จดหมายข่าว ฉบับเดือนตุลาคม 54

Page 1

ฟ้าสวย น้ำใส จ ด ห ม า ย ข่ า ว ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม คุ ณ ภ า พ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ปี ที่ 7 ฉ บั บ ที่ 8 ป ร ะ จ ำ เ ดื อ น ตุ ล า ค ม 2 5 5 4

EM กันเถอะ

มารู้จัก

ร่วมสนุกชิงรางวัล การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทาง

3 ท่านรับ... กระเป๋าใบสวยรักษ์สงิ่ แวดล้อมสำหรับผูโ้ ชคดี

มารู้จัก EM

Water หรือ

คอลัมน์ : ต้นคิด

เคมีและการแพร่กระจายของ

สารอินทรีย์ระเหยง่ายใน เขตกรุงเทพมหานคร คอลัมน์ : ฟ้ากว้าง

หน้า 6

Hotel… น้ำ… โรงแรมลอยน้Ark ำ สัญชาติรสั เซีย

กันเถอะ หน้า 3

จดหมายข่าวที่ทุกคนช่วยกันส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ เพียงคุณสมัครเป็นสมาชิกและร่วมแสดงความคิดเห็น

คอลัมน์ : ระบำผีเสื้อ

หน้า 5

คอลัมน์ : รอบรู้คู่โลก

หน้า 7

ชาว สส. ขอต้อนรับ

นายเกษมสันต์ จิณณวาโส

อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม

คอลัมน์ : หมุนตามฟ้า

หน้า 7

เกตุไพเราะโมเดล

: ชุมชนแห่งการจัดการขยะ คอลัมน์ : ใต้ตะวัน

หน้า 8

สนใจสมั ค รฟรี หรื อ แสดงความคิ ด เห็ น ได้ ที่ ส่ ว นสื่ อ สารสิ่ ง แวดล้ อ ม กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม หรื อ e-mail : pr@deqp.mail.go.th


คอลัมน์

...เปิดฟ้า

ปฏิทินกิจกรรมฟ้าสวยน้ำใส

ธรรมชาติ

กำลังส่งสัญญาณบอกอะไรกับเรา... ในช่ ว งปี ที่ ผ่ า นมา ปรากฏการณ์ ภั ย พิ บั ติ ท างธรรมชาติ ปรากฏอย่ า งเด่ น ชั ด ทั้ ง ความถี่ แ ละระดั บ ความรุ น แรงที่ ท วี เ พิ่ ม มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว วาตภัย หรือแม้กระทั่งสึนามิ สำหรับประเทศไทย คงไม่มีคำอธิบายเรื่องภาวะโลกร้อนใดจะลึกซึ้งได้ เท่ากับที่พี่น้องประชาชนชาวไทยประสบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ ต้นปี 2554 เป็นต้นมา อาทิ อากาศหนาวเย็นในช่วงระยะเวลาที่ปกติเป็นฤดูร้อน พายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงอันเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก ดินถล่มในพื้นที่ แถบภูเขา และเหตุการณ์ที่จะถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ รวมทั้งความทรงจำ ของประชาชนชาวไทย คือ สถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน จนกระทั่งกรุงเทพมหานคร สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น นอกจากจะสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือน ทรั พ ย์ สิ น เรื อ กสวนไร่ น า ถนนหนทางได้ รั บ ความเสี ย หายอย่ า งหนั ก รวมทั้ ง เป็นสาเหตุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว การท่วมขัง ของน้ำเป็นระยะเวลานาน รวมทัง้ ซากสัตว์เลีย้ งทีเ่ น่าตายยังทำให้นำ้ ในบริเวณดังกล่าว มีภาวะเน่าเสีย ส่งกลิ่นรบกวน และก่อให้เกิดโรคระบาดตามมา การช่วยเหลือประชาชน นอกจากจะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของ หน่วยงานภาครัฐแล้ว หน่วยงานอื่นๆ ยังให้ความร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยอย่างสามัคคี ทางด้านกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากจะเป็นหน่วยงานที่ประสานความร่วมมือ สนับสนุนอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ เครือ่ งมือ เครือ่ งจักร และอุปกรณ์ในการช่วยเหลือพีน่ อ้ งประชาชนทีป่ ระสบอุทกภัยแล้ว ภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งคือ การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับ ความเสียหายให้กลับมามีสภาพที่ดีขึ้น ซึ่งในกรณีเร่งด่วน คือการบำบัดน้ำเน่าเสีย อันเกิดจากซากสัตว์ที่ตายและการท่วมขังของน้ำเป็นระยะเวลานาน โดยการใช้ จุลินทรีย์บำบัด (EM) ทั้งในรูปแบบของน้ำและของแข็ง (EM Ball) อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน คงไม่ใช่หน้าที่ของใครหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หากแต่มาจาก จิตสำนึกของทุกๆ คนที่จะรัก หวงแหน และร่วมกันปกป้อง รักษาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้ให้คงอยู่สืบไป... แม้ไม่สร้างเพิ่ม ก็ได้โปรดอย่าทำลาย... ร่วมสนุกชิงรางวัล เพียงติดตามคอลัมน์และข่าวสารในวารสาร ฟ้าสวย น้ำใส และส่งคำตอบมาว่า….

