รายงานการวิจยั เรื่อง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากร ที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT Heart Score Cardiovascular Risk among Staff Working at The Central of The Ministry of Public Health Using Risk Assessment of Rama - EGAT Heart Score
โดย นางเกษชดา นางสาวสุกาญฎา นางอาภาสิณี นางวิยดา
ปัญเศษ กลิ่นถือศิล กิ่งแก้ว วงศ์มณีโรจน์
สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รบั ทุนสนับสนุนจากโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2556
คํานํา โรคหัวใจ และหลอดเลื อด เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหลอดเลื อดตีบตัน หรือ หลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุในผนังหลอดเลือดจนเกิดการ ตีบตัน และแคบ ทําให้มีความต้านทานการไหลของเลือด หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เปราะบาง มากขึ้น หากเกิ ดบริ เ วณหลอดเลือ ดแดงที่ ไ ปเลี้ย งหัว ใจ จะทําให้เลื อ ดไปเลี้ย งหัว ใจได้น้ อย เกิ ด โรคหัวใจขาดเลื อด หากอุดตันจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือหัวใจ ล้มเหลว ทําให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเสียชีวิตได้ โรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลาย ปั จ จั ย ได้ แ ก่ ปั จ จั ย ส่ ว นบุ ค คลด้ า นอายุ แ ละเพศ ปั จ จั ย พฤติ ก รรม เช่ น การออกกํ า ลั ง กาย การ รับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันโลหิต ไขมัน และ เบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนําไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด ระดับแตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกัน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น ปัจจุบันองค์การ อนามัยโลกเสนอแนวทางในการป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive cardiovascular risk management) เพื่อมุ่งแก้ไขสหปัจจัย ทั้งหมดไปพร้อม ๆ กัน ไม่มุ่งรักษาเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ดังนั้นการพิจารณาความเสี่ยงในระดับ บุคคลจําเป็นต้องใช้ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพยากรณ์การ เกิดโรคได้อย่างแม่นยํา เรียกการประเมินแบบนี้ว่า การประเมินความเสี่ยงรวม (Global risk assessment) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกันโรคด้วยตนเองและลดโอกาสเกิดปัญหาทาง โรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจตามมาในอนาคต ซึ่งต้องการการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุม อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี ในฐานะหน่วยงานบริการ มี หน้าที่ให้บริการแก่บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข ทั้งด้านการรักษาพยาบาล ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จึงได้ดําเนินการวิจัยเรื่องความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขโดยใช้แบบประเมินความ เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT Heart Score ในการประเมินความเสี่ยงรวม ผล จากการวิจัยครั้งนี้ทําให้ได้ข้อมูลที่สําคัญในการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติ ราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขให้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนําไปสู่การสร้างเสริม สุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานวิจัย ฉบับนี้คงมีประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนผู้ที่สนใจจะนําข้อมูล ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ต่อไป (นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์) ผู้ อํ า นวยการสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุ ข โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ มีนาคม 2557 ก
กิตติกรรมประกาศ รายงานวิจัยฉบับนี้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยความสนับสนุนและความร่วมมือจากบุคคล หลายฝ่าย คณะผู้วิจัยขอขอบคุณคณะผู้บริหารของโรงพยาบาลราชวิถี และของกรมการแพทย์ที่ อนุมัติให้ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยนี้ ขอขอบพระคุณนายแพทย์อุดม เชาวรินทร์ ผู้อํานวยการ โรงพยาบาลราชวิถี (ในขณะที่เริ่มทําวิจัยฉบับนี้ ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการสถานพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี) นายแพทย์อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยี ทางการแพทย์ กรมการแพทย์ และนางวารุจีย์ ชูจิตร พยาบาลวิชาชีพชํานาญการพิเศษ ซึ่งได้กรุณา ให้คําปรึกษาต่อคณะผู้วิจัยมาตลอด นับตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงการวิจัย คณะผู้วิจัยขอแสดงความขอบคุณผู้ประสานงานทั้งในส่วนของหน่วยงาน กอง กรม จาก โรงพยาบาลราชวิถี ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขทุกคนที่ให้ ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทําวิจัยครั้งนี้ ท้ายที่สุดนี้ คณะผู้วิจัยขอมอบความดีและคุณประโยชน์ทั้งหลายที่เกิดจากการวิจัย ครั้งนี้แด่ผู้มีพระคุณ และทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องมา ณ โอกาสนี้ นางเกษชดา นางสาวสุกาญฎา นางอาภาสิณี นางวิยดา
ปัญเศษ กลิ่นถือศิล กิ่งแก้ว วงศ์มณีโรจน์
มีนาคม 2557
ข
ชื่องานวิจัย ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลาง กระทรวงสาธารณสุ ข โดยใช้แบบประเมิ นความเสี่ยงต่ อโรคหั วใจและหลอดเลื อ ด Rama – EGAT Heart Score ชื่อผู้เขียน
นางเกษชดา นางสาวสุกาญฎา นางอาภาสิณี นางวิยดา
ปัญเศษ พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล กลิ่นถือศิล พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล กิ่งแก้ว พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล วงศ์มณีโรจน์ พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงต่ อ โรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบ ประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT heart score ซึ่งพัฒนาโดย คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ที่มารับการตรวจ สุขภาพประจําปีย้อนหลัง จากรายงานผลการตรวจสุขภาพประจําปี พ.ศ. 2556 ตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2556 จํานวน 950 ราย ทําการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความ แตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างแบบสองกลุ่มอิสระ โดยใช้การทดสอบค่าที และทดสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และถือค่า p – value น้อยกว่า 0.05 เป็น นัยสําคัญทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ใน ระดับน้อย ปานกลาง และสูง คิดเป็นร้อยละ 68.9, 27.7 และ 3.4 ตามลําดับ ค่าเฉลี่ยคะแนนความ เสี่ยงของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 4.5 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.0) โอกาสเกิด เส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปีเฉลี่ยร้อยละ 1.5 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.6) เพศชายมี คะแนนความเสี่ยงเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (เพศชายมีคะแนนเฉลี่ย 7.5 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.9, เพศหญิงมีคะแนนเฉลี่ย 3.6 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.5) โดยเพศ ชายมีโอกาสเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปีเฉลี่ยร้อยละ 2.5 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.5) ในขณะที่เพศหญิงเฉลี่ยร้อยละ 1.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.0) ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยส่วนใหญ่เพศชายมี ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 46.9 ส่วนใหญ่ เพศหญิงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 76.7 และ พบว่าลักษณะงานที่ทําขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่าผู้ที่ มีความเสี่ยงสูงส่วนมากมีลักษณะงานเป็นงานวิชาการ และงานธุรการ ผลจากการวิจัยครั้งนี้ทําให้ได้ข้อมูลที่สําคัญในการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของ บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขให้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นําไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ค
Research Title
Cardiovascular Risk among Staff Working at The Central of The Ministry of Public Health Using Risk Assessment of Rama - EGAT Heart Score
Author
Mrs. Ketchada Miss Sukanda Mrs. Apasinee Mrs. Wiyada
Punset Klinthuesin Kingkaew Wongmaneeroj
Professional Registered Nurse Professional Registered Nurse Professional Registered Nurse Professional Registered Nurse
Abstract The purpose of this retrospective descriptive research was to assess cardiovascular risk among staffs working at the central of the Ministry of Public Health. The Faculty of medicine, Ramathibodi Hospital has developed Rama – EGAT Heart Score which was used as a tool in the present study for the total CVD risk calculation for predicting a person’s chance of having severe coronary heart diseases within the next ten years. The sample consists of 950 subjects from their medical history reports, of the mentioned groups who had a regular check-up at the Ministry of Public Health clinic, Rajavithi Hospital, between March and May 2013. Data were analyzed by descriptive statistics, independent samples t-test, and chi – square test/ fisher exact test. The results of the study indicated that 68.9, 27.7 and 3.4 percent of participants had cardiovascular risk score at low, moderate and high level respectively. The total mean score of cardiovascular risk was at low level (mean 4.5, S.D 4.0), chance of having severe coronary heart diseases within the next ten years average 1.5 percent (SD = 1.6). The cardiovascular risk mean score of male was significantly higher than those in female (p < 0.5). Men had a chance of having severe coronary heart diseases within the next ten years average 2.5 percent (SD = 2.5) while average 1.2 percent (SD = 1.0) was found in women. Cardiovascular risk level was significantly different between gender (p < 0.5). Most of male had cardiovascular risk score at moderate level (46.9 %) whereas most of female had cardiovascular risk score at low level (76.7 %). There were significant difference (p < 0.5) of cardiovascular risk level among personnel with differences job types, most of high cardiovascular risk level were observer in academic and a service officers The findings from the present study will be used to plan behavioral health development for staffs working at the central of the Ministry of Public Health.
ง
สารบัญ หน้า คํานํา
ก
กิตติกรรมประกาศ
ข
บทคัดย่อ
ค
Abstract
ง
สารบัญ
จ
สารบัญตาราง
ช
บทที่ 1 บทนํา ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา คําถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย ขอบเขตของการวิจัย นิยามศัพท์ กรอบแนวคิด
1 3 3 3 4 5
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากร ที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย ประชากรเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่าง เกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การดําเนินการ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อพิจารณาด้านจริยธรรม ขั้นตอนการทําวิจัย
6 7 10 13 17 22 22 23 25 25 26 26 27
จ
สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
28 31
บทที่ 5 อภิปรายผลการวิจัย ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของ
46 47
บทที่ 6 สรุปและข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจยั ข้อเสนอแนะ
54 55
บรรณานุกรม
57
ภาคผนวก ก. เอกสารรับรองโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับการวิจัยในคน ข. แบบบันทึกข้อมูล ค. รายนามและประวัติย่อผู้วิจัย
60 61 62 63
ฉ
สารบัญตาราง ตารางที่
หน้า
1 2 3
28 29 32
แสดงหน่วยงานต้นสังกัดของกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษา แสดงลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษา ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมและจําแนกตามเพศ 4 ปัจจัยเสีย่ งต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ของกลุ่มตัวอย่างจําแนกตามระดับความเสี่ยง 5 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่าง จําแนกตามระดับความเสี่ยง 6 ปัจจัยเสีย่ งต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง ระดับความเสี่ยงน้อยจําแนกตามเพศ 7 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่าง ระดับความเสี่ยงน้อยจําแนกตามเพศ 8 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง ระดับความเสี่ยงปานกลางจําแนกตามเพศ 9 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่าง ระดับความเสี่ยงปานกลางจําแนกตามเพศ 10 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง ระดับความเสี่ยงสูงจําแนกตามเพ 11 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่าง ระดับความเสี่ยงสูงจําแนกตามเพศ
ช
33 35 37 39 40 42 43 45
บทที่ 1 บทนํา ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา ปัจจุบันโรคเรื้อรังเป็นสาเหตุสําคัญของการตายและความพิการของประชากรทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าในปี 2548 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 58 ล้านคน โดยร้อยละ 60 หรือ 35 ล้านคนตายด้วยโรคเรื้อรังซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็งและโรคทางการหายใจ หากไม่เร่งแก้ไข คาดว่าในปี 2558 จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 หรือประมาณ 38.8 ล้านคน และยังพบว่าในภาระโรคทั้งหมดนั้นเป็นภาระ (burden) จากโรค เรื้อรังดังกล่าวถึงร้อยละ 45.9 (World Health Organization [WHO], 2005) จากสถิติการรายงาน สาเหตุการตายของประชากรโลก พบว่า จํานวนผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคต จนถึงปี พ.ศ. 2573 ถ้ายั งไม่ มี ม าตรการการดําเนิ นการที่ เ หมาะสมและมีคุณภาพเพียงพอโดยเฉพาะอย่ างยิ่ งในกลุ่ ม ประเทศยากจน ทั้งด้านการสนับสนุนนโยบายและจัดบริการการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคที่ ครอบคลุมในกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มประชากรวัยทํางานหรือวัยผู้ใหญ่ในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อ การเกิดโรคไม่ติดต่อ จากการรายงาน พบว่า โรคหัวใจขาดเลือดจัดเป็นลําดับที่ 3 ของสาเหตุการตาย ทั้งหมด รองจากอุบัติเหตุจราจร และโรคหลอดเลือดสมองซึ่งจัดอยู่ในลําดับที่ 1 และที่ 2 ตามลําดับ (สํานักโรคไม่ติดต่อ, 2553) สําหรับในประเทศไทยจากการศึกษาของศูนย์ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ สํานักโรคไม่ติดต่อ กรม ควบคุ ม โรค ในโครงการระบบเฝ้ า ระวั ง พฤติ ก รรมเสี่ ย งโรคไม่ ติ ด ต่ อ และการบาดเจ็ บ BRFSS (Behavioral Risk Factors Surveillance System) พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550 ของประชากรอายุ 15 - 74 ปี พบว่า ความชุกของผู้ที่เคยมีแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นจาก 0.5 ล้านคน จากการสํารวจ ปีพ.ศ. 2548 เป็น 0.7 ล้านคน ในการสํารวจ ปีพ.ศ. 2550 และจาก รายงานสถิติสาธารณสุข ในปีพ.ศ. 2551 พบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองใหญ่ จํานวน 13,130 คน และเมื่อพิจารณารายภาคพบว่าภาคกลางมีจํานวนผู้เสียชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ จํานวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหัวใจขาดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่า 2.5 เท่าภายใน 7 ปี โดยเพิ่มจาก 62,794 ราย ในปีพ.ศ. 2544 เป็น 159,176 ราย ในปีพ.ศ. 2551 ภาคกลางมีสัดส่วน ผู้ป่วยใน สูงถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ เช่นเดียวกับจํานวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหลอดเลือดสมองมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าภายใน 7 ปี ภาคกลางมีสัดส่วนผู้ป่วยใน สูงถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ (สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2553) และ จากรายงานการสํารวจ สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 พบว่า ประชากรไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.4 และผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.9 บอกว่าเคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ชายและผู้หญิงมีความชุกของโรคใกล้เคียงกัน 1
2 ความชุกนี้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ความชุกสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไปซึ่งพบร้อยละ 5.8 (สํานักงาน สํารวจสุขภาพประชาชนไทย [สสท], 2551) โรคหัวใจและหลอดเลือด เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและเพศ ปัจจัยพฤติกรรม เช่น การออกกําลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันเลือด ไขมัน และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความ เสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนําไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดระดับแตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลาย ปัจจัยร่วมกัน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น (สุกิจ แย้มวงศ์, 2548) จากข้ อ มู ล ดั ง กล่ า ว ถ้ า มี ก ารเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล และวิ เ คราะห์ ปั จ จั ย เสี่ ย งต่ อ การเกิ ด โรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การดําเนินการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชน เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่กําลังเป็นปัญหาของประเทศได้ สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ได้ ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในข้าราชการและลูกจ้างประจําที่ปฏิบัติ ราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขระหว่างปี พ.ศ. 2548 – 2555 ดังต่อไปนี้ ในปีพ.ศ. 2548 สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ได้ทําการศึกษาระดับไขมัน น้ําตาลในเลือด และความดันโลหิต ของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 2,404 ราย พบว่า บุคลากร จํานวน 982 ราย (ร้อยละ 40.8) ตรวจพบระดับไขมัน น้ําตาลในเลือด และความดันโลหิตสูงกว่า ปกติอย่างน้อยหนึ่งอย่าง โดยพบเป็นไขมันในเลือดสูงกว่าปกติมากที่สุด รองลงมาเป็นความดันโลหิต สูงกว่าปกติ และน้ําตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ตามลําดับ ความผิดปกติที่ตรวจพบทั้งหมดอยู่ในช่วง กลุ่มอายุ 45 – 54 ปี มากที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (กมลภัค นนทลักษณ์, เกษชดา ปัญเศษ, สุกาญฎา กลิ่นถือศิล, เพ็ญพรรณ บุญสาใจ, และมาณวิกา กิ่งแก้ว, 2548) ต่อมาปี พ.ศ. 2550 สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ได้ทําการวิจัยเรื่อง พฤติกรรม สุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข : ศึกษากรณีผู้ที่มีไขมันในเลือด สูง จํานวน 407 ราย ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้าน การจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับสูงมาก คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการป้องกันปัจจัย เสี่ยงอยู่ในระดับสูง ส่วนคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออก กําลังกาย และด้านการดูแลรักษาสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่มีไขมันในเลือดสูงมานาน 3 ปีขึ้นไป ไม่ได้รับการรักษาด้วยการใช้ยา อาจเป็นเพราะขาด ความรู้ความเข้าใจถึงผลเสียต่อสุขภาพของตนเอง ทั้งนี้เพราะการดําเนินโรคไม่ได้เป็นทันทีทันใด บุ ค คลจึ ง ไม่ ไ ด้ ป รั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมการดํ า เนิ น ชี วิ ต นอกจากนี้ ก ลุ่ ม ตั ว อย่ า งจํ า นวนมากมี โ รค ประจําตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน ร่วมด้วย รวมทั้งมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ใน ระดับอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดง และก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ตามมา (กมลภัค นนทลั กษณ์ และคณะ, 2550) และในปี พ.ศ. 2552 – 2555 สถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทําคู่มือแนะนําการปฏิบัติตัวแต่ละรายโรค แจกพร้อมผลการตรวจ สุขภาพให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพทุกราย โดยคู่มือคําแนะนําการปฏิบัติตัว ประกอบด้วย ข้อแนะนําการปฏิบัติตัว 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกําลังกาย ด้าน การดูแลรักษาสุขภาพ ด้านการป้องกันปัจจัยเสี่ยง และด้านการจัดการกับความเครียด
3 สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี ในฐานะเป็นหน่วยงานบริการที่ รับผิดชอบดูแลด้านสุขภาพ ทั้งด้านการรักษาพยาบาล ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แก่ ข้าราชการและลูกจ้างประจําสังกัดส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข ตามนโยบายของกรมการแพทย์ จึงสนใจศึกษาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้แบบประเมินของ Rama – EGAT heart score ซึ่งเป็นแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นจากข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากคนไทยโดยคณะ นักวิจัยไทยที่โรงพยาบาลรามาธิบดีได้รวบรวมไว้ จึงสามารถนํามาใช้กับประชากรไทยได้ดี โดยเฉพาะ ในเพศหญิง เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงเพื่อคัดกรองได้แม่นยํา และเชื่อถือได้สําหรับการใช้ในหมู่คนไทย (พัฒนาพร สุปินะ, กิติพงษ์ หาญเจริญ, สุคนธา ศิริ และอดิศักดิ์ มณีไสย, 2552) โดยการให้คะแนน ในแต่ละปัจจัยเสี่ยงตามข้อแนะนํา และนําผลคะแนนรวมมาดูผลว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มากน้อยเพียงใด การประเมินความเสี่ยงรวม เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน ป้องกันโรคด้วยตนเองและลดโอกาสเกิดปัญหาทางโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจตามมาในอนาคต ซึ่งต้องการการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ผลจากการวิจัยในครั้งนี้จะ ทําให้ได้ข้อมูลที่สําคัญในการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลาง กระทรวงสาธารณสุขให้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อนําไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด คําถามการวิจัย ภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวง สาธารณสุข เป็นอย่างไร วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่ อ ประเมิ น ภาวะเสี่ ย งต่ อ โรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ดของบุ ค ลากรที่ ป ฏิ บั ติ ร าชการ ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (Rama – EGAT heart score) ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นประเมินภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติ ราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขที่มาใช้บริการตรวจสุขภาพประจําปี 2556 กับสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี จํานวน 4 กรม ได้แก่ 1. กรมการแพทย์ 2. กรมพัฒนา การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 3. สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ 4. กรม สนับสนุนบริการสุขภาพ ในระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2556 เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์คัดเข้า โดยการรวบรวมข้อมูลจากผลการตรวจสุขภาพ ในเวชระเบียนผู้ป่วย จํานวน 950 ราย
