PERSPEC TIVES
จุดชมวิว มุมมองคัดสรร ในวันที่ท้องฟ้าไม่มีเมฆ เป็นส่วนมาก
เปสโลภิกขุ
จุดชมวิว | 1
2 | จุดชมวิว
แด่...
แม่น�้ำม
จุดชมวิว | 3
เรื่องและภาพ เปสโลภิกขุ ภาพถ่ายปก สนธิ สุวรรณกูล สถานที่ เกาะเมาอิ ฮาวาย สหรัฐอเมริกา ภาพประดับ (Camera Vector) http://chapolito.com ออกแบบปกและรูปเล่ม Dhamma Design Club พิสูจน์อักษร มานี มีตา คอมพิวเตอร์กราฟิก ibeepdesign@gmail.com จัดพิมพ์เป็นของขวัญธรรมะครัง้ แรก กรกฎาคม ๒๕๕๕ จ�ำนวน หนึ่งพันห้าร้อยเล่มอร่าม สงวนลิขสิทธิ์ 2012 © Dhamma Design Club สงสัยเปสโลภิกขุ peslo123 @ yahoo.co.th สืบจากแท็บเล็ต www.issuu.com/dhammavalley พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดภาพพิมพ์ โทรศัพท์ ๐๒-๔๓๓-๐๐๒๖-๗
มูล
สารบัญ ธรรมะดีไซน์ อะไร? อย่างไร? ๖ ธรรมชาติบ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งแรก ๑๐ ธรรมชาติบ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งหลัง ๑๘ เด็กชายสลายบาป ๓๘ ออร์แกนิกพลิกโลก ๔๔ บทกวีกล่อมปีศาจ ๕๒ ค�ำถามส�ำคัญเท่าค�ำตอบ ๖๒ จิตหยาบทราบแล้วเปลี่ยน ๗๒ ค�ำถามข้ามนิกาย ๗๖ ปัญญาบนปราสาท ๘๔ สนทนากับฝรั่ง ๙๐ โปรดใช้สถิติอย่างมีสติ ครั้งที่ ๑ ๑๐๔ โปรดใช้สถิติอย่างมีสติ ครั้งที่ ๒ ๑๑๐ รักเธอเสมอภาค ๑๑๘ รู้อะไรก็ไม่สู้รู้จักตัว ๑๒๔ สนทนานอก สนทนาใน ๑๓๐
จ
จุดชมวิว Perspectives
เปสโลภิกขุ
6 | จุดชมวิว
ธรรมะดีไซน์ อะไร? อย่างไร?
นักเขียนซีไรต์ ผู้หนึ่งสงสัยว่า
การเอาผักมาชุบแป้งทอด เอายามาเคลือบน�้ำตาล เอาธรรมะมา ปรับโฉมปรุงแต่ง คุณค่าที่อยู่ในตัวยา ผัก หรือธรรมะจะลดลงไหม? ข้าฯขอเฉลยว่าคงจะลดลงบ้าง แต่ก็ขอถามกลับฉับไวด้วยหนึ่ง อุปมาว่า มีเด็กหน้าใดในโลกนีท้ ชี่ อบของขม? เมือ่ ครัง้ ทีพ่ วกเรายังไร้ เดียงสา ผู้ใหญ่มักจะน�ำแตงกวาหรือถั่วฝักยาว ซึ่งเป็นผักที่มีรสขม เจืออยู่เพียงน้อยนิด มาเป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการฝึกกินผักส�ำหรับ เด็ก แต่พวกเราในวัยนั้นก็ยังส่ายหน้า เป็นเหตุให้ผู้ใหญ่สรรหาวิธี แก้ปัญหาดังต่อไปนี้ ๑. “ต้องกิน! ถ้าไม่กินจะถูกท�ำโทษ” หากผู้ใหญ่เลือกวิธีนี้จะ ได้ผลที่ไม่ยั่งยืน เพราะเด็กจะฝืนใจท�ำด้วยความกลัว แต่หากใช้วิธี “ล่อด้วยรางวัล” ก็จะได้ผลที่ไม่ยั่งยืนเช่นเดียวกัน ๒. “จะกินหรือไม่กินก็ตามใจ” หากเลือกวิธีนี้เด็กก็จะไม่กินผัก เพราะมันไม่หวานฉ�่ำเหมือนน�้ำตาล ในระยะยาวสุขภาพของเด็ก จะทรุดโทรมจนเจ็บป่วยและถึงแก่ชีวิตในที่สุด
ธรรมะดีไซน์ อะไร? อย่างไร? | 9
๓. “ชุบแป้งทอด” เราต้องยอมรับว่าคุณค่าบางอย่างอาจจะ ลดลงบ้าง แต่เด็กก็ยังได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่วัยของเขา หาก เปรียบเทียบกับสองวิธีข้างต้น ย่อมแยบคายและให้ผลที่ยั่งยืนกว่า เมื่อครั้งที่ข้าฯปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา บางครั้งก็ได้แสดงธรรมขนาดสั้น โดย ใช้ภาษาอังกฤษง่ายๆ บางคราวก็ได้แสดงธรรมขนาดยาวเป็นภาษา ไทยแล้วให้ล่ามแปล ผลปรากฏว่าเนื้อหาจากการแสดงธรรมที่มี พระภิกษุสามเณรตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาชาวอเมริกัน กล่าวถึง กันมากที่สุด มาจากค�่ำคืนที่พวกเขาได้อ้าปากหัวเราะบ่อยครั้งที่สุด แม้จะผ่านไปแล้ว ๒-๓ วัน ข้าฯก็ยังแอบได้ยินพวกเขาพูดถึงกันอยู่ เมื่อยังเป็นพระหนุ่มเณรน้อยข้าฯก็ชอบแบบนี้เหมือนกัน พระธรรม เทศนาทีด่ ที สี่ ดุ ส�ำหรับข้าฯในวัยนัน้ ก็คอื พระธรรมเทศนาทีต่ ลกทีส่ ดุ ในวันพระหนหนึง่ ขณะทีท่ า่ นพระอาจารย์กำ� ลังแสดงพระธรรมเทศนา ข้าฯก็บน่ อยูใ่ นใจว่า “ไม่ตลกๆ” ตลอดทัง้ ชัว่ โมงทีน่ งั่ อยูใ่ นศาลา มีแต่ ค�ำนี้เกิดขึ้นอยู่ในใจของข้าฯตลอดเวลา จนกระทั่งถึงตอนท้ายของ การแสดงธรรม ท่านพระอาจารย์จงึ พูดขึน้ ว่า “ธรรมะไม่ใช่เรือ่ งตลก” ข้าฯได้ยินแล้วถึงกับสะดุ้ง ทุกวันนี้แม้ข้าฯจะยังชอบเรื่องตลก แต่ การศึกษาธรรมะชนิดเข้มข้นจากหนังสือ “พุทธธรรม” ของพระเดช พระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ก็เป็นเรื่องสนุกส�ำหรับ ข้าฯ เช่นเดียวกับมะระ สะเดา และบอระเพ็ด ซึง่ ได้กลายมาเป็นพืช ผักที่ข้าฯกด Like ในทุกครั้งที่ได้ขบเคี้ยว
10 | จุดชมวิว
ธรรมชาติ บ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งแรก
เข้ามา คุณเป็นคนไข้ กลับออกไป คุณเป็นหมอ ค�ำขวัญของคุณหมอเจค็อบ วาทักกันเชรี นักธรรมชาติบ�ำบัดจาก ตอนใต้ของประเทศอินเดีย ผู้ค้นพบวิถีธรรมชาติบ�ำบัดอันอ่อนโยน ต่อร่างกายและจิตใจ เมือ่ ข้าฯได้อา่ นหนังสือ “ธรรมชาติบำ� บัด : ศิลปะ การเยียวยาร่างกายและจิตใจ เพื่อสมดุลของชีวิต” ครั้งที่ยังปฏิบัติ ศาสนากิจอยูท่ วี่ ดั ป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วพบข้อความตอนหนึ่งว่า “มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช” จากนั้นก็มี
ธรรมชาติบ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งแรก | 13
การเปรียบเทียบระบบย่อยอาหารของสัตว์กินพืชซึ่งมีล�ำไส้ยาวและ ซับซ้อน กับสัตว์กินเนื้อซึ่งมีล�ำไส้สั้น เพราะต้องรีบขับสารพิษที่มีอยู่ ในเนื้อที่สัตว์ชนิดนั้นๆกินเข้าไปออกโดยเร็ว เมื่อทราบข้อเท็จจริงนี้ ข้าฯก็ถามตัวเองว่า เรากินเนื้อท�ำไม? ค�ำถามนี้วนเวียนท้าทายข้าฯ อยู่หลายเพลา โดยเฉพาะขณะที่พระภิกษุสามเณรและอนาคาริกะ สวดปฏิสังขาโย ในทุกเช้าก่อนฉันภัตตาหาร เราพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต มิได้เป็นไปเพื่อ ความเพลิดเพลินสนุกสนาน มิได้เป็นไปเพื่อความเมามันเกิดก�ำลัง พลังทางกาย มิได้เป็นไปเพื่อประดับ มิได้เป็นไปเพื่อตกแต่ง แต่เพื่อ ความตัง้ อยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ เพื่อความสิ้นไปแห่งความล�ำบาก ทางกาย อนึ่งความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย ความเป็น ผู้หาโทษมิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย จักมีแก่เราดังนี้ เมื่อกลับมาถึงบ้านเกิดที่อุบลราชธานี ก็ได้รับการบอกเล่าจาก ญาติโยมว่า วัดป่าทีข่ า้ ฯก�ำลังเดินทางไปพ�ำนักจะมีการจัดโปรแกรม ล้างพิษเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ข้าฯเห็นว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการรับ ค�ำท้าจากค�ำถาม เรากินเนือ้ ท�ำไม? เหตุทมี่ คี อร์สนีข้ นึ้ ในวัดป่าเพราะ มีอุบาสิกาที่วัดป่วยกันหลายท่าน ผู้ที่มาเข้าโปรแกรมนี้มีประมาณ ๑๐ ท่าน โดยมีข้าฯเป็นนักบวชเพียงรูปเดียว ในวันแรกมีสามเณรมา ร่วมด้วยสามรูป แต่เมื่อรู้ว่าในช่วง ๗ วันนี้จะต้องฉันเพียง ผัก ผลไม้
14 | จุดชมวิว
น�้ำมะพร้าว และสวนล�ำไส้ทุกวัน พวกเขาก็รีบถอนตัวโดยทิ้งค�ำพูด เคลือบสีหน้าขึงขังว่า “ตายกันพอดี” คุณหมอที่เป็นผู้น�ำการบ�ำบัดโดยธรรมชาติเป็นชาวอุบลฯโดย ก�ำเนิด เหตุทคี่ ณ ุ หมอมาศึกษาเรือ่ งธรรมชาติบำ� บัดเพราะเคยป่วยหนัก ด้วยหลายโรค และเคยเข้ารับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน มาแล้วแต่อาการกลับแย่ลง คุณหมอชาวอุบลฯจึงตัดสินใจไปเข้า โปรแกรมล้างพิษกับคุณหมอเจค็อบ จนกระทัง่ ได้กลายมาเป็นลูกศิษย์ และมีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศอินเดีย วันแรกของการอบรมเราพูดคุยกันถึง “ความคาดหวัง” ซึง่ แน่นอน ที่แต่ละท่านต่างก็คาดหวังว่า ตนจะหายจากโรคที่ก�ำลังรุมเร้าอยู่ เช่น เบาหวาน ปวดหลัง ปวดขา กรดไหลย้อน ภูมิแพ้ฯ บางท่านก็ รับประทานยามานานกว่าสิบปีแต่ยังไม่มีวี่แววว่าจะดีขึ้น เหตุที่ข้าฯ สนใจในวิถีธรรมชาติบ�ำบัดอย่างยิ่งยวดก็เนื่องจาก สอดคล้องกับ ความเป็นอยู่ของพระป่าและสามารถปฏิบัติได้ทันทีเช่น การเคี้ยว อาหารให้ละเอียดตามหลัก “เคีย้ วน�ำ้ -ดืม่ อาหาร” การอาบแดดวันละ ครึง่ ชัว่ โมง การเดินเปลือยเท้าบนพืน้ ดิน การเข้านอนไม่เกินยีส่ บิ สอง นาฬิกา และตื่นก่อนหกนาฬิกา การฝึกหายใจเข้าลึกๆหายใจออก ยาวๆ การล้างพิษโดยสวนส�ำไส้ การงดอาหารประเภทเนื้อ นม ไข่ ไอศกรีม เค้ก คุ้กกี้ ชา กาแฟ ผงชูรส เจือสีสังเคราะห์ แต่งกลิ่นเลียน ธรรมชาติฯ
ธรรมชาติบ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งแรก | 15
สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดส�ำหรับการปฏิบัติตนตามแนวทางธรรมชาติ บ�ำบัด เป็นสิ่งส�ำคัญอย่างเดียวกับการปฏิบัติธรรมนั่นก็คือ “สติ” เรามักจะมีพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดไหลไปตามความเคยชิน เดิมๆ “สติ” เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เรากลับมายังปัจจุบัน เพื่อน�ำไป สู่แนวทางใหม่ที่เราตั้งใจจะด�ำเนิน แต่วิถีธรรมชาติบ�ำบัดเป็นเรื่อง ยาก เพราะผู้คนยุคใหม่ฝักใฝ่ความรวดเร็วและเอาสะดวกเข้าว่า ครูบาอาจารย์ในยุคก่อนเก่า เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยท่านก็มักจะอาศัย ธรรมโอสถ คือการอดทนต่อทุกขเวทนาซึ่งเผ็ดร้อน ขมขื่น ไม่เป็นที่ เจริญใจ แต่คนในยุคปัจจุบันคุ้นเคยกับการกินยา เพราะอยากจะ ก�ำจัดทุกขเวทนาให้หมดไปอย่างรวดเร็ว เป็นไข้ก็กินยา น�้ำมูกไหล ก็กนิ ยา ท้องเสียก็กินยา โดยหารู้ไม่ว่าอาการเหล่านี้เป็นวิธีที่ร่างกาย ใช้ขับพิษ ยาจะเข้าไปหยุดยั้งกระบวนการขับพิษของร่างกาย เป็น เหตุให้เกิดการสะสมพิษและรอแสดงผลในโอกาสถัดไป เมื่อทราบหลักการของธรรมชาติบ�ำบัดพอสังเขปแล้ว ข้าฯขอ น�ำเรื่องแปลกๆที่ได้ยินได้ฟังในช่วงที่เข้าอบรมเป็นเวลา ๗ วัน มา แบ่งปันเป็นอุทาหรณ์ คุณยายผู้หนึ่งติดผงชูรสงองแงม ต้องรับประทานอาหารที่ใส่ ผงชูรสเท่านั้น อยู่มาวันหนึ่ง ลูกสาวท�ำกับข้าวให้รับประทานโดย ไม่ใส่ผงชูรส เพราะเป็นห่วงสุขภาพของผูบ้ งั เกิดเกล้า แต่เมือ่ คุณยาย ตักกับข้าวเข้าปาก ก็บ่นเป็นค�ำถามขึ้นมาทันทีว่า ไม่ได้ใส่ผงชูรส
16 | จุดชมวิว
ใช่ไหม? ลูกสาวได้ยินดังนั้นจึงถือจานกับข้าวเข้าไปในครัว สักครู่ก็ เดินกลับออกมาโดยไม่ได้เติมสิ่งใดลงไปในจานนั้นเลย คุณยายตัก อาหารในจานนั้นชิมแล้วพูดขึ้นว่า เออ! ต้องแบบนี้ มันจึงจะอร่อย ชาวบ้านในหมูบ่ า้ นแห่งหนึง่ มีอาชีพรับจ้างฉีดยาฆ่าแมลง ชาวบ้าน ท�ำติดต่อกันมานาน จนเป็นเหตุให้เล็บหลุดทั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านหกคนเดินทางไปรับจ้างปลูกข้าวในนาแปลงหนึ่ง ก่อน หน้านี้เจ้าของที่นาใช้ยาฆ่าแมลงชนิดเข้มข้นฉีดก�ำจัดวัชพืช หลัง จากชาวบ้านทั้งหกคนยืนแช่อยู่ในน�้ำเพื่อปลูกข้าวเป็นเวลาครึ่งค่อน วัน ก็พักกินอาหารกลางวัน ตกเย็นทั้งหมดก็เสียชีวิต ญาติพี่น้อง ของชาวบ้านที่ถึงแก่กรรมจึงเรียกค่าเสียหาย จากเจ้าของที่นาเป็น มูลค่าหนึ่งล้านบาทต่อหนึ่งศพ เจ้าของที่นาตรอมใจเพราะไม่รู้ว่า จะไปหาเงินจ�ำนวนหกล้านบาทมาจากที่ใดจึงผูกคอตาย พนักงานวัยทองประจ�ำบริษัทแห่งหนึ่ง ป่วยเป็นโรคประหลาด ซึ่งหมอแผนปัจจุบันไม่ทราบสาเหตุ โรคที่ว่านั้นก็คือทุกครั้งที่ก้าว เดินจะมีความรู้สึกราวกับถูกไฟฟ้าช็อต จนถึงกับต้องใช้ไม้เท้าช่วย พยุงในการเดิน เธอเข้ารับการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติบ�ำบัด โดยการ เดินเท้าเปล่าบนพื้นดิน และกินเฉพาะผักผลไม้ติดต่อกันเป็นเวลา หกเดือน ผลก็คือโรคประหลาดนั้นหายไป
ธรรมชาติบ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งแรก | 17
ฝรั่งผู้หนึ่งปวดท้องอย่างรุนแรงจึงไปพบหมอ หลังจากผ่านการ เอ๊กซเรย์แล้วหมอก็ถามว่า คุณรับประทานกุ้งครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่? ฝรั่งผู้นั้นบอกว่าผมไม่กินกุง้ และแพ้อาหารทีม่ สี ่วนประกอบของสัตว์ ชนิดนี้ แต่หมอก็ยังคาดคั้นเอาค�ำตอบจากค�ำถามเดิม ฝรั่งผู้นั้นนึก อยู่ครู่ใหญ่แล้วตอบว่า ผมรับประทานกุ้งครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ สิบปีที่แล้ว ตอนนั้นเป็นงานเลี้ยงฉลองครบรอบแต่งงาน เมื่อทราบ ค�ำตอบแล้วหมอจึงบอกเขาว่า เอ๊กซเรย์พบเปลือกกุ้งติดอยู่ในล�ำไส้ เป็นเหตุให้เขาต้องล้างพิษโดยการสวนล�ำไส้ ด้วยน�ำ้ เปล่าเป็นครัง้ แรก ในชีวิต ผลก็คือเปลือกกุ้งหลุดออกมาในทันทีที่ขับถ่าย ธรรมชาติบ�ำบัดท�ำให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องง่ายส�ำหรับชน ทุกระดับ เพราะวัตถุดิบที่น�ำมาใช้ในกระบวนการรักษาไม่ใช่วัคซีน วิตามิน อาหารเสริม เครือ่ งบริหารร่างกาย หรือเครือ่ งกรองน�ำ้ ราคาสูง ซึ่งต้องน�ำเข้าจากต่างประเทศ แต่กลับเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ผลไม้ตามฤดูกาล ผักพื้นบ้าน น�้ำฝนหรือน�้ำประปาซึ่งน�ำมาผึ่ง แดด หรือไม่ก็เป็นสิ่งที่ท�ำขึ้นใช้เองเช่น สบู่ถั่วเขียว แชมพูมะกรูดฯ ในระหว่างการอบรมมีการสอนวิธีท�ำสิ่งเหล่านี้ ตลอดจนสาธิตวิธี ปรุงอาหารแบบธรรมชาติบ�ำบัดด้วย ความสอดคล้องต้องกันอย่าง บังเอิญของธรรมชาติบ�ำบัดกับการปฏิบัติธรรม สามารถสรุปลงใน พุทธสุภาษิตที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” นี้เป็นความจริงที่ผู้ฝักใฝ่ใน การดูแลสุขภาพกายและใจ ต้องน�ำไปพิจารณาอย่างสม�่ำเสมอ
18 | จุดชมวิว
ธรรมชาติ บ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งหลัง
‘ดาริน ตั้งทรงจิตรากุล’ ผู้หญิงยุคใหม่จากกรุงเทพฯ เดินทางไปพูดคุยกับ ‘สดใส สร่างโศก’ นักธรรมชาติบ�ำบัด แห่งจังหวัดอุบลราชธานี
20 | จุดชมวิว
ดาริน : ตอนนี้เป็นภูมิแพ้ ปอดติดเชื้อ โพรงจมูกอักเสบ (ไซนัส เรื้อรัง) แล้วก็เป็นหนองในล�ำคอค่ะ หมอบอกว่าถ้ากินยาแล้วไม่หาย ก็จะนัดเจาะหนอง เป็นเยอะเลยค่ะ สดใส : ไม่เป็นเยอะหรอก ก็ธรรมดาเพราะมันสะสมมานาน ปรกติวิถีชีวิตเป็นยังไง? ดาริน : เป็นพนักงานออฟฟิศค่ะ นอนดึก สดใส : กินอะไร? ดาริน : กินง่ายๆแต่ไม่ค่อยมีประโยชน์ค่ะ กินอาหารตามสั่ง กินกาแฟ สดใส : ถ้าจะรักษาแนวนีอ้ นั ดับแรกจะต้องเชือ่ เชือ่ มัน่ ว่าร่างกาย ของเราดูแลตัวเองได้ และสาเหตุของอาการเจ็บป่วยมาจากวิถีชีวิต ของเรานี่แหละ ธรรมชาติบ�ำบัดจะแก้ที่ต้นเหตุ เพราะฉะนั้นต้องรู้ ว่าเราใช้วิถียังไง เรามีวิธีคิดยังไง ต้องดูที่ต้นเหตุของมัน เพราะที่ เราป่วยจนเกิดหนองมันไม่ใช่เป็นเมื่อวาน หรือไม่ได้เป็นเมื่อเดือน ที่แล้ว แต่มันเป็นมาตั้งแต่เด็กๆ ตอนเป็นไข้ก็กินยาแก้หวัด กินยา ลดน�้ำมูก ยาพวกนี้มันท�ำให้โรคหายแต่มันไปกดทับ เมื่อถึงวันหนึ่ง มันรับไม่ไหว ร่างกายก็พยายามทีจ่ ะเอาออกมา นีค่ อื ความมหัศจรรย์ ของร่างกาย การเป็นหนองก็คือการพยายามที่จะขับออก ถ้าเราไป กินยา มันก็ขับออกมาไม่ได้ ดาริน : ต้องไปเอาออกเหรอคะ สดใส : มันต้องเอาออกค่ะ เพราะมันเป็นหนอง มันเน่าอยูข่ า้ งใน ถ้าเราไปดูดหนองออกมันจบก็จริง แต่มันก็จะเป็นอีกเพราะวิถีเรายัง
สาเหตุของ อาการเจ็บป่วย มาจาก วิถีชีวิตของเรา ธรรมชาติบ�ำบัด จะแก้ที่ต้นเหตุ
22 | จุดชมวิว