“ชุมชนเกตุไพเราะ 3, 4, 5 เข้ าร่วมโครงการอะไรกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม”

กระเป๋าใบสวย รักษ์สงิ่ แวดล้อม รอพร้อมจัดส่งให้คณ ุ ถึงบ้านทันที สำหรับผูโ้ ชคดี 3 ท่าน

เดือนพฤศจิกายน 54

2 - 5 พ.ย. 54 หน่วยปฏิบัติการกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำและบรรเทาปัญหา น้ำเสียในพื้นที่ประสบภัยอุทกภัย 3 - 13 พ.ย. 54 หน่วยปฏิบัติการกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำและบรรเทา ปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ประสบภัยอุทกภัย 5 พ.ย. 54 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสำนักการบิน ทส. นำเรื อ ที่ ท ำจากวั ส ดุ รี ไ ซเคิ ล (กล่ อ งนม) ผลิ ต โดย บ.เตตร้าแพ้ค และ บ.ไฟเบอร์พัฒน์ ไปมอบให้กับชุมชน ที่ประสบอุทกภัย 7 พ.ย. 54 กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยกองส่ ง เสริ ม และ เผยแพร่ จัดฝึกอบรมการผลิตสารชีวภาพบำบัดน้ำเสีย ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 9 - 12 พ.ย. 54 หน่วยปฏิบัติการกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ จั ง หวั ด ปทุ ม ธานี เพื่ อ ตรวจสอบคุ ณ ภาพน้ ำ และบรรเทา ปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ประสบภัยอุทกภัย 11 - 13 พ.ย. 54 หน่วยปฏิบัติการกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำและ บรรเทาปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ประสบภัยอุทกภัย เฉลยคำถาม ฉบับที่ 7 ประจำเดือนกันยายน 2554

วันรักต้นไม้ประจำปี แห่งชาติตรงกับ วันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร คำตอบคือ วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลกร่วมกับเราตอบกลับลงไปรษณียบัตรพร้อมแนบชื่อที่อยู่มาได้ที่ กองบรรณาธิการฟ้าสวยน้ำใส จดหมายข่าวกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2 เลขที่ 49 พระราม 6 ซอย 30 พญาไท กทม. 10400 ฟ้ า สวย น้ ำ ใส ปี ที่ 7 ฉบั บ ที่ 8 ประจำเดื อ นตุ ล าคม 2554


คอลัมน์

มารู้จัก EM กันเถอะ บนโลกใบนี้มีสิ่งมีชีวิตมากมาย รวมทั้งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ทีป่ ระสาทสัมผัสทางตาของคนเราไม่สามารถมองเห็นได้ ต้องอาศัย กล้องจุลทรรศน์ อาทิ แบคทีเรีย ยีสต์ และไวรัส หรือเรียกโดยรวมว่า จุลินทรีย์ (Microorganism) และมนุษย์เราได้มีการใช้ประโยชน์จาก จุ ลิ น ทรี ย์ ม าอย่ า งช้ า นาน อาทิ การทำเนยแข็ ง โยเกิ ร์ ต เบี ย ร์ แอลกอฮอล์ ขนมปั ง หรื อ แม้ แ ต่ ก ารผลิ ต ยาปฏิ ชี ว นะบางชนิ ด ซึ่งการนำจุลินทรีย์มาใช้ต้องพิจารณาคุณสมบัติหรือชนิดของ จุลินทรีย์ที่เป็นต้นเชื้อการผลิต เนื่องจากจุลินทรีย์ก็เป็นสิ่งมีชีวิต ที่ มี ส ายพั น ธุ์ ที่ ห ลากหลาย และมี ทั้ ง ที่ ด ำรงชี วิ ต แบบใช้ อ ากาศ (Aerobic) และที่ไม่ต้องใช้อากาศในการดำรงชีวิต (Anaerobic)