4 นิยามศัพท์ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หมายถึง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หลอดเลือดหัวใจขั้นรุนแรง เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย และการเสียชีวิตเฉียบพลันในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้า วัดโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด) Rama – EGAT heart score บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข หมายถึง ข้าราชการและ ลู ก จ้ า งประจํ า สั ง กั ด กระทรวงสาธารณสุ ข ผู้ ซึ่ ง มี ส ถานที่ ทํ า งานในหน่ ว ยงานที่ อ ยู่ ใ นส่ ว นกลาง กระทรวงสาธารณสุข ที่ม าใช้บริก ารตรวจสุขภาพประจําปีกับทางสถานพยาบาล จํานวน 4 กรม ได้แก่ 1. กรมการแพทย์ 2. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 3. สํานักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ 4. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง หมายถึง ผู้ที่มีเส้นรอบเอว ดังนี้ ผู้หญิงมากกว่าหรือเท่า 80 เซนติเมตร และ ผู้ชายมากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร ซึ่งประเมินจากการวัดเส้นรอบเอว (Waist circumference) ด้วยสายวัดมาตรฐาน โดยวัดรอบเอวระดับตําแหน่งกึ่งกลางของข้างเอว ระหว่างขอบล่างของซี่โครงล่างกับขอบบนที่อยู่ใกล้กับกระดูกเชิงกรานชิ้นบนสุด (iliac crest) ให้สาย รอบเอวแนบรอบเอว และอยู่ในแนวขนานกับพื้น ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง หมายถึง ผู้ที่มีระดับความดันโลหิตตัวบนสูงกว่าหรือ เท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความดันโลหิตตังล่างสูงกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท หรือ ผู้ที่กําลังได้รับการรักษาด้วยการกินยาลดความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หมายถึง ระดับน้ําตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อ เดซิลิตร โดยการตรวจเลือดหลังอดอาหารนาน 12 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose, FPG) หรือ เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยมาก่อนและขณะนี้กําลังรักษาด้วยยากินหรือยาฉีดลดน้ําตาลในเลือด ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ หมายถึง ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดมากกว่าหรือ เท่ากับ 280 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยการตรวจเลือดหลังอดอาหารนาน 12 ชั่วโมง การสูบบุหรี่ หมายถึง ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจํา ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นซึ่ง เรียกว่าผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง ผู้ที่บริโภคยาสูบแบบไม่มีควันชนิดต่างๆ เช่น ยาฉุน ยาเส้น ตลอดจนผู้ที่เคยสูบบุหรี่ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน และเพิ่งเลิกสูบบุหรี่ได้ไม่นาน (น้อยกว่า 15 ปี เนื่องจากพบว่า หลังจากหยุดสูบบุหรี่ หยุดสูบได้อย่างน้อย 10 ปีจึงจะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ใกล้เคียงกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ และต้องเลิกสูบบุหรี่นานติดต่อกันมากกว่า 15 ปีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดจึงจะลดลงเหลือเท่ากับคนที่ไม่สูบบุหรี่)
5 กรอบแนวคิด
แบบประเมินความเสี่ยง ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด) Rama – EGAT heart score 1. อายุ 2. เพศ 3. โคเลสเตอรอล 4. บุหรี่ 5. เบาหวาน 6. ความดันโลหิต 7. รอบเอว
ความเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ 1. ระดับน้อย 2. ระดับปานกลาง 3. ระดับสูง
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกีย่ วข้อง ในการประเมิน ภาวะเสี่ย งต่อ โรคหัวใจและหลอดเลื อดของบุ ค ลากรที่ปฏิ บัติ ร าชการ ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (Rama – EGAT heart score) ผู้วิจัยได้รวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นําเสนอตามลําดับดังนี้ 1. สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด 2. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 3. แนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 4. ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลาง กระทรวงสาธารณสุข 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือหลอด เลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุในผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตัน และแคบ ทําให้มีความต้านทานการไหลของเลือด หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เปราะบางมากขึ้น หากเกิดบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะทําให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อย เกิดโรคหัวใจขาด เลือด หากอุดตันจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือหัวใจล้มเหลว ทําให้ กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเสียชีวิตได้ สําหรับในประเทศไทยจากการศึกษาของศูนย์ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ สํานักโรคไม่ติดต่อ กรม ควบคุ ม โรค ในโครงการระบบเฝ้ า ระวั ง พฤติ ก รรมเสี่ ย งโรคไม่ ติ ด ต่ อ และการบาดเจ็ บ BRFSS (Behavioral Risk Factors Surveillance System) พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550 ของประชากรอายุ 15 - 74 ปี พบว่า ความชุกของผู้ที่เคยมีแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นจาก 0.5 ล้านคน จากการสํารวจ ปีพ.ศ. 2548 เป็น 0.7 ล้านคน ในการสํารวจ ปีพ.ศ. 2550 และจาก รายงานสถิติสาธารณสุข ในปีพ.ศ. 2551 พบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองใหญ่ จํานวน 13,130 คน และเมื่อพิจารณารายภาคพบว่าภาคกลางมีจํานวนผู้เสียชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ จํานวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหัวใจขาดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่า 2.5 เท่าภายใน 7 ปี โดยเพิ่มจาก 62,794 ราย ในปีพ.ศ. 2544 เป็น 159,176 ราย ในปีพ.ศ. 2551 ภาคกลางมีสัดส่วน ผู้ป่วยใน สูงถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ เช่นเดียวกับจํานวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหลอดเลือดสมองมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าภายใน 7 ปี ภาคกลางมีสัดส่วนผู้ป่วยใน สูงถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ (สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2553) และ จากรายงานการสํารวจ สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 พบว่า ประชากรไทยที่มีอายุ 6
7 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.4 และผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.9 บอกว่าเคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ชายและผู้หญิงมีความชุกของโรคใกล้เคียงกัน ความชุกนี้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ความชุกสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไปซึ่งพบร้อยละ 5.8 (สํานักงาน สํารวจสุขภาพประชาชนไทย [สสท], 2551) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือด เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และเพศ ปั จจั ย พฤติก รรม เช่ น การออกกํ าลั ง กาย อาหาร การสู บบุ ห รี่ ดื่ ม สุ ร า และปัจ จั ย ทาง กายภาพ เช่น ความดันเลือด ไขมัน และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ในการนําไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดระดับแตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกัน จะมีโอกาส เสี่ยงต่อโรคมากขึ้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ อายุ และ เพศ จากการศึกษา พบว่า โรคหัวใจ มีสาเหตุจาการที่มีอายุมากขึ้น โดยร้อย ละ 94 ของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด คือผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป (Srimahachota et al., 2006) โดยพบว่าระดับไขมันคอเลสเทอรอลจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป จนถึง 60 หรือ 65 ปี ในเพศ ชายอายุก่อน 50 ปี พบว่ามีระดับไขมันคอเลสเทอรอลสูงกว่าเพศหญิงที่มีอายุเท่ากัน แต่เมื่ออายุ หลัง 50 ปี ไปแล้ว พบว่า ในเพศหญิงจะมีระดับไขมันคอเลสเทอรอล สูงกว่าเพศชาย ทั้งนี้เป็น เพราะเพศหญิงถึงวัยหมดประจําเดือนซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทําให้มีระดับไขมันคอเลสเทอรอลสูงขึ้น ซึ่งการที่มีไขมันในเลือดสูงในเพศชายที่อายุมากกว่า 45 ปี และในเพศหญิงที่อายุมากกว่า 55 ปี จัด ได้ว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดตามมา และจากการศึกษาของ Framingham Heart พบว่าอัตราการเกิดซ้ําของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจะเพิ่มเป็น 9 เท่า ในผู้หญิงหรือ 3 เท่าในผู้ชายที่มีระดับไขมันคอเลสเทอรอลในเลือดมากกว่า 270 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อเทียบกับคนที่มีระดับไขมันคอเลสเทอรอลในเลือดน้อยกว่า 190 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และถ้ามี ระดับไขมันคอเลสเทอรอลในเลือดตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไปโดยที่ไม่มีปัจจัยอื่น ๆ ร่วม ด้วยเลย จะมีส่วนในการทําให้ตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของคนในสหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ 42.7 แต่ถ้ามีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เพศชาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ ยิ่งจะทําให้มีความ เสี่ยงมากขึ้นอย่างแน่นอน (สมปอง ธนไพศาลกิจ, 2549) โคเลสเตอรอล การมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นสาเหตุสําคัญของการเกิดโรค หลอดเลือดแดง ซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดที่สําคัญ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดสมองตีบหรือแตกเฉียบพลันตามมาได้ เนื่องจากคอเลสเทอรอลที่มี อยู่ในเลือดจะเกาะหรือตกตะกอนเกาะกับผนังของเส้นเลือด โดยเฉพาะเส้นเลือดแดงจะแคบลง ทําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต ทําให้ความดันโลหิตสูง (high blood pressure) คนที่เป็นโรค นี้มักหัวใจวาย จากการตรวจทางพยาธิวิทยา พบว่า โรคหลอดเลือดแดงสามารถพบได้ตั้งแต่วัยเด็ก หรือวัยรุ่น โดยการเกิดโรคหลอดเลือดมีความสัมพันธ์กับจํานวนปัจจัยและความรุนแรงของปัจจัย เสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงระดับคอเลสเทอรอลในเลือด (ฆนัท ครุธกูล และคณะ, 2549) จากการศึกษา พบว่า ถ้าลดระดับคอเลสเทอรอลลงได้ร้อยละ 1 จะทําให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ
8 ลดลงถึงร้อยละ 2 (สิริพันธุ์ จุลกรังคะ, 2541) จากการศึกษาเชิงอนุมานแสดงถึงระดับคอเลสเทอ รอลที่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 10 จะเปลี่ยนแปลงอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 38 (Low, Wald, & Thompson, 1994) มีการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า ผู้ที่มีระดับ โคเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่า 300 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีอัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็น 4 เท่าของผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดต่ํากว่า 200 มิลลิกรัมต่อ โดยค่าโคเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น 1 mmol/l จะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจร้อยละ 35 (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อยู่ระหว่างร้อยละ 26-44) เพิ่มโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดทั้งที่เสียชีวิตและไม่ เสียชีวิตร้อยละ 25 (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อยู่ระหว่างร้อยละ 13-40) และลดโอกาสการ เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองแตกร้อยละ 20 (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อยู่ระหว่างร้อยละ 8-30) (ฆนัท ครุฑกูล และคณะ, 2549) บุหรี่ การสูบบุหรี่ทําให้เกิดอนุมูลอิสระเป็นจํานวนมากมีผลทําลายเซลล์เยื่อบุผนัง หลอดเลือดชั้นใน และทําให้ไขมันไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นต่ํา (LDL-C) ในเลือดถูกออกซิไดส์ (oxidized) เกิดเป็น ออกซิไดส์ ไขมันไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นต่ํา (oxidized –LDL) เพิ่มขึ้น และ ทําให้ระดับ ไขมันไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นสูง (HDL-C) ลดลง ซึ่งเป็นขบวนการสําคัญต่อการเกิด โรคหลอดเลือดแดง นอกจากนี้คนสูบบุหรี่ยังมีเม็ดเลือดขาวสูง มีระดับ ไฟบริโนเจน (fibrinogen) สูงขึ้น มีผลให้เกิดลิ่มเลือดง่ายขึ้น (ฆนัท ครุฑกูล และคณะ, 2549) มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ มี โอกาสเกิดโรคหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 6 เท่า (Contie, V., Defibaugh, A., Dutchen, S., Earl, L. & Wein, H., 2012) เบาหวาน การมีโรคเบาหวาน ความทนกลูโคสผิดปกติ และระดับน้ําตาลในเลือดหลัง อดอาหารผิดปกติทําให้ความเสี่ยงต่อโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น โรคเบาหวานทําให้เกิดการ เสื่อมของหลอดเลือดทั้งขนาดเล็ก (microvascular complication) คือ ภาวะแทรกซ้อนที่จอ ประสาทตา (retinopathy) ภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท (nephropathy) และหลอดเลือดขนาด ใหญ่ (macrovascular complication) คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary hearth disease) โรค หลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease) และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจ และหลอดเลือดสูงกว่าคนทั่วไป ความเสี่ยงดังกล่าวสูงขึ้นตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มให้การวินิจฉัยว่าเป็น เบาหวาน หรือพบความผิดปกติของระดับน้ําตาลในเลือดที่ชัดเจน และยิ่งสูงขึ้นขึ้นอีกภายหลังที่ วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแล้ว อัตราความชุกของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งความผิดปกติ ของหลอดเลือดที่ยังไม่ถึงขั้นมีอาการ (subclinical disease) สูง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นตาม ความรุนแรงของความผิดปกติของน้ําตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคหัวใจมากถึง 2-4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน (Stamler, Vaccaro, Neaton, & Wentworth, 1993) ในประเทศไทย พบว่า ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือด เคยมีประวัติเป็นเบาหวานถึงร้อยละ 44 (Srimahachota, Kanjanavanit, & Boonyaratabej, 2006) งานวิจัยที่ติดตามไปข้างหน้าบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าผู้ไม่ได้เป็น เบาหวาน ผลการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) พบว่าเมื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆแล้ว relative risk ของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้หญิงที่เป็นเบาหวานเท่ากับ 2.58 และในผู้ชาย
9 เท่ากับ 1.85 การวิจัยที่ใช้วิธีการติดตามกลุ่มประชากรไปในอนาคต (cohort) พบว่าอัตราการเสียชีวิต ต่อปีในผู้ป่วยสูงกว่าคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ของผู้ป่วยเบาหวานถึงร้อยละ 46 ในขณะที่ของคนทั่วไปเท่ากับร้อยละ 42 สาเหตุการเสียชีวิตที่สําคัญ ของคนเอเชีย คือ โรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 42 การศึกษา Paris Prospective Study ใน ระยะเวลา 10 ปี พบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าผู้ที่มี ระดับน้ําตาลในเลือดปกติประมาณ 4 เท่า และผู้ที่มีความทนกลูโคสผิดปกติ (IGT) มีโอกาสเสียชีวิต จากโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าผู้ที่มีระดับน้ําตาลปกติประมาณ 2 เท่า และการศึกษา DECODE Study ซึ่งทําในประเทศกลุ่มยุโรป พบว่า ผู้ที่มีความทนกลูโคสผิดปกติมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า (สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2553) ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิต หมายถึง ค่าของระดับความดันโลหิตต่อผนังหลอด เลือดแดง ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะเบี่ยงเบนของค่าระดับความดันจากปกติ ซึ่งได้กําหนดเกณฑ์ใน การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงจากระดับความสัมพันธ์โดยตรงกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือด ค่าความดันตัวบน (systolic) สูงกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท และ หรือ ค่า ความดันตัวล่าง (diastolic) สูงกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท คือภาวะโรคความดันโลหิตสูง (Chobanian AV. et al., 2003) ภาวะความดันโลหิตสูงจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุ ผิวชั้นในทั้งในเชิงกายภาพ และชีวเคมี เช่น ทําให้เซลล์เยื่อบุเพิ่มจํานวนมากขึ้น มีขนาด รูปร่าง และส่วนประกอบภายในเซลล์เปลี่ยนไป ส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโมโนไซต์ (monocyte) เข้ามา เกาะติดกับผนังหลอดเลือดง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังพบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบโดยมี ขนาดใหญ่ขึ้น (hypertrophy) และมีการตอบสนองต่อการควบคุมการหดตัวผิดปกติลดลง ทําให้ หลอดเลือดขยายตัวได้ไม่ค่อยดี จาการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ของความดันโลหิตสูงกับโรคหลอด เลือดสมองเป็นแบบต่อเนื่อง หมายความว่า ทุกค่าของระดับความดันโลหิตต่างมีความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อเทียบกับค่าอื่นทั้งสิ้น เช่น คนที่มีระดับความดันไดแอสโตลิก 90 มิลลิเมตรปรอท จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนที่มีค่าความดันไดแอสโต ลิก 80 มิลลิเมตรปรอท แต่คนที่มีค่าความดันไดแอสโตลิก 80 มิลลิเมตรปรอท ก็มีค่าความเสี่ยง มากกว่าคนที่มีค่าความดันไดแอสโตลิก 70 มิลลิเมตรปรอท เช่นเดียวกับที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่มี ค่าความดันไดแอสโตลิก 60 มิลลิเมตรปรอท เป็นต้น (ฆนัท ครุฑกูล และคณะ, 2549) ภาวะน้ําหนักเกิน การปล่อยให้น้ําหนักตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หมายถึง การเพิ่มปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากภาวะน้ําหนักเกินเป็นสาเหตุ ของการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญให้หลอดเลือดแดงแข็ง และถ้าภาวะอ้วนหรือน้ําหนัก เกินเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก โอกาสที่เด็กอ้วนจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนวัย (อายุ 65 ปี) เพิ่มมากขึ้น 3-5 เท่า ภาวะน้ําหนักเกิน มีแนวโน้มนําไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมอง โดย National Heart Lung blood Institute (NHIBL) และ American Heart Association(AHA) (Grundy, Cleeman, Daniels, & et al., 2005) รายงานว่า โรคอ้วน (obesity) ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง คลอเรสเทอรอลสูง เอชดีแอล คลอเรสเทอรอลต่ํา ระดับ น้ํ า ตาลในเลื อ ดสู ง และสั ม พั น ธ์ กั บ ปั จ จั ย เสี่ ย งการเกิ ด โรคระบบหั ว ใจและหลอดเลื อ ด (cardio
10 Vascular risk) ภาวะอ้วนลงพุงและค่าดัชนีมวลกาย สามารถประเมินด้วยตนเองอย่างง่ายๆ ได้ดังนี้ ภาวะอ้วนลงพุง ประเมินจากการวัดเส้นรอบเอว (Waist circumference) เป็นค่าที่ได้จากการวัดรอบ เอวด้วยสายวัดมาตรฐาน โดยวัดรอบเอวระดับตําแหน่งกึ่งกลางของข้างเอวระหว่างขอบล่างของ ซี่โครงล่างกับขอบบนที่อยู่ใกล้กับกระดูกเชิงกรานชิ้นบนสุด (iliac crest) ให้สายรอบเอวแนบรอบเอว และอยู่ในแนวขนานกับพื้น ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง หมายถึง ผู้หญิงที่มีเส้นรอบเอว มากกว่าหรือเท่า 80 เซนติเมตร หรือ ผู้ชายที่มีเส้นรอบเอว มากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร ส่วนค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สามารถคิดคํานวณได้โดยเอาค่าน้ําหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยค่าส่วนสูงเป็นเมตรยกกําลังสอง ดังนี้ น้ําหนัก (กิโลกรัม)/ส่วนสูง (เมตร)2 จากนั้นนําค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับตารางแสดงความสัมพันธ์ของ น้ําหนักและรูปร่างในเกณฑ์มาตรฐาน ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index BMI) ปกติมีค่าเท่ากับ 18.5 - 22.99 กิโลกรัม/เมตร2 น้ําหนักต่ํากว่าปกติ มีค่าน้อยกว่า 18.5 กิโลกรัม/เมตร2 น้ําหนักเกินมี ค่ามากกว่า 23 กิโลกรัม/เมตร2 (สํานักงานสํารวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข,2551) ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันอาจมีปัจจัยเสี่ยงเดียว หรือมีหลายปัจจัยก็ได้ ตั้งแต่ ภาวะอ้วนลงพุงหรือน้ําหนักเกิน ภาวะความดันโลหิตสูง ความเครียด ภาวะน้ําตาลในเลือดสูงและโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ การไม่ออกกําลังกาย และการ สูบบุหรี่ จากรายงานการสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 25512552 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงร่วมหลายปัจจัย (Multiple risk factors) ของโรคหัวใจและหลอด เลือดในด้านภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ําตาลในเลือดสูงและโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือด ผิดปกติ และการสูบบุหรี่ พบว่า ประชากรชายและหญิงไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยง 1 ปัจจัยเท่ากับร้อยละ 41.1 และ 34.1 ตามลําดับ รองลงมามี 2 ปัจจัย เท่ากับ ร้อยละ 9.5และ 7.4 ใน เพศชาย และเพศหญิง นอกนั้น จะมีปัจจัยเสี่ยง 3 ปัจจัยขึ้นไป ความชุกของการมี 2 ปัจจัยเสี่ยงขึ้นไป เพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น และสูงสุดในกลุ่มอายุ 60-69 ปี รองลงมาในกลุ่มอายุ70-79 ปี แนวทางการประเมินความเสีย่ งต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกเสนอแนวทางในการป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือดแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive cardiovascular risk management) เพื่ อ มุ่ ง แก้ ไ ขสหปั จ จั ย ทั้ ง หมดไปพร้ อ ม ๆ กั น ไม่ มุ่ ง รั ก ษาเพี ย งปั จ จั ย ใดปั จ จั ย หนึ่ ง ดั ง นั้ น การ พิจารณาความเสี่ยงในระดับบุคคลจําเป็นต้องใช้ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการพยากรณ์การเกิดโรคได้อย่างแม่นยํา ซึ่งเรียกการประเมินแบบนี้ว่า การประเมิน ความเสี่ยงรวม (Global risk assessment) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทั้งต่างประเทศและในประเทศ ไทยมีแนวทางการประเมินความเสี่ยงรวมต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจและ หลอดมาก่อนหลายวิธี ซึ่งมีคุณลักษณะแบบประเมินที่แตกต่างกันไปทั้งลักษณะของตัวแปร ผลลัพธ์ที่ ได้จากการศึกษาและกลุ่มที่ทดลองใช้ เช่น Framingham heart score ในแถบอเมริกาเหนือ Score ในแถบยุโรป Chinese multi-provincial cohort study (CMCS) ในประเทศจีน เป็น
