Vocation of the Business Leader
กระแสเรียกของผู้นำ�ธุรกิจ
ขอขอบคุณ ศาสตราจารย์ กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต ผู้แปล พิมพ์ครั้งที่ 1
สิงหาคม ค.ศ.2014 จำ�นวน 2,000 เล่ม
จัดพิมพ์โดย
ชมรมนักธุรกิจคาทอลิก
1
สมณสภาเพื่อความยุติธรรมและสันติ
อารัมภบท
กระแสเรียกของผู้นำ�ธุรกิจ ข้อคิดคำ�นึง
ในระหว่างวันที่ 24 ถึง 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ได้มีการสัมมนาเรื่อง “ความรักในความจริง (Caritas in Veritate): ตรรก แห่งพระพรและความหมายของการทำ�ธุรกิจ” ณ ทีท่ �ำ การของสมณสภาเพือ่ ความยุตธิ รรมและสันติ (PCJP) โดยได้รบั ความร่วมมือ จากสถาบันเพื่อความคิดด้านสังคมของชาวคาทอลิก จอห์น เอ ไรอัน (John A. Ryan) อันเป็นสถาบันในสังกัดของศูนย์ประสานงาน สำ�หรับการศึกษาคาทอลิกที่ตั้งอยู่ใน มหาวิทยาลัยนักบุญโทมัส ร่วมด้วยมูลนิธิเอโกฟีลอส (Ecophilos) ก่อนหน้านี้ได้มีการประชุม ทางวิชาการเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 เรื่อง “ความรักในความจริงกับประเทศสหรัฐอเมริกา” ซึ่งสมณสภาเพื่อความยุติธรรม และสันติเป็นเจ้าภาพจัดร่วมกับสถาบันเพื่อการศึกษาคาทอลิกระดับสูงแห่งนครลอสแอนเจลิส [ Institute for Advanced Catholic Studies of Los Angeles ] และต่อมายังได้ทำ�การศึกษาอย่างต่อเนื่อง เรื่องการจัดองค์กรธุรกิจให้สอดคล้องกับพระสมณสาส์น ด้านสังคมของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เรื่องความรักในความจริง จุดเด่นชัดของการประชุม 2 ครั้งดังกล่าวก็คือ พบตรงกัน ในประเด็นที่พระศาสนจักรเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่า คริสตชนทุกคนได้รับกระแสเรียกให้ปฏิบัติตนในด้านความรักอย่างสอดคล้องกับ กระแสเรียกของตนและคล้อยตามระดับบทบาทที่แต่ละคนมีในสังคมของตน (CIV, 7) ตลอดระยะเวลา 3 วัน นักธุรกิจทั้งชายหญิง บรรดาคณาจารย์ใน มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในด้านนี้ได้แลก เปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยอาศัยเอกสารต่างๆ มากมายที่รวบรวมจัดเตรียมไว้ก่อนการประชุมสัมมนา ผู้ร่วมประชุมทุกคนทำ�งาน กันอย่างเข้มข้นและมีประสิทธิผล มีข้อสรุปว่าควรมีการจัดทำ�เอกสารเพื่อเป็นคู่มือสำ�หรับนักธุรกิจทุกคน และสำ�หรับคณาจารย์ ทั้งหลายสามารถใช้ในการสอนได้ทั้งในระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย นี่คือที่มาของการไตร่ตรองที่ปรากฏอยู่ในเอกสารนี้ คือ กระแสเรียกของผู้นำ�ธุรกิจ ซึ่งต้องการให้เป็นเครื่องมือช่วยในการสอนที่มุ่งสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ”กระแสเรียก” ของนักธุรกิจ ที่ก�ำ ลังมีบทบาทอย่างกว้างขวาง ในองค์กรธุรกิจที่หลากหลาย ในสหกรณ์ ในบรรษัทข้ามชาติ ในธุรกิจแบบครอบครัว ในธุรกิจ เพื่อสังคม ในสหกิจทั้งที่หากำ�ไรและไม่หากำ�ไร ฯลฯ นอกจากนั้นยังอาจใช้เป็นคู่มือชี้แนะการตัดสินใจดำ�เนินธุรกิจในกระแสโลก ปัจจุบันที่ท้าทาย ทั้งเสนอโอกาสในบริบทที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีสื่อสารพร้อมสรรพ กระบวนการบริหารจัดการทางการเงิน ระยะสั้นต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในเชิงลึก ในกรณีดังกล่าว ผู้นำ�ธุรกิจย่อมได้รับกระแสเรียกให้ใส่ใจต่อโลกเศรษฐกิจและการเงินภายใต้แสงสว่างที่ส่องให้เห็นว่า ต้องทำ�การตามหลักการแห่งศักดิ์ศรีมนุษย์ เพื่อได้มาซึ่งประโยชน์สุขร่วมกัน แนวคิดจากการไตร่ตรองในเอกสารนี้ย่อมเปิดทาง ให้ผู้นำ�ธุรกิจ ให้สมาชิกขององค์กรธุรกิจ ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ได้รู้ถึงแนวทางปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม ข้าพเจ้าขอเน้นหลักการที่ว่า ต้องให้โลกได้สินค้า ที่ดี และเป็นประโยชน์จริงๆ ในเจตนารมณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวที่เรียกร้องให้ คนจนและคนด้อยโอกาสได้รับการดูแล ขอเน้นให้มีการบริหารจัดการที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขอเน้นหลักการกระจาย อำ�นาจ อันส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานได้มีโอกาสในการพัฒนาจิตตารมณ์แห่งการริเริ่ม จนทุกคนได้พัฒนาขีดความรู้ความสามารถ เพิม่ ขึน้ ให้ถอื ว่าคนทำ�งานทุกคนเป็น ”หุน้ ส่วน” และสุดท้ายขอเน้นหลักการแห่งการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนทีผ่ มู้ สี ว่ นได้เสียทุกคนมีสทิ ธิ ได้ส่วนแบ่งอย่างยุติธรรม ในช่วงเวลาวิกฤตแห่งเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ นักธุรกิจจำ�นวนมากได้รับผลกระทบจากภาคธุรกิจที่รายได้ลดลงไป เสี่ยงต่อ การอยู่รอด คนตกงานอาจจะเพิ่มขึ้น หากเหตุการณ์แปรผันไปถึงขนาดนั้นจริง พระศาสนจักรก็ยังหวังว่าผู้นำ�ธุรกิจคริสตชน แม้จะเผชิญกับความมืดมนจากวิกฤตปัจจุบัน ก็ยังยืนหยัดเชื่อมั่น บันดาลใจให้มีความหวัง ทั้งยังคงรักษาไฟแห่งศรัทธาให้ลุกโชน ได้ต่อไปในการทำ�ความดีในชีวิตประจำ�วัน ณ จุดนี้น่าจะระลึกว่า ศรัทธาของคริสตชนนั้นมิเป็นเพียงแสงสว่างที่ลุกโชนอยู่ในหัวใจ ของผู้เชื่อเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพกระตุ้นให้มนุษยชาติเดินหน้าสร้างประวัติศาสตร์ต่อไปอย่างองอาจ คาร์ดินัล ปีเตอร์ เค เอ เทิร์กสัน
พระสังฆราชมารีโอ โตโซ 2
3 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
กระแสเรียกของผู้นำ�ธุรกิจ
บทสรุปสำ�หรับผู้บริหาร:
หากการประกอบธุรกิจและระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเป็นไปอย่างเหมาะสมและถูกต้อง มุง่ เน้นการสร้างประโยชน์ เพื่อส่วนรวม ก็จะช่วยทำ�ให้สังคมเกิดความอยู่ดีมีสุขทั้งด้านวัตถุและด้านจิตวิญญาณ แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา ที่ผ่านมาเห็นได้ชัดเจนว่า มีความเสียหายเกิดขึ้นจากความล้มเหลวของระบบธุรกิจ อันเป็นผลจากกระแสการพัฒนาในยุคนี้ ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และ การเงินภิวัตน์ ที่แม้จะมีประโยชน์แต่ก็นำ�มาซึ่งปัญหา เช่น การมุ่งสร้าง แต่ผลกำ�ไร ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ ภาวะข้อมูลท่วมท้น ความไม่มีเสถียรภาพด้านการเงิน และปัจจัยกดดันอีก หลายอย่างที่เป็นตัวปิดกั้นไม่ให้เกิดผลประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่หากผู้นำ�ธุรกิจใช้หลักจริยธรรมและคุณธรรม โดยมีพระวรสาร เป็นแสงสว่างส่องนำ�ทางก็จะสามารถบรรลุถึงความสำ�เร็จและสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ส่วนรวมได้ อุปสรรคที่เป็นตัวกีดขวางการสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวมมีหลายรูปแบบ เช่น การขาดหลักนิติธรรม การคอร์รัปชั่น ความโลภ การใช้ทรัพยากรอย่างไร้วิจารณญาณ แต่สิ่งที่สำ�คัญที่สุดสำ�หรับชีวิตของผู้นำ�ธุรกิจก็คือ “เส้นแบ่ง” ในชีวิต ระหว่าง ความเชื่อและการดำ�เนินธุรกิจประจำ�วันซึ่งอาจขาดความสมดุลและอุทิศตนไปในทางที่ผิด อันเป็นผลจากความต้องการได้มาซึ่ง ความสำ�เร็จทางโลก ทางเลือกที่ควรเป็นบนพื้นฐานของความเชื่อแบบคริสตชนคือการเป็น “ผู้นำ�ที่เป็นผู้รับใช้” อันจะช่วยเปิด ทัศนคติมมุ มองให้กว้างขึน้ และช่วยจัดสมดุลความต้องการด้านต่างๆ ของโลกธุรกิจโดยใช้หลักจริยธรรมสังคมซึง่ สำ�หรับคริสตชน จะยิ่งเห็นได้ชัดเจนจากการนำ�ทางด้วยพระวรสาร โดยมีขั้นตอนดังนี้คือ การพิจารณา การวินิจฉัย และการปฏิบัติ (วิเคราะห์ วิจักษ์ และ วิธาน ) โดยทั้งสามขั้นตอนนี้มีความเกี่ยวโยงเชื่อมกันอย่างลึกซึ้ง วิเคราะห์ : (SEEING) ความท้าทายและโอกาสในโลกธุรกิจเป็นเรื่องซับซ้อน เพราะมีองค์ประกอบทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีปน กันอยู่ โดยเฉพาะปัจจัยสำ�คัญ 4 ประการอันอาจถือเป็น “เครื่องหมายแห่งกาลเวลา” ที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจ อันได้แก่ โลกาภิวัตน์ ซึ่งนำ�พาประสิทธิภาพและโอกาสใหม่ในการทำ�ธุรกิจ แต่ในอีกแง่มุมก็นำ�มาซึ่งผลเสียที่ร้าย แรง นั่นคือ ความไม่เสมอภาค การเคลื่อนย้ายฐานทางเศรษฐกิจ การแบ่งแยกทางวัฒนธรรม รวมทั้งรัฐเองไม่สามารถจัดระเบียบควบคุมการ เคลื่อนย้ายเงินทุน ปัจจัยต่อมาคือเทคโนโลยีการสื่อสารที่ช่วยให้การติดต่อสะดวกรวดเร็วมากขึ้นและมีค่าใช้จ่ายถูกลง มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ วิธกี ารใหม่ดว้ ยต้นทุนทีถ่ กู ลง แต่ความรวดเร็วจากการพัฒนานีก้ ก็ อ่ ให้เกิดภาวะข้อมูลท่วมท้นทีบ่ บี คัน้ ให้ ต้องรีบเร่งในการตัดสินใจ ปัจจัยที่สามคือ เรื่องของการเงินภิวัตน์ แนวโน้มของการทำ�ธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสำ�คัญกับเป้าหมายการสร้าง แนวคิดของการทำ�งานเป็นตัวเงินรวมทัง้ เน้นในเรือ่ งความมัง่ คัง่ สูงสุด และการได้ผลตอบแทนคืนมาจากการลงทุนภายในเวลาอันสัน้ โดยละเลยแนวคิดในการทำ� เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ปัจจัยที่สี่คือ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในยุคนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและนำ�มาซึ่งความ เป็นปัจเจกนิยม ความ ล่มสลายของสถาบันครอบครัว ชีวิตที่ถูกครอบงำ�โดยลัทธิประโยชน์นิยม รวมทั้งการแสวงหาเพียง “สิ่งที่ดีที่สุดเฉพาะตน” เท่านั้น ดังนั้น เราอาจได้ประโยชน์ในแง่ของการมีผลิตภัณฑ์เฉพาะตัวแต่กลับขาดสินค้าที่เป็นประโยน์ต่อส่วนรวมไป เมื่อผู้น�ำ ทางธุรกิจให้ แต่ความสำ�คัญกับการสร้างความมั่งคั่งมากกว่าเดิม และลูกจ้างก็ทะเยอทะยานให้ได้มาซึ่งตำ�แหน่งสูง ส่วนลูกค้าเองก็พึงพอใจ แค่เพียงการได้สนิ ค้าในราคาถูกทีส่ ดุ เท่านัน้ จะเห็นได้วา่ เมือ่ คุณค่ามีความหมายเชิงสัมพัทธ์นยิ มและอ้างสิทธิเข้ามามีบทบาทสำ�คัญ กว่าหน้าที่ เป้าหมายการทำ�งานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมจะหายไป 4
5 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
วิจักษ์ : (JUDGING) การตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีต้องมาจากการยึดมั่นในหลักการระดับพื้นฐานที่ดี เช่น การเคารพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การให้บริการเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ด้วยวิสัยทัศน์ว่าการประกอบธุรกิจเป็นประชาคมของบุคคล โดยผู้น�ำ ธุรกิจควรมีหลักปฏิบัติพื้นฐานในการประกอบการที่เน้นความสำ�คัญดังนี้ :
- การผลิตสินค้าและบริการเพือ่ การตอบสนองความต้องการแท้จริงของมนุษย์ ในเวลาเดียวกันก็มคี วามรับผิดชอบต่อสังคม และสิง่ แวดล้อมทีใ่ ช้เป็นพืน้ ฐานของห่วงโซ่อปุ ทานและห่วงโซ่การจำ�หน่ายสินค้า (เพือ่ สร้างประโยชน์สว่ นรวมและหาช่องทาง ช่วยเหลือผู้ยากไร้ในเวลาเดียวกัน)
- การจัดระบบการผลิตและการทำ�งานอย่างมีคุณค่า ด้วยการตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนของลูกจ้างเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ และความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานที่พวกเขาพึงได้ (“งานเพื่อคน” ไม่ใช่ “คนเพื่องาน”) รวมทั้งการจัดโครงสร้าง องค์กรในด้านการจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบ ทั้งการออกแบบเนื้องาน การจัดเตรียมสิ่งจำ�เป็นในการทำ�งาน มอบ ความไว้วางใจ เพื่อให้ลูกจ้างทำ�งานของตนได้อย่างดีที่สุด - การใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างชาญฉลาดเพื่อสร้างทั้งผลกำ�ไรและความอยู่ดีมีสุขของตน เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน และการกระจายความมั่งคั่งอย่างเป็นธรรม (ลูกจ้างได้ค่าแรงที่เป็นธรรม ลูกค้าและผู้จัดส่งสินค้าได้ราคาที่เป็นธรรม มี การจ่ายภาษีคืนสู่ชุมชนอย่างเป็นธรรม และเจ้าของได้รับผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมเช่นกัน)
วิธาน : (ACTING) ผู้นำ�ธุรกิจที่ตั้งใจทำ�ธุรกิจอย่างถูกต้อง พึงลงมือปฏิบัติตามปณิธานที่ได้ตั้งไว้ เรียกได้ว่าเป็นผู้เดิน ตามกระแสเรียกของผู้นำ�ธุรกิจ เพราะเขาสนใจเป็นนักธุรกิจตัวอย่างยิ่งกว่าเป็นนักธุรกิจร่ำ�รวยเร็ว เมื่อเขาผนวกเอาพระพรแห่ง ชีวิตจิต คุณธรรม และหลักการจริยธรรมสังคมเข้าเป็นชีวิตการทำ�งานของเขา เขาจะไม่รู้สึกถึงการมี เส้นแบ่ง ในชีวิต เขาได้รับ พระหรรษทานให้รจู้ กั ชักนำ�ผูร้ ว่ มธุรกิจกับเขาทุกคนได้พฒ ั นาความดีไปพร้อมกับเขา พระศาสนจักรชีช้ อ่ งทางชีวติ แก่เขาให้เป็นทัง้ ผู้รับและผู้ให้ ให้รับทุกสิ่งดีๆ จากพระเป็นเจ้าด้วยความสุภาพถ่อมตน และชักชวนให้คนอื่นๆ ร่วมมือกันสร้างโลกใหม่ให้น่าอยู่ กว่าเดิม เขาจะได้รับพระพรแห่งความรอบคอบอันเป็นปรีชาญาณเชิงปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยให้เขารู้ทุกฝีก้าวว่าจะดำ�เนินธุรกิจอย่างไร จะให้ก�ำ ลังใจเขาเป็นนักธุรกิจชั้นนำ�เพื่อตอบสนองเสียงเรียกร้องของโลกที่ต้องการธุรกิจที่ให้คุณแก่โลก เขาจะไม่กลัวและไม่วาง เฉย แต่จะกล้าออกหน้าด้วยคุณธรรมแห่งความเชื่อ ความวางใจ และความรัก เอกสารฉบับนี้มุ่งหวังจะช่วยให้กำ�ลังใจและให้ ข้อคิดแก่ผู้นำ�ธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจทั้งหลาย ให้รู้จักวิเคราะห์ สิ่งท้าทายและโอกาสจากวงการธุรกิจ ให้รู้จักวิจักษ์ ตามหลักการจริยธรรมสังคมภายใต้แสงสว่างจากพระวรสาร และวิธานคือลงมือทำ�การอย่างองอาจในฐานะผู้นำ�ที่ตั้งใจรับใช้ องค์พระผู้เป็นเจ้า
6
7 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
บทนำ�
