TO BE AWAKE เก็บเล็กรอยเรื่องระเริงเชิงธรรมะ
เปสโลภิกขุ
แด่...ทุกวันที่ฉันตื่น
คำนำ โยม : โยมประทับใจเรื่องราวต่างๆในคอลัมน์ “ตื่นก่อน นอนทีหลัง” จากหนังสือ Dhammascapes และได้นำ เรื่องที่ท่านเปสโลภิกขุเล่าถึงบริษัทประกันชีวิตจะลด ค่าเบี้ยประกันให้กับ ผู้ทำประกันที่พิสูจน์ได้ว่ามีผู้แผ่ เมตตาให้เป็นประจำ ไปเล่าให้เพื่อนๆฟัง บางท่านสนใจ เรื่องนี้มากและอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม โยมหวังว่า ท่านเปสโลภิกขุ จะกรุณาให้ความกระจ่างในเรื่องนี้แก่ โยมบ้าง เพื่อที่โยมจะได้นำไปขยายผลในการส่งเสริม ให้มีการแผ่เมตตาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปค่ะ เปสโลภิกขุ : คอลัมน์ “ตื่นก่อนนอนทีหลัง” เป็นการ รวบรวมเรือ่ งละอันพันละน้อย ทีพ่ ระภิกษุสามเณรเปิดอก คุยกันในช่วง Tea Time อาตมาเลือกมาเฉพาะเรือ่ งทีเ่ ห็น ว่าแปลก ให้แรงบันดาลใจที่ดี และมีอารมณ์ขัน อาตมา พิจารณาเพียงเท่านีใ้ นตอนนัน้ จึงไม่ได้ลงลึกถึงรายละเอียด อืน่ ๆ เรือ่ งบริษทั ประกันชีวติ อาตมาฟังมาจากพระรูปหนึง่ ซึ่งท่านเคยเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์ที่ โรงพยาบาลในรัฐมิชแิ กน ประเทศสหรัฐอเมริกา อาตมา คงให้ข้อมูลได้เพียงเท่านี้ ยินดีที่มีผู้อ่านเพิ่มขึ้นอีก หนึ่งหย่อม
คำนิยม เป็นเรือ่ งบังเอิญอย่างเหลือเชือ่ ทีข่ า้ พเจ้าได้มารูจ้ กั ท่าน เปสโลภิกขุ วันนั้นขณะที่ข้าพเจ้ากำลังเดินช้อปปิ้งอยู่ใน Event ณ อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี คุณแม่ของ ข้าพเจ้าก็วานให้ไปซื้อหนังสือพิมพ์ แล้วสายตาซุกซน ของข้าพเจ้าก็เหลือบไปเห็นหนังสือเล่มหนึ่ง ในหมวด หนังสือแนะนำ บนหน้าปกสวยงามของหนังสือเล่มนั้น อ่านได้วา่ Dhammascapes ข้าพเจ้าตกหลุมรักพร้อมกับ อุทานในใจว่า แหม...ช่างคิดเหลือเกิน! นอกจากนี้ รูปเล่มของ Dhammascapes ก็มีขนาดบางเบา เหมาะ แก่การพกพา…ข้าพเจ้าตกหลุมรักรอบที่สอง เมื่อพลิกดู คร่าวๆข้าพเจ้าก็พบกับการ์ตนู อุปมาอุปไมย ภาพการ์ตนู ที่ประทับใจข้าพเจ้าเป็นพิเศษก็คือ “จามรีรู้รักษาขน” ซึ่งมีคำบรรยายประมาณว่า “ยอมตายดีกว่าให้ศีลขาด” ภาษาที่ใช้อธิบายนั้นมีเอกลักษณ์ สั้น กระชับ คมคาย ต้ อ งตาโดนใจหลายครั้ ง ขนาดนี้ ข้ า พเจ้ า จึ ง พา Dhammascapes กลับมาที่บ้าน หลังจากอ่านอย่างถ้วนถี่รอบแล้วรอบเล่า ข้าพเจ้า ก็ปะทะกับความบังเอิญอีกรอบเมือ่ พลิกไปพบประวัตขิ อง ผู้เขียนท้ายเล่ม ท่านเปสโลภิกขุเป็นพระในสายปฏิบัติ ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ชา ซึ่งหลวงปู่ท่านได้วาง
แนวทางการปฏิบัติไว้อย่างดีเยี่ยมให้แก่ลูกหลาน หาก ข้าพเจ้าไม่ได้รบั การชีแ้ นะด้านธรรมะจากพระป่าในสาย ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ชา ผู้หญิงวัย 25 ปีคนนี้ก็ยัง คงเป็นเพียงชาวพุทธในทะเบียนบ้าน Dhammascapes ทำให้ขา้ พเจ้าได้พบกับบล็อกของ ท่านเปสโลภิกขุ เมื่อติดตามอ่านย้อนหลัง จึงทราบว่า ปัจจุบันท่านเป็นพระธรรมทูตอยู่แดนไกล นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังได้อ่านคอมเม้นท์ จากผู้ที่แวะเวียนเข้ามา ทักทายท่านด้วย ซึ่งบางท่านก็เป็นแฟนหนังสือที่เข้ามา ทำความรูจ้ กั พร้อมทัง้ ขอหนังสือทีท่ า่ นแจกเป็นธรรมทาน ด้วยเหตุว่าอ่านแล้วติดใจเหลือเกิน (ก็คงเป็นความรู้สึก เดียวกับข้าพเจ้านั่นแหละ) ซึ่งท่านเปสโลภิกขุก็เมตตา จัดส่งหนังสือให้ แต่สถานการณ์ตอนนี้เปลี่ยนไปเพราะ ท่านอยู่ไกลถึงต่างประเทศ ข้าพเจ้าจึงเกิดความลังเลใจ ว่าจะขอหนังสือจากท่านดีไหม เพราะเกรงว่าจะเป็นการ รบกวนท่านมากเกินไป ข้าพเจ้าคิดทบทวนกลับไปกลับมา พิมพ์แล้วลบ ลบแล้วพิมพ์อยูห่ ลายรอบ ท้ายทีส่ ดุ ข้าพเจ้า ก็ใช้ความกล้าหาญ (หรือหน้าด้านนีแ่ หละ) กด Enter แจ้ง ความจำนงว่าอยากอ่านหนังสือทีท่ า่ นแจกเป็นธรรมทาน ซึง่ ท่านก็ตอบกลับมาว่า คงจะไม่สะดวกในการจัดส่งเพราะ ต้องรบกวนญาติโยมที่อยู่เมืองไทย ข้าพเจ้าตอบท่านว่า ไม่เป็นไร รอท่านกลับมาก่อนก็ได้ ระหว่างนี้ข้าพเจ้าคง
