Fearless Diary บันทึกเก้าเดือนเคลื่อนไหวบนแผ่นดินอเมริกา
เปสโลภิกขุ
EARLESSDIAR ESALOBHIKKH
แด่...น้ำปลาพริกบีบมะนาว
ช่วงนี้เดินทางบ่อย ก่อนออกจากวัดพระฝรั่งท่านแซวว่า Please come back and stay with us sometime. Entry: Golden Gate Again. Posted on 14 July 2010 08:19
คำนำ หากเราเอ่ ย คำว่ า ‘พุ ท ธศาสนา’ บนแผ่ น ดิ น อเมริ ก า ประชากรส่วนใหญ่มกั จะนึกถึง ‘วัชรยาน’ จากธิเบตหรือ ‘เซน’ จากญี่ปุ่น น้อยคนนักที่จะรู้จัก ‘เถรวาท’ จากไทยแลนด์ และถ้ า เราระบุ ล งไปว่ า วั ด สายเถรวาทที่ ยั ง คงรั ก ษา พระวินยั อย่างเคร่งครัด มีการปฏิบตั ทิ เี่ ข้มแข็งและเข้าถึงผูค้ น ในท้องถิ่นนี้ คู่สนทนาของเราคงถึงกับต้องส่ายหัวด้วย ไม่รู้ว่าจะไปหาที่ไหน หลังจากที่ข้าพเจ้ามาประจำการ ณ วัดป่าอภัยคีรี (Fearless Mountain Buddhists Monastery) มลรัฐ แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักสาขาในต่างประเทศ ของวัดหนองป่าพงเป็นเวลากว่าครึึ่งปี ข้าพเจ้าก็ถึงกับเชื่อ อย่างมีน้ำหนักจัดทรงง่ายว่า จำนวนอเมริกันชนที่ ‘Into’ กับวิถีความเป็นอยู่ของพระป่าสาย ‘Ajahn Chah’ จะต้อง เพิ่มจำนวนขึ้น ด้วยคุณภาพคับถ้วยกาแฟ เปสโลภิกขุ
คำ (วิเศษ) นิยม ในที่นี้เป็นการชี้เฉพาะเจาะจงลงไปว่า นิยมทั้งผู้เขียนและ ตัวหนังสือของผูเ้ ขียน สำหรับเราแล้วการติดตามผลงานของ ท่านเปสโลภิกขุ ไม่ได้เพียงไปด้อมๆมองๆใน Blog เท่านัน้ หาก แต่ได้ล้วงลึกหนังสือของท่านมาแล้วทุกเล่ม เล่มหนึ่งๆ ก็หลายรอบ ด้วยความสามารถในการเล่าถึงสิ่งรอบตัวที่เรา เห็นว่าแสนจะธรรมดา แต่ทา่ นกลับปลุกให้มชี วี ติ ชีวาขึน้ มาได้ สไตล์การเขียนที่พูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ‘แนว’ แถมยังสอด แทรกธรรมะชนิดที่ไม่ให้เราได้ทันตั้งตัว ทำให้โดนใจผู้อ่าน วัยกระเตาะได้อย่างไม่น่าเชื่อ! บ่อยครั้งที่เราแอบชื่นชมระคนสงสัยว่า ท่านเป็นเพียง พระป่า เหตุไฉนจึงมีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวได้ มากมายขนาดนี้ ความละเอียดอ่อนช่างสังเกตสังกาและ อารมณ์ขนั ของท่านก็เป็นอีก 2-3 หมัด ทีอ่ ดั ตัวอักษรใน Blog กระแทกใจผู้อ่าน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็นตัวเองอมยิ้ม หรือหัวเราะร่วนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ วินาทีนี้เรารื่นเริงบันเทิงใจอย่างยิ่งยวด ที่ได้เป็นหนึ่ง ในทีมทำคลอดหนังสือเล่มล่าสุดของท่านเปสโลภิกขุ ดาริน ตั้งทรงจิตรากุล
FEARLESS
บั น ทึ ก เก้ า เดื อ นเคลื่ อ นไหวบนแผ่ น ดิ น อเมริ ก า
DIARY
ม
ก
ร
า
ค
ม
Narita Airport หลังจากล่องลอยอยู่กลางอากาศเป็นเวลา 5 ชั่วโมง ก็ได้เวลาพักเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินนาริตะ ประเทศ ญี่ปุ่น ท่านพระอาจารย์ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ ข้าฯเข้าไปนั่งรอในห้องรับรองผู้โดยสารชั้นธุรกิจด้วย (ท่านพระอาจารย์ตีตั๋ว Business Class ส่วนของข้าฯ เป็น Economy Class) แต่เจ้าหน้าที่ประจำห้องรับรอง บอกว่า ผู้โดยสาร Business Class ไม่สามารถเชิญแขก ผูม้ เี กียรติเข้าไปด้วยได้ ขณะทีเ่ รากำลังยิม้ สัง่ ลา บังเอิญ มีฝรั่งคนหนึ่งกำลังจะเดินเข้าไปในห้องรับรองได้ยิน เข้าพอดี เขาจึงแสดงบัตร Premium แล้วนิมนต์ข้าฯ เข้าไปด้วย เพราะผู้โดยสารระดับ Premium สามารถ รับรองแขกผู้มีเกียรติได้ เป็นเหตุให้ข้าฯสามารถเดิิน ลอยชายเข้ามานั่งจิบคาปูชิโน ละเลียดน้ำมะเขือเทศ อ่านหนังสือ ท่องอินเตอร์เน็ต เดินยืดเส้นยืดสายและ อื่นๆเป็นเวลากว่าสามชั่วโมง Love @ First San Francisco San Francisco เป็นเมืืองน่ารักและน่าตกหลุมรัก ตั้งแต่แรกเห็น บ้านเรือนร้านรวงกิ๊บเก๋เทรนดี้ไปแทบทุก กระเบียดนิ้ว เช้านี้ร้าน Stracs ได้รับเกียรติให้เสิร์ฟ อาหารมือ้ แรกบนแผ่นดินอเมริกาแก่ขา้ ฯ และจานนัน้ ก็คอื Applewood Bacon / Avocado อันอุดมไปด้วย Bacon, 7
Diary
avocado, jack cheese, sour cream and chives. Served with salsa on the side (10.99 $) มือ้ นีท้ า่ นพระอาจารย์ เมตตาช่วยแนะนำ เพราะข้าฯดูจากเมนูแล้วละลานตา ไปหมด ไม่รู้อะไรเป็นอะไร พอฉันอิ่มแล้วจึงนึกขึ้นได้ว่า น่าจะถ่ายรูปเก็บไว้ ก่อนเดินทางไปทีว่ ดั ป่าอภัยคีรเี ราแวะดูรองเท้าทีร่ า้ น ขายอุปกรณ์ Out Door ซึ่งตั้งชื่อได้น่าผจญภัยว่า Any Mountain วัดป่าอภัยคีรีมีภูมิประเทศเป็นภูเขาจึงต้อง ใช้รองเท้าที่เบาและทนทาน เพื่อการนี้โดยเฉพาะ Teva เป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากชาวเรา แต่เนื่องจากยังไม่ถึงฤดูท่องเที่ยว Any Mountain และร้านละแวกใกล้เคียงเช่น REI จึงยังไม่ได้นำออกมา จำหน่าย ตรงข้าม Any Mountain มีรา้ นหนังสือแห่งหนึง่ ชือ่ Book Passage ท่านพระอาจารย์และญาติโยมที่มา ด้วยกันจึงแวะเข้าไปดู ขณะกำลังพลิกหน้าหนังสือกันอยู่ ผูห้ ญิงฝรัง่ คนหนึง่ ก็เข้ามาทักทายอย่างอารมณ์ดวี า่ What are you reading? I’m looking for the meaning of life. ท่านพระอาจารย์ตอบว่า I’m looking for something fun. แล้วเราก็หัวเราะประสานเสียงกัน เราเคลื่อนรถออกจาก San Francisco มาทาง ทิศเหนือประมาณ 3 ชั่วโมงก็ถึงเมือง Redwood Valley มองอะไรไม่ค่อยถนัดเพราะมืดและฝนตกหนัก แต่รู้สึกได้ว่าถนนบางช่วงลัดเลี้ยวไปตามภูเขา อารมณ์ 8
Fearless
ประมาณนั่งรถจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปอำเภอฝาง เมื่อ มาถึงวัด พระภิกษุสามเณรให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น จนแทบไม่รู้สึกถึงความเหน็บหนาวของอากาศคืนนี้ พระภิกษุสามเณรทีว่ ดั ป่าอภัยคีรมี คี วามจำเป็นต้องใช้ บริขารต่างๆมากกว่าวัดที่เมืองไทย โดยเฉพาะเครื่อง กันหนาวซึ่งเป็นสิ่งแรกที่ข้าฯมองหา นอกจากนี้ยังมี รองเท้าบูท้ ยาง รองเท้าหนังหุม้ ส้น เสือ้ กันฝน ร่ม ถุงนอน หมวก ลองจอห์น (ชุดชั้นในกันหนาว) ไฟฉายแบบมี สายคาดหัวฯ และสองสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องเรียนรู้เป็น อันดับต้นๆเมื่อมาอยู่ที่นี่ก็คือฮีตเตอร์กับส้วมหลุม!! ป.ล.ก่อนเดินทางข้าฯได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาการ อย่างหนึ่งที่เรียกว่า Jet Lag เป็นอาการอ่อนเพลียและ งุนงงเพราะร่างกายปรับตัวไม่ทัน เนื่องจากการนั่ง เครื่องบินข้ามเข้ามาในเขตที่มีเวลาแตกต่างกัน แต่ตัว ข้าฯเองไม่เกิดอาการนี้เลยแม้แต่น้อย อาจจะเป็นเพราะ เรานัง่ เครือ่ งบินออกจากสนามบินสุวรรณภูมเิ วลา 06:30 น. ใช้เวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมงก็มาถึงสนามบินนาริตะที่ ญีป่ นุ่ พักเปลีย่ นอิรยิ าบถประมาณ 3 ชัว่ โมงจึงนัง่ เครือ่ งบิน ต่อไปที่ San Francisco ขณะที่เดินทางออกจากญี่ปุ่น เป็นเวลา 17:30 น. (นาฬิกาญีป่ นุ่ ) ร่อนลง San Francisco Airport เวลา 09:00 น. (นาฬิกาอเมริกัน) ข้าฯรู้สึก อ่อนเพลียเพียงเล็กน้อยเหมือนนั่งรถไปต่างจังหวัด 9
Diary
เท่านั้นเอง หรืออาจจะเป็นเพราะระหว่างการเดินทาง ข้าฯฉันน้ำค่อนข้างมาก ทั้งน้ำเปล่าและน้ำผลไม้ Picture Perfect Morning เช้าวันแรกข้าฯตื่นตั้งแต่ตีสาม ทั้งที่ตั้งใจว่าจะหลับ ยาวไปจนถึงเจ็ดแปดโมง แต่พอตื่นแล้วก็นอนไม่หลับ รู้สึกว่าพักผ่อนเพียงพอแล้ว แปดโมงเช้าข้าฯก้าวออก จากกุฏิแล้วเดินตามถนนมาเรื่อยๆ เมื่อคืนพระที่เดินมา ส่งทีก่ ฏุ แิ ซวว่าท่านเปสโลมาพร้อมกับ wet, cold & dark แต่เช้านี้ี Sunshine on my shoulder makes me happy. พระเจ้าถิน่ บอกว่าฝนตกติดต่อกันมาเกือบสองเดือนแล้ว วันนี้เป็นวันที่อากาศดีที่สุด หลังภัตตาหาร พระที่เคยอยู่จำพรรษาด้วยกันที่ เมืองไทย พาเดินชมอาคารสถานที่ต่างๆ ภายในบริเวณ วัด ข้าวของทุกอย่างถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และสะอาดสะอ้าน ข้าฯเรียกหาครีมทาผิวเพราะรูส้ กึ แสบๆ บริเวณใบหน้าขึ้นมาบ้างแล้ว Health Insurance วันนีข้ า้ ฯต้องไปหาหมอเพือ่ ตรวจร่างกายสำหรับการ ทำประกันสุขภาพ เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทำเมื่อมา พำนักอยูใ่ นอเมริกา เราขับรถออกจากวัดประมาณ 20 นาที ก็ถึงบ้านคุณหมอ ตัวบ้านและสวนน่ารักมาก คุณหมอ 10
Fearless
อาศัยอยู่กับภรรยาและแมวอ้วนอีกหนึ่งตัว คุณหมอซัก ถามประวัติด้านสุขภาพทั้งส่วนตัวและคนในครอบครัว โดยมีพระอาจารย์ฝรัง่ ทีไ่ ปด้วยกันช่วยแปลจากภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษเป็นช่วงๆ เพราะต้องการข้อมูลทีถ่ กู ต้อง ขัน้ ตอนสุดท้ายคือการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ทัง้ ตา จมูก ปาก หู คอ หน้าอก หลัง แขน ขา และไข่!! Toilet of The Mountain ญาติโยมที่แวะเวียนมาเยี่ยม Blog บางท่านไม่เชื่อ ว่าที่วัดเราใช้ส้วมหลุม ข้าฯจึงจำใจต้องบุกป่าฝ่าดงเข้า ไปบันทึกภาพมาให้ชมเป็นขวัญตา เหตุที่ไม่สามารถ สร้างห้องน้ำภายในกุฏิได้เพราะค่าสุขภัณฑ์และเครื่อง ประกอบอืน่ ๆสำหรับทีน่ แี่ พงหูฉี่ จนแทบจะนำค่าใช้จา่ ย เหล่านั้นมาสร้างกุฏิที่ไม่มีห้องน้ำได้อีกหนึ่งหลัง แต่ถ้า นับห้องน้ำที่มีเครื่องสุขภัณฑ์ครบครันตามจุดต่างๆ ก็เพียงพอทีจ่ ะรองรับทุกข์หนักเบาของพระภิกษุสามเณร และญาติโยมทั้งขาจรขาประจำ ทว่าความพิเศษเหลือ รับประทานของส้วมหลุมซึง่ ส้วมมุงหลังคาไม่อาจเทียบได้ ก็คือ เมื่อนั่งยองแหงนมองขึ้นไปบนท้องฟ้า เราจะได้ชม พระจันทร์วันเพ็ญสวยเต็มตา ภาษาอังกฤษคำละวัน : ญาติโยมคนหนึ่งแสดงความเห็น อย่างน่าเอ็นดูใน Entry นี้ว่า “กลางคืนคงหนาวแก้มก้นแย่” 11
Diary
คำศัพท์ที่น่าระทึกใจในที่นี้คือคำว่า “แก้มก้น” ภาษาอังกฤษ จะพูดว่า Butt Cheek
Call of Duty หน้าทีอ่ ย่างหนึง่ ทีต่ อ้ งผลัดเปลีย่ นกันสำหรับพระทีน่ ี่ ในช่วง Winter Retreat (มกราคม-มีนาคม) ก็คือการ ล้างภาชนะในห้องครัว ข้าฯถามเจ้าถิ่นว่าเพราะเหตุใด? ก็ได้รบั คำตอบว่า ถ้าไม่ทำอย่างนัน้ ญาติโยมชาวอเมริกนั จะหาว่าพระขีเ้ กียจ เห็นแก่ตวั เอาเปรียบญาติโยม เพราะ เขายังมีศรัทธาน้อย ไม่เหมือนญาติโยมที่เมืองไทย ด้วยเหตุนี้พระเถระที่บวชมา 18 พรรษายันพระนวกะ ที่พึ่งบวชได้ไม่กี่เดือน จึงต้องเข้าครัวหลังฉันอาหารเช้า ทุกวัน เพื่อช่วยพ่อออกแม่ออกเอาบุญ พรุ่งนี้จะเป็น คราวของข้าฯ รู้สึกระทึกใจอย่างบอกไม่ถูก เพิ่งทราบ จากพระฝรั่งว่า มีข้อวัตรน่ารักอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่ ทำหน้าที่ล้างภาชนะก็คือ ต้องอยู่ช่วยล้างจาน เช็ดจาน จัดเข้าชัน้ ให้เรียบร้อย จนกว่าจะได้รบั อนุญาตจากหัวหน้า แม่ครัวจึงจะออกจากห้องครัวได้ เพราะเคยมีกรณีที่ว่า พระมาช่วยแต่งานยังไม่เสร็จดีก็รีบจ้ำอ้าวออกไปก่อน ป.ล.เมื่อเสร็จกิจธุระในห้องครัวแล้ว พระจะล้างฟองน้ำ ให้สะอาดแล้วนำไปเข้าตู้ไมโครเวฟ 3 นาที เพื่อ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 12
Fearless
First American Almsround พระภิกษุสามเณรที่วัดป่าอภัยคีรีจะออกบิณฑบาต สัปดาห์ละหนึ่งครั้งในวันพระ โดยแบ่งออกเป็นสอง เส้นทางคือในเมือง Ukiah (จำนวน 3 รูป) และใน หมู่บ้านเล็กๆที่ชื่อ Redwood Valley (จำนวน 2 รูป) เช้าวันนี้ข้าฯนั่งรถเข้าไปบิณฑบาตที่เมือง Ukiah ใช้ เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที ส่วน Redwood Valley อยู่ใกล้กว่าจะใช้เวลาเพียงครึ่งหนึ่ง ในเมือง Ukiah จะมีชาวบ้านมารอใส่บาตรประมาณ 6-7 จุด ขณะที่ พระกำลังยืนอยู่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า มีชาย อเมริกันผิวดำคนหนึ่งเข้ามาจับมือทักทาย ท่าทาง เขาตื่นเต้นมาก เขาชี้ไปที่บาตรแล้วถามว่านี่อะไร? พระอาจารย์ก็อธิบายว่าเป็นภาชนะสำหรับใส่อาหาร เราเป็นพระในพุทธศาสนากำลังออกเดินรับอาหาร เขาบอกว่าตัวเขาไม่มีอาหาร จากนั้นก็เอามือล้วงเศษ สตางค์ออกมาจากกระเป๋ากางเกงแล้วยืน่ ให้ พระอาจารย์ บอกว่าเราไม่ได้รับเงิน เขามองดูพระตั้งแต่หัวจรดเท้า แล้วอุทานว่า Beautiful! เมือ่ โทรศัพท์มอื ถือของเขาดังขึน้ เขาจึงเซย์ Good bye ขณะทีเ่ ราเดินจากมา ได้ยนิ เขาเล่า ให้คนทีอ่ ยูป่ ลายสายฟังว่า เจอพระสามรูปแบบทีเ่ คยเห็น ในทีวี สงสัยจะเป็นพระเส้าหลิน
13
Diary
The Day after All Night Practice ทุกคืนวันพระจะมีการปฏิบัติที่เรียกกันว่าเนสัชชิก ซึง่ ก็คอื การเดินจงกรม นัง่ สมาธิ ฟังเทศน์ ตัง้ แต่หวั ค่ำยัน สว่าง วันอุโบสถนีม้ พี ระ 13 รูป สามเณร 3 รูป และปะขาว (นาคหรือผู้ชายเตรียมบวช) 3 ตน ทุกรูปทุกตนอยู่ เนสัชชิกกันหมด ตอนเย็นมีโยมมาฟังเทศน์เกือบ 20 คน เมื่อฟังเทศน์แล้วต่างก็แยกย้ายกัน เดินจงกรมหรือ อยู่นั่งสมาธิภายในศาลา ข้างนอกอากาศหนาวมาก ถ้าจะเดินจงกรมต้องเตรียมเครื่องกันหนาวให้พร้อม แม้ข้าฯจะใส่เสื้อกันหนาวถึงห้าตัวก็ยังต้องหลบเข้าไป เดินจงกรมในห้องเย็บผ้า เมือ่ ถึงเทีย่ งคืนทุกคนจะเข้าไป รวมกันในศาลา เพือ่ ฉันน้ำปานะและสนทนาธรรม น้ำปานะ ตอนเที่ยงคืนไม่ค่อยมีรสชาติ คงจะเป็นเพราะง่วงนอน ภาษาอังกฤษคำละวัน : พระและโยมฝรั่งเห็นข้าฯถือ กล้องเก็บภาพมุมนัน้ มุมนี้ ก็มกั จะเข้ามาขออาสาถ่ายรูปให้ บางท่านก็บอกว่าน่าจะถ่ายรูปตอนใส่เสื้อกันหนาว ส่งไปให้ โยมพ่อโยมแม่ดู ข้าฯมักจะปฏิเสธเสียเป็น ส่วนใหญ่จึงตอบไปว่า No ซึ่งฟังดูห้วนเกินไป ภายหลัง จึงถามพระฝรั่งว่าควรจะตอบยังไง ท่านบอกว่า No, thanks. That’s O.K.