1. พระเยซูเจ้าบอกแก่เรา โดยทางพระวรสาร ไว้ว่า “ผู้ใดได้รับฝากไว้มาก ผู้นั้นจะถูกทวงกลับไปมากด้วย” (ลก 12 : 48) นักธุรกิจได้รับโอกาสในการใช้ทรัพยากรต่างๆ มาก พระเจ้าจึงมอบภาระที่ยิ่งใหญ่ให้ เป็นกระแสเรียกของนักธุรกิจทุกคน จะเห็น ได้ว่า ในช่วงสั้น ๆ แห่งต้นศตวรรษนี้ ธุรกิจหลายแขนงได้สร้างนวัตกรรมอันน่าทึ่งมากมาย เช่น ด้านการบำ�บัดรักษาโรค นำ�คน ทั่วโลกให้ใกล้ชิดกันอย่างรวดเร็วทันใจด้วยเทคโนโลยี และการสร้างสรรค์ความเจริญในสังคมรอบด้าน แต่ในเวลาเดียวกันก็มี ด้านลบที่มีการฉ้อฉลในการทำ�ธุรกิจ ยังผลให้เศรษฐกิจโลกเกิดความวุ่นวายปั่นป่วน เกิดความไม่เชื่อมั่นในองค์กรธุรกิจรวมไป ถึงสถาบันต่างๆ ในภาคการค้าแบบเสรีด้วย ดังนั้น สำ�หรับผู้นำ�ธุรกิจที่เป็นคริสตชน นี่เป็นจังหวะเวลาที่ต้องการ การเป็นพยาน ยืนยันความเชื่อ ความหวัง และการปฎิบัติด้วยความรักอย่างแท้จริง 2. หากธุรกิจในแต่ละแห่งดำ�เนินไปอย่างถูกต้อง ได้รับการดูแลจัดระเบียบอย่างเหมาะสมโดยรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลก มนุษยชาติทั้งโลกย่อมได้รับอานิสงค์ทั้งทางฝ่ายกาย และฝ่ายวิญญาณ เมื่อภาคธุรกิจดำ�เนินงานไปอย่างยุติธรรมและมี ประสิทธิภาพ ลูกค้าทั้งหลายย่อมได้รับสินค้าและบริการในราคายุติธรรม ลูกจ้างก็ได้ทำ�งานอย่างมีความสุขกับงานและได้รับค่า ตอบแทนสมน้ำ�สมเนื้อเพียงพอให้ตัวเองและครอบครัวอยู่ได้อย่างอบอุ่น ผู้ร่วมหุ้นลงทุนก็จะได้รับเงินปันผลอย่างสมเหตุสมผล คุ้มค่าการลงทุน ประชาคมจะรู้สึกว่าทรัพยากรธรรมชาติที่ตนมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมได้ถูกใช้อย่างเหมาะสม และที่สำ�คัญที่สุด ก็คือทุกคนเห็นว่าประโยชน์ส่วนรวมเพิ่มพูนอย่างน่าพอใจ 3. เมื่อมีการจัดการที่ดี ธุรกิจก็จะมีพลังสามารถยกระดับศักดิ์ศรีของลูกจ้างได้ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาคุณธรรมได้ในตัว อาทิ ความเป็นน้�ำ หนึ่งใจเดียวกัน ภูมิปัญญา ความยุติธรรม การมีวินัย รวมทั้งผลดีด้านอื่นอีกเหลือคณานับ หากว่าสถาบัน ครอบครัวถือเป็นสถานศึกษาแห่งแรกของสังคม หน่วยงานธุรกิจก็เป็นอีกสถาบันหนึ่งในสังคม ที่ให้ความรู้ด้านคุณธรรมกับผู้คน มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับคนหนุ่มสาวที่ได้รับการเลี้ยงดูกล่อมเกลาจากครอบครัวและสถานศึกษาเป็นอย่างดี และกำ�ลัง มองหาจุดยืนในสังคมให้ตนเอง รวมไปถึงคนที่มีภูมิหลังชีวิตที่บกพร่อง และไม่ได้รับการยอมรับทางสังคม ก็สามารถหาจุดยืนของ ตนจากการทำ�งานในบริษัทได้เช่นกัน ยิ่งกว่านั้น หน่วยงานธุรกิจยังเสริมสร้างการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างผู้คนจาก หลากหลายประเทศได้อย่างยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกัน เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน เปรียบเสมือน พาหนะแห่งประชาคมวัฒนธรรมที่น�ำ ไปสู่สันติสุขและความเจริญรุ่งเรือง 4. เนื่องจากประโยชน์ดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้จริง จึงทำ�ให้พระศาสนจักรใส่ใจในเรื่องของการประกอบธุรกิจ เพราะ เมื่อธุรกิจประสบความสำ�เร็จ ก็จะช่วยปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น แต่หากธุรกิจล้มเหลว ก็จะก่อให้เกิดความ เสียหายใหญ่หลวงได้ ดังนั้นระบบเศรษฐกิจควรต้องอยู่บนพื้นฐานการมีอิสรภาพที่จะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน แต่ต้องตระหนัก ด้วยว่าอิสรภาพทีไ่ ม่ได้อยูบ่ นความเป็นจริง จะนำ�มาซึง่ ความยุง่ เหยิงไร้ระเบียบ ความไม่ยตุ ธิ รรมและการแบ่งแยกทางสังคม อีกทัง้ การไร้ซึ่งทั้งหลักการและผู้นำ�ที่เปี่ยมคุณธรรมนำ�ทาง จะทำ�ให้ธุรกิจมีการเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม มีการใช้อำ�นาจ ฉ้อฉล ให้ความสำ�คัญกับเครื่องจักรมากกว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม 5. เราจึงขอเรียกร้องให้พี่น้องคริสตชนที่เป็นผู้นำ�ธุรกิจ โปรดฟังพระสุรเสียงของพระเจ้าซึ่งอยู่ลึกในหัวใจแห่งการทำ�งาน ของพวกท่าน ที่กำ�ลังร้องเรียกให้ท่านมีส่วนร่วมในการเนรมิตสร้าง(โลก)ของพระองค์ เพราะผู้นำ�ธุรกิจทุกท่านล้วนมีบทบาท สำ�คัญยิ่งต่อการสร้างความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งการนำ�หลักจริยธรรมมาสู่ชีวิตผู้คนผ่านทางคำ�สอนด้านสังคมของคาทอลิก ที่ท่านทำ�เป็นกิจวัตรประจำ�วันอยู่แล้ว ในเวลาเดียวกันเราขอเรียกร้องมายังผู้นำ�ธุรกิจที่มีความตั้งใจดีทุกท่านที่สามารถสร้าง อิทธิพลต่อ พฤติกรรม ค่านิยม และทัศนคติของคนในองค์กร จากประธานบริหารมาถึงเจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้ารวมไปถึงผู้ที่เป็น ผู้นำ�ทั้งที่มีและไม่มีตำ�แหน่งเป็นทางการ เพราะผู้นำ�ธุรกิจทุกประเภทมีบทบาทสำ�คัญยิ่งต่อการกำ�หนดรูปแบบกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นผู้สร้างเงื่อนไขต่างๆ ที่นำ�ไปใช้บูรณาการในภาคธุรกิจได้ แม้ว่าภาคธุรกิจจะประกอบไปด้วยหน่วยงานใน 8
9 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
รูปแบบหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกิจการสหกรณ์ บรรษัทข้ามชาติ กิจการขนาดเล็ก ธุรกิจส่วนตัว ธุรกิจครอบครัว ธุรกิจเพื่อ สังคม ห้างหุ้นส่วน กิจการเจ้าของคนเดียว กิจการร่วมทุนกับภาครัฐบาล หน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อทำ�งานร่วมกันทั้งในเชิงธุรกิจ หรือไม่แสวงหากำ�ไร บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ที่จำ�หน่ายหุ้นให้สาธารณชนซึ่งบางแห่งอาจสร้างรายได้ ได้มากกว่างบประมาณของ หลายประเทศ บริษัทขนาดเล็ก บริษัทที่มีนักลงทุนเป็นเจ้าของร่วมนับร้อย บริษัทที่มีเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกิจการของ ครอบครัว รวมไปถึงหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำ�ไรที่ตั้งขึ้นอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งเรียกชื่อตามลักษณะการก่อตั้งที่มีสถานะพิเศษ ในเชิงกฎหมายว่า “ธุรกิจเพื่อสังคม” สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงให้การยอมรับภาคธุรกิจที่ประกอบไปด้วยสถาบัน ที่มีความหลากหลายและอยู่ในรูปแบบที่ผสมผสานกันเหล่านี้ 1 6. กระแสเรียกของนักธุรกิจเป็นกระแสเรียกแท้จริง คือกระแสเรียกในฐานะที่เป็นมนุษย์และกระแสเรียกในฐานะที่เป็น คริสตชน ซึ่งมีความสำ�คัญยิ่งต่อพระศาสนจักรและต่อโลก ผู้นำ�ธุรกิจได้รับกระแสเรียกให้คิดและพัฒนาสินค้าและบริการให้ ลูกค้าและชุมชนได้รบั ความสะดวกสบายโดยผ่านทางกลไกแห่งการตลาด เพือ่ ให้เศรษฐกิจรูปแบบนีบ้ รรลุเป้าหมาย คือสร้างความดี ส่วนรวมให้แก่สังคม จักต้องวางอยู่บนพื้นฐานของความจริง ความซื่อตรงต่อพันธกิจ ความมีเสรีภาพ และการสร้างสรรค์ 7. ผู้นำ�ธุรกิจย่อมมีบทบาทพิเศษในการร่วมการสร้างโลก บทบาทของพวกเขาจึงไม่จำ�กัดอยู่แค่เพียงเสนอสินค้าและ บริการ ที่มีการปรับปรุงพัฒนา โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น พวกเขายังต้องช่วยกันวางแผนสู่อนาคตอีกด้วย บุญราศี จอห์นปอลที่ 2 ได้เตือนสติเรื่องนี้ไว้ใน Laborem Exercens ว่า “มนุษย์ในฐานะทีถ่ กู สร้างมาในพระฉายาของพระเป็นเจ้า ย่อมต้อง ทำ�งานร่วมกับพระผูส้ ร้าง นอกจากนัน้ มนุษย์ยงั ต้องใช้ความสามารถในขอบข่ายแห่งความเป็นมนุษย์ของตน ในการสานต่อกิจการ สร้างโลกโดยทำ�ให้สิ่งสร้างสมบูรณ์แบบขึ้น ตามส่วนที่มีการค้นพบทั้งทรัพยากรและคุณค่าที่ซ่อนเร้นอยู่ในสิ่งสร้างมาแต่ต้น” 2 8. การสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ก็ถือได้ว่าผู้นำ�ธุรกิจได้เริ่มมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลงานสร้างโลกของพระเป็นเจ้า แล้ว เมือ่ ใดก็ตามทีผ่ นู้ �ำ ธุรกิจตระหนักได้วา่ พวกเขามีสว่ นในงานสร้างของพระผูส้ ร้างในฐานะเป็นผูด้ แู ลองค์กรทีม่ ปี ระสิทธิภาพนัน้ เมื่อนั้นแหละพวกเขาจะได้ตระหนักถึงความสำ�คัญอันยิ่งใหญ่ ที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อกระแสเรียกของพวกเขา 9. ในความเป็นจริง ภาคธุรกิจมีศักยภาพมากพอที่จะสร้างความดีงามให้แก่สังคมและส่วนใหญ่ก็สามารถทำ�ได้ดีตาม คำ�สัญญาที่ให้ไว้ทั้งในด้านศีลธรรมและด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ยังอาจมีปัญหาที่เป็นปัจจัยภายนอกบางประการที่ขัดขวาง การประกอบธุรกิจให้ดำ�เนินการได้อย่างเต็มความสามารถ อาทิเช่น การขาดตัวบทกฎหมายที่จะครอบคลุมในระดับนานาชาติ การคอร์รัปชั่น การแข่งขันที่มุ่งทำ�ลายกันและกัน ระบบทุนนิยมที่เล่นพรรคเล่นพวก การก้าวก่ายมากเกินของรัฐ หรือวัฒนธรรม ที่ไม่เอื้อต่อการดำ�เนินธุรกิจ ในอีกด้านก็เกิดจากปัจจัยภายในของภาคธุรกิจเอง เช่น การปฎิบัติต่อลูกจ้างโดยยึดถือว่าเป็นเพียง “ทรัพยากร” อย่างหนึ่งเท่านั้น หรือ แนวคิดที่ว่าธุรกิจเป็นเพียงสินค้าชนิดหนึ่งเท่านั้น การหลบเลี่ยงบทบาทในการควมคุมอย่าง ถูกต้องของภาครัฐ การสร้างผลกำ�ไรจากสินค้าหรือบริการที่ไร้คุณค่า หรือ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์อย่าง ล้างผลาญ
10
11 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
10. ในมิติส่วนตัว สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำ�คัญยิ่งคือการดำ�เนินชีวิตที่แบ่งแยก ดังที่พระสังคายนาวาติกันที่ 2 นิยามว่า “การ แบ่งแยกระหว่างความเชื่อ กับการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน” พระสังคายนาวาติกันที่ 2 ถือว่า การดำ�เนินชีวิตที่แบ่งแยกเช่นนี้ ถือเป็น “ความเข้าใจที่ผิดอย่างมหันต์ในยุคสมัยของเรานี้” 3 การแยกความเชื่อออกไปจากการทำ�งานด้านธุรกิจ เป็นความผิดพลาดอัน สำ�คัญที่น�ำ ไปสู่ความเสียหายไปทั่วโลกในขณะนี้โดยเกิดจากการกระทำ�ของภาคธุรกิจ เช่นการต้องทำ�งานเกินเวลาจนสูญเสียชีวิต ครอบครัวหรือชีวิตฝ่ายจิต การยึดติดกับอำ�นาจจนละเลยคุณความดีในตนเอง การใช้พลังทางเศรษฐกิจไปในทางที่ผิดเพื่อให้ได้ผล ตอบแทนมากขึ้น ซึ่งในประเด็นเหล่านี้ พระศาสนจักรยึดถือตามคำ�สอนของพระเยซูเจ้าอยู่เสมอว่า: “ไม่มีใครเป็นข้าสองเจ้าบ่าว สองนายได้ เพราะเขาจะชังนายคนหนึ่งและจะรักนายอีกคนหนึ่ง เขาจะจงรักภักดีต่อนายคนหนึ่ง และจะดูหมิ่นนายอีกคนหนึ่ง ท่านทั้งหลายจะปรนนิบัติรับใช้พระเจ้าและเงินทองพร้อมกันไม่ได้” (มธ. 6:24) ผู้นำ�ธุรกิจที่ไม่ตระหนักในพันธกิจแห่งการรับใช้ พระผู้เป็นเจ้าและเพื่อนมนุษย์เช่นนี้ถือเป็นการดำ�เนินชีวิตที่ว่างเปล่า ไร้จุดหมาย สับสน ไม่เป็นไปตามพระกระแสเรียกของ พระผู้เป็นเจ้า 11. การดำ�เนินชีวิตอย่างแตกแยกเช่นนี้ ที่สุดก็จะนำ�ไปสู่การเคารพบูชารูปปฎิมา ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับคนในภาคธุรกิจที่ อาจเกิดผลร้ายทั้งต่อตนเองและต่อองค์กร ทั้งนี้เพราะการละเลยจากกระแสเรียกด้วยความรักขององค์พระผู้สร้าง ทำ�ตัวดุจเดียว กับชาวอิสราเอล ณ เชิงเขาซีนายที่ปั้นรูปลูกวัวทองคำ�ขึ้นมากราบไหว้บูชา อันเป็นการแสดงถึงการอุทิศชีวิตในทางที่ผิด สำ�คัญผิด ในเป้าหมายของความสำ�เร็จที่แท้จริง 4 รูปแบบของวัวทองคำ�ในยุคปัจจุบันอาจเห็นได้จากหลายการกระทำ� เช่น การยึดถือว่า “เป้าหมายสำ�คัญที่สุดของการทำ�ธุรกิจก็คือการแสวงหาผลกำ�ไรให้ได้มากสุด” 5 หรือ การใช้เทคโนโลยีเพื่อผลประโยชน์ของตน เท่านัน้ หรือ การสร้างสมความมัง่ คัง่ ส่วนตัว หรือ การใช้อทิ ธิพลทางการเมืองไม่ได้เป็นไปเพือ่ ความดีสว่ นรวม หรือ เมือ่ มีการใช้ แนวคิดประโยชน์นิยมเป็นเหตุผลในการตัดสินชี้ขาด แนวทางต่างๆ เหล่านี้คือ ”ลูกวัวทองคำ�” ที่มีศักยภาพมากพอจะ “คืบคลาน” เข้าสูช่ วี ติ เราด้วยตรรกต่างๆ นานา ดังทีพ่ ระสันตะปาปาเบเนดิกต์ท่ี 16 กล่าวไว้ในสมณสาส์น ความรักในความจริง 6 ซึ่งผู้น�ำ ธุรกิจ ต้องใส่ใจเพื่อหลีกเลี่ยงจากการหลงทางตามการล่อลวงไปเคารพรูปปฏิมาดังกล่าว 12. สภาพการทำ�งานภายใต้ความกดดันที่ผู้นำ�ธุรกิจต้องแบกรับอยู่อาจทำ�ให้ต้องละเลยต่อกระแสเรียกของพระวรสารใน การดำ�เนินชีวิตในแต่ละวัน อาจถูกล่อลวงให้หลงผิดไปว่าการทำ�งานอย่างมืออาชีพนั้นไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตฝ่ายจิต มองเห็นความ สำ�คัญด้านวัตถุหรือความสำ�เร็จทางโลกมากกว่า ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ผู้นำ�ธุรกิจคนนั้นย่อมเสี่ยงต่อการสูญเสียชื่อเสียงและสถานะ ในด้านความสำ�เร็จที่ยั่งยืนและนำ�ไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด ผู้น�ำ ธุรกิจอาจเกิดกิเลสอันเนื่องมาจากการยึดตัวเองเป็นหลัก จาก ความทะนงตน ความโลภ ความวิตกกังวล จนลดทอนเป้าประสงค์ของการทำ�ธุรกิจเหลือเพียงเพื่อการทำ�กำ�ไรสูงสุดแต่อย่างเดียว หรือเพื่อให้มีส่วนแบ่งในตลาดมากที่สุดหรือเพื่อผลประโยชน์อื่นๆ ในเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น ในสภาพการเช่นนี้คุณความดีที่ภาคธุรกิจ ควรจะเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลหรือสังคมโดยรวมจะถูกลดทอนหรือบิดเบือนไป
12
13 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
13. ผู้น�ำ ธุรกิจที่เพียบพร้อม ย่อมสามารถตอบสนองต่อแรงกดดันรอบด้านได้เป็นอย่างดีด้วยจิตตารมณ์ของการเป็นผู้นำ� แบบผู้รับใช้ ตามแบบฉบับของพระเยซูเจ้าผู้ทรงล้างเท้าเหล่าสานุศิษย์ ภาวะผู้นำ�ด้วยจิตวิญญาณแห่งการรับใช้ ย่อมต่างกันโดย สิ้นเชิงกับการเป็นผู้นำ�ที่ใช้แต่อำ�นาจอย่างเดียวในการบริหารงาน ซึ่งมักจะพบได้เสมอในองค์กรธุรกิจทั่วไป หากผู้นำ�ธุรกิจที่เป็น คริสตชนยึดถือแนวทางผูน้ �ำ แบบผูร้ บั ใช้ปฎิบตั ติ นดุจเดียวกับการล้างเท้าให้กบั เพือ่ นร่วมงานทุกคน ก็จะสร้างความแตกต่าง โดดเด่น ทั้งในฐานะส่วนตน และบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำ�งานในสถานที่ท�ำ งานด้วย การดำ�เนินการในงานที่รับผิดชอบด้วยวิธีการเช่นนี้ ย่อมทำ�ให้สามารถทำ�งานได้เต็มประสิทธิภาพไม่มีขอบเขตจำ�กัด เป็นการเดินตามกระแสเรียกอย่างเต็มภาคภูมิ 14. สิง่ ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ในกระแสเรียกของผูน้ �ำ ธุรกิจคือการปฎิบตั ติ ามหลักการในด้านจริยธรรมสังคมควบคูไ่ ปกับการทำ�งาน ในโลกของธุรกิจตลอดเวลา ทั้งนี้ย่อมหมายความว่า จะต้องสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ได้แจ่มชัด ตัดสินด้วยหลักการที่เป็นไป เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประชาชนโดยรวม ลงมือปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวด้วยการยึดติดกับหลักความเชื่อเสมอ 7 เอกสาร ฉบับนี้จะนำ�เสนอต่อไปตามลำ�ดับหัวข้อ คือ วิเคราะห์ (see) วิจักษ์ให้ตัดสิน (judge) และวิธานให้ปฎิบัติ (act)
วิเคราะห์โลกธุรกิจ: ให้เห็นประเด็นท้าทายและโอกาสตอบสนอง 15. ผู้นำ�ธุรกิจย่อมเผชิญปัญหาต่างๆ ในโลกที่มีปัจจัยตัวการซับซ้อนเป็นปรกติ เพื่อจะเข้าใจความซับซ้อนได้ดี จำ�ต้อง รับรู้ข้อแนะแนวจากเอกสารสังคายนาวาติกันที่ 2 Gaudium et Spes ซึ่งกล่าวไว้ว่า เราต้องสำ�รวจดู “สัญญาณแห่งกาลเวลาและ ตีความสัญญาณเหล่านั้นในแสงสว่างแห่งพระวรสาร” 8 ปัจจัยตัวการบางข้ออาจจะจำ�กัดขอบเขตสมรรถนะที่จะสร้างความดีงาม โดยขัดขวางการปฏิบัติและปิดโอกาสสร้างสรรค์ ในทางตรงกันข้ามปัจจัยบางตัวการก็เปิดโอกาสใหม่ๆ ให้ผู้จัดการและเจ้าของ กิจการได้บริการความดีงาม ทั้งอาจจะเปิดทางใหม่ๆ ไปสู่กลุ่มรวมพลังอีกหลายๆ กลุ่มช่วยกันอัดฉีดชีวิตให้สังคม การเมือง และ เศรษฐกิจ จึงเห็นได้ว่าโลกรอบๆ ตัวเรามีให้เห็นการสลับไปมาระหว่างแสงสว่างกับความมืด ความดีกับความชั่ว ความจริงกับ ความเท็จ โอกาสกับการพลาดโอกาส 16. ผู้นำ�ธุรกิจคริสตชนต้องวิเคราะห์จนสามารถ “เห็น” โลกเป็นเช่นนี้ เพื่อเขาจะได้สามารถวิจักษ์จน “ตัดสิน” ว่าโลก นั้นอยู่ในสถานการณ์ใดและเขาพึงเริ่มต้นอย่างไรหากคิดจะ “ทำ�การ” ให้เกิดความดีงามและความจริง โดยส่งเสริมความดีงาม และเผชิญหน้าความเลวร้ายหลงผิด เมื่อประเมินได้เช่นนี้แล้ว ภาคต่อไปของเอกสารนี้จะช่วยการวิจักษ์ จนตัดสินสถานการณ์ได้ แต่ก็จะเสนอได้เพียงย่อๆ ว่ามีปัจจัยหลักประเภทใดบ้างที่รบกวนการทำ�ธุรกิจในปัจจุบัน หากเป็นไปได้ก็จะพยายามชี้แง่ดีแง่เสีย และแง่ที่ขึ้นอยู่กับบริบทของผู้นำ�ธุรกิจ 17. อันทีจ่ ริงก็มปี จั จัยตัวการซับซ้อนกันมากมายทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการทำ�ธุรกิจทัง้ ในระดับท้องทีแ่ ละในระดับโลก อย่างน้อย ก็มีอยู่ 4 ประการที่จำ�ต้องกล่าวถึงเป็นพิเศษ เพราะมีอิทธิพลถึงขั้นเปลี่ยนบริบทของธุรกิจตลอดเสี้ยวศตวรรษที่ผ่านมา โดยที่ 3 ประการแรกมีส่วนเกี่ยวพันกันแน่นแฟ้น กล่าวคือ (1) โลกาภิวัตน์ (2) เทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ๆ และ (3) การเงินภิวัตน์ ส่วนประการที่ (4) การเปลีย่ นแปลงวัฒนธรรม ทีพ่ งึ จับตาเป็นพิเศษคือ การท้าทายให้ปฏิบตั ลิ ทั ธิเห็นแก่ตวั ตามด้วยระบบศีลธรรม แบบสัมพัทธนิยมและประโยชน์นิยม ทั้งหมดนี้มีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าเป็นกับดักสำ�คัญให้ผู้นำ�ธุรกิจคริสตชนหลงทางได้ง่าย แน่นอนว่ายังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่มีบทบาทในธุรกิจปัจจุบัน (เช่น ระเบียบข้อบังคับจากรัฐ บทบาทของอำ�นาจนานาชาติ ระบบสหภาพ ประเด็นจากสิ่งแวดล้อม การยึดเยื้อระหว่างงาน/ครอบครัว ฯลฯ) ทุกเรื่องที่อ้างมานี้ล้วนแต่สมควรต้องวิเคราะห์ แต่เพื่อความกระชับ เราจะพิจารณากันเพียง 4 ประเด็นข้างต้น