ติดตามอ่านเรื่องราวในบล็อก และควานหาหนังสือ ของท่านอีกสองเล่มตามร้านหนังสือมาอ่านไปพลางๆ ก่อน ขอท่านอย่าได้กังวลใจ เมื่อสุดสัปดาห์มาถึงข้าพเจ้าก็ตระเวนหาซื้อหนังสือ เป็นการใหญ่ เดินเข้าๆออกๆร้านนั้นร้านนี้อยู่ 5 - 6 ร้าน ซึ่งร้านหนังสือส่วนใหญ่จัดหนังสือธรรมะของท่าน เปสโลภิกขุให้อยูใ่ นหมวดวรรณกรรม ทำให้บางคนงงงัน เอ๊ะ! พระเป็นผู้เขียน แต่ทำไมมาอยู่ในหมวดนี้ได้? เมื่อน่องปูดพองามข้าพเจ้าก็ได้ “เรื่องของเรา” และ “แดนสนทนา” มาอ่านสมใจอยาก ข้าพเจ้าอ่านซ้ำไปซ้ำมา อยู่หลายรอบจนลืมไปเลยว่ายังมีเล่มอื่นอีก หนึ่งเดือน ต่อมา ก็มีพัสดุลึกลับส่งมาจากจังหวัดอุบลราชธานี คุณแม่ถามข้าพเจ้าว่า สั่งซื้อหนังสือเหรอ? ข้าพเจ้าตอบ ด้วยความปิติในใจว่าไม่ได้สั่งแต่ขอ ท่านเลยจัดให้ คุณแม่ทำหน้าเป็นเครื่องหมายคำถามพร้อม Subtitle ว่า ของฟรีมใี นโลกด้วยเหรอลูก? เมือ่ ข้าพเจ้าเปิดห่อพัสดุ ก็พบหนังสือของท่านเปสโลภิกขุจำนวน 5 เล่ม ซึง่ ข้าพเจ้า อ่านด้วยความปลื้มใจทุกเล่ม คงเป็นเพราะคำถาม ที่น่าขบคิดและคำตอบที่บ่อยครั้งไม่ได้ตอบตรงๆ แต่กลับตอบด้วยคำถามเป็นการบ้านให้คิดต่อ ทำให้ ข้าพเจ้ากลับมาอ่านอีกรอบแล้วรอบเล่า ด้วยต้องการ ค้นพบคำตอบนั้นด้วยตัวเอง
ท้ายที่สุดนี้ข้าพเจ้าคงต้องอวยตัวเองว่าเป็นผู้โชคดี และท่านผู้อ่านก็โชคดีเช่นกันที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ท่ า นผู้ ร่ ว มจั ด พิ ม พ์ ยิ่ ง โชคดี ก ว่ า หลายเท่ า กราบ อนุโมทนามา ณ โอกาสนี้ ชาวพุทธมือใหม่ http://dhammo.exteen.com/
TO BE AWAKE เก็บเล็ก ร้อยเรื่อง ระเริงเชิงธรรมะ
พระใหม่ : ผมยังจับต้นชนปลายการปฏิบตั ธิ รรมไม่ถกู ครับ ไม่รจู้ ะเอายังไงดี คือมันเป็นอย่างนีค้ รับ........................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... ............................................ผมควรจะทำยังไงดีครับ? พระอาจารย์ : ทำให้มากกว่าพูด
ขณะที่พระอาจารย์รูปหนึ่งกำลังใช้ความสามารถพิเศษ ในการหยั่งรู้วาระจิตของผู้อื่นตรวจดูว่า หลวงพ่อผู้เป็น ประธานในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานกำลังคิดอะไร สักครูใ่ หญ่ๆหลวงพ่อก็หนั มาตวาดพระอาจารย์รปู นัน้ ว่า นี่ท่านกำลังดูก้นผมอยู่เหรอ!
พระนิด : ผมเก็บช็อคโกแล็ตไว้ในกุฏิ ทำไมมันจึง ละลาย? พระน้อย : สงสัยผ้าเหลืองจะร้อน
พระหนุ่มรูปหนึ่งคิดว่า ถ้าได้ย้ายไปพำนักในกุฏิหลังที่ ตัวเองชอบ คงจะมีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบตั ธิ รรม เมื่อคิดได้ดั้งนั้นท่านจึงไปขออนุญาตจากหลวงพ่อ ผู้เป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อก็ให้อนุญาตแต่มีข้อแม้ว่า ให้เข้าพักได้เฉพาะช่วงกลางวัน แต่กลางคืนต้องย้าย กลับไปพักกุฏหิ ลังเดิม พระหนุม่ จึงจำใจต้องหอบบริขาร ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวเดินไปเดินมาระหว่างกุฏิ ทั้งสองหลัง จนในที่สุดก็เลิกล้มความตั้งใจ
โยม : ช่วงนี้โยมไม่ค่อยได้มาวัดเพราะมีงานรัดตัว ต้องเพิ่มชั่วโมงในการทำงาน แต่ก็ได้เงินเพิ่ม พระอาจารย์ : แล้วคุ้มกันไหม?