สำหรับ น้ำสกัดชีวภาพ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า น้ำจุลินทรีย์ หรือน้ำหมักจุลินทรีย์ (EM), EM ค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิ ห งะ แห่ ง มหาวิ ท ยาลั ย ริ ว กิ ว โอกิ น าวา ประเทศญี่ ปุ่ น ตั้ ง แต่ ปี ค.ศ. 1970 โดยการผสมผสานจุลินทรีย์หลายชนิดเข้าด้วยกัน ในตัวกลาง ที่เป็นกากน้ำตาลหรือน้ำตาลและรักษาสารละลายให้มีสภาพพีเอช (pH) ต่ำในสภาวะธรรมชาติ EM ย่อมาจากคำว่า Effective Microorganisms ซึง่ มีความหมายว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ หลังจากที่น้ำหมักจุลินทรีย์มีการพัฒนา และนำไปผลิตและใช้ในหลายๆ ประเทศ โดยแตกต่างกันไปตามวัตถุดิบ ที่ใช้ในการหมัก ซึ่งประโยชน์ของ EM ได้แก่ การนำไปใช้เป็นปุ๋ยน้ำ ให้แก่พืช การผสมน้ำให้สัตว์กินแก้โรคทางเดินอาหาร รวมทั้ง การใช้กับ สิ่งแวดล้อม เช่น ใส่โถส้วมเพื่อช่วยย่อยสลายทำให้ส้วมไม่เต็ม บำบัด น้ำเสีย ทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร แก้ไขท่ออุดตัน รวมทั้งกำจัดกลิ่นใน แหล่งน้ำ จากความนิยมของการนำ EM ไปใช้เนื่องจากไม่มีพิษภัยและไม่ ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้การใช้ EM ขยายไปสู่การเกษตรและองค์กร ทั่วโลกกว่า 30 ประเทศ อาทิ International Nature Farming Research Center Movement (INFRC) JAPAN, International Federation of Agriculture Movement (IFOAM) GERMANY เป็นต้น รวมทั้ง California Certified Organics Farmers ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า ซึ่งสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติได้ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ. 1993 ว่าเป็น วัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100% สำหรับประเทศไทยได้มีการผลิตสารชนิดนี้ขึ้นเช่นกัน โดยส่วน มากจะเน้นการนำวัตถุดิบที่หาได้ง่ายและราคาถูกมาผ่านกระบวนการ หมักแบบไร้อากาศ และเป็นจุลนิ ทรียท์ มี่ ใี นธรรมชาติ ซึง่ กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการผลิต และส่งเสริมการใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ EM มา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2529 โดยใช้ คำเรียกว่า “สารเร่ง พด.” และได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม จุลินทรีย์โดยตรง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 9 ผลิตภัณฑ์ โดยชนิดที่ใช้ในการ บำบัดน้ำเสีย คือ “สารบำบัดน้ำเสีย พด.6” นอกจากกรมพัฒนาที่ดินแล้ว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ก็มีการศึกษาทดลองและพัฒนาหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ที่ใช้สำหรับบำบัด จดหมายข่ า วกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม

...ต้นคิด

น้ำเสียในบ่อเลี้ยงกุง้ น้ำเค็มและน้ำกร่อย ของกรมประมง จนเป็น “ดาสต้าบอล” ที่มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย รูปแบบของ EM มีทั้งที่เป็นของเหลวหรือน้ำจุลินทรีย์, แบบแห้ง เรียกว่า โบกาฉิ (Bokashi) หรือปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และแบบของแข็งหรือ ก้อนจุลินทรีย์ (EM Ball) ซึ่งแตกต่างกันตามประโยชน์และความเหมาะสม ของการใช้งาน ทั้งนี้ ส่วนผสมของ EM โดยเฉพาะที่เป็นกากน้ำตาลหรือ รำข้าว มีความสำคัญต่อการผลิต EM เพราะเป็นตัวเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ให้เจริญเติบโตและมีความแข็งแรง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการ ทำงานของจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี แต่ต้องหมักอยู่ในสภาวะและระยะเวลา ที่เหมาะสม หลักการทำงานของจุลินทรีย ์

จากจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ จะถูกคัดสายพันธุ์เฉพาะจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ เพื่อนำมาผลิตน้ำจุลินทรีย์หรือก้อนจุลินทรีย์ ซึ่งจุลินทรีย์ เหล่านี้ จะกินของเสียที่อยู่ในน้ำเน่าที่หมักหมมอยู่ในน้ำท่วมขัง จนทำให้ น้ำมีความสกปรกลดลงและลดกลิ่นเหม็นจากน้ำเน่าเสียได้ ซึ่งเมื่อความ สกปรกในน้ำลดน้อยลงแล้ว สภาพน้ำก็จะปรับตัวและมีคุณภาพดีขึ้น โดยอาศัยกระบวนการทางธรรมชาติ สำหรับการทำงานของก้อนจุลินทรีย์ ก็มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับน้ำจุลินทรีย์ แต่เนื่องจากก้อนจุลินทรีย์ จมลงใต้น้ำ จึงทำให้สามารถกินของเสียในน้ำที่ระดับท้องน้ำได้ดีขึ้น สิ่ ง ต่ า งๆ บนโลกใบนี้ ล้ ว นมี ทั้ ง คุ ณ และโทษ ขึ้ น อยู่ กั บ การ พิจารณานำไปใช้ การนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิธีการ อาจนำมา ซึ่งการไม่ได้ประสิทธิผลและอาจกลายเป็นโทษมากกว่าให้คุณ เช่นเดียว กับการนำ EM ไปใช้ EM แต่ละสูตร แต่ละรูปแบบล้วนมีประสิทธิภาพใน สภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน การใช้อย่างเหมาะสม ทั้งชนิด ปริมาณ และในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ย่อมจะเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ที่มาข้อมูล : - เอกสารเผยแพร่ “มารู้จักจุลินทรีย์และก้อนจุลินทรีย์กันเถอะ” สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ - เอกสารเผยแพร่ “บำบัดน้ำเสียเบื้องต้นด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์/ก้อนจุลินทรีย์” สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ - เว็บไซต์บริษัท เอ็มโร เอเชีย จำกัด www.emro-asia.com เรื่อง “เกี่ยวกับ EM” - เว็บไซต์กรมพัฒนาที่ดิน เรื่อง “เรื่องการผลิตสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น โดยใช้สารเร่ง พด.6” - เอกสารเผยแพร่ “ดาสต้าบอล” องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน (อพท.)