11 ต้น วิ ธีก ารประเมิ น ดั งกล่ าวขึ้ นอยู่ กับข้อ มูล ระบาดวิท ยาในต่ า งประเทศและได้ พบปัญ หาในการ นําไปใช้ในประเทศอื่น ๆ โดยประเมินความเสี่ยงเกินความเป็นจริงไปมาก ซึ่งอาจไม่เหมาะกับคนไทย ดังนั้น นพ.สุกิจ แย้มวงษ์ (2548) จึงได้พัฒนาวิธีการคํานวณความเสี่ยงรวมโดยได้เพิ่มปัจจัยเสี่ยงใหม่ เช่น ภาวะอ้วนลงพุง โดยประเมินจากเส้นรอบเอว เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นจาก ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากคนไทยโดยคณะนักวิจัยไทยที่โรงพยาบาลรามาธิบดีได้รวบรวมไว้ จึงสามารถ นํามาใช้กับประชากรไทยได้ดี โดยเฉพาะในเพศหญิง เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงเพื่อคัดกรองได้แม่นยํา และเชื่อถือได้สําหรับการใช้ในหมู่คนไทย (พัฒนาพร สุปินะ, กิติพงษ์ หาญเจริญ, สุคนธา ศิริ และอดิ ศักดิ์ มณีไสย, 2552) แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT heart score มี 3 แบบ ได้แก่ (นพ.สุกิจ แย้มวงษ์, 2548) 1. แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ไม่ใช้ผลเลือด) เป็นการประเมินปัจจัยเสี่ยงเพื่อควบคุม ป้องกันตนเองต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สําหรับ ประชาชนอย่างง่ายๆ เพื่อการดูแลตนเองอย่างมีทิศทาง รู้จักปัจจัยเสี่ยงของตนเอง และหาวิธีการ จัดการปัญหาด้วยตนเอง สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะใช้วิธีการอย่างไร มีเป้าหมายให้ภาวะสุขภาพ ของตนเองอยู่ในระดับใด รับรู้ว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงใดบ้าง และปัจจัยเสี่ยงใดรุนแรงที่สุดต้องจัดการ กับปัจจัยเสี่ยงในเบื้องต้นและลําดับต่อไป แบบประเมินความเสี่ยงฉบับนี้ใช้คะแนนความเสี่ยงของ 5 ปัจจัย คือ อายุ เพศ ประวัติการสูบบุหรี่ การเป็นความดันโลหิตสูง และค่าเส้นรอบเอว 2. แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด) จะ เป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างความตระหนักทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ชุมชน และสังคมโดย ส่วนรวม จะนําไปสู่คุณภาพการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และการสร้างเสริมสุขภาพด้วย ตนเองของประชาชน ด้วยวิธีการรับรู้ปัญหาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยอ้างอิงผลการ ตรวจร่างกาย อีกทั้งยังสามารถรับรู้ผลรวมของปัจจัยเสี่ยงและเปรียบเทียบโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้ ซึ่งจะนําไปสู่การเลือกวิธีการที่จะจัดการกับตนเองได้ดีขึ้นเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสามารถนําไปสู่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อการป้องกัน ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด แบบประเมินความเสี่ยงฉบับนี้ใช้คะแนนความเสี่ยงของ 7 ปัจจัย คือ อายุ เพศ ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด ประวัติการสูบบุหรี่ การเป็นเบาหวาน การเป็นความดันโลหิตสูง และค่าเส้นรอบเอว 3. แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยบุคลากรสาธารณสุข (อ้างอิง ผลการตรวจร่างกายและผลเลือด) เป็นเครื่องมือสําหรับบุคลากรสาธารณสุข โดยการพัฒนาวิธีการ คํานวณความเสี่ยงรวมที่อยู่บนพื้นฐานข้อมูลการศึกษาทางระบาดวิทยาโรคหัวใจและหลอดเลือดของ คนไทย เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในการประเมินความเสี่ยงรวมที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกัน และลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนการเกิดโรคในอนาคต ทั้งยังเป็น ประโยชน์ต่อการให้ข้อมูลของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อสร้างความตระหนักในการรับรู้ภาวะสุขภาพ ของประชาชนเพื่อนําไปสู่คุณภาพการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคด้วยตนเอง แบบประเมิน ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดฉบับนี้ใช้คะแนนความเสี่ยงของ 8 ปัจจัย คือ อายุ ระดับ
12 ความดันโลหิต ระดับไขมันโคเลสเตอรอล และไขมันไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นสูง (HDL-C) ใน เลือด ประวัติการสูบบุหรี่ การเป็นเบาหวาน การดื่มแอลกอฮอล์ และค่าเส้นรอบเอว แบบประเมิ น ความเสี่ ย งต่ อ โรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ดทั้ ง 3 แบบนี้ สามารถคํ า นวณ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดี และใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริงมากกว่า original Framingham score โดย แบบประเมินที่ทําโดยบุคลากรทางการแพทย์จะคํานวณได้ใกล้เคียงเหตุการณ์จริงมากที่สุด และมี พื้นที่ใต้ ROC (Receiver Operator Characteristic) curve สูงที่สุดด้วย (แบบประเมินที่ทําโดย บุคลากรทางการแพทย์ = 0.772 Framingham score = 0.699 p value = 0.001) ในขณะที่แบบ ประเมิ น อย่ า งง่ า ยด้ ว ยตนเองของประชาชนโดยไม่ ใ ช้ ผ ลเลือ ดซึ่ ง เป็ น แบบที่ง่ า ยที่ สุ ด ก็ ยั ง มีค วาม คลาดเคลื่อนน้อยกว่า original Framingham score โดยที่พื้นที่ใต้ ROC curve ไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยยะสําคัญทางสถิติ (แบบประเมินอย่างง่าย= 0.670 Framingham score = 0.699 p value = 0.25) แสดงให้เห็นว่าแบบประเมินที่สร้างขึ้นเหมาะสมสําหรับประชากรไทยมากกว่าแบบประเมินจาก ต่างประเทศ เช่น Framingham score (นพ.สุกิจ แย้มวงษ์, 2548) สําหรับการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกศึกษาความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของ บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด) Rama – EGAT heart score ใช้คะแนนความเสี่ยงของ 7 ปัจจัย คือ อายุ เพศ ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด ประวัติการสูบบุหรี่ การเป็นเบาหวาน การเป็นความดันโลหิตสูง และค่าเส้นรอบเอว โดยนําคะแนนความเสี่ยงทุกอย่างมารวมกัน จาก คะแนนรวมที่ได้ นําไปเทียบเป็นอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรงในระยะเวลา 10 ปี (%) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่ามีความเห็นสอดคล้องกันทั่วโลกว่าบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและ หลอดเลือดหัวใจในเวลา 10 ปี ตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป จัดเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงจําเป็นต้องให้การ รักษาดูแลอย่างจริงจัง และถ้ารักษาได้ผลก็จะมีความคุ้มทุนสูงมาก ดังนั้นจึงนับเป็นผู้ป่วยกลุ่มแรกที่ เป็นเป้าหมายที่จะทําการป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ถ้าหากประเทศใดมีทรัพยากรและ บุคลากรมากพอก็ควรขยายกลุ่มบุคคลเป้าหมายมาสู่กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงมา เช่น มีความเสี่ยงใน 10 ปีภายหน้าระหว่างร้อยละ 10 - 20 ต่อไป และจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญซึ่ง เขียนคําแนะนําของโครงการศึกษาโคเลสเตอรอลแห่งชาติ (National Cholesterol Education Program [NCEP] ฉบับที่ 3 เห็นว่าการรักษาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในเวลา 10 ปี ภายหน้าเกินร้อยละ 20 เป็นการรักษาที่คุ้มทุนอย่างยิ่ง (highly favorable cost effectiveness) และผู้ที่มีความเสี่ยงอยู่ระหว่างร้อยละ 10 – 20 จัดว่าเป็นการรักษาที่คุ้มทุน ดังนั้นการให้การรักษา ด้วยยาเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจึงน่าจะเหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้ ส่วน กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ํากว่าร้อยละ 10 ไม่น่าจะให้การรักษาด้วยยาถ้าไม่จําเป็น (ฆนัท ครุฑกูล และคณะ, 2549)
13 ความเสีย่ งต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวง สาธารณสุข การลดภาวะความรุนแรงของโรคหัวใจและหลอดเลือดให้ได้ผลนั้น ต้องมุ่งเน้นที่การ ป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กัน โดยให้เน้นที่การป้องกันระดับปฐมภูมิ (Primary Prevention) ที่ดําเนินงานป้องกันควบคุมปัจจัยเสี่ยงแบบผสมผสาน ส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัยของ ชีวิต ในบุคคล ครอบครัว และชุมชน ที่อาศัยการดําเนินงานเชิงรุกสู่การลดปัจจัยเสี่ยงร่วมระดับ ประชากรทั่วไปในชุมชน สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ได้ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ดในข้ า ราชการและลู ก จ้ า งประจํ า ที่ ป ฏิ บั ติ ร าชการส่ ว นกลางกระทรวง สาธารณสุขระหว่างปี พ.ศ. 2548 – 2555 สรุปได้ดังนี้ ในปี พ .ศ. 2548 สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุ ข ได้ ทํ า การศึ ก ษาระดั บ ไขมั น น้ําตาลในเลือด และความดันโลหิต ของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 2,404 ราย พบว่ า บุคลากรจํานวน 982 ราย (ร้ อยละ 40.8) ตรวจพบระดับไขมั น น้ําตาลในเลือด และความดันโลหิตสูงกว่าปกติอย่างน้อยหนึ่งอย่าง โดยพบเป็นไขมันในเลือดสูงกว่า ปกติมากที่สุด รองลงมาเป็นความดันโลหิตสูงกว่าปกติ และน้ําตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ตามลําดับ ความผิดปกติที่ตรวจพบทั้งหมดอยู่ในช่วงกลุ่มอายุ 45 – 54 ปี มากที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (กมลภัค นนทลักษณ์, เกษชดา ปัญเศษ, สุกาญฎา กลิ่น ถือศิล, เพ็ญพรรณ บุญสาใจ, และมาณวิกา กิ่งแก้ว, 2548) ต่อมาปี พ.ศ. 2550 สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ได้ทําการวิจัยเรื่อง พฤติกรรม สุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข : ศึกษากรณีผู้ที่มีไขมันในเลือด สูง จํานวน 407 ราย ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้าน การจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับสูงมาก คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการป้องกันปัจจัย เสี่ยงอยู่ในระดับสูง ส่วนคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออก กําลังกาย และด้านการดูแลรักษาสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่มีไขมันในเลือดสูงมานาน 3 ปีขึ้นไป ไม่ได้รับการรักษาด้วยการใช้ยา อาจเป็นเพราะขาด ความรู้ความเข้าใจถึงผลเสียต่อสุขภาพของตนเอง ทั้งนี้เพราะการดําเนินโรคไม่ได้เป็นทันทีทันใด บุ ค คลจึ ง ไม่ ไ ด้ ป รั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมการดํ า เนิ น ชี วิ ต นอกจากนี้ ก ลุ่ ม ตั ว อย่ า งจํ า นวนมากมี โ รค ประจําตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน ร่วมด้วย รวมทั้งมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ใน ระดับอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดง และก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ตามมา (กมลภัค นนทลักษณ์ และคณะ, 2550) และในปี พ.ศ. 2552 – 2554 จากโครงการตรวจสุภาพประจําปีของข้าราชการและ ลูกจ้างประจําที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขย้อนหลัง 3 ปี (สถานพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข, 2552 -2554) สรุปข้อมูลผลการตรวจสุขภาพประจําปีในภาพรวม ได้ข้อมูลปี 2552 จํานวน 2,994 ราย ปี 2553 จํานวน 2,318 ราย และปี 2554 จํานวน 2,274 ราย รวมทั้งหมด 7,586 ราย พบว่า ผู้รับบริการทั้ง 3 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าร้อยละ 76.5 เมื่อพิจารณา ในแต่ละเพศ พบว่า ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีแนวโน้มเกือบคงที่ ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 45 – 55
14 ปี ร้อยละ 38.9 มีอายุเฉลี่ย เท่ากับ 44.4 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.1) เมื่อพิจารณาในแต่ละ กลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 35 – 44 ปี และ กลุ่มอายุ 35 – 44 ปี มีแนวโน้มลงลงอย่างต่อเนื่อง สําหรับกลุ่มอายุน้อยกว่า 35 ปี และกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาในด้านภาวะสุขภาพ พบว่า ภาวะสุขภาพของผู้รับบริการทั้ง 3 ปี ส่วนใหญ่ มีระดับไขมันคลอเลสเทอรอลสูง (ร้อยละ 67.5) ส่วนค่าดัชนีมวลกายปกติ (ร้อยละ 51.7) ความดัน โลหิตปกติ (ร้อยละ 82.0) ระดับน้ําตาลในเลือดปกติ (ร้อยละ 92.4) และระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ปกติ (ร้อยละ 86.2) และเมื่อพิจารณาภาวะสุขภาพของผู้รับบริการย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มลดลง คือร้อยละ 19.3, 18.2 และ 16.2 ตามลําดับ ภาวะอ้วน มีแนวโน้มสูงขึ้น คือร้อยละ 27.8, 29.3 และ 30.5 ตามลําดับ ระดับน้ําตาลในเลือดสูง มีแนวโน้มสูงขึ้น คือร้อยละ 5.7, 8.8 และ 9.1 ตามลําดับ ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง มีแนวโน้มสูงขึ้น คือร้อยละ 11.4, 15.0 และ 15.8 ตามลําดับ ระดับไขมันคลอเลสเทอรอลในเลือดสูง มีแนวโน้มสูงเกือบคงที่ (ร้อยละ 65.3, 69.3 และ 68.7 ตามลําดับ) เมื่อพิจารณาจําแนกตามกรมต่าง ๆ พบว่า กรมการแพทย์ ภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ ทั้ง 3 ปี ส่วนใหญ่มีระดับไขมันคลอเล สเทอรอลผิดปกติ (ร้อยละ 73.2 ส่วนค่าดัชนีมวลกายปกติ (ร้อยละ 46.9) ความดันโลหิตปกติ (ร้อย ละ 77.2) ระดับน้ําตาลในเลือดปกติ (ร้อยละ 89.2) และระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติ (ร้อยละ 89.7) เมื่อพิจารณาภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ ย้อนหลัง 3 ปี (ปีพ.ศ 2552 – 2554) พบว่า ภาวะ สุขภาพทุกประเภท มีแนวโน้มลดลง ยกเว้นภาวะอ้วน มีแนวโน้มสูงขึ้น คือร้อยละ 33.3, 36.9 และ 40.3 ตามลําดับ และความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วง 1 ปีหลัง คือจากร้อยละ 17.5 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 20.7 ในปี 2554 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย ฯ ภาวะสุขภาพของผู้รับบริการทั้ง 3 ปี ส่วนใหญ่มี ระดับไขมันคลอเลสเทอรอลผิดปกติ (ร้อยละ 61.7) ส่วนค่าดัชนีมวลกายปกติ (ร้อยละ 51.2) ความ ดันโลหิตปกติ (ร้อยละ 90.9) ระดับน้ําตาลในเลือดปกติ (ร้อยละ 83.0) และระดับไขมันไตรกลีเซอร์ ไรด์ปกติ (ร้อยละ 88.7) เมื่อพิจารณาภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ ย้อนหลัง 3 ปี (ปีพ.ศ 2552 – 2554) พบว่าภาวะสุขภาพทุกประเภทมีแนวโน้มสูงขึ้น โดย ภาวะอ้วน มีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 17.3, 20.8 และ 24.2 ตามลําดับ น้ําตาลในเลือดสูง มีแนวโน้มสูงขึ้นร้อยละ 6.5, 7.7 และ 8.0 ตามลําดับ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง มีแนวโน้มสูงขึ้น 5.2, 14.1 และ 14.7 ตามลําดับ และ ไขมันคลอเรสเทอรอลในเลือดสูง มีแนวโน้มสูงขึ้นร้อยละ 61.1, 60.3 และ 64.0 ตามลําดับ ส่วน ความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วง 1 ปีหลัง คือจากร้อยละ 6.7 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 9.2 ในปี 2554 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ภาวะสุขภาพของผู้รับบริการทั้ง 3 ปี ส่วนใหญ่มีระดับ ไขมันคลอเลสเทอรอลผิดปกติ (ร้อยละ 71.1) ส่วนค่าดัชนีมวลกายปกติ (ร้อยละ 51.8) ความดัน โลหิตปกติ (ร้อยละ 76.3) ระดับน้ําตาลในเลือดปกติ (ร้อยละ 90.8) และระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ปกติ (ร้อยละ 84.7) เมื่อพิจารณาภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ ย้อนหลัง 3 ปี (ปีพ.ศ 2552 – 2554)
15 พบว่า ภาวะอ้วน มีแนวโน้มสูงขึ้นร้อยละ 36.4, 36.9 และ 40.1 ตามลําดับ น้ําตาลในเลือดสูง มี แนวโน้มสูงขึ้นร้อยละ 5.9, 10.8 และ 11.5 ตามลําดับ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง มีแนวโน้ม สูงขึ้น 13.6, 15.2 และ 18.0 ตามลําดับ ส่วนความดันโลหิตสูง และ ไขมันคลอเรสเทอรอลในเลือด สูง มีแนวโน้มลดลงในช่วง 1 ปีหลัง โดยความดันโลหิตสูง ลดลงจากร้อยละ 24.2 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 24.0 ในปี 2554 และไขมันคลอเรสเทอรอลในเลือดสูงลดลงจากร้อยละ 72.1 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 69.2 ในปี 2554 เช่นกัน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภาวะสุขภาพของผู้รับบริการทั้ง 3 ปี ส่วนใหญ่ มีระดับไขมันคลอเลสเทอรอลผิดปกติ (ร้อยละ 70.4) ส่วนค่าดัชนีมวลกายปกติ (ร้อยละ 53.9) ความดันโลหิตปกติ (ร้อยละ 82.4) ระดับน้ําตาลในเลือดปกติ (ร้อยละ 93.0) และระดับไขมันไตรกลี เซอร์ไรด์ปกติ (ร้อยละ 86.2) เมื่อพิจารณาภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ ย้อนหลัง 3 ปี (ปีพ.ศ 2552 – 2554) พบว่า น้ําตาลในเลือดสูง มีแนวโน้มสูงขึ้นร้อยละ 5.6, 6.9 และ 8.5 ตามลําดับ ไขมันไตร กลีเซอไรด์ในเลือดสูง มีแนวโน้มสูงขึ้นร้อยละ 9.3, 15.2 และ 16.6 ตามลําดับ สําหรับภาวะอ้วน มี แนวโน้มสูงขึ้นในช่วง 1 ปีหลัง คือจากร้อยละ 27.2 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 31.1 ในปี 2554 ส่วน ความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มลดลงคือ ร้อยละ 18.9, 18.6 และ 15.5 ตามลําดับ และ ไขมันคลอเรส เทอรอลในเลือดสูง มีแนวโน้มลดลงในช่วง 1 ปีหลัง โดยลดลงจากร้อยละ 73.1 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 70.8 ในปี 2554 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ภาวะสุขภาพของผู้รับบริการทั้ง 3 ปี ส่วน ใหญ่มีระดับไขมันคลอเลสเทอรอลผิดปกติ (ร้อยละ 62.5) ส่วนค่าดัชนีมวลกายปกติ (ร้อยละ 52.4) ความดันโลหิตปกติ (ร้อยละ 83.9) ระดับน้ําตาลในเลือดปกติ (ร้อยละ 94.8) และระดับไขมันไตรกลี เซอร์ไรด์ปกติ (ร้อยละ 88.0) เมื่อพิจารณาภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ ย้อนหลัง 3 ปี (ปีพ.ศ 2552 – 2554) พบว่าภาวะสุขภาพทุกประเภทมีแนวโน้มลดลง ยกเว้นไขมันคลอเรสเทอรอลในเลือดสูงมี แนวโน้มสูงขึ้น คือ ร้อยละ 59.7, 60.9 และ 68.1 ตามลําดับ สถาบันทันตกรรม ภาวะสุขภาพของผู้รับบริการทั้ง 3 ปี ส่วนใหญ่มีระดับไขมันคลอ เลสเทอรอลผิดปกติ (ร้อยละ 52.1) ส่วนค่าดัชนีมวลกายปกติ (ร้อยละ 41.2) ความดันโลหิตปกติ (ร้อยละ 92.6) ระดับน้ําตาลในเลือดปกติ (ร้อยละ 93.2) และระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติ (ร้อย ละ 86.3) เมื่อพิจารณาภาวะสุขภาพของผู้รับบริการย้อนหลัง 3 ปี (ปีพ.ศ 2552 – 2554) พบว่า ภาวะอ้วน น้ําตาลในเลือดสูง และ ไขมันไตรกลีกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วง 1 ปีหลัง โดยภาวะอ้วน สูงขึ้นคือจากร้อยละ 18.2 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 24.7 ในปี 2554 น้ําตาลในเลือดสูง สูงขึ้นจากร้อยละ 4.3 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 8.7 ในปี 2554 และไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง สูงขึ้นจากร้อยละ 8.7 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 17.4 ในปี 2554 ส่วนความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มลดลง คือ ร้อยละ 9.6, 9.1 และ 3.5 ตามลําดับ และ ไขมันคลอเรสเทอรอลในเลือดสูง มีแนวโน้มลดลง ในช่วง 1 ปีหลัง โดยลดลงจากร้อยละ 65.2 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 39.1 ในปี 2554 ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ฯ ภาวะสุขภาพของผู้รับบริการทั้ง 3 ปี ส่วน ใหญ่มีระดับไขมันคลอเลสเทอรอลผิดปกติ (ร้อยละ 55.5) ส่วนค่าดัชนีมวลกายปกติ (ร้อยละ 52.6) ความดันโลหิตปกติ (ร้อยละ 86.1) ระดับน้ําตาลในเลือดปกติ (ร้อยละ 90.5) และระดับไขมันไตรกลี เซอร์ไรด์ปกติ (ร้อยละ 81.9) เมื่อพิจารณาภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ ย้อนหลัง 3 ปี (ปีพ.ศ 2552
16 – 2554) พบว่า ภาวะอ้วน มีแนวโน้มลดลงคือ ร้อยละ 26.5, 24.2 และ 23.7 ตามลําดับ สําหรับ น้ําตาลในเลือดสูง และไขมันคลอเรสเทอรอลในเลือดสูง มีแนวโน้มลดลงในช่วง 1 ปีหลัง โดยน้ําตาล ในเลือดสูง ลดลงจากร้อยละ 11.5 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 10.3 ในปี 2554 และไขมันคลอเรสเท อรอลในเลือดสูง ลดลงจากร้อยละ 58.7 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 56.7 ในปี 2554 เช่นกัน ส่วนความ ดันโลหิตสูง และไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วง 1 ปีหลัง โดยความดันโลหิตสูง สูงขึ้นจากร้อยละ 12.2 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 14.5 ในปี 2554 และไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง สูงขึ้นจากร้อยละ 16.3 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 19.7 ในปี 2554 จากภาพรวมด้ า นภาวะสุ ข ภาพดั ง กล่ า วมาทั้ งหมดนี้ ทํ าให้ ท ราบว่ า ข้ า ราชการและ ลูกจ้างประจําที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดอยู่หลายปัจจัย ได้แก่ ภาวะอ้วนหรือน้ําหนักเกิน ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ําตาลใน เลือดสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และการไม่ออกกําลังกาย สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิ ถี ในฐานะเป็ น หน่ ว ยงานบริ ก ารที่ รั บ ผิ ด ชอบดู แ ลด้ า นสุ ข ภาพ ทั้ ง ด้ า นการ รักษาพยาบาล ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจําสังกัด ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข ตามนโยบายของกรมการแพทย์ สนใจศึกษาความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้แบบประเมินของ Rama – EGAT heart score ซึ่งเป็นแบบประเมิน ที่พัฒนาขึ้นจากข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากคนไทยโดยคณะนักวิจัยไทยที่โรงพยาบาลรามาธิบดีได้รวบรวม ไว้ จึงสามารถนํามาใช้กับประชากรไทยได้ดี โดยเฉพาะในเพศหญิง เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงเพื่อคัด กรองได้แม่นยํา และเชื่อถือได้สําหรับการใช้ในหมู่คนไทย (สุกิจ แย้มวงศ์, 2548; พัฒนาพร สุปินะ, กิติพงษ์ หาญเจริญ, สุคนธา ศิริ และอดิศักดิ์ มณีไสย, 2552) โดยการให้คะแนนในแต่ละปัจจัยเสี่ยง ตามข้อแนะนํา และนําผลคะแนนรวมมาดูผลว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากน้อยเพียงใด การ ประเมินความเสี่ยงรวม เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกันโรคด้วยตนเองและ ลดโอกาสเกิดปัญหาทางโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจตามมาในอนาคต ซึ่งต้องการการเฝ้าระวัง การ ป้องกันและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ผลจากการวิจัยในครั้งนี้จะทําให้ได้ข้อมูลที่สําคัญในการ วางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขให้ ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อนําไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคหัวใจและ หลอดเลือด