14
15 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
18. โลกาภิวัตน์ : หมายความว่าระเบียบเศรษฐกิจโลกได้กลายเป็นเอกลักษณ์เด่นชัดสุดๆ ของยุคของเรา คำ� “โลกาภิวตั น์ Globalization” แปลว่ากระบวนการที่เข้มข้นไปทั่วโลกในการสร้างขบวนการยักย้ายถ่ายเทเข้า/ออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานและ เงินทุน ทำ�ให้เครือข่ายติดต่อถึงกันเพิ่มขึ้นในสังคมอย่างไม่หยุดยั้ง ตั้งแต่การสิ้นสุดสงครามเย็นเป็นต้นมา ตลาดก็เปิดกว้างขึ้น อย่างมหาศาลสำ�หรับธุรกิจระดับโลก สร้างทั้งโอกาสใหม่ๆ และเหตุร้ายใหม่ๆ มวลชนที่แต่ก่อนถูกกันให้อยู่นอกระบบเศรษฐกิจ บัดนีก้ ลับเรียงหน้ากันเข้ามาขอมีสว่ นแบ่งการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ยงั ผลให้คนจำ�นวนมากยิง่ ๆ ขึน้ ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ และการบริการ ในขณะเดียวกันการผลิตสินค้าได้มากขึ้นนั้นเองบันดาลให้เกิดความเหลื่อมล้ำ�กว้างยิ่งขึ้นในสังคม ตลอดจนการ ไม่เท่าเทียมกันในการมีโอกาสได้รบั ส่วนปันผลจากรายได้และทรัพย์สนิ ทัง้ ภายในประเทศเดียวกันและระหว่างประเทศ โซนเศรษฐกิจ ที่แบ่งเป็นภาคๆ เพื่อให้สินค้าถ่ายเทได้อย่างเสรีด้วยระบบเงินตราสกุลเดียวกัน กระตุ้นการค้าขายให้เฟื่องฟูและส่งเสริมนวัตกรรม ทุกรูปแบบ แต่น่าเสียดายที่การถ่ายเทแรงงานเพื่อหางานทำ�มิได้เป็นอิสระคล่องตัวตามไปด้วย ปัญหาเกิดขึ้นโดยเฉพาะในกรณีที่ ใช้เงินตราสกุลเดียวกันก็คือ รัฐบาลชาติกลับต้องเผชิญกับขีดจำ�กัดในความพยายามกระตุ้นนโยบายเศรษฐกิจให้ได้ผล โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตขึ้นในชาติใดชาติหนึ่งโดยเฉพาะ ระบบเศรษฐกิจทั้งระบบถูกแช่แข็ง ในส่วนที่ว่าการตลาดได้เปลี่ยนสภาพ จากการดำ�เนินการด้วยวัฒนธรรมเดียวมาเป็นหลายหลากวัฒนธรรม กรณีอย่างนี้มีผลเชิงบวกที่ว่าวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้ มีโอกาสสื่อสารกันและกันได้ง่ายๆ แต่ผลเชิงลบก็เกิดเป็นเงาตามตัวด้วยการแข่งขันกันอย่างก้าวร้าว ความหลากหลายค่อยๆ ละลายสูญหายไปจากระบบการค้าโลกาภิวตั น์ทเ่ี สนอสินค้ามาตรฐานเดียวแก่ทกุ วัฒนธรรม และในทีส่ ดุ ก็อาจจะมีวฒ ั นธรรมหนึง่ ครอบงำ�วัฒนธรรมอื่นๆ จึงเป็นเรื่องที่ต้องระวังให้จงหนัก พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้สรุปประเด็นพลังต่างๆ ที่ข่มกันใน ทีดว้ ยข้อสังเกตอันคมคายว่า “ในขณะทีส่ งั คมกลายเป็นโลกาภิวตั น์มากขึน้ อยูน่ ้ี มนุษย์กลายเป็นเพือ่ นบ้านกันมากขึน้ แต่เป็นพีน่ อ้ ง กันน้อยลง” 9 19. เบือ้ งต้นหลังการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ เหล่านีม้ ขี อ้ เท็จจริงพืน้ ฐานอยูข่ อ้ หนึง่ ทีไ่ ม่ควรมองข้าม คือ เงินทุนได้รบั เสรีภาพ แบบใหม่ โดยไม่ต้องสนใจสิทธิอันพึงมีพึงได้ของพลเมืองในชาติที่ไปกอบโกยหากำ�ไร 10 ดูราวกับว่าอำ�นาจเศรษฐกิจได้รับ สถานภาพนอกอาณาจักร กล่าวคือบริษทั จะถือโอกาสทำ�กำ�ไรนอกประเทศอย่างไรก็ได้ โดยไม่ตอ้ งคำ�นึงถึงกฎหมายในชาติของตน และเมื่อเป็นเช่นนี้ เขาจึงสร้างบทบาทหลักในต่างประเทศ มิเพียงแต่ด้านธุรกิจการค้าเท่านั้น แต่สร้างบทบาทเปลี่ยนแปลงสังคม ไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้โลกาภิวัตน์ก็กำ�ลังเปลี่ยนแปลงฐานของเศรษฐกิจและการเมืองโลก โดยทำ�ให้ชาติ-รัฐมีเสรีภาพน้อยลง ตามปรกติเครื่องมือเศรษฐกิจการเมืองของชาติ-รัฐจะต้องผูกมัดอยู่กับเขตปกครองที่ชัดเจน แต่ทว่าบรรษัทข้ามชาติไม่สังกัด พรมแดน เพราะอาจจะผลิตสินค้าในประเทศหนึ่ง เสียภาษีในอีกประเทศหนึ่ง เรียกร้องความช่วยเหลือและให้ความร่วมมือกับ ประเทศที่สาม ในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ ธุรกิจมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น และเพราะฉะนั้นจึงมีศักยภาพมากขึ้นในการทำ�ให้เจริญ หรือทำ�ให้เสียหาย 20. เทคนิคการสื่อสาร: 11 การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีสื่อสารที่มีผลกระทบอย่างสำ�คัญต่อการบริหาร ธุรกิจทัง้ ในด้านบวกและด้านลบ ในด้านบวกนัน้ อินเทอร์เน็ตได้กอ่ ให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการผลิตสินค้าและช่วยแก้ปญ ั หา ต่างๆ มากมายที่ก่อนนั้นไม่มีทางแก้ ผลลัพธ์ก็คือลดค่าใช้จ่ายการสื่อสารทั่วโลกลงอย่างมหาศาล รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ใช้ อินเทอร์เน็ตทั้งเพื่อร่วมมือและแข่งขันกันในวิถีทางพิสดารซึ่งเมื่อก่อนไม่อาจทำ�ได้หรือทำ�ได้บ้างแต่ยังไม่น่าพอใจ กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการจำ�หน่ายแจกจ่ายเครื่องบริโภค ต่างก็มีพลังเพิ่มในการผลักดันให้เกิดธุรกิจ ระดับโลกและยกระดับงานสังคมสงเคราะห์ต่างๆ ให้ดูดี นับตั้งแต่การเรียกร้องสิทธิมนุษยชนจนถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในถิ่น ทุรกันดารของโลก นักเรียกร้องความถูกต้องในสังคมช่วยลดค่าใช้จ่ายเบี้ยปรับจากเดิมที่บริษัทต้องจ่ายในถิ่นเหล่านี้ของโลก
16
17 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
21. ในด้านลบนั้นเทคโนโลยีการสื่อสารทำ�ให้เราชินกับโลกที่เอาใจผู้ใช้ระยะสั้นๆ ด้วยข้อมูลล้นหลาม ในโลกดังกล่าวเป็น ที่รู้กันว่า ข่าวด่วนมักจะเบียดเรื่องสำ�คัญตกจอเป็นประจำ� เรื่องใดที่ผู้สื่อข่าวประกาศแทรกรายการย่อมได้รับการสนใจเป็นพิเศษ เสมอ ในโลกปัจจุบันดูเหมือนยากที่จะหาใครแยกปัญหาซับซ้อนออกมาทำ�การศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอเพื่อจะตัดสินใจทำ�อะไร สักอย่างอย่างรอบคอบ ทุกวันนีแ้ ม้ปญ ั หาจะสำ�คัญปานใด ก็มกั จะไม่ได้รบั การพิจารณาอย่างถีถ่ ว้ นด้วยข้อมูลทีเ่ พียงพอ ผูน้ �ำ ธุรกิจ เมื่อรู้สึกยุ่งยากลำ�บากใจเหลือล้นในการเตรียมข้อมูลก่อนการตัดสินใจ ก็เลยตกกะไดพลอยโจนเอามาตรฐานคุณค่าส่วนตนและ ความเชื่อของตนเป็นหลักในการประมวลผล ประกอบการตัดสินใจ 22. การจัดสรรเงินให้ภาคเศรษฐกิจ : เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์ร่วมอิทธิพลเข้ากับการขยายตลาด การขยายรายได้ และ เทคโนโลยีใหม่ดา้ นการสือ่ สาร ก็ท�ำ ให้ภาคการเงินเลือ่ นฐานะความสำ�คัญขึน้ เด่นชัดในองค์การธุรกิจ “การจัดสรรเงิน” ทีท่ �ำ กันอยู่ ในปัจจุบันบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของทุนนิยมกำ�ลังย้ายจุดเน้นจากการผลิตมาอยู่ที่การบริหารการเงินแล้วอย่างเรียบร้อย รายได้และ ผลกำ�ไรจากการบริหารการเงินได้กลายเป็นส่วนที่ใหญ่มากขึ้นในระบบเศรษฐกิจทั่วโลก สถาบันการเงินมีเป้าหมายมีเครื่องมือ และพลังขับเคลื่อนที่ส่งผลอย่างมากต่อการปฏิบัติงานและการชี้นำ�ธุรกิจ แม้ว่าวิกฤตใหม่ๆ ทางการเงินจะนำ�มาซึ่งคลื่นแห่ง การวิพากษ์วจิ ารณ์ตอ่ ผลด้านลบของการจัดสรรทุนก็ตาม ภาคการเงินก็ยงั มีบทบาทช่วยให้คนหลายล้านคนได้สนิ เชือ่ อย่างง่ายดาย ทั้งในด้านซื้อและผลิตสินค้า ได้ก่อให้เกิดเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน ช่วยให้เกิดการระดมทุนเพื่อการผลิต สินค้าให้มากขึน้ และอืน่ ๆ อีกมาก ภาคการเงินยังได้ชว่ ยให้เกิดเงินสนับสนุนงานสังคมและสนับสนุนจริยธรรม อันยังผลให้ผลู้ งทุน เลือกสนับสนุนหรืองดสนับสนุนอุตสาหกรรมบางอย่างและบริษัทบางแห่ง ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบธุรกิจที่ยั่งยืน ภาคการเงินยังมีสว่ นช่วยการพัฒนาอย่างจริงจังและรวดเร็วจนหวังได้วา่ จะพัฒนาได้ตอ่ ไป แม้จะมีผลกระทบบ้างจากวิกฤติการเงิน ที่ผ่านมาก็ตาม พระสมณสาสน์ ความรักในความจริง ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในรูปแบบนี้ควรได้ชื่อว่าเป็น “ความพยายามที่ต้องการ อย่างสำ�คัญ มิเพียงแต่ในการสร้างภาคจริยธรรมหรือภาคส่วนเศรษฐกิจหรือโลกแห่งการเงินเท่านั้น แต่จะต้องทำ�ให้แน่ใจได้ว่า เศรษฐกิจทั้งหมดและการเงินทั้งหมดด้วย จักต้องมีจริยธรรม มิเพียงแต่เพื่อภาพลักษณ์ แต่ฝังอยู่ในบทบาทของธุรกรรมทาง การเงิน” 12 23. แม้ว่านโยบายจัดสรรเงินทุนจะประสบความสำ�เร็จอย่างงามในการพัฒนาหลายๆ ด้าน แต่ผลเสียและด้านลบก็มีให้ วิจารณ์ได้อยู่ เราจะยกขึ้นเป็นตัวอย่างเพียง 2 เรื่อง คือ การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (Commoditization) และการทำ�กำ�ไรระยะสั้น (short-termism) การจัดสรรทุนสนใจแต่จะเน้นให้บริษัทมีทุนเพียงพอจนลืมไปว่าคิดแต่จะได้ใช้สินค้าราคาถูกเท่านั้นหาพอไม่ ที่ต้องยกเรื่องนี้ขึ้นมาสาธยายก็เพราะภาคการเงินได้มุ่งเน้นให้แปลงสินทรัพย์เป็นทุนโดยมีเป้าหมายให้ธุรกิจทำ�เงินปันผลมาก ที่สุดแก่ผู้ถือหุ้น มูลค่าที่ผู้ถือหุ้นหวังจะได้กลายเป็นมาตรการเกือบจะมาตรการเดียวที่ผู้นำ�ธุรกิจกำ�หนดเป็นเป้าหมายของการ บริหารธุรกิจและคุณภาพของนักบริหาร ในบรรยากาศธุรกิจปัจจุบัน “ราคาหุ้น” กลายเป็นกระแสที่ได้รับการยกย่องและเป็น ทฤษฎีแนวหน้าทีโ่ รงเรียนธุรกิจจำ�นวนมากสอนผูเ้ รียนให้เน้นความสำ�คัญ ควบคูก่ นั กับการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เราพบในปัจจุบนั ว่ามีการเน้นสร้างกำ�ไรระยะสั้นรวมอยู่ด้วย ที่กดดันผู้บริหารธุรกิจให้ยอมกลับข้างศักยภาพแห่งความสำ�เร็จมาเน้นกำ�ไรระยะสั้น โดยยอมรับความเสี่ยงเกินตัวและความล้มเหลวของแผนยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ ไม่ต้องแปลกใจที่เห็นกันอยู่ว่า การฉวยโอกาสหวัง จะร่ำ�รวยมากๆ ภายในเวลาอันสั้น ย่อมต้องใช้วิธีการที่แยบยลเลี่ยงกฏหมาย พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้ชี้ให้เห็นอันตราย ในการกระทำ�เช่นนี้ด้วยข้อความต่อไปนี้ “ไม่ต้องสงสัยว่า การเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดในการทำ�ธุรกิจก็คือ ธุรกิจต้องหากำ�ไรให้แก่ผู้ลงทุน ทำ�ให้มีขอบเขตจำ�กัดมากสำ�หรับคุณค่ามนุษย์... ดูเหมือนจะหาธุรกิจการค้าได้น้อยมากที่อยู่ในมือของผู้บริหารที่มีจิตใจมั่นคง รับผิดชอบให้บริษัทมีชีวิตและผลงานในระยะยาว ไม่ใช่เพียงระยะสั้นๆ” 13
18
19 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
24. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม: ตามที่ได้พิจารณากันมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าโลกาภิวัตน์ทำ�ให้ความสัมพันธ์ ระหว่างชาติยกระดับสูงขึ้น และระหว่างบุคคลก็สูงตามไปด้วย เพราะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นตัวช่วย สิ่งเหล่านี้ยังผลให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เรื่องนี้ผู้นำ�ธุรกิจคริสตชนย่อมจะรู้สึกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สำ�คัญ 2 ประการที่เกี่ยวข้องกัน คือ 1) ลัทธิเห็นแก่ตัวในวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งยังผลให้มี 2) กรณีครอบครัวแตกแยกในอัตราสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนอย่างมาก ทั้ง 2 ข้อ เป็นผลโดยตรงจากการสนับสนุนเศรษฐศาสตร์แบบประโยชน์นิยมเข้มข้น และแม้แต่ในสังคมก็หนุนกันยกใหญ่ในเรื่องนี้ ยังผลให้ มวลชนเป็นชาติๆ กระตือรือร้นมุ่งหวัง “ความสำ�เร็จส่วนตน” โดยไม่คำ�นึงว่าคนรอบข้างจะถูกกระทบอย่างไร ผลก็คือครอบครัว แตกสลาย “คุณค่า” แห่งความเป็นมนุษย์ถือเป็นเรื่องเฉพาะตัว ใครได้ก็ถือว่าดีสำ�หรับคนนั้น ธุรกิจใดกำ�ไรมากก็ถือว่ามีคุณค่า มาก การทำ�งานถือว่าเป็นทางหาเงินเพื่อซื้อความพึงพอใจของชีวิต และคนในสังคมก็แข่งขันกันเพื่อเป้าหมายอย่างนี้ สิทธิกลาย เป็นเรื่องเหนือหน้าที่ ความเสียสละเพื่อให้เกิดความดีงามของสังคมไม่ต้องพูดกัน ท่าทีแข่งขันกันเช่นนี้ย่อมกระตุ้นให้การบริหาร จัดการระดับสูงมุ่งสร้างกำ�ไรสูงสุดไว้ ลูกจ้างก็มุ่งแข่งกันชิงตำ�แหน่งงาน และลูกค้าก็แข่งกันทวงหาความพึงพอใจเฉพาะการจ่าย แต่ละครั้ง 25. ก็ยงั นับว่าโชคดีอยูบ่ า้ งทีม่ ขี บวนการใหม่ๆ และโครงการใหม่ๆ พัฒนาขึน้ มาโดยพยายามสร้างชีวติ ทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจ ให้มีศีลธรรมและชีวิตจิตอย่างจริงจัง เช่น กลุ่มความเชื่อ กลุ่มชีวิตจิตในการทำ�งาน การฝึกอบรมจริยศาสตร์ธุรกิจ โครงการ อบรมความรับผิดชอบสังคม ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนช่วยผู้นำ�ธุรกิจให้บริหารจัดการบริษัทของตนด้วยจิตตารมณ์ของนักบุญเปาโล ที่กล่าวตักเตือนไว้ว่า “จงทดสอบทุกสิ่ง จงยึดถือเฉพาะสิ่งดีงาม” (1ธลก 5: 21) 14 กลุ่มทำ�การและขบวนการมากมายอาจช่วย ผู้นำ�ธุรกิจให้ตระหนักได้ว่าอาชีพของเขาเป็นกระแสเรียกอย่างหนึ่ง และบทบาทของธุรกิจของเขามีส่วนเสริมประโยชน์ส่วนรวม 26. ไม่ต้องสงสัยว่า เมื่อโลกาภิวัตน์ผสมผสานกับการสื่อสารแบบใหม่และการบริหารการเงินที่ทำ�กันอยู่ ก่อให้เกิดผลดี ต่อประชาคมมนุษย์อย่างดี การบริหารใช้เงินทุนระยะสั้นอย่างเหมาะสมก็ย่อมให้ผลลัพธ์เชิงบวก หากได้ข้อสรุปเป็นการตัดสินใจ ทำ�การ มิใช่ค้างเติ่งอยู่แค่กระตุ้นให้ตัดสินใจ กระแสใหม่ๆ เหล่านี้ต้องการหลักจริยธรรมสังคมชี้แนะ ซึ่งสำ�หรับคริสตชนก็ยังมี แสงสว่างจากพระวรสารส่องทาง พร้อมด้วยสถาบันที่มีวัฒนธรรมดีๆ เป็นองค์ประกอบช่วยการตัดสินใจ หากไม่มีอิทธิพลจาก ท่อน้�ำ เลีย้ งเหล่านีค้ อยหล่อเลีย้ งไว้อย่างสม่�ำ เสมอ กระแสสังคมก็อาจจะเสีย่ งกลายเป็นตัวบ่อนทำ�ลาย “การพัฒนามนุษย์รอบด้าน”15 ตรงนี้เป็นจุดนัดพบให้คำ�สอนด้านสังคมของพระศาสนจักรและความเชื่อในความรักได้มีโอกาสเสนอทัศนวิสัยดีๆ อันจะช่วยผู้นำ� ธุรกิจคาทอลิกได้เดินตามกระแสเรียกแห่งความเป็นคริสต์ได้เต็มเปี่ยม
วิจักษ์จนสามารถตัดสินสภาพสังคมได้: ความสำ�คัญของหลักการจริยธรรมสังคม 27. เมื่อวิเคราะห์บริบทสลับซับซ้อนของธุรกิจปัจจุบันจนเห็นประเด็นต่างๆ ชัดแจ้ง ดังได้สาธยายมาแล้วข้างต้น ก็ถึง ขั้นตอนที่ผู้นำ�ธุรกิจจะต้องรู้จักตัดสินสภาพสังคมได้อย่างชาญฉลาด โดยมีรากฐานมั่นคงในความเป็นจริงและความจริง อย่างไร ก็ตาม ความสามารถทำ�การตัดสินอย่างมีเหตุผลจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ จำ�ต้องได้รับการบ่มอบรมในวัฒนธรรมที่มีหลักศีลธรรม และหลักชีวิตจิตอันเป็นแหล่งที่ผู้นำ�ธุรกิจเติบโตมา กล่าวคือจะต้องมีการร่วมมือกันอบรมอย่างดีจากครอบครัว องค์การศาสนา สถาบันการศึกษา และประชาคมอันเป็นบรรยากาศหล่อหลอมสำ�หรับผู้นำ�ธุรกิจคริสตชน หัวใจของวัฒนธรรมดังกล่าวคือ พระวรสารของพระเยซูคริสตเจ้า
20
21 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
