้างเองไม่กลัว ไม่มคี วามรู้ และไม่รจู้ กั ระวังตัวเอง” เธอสรุป

บนเส้นทางการต่อสูข้ อง “เหยือ่ ” สมบุ ญ ศรี ค ำดอกแค อดี ต คนงานโรงงานทอผ้ า กรุ ง เทพซึ ่ ง กำลั ง ป่ ว ย จากโรคปอดฝุน่ ฝ้าย และ จรรยา ยิม้ ประเสริฐ แห่งโครงการรณรงค์เพือ่ แรงงานไทย ไม่เชือ่ ว่าสถานการณ์กำลังจะดีขน้ึ อย่างทีเ่ จ้าหน้าทีก่ ระทรวงแรงงานฯ บอก แม้ว่าจะต่อสู้เรื่องโรคจากการทำงานมากว่าสิบปี แต่สมบุญซึ่งปัจจุบัน เป็นประธานสภาเครือข่ายกลุม่ ผูป้ ว่ ยจากการทำงานและสิง่ แวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่ายังคงมีคนงานจำนวนมากที่ล้มป่วยด้วยโรคจากการทำงานและถูกนายจ้าง คุ ก คามสิ ท ธิ ส ารพั ด รู ป แบบ ขณะที ่ ข ้ อ เรี ย กร้ อ งต่ า งๆ ของสภาเครื อ ข่ า ยฯ ก็ยังไม่ได้รับการตอบสนอง โดยเฉพาะข้อเสนอเรื่องการจัดตั้ง “สถาบันอิสระ ด้านอาชีวเวชศาสตร์และการคุ้มครองแรงงาน” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้แพทย์มีอิสระ ในการวินจิ ฉัยโรค และได้รบั การคุม้ ครองจากการกดดัน/คุกคามจากผูป้ ระกอบการ “กฎหมายด้านอาชีวเวชศาสตร์และการคุ้มครองแรงงานมีเพิ่มมากขึ้นก็จริง แต่นายจ้างก็มเี ทคนิคทีจ่ ะหลบเลีย่ งได้อยูเ่ รือ่ ยไป” เธอกล่าว ข้อเรียกร้อง “คลาสสิก” อย่างการขอขึน้ ค่าแรงขัน้ ต่ำเป็นอีกเรือ่ งหนึง่ ทีไ่ ม่ได้ รับการตอบสนองจากรัฐบาล ซึ่งเป็นเหตุให้คนงานต้องทำโอทีวันละหลายชั่วโมง 209


ภาพจากวารสารแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชัน่ แนล ประเทศไทย และหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

หรือยอมทำงานทั้งกลางวันและกลางคืนจนร่างกายทรุดโทรม และป่วยเป็นโรค สารพัดชนิด แต่ปัญหาใหญ่ที่สร้างความหนักใจให้กับคนงานมากที่สุดในตอนนี้ คือระบบ ประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนทีไ่ ม่สามารถช่วยเหลือคนงานได้จริงตามวัตถุประสงค์ ของการจัดตัง้ สภาเครือข่ายผูป้ ว่ ยจากงานฯ พบว่า กระบวนการพิจารณาอนุมตั เิ งินทดแทน นั้นยุ่งยากและกินเวลานานเกินความจำเป็น สมบุญมองว่า ปัญหาการใช้สทิ ธิการรักษาพยาบาลและค่าชดเชยจากกองทุนฯ นัน้ มีสาเหตุสำคัญอย่างน้อยสองประการ ประการแรกคือนายจ้างกีดกันไม่ให้คนงาน ใช้สทิ ธิจากกองทุนเงินทดแทน โดยจะส่งคนงานไปรักษากับแพทย์ทว่ั ไป เพือ่ มิให้สถิติ การเจ็บป่วยและอุบตั เิ หตุของบริษทั สูง ซึง่ จะมีผลทำให้ตอ้ งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ สูงขึ้นในปีต่อไป ประการที่สองคือกระบวนการพิจารณาอนุมัติเงินทดแทนของคณะ กรรมการแพทย์กองทุนเงินทดแทนนัน้ ซับซ้อน กินเวลานาน และมักจะไม่ยอมวินจิ ฉัย ว่ า ความเจ็ บ ป่ ว ยของคนงานนั ้ น เกิ ด จากการทำงาน ทำให้ ค นงานไม่ ส ามารถ ได้รบั เงินทดแทนจากกองทุนฯ ได้ “บางครั้งคนงานคิดว่าคงตายเสียก่อนที่จะได้รับเงินจากกองทุนเงินทดแทน บางทีกว่ากองทุนฯ จะอนุมัติค่ารักษาโรคมาให้ คนงานก็นอนอยู่ในไอซียูแล้ว” สมบุญกล่าวในการเสวนา เรือ่ ง โรคและอุบตั เิ หตุจากการทำงาน จัดโดยชมรมผูส้ อ่ื ข่าว สิง่ แวดล้อมเมือ่ กลางเดือนกรกฎาคม 2549

210


นอกจากนี้ การรณรงค์เรื่อง “อุบัติเหตุเป็นศูนย์” (Zero accident) ของ กองทุ น ฯ ยั ง กลายเป็ น ดาบสองคมที ่ อ าจส่ ง ผลเสี ย ต่ อ คนงานมากกว่ า ผลดี เพราะนายจ้างพยายามปกปิดสถิติการเกิดอุบัติเหตุและความเจ็บป่วยในโรงงาน หลีกเลี่ยงไม่นำคนงานส่งโรงพยาบาล หรือกดดันไม่ให้แพทย์วินิจฉัยว่าคนงาน บาดเจ็บจากการทำงาน เพือ่ ให้สถิตอิ บุ ตั เิ หตุและความเจ็บป่วยในโรงงาน “เป็นศูนย์” ตามเป้าหมายของกระทรวงแรงงานฯ เธอบอกว่า แม้คนงานจะไม่พอใจนายจ้างทีไ่ ม่เคารพสิทธิแรงงาน แต่พวกเขา กลับรู้สึกเจ็บปวดกับรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐมากกว่า “เพราะถ้ารัฐบาลเห็นความ สำคัญของชีวิตคนงาน มีมาตรการคุ้มครองแรงงานที่เข้มแข็ง พวกนายทุนก็คง ไม่กล้าฮึกเหิมละเมิดสิทธิแรงงานขนาดนี”้ ในขณะทีส่ มบุญเพ่งเล็งไปทีห่ น่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าทีอ่ งค์กรพัฒนาเอกชน ด้านแรงงานอย่าง จรรยา ยิม้ ประเสริฐ กลับจับจ้องไปทีผ่ ปู้ ระกอบการ โดยเฉพาะ บริษัทข้ามชาติที่มาลงทุนตั้งโรงงานในประเทศไทย ว่าเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ แรงงานไทยต้องมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีย่ ำ่ แย่ โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign — TLC) เป็ น หั ว หอกสำคั ญ ในการ “แฉ” พฤติ ก รรมของบริ ษ ั ท ข้ า มชาติ โ ดยเฉพาะ เจ้าของสินค้าแบรนด์เนมดังๆ ทั้งหลาย ที่ละเมิดสิทธิแรงงานในประเทศโลกที่สาม ซึ่งกลายมาเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากค่าแรง ราคาถูก มาตรการจูงใจด้านการลงทุน และทีส่ ำคัญคือ เป็นการโยกย้ายอุตสาหกรรม ทีก่ อ่ มลพิษออกนอกประเทศของตน ในหนังสือรวมบทความด้านแรงงาน เสียงจากประเทศโลกใต้ วิพากษ์ จรรยาบรรณของบรรษัทข้ามชาติ จรรยาเขียนเอาไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงระบบ โซ่การผลิตของภาคอุตสาหกรรมในรอบสิบปีที่ผ่านมา ทำให้อุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ ฉวยโอกาสแสดงอำนาจอย่ า งไร้ ค วามรั บ ผิ ด ชอบ โดยการย้ า ยฐานการผลิ ต ไปยังประเทศที่ “สามารถขูดรีดได้มากที่สุด” บริษัทต่างๆ ยังมุ่งทำกำไรสูงสุด และใช้ตน้ ทุนต่ำทีส่ ดุ ในทุกขัน้ ตอนการผลิต โดยไม่สนใจว่าจะต้องทำด้วยวิธใี ดก็ตาม “ระบบโซ่การผลิต” ทีเ่ ปิดโอกาสให้ผปู้ ระกอบการละเมิดสิทธิแรงงานไทยทีว่ า่ นี้ ก็คือการผลิตแบบ “ส่งทันเวลาพอดี” (Just in Time — JIT) ซึ่งถูกออกแบบ

211


มาเพื่อทำให้สินค้าคงคลังของบรรษัทข้ามชาติเหลือน้อยลง และทำให้ผลิตสินค้า ได้รวดเร็วขึน้ การผลิตภายใต้ระบบ JIT ซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายในทุกอุตสาหกรรม ทั้งยานยนต์ เครื่องกีฬา เสื้อผ้า อิเล็คทรอนิคส์ ฯลฯ โรงงานจะต้องเตรียมการ เพื่อให้สามารถผลิตตามออเดอร์ที่เข้ามาได้ในเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ข้อกำหนด เรื่องชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และ เนือ่ งจากปริมาณออเดอร์ทไ่ี ม่แน่นอน บริษทั ฯ จึงลดความเสีย่ งด้วยการจ้างคนงาน เท่ าที่จำเป็นและส่งงานไปยังโรงงานรับเหมาช่วง ซึ่งโดยมากจะเป็นโรงงาน ห้องแถวในกรุงเทพฯ ชายแดนไทย-พม่า และหมูบ่ า้ นในภาคอีสาน ซึง่ ปราศจากระบบ การคุม้ ครองแรงงานและสวัสดิการอย่างสิน้ เชิง คนงานใน “โรงงานที ่ ม องไม่ เ ห็ น ” ที ่ ผ ลิ ต สิ น ค้ า ให้ บ ริ ษ ั ท ข้ า มชาติ น ั ้ น บางทีมจี ำนวนมากกว่าคนงานในโรงงานของบริษทั เจ้าของสินค้าเสียอีก จรรยาวิจารณ์บริษัทข้ามชาติเหล่านี้ว่า มักจะทุ่มเงินไปกับการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ มากกว่าจะยอมเสียเงินเพื่อปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยใน โรงงานและการดูแลสุขภาพคนงาน ส่งผลให้ภาพพจน์กับความเป็นจริงในเรื่อง การคุม้ ครองคนงานของบริษทั ข้ามชาติเหล่านีแ้ ตกต่างกันอย่างสิน้ เชิง “บริษทั ข้ามชาติจำนวนมากต่อต้านการตัง้ สหภาพแรงงานซึง่ เป็นกลไกสำคัญ ในการเรียกร้องมาตรการคุม้ ครองสิทธิและความปลอดภัยในการทำงาน และโรงงาน อีกหลายแห่งที่มีใบรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม (ISO) และความปลอดภัย ในการทำงานก็มักจะไม่ทำตามมาตรฐานที่กำหนด หากแต่มีใบรับรองนี้เพื่อสร้าง ภาพลักษณ์ทด่ี ใี ห้กบั บริษทั ฯ เท่านัน้ ”

อีกกี่ชีวิต? ปลายเดือนสิงหาคม 2549 ผูเ้ ขียนได้รบั โทรศัพท์จากผูช้ ายคนหนึง่ เขาบอกว่าชือ่ “ประพันธ์” เป็นคนงานอยูท่ โ่ี รงงานผลิตชิน้ ส่วนอิเล็คทรอนิคส์ ชื่อดังแห่งหนึ่งของชาวสิงคโปร์ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช จ. ชลบุรี (เป็นโรงงานเดียวกับทีห่ ลานของแมวทำงานอยู)่ ก่อนหน้านีห้ ลานของแมวก็บน่ ว่ามีอาการชาทีม่ อื และแขน บางครัง้ อาการหนัก 212


จนหมดความรู ้ ส ึ ก และขยั บ เขยื ้ อ นไม่ ไ ด้ แต่ เ ขาปฏิ เ สธที ่ จ ะให้ ข ้ อ มู ล เพิ ่ ม เติ ม เนือ่ งจากกลัวว่าจะมีปญ ั หากับนายจ้าง “ทีโ่ รงงานมีคนงานหญิงอายุประมาณสามสิบปีตายไปสองคนเมือ่ ปีทแ่ี ล้ว และ คนงานหญิงอีกคนหนึง่ ก็กำลังป่วยหนักจนทำงานไม่ไหว ต้องลาออกจากงาน กลับไป อยูต่ า่ งจังหวัด หมอบอกว่าปอดเขาถูกทำลายไปข้างหนึง่ ส่วนคนงานอืน่ ๆ ก็มอี าการ อ่อนแอ ป่วยง่าย และหายยาก เพราะสภาพการทำงานมันแย่มาก” ประพันธ์เล่า “ก่อนหน้านี้คนงานที่ป่วยได้ตรวจร่างกายกับแพทย์ที่โรงงานจ้างมา แพทย์ บอกว่ า ปกติ ด ี ท ุ ก อย่ า ง แต่ ส องเดื อ นหลั ง จากนั ้ น เขาก็ ล ้ ม ป่ ว ย ผลเอ็ ก ซเรย์ ทีโ่ รงพยาบาลบอกว่าปอดถูกทำลายแล้ว “คนงานที่นี่ต้องทำงานอยู่กับตะกั่ว โลหะหนัก สารเคมีสารพัดชนิด ผมเอง ยอมเสียเงินไปตรวจสุขภาพทีโ่ รงพยาบาลเองครัง้ ละ 1,300 บาท เพราะไม่เชือ่ หมอ ทีบ่ ริษทั ฯ จ้างมา” เขาเล่าด้วยน้ำเสียงเป็นทุกข์ เมื่อถามว่าจะช่วยอะไรได้บ้าง เขาตอบด้วยน้ำเสียงอ่อนล้าว่า “ผมก็ไม่รู้ เหมื อ นกั น ...ไม่ ร ู ้ ว ่ า จะต้ อ งไปขอความช่ ว ยเหลื อ จากหน่ ว ยงานไหน ผมรู ้ แต่วา่ คนงานทีน่ ก่ี ำลังแย่ ครอบครัวของคนทีเ่ สียชีวติ และออกจากงานไปก็เดือดร้อน เพราะพวกเราเป็นเรีย่ วแรงหลักในการหาเลีย้ งครอบครัว” ผู้เขียนทำได้เพียงรับปากกับเขาว่าจะช่วยแจ้งไปที่กองตรวจความปลอดภัย ของกระทรวงแรงงานฯ ให้ และแนะนำให้เขาโทรศัพท์ไปปรึกษาสมบุญ ศรีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุม่ ผูป้ ว่ ยจากการทำงานและสิง่ แวดล้อมแห่งประเทศไทย แต่กไ็ ม่แน่ใจว่าทางสภาเครือข่ายฯ จะช่วยประพันธ์และคนงานทีโ่ รงงานแห่งนี้ ได้หรือเปล่า เพราะลำพังกรณีปญ ั หาทีม่ อี ยูน่ น้ั ก็เยอะเต็มทนอยูแ่ ล้ว และกระบวนการ แก้ปญ ั หาก็เชือ่ งช้าเต็มที สมบุญเองก็คงยังเครียดอยู่มากหลังจากศาลฎีกาเพิ่งมีคำสั่งเลื่อนการตัดสิน ในคดีทเ่ี ธอและคนงานหญิงโรงงานทอผ้ากรุงเทพรวม 38 คนทีป่ ว่ ยด้วยโรคปอดอักเสบ จากฝุ่นฝ้ายจากการทำงานในโรงงาน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อ เรียกร้องค่าเสียหายจากโรงงาน ศาลชั้นต้นตัดสินให้ผู้ป่วยชนะคดีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 แต่นายจ้าง อุทธรณ์ ทำให้คดีนม้ี กี ารต่อสูท้ ย่ี ดื เยือ้ ยาวมาถึง 11 ปี

213


สมบุ ญ และเพื ่ อ นคนงานร้ อ งไห้ ร ะงมหลั ง จากศาลฎี ก ามี ค ำสั ่ ง ให้ เ ลื ่ อ น การตั ด สิ น ออกไปเพื ่ อ ให้ ม ี ก ารสอบสวนข้ อ มู ล เพิ ่ ม เติ ม พวกเธอรู ้ ส ึ ก สิ ้ น หวั ง และเหนือ่ ยใจกับการต่อสูท้ ย่ี ดื เยือ้ “พวกเราหลายคนกำลังป่วยหนัก เราอยากให้ศาลตัดสินเร็วๆ ว่าเราจะได้ ค่าชดเชยมารักษาตัวหรือไม่ การยืดเวลาการตัดสินออกไปอีกอย่างไม่มีกำหนด เช่นนีไ้ ม่เป็นผลดีกบั เราเลย” สมบุญให้สมั ภาษณ์หลังจากรับฟังคำสัง่ ศาล ในขณะทีแ่ มว แตน สมหมาย ประพันธ์ สมบุญ และแรงงานไทยอีกหลายล้านคน กำลังอาบเหงื่อต่างน้ำ ทำงานแลกค่าแรงจำนวนน้อยนิด หลายคนกำลังทน ทุกข์ทรมานด้วยโรคจากการทำงานและอุบัติเหตุ ซึ่งย่อมส่งผลไปถึงสมาชิก ในครอบครัวทีอ่ าศัยค่าแรงของพวกเขาและเธอมาจุนเจือค่าอาหาร ค่าเล่าเรียนลูก เจ้าของโรงงานและบริษัทข้ามชาติทั้งหลายกลับกำลังง่วนในการทำทุกวิถีทาง เพื่อสร้างผลกำไรของบริษัทฯ ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนบริษัทที่ทำรายได้ตามเป้าหมาย แล้วก็โหมประชาสัมพันธ์ความสำเร็จ อวดคู่แข่งทางธุรกิจกันอย่างเมามัน... โดยหลงลืมชีวิตแรงงานไทยเหล่านี้แทบจะสิ้นเชิง บรรณานุกรม พิ ภ พ อุ ด มอิ ท ธิ พ งศ์ (แปล). วิ พ ากษ์ จ รรยาบรรณของบรรษั ท ข้ า มชาติ เสียงจากประเทศโลกใต้. โครงการรณรงค์เพือ่ แรงงานไทย. กรุงเทพฯ. ไม่ระบุปที พ่ี มิ พ์ เอกสารอาชีวอนามัย. ศูนย์พัฒนาวิชาการในเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก จ.ระยอง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลจากการเสวนาเรือ่ ง “ฟุตบอลโลก: ฟุตบอลโรค?” จัดโดยชมรมผูส้ อ่ื ข่าวสิง่ แวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, 14 กรกฎาคม 2549.

เว็บไซต์

www.mikasasports.com www.mikasasports.co.jp www.cklpcb.com www.sso.go.th

ภาพนำเรือ่ งจาก www.thailabour.org

214


สองปีแห่งการประกาศใช้ กฎหมายจัดรูปทีด่ นิ ผูเ้ ขียน สุรชั อินทองปาน

215


“ที่ผ่านมา เราสร้างเมืองกันอย่างเลื่อนลอย การสร้างเมืองทีข่ าดการวางแผนและการวางผัง ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ทด่ี นิ ไม่เต็มศักยภาพ กลายเป็นปัญหาพื้นที่ตาบอดไม่มีถนนเข้าถึง และพื้นที่รกร้างกลางเมืองอย่างมากมาย ไร้ประโยชน์ ในขณะทีพ่ น้ื ทีด่ า้ นนอกชานเมือง ของเราที่มีศักยภาพเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ชัน้ ดีอนั ควรสงวนไว้ กับกำลังถูกคุกคามและ ทำลายด้ ว ยสิ ่ ง ปลู ก สร้ า งให้ อ ยู ่ ภ ายใต้ พ ื ้ น คอนกรีตในรูปของการสร้างเมืองเลื่อนลอย ไร้ขอบเขตอย่างน่าเสียดาย เมือ่ เรา ไปเรียนรู้ จากประเทศที ่ เ จริ ญ และชำนาญด้ า นการ วางแผน การใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปรียบ เทียบกับนานาอารยะประเทศ เช่นประเทศ ญีป่ นุ่ ฝรัง่ เศส อังกฤษ ฯลฯ หรือแม้แต่ประเทศ เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง ก็จะเห็นว่าการใช้ ประโยชน์ ท ี ่ ด ิ น ของเขาเต็ ม ศั ก ยภาพ ถนนหนทางสวยงาม และเพียบพร้อมด้าน โครงสร้างพืน้ ฐาน จึงได้ตระหนักว่าเราอยูก่ บั

216


เมืองของเราแบบไหนกัน เราปฏิบตั ติ อ่ เมืองเราอย่างไร หรือไม่ได้ปฏิบตั เิ ลย ไม่ดดู ำ ดูดี หรือไม่ตอ้ งคำนึงถึงเลย เช่นนัน้ หรือ เรือ่ งของเมืองมิสามารถเนรมิตได้เพียงผูใ้ ด ผูห้ นึง่ หากแต่จะต้องร่วมมือกันสร้าง” อิทธิพงศ์ ตันมณี นักผังเมืองจากกรมโยธาธิการ และผังเมืองแสดงความคิดเห็น

จัดรูปที่ดินเพื่ออะไร ท่ามกลางความพยายามอย่างเงียบๆ ของนักผังเมือง ภายใต้ความวิตกกังวล ของการเติบโตของเมืองที่ขยายออกอย่างไร้ทิศทาง นักผังเมืองได้ศึกษาหารูปแบบ เทคนิควิธีและเครื่องมือที่จะมาใช้การจัดการเมืองให้น่าอยู่โดยปราศจากการ เผชิญหน้ากันของทุกฝ่าย การประกาศใช้ “กฎหมายจัดรูปทีด่ นิ ” อาจเป็นตัวแทนบอกถึงความพยายาม ของนักผังเมืองที่ครุ่นคิดเพื่อการแก้ปัญหาเมืองที่เติบโตอย่างไร้ทิศทาง ขาดการ วางแผน และปัญหาการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ ไม่เต็มศักยภาพ เหตุผลอันรวบรัดชัดเจนท้ายประกาศพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ “โดยที่ สมควรส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีสว่ นร่วมกับภาครัฐในการจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ ประโยชน์ ในการพัฒนาสภาพทีอ่ ยูอ่ าศัย แหล่งธุรกิจ อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ปรับปรุงหรือ จัดสร้างโครงสร้างพืน้ ฐาน เพือ่ แก้ปญ ั หาสิง่ แวดล้อมของเมืองและชนบททีเ่ สือ่ มโทรม อันเป็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และเพือ่ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน เมืองและชนบท” 217


พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อเดือน ธันวาคมปี 2547 ที่บอกกล่าวถึงปัญหาในอดีต และวิธีคิดในการแก้ไขปัญหา ในวันหน้าของเมือง อาจกล่าวได้วา่ นับจากทีส่ งั คมไทยประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ พืน้ ทีซ่ ง่ึ มีปญ ั หาทัง้ ตาบอดและขาดแคลนสาธารณูปโภค จะสามารถเข้าถึงโครงสร้าง พืน้ ฐาน หากสามารถผ่านกระบวนการตามทีก่ ฎหมายวางไว้ เมืองใหม่จะไม่ไร้ระเบียบ และเพียบพร้อมด้วยภูมทิ ศั น์ทผ่ี า่ นการคิดสอดคล้องกับพืน้ ที่ มูลค่าทีด่ นิ สูงขึน้ ผูค้ น ได้อยูใ่ นพืน้ ถิน่ เดิม แต่ขอ้ กฎหมายทีผ่ า่ นมา 2 ปีกบั ข้อเท็จจริงเรือ่ งการจัดรูปทีด่ นิ กำลังอยูใ่ นสถานการณ์เช่นไร

กว่าจะเป็นกฎหมายจัดรูปที่ดิน ปี 2526 สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เริม่ ศึกษาวิธกี ารจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาพืน้ ที่ โดยส่งเจ้าหน้าทีเ่ ข้ารับการฝึกอบรม ณ ประเทศญีป่ นุ่ และต่อมารัฐบาล ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือแก่สำนักผังเมืองใน “โครงการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ิเข้ามาใช้ ในการวางผังเมือง” โดยในปี 2530 ได้มีการศึกษาวิธีการจัดรูปที่ดิน เพื่อพัฒนาพื้นที่ (Land Readjustment) อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ระหว่างปี 2533 - 2535 สำนักผังเมืองได้จัดสัมมนาด้านการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศหลายครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจและเผยแพร่ ความรูด้ า้ นการจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาพืน้ ทีอ่ ย่างกว้างขวาง 3 มี น าคม 2535 คณะรั ฐ มนตรี อ นุ ม ั ต ิ ใ นหลั ก การให้ ส ำนั ก ผั ง เมื อ ง เป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบดำเนินโครงการจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาพืน้ ทีใ่ ห้สามารถ นำมาปฏิบตั ไิ ด้ในพืน้ ทีจ่ ริง ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการจัดรูปทีด่ นิ ในเมือง ซึง่ มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน และกรรมการจากหน่วยงานต่างๆ ทีเ่ กีย่ ว ข้อง ตลอดจนผูท้ รงคุณวุฒจิ ำนวน 13 คน โดยมีผอู้ ำนวยการสำนักผังเมือง กระทรวง มหาดไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ รวมทัง้ ให้สำนักงบประมาณสนับสนุนเงินทุน หมุนเวียนเกีย่ วกับเรือ่ งนีเ้ ป็นจำนวน 50 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2536 1 ธันวาคม 2535 คณะกรรมการจัดรูปทีด่ นิ มีมติเห็นชอบให้เร่งรัดดำเนินการ ยกร่างกฎหมายจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ขึ้น เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการ จัดรูปทีด่ นิ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 218


กรณีการจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนา พืน้ ทีใ่ นต่างประเทศ ประเทศ ญีป่ นุ่ เยอรมัน ออสเตรเลีย

ปีทเ่ี ริม่ พ.ศ. 2466 พ.ศ. 2445 พ.ศ. 2494

กระบวนการร่างกฎหมายฉบับนี้จากปี 2535 เป็นต้นมา ผ่านกระบวนการ พิจารณาตามขั้นตอน ปรับปรุง ตรวจสอบ และแก้ไขให้เหมาะกับสภาพสังคม จนถึงกลางปี 2547 กฎหมายฉบับนี้กลายเป็นที่ถกเถียงและรับรู้อย่างกว้างขวาง เมื่อถูกตีตราจากหลายฝ่ายว่าเป็นกฎหมายยึดที่วัด ยึดโบสถ์ทำห้างสรรพสินค้า นัน่ เพราะเนือ่ งจากมีหลายมาตราในกฎหมายฉบับนีไ้ ด้กล่าวถึงทีด่ นิ วัดและทีธ่ รณีสงฆ์ ผลจากการต่อต้านในคราวนั้น ทำให้ที่ดินวัดถูกตัดออกจากกฎหมายฉบับนี้ ตามข้อเรียกร้องขององค์กรพุทธศาสนาที่เคลื่อนไหวผลักดัน แต่สำหรับมุมมอง ของนักผังเมืองระบุวา่ ผลจากการตัดคำว่า ทีด่ นิ วัด ทีธ่ รณีสงฆ์ออกไป ผูท้ เ่ี สียประโยชน์ ก็คอื วัดเอง หากมีการจัดรูปทีด่ นิ “กรณีการตัดข้อความทีเ่ กีย่ วกับทีด่ นิ ของสงฆ์ออกจากร่าง พ.ร.บ. จัดรูปทีด่ นิ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ (เดิม) ก็จะมีผลเพียงว่า แทนที่จะพัฒนาพื้นที่ได้ครบระบบ ก็ทำได้ไม่ครบ เท่านั้นเอง อย่างไรก็ดี ประมาณว่าใน 100 โครงการทีจ่ ดั รูปฯ อาจ จะมีเพียงแค่1-2 โครงการ เท่านั้นที่จะมีพื้นที่ธรณีสงฆ์ ปรากฏอยู ่ ใ นบริ เ วณนั ้ น ดังนัน้ เมือ่ ตัดทีด่ นิ ของวัดหรือ ที่ธรณีสงฆ์ออกจาก พ.ร.บ. แล้ว ในทางปฏิบตั เิ มือ่ จะจัด รูปทีด่ นิ ในพืน้ ทีท่ อ่ี าจบังเอิญ ภาพจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