17 งานวิจัยทีเ่ กี่ยวข้อง 1. สุกิจ แย้มวงษ์ (2548) ได้ทําโครงการ การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด ในปี พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1. เพื่อพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยง รวมต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (total risk assessment) ที่เหมาะสมกับคนไทย โดยมีเครื่องมือ 2 ระดับคือ วิธีการประเมินที่ทําโดยบุคลากรทางการแพทย์ และวิธีการประเมินด้วยตนเองของ ประชาชน และ 2. จัดทําคําอธิบายแนวทางการใช้แบบประเมิน การแปลผลการประเมิน ข้อแนะนํา และข้อจํากัดของแบบประเมิน โดยมีวิธีการศึกษาแบบ retrospective cohort study ในพนักงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจํานวน 3,499 คน เริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 จนถึง ปี พ.ศ. 2545 ผลการศึกษาพบว่าแบบประเมินที่สร้างขึ้นทั้ง 3 แบบ คือ 1. แบบประเมินความเสี่ยง ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ไม่ใช้ผลเลือด) 2. แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด) และ 3. แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอด เลือด โดยบุคลากรสาธารณสุข (อ้างอิงผลการตรวจร่างกายและผลเลือด) สามารถคํานวณเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นได้ดี และใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริงมากกว่า original Framingham score โดยแบบประเมิน ที่ทําโดยบุคลากรทางการแพทย์จะคํานวณได้ใกล้เคียงเหตุการณ์จริงมากที่สุด และมีพื้นที่ใต้ ROC (Receiver Operator Characteristic) curve สูงที่สุดด้วย (แบบประเมินที่ทําโดยบุคลากรทาง การแพทย์ = 0.772 Framingham score = 0.699 p value = 0.001) ในขณะที่แบบประเมินอย่าง ง่ายด้วยตนเองของประชาชนโดยไม่ใช้ผลเลือดซึ่งเป็นแบบที่ง่ายที่สุดก็ยังมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า original Framingham score โดยที่พื้นที่ใต้ ROC curve ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสําคัญทางสถิติ (แบบประเมินอย่างง่าย= 0.670 Framingham score = 0.699 p value = 0.25) แสดงให้เห็นว่า แบบประเมินที่สร้างขึ้นเหมาะสมสําหรับประชากรไทยมากกว่าแบบประเมินจากต่างประเทศ เช่น Framingham score 2. พัฒนาพร สุปินะ, กิติพงษ์ หาญเจริญ, สุคนธา ศิริ และอดิศักดิ์ มณีไสย (2552) ได้ ทําการทดสอบความแม่นยําของแบบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ Rama – EGAT Heart Score ในผู้ป่วย Acute Coronary Syndrome โรงพยาบาลศิริราช ในช่วงเดือนตุลาคม 2551 ถึง มกราคม 2552 ลักษณะกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome: ACS) ที่มารับบริการตรวจรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่ง หนึ่งโดยมารับทําการสวนหลอดเลือดหัวใจโดยการฉีดสารทึบรังสี(Coronary angiography) ตาม แพทย์นัดซึ่งผลการตรวจพบว่ามีเส้นเลือดหัวใจตีบหรือตันจํานวน 163 ราย และผู้ป่วยที่มารับการ ตรวจสุขภาพที่หน่วยตรวจสุขภาพ โดยไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน จํานวน 374 ราย และหา ROC curves เพื่อทดสอบความตรงหรือความถูกต้องของแบบประเมิน ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ Rama – EGAT heart score ผลการศึกษาพบว่า แบบ ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ Rama – EGAT heart score ที่ทําโดยบุคลากร ทางการแพทย์ที่ดัดแปลงมาใช้กับเพศหญิงให้ค่าความแม่นยําสูงสุด โดยมีพื้นที่ใต้กราฟ ROC (area under the ROC curve : AUC) เท่ากับ 0.724 และ 0.849 ในเพศชายและเพศหญิงตามลําดับ สําหรับแบบประเมินที่ทําด้วยตนเองของประชาชนโดยใช้ร่วมกับผลเลือดและแบบประเมินอย่างง่าย
18 ด้วยตนเองของประชาชนโดยไม่ใช้ผลเลือด จะมีค่า AUC เท่ากับ 0.763 และ 0.69 ตามลําดับ จุดตัด คะแนนที่ใช้ทํานายโรคหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน สําหรับแบบประเมินที่ทําโดยบุคลากรทาง การแพทย์ มีเท่ากับ 2 คะแนน ซึ่งจะให้ค่าความไวและค่าความจําเพาะ ร้อยละ 80 และ 50 ในเพศ ชาย ร้อยละ 90 และ 59 ในเพศหญิง สําหรับแบบประเมินที่ทําด้วยตนเองของประชาชนโดยใช้ ร่วมกับผลเลือดมีจุดตัดคะแนนที่ 8 คะแนน มีค่าความไวร้อยละ 88 และค่าความจําเพาะร้อยละ 46 และแบบประเมินอย่างง่ายด้วยตนเองของประชาชนโดยไม่ใช้ผลเลือดจะมีจุดตัดคะแนนที่ 9 คะแนน ให้ค่าความไวร้อยละ 83 และค่าความจําเพาะร้อยละ 50 ค่าความน่าจะเป็นที่จะทํานายโรคได้ถูกต้อง ถ้าผลการทดสอบเป็นบวกและผลการทดสอบเป็นลบในแบบประเมินที่ทําโดยบุคลากรทางการแพทย์ เท่ากับร้อยละ 47 กับร้อยละ 82 ในเพศชาย และร้อยละ 51 ร้อยละ 93 ในเพศหญิง แบบประเมินที่ ทําด้วยตนเองของประชาชนโดยใช้ร่วมกับผลเลือด จะมีค่าเท่ากับร้อยละ 45 กับร้อยละ 88 และ เท่ากับร้อยละ 46 กับร้อยละ 85 ในแบบประเมินอย่างง่ายด้วยตนเองของประชาชนโดยไม่ใช้ผลเลือด สรุปได้ว่า แบบประเมินทั้ง 3 แบบ สามารถนํามาใช้กับประชากรไทยได้ดี โดยเฉพาะในเพศหญิง 3. Abdullakasim P., Somrongthong R., Sritara P., & Chaisantikulwat O. (2013) ได้ทําการศึกษาเรื่อง Cardiovascular Risk, Knowledge, Risk Perception, andSelf-Efficacy among Employees at South Bangkok Power Plant of the Electric Generating Authority of Thailand (EGAT) กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานไฟฟ้าพระนครใต้ของ กฟผ. ในจังหวัดสมุทรปราการ จํานวน 384 คน ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2554 โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด) Rama – EGAT heart score ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 22.8, และ 16.7 เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในเวลา 10 ปี อยู่ใน ระดับสูง และปานกลาง ตามลําดับ 4. วิวรรธน์ เจี่ย, สุปรานี ศรีพลาวงษ์, รําพึง อภัยวงศ์, และจงกล ธัมปสาโท (2554) ได้ทําการศึกษาเรื่อง ผลการประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในชุมชน เขต ตํ า บลบางทราย อํ า เภอเมือ ง จัง หวั ด ชลบุ รี กลุ่ม ตัว อย่ า ง เป็ น ประชาชนที่ เ ข้ า ชมนิ ท รรศการ มหกรรมสุขภาพหลอดเลือดหัวใจและสมองเขตตําบลบางทราย อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จํานวน 297 ราย ในวันที่ 23 ธันวาคม 2554 โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดย ประชาชน (ไม่ใช้ผลเลือด) Rama – EGAT heart score ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 44.8, 21.5 และ 19.5 เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในเวลา 10 ปี อยู่ในระดับปาน กลาง น้อย และสูง ตามลําดับ ควรมีการให้ความรู้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริ มให้ มีการปรับเปลี่ ยน พฤติกรรมของประชาชนที่มีความเสี่ยงไปสู่พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เพื่อชะลอความก้าวหน้า ของโรคและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่มีข้อจํากัดที่กลุ่มตัวอย่างไม่ได้เป็นตัวแทนทั้งหมดของประชากร ในเขตตําบลบางทราย อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เนื่องจากการจัด นิทรรศการมหกรรมสุขภาพครั้งนี้เป็นเรื่องเวลาการทํางานกลุ่มวัยทํางาน จึงไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม ดังกล่าวคงเหลือแต่กลุ่มแม่บ้านและกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม 5. ประกาย จิโ รจน์ กุ ล และคณะ (2554) ได้ ทํา การศึ ก ษาเรื่ อ ง กิ จ กรรมทางกาย พฤติ ก รรมการบริ โ ภคอาหาร และความเสี่ ย งต่ อ การเกิ ด โรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ดในบุ ค ลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ระหว่างวันที่ 19 – 21 มีนาคม 2552 กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรทุก
19 ประเภทของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จํานวน 1,081 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการมีกิจกรรมทางกายของ IPAQ (International Physical Activity Questionnaire) แบบ Short form 2) แบบวัดพฤติกรรมบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และ 3) แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ไม่ใช้ผลเลือด) Rama – EGAT heart score ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมี กิจกรรมทางกายที่ออกแรงปานกลาง และออกแรงมาก โดยเฉลี่ยวันละประมาณครึ่งชั่วโมง ใช้เวลา ในการเดินประมาณวันละชั่วโมงครึ่ง และนั่งประมาณวันละ 5 ชั่วโมง ซึ่งจากการเทียบกับเกณฑ์ มาตรฐานนานาชาติ พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.5 เป็นผู้มีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลาง และระดับมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ที่เหลือร้อยละ 37.5 มีกิจกรรมทางกายในระดับต่ํา โดย บุคลากรที่ทํางานด้านธุรการมีสัดส่วนของผู้มีกิจกรรมทางกายในระดับต่ํามากที่สุด ในด้านการบริโภค อาหาร พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อยู่ในระดับมาก (Mean 2.18, S.D. 0.29) และพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 2.8 เป็นผู้ที่มีความเสี่ยง สูงสุดคือคะแนนความเสี่ยงมากกว่า 14 ซึ่งหมายความว่าในคนกลุ่มนี้จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือด หัวใจขั้นรุนแรงในระยะเวลา 10 ปี ถึงร้อยละ 8 – 12 ผลการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ของค่าเฉลี่ยต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดในบุคลากรที่ปฏิบัติงานลักษณะแตกต่างกัน โดยกลุ่มผู้บริหารมีความเสี่ยงสูงมากกว่ากลุ่ม อื่น ๆ 6. สํานักงานสํารวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (2551) ได้ทํา การสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551 – 2552 ในประชากรไทย อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ที่อาศัยใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ และกรุงเทพฯ แบ่งเป็นกลุ่มอายุ 15-59 ปี จํานวน 12,240 คน และ 60 ปีขึ้นไป จํานวน 9,720 คน รวม 21,960 คน ดําเนินการเก็บข้อมูล ภาคสนาม เมื่อ ก.ค. 2551 – มี.ค. 2552 ผลการสํารวจได้ผู้เข้าร่วมการศึกษาจํานวน 20,450 คน คิด เป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 93 ผลการสํารวจบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด [ ความดันโลหิตสูง (SBP ≥140 mm Hg หรือ DBP≥80 mm Hg หรือกําลังรักษาความดันโลหิตสูง ด้วยยา) เบาหวาน คอเลสเตอรอลรวมในเลือดสูง (total cholesterol ≥240 mg/dL) สูบบุหรี่เป็น ประจํา และภาวะอ้วน (BMI ≥25kg/m2) ] พบว่า ประชากรชายและหญิงไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อย ละ 41.1 และ 34.1 ตามลําดับมีปัจจัยเสี่ยง 1 ปัจจัย ผู้ชายและผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยง 2 ปัจจัย มีร้อย ละ 19.9 และ 17.8 ตามลําดับ และกลุ่มที่มีตั้งแต่ 3 ปัจจัยขึ้นไปมีร้อยละ 9.5 และ 7.4 ตามลําดับ พิจารณาตามอายุ ความชุกของการมี 2 ปัจจัยเสี่ยงขึ้นไปเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น และสูงสุดในกลุ่ม อายุ 60-69 ปี (ชายร้อยละ 41.2 และหญิงร้อยละ 45.2) และในกลุ่มอายุ 70–79 ปี (ชายร้อยละ 38.4 และหญิงร้อยละ 43.0) เมื่อพิจารณาตามเขตปกครองพบว่าความชุกของกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง ตั้งแต่ 2 ปัจจัยขึ้นไป ทั้งชายและหญิงในเขตเทศบาล (ร้อยละ 37.9 และ 30.6) มีความชุกสูงกว่านอก เขตเทศบาล (ร้อยละ 25.9 และ 22.8) ตามลําดับ พิจารณาตามภาคพบว่ากรุงเทพฯ มีความชุกของ กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ปัจจัยขึ้นไป สูงสุดร้อยละ 37.6 รองลงมาคือภาคกลาง (ร้อยละ 31.5) ภาคใต้ (ร้อยละ 30.9) ภาคเหนือ (ร้อยละ 24.2) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 21.3) ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบความชุกของกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ปัจจัยขึ้นไป ของการสํารวจครั้งที่
20 3 ในปี 2547 พบว่า การสํารวจครั้งที่ 4 นี้ในปี 2552 นี้ความชุกในผู้ชาย (ร้อยละ 29.4) ใกล้เคียงกับ ความชุกในปี 2547 (ร้อยละ 28.8) ส่วนความชุกในผู้หญิงเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 21.3 ในปี 2547 เพิ่ม เป็น ร้อยละ 25.2 ในปี 2552 7. กมลภัค นนทลักษณ์, สุกาญฎา กลิ่นถือศิล, เพ็ญพรรณ บุญสาใจ, เกษชดา ปัญเศษ, และมาณวิกา กิ่งแก้ว (2548) ได้ทําการศึกษาระดับไขมัน น้ําตาลในเลือด และความดันโลหิต ของ บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 2,404 ราย พบว่า บุคลากรจํานวน 982 ราย (ร้อยละ 40.8) ตรวจพบระดับไขมัน น้ําตาลในเลือด และความดันโลหิตสูงกว่าปกติอย่าง น้อยหนึ่งอย่าง โดยพบเป็นไขมันในเลือดสูงกว่าปกติมากที่สุด รองลงมาเป็นความดันโลหิตสูงกว่า ปกติ และน้ําตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ตามลําดับ ความผิดปกติที่ตรวจพบทั้งหมดอยู่ในช่วงกลุ่มอายุ 45 – 54 ปี มากที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 8. กมลภัค นนทลักษณ์, สุกาญฎา กลิ่นถือศิล, เพ็ญพรรณ บุญสาใจ, เกษชดา ปัญเศษ, และมาณวิกา กิ่งแก้ว (2550) ได้ทําการศึกษาเรื่อง พฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการ ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง จํานวน 407 ราย ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับสูง มาก คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการป้องกันปัจจัยเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ส่วนคะแนนเฉลี่ย พฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกําลังกาย และด้านการดูแลรักษาสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง มีโรคประจําตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน ร่วมด้วย รวมทั้ง มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน(อ้วน) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือด แดง และก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา 9. Nakanishi N., Takatorige T. & Suzuki K. (2005) ได้ทําการศึกษาเรื่อง Daily Life Activity and Risk of Developing Cardiovascular Risk Factors ในพนักงานชายที่ไม่มี ประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดของสํานักงานบริษัทรับเหมาก่อสร้างในญี่ปุ่น จํานวน 3,607 คน อายุ 35 - 59 ปี ตั้งแต่ปี 1994 - 2001 ผลการศึกษาพบว่า พลังงานที่ใช้ในชีวิตประจําวันมีความสัมพันธ์ ในเชิงผกผันกับความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวานประเภท 2 และเมแทบอลิกซิน โดรม (metabolic syndrome) ทั้งในคนที่ไม่อ้วน และคนที่อ้วน แต่พบมีแนวโน้มน้อยกว่าในคนที่ อ้วน 10. Yu S., Yarnell J.W.G., Sweetnam P. M., & Murray, L. (2003) ได้ทําการศึกษา เรื่อง What Level of Physical Activity Protects Against Premature Cardiovascular Death? The Caerphilly study แบบติดตามไปข้างหน้าในประชากรที่ไม่มีประวัติโรคหัวใจและ หลอดเลือดจากการตรวจสอบเบื้องต้น จํานวน 1,975 คน อายุ 49 -64 ปี เป็นเวลา 11 ปี พบว่า ใน ประชากรที่ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยหรืออาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดมาก่อน การมีกิจกรรม ทางกายในยามว่างที่ออกแรงมากเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัย อันควรจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 11. Hu, G., Jousilahti, P., Barengo, N.C., Qiao, Q., Lakka, T.A., & Tuqmilehto, J., (2005). ได้ทําการศึกษาเรื่อง Physical Activity, cardiovascular Risk factors, and Mortality among Finnish Adults with Diabetes ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2 จํานวน
21 3,708 คน อายุ 25 – 74 ปี เป็นเวลา 18.7 ปี พบว่า การมีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลาง หรือ ระดับมาก มีความสัมพันธ์กับการลดการตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด และการตายโดยรวม ในขณะที่ค่าดัชนีมวลกาย และความดันโลหิตที่สูงขึ้น กับการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน มีความสัมพันธ์กับ การตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดที่สูงมีความสัมพันธ์กับ การตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ผลในการป้องกันการตายจากโรคหัวใจและหลอด เลือดของการมีกิจกรรมทางกาย พบได้คงเส้นคงวา ไม่ว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีค่าดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และระดับโคเลสเตอรอลในระดับใด หรือสูบบุหรี่หรือไม่
บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study design) เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการ ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ที่มารับการตรวจสุขภาพประจําปี ย้อนหลัง จากรายงานผลการตรวจสุขภาพประจําปี พ.ศ. 2556 ประชากรเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรเป้าหมาย ข้าราชการและลูกจ้างประจําที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวง สาธารณสุขที่มารับบริการตรวจสุขภาพประจําปี 2556 กับสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี จํานวน 4 กรม ได้แก่ 1. กรมการแพทย์ 2. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก 3. สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ 4. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง ข้าราชการและลูกจ้างประจําที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวง สาธารณสุขจํานวน 4 กรม ที่มารับบริการตรวจสุขภาพประจําปี 2556 ในระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2556 เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า โดยการรวบรวมข้อมูลจากผลการ ตรวจสุขภาพ ในเวชระเบียนผู้ป่วย เกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก ผู้วิจัยคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและการคัดออก ดังต่อไปนี้ เกณฑ์การคัดเลือกเข้าร่วมวิจัย (Inclusion criteria) 1. เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขที่มาใช้สิทธิรับบริการตรวจ สุ ข ภาพประจํ า ปี 2556 กั บ สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุ ข ระหว่ า งเดื อ น มี น าคม ถึ ง พฤษภาคม 2556 2. มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงกลุ่มอายุที่กรมบัญชีกลางระบุให้ตรวจหาระดับ ไขมันในเลือดชนิดไขมันโคเลสเตอรอล เกณฑ์การคัดออก (Exclusion criteria) 1. หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร 2. อายุมากกว่า 54 ปี เนื่องจากจากการศึกษาพบว่าหากนําแบบประเมินความเสี่ยงไปใช้ กับผู้สูงอายุ จะมีความแม่นยําในการทํานายลดลง 3. ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็ง 4. มีข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลผลตรวจเลือดไม่ครบถ้วนตามที่ระบุไว้ 22
23 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่ องมื อที่ ใ ช้ ในการเก็ บรวบรวมข้ อมู ล คื อ แบบบั น ทึ ก ข้ อ มู ล ความเสี่ ย งต่ อ การเกิ ด โรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขโดยใช้แบบ ประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT Heart Score (ภาคผนวก ก) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 บันทึกข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับอาชีพ ลักษณะงานที่ทํา และ โรคประจําตัว ส่วนที่ 2 ใช้ประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด จากคะแนนความเสี่ยงของ 7 ปัจจัย คือ อายุ เพศ ระดับไขมันโคเลสเตอรอล ประวัติการสูบบุหรี่ การเป็นเบาหวาน โรคความ ดันโลหิตสูง และค่าเส้นรอบเอว โดยนําคะแนนความเสี่ยงทุกอย่างมารวมกัน คะแนนรวมปัจจัยเสี่ยง มีค่าตั้งแต่ -2 ถึง 24 คะแนน เกณฑ์การให้คะแนน พิจารณาดังนี้ ปัจจัยเสี่ยง
คะแนนความเสี่ยง
1.อายุ
35- 39 ปี 40- 44 ปี 45- 49 ปี 50- 54 ปี
-2 0 2 4
คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน
2. เพศ
หญิง ชาย
0 3
คะแนน คะแนน
3. โคเลสเตอรอล
น้อยกว่า 280 มก./ดล. มากกว่า หรือเท่ากับ 280 มก./ดล
0 4
คะแนน คะแนน
4. บุหรี่
ไม่สูบ ยังสูบบุหรี่
0 2
คะแนน คะแนน
5. เบาหวาน
ไม่เป็น เป็น (หรือ มากกว่า 126 มก/ดล)
0 5
คะแนน คะแนน
6. ความดันโลหิตสูง ไม่เป็น เป็น (หรือ มากกว่าเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท)
0 3
คะแนน คะแนน
0 3
คะแนน คะแนน
7. รอบเอว ชาย เท่ากับ หรือ มากกว่า 36 นิ้ว (90 ซม.) หญิง เท่ากับ หรือ มากกว่า 32 นิ้ว (80 ซม.) ไม่ใช่ ใช่
24 ตัวอย่างการคิดคะแนน เช่น อายุ 48 ปี (2 คะแนน) ผู้ชาย (3 คะแนน) สูบบุหรี่ (2 คะแนน) มีไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดมากกว่า 280 มก/ดล. (4 คะแนน) ไม่เป็นเบาหวาน (0 คะแนน) มีความดันเลือดสูง (3 คะแนน) เส้นรอบเอว 93 ซม. (3 คะแนน) จะมีคะแนนความเสี่ยงรวม เท่ากับ 3+2+2+4+0+3+3 = 17 คะแนน เป็นต้น จากคะแนนรวมที่ได้ นําไปเทียบเป็นอัตราการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรงในระยะเวลา 10 ปี (%) ดังรายละเอียด คะแนนรวม
โอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี (%)
-2 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 >=20
0 0 1 1 1 1 1 1 2 2 2 3 4 4 5 6 8 9 11 14 16 20
25 ในการแปลผลพิจารณาจากคะแนน ดังนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงน้อย หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนอยู่ระหว่าง -2 ถึง 6 คะแนน โอกาสเกิดโรค เส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี เท่ากับ 0 -1 % ผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนอยู่ระหว่าง 7 ถึง 12 คะแนน โอกาสเกิด โรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี เท่ากับ 2 - 4 % ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนอยู่ระหว่าง 13 ถึง 16 คะแนน โอกาสเกิดโรค เส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี เท่ากับ 5 - 9 % ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงมาก หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนมากกว่า 17 คะแนน โอกาสเกิดโรคเส้นเลือด หัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี เท่ากับ 11 - 20 % ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การแปลผล 3 ระดับ ดังนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงน้อย หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนอยู่ระหว่าง -2 ถึง 6 คะแนน โอกาสเกิดโรค เส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี เท่ากับ 0 -1 % ผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนอยู่ระหว่าง 7 ถึง 12 คะแนน โอกาสเกิด โรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี เท่ากับ 2 - 4 % ผู้ ที่ มี ค วามเสี่ ย งสู ง หมายถึ ง ผู้ ที่ มี ค ะแนนมากกว่ า 13 คะแนน โอกาสเกิ ด โรค เส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี มากกว่า 5 % การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (Rama – EGAT Heart Score) เป็นแบบประเมินมาตรฐานซึ่งพัฒนาโดยคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (สุกิจ แย้มวงษ์, 2548) ที่เคยถูกใช้ในการวิจัยเรื่องอื่นๆ ซึ่งเป็นประชากรในวัยทํางานเช่นเดียวกัน และมีรายงาน การทดสอบความแม่นยําของแบบประเมินความเสี่ยง (พัฒนาพร สุปินะ, กิติพงษ์ หาญเจริญ, สุคนธา ศิริ และอดิศักดิ์ มณีไสย, 2009) การดําเนินการ 1. ทําหนังสือขออนุมัติจากผู้อํานวยการโรงพยาบาลราชวิถี 2. รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสุขภาพประจําปี 2556 ย้อนหลัง จากแบบบันทึกผลการ ตรวจสุขภาพประจําปี ในเวชระเบียนผู้ป่วย มาประเมินโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและ หลอดเลือด (Rama – EGAT heart score) 3. ตรวจสอบคําตอบที่ได้รับให้ครบถ้วนตามจํานวนข้อคําถามทั้งหมด แล้วนําผลมา วิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ 4. สรุปผลการวิจัย จัดทํารูปเล่มทีส่ มบูรณ์
26 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ทางสถิติ ทําโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่ออธิบายลักษณะส่วนบุคคล และคะแนนความ เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยการหาจํานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ําสุด ค่าสูงสุด ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างแบบสองกลุ่มอิสระ (independent samples) โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้การทดสอบ ไคสแควร์ (chi – square test/ fisher exact test) และถือค่า p – value น้อยกว่า 0.05 เป็น นัยสําคัญทางสถิติ ข้อพิจารณาด้านจริยธรรม การศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล จากเวชระเบียนเท่านั้น ไม่มีผลต่อการรักษาแต่อย่างใด และข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ของแต่ละบุคคลจะ ถูกเก็บเป็นความลับ จะไม่เปิดเผยต่อสาธารณะเป็นรายบุคคล แต่จะรายงานผลการวิจัยเป็นข้อมูล ส่วนรวม ข้อมูลของผู้ร่วมการวิจัยเป็นรายบุคคล อาจมีคณะบุคคลบางกลุ่มเข้ามาตรวจสอบได้ เช่น ผู้ให้ทุนการวิจัย สถาบัน หรือองค์กรของรัฐที่มีหน้าที่ตรวจสอบ คณะกรรมการจริยธรรม ฯ เป็นต้น
27 ขั้นตอนการทําวิจัย
1.