28. พระวรสารคือสาสน์แห่งความรัก ซึ่งทฤษฎีทั่วไปหรือจริยธรรมทั่วไปไม่สู้จะเน้น นอกจากจะมีส่วนเกี่ยวข้องกันกับ พระคริสต์ 16 การเกี่ยวข้องกับพระคริสต์และกระแสเรียกให้ต้องรักนี้ หากมีจริงก็จะทำ�ให้ชีวิตของคริสตชนผู้นั้นมีชีวิตชีวาและ ทรงพลัง มันเป็นตัวชี้วัดระดับจริยธรรมและศรัทธาในตัวของคริสตชนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำ�ธุรกิจคริสตชน ตัวชี้วัดข้อนี้ คือสิ่งที่พระศาสนจักรเรียกว่าธรรมประเพณีหรือสังคมของพระศาสนจักร เป็นจุดนัดพบระหว่างศรัทธา เหตุผลและการกระทำ� ธรรมประเพณีอันเป็นผลงานร่วมระหว่างผู้มีอำ�นาจสอนในพระศาสนจักร (ปรากฏออกมาเป็นคำ�สอนสังคมคาทอลิก) นักปราชญ์ ผู้คิดลึกซึ้งในพระศาสนจักร (ปรากฏออกมาเป็นปรัชญาสังคมคาทอลิก) และผู้ปฏิบัติตามหลักของพระศาสนจักรอย่างได้ผล (ปรากฏออกมาเป็นกิจเมตตาของพระศาสนจักร) ธรรมประเพณีคาทอลิกมีลักษณะเหมือนกับประเพณีอื่นๆ ทั้งหลายในแง่ที่ว่า มีการพัฒนาได้ ปรับปรุงได้ และปรับตัวได้อยู่เสมอ ตราบใดที่คริสตชนทั้งหลาย รวมทั้งผู้นำ�ธุรกิจด้วย ช่วยกันพินิจพิจารณาและ แสวงหาความเป็นเลิศในชีวิตประกอบอาชีพตามกระแสเรียกของแต่ละคน 29. ส่วนสำ�คัญในธรรมประเพณีของพระศาสนจักรสำ�หรับธุรกิจก็คอื ได้พยายามกลัน่ กรองออกมาเป็นหลักการจริยธรรม สังคมทั้งในระดับทฤษฎีพื้นฐานและภาคปฏิบัติ ทั้งยังได้ประเมินออกมาเป็นวิสัยทัศน์สำ�หรับธุรกิจในฐานะทำ�งานกันเป็นทีมบุคคล ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นรวมกันสามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจอย่างแท้จริง ทั้งนี้ก็เพราะมีพื้นฐานอยู่บน ความเป็นบุคคลโดยทั่วไป และบุคคลที่รุ่งโรจน์ในธุรกิจ ในประชาคมรายรอบธุรกิจและมนุษยชาติทั้งโลก
I หลักการจริยธรรมพื้นฐานสำ�หรับธุรกิจ: ว่าด้วยศักดิ์ศรีมนุษย์และความดีงามส่วนรวม 30. ศักดิศ์ รีมนุษย์: รากฐานของธรรมประเพณีสงั คมของพระศาสนจักรประกอบด้วยความเชือ่ มัน่ ว่าบุคคลแต่ละคน ไม่วา่ จะอายุเท่าใด สถานภาพเป็นอย่างไร มีความสามารถประการใดหรือไม่ ล้วนแต่เป็นพระฉายาของพระเป็นเจ้า และเมื่อเป็นเช่นนี้ เขาย่อมมีศกั ดิศ์ รีหรือคุณค่าอันละเมิดไม่ได้ บุคคลแต่ละคนย่อมเป็นเป้าหมายในตนเอง ไม่อาจถูกใช้เป็นเครือ่ งมือใช้สอยของผูใ้ ดได้ เขาเป็นผู้ซึ่ง ไม่ใช่สิ่งซึ่ง เป็นคนใดคนหนึ่งไม่ใช่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง 17 ศักดิ์ศรีนี้เป็นของมนุษย์เพียงเพราะว่าเขาเป็นคน เขามิได้เป็น ผลผลิตของใคร มิใช่ของขวัญจากอำ�นาจใดในโลก จึงไม่มใี ครมีสทิ ธิท์ �ำ ให้สญ ู เสีย หรือเสียหายหรือกักกันโดยพลการ มนุษย์ทกุ คน ไม่ว่าจะขยายความด้วยข้อความใดย่อมมีศักดิ์ศรีเต็มเปี่ยมตามที่พระเป็นเจ้าทรงประทานพรให้มาเกิด 31. อานิสงค์จากการที่มนุษย์มีศักดิ์ศรี ยังผลให้มนุษย์แต่ละบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องพัฒนากระแสเรียกแห่งความ เป็นมนุษย์ และต้องพยายามพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ทั้งนี้โดยร่วมมือกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันทุกคน ในทาง กลับกัน อานิสงค์นี้ยังกำ�ชับให้มนุษย์แต่ละคนรู้หน้าที่ที่จะต้องละเว้นการขัดขวางใดๆ ต่อความเจริญรุ่งเรืองของผู้อื่น แต่มีหน้าที่ จะต้องส่งเสริมเติมความสุขความสามารถให้ผู้อื่นได้เจริญรุ่งเรือง เพราะ “เราทุกคนต้องรับผิดชอบต่อผู้อื่นทุกคน” 18 32. ขอเน้นเป็นพิเศษว่ามนุษย์แสดงถึงการเป็นพระฉายาของพระผู้สร้างโดยความสามารถใช้เหตุผล การตัดสินใจเลือก อย่างเสรี และความเหมาะสมที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน (คือมีชีวิตสังคมโดยธรรมชาติ) ความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์จึงอยู่ที่การใช้เหตุผล อย่างดี การรู้จักเลือกเสรีตามครรลองของเหตุผลและการอยู่ร่วมสังคมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม จึงต้องยอมรับโดยจำ�เป็นว่าคนเรา จะพัฒนาความสามารถ คุณธรรม และความศักดิ์สิทธิ์ในชีวิตได้อย่างแท้จริงก็ในสังคมมนุษย์ กล่าวคือต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นจึงจะ พัฒนาชีวิตที่ดีได้ 33. แน่นอนว่า มนุษย์แต่ละบุคคล เนื่องจากมีชะตาชีวิตให้ต้องบรรลุเป้าหมายเหนือธรรมชาติอันได้แก่การมีชีวิตพระเจ้า ตลอดนิรนั ดร มนุษย์จะเจริญรุง่ เรืองเพียงแต่ในโลกนีเ้ ท่านัน้ หาสมบูรณ์ไม่ ทัง้ นีม้ ไิ ด้หมายความว่าชีวติ ในโลกนีไ้ ม่ส�ำ คัญ ตรงกันข้าม ต้องพัฒนาชีวิตให้เจริญรุ่งเรืองในโลกนี้เท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาจนได้ส่วนดีๆ ของชีวิต แต่ถ้าหากขาดทรัพยากรด้านวัตถุ หรือใช้ทรัพยากรวัตถุอย่างฟุ่มเฟือยเกินตัว ก็กลายเป็นผู้มีอุปสรรคขัดขวางหรืออุปสรรคเฉไฉ ไม่อาจบรรลุคุณธรรมและความ ศักดิ์สิทธิ์ 22
23 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
34. ความดีงามร่วม: มนุษย์เป็นสัตว์สงั คมและธรรมชาติสงั คมของมนุษย์กไ็ ม่พน้ ฉายาของความเป็นสังคมในพระตรีเอกภาพ เรื่องนี้ตระหวัดให้คิดไปถึงหลักการเบื้องต้นอีกข้อหนึ่ง คือ ความสำ�คัญของสิ่งดีงามร่วม พระสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้นิยาม สิ่งดีงามร่วมไว้ดังต่อไปนี้ว่า ได้แก่ “ผลบวกทั้งหมดของเงื่อนไขสังคมซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชน ไม่ว่าเป็นกลุ่มหรือส่วนตัว บรรลุ ถึงความเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ให้เต็มยิ่งขึ้นและง่ายมากขึ้น”19 ความดีงามร่วมจะพัฒนาระหว่างประชาชนได้ก็โดยที่พวกเขาตั้งใจ ปฏิบัติการร่วมกัน เช่น การสร้างมิตรภาพ ครอบครัว หรือธุรกิจ ย่อมบรรลุความดีงามร่วมกันระหว่างเพื่อนฝูง สมาชิกในครอบครัว และผู้เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจตามลำ�ดับ ในกรณีดังกล่าวมาข้างต้นมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความดีงามร่วม เพราะโดยธรรมชาติ เราทุกคนเป็นสัตว์สัมพันธ์ จึงไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายเฉพาะตัว (ตัดช่องน้อยแต่พอตัว) และจะบรรลุเป้าหมายเพียง คนเดียวหาพอไม่ อันที่จริงเราย่อมมีส่วนในโครงการร่วมที่ต้องทำ�การร่วมกัน อย่างแท้จริงอยู่แล้ว ซึ่งบันดาลให้บรรลุเป้าหมาย ที่สิ่งดีงามร่วมกันและได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน สิ่งดีงามร่วมหมายถึงและส่งเสริมสิ่งดีงามทุกข้อที่เปิดช่องทางให้มนุษย์แต่ละคน และมวลชนทุกคนได้พัฒนาทั้งส่วนตนและส่วนสังคม 35. ธุรกิจทำ�ให้เกิดเงือ่ นไขสำ�คัญๆ มากมายในสังคมอันก่อให้เกิดสิง่ ดีงามร่วมในสังคมรอบข้าง ไม่วา่ ผลิตผลทีเ่ ป็นสินค้า หรือการบริการด้านต่างๆ รวมทั้งผลพลอยได้ต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเป็นฐานรองรับชีวิต ที่ดีงามของชาติและของมนุษยชาติในองค์รวม ประเทศใดไม่มีกิจกรรมธุรกิจเพียงพอ ย่อมเผชิญปัญหาสมองไหล เพราะพลเมือง ที่มีคุณภาพเหล่านี้มองไม่เห็นอนาคตสำ�หรับตนและครอบครัวในประเทศชาติของตนที่มีสถานการณ์เช่นนั้น บางสังคมไม่ผลิต ความดีงามร่วมของหมู่คณะและของประเทศชาติให้เพียงพอให้ชีวิตมนุษย์มีศักดิ์ศรี ธุรกิจเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ช่วยให้เกิดความดีงาม ร่วมในทุกสังคมและในระดับโลก เพราะมันมีส่วนช่วยมากที่สุดหากได้ทำ�กิจกรรมธุรกิจอย่างมีเป้าหมายสู่และเคารพต่อศักดิ์ศรี ของมวลชนโดยถือว่าเป็นเป้าหมายในตัวเอง เพราะมนุษย์ทุกคนมีปัญญา มีเสรีภาพ และมีความต้องการอยู่ในสังคม 36. ธุรกิจรวมทั้งการตลาดจะรุ่งโรจน์ได้ จำ�เป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมหลายๆ อย่างจากภาคสังคมโดยรอบ เช่น ต้องการประมวลกฎหมายทีไ่ ด้มาตรฐานคุม้ ครองสิทธิในทรัพย์สนิ ส่วนตัว เปิดโอกาสให้มกี ารแข่งขันกันอย่างเสรีและเปิดเผย ส่งเสริม ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างและสะสมสิ่งดีงามร่วมทั้งหลาย มีระบบการใช้เงินตราได้มาตรฐาน มีนโยบายการเก็บภาษีอากร ชัดเจน มีระบบการขนส่งทีค่ ล่องตัว มีระบบการสือ่ สารครบวงจร ทัง้ นีก้ เ็ พราะว่าธุรกิจไม่อาจจะดำ�เนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากสังคมไม่มีโครงสร้างที่ดีรองรับ ที่ใดขาดสิ่งอำ�นวยสะดวกจำ�เป็นสำ�หรับสาธารณประโยชน์ดังกล่าว หรือมีแต่ไม่คล่องตัว ธุรกิจก็เป็นอัมพาต มีรฐั บาลสักแต่วา่ ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญเพียงเท่านัน้ หาพอไม่ส�ำ หรับการดำ�เนินธุรกิจ เพราะนอกจากจะมีรฐั ที่อยู่ได้แล้ว ที่สำ�คัญกว่านั้นอีกก็คือต้องมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการปฏิบัติวัฒนธรรมที่มีศีลธรรมเพื่อให้การอบรมเยาวชนเป็นไปได้ จะได้พัฒนาพวกเขาให้เป็นบุคคลที่มีทักษะและคุณธรรม โตไปจะได้พร้อมรับหน้าที่การงาน สังคมมีหน้าที่จัดสรรทรัพยากรให้ เอื้อต่อการดำ�เนินธุรกิจและการค้าส่วนภาคธุรกิจก็มีหน้าที่เคารพและเกื้อหนุนให้เกิดความดีงามส่วนรวม 37. ธุรกิจมีหน้าที่ต้องสนับสนุนความอยู่ดีกินดีของสมาชิกของสังคมที่ดำ�เนินกิจกรรมอยู่โดยเดินตามบทบาทหน้าที่ พื้นฐานของตนอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง อย่างน้อยที่สุดธุรกิจที่สำ�นึกในหน้าที่จึงระมัดระวังที่จะไม่ทำ�อะไรที่นำ�ความเสื่อมเสีย แก่ประโยชน์ส่วนรวมทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับโลก ที่เป็นรูปธรรมที่สุดก็คือจะต้องแสดงเจตนาแข็งขันในการให้บริการ อย่างเต็มที่ต่อความต้องการของสังคมเพื่อเพิ่มพูนประโยชน์ส่วนรวม ในบางกรณีธุรกิจมีศักยภาพถึงขั้นส่งเสริมโดยตรงให้เกิด กฎระเบียบระดับชาติ ระดับนานาชาติ หรือระดับสาขา เช่น การควบคุมแผนการใช้ธุรกิจที่ทำ�ให้เสื่อมเสีย ด้วยวิธีการทุจริต วิธี หลอกลวงแรงงาน หรือวิธีทำ�ลายสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ โดยหวังทำ�กำ�ไรงามเฉพาะหน้าสำ�หรับกิจการของตน แต่สังคมจะต้อง ใช้ทุนมหาศาลระยะยาวเพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น บางกลยุทธเดินเรื่องจนได้รับการอนุญาตตามกฎหมายให้ได้รับผล ประโยชน์ด้วยการแข่งขันกันประมูลโดยไม่คำ�นึงถึงด้านศีลธรรมของการใช้สิทธิทำ�ให้ฝ่ายรักษาศีลธรรมเสียเปรียบและประมูล ไม่ได้ หรือประมูลได้ก็หาผลประโยชน์ได้ไม่คุ้มการลงทุน การแข่งขันกัน “อย่างถึงพริกถึงขิง” อย่างนี้ จะใช้นโยบายส่งเสริมให้ นักธุรกิจมีศีลธรรมเพียงด้านเดียวย่อมไม่ได้ผล สังคมจำ�เป็นต้องจัดให้มี “กรอบสถาบันดีพร้อม” ให้เป็นหลักปฏิบัติของทุกคน ที่อยู่ในวงการตลาด 24
25 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
II หลักจริยธรรมปฏิบัติส�ำ หรับธุรกิจ 38. การเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์และการสะสมประโยชน์ส่วนรวมนับเป็นหลักการ 2 เสาหลักที่ควรจะเป็นแนวทางให้จัด ระบบการใช้แรงงานและการใช้เงินทุน ตลอดจนการกำ�หนดกระบวนการสร้างนวตกรรมในระบบการตลาดขึน้ มาได้ เป้าหมายทีล่ กึ ซึง้ และอยู่ยงคงกระพันในธุรกิจเอกชนและระบบการค้าทั้งระบบก็คือต้องชูนโยบายส่งเสริมความต้องการพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ซึ่งหมายถึงว่าในการทำ�ธุรกิจต้องมีเป้าหมายที่จะบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรม 3 ด้านที่เกี่ยวโยงกัน ธุรกิจพึงรับผิดชอบ • ดูแลให้มีการตอบสนองความต้องการแท้ๆ ของมนุษย์โดยการสร้างงานและพัฒนางาน เพื่อผลิตสินค้าและเสนอ บริการอย่างครบถ้วน • บริหารจัดการให้การผลิตดีมีคุณภาพ • ใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างสรรค์และแบ่งปันความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน 39. พระศาสนจักรมีประเพณีดูแลสังคมด้วยกิจกรรม 3 อย่างข้างต้นนี้เสมอมา โดยเสนอหลักปฏิบัติดังกล่าว เพื่อช่วย แนะนำ�การตัดสินใจในการทำ�ดี หลักปฏิบตั ดิ งั กล่าวตัง้ มัน่ อยูบ่ นหลักการพืน้ ฐาน มุง่ เคารพสถานภาพพหุวฒ ั นธรรมและพหุศรัทธา อันเป็นเอกลักษณ์ของธุรกิจปัจจุบัน หลักการดังกล่าวยังช่วยอธิบายกระแสเรียกของนักธุรกิจคริสตชนและบทบาทของผู้นำ�ธุรกิจ แท้ได้เป็นอย่างดี
ตอบสนองความต้องการของโลกด้วยสินค้าและบริการ 40. ธุรกิจที่ถือได้ว่าประสบความสำ�เร็จต้องสนใจและพยายามดูแลความต้องการแท้ๆ ของมนุษย์ให้อยู่ในระดับดีเลิศ โดยเน้นนวตกรรม การสร้างสรรค์ และการริเริ่มอย่างเข้มข้น ธุรกิจดังกล่าวมานี้ขณะนี้ผลิตสินค้าออกจำ�หน่ายอย่างที่เคยผลิต กันมาแต่ก่อนอันได้แก่ สินค้าทางการแพทย์ การสื่อสาร อาหาร พลังงาน และสิ่งอำ�นวยความสะดวกอื่นๆ แต่ทว่ามีอะไรใหม่ใน วิธีตอบสนองความต้องการของมนุษย์ คือทั้งสินค้าและงานบริการมีคุณภาพสูงขึ้นอย่างมาก และที่ใดทำ�ได้ดีจริงๆ ที่นั่นคุณภาพ ชีวิตของผู้คนสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 41. ในแง่ของการมีส่วนเสริมความดีงามร่วม 20 ปรากฏในสมุดย่อคำ�สอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ชี้นำ�ไว้ว่า “ธุรกิจควรมีลักษณะเด่นชัดในสมรรถนะรับใช้ประโยชน์ส่วนรวมของสังคม โดยการผลิตสินค้าและเสนอบริการที่เป็นประโยชน์ จริงต่อคุณภาพชีวิต” 21 ธุรกิจต้องทำ�เพื่อผู้อื่นโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะธุรกิจคือ ศูนย์รวมของพรสวรรค์ พรแสวง พลัง และ ทักษะในการตอบสนองความต้องการของผู้อื่น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็ย่อมจะสนับสนุนการพัฒนาผู้คนในวงการนั้นเอง เพราะ ภาระหน้าที่ต่างๆ ที่ท�ำ ร่วมกันอยู่นั้น ย่อมเกิดผลลัพธ์เป็นสินค้าและบริการที่จำ�เป็นสำ�หรับหมู่คณะที่ดำ�เนินไปด้วยดี “ผู้นำ�ธุรกิจ ไม่ใช่ผู้ยืนดู แต่ต้องเป็นผู้คิดหาวิธีการใหม่ๆ อยู่เสมอ นักธุรกิจประเภทยืนดูจะยืนต้อนกำ�ไรเข้ากระเป๋าให้มากๆ ไว้ เพราะเขา คิดว่าธุรกิจเป็นเพียงวิถีสู่เป้าหมายและเป้าหมายก็คือกำ�ไร นักธุรกิจประเภทยืนดูย่อมยืนคิดอยู่ว่า การสร้างถนน ตั้งโรงพยาบาล หรือโรงเรียน ไม่ใช่เพื่อให้มีถนนหนทาง โรงพยาบาล และโรงเรียนคุณภาพ แต่เพื่อกอบโกย จึงเห็นได้ชัดเจนทันทีว่านักธุรกิจ ยื น ดู ไ ม่ ใ ช่ ต้ น แบบของผู้ นำ � ธุ ร กิ จ ตามคำ � สอนของพระศาสนจั ก รที่ ป รารถนาให้ เ ป็ น ผู้ ก่ อ สร้ า งกองความดี ง ามส่ ว นรวมไว้ ใ น สังคม” 22 พูดให้ตรงกว่านั้นก็คือว่า ผู้นำ�ธุรกิจที่เป็นคริสตชนย่อมรับใช้ประโยชน์ส่วนรวมโดยสร้างสรรค์สินค้าให้มีคุณภาพใช้สอย ได้จริงและเสนอบริการที่น่าพึงพอใจจริงๆ สินค้าและบริการที่ธุรกิจจัดสรรพึงให้ตอบสนองสิ่งที่มนุษย์พึงประสงค์จริงๆ (ไม่ใช่ตอบ สนองความต้องการใฝ่ต่ำ�) ทั้งนี้ย่อมหมายความว่าจะต้องมีคุณค่าทางสังคมอย่างชัดเจน อย่างเช่นเครื่องมือการแพทย์ที่ช่วย การยังชีพ สินเชื่อรายย่อย การศึกษา การลงทุนทางสังคม ผลิตภัณฑ์ที่ขายในราคาเหมาะสม สถานสาธารณสุข หรือบ้านจัดสรร รวมถึงอะไรต่อมิอะไรที่ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาคุณภาพชีวิต และปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมได้ครบถ้วนสมบูรณ์ นับตั้งแต่สิ่งละอัน พันละน้อย อย่างเช่นกลอนประตู โต๊ะ สิ่งทอต่างๆ ไปจนถึงระบบซับซ้อนขนาดระบบกำ�จัดน้�ำ เสีย ถนนหนทาง และระบบขนส่ง 26
27 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
