สำ�นักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
พืชชนิดใหม่
การค้นพบ ของโลก (new species) ในประเทศไทย
ก
ารสำ�รวจและเก็บพรรณไม้ของประเทศไทยในทศวรรษที่ผ่าน มามีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นจากความตื่นตัวในการศึกษาวิจัย ด้านอนุกรมวิธานพืชของหน่วยงานต่างๆ อันเป็นผลมาจากอนุสัญญา ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity) ที่ประเทศไทยได้ลงสัตยาบัญ ทำ�ให้มีการค้นพบพืชชนิด ใหม่ของโลก (new species) อย่างต่อเนื่อง และได้รับการตีพิมพ์เผย แพร่ลงในวารสารทางวิชาการต่างๆ ตลอดมา
ในส่วนของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งเป็นหน่วยงานหน่ง ที่มีภารกิจสำ�คัญในการศึกษาวิจัยด้านอนุกรมวิธานพืชของประเทศไทยมาเป็น เวลายาวนานตั้งแต่ก่อนแยกตัวมาจากกรมป่าไม้ เมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งทำ�ให้มี ภารกิจด้านการศึกษาวิจัยด้านพรรณพืชที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้รวบรวมพืชชนิดใหม่ ของโลก อันเป็นผลจากการออกสำ�รวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้โดยสำ�นักงาน หอพรรณไม้ หรือได้ร่วมกับนักวิจัยอื่นๆ รวมถึงการศึกษาวิจัยด้านอนุกรม วิธานพืชในช่วงระยะเวลาที่ได้อยู่ภายใต้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์ พืช ซึ่งสำ�นักงานหอพรรณไม้เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สำ�รวจและเก็บรวบรวม พรรณไม้ เก็บรักษาตัวอย่างพรรณไม้ไว้ในรูปของหอพรรณไม้ และรับผิดชอบ ดำ�เนินโครงการพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย (Flora of Thailand) ที่มี ความร่วมมือจากนักพฤกษศาสตร์ตั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจำ�นวนมาก ทำ�ให้ได้รับรายงานการค้นพบพืชชนิดใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นข้อมูลการ ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกนี้นอกจากจะเป็นข้อมูลด้านการศึกษาวิจัยพรรณพืช ของประเทศไทยสำ�หรับนักวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังเป็นประโยชน์ แก่ผู้สนใจและ ชื่นชมกับพรรณไม้พื้นเมืองของไทย เพื่อให้เกิดความภูมิใจในพรรณไม้ไทยที่ ได้รับการค้นพบเป็นครั้งแรก อันจะก่อให้เกิดความหวงแหนและร่วมกันปกป้อง รักษาไว้ให้เป็นมรดกแก่ชนรุ่นหลังต่อๆ ไป 1
2
กระเช้าคลองพนม
กระเช้ายะลา
พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่เขาสกและคลอง พนม จังหวัดสุราฎรฺธานี ขึ้นตามหน้าผาหินปูน ระดับ ความสูง 100-200 เมตร เป็นไม้เถาล้มลุก หลอดกลีบ รูปทรงกระบอกสีครีมอมแดง งอขึ้นเล็กน้อย ปลาย กลีบบานออก ด้านในสีม่วงอมแดง โคนหลอดกลีบ เป็นกระเปาะทรงรี ผลทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 มม. แตกเป็น 6 ซีก
พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคใต้ตอนล่าง ที่อำ�เภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ขึ้นตามเขาหินปูนเตี้ยๆ ป่าดิบชื้น ระดับความสูงประมาณ 200 เมตร เป็นไม้เถา ล้มลุก เกาะเลื้อยตามหินปูน ดอกสีครีมอมเขียว ปาก หลอดกลีบสีม่วงอมแดง หลอดกลีบรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 4 มม. งอขึ้น ปากหลอดกลีบมีขนสั้นนุ่ม ด้านใน โคนหลอดกลีบเป็นกระเปาะทรงรีเกือบกลม ผล ทรงรีกลม ยาวประมาณ 0.8-1 ซม.