14
Fearless
กุ ม ภ า พั น ธ
Trekking วันนี้เดินเที่ยวภูเขาห้าชั่วโมงรวด ไม่ได้นั่งพักเลย แต่ก็ไม่รู้สึกเหนื่อย คงจะเป็นเพราะอากาศ เย็นสบาย ฟากภูเขาด้านหลังวัดป่าอภัยคีรีมีวัดป่าแบบคริสต์ๆ กับวัดป่าแบบไทยๆ ข้าฯกับพระฝรั่งอีกรูปหนึ่งเดินไป เยีย่ มวัดไทยแต่ทงั้ วัดไม่มใี ครอยูเ่ ลย พบเพียงซากสิง่ ของ น้อยใหญ่เกลื่อนกลาดกระจัดกระจาย พระฝรั่งที่มา ด้วยกันเล่าให้ฟงั ว่า เจ้าของเดิมเป็นฝรัง่ ทีช่ อบเก็บสะสม ของเก่า มีของเยอะแต่ไม่รจู้ ะเอาไปไว้ทไี่ หนเลยเอามาทิง้ ไว้ที่นี่ นานๆจึงจะมาเชยชมสักที แต่ของเก่าบางชิ้นก็ดู สวยดีเช่นรถดับเพลิงโบราณ การสร้างวัดในอเมริกาต้องขออนุญาตจากรัฐบาล เพื่อให้เป็นสถานที่ที่เรียกว่า Non Profit Organization จึงจะสามารถเข้ามาอาศัยอยูไ่ ด้หลายคน เมือ่ อยูห่ ลายคน ก็สามารถสร้างอาคารได้หลายหลัง แต่ตามกฏหมาย Non Profit Organization ต้องได้รับการตรวจสอบจาก เจ้าหน้าทีข่ องรัฐอย่างละเอียด และมีขอ้ บังคับหลายอย่าง เช่น ตัวอาคารต้องอยูร่ อดปลอดภัยเมือ่ เกิดเหตุแผ่นดินไหว หรือต้องมีหอ้ งน้ำสำหรับคนพิการเป็นต้น ซึง่ แต่ละอย่าง ที่เพิ่มเข้ามาส่งผลให้งบประมาณในการก่อสร้างสูง ตามไปด้วย ส่วนวัดไทยทีเ่ ราเดินไปเยีย่ มไม่ได้ขออนุญาต จากทางรัฐบาล เพื่อให้เป็น Non Profit Organization ยังเป็นเพียงสถานที่ส่วนบุคคล กุฏิ ศาลา อาคารต่างๆ 16
Fearless
ปลูกสร้างขึ้นเองอย่างประหยัด แต่หากถูกเจ้าหน้าที่ ของรัฐตรวจสอบในภายหลังคงจะลำบาก สิ่งที่ต้องระวังในการเดินเที่ยวป่าแถบนี้ก็คือต้นไม้ มีพิษที่ชื่อว่า Poison Oak หากเผลอไปโดนเข้าต้องใช้ เวลานานกว่าสองสัปดาห์กว่าจะหายแสบคัน นอกจาก คันแล้วยังมีอาการบวมเสริมอีกด้วย เคยมีโยมคนหนึ่ง ปวดท้องกระทันหันแล้วผลุนผลันเข้าไปปลดทุกข์ในป่า ข้างทาง พอเสร็จธุระก็คว้าเอาใบ Poison Oak มาใช้ แทนกระดาษทิชชู่ คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณ ที่แม้แต่ กระดาษทิชชู่เหนียวนุ่มยังสะเทิ้นอาย ภาษาอังกฤษคำละวัน : go for a walk = เดินเล่น
Amazing Krooba Ajahn ถ้ า ไม่ คิ ด อะไรก็ ค งจะไม่ คิ ด อะไร แต่ ห ลั ง จาก แปรงฟันล้างหน้าข้าฯก็คิดขึ้นมาว่า ใครเป็นคนวางผัง ระบบต่างๆที่มีอยู่ภายในวัด เช่นก๊อกน้ำที่หมุนซ้ายเป็น น้ำร้อน หมุนขวาเป็นน้ำเย็น ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบคอมพิวเตอร์ กุฏิ ห้องสวดมนต์ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องสมุด ห้องซักล้าง ห้องเย็บผ้าฯ งบประมาณทีใ่ ช้ในการ ก่อสร้างหรือแม้แต่อาหารเครือ่ งดืม่ ทีเ่ ราได้อาศัยสะดวก สบายทุกวันนี้ ล้วนไหลมาเทมาจากบารมีครูบาอาจารย์ ทั้งนั้น Entry นี้ไม่มีอะไรมาก เพียงอยากรำลึกถึง 17
Diary
อุปการะของครูบาอาจารย์ในเดือนแห่งความรักเท่านัน้ เอง Spicy My Life วันเสาร์มญ ี าติโยมชาวไทยมาทำบุญเป็นจำนวนกว่า สิบคน สุดสัปดาห์นจี้ งึ มีอาหารไทยหลากหลายเป็นพิเศษ อาทิ ส้มตำ น้ำพริก กุ้งผัดเผ็ด ไม่น่าเชื่อว่าพริกขี้หนูสด ลอยฟ่องฟูอยู่ในน้ำปลาที่เราเคยเห็นว่าแสนจะธรรมดา เมื่อครั้งอยู่เมืองไทย มาบัดนี้กลับมีชีวิตชีวาน่าเคี้ยว เสียนี่กระไร ภาษาอังกฤษคำละวัน : คณะสงฆ์นำหนังสือ Food for the Heart ของ Ajahn Chah มาอ่านสู่กันฟัง ข้าฯสะดุดใจ ประโยคสุดท้ายเข้าพอดี…Try to solve your problems in the present moment.
Living on Shaky Ground เวลา 04 :15 น. ของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 เกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาประมาณ 1-2 วินาที ช่วงเวลานัน้ ข้าฯตืน่ นอนแล้วแต่กลับไม่รสู้ กึ อะไร ก่อนเดินทางมาทีน่ ี่ ญาติโยมทางเมืองไทยก็เตือนถึงเรือ่ งนีด้ ว้ ยความเป็นห่วง ข้าฯก็ได้แต่บอกเขาว่า ก็ไม่รู้ว่าจะไปห้ามพี่ปลาอานนท์ เขาได้ยังไง เขานึกอยากจะพลิกตัวเมื่อไหร่เขาก็พลิก ในชีวิตนี้อาตมาได้ทำครบทุกอย่างที่อยากทำมาแล้ว 18
Fearless
ก็เหลือแต่เพียงเรื่องของการปฏิบัติธรรม จะตายที่ไหน ก็คงไม่เป็นไร ขอให้ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา เป็นอันใช้ได้ The Good, The Bad & The Weather วันที่อากาศดีแบบนี้ได้ยินพระฝรั่งท่านพูดกันว่า Good weather for walking not for sleeping. ข้าฯ ทบทวนประโยคนี้ระหว่างเดินขึ้นภูเขากลับกุฏิ แต่จะ Good Weather หรือ Bad Weather อย่างไร ก็ต้อง ไปทางนี้อยู่ดี [ R U READY TO ] GO IT ALONE [ ? ] ไปมันคนเดียวโลด! นิตยสารพุทธศาสนาของอเมริกา ฉบับหนึ่งเปิดประเด็นไว้อย่างนั้น แล้วขยายความ ต่อไปภายในเล่มว่า ชาวพุทธไม่จำเป็นต้องมีวัดหรือ กลุ่มปฏิบัติธรรม แต่สามารถปฏิบัติลำพังตัวเองได้เลย เราก็มานัง่ นึกดูวา่ มันจริงหรือเปล่าหว่า? ซึง่ ก็ได้คำตอบว่า ก็คงจะจริงสำหรับผู้ที่รู้เรื่องแล้ว จากนั้นข้าฯพลันย้อน อดีตไปเมื่อครั้งที่ตัวเองยังเป็นพระใหม่ ทั้งๆที่ตัวข้าฯเอง มีศรัทธามหาศาล แต่พอแยกจากหมูค่ ณะไปปฏิบตั ทิ กี่ ฏุ ิ เดีย่ วๆโดดๆ ในขณะทีก่ ำลังสวดมนต์อยูไ่ ม่รวู้ า่ ฟุบหลับไป ตัง้ แต่เมือ่ ไหร่ นัง่ สมาธิยงิ่ วอดวายไปกันใหญ่ ทัง้ ฟุง้ ซ่าน รำคาญพลิกซ้ายป่ายขวาล้วงนั่นเกานี่ยุกๆยิกๆ ยังกะ 19
Diary
มีคนเอามดแดงเป็นสิบๆรังมาเคาะใส่หัว ฝืนใจทำได้ ไม่กี่วันก็เข็ดหลาบ แต่พอเปลี่ยนมาปฏิบัติร่วมกับครูบา อาจารย์และเพือ่ นพระภิกิ ษุสามเณร มันคนละเรือ่ งกันเลย กำลังใจความฮึกเหิมห้าวหาญมันต่างกัน สิ่งที่ไม่คิดว่า จะทำได้ก็ผ่านมันมาได้ จนกระทั่งทุกวันนี้กลายเป็น เรื่องสบายๆ เช่นการถือเนสัชชิก หรือการปฏิบัติธรรม ตั้งแต่หัวค่ำยันสว่างในสามอิริยาบถคือยืน เดิน นั่ง ยกเว้นอิริยาบถนอน พระเจ้าถิน่ เล่าให้ฟงั ว่าชาวอเมริกนั มีความคิดพิลกึ ๆ ก่อนทีท่ า่ นจะมาบวชเคยเข้าคอร์สอบรมวิปสั สนากรรมฐาน ที่สวนโมกข์ จังหวัดสุราษฏ์ธานี พอจบคอร์สก็มีเพื่อน ร่วมชาติมาเล่าให้ฟงั ว่า เขาเกิดแรงบันดาลใจเป็นอย่างมาก จากการเข้าอบรมฯในครั้งนี้ จึงตั้งใจว่าจะกลับบ้านไป สร้างศูนย์วิปัสสนา จากนั้นก็ย้อนถามว่าแล้วคุณล่ะ อยากทำอะไร? วิปัสสนิกหนุ่มตอบว่า ผมจะปฏิบัตธิ รรม ไปเรื่อยๆ บางทีอาจจะบวชเป็นพระ ชาวอเมริกันผู้นั้น โวยวายใหญ่โตว่า อะไรกัน! คุณนี่มันทั้งโง่ทงั้ เห็นแก่ตัว! เรารู้แล้วเราก็ต้องไปสอนคนที่เขายังไม่รู้ จึงจะเรียกว่า เป็นนักปฏิบัติที่สมบูรณ์แบบ เมื่อได้ฟังแล้วก็สะท้อนใจ แต่ถึงอย่างไรข้าฯก็ยังสมัครใจที่จะเป็นคนโง่และเห็น แก่ตัวไปพลางๆก่อน
20
Fearless
My Deerest วันวาเลนไทน์ปีนี้ญาติโยมที่เคยมาปฏิบัติธรรมที่วัด ส่งขนมเค้กมาถวายพระ บนหน้าเค้กช็อกโกแลตสีนำ้ ตาล เยิม้ เข้มเพ้นท์ตวั หนังสือสีแดงว่า Happy Valentine’s day ตอนตัดเค้กพระภิกษุสามเณรหัวเราะกันยกใหญ่ เช้าหลัง วันวาเลนไทน์มกี วางฝูงหนึง่ ลงมากินหญ้าบริเวณด้านหน้า ศาลา แต่ละตัวอ้วนน่ากิน เอ้ย! น่าเอ็นดู ข้าฯฉันอาหาร มังสวิรัติต่อเนื่องมาทั้งสัปดาห์สงสัยจะตาลาย คำขวัญวันวาเลนไทน์ : กับข้าวอร่อยๆอย่างเดียวก็พอ คนรักเราจริงๆคนเดียวก็พอ ภาษาอังกฤษพัลวัน : Deer = กวาง / Dearest = ที่รัก / Deerest = กวางอันเป็นที่รัก
Spring Song อากาศช่วงนีอ้ บอุน่ ขึน้ เมือ่ ข้าฯมาถึงทีน่ ใี่ หม่ๆต้องใส่ เสื้อกันหนาวถึงห้าตัว แต่ตอนนี้เหลือแค่สี่ตัว ในช่วง ก่อนหน้านี้จะมีแสงแดดหรือไม่ก็ไร้ความหมาย เพราะ มันไม่ได้ช่วยให้อบอุ่นขึ้นเลยแม้แต่น้อย แต่มาวันนี้ จะเห็นญาติโยมนั่งสมาธิหรืออ่านหนังสือบนเก้าอี้ ที่ตั้งอยู่กลางแดด พระฝรั่งบอกว่า Spring come to Abhayagiri เช้าวันหนึ่งก่อนฉันภัตตาหาร พระอาจารย์นำ 21
Diary
จดหมายของนักโทษจากเรือนจำแห่งหนึ่ง มาอ่านให้ คณะสงฆ์ฟัง นักโทษคนนี้ส่งจดหมายมาพร้อมกับ เช็คเงินสดจำนวน 50 ดอลล่าห์เพื่อบำรุงคณะสงฆ์ ในตอนท้ายของจดหมายเขาอวยพรว่า ขอให้พระภิกษุ สามเณร ปฏิบัติธรรมอย่างมีความสุข Keep Inspiring Forever ไม่ง่ายเลยที่ใครคนหนึ่งจะเป็นกำลังใจให้กับใครอีก คนหนึ่ง บางครั้งต้องแกล้งทำเป็นเข้มแข็งทั้งๆที่ตัวเอง ยังอ่อนแอ แต่เพราะรักและปรารถนาดี ใครคนนั้นจึง เพียรสร้างกำลังของตัวเองขึ้นมา เพราะรู้ว่าเป็นสิ่งมีค่า สำหรับใครอีกหลายคน On & On หลังวันพระเวลาประมาณบ่ายโมงเศษๆ ข้าฯเดิน ถ่ายรูปไปเรื่อยๆระหว่างไต่ระดับกลับกุฏิ วันนี้ไม่ได้ ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบภาพ จังหวะ แสงเงา หรือมุมมองแปลกๆ แต่บันทึกภาพไปตามตาเห็น แดดยามบ่ายวันนี้นัวๆมัวๆเหมือนแดดฤดูร้อนบางวัน เมืองไทย แต่อากาศยังเย็นสบายเหมือนเดิม Sweet Sweater เคยมีเสียงติเตียนจากพระผู้ใหญ่ทางเมืองไทยว่า 22
Fearless
ลูกศิษย์ของหลวงพ่อชาที่ไปสร้างวัดอยู่ใน ต่างประเทศ ใส่ ห มวกใส่ เ สื้ อ กั น หนาวแต่ ง กายเหมื อ นคฤหั ส ถ์ ไม่เคร่งครัดเหมือนตอนทีอ่ ยูเ่ มืองไทย ต่อมามีพระผูใ้ หญ่ ท่านหนึ่งเดินทางไปเยี่ยมวัดอมราวดี สำนักสาขาใน ต่างประเทศของวัดหนองป่าพงที่ประเทศอังกฤษ ทาง วัดได้เตรียมเครื่องกันหนาวไว้ให้พร้อมสรรพแต่ท่าน ปฏิเสธที่จะใช้ ตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือนที่อยู่ประเทศ อังกฤษซึง่ ตรงกับฤดูใบไม้ผลิ ท่านไม่ใช้เครือ่ งกันหนาวเลย จนกระทั่งวันเดินทางกลับท่านได้ยื่นแขนที่ผิวหนังลอก เป็นสะเก็ดให้พระภิกษุสามเณรดู พร้อมพูดอย่าง อารมณ์ดีว่า “ผมจะเอาไปอวดพระผู้ใหญ่ที่เมืองไทย” นับว่าเป็นความเมตตาของท่านทีม่ ตี อ่ พระภิกษุสามเณร ในสายวัดหนองป่าพง Sauna of Life วัดป่าส่วนใหญ่จะมีสงิ่ ปลูกสร้างอย่างหนึง่ ทีเ่ รียกว่า Sauna ซึ่งก็คือห้องที่ใช้ความร้อนขับสารพิษออกจาก ร่างกาย Sauna ที่วัดป่าอภัยคีรี จะเปิดให้บริการ สัปดาห์ละหนึ่งครั้งคือในช่วงเย็นย่ำหลังวันพระ ข้าฯ ชอบมาที่นี่เพราะอุ่นดีและเป็นโอกาสที่จะได้ฝึกภาษา อังกฤษด้วย ครั้งหนึ่งในห้อง Sauna ปะขาว (ผู้ชายเตรียมบวช) ชาวอเมริกันถามข้าฯว่า ทำไมจึงมาบวช? ถ้าให้ตอบกัน 23
Diary
เป็นเรื่องเป็นราวก็คงจะพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือบางๆ ได้หนึง่ เล่ม (พิมพ์ไปแล้ว!) ข้าฯเห็นว่าปะขาวเคยทำงาน เป็นตัวแทนนำเข้าเครือ่ งเงินเครือ่ งไม้จากเชียงใหม่มายัง สหรัฐอเมริกา และเคยพำนักอยูแ่ ถวๆถนนนิมมานเหมินทร์ ย่านสุด Chic ของเมืองเชียงใหม่ ข้าฯจึงเลือกที่จะบอก เหตุผลสั้นๆเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า ที่มาบวชเพราะสนใจจะนำ Concept เกี่ยวกับพุทธศาสนาไปทำงานศิลปะ จึง ดร็อปเรียนไว้หนึง่ ปี ตอนนัน้ ยังเรียนอยูช่ นั้ ปีทสี่ าม แต่พอ มาบวชแล้วก็เห็นว่าทางนีจ้ ะเป็นประโยชน์กบั ชีวติ มากกว่า จึงอยูต่ อ่ มาเรือ่ ยๆ เขาบอกว่าน่าสนใจ ไม่คดิ ว่าท่านจะเคย เรียนมหาวิทยาลัย เพราะดูเหมือนเด็กอายุสิบสี่ เมื่อ ได้ยนิ ประโยคนีข้ า้ ฯถึงกับเขินอายม้วนหน้าม้วนหลังเป็น พัลวัน เพราะอีกไม่กี่ปีก็จะสี่สิบอยู่แล้ว คงจะเป็นเพราะ ข้าฯตัวเล็กและแสงไฟสลัวลางในห้อง Sauna ทำให้ ดูอ่อนกว่าวัย เมื่อปะขาวเห็นว่าข้าฯม้วนตัวได้ที่แล้วจึง ถามสืบไปว่า ทำไมไม่กลับไปเรียน? ข้าฯจึงยกตัวอย่าง ให้ฟังว่า มีศิลปินคนหนึ่งทำงานศิลปะออกมาชิ้นหนึ่ง โดยการไปนัง่ อ่านบทกวีให้ศพฟัง ถ้าเราอ่านพระไตรปิฎก ให้พระภิกษุสามเณรหรือญาติโยม ทีส่ นใจมาศึกษาธรรมะ เช่นทีเ่ ราทำกันอยูใ่ นช่วง Winter Retreat คงเกิดประโยชน์ มหาศาลอย่างประมาณมิได้ พอข้าฯพูดจบทุกคนแย้มยิม้ กันสนั่นหวั่นไหว จนทำให้ความร้อนในห้อง Sauna 24
Fearless
ลดลงไปหลายฟาเรนไฮน์ Magha Puja 2553 วันมาฆบูชาที่อเมริกาปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ ตอนเช้า มีญาติโยมมาทำบุญกันอุ่นหนาฝาคั่ง ส่วนใหญ่เป็น ญาติโยมชาวไทย บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าวันนี้เป็น วันมาฆบูชา แต่มาทำบุญเพราะตรงกับวันหยุดสุด สัปดาห์ ท่านพระอาจารย์จึงบอกว่าเดือนกุมภาพันธ์ ที่เมืองไทยคนรู้จักวันวาเลนไทน์มากกว่าวันมาฆบูชา ตอนค่ำมีพธิ เี วียนเทียนตามปรกติของวันสำคัญทางศาสนา มีอุบาสกอุบาสิกามาร่วมพิธีประมาณ 30 คน เป็น ชาวไทย 20 คน ชาวฝรั่งอีก 10 คน การทำประทักษิณ รอบศาลาออกจะทุลักทุเลอยู่สักหน่อย เพราะสถานที่ ค่อนข้างคับแคบ แต่ก็อบอุ่นดีสำหรับคืนพระจันทร์ เต็มดวงที่อากาศหนาวยะเยือกจนหายใจออกมาเป็นไอ พระฝรั่งเล่าให้ฟังว่าครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปเยี่ยม โยมแม่ซึ่งกำลังป่วยหนัก โยมแม่ของท่านหยิบหนังสือ เล่มหนึง่ ซึง่ วางอยูบ่ นโต๊ะข้างเตียงขึน้ มาดู ในหนังสือเล่ม นั้นมีที่คั่นหนังสืออันหนึ่งพิมพ์ข้อความภาษาอังกฤษซึ่ง แปลเป็นไทยได้ว่า “การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศล ให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์” เมื่อโยมแม่ ของท่านอ่านข้อความนี้จบก็อุทานออกมาด้วยน้ำเสียง เปี่ยมความสุขว่า “เป็นบทกวีที่ไพเราะมาก” 25