42. ในปี ค.ศ. 1931 พระสันตะปาปาปีโอที่ 11 ได้ออกสมณสาสน์ Quadragesimo Anno กล่าวถึงความสำ�คัญของธุรกิจ ที่จะต้อง “ผลิตสินค้าดีที่ให้ประโยชน์จริงๆ แก่ผู้บริโภค” 23 ผู้ท�ำ ธุรกิจจะต้อง “ให้บริการนำ�หน้ากำ�ไร และต้องใช้ลูกจ้างให้ผลิต สินค้าที่มีคุณค่าจริง ไม่พึงกดดันพวกเขาให้ร่วมทำ�ผิดด้วยการบังคับพวกเขาให้ร่วมการมดเท็จ หรือถึงขนาดทำ�สิ่งให้โทษและอาจ จะถึงขั้นประพฤติชั่วร้าย เขาจะจัดการให้บริษัทของเขาเสนอแต่สินค้าและบริการที่ให้คุณประโยชน์เท่านั้น ไม่ยอมถือโอกาสจาก ความไม่เดียงสาและความอ่อนแอของผู้บริโภค หลอกลวงให้ยอมจ่ายเงินโดยไร้ประโยชน์ตอบแทน หรือมีประโยชน์อยู่บ้างแต่ให้ โทษมหันต์” 24 ต้องแยกให้ดีระหว่างความจำ�เป็น (need) กับความต้องการ (want) ซึ่งตอบสนองกิเลสโดยไม่ช่วยให้ได้ความสุข แท้ตามความเป็นจริง ในกรณีสุดๆ ที่มองข้ามไม่ได้อย่างเช่น การแพร่ยาเสพติด การอนาจารทั้งหลาย การพนันขันต่อ วีดีโอเกม ที่เล่นกับความรุนแรง และสิ่งผลิตให้โทษอื่นๆ การสนใจแต่ด้านความต้องการตามกิเลสอย่างนี้เรียกว่า “บริโภคนิยม” มันเป็น คนละเรือ่ งกับการผลิตและบริโภคสิง่ ดีงามร่วมเพราะมันกีดกัน้ การพัฒนาคุณภาพชีวติ ของบุคคลอย่างสิน้ เชิง 25 สินค้าทีด่ จี ริงย่อม บริการความจำ�เป็นของผู้บริโภคในประเภทที่ต่างกัน เช่น อาหารที่จำ�เป็นสำ�หรับบำ�รุงเลี้ยงร่างกายย่อมแตกต่างชัดเจนจากความ ต้องการเล่นพนันเพือ่ ความสะใจ นีค่ อื ความหมายทีว่ า่ แยกตามประเภทของมันอย่างชัดเจน เพราะเหตุนจ้ี งึ ต้องย้�ำ เน้นว่า การเสนอ สินค้าและบริการต้องเพ่งเล็งที่ความจริงเป็นหลักใหญ่ ไม่เพียงพอเฉพาะใช้ประโยชน์ได้เท่านั้น 43. ร่วมแรงแข็งขันกับคนยากจน : การผลิตสินค้าและการเสนอบริการ ยิ่งทำ�เพิ่มขึ้นเท่าใดก็ยิ่ง “เพิ่มสายใยร่วมแรง แข็งขัน (solidarity)” ซึ่งมีทั้งสร้างวิกฤตและสร้างโอกาสให้แก่มวลชน 26 ประเด็นอยู่ที่ว่าต้องนิยามการร่วมแรงแข็งขันให้ถูกต้อง ตามจิตตารมณ์ของมัน คือต้องรู้ว่าคนจน คนด้อยโอกาสและคนตกยากนั้น มีความจำ�เป็นอะไรจริง (อย่าปนกับความต้องการ ตามกิเลส) เรื่องนี้มักจะถูกมองข้ามโดยธุรกิจแบบการตลาดที่เน้นการฟันกำ�ไรระยะสั้น 27 ธุรกิจโดยคริสตชนจริงๆ ต้องตื่นตัว ในเรื่องโอกาสรับใช้ประชาชนที่ไม่ได้รับการเหลียวแลอย่างเหมาะสม ต้องมองให้เห็นว่าเรื่องนี้มิเพียงในแง่ต้องรับผิดชอบเป็นภาระ ในชีวิต แต่ต้องมองว่าเป็นการท้าทายสู่ธุรกิจอันยิ่งใหญ่แห่งยุค การพัฒนาในส่วน “ฐานของปิรามิด” แห่งการผลิตสินค้าและ การเสนอบริการ อย่างเช่น การค้าปลีก การบริการสินเชื่อรายย่อย ธุรกิจสังคม และกองทุนสังคม เหล่านี้ล้วนแต่มีบทบาทสำ�คัญ ในการตอบสนองความจำ�เป็นของคนยากจน นวตกรรมเหล่านีจ้ ะช่วยยกฐานะจากความยากจนสุดๆ ทัง้ ยังสามารถช่วยจุดประกาย ให้คนระดับล่างได้รู้จักสร้างสรรค์ช่วยตัวเอง สร้างธุรกิจของตนเอง และมีส่วนร่วมในการสร้างพลังพัฒนา 28
28
29 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
จัดระบบงานดีมีผล
44. ธุรกิจสร้างสินค้าบริการสังคมรวมทัง้ จัดระบบงานให้คนทำ�งานร่วมกัน ธุรกิจทีป่ ระสบผลสำ�เร็จย่อมออกแบบงานทีด่ ี มีประสิทธิภาพ สัมฤทธิ์ผลและจูงใจ อิสระและร่วมมือ ไม่ว่างานจะได้รับการวางแผนหรือจัดการอย่างไร ย่อมมีตัวชี้บ่งว่าจะเป็น องค์การที่สามารถแข่งขันกันได้ในการตลาด ทั้งยังชี้บ่งอีกว่าประชาชนจะรุ่งเรืองได้ด้วยการทำ�งานของตนเองได้หรือไม่ บุญราศี จอห์นปอลที่ 2 ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า “ในสมัยหนึ่ง ตัวบ่งชี้ขาดการผลิตอยู่ที่ดิน ทำ�กิน ต่อมาย้ายไปอยู่ที่เงินทุนซึ่งหมายรวมถึง เครื่องมือการผลิตทั้งหมด มาในปัจจุบันตัวชี้ขาดอยู่ที่ตัวมนุษย์เองนั่นแหละ ซึ่งหมายรวมถึงความรู้ทั่วไป ความรู้วิทยาการ ความ สามารถในการจัดระเบียบงานบริหารได้กระชับ ตลอดจนความสามารถทีจ่ ะหยัง่ รูถ้ งึ ความจำ�เป็นของมวลมนุษย์และรูจ้ กั ตอบสนอง ให้ความจำ�เป็นนัน้ อิม่ ตัว” 29 ในขณะทีโ่ ลกกำ�ลังกลายเป็นโลกาภิวตั น์เข้มข้นเข้าทุกทีน ้ี รวมทัง้ การตลาดก็เปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดเวลาอยู่เช่นนี้ การจัดบริหารงานให้ตื่นตัวอยู่เสมอย่อมค้ำ�ประกันว่าองค์กรมีชีวิต ชีวา มีการตอบสนอง และมีพลังทำ�การ ทัง้ นีห้ มายความด้วยว่าต้องมีระเบียบการทีท่ กุ คนรูส้ กึ ได้วา่ ดีหรือไม่ดตี รงไหน ซึง่ จะค้�ำ ประกันได้วา่ ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ มีจติ ตารมณ์ทส่ี ามารถพัฒนาในหนทางทีย่ ง่ั ยืน เป็นธุรกิจทีม่ ศี กั ยภาพทำ�กำ�ไรอย่างเป็นกอบเป็นกำ�พร้อมทัง้ ความสำ�เร็จอันงดงาม 45. ทำ�งานอย่างมีเกียรติ : พระสันตะปาปาปีโอที่ 11 ได้เขียนไว้ใน ค.ศ. 1931 ว่า “ในเมื่อวัตถุไร้วิญญาณออกมาจาก โรงงานอย่างทรงเกียรติได้ ไฉนคนที่ท�ำ มันจึงเดินออกจากโรงงานเดียวกันอย่างเสื่อมเกียรติด้วยคอร์รัปชั่น” 30 ความยิ่งใหญ่ของ การทำ�งาน มิเพียงแต่อยูท่ ผ่ี ลิตภัณฑ์และบริการ แต่อยูท่ ค่ี นทำ�งานได้พฒ ั นาตน ธรรมประเพณีสงั คมของคาทอลิกได้เน้นย้�ำ อยูเ่ สมอ ถึงธรรมชาติที่แท้จริงของการทำ�งานและผลที่ผู้ทำ�งานพึงมีพึงได้ บุญราศียอห์นปอลที่ 2 ได้กล่าวถึง “มิติอัตวิสัยของงาน” โดย แยกให้เห็นชัดเจนว่าต่างจาก “มิติวัตถุวิสัย” อย่างไร พระองค์ท่านได้แสดงวิสัยทัศน์ไว้อย่างงดงามโดยชี้ให้เห็นว่า เมื่อคนทำ�งาน พวกเขามิเพียงแต่ได้งาน แต่ยังได้อะไรที่วิเศษกว่านั้นมาก การเปลี่ยนแปลงในตัวคนที่ทำ�งานมิอาจจะบรรยายให้สะใจได้ภายใน กรอบของมิติวัตถุวิสัย ด้วยเหตุผลที่ว่าในฐานะเป็นผู้ทำ�งานได้รับการเปลี่ยนแปลงภายในตัวตนของตนอย่างใหญ่หลวง ไม่ว่าเขา ผู้นั้นจะทำ�งานในตำ�แหน่งผู้บริหาร หรือเป็นชาวสวนขุดดิน หรือเป็นพยาบาลเฝ้าไข้ หรือเป็นยามรักษาความปลอดภัย หรือเป็น วิศวกรซ่อมเครื่อง หรือเป็นพ่อค้าหาบเร่ งานของเขาล้วนแต่มีส่วนเปลี่ยนแปลงคุณภาพของโลก (มิติวัตถุวิสัย) แล้วก็เปลี่ยนแปลง คุณภาพชีวิตของเขาเองด้วย (มิติอัตวิสัย) เพราะงานยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคล ทั้งในด้านสูงขึ้นหรือต่ำ�ต้อยลง พัฒนาตนสูงขึ้นหรือเสียหายตกต่ำ�ลง จึงเห็นได้ว่าในที่สุด “บ่อเกิดของศักดิ์ศรีของผลงานได้มาจากมิติอัตวิสัยเป็นหลัก ไม่ใช่ใน ตัววัตถุ” 31 เมื่อมองผลงานด้วยสายตาระดับนี้แล้ว จึงควรต้องหาทางให้นายจ้างและลูกจ้างมาทุ่มเทร่วมกันในงาน เพื่อให้ผลงาน มาจากวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยม มันเป็นการดำ�เนินธุรกิจที่เหมาะสมและมีจริยธรรมอย่างมีเอกภาพ 46. เมื่อได้รับรู้ว่ามีมิติอัตวิสัยของงานก็เท่ากับรับรู้ศักดิ์ศรีและความสำ�คัญของงานนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ย่อมจะช่วยให้ เราเห็นได้ว่า “งานมีอยู่เพื่อคน ไม่ใช่คนเพื่องาน” 32 ดังนั้นลูกจ้างไม่ควรถูกจัดเป็น “ทรัพยากรมนุษย์” หรือ “ต้นทุนมนุษย์” เพราะ เหตุนง้ี านจึงต้องถูกออกแบบให้เหมาะกับความสามารถและคุณภาพของคน จึงเป็นวิธดี �ำ เนินการผิดอย่างยิง่ ทีเ่ รียกร้องให้คนปรับตัว เข้ากับงาน ทำ�ราวกับว่าคนคือเครื่องจักร งานที่ดีย่อมเปิดกรอบเสนอให้ปัญญามนุษย์เลือกทำ�ได้อย่างเหมาะสม บริบทของงาน สร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและเปิดโอกาสให้คนร่วมมือกันทำ�งาน เมือ่ เป็นเช่นนีค้ นทำ�งานก็จะไม่เสียทัง้ สุขภาพจิตและสุขภาพกาย เป็นเรื่องที่ผู้นำ�ธุรกิจต้องใช้ความสามารถพัฒนานโยบายใช้คนให้ได้งานหรือใช้คนให้เหมาะกับงาน (right person in the right job) เขาจะทำ�อย่างเสรีและรับผิดชอบ งานที่ดีย่อมมุ่งเติมเต็มสิ่งพึงประสงค์ของมนุษย์ ดังนั้นคนทำ�งานโดยตั้งใจหารายได้ให้ตัวเอง และครอบครัว เขาย่อมได้รับใช้เพื่อนมนุษย์ด้วยการสร้างความเจริญ งานที่ดีต้องมีการบริหารจัดการที่ดีพอให้เกิดผลผลิตที่ช่วย ให้คนทำ�งานได้หาเลี้ยงชีพ ยิ่งกว่านั้นหากมีนโยบายให้รางวัลคนงานดีเด่น ก็ควรมีมาตรการดูแลคนงานที่ใช้ความอุตสาหะทำ�งาน อย่างซือ่ ตรงแต่ไม่มผี ลงานดีเด่น บริษทั ควรมีทางให้คนเหล่านีไ้ ด้รบั การยกย่องและผลตอบแทนอย่างเหมาะสมเช่นกัน พระสมณสาสน์ Mater et Magistra ได้ชี้ไว้ชัดเจนว่า “ถ้าเห็นว่าโครงสร้างและการบริหารจัดการทั้งหมดของระบบเศรษฐกิจไม่สามารถค้�ำ ประกัน ศักดิ์ศรีของมนุษย์ได้ดี แต่กลับทำ�ให้ความสำ�นึกรับผิดชอบลดหย่อนลงก็ดี หรือทำ�ให้หมดโอกาสได้คิดริเริ่มในการทำ�งานก็ดี เรา ถือว่าระบบเศรษฐกิจเช่นนีไ้ ม่ยตุ ธิ รรมทัง้ สิน้ ไม่วา่ จะสามารถสร้างความร่�ำ รวยได้มากสักปานใดก็ตาม หรือไม่วา่ จะมีการกระจาย ความร่ำ�รวยนั้นอย่างทั่วถึงและยุติธรรมเพียงใดก็ตาม” 33 30
31 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
47. การสร้างโครงสร้างการเกือ้ กูล: หลักการของการเกือ้ กูลมีรากฐานอยูบ่ นความเชือ่ มัน่ ว่า มนุษย์ในฐานะทีเ่ ป็นพระฉายา ของพระเจ้า จะรุ่งโรจน์ได้ก็โดยรู้จักใช้ปัญญาและเสรีภาพอย่างดีที่สุด ศักดิ์ศรีของมนุษย์ไม่มีวันจะได้รับความเคารพได้เลยหาก ปัญญาและเสรีภาพถูกบีบคั้นหรือถูกเบียดบังโดยไม่มีเหตุผลอันควร หลักการของการเกื้อกูลจึงรับรู้ว่าในสังคมมนุษย์มีประชาคม ย่อยๆ เป็นองค์ประกอบอยู่ของประชาคมใหญ่ เช่น ครอบครัวเป็นประชาคมย่อยของหมู่บ้าน หมู่บ้านของตำ�บล ตำ�บลของอำ�เภอ อำ�เภอของจังหวัด จังหวัดของประเทศ และต่อๆ ไป หลักการเกื้อกูลจึงเน้นว่าเสรีภาพหรือปัจจัยใดๆ ที่มีผลทำ�ให้ลดเสรีภาพลง อย่างรู้สึกได้ จะถือว่าไม่สำ�คัญโดยไม่คิดให้รอบคอบเสียก่อนหาได้ไม่ ดังที่บุญราศีจอห์นปอลที่ 2 ได้ชี้ให้เห็นว่า “ประชาคมใน ระดับที่สูงกว่าไม่พึงลงมาระรานชีวิตภายในของประชาคมที่ต่ำ�กว่า จนทำ�ให้ประชาคมที่ต่ำ�กว่าไม่สามารถปฏิบัติภาระหน้าที่ได้ ตรงกันข้ามพึงสนับสนุนตามความจำ�เป็นและช่วยจัดระเบียบกิจกรรมให้สอดคล้องกับกิจกรรมของส่วนอื่นๆ ของสังคม โดยคำ�นึง เสมอว่า ประโยชน์ส่วนรวมต้องมาก่อน” 34 48. หลักการแห่งการเกื้อกูลประยุกต์ใช้กับโครงสร้างของรัฐหรือการจัดองค์กรธุรกิจ งานของเราจะพัฒนาได้ดีที่สุดหาก เราใช้ปญ ั ญาและเสรีภาพเพือ่ บรรลุเป้าหมายร่วมกันตลอดจนสร้างและค้�ำ จุนความสัมพันธ์ตอ่ กันอย่างถูกต้อง กล่าวได้อกี อย่างว่า งานใดยิ่งมีคนร่วมแรงร่วมใจกันทำ�มากเท่าใด งานก็มีโอกาสพัฒนาได้มากเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องให้ลูกจ้างมีสิทธิ์มีเสียงในงานที่ พวกเขาทำ� โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่ทำ�ทุกวันนี้ เพราะจะช่วยกระตุ้นให้พวกเขามีความคิดริเริ่ม มีนวตกรรม มีการสร้างสรรค์ และมีอารมณ์ร่วมรับผิดชอบ 49. หลักการแห่งการเกือ้ กูลทำ�ให้ผนู้ �ำ ธุรกิจเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพราะมันกระตุ้นให้ผู้นำ�เหล่านี้ใช้อำ�นาจในหน้าที่เพื่อรับใช้ เพื่อนร่วมงาน ทำ�ให้พวกเขาอยากจะรู้ว่าการใช้อำ�นาจจะรับใช้การพัฒนาลูกจ้างทุกคนได้อยู่หรือ ว่ากันให้ชัดๆ ได้ว่า การเกื้อกูล ในทำ�นองนี้ช่วยผู้นำ�ธุรกิจปฏิบัติการบริหารได้ดีเป็น 3 ขั้น คือ • ช่วยนิยามขอบเขตของเสรีภาพและสิทธิการตัดสินใจอันพึงกระทำ�ในทุกๆ ระดับในบริษัทโดยเปิดทางไว้อย่างกว้างที่สุด เท่าที่จะกว้างได้ ถึงจุดหนึ่งต้องหยุดเสรีภาพ เพราะสิทธิการตัดสินใจจะต้องได้สัดส่วนกับความสามารถของบุคคลหนึ่ง หรือกลุม่ หนึง่ ในการเข้าถึงข้อมูลเพียงพอให้ท�ำ การตัดสินใจ และเมือ่ เป็นเช่นนีผ้ ลลัพธ์จากการตัดสินใจไม่ควรเลยขอบเขต ของความรับผิดชอบ • ช่วยสอนและส่งเสริมลูกจ้าง จนแน่ใจได้ว่าพวกเขามีเครื่องมือที่ถูกต้อง รวมทั้งการฝึกอบรมและประสบการณ์เพื่อทำ� ภาระหน้าที่จนสำ�เร็จลุล่วง • ช่วยให้บรรลุขั้นยอมรับได้ว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ สามารถทำ�การตัดสินใจด้วยใจ เสรีและเพราะฉะนั้นตัดสินใจได้อย่างมั่นใจว่าไม่พลาด เมื่อเป็นเช่นนี้ธุรกิจทั้งระบบที่มีการเกื้อกูลในทำ�นองนี้น่าจะช่วย หล่อหลอมการเคารพกันและกันตลอดจนความรับผิดชอบ โดยเปิดทางให้ลูกจ้างมีส่วนทำ�ให้เกิดผลดีจากการที่พวกเขา ทุ่มเทให้แก่งานอย่างบริสุทธิ์ใจ ประการสุดท้ายแห่งการเสีย่ งตัดสินใจอันทำ�ให้การทีก่ ารเกือ้ กูลมีลกั ษณะแตกต่างจากการทำ�หน้าทีแ่ ทน โดยทีผ่ ทู้ �ำ หน้าที่ แทนย่อมได้รับมอบหมายอำ�นาจแทนในขณะทำ�หน้าที่ตัวแทน มิฉะนั้นก็ไม่มีอำ�นาจและไม่รับผิดชอบเต็มที่ ลูกจ้างจึงไม่ใช่ตัวแทน รับมอบอำ�นาจในลักษณะดังกล่าว ลูกจ้างเป็นผูเ้ กือ้ กูลงานของนายจ้าง จึงมีความเป็นเลิศของตนเองได้และมีสว่ นในสถานภาพงาน ที่ทำ�ในส่วนของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งเขาจะต้องพัฒนาความรับผิดชอบจนเต็มเปี่ยม 50. ภายใต้หลักการของการเกื้อกูล ลูกจ้างอยู่ในระดับที่ต่ำ�กว่านายจ้าง แต่เขาได้รับความไว้วางใจ ได้ฝึกฝนในระดับ ตำ�แหน่งของเขา ได้สะสมประสบการณ์ ย่อมรู้ชัดเจนถึงขอบข่ายความรับผิดชอบของตน ย่อมสามารถใช้เสรีภาพและสติปัญญา ของตน และทั้งนี้ย่อมสามารถพัฒนาเยี่ยงมนุษย์ พวกเขาได้ชื่อว่าเป็นผู้ร่วมทำ�ธุรกิจอย่างแท้จริง สำ�หรับผู้นำ�ธุรกิจทุกระดับ ตั้งแต่หัวหน้าทีมจนถึงประธานคณะผู้บริหาร เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องจำ�เป็นและมีประสิทธิผล การทำ�งานภายใต้หลักแห่งการเกื้อกูล นั้นผู้นำ�ต้องทำ�ใจอยู่บ้าง คือผู้นำ�ต้องยอมรับด้วยความสุภาพถ่อมตนว่าผู้น�ำ ต้องแสดงบทบาทผู้รับใช้ 32
33 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
บัญญัติหกประการสำ�หรับบริหารธุรกิจ หลักการแห่งความเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ และการมุ่งสร้างความดีส่วนรวม คือ คำ�สอน รากฐานทางสังคมของพระศาสนจักร เมื่อรวมกับบัญญัติหกประการสำ�หรับปฏิบัติธุรกิจ ก็จะกลายเป็น วัตถุประสงค์ 3 ประการนำ�ทางผู้น�ำ ธุรกิจได้กระชับยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้ ก) ธุรกิจตอบสนองสิ่งที่โลกพึงประสงค์ด้วยการสร้างและพัฒนาสินค้าและบริการ 1) ธุรกิจทีผ่ ลิตสินค้าดีจริงๆ และเสนอบริการทีใ่ ห้คณ ุ จริงๆ ย่อมสะสมประโยชน์สว่ นรวม 2) ธุรกิจค้ำ�ประกันการร่วมแรงแข็งขันกับคนจนโดยพร้อมถือโอกาสบริการมวลชนที่ขาด การเหลียวแล ข) ธุรกิจจัดให้มีงานดีมีผลงาน 3) ธุรกิจช่วยให้ประชาคมมีการส่งเสริมศักดิ์ศรีของผู้ท�ำ งาน 4) ธุรกิจด้วยหลักการเกือ้ หนุนเปิดโอกาสให้ลกู จ้างได้ใช้อ�ำ นาจในมือร่วมก่อให้เกิด พันธกิจ แห่งการบริหารจัดการ ค) ธุรกิจสร้างสินทรัพย์ (wealth) อย่างยั่งยืนและจัดสรรอย่างยุติธรรม 5) ธุรกิจสร้างรูปแบบการให้บริการทรัพย์สิน (resources) ที่ได้มาไม่ว่าจะเป็นเงินทุนหรือ ทรัพยากรต้นทุน 6) ธุรกิจให้ความยุติธรรมในการจัดสรรทรัพย์สินแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ลูกจ้าง ลูกค้า ผู้ลงทุน ผู้จำ�หน่ายจ่ายแจก และประชาคม