Aistolochia kongkandae Phuph. วงศ์ Aristolochiaceae
Aistolochia yalaensis Phuph. วงศ์ Aristolochiaceae
คำ�ระบุชนิด “kongkandae” ตั้งเป็นเกียรติ แก่ ดร.ก่องกานดา ชยามฤต ตีพิมพ์ในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 34 ค.ศ. 2006 จาก ตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Chayamarit et al. 2607 (BKF, C, E)
คำ�ระบุชนิด “yalaensis” ตั้งตามสถานที่เก็บ ตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ ตีพิมพ์ในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 34 ค.ศ. 2006 ตัวอย่าง พรรณไม้ต้นแบบ Pooma et al. 4321 (BKF, K, L)
3
เฟิร์นก้านดำ�คลองพนม
Adiantum phanomensis S. Lindsay & D. J. Middleton วงศ์ Adiantaceae
กะฉอดคลองพนม
Tectaria phanomensis S. Linds. วงศ์ Dryopteridaceae
พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติ คลองพนม จังหวัดสุราษฏร์ธานี ขึ้นตามหน้าผาเขา หินปูนที่ค่อนข้างมีความชุ่มชื้นสูง เป็นเฟินขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 20 ซม. เหง้าสั้น มีเกล็ดขนาดเล็กสีดำ�หุ้ม ก้านใบยาวได้ประมาณ 4.5 ซม. ใบประกอบแบบขนนก ยาวประมาณ 10-18 ซม. แผ่นใบรูปคล้ายสามเหลี่ยม ยาว 0.6-1.2 ซม. ปลายจักมนตื้นๆ มีขนสั้นนุ่มหนา แน่นด้านล่าง กลุ่มอับสปอร์ติดที่ปลายแผ่นใบด้านล่าง สีน้ำ�ตาลดำ�
พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติ คลองพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นตามซอกหินปูนที่ มีดินตื้นๆ ระดับความสูงประมาณ 100 เมตร เป็นเฟิน ขนาดเล็ก เหง้ามีเกล็ดหนาแน่น ก้านใบยาวประมาณ 40-48 ซม. แผ่นใบยาวประมาณ 60 ซม. แผ่นใบ ประกอบย่อยด้านล่างมีขนาดใหญ่ ยาวได้ประมาณ 30 ซม. แผ่นใบประกอบย่อยอื่นขนาดลดหลั่นจนยาวได้ ประมาณ 10 ซม. จักแบบขนนก มีก้านหรือไร้ก้าน กลุ่ม สปอร์มี 1-3 แถว สปอร์มีรอยย่น คำ�ระบุชนิด “phanomensis” ตั้งตามสถานที่ค้น พบ ได้รับการ ตีพิมพ์ลงในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 36 หน้าที่ 49 เมื่อ ค.ศ. 2008 จากตัวอย่างพันธุ์ไม้ต้นแบบ Middleton, Lindsay & Pooma 2140 (A, BKF)
คำ�ระบุชนิด “phanomensis” ตั้งตามสถานที่ค้น พบ ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Harvard Papapers in Botany 8(2) หน้าที่ 137 ค.ศ. 2004 จากตัวอย่าง พรรณไม้ต้นแบบ Middleton, Lindsay & Pooma 2133 (BKF, A, BCU, L)
4
5
เอื้องกลีบติดปากฝอย
Gastrodia fimbriata Suddee วงศ์ Orchidaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติแก่ง กระจาน จังหวัดเพชรบุรี ขึ้นตามพื้นดินในป่าไผ่ ระดับ ความสูงประมาณ 900 เมตร เป็นกล้วยไม้กินซาก มีเหง้า ใต้ดิน ยาว 4-8 ซม. ช่อดอกยาวได้ประมาณ 1 ม. ดอก จำ�นวนมาก ก้านดอกยาว 3-5 มม. ดอกสีขาวอมชมพู ยาว 1.5-2 ซม. รวมรังไข่ กลีบดอกและกลีบเลี้ยงเชื่อม ติดกันรูปถ้วย ส่วนแยกกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาว 3-5 มม. ส่วนแยกกลีบดอกกลม ยาว 2-3 มม. กลีบปากรูป ไข่ ยาว 6-7 มม. หยัก 3 พู กลีบกลางปลายจักชายครุย คำ�ระบุชนิด “fimbriata” หมายถึงขอบกลีบปาก จักชายครุย ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Harvard Papapers in Botany 9(2) หน้าที่ 435 ค.ศ. 2005 จากตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Middleton at al. 1805 (BKF, A)