Diary
มี
น
า
ค
ม
Gecko of Love หลังวาเลนไทน์ไม่นานวันก็มีญาติโยมนำดาร์ค ช็อกโกแลตยี่ห้อ Chocolove มาถวายคณะสงฆ์ บนห่อช็อกโกแลตมีข้อความพิมพ์ไว้ว่า love poem inside ข้าฯจึงแกะอ่านพลางลองลิ้มชิมช็อกฯ บทกวี ที่พิมพ์อยู่ด้านในกระดาษห่อช็อกโกแลตเลือกเฟ้นมา จาก Romeo & Juliet ของ Shakespeare เมื่อได้อ่าน แล้วข้าฯถึงกับเกิดแรงดลใจเขย่าปากการ่ายบทกวี ฝากความปรารถนาดีไปยังกัลยาณมิตรที่เมืองไทย เสกความรักและคิดถึงเป็นต๊กโต ไปผลุบโผล่จนเต็มผนังบ้าน คลานยั้วะเยี้ยะตามพื้นไต่เพดาน ในคอห่านก็ยังมียี่สิบตัว เรายังรักกันเหมือนเดิมใช่ไหม? ฝากคำถามข้ามฟ้าไกลในคืนสลัว มากับฝูงต๊กโต โธ่!อย่ากลัว โปรดลูบหัวตัวละครั้งหากยังรัก ภาษาอังกฤษคำละวัน : Gecko = ตุ๊กแก = ต๊กโต (ภาษา พื้นบ้านล้านนา)
27
Diary
Fresh Snow Man เช้าตรู่ของวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2553 มีหิมะหล่น ลงมาบนยอดเขาฝั่งตรงข้ามกับวัด พระอาจารย์บอกว่า เดือนเมษายนบางปีก็มีหิมะเหมือนกัน และท่านยัง บอกอีกว่าปีนี้เป็นปีที่ฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่นที่สุดใน ประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ข้าฯหมายมั่นปั้นมือ ตั้งแต่ก่อนจะมาแล้วว่า ถ้ามีหิมะตกหนักๆในเขตวัดจะ แอบประดิษฐ์ ตุก๊ ตาหิมะหัวกลมๆไว้เป็นเพือ่ นทีก่ ฏุ สิ กั ตัว Spring Came - Snow Fell ในที่สุดก็ได้สัมผัสหิมะแรกของชีวิตที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ณ เวลาประมาณ 06:00 น.ของวันที่ 10 มีนาคม 2553 สิ่งแรกที่นึกถึงเมื่อฝ่ามือสัมผัสหิมะ คือน้ำหวานเฮลบลูส์บอยสีแดงราดไปบนปุยนุ่มฟูแล้ว ตักด้วยช้อนขนาดพอดีคำ ภาษาอังกฤษพัลวัน : Path = มรรค / Way = ปฏิปทา
Dhamma Light ถ้าใครได้ยนิ ว่าพระพุทธศาสนากำลังเจริญเติบโตใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็อย่าเพิ่งกระโตกกระตาก กระพือปีกเหินฟ้า เพราะพระพุทธศาสนาชนิดที่กำลัง ได้รบั ความนิยมอยูน่ นั้ คนวงในเขาเรียกกันว่า Dhamma 28
Fearless
Light หรือธรรมะแบบเบาๆผ่อนคลายพอให้สบายใจ พระเจ้าถิ่นช่วยยกตัวอย่างขยายความให้กระจ่างว่า ศูนย์วิปัสสนาในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ จะเลือกเอา พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เขาชอบใจ หรือ คาดว่าผู้เข้าอบรมจะชอบใจมาสอน เช่นการดื่มน้ำชา อย่างมีสติ ค่อยๆรับรู้กลิ่นหอมของน้ำชาที่โชยมาสัมผัส จมูก ค่อยๆลิม้ รสชาติและความอบอุน่ ของน้ำชาทีส่ มั ผัส ลิน้ แล้วไหลลืน่ ลงคอ เท่านีก้ เ็ พียงพอแล้ว ห้ามสอนต่อไป เด็ดขาดว่าน้ำชาที่ไหลลงคอเมื่อครู่นี้ อีกสักพักใหญ่ๆ มันจะกลายเป็นน้ำปัสสาวะ อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ การมี เพศสัมพันธ์อย่างมีสติเป็นสิ่งสวยงามและเป็นส่วนหนึ่ง ของการปฏิบตั ธิ รรม! นักปฏิบตั ธิ รรมชาวอเมริกนั ส่วนใหญ่ ไม่อยากรับรู้เรื่องเกี่ยวกับความแก่ ความเจ็บ ความตาย หรื อ การปฏิ บั ติ เ พื่ อ หลุ ด พ้ น จากวั ฏ ฏสั ง สาร ท่ า น พระอาจารย์จึงบอกว่า หน้าที่อันหนึ่งของพระภิกษุก็คือ ต้องสอนธรรมะที่เป็นของจริงและมีแก่นสารสาระ Haiku in Ukiah ข้ า ฯพบอนาคาริ ก ะหรื อ ผู้ ช ายเตรี ย มบวชชาว แคลิฟอร์เนียคนหนึ่งในห้อง Sauna คุยไปคุยมาจึงรู้ว่า เขาชอบอ่านชอบเขียนบทกวีเหมือนกัน ข้าฯจึงให้เขา เขียนกลอนไฮกุมาให้ชมให้ชิมบ้าง
29
Diary
Have presence of mind to be present in body: Satiputฺtฺhana. Winter wind, new friend, Heading your sincerity Cools any aching head. UKIAH in spring one hundred eighty degree falls in a HAIKU. “Women are nature, explore their safe fertile fields”. I know you Mara. Blinding winter snow provides no excuse why peacock woo’d a rock. Delicious mind! make like a pine leaf and scream! five.. four.. three.. two.. one... 30
Fearless
Chilled spider descends, called by the candles promise Silk snaps-flame grows red. Restless bat, pray you find your way out of my hutfear is not your own. Portly Quaker man, what must you mix in your oats every morning? Two bean burritos no onions, extra red sauce… run for the border! Finding beauty in form, accomplished poets simplify truth therein. I am no such poet. ภาษาอังกฤษพัลวัน : UKIAH เป็นชื่อเมืองที่อยู่ใกล้วัดที่สุด ถ้าสลับตัวอักษรจากด้านหลังไปด้านหน้าก็จะได้คำว่า 31
Diary
HAIKU ซึ่งเป็นชื่อกลอนโบราณประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น อนาคาริกะเล่นกับตัวอักษรเหล่านี้ในบทที่ 3
Haiku in Thai ถอดความแบบงูๆปลาๆและสารพัดสัตว์ตามคำ เรียกร้องของแฟนคลับ ความชัดเจนในกายในจิต ณ ปัจจุบันขณะ สติปัฏฐาน ลมหนาวและเพื่อนใหม่ กังวาลแห่งน้ำใจ เยียวยาความป่วยไข้ของฉัน UKIAH ฤดูใบไม้ผลิ หมุนร้อยแปดสิบองศา ร่วงประดับ HAIKU ผู้หญิงคือธรรมชาติ เมื่อสำรวจท้องทุ่งแห่งความฝัน ฉันเห็นมาร
32
Fearless
หิมะพราวพร่าง สรรพสิ่งลวงตา นกยูงเกี้ยวโขดหิน จิตอันคลุ้มคลั่ง ดั่งพายุกระชากใบสน ห้า…สี่…สาม…สอง…หนึ่ง แมงมุมเหน็บหนาว เปลวเทียนร้องเรียก ไหม้สยอง ค้างคาวตื่นตระหนก ภาวนาให้พบทางออกจากกระท่อม ความกลัวไม่มีเจ้าของ เจ้าอ้วนพุงพลุ้ย ผสมสิ่งใดในชามข้าวโอ๊ต ทุกเช้า ซุปแม็กซิกันสองถ้วย ไม่มีหัวหอมหรือซอสปรุงรส วิ่งไปชายแดน! 33
Diary
ดื่มด่ำความง่ายงาม ในฉันทลักษณ์ของไฮกุ เป็นความจริงที่ว่า ฉันมิใช่กวี ภาษาอังกฤษคำละวัน : Portly แปลว่าอ้วนจ้ำม่ำ Quaker เป็ น ยี่ ห้ อ ข้ า วโอ๊ ต ที่ พ ระภิ ก ษุ ส ามเณรวั ด ป่ า อภั ย คี รี ฉันเป็นประจำในตอนเช้า ฉลากที่แปะอยู่บนกระป๋อง ข้าวโอ๊ตเป็นรูปคนอ้วน ผู้เขียนบทกวีเกิดความสงสัยว่า ข้าวโอ๊ตดีต่อสุขภาพแต่เจ้าอ้วนที่อยู่บนฉลากผสมอะไร ลงในข้าวโอ๊ตจึงอ้วนจ้ำม่ำได้ขนาดนี้
Blessings ข้าฯออกบิณฑบาตเป็นครั้งที่สามในเมือง Ukiah วันนี้ข้าฯรู้สึกตื่นเต้นเล็กๆเพราะเป็นครั้งแรกที่ได้เดิน นำหน้าขบวน การบิณฑบาตในแถบถิ่นนี้เมื่อให้พร เป็นภาษาบาลีแล้ว ต้องเสริมท้ายด้วยพรภาษาอังกฤษว่า Have a lovely day หรือ Have a great day ถ้าเดิน สวนทางกับญาติโยมแล้วเขาทักเราว่า Good Morning ก็ ต้ อ งตอบกลั บ ด้ ว ยประโยคเดี ย วกั น ถ้ า รถที่ ขั บ สวนมาบีบแตรทักทายก็ต้องยกมือขึ้นทักทายตอบ เพือ่ ให้เกิดความรูส้ กึ เป็นมิตร แม้แต่กบั พระภิกษุสามเณร ที่อยู่ด้วยกันภายในวัด ถ้าพบกันตอนเช้าก็ต้อง Good 34
Fearless
Morning หลังจากสวดมนต์ทำวัตรในตอนเย็นเสร็จแล้ว ก่ อ นจะแยกย้ า ยกั น กลั บ กุ ฏิ ก็ ต้ อ ง Good Night สำหรับครูบาอาจารย์หรือพระเถระ หากมีพระผู้น้อยมา ช่วยเปิดประตูหรือล้างถ้วยน้ำชากาแฟ ก็ต้องเซย์ Thank you เช้านี้ขณะที่พระภิกษุสามรูปยืนอยู่ด้านหน้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึง่ และกำลังจะให้พร ก็มฝี รัง่ ผูช้ าย เดินเข้ามาตบไหล่ทักทายตั้งแต่ท้ายแถวยันหัวแถวแล้ว ให้พรตัดหน้าว่า ขอให้พระผู้เป็นเจ้าคุ้มครองพวกคุณ! Goodbye to Romance แล้วก็ถึงวันนี้ที่ฉันเหงา แสงแดดเศร้าหยุดล้อเล่นกับเส้นหญ้า ความรักเอยเคยเห่กล่อมถนอมมา เจ้าพลัดพรากจากลาไม่รู้ตัว จักทนเจ็บเพื่อสองเราได้เข้าใจ ยอมน้ำตารินไหลจนท่วมหัว ไม่ขอเวียนว่ายวัฏฏะอันน่ากลัว ตรอมตรมอยู่ชั่วนาตาปี ป.ล. มีญาติโยมมาเล่าเรือ่ งซึง้ เศร้าเคล้าน้ำตาให้ฟงั จนข้าฯ เกิดแรงบัลดาลใจกระจุยกระจายถ่ายทอดเป็นกลอน สุภาพ 35
Diary
ภาษาอังกฤษพัลวัน : Love = ความรัก / Lovingkindness = ความเมตตา
Five Second เช้าวันหนึ่งพระฝรั่งทำเนยแข็งหล่นลงบนพื้นห้อง แล้วท่านก็เก็บขึ้นมาทาขนมปังเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พระอีกรูปหนึง่ บอกว่าควรจะเอาไปล้างน้ำให้สะอาดก่อน หลังอาหารเช้าข้าฯปรารภถึงงานวิจัยที่ได้รับรางวัล Ig Nobel* ให้พระฝรั่งรูปนั้นฟังดังใจความว่า นักศึกษา ญี่ปุ่นผู้หนึ่งทำการทดลองจนกระทั่งได้ข้อสรุปว่า ถ้าเรา เก็บอาหารที่หล่นลงบนพื้นขึ้นมาภายในเวลา 5 วินาที เราสามารถนำอาหารชิ้นนั้นมารับประทานได้อย่าง ปลอดภัย โดยไม่ตอ้ งนำไปล้างหรือทำความสะอาดอืน่ ใด เช้าวันถัดมาพระฝรัง่ รูปนัน้ กล่าวขอบคุณข้าฯด้วยใบหน้า แช่มชื่น เขาบอกว่าได้ฟังเรื่องที่ข้าฯเล่าแล้วทำให้เขา (ฉันขนมปังด้วยความ) สบายใจสุดๆ *Ig Nobel Prizes ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1991 โดย บรรณาธิการนิตยสารวิทยาศาสตร์ชื่อ มาร์ค อับราฮัมส์ เพื่อมอบให้แก่ผลงานทางวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัย ที่ไม่น่าเป็นไปได้หรือไม่มีใครคิดที่จะทำ ตัวอย่าง งานวิจัยอื่นๆที่ได้รับรางวัลนี้ เช่น หลุมดำมีคุณสมบัติ ในเชิงเทคนิคครบถ้วนเพื่อใช้เป็นนรก! 36
Fearless
เ
ม
ษ
า
ย
น
Q&A สำนักพิมพ์พาบุญมาส่งคำถามมาเพื่อขอข้อมูล สำหรับการประชาสัมพันธ์หนังสือ Dhammascapes ซึ่งข้าฯทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ทั้งหมดทั้งมวลเป็น แนวความคิดของข้าฯเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว มาถึงวันนี้ถ้าจะทำหนังสือสักเล่มจะคิดถึงกลุ่มนัก ปฏิบัติธรรมรุ่นใหม่ก่อนกลุ่มอื่น 1. คอนเซ็ปต์ในการผสมผสานธรรมะเข้ากับกราฟฟิก ดีไซน์ของท่านมีที่มาอย่างไร ตอบ : เริม่ มาจากปก อาตมาเคยสงสัยว่าทำไมปกหนังสือ ธรรมะต้องเป็นรูปพระ บาตร จีวร ธรรมจักร ต้นไทร ใบโพธิ์ ดอกบัว ลายรดน้ำ เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ไหม? อันที่จริงก็ไม่ใช่งานกราฟิกอย่างเดียวแต่เป็นงานศิลปะ ทีค่ อ่ นข้างหลากหลาย ทัง้ การ์ตนู ภาพถ่าย ภาพประกอบฯ คงจะเป็นเพราะอาตมาเคยเรียนศิลปะมาก่อน หลักสูตร ของคณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะเปิดโอกาส ให้นกั ศึกษาได้ทดลองทำงานศิลปะโดยไม่จำกัดรูปแบบ การได้คน้ พบเทคนิค วิธกี าร หรือแนวทางทีไ่ ม่ซำ้ แบบใคร ถือเป็นเรือ่ งสุดยอดสำหรับคนทำงานศิลปะ อาตมาเห็นว่า ยังไม่มีใครเคยทำแบบนี้มาก่อนจึงอยากทดลองทำดู แต่อาตมาไม่ได้ทำเล่นๆหรือเพื่อสร้างอัตตาตัวตน อาตมาทำตามคติของช่างสมัยโบราณคือรับใช้พระศาสนา 38
Fearless
บังเอิญว่าอาตมามีโยมเพือ่ นทีม่ จี ติ ใจดีหลายคนในวงการนี้ ซึง่ เขาพอจะให้ความช่วยเหลือได้ ถ้าให้อาตมาไปทำงาน ออกแบบเองคงจะไม่ไหว เพราะร้างวงการมานานแล้ว อาตมาจึงรับหน้าที่ดูแลเนื้อหาในส่วนของธรรมะ เพราะ เป็นผูท้ อี่ ยูใ่ นวงการนีโ้่ ดยตรง ส่วนคนทำงานศิลปะก็มอบ ให้เขาดูแลส่วนนั้นไป แต่ก็ต้องคอยปรับให้พอดี เพราะ ถ้าให้คนทีไ่ ม่ได้ศกึ ษาธรรมะมาทำงานแนวนีเ้ ขาจะเกร็ง เพราะเห็นว่าธรรมะเป็นของสูง เมื่อเกร็งก็ไม่สนุก หรือ ส่วนหนึง่ ก็จะเล่นเกินไปจนขาดความเคารพในพระธรรม เราก็ต้องปรับเข้าหาความพอดีไปเรื่อยๆ 2. ในขณะทีห่ นังสือธรรมะส่วนใหญ่เน้นไปทีก่ ลุม่ นักอ่าน ผู้ใหญ่ ทำไมท่านจึงมองไปที่กลุ่มวัยรุ่นหรือวัยเริ่มต้น ทำงาน ซึง่ กำลังสนุกกับการใช้ชวี ติ และมีจติ ทีเ่ คลือ่ นไหว ตอบ : ต้องแบ่งเหมือนกันว่าวัยรุ่นก็มีหลายกลุ่ม วัยรุ่น ที่เป็นกลุ่มชมรมพุทธ อันนี้เราก็ไม่ห่วงเพราะเขาสนใจ ของเขาเองอยู่แล้ว อยู่ใกล้พระอยู่แล้ว แต่ที่น่าห่วงก็คือ วัยรุ่นที่เป็นกลุ่มนักแสวงหาหรือชอบทดลองใช้ชีวิต ซึ่ง ตัวอาตมาเองตอนเป็นวัยรุน่ ก็จดั อยูใ่ นกลุม่ นี้ วัยรุน่ กลุม่ นี้ เขาจะมองโลกไม่เหมือนวัยรุน่ ทัว่ ไป และเขามีพลังงานเยอะ อยากทำความเข้าใจโลก อยากทำความเข้าใจชีวติ หรือถึง กับอยากเปลี่ยนแปลงโลกเปลี่ยนแปลงสังคม จึงไปยึด เอาอุดมการณ์ต่างๆซึ่งมีทั้งถูกและผิด บ่อยครั้งที่ผู้นำ 39