การสร้างขุมทรัพย์ยง่ั ยืนและจัดสรรอย่างยุตธิ รรม 51. ผูป้ ระกอบธุรกิจพึงใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนจัดการพรสวรรค์และพลังทำ�การต่างๆ จัดการรวบรวมทุนและทรัพยากร ทั้งหลายที่มีอยู่อย่างอุดมในโลก เพื่อผลิตสินค้าและเสนอบริการแก่มวลชน หากประสบความสำ�เร็จอย่างดี ก็จะมีเงินจ่ายค่าจ้าง มีงานให้ประชาชนทำ�และกำ�ไรก็จะเกิด ได้ขุมทรัพย์ออกมาแบ่งปันแก่หุ้นส่วน ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะได้ดี พระศาสนจักรรับรู้ว่ากำ�ไร ที่ได้มาด้วยบทบาทที่ชอบธรรมย่อมแสดงว่าธุรกิจดำ�เนินไปด้วยดี เมื่อบริษัททำ�กำ�ไร โดยทั่วไปย่อมหมายความว่า ปัจจัยการผลิต สินค้าได้ถูกนำ�มาใช้อย่างเหมาะสม ความพึงประสงค์ของมนุษย์จึงได้รับการตอบสนองอย่างครบถ้วน 35 ธุรกิจที่ทำ�กำ�ไร ย่อมสร้าง ขุมทรัพย์และเอื้อความเจริญรุ่งเรือง และช่วยบุคคลต่างๆ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนประโยชน์ส่วนรวมในสังคมนั้นเพิ่มพูน อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าทรัพย์สมบัติของสังคมมิได้มีแต่การมีกำ�ไรเป็นตัวเงินเท่านั้น คำ�ว่า “wealth” มาจาก “well” จึงหมายถึง “การอยู่ดีมีสุข” ด้วย ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ด้านความรู้สึก ด้านจิตวิญญาณ หรือแม้แต่ศีลธรรม รวมถึง ความอยูด่ มี สี ขุ ของมวลชนด้วย คุณค่าด้านเศรษฐกิจของทรัพย์สมบัตเิ ชือ่ มโยงอย่างแน่นแฟ้นและภายในผูกโยงกับความหมายกว้างๆ ของการอยู่ดีมีสุขด้วย 52. การดูแลทรัพยากรธรรมชาติ: พระคัมภีร์สั่งสอนไว้ว่าผู้รับใช้ที่ดีต้องมีจิตสร้างสรรค์เพื่อผลิตสินค้าด้วยทรัพยากร ที่ได้รับอนุญาตให้ครอบครองเพื่อดูแลรับผิดชอบ 36 พวกเขาจึงไม่ควรเลือกใช้เฉพาะที่สร้างไว้แล้วอย่างสมบูรณ์เท่านั้น แต่ควรใช้ ความฉลาดและความสามารถผลิตให้ได้มากที่สุด โดยใช้ทรัพยากรแต่น้อยๆ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจข้อหนึ่งภายในบริบทของธุรกิจก็ คือต้องมีกำ�ไร กำ�ไรคือรายได้ที่คงเหลือเมื่อหักรายจ่ายออกทั้งหมดแล้ว กำ�ไรสะสมจะทำ�ให้องค์การธุรกิจยืนหยัดอยู่ได้ยั่งยืน ผู้นำ� ธุรกิจที่ดีที่สุดได้แก่ผู้ใช้ทรัพยากรอย่างได้ผลและสามารถรักษาระดับรายรับ อัตราผลกำ�ไร ส่วนแบ่งของตลาด คุณภาพสินค้าและ ประสิทธิภาพทั่วๆ ไปอย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรอยู่ได้ หากไม่มีกำ�ไรก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีเงินปันผล 53. แม้วา่ การทำ�กำ�ไร จะเป็นตัวบ่งชีส้ ถานะขององค์กร แต่กอ็ ย่าคิดว่ากำ�ไรเป็นตัวชีว้ ดั เพียงตัวเดียว และมันก็ไม่ใช่ตวั ชีว้ ดั ที่สำ�คัญที่สุดสำ�หรับตัดสินความอยู่รอดของธุรกิจ 37 กำ�ไรเป็นสิ่งจำ�เป็นเพื่อให้ธุรกิจอยู่ได้ก็จริง แต่แม้ “เมื่อเอากำ�ไรมาเป็นตัวตั้ง หากหากำ�ไรด้วยวิธีผิดๆ หรือไม่คำ�นึงถึงผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวม ก็ยังอาจจะมีอันเป็นไปในทางเสี่ยงที่จะทำ�ลายความเจริญ และสร้างความยากจนขึ้นในสังคมก็ได้” 38 กำ�ไรเปรียบได้กับอาหาร สิ่งมีชีวิตต้องกินอาหาร แต่การกินก็ไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของ การมีชีวิต กำ�ไรจึงมีลักษณะเป็นบ่าวได้ดี แต่เป็นนายที่ใช้การไม่ได้ 34
35 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
54. แม้ว่าการเงินจะเป็นทรัพยากรสำ�คัญเพียงใดสำ�หรับธุรกิจ แต่ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรวัฒนธรรมก็สำ�คัญ ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ดังที่พระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 16 ได้ตรัสไว้ว่า “สิ่งแวดล้อมธรรมชาติเป็นสิ่งประทานจากพระเป็นเจ้าสำ�หรับ มนุษย์ทกุ คน ดังนัน้ เมือ่ เราต้องใช้มนั ให้เป็นประโยชน์ เราก็มคี วามรับผิดชอบด้วยต่อคนจนต่ออนุชน และต่อมนุษย์ทง้ั มวล 39 สิง่ สร้าง เป็นสิ่งที่เราค้นพบเพราะเราไม่ใช่ผู้สร้างสิ่งมีชีวิตทั้งหลายและธรรมชาติไร้ชีวิตเราอาจจะใช้เพื่อตอบสนองความพึงประสงค์ของ มนุษย์อย่างสมเหตุสมผล เรามนุษย์ในฐานะผู้ร่วมการสร้างกับพระเป็นเจ้าให้สมบูรณ์แบบ เราจึงมีหน้าที่ต้องเคารพและต้องไม่ ทำ�ลาย เรามีเสรีภาพที่จะบำ�รุงรักษาและใช้สอยโดยไม่ทำ�ลาย ดังคัมภีร์บทแรกๆ ของปฐมกาลกล่าวไว้ว่า มนุษย์ได้รับเชิญจาก พระเป็นเจ้าให้ครอบครองโลกอย่างเอาใจใส่ดูแล ให้ทำ�การเพาะปลูกให้เกิดผลผลิต แต่ไม่มีสิทธิ์ใช้อย่างเอาเปรียบโลก 55. การจัดสรรอย่างยุติธรรม: ในฐานะเป็นผู้ทำ�ให้เกิดความมั่งคั่งและความเจริญรุ่งโรจน์ในสังคม ธุรกิจและผู้น�ำ ธุรกิจ จึงต้องหาทางจัดสรรทรัพย์สมบัติที่เกิดขึ้นจากการทำ�ธุรกิจอย่างเป็นธรรมแก่ลูกจ้าง (ตามหลักการสิทธิที่จะได้ค่าจ้าง) อย่าง ยุติธรรมแก่ลูกค้า (ตามหลักการราคายุติธรรม) เจ้าของกิจกรรม (ตามหลักการผลกำ�ไรที่เป็นธรรม) ผู้ส่งสินค้า (ตามหลักราคา ยุติธรรม) และประชาคม (ตามหลักอัตราภาษีที่ยุติธรรม) 40 56. หากรับรู้ค�ำ สอนว่าพระเป็นเจ้าทรงสร้างสำ�หรับมนุษย์ทุกคน ทั้งคนจนและคนรวย ทั้งผู้ทรงอำ�นาจและผู้ไร้อ�ำ นาจ ทั้งคนปัจจุบันและคนในอนาคต ก็ต้องรับรู้ข้อสรุปตามมาว่าทรัพยากรทั้งหมดถูกมอบให้แก่มนุษยชาติ ด้วย “หลักการจำ�นองไว้ กับสังคม (moral mortgage) คือมอบให้ดูแล หาผลประโยชน์ได้ แต่ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของตนแต่ผู้เดียวไม่ได้ เพราะผลประโยชน์ สุดท้ายต้องได้แก่สังคม ธรรมประเพณีสังคมคาทอลิกเข้าใจข้อบังคับดีเรื่อยมาว่าจะต้องใช้กับการครอบครองทรัพย์สินและเงินทุน ในขณะที่ทรัพย์สินและเงินทุนควรมีกฎให้ครอบครองเป็นของส่วนตัวได้ ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องเข้าใจโดยอัตโนมัติว่า “ต้องให้ ส่วนรวมได้ผลประโยชน์ ถึงขนาดที่ต้องยืนยันว่าสินค้าทุกชิ้นเป็นสมบัติของมนุษย์ทุกคน”42 หลักการนี้จึงเร่งเร้าให้ผู้นำ�ธุรกิจต้อง พิจารณาถึงผลถัวเฉลี่ยแก่ทุกคนเมื่อเขาคิดจะตั้งราคาสินค้าที่ผลิตขึ้นมาได้แล้ว โดยให้เฉลี่ยไปถึงค่าแรงงาน การมีส่วนเป็น เจ้าของร่วม การแบ่งผลกำ�ไรเฉลี่ยคืน การเฉลี่ยจ่ายคืนหนี้สิน ฯลฯ ค่าสัมประสิทธิ์การเฉลี่ยมิใช่คิดจากฐานจำ�นวนเงินเท่ากัน แต่จากฐานความเป็นธรรมว่าภาคใดควรได้มากน้อยกว่ากันเป็นอัตราส่วนเท่าใด จึงจะตอบสนองความพึงประสงค์ของประชาชน ตอบแทนค่ามีส่วนร่วมและค่าการเสี่ยง ตลอดจนค่าตัวเงินค้�ำ ประกันการธำ�รงและการพัฒนางานบริหารองค์กร การกีดกันมิให้ ประชาชนได้รับส่วนแบ่งจากผลของแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการธำ�รงอยู่ของชีวิตในโลก ย่อมหมายถึงว่าไม่ให้ความสนใจ ต่อพระบัญชาของพระเป็นเจ้าให้มนุษยชาติร่วมกันค้นหา พัฒนาและใช้ประโยชน์จากแผ่นดิน
III ธุรกิจในฐานะที่เป็นประชาคมของบุคคล 57. หลักการ 6 ข้อข้างต้นชี้ให้เห็นว่า เป้าหมายของธุรกิจตามคำ�ชี้นำ�ของบุญราศียอห์นปอลที่ 2 ระบุว่า “มิใช่เพื่อทำ�กำ�ไร เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมุ่งให้ธุรกิจของตนนั้นเองเป็นประชาคมของบุคคล ซึ่งมีวิถีทางต่างๆ กันมากมายที่จะมุ่งตอบสนอง ความจำ�เป็นพื้นฐาน และพยายามตั้งกลุ่มของตนเป็นพิเศษให้สามารถรับใช้สังคมทั้งหมดได้” 43 แม้ว่าคำ� “ประชาคมของบุคคล” จะไม่อยู่ในความนิยมกล่าวขวัญถึงกันนักในปัจจุบันก็ตาม แต่มันก็เป็นคำ�ที่แสดงเป้าหมายอันพึงประสงค์ของการเป็นบริษัทและ การร่วมทุนได้เป็นอย่างดี คำ�ว่า “company” และ “companions” มาจากคำ�ภาษาละติน cum แปลว่า “กับ” หรือ “ร่วมกัน” รวมกับ คำ� panis ซึง่ แปลว่าขนมปังแบ่งกันกินหรือมีอะไรก็แบ่งกันกินแบ่งกันใช้นน่ั เอง ส่วนคำ� “corporation” มาจากภาษาละตินว่า “corpus” แปลว่า “ร่างกาย” จึงมีนัยให้เข้าใจได้ว่า กลุ่มบุคคลร่วมแรงร่วมใจกัน “ราวกับเป็นร่างกายเดียวกัน” 44 58. เมื่อเราถือว่าการบริหารจัดการธุรกิจเป็นประชาสังคมของบุคคล ก็ย่อมประจักษ์ชัดว่าสายสัมพันธ์ที่ผูกมัดคนเราไว้ ด้วยกันนั้นไม่มีเพียงสัญญาทางกฎหมายหรือความหวังได้ผลประโยชน์จากกันและกัน แต่ยังมีความมุ่งมั่นที่จะฝากสิ่งดีงามร่วมไว้ ในสังคม ได้มีโอกาสรับใช้โลกร่วมกับผู้อื่น การถือว่าธุรกิจเป็น “สังคมปันส่วน” เป็นความคิดที่ใช้ไม่ได้และมีอันตรายมาก เพราะ เปิดโอกาสให้ประโยชน์สว่ นตัว สัญญา ประโยชน์ใช้สอย และการแสวงหากำ�ไรสูงสุด กินความหมายของการทำ�ธุรกิจไปจนหมด 44 ลักษณะพิเศษทีอ่ ยูป่ ระจำ�ในตัวของงานก็คอื “ผูกใจคนเข้าด้วยกันเป็นความสำ�คัญประการแรก ซึง่ การนีท้ �ำ ให้เกิดพลังสังคม อันเป็น พลังสร้างประชาคมให้มีคุณภาพ” 45 เข้าใจได้อย่างนี้จะช่วยให้พ้นสภาพจิตวิญญาณตกต่ำ� ซึ่งมักจะเป็นอาการของผู้ทำ�งานใน ระบบเศรษฐกิจตลาดเสรีอันเนื่องมาจากการขาดสัมพันธภาพอันดีภายในและรอบๆ ธุรกิจ 46 36
37 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
59. การจะตั้งบริษัทให้เป็นประชาคมของบุคคลตามหลัก 6 ประการข้างต้นมิใช่ของง่าย ถึงกระนั้นก็ดีมันเป็นสิ่งท้าทาย ให้บรรษัทข้ามชาติใหญ่โดยเฉพาะให้คิดสร้างแนวปฏิบัติและนโยบายเพื่อเตรียมพร้อมสร้างประชาคมบุคคลในมวลสมาชิก อย่างไรก็ตามบริษัทไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กย่อมจะได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งหากลูกจ้างทุกคนมีคุณธรรม มีนิสัยชอบเชิดชูชีวิต และมีลักษณะนิสัยที่มีคุณภาพเหมาะสำ�หรับการประกอบอาชีพ มีคุณธรรมอยู่ 2 ประการที่สำ�คัญสำ�หรับนักธุรกิจมืออาชีพ ซึ่ง เราจะวิเคราะห์กันดูในตอนหน้า อันได้แก่ ปรีชาญาณปฏิบัติหรือความรอบคอบในการตัดสิน และความยุติธรรม ในทางปฏิบัติ ผู้บริหารธุรกิจจำ�เป็นต้องมีนิสัยตัดสินอะไรได้อย่างรอบคอบ (ในวิชาปรัชญาเรียกว่า ปรีชาญาณปฏิบัติ) และมีนิสัยสร้างความ สัมพันธ์อันดี (ในวิชาปรัชญาเรียกว่า มีจิตชอบธรรม) หลักการ 6 ประการยังไม่เพียงพอให้รู้จักตัดสินอย่างเหมาะสมได้ทุกครั้งตาม ที่ชีวิตในปัจจุบันเรียกร้อง ไม่มีใครหรือหลักการใดจะให้สูตรสำ�เร็จรูปได้ในเรื่องนี้ และหลัก 6 ประการของเราก็ไม่อวดตัวว่าจะ ทำ�ได้ แต่ถ้ามีหลักศีลธรรมสังคมไว้ในใจและอาศัยแสงสว่างจากพระวรสารช่วยส่องทาง ก็จะทำ�ธุรกิจได้อย่างไม่หลงทิศหลงทาง เป็นแน่ เพราะการกำ�หนดทิศทางของผู้นำ�ธุรกิจมีทั้งการตัดสินใจอย่างฉลาดเฉลียวมีไหวพริบและคุณธรรม จะสามารถวิเคราะห์ ความตึงเครียดซับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกกรณีอย่างชาญฉลาด
พยานแห่งการกระทำ�: จากแรงบันดาลใจสู่การปฏิบัติ 60. บุญราศียอห์นปอลที่ 2 ได้เขียนไว้ว่า “สมัยนี้ยิ่งกว่าสมัยใด พระศาสนจักรตระหนักว่าสาสน์ด้านสังคมของตนจะ ได้รับการเชื่อถือ ณ ทันใด เพราะบรรดาลูกๆ ของพระศาสนจักรต้องการแสดงการเป็นพยานด้วยการกระทำ�แห่งศรัทธา ยิ่งกว่า เพราะเห็นว่าเป็นคำ�สอนที่มีเหตุผลพิสูจน์และสอดคล้องเป็นระบบ” 47 การเป็นพยานด้วยการกระทำ� ส่วนใหญ่แสดงโดยสมาชิก ฆราวาส ซึ่งมิใช่ “สักแต่เป็นฝ่ายรับคำ�สอนจากเบื้องบน แต่ทว่าเป็นผู้ทำ�คำ�สอนสังคมของพระศาสนจักรเสียเอง ณ ขณะต้องนำ� ไปใช้ในงานจริง พวกเขาเป็นผู้ร่วมมืออย่างมีคุณค่ากับฝ่ายอภิบาลของพระศาสนจักรในการสร้างระบบคำ�สอน ในฐานะเป็นผู้มี ประสบการณ์โดยตรงจากการลงสนามปฏิบัติการด้วยทักษะเฉพาะของตน” 48 61. ผูน้ �ำ ธุรกิจคริสตชนเป็นพยานแห่งการกระทำ�ด้วยการเป็นเจ้าของกิจการทีพ่ สิ จู น์จติ ตารมณ์แท้ทร่ี บั รูว้ า่ ความรับผิดชอบ ต่อกระแสเรียกธุรกิจอย่างซื่อสัตย์และเสียสละนั้น เป็นพระพรของพระเป็นเจ้า ผู้นำ�เหล่านี้ได้รับแรงบันดาลให้ทำ�ธุรกิจมิใช่เพียง แต่เพราะได้กำ�ไรงาม เพราะได้ผลประโยชน์ทางวัตถุที่มุ่งหวังหรือเพราะกิจการเป็นไปตามครรลองของตำ�ราเศรษฐกิจ และคู่มือ การบริหารจัดการ ความศรัทธาต่อความเชือ่ ในศาสนาทำ�ให้ผนู้ �ำ ธุรกิจคริสตชนได้เห็นโลกกว้างมากขึน้ ได้มองทะลุเห็นพระกิจการ ของพระเป็นเจ้าในลักษณะของพระญาณสอดส่อง เขามิได้ทำ�ธุรกิจด้วยแรงผลักดันจากความอยากและความสนใจเฉพาะตัวเพียง อย่างเดียว 62. ผนู้ �ำ ธุรกิจได้รบั การสนับสนุนและแรงการชีน้ �ำ จากพระศาสนจักรและโดยองค์กรธุรกิจคริสตชน ให้น�ำ พระวรสารสูโ่ ลก 49 หากไม่มีชาวคาทอลิกออกไปทำ�ธุรกิจและไม่มีองค์กรสนับสนุน คำ�สอนด้านสังคมของพระศาสนจักรก็คงจะเป็นเพียงคำ�พูดที่ ไร้ชีวิตจิตใจ ไม่มีชีวิตความเป็นจริงดังที่นักบุญยาก๊อบได้เขียนไว้ว่า “ศรัทธาที่ไร้การกระทำ�เป็นของตายซาก” (ยก 2:17) 63. น่าเสียดายทีว่ า่ ยังมีคริสตชนบางคนในโลกธุรกิจทีข่ าดการเป็นพยานและขาดพลังบันดาลใจจากความเชือ่ และศีลธรรม ของตน เราเห็นการเป็นที่สะดุดมากมายจากการกระทำ�ของผู้นำ�ที่ใช้อำ�นาจจากตำ�แหน่งหน้าที่ในทางเสื่อมเสีย พวกเขายอม จำ�นนต่อบาปแห่งความลืมตน โลภ หลง และบาปด้านอื่นๆ กรณีใหญ่ๆ อย่างนี้เห็นแล้วเศร้าใจมาก และที่เป็นโศกนาฏกรรมไม่ ยิ่งหย่อนกว่ากันก็คือว่า มีคริสตชนบางคนไม่ถึงกับทำ�ผิดกฎหมายหรือเป็นที่สะดุด แต่ปล่อยตัวไปตามกระแสโลก ทำ�ตัวราวกับ ไม่รับรู้ว่ามีพระเป็นเจ้า พวกนี้มิเพียงแต่อยู่ ในโลกเท่านั้น แต่ทำ�ตัวเป็นคนใจโลกเต็มตัว เมื่อใดก็ตามที่ผู้น�ำ ธุรกิจคริสตชนไม่นำ� จิตตารมณ์ของพระวรสารไปใช้ในองค์กรธุรกิจ ชีวิตของพวกเขาก็ “ปิดบัง (conceal) แทนที่จะเปิดเผย (reveal) พระพักตร์แท้จริง ขององค์พระผู้เป็นเจ้าและศาสนาคริสต์” 50 38
39 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
64. ความเชื่อต้องมิเป็นเพียงความเป็นจริงเก็บไว้ในใจเป็นการส่วนตัว แต่เป็นความเป็นจริงที่ต้องนำ�ออกประยุกต์ใช้ใน ชีวิตสังคม คำ�สอนด้านสังคมของพระศาสนจักรเป็น “ส่วนในสารัตถะของข่าวดี เพราะคำ�สอนด้านสังคมของพระศาสนจักรชี้ให้ เห็นว่า ผลที่สรุปตรงๆ ออกมาจากข่าวดีของพระวรสารนั้นเป็นอย่างไรในชีวิตของสังคมทั้งกำ�หนดงานประจำ�วันในชีวิตคริสตชนว่า ควรจะเป็นอย่างไร และแนะนำ�ว่าคริสตชนจะต้องต่อสู้อย่างไรเพื่อให้มีความยุติธรรมในบริบทที่เป็นพยานถึงพระคริสต์องค์มหาไถ่ ของโลก” 51 หลักการสังคมของพระศาสนจักรเรียกร้องให้ผู้นำ�ธุรกิจจะต้องลงมือทำ�การ และเนื่องจากสภาพแวดล้อมของสังคม ปัจจุบันมีแง่ท้าทายเป็นกระแสอยู่ จึงสำ�คัญมากที่จะต้องรู้ว่าควรทำ�อย่างไร 65. พระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 16 ในสมณสาสน์ ความรักในความจริง ได้แสดงทรรศนวิสัยสำ�หรับลงมือทำ�การไว้ โดย อธิบายเรือ่ งความรักว่า “รักแท้ตอ้ งมีทง้ั รับและให้ อันเป็นหัวใจของคำ�สอนด้านสังคมของพระศาสนจักร” 52 ความรักจึง “เป็นพลัง ขับเคลือ่ นหลักเบือ้ งหลังการพัฒนาแท้ของทุกบุคคลและของมนุษยชาติโดยรวม” 53 ดังนัน้ เมือ่ กล่าวถึงผูน้ �ำ ธุรกิจทำ�การจึงมีนยั ว่า มีทั้ง “รับ” และ “ให้” 66. การรับ : ขั้นแรกผู้นำ�ธุรกิจคริสตชนต้องรับเสียก่อนเหมือนคริสตชนทั่วๆ ไป คือรับจากพระเป็นเจ้า ทุกสิ่งที่พระองค์ ได้ประทานให้มาแล้วมากมาย ฟังดูผิวเผินผู้นำ�ธุรกิจอาจจะรู้สึกฉงนเพราะความรู้สึกของบรรดาผู้นำ�ธุรกิจทั่วๆ ไป มักจะคิดกันว่า พวกตนเป็นฝ่ายให้มากกว่ารับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ใช้ระบบเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ ที่ใช้เทคโนโลยีด้านสื่อสารที่เก่งกาจ มากและธุรกิจต้องใช้เงินทุนมาก กระนั้นก็ดี ผู้นำ�ธุรกิจหากไม่รู้จักเปิดใจรับเป็นนิสัยเสียบ้าง ก็อาจจะหลวมตัวสำ�คัญผิดว่าตน เป็นประหนึ่ง “อภิมนุษย์” แบบที่นีทเช่วาดไว้ การผจญให้คิดทำ�นองนี้สำ�หรับบางคนอาจจะแสดงออกในทำ�นองเชื่อว่าตนต้องเป็น ผู้กำ�หนดและสร้างหลักการให้แก่ตนเอง ไม่ใช่คอยรับจากผู้อื่น 54 ผู้นำ�ธุรกิจอาจจะมองตัวเองว่าเป็นผู้สร้างสรรค์ ผู้เสกสรรค์ นวัตกรรม กัมมันต์ ริอ่าน หากเขาลืมมิติด้านรับของตน ก็อาจจะบิดเบือนบทบาทของตนในโลก ยกย่องผลสำ�เร็จของตนเองโดย ตนเองอย่างเกินจริง 67. พระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 16 ก่อนดำ�รงตำ�แหน่งสูงสุดในพระศาสนจักร ได้เขียนเตือนสติความเป็นบุคคลมนุษย์ไว้วา่ “บุคคลมนุษย์จะตระหนักถึงความหมายลึกซึ้งที่สุดของตนเอง