กะเพราตะนาวศรี
Teucrium scabrum Suddee & A.J. Paton วงศ์ Lamiaceae (Labiatae) พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่จังหวัดตากและ จังหวัดกาญจนบุรีบริเวณอุทยานแห่งชาติเอราวัณและ ด่านเจดีย์สามองค์ ขึ้นบนเขาหินปูนที่เปิดโล่ง ระดับความ สูง 500-1000 เมตร เป็นไม้ล้มลุก ลำ�ต้นส่วนมากไม่แตก กิ่ง แผ่นใบมีขนสากและต่อมทั้งสองด้าน ช่อดอกแบบช่อ กระจุกไม่แตกช่อแขนงหรือแตกที่โคน ดอกเรียงเป็นกระ จุกละ 2 ดอก เป็นชั้นห่างๆ บนแกนช่อ ใบประดับ กลีบ เลี้ยง และกลีบดอกมีขนต่อมทั่วไป กลีบดอกรูปปาก เปิด สีม่วงอ่อน ยาว 0.8-1.2 ซม. กลีบล่างกลีบกลาง ขนาดใหญ่ คำ�ระบุชนิด “scabrum” หมายถึงมีขนสากตามแผ่น ใบ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Kew Bulletin Vol. 63(4) ค.ศ. 2008 จากตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Suddee & Puudja 1101 (BKF, K, TCD) ที่เก็บจากดอยหัวหมด อำ�เภออุ้มผาง จังหวัดตาก
6
7
กะเพราน้ำ�โขง
กะเพราหิน
พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ขึ้นตามพื้นที่เปิดโล่งบนแผ่นหินทราย ในป่าเต็งรัง ระดับความสูงประมาณ 300 เมตร เป็นไม้ล้มลุก ลำ�ต้นเป็นเหลี่ยม ใบเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ช่อดอกออก ที่ปลายกิ่ง ช่อย่อยเวียนรอบข้อ แต่ละช่อย่อยห่างกัน 0.5-1 ซม. กลีบเลี้ยงกลีบหน้ายื่นยาวกว่าหลอดกลีบ หลอดกลีบมี ขนยาว กลีบดอกรูปปากเปิดสีขาวอมเขียว กลีบปากมีขนสั้น นุ่ม เกสรเพศผู้ยื่นเลยปากกลีบดอก
พืชถิ่นเดียวของไทย มีเขตการกระจายพันธุ์แคบๆ พบ เฉพาะที่จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา กาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นบนหินปูนในป่าดิบแล้ง ระดับความสูง 50-500 เมตร เป็นไม้ล้มลุก ช่อดอกแบบ ช่อกระจุกแยกแขนง แกนช่อและดอกมีขนสั้นนุ่ม ขนต่อม และต่อมกระจาย ช่อย่อยมีประมาณ 3 ดอก กลีบดอกรูป ปากเปิด สีม่วงอมน้ำ�เงิน ยาว 0.7-1 ซม. ผลรูปไข่หรือรูปรี เกลี้ยง กลีบเลี้ยงติดทน
คำ�ระบุชนิด “mekongensis” ตั้งตามสถานที่ค้นพบใกล้ ริมแม่น้ำ�โขง ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Kew Bulletin เล่ม ที่ 60 (1) หน้าที่ 65 เมื่อปี ค.ศ. 2005 จากตัวอย่างพันธุ์ไม้ ต้นแบบ Chalermglin & Meade 98-10-16-02 (BKF, K)
คำ�ระบุชนิด “albicalyx” หมายถึง.......................... ตีพิมพ์ในวารสาร Kew Bulletin เล่มที่ 59 ค.ศ. 2004 จาก ตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Suddee 868 (BKF, K, TCD) ที่ เก็บจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี
Platostoma mekongense Suddee วงศ์ Labiatae
Plectranthus albicalyx S. Suddee วงศ์ Lamiaceae (Labiatae)
8
9
เครือเทพรัตน์