เมือ่ ครัง้ ทีพ่ ระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) ยังเป็นพระหนุ่ม ท่านให้ความสำคัญกับ การศึกษาพระวินัยเป็นอย่างมาก ถึงกับจดข้ออาบัติ เล็ ก ๆน้ อ ยๆลงในสมุ ด แล้ ว พกติ ด ย่ า มตลอดเวลา เพื่อตรวจดูความบกพร่องในสิกขาบทต่างๆของตัวเอง พระรุ่นหลานก็เจริญรอยตามปฏิปทานี้เช่นกัน ต่างกัน ก็เพียงท่านเก็บข้อมูลไว้ใน iPod Touch
โยม : ทำไมนั่งสมาธินานๆแล้วปวดขาเจ้าคะ? พระอาจารย์ : เพราะมันมีขา
ศาสตราจารย์พูดกับนักศึกษาที่นั่งอยู่ในห้องบรรยายว่า ขอให้นักศึกษาทุกคนตั้งใจฟังการบรรยายต่อไปนี้ ให้ดี เพราะเป็นหัวข้อที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน นักศึกษา ผู้หนึ่งได้ยินดังนั้นก็เก็บอุปกรณ์การเรียนลงในกระเป๋า แล้วลุกออกจากที่นั่งทันที ศาสตราจารย์เห็นดังนั้นจึง ถามขึ้นว่า นั่นเธอกำลังจะไปไหน? นักศึกษาผู้นั้น หันกลับมาพูดว่า ถ้าศาสตราจารย์เห็นว่าหัวข้อนี้เป็น เรื่องยุ่งยากซับซ้อน ก็แสดงว่าศาสตราจารย์ยังไม่เข้าใจ มันอย่างถ่องแท้
โยม : ญาติโยมหลายคนปฏิบตั ธิ รรมเพือ่ รอยุคพระศรีอาริย์ พระอาจารย์ : ใครจะรอพระศรีอาริย์ก็ได้ แต่ท่านคง ไม่รับคนที่มีความคิดบ้าๆแบบนี้เป็นลูกศิษย์
ลูกสาวในครอบครัวชาวอเมริกนั ครอบครัวหนึง่ ตัดพ้อกับ พ่อแม่ ซึ่งมักจะไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มชาวพุทธอย่าง สม่ำเสมอว่า พุทธศาสนาพรากพ่อแม่ของเธอไป
พระนิด : วันนี้ซ่อมกุฏิเป็นยังไงบ้าง? ดีขึ้นไหม? พระน้อย : ดีขึ้นยังไง? พระนิด : เร็วขึ้น เรียบร้อยขึ้น พระน้อย : ดีขึ้น เพราะมีประสบการณ์จากเมื่อวาน
เจ้าหน้าที่ประจำ Spirit Rock Meditation Center จะจัดที่อุดหูไว้สำหรับห้องพักของนักปฏิบัติธรรมที่มี เตียงคู่
การอุปสมบทแบบชั่วคราวไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศ ศรีลังกา
พระอาจารย์ : ชีวิตครองเรือนเป็นอย่างไรบ้าง? ทิดสึกใหม่ : ลำบากมากครับพระอาจารย์ ลำบากทั้ง กลางวัน ลำบากทั้งกลางคืน
สามี ข ออนุ ญ าตภรรยาเพื่ อ ออกบวช แม้ ภ รรยา จะไม่เต็มใจแต่ก็ให้อนุญาต ภายหลังท่านเล่าให้ พระรูปหนึ่งฟังว่า ถ้าภรรยาไม่อนุญาตท่านจะขอหย่า
พระอาจารย์ : โยมเป็นยังไงบ้าง? สบายดีไหม? โยม : (นั่งนึกอยู่หลายอึดใจ) ไม่ค่อยสบายเลยเจ้าค่ะ พระอาจารย์ : นั่นนะสิ นึกอยู่นานขนาดนั้น คงไม่ค่อย สบาย
อุบายแก้ง่วงขณะขับรถของอุบาสกผู้หนึ่ง 1.กัดนิ้วตัวเอง 2.สวดมนต์เร็วๆ 3.หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าสักระยะหนึ่ง 4.เอานิ้วชี้จิ้มแรงๆที่กลางหน้าอก
โยม : เพื่อนของโยมคนหนึ่งรูปร่างดี หน้าตาสะสวย แต่เป็นทอม พระ : ควรจะให้แง่คิดเขาบ้าง โลกของเรามีเรื่องเศร้า มากพอแล้ว
ลูกศิษย์วดั ถามหลวงพีร่ ปู หนึง่ ว่า ญาติโยมเพิง่ เอาไอศกรีม มาถวาย จะให้ผมเก็บไว้ที่ไหนดีครับ? หลวงพี่รูปนั้น ไม่ตอบแต่ชี้นิ้วไปที่ท้องของตัวเอง
เหตุเกิดที่วัดแห่งหนึ่งในต่างประเทศ พระชาวศรีลังกา : วันนี้มีญาติโยมชาวไทยมากันเยอะ ท่านจะไปคุยกับเขาไหม? พระชาวไทย : ถ้าเขาอยากคุยกับผม เขาจะมาหาผมเอง
พระภิ ก ษุ ช าวอเมริ กั น รู ป หนึ่ ง จบการศึ ก ษาด้ า น สังคมศาสตร์จาก University of California บอกว่า “ผมเลือกเรียนคณะนี้เพราะอยากช่วยเหลือสังคม แต่สังคมเข้าใจยากเพราะมนุษย์เข้าใจยาก”