เหมือนเดิม แต่ธรรมชาติบ�ำบัดจะค่อยๆเอาออกและรักษาที่ต้นเหตุ ถ้าเราปฏิบัติต่อเนื่อง มันจะไม่กลับมาเป็นอีก ดาริน : ก็คิดอยู่ค่ะว่าจะไปเปลี่ยนวิถียังไงน๊อ… สดใส : เปลี่ยนไม่ยาก เราเปลี่ยนที่ความคิด วิถีมันเปลี่ยนที่ ความคิดก่อนอันดับแรก ถ้าเราคิดว่าให้ร่างกายของเราดูแลตัวเอง มันไม่ยาก ยิ่งเรามีพื้นฐานการปฏิบัติธรรมอยู่แล้วยิ่งง่าย อันที่จริง วิถีธรรมชาติบ�ำบัดก็คือวิถีปฏิบัติธรรมนั่นแหละ ลด-ละ-เลิก แค่นั้น แหละ ลดละความอยากของเรา เราก็อยูต่ ามสภาพทีเ่ ราอยูน่ นั่ แหละ เพียงแต่ไม่เติมสารเคมีเข้าไป ดาริน : นั่นแหละค่ะที่ยาก คือยากนี่หมายถึงว่า… สดใส : ยังๆ ยังไม่ยาก อันนี้แค่เล่าเฉยๆ ยังไม่ได้บอกให้ท�ำ อะไรเลย อย่าเพิ่งว่ายาก ดาริน : (หัวเราะร่วน) ค่ะ สดใส : เมื่อเราเชื่อว่าเราท�ำได้ เราก็มารู้หลักหรือวิธีการว่า มันท�ำยังไง หลักของธรรมชาติบ�ำบัดก็คือ ‘กินน้อยเป็นยา’ ค�ำว่า กินน้อยก็คือกินอาหารที่มันย่อยง่าย ปรุงแต่งน้อยที่สุด เพื่อที่จะให้ ร่างกายได้ซอ่ มแซม เหตุทเี่ ราป่วยเพราะร่างกายไม่สมดุล เราก็กนิ ผัก ผลไม้ซึ่งย่อยง่ายเพื่อให้ร่างกายได้ปรับสมดุล ขั้นตอนของธรรมชาติ จะใช้เวลา เพราะมีสามขั้น ขั้นแรกคือล้างพิษ เมื่อล้างพิษแล้วมันก็ จะซ่านพิษ เมื่อซ่านพิษเราก็ต้องบ�ำบัด เมื่อบ�ำบัดแล้วเราก็ต้องมา ฟื้นฟู กว่าจะถึงช่วงฟื้นฟูต้องใช้เวลาหลายเดือน ร่างกายของเรา ประกอบด้วยเซลล์ที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเซลล์จะมีอายุของมัน
ธรรมชาติบ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งหลัง | 23
แล้วก็จะมีการผลัดเปลี่ยน เมื่อเราเริ่มเอาอาหารที่ย่อยง่ายให้กับ เซลล์ มันก็จะไปผลัดเปลี่ยนเม็ดเลือดใหม่ให้เรา เม็ดเลือดแดงจะ มีอายุประมาณ ๒๘-๒๙ วัน แล้วก็ใช้เวลาผลิตเม็ดเลือดใหม่ ๒๐ วัน เซลล์เยื่อบุหัวใจมีอายุประมาณ ๓ เดือน กว่าจะผลัดเปลี่ยนเซลล์ ใหม่มนั ต้องใช้เวลา ถ้าเรามาฝึกปฏิบตั อิ ย่างน้อย ๕ วันมันจะเห็นผล เห็นความเปลี่ยนแปลงในร่างกายเช่นจมูกจะดีขึ้น แต่ถ้าเราท�ำเป็น วิถีมันก็จะเห็นแบบองค์รวมใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ดาริน : ช่วงสามวันที่ท�ำล้างพิษ วันแรกกินผลไม้สามมื้อ วันที่ สองดื่มน�้ำมะพร้าวสามมื้อ (มื้อละหนึ่งลูก) วันที่สามกินผลไม้สาม มื้อ ในวันที่สองรู้สึกปวดหัวกับปวดจมูกมาก มันเป็นผลจากการที่ พิษมันออกมาหรือเปล่าคะ สดใส : ใช่ๆ นีค่ อื อาการเบือ้ งต้น ในสามกระบวนการคือ ล้างพิษบ�ำบัด-ฟื้นฟู การล้างพิษมีหลายวิธีคือ กิน หายใจ เล่นโยคะ ดีท็อกซ์ ล้างจมูก ล้างตา แช่สะโพก แช่มือ แช่เท้า ช่วงที่เรากินผลไม้ก็คือ การกินเพื่อที่จะล้างพิษ ระหว่างที่เรากินผลไม้ ระบบย่อยมันไม่ได้ ท�ำงาน ระบบอื่นก็จะมีเวลาไปซ่อมส่วนที่มีปัญหา เราเคยดื่มกาแฟ แต่ไม่ได้ดื่มฤทธิ์ของจริงมันก็จะออกมา มันเหมือนกับคนติดยาแล้ว ไปอดยาก็จะทุรนทุราย ช่วงล้างพิษบางคนอาจมีอาการเป็นไข้ ไม่ตอ้ ง ตกใจแต่ให้ดีใจแทน เพราะนั่นแสดงว่าร่างกายก�ำลังขับสารพิษ ออกมาอย่างเต็มที่ ถ้าเราจะรักษาด้วยวิธนี จี้ ะท�ำยังไง มือ้ เช้าเราก็กนิ ผลไม้ ซึ่งมันเข้ากับวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯอยู่แล้ว ดาริน : ได้ตลอดไปเหรอคะ
24 | จุดชมวิว
สดใส : ใช่ค่ะ กินผลไม้มื้อเช้า แล้วก็ไม่ต้องดื่มกาแฟ ชา นม ช็อกโกแลต ดาริน : ค่ะ เลิกมาได้สักพักแล้ว สดใส : เราเปลี่ยนมาเป็นน�้ำผลไม้แทน แต่น�้ำผลไม้ต้องไม่ใช่ แบบกล่องนะ ดาริน : สดๆ สดใส : ใช่ กรุงเทพฯเดี๋ยวนี้ก็มีเยอะแล้วมั้ง ดาริน : พอมีค่ะ เป็นแบบสกัด สดใส : แต่วา่ สกัดจะต้องเอามาผสมน�ำ้ ๓๐% ไม่อย่างนัน้ ร่างกาย จะท�ำงานหนักเกินไป ไตกับตับจะท�ำงานหนักเกินไป เราก็เตรียม ขวดน�้ำไป พอซื้อน�้ำผลไม้แล้วเราก็ผสมลงในขวดแล้วค่อยดื่ม ถ้า จะถวายพระก็ท�ำเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าต้องเข้มข้น ต้องดีที่สุด ดาริน : (หัวเราะ) ผลไม้นี่ได้ทุกชนิดใช่ไหมคะ สดใส : ทุกชนิด วันนี้เราอยากจะกินอะไรก็กิน เพียงแต่กินเป็น โทน เช่นมื้อเช้าเราจะกินโทนหวาน ก็ให้เป็นผลไม้รสหวานทั้งหมด มือ้ นีเ้ ราจะกินโทนเปรีย้ วก็ให้เป็นผลไม้รสเปรีย้ วทัง้ หมดเช่น สับปะรด มะม่วงเปรี้ยว ท�ำไม? เพราะน�้ำย่อยเป็นคนละชนิดกัน มื้อเที่ยงถ้า เรากินผลไม้ได้ก็กิน แต่ถ้ากินไม่ได้เพราะต้องท�ำงาน รู้สึกเหนื่อย ยังไม่ชิน ก็ให้กินมังสวิรัติโดยเลือกร้านอาหารตามสั่งที่คนกินน้อยๆ เพราะเราจะบอกเขาได้ว่าไม่ใส่ผงชูรส ไม่ใส่เนื้อ ถ้าเป็นร้านที่คนกิน เยอะๆ เขาจะไม่สนใจเรา ดาริน : เราจะเลือกกินยังไงให้ได้สารอาหารครบทุกหมู่
ธรรมชาติบ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งหลัง | 25
สดใส : ไม่ตอ้ งกลัวเพราะร่างกายของเรามีเกิน ทีเ่ ราป่วยเพราะว่า มันเกิน ช่วงล้างพิษไม่ต้องไปกังวล ถ้ากังวลก็กินประเภทถั่ว แต่ต้อง เป็นถั่วเขียวนะอย่ากินถั่วเหลือง ถั่วเหลืองจะท�ำให้เป็นมะเร็งเพราะ มีโปรตีนเยอะเกิน ที่จริงร่างกายของเราส่วนหนึ่งมันสร้างโปรตีนได้ ถ้าเรากินผักผลไม้ที่หลากหลายมันจะมีวิตามินครบ ผัก ผลไม้ มี วิตามิน มีเกลือแร่ เราได้แป้งจากข้าว เนื้อมะพร้าวก็มีโปรตีน ถั่วก็ มีโปรตีนที่พอดีกับร่างกาย ถ้าอดไม่ได้จะกินปลาก็ได้ แต่ต้องเป็น ปลาจากแม่น�้ำนะ ดาริน : นั่นแหละค่ะพี่ มันหายากที่กรุงเทพฯ สดใส : เราก็กินผักแล้วก็ไปกินของหวานที่เป็นต้มถั่วเขียว มัน ไม่จ�ำเป็นต้องกินโปรตีนทุกวัน กินเว้นวันก็ยังได้ ดาริน : นมถั่วเหลืองได้ไหมคะ สดใส : อย่ากินเยอะ อาทิตย์ละครั้งก็ได้ สาเหตุที่คนกินมังสวิรัติ ป่วยเพราะเน้นกินถั่วเหลือง โปรตีนเกษตรก็ไม่ควรกิน ‘อาหารที่อายุ ยืนจะท�ำให้อายุสั้น อาหารที่อายุสั้นจะท�ำให้อายุยืน’ ช่วงที่เราอยาก จะล้างพิษ มื้อเที่ยงก็กินข้าว มื้อเย็นก็กินผลไม้ แต่ถ้าไม่ไหว มื้อเย็น ก็กินข้าวต้มใส่ผัก มันจะได้ย่อยง่ายๆ ท�ำยังไงจะให้ร่างกายมันขับ พิษออกมาโดยเร็วที่สุด ท�ำดีท็อกซ์ด้วย ถ้าเรามีปัญหาเรื่องจมูกก็ ล้างจมูกด้วย ดาริน : ต้องล้างบ่อยแค่ไหนคะ สดใส : ล้างทุกวัน วันละครั้ง ใช้น�้ำอุ่นบีบมะนาว ดาริน : น�้ำฟักเขียว น�้ำหยวกกล้วย ดื่มได้ทุกวันหรือเปล่าคะ
อาหารที่อายุยืน จะท�ำให้อายุสั้น อาหารที่อายุสั้น จะท�ำให้อายุยืน
ธรรมชาติบ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งหลัง | 27
สดใส : ค่ะ น�ำ้ หยวกกล้วยมันไปปรับสมดุลค่ะ ดืม่ ตอนประมาณ หกโมงเช้า หรืออาจจะใช้น�้ำข้าวสาลี มันไปฟื้นฟูร่างกาย ดาริน : ต้องสดหรือเปล่าคะ สดใส : อาหารธรรมชาติบ�ำบัดต้องสด ไม่ใช่อาหารส�ำเร็จรูป ดาริน : มันมีข้าวสาลีชนิดผง สดใส : นั่นแหละ ไม่ใช่แบบนั้น แต่มันก็อาจจะดีกว่าไม่มี แต่ บ้านเรามันปลูกไม่ยาก ปลูกใส่กระถางก็ได้ พอปลูกได้เจ็ดวัน วัน ที่เจ็ดก็เอามาปั่นแล้วคั้นเอาน�้ำ แล้วก็ปลูกใหม่ มันก็ดื่มได้ทุกวัน ปรกติตื่นกี่โมงคะ ดาริน : ตีห้าค่ะ สดใส : ไปท�ำงานกี่โมง ดาริน : ออกจากคอนโดฯประมาณ ๖-๗ โมง สดใส : พอตื่นท�ำธุระส่วนตัวแล้วก็สวดมนต์นั่งสมาธิ แล้วแบ่ง เวลามาเล่นโยคะ เพราะโยคะจะช่วยนวดต่อม ต่างๆในร่างกาย มีทั้ง ท่านอน ท่านั่ง ท่ายืน ถ้าเราท�ำทุกท่ามันก็จะไปปรับสมดุลให้ทงั้ หมด ดาริน : ท�ำโยคะตอนเช้าดีกว่าท�ำตอนเย็นใช่ไหมคะ สดใส : ตอนเช้าดีกว่า ดาริน : อาบน�้ำก่อนหรือหลังท�ำโยคะดีคะ สดใส : อาบก่อนดีกว่า เพราะหลังจากเราเล่นโยคะร่างกายก�ำลัง ปรับสภาพ ถ้าเราไปอาบน�ำ้ อุณหภูมกิ จ็ ะเปลีย่ นทันที เราอาบน�ำ้ เสร็จ แล้วมาสวดมนต์ไหว้พระ แล้วค่อยเล่นโยคะจะดีกว่า แต่ตัวพี่เองก็ ไม่ได้อาบ แค่ล้างหน้าล้างตา น้องเป็นคนที่ไหน
28 | จุดชมวิว
ดาริน : บ้านอยู่ชลบุรีค่ะ สดใส : เว้าลาวได้บ่ ดาริน : (หัวเราะ) ได้ไม่เยอะค่ะ แต่มาอีสานบ่อย สดใส : มีกัลยาณมิตรเป็นคนอีสานเนาะ ดาริน : มีพี่คนหนึ่งเป็นก้อนถุงน�้ำในเต้านม สดใส : เป็นแค่นั้น เป็นน้อยๆ ถ้ารีบมาปฏิบัติ… ดาริน : เขาก็สนใจอยู่ค่ะ ต้องท�ำอะไรเป็นพิเศษไหมคะ สดใส : ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ก็ท�ำธรรมชาติบ�ำบัดนี่แหละ ที่จริง ใน Facebook ก็มีเรื่องต่างๆอยู่ในนั้น ต้องท�ำดีท็อกซ์ (สวนล�ำไส้) ด้วย ดาริน : พี่เค้าไม่ยอมท�ำ สดใส : อันดับแรกของธรรมชาติบ�ำบัดต้องเอาพิษออกให้หมด พอเอาพิษออกมันก็จะซ่านพิษ ดาริน : เค้าไม่กล้าท�ำค่ะ สดใส : ก็เป็นธรรมดาเพราะเค้าไม่เข้าใจกระบวนการ แต่ถ้าท�ำ แล้วจะรู้สึกโล่งเบาสบาย ดาริน : ใช้อะไรท�ำคะ สดใส : ใช้น�้ำเปล่าดีที่สุด ดาริน : ควรท�ำบ่อยแค่ไหนคะ สดใส : ถ้าเราล้างพิษหนึ่งเดือนก็ท�ำได้ทุกวัน หรือถ้าล้างพิษ หนึ่งเดือนจะท�ำติดต่อกันเพียงสองสัปดาห์ก็ได้ ดาริน : ล�ำไส้จะเป็นอะไรไหมคะ
ธรรมชาติบ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งหลัง | 29
สดใส : เราขับถ่ายตามปรกติแล้วค่อยท�ำ แต่ถา้ เราป่วยก็ทำ� ได้เลย ที่เราป่วยเพราะขี้ที่ค้างอยู่นี่แหละ มันกลายเป็นเลือดแล้วก็กลับไป เลี้ยงทุกส่วนในร่างกาย เราก็ได้สารอาหารเน่าๆ ร่างกายของเราก็ เน่าไปด้วย เพราะฉะนั้นต้องรีบเอามันออก ภูมิแพ้เป็นจุดเริ่มต้นที่ ร่างกายบอกว่ามันจะหนักกว่านีถ้ า้ เราไม่รบี เคลียร์ตวั เอง การล้างพิษ ก็คือการเคลียร์บ้านของเรา ถ้าบ้านไม่สะอาดเราก็ป่วย ดาริน : ต้องใช้ปริมาณน�้ำในการท�ำดีท็อกซ์มากน้อยแค่ไหนคะ สดใส : ผูห้ ญิงประมาณ ๕๐๐ ซีซี อาจจะใส่เต็มขวดแล้วทดลอง ดูวา่ ร่างกายของเรารับได้แค่ไหน แล้วค่อยปรับเอา แต่ส�ำหรับผูห้ ญิง ปรกติก็อยู่ที่ ๕๐๐ ซีซี ดาริน : โยเกิร์ตกับนมล่ะคะ สดใส : นมน่ะเลิกเลยค่ะ มันไม่เหมาะกับร่างกาย คนที่เป็น ภูมิแพ้ส่วนหนึ่งกินนม เด็กหลายคนเป็นภูมิแพ้ เพราะว่ากินนม แล้วก็ฝึกหายใจให้ถูกวิธี หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟ่บ ให้ลมหายใจออกยาวกว่าลมหายใจเข้า เพราะจะเป็นการขับของเสีย แล้วก็ฝึกลมปราณ ค่อยๆฝึก ดาริน : ยังไงค่ะ สดใส : หายใจเข้านับ ๑-๒-๓-๔ แล้วก็หายใจออก จากนัน้ หายใจ ออกนับ ๑-๒-๓-๔ แล้วก็หายใจเข้า ดาริน : อาหารนี่ต้องกินมากแค่ไหนคะ สดใส : เอาตามร่างกายของเรา กินให้อิ่ม เพราะเราฝึกใหม่ เดี๋ยวมันจะหิว ตอนที่พี่ฝึกใหม่ๆกินมังคุด ๒-๓ กิโลฯ (หัวเราะ) มัน
30 | จุดชมวิว
ไม่อิ่มก็กินจนอิ่ม แล้วท้องมันจะค่อยๆปรับของมันเอง ดาริน : ท�ำครั้งแรกตอนอยู่กรุงเทพฯ ตอนเช้ากินแอ๊ปเปิ้ล ๓ ลูก จุกไปถึงเย็น สดใส : อีกอย่างก็คือต้องเคี้ยวให้ละเอียด เคี้ยวจนเป็นน�้ำ มัน จะส่งผลต่อระบบย่อยของเรา ระบบย่อยของเรา จะเริ่มตั้งแต่ปาก ตั้งแต่น�้ำลาย ฟันจะมีหน้าที่บดอาหาร กระเพาะของเราไม่มีฟัน มันท�ำหน้าที่แค่บีบรัด แล้วก็มีน�้ำย่อยเอนไซน์ออกมา ถ้าส่วนไหนที่ เราเคี้ยวไม่ละเอียด กระเพาะมันก็ท�ำงานหนัก มันเหมือนกับเครื่อง สีข้าว ถ้าสีอยู่ตลอด ๒๔ ชั่วโมงมันก็พัง เพราะฉะนั้นการกินน้อย มันก็ท�ำให้ย่อยน้อย มันก็ได้พัก เมื่อกระเพาะมันพักส่วนอื่นมันก็เริ่ม ท�ำงาน ดาริน : ปรกติจะมีลกั ษณะเป็นคนตัวร้อน แต่ไม่ใช่รอ้ นแบบเป็นไข้ สดใส : ข้างในมันร้อน ร่างกายก็พยายามที่จะระบายออกมา มันเป็นการขับพิษทางผิวหนัง ไม่อย่างนั้นเราอาจจะแย่กว่านี้ ดาริน : หลักการดื่มน�้ำท�ำยังไงคะ สดใส : เราเรียกว่าเคี้ยวน�้ำ เมื่อดื่มน�้ำเราก็อมน�้ำเอาไว้ก่อน เพื่อ กระตุ้นให้ข้างในรู้ว่าเดี๋ยวน�้ำจะไปแล้วนะ แล้วก็ค่อยๆกลืน ปฏิบัติ อย่างนี้แหละ ที่จริงเป็นเรื่องง่ายๆ ให้รู้จักร่างกายตัวเอง ร่างกาย ของเราประกอบด้วยเซลล์ที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่มันเกิดเองแล้ว ก็ดับเอง ถ้าเราเอาอาหารที่ดีๆเข้าไปเซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่ มันก็เป็น เซลล์ใหม่ เป็นเลือดใหม่ และมันก็ซ่อมแซมตัวเองได้ เราต้องรู้จัก ตัวเองแล้วก็เชื่อมั่นในศักยภาพนี้ แล้วก็ใช้ปัจจัยสิ่งแวดล้อมเข้า
ธรรมชาติบ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งหลัง | 31
ไปช่วย ถ้าจะถามว่าธรรมชาติบ�ำบัดไม่ใช้ยาแล้วใช้อะไร เราก็ใช้ น�้ำ ใช้ดิน ใช้อากาศในการช่วยเยียวยา ถ้าเราปวดหัวก็เอาน�้ำราด หัวให้เปียกแล้วเอาผ้าโพกหัวไว้ นี่คือยาแก้ปวดหัว ปวดท้องก็เอา ผ้าชุบน�้ำแล้วเอามาวางที่ท้อง ดาริน : แล้วปวดท้องประจ�ำเดือนล่ะคะ สดใส : อันนั้นไม่ต้อง ปล่อยให้ร่างกายท�ำงานของมัน ดาริน : ทนไป (หัวเราะ) สดใส : ถ้าอยากจะหาย วันแรกที่มีประจ�ำเดือนให้งดอาหาร แล้วดื่มน�้ำมะพร้าว เช้า-กลางวัน-เย็น จากนั้นก็กินผลไม้ทั้งสามมื้อ จนกว่าจะหมดประจ�ำเดือน มะพร้าวนี่มีหลักว่าเราจะกินให้เป็นยา หรือให้เป็นอาหาร ถ้ากินให้เป็นยาเราก็กินเฉพาะน�้ำ เพื่อให้ร่างกาย มันย่อยน้อยที่สุด แต่ถ้ากินให้เป็นอาหารเราก็กินทั้งน�้ำทั้งเนื้อ แล้ว ก็เล่นโยคะท่าผีเสื้อก่อนที่จะมีประจ�ำเดือน แต่ช่วงที่มีประจ�ำเดือน ไม่ให้เล่นโยคะ เราก็หาหนังสือ หาแผ่นมาดู เรียนรู้ด้วยตัวเอง ดาริน : ท�ำไมพี่จึงเริ่มเรียนโยคะ สดใส : เพราะพี่ปวดหลังอย่างรุนแรง ดาริน : ปวดหลังจากการท�ำงาน สดใส : ใช่คะ่ เพราะเราขับรถ เราเดินทาง เราอยูห่ น้าคอมพิวเตอร์ และเราก็ท�ำงานอิสระจึงไม่มีสวัสดิการ รายได้ก็ไม่สม�่ำเสมอ พี่จึง ต้องคิดถึงเรือ่ งการพึง่ ตนเอง พอฝึกโยคะด้วยตัวเองประมาณ ๑ เดือน ก็หายปวดหลัง แต่เราก็ไม่ได้เฝ้าดูว่าวันไหนมันจะหาย เพราะการ เฝ้าดูมันก็จะทุกข์อีกแบบหนึ่ง พี่เริ่มจากโยคะก่อน ต่อมาก็รู้สึกว่า
32 | จุดชมวิว
มันเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียสารพัด เพราะตอนเป็นเด็กพี่กินยาเยอะ ฉีดยาเยอะ จนกระทั่งหัวใจไม่ดี ตับไม่ดี ไตไม่ดี ปอดไม่ดี แล้วก็ ท�ำงานหนัก ต่อมาก็คิดว่าถ้าเราไม่ท�ำอะไรสักอย่าง ต้องเปลี่ยนไต แน่ๆ แต่คงเป็นบุญของเรา พอดีเพื่อนที่เป็นเอ็นจีโอด้วยกันบอกว่า หมอเจค็อบจะมาเมืองไทย แม่ของพี่ก็ป่วยหนัก ก็เลยลองท�ำดูทั้ง แม่และลูก ก็บอกกันว่าลองท�ำดูสัก ๓ เดือน เพราะมันไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่มีผลข้างเคียงเพราะเราไม่ได้กินยา ถ้ามันไม่ดีเราก็เลิก จึงเปลี่ยน จากกินเนื้อมากินผลไม้ กับข้าวตอนเช้าก็ไม่ต้องท�ำ แล้วก็ใช้ภาชนะ คือจานใบเดียวกับช้อน ดาริน : แล้วแม่ยอมเหรอค่ะ สดใส : แกก็ยอม เพราะพี่บอกว่าลองท�ำ ๓ เดือน ถ้าไม่ดีก็ เลิกท�ำ แต่ดีที่ว่าแม่สู้เพราะแกก็กลัวตาย แม่ก็ถามว่า วิธีนี้จะตาย ไหม เราก็บอกว่าไปรักษาที่โรงพยาบาลก็ตายเหมือนกัน ห้องดับจิต ของโรงพยาบาลน่ะล้นแล้ว ตัวพีเ่ องเคยผมร่วง ผิวแห้งเป็นขุย ขีห้ นาว ฉี่บ่อย ขาบวม ไม่มีเหงื่อ เจ็บคอ ไอ ดาริน : ท�ำไมไม่มีเหงื่อ สดใส : เพราะระบบขับพิษของเรามันไม่ท�ำงาน หลังจากผ่าน ไป ๓ เดือน ผมก็หยุดร่วง ไม่ขี้หนาว ไม่ฉี่บ่อย เพราะร่างกายเริ่ม ปรับสมดุล แต่มันจะเป็นไปอย่างช้าๆ พอท�ำไปได้ ๑-๒ ปีหน้าก็ เริ่มเป็นฝ้า บางคนบอกว่า ท�ำธรรมชาติบ�ำบัดแล้วหน้าเป็นฝ้าผิวด�ำ ไม่ท�ำดีกว่า แต่เราคิดว่าเรื่องแบบนี้มันเป็นของนอกกาย แต่ข้างใน เรามันดี เราเคยนอนแล้วตื่นขึ้นมารู้สึกเหนื่อย แต่ตอนนี้ตื่นขึ้นมา
ไปรักษาที่ โรงพยาบาล ก็ตายเหมือนกัน ห้องดับจิตของ โรงพยาบาลน่ะ ล้นแล้ว
34 | จุดชมวิว
แล้วมีพลัง ไม่ปวดเนื้อปวดตัว มันต้องปฏิบัติจนเป็นวิถี และเราก็ได้ ปฏิบัติธรรมไปด้วย พี่เคยถามตัวเองว่าเราจะละกิเลสได้ยังไง เรา จะละความอยากได้ยังไง เรายังละมันไม่ได้ เราอยากกินโน่นกินนี่ เราก็กินตามใจตัวเอง แต่เมื่อมาปฏิบัติ ธรรมชาติบ�ำบัดจึงเข้าใจ ว่า อ๋อ…การละกิเลสเป็นอย่างนี้เอง เรากินแบบเดิมไม่ได้ เพราะ ถ้ากินเราก็จะป่วย ถ้าท�ำธรรมชาติบำ� บัดมันก็ได้ปฏิบตั ธิ รรมอยูต่ ลอด เวลา พี่ต้องฝึกลมหายใจอยู่ตลอดเพราะเป็นคนหายใจสั้น พี่ต้องมี สติฝึกลมหายใจ ต้องรู้ตัว ดาริน : พี่ยังนอนดึกอยู่หรือเปล่าคะ สดใส : ช่วงหลังนอนดึกไม่ได้เพราะสวิตซ์มนั จะปิดโดยอัตโนมัติ เมื่อก่อนท�ำงานถึงตีสาม พอหกโมงเช้าก็ออกไปท�ำงานอีก แต่อาจ จะเป็นเพราะสังขารด้วย อายุเยอะขึ้น และเราก็ไม่เครียด เมื่อก่อน ท�ำอะไรก็ต้องให้มันออกมาดีที่สุด แต่ตอนนี้เราท�ำเต็มที่ ได้แค่ไหน ก็เอาแค่นั้น ตอนหลังก็เลยนอนไม่ดึก สี่ทุ่มสวิตซ์ก็ปิดแล้ว นอกจาก ว่า บางช่วงทีง่ านมันเยอะ ก็จะอยูถ่ งึ เทีย่ งคืนหรือตีหนึง่ แต่กจ็ ะอยูไ่ ด้ ไม่เกินสองคืน ที่เล่ามานี่ก็ขอให้เราได้เริ่มต้น ถ้าเราท�ำต่อเนื่องมัน จะดี จากที่คุยกันมา ที่มันจะไม่ได้ก็คืออาหารมื้อเที่ยงใช่ไหม เราก็ กินผัดผักนัน่ แหละ แต่ไปหาร้านทีเ่ ขาไม่ใส่ผงชูรส ร้านทีม่ คี นกินน้อย พอเราบอกอะไร เขาก็จะท�ำให้เราเต็มที่เลย เพราะเขาไม่มีลูกค้า ดาริน : แล้วเห็ดล่ะคะ สดใส : เห็ดมันย่อยยาก ต้องเคี้ยวอย่างละเอียด อันที่จริงต้อง กินอาหารที่มันมาจากพลังแสงอาทิตย์ เห็ดมันใช้ความมืด ความชื้น
