Green line 25 : The Invisible Sea

Page 1


ฉบับที่ 25 มกราคม – เมษายน 2552 ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 49 พระราม 6 ซอย 30 ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2298 5628 โทรสาร 0 2298 5629 www.deqp.go.th, www.environnet.in.th บรรณาธิการที่ปรึกษา อรพินท์ วงศ์ชุมพิศ จตุพร บุรุษพัฒน์ รัชนี เอมะรุจิ บรรณาธิการอำนวยการ สากล ฐินะกุล บรรณาธิการบริหาร สาวิตรี ศรีสุข กองบรรณาธิการ ศรชัย มูลคำ ภาวินี ณ สายบุรี จงรักษ์ ฐินะกุล จริยา ชื่นใจชน นันทวรรณ เหล่าฤทธิ์ ผกาภรณ์ ยอดปลอบ นุชนารถ ไกรสุวรรณสาร บรรณาธิการภาษาอังกฤษ วสันต์ เตชะวงศ์ธรรม ผู้ช่วยบรรณาธิการ แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์ ผู้จัดทำ หจก.สำนักพิมพ์ทางช้างเผือก 22/1020 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์/โทรสาร 0 2379 5938 e-mail: milkywaypress@gmail.com ลิขสิทธิ์บทความ สงวนสิทธิ์โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย สงวนสิทธิ์โดยผู้ถ่ายภาพหรือเจ้าของภาพ การพิมพ์หรือเผยแพร่บทความซ้ำโดยไม่ใช่เพื่อการพาณิชย์ สามารถทำได้โดยอ้างอิงถึง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพิมพ์เพื่อเผยแพร่ภาพถ่ายซ้ำ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ลิขสิทธิ์ก่อนเท่านั้น บทความที่ตีพิมพ์ ในวารสารนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน เพื่อเผยแพร่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หลากหลาย

VA.indd 2

No. 25 January - April 2009 Publisher Department of Environmental Quality Promotion Ministry of Natural Resources and Environment 49 Rama VI Soi 30, Rama VI Rd., Bangkok 10400 Tel. 0 2298 5628 Fax. 0 2298 5629 www.deqp.go.th, www.environnet.in.th Editorial Advisers Orapin Wongchumpit Jatuporn Buruspat Ratchanee Emaruchi Editorial Directors Sakol Thinakul Executive Editor Savitree Srisuk Editorial Staff Sornchai Moonkham Pavinee Na Saiburi Chongrak Thinakul Jariya Chuenjaichon Nantawan Lourith Pagaporn Yodplob Nuchanard Kraisuwansan English Edition Editor Wasant Techawongtham Assistant Editor Maenwad Kunjara Na Ayuttaya Patwajee Srisuwan Producer Milky Way Press Limited Partnership 22/1020 Ramkhamhaeng Rd., Hua Mark, Bangkapi, Bangkok 10240 Tel./ Fax. 0 2379 5938 e-mail : milkywaypress@gmail.com Text copyright by the Department of Environmental Quality Promotion, Ministry of Natural Resources and Environment. Photographs copyright by photographers or right owners. Aricles may be reproduced or disseminated for non-commercial purposes with cited credit to the Department of Environmental Quality Promotion. Reproduction of photographs must be by permission of right owners only. Opinions expressed in the articles in this journal are the authors’ to promote the exchange of diverse points of view.

3/3/09 11:06:05 AM


บทบรรณาธิการ

ม้แต่พรานทะเลผู้เฒ่าที่ออกเรือหาปลามาตลอดชีวิต หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ทำวิจัยในท้องทะเลมาหลายสิบปี ก็ยังพูดได้ไม่เต็มปากว่า “รู้จัก” ทะเล เพราะท้องทะเล อันกว้างใหญ่และลี้ลับล้วนเต็มไปด้วยสรรพสิ่งที่มนุษย์ เคยเห็นและรู้จัก เคยเห็นและไม่รู้จัก และไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จัก การกล่าวอ้างว่ารู้จักทะเลดี ก็มิต่างอะไรกับตาบอดคลำช้าง หรือเป็นเพียงการคุยโวโอ้อวด หรือยิ่งไปกว่านั้นก็เพื่อกอบโกยผล ประโยชน์จากทะเล ดั ง เช่ น นั ก อุ ต สาหกรรมประมงกลุ่ ม หนึ่ ง อ้ า งเหตุ ผ ลทาง วิทยาศาสตร์ ในการกำหนดโควต้าการจับปลา ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ปริมาณปลาลดลง จนแหล่งที่เคยมีปลาชุกชนบางแห่งไม่มีปลาให้ จับอีกต่อไป แสดงให้เห็นว่า หลักการและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ หยิบยกมาอ้างเป็นเพียง “ข้ออ้าง” ที่นำไปสู่การทำลายล้าง ขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งก็หันมาปลูก-สร้าง-เลี้ยงดูสิ่งที่สูญหาย ไปอีกครั้งในรูปการปลูกปะการัง การปลูกป่าชายเลน หรือการทำ ฟาร์มปลา

การ “สร้างใหม่” แม้เป็นความหวังดีต่อสิ่งแวดล้อมอยู่บ้าง แต่ ก็ เ ป็ น ความหวั ง ดี ที่ ป ลายเหตุ และยากจะรื้ อ ฟื้ น ความอุ ด ม สมบูรณ์กลับมาได้ แต่ดูเหมือนวิธีคิด “ก่อให้เกิดปัญหาแล้วค่อย ตามแก้” ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกรวดเร็วราวกับโรคติดต่อ สุดท้ายแล้วชะตากรรมทรัพยากรในท้องทะเลก็คงไม่ต่างกับ ทรัพยากรบนบก ดังเช่นกรณีป่าไม้ มีการตัดไม้ทำลายป่าที่สมบูรณ์ จนกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม แล้วปลูกไม้โตเร็วเพื่อตัดไปขาย…ซึ่ง ไม่มีวันจะกลับกลายมาเป็นป่าสมบูรณ์ อย่างน้อยเรายังมองเห็นได้ว่าป่าไม้ยังอยู่หรือสูญหายไปแล้ว ด้วยตาเปล่าหรือภาพถ่ายจากดาวเทียม แต่ภายใต้ผืนน้ำอันกว้าง ใหญ่ ไพศาลของท้องทะเล ไม่มี ใครรู้ว่าสัตว์ทะเลหายไปมากน้อย เพียงใด จนกระทั่งเมื่อไม่มีใครพบเห็นมันอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้ คำพยากรณ์ของนักวิทยาศาสตร์แทบทุกสำนักจึง ออกมาในทิศทางเดียวกันว่า สัตว์ทะเล ทรัพยากรแหล่งสุดท้ายของ มนุษย์ผู้อิ่มเอิบกับการบริโภค คงดำรงอยู่ต่อไปได้อีกไม่กี่สิบปี ทางที่ ดี แ ละยั่ ง ยื น ที่ สุ ด คื อ การเก็ บ รั ก ษาความสมบู ร ณ์ ข อง ธรรมชาติไว้ตั้งแต่ต้นมือ

ven sea hunters who spend virtually their entire life on the sea or experienced marine researchers cannot convincingly say they “know” the sea. For the vast expanse and mysterious sea is home to innumerable living and non-living things, both known and yet-unknown to man. To say one knows the sea well is no more than bragging or, worse, a veiled attempt to exploit the sea. Take a group of fishery industrialists who cite scientific reasons in setting quotas for fishing. After a while, the fish population began to plunge, to the point of extinction in some areas. It just goes to show that scientific reasons or principles are sometimes mere excuses that lead to destruction. Meanwhile, another group of people resort to growing, building or nurturing those which have been lost in the form of replanting mangroves, regrowing corals, or building fish farms. “Re-building” may be a good intention for the environment but it is a good intention at the end

of the road and can hardly bring back its vitality. Yet the “create problems now and solve them later” mentality has somehow spread throughout the world. In the end, the fate of marine resources will be no different from other resources on land like forests that have been logged, legally or otherwise, until they became deteriorated. Then fast-growing trees are grown commercially but they will never become forests like old again. At least we can see with naked eyes or aerial photographs whether a forest is still standing. But under the vast expanse of the sea, no one really knows for sure how much of marine life still exists until nothing is left to see. For this reason, most scientists have predicted that marine life, the last natural resource to feed man’s insatiable appetite, will last for only a few decades more. The best and sustainable solution is, therefore, to preserve what natural abundance has been bestowed upon us in the first place.

E

VA.indd 3

EDITORIAL

3/3/09 11:06:09 AM


สารบัญ

TABLE OF CONTENTS

ทะเลไร้ปลา?

6

SEA WITHOUT FISH?

6

ปรากฎการณ์ “ซูชิ” ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก สถิติการส่งออกอาหารทะเลของไทยสูง ขึ้นทุกปี เหล่านี้ล้วนสะท้อนภาพบริโภคนิยมสุดโต่ง ที่นำไปสู่การผลาญพล่าสัตว์ ทะเลทั้งในน่านน้ำบ้านเราและทั่วโลกให้ร่อยหรอ จนบางแห่งนักวิทยาศาสตร์ออก มาบอกว่า อีก 40 ปี ปลาจะหมดทะเล The “sushi” phenomenon. Increasing seafood export from Thailand. All this points to over-consumption that eventually leads to depletion of marine animals both in Thailand and the world over so much so that some scientists have warned that fish will disappear from the sea within four decades.

แกะรอยปลาทูที่หายไป

10

In Search of the Missing Pla Too

บ้านปะการัง

ปะการังเทียม คือหนทางรอดของปลาทะเลในฐานะ “บ้านหลัง ใหม่”? แท่งปูน ยางรถยนต์ เครื่องบิน แท่นขุดเจาะน้ำมัน...บ้าน แบบไหนที่ปลาชอบ?

18

22

The House That Corals Build Are imitation corals to be marine fishes’ “new homes” and only way to survive? Concrete blocks, car tires, old airplanes, oil drilling rigs ... what kind of homes the fishes prefer?

ลอดรั้วริมทาง THROUGH THE FENCE

22

อันดามัน...มรดกโลกไม่ไกลเกินเอื้อม

27

Andaman: Within Reach as World Heritage Site

เส้นทางสีเขียว GREEN LINE

27

สมบัติหมื่นล้านใต้ท้องทะเลไทย

Time Capsules under the Thai Seas

เส้นทางสายใหม่ ON A NEW PATH

33

ฮูย่า! พวกเราคือนักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์

33

Hooah! We Are Sea-Guarding Divers

เส้นทางเดียวกัน ON THE SAME PATH

38

ทะเลต(ร)ม....

Sea of Sadness …

VA.indd 4

38 มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:06:12 AM


สารบัญ

TABLE OF CONTENTS

สัมภาษณ์พิเศษ: “บังหมาน” พรานปลาแห่งทะเลตรัง

42

INTERVIEW: “Bang Maan” – Fish Hunter of the Sea of Trang

42

ข้ามฟ้า ACROSS THE SKY

50

จากตูวาลูถึงกรุงเทพ...แผ่นดินใต้ทะเล?

From Tuvalu to Bangkok: An Undersea World?

เสียงชุมชน community voice

57

บ้านปลาที่ท่าไร่

A Fish Home at Ta Rai

50 54

สี่แยกไฟเขียว GREEN INTERSECTION

60

ยุวทูตพิทักษ์หัวหิน

Youth for the Preservation of Hua Hin

มหิงสาน้อย...นักวิจัยวัยเยาว์

66

Small Mahingsa...Young Researchers

กลุ่มปูก้ามดาบ

57

Poo Kam Daab Group

เรื่องจากผู้อ่าน from the readers

70

ทะเลบ้า?

Sea Gone Mad?

กิจกรรมกรม Department Activities

73

ทำความสะอาดเมืองพัทยา Cleanup Pattaya

ล้อมกรอบ viewfinder

60

78

คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล

Kueb Gau Talay, Sog Gau Talay 74

มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

73 VA.indd 5

3/3/09 11:06:15 AM


ทะเลไร้ปลา? เรื่อง ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์ ภาพ แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา

Sea Without Fish? Story Patwajee Srisuwan

VA.indd 6

Photos Maenwad Kunjara na Ayuttaya

3/3/09 11:06:17 AM


ท่ า มกลางข่ า วร้ า ยจากภั ย ธรรมชาติ ร ายวั น หนึ่ ง ในข่ า วเหล่ า นั้ น คื อ อาหารทะเลกำลั ง จะ หมดไปจากโลก องค์การสหประชาชาติระบุว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้สูญเสียความหลากหลายทาง ชี ว ภ า พ ใ น ท ะ เ ล คื อ ก า ร ป ร ะ ม ง เ กิ น ข น า ด (overfishing) และภาวะโลกร้อน (climate change)

วารสารด้านวิทยาศาสตร์ชื่อ Science ฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ตีพิมพ์งานวิจัยของคณะนัก วิจัยจากแคนาดา ปานามา สวีเดน อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาจำนวน 14 คน ที่มีศาสตราจารย์บอริส เวิร์ม นักชีววิทยาทางทะเลจากมหาวิทยาลัยดัลฮูซี เมืองฮาลิแฟกซ์ แคนาดา เป็นหัวหน้าคณะผู้วิจัย ความสรุปว่า การประมงเกินขนาด มลพิษ และปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆ จะทำให้สัตว์ทะเลหายไป การวิจัยครั้งใหญ่นี้เริ่มต้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาระบบ นิเวศทางทะเล 32 จุด ตรวจสอบพื้นที่สภาพชายฝั่งในรอบ 1,000 ปีผ่านมา จำนวน 12 แห่งทั่วโลก โดย การสืบค้นข้อมูลจากเอกสาร บันทึกการประมง หลักฐานทางโบราณคดี และสภาพชั้นตะกอนตามแนว ชายฝั่ง และสถิติการจับสัตว์น้ำทั่วโลกระหว่างปีพ.ศ.2493-2546 ซึ่งรวบรวมโดยองค์การอาหารและ การเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) เพื่อตอบคำถามว่า จะมีอาหารทะเลเพียงพอต่อการบริโภคไปอีก กี่ปี?

A

N ALMOST DAILY PIECE OF BAD NEWS about natural disasters is that seafood is vanishing from the planet Earth. The United Nations indicates that the key factors of marine biodiversity loss are overfishing and climate change. According to Science journal of November 2006, a research by 14 researchers from Canada, Great Britain, Panama, Sweden and the United States led by Boris Worm, a marine biologist professor from the Department of Biology, Dalhousie University, Halifax, Canada, shows that overfishing, pollution and other environmental factors are the causes of vanishing marine life. The research was conducted four years ago, based on data analyses on 32 areas of marine ecosystem within 12 seashores worldwide over the past 1,000 years, including data collected from public documents, fishing records, archaeological evidence, coastal sediment layers, and statistics of world fisheries during 1950-2003 compiled by the Food and Agriculture Organization (FAO), in order to foresee the duration of seafood sufficient for consumption. The shocking answer is that in 40 years (by 2048), almost all species of marine animals would disappear! From statistics in 2003 (latest record in the research) of global fish catch, 29% of economic fish species has been lost, more than doubling the rate of loss recorded in 1989 which was 13.5%. Currently, only 7,784 species of fish have been caught worldwide, a decrease of 1,736 species.

เรีออวนลากกำลังจับปลาอยู่ภายในเขต 3,000 เมตรจากชายฝั่งเกาะลันตา จ.กระบี่ ซึ่งเป็นเขตห้ามจับปลา สำหรับเรืออวนลากอวนรุนตามกฏหมาย – เครือข่ายชุมชนฟื้นฟูเกาะลันตา A purse seine trawler is operating less than 3,000 meters from the coast of Lanta Island in Krabi province, a zone legally off-limit to trawlers. – Koh Lanta Restoration Community Network

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 7

January - April 2009

3/3/09 11:06:19 AM


“...ปัจจุบันแพเริ่มทยอยปิดกิจการทั้ง ชั่วคราวและถาวร โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ จังหวัดระนองซึ่งอดีตเป็นพื้นที่ที่มีการซื้อ ขายสัตว์น้ำประเภทปลามากที่สุดในภาคใต้ จนทำให้กิจการแพปลาเกิดขึ้นกว่า 300 แพ แต่ปัจจุบันลดเหลือเพียงแค่ประมาณ 120 แพเท่านั้น และยังมีทีท่าว่าจะปิดตัวเองอีก หลายแพ...” – วีระ บุญราศี คำตอบที่น่าตกใจคือ ในอีก 40 ปีข้างหน้า (ค.ศ.2048 หรือ พ.ศ.2591) ปลาและสัตว์ทะเลแทบทุกสายพันธุ์จะหมดไป! ทั้งนี้จากข้อมูลการจับปลาเพื่อการค้าทั่วโลกเมื่อปีพ.ศ. 2546 (ข้อมูลล่าสุดที่มีบันทึกไว้ขณะทำวิจัย) พบว่าชนิดของปลาเพื่อการ ค้าหายไปถึง 29 เปอร์เซนต์ ถือว่ารวดเร็วกว่าเท่าตัว เมื่อเปรียบ เที ย บกั บ เมื่ อ ปี พ .ศ. 2532 ที่ ช นิ ด ของปลาหายไปเพี ย ง 13.5 เปอร์เซนต์เท่านั้น โดยปัจจุบันชาวประมงจับปลาได้ลดลง 1,736 ชนิด เหลือปลาที่จับเป็นการค้าทั่วโลกเพียง 7,784 ชนิดเท่านั้น ต่อกรณีนี้สถาบันประมงแห่งชาติ (The National Fisheries Institute) ซึง่ เป็นองค์กรของกลุม่ ผูผ้ ลิตอาหารทะเลในสหรัฐอเมริกา ออกแถลงการณ์ว่าปริมาณสัตว์ทะเลยังอยู่ ในระดับที่ “ยั่งยืน” แต่ ความต้องการอาหารทะเลของโลกเพิ่มขึ้นเกินกว่าปริมาณปลาใน ธรรมชาติจะรองรับได้ ทางออกคือต้องพึง่ พาการเลีย้ งปลา ทว่าศาสตราจารย์สตีเฟน พาลัมบิ หนึ่งในคณะนักวิจัยแย้ง กลับทันทีว่า “สิ่งที่อุตสาหกรรมประมงกำลังทำอยู่ก็ไม่ต่างอะไรกับ การเปิดแอร์ แทนการเปิดหน้าต่าง” ซึ่งหมายถึงแทนที่จะบริโภค และจับปลาแบบพอประมาณ แต่กลับจับมากเกินไป จนต้องเสีย ต้นทุนในการเลี้ยงปลาจำนวนมหาศาล อนึ่งประเด็นสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลไม่เห็นด้วยกับ การทำฟาร์มปลาทะเลก็คือ การต้องเสียต้นทุนไปกับการหาปลาเล็ก ปลาน้อยมาให้ปลาใหญ่กิน ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหามากกว่าแก้ ไข และการที่ทะเลเป็นระบบเปิดจึงยากแก่การควบคุม มีปัจจัยมากมาย ที่ส่งผลกระทบต่ออายุขัยและปริมาณปลา นอกจากนี้ปลาขนาดใหญ่ ต้องว่ายน้ำเป็นระยะทางไกลในทะเลเปิด ไม่สามารถอยู่ ในพื้นที่ เล็กๆ และจำกัดได้ ข้อสรุปสำคัญจากคณะวิจัยกลุ่มนี้คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ ของการใช้ พื้ น ที่ ท างทะเลแต่ ล ะจุ ด อย่ า งชั ด เจน ควรมี ม าตรการ บริหารจัดการระบบนิเวศวิทยาทางทะเล โดยการตั้งเขตสงวน ห้าม ไม่ ให้มนุษย์เข้าไปทำกิจกรรมใดๆ โดยเด็ดขาด รวมทั้งบริหารจัดการ การประมงรูปแบบใหม่ คือให้อุตสาหกรรมประมงเข้ามามีส่วนร่วม ปกป้องรักษาปริมาณสัตว์น้ำในท้องถิ่นให้เหลืออยู่ ในระดับที่เหมาะ สม โดยต้องเข้าไปสร้างความเข้าใจกับกลุ่มประมงว่า ถ้าเร่งจับสัตว์ น้ำจนหมดผลสุดท้ายจะจบลงด้วยสภาพทะเลที่ไร้ปลา

VA.indd 8

มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:06:22 AM


“...fish markets in general have been closed down either temporarily or permanently, particularly those in Ranong which traditionally was the largest fish marketplace in the South with more than 300 fish markets. Now there are only 120 of them left and more closings are expected...”– Veera Boonrasi

(บน) ชาวประมงจังหวัดระยองขึ้นจากเรือถือลอบจับปลาที่ว่างเปล่ากลับบ้าน

(Top) A fisherman in Rayong province holds an empty fish trap on his way home.

(ซ้าย) แผงขายปลาสดในตลาด นับวันจะมีแต่ปลาหรือสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงขึ้นมาแทบทั้ง สิ้น ส่วนปลาที่จับได้ ในทะเลตามธรรมชาติมักมีราคาสูงกว่าในอดีตมาก (Left) Sea food sold in fresh markets nowadays is mostly from farms. Sea animals caught in the sea are much more expensive than in the past.

Yet the National Fisheries Institute, an American seafood producers’ organization, announces that the quantity of marine life is at a sustainable level but the world’s demand for sea food has exceeded the fish stocks in nature. The solution, it said, is increasing reliance on fish farming. However, Professor Stephen R. Palumbi, one of the researchers, refuted the conclusion, saying: “What the fishery industry is doing now is like turning on an air-conditioner instead of opening a window.” In other words, rather than adopting sufficiency consumption and catch they resorted to overfishing, necessitating a huge investment in fish farming. The point that marine biologists take issue against concerning sea fish farming is the fact that huge expenses must be spent to catch smaller fishes มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 9

January January -- April April 2009 2009

to feed the big ones, which creates more problems than it solves. And the fact that the ocean is an open system, it is difficult to regulate and there are many factors that have impacts on the life span and quantity of fish. Further, big fishes need large open waters to range and therefore could not be contained within confined space. The research team recommended that the purpose of the use of each sea area is clearly stated and there should be measures to manage the marine ecosystem by designating sanctuaries where human activities are prohibited. A new type of fishery management should also be introduced by having the fishery industry participate in the conservation of marine animals to ensure they remain at an appropriate level. This may be done by forging an understanding with fishing groups so that they realize that overfishing would finally result in the sea without fish. OVERFISHING REFERS TO CATCHING OF FISH to the point where there is an insufficient number of fish for reproduction and growth for the next fishery season, causing the fish stocks to decrease continually and ultimately die out. The most recent tragic case happened to the cod population on the Grand Banks, the oldest cod fishery in Canada that used to produce as much as 233,000 tons per year but which dropped to zero in only two years, resulting in more than 40,000 people left jobless. Carly Kenkel, a PhD candidate in Marine Biology at University of Texas, once made a presentation on this case while researching corals in Thailand that the Grand Banks had been the fertile habitat of cod fish since the 17th Century. However, about 100 years ago (1906), the arrival of large factory ships with cold storage and fish processing machines onboard allowed round-the-clock fishing.

3/3/09 11:06:24 AM


การประมงเกินขนาดหมายถึง การจับปลาจนถึงระดับที่ปริมาณ ปลาในทะเลไม่มากพอที่จะผสมพันธุ์และเติบโตสำหรับฤดูจับปลา ฤดูกาลหน้า ทำให้จำนวนประชากรปลาลดลงเรื่อยๆ จนหมดไปใน ที่สุด กรณีคลาสสิคที่เพิ่งเกิดขึ้นก็คือโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับปลา คอดที่แกรนด์แบงก์ บริเวณนอกชายฝั่งแคนาดา ซึ่งเป็นแหล่งทำ ประมงปลาคอดที่เก่าแก่ที่สุดของแคนาดา ที่จากผลผลิตที่เคยสูง ถึ ง 233,000 ตันต่อปี ตกลงกลายเป็นศูนย์ภายในสองปี คน ตกงาน กว่า 40,000 คน คาร์ลี่ เคนเคล นักศึกษาปริญญาเอกด้านชีววิทยาทะเล มหา วิทยาลัยเท็กซัสเคยบรรยายเรื่องนี้ ไว้ขณะมาทำวิจัยเรื่องปะการังที่ ประเทศไทยว่า บริเวณนอกชายฝั่งแคนาดาที่เรียกว่าแกรนด์แบงก์ เคยเป็นแหล่งปลาคอดที่ชุกชุมมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 17 ต่อมา เมื่อประมาณร้อยปีที่แล้ว (พ.ศ.2449) เริ่มมีเรือประมงโรงงานที่มี ทั้งห้องเย็น เครื่องจักรแปรรูป ทำให้สามารถจับปลาได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องกลับเข้าฝั่ง สามสิบปีต่อมาเรือประมงโรงงานเพิ่มขึ้นเป็น 700 กว่าลำ มี การใช้โซน่าร์และเรดาร์ช่วยหาตำแหน่งปลาได้อย่างแม่นยำ โดย สถิติการจับปลาคอดสูงสุดของที่นี่คือในปีพ.ศ. 2511 หลังจากนั้น ปริ ม าณปลาที่ จั บ ได้ ก็ ล ดลงเรื่ อ ยๆ จนในปี พ .ศ. 2531 นั ก วิทยาศาสตร์พบว่า ปริมาณปลาคอดลดลงอย่างน่าตกใจ จึงเสนอ

แกะรอยปลาทู ที่หายไป ธเนศ ศรีถกล, นักวิชาการประมง 7ว.

ผมได้ยินคำว่า “ปลาทูเแมว” ครั้งแรกเมื่อตอนที่ผมยังเด็ก (ขอไม่ บอกปี กลัวจะรู้ว่าคนเขียนอายุมากแล้ว) จำได้ว่าปลาชนิดนี้ต้มหวานกับ ส้มแขกกินแล้วอร่อยมาก ปลาทูต้มกะทิสายบัวก็อร่อย กินแล้วจะติดใจ ยิ่งได้ปลาสดจากทะเลแล้วไปทอด กินกับน้ำพริกแมงดา หรือเอามาทำยำ ปลาทูด้วยก็ยิ่งอร่อย ได้กินบ่อยครับเพราะแม่ชอบทำให้กิน ตอนนั้น ปลาทูราคาถูกและสดด้วย เพราะผมอยู่อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ซึ่ง ไม่ ไกลจากแหล่งจับปลามากนัก เดี๋ยวนี้ ผมไปร้านอาหารแล้วเจอปลาทูต้มหวานก็จะสั่งกินครับ แต่ ไม่ค่อยได้กินบ่อยนัก เพราะราคาแพงมาก ปลาทู 1 ตัว ราคา 30 บาทขึ้นไป บางแห่ง 50 บาท เสียด้วยซ้ำ! จากข้อมูลขององค์การสะพานปลา ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2551 www.fishmarket.co.th ราคาปลาทู ลั ง 40-65 บาทต่ อ กิโลกรัม ซึ่งขึ้นอยู่กับความสดและขนาดของปลา รวมถึงปริมาณและ ช่วงฤดูทำการประมง พอไปดูราคาในตลาดสดพบว่า อยู่ ในช่วง 7080 บาท และปลาขนาดใหญ่ (5-8 ตัวต่อกิโลกรัม) ราคาขึ้นไปถึง 100120 บาทต่อกิโลกรัม …แล้วอย่างนี้แมวที่ ไหนจะได้กินปลาทูกันบ่อยๆ!

10

VA.indd 10

มกราคม มกราคม -- เมษายน เมษายน 2552 2552

January January -- April April 2009 2009

3/3/09 11:06:28 AM


แผงขายปลาทูเข่งในตลาดสะแกงามย่านบางขุนเทียน ปลาทูยังคงเป็นอาหาร พื้นบ้านของชาวไทยที่ ได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย A fish seller waits for customers for her Indo-Pacific mackerel in Sakae Ngam Market in Bangkok. Mackerel continues to be a popular Thai sea fish.

The number of these massive ships increased to more than 700 some 30 years. With the help of sonar and radar, they were able to pinpoint where fish congregated. The catch at the Grand Banks reached its peak in 1968 but afterwards steadily declined until in 1988 alarming scientists suggested that the Canadian government cut down the fishing quota to about 50%. But the government merely agreed to a 10% cut. A survey four years later showed that the cod stocks had decreased to only 1.1% of the fish population in 1960. The Canadian government eventually put an end to the cod fishing at the Grand Banks that year. But by that time it was too late. Another major cod habitat is the Baltic sea which also faces a similar situation. Based on Greenpeace’s report “The Cod Fishery in the Baltic Sea: Unsustainable and Illegal”, the International

In Search of the Missing Pla Too Thanes Srithakol Marine Fisheries Biologist 7

I first heard the word pla too maew (mackerel for cats) when I was a kid. I still remember the taste of this kind of fish when cooked in the sweet soup with gamboge (Garcinia cambogia), and with lotus stalk in coconut milk. Fried freshly-caught mackerel was especially tasty when having with horseshoe crab chili paste or being cooked as Thai dressed salad. The fish were fresh and inexpensive because I was at the time living in Nathawee district of Songkhla province which is near their habitat. Now whenever I found the sweet pla too soup on the menu, I would order it but not often enough because it has gotten expensive. A mackerel can cost at least 30 baht and sometimes even 50 baht. According to the Fish Market Organization, as of November 18, 2008, the market price of mackerel was 40-65 baht per kilogram depending on how fresh and how big they are and also what time of year they were sold. But in a fresh market, the prices for the large ones could be 70-120 baht per kilogram. …With prices like this, how often will a cat get to eat the mackerel?

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 11

January - April 2009

11

3/4/09 6:16:54 PM


รัฐบาลแคนาดาให้ตัดโควตาการจับปลาลงเหลือ 50 เปอร์เซนต์ แต่ รัฐบาลยอมลดลงเพียง 10 เปอร์เซนต์เท่านั้น ผลการสำรวจในปีพ.ศ. 2535 พบว่าประชากรปลาคอดเหลือ เพียง 1.1 เปอร์เซนต์ของประชากรปลาในปีพ.ศ.2503 แม้ในที่สุด รัฐบาลยอมประกาศห้ามทำประมงปลาคอดในเขตแกรนด์แบงก์ ในปี 2535 แต่ก็สายไปเสียแล้ว แหล่งปลาคอดที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของโลกคือทะเลบอลติก ก็กำลังเผชิญปัญหาเดียวกัน ในรายงานเรื่อง The Cod Fishery in the Baltic Sea: Unsustainable and Illegal ของกรีนพีซระบุว่า สภานานาชาติ เ พื่ อ การสำรวจทางทะเล (The International Council for the Exploration of the Sea: ICES) ซึ่งเป็นองค์กร ที่ ป รึ ก ษาทางวิ ท ยาศาสตร์ ใ นเขตแอตแลนติ ก เหนื อ เรี ย กร้ อ งให้ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปลดโควต้าการจับปลาลง โดยในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา ICES เคยเรียกร้องให้หยุดจับปลาคอดในทะเล บอลติกตะวันออกถึง 4 ครั้ง...แต่ไม่เป็นผลแม้แต่ครั้งเดียว ตรงกันข้าม ตลอด 20 ปีทผี่ า่ นมา สภารัฐมนตรีการประมงแห่ง สหภาพยุโรปกลับกำหนดโควต้าการจับปลาคอดไว้สูงกว่าคำแนะนำ ของ ICES ทุกๆ ปี เช่น ในปีพ.ศ.2549 มีการกำหนดโควต้าสูงถึง 49,220 ตัน สูงกว่าที่ ICES แนะนำไว้ถงึ สามเท่าเลยทีเดียว คุณรู้จักปลาทูดีแค่ ไหน? ก่อนเจาะลึกเรื่องปลาทู ขอเล่าข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับปลาทู สักหน่อย เพื่อให้แน่ ใจว่าปลาในเข่งไม้ ไผ่ ใช่ปลาทูหรือไม่ ปลาทูเป็นปลาทะเลที่อยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ พบแพร่ ก ระจายในเขตอิ น โดแปซิ ฟิ ก ทั้ ง ในฝั่ ง มหาสมุ ท รอิ น เดี ย และ มหาสมุทรแปซิฟกิ สำหรับในน่านน้ำไทยพบทัง้ ในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ข้อมูลทางอนุกรมวิธานพบว่าปลาทูจัดอยู่ ในวงศ์สะคอมบริดี้ (Family Scombridae) ซึ่งอยู่ ในวงศ์เดียวกับพวกปลาโอ (ปลาทูน่าเล็ก) ปลา ทูนา่ และปลาอินทรี ในน่านน้ำไทยพบปลาสกุลนี้ (Genus Rastrelliger) 3 ชนิด คือ ปลาทู มีชื่อสามัญว่า Short mackerel, Indo-Pacific mackerel, ปลาลัง มีชื่อสามัญว่า Indian mackerel และปลาทูปาก จิง้ จกหรือปลาลังปากจิง้ จก มีชอื่ สามัญว่า Island mackerel ซึง่ เป็น ชนิดทีพ่ บน้อยมาก ทีน่ ยิ มกินและรูจ้ กั กันคือปลาทูและปลาลัง ปลาทูกับปลาลังนั้นรูปร่างคล้ายคลึงกัน แต่ปลาทูมีขนาดลำตัว กว้างกว่า โดยความยาวมาตรฐานของตัวปลาทูเป็น 3.7 ถึง 4 เท่า ของความยาวส่วนหัว (วัดจากปลายจมูกถึงแผ่นปิดเหงือก) ขณะที่ปลา ลังยาวเป็น 4 ถึง 4.8 เท่าของความยาวส่วนหัว และถ้าผ่าท้องปลาเอา ลำไส้มาวัดความยาว จะพบว่าปลาทูมีลำไส้ยาว 3.0 ถึง 3.4 เท่าของ ความยาวมาตรฐาน (ความยาวตั้งแต่ปลายจมูกถึงคอดหาง) ซึ่งมาก กว่าปลาลังที่มีความยาวเป็น 1.3-1.7 เท่าของความยาวมาตรฐาน ปลายจมูกของปลาทูกลมสั้น ส่วนปลายจมูกปลาลังแหลม จุดสีดำใต้ ฐานครีบหลังของปลาทูมีจำนวน 12-14 จุด และปลาลังมี 16 จุด ว่างๆ ลองนั่งพินิจพิจารณาดูนะครับว่าคุณกินปลาลังหรือปลาทู กันแน่ ปริมาณปลาทูน้อยลง? ตามหลักอุปสงค์อุปทาน ปริมาณสินค้าที่ลดลงทำให้ราคาสินค้า สูงขึ้น ในกรณีปลาทู จากปลาทูแมวเข่งละไม่กี่บาทกลายมาเป็นปลาทูที่ เจ้าของแมวได้แต่มองตาละห้อย เป็นเช่นนั้นหรือไม่? พอถามว่าจำนวนปลาทูลดลงจริงหรือเปล่า ก็ต้องมาดูสถิติย้อน หลัง แต่ขอบอกไว้สักนิดว่า ผลจับในสถิติจะไม่ ใช่ผลจับที่แท้จริงทั้งหมด แต่เป็นข้อมูลผลจับส่วนใหญ่ที่มีการบันทึกไว้

12

VA.indd 12

ชาวประมงเรือเล็กกำลังแกะปลาเห็ดโคน (Sillago maculata) ซึ่งในอดีตไม่ ได้เป็นปลา ราคาแพงและเป็นที่ต้องการของตลาดมากเท่าปัจจุบันนี ้ A small fisherman is cleaning his catch of Silver Sillago which in the past was not so popular or cost so much as now.

สถิติจากการประมงพบว่า ปริมาณการจับปลาทู-ลังในแต่ละปีคิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 22.24 ของปริมาณการจับปลาผิวน้ำรวมทั้งหมด (จากปลาผิวน้ำจำนวน 17 ชนิด อันดับหนึ่งคือ ปลาหลังเขียว) เมื่อ พิ จ ารณาสถิ ติ ย้ อ นหลั ง ไปประมาณสามสิ บ ห้ า ปี ที่ แ ล้ ว ถึ ง ปั จ จุ บั น (2514-2548) สรุปได้ว่า ปริมาณการจับเพิ่มขึ้น-ลดลงเป็นช่วงๆ โดย แต่ ล ะช่ ว งกิ น เวลาประมาณ 3-4 ปี เช่ น ในปี 2514-2516 จั บ ได้ 149.08, 119.19 และ139.72 เมตริกตันตามลำดับ แต่ลดลงเหลือ เพียง 61.04 เมตริกตัน ในปี 2517 ในช่วงปี 2521-2522 เพิ่มขึ้นอีก ครั้ง และลดลงในปี 2523 และเพิ่มอีกจนถึงปี 2527 พอถึงช่วงปี 2528-2534 ก็มีปริมาณลดลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นแนวโน้มคงที่มาจนถึงปี 2548, โดยตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมาปริมาณปลาทูลังที่จับได้มากกว่า 150 เมตริกตันขึ้นไป ทัง้ นีเ้ มือ่ พิจารณาในแง่มลู ค่าพบว่าเพิม่ ขึน้ จาก 2,605.4 ล้านบาทใน ปี 2536 เป็น 5,608.9 ล้านบาทในปี 2541 พอปี พ.ศ. 2544 ลดลง เหลือ 4,557.7 ล้านบาท และเพิม่ เป็น 6,078.0 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2548 จึงอาจกล่าวได้ว่าปริมาณการจับปลาต่อตันไม่ ได้ลดลงจากในช่วง ที่ปลาทูยังเป็นอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของแมวมากนัก แต่เพราะเหตุใด ปลาทูจึงราคาแพงนัก … ต้องติดตามตอนต่อไปครับ ทำไมปลาทูแพง? โดยปกติการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสัตว์น้ำมาจาก 2 สาเหตุคือ การตายโดยธรรมชาติ หรือจากการถูกล่า แต่สาเหตุหลักที่ทำให้ปลา หายไปคือการทำการประมงมากเกินไป (Over-fishing) ซึ่งเกิดขึ้นได้จาก การพัฒนาประสิทธิภาพของเรือ เครื่องมือและอุปกรณ์อิเลคโทรนิค วิธี การทำประมง ราคาน้ำมัน และความต้องการของตลาด ย้อนกลับไปดูตัวเลขการจับสัตว์น้ำทั้งประเทศในอดีต ก่อนหน้า สงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ปรากฏปริมาณการจับสัตว์น้ำที่แน่ชัด แต่ อนุมานได้ว่ามีการจับปลาได้ปีละ 150,000 ตัน หลังสิ้นสุดสงคราม การประมงของประเทศไทยขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงปี พ.ศ. 2490-2503 สัตว์ทะเลที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นปลาผิวน้ำ (ปลาทู-ลัง) จาก เครื่องมือโป๊ะและอวนตังเก โดยเพิ่มจาก 120,173 ตัน ในปี พ.ศ. 2490 เป็น 146,417 ตันในปี พ.ศ. 2503 มกราคม มกราคม -- เมษายน เมษายน 2552 2552

January January -- April April 2009 2009

3/3/09 11:06:32 AM


Council for the Exploration of the Sea (ICES), the scientific advisory body for the northeastern Atlantic region, has been calling for quota reduction in the European Union. ICES made four requests over the past 13 years for a stop of cod fishing in the eastern Baltic Sea but to no avail. By contrast, over the past 20 years, the Council of Fisheries Ministers of the EU has set higher catching quotas than the level suggested by ICES. For instance, the total allowable catch for Eastern Baltic cod in 2006 is three times higher than what ICES advised. This excludes a huge amount of illegal catch. ICES estimates that the amount of illegally caught cod in 2005 reached 15,000 tons, or 38% of the official quota. A Polish scientist put the illegal caught cod at 100% of the allocated quota. As a result of this, many marine scientists have expressed grave concerns and predicted that the cod in the Baltic Sea would face the same fate that has befallen their cousins at the Grand Banks.