พระอาจารย์ : โยมมาจากที่ไหน? คณะญาติโยม : มาจากกรุงเทพฯเจ้าค่ะ ไปเที่ยวมา หลายที่ พระอาจารย์ : เที่ยวในวัฏฏสงสารนี่มันสนุกนะ
Hugging Meditation คือการปฏิบัติของพุทธศาสนา นิกายหนึง่ ในฝ่ายมหายาน โดยมีแนวความคิดว่า นักบวช สามารถสวมกอดกันได้ด้วยความเมตตา
โยม : ดิฉันกลัวผีขณะขับรถเวลากลางคืน พระอาจารย์ : การจราจรบนท้องถนนเป็นเรื่องจริงที่ น่ากลัวกว่า
ญาติ โ ยมนำดาร์ ค ช็ อ กโกแลตยี่ ห้ อ หนึ่ ง มาถวาย คณะสงฆ์แต่ไม่มีผู้ใดกล้าฉัน เพราะผู้ผลิตออกแบบ ให้แต่ละชิ้นเป็นเศียรพระขนาดเล็ก
พระนิด : ประเทศไทยเป็นสถานที่ที่น่าปฏิบัติธรรม ที่สุด พระน้อย : มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานที่ แต่มันอยู่ที่การ ละกิเลสภายในจิตใจของเรา
เว็บไซต์ของวัดป่าแห่งหนึ่งมีหัวข้อที่ชื่อว่า Dana List เพื่อแจ้งรายการสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ภายในวัด ให้ญาติโยมที่จะมาทำบุญได้รับทราบ นอกจากนี้ยังมี หัวข้อย่อยที่ชื่อว่า Not Needed เพื่อบอกให้รู้ว่า สิ่งใดไม่จำเป็น หนึ่งรายการในหัวข้อนี้ก็คือน้ำดื่ม บรรจุขวดพลาสติก
พระบวชใหม่เดินทางไปคลินิกกับโยมแม่ ขณะที่เดิน ผ่านร้านค้าแห่งหนึ่งสายตาพลันเหลือบไปเห็นขนม ที่ เ คยโปรดปราน ท่ า นถึ ง กั บ ลื ม ตั ว ตะโกนขึ้ น ว่ า แม่! ซื้อให้ผมหน่อย
พระรุ่นพี่เตือนพระรุ่นน้องว่า “แม้เราจะอยู่ในยุค เทคโนโลยี แม้เราจะใช้ iPhone iPod ก็อย่าลืมว่า เราเป็นผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร”
พระนิด : ชาวอเมริกันคิดยังไงกับพุทธศาสนา? พระน้อย : เขาสนใจการทำสมาธิเพื่อหาความสงบสุข ทางจิตใจ เพราะเขาสงสัยว่า iPhone 4 ก็มีแล้ว แต่ทำไมเรายังไม่มีความสุข?
สามเณรชาวอเมริกันรูปหนึ่งบอกว่า “ผมรู้สึกดีใจ ทุกครั้งที่เห็นชาวอเมริกันมาทำบุญ เพราะชาวอเมริกัน ส่วนใหญ่ยังเห็นว่า การทำบุญให้ทานมีประโยชน์ น้อยกว่าการนั่งสมาธิ”
The Red Book Liber Novus เป็นหนังสือเล่มมหึมา ขนาด 30 x 40 เซนติเมตร หนา 372 หน้า เขียนโดย คาร์ล กุสตาฟ จุง นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงเคียงคู่กับ ซิกส์ มุนด์ ฟรอยด์ เนือ้ หาภายในเล่มเล่าถึงประสบการณ์ภตู ผี และเทวดา ที่ปรากฏในขณะทำสมาธิของจุง ซึ่งจุง ได้บันทึกไว้ด้วยลายมือและวาดภาพประกอบด้วย ตัวเขาเอง จุงซุกซ่อนต้นฉบับเหล่านี้เอาไว้ เพราะกลัว ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนบ้า The Red Book Liber Novus มีโอกาสตีพิมพ์เผยแพร่หลังจากที่จุงเสียชีวิต เพราะลูกหลานไปพบต้นฉบับเข้าโดยบังเอิญ
ญาติโยม : พระอาจารย์มาอยูช่ ายแดนเขมรต้องระวังตัว ด้วยนะครับ แถวนี้คนเล่นของเยอะ เขาชอบลองดี กับพระ บางทีก็เสกตะปูเข้าท้อง พระอาจารย์ : ถ้ามีตะปูมาเยอะๆก็ดีเหมือนกัน อาตมา จะเอาไปทำกุฏิ
พระหนุ่มรูปหนึ่ง เมื่อรองเท้าฟองน้ำ (ตราดาวเทียม) ข้างหนึ่งชำรุด ท่านจะเบิกรองเท้าที่มีขนาดเท่ากันจาก เรือนคลังสงฆ์เพียงข้างเดียว
เป็นข้อวัตรตามปรกติของพระป่าทีจ่ ะนำอาหารคาวหวาน เทรวมกันลงในบาตรก่อนฉัน เพือ่ ไม่ให้ตดิ ในรสของอาหาร แต่มีพระหรือสามเณรบางรูปที่เอาขนมหรือผลไม้ ใส่ไว้ในฝาบาตร เพือ่ ไม่ให้ปนกับอาหารอืน่ ภายในบาตร อยู่มาวันหนึ่งพระอาจารย์สังเกตเห็นจึงตวาดเอาว่า ท่านเป็นพระหรือแมว! พระต้องฉันอาหารภายในบาตร มีแต่แมวที่กินอาหารในภาชนะแบบนั้น!