ธรรมชาติบ�ำบัดขัดกิเลส : ครึ่งหลัง | 35
แล้วก็อยู่ใต้ใบไม้ จากนั้นมันจึงจะโผล่ขึ้นมาตอนที่เป็นดอกแล้ว แต่ก็กินได้ นานๆครั้ง แต่ช่วงที่ล้างพิษอาหารควรจะเป็นประเภท มังสวิรัติ ถ้าช่วงฟื้นฟูก็อาจจะมีบ้าง ถ้าเราเคยกินเนื้อแล้ว เปลี่ยน มากินมังสวิรัติ มันก็เป็นการล้างพิษเหมือนกันแต่มันจะใช้เวลานาน สมมติว่าถ้าเรากินผลไม้อย่างเดียว มันจะใช้เวลาในการล้างพิษ สักหนึ่งเดือน แต่ถ้าเรากินผลไม้มื้อเช้ากับมื้อเย็นแล้วกินมังสวิรัติ มื้อเที่ยง มันอาจจะยืดเวลาในการล้างพิษออกไปเป็น ๓ เดือนหรือ ๖ เดือน เหมือนกับว่าเรากินยาสูตรเข้มข้น มันก็จะออกฤทธิ์เร็ว ยิ่ง ถ้าเราดื่มแต่น�้ำมะพร้าว ๗ วัน มันจะต้องเป็นไข้ ก็ต้องปล่อยให้มัน เป็น น�้ำมูกจะไหลก็ต้องให้มันไหลออกมา ดาริน : แล้วการแช่สะโพกล่ะคะ สดใส : แช่ด้วยน�้ำอุณหภูมิปรกติ ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที ถึง ๑ ชั่วโมง เอาน�้ำราดหัว แล้วหาผ้าชุบน�้ำโพกหัวไว้ด้วย เพราะ ระหว่างที่เราแช่สะโพก เลือดจะวิ่งไปซ่อมส่วนที่มันมีปัญหา ความ ร้อนมันจะมารวมพลัง แล้วหาทางออก แล้วมันก็จะดันขึ้นหัว ถ้าหัว ไม่เปียกเราก็จะปวดหัว จึงต้องใช้ความเย็นดักมันไว้ ดาริน : ลองท�ำเปรียบเทียบกันดูแล้วค่ะ วันที่โพกหัวจะรู้สึก ดีกว่า วันที่ไม่โพกหัวจะรู้สึกมึนๆ สดใส : ก่อนจะขึ้นจากน�้ำสักสิบนาทีก็นวดท้องวนตามเข็ม นาฬิกา แล้วก็สื่อสารกับเขา ตรงไหนที่เรามีปัญหา ดาริน : หายไวไวนะลูก (หัวเราะ) สดใส : ใช่ๆ ต้องพูดบวก อย่าไปพูดลบเพราะร่างกายมันจะจ�ำ
36 | จุดชมวิว
เอาไว้ ‘จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว’ สั่งร่างกายเราตรงไหนมันมีปัญหา ‘จมูกแข็งแรง…สุขภาพของเราดี’ ดาริน : พี่สดใสแข็งแรง สดใส : จากที่ไม่สบายก็เปลี่ยนมาเป็นแข็งแรง แต่ว่าเราก็ต้อง ประคองตัวเราไปตลอด ไม่อย่างนั้นเราก็จะกลับไปอยู่จุดเดิม แต่ บางทีเราก็ออกไปข้างนอก เราก็ต้องกินอาหารในที่นั้น แต่เราก็เขี่ย เอา ถ้ามีปลา เราก็กินปลา แต่ไม่ได้กินเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะกิน ผัก ถ้ามีคนทักขึ้นว่าอ้าว! ไม่กินเหรอ? เราก็ต้องกิน เราไม่ได้ซีเรียส มาก เพราะไม่อยากให้เขารู้สึกกังวลหรือเป็นทุกข์ว่าเรากินไม่ได้ คือ ไม่อยากยุ่งยาก เราจัดการตัวเราเอง กลับมาบ้านเราก็ค่อยมาล้าง พิษ แต่ภายหลังเขาก็จะเริ่มรู้ ดาริน : ขอบคุณพี่สดใสมากนะคะ
38 | จุดชมวิว
เด็กชาย สลายบาป
เด็กชายผู้หนึ่ง เกิด เติบโต และใช้ชีวิตอยู่ ริมฝั่งแม่น�้ำมูล เขาเคยฆ่าสัตว์มาสารพัดชนิด ตั้งแต่อายุ ๖ ขวบ โดยเฉพาะปลา ปลาตัวใหญ่ที่สุดที่เขาเคยจับได้คือปลาเทโพ ซึ่งมีน�้ำหนักถึง ๓ กิโลกรัม ถ้าปลาตัวโตขนาดนีม้ ากินเบ็ด จะไม่สามารถดึงขึน้ มาได้ทนั ที เพราะสูก้ ำ� ลังของปลาไม่ไหว ต้องปล่อยให้มนั ว่ายอยูใ่ นน�ำ้ จนหมดแรง ก่อนจึงจะจับได้ แต่กว่าจะหมดแรงเจ้าปลาผู้น่าสงสารก็ต่อสู้ดิ้นรน จนปากฉีกเป็นแผลเหวอะหวะ
เด็กชายสลายบาป | 41
ครอบครัวของเด็กชายมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งคือปลูกยางพารา วิธีที่จะท�ำให้น�้ำยางไหลออกมาเป็นปริมาณมากก็คือ น�ำน�้ำกรดไป ราดบริเวณแผลทีถ่ กู กรีดตามล�ำต้น วันหนึง่ โยมพ่อของเขาขอน�ำ้ กรด มาจากเพือ่ นบ้าน โดยบรรจุใส่ในขวดน�ำ้ ดืม่ เด็กชายเพิง่ กินข้าวเสร็จ เมื่อมาเห็นขวดน�้ำดื่มตั้งอยู่บนโต๊ะพร้อมแก้ววางอยู่ข้างขวด จึงริน ของเหลวจากขวดใส่แก้วแล้วยกขึน้ ดืม่ ทันทีทปี่ ากสัมผัสน�้ำกรด ความ ปวดแสบปวดร้อนก็รมุ เร้าเข้าขย�ำ้ ขณะทีเ่ ขาบ้วนน�ำ้ กรดออกจากปาก สิง่ ทีป่ รากฏขึน้ มาภายในจิตของเขาขณะนัน้ ก็คอื ภาพปลาเทโพปากฉีก พ่อของเด็กชายรีบน�ำเขาส่งโรงพยาบาล หมอบอกว่าเมื่อวานนี้ มีคนไข้รายหนึ่งเพิ่งเสียชีวิตเพราะกินน�้ำกรด เมื่อเด็กชายได้ยิน ดังนั้นก็เกิดความกลัวจับใจ หลังออกจากโรงพยาบาล ลิ้นของเขา ไม่สามารถรับรสใดๆได้เป็นเวลานานถึง ๒ สัปดาห์ มุมปากทั้งสอง ข้างของเขามีรอยสีขาวชี้ขึ้นไปด้านบน คล้ายรอยฉีกของปากปลา เทโพตัวนั้น หลังจากหายดีแล้วเด็กชายก็หยุดฆ่าสัตว์ทุกชนิด แม้ เพื่อนวัยเดียวกันจะมาชักชวนด้วยเหตุผลเรื่องปากท้อง แต่เขาก็ ไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตาม เมื่อเด็กชายอายุ ๑๔ ขวบ วัดป่าแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้บ้านของเขามี การจัดอบรมวิปัสสนากรรมฐาน เขาไปที่นั่นเพื่อดูเด็กนักเรียนสาวๆ ที่มาเข้ารับการอบรม ในวันสุดท้ายพระอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องสติ โดยเล่าว่าท่านใช้เวลาฝึกถึง ๒ ปีเต็มจึงมีสติตอ่ เนือ่ ง และพระอาจารย์
42 | จุดชมวิว
ได้ขอให้เขาน�ำการเจริญสติไปฝึกด้วย เด็กชายคิดว่าเรื่องแค่นี้ ไม่นา่ ยาก หลายวันต่อมาเขารูส้ กึ โกรธเพือ่ นอย่างรุนแรง แต่เมือ่ ระลึก ถึงค�ำพูดของพระอาจารย์เขาก็รีบตั้งสติ ทันใดนั้นเขาก็เห็นอารมณ์ โกรธลดลงอย่างช้าๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด เหตุการณ์นี้ท�ำให้เขา ติดใจและเห็นคุณค่าของสติ ปัจจุบันเด็กชายผู้นี้บวชเป็นสามเณรที่ส�ำนักสาขาของวัด หนองป่าพงแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี และสติของเขายัง เท่าทันความโกรธอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน
44 | จุดชมวิว
ออร์แกนิก พลิกโลก
นอกจาก วัดป่ารื่นรมย์ ทีม่ อี ยูอ่ ย่างอุน่ หนาฝาคัง่ แล้ว สิง่ หนึง่ ทีข่ า้ ฯไม่เคยระแคระคายมาก่อน เลยว่า จะมีอยู่ในอ�ำเภอวารินฯถิ่นเกิดก็คือสวนออร์แกนิก เมื่อครั้ง ที่ข้าฯใช้ชีวิตพระป่าอยู่ใต้แผ่นฟ้าอเมริกา มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยม นักศึกษาไทยที่มลรัฐวอชิงตัน ขณะที่รถก�ำลังแล่นไปสู่จุดหมาย ปลายทางแห่งหนึ่ง ข้าฯและญาติโยมที่ไปด้วยกันก็เหลือบไปเห็น เพิงที่ปลูกสร้างอย่างง่ายๆ ประดับป้ายลายมือชาวบ้านเขียนไว้ว่า “ผักผลไม้ออร์แกนิก จ�ำหน่ายโดยเจ้าของสวน” เราไม่รอรีที่จะแวะ เข้าไปชมและก็ไม่ผดิ หวังกับผลผลิตทีส่ ด สะอาด ปลอดภัย มิหน�ำซ�ำ้ ยังราคาถูกอย่างเหลือเชื่อ เจ้าของสวนก็อัธยาศัยดี ทั้งชักชวนให้ชิม ทั้งแจก ทั้งแถม ข้าฯยังจ�ำค�ำร�่ำลาจากเจ้าของสวนผู้นั้นได้ถนัดหู -Have a good day to you guys. เมื่อข้าฯทราบว่าขับรถออกจากตัวอ�ำเภอวารินฯไม่ถึง ๒๐ นาที ก็จะได้สัมผัสบรรยากาศเช่นเดียวกับที่มลรัฐวอชิงตัน ข้าฯ
ออร์แกนิกพลิกโลก | 47
จึงไม่ลงั เลแม้แต่นอ้ ยทีจ่ ะเดินทางไปเยือนสวนออร์แกนิกแห่งนัน้ ถ้าไปเอง ตามล�ำพังข้าฯก็คงจะท�ำได้เพียงเดินชม เพราะข้าฯแทบจะไม่มี ประสบการณ์ใดๆเกี่ยวกับการเกษตรเลย นอกจากเกรดสองทีค่ ุณครู วิชาเกษตรกรรมสมัยเรียนชั้นมัธยมต้นให้มาแบบหยวนๆ แต่โชคดี เหลือหลายที่โยมพ่อโยมแม่ไปด้วย ข้าฯจึงได้สังสรรค์กับข้อมูลอัน เร้าใจมากมาย เมื่อลาออกจากการรับราชการครูในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ คุณยายก็ เริ่มท�ำการเกษตร โดยมีคุณตาร่วมแรงร่วมใจไม่ห่างกาย ในระยะ แรกๆคุณยายกับคุณตาก็ปลูกพืชผักวิธีเดียวกับชาวบ้านทั่วไป คือ ประพรมสารเคมีและยาฆ่าแมลงสารพัดชนิด ต่อมาจึงปรับเปลี่ยน โดยทดลองปลูกพืชผักชนิดต่างๆ หากพืชชนิดใดเป็นอาหารโปรด ของแมลง เพลี้ย หนอน คุณยายกับคุณตาก็เลี่ยงที่จะปลูก เพราะถ้า สัตว์ดงั กล่าวมากินพืชผักก็จำ� เป็นต้องฉีดยา ซึง่ เป็นผลร้ายทัง้ ต่อสุขภาพ ของตัวเองและผู้บริโภค คุณยายให้ความรู้ว่า “ผักที่ไม่ควรน�ำมา บริโภคก็คือถั่วฝักยาว แตงกวา คะน้า กะหล�่ำปลี แครอท เพราะล้วน แต่เคลือบด้วยสารเคมีซงึ่ ล้างออกได้ยาก ไม่วา่ จะด้วยวิธกี ารใดก็ตาม ผักบางชนิดเช่นผักกาด ชาวบ้านจะฉีดยาหลังจากมีหนอนลงกินผัก เมื่อเราเห็นผักเหล่านี้ตามท้องตลาดก็นึกว่าปลอดภัยไร้สาร เพราะ มีรูแมลงเจาะ” คุณยายท�ำนายอนาคตไว้ว่า “อีกหน่อยเงินจะไม่มี ค่า มันจะน�ำมาซื้ออาหารไม่ได้ เพราะอาหารจะเต็มไปด้วยสารพิษ”
48 | จุดชมวิว
พืน้ ที่ ๕๐ ไร่ของสวนแห่งนี้ คุณยายเจริญรอยตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่คุณยายไม่ได้ขุดบ่อ เลี้ยงปลาเพราะปฏิบัติศีลห้า และในผืนดินแปลงนี้ก็มีน�้ำบาดาลอยู่ ทั่วไป พืชผักต่างๆที่มีอยู่มากมายหลายชนิดในสวน คุณยายปลูกไว้ เพื่อบริโภคส�ำหรับตัวเองและคนในครอบครัวเป็นหลัก เหลือจากนั้น จึงแจกและจ�ำหน่าย ช่วงนี้มะละกอก�ำลังขายได้ราคาดี ตามตลาด ทั่วไปจะขายในราคาลูกละ ๒๕ บาท แต่ที่สวนของคุณยายขาย เพียง ๑๕ บาท เคยมีพ่อค้ามาขอเหมามะละกอทั้งสวน แต่คุณยาย ปฏิเสธ เพราะต้องการจะเก็บไว้ให้ผู้คนที่มาทัศนศึกษาได้เห็น คุณ ยายบอกว่า “ถ้าเข้ามาในสวนแล้วเห็นต้นไม้พืชผักผลิดอกออกผล ผู้คนก็อยากลงมือท�ำ” ไม่ต้องสงสัยเลยว่ารถบัสจ�ำนวนเจ็ดคันที่จะ น�ำคณะครูและนักเรียนจากจังหวัดมุกดาหาร มาทัศนศึกษาที่สวน ออร์แกนิกแห่งนี้ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า จะได้รับแรงบันดาลใจเขียว ชะอุ่มกลับไปเต็มขบวน ก่อนทีจ่ ะแขวนป้ายไวนิลบอกผูบ้ ริโภคว่า แผงจ�ำหน่ายผักแห่งนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก จะต้องได้รับรหัสพิเศษจากกรมวิชาการ เกษตรฯ ซึ่งจะน�ำดินจากแปลงผักไปตรวจวัดค่าสารเคมีปีละครั้ง ก่อนหน้านี้ไม่นานมีชาวบ้านมารวมกลุ่มกับคุณยายเกือบ ๔๐ คน แต่สุดท้ายก็เหลือเพียงคุณยายกับคุณตา เหตุเนื่องมาจากเมื่อ ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างสูง ชาวบ้านซึ่งไม่อาจทนต่อ ความเย้ายวนของผลก�ำไร จึงพากันไปซื้อผักปนเปื้อนสารเคมีมา
ออร์แกนิกพลิกโลก | 49
จ�ำหน่ายที่แผงผักออร์แกนิก ซึ่งคุณยายเป็นผู้ออกค่าเช่าทั้งหมด เพราะต้องการให้ชาวบ้านมีอาชีพ นั่นก็เท่ากับว่าไม่ซื่อสัตย์ต่อ ผู้บริโภค เมื่อเหตุการณ์เป็นดังนี้คุณยายจึงจ�ำใจต้องปิดแผงผัก จ�ำนวน ๕ แผง ปัจจุบันจึงเหลือแผงผักของคุณยายเพียงแห่งเดียว ในตลาด ที่ยังยืนยันเจตนารมณ์เดิม แต่หลังจากนั้นไม่นานผักจาก สวนของคุณยายก็กระจายไปสู่อีกหลายจุดในอ�ำเภอวารินช�ำราบ และตัวจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ นอกจากผักของคุณยายจะสด หวาน หอม กรอบ อร่อยแล้ว ยังจ�ำหน่ายในราคาถูกอีกด้วย ผักกาดเรดโอ้คซึง่ ตามซุปเปอร์มาเก็ต ในห้างสรรพสินค้า จ�ำหน่ายในราคาต้นละ ๓๕ บาท แต่ที่สวนของ คุณยายจ�ำหน่ายในราคาเพียง ๒ ต้น ๒๐ บาท คุณยายบอกว่า “เท่านี้เราก็อยู่ได้แล้ว สุภาษิต ‘ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน’ ยัง ใช้ได้อยู่เสมอ” สิ่งหนึ่งที่คุณยายกับคุณตาท�ำอย่างสม�่ำเสมอก็คือ “บุญ” ทั้ง สองท่านจะ “ขน” ผักและมะละกอจ�ำนวนมากไปถวายที่โรงครัวของ วัดหนองป่าพง และส�ำนักสาขาในละแวกใกล้เคียง คุณยายบอกว่า ที่ท�ำได้อย่างทุกวันนี้ก็เป็นเพราะ “บุญ” เคยมีคณะเดินทางมาดูงาน จากหลายภาคของประเทศไทย บางใครจากบางคณะถามว่า “พืชผัก ที่นี่มีหายบ้างไหม? ที่บ้านของผมถ้าปลูกทิ้งไว้แบบนี้ไม่มีเหลือ” ค�ำตอบของคุณยายก็คือ “ไม่เคยมีของหาย” นี่เป็นเพราะบุญและ ความเมตตากรุณาของคุณยาย ซึ่งได้รับการปลูกฝังมาจากบรรพชน
50 | จุดชมวิว
นอกจากนี้ยังได้มาจากการศึกษาธรรมะ พระอาจารย์สองท่านที่ คุณยายเคารพและศรัทธาเป็นอย่างสูงก็คอื ท่านพระอาจารย์มติ ซูโอะ คเวสโก พระมหาเถระชาวญี่ปุ่น และท่านพระอาจารย์ชยสาโร พระมหาเถระชาวอังกฤษ พระอาจารย์ทั้งสองท่านเป็นลูกศิษย์รุ่น กลางของพระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง เหตุทคี่ ณ ุ ยายประทับใจในธรรมะของพระอาจารย์ ทั้งสองก็เพราะ ท่านสามารถใช้ภาษาง่ายๆอธิบายธรรมะได้อย่าง ลึกซึ้ง คุณยายน�ำโยมพ่อโยมแม่และข้าฯเดินชมรอบๆสวน ไม่นา่ เชือ่ ว่า จะมีพชื ผักเมืองหนาวชูชอ่ รับแสงตะวันยามเย็นรวมอยูด่ ว้ ย คุณยาย ก้มเก็บผักกาดคอส ผักกาดเรดโอ๊ค ผักกาดเรดโครัล และผักกาด จอร์เจียส่งให้โยมพ่อโยมแม่ พร้อมเล่าถึงความเป็นมาและต้นทุนที่ ลงไปซึ่งมันเกินค�ำว่าคุ้มค่า เพราะได้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่ดีพ่วงมาด้วย ขณะที่สปริงเกอร์สูงระดับสายตาสะบัดละอองน�้ำ ฉ�่ำเย็นคุณยายก็บอกว่า “เกษตรกรเป็นเพียงอาชีพเดียวที่ไม่ตกงาน เพราะเรามีงานท�ำทุกวัน” เมื่อใดที่ถูกถามถึงรายได้ที่มาจากการท�ำ สวนออร์แกนิก ประโยคที่คุณยายอายุ ๖๓ ปี แต่ยังร่าเริงสดใสมัก จะใช้เป็นค�ำตอบก็คือ “วันละสองแสน” ทว่า “แสน” ที่คุณยายพูดถึง ไม่ได้มหี น่วยเป็นบาท แต่มหี น่วยเป็น “สุข” และ “อิสระ” เบ่งบาน อยู่ทุกโมงยาม
52 | จุดชมวิว
บทกวี กล่อมปีศาจ
54 | จุดชมวิว
Haiku a poem with three lines and usually 17 syllables, written in a style that is traditional in Japan. Demon 1. an evil spirit. 2. (informal) a person who does something very well or with a lot of energy. 3. something that causes a person to worry and makes them unhappy. Oxford Dictionary
บทกวีกล่อมปีศาจ | 55
ไฮกุ บทกวีดั้งเดิมของญี่ปุ่น ปรกติจะมีสิบเจ็ดพยางค์ โดยเขียนเรียงกันสามบรรทัด ปีศาจ ๑. วิญญาณชั่วร้าย ๒. ผู้กระท�ำการบางอย่างได้ยอดเยี่ยม หรือด้วยพละก�ำลังมหาศาล (ใช้อย่างไม่เป็นทางการ) ๓. บางสิ่งซึ่งเป็นสาเหตุให้บุคคลหวาดกังวล และไร้ความสุข พจนานุกรมฉบับอ๊อกฟอร์ด
56 | จุดชมวิว
เมื่อธรรมะของพระพุทธองค์อบอุ่นอยู่ภายใน แม้อุณหภูมิต�่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เราก็มีที่พึ่ง วันนี้ได้พูดกับตัวเองว่า “ดี” เพียงสักครั้ง ก็ยังดี กุฏิรูปทรงแปดเหลี่ยม โยงใยไปถึง มรรคา ถุงเท้าช�ำรุดห้าคู่ ลองจอห์นเปื่อยสามตัว กิเลสลดลงไหม? นั่งดูลมหายใจ ไม่ต้องท�ำอะไร แม้แต่ร่ายกาพย์กวี
บทกวีกล่อมปีศาจ | 57
กวาดใบไม้ในป่าใหญ่ หนทางคดเคี้ยวบนภูเขา มีเพียงเรากับฝูงกวาง ต้นไม้เปลี่ยนสี เขียว แดง เหลือง รับฤดูหนาว เด็กหนุ่มสองคนนั่งคุยกัน กลางแดดอุ่น กับถ้วยชา เรื่องดีๆ เกิดขึ้นมากมาย ถ้าเรายิ้ม โกลเด้นเกท พาร์ค หลังเที่ยงวัน เงียบจนเกือบเหงา
58 | จุดชมวิว
แซนแฟรนซิสโก ระเริง จนลืมน�้ำตา อาหารเช้ามื้อนี้ ขนมปังทาเนยถั่ว กลั้วอุณหภูมิสามเซลเซียส เราเรียนรู้ บางอย่าง จากการสอนผู้อื่น สาวออฟฟิศผู้หนึ่งบอกว่า เจ็บ เพราะค�ำคน การบ้านของเธอก็คือ จงยกตัวอย่างบุคคลในโลก ที่รอดพ้น
บทกวีกล่อมปีศาจ | 59
หนึ่งถ้วยซุบร้อน ยามเช้า ดับฤดูหนาว ดาร์คช็อกโกแลต เจ็ดสิบห้าเปอร์เซนต์ ขมและขื่น เช้าหนึ่งในกรุงเทพฯ นิ่ง จนได้ยินเสียงนก เคลื่อนไหวรวดเร็ว เพราะที่นี่ คือเมืองหลวง เมื่อเท้าสัมผัสหญ้า จึงรู้ว่า เขียว
60 | จุดชมวิว
หนาวของแซนแฟรนซิสโก กับกรุงเทพฯ ทั้งเหมือนและต่าง กลับจากบิณฑบาต ถามคนกวาดถนน ถึงวิธีท�ำไม้กวาด แม่น�้ำมูล อุ่น ท่ามกลางลมหนาว นั่งเรือไปบิณฑบาต กับเพื่อน พรหมจรรย์ตัวน้อย สามเณรเล่าว่า เพื่อนหญิงคนหนึ่ง ลาออกจากโรงเรียน…ไปเอาผัว
บทกวีกล่อมปีศาจ | 61