Thepparatia thailandica Phuph. วงศ์ Malvaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่และตาก เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ขึ้นเกาะพันบนต้นไม้ในป่า เบญจพรรณหรือตามเขาหินปูน ระดับความสูง 500-700 เมตร เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีขนรูปดาวตามท้องใบ ก้านใบ ช่อดอก ริ้ว ประดับ และกลีบเลี้ยง แผ่นใบรูปฝ่ามือมี 3-5 แฉกตื้นๆ มีต่อมทั่วไปด้านบนของแผ่นใบ ช่อดอกห้อยลง ยาวได้ถึงประมาณ 20 ซม. ดอกจำ�นวนมาก ริ้วประดับติดทน มี 5-7 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีปื้นสีแดง ยาว 3-3.5 ซม. ปลายกลีบพับงอ เกสรตัวผู้ติดกันเป็นหลอด พืชสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก ซึ่งตั้งตามพระนามสมเด็จพระเทพ รัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ตีพิมพ์ในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 34 ค.ศ. 2006 จากพรรณไม้ต้นแบบ Pooma et al. 4981 (BKF) ที่เก็บจากอำ�เภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
10
กาฝากวงกลีบแดง
Tolypanthus pustulatus Barlow วงศ์ Loranthaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดหนองคาย เป็นกาฝากขึ้นบนต้นไม้ในวงศ์อบเชย (Lauraceae) ที่ขึ้นในป่าดิบแล้ง ระดับความสูงประมาณ 200 เมตร เป็นกาฝากไม้พุ่ม ลำ�ต้นมีช่องอากาศกระจาย ใบเรียง ห่างๆ ช่อดอกแบบกระจุกสั้น ติดบนวงกลีบประดับ วงกลีบประดับมี 6-8 กลีบ ติดกันประมาณกึ่งหนึ่งคล้ายรูประฆัง ยาว 1.5-2 ซม. สีแดงอมชมพู ดอกย่อยมี 4-6 ดอก ติดที่โคนวงกลีบประดับ กลีบดอกสีขาวมีแถบเป็นสันสีแดงอมชมพู ปลาย แยกเป็น 5 กลีบ ผิวด้านนอกพองตั้งแต่ปลายกลีบจนถึงช่วงพับงอ เห็นชัดเจน คำ�ระบุชนิด “pustulatus” ที่แปลว่าเป็นตุ่ม หมายถึงมีลักษณะคล้ายรอยเป็นตุ่มที่กลีบดอกด้านนอกใกล้จุดพับงอ ได้ รับการตีพิมพ์ในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) No. 33 ค.ศ. 2005 จากตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Pooma et al. 4158 (BKF, CANB)
11
โมกการะเกตุ
Wrightia karaketii D. J. Middleton วงศ์ Apocynaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่อำ�เภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ใกล้ชายแดนไทย-พม่า (กิ่วผาวอก) ขึ้นตามเขาหิน ปูนเตี้ยๆ ในป่าเบญจพรรณ ระดับความสูงประมาณ 750 เมตร เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงมีต่อมที่โคนกลีบด้านใน กลีบ ดอกรูปกงล้อ หลอดกลีบสั้น กลีบรูปไข่กลับ ยาว 1.7-2 ซม. มีปุ่มเล็กๆ กระจาย กระบังเชื่อมติดกันเป็นวง แนบติดกลีบดอก ปลายไม่แนบติดกลีบดอก ผลเป็นฝักคู่ กางออก ยาว 30-40 ซม. มีช่องอากาศหนาแน่น คำ�ระบุชนิด “karaketii” ตั้งเป็นเกียรติแก่นายปรีชา การะเกตุ หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ ร่วมสำ�รวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ ตีพิมพ์ในวารสาร Gardens’ Bulletin Singapore เล่มที่ 61 ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2010 จากพรรณไม้ต้นแบบ Pooma et al. 6732 (BKF, E)
12
โมกพะวอ