พระฝรั่งรูปหนึ่งเสนอว่า ถ้าพระเดินอยู่ในเมืองแล้วมี ผู้หญิงฝรั่งยื่นมือมาขอเช็คแฮนด์ เราอาจจะต้อง ยอมยกมื อ ไหว้ โ ยมแล้ ว บอกให้ เ ขารู้ ว่ า ชาวพุ ท ธ ทักทายกันแบบนี้
พระบวชใหม่ที่มีความตั้งใจสูง มักจะติเตียนหรือให้โทษ ตัวเองเมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามข้อวัตร ที่พระอาจารย์ วางเอาไว้ได้ พระอาจารย์ท่านหนึ่งทราบดังนั้นจึงพูด ให้กำลังใจว่า “ให้บอกตัวเองว่าเราเป็นคนดี เพราะ ถ้ า เราไม่ เ ป็ น คนดี ห รื อ ไม่ อ ยากเป็ น คนดี เราคง จะไม่มาบวช”
เหตุเกิดที่พระอุโบสถแห่งหนึ่ง โยมน้อย : เงียบๆหน่อย อย่าคุยกัน พระท่านกำลัง นั่งสมาธิ โยมนิด : ท่านบวชมานาน นั่งสมาธิเก่ง ป่านนี้คงหลับ ไปแล้ว
หลวงตารูปหนึ่งมักจะนำอาหารไปเลี้ยงสกั๊งค์ซึ่งเข้ามา ป้วนเปี้ยนภายในบริเวณกุฏิของพระบวชใหม่เป็น ประจำ ต่อมาพระบวชใหม่ทนกลิ่นสกั๊งไม่ไหว จึงนำ ขดลวดไฟฟ้าแรงสูงไปขึงป้องกัน หลวงตาบ่นกับพระ รูปนั้นว่า ใจร้ายที่สุด…สกั๊งค์เขามาอยู่ก่อน
ญาติโยมชาวไทยผูห้ นึง่ เห็นฝรัง่ เล่นเจ็ตสกีอยูใ่ นทะเลสาบ จึงพูดขึ้นว่า “ฝรั่งนี่ไม่มีอะไร ทำงานหาเงินแล้วก็เอา มาซื้อของเล่น”
เหตุเกิดที่วัดจีนแห่งหนึ่งในแซนแฟรนซิสโก เมื่อพระภิกษุเข้าแถวเป็นระเบียบพร้อมถ่ายรูปหมู่ ช่างภาพจึงนิมนต์ให้พระทุกรูปเซย์ Cheese! เพื่อจะได้ ยิ้มกว้างและภาพที่ออกมาจะได้ดูเป็นมิตร พระที่อยู่ ประจำวัดแห่งนั้นสัพยอกว่าควรจะเซย์ Quinyin! (กวนอิม)
เช้าวันหนึ่งก่อนถึงเวลาภัตตาหาร เมื่อพระอาจารย์ ปฏิ สั น ถารกั บ ญาติ โ ยมผ่ า นไปได้ พั กใหญ่ (มาก) เด็กชายอายุสองขวบก็ถามขึ้นว่า Why do we waiting, dad? ทุกคนในห้องหัวเราะครืน แล้วพระอาจารย์ ก็พูดว่า Good question จากนั้นพระก็พร้อมเพรียงกัน ลุกไปตักอาหาร
สุภาพสตรีท่านหนึ่งนำปัจจัยมาถวายหลวงพ่อพร้อม กับกำชับว่า “หลวงพ่อเป็นหนี้ดิฉัน ต้องไปสวดงานศพ ให้ดิฉันด้วยนะเจ้าคะ”
ญาติโยมที่วัดแห่งหนึ่งทะเลาะกันถึงขั้นตบตี เหตุเพราะ แย่งกันใช้เตาแก๊สทำอาหารถวายพระ
เจ้าอาวาสวัดไทยแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา สั่ ง ซื้ อ ศาลพระพรหมและศาลเจ้ า แม่ ก วนอิ ม จาก เมืองไทยมาตั้งไว้ในวัด เพราะท่านเชื่อว่าจะช่วย แก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในคณะสงฆ์
หนุ่ม Homeless ผิวหมึกเดินเข้าไปขออาหารในร้าน อาหารไทยแห่งหนึ่ง พนักงานต้อนรับใจดีจัดอาหาร ใส่กล่องแล้วนำไปมอบให้ ครู่หนึ่งผ่านไปหนุ่มผิวหมึก ก็กลับเข้ามาในร้านอีกแล้วบอกว่า ผมไม่ได้หยาบคาย นะครับ กรุณาหยิบซอสถั่วเหลืองให้ผมสักหน่อย
ค่ำวันหนึ่งสามเณรรู้สึกหิวจนทนไม่ไหว จึงเดินเข้าครัว แล้วคว้าปลาแห้งมาเคี้ยวกินอย่างเอร็ดอร่อย บังเอิญ หลวงตาผ่านมาเห็นเข้าจึงเอ็ดขึ้นว่า “เณร! เคี้ยว เบาๆหน่อย กูหิว”
สถาบันการศึกษาหลายแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกา มีความสนใจในพุทธศาสนาแต่ยังขาดแคลนบุคลากร ที่จะให้ความรู้ พระใหม่ที่บวชได้เพียงหนึ่งพรรษา แต่มี ความสามารถด้านภาษาอังกฤษจึงมีโอกาสเดินทาง ไปบรรยายธรรมะ เมื่อจบการบรรยายเพียงครั้งแรก ทางมหาวิ ท ยาลั ย ก็ นิ ม นต์ ใ ห้ พ ระใหม่ รู ป นั้ น เป็ น อาจารย์พิเศษ
อุบาสิกาท่านหนึง่ พำนักอยูใ่ นประเทศสหรัฐอเมริกาเป็น เวลาถึง 8 ปีบอกว่า “โยมหนีมาปฏิบัติธรรมที่อเมริกา เพราะครูบาอาจารย์ที่เมืองไทยหมดสิ้นแล้ว”
หากมีคนมาถามปัญหาไม่วา่ จะยากหรือง่าย อาจารย์เซน ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่งจะตอบด้วยประโยคเดียวกัน ทุกครั้งว่า “Go for tea”
วัดแห่งหนึง่ มีการป้องกันระบบอินเตอร์เน็ตอย่างเข้มงวด โดยตั้งพาสเวิร์ดสำหรับ WiFi ไว้มากถึง 64 ตัว!
โยม : ระวังเหยียบมดนะคะท่าน พระ : ไม่ห่วงว่ามดจะกัดพระเลยนะ โยม : ไม่ห่วงหรอกค่ะ พระเอาตัวรอดได้
โยม : ศาสนาคริสต์พยายามกลืนพุทธศาสนา โดยนำ หลักธรรมทางพุทธศาสนาไปปะปนกับหลักคำสอนของตน พระควรวางอุเบกขาในเรื่องนี้ พระ : โยมคิดอย่างไรกับประโยคนี้ “มีคนกำลังจุดไฟ เผาบ้านของเรา เราควรวางอุเบกขา”
พระนิด : ผมไม่อ่านหนังสือธรรมะที่โยมเขียน เพราะ ยังมีมิจฉาทิฐิเจือปนอยู่ พระน้อย : หนังสือธรรมะบางเล่มที่พระเขียนก็มี เหมือนกัน
เมื่อพระอาจารย์ท่านหนึ่งพบหลวงพ่อที่ท่านเคารพรัก ก็ทักทายว่า “Very nice to see you. Everywhere on this planet is very nice to see you”.