เด็กอายุสิบสี่ตั้งครรภ์ ในความเห็นของฉัน มันเหลือเกิน ไข่เจียวมื้อนี้ พิเศษ เพราะมีไข่มดแดง เกษตรกรออร์แกนิก ยิ้มแย้มและแจ่มใส เพราะไม่เป็นหนี้ อากาศร้อน เกินกว่า จะขี้เกียจ ปฏิเสธหนังสือ รวมบทกวีของนักเขียนหนุ่ม ที่สามเณรยื่นให้
62 | จุดชมวิว
ค�ำถามส�ำคัญ เท่าค�ำตอบ
เปสโลภิกขุตอบค�ำถามกลุ่มนักศึกษาแพทย์ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
ค�ำถาม เป็นปัจจัย ส�ำคัญในการ กระตุ้นให้เรา ออกเดินทาง
แสวงหาค�ำตอบ แต่ถ้าพบค�ำตอบที่ผิดแล้วยึดเอามาเป็นที่พึ่ง การกระท�ำ ค�ำพูด ความคิด ของบุคคลนั้นก็จะผิดตามไปด้วย เพราะเหตุนี้ค�ำตอบจึงมีความส�ำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าค�ำถาม
ค�ำถามส�ำคัญเท่าค�ำตอบ | 65
การอ่านหนังสือประเภทนิยายถือเป็นการผิดศีลแปดหรือไม่ นิยายมีหลายแบบ ถ้าเป็นนิยายทีเ่ กีย่ วกับธรรมะก็ชว่ ยปลูกศรัทธา ได้ ต้องพิจารณาจากเนื้อหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเรา ถ้าอ่าน แล้วกุศลธรรมเกิดขึ้นก็็ใช้ได้ แต่ถ้าอ่านแล้วท�ำให้เกิดความฟุ้งซ่าน ร�ำคาญ คิดไปในทางพยาบาทหรือเกิดความก�ำหนัด อย่างนี้เรียกว่า อกุศลธรรมเกิดขึ้น กุศลแปลว่าเกื้อกูล แต่ถ้าอกุศลธรรมเกิดขึ้นมัน ก็ไม่เกื้อกูลแก่ชีวิต ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็ควรจะเลี่ยง การสวดอิติปิโสหลายร้อยรอบมีผลดีหรือไม่ ถ้าสวดด้วยใจจดจ่อแต่ไม่รคู้ วามหมายจะท�ำให้เกิดสมาธิ แต่ถา้ เข้าใจความหมายจะเป็นเหตุให้เกิดปัญญา มนุษย์เกิดจากบุญหรือกรรมที่สั่งสมมา ปรกติคำ� ว่า “บุญ” จะต้องจับคูก่ บั ค�ำว่า “บาป” แต่ผถู้ ามน�ำค�ำว่า “บุญ” มาจับคู่กับค�ำว่า “กรรม” แสดงว่า ผู้ถามเข้าใจความหมาย ของค�ำว่า “กรรม” คลาดเคลื่อน อันที่จริงค�ำว่า “กรรม” มีความหมาย เป็นกลางๆว่า “การกระท�ำประกอบด้วยเจตนา” เพราะฉะนั้นค�ำถาม ที่ถูกจึงควรจะเป็น “มนุษย์เกิดจากบุญหรือบาปที่สั่งสมมา?” หรือ “มนุษย์เกิดมาจากกรรมใช่หรือไม่?” เมื่อค�ำถามเป็นเช่นนี้ อาตมาก็ ขอตอบว่า เพราะมนุษย์มีกรรมเป็นของตนคือกุศลกรรม (บุญ) และ อกุศลกรรม (บาป) ที่สั่งสมมาจึงเป็นเหตุให้ต้องมาเกิดในโลกนี้ ยก ตัวอย่างเช่นผู้ที่ฝักใฝ่ความสงบ เขาจะมองหาโอกาสที่จะพาตัวเอง
66 | จุดชมวิว
ไปสูส่ ถานทีส่ งบอยูเ่ สมอ แม้ในขณะนัน้ จะยังท�ำไม่ได้ แต่เมือ่ ปรารภ ถึงความสงบอยู่บ่อยๆ จิตของเขาก็จะมีก�ำลังพุ่งไปทางนั้น ในที่สุด เขาจะได้ไปสู่สถานที่สงบตามที่ตั้งใจ นี่คือกรรมที่เป็นกุศล ส่วนผู้ที่ ฝักใฝ่ในอบายมุขหรือ กรรมที่เป็นอกุศล ก็อธิบายได้ในแนวเดียวกัน ถ้าคนทั้งโลกถือศีลข้อหนึ่ง (ไม่ฆ่าสัตว์) จะมีผลดีหรือผลเสีย มากกว่ากัน การปฏิบัติศีลข้อนี้จะต้องท�ำด้วยปัญญาคือการพิจารณาเห็นว่า ตัวเราเองไม่ต้องการให้ผู้อื่นมาเบียดเบียน มนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย ก็ไม่ต้องการให้ผู้อื่นมาเบียดเบียนเช่นกัน แม้แต่โจรก็ไม่ต้องการให้ ลูกน้องหรือหุ้นส่วนหักหลัง ผู้คนที่อาศัยอยู่ในโลกนี้มีระดับความ หยาบและละเอียดของจิตที่แตกต่างกัน ผู้ที่มีจิตหยาบสามารถ สังหารมนุษย์ด้วยกันได้อย่างไม่ยี่หระ ส่วนผู้ที่มีจิตละเอียดแม้จะ ถูกยุงหรือมดตัวเล็กๆกัด เขาก็ยังนึกเอ็นดู ถ้าอยากปล่อยวางเรื่องไร้สาระหรือไม่มีแก่นสารในชีวิตจะท�ำ อย่างไร ถ้าจิตของเราเห็นอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งว่าเรื่องนั้นๆไร้สาระ หรือ ไม่มีแก่นสารในชีวิต มันก็จะปล่อยวางได้เอง เหตุที่เรายังไม่สามารถ ปล่อยวางได้ ก็เพราะเรายังเห็นไม่ลกึ ซึง้ ถึงระดับนัน้ เมือ่ ครัง้ เป็นพระ หนุ่ม อาตมายังติดตามอ่านงานวรรณกรรมของนักเขียนรุ่นใหม่ แต่ เมื่อเวลาผ่านไปก็พบว่า เราใช้เวลากับหนังสือพวกนี้มาก แต่สิ่งที่ได้
ค�ำถามส�ำคัญเท่าค�ำตอบ | 67
กลับมามีเพียงน้อยนิด เราอาจจะได้เรียนรู้เทคนิคหรือชั้นเชิงในการ เขียนหนังสือ แต่ความคิดแบบโลกๆที่มีอยู่ในงานวรรณกรรมนั้นๆ ก็ติดตามเราไปขณะท�ำสมาธิด้วย นักเขียนที่มีมุมมองดีๆก็มีเยอะ แต่เมื่อเทียบกับเวลาที่ต้องสูญเสียไปมันไม่คุ้มค่ากัน ถ้าเรามีเวลา ๒ ชัว่ โมงและต้องการสิง่ ดีๆมีประโยชน์มาบ�ำรุงชีวติ ของเรา เราใช้เวลา ฟังเทศน์หรืออ่านหนังสือธรรมะ ซึ่งน�ำเสนอมุมมองของผู้ปราศจาก กิเลส หรือปฏิบัติเพื่อเป็นผู้ปราศจากกิเลส ๑ ชั่วโมง แล้วนั่งสมาธิ หรือเดินจงกรมอีก ๑ ชั่วโมง เราจะได้อะไรเยอะกว่าใช้เวลาอ่าน งานวรรณกรรม ๒ ชั่วโมง อาตมาเห็นอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งในเรื่องนี้ จึงสามารถปล่อยวางได้ ควรคิดอย่างไรเมื่อสูญเสียสิ่งที่เรารัก เป็นโอกาสดีทจี่ ะได้พจิ ารณาความจริงของธรรมชาติ จากสถานการณ์ จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องฝึกเอาไว้ เพราะในอนาคตเราจะต้องเผชิญกับ สถานการณ์นอี้ กี หลายครัง้ อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ เมือ่ จิตของเราเข้าใจ เรือ่ งนีอ้ ย่างแจ่มชัด เราจะเป็นทุกข์นอ้ ยลงหรือไม่ทกุ ข์เลย จากค�ำบอก เล่าของครูบาอาจารย์ บ่อยครั้งที่หลวงพ่อชาจะสร้างสถานการณ์ ขึ้นมาให้ลูกศิษย์ได้เผชิญหน้ากับความทุกข์ เพื่อที่ลูกศิษย์จะได้ เกิดปัญญา หาวิธีปล่อยวางด้วยตัวเอง หากเราหลุดพ้นแล้วจะไปอยู่ที่ไหน อุปมาของภันเต คุณารัตนา พระมหาเถระชาวศรีลังกาน่าสนใจ
68 | จุดชมวิว
เด็กผู้หญิงคนหนึ่งถามแม่ของเธอว่า ความสัมพันธ์ของพ่อกับแม่ เป็นอย่างไร? แม่ของเธอไม่ตอบค�ำถามนี้ จนกระทั่งเด็กผู้หญิง คนนั้นเติบโตขึ้นและมีครอบครัว แม่ของเธอจึงถามว่า ลูกยังอยากรู้ หรือเปล่าว่าความสัมพันธ์ของพ่อกับแม่เป็นอย่างไร? ผู้หญิงคนนั้น ตอบว่าลูกรู้แล้ว ค�ำถามนี้อาตมาไม่จ�ำเป็นต้องตอบ เมื่อผู้ถามไปถึง สภาวะนั้นก็จะรู้ได้ด้วยตนเอง อะไรเป็นสิ่งที่จะตัดสินว่าดีหรือชั่ว อาตมาขอยกเรื่อง “ดี-ชั่ว แบบไหนมีจริง แบบไหนไม่มีจริง ตอนบุคคล” ซึ่งเป็นธรรมบรรยายจากชุด “ทันโลก ถึงธรรม ๒๕๔๘” (นาทีที่ ๐๖:๐๙ -๑๑:๐๙) โดยพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มาเพื่อการพิจารณาร่วมกัน ค�ำว่าดี-ชั่วในภาษาไทยเมื่อน�ำมาใช้จะท�ำให้เกิดความสับสน (เช่นพูดว่าความเหงาเป็นความชั่ว) เพื่อความชัดเจนเป็นการ เป็นงานเราจึงใช้ค�ำอีกคู่หนึ่ง ในภาษาบาลีค�ำว่าดี-ชั่ว จะใช้ค�ำว่า กุศล-อกุศล และค�ำว่าบุญ-บาป หลักทางพุทธศาสนาถือว่ากุศลอกุศลเป็นสภาวะ หมายถึงความมีอยู่จริงของมันเอง และสภาวะนี้ เกิดขึ้นในจิตใจ เช่นความเหงา ความหดหู่ ความท้อแท้ ซึ่งจัดเป็น อกุศล เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว มันไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ นี่คือความ เป็นอกุศล หรือความร่าเริงเบิกบาน ความเมตตา ความปรารถนาดี เกิดขึ้นในใจ เมื่อเกิดขึ้นในจิตใจแล้วจิตใจก็สบาย ระบบกล้ามเนื้อ
ค�ำถามส�ำคัญเท่าค�ำตอบ | 69
ผ่อนคลาย เลือดลมดี หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส อย่างที่พูดกันว่าคน มีเมตตาจะแก่ช้า ตรงข้ามกับความโกรธที่เป็นอกุศล เมื่อเกิดขึ้นใน จิตใจแล้วท�ำให้จติ ใจขุน่ มัว เศร้าหมอง ร้อนรุม่ เครียด กระวนกระวาย แล้วก็มผี ลต่อชีวติ แม้แต่รา่ งกายก็เกร็ง เครียด หน้าตาจะเหี่ยวย่นไว อย่างนี้เป็นต้น กุศล-อกุศล ทางพระท่านถือที่นี่ ส่วนระดับทีอ่ อกมาสูส่ งั คมเป็นอีกชัน้ หนึง่ เป็นเรือ่ งความสัมพันธ์ เชิงเหตุปจั จัย เมือ่ มีความเมตตาแล้ว จิตใจก็เบิกบาน เย็น ผ่อนคลาย เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจของตนเอง แล้วก็เกื้อกูลต่อการแสดงออก ท�ำให้ เกิดการช่วยเหลือกันเป็นผลดีที่สืบเนื่อง แต่โดยสภาวะก็คือมันเกิด ขึ้นที่ไหนมันก็เกื้อกูลต่อที่นั่น ไม่ต้องไปรอดูที่อื่น ฉะนั้นท่านจึงถือ เป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะพวกสภาวะจิตเหล่านี้ที่เราเรียกว่าอารมณ์ หรืออะไรก็ตาม มันเป็นสภาวะที่มีจริงทางจิตใจ เมื่อมันเกิดขึ้นมันก็ ส่งผลต่อชีวิตจิตใจแล้วเข้าสู่ระบบเหตุปัจจัยทันที เพื่อนมาชวนไปท�ำบุญแต่เราไม่อยากไปจะบาปไหม? ถ้าเพื่อนชวนเพื่อนสองคนไปท�ำบุญ แต่คนทั้งสองไปไม่ได้ ไม่ว่า จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่เพื่อนคนที่หนึ่งมีจิตอนุโมทนา คือยินดี ในการบ�ำเพ็ญคุณงามความดีของผู้อื่น เพื่อนคนนี้จะได้บุญเพราะ เกิดสภาวะจิตที่ผ่องใสเบิกบาน ส่วนเพื่อนคนที่สองรู้สึกหงุดหงิด ร�ำคาญ เพื่อนคนนี้จะได้บาปเพราะเกิดสภาวะจิตที่เศร้าหมอง
70 | จุดชมวิว
สมมติวา่ ผมมีเงินอยู่ ๑๐๐ บาทแล้วท�ำบุญ ๗๐ บาท เพือ่ นคนหนึง่ มีเงิน ๑,๐๐๐ บาทแล้วท�ำบุญ ๕๐๐ บาท ใครจะได้บญ ุ มากกว่ากัน ผู้ที่มีจิตผ่องใสทั้งก่อนให้ ระหว่างที่ให้ และหลังให้ จะได้บุญ มากที่สุด ถ้าเป็นคนคิดมาก คิดเรื่องที่ท�ำให้ตัวเองไม่สบายใจ จะแก้ไข อย่างไร มันมีหลายวิธี วิธีหนึ่งก็คือเบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อบวชใหม่ๆ อาตมาก็คิดมากเหมือนกัน มันเปลี่ยนเฉพาะเครื่องนุ่งห่มแต่ข้างใน ก็ยังคิดเหมือนญาติโยม มันก็มีเวลาที่เครียดเหมือนกัน วิธีแก้ก็คือ เบี่บงเบนความสนใจ ช่วงบ่ายเราจะมีการปัดกวาด ก็ให้มีสติอยู่กับ การกวาด หรือล้างห้องน�้ำก็ให้มีสติอยู่กับการล้างห้องน�้ำ เมื่อเรา เห็นว่าการกระท�ำของเราเป็นประโยชน์สำ� หรับผูอ้ นื่ จิตใจก็จะผ่องใส ความผ่องใสก็จะมาแทนที่ความไม่สบายใจ นี่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ต้องฝึกปฏิบัติธรรมนานเพียงใดจึงจะได้ผลดี เราต้องศึกษาความรู้ทางการแพทย์นานเพียงใดจึงจะได้ชื่อว่า เป็นแพทย์ที่เก่ง? การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน มันมีเหตุปัจจัยประกอบ กันหลายอย่าง เหตุปัจจัยภายนอกเช่นครูบาอาจารย์ สถานที่ฯ เหตุ ปัจจัยภายใน เช่นพืน้ เพของจิต ความขยันหมัน่ เพียร สติปญ ั ญาฯ และ เหตุปัจจัยภายในนี้ แต่ละคนก็มีทุนเดิมและการพัฒนาที่ไม่เท่ากัน
ค�ำถามส�ำคัญเท่าค�ำตอบ | 71
การเป็นแพทย์ที่ดีควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร เมื่อก่อนอาตมาคิดว่า ผู้ที่เรียนสายนี้จะต้องมีความกรุณา คือ ความสงสารหวั่นใจเมื่อผู้อื่นประสบกับความทุกข์ ผู้ที่เลือกประกอบ อาชีพนี้เหมือนเป็นการประกาศออกมาดังๆว่า ต้องการจะช่วยเหลือ ผู้ป่วยหรือผู้ที่ก�ำลังได้รับความล�ำบากด้านร่างกาย ต่างกับอาชีพอื่น เช่นกราฟิกดีไซเนอร์ ซึ่งก็อาจจะช่วยเหลือผู้อื่นได้เหมือนกัน แต่การประกาศเจตนารมณ์มันไม่โดดเด่นเท่ากับอาชีพแพทย์ เหตุทมี่ นุษย์ด�ำเนินชีวติ อยูใ่ นสังคมเพราะต้องการอะไรบางอย่าง จากสังคม แต่ถ้ามนุษย์ไม่รู้จักควบคุมความต้องการของตัวเองด้วย ศีล สมาธิ ปัญญาก็จะเกิดผลร้าย เช่นเคยมีข่าวหมอท�ำการผ่าตัด ผู้ป่วย แล้วขโมยอวัยวะไปขาย หน้าที่ของแพทย์ก็คือรักษาผู้ป่วย เราก็ต้องพุ่งความสนใจของเราไปที่นั่น ต้องท�ำจุดนั้นให้สมบูรณ์ ทีส่ ดุ เมือ่ สังคมเห็นว่าแพทย์เป็นอาชีพทีท่ ำ� คุณประโยชน์ให้กบั สังคม สังคมก็จะมอบสิ่งตอบแทนให้กับแพทย์ เพื่อที่แพทย์จะได้ท�ำหน้าที่ ของตนได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องวิตกกังวลกับเรื่องปากท้องหรือปัจจัย ในการด�ำรงชีวิต แต่ถ้าแพทย์พุ่งความสนใจไปที่สิ่งตอบแทน อย่าง ไม่ลืมหูลืมตา ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดจรรยาบรรณอย่างที่ ตกเป็นข่าว
72 | จุดชมวิว
จิตหยาบ ทราบแล้ว เปลี่ยน
ไม่ใช่เรื่องขี้ๆ หากเราจะด�ำเนิน ชีวิตอยู่ในโลก อย่างมีความสุข เพราะดาวเคราะห์ปุกปุยดวงนี้ ประกอบด้วย สิ่งมีชีวิตที่มีคุณภาพจิตแตกต่างกัน ผู้มีจิตหยาบสามารถถ่มถ้อยค�ำ กระด้างออกมาได้ อย่างไม่ยี่หระสะทกสะท้าน และไม่เคยระแคะ ระคายแม้แต่นอ้ ยเลยว่า อารมณ์ขนุ่ มัวทีเ่ ล็ดลอดออกมาจากอวัยวะ ที่เรียกว่า “ปาก” นั้น ได้ก่อความอัปมงคลทั้งต่อตนเองและผู้คน รอบข้าง อุปมาเหมือนผ้าสกปรก แม้มีสีหยดลงไปก็มองไม่เห็น ความกระด�ำกระด่างกระด้างกระเดื่องที่เพิ่มขึ้น
จิตหยาบ ทราบแล้วเปลี่ยน | 75
ในทิศตรงกันข้าม บุคคลผูผ้ า่ นการฝึกฝนอบรมตนจนมีจติ ละเอียด ปราณีต จะสะดุง้ สะเทือนต่อบาปทีม่ าแปดเปือ้ นชีวติ ของตัวเอง แม้มี ปริมาณน้อย เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดทีแ่ ม้หยดสีขนาดเท่าเมล็ดงา จะกระเด็นมาสัมผัส ก็มองเห็นได้ชดั ถนัดตา พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า บุคคลผูป้ รารถนาจะใช้ชวี ติ อยูใ่ นโลกอย่างเป็นสุข ต้องหมัน่ พิจารณา ค�ำพูด ๕ คู่ที่เราต้องประสบอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน คู่ที่ ๑ ค�ำพูดจริง-ค�ำพูดโกหก คู่ที่ ๒ ค�ำพูดประกอบด้วยเมตตา-ค�ำพูดนินทาว่าร้าย คู่ที่ ๓ ค�ำพูดอ่อนหวาน-ค�ำพูดหยาบคาย คู่ที่ ๔ ค�ำพูดมีสาระ-ค�ำพูดเพ้อเจ้อ คู่ที่ ๕ ค�ำพูดถูกกาลเทศะ-ค�ำพูดไม่ถูกกาลเทศะ แปลกแต่จริงทีเดียวว่า หากเราตั้งจิตไว้ในค�ำพูดทั้ง ๕ คู่ว่า “เป็นเรื่องปรกติธรรมดาหาได้ในโลก” เมื่อเรากระทบกับลมอกุศล ที่พ่นออกมาจากปากของผู้มีจิตหยาบกระด้าง เราจะหวั่นไหวเพียง ชั่วขณะ แล้วกลับคืนสู่สภาวะปรกติอย่างรวดเร็วจนน่าดีใจ มิใช่ ชักชวนให้เชื่อ แต่ให้ทดลองน�ำไปปฏิบัติด้วยตนเองจนประจักษ์ แจ้งแก่ใจ แล้วในวันหนึ่งผู้อ่านจะได้ข้อสรุปเช่นเดียวกับข้าพเจ้าว่า “เราเปลี่ยนโลกไม่ได้ แต่เปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโลกได้”
76 | จุดชมวิว
ค�ำถาม ข้ามนิกาย
หากจะน�ำ ตัวเองเข้าสู่ การปฏิบัติธรรม เต็มรูปแบบ ด้วยการบวชเป็นนักบวชเซน การเข้าสู่มรรคผลนิพพานจะเป็น เป้าหมายเดียวกับเถรวาทหรือไม่? ท�ำไมวิถีของเราจึงดูเคร่งครัด ทุกเรื่อง ตรงข้ามกับของเซนที่ผ่อนคลายทุกเรื่องเช่น การนอนสมาธิ หลังอาหารเที่ยง การร้องเพลง การเล่นดนตรี เล่นกีฬา การขับรถ ซึง่ นักบวชเซนท�ำได้ และทุกคนก็มคี วามสุขสงบเบิกบานดี จากวิถเี ช่นนี้ จาก…คุณป้าขี้สงสัย
ค�ำถามข้ามนิกาย | 79
หลังจากจ�ำวัดช่วงกลางวันแล้วลุกขึน้ มาล้างหน้า ข้าฯรูส้ กึ สดชืน่ จนเกิดอารมณ์ละไม นึกอยากจะคลายปัญหาน่าฉงนของคุณป้า น่าฉงาย อันที่จริงค�ำถามนี้หาค�ำตอบได้ง่ายดาย จากพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ช่วงที่สุภัททปริพาชก เข้าไปกราบทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะที่พระองค์ ก�ำลังจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ดังความว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์เหล่าใดเป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดีคือ บูรณกัสสปะ มักขลิโคสาละ อชิตเกสกัมพละ ปกุธกัจจายนะ สัญชยเวลัฏฐบุตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ตรัสรู้แล้ว ตามปฏิญญาของตน หรือทั้งหมดไม่ได้ตรัสรู้ หรือว่า บางพวกไม่ได้ตรัสรู้ อย่าเลยสุภัททะข้อนั้นหยุดไว้ก่อน เราจะแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว สุภัททปริพาชกทูลรับ พระด�ำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกอ่ นสุภทั ทะ อริยมรรคมีองค์ ๘ หาไม่ได้ในธรรมวินยั ใด แม้*สมณ ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยใด แม้
80 | จุดชมวิว