Wrightia tokiae D. J. Middleton วงศ์ Apocynaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคเหนือที่อำ�เภอแม่สอด จังหวัดตาก ใกล้กับศาลพะวอ ขึ้นบนเชิงเขาหินปูน ในป่า เบญจพรรณ ระดับความสูงประมาณ 700 เมตร เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก กิ่งอ่อนมีขนละเอียดรูปตะขอสั้น ๆ ใบเรียงตรงข้าม ยาว 5.3-21 ซม. มีปุ่มเล็กๆ กระจายด้านบน ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ๆ ออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงไม่มีต่อมที่โคน กลีบ ดอกรูปกงล้อ หลอดกลีบยาวประมาณ 2.5 มม. กลีบยาวประมาณ 1.3 ซม. กระบังเรียงติดกันเป็นวงคล้ายรูปถ้วย แนบ กลีบดอกเฉพาะที่โคนประมาณ 5 มม. ผลเป็นฝักคู่ เรียงชิดกัน ปลายเชื่อมติดกัน ยาวประมาณ 13.5 ซม. มีช่องอากาศ กระจายหนาแน่น คำ�ระบุชนิด “tokiae” ตั้งเป็นเกียรติแก่นางสาวนันท์นภัส ภัทรหิรัญไตรสิน นักวิจัยของหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่ง ชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งชาวต่างชาตินิยมเรียกชื่อเล่นว่าต๊อก ผู้ร่วมสำ�รวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ ทั้ง 2 ชิ้น ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Gardens’ Bulletin Singapore เล่มที่ 61 ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2010 จากพรรณไม้ต้นแบบ Pooma et al. 6906 (BKF)
13
โมกนเรศวร
Wrightia poomae D. J. Middleton วงศ์ Apocynaceae โมกนเรศวรเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคเหนือที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อำ�เภอ อุ้มผาง จังหวัดตาก ขึ้นตามสันเขาในป่าเบญจพรรณ ระดับความสูงประมาณ 700 เมตร เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ใบเรียง ตรงข้าม ยาว 2.3-12 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกสั้นๆที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงไม่มีต่อมที่โคนกลีบ กลีบดอรูปกงล้อ หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2.7 มม. กลีบดอกยาวประมาณ 2 ซม. กระบังหน้ากลีบดอกเชื่อมติดกลีบดอกประมาณ 1 ใน 3 ปลาย แฉกลึกประมาณ 1 ใน 3 ของความยาว กระบังระหว่างกลีบดอกปลายแยกเป็น 2 แฉก กระบังที่อยู่ ระหว่างกระบังมีขนาดล็กติดที่โคนกลีบดอก คำ�ระบุชนิด ตั้งเป็นเกียรติแก่นายราชันย์ ภู่มา นักวิจัยหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ ร่วมสำ�รวจและเก็บตัวอย่างต้นแบบทั้ง 2 ชิ้น ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Gardens’ Bulletin Singapore เล่มที่ 61 ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2010 จากพรรณไม้ต้นแบบ Pooma et al. 6973 (BKF)
14
โมกสยาม
Wrightia siamensis D.J. Middleton วงศ์ Apocynaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคใต้แถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ และพังงา ขึ้นตามเขาหินปูน ระดับความสูง ต่ำ�กว่า 100 เมตร เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเรียงตรงข้าม 3-12 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกสั้นๆ ตามปลายกิ่ง มี 3-5 ดอก มีต่อมที่โคนกลีบเลี้ยง ดอกบานรูปกงล้อ หลอดกลีบยาว 4-5 มม. กลีบยาว 1.4-1.5 ซม. มีปุ่มขนกระจาย กระ บังหน้ากลีบดอกแนบติดบนกลีบดอกเกือบตลอดความยาว กระบังระหว่างกลีบดอกปลายแยก 2 แฉก ระหว่างจุดเชื่อมมี กระบังขนาดเล็ก 10 อัน ผลเป็นฝักคู่ แยกกัน มีช่องอากาศ ยาว 13-15 ซม. ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 35 ปี ค.ศ. 2010 พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะ ทางภาคใต้แถบจังหวัดกระบี่ พังงา สุราษฎร์ธานี เป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามหน้าผาที่เป็นหินปูน จากพรรณไม้ต้นแบบ Gardner & Sirisunthorn ST2613 (E, BKF, K)
15
โมกเครือ
Kamettia chandeei D.J. Middleton วงศ์ Apocynaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ระดับความสูง 400-750 เมตร เป็นไม้เถา ส่วนต่างๆ มียางขาว ลำ�ต้นแก่เป็นคอร์ก กิ่งอ่อนมีช่องอากาศ ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อ 3 ใบ หรือเรียงตรงข้าม ยาว 5.5-10.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุก ซ้อน ออกตามปลายกิ่ง ยาว 3.5-14 ซม. หลอดกลีบดอกยาว 1.2-1.6 ซม. กลีบยาว 1.2-1.8 ซม. ผลเป็นฝักคู่ มีช่องอากาศ ยาวได้ประมาณ 20 ซม. คำ�ระบุชนิด “chandeei “ ตั้งเป็นกียรติแก่นายจันดี เหมราฐ เจ้าหน้าที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์ พืช ผู้พบพืชชนิดนี้คนแรก และร่วมเก็บตัวอย่างกับ ดร. D.J. Middleton ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 33 ปี ค.ศ. 2005 จากตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Middleton et al. 3418 (BKF, A, E, MICH)
16
หญ้าพันเกลียว
Ceropegia thailandica Meve วงศ์ Ascleoiadaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าภูวัว จังหวัดหนองคาย ขึ้นกระจายห่างๆ ตามทุ่งหญ้า ที่ราบบนยอดภูเขาหินทรายชายป่าดิบแล้ง ระดับความสูง ประมาณ 300 เมตร เป็นไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดิน ลำ�ต้นคล้าย หญ้า แตกกิ่ง มียางใส ใบเรียงตรงข้าม รูปแถบ ช่อแบบ ช่อกระจุก มีเพียงดอกเดียว ดอกคล้ายรูปลิ่มแคบ หลอด กลีบรูปทรงกระบอก มีขนด้านใน กลีบบิดเป็นเกลียว ยาว 4-5.5 ซม. โคนกลีบเป็นติ่ง มีขนกำ�มะหยี่สีม่วงดำ� ขอบ กลีบมีขนครุย ปลายขนเป็นต่อมคล้ายรูปกระบอง มีกระ บังรอบเส้าเกสร คำ�ระบุชนิด “thailandica” ตั้งตามชื่อ ประเทศไทย ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Bradleya เล่ม ที่ 27 ปี ค.ศ. 2009 จากพรรณไม้ต้นแบบ Pooma et al. 7347 (BKF)
17
หนอนตายอยากคลองพนม
Stichoneuron calcicola Inthachub วงศ์ Stemonaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติคลองพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้น ตามหน้าผาหินปูนที่มีร่มเงา ระดับความสูง 100-300 เมตร เป็นไม้ล้มลุกโคนต้นแข็ง แตกกิ่ง จำ�นวนมาก ลำ�ต้นห้อยลงยาวได้เกือบ 1 เมตร ใบเรียงสลับ รูปหัวใจ เส้นโคนใบ 4-7 เส้น ช่อ ดอกแบบช่อกระจะแน่น ออกตามซอกใบ ก้านช่อยาวได้ประมาณ 3.5 ซม. แกนช่อยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกจำ�นวนมาก กลีบดอกสีแดงอมน้ำ�ตาล เส้นผ่านศุนย์กลาง 4-5 มม. ก้านดอกยาว 1-2 ซม. กลีบดอกมีขนสีแดงหนาแน่น ผลแบบแคปซูล ยาว 1-1.2 ซม. เมล็ดมีเยื่อหุ้มหยัก เป็นพู คำ�ระบุชนิด “calcicola” หมายถึงถิ่นที่อยู่ที่เป็นหินปูน ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Edinburgh Journal of Botany 66(2) ค.ศ. 2009 จากตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Middleton et al. 554 (A, BKF, E, L)