ในประเทศสหรั ฐ อเมริ ก ามี เ ว็ บ ไซต์ จั ด หาคู่ ใ ห้ แ ก่ นักปฏิบัติธรรม
หัวข้อที่พระภิกษุสามเณรใช้เวลาอภิปรายกันนานที่สุด ในการเรียนพระวินัยคือเรื่องเงินทองและของขบฉัน
คณะสงฆ์จ่ายค่ารักษาฟันให้กับสามเณรรูปหนึ่งเป็น จำนวนเงินถึง 25,600 บาท อีกหนึ่งเดือนถัดมาสามเณร ก็ลาสิกขา ด้วยเหตุนี้คณะสงฆ์จึงตั้งระเบียบขึ้นมาว่า ผู้ใดมีความประสงค์จะบวชต้องรักษาสุขภาพเหงือก และฟันของตัวเองให้ดีก่อน
ชาวพุทธจำนวนไม่นอ้ ยในประเทศสหรัฐอเมริกาพยายาม ปรับเปลี่ยนพุทธศาสนาให้เป็นแบบอเมริกัน เช่น การ ปฏิบตั ธิ รรมเพียงลำพังโดยไม่อาศัยรูปแบบของคณะสงฆ์ หรือการไม่มรี ะบบอาวุโสเป็นต้น ซึง่ ชาวพุทธกลุม่ ดังกล่าว ให้เหตุผลว่า เรือ่ งเหล่านีเ้ ป็นเพียงวัฒนธรรมของชาวเอเชีย
ข้อมูลจากสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 แสดงไว้ว่า ประเทศไทยมีวัดร้าง จำนวน 5,924 แห่ง
เด็กชายอายุ 8 ขวบถามพระฝรั่งว่า Do you believe to rebirth?
โยม : ทำไมพระไม่หุงข้าวหรือทำกับข้าวกินเอง? พระ : ทำไม่อร่อย โยม : ข้าวสารอาหารแห้งที่โยมเขาทำบุญกัน พระเอาไป ไว้ไหนอ่ะ? พระ : เอาไปไว้ที่ครัว โยม : เอาไปไว้ทำไมที่ครัว? พระ : ให้แม่ครัวฝีมือดีช่วยทำกับข้าว โยม : เห็นมีแต่มาม่ากับปลากระป๋อง พระ : ถ้าเห็นแบบนีท้ วี่ ดั ไหนต้องรีบหาของอร่อยๆไปเติม
อุบาสิกาผู้หนึ่งสารภาพกับเพื่อนนักปฏิบัติธรรมด้วย น้ำเสียงสะเทิ้นอายว่า “อยู่บ้านไม่เคยเข้าครัวเลย แต่มา อยู่วัดต้องทำกับข้าวถวายพระ”
นักวิชาการชาวตะวันตกให้การยอมรับว่า สงฆ์ใน พุทธศาสนาเป็นองค์กรที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก
โยม : ถ้ามีคนพูดว่า “นักปฏิบัติธรรมตัดช่องน้อย แต่พอตัว” จะอธิบายให้เขาฟังว่าอย่างไร? พระ : เราตัดช่องใหญ่ไม่ได้เพราะกำลังของเรายังไม่พอ ก็ฝึกหัดตัดช่องน้อยไปพลางๆก่อน
พระฝรั่ ง รู ป หนึ่ ง อารมณ์ เ สี ย เพราะฝึ ก โยคะทุ ก วั น แต่ก็ยังเจ็บไข้ได้ป่วย
พระน้อย : สาเหตุหนึง่ ของปัญหาสิง่ แวดล้อมก็คอื มนุษย์ ไม่สันโดษยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ โทรศัพท์มือถือเป็น ตัวอย่างที่ชัดเจน พระนิด : ถ้าบริษัทคู่แข่งมีเทคโนโลยีที่สูงกว่า สามารถ เข้าถึงข้อมูลทางธุรกิจได้เร็วกว่า ใครจะนิ่งนอนใจอยู่ได้
พระชาวเวียดนามรูปหนึ่งให้ความเห็นว่า “การบำเพ็ญ บารมีสามารถทำได้ตงั้ สิบอย่าง แต่ทำไมคนไทยให้ความ สนใจเรื่ืองทานบารมีเพียงอย่างเดียว”
นิ ต ยสารฉบั บ หนึ่ ง สั ม ภาษณ์ ผู้ ห ญิ ง ไทยยุ ค ใหม่ จำนวน 6 คนด้วยคำถามเดียวกันว่า จำเป็นต้องจิ้น (virgin) ก่อนแต่งงานไหม? มีผู้หญิงเพียงคนเดียว ที่ตอบว่าจำเป็น
โยม : สิ่งที่ท่านประทับใจที่สุดในพุทธศาสนาคืออะไร? พระ : การปล่อยวาง โยม : ในระดับพระนี่ปล่อยวางได้เยอะขนาดไหนอ่ะคะ? พระ : ถ้าฝึกดีแล้วได้ทุกอย่าง โยม : ถ้ามีสิบเรื่องท่านปล่อยวางได้กี่เรื่อง? พระ : มันก็แล้วแต่เรือ่ ง เรือ่ งไหนยึดมัน่ ถือมัน่ มากก็ปล่อย วางได้ช้า เรื่องไหนยึดมั่นถือมั่นน้อยก็ปล่อยวางได้เร็ว
หลังจากพระอาจารย์ตอบคำถามซับซ้อนระดับอภิธรรม แก่นักปฏิบัติธรรมมาร่วมชั่วโมง โยมคนหนึ่งก็พูดขึ้นว่า ผมขอถามคำถามง่ายๆสักคำถามนะครับ พระอาจารย์ ยิ้มอย่างอารมณ์ดีแล้วกล่าวว่า “ขอบใจ”
โยม : เมื่อคืนดิฉันฝันว่าใต้กุฏิมีกระดูกมนุษย์ฝังอยู่ ครอบครัวหนึ่ง พระ : คงมีมาตั้งแต่สมัยเมโสโปเตเมีย
ก่อนสวดมนต์ทำวัตรในเย็นวันหนึ่ง พระผู้นำสวดมนต์ ถามพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาว่า วันนีม้ ใี คร จะอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ใดเป็นพิเศษบ้าง? อุบาสกผู้หนึ่ง ตอบว่า “แม่ของผม ครอบครัว และโลกใบนี้”
พระนิด : ค่ำนี้ยุงเยอะ ท่านต้องการสเปรย์กันยุงไหม? พระน้อย : เป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกส์หรือเปล่า ผมสงสารยุง