3


คอลัมน์

...ใบไม้ไหว

9 ปี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา เป็นวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ครบรอบ 9 ปี ซึ่งนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำคณะผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงทรัพยากรฯ ประกอบ พิธีทางศาสนาเพื่อความเป็นสิริมงคล ณ ห้องประชุมศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช อาคารกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และในโอกาสเดียวกันนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้ จัดให้มีพิธีมอบรางวัลเพชรจรัสแสง จำนวน 5 รางวัล เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจ แก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติ รมว.ทส. ลงตรวจพื้นที่และให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ที่ผ่านมา นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และผู้บริหารระดับสูง ลงตรวจพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและให้ความช่วยเหลือประชาชนใน จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.ปทุมธานี พร้อมทั้งมอบถุงยังชีพ น้ำดื่ม และจุลินทรีย์ EM แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งสองจังหวัด เพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ นอกจากนี้ ได้มีการร่วมหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งสอง ในการ กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเพื่อรายงานสถานการณ์ให้กับคณะกรรมการ ศภป. ในการเร่งให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้ประสบภัยต่อไป กระทรวงทรัพยากรฯ รวมน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2554 ณ ศปภ. ดอนเมือง นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้แทน ศปภ. รับมอบเงินและสิ่งของบริจาค จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพ สิง่ แวดล้อม กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และหน่วยงาน ภาคเอกชน ได้แก่ บริษทั เดอะแวลลูซสิ เตมส์ จำกัด กลุม่ ผูส้ อื่ ข่าวกรมทรัพยากรน้ำบาดาล รวมทัง้ ผูบ้ ริจาคในนาม บุคคล ได้แก่ นายณรงค์ อิงค์เธนศ และนายสมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ซึ่งการมอบเงินและสิ่งของบริจาคในครัง้ นี้ เป็นการผนึกกำลังของหน่วยงานทัง้ จากภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน ในการรวมน้ำใจช่วยผูป้ ระสบภัยน้ำท่วม กระทรวงทรัพยากรฯ รับมอบน้ำ EM จาก กฟผ. แก้ปัญหาพื้นที่น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เป็นผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับมอบน้ำจุลินทรีย์ (น้ำ EM) 120 ลิตร จากนายธวัช วจนพรสิทธิ์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการนี้ นางพรทิพย์ ปัน่ เจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม พร้อมด้วยเจ้าหน้าทีร่ ว่ มเป็นสักขีพยาน ซึง่ น้ำ EM นี้ จะนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย ในพื้นที่น้ำท่วมขัง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรฯ ได้เริ่มปฏิบัติการดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2554 ในพื้นที่ภาคกลาง การประชุมนานาชาติ ASEAN-Plus-Three Leadership Programme on Sustainable and Consumption ครัง้ ที่ 4 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่ผ่านมา นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นประธานกล่าวเปิด การประชุมนานาชาติ ASEAN-Plus-Three Leadership Programme on Sustainable and Consumption ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 6-7 ตุลาคม 2554 ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการศึกษาดูงาน ณ อุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสริ นิ ธร จ.เพชรบุรี ในวันที่ 8 ตุลาคม 2554 โดยมีผแู้ ทนจากประเทศในกลุม่ อาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และผู้แทนจากประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น รวมประมาณ 60 คน ซึ่ง การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้ผู้นำภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนได้รับความรู้ ทักษะ และมีเครื่องมือที่ จะนำไปจัดทำยุทธศาสตร์ การพัฒนาอย่างยั่งยืนของภาคการผลิต นำไปสู่ Green Economy รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน 4