ไม่ใช่จากการคำ�นึงถึงความสำ�เร็จที่ได้กระทำ�มาแล้วเพียงด้านเดียว แต่ตอ้ งคำ�นึงด้านทีไ่ ด้รบั มาด้วย” 55 ความยิง่ ใหญ่จริงของมนุษย์ไม่ใช่อยูท่ ค่ี วามสำ�เร็จ แต่อยูท่ พ่ี ระพรแห่งความสำ�เร็จ ทัง้ นีก้ เ็ พราะ สิง่ ทีม่ นุษย์ท�ำ สำ�เร็จเป็นเพียงส่วนหนึง่ ของความสำ�เร็จแท้ ความสำ�เร็จเต็มเปีย่ มอยูท่ ต่ี อ้ งรับรูด้ ว้ ยว่าทีส่ �ำ เร็จได้นน้ั เพราะได้รบั พลัง และพระหรรษทานประการใดบ้างมาเกื้อหนุนพลังน้อยๆ ของตน การปฏิเสธไม่ยอมรับรู้พระหรรษทานมีมาตั้งแต่ต้นกำ�เนิดของ มนุษยชาติ ตามคติการตกต่ำ�ของอาดัมกับเอวาในสวนเอเดนเมื่อพระเป็นเจ้าได้บัญชามิให้กินผลจาก “ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว” (ปฐมกาล 2 :17) พระเป็นเจ้ามีพระประสงค์ประทานพระบัญชามาให้เราเดินตาม เรามีหน้าที่ต้องเต็มใจรับ 56 หลักการสังคมของ พระศาสนจักรตามทีไ่ ด้อธิบายไว้แล้วข้างต้นก็คอื กฎศีลธรรมสำ�หรับธุรกิจนัน่ เอง กล่าวคือเมือ่ ผูน้ �ำ ธุรกิจรับกระแสเรียกเป็นนักธุรกิจ ทันทีเขาเปิดใจยอมรับหลักการทุกข้อที่มีผลออกมาจากธุรกิจ 68. เมื่อได้น้อมรับเอาพระพรมาเป็นชีวิตจิตและนำ�มาปฏิบัติสอดแทรกเข้าไปในชีวิตปฏิบัติ พระพรจะเปิดทางให้พระ หรรษทานหลั่งไหลลงมาตามความพึงประสงค์เพื่อหยุดความแบ่งแยกในชีวิตช่วยให้เป็นมนุษย์สมบูรณ์แบบมากขึ้นโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกิจการต่างๆ สิ่งแรกที่พระศาสนจักรเรียกร้องผู้นำ�ธุรกิจชาวคาทอลิกให้ลงมือปฏิบัติก็คือหมั่นรับศีลศักดิ์สิทธิ์ ให้ศึกษา พระคัมภีร์ ให้ถือวันพระเจ้า ให้สวดภาวนา ให้ร่วมการรำ�พึงภาวนา และการปฏิบัติต่างๆ ที่ฝึกฝนชีวิตจิต การปฏิบัติเหล่านี้คือวิถี ชีวิตที่แสดงความเป็นคริสตชน ซึ่งพึงปฏิบัติคู่เคียงไปกับการทำ�ธุรกิจ 69. การถือวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ มิได้หมายความเพียงแค่หยุดทำ�งานใช้แรง อาจจะฟังดูขัดแย้งในตัวถ้าจะกล่าวว่า ต้องแยกตัวจากการทำ�งาน คนเราจึงจะสามารถเข้าใจความหมายของการทำ�งานได้ลึกซึ้งที่สุด พระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 16 ได้ อธิบายเหตุผลเรือ่ งนีไ้ ว้วา่ “พระบัญญัตใิ ห้หยุดงานในวันพระเจ้าถือได้วา่ เป็นมงกุฎของคำ�สอนทัง้ หมดของพระคัมภีร”์ 57 หมายความ ว่าการพักงานในพระเจ้าทำ�ให้การทำ�งานในวันอืน่ ๆ ของเรามีบริบทใหม่แห่งคำ�สอนในแง่ทว่ี า่ การทำ�งานของมนุษย์เป็นการคลีค่ ลาย พระพรแห่งการสร้างของพระเป็นเจ้าออกมาอย่างต่อเนื่อง การถวายนมัสการแด่พระเป็นเจ้าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ต้องไม่ใช่ 40
41 ~VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
เป็นการปลีกตัว ออกจากโลกธุรกิจ ตรงกันข้ามควรถือว่าเป็นช่วงเวลา ให้สามารถมองลึกลงไปมากขึ้นในความเป็นจริง ของโลก และเพ่งพินิจการทำ�งานของพระเป็นเจ้า การเปิดเผยของพระเป็นเจ้านั้นเรามีหน้าที่ต้องรับรู้เท่านั้นเพราะไม่อาจจะรู้เองได้ไม่ว่าจะ พยายามตามประสามนุษย์สกั เท่าใดก็ตาม จึงแสดงให้เราเข้าใจได้วา่ พระจิตของพระเป็นเจ้าแทรกอยูใ่ นสสารทุกสัดส่วน พระหรรษทาน ทำ�ให้ธรรมชาติสมบูรณ์ขึ้น และการถวายนมัสการพระเป็นเจ้าทำ�ให้การทำ�งานของเราศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเหตุนี้ศีลมหาสนิทจึงถือได้ ว่าเป็นการแสดงออกของการนับถือวันพระเจ้าอย่างลึกซึง้ ทีส่ ดุ เพราะในการรับศีลศักดิส์ ทิ ธิน์ เ้ี องเราได้เห็นส่วนลึกทีส่ ดุ อย่างลึกซึง้ ที่สุดซึ่ง “งานจากมือของมนุษย์” ในการร่วมมือกับพระเป็นเจ้าในงานช่วยมนุษย์ให้ได้รอดพ้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าด้วยการทำ�งานของ มนุษย์ทไ่ี ด้รบั การยกย่องขึน้ เป็นงานของพระเป็นเจ้านัน้ เอง ขนมปังและเหล้าองุน่ ได้กลายเป็นองค์จริงของพระเยซูเจ้า และพระเยซูเจ้า ที่ประทับอยู่ในศีลมหาสนิทนี้แหละที่มีอำ�นาจกอบกู้โลก 58 70. ชีวติ ประจำ�วันของเรามีมติ ขิ องพระเป็นเจ้าแฝงอยูแ่ ละถูกบังไว้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในยุคเศรษฐกิจทีก่ ลายเป็นโลกาภิวตั น์ ใช้เทคโนโลยีสูงและจำ�นวนเงินมีอำ�นาจบ่งชี้ แม้ในสถานการณ์ที่พระศาสนจักรเข้าไปเทศน์สอนไม่ได้และไม่สามารถเอาคำ�สอน สังคมเข้าไปเป็นแนวทางชีวิต เพราะเหตุนี้เองบุญราศียอห์น ปอลที่ 2 จึงเรียกร้องผู้นำ�ธุรกิจและพนักงานให้ช่วยกันพัฒนาชีวิตจิต แห่งการทำ�งาน อันจะช่วยให้พวกเขาได้เห็นบทบาทของพวกเขาว่ามีส่วนในเป้าหมายแห่งการสร้างและการไถ่กู้โลก พวกเขาจะได้ มีพลังและมีคุณธรรมที่จะดำ�เนินชีวิตตามกระแสเรียกได้ 59 หากไม่ดำ�ดิ่งลึกลงในบ่อน้ำ�พุแห่งการภาวนาและรำ�พึง ก็คงจะยากที่ จะเห็นได้ชัดว่าผู้นำ�ธุรกิจมีศักยภาพที่จะต่อต้านด้านลบของเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่ใช้ความรวดเร็วอย่างได้ผลในการทำ�ลาย ความคิดคำ�นึง ความเพียร ความยุติธรรม และความรอบคอบ เพราะไม่มีเวลาให้คิด เทคโนโลยีการสื่อสารอันรวดเร็วทันใจตะล่อม ให้เราตัดสินใจพรวดพราด มันสร้างข้ออ้างด้วยตรรกะของมันเอง ซึ่งมักจะลบล้างการใช้หลักการสังคมของพระศาสนจักร ซึ่ง ต้องใช้ตามระเบียบวิธีที่ผ่านการฝึกจิตคิดคำ�นึงให้รอบคอบเสียก่อน 71. การให้ : การให้เป็นกิจกรรมที่ 2 ที่พระศาสนจักรเรียกร้องให้ผู้นำ�ธุรกิจต้องกระทำ�คู่เคียงกับการรับ พระศาสนจักร ไม่เคยกำ�หนดว่าต้องให้อย่างน้อยเท่าใด แต่ก�ำ ชับให้การให้ ของคริสตชนเป็นการร่วมวงไพบูลย์กบั มนุษย์ทกุ คนในการทำ�ให้โลกดีขน้ึ การให้ตอ้ งเกิดจากความสมัครใจของตนเองทีเ่ ป็นบุคคล จึงไม่ขน้ึ กับคำ�ถามว่า “ต้องให้เท่าไร” แต่ “สามารถให้ได้เท่าใด” 60 การให้ ผลักดันให้ผู้นำ�ธุรกิจต้องถามคำ�ถามลึกซึ้งเกี่ยวกับกระแสเรียกของตนเช่นว่า ในเมื่อผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจหนึ่งๆ ล้วนแต่ได้รับ ความรักจากพระเป็นเจ้าทัง้ สิน้ พวกเขาควรจะมีแรงบันดาลใจสร้างความสัมพันธ์ตอ่ กันอย่างไร ธุรกิจพึงมีนโยบายและการปฏิบตั ิ อย่างไรจึงจะจูงใจประชาชนให้พัฒนารอบด้าน 72. เราได้สงั เกตกันมาแล้วว่าผูน้ �ำ ธุรกิจทีม่ จี ติ อาสาอุทศิ ตนผลิตสินค้าและเสนอบริการด้วยจิตตารมณ์แห่งการสร้างสรรค์ และจัดสรร แม้ในขณะที่เขาจัดการบริหารสร้างงานดีๆ มีผลผลิต และแม้ในขณะที่เขาสร้างความมั่งคั่งและแบ่งเฉลี่ยผลกำ�ไร อย่างเป็นธรรมนั้นเอง หลักการสังคมของพระศาสนจักรย่อมช่วยให้ภาคธุรกิจมีทิศทางอันยังผลให้เกิดพฤติกรรมที่ส่งเสริมการ พัฒนามวลชนอย่างบูรณาการ ทัง้ นีย้ อ่ มหมายความว่าพระศาสนจักรเรียกร้องให้เกิดองค์การทีเ่ น้นการปฏิบตั ติ ามนโยบายส่งเสริม สิ่งต่อไปนี้ คือ ความรับผิดชอบส่วนตัว นวตกรรม การกำ�หนดราคาเที่ยงตรง การจ่ายทดแทนที่เป็นธรรม ออกแบบการทำ�งาน ที่มนุษย์พึงกระทำ� การปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติอย่างรับผิดชอบ การลงทุนให้สังคมที่รับผิดชอบต่อสังคม และอื่นๆ อีกมาก อย่างเช่นความสัมพันธ์ในเรื่องการว่าจ้าง การเลิกจ้าง คณะกรรมการบริหาร การฝึกอบรมพนักงาน และความสัมพันธ์กับคู่ค้า เป็นต้น 73. นอกเหนือไปจากโอกาสจัดระบบงานภายในองค์กรธุรกิจ ผู้นำ�ธุรกิจ (ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน) ยังมีโอกาส สร้างอิทธิพลภายนอกกว้างขวางออกไปอีกมาก เช่นการกำ�หนดกฎบัตรนานาชาติ การปราบคอร์รัปชั่น ความโปร่งใส นโยบายภาษี อากร มาตรฐานการดูแลสิ่งแวดล้อมและการจ้างงาน เขาพึงใช้อิทธิพลเท่าที่มีโอกาสใช้ ไม่ว่าในกรณีส่วนตัวหรือในกรณีร่วมมือ กันหลายฝ่าย ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การสะสมประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่คำ�นึงถึงผลประโยชน์ของ ใครคนหนึ่งโดยเฉพาะ 42
43 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
74. ไม่ใช่บทบาทของพระศาสนจักรที่จะลงไปในรายละเอียดของข้อปฏิบัติของผู้นำ�ธุรกิจ ข้อกำ�หนดควรออกมาจาก ผู้ปฏิบัติงานโดยตรงซึ่งปรกติก็เป็นฆราวาส อำ�นาจสอนของพระศาสนจักรเข้าไม่ถึงข้อสรุปทางเทคนิคถึงขนาดสามารถพบทาง แก้ไขปัญหาหรือเสนอรูปแบบ อย่างไรก็ตามพระศาสนจักรก็ยังอดสั่งสอนไม่ได้ว่า “ไม่อาจมีทางแก้ปัญหาสังคมได้อย่างแท้จริง โดยไม่มีจิตตารมณ์พระวรสาร” 61 พระสันตะปาปาและพระสังฆราชทั้งหลายทั่วโลก ผู้เป็นครูสอนทางการภายในพระศาสนจักร พร้อมใจกันแนะนำ�ผู้นำ�ธุรกิจทั้งหลายโดยไม่บังคับขู่เข็ญ แต่ค่อยๆ เปิดเผยอบรมให้เห็นว่าการทำ�ธุรกิจของพวกเขาเป็นวิถีทาง พัฒนาชีวิตจิต รวมทั้งชี้แจงให้เห็นด้วยว่าสถาบันธุรกิจมีความสำ�คัญอย่างไรต่อสังคม พระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 16 กล่าวใน สมณสาสน์ ความรักในความจริง ว่า “กิจกรรมฝ่ายโลกของมนุษย์ หากได้ความบันดาลใจจากความรัก ก็ย่อมมีส่วนในการสร้าง นครสากลของพระเจ้าในโลก อันเป็นเป้าหมายของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ” 62 เมื่อพระวรสารแจ้งข่าวว่ามี “สิ่งดีงาม” ซึ่ง ผู้นำ�ธุรกิจเผชิญหน้ารับผิดชอบในโลกที่นับวันแต่จะเจริญโลกาภิวัตน์เข้มข้นยิ่งๆ ขึ้น ประกอบกับความเข้มข้นทางเทคโนโลยีและ เศรษฐกิจการเงินนั้น พระวรสารกลับมองเห็นมิเพียงแต่มิติเทคโนโลยีและการตลาดเท่านั้น แต่ยังมองทะลุถึงผลกระทบต่อการ พัฒนาบุคคลเชิงบูรณาการด้วย 75. ส่วนสำ�คัญของกระแสเรียกผู้นำ�ธุรกิจคริสตชนก็คือ การปฏิบัติคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณธรรมความรอบรู้ และความยุติธรรม ผู้นำ�ธุรกิจที่รอบรู้ทางธรรมย่อมปฏิบัติการตามคุณธรรมทุกข้อ ก็ได้พัฒนาคุณธรรมอย่างเป็นรูปธรรมทั้งใน การปฏิบตั แิ ละนโยบาย มิเพียงแต่แถลงเป็นคำ�พูด เมือ่ ได้ปฏิบตั จิ ริง ความรอบรู้ (wisdom) ก็จะกลายเป็นความรอบคอบ (prudence) โดยสร้างตัวอย่างการปฏิบัติที่ได้ผลทางธุรกิจ และขณะเดียวกันก็ยุติธรรมด้วย ซึ่งก็จะมีผลดีต่อความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทุกฝ่าย ตลอดจนได้สร้างนโยบายการใช้หลักการของพระศาสนจักรเชิงปฏิบัติในวิถีทางแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งจะทำ�ให้ องค์การมีภาวะมนุษยธรรมสูงขึ้น 76. เมื่อผู้นำ�ธุรกิจเผชิญปัญหาเฉพาะกรณีที่ต้องการทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การตัดสินใจทำ�การของเขาย่อมต้องผ่าน ความรู้ข้อมูลเฉพาะกรณีอย่างเพียงพอให้ “ประเมินสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ”63 การตัดสินใจอย่างรอบคอบไม่เพียง ครอบคลุมข้อมูลในด้านการตลาดและเทคนิคการบริหารเท่านั้น ความรอบคอบมักจะเข้าใจกันเพียงในขอบเขตของภาวะผู้น�ำ ที่ทำ� และปกป้องกำ�ไรของตนเท่านั้น ความรอบคอบในเขตแค่นี้ยังไม่ใช่ความรอบคอบที่เป็นคุณธรรม แต่เป็นความรอบคอบชั่วร้าย หรือฉลาดแกมโกง เพราะขาดความยุติธรรม ความรอบคอบจะสมบูรณ์แบบเป็นคุณธรรมก็ต่อเมื่อดลใจผู้นำ�ธุรกิจให้ถามตัวเอง และตอบตัวเองได้ว่าทำ�ไปแล้วจะทำ�ให้บริษัทได้ชื่อว่าเป็นบริษัทดีมีความยุติธรรม ซึ่งช่วยเพิ่มประโยชน์ส่วนรวมอย่างแน่นอน 77. การพัฒนาจิตให้คิดรอบคอบย่อมจำ�เป็นต้องรู้ว่าการบริหารจัดการต้องการทรัพยากรใดบ้างและรู้จักใช้ทรัพยากร แต่ละอย่างตามบทบาทหน้าที่ของมัน คุณธรรมแห่งความรอบคอบเรียกร้องให้ต้องรู้หลักการจริยธรรมทีต่ ้องทำ � ทุกข้อให้แก่สังคม และต้องดูแลให้มีการปฏิบัติจริงในทุกสถานการณ์จริงและทำ�ได้ (นั่นคือมีปัจจัยทุกด้านพร้อมและมีวิถีทางทำ�ได้) ขอยกเรื่อง ค่าแรงงานให้เพียงพอกับค่าครองชีพเป็นตัวอย่าง ความรอบคอบในเรื่องนี้ระบุว่าจะทำ�ได้จริงก็ต่อเมื่อไม่เกินกำ�ลังความสามารถ ของบริษัทที่จะหางบมาจ่ายได้โดยบริษัทไม่เสี่ยงกับการล้มละลาย ถ้าแม้ว่าค่าแรงงานที่อยากจะให้นั้นเป็นอุปสรรคต่อการดำ�รง อยู่ของบริษัท นักธุรกิจที่มีคุณธรรมจะไม่คิดแก้ปัญหาอย่างง่าย ๆ จากการกดดันของตลาดแรงงาน แต่จะค่อยๆ คิดหาทางแก้ ปัญหาด้วยความสัมพันธ์อันดีกับพนักงานให้มีส่วนรับรู้และร่วมแก้ปัญหา ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าจะตกลงกันลดระดับโครงสร้างการ บริหารจัดการลงหรือวางแผนการทำ�งานกันใหม่ทั้งบริษัท หรืออาจจะปรับชนิดสินค้าหรือประเภทบริการ หรืออาจจะเฉลี่ยความ รับผิดชอบกันด้วยการลดเงินเดือนในอัตราเฉลี่ย โดยที่ทุกคนยังพออยู่ได้ และทำ�งานต่อไปได้ เมื่อจัดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วย วิธีใดก็ตาม ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะยังคงรักษามาตรฐานค่าจ้างยุติธรรม ในความจำ�เป็นเช่นนี้ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบโดย อ้อมที่จะต้องยื่นมือเข้าบรรเทาความเดือดร้อน เช่น รัฐบาล สหภาพ หรือองค์การใดที่มีหน้าที่ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 64
44
45 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
78. องค์การทีย่ น่ื มือเข้ามาช่วยแก้ปญ ั หาวิกฤติของบริษทั ควรมาในฐานะนายจ้างโดยอ้อม ไม่ควรเข้ามารับผิดชอบเต็มตัว ราวกับจะเป็นเจ้าของบริษัทเสียเอง บริษัทต้องไม่มอบความรับผิดชอบให้ทำ�แทนเสียทั้งหมด อย่างเช่นตามนิตินัย หรือตามสัญญา เป็นต้น ผู้นำ�ธุรกิจในฐานะที่เป็นผู้จ้าง ย่อมมีคุณธรรมแห่งความรอบคอบและผู้นำ�ความยุติธรรมที่จะเห็นว่าในภาวะเศรษฐกิจ โลกาภิวตั น์เช่นนีค้ วามรับผิดชอบทางสังคมมีความสำ�คัญมากขึน้ ทุกที ดังข้อสังเกตของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ท่ี 16 ในสมณสาสน์ ความรักในความจริงว่า ในช่วงนี้ของประวัติศาสตร์ มีผู้คิดและเชื่อมากยิ่งๆ ขึ้นว่า การบริหารจัดการธุรกิจจะมุ่งหวังผลประโยชน์ ให้เจ้าของกิจการเพียงฝ่ายเดียวเท่านัน้ หาได้ไม่ แต่จะต้องรับผิดชอบกันทุกภาคส่วนทีม่ สี ว่ นได้สว่ นเสียกับธุรกิจนัน้ ๆ อย่างเช่นคนงาน ลูกค้าประจำ� คู่ค้า ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ 65 ความเชื่อดังกล่าวขยายวงกว้างออกไป เป็นผลให้เกิดทฤษฎีและหลักปฏิบัติขึ้นมาใหม่ มากมายในด้านจริยศาสตร์ธรุ กิจและทฤษฎีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคม ในหลายประเทศเราเห็นว่ามีกระบวนการหนุนให้มกี าร ออกระเบียบหรือจรรยาบรรณ “ควบคุมตัวเอง” ในบริบทของสมาคมธุรกิจสาขาที่ร่วมสหพันธ์ในระดับจังหวัด ระดับชาติ และ ระดับนานาชาติ มีจรรยาบรรณคุม้ ครองผูบ้ ริโภค คุม้ ครองแรงงาน หรือคุม้ ครองสิง่ แวดล้อม ซึง่ มีน�ำ้ หนักพอทีจ่ ะคุม้ ครองกันเอง ภายในภาคธุรกิจเอง มีอยู่บ้างที่รัฐบาลยื่นมือเข้าช่วยควบคุมให้ได้ผลแน่นอนมากขึ้น ในกรณีเช่นว่านี้ ความรู้รอบคอบของ ผูป้ ระกอบการย่อมมีโอกาสได้แสดงบทบาทอย่างสำ�คัญ และก็คงจะไม่ใช่เรือ่ งไร้สาระหากจะยืนยันว่าธรรมประเพณีสงั คมคาทอลิก ได้เริ่มรู้อย่างมากจากความคิดและการกระทำ�ที่ได้ทำ�กันขึ้นไว้ และขณะเดียวกันพระศาสนจักรก็มีข้อเสนอแนะเสริมเติมเต็ม ให้มิใช่น้อย 79. เมื่อใดก็ตามที่จริยศาสตร์ธุรกิจและทฤษฏีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมได้ถูกเสนอขึ้นมาให้ทำ�อะไรที่ขัดแย้งกับ คำ�สอนสังคมของพระศาสนจักร ก็เท่ากับทำ�ลายการรับรูข้ องคริสตชนทีว่ า่ “มนุษย์เป็นพระฉายาของพระเป็นเจ้า” (ปฐมกาล 1 : 27) ในขณะเดียวกันก็ชักนำ�ออกนอกลู่นอกทางมิให้วิจักษ์ว่า “ศักดิ์ศรีของบุคคลมนุษย์มีคุณค่าพ้นเกณฑ์หลักธรรมชาติ แต่ทว่าหาก ตัดจริยศาสตร์ธุรกิจออกจากเสาหลัก 2 ต้นนี้เมื่อใด ก็เสี่ยงทันทีที่จะสูญเสียธรรมชาติอันสูงส่งของมนุษย์ และการใช้มนุษย์เป็น เครื่องมือหาประโยชน์อย่างไร้ศักดิ์ศรีก็จะตามมาอย่างกว้างขวาง” 66 หากจริยธรรมมิได้ฝังรากลึกลงในวัฒนธรรมยกย่องมนุษย์ บทบาทของจริยศาสตร์ธรุ กิจและทฤษฎีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคม แทนทีจ่ ะช่วยปกป้องความเป็นมนุษย์ในจริยศาสตร์ธรุ กิจ ก็กลับยิ่งกดศักดิ์ศรีของมนุษย์ลงต่ำ�ถึงขั้นใช้เป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์และในที่สุดก็จะล้มเหลวไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต มนุษย์ให้บูรณาการทุกด้านด้วยธุรกิจดังที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ 80. การให้และการรับเป็น 2 หน้าของเหรียญเดียวกันในการแสดงออกของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นชีวิตทำ�งานหรือชีวิตรำ�พึง ภาวนา มิติ 2 ด้านอันเป็นพื้นฐานแห่งการดำ�รงชีวิต ไม่จำ�เป็นต้องแบ่งส่วนให้เท่ากันพอดี แต่จำ�เป็นต้องมีทั้ง 2 มิติบูรณาการกัน อย่างลึกซึ้งหากเราต้องการให้ชีวิตของเรามีทั้งส่วนที่พึงประสงค์จากพระเป็นเจ้า และพระเป็นเจ้าก็ได้กระทำ�สิ่งมหัศจรรย์ในชีวิต จริงของเรา เมื่อเราประสงค์และได้รับมากกว่าที่ขอ พระเป็นเจ้าก็ทรงขอเราบ้าง คือ ขอให้เราเป็นมือเป็นเท้าของพระองค์เพื่อเติม เต็มงานสร้างของพระองค์ในโลก และให้เพือ่ นมนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากโลกในสภาพทีด่ ขี น้ึ ด้วยการมีสว่ นร่วมของเรา ข้อความจริงนี้ สำ�หรับผู้นำ�ธุรกิจมีนัยว่า เขามีบทบาทโดยเฉพาะในการผลิตสินค้าที่ดีกว่าที่พระเป็นเจ้าได้สร้างไว้แต่เดิม หรือเสนอบริการอย่าง ผูร้ บั ใช้ในนามของพระองค์จริงๆ ผูน้ �ำ ธุรกิจกระทำ�เช่นว่านีด้ ว้ ยการจัดระบบงานให้พนักงานได้พฒ ั นาพรสวรรค์ และความสามารถ พิเศษของเขา และด้วยประการฉะนีผ้ นู้ �ำ ธุรกิจก็ได้สร้างความมัง่ คัง่ ทีย่ ง่ั ยืนขึน้ เพือ่ ก่อให้เกิดประโยชน์ตอ่ คนจำ�นวนมากอย่างยุตธิ รรม (ดูภาคผนวกเพื่อความกระจ่างชัดมากขึ้น)
46
47 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
สรุป 81. เรือ่ งราวต่างๆ ทีต่ รึกตรองเรือ่ ยมาตลอดเอกสารนี ้ เห็นได้วา่ สาระสำ�คัญทีท่ า้ ทายผูท้ �ำ ธุรกิจและวัฒนธรรมในโลกกว้าง มีความสำ�คัญ เพราะเป็นห่วงว่าผูน้ �ำ ธุรกิจอาจจะเกิดข้อสงสัยในใจขณะบริหารธุรกิจเกีย่ วกับความสามารถของตนเองว่า จะบูรณาการ พระวรสารกับการทำ�ธุรกิจประจำ�วันได้อยู่หรือ เมื่อมีประเด็นท้าทายมาเผชิญหน้าอยู่เรื่อยๆ ก็อาจจะท้อแท้ ในที่สุดก็อาจจะเริ่ม กังขาได้ว่าธรรมประเพณีสังคมของพระศาสนจักรจะมีอะไรมาชี้แนะการปฏิบัติในอาชีพจริงได้อยู่ละหรือ 82. เพื่อมิให้ตกหลุมพรางดังที่กลัวข้างต้น ผู้น�ำ ธุรกิจจำ�ต้องเปิดใจรับกำ�ลังใจและคำ�แนะนำ�ติเพื่อก่อจากเพื่อนร่วมอาชีพ ในพระศาสนจักรที่รู้ทันเหตุการณ์และอยากจะช่วยแก้ข้อสงสัยและช่วยให้หลุดจากความลังเลใจ จะได้ไม่ต้องกลัวผิดพลาดหรือ เสี่ยงอะไรใหม่ๆ แต่อยากมีความสง่างามด้วยคุณธรรมที่ทำ�ให้แน่ใจได้ว่ากำ�ลังเดินหน้าตามกระแสเรียก
* ด้วยความเชื่อ ที่ช่วยให้เข้าใจการกระทำ�ของตนไม่ใช่เพื่อผลประกอบการเท่านั้น แต่มั่นใจได้ว่าการกระทำ�ของตน สามารถส่งผลกระทบในบริบทกว้างใหญ่ทว่ั โลก เมือ่ ร่วมมือกับคนอืน่ ในสายอาชีพ และอยูใ่ นแสงสว่างแห่งการสร้างของพระเป็นเจ้า ที่ยังคงดำ�เนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง * ด้วยความหวัง ว่างานและสถาบันธุรกิจของตนจะไม่อยู่ใต้การชี้นำ�ของพลังการตลาดหรือการบังคับใช้ของประมวล กฎหมาย แต่ทว่าพวกเขาจะเป็นพยานถึงพลังอาณาจักรของพระเป็นเจ้าในโลกนี้ * ด้วยความรัก เพือ่ การปฏิบตั งิ านของพวกเขาจะไม่เป็นเพียงการมุง่ หาประโยชน์สว่ นตัว แต่เป็นวิถที างแห่งการเพาะปลูก สัมพันธภาพ อันเป็นทางแห่งการสร้างประชาคมของมวลมนุษยชาติ 83. เพื่อดำ�เนินชีวิตตามกระแสเรียกอย่างประชากรที่ซื่อสัตย์แห่งอาณาจักรของพระเป็นเจ้า นักธุรกิจทั้งหลายพึงได้รับ การฝึกฝนในวัฒนธรรมศาสนา อันช่วยพวกเขาให้มองเห็นความเป็นไปได้ของความดีและพวกเขาก็จะทำ�ได้ตามที่ควรจะทำ� และ มันก็กลายเป็นคุณภาพชีวติ ของพวกเขา โดยมีสถาบันครอบครัว ศาสนา และสถานศึกษาทำ�หน้าทีด่ แู ลอบรมเป็นช่วงๆ เพราะผูน้ �ำ ธุรกิจคริสตชนมิได้เกิดจากการเซ็นสัญญาค้าขายหรือข้อตกลงแลกเปลีย่ นสินค้า แต่เป็นของประทานจากสวรรค์ ไม่มใี ครเกิดจาก บรรษัทเงินทุน แต่เกิดจากครอบครัวหนึ่ง ได้รับศีลล้างบาปในวัดหนึ่ง เข้าเรียนทีละโรงเรียนๆ และได้รับการต้อนรับให้สังกัด ประชาคมหนึ่ง 84. ช่วงวิกฤตของชีวิต คือการเลือกมหาวิทยาลัยและเลือกเรียนวิชาสายธุรกิจ ซึ่งผู้น�ำ ธุรกิจจะเริ่มด้วยการเรียนความรู้ พื้นฐานอันได้แก่ประสบการณ์ธุรกิจก่อนหน้า ทักษะ หลักการและเป้าหมายของธุรกิจ ในขณะเรียบเรียงเอกสารนี้ทั่วโลกมี มหาวิทยาลัยประมาณ 1800 แห่ง และประมาณ 800 แห่งเปิดหลักสูตรธุรกิจซึง่ พระศาสนจักรก็มสี ว่ นร่วมลงทุนให้การศึกษาด้านนี้ อยู่ด้วย มีหลายแห่งจัดอยู่ในระดับดีที่สุด โดยมีการจัดสอนอย่างเป็นระบบความรู้ ในขณะเดียวกัน ก็ชี้แนะให้รู้จักทำ�การเสวนา ระหว่างศรัทธากับเหตุผล ซึ่งเสนอฐานข้อมูลให้ตีบทแตกในประเด็นที่อาจจะรู้สึกขัดข้องทั้งในธุรกิจและในวัฒนธรรมทั่วโลก 67 สถาบันคาทอลิกได้สร้างสาระไว้ปริมาณหนึ่งให้แก่วงการการศึกษาด้านนี้ และจะยืนหยัดเสนอใหม่ๆ ต่อไป 85. หลักสูตรการศึกษาธุรกิจ ก็เช่นเดียวกับหลักสูตรวิชาชีพทัง้ หลาย ย่อมต้องเน้นทฤษฎีและการฝึกทักษะของแต่ละสาย อาชีพ แต่ก็ไม่ควรจะเตรียมการกันเพียงแค่นั้น ดังจะเห็นได้ว่าสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกล้วนแต่ให้ความสำ�คัญกับการฝึก อบรมคำ�สอนของพระศาสนจักรในด้านศีลธรรมและหลักการสังคมโดยเน้นมิติความรอบคอบและความยุติธรรมที่เหมาะกับ ธุรกิจ หลักสูตรธุรกิจที่เหมาะสมจะต้องบรรจุเนื้อหาด้านทฤษฎีครบถ้วนตามความต้องการของอาชีพ มีชั่วโมงฝึกทักษะทุกด้านที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบรรยายครอบคลุมคำ�สอนศีลธรรมและหลักการสังคมตามคำ�สอนของพระศาสนจักรที่ช่วยให้การประกอบ อาชีพนี้มีชีวิตชีวา การบรรยายให้ครอบคลุมมีความสำ�คัญมากกว่าการเน้นเจาะบางเรื่องและละเลยบางเรื่อง 48
49 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
86. ในสมัยนี ้ นักศึกษาธุรกิจมักจะถูกป้อนทฤษฎีและฝึกฝนการใช้เทคนิคเพือ่ เป้าหมายดังกล่าว ทำ�ให้บางคนจบปริญญา โดยไม่ได้รับการอบรมด้านจริยธรรมและด้านชีวิตจิตอันจำ�เป็นสำ�หรับรู้จักหยั่งรู้และใช้ทักษะเผื่อแผ่ความสุขให้ผู้อื่นบ้าง ตลอดจน ได้สำ�นึกว่าในชั่วชีวิตควรได้ทำ�อะไรฝากไว้ในกองประโยชน์ส่วนรวมบ้าง มีอีกบางคนที่ได้รับการฝึกอบรมไปบ้างในลักษณะให้แบ่ง เวลาในชีวิตเพื่อการกุศล คือทำ�ชั่วบ้างทำ�ดีบ้างสลับกันไป ชีวิตจึงเป็นเบี้ยหัวแตก ไม่รู้จักบูรณาการอันจะทำ�ให้ชีวิตราบรื่น มากกว่า เอกสารฉบับนี้พยายามให้ข้อคิดเพื่อช่วยเติมเต็มการศึกษาของนักศึกษาธุรกิจทั่วๆ ไป โดยหวังว่าจะช่วยสร้างผู้น�ำ ธุรกิจ ทีม่ หี ลักการ และรูจ้ กั ใช้หลักการในการประกอบอาชีพธุรกิจอย่างผูป้ ระสบความสำ�เร็จในชีวติ อาจารย์ผสู้ อนจะต้องรูจ้ กั จุดประกาย นักศึกษาของตนได้รู้จักค้นหาแรงบันดาลใจดีๆ ในตัวของแต่ละคน และเดินตามกระแสเรียกของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนจะต้องรู้จัก ใช้ทักษะตัดสินเหตุการณ์และตัดสินทำ�การในสายอาชีพของตน ให้เป็นผู้มีพลังในการสร้างสิ่งดี ๆ ฝากไว้ในโลก 87. เจ้าของกิจการก็ดี ผู้บริหารจัดการก็ดีและทุกคนที่ทำ�กิจการในวงการธุรกิจ ขอเชิญชวนให้ตระหนักว่างานนี้เป็น กระแสเรียกจริงๆ ทุกคนจึงพึงตอบกระแสเรียกจากพระเป็นเจ้าด้วยจิตตารมย์ของสานุศิษย์แท้ สิ่งที่พึงกระทำ�ด้วยจิตตารมณ์นี้ ก็คือมุ่งทำ�การมหากุศลนี้ด้วยการรับใช้เพื่อนพี่น้องเพื่อสร้างอาณาจักรของพระเจ้าในโลก สาสน์นี้หวังว่าจะดลบันดาลใจและเป็น กำ�ลังใจให้ผู้นำ�ธุรกิจ โดยเชื้อเชิญให้ทุ่มเททำ�ธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ต่องานอาชีพอย่างลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้น ผู้เรียบเรียงเอกสารฉบับนี้ ได้รับความคิดที่ดีๆ มากมายจากผู้นำ�ฆราวาสและผู้ประกอบอาชีพธุรกิจที่ได้มีประสบการณ์ดีๆ จากการนำ�เอาคำ�สอนของ พระศาสนจักรด้านสังคมไปใช้ คณะผูท้ �ำ เอกสารนีจ้ งึ ขอเชิญชวนครูบาอาจารย์ตลอดจนครูค�ำ สอนทุกระดับชัน้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผู้มีหน้าที่อบรมนักธุรกิจ ให้ใช้เอกสารนี้เป็นคู่มือร่วมเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้รับการอบรมรู้จักเคารพและส่งเสริมศักดิ์ศรีมนุษย์ และช่วยสะสมประโยชน์ส่วนรวมในการดำ�เนินการธุรกิจของพวกเขา ผู้ท�ำ เอกสารนี้จึงหวังว่าสาสน์ในเอกสารนี้จะกระตุ้นให้มีการ ถกปัญหากันมากขึน้ ทัง้ ในวงการธุรกิจและในห้องเรียน อันจะช่วยให้ผนู้ �ำ ธุรกิจ ครูบาอาจารย์ นักศึกษา ได้เห็นประเด็นท้าทายและ โอกาสในโลกธุรกิจ ได้ตดั สิน เพือ่ เข้าใจตามหลักการสังคมของพระศาสนจักร และให้ท�ำ การเยีย่ งผูน้ �ำ ทีท่ �ำ การเพือ่ รับใช้พระเป็นเจ้า
50
51 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
ภาคผนวก รายการทดสอบความเข้าใจสำ�หรับผู้น�ำ ธุรกิจ • • • • • • • • •
ฉันถือว่างานธุรกิจเป็นพระพรจากพระเป็นเจ้าหรือไม่ งานของฉันในฐานะเป็นผู้ร่วมสร้างกับพระเป็นเจ้านั้น หมายถึงว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมการสร้างแต่ต้นด้วยหรือไม่ ขณะฉันดำ�เนินงานธุรกิจ ฉันส่งเสริมวัฒนธรรมชีวิตไปด้วยในตัวหรือไม่ ที่แล้วมาฉันดำ�เนินชีวิตแบ่งแยก คือพระวรสารก็ส่วนพระวรสาร งานก็ส่วนงาน หรือเปล่า ฉันรับศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นประจำ� เพราะคิดว่าจะช่วยส่งเสริมและให้ความกระจ่างแก่การดำ�เนินธุรกิจของฉันหรือไม่ ฉันอ่านพระคัมภีร์และสวดภาวนาเป็นประจำ� โดยหวังว่างานจะไม่แยกเป็นคนละส่วนกับการภาวนา หรือไม่ ฉันชอบแบ่งปันชีวิตจิตของฉันกับเพื่อนนักธุรกิจ หรือไม่ ฉันอยากรู้ค�ำ สอนสังคมของพระศาสนจักรมากขึ้นเพื่อทำ�ธุรกิจให้ถูกต้องมากขึ้นหรือไม่ ฉันเชื่อว่าหากฉันให้ความสำ�คัญกับศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างจริงจังมากขึ้นในการตัดสินใจเลือกนโยบายธุรกิจ ก็เท่ากับว่า ฉันส่งเสริมการพัฒนามนุษย์อย่างบูรณาการ ซึ่งจะทำ�ให้บริษัทของฉันก้าวหน้าคล่องตัว และได้กำ�ไรเป็นกอบเป็นกำ� มากขึ้นหรือไม่
ตอบสนองสิ่งพึงประสงค์ของโลก • • • • • • •
ฉันคิดว่าความรับผิดชอบของฉันต้องแผ่ขยายถึงทุกคนที่มีส่วนทำ�ให้บริษัทของฉันอยู่รอด ไม่ใช่สักแต่เอาใจเจ้าของบริษัท หรือไม่ ฉันทำ�ธุรกิจเพื่อสร้างความมั่งคั่ง มิใช่เพียงแต่อยู่รอดไปวันๆ หรือไม่ ฉันต่อต้านนโยบายแข่งขันในธุรกิจหรือไม่ บริษทั ของฉันพยายามทุกวิถที างทีจ่ ะช่วยส่งเสริมคุณภาพสังคมและลดผลกระทบอันไม่พงึ ประสงค์จากธุรกิจ (เช่น การทำ�ลาย สิ่งแวดล้อม ผลลบจากการระดมวัตถุดิบ ความเดือดร้อนของประชาคมท้องถิ่น การแข่งขันด้วยการตัดคู่แข่ง) หรือไม่ ฉันยอมรับความสำ�คัญของบทบาท “นายจ้างทางอ้อม”(indirect employers) เพื่อคุ้มครองกฎหมายแรงงานและเพื่อให้มี การเสวนากับประชาคมหรือไม่ ฉันรู้สึกหนักใจเมื่อเห็นว่าบรรษัทตัดสินใจโดยไม่คำ�นึงถึงศักดิ์ศรีของบุคคลมนุษย์ ทำ�ให้พวกเขาโน้มเอียงไปในทางทฤษฎี ใช้มนุษย์เป็นเครือ่ งมือเพือ่ ผลประโยชน์มากทีส่ ดุ ผลก็คอื ธุรกิจไม่ค�ำ นึงถึงการยกย่องความเป็นมนุษย์อย่างบูรณาการหรือไม่ ฉันทำ�การประเมินผลสม่ำ�เสมอเพื่อจัดระดับความสนใจของบริษัทของฉันในการผลิตสินค้าหรือเสนอบริการให้ตอบสนอง ความพึงประสงค์แท้ของธรรมชาติมนุษย์และส่งเสริมให้มีการบริโภคอย่างรับผิดชอบหรือไม่
บริหารจัดการให้งานดีมีผลผลิตเพิ่ม • • •
ฉันจัดระบบงานให้พนักงานทุกคนมีเสรีภาพตัดสินใจในขอบข่ายของระดับความรับผิดชอบหรือไม่ ฉันยอมเสี่ยงให้พนักงานระดับล่างได้ตัดสินใจด้วยทั้งนี้เพื่อให้เขามีเสรีภาพเต็มศักยภาพหรือไม่ ในการจัดสรรพนักงานเข้าประจำ�ตำ�แหน่งในบริษทั ของฉันนัน้ ฉันคำ�นึงเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้ใช้พรสวรรค์และพรแสวง ของแต่ละคนได้เต็มที่หรือยัง
52
53 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
• • • • • •
เมือ่ พนักงานถูกเลือกเข้าประจำ�ตำ�แหน่ง ฉันตัง้ ใจให้เขาได้ฝกึ อบรมเพือ่ ให้รบั ผิดชอบเต็มทีใ่ นตำ�แหน่งทีก่ �ำ หนดนัน้ หรือเปล่า เมื่อแต่งตั้งใครเข้ารับตำ�แหน่ง ได้มีการชี้แจงระดับและขอบข่ายความรับผิดชอบจนเข้าใจตรงกันทุกครั้งหรือไม่ ฉันแน่ใจว่าบริษัทของฉันจัดระบบความปลอดภัยตามเงื่อนไข เงินเดือนพอเลี้ยงชีพ มีการฝึกเพื่อพัฒนาตามขั้นตอน พนักงานทุกคนมีโอกาสพัฒนาตัวเองหรือไม่ ฉันได้กำ�หนดคุณค่าครอบคลุมรอบด้าน ได้แถลงนิยามและได้บูรณาการเข้าไปในกระบวนการประเมินการทำ�งานและฉัน ก็ซื่อสัตย์ต่อพนักงานทุกคนของฉันในการประเมินผลงานหรือไม่ ในทุกประเทศที่บรรษัทของฉันเข้าไปดำ�เนินการ ฉันยกย่องศักดิ์ศรีของพนักงานทุกคนที่ไม่ขึ้นตรงต่อฉัน และของทุกคน ที่มีส่วนในการพัฒนาประชากร ตลอดจนทุกคนในประเทศที่บริษัทไปลงทุน โดยให้ความเสมอภาคในด้านคุณธรรมแก่ ทุกแหล่งโดยไม่แบ่งขั้นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ฉันได้กำ�หนดให้ศักดิ์ศรีของมนุษย์ของลูกจ้างมีความสำ�คัญเหนืออัตราผลกำ�ไรหรือไม่
การสร้างทุนยั่งยืนและแบ่งปันผลประโยชน์ • • • • •
ในฐานะที่เป็นผู้นำ�ธุรกิจ ฉันหาวิธีแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเหมาะสมหรือไม่แก่ผู้ร่วมลงทุน ให้เงินเดือนพนักงานคิด ราคาขายจากลูกค้า คิดราคาซื้อแก่คู่ค้า และภาษีอากรแก่การปกครองท้องที่หรือไม่ บริษัทของฉันทำ�หน้าที่อย่างไว้เนื้อเชื่อใจได้ ในการรายงานตามเวลาและตามข้อเท็จจริงแก่ผู้ร่วมลงทุนและแก่เจ้าหน้าที่ ของรัฐหรือไม่ บริษัทของฉันได้มีการเตรียมอย่างไรบ้างหรือไม่ สำ�หรับเผชิญหน้าปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในเวลาใดก็ได้ โดยการฝึกพนักงานทุกคนของแผนกต่างๆ ให้รู้จักยอมรับสภาพความเป็นจริงและเต็มใจใช้ประสบการณ์ทำ�งานต่อไป เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาหรือไม่ หากเกิดวิกฤติถึงขั้นต้องให้พนักงานออกจากงาน บริษัทของฉันมีความพร้อมอย่างไรหรือไม่ในการแจ้งให้รู้ตัวล่วงหน้า มีบริการช่วยการโยกย้าย และมีการจ่ายเบี้ยชดเชยหรือไม่ บริษัทของฉันมีมาตรการลดหรือขจัดของเสียจากการใช้งาน เพือ่ แสดงความรับผิดชอบต่อการอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อมหรือไม่
สรุปรวบยอด • ในฐานะที่เป็นผู้นำ�ธุรกิจคริสตชน ฉันมีแผนการส่งเสริมศักดิ์ศรีมนุษย์และความดีส่วนรวมในข่ายอิทธิพล ของฉันหรือไม่ • ฉันสนับสนุนวัฒนธรรมชีวติ ความยุตธิ รรม กฎหมายระหว่างประเทศ ความโปร่งใส ประชาสังคม การอนุรกั ษ์ สิ่งแวดล้อม รักษามาตรฐานการใช้แรงงานและต่อสู้การทุจริต หรือไม่ • ฉันส่งเสริมการพัฒนาบุคคลอย่างบูรณาการในสายงานของฉันหรือไม่
54
55 ~ VOCATION OF THE BUSINESS LEADER
56