219


คาบเกี ่ ย วอยู ่ ก ั บ ที ่ ด ิ น ของสงฆ์ ซ ึ ่ ง อาจมิ ไ ด้ ใ ช้ ป ระโยชน์ ใ ดๆ อั น เนื ่ อ งมาจาก เป็นพื้นที่ตาบอด ไม่มีทางเข้าถึง ก็จำเป็นต้องกันพื้นที่วัดนั้นออกไปนอกโครงการ หรื อ เบี ่ ย งเส้ น ทางที ่ จ ะตั ด ผ่ า น เพื ่ อ อำนวยความเจริ ญ ให้ ก ั บ ธรณี ส งฆ์ ไ ป ผลก็คอื ถ้าทีด่ นิ วัดตาบอดอยู่ ก็จะตาบอดอยูอ่ ย่างเดิม ปิดประตูการนำพืน้ ทีน่ น้ั มาใช้ ให้ เ ป็ น ประโยชน์ ต ่ อ พระศาสนาตามเจตนารมณ์ เ ดิ ม ของสาธุ ช นผู ้ ไ ด้ เ คย บริจาคทิ้งไว้ให้กับพระศาสนา โดยหวังว่าสักวันหนึ่งที่ดินผืนนั้นจะก่อประโยชน์ ให้กับพระศาสนาได้ นอกจากนั้น พ.ร.บ. ฉบับเดิมนี้ยังคุ้มครองกรณีการสละพื้นที่ เพื่อจัดสร้างสาธารณูปโภค ซึ่งถ้าเป็นที่ดินของชาวบ้านทั่วไป ทุกคนต้องปันส่วน ที่ดินให้โครงการ เว้นไว้แต่พื้นที่ธรณีสงฆ์ เมื่อเข้ากระบวนการจัดรูปที่ดินแล้ว ทีด่ นิ ของสงฆ์จะต้องเท่าเดิม ไม่ตอ้ งปันส่วน กล่าวคือหากใช้พน้ื ทีไ่ ปเท่าใดก็จะต้องหา ทีด่ นิ มาเติมให้เต็มตามเดิมในตำแหน่งเดิม ขาดมิได้แม้แต่ตารางนิว้ เดียว แต่เมือ่ ตัด ข้อความดังกล่าวออก ทางโครงการก็ไม่มีอำนาจใดที่จะหาพื้นที่อื่นมาทดแทนที่ดิน ให้สงฆ์ได้ตามหลักการจัดรูปทีด่ นิ ทำให้วดั ต้องสละทีด่ นิ ทีจ่ ำเป็นนำมาใช้ประโยชน์ เป็นสาธารณูปโภคตามรูปแบบเดิมโดยไม่มีการทดแทนที่ดินหรือจัดรูปให้ใหม่ ทีธ่ รณีสงฆ์จงึ ขาดการคุม้ ครองและเสียเปรียบ และเหตุท่ี พ.ร.บ. จัดรูปฯ ไม่ได้ระบุถงึ ที่ดินของศาสนาอื่น เนื่องจากที่ดินของศาสนาพุทธศาสนาเดียวเท่านั้นที่มีกฎหมาย คือ พ.ร.บ. สงฆ์บญ ั ญัตไิ ว้โดยเฉพาะ” อิทธิพงศ์ ตันมณี เปิดเผยถึงผลทีเ่ กิดขึน้ หลังฝุน่ ควันแห่งการเคลือ่ นไหวจบลง รวมทัง้ ระบุวา่ สาระสำคัญของกฎหมายคือเป็นเครือ่ งมือในการพัฒนาพืน้ ทีท่ ม่ี ปี ญ ั หา ทางกายภาพ โดยไม่ต้องรองบประมาณจากภาครัฐ ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสและช่องทางในการทำมาหากิน จากศักยภาพและมูลค่าที่ดินที่สูงขึ้น

จัดรูปที่ดิน...ทำกันอย่างไร หลักเบื้องต้นในการจัดรูปที่ดินฯ คือการรวบรวมแปลงที่ดินที่จะพัฒนาขึ้น เป็นโครงการ ทั้งที่ดินของรัฐและเอกชน ออกแบบวางผังเพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว โดยจะต้องสอดคล้องกับกฎกระทรวงผังเมืองรวมที่วางไว้ ในขณะเดียวกันก็เป็นไป ตามความต้องการของเจ้าของที่ดินด้วย จากนั้นจัดรูปแปลงที่ดินใหม่ให้เหมาะสม 220


กับการพัฒนาและเป็นไปตามศักยภาพ มีการปันส่วนตามสัดส่วนที่ตกลงอย่าง ยุติธรรมสำหรับเป็นโครงสร้างพื้นฐาน และอืน่ ๆ ด้วยวิธกี ารประเมินมูลค่าทีด่ นิ ก่อนจัดทำโครงการ และหลังจากจัดทำ โครงการแล้วพัฒนาก่อสร้าง และจัดรูป แปลงที่ดินใหม่ให้สวยงามเป็นไปตาม แผนผังโครงการที่วางไว้อย่างสมบูรณ์ แบบ โดยใช้ เ งิ น ทุ น จากการปั น ส่ ว น ที ่ ด ิ น ในโครงการ หรื อ การสนั บ สนุ น จากภาครั ฐ หรื อ แหล่ ง ทุ น อื ่ น จั ด กรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับเจ้าของที่ดินทุกคน ตามแปลงที ่ ด ิ น ที ่ ไ ด้ จ ั ด รู ป ใหม่ เ รี ย บ ร้อยแล้ว ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอน หลั ก ได้ ด ั ง นี ้ ค ื อ ขั ้ น สำรวจสอบถาม ความคิดเห็นในโครงการ กำหนดเขต โครงการ วางแผนแม่บท แต่งตั้งคณะ กรรมการที ่ ป รึ ก ษาโครงการ วางผั ง การจัดแปลงที่ดินใหม่พร้อมทั้งประกาศ ให้ประชาชนทราบ กำหนดแปลงทีด่ นิ ใหม่ (ชัว่ คราว) ทำการก่อสร้างบริการพืน้ ฐาน จัดเลขที่แปลง รับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน กำหนดการจัดแปลงทีด่ นิ ใหม่ (ขั้นสุดท้าย) จดทะเบียนทำนิติกรรม ชำระเงินมูลค่าลดหรือมูลค่าเพิม่ แนวคิดเรื่องการจัดรูปที่ดินเพื่อ การพัฒนาพืน้ ทีก่ ค็ อื การจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ การพัฒนาพืน้ ทีเ่ ป็นวิธหี นึง่ ในการพัฒนา

221


ที ่ ด ิ น เพื ่ อ พั ฒ นา หรื อ ปรั บ ปรุ ง โครงสร้ า งพื ้ น ฐานของเมื อ งและเพิ ่ ม มู ล ค่ า การใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณนั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการเวนคืนที่ดิน แต่ใช้วิธีรวบรวมที่ดินหลายๆ แปลงมารวมกันเพื่อเป็นโครงการ แล้ววางผัง จัดรูปทีด่ นิ ใหม่ทเ่ี รียกว่า “การจัดรูปแปลงทีด่ นิ ใหม่” ซึง่ ถือเป็นหัวใจของการจัดรูป ทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาพืน้ ที่ การดำเนินงานโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ หมายถึงการพัฒนา และปรับปรุงพื้นที่ของชุมชนเมืองโดยจัดสร้างบริการพื้นฐานของเมืองตามแผนผัง แม่บทโดยวิธกี ารปันส่วนทีด่ นิ เพือ่ จัดทำสาธารณูปโภค สาธารณูปการ จัดหาเงินทุน ในการดำเนินโครงการ ซึง่ ได้มาจากพืน้ ทีจ่ ดั หาประโยชน์ ทัง้ นีแ้ ปลงทีด่ นิ ทัง้ หมดจะถูก จัดรูปแปลงใหม่ตามผังแม่บทและแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน และกรรมสิทธิที่ดิน จะถูกโอนให้แก่เจ้าของทีด่ นิ ทีไ่ ด้รบั การจัดรูปแปลงใหม่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนการจัดรูปแปลงทีด่ นิ ใหม่ คือการดำเนินการให้แปลงทีด่ นิ ทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีข่ อง โครงการจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ การพัฒนาพืน้ ที่ ถูกจัดแบ่งและคืนให้แก่เจ้าของเดิมหลังจาก จัดรูปแปลงใหม่ และรวบรวมแปลงที่ดินทั้งหมดแล้วตามผังโครงการและแผนการ ใช้ประโยชน์ทด่ี นิ แปลงทีด่ นิ หลังการจัดรูปแปลงทีด่ นิ ใหม่ คือ แปลงทีด่ นิ ทีถ่ กู จัดแบ่งคืนให้หลัง การจัดรูปแล้ว การกำหนดรูปแปลงทีด่ นิ ใหม่ คือ การโอนกรรมสิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กรรมสิทธิตา่ งๆ บนทีด่ นิ เดิมจะถูกโอนต่อให้แก่แปลงทีด่ นิ ทีจ่ ดั รูปแล้ว การปันส่วนทีด่ นิ หรือเรียกง่ายๆ ว่าการปันส่วน คือ เจ้าของทีด่ นิ จะสละทีด่ นิ บางส่วนของตนเพื่อนำมาเข้าร่วมโครงการ ในกระบวนการจัดรูปแปลงที่ดินใหม่ เจ้าของทีด่ นิ จะต้องปันส่วนทีด่ นิ ในสัดส่วนทีเ่ ป็นธรรม และเสมอภาคกัน เพือ่ นำทีด่ นิ ทีป่ นั ส่วนดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ดงั นี้ คือ เพือ่ เป็นพืน้ ทีส่ ำหรับบริการพืน้ ฐานของเมืองหรือสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เช่น ถนน สวนสาธารณะ ทีว่ า่ ง และคลอง เป็นต้น เพือ่ เป็นพืน้ ทีจ่ ดั หาประโยชน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึง่ ว่า พืน้ ทีส่ งวนไว้เพือ่ จัดหาประโยชน์ โดยการขายแล้วนำเงิน มาใช้เป็นทุนสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ การปันส่วน ข้อแรกเป็นพื้นที่ บริการพืน้ ฐานของเมือง และข้อหลังเป็นพืน้ ทีส่ งวนไว้เพือ่ จัดหาประโยชน์

222


พระราชบัญญัตจิ ดั รูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาพืน้ ที่ พ.ศ. ๒๕๔๗ หมวด ๔ บททัว่ ไปเกีย่ วกับการจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาพืน้ ที่ มาตรา ๓๕ ผูท้ จ่ี ะเป็นผูด้ ำเนินการจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาพืน้ ทีไ่ ด้มดี งั ต่อไปนี้ (๑) สมาคม (๒) กรมโยธาธิการและผังเมือง การเคหะแห่งชาติ และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (๓) หน่วยงานของรัฐหรือนิตบิ คุ คลอืน่ ใดทีร่ ฐั จัดตัง้ ขึน้ เพือ่ การจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาพืน้ ที่ (๔) หน่วยงานของรัฐอืน่ ใดตามทีก่ ำหนดในกฎกระทรวงให้หน่วยงานตาม (๒) ดำเนินการจัดรูปทีด่ นิ ตามแผนแม่บทและพืน้ ทีเ่ ป้าหมายการจัดรูป ทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาพืน้ ทีข่ องจังหวัด มาตรา ๓๖ ในการจัดทำโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อเสนอ ขอความเห็นชอบตามมาตรา ๔๑ ผู้ริเริ่มโครงการจะต้องจัดประชุมเจ้าของ ทีด่ นิ เพือ่ ปรึกษาหารือ และรับฟังความเห็น นำมาปรับปรุงโครงการอย่างต่อเนือ่ ง รวมทั้งรวบรวมและแสดงหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของที่ดินที่สมัครใจไว้ให้ ชัดเจนตามแบบทีค่ ณะกรรมการกำหนด การเสนอโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อขอความเห็นชอบตาม มาตรา ๔๑ จะต้องมีหนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของที่ดินในโครงการ มาแสดงประกอบคำขอไม่น้อยกว่าสองในสามของเจ้าของที่ดินทั้งหมดและเป็น เจ้าของทีด่ นิ มีเนือ้ ทีร่ วมกันไม่นอ้ ยกว่าสองในสามของทีด่ นิ ในบริเวณนัน้ ในกรณีอาคารชุดให้คำนวณเฉพาะที่ดินที่ตั้งอาคารชุดรวมกับที่ดินที่มีไว้ เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของอาคารชุดทั้งหมดและการนับ คะแนนเสียงระหว่างอาคารชุดนั้นกับเจ้าของที่ดินอื่นภายในโครงการจัดรูปที่ดิน ให้ ถ ื อ ว่ า อาคารชุ ด นั ้ น เป็ น เจ้ า ของที ่ ด ิ น หนึ ่ ง ราย โดยให้ ผ ู ้ จ ั ด การนิ ต ิ บ ุ ค คล อาคารชุดเป็นผู้ออกเสียงลงคะแนนตามมติเจ้าของร่วม ในกรณีที่อาคารชุดนั้น ได้จดทะเบียนนิตบิ คุ คลอาคารชุดแล้ว

หากพิจารณาหลักการพื้นฐานการจัดรูปที่ดิน เจ้าของที่ดินเดิมจะไม่เสีย หรือได้ประโยชน์เพิ่ม หมายถึง พื้นที่ที่ดินก็ยังมีเหมือนเดิมหรืออาจลดลงในส่วนที่

223


ปันส่วนออกไปตามมติของโครงการฯ แต่ก็ยังได้อยู่ในบริเวณเดียวกัน โดยมีมูลค่า เดียวกัน และกฎหมายฉบับนี้จะทำให้ที่ดินที่ผ่านการจัดรูปฯ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีถนนตัดผ่าน รวมไปถึงที่ดินตาบอดก็จะมีทางออก นอกจาก นั้นกฎหมายฉบับนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กฎหมายผังเมืองทำงานได้สะดวกขึ้น ทำให้เมืองถูกพัฒนาไปตามรูปแบบที่ดี บนฐานคิดที่ว่าเจ้าของที่ดินไม่ต้องกังวล ว่าจะถูกเวนคืน ไม่ต้องย้ายไปอยู่ในที่ห่างไกล ไม่ต้องนั่งรอให้รัฐเข้ามาช่วย เจ้าของทีด่ นิ สามารถรวมตัวกันพัฒนาทีด่ นิ ของตนเองได้

อย่างไรก็ตาม ในข้อเท็จจริงทีผ่ า่ นมายังมาไม่เคยมีโครงการทีภ่ าคเอกชนโดย ประชาชนรวมตัวกันขอดำเนินการจัดรูปที่ดินตามกฎหมายฉบับนี้ มีเพียงโครงการ นำร่องจำนวน 10 โครงการซึ่งดำเนินการโดยสำนักจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย และอีก 3 โครงการนำร่องดำเนิน การโดยกรุงเทพมหานครเท่านัน้

โครงการพระราม 9 ...เกือบกึง่ หนึง่ ไม่เชือ่ มัน่ ห่างจากสำนักงานจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ การพัฒนาพืน้ ที่ กรมโยธาธิการและผังเมือง ถนนพระราม 9 ไม่ไกลนัก พื้นที่กลางเมืองแห่งนี้เป็นจุดเรียนรู้และดำเนินการ จัดทำโครงการนำร่องจัดรูปที่ดินมาตั้งแต่ปี 2536 โดยสำนักงานจัดรูปที่ดิน เพื่อพัฒนาเมืองได้ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ด้านการจัดรูปที่ดินต่อประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินบริเวณพระราม 9 เป็นครั้งแรก และได้เชิญชวนเจ้าของที่ดิน

224


บริเวณดังกล่าวร่วมดำเนินโครงการนำร่องการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาเมืองโครงการ พระราม 9 โดยมี ผ ู ้ เ ชี ่ ย วชาญด้ า นการจั ด รู ป ที ่ ด ิ น จากองค์ ก ารความร่ ว มมื อ ระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) เป็นที่ปรึกษา และแนะแนวทางการดำเนินงาน เจ้าของที่ดินบริเวณพระราม 9 รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนา เมืองเพื่อดำเนินโครงการนำร่องการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาเมืองร่วมกับกรมการ ผังเมืองโดยได้รบั อนุมตั จิ ดั ตัง้ สมาคมจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาเมืองโครงการพระราม 9 เมือ่ วันที่ 13 มิถนุ ายน 2537 และจดทะเบียนเป็นนิตบิ คุ คล เมือ่ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 โครงการนำร่องจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาเมืองบริเวณถนนพระราม 9 ได้เริม่ ดำเนิน การโดยผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน สำรวจสภาพพื้นที่และ กรรมสิทธิ์เบื้องต้น วางผังแนวความคิด ผังแม่บท ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน และผังจัดรูปแปลงทีด่ นิ ใหม่ ซึง่ ในขัน้ ตอนได้ประชุมรับฟังความคิดเห็นจากเจ้าของทีด่ นิ ได้จดั ให้มกี ารประชุมระหว่างเจ้าของทีด่ นิ และคณะกรรมการบริหารสมาคมจัดรูปทีด่ นิ โครงการพระราม 9 รวมมากกว่า 50 ครัง้ ระหว่างปี 2536 – 2549 การดำเนินโครงการฯ ทีผ่ า่ นมา ได้มกี ารเจรจาเพือ่ ให้เจ้าของทีด่ นิ ซึง่ มีอยูใ่ นเขต โครงการจำนวน 37 ราย ในพื้นที่ 104 ไร่ โดยปรากฏว่ามีผู้ทำหนังสือยินยอม เข้าร่วมโครงการแล้วส่วนหนึ่งประมาณ 20 ราย แต่ยังประสบปัญหาไม่สามารถ รวบรวมหนั ง สื อ ยิ น ยอมที ่ เ หลื อ อีก 17 ราย เนื ่ อ งจากเจ้ า ของที ่ ด ิ น บางราย มีประเด็นเงือ่ นไขบางประการ เช่นเจ้าของทีด่ นิ บางรายไม่ตอ้ งการเข้าร่วมโครงการ แต่ต้องการขายที่ดิน หรือในบางรายต้องการเห็นการดำเนินการก่อสร้างแนวถนน จริงก่อนเพือ่ สร้างความเชือ่ มัน่ ให้แก่เจ้าของทีด่ นิ ว่าจะมีการดำเนินการโครงการจริง ปัจจุบนั โครงการนี้ จึงได้แบ่งพืน้ ทีด่ ำเนินการออกเป็น 2 ส่วน เพือ่ ให้ดำเนินการ ในพืน้ ทีโ่ ครงการส่วนที่ 1 ได้กอ่ น มีพน้ื ทีโ่ ครงการ 73 ไร่เศษ มีเจ้าของทีด่ นิ 21 ราย กันออก 1 ราย เหลือ 20 ราย คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ของโครงการ

โครงการยะลา...ทุกคนพอใจ โครงการนำร่ อ งการจั ด รู ป ที ่ ด ิ น เพื ่ อ การพั ฒ นาพื ้ น ที ่ จ ั ง หวั ด ยะลาเป็ น โครงการทีม่ คี วามก้าวหน้ามากทีส่ ดุ ในบรรดาโครงการนำร่องทัง้ หมด ซึง่ โครงการนี้ เริ่มต้นโดยเทศบาลยะลามีหนังสือถึงกรมการผังเมืองเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2544

225


เพื่อเสนอพื้นที่ที่จะนำเอาวิธีการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาเมืองมาใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาพืน้ ที่ เพือ่ เป็นโครงการนำร่องการจัดรูปทีด่ นิ ของจังหวัดยะลา โดยสำนัก จัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาเมืองและโครงการเมืองใหม่ และสำนักงานผังเมืองจังหวัดยะลา กรมการผังเมือง ร่วมกับเทศบาลนครยะลาได้จัดให้มีการประชุมเชิงสัมมนาขึ้น ในหัวข้อเรือ่ ง “วิธกี ารจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาเมืองยะลา” ที่ จ. ยะลา เมือ่ วันที่ 9 สิงหาคม 2544 วัตถุประสงค์เพือ่ ให้ความรูแ้ ก่หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องทัง้ ของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งได้เชิญเจ้าของที่ดินในบริเวณพื้นที่โครงการเป้าหมายมาร่วมรับฟังความรู้ และร่วมแสดงความคิดเห็น ซึง่ การสัมมนาครัง้ นี้ หน่วยงานท้องถิน่ ได้ให้ความสนใจ และต้องการให้มีการจัดทำโครงการจัดรูปที่ดินฯ ขึ้นในเขตเทศบาลนครของตน เนือ่ งจากเห็นว่าวิธกี ารจัดรูปทีด่ นิ เป็นวิธกี ารพัฒนาเมืองทีก่ อ่ ประโยชน์ตอ่ ชุมชนโดยรวม โดยทางเทศบาลนครยะลาได้เลือกพื้นที่ว่างบริเวณย่านติดกับสวนขวัญเมือง ริมถนนสิโรรส อ. เมือง จ. ยะลา เป็นโครงการนำร่องการจัดรูปทีด่ นิ เนื่องจากที่ดินบริเวณย่านติดกับสวนขวัญเมืองเป็นที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่มี การพัฒนาหรือใช้ประโยชน์ในที่ดิน ประกอบกับรูปแปลงที่ดินที่ไม่เป็นระเบียบ ทางผังเมือง และระบบสาธารณูปโภคยังเข้าไม่ถึง ตลอดจนเป็นพื้นที่ตาบอดไม่มี ทางเข้าออก รูปแปลงทีด่ นิ บิดๆ เบีย้ วๆ ใช้ประโยชน์ได้ไม่คมุ้ ค่า อีกทัง้ มีปญ ั หาน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ในช่วงฤดูฝนทุกปี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่สะสมกันมาตั้งแต่อดีต ที่เกิดจากการพัฒนาเมืองอย่างอิสระ ซึ่งนับวันปัญหาจะเพิ่มมากขึ้น และยาก แก่การแก้ไข หากมีการนำวิธีการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาเมืองมาใช้ในการแก้ไข ปัญหาดังกล่าว จะทำให้พื้นที่บริเวณที่ได้รับการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาที่ดินใหม่ สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และแปลงที่ดินได้รับการดัดแปลงใหม่จะมี ระเบียบและสวยงาม พร้อมทั้งให้มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและการ บริการสาธารณะต่างๆ ทีไ่ ด้รบั มาตรฐานอย่างครบถ้วนเพียงพอ หลังจากนัน้ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยได้รว่ มกับองค์กร ความร่วมมือระหว่างประเทศของญีป่ นุ่ (JICA) จัดให้มโี ครงการพัฒนาวิธกี ารพัฒนา เมืองซึ่งได้สนับสนุนให้มีการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ขึ้น โดยกำหนดให้เทศบาล นครยะลาเป็นเทศบาลในพืน้ ทีท่ เ่ี ตรียมความพร้อมเป็นโครงการนำร่อง ซึง่ ได้ประสาน งานกันเบือ้ งต้นแล้ว โดยประชุมคณะทำงานฯ เมือ่ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2544

226


ทั ้ ง นี ้ พื ้ น ที ่ โ ครงการนำร่ อ งการจั ด รู ป ที ่ ด ิ น เพื ่ อ พั ฒ นาพื ้ น ที ่ ใ นเขต เทศบาลนครยะลา ตั้งอยู่ภายในพื้นที่เขต อ. เมือง ทิศตะวันออกของถนนสิโรรส ห่ า งจากศาลากลางจั ง หวั ด ยะลาไปทางทิ ศ ตะวั น ตกประมาณ 1 กิ โ ลเมตร ทิศตะวันออกของโครงการอยู่ติดกับสวนขวัญเมือง มีเนื้อที่ประมาณ 350 ไร่ มีเจ้าของทีด่ นิ ประมาณ 150 ราย และมีแปลงทีด่ นิ ประมาณ 280 แปลง อยูใ่ นเขต ผังเมืองรวมเมืองยะลาตามกฎกระทรวงผังเมืองยะลาฉบับที่ 441 ประกาศเมือ่ วันที่ 22 มีนาคม 2543 ตามแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้กำหนดให้ที่ดินบริเวณ โครงการ เป็นทีด่ นิ ประเภทพาณิชยกรรม (สีแดง) และประเภททีอ่ ยูอ่ าศัยหนาแน่น ปานกลาง (สีส ้ม) สภาพพื้นที่ส ่วนใหญ่เป็นพื้นที่ว่างเปล่า และเป็นพื้นที่ต่ำ โดยเจ้าของทีด่ นิ บางรายได้รว่ มกันสละทีด่ นิ บางส่วนให้แก่เทศบาลเพือ่ ใช้ทำเป็นพืน้ ที่ สร้างถนนบ้างแล้ว ที่น่าสนใจคือพื้นที่ของโครงการมีที่ดินของวัดอยู่ด้วยหนึ่งแห่ง คือวัดเวฬุวัน โดยเป็นพื้นที่ว่าง ไม่มีทางออกสู่ถนน ซึ่งหากใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ธรณีสงฆ์ แปลงนีก้ ค็ งต้องถูกกันออกจากโครงการ เนือ่ งจากเป็นทีด่ นิ วัด ต้องถูกปล่อยทิง้ ร้าง ขาดการเข้าถึงต่อไป แต่กรณีนโ้ี ครงการได้จดั วางผังให้ทด่ี นิ วัดได้ประโยชน์ดว้ ย “ที่ยะลาเราประชุมกับเจ้าของที่ดินกันกว่า 10 ครั้ง จนได้ผังที่ทุกคน พอใจ…กรณีที่ดินวัด เราไม่อยากให้ที่ศาสนาเสียไป เราก็กันออกโดยจัดผังให้ถนน มาผ่ า น เพื ่ อ เปิ ด พื ้ น ที ่ ใ ห้ ว ั ด ได้ ป ระโยชน์ ทั ้ ง ที ่ ไ ม่ ส ามารถเข้ า โครงการได้ แต่มีคำถามตามมาว่า ในวันข้างหน้าถ้าผู้ดำเนินโครงการไม่คำนึงถึงประโยชน์ ในพระพุทธศาสนา ที่วัดก็จะเป็นพื้นที่ต้องห้าม ถูกกันมิให้เข้าร่วมโครงการ ก็จะกลายเป็นพื้นที่ร้าง ห้ามมีทางเข้าออกตลอดไป เพราะข้อจำกัดของกฎหมาย ให้กันออกเสียแต่เริ่มต้น โดยไม่ต้องพิจารณาให้เอื้อประโยชน์ได้เลย” อิทธิพงศ์ กล่าวในฐานะผูร้ บั ผิดชอบโครงการนำร่องยะลา

เส้นทางข้างหน้าของการจัดรูปที่ดิน ปัจจุบัน นอกจากโครงการนำร่อง 10 โครงการซึ่งร่วมดำเนินการโดย สำนักงานจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาพืน้ ทีแ่ ล้ว ยังมีโครงการซึง่ ดำเนินการภายใต้กฎหมาย ฉบับนี้ โดยกรุงเทพมหานครอีกจำนวน 3 โครงการ รวมทั้งโครงการศึกษาความ

227


เป็นไปได้เบื้องต้นของพื้นที่นำร่องโดยการจัดรูปที่ดินในเขตพื้นที่ลาดกระบัง ซึง่ หากนำตัวบทกฎหมายหรือรายละเอียดเบือ้ งต้นในการดำเนินการจัดรูปทีด่ นิ เช่น สำรวจความคิดเห็นเจ้าของทีด่ นิ ในโครงการ การกำหนดขอบเขตโครงการ จนถึงขัน้ การสำรวจและวางผังโครงการเบือ้ งต้น ย่อมเป็นการยากทีภ่ าคประชาชนจะเป็นฝ่าย ริเริม่ ได้ ซึง่ นักผังเมืองอย่างอิทธิพงศ์ในฐานะเจ้าของเครือ่ งมือ ก็ยอมรับเช่นกัน “ในอนาคตเราจะต้องมีบริษทั ที่จะมารับจัดรูปที่ดินเหมือนบริษัท พัฒนาทีด่ นิ บริษทั จัดสรรในบ้านเรา เหมือนเช่นเราจะสร้างบ้านต้องมีบริษทั มาช่วยออกแบบ มาช่วยสร้าง ถ้า ประชาชนเห็นว่าที่ตนเองมีปัญหา ที ่ ต าบอด ประชาชนไม่ ส ามารถ ทำได้ ด ้ ว ยตนเอง หรื อ ทำได้ ย าก เพราะว่าตั้งแต่เริ่มโครงการที่ดิน ข้างๆ ของเจ้าของที่ดินที่ปรารถนา จะดำเนินโครงการด้วยตนเอง ต้อง ค้นให้ได้วา่ เป็นใครบ้างทีเ่ ป็นเจ้าของ…บริษทั ทีว่ า่ นีจ้ ะต้องมีคลังข้อมูล จะรูแ้ ละเข้ามา ทำหน้าทีร่ วบรวมข้อมูลทีด่ นิ เพือ่ ดำเนินโครงการตามขัน้ ตอนต่อไป” การเริม่ ต้นโครงการหากเป็นภาคเอกชนเริม่ ต้นเองทัง้ หมด ก็ยงั อาจเป็นไปด้วย ความยากลำบากในช่วงระยะแรกนี้ อันมาจากปัญหาการรวบรวมเจ้าของที่ดิน มาเข้าร่วมโครงการหรือเห็นด้วยกับโครงการ ดังนัน้ การประชาสัมพันธ์ถงึ ประโยชน์ อันพึงได้รบั จาก พ.ร.บ. จัดรูปทีด่ นิ ฯ พ.ศ. 2547 นีใ้ ห้กบั ประชาชนได้ทราบ จึงเป็นสิง่ สำคัญเพื่อจะได้นำมาใช้ประโยชน์ให้กับทรัพย์สินของตนเองได้ ปัญหาที่ว่า “ผูไ้ ม่เห็นด้วยกับโครงการ” นัน้ แท้จริงแล้ว เป็น “ผูย้ งั ไม่เข้าร่วมโครงการ” ต่างหาก เพราะเมือ่ มีการดำเนินโครงการ เจ้าของทีด่ นิ ก็นา่ จะทราบถึงประโยชน์ทเ่ี ขาจะได้รบั ซึง่ ก็คอื ตัวของเจ้าของทีด่ นิ เอง สำหรับข้อห่วงใยในเรือ่ งจุดอ่อนอืน่ ๆ หลังกฎหมายประกาศใช้ เช่นจำนวนเสียง ส่วนใหญ่ทง้ั เจ้าของทีด่ นิ และเนือ้ ที่ 2 ใน 3 อาจไปบังคับเสียงส่วนน้อยนัน้ ข้อเท็จจริง

228


ขั้นตอนการดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินโดยสังเขป 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12.