THE FATE OF THE BLUEFIN TUNA is no different from the cod’s. It is said that the more popular the Japanese food become in the world, the higher the chance that the bluefin tuna will disappear from the sea, simply because its destination is on the sushi plate throughout the world. Jean-Marc Fromentin, a tuna expert of the French Research Institute for Exploitation of the Sea (IFREMER), revealed that as much as 80-85% of the tuna caught from the Mediterranean sea was exported to Japan. The Seafood Watch group of the Monterey Bay Aquarium has campaigned for a boycott of the bluefin tuna because it is endangered. Moreover, the fishing method that catches bluefin tuna also endangers other marine animals such as dolphins and sea turtles. The fight for the bluefin tuna’s survival is a long history. Sixteen years ago, the World Wildlife Fund or WWF proposed to the meeting of the Convention on International Trade in Endangered

How well do you know pla too? Before we get to the pla too information in depth, let me give you some technical information about the fish so you can identify whether the ones you see in the bamboo baskets in the market are really pla too. Pla too is a marine fish found at the surface or at moderate depth in the Indo-Pacific region both in the Indian and Pacific oceans, including in the Gulf of Thailand and the Andaman Sea for Thailand. According to taxonomical records, pla too is in the family Scombridae which includes pla o (Skipjack tuna, a small tuna), tuna and pla insee (Spanish mackerel). In Thai seas, three species of Genus Rastrelliger have been found: pla too (Short mackerel or Indo-Pacific mackerel), pla lung (Indian mackerel) and pla too/pla lung pak jingjok (Island mackerel). The first two are more popular for consumption while the last one is considered rare. The Indo-Pacific mackerel and Indian mackerel are similar in appearance but the Indo-Pacific has a wider body with the standard length about 3.7-4 times longer than the size of its head (measured from nose to gill), while the Indian’s body is about 4-4.8 times longer than the size of its head. In terms of the length of intestine, it is found that the Indo-Pacific mackerel’s is 3.0-3.4 times longer than the standard length, longer than that of the Indian mackerel’s which is 1.3-1.7 times only. While the Indo-Pacific mackerel has 12-14 black dots under its back fins, the Indian Mackerel has 16. The Indo-Pacific’s nose is short and round; the Indian’s is more pointed. So, next time you sit down to eat a mackerel, look carefully to see if it is a pla too or pla lung.

that the number of mackerel caught each year averages 22.24 percent of the total catch of all 17 species of surface fishes with the Roundbelly sardine topping the list. From 1971-2005 the quantity of catch fluctuated every three to four years. For example, during 19711973 the catch amounted to 149.08, 119.19 and 139.72 metric tons respectively but in 1974 dropped to 61.04 metric tons. The catch increased during 1978-1979, then dropped in 1980 but increased until 1984. During 19851991 the quantity of catch dropped and became steady through to 2005. Since 1984, the quantity of catch has been more than 150 metric tons. In terms of values of the catches, 1993 pulled in 2,605.4 million baht, then 1998 saw it increased to 5,608.9 million baht. But then the revenue dropped to 4,557.7 million baht in 2001 and rose to 6,078.0 million baht in 2005. From the foregoing statistics, it may be deduced that the quantity of catch has not decreased. But why does mackerel cost so much?

Has the pla too population declined? Based on the principle of demand and supply, the fewer products there are, the higher their prices go. Does the principle also apply to pla too? Statistics from the Department of Fisheries show

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 13

January January -- April April 2009 2009

Why do pla too cost so much? In general, an increase or decrease in marine fish results from two causes – natural death or hunting. But the main reason is over-fishing by increased efficiency of boats and tools, electronic gear, improved fishery techniques, oil prices, and market demands. Prior to the World War II records had not been kept of the quantity of fish catch but it may be estimated to be about 150,000 tons per year. After the war, Thai fishery rapidly expanded. During 1947-1960, most of the fish caught were pelagic fish (Indo-Pacific and Indian mackerel) by using pound nets and Chinese purse seines, increasing from 120,173 tons in 1947 to 146,417 tons in 1960. With technical assistance from Germany, fishing

13

3/4/09 6:22:36 PM


นี้ ยั ง ไม่ ร วมถึ ง การจั บ ปลาคอดแบบผิ ด กฎหมายอี ก จำนวน มหาศาล ICES ประมาณการว่าเมื่อปี พ.ศ. 2548 มีการจับปลา คอดผิดกฎหมายสูงถึง 15,000 ตัน หรือคิดเป็น 38 เปอร์เซนต์ ของโควต้าทางการ แต่นักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ออกมาบอก ว่าการจับปลาคอดผิดกฎหมายนั้นสูงถึง 100 เปอร์เซนต์ของโควต้า ทางการเลยทีเดียว เหล่านักวิทยาศาสตร์ทางทะเลเหล่านี้ล้วนวิตกและคาดการณ์ ไปในทิศทางเดียวกันว่า อนาคตของปลาคอดในทะเลบอลติกคงไม่ แตกต่างจากที่เกิดขึ้นที่แกรนด์แบงก์ แคนาดานัก ชะตากรรมของปลาทูน่าครีบน้ำเงินก็ไม่ต่างกับปลาคอดเท่าใดนัก ว่ากันว่ายิ่งความนิยมอาหารญี่ปุ่นทั่วโลกสูงขึ้นเพียงใด ความเสี่ยงที่ ปลาทู น่ า ครี บ น้ ำ เงิ น จะหายไปจากท้ อ งทะเลก็ ยิ่ ง มากขึ้ น เท่ า นั้ น เพราะปลายทางของมันอยู่ในจานซูชิทั่วโลก ฌอง-มาร์ ค โฟรมองแตง ผู้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นปลาทู น าจาก สถาบั น วิ จั ย การใช้ ป ระโยชน์ จ ากทะเลแห่ ง ฝรั่ ง เศส (French Research Institute for Exploitation of the Sea: IFREMER) เผยข้อมูลว่าปลาทูนาที่จับได้จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมดถูก ส่งออกไปยังญี่ปุ่นที่เดียวมากถึง 80-85 เปอร์เซนต์ หลังจากได้ความช่วยเหลือทางวิชาการจากประเทศเยอรมัน ด้าน เครื่องมือประมงอวนลากหน้าดินแบบแผ่นตะเฆ่เข้ามาใช้ ชาวประมงส่วน ใหญ่หันมาประกอบอาชีพอวนลากหน้าดินอย่างแพร่หลาย อวนลากมี จำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 100 เท่าภายในเวลา 20 ปี กล่าวคือจาก 99 ลำ ใน ปี 2503 เป็น 10,431 ลำในปี 2523 ก่อนที่จะลดลงเหลือ 8,008 ลำ ในปี 2543 และปี 2547 มีจำนวน 6,439 ลำ อาจจะเนื่องจากการทำ ประมงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน และเสี่ยงภัยในการออกไปทำการประมงต่าง ประเทศ เช่นเดียวกับอวนรุน ในปี 2523 มีจำนวนสูงถึง 2,262 ลำ แต่หลังจากนั้นลดลงเหลือเพียง 638 ลำ ในปี 2543 และปี 2547 มี จำนวน 520 ลำ อวนลากและอวนรุนทำให้ผลผลิตการประมงของประเทศเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ จนเป็น 1 ใน 10 อันดับของประเทศที่มีผลผลิตการประมง สูงสุดในโลกเมื่อมี พ.ศ. 2515 อย่างไรก็ตามอวนลากอวนรุนถือเป็นเครื่องมือประมงที่ทำลายทั้ง ทรั พ ยากรสั ต ว์ น้ ำ และถิ่ น ที่ อ ยู่ อ าศั ย ของสั ต ว์ น้ ำ มากที่ สุ ด ด้ ว ยเป็ น เครื่องมือที่จับสัตว์น้ำหน้าดินเป็นหลัก ลากครูดกับผิวหน้าดินตลอด เวลา ไม่สามารถคัดเลือกสัตว์น้ำเป้าหมายได้ (Non-selective gear) มี การใช้ตาอวนขนาดเล็กเกินไป และทำลายสภาพพื้นท้องทะเลตลอดเวลา นับตั้งแต่ปี 2516 ทรัพยากรปลาผิวน้ำเศรษฐกิจ (ปลาทู ปลาลัง และ อื่นๆ อีกรวม 17 ชนิด) เริ่มมีบทบาทในเชิงเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เนื่องจากทรัพยากรปลาหน้าดินมีการนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ ในทางลบเกิน กำลังผลิตทางธรรมชาติ และในช่วงปี 2520-2523 ยังต้องมาประสบ ปัญหาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น บังคลาเทศ อินเดีย พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซียได้ประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียแหล่งประมงที่เคยทำได้ ในอดีตไปไม่ ต่ำกว่า 300,000 ตารางกิโลเมตร เรือที่เคยทำการประมงอยู่ต้องกลับ เข้ามาทำการประมงในบริเวณเขตน่านน้ำไทย โดยเฉพาะอวนลากที่จับปลา หน้าดินซึ่งอยู่ ในสภาวะทรุดโทรม ต้องเบนเป้าหมายมาจับปลาผิวน้ำ ซึ่ง ยังมีอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ด้านเครื่องมือประมงในการจับปลาผิวน้ำก็ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มี การทำซั้งเพื่อรวมฝูงปลาและใช้แสงไฟล่อต่างๆ ตลอดจนการใช้เครื่อง มือทางอิเลคโทรนิคในการหาฝูงปลา และการพัฒนาเครื่องมือลอบหมึก

14

VA.indd 14

ไดน์หมึก จึงทำให้ปริมาณการจับเพิ่มสูงขึ้น จนมีผลผลิตสัตว์ทะเลในปี 2530 สูงถึง 2,601.9 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 23,083 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.60 ของผลผลิตสัตว์น้ำทั้งหมด และปี 2548 สูงถึง 3,380.3 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 113,011 ล้านบาท และคิดเป็นร้อย ละ 82.08 ของผลผลิตสัตว์น้ำทั้งหมด เครื่ อ งมื อ ประมงปลาผิ ว น้ ำ ที่ จั บ ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด (หมายถึงจับได้ปริมาณมากที่สุด) คืออวนล้อม ซึ่งเริ่มมีการพัฒนา อย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ ในปี 2520 ปริมาณการจับปลาผิวน้ำสูงถึง 515.45 เมตริกตัน ซึ่งสูงเกินกว่า ศักยภาพการผลิตของเขตการประมงไทย ซึ่งประเมินไว้เท่ากับ 450.00 เมตริกตัน สำหรับปลาทู เราจะเห็นได้ว่าปริมาณการจับปลาทูเกินศักยภาพ การผลิตตั้งแต่ปี 2518 และตั้งแต่ปี 2521-2525 ปริมาณการจับปลา ผิวน้ำลดลงจนต่ำกว่าศักยภาพการผลิต สำหรับปลาทูมีการประเมิน เอาไว้ว่าศักยภาพการผลิตหรือผลผลิตสูงสุดแบบยั่งยืนเท่ากับ 73 เมตริกตัน (ต่อปี) และจำนวนวันที่เหมาะสมในการทำการประมงด้วยการ ใช้เครื่องมืออวนล้อมเท่ากับ 95 วัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าปริมาณการจับที่เพิ่มสูงขึ้นกลับเป็นปลาเป็ด (ปลาเล็กปลาน้อยที่นำไปป่นเป็นวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์) ถึงร้อยละ 50 โดยเป็นปลาเป็ดแท้ซึ่งเป็นปลาที่ ไม่ ได้นำเอามาบริโภคโดยตรงประมาณ ร้อยละ 59 และมีลูกปลาและลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจร้อยละ 41 โดยจาก สถิติพบว่าปริมาณการจับปลาทูลังในช่วงปี 2522-2527 เป็นปลา ขนาดเล็ ก ซึ่ ง ชาวประมงส่ ง ขายให้ โ รงงานปลาป่ น ราคาเพี ย ง 80 สตางค์ต่อกิโลกรัมเท่านั้น ด้วยเหตุนเี้ องทัง้ ปลาทูคนตัวโตและปลาทูแมวตัวเล็กจึงราคาแพงขึน้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับปลาทูคือภาพสะท้อนให้เห็นปัญหาทรัพยากรสัตว์ น้ำโดยรวม เมื่อระบบนิเวศทางทะเลเสื่อมโทรมและขาดสมดุล ผนวกกับ ปัญหาโลกร้อนที่นับวันจะรุนแรงขึ้น ในอนาคตท้องทะเลอาจไม่สามารถ ให้ผลผลิตเลี้ยงดูประชากรโลกได้ หยุด! ก่อนที่แมวและคุณจะไม่ ได้กินปลาทู ถึงตอนนี้เราคงจะทราบกันแล้วนะครับว่าทำไมปริมาณปลาทูและ มกราคม มกราคม -- เมษายน เมษายน 2552 2552

January January -- April April 2009 2009

3/4/09 6:23:51 PM


แม่บ้านชาวประมงกำลังนั่งแกะสัตว์น้ำออกจากอวนที่หาดแห่งหนึ่งในอำเภอสัตหีบ แม้สัตว์น้ำที่จับได้จะมีจำนวนลดลงมาก แต่การทำประมงยังคงเป็นอาชีพหลักของ ชาวบ้านส่วนใหญ่ ในพื้นที่ A group of fisher housewives busy themselves extracting their daily catch from the nets on a beach in Sattahip district of Chon Buri province. While sea animal catch has declined considerably, fishing continues to be a main occupation for a large number of villagers here.

Species of Wild Fauna and Flora to list the bluefin tuna in Appendix I which would put a ban on the trade of the fish because it was near extinction. But the International Commission for the Conservation of Atlantic Tunas (ICCAT) argued that conservation measures were already in place which stopped the WWF’s proposal in its track. But the so-called conservation measures later proved to be an utter failure. In 2006, ICCAT scientists warned the country members that tuna stocks in the eastern Baltic and Mediterranean seas had fallen to one-fifth of the tools including Otter board trawls were developed and widely used. Their number increased about 100 times within 20 years, from 99 units in 1960 to 10,431 units in 1980, before they gradually decreased to 8,008 units in 2000 and 6,439 units in 2004 probably because investment was no longer worthwhile and it was too risky fishing in foreign waters. Push and trawl nets help increase Thailand’s fishery production and put it in the top 10 fishery production countries in 1972. However, these tools inflict the most serious destruction on both marine life stocks and habitats because they are meant to catch benthic fauna. These are so-called nonselective gears with fine nets, causing devastation to the sea bed environment. Since 1973, the pelagic fishes (17 species including Indo-Pacific mackerel and Indian mackerel) have made significant economic contribution due to the fact that benthic fishes have been over-fished beyond the natural capacity to reproduce. In addition, during 1977-1980 neighboring countries such as Bangladesh, India, Myanmar, Cambodia, Vietnam, Malaysia and Indonesia announced the extension of their respective exclusive economic zone for 200 nautical miles, causing Thailand’s loss of at least 300,000 square kilometers of fishing ground. Thai fishing boats, especially with the benthic fish catching gear, were forced to ply the Thai waters and turn to catching pelagic fishes. Gear for catching pelagic fish have been also improved, including the uses of sung (fish aggregating devices), light traps, electronic devices and squid traps, so that the quantity of catch has also increased. As a result, the marine production in 1987 was as high as

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 15

January January -- April April 2009 2009

2,601.9 metric tons, valued at 23,083 million baht or 93.60% of the total production of all aquatic animals, while the 2005 marine production was 3,380.3 metric tons, valued at 113,011 million baht or 82.08 % of the total production of aquatic animals. The most efficient gear to catch pelagic fish (for maximum quantity) is purse seine that has been developed and markedly improved since 1974. Consequently, the number of pelagic fish catch was 515.45 metric tons, higher than the production capacity of Thai fishery previously estimated at 450 metric tons. Meanwhile, there has been over-fishing of Indo-Pacific mackerel since 1975 but during 19781982 the pelagic fish catch was below the production capacity. It had been estimated that the sustainable rate of catch, or the maximum amount to be sustainable, for Indo-Pacific mackerel is 73 metric tons per year and the appropriate duration for purse seine fishery is 95 days. It should be noted that half of the increased catch is trash fish (small fish used as raw material of livestock feed), comprising of 59% non-consumable trash fish and 41% of economic fish fry. Statistics show that most IndoPacific and Indian mackerel catch during 1979-1984 was small ones that fishermen sold to ground fish factories for only 0.80 baht per kilogram. For this reason, both large and medium-sized mackerel have become expensive. What has happened to the mackerel reflects the problem with aquatic resources in general. As the marine ecology keeps deteriorating and out of equilibrium, coupled with the increasingly severe global warming, our

15

3/3/09 11:06:36 AM


ปัจจุบันกลุ่มซีฟู้ดวอช์ท ของอควาเรียมแห่งอ่าวมอนเตอเรย์ แนะนำให้ต่อต้านการบริโภคปลาทูน่าครีบน้ำเงิน เพราะเป็นสิ่งมีชีวิต ที่เสี่ยงสูญพันธ์อยางยิ่ง โดยนอกจากตัวมันเองจะเสี่ยงสูญพันธุ์แล้ว วิธีการทำประมงล่าปลาทูน่าครีบน้ำเงินยังเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ทางทะเลอื่นๆ เช่น โลมา และเต่าทะเลอีกด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่าการต่อสู้ระหว่างนักอนุรักษ์และอุตสาหกรรม ประมงในกรณีปลาทูน่าครีบน้ำเงินมีมายาวนาน โดยเมื่อ 16 ปีที่ แล้ ว กองทุ น สั ต ว์ ป่ า โลกหรื อ WWF เคยเสนอต่ อ ที่ ป ระชุ ม อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืช ป่ า ที่ ไ กล้ จ ะสู ญ พั น ธุ์ หรื อ ไซเตส (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) ให้บรรจุปลาทูน่าครีบน้ำเงินอยู่ ในบัญชีประเภท 1 ซึ่ง

เด็กหญิงกำลังทำความรู้จักกับปลาหมึกที่วางขายบนแผงค้าสัตว์น้ำในตลาด ปลาหมึกที่เก็บแช่เย็นมาหลายวันเหล่านี้ต้องลอกหนังสีแดงออกก่อนจะนำมาขาย – วสันต์ เตชะวงศ์ธรรม A girl looks with interest at the squids for sale at a fresh market in a Bangkok suburb. Frozen squids are usually de-skinned before being put for sale. – Wasant Techawongtham

สัตว์ทะเลอื่นจึงลดลงไปมาก ไม่ต้องไปโทษหรือกล่าวหาว่าใครเป็นคนผิด ผมคิดว่าถึงเวลาที่เราควรดำเนินการต่อไปนี้อย่างเร่งด่วนเพื่ออนุรักษ์ อาหารทะเลจานโปรดทั้งของผม ของคุณ และของแมวไว้ ในช่ ว งที่ ป ริ ม าณการจั บ ปลาทู ลั ง น้ อ ยลงในปี 2517 และในปี 2521-2525 ซึ่งมีการจับเกินศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติและปลา ที่จับได้มีขนาดเล็กจนขายเป็นปลาเป็ดนั้น กรมประมงได้รวบรวมข้อมูล ทางชีววิทยาของปลาทูและปลาลัง เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการ เช่น การติดเครื่องหมายปลาแล้วปล่อยลงสู่ทะเล (ล่าสุดในปี พ.ศ. 2551) พบว่า ปลาทูในอ่าวไทย มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกมีการเคลื่อน ย้ายไปมาระหว่างชายฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยและน่านน้ำของกัมพูชา และกลุ่มที่สอง มีการเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างอ่าวไทยตอนในและอ่าวไทย ฝั่งตะวันตกตอนบน ส่วนทางฝั่งอันดามันนั้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก มีการเคลื่อนย้ายบริเวณจังหวัดระนอง-พม่า กลุ่มที่ สองมี การแพร่กระจายอยู่บริเวณเกาะภูเก็ตและจังหวัดกระบี่ และกลุ่มสาม มีการ แพร่กระจายบริเวณจังหวัดสตูลและแนวเขตประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังทราบถึงข้อมูลขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ ฤดูกาลวางไข่ แหล่งแพร่ขยาย พันธุ์และอนุบาลตัวอ่อนอีกด้วย จากข้อมูลดังกล่าวได้นำไปสู่มาตรการปิดอ่าว ตามประกาศของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “กำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการ ประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัววัยอ่อน ในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี” ซึ่งมีกำหนด ตั้ ง แต่ วั น ที่ 15 กุ ม ภาพั น ธ์ ถึ ง วั น ที่ 15 พฤษภาคมของทุ ก ปี ครอบคลุมพื้นที่ ในทะเลอ่าวไทยประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร (ประกาศครั้งแรกปี พ.ศ. 2518 และล่าสุด พ.ศ. 2551) และประกาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง “กำหนดห้ามใช้เครื่องมือประมงบาง ชนิดทำการประมงในฤดูปลามีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูกในท้องที่บางแห่ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. 2538” ลงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2538 ในท้ อ งที่ ข องเขตจั ง หวั ด กระบี่ แ ละพั ง งา ระหว่ า งวั น ที่ 15 เมษายนถึงวันที่ 15 มิถุนายนของทุกปี ครอบคลุมพื้นที่ ในทะเลอันดามัน ประมาณ 2,400 ตารางกิโลเมตร

16

VA.indd 16

ส่วนมาตรการอื่นๆ ที่ผมเห็นว่าต้องมีความร่วมมือกันอย่าง จริงจังและจริงใจระหว่างหน่วยงานราชการ ประชาชน กลุ่มชาวประมง และชุมชนในท้องถิ่น มีดังต่อไปนี้ครับ • เร่งฟื้นฟู ทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ความหลากหลาย ทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาแหล่ง ประมงทะเลอย่างยั่งยืน • กำหนดเขตและฤดูกาลอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่งจะช่วยเร่ง ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยให้ชุมชนและองค์กร ชาวประมงมีส่วนร่วม เพื่อบูรณาการวางแผนและดำเนินมาตรการฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลที่มีประสิทธิภาพ • การส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมฟื้ น ฟู ร ะบบนิ เ วศและทรั พ ยากรประมง ต้ อ งมี ก ารดำเนิ น การอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง และมี ก ารติ ด ตามผล เพื่ อ หา แนวทางการปรับปรุงกิจกรรมนั้นๆ และสนับสนุนให้ชุมชนและชาวประมง เข้ามีบทบาทสำคัญในกิจกรรมต่างๆ • ส่งเสริมการทำฟาร์มทะเล (Sea Ranching) ซึ่งเป็นมาตรการ หนึ่ ง ที่ จ ะช่ ว ยเพิ่ ม พู น ทรั พ ยากรสั ต ว์ น้ ำ ทั้ ง นี้ จ ะต้ อ งมี ก ารกำหนด แนวทางการดำเนินงานให้ชัดเจน ในด้านชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่เหมาะสม การ ใช้ประโยชน์ กลไกการตลาด และบทบาทชุมชนในการบริหารจัดการฟาร์ม ผมเชื่อว่าตราบใดที่เรายังคงมีมาตรการปิดอ่าว จำกัดจำนวนเรือ ประมง กำหนดขนาดตาอวนที่เหมาะสม ห้ามมีการใช้เครื่องมือประมงที่ ทำลายทรัพยากรมากเกินไป สร้างปะการังเทียมเพื่อทดแทนปะการังตาม ธรรมชาติ เพื่อให้เป็นที่พักพิงของปลาทูปลาลัง ปลาทะเลและสัตว์น้ำ ชนิดอื่นๆ รวมทั้งร่วมมือกันปฏิบัติตามแนวทางข้างต้น มั่นใจได้อย่าง แน่นอนว่า ปลาทูจะอยู่คู่กับทะเลไทย คนไทย และแมวไทยไปอีกนานแสน นาน และคนไทยที่ รั ก อาหารทะเลก็ ค งไม่ ตั้ ง ใจตุ้ ม ๆ ต่ อ มๆ กั บ คำ พยากรณ์ที่ว่าอีกห้าสิบปีอาหารทะเลจะหมดโลก คำถามทิ้งท้าย … “จานของคุณใบใหญ่ขึ้น หรือปลาทูในจานตัว เล็กลง” มกราคม มกราคม -- เมษายน เมษายน 2552 2552

January January -- April April 2009 2009

3/4/09 6:25:44 PM


levels found in the mid-1970s while illegal fishing was 50,000 tons per year higher than the official quota. They subsequently called for a quota reduction, from 32,000 tons to 15,000 tons, and for a ban on all fishing during spawning periods between May and June to avoid what they called “a collapse that could happen in the near future”. Indeed, prior to the EU and ICCAT meeting in Turkey in November 2007, William Hogart, director of the U.S. National Marine Fisheries, called for an emergency moratorium on all catches for 3-5 years to save tuna stocks. But the warning was not heeded. By late November 2008, ICCAT members agreed at their meeting in Morocco to limit 2009 bluefin tuna fishing quota at 22,000 tons, lower than that of last year but still 7,000 tons higher than the number seas may in the future not be able to provide food for the global human population. Stop! Before there are no more mackerel for your cat and you So now we know why the catch of mackerel and other marine animals has greatly decreased. There is no need to put blame on anyone. It is time to solve the problem urgently to conserve your, my and the cats’ favorite dishes. In the years 1974 and 1978-1982 when fishing overstepped the bounds of natural capacity, the Department of Fisheries had collected biological data of both Indo-Pacific and Indian mackerel to use as management guideline such as tagging and releasing fishes (latest in 2008). It is found that there are two groups of mackerel in the Gulf of Thailand. The first moves around the eastern coastlines of the Gulf of Thailand and Cambodia waters. The latter moves around the inner and the upper west of the Gulf of Thailand. Likewise, the mackerel in the Andaman Sea is divided into three groups. The first moves around Ranong province and Myanmar. The second inhabits around Phuket Island and Krabi province, whereas the last group distributes around Satun province and the Malaysian border. The data includes the size of the fish when it begins to reproduce, the spawning season, distribution and larvae nursery period. The findings led the Ministry of Agriculture and Cooperatives to declare the period of non-fishing in the Gulf off Prachuap Khiri Khan, Chumphon and Surat Thani between February 15 and May 15 of every year which is the spawning season and larvae nursery period. The total area covers 26,400 square kilometers. (The first announcement was made in 1975.) In addition, another

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 17

January January -- April April 2009 2009

ปลาหลายชนิดที่ชาวประมงเรือเล็กจังหวัดสงขลานำมาขายให้กับพ่อค้าคนกลาง รวมแล้วมีราคาไม่ถึง 200 บาท The many fishes in this container caught by a small fisherman in Songkhla province were sold for less than 200 baht (just over US$5).

announcement issued on April 11, 1995, prohibits the use of certain fishing gear in the sea off Krabi and Phang-nga provinces from April 15 to June 15 every year, covering an area of 2,400 square kilometers. Other measures that require serious cooperation between government agencies, fishermen, local people and the general public are as follows: l Rehabilitate the aquatic animal habitat, biodiversity and marine environmental quality for sustainable development of marine fishery; l Establish marine life protection zones and season to accelerate the restoration of marine ecology and resources with the participation from communities and fishermen in order to efficiently integrate the planning and implement the measures on marine restoration and conservation; l Promote sustained activities to restore marine ecology and fishery resources with follow-ups to improve the activities and involve the communities and fishermen to play a key role in such activities; l Promote sea ranching as one of the measures to increase aquatic animals with a clear direction as to appropriate aquatic species, market mechanisms and community’s roles in farm management. I BELIEVE THAT AS LONG AS WE HAVE MEASURES to establish non-fishing zones and time, limit the number of fishing boats, regulate the use of nets, prohibit destructive fishing gear, create imitation reefs for marine life habitats, together with strict observation of the rules, mackerel will continue to thrive in the Thai seas and be available to the Thai people and Thai cats. Seafood lovers would not be dismayed by the prediction that seafood will disappear from the world in 50 years. And here’s the last question: “Is your plate bigger or the mackerel on it smaller?”

17

3/4/09 6:27:17 PM


จะมี ผ ลห้ า มค้ า โดยเด็ ด ขาดเนื่ อ งจากใกล้ สู ญ พั น ธุ์ แต่ ค ณะ กรรมาธิการเพื่อการอนุรักษ์ปลาทูนาแอตแลนติก (International Commission for the Conservation of Atlantic Tunas: ICCAT) ใช้ข้ออ้างว่ามีมาตรการอนุรักษ์ จึงทำให้การเรียกร้องครั้ง นั้นยุติไป แต่มาตรการอนุรักษ์ที่อ้างถึงกลับล้มเหลวไม่เป็นท่า เมื่อปีพ.ศ. 2549 นักวิทยาศาสตร์ของ ICCAT ออกมาเตือน ประเทศสมาชิกในองค์การของตนว่า จำนวนปลาทูนาในแอตแลนติก ตะวันออกและเมดิเตอเรเนียนลดลงเหลือเพียงหนึ่งในห้าเมื่อเทียบ กับกลางคริสตทศวรรษ 1970 และปัจจุบนั มีการจับปลาผิดกฎหมาย สูงกว่าโควต้าทางการถึงปีละ 50,000 ตันเลยทีเดียว พวกเขาเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก ICCAT ลดโควต้าการ จับปลา จาก 32,000 ตันในปีนี้ ให้เหลือ 15,000 ตัน สำหรับ ปีพ.ศ.2552 เรียกว่าลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง รวมทั้งห้ามจับปลาใน ฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ พวกเขาเรี ย กว่ า “การล่ ม สลายที่ ส ามารถเกิ ด ขึ้ น ได้ ใ นอนาคต อันใกล้”

ทั้งนี้ก่อนการประชุมร่วมกันของสหภาพยุโรปและสมาชิกของ ICCAT ที่ ป ระเทศตุ ร กี เ มื่ อ พฤศจิ ก ายน พ.ศ.2550 วิ ล เลี ย ม โฮการ์ธ ผู้อำนวยการศูนย์บริการด้านประมงแห่งสหรัฐอเมริกาได้ เรียกร้องให้มีการห้ามจับปลาทูน่าครีบน้ำเงินเป็นเวลา 3-5 ปี เพื่อ เรียกคืนปริมาณปลาสำรองกลับมา ทว่าคำเตือนเหล่านั้นไร้ผล เมื่อปลายพฤศจิกายน พ.ศ.2551 สมาชิกของ ICCAT จำนวน 46 ประเทศได้ประชุมกันที่โมรอกโก เห็นร่วมกันกำหนดโควตาการจับปลาทูน่าครีบน้ำเงินประจำปี พ.ศ. 2552 ไว้ที่ 22,000 ตัน ลดลงจากปีที่แล้ว แต่สูงกว่าคำแนะนำของ นักวิทยาศาสตร์ขององค์การฯ ของตัวเอง ถึง 7,000 ตัน และยัง ปฏิเสธที่จะหยุดทำประมงในฤดูวางไข่อีกด้วย “เกมจบแล้ว ICCAT พลาดโอกาสสุดท้ายที่จะกู้ชีพปริมาณ สำรองทูน่าครีบน้ำเงินไปแล้ว” เจ้าหน้าที่รณรงค์ของกรีนพีซ สเปน ออกมากล่าวอย่างผิดหวัง หันกลับมามองบ้านเรา สถานการณ์ปริมาณสำรองสัตว์น้ำก็ไม่

บ้านปะการัง บุษกร อังคณิต

งมี ชี วิ ต กว่ า ล้ า นสายพั น ธุ์ ในท้ อ งทะเลไม่ ว่ า จะหน้ า ตา อย่างไร ขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กล้วนต้องอาศัยหากิน และขยายพันธุ์ตามแนวปะการัง พวกมันต้องการปะการัง ชนิดที่เรียกได้ว่า “ขาดเธอฉันตายแน่” ดังนั้นสภาพของ ปะการังจึงเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพของทะเลได้เป็นอย่างดี องค์ ก ารความร่ ว มมื อ ระหว่ า งประเทศในการดำเนิ น งานด้ า น ปะการัง (International Coral Reef Initiative: ICRI) ภายใต้การ สนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติกำหนดให้ปีพ.ศ. 2551 เป็นปี ปะการังสากล เป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้มนุษย์ตระหนักถึงความสำคัญ ของแนวปะการังและตื่นตัวกับภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดปีนี้จึงมีกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แนวปะการัง ทั้งด้านสร้าง ความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศปะการังและสิ่งมีชีวิตใน ทะเล งานสนับสนุนงานวิจัย และงานการจัดการสิ่งแวดล้อม มีการก่อ ตั้งเขตพื้นที่คุ้มครองหลายแห่ง รวมทั้งการจัดตั้งองค์กรเพื่อการ อนุรักษ์เพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยมีแนวปะการังชายฝั่งประมาณ 90,000 ไร่ มีบางส่วน ถูกคุกคามจากสาเหตุหลักคือ การกระทำของธรรมชาติและน้ำมือของ มนุษย์ ในกรณีของธรรมชาติที่จะเห็นบ่อยขึ้นคือปะการังฟอกขาวซึ่ง เชื่ อ ว่ า เกิ ด จากการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศหรื อ ภาวะโลกร้ อ น เพราะเมื่อน้ำอุ่นขึ้นเกินระดับ 30 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิสูงสุด ที่ปะการังจะอยู่ ได้ โดยปกติ ปะการังก็จะพ่นสาหร่ายเซลล์เดียวช่วยสร้าง สังเคราะห์แสงให้พลังงานแก่มันออกมา เกิดเป็นปะการังฟอกขาวและตาย ในที่สุด ส่วนจากน้ำมือของมนุษย์นั้นมีหลายสาเหตุ เช่น การท่องเที่ยว การทิ้งสมอเรือ การประมง การทิ้งขยะในทะเล การลักลอบเพื่อการค้า ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งระบุว่า ในปัจจุบัน ปะการังของไทยอยู่ ในสภาพสมบูรณ์ประมาณร้อยละ 60 ที่เหลือร้อย ละ 40 อยู่ ในสภาพเสื่อมโทรม โดยปะการังน้ำตื้น ได้รับความเสียหาย

18

VA.indd 18

ประติมากรรมใต้น้ำสิมิลัน เกาะห้า

An undersea sculpture at Similan islands.

เป็นจำนวนมาก ส่วนปะการังน้ำลึกยังถือว่ามีความสมบูรณ์ ปัจจุบันฝั่ง อันดามันมีปะการังที่สมบูรณ์ 4 แห่ง คือ หมู่เกาะสุรินทร์ เกาะสิมิลัน จ.พังงา เกาะอาดังราวี จ.สตูล และเกาะรอก จ.กระบี่ ส่วนที่เหลืออยู่ ใน สภาพที่ ไม่สมบูรณ์มาก แต่ ไม่เสื่อมโทรมมากนัก ด้วยภัยคุกคามปะการังอย่างต่อเนื่อง “ปะการังเทียม” จึงเข้ามามี บทบาทสำคั ญ ในฐานะหนึ่ ง ในเครื่ อ งมื อ ในการจั ด การทรั พ ยากรทาง ทะเลในปัจจุบัน มกราคม มกราคม -- เมษายน เมษายน 2552 2552

January January -- April April 2009 2009

3/4/09 6:28:01 PM


suggested by ICCAT scientists. In addition, the members disagreed with a fishing ban during the spawning periods. “The game is over. ICCAT has missed the last chance to rescue the bluefin tuna stock,” a Greenpeace Spain campaigner remarked with disappointment. A LOOK AT THE MARINE STOCK IN THAILAND does not give one a reason to be optimistic. Chuchai Rungsiyanant, managing director of Ranong Frozen Foods Co. Ltd., a major frozen foods manufacturer in the South, told Than Setthakij newspaper in an interview for its June 26-28, 2009 edition that the Thai fisheries were in crisis as the decreasing aquatic animal stock was beginning to affect Thai entrepreneurs, especially the associated seafood processing and frozen seafood industries. He suggested that the solution was to go to new

sources, the Vietnamese waters, for example, for more raw materials. Veera Boonrasi, operator of Kota fish market, one of the largest in Ranong province, and Mahachai fish market, revealed that fish markets in general have been closed down either temporarily or permanently, particularly those in Ranong which traditionally was the largest fish marketplace in the South with more than 300 fish markets. Now there are only 120 of them left and more closings are expected. In spite of this, export figures show that canned and processed seafood remains a key item in the overall export, helping to support the country’s economy during the current downturn. Data from the Thai Food Processors’ Association show that the export of processed food is as high as 56% of the total food export. Key products include processed tuna, representing 89% of the total processed fish-

The House That Corals Build Bussakorn Angkhanit

M

ILLIONS OF SPECIES OF MARINE ORGANISMS OF VARIOUS shapes, sizes and forms depend on reefs as sources of food and breeding grounds. Reefs are crucial to the survival of marine organisms to the extent that the absence of reefs mean the extinction of species. Thus, reef conditions indicate the state of the sea. The International Coral Reef Initiative under the auspices of the United Nations declared 2008 the International Year of the Reef to raise public awareness of the importance of coral reefs and the threat that grew more and more blatant to the reefs. Throughout the year, numerous activities relating to the conservation of coral reefs were organized, be the ones aiming at educating the public on marine ecology and the ones pertaining to research and management as well as declaring certain areas protection zones and establishing more agencies responsible for conservation. Thailand’s coastal coral reefs cover an area of about 90,000 rai (14,400 hectares). Threats against the reefs are natural causes and human activities. The effect on coral reefs by natural causes that has recently been much observed is believed to arise from global warming which causes coral bleaching. When the temperature of water rises over 30 degree Celsius which is considered the maximum under which coral reefs can survive, they

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 19

January January -- April April 2009 2009

ปลาบริเวณวัตถุใต้น้ำที่กลายเป็นปะการังเทียม

A school of fish swim around a buried artifact that has become an imitation reef.

produce single-cell seaweeds functioning as photo synthesizers. Coral reefs will become bleached and then die. Human activities adversely affecting coral reefs include tourism, anchoring, fishery, garbage dumping, and poaching of marine lives for commerce. Data collected by the Department of Marine and Coastal Resources show that 60% of the coral reefs in Thailand are in pristine condition, while the remaining 40% are damaged. Those that are damaged are generally in shallow water while those in deeper water are still in pristine condition. Reefs in the Andaman Sea that remain pristine lie along the coast of four islands — Surin and Similan archipelagoes in the province of Phang-nga, Adang-rawi island in Satun, and Rok island in Krabi. Those in other areas are in fair conditions.

19

3/3/09 11:06:43 AM


แจ่มใสนัก นายชูชัย รังสิยานันท์ ประธานกรรมการ บริษัท ระนอง โฟรเซ่ น ฟู้ ด ผู้ ส่ ง ออกอาหารทะเลแช่ แ ข็ ง รายใหญ่ ใ นภาคใต้ ใ ห้ สัมภาษณ์ ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 26-28 มิถุนายน 2551 ว่า สถานการณ์ประมงไทยวิกฤติมาก ปริมาณสัตว์น้ำที่ลด น้อยลงเริ่มส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการแล้ว โดยเฉพาะกลุ่ม อุตสาหกรรมต่อเนื่อง แปรรูปสัตว์ อาหารทะเลแช่แข็ง ซึ่งทางออก ของอุตสาหกรรมคือการหาแหล่งวัตถุดิบใหม่รองรับ นั่นคือน่านน้ำ ประเทศเวียตนาม ด้านนายวีระ บุญราศี เจ้าของแพปลาโกตา ซึ่งเป็นแพปลา ขนาดใหญ่ ในเขตพื้นที่จังหวัดระนอง และเจ้าของกิจการแพปลาที่ มหาชัย ก็เปิดเผยว่าปัจจุบันแพเริ่มทยอยปิดกิจการทั้งชั่วคราวและ ถาวร โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดระนองซึ่งอดีตเป็นพื้นที่ที่มีการ ซื้อขายสัตว์น้ำประเภทปลามากที่สุดในภาคใต้ จนทำให้กิจการแพ ปลาเกิดขึ้นกว่า 300 แพ แต่ปัจจุบันลดเหลือเพียงแค่ประมาณ 120 แพเท่านั้น และยังมีทีท่าว่าจะปิดตัวเองอีกหลายแพ อย่างไรก็ตามหากดูจากสถิติการส่งออกกลับพบว่าอาหารทะเล กระป๋องและแปรรูปกลับเป็นสินค้าส่งออกที่ช่วยกอบกู้ตัวเลขการ ศู น ย์ วิ จั ย พั ฒ นาประมงชายฝั่ ง อั น ดามั น ให้ ค ำจำกั ด ความว่ า “ปะการังเทียมคือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ อย่างมีแบบแผน เพื่อดัดแปลงสภาพพื้นท้องทะเลให้สัตว์น้ำชอบ โดยเลียนแบบบริเวณที่มี กองหินใต้น้ำและซากเรืออับปาง ซึ่งปกติพบว่ามีสัตว์น้ำอาศัยอยู่ชุกชุม ด้วยการนำเอาวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนักมาก สามารถต้านทาน กระแสน้ำได้ และไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กิ่งไม้ แท่งคอนกรีต ซากรถยนต์ รถไฟ เรือ หรือเครื่องบินที่ ไม่ ได้ ใช้งานแล้ว นำไปวางรวม กลุ่มกันในบริเวณต่างๆ ตามแนวชายฝั่งที่เหมาะสม” ในประเทศไทย วัตถุประสงค์เป็นตัวกำหนดรูปแบบของปะการังเทียม โดยแบ่งออกเป็น 5 แบบ 5 วัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อฟื้นฟูสัตว์น้ำ 2. เพื่อกั้นเครื่องมือประมงชนิดทำลายล้าง 3. เป็นแหล่งดำน้ำเทียม 4. เป็นฐานปะการังจริงมาเกาะ และ 5. เพื่อลดความรุนแรงของคลื่นลม ดร.ปิ่นศักดิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และพื้นฟู กรม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมเล่าว่า ในอดีตการสร้างปะการังเทียมมีเพียงจุดประสงค์เดียว คือเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ แต่ต่อมามีการพัฒนาด้านการท่อง เที่ยวอย่างรวดเร็ว จุดดำน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ และบางครั้ง นักดำน้ำมือใหม่ก็สร้างความเสียหายให้ปะการังไม่น้อย จึงมีการสร้าง จุดดำน้ำเทียม เพื่อช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูปะการังจริง ซึ่งจากตัวเลขนัก ท่องเที่ยวต่างชาติพบว่าร้อยละ 80-90 มาท่องเที่ยวทางทะเลมาก ปั จ จุ บั น กรมทรั พ ยากรทางทะเลและชายฝั่ ง จึ ง มี โ ครงการจั ด สร้ า ง ปะการังเทียมเพื่อตอบสนองการขยายตัวของธุรกิจดำน้ำในหลายพื้นที่ ในจั ง หวั ด เพชรบุ รี ชุ ม พร พั ง งา ปั ต ตานี นราธิ ว าส ตราด สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์และชลบุรี “ปะการังเทียมฟื้นฟูสัตว์น้ำที่เห็นชัดที่สุดคือโครงการของสมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถที่จังหวัดปัตตานี มีการติดตามผลเป็น ระยะ พบว่าสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจ สังคมดีขึ้น ส่วน ปะการังเทียมเพื่อการดำน้ำ ตอนแรกเริ่มจากมีเรือจม ตอนหลังเราไปทำ ที่หมู่เกาะราชา ซึ่งสำเร็จในระดับหนึ่ง ได้รับการยอมรับจากต่างชาติ ส่วนปะการังเทียมเพื่อลดคลื่นลม มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์เพิ่งเริ่ม ทดลองและวิจัยที่จังหวัดสงขลา” ดร.ปิ่นศักดิ์กล่าว ในช่วงแรกการสร้างปะการังเทียมในประเทศไทยไม่มีผลการศึกษา ทางวิชาการรองรับมากนัก มีการนำสิ่งของเหลือใช้ เช่น ยางรถยนต์ ไปสร้างปะการังเทียม ซึ่งสิ่งของเหลือใช้บางอย่างมีสารพิษตกค้าง เกิด

20

VA.indd 20

ส่งออกโดยรวมในภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซาได้เป็นอย่างดี สถิติจาก สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูประบุว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าประมง แปรรูปมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 56 ของการส่งออกสินค้าอาหารของ สมาคมฯ ทั้งหมด โดยมีสินค้าหลักคือปลาทูน่าแปรรูป คิดเป็นร้อย ละ 89 เปอร์เซนต์ของสินค้าประมงแปรรูปทั้งหมด โดยในปีพ.ศ. 2549-2550 มีมูลค่าการส่งออก 64,870 ล้านบาท และ 61,545 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนในช่วง 9 เดือนแรกของปีพ.ศ. 2551 มี มูลค่าส่งออก 59,757 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ประมาณ 30 เปอร์เซนต์ ดูเหมือนว่าในฐานะครัวของโลก มิเพียงแต่เราต้องแบ่งปัน ทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยให้กับประเทศคู่ค้าเท่านั้น กองทัพ เรือประมงไทยยังต้องแล่นฝ่าภัยอันตรายไปในน่านน้ำของประเทศ เพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย พม่า และเวียดนาม เพื่อจับสัตว์น้ำ และจากข่าวคราวโจรสลัดโซมาเลียยึดเรือประมงไทยเมื่อเร็วๆ นี้ ยิ่งทำให้ตระหนักว่า ทรัพยากรสัตว์น้ำบ้านเราคงแทบไม่เหลือหรอ จนถึงกับต้องออกหากินไกลเสี่ยงภัยไปไกลถึงแดนแอฟริกาโน่นเลย ทีเดียว

ประติมากรรมใต้น้ำที่เกาะราชา

An undersea sculpture at Racha Island.

ปัญหาตามมา หรือกลายเป็นขยะ ปัจจุบันมีการศึกษามากขึ้น พบว่า ต้องเลือกวัสดุที่เหมาะสมและใกล้เคียงกับธรรมชาติ “ถ้าเราทำโดยไม่ดูความเหมาะสม ทำเพราะอยากทำ ทำผิดที่ ขาด การมีส่วนร่วม ก็จะกลายเป็นขยะในทะเล แต่ถ้าเราทำให้ถูกต้อง ถูก วัตถุประสงค์ โดยคนที่ ใช้ประโยชน์จริง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม จึงจะไม่ ใช่ เป็นการนำขยะไปทิ้งทะเล” ดร.ปิ่นศักดิ์กล่าว แม้ มี ป ระโยชน์ แต่ ก ารสร้ า งผิ ด ที่ ผิ ด ทางก็ เ ป็ น โทษ การสร้ า ง ปะการังเทียมจึงต้องอยู่ภายใต้หลักวิชาการและกฎหมาย คือต้องไม่ กีดขวางทางเรือ เพื่อให้เรือสามารถสัญจรได้ ความลึกจากปลายยอด ของปะการังเทียมต้องต่ำกว่าผิวน้ำอย่างต่ำ 10 เมตร ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 10-20 เมตร ต้องไม่กีดขวางการไหลเวียนของทางน้ำที่จะมีผลต่อระบบ นิเวศ และการไหลเวียนของตะกอน เพราะอาจจะส่งผลถึงอัตราการกัด เซาะชายฝั่ง ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่อยู่ ในขณะนี้

มกราคม มกราคม -- เมษายน เมษายน 2552 2552

January January -- April April 2009 2009

3/3/09 11:06:44 AM


การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นการรับมือกับปัญหาปลาทะเลร่อยหรอทางหนึ่ง

Raising fish in floating baskets is one way to deal with declining natural fish population.

ery products. In addition, the tuna export for 2006 and 2007 generated 64,870 million baht and 61,545 million baht, respectively, while the export during the first nine months of 2008 generated 59,757 million baht or 30% higher than that of the same period of the previous year. As “the Kitchen of the World”, it seems not only we have to share our aquatic resources with our counterparts, but our fishing armada also must take a risk fishing in the waters of our neighbors like Indonesia, Myanmar and Vietnam. The recent news of a Thai fishing ship being kidnapped by Somali pirates has given rise to a realization that the resources in the Thai waters must be near total depletion as to persuade many ships to venture out as far as the waters in Africa. As coral reefs are continually exposed to threats, imitation reefs have become an important tool in the management of marine resources. The Andaman Research Center for the Development of Fishery defines imitation reefs as “human invention of whatever forms but with definite patterns serving the purpose of creating an oceanic environment congenial to marine organisms. Such environment, not dissimilar to the one marked by the presence of rocks and the wreck of ships and thus found to be abundant in marine organisms, was created by placing together solid, durable, weighty, and environmentally friendly materials that could withstand water current off the chosen coasts. Such materials might be branches of trees, slabs of concrete, car wrecks, train wrecks, ship wrecks, and plane wrecks.” The forms of imitation reefs created in Thailand are determined by the purposes they are supposed to serve. There are five forms of imitation reefs serving five purposes — rehabilitation of marine organisms; prevention against destructive fishery equipment; creation of environment for diving; creations of foundations for the propagation of coral reefs; and, reduction of the force of storms. Pinsak Saraswadi, director of conservation and rehabilitation of the Department of Marine and Coastal Resources, said imitation reefs were formerly created with a sole purpose of rehabilitating marine life. But when tourism underwent rapid expansion, there was a demand for more diving spots and a need to prevent inexperienced divers from damaging existing reefs. New diving spots were thus created to help conserve and rehabilitate real coral reefs. Statistics showed that 80%90% of foreign tourists preferred vacationing by the sea. Thus, the Department of Marine and Coastal Resources is currently formulating plans to create imitation reefs to meet the growing demand by diving business thriving in the provinces of Phetchaburi, Chumphon, Phang-nga,

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 21

January January -- April April 2009 2009

Pattani, Narathiwat, Trat, Surat Thani, Prachuap Khiri Khan, and Chon Buri. “The outstanding project of creating coral reefs for the revival of marine organisms was initiated by Her Majesty the Queen in the province of Pattani. Periodic evaluations of the project showed an increase in marine organisms leading to the improvement in the quality of life of local people. The imitation reefs conducive to the existence of suitable environment for diving were originally created by the sinking of a ship. We later move our operation to the Racha archipelago and it was successful to a certain extent. Researchers from the Prince of Songkhla University has begun to experiment with imitation reefs in the province of Songkhla to reduce the force of sea storms and waves,” Pinsak said. At first, the creation of imitation reefs in Thailand was not based on academic research. Discarded objects such as tires were used to make imitation reefs. But some of the objects contained toxic substances and simply added to the undersea garbage. But since then, there have been more studies to identify appropriate materials for making imitation reefs. “If we take action on the whim without proper consideration and public participation, what we do would simply add garbage to the sea. But if we do it right with the participation of beneficiaries, then we wouldn’t be dumping garbage in the sea,” Pinsak said. While they are beneficial, imitation reefs in the wrong place such as in sea lanes would be harmful. The making of imitation reefs thus must be based on thorough study and law. To avoid obstructing seafaring, the topmost parts of imitation reefs must be at least 10 meters below the water surface. Most of them are placed between 1020 meters under the surface. Their presence must not block the circulation of water lest the ecological system and the circulation of sediment will be adversely affected, giving rise to coastal erosion which has been a major problem today.

21

3/3/09 11:06:45 AM


ลอดรั้วริมทาง

through the fence

อันดามัน…

มรดกโลกไม่ ไกลเกินเอื้อม

รัญจวน ทวีวัฒน์

จ็ดสิบเปอร์เซนต์ คือความมั่นใจของนักวิชาการที่คิดว่า 18 อัญมณีแห่งท้องทะเลอันดามันจะก้าวสู่การเป็นมรดก โลกทางธรรมชาติแห่งใหม่ ในปี 2552 แต่ ในความรู้สึกของ คนทีเ่ คยตกหลุมรักทะเลใต้ ให้คะแนนเต็มร้อยว่า อันดามัน จะสามารถขึน้ สูก่ ารเป็นมรดกโลกได้อย่างเต็มภาคภูม ิ บทความชิ้นนี้จะพาคุณไปสัมผัสกับธรรมชาติอันงดงาม และ ทรงคุณค่าไปด้วยความมั่งคั่งของทรัพยากรในอุทยานแห่งชาติ 18 แห่งที่อนาคตอันใกล้อาจได้รับนิยามใหม่ว่า “มรดกโลก” เริ่มที่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี ใต้ป่าดิบชื้นบนเทือกเขา สูงสลับซับซ้อนที่มีน้ำตก บ่อน้ำร้อน ลำธารสายน้ำใหญ่ ไหลลงสู่ลุ่ม น้ำ รวมตัวเป็นแม่น้ำกระบุรี ตลอดเส้นทางของลุ่มน้ำสายนี้มีดิน ตะกอนทับถมตามเกาะแก่งกลางแม่น้ำ ลำคลอง ปากแม่น้ำ และ ชายฝั่งทะเล จึงมีป่าชายเลนเจริญขึ้นหนาทึบ เป็นดินแดนที่รวบรวม ไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณพืช เป็นบ้านของสัตว์ป่า นานาชนิดๆ รวมถึงสัตว์หายาก เช่น เสือโคร่ง เสือลายเมฆ หมี ควาย หมูป่า กระจง นกเงือก ฯลฯ อีกพื้นที่หนึ่งที่มีทั้งป่าดงดิบสภาพสมบูรณ์ ทุ่งหญ้าสลับกับป่า โปร่ง และป่าชายเลนผืนใหญ่อยู่ตามกลุ่มเกาะคือ อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะพยาม บริเวณกลุ่มเกาะเหล่านี้ยังพบหญ้าทะเลที่มีลักษณะ แตกต่างกันถึง 8 ชนิด ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าชายเลนใน บริเวณนี้ทำให้ถูกประกาศเป็นเขตสงวนชีวมณฑลโลก อุทยานแห่งชาติแหลมสน มีหมู่เกาะ 2 หมู่เกาะ และเกาะ น้อยใหญ่อีก 8 เกาะ มีแม่น้ำลำคลองขนาดเล็กจำนวนมากไหลจาก ที่สูงตอนในแผ่นดินออกสู่ทะเลอันดามัน สังคมพืชพรรณจึงมีความ หลากหลายและอุ ด มสมบู ร ณ์ เ ช่ น เดี ย วกั บ อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ล ำน้ ำ กระบุรีและหมู่เกาะพยาม มาถึงจังหวัดพังงา อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง มี ป่าเขาเขียวชอุ่มและชายฝั่งทะเลยาวนับ 10 กิโลเมตร บริเวณป่าเขา ลำปียังมีสภาพป่าสมบูรณ์และมีเอกลักษณ์ที่สวยงามตามธรรมชาติ หลายแห่ง เช่น น้ำตกลำปี ในส่วนของหาดท้ายเหมืองที่เป็นชายหาด

22

VA.indd 22

ภูเขาปูนที่สูงชันและเกาะแก่งที่สวยงามที่หาดยาวเป็นความโดดเด่นอย่างหนึ่งของ อุทยานหาดเจ้าไหม จ.ตรัง – แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา

ยาว จะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน -เมษายน ของทุกปี เช่นเดียวกับที่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง ตามชายหาดของเกาะต่างๆ ในอุทยานยังเป็นแหล่งวางไข่ของเต่า ทะเล ซึ่งมีการพบเห็นเต่าทะเลใกล้สูญพันธุ์ถึง 3 ชนิดด้วยกัน คือ เต่ามะเฟือง เต่าหญ้า และเต่าตะนุ นอกจากนั้นกลุ่มเกาะแห่งนี้ยัง ประกอบไปด้วยเกาะขนาดเล็กที่อยู่ในป่าชายเลนจำนวน 37 เกาะ ที่เกาะทุ่งนางดำซึ่งเป็นเกาะบริวาร ยังสามารถพบเห็นพะยูนได้ บ่อยครั้ง เนื่องจากบริเวณอุทยานมีหญ้าทะเลแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ด้วย และแน่นอนที่สุดว่าจากบกถึงทะเลมีทั้งป่าดิบชื้น ป่าชายเลน ป่าชายหาด และแนวปะการังอันสมบูรณ์งดงาม ในสายตานักท่องเที่ยวคงรู้จักชื่อเสียงของ อุทยานแห่งชาติ เขาหลัก-รำลู่ เป็นอย่างดี เพราะนอกจากหาดทรายละเอียดกว้าง และแนวปะการังงดงามแล้ว อุทยานแห่งนี้ยังมีความโดดเด่นของ หาดหินติดเชิงเขาที่ซ่อนอยู่กลางหมู่ไม้ของป่าเขาหินปูน ส่วนอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ที่เต็มไปด้วยความตระการตา ของหาดทราย และชายฝั่ ง ที่ อุ ด มไปด้ ว ยป่ า ชายเลน ที่ นี่ มี สถาปัตยกรรมธรรมชาติ เช่น เขาตะปู เขาพิงกัน ถ้ำลอดขนาด ใหญ่ เกาะทะลุนอก เกาะห้อง ที่แสดงเอกลักษณ์ด้วยเขาหินปูนที่ ถูกกัดกร่อนมาตามกาลเวลา โถงถ้ำเหล่านี้ยังมีหินงอกหินย้อยระ ยิบระยับประดับไว้อย่างอัศจรรย์ มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:06:47 AM


Tall limestone karsts and beautiful islands at Yao Beach are among the outstanding features of Chao Mai National Park in Trang province. – Maenwad Kunjara na Ayuttaya

Andaman

Within Reach as World Heritage Site Ranjuan Taweewat

S

EVENTY PERCENT IS HOW MUCH ACADEMICS ARE CONFIDENT that 18 “gems” of the Andaman Sea will clinch the status of a new Natural World Heritage site this year. But for those who have fallen in love with the South Sea, 100% is more of a chance that the Andaman will take this prestigious status. มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 23

January January -- April April 2009 2009

This article will take you to get in touch with the beauty and richness of natural resources of 18 national parks which in the future may be given the “world heritage” title. Let’s start with the Lam Nam Kraburi National Park which lies in a tropical rain forest on high mountains with waterfalls, hot springs, and large streams that form the watershed of Kraburi River. Through this river basin, rich sediment lies atop islands and islets in rivers, canals and estuaries which are lined with lush green mangrove forests. It is an area rich with diverse species of flora and fauna, including rare species such as tigers, bears, clouded leopards, boars, mouse deer, and hornbills. The Mu Ko (archipelago) Phayam National Park encompasses tropical evergreen forests, savannahs interspersed with sparse forests, and large mangrove forests on an archipelago. It is where eight different kinds of sea grass have been found. The fertility and richness of mangroves in this area earn it a world biosphere reserve. The Laem Son National Park comprises two groups of islands and eight other individual islands. From these islands many streams flow into the Andaman Sea, giving rise to rich diversity of plants, similarly to those found in the Lam Nam Kraburi and Mu Ko Phayam national parks. In Phangnga province, the Khao Lampi-Hat Thai Mueang National Park is composed of lush green mountains and a beach over 10 kilometers long. Forests in the Khao Lampi area remain fertile and are marked with natural beauty including the Lampi Waterfall. The long beach is called Hat Thai Mueang where turtles come up to lay eggs between November and April. Beaches on islands in the Mu Ko Ra-Ko Phra Thong National Park are grounds for turtles to lay eggs. Three kinds of near-extinct sea turtles are found on the beaches — leatherback, Ridley’s, and green turtles. There are also 37 tiny islands surrounded by mangrove forests. Dugong or sea cow, a rare species of wildlife, is often sighted in this national park which finds sea grass in abundance. Like others, this national park is also marked with tropical forests, mangroves, beach forests and beautiful coral reefs. Another site well-known to tourists is the Khao Lak-Lam Ru National Park. Apart from its long and wide beaches with fine sand and beautiful coral reefs, the park is noted for a stone beach at the foot of a hill hidden in the woods of limestone mountains. The Ao Phang-nga National Park is marked with spectacular beaches. coastal areas full of man-

23

3/3/09 11:06:48 AM


ชาวประมงเล็กกำลังเดินทางกลับในทะเลยามเย็นที่เกาะลันตา จ.กระบี่ – วสันต์ เตชะวงศ์ธรรม Small fishermen are returning home after sunset at Lanta Island in Krabi province. – Wasant Techawongtham

แต่ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งดำน้ำตื้นดูปะการังที่สวยงามติดอันดับ โลก ต้องยกให้ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และอุทยานแห่ง ชาติหมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ทั้ง 5 เกาะวางตัวแนวยาวทำให้ เกิดเป็นอ่าวขนาดใหญ่เป็นที่กำบังคลื่นลมมรสุม ความอุดมสมบูรณ์ ของป่าดงดิบเขตร้อนชื้นไล่เรียงตามทิวเขา ระบบนิเวศอันหลาก หลายบนผืนดิน น้ำทะเลใส อุณหภูมิที่พอเหมาะ และสารอาหารที่ สมบูรณ์ ล้วนเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาการของแนว ปะการังหลากชนิด เกาะแห่งนี้คือถิ่นฐานของมอแกนที่สละวิถีชีวิต ในท้องทะเลขึ้นมาปักหลักบนแผ่นดิน ส่วนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สิมิลัน ที่ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ 9 เกาะก็ได้รับการยอมรับว่ามี ความเป็นเลิศในความงดงามมั่งคั่งของทรัพยากรทั้งบนบกและใต้น้ำ เช่นกัน อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ในจังหวัดภูเก็ต มีลักษณะเด่นของ ธรรมชาติคือชายหาดที่ร่มรื่นไปด้วยป่าสน บนหาดเลนก็มีป่าชาย เลนแน่นหนา มาถึงใต้ทะเลก็มีแนวปะการังน้ำตื้น ความพิเศษคือใน พื้นที่อุทยานมีพรุน้ำจืดซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิด ทั้ง ยังเป็นสรวงสรรค์ของนกกว่า 100 ชนิดด้วย มาถึงจังหวัดกระบี่บ้าง ถ้านึกถึงอาณาจักรแห่งบุปผาและชีวิต ใต้ทะเลในแนวปะการังต้องที่ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี บางเกาะของอุทยานแห่งนี้มีอ่าวที่ถูกโอบล้อมรอบด้วย เขาสูง จนถูกขนานนามว่า “ทะเลใน” เช่น อ่าวมาหยา เรียกได้ว่ามี ความมหัศจรรย์ทั้งเหนือน้ำและใต้น้ำ ส่วน อุทยานแห่งชาติธาร โบกขรณี เป็นเขาหินปูนผาสูงชันที่มีธารน้ำไหลอยู่ ใต้ภูเขา มีเกาะ และถ้ำที่พบภาพเขียนซึ่งแสดงถึงอารยธรรมโบราณ เช่น ถ้ำผีหัวโต แหลมไฟไหม้ แหลมถ้ำเจ้ารี และแหลมท้ายแรด รวมทั้งยังมีพืช พรรณที่หลากหลายไปตามสภาพของพื้นที่ คือมีทั้งป่าดงดิบ ป่าพรุ ไปจนถึงป่าชายเลน หาดทราย และมีแนวปะการังงดงามไม่ไกลจาก ชายฝั่ง

24

VA.indd 24

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เป็นหมู่เกาะอันประกอบด้วย เกาะน้อยใหญ่ 25 เกาะ มีทรัพยากรธรรมชาติจากภูเขาถึงทะเลเป็น ป่าบก ป่าเลน และป่าใต้ทะเลที่ยังอุดมสมบูรณ์ เป็นที่ที่พบปูเสฉวน มากที่สุดในเมืองไทย รวมทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเล “อูรักลา โว้ย” และชุมชนดั้งเดิมสามเชื้อชาติ (ไทย-จีน-มุสลิม) ที่ยังคงวิถี ชีวิตเรียบง่ายประกอบอาชีพประมง ค้าขาย และทำสวนทำไร่มี ความสัมพันธ์กับธรรมชาติมาจนทุกวันนี้ ข้ามมายังจังหวัดตรังในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง และ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ที่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่ม น้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ชื่อเสียงเลื่องลือของอุทยานแห่ง นี้คือเป็นอาณาจักรของพะยูนฝูงสุดท้ายในประเทศไทย เนื่องจาก เป็นแหล่งหญ้าทะเลเกือบ 4,000 ไร่ที่เป็นแหล่งอาหารหลักของ พะยูนนั่นเอง จากน้ำทะเลมาเยือนถิ่นน้ำจืดในอุ ท ยานแห่ ง ชาติ ท ะเลบั น จังหวัดสตูลบ้าง ทะเลบันเป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่กลางหุบเขา ขนาบ ด้วยเทือกเขาจีนและเขาวังประ มีเนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ มีปลาน้ำ จืดและหอยชุกชุม รอบบึงมีต้นบากงหนาแน่นและเป็นที่อยู่ของ เขียดว้ากหรือหมาน้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำรูปร่างคล้ายกบและคางคก แต่มีหางและส่งเสียงร้องคล้ายลูกสุนัข รวมทั้งยังเป็นถิ่นอาศัยของ นกหลายชนิดและเป็นแหล่งน้ำสำคัญของบรรดาสรรพสัตว์ในผืนป่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่ง ทะเลและหมู่เกาะน้อยใหญ่ ในทะเลอันดามันมากกว่า 30 เกาะ มี ทั้งป่าดงดิบ ป่าชายหาด ป่าชายเลน เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหา ยากคือ นกออก เหยี่ยวแดง เหยี่ยวรุ้ง ฯลฯ อัญมณีเม็ดสุดท้ายที่ขึ้นชื่อว่าอาวุโสสูงสุดคือ อุทยานแห่งชา ติตะรุเตา เพราะเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของไทย ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 50 เกาะ ที่เกาะไข่ที่มีซุ้มประตูหิน ธรรมชาติทอดโค้งจากผืนทรายจรดน้ำ เกาะหลีเป๊ะมีสมญาว่ามัลดีฟ มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:06:50 AM


ป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์พบได้ทั่วไปตามเกาะและชายฝั่งในทะเลอันดามัน – แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา Pristine mangrove forests are widespread on the coasts and islands of the Andaman Sea. – Maenwad Kunjara na Ayuttaya

grove forests, and natural architectural wonders such as Khao Tapu, Khao Pingkan, the huge Tham Lod cave, Koh Thalu Nok and Koh Hong. The many caves in the park are decorated with glittering stalagmites and stalactites. Known for their world-class shallow reefs are the Mu Ko Surin and Mu Ko Similan National Parks. The elongated group of five Surin islands forms a large bay that provides shelter against monsoon storms. Mountains covered with tropical forests, a diversity of eco-systems, crystal clear sea water, temperate climate, and richness of natural nutrients together make a suitable environment for coral reefs to develop. The islands here are home of the Moken tribe people who have left behind their life in the sea to live on land. The 9-island Similan archipelago, meanwhile, has been widely known for the beauty and richness of their terrestrial and marine natural resources. In Phuket province, the Sirinat National Park is remarkable for its shady beach of pine forest, dense mangrove forests and coral reefs in shallow water. One of its special features is the fresh water swamps which provide sanctuary to marine species as well as more than 100 species of birds. มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 25

January January -- April April 2009 2009

In Krabi province, the Hat Noppharat TharaMu Ko Phi Phi National Park is renowned for its sea flowers and coral reefs. On some of its islands, high limestone hills form a ring around its bay so that it appears as if the bay becomes a sea within the sea, thus it is called “inner sea”. Maya Bay is one such place. The wonders here are both above and under water. The Than Bok Khorani National Park features limestone mountains with steep cliffs. Streams flow through the area disappearing into the limestone rocks underneath the mountains, on their journey to the sea. On some islands and in some caves were found paintings depicting ancient civilizations, such as at Tham Phi Hua To, Fai Mai Cape, Tham Chao Ree Cape, and Thai Raed Cape. Flora covers a range of ecosystems from tropical forests to fresh water swamp forests and mangrove forests. Fine coral reefs are just a short distance off shore. The Mu Ko Lanta National Park comprises 25 small and large islands with mountains, forests, mangroves and undersea forests. It is where hermit crabs are most abundant in Thailand. This is where sea people of the “Uraklavoy” tribe have made their home, and people of Thai, Chinese and Muslim descents established a harmonious community, leading a simple way of life that depends mostly on nature by fishing, trading, and planting. Over in Trang province, the Mu Ko Libong Non-Hunting Area and Hat Chao Mai Marine National Park have been registered as Ramsar wetland of international importance. The park is renowned for being the habitat of the last group of dugong or sea cow in Thailand as it is the source of about 4,000 rai of sea grass which is dugong’s staple food. The Thale Ban National Park in Satun province boasts a large freshwater lake covering 125 rai of area in a valley straddled by Khao Cheen and Khao Wang Pra mountain ranges. The lake is home to a large number of fish and mollusk species. Growing dense around the lake is a type of local trees called Ba-kong (Hanguana malayana (jack.) Merr.). Here, one may still be able to see a rare frog called Khiad Waak (Rana glandulosa) or at least hear its dog-like call. That is why it is also called Mah Nam or water dog. The park also supports nearly 300 types of birds and many types of wildlife. The Mu Ko Phetra National Park comprises a coastal area and more than 30 islands in the Andaman Sea. The park has tropical rain forests, beach forests, and mangrove forests which are habitat of rare birds such as sea eagles, Brahminy kites, and Crested Serpent eagles.

25

3/4/09 6:33:58 PM


เมืองไทย ส่วนเกาะราวีและเกาะอาดังขึ้นชื่อเรื่องการดำน้ำดูปะกัง รัง ในทางประวัติศาสตร์ อุทยานแห่งชาติตะรุเตาเคยเป็นที่คุมขัง นักโทษเด็ดขาดและนักโทษการเมืองช่วงตั้งแต่ปี 2481 เป็นเวลา หลายปี ความสวยงามทางธรรมชาติของอุทยานทำให้องค์การยูเนส โกอดใจไม่ ไหวยกย่องให้เป็นมรดกแห่งอาเซียนในปี พ.ศ.2525 พิจารณาในเชิงการอนุรักษ์ปกป้องพื้นที่ทางธรรมชาติที่มีคุณค่า ของโลก จะพบว่ า ปั จ จุ บั น มี พื้ น ที่ คุ้ ม ครองทางทะเลไม่ ถึ ง 1 เปอร์เซนต์ ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด ซึ่งเทียบไม่ ได้เลยกับพื้นที่ คุ้มครองบนบกที่มีการคุ้มครองไว้ถึง 12 เปอร์เซนต์ ถ้ า มองลึ ก เข้ า ไปในพื้ น ที่ อุ ท ยานทางทะเล 18 แห่ ง อย่ า ง ละเอียดอีกครั้ง เราจะพบว่าในผืนน้ำและมหาสมุทรคือแหล่งก่อ เกิดชีวิตอันหลากหลายเหลือคณานับ มีระบบนิเวศอันน่าทึ่งของ ป่าดิบชื้น ทุ่งหญ้า ป่าสน น้ำตก บ่อน้ำร้อน เทือกเขา ภูหิน หมู่ เกาะ ลุ่มน้ำ ป่าพรุ ป่าชายเลน ป่าชายหาด หาดเลน หาดหิน หาด ทราย หญ้าทะเล หรือแนวปะการัง เป็นแหล่งรวมทรัพยากรทั้ง สั ง คมพื ช และสั ต ว์ ที่ มิ อ าจประเมิ น ค่ า ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ที่ พ รั่ ง พร้อมนี้ ได้ก่อกำเนิดอารยธรรมของสังคมมนุษย์ทุกชนเผ่าเชื้อชาติ มาเนิ่นนาน ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่หลงเหลือไว้ จากอดีต ซึ่งสืบสานการดำเนินอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนมาจนปัจจุบัน หาก 18 อุทยานได้รับการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แล้ว พื้นที่เหล่านี้จะได้รับการตรวจสอบและดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ นานาชาติอย่างเข้มข้นเพื่อปกป้องภัยคุกคามต่างๆ ที่จะเข้ามาสร้าง ความเสื่อมโทรมในพื้นที่ รวมทั้งจะได้เงินสนับสนุนในการบูรณะ ฟื้นฟูดูแลสถานที่เหล่านั้นให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์เสมือนตอนที่ขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลก แต่ถ้าไม่สามารถดูแลพื้นที่ ได้ดีพอก็อาจถูก ถอนจากการเป็นมรดกโลกได้ ดังนั้นโจทย์ยากของประเทศไทยแท้จริงอาจไม่ ได้อยู่ที่การขึ้น เป็นมรดกโลกได้หรือไม่ แต่อยู่ที่ความสามารถที่จะดูแลรักษาคง สภาพพื้ น ที่ อั น อุ ด มสมบู ร ณ์ เ หล่ า นี้ ไ ว้ ไ ด้ แ ค่ ไ หน โดยเฉพาะกั บ นโยบายที่มองการท่องเที่ยวในอันดามันเป็นรายได้มหาศาลให้กับ ประเทศที่ยังขาดมิติเรื่องการอนุรักษ์ดูแลฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ หาก เป็นดังเช่นที่เป็นอยู่ การเป็นมรดกโลกก็จะกลายเป็นดาบสองคม เพราะคำว่า “มรดกโลก” จะกลายเป็นแค่ “โลโก้” ขายสินค้าด้าน การท่องเที่ยวเท่านั้น

26

VA.indd 26

The last gem of the Andaman is Tarutao National Park which is Thailand’s first marine national park. It comprises more than 50 small and large islands. One of them, Koh Khai, has a natural stone arch over sand and water. Koh Lipeh is dubbed Thailand’s Maldives. Koh Rawi and Koh Adang are famous for their sites for diving to see coral reefs. Historically, the park housed a penal colony in the late 1930s and early 1940s mainly for political prisoners. In 1983 the park was declared an Asean heritage for its natural beauty. CONSIDERING ITS BEAUTY AND ABUNDANCE OF VALUABLE NATURAL RESOURCES, it should come as a surprise that protected areas cover only one percent of the world’s oceans compared to 12 percent of land. A closer look at the 18 national marine parks will find that the sea gives birth to innumerable lives and ecosystems encompassing tropical forests, meadows, pine forests, waterfalls, mountains, rock formations, islands, river basins, swamp forests, mangrove forests, beach forests, mud flats, stone beaches, sand beaches, sea grasses and coral reefs. They are invaluable sources of plants and animals. These natural assets have long created civilizations of humanity, judging from archaeological objects and sites that tell us ways of life of people from the past to the present time. If the 18 national marine parks are registered as a world heritage, they will be subject to more serious and closer scrutiny by international experts to protect them against various threats of deterioration. There will be financial support for their maintenance and rehabilitation. If they are not well-maintained, their status as a world heritage could be revoked. As such, an imperative issue for Thailand is not whether they will be so honored, but it is how much and how long their fertility can be maintained. Specifically, the government’s policy to exploit the Andaman as the country’s source of major income from tourism without plans for systematic conservation and rehabilitation, the “world heritage” status would be like a doubleedged sword; it would be just a “logo” for cashing in on tourism. มกราคม มกราคม -- เมษายน เมษายน 2552 2552

January January -- April April 2009 2009

3/4/09 6:35:17 PM


เส้นทางสีเขียว

GREEN LINE

สมบัติหมื่นล้าน ใต้ท้องทะเลไทย

เรื่อง สุทธิโชค จรรยาอังกูร ภาพ กลุ่มวิชาการโบราณคดี ใต้น้ำ กรมศิลปากร

Time Capsules Under the Thai Seas Story Sutthichoke Janya-angkoon Photos Underwater Archeology Study Group, Fine Arts Department

นักประดาน้ำเตรียมกู้ซากโบราณวัตถุ Divers prepare for excavation.

