จดหมายข่าว ฟ้าสวย น้ำใส ฉบับเดือนสิงหาคม ๕๔

Page 1

ฟ้าสวย น้ำใส จ ดหมายข่ า วกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภ า พ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ปี ที่ 7 ฉบั บ ที่ 6 ป ร ะ จ ำ เ ดื อ น สิ ง ห า ค ม 2 5 5 4

จดหมายข่าวที่ทุกคนช่วยกันส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ เพียงคุณสมัครเป็นสมาชิกและร่วมแสดงความคิดเห็น

ลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับการเข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 22 ณ ประเทศสวีเดน

ร่วมสนุกชิงรางวัล

3 ท่านรับ... กระเป๋าใบสวยรักษ์สงิ่ แวดล้อมสำหรับผูโ้ ชคดี ลูกเสืออนุรกั ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อม

กับการเข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 22 ณ ประเทศสวีเดน

คอลัมน์ : ต้นคิด

หน้า 3

Once upon a time…

นิทานสะกิดใจ คืนรอยยิ้มให้โลกใบนี้ คอลัมน์ : ระบำผีเสื้อ

หน้า 5

ท่องเทีย่ วสีเขียว กับการอนุรกั ษ์ คอลัมน์ : ฟ้ากว้าง

หน้า 6

New way for the new world …

ทางเลือกใหม่ พืชพลังงาน สุดคุ้มค่าของไทย คอลัมน์ : รอบรู้คู่โลก

หน้า 7

ต้อนรับรัฐมนตรีวา่ การกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม คนที่ 7 ต้อนรับนายนิพนธ์ โชติบาล รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม อังกฤษเฮ! ลดถุงพลาสติกช่วยโลกได้เกินคาด Clear Out Plastic, save the world… คอลัมน์ : หมุนตามฟ้า

หน้า 7

การประชุมสัมมนา “ครึ่งทางแผนหลักสิ่งแวดล้อม ศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” คอลัมน์ : ใต้ตะวัน

หน้า 8

สนใจสมั ค รฟรี หรื อ แสดงความคิ ด เห็ น ได้ ที่ ส่ ว นสื่ อ สารสิ่ ง แวดล้ อ ม กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม หรื อ e-mail : pr@deqp.mail.go.th


คอลัมน์

...เปิดฟ้า

season change…

ปฏิทินกิจกรรมฟ้าสวยน้ำใส

เมื่อถึงเวลาที่ฤดูที่คุ้นเคยเปลี่ยนหายไป ชีวิตเราจะเปลี่ยน และโลกจะหาย ตามฤดูไปหรือไม่ คำถามนี้อาจถูกตั้งไว้เพื่อรอคำตอบอยู่บ่อยครั้งในช่วงหลายปีหลัง มานี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมากมายของโลก และคำตอบที่ได้รับมาจากคน ส่วนใหญ่ ถึงแม้จะเป็นอะไรที่ไม่ชัดเจนนักแต่ก็มักจะตามมาด้วยคำปลอบใจว่า เราจะสามารถรั ก ษาความสวยงามของสิ่ ง มี ชี วิ ต และโลกใบนี้ ไ ว้ ไ ด้ อ ย่ า ง แน่นอนแค่เพียงเราตระหนักถึงภาวะโลกร้อนอย่างแท้จริง

ซึ่งถึงแม้คำตอบเหล่านั้นจะทำให้เรารู้สึกดีมีความหวัง แต่บ่อยครั้งความจริงที่ พบเห็นอยู่รอบตัวทั่วไปในปัจจุบันก็ทำให้เราอดหดหู่สะเทือนใจไม่ได้ โดยเฉพาะกับ เรื่องใกล้ๆ ตัว อย่างในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้ ช่วงเวลาของปีที่ใครๆ ต่างก็คุ้นเคย กับความเย็นฉ่ำจากสายฝน ที่ถึงแม้คนบางกลุ่มอาจได้รับผลกระทบจากอุทกภัยบ้าง อย่างที่คุ้นเคยอยู่ทุกปี แต่การมาของน้ำก็ไม่ได้หมายถึงการทำลายสร้างความเสียหาย เสมอไป เพราะถึงแม้น้ำที่พัดมาจะทำลายพืชเกษตรและพื้นที่การเพาะปลูกไป แต่ใน ทางกลับกันสายน้ำก็มักนำพามาซึ่งกุ้งหอยปูปลาแหล่งอาหารใหม่ๆ ให้ผู้คนได้มีอาชีพ และทรัพยากรอื่นมาทดแทน จริ ง อยู่ ที่ ก ารพยายามแก้ ไ ขปั ญ หานั้ น เป็ น ทางออกที่ ดู เ หมื อ นจะสดใสและ เหมาะสม แต่จะว่าไปแล้ววิถีชีวิตที่คุ้นเคยกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต่างหากที่ สำคัญที่สุด ซึ่งถึงแม้ความเคยชินเหล่านี้อาจจะดูเหมือนเป็นภัย แต่ในภัยเหล่านั้นก็มีโอกาส ซ่ อ นอยู่ เ ช่ น กั น … ในทางกลั บ กั น หากเราสั ก แต่ จ ะแก้ ปั ญ หาที่ ป ลายเหตุ แ บบไม่ รอบคอบ สิ่งเหล่านั้นอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่ไม่อาจหวนกลับก็ เป็นได้ เหมือนกับช่วงสิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่เกิดภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงจาก หน้าฝนกลายเป็นหน้าร้อนฉับพลันเป็นต้น ถึงแม้ข้อเท็จจริงของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ยังไม่แน่ชัดนัก แต่การแปรปรวน ทางฤดูกาลในช่วงปีที่ผ่านมา อาจเป็นคำตอบให้เราได้อย่าง หนึ่งว่า การรักษ์โลกที่เราเพียรพยายามสรรหาวิธีปกป้อง อย่ า งในทุ ก วั น นี้ อาจจะยั ง ไม่ เ พี ย งพอสำหรั บ การ ชะลอภาวะโลกร้อน เพื่อ ช่วยให้ดาวเคราะห์ดวงนี้ สวยงามไปได้ น านพอ อย่างที่เราเคยหวัง ร่วมสนุกชิงรางวัล เพียงติดตามคอลัมน์และข่าวสารในวารสาร ฟ้าสวย น้ำใส และส่งคำตอบมาว่า….