ระยะเตรียมการ
2.
ระยะดําเนินการ
แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด) Rama – EGAT heart score
Retrospective descriptive study 1. คัดเลือกกลุม่ ตัวอย่างตามเกณฑ์ 1.1 เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขที่มาใช้ สิทธิรับบริการตรวจสุขภาพประจําปี 2556 กับสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง พฤษภาคม 2556 1.2 มีอายุระหว่าง 35 – 54 ปี 2. ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลทางคลินกิ และข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ ในเวชระเบียนผู้ป่วย 3. ลงบันทึกข้อมูลในแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน (ใช้ผลเลือด) Rama – EGAT heart score 4. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติ สรุปผลการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอด เลือด (Rama – EGAT heart score) จํานวน 950 ราย ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม 2556 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้นําเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยายตามลําดับ ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2 ข้อมูลภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 1.1 การนําเสนอข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างจําแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด ดังแสดงในตาราง ที่ 1 1.2 แสดงลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษา ดังแสดงในตารางที่ 2 ตารางที่ 1
แสดงหน่วยงานต้นสังกัดของกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัด สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
จํานวนคน (N = 950)
ร้อยละ
409 253 214 74
43.1 26.6 22.5 7.8
จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวง สาธารณสุขที่มาใช้สิทธิตรวจสุขภาพประจําปี 2556 จํานวน 950 คน เมื่อจําแนกตามหน่วยงานต้น สังกัด พบว่า สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีจํานวนมากที่สุด 409 คน (ร้อยละ 43.1) รองลงมา เป็นกรมการแพทย์จํานวน 253 คน (ร้อยละ 26.6) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพจํานวน 214 คน (ร้อยละ 22.5) และกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจํานวน 74 คน (ร้อยละ 7.8) ตามลําดับ
28
29 ตารางที่ 2
แสดงลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษา
ข้อมูล
จํานวนคน (n = 950)
ร้อยละ
152 185 307 306
16.0 19.5 32.3 32.2
213 737
22.4 77.6
ประวัติการสูบบุหรี่ สูบ/ เลิกสูบน้อยกว่า 15 ปี ไม่สูบ
33 917
3.5 96.5
ประวัติการเป็นเบาหวาน เป็น ไม่เป็น
30 920
3.2 96.8
ประวัติการเป็นความดันโลหิตสูง เป็น ไม่เป็น
102 848
10.7 89.3
เส้นรอบเอว (ชาย ≥ 90 ซม./ หญิง ≥ 80 ซม). ใช่ ไม่ใช่
332 618
34.9 65.1
ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด มากกว่าเท่ากับ 280 มก./ดล. น้อยกว่า 280 มก./ดล.
74 876
7.8 92.2
ระดับน้าํ ตาลในเลือด สูง (มากกว่าเท่ากับ126 มก./ดล). ปกติ (น้อยกว่า 126 มก./ดล).
30 920
3.2 96.8
ระดับความดันโลหิต (มม.ปรอท) สูง (SBP≥140 หรือ DBP≥90) ปกติ (SBP<140 และ DBP<90)
193 757
20.3 79.7
อายุ (ปี) (อายุเฉลี่ย= 46.1 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 5.4) 35 - 39 40 - 44 45 - 49 50 - 54 เพศ ชาย หญิง
30 ตารางที่ 2
(ต่อ)
ข้อมูล
จํานวนคน (n = 950)
ร้อยละ
ดัชนีมวลกาย (กิโลกรัม /เมตร2 ) ปกติ (20.0 – 24.9) อ้วน ( ≥ 25) ผอม ( ≤ 20)
506 311 133
53.3 32.7 14.0
ลักษณะงานทีท่ ํา* (n = 943) งานวิชาการ งานบริการ งานธุรการ งานบริหาร
148 424 200 171
15.7 45.0 21.2 18.1
*มีmissing data จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 45 – 54 ปี ร้อยละ 64.5 โดยมีอายุเฉลี่ย 46.1 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.4) เป็นเพศหญิงร้อยละ 77.6 มีประวัติ ไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 96.5 ไม่เป็นเบาหวานร้อยละ 96.8 ไม่เป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ 89.3 มีเส้น รอบเอวน้อยกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และน้อยกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง ร้อยละ 65.1 ผลการตรวจสุขภาพ พบว่า มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. ร้อยละ 92.2 มีระดับน้ําตาล ในเลือด ระดับความดันโลหิต และดัชนีมวลกายปกติ ร้อยละ 96.8, 79.7 และ 53.3 ตามลําดับ โดย ส่วนใหญ่ร้อยละ 45.0 มีลักษณะงานเป็นงานบริการ
31 ส่วนที่ 2 ข้อมูลภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 2.1 ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมและจําแนก ตามเพศ ดังแสดงในตารางที่ 3 2.2 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างจําแนกตามระดับ ความเสี่ยง ดังแสดงในตารางที่ 4 2.3 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่างจําแนกตามระดับความเสี่ยง ดังแสดงในตารางที่ 5 2.4 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงน้อย จําแนกตามเพศ ดังแสดงในตารางที่ 6 2.5 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงน้อยจําแนก ตามเพศ ดังแสดงในตารางที่ 7 2.6 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยง ปานกลางจําแนกตามเพศ ดังแสดงในตารางที่ 8 2.7 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงปานกลาง จําแนกตามเพศ ดังแสดงในตารางที่ 9 2.8 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงสูง จําแนกตามเพศ ดังแสดงในตารางที่ 10 2.9 ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงสูงจําแนก ตามเพศ ดังแสดงในตารางที่ 11
32 ตารางที่ 3
ภาวะเสีย่ งต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมและ จําแนกตามเพศ
ภาวะเสีย่ ง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
โดยรวม
เพศ
(n = 950)
ชาย (n = 213)
หญิง (n = 737)
P value
คะแนนความเสี่ยง ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) พิสยั (ต่ําสุด-สูงสุด)
4.5 (4.0) (-2,18)
7.5 (3.9) (0,18)
3.6 (3.5) (-2,15)
< 0.001
โอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ รุนแรง ในเวลา 10 ปี (%) ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) พิสยั (ต่ําสุด-สูงสุด)
1.5 (1.6) (0,14)
2.5 (2.5) (0,14)
1.2 (1.0) (0,8)
< 0.001
ระดับความเสีย่ งในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด น้อย n (%) ปานกลาง n (%) สูง n (%)
< 0.001 655 (68.9) 263 (27.7) 32 (3.4)
90 (42.3) 100 (46.9) 23 (10.8)
565 (76.7) 163 (22.1) 9 (1.2)
จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงอยู่ในระดับน้อย ปานกลาง และ สูง คิดเป็นร้อยละ 68.9, 27.7 และ 3.4 ตามลําดับ คะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอด เลือดของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.5 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.0) ผู้ชายมีค่าเฉลี่ย 7.5 (ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.9) โดยคะแนนความเสี่ยงสูงสุดเท่ากับ 18 ซึ่งสูงกว่าผู้หญิงที่มีค่าเฉลี่ย 3.6 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.5) และคะแนนความเสี่ยงสูงสุดเท่ากับ 15 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ส่วนโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ในเวลา 10 ปี (%) ของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมมี ค่าเฉลี่ยร้อยละ 1.5 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.6) และผู้ชายมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.5 ซึ่งสูงกว่าผู้หญิงที่ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 1.2 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยส่วนใหญ่เพศชายจะมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง คิด เป็นร้อยละ 46.9 ส่วนเพศหญิงจะมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 76.7
33 ตารางที่ 4
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างจําแนกตามระดับ ความเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ระดับความเสีย่ ง n (%) น้อย ปานกลาง สูง (n = 655) (n = 263) (n = 32)
อายุเฉลี่ย(ปี) (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 44.4 (5.2) อายุ (ปี) 35 - 39 40 - 44 45 - 49 50 - 54 เพศ ชาย หญิง ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด มากกว่าเท่ากับ 280 มก./ดล. น้อยกว่า 280 มก./ดล. ประวัติการสูบบุหรี่ สูบ/ เลิกสูบน้อยกว่า 15 ปี ไม่สูบ ประวัติการเป็นเบาหวาน เป็น ไม่เป็น ประวัติการเป็นความดันโลหิตสูง เป็น ไม่เป็น เส้นรอบเอว (ชาย ≥ 90 ซม./ หญิง ≥ 80 ซม). ใช่ ไม่ใช่
49.6 (3.7)
P value
50.8 (2.9) < 0.001
145 (22.1) 166 (25.3) 227 (34.7) 117 (17.9)
7 (2.7) 18 (6.8) 71 (27.0) 167 (63.5)
0 (0.0) 1 (3.1) 9 (28.1) 22 (68.8) < 0.001
90 (13.7) 565 (86.3)
100 (38.0) 163 (62.0)
23 (71.9) 9 (28.1) < 0.001
23 (3.5) 632 (96.5)
43 (16.3) 220 (83.7)
8 (25.0) 24 (75.0) < 0.001
7 (1.1) 648 (98.9)
19 (7.2) 244 (92.8)
7 (21.9) 25 (78.1) < 0.001
1 (0.2) 654 (99.8)
17 (6.5) 246 (93.5)
12 (37.5) 20 (62.5) < 0.001
14 (2.1) 641 (97.9)
66 (25.1) 197 (74.9)
22 (68.8) 10 (31.3) < 0.001
144 (22.0) 511 (78.0)
162 (61.6) 101 (38.4)
26 (81.3) 6 (18.8)
34 จากตารางที่ 4 แสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงน้อย มีอายุระหว่าง 45 – 49 ปี ร้อยละ 34.7 โดยมีอายุเฉลี่ย 44.4 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.2) เป็นเพศหญิงร้อยละ 86.3 มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. ร้อยละ 96.5 มีประวัติไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 98.9 ไม่เป็นเบาหวานร้อยละ 99.8 ไม่เป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ 97.9 และมีเส้นรอบเอวน้อยกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และน้อยกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง ร้อยละ 78.0 กลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงปานกลาง มีอายุระหว่าง 50 – 54 ปี ร้อยละ 63.5 โดยมี อายุ เ ฉลี่ ย 49.6 ปี (ส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน 3.7) เป็ น เพศหญิ ง ร้ อ ยละ 62.0 มี ร ะดั บ ไขมั น โคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. ร้อยละ 83.7 มีประวัติไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 92.8 ไม่เป็น เบาหวานร้อยละ 93.5 ไม่เป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ 74.9 แต่มีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. ใน ผู้ชาย และมากกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง ร้อยละ 61.6 กลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงสูง มีอายุระหว่าง 50 – 54 ปี ร้อยละ 68.8 โดยมีอายุ เฉลี่ย 50.8 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.9) เป็นเพศชายร้อยละ 71.9 มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลใน เลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. ร้อยละ 75.0 มีประวัติไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 78.1 ไม่เป็นเบาหวานร้อยละ 62.5 แต่มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ 68.8 และมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และมากกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง ร้อยละ 81.3 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือด ทั้ง 7 ปั จจั ยขึ้ นอยู่ กับระดั บความเสี่ ยงของการเกิดโรคหั วใจและหลอดเลือดอย่า งมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยด้านอายุพบว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงน้อยมีอายุระหว่าง 45 -49 ปี มากที่สุด ร้อยละ 34.7 ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงสูงมีอายุระหว่าง 50-54 ปี มาก ที่สุด คือ ร้อยละ 63.5 และ 68.8 ตามลําดับ ปัจจัยด้านเพศพบว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงน้อยและผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิงร้อยละ 86.3 และ 62.0 ตามลําดับ ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงสูงส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 86.3 ปัจจัยด้านระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงน้อย ผู้ที่มีความเสี่ยง ปานกลาง และผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. ร้อยละ 96.5, 83.7 และ 75.0 ตามลําดับ ปัจจัยด้านประวัติการสูบบุหรี่พบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงน้อย ผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง และผู้ ที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่มีประวัติไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 98.9, 92.8 และ 78.1 ตามลําดับ ปัจจัยด้านประวัติการเป็นเบาหวานพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงน้อย ผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง และผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่มีประวัติไม่เป็นเบาหวานร้อยละ 99.8, 93.5 และ 62.5 ตามลําดับ ปัจจัยด้านประวัติการเป็นความดันโลหิตสูงพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงน้อย และผู้ที่มีความเสี่ยง ปานกลาง ส่วนใหญ่มีประวัติไม่เป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ 97.9 และ 74.9 ตามลําดับ ส่วนผู้ที่มี ความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ 68.8 ปัจจัยด้านเส้นรอบเอว พบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงน้อย ส่วนใหญ่มีเส้นรอบเอวน้อยกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และน้อยกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง ร้อยละ 78.0 ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลางและผู้ที่มี ความเสี่ยงสูง ส่ วนใหญ่มีเส้นรอบเอวมากกว่ า 90 ซม. ในผู้ชาย และมากกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง ร้อยละ 61.6 และ 81.3 ตามลําดับ
35 ตารางที่ 5
ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่างจําแนกตามระดับความ เสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ระดับน้าํ ตาลในเลือด สูง (มากกว่าเท่ากับ126 มก./ดล). ปกติ (น้อยกว่า 126 มก./ดล). ระดับความดันโลหิต (มม.ปรอท) สูง (SBP≥140 หรือ DBP≥90) ปกติ (SBP<140 และ DBP<90)
ระดับความเสีย่ ง n (%) น้อย ปานกลาง สูง (n = 655) (n = 263) (n = 32)
P value < 0.001
7 (1.1) 648 (98.9)
14 (5.3) 249 (94.7)
9 (28.1) 23 (71.9) < 0.001
92 (14.0) 563 (86.0)
85 (32.3) 178 (67.7)
ดัชนีมวลกาย (กิโลกรัม /เมตร2 ) ปกติ (20.0 – 24.9) อ้วน ( ≥ 25) ผอม ( ≤ 20)
397 (60.6) 140 (21.4) 118 (18.0)
102 (38.8) 146 (55.5) 15 (5.7)
ลักษณะงานทีท่ ํา งานวิชาการ งานบริการ งานธุรการ งานบริหาร
n = 650* 83 (12.8) 329 (50.6) 123 (18.9) 115 (17.7)
n = 261* 55 (21.1) 87 (33.3) 67 (25.7) 52 (19.9)
16 (50.0) 16 (50.0) < 0.001 7 (21.9) 25 (78.1) 0 (0.0) < 0.001 10 (31.3) 8 (25.0) 10 (31.3) 4 (12.5)
*มีmissing data จากตารางที่ 5 แสดงให้เห็น กลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงน้อย มีระดับน้ําตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และดัชนีมวลกายปกติ ร้อยละ 98.9, 86.0 และ 60.5 ตามลําดับ โดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.6 มีลักษณะงานเป็นงานบริการ กลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงปานกลาง มีระดับน้ําตาลในเลือด และระดับความดัน โลหิตปกติ ร้อยละ 94.7 และ 67.7 ตามลําดับ แต่ดัชนีมวลกายอยู่ในระดับอ้วนมากที่สุดร้อยละ 55.5 โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 33.3 มีลักษณะงานเป็นงานบริการ กลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงสูง มีระดับน้ําตาลในเลือดปกติร้อยละ 71.9 ส่วนระดับ ความดันโลหิตปกติและสูง มีจํานวนเท่ากันคือร้อยละ 50.0 และดัชนีมวลกายอยู่ในระดับอ้วนมาก ที่สุดร้อยละ 78.1 โดยมีลักษณะงานเป็นงานวิชาการ และงานธุรการเท่ากัน คือร้อยละ 31.3
36 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานที่ ทํ า ขึ้ น อยู่ กั บ ระดั บ ความเสี่ ย งของการเกิ ด โรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ดอย่ า งมี นั ย สํ า คั ญ ทางสถิ ติ ที่ ระดับ .05 โดยระดับน้ําตาลในเลือด พบว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงน้อย ผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง และผู้ที่มี ความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่มีระดับน้ําตาลในเลือดปกติ ร้อยละ 98.9, 94.7 และ 71.9 ตามลําดับ ระดับความดันโลหิต พบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงน้อย และผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง ส่วนใหญ่มี ระดับความดันโลหิตปกติ ร้อยละ 86.0, และ 67.7 ตามลําดับ ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงสูงมีระดับความ ดันโลหิตปกติ และ สูง จํานวนเท่ากัน คือ ร้อยละ 50.0 ดัชนีมวลกาย พบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงน้อยส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายปกติร้อยละ 60.6 ส่วนผู้ ที่มีความเสี่ยงปานกลาง และผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับอ้วนร้อยละ 55.5 และ 78.1 ตามลําดับ ลักษณะงานที่ทํา พบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงน้อย และผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง ส่วนใหญ่มี ลักษณะงานเป็นงานบริการ ร้อยละ 50.6, และ 33.3 ตามลําดับ ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงสูงมีลักษณะ งานเป็นงานวิชาการ และงานธุรการ จํานวนเท่ากัน คือ ร้อยละ 31.3
37 ตารางที่ 6
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยง น้อย จําแนกตามเพศ
ปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คะแนนความเสี่ยง ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) พิสัย (ต่ําสุด-สูงสุด) โอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ในเวลา 10 ปี (%) ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) พิสัย (ต่ําสุด-สูงสุด) อายุเฉลี่ย(ปี) (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) อายุ (ปี) 35 - 39 40 - 44 45 - 49 50 - 54 ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด มากกว่าเท่ากับ 280 มก./ดล. น้อยกว่า 280 มก./ดล. ประวัติการสูบบุหรี่ สูบ/ เลิกสูบน้อยกว่า 15 ปี ไม่สูบ ประวัติการเป็นเบาหวาน เป็น ไม่เป็น ประวัติการเป็นความดันโลหิตสูง เป็น ไม่เป็น เส้นรอบเอว (ชาย ≥ 90 ซม./ หญิง ≥ 80 ซม.) ใช่ ไม่ใช่
เพศ n (%) ชาย (n = 90)
หญิง (n = 565)
P value
3.9 (1.8) (0,6)
2.1 (2.3) (-2,6)
< 0.001
1.0 (0.1) (0,1) 41.8 (4.4)
0.7 (0.4) (0,1) 44.8 (5.2)
< 0.001
30 (33.3) 33 (36.7) 26 (28.9) 1 (1.1)
115 (20.4) 133 (23.5) 201 (35.6) 116 (20.5)
< 0.001 < 0.001
1.000 3 (3.3) 87 (96.7)
20 (3.5) 545 (96.5) < 0.001
6 (6.7) 84 (93.3)
1 (0.2) 564 (99.8) 1.000
0 (0.0) 90 (100)
1 (0.2) 564 (99.8) 0.705
1 (1.1) 89 (98.9)
13 (2.3) 552 (97.7) 0.378
23 (25.6) 67 (74.4)
121 (21.4) 444 (78.6)
38 จากตารางที่ 6 แสดงให้เห็นว่า คะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของ กลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงน้อย เพศชายมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 โดยเพศชายมีคะแนนความเสี่ยงเฉลี่ย 3.9 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.8) เพศหญิงมี คะแนนความเสี่ยงเฉลี่ย 2.1 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.3) ส่วนโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ รุนแรง ในเวลา 10 ปี (%) ของเพศชายมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศชายมีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ในเวลา 10 ปี เฉลี่ยร้อยละ 1.0 (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 1.8) เพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ในเวลา 10 ปี เฉลี่ยร้อยละ 0.7 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.4) กลุ่มตัวอย่างเพศชายมีอายุระหว่าง 40 -44 ปี มากที่สุด ร้อยละ 36.7 โดยมีอายุเฉลี่ย 41.8 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.4) มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. ร้อย ละ 96.7 มีประวัติไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 93.3 ไม่เป็นเบาหวานร้อยละ 100 ไม่เป็นความดันโลหิตสูงร้อย ละ 98.9 และมีเส้นรอบเอวน้อยกว่า 90 ซม. ร้อยละ 74.4 กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมีอายุระหว่าง 45 -49 ปี มากที่สุด ร้อยละ 35.6 โดยมีอายุเฉลี่ย 44.8 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.2) มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. ร้อย ละ 96.5 มีประวัติไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 99.8 ไม่เป็นเบาหวานร้อยละ 99.8 ไม่เป็นความดันโลหิตสูง ร้อยละ 97.7 และมีเส้นรอบเอวน้อยกว่า 80 ซม. ร้อยละ 78.6 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงน้อย มีเพียง 2 ปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือปัจจัยด้านอายุ และปัจจัยด้านการสูบบุหรี่ ส่วนปัจจัยด้านระดับ ไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด ด้านประวัติการเป็นเบาหวาน ด้านประวัติการเป็นความดันโลหิตสูง และด้านเส้นรอบเอว ไม่ขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
39 ตารางที่ 7
ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสีย่ งน้อย จําแนกตามเพศ
ข้อมูล
เพศ ชาย (n = 90)
ระดับน้าํ ตาลในเลือด สูง (มากกว่าเท่ากับ 126 มก./ดล). ปกติ (น้อยกว่า 126 มก./ดล). ระดับความดันโลหิต (มม.ปรอท) สูง (SBP ≥140 หรือ DBP ≥ 90) ปกติ (SBP <140 และ DBP < 90)
หญิง (n = 565)
P value 0.248
2 (2.2) 88 (97.8)
5 (0.9) 560 (99.1) .002