Diary
อุดมการณ์หรือไอดอลให้คำแนะนำหรือเสนอความ คิดเห็นแบบผิดๆถูกๆ ทำให้เกิดความทุกข์วุ่นวายสับสน ต่อเนือ่ งไปเรือ่ ยๆไม่มที สี่ นิ้ สุด แทนทีจ่ ะแก้ปญ ั หาของโลก ของสังคมกลับเพิ่มปัญหาขึ้นมาอีก หรือช่วยเหลือโลก ช่วยเหลือสังคมแต่ตัวเองกลับ เป็นทุกข์ แถมยังห่างไกล ต่อความเข้าใจโลกเข้าใจชีวติ ทีต่ วั เองตัง้ เป้าเอาไว้แต่แรก ทีน่ า่ สังเวชก็คอื วิธกี ารทีถ่ กู ต้องทีจ่ ะนำไปสูเ่ ป้าหมายนัน้ คือพุทธศาสนา ก็อยูใ่ กล้แค่เอือ้ มแต่กลับพากันมองข้าม ที่อาตมาบอกว่าพุทธศาสนาเป็นวิธีการที่ถูกต้องก็ไม่ได้ พูดจากการคาดเดา แต่พุทธศาสนาได้ผ่านการพิสูจน์ ตัวเองมากว่า 2,500 ปี และอาตมาก็ได้ทดลองกับตัวเอง มาเป็นเวลากว่าสิบปี ซึ่งก็พบว่าสามารถแก้ปัญหาของ ตัวเองของโลกของสังคมได้อย่างแท้จริง ส่วนคำว่าจิต เคลื่อนไหวอาตมาเห็นว่า จิตของคนทุกช่วงวัยต่าง เคลือ่ นไหวด้วยอำนาจของกิเลสกันทัง้ นัน้ มีพระฝรัง่ แปล ธรรมะข้อหนึ่งของหลวงพ่อชาไว้ว่า “If you can learn to make the mind still, it will be the greatest help to the world”. 3. ทำไมจึงดึงเอานักเขียนมากมายมารวมกันอยู่ในเล่ม มีวิธีการคัดเลือกนักเขียนอย่างไร ตอบ : อาตมาตั้งใจจะจำลองบรรยากาศของกลุ่มเพื่อน ที่ไม่ได้เจอกันมานาน กำลังนั่งคุยกันในร้านกาแฟ 40
Fearless
แต่เรากำหนดหัวข้อไว้วา่ ให้คยุ กันเรือ่ งธรรมะ อยากให้เป็น หนังสือธรรมะทีม่ กี ารแลกเปลีย่ นมุมมองกันระหว่างเพือ่ นๆ พีๆ่ น้องๆ มากกว่าหนังสือธรรมะทีม่ งุ่ เทศนาสัง่ สอนแบบ อาจารย์กับลูกศิษย์ ซึ่งหนังสือธรรมะแบบนี้มีเยอะแล้ว นักเขียนก็เป็นเพือ่ นๆพีๆ่ น้องๆกัน เป็นคนทีส่ นใจการอ่าน การเขียน ศิลปะ การเดินทาง การใช้ชีวิต วิธีคัดเลือก ก็ไม่ยากเพราะส่วนใหญ่อาตมาจะเคยอ่านจดหมาย อีเมล์ บล็อก หรือเห็นผลงานอื่นๆเช่นการ์ตูน ภาพถ่าย ภาพประกอบ Graffiti ของเขามาก่อน เมื่อเห็นว่าใครมี ผลงานหรือมุมมองทีน่ า่ สนใจก็จะนำมาพิจารณา ถ้าเป็น งานเขียนก็นำมาปรับเรื่องภาษา ถ้าเป็นงานศิลปะเช่น ภาพถ่ายก็นำมาปรับให้เข้ากับเนื้อหาธรรมะที่อาตมา ต้องการสื่อสาร Big American Breakfast เช้าวันที่ 2 เมษายน 2553 มีญาติโยมชาวไทยมา ทำอาหารถวายพระแบบที่เรียกกันว่า Big American Breakfast เป็นอาหารจำพวกเบคอน ขนมปังอบ ไส้กรอก ไข่ดาว เค้กผลไม้ เมื่ออิ่มหนำกันถ้วนหน้า พระเถระก็ประชุมกันว่า หลังจาก Winter Retreat คือ 9 เดือนนับจากนี้ มีงานอะไรที่ต้องจัดทำภายในวัดบ้าง เมื่อวานก็มีการประชุมกันว่ามีใครจะเดินทางไปแห่งหน ตำบลใดบ้าง ท่านพระอาจารย์มกี จิ นิมนต์ไปเทศน์ทใี่ ดบ้าง 41
Diary
หรือจะมีครูบาอาจารย์โยมพ่อโยมแม่ของพระภิกษุสามเณร รูปใดเดินทางมาพักทีว่ ดั บ้าง กำหนดการเหล่านีจ้ ะถูกนำไป จัดทำเป็นตารางกิจกรรมเพือ่ ความสะดวกในการบริหาร ทรัพยากร อันมี ยวดยานพาหนะและเสนาสนะเป็นต้น คณะสงฆ์จะร่วมกันพิจารณาว่าควรจะดำเนินการอย่างไร ใช้เวลาในการประชุมนานถึง ๒ ชั่วโมง แต่ก็ทำให้เกิด มุมมองทีห่ ลากหลายและได้ขอ้ สรุป ทีช่ ดั เจนสำหรับทุกคน ถ้าใครเห็นต่างก็สามารถเสนอความเห็นในทีป่ ระชุมเพือ่ ร่วมกันพิจารณาได้ เรื่องแบบนี้ถ้าเป็นที่เมืองไทยก็คง ต้องใช้ประโยคยอดฮิตที่ว่า “แล้วแต่ครูบาอาจารย์ จะพิจารณา” ซึ่งวิธีนี้ก็มีข้อดีในแง่ของความสะดวก และประหยัดเวลา Why? โยม : ดิฉนั อยากจะขอเรียนถามพระคุณเจ้าว่า เวลาบอก ให้เพื่อนไปทำบุญหรือใส่บาตร ไม่ค่อยมีใครสนใจ อยากจะทำเลย (อันนี้ดิฉันชวนเพื่อนที่บริษัทน่ะค่ะ) คนส่วนใหญ่ไม่คอ่ ยสนใจเรือ่ งธรรมะ อยูท่ ที่ ำงานก็จะคุย แต่เรือ่ งซือ้ บ้าน ซือ้ รถ สถานทีเ่ ทีย่ วหรือแม้แต่ซอื้ ทีไ่ ว้เก็ง กำไร จึงอยากเรียนถามท่านค่ะว่า ทำไมคนเราถึงมีแต่ เรื่องนี้กัน? ขอขอบพระคุณค่ะ เปสโลภิกขุ : เมื่อไม่นานมานี้อาตมาโทรศัพท์กลับไป 42
Fearless
บ้านโยมพ่อโยมแม่ทเี่ มืองไทย เมือ่ สนทนากับโยมแม่แล้ว อาตมาอยากจะคุยกับหลานชายอายุ 4 ขวบ แต่โยมแม่ ของอาตมาเรี ย กเท่ า ไหร่ เ ขาก็ ไ ม่ ย อมมาคุ ย ด้ ว ย ได้ยินแต่เสียงทางปลายสายว่า “ย่าๆบอกหลวงลุง ด้วยนะ หนูมีรถไฟหัวจรวดด้วย” นี่เป็นตัวอย่างที่แสดง ให้เห็นว่า ความสนใจของคนแต่ละช่วงวัยไม่เหมือนกัน ที่วัดของเรามีคำกล่าวว่า พระนวกะ ( ผู้บวชใหม่-บวชได้ 4 พรรษา) มักจะคุยกัน เรื่องอาหาร พระมัชฌิมะ (5-9 พรรษา) มักจะคุยกันเรื่องการ เดินธุดงค์ พระเถระ (10-19 พรรษา) มักจะคุยกันเรื่องงานก่อสร้าง พระมหาเถระ (20 พรรษาขึ้นไป) มักจะคุยกันเรื่อง ความเจ็บไข้ได้ป่วย ส่วนบางคนที่อายุยังน้อยแต่สนใจเรื่องธรรมะ เรื่องความสงบหรือความพ้นทุกข์ แสดงว่าเขาเคย สั่งสมบารมีมาก่อน พระอาจารย์ของอาตมาเคยสอนว่า “ถ้าเราบอกหรือสอนใครแล้ว เขาไม่เชื่อหรือไม่ทำตาม แสดงว่าบารมีของเรายังไม่พอ เราก็ต้องสร้างบารมีของ ตัวเองให้มันมากขึ้น”
43
Diary
Stand Strong หลังจากเวลาอาหารเช้าคือระหว่าง 07:00-07:30 น. Work Master หรือพระเจ้าหน้าที่จัดหางาน จะแบ่งงาน ให้กับพระภิกษุสามเณรและญาติโยม ที่พำนักอยู่ในวัด อย่างทัว่ ถึงกัน เช้านีข้ า้ ฯได้ทำงานร่วมกับสามเณรรูปหนึง่ ซึ่งกำลังเตรียมตัวจะลาสิกขาในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า หลังจากมาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่เป็นเวลา 2 ปีเต็ม ข้าฯถามเขา ว่ามีแผนการอะไรในอนาคต? เขาตอบว่าทำงานแล้วก็ เดินทางท่องเที่ยว ข้าฯทราบมาว่าก่อนจะมาอยู่ที่วัดป่าอภัยคีรีเขาเคย ฝึกวิทยายุทธ์กับอาจารย์ชาวอินเดียนแดง หรือเรียก ให้สมสมัยว่า Native American เป็นเวลา 1 ปี ข้าฯจึง ให้เขายกตัวอย่างคำสอนจาก อาจารย์ชาวอินเดียน เขาบอกว่าอาจารย์ซึ่งเป็นเพื่อนของพ่อ สอนให้อยู่อย่าง กลมกลืนกับธรรมชาติ สอนให้ฟังเสียงต้นไม้เสียงสัตว์ ซึ่งก็พูดได้เหมือนกัน แต่พูดกันคนละภาษากับมนุษย์ ข้าฯได้ยนิ มาว่าชาวอินเดียนแดงจะมีชอื่ เจ๋งๆเช่น Sitting Bull, Running Wolf, Wind in His Hair ข้าฯจึงถามเขา สืบไปว่ามีชอื่ ทีอ่ าจารย์ตงั้ ให้ไหม? เขาพยักหน้าแล้วตอบว่า Stand Strong
44
Fearless
พ ฤ ษ ภ า ค ม
Lunch on the Beach อาหารตามมีตามเกิดมือ้ นีป้ ระกอบด้วย แฮมเบอร์เกอร์ เนื้อปลา ซุปเห็ด โยเกิร์ตและกล้วยหอม รายการอาหาร ฟังดูพื้นๆแต่ที่พิเศษกว่ามื้ออื่นๆก็คือ ข้าฯนั่งละเลียด เมนูข้างต้นบนหาดทราย ขาวสะอาดละเอียดที่ชื่อ Paia (พะเอีย) ซึ่งทอดตัวเหยียดยาวขนาบบางเสี้ยวของ Maui (เมาอิ) หนึ่งในเกาะอันสงบงามและร่าเริงของ หมู่เกาะ Hawaii (ฮาไวอิ) น้ำทะเลวันนี้สีครามเพลินใจ ดีเหลือเกิน แต่นั่งได้ไม่กี่นานก็ต้องลุก เพราะสิ่งมีชีวิต ชนิดทูพีซเริ่มทยอยออกมาเกลือกกลิ้งบนชายหาด ขณะกำลังปัดเม็ดทรายที่ชายจีวร หนึ่งคลื่นความคิด พลันกระเพื่อมเข้ามา… ทุกคนต่างแสวงหาความสุขกันทั้งนั้น แต่จะมี สักกีค่ นทีไ่ ปได้ถกู ทาง คลืน่ ลูกแล้วลูกเล่าผลัดกัน ม้วนตัว ทิ้งชายฝั่ง โดยไม่อาทรว่าใครจะเดินทางถูกหรือไม่ ป.ล.มะพร้าวอ่อนทีฮ่ าวายลูกละ 160 บาท รสชาติเหมือน มะพร้าวที่เมืองไทยทุกประการ Our Real Homeland ระหว่างเดินทางออกจากเกาะเมาอิ-ฮาวาย ข้าฯ ได้ ก ลิ่ น เกาะเสม็ ด -ระยองโชยมาหลายระลอก บรรยากาศ อากาศ ตลอดจนพืชผักผลไม้ของที่นี่เหมือน 46
Fearless
ทีน่ นั่ ยังกะแกะ แต่ค่ า่ ครองชีพต่างกันยังกะคอของยีราฟ กับตะพาบน้ำ ถ้าบางใครที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินอเมริกา มีเวลาว่างสักหนึง่ เดือนแล้วอยากเทีย่ วทะเล ข้าฯเสนอให้ ตีตั๋วเครื่องบินไปสัมผัสไอเค็มทะเลไทยแลนด์ยังจะ หนำใจกว่า ท้องฟ้าท้องน้ำสีครามเข้ม คลืน่ แตกฟองสีขาว หาดทรายยาวสีนวล ทะเลทีไ่ หนๆก็คงมีองค์ประกอบเหล่านี้ ณ ที่ประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาสใน จังหวัดชลบุรเี มือ่ ปี 2552 พระผูใ้ หญ่ จากวัดฝ่ายคามวาสี แสดงความเห็นขึ้นในที่ประชุมว่า ฝ่ายบริหารบ้านเมือง ไม่ให้ความสำคัญ กับการทำนุบำรุงพุทธศาสนา ถ้า พุทธศาสนาเสือ่ มไปจากเมืองไทยเราหนีไปอยูต่ า่ งประเทศ กันคงจะเข้าที แล้วท่านก็พูดสำทับว่า พระในสายวัด หนองป่ า พงได้ เ ปรี ย บเพราะมี ส ำนั ก สาขา อยู่ ใ น ต่างประเทศหลายแห่ง (4 แห่งในอังกฤษ / อย่างละ 2 แห่ง ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอเมริกา / อย่างละ 1 แห่ง ในอิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ และแคนาดา) หากคำพยากรณ์ ของพระผู้ใหญ่ท่านนั้นเป็นจริง ข้าฯวางแผนไว้ว่า จะลองเดินธุดงค์และทะลุดงบนเกาะ Maui สัก 2-3 รอบ หากสั่งสมบารมีไว้มากพอ คงจะมีชาวฮาวายใจดี ถวายที่แปลงเล็กๆสำหรับปลูกกุฏิ และอาศัยบิณฑบาต ในหมูบ่ า้ น เท่านีก้ เ็ พียงพอแล้วสำหรับอัตภาพของพระป่า ตากลม (ข้าฯอยากให้อา่ นว่าตากลม แต่ถา้ ใครจะอ่านว่า ตากลมก็ตามใจ) สำคัญกว่าอืน่ ใดข้าฯหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า 47
Diary
ฮาวายเอีย้ นทัง้ หลายคงจะมีนสิ ยั รักสงบไม่คลุม้ คลัง่ จุดไฟ เผาบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเองเหมือนบางประเทศแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ It’s So San Francisco เฉียดสองสัปดาห์ในหลายย่านของแซนแฟรนซิสโก ข้าฯได้ยินทั้งเสียงคลื่นทะเล เสียงหอนของไซเรน เสียงดนตรีแจ๊ซ เสียงคนทะเลาะกันฯ ได้เห็นทั้งดอกไม้ บาน กองเศษอาหารบนฟุตบาธ ภาพวาดของศิลปิน ระดับโลก กราฟิตบิ นฝาชักโครกฯ ได้สมั ผัสทัง้ กลิน่ กาแฟ น้ำหอม น้ำครำ กองขยะฯ ได้เดินปะปนกับนักธุรกิจ สวมชุดแบรนด์เนมแพงระยับและคนจรจัดเนื้อตัว มอมแมมสกปรก แซนแฟรนซิสโกมีส่วนผสมที่น่ารัก และรุงรังเฉกเช่นเมืองใหญ่ทั่วโลก ทั้งหมดนี้ทำให้ข้าฯ คิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเองอยู่ไม่น้อย แต่มิใช่ โหยหาเร่งวันเร่งคืนเพื่อเดินทางกลับ ข้าฯคิดไปในแง่ ที่ว่าถ้าปราศจากพุทธศาสนาเสียแล้ว กรุงเทพฯและ หัวเมืองใหญ่ๆของบ้านเราทุกวันนี้ ก็แทบไม่มีอะไร แตกต่างจากแซนแฟรนซิสโก ขณะทีข่ า้ ฯนัง่ อยูใ่ นร้านอาหารไทยรสโอชา ฝรัง่ คนหนึง่ ซึง่ นัง่ อยูโ่ ต๊ะด้านหลังก็เอือ้ มมือมา สะกิดไหล่ทกั ทายแล้ว แนะนำตัวเองว่า เขากำลังศึกษาพุทธศาสนาสายธิเบต ข้าฯถามเขาว่ารู้จักหลวงพ่อชาไหม? เขาตอบว่ารู้จัก 48
Fearless
ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก สนทนากันอยู่สักพักเขาก็ถาม ถึงเหตุการณ์วนุ่ วายทีเ่ มืองไทย ข้าฯบอกว่าไม่ได้ตดิ ตาม ข่าวสารมากนัก แต่ปญ ั หาของเรือ่ งนีก้ ค็ อื ผูค้ นทีน่ นั่ ไม่ได้ นำหลักธรรมทางพุทธศาสนามา สูก่ ารดำเนินชีวติ ประจำวัน ฝรั่งคนนั้นบอกว่าไทยแลนด์เป็นประเทศที่สวยงาม… น่าเสียดาย The San Francisco Bay Guardian เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นแนะนำร้านอาหาร สถานที่ ท่ อ งเที่ ย ว เทศกาลและกิ จ กรรมหลากหลายใน แซนแฟรนซิสโก Section ท้ายเล่มที่ชื่อว่า Escorts ปรากฏภาพถ่ายและศัพท์แสงที่ทำให้ผู้มาเยือนอย่าง เรางุนงงยิง่ นัก ว่ามันคือโฆษณาอะไรกันแน่ : Gorgeous Blonde, Collage Cutie, Long Legs, Friendly, Personality และ Men for Men Comment ‘เรื่องของเรา’ หนังสือเล่มบางแต่เนื้อหาไม่ได้บาง ไปด้วย ผลงานของเปสโลภิกขุ พระภิกษุซึ่งเป็นที่รู้จัก จากการเขียนบล็อกด้วยภาษาทันสมัยและสอดแทรก ข้อคิดดีๆ จนวัยรุ่นติดเกรียว ในเล่มแบ่งเนื้อหาออก เป็นสามตอน เล่าประสบการณ์ชีวิตสมัยยังเป็นฆราวาส จนมาเป็นพระภิกษุ สลับด้วยบทความรับเชิญจากพระหนุม่ 49
Diary
ชาวอเมริกันที่มาบวชอยู่ที่เมืองไทย อ่านแล้วซึ้งเศร้า มากมาย และปิดท้ายด้วยข้อเขียนคัดสรรจากบล็อก ซึ่งล้วนสามารถอ่านแล้วนำไปต่อยอดได้ นิตยสาร BIOSCOPE ฉบับที่ 102 พฤษภาคม 2553
Greeting Farmer Market, Port of San Francisco : ผู้หญิงวัย กลางคนยิืนดูจีวรอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า I really like this colour...wonderful! California Academy of Science, San Francisco : เด็กชายวัยสี่ขวบกระโดดเข้ามาคุยด้วย Where are you come from? You wear robe and sandal...cool! Lahaina, Maui, Hawaii : นักเซิฟวัยฉกรรจ์เดินเข้ามา ทักทาย You have a good life. You are an awesome guy!