สำรวจความคิดเห็นเจ้าของทีด่ นิ ในโครงการ กำหนดขอบเขตโครงการ สำรวจและวางผังแนวความคิดโครงการ ตัง้ คณะทำงานโครงการประกอบด้วยตัวแทนเจ้าของทีด่ นิ และผูท้ รง คุณวุฒิ วางผังแม่บทโครงการ และสอบถามความเห็นในทีป่ ระชุมเจ้าของทีด่ นิ กำหนดทีต่ ง้ั แปลงทีด่ นิ ใหม่ (ชัว่ คราว) รับฟังความคิดเห็นจากเจ้าของทีด่ นิ และรวบรวมผูเ้ ข้าร่วมโครงการ ให้ได้อย่างน้อย 2 ใน 3 ขออนุมตั โิ ครงการจัดรูปทีด่ นิ ต่อคณะกรรมการจัดรูปทีด่ นิ ฯ จังหวัด กำหนดการจัดแปลงทีด่ นิ ใหม่ (ขัน้ สุดท้าย) จดทะเบียน ทำนิตกิ รรม ตามขัน้ ตอนการออกเอกสารสิทธิ หรือโฉนดทีด่ นิ ใหม่ ทำการก่อสร้างบริการพืน้ ฐาน ได้แก่ ถนน ประปา ไฟฟ้า ระบบระบายน้ำ โทรศัพท์ ฯลฯ ชำระเงินส่วนต่างมูลค่าลด หรือมูลค่าเพิม่ และส่งมอบโฉนดใหม่

ในการทำงานที่ผ่านมา อิทธิพงศ์ยืนยันว่า สำนักงานฯ ในฐานะพี่เลี้ยงทุกโครงการ ต้องพยายามหลีกเลีย่ งการใช้เสียงส่วนใหญ่บงั คับเสียงส่วนน้อย โดยกฎหมายได้ให้ สิทธิในการเริ่มดำเนินโครงการได้เมื่อมีผู้ประสงค์ 2 ใน 3 นั่นหมายความว่า เมื่อโครงการได้เริ่มดำเนินโครงการแล้ว อีก 1 ใน 3 ที่เหลือ ก็อาจมองเห็น ความเป็นรูปธรรมของโครงการ ประกอบกับการชี้ชวนอย่างต่อเนื่องของผู้ดำเนิน โครงการ ก็จะเป็นตัวช่วยให้สามารถตัดสินใจทยอยเข้าร่วมโครงการได้ง่ายขึ้น แต่ ถ ึ ง แม้ น มี ก ารใช้ จ ำนวนเสี ย งส่ ว นใหญ่ เ ช่ น นั ้ น จริ ง ก็ อ าจพิ จ ารณาถึ ง หลักเกณฑ์ทง้ั กระบวนการเพือ่ การเจรจาได้ ขณะนี้ สำนักงานฯ ยังต้องทำงานเพิม่ เติม อีกมากในรายละเอียดด้วยการออกกฎกระทรวงเพื่อมารองรับกฎหมายฉบับนี้ เช่นพืน้ ทีข่ นาดทีเ่ ล็กทีส่ ดุ ควรเป็นจำนวนเท่าไรทีส่ ามารถนำมาจัดรูปทีด่ นิ ได้

229


สำหรับงานเฉพาะหน้าหลังกฎหมายประกาศใช้ไปแล้ว 2 ปี ซึ่งสำนักงาน จัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาพืน้ ทีก่ ำลังเร่งดำเนินการ ประกอบด้วย 5 แนวทาง คือ 1) พยายามให้มโี ครงการนำร่องในทุกจังหวัดเพือ่ ให้ภาครัฐเองและประชาชน ได้ ร ่ ว มศึ ก ษาวิ ธ ี ก ารจั ด รู ป ที ่ ด ิ น เพื ่ อ ให้ ก ฎหมายถู ก นำมาใช้ ไม่ เ ลื อ นหายไป อันจะเป็นประโยชน์กบั บ้านเมือง 2) ปรับระบบกฎหมาย หลักเกณฑ์ให้ประชาชนเข้าถึงได้งา่ ย 3) กำหนดมาตรฐาน เช่นถนนในโครงการต้องมีสัดส่วนพื้นที่ที่พอเหมาะกับ การใช้ประโยชน์ทด่ี นิ ประเภทต่างๆ จำนวนพืน้ ทีส่ วนสาธารณะ เป็นต้น 4) กำหนดขั ้ น ตอนการยื ่ น คำร้ อ งอุ ท ธรณ์ กรณี ย ั ง ไม่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ การ เข้าร่วมโครงการ หรืออืน่ ๆ 5) ประชาสัมพันธ์การจัดรูปทีด่ นิ ให้เป็นทีร่ บั รูก้ ว้างขวางยิง่ ขึน้ แต่เหนืออื่นใด สิ่งสำคัญที่นักผังเมืองในฐานะผู้ปฏิบัติห่วงใยที่สุด คือหวังว่า ผู้มีอำนาจในการตัดสิน จะสนใจและเห็นความสำคัญในการนำเครื่องมือรูปแบบนี้ ไปใช้เพือ่ ไม่ให้กฎหมายทีเ่ พิง่ ประกาศใช้เพียง 2 ปีฉบับนีเ้ ลือนหายไปจากสังคมไทย

230


แน่นอนว่าการปรากฏตัวขึ้นในสังคมไทยของกฎหมายฉบับนี้ มิได้มาจาก ความคับข้องของประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งถูกจำกัดโดยข้อเท็จจริงสู่การเรียกร้อง ของสิทธิอันชอบธรรมผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ในขณะที่ประชาชนต่างตั้งหน้า ตั้งตาทำหน้าที่ในความรับผิดชอบของตนในฐานะพลเมืองของสังคมให้ดีที่สุดนั้น ก็รู้สึกแต่เพียงว่า เมืองที่เราใช้อาศัยทำมาหากินอยู่ทุกวันนี้นั้น นับวันมีแต่ปัญหา รุ ม เร้ า ที ่ เ ข้ ม ชั ด และรุ น แรงเพิ ่ ม มากขึ ้ น ทุ ก ขณะ แล้ ว ได้ แ ต่ ส าระวนแก้ ป ั ญ หา เฉพาะหน้าเป็นครั้งคราวไป ไม่รู้สาเหตุว่าทำไมความไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว นั ้ น มี ต ้ น ตอมาจากอะไรกั น แน่ ได้ แ ต่ ใ ช้ ช ี ว ิ ต กั บ เมื อ งของตนเองไปวั น ๆ ตามหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบกับสภาพที่มิอาจเลือกได้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ ที ่ ต ้ อ งมองปั ญ หาทางกายภาพของเมื อ งโดยเฉพาะ เพื ่ อ หาเทคนิ ค ด้ า นการ จัดการกับระบบเมืองให้ได้ โดยพยายามเสนอทางออกและหาทางแก้ปัญหาเมือง ที่เติบโตอย่างไร้ทิศทาง และขาดการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็ม ประสิทธิภาพ เพื่อเผยให้กับสังคมได้ทราบในสิ่งที่สังคมกำลังเผชิญและประพฤติ อยู่โดยอาจจะไม่ทันรู้ตัว ทั้งในปัจจุบันและอนาคต กฎหมายจัดรูปที่ดินจึงเป็น เสมือนข้อเสนอทีถ่ กู นำมาทดสอบสำนึกสาธารณะ และความเสียสละของเจ้าของทีด่ นิ ทุกรายในประเทศไทยทีเ่ ข้าสูโ่ ครงการตามขัน้ ตอนทีก่ ฎหมายกำหนด

231


บรรณนานุกรม อิ ท ธิ พ งศ์ ตั น มณี . เสวนาจั ด รู ป ที ่ ด ิ น . 24 กรกฎาคม 2549. สมาคมนั ก ข่ า ว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย การจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ การพัฒนาพืน้ ที,่ http://www.dpt.go.th/

ภาพนำเรือ่ งจาก สยาม จีระพันธุ ภาพประกอบเรือ่ งจาก สำนักจัดรูปทีด่ นิ เพือ่ พัฒนาพืน้ ที่

232


“สวนดูซน” วิถมี สุ ลิมในมรสุมการเปลีย่ นแปลง ผูเ้ ขียน สุพตั รา ศรีปจั ฉิม

233


ต้นปี 2547 เหตุการณ์คนร้ายบุกปล้นปืน กองพันพัฒนาที่ 4 อ. เจาะไอร้อง จ. นราธิวาส สร้างความระทึกขวัญให้กบั คนไทยทัง้ ประเทศ ครั้งนั้นคนร้ายได้ปืนไปหลายกระบอก และ ปลิดชีวติ ทหารไปหลายนาย และนับแต่นน้ั มา ความไม่สงบในพืน้ ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ดูเหมือนจะเกิดถี่และรุนแรงยิ่งขึ้นกว่าเดิม ข้อมูลทีไ่ ด้รบั การรายงานผ่านสือ่ มวลชนเกือบ ทุกแขนงจึงเป็นข่าวการฆ่ารายวัน เผาโรงเรียน วางระเบิดสถานที่ราชการ จนทำให้คนไทย ภายนอกบริ บ ทสั ง คมมุ ส ลิ ม ใน 3 จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ห ลายคน เกิ ด ภาพลบต่ อ ชาวไทยมุสลิมทีอ่ าศัยอยูใ่ นพืน้ ทีน่ น้ั สะมะแอ เจะมูดอ เลขาธิการสมาพันธ์ ประมงพื ้ น บ้ า นภาคใต้ ชาวบ้ า นปานาเระ จ. ปัตตานี บอกอย่างกังวลว่า “ชาวบ้านไม่กลัว สถานการณ์ความรุนแรงทีเ่ กิดขึน้ ในพืน้ ที่ แต่ เป็นห่วงความรู้สึกของพี่น้องคนไทยมากกว่า ทีอ่ าจมองว่าสังคมมุสลิม 3 จังหวัด เป็นคนไม่ดี 234


ทั้งหมด และมีแต่ความรุนแรง แต่หากลงมาในพื้นที่แล้วก็จะรู้ว่า คนไทยพุทธ กับคนไทยมุสลิมยังอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข มีเพียงคนกลุ่มน้อยเท่านั้นที่หวัง สร้างสถานการณ์ให้เกิดความแตกแยก” อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความรุนแรงทีก่ ำลังร้อนเป็นไฟ แต่อกี มุมหนึง่ ชาวไทย มุสลิมทัง้ ใน จ. ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ยังคงดำเนินชีวติ อย่างสันติสขุ ตามแนว คำสอนของพระศาสดา ยึดมั่นในหลักศาสนาเป็นสำคัญ ไม่เว้นแม้แต่ในการ ประกอบสัมมาอาชีพโดยยึดเศรษฐกิจพอเพียง ไม่โลภ ไม่กอบโกย รวมถึงสืบทอด ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งภูเขา ทะเล และป่าไม้ เพราะนั่นคือฐานทรัพยากรที่ชาวบ้านจะสามารถพึ่งพาในการ ดำรงชีวติ ได้อย่างมีความสุข

วิถีมุสลิมกับหลักศรัทธาแห่งความพอเพียง เสียงอาซานจากอิสลามิกชนดังกังวาล มาจากมั ส ยิ ด ที ่ ต ั ้ ง อยู ่ โ ดยทั ่ ว ไปในพื ้ น ที ่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยเหตุเพราะพีน่ อ้ ง ชาวไทยปลายสุดดินแดนด้ามขวานทองกว่า 90 เปอร์เซ็นต์นบั ถือศาสนาอิสลาม ในแต่ละวันชาวมุสลิมจะต้องประกอบ ศาสนกิจด้วยการละหมาด 5 ครัง้ เพือ่ ขอพร จากอัลลอฮให้พวกเขาและชาวโลกได้อยูร่ ว่ มกัน อย่างสงบสุข จึงกล่าวได้วา่ ศาสนาอิสลามเป็น “ศาสนาแห่ ง สั น ติ ภ าพ” ไม่ เ พี ย งเท่ า นั ้ น อิสลามยังมีนยั ทีแ่ ฝงเร้นมากไปกว่า คือการ ยอมจำนนต่ออัลลอฮเพียงองค์เดียว และการ ดำรงอยู่อย่างสันติพร้อมกับการเชื่อฟังพระ ผูส้ ร้าง ซึง่ สันตินจ้ี ะเกิดขึน้ ในตัวของเขาผูน้ น้ั เกิดขึ้นร่วมกับบุคคลอื่น รวมไปถึงเกิดขึ้น ระหว่างตัวเขากับสภาพแวดล้อม

235


หลักอิสลามจึงครอบคลุมระบบทัง้ หมดในการดำรงชีวติ ของมุสลิม โดยหมาย ให้ ม ี ช ี ว ิ ต อยู ่ อ ย่ า งสั น ติ แ ละมี ค วามกลมกลื น กั บ ทุ ก ส่ ว นของธรรมชาติ ดั ง นั ้ น มุสลิมไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนในโลก พวกเขาเหล่านั้นจะต้องเชื่อฟัง มีความ จงรักภักดี และมีความซือ่ สัตย์ตอ่ ผูบ้ ริบาลแห่งสากล แล้วเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามคัมภีร์อัลกุรอาน อัลลอฮจึงทรงสร้างสรรพสิ่งขึ้นมาพร้อมทั้งบัญญัติกฎกำหนดสภาวะหรือภาษา อาหรับเรียกว่า “กอฎอ-กอดัร” อันเป็นหลักศรัทธา 1 ใน 6 ประการของอิสลาม เพือ่ ควบคุมสิง่ ทัง้ หลายทีเ่ กิดขึน้ ซึง่ กฎดังกล่าวประกอบด้วย กฎแห่งชะตากรรม เป็นกฎที่พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้มีรูปร่างหน้าตา ความรู้ ความสามารถ ฐานะ ความเป็นอยู่ และชะตากรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นความลับ ทีม่ นุษย์ไม่สามารถล่วงรูไ้ ด้ กฎธรรมชาติ เป็นกฎระเบียบที่พระองค์วางไว้เพื่อให้สรรพสิ่งทั้งหลาย ได้อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ กฎธรรมชาติเป็นกฎที่มนุษย์ไม่อาจไปเปลี่ยนแปลง หรือฝ่าฝืนได้ ไม่วา่ จะเป็นท้องฟ้า อากาศ ภูเขา แผ่นดิน แร่ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ และสรรพสัตว์ทง้ั หลาย รวมทัง้ อวัยวะในร่างกายของมนุษย์ กฎดำเนินชีวติ (ชะรีอะ๊ ฮ์) หรือกฎหมายของพระเจ้า กฎนีไ้ ด้ถกู ประทานมาเพือ่ การดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นการเฉพาะ เป็นกฎที่แยกระหว่างความดีกับความชั่ว ความผิดกับความถูกต้อง และความจริงกับความเท็จอย่างชัดเจน ทั้งนี้ กฎธรรมชาติและกฎการดำเนินชีวิตได้ถูกสร้างขึ้นมาให้มีความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องกัน จนหากว่ากฎการดำเนินชีวิตถูกละเมิดเมื่อใด ก็จะส่งผลกระทบต่อ กฎธรรมชาติ อันจะส่งผลเสียย้อนกลับมาสู่มนุษย์เองในวันข้างหน้า ไม่ช้าก็เร็ว เช่นคนดื่มเหล้าหรือเสพของมึนเมา เป็นการทำลายสุขภาพของมนุษย์ภายใต้ กฎธรรมชาติ และเมือ่ มีความต้องการเสพมาก ก็ตอ้ งมีการผลิตเพิม่ มากขึน้ ในทีส่ ดุ ก็จะมีการถ่ายเทของเสียลงสูแ่ ม่นำ้ ลำคลองและปล่อยมลพิษสูอ่ ากาศ เป็นผลให้เกิด น้ำเสียและอากาศพิษทีย่ อ้ นกลับมาเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ดังนัน้ การดำเนินชีวติ ของชาวมุสลิมตัง้ แต่ตน่ื เช้ายันเข้านอนจึงยึดเหนีย่ วกับ หลักศาสนาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งยึดโยงคนกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในลักษณะ พึ่งพิงและสมดุล

236


ดือราแม ดาราแม ปราชญ์ชาวบ้านแห่ง อ. บาเจาะ จ. นราธิวาส เล่าว่า ตามหลักศาสนาอิสลามสอนให้คนมีความพอเพียงในการดำรงชีวิต อันเป็นการ เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับยกตัวอย่างว่า ตามหลักศาสนา อัลลอฮอนุญาตให้บริโภคสัตว์ได้บางชนิด ส่วนบางชนิดไม่อนุญาต ให้นำมารับประทาน เพราะจะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม และในทีส่ ดุ ก็จะมีผลกระทบ ต่อมนุษย์ “คนมุสลิมไม่กินงูและหนู เพราะหนูเป็นอาหารของงู ถ้าเรากินงูจนหมด หนูจะระบาดมากขึ้นเพราะไม่มีงูมากำจัด จากนั้นหนูจะเข้ามาระบาดในนาข้าว ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน” ดือราแมกล่าว ผศ.นุกลู รัตนดากุล นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี ผู้ซึ่งทำงานคลุกคลีกับชาวบ้านมุสลิมในหลายหมู่บ้าน เล่าว่าครั้งหนึ่ง ได้เคยพบปะและพูดคุยกับกำนันลายิ สาแม แห่งบ้านดาโต๊ะ จ. ปัตตานี ซึง่ เป็นเสมือน ปรมาจารย์ทไ่ี ขประตูบานแรกให้รจู้ กั วิถมี สุ ลิม “กำนันลายิ สาแม บอกกับผมว่า นกไม่มวี นั หมดจากฟ้า ปลาไม่มวี นั หมดจากน้ำ ผมขัดแย้งกับคำพูดนี้ เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มขี ดี จำกัด แต่ทรัพยากรมีจำกัด ท่านจึงให้กุญแจสำคัญดอกหนึ่งกับผม คือให้สังเกตนก ปกตินกจะตื่นตอนเช้า ออกไปหากิน แล้วบินกลับรังในตอนเย็น ไม่มตี ะกร้า ไม่มสี มุดธนาคาร พออิม่ ก็บนิ กลับ ชีวติ คนมุสลิมก็เหมือนกับนกนัน่ เอง” ผศ.นุกลู ขยายความเพิม่ เติมว่า นีค่ อื หลักศรัทธาในอัลลอฮ เพราะหากมีความ ไว้วางใจในพระเจ้า เขาก็จะเชื่อว่าโลกใบนี้มีทรัพยากรพอที่จะเลี้ยงมนุษย์ได้ทุกคน และเป็นเหตุผลว่าทำไมคนมุสลิมจึงกินอยูค่ อ่ นข้างสมถะ ดูเหมือนขีเ้ กียจ ได้วนั กินวัน แต่จริงๆ แล้วเพราะไม่กอบโกย ขณะทีห่ ลายคนอาจมองว่าเป็นการต่อต้านการพัฒนา แสงอาทิตย์ของวันเริ่มสาดส่องไออุ่นมายังพื้นโลก นก กา บินออกจากรัง ไปหาอาหาร แม่บ้านตื่นขึ้นมาหุงหาอาหารเช่นกัน หากใครได้มาสัมผัสชีวิตของ พีน่ อ้ งมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว จะเข้าใจว่าชาวบ้านทีน่ พ่ี อใจกับชีวติ แบบพอเพียงตามแนวทางศาสนา คือเน้นการประกอบอาชีพตามแหล่งทรัพยากร ในท้องถิน่ ทีม่ อี ยู่ เช่น การทำประมงแบบดัง้ เดิม บางพืน้ ทีม่ กี ารรณรงค์ไม่ใช้เครือ่ งมือ ขนาดใหญ่จบั ปลา อย่างอวนรุนอวนลาก การพึง่ พาทรัพยากรและอาหารจากป่าพรุ

237


ซึ่งชาวบ้านเรียกป่าพรุว่าเป็นซูเปอร์มาเก็ตสำหรับพวกเขาเลยทีเดียว และที่สำคัญ อี ก อย่ า งก็ ค ื อ การทำสวนในลั ก ษณะการพึ ่ ง พาและดู แ ลป่ า ไม้ ไ ปพร้ อ มๆ กั น เป็นภูมปิ ญ ั ญาทีส่ บื ทอดกันมาตัง้ แต่บรรพบุรษุ ทีเ่ รียกกันว่า “สวนดูซน”

สวนดูซน: วนเกษตร “เชือ่ มป่า...เชือ่ มคน” การทำสวนดูซนเป็นระบบการทำเกษตรที่พบเฉพาะตามแถบเทือกเขาบูโด และเป็นภูมปิ ญ ั ญาทีส่ บื ทอดกันมาตัง้ แต่บรรพบุรษุ นานกว่า 300 ปีแล้ว มะดามิง อารียู ชาวบ้านเกะรอ อ. รามัน จ. ยะลา อธิบายว่า สวนดูซน เป็นคำเรียกในภาษามลายู แต่หากเรียกตามหลักวิชาการ ก็คือวนเกษตรนั่นเอง ซึ ่ ง หั ว ใจของสวนดู ซ นคื อ การปลู ก พื ช พั น ธุ ์ ห ลากหลายชนิ ด บนพื ้ น ที ่ เ ดี ย วกั น เพื่อตอบสนองความต้องการของชาวบ้าน ทั้งไม้ผลที่ใช้เป็นอาหาร และไม้ใช้สอย ทีใ่ ช้ประโยชน์สารพัดในครัวเรือน โดยการทำสวนของชาวบ้านจะต้องคงสภาพป่าไว้ เช่นกัน กล่าวคือไม่ตดั ต้นไม้ขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับดือราแมที่เล่าว่า การทำสวนดูซนคือการปลูกพืชทุกชนิด ตามทีช่ าวบ้านต้องการกิน ต้องการใช้ และอีกด้านหนึ่งก็เพื่อรักษาสภาพ แวดล้อมให้คงอยู่ เพราะชาวบ้าน เชื่อว่า หากป่ายังอยู่ ก็จะสามารถ ทำสวน และปลูกพืชได้ผลดี เนือ่ งจาก ป่ า ไม้ ใ ห้ ท ั ้ ง ความชุ ่ ม ชื ้ น และความ อุดมสมบูรณ์กับพื้นดิน ป้องกันการ พังทลาย และลดการชะล้างหน้าดิน อีกทั้งการปลูกพืชหลากหลายชนิด รวมกัน ยังทำให้พื้นที่มีความหลาก หลายทางชีวภาพด้วย

238


สภาพของสวนดูซนจึงร่มครึ้มไปด้วยไม้ใหญ่และไม้ผล รวมทั้งรกเรื้อไปด้วย พืชผักสมุนไพรต่างๆ ทีล่ ว้ นแล้วแต่เอือ้ ประโยชน์ตอ่ การดำรงชีวติ ของชาวบ้านทัง้ สิน้ โดยพืชหลักที่นิยมปลูกคือทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองหลายชนิด เช่นพันธุ์ลาบู ลักษณะ ของผลจะคล้ายฟักทอง ส่วนผลไม้รองลงมา ได้แก่ ลองกอง ลางสาด มังคุด สำหรับผักพื้นบ้าน เช่น สะตอ ลูกเนียง ส้มแขก ดาหลา ผักกูด นอกจากนี้ ชาวบ้านยังนิยมปลูกสมุนไพรและไม้ใช้สอย เช่น ไม้ไผ่ พลู หมาก และอื่นๆ อีกจำนวนมาก อย่างไรก็ดี สิง่ ทีส่ วนดูซนแตกต่างจากระบบวนเกษตรโดยทัว่ ไป คือสวนดูซน เป็นระบบเกษตรทางวัฒนธรรมทีก่ รรมสิทธิถ์ อื ครองเป็นของตระกูล และเป็นสมบัติ ตกทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานในลักษณะถือครองโฉนดร่วมกัน ดังจะเห็นได้ว่า แต่ละสวนจะมีชื่อเรียกเฉพาะของตัวเอง ซึ่งถ้าหากไม่ตั้งชื่อตามลักษณะเด่น ของพันธุพ์ ชื ในสวนนัน้ ๆ ก็จะเป็นชือ่ ทีบ่ ง่ บอกว่าเป็นของตระกูลไหน ใครเป็นเจ้าของ หรือสืบเชื้อชาติมาจากแห่งใด เช่นสวนดูซนโต๊ะกาแต หมายถึงสวนของตระกูล ผูท้ ม่ี าบุกเบิกทำสวนบริเวณนีม้ าจากรัฐกลันตัน เป็นต้น สำหรับการถือครองกรรมสิทธิ์ จะใช้ชื่อพี่น้องในตระกูลเดียวกันหลายๆ คน ในโฉนดใบเดียวกัน ไม่มกี ารแบ่งโฉนดเป็นรายครอบครัวหรือรายบุคคล ซึง่ การออก โฉนดตระกูลแบบนี้ กรมที่ดินเป็นผู้ออกให้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่สวนดูซนส่วนใหญ่จึงยังคงเป็นสมบัติของตระกูลที่ตกทอดจาก บรรพบุรุษมาหลายร้อยปีได้ โดยไม่ตกไปอยู่ในมือของนายทุนเหมือนอย่างเช่น พื้นที่ทำกินอื่นๆ ของชาวบ้านในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ที่มักจะถูกนายทุน เข้าครอบครอง สวนดูซนจึงไม่ใช่สวนที่เป็นเพียงแหล่งทำมาหากินของชาวบ้านเท่านั้น แต่เป็นสายใยร้อยรัดคนในตระกูล คือทุกคนมีความสำนึกในการเป็นเจ้าของสวน ร่ ว มกั น การดู แ ลสวนจึ ง เป็ น หน้ า ที ่ ข องทุ ก คนในตระกู ล อย่ า งหลี ก เลี ่ ย งไม่ ไ ด้ ทำให้เกิดความสัมพันธ์แน่นแฟ้นในระบบเครือญาติ เพราะทุกคนต้องพึ่งพาอาศัย ซึง่ กันและกันในการทำมาหากิน ต่างจากพืน้ ทีอ่ น่ื ทีเ่ มือ่ มีการแบ่งมรดกเป็นทรัพย์สนิ ส่วนบุคคลไปแล้ว ความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติก็แทบจะล่มสลาย หรือบางคน ก็แทบจะไม่นบั ญาติกนั ด้วยซ้ำ เพราะการแบ่งผลประโยชน์ทไ่ี ม่ลงตัว

239


ฤดูดซู น โมงยามของการแบ่งปัน การทำสวนดูซนของชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจาก เป็นการถือครองกรรมสิทธิร์ ว่ มกันของตระกูลแล้วในแง่ของการจัดสรรผลประโยชน์ ยังตั้งมั่นอยู่บนหลักการแบ่งปันที่เป็นธรรม และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ เฉพาะคนในวงศ์วานเดียวกันเท่านั้น มะดามิงเล่าว่า ชาวบ้านแต่ละตระกูลที่เป็นเจ้าของสวนจะมีการแบ่งปัน ผลประโยชน์ในพืชผลของตน เช่นถ้าเป็นสะตอ ลองกอง มังคุด ซึ่งเป็นผลไม้ ที่สุกพร้อมกัน เมื่อเก็บผลผลิตได้แล้วก็จะแบ่งเป็นสัดส่วนเท่าๆ กัน แต่ถ้าเป็น ทุเรียนจะเวียนกันเก็บในช่วง 40 วัน เนือ่ งจากระยะการสุกของทุเรียน จะใช้เวลา ประมาณ 40 วัน ส่วนสมุนไพรหรือผักพื้นบ้านที่ไม่ได้เป็นผลผลิตสร้างรายได้ ทุกคนในตระกูล รวมทัง้ คนอืน่ ๆ ต่างก็สามารถเก็บกินได้เอง ภาพจาก ศุภรา จันทร์ชดิ ฟ้า