22 (24.4) 68 (75.6)
70 (12.4) 495 (87.6)
ดัชนีมวลกาย ( กิโลกรัม / เมตร2 ) ปกติ (20.0 – 24.9) อ้วน ( ≥ 25) ผอม ( ≤ 20)
54 (60.0) 26 (28.9) 10 (11.1)
343 (60.7) 114 (20.2) 108 (19.1)
ลักษณะงานทีท่ ํา งานวิชาการ งานบริการ งานธุรการ งานบริหาร
n = 89* 6 (6.7) 46 (51.7) 28 (31.5) 9 (10.1)
n = 561* 83 (12.8) 329 (50.6) 123 (18.9) 115 (17.7)
0.063
0.002
*มีmissing data
จากตารางที่ 7 แสดงให้เห็นว่า ผลการตรวจสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยง น้อย ในกลุ่มตัวอย่างเพศชายส่วนใหญ่มีระดับน้ําตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และดัชนีมวลกาย ปกติร้อยละ 97.8, 75.6 และ 60.0 ตามลําดับ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 51.7 มีลักษณะงานเป็นงาน บริการ กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงส่วนใหญ่มีระดับน้ําตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และดัชนีมวล กายปกติร้อยละ 99.1, 87.6 และ 60.7 ตามลําดับ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 50.6 มีลักษณะงานเป็นงาน บริการ เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานที่ ทําไม่ขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
40 ตารางที่ 8
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยง ปานกลางจําแนกตามเพศ
ปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คะแนนความเสี่ยง ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) พิสัย (ต่ําสุด-สูงสุด) โอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ในเวลา 10 ปี (%) ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) พิสัย (ต่ําสุด-สูงสุด) อายุเฉลี่ย(ปี) (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) อายุ (ปี) 35 - 39 40 - 44 45 - 49 50 - 54 ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด มากกว่าเท่ากับ 280 มก./ดล. น้อยกว่า 280 มก./ดล. ประวัติการสูบบุหรี่ สูบ/ เลิกสูบน้อยกว่า 15 ปี ไม่สูบ ประวัติการเป็นเบาหวาน เป็น ไม่เป็น ประวัติการเป็นความดันโลหิตสูง เป็น ไม่เป็น เส้นรอบเอว (ชาย ≥ 90 ซม./ หญิง ≥ 80 ซม.) ใช่ ไม่ใช่
เพศ n (%)
P value
ชาย (n = 100)
หญิง (n = 163)
9.0 (1.7) (7,12)
8.4 (1.5) (7,12)
0.004
2.6 (0.8) (2,4) 48.4 (4.2)
2.4 (0.6) (2,4) 50.4 (3.1)
0.006
4 (4.0) 13 (13.0) 30 (30.0) 53 (53.0)
3 (1.8) 5 (3.1) 41 (25.2) 114 (69.9)
<0.001 0.004
0.250 13 (13.0) 87 (87.0)
30 (18.4) 133 (81.6) <0.001
16 (16.0) 84 (84.0)
3 (1.8) 160 (98.2) 0.811
6 (6.0) 94 (94.0)
11 (6.7) 152 (93.3) 0.136
20 (20.0) 80 (80.0)
46 (28.2) 117 (71.8) <0.001
38 (38.0) 62 (62.0)
124 (76.1) 39 (23.9)
41 จากตารางที่ 8 แสดงให้เห็นว่า คะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของ กลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงปานกลาง เพศชายมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยเพศชายมีคะแนนความเสี่ยงเฉลี่ย 9.0 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.7) เพศหญิงมี คะแนนความเสี่ยงเฉลี่ย 8.4 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.5) ส่วนโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ รุนแรง ในเวลา 10 ปี (%) ของเพศชายมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศชายมีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ในเวลา 10 ปี เฉลี่ยร้อยละ 2.6 (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 0.8) เพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ในเวลา 10 ปี เฉลี่ยร้อยละ 2.4 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.6) กลุ่มตัวอย่างเพศชายมีอายุระหว่าง 50 -54 ปี มากที่สุด ร้อยละ 53.0 โดยมีอายุเฉลี่ย 48.4 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.2) มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. ร้อย ละ 87.0 มีประวัติไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 84.0 ไม่เป็นเบาหวานร้อยละ 94.0 ไม่เป็นความดันโลหิตสูงร้อย ละ 80.0 และมีเส้นรอบเอวน้อยกว่า 90 ซม. ร้อยละ 38.0 กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมีอายุระหว่าง 50 -54 ปี มากที่สุด ร้อยละ 69.0 โดยมีอายุเฉลี่ย 50.4 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.1) มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. ร้อย ละ 81.6 มีประวัติไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 98.2 ไม่เป็นเบาหวานร้อยละ 93.3 ไม่เป็นความดันโลหิตสูง ร้อยละ 71.8 แต่มีเส้นรอบเอวมากกว่า 80 ซม. ร้อยละ 76.1 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงปานกลาง มีเพียง 3 ปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับสถานภาพด้าน เพศอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือปัจจัยด้านอายุ ด้านการสูบบุหรี่ และด้านเส้นรอบเอว ส่วนปัจจัยด้านระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด ด้านประวัติการเป็นเบาหวาน และด้านประวัติการ เป็นความดันโลหิตสูง ไม่ขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
42 ตารางที่ 9
ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสีย่ งปาน กลางจําแนกตามเพศ
ข้อมูล
เพศ n (%) ชาย (n = 100)
ระดับน้าํ ตาลในเลือด สูง (มากกว่าเท่ากับ 126 มก./ดล). ปกติ (น้อยกว่า 126 มก./ดล). ระดับความดันโลหิต (มม.ปรอท) สูง (SBP ≥140 หรือ DBP ≥ 90) ปกติ (SBP <140 และ DBP < 90)
หญิง (n = 163)
P value 0.343
7 (7.0) 93 (93.0)
7 (4.3) 156 (95.7) 0.317
36 (36.0) 64 (64.0)
49 (30.0) 114 (69.9)
ดัชนีมวลกาย ( กิโลกรัม / เมตร2 ) ปกติ (20.0 – 24.9) อ้วน ( ≥ 25) ผอม ( ≤ 20)
44 (44.0) 48 (48.0) 8 (8.0)
58 (35.6) 98 (60.1) 7 (4.3)
ลักษณะงานทีท่ ํา งานวิชาการ งานบริการ งานธุรการ งานบริหาร
18 (18.0) 26 (26.0) 47 (47.0) 9 (9.0)
n = 161* 37 (23.0) 61 (37.9) 20 (12.4) 43 (26.7)
0.119
<0.001
*มีmissing data
จากตารางที่ 9 แสดงให้เห็นว่า ผลการตรวจสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยง ปานกลาง ในกลุ่มตัวอย่างเพศชายส่วนใหญ่มีระดับน้ําตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตปกติร้อย ละ 93.0 และ 64.0 ตามลําดับ ดัชนีมวลกายอยู่ในระดับอ้วนร้อยละ 48.0 โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 47.7 มีลักษณะงานเป็นงานธุรการ กลุ่ม ตัว อย่างเพศหญิ งส่ว นใหญ่มี ระดับ น้ําตาลในเลื อดและระดับ ความดั นโลหิต ปกติ ร้อยละ 95.7 และ 69.9 ตามลําดับ ดัชนีมวลกายอยู่ในระดับอ้วนร้อยละ 60.1 โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 37.9 มีลักษณะงานเป็นงานบริการ เมื่ อ ทดสอบความสั ม พั น ธ์ ระหว่ างตั วแปร พบว่ า ภาวะสุ ข ภาพทางกายไม่ ขึ้ น อยู่ กั บ สถานภาพด้านเพศอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนลักษณะงานที่ทําขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
43 ตารางที่ 10
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยง สูง จําแนกตามเพศ
ปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คะแนนความเสี่ยง ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) พิสัย (ต่ําสุด-สูงสุด) โอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ในเวลา 10 ปี (%) ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) พิสัย (ต่ําสุด-สูงสุด) อายุเฉลี่ย(ปี) (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) อายุ (ปี) 35 - 39 40 - 44 45 - 49 50 - 54 ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด มากกว่าเท่ากับ 280 มก./ดล. น้อยกว่า 280 มก./ดล. ประวัติการสูบบุหรี่ สูบ/ เลิกสูบน้อยกว่า 15 ปี ไม่สูบ ประวัติการเป็นเบาหวาน เป็น ไม่เป็น ประวัติการเป็นความดันโลหิตสูง เป็น ไม่เป็น เส้นรอบเอว (ชาย ≥ 90 ซม./ หญิง ≥ 80 ซม.) ใช่ ไม่ใช่
เพศ n (%)
P value
ชาย (n = 23)
หญิง (n = 9)
14.9 (2.0) (13,18)
13.9 (0.8) (13,15)
0.047
8.2 (3.4) (5,14) 51.2 (2.8)
6.1 (1.2) (5,8) 49.7 (3.0)
0.017
0 (0.0) 0 (0.0) 6 (26.1) 17 (73.9)
0 (0.0) 1 (11.1) 3 (33.3) 5 (55.6)
0.201 0.224
0.176 4 (17.4) 19 (82.6)
4 (44.4) 5 (55.6) 0.149
7 (30.4) 16 (69.6)
0 (0.0) 9 (100.0) 0.696
8 (34.8) 15 (65.2)
4 (44.4) 5 (55.6) 1.000
16 (69.6) 7 (30.4)
6 (66.7) 3 (33.3) 0.150
17 (73.9) 6 (26.1)
9 (100.0) 0 (0.0)
44 จากตารางที่ 10 แสดงให้เห็นว่า คะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงสูง เพศชายมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 โดยเพศชายมีคะแนนความเสี่ยงเฉลี่ย 14.9 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.0) เพศหญิงมี คะแนนความเสี่ยงเฉลี่ย 13.9 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.8) ส่วนโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ รุนแรง ในเวลา 10 ปี (%) ของเพศชายมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศชายมีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ในเวลา 10 ปี เฉลี่ยร้อยละ 8.2 (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 3.4) เพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ในเวลา 10 ปี เฉลี่ยร้อยละ 6.1 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.2) กลุ่มตัวอย่างเพศชายมีอายุระหว่าง 50 -54 ปี มากที่สุด ร้อยละ 73.9 โดยมีอายุเฉลี่ย 51.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.8) มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. ร้อย ละ 82.6 มีประวัติไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 69.6 ไม่เป็นเบาหวานร้อยละ 94.0 แต่มีประวัติการเป็นความดัน โลหิตสูงร้อยละ 69.6 และมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. ร้อยละ 73.9 กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมีอายุระหว่าง 50 -54 ปี มากที่สุด ร้อยละ 55.6 โดยมีอายุเฉลี่ย 49.7 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.0) มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดมากกว่า 280 มก./ดล. และ น้อยกว่า280 มก./ดล. เกือบเท่ากันคือร้อยละ 44.4 และร้อยละ 55.6 ตามลําดับ มีประวัติไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 100 มีประวัติการเป็นเบาหวาน และไม่เป็นเบาหวานเกือบเท่ากันคือร้อยละ 44.4 และร้อย ละ 55.6 ตามลําดับ มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ 66.7 และมีเส้นรอบเอวมากกว่า 80 ซม. ร้อยละ 100 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดทุกปัจจัยของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยงสูง ไม่ขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ
45 ตารางที่ 11
ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสีย่ งสูง จําแนกตามเพศ เพศ n (%)
ข้อมูล ระดับน้าํ ตาลในเลือด สูง (มากกว่าเท่ากับ 126 มก./ดล). ปกติ (น้อยกว่า 126 มก./ดล). ระดับความดันโลหิต (มม.ปรอท) n (%) สูง (SBP ≥140 หรือ DBP ≥ 90) ปกติ (SBP <140 และ DBP < 90) ดัชนีมวลกาย ( กิโลกรัม / เมตร2 ) ปกติ (20.0 – 24.9) อ้วน ( ≥ 25) ผอม ( ≤ 20) ลักษณะงานทีท่ ํา งานวิชาการ งานบริการ งานธุรการ งานบริหาร
ชาย (n = 23)
หญิง (n = 9)
P value 0.685
6 (26.1) 17 (73.9)
3 (33.3) 6 (66.7) 1.000
11 (47.8) 12 (52.2)
5 (55.6) 4 (44.4) 0.370
4 (17.4) 19 (82.6) 0 (0.0)
3 (33.3) 6 (66.7) 0 (0.0) 0.347
6 (26.1) 6 (26.1) 9 (39.1) 2 (8.7)
4 (44.4) 2 (22.2) 1 (11.1) 2 (22.2)
จากตารางที่ 11 แสดงให้เห็นว่า ผลการตรวจสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างระดับความเสี่ยง สูง ในกลุ่มตัวอย่างเพศชายส่วนใหญ่มีระดับน้ําตาลในเลือดปกติร้อยละ 73.9 ระดับความดันโลหิต สูงกว่าปกติ และปกติ มีจํานวนเกือบเท่ากัน คือ ร้อยละ 47.8 และร้อยละ 52.2 ตามลําดับ ดัชนีมวล กายอยู่ในระดับอ้วนร้อยละ 82.6 โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 39.1 มีลักษณะงานเป็นงานธุรการ กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงส่วนใหญ่มีระดับน้ําตาลในเลือดปกติร้อยละ 66.7 ระดับความดัน โลหิตสูงกว่าปกติร้อยละ 55.6 ดัชนีมวลกายอยู่ในระดับอ้วนร้อยละ 66.7 และส่วนใหญ่ร้อยละ 44.4 มีลักษณะงานเป็นงานวิชาการ เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ภาวะสุขภาพทางกายและลักษณะงานที่ ทําไม่ขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
บทที่ 5 อภิปรายผลการวิจัย จากการสรุ ปผลวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ประเมิ น ภาวะเสี่ย งต่ อ โรคหัว ใจและหลอดเลื อ ดของ บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ที่มารับ การตรวจสุขภาพประจําปีย้อนหลัง จากรายงานผลการตรวจสุขภาพประจําปี พ.ศ. 2556 มีประเด็น ที่น่าสนใจและควรนํามาอภิปรายดังนี้ ส่วนที่ 1
ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งเป็นข้าราชการในสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ตารางที่ 1) เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 3 เท่า มีอายุเฉลี่ย 46.1 ปี มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลใน เลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. มีประวัติไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นเบาหวาน ไม่เป็นความดันโลหิตสูง และมีเส้น รอบเอวน้อยกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และน้อยกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง (ตารางที่ 2) ผลการตรวจสุขภาพ ทางกายของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีระดับน้ําตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และดัชนีมวลกาย ปกติ โดยมีลักษณะงานเป็นงานบริการ (ตารางที่ 3) กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงมากกว่าชายอาจเป็นเพราะ ข้าราชการและลูกจ้างประจําในสังกัดส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข ที่แสดงความจํานงมาขอเข้ารับ การตรวจสุขภาพประจําปี เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 3.1 เท่า21 คือเพศหญิงจํานวน 1,225 คน เพศชายจํานวน 399 คน และการที่กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 46.1 ปี นั้นเพราะในการศึกษาครั้ง นี้ ผู้ วิ จั ย ได้ คั ด เลื อ กกลุ่ ม ตั ว อย่ า งเฉพาะผู้ ที่ มี อ ายุ ร ะหว่ า ง 35 ปี ถึ ง 54 ปี ทั้ ง นี้ เ พราะระเบี ย บ กระทรวงการคลังกําหนดให้บุคลากรอายุ 35 ปีขึ้นไปเท่านั้นที่จะสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ และจาก การศึกษาพบว่าหากนําแบบประเมินความเสี่ยงไปใช้กับผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) จะมีความ แม่นยําในการทํานายลดลง (พัฒนาพร สุปินะ และคณะ, 2552) ด้านประวัติสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างกับผลการตรวจสุขภาพจริงนั้น พบว่า ให้ประวัติได้ ใกล้เคียงผลการตรวจสุขภาพ ยกเว้น ประวัติการเป็นความดันโลหิตสูง กับระดับความดันโลหิตที่วัดได้ จริง พบผลการตรวจความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงมากกว่าการให้ประวัติว่าเป็นความดันโลหิตสูงถึง 1.9 เท่า (ตารางที่ 2 และ 3) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกลุ่มตัวอย่างไม่ได้ตรวจวัดระดับความดันโลหิตเป็น ประจําจึงไม่ทราบว่าตนเองเป็น หรืออาจเกิดภาวะที่เรียกว่าภาวะความดันโลหิตสูงปลอม คือ มีภาวะ ความดันโลหิตสูงเฉพาะที่สถานพยาบาล (white coat hypertension) (สถาบันวิจัยวิจัยและประเมิน เทคโนโลยีทางการแพทย์, 2554) หรืออาจเป็นเพราะวิธีการวัดความดันโลหิตที่ใช้เครื่องวัดอัตโนมัติ (digital electronic) ถึงแม้ว่าจะได้ทําการวัดซ้ําในรายที่มีความดันโลหิตสูงเกินค่าปกติ และวัดในท่า นั่งหลังจากที่ได้พักผ่อนประมาณ 10 นาทีแล้วก็ตาม แต่ไม่ได้วัดทั้ง 2 แขน แล้วนํามาหาค่าเฉลี่ย เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความผิดปกติของโรคหลอดเลือดบางชนิดและป้องกันการคลาดเคลื่อนของค่าความ ดันโลหิต (บรรหาร กออนันตกูล, 2554) 46
47 ส่วนที่ 2
ภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของ 2.1 กลุ่มตัวอย่างโดยรวม
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างโดยรวมส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดอยู่ในระดับน้อย โดยมีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี เพียงแค่ร้อย ละ 1.5 เท่านั้น โดยเพศชายจะมีโอกาสเกิดมากกว่าเพศหญิง 2.1 เท่า (ตารางที่ 4) การที่กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับน้อย แสดงให้เห็นว่าคะแนนความเสี่ยงมาจากปัจจัยเสี่ยงเพียงแค่ 1 ถึง 2 ปัจจัยเท่านั้น ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นประเด็นน่าสนใจได้แก่ ปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น การออกกําลัง กายและการรับประทานอาหาร โดยการวัดจากเส้นรอบเอว พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีเส้นรอบเอว มากกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และมากกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง มากถึงร้อยละ 34.9 (ตารางที่ 2) โดย สอดคล้องกับผลการตรวจสุภาพประจําปีของข้าราชการและลูกจ้างประจําที่ปฏิบัติราชการส่วนกลาง กระทรวงสาธารณสุขย้อนหลัง 3 ปี (2552 -2554) ที่พบว่าภาวะอ้วน มีแนวโน้มสูงขึ้น คือร้อยละ 27.8, 29.3 และ 30.5 ตามลําดับ และผลการตรวจสุขภาพในปี 2556 นี้ (สถานพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข ,2556) ที่พบภาวะอ้วนเพิ่มเป็นร้อยละ 32.3 รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาพบภาวะอ้วน มากถึงร้อยละ 32.7 (ตารางที่ 3) การปล่อยให้น้ําหนักตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หมายถึง การเพิ่มปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากภาวะน้ําหนักเกินเป็นสาเหตุ ของการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญให้หลอดเลือดแดงแข็ง ภาวะน้ําหนักเกิน มีแนวโน้ม นําไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมอง โดย National Heart Lung blood Institute (NHIBL) และ American Heart Association (AHA) (Grundy SM, et al., 2005) รายงานว่าโรคอ้วน (obesity) ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอลสูง เอชดีแอล โคเลสเตอรอลต่ํา ระดับน้ําตาลในเลือดสูง และสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคระบบหัวใจและ หลอดเลือด (cardiovascular risk) สําหรับปัจจัยด้านอายุ และเพศ นั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือด แต่เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ ส่วนปัจจัยด้านการสูบบุหรี่ และ ปัจจัยทางกายภาพ เช่น การเป็นความดันโลหิตสูง การเป็นเบาหวาน และไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด สูง นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบได้น้อยในกลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทํางานในสังกัดส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นแหล่งความรู้เรื่องการ ดูแลสุขภาพ อาจมีส่วนให้กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ได้ตระหนักในการป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้เกิดโรค ประกอบกับกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอยู่ในวัยผู้ใหญ่ (ตารางที่ 2) จึงไม่นิยมการสูบบุหรี่ สอดคล้องกับสถิติการสูบบุหรี่ของผู้หญิงไทยที่พบว่า มีผู้หญิงไทยสูบบุหรี่ในปัจจุบัน และสูบเป็น ประจําร้อยละ 2.9 และ 2.1 ตามลําดับของประชากรทั้งหมด และความชุกของการสูบบุหรี่ในเพศ หญิงสูงขึ้นตามอายุ โดยสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป (สสท, 2551) รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างเป็น ข้ า ราชการและลู ก จ้ า งประจํ าที่ ส ามารถเบิ กค่ า รั ก ษาพยาบาลได้ ทั้ง หมด และสามารถใช้ ร ะบบ สวัสดิการ หรือสิทธิจ่ายตรงเบิกค่ารักษาพยาบาลกับกรมบัญชีกลางได้โดยไม่ต้องสํารองเงินจ่าย จึงทํา
48 ให้กลุ่มตัวอย่างมีโอกาสเข้าถึงแหล่งบริการด้านสุขภาพได้ง่ายเมื่อเกิดการเจ็บป่วย ประกอบกับการที่ มีหน่วยงานของสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี เข้าไปให้บริการตรวจ สุขภาพประจําปีกับข้าราชการและลูกจ้างประจําเหล่านี้เป็นประจําทุกปีอยู่แล้ว จึงทําให้กลุ่มตัวอย่าง ตรวจพบความผิดปกติของระดับความดันโลหิต และระดับน้ําตาล หรือ ระดับไขมัน รวมทั้งระดับ สารเคมีอื่นในเลือด ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นและรีบทําการรักษาได้รวดเร็วทันต่อการดําเนินของโรค 2.2 กลุ่มตัวอย่างความเสี่ยงน้อย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ใน ระดับน้อย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 45- 49 ปี อายุเฉลี่ย 44.4 ปี มีระดับไขมัน โคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. มีประวัติไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นเบาหวาน ไม่เป็นความดัน โลหิตสูง และมีเส้นรอบเอวน้อยกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และน้อยกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง (ตารางที่ 2) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเสี่ยงระหว่าง -2 - 6 ซึ่งหมายความว่าในคนกลุ่มนี้จะมีโอกาสเกิดโรคเส้น เลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี ร้อยละ 0 - 1 โดยเพศชายมีโอกาสเกิดโรคร้อยละ 1.0 ซึ่ง มากกว่าเพศหญิงที่มีโอกาสเกิดโรคร้อยละ 0.7 (ตารางที่ 7) ส่วนผลการตรวจสุขภาพของกลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับน้ําตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และดัชนีมวลกายปกติ โดยส่วนใหญ่มี ลักษณะงานเป็นงานบริการ (ตารางที่ 3) ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นประเด็นน่าสนใจคือ ปัจจัยด้านอายุ และด้านการสูบบุหรี่ โดยเพศชายมี อายุน้อยกว่าเพศหญิง ซึ่งเพศชายส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 40-44 ปี อายุเฉลี่ย 41.8 ปี ในขณะที่เพศ หญิงส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 45 -49 ปี อายุเฉลี่ย 44.8 ปี และในเพศชายมีการสูบบุหรี่มากกว่าเพศ หญิงถึง 33.5 เท่า (ตารางที่ 5) ซึ่งสอดคล้องกับสถิติการสูบบุหรี่ของผู้ชายไทยที่พบว่ามีผู้ชายไทยสูบ บุหรี่ในปัจจุบัน ร้อยละ 45.6 และในกลุ่มนี้สูบเป็นประจํา 38.7 ความชุกในการสูบบุหรี่เริ่มตั้งแต่ร้อย ละ 34.2 ในกลุ่มอายุ 15-29 ปี และเพิ่มขึ้นตามอายุจนสูงสุดในกลุ่มอายุ 45-59 ปี จากนั้นความชุก ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุเสียชีวิตของประชากรโลกประมาณ 5 ล้านคนต่อปี โดยเฉลี่ยผู้ชาย 1 ใน 5 คน และผู้หญิง 1 ใน 20 คนเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ ในประเทศไทยการสูบ บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้มีการสูญเสียปีสุขภาวะมากเป็นอันดับสามของปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ (สูญเสีย DALY ร้อยละ 4.4 ในผู้ชาย และร้อยละ 0.5 ในผู้หญิง) (สสท, 2551) รวมทั้งมีการศึกษา พบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดโรคหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 6 เท่า (Contie, V., et al, 2012) ส่วนปัจจัยด้านอื่นที่เหลือได้แก่ ปัจจัยด้านระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง การเป็นความดัน โลหิตสูง การเป็นเบาหวาน และเส้นรอบเอว พบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบได้น้อยในกลุ่มตัวอย่างนี้ อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ การตรวจสุขภาพทางกายของกลุ่มตัวอย่าง ถึงแม้ว่าผลการ ตรวจสุขภาพจะพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสองเพศส่วนใหญ่จะมีระดับน้ําตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติก็ตาม แต่ในเพศชายนั้นกลับพบว่า ผลการตรวจวัดระดับความดัน โลหิตอยู่ในระดับสูงมากกว่าการให้ประวัติว่าเป็นความดันโลหิตสูงถึง 24.4 เท่า ในขณะที่เพศหญิง มากกว่าเพียงแค่ 5.4 เท่า (ตารางที่ 5 และ 6) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ชายมีการตระหนักต่อภาวะ สุขภาพของตนเองน้อยกว่าผู้หญิง ดังงานวิจัยเรื่อง Cardiovascular Risk, Knowledge, Risk