"แนวคิดของการท่องเที่ยวที่ช่วยลดโลกร้อน คืออะไร" กระเป๋าใบสวย รักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับผู้โชคดี 3 ท่าน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลกร่วมกับเราตอบกลับลงไปรษณียบัตร พร้อมแนบชื่อที่อยู่มาได้ท ี่

กองบรรณาธิการฟ้าสวยน้ำใส จดหมายข่าวกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เลขที่ 49 พระราม 6 ซอย 30 พญาไท กทม. 10400 2

เดือนกันยายน 54 1 - 2 ก.ย. 54

โครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนผลงานทำดีเพื่อแผ่นดิน ชุมชน ปลอดขยะ (Zero Waste) เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา 84 ชุมชน ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี 6 ก.ย. 54 โครงการศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำในภาคอุตสาหกรรม เพื่อ ประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพที่เกิดจากการนำเทคโนโลยี นำน้ำกลับมาใช้ใหม่ จ.พระนครศรีอยุธยา 6 - 7 ก.ย. 54 งานเปิดตัว “ชุดคู่มือศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ศูนย์ศกึ ษาการพัฒนาห้วยทราย ถึงอุทยานสิง่ แวดล้อมนานาชาติ สิรินธร” ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จ.เพชรบุรี 7 - 9 ก.ย. 54 การประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร สรุ ป บทเรี ย นการขั บ เคลื่ อ น ยุทธศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในภูมินิเวศลุ่มน้ำ 13 - 14 ก.ย. 54 กิจกรรมรณรงค์และพัฒนาความร่วมมือในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จ.พัทลุง 19 - 20 ก.ย. 54 สัมมนาติดตามผลการดำเนินโครงการมหิงสาสายสืบและ พิธีมอบ “รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ” ประจำปี 2553 ใน วันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2554 ณ สยามพาร์คซิตี้ (สวนสยาม) กรุงเทพฯ 22 - 23 ก.ย. 54 โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการดำเนินงาน ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ณ แหล่งสมาคมนายทหาร กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ กรุงเทพมหานคร 24 ก.ย. 54 พิธีมอบรางวัลมัสยิดที่ผ่านเกณฑ์การประเมินการจัดการด้าน สิ่งแวดล้อม ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ มัสยิด อะมะดียะห์ จ.พระนครศรีอยุธยา

ฟ้ า สวย น้ ำ ใส ปี ที่ 7 ฉบั บ ที่ 6 ประจำเดื อ นสิ ง หาคม 2554


คอลัมน์

...ต้นคิด

ลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับการเข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 22 ณ ประเทศสวีเดน เรื่อง... ดำรงศักดิ์ จันทร์วิไล นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ภาพ... สมมาต สังขพันธ์

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา สำนักกิจการเยาวชนและลูกเสือ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ น ำคณะลู ก เสื อ อนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม รวม 6 คน ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของคณะลูกเสือ ไทยเข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 22 (22nd World Scout Jamborec, 2011) ซึ่งจัดขึ้น ณ ค่ายลูกเสือชั่วคราวทุ่งริงกาบี้ (Rinkaby) เมืองคริสเตยี นแสตด (Kristainstad) ประเทศสวีเดน (Sweden) โดยมีคณะลูกเสือไทยประกอบด้วย ลูกเสือ - เนตรนารีสามัญ รุ่นใหญ่ และลูกเสือพิการทางสายตา จำนวน 6 คน รวม 97 คน ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ จำนวน 35 คน และอาสาสมัครลูกเสือ (ISTInternational Service Team) จำนวน 30 คน เข้าร่วมกิจกรรม งานชุมนุมลูกเสือโลกในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ ความคิดเห็น ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และเพิม่ พูน ทักษะทางการลูกเสือ กับลูกเสือต่างประเทศทั่วโลกจำนวนไม่น้อย กว่า 29,000 คน จาก 161 ประเทศที่เป็นสมาชิกลูกเสือโลก