ฟ้ า สวย น้ ำ ใส ปี ที่ 7 ฉบั บ ที่ 8 ประจำเดื อ นตุ ล าคม 2554


คอลัมน์

...ใบไม้ไหว

สส. ต้อนรับ นายเกษมสันต์ จิณณวาโส เข้าปฏิบัติราชการ ณ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม เข้าปฏิบัติราชการ ณ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2554 โดย นางรัชนี เอมะรุจิ รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นายสากล ฐินะกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและเผยแพร่ นางอนงค์ ชานะมูล เลขานุการกรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น การส่งเสริมการใช้ฉลากคาร์บอนสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2554 นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาโครงการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับชุมชน ณ ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการชี้แจงวัตถุประสงค์ รูปแบบการศึกษา ความสำคัญ ของใบรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ รวมทั้งการดำเนินการเพื่อขอการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ทั้งนี้ โครงการส่งเสริม ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์ เริ่มดำเนินการในประเทศไทยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และปัจจุบัน ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ กำลังได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างมาก เป็นการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ชุมชน (มผช.) เป็นกลไกสำคัญทีจ่ ะใช้เป็นเครือ่ งมือในการกำหนดมาตรฐาน และการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้จากโครงการหนึง่ ตำบลหนึง่ ผลิตภัณฑ์ สามารถรับประกันคุณภาพให้กับผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นแนวทางเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่ตลาดผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตัดสินผลการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ระดับประเทศ ตามที่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินโครงการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ปี 2554 ชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยได้มีการตัดสินผลงานเข้าร่วมประกวดฯ ระดับประเทศ เมื่อวันที่ 4 และ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา และสืบเนื่องจากสถานการณ์อุทกภัย กรมส่งเสริม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม จึ ง ขอเลื่ อ นพิ ธี ป ระทานถ้ ว ยรางวั ล แก่ ผู้ ช นะเลิ ศ การประกวดสร้ า งสรรค์ สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ จ ากวั ส ดุ เ หลื อ ใช้ ปี 2554 ระดั บ ประเทศ เป็ น เดื อ นมกราคม 2555 ณ บริ เ วณ ชั้ น 1 - ชั้ น 2 โซนอี เ ดน ศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ กรุ ง เทพมหานคร ดู ผ ลการตั ด สิ น ได้ ที่ www.deqp.go.th และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริ และกิจกรรมพิเศษ กองส่งเสริมและเผยแพร่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2298 5608 โทรสาร 0 2298 5860 คอลัมน์

..ระบำผีเสื้อ

Water หรือ น้ำ… หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จ ะทำให้ คุ ณ รู้ จั ก กั บ “น้ ำ ” ของวิ เ ศษ สามสถานะบนดาวเคราะห์สีน้ำเงิน ผ่านเนื้อหาของดิน น้ำ ลม และ ไฟ ธาตุพื้นฐานของโลกที่ประกอบขึ้นเป็นธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือมนุษย์ เรื่องราว ของธาตุ ทั้ ง สี่ ที่ ถ่ า ยเทหมุ น เวี ย นเข้ า ออกจากสิ่ ง มี ชี วิ ต และ ธรรมชาติ ที่ ไ ม่ อ าจตั ด ขาดจากกั น ตลอดทุ ก ยุ ค สมั ย เรื่ อ งเล่ า เหล่ า นี้ จ ะทำให้ คุ ณ ได้ รู้ จั ก กั บ ธรรมชาติ สั ต ว์ พื ช อี ก กระทั่ ง ตัวคุณเอง ได้ดียิ่งขึ้น * พบกับเรื่องของน้ำจาก นิรมล มูนจินดา โดยสำนักพิมพ์โลกสีเขียว ได้ตามร้านหนังสือ Se-ed ทั่วประเทศ

จดหมายข่ า วกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม

5


คอลัมน์

...ฟ้ากว้าง

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและการแพร่กระจายของ

สารอินทรีย์ระเหยง่าย ในเขตกรุงเทพมหานคร

โดย... วรรณา เลาวกุล นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ

สารอินทรียร์ ะเหยง่าย หรือ วีโอซี (Volatile Organic Compounds; VOCs) เป็นสารที่สามารถระเหยได้ง่ายที่อุณหภูมิห้องอยู่ในรูปของไอ หรื อ ก๊ า ซ และแพร่ ก ระจายสู่ สิ่ ง แวดล้ อ มได้ โ ดยตรงหรื อ โดยทางอ้ อ ม ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสารอินทรีย์ระเหยง่ายแต่ละชนิด บางชนิดเป็น อั น ตรายต่ อ สุ ข ภาพและบางชนิ ด เป็ น สารที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ก๊ า ซโอโซนใน บรรยากาศ ในการควบคุมหรือจัดการแก้ไขปัญหาสารดังกล่าว จำเป็น ต้องทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและการแพร่กระจายของ สารอิ น ทรี ย์ ร ะเหยง่ า ยซึ่ ง เป็ น ข้ อ มู ล ที่ ส ำคั ญ ข้ อ มู ล หนึ่ ง ที่ จ ะนำไปใช้ ประโยชน์ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยศู น ย์ วิ จั ย และฝึ ก อบรมด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม จึ ง ได้ ท ำการศึ ก ษา การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและการแพร่กระจายของสารอินทรีย์ระเหยง่าย ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นเขตเมือง โดยมีวัตถุประสงค์

เพื่อทราบถึงพฤติกรรมของสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศ และ ประเมินการเปลี่ยนแปลงและการแพร่กระจายของสารอินทรีย์ระเหยง่าย ในบรรยากาศโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ Meteorological Model 5-Comprehensive Air Quality Model with Extensions (MM5-CAMx) ผลการศึ ก ษาพบว่ า คุ ณ ลั ก ษณะของสารอิ น ทรี ย์ ร ะเหยง่ า ยขึ้ น อยู่ กั บ กิ จ กรรมในแต่ ล ะช่ ว งเวลาในพื้ น ที่ นั้ น ๆ และจากการใช้ แ บบจำลอง ทางคณิตศาสตร์ MM5-CAMx ในการประเมินการเปลี่ยนแปลงตามเวลา ของสารอินทรีย์ระเหยง่าย เช่น เบนซิน และโอโซน พบว่าผลที่ได้จาก แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และผลที่ได้จากการตรวจวัดในช่วงฤดูฝนและ ฤดูแล้งส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน และความเข้มข้นอยู่ใน ช่วงเดียวกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นี้ สามารถนำมา ประยุกต์ใช้ในการประเมินการแพร่กระจายและการเปลี่ยนแปลงตามเวลา ของสารอินทรีย์ระเหยง่ายและโอโซนในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ เขตเมืองอื่นๆ ได้ เพื่อนำไปสู่การจัดการหรือการควบคุมการปลดปล่อย สารอินทรีย์ระเหยง่ายในเขตเมืองต่อไป

คุณลักษณะของสารอินทรีย์ระเหยง่าย ขึ้นอยู่กับกิจกรรมในแต่ละช่วงเวลา ในพื้นที่นั้นๆ

6

ฟ้ า สวย น้ ำ ใส ปี ที่ 7 ฉบั บ ที่ 8 ประจำเดื อ นตุ ล าคม 2554


คอลัมน์

ชาวสส. ขอต้อนรับ

...หมุนตามฟ้า

นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริหาร ระดั บ สู ง ของกรมฯ พร้ อ มด้ ว ยเจ้ า หน้ า ที่ ร่ ว มแสดงความยิ น ดี แ ละให้ ก ารต้ อ นรั บ นายเกษมสั น ต์ จิ ณ ณวาโส เนื่ อ งในโอกาสดำรงตำแหน่ ง อธิ บ ดี ก รมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพ สิ่งแวดล้อม นายเกษมสันต์ จิณณวาโส

• เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2500 การศึกษา

• ระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง • ระดับปริญญาโท ได้รับทุน World Bank ศึกษาในสาขาวิชา Rural Development Planning จากสถาบัน Asian Institute of Technology (AIT)

และได้รบั ทุน USAID ศึกษาในระดับปริญญาโทอีกหนึง่ สาขา คือ Economics จากสถาบัน University of Notre Dame, Indiana ประเทศสหรัฐอเมริกา • ระดับปริญญาเอก ได้รับทุน USAID สาขา Labor Economics จากสถาบัน University of Notre Dame, Indiana ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังได้รับทุนจากสำนักงาน ก.พ. ศึกษาด้านสาขาวิชา Executive Development Program สถาบัน Kellogg School of Management, Northwestern University, Evanston ประเทศสหรัฐอเมริกา การรับราชการ

นายเกษมสันต์ จิณณวาโส บรรจุเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ในตำแหน่งนักวิชาการสหกรณ์ ระดับ 3 ณ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้วยผลงานอันเป็นทีป่ ระจักษ์จงึ ได้รบั ความก้าวหน้าในสายงานมาเป็นลำดับ และดำรงตำแหน่งในระดับผูบ้ ริหารระดับสูง ดังนี ้ • พ.ศ. 2551 ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • พ.ศ. 2552 ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช • พ.ศ. 2553 ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ • พ.ศ. 2554 ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง • ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เครื่องราชอิสริยาภรณ์

• ประถมาภรณ์มงกุฎไทย, ประถมาภรณ์ช้างเผือก และ มหาวชิรมงกุฎ คอลัมน์

Ark Hotel… โรงแรมลอยน้ำ สัญชาติรัสเซีย

...รอบรู้คู่โลก

เรื่องของภัยพิบัติน้ำท่วมโลกที่เคยมองกันว่าไกลตัว มาถึงวันนี้เรื่องเล่าเหล่านั้น อาจไม่เป็นเพียงจินตนาการ อีกต่อไป

และในที่สุดโลกก็ต้องตะลึงอีกครั้ง กับสุดยอดสถาปัตยกรรมแห่งความสร้างสรรค์จาก รัสเซีย ที่ออกแบบโรงแรมลอยน้ำชื่อ "อาร์ก โฮเท็ล (Ark Hotel)" เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยกรณี เกิดน้ำท่วม หรือน้ำทะเลเพิม่ ขึน้ สูง ซึ่งโรงแรมลอยน้ำแห่งนี้ ถือเป็นหนึ่งในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อรับมือภัยพิบัติ นานาชาติ ที่มีการออกแบบรูปทรงเป็นลักษณะกลมรีคล้ายกับหอย เพื่อทำให้น้ำหนักทุกส่วน ถูกแบ่งเท่าๆ กัน จึงไม่เป็นอันตรายแม้จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง โดยภายในก็จะมีสิ่งอำนวย ความสะดวกครบครัน ที่มีการสร้างกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ อีกทั้งมีการจำลองสภาพแวดล้อมธรรมชาติแบบย่อมๆ ด้วย ซึ่งในกรณีที่ยังไม่เกิด ภัยพิบัติ โรงแรมแห่งนี้ก็สามารถตั้งอยู่บนพื้นดินได้ตามปกติ แบบที่จินตนาการ ได้เลยว่าโรงแรมแห่งนี้ เปรียบเสมือนเป็น "เรือโนอาห์" ของปี 2012 เลยทีเดียว ที่มา... http://www.trendhunter.com/trends/a-real-life-ark

จดหมายข่ า วกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม

7


คอลัมน์

...ใต้ตะวัน

เกตุไพเราะโมเดล : ชุมชนแห่งการจัดการขยะ เรียบเรียง... อภิวัฒน์ คล่องนาวา : นักวิชาการสิ่งแวดล้อม

การป้ อ งกั น แก้ ไ ขปั ญ หาขยะที่ ดี ที่สุดคือ “การไม่ทำ ให้เกิดขยะ” แต่อาจ เ ป็ น เ รื่ อ ง ย า ก ใ น สภาพสังคมปัจจุบันที่เน้นความสะดวกสบาย ดั ง นั้ น แนวทางการป้ อ งกั น และแก้ ไขปัญหา ขยะทีท่ ำได้ คือ “การทำให้ขยะเกิดน้อยทีส่ ดุ ” โดยการลดปริมาณการใช้ การใช้ซำ้ ตลอดจน การคัดแยกขยะที่สามารถใช้ประโยชน์ได้กลับ ไปใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด เริ่ ม จากการ จั ด การขยะต้ น ทาง โดยการจั ด การขยะ ภายในครัวเรือน ต่อยอดสู่ชุมชน ซึ่งชุมชน ที่ประสบความสำเร็จในด้านการจัดการขยะ และสิ่ ง แวดล้ อ มมี อ ยู่ ม ากมายทั่ ว ประเทศ ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท โดยหนึ่งใน ต้นแบบนั้นคือ ชุมชนเกตุไพเราะ 3, 4, 5

“ชุมชนเกตุไพเราะ 3, 4, 5” ตั้งอยู่ในซอย วชิรธรรมสาธิต 57 สุขุมวิท 101/1 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 15 ไร่ มี จ ำนวน 121 หลั ง คาเรื อ น 220 ครอบครั ว มี น ายเกี ย รติ พ งศ์ เกตุ ล อย เป็ น ประธาน กรรมการชุมชน โดยที่ตั้งชุมชนเป็นที่ลุ่มน้ำขัง บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ชนั้ เดียวตัง้ อยูใ่ นน้ำ เดิมทีเป็นที่ดินของตระกูลเกตุลอย ที่มีอาชีพทำ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 49 ถนนพระราม 6 ซอย 30 พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

บ่อปลา ต่อมาได้แบ่งพื้นที่ให้ชาวบ้านเช่าเพื่อ ปลูกสร้างบ้านเรือน แต่ชุมชนก็ยังคงตั้งอยู่บน ผืนน้ำที่เป็นบ่อปลาเดิม มีการทิ้งของเสียและ สิ่งปฏิกูลลงในน้ำใต้ถุนบ้านเป็นผลให้น้ำเน่าเสีย ส่งกลิน่ เหม็น เป็นแหล่งเชือ้ โรค ทำให้เกิดความคิด ที่ จ ะพั ฒ นาชุ ม ชนให้ น่ า อยู่ แ ละมี สิ่ ง แวดล้ อ มที่ ดีขึ้น โดยมีผู้นำชุมชนเป็นคนริเริ่ม และอาศัย ความร่ ว มมื อ ร่ ว มใจของคนในชุ ม ชนร่ ว มทำ กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ร่วมกันคัดแยกขยะภายในบ้านเรือนของตนเอง และนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปั จ จุ บั น ชุ ม ชนเกตุ ไ พเราะ 3, 4, 5 มี รูปแบบการจัดการขยะที่หลากหลาย มีศูนย์รวม ของขยะแต่ ล ะประเภทที่ ชั ด เจน มี ก ารจั ด ตั้ ง คณะกรรมการเพื่อดำเนินการจัดการขยะแต่ละ ประเภท มี ศู น ย์ จั ด การขยะอิ น ทรี ย์ ข องชุ ม ชน โดยใช้รถชักลากขยะรับขยะอินทรีย์ที่คัดแยกจาก บ้ า นเรื อ นและตลาดสดในชุ ม ชนไปจั ด การที่ ศูนย์จดั การฯ เพือ่ นำมาทำปุย๋ หมักชีวภาพ ปุย๋ น้ำ ชีวภาพ นำมาเป็นอาหารสัตว์ และใช้เลีย้ งไส้เดือน รวมทั้งทำจุลินทรีย์ก้อนหรือที่คนในชุมชนเรียกว่า “ระเบิ ด น้ ำ ” แจกให้ บ้ า นละ 5 ลู ก เดื อ นละ 1 ครัง้ หย่อนลงในน้ำใต้ถนุ บ้าน เพือ่ บำบัดน้ำเสีย เป็นผลให้ในปัจจุบัน น้ำที่ขังในชุมชนมีคุณภาพ ดี ขึ้ น สามารถเลี้ ย งปลาบริ เ วณใต้ ถุ น บ้ า นได้ ส่วนขยะรีไซเคิลจะมีจดุ คัดแยก รวมทัง้ มีการรับซือ้ ขยะรีไซเคิลภายในชุมชนด้วย ส่วนขยะอันตราย และขยะทั่ ว ไป ทางชุ ม ชนได้ จั ด จุ ด ทิ้ ง เพี ย ง จุดเดียว เพื่อการจัดการที่ง่ายและสะดวก และ นอกจากนี้ในแต่ละบ้านมีการทำถังดักไขมันอย่าง

ง่ายใช้ในครัวเรือน เพื่อช่วยบำบัดน้ำเสียก่อน ที่จะปล่อยลงน้ำใต้ถุนบ้านของตัวเอง การรณรงค์ ผ่านป้ายประชาสัมพันธ์เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะ ช่วยให้คนในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญใน การรักษาสิ่งแวดล้อม และจุดเด่นที่แปลกไปจาก ชุมชนอื่น คือ ถ้าใครปล่อยให้สุนัขของตนเอง ถ่ า ยลงบนพื้ น ถนน จะต้ อ งจ่ า ยค่ า ปรั บ ให้ กั บ ชุมชน กองละ 500 บาท เป็นแบบ “วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่ ง หนึ่ ง ” คื อ คนแจ้ ง ได้ ค รึ่ ง หนึ่ ง แล้วเอาเข้าชุมชนครึ่งหนึ่ง ในวั น นี้ ถ้ า ใครมี โ อกาสไปเยี่ ย มเยี ย น ชุมชนเกตุไพเราะ 3, 4, 5 ก็จะพบกับการต้อนรับ ด้ ว ยไมตรี อั น ดี พร้ อ มความรู้ ที่ ไ ด้ ม าจากการ ปฏิบตั จิ ริงจนกลายเป็นทฤษฎีของชุมชนทีเ่ กิดจาก การร่ ว มมื อ กั น ของชาวบ้ า นและชุ ม ชน โดย ยึ ด หลั ก เศรษฐกิ จ พอเพี ย งในการดำเนิ น ชี วิ ต เน้นการจัดการขยะต้นทางที่เกิดจากครัวเรือน จนกลายเป็ น ชุ ม ชนที่ มี สิ่ ง แวดล้ อ มที่ ดี เป็ น สถานที่ศึกษาดูงานให้กับชุมชนอื่นๆ รวมทั้งเป็น อีกหนึ่งชุมชนที่เข้าร่วมโครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม บางทีเรือ่ งทีน่ กั วิชาการกำลังถกเถียง กันอยู่ในปัจจุบัน อาจจะมีคำตอบรอทุกคน อยู่แล้วที่.. “ชุมชนเกตุไพเราะ 3, 4, 5”

ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ 17/2535 ปทจ. สามเสนใน สิ่งตีพิมพ์

www.deqp.go.th www.environnet.in.th / Call Tel. 0 2278 8449

คณะที่ปรึกษา : เกษมสันต์ จิณณวาโส, รัชนี เอมะรุจิ, นิพนธ์ โชติบาล บรรณาธิการ : บรรพต อมราภิบาล คณะบรรณาธิการ : สาวิตรี ศรีสุข, ภาวินี ณ สายบุรี, บุญญา ชคัตตรัย, จริยา ชื่นใจชน, ผกาภรณ์ ยอดปลอบ, เอกราช ขำมะโน, เรไร เที่ยงธรรม, อลงกต ศรีวิจิตรกมล, จินดารัตน์ เรืองโชติวิทย์, อุไร เกษมศรี, บาจรีย์ สงวนวงศ์, อัครเดช ติตตะบุตร, จีรศักดิ์ นิลอุบล, พิรุณ อยู่สุข, ศุภลักษณ์ ศรีลาวงษ์, อานันตพร จินดา กองบรรณาธิการ : ฏีคชเมษฐ์ เรือนสังข์, ฉัตรชัย อมรพรชัยกุล, เฉลิมพล วัฒนพุทธิวรรณ, ณิชาภา เฉยพันธ์, จิตติมา กียะสูตร, ณิชภัทร ทองเลิศ, คณารัตน์ เล็งเบา, พรวิภา ศิริพิชญ์ตระกูล, ปิยธิดา สุขประเสริฐ จัดทำโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เลขที่ 49 ถนนพระราม 6 ซอย 30 พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2278 8400 - 19 ต่อ 1555-1557, 0 2298 5630 โทรสาร 0 2298 5631 www.deqp.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.