สมณที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ หาได้ในธรรมวินัยนั้น สุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นๆว่างจาก สมณะผู้รู้ สุภัททะ ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่าง จากพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อพิจารณาตามเนื้อความข้างต้นแล้วก็จะเห็นว่า หากสามารถ จัดการร้องเพลง เล่นดนตรี เล่นกีฬา หรือขับรถเข้าในอริยมรรคมี องค์แปดได้ นักบวชทีม่ วี ถิ ชี วี ติ เกีย่ วข้องกับกิจกรรมดังกล่าว ก็สามารถ เข้าสู่จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาได้เช่นกัน การพักผ่อนช่วงกลางวันเป็นเรื่องปรกติธรรมดา เพราะร่างกาย ของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน ส�ำหรับข้าฯแล้ว หากต้องตืน่ มาสวดมนต์ ท�ำวัตรเช้านั่งสมาธิภาวนาตั้งแต่สามนาฬิกา แล้วงดเว้นจากการ พักกลางวัน เมื่อต้องมารวมสวดมนต์ท�ำวัตรนั่งสมาธิในช่วงเย็นจะ (นั่ง) หลับสบายเป็นพิเศษ หรือไม่ก็หงุดหงิดฟุ้งซ่านร�ำคาญ เมื่อออก อาการดังนี้ย่อมไม่สอดคล้องกับหลักในการปฏิบัติธรรมที่ว่า “อกุศล ธรรมต้องลด กุศลธรรมต้องเพิ่ม” แต่ส�ำหรับนักปฏิบัติธรรมตัวจริง หลังการบริโภคอาหาร (หนึ่งมื้อต่อวัน) จะต้องเดินจงกรมอย่างน้อย *สมณที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ หมายถึงพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ตามล�ำดับ
ค�ำถามข้ามนิกาย | 81
หนึ่งชั่วโมง เมื่อหายโงกง่วงแล้วจึงเอนกายพักผ่อนอย่างมีสติ การ ปฏิบัติเช่นนี้สอดคล้องกับความรู้ทางการแพทย์โดยบังเอิญว่า “การ เข้านอนหลังจากอาการง่วงหายไปแล้ว จะท�ำให้หลับสนิทกว่าเข้า นอนทัง้ ๆทีย่ งั ง่วง” ส่วนการเล่นกีฬาหากจะอ้างว่าเพือ่ ออกก�ำลังกาย มันก็มวี ธิ อี กี หลากหลายทีเ่ หมาะแก่สมณสารูป เช่นการท�ำงานก่อสร้าง การผ่าฟืน การท�ำความสะอาด การเดินจงกรมหรือเดินระยะไกลฯ จากข้อสังเกตของคุณป้าที่ว่า “ทุกคนก็มีความสุขสงบเบิกบานดี จากวิถีเช่นนี้” ข้าฯเกิดความสงสัยว่า “ความสุข” ที่คุณป้าอ้างถึงนั้น เกิดจากการละกิเลสหรือการได้ท�ำตามกิเลส? เรื่องแบบนี้ต้องตามดู กันระยะยาว อุปมาของพระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อ ชา สุภทฺโท) สอดคล้องกับเรือ่ งนีเ้ ป็นอย่างดี--บุคคลผูห้ นึง่ ท�ำกระเป๋า ใส่เงินหาย แต่เขาไม่รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจ เพราะคิดว่ากระเป๋าเงิน ยังอยู่ในกางเกง เขาเดินทางออกจากบ้านด้วยความส�ำราญใจ จน กระทัง่ ไปถึงจุดหมายแห่งหนึง่ แล้วพบว่า กระเป๋าใส่เงินได้หายไปแล้ว เมื่อนั้นความเดือดเนื้อร้อนใจก็กลุ้มรุมเล่นงานเขา พระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้น เกิดจากการที่พระภิกษุ กระท�ำสิ่งที่ไม่เหมาะแก่ความเป็น “ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร” ซึ่ง ล้วนมีมูลเหตุมาจากการบังคับบัญชาของกิเลส มูลเหตุเหล่านี้ โบราณจารย์ได้น�ำมารวบรวมไว้โดยเรียกว่า “นิทานต้นบัญญัติ” ดังจะยกตัวอย่าง เพื่อการพิจารณาร่วมกันสักหนึ่งอาบัติคือ อาบัติ
82 | จุดชมวิว
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘ ความว่า “อนึ่งภิกษุใด รับก็ตามหรือให้รับก็ตาม ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บ ไว้ให้เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์” นิทานต้นบัญญัติมีอยู่ว่า เจ้าของบ้านที่พระอุปนันทศากยบุตรเข้าไปฉันเป็นนิตย์ เตรียม เนื้อไว้ถวายในเวลาเช้า แต่เด็กร้องไห้ขอกินในเวลากลางคืน เขาจึง ให้เด็กกิน รุ่งเช้าพระอุปนันทะเข้าไปในบ้านนั้น เขาจึงแจ้งเรื่องให้ ทราบแล้วถามว่า “พระคุณเจ้าจะให้ผมน�ำกหาปณะไปแลกอะไร มาขอรับ?” พระอุปนันทะถามว่า “ท่านบริจาคทรัพย์หนึ่งกหาปณะ แก่อาตมาหรือ?” เขาตอบว่าใช่ พระอุปนันทะจึงกล่าวว่า “ท่านจง ถวายกหาปณะนั้นแก่อาตมาเถิด” เจ้าของบ้านถวายกหาปนะ แก่ พระอุปนันทะแล้วต�ำหนิประณามโพนทนาว่า “พระสมณเชื้อสาย ศากยบุตรเหล่านี้รับรูปิยะเหมือนพวกเรา” พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบจึงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุรับ เองหรือใช้ให้รับทองเงิน หรือยินดีทองเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน ทรง ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด ต้องสละเงินทอง ที่ได้มานั้นแก่สงฆ์ ภายหลังทรงอนุญาตให้ยินดีในปัจจัยสี่ได้ คือทายกมอบเงินไว้ แก่ไวยาวัจกรเพื่อให้จัดหาปัจจัยสี่ ภิกษุต้องการสิ่งใดที่เหมาะแก่ สมณสารูปก็บอกให้เขาจัดหาให้ โดยตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ค�ำถามข้ามนิกาย | 83
เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะ (สมควร) จากกัปปิยภัณฑ์ นั้นได้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดย ปริยายใดๆเลย” พระวินยั เป็นเครือ่ งป้องกันความเศร้าหมองทีจ่ ะเกิดขึน้ ในระหว่าง การปฏิบัติธรรม เหตุที่มีเป็นจ�ำนวนมากเพราะกิเลสมีปัญญามาก แม้พระพุทธองค์จะทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อป้องกันไว้ แต่กิเลสก็ตัด ช่องย่องเบาเล็ดลอดออกไปได้ จึงเป็นเหตุให้มี “อนุบัญญัติ” ตามมา อีกอักโข ความเคร่งครัดของเถรวาทมิใช่เคร่งครัดเพื่อความขรึมขลัง แต่มีวัตถุประสงค์ตรงไปที่การขูดขจัดสิ่งเศร้าหมองภายในจิตใจ และมิได้บังคับให้ผู้ใดกระท�ำตาม แต่ผู้สนใจศึกษาสามารถเลือก ทดลองปฏิบตั ไิ ด้ดว้ ยตนเอง อุปมาดัง่ เราต้องการจะเรียนท�ำขนมเค้ก แครอทจากโรงเรียนท�ำขนมแห่งหนึ่ง เพราะเราชอบรสชาติขนมเค้ก ของโรงเรียนแห่งนี้ ครูผสู้ อนก็จะแนะน�ำวิธที �ำขนมเค้กสูตรอร่อยเช่น ต้องใช้แป้ง น�ำ้ ตาล อบเชย แครอท และส่วนประกอบอืน่ ๆในปริมาณ มากหรือน้อยเพียงใด ต้องใช้เวลาอบนานเท่าใด เมื่อท�ำเสร็จแล้ว ต้องเก็บขนมเค้กไว้ที่อุณหภูมิเท่าใดฯ ถ้าเราต้องการจะรับประทาน เค้กแครอทที่มีรสชาติอย่างเดียวกับที่เราติดใจใฝ่หา เราก็ต้องท�ำให้ ได้ตรงตามสูตรหรือใกล้เคียงมากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ เมื่อเป็นดังนี้ ความเคร่งครัดจึงมิใช่ประเด็นที่จะต้องน�ำมาพิจารณา เพราะถ้า ไม่เคร่งครัดตามสูตร มันก็ไม่ออกมาเป็นขนมเค้กแบบที่เราต้องการ แล้วจะมาบ่นทีหลังว่าไม่อร่อยไม่ได้นะเออ
84 | จุดชมวิว
ปัญญา บนปราสาท
ในเวลา ไล่เลี่ยกันไม่ถึง สามสัปดาห์
ข้าฯได้ปะทะกับสามกรณีจากสามบุคคลซึ่งมีบางสิ่งที่สอดคล้อง ต้องกันจนน่าประหลาดใจ กรณีที่หนึ่ง นักเขียนรุ่นใหญ่ผู้หนึ่งสารภาพว่าหมกมุ่นอยู่ใน โลกียะและท�ำตัวเป็นคนนอกศาสนาด่าพระ ตัง้ แต่วยั หนุม่ จนล่วงเข้า วัยทองจึง “เงยหน้าอ้าปาก” หันเข้าหาพระธรรม ศึกษาพระไตรปิฎก และภาวนาอย่างจริงจัง กรณีที่สอง ผู้หญิงวัยใกล้สี่สิบคนหนึ่งปรับทุกข์กับเพื่อนแทบ ทุกครั้งที่พบกันว่า “ไม่น่าแต่งงานเลย มันไม่มีอิสระ เลิกงานแล้วก็ ต้องกลับบ้านไปเลี้ยงลูก”
ปัญญาบนปราสาท | 87
กรณีที่สาม พระหนุ่มรูปหนึ่งชื่อเปสโลภิกขุมุ่งมั่นผลิตหนังสือ เพือ่ สร้างแรงบันดาลใจด้านธรรมะให้กบั คนรุน่ ใหม่ จนเวลาล่วงเลยไป ห้าปีตพี มิ พ์หนังสือออกมาทัง้ หมด ๑๓ เล่มจึงค้นพบว่า “แรงบันดาลใจ ยอดเยี่ยมที่สุด ที่จะท�ำให้คนทุกรุ่นสนใจธรรมะก็คือความทุกข์” นอกจากข้าฯแล้ว สองบุคคลข้างต้นล้วนก็มีเครื่องหมายประกัน ความส�ำเร็จในชีวิต นักเขียนรุ่นใหญ่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจาก ต่างประเทศ คุณแม่มือใหม่ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เหตุใดพวกเราทั้งสามจึงใช้เวลานาน เกินปรกติในการเข้าถึงความจริง และความเนิ่นช้านี้ยังเป็นเหตุให้ พวกเรา ต้องประสบกับความแสบเผ็ดเหน็ดเหนื่อยเมื่อยตุ้มกลุ้ม ล�ำไส้ สิ่งที่น่าอาดูรอย่างไม่น่าให้อภัยก็คือ พวกเราไม่สามารถนั่ง ไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไปสู่วันวัยอันอ่อนเยาว์นั้นได้อีกแล้ว นับว่าเป็นบุญที่พวกเราได้ส�ำนึกถึงความคลาดเคลื่อนนี้ ก่อน ลมหายใจสุดท้ายจะหล่นหายจากโพรงจมูก เพื่อตอบค�ำถามข้างต้น ข้าฯไม่จ�ำเป็นต้องนั่งทางใน เพียงแต่ ปัดกวาดเศษใบไม้ในช่วงท�ำกิจวัตรตอนบ่าย ก็ได้รับค�ำตอบอัน Make sense สมเหตุสมผลว่า “เพราะพวกเราเอาแต่ขลุกอยู่กับ อารมณ์และความคิดเห็นของตนเอง” กรณีต่างๆข้างต้นจะไม่ผลิ ดอกออกผลอย่างเด็ดขาด หากพวกเราก้าวขึ้นบันไดไต่ไปสู่ชั้นบน ของปราสาท แล้วมองลงมายังเบื้องล่าง ช่องหน้าต่างที่วางอยู่ใน
88 | จุดชมวิว
ต�ำแหน่งสูง จะท�ำให้พวกเราเห็นความเป็นมาเป็นไปตามความจริง ของธรรมชาติ และไม่วา่ ความจริงนัน้ จะงดงามหรือขมขืน่ ก็ลว้ นเขย่า พวกเราให้ตื่นจากความฟุ้งฝัน อย่างไรก็ตาม เรื่องราวเหล่านั้นต่าง ก็ไหลไปกับสายน�้ำแห่งกาลเวลาแล้ว จงเงยหน้ารับกรรมซึ่งแปลว่า “การกระท�ำประกอบด้วยเจตนา” ที่ผ่านมา แล้วเปลี่ยนให้มันกลาย เป็นบทเรียนล�้ำค่า สมน�้ำสมเนื้อสมหนังกับสิ่งมีชีวิตอายุปูนนี้
90 | จุดชมวิว
สนทนา กับฝรั่ง
บันทึกการสนทนาธรรมอย่างเป็นทางการระหว่างเปสโลภิกขุ กับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ณ ธรรมศาลา วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
92 | จุดชมวิว
พระเจ้าถิ่น : ท่านเปสโลภิกขุก�ำลังจะเดินทางกลับเมืองไทย ปรกติท่านไม่ค่อยมีโอกาสได้พูด ท่านบวชเป็นพระได้ ๑๖ พรรษา ท่านมีประสบการณ์จากเมืองไทยหลายอย่างที่น่าสนใจ คืนนี้เป็น โอกาสสุดท้ายที่พวกเราจะได้ถามปัญหาต่างๆ เช่นท่านชอบฉัน อะไร? (ฮา) ท่านชอบข้าวเหนียวไหม? (ฮา) หรือใครจะถามเกี่ยวกับ การปฏิบัติก็ได้ เปสโลภิกขุ : ปรกติผมจะสนทนากับพระใหม่สัปดาห์ละครั้งที่ ห้องซาวน่า (ฮา) พระเจ้าถิ่น : ถ้าใครไม่ได้ไปที่ห้องซาวน่าก็จะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับ ท่านเปสโลภิกขุเลย (ฮา) เปสโลภิกขุ : ก่อนจะจองตั๋วมาอเมริกา พระอาจารย์ท่านหนึ่ง บอกว่าให้จองแบบไป-กลับ เผื่อเบื่อฝรั่งหรือปรับตัวเข้ากับอากาศ ไม่ได้ ซึ่งตั๋วประเภทนี้จะเก็บไว้ได้เพียง ๑ ปี แต่พระอาจารย์อีกท่าน หนึง่ บอกว่าให้จองตัว๋ แบบเทีย่ วเดียวจะได้อยู่ ๒ ปี เพราะถ้าจองแบบ ไป-กลับ ท่านเปสโลภิกขุจะกลับแน่นนอน วันใดที่ผมรู้สึกเป็นทุกข์ ผมก็จะต�ำหนิพระอาจารย์ทบี่ อกให้จองตัว๋ เทีย่ วเดียวอยูใ่ นใจ ทีเ่ มือง ไทยถ้าเราไม่ชอบอาหาร อากาศ บุคคล หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดภายในวัด ที่เราพ�ำนักอยู่ ก็สามารถหอบบาตรแบกกลดหนีไปได้เลย ซึ่งมันท�ำ ได้ง่ายมาก เพราะเมืองไทยมีวัดให้เลือกเยอะและพระป่าก็มีบริขาร น้อยชิ้น แต่อยู่ที่นี่ท�ำอย่างนั้นไม่ได้ ถ้าต้องประสบกับสิ่งที่เรา ไม่ชอบใจก็ต้องอดทน ต้องหาวิธีปล่อยวางให้ได้ แต่หลังจากสองปี ผ่านไป ผมกลับรู้สึกขอบคุณท่านพระอาจารย์ที่บอกให้โยมจองตั๋ว
สนทนากับฝรั่ง | 93
เที่ยวเดียวส�ำหรับผม เพราะมันท�ำให้ผมได้ฝึกฝนความอดทน และ เพิ่มพูนปัญญา โยมเจ้าถิ่น : อะไรคือส่วนที่ยากล�ำบากที่สุดส�ำหรับท่านในการ อยู่ที่นี่ครับ เปสโลภิกขุ : ภาษามั๊ง ก่อนบวชอาตมาเคยเป็นนักศึกษาใน มหาวิทยาลัย ก็รู้จักคุ้นเคยกับวัฒนธรรมของชาวตะวันตกบ้าง ส่วน หนึ่งก็มาจากหนังฮอลลีวูด (ฮา) อาตมาเคยจ�ำพรรษาร่วมกับคณะ สงฆ์ชาวตะวันตก ที่วัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี ข้อวัตร และบรรยากาศในการอยูร่ ว่ มกับคณะสงฆ์ของทีน่ กี่ บั ทีว่ ดั ป่านานาชาติ แทบจะไม่แตกต่างกัน ถ้าไม่ได้ออกไปนอกวัดป่าอภัยคีรี บางครั้ง อาตมายังนึกว่าตัวเองอยู่ที่วัดป่านานาชาติ (ฮา) พระเจ้าถิ่น : ในความคิดเห็นของท่าน พระไทยกับพระที่อยู่ที่นี่ มีความแตกต่างกันอย่างไรครับ เปสโลภิกขุ : พระภิกษุสามเณรที่นี่เรียบร้อย เพราะถ้ามีใคร ต้องการจะมาปฏิบัติธรรมที่นี่จะต้องติดต่อกับพระเจ้าหน้าที่ก่อน จากนั้นพระเจ้าหน้าที่ก็จะน�ำเรื่องมาปรึกษากับคณะสงฆ์ เราก็จะ สอบถามกันว่า พระรูปนี้เป็นใคร มาจากไหน นิสัยใจคอเป็นอย่างไร เคยสร้างปัญหาไว้ที่วัดอื่นมาก่อนไหม คณะสงฆ์สามารถเลือกที่จะ อนุญาตหรือปฏิเสธได้ แต่วดั ทีเ่ มืองไทยไม่ใช่อย่างนี้ ใครจะมาเวลาใด ก็ได้ ครั้งหนึ่งในวันเข้าพรรษา อีกประมาณหนึ่งชั่วโมงก็จะถึงเวลา สมาทานจ�ำพรรษา มีพระรูปหนึง่ มาจากทีใ่ ดก็ไม่ทราบ โยมพ่อโยมแม่ ของท่านน�ำมาฝากเพื่ออยู่จ�ำพรรษากับเรา ทั้งๆที่ไม่เคยรู้จักกัน
อะไรคือส่วนที่ ยากล�ำบากที่สุด ส�ำหรับท่าน ในการอยู่ที่นี่?
สนทนากับฝรั่ง | 95
มาก่อน เมื่ออยู่ไปได้เพียงครึ่งพรรษาท่านก็เกิดอาการวิปลาส สร้าง ความปั่นป่วนให้กับคณะสงฆ์และญาติโยมเป็นอย่างมาก ที่เมือง ไทยจะมีการบวชชัว่ คราวด้วย คนทีม่ าบวชก็มที งั้ ประเภททีต่ งั้ ใจและ ไม่ตงั้ ใจ ซึง่ คนทีอ่ ยูใ่ นกลุม่ หลังก็จะสร้างปัญหาและท�ำลายบรรยากาศ ในการปฏิบัติ บางครั้งแฟนของพระที่บวชชั่วคราวก็มาเยี่ยม (ฮา) และพระเกือบทุกรูปก็จะมีโทรศัพท์มือถือ (ฮา) พวกเขาสามารถสั่ง ทุกอย่างที่อยากฉันและเก็บไว้ที่กุฏิได้ (ฮา) แต่ที่วัดป่าอภัยคีรีจะมี แต่ประเภทที่ตั้งใจมาบวช ตั้งใจมาปฏิบัติ ท�ำให้มีบรรยากาศใน การปฏิบัติที่เข้มแข็งเอาจริงเอาจัง โยมเจ้าถิ่น : ในความเห็นของอาจารย์ อะไรคือความแตกต่าง ระหว่างประเทศไทยกับอเมริกาครับ เปสโลภิกขุ : อากาศ (ฮา) ถ้าหมายถึงผู้คน คนไทยจะมีความ เมตตากรุณามาก แต่มุทิตาหรือความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจะมีน้อย ส่วนอุเบกขานี่แทบไม่รู้เรื่องกันเลย ชาวตะวันตกจะมีอุเบกขามาก เช่นถ้าคณะสงฆ์ตั้งข้อวัตรขึ้นมาใหม่และพระภิกษุสามเณรเห็นด้วย ทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม ถ้ามีใครฝ่าฝืนก็จะมีการประชุมเพื่อชี้แจง หรือสอบถามกันว่า ท�ำไมคุณไม่ปฏิบตั ติ ามข้อวัตรนัน้ ๆ นีค่ อื อุเบกขา ซึ่งหมายถึงการถือเอาธรรมหรือกฏกติกาเป็นใหญ่ โดยวางความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลเอาไว้ แต่ทเี่ มืองไทยบรรยากาศแบบนีจ้ ะมีนอ้ ย ถ้าพระอาจารย์ที่เป็นเจ้าอาวาสมีความเมตตากรุณามาก วัดก็จะมี บรรยากาศสบายๆจนเอียงไปทางเฉือ่ ยชา ตรงกันข้าม ถ้าพระอาจารย์ หนักในเรื่องอุเบกขาหรือกฏกติกามาก วัดก็จะร้อน
96 | จุดชมวิว
ผมเคยพูดกับพระฝรั่งที่ฝึกและเติบโตมากับวัดป่านานาชาติว่า พวกท่านจะอยูไ่ ด้เฉพาะวัดป่านานาชาติ หรือคณะสงฆ์ชาวตะวันตก ด้วยกัน ถ้าออกไปอยูท่ วี่ ดั ไทยท่านจะเป็นทุกข์มาก วัดฝรัง่ เป็นเหมือน โลกในอุดมคติ ทุกอย่างเคร่งครัดสมบูรณ์แบบแทบจะร้อยเปอร์เซนต์ แต่โลกข้างนอกซึ่งเป็นของจริง มันเป็นเหมือนนิ้วมือที่สั้น-ยาวไม่เท่า กัน มีการยืดหยุ่น มีการผ่อนคลาย พระเถระฝรั่งที่คุยกันในวันนั้น ท่านก็ยอมรับในเรือ่ งนี้ คนส่วนใหญ่จะเคร่งครัดกับผูอ้ นื่ แล้วยืดหยุน่ ให้ตัวเอง แต่ในการปฏิบัติธรรมต้องท�ำตรงกันข้าม คือเคร่งครัดกับ ตัวเองแล้วยืดหยุ่นกับคนอื่น มีคำ� สอนอันหนึง่ ทีผ่ มประทับใจก็คอื ‘การกลับมาดูตวั เอง’ ถ้าเป็น พระใหม่อาจจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก เพราะคนที่จะสอนมี น้อย แต่ถ้าเป็นพระเถระจะต้องเจอกับปัญหานี้ เมื่อเราบอกคนอื่น แล้วเขาไม่เชื่อ เราจะท�ำอย่างไร ครูบาอาจารย์ก็จะสอนว่า ‘แสดง ว่าบารมีของเรายังไม่พอ เราต้องสร้างบารมีของตัวเองก่อน’ ท่านให้ เรากลับมาดูตัวเอง ไม่ต้องไปต�ำหนิว่าเขาดื้อรั้น ถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ จะไปอยู่ที่ไหนก็สบายเพราะเราได้แก้ไขตัวเองไปเรื่อยๆ แต่ถ้า ไม่ปฏิบัติแบบนี้มันก็จะสร้างข้อวัตรขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อยๆ มันจะออก ข้างนอกไปเรือ่ ยๆและมันก็ไม่จบด้วย แต่ถา้ เรากลับมาดูตวั เอง จะอยู่ ที่นี่ก็สบาย จะไปอยู่ที่อื่นก็สบาย พระเจ้าถิน่ : อาจารย์คดิ ว่าอะไรเป็นสิง่ อันตรายส�ำหรับพระใหม่ ที่อยู่อเมริกาครับ เปสโลภิกขุ : เกี่ยวกับพระวินัย พระภิกษุสามเณรที่นี่รู้เยอะ
อะไรเป็น สิ่งอันตราย ส�ำหรับพระใหม่ ที่อยู่อเมริกา?