50
Fearless
มิ
ถุ
น
า
ย
น
Political in Google Earth เพราะส่องดูหมู่เกาะฮาวายผ่านโปรแกรม Google Earth ข้าฯจึงแจ้งประจักษ์ว่า กลุ่มแผ่นดินในมหาสมุทร แปซิฟิกแห่งนี้เป็นเพียงยอดภูเขาที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง จากนั้นข้าฯพลันตระหนักสืบไปว่า เราเป็นสิ่งมีชีวิต เล็กกระจ้อยน้อยนิดในจักรวาลอันไพศาล ข้าฯคงไม่ใช่ คนแรกที่คิดเช่นนี้ ชาร์ล ดาวิน กาลิเลโอ ลีโอนาโด ดาวินชี และอีกหลายใครก็คงจะเคยคิดเช่นเดียวกัน หากมนุษย์ทกุ รูปนามพินจิ แง่นอี้ ยูส่ ม่ำเสมอ ความรุนแรง ครั้งแล้วครั้งเล่าในประวัติศาสตร์การเมืองไทยคงจะ ไม่เกิดขึ้นและข้าฯเชื่อเป็นแม่นมั่นว่าจะอุบัติขึ้นอีก ซ้ำๆซากๆในอนาคต ญาติผพู้ ขี่ องข้าฯเคยเล่าให้ฟงั ว่า เมือ่ ครัง้ ทีค่ อมมิวนิสต์ ในประเทศไทยยังชุกชุม เขาเคยเข้าไปศึกษาอยู่ในป่า ระยะหนึ่ ง แต่ สุ ด ท้ า ยก็ เ อาใจออกห่ า ง เพราะเกิ ด ความคิดขึน้ มาว่า หากทำการปฏิวตั จิ นได้อำนาจมาแล้ว จะเอาอำนาจนี้ไปให้ใคร? เพราะกลุ่มบุคคลที่จะมา บริหารอำนาจก็เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่ยังมีกิเลสหนา หนำซ้ำยังไม่ได้ให้ความความสำคัญกับการลดละความ โลภ โกรธ หลงที่มีอยู่ในตน ซึ่งกิเลสทั้งสามนี้เองที่เป็น มูลเหตุนำหายนะมาสูช่ าติบา้ นเมือง แล้วใครจะทำอย่างไร? ข้าฯขอเสนอให้ผฝู้ กั ใฝ่สนั ติสขุ ทุกท่านจงตอบคำถาม นี้เร็วพลัน--เราเกิดมาบนโลกนี้ทำไม? หากพบคำตอบ 52
Fearless
ที่ถูกต้อง สยามชนตลอดจนพลเมืองของโลกจะประสบ หรรษาทุกทิวาราตรี ส่วนคำตอบของข้าฯ ณ หน้ากระดาษ นี้ก็คือ เราเกิดมาเพื่อแสวงหาความสุขที่จะอยู่กับเราไป นานแสนนาน อันความสุขที่ว่านี้มีพื้นฐานมาจากความ สงบ ซึ่งแตกต่างจากความสุขที่มาจากการครอบครอง หรือตอบสนองความต้องการผ่านวัตถุอย่างน่าอัศจรรย์ ความสุขสงบทางจิตใจ ไม่ต้องรอการกระจายรายได้ หรือการลดช่องว่างทางสังคม เพราะคนมีน้อยก็ยินดี พอใจในสิง่ ทีต่ นมี คนมีมากก็รจู้ กั เผือ่ แผ่แบ่งปัน ด้วยต่าง ก็เห็นต้องกันว่าความสุขทีเ่ กิดขึน้ ภายในจิตใจสำคัญกว่า สิ่งอื่นใด เมื่อสยามชนทุกระดับของสังคมร่วมกันปรับเปลี่ยน ทัศนคติที่มีต่อความสุข ไม่ช้าก็เร็ว ไม่เร็วก็ด่วน เราจะมี ทั้งผู้นำและผู้ตามที่รู้เท่าทันโลก ทั้งโลกภายนอก และโลกภายใน เมื่อนั้นชาติไทยจึงจะร่มเย็น คงไม่ง่าย เหมือนคลิ๊กเม้าส์หมุนดาวเคราะห์ตะปุ่มตะป่ำสีฟ้า ใน Google Earth แต่ถ้าเราทั้งหลายอยากอยู่ร่วมโลก กันอย่างมีสันติภาพ นี่เป็นเพียงทางเลือกเดียว! Forest Practice พอจะอธิบายสองคำข้างบนได้ว่า เป็นการเปิด โอกาสให้ พ ระภิ ก ษุ ส ามเณรตลอดจนอนาคาริ ก ปลีกวิเวกปฏิบตั ธิ รรมด้วยกำหนดระยะเวลาสองสัปดาห์ 53
Diary
โดยไม่ตอ้ งมารวมสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็นกับคณะสงฆ์ ซึ่งจะสลับสับเปลี่ยนกันจนครบทุกรูป (ครั้งละประมาณ 6-7 รูป) แม้แต่พระอาจารย์เจ้าอาวาสก็จะได้รับ โอกาสนี้ด้วย ช่วงนี้ถึงคราวของข้าฯ ทีแรกว่าจะไม่รับ เพราะเกรงตัวเองจะขี้เกียจ แต่การได้มีเวลาส่วนตัว แบบนี้ ก็ ดี เ หมื อ นกั น เพราะที่ นี่ มี ก ารประชุ ม บ่ อ ย เหลือเกิน นอกจากจะประชุมแบ่งงานกันทุกเช้าแล้ว ยั ง มี ป ระชุ ม ปรึ ก ษาหารื อ เรื่ อ งอื่ น ๆในตอนเย็ น อี ก อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งๆละประมาณ 1-2 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น วันนีข้ า้ ฯกับพระอีกรูปหนึง่ ได้รบั มอบหมายให้ไปช่วย สามเณรปรับพื้นที่สำหรับปลูกกุฏิหลังใหม่ เราต้อง บุกป่าฝ่าดงพืชพิษชนิดร้ายที่เรียกว่า Poison Oak ถ้าผิวหนังของเราสัมผัสน้ำมันที่อยู่ตามเถาวัลย์หรือ ดอกใบต้น Poison Oak จะเกิดผืน่ คันปูดบวมนานนับเดือน เหยื่อบางรายมีอาการหนักถึงกับต้องเข้าโรงหมอเพื่อ ฉีดยา ก่อนที่เราจะแหวกว่ายในดงพิษ นอกจากเสื้อผ้า หน้าผมต้องรัดกุมแล้ว ยังต้องชโลมผิวหนังด้วยโลชั่น ชนิดพิเศษอีกด้วย หลังจากผ่านการตะลุยดงพิษร่วม สองชัว่ โมง ต้องล้างอุปกรณ์ทกุ อย่าง ทัง้ มีด ถุงมือ ถุงเท้า รองเท้า และชุดที่ใส่ทำงาน จากนั้นต้องรีบชำระร่างกาย ด้วยสบู่เหลวชนิดพิเศษที่ผลิตขึ้นเพื่อล้างพิษ Poison Oak โดยเฉพาะ ซึ่งมีกลิ่นประดุจน้ำยาขัดรองเท้า 54
Fearless
ขณะที่เอาสบู่ลูบคางยิ่งทำให้รู้สึกเหมือนกำลังขัด รองเท้า วันนี้เข้าถึง Forest Practice จริงๆ Rainbow Family Forgiveness : the Wisdom of Our Heart (A Retreat for the Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender, Queer, Questioning, Intersex & Same-Gender Loving Community) Teacher: Arinna Weisman, Larry Yang, Pascal Auclair Date : Monday, December 13-Sunday, December 19 (6 nights) Place : Spirit Rock Meditation Center California USA Cost : $525 - $825, sliding scale plus a donation to the teachers and retreat staff. Spirit Rock Meditation Center นั่งรถจากวัดป่าอภัยคีรีลงไปทางทิศใต้ประมาณ 2 ชั่วโมงก็ถึงศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งผุดขึ้นกลาง หุบเขาน่าเดินเล่น ระหว่างทางปรากฏฟาร์มเลี้ยงวัว เลี้ยงม้าและโรงงานผลิตเนยแข็งตั้งอยู่ประปราย อนาคาริกผูเ้ ป็นสารถีชชี้ วนให้ดู Lucas Valley ของจอร์จ ลูคัส ผู้กำกับภาพยนต์มหากาพย์ Star War 55
Diary
เมื่อเดินสำรวจ Spirit Rock ทัศนคติในแง่มิดีมิร้ายที่ ข้าฯเคยมีต่อสถานที่แห่งนี้ก็เปลี่ยนไป เดิมทีข้าฯได้ยิน มาว่าที่นี่สอนเฉพาะ Dhamma Light หรือธรรมะ ที่เลือกสรรมาแล้วว่า จะทำให้ผู้ฟังสบายใจ โดยเลี่ยง ที่จะสอนในเรื่องความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นสิ่ง ทีช่ าวตะวันตก รับได้ยาก แต่คอร์สสำหรับ 10 วันต่อไปนี้ ท่านพระอาจารย์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ในสายวัดหนองป่าพง จะเป็นผู้นำในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งท่านคง ไม่เลีย่ งทีจ่ ะเปิดเผยธรรมชาติอนั มีอยูป่ ระจำ สัตว์บคุ คล ให้ผู้เข้าอบรมได้รับทราบ แม้จะเป็นยาขมก็ตาม ข้าฯเห็นว่าการให้ธรรมะเป็นทานแก่เพื่อนมนุษย์ ไม่ควรจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม แต่สำหรับที่นี่ นอกจากการทำตัวให้กลิ้งกลืนลื่นไหลไปกับตาราง การปฏิบัติในแต่ละวันแล้ว บรรดาโยคีที่รักทั้งหลาย ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย ภาระเรื่องอาหาร เครื่องดื่ม ห้องประชุม ห้องน้ำ ห้องพัก ซักล้าง ปัดกวาดเช็ดถู รั ก ษาพยาบาล จึ ง ตกเป็ น ของคณะผู้ บ ริ ห ารและ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแล ต่างจากการไปปฏิบัติธรรมที่วัดซึ่ง ค่อนข้างแน่นอนทีเดียวว่า อุบาสกอุบาสิกาจะต้อง ได้ รั บ มอบหมาย ให้ ส ละแรงกายบำรุ ง สถานที่ ไม่ลา้ งส้วมก็ตอ้ งล้างจาน ไม่กวาดลานวัดก็ตอ้ งกวาดศาลา บางครั้งยังเตลิดไปถึงการอาบน้ำชำระเหงื่อไคลให้หมา แม้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงในการสัมผัส Spirit 56
Fearless
Rock Meditation Center แต่ขา้ ฯก็พอจะสรุปบรรยากาศ โดยรวมได้ว่า ที่นี่เป็นอีกหนึ่งพิกัดบนพื้นผิวโลก ที่ผู้คน มารวมตัวกันเพื่อสร้างสันติภาพอันแท้จริง The Great Gig in the Sky ทางวัดป่าอภัยคีรีจัดสมุดเล่มหนึ่งไว้ในออฟฟิศ เรียกกันแบบชินปากว่า Diary พระภิกษุสามเณรท่าน ใดมีธุระจะเดินทางไปไหนใกล้ไกลก็มาบันทึกไว้ในสมุด เล่มนี้ หากมีธุระในวันเดียวกันหรือสามารถเลื่อนให้มา อยู่วันเดียวกันได้ เราก็จะเดินทางพร้อมๆกัน เป็นการ ประหยัดน้ำมันและช่วยลดความร้อนของบรรยากาศโลก ไปในตัว วันนีข้ า้ ฯหยิบ Diary มาพลิกดูมอี ยูร่ ายการหนึง่ แปลกกว่าใครเพื่อน เป็นลายมือฝรั่งอ่านได้ใจความว่า 13 August 2010 : Massive asteroid to impact earth, everyone killed instantly! อ่านแล้วยังงุนงง ข้าฯจึงลองค้นดูในอินเตอร์เน็ตว่ามันคืออะไรกันแน่ แล้วก็ปะทะกับเหตุการณ์ จำลองดาวเคราะห์น้อยพุ่ง ชนโลก! แต่นับว่ายังโชคดีเพราะวันที่ 5 August ข้าฯมีนัดกับทันตแพทย์ ภัยพิบัติจะสาหัสเพียงใด ขอให้ข้าฯได้ดูแลสุขภาพในช่องปากก่อนก็แล้วกัน
57
Diary
Investigation เมื่อรับชมและรับฟังคลิปวิดีโอดาวเคราะห์น้อยพุ่ง ชนโลกจาก YouTube ข้าฯก็เชื่อมด้วยการล่มสลายทาง อารยธรรมของชนเผ่ามายา ระเรื่อยมาถึงการล่มสลาย ทางเศรษฐกิจของประเทศอาร์เจนตินา เท่านั้นยังไม่พอ ฟอร์เวิร์ดเมล์เกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองจากสยาม ประเทศ ที่ข้าฯหมักบ่มไว้ตั้งแต่มาอยู่อเมริกา ก็ถูกเปิด ขึ้นมาพิจารณาประกอบเนื้อหาจากไฟล์ pdf ของ หนังสือ “กรรมของคนไทย ทำกันไว้เอง (ถึงเวลา ต้องแก้กรรมกันเสียที)” ผลงานของ พระเดชพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ทำให้ข้าฯสรุป ความคิดเห็นของตัวเองออกมาเป็นข้อๆได้ดังนี้ 1. พระมหากษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรมทรงเป็น พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ 2. บุคคลผู้มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป จึง สมควรได้รับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 3. เหตุปัจจัยอันใดที่ทำให้บุคลากรทางการเมือง ของไทยล้าหลังทางศีลธรรม? เท่าที่พิจารณาได้ขณะนี้ มีสองประการคือ 3.1 ครอบครัว : คำปรามาสที่รุนแรงคำหนึ่งใน สังคมไทยก็คือ “ลูกพ่อแม่ไม่สั่งสอน” ซึ่งแสดงให้เห็น ว่าครอบครัวมีส่วนรับผิดชอบโดยตรงต่อพฤติกรรม ของบุตรหลานที่อยู่ในความดูแลของตน 58
Fearless
3.2 การศึกษา : ระบบการศึกษาในปัจจุบัน ไม่ได้่ให้น้ำหนักกับการปลูกฝังด้านคุณธรรมมากพอ ที่จะทำให้บุคคลเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน 4. นักกิจกรรมถามพระอาจารย์ท่านหนึ่งว่า สังคม ทุ ก วั น นี้ วุ่ น วาย พระจะมี ส่ ว นช่ ว ยเหลื อ อย่ า งไร? พระอาจารย์ตอบว่า “สังคมวุ่นวายเพราะคนเห็นแก่ตัว พระควรเป็นตัวอย่างของคนที่ไม่เห็นแก่ตัว” Ka Booom! ข้าฯเล่าให้โยมเพือ่ นทีเ่ ป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย ฟังว่า สมัยเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ข้าฯเป็นคนหนึ่ง ที่สนใจเรื่องการเมือง เหตุเพราะขณะนั้นเริ่มฝึกเล่น กีต้าร์จากเพลงของคาราวาน ก็เลยพลอยให้ได้อ่าน หนังสือต้องห้ามในยุค 14 ตุลา’16 และ 6 ตุลา’19 จนกระทัง่ เรียนจบชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลาย ความสนใจ ของข้าฯที่มีต่อการเมืองก็ยังข้นเข้ม แต่หลังจากนั้น ไม่นานข้าฯก็ตัดหางปล่อยวัดแบบหัวเด็ดตีนขาด โยมเพื่อนคอการเมืองถามว่าทำไม? ข้าฯเล่าสืบไปว่า มีอยูว่ นั หนึง่ ข้าฯเข้าไปทำธุระในเมือง ก็เลยซื้อหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ติดมือมาด้วย พอลง จากรถเมล์ก็ไปนั่งอ่านที่ชิงช้าหน้าบ้าน แล้วก็พบว่า แต่ละคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์เต็มไปด้วยข่าวนักการเมือง คอรัปชั่น จนข้าฯเกิดความสงสัยว่า ก็รู้อยู่ว่ามันผิด 59
Diary
ทำไมเขายังทำกัน? ข้าฯเกิดอารมณ์ขุ่นเคืองอยากกำจัด นักการเมืองเหล่านั้นให้สิ้นซาก แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาข้าฯจึงเลิกสนใจการเมือง ถ้ามี โอกาสเปิดหน้าหนังสือพิมพ์ก็จะกระโดดไปสิงสถิตอยู่ที่ หมวดบันเทิงเริงรมย์ทันที จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ข้าฯ ลองคำนวณระยะเวลาเป็นหน่วยขวบปีกน็ บั ได้ครบนิว้ มือ นิว้ เท้าพอดี แต่ทกุ อย่างก็ยงั คงดำเนินไปตามครรลองเดิม ข้าฯบอกโยมเพื่อนว่าเป็นบุญที่ได้มาบวช ถึงแม้ว่า โลกจะไม่เปลีย่ น แต่เราก็ยงั เปลีย่ นไปในทางทีเ่ จริญขึน้ บ้าง แม้สักเล็กน้อยก็ยังดี เพราะถ้ามัวแต่เอาพลังงานที่มีอยู่ ไปทุ่มเทให้กับการเปลี่ยนแปลงโลก ป่านนี้ศีรษะคง แตกออกเป็นเสี่ยงๆไปนานแล้ว Ka Booom!! สืบเนื่องจากประโยคคำถามในหัวข้อก่อนหน้านี้… ก็รู้อยู่ว่ามันผิด ทำไมเขายังทำกัน? เมื่อข้าฯได้เข้า มาสู่ แ วดวงของพระป่ า จึ ง เข้ า ใจแจ้ ง กระจ่ า งว่ า ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะหาอุบาย มาป้องกันหรือกำจัด ความโลภ โกรธ หลงภายในจิตใจ บ่อยครั้งที่ข้าฯ เหนื่อยหน่ายเมื่อผลของการแสดงออกทางกาย วาจา ย้อนมาสนองตัวเอง แต่ด้วยเหตุที่ข้าฯเลือกดำเนินชีวิต แบบพระป่า ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่คลุกคลีอยู่กับความ สงัดวิเวกของภูเขา นอกจากนี้ยังมีครูบาอาจารย์ เป็น 60
Fearless
กัลยาณมิตรคอยชี้แนะตักเตือนปลุกปลอบให้กำลังใจ ซึ่งทั้งท่านและเราต่างก็ศึกษา และลงมือปฏิบัติด้วย ระบบที่ผ่านการพัฒนามากว่า ๒,๕๐๐ ปี เพื่อไปสู่ เป้าหมายเดียวกันคือความพ้นทุกข์ องค์ประกอบ เหล่านี้ทำให้ความยากเข็ญในการป้องกันและกำจัด สิ่งเศร้าหมองภายในจิตใจเป็นไปอย่างคล่องตัว เมื่อมาพิจารณาดังนี้ ข้าฯจึงเกิดความเห็นใจผู้ที่ถูก ความไม่รบู้ ดขยีย้ ำ่ ยี ถึงแม้วา่ เขาจะเสพสุขสนุกสนานใน เบื้องต้น แต่ทุกข์ทรมานแสนสาหัสจะตามพิฆาตเขา ในที่สุด เมื่อเวลานั้นมาถึง ทรัพย์สมบัติในธนาคารหรือ เพือ่ นพ้องญาติพนี่ อ้ งก็ไม่อาจยืน่ มือ เข้าช่วยเหลือเขาได้ ข้าฯไม่ได้สาปแช่งใคร เราทุกคนต่างเลือกที่จะสาปแช่ง หรืออวยพรตัวเอง Delight in Solitude ว่างๆข้าฯนั่งอ่าน The Essential Haiku: Version of Basho, Buson & Issa Ediyed by Robert Hass เพียงยี่สิบหน้าก็ซู่ซ่าอยากจะเขียนขึ้นมาบ้าง ใช้เวลา ชั่วลัดนิ้วมือสู่นิ้วเท้าก็ปรากฏสิบสี่บทไม่มีทศนิยม ภายในห้องเล็กๆ ที่เราแบ่งปัน เงียบจนได้ยินเสียงกลืน 61