เส้นทางบิณฑบาตของวัดป่าแห่งหนึ่ง ต้องผ่านบริเวณ ที่ชาวบ้านออกมาล่าสัตว์อยู่เป็นประจำ เพื่อความ ปลอดภัย พระจึงต้องคลุมจีวรสีสม้ สดทับจีวรสีแก่นขนุน อีกชั้นหนึ่ง
โยม : วิเวกเป็นอย่างไร? พระ : กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก ลองค้นสามคำนี้ดูใน Google โยม : ทำยาก พระ : อันแรกง่ายสุด พอได้ลิ้มรสแล้วจะดึงดูดไปหา อันที่สองที่สาม
พระอาจารย์ฝรั่งท่านหนึ่งบวชมา 36 พรรษา แต่โยมพ่อ โยมแม่ของท่านก็ยังไม่สนใจในพุทธศาสนา หนำซ้ำ ยังต่อต้านสิ่งที่ท่านทำอีกด้วย
คุณตาชาวแคนาดาท่านหนึ่งเคยเป็นอาจารย์สอน ศาสนาเปรียบเทียบในมหาวิทยาลัย ภายหลังท่านลาออก แล้วมาบวชเป็นพระในพุทธศาสนา
ในชั้นเรียนพระวินัยคราวหนึ่ง พระผู้ทำหน้าที่อภิปราย บอกให้พระภิกษุสามเณรหลับตาแล้วจินตนาการว่า ในครั้งพุทธกาลไม่มีตำราเรียนพระวินัย ได้แต่อาศัย การถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์ ถ้าเราไปเกิดในยุคนั้น จะเป็นอย่างไร จากนั้นท่านก็บอกให้ทุกคนลืมตา แล้วแสดงความคิดเห็นว่ารู้สึกอย่างไร พระรูปหนึ่งพูด ขึ้นว่า “ถ้าไปเกิดในยุคนั้น เราคงจะตรัสรู้ได้เร็วกว่านี้”
พระ : โยมก็มีพออยู่พอกินแล้ว ยังอยากได้อะไรอีกล่ะ? โยม : อยากได้อิสระในการดำเนินชีวิต พระ : อาตมาก็อยากได้เหมือนกัน เลยมาทางนี้
โยมผูห้ นึง่ เข้าใจว่า ในช่วงจำพรรษาห้ามพระออกจากวัด โดยเด็ดขาด แม้แต่ไปบิณฑบาตก็ไม่ได้ ต้องให้ญาติโยม ผู้มีจิตศรัทธานำอาหารมาถวายที่วัดเท่านั้น!
โยม : เราคงบรรลุธรรมหรือไปนิพพานไม่ได้ในชาตินี้ พระ : ถ้าไฟกำลังลุกไหม้ศีรษะของใครคนหนึ่ง แล้วใคร คนนัน้ วิง่ พล่านพลางตะโกนว่า ฉันคงดับไฟไม่ได้ในชาติน!ี้ โยมจะคิดอย่างไรกับคนๆนั้น?
หลังจากปฏิบตั ธิ รรมตัง้ แต่หวั ค่ำยันสว่างในสามอิรยิ าบถ คือยืน เดิน นั่ง เว้นอิริยาบถนอน พระภิกษุรูปหนึ่งจำวัด ตั้งแต่เก้าโมงเช้าถึงห้าโมงเย็น
โยมฝรั่ง : อีกสองสัปดาห์ผมจะเดินทางไปปฏิบัติธรรม ที่เมืองไทย ท่านช่วยแนะนำสิ่งสำคัญที่ผมควรทราบ ก่อนการเดินทางได้ไหมครับ? พระไทย : ได้…อาหารไทยเผ็ดมากๆ
พระอาจารย์ฝรั่งรูปหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า คำว่า “งาน” ในภาษาไทยตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษสามคำคือ Work - Festival - Marriage
พระไทย : โยมเคยปฏิบัติธรรมที่ศูนย์ฝึกสมาธิของเซน ทำไมจึงเลือกมาบวชที่วัดป่าฝ่ายเถรวาท? โยมฝรั่ง : ผมชอบป่า ความเงียบของป่าทำให้ผมเห็น จิตของตัวเองชัดเจนขึ้น
ขณะกำลังถ่ายภาพเพือ่ ส่งไปพิมพ์หนังสือทีป่ ระเทศไทย พระฝรั่งบอกว่า “ถ้าผมเผลอยิ้มก็ช่วยถ่ายอีกสักรูปนะ คนไทยชอบเห็นพระทำหน้าเคร่งขรึม”
พระฝรั่งมักจะมีพลาสเตอร์ยาปิดอยู่ที่เท้าหลายแผ่น เพราะเดินซุ่มซ่ามเตะก้อนหินหรือรากไม้อยู่เป็นประจำ เมื่อพระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) สังเกตเห็นจึงพูดขึ้นว่า “ฝรั่งฉลาดแต่ตีนโง่”
นักจิตวิทยา : ถ้าทหารทรมานนักโทษเพื่อหาข้อเท็จจริง แต่ไม่ถึงกับฆ่า จะผิดศีลข้อแรกของชาวพุทธไหม? พระอาจารย์ : ไม่ผิดศีลแต่ผิดธรรม
หลังจากการอภิปรายพระวินัยหัวข้อภิกษุต้องอาบัติ ปาจิตตีย์เพราะพูดปด พระรูปหนึ่งกล่าวว่า ผมเกิด แรงบันดาลใจอย่างแรงกล้า ที่มนุษย์กลุ่มหนึ่งมา รวมตัวกันเพื่อพิจารณาว่า การพูดอย่างไรที่เรียกว่า การพูดความจริง
พระอาจารย์ทา่ นหนึง่ ซึง่ เป็นเจ้าอาวาสปรารภว่าจะลาสิกขา เมือ่ ญาติโยมทราบจึงยกขบวนมาขอร้องให้ทา่ นเปลีย่ นใจ โดยให้สัญญาว่าจะเลิกเคี้ยวหมาก
โยมฝรั่ง : ท่านเหาะได้ไหม? พระไทย : ได้ ถ้ามีตั๋ว
พนักงานเก็บเงินประจำร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่งในมลรัฐ แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถามพระว่า ท่านฝึกคาราเต้ด้วยใช่ไหม?