98 | จุดชมวิว
เรารู้ศรีลังกา ธิเบต เซน พม่า ไทย และอื่นๆ ถ้าพระในสายของ วัดหนองป่าพงที่เมืองไทยมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องพระวินัย แล้วมีพระรูปหนึง่ พูดขึน้ มาว่า ‘หลวงพ่อชาไม่ทำ� แบบนี’้ เรือ่ งมันจะจบ แต่ทนี่ ไี่ ม่ใช่อย่างนัน้ ถ้าพระรูปหนึง่ บอกว่า ‘หลวงพ่อชาไม่ทำ� แบบนี’้ อีกรูปหนึ่งจะบอกว่า ไม่เป็นไร ผมชอบแบบศรีลังกา ผมจะท�ำแบบ ศรีลังกา แต่เมื่อไปถึงพระวินัยอีกข้อหนึ่ง พระรูปเดียวกันนั้นก็จะ บอกว่า ผมไม่ชอบแบบศรีลังกา ผมจะท�ำแบบหลวงพ่อชาหรือแบบ พม่า เขาจะเปลี่ยนตลอดเวลา ซึ่งมันท�ำให้ไม่มีหลักยึด และที่ส�ำคัญ ก็คือมันรู้ไม่เท่าทันกิเลสของตัวเอง นี่เป็นสิ่งอันตราย เมื่อหลวงพ่อชายังมีชีวิตอยู่ ท่านอ่านและอธิบายบุพพสิกขา (หนังสือที่พระป่าใช้เป็นหลักในการศึกษาพระวินัย รจนาโดย พระอมราภิรักขิต [อมโร เกิด] จัดท�ำแล้วเสร็จครั้งแรกในปีวอก พุทธศักราช ๒๔๓๐) ให้พระภิกษุสามเณรฟัง แม้พระสงฆ์ทเี่ มืองไทย จะใช้ต�ำราเรียนโบราณและมีวิธีเรียนแบบโบราณ ไม่มีการน�ำมา ถกเถียงอภิปรายหรือซักถามกันเหมือนทีน่ ี่ แต่ลกู ศิษย์ของหลวงปูม่ นั่ และหลวงพ่อชาเป็นจ�ำนวนมาก ก็ได้กลายมาเป็นครูบาอาจารย์ ผู้มีคุณธรรมสูง ให้เราได้พึ่งพาอาศัยตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน บางครั้งผมยังนึกสงสัยอยู่ว่า จะมีพระอริยะเกิดขึ้นที่อเมริกาหรือ เปล่า (ฮา) ท่านจะเป็นผูต้ อบค�ำถามนีใ้ นอนาคต (ฮา) ด้วยการปฏิบตั ิ ของท่าน โยมเจ้าถิ่น : เราจะพิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในระหว่างการ นั่งสมาธิอย่างไรคะ
สนทนากับฝรั่ง | 99
เปสโลภิกขุ : เครื่องแต่งกายของเรามันแน่นไปไหม ถ้ามัน แน่นหรือรัดเกินไปเลือดลมก็เดินไม่สะดวก ต้องเปลี่ยนเป็นหลวมๆ สบายๆ เมื่อไม่นานมานี้อาตมาก็ตอบค�ำถามเดียวกันให้กับกลุ่ม นักปฏิบัติธรรมหน้าใหม่ โดยบอกเขาว่า ถ้าฝึกนั่งบ่อยๆมันจะดีขึ้น มันจะนั่งได้นานขึ้น ความเจ็บปวดจะน้อยลง แล้วเราก็นั่งสมาธิร่วม กันประมาณ ๔๕ นาที จากนั้นอาตมาต้องน�ำเดินจงกรมแต่ปรากฏ ว่าลุกไม่ได้ เพราะขาเป็นเหน็บ ทั้งๆที่เพิ่งบอกเขาว่าถ้าฝึกนั่งบ่อยๆ มันจะนั่งได้นานขึ้น บางครั้งมันก็ยังเป็น มันควบคุมไม่ได้เลย มัน แล้วแต่ช่วง มันไม่แน่นอน โยมเจ้าถิ่น : อาจารย์แนะน�ำให้อดทนนั่งต่อไปเรื่อยๆไหมคะ เปสโลภิกขุ : จะนัง่ ต่อไปก็ได้ ถ้าจิตสงบแล้วมันไม่สนใจอะไรทัง้ นัน้ โยมเจ้าถิ่น : มันปล่อยวาง เปสโลภิกขุ : ไม่รวู้ า่ มันปล่อยหรือเปล่า แต่มนั ไม่สนใจ เหมือนกับ ว่ามันมีอย่างอืน่ ทีส่ ำ� คัญกว่า ปีทแี่ ล้วอาตมาและคณะสงฆ์เดินทาง ไปพักที่อุทยานแห่งชาติโยเซมิตี ซึ่งอุณหภูมิช่วงกลางคืนถึงเช้ามืด ติดลบ เมื่อกลับมาวัด อาตมาก็นั่งเขียนถึงประสบการณ์นี้อยู่ใน ห้องข้างๆ อาตมาเปิดหน้าต่างเอาไว้เพราะต้องการให้อากาศถ่ายเท มีพระรูปหนึ่งเดินเข้ามาในห้องแล้วพูดขึ้นว่า ‘ห้องนี้หนาวพอๆกับ ข้างนอกเลย อยู่โยเซมิตีหนึ่งสัปดาห์ท่านยังหนาวไม่พออีกหรือ’ ขณะนั้นอาตมาก�ำลังจดจ่ออยู่กับงานจึงไม่สนใจเรื่องอากาศ ทั้งๆ มันก็หนาวมากเหมือนกัน ถ้าเราเป็นผู้ฝึกใหม่ เมื่อเกิดทุกขเวทนา จะเปลี่ยนอิริยาบถก็ได้ เคยมีพระรูปหนึ่งอยากจะข้ามทุกขเวทนา
100 | จุดชมวิว
ท่านฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนเส้นเอ็นที่หัวเข่าขาด ต้องนั่งเก้าอี้ตลอดชีวิต อย่างนี้มันมากเกินไป เราต้องดูก�ำลังของตัวเอง โยมเจ้าถิ่น : อาจารย์จะน�ำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากที่นี่ไป เล่าให้คนไทยฟังไหมครับ เปสโลภิกขุ : ปีทแี่ ล้วอาตมาพิมพ์หนังสือเกีย่ วกับอเมริกาไปแล้ว ๒ เล่ม (ฮา) แบ่งเป็น ๔ ตอนคือ Fearless Diary มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ประสบการณ์พุทธศาสนาในอเมริกา Spring Talk เป็นบทสัมภาษณ์ พระอาจารย์อมโร อดีต Co-Abbot ของวัดป่าอภัยคีรี To be Awake เป็นบทสนทนาหรือข้อความสั้นๆที่เก็บมาจากช่วงท�ำงาน ฉันน�้ำชา หรืออบซาวน่า Enchanted Hiking เป็นประสบการณ์ธุดงค์หกวัน ในอุทยานแห่งชาติโยเซมิตี เมื่ออาตมากลับไปถึงเมืองไทยก็จะ พิมพ์อีกเล่มหนึ่ง ตั้งชื่อไว้แล้วว่า The Organic Experience ที่ตั้ง ชื่อแบบนี้ก็เพื่อเป็นการระลึกถึงชาวแคลิฟอร์เนีย ที่ก�ำลังคลั่งไคล้ ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกอย่างหนัก (ฮาครืน) พระเจ้าถิ่น : มีธรรมบทใดที่อาจารย์ประทับใจบ้างครับ เปสโลภิกขุ : ช่วงที่เป็นพระใหม่ผมจะชอบธรรมบทเกี่ยวกับ ความเพียร ‘ผู้มปี ัญญาย่อมไม่ประมาท เมื่อผูอ้ นื่ ประมาท มักตื่นเมื่อ ผู้อื่นหลับ เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ย่อมทิ้งม้าไม่มีก�ำลังไปฉะนั้น’ ปรกติ ในคืนวันพระ เราจะเดินจงกรมสลับนั่งสมาธิร่วมกันจนถึงรุ่งเช้า แต่ คืนนี้ให้ท�ำตามความสมัครใจ เลือกเอาเองว่าใครจะเป็นม้าฝีเท้าเร็ว ใครจะเป็นม้าไม่มีก�ำลัง (ฮา) พระเจ้าถิ่น : ผมจะเป็นม้าฝีเท้าเร็วอยู่ที่กุฏิ (ฮา)
ประโยชน์ของผู้อื่น ถึงแม้จะมาก ก็ไม่ควรให้มา ท�ำลายประโยชน์ อันเป็นเป้าหมาย ของตน
102 | จุดชมวิว
เปสโลภิกขุ : หลังจากสิบพรรษา ผมก็เริ่มท�ำงานเผยแผ่ธรรมะ โดยสนใจเกี่ยวกับงานด้านหนังสือ ผมชอบธรรมบทอันนี้ ‘ประโยชน์ ของผูอ้ นื่ ถึงแม้จะมาก ก็ไม่ควรให้มาท�ำลายประโยชน์อนั เป็นเป้าหมาย ของตน’ ผมมาอยู่ที่นี่ประมาณ ๒ ปี รู้สึกชอบอเมริกาเหมือนกันนะ แต่ตอนมาอยู่ใหม่ๆก็คิดถึงบ้าน เมื่ออยู่ที่นี่ได้เพียง ๒ สัปดาห์ ผม เคยคิดว่าจะขออนุญาตจากท่านพระอาจารย์เพื่อกลับเมืองไทย เหตุผลของผมตอนนั้นก็คือ เพราะศาลาหลังนี้มันเล็ก ถ้าผมกลับ เมืองไทยจะได้มีที่ว่างส�ำหรับพระฝรั่งอีกรูปหนึ่ง (ฮา) ผมดีใจทีไ่ ด้มาปฏิบตั ริ ว่ มกับเพือ่ นๆทีม่ คี วามตัง้ ใจสูง ชาวอเมริกนั ใจดีก็มีอยู่มาก ผมคิดว่าพุทธศาสนาคงไม่หมดไปจากโลกง่ายๆ แต่ถ้าหมดไปจากเมืองไทย ผมว่ามีเปอร์เซนต์เยอะ เพราะคนระดับ นักวิชาการ หรืือผู้บริหารบ้านเมืองไม่สนใจพุทธศาสนา ภัยของ พุทธศาสนาในเมืองไทยก็มเี ยอะ ภัยบางอย่างพระก็ทำ� เอง บางอย่าง ก็มาจากศาสนาอืน่ แต่ผบู้ ริหารบ้านเมืองไม่สนใจทีจ่ ะท�ำการแก้ไข หรือป้องกัน เพราะเขาไม่เห็นความส�ำคัญของพุทธศาสนา แต่ที่ อเมริกามีระบบกฏหมายที่เข้มแข็ง ทุกคนสามารถท�ำสิ่งต่างๆได้ อย่างอิสระเสรี แต่ต้องไม่ล่วงละเมิดผู้อื่น โยมชาวไทย : ครูบาอาจารย์มีชื่อเสียงท่านหนึ่งท�ำนายว่า ใน อนาคตพุทธศาสนาจะหมดไปจากเมืองไทย เปสโลภิกขุ : แต่ทกุ วันนีพ้ ทุ ธศาสนาก็ยงั มีอยู่ เรายังมีปา่ มีสถานที่ วิเวก มีครูบาอาจารย์ อาหารบิณฑบาตก็ยงั หาได้งา่ ย เรายังมีพร้อม ทุกอย่าง เพราะฉะนั้นก็ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติกันต่อไป
104 | จุดชมวิว
โปรดใช้สถิติ อย่างมีสติ ครั้งที่ ๑
ละเลียดร้าน หนังสือไทย ครั้งแรก ในรอบสองปี
ก็ได้เรือ่ ง เนือ่ งจากสายตาของข้าฯไปกระแทกกับข้อความนี้ “ชาวพุทธ ๑๒ ล้านคนไม่เคยตักบาตร” เมื่อหยิบสิ่งพิมพ์ปกขาวด�ำแปลกตา มาพินิจก็พบว่า เป็นนิตยสารวัยใสปิ๊งอิงเด็กแนวนาม a day ฉบับที่ ๑๓๙ ประจ�ำเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ แต่ข้าฯไม่มีเวลาทัศนาที่ร้าน หนังสือเพราะมีนัดหมายอย่างอื่น จึงถือติดมือมานั่งเปิดดูคอลัมน์ main course ในรถซึ่งพาดหัวไว้ว่า “โปรดใช้ชีวิตอย่างมีสถิติ” และ เมื่อพลิกไปที่หน้า ๙๘ ก็พบข้อมูลดังต่อไปนี้
โปรดใช้สถิติอย่างมีสติ ครั้งที่ ๑ | 107
ประเทศไทยมีจ�ำนวนพุทธศาสนิกชนประมาณ ๔๗ ล้านคน ผลการวิจัยพบว่าชาวพุทธ ร้อยละ ๒๕.๑๙ หรือ ๑๒ ล้านคนไม่เคยท�ำบุญตักบาตร ร้อยละ ๑๐.๒๒ ท�ำบุญตักบาตรเป็นประจ�ำ ร้อยละ ๔๕.๒๖ ตักบาตรเฉพาะวันส�ำคัญทางพุทธศาสนา ในขณะที่การสวดมนต์ไหว้พระพบว่า ร้อยละ ๓๐.๖๖ สวดมนต์ไหว้พระเป็นประจ�ำ ร้อยละ ๕๔.๒๖ เป็นบางครั้ง ร้อยละ ๑๕.๐๙ ไม่เคยปฏิบัติ เมื่อถามว่าศีลข้อใดรักษายากที่สุด ชาวพุทธร้อยละ ๓๑.๑๙ ตอบว่าศีลข้อ ๑ ที่มา : ผลการวิจัยหัวข้อ “บทบาทของอุบาสกอุบาสิกาในการ บ�ำรุงพระพุทธศาสนา” มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๓ หลังจากรับทราบข้อมูลเหล่านี้ ข้าฯพลันระลึกถึงเหตุการณ์หนึ่ง ที่เพิ่งได้ฟังมาจากพระผู้ใหญ่ เรื่องมีอยู่ว่า ชาวบ้านจ�ำนวนมาก แห่ไปขูดหาตัวเลขจากต้นไม้ประหลาด ซึ่งงอกขึ้นภายในบริเวณ บ้านของผู้ที่มิได้นับถือศาสนาพุทธ เมื่อนักข่าวเดินทางไปสัมภาษณ์ เจ้าของบ้านก็บอกว่า “แม้ต้นไม้ประหลาดจะมางอกในบ้านของเรา
108 | จุดชมวิว
แต่เราก็ไม่ท�ำเหมือนพวกชาวพุทธหรอก” จากเหตุการณ์นี้และสถิติ ข้างต้น เป็นเหตุให้หนึ่งค�ำถามปรากฏในใจของข้าฯดังนี้ แม้กวาง กับควายจะมีเขาเหมือนกัน แต่เราก็สามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดเจน ว่าสัตว์ชนิดใดคืออะไร ฉันใดก็ฉันนั้น สิ่งใดจะเป็นคุณสมบัติ ที่ใช้จ�ำแนกชาวไทยจ�ำนวน ๔๗ ล้านคน ซึ่งระบุในทะเบียนบ้าน ว่าตนนับถือศาสนาพุทธ ให้ปรากฏอย่างชัดเจนว่าใครเป็นชาว พุทธแท้และใครเป็นชาวพุทธเทียม? ค�ำตอบง่ายๆแต่ไม่เร้าใจก็คือ “ทาน ศีล ภาวนา” เมื่อค�ำตอบเป็นดังนี้เราจะพบความจริงประการหนึ่งว่า เป็นไป ไม่ได้เลยที่ชาวพุทธจะไม่ท�ำบุญตักบาตรเป็นประจ�ำ (ทาน) เป็นไป ไม่ได้เลยที่ชาวพุทธจะไม่สวดมนต์ไหว้พระเป็นประจ�ำ (ภาวนา) ส่วนการเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการ ประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดปด เว้นจากการดื่มสุราและ สิ่งเสพติด ล้วนเป็นพฤติกรรมปรกติของชาวพุทธอยู่แล้ว (ศีล) เพราะฉะนั้น จากสถิติข้างต้น เราจึงได้ข้อมูลอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้า น�ำการท�ำบุญตักบาตรมาเป็นเกณฑ์ในการค�ำนวณหาค่าเฉลี่ยของ ชาวพุทธ ประเทศไทยจะมีชาวพุทธแท้อยู่ประมาณ ๑๐.๒๒% และ ชาวพุทธเทียม ๗๐.๔๕% และถ้าน�ำการสวดมนต์ไหว้พระมาเป็น เกณฑ์ในการค�ำนวณหาค่าเฉลี่ยของชาวพุทธ ประเทศไทยจะมี ชาวพุทธแท้อยู่ประมาณ ๓๐.๖๖% และชาวพุทธเทียม ๖๙.๓๕%
โปรดใช้สถิติอย่างมีสติ ครั้งที่ ๑ | 109
ไม่ว่าจะอย่างไร สถิติเหล่านี้มิได้ก่อความสะเทือนขวัญให้แก่ ข้าฯเลยแม้แต่น้อย เพราะหลังจากสวดมนต์ภาวนาร่วมกับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาในตอนเช้าแล้วออกภิกขาจาร ชาวบ้าน พร้อมอาหารคาวหวานก็รออยู่แล้วด้วยใจจดจ่อ และผู้คนใจบุญ เหล่านัน้ ก็ให้ความส�ำคัญกับจ�ำนวนพระทีม่ ารับบิณฑบาต มากกว่า ตัวเลขยึกยือห้อยทศนิยม
110 | จุดชมวิว
โปรดใช้สถิติ อย่างมีสติ ครั้งที่ ๒
ละเลียดร้าน หนังสือไทย ครั้งแรก ในรอบสองปี
ก็ได้เรื่อง เนื่องจากสายตาของข้าฯไปกระแทกกับข้อความนี้ “ชาว พุทธ ๑๒ ล้านคนไม่เคยตักบาตร” เมื่อหยิบสิ่งพิมพ์ปกขาวด�ำแปลก ตามาพินิจก็พบว่าเป็นนิตยสารวัยใสปิ๊งอิงเด็กแนวนาม a day ฉบับที่ ๑๓๙ ประจ�ำเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ แต่ข้าฯไม่มีเวลาทัศนาที่ ร้านหนังสือเพราะมีนดั หมายอย่างอืน่ จึงถือติดมือมานัง่ เปิดดูคอลัมน์ main course ในรถซึ่งพาดหัวไว้ว่า “โปรดใช้ชีวิตอย่างมีสถิติ” และ เมื่อพลิกไปที่หน้า ๙๙ ก็พบข้อมูลดังต่อไปนี้
โปรดใช้สถิติอย่างมีสติ ครั้งที่ ๒ | 113
คนไทยท�ำบุญเฉลี่ยคนละ ๘๐๔ บาทต่อปี ซึ่งประเมินเป็นเงิน สะพัดกระจายไปตามธุรกิจทีเ่ กีย่ วข้องได้ประมาณ ๓,๓๐๐ ล้านบาท โดยคนกรุงเทพฯและปริมณฑลมีค่าใช้จ่ายในการท�ำบุญสูงสุดเฉลี่ย ๑,๕๑๒ บาทต่อคนต่อปี ภาคอีสานน้อยทีส่ ดุ เฉลีย่ ๔๙๒ บาทต่อคน ต่อปี แต่เมื่อพิจารณาเม็ดเงินสะพัดในการท�ำบุญ โดยค�ำนวณจาก จ�ำนวนคนและความถี่พบว่า ภาคอีสานมีเม็ดเงินสะพัดเป็นอันดับ หนึ่งคือ ๑,๑๐๐ ล้านบาท เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆแล้วพบว่า ในปี ๒๕๕๔ ประเทศไทยได้อนั ดับชาติใจบุญอันดับที่ ๙ ของโลกจาก ๑๕๓ ประเทศ และเป็นอันดับทีห่ นึง่ ของโลกในแง่การบริจาคเงินเพือ่ การกุศล ขณะที่ในแง่ของอาสาสมัครกลับเป็นอันดับกลางๆค่อนไปทางท้าย ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย และ มูลนิธิช่วยเหลือการกุศลของ สหรัฐอเมริกา จากสถิตนิ ที้ ำ� ให้เราพบความจริงอันน่าอนุโมทนาว่า “คนไทยขยัน ท�ำบุญไม่แพ้ชาติใดในโลก” และข้าฯก็ขอยืนยันค�ำพูดในโคเทชั่น ข้างต้น ด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองเมื่อไม่นานเดือนที่ผ่านมา ในช่วง เวลานัน้ ข้าฯพ�ำนักอยูท่ วี่ ดั ป่าแห่งหนึ่งทางภาคอีสาน เจ้าของร้านค้า แห่งหนึ่งในตัวจังหวัดได้ให้ค�ำแนะน�ำแก่ลูกค้าว่า ถ้าใครเคยท�ำแท้ง จะต้องไปท�ำบุญอุทศิ ทีว่ ดั ป่าบุญรัง (นามสมมติ) เด็กทีด่ บั ดิน้ จึงจะได้ รับส่วนแห่งบุญนั้น ชั่วเวลาไม่ถึง ๒ เดือนที่ข้าฯพ�ำนักอยู่ ณ วัดป่า แห่งนี้ มีผู้คนหลั่งไหลมาถวายทานเพราะเหตุแห่งการท�ำแท้งไม่ต�่ำ
114 | จุดชมวิว