Diary
อากาศมิถุนายน ยังเหน็บหนาว คิดถึงว่าวตัวน้อย นั่งรออาหารเช้า หนังสือเล่มหนึ่ง ขดอยู่ข้างแก้มก้น พระเถระฝรั่ง อ่านหนังสือแปลกๆ หลับละเมอลั่นห้อง มัฟฟินหลังวันพระ ฝีมืออนาคาริกะ ผู้น่ารัก ลิ้นสับสน ระหว่างแยมบลูเบอร์รี่ กับเนยถั่ว ทัศนคติ ที่เรามีต่อกัน ช่างหอมหวาน 62
Fearless
เสียงนกเค้าแมวสังเคราะห์ ทำให้หนังสั้นของฉัน ประหลาดรส ประดิษฐ์ไม้กวาด ปีละครั้ง ยังไหว ไร้ซึ่งเสียงดนตรี เราต่างก็รู้ว่า ไม่จำเป็น ไม่อาจใส่ใจ รสชาติ ของภาพเขียนได้อีก ความงามของผู้หนึ่ง อีกหนึ่ง กลับนิ่งเฉย ดอกหญ้าวู่วาม ฉันผิดเอง ที่ถูกควรเป็น…วูบไหว 63
Diary
เดินขึ้นภูเขา เช้านี้ ง่วงนอน
64
Fearless
ก ร ก ฎ า ค ม
4th of July 2010 พระฝรั่งบอกข้าฯว่าวันนี้เป็นวันชาติอเมริกา ทุกคน จะกินขนมปังกับฮอทด็อก แต่วันนี้มีอาหารไทยเยอะ ข้าฯจึงเมินอาหารฝรั่ง เพราะโอกาสที่จะได้สดชื่นกับ อาหารรสจัดแบบนี้หาไม่ได้ง่ายๆ พระฝรั่งสังเกตุเห็น จึงพูดสัพยอกว่า “อยู่อเมริกาต้องทำหน้าที่” Pacific Hermitage คณะสงฆ์วัดป่าอภัยคีรีเดินทางมาที่เมือง White Salmon รัฐ Oregon เพื่อเปิดสำนักสาขาใหม่ที่ตั้งชื่อว่า Pacific Hermitage เราขับรถขึ้นมาทางทิศเหนือโดยใช้ เวลาเดินทางประมาณ 15 ชั่วโมง หักลบกลบเวลา หยุดพักฉันอาหาร เติมน้ำมัน แวะร้านกาแฟออกไป 2 ชั่วโมง สิริรวมก็ 17 ชั่วโมง ประมาณนั่งรถโดยสาร ประจำทางจากอุบลฯไปเชียงใหม่ ระหว่างทางเราแวะชม Carter Lake ซึ่งเป็น ทะเลสาบที่เกิดขึ้นในปล่องภูเขาไฟโบราณ และเป็น ทะเลสาบที่ลึกที่สุดในสหรัฐอเมริกา น้ำในทะเลสาบ สีน้ำเงินสะอาดบริสุทธิ์ เพราะมีเพียงน้ำฝนกับหิมะที่ ละลายไหลลงไปรวมอยู่เบื้องล่าง และไม่มีจุดเชื่อมต่อ กับแหล่งน้ำอื่นๆ บนยอดเขาและพื้นดินรอบๆ Carter Lake มีหมิ ะปกคลุมตลอดทัง้ ปี ข้าฯเห็นเด็กๆปัน้ ก้อนหิมะ เป็นลูกกลมๆขว้างหัวกันน่าสนุกดี 66
Fearless
Pacific Hermitage เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของ กลุ่มชาวพุทธที่ใช้ชื่อว่า Portland Friends of the Dhamma ในเบื้องต้นกลุ่ม PFoD ได้ขอเช่าพื้นที่แห่งนี้ เป็นเวลา 1 ปีด้วยราคา 1,000 ดอลล่าร์ / เดือนจากนั้น ได้อาราธนานิมนต์พระมาจากวัดป่าอภัยคีรีจำนวน 3 รูปมาอยูจ่ ำพรรษา เพือ่ ศึกษาความเป็นไปในการสร้าง วัดป่าอย่างถาวร ภายในบริเวณที่พักสงฆ์มีโรงรถ ขนาดใหญ่ และบ้านอีกหนึง่ หลังตามอัตราส่วน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องโถง 1 ห้องครัว และมีป่าขนาดย่อม อยู่เยื้องไปด้านข้างซึ่งกำลังปลูกสร้างกุฏิอีก 1 หลัง เวลาประมาณหกโมงเช้าข้าฯออกเดินสำรวจไป ตามถนนด้านหน้าที่พักสงฆ์ เพียงสิบนาทีก็เห็นวิว ภู เ ขาสวมหมวกหิ ม ะคล้ า ยๆภู เ ขาไฟฟู จิ ที่ ญี่ ปุ่ น ขณะกำลังบันทึกภาพก็มีสุภาพสตรี อายุประมาณ ๗๐ ปีอนงค์หนึ่งเดินออกกำลังกายเข้ามาทักทาย คุณยายเล่าว่า ลูกสาวซึ่งเคยเข้าคอร์สฝึกสมาธิที่ อลาสก้าเคยบอกว่า พระพุทธเจ้าสอนว่าธรรมชาติ ทั้งมวลปกป้องเรา ข้าฯบอกคุณยายไปตามตรงว่า นีไ่ ม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าเสียแล้ว คุณยายจึงถามว่า ถ้าอย่างนั้นพระพุทธเจ้าสอนอะไร? สิ่งแรกที่ข้าฯนึกถึง ก็คือชีวิตของมนุษย์เต็มไปด้วยความทุกข์ พระพุทธองค์ ทรงสอนวิธีที่จะออกจากความทุกข์เหล่านั้น แต่พอนึก ขึ้นมาได้ว่าอาจจะต้องอธิบายต่อไปอีกว่า ความแก่ 67
Diary
ความเจ็บ ความตาย คือความทุกข์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ชาวตะวันตกไม่อยากรับรู้ มันรุนแรงเกินไปสำหรับเขา ข้าฯจึงบอกคุณยายเพียงว่า ข้าฯกำลังศึกษาภาษาอังกฤษ ความรู้ด้านภาษาที่มีอยู่ตอนนี้ไม่เพียงพอที่จะอธิบาย คำสอน ของพระพุทธเจ้า ถ้าคุณยายสนใจก็เชิญไป สนทนากับพระอาจารย์ได้ ที่พักสงฆ์ก็อยู่ใกล้ๆนี่เอง พระอาจารย์คงยินดีมากที่จะได้พูดคุยกับคุณยายซึ่ง เป็นคนพื้นที่ จากนั้นเราก็เซย์ good bye เพราะได้ เวลาข้าวโอ๊ตด้วยกันทั้งคู่ ภาษาอังกฤษคำละวัน : Pacific นอกจากจะเป็นชื่อของ มหาสมุทรแล้วยังแปลได้อีกว่า ความสงบสุข
Buddhists Resource Center เวลาประมาณหกโมงเย็น ชาวคณะวัดป่าอภัยคีรี เดินทางมาถึงศูนย์ปฏิบัติธรรมของกลุ่ม Friends of the Dhamma ณ เมือง Portland ศูนย์ฯแห่งนี้ก่อตั้ง มาเกือบสิบปีแล้ว จากการที่ได้พูดคุยกับพระฝรั่งก่อน เดินทาง มาที่นี่ ท่านบอกว่า PFoD เป็นกลุ่มชาวพุทธ เถรวาทตามแนวทางการปฏิบัติของ Ajahn Chah ที่ เ ข้ ม แข็ ง มาก เมื่ อ เราเดิ น เข้ า ไปในศู น ย์ ฯ ก็ พ บ รูปหลวงพ่อชาแขวนอยู่บนผนังบริเวณบันไดทางขึ้น ภายในตัวอาคารสองชัน้ ซึง่ ตัง้ อยูห่ วั มุมถนนประกอบด้วย 68
Fearless
ห้องสวดมนต์นั่งสมาธิ ห้องสมุด ห้องทำงานเอกสาร สตูดิโอ ห้องน้ำปานะ และห้องน้ำ เย็ น วั น นี้ มี ญ าติ โ ยมมาร่ ว มกิ จ กรรมสวดมนต์ นั่งสมาธิ สนทนาธรรม ประมาณ 50 - 60 คน แม้บางคน จะยังกราบไม่ตรงตามอย่างเบญจางคประดิษฐ์ แต่ก็ เห็นความพยายามและความตั้งใจ ถึงกับทำให้ข้าฯเกิด ความคิดขึ้นมาว่า หากเราปฏิบัติธรรมจนมี “ที่อยู่” คงจะทำประโยชน์ได้มากกว่านี้ นักเรียนทีท่ ำการบ้านของ ตัวเองยังไม่เสร็จ แม้จะสามารถแนะนำเพือ่ นร่วมห้องได้ แต่ความรู้สึกห่วงหน้าพะวงหลังก็มักจะเวียนว่ายมา รบกวนจิตใจอยู่เสมอ หลังจากเสร็จกิจกรรมแล้ว ชาวคณะวัดป่าอภัยคีรี ก็แยกย้ายกันไปพักตามบ้านของสมาชิก PFoD ข้าฯกับ พระฝรั่งอีกรูปหนึ่งเดินข้ามสองแยกมาพักที่บ้านของ สองสามีภรรยา ชื่อแสตนกับเกล…บ้านหอมสะอาด หลับสบาย Let it go โยม : ช่วงนี้มีคนมาปรึกษาปัญหาชีวิตกับหนู ส่วนมาก ก็บอกว่าปล่อยวางไม่ได้โดยเฉพาะเวลาถูกนินทา ล้มแล้วโดนเหยียบ เจ็บเพราะคำพูดคน เค้าว่าพูดว่า ปล่อยวางได้ง่ายแต่ปฏิบัตินั้นยากมาก จะแนะนำเค้า อย่างไรดีคะ? กราบขอบพระคุณหลวงพี่ล่วงหน้าค่ะ 69
Diary
เปสโลภิกขุ : แนะนำให้เค้าพิจารณาพุทธภาษิตต่อไปนี้ “คนพูดมากเขาก็นินทา คนพูดน้อยเขาก็นินทา นั่งนิ่งๆ เขาก็ นิ น ทา คนไม่ ถู ก นิ น ทาไม่ มี ใ นโลก” แม้ แ ต่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ก็ยังถูกกระทบกระทั่ง นับประสาอะไรกับปุถุชนเยี่ยง ท่านๆเราๆ Good Luck Cowboy! อากาศระอุกลางเดือนกรกฎาคมของ San Antonio เมืองหน้าตาธรรมดาๆในรัฐ Texas ทำให้ข้าฯกระหวัด ถึงอุณหภูมิองศาเดียวกันที่จังหวัดชลบุรี ถึงจะร้อน ระดับนี้แต่ก็ยังมีลมเอื่อยๆ พัดอยู่ตลอดเวลา ข้าฯ หลบแดดกล้ามาเดินอยู่ที่ River Walk อันอบอวลไป ด้วยบรรยากาศลำคลองเขียวคล้ำในกรุงเทพฯ ต่าง ก็แต่ที่นี่จะปลอดขยะและไร้กลิ่นชวนรากเหียน เจ้าของ ร้านค้าสองฟากฝั่งต่างระดมดอกไม้สีสดออกมาประดับ กันเต็มอัตรา นักท่องเที่ยวหลากผิวสีนั่งๆเดินๆอยู่บน ฟุตบาธและล่องเรือสำเริงสำราญอยู่ในลำคลอง เดินข้ามถนนมาไม่กอี่ ดึ ใจก็ปะทะอุทยานประวัตศิ าสตร์ The Alamo เมื่อข้าฯผ่านเข้าไปในตัวอาคารก็เห็น เจ้ า หน้ า ที่ ปี น ป่ า ยนั่ ง ร้ า น ใช้ แ ปรงจุ่ ม สี แ ต่ ง แต้ ม ป้อมปราการอนุรักษ์ความคร่ำคร่าโบราณ ได้ยินเสียง เจ้าหน้าทีภ่ าคพืน้ ดินเตือนนักท่องเทีย่ วอยูเ่ ป็นระยะๆว่า 70
Fearless
กรุณาอย่าจับกำแพงนะคร๊าบบบ… ข้าฯแวะดูป้าย นิทรรศการยาวเหยียดด้วยเวลาทั้งสิ้นหนึ่งนาที แล้ว จรลีออกมาถ่ายรูปต้นกระบองเพชร เยื้องกับประตู ทางออกของ The Alamo เป็นพิพิธภัณฑ์ Ripley’s Believe It or Not! เพียงเห็นป้ายข้าฯก็รีบจ้ำอ้าวขึ้นรถ เพราะเชื่อทุกเส้นขนเกรียมแดดทีเดียวว่า San Antonio เป็นเมืองที่มีหน้าตาธรรมดาจริงๆ
71
Diary
สิ
ง
ห
า
ค
ม
Rains Retreat โยม : นมัสการค่ะท่าน เป็นยังไงบ้างคะ เข้าพรรษาที่ อเมริกาให้ความรูส้ กึ แตกต่างจากชลบุรไี หม เข้าพรรษานี้ ของโยมดีมากๆ อธิษฐานจิตไว้หลายข้อเลย แล้วก็ยัง ไม่พลาดมาจนถึงวันนี้ ศีลห้าก็รักษาอย่างดี เลิกเหล้า เลิกสังสรรค์ก่อนเข้าพรรษามาได้หกเดือนแล้วล่ะค่ะ วิถีชีวิตก็เปลี่ยนๆแปลกๆดี เดี๋ยวนี้ตกเย็นก็เข้าสภา กาแฟแทน ได้เจอเพือ่ นกลุม่ ใหม่ๆ แฟนกับเพือ่ นกลุม่ เดิมๆ ก็เริม่ ทำใจยอมรับความเปลีย่ นแปลงของเราได้บา้ งแล้ว (มั้ง) 55 ชีวิตเรียบๆไม่หวือหวาก็ดีไปอีกแบบ กราบ ขอบพระคุณในความกรุณาของท่านด้วยนะคะ บางที อ่านหนังสือหรือคุยกับท่าน มันก็ทำให้ฉุกคิดอะไรได้ บางอย่าง หลายๆเรือ่ งก็พยายามฝึก พยายามเปลีย่ นตัวเอง ไปเรือ่ ยๆตามธรรมชาติ ไม่ฝนื ไม่สดุ โต่ง เพราะเรายังต้อง ใช้ชีวิตในสังคม ตอนนี้รู้สึกว่าตัวเองมีความสุขมากๆ กราบขอบพระคุณท่านอีกรอบค่ะ เปสโลภิกขุ : บรรยากาศการจำพรรษาที่นี่ไม่เอาจริง เอาจังเหมือนวัดป่าที่เมืองไทย พระยังคงเดินทางไปนั่น มานี่กันบ่อยๆ แต่พอจะอธิบายได้ว่าเพราะอากาศช่วงนี้ ปลอดโปร่ง ทางคณะสงฆ์จึงใช้อากาศที่ปลอดโปร่งนี้ ทำงานอันมีการทาสีและผ่าฟืนเป็นต้น หรือถ้ามีญาติโยม มาพักเป็นจำนวนมากก็สามารถกางเต๊นท์ตามจุดต่างๆได้ 73
Diary
ไม่ต้องอาศัยกุฏิติดฮีตเตอร์เหมือนช่วงฤดูหนาว ส่วน เรื่องเครื่องดองของมึนนั้น อาตมาเองก็แอบลุ้นอยู่ ทุกบ่อยว่าเมื่อไหร่คุณพี่ปุกปุยจะปฏิบัติศีลห้าได้สักที เพราะหลายครัง้ ทีค่ ณ ุ พีส่ ง่ อีเมล์มาถึงอาตมาก็มกั จะเล่าว่า เดินทางไปฟังเทศน์ของพระอาจารย์รูปนั้นหรือเพิ่งอ่าน หนังสือของพระอาจารย์รปู นี้ พออาตมารูว้ า่ คุณพีต่ งั้ เนือ้ ตั้งตัวได้ก็รู้สึกชื่นใจจริงๆ เมื่อได้ยินคำว่าสังคม ทำให้ อาตมานึกถึงหนังสือเล็กๆเล่มหนึ่งที่แถมมากับ a day ถ้าจำไม่ผิดน่าจะชื่อ “ความสุขที่คุณไม่ต้องดื่มก็ได้” ใน หนังสือเล่มนัน้ มีสถานการณ์จำลองสัน้ ๆทีเ่ คยเกิดขึน้ จริง อยูส่ ถานการณ์หนึง่ เขาเอามานำเสนอเป็นภาพ…ลูกชาย หน้าตาขี้เหล้าเอามือเท้าเอวยื่นหน้าเถียงแม่ว่า “โธ่! แม่ ผมน่ะกินเหล้าเข้าสังคม” คุณแม่ตวั อ้วนชีห้ น้าด่าลูกชายว่า “สังคมเหี้ยๆน่ะสิ” Community Work Day คณะสงฆ์ วั ด ป่ า อภั ย คี รี จ ะลงประกาศทั้ ง ทาง อินเตอร์เน็ตและจดหมายข่าวให้ญาติโยมได้ทราบว่า ทุกวันอาทิตย์ที่สองของเดือนคณะสงฆ์ฯจะเปิดโอกาส ให้ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาอุตสาหะ ได้เสียสละแรงกาย ร่วมกับพระภิกษุสามเณรในการพัฒนาสถานที่ ส่วน กิจกรรมที่พระเจ้าหน้าที่เตรียมไว้ให้ทำก็มีหลากหลาย 74
Fearless
ตั้งแต่งานเบาๆเช่นแปะสติ๊กเกอร์บนแผ่นซีดี จนถึงงาน อาบเหงื่อต่างน้ำเช่นทำบันไดไต่ขึ้นภูเขา ที่พิเศษก็คือวันนี้จะงดรวมสวดมนต์ทั้งเช้าและเย็น ทำให้สมาชิกแต่ละท่านเทใจลุยงานกันเต็มพิกัดเพราะ รูว้ า่ คืนนีไ้ ด้หลับยาวแน่ๆ ในโอกาสนีข้ า้ ฯได้รบั มอบหมาย ให้ไปปีนป่ายหลังคา เพื่อทำความสะอาดรางระบายน้ำ ร่วมกับพระฝรัง่ อีกรูปหนึง่ ระหว่างเดินแบกบันไดจากกุฏิ หลังหนึ่งไปอีกหลังหนึ่ง ข้าฯถามพระฝรั่งว่าเคยถูก มดตะนอยกัดไหม? ท่านตอบว่าเคย…ทีว่ ดั หนองป่าพง… ปวดมาก คำตอบของท่านทำให้ขา้ ฯนึกถึงเรือ่ งหนึง่ ขึน้ มาได้ พระฝรัง่ รูปหนึง่ เดินทางไปจำพรรษาทีป่ ระเทศศรีลงั กา ชาวบ้านช่วยกันปลูกกระท่อมหลังเล็กๆซึ่งอยู่ใกล้ สวนกล้วยถวายท่าน วันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังเดิน จงกรมอยู่ มีช้างเชือกหนึ่งซึ่งเข้ามาหากินในสวนกล้วย โผล่ออกมาประจัญหน้ากับท่านเข้าพอดี ช้างพุ่งเข้า ชนจนพระฝรั่งล้มลง จากนั้นช้างก็ตามมากระทืบขา ทั้งสองข้างของท่านจนกระดูกแตก ท่านหมดสติไปนาน เมือ่ ฟืน้ ขึน้ มาช้างก็ไม่อยูบ่ ริเวณนัน้ แล้ว ท่านรูส้ กึ เจ็บปวด ที่ขาจนแทบทนไม่ไหว พอเอี้ยวตัวดูก็เห็นฝูงมดตะนอย กำลังดูดกินเลือดท่ีขาของท่านอย่างเอร็ดอร่อย ท่าน พยายามใช้ข้อศอกคลานหนี แต่ฝูงมดตะนอยก็วิ่งกรู ตามมาติดๆ ท่านหมดสติอีกครั้งเมื่อคลานถอยหลัง มาถึงทางเดินเท้าของชาวบ้าน พอท่านรู้สึกตัวอีกทีก็อยู่ 75
Diary
ที่โรงพยาบาล เมื่อข้าฯเล่าเรื่องนี้จบพระฝรั่งที่เดินแบก บันไดมาด้วยกันอุทานว่า Awful!! ภาษาอังกฤษคำละวัน : ถามพระฝรั่งว่า I don’t want to bother you. พอจะใช้แทนคำว่าเกรงใจได้ไหม? ท่านตอบว่า คงไม่ได้และคงไม่มีคำไหนแทนได้ เพราะ “เกรงใจ” ไม่ใช่ วัฒนธรรมของเรา (ฮา)
Vinaya Classes ช่วงเข้าพรรษาเป็นเวลาทีพ่ ระภิกษุสามเณรจะได้ศกึ ษา พระวินัยอย่างต่อเนื่อง เพราะเหตุที่จะเดินทางไปไหน ใกล้ไกลมีน้อย ทำให้คณะสงฆ์รวมตัวกันได้ค่อนข้าง เหนียวแน่น การศึกษาพระวินัยที่เมืองไทยกับที่อเมริกา มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ ชาวไทยจะคุ้นเคย กับการศึกษาในรูปแบบที่ว่า อาจารย์ผู้สอนจะถ่ายทอด วิทยาการต่างๆให้กับลูกศิษย์ โดยผู้เป็นศิษย์มีหน้าที่ ตั้งใจฟังเพียงอย่างเดียว ในชั้นเรียนพระวินัยที่เมืองไทย ก็เช่นกัน พระอาจารย์จะขึ้นธรรมาสน์อ่านหนังสือที่มี ชื่อว่าบุพพสิกขาวรรณนา ซึ่งตีพิมพ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2403 ภาษาที่ใช้ในการเขียนก็เป็นภาษาของยุคสมัยนั้น เมื่อ มาประกอบกับการอ่านต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง จึงทำให้พระหนุ่มเณรน้อยที่คุ้นเคยกับความ ฉับไวแบบ Karate Kid อ้าปากหาวนำ้ตาไหลเป็นทางยาว 76
Fearless
ผูท้ ไี่ ด้รบั ประโยชน์ในการนีม้ ากทีส่ ดุ น่าจะเป็นพระอาจารย์ เพราะท่านต้องเตรียมตัวมาเพือ่ อธิบายพระวินยั แต่ละข้อ ถ้าจะกระตุกกระตุน้ ให้พระหนุม่ เณรน้อยถามปัญหาคาใจ ก็คงจะไม่มที า่ นผูใ้ ดอ้าปากถามอะไร เพราะนีเ่ ป็นข้อมูล ใหม่ทพี่ งึ่ เคยได้ยนิ ได้ฟงั เป็นครัง้ แรก หนำซ้ำยังมากมาย ก่ายกอง ไฉนเลยจะมีแก่ใจวิเคราะห์พินิจพิจารณา ส่วนการศึกษาพระวินัยที่วัดป่าอภัยคีรี ในแต่ละวัน จะมีการขึ้นป้ายประกาศว่า ครั้งต่อไปจะศึกษาเกี่ยวกับ หัวข้อใด จะต้องอ่านหนังสือพระวินัยจากหน้าใดถึง หน้าใด ส่วนหนังสือที่ใช้เป็นหลักในการศึกษาพระวินัย สำหรับพระภิกษุสามเณรชาวต่างประเทศก็คือ The Buddhist Monastic Code ของฐานิสโรภิกขุ ตีพิมพ์ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2537 ก่อนที่พระภิกษุสามเณรจะมา ร่วมกันศึกษาพระวินยั แต่ละครัง้ คณะสงฆ์จะมอบหมาย ให้พระภิกษุรปู หนึง่ ทำการค้นคว้าพระวินยั จำนวน 2-3 ข้อ หรือถ้าเป็นหัวข้อสั้นๆมากกว่านั้น เพื่อนำมาอธิบาย ในชั้นเรียน เมื่อผู้อธิบายและผู้ฟังมีข้อมูลพร้อมสรรพ ต่างฝ่ายจึงสามารถซักถามแลกเปลีย่ นความคิดเห็นและ ประสบการณ์กันได้อย่างถึงพริกถึงขิง แต่บางตัวอย่าง ที่ พ ระผู้ มี ห น้ า ที่ อ ธิ บ ายยกมาก็ พิ ส ดารเข้ า ขั้ น เช่ น ถ้าพระพูดกับโยมผู้หญิงว่า Your body smells like roses. จะต้องอาบัติอะไร? จากประสบการณ์ของข้าฯ การศึกษาค้นคว้าพระวินยั 77
Diary
ด้วยตัวเองจะทำให้จดจำได้นาน รวมทั้งเห็นวิธีป้องกัน และแก้ปัญหาได้ดีกว่าการเป็นผู้รับสารเพียงฝ่ายเดียว หากค้นคว้าในตำรับตำราแล้วยังไม่คลายความสงสัย จึงหาโอกาสเหมาะๆกราบเรียนถามพระอาจารย์เป็น การส่วนตัวในภายหลัง บ่อยครัง้ ทีเ่ รียนไปแล้วแต่ไม่เคย ประสบปัญหาในพระวินัยข้อนั้นโดยตรงก็ทำให้ลืมเอา ได้ง่ายๆ แต่เมื่อได้แก้ความสงสัยในข้ออาบัติต่างๆแล้ว จึงจะสามารถจดจำและอธิบายพระวินัยข้อนั้นได้อย่าง มั่นอกมั่นใจ ป.ล.ก่อนเดินทางมาอเมริกาข้าฯก็พจิ ารณาอยูเ่ หมือนกันว่า จะเอาหนังสือบุพพสิกขาวรรณนา ซึ่งทั้งหนาและหนัก ไปด้วยดีไหม? แต่ท้ายที่สุดก็หยิบคู่มือปฐมพยาบาล (Guide to Self-Care) ซึง่ ทัง้ หนักและหนาไม่แพ้กนั มาแทน วันนีด้ ใี จมากมายทีร่ วู้ า่ มีบพุ พสิกขาวรรณนาออนไลน์ดว้ ย Casa Serena ในภาษาสเปนแปลว่า ‘บ้านแห่งความสงบสุข’ เป็ น บ้ า นหลายชั้ น หลายห้ อ งนอน หลายห้ อ งน้ ำ จนขี้เกียจจะนับ บ้านหลังนี้มีเนื้อที่ติดกับวัดป่าอภัยคีรี เดิมทีอยู่กันสองคนตายาย ลูกหลานอยู่ห่างไกลไม่มา เหลียวแล คุณตาป่วยด้วยโรคมะเร็งแล้วก็เสียชีวิต อีกหนึง่ ปีถดั มาคุณยายก็ปว่ ยแล้วเสียชีวติ ตามไปอีกด้วย 78
Fearless
โรคเดียวกัน ระหว่างที่สองตายายป่วยท่านพระอาจารย์ เมตตามาเยีย่ มเยียนและญาติโยมทีว่ ดั ก็มาช่วยกันดูแล ด้วย คุณยายซาบซึ้งในน้ำใจจึงถวายบ้านพร้อมที่ดิน ให้แก่วดั แต่ทางวัดต้องจ่ายหนีท้ คี่ ณ ุ ตาคุณยายกูธ้ นาคาร มาสร้างบ้านเป็นจำนวนเงินถึง 27,000 ยูเอสดอลล่าร์ (27,000 x 32 = 864,000 บาท) แล้วจัดให้เป็นทีพ่ กั สำหรับ อุบาสิกา บ้านทัง้ หลังพรัง่ พร้อมด้วยอุปกรณ์อำนวยความ สะดวก ทั้งเครื่องครัว เครื่องซักผ้า เตาผิงและอื่นๆ ข้าฯ มาที่บ้านแห่งนี้สี่ครั้งแล้ว ครั้งแรกมาสำรวจ ครั้งที่สอง มาส่งญาติโยม ครั้งที่สามมาทาสี และครั้งที่สี่มาเพื่อ จดข้อความที่พิมพ์อยู่บนภาพถ่ายสุดท้ายของคุณตา… I’m not going to die honey: I’m going home like shooting star! Selfish โยม : ถ้ามีคนพูดว่า “นักปฏิบัติธรรมเห็นแก่ตัว” จะอธิบายให้เขาฟังอย่างไร? เปสโลภิกขุ : ศีลห้าคืองดเว้นจากการฆ่า - งดเว้นจาก การลักทรัพย์ - งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดปด - งดเว้นจากการเสพสิ่งเสพติด ศีลแปดเพิ่มเข้ามาอีกสามข้อคือ งดเว้นจากการบริโภค อาหารหลังเที่ยงวัน - งดเว้นจากความบันเทิงเช่นดูหนัง 79
Diary
ฟังเพลง งดเว้นจากการใช้เครื่องหอมเครื่องประดับ งดเว้นจากที่นั่งที่นอนอันหรูหรา…ข้อปฏิบัติเหล่านี้คน เห็นแก่ตัวทำไม่ได้ โยม : ถ้ามีคนพูดว่า “นักปฏิบตั ธิ รรมตัดช่องน้อยแต่พอตัว” จะอธิบายให้เขาฟังอย่างไร? เปสโลภิกขุ : เมือ่ ปฏิบตั ธิ รรมจนได้รบั ความสุขทีเ่ กิดจาก ความสงบ เราจึงจะสามารถเปรียบเทียบความสุขที่เกิด จากการดูหนังฟังเพลงหรือไปร่วมงานปาร์ตี้ได้อย่าง ชัดเจน อุปมาดั่งบุรุษผู้บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอยู่ เป็นนิจ เมื่อได้ลิ้มรสข้าวมันไก่ เขาย่อมทราบถึงความ แตกต่างของอาหารทั้งสองชนิดได้ด้วยตัวเอง อนึ่ง ความสุขทีเ่ กิดจากการดูหนังฟังเพลงหรือไปร่วมงานปาร์ตี้ ย่อมต้องใช้เงินแลกมา ซึ่ง ‘เงิน’ เป็นสิ่งที่มนุษย์ในโลก ต่างก็มุ่งแสวงหา นี่จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการแก่งแย่ง เบียดเบียนกัน ส่วนความสุขที่เกิดจากความสงบ อาศัย ปัจจัยสีเ่ ป็นเครือ่ งสนับสนุนเพียงเพือ่ ยังอัตภาพให้เป็นไป เมื่อไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานไปกับการหาวัตถุมาเสพ นักปฏิบัติธรรมจึงสามารถนำพลังงานเหล่านั้น มาทำ ประโยชน์ให้แก่ตวั เองและผูอ้ นื่ ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย คอมเม้นท์จากน้องออน : ออนก็เคยโดนคนค่อนขอดนะ 80
Fearless
เรื่องตัดช่องน้อยแต่พอตัวเนี่ย หลวงพี่วัยรุ่นมากค่ะ เข้าใจปัญหาวัยรุ่นเข้าวัดได้อย่างดีเลยทีเดียว แต่เวลา มีคนมาว่าออน ออนก็เฉยๆนะ ภูมิใจด้วยซ้ำ รู้สึกตัวเอง เป็นเด็กแนวค่ะ ฮ่าๆ เปสโลภิกขุ : “พุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ดี ให้คำตอบ แก่ โ ลกและชี วิ ต แต่ ติ ด ตรงที่ เ ชย ก็ เ ลยไม่ ล งมื อ ปฏิบัติ” อาตมาเห็นว่าคนที่มีแนวความคิดแบบนี้ เป็นคนที่ไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่กล้า ทวนกระแส ไม่ ก ล้ า แตกต่ า ง และไม่ เ ห็ น จะแนว ที่ตรงไหน Brush & Floss พระภิกษุสามเณรที่วัดป่าอภัยคีรีจะผลัดเปลี่ยนกัน ไปตรวจฟันปีละครั้ง วันนี้เป็นโอกาสของข้าฯกับพระอีก สามรูป แม้หมอฟันจะไม่ใช่ชาวพุทธแต่เมือ่ รูว้ า่ พระสงฆ์ ในพุทธศาสนา เป็นผู้ทำประโยชน์ให้กับชุมชนที่ตน เข้าไปอยู่อาศัย ก็ลดค่ารักษาให้ 50% ท่านพระอาจารย์ บอกว่า “ฝรัง่ ก็ทำบุญเป็นเหมือนกัน” นอกจากนีห้ มอฟัน ยังใจดีถวายแปรงสีฟนั ไหมขัดฟันและสติก๊ เกอร์อกี ด้วย ส่วน Concept ของสติ๊กเกอร์ รูปหนูแปรงฟันสีสันน่ารัก นี้ก็คือ SO COOL BRUSH & FLOSS
81
Diary
The Four Noble Truths V.S. E = mc2 โยม : โยมไม่มั่นใจหรอกนะว่าพระพุทธเจ้ามีจริงไหม อาจจะเป็นสิง่ ทีส่ มมุตขิ นึ้ แล้วสอนๆกันมา แต่แนวทางและ วิธปี ฏิบตั สิ ามารถอ้างอิงได้ดว้ ยวิทยาศาสตร์ ก็เลยรูส้ กึ ว่า ไม่ต้องสงสัยก็ได้ว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือเปล่า เปสโลภิกขุ : โยมไม่ใช่คนแรกหรอกที่สงสัยเรื่องนี้ เมื่อ สิ บ ปี ก่ อ น ตอนที่ อ าตมาเริ่ ม เขี ย นหนั ง สื อ ก็ ส งสั ย เหมือนกันว่า มีคนแต่งเรื่องพระพุทธเจ้าหลอกเราหรือ เปล่าหว่า? เพราะเราก็กำลังแต่งเรื่องหลอกเด็กอยู่ (ฮา) แต่ผู้ที่แต่งเรื่องนี้คงไม่ได้แต่งคนเดียว ต้องมากันเป็น ทีมใหญ่มากๆ และแต่ละคนในทีมก็ต้องเป็นบุคคลที่มี ปัญญาสูงมากๆ เพราะไม่วา่ จะยกส่วนใดในพระไตรปิฎก ขึ้นมาพิจารณา ก็สามารถเชื่อมโยงไปถึงส่วนอื่นๆได้ ทัง้ นัน้ ไม่วา่ จะเป็นส่วนหยาบหรือส่วนละเอียดปลีกย่อย ถ้าไม่เชือ่ ก็ลองไปศึกษาดู แม้แต่ในประวัตพิ ระสาวกหรือ ชาดกต่างๆ ขอฝากไว้สองคำถามเพราะจะรีบไปถูศาลา 1.ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในตัวเรามีจริงไหม? 2.ทำไมผู้คนจึงเชื่อไอสไตน์ว่า E=mc2 เฉลย : ข้อแรกอาตมาคงไม่จำเป็นต้องตอบเพราะโยม ก็คงทราบอยู่แก่เนื้อหนังของตัวเองดีอยู่แล้ว แต่ขอ 82
Fearless
เล่าเสริมอีกหน่อยว่า เมือ่ ครัง้ ทีเ่ จ้าชายสิทธัตถะเสด็จออก ผนวชและยังไม่ได้ตรัสรู้ พระราชาพระองค์หนึ่งทรงทอด พระเนตรเห็นนักบวชหนุ่ม มีลักษณะน่าเจริญใจต่าง จากนักบวชทั่วไป จึงเสด็จมาสนทนาด้วย พระองค์ตรัส ถามว่าท่านออกบวชเพื่อสิ่งใด? นักบวชหนุ่มตอบว่า เราออกบวชเพือ่ ค้นหาวิธหี ลุดพ้นไปจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย พระราชาไม่เคยสดับว่ามีผู้ใดออกบวชเพื่อ สิ่งนี้มาก่อน แต่พระองค์ทรงเลื่อมใสเพราะเห็นว่า สิ่งที่ นักบวชหนุ่มกำลังค้นหาอยู่นี้มีคุณค่าแก่ชีวิตมนุษย์ พระองค์จึงทรงตรัสแก่นักบวชหนุ่มสืบไปว่า หากท่าน ค้นพบแล้ว โปรดกลับมาสั่งสอนเราและประชาชนของ เราด้วย อีกหกปีตอ่ มานักบวชหนุม่ จึงประสบความสำเร็จ และเรียกสิ่งที่ได้ค้นพบว่าอริยสัจสี่ ข้อที่สอง ขอเฉลยว่า เพราะนักวิทยาศาตร์คนอืน่ ๆสามารถพิสจู น์ได้วา่ สมการ นี้เป็นจริง และสามารถ นำไปสร้างระเบิดปรมาณูได้จริง อริยสัจสี่ก็เช่นเดียวกัน เพราะมีพระภิกษุรูปอื่นๆทั้งใน ครั้งพุทธกาลและหลังพุทธกาล สามารถพิสูจน์ได้ว่า คำสอนนี้เป็นจริง และสามารถนำไปสู่ความดับทุกข์ ได้จริง Teen Weekend เป็ น โครงการของ Spirit Rock Meditation Center เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กวัยรุ่นอเมริกันได้มาฝึก 83
Diary
สมาธิ และสัมผัสความเป็นอยู่แบบวัดป่าเป็นเวลา 2 วัน 2 คืน หลังจากสวดมนต์ในตอนเช้า พระอาจารย์ ได้แนะนำวิธีนั่งสมาธิและเดินจงกรม จากนั้นก็เป็น เวลาอาหารเช้า แล้วพระเจ้าหน้าที่จัดสรรงานก็แบ่งงาน ให้ทำ วันนีข้ า้ ฯได้รบั มอบหมายให้ตระเวนบันทึกภาพการ ทำกิจกรรมของเด็กๆตามจุดต่างๆ ระหว่างทีข่ า้ ฯกำลังกด ชัตเตอร์ก็แอบได้ยินพวกเขาพูดถึง ภาพยนตร์แวมไพร์ สุดฮิต พระพี่เลี้ยงรูปหนึ่งเล่าว่ามีวัยรุ่นสองคนถาม เกีย่ วกับการ์ตนู เอ็มทีวยี อ้ นยุคทีช่ อื่ Beavis & Butt-Head แต่ทนี่ า่ สนใจทีส่ ดุ ก็คอื วัยรุน่ บางกลุม่ คุยกันเรือ่ งสันติภาพ ของโลก ในช่วงบ่ายพระอาจารย์และพระพี่เลี้ยงนำเด็กวัยรุ่น ทัง้ 16 คนไปปล่อยไว้ในป่า เพือ่ ให้พวกเขาฝึกเดินจงกรม และนั่ ง สมาธิ ต ามลำพั ง เป็ น เวลาหนึ่ ง ชั่ ว โมงครึ่ ง ช่วงนี้ข้าฯไม่ได้ตามไปบันทึกภาพ แต่คาดว่าคงไม่มี ใครร้องไห้ขี้มูกโป่ง เมื่อ Tea Time มาถึงจึงเป็นโอกาส ให้บรรดาวัยรุ่น ได้สนทนาธรรมกับพระอาจารย์ ข้าฯ สัมผัสได้ถึงอารมณ์ขันและความอบอุ่นเป็นกันเองของ บรรยากาศ ภายในธรรมศาลา คงเป็นเพราะทีน่ ไี่ ม่ได้เน้น เรื่องกิริยามารยาทความเรียบร้อยสวยงามทุกกระเบียด จนทำให้เด็กเครียดเกินไป เมื่อสิ้นสุดโปรแกรม Teen Weekend ข้าฯก็พอจะสรุปได้วา่ วัยรุน่ ในโลกนีช้ า่ งเหมือน กันทุกแห่งหน คือมีทั้งความน่ารักและน่าเตะอยู่ในตัว 84
Fearless
กั
น
ย
า
ย
น
Bhikkhuni Situation ตัง้ แต่พดู ภาษาคนรูเ้ รือ่ งจนกระทัง่ เข้าใจความหมาย ของวลี “พูดกันไม่รู้เรื่อง” ข้าฯระลึกได้ถนัดถนี่ทีเดียวว่า “ภิกษุณ”ี ถูกหยิบมาเป็นหัวข้อสนทนาในหมูเ่ พือ่ นไม่ควร เกินสิบครัง้ และทุกครัง้ ก็จะจบลงด้วยข้อสรุปทีว่ า่ “ภิกษุณี หายสาบสูญไปนานแล้ว” จากนัน้ เราก็เปลีย่ นหัวข้อสนทนา เป็นเรือ่ งอืน่ ๆทีน่ า่ สนใจกว่าเช่น อดอล์ฟ ฮิตเลอร์กบั ชาลี แชปลิน ใครคลั่งไคล้หนวดทรงแปรงสีฟันมากกว่ากัน? หรือเย็นนี้จะชวนน้องรหัสแก้มยุ้ยไปกินสุกี้ที่ร้านไหนดี? ภายหลังที่ข้าฯละเพศนักศึกษามาบวชเป็นพระหนุ่ม แทบทุกครัง้ ทีเ่ รียนพระวินยั เมือ่ พระอาจารย์อธิบายมาถึง ศีลของภิกษุในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับภิกษุณซี งึ่ มีอยูด่ ว้ ยกัน ประมาณสิบข้อ ก็มักจะจบลงด้วยประโยคที่ว่า “ภิกษุณี หายสาบสูญไปนานแล้ว แต่เราสามารถนำพระวินยั เหล่านี้ ไปปรับใช้กับแม่ชีได้” หรือวัดบางแห่งพอเรียนมาถึง พระวินัยส่วนนี้ก็จะรวบสบงกระโดดข้ามไปเลย นับจากปลายปี พ.ศ.2552 ระเรื่อยมา เมื่อคณะสงฆ์ วัดหนองป่าพงลงมติตดั วัดป่าโพธิญาณ เมืองเพิรท์ ประเทศ ออสเตรเลีย ออกจากการเป็นสำนักสาขา เพราะคณะสงฆ์ วัดป่าโพธิญาณให้การอุปสมบท ภิกษุณเี ถรวาทซึง่ ขัดต่อ กฏระเบียบของคณะสงฆ์ไทย “ภิกษุณ”ี ก็ถกู หยิบยกขึน้ มา เป็นหัวข้อ ในการสนทนาอย่างกว้างขวาง ศูนย์ประชามติ สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำรวจ 86
Fearless
ความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯจำนวน 1,285 คน เมือ่ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2553 ในหัวข้อ “การบวชภิกษุณี ในประเทศไทย : ทัศนะของฆราวาส” ได้เปิดเผยข้อมูล อันน่าศึกษาดังต่อไปนี้ 77% เห็นว่าวัดที่มีแต่ภิกษุณีและแม่ชี ไม่มีภิกษุ จะมี ความปลอดภัยต่อผู้หญิงที่บวชมากกว่า และป้องกัน เรื่องเสื่อมเสียทางเพศได้ดีกว่า ข้อควรพิจารณา : ในครั้งพุทธกาลเมื่อภิกษุเดินทาง ร่วมกับภิกษุณีก็ถูกชาวบ้านติเตียน จึงมีพุทธบัญญัติ ห้ามภิกษุเดินทางร่วมกับภิกษุณี จากนั้นไม่นานเมื่อ ภิกษุณีเดินทางรูปเดียวก็ถูกโจรทำร้าย จึงมีอนุบัญญัติ ให้ภกิ ษุเดินทางร่วมกับภิกษุณไี ด้ ถ้าหนทางทีไ่ ปมีอนั ตราย เมื่อภิกษุณีเข้าไปปฏิบัติธรรม ในป่าก็ถูกโจรทำร้าย จึงมี พุทธบัญญัตอิ กี ว่าภิกษุณตี อ้ งอยูใ่ นอาวาสทีม่ ภี กิ ษุอยูด่ ว้ ย เมื่อภิกษุกับภิกษุณีอยู่ร่วมอาวาสเดียวกัน ก็เกิดเรื่อง เสื่อมเสียตามมามากมาย จึงมีพุทธบัญญัติเพิ่มเติม อีกหลายข้อในภายหลัง 74.9% เห็นว่าเป็นการส่งเสริมให้ผู้หญิงมีโอกาสฝึก ปฏิบัติธรรมในขั้นสูงมากขึ้น ข้อควรพิจารณา : ไม่วา่ จะอยูใ่ นเพศนักบวชหรือฆราวาส ผู้หญิงมีคุณสมบัติพร้อมทุกประการที่จะบรรลุคุณธรรม 87
Diary
ขั้นสูงได้เท่าผู้ชาย ดังปรากฏตัวอย่างนับไม่ถ้วนในครั้ง พุทธกาล เมื่อเป็นดังนี้ก็ควรเอาใจใส่ ในการปฏิบัติตาม พระธรรมวินัยให้เหมาะสมกับเพศภาวะของตน ไม่ช้า ก็เร็วผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ย่อมได้รับการเคารพและ สนับสนุนจากสังคม การได้ชอื่ ว่าเป็นภิกษุณเี ถรวาทอาจดู เข้มขลังและได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว เพราะมี ประวัตศิ าสตร์มายาวนาน แต่การกระทำในปัจจุบนั ต่างหาก ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า ท่านผู้นี้มุ่งมาเพื่ออรรถเพื่อธรรม เพื่อความพ้นทุกข์จริงหรือไม่ 70.2% เห็นว่าผู้หญิงไทยควรมีสิทธิในการบวชภิกษุณี ข้อควรพิจารณา : พระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ให้หลักการไว้ว่า “ผู้หญิงทุกคนมีสิทธิบวช เป็นภิกษุณี แต่ผู้ที่มีสิทธิบวชให้ (ภิกษุณีสงฆ์เถรวาทที่ ถูกต้องตามพระวินัย)ไม่มี” นอกจากนี้ท่านยังได้เสนอ ภาพรวมในการพิจารณาปัญหาภิกษุณีสามประการคือ 1. หลักการล้วนๆที่ไม่เจือความเห็น 2. สิ่งที่เราต้องการ 3. เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าหลักการไม่สอดคล้องกับ ความต้องการของเรา เราจะลดทอนความต้องการของเรา เพื่อรักษาหลักการ หรือจะลดทอนหลักการเพื่อทำตาม ความต้องการของเรา สิ่งใดจะเกิดประโยชน์หรือโทษ มากกว่ากัน 88
Fearless
65.3% เห็นว่าภิกษุณีเหมาะสมในการสั่งสอนธรรมะ และสอนวิธีปฏิบัติให้ผู้หญิงได้มากกว่าภิกษุ ข้อควรพิจารณา : ผู้อ่านคิดเห็นประการใดกับหย่อม ประโยคต่อไปนี้ “อาจารย์สอนภาษาอังกฤษทีเ่ ป็นผูห้ ญิง เหมาะสมในการสอนภาษาอังกฤษ และสามารถสอนวิธี เข้าถึงภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาผู้หญิง ได้มากกว่า อาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่เป็นผู้ชาย” 64.5% เห็นว่าเป็นการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่าง หญิงชาย ข้อควรพิจารณา : ในภาษาบาลีคำว่า สมตา (สะ-มะ-ตา) แปลเป็นไทยได้ว่า เสมอ ซึ่งหมายถึง เหมาะสม 66.9% เห็นว่าไม่จำเป็นต้องบวชภิกษุณีในไทย เพราะ ผู้หญิงสามารถปฏิบัติธรรมได้โดยไม่ต้องบวช 62.4% เห็นว่าบวชชีก็ดีอยู่แล้ว ข้อควรพิจารณา : พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อเลีย่ ม ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง จังหวัด อุบลราชธานี ผูเ้ ป็นธรรมทายาทสืบต่อจากพระเดชพระคุณ พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) ให้ความเห็นว่า “เพศภาวะของแม่ชีก็เพียงพอแก่การตรัสรู้ธรรม” ข้อมูลเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศปรากฏอยู่ 89
Diary
ตามสื่อต่างๆมากมาย เพราะเป็นสิ่งที่สังคมปัจจุบันให้ ความสนใจ ผูค้ นทัว่ ไปจึงสามารถรับข่าวสารได้โดยสะดวก อีกทั้งยังนำมาย่อยได้ง่ายกว่าข้อมูลเกี่ยวกับพระธรรม วินยั ซึง่ เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งอาศัยระยะเวลาและสติปญ ั ญาในการ ศึกษาค้นคว้า ในส่วนของพระธรรมก็พอจะหามาอ่านได้ ไม่ยาก เพราะมีอยู่ตามชั้นหนังสือทั่วไป แม้แต่ในร้าน สะดวกซือ้ แต่ในส่วนของพระวินยั ต้องเป็นผูท้ สี่ นใจศึกษา ค้นคว้าอย่างจริงจัง หากไม่ใช่พระภิกษุสามเณรแล้ว ก็ยากทีจ่ ะมีใครใส่ใจ ในการศึกษาพระวินยั จะต้องสืบสาว ไปถึงสาเหตุที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัยข้อนั้นๆ (มีศพั ท์เทคนิคว่า “นิทานต้นบัญญัต”ิ ) ตลอดจนทำความ คุน้ เคยกับบรรยากาศ ประเพณี วัฒ ั นธรรม ของชมพูทวีป ในครัง้ พุทธกาล จึงจะเกิดความเข้าใจและสามารถนำไป ปฏิบตั ใิ ห้สอดคล้องกับความจริงในสถานการณ์ปจั จุบนั แหล่งข้อมูล ธรรมบรรยาย : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 1. บวชภิกษุณี เมื่อรู้เรื่องแจ่มแจ้งและมีใจดีก็มาช่วยกันดู 2. เรื่องบวชภิกษุณีก็พิจารณาไป แต่อย่าลืมใส่ใจยกฐานะ แม่ชี 3. บวชภิกษุณีมีข้อควรรู้ประกอบไว้ 4. ปัญหาภิกษุณี คิดให้ดีก็ไม่ยาก 5. สิทธิสตรีนิด สังคายนาหน่อย 90
Fearless
หนังสือ : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 1. คนไทยใช่กบเฒ่า เถรวาท v.s. ลัทธิอาจารย์ 2. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ เว็บไซต์ http://gotoknow.org/blog/nadrda/319221 http://www.skyd.org/html/hot/bhikkhuni.html http://www.watnyanaves.net/th/audio_search http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1017 http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prawinai/3.10.html
Very Zen กราบนมัสการค่ะ แฮะๆๆ รู้สึกแปลกๆ ไม่ได้ส่งอีเมล์หาพระบ่อยๆ เรียกตัวเองว่าอะไรจะเหมาะเนี่ยะ เรียกว่าหนูได้ไหมๆ จะแอ๊บแบ๋วไหมเนี่ยะ หนูกำลังวางแผนทัวร์อยู่ค่ะ ว่าจะไปวัดทีพ่ ระอาจารย์เคยอยูป่ ฏิบตั ธิ รรมทีถ่ ามไปใน อีเมล์นั่นแหละ ตอนนี้โทรไปที่วัดติดแล้ว คนที่วัด บอกว่าไม่มคี ลืน่ โทรติดยากทัง้ ๆทีอ่ ยูช่ ลบุรี ก่อนนีห้ นูเคย ไปวัดสุนนั ทวนารามมาแล้วค่ะ ไปอยูม่ าเก้าวัน ไปตอนที่ ไม่มคี อร์สปฏิบตั ธิ รรม ชอบไปอยูว่ ดั ป่ามาก ชอบกินข้าว กาละมังใหญ่ๆ ก่อนนี้ตอนที่เรียนอยู่เคยไปวัดดอนทอง สาขาที่เท่าไหร่ของวัดหนองป่าพงหนูก็จำไม่ได้ อยู่ที่ 91
Diary
นครปฐม ตอนนั้นหนูไปช่วยพระถางหญ้า หนูอายุยสี่ บิ ห้าค่ะ ติดตามอ่านบล็อกของพระอาจารย์ มานานกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เคยคอมเม้นท์ พอพระอาจารย์ มีสมั ภาษณ์ลงในอะเดย์ ก็เลยไปซือ้ หนังสือ “เรือ่ งของเรา” มาอ่าน ตอนแรกค่อนข้างตงิดๆ ยอมรับว่าเป็นคนหัว สมัยเก่า แต่พอรู้จักกันไปนานๆก็เพลินขึ้น อีกทั้งหนูเพิ่ง กลับจากไปปฏิบัติที่วัดเซนของพระอาจารย์มีชื่อเสียง ระดับโลก ทำให้หนูรู้อะไรขึ้นเยอะ เพราะไปอยู่มา สีเ่ ดือนกว่า ทำให้ชดั เจนในแนวทางว่า วัดทีก่ นิ ข้าวกาละมัง ใหญ่ๆนี่แหละที่เราชอบ ทั้งความเป็นอยู่และแนวทาง การปฏิบัติ ลืมบอกไปว่า หนูไปอยู่ที่นั่นเพราะว่าอยาก บวช แต่ตอนนีเ้ ข็ดมาก ขอกลับไปอยูว่ ดั ป่าให้อนุ่ ใจสักพัก แล้วค่อยใช้ชวี ติ ต่อ พอหนูไปอยูท่ นี่ นั่ หนูรเู้ ลยว่าเป็นพระ เนี่ยะยากกว่าเป็นคนธรรมดาหลายเท่า ไม่ใช่ว่าพระ ไม่ใช่คนธรรมดา แต่เป็นคนธรรมดาที่เป็นพระยาก มากกกกกกกกกก นับถือพระอาจารย์ตรงนี้ เก่งอ่ะ ทำได้ไง ไม่ใช่วา่ หนูไม่บวชเพราะว่าละกิเลสไม่ได้นะ แต่วา่ ไม่บวช เพราะว่าวัดเซนทีน่ วี่ นุ่ วายเหลือเกิน แค่สติออ่ นๆเอาไม่อยู่ แต่อย่าไปว่าเค้าเลย ทีเ่ ค้าเป็นคนละอย่างก็ไม่อยากว่าเค้า ไม่ดี แต่หนูเองทีอ่ อ่ นแอ นีค่ อื เหตุผลทีเ่ ก็บกระเป๋ากลับมา หลังจากไปสัมผัสด้วยตนเอง พระอาจารย์อย่าไปบอก ใครนะ ขนาดแม่ของหนู หนูยังไม่บอกเลย ในหนังสือ “เรือ่ งของเรา” พระอาจารย์เขียนถึงวัดเซน 92
Fearless
วัดนี้ไว้ด้วย แต่เค้าไม่ได้มีลูกมีเมียนะ คำสอนเค้าก็ดีอยู่ แต่อยูข่ องเราดีอยูแ่ ล้ว หนูรนหาทีเ่ อง อย่างว่าเหตุปจั จัย มันคงเอื้ออำนวยให้กลับมามั่นคง กับแนวทางเดิม มากขึ้น การปฏิบัติเท่านั้นจะช่วยหนูได้ เล่าให้ฟังเล่นๆ แค่นี้ก่อนนะคะ วันหลังจะเล่าต่อว่าทำไมอยากบวช มากๆๆๆ ลืมบอกไปว่าหนูชื่อแนนคะ เจริญพรยามเช้าที่แคลิฟอร์เนีย แหะ แหะ อันทีจ่ ริงอาตมาก็ไม่ได้เป็นคนหัวสมัยใหม่ อะไรมากหรอก น่าจะเป็นคนหัวสมัยกลางเก่า กลางใหม่ มากกว่า อาตมาจำไม่ได้จริงๆว่าเขียนถึงวัดเซนท่ี่โยม น้องแนนไปปฏิบตั ธิ รรมมา 4 เดือน ไว้วา่ ยังไงบ้าง แต่กเ็ ป็น ประสบการณ์ทหี่ ายากนะ ชาวฝรัง่ ทีว่ ดั ป่าอภัยคีรที อี่ าตมา พำนักอยู่ก็มีหลายรูปแบบ บางคนมาจากวัดจีน บางคน มาจากวัดเซน บางคนมาจากวัดธิเบต บางคนมาจาก วัดพม่า บางคนฝึกมาจากอินเดียนแดง สารพัดสารพัน แต่พอมาอยูท่ นี่ เี่ ราก็ศกึ ษาตามแนวทางของ Ajahn Chah ทุกคนก็ยงั มีกเิ ลสกันคนละหลายๆกองนะ แต่เราเห็นพ้อง ต้องกันว่าถ้าเอามันออกไปได้ เราจะอยู่อย่างสบาย ในช่วงเข้าพรรษาอาตมาได้ศกึ ษาเกีย่ วกับพุทธศาสนา เถรวาทและมหายานอยู่บ้าง จึงพอมีความรู้มาฝากโยม น้องแนนเล็กๆน้อยๆ 1. อาตมาอุปมาเหตุการณ์ทพี่ ทุ ธศาสนาแบ่งออกเป็น 93
Diary
สองนิกายไว้ว่า มีพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งพยายามอนุรักษ์ วัตถุโบราณ เพราะเขาเห็นคุณค่าของมัน วันดีคืนดี มีคนทีท่ ำงานอยูใ่ นพิพธิ ภัณฑ์กลุม่ หนึง่ เห็นว่า ควรจะสร้าง พิพิธภัณฑ์วัตถุโมเดิร์น จึงตัดสินใจแยกตัวออกมา ทั้งสองกลุ่มยังเป็นเพื่อนกันได้เพราะมี วัตถุประสงค์ ร่วมกันในเรื่องศิลปะ แต่กต็ อ้ งให้ความเคารพในรสนิยม และยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน จึงจะปฏิบัติ ต่อกันได้อย่างเหมาะสม 2. เถรวาทหมายถึงพระธรรมวินัยอันถือตามหลักที่ พระเถระผูท้ ำสังคายนาในครัง้ แรก (หลังพุทธปรินพิ พาน สามเดือน) ได้รวบรวมวางเป็นแบบแผนเอาไว้ 3. พุทธศาสนามหายานในประเทศญีป่ นุ่ แบ่งออกเป็น 5 นิกายใหญ่ 200 นิกายย่อย และพระแทบทั้งหมด มีครอบครัว 4. พระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต) ให้ข้อสังเกตุไว้ว่า ถ้ามองพุทธศาสนาเถรวาทในแง่หนึ่ง ก็จะเห็นว่าใจแคบเพราะไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตามยุคสมัย แต่ถา้ มองกลับอีกมุมหนึง่ ก็จะเห็นว่าใจกว้างเพราะยอม ลำบากเสียสละตัวเองเพื่อรักษาพระธรรมวินัย ป.ล.ไปอยู่วัดเซนมาตั้ง 4 เดือน แม่ไม่ระแคะระคายบ้าง เชียวหรือว่าลูกสาวหายไปไหน?
94
Fearless
กราบนมัสการพระอาจารย์ แม่รู้ว่าหนูจะไปบวชค่ะ แม่เค้าทำใจไว้แล้วว่าลูก จะเอาดีทางนี้ ทีว่ ดั เซนถ้าใครตัดสินใจว่าจะบวช เค้าจะบวช กันตลอดชีวิต ตอนนั้นหนูกะว่าจะบวชตลอด แต่ตอนนี้ กะว่าจะยังไม่บวชค่ะ Hell or Slave โยม : ถ้าฝากพระหิว้ iPhone หรือ iPod มาจากเมืองนอก จะผิดศีลหรือเปล่าครับ? เปสโลภิกขุ : อาตมาจำได้ประโยคหนึ่งน่าจะมาจาก ตอนเรียนพระวินัย “ภิกษุยอมตัวให้คฤหัสถ์ใช้สอย” ได้ยินแล้วรู้สึกไม่ดีเลยใช่ไหม? ลองพิจารณาพระสูตรนี้ เพิม่ เติมนะ พระราชินพี ระองค์หนึง่ บอกให้ภกิ ษุณซี งึ่ เป็น พระอรหันต์ช่วยหยิบหวีส่งให้ ภิกษุณีพิจารณาว่าถ้า ไม่หยิบหวีส่งให้พระราชินีจะโกรธและต้องตกนรก แต่ถ้าหยิบหวีส่งให้ พระราชินีจะต้องไปเกิดเป็นทาส การเป็นทาสย่อมได้รับความทุกข์ทรมานน้อยกว่าการ ตกนรก เมื่อพิจารณาดังนั้นแล้วภิกษุณีจึงหยิบหวี ส่งให้พระราชินี Power for Peace ข้าฯมีโอกาสติดตามท่านพระอาจารย์เดินทางไปเข้า ร่วมประชุม คณะกรรมการอำนวยการสมัชชาสงฆ์ไทย 95
Diary
ในสหรัฐอเมริกาที่วัดพุทธานุสรณ์ เมืองฟรีมอนต์ มลรัฐแคลิฟอเนียร์ หลวงพ่อเจ้าอาวาสเป็นชาวอีสาน พระลูกวัดส่วนใหญ่กเ็ ป็นชาวอีสาน ญาติโยมจึงจัดอาหาร อีสานมาถวายเป็นการใหญ่ มีทั้งส้มตำปลาร้าแบบ อีสานแท้ๆ ลาบ แจ่ว ข้าวเหนียวร้อนๆ แถมยังมีวงดนตรี ไทยซึ่งเป็นนักเรียนของวัดมาช่วยขับประโคม ระหว่าง ทำภัตกิจ (ถ้าเป็นหมอลำคงพาเพลิน) ข้าฯพูดกับอนาคาริก ฝรั่งที่ไปด้วยกันว่า We live like a king!! เวลาประมาณบ่ายสองโมงคณะกรรมการฯนิมนต์ทา่ น พระอาจารย์แบ่งปันประสบการณ์แก่ทปี่ ระชุม ในฐานะที่ ท่านเป็นผูท้ ำงานเผยแผ่พทุ ธศาสนากับคนในพืน้ ทีโ่ ดยตรง ท่านพระอาจารย์แสดงความคิดเห็นเป็น ทีน่ า่ ประทับใจว่า “พระเป็นผู้มีอำนาจ ไม่ใช่อำนาจในการข่มผู้อื่น แต่เป็น อำนาจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับ ความสงบ” และ “เราไม่จำเป็นต้องเป็นพระที่พูดเก่งหรือมีความสามารถ โดดเด่น แต่ขอให้เราเป็นผู้มีความสงบ เท่านี้ก็เพียงพอ แก่การเผยแผ่พระพุทธศาสนา”
96
Fearless
Fearless Diary + Spring Talk คัดสรรเรื่องและถ่ายภาพ เปสโลภิกขุ ออกแบบปกและรูปเล่ม Dhamma Design Club พิสูจน์อักษร ดาริน ตั้งทรงจิตรากุล คอมพิวเตอร์กราฟิก ibeepdesign@gmail.com จัดพิมพ์เป็นของขวัญธรรมะครั้งแรก พฤศจิกายน 2553 จำนวน หนึ่งพันเล่มเต็มความสามารถ Copyright 2010 © Dhamma Design Club ติดตามรับชมภาพถ่ายประกอบได้ที่ http://fearlessdiary.exteen.com ติดตามรับชิมเปสโลภิกขุได้ที่ peslo123@yahoo.co.th พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์ โทรศัพท์ 02-433-0026-7 97
Diary
กราบขอบพระคุณเป็นที่ยิ่ง ท่านพระอาจารย์ปสันโน ท่านพระอาจารย์อมโร อนุโมทนาเป็นยิ่งนัก จาคนันโทภิกขุ ครอบครัวสุวรรณกูล ครอบครัววงศ์พระจันทร์ ครอบครัวทุมนัส ครอบครัวสุวรรณเบญจางค์ คุณอโณทัย คลังแก้ว คุณลดาวัลย์ ตั้งทรงจิตรากุล คุณดาริน ตั้งทรงจิตรากุล ร้านอาหารโอชา แซนแฟรนซิสโก
98
Fearless
เปสโลภิกขุ 2516 เกิดที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2536 เรียนที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2539 บวชที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี 2553 จำพรรษาที่วัดป่าอภัยคีรี ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลงานทรมานใจวัยหวาน 2550 Dhamma Design Issue 1 / บทกวีในที่ว่าง 2551 Dhamma Design Issue 2 / แดนสนทนา (สนพ.หนึ่ง) 2552 เรื่องเป็นเรื่อง / หนึ่งร้อย / เรื่องของเรา (สนพ.หนึ่ง) เสียงฝนบนภูเขา / Poems on The Road 2553 Pesalocation / Dhammascapes (สนพ.พาบุญมา)
99
Diary