“Simply Scouting” เป็นคำขวัญของการจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 22 ที่เน้นกระบวนการทางลูกเสือแบบเรียบง่าย โดยยึดแนวปฏิบัติ ตามวิธีการของลูกเสือ (Scout Method) เป็นหลักสำคัญ ไม่มีอะไรมาก ไปหรือน้อยเกินไป เพื่อให้ลูกเสือที่มาเข้าร่วมชุมนุม ได้ตระหนักในคุณค่า ของลูกเสือในทุกกิจกรรมของงานชุมนุม ได้เรียนรู้ สนุกสนาน และความ ท้าทาย เกี่ยวกับเรื่องศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาชุมชน การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม โลกาภิวัตน์ สุขภาพอนามัย และการสร้างสันติภาพเพื่อ จรรโลงโลกให้ดีขึ้น การจัดงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งนี้ ประเทศเจ้าภาพได้ใช้สถานที่ ทุ่งริงกาบี้ (Rinkaby) ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์สลับป่าสนอยู่ห่างจากเมือง คริสเตียนแสตด ประมาณ 16 กิโลเมตร ทางตอนใต้ของราชอาณาจักร สวีเดน โดยจัดสถานที่สำหรับตั้งแคมป์พักแรมแบ่งออกเป็น 4 ค่ายย่อย (Towns) ประกอบด้วย ค่าย Summer ค่าย Autumn ค่าย Winter และ ค่าย Spring ซึ่งแต่ละค่ายย่อยจะมีแคมป์พักแรมของลูกเสือต่างชาติ ประมาณ 30 - 40 ประเทศ รวมทั้งคณะลูกเสือไทย จำนวนทั้งสิ้น 162 คน ตั้งแคมป์พักแรมใน 4 ค่ายย่อย ค่ายละประมาณ 40 คน จดหมายข่ า วกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม

ในช่วงระยะเวลา 12 วัน ของงานชุมนุมลูกเสือโลกประเทศเจ้าภาพ ได้จดั ให้มกี จิ กรรมต่างๆ มากมายให้ลกู เสือได้เข้าร่วมใน 5 ส่วน ประกอบด้วย Subcamp Life, Modules Activities, Common Areas, Area Events และ Camp in Camp สำหรับในส่วนของกิจกรรมหลัก (Modules Activities) ได้แก่ • Global Development Village เป็นกิจกรรมที่มุ่งสร้างความ เข้าใจหลักการสิ่งแวดล้อม think globally, act loeally ซึ่งผู้เข้าร่วมจะได้ เรียนรู้ประเด็นปัญหาระดับโลกร่วมกัน ในเรื่องสันติภาพ สุขภาพอนามัย สิทธิมนุษยชน การทำงานร่วมกัน การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความ ยั่งยืน ข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสาร • Dream เป็นกิจกรรมที่สื่อให้มองถึงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ชีวิตของบุคคลต่างๆ • Quest เป็นกิจกรรมที่ให้ลูกเสือได้เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติด้วย ประสบการณ์ตรง เช่น การเดินป่า การสำรวจถ้ำ การสำรวจทะเล เป็นต้น • People เป็นกิจกรรมที่เน้นมิตรภาพและการสร้างความเป็น มิตรระหว่างลูกเสือด้วยกัน • Earth เป็นกิจกรรมที่เน้นความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโลก สำหรับคณะลูกเสือไทยได้เตรียมสิ่งต่างๆ ที่จะนำไปเผยแพร่ แลกเปลี่ ย นกั บ ลู ก เสื อ ต่ า งประเทศหลายเรื่ อ ง เช่ น การแสดงศิ ล ป วัฒนธรรมไทย การรำกลองยาว การรำไทย ศิลปะมวยไทย การแสดง ของลูกเสือพิการทางสายตา เช่น การร้องเพลง การนวดแผนไทย การ เย็บปักถักร้อย การทำอาหารไทยต้อนรับการมาเยี่ยมเยียนแคมป์ลูกเสือ ไทยของลู ก เสื อ ต่ า งประเทศ อี ก ทั้ ง ผู้ แ ทนลู ก เสื อ อนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากร ธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม (Green Scout) ได้ น ำโครงการลู ก เสื อ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Green Scout Project) ของประเทศไทยไปเผยแพร่ โดยมีเอกสาร Thailand Green Scouts ไป แจกในงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งนี้ พร้อมของที่ระลึกแบดจ์และเข็มกลัด Thailand Green Scouts เป็นที่น่ายินดีของคณะลูกเสือไทยที่เอกอัครราชทูตไทยประจำ ราชอาณาจักรสวีเดน ได้นำอาหารไทยมาเลี้ยงคณะลูกเสือไทยในค่าย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 และที่น่าปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งคือการ ที่ ก ษั ต ริ ย์ ส วี เ ดน สมเด็ จ พระราชาธิ บ ดี คาร์ ล ที่ 16 กุ ส ตาฟ แห่ ง ราชอาณาจักรสวีเดน และสมเด็จพระราชินีซิลเวีย ได้เสด็จมาเยี่ยมแคมป์ ลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2554 และได้เสด็จร่วมพิธีปิดงานชุมนุม ลูกเสือโลกครั้งที่ 22 ในวันที่ 6 สิงหาคม 2554 เวลา 21.00 น.