กว่าสิบราย และท่านเหล่านั้นก็พร้อมใจกันอัญเชิญพระพุทธรูป หน้าตัก ๘ นิว้ พร้อมเครือ่ งสังฆทานชุดใหญ่มาด้วย จนเรือนคลังสงฆ์ ที่เคยกว้างขวางหดเล็กลงถนัดตา มันอะไรกันนักหนา ในบ่ายที่ข้าฯก�ำลังจะเดินทางออกจากวัดป่าบุญรัง สองอนงค์ นางก็น�ำเครื่องอย่างว่ามาถวายพระสงฆ์ ด้วยเหตุที่ท่านเจ้าอาวาส เดินทางไปท�ำธุระในต่างจังหวัด ข้าฯจึงจ�ำใจต้องรับภาระอันหนัก เหนื่อย หลังจากประกอบพิธีกรรมและกรวดน�้ำรับพรแล้ว ข้าฯ ก็บอกสองหล่อนว่า “โยม...ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปเยอะแล้วนะ เยอะ จนไม่มีที่จะเก็บแล้ว” อนงค์นางหนึ่งเสนออย่างชาญฉลาดว่า “เอา ไปให้ร้านสังฆภัณฑ์บูชาก็ได้ค่ะ” อืมมม...ถ้าข้าฯต้องการไอโฟน มาเขี่ยเล่นก็นับว่าเป็นความคิดที่ไม่เลว แต่วินาทีนี้ข้าฯมิได้หิว กระหายอุปกรณ์สื่อสารทัชสกรีนจึงรวบรัดบอกหล่อนว่า “วัดป่าไม่มี นโยบายอย่างนั้น” หลังจากอธิบายยืดยาวทั้งหนักและเบาถึงวิธี การท�ำบุญ ข้าฯก็ตอกตะปูปิดท้ายว่า “อาตมาพูดอย่างนี้เพราะ สงสารญาติโยมที่ท�ำงานอาบเหงื่อต่างน�้ำหามรุ่งหามค�่ำ จึงอยาก ให้ปัจจัยที่ญาติโยมแสวงหากันมาอย่างยากล�ำบาก เกิดประโยชน์ เต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่านี้” ข้าฯไม่แน่ใจว่าทั้งคู่จะน�ำข้อมูลที่ข้าฯเพิ่ง ถ่ายทอดไปพิจารณาหาความจริงเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะหลังจาก แยกย้ายกันแล้ว หญิงสาวอนงค์หนึ่งก็ประคองชุดกรวดน�้ำ ไปยัง ต้นไม้ใหญ่ด้านหน้าศาลา หล่อนรินน�้ำลงที่โคนต้นไม้พร้อมพูดกับ เพื่อนที่มาด้วยกันว่า “เด็กที่ตายไปคงจะได้ดื่มน�้ำ”
โปรดใช้สถิติอย่างมีสติ ครั้งที่ ๒ | 115
ข้าฯไม่ทราบว่าวิญญาณเร่รอ่ นของเด็กทารกจะกระหายน�ำ้ หรือไม่ แต่ที่มั่นใจได้อย่างหนึ่งก็คือต้นไม้ต้นนั้นคงจะดีใจ เพื่อชีวิตน้อยๆมิรู้ อิโหน่อิเหน่จักไม่สูญสลายไปปลี้ๆเปล่าๆ และเพื่อเป็นการบรรเทา อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อของเรือนคลังสงฆ์ ซึ่งมีอยู่ประจ�ำวัดป่า ทัว่ ประเทศไทย เรามาท�ำความรูจ้ กั กับบุญกิรยิ าวัตถุ ๑๐ หรือหนทาง ในการเข้าถึงบุญ ๑๐ ประการจาก “พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับ ประมวลธรรม” กันดีกว่า ๑. ทานมัย ท�ำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ ๒. สีลมัย ท�ำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี ๓. ภาวนามัย ท�ำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกจิตใจ เจริญปัญญา ๔. อปจายนมัย ท�ำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม ๕. เวยยาวัจจมัย ท�ำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ ๖. ปัตติทานมัย ท�ำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดี ให้แก่ผู้อื่น ๗. ปัตตานุโมทนามัย ท�ำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น ๘. ธัมมัสสวนมัย ท�ำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ ๙. ธัมมเทสนามัย ท�ำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ท�ำบุญด้วยการท�ำความเห็นให้ตรง
116 | จุดชมวิว
สาธุชนชาวสยามพึงขยันท�ำบุญด้วยวิธีการอันหลากหลาย เถิด เพื่อให้สมกับที่เกิดมาพบพุทธศาสนา ซึ่งจะส่งผลให้สถิติ ครั้งถัดไปปรากฏออกมาว่า “ประเทศไทยเป็นชาติอันดับหนึ่ง ของโลก ในแง่ของความเฉลียวฉลาดในการท�ำบุญ”
118 | จุดชมวิว
รักเธอ เสมอภาค
ไม่น่าเชื่อ ว่าจะมีเรื่อง อย่างนี้ เกิดขึ้น ในวัดป่า
พระหนุม่ รูปหนึง่ แสดงอาการหัวเสียก่อนระเห็ดตัวเองออกจากอาราม สาเหตุที่ท่านทิ้งไว้ให้คณะสงฆ์ปลงสังเวชก็คือ “ท�ำไมพระภิกษุ สามเณรต้องล้างบาตร ล้างมือ ล้างเท้าให้พระเถระ! ท�ำไมในวัดยัง มีศักดินา! ท�ำไมไม่มีความเสมอภาค!” ใจเย็นๆ Angry bird เอ้ย! Angry young man หายใจเข้าลึกๆหายใจออกยาวๆ หายใจเข้า ยาวๆหายใจออกลึกๆ แล้วพิจารณาเนื้อความอย่างย่นจากหนังสือ *บุพสิกขาวรรณา ในหัวข้ออุปัชฌายวัตรดังต่อไปนี้
รักเธอเสมอภาค | 121
ภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกพึงปฏิบัติชอบในอุปัชฌาย์ ความปฏิบัติ ชอบอย่างนี้ สัทธิวิหาริกคือภิกษุสามเณรพึงลุกขึ้นแต่เช้า ถ้าสวม รองเท้าจงกรมอยูพ่ งึ ถอดรองเท้าเสีย ท�ำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึง่ พึงให้ ไม้สีฟัน ให้น�้ำล้างหน้าบ้วนปากแล้วปูอาสนะไว้ ข้าวต้มมีพึงล้าง ภาชนะน�ำข้าวต้มน้อมเข้าไปให้ อุปชั ฌาย์ฉนั ข้าวต้มแล้ว พึงถวายน�ำ้ แล้วรับภาชนะข้าวต้มมา ท�ำโดยเคารพอย่าให้กระทบครูดสี ล้างเก็บ เสียด้วยดี เมื่ออุปัชฌาย์ลุกแล้วพึงรื้อเก็บอาสนะเสียฯ ผู้มีประสบการณ์และคุณธรรมน้อยเช่นพระภิกษุสามเณรที่เพิ่ง บวชใหม่ ย่อมไม่อาจท�ำงานใหญ่เช่นการแสดงธรรมได้ จึงจ�ำเป็น ต้องท�ำงานตามก�ำลังสติปัญญาของตน ส่วนครูบาอาจารย์ซึ่งเป็น ผู้มีประสบการณ์และมีคุณธรรมสูง กิจการงานในความรับผิดชอบ ของท่านจึงสูงตามไปด้วย หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว พระภิกษุ สามเณรผู้บวชใหม่มีหน้าที่ในการล้างมือและล้างบาตรให้พระเถระ ส่วนพระเถระก็ปดั กวาดเช็ดถูโรงฉัน ครูบาอาจารย์ผเู้ ป็นประธานสงฆ์ ก็สนทนาธรรมกับญาติโยม ในขณะที่พระภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ กลับกุฏิไปท�ำความเพียรหรือพักผ่อน ครูบาอาจารย์กลับต้องเดิน ตรวจตราความเรียบร้อยภายในวัด เช่นดูแลงานก่อสร้างต่างๆ บางครัง้ ท่านต้องเดินทางไปประชุมกับพระฝ่ายปกครองในตัวจังหวัด หรือ *หนังสือทีพ่ ระป่าใช้เป็นหลักในการศึกษาพระวินยั รจนาโดยพระอมราภิรกั ขิต [อมโร เกิด] จัดท�ำแล้วเสร็จครั้งแรกในปีวอก พุทธศักราช ๒๔๐๓
122 | จุดชมวิว
ไปเยี่ยมญาติโยมที่ก�ำลังเจ็บไข้ได้ป่วยฯ หาก Angry young man ต้องการความเสมอภาคประเภทที่เรียกว่า “Equality” อย่างฝรั่ง ซึ่งหมายถึง “ถ้าคุณได้ ๑๐๐ ฉันต้องได้ ๑๐๐ ถ้าคุณได้ ๑๐๐ ฉันได้ ๕๐ ถือว่าไม่เสมอภาค” ก็ต้องติดตามครูบาอาจารย์ไปทุกหน ทุกแห่งด้วย หากเป็นดังนี้พระนว (เกะ) กะเตรียมอนุบาลปากยัง ไม่สนิ้ กลิน่ น�ำ้ นมจะไหวหรือเปล่า ถ้าค�ำตอบคือ “ไหว” ก็จงจินตนาการ ดูว่า ถ้ามีญาติโยมที่เคยศึกษาด้านพระอภิธรรมมาลองดีกับเราดังที่ เคยลองดีกับหลวงพ่อชาโดยถามว่า “ถ้าทุกอย่างเป็นอนัตตา ใครรู้ อนัตตา?” ภูมจิ ติ ภูมธิ รรมของเราสูงส่งพอทีจ่ ะตอบค�ำถามนีไ้ ด้หรือไม่ เมื่อครั้งที่ครูบาอาจารย์หรือพระเถระยังเป็นพระหนุ่มเณรน้อย ท่านก็ตอ้ งปฏิบตั อิ ปุ ฌ ั ายวัตรและอาจาริยวัตรแก่พระอุปชั ฌาย์ และ พระอาจารย์ของท่านเช่นกัน เมื่อพระหนุ่มเณรน้อยเจริญวัยเป็น พระเถระก็จะได้รับการอุปัฏฐาก จากพระภิกษุและสามเณรที่เป็น ลูกศิษย์เช่นเดียวกัน นี้เป็นความเสมอภาคที่ผันไปตามวุฒิภาวะ ความเสมอภาคที่เป็นประเด็นร้อนอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ผู้คนบาง จ�ำนวนมักจะมองแม่ชีเป็นเด็กรับใช้ของพระ แต่ถ้าได้สัมผัสความ จริงก็จะพบว่า ผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในวัดป่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบตาม เพศภาวะและก�ำลังความสามารถของตน พระภิกษุสามเณรจะดูแล ในด้านการก่อสร้าง ระบบน�ำ้ ระบบไฟฟ้าภายในวัด ทัง้ ในเขตของพระ และเขตของแม่ชี (พระที่จะเข้าไปในเขตแม่ชีต้องได้รับอนุญาตจาก
รักเธอเสมอภาค | 123
ครูบาอาจารย์ผู้เป็นประธานสงฆ์ก่อน) ส่วนแม่ชีจะดูแลเกี่ยวกับ อาหาร น�้ำปานะ และโรงครัว นี้เป็นความเสมอภาคที่เชื่อมโยงกับ เพศภาวะซึ่งเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ความเหมาะสม” เป็นความ เสมอภาคทีส่ อดกับธรรมชาติ และสามารถน�ำไปปฏิบตั ไิ ด้ในชีวติ จริง มิใช่ความเสมอภาคลมๆแล้งๆแองกรีเบิร์ด ที่ปลิวว่อนอยู่ในโลก ของความเพ้อฝัน
124 | จุดชมวิว
รู้อะไรก็ไม่สู้ รู้จักตัว
นมนานมาแล้ว ครูบาอาจารย์ เคยปรารภ บทสนทนาท�ำนองนี้ให้ข้าฯฟัง จนกระทั่งวันหนึ่งข้าฯจึงได้ประสบกับ ตัวเองชนิดเต็มๆตรงๆ พระผู้ใหญ่ฝ่ายคามวาสี : อยู่วัดท�ำอะไรกัน? พระผู้น้อยฝ่ายอรัญวาสี : สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิครับ พระผู้ใหญ่ฝ่ายคามวาสี : แค่นั้นมันไม่พอที่จะรักษาพระศาสนา หรอกท่าน มันต้องเข้าถึงตัวคัมภีร์ ท�ำไมไม่เรียนบาลีกัน ในการศึกษาปริยัติธรรมนั้น พระภิกษุสามเณรในสายของวัด หนองป่าพงจะได้รับอนุญาตให้ศึกษาเฉพาะ “นักธรรม” ซึ่งประกอบ
รู้อะไรก็ไม่สู้รู้จักตัว | 127
ด้วย ๔ วิชาคือ เรียงความแก้กระทู้ธรรม ธรรมวิภาค วินัยมุข และ พุทธประวัติ ซึ่งการศึกษา “นักธรรม” จะแบ่งออกเป็นสามระดับคือ ชัน้ ตรี ชัน้ โท และชัน้ เอก หลวงพ่อชาพิจารณาเห็นว่า เท่านีก้ เ็ พียงพอ ที่จะเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์ ท่านจึงอนุญาตให้ พระภิกษุสามเณรเรียนเพียงเท่านี้ แล้วเอาเวลาส่วนใหญ่ไปปฏิบัติ สมถวิปัสสนา แต่ถึงกระนั้นท่านก็ยังพบว่าในช่วงที่มีการเรียนการ สอนนักธรรม ข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรจะย่อหย่อน จนน่าวิตก ซึ่งมีเหตุสืบเนื่องมาจากการพูดคุยคลุกคลีกัน เมื่อสอบ นักธรรมเสร็จแล้วท่านจึงสั่งให้เก็บต�ำราใส่ตู้ แล้วตั้งหน้าตั้งตา เจริญภาวนากันต่อไป ส่วนการศึกษาภาษาบาลีหรือเปรียญธรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น ๙ ระดับหรือที่เรียกกันว่า ๙ ประโยค (ผู้ที่สอบผ่าน ตัง้ แต่ประโยคที่ ๓ ขึน้ ไปจะมีคำ� น�ำหน้าชือ่ ว่า “มหา”) พระภิกษุสามเณร ในสายวัดหนองป่าพงที่มีความสนใจ สามารถศึกษาหาความรู้ได้ ด้วยตนเอง แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบ เพราะจะเป็นเหตุให้เกิด การคลุกคลีและเหินห่างจากการปฏิบิติธรรมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมือ่ ข้าฯบวชได้ ๕ พรรษาและทราบว่าตัวเองสอบนักธรรมชัน้ เอก ผ่าน ก็เคยคิดจะไปเรียนภาษาบาลีร่วมกับพระที่อยู่ในเมือง เพราะ วัดป่าที่ข้าฯพ�ำนักอยู่สามารถเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับได้ แต่เมื่อ มาพิจารณาถึงธรรมะอุปมาของหลวงพ่อชาข้าฯก็เปลี่ยนใจ “เรากิน ผลไม้ชนิดนี้และรู้ว่ามันมีรสเปรี้ยว หวาน มัน ก็พอแล้ว ส่วนชื่อ ของมันจะรู้หรือไม่รู้ก็ได้” ปฏิปทานี้เป็นเหตุปัจจัยอันหนึ่งที่ท�ำให้
128 | จุดชมวิว
วัดหนองป่าพงมีส�ำนักสาขากระจายอยู่ทั่วโลก ในการส�ำรวจครั้ง ล่าสุดคือเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วัดหนองป่าพงมีส�ำนักสาขา ในประเทศไทย ๒๘๐ แห่ง และในต่างประเทศ ๑๖ แห่ง นอกจากนี้ พระผูใ้ หญ่ซงึ่ ได้รบั การเคารพยกย่องว่าเป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ก็ยังให้การ ยอมรับคุณธรรมในตัวของหลวงพ่อชา ดังปรากฏในพระธรรมเทศนา เรื่อง “ความเป็นกัลยาณมิตรของหลวงปู่ชา” ซึ่งพระเดชพระคุณฯได้ เมตตาแสดงในงานพระราชทานเพลิงศพของหลวงพ่อชา เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ขอยกมาเป็นอนุสติสักหนึ่งย่อหน้าดังนี้ “ในการสั่งสอนของท่านนั้นมีข้อเด่นเป็นพิเศษที่ว่า ท่านสอน จีจ้ ดุ ได้ตรงใจ ค�ำสอนแม้จะสัน้ แต่วา่ กินใจประทับใจ จึงได้มลี กู ศิษย์ ลูกหามากมาย ไม่เฉพาะแต่ที่เป็นคนไทยเท่านั้น ท่านที่เป็นคนต่าง ประเทศก็ได้มาฟังค�ำสอนของท่าน มานับถือ มาบวชเป็นพระภิกษุ อยูก่ บั ท่านก็มจี ำ� นวนมาก และท่านเหล่านัน้ มาโดยทีว่ า่ เริม่ ต้นตนยัง ไม่รู้ภาษาไทย และตัวพระอาจารย์เองก็ไม่รู้ภาษาต่างประเทศ ก็ยัง หาทางสื่อสารกันจนกระทั่งสามารถเกิดความรู้ เกิดความเข้าใจได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษ เป็นความสามารถชนิดที่ว่าเป็นที่น่า อัศจรรย์ทีเดียว” หลังจากข้าฯปฏิบตั ศิ าสนกิจอยูท่ วี่ ดั ป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาใกล้จะครบก�ำหนด ๒ ปี และก�ำลังเตรียมตัวจะ
รู้อะไรก็ไม่สู้รู้จักตัว | 129
เดินทางกลับประเทศไทย ในวันหนึ่งขณะที่ก�ำลังพิจารณาตักอาหาร สายตาของข้าฯพลันปะทะกับอาหารฝรั่งชามใหญ่หน้าตาละม้าย น�้ำพริกอ่อง ซึ่งข้าฯเองก็ไม่รู้หรอกว่าชาวอเมริกันเรียกอาหารชนิดนี้ ว่าอย่างไร สิ่งที่ข้าฯรู้แน่ชัดในขณะนั้นมีเพียงอย่างเดียวคือ รู้ว่า ตัวเองหิวจนไส้จะระเบิดอยู่แล้ว
เฉลย อาหารฝรั่งชนิดนี้มีชื่อว่า Sloppy Joe
130 | จุดชมวิว
สนทนานอก สนทนาใน
เปสโลภิกขุสนทนากับนักศึกษาแพทย์ทางเลือกจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และคุณลุงคุณป้าจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
132 | จุดชมวิว
นักศึกษา : หลวงพี่พูดภาษาอังกฤษได้ก่อนไปอเมริกาเหรอคะ เปสโลภิกขุ : เคยเรียนในมหา’ลัย แล้วก็เคยอยูท่ วี่ ดั ป่านานาชาติ หนึ่งพรรษา แค่พอสื่อสารได้ ถ้าพูดไม่ได้เลยนี่ล�ำบากมาก เพราะ เวลาเขาสัง่ งานหรือนัดหมายมันจะไม่รเู้ รือ่ ง แต่ฟงั เทศน์ภาษาอังกฤษ ก็ยงั ยากอยู่ บางวันก็เข้าใจเพียง ๓๐-๕๐% แต่ไม่มวี นั ไหนถึง ๑๐๐% เลย มันยากเหมือนกัน นักศึกษา : หลวงพี่เทศน์เป็นภาษาอังกฤษเหรอคะ เปสโลภิกขุ : พระอาจารย์หรือพระเถระที่อยู่ที่นั่นจะเทศน์ ส่วน อาตมามีโอกาสสองครั้ง ในวันออกพรรษา ใช้ภาษาอังกฤษง่ายๆ ก็มั่วๆไปแหละ นักศึกษา : ที่วัดป่าอภัยคีรีคงไม่มีการอบรมกรรมฐานส�ำหรับ คนทั่วไป เปสโลภิกขุ : มีเหมือนกัน จัดปีละครั้ง ประมาณ ๑๐ วันในเดือน พฤศจิกายน เรียกว่า Thank Giving Retreat ไม่ได้จัดที่วัด แต่ไปเช่า สถานที่ในเมืองใกล้ๆ นักศึกษา : หลวงพี่ว่าที่ไหนดีกว่ากันในเรื่องการปฏิบัติ เปสโลภิกขุ : ที่ไหนกับที่ไหน นักศึกษา : (หัวเราะ) เปสโลภิกขุ : หมายถึงเปรียบเทียบระหว่างที่ไหนกับที่ไหน นักศึกษา : ที่อเมริกากับที่เมืองไทย ที่ไหนรู้สึกสงบกว่ากัน เปสโลภิกขุ : ก็สงบทั้งสองนะ มันแล้วแต่วัน (หัวเราะ)
ที่อเมริกา กับที่เมืองไทย ที่ไหนรู้สึก สงบกว่ากัน?
134 | จุดชมวิว
นักศึกษา : หมายถึงว่าที่ไหนบรรยากาศเป็นใจมากกว่า หรือว่า ไม่เกี่ยว เปสโลภิกขุ : ที่วัดป่าอภัยคีรี ด้านล่างจะเป็นศาลา โรงครัว ออฟฟิศ ห้องสมุด เป็นพื้นที่ส�ำหรับท�ำกิจกรรม เมื่อท�ำกิจการงาน เสร็จจากบริเวณนี้ ก็ต้องเดินขึ้นภูเขากลับกุฏิ ประมาณครึ่งชั่วโมง ท�ำให้รู้สึกว่ามันแยกกันเป็นสัดส่วน มีความเป็นส่วนตัว เกี่ยวกับ ข้อวัตรต่างๆ ฝรั่งจะมีการพูดคุยกันมากกว่า เขาจะไม่ปล่อยวาง อย่างทีบ่ า้ นเรา (หัวเราะ) อาตมายังนึกอยูว่ า่ ถ้ามีโยมถามว่าทีว่ ดั …มี พระเท่าไหร่? อาตมาก็ต้องถามก่อนว่าตอนไหน? ถ้าตอนฉันก็สิบห้า แต่ถา้ ตอนท�ำวัตรเช้าก็สาม (หัวเราะประสานเสียง) ทีเ่ มืองไทยจะเป็น อย่างนี้ แต่ที่วัดป่าอภัยคีรีจะพูดกันเลย อาตมาอยู่ร่วมกับพระฝรั่ง ที่นั่น นานๆครั้งจึงจะมีพระขาดท�ำวัตรเช้า อยู่ด้วยกันเป็นปีๆ เขา ขาดท�ำวัตรเช้าแค่ครั้งเดียว และถ้าขาดก็ต้องมากราบสารภาพกับ ครูบาอาจารย์ “เมื่อเช้าผมไม่ได้มาท�ำวัตรครับ” แต่คงจะต�ำหนิเขา ไม่ได้ เพราะตลอดทั้งปีขาดแค่วันเดียว ต้องมีความตั้งใจสูงจริงๆ จึงจะท�ำได้ขนาดนี้ นักศึกษา : ฝรั่งจะอ่านหนังสือกันเยอะมาก เน้นอ่าน เปสโลภิกขุ : เขาชอบศึกษา ชอบอ่าน มันก็มีทั้งข้อดีและข้อ เสีย ฝรั่งจะพูดเก่ง พรีเซนต์เก่ง เรียกว่าฉลาดพูด โน้มน้าวคนได้ พูดมีเหตุมีผล ครั้งหนึ่งอาตมาติดตามท่านพระอาจารย์ไปที่วัดพุทธ ฝ่ายมหายานที่เบิร์กเล่ย์ ครูบาอาจารย์จากวัดป่าอภัยคีรีจะไปสอน ที่นั่นเดือนละครั้งช่วงเย็น ก่อนจะสวดมนต์ท�ำวัตรนั่งสมาธิ จะมี
สนทนานอก สนทนาใน | 135
การดื่มน�้ำชาร่วมกัน เป็นโอกาสให้ได้สนทนาธรรม วันนั้นมีเด็ก คนหนึ่งถามท่านพระอาจารย์ว่า พระนั่งสมาธิวันละกี่ชั่วโมง? ท่านพระอาจารย์บอกว่า หนูเคยถามค�ำถามนี้ไปแล้ว เด็กคนนั้น ย้อนว่า ผมจ�ำค�ำถามได้ แต่จ�ำค�ำตอบไม่ได้ (หัวเราะประสานเสียง) โห...มันฉลาดพูดจริงๆ เด็กอายุไม่กี่ขวบเองนะ ประมาณ ๗-๘ ขวบ มันโต้ตอบแบบไม่เกรงกลัวเลย นักศึกษา : เด็กฝรั่งจะเป็นผู้ใหญ่ค่ะ เปสโลภิกขุ : เขาฝึกกันมาตั้งแต่เด็ก มันเป็นประโยชน์เวลาเขา พรีเซนต์หรือเทศน์หรือคุยกับญาติโยม ยิ่งเขาอ่านเยอะก็ยิ่งมีข้อมูล เยอะ มันทันสมัย บางท่านก็อ่านหนังสือของมหาตมะคานธี หรือ ของกูรูจากอินเดีย หรือครูบาอาจารย์ชาวศรีลังกา ชาวพม่า โยมฝรั่ง ก็อ่านหนังสือพวกนี้เหมือนกัน เวลาพระฝรั่งเทศน์มันจึงเชื่อมกันได้ แต่ส�ำหรับพระไทยจะรู้อย่างเดียวแต่รู้ลึก เช่นรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติ ของสายหลวงพ่อชา นักศึกษา : หลวงพี่รู้ได้อย่างไรว่าตัวเองรู้ลึก บางทีโยมก็คิดว่า ตัวเองรู้แล้ว เก่งแล้ว เปสโลภิกขุ : รู้ลึกหมายถึงว่า รู้เรื่องเดียวในหลายแง่มุม อาตมา ไม่ได้หมายความว่าตัวเองปฏิบัติธรรมถึงระดับลึกซึ้ง มีคุณธรรมสูง อาตมาหมายถึงว่าตัวเองรู้จักพุทธศาสนาเถรวาท สายหลวงพ่อชา แต่รู้หลายแง่มุมในเรื่องเดียว นี่คือรู้ลึก นักศึกษา : หลวงพี่บวชเป็นพระมานานหรือยังคะ เปสโลภิกขุ : ๑๖ จะเข้า ๑๗
136 | จุดชมวิว
นักศึกษา : หลวงพี่ยังต้องฟังเทศน์อยู่หรือเปล่าคะ เปสโลภิกขุ : ฟัง ตอนอยู่อภัยคีรีมันต้องขวนขวายเอง เพราะ เราฟังเทศน์ภาษาอังกฤษเข้าใจไม่มาก และอาตมาก็ไม่มีนิสัยจะไป ถามครูบาอาจารย์มากนัก อยู่ที่นั่นอาตมาก็ฟังพระธรรมเทศนาของ หลวงพ่อชา ในช่วงทีท่ า่ นเดินทางไปโปรดญาติโยมทีป่ ระเทศอังกฤษ และอเมริกา เพราะอยากรู้ว่าท่านคุยกับฝรั่งยังไง แล้วก็ฟังเทศน์ ภาษาอีสานของท่าน ฟังหลวงพ่อเจ้าคุณประยุทธ์ ฟังพระสูตร แต่ ถ้ากลับมาอยู่กับครูบาอาจารย์ที่เมืองไทย ท่านจะเทศน์ได้ตรงกับ ปัญหาของเรามากกว่า ถ้าเราเลือกฟังเองบางทีฟังอยู่เป็นชั่วโมงแต่ ได้นิดเดียว ฟังโดยตรงจากครูบาอาจารย์รู้สึกว่าดีกว่า คุณป้า : หลายคนจะลืมเรือ่ งการฟัง มักจะคิดเอาเองซะส่วนใหญ่ เปสโลภิกขุ : บางทีเราก็เผลอ แต่เวลาอบรมพระ ครูบาอาจารย์ จะอบรมอีกแบบหนึ่ง...จะหนักกว่า บางทีเราก็เผลอเพราะไม่มีคน เตือน เราคิดว่าตัวเองศึกษาเยอะ รู้เยอะ โต้ตอบคนได้ ครูบาอาจารย์ ก็จะเตือนว่า “คนมีปัญญามันต้องอ่อนน้อม ถ้าข้างในมีอะไรมันต้อง อ่อนน้อม” นักศึกษา : หลวงพี่ได้อะไรมาบ้างคะ จากการไปอยู่อเมริกา เปสโลภิกขุ : ได้เครื่องบันทึกเสียงเล็กๆมาอันนึง (หัวเราะ) นักศึกษา : อ๋อ! หมายถึงว่าได้ธรรมะทีเ่ ด่นๆข้อใดกลับมาบ้างคะ เปสโลภิกขุ : อ่านในหนังสือ The Organic Experience ดีกว่า นักศึกษา : ค่ะ ฝรั่งชอบออกความคิดเห็นนะคะ เปสโลภิกขุ : อันนี้แน่นอน ที่นั่นจะมีประชุมสัปดาห์ละครั้ง
สนทนานอก สนทนาใน | 137
ก่อนวันพระเล็กก็จะมี Business Meeting คือคณะสงฆ์จะประชุม กันว่า สองสัปดาห์ถัดไปใครจะไปที่ไหนบ้างจะได้จัดรถ กิจนิมนต์ ต่างๆที่จะมีในสองสัปดาห์ข้างหน้าสมควรจะรับไหม เช่นกิจนิมนต์ บางอย่าง พระอาจารย์เห็นว่าน่าสนับสนุน แต่คณะสงฆ์เห็นว่า พระอาจารย์มงี านเยอะแล้ว ควรจะมีเวลาอยูก่ บั พวกเรา พระอาจารย์ ก็ต้องรับฟังคณะสงฆ์ จากนั้นจึงแจ้งให้ญาติโยมที่ส่งจดหมายมา นิมนต์ว่า คณะสงฆ์ไม่อนุญาตให้ไป นักศึกษา : แต่ถ้าพระอาจารย์ยืนยันว่าจะไปล่ะคะ เปสโลภิกขุ : บางงานถ้าพระอาจารย์ยืนยันก็ขัดไม่ได้ (หัวเราะ) ในวันโกนก่อนวันพระใหญ่ ก็จะมี Circle Meeting หรือ Heart Meeting หรือ Bhikkhu Meeting เรียกกันหลายชื่อ พระจะนั่งล้อม เป็นวงกลมแล้วก็แสดงความคิดเห็นกันได้เต็มทีเ่ ลย ในสองสัปดาห์ที่ ผ่านมา ใครมีอะไรข้องใจ ใครมีอะไรกับใคร พระรูปนีท้ ำ� ไมท�ำอย่างนี้ หรือพระอาจารย์ท�ำไมท�ำอย่างนี้ (หัวเราะ) สามารถพูดได้เลย แต่สิ่ง ที่พูดจะปกปิดเป็นความลับ รู้กันเฉพาะในกลุ่ม อาตมาว่าฝรั่งจะพูด คุยกันเยอะกว่า มันชัดเจนกว่า ข้อวัตรต่างๆมันชัดเจนดี อะไรท�ำได้ หรือไม่ได้เขาก็พูดกันเลย วัดไทยบางทีอะลุ้มอล่วยกันเกินไปจน รักษากฏระเบียบไว้ไม่ได้ แต่ที่นั่น ถ้าตั้งข้อวัตรขึ้นมาแล้ว มีพระหรือ เณรไม่ท�ำตาม เขาก็จะพูดกันเลย เช่นในช่วงเข้ากรรมฐานฤดูหนาว จะให้ทุกรูปงดพูด ถ้ามีใครไม่ท�ำตามเขาก็จะคุยกันเลยว่า ท่านมี เหตุผลอะไร ท�ำไมไม่ท�ำตาม พระรูปนั้นก็ต้องหาเหตุผลมาชี้แจง เช่น ผมรู้สึกอึดอัด ผมไม่ถูกจริตกับการงดพูด (หัวเราะ) ถ้าตั้งกติกา
138 | จุดชมวิว
ขึ้นมาแล้วห้ามตุกติกเด็ดขาด (หัวเราะ) อยู่ที่นั่นต้องกระตือรือร้น หูตาต้องไว แต่ที่เมืองไทยจะรู้สึกผ่อนคลายกว่า นักศึกษา : ไม่รู้สึกว่าท�ำงานกันมากเกินไปหรือคะ เห็นพระหรือ แม่ชีฝรั่งมีงานตรึมเลย เปสโลภิกขุ : ที่อเมริกาจะท�ำงานช่วงแปดโมงครึ่งถึงสิบโมงครึ่ง ส่วนที่เมืองไทยจะท�ำช่วงบ่ายสามถึงสี่หรือห้าโมงเย็น ก็ไล่เลี่ยกัน คือประมาณ ๒ ชั่วโมง นักศึกษา : เห็นฝรั่งมีงานข้างนอกด้วยค่ะ เหมือนทุกคนจะมี หน้าที่เช่นท�ำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดูเหมือนเขาจะยุ่งกันทั้งหมดเลย เปสโลภิกขุ : ใช่ๆ ก็รู้สึกมันยุ่งเหมือนกัน เพราะมันไม่มีคนช่วย ที่เมืองไทยงานเกี่ยวกับเอกสาร พระก็ให้โยมช่วยท�ำ วัดที่นั่นต้องตั้ง เป็นมูลนิธิเพื่อให้ถูกกฏหมาย ถ้ามีโยมบริจาคปัจจัยให้กับวัด ทาง มูลนิธกิ ส็ ามารถออกใบอนุโมทนา เพือ่ ทีโ่ ยมจะสามารถน�ำไปลดหย่อน ภาษีได้ เมื่อเป็นมูลนิธิ มันก็ต้องมีการประชุม การก่อสร้างก็ต้อง ประชุมกับสถาปนิกเรียกว่า Building Meeting และยังมีการท�ำประกัน สุขภาพ ท�ำเว็บไซต์ ท�ำหนังสือ ท�ำจดหมายข่าว ท�ำซีดีส�ำหรับแจก ดูแลระบบน�้ำ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในวัด ระบบเครื่อง ท�ำความร้อน พระต้องท�ำเองทั้งหมดเลย อยู่ต่างประเทศมันต้องพึ่ง ตัวเอง แต่ที่เมืองไทยมีญาติโยมช่วยเหลือเยอะ อีกอย่างค่าแรงงาน ที่บ้านเราก็ไม่แพง อยู่ที่นั่นถ้าจะท�ำให้ถูกต้องตามกฏหมายมันเป็น เรื่องใหญ่ ครูบาอาจารย์ยังเคยพูดว่า เป็นเรื่องผิดกฏหมายที่จะอยู่ อย่างเรียบง่ายในแคลิฟอร์เนีย (หัวเราะ) …อีกกี่ปีจะเรียนจบ
เป็นเรื่อง ผิดกฏหมาย ที่จะอยู่อย่าง เรียบง่ายใน แคลิฟอร์เนีย
140 | จุดชมวิว
นักศึกษา : หนึ่งปีค่ะ เปสโลภิกขุ : จะอยู่ต่อหรือเปล่า นักศึกษา : อยากได้ใบอนุญาตให้เป็นคนที่นั่นเลยค่ะ จะได้ไปๆ มาๆระหว่างอังกฤษกับเมืองไทยโดยไม่ต้องท�ำวีซ่า ขาดอีก ๒ ปีค่ะ ถ้าอยู่ครบ ๑๐ ปีก็จะได้เป็นคนที่นั่น อยู่มา ๘ ปีแล้วค่ะ จนเป็น เหมือนบ้าน เปสโลภิกขุ : คุน้ กับวัดอมราวดีไหม (ส�ำนักสาขาของวัดหนองป่าพง ที่ประเทศอังกฤษ) นักศึกษา : คุ้นค่ะ เหมือนเป็นบ้านหลังที่ ๒ เปสโลภิกขุ : วัดจิตตวิเวกล่ะ (ส�ำนักสาขาของวัดหนองป่าพงที่ ประเทศอังกฤษอีกแห่งหนึ่ง) นักศึกษา : เคยไปค่ะ แต่ไม่คุ้น เปสโลภิกขุ : อาตมาก็เคยคิดเหมือนกันว่า เอ๊ะ! หรือจะลองไปที่ อังกฤษ แต่ก็รู้มาว่าที่วัดอมราวดีมีบรรยากาศแบบ Retreat Center (ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน) มากกว่าวัดป่า นักศึกษา : ที่นั่นจะแบ่งส่วนหนึ่งเป็น Retreat Center คนก็จะ ไปเข้าคอร์สกันทุกเดือน เปสโลภิกขุ : กลุ่มนั้นเข้ากลุ่มนี้ออก นักศึกษา : ใช่ เปสโลภิกขุ : แปลกดี นักศึกษา : มันมีประโยชน์กบั คนธรรมดาสามัญมาก...มากมหาศาล เปสโลภิกขุ : โยมคนหนึ่งมีที่ดินอยู่แปลงหนึ่ง เขาวางแผนว่าจะ
สนทนานอก สนทนาใน | 141
ท�ำ Retreat Center แล้วนิมนต์ครูบาอาจารย์มาสอน เขาบอกว่าช่วง เข้ากรรมฐานมันไม่ต้องท�ำงาน ก็ดีเหมือนกัน มันได้พักสักระยะหนึ่ง นักศึกษา : ได้สุขภาพด้วยค่ะ เพราะอาหารดี มีแต่ผักสดและ เป็นอาหารออร์แกนิกด้วย เปสโลภิกขุ : หลวงพ่อชาเคยเทศน์ที่อเมริกา ท่านบอกว่า “มัน ก็ดีอยู่แต่มันไม่ยิ่ง” (หัวเราะ) มันไม่ใช่ของจริง เดี๋ยวเราก็ต้องกลับ ออกไปเจอของจริง นักศึกษา : แล้วท�ำยังไงจึงจะได้เจอของจริง เปสโลภิกขุ : มันก็ต้องเรียนรู้จากของจริง นักศึกษา : ต้องออกไปเผชิญโลกเหรอคะ เปสโลภิกขุ : ใช่ ก็ตอ้ งอยูอ่ ย่างนีแ้ หละ ก็ตอ้ งมีรำ� คาญเสียงบ้าง (หัวเราะ) เจอคนที่เราชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง ได้ท�ำงานที่เราชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง เรียนรู้ไป สอนจิตตัวเองไป นักศึกษา : แต่มันก็จริง พอออกมาแล้วก็... เปสโลภิกขุ : เหมือนเดิม (หัวเราะ) นักศึกษา : ตึงได้สักพักนึง (หัวเราะ) ประมาณ ๕ วัน แต่มันได้ สุขภาพดี มันเข้านอนเป็นเวลา เปสโลภิกขุ : สุขภาพนี่มันต้องดูแลสม�่ำเสมออยู่แล้ว เราก็ปรับ ให้มันสอดคล้องกับชีวิตประจ�ำวันของเรา เช่นอาหารที่โยมเอามา ถวาย เราก็ไม่รหู้ รอกว่าออร์แกนิกหรือเปล่า มันอยูบ่ นโต๊ะแล้ว เราก็ท�ำ เท่าที่ท�ำได้ ที่แคลิฟอร์เนียคนยิ่งคลั่งไคล้เรื่องออร์แกนิก คุณป้า : เป็นการรณรงค์หรือเป็นยุคสมัยคะ
142 | จุดชมวิว
เปสโลภิกขุ : มันคล้ายๆเป็นแฟชัน่ คงมาจากกระแสสิง่ แวดล้อม กระแสโลกร้อน คนพยายามจะใช้จักรยาน งดสารเคมี กินอาหาร ออร์แกนิก ฝึกโยคะ พอฝึกโยคะมันก็จะเข้ามาที่การท�ำสมาธิ พระ จะไปสอนท�ำสมาธิที่ศูนย์โยคะเป็นประจ�ำ แต่สมาธิของเขามันจะ ใช้ส�ำหรับผ่อนคลาย ปล่อยวางความเครียด พระก็จะค่อยๆแทรก เรื่องวิปัสสนาเข้าไป คุณลุง : ที่วัดป่าอภัยคีรีมีคนมาท�ำบุญเยอะไหมครับ เปสโลภิกขุ : วันธรรมดาไม่ค่อยมี วันเสาร์หรืออาทิตย์จึงจะมี โยมจากร้านอาหารไทยมาท�ำบุญ หนังสือเล่มแรกที่อาตมาเล่าถึง พุทธศาสนาในอเมริกา (Fearless Diary) ค�ำอุทิศของเล่มนี้ก็คือ “แด่...น�้ำปลาพริกบีบมะนาว” (หัวเราะ) ผ้าขาว (ผู้ชายเตรียมบวช) หนุ่มๆไม่เคยเข้าครัว ถ้าถูกจัดให้ท�ำอาหาร เขาก็จะเอาถั่วกระป๋อง มาเปิดเทใส่หม้อแล้วก็อนุ่ (หัวเราะ) หัน่ แตงกวาหรือแครอทแล้วก็ตม้ มีสลัดผัก ผลไม้ ขนมจากกล่อง แล้วก็หุงข้าว บางวันผ้าขาวก็มา ถามอาตมาว่า อาหารเป็นยังไงบ้าง? อาตมาก็ตอบว่าถ้าผ้าขาวเข้า ครัวก็ล�ำบากหน่อย เขาก็ถามอีกว่าจะให้ผมท�ำยังไง? อาตมาจึง บอกว่าเอาอย่างนี้ จัดพริกป่น ซอสพริก น�้ำปลา มาทุกวันก็แล้วกัน ของมันมีในครัวอยูแ่ ล้วแต่เขาไม่เอาออกมา เครือ่ งปรุงพวกนีม้ นั เติม ลงในอาหารได้ทกุ อย่าง ถ้าอยูเ่ มืองไทย น�ำ้ ปลาพริกบีบมะนาวจะเป็น อาหารพืน้ ๆ แต่ถา้ ไปทีน่ นั่ มันพิเศษ (หัวเราะ) เหมือนคนทีบ่ า้ นเราเห็น พระเห็นวัดแล้วจะรู้สึกเฉยๆ แต่พอไปอยู่อเมริกามันโหยหา เพราะ มันไม่ค่อยมี ท�ำให้รู้สึกว่าของที่เราเคยเห็นว่าธรรมดามันมีคุณค่า
สนทนานอก สนทนาใน | 143
คุณลุง : บิณฑบาตยังไงครับ ออกไปไกลไหมครับ เปสโลภิกขุ : บิณฑบาตสัปดาห์ละครั้ง มี ๓ สาย สายเดิน ๔๕ นาที นั่งรถเข้าไปในหมู่บ้าน ๑๕ นาที แล้วก็นั่งต่อเข้าไปในเมือง ประมาณครึ่งชั่วโมง ญาติโยมที่ใส่บาตรส่วนใหญ่จะเป็นคนไทย คน ลาว คนจีน มีร้านของฝรั่งอยู่ ๒ ร้าน บิณฑบาตที่นั่นต้องให้พรด้วย หลังจากให้พรเป็นภาษาบาลีแล้วก็ต้องอวยพรเป็นภาษาอังกฤษว่า Have a lovely day หรือ Have a great day (หัวเราะประสานเสียง) ถ้าเดินบิณฑบาตอยู่บนถนนแล้วมีฝรั่งขับรถผ่านมาโบกมือทักทาย เราก็ต้องโบกมือทักทายตอบเพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร ถ้าไม่ท�ำ อย่างนี้เขาจะกลัว โยมเคยเห็นหนังสือ Fearless Diary ไหม? คุณป้า : เห็นค่ะ แต่มีน้องๆยืมไปอ่าน เปสโลภิกขุ : หลายเดือนก่อนอาตมาส่งหนังสือเกือบทุกเล่มที่ เคยท�ำ ไปให้สำ� นักพิมพ์แห่งหนึง่ พิจารณา เขามีบรรณาธิการหลายคน บรรณาธิการคนหนึง่ อายุ ๓๐ บอกว่าอ่านแล้วชอบ แต่อกี คนหนึง่ อายุ ๔๐ บอกว่าอ่านแล้วมึน (หัวเราะประสานเสียง) เขาพิจารณากันอยู่ หลายเดือน เพิ่งตอบกลับมาเมื่อไม่กี่วันนี้เอง เขาบอกว่าส�ำนักพิมพ์ ของเราไม่มีผู้อ่านกลุ่มนี้ คงจะขายออกยาก หนังสือแนวนี้เหมาะ กับส�ำนักพิมพ์อินดี้มากกว่า อาตมาก็คิดว่า เอ๊ะ! ส�ำนักพิมพ์อินดี้ ไม่สนใจพุทธศาสนา บางแห่งมีอคติดว้ ยซ�ำ ้ ตอนแรกอาตมามีความ หวังกับคนกลุ่มนี้นะ…กลุ่มอินดี้ แต่ไม่ใช่หวังจะให้เขาพิมพ์หนังสือ ของตัวเอง อาตมาเห็นหนังสือของคนกลุม่ นีพ้ ูดถึงสิง่ ทีเ่ ป็นประโยชน์ กับชีวติ อาตมาเพิง่ นึกเมือ่ เช้านีเ้ องว่า ถ้าจะเจาะกลุม่ นีต้ อ้ งอย่าบอก
144 | จุดชมวิว
ว่าเป็นพระเขียนหรือเป็นธรรมะ แต่ก็ให้มันเป็นธรรมะนั่นแหละ แต่อย่าบอกว่าเป็นธรรมะ ในหนังสือของเขาจะมีคอลัมน์แนะน�ำ การใช้ชีวิตอยู่ในโลกอย่างรื่นรมย์ หรือท�ำอย่างไรจึงจะประสบความ ส�ำเร็จในชีวิต ที่จริงมันก็ธรรมะทั้งนั้นแหละ ใช่ไหม คุณป้า : ใช่ เปสโลภิกขุ : มันก็ต้องใช้ธรรมะทั้งนั้นแหละ แต่ถ้าเราพูดว่า อิทธิบาท ๔ (หัวเราะคริืน) ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มันส่ายหัว เลย (หัวเราะครืน) ต้องเลี่ยงที่จะใช้ภาษาบาลี แต่ว่าถ้าเราจะอยู่กับ พวกนี้ อยู่กับธรรมะระดับนี้ตลอด ตัวเราเองก็ไม่พัฒนา กลุ่มที่เป็น นักปฏิบตั กิ จ็ ะไม่ยอมรับเพราะมันต้องลึกกว่านี้ จะให้อยูร่ ะดับนีต้ ลอด เราเองก็ไม่ไหว เพราะคนมันก็ต้องโตขึ้นเรื่อยๆ จะให้มาคุยกับเด็ก อยู่ตลอดมันก็ไม่ไหวเหมือนกัน (หัวเราะ) ต้องให้มันโตขึ้น ไม่ใช่จะ Beginner อยู่ตลอด คุณป้า : (หัวเราะ) นักศึกษา : แต่มันก็จริงนะคะ ภาษาบาลีบางทีก็ไม่เข้าใจ ถ้า แปลเป็นอังกฤษยังพอรู้ เปสโลภิกขุ : แต่มันแปลกอย่างหนึ่งว่า ถ้าเราพูดภาษาบาลีกับ คนไทยด้วยกันมันจะฟังเชย ใครอ้างพุทธภาษิตขึ้นมามันจะฟังเชย แต่ส�ำหรับฝรั่งนะ... นักศึกษา : เท่มาก เปสโลภิกขุ : เป็นเรื่อง Awesome dude... (หัวเราะ) เช่นพูด ทับศัพท์ว่าอานาปานสติหรือสติปัฏฐาน มันฟังดูเท่มาก หรืออ้าง
สนทนานอก สนทนาใน | 145
พระสูตรจากพระไตรปิฎกมัชฌิมนิกายเล่มนัน้ เล่มนี้ โอ้โห! มันเท่มาก อยู่ที่อภัยคีรีก็มีพระหนุ่มๆอยู่กลุ่มหนึ่งที่คุ้นเคยกัน ก็ได้คุยกันบ้าง คุณป้า : เข้าใจไหมคะ เปสโลภิกขุ : เข้าใจ บางทีเราก็ใช้แสลงเช่น Groovy man! หรือ ถ้าเขาให้ความช่วยเหลือ อาตมาก็จะพูดขอบคุณเขาว่า Thanks man! (หัวเราะ) นักศึกษา : (หัวเราะ) หลวงพี่พูดอย่างนี้เลยเหรอคะ เปสโลภิกขุ : เวลาท�ำงานด้วยกันก็มีบ้าง Sweet dude! อะไร อย่างนี้ (หัวเราะ) คุณป้า : นึกถึงหลวงพ่อชาตอนที่ท่านไปเผยแผ่ศาสนาในต่าง ประเทศนะคะ เปสโลภิกขุ : ตอนเช้าๆถ้าพบพระผูใ้ หญ่เราก็จะทักทายว่า Good morning แต่ถ้าเป็นพระหนุ่มๆเราก็จะทักทายกันว่า Hey! man หรือ Hey! dude (หัวเราะ) ตอนไปอยู่ที่นั่นใหม่ๆ อาตมายังปรับตัวไม่ได้ เคยคุยกับพระฝรัง่ ว่า “ผมคิดว่าประเทศไทยเหมาะกับผมทีส่ ดุ ส�ำหรับ การปฏิบัติธรรม” พระฝรั่งบอกว่า “มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานที่ แต่ มันอยู่ที่การละกิเลสภายในจิตใจของเรา”
เปสโลภิกขุเบาๆ
๒๕๑๖ เกิดที่อ�ำเภอวารินช�ำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ๒๕๓๖ เรียนที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๓๙ บวชที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ๒๕๕๓-๒๕๕๔ จ�ำพรรษาที่วัดป่าอภัยคีรี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลงาน ๑๔ เล่มบางๆ
บทกวีในที่ว่าง / แดนสนทนา / เรื่องเป็นเรื่อง / หนึ่งร้อย / เรื่องของเรา / เสียงฝนบนภูเขา / Dhamma Design Issue 1&2 / Pesalocation / Dhammascapes / Poems on the Road / Fearless Diary + Spring Talk / To be Awake + Enchanted Hiking / The Organic Experience
อนุโมทนาแรงๆ
วัดป่าพุทธธรรม ไวส์แมนเฟอร์รี่ ซิดนีย์ ออสเตรเลีย วัดพุทธรังสี สแตนด์มอร์ ซิดนีย์ ออสเตรเลีย ที่พักสงฆ์ธรรมาราม กรุงเทพฯ คุณสนธิ-คุณสุกัญญา สุวรรณกูล คุณรัฐพล-คุณอรอุสา สุวรรณกูล ด.ช.พุทธมนตร์-ด.ญ.พุทธิฌา สุวรรณกูล คุณเวียง-คุณปิยพร วงศ์พระจันทร์ ด.ญ.อลีนตา-ด.ญ.ฤๅชุตา วงศ์พระจันทร์ คุณพุทธพร สุวรรณกูล คุณเซี่ยมอี่ แซ่ตั้ง
คุณเบญจพร อ้วนเจริญกุล คุณกิตติพงค์-คุณศศิวรรณ ทุมนัส ด.ญ.สุมานัส-ด.ญ.ภูริชญา-ด.ญ.ณฏฐ ทุมนัส ครอบครัวสุวรรณเบญจางค์ คุณลดาวัลย์-คุณดาริน ตั้งทรงจิตรากุล คุณอโณทัย คลังแก้ว และครอบครัว คุณสร้อยสุวรรณ ยิ่งแจ่มศิริ คุณณฐกร เวชกามา คุณราล์ฟ บิสซิงเจอร์ ดร. เยนส์ นีดซิลสกี้ คุณปารมี ทองเจริญ คุณชยภัทร ทองเจริญ ด.ญ.มีนา เอลเค ทองเจริญ นีดซีลสกี้ คุณแม่ลี่จิง โสวัฒนางกูร คุณนภาพร โสวัฒนากูร คุณวราพิทย์ ทองนพเนื้อ คุณอังศุมา การุณยวนิช คุณยายบังอร แสงจันทร์ และครอบครัว ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดบ�ำรุงยาง ชลบุรี Alan, Cecilia, Teagan and Tahlia Paviour-Smith Peter, Kerin, Rachael, Michael and Daniel Martin Daniel, Lucy and Adam Harrison Nathan and Daniel Norton Michael and Catina Castorina
Designed by Dhamma Design Club in the Republic of New South Wales