ครัน้ เมือ่ ถึงฤดูเก็บเกีย่ วผลผลิตในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคมของทุกปี ผลไม้ ห ลากหลายชนิ ด สุ ก เต็ ม ต้ น ชาวบ้ า นจะเรี ย กช่ ว งเวลานี ้ ว ่ า “ฤดู ด ู ซ น” ในยามฤดูกาลนี้ เมื่อเจ้าของสวนเก็บเกี่ยวผลผลิตมาได้ ก็จะมีการทำบุญผลผลิต จากสวนดูซน ด้วยการสวดขอพรเพื่อแสดงความเคารพต่ออัลลอฮที่ประทาน ทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์แก่มนุษย์ และเพื่อระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษ ทีป่ ลูกสวนดูซนไว้ให้สบื ทอดต่อกันมา 240


ไม่เพียงแต่การระลึกนึกถึงบุญคุณปู่-ย่า-ตา-ยายที่ล่วงลับไปแล้วเท่านั้น แต่ยังมีการจัดงานเลี้ยงทำบุญ โดยนำผลไม้ที่เก็บเกี่ยวได้มาแบ่งปันกันในหมู่ ญาติมติ รเพือ่ นฝูง ซึง่ อาหารจัดเลีย้ งส่วนใหญ่มกั ได้แก่ขา้ วเหนียวทุเรียน ผลไม้ตา่ งๆ จากสวน เช่น เงาะ ลางสาด ลองกอง และมังคุด เป็นต้น และในงานเลี้ยงนี้ จะมีการเชิญชวนเพื่อนบ้านมาอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน หรือบางครั้งก็เป็นละหมาด ฮายัด หรือละหมาดขอพร เพื่อให้ชีวิตมีแต่สิ่งดีงาม เป็นมงคล ส่วนผลผลิตอีก ส่วนหนึ่งที่เหลือจากการทำบุญเจ้าของสวนก็จะนำไปจำหน่ายแลกเงินตราเพื่อใช้ ในการยังชีพ มะดามิงมองว่า การจัดเลีย้ งผลผลิตเป็นเสมือนการให้ทานแก่ผอู้ น่ื เพือ่ สลัด ความเห็นแก่ตวั ออกไป ซึง่ แตกต่างจากการทำสวนทัว่ ไป ทีเ่ มือ่ เก็บเกีย่ วผลผลิตมาได้ ก็จะนำไปขายสร้างรายได้ให้กบั ครอบครัว “การให้ทานทางศาสนาเปรียบเหมือนการจุดเทียน ยิง่ จุดมาก ก็ยง่ิ สว่างไสวมาก การให้ทานสามารถทำได้ตลอดปีหากเรามีความพร้อม ฤดูดูซนเป็นช่วงของการ ให้ไปพร้อมกัน การให้ไม่มวี นั ขาดทุน แต่จะยิง่ มีความสุขเพิม่ พูนภายในจิตใจของเรา” มะดามิงกล่าว สวนดูซนจึงเป็นพืน้ ทีท่ ำมาหากินทีเ่ รียงร้อยศาสนา ผูค้ น ชุมชน และสิง่ แวดล้อม เข้ามาเชื่อมต่อกันอย่างกลมเกลียว นั่นเพราะสวนดูซนเชื่อมโยงคนกับองค์อัลลอฮ เชื่อมโยงคนในครอบครัวและในชุมชนด้วยหลักธรรมทางศาสนา รวมทั้งเชื่อมโยง คนกับสิ่งแวดล้อมด้วยการทำเกษตรแบบพึ่งพาป่า และรักษาความหลากหลาย ทางชีวภาพ

เกษตรเชิงเดีย่ ว: แนวรบด้านการส่งเสริมผลผลิต มีนิทานพื้นถิ่นเรื่องหนึ่งของชาวมุสลิมที่นิยมเล่ากันในพรุว่า นานมาแล้ว มีลิงกับปลาเป็นเพื่อนรักกันมาก อยู่มาวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ ลิงเป็นห่วงปลามาก กลัวจะจมน้ำตาย เพราะน้ำท่วมสูงเกือบถึงยอดไม้ ด้วยความรัก ทีม่ ตี อ่ เพือ่ น ลิงจึงอุม้ ปลาขึน้ มาไว้บนยอดไม้ แม้ปลาจะพยายามขอร้องให้ปล่อยตัวเอง ลงไปในน้ำ แต่ลิงก็ไม่ยอม เพราะกลัวเพื่อนจะตาย แต่ในที่สุด ปลาที่ขึ้นไปอยู่ บนยอดไม้กต็ ายจนได้

241


นิทานเรือ่ งนีด้ จู ะมีคติสอนใจทีไ่ ม่แตกต่างกันนักกับการพัฒนาของภาครัฐทีไ่ ม่เข้าใจ บริบทของชุมชนมุสลิม ซึง่ ก็รวมถึงการส่งเสริมปลูกพืชเชิงเดีย่ วเพือ่ เพิม่ ผลผลิต หลังจากการพูดคุยถึงลักษณะการทำสวนดูซนและกิจกรรมในช่วงฤดูเก็บเกีย่ ว มะดามิงก็พาเราไปเยีย่ มชมสวนดูซนของตระกูล ซึง่ อยูไ่ ม่หา่ งไกลนักจากบ้านเกะรอ ภาพเบื้องหน้าที่เห็น คือความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างสวนดูซนกับแปลงสวน ยางพาราที่อยู่ข้างเคียง โดยมีเส้นทางสายเล็กๆ คั่นสำหรับใช้สัญจรไปมาด้วย รถมอเตอร์ไซด์ นั่นเพราะสวนดูซนยังคงมีสภาพคล้ายป่าสมบูรณ์ ซึ่งมีทั้งต้นไม้ ขนาดใหญ่ทข่ี น้ึ ตามธรรมชาติ ผลไม้นานาพันธุ์ หรือแม้กระทัง่ วัชพืชจำพวกหญ้า ต่างๆ ก็ไม่มกี ารทำลาย ผืนดินทีเ่ หยียบ เราจึงรูส้ กึ ได้ถงึ ความนุม่ ชุม่ ชืน้ ส่วนสวนยางพาราอีกฟากหนึง่ กลับมีเพียงต้นยางรอบใหม่ทร่ี อการกรีดน้ำยาง ไปขาย ต้นยางพาราเหล่านี้ถูกปลูกด้วยกรรมวิธีการทำเกษตรเชิงเดี่ยวสมัยใหม่ เราจึงเห็นเฉพาะต้นยางที่เรียงรายจัดแถวอย่างเป็นระเบียบ โดยคำนวนผลผลิต จากน้ำยางแต่ละต้น แล้วคูณออกมาเป็นตัวเงิน มะดามิงบอกเล่าว่า รูปแบบของสวนเริม่ เปลีย่ นไป เนือ่ งจากนโยบายของรัฐที่ สนับสนุนให้ปลูกพืชเชิงเดีย่ ว โดยเฉพาะยางพารา หากต้องการได้รบั เงินสนับสนุน จากภาครัฐ ก็ต้องไม่มีการปลูกพืชชนิดอื่นร่วมด้วย เนื่องเพราะเกรงว่าจะกระทบ

242


ทำให้ได้ผลผลิตน้ำยางน้อย สวนจึงขาดความหลากหลายทางชีวภาพ ซึง่ ในปัจจุบนั ปริมาณสวนในลักษณะดูซนลดลงอย่างน่าใจหาย มะดามิงเองก็เป็นผู้หนึ่งที่เคยเข้าไปอยู่ในวังวนของการทำเกษตรเชิงเดี่ยว โดยปฏิเสธภูมปิ ญ ั ญาดัง้ เดิมในการทำสวน “เมือ่ ประมาณ 20 ปีกอ่ น ช่วงนัน้ ทางเกษตรตำบลมาส่งเสริมให้ปลูกลองกอง ต้นไม้ทุกต้นต้องตัดหมด แม้แต่หญ้าก็ต้องใช้สารเคมีปราบให้สิ้นซาก เพราะกลัว จะมาแย่ ง อาหารจากต้ น ลองกอง ผมคำนวณเลยว่ า ถ้ า ปลู ก ลองกองร้ อ ยต้ น จะได้ ผ ลผลิ ต และได้ ก ำไรเท่ า ไร แต่ พ อเอาเข้ า จริ ง ๆ กว่ า ลองกองจะโตต้ อ ง ลงทุนกับปุ๋ยกับยาฆ่าแมลงจำนวนมาก เมื่อเก็บผลผลิตก็ขายได้ราคาต่ำไม่คุ้มทุน นี ่ ย ั ง ไม่ น ั บ ต้ น ทุ น ทางสิ ่ ง แวดล้ อ มที ่ เ สี ย ไป ตั ้ ง แต่ น ั ้ น ผมก็ เ ริ ่ ม หั น กลั บ มามอง การทำเกษตรตามภูมปิ ญ ั ญาดัง้ เดิม” บทเรียนทีไ่ ด้รบั จากการทำเกษตรเชิงเดีย่ ว ทำให้มะดามิงเริม่ หันกลับมาทบทวน ถึงวิถเี กษตรแบบพึง่ พาธรรมชาติ ประกอบกับห้วงเวลานัน้ ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการ เรียนรู้ เขาจึงแสวงหาโอกาสเดินทางไปดูงานเกษตรผสมผสานทั้งที่ จ. ขอนแก่น มหาสารคาม และที่ไร่ของผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ที่ จ. ฉะเชิงเทรา ซึ่งสามารถ พลิกฟื้นตัวเองขึ้นมาได้ด้วยแนวทางเดียวกับเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ฯ ผลจากการตระเวนดูงานในหลายพืน้ ที่ และเรียนรูจ้ ากผูท้ ป่ี ระสบปัญหาเหมือนๆ กัน มะดามิงจึงเริม่ มีความมัน่ ใจในระบบการทำเกษตรแบบสวนดูซนทีเ่ ป็นภูมปิ ญ ั ญา สืบทอดมาจากบรรพบุรษุ มากขึน้ และนับตัง้ แต่นน้ั เป็นต้นมา ต้นลองกองในสวนก็เริม่ มี เพื่อนเป็นพืชต่างชนิดต่างสายพันธุ์เข้ามาอยู่รวมกันมากมาย รวมทั้งต้นไม้และ พืชธรรมชาติกถ็ กู ปล่อยให้เติบโตโดยไม่มกี ารตัดโค่น แม้ในอีกด้านหนึ่ง รัฐจะยังส่งเสริมปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะยางพารา ทีป่ จั จุบนั ราคาดี แต่มะดามิงและชาวบ้านกลุม่ เล็กๆ ในลักษณะเครือข่าย ก็มคี วาม พยายามฟืน้ ฟูสวนดูซนด้วยการแนะนำให้เพือ่ นบ้านคนอืน่ ๆ หันมาปลูกพืชอืน่ แซมด้วย เช่น ผัก สมุนไพร ซึ่งเป็นพืชที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และแทนที่จะไปจับจ่าย ซือ้ หาจากตลาด “ข้อดีของการทำสวนดูซน คือไม่ตอ้ งใส่ปยุ๋ ไม่ตอ้ งฉีดยาฆ่าแมลง ไม่ตอ้ งรดน้ำ

243


และยั ง มี ไ ส้ เ ดื อ นมาพรวนดิ น ให้ ต ้ น ไม้ ด ้ ว ย ที ่ ส ำคั ญ สวนดู ซ นยั ง เป็ น ระบบ เศรษฐกิจแบบศีลธรรม คือมีการเชือ่ มโยงสวนกับชาวบ้านและหลักปฏิบตั ทิ างศาสนา แบบพึ่งพาอาศัยไม่เบียดเบียนกันและกัน แต่ถ้าเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว จะไม่มีความ เชื่อมโยงให้เห็น การทำสวนเชิงเดี่ยวจะแยกคนออกจากสัตว์ แยกคนออกจากป่า แยกคนออกจากสังคม และท้ายที่สุด ยังแยกคนออกจากศาสนาด้วย เพราะ เกษตรเชิงเดีย่ วจะตอบสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจเท่านัน้ ” มะดามิงกล่าว

ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ: แนวรบด้านการอนุรกั ษ์ปา่ นอกจากระบบการส่งเสริมเกษตรเชิงเดี่ยวที่เข้ามารุกพื้นที่สวนดูซนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ปัญหาเรือ่ งอุทยานแห่งชาติทบั ทีด่ นิ ทำกินของประชาชน ก็เป็นมูลเหตุหนึง่ ทีน่ ำความวิตกกังวลมาสูช่ าวบ้าน เพราะเขาเหล่านัน้ เกรงว่าจะสูญสิน้ ทีท่ ำมาหากินทีส่ บื ทอดมาหลายชัว่ อายุคนและเป็นสมบัตขิ องตระกูล ในอดีตบริเวณป่าเทือกเขาบูโดและเทือกเขาสุไงปาดี เป็นพื้นที่ที่ถูกระบุว่า มีโจรผูร้ า้ ยชุกชุม มีการก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆ มากมาย ในนามขบวนการพูโล และขบวนการโจรบูโด แต่ปจั จุบนั พืน้ ทีด่ งั กล่าวมีความสงบเรียบร้อยและปลอดภัย มากขึ้น กระนั้นก็ตาม ยังคงถูกกากบาทว่าเป็นพื้นที่ซ่องสุมของโจร อย่างไรก็ดี ในอีกมุมหนึง่ ชาวบ้านในพืน้ ทีต่ า่ งยังทำมาหากินด้วยการทำสวนดูซนบนเทือกเขาบูโด ซึง่ ก็เป็นการทำกินมาอย่างยาวนานหลายร้อยปีแล้ว หากทว่าการเปลีย่ นแปลงทีน่ า่ จะเป็นปัจจัยหนึง่ ทีห่ นุนให้เกิดความขัดแย้งในพืน้ ที่ คือปัญหาด้านป่าไม้ที่ดิน ซึ่งส่อเค้าลางมาตั้งแต่ 19 ตุลาคม 2531 เมื่อเจ้าหน้าที่ ป่าไม้เข้ามาสำรวจ จนกระทั่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเห็นชอบให้กำหนด พืน้ ทีป่ า่ เทือกเขาบูโดและป่าเทือกเขาสุไหงปาดี ซึง่ ครอบคลุมพืน้ ที่ อ. บาเจาะ อ. ยีง่ อ อ. รือเสาะ อ. ระแงะ อ. สุไงปาดี อ. เจาะไอร้อง อ. สุครี นิ ของ จ. นราธิวาส, อ. รามัน จ. ยะลา, และ อ. กระพ้อ จ. ปัตตานี เนือ้ ทีป่ ระมาณ 341 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 213,125 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ หลังจากนั้นพื้นที่ดังกล่าวก็ได้รับ การประกาศเป็น อุทยานแห่งชาติบโู ด-สุไหงปาดี เมือ่ วันที่ 17 มิถนุ ายน 2542 ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เมื่อมีการประกาศเขตอุทยานฯ ในปี 2542 แน่นอนว่าต้องเกิดปัญหา 244


ประกาศพื ้ น ที ่ อ ุ ท ยานฯ ทั บ ที ่ ด ิ น ทำกินของประชาชนที่มีการทำสวน ดูซนบนเทือกเขาบูโดอย่างแน่นอน เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ พึ ่ ง พิ ง การทำสวนในพื ้ น ที ่ ป ่ า มา ตัง้ แต่สมัยบรรพบุรษุ สะมะแอ กาเร็งสานา กำนัน ต. ตาปอเยาะ อ. ยีง่ อ จ. นราธิวาส บอกว่ า เมื ่ อ ประมาณปี 2541 กรมป่ า ไม้ ส ่ ง เจ้ า หน้ า ที ่ ม าร่ ว ม ประชุ ม กั บ ชาวบ้ า น เรื ่ อ งการ ประกาศพืน้ ทีอ่ ทุ ยานฯ ทำให้เกิดการประท้วง เพราะชาวบ้านไม่พอใจทีก่ ารประกาศ เขตอุทยานฯ ไปทับทีด่ นิ ทำกินของชาวบ้าน ซึง่ มีการทำประโยชน์สบื ทอดกันมานาน หลายร้อยปี โดยที่ ต. ตาปอเยาะ นี้ มีชาวบ้านประมาณ 1,580 ครอบครัว ส่วนใหญ่มที ด่ี นิ ทำกินด้วยการทำสวนดูซน และทัง้ หมดล้วนอยูบ่ นเทือกเขาบูโด “ช่วงที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้มาปักเขตอุทยานฯ ก็มีการประท้วงกันหลายครั้ง ช่ ว งนั ้ น ผมและตั ว แทนชาวบ้ า นบางคนต้ อ งเดิ น ทางไปยื ่ น หนั ง สื อ คั ด ค้ า น ต่อหน่วยงานรัฐในกรุงเทพมหานครหลายครั้ง แต่พอเกิดเหตุความไม่สงบในพื้นที่ ตอนนีเ้ รือ่ งก็เงียบ ๆ ไป เพราะเจ้าหน้าทีไ่ ม่กล้าเข้ามารังวัด แต่ถา้ เมือ่ ไหร่ทางอุทยานฯ จะมายึดทีด่ นิ ของพวกเขา ถึงเวลานัน้ ผมคิดว่าทุกคนพร้อมทีจ่ ะลุกขึน้ ต่อสู”้ กำนัน ต. ตาปอเยาะกล่าว ในเรื่องความรุนแรงทางสังคมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ นักวิชาการและชาวบ้าน ในพื้นที่ หรือแม้แต่ข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ล้วนมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรในพืน้ ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นชนวนหนึ่ง ที่บ่มเพาะเชื้อไฟให้เกิดความเกลียดชังต่อ เจ้าหน้าทีร่ ฐั มาเป็นเวลานาน ซึง่ การเยียวยาของภาครัฐ จะต้องมีความเข้าใจเรือ่ งฐาน ทรัพยากรในการดำรงชีวิตของชาวบ้านที่เชื่อมโยงกับหลักศาสนาและวัฒนธรรม ท้องถิน่ ด้วย

245


ขณะที่กำนัน ต. ตาปอเยาะ เห็นว่า เจ้าหน้าที่รัฐมองข้ามปัญหาปากท้อง ของชาวบ้ า นที ่ ม ี ผ ลจากการจั ด การทรั พ ยากรของภาครั ฐ โดยไม่ เ ป็ น ธรรม และไม่เชือ่ มโยงกับหลักศาสนาของคนในพืน้ ที่ จนทำให้เกิดการกินแหนงแคลงใจกัน

ป่าชุมชนกาลอ : แบบอย่างของคนอยูร่ ว่ มกับป่า เมื่อประมาณปี 2536 อาจารย์น ิธ ิ ฤทธิพรพันธุ์ จากมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ เข้ามาทำวิจยั ป่าชุมชนในพืน้ ทีก่ บั ชาวบ้านทีบ่ า้ นกาลอ อ. รามัน จ. ยะลา โดยป่าชุมชนบริเวณนั้นเป็นพื้นที่ป่าสงวนที่ชาวบ้านเข้าไปทำมาหากิน ด้วยการทำสวนดูซน ซึ่งจะแตกต่างจากการทำป่าชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน ทีม่ กี ารทำป่าชุมชนในพืน้ ทีป่ า่ สาธารณะใช้สอยร่วมกันของหมูบ่ า้ น การที่ชาวบ้านกาลอลุกขึ้นมาทำป่าชุมชนในช่วงนั้น เนื่องมาจากมีปัญหา ด้านการจัดการทรัพยากรของชาวบ้านเอง รวมทั้งภาครัฐมีนโยบายการปฏิรูป ทีด่ นิ เพือ่ เกษตรกรรม ซึง่ ชาวบ้านในพืน้ ทีเ่ กรงว่า หากเจ้าหน้าทีเ่ อาเรือ่ ง ส.ป.ก. เข้ามา จะทำให้พวกเขามีพื้นที่ทำกินน้อยลง ในขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่ง ของป่าก็ถกู รุกล้ำพืน้ ทีจ่ ากนิคมสร้างตนเอง อ. บันนังสตา จ. ยะลา ดังนัน้ ชุมชน กาลอจึ ง มี ก ารรวมตั ว กั น ในที ่ ส ุ ด เพื ่ อ รั ก ษาป่ า และที ่ ด ิ น ทำกิ น ของตนเอง ด้วยการจัดทำป่าชุมชนขึน้ จากนั้นจึงเริ่มสำรวจแนวป่า มีองค์กรพัฒนาเอกชนเข้ามาแนะนำพูดคุย ทำให้ชาวบ้านมีการรวมตัวจัดการทรัพยากรป่าไม้ มีการทำงานวิจัยซึ่งช่วยให้ ชาวบ้านเข้ามามีกจิ กรรมในป่ามากขึน้ ทางศูนย์ฝกึ อบรมวนศาสตร์ชมุ ชนแห่งภูมภิ าค เอเชี ย แปซิ ฟ ิ ก เองก็ ล งมาให้ ค วามรู ้ ก ั บ ชาวบ้ า น ทำให้ ค วามร่ ว มมื อ เกิ ด การขยายวงกว้างมากขึ้น ในด้านของการจัดการป่าชุมชน มีการเก็บหาของป่าบ้าง เช่น เห็ดโคน น้ำผึง้ แต่โดยมากเป็นการเก็บผลผลิตในพืน้ ทีส่ วนป่าของตัวเองมากกว่า เช่น สะตอ มังคุด ส้มแขก ทุเรียน ดอกดาหลา เนียง จำปูริง กระวาน และสมุนไพรอื่นๆ ดังนั้น การทำป่าชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จงึ แตกต่างกับภูมภิ าคอืน่ เพราะเป็นการ ทำสวนดูซนทีเ่ ป็นสมบัตขิ องตระกูลควบคูไ่ ปกับการดูแลรักษาป่าธรรมชาติในพืน้ ที่ อนึง่ ป่ากาลอเป็นป่าชืน้ เขตร้อนทีย่ งั คงความอุดมสมบูรณ์ มีเนือ้ ทีป่ ระมาณ 45,000 ไร่ ประกอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน โดยป่าทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ที่ ต. กาลอ มีอยูป่ ระมาณ 28,249 ไร่

246


ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐเท่าที่ควร โดยเฉพาะปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน เพราะลักษณะการทำงานของรัฐเป็นความเห็นจากส่วนกลาง ไม่มีการรับฟัง ความคิดเห็นจากชาวบ้าน ทั้งนี้ชาวบ้านได้เรียกร้องผ่านกำนันในพื้นที่ว่าต้องการให้หน่วยงานของรัฐ ออกโฉนด เพือ่ ให้ชาวบ้านจะได้มหี ลักประกันทีม่ น่ั คงในการประกอบอาชีพ โดยไม่ตอ้ ง กังวลว่าจะถูกไล่ที่ ขณะเดียวกันยังเป็นการสกัดกั้นไม่ให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่า เพิม่ เติมออกไปอีก เพราะแต่ละคนมีเอกสารสิทธิจำนวนทีด่ นิ ทีช่ ดั เจนแล้ว สำหรับการประกาศพื้นที่ป่าเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดีเป็นอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากกรมป่าไม้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นป่าต้นน้ำสายบุรีและคลองบาเจาะ ที่ยังอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าที่มีพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์หายาก และมีความสำคัญนานาชนิด จำนวนมาก เช่น นกเงือก ต้นปาล์มบังสูรย์หรือปาล์มลีแป และย่านดาโอ๊ะ หรื อ ที ่ ร ู ้ จ ั ก กั น ในนาม “ใบไม้ ส ี ท อง” ซึ ่ ง พบแห่ ง แรกของโลกที ่ น ้ ำ ตกปาโจ อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี อ. บาเจาะ จ. นราธิวาส และพบทั่วไปในเขต รักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ บาลา-ฮาลา ของ จ. ยะลาและนราธิวาส สิทธิชยั หมัดศรี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติบโู ด-สุไหงปาดี กล่าวว่า เดิมพืน้ ที่ อุ ท ยานแห่ ง ชาติ บ ู โ ด-สุ ไ หงปาดี เ ป็ น พื ้ น ที ่ ว นอุ ท ยานฯ และป่ า สงวนแห่ ง ชาติ ทางกรมป่ า ไม้ เ ห็ น ว่ า แม้ จ ะเป็ น พื ้ น ที ่ ป ่ า สงวนฯ แต่ ก ็ เ ป็ น ป่ า ต้ น น้ ำ ที ่ ย ั ง มี ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ดั ง นั ้ น จึ ง มี ก ารประกาศพื ้ น ที ่ ป ่ า บริ เ วณนี ้ เ ป็ น อุ ท ยานฯ เพื่อเป็นผืนป่าอนุรักษ์ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์ ความไม่สงบนั้น เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้มีการสำรวจแนวเขต และประสานกับกำนัน ผูใ้ หญ่บา้ น เพือ่ ประชุมชีแ้ จงชาวบ้านถึงเหตุผลทีเ่ จ้าหน้าทีต่ อ้ งรังวัดแนวเขตอุทยานฯ และแนวเขตทีด่ นิ ทำกินของประชาชน ซึง่ ได้รบั ความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในพืน้ ที่ อ. รือเสาะ จ. นราธิวาส “การสำรวจการถือครองที่ดินของชาวบ้านโดยฝ่ายจัดการที่ดิน สำนักงาน สาขาปัตตานี ขัน้ ตอนนีม้ กี ารสำรวจเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงขัน้ ตอนการพิสจู น์สทิ ธิ ซึ ่ ง ขณะนี ้ ต ้ อ งชะลอไปก่ อ นเพราะเกิ ด เหตุก ารความไม่ ส งบขึ ้ น ในพื ้ น ที ่ ทำให้ เจ้าหน้าที่จากกรุงเทพมหานครที่รับอาสามาทำงานไม่กล้าลงพื้นที่” สิทธิชัยกล่าว ถึงสถานการณ์

247


การพิส ูจน์ส ิทธิท ี่ดินทำกินในพื้นที่อ ุทยานแห่งชาติ ต้องเป็นไปตามมติ คณะรัฐมนตรีเมือ่ วันที่ 31 มิถนุ ายน 2541 คือประชาชนทีม่ พี น้ื ทีท่ ำกินในเขตอุทยานฯ จะต้องมาขึ้นทะเบียน หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิ โดยพื้นที่ ทำกินนั้นจะต้องไม่อยู่ในพื้นที่ล่อแหลม เช่นไม่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ หรือป่าอนุรักษ์ ทีม่ คี วามสำคัญ โดยการพิจารณาพืน้ ทีล่ อ่ แหลมขึน้ อยูก่ บั ความเห็นของหัวหน้าอุทยานฯ แต่ละพื้นที่ สำหรับการแก้ไขปัญหาพื้นที่อุทยานฯ ทับที่ดินทำกินของประชาชน หัวหน้า อุทยานแห่งชาติบโู ด-สุไหงปาดี กล่าวว่า หากการพิสจู น์สทิ ธิพบว่าชาวบ้านอยูม่ าก่อน ก็จะให้สทิ ธิในพืน้ ทีท่ ำกินต่อไป แต่ถา้ เข้ามาทำกินหลังประกาศอุทยานฯ ยังคงให้สทิ ธิ ในที ่ ด ิ น ทำกิ น นั ้ น เช่ น กั น แต่ ก รณี น ี ้ ต ้ อ งดู ว ่ า พื ้ น ที ่ บ ริ เ วณนั ้ น เป็ น ป่ า ต้ น น้ ำ อยู่ในพื้นที่สมบูรณ์หรือไม่ หากพิจารณาว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก็ต้องมีการ โยกย้ายออก แล้วจัดสรรทีด่ นิ ใหม่ให้ “หลังจากมีการพิสูจน์สิทธิแล้ว ทางกรมอุทยานฯ จะออกเอกสารสิทธิที่ดิน ทำกินให้กับประชาชน แต่คงไม่สามารถออกโฉนดในพื้นที่ป่าตามที่ชาวบ้านบางคน ร้องขอได้ เพราะการออกโฉนดเป็นหน้าที่ของกรมที่ดิน แนวทางที่จะทำให้เป็นที่ พอใจของทั้งสองฝ่ายน่าจะเป็นการออกเอกสารสิทธิที่ดินทำกิน เพื่อให้เกิดความ มั่นใจในการประกอบอาชีพของชาวบ้านในอนาคต” หัวหน้าอุทยานแห่งชาติบูโดสุไหงปาดีกล่าว ส่วนปัญหาความขัดแย้งเรื่องป่าไม้ที่ดินจะนำไปสู่ความรุนแรงทางสังคม เหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในขณะนี้หรือไม่ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดีให้ ความเห็นว่ามีผลกระทบน้อยมาก เพราะปัญหานี้เกิดขึ้นเรื้อรังมานาน แม้จะมีการ กระทบกระทั่งกัน แต่ในที่สุดชาวบ้านกับภาครัฐก็สามารถตกลงกันได้ อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าเป็นห่วงพื้นที่ป่าจะถูกบุกรุกเพิ่มเติมในช่วงที่เกิดความรุนแรงในภาคใต้ เพราะเจ้าหน้าทีม่ นี อ้ ย อีกทัง้ การปฏิบตั งิ านก็ไม่คล่องตัว เนือ่ งจากทุกคนก็หว่ งเรือ่ ง ความปลอดภัย จึงไม่กล้าเข้าไปทำงานในพืน้ ที่ แต่อกี มุมหนึง่ กลับเป็นเรือ่ งดีทน่ี ายทุน จากพืน้ ทีอ่ น่ื ไม่เข้ามาบุกรุกป่า เพราะเมือ่ เข้ามาแล้ว ในสถานการณ์เช่นนีค้ งไม่สามารถ ดำเนินการอะไรได้ แม้การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่อุทยานฯ กับประชาชนที่ทำมาหากิน

248


ด้วยการทำสวนดูซนบนเทือกเขาบูโด ณ ตอนนี้จะยังไม่เกิดความรุนแรงเหมือนกับ หลายกรณี ใ นพื ้ น ที ่ ภ าคเหนื อ หรื อ ภาคอี ส าน แต่ จ ากคำยื น ยั น ของชาวบ้ า น และผู้นำชุมชนบางคนในพื้นที่ ระบุว่าหากเจ้าหน้าที่สามารถเข้ามาดำเนินการ ปักเขตอุทยานฯ ต่อได้ วันนัน้ ชาวบ้านก็พร้อมทีจ่ ะลุกขึน้ มาต่อสูก้ บั หน่วยงานของรัฐ ในขณะที่อุณหภูมิความรุนแรงทางสังคมที่กำลังร้อนระอุ อาจเป็นช่วงที่ดี สำหรับกรมอุทยานฯ ที่จะมีเวลาพิจารณาปัญหาที่อุทยานฯ ทับดินทำกิน ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นการทำสวนดูซนที่มีความสำคัญกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ต่อทรัพยากร ธรรมชาติในท้องถิน่ และต่อพืน้ ทีท่ างศาสนาของชาวบ้านในพืน้ ที่ 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ว่าจะหาทางออกให้คนทำมาหากินในสวนดูซน และอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ได้อย่างไร ...บนความพอใจและวิถวี ฒ ั นธรรมของชาวบ้าน กับหลักการ ของภาครัฐ

บางส่วนจากข้อเสนอสมานฉันท์ของ กอส. หลังเกิดเหตุความรุนแรงต่อเนือ่ งในพืน้ ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตง้ั แต่ปี 2547 คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) โดยมี อานันท์ ปั น ยารชุ น เป็ น ประธาน ได้ เ สนอแนวทางแก้ ไ ขปั ญ หาและการสร้ า งความ สมานฉันท์ให้เกิดขึน้ ในพืน้ ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอ่ รัฐบาลอย่างต่อเนือ่ ง แม้ ย ั ง ไม่ อ าจชี ้ ช ั ด ได้ ว ่ า ข้ อ เสนอต่ า งๆ ดั ง กล่ า วจะถู ก นำไปใช้ ใ นการ แก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่ แต่อย่างน้อยที่สุดข้อมูลในพื้นที่ตลอด 1 ปี การทำงานที่ กอส. นำมาเปิดเผยต่อสาธารณะ ก็มีความชัดเจนว่าความรุนแรง ในพื้นที่มีต้นตอมาจากปัญหาใดบ้าง โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างหลากหลาย ทางศาสนาวัฒนธรรมทีเ่ ชือ่ มโยงกับฐานทรัพยากรท้องถิน่ ทั้งนี้ ก่อนการยุติบทบาทการทำงานของ กอส. คณะทำงานได้นำเสนอ ข้อเสนอสมานฉันท์สำหรับสังคมไทย ซึ่งประกอบด้วยแง่มุมต่างๆ มากมาย แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากร กอส. เสนอให้มีการออกกฎหมาย ให้สทิ ธิชมุ ชนจัดการทรัพยากรบนฐานความเชือ่ ทางศาสนา “พืน้ ทีส่ แี ดงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มี 257 หมูบ่ า้ น จากจำนวน 1,638 หมูบ่ า้ น คิดเป็น 15.69 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนหมูบ่ า้ นทัง้ หมด และทีน่ า่ สนใจก็คอื หมู่บ้านในพื้นที่สีแดง 120 แห่ง หรือ 46.69 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนหมู่บ้าน

249


สีแดงทั้งหมด เป็นหมู่บ้านที่มีปัญหาความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากร คือปัญหา อุทยานแห่งชาติทับที่ดินทำกิน ของชาวบ้าน อย่างไรก็ตาม ถ้าการระบุ ว่ า หมู ่ บ ้ า นสี แ ดงเกิ ด ขึ ้ น เพราะ ความรุนแรง ก็เป็นไปได้ว่าความ รุนแรงที่เกิดขึ้นมีส่วนเกี่ยวข้อง กับปัญหาความขัดแย้งทางด้าน ทรัพยากรอยู่ด้วย ความกดดัน ในเรือ่ งการใช้ทรัพยากรย่อมผลัก ให้ชาวบ้านเข้าสู่มุมอับของความ ยากจน สำหรับแนวทางลดความ รุนแรงวิธหี นึง่ คือลดความกดดัน ทางทรัพยากร โดยให้สิทธิชุมชน ในการจัดการทรัพยากร โดยรัฐ ต้ อ งเร่ ง ตรากฎหมายรองรั บ รัฐธรรมนูญมาตรา 56 ที่ระบุว่า สิ ท ธิ ข องบุ ค คลที ่ จ ะมี ส ่ ว นร่ ว ม กับรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษาและได้ประโยชน์จากทรัพยากรความหลากหลาย ทางชีวภาพ ล่าสุดกรณีชาวบ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้องเรียนเรือ่ งเขตอุทยาน แห่งชาติบูโด-สุไหงปาดีทับที่ดินทำกินของชาวบ้าน กอส. เสนอให้กรมอุทยานฯ อนุญาตให้ชาวบ้านตัดโค่นยางพาราทีห่ มดอายุในทีด่ นิ ทำกินของตัวเองทีอ่ ยูใ่ นเขต อุทยานฯ ได้ ซึง่ ข้อเสนอนีไ้ ด้รบั การตอบรับอย่างดีจากหน่วยงานราชการทีเ่ กีย่ วข้อง และสามารถปลดเปลือ้ งความทุกข์ของชาวบ้านไปได้บา้ ง นอกจากนี้ กอส. ยังมีข้อเสนอพิเศษ 3 ประการ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในความต่างของวัฒนธรรมชุมชน คือ 1. พยายามสร้างชุมชนทางการเมืองขึ้นมาในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยอาศัย พลังชุมชนเป็นกำลังหลักในการแก้ปัญหาในลักษณะที่เป็นอิสระและเสมอภาค

250


มีเป้าหมายในการสร้างสังคมการเมือง รักสันติ และยอมรับความหลากหลาย วัฒนธรรม 2. เปลีย่ นเอกลักษณ์ไทยให้เป็นอัตตลักษณ์อนั หลากหลาย ใช้รฐั ธรรมนูญ เป็นกรอบประกันความเสมอภาค โดยมีบทบัญญัติรับรองความหลากหลาย ทางศาสนาและวัฒนธรรม 3. การประคับประคองและปฏิรูปเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนใต้ เปิดกว้าง ให้ ป ระชาชนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ทุ น นิ ย ม โดยรั ฐ เป็ น ฝ่ า ยเก็ บ ภาษี แ ละค่ า เช่ า แต่ ใ นกรณี ข องคนไทยมุ ส ลิ ม เชื ้ อ สายมลายู อาจต้ อ งปรั บ เปลี ่ ย นนโยบาย ในลักษณะที่เปิดทางให้ชาวบ้านเลือกเข้าสู่เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับ หลักศาสนาทัง้ พุทธและอิสลาม

251


บรรณานุกรม มะดามิง อารีย.ู อิสลามโดยย่อ.... อัดสำเนา ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. ป่าชุมชนกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา. เอกสารร่างกรณีศกึ ษาในโครงการพัฒนาเอกสารประกอบการฝึกอบรม ทางวนศาสตร์ชมุ ชน. อัดสำเนา สุพตั รา ศรีปจั ฉิม. (2549). “สวนดุซง” วนเกษตรในพืน้ ทีส่ แี ดง. โลกสีเขียว ปีท่ี 15(3), น. 69 - 70 อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี (น้ำตกปาโจ). (2547). เอกสารบรรยายสรุปของ อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ปีงบประมาณ 2547. นราธิวาส _. (2548). วิกฤตการในการจัดการทรัพยากร 3 จังหวัดภาคใต้. เอกสารสัมมนาโครงการ ตลาดวิชามหาวิทยาลัยชาวบ้าน ชุด 3 จังหวัดภาคใต้ ครั้งที่ 1 วันที่ 20 สิงหาคม 2548. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การศรัทธาในกฎกำหนดสภาวะ, www.muslimthai.com เปิดร่างกอส. ตอนที่ 5 : สมานฉันท์ทย่ี ง่ั ยืน, www.tjanews.org เปิดร่างกอส. ตอนที่ 7 : มรดกเพือ่ สมานฉันท์, www.tjanews.org เสวนา “วิกฤตทรัพยากร วิกฤตความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้”. ชมรมนักข่าว สิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. 19 พฤษภาคม 2549.

สัมภาษณ์ ดือราแม ดาราแม ชาวบ้าน อ. บาเจาะ จ. นราธิวาส นุกลู รัตนดากุล อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มะดามิง อารียู ชาวบ้าน อ. รามัน จ. ยะลา สะมะแอ กาเร็งสานา กำนัน ต. ตาปอเยาะ อ. ยีง่ อ จ. นราธิวาส สะมะแอ เจะมูดอ เลขาธิการสมาพันธ์ประมงพืน้ บ้านภาคใต้ อ. ปานาเระ จ. ปัตตานี สิทธิชัย หมัดศรี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี

ขอขอบคุณ คณะทำงานวาระทางสั ง คม สถาบั น วิ จ ั ย สั ง คม จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย สนับสนุนข้อมูลและอำนวยความสะดวกในการลงพืน้ ที่

ภาพนำเรือ่ งจาก ศุภรา จันทร์ชิดฟ้า

252


ผลไม้บา้ นสวนฝัง่ ธน-นนทบุรี ของดีทใ่ี กล้สญ ู พันธุ์ ผูเ้ ขียน เกษร สิทธิหนิว้

253


“มะม่วงกระพรวนบ้านพีม่ ไี หมครับ” “ไม่เห็นแล้วนะ แต่ไอ้ฮวกยังมีอยู”่ “พราห์มขายเมียนีบ่ า้ นผมก็เหลืออยูไ่ ม่กต่ี น้ แล้ว” “ส้มซ่าบ้านผมเหลืออยูส่ องต้น” “ชมพูส่ าแหรกยังมีไหมครับ” “ส้มไม่อร่อยเหมือนเดิมแล้ว” “ลิน้ จีเ่ หลือแต่ตน้ ไม่ตดิ ลูกเลย” ฯลฯ เมื่อชาวสวนย่านตลิ่งชันและชาวสวน แถบบางมดมาพบปะกับนักวิชาการเกษตร ที ่ ศ ึ ก ษาเรื ่ อ งผลไม้ เ มื อ งนนท์ ชื ่ อ ผลไม้ หลากชนิดก็พรั่งพรูออกมาในวงสนทนนา “ตามหาผลไม้บา้ นสวน” กลางเดือนมิถนุ ายน 2549

254


เราจึงได้ยนิ ชือ่ ผลไม้แปลกๆ เต็มไปหมด – มะม่วงพราหมณ์ขายเมียทีอ่ ร่อยมาก จนมีเรือ่ งเล่าว่าพราหมณ์ตอ้ งขายเมียเพือ่ เอาเงินไปซือ้ มะม่วงนีม้ ากิน มะม่วงกระพรวน ลูกเล็กเปลือกหนา สุกแล้วสีแดงจัดเหมือนมะปราง รสหวานและอร่อยมาก มะม่วงสลิด ลู ก แบนๆ ปลู ก อยู ่ ช ายคลอง มะม่ ว งไอ้ ฮ วกเนื ้ อ สี เ หลื อ งคล้ า ยมะละกอ ลูกใหญ่หนักร่วมกิโลแต่ไม่คอ่ ยอร่อย ชมพูแ่ ก้มแหม่มสีชมพูจดั ส้มซ่า มะม่วงลิน้ งูเห่า ทุเรียนกบแม่เฒ่า ทุเรียนจอกลอย ทุเรียนก้านยาวสีนาค ทุเรียนกำปัน่ เนือ้ แดง ฯลฯ เรียกว่าผลไม้หลากชนิดเหล่านี้ เราแทบไม่เคยเห็น บางชนิดไม่เคยได้ยนิ ชือ่ ด้วยซ้ำ แม้ผา่ นมานาน แต่รสชาติอร่อยล้ำของผลไม้บา้ นสวนยังติดตรึงในความทรงจำ ของพวกเขา – คนบ้านสวนที่เกิดและเติบโตมาบนผืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ ทางฟากตะวันตกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา — “ฝั่งธน–นนทบุรี” ผืนดินที่เป็น แหล่งกำเนิดของผลไม้ชน้ั ดีมากมายหลายชนิด คำร่ำลือว่า ทุเรียนจากสวนนนท์ราคาลูกละ 5,000 บาท บางปีถึงกับต้อง ประมู ล ซื ้ อ กั น ไม่ ใ ช่ เ รื ่ อ งเกิ น จริ ง แต่ อ ย่ า งใด และคงไม่ ใ ช่ ด ้ ว ยเหตุ เ พี ย งว่ า แต่ละปีทุเรียนนนท์ติดดอกและโตเต็มที่เพียงไม่กี่ลูกเท่านั้น ที่ทำให้ใครหลายคน ยอมทุม่ เงินเพือ่ จะลิม้ ลองรสชาติผลไม้บา้ นสวน “ของแท้” สักครัง้ ไม่เพียงแต่ทุเรียนนนท์เท่านั้น ผลไม้อื่นๆ อย่างส้มบางมด ฝรั่งบางเสาธง เงาะบางยีข่ นั ก็เป็นทีร่ กู้ นั ว่า “สุดยอด” มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ขนาดทีแ่ ขก-ฝรัง่ ทีเ่ ดินทาง มาเยือนสยามในช่วงเวลาต่างๆ ยังตื่นตาตื่นใจกับความหลากหลายของผลไม้ นานาชนิดที่ขึ้นอยู่ดกดื่นในสวนของพลเมืองชาวสยาม จนต้องบันทึกไว้ในจดหมาย และเอกสารต่างๆ ให้เราสืบค้นได้จนวันนี้ คงต้องมีอะไรบางอย่างที่ “พิเศษ” ที่ทำให้ผลไม้ในสวนฝั่งธนบุรีและนนทบุรี “ไม่ธรรมดา” เป็นแน่ จากราษฎร์บรู ณะขึน้ ไปตามลำน้ำเจ้าพระยาผ่านเขตคลองสาน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เรื ่ อ ยไปจนถึ ง นนทบุ ร ี ซอกแซกเข้ า ไปตามลำคลองน้ อ ยใหญ่ ผ่านเรือกสวนคูคลองทีแ่ ผ่สยายไปตลอดทัว่ ถึงกัน — เราได้พบคำตอบ และขณะเดี ย วกั น ก็ พ บความจริ ง ที ่ น ่ า เศร้ า ว่ า ผลไม้ ช ื ่ อ ดั ง หลายชนิ ด เหลื อ แต่ ค ำเล่ า ขาน และดิ น ดอนบนตะกอนปากแม่ น ้ ำ เจ้ า พระยาแห่ ง นี ้ ก็กำลังจะเปลีย่ นโฉมหน้าไปอย่างสิน้ เชิง

255


“สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง” “มองเห็นสวนผลไม้อยูท่ ว่ั ไปตลอดลำน้ำในบางกอกจนถึงนนทบุรี เป็นสวนผลไม้ หลายชนิดและเอร็ดอร่อยสมทีพ่ ลเมืองสยามชอบอย่างทีส่ ดุ ” นี่เป็นตอนหนึ่งของบันทึกที่ลาลูแบร์ราชทูตฝรั่งเศสเดินทางเข้ามาในสมัย พระนารายณ์ฯ บันทึกไว้ขณะล่องเรือผ่านบางกอก ไม่เพียงแต่ลาลูแบร์เท่านั้น ในบั น ทึ ก /เอกสารของชาวต่ า งชาติ ท ี ่ เ ดิ น ทางมาเยื อ นสยามในช่ ว งต่ า งๆ มักจะมีขอ้ ความทีเ่ อ่ยถึงความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายของพืชพันธุเ์ สมอ จากรายงานการสำรวจพื้นที่สวนเงาะ ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2450 โดยหลวงวิถธี รรมสัญจร นายอำเภอบางกอกน้อย เขียนถึงพระยาประชากรกิจวิจารณ์ เจ้ากรมกองอำเภอสมัยนัน้ มีขอ้ ความทีช่ ใ้ี ห้เห็นว่า ต. บางยีข่ นั ซึง่ อยูห่ า่ งจากแม่นำ้ เจ้ า พระยาไม่ ก ี ่ เ มตร อุ ด มไปด้ ว ยสวนเงาะพั น ธุ ์ ด ี ถึ ง ขนาดพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯ โปรดทีจ่ ะเสด็จ นอกจากสวนเงาะที่บางยี่ขันแล้ว ผลไม้นานาพันธุ์ของบางอื่นๆ ในธนบุรี ล้วนขึน้ ชือ่ ในรสชาติโอชา จนเรียกขานยกย่องมาแต่ครัง้ กรุงศรีอยุธยาว่า “สวนใน (ต้อง) บางกอก สวนนอก (ต้อง) บางช้าง” โดยพื้นที่ตั้งแต่นนทบุรี ธนบุรี และ พระประแดงถูกเรียกรวมๆ ว่า “สวนใน” ส่วนที่เลยไปทางตะวันตกแถบบางช้าง อ. อัมพวา จ. สมุทรสงคราม เรียกว่า “สวนนอก” จนเป็นคำพูดติดปากว่า “สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง” “สวนใน” ยังแบ่งเรียกเป็น “บางบน” คือตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยขึ้น ไปทางเหนือ กับ “บางล่าง” จากปากคลองบางกอกใหญ่ลงไปทางใต้ ผลไม้ที่มี ชือ่ เสียงของบางบนมีทง้ั ทุเรียน เงาะ กระท้อน มังคุด ละมุด ส่วนทางบางล่างก็มลี น้ิ จี่ ลำไย ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะไฟ ในหนังสือ เรื่องสวน ที่เรียบเรียงโดยเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ได้กล่าวว่า สมัยก่อนนัน้ แถบบางบนเป็นถิน่ ทีเ่ หมาะสำหรับปลูกทุเรียนมาก แต่ภายหลังบริเวณนี้ ถูกน้ำท่วมบ่อย ต้นทุเรียนทนน้ำไม่ไหว ตายกันยกสวน ทุเรียนบางบนจึงต้องย้าย ไปปลูกแถบบางล่างแทน ทุเรียนบางบนปลูกแถบบางผักหนาม บางขุนนนท์ ในคลองบางกอกน้ อ ย ซึ ่ ง ผลโต พู ใ หญ่ เนื ้ อ หยาบ มี ร สมั น มากกว่ า หวาน

256


ส่วนทุเรียนบางล่างปลูกมากที่คลองสาน บางลำภูล่าง มีเนื้อละเอียด รสหวาน มากกว่ามัน นอกจากทุเรียนแล้ว “ของสวน” คือผลไม้ตา่ งๆ ทีเ่ ป็นของดีมชี อ่ื ของสวนใน ยังมีอกี มาก และมักเรียกชือ่ ระบุไปตาม “บาง” หรือ “คลอง” ทีส่ วนเหล่านัน้ ตัง้ อยู่ เช่น เงาะบางยีข่ นั มีทง้ั พันธุเ์ หลืองใหญ่และเหลืองเล็ก เป็นเงาะชัน้ ดี ราคาแพง เนือ้ ล่อน สับปะรดบางบำหรุ เป็นสับปะรดไทยลูกเล็ก ป้อม รสหวานกรอบ ส่วนใหญ่ ปลูกตามโคนต้นไม้ในสวน ซึง่ สูญพันธุไ์ ปเช่นเดียวกับมะไฟบางลำเจียก มะไฟท่าพระ ทีป่ ลูกตัง้ แต่วดั หงส์รตั นารามในคลองบางหลวงจนถึงย่านท่าพระ ฝรัง่ บางเสาธง ปลูกในคลองมอญ มีชอ่ื มากว่ารสชาติดี หวานกรอบ นอกจากนี้ ยังมีฝรัง่ เทศและฝรัง่ บางคะแนะ เนือ้ บาง เม็ดสีขาว ถ้าเม็ดสีชมพูเรียก ฝรัง่ ขีน้ ก ส้มบางมด พันธุด์ ตี อ้ ง “เขียวหวาน” ลูกกลมแป้น ซังนิม่ รสหวานอมเปรีย้ ว ปลูกแถวบางมด ราษฎร์บรู ณะ บางขุนเทียน ละมุดสีดา ปลูกทีร่ าษฎร์บรู ณะ ผลใหญ่กว่าหัวแม่มอื เล็กน้อย สีแดงๆ กินมันๆ และยังมีละมุดพันธุ์ไข่ห่าน ลูกใหญ่ เนื้อเหลว พันธุ์มะฝ่อ รสฝาดกินไม่อร่อย พันธุม์ ะกอก ลูกยาว แก่แล้วสีแดงสด ลิน้ จี่ เดิมปลูกกันแน่นตัง้ แต่คลองดาวคะนองไปถึงจอมทอง บางขุนเทียน มั ง คุ ด ปลู ก ทั ่ ว ไป เช่ น ที ่ บ างกอกน้ อ ย บางพลั ด คลองดาวคะนอง แม้กระทั่งย่านโรงพยาบาลศิริราชก็เคยปรากฏชื่อ “สวนมังคุด” และ “สวนลิ้นจี่” มาตัง้ แต่สมัยกรุงธนบุรี ชมพู่ มีทั้ง ชมพู่นาก แก่จัดสีแดง ชมพู่แก้มแหม่ม ลูกใหญ่ สีชมพูจัด ชมพูม่ า่ เหมีย่ ว สีแดงจัด เนือ้ เป็นปุย และ ชมพูส่ าแหรก ลักษณะคล้ายชมพูม่ า่ เหมีย่ ว แต่ลกู เล็กกว่า มีทง้ั สาแหรกเขียว สาแหรกแดง ส้ ม โอ มี พ ั น ธุ ์ ข าวพวง ขาวทองดี ขาวใหญ่ ขาวลางสาด ขาวหอม และยังมีส้มเนื้อ ลูกใหญ่มาก เนื้อหยาบ ออกสีส้ม พันธุ์ส้มมะขวิด เนื้อแดง ปล่อยไว้แก่จดั มีรสหวาน ทัง้ จดหมายเหตุ บันทึก เอกสารต่างๆ ทีม่ กี ารบันทึกไว้ในอดีต รวมถึงรายงาน

257


ในการศึ ก ษาวิ จ ั ย ทางการเกษตร ให้ ภ าพตรงกั บ คำบอกเล่ า ของชาวสวนว่ า ฝัง่ ธนเรือ่ ยไปถึงนนทบุรนี น้ั มีผลไม้หลากหลายเหลือเกิน ชวน ชูจนั ทร์ ชาวสวนย่านตลิง่ ชันวัย 53 ปี ซึง่ เกิดและเติบโตมาในสมัยทีฝ่ ง่ั ธน ยังเต็มไปด้วยสวนผลไม้ พยายามจะอธิบายว่าผลไม้ที่ขึ้นชื่อแต่ละชนิดนั้น “เด็ด” อย่างไร สุดท้ายเขาก็สรุปว่า “ถามว่า ทุเรียนนนท์อร่อยยังไง ส้มบางมดอร่อยยังไง คุณต้องกินส้มทัว่ ประเทศถึงจะรู้ มันอธิบายไม่ได้ ผลไม้นม่ี นั อธิบายไม่ได้วา่ อร่อยยังไง ต้องกิน แล้วคุณจะรูว้ า่ เงินเท่าไหร่กซ็ อ้ื ไม่ได้” คงจะจริงอย่างทีเ่ ขาว่า เราจะรูจ้ กั ผลไม้ ว่าอร่อยอย่างไรก็ดว้ ยการกินเท่านัน้ แต่อะไรล่ะที่ทำให้ส้มสูกลูกไม้จากสวนในธนบุรีและนนทบุรีนั้นมีจำนวน หลายสิบหลายร้อยสายพันธุ์ แต่ละพันธุต์ า่ งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แถมยังมีรสชาติ โอชาเช่นนัน้

“ปลูกอะไรก็งาม ชำอะไรก็ขน้ึ ” ธนบุรีและนนทบุรีเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่าง ที่เรียก กั น ว่ า ที ่ ร าบลุ ่ ม บางกอก ซึ ่ ง เป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของดิ น ดอนสามเหลี ่ ย มปากแม่ น ้ ำ เจ้าพระยาที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอนแม่น้ำหลายสาย คือ เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง จนกลายเป็นที่ราบกว้างใหญ่ และอุดมสมบูรณ์ ทีส่ ดุ ในประเทศ กรุ ง เทพและนนทบุ ร ี ม ี ค วามสู ง จากระดั บ น้ ำ ทะเลปานกลาง โดยเฉลี ่ ย 1 - 2 เมตร ทำให้ได้รับผลกระทบจากการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล โดยน้ำทะเล สามารถหนุนเข้ามาตามร่องน้ำธรรมชาติในช่วงน้ำขึน้ สูงสุด ทำให้เกิดทีร่ าบลุม่ น้ำทะเล ท่วมถึงเป็นบางแห่งด้วย เนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่ลุ่มมีความลาดชันน้อย แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหล มาจากทางเหนืออย่างเร็วและแรงจะค่อยๆ ชะลอลงในช่วงปลายน้ำ เมื่อน้ำจืด ไหลลงมาปะทะ กับคลืน่ ลมในทะเลบริเวณปากแม่นำ้ จึงเกิดสภาพหยุดนิง่ ตะกอน น้ำจืดค่อยๆ จมลง ขณะเดียวกัน ตะกอนจากทะเลทีท่ ะลักขึน้ มาก็จมลงใกล้ปากแม่นำ้ ตามแรงดึงดูดของดวงจันทร์ ชายฝั่งค่อยๆ ตื้นเขินงอกงาม กลายเป็นผืนดินอุดม ด้วยตะกอนน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม

258


แม่ น ้ ำ เจ้ า พระยา “ของแท้ ” นั ้ น มิ ไ ด้ ไ หลผ่ า นหน้ า โรงพยาบาลศิ ร ิ ร าช ธรรมศาสตร์ วัดพระแก้ว และท่าเตียนดังที่เราเห็นเช่นทุกวันนี้ แต่ไหลอ้อมเข้าไป ในฝั ่ ง ธนที ่ เ ป็ น คลองบางกอกใหญ่ ต ่ อ กั บ คลองชั ก พระและคลองบางกอกน้ อ ย ต่างหาก เช่นเดียวกับแม่นำ้ เจ้าพระยาช่วงทีไ่ หลผ่านสวนกาญจนาภิเษก ท่าน้ำนนทบุรี เรือ่ ยมาจนปากคลองบางกรวย (วัดค้างคาว) ก็เป็น “คลองขุด” หาใช่แม่เจ้าพระยา “ตัวจริง” ไม่ แม่นำ้ เจ้าพระยาตัวจริงไหลวกเข้าไปในเขต อ. บางกรวย หรือก็คอื คลอง อ้อมนนท์-คลองอ้อมน้อย-คลองบางกรวยนัน่ เอง พระยาโบราณราชธานิ น ทร์ ไ ด้ ต รวจสอบแผนที ่ ก ารขุ ด คลองลั ด ต่ า งๆ ในแม่นำ้ เจ้าพระยา พบว่า “ลำน้ำเจ้าพระยาเดิม ตั้งแต่ปากน้ำเจ้าพระยาขึ้นมา เดินตามแม่น้ำทุกวันนี้ ขึน้ มาถึงปากคลองบางกอกใหญ่ (หรือทีเ่ รียกกันโดยมากว่าคลองบางหลวง) ในระหว่าง วัดอรุณฯ กับวัดกัลยาณ์ฯ ที่วัดกัลยาณ์ฯ เอง เป็นตัวแม่น้ำ ตลิ่งอยู่ที่กะฎีจีน คือ ศาลเจ้ า เจ๊ ก อยู ่ ต ิ ด ข้ า งใต้ ว ั ด กั ล ยาณ์ ฯ ในปั จ จุ บ ั น ลำแม่ น ้ ำ เดิ ม เข้ า ทางคลอง บางกอกใหญ่ ไ ปเลี ้ ย วบางระมาด ตลิ ่ ง ชั น วกมาออกคลองบางกอกน้ อ ยขึ ้ น ทางสามเสน” เห็นได้วา่ แม่นำ้ เจ้าพระยาสายเดิมคดโค้งไปมา ฝัง่ ตะวันออกของลำน้ำทัง้ ด้าน บนและด้านล่างเป็นคุ้งน้ำ ฝั่งตะวันตกเป็นหัวแหลมซึ่งเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง เมื่อ ขุดคลองลัดบางกอกในสมัยพระชัยราชาธิราชใน พ.ศ. 2065 และขุ ด คลองลั ด นนท์ เ มื ่ อ พ.ศ. 2179 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าประสาททอง

259


แม่นำ้ เจ้าพระยาจึงค่อยๆ ตืน้ เขินจนกลายเป็นคลองขนาดใหญ่ ส่วนคลองทีข่ ดุ ขึน้ ก็ กลายมาเป็นแม่นำ้ เจ้าพระยาทีเ่ ราเห็นทุกวันนี้ เมื่อพิจารณาจากแผนที่ปัจจุบัน จะยังเห็นเส้นสายของลำคลองน้อยใหญ่ คลองซอย และลำกระโดงจำนวนมหาศาลหลงเหลืออยูท่ ว่ั พืน้ ทีฝ่ ง่ั ธน คลองเหล่านี้ มีทั้งคลองธรรมชาติดั้งเดิมและที่ขุดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูก และการ คมนาคม นอกจากแม่น้ำและลำคลองแล้ว มีการขุดลำกระโดงหรือคลองส่งน้ำเล็กๆ ขนาดกว้างสองวาบ้าง สามวาบ้าง อีกนับร้อยนับพันสาย เพื่อชักน้ำไปยังสวนผัก สวนผลไม้ ซึง่ มักทำเป็นสวนยกร่องเพือ่ กักน้ำจืดและกัน้ น้ำเค็ม จะเห็นได้วา่ การทีธ่ นบุร-ี นนทบุรตี ง้ั อยูบ่ นดินดอนตะกอนปากแม่นำ้ ส่งผลให้ ผืนดินส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นดินเหนียวสีเทา และจากความแตกต่างในคุณสมบัติ ของดินทีเ่ กิดจากตะกอนน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ซึง่ เหมาะกับพืชพรรณชนิดต่างๆ ประกอบกับมีเครือข่ายสายน้ำที่กว้างขวางและเชื่อมโยงถึงกันได้โดยตลอดนี้เอง ทำให้ฝง่ั ธน-นนทบุรเี ป็นพืน้ ทีท่ เ่ี หมาะแก่การเพาะปลูกอย่างวิเศษ แต่ยงั มี “ตัวช่วย” ทีส่ ำคัญอีกประการทีท่ ำให้ผลหมากรากไม้เจริญงอกงามดี นัน่ ก็คอื “น้ำอาบวัว” ทีพ่ ดั พาเอาธาตุอาหารมาให้ทกุ ปี ในฤดูน้ำหลาก แม่น้ำเจ้าพระยาจะพัดเอาตะกอนดินที่เรียกว่าน้ำอาบวัว จากทางเหนือมาให้ น้ำอาบวัวสีแดงขุ่นข้นจะซึมซาบเข้าไปในเรือกสวนคูคลอง ที่แผ่ขยายอยู่เต็มพื้นที่ ตะกอนดินจากแม่น้ำช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินโดยชาวสวน ไม่ตอ้ งลงทุนแต่อย่างใด ลุงอัมพร จันทรเศรษฐ์ ซึง่ เกิดและเติบโตแถบย่านดาวคะนองเมือ่ 80 ปีกอ่ น เล่าไว้ในหนังสือ “เพือ่ ความเข้าใจแผ่นดินธนบุร”ี ว่า “สมัยก่อนอย่างกับว่าน้ำมี ‘ยาง’ เลยนะคุณ เพราะหน้าน้ำ น้ำจะขุน่ สีคล้ายวัว กลิน่ คล้ายวัว ชาวบ้านเรียก น้ำอาบวัว เป็นน้ำดินลูกรังที่ถูกชะมาจากทางเหนือ น้ำอาบวัวมีลงมาทุกปี เย็นชื่นใจมาก สี น ้ ำ จะแดงขุ ่ น พวกคนทำนาวิ ด ขึ ้ น นาข้ า ว ข้ า วจะงามมาก ผลไม้ ก ็ ต ิ ด ลู ก ดี สมัยก่อนนี้สวนผลไม้ทางดาวคะนองไม่ต้องใช้ปุ๋ย ไม่ต้องฉีดยา เพราะดินตะกอน จากน้ำอาบวัวลงมาทุกปี ประมาณเดือนสิบเอ็ดสิบสองนี่ น้ำจะเจิ่งนองไปหมด สมบูรณ์มาก”

260


นอกจากสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์แล้ว ภูมิปัญญาในการจัดการกับพื้นที่ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเพาะปลูกได้ผลผลิตดี ชาวสวนฝั่งธน-นนทบุรี รูจ้ กั การทำสวนแบบ “ยกร่อง” มาตัง้ แต่โบราณแล้ว การ “ยกร่องสวน” เป็นการขุดดินขึน้ มาเป็นคันกว้างประมาณ 1 - 2 เมตร โดยเว้นร่องห่างกันประมาณ 1 เมตร ซึ่งเป็นทั้งท้องร่องกักเก็บน้ำและบางคน ยังเลีย้ งปลาไว้ในร่องน้ำนีด้ ว้ ย ประยงค์ ลักษณิยานนท์ ชาวสวนแถบบางระมาด ตลิง่ ชัน ซึง่ ยังคงยึดอาชีพ ชาวสวนอยู่ อธิบายภูมปิ ญ ั ญาในการทำสวนแบบยกร่องว่า การปลูกไม้ยนื ต้นต้องให้ รากพ้นน้ำ ไม่เช่นนั้นต้นไม้จะยืนต้นตาย การยกร่องสวนทำให้รากของต้นได้พ้น จากน้ำเอ่อท่วมสวนในช่วงทีน่ ำ้ ทะเลหนุน และยังทำให้สามารถควบคุมน้ำได้อย่างดี “ถ้าน้ำแห้ง เราก็ปล่อยน้ำเข้าสวน แล้ววิดน้ำรดน้ำต้นไม้ได้ทนั ที เมือ่ ต้องการให้ แห้งก็วดิ น้ำออกจากคลอง สะดวกดี” ประยงค์กล่าว และเล่าว่าคนย่านบางระมาด ทำสวนมาแต่เดิม มิใช่เพียงมะพร้าวทีป่ ลูกกันเป็นล่ำเป็นสัน ยังมีละมุด กล้วยหอม ผลไม้ทกุ อย่าง ทีม่ ชี อ่ื ก็คอื มะม่วงพราหมณ์ขายเมีย และมีทเุ รียนทีไ่ ม่นอ้ ยหน้าทาง นนทบุรี มีทง้ั พันธุจ์ อกลอย อีลวง และก้านยาว คูคลองที่ขุดไว้ยังเต็มไปด้วยเลน ซึ่งประกอบไปด้วยธาตุอาหารมากมาย ชาวสวนจะลอกเลน แล้ววิดเข้าใส่คนั สวนทีย่ กร่องขึน้ ปีละครัง้ เป็นการเพิม่ ธาตุอาหาร ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ ชาวสวนยังนิยมปลูกต้นทองหลาง ซึ่งเป็นต้นไม้ ขนาดใหญ่ใบดกหนาไว้ในสวนด้วย เพื่อให้ใบของทองหลางตกลงมาหมักหมม ในท้องร่อง เมือ่ ย่อยสลายก็จะได้ปยุ๋ หมักอย่างดี ทัง้ ธรรมชาติของดินและน้ำ และได้ตวั ช่วยอย่าง “น้ำอาบวัว” บวกกับภูมปิ ญ ั ญา ในการจัดการสวนของชาวสวน ทำให้พน้ื ทีแ่ ห่งนีอ้ ดุ มสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้นานาชนิด เรียกว่า “ปลูกอะไรก็งาม ชำอะไรก็ขึ้น” แต่สำหรับความหลากหลายชนิดพันธุ์ ทีน่ บั กันไม่หวาดไม่ไหวแล้ว ยังมีปจั จัยอีกประการหนึง่ ทีท่ ำให้ผลไม้แต่ละชนิดมีสายพันธุ์ แยกย่อยไปนับเป็นสิบๆ อย่าง ชวน ชูจนั ทร์ วัย 53 อดีตนักกฎหมายและพนักงานบริษทั เอกชน ทีต่ ดั สินใจ ผันตัวเองมาเป็นชาวสวนเมือ่ 20 ปีทแ่ี ล้ว ให้ความเห็นว่า “สมัยก่อนชาวสวนยังไม่รู้จักวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ซึ่งเป็นการขยายพันธุ์

261


ที่ทำให้ได้ลักษณะลูกเหมือนกับแม่พันธุ์ทุกประการ ปลูกต้นไม้นี่ใช้เม็ดทั้งนั้น อันไหนที่เรากินแล้วอร่อย ก็เอาเม็ดใส่ไว้ในกะลา หยอดน้ำหน่อย ทิ้งไว้สองเดือน ก็งอกแล้ว เอาไปปลูก บางทีก็ได้ต้นที่มีลักษณะดีกว่าเดิม บางต้นที่ไม่ดีก็ตัดทิ้ง เหลือต้นดีๆ ไว้ ซึง่ ก็มที ง้ั ผลดีและผลเสียคือ บางครัง้ กลายพันธุเ์ ป็นพันธุท์ ด่ี ที เ่ี ราไม่เคยมี ทำให้ภายในสิบปีมีพันธุ์ไม้ใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอด นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดผลไม้ สายพันธุใ์ หม่ๆ ทีอ่ าจจะมีลกั ษณะต่างไปจากแม่พนั ธุด์ ง้ั เดิม” กิตติพงศ์ ตรีตรุยานนท์ นักวิจัยประจำสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบ นิเวศเกษตร ศูนย์วจิ ยั ระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึง่ ศึกษาระบบ นิเวศเกษตรในพืน้ ทีจ่ งั หวัดนนทบุรี ระบุสาเหตุทท่ี เุ รียนนทน์อร่อยกว่าทีอ่ น่ื ๆ ว่า “จากทีผ่ มทำการศึกษาค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินและโครงสร้างของดิน จะเห็นว่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในช่วง 4 - 6.6 แต่สิ่งที่ทำให้ทุเรียนอร่อย คือค่าโพแทชเซียมที่ส ูงมาก ส่วนฟอสฟอรัสที่ช่วยส่งเสริมเมตาลิซ ึมของพืช

262


ก็อยูใ่ นระดับสูง ทุกอย่างสูงหมดเลย นีอ่ าจเป็นปัจจัยหนึง่ ทีท่ ำให้ทเุ รียนนนท์อร่อยกว่า ทุเรียนจากทีอ่ น่ื ๆ” ปัจจัยต่างๆ เหล่านีป้ ระกอบกันจนทำให้พน้ื ทีฝ่ ง่ั ธนต่อไปจนถึงนนทบุรี กลาย เป็นแหล่งผลไม้ทข่ี น้ึ ชือ่ มาตัง้ แต่อดีต แต่ถา้ หากเราเข้าไปสำรวจ “สวนผลไม้ (ทีม่ )ี อยูท่ ว่ั ไปตลอดลำน้ำในบางกอก จนถึงนนทบุรี” ในวันนี้เราอาจไม่ได้เห็น “สวนผลไม้หลายชนิดและเอร็ดอร่อยสมที่ พลเมืองสยามชอบอย่างทีส่ ดุ ” หรืออย่างทีล่ าลูแบร์บนั ทึกไว้อกี แล้ว

“ทีด่ นิ แปลงนี้ ขาย” “เมื่อเรามาถึงคุ้งน้ำที่สองในแม่น้ำ สองฝั่งแม่น้ำก็มีแต่สวนหมากเต็มไปหมด คุ้งที่สามก็เต็มไปด้วยสวนผลไม้นับไม่ถ้วน มีกลิ่นหอมหวานของดอกไม้กลบไปหมด ขณะทีเ่ ราผ่านมาตามลำน้ำนับเป็นไมล์...” กลิ่นหอมของเกสรดอกไม้จากสวนผลไม้สองฝั่งน้ำระหว่างเส้นทางคลองที่ เฟเดอริก อาร์เธอร์ นีล บันทึกไว้ใน ชีวิตความเป็นอยู่ในกรุงสยามในทัศนะของ ชาวต่ า งประเทศระหว่ า ง พ.ศ. 2383 - 2384 ตั ้ ง แต่ ย ุ ค ต้ น รั ต นโกสิ น ทร์ คงทำให้เราจินตนาการถึงสวนฝัง่ ธนก่อนทีค่ วามเจริญปัจจุบนั จะรุกคืบเข้าไปทดแทน ได้เป็นอย่างดี หากเราเข้าไปสำรวจพื้นที่ฝั่งธนในวันนี้ ภาพที่เห็นก็คือแหล่งชุมชนหนาแน่น และตลาด-ย่ า นการค้ า ที ่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยอาคารพาณิ ช ย์ โรงงานอุ ต สาหกรรม ส่วนพืน้ ทีแ่ ถบจังหวัดนนทบุรกี ค็ งมีสภาพไม่ตา่ งกันเท่าไร เมื่อสำรวจสวนผลไม้โดยใช้รถยนต์ไปตาม “เส้นทางหลัก” เราแทบไม่เห็น ร่องรอยว่าพืน้ ทีเ่ หล่านัน้ เคยเป็นสวนมาก่อน เท่าทีเ่ ห็นมีเพียงผูค้ นและสิง่ ปลูกสร้าง ทีเ่ กาะเกีย่ วไปกับถนนอย่างแน่นหนาทุกตารางเมตร ผิดกับการเดินไปตามถนนเล็กๆ ซอกแซกเข้าไปตามเรือกสวน คันคลอง (สลับกับมอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นช่วงๆ) ทำให้เราเห็นภาพผิดกันมาก ลึกเข้าไปในสวนห่างจากถนนใหญ่ ยังมีสวนดัง้ เดิมอยูบ่ า้ ง แต่ก็มักจะมีบ้านจัดสรรแทรกตัวอยู่ทั่วไป สลับกับที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ปักป้าย “ทีด่ นิ แปลงนี้ ขาย” อย่างไรก็ตาม คงไม่มวี ธิ ไี หนทีจ่ ะสำรวจเมืองน้ำได้ดเี ท่ากับการนัง่ เรืออีกแล้ว

263


การนั่งเรือ ทำให้เราได้เห็นความแตกต่างระหว่างของเก่าที่มีอยู่ดั้งเดิม และของใหม่ทแ่ี ทรกตัวเข้ามาภายหลัง ชาวสวนดัง้ เดิมปลูกบ้านหันหน้าเข้าหาคลอง มีศาลาและบันไดที่ท่าน้ำไว้ตักน้ำมากินมาใช้ (แต่เดิม) ปัจจุบันก็ยังเอาไว้นั่งเล่น ที ่ ส ำคั ญ มี ต ้ น อะไรต่ อ มิ อ ะไรปลู ก อยู ่ ช ายคลองเต็ ม ไปหมด แต่ บ ้ า นจั ด สรร หลั ง ใหญ่ โ ตหั น หลั ง ให้ ค ลอง พวกเขาล้ อ มรั ้ ว แน่ น หนาด้ ว ยกำแพงคอนกรี ต ใช้คลองเป็นทีร่ ะบายน้ำเท่านัน้ นอกจากบ้านแล้ว ยังมีพื้นที่บางส่วนเป็นสวนรกร้าง ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นพืน้ ทีส่ วนของชาวสวน (และทำสวนกันจริงๆ) แต่เป็นสวนทีเ่ จ้าของขายไปแล้ว รอวันนำไปสร้างเป็นบ้านจัดสรรทัง้ สิน้ เช่นนีแ้ ล้ว เรายังหา “สวนผลไม้” ได้ทไ่ี หนอีกบ้าง เพื่อหาคำตอบนี้ เราจะข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปตามหาผลไม้บ้านสวน ทีข่ น้ึ ชือ่ ของ “บาง” ต่างๆ ในอดีตว่า ยังมี ส้มบางมด เงาะบางยีข่ นั ฝรัง่ บางเสาธง สับปะรดบางบำหรุ ลิน้ จีบ่ างขุนเทียน ฯลฯ หลงเหลืออยูบ่ า้ งหรือไม่ เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตคลองสาน เขตตลิ่งชัน ตรงไหนก็ตามที่ถนนตัดผ่าน และอาคารสิ่งก่อสร้างรุกเข้าไป สวนก็จำต้องถอยร่น ล่มสลายไปในเวลาไม่นาน แต่ถงึ อย่างนัน้ ลึกเข้าไปในตรอกซอกซอยทีย่ งั ไม่ถกู ถนน ผ่ากลาง ก็ยงั คงเป็นพืน้ ทีส่ วนเหลืออยูพ่ อสมควร แต่สวนทีเ่ หลืออยูก่ ไ็ ม่ใช่สวนผลไม้ ทีจ่ ะเป็น “ตัวแทน” ของย่านนัน้ ๆ ได้อย่างเดิมอีกแล้ว ชาวสวนหลายคนเปลีย่ นมาเป็น สวนกล้วยไม้ หรือไม่กป็ ลูกข่า ตะไคร้ และสวนผักบ้างประปราย ส่วนทีอ่ ยูห่ า่ งจากตัวเมืองด้านใน ออกไปแถบบางบัวทอง หนองแขม บางบอน ทวีวฒ ั นา ซึง่ แต่เดิมเคยเป็น ทุ่งนาและสวนผัก ก็ปรับเปลี่ยนเป็น พื้นที่ปลูกกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ เสียมาก แต่ยงั มีพอแปลงผักหลงเหลือ อยูเ่ ช่นกัน

264


พ้นจากเขตธนบุรี เข้าสู่จังหวัดนนทบุรี สวนแถบริมฝั่งน้ำก็แปรสภาพ มาเป็ น บ้ า นจั ด สรรริ ม น้ ำ เสี ย มาก คอนโดมิ เ นี ย มริ ม น้ ำ ผุ ด ขึ ้ น ตลอดสองฝั ่ ง ถนนติวานนท์ เมื่อก่อนที่เป็นสวนทุเรียน ปัจจุบันนี้เป็นบ้านเรือนที่พักอาศัย และอาคารพาณิ ช ย์ ห มดแล้ ว จะเหลื อ สวนผลไม้ ท ี ่ อ ยู ่ ม าแต่ เ ดิ ม ซึ ่ ง แทรกตั ว อยูบ่ า้ งตามบ้านชาวสวนดัง้ เดิมทีอ่ ยูล่ กึ เข้าไปจากถนนใหญ่เท่านัน้ ส่วนเกาะเกร็ด ซึง่ แต่เดิมเป็นพืน้ ทีส่ วนสลับกับทีน่ า ปัจจุบนั พืน้ ทีส่ วนลดน้อย ลงมาก ลึกเข้าไปในตัวเกาะยังพอมีแปลงเกษตรอยูบ่ า้ ง ส่วนใหญ่เป็นพวกไม้ผลทุเรียน ซึ่งเหลือไม่กี่พันธุ์ นอกจากนั้นก็เป็นพืชจำพวกสมุนไพร พืชอาหารต่างๆ และ ไม้ดอกไม้ประดับทีน่ ำเข้ามาปลูกใหม่ “ในบ้านชาวสวนบางคนยังพอมีผลไม้อยู่บ้าง แต่ไม่มีย่านผลไม้ที่เยอะแยะ เหมือนก่อนแล้ว ทีท่ ำกันอยูก่ เ็ ป็นเพียงทำกันเล่นๆ ก๊อกๆ แก๊กๆ ไม่ได้จริงจังอะไร” ชวนกล่าว และว่าทุกวันนี้ สวนที่ยังคงเหลืออยู่ในย่านตลิ่งชัน ยังคงมีผลไม้ดั้งเดิม อยู่บ้าง แต่ไม่ได้ปลูกกันเป็นล่ำเป็นสันจนขึ้นชื่อว่าเป็นย่านของผลไม้นั้นๆ อีกแล้ว ผลไม้ทเ่ี หลืออยูช่ าวสวนก็เพียงเหลือไว้รบั ประทานกันในครัวเรือนเท่านัน้ อะไรมาพรากผลไม้ไปจากสวน? หากเราไปถามชาวสวนรุ่นคุณปู่คุณย่า ก็มักจะได้ฟังเรื่องราว “ปีน้ำล้น” หรือเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อคราว พ.ศ. 2485 ที่ทำให้สวนผลไม้ล่มเกือบหมด แม้ว่าจะพยายามฟื้นฟูปลูกขึ้นมาใหม่ก็ไม่สามารถเอากลับมาได้ เพราะหลังจากนั้น ไม่นานก็เกิดน้ำท่วมอีกหลายระลอก โดยเฉพาะเมือ่ คราว พ.ศ. 2526 และครัง้ ล่าสุด พ.ศ. 2538 น้ำท่วมทำให้สวนล่มครั้งแล้วครั้งเล่าก็จริง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ชาวสวนท้อถอย พวกเขายังพยายามดิ้นรนหาผลไม้ชนิดใหม่ๆ มาปลูกในพื้นที่ ซึ่งก็ทำให้เกิดการ ย้ายพืน้ ทีป่ ลูกผลไม้ชนิดต่างๆ ด้วย เช่นส้มบางมด แต่เดิมเคยปลูกอยูแ่ ถวตลิง่ ชันก่อน พอย้ายไปปลูกที่บางมด ส้มเขียวหวานเจอน้ำกร่อยจึงได้รสชาติหวานดี แม้แต่ ทุเรียนนนท์ทโ่ี ด่งดังก็เคยมีอยูม่ ากมายแถวบางบน ต่อมาก็ยา้ ยไปปลูกแถบบางล่าง กันเยอะแยะ ดังนั้นปัญหาน้ำท่วมใหญ่จึงมิใช่สาเหตุที่ทำให้ผลไม้หายไปจากสวน อย่างถอนรากถอนโคน แล้วอะไรเล่าคือตัวการสำคัญในเรือ่ งนี้

265


เหตุที่ผลไม้บ้านสวนหายไป เพื่อจะหาคำตอบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สวนผลไม้ฝั่งธน-นนทบุรีหายไป เราคงต้องติดตามการเปลีย่ นแปลงของเมืองทีละเล็กทีละน้อย หากอาศัยข้อมูลของนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ก็พอจะเห็นการ เปลี ่ ย นแปลงการใช้ พ ื ้ น ที ่ ฝ ั ่ ง ตะวั น ตกของแม่ น ้ ำ เจ้ า พระยาอยู ่ ห ลายระรอก ในสมัยอยุธยาราว พ.ศ. 1976 ชุมชนบางกอกเริม่ พัฒนาขึน้ เป็นด่านขนอนของอยุธยา พื้นที่แถบนี้ยังมีคนอยู่น้อย และเริ่มมีคนอยู่มากขึ้นในสมัยที่พระมหาจักรพรรดิ ยกด่านขนอนขึ้นเป็น “เมืองฑณบุรีศรีมหาสมุทร” ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล เพือ่ ป้องกันข้าศึก เมือ่ ถึงปี 2311 ทีพ่ ระเจ้าตากสินมหาราชมาตัง้ ราชธานีใหม่ทน่ี ่ี ก็ปรากฏว่ามีคน อาศัยอยูค่ อ่ นข้างหนาแน่นแล้ว เจ จี เคอนิก ทีเ่ ข้ามาสยามในปี 2311 บันทึกไว้วา่ บางกอกยั ง มี ส วนปรากฏอยู ่ ท ั ่ ว ไปตามสองฝั ่ ง น้ ำ ต่ อ จากนั ้ น ไปเป็ น นาข้ า ว กว้างไกลสุดสายตา แต่เลยสวนและนาออกไปไม่ไกล ยังเป็นป่ารกทึบทีม่ เี สือด้วย ปลายกรุงธนบุร-ี ต้นรัตนโกสินทร์ บ้านและสวนในธนบุรเี ป็นถิน่ ฐานบ้านเรือน ของเจ้าขุนมูลนาย ปลายรัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2365) จอนห์ ครอเฟิด ทูตอังกฤษบันทึก ไว้วา่ ล่องเรือไปเห็นแต่สวนผลไม้ เพราะทีน่ าเดิมถูกเปลีย่ นเป็นสวนผลไม้หมดแล้ว จนกระทัง่ รัชกาลที่ 4 ไทยทำสนธิสญ ั ญาเบาริง ทำให้เกิดการค้าข้าวในพืน้ ที่ แถบหนองแขมและไกลออกไปถูกบุกเบิกเป็นพืน้ ทีป่ ลูกข้าว พืน้ ทีอ่ น่ื ๆ ก็ได้รบั การบุกเบิก และขุดคลองต่างๆ เพือ่ ทำการเกษตรด้วยเช่นกัน ในสมัยรัชกาลที่ 5 แถบภาษีเจริญ หนองแขม ทวีวัฒนา บางบอน ทุ่งครุ ฉิมพลี บางแค บางไผ่ เต็มไปด้วยพื้นที่ เพาะปลูกทั้งสิ้น ความเปลีย่ นแปลงหลายระลอกของพืน้ ทีฝ่ ง่ั ธนทีก่ ล่าวมา ไม่ได้ทำให้โฉมหน้า ของฝัง่ ธนเปลีย่ นแปลงไปมากนัก ย้อนไป 40 ปีกอ่ นหน้านีค้ นฝัง่ ธนยังพูดได้เต็มปากว่า ตัวเองเป็น “ชาวสวน” หรือไม่ก็เป็น “ลูกชาวสวน” จนกระทั่ง “การพัฒนาอุตสาหกรรม” แผ่ขยายมาในพืน้ ทีเ่ มือ่ 50 ปีทแ่ี ล้ว การขยายตัวของเมือง โดยเฉพาะช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นต้นมา และบูมสุดขีดในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหวัน ทำให้คนสวนตัดที่ ขายให้กบั โรงงานอุตสาหกรรม ตึกแถว คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรรกันเป็นจำนวนมาก

266


การขยายตัวของเมือง นำเอาถนนและสิ่งใหม่ๆ เข้ามา ทั้งผู้คนและบ้านเรือน การตัดถนนเข้ามาทำให้ทด่ี นิ มีราคาสูงขึน้ ใครๆ ก็ขายทีด่ นิ เมื่อเริ่มมีการตัดถนน ทั้งถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนเพชรเกษม ถนนปิ่นเกล้านครชัยศรี ซึง่ ตัดผ่านใจกลางสวนฝัง่ ธน พืน้ ทีส่ วนดัง้ เดิมจึงถูกตัดแบ่งและห้อมล้อม ด้วยสิง่ ปลูกสร้างใหม่ๆ คนนอกก็อพยพเข้ามาอยูห่ นาแน่น เมืองค่อยๆ รุกเข้ามา สวนก็ตอ้ งถอยร่นเข้าไป การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหามลพิษตามมา เช่นน้ำเสีย ทีท่ ง้ิ ลงคูคลองทำให้ชาวสวนไม่สามารถใช้นำ้ เพือ่ ทำการเกษตรได้อกี มีแต่ตอ้ งปิดกัน้ คูคลองไม่ให้น้ำเข้ามาในสวน เพราะจะทำให้ผลไม้ตายหมดสวน ไม่นับว่าโรงงาน อุตสาหกรรมทำให้เกิดควันพิษทีส่ ง่ ผลกระทบต่อการติดดอกออกช่อของผลไม้ ซึง่ ผลไม้ บางชนิดมีความอ่อนไหวอย่างมาก สวนลิ้นจี่และสวนผลไม้ย่านบางขุนเทียนเหลือน้อยลงทุกที คุ้งลิ้นจี่ที่เคย มีสวนลิน้ จีแ่ น่นขนัด ก็กลายเป็นเขตบ้านจัดสรรแทบไม่เหลือเค้าว่าเคยเป็นสวนลิน้ จี่ มีชื่อมาแต่เดิม น้ำตามคลองต่างๆ เริ่มเน่าเสียจากทั้งโรงงานและสาธารณูปโภค ที่ไม่เพียงพอ เนื่องเพราะความแออัดของผู้คน ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาสิ่งแวดล้อม หนักหน่วงตลอด 30 ปีทผ่ี า่ นมา ทำให้ภมู อิ ากาศเปลีย่ นแปลง กรุงเทพหนาวไม่เกิน 10 วัน ลิน้ จีจ่ งึ มีแต่ตน้ ไม่เคยแตกช่อติดลูกอีกเลย สวนลิน้ จีท่ เ่ี หลือเลยถูกโค่นทิง้ “ต้องปีที่หนาวติดต่อกันไม่ต่ำกว่าสิบวันจึงจะออกผล เจ็ดวันไม่ทันหรอก มันแค่ผลิเป็นยอด พอหยุดหนาวก็แตกเป็นใบ ถ้าได้หนาวขนาดมีไอน้ำขาวๆ ขึน้ เหนือผิวน้ำยามเช้าสักครึง่ เดือนละก็แจ๋ว ออกช่อแน่ สมัยก่อนมันหนาวยาวตาม ฤดูกาล ลิน้ จีเ่ ราถึงได้กนิ ” — นีเ่ ป็นคำให้สมั ภาษณ์ของละม่อม อุรยะวงศ์ อดีตแม่คา้ ลิ้นจี่ ในหนังสือ “เพื่อความเข้าใจในแผ่นดินธนบุรี” ซึ่ง นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว สัมภาษณ์ไว้เมือ่ ปี 2540 ปัจบุ นั นี้ มานพ สมจิตร ชาวสวนแถบราษฎร์บรู ณะยังยืนยันว่า ตัง้ แต่นน้ั มา ก็ไม่เคยเห็นลิ้นจี่แถบบางขุนเทียน-ราษฎร์บูรณะติดลูกอีกเลย ในสวนพื้นที่ 10 ไร่ ที่มานพพยายามรักษาพันธุ์พืชท้องถิ่นเอาไว้ แม้จะยังมีผลไม้ดั้งเดิมอยู่จำนวนมาก บางชนิดยังให้ผลเหมือนเดิม เว้นลิน้ จีท่ ม่ี แี ต่ตน้ กับใบเท่านัน้ “บางมดและบางขุนเทียนเคยขึ้นชื่อเรื่องส้มบางมดและลิ้นจี่ แต่ก็หมดไป

267


เพราะเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ชาวสวนเริ่มปลูกพืชเชิงเศรษฐกิจ มีการใช้สารเคมี ทำให้สง่ิ แวดล้อมเสีย ทำแล้วไม่ได้ผล ก็เอาทีด่ นิ ไปทำอย่างอืน่ ดีกว่า ก็คอื ขายไร่ละ 8 - 20 ล้าน ส่วนส้มบางมดก็ขยายไปปลูกแถบบางบอน ผ่านไป 15 - 20 ปี ดินก็เสือ่ มสภาพ ก็ตอ้ งเลิกอีก ทีนจ้ี งึ ย้ายไปปลูกกันทัว่ ภาคเหนือ” มานพกล่าว ชาวสวนเมืองนนท์ทา่ นหนึง่ ตัง้ ข้อสังเกตว่า หลังจากทีโ่ รงไฟฟ้าพระนครเหนือ (ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ต. บางกรวย อ. บางกรวย จ. นนทบุรี เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2504) เปิดเดินเครื่องไม่กี่ปี ทุเรียนเมืองนนท์ก็ไม่ติดดอกเลย แต่เมื่อโรงไฟฟ้าหยุดดำเนินกิจการเพื่อซ่อมแซม/ ปรับปรุง สองปีหลังจากนั้นทุเรียนก็ติดดอก เขาเห็นว่าต้นไม้นั้นอ่อนไหวต่อความ เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างมาก และสิ่งที่ไม่คิดว่าจะส่งผลกระทบถึงกัน ก็กลับเห็นผลภายในไม่กป่ี นี น่ั เอง นอกจากนี้ การสร้างเขือ่ นเจ้าพระยาเมือ่ ปี 2538 ทำให้นำ้ อาบวัวทีเ่ ป็นเหมือน สารอาหารชัน้ เลิศไม่มาอีกเลย ซึง่ คนเก่าๆ หลายคนต่างกล่าวตรงกันว่า น้ำหมด “ยาง” เสียแล้ว “หลังสร้างเขื่อนภูมิพล (สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2507) น้ำเปลี่ยนไปหมด ไม่ ม ี อ ี ก แล้ ว น้ ำ เชี ่ ย วน้ ำ วนปากคลอง น้ ำ ไม่ เ หมื อ นเมื ่ อ ก่ อ นอี ก แล้ ว ใสหมด ไม่เคยเห็นน้ำอาบวัวอีกเลย หมด...ไม่เหลือ น้ำหมดยาง สวนไม่มีปุ๋ยธรรมชาติ ต้องฉีดกันแต่ปุ๋ยเคมี อัดกันแต่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ กุ้งปลาตามคลองก็พลอยตายหมด ไปด้วย ยิง่ ตอนหลังมีโรงงาน คนอพยพเข้ามาอยูก่ นั หนาแน่น น้ำเสียถ่ายลงคลอง วันหนึ่งไม่รู้เท่าไหร่ ทีนี้หมดเลย ในน้ำเหลือแต่ไอ้ปลาซัคเกอร์ปลาเทศบาล ทีม่ นั หลุดจากตูป้ ลา กระโดดกันจ๋อมๆ ไม่มใี ครจับกินหรอก” ลุงอัมพรให้สมั ภาษณ์ เมือง โรงงานอุตสาหกรรม ถนน โรงไฟฟ้า เขือ่ น ผูค้ น ฯลฯ ล้วนมีสว่ นทำให้ สวนผลไม้คอ่ ยๆ หายไปจากพืน้ ที่ แต่ปญ ั หาทีห่ นักหน่วงทีส่ ดุ ในช่วง 10 ปีทผ่ี า่ นมาก็คอื “บ้านจัดสรร” บ้านจัดสรรทีเ่ ข้ามาอยูใ่ หม่สร้างปัญหาให้กบั ชาวสวนรอบด้านเลยทีเดียว เมือ่ “ผู้มาอยู่ใหม่” มองเห็นคลองเป็นเพียงที่ระบายน้ำ และไม่เคยมองเห็น “ชีวิต” ทีส่ มั พันธ์กบั แม่นำ้ ดังเช่นคนริมคลองทีใ่ ช้ชวี ติ ผูกพันกับสายน้ำมาแต่เล็กแต่นอ้ ย “พอบ้ า นจั ด สรรเข้ า มา สิ ่ ง ที ่ เ ข้ า ตามมาก็ ค ื อ ยาฆ่ า แมลง ฆ่ า ปลวก

268


และใช้กนั อย่างไม่มกี ฎเกณฑ์ อัดเข้าไปทัง้ ใต้ดนิ บนดิน พอปลูกแล้วก็พน่ อีก 3 - 4 ปีผา่ นไปก็จา้ งบริษทั มาพ่นยาฆ่าปลวกอีก จ้างมา 3,000 บาท เอาเลย ให้มนั อยูไ่ ด้ 100 ปีก็ยิ่งดี ซัดกันเต็มที่ ดังนั้นชาวสวนที่อยู่ใกล้ๆ แม้ว่าจะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่ พ อเอาน้ ำ หรื อ ผลผลิ ต ไปตรวจสอบ ก็ เ จอตั ว ยาตั ว เดี ย วกั บ ที ่ ใ ช้ ฆ ่ า ปลวก น้ ำ ใต้ ด ิ น มั น ไหลถึ ง กั น ได้ เ ป็ น กิ โ ลเมตร สารพวกนี ้ พ ื ช สามารถดู ด ซึ ม ได้ อย่างบ้านผมเอามะกรูดไปตรวจ ก็พบว่ามีสารเคมีปนเปือ้ น ทัง้ ๆ ที่ 30 ปีทผ่ี า่ นมา ผมไม่เคยนำยาฆ่าแมลงเข้าสวนเลย” ชวนเล่าถึงปัญหาหนักอกของชาวสวนดัง้ เดิม บ้ า นจั ด สรรที ่ น ำเอาคนนอก มาอยู ่ ไม่ ไ ด้ ส ร้ า งปั ญ หาแค่ เ รื ่ อ ง สารเคมีเท่านัน้ แต่พน้ื ทีซ่ ง่ึ เคยมีคคู ลอง ลำกระโดง มีเครือข่ายสายน้ำแผ่ขยาย เต็มพืน้ ที่ กำลังถูกถม ปิดกัน้ จนระบบ น้ำเดิมเสียหาย นอกจากก่อปัญหาเรือ่ ง การระบายน้ำแล้ว ชาวสวนก็ยังต้อง รับบทหนักเมือ่ ต้องวิดน้ำเข้า-ออกด้วย “ปัญหาผมตอนนี้คือการระบาย น้ำลำบากมาก เขาถมทีป่ ดิ ทางน้ำหมด เลย เหมื อ นที ่ เ ราเคยเอาน้ ำ เข้ า น้ ำ ออกได้สะดวก ก็ทำไม่ได้แล้วตอนนี้ ผมต้องวิดน้ำจากนี่ลงนี่ จากนี่ลงนี่ ก็เพิ่มค่าใช้จ่าย จากเดิมที่เราสูบน้ำครั้งเดียว ออกคลองสาธารณะได้เลย ก็ไม่ได้แล้ว” ชวนกล่าวเพิม่ เติม นอกจากสิ ่ ง แวดล้ อ มที ่ เ ปลี ่ ย นแปลงไปแล้ ว ผลไม้ พ วกนี ้ ก ็ ย ั ง ไม่ ไ ด้ ร ั บ การส่งเสริมจากองค์กรใดๆ ให้มกี ารอนุรกั ษ์พนั ธุห์ รือปลูกไว้ อาจเป็นเพราะไม่ใช่ผลไม้ “เศรษฐกิจ” ที่ทำเงินเป็นกอบเป็นกำให้กับเจ้าของ ดังนั้นจึงไม่มีการส่งเสริมใดๆ ผลไม้เหล่านีก้ ล็ ม้ หายไปตามยถากรรม จะมีสกั กีค่ นทีเ่ ห็นค่าอนุรกั ษ์ไว้ แม้ว่าจะมีข่าวการซื้อขายทุเรียนนนท์ลูกละ 5,000 บาท ก็ไม่ใช่แรงจูงใจ ที ่ ท ำให้ ช าวสวนหั น มาปลู ก ผลไม้ เ ช่ น เดิ ม เพราะการทำสวนไม่ ไ ด้ ใ ห้ ผ ลผลิ ต ทีแ่ น่นอนเหมือนแต่เดิมอีกต่อไปแล้ว

269


ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ผลไม้ทเ่ี คยขึน้ ชือ่ สูญหายไปหลายพันธุ์ หากไปถาม “ชาวสวนตัวน้อยๆ” ว่ารูจ้ กั ชะนีกบแม่เฒ่าไหม กบชายน้ำต่างจากจอกลอยอย่างไร บางทีเขาอาจจะไม่รจู้ กั แล้วก็ได้ การจะสืบหาว่าแต่ดง้ั เดิมมีผลไม้อะไรพันธุอ์ ะไรบ้างนัน้ คงต้องไปสืบถามเอาจากคนเฒ่าคนแก่ ซึง่ นับวันก็ลม้ หายตายจากไปเรือ่ ยๆ

มีอะไร (เหลือ) อยูใ่ นสวนผลไม้ กิตติพงศ์ ตรีตรุยานนท์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการ สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศเกษตรในเขตพื้นที่ จ. นนทบุรี โดยใช้ พ ื ้ น ที ่ บ ริ เ วณคลองอ้ อ มนนทบุ ร ี แ ละปากเกร็ ด เป็ น พื ้ น ที ่ ศ ึ ก ษา พบพื ช ทางการเกษตร 93 วงศ์ 246 สกุล 429 ชนิด เป็นพืชท้องถิน่ เดิม 10 วงศ์ 10 สกุล 44 ชนิด และทีเ่ หลือเป็นพืชทีน่ ำเข้ามาในระบบ จำนวน 83 วงศ์ 236 สกุล 357 ชนิด พืชเกษตรท้องถิน่ ดัง้ เดิมของพืน้ ทีส่ วนริมน้ำและเกาะเกร็ด จ. นนทบุรี พบว่า มีพชื เกษตรดัง้ เดิมอยูห่ ลายชนิด โดยพบว่ามีความหลากชนิดของพันธุพ์ ชื ท้องถิน่ ดัง้ เดิม และพันธุเ์ ฉพาะถิน่ ของพืชเกษตรทีเ่ ป็นไม้ผลเขตร้อนมาก ได้แก่ กระท้อน ทุเรียน กล้วย ชมพู่ มะม่วงพันธุต์ า่ งๆ จากการสำรวจพบว่ า ไม้ ผ ลบางสายพั น ธุ ์ ไ ด้ ส ู ญ หายไปจากพื ้ น ที ่ แ ล้ ว และอีกหลายสายพันธุ์มีแนวโน้มสูญหายไปจากพื้นที่เป็นอย่างยิ่ง เช่นทุเรียน ยกเว้นพันธุ์หมอนทองและพันธุ์ชะนีที่ยังพบปลูกอยู่มาก เนื่องจากเป็นพันธุ์การค้า ทีส่ ำคัญ โดยจากการสำรวจในครัง้ นีพ้ บเพียง 26 สายพันธุเ์ ท่านัน้ จากทีเ่ ดิมมีรายงาน ไว้ 64 สายพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีกระท้อน มะม่วง ชมพู่พันธุ์ต่างๆ โดยเฉพาะชมพู่สาแหรกใน พืน้ ทีเ่ กาะเกร็ด พบว่าปัจจุบนั มีจำนวนลดลงอย่างมาก โดยทัง้ เกาะมีปลูกเหลือไม่ถงึ 10 ต้น เนือ่ งจากเกษตรกรมักปลูกชมพูม่ า่ เหมีย่ ว ซึง่ สามารถขายได้ราคาดีและตลาด มีความต้องการมากกว่า “เราพบว่ามีพชื ทีก่ ำลังถูกคุกคามอย่างมาก ซึง่ โดยส่วนใหญ่จะเป็นพืชท้องถิน่ ที่ เป็นพันธุด์ ง้ั เดิม กลุม่ ไม้ผลเช่น ทุเรียน มะม่วง ชมพู่ เป็นต้น” ทางด้านฝั่งธนนั้น จากการพูดคุยกับชาวสวนอย่างคร่าวๆ พบว่ามีพันธุ์ไม้ หลายชนิดทีส่ ญ ู พันธุไ์ ป และบางชนิดก็ใกล้สญ ู พันธุอ์ ย่างยิง่ ไม่ตา่ งจากสวนฝัง่ นนทบุรี

270


ชวนเล่าว่า “บางระมาดทีผ่ มอยู่ เดิมจะคุน้ ชือ่ มะม่วงกันอยูส่ องชือ่ เท่านัน้ คือ พราหมณ์ขายเมีย และมะม่วงอกร่อง มะม่วงอกร่องมีอยู่ทั่วประเทศ แต่มะม่วง พราหมณ์ขายเมียหายไปเลย แทบไม่มใี ครรูจ้ กั ผมพยายามขยายพันธุไ์ ว้ สามปีทผ่ี า่ นมา คนเริม่ รูจ้ กั พอถึงฤดู คนเริม่ มาถามว่าออกหรือยัง “ส่วนชมพูท่ บ่ี า้ นผมมีอยู่ 2 - 3 ต้น มีชมพูส่ าแหรก ต้นหนึง่ ออกลูกมาเป็นหมืน่ ๆ ลูก คุณจะไม่ได้กินแม้แต่ลูกเดียว เพราะว่ากุมารทองจะต่อย และไข่ไว้จนเป็น หนอนหมดทุกลูก นีเ่ ป็นสาเหตุหนึง่ ทีท่ ำให้คนไม่คอ่ ยสนใจจะปลูกหรือรักษาผลไม้ตา่ งๆ ไว้ เพราะปลูกไว้ไม่คอ่ ยมีประโยชน์อะไร ขายก็ไม่ได้ พอเริม่ สุกก็เป็นหนอนร่วงหมด ในอนาคตก็จะสูญพันธุ์แล้ว จะเหลือแต่ชมพู่ที่ขายได้ในตลาด แต่ผมเสียดายก็เลย ปลูกไว้ กลัวมันจะหาย ต้องรีบตอนไว้กอ่ น” “มะม่วงทิมสวรรค์ ต้นใหญ่พอสมควร ลูกเป็นสีขาว จะมีแก้มแดงนิดๆ หนัก กิโลกว่า สวย สุกแล้วจะเหลือง เนือ้ หอมๆ เหมือนน้ำดอกไม้ แต่หอมน้อยกว่า ไม่คอ่ ย มีกาก เขาเรียกทับทิมสวรรค์ ผมกินมาตัง้ แต่เด็ก มันเป็นต้นสุดท้าย เหลืออยูท่ บ่ี า้ นผม ทีเ่ ดียว ก็ปนี ขึน้ ไปทาบกิง่ ไว้ 4 - 5 กิง่ พอตัดมาปลูก ต้นเดิมตายเลย ยังโชคดีทท่ี าบกิง่ ไว้ก่อน ไม่งั้นคงไม่เหลือแล้ว พอเอามาปลูกก็ออกลูก ยังถือว่าโชคดีที่ทางพัฒนา ชุมชนเขตก็มาทาบกิง่ ไว้ ส่วนมะม่วงลิน้ งูเห่าก็เหมือนจะสูญพันธุไ์ ปแล้ว” คำบอกเล่าของชวนทำให้มองเห็นการค่อยๆ สูญหายไปของพันธุ์พืชท้องถิ่น ทีเ่ กิดขึน้ มานานแล้ว และนับวันจะค่อยๆ หายไปมากขึน้ แม้ชวนจะเป็นชาวสวนเพียง ไม่กค่ี นทีเ่ ห็นความสำคัญของพันธุพ์ ชื ท้องถิน่ และคุณค่าของผลไม้บา้ นสวน แต่ถงึ จะใช้ ความพยายามเพียงไรในการรักษาต้นพันธุ์ดั้งเดิมไว้ สุดท้ายก็ยังคงต้องสูญเสีย พันธุพ์ ชื หลายชนิดไปตลอดกาล

อนาคตชาวสวน “ฉันคงไม่ทำสวนหรอก” สุวิมล ลักษณิยานนท์ พนักงานบริษัทเอกชน แห่งหนึง่ กล่าว แม้วา่ จะเป็นลูกชาวสวนเต็มตัว แต่จะให้ “สืบทอด” อาชีพชาวสวน ต่อจากพ่อแม่นน้ั คงเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากเหตุผลว่า “ทำไม่เป็น” แล้ว เธอก็นกึ ไม่ ออกว่า ท่ามกลางสภาพแวดล้อมในปัจจุบนั เธอจะประคับประคอง “สวน” ของพ่อแม่ ไปได้อย่างไร จะเอาผลผลิตไปขายที่ไหน จะได้ราคาเท่าไร พอที่จะเลี้ยงชีพได้ไหม

271


ทุกวันนี้เธอมีรายได้แน่นอนจากการทำงาน “ข้างนอก” แม้จะต้องตื่นแต่เช้ามืด เพือ่ ทีเ่ ข้างานให้ทนั 8 โมงครึง่ ตอนเย็นก็ตอ้ งฝ่าการจราจรกลับมาถึงบ้านค่ำมืด “แม่เขาแบ่งที่ส่วนหนึ่งขายแล้วมาสร้างหอพัก ถ้าขายได้อีกแปลงหนึ่ง ก็จะเอามาสร้างเพิ่ม คนรุ่นเดียวกับฉันไม่มีใครทำสวนกันแล้ว” สุวิมลกล่าว ถึงไม่เคยมีความคิดเรือ่ งการเป็นชาวสวนอยูใ่ นหัว แต่ถงึ อย่างนัน้ เธอก็ยงั “ติดที”่ สุ ว ิ ม ลบอกว่ า ถึ ง จะขายที ่ ส วน แต่ จ ะไม่ ข ายบ้ า นสวนแล้ ว ย้ า ยไปอยู ่ คอนโดมิเนียมหรือบ้านจัดสรรข้างนอกเหมือนคนอืน่ ๆ แน่ นัน่ คงไม่ตา่ งจากชีวติ ลูกหลานของชาวสวนคนอืน่ ๆ เท่าไรนัก “ลองคิ ด ดู คนรุ ่ น ใหม่ ไ ด้ เ รี ย นหนั ง สื อ อยู ่ ก ั บ ที ว ี อยู ่ ก ั บ คอมพิ ว เตอร์ เขาไปทำงานเดินผ่านสวนทุกวัน มีคนมาขอซื้อ ให้ไร่ละ 10 ล้าน ขายไหม ไม่กว่ี นั เขาก็เปลีย่ นใจ เขาบอกว่าอยูค่ อนโดก็พออยูไ่ ด้แล้ว ขายไร่หนึง่ มีเงิน 10 ล้าน พาลูกพาเมียไปอยูต่ กึ แถวทีไ่ หนสักแห่ง เขาก็สบายแล้ว เพราะฉะนัน้ เขาไม่เห็นว่า การทำสวนมันจะมีคา่ อะไรหรอก ทีส่ วนเหล่านีก้ ร็ อยกให้เป็นมรดกให้เขาเท่านัน้ เอง” ชวนกล่าว

เสียงจากชาวสวนทีย่ งั เหลืออยู่ “ชวน ชูจนั ทร์” เกิดและเติบโตมาท่ามกลางบ้านสวนที่มีผลไม้นานาชนิด ในวัยหนุ่ม ทีย่ งั เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขายังได้ใช้เรือเป็นพาหนะหลักไป-กลับ ระหว่างบ้านและมหาวิทยาลัย ช่วงปี 2519 พืน้ ทีบ่ างระมาดยังมีนาข้าวให้เขาได้ ปัก-ดำอยู่ ก่อนทีส่ วนผลไม้จะค่อยๆ รุกเข้ามาจนนาข้าวหมดไปในทีส่ ดุ หลั ง จากจบการศึ ก ษา เคยทำงานกั บ บริ ษ ั ท เอกชน เคยลงสมั ค รเลื อ กตั ้ ง สส. และยังสอบได้เป็นนายอำเภอ อี ก ด้ ว ย ในวั น ที ่ จ ะเข้ า ไปรั บ ตำแหน่ ง นายอำเภอนั ้ น เอง เขาก็เลือกกลับมาเป็นชาวสวน ที่บ้านเกิด และทำกิจกรรมเพื่อ รณรงค์ ใ ห้ ช ุ ม ชนเห็ น ความ

272


สำคัญของพันธุพ์ ชื ท้องถิน่ และการทำเกษตรอินทรีย์ “สมัยก่อนคนบ้านสวนใช้นำ้ คลองได้ทง้ั กินทัง้ อาบ เราทิง้ ขยะลงคลองก็จริง แต่ปริมาณน้อย และเป็นขยะธรรมชาติ ธรรมชาติกจ็ ดั การได้ แต่ตอนนีค้ นมากขึน้ ขยะมากขึ้น ธรรมชาติรับไม่ไหว พอบ้านจัดสรรเข้ามา สิ่งที่เข้าตามมาด้วยคือ ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าปลวก และใช้กนั อย่างไม่มกี ำหนดกฎเกณฑ์ ชาวสวนทีอ่ ยูใ่ กล้ๆ แม้ว่าจะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่เมื่อนำพืชผลทางเกษตรไปตรวจก็เจอสารเคมี ตัวเดียวกับทีบ่ า้ นจัดสรรใช้ เรือ่ งสารเคมีเหล่านี้ ทางราชการไม่มาดูแลอะไรหรอก เราต้องเริ่มเอง เพราะว่าพวกนี้เขามองไม่เห็นปัญหา กรุงเทพมหานครควรจะมี การควบคุมการใช้ยาตัวนี้ หรือว่าเปลีย่ นตัวยาทีป่ ลอดภัยกว่านี้ “คนทีม่ าอยูใ่ นบ้านจัดสรรก็เป็นคนจากทีอ่ น่ื หันหลังให้คลอง พอปลูกก็กน้ั รัว้ ชายคลองเลย ถึงบ้านจัดสรรเข้ามา ก็ไม่จำเป็นต้องทำให้สิ่งแวดล้อมเสีย ถ้าทุกคนทีเ่ ข้ามามีความเข้าใจ และคิดจะช่วยกันรักษา “เรื ่ อ งคุ ้ ม ค่ า เราต้ อ งคิ ด ให้ ด ี ระบบความรู ้ บ างอย่ า งเราเอามาวั ด เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ได้หรอก การอนุรักษ์พันธุ์พืชไว้มีคุณค่าทางวิชาการ ทางวัฒนธรรม เรือ่ งของความรูก้ บั ธุรกิจมันเทียบกันไม่ได้ “การท่องเที่ยวเชิงเกษตร อาจจะเป็นทางรอดอย่างหนึ่งของชาวสวน อาจทำให้การตัดสินใจว่าจะขายที่แล้วหาบ้านใหม่อยู่มีน้อยลง เพราะเขาจะมี รายได้ ม ากขึ ้ น สามารถอยู ่ ไ ด้ และรั ฐ อาจจะเข้ า มาช่ ว ยเรื ่ อ งการโปรโมต และสนับสนุนให้มกี ารอนุรกั ษ์พนั ธุพ์ ชื “เมืองรุกเข้ามาเรื่อยๆ พื้นที่เกษตรก็หายไป กรุงเทพมหานครมีนโยบาย “พื้นที่สีเขียว” ก็จริง แต่ว่าเป้าหมายไม่ได้กันไว้เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการเกษตร ไม่ ไ ด้ ม ุ ่ ง ประเด็ น เรื ่ อ งการอนุ ร ั ก ษ์ พ ั น ธุ ์ พ ื ช หรื อ ดู แ ลความสมบู ร ณ์ ข องดิ น เราไม่มกี ารจัดโซนพืน้ ที่ ทำให้เราเสียอะไรไปอย่างไม่นา่ เสีย”

คำกล่าวข้างต้นไม่ใช่เรื่องเกินจริงแต่อย่างใด หลังเรียนจบปริญญาโท จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาสอบเป็นนายอำเภอได้ แต่ก็ ทิง้ งานข้าราชการ แล้วบ่ายหน้าเข้าสวนมาจับจอบถือเสียมอย่าง “ชาวสวน” เพราะ มองเห็นสิง่ อืน่ นอกเหนือจาก “รายได้” บางคนกล่าวว่า สวนทีเ่ หลืออยูก่ ร็ อวันทีล่ กู หลานจะแบ่งเอาไปขายเท่านัน้ เอง

273


ผลไม้และสิ่งต่างๆ ที่เคยโดดเด่น โดยอาศัยภูมิอากาศ ภูมิประเทศที่เป็น ลักษณะเฉพาะ มีผลผลิตเป็นผลไม้หลากหลายพันธุ์ชั้นเยี่ยมกำลังจะสูญหายไป เพราะว่า “ทัศนคติ” ของคนทีไ่ ม่เห็นค่าของสิง่ ดีๆ เหล่านีอ้ กี แล้ว “เราได้รบั การสัง่ สอนมาว่า ชาวนา ชาวสวน นีม่ นั ลำบาก ถ้าเป็นไปได้กไ็ ปๆ ซะให้พน้ ๆ ทัง้ ๆ ทีภ่ มู ปิ ระเทศของเราเหมาะกับการเพาะปลูกทีส่ ดุ ” ชวนย้ำ ทุกวันนี้ ชาวสวนทีม่ ที ด่ี นิ เป็นของตนเองเหลือไม่มาก แถวบางระมาด (ตลิง่ ชัน) ก็เหลืออยูไ่ ม่เกิน 20 เจ้าเท่านัน้ ทีท่ ำเป็นอาชีพจริงจัง ทีเ่ หลือก็ทำแบบ “ก๊อกๆ แก๊กๆ” นัยว่าเป็นความสุขเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น สำหรับคนที่ทำจริงจังก็ดูเหมือนว่า จะอยูร่ อดยากเต็มที เพราะต้องเผชิญปัญหาต่างๆ อย่างทีก่ ล่าวมาแล้ว เมื่อรายได้จากผลผลิตไม่แน่นอน และไม่ต้องการขายที่ ชาวสวนบางส่วน จึงพยายามปรับตัวและหาทางออกอื่นๆ ปัจจุบัน เริ่มมีการปรับสวนให้เป็นแหล่ง ท่องเทีย่ วเชิงเกษตรมากขึน้ สวนหลายแห่งเปิดต้อนรับนักท่องเทีย่ ว ทัง้ ไทยและเทศ โดยกรุงเทพมหานครได้ส่งเสริมด้วยการช่วยประชาสัมพันธ์ ดังที่เราสามารถเห็น รายการท่องเทีย่ วเยีย่ มชมสวนทางสถานีโทรทัศน์หลายรายการ บ้างก็พยายามรือ้ ฟืน้ วิถชี วี ติ ดัง้ เดิมขึน้ มา หวังเพือ่ จะให้ชาวสวนได้เห็นคุณค่า ของสิ่งดีๆ ที่เคยมีมา อย่างเช่น “ตลาดน้ำคลองลัดมะยม” ที่ชวน ชูจันทร์ริเริ่ม ด้วยการชักชวนชาวชุมชนริมคลองลัดมะยม แขวงบางระมาด เขตตลิง่ ชัน โดยนำ สินค้าและผลผลิตในครัวเรือนมาขาย เริม่ เปิดตลาดเมือ่ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2547 โดยมุง่ หวังว่า “ตลาดน้ำ” ทีเ่ ปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จะเป็นเครือ่ งมือช่วยให้ชมุ ชน ได้เ ห็น ว่า คูค ลองที ่เ รามีอ ยู ่ในชุ มชนเป็ นสิ ่ งมี ค ่า ต้อ งช่ ว ยกันรั ก ษาให้ สะอาด สวยงามอยู่เสมอ ธรรมชาติที่สวยงามจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยว ทำให้ชาวบ้าน สามารถสร้างรายได้จากการขายสินค้าได้ ไม่ว่าทั้งจากผัก ผลไม้ ขนมคาวหวาน ที่ทำสืบต่อกันมาหลายช่วงอายุคน ที่สำคัญทำให้ชุมชนได้หวนกลับมาทำงาน ร่วมกันอีกครัง้ รือ้ ฟืน้ ประเพณีทด่ี งี าม “มะยมทัวร์” ซึง่ จัดให้มกี ารนัง่ เรือชมคลอง ชมสวนกล้วยไม้ สวนเครือ่ งต้มยำ (ข่า ตะใคร้ ใบมะกรูด) และสวนแก้วมังกร ชมบ้านเรือนริมคลอง เป็นอีกกิจกรรมหนึง่ ในความพยามของชาวคลองลัดมะยมทีจ่ ะช่วยให้ชาวสวน “อยูไ่ ด้” ท่ามกลางสิง่ ต่างๆ ทีก่ ำลัง “รุก” เข้ามา

274


เพราะเมื ่ อ ไม่ อ าจทั ด ทาน ความเปลี ่ ย นแปลงที ่ เ กิ ด ขึ ้ น แล้ ว ชาวสวนดั้งเดิมจำเป็นต้องอยู่ร่วม กั บ ผู ้ ม าอยู ่ ใ หม่ พวกเขาขอร้ อ ง เพียงว่าบ้านจัดสรร หรือคนภาย นอกที ่ เ ข้ า มาอยู ่ ใ หม่ จะไม่ ท ำให้ สิ ่ ง แวดล้ อ มเสี ย ถ้ า ทุ ก คนเข้ า ใจ หลักการตรงนี้ ก็นา่ จะอยูร่ ว่ มกันได้

คน-สวน-ผลไม้: สายสัมพันธ์ทอ่ี าจเหลือเพียงตำนาน “ไม่เกิน 20 ปี ไม่มคี นทำสวนแล้ว” ใครต่อใครก็เห็นตรงกันอย่างนี้ สำหรับชาวสวนฝัง่ ธน-นนทบุรแี ล้วดูเหมือนว่า พวกเขาจะยอมรับโดยดุษฎีวา่ เมือ่ เมืองรุก สวนก็ตอ้ งถอย สำหรับชาวสวนที่ยังคงยึดอาชีพทำสวนอยู่ ก็ต้องต่อสู้กับปัญหารอบด้าน ทั้งการถูกนายทุนบีบให้ขายที่ ปัญหาน้ำเสียและควันพิษที่ส่งผลต่อการติดดอก ของผลไม้ ปัญหาบ้านจัดสรรที่รุกเข้ามาอย่างหนักหน่วงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พร้อมกับนำเอาขยะ น้ำเสีย และสารเคมีมาให้ ไหนจะต้องต่อสู้กับศัตรูพืชที่รุม มาหาแหล่งอาหารซึ่งเหลืออยู่ไม่มาก หรือไหนต้องเหนื่อยกับการวิดน้ำเข้าออก สวนหลายขัน้ ตอนเพราะไม่สามารถใช้ระบบน้ำธรรมชาติทเ่ี คยแผ่สยายไปทัว่ ผืนดินได้ มิหนำซ้ำปัจจุบันยังไม่มี “ตัวช่วย” อย่างน้ำอาบวัวอีกแล้ว ชาวสวนที่หลงเหลือจึง “ยืนอยู”่ อย่างยากลำบากทีเดียว แม้วา่ ผลไม้หลายชนิดกำลังรอวันสูญพันธุ์ กระนัน้ ก็ตาม ยังมีคนอีกจำนวนหนึง่ ที่พยายามรักษาเอาไว้ ด้วยความตระหนักว่า ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ทีเ่ ราเคยมีมาแต่อดีต ทำให้เรารูว้ า่ เราเคย “มีด”ี อะไรบ้าง “ผลไม้บา้ นสวน” เป็นผลผลิตของผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ทธ่ี รรมชาติสร้างขึน้ รวมทัง้ ภูมปิ ญ ั ญาในการคัดเลือกพันธุแ์ ละทำนุบำรุงสวนของชาวสวนทีส่ บื ทอดมาหลาย ชัว่ อายุคน

275


การหายไปของผลไม้บ้านสวน จึงเป็นการสูญเสียองค์ความรู้-ภูมิปัญญาการ ทำสวนในพืน้ ทีท่ ม่ี ลี กั ษณะเฉพาะของ “ดินดอนตะกอนปากแม่นำ้ ” ไปด้วย หากมองย้อนกลับไป ก็อาจรูว้ า่ ได้สญ ู เสียสิง่ ดีๆ ทีเ่ คยมีไปมากเพียงไร

พันธุพ์ ชื ดัง้ เดิมและพันธุเ์ ฉพาะถิน่ ทีม่ อี ยูใ่ นบริเวณสวนริมน้ำและ เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึง่ มีแนวโน้มใกล้สญ ู พันธุ์ จากการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของระบบ นิเวศเกษตร พื้นที่ จ. นนทบุรี โดยสถาบันคันคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2549 ชือ่ ผลไม้ กระท้อน พันธุท์ ม่ี อี ยูด่ ง้ั เดิมและพันธุเ์ ฉพาะถิน่ อีลา่ , ปุยฝ้าย, สมอ, ขันทอง, อีไหว, นิม่ นวล, ทับทิม, เขียวหวาน,ทองหยิบ, ลุงคนชม, อีจาน พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ อีลา่ , ปุยฝ้าย, สมอ, ขันทอง, อีไหว, นิม่ นวล, ทับทิม, เขียวหวาน, ทองหยิบ, ลุงคนชม, อีจาน สถานะ บางพันธุใ์ กล้สญ ู พันธุ์ ชือ่ ผลไม้ กล้วย พันธุท์ ม่ี อี ยูด่ ง้ั เดิมและพันธุเ์ ฉพาะถิน่ กล้ายน้ำว้า, กล้วยหอมทอง, กล้วยหอมเขียว, กล้วยกล้าย, กล้วยหอมจันทร, กล้วยเล็บมือนาง, กล้วยไข่, กล้วยตานี, กล้วยหักมุก, กล้วยนาก,กล้วยงวงช้าง, กล้วยน้ำไท พันธุ์พืชที่พบจากการสำรวจ กล้วยน้ำว้า, กล้วยหอมทอง, กล้วยหอมเขียว, กล้วยกล้าย, กล้วยเล็บมือนาง, กล้วยไข่, กล้วยตานี, กล้วยหักมุก, กล้วยนาก, กล้วยน้ำไท สถานะ บางพันธุ์ใกล้สญ ู พันธุ์ ชือ่ ผลไม้ ทุเรียน พันธุ์ที่มีอยู่ดั้งเดิมและพันธุ์เฉพาะถิ่น กบก้านเหลือง, กบจำปา, กบเจ้าคุณ, กบชายน้ำ, กบตาขำ, กบตานุช, กบตาปุ่น, กบตามา, กบตามิตร, กบพวง,

276


กบแม่เฒ่า,กบพิกลุ , กบลำเจียก, กบวัดเพลง, กบสีนาค, กบสุวรรณ, กบหน้าศาล, กระดุมทอง, กลีบสมุทร, ก้อนทอง, กำปั่นตาเพ่ง, กำปั่นพวง, กะเทยเนื้อขาว, กะเทยเนือ้ เหลือง, ก้านยาว, ก้านยาวพวง, ก้านยาวสีนาค, กำปัน่ แดง, กำปัน่ เดิม, กำปัน่ เนือ้ เหลือง, จอกลอย, ชมพูศรี, ดาวกระจาย, พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ ก้านยาว, หมอนทอง, ชะนี, กบแม่เฒ่า, กบเล็บเหยีย่ ว, ชมพูส,ี สาวชม, กำปัน่ พวง, กระดุมทอง, ทับทิม, กำปัน่ เหลือง, จอกลอย, กบตาขำ, กบตามาก, เจ้าเงาะ, ทองย้อยฉัตร, ย่ำมะหวาด, กบชายน้ำ, ดาวกระจาย, ขุนนนท์, กบสุวรรณ, แดงสาวน้อย, กบสีนาค, กะเทย (เนือ้ เหลือง), กบวัดกล้วย, กำปัน่ แดง สถานะ ส่วนใหญ่ใกล้สญ ู พันธุแ์ ละสูญพันธุแ์ ล้ว ซึง่ พันธุท์ ย่ี งั พบอยูม่ ากจะเป็นพันธุท์ ่ี ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบนั ได้แก่ หมอนทอง, ชะนี, และก้านยาว ชือ่ ผลไม้ ชมพู่ พันธุท์ ม่ี อี ยูด่ ง้ั เดิมและพันธุเ์ ฉพาะถิน่ งาช้าง (ม่าเหมีย่ วสีขาว), สาแหรก, น้ำดอกไม้, ซาละเปา, แดงก้นแหลม, สากกะเบือ, สีนาค , กะหลาป๋า, แก้มแหม่ม พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ พบ สถานะ ใกล้สญ ู พันธุ์ ชือ่ ผลไม้ ละมุด พันธุท์ ม่ี อี ยูด่ ง้ั เดิมและพันธุเ์ ฉพาะถิน่ สีดา พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ ไม่พบ สถานะ ใกล้สญ ู พันธุ์ ชือ่ ผลไม้ ชำมะเลียงขาว พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ พบ สถานะ ใกล้สญ ู พันธุ์ ชือ่ ผลไม้ ส้มซ่า พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ พบ สถานะ ใกล้สญ ู พันธุ์

277


ชือ่ ผลไม้ สมอไทย พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ พบ สถานะ ใกล้สญ ู พันธุ์ ชือ่ ผลไม้ จัน - อิน พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ พบ สถานะ ใกล้สญ ู พันธุ์ ชือ่ ผลไม้ มะม่วง พันธุท์ ม่ี อี ยูด่ ง้ั เดิมและพันธุเ์ ฉพาะถิน่ เขียวเสวย, น้ำดอกไม้, ยายกล่ำ, อกร่องเขียว, อกร่องพิกุลทอง, แก้มแดง, สามฤดู, อินทรชิต, ตลับนาค, เขียวไข่กา, แฟบ, หนั ง กลางวั น , พิ ม เสนมั น , เจ้ า คุ ณ ทิ พ ย์ , แรด, แก้ ว จุ ก , น้ ำ ดอกไม้ ม ั น , พราหมณ์ขายเมีย, ทองดำ, หัวช้าง, ทองปลายแขน พันธุ์พืชที่พบจากการสำรวจ เขียวเสวย, น้ำดอกไม้, ยายกล่ำ, อกร่องเขียว, อกร่องพิกุลทอง, แก้มแดง, สามฤดู, อินทรชิต, ตลับนาค, เขียวไข่กา, แฟบ, หนังกลางวัน, พิมเสนมัน, เจ้าคุณทิพย์, เขียวเสวย, แรด, แก้วจุก, น้ำดอกไม้มนั , พราหมณ์ขายเมีย, ทองดำ สถานะ พันธุ์ที่ไม่ใช่พันธุ์การค้าในปัจจุบันส่วนใหญ่ใกล้สูญพันธุ์ และบางพันธุ์ได้ สูญพันธุไ์ ปแล้ว

ชือ่ ผลไม้ มะพลับ พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ พบ สถานะ ใกล้สญ ู พันธุ์ ชือ่ ผลไม้ มะพูด พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ พบ สถานะ ใกล้สญ ู พันธุ์ ชื่อผลไม้ มะพร้าว พันธุท์ ม่ี อี ยูด่ ง้ั เดิมและพันธุเ์ ฉพาะถิน่ เจ้าคุณวัดใหม่

278


พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ พบ สถานะ ใกล้สญ ู พันธุ์ ชือ่ ผลไม้ มะขวิด พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ พบ สถานะ ใกล้สญ ู พันธุ์ ชือ่ ผลไม้ มะตูม พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ พบ สถานะ ใกล้สญ ู พันธุ์ ชื่อผลไม้ กานพลู พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ ไม่พบ สถานะ สูญพันธุ์ ชือ่ ผลไม้ จันทร์เทศ พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ ไม่พบ สถานะ สูญพันธุ์ ชื่อผลไม้ ลางสาด พันธุพ์ ชื ทีพ่ บจากการสำรวจ ไม่พบ สถานะ สูญพันธุ์ หมายเหตุ: สูญพันธุ์ หมายถึงไม่พบในจังหวัดนนทบุรแี ล้ว

279


บรรณานุกรม กิตติพงศ์ ตรีตรุยานนท์ และคณะ. (2549). การสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลาย ทางชีวภาพของระบบนิเวศเกษตร พืน้ ทีจ่ งั หวัดนนทบุร.ี สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ . อัดสำเนา. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2536). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุร.ี กรุงเทพมหานคร : มติชน. ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริสเบเคอร์. (2539). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. เชียงใหม่ : ตรัสวิน. เฟรเดอริก อาเธอร์ นีล. (2525). ชีวติ ความเป็นอยูใ่ นกรุงสยามในทัศนของชาวต่างประเทศ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๓๘๕. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร. ภาสกรวงศ์, เจ้าพระยา. (2515). เรือ่ งสวน. กรุงเทพมหานคร : คลังวิทยา. แม็กซ์เวล ซอมเมอร์วลิ ล์. (2544). สยามริมฝัง่ เจ้าพระยา. (ศุกลรัตน์ ธาราศักดิ,์ ผูแ้ ปล). กรุงเทพมหานคร : กองวรรณกรมและประวัตศิ าสตร์ กรมศิลปากร. ศรีศกั ร วัลลิโภดม. (2534). สยามประเทศ. กรุงเทพมหานคร : มติชน. สมิธ, เฮอร์เบิรท์ วาริงตัน. (2544). ห้าปีในสยาม เล่ม 1. (เสาวลักษณ์ กีชานนท์, ผูแ้ ปล). กรุงเทพมหานคร : กองวรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์ กรมศิลปากร. สุ ดารา สุ จ ฉายา, บรรณาธิ ก าร. (2543). เพื ่อ ความเข้ า ใจในแผ่ น ดิ น : ธนบุร ี. กรุงเทพมหานคร : สารคดี. อมฤต สุวรรณเกต. (2540). ลมหายใจเฮือกสุดท้ายของ. ทุเรียนนนท์. Advance Thailand Geographic. ปีที่ 2(23), น. 109-118.

ขอขอบคุณ ชวน ชูจนั ทร์ มานพ สมจิตร กิตติพงศ์ ตรีตรุยานนท์ ประยงค์-ก้าน ลักษณิยานนท์

280


ภาคผนวก

281


ความเป็นมาของชมรมนักข่าวสิง่ แวดล้อม ในช่วงปี 2536 เป็นต้นมา สือ่ ต่างๆ ให้ความสนใจในข่าวสิง่ แวดล้อมมากขึน้ โดยสื่อแต่ละแห่งมีทีมข่าวสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเฉพาะ และมีพื้นที่ค่อนข่างแน่นอน และข่าวสิง่ แวดล้อมมีบทบาทค่อนข้างมากในยุคนัน้ จึงเกิดแนวคิดว่า การทำข่าว สิง่ แวดล้อมควรมีการร่วมมือกันระหว่างสือ่ มวลชนด้วยกันเอง เพือ่ ให้ขา่ วได้รบั การ นำเสนออย่างหลากหลาย และสามารถผลักดันให้เกิดผลกระทบต่อสังคมจริง เพือ่ ให้เกิดความตระหนักและการป้องกันแก้ไขปัญหาสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ ยังเป็นการ เสริมศักยภาพของนักข่าวสิ่งแวดล้อมให้สามารถทำข่าวสิ่งแวดล้อมได้ลึกซึ้ง และ รอบด้านมากขึน้ ปี 2537 สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันเป็นสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย) จึงได้เป็นตัวกลางประสานงานกับผู้สื่อข่าว สายสิง่ แวดล้อมในสือ่ ต่าง ๆ เพือ่ หาแนวทางจัดตัง้ เครือข่ายผูส้ อ่ื ข่าวสายสิง่ แวดล้อม โดยมีองค์กร PACT (PRIVATE AGENCY COLLABORATION IN THAILAND) จากต่างประเทศสนับสนุนงบประมาณ วั น ที ่ 4 – 6 พฤศจิ ก ายน 2537 สมาคมนั ก ข่ า วแห่ ง ประเทศไทย จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับนักข่าวสิ่งแวดล้อม ที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์หลักสองประการคือ เพื่อเพิ่มพูนทักษะการทำข่าวสิ่งแวดล้อม แก่ผู้สื่อข่าวสายสิ่งแวดล้อมและผู้สื่อข่าวสายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นในการมีเครือข่ายนักข่าวสายสิง่ แวดล้อม การประชุมระดมความคิดเห็นในเรือ่ งการก่อตัง้ องค์กรของนักข่าวสิง่ แวดล้อม ในครัง้ นัน้ สามารถสรุปถึงความจำเป็นในการรวมตัวเป็นเครือข่ายนักข่าวสิง่ แวดล้อม ว่าจะมีประโยชน์ดงั ต่อไปนี้ 1. เพื่อช่วยเหลือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน เนื่องจากทุกคน ยอมรับว่าการทำข่าวสิง่ แวดล้อม มีความซับซ้อนกว่าข่าวประเภทอืน่ ๆ โดยเฉพาะการมี ข้อมูลทางวิชาการเข้ามาเกีย่ วข้อง และความรูค้ วามเข้าใจในข่าวสายอืน่ ๆ โดยเฉพาะ การเมืองและเศรษฐกิจเข้ามาเกีย่ วข้อง

282


2. เพื่อให้ข่าวสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจจากบรรณาธิการผู้ตัดสินใจ เลือกข่าวมากขึ้น ทั้งนี้เพราะหากช่วยกันเสนอข่าวที่เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม มากๆ ในสือ่ ทีห่ ลากหลาย ข่าวสิง่ แวดล้อมจะได้รบั ความสนใจมากขึน้ 3. การรวมตั ว กั น เป็ น กลุ ่ ม น่ า จะทำให้ เ พิ ่ ม ศั ก ยภาพในการเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล และแหล่งข่าวได้ดีขึ้น 4. เพื่อเป็นเวทีกลางให้ผู้สื่อข่าวสายสิ่งแวดล้อม ได้มาแลกเปลี่ยนความคิด เห็นในประเด็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การคิดประเด็น ข่าวใหม่ๆ 5. เพื ่ อ ให้ เ ป็ น เวที ก ลางในการติ ด ต่ อ กั บ แหล่ ง ข่ า ว โดยเฉพาะในด้ า น การให้ขอ้ มูลความรู้ เพือ่ เสริมความเข้าใจในข่าวทีก่ ำลังอยูใ่ นความสนใจ หลังจากนั้น จึงเริ่มมีกิจกรรมต่างๆ ทั้งการประชุม เสวนา สัมมนา โดยมี แกนนำจัดตัง้ ชมรมนักข่าวสิง่ แวดล้อมเป็นผูด้ ำเนินการ เช่น จัดเสวนาเรือ่ งนโยบาย สิง่ แวดล้อมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 การอภิปรายเกีย่ วกับ โครงการแก่งเสือเต้น ฯลฯ วันที่ 8 มีนาคม 2538 ได้มกี ารประชุมประเมินผลการทำงานของชมรมฯ ในรอบ หนึ่งปี รวมทั้งกำหนดทิศทางในการดำเนินกิจกรรมในปีต่อไป ที่ประชุมตกลงตั้ง คณะกรรมการประสานงานกิจกรรมชั่วคราว ทำหน้าที่กำหนดแผนการดำเนินงาน กิจกรรมและงบประมาณ เพือ่ นำเสนอต่อทีป่ ระชุมใหญ่ของสมาชิกชมรมฯ ต่อมาคณะกรรมการประสานงานกิจกรรมชัว่ คราว จัดการประชุมใหญ่สมั มนา การประจำปีของชมรมฯ เมื่อวันที่ 27- 29 เมษายน 2539 ณ อุทยานแห่งชาติ เขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ ในลักษณะประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร โดยมีวตั ถุ ประสงค์เพื่อทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาของชมรมฯและกำหนดเป้าหมาย การทำงานของชมรมอีกครั้ง การสัมมนาดังกล่าวสรุปได้ว่า ให้ชมรมดำเนินการ ต่อไปตามวัตถุประสงค์เดิม และให้มคี ณะกรรมการประสานงานของชมรม คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้จัดกิจกรรมเสวนา เพื่อเป็นเวทีให้ผู้สื่อข่าว

283


สิง่ แวดล้อมได้มโี อกาสแลกเปลีย่ นกับแหล่งข่าวหลายครัง้ ด้วยกัน เช่น เรือ่ งองค์การ ค้ า โลกกับ สิ ่งแวดล้อ ม เรื ่อ งการสำรวจและผลิ ตก๊าซธรรมชาติ ก ั บ ผลกระทบ ต่อสิง่ แวดล้อม เรือ่ งการส่งเสริมอุตสาหกรรมกับฐานทรัพยากรไทย และการเปิดเวทีให้ ผู้แทนพรรคการเมืองมาแถลงนโยบายสิ่งแวดล้อมก่อนการลงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 เป็นต้น อย่างไรก็ตามในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ข่าวสิง่ แวดล้อมและนักข่าวสิง่ แวดล้อม ต้องประสบปัญหาการลดพื้นที่และต้นทุนในการทำข่าว ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ก็ได้รบั ความกระทบกระเทือนในแง่ของการเข้ามามีสว่ นร่วมของสมาชิก แต่กย็ งั คง ดำเนินงานเรือ่ ยมา ต่อมาในปี 2540 ที่ประชุมใหญ่ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ได้เชิญนายวสันต์ เตชะวงศ์ธรรม บรรณาธิการข่าวสิง่ แวดล้อมและชุมชนเมือง หนังสือพิมพ์บางกอก โพสต์เป็นประธาน และมีกรรมการจากสือ่ ต่างๆ อีก 6 คน มีนกั วิชาการและนักข่าว อาวุโสในระดับบรรณาธิการเป็นที่ปรึกษาอีก 6 คน ดำเนินกิจกรรมของชมรม ตามวัตถุประสงค์ในการพยามเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสิ่งแวดล้อม เสริมศักยภาพ นักข่าวสิง่ แวดล้อม และสร้างเครือข่ายให้กว้างขวางมากขึน้ โดยได้รอ้ื ฟืน้ โครงการ จัดทำจุลสารพิราบเขียว ซึ่งเป็นจุลสารเผยแพร่ข่าวสารสิ่งแวดล้อมขึ้นมาใหม่ ให้สามารถตีพิมพ์ได้ทุกเดือน และได้เริ่มดำเนินโครงการจัดทำหนังสือ “เมื่อปลา จะกิ น ดาว” ซึ ่ ง เป็ น รายงานสถานการณ์ ส ิ ่ ง แวดล้ อ มประจำปี โดยได้ ร ั บ การ สนับสนุนจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อมต่อเนือ่ งมาทุกปี รวมทัง้ ยังคงดำเนิน กิจกรรมเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง คือจัดเวทีสัมมนาเพื่อให้นักข่าวสามารถเข้าถึง แหล่งข่าวและข้อมูล เมือ่ เกิดปัญหาสิง่ แวดล้อมสำคัญๆ ขึน้ การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2546 ทีอ่ ทุ ยานแห่งชาติแม่ฝาง จ. เชียงใหม่ คณะกรรมการได้เชิญนายวันชัย ตันติวทิ ยาพิทกั ษ์ บรรณาธิการบริหารหนังสือสารคดี ขึ ้ น เป็ น ประธานแทนนายวสั น ต์ เตชะวงศ์ ธ รรมที ่ ห มดวาระลง พร้ อ มเลื อ ก คณะกรรมการและที่ปรึกษาชุดใหม่ โดยเน้นนโยบายที่การเสริมศักยภาพนักข่าว

284


สิง่ แวดล้อมให้สามารถรายงานข่าวเชิงสืบสวนได้มากขึน้ และเน้นการสร้างเครือข่าย นั ก ข่ า วให้ ข ยายวงกว้ า งขึ ้ น ไปยั ง นั ก ข่ า วในภู ม ิ ภ าคและนิ ส ิ ต นั ก ศึ ก ษาในสาย สือ่ สารมวลชน ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ยังคงจัดการประชุมใหญ่ในหมูส่ มาชิกเป็นประจำทุกปี

285


ชมรมนักข่าวสิง่ แวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย Thai Society of Environmental Journalists Thai Journalists Association 538/ 1 ถนนสามเสน เขตดุสติ กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 0-2243-8739 โทรสาร 0-2668-7740 E-mail: thaisej@yahoo.com คณะกรรมการบริหาร 1. นายวันชัย ตันติวทิ ยาพิทกั ษ์ 2. นางสาวจิตติมา บ้านสร้าง 3. นายเอมพงศ์ บุญญานุพงศ์ 4. นางสาวสุพตั รา ศรีปจั ฉิม 5. นางสาวกุลธิดา สามะพุทธิ 6. นางสาวชุติมา นุน่ มัน 7. นางสาวจันทร์จิรา พงษ์ราย 8. นางสาวอัญชลี คงกรุต 9. นางสาวบุษกร อังคณิต 10. นายปิยะ วงศ์ไพศาล คณะกรรมการทีป่ รึกษา 1. ผศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี

นิตยสารสารคดี สถานีโทรทัศน์ไอทีวี นสพ. ข่าวสด นิตยสารโลกสีเขียว นสพ. บางกอกโพสต์ นสพ. มติชน นสพ. กรุงเทพธุรกิจ นสพ. บางกอกโพสต์ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี นสพ. ก้าวหน้า จ. ราชบุรี

ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

คณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2. นายรุจน์ โกมลบุตร คณะวารสารศาสตร์และสือ่ สารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3. นายวสันต์ เตชะวงศ์ธรรม สำนักพิมพ์ทางช้างเผือก 4. นายกิตติ สิงหาปัด สถานีโทรทัศน์ไอทีวี 5. นายภัทระ คำพิทกั ษ์ นสพ. โพสต์ทเู ดย์ 6. นายชวรงค์ ลิมป์ปทั มปาณี นสพ. ไทยรัฐ 7. น.สพ.รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 8. นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง อิคอนนิวส์

286


รายนามผูเ้ ขียน และผูเ้ ชีย่ วชาญทีร่ ว่ มวิจารณ์และเสนอแนะ น้ำแข็งละลาย...ปฐมบทจากผลกระทบโลกร้อน ผูเ้ ขียน จิตติมา บ้านสร้าง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ผูว้ จิ ารณ์ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเครือข่าย วิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (Southeast Asia START Regional Centre) ความมัน่ คงทางอาหารกับสภาพภูมอิ ากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลง ภัยใหม่ทต่ี อ้ งรับมือ ผูเ้ ขียน ปองพล สารสมัคร กัดเซาะชายฝัง่ เมือ่ ทะเลจะกลืนแผ่นดิน ผูเ้ ขียน บุษกร อังคณิต สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ผู้วิจารณ์ รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรคอุบตั ใิ หม่-โรคอุบตั ซิ ำ้ มหันตภัยร้ายยิง่ กว่าทีค่ ดิ ผูเ้ ขียน น.รินี เรืองหนู หนังสือพิมพ์มติชน ผูว้ จิ ารณ์ รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผูอ้ ำนวยการศูนย์พนั ธุวศิ วกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บทสุดท้าย...ทะเลสาบสงขลา ผูเ้ ขียน แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา สำนักพิมพ์ทางช้างเผือก ผู ้ ว ิ จ ารณ์ ผศ.ดร.กั ม ปนาท ภั ก ดี ก ุ ล อาจารย์ ป ระจำคณะสิ ่ ง แวดล้ อ มและ ทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

287


สงคราม...ลุม่ น้ำแห่งความหวัง ผูเ้ ขียน นลินี เสนะรัตน์ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ผูว้ จิ ารณ์ ไชยณรงค์ เศรษฐเชือ้ ทีป่ รึกษาด้านวิถชี วี ติ ลุม่ น้ำโขง (งานวิจยั ไทบ้าน) โครงการอนุรกั ษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพลุม่ น้ำโขง (MWBP) แก่งคอยในวันสำลักมลพิษ ผูเ้ ขียน เกษา นิม่ ระหงษ์ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ผูว้ จิ ารณ์ สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์ นักเขียนอิสระ กรรมการกลุม่ ศึกษาและรณรงค์ มลภาวะอุตสาหกรรม และอนุกรรมการชุดนโยบายพลังงานและอุตสาหกรรม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สินค้าไทยเกรดเอ คุณภาพชีวติ แรงงานไทยเกรดเลว ผูเ้ ขียน กุลธิดา สามะพุทธิ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต ผูว้ จิ ารณ์ จรรยา ยิม้ ประเสริฐ เจ้าหน้าที่ Thai Labour Campaign สองปีแห่งการประกาศใช้กฎหมายจัดรูปทีด่ นิ ผูเ้ ขียน สุรชั อินทองปาน Panorama World Media ผูว้ จิ ารณ์ อิทธิพงศ์ ตันมณี นักผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง “สวนดูซน” วิถมี สุ ลิมในมรสุมการเปลีย่ นแปลง ผูเ้ ขียน สุพตั รา ศรีปจั ฉิม นิตยสารโลกสีเขียว ผูว้ จิ ารณ์ มะดามิง อารียู กรรมการผูน้ ำชุมชนแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผลไม้บา้ นสวนฝัง่ ธน-นนทบุรี ของดีทใ่ี กล้สญ ู พันธุ์ ผูเ้ ขียน เกษร สิทธิหนิว้ นิตยสารสารคดี ผูว้ จิ ารณ์ สุดารา สุจฉายา เจ้าหน้าทีม่ ลู นิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์

288


1


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.