49 Perception, andSelf-Efficacy among Employees at South Bangkok Power Plant of the Electric Generating Authority of Thailand (EGAT) ในพนักงานไฟฟ้าพระนครใต้ของ กฟผ. จังหวัดสมุทรปราการ จํานวน 384 คน ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2554 ที่พบว่าเพศชายมี คะแนนความรู้ เ รื่ อ งโรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ดน้ อ ยกว่ า เพศหญิ ง อย่ า งมี นั ย สํ า คั ญ ทางสถิ ติ (Abdullakasim P., et al, 2013) ซึ่งการขาดความตระหนักต่อภาวะสุขภาพอาจทําให้ขาดโอกาสใน การเข้าถึงการคัดกรองและการรักษาของผู้ป่วยเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมาภายหลัง ได้ จะเห็นได้จากข้อมูลคนที่เคยได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตร้อยละ 68.0 ของประชากรไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป (ที่ไม่เป็นความดันโลหิตสูงและที่ไม่เคยได้รับการวินิจฉัย) เคยได้รับการตรวจวัด ความดันโลหิตในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา, ร้อยละ 15.3 เคยได้รับการตรวจในช่วง 1-5 ปีที่ผ่านมา, ร้อยละ 2.3 ได้รับการตรวจเกินกว่า 5 ปีมาก่อน และร้อยละ 14.3 ไม่เคยได้รับการวัดความดันโลหิต มาก่อน โดยเพศหญิงมีการเข้าถึงการตรวจคัดกรองได้ดีกว่าชาย ที่สําคัญคือผู้ที่มีภาวะความดันโลหิต สูง ร้อยละ 60 ในผู้ชายและร้อยละ 40 ในผู้หญิงไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน และร้อยละ 8-9 ได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษา โดยผู้ชายมีสัดส่วนของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัย รักษา และการ ควบคุมความดันโลหิตได้น้อยกว่าในผู้หญิง (สสท, 2551) โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสําคัญ ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ และการสูบบุหรี่ ทําให้เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลัน ทําให้กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนตาย (acute myocardial infarction: AMI) โดยเฉพาะหัวใจห้องล่างซ้าย ทําให้การบีบตัวของหัวใจเสียไป (systolic dysfunction) เลือดที่ออกจากหัวใจลดลง เลือดค้างอยู่ในหัวใจห้องบนซ้าย ความดันเลือด ในปอดสูงขึ้น ทําให้หอบเหนื่อยเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด (สํานักโรคไม่ติดต่อ, 2553) ส่วนลักษณะงานนั้น พบว่า กลุ่ มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงน้ อยทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนใหญ่มีลักษณะงานเป็นงานบริการ (ตารางที่ 6) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบุคลากรที่มีลักษณะงานที่ รับผิดชอบเน้นหนักในด้านการบริการ เช่น งานเดินหนังสือ ขับรถ แม่บ้าน เป็นต้น จําเป็นต้องมีการ เคลื่อนไหว และออกแรงมากกว่างานธุรการ งานบริหาร และงานวิชาการ ซึ่งเป็นงานที่มีลักษณะงาน นั่งอยู่กับที่มากกว่า สอดคล้องกับผลการศึกษาของ Nakanishi N., Takatorige T. & Suzuki K. (2005) ที่ได้ศึกษาความสัม พันธ์ร ะหว่างการมีกิจกรรมในชีวิตประจําวันกับความเสี่ยงในการเกิ ด โรคหัวใจและหลอดเลือด ในพนักงานชายของสํานักงานบริษัทรับเหมาก่อสร้างในญี่ปุ่น จํานวน 3,607 คน ตั้งแต่ปี 1994 - 2001 ผลการศึกษาพบว่า พลังงานที่ใช้ในชีวิตประจําวันมีความสัมพันธ์ ในเชิงผกผันกับความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวานประเภท 2 และเมแทบอลิ กซินโดรม (metabolic syndrome) ทั้งในคนที่ไม่อ้วน และคนที่อ้วน แต่พบมีแนวโน้มน้อยกว่าใน คนที่อ้วน ดังนั้นในแง่ของการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่ างที่มีความเสี่ยงน้อย ควรได้มีการ ส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ พฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร การออกกําลังกาย การพักผ่อน นอนหลับ รวมทั้งโอกาสในการเข้าถึงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในเพศชาย เพื่อป้องกันปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมาภายหลังได้
50 2.3 กลุ่มตัวอย่างความเสี่ยงปานกลาง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ใน ระดับปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 50 - 54 ปี อายุเฉลี่ย 49.6 ปี มีระดับไขมัน โคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. มีประวัติไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นเบาหวาน ไม่เป็นความดัน โลหิตสูง แต่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และมากกว่า 80 ซม. ใน ผู้หญิง (ตารางที่ 2) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเสี่ยงระหว่าง 7 - 12 ซึ่งหมายความว่าในคนกลุ่มนี้ จะมีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี ร้อยละ 2 - 4 โดยเพศชายมีโอกาสเกิดโรค ร้อยละ 2.6 ซึ่งมากกว่าเพศหญิงที่มีโอกาสเกิดโรคร้อยละ 2.4 (ตารางที่ 7) ส่วนผลการตรวจสุขภาพ ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับน้ําตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตปกติ แต่มีดัชนีมวลกายอยู่ ในระดับอ้วน โดยส่วนใหญ่มีลักษณะงานเป็นงานบริการ (ตารางที่ 3) ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นประเด็นน่าสนใจคือ ปัจจัยด้านอายุ ด้านการสูบบุหรี่ และด้านเส้นรอบ เอว โดยพบว่า ทั้งเพศชายและเพศหญิงส่วนมากมีอายุระหว่าง 50 -54 ปี แต่เพศชายจะมีอายุเฉลี่ย น้อยกว่าเพศหญิง 2 ปี และในเพศชายมีการสูบบุหรี่มากกว่าเพศหญิงเช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่มี ความเสี่ยงน้อย โดยเพศชายสูบบุหรี่มากกว่าเพศหญิง 8.9 เท่า แต่ในเพศหญิงจะมีภาวะอ้วนลงพุง คือ มีเส้นรอบเอวมากกว่า 80 ซม. สูงกว่าเพศชาย 2 เท่า คือ ร้อยละ 76.1 ในขณะที่เพศชายมีภาวะอ้วน ลงพุง คือ มีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. เพียงแค่ร้อยละ 38.0 เท่านั้น (ตารางที่ 7) และจากการ คํานวณค่าดัชนีมวลกายพบว่าเพศหญิงมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในระดับอ้วนมากถึงร้อยละ 60.1 เช่นกัน (ตารางที่ 8) สอดคล้องกับผลการสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจสุขภาพร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 (สสท, 2551) เปรียบเทียบกับการสํารวจฯ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546-2547 พบว่า ภาวะ อ้วนลงพุงมีความชุกเพิ่มขึ้นดังนี้ ในผู้หญิงร้อยละ 36.1 ในผู้ชายร้อยละ 15.4 เพิ่มเป็นร้อยละ 45 และ ร้อยละ 18.6 ตามลําดับ ภาวะน้ําหนักเกินเป็นสาเหตุของการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด โดยเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง 2-6 เท่า และมีส่วนสัมพันธ์กับ การเกิดภาวะโคเลสเตอรอล หรือระดับไขมันในเลือดผิดปกติ และพบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วย เบาหวานประเภทที่ 2 คือผู้ที่มีน้ําหนักเกิน (สํานักโรคไม่ติดต่อ, 2553) ส่วนปัจจัยด้านอื่นที่เหลือ ได้แ ก่ ปั จจั ยด้ า นระดั บ ไขมัน โคเลสเตอรอลในเลื อ ดสู ง การเป็น ความดัน โลหิ ตสู ง และการเป็ น เบาหวาน พบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบได้น้อยในกลุ่มตัวอย่างนี้ อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ลักษณะงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงปานกลาง นั้นในเพศชายส่วนใหญ่มีลักษณะงานเป็นงานธุรการ ส่วนเพศหญิงมีลักษณะเป็นงานบริการ ถึงแม้ว่า เพศหญิงจะมีลักษณะเป็นงานบริการมากกว่าลักษณะงานอื่น แต่เมื่อเทียบสัดส่วนกับเพศหญิงที่มี ระดับความเสี่ยงน้อยแล้วพบว่าเพศหญิงที่มีระดับความเสี่ยงปานกลาง มีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นในงาน วิชาการ จากร้อยละ 12.8 เป็นร้อยละ 23.0 และในงานบริหารจากร้อยละ 12.8 เป็นร้อยละ 23.0 (ตารางที่ 8) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะงานบริหาร งานวิชาการ และงานธุรการ ซึ่งเป็นสายสนับสนุนงาน วิชาการมีลักษณะงานนั่งอยู่กับที่มากกว่าจึงมีระดับกิจกรรมทางกายต่ํา สอดคล้องกับงานวิจัยเรื่อง กิจกรรมทางกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ระหว่างวันที่ 19 – 21 มีนาคม 2552 กลุ่มตัวอย่าง เป็น
51 บุคลากรทุกประเภทของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จํานวน 1,081 ราย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม ตัวอย่างมีกิจกรรมทางกายที่ออกแรงปานกลาง และออกแรงมาก โดยเฉลี่ยวันละประมาณครึ่ง ชั่วโมง ใช้เวลาในการเดินประมาณวันละชั่วโมงครึ่ง และนั่งประมาณวันละ 5 ชั่วโมง ซึ่งจากการ เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานนานาชาติ พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.5 เป็นผู้มีกิจกรรมทางกายใน ระดับปานกลาง และระดับมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ที่เหลือร้อยละ 37.5 มีกิจกรรมทางกายใน ระดับต่ํา โดยบุคลากรที่ทํางานด้านธุรการมีสัดส่วนของผู้มีกิจกรรมทางกายในระดับต่ํามากที่สุด (ประกาย จิโรจน์กุล และคณะ, 2554) ดังนั้นในแง่ของการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงปานกลาง ควรได้มีการ ส่งเสริมการลดน้ําหนักในเพศหญิงทุกลักษณะงาน ซึ่งการลดน้ําหนัก ก็คือ การลดปัจจัยเสี่ยงนั่นเอง โดยการรณรงค์ให้ควบคุมอาหาร และการมีกิจกรรมทางกายมากขึ้น เพราะมีงานวิจัยมากมายได้แสดง หลักฐานว่าการมีกิจกรรมทางกายเป็นประจําอย่างเพียงพอและสม่ําเสมอมีผลต่อสุขภาวะ สามารถลด อุบัติการณ์ของการเจ็บป่วย โรคเรื้อรัง เช่น ลดอุบัติการณ์โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน อ้วน และมะเร็ง จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกประมาณว่าการไม่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอเป็น สาเหตุของโรคหัวใจเลือดร้อยละ 22-23 โรคมะเร็งลําไส้ใหญ่ร้อยละ 16-17 เบาหวานร้อยละ 15 หลอดเลือดสมองร้อยละ 12-13 ในประเทศไทย การขาดกิจกรรมทางกายเพียงพอเป็นสาเหตุของ ภาระโรคลําดับที่ 9 ทําให้สูญเสีย ร้อยละ 1.3 ของ DALYs (สสท, 2551) และจากการศึกษาของ Yu S., Yarnell J.W.G., Sweetnam P. M., & Murray, L. (2003) ที่ได้ศึกษาแบบไปข้างหน้าใน ประชากรอายุ 49 -64 ปี เป็นเวลา 11 ปี พบว่า ในประชากรที่ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยหรืออาการของ โรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ดมาก่ อ น การมี กิ จ กรรมทางกายในยามว่ า งที่ อ อกแรงมากเท่ า นั้ น ที่ มี ความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 2.4 กลุ่มตัวอย่างความเสี่ยงสูง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 50 - 54 ปี อายุ เฉลี่ย 50.8 ปี มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. มีประวัติไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็น เบาหวาน แต่มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูง และมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และมากกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง (ตารางที่ 2) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเสี่ยงระหว่าง 13 - 18 ซึ่งหมายความว่า ในคนกลุ่มนี้จะมีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี ถึงร้อยละ 5 -14 โดยเพศชาย มีโอกาสเกิดโรคร้อยละ 8.2 ซึ่งมากกว่าเพศหญิงที่มีโอกาสเกิดโรคร้อยละ 6.1 (ตารางที่ 9) ส่วนผล การตรวจสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับน้ําตาลในเลือดปกติ แต่มีระดับความดันโลหิตสูง และปกติจํานวนเท่ากัน และมีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับอ้วนเป็นส่วนมาก โดยส่วนใหญ่มีลักษณะงาน เป็นงานวิชาการและงานธุรการ (ตารางที่ 3) ปัจจัยเสี่ยงทุกปัจจัยเป็นประเด็นน่าสนใจทั้งหมด (ตารางที่ 9) กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างทั้ง สองเพศส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 50 -54 ปี โดยในเพศชายไม่มีกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี ส่วนในเพศหญิงมีเพียงแค่ร้อยละ 11.1 ที่มีอายุระหว่าง 40 - 44 ปี แต่ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ไม่มี เช่นกัน ประวัติการสูบบุหรี่ และประวัติการเป็นความดันโลหิตสูง พบว่าเพศชายมีการสูบบุหรี่มากกว่า
52 เพศหญิงเช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงน้อย และปานกลาง โดยเพศชายสูบบุหรี่ร้อยละ 30.4 ในขณะที่เพศหญิงไม่มีการสูบบุหรี่ และมีประวัติการเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าเพศหญิงเช่นกัน ส่วนประวัติการเป็นเบาหวาน จะพบว่าเพศหญิงมีประวัติการเป็นเบาหวานมากกว่าเพศชาย และผล การตรวจวัดระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด พบว่า เพศหญิงมีไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดมากกว่า เท่ากับ 280 มก./ดล. สูงกว่าเพศชายมากถึง 2.6 เท่า ดังนั้นปัจจัยด้านอายุ และเพศ จึงเป็นปัจจัย สําคัญในกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับความเสี่ยงสูง เพราะว่าจากการศึกษา พบว่า โรคหัวใจมีสาเหตุจากการ ที่อายุมากขึ้น โดยร้อยละ 94 ของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด คือผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป (Srimahachota, S., et al, 2006) โดยพบว่าระดับไขมันโคเลสเตอรอลจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป จนถึง 60 หรือ 65 ปี ในเพศชายอายุก่อน 50 ปี พบว่ามีระดับไขมันโคเลสเตอรอลสูงกว่า เพศหญิ ง ที่ มี อ ายุ เ ท่ า กั น แต่ เ มื่ อ อายุ ห ลั ง 50 ปี ไปแล้ ว พบว่ า ในเพศหญิ ง จะมี ร ะดั บ ไขมั น โคเลสเตอรอลสูงกว่าเพศชาย ทั้งนี้เป็นเพราะเพศหญิงถึงวัยหมดประจําเดือนซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ ทําให้มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลสูงขึ้น ซึ่งการที่มีไขมันในเลือดสูงในเพศชายที่อายุมากกว่า 45 ปี และในเพศหญิงที่อายุมากกว่า 55 ปี จัดได้ว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหัวใจและ หลอดเลือดตามมา และจากการศึกษาของ Framingham study พบว่าอัตราการเกิดซ้ําของโรค กล้ า มเนื้ อ หั ว ใจตายเฉี ย บพลั น จะเพิ่ ม เป็ น 9 เท่ า ในผู้ ห ญิ ง หรื อ 3 เท่ า ในผู้ ช ายที่ มี ร ะดั บ ไขมั น โคเลสเตอรอลในเลื อ ดมากกว่ า 270 มิ ล ลิ ก รั ม /เดซิ ลิ ต ร เมื่ อ เที ย บกั บ คนที่ มี ร ะดั บ ไขมั น โคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 190 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และถ้ามีระดับไขมันโคเลสเตอรอลใน เลือดตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไปโดยที่ไม่มีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยเลย จะมีส่วนในการทําให้ ตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของคนในสหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ 42.7 แต่ถ้ามีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เพศชาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ ยิ่งจะทําให้มีความเสี่ยงมากขึ้นอย่างแน่นอน (สมปอง ธนไพศาลกิจ, 2549) ส่วนปัจจัยด้านเส้นรอบเอวนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิงทั้งหมด ร้อยละ 100 มีเส้นรอบเอวมากกว่า 80 ซม. ส่วนเพศชายมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. มากถึงร้อย ละ 73.9 (ตารางที่ 9) แต่จากการคํานวณค่าดัชนีมวลกายพบว่า เพศชายมีภาวะอ้วนมากกว่าเพศ หญิง คือ ร้อยละ 82.6 และ 66.7 ตามลําดับ (ตารางที่ 10) เมื่อนํามาพิจารณาร่วมกัน จึงทําให้ทราบ ว่าเพศหญิงมีลักษณะอ้วนแบบภาวะอ้วนลงพุง ส่วนเพศชายจะมีลักษณะอ้วนจากค่าน้ําหนักตัวเกิน มาตรฐาน แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองเพศในกลุ่มตัวอย่างความเสี่ยงสูงนี้มีภาวะน้ําหนักเกิน ซึ่งภาวะ น้ําหนักเกินเป็นสาเหตุของการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อนําผลการตรวจสุขภาพทางกาย (ตารางที่ 10) เรื่องระดับน้ําตาลในเลือด และระดับ ความดันโลหิตที่วัดได้ มาพิจารณาร่วมกับการให้ประวัติการเป็นเบาหวาน และการเป็นโรคความดัน โลหิตสูง (ตารางที่ 9) พบว่า ทั้งสองเพศมีการให้ประวัติว่าตนเองมีโรคประจําตัวทั้งเป็นโรคเบาหวาน และเป็นโรคความดันโลหิ ตสูงมากกว่าค่าที่วัดได้ แสดงให้เห็นว่า กลุ่ม ตัวอย่างเหล่านี้ล้วนมีโรค ประจําตัวและได้รับการรักษาอยู่ จึงสามารถรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กลุ่ม ตัวอย่างที่มีความเสี่ยงสูงนี้ ส่วนมากมีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 4 ปัจจัยขึ้นไป ซึ่งจากรายงานการสํารวจ สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 (สสท, 2551) เมื่อวิเคราะห์ ปัจจัยเสี่ยงร่วมหลายปัจจัย (Multiple risk factors) พบว่า ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น และ สูงสุดในกลุ่มอายุ 60-69 ปี รองลงมาในกลุ่มอายุ70-79 ปี และอีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ ลักษณะงาน
53 ที่ทํา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงสูงในเพศชายส่วนใหญ่ทํางานธุรการ ส่วนเพศหญิงทํางาน บริหาร ซึ่งทั้งสองลักษณะงานนี้เป็นงานที่มีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับต่ํา ดังผลงานวิจัยที่กล่าว มาแล้ว ดังนั้นในแง่ของการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงสูง ควรได้มีการส่งเสริม การลดปัจจัยเสี่ยงโดยการควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับไขมันโคเลสเตอรอลและน้ําตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติ ด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การดูแลรักษาสุขภาพโดยให้ ตระหนักถึง การรั บ ประทานยาอย่ างสม่ํา เสมอและมาพบแพทย์ต ามนัดทุก ครั้ง และการส่งเสริ ม กิจกรรมทางกายที่ออกแรงมากขึ้น จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีกิจกรรมทางกาย และ ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดกับอันตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หรืออัตราตาย โดยรวม ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2 อายุ 25 – 74 ปี จํานวน 3,708 คน เป็นเวลา 18.7 ปี พบว่า การมีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลาง หรือ ระดับมาก มีความสัมพันธ์กับการลดการตาย ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด และการตายโดยรวม ในขณะที่ค่าดัชนีมวลกาย และความดันโลหิตที่ สูงขึ้น กับการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน มีความสัมพันธ์กับการตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดที่สูงมีความสัมพันธ์กับการตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ผลในการป้องกันการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดของการมีกิจกรรมทางกาย พบได้คงเส้นคงวา ไม่ว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีค่าดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และระดับโคเลสเตอรอลในระดับใด หรือสูบบุหรี่หรือไม่ (Hu, G., et al., 2005)