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 27

January - April 2009

27

3/3/09 11:06:57 AM


...“การค้นพบโบราณวัตถุเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่มี ประโยชน์ต่องานโบราณคดี ไทยมาก ของบาง อย่างถูกบันทึกในเอกสารทางประวัติศาสตร์หรือ พงศาวดาร แต่ยังไม่มี ใครเคยพบเห็นมาก่อน เช่น งาช้าง หนังกวาง การพบสิ่งเหล่านี้ ถือ เป็นเครื่องยืนยันการมีอยู่ของเหล่านี้ว่าอยู่ จริง”– เอิบเปรม วัชรางกูร

1

ครั้งหนึ่งท้องทะเลบริเวณอ่าวไทยเคยเป็นเส้นทางการเดินเรือที่ สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเรือจากนานาประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย หรือประเทศจากยุโรป เข้ามาเทียบ ท่าตามหัวเมืองท่าอย่างจันทบุรี ตราด ระยอง ชลบุรี เป็นจำนวน มาก ระหว่างเดินทาง เรือหลายลำประสบกับอุบัติเหตุต่างๆ เช่น น้ำ หนักเรือมากเกินไป หรือเจอพายุพัดเกยตื้น บางลำต้องแก้ปัญหา ด้วยการทิ้งสินค้าที่ขนมาลงทะเล เพื่อให้เดินทางต่อไปได้ และมี ไม่ น้อยที่เลือกวิธีหนีลงเรือลำเล็กหรือกระโดดลงน้ำเพื่อรักษาชีวิต ปล่อยให้เรือลำใหญ่จมน้ำ กลายเป็นซากเรือใต้ทะเล ซึ่งในสมัยนั้น อาจจะไม่ ได้มีคุณค่าอะไรมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ของเหล่านี้ก็ กลายเป็นเครื่องมือทางประวัติศาสตร์ชั้นเยี่ยม ที่สามารถอธิบาย เรื่องราวความเป็นมาของดินแดนแห่งนี้ ในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจและวิถีการดำเนินชีวิตของ ผู้คน ทั้ ง นี้ ปั จ จุ บั น นิ ย มเก็ บ กู้ โ บราณวั ต ถุ ใ นทะเลมากกว่ า แม่ น้ ำ ลำคลอง เพราะของที่พบจะมีลักษณะเป็นกลุ่ม มีจำนวนมาก และ เชื่อมโยงกัน สามารถเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้มากกว่า เช่น ถ้าพบซากเรือสำเภาจีนลำหนึ่ง ก็จะพบข้าวของที่เรือลำนั้นบรรทุก มาด้วย เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้นักโบราณคดีสามารถวิเคราะห์ ต่อไปว่า เรือลำนั้นน่าจะอยู่ ในยุคใด มีที่มาจากไหน และมีคุณค่า ทางประวัติศาสตร์อย่างไร ขณะที่โบราณวัตถุในแม่น้ำลำคลอง ส่วน ใหญ่เป็นของเพียงชิ้นเดียว ซึ่งพลัดตกจากการเคลื่อนย้ายลงเรือ สิ น ค้ า ทำให้ ไ ม่ ส ามารถปะติ ด ปะต่ อ หรื อ อธิ บ ายเรื่ อ งราวทาง ประวัติศาสตร์ได้มากนัก “การค้นพบโบราณวัตถุเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่องาน โบราณคดี ไ ทยมาก ของบางอย่ า งถู ก บั น ทึ ก ในเอกสารทาง ประวัติศาสตร์หรือพงศาวดาร แต่ยังไม่มี ใครเคยพบเห็นมาก่อน เช่น งาช้าง หนังกวาง การพบสิ่งเหล่านี้ ถือเป็นเครื่องยืนยันว่าของ เหล่ า นี้ มี อ ยู่ จ ริ ง ” เอิ บ เปรม วั ช รางกู ร หั ว หน้ า กลุ่ ม วิ ช าการ โบราณคดี ใต้น้ำ กรมศิลปากร กล่าว

28

VA.indd 28

2

เมื่อปี พ.ศ.2517 ข่าวครึกโครมตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่าชาว ประมงกลุ่มหนึ่งพบซากเครื่องชามสังคโลกสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็น จำนวนมาก บริเวณเกาะคราม อ่าวสัตหีบ จ.ชลบุรี ทำให้เกิดกลุ่ม นักล่าสมบัติทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่หวังรวยทางลัด เข้าไปงม เครื่องถ้วยสังคโลกขึ้นมาขาย โดยไม่หวั่นกลัวต่อกฎหมาย ส่งผลให้ หลักฐานทางวิชาการและมรดกทางวัฒนธรรมของชาติถูกทำลายไป มากมาย นี่คือจุดเริ่มต้นของงานโบราณคดี ใต้น้ำไทยด้วยเช่นกัน โดย กรมศิลปากร ในฐานะผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับโบราณวัตถุ เริ่มหันมา สนใจงานค้นหาสมบัติของชาติ ในท้องทะเลอย่างจริงจัง โดยเรียก งานประเภทนี้ว่า “โบราณคดี ใต้น้ำ” ซึ่งในขั้นแรกกรมศิลปากรได้ ร่วมมือกับกองทัพเรือ ในการจัดหานักประดาน้ำและอุปกรณ์ เพื่อ ช่วยดำเนินงานสำรวจ ขุดค้น และเก็บกู้โบราณวัตถุ เครื่องถ้วยชาม สังคโลก จนเป็นผลสำเร็จ หลังจากนั้นกรมศิลปากรก็เริ่มพัฒนาทางด้านโบราณคดี ใต้น้ำ มากขึ้น มีการจัดหาผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเดนมาร์กมาแนะนำการ ปฏิ บั ติ ง าน และการจั ด ตั้ ง กลุ่ ม วิ ช าการโบราณคดี ใ ต้ น้ ำ ขึ้ น ในปี พ.ศ.2520 จนทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ที่มีงานโบราณคดีใต้น้ำ มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:06:59 AM


สภาพบริเวณค้นพบวัตถุโบราณที่เกาะคราม Excavation site off Kram island.

“Such artifacts are rich in historical value. They confirm the existence of things mentioned in annals or other historical documents that we have never seen before such as elephant tusks or deer skin,’’ said Erbprem Watcharangkul, head of the underwater archaeology group.

2

1

BELOW THE OCEAN FLOOR LIES A FASCINATING HISTORY. A collection of wrecks from times past thrills historians of the many stories they hold about a by-gone era. The Gulf of Thailand once served as the major shipping route of Southeast Asia, welcoming vessels bearing Chinese, Japanese, Indian or even European flags which headed towards major ports in Chanthaburi, Trat, Rayong and Chon Buri. Many ships had perished. Fierce weathers forced captains to unload their cargos to stay afloat or even abandoned their ships. There they lay as links to the past, as a well-preserved evidence of ancient civilization. The bottom of the ocean offers more lost treasures than the beds of streams or rivers. Maritime finds are greater in number, linkage and cluster. An exploration of one Chinese junk and their freight would have historians’ hands full. River beds often buried one or two pieces of goods which accidentally fell during transfer to or from a ship. มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 29

January January -- April April 2009 2009

Thai deep-sea archaeology began in 1974 after a group of fishermen made the headlines about their findings of a large collection of Sangkhalok pottery from the Ayutthaya era off Kram Island in Sattahip Bay in Chon Buri. Treasure hunters, local and foreign, flirted with laws by scouring the sea for national treasures. The Fine Arts Department could not sit idly. With assistance of the Navy, which provided skilled divers and equipment, the department launched its underwater archaeology program to survey, find and retrieve the remaining Sangkhalok pottery and ancient artifacts. Since then the department has taken the matter seriously starting with commissioning Danish advisors to help with its operations and setting up its underwater archaeology group in 1977 as the first attempt in Southeast Asia. Data compiled since have shown that the time capsules are abundant in the eastern part of the sea off Chanthaburi, Rayong, Trat and Chon Buri, where once lay major ports and which have main rivers, such as Bang Pakong and Trat rivers, for transportation into the capital city. A rich excavation site is off Bang Gachai Bay in Laem Sing district of Chanthaburi with three tons of copper ores and 4,500 pieces of timber recovered. Fewer shipwrecks and artifacts were excavated in the western sea due to mountainous terrain which is thus not suitable for freight transfer. Tableware from the Dhavaravati kingdom is the oldest find, dated back 1,500 years, followed by Sangkhalok pottery from the Sukhothai era found near Kram and Sichang islands in Chon Buri. Most shipwrecks and cargos discovered were from the Ayutthaya period. Imported goods found comprised ornaments and copper ores from China, Japan, Vietnam, Indonesia, Malaya, Java and the Philippines. Export goods were tableware, elephant tusks, books, painted timbers, Iron woods, iron pans, tin, lead, deer skins and a box containing

29

3/3/09 11:07:01 AM


เอิบเปรม วัชรางกูล เตรียมลงปฏิบัติการใต้น้ำ

Erbprem Watcharangkul gets ready for underwater operation.

จากข้อมูลพบว่าบริเวณที่สามารถเก็บกู้ซากวัตถุขึ้นมาได้มาก ที่สุดนั้น คือแถบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก แถวจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด และชลบุรี เนื่องจากสมัยก่อนบริเวณนี้เป็นอู่จอดเรือ ที่สำคัญ แถมยังติดกับแม่น้ำสายใหญ่ๆ อย่างแม่น้ำบางปะกง และ แม่น้ำตราด ซึ่งเหมาะแก่การลำเลียงสินค้าเข้าไปขายในเมืองหลวง โดยจุดที่คณะสำรวจพบโบราณวัตถุมากที่สุด อยู่ที่อ่าวบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โดยขุดพบก้อนทองแดงซึ่งใช้ทำ ภาชนะถึง 3 ตัน และไม้ฝางอีก 4,500 ท่อน ขณะทีบ่ ริเวณชายฝัง่ ทางด้านตะวันตกนัน้ ยังพบซากเรือและโบราณวัตถุไม่มากนัก คาดว่า อาจเป็นเพราะบริเวณนั้นไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ๆ ภูมิประเทศโดยรวม เป็นเทือกเขาสูง จึงไม่เหมาะกับการเป็นท่าเรือ หรือจุดลำเลียงสินค้า สิ่งของที่พบมีหลายยุคหลายสมัย ที่เก่าสุดคือเครื่องถ้วยชาม สมัยทวารดีซึ่งพบที่จังหวัดกระบี่ อายุร่วม 1,500 ปี รองลงมาก็คือ เครื่องชามสังคโลกสมัยกรุงสุโขทัย พบที่บริเวณเกาะครามและ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ส่วนซากเรือและสินค้าที่พบมากที่สุดอยู่ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา สินค้านำเข้าประกอบด้วยเครื่องประดับ โลหะ ทองแดง ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศจีน ญี่ปุ่น เวียตนาม อินโดนีเซีย มลายู ชวา และฟิลิปปินส์ ส่วนสินค้าส่งออกเป็นจำพวกถ้วยชาม งาช้าง หนังสือ ไม้ย้อมสี ไม้แดง กะทะเหล็ก ดีบุก ตะกั่ว หนัง กวาง รวมถึงกล่องใส่ตาชั่งตีตราเมื่อ พ.ศ.2153 ซึ่งตรงกับสมัยสม เด็จพระเอกาทศรถ ส่วนโบราณวัตถุที่อายุต่ำสุดคือซากวัตถุสมัย สงครามโลกครั้ง 2 โดยซากเรือรบของประเทศญี่ปุ่นที่ถูกเครื่องบิน ฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตี หรือทุ่นระเบิดของประเทศอังกฤษ “ช่ ว งอยุ ธ ยาตอนกลางถึ ง ตอนปลาย ถื อ เป็ น ช่ ว งที่ เ ราพบ โบราณคดี ใ ต้ น้ ำ มากที่ สุ ด เพราะเป็ น ช่ ว งที่ ป ระเทศจี น กำลั ง ปิ ด ประเทศพอดี เพราะฉะนั้นการนำสินค้าเข้า-ออกจึงทำได้ลำบาก พ่อค้าชาวจีนที่มีอยู่จำนวนมากก็จะหันมาทำการค้าระหว่างเมืองท่า เล็กๆ เช่น เวียตนามไปไทย ไทยไปอินโดนีเซีย บางทีก็เป็นการค้า ระหว่างเมืองต่างๆ เช่น จันทบุรี ไปปัตตานี ระยองไปพัทลุง” เอิบ เปรมกล่าว “ผมเชื่อว่ายังมีของที่จมอยู่ทะเลอีกกว่าสามแสนชิ้น หากคิด เป็นมูลค่าก็คงไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท เพราะเท่าที่อยู่ ในพิพิธภัณฑ์ ตอนนี้ก็ร่วมพันล้านบาทแล้ว เราเก็บกู้ได้ประมาณสองหมื่นชิ้น และ ยังมีแหล่งที่ ได้ทำการสำรวจแล้ว แต่ยังไม่มีงบประมาณในการเก็บกู้ ขึ้นมาอีกกว่าสิบจุด”

ตะเกียบ Chopsticks

3

เอิบเปรมเล่าว่ากรรมวิธี ให้ ได้มาซึ่งวัตถุโบราณใต้น้ำไม่ ใช่เรื่อง ง่าย การทำงานด้านนี้มีข้อจำกัดมากมาย อย่างแรกก็คือนอกจากดำ น้ำเป็น ยังต้องมีความรู้ทางเทคนิคและวิชาการ รู้ว่าจะดำลงไปดู อะไร ซึ่งปัจจุบันมีผู้ปฏิบัติงานด้านนี้เพียง 15 คนเท่านั้น ส่วนใหญ่ โอนย้ายมาจากกองทัพเรือ แล้วมาฝึกอบรมความรู้ด้านโบราณคดี ภายหลัง คนเหล่านี้เมื่อทำงานใต้น้ำนานๆ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค

30

VA.indd 30

กระบวย Dipper มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/6/09 11:01:06 AM


สภาพโบราณวัตถุที่จมใต้ทะเล

A buried artifact.

บ่อแช่โบราณวัตถุเพื่อล้างคราบเกลือ

A pond used to rinse off salt from artifact.

a scale marked in 1610, which was under the reign of King Ekathotsarot. The most recent item found was the wreck of a Japanese warship from World War II, probably sunk by the Allies’ warplanes or English bombs. “Most maritime artifacts were from the middle and late Ayutthaya periods when China closed their door to outsiders. Chinese merchants, quite a number of them, opted to ply their trade with neighboring countries, from Vietnam to Thailand and from Thailand to Indonesia. Sometimes they went from town to town such as from Chanthaburi to Pattani and from Rayong to Phattalung,’’ Erbprem added. “I believed there remain some 300,000 artifacts still underneath the ocean floor, worth more than 10 billion baht. The 20,000 items that we recovered and sent to the museum were estimated at a billion baht. There are still more than 10 unexplored sites, though we don’t have the budget to do the work yet.”

3

The challenging part of the work is the excavation of maritime finds, he said, citing many limitations. Divers need more than underwater skills; they also need knowledge of excavation techniques. Most of the present 15 qualified divers are from the Navy who have undergone archaeological training. Divers are exposed to health hazards, particularly hearing and lung problems, from intense water pressure. It is also a work against time. With artifacts buried from 5 meters to 80 meters under the water, มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 31

January January -- April April 2009 2009

(บน) ไหโบราณ (Top) Ancient jars (ล่าง) พริกไทย (Bottom) Pepper

31

3/3/09 11:07:08 AM


ภาพสะเก็ตบริเวณที่สำรวจ หนึ่งในงานหลังสำรวจ Sketch of excavation site

แผนที่เส้นทางเดินเรือโบราณ Map of ancient shipping routes

เกี่ยวกับการได้ยิน หรือโรคเกี่ยวกับปอด เพราะแรงดันใต้น้ำทะเล สูงกว่าบนบกมาก ข้อจำกัดต่อมาคือหากค้นหาตำแหน่งที่ตั้งและต้องทำงานแข่ง กับเวลา การหาตำแหน่งของโบราณวัตถุทำได้ยาก บางครั้งโบราณ วัตถุจมอยู่ ใต้น้ำลึก 5-80 เมตร มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องอาศัย การแจ้งข่าวจากชาวประมงเป็นหลัก ซึ่งบางครั้งชาวประมงไม่ยอม แจ้ง เก็บไปขายก่อนก็มี ขณะที่เวลาการทำงานมีอย่างจำกัด คือต้อง ทำในช่วงฤดูหนาว หรือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์เท่านั้น เพราะเป็นช่วงที่อากาศสงบที่สุด การทำข้อมูลแต่ละครั้งต้องใช้เวลา ไม่ต่ำกว่า 5 วัน หรือบางทีนานถึง 2 เดือน เพราะนอกจากเก็บกู้ วัตถุโบราณแล้ว ยังต้องวัดขนาดเรือ ถ่ายรูป และทำแผนผังอีกด้วย เมื่อได้โบราณวัตถุมาแล้ว การเก็บและรักษายุ่งยากกว่าโบราณ วัตถุบนบกมาก ต้องทำความสะอาดด้วยน้ำจืดเพื่อล้างคราบเกลือ ออกให้หมด หากมีเกลือตกค้างอาจทำปฏิกิริยาทำให้วัตถุเสียหาย ในกรณีถ้วยชาม เกลือที่ตกผลึกจะดันผิวถ้วยชามให้เกิดเป็นรอย ร้าว และถ้าเป็นอินทรียวัตถุ เช่น ไม้หรือหนังสัตว์ หากปล่อยให้ แห้งทันทีโดยไม่ทำความสะอาดก่อน แบคทีเรียก็จะกัดกร่อนทำให้ วัตถุเสียหายด้วยเช่นกัน “แม้งานที่พวกเราทำอยู่จะยากลำบากเพียงใด แต่ก็เต็มใจทำ เพราะวัตถุพวกนี้ ล้วนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของไทย เป็นรากเหง้าที่แสดงว่าชาติของเรานั้นมีประวัติและความเป็นมา และที่สำคัญมันคือสมบัติของชาติ ซึ่งทุกคนในประเทศต้องช่วยกัน ดูแลรักษา” เอิบเปรมกล่าว สั ม ผั ส โบราณวั ต ถุ จ ากใต้ ท ะเลไทยอย่ า งใกล้ ชิ ด ได้ ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี ค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เปิดทำการทุกวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 9.0016.00 น. อัตราค่าบริการ คนไทย 10 บาท คนต่างชาติ 30 บาท

32

VA.indd 32

เครื่องถ้วยชามสังคโลกจากใต้ทะเลจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ Recovered Sangkhalok pottery are on display at the National Maritime Museum.

officials depend on fishermen’s tip-off, though it does not always work out as some fishermen refused to cooperate and instead kept ancient items for sales. Winter is the only working period from November to February when the sea is calm. An excavation takes at least five days and sometimes up to two months because archaeologists need to take measurement and photographs of the finds and map the sites. Preservation and upkeep of the recovered items also poses a challenge. Salt must be rinsed off to prevent it damaging the artifacts. Salt crystals tend to crack tableware. This is not to mention bacteria on wood or animal skin if they are not thoroughly cleaned. “It is a demanding work, but we are happy to do it to preserve our cultural heritage. They are national treasures and tell our roots,” he said. “It is everybody’s job”. Interested parties may explore maritime artifacts at the National Maritime Museum at Noen Wong navy camp in tambon Bang Kacha, Muang district, Chanthaburi. The museum opens from 9 am to 4 pm, Wednesday to Sunday. Entrance fee is 10 baht for Thai and 30 for foreigner. มกราคม มกราคม -- เมษายน เมษายน 2552 2552

January January -- April April 2009 2009

3/3/09 11:07:12 AM


เส้นทางสายใหม่

on a new path

กลุ่มนักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดูเหมือนนักท่องเที่ยว แต่กำลังออก ปฏิบัติงาน Looked more like tourists than conservation divers, the group is on their way to work underwater.

ฮูย่า!

พวกเราคือ นักดำน้ำเพื่อ การอนุรักษ์ เรื่อง/ภาพ ลม ละเมอ

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 33

January - April 2009

Hooah!

We are SeaGuarding Divers Story/photos Lom Lamer

33

3/3/09 11:07:16 AM


“ผูกเงื่อน” บนบกก็ยากอยู่แล้ว แต่ ใต้น้ำยิ่งยากกว่า A diver works underwater to install a buoy.

1

“เมื่อพ้นจากเกาะนี้ ไป พวกท่านคือนักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์”

เสียงตะโกนปฏิญาณตนดังก้องในวันที่สำเร็จการฝึก เพื่อแสดงว่า พวกเราพร้อมแล้วที่จะทำงานเป็นนักดำน้ำเพื่อท้องทะเลไทย รัก และห่วงแหนทรัพย์ของแผ่นดิน ดูแลผืนน้ำใต้ท้องทะเลไทยให้ ดำรงอยู่สืบต่อไป ย้อนกลับไปสองสัปดาห์ที่แล้ว เกาะพระหรือโรงเรียนสงคราม พิเศษทางเรือ ซึ่งเป็นแหล่งสร้างเหล่ายอดมนุษย์ (กบ)แห่งกองทัพ เรือไทยได้กลายมาเป็นแหล่งสร้าง “นักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์” หรือ “นพอ.” ภายใต้โครงการอุทยานใต้ทะเล จุฬาภรณ์ 36 ผมเป็นหนึ่งในอีกหลายคนที่ก้าวขึ้นเกาะพระโดยที่ ไม่ ได้รู้ราย ละเอียดของโครงการนี้มากนัก ความรู้เรื่องใต้ท้องทะเลไทยหรือ งานอนุรักษ์แทบเป็นศูนย์ ก็หัวใจอนุรักษ์มันยังไม่เกิดนี่ครับ ผมมา สมัครและเข้ารับการทดสอบพร้อมๆ กับเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย เพราะอยากเรียนดำน้ำแบบ SCUBA โดยที่ไม่ต้องเสียเงินไปเรียน ตามร้านดำน้ำ ซึ่งค่าเรียนคอร์สละกว่าหมื่นบาทเลยทีเดียว พวกเรามีด้วยกันทั้งหมด 67 คน ต่างวัย ต่างอาชีพ จากทุก สารทิศ ผลก็คือวันแรกบนเกาะพระเหมือนการจับปูใส่กระด้ง การฝึ ก ในสั ป ดาห์ แ รกเป็ น การเพิ่ ม ขี ด ความสามารถของ ร่างกายและเรียนรู้สิ่ง ต่างๆ รวมถึงอันตรายและโรคจากการดำน้ำ แต่ปัญหาที่ ใหญ่หลวงที่สุดสำหรับคนสามัญนอกเครื่องแบบอย่าง พวกเราก็คงไม่พ้นเรื่องกฎระเบียบต่างๆ เราจะต้องใช้ชีวิตเยี่ยง ทหารชั้นต้น มีการเข้าเวรยามตลอดคืน มีคู่หูหรือบัดดี้ที่อยู่กับเรา ทั้งบนบกและในน้ำด้วยกันตลอดเวลา กว่าจะซึมซับและปรับตัวได้ ก็ต้องโดนทำโทษ มุดลงโต๊ะเรียน หมอบ วิ่งหลายรอบสนาม หรือ ต้องกินข้าวทั้งๆ ที่สวมหน้ากากดำน้ำ เล่นเอาเหนื่อยและปวด เมื่อยร่างกายไปตามๆ กัน แต่ก็นั่นแหละครับ! ความลำบากก่อ เกิดมิตรภาพ ร่วมกันผ่าฟันอุปสรรค และหล่อหลอมพวกเราเป็น หนึ่งเดียวกัน

34

VA.indd 34

สัปดาห์ต่อมาเรียกได้ว่า หายใจทางเหงือกจะดีกว่าครับ อยู่ ใน น้ำตั้งแต่เช้าจรดเย็น ถ้าสามารถกินข้าวใต้น้ำได้ก็คงจะถูกครูฝึกสั่งให้ ทำไปแล้ว ในการฝึกเน้นความคุ้นเคยและเพิ่มทักษะการดำน้ำแบบ SCUBA รวมถึงการฝึกที่หอฝึกดำน้ำที่ความลึก 10 เมตร มีการ ทดสอบที่เรียกว่า “ฟรีแอสเซ้นต์” เป็นการฝึกเพื่อแก้ ไขปัญหาเมื่อ อากาศหมด แล้วนักดำต้องขึ้นสู่ผิวน้ำตัวเปล่าจากระยะ 20-25 ฟุต ซึ่งทุกคนต้องสอบให้ผ่าน ผมเองไม่ชอบเอามากๆ แต่ก็ต้องจำใจ และพยายามให้ผ่านเพื่อไม่ให้โดนสอบซ่อม วั น เวลาผ่ า นไปแต่ ล ะวั น เราค่ อ ยๆ ปรั บ ตั ว ได้ สั่ ง สม ประสบการณ์มากขึ้น มีเทคนิคการดำน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ จวบจนวัน ก่อนสุดท้ายของการฝึก เราต้องผ่านการดำน้ำลึกมากที่สุดและยาก ที่สุดเท่าที่เคยดำมา ณ จุดเรือจมสุทธาทิพย์ ด้วยระดับความลึกประมาณ 90 ฟุต จุดที่บรรดานักดำน้ำรู้จักกันในนาม Hard Deep เป็นจุดที่ผมคิดว่า เป็น “จุดเปลี่ยนทางความคิด” ให้ผมหันมารักท้องทะเลไทยมากขึ้น ภาพที่ผมมองเห็นผ่านหน้ากากดำน้ำ มันช่างสวยงาม และไม่ เคยเห็นมาก่อน มันเหลือเชื่อจริงๆ! เรือจมเก่าๆ ลำหนึ่งตั้งแต่สมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 หลับใหลตะแคงนิดๆ มีลำแสงสลัวๆ ส่องลง มาจากผิวน้ำด้านบนสะท้อนกับพื้นทรายสีขาวด้านล่างที่ราบโล่ง มี ปลาตัวใหญ่ว่ายอยู่ข้างท้องเรือ … มันยังฝังติดตาอยู่จนทุกวันนี้เลย ครับ ถึงกลับไปดำอีกหลายครั้งก็ไม่เจอสภาพนั้นอีกเลย บอกได้คำ เดียวว่า มหัศจรรย์จริงๆ สำหรับมือใหม่หัดดำน้ำ ด้วยเวลาเพียง น้อยนิด ผมว่ายจากท้ายเรือไปหัวเรือ เพราะอากาศในถังดำมีจำกัด ก่อนกลับขึ้นมาครูฝึกทำเซอร์ ไพรโดยการถือป้ายและจับมือแสดง ความยินดีที่เราเกือบจะเป็นนักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์รุ่นใหม่แล้ว ที่ เหลือเพียงการรับใบประกาศนียบัตรในวันรุ่งขึ้น คืนสุดท้ายพวกเราต่างนอนไม่หลับ ไม่รู้ว่าดี ใจที่จะได้กลับบ้าน สักทีหรือเสียใจที่จะต้องแยกจากกัน ต่างหอบหมอนมายึดทางเดิน บนสะพานเรือนอนคุยกันถึงเรื่องต่างๆตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมาจน เกือบสว่าง …

2

กว่า 14 ปี แล้วที่นพอ. มากกว่า 700 คน ได้กลับมารวมตัว กันเพื่อช่วยงานของสถาบันฯ แม้จะไม่ครบทุกคน แต่ก็หมุนเวียนมา ช่วย เพราะทุกคนถือว่าเป็น นพอ. เหมือนกัน มีอุดมการณ์เดียวกัน งานภาคปฏิบัติทีสำคัญคงจะไม่พ้นงานซ่อมแซมและวางทุ่น ประจำปี ทุ่นที่กล่าวถึงคือทุนผูกเรือตามเกาะต่างๆ ที่หลังหมดช่วง มรสุมหรือก่อนเปิดฤดูท่องเที่ยว เจ้าทุ่นพวกนี้อาจได้รับความเสีย หายหรือสูญหายไป และหากไม่มีทุ่นผูกเรือ แนวปะการังอาจได้รับ ความเสียหายจากเรือท่องเที่ยว เพราะเจ้าทุ่นลูกกลมๆ สีส้มๆ นั้น เป็นตัวกำหนดแนวว่า นี่เป็นเขตแนวปะการังนะ อย่าเข้าไป และอย่า มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:07:17 AM


งานผูกทุ่นไม่ง่ายอย่างที่เห็น ต้องทำงานแข่งกับเวลาและกระแสน้ำ

Installing buoys is not so easy as it seems, having to work against time and tide.

1

“We are leaving this island MC Divers,” roared our collective voice as we gave an oath at the conclusion of our training under the Marine Conservation and Restoration Divers Club (MC Club), echoing our passion to cherish and protect the Thai seas. Two weeks earlier we arrived at Phra Island which is home to the Navy Special Warfare School, which produces naval divers as well as MC divers under the Princess Chulabhorn 36 Marine Park Project. I set foot on the island with little clue about the project or little passion about marine conservation. My only goal was to get a free scuba lesson, which would normally cost over 10,000 baht. All 67 of us are from all walks of life of wide age range and every corner of Thailand. It was a hectic first day get-together. The first week of the training was about pushing our bodies to the limit and learning every aspect of scuba, particularly its health hazards. The biggest challenge for civilians like us, however, was to adhere to disciplines behind the barracks. Treated like new recruits, we took turn standing guards at night and “buddied up” for land and sea training. For a breach of the rules, we would be ordered to duck under the table, ran several laps around the field or ate with a scuba mask on as punishment. Hardship did bind us together. … In the following week, we might as well have developed gills as we stayed under water from dawn till dusk. If we could eat under water, the trainers might have ordered us so. At a 10m-deep training station, we were tested on what is called “free ascent”, where we coped with an empty scuba tank and returned to the surface from a depth of 20-25 feet. We had to pass the test no matter how many times we have to attempt it. Needless to say, I didn’t like it. มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 35

January January -- April April 2009 2009

New scuba techniques we learned each day prepared us for the toughest and deepest test on the last day. At Suthathip shipwreck site, better known as Hard Deep, we glided to the depth of 90 feet. That was my so-called coming-of-age point as an MC diver. Through the scuba mask was an amazingly stunning view! The WW2 ship slept on its side with mellow light reflecting on the white seabed below. Big fishes swam around…The picture still stamped on my mind. No other dives could give such eyeboggling experience. As an amateur diver with so little time and air, I swam from the back to the front of the vessel and returned to a welcoming trainer who held aloft a banner congratulating new MC divers. We picked up our diving certificates the next day. The last night was a sleepless night with a mixed feeling of relief and melancholy. We slept at a pier bridge, recounting our two-week stint until nearly dawn.

2

For the past 14 years, over 700 MC divers have been groomed to be devoted for the MC Club’s cause. Key mission is the annual repair and installation of mooring buoys off islands at the end of the monsoon season or the start of tourism season. The orange buoys serve as stations for securing boats without having to throw anchors, which would damage fragile coral reefs. We work in teams. At each diving spot, a survey team checks conditions of existing buoys and identifies the missing ones and then reports to the other team, tasked with preparing buoys and robes. The length of the robe would be computed with attention to rising tides. Then, it is the duty of a buoy-installing team. We work against time, weather and menacing sea. The work is so demanding that we crawl to bed at night and suffer sun burns. Many sustain injuries but giving-up is not in our dictionary. We work between late October and February when the sea sometimes is fierce. I remember my

35

3/3/09 11:07:18 AM


ทอดสมอ เพราะอาจลงไปถูกแนวปะการังหักโค่นได้ ให้นำห่วง ปลายเชือกที่ติดกับทุ่นไปผูกกับเชือกหัวเรือแทน พวกเราต้องสำรวจความเสียหาย และซ่อมแซมตามจุดท่อง เที่ยวต่างๆ โดยแบ่งกันเป็นทีม แต่ละทีมจะมีหัวหน้าทีมและสมาชิก ที่แบ่งงานกันทำอย่างชัดเจน เช่น ทีมสำรวจพื้นที่ จะต้องไปสำรวจ ทุ่นเก่าหรือตำแหน่งทุ่นเก่าที่หายไป หรือตำแหน่งฐานผูกสำหรับทุ่น ใหม่ แล้วแจ้งกลับมาที่หัวหน้าทีม เพื่อส่งข้อมูลต่อให้ทีมเตรียม เชือกและทุ่น เพื่อคำนวณความยาวเผื่อระยะน้ำขึ้นลงด้วย พอ เตรียมทุ่นเสร็จจึงส่งมอบให้ทีมผูกทุ่น การทำงานทุกขั้นตอนจะต้องแข่งกับเวลา สภาพอากาศ สภาพ ท้ อ งทะเลที่ จ ำกั ด และเปลี่ ย นแปลงได้ ต ลอดเวลา แม้ ว่ า จะ เหน็ดเหนื่อยจนแทบคลานกลับที่พักเกือบทุกวัน สาวๆ บางคนตัว ดำขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บางคนได้รับบาดเจ็บระหว่างการทำงาน แต่ พวกเราไม่ท้อ เพราะมุ่งหมายให้ภารกิจสำเร็จตามเป้าหมาย มีหลายครั้งที่ต้องผจญคลื่นลมที่แรงมาก เนื่องจากช่วงที่ ไป ทำงานวางทุน่ ส่วนใหญ่เป็นช่วงปลายเดือนตุลาคมไปจนถึงกุมภาพันธ์ ของทุกปี ผมจำได้วา่ ช่วงปลายเดือนตุลาคม ปี 2545 เราไปทำงานที่ หมูเ่ กาะสิมลิ นั ขณะทีก่ ำลังออกจากเกาะสี่ไปวางทุน่ รอบๆ เกาะ ลม แรงมาก เรือยางถึงกับพลิกคว่ำตีลังกา ทั้งคนทั้งของตกทะเลหมด จริงๆ แล้ววันนั้นพวกเราได้ประเมินแล้วว่าคลื่นลมแรงมาก แต่ก็ อยากทำงานให้สำเร็จลุลว่ ง สุดท้ายทริปนัน้ ก็ทำไม่สำเร็จ ที่ เ กาะไข่ ใ น-ไข่ น อก งู ท ะเลสี ส วยแต่ พิ ษ ร้ า ยกาจนั ก เป็ น อุปสรรคใหญ่หลวงสำหรับบรรดา นพอ. หญิงที่กลัวจนไม่กล้าลงน้ำ งานส่วนใหญ่จึงตกกับบรรดาผู้ชายในทีม และต้องทำงานด้วยความ ระมัดระวัง ไม่รู้เจ้างูทะเลมันจะพุ่งขึ้นมาผิวน้ำตอนไหน ที่กองหินเจ็ดสีจาบัง อุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่มีกระแสน้ำ เปลี่ยนแปลงและค่อนข้างแรง ถ้าไม่ระวังระหว่างผูกทุ่น อาจถูกพัด ลอยไปกลางทะเลได้ นอกเหนือจากงานผูกทุ่น บางครั้งพวกเราต้องไปให้ความรู้ ความเข้าใจวิธีการผูกที่ถูกต้องแก่ผู้ประกอบการและลูกเรือท่อง เที่ยวต่างๆ ตลอดจนเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เพื่อไม่ ให้ทุ่นได้รับความ เสียหาย นอกจากนี้พวกเรายังให้ความสำคัญกับการแนะนำความรู้ แก่เยาวชนในชุมชนหรือท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยพวกเราตระหนักว่า แค่ พวกเราเพียงไม่กี่ร้อยคน ไม่สามารถดูแลและรักษาท้องทะเลได้ดี เท่ากับทุกคนในชุมชนพื้นที่นั้นช่วยกันสอดส่องดูแล จึงเป็นที่มาของ โครงการค่ายเยาวชนอนุรักษ์ปะการัง โดยมีพวกเราเหล่า นพอ. เป็นผู้ช่วยสอนแก่น้องๆ ในเขตจังหวัดพังงา และจังหวัดใกล้เคียง ในพื้ น ที่ สั ต หี บ เดิ ม ที เ กาะต่ า งๆ เคยมี แ นวปะการั ง ให้ ดู มากมาย แต่ ในปัจจุบันเหลือน้อยเต็มที โครงการปรับปรุงสภาพ แวดล้อมใต้ทะเล หรือโครงการปลูกปะการัง ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อ เพาะและขยายแนวปะการังให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม ทุกปีพวกเรา จะทำการเคลื่อนย้ายปะการังที่เตรียมไว้ ไปวางตามสถานที่ต่างๆที่ถูก กำหนดไว้ เช่นที่หน้าเกาะขาม และเกาะจวง ลองนึกภาพดูนะครับว่าพวกเราต้องดำน้ำแบกถังอากาศอยู่ แล้ว มือก็ต้องถือทุ่นปูนหรือก้อนหินที่เป็นทุ่นสำหรับให้ปะการัง เกาะนำไปวางตามจุดที่กำหนด บางคนว่ายไม่ ไหวก็ใช้วิธีเดินบนพื้น เลย หรือไม่ก็กลิ้งเอา ยิ่งบริเวณที่มีหอยเม่นชุกชุม ดูไม่จืดเลยครับ เวลาถอดชุดดำน้ำออกมา ตามน่องมีแต่รอยจุดดำๆ ที่หอยเม่นฝาก รักเอาไว้

36

VA.indd 36

เตรียมตัวและอุปกรณ์ผูกทุ่นให้พร้อม ก่อนลงสู่ ใต้ผิวน้ำ

Divers make pre-dive preparation before an underwater operation.

3

แม้การทำงานของพวกเราเหล่า นพอ. จะประสบผลสำเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี แต่ถ้าปราศจากการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ก็ คงจะยากมากๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานจากภาครัฐบาลอย่างกองทัพ เรือ อุทยานแห่งชาติและกรมป่าไม้ หรือบางครั้งพวกเราก็ร่วมมือกับ หน่วยงานจากภาคเอกชน พวกเราบางส่วนยังได้ออกไปร่วมงาน อนุรักษ์ตามสถานที่ต่างๆ อีกมากมาย เช่น งานดำน้ำเก็บขยะกับ เมืองพัทยาและสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำที่จัดเป็นประจำทุก ปีที่บริเวณหน้าหาดพัทยาและเกาะล้าน งานปล่อยหอยมือเสือกับ กรมอุทยาน สัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งชาติตามสถานที่ต่างๆ หรือ แม้แต่งานช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ในปี 2548 ที่พวกเราเหล่า นพอ. มีโอกาสได้ลงไปช่วย ถึงจะเป็นส่วนเล็กน้อยก็ตาม จวบจนวันนี้พวกเราเหล่า นพอ. และตัวผมเองไม่เคยเสียใจ เลยที่ได้เสียสละเวลาส่วนตัว เสียแรงกาย ไปกับการทำงานอนุรักษ์ นี้ แม้งานทั้งหมดจะทำได้เพียงเศษเสี้ยวบางส่วนของท้องทะเลไทย ที่กว้างใหญ่ แต่พวกเราก็ยังจะมุ่งมั่นทำงานอนุรักษ์นี้ต่อไป ด้วย เพราะอยากให้ลูกหลานของพวกเราได้เห็นท้องทะเลไทยที่สวยงาม ระดับโลกเฉกเช่นที่พวกเราได้เคยเห็นมาแล้ว คำปฏิญาณจะยังคง ดังออกมาจากเกาะพระทุกๆปี ว่า “เมื่อพ้นจากเกาะนี้ ไป พวกท่านคือ นักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์” ฮูย่า!

โครงการอุทยานใต้ทะเล จุฬาภรณ์ 36 โครงการอทุยานใต้ทะเล จุฬาภรณ์ 36 เป็นโครงการที่กองทัพเรือ ถวายแด่ ศ.ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารรี เนื่องในวันพระราชสมภพของพระองค์ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2536 ด้วยกองทัพเรือสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ที่ทรงห่วงใยทรัพยากรใต้ทะเลบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน เกาะบอน เกาะตาชัย และหมู่เกาะสุรินทร์ มีพระประสงค์ ให้ทรัพยากร ธรรมชาติใต้ทะเลโดยเฉพาะปะการังได้รับการอนุรักษ์ ให้ยั่งยืนถาวร เพื่อเป็นแหล่งที่พักอาศัยของสัตว์ ใต้น้ำและเป็นแหล่งท่องเที่ยวของ ประเทศไทยตลอดไป มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:07:18 AM


“ทุ่นผูกเรือ” เครื่องมือสำคัญช่วยป้องกันปะการังใต้น้ำ Buoys are an important tool to help protect corals against careless anchoring by tourist boats. mission at Similan islands in October 2002 when gushing wind overturned our rubber boat. We went out despite a warning forecast hoping to complete the mission but our hope was dashed. But at Khai Nai and Khai Nok islands, colorful sea snakes scared away the female divers and the task fell to macho divers who had to keep a look out for quick snakes which could pop up out of the water at any time. At the Jabang Rock in the Tarutao Marine National Park, menacing sea tide can carry divers away to deep sea. Apart from routine works, we train tour operators and crew as well as national park staffs on how to secure a boat with a buoy, without damaging it. We also train local youths with a realization that our pool of hundreds of divers could not do without the locals’ understanding and participation. This gave rise to the Coral Reef-Guarding Youths Project in Phangnga and nearby provinces. Abundant coral reefs are a thing of the past in Sattahip. Under the Coral Reef-Planting Project, we place coral reefs at designated locations, including off Kham and Juang islands. Imagine us divers carrying heavy scuba tanks on our backs and dragging concrete reef mooring buoys. They are so heavy that some of us could not swim and opt to walk on the seabed or push them on the sea floor. We usually return home with spiny souvenirs from sea urchins on our legs. มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 37

January January -- April April 2009 2009

3

We owe much of our achievements to supportive public and private agencies, including the Navy, national parks and the Forest Department. We also take part in many interesting activities, such as the annual garbage collecting in Pattaya sea and off Lan island, the release of giant clams by the Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation and aid to tsunami victims in 2005. It has been our honor to be a tiny part in conserving the beauty of the Thai seas for our future generations. The oath will continue to echo on Phra Island year in year out. “We are leaving this island MC Divers! Hooah!”

Princess Chulabhorn 36 Marine Park Project The project was initiated by the Navy in honor of the Princess on the occasion of Her Royal Highness’s 36th birthday on July 4, 1993. The princess was particularly concerned about marine resources in the Similan, Bon, Tachai and Surin islands. Her hope is to conserve underwater resources, particularly coral reefs, in a sustainable manner as a habitat for marine animals and as tourist attractions.

37

3/3/09 11:07:20 AM


เส้นทางเดียวกัน

on THE SAME path

ทะเล ต(ร)ม แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา

…คลื่นน้ำบ้าคลั่งกระทบขอบฝั่งจนไม่เหลือเค้าของหาดเลน กว้างที่เคยทอดยาวเป็นเอกลักษณ์ของทะเลรูปตัว ก.ของอ่าวไทย ในอดีต แม้ต้นแสมที่เคยหยั่งรากลึกก็ยังโค่นล้มระเนระนาดถอน โคนชี้ฟ้า ไม่ต่างกับซากปรักหักพังของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ สิ่งเหล่านี้ยืนยันความเสียหายจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ ยังคงทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากรายงานการศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่าง ประเทศของญี่ปุ่นหรือไจก้า (Japan International Cooperation Association :JICA) ที่เริ่มศึกษามาตั้งแต่ปี 2543 จนแล้วเสร็จนำ ออกเผยแพร่ ในปี 2550 ระบุว่า หลังแผ่นดินตอนบนมีการสร้าง เขื่อนในแม่น้ำเกือบทุกสาย ปริมาณตะกอนหายไปจากอ่าวไทยถึง 75 เปอร์เซนต์ ข้อมูลชิ้นนี้เพิ่งจะกลายมาเป็นข้อมูลสำคัญอีกชิ้น หนึ่งที่ทำให้คนในเขตชายฝั่งทะเลรับรู้และตระหนักถึงความวิกฤต ของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในทะเลอ่าวไทยยิ่งขึ้น แต่แท้จริงพวกเขารับรู้ ตื่นตัว และแก้ ไขปัญหานี้มานานแล้ว ทว่าเทคนิควิศกรรมสมัยใหม่ที่รัฐนำมาใช้ ในการแก้ปัญหามานานนับ 20 ปีนั้น และบางรูปแบบจะสามารถรักษาชายฝั่งไว้ได้ แต่ผลที่ตาม มาคื อ คนอี ก กลุ่ ม หนึ่ ง จะได้ รั บ ผลกระทบจากพลั ง คลื่ น ที่ เ ปลี่ ย น ทิศทาง ซึ่งที่สุดก็มิอาจรักษาชายฝั่งในภาพรวมไว้ ได้ และนำมาซึ่ง ห่วงโซ่ปัญหาอื่นๆ ที่ไม่มีวันจบสิ้นและซับซ้อนยิ่งขึ้น ศักดิ์ชัย เนตรล้อมวงศ์ ประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติโคก ขาม มีความคิดเห็นเหมือนกับผลการศึกษาของนักวิชาการที่ระบุว่า สาเหตุหลักที่ทำให้การกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงคือการสร้างเขื่อนใน แม่น้ำสายหลักที่กักกั้นตะกอนไว้ถึง 18 ล้านตันต่อปี (จากก่อน สร้างเขื่อนมีตะกอนไหลลงสู่อ่าวไทยถึง 25 ล้านตันต่อปี) ทำให้ ตะกอนไม่ ไหลลงมาสู่ทะเลอ่าวไทยตามธรรมชาติ ศักดิ์ชัยคิดถึงภาพในอนาคตว่า ชายทะเลในอ่าวไทยจะไม่มี ตะกอนดินมาสะสมเพิ่มขึ้น ตะกอนที่เหลืออยู่ ในทะเลจะกลายเป็น ทรัพยากรล้ำค่าที่แต่ละพื้นที่ต้องช่วงชิงยึดไว้ให้ได้ “ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมีมาตั้งแต่จากปากแม่น้ำเจ้าพระยา ป้ อ มพระจุ ล ถึ ง แม่ ก ลอง ยั น เพชรบุ รี ถ้ า ดิ น ตรงนี้ (โคกขาม

38

VA.indd 38

ชาวบ้านกำลังงมหาหอยในเลนที่เพิ่มก่อตัวขึ้นหลังจากมีการติดตั้งเขื่อนไม้ ไผ่สลาย คลื่นที่หาดบางขุนเทียน – วสันต์ เตชะวงศ์ธรรม

จ.สมุทรสาคร) พังไป ก็จะไปสะสมที่ปากแม่น้ำแม่กลอง ถ้าคนแม่ กลองปลูกป่าชายเลนยึดตะกอนไว้ ได้ ตะกอนดินก็ ไม่ ไหลกลับมา และที่ตรงนี้ก็ ไม่มีตะกอนจากเจ้าพระยาลงมาเสริมอีกแล้ว ตอนนี้ ชุมชนแต่ละชุมชนจึงต้องหาทางป้องกันการกัดเซาะ ต้องกักตะกอน เลนเอาไว้ ให้ ได้ เพราะตะกอนในอ่าวไทยมีอยู่เท่าเดิม ไม่เพิ่มขึ้น แล้ว ถ้าใครดักตะกอนเอาไว้ ได้ ก็จะทำให้ตะกอนที่ ไหลเวียนใน พื้นที่อื่นลดลงไปด้วย” ศักดิ์ชัยพูด ความคิดเห็นของศักดิ์ชัยอาจดูสุ่มเสี่ยงและท้าทายต่อความ หวังในการอนุรักษ์หาดเลนโดยชุมชนที่เริ่มเห็นผลสำเร็จชัดเจนขึ้น เขื่อนไม้ ไผ่ชะลอคลื่นที่ชุมชนชายทะเลอ่าวไทยหลายชุมชนร่วมกัน สร้างสามารถกักตะกอนเลนสะสมไว้ ในพื้นที่ ได้ ในระยะเวลาไม่กี่ เดือน ส่วนโครงการเขื่อนสลายกำลังคลื่นที่ขุนสมุทรจีนก็ประสบ ความสำเร็จในการดักตะกอนจนโด่งดังเป็นรู้จักอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามขณะที่นักวิชาการยังไม่ ได้มีการศึกษาเรื่องผล กระทบจากการลดลงของตะกอนในอ่าวไทย หรือปริมาณตะกอนที่ ไหลเวียนในอ่าวไทยไว้อย่างชัดเจน การดักตะกอนเพื่อรับมือกับ ปัญหาชายฝั่งหด-ดินหายของชาวบ้านแต่ละพื้นที่ ก็เป็นแค่เพียงการ ปลดทุกข์เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของชาวบ้าน โดยมิอาจทราบได้ ว่าตะกอนที่เพิ่มขึ้นบนพื้นที่หน้าบ้านของตนเองจะเป็นการกักเก็บ ตะกอนของหน้าบ้านอื่นไว้หรือไม่ คงศักดิ์ ฤกษ์งาม ผู้ประสานงานเครือข่ายรักทะเลกรุงเทพฯ และชาวบ้านแถบชายทะเลอ่าวไทยยังเชื่อมั่นว่า หลักการในการแก้ ปัญหาด้วยเขื่อนไม้ ไผ่ชะลอคลื่นจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน คือรูป แบบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบของแก้ มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:07:21 AM


...However, this method of preventing coastal erosion is effective at only some particular areas. It is not a sustainable way of preventing coastal erosion in the long run. If an integrated technique to solve this problem is not developed, the fight for sediment in the Gulf of Thailand will intensify and can become a source of new conflict...

A villager looks for mussels in the mud flat that was newly formed after wave-weakening bamboo weirs were installed in the shore of Bang Khunthian. – Wasant Techawongtham

Sea of Sadness Maenwad Kunjara na Ayuttaya

M

ARSHLANDS WHICH USED TO EXIST ALONG THE COASTLINE of the Gulf of Thailand are now almost things of the past. Much of them had been washed away by strong waves that kept hitting the shores. Samae (Avicennia) trees had been uprooted, like buildings lying in ruins. These are evidence of damage caused by soil erosion which has become increasingly serious. A study by the Japan International Cooperation Agency (JICA) released in 2007 points out that dam construction on almost all major rivers in the North has caused the loss of 75 percent of sediment in the Gulf of Thailand. This information has become an important piece of information for people living มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 39

January January -- April April 2009 2009

along the coastline of the Gulf to realize the growing crisis of coastal erosion. The matter of fact is the local people have long been aware of the problem and have tried to solve it for a long time. Modern engineering techniques have been used by government agencies for more than 20 years to cope with the problem. Some of the techniques have proven effective but at the expense of people in another area who have to bear the brunt of force of the tide that was made to change direction. In the end, they are not effective in keeping the coast as a whole intact. Instead, they have created a chain of problems, more complicated with no end in sight. Sakchai Netlomwong, chairman of the Natural Conservation Group of Khok Kham in Samut Sakhon province, agrees with academic studies that point to the construction of dams that hold back 18 million tons of sediment a year from reaching the sea as the main cause of coastal erosion. Before the dams were built, about 25 million tons of sediment flowed into the gulf. Sakchai expects that in the future there will be no more soil deposits along the coastline. The existing deposits will become valuable assets, which people in each locality will fight to hold on to. “The coastal erosion has taken place from the mouth of the Chao Phraya river at Phra Chun Fort to Mae Klong and Phetchaburi. If the soil deposit here (at Khok Kham, Samut Sakhon) is washed away to form another deposit at the mouth of the Mae Klong river and if the Mae Klong people grow a mangrove forest on it, the soil will not be brought back here. We will no longer have a soil deposit here because the quantity of mud and sludge in the Gulf of Thailand will not increase anymore. Once sediment is held up at one area, it will flow in a smaller quantity to elsewhere,” Sakchai said.

39

3/3/09 11:07:22 AM


ชายฝั่งที่ ถอยร่น

(บน) นกอพยพตัวหนึ่งกำลังหาอาหารบนหาดเลนที่บางปู – วสันต์ เตชะวงศ์ธรรม

(Top) A winged visitor look for food on the mud flat in Bang Pu of Samut Prakan province. – Wasant Techawongtham

(ล่าง) ปูก้ามดาบหาอาหารอยู่ ในตมที่บางขุนเทียน – แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา (Bottom) A fiddler crab is feeding on Bang Khunthian mud beach. – Maenwad Kunjara na Ayuttaya

ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง เพราะไม้ ไผ่ที่ปักไว้เป็นแนวในทะเลจะลดทอนความแรงของคลื่นให้ สลายไปโดยไม่เปลี่ยนทิศทางของกระแสน้ำ ส่วนตะกอนหลังแนวไม้ ไผ่ที่ค่อยๆ สะสมตัวใน ลำดับต่อไปก็สามารถปลูกป่าชายเลนไว้ยึดเกาะตะกอน และในที่สุดจะกลายเป็นพื้นที่กันชน ระหว่างคลื่นทะเลกับแผ่นดิน ในขณะที่การสร้างกำแพงปูนกันคลื่น หรือทีกรอยน์ หรือไส้ กรอกทราย ซึ่งเป็นรูปแบบการแก้ปัญหาของภาครัฐได้ล้มเหลวมาแล้ว และยิ่งทำให้ปัญหา ปานปลายทำลายระบบนิเวศมากขึ้นกว่าเดิม แต่ ในวันนี้ความพยายามแก้ ไขและป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งซึ่งประสบความ สำเร็จเฉพาะจุด ไม่อาจเป็นแนวทางที่ยั่งยืนเพื่อปกป้องรักษาชายฝั่งทะเลในระยะยาว ซึ่งหาก แนวทางแก้ ไขปัญหาใหญ่นี้ ไม่เกิดขึ้นอย่างบูรณาการในทุกพื้นที่ชายฝั่งทะเล สมมุติฐานเรื่อง การแย่งชิงตะกอนในอ่าวไทยในอนาคตอาจจะทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นความขัดแย้ง เรื่องใหม่ก็เป็นได้ คงศักดิ์ ให้ความเห็นว่า ปฏิบัติการจากภูมิปัญญาในระยะแรกนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อ “เติม เต็ม (ตะกอน) จากข้างในออกสู่ข้างนอก ...หยุดการกัดเซาะชายฝั่งให้ได้ หรือทำให้เกิดการ กัดเซาะชายฝั่งน้อยที่สุด ได้ตะกอนตมมาเพิ่มขึ้น พอตะกอนเริ่มแน่นขึ้นก็ปลูกป่าเอาไว้ ซึ่ง หมายถึงตะกอนในพื้นที่อื่นอาจจะลดลงก็ได้ ดังนั้นทุกพื้นที่ต้องร่วมกันทำทั้งหมด และการ แก้ ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งต้องเป็นวาระแห่งชาติ”

40

VA.indd 40

จากข้อมูลจาก รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงศ์สกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน ธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเผยแพร่ช่วงปลายปี 2550 ระบุว่า ปัจจุบันพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 5 จังหวัดประสบกับปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งรุนแรงที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งตลอดแนวชายฝั่ง ทะเล 120 กิโลเมตร. มีถึง 82 กิโลเมตร.หรือร้อยละ 68 ของพื้นที่ ได้รับ ผลกระทบมากที่สุด ถูกกัดเซาะเฉลี่ย 1225 เมตรต่อปี บางพื้นที่ถูกกัดเซาะจนแผ่น ดินหายไปแล้ว 1 กิโลเมตร. รวมพื้นที่ที่ หายไป 18,000 ไร่ พื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง 4 จังหวัด คือ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและ สุราษฎร์ธานี ถูกกัดเซาะไปแล้ว 119.8 กิโลเมตร เฉลี่ย 6-16 เมตรต่อปี พื้นที่ อ่าวไทยตอนล่าง 4 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานีและ นราธิวาส ถูกกัดเซาะไปแล้ว 219.2 กิโลเมตร เฉลี่ย 5-20 เมตรต่อปี ส่วนพื้นที่ชายฝั่งด้านตะวันตกหรือ ฝั่งอันดามันครอบคลุม 6 จังหวัดคือ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล ถูกกัดเซาะไปแล้ว 113.9 กิโลตร เฉลี่ย 56 เมตรต่อปี ในภาคตะวันออก 4 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด มีแผ่นดิน ที่ถูกกัดเซาะไปแล้วประมาณ 64 กิโลเมตร. มีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ย 5 เมตรต่อปี ภาพรวม 30 ปีที่ผ่านมา ผืนดิน ชายฝั่งของประเทศไทยถูกกัดเซาะอย่าง รุนแรงด้วยอัตรา 20 เมตรต่อปี ถึง 180 กิโลเมตร.หรือ 56,531 ไร่ มีการ กัดเซาะในระดับปานกลางมากกว่า 5 เมตร ต่อปี จำนวน 11,312 ไร่ รวมความเสีย หายเฉพาะที่ดินที่เสียไปเกือบ 70,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่ง หากประเมินความสูญเสียในด้านอื่นๆ เช่น การใช้ประโยชน์จากชายฝั่งทางตรง-อ้อม การท่องเที่ยว หรือมูลค่าในทาง เศรษฐศาสตร์ มูลค่าทางจิตใจ ความเสีย หายที่เกิดขึ้นจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง คงมิอาจประเมินได้ มกราคม มกราคม -- เมษายน เมษายน 2552 2552

January January -- April April 2009 2009

3/3/09 11:07:24 AM


The Retreating Shores

ชายหนุ่มกำลังเก็บหอยที่เกาะไม้ ไผ่ที่ ใช้สลายคลื่นที่หาดบางขุนเทียน – แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา

A young man is extracting mussels from the bamboo weir at Bang Khunthian. – Maenwad Kunjara na Ayuttaya

Sakchai’s opinion may be a challenge to people whose attempts to conserve mud flats near their communities have begun to bear fruits. Wave-weakening bamboo weirs built near seaside communities around the Gulf of Thailand can hold up some mud, but for only a few months. However, a wave-weakening weir at Khun Samut Jeen has been successful in retaining sediment. While academics have not yet conducted any study on the impact from the decrease of sediment in the Gulf of Thailand or on the quantity of sediment circulated in the gulf, techniques applied by villagers to hold up sediment are only to solve immediate problems. They do not know if a soil deposit in front of their community could be sediment drained from another community. Khongsak Rerkngam, coordinator of the Network of Sea Lovers of Bangkok, and villagers living along the gulf coast still believe that wave-weakening bamboo weirs based on local wisdom are the most effective method that could become a prototype of coastal erosion prevention. Bamboo stems planted in line in the sea can weaken the force of sea waves without changing the direction of the current. Sediment retained behind the weir can gradually form a mud flat on which a mangrove forest can be grown. The soil deposit will finally become a buffer zone between the sea and the land. The pioneering villagers have found that concrete walls or T-groins, built under state projects to solve the problem, have caused even more damage to the ecological system. However, this method of preventing coastal erosion is effective at only some particular areas. It is not a sustainable way of preventing coastal erosion in the long run. If an integrated technique to solve this problem is not developed, the fight for sediment in the Gulf of Thailand will intensify and can become a source of new conflicts. Khongsak is of the opinion that the work by local knowledge at this stage is to “fill the land (with sediment) from inside out, stop or lessen coastal erosion, retain muddy sediment to eventually have a soil deposit to grow a mangrove forest.” “By doing this mud in another area may be lessened. Therefore, this must be done at all communities and solving the problem of coastal erosion must be made an item in the national agenda,” he said. มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 41

January January -- April April 2009 2009

ACCORDING TO INFORMATION MADE PUBLIC IN LATE 1997 by Assoc. Prof. Dr. Thanawat Charupongsakul, a geological expert of Chulalongkorn University, the coastal areas of Bangkok, Chachoengsao, Samut Prakan, Samut Sakhon and Samut Songkhram, have been most affected by coastal erosion. About 82 kilometers or 68 percent of the 120km-long coastline have been most affected. In average, the coastline disappears by 12-25 meters every year. Some parts of the coastline have been washed away by about one kilometer. Altogether 18,000 rai (2,880 hectares) of land has disappeared. The coastal areas of Phetchaburi, Prachuap Khiri Khan, Chumphon and Surat Thai have eroded by 119.8 km or six to 16 meters per year. In Nakhon Si Thammarat, Songkhla, Pattani, and Narathiwat province, 219.2 km of the coastline have eroded with an average of five to 20 meters per year. On the western or Andaman side, the coastline in Ranong, Phuket, Krabi, Trang and Satun has eroded by 113.9 km or five to six meters a year. In the four eastern provinces of Chon Buri, Rayong, Chanthaburi and Trat, about 64 km of the coastline has eroded, an average of five meters per year. For the past 30 years, serious coastal erosion at the rate of 20 meters per year has occurred in areas with a total distance of 180 km covering 56,531 rai (9,045 hectares). Coastal erosion at a medium rate of five meters per year covers 11,312 rai (1,810 hectares). To conclude, nearly 70,000 rai (11,200 hectares) of land worth more than 100 billion baht (US$2.85 billion) has disappeared in coastal erosion. Damage from coastal erosion would be inculculable if losses in terms of mental effects, tourism and other economic values are also taken into consideration.

41

3/3/09 11:07:25 AM


สัมภาษณ์พิเศษ

INTERVIEW

“บังหมาน” พรานปลา แห่งทะเลตรัง แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา

“Bang Maan” Fish Hunter of the Sea of Trang Maenwad Kunjara na Ayuttaya

บังหมาน ยืนอยู่บนสะพานที่มองเห็นกระชังปลาในคลอง แสดงความเป็นห่วงว่า ปลาจะหมดไปจากทะเลตรังในไม่ช้า -- วสันต์ เตชะวงศ์ธรรม Standing before a backdrop of a row of bamboo structure used in fish farming lining a village canal, Bang Maan expresses fears that fish could soon disappear from the sea of Trang. -Wasant Techawongtham

42

VA.indd 42

มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:07:28 AM


มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 43

January - April 2009

43

3/3/09 11:07:32 AM


มตรี วิ เ ศษศาสน์ หรื อ “บั ง หมาน” บ้ า นเกาะ เคี่ยน ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จ.ตรัง ชาว ประมงที่มองเห็นทุกข์ร้อนของพี่น้องชาวประมง ด้วยกันมาตลอด และเห็นอนาคตที่เริ่มมืดมนของ ท้องทะเล เขาจึงตัดสินใจเข้าร่วมงานกับสมาพันธ์ ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ โดยออกไปทำความ เข้าใจกับชาวประมงรอบๆ ชายฝั่งทะเลภาคใต้ที่ยัง ใช้เครื่องมือประมงทำลายล้าง เขายังเป็นปากเป็น เสียงให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านที่ ได้รับความเดือดร้อนจากการ ทำประมงพาณิชย์ รวมถึงผลักดันให้แก้ ไขนโยบายที่ ไม่เป็นธรรม ของรัฐอีกด้วย ปัจจุบันบังหมานเป็นกรรมการสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาค ใต้ 13 จังหวัด (จังหวัดยะลาไม่ติดทะเล) และทำงานสานความร่วม มื อ กั บ ชาวประมงในพื้ น ที่ ภ าคใต้ และภาคกลางตอนล่ า ง อาทิ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ รวมถึงชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ทะเลตรังในอดีตกับปัจจุบัน ตั้ ง แต่ เ กิ ด จนจำความได้ บั ง หมานอยู่ ท่ า มกลางความอุ ด ม สมบูรณ์ของท้องทะเลมาตลอด บังหมานเล่าว่า ในอดีตทะเลตรังมีสัตว์น้ำชุกชุมมาก มีปลาทู ว่ า ยเข้ า มาถึ ง ในคลองหน้ า บ้ า น มี อ าชี พ ประมงดั้ ง เดิ ม ที่ เ รี ย กว่ า “เกียดปลา” หรือ “เกียดกุ้ง” หรือที่ชาวประมงเรียกกันอย่างสนุก ปากว่า “เรือผีหลอก” ซึ่งจะอาศัยกระดานสีขาวที่ติดไว้ข้างเรือ เพียงแผ่นเดียว พอกระดานสีขาวสะท้อนแสงลงไปใต้ผืนน้ำ กุ้งปลามากมายจะตกใจ “เหมือนโดนผีหลอก” แล้วกระโดดขึ้นมาบน เรือโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์จับแต่อย่างใด ทะเลตรังอันเงียบสงบเริ่มคึกคักขึ้นในช่วงสมัยสงครามโลก ครั้งที่สอง เมื่อเส้นทางรถไฟจากภาคกลางตัดมาถึงอำเภอกันตัง ความสะดวกในการคมนาคมทำให้สินค้าและองค์ความรู้อันหลาก หลายด้านการประมงจากชาวประมงในแถบภาคกลางแผ่ขยายเข้า มาถึงกันตัง และภาคใต้ จากเครื่ อ งมื อ ประมงดั้ ง เดิ ม ในท้ อ งถิ่ น ชนิ ด ต่ า งๆ เช่ น อวนลอย อวนกุ้ง เบ็ดราวไว (เบ็ดที่ ใช้จับปลากระเบน) ยอ หรือ อวนกระบอก ชาวเพชรบุรีที่เห็นว่าอันดามันอันอุดมสมบูรณ์มีลู่ทาง ทำให้ร่ำรวยได้ ได้นำ “อวนดำ” เข้ามาสร้างความฮือฮาให้กับชาว ประมงในพื้นที่ เรียกได้ว่าชาวประมงในจังหวัดเพชรบุรีคือผู้นำความ เปลี่ยนแปลงมาสู่ชาวประมงตรังอย่างมหาศาล “ไม่ว่าจะเป็นวิธีการหาปลา การทำโป๊ะ การทำอวน การทำถ่าน การทำอะไรที่เจริญก้าวหน้าจากคนกรุงเทพ คนเพชรบุรีก็จะมาตรงนี้ เพราะที่นี่มีปลามาก”

44

VA.indd 44

อวนดำ หรือ อวนล้อม เป็นเครื่องมือประมงที่มีลักษณะเป็น ผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ล้อมรอบเป็นวงกลมจับสัตว์ น้ำที่ถูกล่อลวงมาอยู่เป็นฝูงด้วยแสงไฟ และต้องใช้แรงงานนับสิบ คนในการล้อมอวนหรือดึงอวนขนาดใหญ่ที่มีปลามากมายขึ้นมา บนเรือ ชาวประมงแต่ละท้องถิ่นจะเรียกชื่ออวนล้อมจับแตกต่างกันไป บ้างเรียกตามชนิดของสัตว์น้ำเป้าหมาย เช่น อวนล้อมจับปลากะตัก อวนล้อมจับปลาทู อวนล้อมจับปลาโอ บ้างเรียกตามลักษณะหรือ ขนาดของเรือ เช่น อวนฉลอม (ใช้เรือที่มีส่วนหัวและท้ายเรือ เหมือนกัน) อวนล้อมเรือหาง หรืออวนล้อมลูกหมา (ใช้เรือขนาด เล็ก) บ้างเรียกตามสีของเนื้ออวน เช่น อวนดำ อวนเขียว และบ้าง เรียกตามกรรมวิธีที่ ใช้ล่อลวงสัตว์น้ำ เช่น อวนล้อมซั้ง อวนล้อม ปั่นไฟ (ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า) อวนล้อมตะเกียง อวนล้อมปั่นไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ชาวกันตังยังช่วยกันประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือขึ้นมา ใหม่จากเครื่องมือดั้งเดิมที่มีอยู่ด้วย “ตอนนั้นพ่อของบังหมานเป็นคนสร้างเรือติดเครื่องยนต์ขนาด 5 แรงม้า ลำแรกของที่นี่ มีอยู่ 5 แรงม้า เอาไว้เพื่อไปซื้อปลามา จากโป๊ะวางอวนที่แหลมไทร แหลมขาว ซื้อกันไม่หวาดไม่ ไหว แต่ โดยคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะทำอวนเล็กๆ ในหมู่บ้าน เขาไม่มีกำลัง ที่จะซื้ออะไรต่ออะไร มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:07:33 AM


tion, Bang Maan works closely with fisher folks in the South as well as in the lower Central Plains, such as Phetchaburi, Prachuap Khiri Khan, and the East.

อาชีพการทำประมงยังเป็นอาชีพหลักของชาวเกาะเคี่ยน -- แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา Fishing remains a principal occupation for people of Ban Koh Khian. -- Maenwad Kunjara na Ayuttaya

M

AITRI WISETHSAT, BETTER KNOWN AS “BANG MAAN”, a native fisherman of Ban Koh Khian, located in tambon Kantang Tai, Kantang district of Trang province, can see through the problems of his fellow fisher folks and the dark future of the sea. Because of this, he decided to join the Federation of Small Scale Fisherfolk in Southern Thailand and has been trying to help fisher folks understand the impact of destructive fishing gear, speak out for small fishermen affected by commercial fisheries, and campaign for changes in unfair public policies. As a current committee member of the federaมกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 45

January January -- April April 2009 2009

How is the sea of Trang different now from the past? Bang Maan says as far as he could remember, the sea then was teeming with life. Mackerel swam all the way into the canal that passed through his village. He told about traditional fishing called “kiad pla” or “kiad goong” or what fishermen called “rua phi lok” (ghost-haunting boat) by which a fisherman would put a piece of white wooden board on the side of his boat to reflect light into the water which would so startle the fish and shrimp as if spooked by ghost that they simply jumped onto the boat. The quiet sea of Trang began to see increased activities during World War II after a rail road was laid from the central region to Kantang district brining trade and fishing knowledge to the southern fishing communities. From traditional fishing gear like gill nets, shrimp trammel nets, baited set lines (fishing lines for stingrays), square dip nets, and Mullet gill nets, people from the lower central province of Phetchaburi, foreseeing fortune to be made in the southern sea, brought along “Black Net” that drew much interest from local fishermen, resulting in a key change in the fishing practice in Trang. “Black net” or purse seine is a large rectangular net used to corral fish that are drawn to the net by strong lighting. The seine needs a large number of people to spread the net and then pull it into the boat after a large number of fish get caught. Purse seine goes by different names in different localities – by type of target catch such as anchovy purse seine, mackerel purse seine, tuna purse seine; by type or size of boat such as Chalom purse seine (a boat with both head and tail of similar shape), tail-boat purse seine or puppy purse seine (a small boat); by the color of the net such as black or green net; or by the method which lure the fish into the net such as fish trap purse seine, electricity generating purse seine (equipped with an electricity generator), and lamp purse seine. Moreover, Kantang natives also invented novel fishing gear.

45

3/3/09 11:07:35 AM


...“แสงไฟเป็นสิ่งที่ชาวประมงใช้ ไล่ปลาไปติดอวน ดังนั้นแต่ก่อนชาวประมงจะป้องแสงเมื่อสูบ บุหรี่ เพราะกลัวปลาตื่น แล้วหนี ไป แต่ทุกวันนี้กิจกรรมจากกระแสการท่องเที่ยวทำให้มีแสง ไฟสปอตไลท์เต็มทะเลไปหมด นักนิยมทะเลก็ดี นักดำน้ำก็ดี นักนิยมปลาก็ดี เอาปืนมายิงปลา ยิงขว้างทิ้ง บังหมานว่าอันนี้ก็มีส่วนให้ปลาตื่นหนี ไป เมื่อก่อนปลาจะเกาะฝูง จะวางไข่ แต่ เดี๋ยวนี้มันอยู่ ไม่สุข”... “พ่อบังหมานนี่แหละที่ทำโพงพางขึ้นมา ไปหาซื้ออวนมามา ดัดแปลงเป็นโพงพางเล็กๆ ดักกุ้งเคย กุ้งฝอยเป็นเจ้าแรกของที่นี่ ส่วนปู่ของบังหมานก็เป็นคนทำลูกกระสง (ทุ่น) โยงอวนไม่ให้จมน้ำ ที่นี่เขาเรียกไม้ตีนเป็ด หรือทุ่นอวน ปู่บังหมานทำขายทั้งบ้านทั้ง เมือง ใครๆ ก็มาซื้อของปู่ เพราะว่ามันเบา ลอยน้ำ คนทำโป๊ะมา จากเพชรบุรีก็มาซื้อของปู่ทั้งนั้นแหละ” บังหมานเล่าอย่างภูมิใจ เขาเล่าต่อว่า “บ้านปู่ของบังหมานเลยเป็นที่พักของชาวมุสลิม ที่มาจากบ้านน้ำเชี่ยว มาจากระยอง มาจากสุราษฏร์ การคมนาคม ทางรถไฟที่สะดวก ทำให้คนเหล่านี้เอานำอวนมาขาย ตั้งเต็มเลย ขายไปทั่ว เริ่มต้นที่กันตังเพราะมารถไฟมันสะดวก พอมาถึงนี่แล้วก็ แจกจ่ายไปทั่วไปสตูล และไปกระบี่ นั่นคือแหล่งที่มาของการพัฒนา เครื่องมือ” ด้วยทรัพยากรที่มั่งคั่ง การคมนาคมที่เชื่อมต่อไปยังจังหวัด อื่นๆ ได้สะดวก และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น กันตังกลาย เป็นศูนย์กลางการค้าขายทั้งเครื่องมือประมง และดอกผลจากสัตว์ น้ำ “สมัยนั้นปลาจะเอามาทำปลาเค็ม กุ้งเอามาทำกะปิ กะปิเกาะ เคี่ยนเป็นที่เลืองลือไปทั่วในสมัยก่อน กุ้งตัวใหญ่ก็ทำกุ้งแห้ง จะมี ขายบ้างก็ตลาดกันตัง คนตกปูได้ปูมากก็นั่งรถไฟไปขายที่หาดใหญ่ คนเกาะเคี่ยนนี่แหละขายปูกัน คนหาดใหญ่จะกินปูก็ต้องกินปูของ เกาะเคี่ยน คนที่นี่ฤดูทำนาก็ทำนา ฤดูตกปูก็ตกปู” บังหมานบอก สัญญาณที่บ่งบอกว่าทะเลเริ่มเปลี่ยนไป “ความเปลี่ยนแปลงในท้องทะเลเริ่มมาจากการประมงพาณิชย์ แต่สิ่งที่ทำให้ทะเลเริ่มเปลี่ยนก็อวนดำนี่แหละ“ บังหมานสรุป หลังจากเริ่มมีอวนล้อมขนาดใหญ่ที่ เรียกว่า ‘อวนดำ’ เข้ามา ก็เกิดวิวัฒนาการของเครื่องมือประมงให้สามารถจับปลาได้มากขึ้น เรื่อยๆ มีการเปลี่ยนจากเรือพายก็กลายมาเป็นเรือตังเก (เรือติด เครื่องยนต์) ชาวประมงเริ่มเดินทางไป-มาในระยะไกลๆ ซึ่งทำให้ เทคนิควิธีการจับปลาแบบต่างๆ แพร่หลายไปในหมู่ชาวประมงอย่าง กว้างขวาง และในที่สุดนำมาซึ่ง อวนลาก อวนรุน ที่เป็นวิธีการจับ ปลาของชาวประมงในน่านน้ำอื่นเข้ามาในพื้นที่ “ในราวปี 2505-2506 พอคนเพชรบุรีมีอวนลากมาหากินอยู่ที่ นี่ พอเห็นเขาได้กุ้ง-ปลาเต็มลำจนไม่มีเรือบรรทุกกลับ คนที่นี่ก็เริ่ม ฮือกัน โอ้โห! เขาเลือกเอาแต่ของดีๆ ของแพงๆ กุ้งดีๆ หมึกใหญ่ๆ นั่นคือความสมบูรณ์ของท้องทะเลในสมัยที่อวนลากเข้ามาใหม่...มัน เป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อ เหมือนกับเล่านิยายให้เด็กสมัยใหม่ฟัง” “หลังอวนดำมาจากภาคกลาง และเมื่อคนที่นี่ ได้เห็นอวนลาก-

46

VA.indd 46

อวนรุนจับปลาได้เยอะแยะ ก็มีคนเริ่มเลียนแบบ พอมีเรือยนต์ที่มี แรงม้าสูงขึ้น ระยะแรกๆ คนยังไม่รู้สึกเรื่องสัตว์น้ำลดลงเท่าใดนัก เพราะว่ากุ้งปลายังมีเยอะ แต่พอมันร่อยหรอ ก็เริ่มออกเรือไปไกล ขึ้น ประมาณปี 2507 กำลังแรงม้าเรือสูงถึงขนาดคนตกปูต้องไปตก ปูที่กระบี่แทน เพราะที่นั่นไม่มีคนทำประมง คนกันตังไปหาปลา กะพงที่กระบี่กันหมด พอปี 2520 กว่าๆ ปลาก็เริ่มหมด ต้องออก ไปไกลมากๆ ไปถึงปีนัง ไปอินโดนีเซีย” ขณะที่ภาพในอดีตยังชัดเจน แต่วันนี้ทรัพยากรร่อยหรอลง สั ต ว์ บ างชนิ ด ไม่ มี ใ ห้ เ ห็ น ปลาที่ จั บ ได้ ส่ ว นใหญ่ ก็ เ ป็ น ปลาที่ ไ ม่ มี คุณภาพ การต้องออกเรือไปไกลขึ้น เพื่อจับสัตว์น้ำให้ ได้ ในปริมาณ มากพอจะเลี้ยงปากท้อง ชาวประมงมีชีวิตในวงจรของหนี้สิน แต่อีก ด้านก็ไขว้คว้ายึดติดไปกับวัตถุนิยมและสังคมบริโภค บังหมานบอก ความรู้สึกว่า “วันนี้ได้แต่มองอย่างหดหู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น” คนทะเลไม่รักทะเล? บังหมานสะท้อนความในใจของชาวประมงที่เห็นทรัพยากรใน ทะเลลดลงเรื่อยๆ ว่า “มีคนบอกว่าชาวทะเลหรือชาวประมง ไม่รักไม่หวงแหนทะเล ไม่เหมือนชาวเขา-ชาวไร่ที่มักจะหวงแหนที่อยู่ที่ทำกิน เขาจะมีความ ระมัดระวังเกี่ยวกับที่ทางของเขา ในขณะที่ชาวประมงหากินกับ ทะเล ไม่คิดที่จะหวง ไม่ดูแล แท้จริงแล้วนักวิชาการพูดถูกต้องแล้ว แต่ที่สำคัญคือชาวประมงเองเขายังไม่รู้ ว่าการรักทะเลและ ใช้ ทะเลอย่างยั่งยืนเป็นอย่างไร “ชาวประมงมักจะคิดแค่ว่า แต่ก่อนเราเผาถ่าน เรามีหลุมถ่าน ได้ทำมาหากิน แต่ถ้าเผาถ่านไม่ได้แล้ว ก็ต้องหาสิ่งอื่นทำต่อไป แต่ เราก็อยู่ได้ เช่นเดียวกัน พออวนดำเข้ามา คนเกือบครึ่งค่อนหมู่บ้าน หันไปทำอวนดำกันหมด ถ้าต้องเลิกทำอวนดำ เราจะทำอะไร แต่พอ เลิกจริงๆ แล้ว เราก็อยู่ได้ ถึงรายได้จะลดลงไปจริงๆ เราก็อยู่ได้ ถ้า แบบนี้ที่นักวิชาการพูดว่าคนไม่รักทะเล ก็ใช่ “ยิ่งมีคนมาบอกว่า ถ้ามีการเปิดให้จองทะเล พี่น้องจะหมด โอกาสนะ คนจะเอาทะเลไปทำอะไรต่างๆ ถึงคนจะเริ่มเห็น แต่ จริงๆ แล้วเขาไม่ค่อยสนใจ บังหมานอยู่ตรงนี้มานาน เริ่มมีความ เป็นห่วงในวิถีชีวิตของชาวประมง ตราบใดที่เรายังทำร้ายธรรมชาติ อยู่อย่างนี้ มันเป็นเรื่องที่หนักจริงๆ” เมื่ อ ถามถึ ง ความหวั ง ในคนรุ่ น ใหม่ ต่ อ การใส่ ใ จดู แ ลทะเล บังหมานตอบว่า “หวังได้น้อยมาก เนื่องจากบุคลากรโดยเฉพาะ ครูบาอาจารย์ ในพื้นที่ ไม่ค่อยเอาจริงเอาจัง ขณะที่บังหมานเดินทาง ไปเป็นวิทยากรต่างหมู่บ้านต่างจังหวัดบ่อยมาก แต่กลับไม่ ได้รับ มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/4/09 6:42:12 PM


...“Light is what fishermen use for trapping fish. In the past, light must be covered when they smoked cigarettes because fish would be frightened and ran away. But now, tourism activities create a lot of spotlights shinning on the ocean. Even sea lovers, divers or fish lovers that shoot fish with guns, they all could frighten the fish to swim away. Fish used to be in group for spawning, but now it is restless.”... ing the paddy season and caught crabs during the crab season,” Bang Maan said.

ป่าจากเก่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ของบ้านเกาะเคี่ยน – แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา An old palm forest in Ban Koh Khian is still in pristine condition. -- Maenwad Kunjara na Ayuttaya

“My father built the first motor boat with a 5horsepower engine here, used for buying fish at Cape Sai and Cape Khao. But most of the villagers then were too poor to buy anything much and so preferred to make small nets. “It was also my father who made a pongpaang (set bag net) by using nets for catching shrimp. My grandfather made buoys for keeping nets afloat. People here called it mai teen ped. Even pontoon makers from Phetchaburi province came to buy my grandfather’s floats as they were light-weight,” Bang Maan said with pride. “Eventually, my grandfather’s house became a rest house for fellow Muslims from other provinces because the train reached here. They brought their nets to sell here. That was how new fishing gear were invented.” With rich resources, convenient transportation and more variety of efficient fishing gear, Kantang became a center of fishery trade. “Fish would be made as salted fish and shrimp as shrimp paste which became famously known as Koh Khian shrimp paste. Prawn were dried and sold in the Kantang market. When someone hauled a large catch of crabs, they would take them by train to sell in Hat Yai. Local people here grew rice durมกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 47

January January -- April April 2009 2009

What were the signs of change for the sea? “The black net, that’s what caused the sea to change because of commercial fishing that it made possible,” Bang Maan replied. The large purse seine led to the development of other fishing gear. Row boats became motor boats. Fishermen began to go farther to fish and learn new fishing techniques. Soon after, push and pull trawl nets were introduced. “Around the year 1962-1963, fishermen from Phetchaburi came here to fish in this water and filled their boats with large prawn and fish. People were so amazed at the fertility of the sea. It’s unbelievable, almost like a fairy tale. “After that local fishermen started to use push and pull nets and motorized trawlers just like those from the Central Plains. They didn’t care much about the decreasing marine life because things were still plentiful. But when it got harder to fish, they went further into the sea. By 1964 they could go to Krabi to catch crabs because of the high-powered motor boats. By 1977 fish began to disappear and they had to go as far as Penang and Indonesia.” While the past is still vivid in the mind, marine resources are declining now. Some species have become extinct while most fish caught were not up to quality so that the fishermen need to go farther to try to haul in enough to make ends meet. Many fishermen have been trapped in the cycle of indebtedness as they are swept by the tides of materialism and consumerism. Bang Maan expressed dismay: “I can only look at what is happening with sadness.” Don’t fishermen care for their sea? “People say fisher folks don’t care for the sea. Unlike highlanders or farmers who care for their land, fisher folks who live off the sea don’t take care of the sea. They’ve got it right. But what’s more important is the fisher folks themselves don’t know how to love the sea and how to use it sustainably,” Bang Maan said. “The fisher folks just think that they used to make charcoal and after charcoal making was not

47

3/3/09 11:07:37 AM


อวนล้อม

Purse seine

อวนลากคู ่

Pair trawl

อวนลาก Trawl

อวนรุน

Push net

ความสนใจจากคนในหมู่บ้าน ก็เหมือนกับสินค้านะแหละ นิยมของ ที่มาจากข้างนอก บังหมานก็เหมือนกัน ไปทำแต่ที่อื่น อย่างเรื่องภูมิ ปัญญา แต่ก่อนก็มีพ่อบังหมานเก่งเรื่องแหเรื่องอวน เรื่องเครื่องไม้ เครื่องมือ แต่พอพ่อเสียไปหลายปี เดี๋ยวนี้ ไม่มีคนสนใจแล้ว แต่ ก่อนคนจะทอดแหลงอวนเขาจะมาหาพ่อผม วันนี้ความรู้แบบนี้ก็ หายไปแล้ว” ทะเลในกระแสการท่องเที่ยว ในความคิดเห็นของบังหมาน แสงไฟ กิจกรรมการท่องเที่ยว และขยะ คือวิกฤตคุกคามทรัพยากรสัตว์น้ำ “แสงไฟเป็นสิ่งที่ชาวประมงใช้ไล่ปลาไปติดอวน ดังนั้นแต่ก่อน ชาวประมงจะป้องแสงเมื่อสูบบุหรี่ เพราะกลัวปลาตื่น แล้วหนี ไป แต่ทุกวันนี้กิจกรรมจากกระแสการท่องเที่ยวทำให้มีแสงไฟ สปอ ตไลท์เต็มทะเลไปหมด นักนิยมทะเลก็ดี นักดำน้ำก็ดี นักนิยมปลา ก็ดี เอาปืนมายิงปลา ยิงขว้างทิ้ง บังหมานว่าอันนี้ก็มีส่วนให้ปลาตื่น หนี ไป เมื่อก่อนปลาจะเกาะฝูง จะวางไข่ แต่เดี๋ยวนี้มันอยู่ไม่สุข “แต่ก่อนทะเลที่นี่เต็มไปด้วยปะการัง แต่ก่อนเขาเรียกว่าเมือง การัง ก็คือปะการังนะแหละ ปากน้ำตรังเต็มไปด้วยโขดหิน ปะการัง คนที่เดินทางมาจากทั่วโลกจะต้องทอดสมออยู่บางน้ำจันทร์ คำว่า ตรัง คือสว่าง ถ้าไม่แจ้ง ไม่สว่าง ไม่ชัดนี่เข้าไม่ ได้ เพราะตรังเป็น ปากน้ำที่มีโขดหินเยอะที่สุดแต่ และก็ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์

48

VA.indd 48

เยอะที่สุด หอยมีทุกชนิด ปลามีทุกชนิด ปากน้ำเกาะเคี่ยนประหนึ่ง ว่าเป็นประตูสู่ปากน้ำปะเหลียน มีแม่น้ำปะเหลียน และแม่น้ำตรัง มาบรรจบกันที่ปากเกาะเคี่ยน เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ ป่า โกงกาง ป่าชายเลน ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ ทั้งที่โดนปู้ยี่ปู้ยำ เต็มที่ก็ยังดีอยู่ ยังมีพี่น้องหลายร้อยที่หากินอยู่กับตรงนั้น” ส่วนปัญหาขยะที่เพิ่มขึ้นมากตามจำนวนประชากร บังหมานคิด ว่าเป็นปัญหาใหญ่แต่กลับยังไม่มีใครเข้ามาดูแลจัดการ “เมื่อก่อนเราเห็นฝรั่งปอกส้ม เอาขยะใส่ถุงพลาสติก มีอะไร เอาไปทิ้งบนบก เราขำ อะไรกันนักกันหนา แต่ตอนนี้เรารู้แล้วว่า ทำไม แต่บ้านเราวันนี้ก็ยังเอาขยะใส่เข่งไปเทที่หัวสะพาน ทำไม อบต.ของเราหมู่บ้านเกาะเคี่ยน หมู่ที่ 4 ซึ่งเป็นหมู่บ้านใหญ่ที่สุด ของอำเภอ ใหญ่ที่สุดในจังหวัดตรัง มี 500 กว่าหลังคา มีประชากร 3,000 คน ยังไม่มีถังขยะแม้แต่ใบเดียว นี่มันอะไรกัน! เรายังไม่มี ถังขยะแม้แต่ใบเดียวในหมู่บ้าน” “พอเราพูดเราเตือนว่าขยะที่ลงทะเล ไม่ว่าจะเป็นเศษอวน ถุง พลาสติ ก มั น อั น ตราย นั ก วิ ท ยาศาสตร์ บ อกว่ า เศษโฟมกว่ า จะ ละลายหมดใช้เวลาเป็นร้อยปี ยิ่งอวนที่เราขว้างลงไปในทะเล ปลา มาติ ด ตายทั้ ง แม่ ต ายทั้ ง ลู ก ความเสี ย หายไม่ รู้ เ ท่ า ไร ในขณะที่ ประเทศออสเตรเลีย มาเลเซียมีเครื่องมือกว้านไปกวาดเอาขยะ ออกมาทำลาย มารี ไซเคิล บ้านเมืองที่เขาพัฒนาแล้วเขาจะเอาของ เหล่านี้ขึ้นมา ชำระทะเลให้สะอาด แต่บ้านเรายังเอาของไปทิ้งทะเล ตราบใดที่คนเราไม่รู้จักของเหล่านี้ว่ามันทำให้ทะเลเสียหาย ยิ่งไม่มี กฎหมาย ไม่มีระเบียบ ไม่มีนายก อบต.คนไหน มารณรงค์ ทะเลก็ น่าเป็นห่วงต่อไป” วันนี้...ทะเลในความรู้สึกของบังหมาน แม้วันนี้ทะเลจะไม่ ได้สร้างรายได้งดงามให้ดังเช่นในอดีต แต่ ในสายตาของบังหมาน ทะเลยังเป็นผู้ ให้ เป็นสมบัติที่มีค่ามากที่สุด ที่ทุกคนควรจะปกป้องรักษา และชาวทะเลทุกคนควรจะมีส่วนร่วม ในการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นกับทะเลด้วย “วันนี้กำลังเกิดอะไรขึ้นกับทะเล เราช่วยอะไรทะเลได้บ้าง ทั้งๆ ที่ทะเลช่วยอะไรเราบ้าง สร้างรายได้ ผลิตสัตว์น้ำ ถึงแม้วันนี้ จะไม่ ได้ผลิตเงินทองจากการขายสัตว์น้ำเป็นกอบเป็นกำเหมือนแต่ ก่อน แต่เดี๋ยวนี้ทะเลก็ยังเป็นที่ทำมาหากินให้พี่น้อง แขกมาพาไปลง เรือขับวนรอบเกาะก็ได้ 500 บาท แต่ถึงการท่องเที่ยวจะให้รายได้ มากกว่าการขายสัตว์น้ำก็จริง แต่การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยที่ ชุมชนไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมในการวางนโยบาย แนวคิด นั่นคือ การ เอาการท่องเที่ยวเข้าไปอยู่ ในชุมชน ไม่ ได้เอาชุมชนเข้าไปอยู่ ใน ท่องเที่ยว ถึงจะได้ชื่อว่าการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ แต่มันไม่ เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ไม่สมกับเป็นบ้านเกิด เป็นแหล่งทำมา หากิน เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นแหล่งพักพิงกับพี่น้องชาวที่เกิดที่นี่เลย” บังหมานทิ้งท้าย มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/4/09 7:05:27 PM


เรือประมงขนาดเล็กหลายลำกำลังล้อมเรือประมงอวนลากที่จับปลาในเขตห้ามจับนอกชายฝั่งเกาะลันตา ไม่ ไกลจากตรัง -- เอื้อเฟื้อภาพโดยเครือข่ายชุมชนฟื้นฟูเกาะลันตา

A number of small-scale fishing boats surround a trawler illegally fishing in the water off Lanta Island, not far from Trang. – Courtesy of Lanta Island Restoration Community Network

possible, they could find something else to do. The same thing with the black net. If they have to forego the black net, they would still be able to live even though on reduced income. So the academics are right to say that fishermen don’t love their sea. “Even after there was news that the government would allow other people to get concessions of the coastal sea, they still pay no interest. I’ve been here a long time. I’m really concerned about the fisher folks’ way of life. So long as we continue to hurt nature, it will be a tough living.” Bang Maan also places little hope on the younger people to take care of the sea because “even their teachers don’t care”. He said most young people are more interested in things from more distant land and have no interest in local wisdom. Sea in the mainstream of tourism In Bang Maan’s opinion, lights, tourism and wastes are the crises stalking marine life. “Light is what fishermen use for rounding up fish in their nets. In the past, fishermen were careful not to let light disturb the fish for fear they would be driven away. But now, tourism activities create a lot of light. Sea tourists, divers or fishing enthusiasts who shoot fish with their guns, they all have a hand in frightening the fish away. Fish used to come in large schools and spawn. But now they have become restless. “There used to be coral reefs all over the coast, what we used to call “Muaeng Karang” (the coral town). The Trang estuary is full of rocks and corals. Visitors from afar must anchor around Bang Nam Chan. Trang means light or dawn. If it isn’t bright and clear, you cannot come inshore. With lots of rocks, the sea was abundant with all species of molluscs and fish. Pa Lein and Trang rivers meet at Koh Khian making the area fertile. Even though it has been ruined, many folks still can make their living there.” มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 49

January January -- April April 2009 2009

The problem of garbage has become increasingly serious because of growing population. Yet, no one has stepped in to manage it. “We used to see westerners put their garbage in plastic bags to dump it onshore; we laughed at them then. Now we know why. But here in Koh Khian with more than 500 households and 3,000 people, the largest village in the district, there’s not a single trash bin. What is this! “I have warned that the waste people dump into the sea is causing harm. Scientists tell us that foam needs over 100 years to degrade. The nets we dump into the sea can kill fish which get snared by it. In Australia and Malaysia, they have equipment to pick up garbage from the sea for disposal or recycling. But we still dump garbage into our sea. So long as people do not realize that this kind of thing causes harm to the sea and there are no laws, no rules or no authorities to campaign against it, our sea is in trouble.” What do you think about the sea today? Although the sea does not generate as good an income for many people like before, Bang Maan sees the sea as a giver, a most precious treasure that everyone must protect. Likewise, all people living by or off the sea should have a say in the development of the sea. “What’s happening to the sea? How can we help the sea? Although we can’t make as much money from selling marine animals like we used to, a lot of people are still living off what the sea produces. Just taking visitors for a boat ride around the island can make you 500 baht. “But promoting tourism without participation of the community in planning and making policies – that is, you take tourism into the community without taking the community into tourism – would be useless even if you call it eco-tourism,” Bang Maan said.

49

3/3/09 11:07:39 AM


ข้ามฟ้า

ACROSS THE SKY

จากตูวาลูถึงกรุงเทพ… แผ่นดินใต้ทะเล? ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์

From Tuvalu to Bangkok... An Undersea World? Patwajee Srisuwan

หินปะการังฟูนาฟูติ มองจากมุมสูง เป็นเกาะที่มีถนนลาดยางตัดผ่าน และมีประชากรอยู่ อาศัยหนาแน่นที่สุดของตูวาลู

50

VA.indd 50

Funafuti atoll, as seen from the cockpit of a plane, is the most densely populated island of Tuvalu with anมกราคม asphalt road running through it. 2009 - April - เมษายน 2552 January

3/3/09 11:07:41 AM


ากวิชาภูมิศาสตร์ที่ร่ำเรียนกันมาตั้งแต่สมัยประถมและ ยังเป็นจริงอยู่ ในปัจจุบันบอกว่า โลกเรานี้เป็นพื้นน้ำ สามส่วน พื้นดินหนึ่งส่วน แต่ในอนาคตอันใกล้สัดส่วน นี้อาจเปลี่ยนไป เพราะดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นผืน เกาะและแผ่นดิน กำลังจะจมลงสู่ ใต้ท้องทะเล ด้วย ภาวะโลกร้ อ น ซึ่ ง นำมาสู่ ปั ญ หาระดั บ น้ ำ ทะเลสู ง ขึ้ น และภั ย ธรรมชาติร้ายแรง บรรดาประเทศที่หนาวๆ ร้อนๆ กับภาวะเกาะจมทะเล คงไม่มี ใครลุ้ น ระทึ ก เท่ า กั บ ประเทศหมู่ เ กาะในมหาสมุ ท รแปซิ ฟิ ก ซึ่ ง มี จำนวน 22 ประเทศ ประชากรประมาณ 7 ล้านคน ในจำนวนนี้ ประเทศเสี่ยงภัยที่สุดเห็นจะเป็นประเทศตูวาลู ประเทศที่ประกอบ ด้วยเกาะบนแผ่นหินปะการัง 9 เกาะ พื้นที่ 26 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 1.2 หมื่นคน ความสูงเฉลี่ยของพื้นที่ 2.5 เมตร จากระดับน้ำทะเล และพื้นที่สูงสุดอยู่ที่ 4.5 เมตร เหนือระดับน้ำ ทะเล ในปี 2532 องค์การสหประชาติจัดให้ประเทศตูวาลูอยู่ ในบัญชี ของประเทศที่จะสูญหายไปในท้องทะเล เนื่องจากภาวะโลกร้อน แต่ ชื่อตูวาลูเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวโลกอย่างกว้างขวางในปี 2540 เมื่อ นายกรัฐมนตรีของประเทศนี้ขึ้นกล่าวในเวทีประชุมการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศโลกที่ญี่ปุ่นว่า ประเทศของเขากำลังทุกข์ทรมานกับ วิกฤติอากาศจนสุดจะทานทน เขาเรียกร้องให้ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ช่วยรับผู้อพยพจากภัยชาวตูวาลู ซึ่ง

G

EOGRAPHY TEXTBOOKS THAT WE LEARNED SINCE GRADE SCHOOL and which remain true today tell us that our Earth is composed of three parts water and one part land. But, in the near future, this ratio may change because the land that is islands and coastal land is about to be submerged by rising sea water caused by global warming which also causes many other natural disasters. No other among 22 island nations in the Pacific Ocean with a combined population of about seven million is more at risk of being swallowed by the rising sea than Tuvalu. The tiny nation comprises nine reef atolls covering a total area of 26 square kilometers with a population of 12,000. The average height of the land is 2.5 meters above sea level. The highest elevation is 4.5 meters. In 1989 Tuvalu was listed by the United Nations among countries likely to disappear under the sea because of global warming. But Tuvalu became widely known to the world in 1997 when its prime minister told at a climate change forum in Japan that his country was suffering greatly from a climate

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 51

January - April 2009

51

3/3/09 11:07:43 AM


ต่อมาในปี 2544 ประเทศนิวซีแลนด์ก็ประกาศนโยบายยอมรับผู้ลี้ ภัยธรรมชาติจากตูวาลู และในปีเดียวกันประเทศตูวาลูก็ประกาศจะ ร่วมมือกับประเทศหมู่เกาะอื่นๆ เช่น คีริบาติ และมัลดีฟ ฟ้องร้อง ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ ไม่ยอมลงสัตยาบันพิธีสารเกียวโต ซึ่งจะมี ผลต่อการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นผลให้ประเทศ ของพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับการสูญหายไปจากแผนที่โลก หรือ กลายเป็นแอตแลนติสแห่งศตวรรษที่ 21 “เราต้องอยู่กับความหวาดกลัวผลกระทบจากภาวะโลกร้อน สำหรับประเทศบนแผ่นหินปะการังอย่างเรา ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และภั ย ธรรมชาติ ร้ า ยแงรกำลั ง ปรากฎขึ้ น อั น เป็ น ภั ย คุ ก คามต่ อ ประชากรของเรา ภัยคุกคามนี้เป็นของจริงและรุนแรง มิต่างอะไร กับการก่อตัวของการก่อการร้าย” เซาฟาตู โซเปางา นายกรัฐมนตรี ตูวาลูกล่าวอีกครั้งในที่ประชุมใหญ่องคฺ์การสหประชาชาติ ครั้งที่ 58 ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อกันยายน 2546 กว่าสิบปีแล้วที่เกาะตูวาลูกลายเป็นสัญลักษณ์และเครื่องมือ การรณรงค์เรื่องโลกร้อนของกลุ่มองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระดับ โลก ขณะเดียวกันก็มนี กั วิทยาศาสตร์บางกลุม่ ออกมาโต้แย้งว่าตูวาลู จะไม่จมทะเล เพราะระดับน้ำทะเลไม่ได้เพิม่ ขึน้ ดังเช่นบทความของ ดร.วินเซนต์ เกรย์ ทีต่ พี มิ พ์ใน www.nzclimatescience.net ที่บอก ว่ามหาวิทยาลัยฮาวายติดตั้งเครื่องวัดระดับน้ำทะเลที่เกาะตูวาลูตั้ง แต่ปี 1977 พบว่าในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมาระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นแค่ปี ละ 0.07 มิลลิเมตรเท่านั้น โดยระหว่างปี 1995-1997 กลับลดลง ถึง 3 มิลลิเมตร ข้อขัดแย้งกรณีเกาะตูวาลูดำเนินมาอย่างเข้มข้น จนไมเคิล ไครชตั น นายแพทย์ นั ก เขี ย นนิ ย ายแนวสื บ สวนสอบสวนอิ ง วิทยาศาสตร์ผู้เพิ่งวายชนม์หยิบยกมาเป็นประเด็นเปิดเรื่องในนิยาย ชื่อดังเกี่ยวกับโลกร้อนที่ชื่อ State of Fear ตีพิมพ์ปี 2547 ในเนื้อ เรื่องสรุปได้ว่าการตั้งทีมกฎหมายกรณีเกาะตูวาลูเป็นเพียงเครื่องมือ การโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มองค์กรสิ่งแวดล้อม เขาแต่งเรื่องให้ตัว ละครเอกนักฟิสิกส์แสดงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่าระดับน้ำทะเลไม่ ได้สูงขึ้นจริง ส่วนเหตุการณ์ภัยธรรมชาติฉับพลันรุนแรง เช่น แผ่น น้ำแข็งในขั้วโลกเหนือถล่ม น้ำป่าทะลัก และแผ่นดินไหวในเขต ปาปัวนิวกินีจนทำให้เกิดคลื่นสูงระดับสึนามิ เกิดจากการก่อการของ กลุ่มรณรงค์สิ่งแวดล้อมหัวรุนแรงที่ต้องการกระตุกให้ชาวโลกหันมา ตื่นตระหนกและตระหนักถึงปัญหาโลกร้อน … นิยายก็คือนิยาย แม้ นิยายเล่มนี้จะสมจริงด้วยเชิงอรรถ กราฟ และรายชื่อหนังสือและ เอกสารอ้างอิงท้ายเล่มยาวเกือบยี่สิบหน้าจนทำให้ผู้อ่านไม่น้อยเริ่ม ตั้ ง ข้ อ สงสั ย ในความมี อ ยู่ จ ริ ง ของภาวะโลกร้ อ น และทำให้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับนิยายเรื่องนี้ถึงกับเชิญนัก เขียนไปพบปะหารือที่ทำเนียบขาวก็ตาม ทุกวันนี้เกาะตูวาลูยังดำรงอยู่ แต่ภัยธรรมชาติถี่และรุนแรงขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ระดับน้ำทะเลบริเวณเกาะตูวาลูขึ้นสูงสุด ในรอบ 15 ปี ชาวเกาะตูวาลูบอกว่าไม่เคยเจอเหตุรุนแรงเช่นนี้มา ก่อน น้ำไม่ ได้มาจากชายฝั่งอย่างเดียว แต่ยังทะลุมาจากใต้แนว ประการัง (ใต้ดิน) อีกด้วย แค่ชั่วโมงเดียวที่ราบถูกน้ำท่วมหมด ขณะที่นักภูมิอากาศบอกว่ากระแสน้ำสูงสุดในรอบปี (King Tide)

52

VA.indd 52

เขตอนุรักษ์บนเกาะฟูนาฟูติ ในยามปราศจากคลื่นลม

A Funafuti conservation area looks serene amid calm sea and clear, blue sky.

จะรุ น แรงขึ้ น ทุ ก ปี ชายฝั่ ง จะสู ญ หายภายในไม่ กี่ สิ บ ปี และการ ป้องกันน้ำท่วมบนเกาะที่ตั้งอยู่บนแผ่นหินปะการังเช่นนี้ต้องใช้เงิน มหาศาล ในบทความเรื่อง “ประเทศในแปซิฟิกและผลกระทบจากภาวะ โลกร้อน” ของกลุ่มเฟรนด์ส ออฟ ดิ เอิร์ธ ระบุถึงปัญหาที่เกี่ยว เนื่องกันเป็นลูกโซ่ ภาวะโลกร้อนจะทำให้ชาวเกาะในแปซิฟิกต้อง กลายเป็นผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะชาวตูวาลูที่ต้องพึ่งพิงสภาพนิเวศทั้ง ทะเลและผืนดินอย่างมากอยู่แล้ว คนเหล่านี้จะสูญเสียความมั่นคง ทางด้านอาหารและวัฒนธรรมท้องถิ่น นอกจากนี้การที่เกาะส่วน ใหญ่ของตูวาลูตั้งอยู่บนแผ่นหินปะการัง จึงต้องพึ่งพิงน้ำจืดจากน้ำ ฝนเป็นหลัก ส่วนระดับน้ำจืดใต้ดินก็ค่อยๆ ลดลง ขณะที่ระดับน้ำ ทะเลที่สูงขึ้นก็ทำให้เกิดปัญหาน้ำเค็มหนุน ซึ่งในตอนนี้หกในแปด เกาะที่ตั้งอยู่บนแผ่นหินปะการังของประเทศตูวาลูประสบปัญหาน้ำ เค็มจนกระทบต่อการเพาะปลูก เมื่ออาหารลดลงก็ต้องพึ่งพิงอาหาร นำเข้ามากขึ้น การเปลี่ยนอาหารจะนำไปสู่โรคจากการเปลี่ยนวิถี ชีวิต เช่น ความดันสูง เบาหวาน ส่วนสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นยัง ทำให้เกิดพาหะและเชื้อโรคมากขึ้น โดยในปี 2546 องค์การอนามัย โลกประมาณการว่าในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากภาวะโลกร้อน ส่วน ใหญ่เป็นไข้มาลาเรียและขาดอาหารจำนวน 160,000 คน และจะ เพิ่มเป็นเท่าตัวในปี 2563 มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/4/09 6:46:39 PM


crisis. He called for such neighboring countries as Australia and New Zealand to help take Tuvaluan disaster refugees. Later in 2001 New Zealand announced it was willing to accept refugees from Tuvalu. In the same year, Tuvalu declared it would join other island nations such as Kiribati and Maldives to sue the United States for refusing to sign the Kyoto Protocol, the international agreement governing the release of greenhouse gases which, if left uncontrolled, would put it at risk of being wiped off the face of the earth and becoming an Atlantis of the 21st century. “We live in constant fear of the adverse impacts of climate change. For a coral atoll nation, sea level rise and more severe weather events loom as a growing threat to our entire population. The threat is real and serious, and is of no different to a slow and insidious form of terrorism against us,” Prime Minister Saufatu Sopoanga of Tuvalu said at the 58th Session of the United Nations General Assembly in New York on Sept. 24, 2003. For more than a decade Tuvalu has become a symbol and a tool for global warming campaigns มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 53

January January -- April April 2009 2009

by international environmental groups. On the other hand, some groups of scientists have argued that Tuvalu would not sink because the sea water has not risen. For example, Dr. Vincent Gray wrote in an article in www.nzclimatescience.net that the University of Hawaii has installed a device to measure sea water level at Tuvalu since 1977 and found that the sea water during the past 20 years had risen by a mere 0.07 millimeters. By contrast, the level receded by three millimeters during 1995-1997. The conflict over Tuvalu plight had inspired Michael Crichton, the late physician author, to write a techno-thriller fiction concerning global warming. The book, State of Fear, published in 2004, alleges that a team of lawyers formed to represent Tuvalu was a propaganda tool of environmental organizations. In the novel, the lead character is a physicist, who provides scientific data which show that the sea level has not risen. The sudden occurrences of natural disasters such as the breakup of glaciers in the North Pole, flash floods and an earthquake in Papua New Guinea that caused high waves of a tsunami magnitude were created by radical environmental groups that wanted to scare the world into paying attention to global warming. However, the book remains a fictional work despite its comprehensive footnotes, graphs, bibliography and references, which take up nearly 20 pages, swaying a large number of readers’ opinion about the validity of global warming. The United States president at the time was so enamored with the novel that he invited the writer to the White House. Today Tuvalu islands remain standing but with more frequent and violent natural hazards. In February 2006, the sea rose to the highest level in 15 years. The islanders said they never experienced such a phenomenon before. The water did not come only from the shores but also gushed out from under the reefs beneath the ground. The flat land was inundated in just an hour. Climate experts said Tuvalu’s annual highest tide or King Tide will be more serious every year and its shore lines will disappear in a few decades. Flood prevention on the coral atoll island will require huge sum of money. An article entitled “Countries in the Pacific and Impacts of Global Warming” released by the Friends of the Earth points out that the chain of problems from global warming will make Pacific islanders climate refugees, particular Tuvaluans who must rely on ecological conditions of the sea and land. These people will lose their food security and local cultures. Since most of the islands of Tuvalu are situated on reefs, they rely mainly on rain for fresh

53

3/4/09 6:48:12 PM


สหรัฐอเมริกาขุดปะการังเพื่อทำเป็นรันเวย์เครื่องบินในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ปัจจุบันกลายเป็นที่ทิ้งขยะบนเกาะฟูนาฟูต ิ

A man rests in a hammock in his house over a garbage dump on Funafuti Island. The area used to be a runway on the reef built by American troops during World War II but had been turned into a dump site after the war.

ทว่าก็ยังมีคนตั้งข้อสงสัยว่าวิกฤติธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นและถี่ ขึ้นที่เกาะตูวาลูเกิดจากภาวะโลกร้อนล้วนๆ หรือส่วนหนึ่งเกิดจาก การกระทำของชาวเกาะเองกันแน่? ในประเด็นนี้ดร.มาร์ก เฮยส์ ในฐานะตัวแทนของนิตยสาร Griffith Review ที่เข้าไปสังเกตการณ์เหตุการณ์ระดับน้ำทะเล สูงสุดในรอบสิบห้าปีที่เกาะตูวาลู ได้เขียนไว้ ในบทความของเขาว่า หลังจากมีถนนราดยางในปี 2002 ยานพาหนะก็เพิ่มขึ้น แต่สภาพ อากาศชื้นและเค็มก็ทำให้รถเป็นสนิมถูกทิ้งเป็นขยะเกลื่อนกลาด บางที่ถูกนำไปใช้เป็นที่กำบังคลื่นลมเสียด้วยซ้ำ แต่ในบทความของ เฟรนด์ส ออฟ ดิ เอิร์ธข้างต้นกล่าวว่า เดิมปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่ ง เกิ ด จากกิ จ กรรมการพั ฒ นา เช่ น เหมื อ งแร่ การสร้ า ง สาธารณูปโภค แต่ปัจจุบันมาจากพายุและคลื่นลมเป็นหลัก หากนับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติจัดให้ตูวาลูอยู่ ในบัญชี ประเทศที่จะสูญหายไปในท้องทะเล เนื่องจากภาวะโลกร้อนเมื่อปี 2532 ก็นับว่าการต่อสู้และร้องขอความช่วยเหลือของตูวาลูดำเนิน มายี่สิบปีแล้ว และยังไม่มีทีท่าจะบรรลุข้อเรียกร้องแต่อย่างใด ใน การประชุมเรื่องโลกร้อนขององค์การสหประชาชาติ ที่เมืองพอ ซแนน ประเทศโปแลนด์ เมื่อต้นธันวาคม 2008 กลุ่มประเทศชาว เกาะในมหาสมุ ท รแปซิ ฟิ ก และมหาสมุ ท รอิ น เดี ย จำนวน 43 ประเทศได้รวมตัวกันเรียกร้องว่าอุณหภูมิโลกไม่ควรเพิ่มสูงกว่ายุค ก่ อ นอุ ต สาหกรรมเกิ น 1.5 องศาเซลเซี ย ส โดยตั ว แทนจาก ประเทศตูวาลูและคิริบาติกล่าวว่าหากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 2 องศา เซลเซียส จะทำลายประเทศกำลังพัฒนาที่ตั้งอยู่บนเกาะเล็กเกาะ น้อยหมดสิ้น แต่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปตั้งเพดานระดับโลกร้อน ไว้ที่ 2 องศาเซลเซียส ถึงเวลานี้ทั้งสาเหตุและผลลัพธ์ต่างสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ตูวาลูจะอยู่หรือจมทะเล ก็ขึ้นอยู่กับว่าชาวตูวาลูและชาวโลกจะ

54

VA.indd 54

ร่วมกันยื้อยุดอย่างจริงจังสักเพียงใด ทั้งในประเด็นระดับโลกว่าด้วย เรื่องปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และประเด็นระดับชาติว่า ด้ ว ย แ น ว ท า ง ก า ร พั ฒ น า ป ร ะ เ ท ศ ที่ น ำ ไ ป สู่ ก า ร ท ำ ล า ย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากประเทศหมู่เกาะที่อยู่ ไกลถึงมหาสมุทรแปซิฟิก มองย้อน กลับมาสู่ประเทศที่ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ ใกล้ตัว ที่ซึ่งชะตากรรม ก็ล่อแหลมและน่าพรั่นพรึงไม่แพ้กัน จากเอกสารคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การความร่วม มือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือโออีซีดี (OECD) เรื่อง “อันดับ เมืองเสี่ยงต่อน้ำท่วมชายฝั่งในวันนี้และอนาคต” ที่เผยแพร่ส่งท้ายปี 2550 และถูกตีพิมพ์เป็นข่าวไปทั่วโลกระบุว่า ประเทศเมืองท่า ชายฝั่งทั่วโลกต่างมีความเสี่ยงต่อการจมน้ำด้วยกันทั้งนั้น รวมทั้ง กรุงเทพเมืองฟ้าอมรของเราที่ติดอยู่ในโผสิบอันดับแรกด้วย ในรายงานฉบับนี้ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ได้เก็บข้อมูลเมืองท่า ชายฝั่งที่มีประชากรเกิน 1 ล้านคน จำนวน 136 เมืองทั่วโลก พบว่า เมื่อปี 2548 ประเทศที่มีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในรอบ ร้อยปีมากที่สุด 10 อันดับ โดยพิจารณาจากจำนวนประชากรคือ มุม ไบ, กั ง ซู , เซี่ ย งไฮ้ , ไมอามี่ , โฮจิ มิ น ซิ ตี้ , กั ล กั ต ตา, มหานคร นิวยอร์ก, โอซากา-โกเบ, อเล็กซานเดรีย และนิวออร์ลีน และในอีก ประมาณ 60 ปีข้างหน้า หรือในปี 2613 อันดับข้างต้นจะเปลี่ยนไป เป็น กัลกัตตา, มุมไม, ดักกา, กังซู, โฮจิมินห์ซิตี้, เซี่ยงไฮ้, กรุงเทพ, ย่างกุง, ไมอามี่ และไฮฟอง เมื่อพิจารณาในแง่มูลค่าทรัพย์สินของเมืองพบว่า 10 อันดับ พื้ น ที่ เ สี่ ย งสู ง สุ ด ในปี 2548 คื อ ไมอามี , กวางตุ้ ง , มหานคร นิวยอร์ก, นิวออร์ลีน, โอซากา-โกเบ, โตเกียว, อัมสเตอร์ดัม, นาโกยา, แทมปา-เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และชายหาดเวอร์จิเนียร์ และ ในอี ก 60 ปี ต่ อ มาอั น ดั บ ก็ จ ะเปลี่ ย นไปเป็ น ไมอามี่ , กวางตุ้ ง , มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:07:49 AM


สตอร์ม เซิจ ที่เกิดขึ้นที่ชายฝั่ง Whangarei นอร์ทแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อปี 2007 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีผู้ พยากรณ์ว่าจะเกิดขึ้นกับกรุงเทพและสมุทรปราการ A storm surge which took place at the Whangarei Northland coast of New Zealand in 2007. It has been predicted that a similar surge could hit Bangkok and Samut Prakan.

water, and underground water is gradually diminishing while the rising sea has pushed sea water up the water table. Saltwater has affected cultivation on six of the eight reef islands of Tuvalu, forcing the country to import food. The change of diet has led to the rise of diseases associated with changing life-style such as high blood pressure and diabetes. Meanwhile, the warmer weather is conducive to increasing diseases and carriers. In 2003, the World Health Organization predicted that about 160,000 people would perish every year of sicknesses related to global warming, mostly malaria and malnutrition, and the figure would double in 2020. However, many people still question whether the increased frequency and more violent natural incidents are entirely caused by global warming. Could they partly be the islanders’ fault? Concerning this matter, Dr. Mark Hayes, who had witnessed the highest sea level in 15 years in Tuvalu, observed in an article in Griffith Review magazine that there were more cars on the islands after asphalt roads were built in 2002. But, because of humidity and salinity, the cars soon became rusty and were abandoned as scraps. Some of them were used as wind and wave breakers. However, the Friends of the Earth’s article said coastal erosion in the past was caused by development projects such as mining and building of public utilities, but now is mainly caused by storms and waves. It has been 20 years since Tuvalu was included in the list of countries at risk of being submerged under the sea by the United Nations. But its cry for help has yet to go anywhere. In the United Nations Climate Change Conference at Poznan in Poland in early December last year, 43 island countries in the Pacific and Indian oceans joined forces to มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 55

January January -- April April 2009 2009

demand that the global temperature should not be allowed to go up by 1.5 degree Celcius above the pre-industrial average. Delegates from Tuvalu and Kiribati said if the global temperature went up by 2 degree Celcius, all island developing countries will be wiped out. Yet, countries in the European Community have set the ceiling for the temperature to rise by 2 degree Celcius. As things stand, the cause and effect of global warming are no more or less important over the other. Whether Tuvalu will stay or go under the sea depends on how serious the Tuvaluans and other peoples of the world will cooperate in the struggle both in terms of greenhouse gas emissions and national development that leads to the destruction of natural resources and the environment. APART FROM ISLAND COUNTRIES IN THE PACIFIC, countries on mainland are similarly under threats. According to a report of the Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) entitled “Orders of Cities Risky of Coastal Floods Today and in the Future” issued in late 2007, coastal cities throughout the world are at risk of being submerged. They include Bangkok in the ten riskiest cities. The report, based on data on 136 coastal cities with over a million population all over the world gathered by a group of scientists, found that in 2005 ten countries most at risk of facing the most serious flooding in 100 years were Mumbai, Kangsu, Shanghai, Miami, Ho Chi Minh City, Calcutta, Greater New York, Osaka-Kobe, Alexandria and New Orleans. In the next 60 years or by 2070, the cities at risk in order will be: Calcutta, Mumbai,

55

3/3/09 11:07:51 AM


ชาวเกาะตูวาลูขณะเผชิญหน้ากับคลื่นสูง เป็นภาพที่ตีพิมพ์ ใน www.worldviewofglobalwarming ซึ่งติดตามผลกระทบจากภาวะโลกร้อนผ่าน ภาพถ่าย High waves batter Tuvalu Island. The photo appears in the web site www.worldviewofglobalwarming.org which tracks impacts of global warming through photography.

(บน) แม่น้ำเจ้าพระยาจากภาพถ่ายทางอากาศ (ล่าง) น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯในอดีต สภาพ ที่ตั้งบนที่ราบเจ้าพระยาและปากอ่าวไทยทำให้กรุงเทพฯกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม (Top) An aerial view of Chao Phraya River. (Below) Bangkok under heavy flood in the distant past. Situated on a low-lying area of the Chao Phraya river basin, Bangkok is prone to flooding.

มหานครนิวยอร์ก, กัลกัตตา, เซี่ยงไฮ้, มุมไบ, เทียนจิน, โตเกียว, ฮ่องกง และกรุงเทพ จะเห็นได้ว่าในอนาคตเมืองใหญ่ ในจีน อินเดีย และประเทศ ไทยจะมีความโดดเด่นขึ้นเหนือประเทศในอเมริกาและยุโรป ทั้งใน แง่จำนวนประชากรและสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น กรุงเทพที่ไม่ติดอันดับใน ปัจจุบัน จึงติดอยู่ในอันดับ 7 ในแง่ประชากร และอันดับ 10 ในแง่ สินทรัพย์ของเมืองที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมชายฝั่งในอนาคต รายงานฉบับนี้กล่าวว่าในแต่ละปีมีโอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมใหญ่ ในรอบร้อยปี ในจำนวน 136 เมืองนี้มีสูงถึง 74 เปอร์เซนต์ และใน รอบห้าปีมีโอกาสเกิดสูงถึง 99.9 เปอร์เซนต์! ไม่ ใช่มัวแต่อกสั่นขวัญแขวนกับคำพยากรณ์ ยอมจำนน หรือ ต้องรอให้มีข้อมูลมาวางกองอยู่ตรงหน้าเพื่อพิสูจน์ความจริง เพราะ กว่าจะถึงวันนั้นก็สายเกินไป แม้ภัยธรรมชาติเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ ได้ บ่อยครั้งเกินคาดเดา แต่การวางแผนป้องกันเป็นสิ่งที่กระทำได้ ในรายงานฉบับนี้ ได้เสนอทางออกกว้างๆ ไว้ว่า เมืองชายฝั่งที่ถูก ระบุว่ามีความเสี่ยงควรยกระดับการป้องกันน้ำท่วม จัดการเรื่อง แผ่นดินทรุด (เช่นห้ามสูบน้ำบาดาล) วางแผนการใช้ที่ดิน โดยหลีก เลี่ยงโครงการพัฒนาใหม่ๆในพื้นที่น้ำท่วม สร้างเมืองใหม่ มีระบบ การเตือนภัยและอพยพจากน้ำท่วม … ซึ่งหากต้องการวางแผน ระบบป้องกันน้ำท่วมสำหรับอีกสี่สิบห้าสิบปีข้างหน้า ก็ต้องเริ่มกัน ตั้งแต่วันนี้ … แนวโน้มสัดส่วนของผืนน้ำและผืนดินของโลกจะเปลี่ยน ไป สิ่ ง สำคั ญ อยู่ ที่ ว่ า เราเตรี ย มพร้ อ มสำหรั บ ความเปลี่ ย นแปลง มากแค่ ไหน

56

VA.indd 56

Dhaka, Kangsu, Ho Chi Minh City, Shanghai, Bangkok, Miami and Haiphong. In terms of assets, the ten most at-risk cities for 2005 are Miami, Guangdong, Greater New York, New Orleans, Osaka-Kobe, Tokyo, Amsterdam, Nakoya, Tampa-St. Petersburg and Virginia Beach. In the next 60 years cities of this category will be in this order: Miami, Guangdong, Greater New York, Calcutta, Shanghai, Mumbai, Tianjin, Tokyo, Hong Kong and Bangkok. It can be seen that in the future big cities in China, India and Thailand become more prominent over cities in the United States and Europe in terms of increased population and assets. Bangkok will be ranked No. 7 in terms of population and No. 10 in terms of assets. The report said each year the probability for these 136 countries to face the most serious flooding in 100 years is 74 percent, and the probability for them to face the most serious flooding in five years is 99.9 percent. It is useless to sit idly in state of fear of what might happen, accept defeat, or wait for more information to confirm the hypotheses related to global warming because by then it may be too late. Although natural disasters may be unavoidable and often unpredictable, preventive measures can be taken. The report offers a general suggestion that coastal cities at risk of being submerged should step up flood prevention measures, cope with land subsidence (such as by putting restrictions on the digging of artesian wells), lay down a land use plan by refraining from implementing new development projects in areas prone to flooding, and build new cities with a proper warning system and flood evacuation plan. Planning for flood prevention for the next 40-50 years must begin today. The ratio of land and water on earth is expected to change. The important thing is how prepared we are to cope with and adapt to the changes. มกราคม มกราคม -- เมษายน เมษายน 2552 2552

January January -- April April 2009 2009

3/3/09 11:07:52 AM


เสียงชุมชน

COMMUNITY VOICE

ชาวประมง-นักอนุรักษ์แห่งบ้านท่าไร่นำยางที่ผูกไว้ ไปยังจุดทิ้งเพื่อเป็น “บ้านใหม่” ให้แก่ปลา Fishermen-cum-conservationists of Ban Ta Rai take the tires to a drop-off point where they would be the fishes’ “new homes”.

บ้านปลาที่ท่าไร่ สุรัช อินทองปาน โครงการอันดามันวอยซ์*

A Fish Home at Ta Rai

Surat Inthongpan, Andaman Voice Project

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 57

January - April 2009

57

3/3/09 11:07:52 AM


ลางเดื อ นมิ ถุ น ายน ริ ม คลองบางเตย หนึ่งในสายน้ำสำคัญของจังหวัดพังงาที่ ไหลลงสู่ก้นอ่าวพังงา อ่าวที่หล่อเลี้ยง ชีวิตชาวประมงพื้นบ้านในแถบนี้มาเนิ่น นาน ล้อยางรถยนต์ บ้างช่วยกันมัดยาง รถยนต์ 3 วงรวมเข้าด้วยกันเป็น 1 ก้อน บ้ า งช่ ว ยกั น ขนยางรถยนต์ ที่ มั ด รวม เรียบร้อยแล้วทยอยเข็นจากท่าลงเรือ ผู้ ใหญ่คอยส่งเสียงเตือน เด็กๆ ระหว่างล้อยางเป็นก้อนถูกเด็กเข็นผ่านทางลาดลงเรือ เสียง เฮดังทุกครั้งเมื่อก้อนยางลงเรือพอดี ฝนบางลงแล้ว ก้อนยางรถยนต์เต็มลำเรือพร้อมออกเดินทาง เด็กๆ ยืนทำหน้าเสียดายบนท่า เมื่อไม่ ได้รับอนุญาตให้ลงเรือไป ด้วย “ปากคลองเมื่อก่อนลึก ตอนนี้ลึกบ้างตื้นบ้าง ปลา สัตว์น้ำ ไม่มีที่พึ่ง เลยมาทำบ้านปลาให้ชาวบ้าน ปลาได้มาพึ่ง มาพัก ชาว บ้านได้ ไปตกเบ็ด หรือวางอวนว่าไปตามเรื่อง ผลประโยชน์จะได้กับ ชาวบ้าน” มูส่า เก็บทรัพย์ ผู้เฒ่าแห่งท่าไร่ สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ป่า ชุมชนฯ เล่าให้ฟังระหว่างเรือมุ่งหน้าไปยังจุดทิ้งปะการังเทียมเพื่อ บ้านปลา บ้านท่าไร่ ตั้งอยู่ในตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ใน อดีตชาวบ้านที่นี่เข้ามาสร้างที่พักชั่วคราว เพื่อทำไร่เลื่อนลอยและ ใช้ท่าเรือสำหรับเดินทาง ต่อมาได้สร้างบ้านเรือนที่มั่นคง และก่อ ตั้งชุมชนขึ้น เนื่องจากทรัพยากรมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางบกและ ทะเล ส่วนชื่อของ “บ้านท่าไร่” เพราะเป็นชุมชนที่มีท่าเรือและมี คนทำไร่ ปัจจุบันที่นี่มีครอบครัวอาศัยอยู่ ในพื้นที่ทั้งหมด 90 ครัว เรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพทำสวนและ ประมง ระหว่างทางจากท่าเรือ สู่บริเวณที่จะทิ้งปะการังเทียม สองฝั่ง คลองสมบูรณ์ด้วยป่าชายเลนที่ชาวบ้านร่วมกันดูแลอย่างจริงจัง เนื่องจากชาวท่าไร่เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากสัมปทานต่างๆ ที่ เคยอยู่ ในพื้นที่ ทั้งการเผาถ่าน ขุดแร่ ดูดแร่ ซึ่งล้วนต่างร่วมทำลาย พื้นที่ป่าชายเลนอันเป็นพื้นที่อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนก่อนเดินทางสู่ ท้องทะเล โดยเฉพาะเรือขุดแร่ที่ สุโบ๊ วาหะรักษ์ ประธานกลุ่มอนุรักษ์ ป่าชุมชนฯ เล่าให้ฟังอย่างเห็นภาพ “เรือขุดทำลายทั้งป่าชายเลน

ชาวบ้านกำลังนำยางมาเพื่อผูกกันให้เป็นปะการังเทียม

Villagers bring tires to be tied together, three to a group, to make an imitation reef.

ทั้งลำคลอง ในอ่าวที่เรียกว่าอ่าวเรือขุด ประมาณ 300-400 ไร่สุด ลูกหูลูกตา ไม่เหลือต้นไม้ซักต้น ไม้ที่ตัดไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรเลย เขาจะจ้างให้คนนำไม้มากองรวมกัน แล้วก็เผา ต้นใหญ่ๆ ก็ลอยน้ำ ไป หรือไม่ก็ใช้รถแบ๊คโฮบดจนเรียบหมด ถ้าไม่ทำอย่างนั้น เรือขุด จะเข้าไม่ได้” ถึงจุดทิ้งปะการัง สร้างบ้านปลา. ฝนยังพรำ ทุกคนทำงาน เหมือนฝึกซ้อมกันมา แบ่งกันร้อยเชือก สอดเชือกผูกกองยางให้อยู่ ในแนวเดียวกัน บ้างเตรียมทุ่นปูนหัวท้ายแนวเชือก ไม่นานก็พร้อม ทีมสร้างบ้านเริ่มปล่อยก้อนยางรถยนต์ที่ถูกนำมาร้อยเป็นแนวยาว ห่างกันก้อนละประมาณ ๑ เมตร ลงสู่ท้องคลอง “ไม่ จ ม ไม่ จ ม” สมาชิ ก วั ย หนุ่ ม ตะโกน เมื่ อ เห็ น ก้ อ นยาง รถยนต์ ลอยเอียงไปมา “ไม่พรื้อ พอทุ่นถึงดิน น้ำเข้าลูกยาง มันกะ จม” ผู้เฒ่าแห่งท่าไร่ ตะโกนตอบพลาง ยิ้มพลาง พร้อมง่วนกับ การเตรียมธงอนุรักษ์ติดทุ่น หัวท้ายแนวปะการังเทียม เพื่อบอก กล่าวเพื่อนๆ ชาวประมงที่มาวางอวนให้ได้รับรู้ “ผ่าน ผ่าน ผ่าน” เสียงยินดีเมื่อปะการังเทียมในนาม”บ้าน ปลา”เดินทางสู่ท้องทะเล … ฝนยังพรำ คณะสร้างบ้านปลาออกเดินทางกลับท่าไร่ บนบ้านผู้เฒ่าแห่งท่าไร่ ฝนหยุดแล้ว ฟ้ายังครื้ม ในวงกาแฟ ผู้ เฒ่าเอ่ย “บ้านเรา เรื่องอื่นๆ พอไปได้แล้ว ที่ยังห่วงก็เรื่องป่าทิ่ติด นากุ้งเจ้าใหญ่นั้นแหละ เขาออกมาเรื่อย” แม้นผ่านสถานการณ์ที่เห็นการทำลายป่าไม้ ในพื้นที่มาครึ่งชีวิต และชีวิตที่เหลือ ความพยายามรักษาป่าเพื่อลูกหลานในวันหน้า แต่ กับฟาร์มเลี้ยงกุ้งขนาดใหญ่ ที่กำลังขยายพื้นที่เพาะเลี้ยงสู่ป่าชาย เลน มู่สา เก็บทรัพย์ ผู้เฒ่าแห่งท่าไร่ เพียงถอนหายใจ ก่อนทอดตา ไปยังที่ตั้งของฟาร์มฯ ด้วยแววตาที่เต็มไปด้วยคำถามและกังวล

*โครงการอันดามันวอยซ์ เป็นโครงการผลิตสื่อภาคประชาชน ภายใต้องค์การความมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน ทำหน้าที่ บันทึก ผลิตสื่อ สารคดี เพื่อการเผยแพร่ภายในชุมชนและระหว่างชุมชน รวมทั้งเป็นฐานข้อมูลด้านภาพและเสียง สำหรับสื่อสารมวลชนที่ สนใจนำเสนองานของภาคประชาชน * Andaman Voice project promotes activities to conserve natural resources in the Andaman sea by compiling information and producing documents for the media members.

58

VA.indd 58

มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:07:53 AM


T

HE MID-JUNE RAIN BEGAN TO FALL AGAIN, but villagers were still working at Klong Bang Toey, busily building a new “home.” Adults and children wheeled unused car tires to the canal’s bank. Three tires were fastened together to make one piece of a housing part. The second, third, fourth, … were quickly assembled as rain poured down. Children were told by an elderly to carefully take them to the boat. Their loud cry of hooray interrupted the splashing rainfall every time they managed to unload each piece of rubber-made material on the boat wobbled by waves. Soon all pieces were well placed on the boat. The rain abated, suggesting a time to start a journey. They would be taken along the Bang Toey Canal to its mouth where the new house would be erected down under the water. The children protested for not being allowed to get in the boat for the trip. “Water in the canal’s mouth used to be deep, but it later became shallow leaving fish fewer shelters to live in, so we’re building a new home for them,” said Musa Kepsab, an elderly member of the Ban Ta Rai Community Forest Conservation Group of tambon Bang Toey in Phangnga’s Muang district. The home would nurture young fish and when its number increases “villagers could go fishing with fishing lines or fish nets or whatever,” Musa said. Klong Bang Toey is a blood line at which local fishermen have made their homes for generations. The group once adopted slash-and-burn farming when they first settled in Ban Ta Rai. They later มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 59

January January -- April April 2009 2009

decided to build a permanent fishing and farming community here because of the abundant natural resources both on land and in the sea. The name “Ta Rai” indicates the village’s surrounding. “Ta,” literally meaning piers, comes with the construction of piers while “Rai,” or a piece of farmland, represents their occupation. The community has grown to 90 families most of whom are Muslims. Their awareness of natural resource conservation has been instilled in their consciousness over time. Villagers have started conserving mangrove forests along both sides of the canal after experiencing adverse impacts of past mining and coal-making concessions in the area. These destructive activities wiped out parts of the abundant mangroves, which are home to young marine animals. Ore-digging boats were the most damaging, said the conservation group’s chairman Subo Waharak. They destroyed both mangrove forests and the canal. In its working area of between 300 and 400 rai, “all trees were cut down, piled together, and burned … to pave the way for the boats.” It was still drizzling as the boat edged closer to the canal’s mouth. When it arrived, the villagers skillfully did the last stage of the job as if everyone was well trained in a house-making drill. They tied all the tires with a rope and slowly dropped them into the canal. “They don’t sink,” shouted a young man as the tires just wobbled on the water surface. “They will after they take in water,” Musa responded calmly. The old man attached a flag to a buoy which was tied to the rope. The flag would tell fishermen the area is preserved for a fish home, or, as experts call it, an imitation reef. “We made it!” the villagers shouted before sailing their boat back to the village. Many of them gathered at Musa’s house and shared their worry about a new threat to the environment — a large shrimp farm located next to a mangrove forest near their neighborhood. The old man is well aware of negative impacts of deforestation. He had seen them a lot for half of his life. But he just does not know how to deal with the farm which is expanding to the green area. The old man just sighed and looked towards the farm with eyes full of questions and worries.

59

3/3/09 11:07:54 AM


สี่แยกไฟเขียว

GREEN INTERSECTION

นักเรียนจากโรงเรียนหนองแกที่ร่วมในค่ายเยาวชน กำลังศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนที่วนอุทยานปราณบุรี Participating in the youth camp, students from Nong Gae School take a study trip at the mangrove forest in Pran Buri Forest Park.

60

VA.indd 60

มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:07:56 AM


ยุวทูตพิทักษ์หัวหิน

Youth for the Preservation of Hua Hin

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 61

January - April 2009

61

3/3/09 11:07:58 AM


ผู้ร่วมค่าย “ยุวทูตพิทักษ์หัวหิน” ถ่ายรูปหมู่หลังการเสร็จสิ้นกิจกรรม

บวั น ภาคธุ ร กิ จ และคนในท้ อ งถิ่ น จะลุ ก ขึ้ น มาทำ กิจกรรมดีๆ เพื่อสร้างสรรค์ชุมชนมากขึ้น ด้วยความตั้งใจปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ชุมชนท้องถิ่น กลุ่มพิทักษ์หัวหินและ ชี ว าศรม รี ส อร์ ท เพื่ อ สุ ข ภาพจึ ง จั ด ค่ า ยเยาวชน ศึกษาในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณใกล้วนอุทยานปราณบุรีขึ้น เพื่อ สร้างผู้นำเยาวชนที่จะรู้จักกันในชื่อ “ยุวทูตพิทักษ์หัวหิน” ค่ายนี้มีนักเรียนจากโรงเรียนหนองแก โรงเรียนประถมในพื้นที่ เข้าร่วมจำนวน 40 คน ที่นี่ เด็กๆ ได้เรียนรู้จากระบบนิเวศป่าชาย เลนโดยตรง และเรียนรู้ประเด็นสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ภาวะโลก ร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเสื่อมโทรมของสิ่ง แวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์และการพัฒนาเชิงการค้า กิจกรรมเริ่มต้นด้วยเจ้าหน้าที่วนอุทยานฯ พานักเรียนทัวร์ป่า ชายเลน อธิบายความสัมพันธ์เชิงพึ่งพาอาศัยกันและกันระหว่าง ต้นไม้ สัตว์ และน้ำ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจทั้งด้านความแข็งแรงและ ความเปราะบางของระบบนิเวศ ท่ า มกลางความร่ ม รื่ น และฉ่ ำ เย็ น ของป่าชายเลน เด็กๆ เฝ้าสังเกต ตั้งคำถาม และวาดภาพลงในสมุด บันทึกของตัวเองอย่างกระตือรือร้น กิจกรรมทั้งหมดดำเนินไปบนหลักการของการเรียนรู้อย่างมี ส่วนร่วม ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ยุวทูตพิทักษ์หัวหินได้เรียนรู้สถานภาพของ สิ่งแวดล้อมในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จากนั้นนำมาแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นว่า หัวหินในอดีตเป็นอย่างไร และพวกเขาอยากเห็น หัวหินในอนาคตเป็นอย่างไร แล้วเด็กๆ ก็นำเสนอผลงานโปสเตอร์ ของตั ว เองให้ เ พื่ อ นๆ ร่ ว มค่ า ยดู และร่ ว มอภิ ป รายในหั ว ข้ อ สิ่ ง

62

VA.indd 62

Participants in the Young Ambassadors for the Protection of Hua Hin Camp pose for a photo.

แวดล้อมที่หลากหลาย เช่น ความสะอาดของชายหาด คุณภาพน้ำ ทะเลและอากาศ การวางผังเมือง บทบาทของต้นไม้ ในสิ่งแวดล้อม การลดของเสี ย เช่ น ถุ ง พลาสติ ก าและบรรจุ ภั ณ ฑ์ โ ฟม มี ก าร บรรยายเกี่ยวกับผลเชิงทำลายล้างจากการขยายตัวเมืองและมลพิษ ชมภาพยนตร์เกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่า และความเสื่อมโทรมของ สิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาเชิงการค้าที่ไร้การควบคุม มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัดการสิ่งแวด ล้อมอื่นๆ เช่น ให้เด็กๆ เล่าถึงการกระทำที่พวกเขารู้สึกภาคภูมิ ใจ และการกระทำที่พวกเขารู้สึกเสียใจ ความภูมิ ใจสิ่งที่เหมือนกันคือ การเก็บขยะแล้วนำไปทิ้งในที่รองรับที่เหมาะสมสำหรับการรี ไซเคิล และการได้รับเชิญมาค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษานี้ นักเรียนจำนวนมาก ยอมรับว่า พวกเขารู้สึกแย่ที่เคยทิ้งขยะลงข้างทาง เด็กๆ บอกว่า พวกเขาจะแนะนำนักท่องเที่ยวไม่ให้ทิ้งขยะเกลื่อนกลาดอีกต่อไป ในกิจกรรมทำความสะอาดวนอุทยาน เด็กๆ จะเก็บขยะเท่าที่ สามารถหาได้ มีการรวมกลุ่มกันร้องเพลง โดยมีเพลงที่มอบให้กลุ่ม พิทักษ์หัวหินโดยเฉพาะ หลังมื้อเย็นเด็กๆ ช่วยกันคิดและนำเสนอ การแสดงสั้นๆ ที่หน้าแคมป์ไฟ แล้วเข้านอนอย่างมีความสุข เจ็ดนาฬิกาวันรุ่งขึ้น เริ่มต้นวันด้วยการออกกำลังกายก่อน อาหารเช้า หลังอาหารเช้า เด็กๆ ก็เริ่มกิจกรรมแรกด้วยการทำการ์ด สัญญาว่าจะทำสิ่งที่ทำให้หัวหินสวยงามและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังอาหารกลางวันก็เข้าสุ่จุดสำคัญของค่ายนี้ เมื่อประธานกลุ่ม พิ ทั ก ษ์ หั ว หิ น คุ ณ กฤป (อ่ า นว่ า กริ บ ) โรจนเสถี ย ร แจกใบ ประกาศนียบัตรแก่ยุวทูต และกล่าวขอบคุณเด็กๆ ที่เข้ามาร่วม กิจกรรมค่าย มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:08:01 AM


นักเรียนแบ่งกลุ่มนำเสนองานวิเคราะห์ข้อมูลที่ ได้จากการฝึกทักษะการเป็นผู้นำ

Students, in groups, present their ideas and interpretation of information received during a leadership training.

I

ncreasingly, the business sector and local people have collaborated to organize worthwhile activities for the benefit of their communities. Determined to raise environmental awareness and promote community conservation, the Preserve Hua Hin Group and Chiva-Som International Health Resort organized a two-day youth camp in the mangrove area of nearby Pran Buri Forest Park in order to develop youth leaders to be known as “Young Ambassadors for the Protection of Hua Hin”. Forty primary school students from Nong Gae School participated in the camp to gain first-hand knowledge of the mangrove ecosystem and other environmental issues including global warming, climate change and environmental degradation caused by human activity and commercial development. Commencing with a guided study tour through the mangrove forest, a park official explained the symbiotic relationship between plants, animals and water to help the students understand both the strength and fragility of the ecosystem. Under the green canopy of the forest, they made inquisitive observations as well as sketched drawings in their personal field notebooks.

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 63

January January -- April April 2009 2009

All the activities were conducted with active participation by the students to help them learn about the conditions of the past, present and future. This was followed by an exchange of opinions about what Hua Hin was like in the past and how they would like to see it in the future. The students then presented posters that they created and discussed about various environmental issues, including beach cleanliness, the quality of sea water and the air, city planning, the role of trees in the environment and the reduction of waste such as plastic bags and styrofoam containers. They listened to a lecture on the detrimental effects of urban expansion and pollution and they saw a movie about deforestation and environmental degradation from uncontrolled commercial development. Another activity promoted environmental stewardship. The students were asked to describe about things they felt proud of and those they regretted. Common positive responses were picking up trash and dropping it in the receptacle for recycling and having been invited to join the study camp. Many admitted that they felt bad for discarding trash on the roadside in the past. They also said that they would like to advise tourists against littering. The day continued with a park cleaning activity and the students picked up any trash they could

63

3/3/09 11:08:02 AM


“เราจัดกิจกรรมนี้เพื่อช่วยให้เด็กๆ ที่จะเป็นผู้นำในอนาคต ของเราตระหนักและเข้าใจผลกระทบของกิจกรรมมนุษย์บนโลกใบ นี้และใช้ประสบการณ์ที่ ได้จากที่นี่กระตุ้นความสนใจ ส่งเสริมการ เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และรู้สึกซาบซึ้งในโลกที่เราอยู่ทุกวันนี้” ด้านอาจารย์พิชยะ มหาสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองแก กล่าวว่า นักเรียนประถม 5 และประถม 6 กลุ่มนี้ถูกเลือกให้มา เป็นยุวทูตพิทักษ์หัวหิน เพราะมีความเป็นผู้นำ เขาขอขอบคุณกลุ่ม พิทักษ์หัวหินที่อำนวยความสะดวกในการเสริมสร้างประสบการณ์ ชีวิต ที่ทำให้เด็กๆ มีความเข้าใจในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในวันนี้ ได้ดี ด้านคุณภัทร อิทรไพโรจน์ หัวหน้าวนอุทยานปราณบุรี ใน ฐานะที่ ดู แ ลสวนป่ า แห่ ง นี้ ม าตั้ ง แต่ ต้ น บอกว่ า ค่ า ยยุ ว ทู ต พิ ทั ก ษ์ หัวหินเป็นโครงการที่ดีมาก ที่ช่วยให้นักเรียนกลายเป็นผู้นำสังคมที่ มีความรับผิดชอบ แม้ว่าโดยตัวบุคคลจะไม่สามารถแก้ปัญหาสิ่ง แวดล้อมโลกในทุกวันนี้ ได้ทุกเรื่อง แต่เชื่อว่าเราจะมีผู้นำที่ช่วยเผย แพร่ ค วามตระหนั ก รู้ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบในสิ่ ง แวดล้ อ มสู่ ก ลุ่ ม เพื่อนรุ่นเดียวกันและคนในยุคสมัยหน้า รู้จักกลุ่มพิทักษ์หัวหิน จากเดิมหัวหินเป็นที่รู้จักในฐานะเมืองชายหาดเล็กๆ แต่ ใน ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เมืองแห่งนี้เริ่มพัฒนาและมีการขยายเมือง เพิ่มขึ้นจนรู้สึกได้ในวันนี้ ประเด็นสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่น่าห่วงใย คือ ของเสียและมลพิษที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ การบริโภค น้ำจืดและพลังงาน จราจรติดขัด และตึกรามบ้านช่อง หากปล่อยให้ ประเด็นปัญหาเหล่านี้ยังคงดำเนินไป สุดท้ายจะส่งผลต่อคุณภาพ ชีวิตและส่งผลกระทบแง่ลบต่อธุรกิจท่องเที่ยวที่มีมาอย่างยาวนาน เพื่อช่วยแก้ปัญหาขนาดรอยเท้านิเวศที่เพิ่มขึ้นจากการเติบโต ของประชากรในเขตเมือง ในปี 2547 กลุ่มพิทักษ์หัวหินจึงถูกตั้ง ขึ้นในฐานะองค์กรพัฒนาชุมชน คุณบุญชู โรจนเสถียร ผู้ก่อตั้ง ชีวาศรมและประธานกิติมศักดิ์ของกลุ่มพิทักษ์หัวหินได้รวบรวม องค์กรภาคเอกชนและองค์กรสาธารณะอื่นๆ มาเป็นหัวหอกการ พัฒนากลุ่มพิทักษ์หัวหิน จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ และทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีความตื่น ตัวทางสังคม นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง แรงขับเคลื่อนของกลุ่มพิทักษ์ หัวหินได้ผันเปลี่ยนหลากหลาย ทั้งกลุ่มธุรกิจในท้องถิ่น โรงแรม และชาวหัวหิน ร่วมกันกับองค์กรภาครัฐ ได้จัดงานและสนับสนุน กิ จ กรรมอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เช่ น คอนเสิ ร์ ต กลางแจ้ ง วิ่ ง มาราธอน นิทรรศการศิลปะ กิจกรรมทำความสะอาดชายหาด โครงการปลูก ต้นไม้ และกิจกรรมเพื่อสวัสดิการสังคมและปรับปรุงชุมชนอื่นๆ ในฐานะประธานกลุ่มพิทักษ์หัวหิน กฤปกล่าวว่า จะยังคงสร้าง กระแสและสนับสนุนชุมชนอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยสร้างชุมชนที่มี สุขภาพดี มั่นคง และเข้มแข็ง และทำให้หัวหินยั่งยืนไปในอนาคต ด้วยแนวทางที่รับผิดชอบต่อสังคมและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ต้องการข้อมูลเพิม่ เติมหรือติดต่อกลุม่ พิทกั ษ์หวั หิน โทร 032536536 หรือ อีเมล www.preservehuahin@chivasom.com

64

VA.indd 64

นักเรียนรับประกาศนียบัตรจากกฤบ ประธานกลุ่มพิทักษ์หัวหิน

Student participants receive a certificate from Krip, Preserve Hua Hin Group chairman.

มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/4/09 6:50:14 PM


young ambassadors because of their natural leadership ability. He thanked the Preserve Hua Hin Group for organizing this life-enriching experience that will make a significant impact on the students’ understanding of today’s environmental issues. Involved with the park since its opening, park chief Pattara Intharapairot said the Young Ambassadors project would help the students become responsible social leaders. Although individuals alone cannot rectify all of the environmental problems in the world today, he said the youngsters would at least be the leaders to help spread environmental awareness and responsibility among their peers and younger generations.

เจ้าหน้าที่อุทยานปราณบุรีบรรยายเกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลนให้นักเรียนฟัง An official of the Pran Buri Forest Park (in pink shirt) explains the ecosystem of the mangrove forest.

find. This was followed by a group singing. After dinner they designed and presented group skits by the campfire before bedding down for the night. The next morning came early with a 7 a.m. fitness session on the beach before breakfast. Afterwards, each student put down on a card things they would do to make Hua Hin beautiful and conserve the environment. The event culminated after lunch with the chairman of Preserve Hua Hin Group Krip Rojanastien presenting certificates to all recognizing them as Young Ambassadors and thanked them for their participation. He told the group: “We organized this event to help you who will be our future leaders be aware and understand the impact of human activity on our planet Earth and use this experience to stimulate interest, promote continual learning and appreciate the world we live in today.” Pitchaya Mahasuk, director of Nong Gae School, said the student group was selected to be มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 65

January January -- April April 2009 2009

About the Preserve Hua Hin Group Formerly a small beachfront resort town, Hua Hin has during the past decade borne the brunt of accelerated commercial development and urban sprawl. Increasing waste and pollution from human activity, fresh water and energy resource consumption, traffic congestion and real estate development have become major environmental concerns. Allowing these issues to continue unabated will ultimately affect the quality of life and have a negative impact on Hua Hin’s longstanding tourism business. To help address the issue of growing ecological footprint as a result of the rapidly growing population, the Preserve Hua Hin Group was formed as a community development organization in 2004. The late Boonchu Rojanastien, founder of ChivaSom International Health Resort and the group’s honorary chairman, enlisted support from private and public sector organizations to initiate activities to promote environmental awareness and conservation and increase social interaction in the local community. Since its inception, the driving force of the group has been a diverse and dedicated group of local businesses, hoteliers and townspeople who collaborate with state agencies to regularly organize and sponsor events such as outdoor concerts, marathons, art exhibitions, beach clean-ups, reforestation projects and other activities for social welfare and community improvement. Group chairman Krip said the group is committed to promoting the overall well-being of the community and continuing to build momentum toward creating a healthy and strong community so that Hua Hin would develop in an environmentally sustainable and responsible manner. For further information, call 032-536-536 or email preservehuahin@chivasom.com

65

3/3/09 11:08:08 AM


มหิงสาน้อย...นักวิจัยวัยเยาว์

LITTLE MAHINGSA...YOUNG RESEARCHERS

กลุ่มปูก้ามดาบ เรื่อง/ภาพ ด.ช.ธนวัฒน์ โตยะบุตร และสมาชิกกลุ่มปูก้ามดาบ โรงเรียนบ้านท่าขาม อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผมเข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการมหิงสาสายสืบมาเกือบสาม ปีแล้วครับ ผมชอบกิจกรรมนี้มาก เพราะได้ทำงานกับเพื่อนที่รู้ ใจ และทำกิจกรรมที่ชอบท่ามกลางธรรมชาติที่กลุ่มของพวกผม เป็นคนเลือกกันเอง เราแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ขั้นตอน เป็นขั้นตอนที่ทำไป พร้อมๆ กันได้ครับ “ขั้นค้นหา” กลุ่มของผมซึ่งประกอบด้วยเพื่อนซี้ 8 คน ได้ เลือกป่าชายเลนในหมู่บ้านเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ กลุ่มของเราคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะมาเล่นกันเป็นประจำ บาง ครั้งมาตกปลา มาหาหอย หรือกระโดดน้ำงมกุ้ง แต่มาวันนี้การ เล่นของเรามีความหมายมากขึ้น เพราะเราได้สำรวจพรรณไม้ ใน ป่าชายเลน มีพรรณไม้หลายชนิดที่เราไม่รู้จัก และเมื่อศึกษา พรรณไม้ แ ต่ ล ะชนิ ด อย่ า งลึ ก ซึ้ ง ก็ พ บว่ า มี ไม้ ห ลายชนิ ด ที่ มี สรรพคุณทางยา ส่วนสัตว์ที่เห็นจนชินตาอย่างปูก้ามดาบ เราก็ ยังสังเกตเห็นว่าบางตัวมีก้ามขวาใหญ่ ในขณะที่บางตัวมีก้าม ใหญ่ทางซ้าย ชื่อกลุ่มของเราก็มาจากเจ้าตัวนี้แหละครับ ที่นี่เราได้วาดภาพทั้งพืชและสัตว์เก็บเอาไว้ดูเล่น ภาพไหน วาดสวยก็จะไปอวดคุณครูและพ่อแม่ คนอื่นอาจดูว่าไม่สวย แต่ ผมว่าภาพของผมสวยที่สุดก็แล้วกัน! ใน “ขั้ น อนุ รั ก ษ์ ” พวกผมได้ ช่ ว ยกั น เก็ บ ขยะประเภทถุ ง พลาสติกที่ลอยตามน้ำมาติดตามรากโกงกาง โชคดีที่มี ไม่มาก ป้ายบ่งบอกสรรพคุณพรรณไม้ ในป่าชายเลนที่เราไม่รู้จัก แต่มีคุณค่าหลายชนิด บางชนิดมีสรรพคุณทางยา

The sign tells us what kinds of trees grow in mangrove forest. Some of them have medicinal property.

66

VA.indd 66

มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:08:10 AM


พวกเรารู้สึกสุขใจที่เป็นส่วนเล็กๆในการช่วยอนุรักษ์ป่าชายเลนให้มี ความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

We are so happy (and have so much fun) to be a small part in making our mangrove forest healthier.

Poo Kam Daab Group Story/photos Thanawat Toyabut and members of the Poo Kam Daab (Fiddler Crab) Group, Ban Tha Kham School, Bang Saphan District, Prachuap Khiri Khan Province

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 67

January January -- April April 2009 2009

พักผ่อนเล่นเกมส์ระหว่ากิจกรรม

Time for a bit of fun.

I have participated in the so-called “Mahingsa Sai Sueb” (Mahingsa Detectives) Project for nearly three years. I like the activities so much because they gave me an opportunity to work with likeminded friends on activities that we like and which are held in the natural settings that we choose. Our activities were carried out in three steps that could be done simultaneously. They were: Discovering: Our group of eight close friends chose the mangrove forest in our village as the site for our exploration. We were very familiar with the area where we have spent our leisure time fishing, collecting mussels and limpets, and diving for shrimps. Having joined the Mahingsa Project, our activities have become more meaningful because we got to survey the plant species in the mangrove forest. A number of plants were unknown to us. After we did extensive study of each plant, we found many of them curative. We also noticed the differences among the creatures familiar to us

67

3/3/09 11:08:13 AM


การปลูกต้นโกงกางด้วยฝัก โดยการ ปักไม้และผูกเชือกยึดลำต้นไว้

That is a mangrove sapling that my friends hold.

นัก พวกเรายังได้เก็บฝักโกงกางมาปักเพื่อปลูก แต่พบว่าไม่ค่อย ได้ผล เพราะมักจะลอยไปกับน้ำเสียเป็นส่วนมาก พี่เลี้ยงใจดีเลย นำพั น ธุ์ ก ล้ า ไม้ โ กงกางมาให้ พ วกเราช่ ว ยกั น ปลู ก ในพื้ น ที่ ว่ า ง คราวนี้เราปักไม้และผูกเชือกยึดลำต้นเอาไว้ นับว่าดีกว่าการปลูก ด้วยฝัก และมีต้นที่ตายไม่มาก เราปลูกไปเล่นไป เสื้อผ้ามอมแมม บางครั้งเอาโคลนมาปา ใส่กันจนเหนื่อย แล้วก็กระโดดเล่นน้ำในคลอง โอ้ โห! สนุกสุด ๆ ไม่อยากกลับบ้านเลยจริง ๆ ใน “ขั้นแบ่งปัน” กลุ่มปูก้ามดาบของผมได้นำประสบการณ์ มาเล่าให้กับน้อง ๆ ที่ โรงเรียนฟัง วาดภาพสวย ๆ ให้เพื่อนได้ดู คุณครูให้พวกผมจัดบอร์ดแสดงนิทรรศการ เราวาดกันสุดฝีมือ บอร์ดของผมเร้าใจที่สุดครับ(คุณครูบอกนะ ผมไม่ ได้ โม้) และ บางครั้งก็พาเพื่อน ๆ ไปเยี่ยมต้นโกงกางที่เราปลูกไว้ เดี๋ยวนี้ป่า โกงกางโตขึ้นมากแล้วครับ แต่บางต้นก็ตาย ต้องปลูกซ่อมใหม่ กิจกรรมมหิงสาสายสืบให้ทั้งความสนุกและเร้าใจ ทุกครั้งที่ ไปทำกิจกรรม จะไม่มีสมาชิกในกลุ่มขาดหายไปเลย เราเอาข้าวไป กินกันที่ป่าชายเลน บางคนไม่ ได้เอาไป เราก็แบ่งกันกินจนครบ ทุกคน เราได้ทั้งความรู้ความมันส์ ความสามัคคี และความสะใจ แถมท้ายทุกครั้ง นอกจากนี้พื้นที่ป่าชายเลนในหมู่บ้านเราก็มี ความสมบูรณ์มากขึ้นด้วย ผมดี ใจมากครับที่ ได้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการนี้ โครงการนี้มีประโยชน์มาก ๆ ผมอยากให้คนมาทำ โครงการนี้กันมาก ๆ ป่าจะได้อุดมสมบูรณ์ มาเป็นมหิงสาสายสืบกับผมสิครับ รับรองว่ามันส์แน่นอน

68

VA.indd 68

ช่วยกันปลูกป่าโกงกาง

Time for a bit of work planting mangroves.

มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:08:16 AM


กินข้าวกลางวันร่วมกันที่ป่าชายเลนในหมู่บ้าน Time for chow together after a hard morning’s work.

like the Fiddler Crab. We observed that some have large right claws while others have large left claws. We adopted the name of this crab for our group. While there, we drew pictures of animals and plants just for fun. We showed the ones we considered good to our teachers and parents. People may say our drawings aren’t beautiful, but I think mine were excellent. Conserving: We helped remove garbage, such as plastic bags carried by water current that got stuck to the roots of mangroves. We tried to grow mangroves from seeds by pushing them into the mud but were unsuccessful because they just floated away. So, our kind mentors gave us saplings so that we could plant them in the unoccupied portions of the mud flat, tying them to wooden sticks. The result was definitely better than seeding and not many of them died. While we planted trees, we also played, slinging mud at one another and jumping into canal from time to time till we all got exhausted. Our clothes were totally soiled. Oho, it’s so much fun we didn’t want to go home. มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 69

January January -- April April 2009 2009

Sharing: We related our experiences to fellow students and drew pictures for our friends to see. Our teacher asked us to hold an exhibition about it. We put our best effort into drawing. I have to say my own creations looked the best (my teacher said so; I’m not bragging). We sometimes led our fellow students to see the mangrove trees we planted. They are now considerably grown up though some of them had died, and we had to replace them with new ones. Joining the Mahingsa Saisueb Project is both fun and thrilling. None of us would miss any activity if there’s one. We brought meals to the swamp, sharing them with our friends who didn’t bring theirs. We not only learned a lot but also we had fun, a sense of unity and deep satisfaction every time we had an activity. What’s more, the mangrove forest in our village has grown much healthier. I’m so glad to be a part of this project which has done a lot for our community. I hope more people would join this project so our forests would be healthy. So, come be Mahingsa detectives with me. I can promise you it’ll be a lot of fun.

69

3/4/09 6:51:51 PM


เรื่องจากผู้อ่าน

FROM THE READERS

ทะเลบ้า? เรื่อง/ภาพ สันติ อิศรพันธุ์

ศกนาฏกรรมทางธรรมชาติครั้งใหญ่ ในเมืองไทย หากไม่ นับเหตุการณ์สึนามิเมื่อปลายปี 2547 แล้ว มหาวาตภัย จากพายุโซนร้อนแฮเรียตที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี 2505 ถือว่าร้ายแรงในอันดับต้นๆ เช่นเดียวกัน ค่ำของวันที่ 25 ตุลาคม 2505 ผมยังจำได้ดีว่ามีลม พัดแรงมากจนสังกะสีมุงหลังคาหลุดปลิวไปต่อหน้า จาก นั้นไม่นาน บ้านทั้งหลังก็ทรุดตกจากบาตรเสา (ฐานเสา) ลงกระแทก กับพื้นอย่างแรง พ่อพาผมกับแม่ซึ่งกำลังท้องแก่ ไปหลบฝนที่โกดัง โรงสีเก่า แล้วตัดสินใจพาทุกคนลงเรือไปยังบ้านที่คิดว่าปลอดภัย ที่สุดในหมู่บ้าน ระหว่างทางมีต้นไม้ล้มขวางคลองอยู่เป็นระยะๆ มองเห็นได้ขณะที่ฟ้าแลบ พ่อจึงถ่อเรือออกนอกเส้นทาง เนื่องจาก ขณะนั้นระดับน้ำสูงจนเป็นทะเลไปทั้งทุ่งแล้ว เมื่อถึงบ้านที่หมาย พ่ออุ้มผมและประคองแม่เดินลุยขี้วัวเละๆ ไปยังเพิงพัก ผ่านกองไฟที่ก่อไว้กันหนาวที่บริเวณคอกวัว ปรากฏว่า มีเพื่อนบ้านมาหลบภัยกันอยู่ก่อนแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ราย เมื่อทุกคน เห็นหน้าแม่ ต่างก็เอ่ยปากออกมาด้วยความโล่งใจ เนื่องจากพวก เขารู้ ว่ า แม่ ก ำลั ง ท้ อ งแก่ แ ละกลั ว ว่ า จะคลอดออกมาในช่ ว งเวลา วิกฤตเช่นนี้ ผมนอนฟังคุณลุงคุณตาพูดถึงเหตุการณ์ร้ายนี้อย่างตื่นเต้น บ้ า งก็ ว่ า เกิ ด จากทะเลบ้า บ้างก็ว่าเป็นการลงโทษของฟ้าดิน จน กระทั่งผมหลับไป มาตื่นเอาตอนรุ่งสาง เห็นพ่อกำลังวิดน้ำออกจาก ลำเรืออย่างแข็งขันเพื่อเตรียมตัวกลับบ้าน ท่ามกลางความสูญเสียที่คนในหมู่บ้านต่างปลอบประโลมให้ กำลังใจแก่กันและกันอยู่นี้ ภาพของ“ทะเลบ้า”ยังอยู่ ในความคิด คำนึงของผมตลอดมา และคำนี้ยังให้ความรู้สึกที่น่ากลัวที่สุดในชีวิต ด้วย หลังเหตุการณ์ผ่านไปปีเศษๆ ครูที่โรงเรียนได้นำนักเรียนไป ทัศนศึกษาที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนังซึ่งเป็นพื้นที่ที่ ได้รับ ความเสียหายหนักที่สุด โดยใช้เรือยนต์เป็นพาหนะ เมื่อเรือแล่น ออกสู่ปากแม่น้ำปากพนังในส่วนที่เรียกว่า “ทะเลใน” ผมรู้สึกตื่น เต้ น มาก ผื น น้ ำ เบื้ อ งหน้ า เวิ้ ง ว้ า งสุ ด ลู ก หู ลู ก ตา สภาพน้ ำ ไม่ ใ ส เหมือนในทะเลนอก และระดับน้ำก็ไม่ลึกมาก พวกเราประทับใจกับฝูงปลาซา (ลักษณะคล้ายปลากระบอก) จำนวนมากที่กระโดดล้อคลื่นอยู่สองฝากลำเรือไปตลอดทาง ครู บอกว่ า ปลาเหล่ า นี้ ไ ม่ ไ ด้ ว่ า ยน้ ำ ตามเรื อ ไป ที่ เ ห็ น มั น กระโดดอยู่

70

VA.indd 70

ตลอดเวลานั้นเป็นปลาคนละชุดกัน และในช่วงขากลับซึ่งเป็นเวลา พลบค่ำจำนวนปลาดูหนาตายิ่งกว่าขาไปเสียอีก สะท้อนให้เห็นถึง ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลแห่งนี้อย่างชัดเจน เมื่ อ ถึ ง แหลมตะลุ ม พุ ก พวกเราเดิ น ลุ ย น้ ำ กั น ไประยะหนึ่ ง ระหว่างนี้มีนักเรียนคนหนึ่งเหยียบปลาจ๋องม็องเข้า (ภาคกลางเรียก ปลาตุ๊กกา ลักษณะเหมือนปลากระเบนแต่เล็กกว่า ที่หางมีเงี่ยง) เดือดร้อนถึงครูที่ต้องหาหยูกยาใส่ถอนพิษกันยกใหญ่ วันนี้ภาพแห่งความสลดหดหู่ยังไม่จางหายไปจากแหลมตะลุม พุก หากครูไม่อธิบาย พวกเราหลายคนคงไม่รู้ว่า เสาที่ปักอยู่โด่เด่ ยาวสุดลูกหูลูกตาตลอดแนวชายหาดนั้นคือซากบ้านเรือนของพี่น้อง ชาวแหลมตะลุมพุกที่เหลืออยู่ หลังจากถูกพายุร้ายกวาดลงทะเลไป หมดสิ้นเมื่อคืนวันที่ 25 ตุลาคม 2505 มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:08:20 AM


เสาคอนกรีตถูกวางเป็นแนวยาวริมทะเล ตั้งแต่ อ.ปากพนังถึง อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราชเพื่อป้องกันคลื่นกัดเซาะจนทำลายถนนเลียบชายฝั่ง (ดูรูป บนขวา หน้า 72) Concrete poles have been placed in a long straight line along the shore in Pak Phanang district of Nakhon Si Thammarat to prevent erosion by waves that could destroy sea front roads (see another picture on the top right of page 72).

Sea Gone

Mad? Story / photos Santi Issaraphan มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 71

January - April 2009

C

ounting out the tsunami attack at the end of 2004, the havoc wrought by the storm Harriet that hit the southern province of Nakhon Si Thammarat in 1962 must be counted as one of the worst natural catastrophes that had ever befallen Thailand. I can still vividly recall that, on the night of October 25 of 1962, the wind blew so violently that the roof on our house was torn off and the house (on stilts) itself was dislocated from its foundation posts and hit the ground with a big bang. My father took me and my mother, who was very pregnant at the time, to take shelter in the warehouse of an old rice mill. He then decided to take all of us by boat to where he believed to be the safest place in the village. On our way we were obstructed from time to time by uprooted trees made visible by lightning. My father then took the boat off the main course as the heavy rainfall had totally inundated the rice fields. When we reached our destination, my father carried me in his arms and helped support my mother while we walked through piles of watery cow dung to the shelter, passing a bonfire in a stable that was lit to give warmth to more than 20 people already there. Our neighbors heaved a collective sigh of relief when they saw my mother whom they knew was pregnant because they feared she would give birth during this time of crisis. Lying on my back, I listened with eager ear to my elder relatives talking about the scary event. Some said the sea had gone mad. Some said the heavens had punished us. Eventually, I fell asleep. When I woke at dawn, my father was busily bailing water out of our boat to prepare for our journey back home. As I saw people comfort one another, the scene of the “mad sea” was imprinted in my memory and the word had given me the most terrifying moment of my life. Over a year after the incident, a teacher at my school led a group of us on a field trip by boat to Cape Talumphuk in Pak Phanang district which suffered the most severe battering by the storm. I got so excited as our boat approached the mouth of Pak Phanang river into what was called “the inner sea”. The body of water was so large but the water here was not as clear and deep as that of “the outer sea”.

71

3/3/09 11:08:21 AM


(จากบนลงล่าง) สภาพแหลมตะลุมพุกหลังจากถูกพายุโซนร้อนแฮเรียตถล่ม

(From top to bottom) Cape Talumphuk after being devastated by Storm Harriet in 1962.

จุดที่พวกผมเข้าไปสัมผัสนั้น มีบ้านเรือนชาวประมงอยู่ ไม่กี่ หลังคาเรือนและยังมีสภาพใหม่ๆ อยู่ ส่วนน้ำในทะเลนั้นใสสะอาด แต่ครูห้ามลงเล่นเด็ดขาด พวกผมจึงได้แต่เพียงเดินย่ำไปบนหาด ทรายอันขาวโพลนที่ไม่มีขยะใดๆ จนกระทั่งเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ผมมีโอกาสพาครอบครัวไปเยือน แหลมตะลุ ม พุ ก 2 ครั้ ง โดยทางรถยนต์ แน่ น อนว่ า สภาพทาง กายภาพทุกด้านและทุกมิติได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ผมต้อง ใช้จินตนาการอย่างยิ่งยวดที่จะหาร่องรอย กลิ่นไอของแหลมตะลุม พุกที่ผมเคยมาสัมผัสในวัยเด็ก เพื่อจะอธิบายให้ลูกและภรรยาฟัง ซึ่งเป็นเรื่องยากที่เขาจะเข้าใจและรู้สึกได้ ผมหวนคิดถึงอะไรไปเรื่อยเปื่อย บัดนี้เราเข้าใจอะไรผิดไปหรือ เปล่าที่กล่าวหาธรรมชาติอย่างไม่เป็นธรรม เช่น ฝนไม่ตกก็ว่า น้ำ ท่วมก็ด่า อากาศร้อนก็บ่น หนักเข้าก็กล่าวหาว่าทะเลบ้า ในขณะที่ เราเอาเปรียบธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา หากเราเหลียวมองไปยังแม่น้ำลำคลอง ทะเล และหาดทราย ทุกแห่งในเวลานี้อย่างใคร่ครวญและเป็นธรรมแล้ว ถามว่าความ เสื่อมโทรมของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เป็นฝีมือใคร และ ใครกันเล่าที่บ้าทำลายกันอย่างไม่หยุดหย่อน

72

VA.indd 72

We were fascinated by a school of fish called “Sa” (similar in appearance to the mullets (Mugilidae)) jumping by the sides of our boat throughout our journey. Our teacher told us that the fish actually did not follow our boat. Those we saw jumping at any particular time were different kind of fish from the ones we saw previously. On our return at dusk, there appeared to be even more fish, which told us how rich the sea was. Upon arrival at the Cape Talumphuk, we waded in the water. One of us stepped on a jongmong fish (called tukka in the Central Plains; it looks like a stingray but smaller). This got our teachers running to look for salve for his wound. On that day the gloomy scene still dominated the cape. Had our teacher not told us, we would not have known that the endless rows of posts along the shore were all that remained of the houses that were swept out to sea by the storm. The place we visited had only a few fishermen’s houses that were newly built. The sea water was clear and clean, but our teachers forbade us from jumping in. So, all we did was just strolling on the white and still clean beach. Three years ago, I took my family to Cape Talumphuk twice by car. The physical landscape has certainly changed in all dimensions. I had to heavily rely on my imagination to find the trace of the former Cape Talumphuk that I used to experience so that I could describe it to my wife and children. It was hard for them to feel the impact of what had happened to the place. I let my thought drift. Have we mistaken that Nature has treated us unfairly? When it rains, we complain; when it’s hot, we scold; and when it gets extreme, we accuse the sea of going mad, when in fact we have exploited and abused Nature all the time. If we would look at the rivers, the canals, the seas and the beaches everywhere with careful consideration and fairness, we should ask ourselves a question: Who has caused deterioration to natural resources and who has destroyed Nature like mad? มกราคม มกราคม -- เมษายน เมษายน 2552 2552

January January -- April April 2009 2009

3/3/09 11:08:22 AM


กิจกรรมกรม

department activities

ทำความสะอาดเมืองพัทยา ผกาภรณ์ ยอดปลอบ

Cleanup Pattaya

Pakaporn Yodplob

อาสาสมัครเดินเก็บขยะบนชายหาดในเมืองพัทยา มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 73

January - April 2009

Volunteers scour the beaches in Pattaya for garbage.

73

3/3/09 11:08:25 AM


มื่ อ วั น ที่ 18-20 กั น ยายนที่ ผ่ า นมา กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมกับเมืองพัทยา และสำนักเลขานุการขององค์กรความร่วมมือทางทะเล ภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Coordinating Body for the Seas of East Asia: COBSEA) จัดกิจกรรมรณรงค์ ทำความสะอาดทะเลขึ้นภายใต้ชื่อ “โครงการทำความสะอาดเมือง พั ท ยา” หรื อ “Cleanup Pattaya” เพื่ อ รณรงค์ ใ ห้ ป ระชาชน ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขยะทะเลทั้งในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค รวมถึงสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่าง ชุมชนและรัฐบาลท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาขยะทะเลดังกล่าว โครงการนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรเอกชน (NGOs) รวมทั้งสิ้น 18 องค์กร ประกอบด้ ว ยหน่ ว ยงานร่ ว มจั ด คื อ เมื อ งพั ท ยา, กรมส่ ง เสริ ม คุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมมลพิษ, กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง, โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP), กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา, International Coastal Cleanup และ the 10 th Underwater Cleanup และหน่ ว ยงานสนั บ สนุ น ได้ แ ก่ โครงการจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการชลบุรี, องค์การบริหารส่วน จังหวัดชลบุรี, บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท บางกอก กล๊าส จำกัด, Marine Drive, Clean up the World, Green Fins, International Year of the Reef, Lexus และ ARMORMAX ใน 3 กิจกรรมหลักดังนี้ กิ จ กรรมการรณรงค์ ท ำความสะอาดทะเลภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออก COBSEA (Cleanup East Asia Seas 2008) มีการรณรงค์ เก็บขยะบริเวณชายหาดโดยชุมชนและรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศ สมาชิกทุกปี โดยปีนี้ทำที่ชายหาดเมืองพัทยาบริเวณชายหาดพัทยา หาดจอมเทียน หาดวงศ์อมาตย์ ข้อมูลปริมาณและประเภทขยะ ทะเลที่เก็บรวบรวมได้จะรายงานผ่านทางเว็บไซต์ของ COBSEA การประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ “ขยะทะเล ความมักง่าย ตัวการ ทำลายชี วิ ต และธรรมชาติ ใ นทะเลและชายฝั่ ง ” การประกวด ชายหาดสะอาดจากการคัดเลือกชายหาดที่ประชาชนมีส่วนร่วมใน การดู แ ลรั ก ษาชายหาดให้ ส วยงาม สะอาด และปลอดภั ย จาก ประเทศสมาชิกประเทศละ 1 แห่ง และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ขยะทะเลครั้งที่ 2 COBSEA ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2525 ภายใต้ความร่วมมือด้านสิ่ง แวดล้อมทางทะเลระดับภูมิภาค (Regional Seas Programme) ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปินส์ สิงค์โปร์ และไทย มี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมทาง ทะเลในภูมิภาคเอเซียตะวันออก ต่อมาในปี 2537 COBSEA ได้

74

VA.indd 74

ขยายประเทศสมาชิ ก เพิ่ ม เป็ น 10 ประเทศ คื อ ออสเตรเลี ย กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลี ฟิลิปินส์ สิงค์โปร์ ไทย และเวียดนาม พร้อมให้มีสำนักเลขานุการของ COBSEA ตั้งอยู่ที่ กรุงเทพฯ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ UNEP มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:08:28 AM


D

uring September 18-20 last year the Ministry of Natural Resources and Environment in cooperation with the city of Pattaya and the Coordinating Body for the Seas of East Asia (COBSEA) launched the “Cleanup Pattaya” campaign. It was intended to raise the people’s awareness of the problem concerning garbage in the sea both at domestic and regional levels. It was also designed to promote cooperation between communities and local governments to solve the problem. The campaign was a cooperative effort of 18 organizations from the public, private and nongovernmental sectors, including the city of Pattaya, Department of Environmental Quality Promotion, Department of Pollution Control, Department of Marine and Coastal Resources, United Nations Environment Program (UNEP), Coca-Cola Business Group, International Coastal Cleanup and 10th Underwater Cleanup. Additional support came from the Chon Buri Integrated Coastal Development Project, Chon Buri Provincial Administration Organization, Thai Airways International Plc., Bangkok Glass Co., Ltd., Marine Dive, Cleanup the World, Green Fins, International Year of the Reef, Lexus, and ARMORMAX. Focuses were on three main activities:

ขยะที่ถูกพัดเข้าฝั่งเหมือนดังในภาพนี้ที่บางปู สมุทรปราการ เป็นภาพที่เห็นเจนตาตาม ชายฝั่งทั่วประเทศ แต่จำนวนมากจมลงใต้ทะเลกลายเป็นมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ น้ำและสิ่งแวดล้อม Garbage washed ashore like this photo at Bang Poo in Samut Prakan is a common sight along the country’s coastlines. Much of it, however, sinks to the bottom of the sea to become hazards to marine life and environment.

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 75

January January -- April April 2009 2009

Cleanup East Asia Seas 2008 COBSEA has campaigned every year in its member countries for communities and local governments to clean up their beaches. Last year’s campaign was carried out at Pattaya, Jomtien and Wong Amat beaches. Information on the quantity and types of garbage collected was reported on COBSEA’s website. Other activities included a photo contest entitled: “Sea Garbage: Carelessness That Destroys Life and Nature of the Seas and Coastal Areas.” Every member country submitted one beach which was kept clean, beautiful and safe by the local people to a clean beach contest. The Second Workshop on Sea Garbage was also held. COBSEA was established in 1982 under the Regional Seas Program of the United Nations Environment Program with five founding members – Indonesia, Malaysia, the Philippines, Singapore, and Thailand. Its prime objective was to promote cooperation in the management of the marine

75

3/3/09 11:08:31 AM


มณทิพย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน (กลาง) ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่างที่ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ถ่ายรูปร่วมกับอาสาสมัครเก็บขยะชายหาดและใต้ทะเลพัทยา Monthip Srirattana Tabukanon (center), an inspector-general of the Ministry of Natural Resources and Environment while in the position of director-general of the Department of Environmental Quality Promotion, poses for a photo with the volunteers for Cleanup Pattaya.

COBSEA ริ เ ริ่ ม กิ จ กรรมเกี่ ย วกั บ ขยะทะเลมาตั้ ง แต่ ปี 2549 โดยการศึ ก ษา สถานภาพของขยะทะเลในภูมิภาค และนำผลจากการศึกษามาจัดทำแผนปฏิบัติการขยะ ทะเลของภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งแผนปฏิบัติการดังกล่าวได้ผ่านการอนุมัติจากที่ ประชุม COBSEA ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 22-23 มกราคม 2551 ที่ประเทศกัมพูชาแล้ว โดยแผนปฏิบัติการฉบับนี้ ได้ ให้ความสำคัญในเรื่อง การรณรงค์ ให้เกิดความตระหนักถึง ปัญหาขยะทะเลทั้งในส่วนของภาคประชาชนและรัฐบาล กิจกรรมโคคา-โคล่า อนุรักษ์ชายฝั่งสากล 2551 อาสาสมัครโคคา-โคลา จาก 34 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วย 10 ประเทศจาก ภูมิภาคเอเชีย, 5 ประเทศจากแอฟริกาและยูเรเซีย, 3 ประเทศจากภูมิภาคยุโรป, 14 ประเทศจากภูมิภาคอเมริกาใต้ และอีก 2 ประเทศจากภูมิภาคอเมริกาเหนือ รวมกว่า 2,000 คน เข้าร่วมกิจกรรมทำความสะอาดชายหาดและใต้ทะเลทั้งบริเวณชายหาด พัทยา หาดจอมเทียน และหาดวงศ์อมาตย์ จังหวัดชลบุรี และบริเวณหาดอ่าวนาง จังหวัดกระบี่ ในโครงการรณรงค์ซึ่งมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Coca-Cola International Coastal Cleanup 2008 กิจกรรมดำน้ำเก็บขยะ ครั้งที่ 10 นักดำน้ำอาสาสมัครจากมารีนไดฟ์ จำนวนกว่า 200 คน ร่วมดำน้ำเก็บขยะบริเวณ เกาะล้าน ชายหาดตาแหวน ซึ่งปีนี้ นับเป็นปีที่ 10 (The 10th Underwater Cleanup) ที่เหล่าอาสาสมัครได้จัดกิจกรรมดำน้ำเก็บขยะมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยขยะ ที่เก็บรวบรวมได้จะถูกนำมาคัดแยกตามชนิดและกิจกรรมที่ก่อให้เกิดขยะ เพื่อนำมาเป็น ข้อมูลประกอบสำหรับจัดทำแนวทางในการจัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาขยะทะเลต่อไป

76

VA.indd 76

สถานการณ์ปัญหา ขยะทะเล ปัจจุบันปัญหาขยะทะเลไม่เพียงแต่ส่งผล กระทบต่อทัศนียภาพอันสวยงามของท้อง ทะเลและชายหาดต่างๆ ทั่วโลก แต่กำลังส่ง ผลกระทบที่รุนแรงต่อชีวิตของสัตว์ทะเล ต่างๆมากมาย แม้ว่าปัจจุบันยังขาดข้อมูล ทางวิชาการที่จะชี้ ให้เห็นถึงสภาพความ รุนแรงของปัญหาจากขยะทะเล แต่ ได้มีการ ประมาณการว่าทั่วโลกขณะนี้มีขยะที่ถูกทิ้งลง ในทะเลถึงปีละ 6.4 ล้านตัน ขยะเหล่านี้ก่อให้ เกิดอันตรายกับนกทะเลและสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมในทะเลถึงปีละ 1 แสนตัว จากการที่ต้อง ป่วยหรือบาดเจ็บด้วยการกินและการถูกรัด พันด้วยขยะโดยเฉพาะขยะพลาสติก จากข้อมูลของการทำความสะอาด ชายฝั่งนานาชาติ (International Coastal Cleanup) ระบุว่า ร้อยละ 50 ของขยะที่อยู่ ในทะเล มาจากกิจกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่ง ซึ่งเป็นขยะที่มาจากมือคนที่สามารถป้องกันได้ และจากความจริงที่ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นภูมิภาคที่มีประชากรอยู่หนาแน่นมากที่สุด ของโลก และร้อยละ 60 ของประชากรเหล่านี้ อาศัยอยู่ ในบริเวณชายฝั่งทะเล มีการเดินเรือ ทางทะเลและการประมงมากที่สุดแห่งหนึ่งของ โลก จึงชี้ ให้เห็นว่าปัญหาขยะทะเลในภูมิภาคนี้ จะทวีความรุนแรงมากขึ้น มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/4/09 6:54:05 PM


นักดำน้ำอาสาสมัครนำขยะที่เก็บได้ขึ้นจากเรือ ขยะเหล่านี้จะถูกนำไปคัดแยกหาแหล่งที่มา

Volunteer divers bring bags of garbage up from the boat after collecting them from undersea. The garbage will be sorted out to identify its sources.

environment in East Asia. Later in 1994, COBSEA’s membership expanded to ten. They were Australia, Cambodia, China, Indonesia, Malaysia, South Korea, the Philippines, Singapore, Thailand and Vietnam. COBSEA’s secretariat is located in Bangkok under the supervision of UNEP. COBSEA initiated activities on sea garbage since 2006 by studying the state of sea garbage in the region. The study results were used to lay down a sea garbage operational plan for East Asia. The operational plan was approved by the 19th COBSEA meeting during January 22-23, 2008, in Cambodia. The plan placed special emphasis on campaigning for the people and governments in the region to be aware of the sea garbage problem. Coca-Cola International Coastal Cleanup 2008 Under this project, more than 2,000 Coca-Cola volunteers from 34 countries – 10 from Asia, five from Africa and Eurasia, three from Europe, 14 from South America, and two from North America – took part in the cleanup of beaches and undersea areas at Pattaya, Jomtien and Wong Ammat beaches in Chon Buri and Ao Nang beach in Krabi. The 10th Underwater Cleanup More than 200 volunteer divers from Marine Dive took part in collecting undersea garbage around Koh Lan and Ta Waen Beach. It was the tenth year of underwater cleanup by volunteer divers. Garbage picked up from under the sea was sorted by type to identify their sources and appropriate preventive measures. มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 77

January January -- April April 2009 2009

The sea garbage situation At present the sea garbage problem not only affects the beauty of the seas and beaches all over the world but also has severe impacts on marine life. Although technical information on the severity of the sea garbage problem is still insufficient, it is estimated that about 6.4 million tons of garbage is dumped into the seas every year. Waste materials are hazardous to sea birds and as many as 100,000 sea mammals per year. These animals are sick or wounded after being entangled with garbage, particularly materials made of plastic. According to information from the International Coastal Cleanup, about half of the garbage in the seas is generated by tourismrelated activities on the shores. Dumping of garbage by humans can be prevented. Considering the fact that East Asia is the region with the highest density of population in the world and more than 60 percent of the people live along coastal areas where navigation and fishing activities are among the highest in the world, it is believed the seriousness of the sea garbage problem in the region will intensify.

77

3/3/09 11:08:34 AM


ล้อมกรอบ

VIEWFINDER

แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา Maenwad Kunjara na Ayuttaya

มกราคม - เมษายน 2552

VA.indd 78

January - April 2009

78

3/3/09 11:08:36 AM


คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล สำนวนนี้มีรากเหง้ามาจากวิถีชีวิตของชาวประมงที่ต้องออกเรือหาปลาอยู่กลางห้วงลึกของท้องทะเล มีเพียงเรือลำ น้อยคอยเผชิญหน้ากับมรสุมลมฟ้าอากาศ ท่ามกลางทะเลที่ไม่เคยหลับและความเวิ้งว้างไพศาลนั้นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้ เสมอ ชาวเรือจึงมีสำนวน “คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล” ไว้คอยเตือนสติลูกหลาน หากต้องใช้ชีวิตอยู่กับทะเลจงอย่าได้ ประมาท เพราะอาจเกิดอันตรายขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ทว่าธรรมชาติของทะเลก็มิได้โหดร้ายเสียทีเดียว ก่อนจะเกิดเภทภัยยังมีภาษาหรือสัญญาณอันลึกซึ้งของธรรมชาติ คอยบ่งบอก เช่น “อุกาฟ้าเหลือง” ในตอนเช้าอย่านำเรือออกทะเล เพราะจะมีพายุ “น้ำทะเลเหือด”กำลังจะเกิดสึนามิ แต่ทะเลในยุคโลกาภิวัตน์นั้นยากจะคาดเดา ภัยจากน้ำมือมนุษย์นั้นสุดหยั่งถึง เพราะไม่รู้เลยว่าความเห็นแก่ตัว ความโลภ หรือการช่วงชิงผลประโยชน์ จะส่งผลร้ายต่อทะเลอย่างไร … ว่าแต่กำลังกล่าวถึงสำนวนที่ชี้ให้เห็นถึงอันตรายในทะเล ไฉนตอนท้ายกลับชวนออกทะเลไปเสียได้! “ออกทะเล” ในที่นี้ก็เป็นสำนวนโบราณเช่นกัน แต่กลับมาเป็นที่นิยมแพร่หลายในยุคสมัย หมายถึงการพูดที่ชักจูงให้ผู้ ร่วมสนทนาออกนอกเรื่อง นอกประเด็น หรือทำให้เรื่องที่สนทนากันอยู่หลุดออกไปจากความตั้งใจเริ่มต้น และถูกใช้อย่าง แพร่หลายเพื่อสร้างความขำขันให้กระทู้ต่างๆ ในโลกอินเตอร์เน็ต แต่ถ้าเป็นการ “ออกทะเล” ของชาวประมง หมายถึงวิถีทั้งชีวิตที่ต้องออกเรือไปจับหาสัตว์น้ำมาเลี้ยงชีพมิใช่สำนวน วิกฤตความเสื่อมโทรมทั้งที่เกิดจากการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำและทรัพยากรจนเกินควร การช่วงชิงทะเลเพื่อการท่องเที่ยว หรือ เมกกะโครงการต่างๆ ในระดับนโยบาย ขณะที่ผลกระทบต่อท้องทะเลเป็นเพียงคลื่นกระทบฝั่งแล้วค่อยๆ เงียบหายไป “ออกทะเล” สำหรับชาวประมงเลยไม่ฮา เพราะต่อไปกุ้งหอยปูปลากว่าจะหามาได้อาจจะเหมือน “งมเข็มในทะเล”

Kueb Gau Talay, Sog Gau Talay The expression has its root in the lifestyle of fishermen who earn their living by fishing in the vast sea with only their small boats to confront the sometimes stormy weather. In the midst of the oceanic expanse, anything can happen. So arises the seafarers’ expression, “kueb gau talay, sog gau talay (the sea is all around)”, warning them against being careless while at sea. The sea is not quite entirely wicked, though. Mother Nature often provide clues of impending natural events. For example the saying “U-ka-fa-leung” depicts the intense yellowish and reddish sky which warns fishermen off the sea as the storm is coming. The phenomenon of sea water rapidly receding is a warning for approaching giant waves or tsunami. But the sea in the globalization age is unpredictable. Danger caused by human hands can hardly be imagined. It is difficult to anticipate what calamity selfishness and greed would bring to the sea. … Oh, we are talking about the expression about danger in the sea, but it seems we are being taken “out to sea”. “Ok talay (out to sea)” is another old expression, which is still popular today. The phrase means speaking about something else other than the one being discussed. It is often an attempt at humor in conversion or chatting in the cyber world. However, for fishermen, “ok talay” is not just an expression but it involves their struggle for a living in the midst of over-exploitation of marine resources and the supremacy of tourism or mega-development projects over other more mundane activities while their impacts on the sea often stay in the news for a short time like waves washing upon the shore. “Ok talay” is therefore not humorous for fishermen because now catching fish, shrimp and other marine life would be like “ngom khem nai talay” – trying to find a needle in the sea.

79

VA.indd 79

มกราคม - เมษายน 2552

January - April 2009

3/3/09 11:08:36 AM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.