3


คอลัมน์

...ใบไม้ไหว

ถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และต้อนรับ รมว.ทส. เมื่อวันแม่แห่งชาติ วันที่ 12 สิงหาคม ที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะผู้บริหารระดับสูง รวมทั้ง นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ อธิบดี กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมให้การต้อนรับและมอบกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดีกับนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนที่ 7 และในวันเดียวกันนี้ คณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด ไปร่วมลงนาม ถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระบรมมหาราชวัง หนึง่ ปีระลึก คนต้นแบบ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 เป็นวันครบรอบ 1 ปี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สูญเสีย นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในระหว่างปฏิบัติภารกิจ เพื่อเป็นการรำลึกถึง คุณงามความดีในการเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ ในการนี้ กระทรวงฯ จึงได้จัดงาน รำลึก โดยนายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุมศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ชั้น 2 อาคารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมมอบ โล่และใบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้มีส่วนร่วมในการค้นหาและกู้ซากเฮลิคอปเตอร์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน อีกด้วย ร่วมมือสร้างสรรค์ ร่วมแรงลดมลพิษ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์และกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีโอกาสร่วมมือกันสร้างสรรค์ สิ่งดีๆ ขึ้นด้วยการลงนามข้อตกลงและแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือ การส่งเสริมการดำเนิน งานการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อมุ่งสู่ชุมชนปลอดขยะ หรือ Zero Waste เพื่อส่งเสริมการบูรณาการแนวทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง 2 หน่วยงาน และเพื่อเพิ่ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการปฏิ บั ติ ง านด้ า นการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มใน อนาคตให้ดียิ่งขึ้น เปิดกรอบสร้างสรรค์ เพื่อวันโลกสวย เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ที่ผ่านมา นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัลแก่ ผู้ชนะเลิศในโครงการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้และโครงการประกวดธนาคารขยะ รีไซเคิล ประจำปี 2554 ระดับกรุงเทพมหานคร ที่เป็นความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการนำวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ พัฒนาแนวความคิดและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งภายในงานมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้นกว่า 48 ชิ้นทีเดียว การประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการเครือข่าย ทสม. ระดับประเทศ ส่วน ทสม. โดยสำนักอาสาสมัครและเครือข่าย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ดำเนิน การประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการเครือข่าย ทสม. ระดับประเทศ ครั้งที่ 1/2554 ขึ้น ณ โรงแรมไมด้าซิตี้ รีสอร์ท กรุงเทพฯ โดยมีนายวีรวัฒน์ ปภุสสโร ผอ.สำนักอาสาสมัครแล เครือข่าย เป็นประธานในพิธีการเปิดการประชุม ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นการพัฒนาศักยภาพและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ทสม. ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งหารือเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมวัน ทสม. แห่งชาติ ประจำปี 2554 ในวันที่ 4 ธันวาคม 2554 และประชุมชี้แจงแนวทางการคัดเลือก คณะกรรมการเครือข่าย ทสม. ในปี 2555 ซึ่งมีประธานเครือข่าย ทสม. ระดับจังหวัด จำนวน 75 คน เข้าร่วมในการประชุมในครั้งนี้ด้วย 4

ฟ้ า สวย น้ ำ ใส ปี ที่ 7 ฉบั บ ที่ 6 ประจำเดื อ นสิ ง หาคม 2554


คอลัมน์

...ใบไม้ไหว

วิถีชาวนาไทยกับการบริโภคที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ที่ผ่านมา นางรัชนี เอมะรุจิ รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องวิถีชาวนาไทยกับการบริโภคที่ยั่งยืน จัดโดย ความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมกับสถาบันฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อม ถอดบทเรียน จากการทำงานสู่การจัดทำแปลงนาสาธิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งภายใน งานมีทั้งการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ตลาดนัดสีเขียว ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวิถีการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นิทรรศการให้ความรู้ และกิจกรรม เกี่ยวข้าวที่ให้ได้ทดลองลงมือจริงอย่างสนุกสนาน ณ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เครือข่ายโรงเรียนสิ่งแวดล้อม จากจังหวัดสู่ระดับประเทศ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา นางรัชนี เอมะรุจิ รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิง ปฏิบัติการ เพื่อเผยแพร่และสร้างเครือข่ายขยายโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน หรือ ECO - School ระดับประเทศ ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 - 26 สิงหาคม ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต เพื่อสร้างเครือข่ายขยายผลโครงการไปสู่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมรับฟังผลการพัฒนาโครงการผ่านประสบการณ์ของโรงเรียนนำร่อง เพื่อให้เกิดการนำ องค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์สร้างความยั่งยืนให้กับงานสิ่งแวดล้อมศึกษาของโรงเรียนได้อย่างยั่งยืน การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การวิจัยกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมเป็นประธานเปิดการสัมมนา เชิงปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการวิจัยกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยทั้งด้านน้ำ อากาศ เสียงและความสั่นสะเทือน สารอันตราย การจัดการของเสียและชีวมวล การวิจัยทางนิเวศเศรษฐศาสตร์และสังคม ตลอดจนการพัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อระดมความคิดเห็น จากทุกภาคส่วน นำไปใช้ในการวางแผน พัฒนา ปรับปรุงดำเนินงานต่อไป คอลัมน์

Once upon a time…

..ระบำผีเสื้อ

นิทานสะกิดใจ คืนรอยยิ้มให้โลกใบนี้ สิ่ ง ที่ ส ำคั ญ ที่ สุ ด ในการแก้ ปั ญ หา สิ่ ง แวดล้ อ มและปั ญ หาสั ง คมในทุ ก วั น นี้ ล้วนอยู่ที่ "จิตสำนึก" ของเราทุกคน และ จะดีแค่ไหน หากเราสามารถปลูกฝังเยาวชน ให้มีจิตสำนึกดีๆ เพื่อโลกและเพื่อสังคมได้

หนังสือ "โลกยิ้ม" คือนิทาน 7 เรื่องสนุก เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ซึ่งสามารถ นำเสนอได้อย่างน่าสนใจในหลากหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชีวิตถุงก๊อบแก๊บใบน้อย ที่ส่งผลร้ายต่อโลกได้อย่างมหาศาล เรื่องของ หมู่บ้านดอกไม้ (ไม่ยอม) บาน ที่สะท้อนปัญหา จดหมายข่ า วกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม

การท่องเที่ยวที่ไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ไปจนถึง การผจญภัยของปูเสฉวนแสนเดียวดาย ที่ต้อง อาศัยกระป๋องแทนเปลือกหอย จากปัญหาการ ไม่อนุรักษ์ดูแลทะเล ทั้ ง หมดนี้ เราเชื่ อ เหลื อ เกิ น ว่ า นิ ท าน เล่มนี้ไม่เพียงแต่จะให้ความสนุก เสริมสร้าง จิ น ตนาการให้ กั บ เด็ ก ๆ เท่ า นั้ น แต่ ห นั ง สื อ นิ ท านเล่ ม นี้ ยั ง อาจช่ ว ยปลู ก จิ ต สำนึ ก ให้ กั บ เยาวชน รวมทั้งสามารถสร้างพลังเล็กๆ ก่อให้ เกิดแรงบันดาลใจ มุมมองใหม่ๆ และแง่คิดดีๆ มากมายแก่ผู้ใหญ่อีกหลายคนได้เช่นกัน

5


คอลัมน์

...ฟ้ากว้าง

ท่องเที่ยวสีเขียว

กับการอนุรักษ์ โดย... นิตยา นักระนาด มิลน์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ

ขณะที่ โ ลกกำลั ง เ ผ ชิ ญ วิ ก ฤ ต ก า ร เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ ส่ ง ผ ล ก ร ะ ท บ ใ ห้ เ กิ ด วิ ก ฤตอาหาร พลั ง งาน และวิกฤตเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะทวีความรุน แรง และแพร่ขยาย ไปยังภูมิภาคต่างๆ หลายประเทศเริ่มมีการรณรงค์เชิงรุกที่จะทำให้ คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคจากเดิมที่มีการใช้ทรัพยากร ในอัตราที่สูงเกินกว่าธรรมชาติจะฟื้นตัวได้ทัน มาเป็นการบริโภคที่ ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลายหน่วยงานของประเทศไทย ได้ผลักดันนโยบายการส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ป้องกัน แก้ ไข และลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก โดยผ่าน กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งแก้ปัญหาความ ขัดแย้งในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ

ในปี 2552 มี จ ำนวนนั ก ท่ อ งเที่ ย วเข้ า มาประเทศไทยมากถึ ง 14,094,630 คน ทำให้ มี ร ายได้ เ ข้ า ประเทศราว 527,000 ล้ า นบาท การท่องเที่ยวสีเขียวเป็นแนวทางหนึ่งที่ขานรับนโยบายการอนุรักษ์พิทักษ์ โลกโดยให้นักท่องเที่ยวปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการท่องเที่ยวจากเดิมที่ มักทำลายสิ่งแวดล้อม เพิ่มปัญหาขยะในพื้นที่ท่องเที่ยว ใช้พลังงานใน กิ จ กรรมการท่ อ งเที่ ย วอย่ า งฟุ่ ม เฟื อ ย ให้ เ ป็ น การท่ อ งเที่ ย วที่ ช่ ว ยลด โลกร้อนตามแนวคิด “คนไทย หัวใจสีเขียว” “ท่องเที่ยวไทย หัวใจใหม่” 6

การท่องเที่ยวสีเขียว คือการท่องเที่ยวที่ยึดหลักการสงวนรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน ไม่ทำลายสมดุลนิเวศในพื้นที่ ท่องเที่ยว ส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งวัฒนธรรม ท้องถิ่นให้คงอยู่ บุคคล 3 กลุ่มที่สามารถมีส่วนร่วมในการผลักดันส่งเสริมการ ท่องเที่ยวสีเขียวคือ กลุ่มนักท่องเที่ยวเอง กลุ่มผู้ประกอบการ และชุมชน ในพื้นที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ศู น ย์ วิ จั ย และฝึ ก อบรมด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพ สิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการวิจัยโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวสีเขียวเพื่อลด การปลดปล่อยคาร์บอน โดยรวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยว จัดทำแนวทาง การปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมการท่ อ งเที่ ย ว พั ฒ นาส่ ง เสริ ม แนวคิ ด การ ท่องเที่ยวสีเขียวในกลุ่มผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งจัดทำ carbon footprint calculator เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ ประเมินการปลดปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มผู้ประกอบ การในแหล่งท่องเที่ยวได้ประเมินการปลดปล่อยคาร์บอนจากการให้บริการ ในแหล่งท่องเที่ยว เมื่อทราบการปลดปล่อยคาร์บอน เราก็สามารถจะใช้ หัวใจอนุรักษ์ ผลักดัน/ปรับเปลี่ยนให้การท่องเที่ยวแบบดั้งเดิมนั้นกลาย เป็นการท่องเที่ยวสีเขียวที่ช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้ การลดวิกฤต โลกร้อนจะไม่สัมฤทธิ์ผลได้เลยหากทุกภาคส่วนแม้เป็นหน่วยงานเล็กๆ ของสังคมเพิกเฉยไม่ร่วมแรงร่วมใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและ การใช้ชีวิตประจำวัน การท่องเที่ยวสีเขียวนอกจากจะช่วยลดโลกร้อนแล้ว ยังช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศ รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ให้คงอยู่ ชุมชนในพื้นที่ท่องเที่ยวเองก็ไม่ต้องรับผลกระทบทางลบจาก การท่องเที่ยว เช่น กรณีขยะล้นเมือง หากผู้ประกอบการได้ประยุกต์ ปรับเปลี่ยนธุรกิจการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวสีเขียว ซึ่งสามารถลด ขยะได้ 3 ใน 4 ส่วน โดยขยะอินทรีย์นำไปทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ ลดการใช้ พลังงาน ลดการใช้น้ำและใช้วัตถุดิบที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ มาช่วยกันส่งเสริมการท่องเที่ยวสีเขียวกันเถอะ เพื่อรักษาโลกใบนี้ ไว้ให้ลูกหลานของเราในอนาคต ฟ้ า สวย น้ ำ ใส ปี ที่ 7 ฉบั บ ที่ 6 ประจำเดื อ นสิ ง หาคม 2554


ต้อนรับรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม คนที่ 7 เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2554 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ พร้อมด้วยผู้บริหารของหน่วยงานในสังกัด ได้ร่วม ต้อนรับนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนที่ 7 นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ที่ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในด้านการศึกษา ท่านจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมโยธา จาก MAPUA INSTITUTE OF TECHNOLOGY ประเทศฟิลิปปินส์ และระดับปริญญาโท ด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย เริ่ ม ต้ น เข้ า สู่ ว งการการเมื อ งโดยการเป็ น สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด เลย สั ง กั ด พรรค สหประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2529 ได้รับการดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ผู้ช่วยรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี หลายกระทรวง และในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทย ต้อนรับนายนิพนธ์ โชติบาล รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2554 นายนิพนธ์ โชติบาล ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (รอง อสส.) ซึ่งว่างลงเนื่องจาก นายบุ ญ ชอบ สุ ท ธมนั ส วงษ์ อดี ต รอง อสส. ซึ่ ง ได้ รั บ คำสั่ ง แต่ ง ตั้ ง ให้ ด ำรงตำแหน่ ง รองอธิบดีกรมป่าไม้ นายนิพนธ์ โชติบาล เข้ารับราชการเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2523 ในตำแหน่ง นักวิชาการป่าไม้ ระดับ 3 และได้รับการเลื่อนตำแหน่งตามลำดับ โดย พ.ศ.2545 ดำรงตำแหน่งบุคลากร 8 (นักบริหารระดับกลาง) ภายใต้สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ.2548 ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 9 (นักบริหารระดับสูง) และ พ.ศ. 2550 ดำรงตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้ 9 ภายใต้กรมอุทยานแห่งชาติฯ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2551 นายนิพนธ์ โชติบาล ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นเวลา 2 ปี 11 เดือน และโอนย้ายมาดำรง ตำแหน่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา

คอลัมน์

...หมุนตามฟ้า

อังกฤษเฮ !

ลดถุงพลาสติกช่วยโลกได้เกินคาด Clear Out Plastic, save the world…

ไม่นานมานีส้ ำนักข่าวไทยรายงานว่า อังกฤษเพิ่งจะเฉลิมฉลองผลงานในการลดปริมาณ การใช้ถุงพลาสติกลงได้ถึง 418 ล้านชิ้น หรือน้อยลง เกือบ 50% เมื่อเทียบกับ 3 ปีก่อน โดยความสำเร็จในโครงการนี้ ทางรัฐบาล อั ง กฤษได้ ใ ห้ ซู เ ปอร์ ม าร์ เ ก็ ต ชั้ น นำขนาดใหญ่ ใ น ลอนดอนจำนวน 7 แห่ ง ร่ ว มลงนามข้ อ ตกลง ตามความสมัครใจ ว่าจะลดการใช้ถุงพลาสติกลง 50% จากปี 2549 และล่าสุดรัฐบาลก็ได้แถลงว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตทั้งหลายสามารถลดจำนวนการใช้ ถุงพลาสติกจาก 870 ล้านถุง เหลือ 452 ล้านถุง หรือลดลงกว่า 48% ซึ่ ง แม้ ว่ า โครงการนี้ จ ะยั ง ไม่ บ รรลุ ต ามข้ อ ตกลงที่ได้ถูกกำหนดไว้ แต่ก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี ที่สามารถช่วยลดการทำร้ายโลกในอนาคตได้อย่าง มหาศาล เพราะเนื่องจากตามที่รู้กันว่า ถุงพลาสติก 1 ใบ นั้ น สามารถอยู่ ไ ด้ น านถึ ง กว่ า 450 ปี โ ดย ไม่ย่อยสลาย ขณะที่ใน 1 ชีวิตของคนเราแต่ละคน จะใช้ถุงพลาสติกในชีวิตประจำวันเฉลี่ยคนละมากถึง 13,000 ใบเลยทีเดียว คอลัมน์

New way for the new world… ทางเลือกใหม่ พืชพลังงานสุดคุ้มค่าของไทย ในสถานการณ์ที่น้ำมันมีแต่จะราคา พุ่งสูงขึ้น แบบในทุกวันนี้ หลายหน่วยงาน ต่ า งก็ พ ยายามค้ น คว้ า หาพลั ง งานอื่ น ที่ ส ามารถนำมาทดแทนน้ ำ มั น ให้ ไ ด้ ซึ่ ง หนึ่ ง ในพลั ง งานทดแทนที่ น่ า สนใจก็ คื อ พลังงานไบโอดีเซลจาก "สบู่ดำ"

สบูด่ ำ เป็นพืชทีม่ แี หล่งกำเนิดในอเมริกา กลาง ก่อนจะมีการนำเข้ามาปลูกในประเทศ ไทยเมื่อราว 300 ปีก่อน เป็นพืชที่ทนต่อความ แห้ ง แล้ ง ได้ ดี สามารถปลู ก ได้ ทุ ก ภาคของ ประเทศไทย และมีประโยชน์มากมายหลาย ด้าน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ กากสบู่ดำ ที่สามารถ ใช้เป็นปุ๋ยและเชื้อเพลิงได้ ส่วนต้นนั้นสามารถ นำมาใช้ทำกระดาษ อีกทั้งใบก็ยังสามารถนำ ไปใช้รักษาโรคได้อีกด้วย

ซึ่ ง นอกเหนื อ จากกาก ใบ และต้ น ตั ว สบู่ ด ำเองยั ง มี ป ริ ม าณน้ ำ มั น เป็ น ส่ ว น ประกอบอีกประมาณร้อยละ 35 ของน้ำหนัก เมล็ด ที่เราสามารถนำน้ำมันจากสบู่ดำเหล่า นั้นมาสกัดนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมัน ดี เ ซล เอาไว้ ใ ช้ ส ำหรั บ เครื่ อ งจั ก รขนาดเล็ ก ทางการเกษตรได้อย่างดี และล่าสุด จากผลการวิจยั ของมหาวิทยาลัย พายัพ นำทีมโดย "ผศ.ดร.กิจจา โตไพบูลย์" อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย พายัพ และคณะผูว้ จิ ยั ชีช้ ดั อีกว่าการปลูกสบูด่ ำ เพื่ อ ใช้ ป ระโยชน์ เ ป็ น พื ช พลั ง งานไบโอดี เ ซล โดยใช้วิธีปลูกในรูปแบบเชิงพอเพียงจะมีความ คุ้มค่า และมีประโยชน์ต่อเกษตรกรมากกว่า การปลูกในเชิงพาณิชย์

จดหมายข่ า วกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม

...รอบรู้คู่โลก

ด้วยเหตุนี้ หากเรา ทั้ ง หลายร่ ว มกั น ให้ ค วาม สนับสนุนแก่เกษตรกรในการ รวมกลุ่ ม เป็ น สหกรณ์ ก ารเกษตร และเร่งให้รฐั ช่วยเหลือในเรือ่ งต้นกล้า การพัฒนา เครื่องหีบน้ำมัน หรือจัดตั้งกองทุนพืชพลังงาน ทดแทนได้มากเท่าไหร่ เราจะก็สามารถช่วย เหลือเกษตรกรให้ได้ผลผลิตจากสบู่ดำเพิ่มพูน และรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งการเริ่มต้นดีๆ เหล่านี้ นับเป็นอีก หนึ่งหนทาง ในการสร้างพลังงานทางเลือกที่น่า สนใจ ภายใต้งบประมาณที่ประหยัด คุ้มค่า อีกทั้งยังสามารถสร้างการใช้พลังงานที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคตได้อีกด้วย 7


คอลัมน์

...ใต้ตะวัน

เรียบเรียง... จงรักษ์ ฐินะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ

การประชุมสัมมนา “ครึ่งทางแผนหลักสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อ การพัฒนาที่ยั่งยืน” กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจัด ประชุมสัมมนา “ครึง่ ทางแผนหลักสิง่ แวดล้อม ศึ ก ษาเพื่ อ การพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น ” เมื่ อ วั น ที่ 9 สิ ง หาคม 2554 โดยมี น ายบุ ญ ชอบ สุทธมนัสวงษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม เป็นประธานในการสัมมนาฯ ซึ่ง แผนหลักสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ ยั่ ง ยื น พ.ศ. 2551 – 2555 ฉบั บ นี้ กรม ส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มร่ ว มกั บ สถาบันวิจยั สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำขึ้น เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็น แนวทางในการจัดทำแผนปฏิบตั กิ ารสิง่ แวดล้อม ศึกษาและสามารถนำไปประกอบการจัดทำ งบประมาณเพื่ อ สนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม การ พั ฒ นางานสิ่ ง แวดล้ อ มศึ ก ษาของประเทศ อย่างมีทศิ ทางร่วมกัน ซึง่ การสัมมนาดังกล่าว ประกอบด้วยการรายงานสถานการณ์การ ดำเนินงานสิ่งแวดล้อมศึกษาของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2552-2553 และการวิพากษ์ สถานการณ์และการพัฒนางานสิ่งแวดล้อม ศึกษาเพือ่ เป็นเครือ่ งมือสูค่ วามยัง่ ยืน

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 49 ถนนพระราม 6 ซอย 30 พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

แผนหลักสิง่ แวดล้อมศึกษาเพือ่ การพัฒนาที่ ยัง่ ยืนนี้ เป็นแผนฯ ทีใ่ ห้ความสำคัญกับทุกภาคส่วน ของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมสร้างกระแสแห่งการ พัฒนาการเรียนรูท้ หี่ ลากหลายรูปแบบ เพือ่ ให้คนใน สังคมพัฒนาทักษะชีวติ ไปสูก่ ารปรับเปลีย่ นเจตคติ และพฤติกรรมตามหลักของการรักษาและฟื้นฟู สิ่งแวดล้อมที่ เ หมาะสมและการเป็ น พลเมื อ งดี ของสังคม โดยมี 7 ยุทธศาสตร์หลักเป็นแนวทาง ได้แก่ การสือ่ สารสาธารณะ การพัฒนาโครงสร้าง เชิงสถาบัน การบูรณาการสิง่ แวดล้อมศึกษาเพือ่ การ พัฒนาที่ยั่งยืนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมกับนโยบายสาธารณะอื่นๆ การ สร้างเสริมพลังเครือข่าย การตลาด การเชือ่ มโยง สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสถาน ศึกษา และการจัดการความรู้ ผลจากการรายงานสถานการณ์สงิ่ แวดล้อม ศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาเพื่อ

การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผลจากการวิพากษ์สถานการณ์สิ่งแวดล้อมศึกษา พบประเด็ น สำคั ญ หลายประการที่ ต้ อ งนำมา ปรับปรุงและพัฒนา ได้แก่ ความเข้าใจความหมาย ของ “สิง่ แวดล้อมศึกษา” (Environmental Education) ทีข่ ยายไปสูส่ งั คมในวงกว้างค่อนข้างช้า ซึง่ แท้จริง แล้วสิง่ แวดล้อมศึกษาเป็น “กระบวนการ” ของการ เรี ย นรู้ ที่ ห ลากหลายบนพื้ น ฐานเพื่ อ ให้ ค นเป็ น พลเมืองที่ดีของสังคมบนโลกใบนี้ และในส่วน นโยบายและกลไกการทำงานด้ านสิ่ง แวดล้ อม ศึกษาของประเทศทีย่ งั ไม่มคี วามชัดเจนเท่าทีค่ วร ถึงแม้ว่าการดำเนินงานสิ่งแวดล้อมศึกษา ของภาคเอกชนมีความตื่นตัวเป็นอย่างมากโดย เฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (CSR) แต่ยงั คงมีคำถามว่า CSR เป็นเพียงเพือ่ การ ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กรหรือควรมอง กลับไปทีก่ ระบวนการผลิตทุกขัน้ ตอนตามมาตรฐาน ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่กันไป ในส่วน เครือข่ายสิง่ แวดล้อมศึกษาทีข่ ยายวงกว้างขวางมาก ขึน้ ในปัจจุบนั เพราะผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และการเกิดภัยพิบตั ทิ างธรรมชาตินนั้ การสือ่ สาร สาธารณะมีส่วนอย่างมากในการสร้างแนวร่วม แห่ ง ความร่ ว มมื อ และการสร้ า งพลั ง ไปสู่ สั ง คม ที่มีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่าง กว้างขวางรวดเร็ว ขณะเดียวกัน กระบวนการ พัฒนาสือ่ ทีม่ คี ณุ ภาพยังคงมีนอ้ ยและยังคงต้องการ พืน้ ทีอ่ กี มากในสถานการณ์ปจั จุบนั

แท้จริงแล้วสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็น “กระบวนการ” ของการเรียนรู้ ที่หลากหลายบนพื้นฐานเพื่อให้คนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมบนโลกใบนี้ ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ 17/2535 ปทจ. สามเสนใน สิ่งตีพิมพ์

www.deqp.go.th www.environnet.in.th / Call Tel. 0 2278 8449

คณะที่ปรึกษา : พรทิพย์ ปั่นเจริญ, รัชนี เอมะรุจิ, นิพนธ์ โชติบาล บรรณาธิการ : สากล ฐินะกุล คณะบรรณาธิการ : บรรพต อมราภิบาล, สาวิตรี ศรีสุข, ภาวินี ณ สายบุรี, บุญญา ชคัตตรัย, จริยา ชื่นใจชน, ผกาภรณ์ ยอดปลอบ, เอกราช ขำมะโน, จินดารัตน์ เรืองโชติวิทย์, อุไร เกษมศรี, บาจารีย์ สงวนวงศ์, อัครเดช ติตตะบุตร, จีรศักดิ์ นิลอุบล, พิรุณ อยู่สุข, ศุภลักษณ์ ศรีลาวงษ์, อานันตพร จินดา กองบรรณาธิการ : ฏีคชเมษฐ์ เรือนสังข์, ฉัตรชัย อมรพรชัยกุล, เฉลิมพล วัฒนพุทธิวรรณ, ณิชาภา เฉยพันธ์, จิตติมา กียะสูตร, ณิชภัทร ทองเลิศ, คณารัตน์ เล็งเบา, พรวิภา ศิริพิชญ์ตระกูล จัดทำโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เลขที่ 49 ถนนพระราม 6 ซอย 30 พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2278 8400 - 19 ต่อ 1555-1557, 0 2298 5630 โทรสาร 0 2298 5631 www.deqp.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.