พระฝรั่งบอกกับพระไทยว่า “ตอนนี้ที่วัดของเราสร้างกุฏิ หลายหลัง ฉันข้าวเสร็จแล้วผมจะฉี่ (ชี้)ให้ดู”
พระรูปหนึ่งนั่งฉันอาหารอยู่ในป่าดงดิบ หมีตัวหนึ่ง เดินเข้ามาหยุดอยูต่ รงหน้า…มองดูสกั พัก… ทำเสียงน้อยใจ แล้วเดินจากไป
พระนิด : ลุงคนนี้มีความรู้มาก พระน้อย : ความรู้เพื่ออะไร? พระนิด : ความรู้เพื่อความรู้ พระน้อย : นึกว่าความรู้เพื่อความสงบ
พระผูใ้ หญ่ทา่ นหนึง่ เสนอให้ลงรายการ วัน / เดือน / ปีเกิด ของพระธรรมฑูตในหนังสือ “ระเบียบปฏิบตั ิ - รายนามวัด รายนามพระธรรมฑูตในประเทศสหรัฐอเมริกา” พระทีเ่ ข้า ร่วมประชุมเกือบทั้งหมดคัดค้านว่า ห้ามเด็ดขาด! เพราะจะเป็นการเปิดช่องให้ผู้ไม่หวังดีเอาไปทำคุณไสย
นักปาถกฐาธรรมผู้หนึ่งเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นพลังงาน จึงอัญเชิญมาเข้าร่างของผู้ช่วย แล้วสนทนาธรรมกับ พลังงานนั้น
โยม: โยมจะมาปฏิบัติธรรมที่วัด เมื่อไหร่จะได้ฤกษ์ดี เจ้าค่ะ? หลวงพ่อ : มาถึงวัดเมื่อไหร่ก็ฤกษ์ดีเมื่อนั้น
ศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่นแห่งมหาวิทยาลัยเบิร์กเล่ย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญพุทธศาสนามหายาน ถวายความเห็นในทีป่ ระชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในอเมริกาว่า พุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นที่เข้ามาเผยแผ่ ในประเทศสหรัฐ อเมริกาทำผิดพลาดประการหนึ่งคือ ไม่สื่อสารกับ คนรุ่นใหม่ด้วยภาษาอังกฤษ
To be Awake + Enchanted Hiking
เขียนเรื่องและถ่ายภาพ เปสโลภิกขุ ออกแบบปกและรูปเล่ม Dhamma Design Club พิสูจน์อักษร ดาริน ตั้งทรงจิตรากุล คอมพิวเตอร์กราฟิก ibeepdesign@gmail.com จัดพิมพ์เป็นของขวัญธรรมะครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2554 จำนวน หนึ่งพันเล่มเต็มแรงม้า สงวนลิขสิทธิ์ 2010 © Dhamma Design Club ติดตามรับชมภาพถ่ายบรรยายยากได้ที่ http://fearlessdiary.exteen.com ติดตามรับชิมเปสโลภิกขุได้ที่ peslo123@yahoo.co.th พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์ โทรศัพท์ 02-433-0026-7
อนุโมทนาเสมอ ครอบครัวสุวรรณกูล ครอบครัววงศ์พระจันทร์ ครอบครัวทุมนัส ครอบครัวสุวรรณเบญจางค์ คุณอโณทัย คลังแก้ว และครอบครัว คุณลดาวัลย์ ตั้งทรงจิตรากุล คุณดาริน ตั้งทรงจิตรากุล คุณเพลิน เพชรเกื้อ คุณเจนจิรา สุตานนท์ไพบูลย์ ร้านอาหารโอชา แซนแฟรนซิสโก
เปสโลภิกขุ
2516 เกิดที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2536 เรียนที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2539 บวชที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี 2553 จำพรรษาที่วัดป่าอภัยคีรี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลงานทรมานใจวัยหวาน
2550 Dhamma Design Issue 1 / บทกวีในที่ว่าง 2551 Dhamma Design Issue 2 / แดนสนทนา (สนพ.หนึ่ง) 2552 เรื่องเป็นเรื่อง / หนึ่งร้อย / เรื่องของเรา (สนพ.หนึ่ง) เสียงฝนบนภูเขา / Poems on The Road 2553 Pesalocation / Dhammascapes (สนพ.พาบุญมา)
Venerable Pesalo Bhikkhu
was born in Ubon Ratchathani, Thailand in 1973. He attended the College of Fine Art at Chiang Mai University. After his junior year, he took a year off to explore a growing interest in Buddhist-related conceptual art. In 1995, he ordained as an anag達rika at the International Forest Monastery (Wat Pah Nanachat) where Ajahn Pasanno was serving as abbot. He took bhikkhu ordination at Wat Nong Pah Pong in 1996 and spent his first vassa there. He chose to continue as a monk after the vassa ended. In 1997 he moved to Wat Pah Ampawan in Chonburi, the 42nd Ajahn Chah branch monastery, where he has spent most of his time as a monk. He travelled to Abhayagiri Monastery in 2010 to learn about Buddhism in America and continue his own practice.
“คำพูดเล็กๆนอยๆของคนมันใหรสชาติ” พระราชภาวนาวิกรม(เลี่ยม ฐิตธมฺโม) เจาอาวาสวัดหนองปาพง จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ.2537-ปจจุบัน)