บทที่ 6 สรุปและข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจยั การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหลัง (Retrospective descriptive study design) เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการ ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (Rama – EGAT heart score) ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ที่มารับการตรวจสุขภาพประจําปี ย้อนหลัง จากรายงานผลการตรวจสุขภาพประจําปี พ.ศ. 2556 ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2556 ทําการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า และคัดออก ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 950 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบบันทึก ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (Rama – EGAT heart score) ใช้คะแนนความเสี่ยงของ 7 ปัจจัย คือ อายุ เพศ ระดับไขมันโคเลสเตอรอล ประวัติ การสูบบุหรี่ การเป็นเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และค่าเส้นรอบเอว แบบประเมินความเสี่ยง ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT Heart Score เป็นแบบประเมินมาตรฐานซึ่งพัฒนา โดยคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่เคยถูกใช้ในการวิจัยเรื่องอื่น ๆ ซึ่งเป็นประชากรในวัย ทํางานเช่นเดียวกัน และมีรายงานการทดสอบความแม่นยําของแบบประเมินความเสี่ยง ทําการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ของกลุ่มตัวอย่างแบบสองกลุ่มอิสระ (independent samples) โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) และ ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (chi – square test/ fisher exact test) และถือค่า p – value น้อยกว่า 0.05 เป็นนัยสําคัญทางสถิติ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่ ม ตั ว อย่ า งมี ค วามเสี่ ย งต่ อ การเกิ ด โรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ดอยู่ ใ นระดั บ น้ อ ย ปานกลาง และสูง คิดเป็นร้อยละ 68.9, 27.7 และ 3.4 ตามลําดับ โดยมีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือด หัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี เฉลี่ยร้อยละ 1.5 ซึ่งเพศชายจะมีโอกาสเกิดมากกว่าเพศหญิง 2.1 เท่า 2. เมื่อนํามาจําแนกตามระดับความเสี่ยง พบว่า 2.1 กลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับน้อย มีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี ร้อยละ 1.0 ในเพศชาย และร้อยละ 0.7 ใน เพศหญิง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 45- 49 ปี มีระดับไขมันโคเลสเตอรอล ในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. มีประวัติไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นเบาหวาน ไม่เป็นความดันโลหิตสูง และมี เส้นรอบเอวน้อยกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และน้อยกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นประเด็น น่าสนใจคือ ปัจจัยด้านอายุ และด้านการสูบบุหรี่ โดยเพศชายมี อายุน้อยกว่าและมีการสูบบุหรี่ 54
55 มากกว่าเพศหญิง และจากการตรวจสุขภาพทางกายของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าผลการตรวจวัดระดับ ความดันโลหิตในเพศชายอยู่ในระดับสูงมากกว่าการให้ประวัติว่าเป็นความดันโลหิตสูงถึง 24.4 เท่า และพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงน้อยส่วนใหญ่มีลักษณะงานเป็นงานบริการ 2.2 กลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับปาน กลาง มีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี ร้อยละ 2.6 ในเพศชาย และร้อยละ 2.4 ในเพศหญิ ง กลุ่ ม ตั ว อย่ า งส่ ว นใหญ่ เ ป็ น เพศหญิ ง มี อ ายุ ร ะหว่ า ง 50 - 54 ปี มี ร ะดั บ ไขมั น โคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. มีประวัติไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นเบาหวาน ไม่เป็นความดัน โลหิตสูง แต่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และมากกว่า 80 ซม. ใน ผู้หญิง ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นประเด็นน่าสนใจคือ ปัจจัยด้านอายุ ด้านการสูบบุหรี่ และด้านเส้นรอบเอว โดยพบว่า ทั้งเพศชายและเพศหญิงส่วนมากมีอายุมากกว่า 50 ปี ในเพศชายมีการสูบบุหรี่มากกว่า เพศหญิงเช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ในเพศหญิงจะมีภาวะอ้วนลงพุงมากกว่าเพศ ชาย 2 เท่า และพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงปานกลางนั้นในเพศชายส่วนใหญ่มีลักษณะงานเป็น งานธุรการ ส่วนเพศหญิงมีลักษณะเป็นงานบริการ 2.3 กลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับสูง มีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในเวลา 10 ปี ร้อยละ 8.2 ในเพศชาย และร้อยละ 6.1 ใน เพศหญิง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 50 - 54 ปี มีระดับไขมันโคเลสเตอรอล ในเลือดน้อยกว่า 280 มก./ดล. มีประวัติไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นเบาหวาน แต่มีประวัติเป็นความดันโลหิต สูง และมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และมากกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง ปัจจัยเสี่ยงทุกปัจจัย เป็นประเด็นน่าสนใจทั้งหมด โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งสองเพศส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 50 ปี เพศชายมีการ สูบบุหรี่และมีประวัติการเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าเพศหญิง ส่วนประวัติการเป็นเบาหวาน และ ผลการตรวจวัดระดั บไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดพบเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย และพบว่า กลุ่ ม ตัวอย่างที่มีความเสี่ยงสูงในเพศชายส่วนใหญ่ทํางานธุรการ ส่วนเพศหญิงทํางานบริหาร ข้อเสนอแนะ เนื่องจากว่ามีความเห็นสอดคล้องกันทั่วโลกว่าบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและ หลอดเลือดหัวใจในเวลา 10 ปี ตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป จัดเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงจําเป็นต้องให้การ รักษาดูแลอย่างจริงจัง และถ้ารักษาได้ผลก็จะมีความคุ้มทุนสูงมาก ดังนั้นจึงนับเป็นผู้ป่วยกลุ่มแรกที่ เป็นเป้าหมายที่จะทําการป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ถ้าหากประเทศใดมีทรัพยากรและ บุคลากรมากพอก็ควรขยายกลุ่มบุคคลเป้าหมายมาสู่กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงมา เช่น มีความเสี่ยงใน 10 ปีภายหน้าระหว่างร้อยละ 10 - 20 ต่อไป และจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญซึ่ง เขียนคําแนะนําของโครงการศึกษาโคเลสเตอรอลแห่งชาติ (National Cholesterol Education Program [NCEP] ฉบับที่ 3 เห็นว่าการรักษาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในเวลา 10 ปี ภายหน้าเกินร้อยละ 20 เป็นการรักษาที่คุ้มทุนอย่างยิ่ง (highly favorable cost effectiveness) และผู้ที่มีความเสี่ยงอยู่ระหว่างร้อยละ 10 – 20 จัดว่าเป็นการรักษาที่คุ้มทุน ดังนั้นการให้การรักษา ด้ วยยาเพื่ อลดความเสี่ ยงที่ จะเกิ ดขึ้ นจึ งน่ าจะเหมาะสมกั บสถานการณ์ ของประเทศไทยในขณะนี้
56 ส่วนกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ํากว่าร้อยละ 10 ไม่น่าจะให้การรักษาด้วยยาถ้าไม่จําเป็น (ฆนัท ครุฑกูล และ คณะ, 2549) ข้อค้นพบจากงานวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวง สาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับน้อย ดังนั้นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการส่งเสริม สุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง โดยหน่วยงาน ต่าง ๆ ควรให้การสนับสนุน ดังนี้ 1. จัดโครงการรณรงค์คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงโดยเน้นในกลุ่มผู้ชายอายุน้อยกว่า 45 ปี รวมทั้งการสนับสนุนด้านการให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการ ปฏิบตั ิตัวเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 2. จัดการรณรงค์ให้บุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขตระหนักใน ความสําคัญของพฤติกรรมด้านการออกกําลังกายโดยเน้นในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุ 45 ปี ขึ้นไป ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ ออกกําลังกายครั้งเดียว 30 นาทีขึ้นไปต่อวัน เช่น แอโรบิก รําไม้พลอง รํามวยจีน โยคะ เป็นต้น และอีกทางหนึ่งเป็นการออกกําลังกายสะสมทีละเล็กละน้อยในแต่ละวันครั้งละ10 นาที 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน สัปดาห์ละ 3-5 วัน โดยการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจําวัน หรืองานอาชีพ เช่น การขึ้นบันไดแทนลิฟต์ การลุกเดินทุกๆ 30 นาทีขณะทํางาน การทําสวน ขุดดิน ล้างรถ เช็ดรถ ถูบ้าน ซักผ้า เลี้ยงลูก เป็นต้น กิจกรรม เหล่านี้ทําให้มีการใช้พลังงานมากกว่าในขณะที่พัก ซึ่งสามารถช่วยทําให้สุขภาพดีขึ้น หัวใจแข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และที่สําคัญจะช่วยสร้างสมดุลให้แก่ชีวิตทั้งในด้านสภาพ ร่างกายและจิตใจควบคู่กันได้อย่างดีอีกด้วย 3. การสนับสนุนและกระตุ้นให้บุคลากรที่มีความเสี่ยงสูงตระหนักและเห็นความสําคัญ ของการมารับการรักษาตามนัด และการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ซึ่งแต่ละกรม หรือสํานักงาน สามารถให้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ ปั ญ หาสุ ข ภาพที่ เ ป็ น ผลมาจากการมี ภ าวะไขมั น ในเลื อ ดสู ง การเป็ น เบาหวาน การเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือ ภาวะอ้วน ได้หลายวิธี เช่น การจัดนิทรรศการ การ แจกแผ่นพับ การจัดให้มีโปรแกรมการด้านสุขภาพของแต่ละกรมหรือสํานักงานนั้น เป็นต้น 4. การสนั บ สนุ น ด้ า นการให้ ค วามรู้ ข้ อ มู ล ข่ า วสาร และทั ศ นคติ ที่ ถู ก ต้ อ งในเรื่ อ ง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร กรมหรือสํานักงานที่อยู่ในพื้นที่ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข ดําเนินการจัดการให้มีร้านอาหารขายอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีการตรวจสอบคุณภาพและ คุ ณ ค่ า ทางโภชนาการของอาหารที่ จํ า หน่ า ยให้ แ ก่ เ จ้ า หน้ า ที่ ข องแต่ ล ะกรมหรื อ สํ า นั ก งานอย่ า ง สม่ําเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากร มีโอกาสเลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อรักษาสุขภาพ และป้องกันการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของตนเองได้ 5. สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุ ข โรงพยาบาลราชวิ ถี กรมการแพทย์ จั ด กิจกรรมกลุ่มระยะสั้นในแต่ละวัน แก่ผู้มารับการตรวจรักษาก่อนที่จะเข้าพบแพทย์ ในเรื่องสุขภาพ ศึกษา (Health Education) การออกกําลังกายง่าย ๆ (Simple exercise) ปฏิบัติได้ทั้งที่บ้าน และที่ทํางาน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
บรรณานุกรม กมลภัค นนทลักษณ์, เกษชดา ปัญเศษ, สุกาญฎา กลิน่ ถือศิล, เพ็ญพรรณ บุญสาใจ, และมาณวิกา กิ่งแก้ว. (2548). ระดับไขมัน น้ําตาลในเลือด และความดันโลหิต ของบุคลากรที่ปฏิบัติ ราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข. วารสารโรงพยาบาลราชวิถ,ี 15 (1), 61-70. กมลภัค นนทลักษณ์, เกษชดา ปัญเศษ, สุกาญฎา กลิ่นถือศิล, เพ็ญพรรณ บุญสาใจ, และมาณวิกา กิ่งแก้ว. (2550). พฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวง สาธารณสุข : ศึกษากรณีผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง. รายงานการวิจัย, โรงพยาบาลราชวิถี. ฆนัท ครุธกูล และคณะ. (2549). รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการทบทวนองค์ ความรู้ ภ าวะไขมั น ในเลื อ ดสู ง . สํ า นั ก โรคไม่ ติ ด ต่ อ กรมควบคุ ม โรค กระทรวง สาธารณสุข. บรรหาร กออนันตกูล. (2554). ความดันโลหิตคู่ชีวิต. [รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์]. วารสาร medical progress, 35-37 ประกาย จิโรจน์กุล และคณะ. (2554). กิจกรรมทางกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหารและความ เสี่ ย งต่ อ การเกิ ด โรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ดในบุ ค ลากรมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ สวนดุ สิ ต . [รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์]. SDU Res, 7(1), 59-76 พัฒนาพร สุปินะ, กิติพงษ์ หาญเจริญ, สุคนธา ศิริ และอดิศักดิ์ มณีไสย. (2552). การทดสอบความ แม่นยําของแบบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ Rama – EGAT Heart Score ในผู้ป่วย Acute Coronary Syndrome โรงพยาบาลศิริราช. [รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์]. Journal of Nursing Science, 27(2), 77-82 วิวรรธน์ เจี่ย, สุปรานี ศรีพลาวงษ์, รําพึง อภัยวงศ์, และจงกล ธัมปสาโท. (2554). ผลการ ประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในชุมชน เขตตําบลบางทราย อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. [รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 37(3), 165-168 สถาบันวิจัยวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. เข้าถึงเมื่อ 21 พ.ย. 2556 จาก http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/ebook/pdf/ht_ebook.pdf สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข (2552- 2544). โครงการตรวจสุขภาพประจําปีของข้าราชการ และลูกจ้างประจําที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการดําเนิน โครงการ, โรงพยาบาลราชวิถี สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข (2556). โครงการตรวจสุขภาพประจํ าปีข องข้ าราชการและ ลู ก จ้ า งประจํ า ที่ ปฏิ บั ติร าชการส่ วนกลางกระทรวงสาธารณสุ ข . รายงานการดํา เนิ น โครงการ, โรงพยาบาลราชวิถี
57
58
สมปอง ธนไพศาลกิจ. (2549). “Dyslipidemia : The Growing Health Burden.” ใน ไข...ข้อ ข้องใจ... ทุก ทุกข์เรื่องไขมัน : Dyslipidemia and Related Problems. หน้า 1-17. สมปอง ธนไพศาลกิจ, บุษบา ยิ้มขลิบ และองอาจ สิกขมาน. บรรณาธิการ. กรุงเทพ ฯ : ม.ป.ท. สิริพันธุ์ จุลกรังคะ. (2541). โภชนศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพ ฯ : ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สุกิจ แย้มวงศ์. (2548). โครงการ การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด. เข้าถึงเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.thainhf.org/document/research/research_199.pdf สํานักงานสํารวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2551). การสํารวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2. เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report/report16.pdf สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2553). แนวปฏิบัติการปรับเปลี่ยน พฤติ ก รรมสุ ข ภาพเพื่ อ ลดปั จ จั ย เสี่ ย งโรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ด. เข้ า ถึ ง เมื่ อ 20 กุมภาพันธ์ 2556, จาก :http://www.kmddc.go.th/Library/onlinemarket/healthbehavioral.pdf Abdullakasim P., Somrongthong R., Sritara P., & Chaisantikulwat O. (2013). Cardiovascular Risk, Knowledge, Risk Perception, andSelf-Efficacy among Employees at South Bangkok Power Plant of the Electric Generating Authority of Thailand (EGAT). [Electronic version]. European journal of Scientific Research, 94 (2), 197-208 Chobanian AV, Bakris GL, Black HR, Cushman WC, Green LA, Izzo JL Jr, et al. (2003). The Seventh report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure: the JNC 7 report. [Electronic version]. JAMA 289 (19) , 2560-72. Contie, V., Defibaugh, A., Dutchen, S., Earl, L. & Wein, H. (2012). NIH news in health: Love your heart; take steps to reduce heart riskss. Retrieved April 22, 2012, from http://newsinhealth.nih.gov/issue/Feb2012/Feature1 Grundy SM, Cleeman JI, Daniels SR, et al. (2005). Diagnosis and management of the metabolic syndrome. An American Heart Association/National Heart, Lung, and Blood Institute Scientific Satement. Retrieved April 24, 2012, from http://hpe4.anamai.moph.go.th/ Hu, G., Jousilahti, P., Barengo, N.C., Qiao, Q., Lakka, T.A., & Tuqmilehto, J., (2005). Physical Activity, cardiovascular Risk factors, and Mortality among Finnish Adults with Diabetes. [Electronic version]. Diabetes care. 28 (4), 799 - 805
59
Law, M.R., Wald, N.J. , & Thompson, S.G. (1994). By how much and how quickly does reduction in serum cholesterol concentration lower risk of ischaemic heart disease ?. [Electronic version]. BMJ., 308 (6925), 367 - 372 Nakanishi N., Takatorige T. & Suzuki K. (2005). Daily Life Activity and Risk of Developing Cardiovascular Risk Factors. [Electronic version]. Diabetes Care. 28 (6), 1500 - 1502 Stamler, J., Vaccaro, O., Neaton, J. D., & Wentworth, D. (1993). Diabetes, other risk factors, and 12 year cardiovascular mortarity for men screened in the multiple risk factor intervention trial. [Electronic version]. Diabetes Care, 16 (2), 434-444. Srimahachota, S., Kanjanavanit, R., & Boonyaratabej, S. (2006). Demographic, management practice and in-hospital outcomes of thai acute coronary syndrom registry (TACSR): The difference from the western world. In C. Prajaomao (Ed.), Thai acute coronary syndrome registry (pp. 10-14). Bangkok: Health System Research Institute. World Health Organization. (2005). Preventing chronic diseases: a vital investment. Retrieved February 20, 2013, from http://whqlibdoc.who.int/publications/2005/9241563001_eng.pdf Yu, S., Yarnell, J.W.G., Sweetnam, P. M., & Murray, L. (2003). What Level of Physical Activity Protects Against Premature Cardiovascular Death? The Caerphilly study. [Electronic version]. Heart. 89 (5), 502–506
ภาคผนวก
60
61 ภาคผนวก ก เอกสารรับรองโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับการวิจัยในคน
62 ภาคผนวก ข แบบบันทึกข้อมูล ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลาง กระทรวงสาธารณสุขโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT Heart Score เลขที.่ ......................................... อาชีพ ลักษณะงาน โรคประจําตัว
(.....) ข้าราชการ (.....) ลูกจ้างประจํา (.....) งานบริหาร (.....) งานวิชาการ (.....) งานบริการ (.....) งานธุรการ (.....) ไม่มี (.....) มี คือ.......................................................................................
ปัจจัยเสี่ยง 1.อายุ.............ปี ( ) 35- 39 ปี ( ) 40- 44 ปี ( ) 45- 49 ปี ( ) 50- 54 ปี 2. เพศ ( ) หญิง ( ) ชาย 3. โคเลสเตอรอล = .................มก/ดล ( ) น้อยกว่า 280 มก./ดล. ( ) มากกว่า หรือเท่ากับ 280 มก./ดล 4. บุหรี่ ( ) ไม่สูบ ( ) ยังสูบบุหรี่ 5. เบาหวาน ( ) ไม่เป็น ( ) เป็น (หรือ มากกว่า 126 มก/ดล) 6. ความดันโลหิตสูง ( ) ไม่เป็น ( ) เป็น (หรือ มากกว่าเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท) 7. รอบเอว ชาย เท่ากับ หรือ มากกว่า 36 นิ้ว (90 ซม.) หญิง เท่ากับ หรือ มากกว่า 32 นิ้ว (80 ซม.) ( ) ไม่ใช่ ( ) ใช่ (สําหรับเจ้าหน้าที่) คะแนนรวมปัจจัยเสีย่ ง ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจที่สําคัญ ใน 10 ปี (%) ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ( ) น้อย ( ) ปานกลาง ( ) สูง
( ) สูงมาก
ลงชื่อ.........................................................................(ผู้แปลผล)
คะแนน -2 0 2 4 0 3 0 4 0 2 0 5 0 3 0 3
63 ภาคผนวก ค รายนามและประวัติย่อผู้วิจัย ชื่อ เกิดวันที่ สถานทีเ่ กิด สถานที่อยู่ปัจจุบัน สถานทีท่ ํางาน ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2526
นางเกษชดา ปัญเศษ 11 สิงหาคม 2505 จังหวัดสกลนคร บ้านเลขที่ 111/90 หมู่บ้านปิ่นเจริญ 4 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพ ฯ 10210 สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ประกาศนียบัตรพยาบาลและผดุงครรภ์ระดับต้น จากวิทยาลัยพยาบาลอุดรธานี พยาบาลศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. 2531 ประวัติการทํางาน พ.ศ. 2526 - 2531 พยาบาลเทคนิค โรงพยาบาลบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2531 - 2539 พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน พยาบาลวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี
64 ชื่อ เกิดวันที่ สถานทีเ่ กิด สถานที่อยู่ปัจจุบัน สถานทีท่ ํางาน ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2537
นางสาวสุกาญฎา กลิ่นถือศิล 16 พฤศจิกายน 2516 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บ้านเลขที่ 111/155 อาคารรัตนาธิเบศร์หนึ่งคอนโดมีเนียม ถนนรัตนาธิเบศร์ หมู่ 8 ตําบลบางกระสอ อําเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ พยาบาลศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสอง จากวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2544 ประวัติการทํางาน พ.ศ. 2537 - 2539 พยาบาลวิชาชีพ ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน พยาบาลวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี
65 ชื่อ เกิดวันที่ สถานทีเ่ กิด สถานที่อยู่ปัจจุบัน สถานทีท่ ํางาน ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2532
นางอาภาสิณี กิ่งแก้ว 12 กุมภาพันธ์ 2510 จังหวัดกรุงเทพ ฯ บ้านเลขที่ 99/53 หมู่ 4 ซอยท่าอิฐ ถนนรัตนาธิเบศร์ ตําบลบางรัก น้อย อําเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ช้นั สูง จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก
ประวัติการทํางาน พ.ศ. 2532 - 2539 พยาบาลวิชาชีพ ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเลิดสิน พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน พยาบาลวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี
66 ชื่อ เกิดวันที่ สถานทีเ่ กิด สถานที่อยู่ปัจจุบัน สถานทีท่ ํางาน ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2527
นางวิยดา วงศ์มณีโรจน์ 23 สิงหาคม 2507 จังหวัด จันทบุรี บ้านเลขที่ 204/131 ม.ชัยพฤกษ์ ต.พิมลราช อ.บางบัว จ.นนทบุรี สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ประกาศนียบัตรวิชาการพยาบาลและผดุงครรภ์ระดับต้น จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณทิต ( สุขศึกษา ) จากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ ปริญญาพยาบาลศาสตร์ จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นนทบุรี
พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2550 ประวัติการทํางาน พ.ศ. 2529 - 2535 พยาบาลเทคนิค โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จังหวัด จันทบุรี พ.ศ. 2535 - 2544 พยาบาลเทคนิค สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ พ.ศ. 2544 - 2549 พยาบาลเทคนิค สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ พ.ศ. 2549 - 2551 พยาบาลเทคนิค สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน พยาบาลวิชาชีพชํานาญการด้านการพยาบาล สถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี