ฟ้าสวย น้ำใส พ.ย.54

Page 1

ฟ้าสวย น้ำใส จดหมายข่ า วกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม ปี ที่ 7 ฉบั บ ที่ 9 ประจำเดื อ นพฤศจิ ก ายน 2554

จดหมายข่าวที่ทุกคนช่วยกันส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ เพียงคุณสมัครเป็นสมาชิกและร่วมแสดงความคิดเห็น

รวมพลคนไทย ปันน้ำใจสู่ชุมชน ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตหลังน้ำท่วม อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ร่วมสนุกชิงรางวัล 3 ท่านรับ... น้ำยาอเนกประสงค์

กระเป๋าใบสวยรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับผู้โชคดี รวมพลคนไทย

ปันน้ำใจสูช่ มุ ชน

วิญญาณป่า… บทเพลงเพื่อสิ่งแวดล้อม

Big Cleaning Day

คอลัมน์ : ใต้ตะวัน

หน้า 3

คอลัมน์ : ระบำผีเสื้อ

หน้า 5

ชีวภาพ

การทดสอบประสิทธิภาพ คอลัมน์ : หมุนตามฟ้า หน้า 7 ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป รวมพลคนไทย ปันน้ำใจสูช่ มุ ชน ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตหลังน้ำท่วม (Decentralized Wastewater คอลัมน์ : ฟ้ากว้าง

Treatment) หน้า 6

อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

คอลัมน์ : ต้นคิด

หน้า 8

สนใจสมั ค รฟรี หรื อ แสดงความคิ ด เห็ น ได้ ที่ ส่ ว นสื่ อ สารสิ่ ง แวดล้ อ ม กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม หรื อ e-mail : pr@deqp.mail.go.th


คอลัมน์

...เปิดฟ้า

คนไทย น้ำใจ... ไม่มีหมด จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา คงจะเป็ น บทพิ สู จ น์ ค ำกล่ า วนี้ ไ ด้ เ ป็ น อย่ า งดี เพราะนอกจากหน่ ว ยงานภาครั ฐ ต่ า งระดมสรรพกำลั ง ในการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เพื่อบรรเทาทุกข์ของประชาชนแล้ว เรายังเห็นถึงความเอื้อเฟื้อของภาคเอกชนที่ต่างก็ สนับสนุนกันอย่างเต็มศักยภาพ หลายสถาบันที่กลายเป็นศูนย์พักพิงสำหรับผู้ประสบ อุทกภัย และถึงแม้จะกลายเป็นสถานที่ประสบอุทกภัยเสียเอง แต่ก็ยังคงเดินหน้า ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ จนกระทั่ ง น้ ำ ลดและเหื อ ดแห้ ง ไปในที่ สุ ด หลายคนออกไปให้ ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ รวมทั้งสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รัก-ผูกพัน ทั้งที่บ้านตัวเองก็ ท่วมมิด หลายครอบครัวได้รจู้ กั สนิทสนม ก็ดว้ ยความอารีทมี่ ใี ห้แก่กนั ในยามทุกข์ยาก สำหรับชุมชนที่รอดพ้นจากการท่วมทะลักของน้ำเพราะความเข้มแข็งของคนในชุมชน ก็กลายเป็นชุมชนต้นแบบ (Model) ให้กบั ชุมชนอืน่ ๆ ได้ศกึ ษาและน่าทำเป็นเยีย่ งอย่าง หลังน้ำลด สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ซากกองขยะอันมหาศาล และสิ่งที่จะตามมา คือ เรื่องปัญหาสุขอนามัย สภาพจิตใจ และปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องได้รับการ ฟื้นฟูอย่างทันท่วงทีไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ชุมชนหรือภายในบริเวณบ้านของตนเอง แต่จะทำ อย่างไร ให้การฟื้นฟูนั้นเป็นไปอย่างยั่งยืนและไม่เป็นการซ้ำเติมสิ่งแวดล้อมเข้าไปอีก ฟ้าสวย น้ำใส ฉบับนี้ จึงมีเรื่องราวของแหล่งข้อมูลสำหรับการฟื้นฟูคุณภาพ ชีวิตหลังน้ำท่วมอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ครบวงจรในรูปแบบของการ์ตูนน่ารักๆ จิ ต อาสาพาไปร่ ว ม Big Cleaning ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย สงฆ์ อำเภอวั ง น้ อ ย จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา ศูนย์พักพิงของผู้ประสบอุทกภัยที่กลายเป็นสถานที่ร่วมชะตากรรม น้ำท่วม ที่มาพร้อมสูตรน้ำยาอเนกประสงค์จากน้ำหมักชีวภาพ และสาระน่ารู้ด้าน สถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งคอลัมน์ประจำในฉบับ และก่อนที่เข้าสู่เนื้อหาภายใน ขอฝากมุมมองไว้ให้คิดกันสักเล็กน้อย น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ เราได้ หรือ เราเสีย เราเสียทรัพย์สิน เสียบ้าน เสียรถยนต์ เสีย... แต่...เราได้มีโอกาสออกไปช่วยเหลือผู้อื่น เราได้เพื่อนแท้จากการแบ่งปันในยาม ทุกข์ยาก เราได้เห็นถึงความมีน้ำใจของผู้อื่น เราได้มีโอกาสปรับเปลี่ยนโฉมบ้านใหม่ เราได้เรียนรู้ถึงวิธีในการอยู่รอดต่างๆ เราได้กลับมาคิดทบทวนการใช้ชีวิตที่จะไม่ ทำร้ายสิ่งแวดล้อม เราได้... ฯลฯ น้ำท่วมครั้งนี้ เราเห็นอะไร? เราคิดอะไร? และเราจะลงมือทำไร? หรือทำได้ เพียงแค่รอ... มุมแจ้งข่าว พิธีประทานถ้วยรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ โครงการประกวดสร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเ หลือใช้ ประจำปี 2554 โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเดิม กำหนดจั ด ในวั น ที่ 25 ตุ ล าคม 2554 ได้ ก ำหนดเป็ น วั น ที่ 24 มกราคม 2555 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร บริเวณชั้น 1 และชั้น 2 โซนอีเดน ซึ่งภายในบริเวณงานจะมีการจัดแสดงผลงานที่ได้รับการตัดสินระดับ ประเทศอีกด้วย จึงขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมชื่นชมผลงานกันค่ะ ร่วมสนุกชิงรางวัล เพียงติดตามคอลัมน์และข่าวสารในวารสาร ฟ้าสวย น้ำใส และส่งคำตอบมาว่า….

“กรอบแนวทางการฟื้นฟูคุณ ภาพชีวิตหลังน้ำท่วม อย่ า งเป็ น มิ ตรกับสิ่งแวดล้อม คืออะไร”

กระเป๋าใบสวย รักษ์สงิ่ แวดล้อม รอพร้อมจัดส่งให้คณ ุ ถึงบ้านทันที สำหรับผูโ้ ชคดี 3 ท่าน

ปฏิทินกิจกรรมฟ้าสวยน้ำใส

เดือนธันวาคม 54

2 ธ.ค. 54 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมพิธีถวาย สัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน และร่วมพิธีเปิดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ณ บริเวณลานแสดงกิจกรรมสวนสัตว์ดุสิต องค์การสวนสัตว์ กรุงเทพฯ 2 - 5 ธ.ค. 54 กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม กระทรวงทรั พ ยากร ธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม จั ด กิ จ กรรมเฉลิ ม พระเกี ย รติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คลินิกให้บริการในการฟื้นฟู สภาพสิง่ แวดล้อม ภายใต้โครงการ “รวมพลังคนไทย ปันน้ำใจ สู่ชุมชน” ณ สวนสัตว์ดุสิต กรุงเทพฯ 3 ธ.ค. 54 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมฟื้นฟูสภาพ สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “5 ธันวา รวมพลังคนไทย รวมใจถวายพระพรชัยมงคล” ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม Big Cleaning Day ณ บริเวณลานหน้าห้าง Big C เขตสายไหม กรุงเทพฯ 4, 8 ธ.ค. 54 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมฟื้นฟูสภาพ สิ่ ง แวดล้ อ ม Big Cleaning Day ร่ ว มกั บ มหาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย อำเภอวั ง น้ อ ย จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา 18 ธ.ค. 54 ส่วน ทสม. สำนักอาสาสมัครและเครือข่าย กรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเครือข่าย ทสม. 76 จังหวัด กำหนดจัดโครงการภาคีความร่วมมือในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมในพืน้ ทีป่ ระสบภัยน้ำท่วม ณ วัดหงษ์ปทุมาวาส (วัดมอญ) อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เฉลยคำถาม ฉบับที่ 7 ประจำเดือนกันยายน 2554

“ชุมชนเกตุไพเราะ 3, 4, 5 เข้าร่วมโครงการอะไร กับกรมส่งเสริมคุณ ภาพสิ่งแวดล้อม”

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลกร่วมกับเราตอบกลับลงไปรษณียบัตรพร้อมแนบชื่อที่อยู่มาได้ที่ คำตอบคือ โครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) กองบรรณาธิการฟ้าสวยน้ำใส จดหมายข่าวกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2 เลขที่ 49 พระราม 6 ซอย 30 พญาไท กทม. 10400 ฟ้ า สวย น้ ำ ใส ปี ที่ 7 ฉบั บ ที่ 9 ประจำเดื อ นพฤศจิ ก ายน 2554


รวมพลคนไทย ปันน้ำใจสู่ชุมชน

คอลัมน์

...ใต้ตะวัน

Big Cleaning Day

สวัสดีคะ่ วันนีน้ อ้ งฟ้าได้รบั มอบหมายให้มาเล่าประสบการณ์ ที่ ไ ปฟื้ น ฟู ศ าสนสถานที่ ส ำคั ญ แห่ ง หนึ่ ง ของจั ง หวั ด พระนครศรี อยุธยา ส่วนใครที่ยังสงสัยว่า “น้องฟ้า” เป็นใคร เราไปทำความ รู้จักกันได้ที่ www.deqp.go.th ที่ลิงค์ (link) “ฟื้นฟูน้ำท่วม” หรือ พลิกไปที่หน้า 8 นะคะ

ภารกิจทีน่ อ้ งฟ้าและเพือ่ นๆ ได้ไปร่วมกันทำในครัง้ นี้ ก็คอื การฟืน้ ฟู สิ่ ง แวดล้ อ มภายหลั ง ประสบอุ ท กภั ย (คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ข า ขอน้ อ งฟ้ า มาบำเพ็ ญ ประโยชน์ เ พื่ อ ส่ ว นรวมก่ อ น แล้ ว น้ อ งฟ้ า จะกลั บ ไปช่ ว ยทำ ความสะอาดที่บ้านนะคะ) สำหรับพื้นที่เป้าหมายครั้งนี้ คือ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (MCU) ไม่ไกลเลยค่ะ ลงทางด่วนโทลเวย์ ผ่านดอนเมือง เลยนวนครไปนิดเดียว เพราะตั้งอยู่อำเภอวังน้อย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา การไป MCU Big Cleaning Day ครั้งนี้ ไม่เหงาเลย เพราะมี ทีมจิตอาสามาจากหลากหลายหน่วยงานเลยทีเดียว รวมทั้งมีพี่น้องจาก ชุมชนละแวกนั้นด้วย ส่วนน้องฟ้าและเพื่อนๆ (รวมทั้งพี่สายชล) ไปกับ ชาวกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สวมเสื้อทีมสีชมพูสดใสที่สกรีน ตัวหนังสือน่ารักๆ ว่า “รวมพลคนไทย ปันน้ำใจสู่ชุมชน” หลังจากที่ พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีประธานฝ่ายสงฆ์และคุณวิทยา ผิวผ่อง ผูว้ า่ ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประธานฝ่ายฆราวาส กล่าวเปิดงาน พี่ใหญ่ของพวกเรา ท่านเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ก็มอบเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงให้กับ MCU ได้ใช้ประโยชน์ด้วย (ว่าแต่มีอีกสักเครื่องไหมคะ อยากเอาไปใช้ล้างบ้านเหมือนกัน) และแล้วก็ได้เวลาที่พวกเราจะได้ออกแรงกันซะที...ลุย!!! งานนี้ ทุกคนดูขะมักเขม้นมากๆ แม้แต่คณะผู้บริหารของกรมฯ ทั้งท่านสากล ฐินะกุล ทั้งท่านบรรพต อมราภิบาล พี่ๆ ข้าราชการอาวุโส แม้แต่น้องๆ พนักงานทั้งหลายต่างช่วยกันทั้งกวาด ขุด ทึ้ง ถางรากต้นไม้ ที่ตายแล้วกันอย่างขมีขมัน แล้วก็ต้องมาสะดุดตากับท่าถือจอบถางร่าง ต้นไม้ไร้ชีวิตอย่างแข็งขัน...คงจะไม่ได้สนใจถ้าคนๆ นั้นไม่ใช่พี่ใหญ่ อธิบดีกรมฯ ของพวกเรานี่เอง จะว่าไปแล้ว วันที่น้องฟ้าและเพื่อนๆ พี่ๆ มาช่วยกันฟื้นฟูที่ MCU นั้น (วันที่ 8 ธันวาคม 2554) สภาพพื้นที่โดยรวม ดูดีขึ้นมากแล้ว อาจเป็นเพราะก่อนหน้านี้ พี่สายชลกับเพื่อนๆ ชาว กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้มาช่วยขัดล้างแล้วบางส่วน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา จากรอยคราบน้ำที่หลงเหลือตามขอบผนัง โอ้โห... จดหมายข่ า วกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม

สูงเกือบมิดหัวน้องฟ้าแน่ะ พี่สายชลเล่าว่า ตอนที่มากับทีมฝึกอบรม การผลิตสารชีวภาพบำบัดน้ำเสียให้กับคนที่มาพักพิง (MCU เป็นหนึ่งใน ศู น ย์ อ พยพผู้ ป ระสบภั ย น้ ำ ท่ ว ม) ตอนนั้ น น้ ำ ยั ง ท่ ว มสู ง อยู่ (วั น ที่ 7 พฤศจิกายน 2554) พี่สายชล พี่หนิง พี่ตั้ม พี่แต้ ม่อน ฯลฯ ต้องนั่งเรือ เข้ามากันเลยทีเดียว หลั ง จากที่ ทุ ก คนสะสาง (Clear) พื้ น ที่ ร อบๆ MCU จนราบ เป็นหน้ากลองแล้ว มื้อเที่ยงที่ MCU จัดเลี้ยงให้พวกเราก็อร่อยสุดๆ เติมพลังเสร็จ พวกเราก็ไปลุยกันต่อที่หอพักพระนิสิต (ถ้าเป็นเวลาปกติ เค้าห้ามเข้าโดยเด็ดขาดเลยนะเนี่ย เพราะเปรียบดังกุฏิสงฆ์ สตรีมิบังควร) จากหอฉันมาหอพักพระนิสิต...ไกลมาก เมื่อมาถึง คณะพระนิสิตกำลัง ช่วยกันขนข้าวของที่เสียหายออกจากห้องชั้นที่ถูกน้ำท่วม มีการสนทนา โต้ตอบกันประปราย แต่อย่าถามว่าคุยกันเรื่องอะไร...น้องฟ้าฟังไม่รู้เรื่อง... (ก็ ที่ นี่ เค้ า เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย สงฆ์ ร ะดั บ นานาชาติ เ ลยนี่ น า) น้ อ งฟ้ า และเพื่อนๆ ก็เลยก้มหน้าก้มตาขัดๆๆๆๆ เกือบลืมบอกไปว่า การมา ทำความสะอาดครั้งนี้ ทีมงานไม่ใช่แค่มา Clear & Clean ธรรมดาๆ นะคะ เพราะว่าเรามากันแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนะคะ น้ ำ ยาที่ ใ ช้ ท ำความสะอาดก็ เ ป็ น น้ ำ ยาอเนกประสงค์ ที่ ท ำจาก น้ำหมักชีวภาพ นอกจากจะไม่แสบจมูกแล้ว ยังขัดออกได้ง่ายมากด้วยค่ะ แถมไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อร่างกายถ้าเผลอไปสัมผัสด้วย น้องฟ้าประทับใจกับน้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพมากๆ ก็เลยแอบ ไปถามพี่หนูนา (คุณภาวินี ณ สายบุรี ผู้อำนวยการส่วนรณรงค์) ที่พกพา น้ำยาอเนกประสงค์มามอบให้กับประชาชน (แจกนั่นแหล่ะค่ะ) พี่นิด (คุณระเบียบ ภูผา นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ) ก็เลยมอบสูตรมาให้...ต้องขอขอบคุณมากๆ ค่ะ อ้อ น้องฟ้านำสูตรน้ำยาอเนกประสงค์แบบชีวภาพๆ มาฝากทุ ก ๆ คนด้ ว ยนะคะ ถ้ า สนใจก็ พ ลิ ก ไปที่ ห น้ า 7 คอลัมน์หมุนตามฟ้าได้เลยค่ะ หรือจะติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนรณรงค์ กองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม เบอร์โทรศัพท์ 0 2278 8400 - 19 ต่อ 1708 หรือติดตามทางเว็บไซต์ www.deqp.go.th นะคะ โอ๊ะ... คุณแม่ลลิเรียกแล้ว น้องฟ้าต้องไปช่วยที่บ้านขัดพื้นต่อแล้ว ล่ะค่ะ...สวัสดีค่ะ 3


คอลัมน์

...ใบไม้ไหว

รวมพลังแผ่นดิน ลดน้ำ เพิ่มสุข สามัคคีพี่น้องไทย เมื่อวันที่ 19 และ 20 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน ในพิธีปล่อยคาราวานเก็บขยะและบำบัดน้ำเสีย เพื่อฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม ภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัยเริ่มคลี่คลาย ใน “รวมพลังแผ่นดิน ลดน้ำ เพิ่มสุข สามัคคีพี่น้องไทย” (Big Cleaning Day) พร้อมนำคณะผู้บริหาร ระดับสูงของกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด ร่วมทำความสะอาดชุมชน ในบริเวณแยกบางพลัดและแยกรัชโยธิน กรุงเทพมหานคร ด้วยความห่วงใยจากรัฐบาล ร่วมกับ ทส. แจกน้ำดื่มช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย นายปรี ชา เร่ ง สมบู ร ณ์สุ ข รั ฐ มนตรี ว่ าการกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติแ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม เป็นประธานปล่อยขบวนคาราวาน “ด้วยความห่วงใยจากรัฐบาล ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แจกน้ำดื่มช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” โดยมีคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสังกัด กระทรวงฯ เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ สวนสัตว์ดุสิต กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งคาราวานน้ำดื่มนี้ เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 30 เขตของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะออก แจกจ่ายให้กับประชาชนไปจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ EM เพื่อประชาชน เมื่ อ วั น ที่ 17 พฤศจิ ก ายน 2554 นายศั ก ดา นพสิ ท ธิ์ เลขานุการรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการ EM เพื่อประชาชน “84 หมื่นลูก 84 หมื่นลิตร พิชิตน้ำเสีย” พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สังกัด กระทรวงฯ ณ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 จังหวัดนนทบุรี พร้อมเยี่ยมชมการสาธิตการผลิตจุลินทรีย์ก้อนของคณะเจ้าหน้าที่อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ผู้ร่วมดำเนินงาน และเหล่าจิตอาสา พร้อมทั้งร่วมเปิดศูนย์ผลิตและแจกจ่ายจุลินทรีย์น้ำให้ประชาชน ทส. ลงพื้นที่ชุมชนคลองสามวา ตรวจสภาพน้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นายศักดา นพสิทธิ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ประกอบด้วย นายประณีต ร้อยบาง อธิ บ ดี ก รมทรั พ ยากรน้ ำ บาดาล นายชั ย พร ศิ ริ พ รไพบู ล ย์ รองอธิ บ ดี ก รมทรั พ ยากรน้ ำ และ นางรั ช นี เอมะรุ จิ รองอธิ บ ดี ก รมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม พร้ อ มคณะเจ้ า หน้ า ที่ ลงพื้ น ที่ ชุ ม ชนคลองสามวา กรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจเยี่ยมสภาพปัญหาน้ำท่วม พร้อมให้กำลังใจแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัย และมอบน้ำดื่ม สะอาด จุลินทรีย์ผงสำหรับบำบัดน้ำเสีย และแพไม้ไผ่ เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนในเบื้องต้น ทส. ลงพืน้ ทีแ่ ก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย นายศักดา นพสิทธิ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้ อ ม พร้ อ มด้ ว ยนางรัชนี เอมะรุจิ รองอธิบดีกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม ร่วมคณะกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีและผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดปทุมธานี ลงพื้นที่นำจุลิทรีย์ก้อน หรือ Dasta Ball ไปช่วยแก้ไข ปัญหาสภาพน้ำเสียในบริเวณทางเข้าและด้านหน้าของพระตำหนักจักรีบงกช เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาภาวะน้ำ เน่าเสียในเบื้องต้นให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งได้รับความเดือดร้อนจากภาวะน้ำท่วมขัง สูงกว่า 1 เมตร เป็นระยะเวลาเกือบ 1 เดือน 4

ฟ้ า สวย น้ ำ ใส ปี ที่ 7 ฉบั บ ที่ 9 ประจำเดื อ นพฤศจิ ก ายน 2554


คอลัมน์

...ใบไม้ไหว

สส. ร่วมกับ ปม. แจกน้ำดื่มแก่ผู้ประสบอุทกภัย เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2554 นางรัชนี เอมะรุจิ รองอธิบดี กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นำคณะเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมร่วมกับกรมป่าไม้ ลงพื้นที่แจกน้ำดื่มจำนวน 10,000 ขวด และยารักษาน้ำกัดเท้าแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่หมู่ที่ 1 - 16 ตำบลคลอง 5 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี The Thailand Green Economy เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 นางรัชนี เอมะรุจิ รองอธิบดีกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวต้อนรับและแนะนำโครงการจัดทำเอกสารเผยแพร่ ในเรื่อง The Thailand Green Economy ณ ห้องสราสินี โรงแรมกานต์มณี พาเลซ ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดโดย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และกรมส่งเสริม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม เป็ น ผู้ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น เพื่ อ นำเสนอข้ อ มู ล โครงการ ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว ในสาขาต่างๆ 5 สาขา ได้แก่ 1. เกษตรกรรม ประมง ป่าไม้ 2. การผลิตพลังงาน 3. อาคาร อุตสาหกรรม และการขนส่งเดินทางในเรื่องประสิทธิภาพพลังงานแบบองค์รวม 4. สาขาที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความคิดสร้างสรรค์ และ 5. ผังเมืองและธรรมาภิบาลเพื่อเศรษฐกิจสีเขียว สส. ฝึกอบรมการผลิตสารชีวภาพบำบัดน้ำเสีย กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยกองส่ ง เสริ ม และเผยแพร่ จั ด ฝึ ก อบรม พร้ อ มทดลองปฏิ บั ติ เพื่ อ ให้ ค วามรู้ กั บ ประชาชนในศู น ย์ อ พยพผู้ ป ระสบภั ย น้ ำ ท่ ว ม มหาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย อำเภอวั ง น้ อ ย จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ในการผลิ ต สารชี ว ภาพบำบั ด น้ ำ เสี ย เช่ น น้ ำ หมั ก ชี ว ภาพ และลู ก บอลชี ว ภาพ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา รวมทั้งได้มอบอุปกรณ์และส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตสารชีวภาพบำบัดน้ำเสียให้กับ ศูนย์อพยพผู้ประสบภัยน้ำท่วมเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งการฝึกอบรมครั้งนี้ เป็นหนึ่งในงานบูรณาการการแก้ไขปัญหา น้ำเน่าเสียอย่างเร่งด่วนในพื้นที่ประสบภัยปัญหาอุทกภัยในภาคกลาง

วิญญาณป่า…

คอลัมน์

..ระบำผีเสื้อ

บทเพลงเพื่อสิ่งแวดล้อม วิญญาณป่า คืออัลบัม้ เพลงพิเศษทีจ่ ดั ทำขึน้ โดยกลุม่ ศิลปิน นาม “เผ่าไท” เป็นบทเพลงแนวอนุรักษ์ธรรมชาติ

เน้นโดยเฉพาะเรื่องการอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งถึงแม้แนวดนตรีและ เนื้อหาจะไม่ได้โดดเด่นเหมือนเพลงชั้นนำในตลาด แต่ด้วยเนื้อเพลงที่ ฟั ง ง่ า ยกั บ ดนตรี บ รรเลงสบายๆ แบบเบาๆ ที่ เ รี ย บเรี ย งออกมาได้ อย่างกลมกลืน จึงถือได้ว่า บทเพลงในอัลบั้มนี้น่าจะเป็นเพื่อนคลายเหงา ที่ดีสำหรับการเดินทางเข้าไปหาธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง และถ้ า หากใครสนใจ อยากลองหลั บ ตาท่ อ งป่ า กั น สั ก ครั้ ง ก็สามารถคลิกฟังและดาวน์โหลดกันได้ที่ youtube.com นะคะ

จดหมายข่ า วกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม

5


คอลัมน์

...ฟ้ากว้าง

การทดสอบประสิทธิภาพ

ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป

(Decentralized Wastewater Treatment) โดย... จิตติมา จารุเดชา นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ

ปัจจุบนั บ้านเรือนมีการติดตัง้ ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป (Decentralized Wastewater Treatment) กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งถังบำบัดน้ำเสียนี้ จะเป็นการรวมหลักการเกรอะ และการกรองไร้อากาศไว้ในถังใบเดียวกัน จึ ง เหมาะสมสำหรั บ ใช้ บ ำบั ด น้ ำ เสี ย ทุ ก ชนิ ด ในบ้ า นเรื อ น ทั้ ง น้ ำ เสี ย จากการชำระล้างในครัวเรือน หรือจากสิ่งปฏิกูลจากการขับถ่ายเพื่อให้ได้ คุณภาพน้ำทิ้งที่ดีก่อนทิ้งระบายสู่ท่อสาธารณะต่อไป ซึ่งผลิตภัณฑ์ของ ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปที่จำหน่ายในท้องตลาดมีหลากหลายรูปแบบ และยังไม่มีหน่วยงานภาครัฐให้การรับรองคุณภาพของถังบำบัดน้ำเสีย ดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการกำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน ของถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปสำหรับครัวเรือน ศูนย์วิจัยและฝึกอบรม ด้านสิ่งแวดล้อม (ศวฝ.) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงได้ร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) และบริษัทผู้ผลิตถังบำบัดน้ำเสีย

6

*ค่าบีโอดี คือ ปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์

ในท้องตลาด จำนวน 9 ราย ทำการทดสอบประสิทธิภาพ ถั ง บำบั ด น้ ำ เสี ย สำเร็ จ รู ป แบบไร้ อ ากาศขนาด 1600 ลิ ต ร ซึ่งเหมาะสำหรับครัวเรือนที่มีผู้อาศัยจำนวน 5 คน พบว่า ประสิทธิภาพการบำบัดค่าบีโอดีเฉลี่ยของการทดสอบอยู่ที่ ร้อยละ 61 - 77 โดยมีค่าบีโอดีเฉลี่ยหลังการบำบัดอยู่ในช่วง 42 - 74 มิลลิกรัมต่อลิตร จะเห็นว่าค่าบีโอดีหลังการบำบัด มี ค่ า สู ง กว่ า ค่ า มาตรฐานการระบายน้ ำ ทิ้ ง จากระบบบำบั ด น้ำเสียชุมชน ซึ่งกำหนดให้มีค่าบีโอดีที่ 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้น จึงควรเพิ่มขั้นตอนการบำบัดเพราะถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปสามารถ บำบั ด บี โ อดี ใ ห้ ดี ขึ้ น ซึ่ ง ค่ า มาตรฐานที่ อ้ า งถึ ง ดั ง กล่ า วไม่ ไ ด้ ใ ช้ เ พื่ อ เป็ น เกณฑ์ ก ำหนดค่ า คุ ณ ภาพการบำบั ด น้ ำ ที่ อ อกจากถั ง บำบั ด เพียงต้องการให้เห็นคุณลักษณะของข้อมูลที่ชัดเจนขึ้นเท่านั้น เนื่องจาก ปัจจุบันยังไม่มีค่ามาตรฐานการระบายน้ำทิ้งจากถังบำบัดน้ำเสียจาก ครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ศวฝ. ได้อยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพ ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปแบบเติมอากาศ เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนด มาตรฐานถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปสำหรับใช้ในครัวเรือนต่อไป ทั้ ง นี้ หากประสงค์ ส อบถามข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ติ ด ต่ อ ได้ ที่ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม เบอร์โทรศัพท์ 0 2577 4182 - 9 ต่อ 1312 หรือ เว็บไซต์ http://www.deqp.go.th/website/20/

ฟ้ า สวย น้ ำ ใส ปี ที่ 7 ฉบั บ ที่ 9 ประจำเดื อ นพฤศจิ ก ายน 2554


คอลัมน์

น้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพ

...หมุนตามฟ้า

น้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพเป็นน้ำยาที่ผลิตจากวัตถุดิบในธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้หลายอย่างและเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ มีประโยชน์ใช้ในการซักล้างและทำความสะอาดได้หลายอย่าง เช่น ใช้ล้างจาน ซักผ้า ล้างห้องน้ำและล้างรถ เป็นต้น สำหรับในที่นี้ จะขอนำเสนอสักหนึ่งสูตร คือ...

น้ำหมักจุลินทรีย์จาก เปลือกผลไม้รสเปรี้ยว

การทำหัวเชื้อ น้ำหมักจุลินทรีย ์

อุปกรณ์และส่วนผสม

อุปกรณ์และส่วนผสม

1. ถังพลาสติกและไม้พาย 2. สารให้ฟอง N70 จำนวน 1 กิโลกรัม 3. เกลือป่น จำนวน 1 กิโลกรัม 4. เปลือกผลไม้ เช่น ส้ม สับปะรด มะนาว จำนวน 2 กิ โ ลกรั ม (ที่ คั้ น แล้ ว อาจขอได้ จ าก ร้านขายน้ำผลไม้) 5. น้ ำ หมั ก จุ ลิ น ทรี ย์ (ผลไม้ ร สเปรี้ ย ว) จำนวน 0.1 ลิตร 6. น้ำด่างธรรมชาติ (น้ำผสม ขี้เถ้าแล้วตักเอาส่วนที่ใส) 5 ลิตร 7. น้ำสะอาด จำนวน 15 ลิตร

1. น้ำมะพร้าว จำนวน 2.5 - 3 ลิตร (ประมาณ 5 - 6 ลูก) 2. กากน้ำตาล หรือ น้ำตาลแดง จำนวน 2 กิโลกรัม 3. สับปะรดแก่จัด จำนวน 2 กิโลกรัม (ประมาณ 2 ลูก) 4. ถังพลาสติกมีฝาปิด 1 ใบ

วิธีทำ

1. นำเปลือกผลไม้รสเปรี้ยว (เลือกมาเพียงชนิดเดียว) ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปต้ม กับน้ำสะอาด 15 ลิตร ตั้งให้เย็น เติมน้ำหมักจุลินทรีย์ ทิ้งไว้ 3 คืน กรองเอาแต่น้ำ 2. นำ N70 ใส่ ใ นภาชนะสำหรั บ ผสม แล้ ว เติ ม เกลื อ ลงไป เล็กน้อย กวนให้เข้ากัน 3. ค่อยๆ เติมน้ำด่างทีละน้อยๆ และเติมน้ำต้มเปลือกผลไม้ กวนในทิศทางเดียวกัน ให้เข้าจนเป็น เนื้อเดียวกัน 4. สั ง เกตว่ า ส่ ว นผสมไม่ ข้ น ให้เติมเกลือลงไปทีละน้อยๆ สลับกับ การเติ ม น้ ำ ด่ า งและน้ ำ ต้ ม เปลื อ ก ผลไม้ จะช่วยให้ส่วนผสมข้นขึ้น เมื่อ เสร็จทิ้งไว้ 1 คืน ให้ฟองยุบตัวก่อน จึงนำไปใช้

วิธีทำ

1. หั่ น สั บ ปะรดให้ เ ป็ น ชิ้ น เล็ ก ๆ โดยหัน่ ทัง้ เปลือก คลุกเคล้ากับกากน้ำตาล หรือน้ำตาลแดง 2. นำใส่ถงั พลาสติก เติมน้ำมะพร้าวแล้ว คนให้ เ ข้ า กั น ปิ ด ฝาเก็ บ ใน ที่ร่มห้ามโดนแสงแดด หมักไว้ 60 วัน (ควรคลุกเคล้าหรือคน ส่วนผสมในถังทุก 2 วัน) 3. เมือ่ ครบ 60 วัน จะได้ หัวเชื้อที่มีสีน้ำตาลและมีกลิ่น หวานอมเปรี้ ย ว คล้ า ยของ หมักดองหรือไวน์ กรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม www.deqp.go.th

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม www.deqp.go.th

จดหมายข่ า วกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม

7


คอลัมน์

...ต้นคิด

กลับเข้าบ้าน ยามน้ำเริม่ ลด และแล้ ว ก็ ถึ ง เวลาที่ จะได้ ก ลั บ เข้ า บ้ า นกั น เสี ย ที หลั ง จากที่ ต้ อ งจำใจสละ เพื่ อ รั ก ษาชี วิ ต หน้ า ที่ และ คนที่เรารักให้ปลอดภัย และ เพื่อให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้

รวมพลคนไทย ปันน้ำใจสู่ชุมชน

แต่การจะกลับเข้าบ้าน ก็ใช่วา่ จะเป็นเรือ่ งง่ายๆ เสมอไป เพราะหากขาดการเตรียมตัวทีด่ ี ก็ อ าจเสี่ ย งที่ จ ะเป็ น อั น ตราย ในเวลาอันสั้น (เช่น ไฟฟ้าดูด ลื่นล้ม) และในระยะยาว (เช่น สปอร์ เ ชื้ อ ราที่ เ ข้ า สู่ ร่ า งกาย ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรัง) ดังนั้น เรามาเรียนรู้วิธี การกลับเข้าบ้านอย่างปลอดภัย ประหยัด และไม่ซำ้ เติมสิง่ แวดล้อม กันเถอะ... ฟื้ น ฟู คุ ณ ภาพชี วิ ต หลังน้ำท่วมอย่างเป็นมิตร กั บ สิ่ ง แวดล้ อ มตามกรอบ แนวทาง P-C-G to S

ข้อมูลเหล่านี้ เกิดขึน้ จากกลุม่ คนทีม่ แี นวคิด ในการทีจ่ ะช่วยบรรเทาทุกข์อนั เกิดจากมหาอุทกภัย โดยไม่ละทิ้งการคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งของ คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การเตรียมตัว ก่อนเข้าบ้าน (Preparing) การทำความสะอาด บ้าน (Clearing & Cleaning) เมื่อกลับเข้าบ้าน (Green Living/Resettling) รวมไปถึงการแบ่ง ปันน้ำใจ (Sharing) ในรูปแบบการ์ตูนสีสันสดใส กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 49 ถนนพระราม 6 ซอย 30 พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

เตรียมตัวเข้าบ้านอย่างไรให้ปลอดภัยจาก สัตว์ร้าย-ระบบไฟฟ้า-ขยะและของมีคม รัว้ กำแพง สนามหญ้า ต้นไม้ กระสอบทราย เฟอร์ นิ เ จอร์ เครื่ อ งปรั บ อากาศ ข้ า วของ เครื่ อ งใช้ เสื้ อ ผ้ า เชื้ อ รา... จะมี วิ ธี จั ด การ อย่างไรดี ปรับตัว เตรียมใจ ใช้ชีวิตให้มีความสุข... พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โอกาสแห่งการเริ่มต้น สิ่ ง ใหม่ ๆ โอกาสในการใช้ ชี วิ ต ที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ

สิ่งแวดล้อมและพร้อมที่จะแบ่งปันสิ่งดีๆ ที่ได้รับ มาให้กับคนรอบข้าง... เพื่อสุขอย่างยั่งยืน มาร่วมค้นหาคำตอบรอบด้านได้จากเว็บไซต์ กรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม www.deqp.go.th ที่ link “ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม” ขอขอบคุ ณ ข้ อ มู ล จากส่ ว นรณรงค์ กองส่ ง เสริ ม และ เผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณระเบียบ ภูผา และทีมงานวิชาการทุกท่าน

ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ 17/2535 ปทจ. สามเสนใน สิ่งตีพิมพ์

www.deqp.go.th www.environnet.in.th / Call Tel. 0 2278 8449

คณะที่ปรึกษา : เกษมสันต์ จิณณวาโส, รัชนี เอมะรุจิ, นิพนธ์ โชติบาล บรรณาธิการ : บรรพต อมราภิบาล คณะบรรณาธิการ : สาวิตรี ศรีสุข, ภาวินี ณ สายบุรี, บุญญา ชคัตตรัย, จริยา ชื่นใจชน, ผกาภรณ์ ยอดปลอบ, เอกราช ขำมะโน, เรไร เที่ยงธรรม, อลงกต ศรีวิจิตรกมล, จินดารัตน์ เรืองโชติวิทย์, อุไร เกษมศรี, บาจรีย์ สงวนวงศ์, อัครเดช ติตตะบุตร, จีรศักดิ์ นิลอุบล, พิรุณ อยู่สุข, ศุภลักษณ์ ศรีลาวงษ์, อานันตพร จินดา กองบรรณาธิการ : ฏีคชเมษฐ์ เรือนสังข์, ฉัตรชัย อมรพรชัยกุล, เฉลิมพล วัฒนพุทธิวรรณ, ณิชาภา เฉยพันธ์, จิตติมา กียะสูตร, ณิชภัทร ทองเลิศ, คณารัตน์ เล็งเบา, พรวิภา ศิริพิชญ์ตระกูล, ปิยธิดา สุขประเสริฐ จัดทำโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เลขที่ 49 ถนนพระราม 6 ซอย 30 พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2278 8400 - 19 ต่อ 1555-1557, 0 2298 5630 โทรสาร 0 2298 5631 www.deqp.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.