18
มะพลับระนอง
Diospyros ranongensis Phengklai วงศ์ Ebenaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จังหวัดระนอง ขึ้นตามสันเขาในป่าดิบชื้น ระดับความ สูงประมาณ 600 เมตร เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ 15 ม. ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 10-15 ซม. ผลออกเดี่ยวๆ ตามกิ่ง ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5.5-7 ซม. ผิวขรุขระ กลีบเลี้ยงที่ผลเป็นวงคล้ายปลอกคอ ผนังผลแข็ง หนา มี 10-14 เมล็ด เอนโดสเปิร์มเรียบ คำ�ระบุชนิด “ranongensis” ตั้งตามสถานที่ค้นพบ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 33 ค.ศ. 2005 จากพันธุ์ไม้ต้นแบบ Niyomdham et al. 1440 (BKF, C, AAU)
19
ม่วงสอดสี
กระเช้ายะลา
Perocosmea bicolor D.J. Middleton & Triboun วงศ์ Gesneriaceae
Aistolochia yalaensis Phuph. วงศ์ Aristolochiaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคใต้ ตอนล่างที่อำ�เภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ขึ้นตามเขาหิน ปูนเตี้ยๆ ป่าดิบชื้น ระดับความสูงประมาณ 200 เมตร เป็นไม้เถาล้มลุก เกาะเลื้อยตามหินปูน ดอกสีครีมอมเขียว ปากหลอดกลีบสีม่วงอมแดง หลอดกลีบรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 4 มม. งอขึ้น ปากหลอดกลีบมีขนสั้นนุ่ม ด้านใน โคนหลอดกลีบเป็นกระเปาะทรงรีเกือบกลม ผล ทรงรีกลม ยาวประมาณ 0.8-1 ซม.
เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นบนหินปูนในป่าดิบเขา ระดับความ สูงประมาณ 1450 เมตร เป็นไม้ล้มลุก ใบเรียงแผ่ที่โคน มี 2 แบบ แบบไร้ก้านใบและแบบมีก้านใบ แผ่นใบมีขน สั้นนุ่มทั้งสองด้าน ช่อดอกแบช่อซี่ร่ม มี 8-14 ดอก ก้าน ช่อยาว 3.5-10 ซม. มีขนต่อมหนาแน่น กลีบดอกรูป ปากเปิด มี 2 สี มีปุ่มต่อมเล็กๆ ภายในหลอดและโคน กลีบบน เกสรเพศผู้ 2 อัน เป็นหมัน 3 อัน
คำ�ระบุชนิด “yalaensis” ตั้งตามสถานที่เก็บตัวอย่าง พรรณไม้ต้นแบบ ตีพิมพ์ในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 34 ค.ศ. 2006 ตัวอย่างพรรณไม้ ต้นแบบ Pooma et al. 4321 (BKF, K, L)
ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 38 ปี ค.ศ. 2010 จากตัวอย่างพรรณ ไม้ต้นแบบ Middleton et al. 4523 (BKF, A, BK, E)
20
21
เปล้าน้ำ�
Croton fluviatilis Esser วงศ์ Euphorbiaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคตะวันออกแถบจังหวัดสุรินทร์ และอุบลราชธานี ขึ้นตามพื้นทรายริมลำ�ธาร ระดับความสูง 100-250 เมตร เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ใบเรียงสลับ รูปแถบ ยาว 10-17 ซม. เปลี่ยนเป็นสีเหลือง อมส้มก่อนหลุดร่วง มีต่อมขนาดเล็กที่โคน ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ยาว 7-20 ซม. ดอกเพศผู้อยู้ช่วงบน ดอกเพศเมียอยู่ ช่วงโคน ผลแบบแคปซูล เรียบ ยาว 5-7 มม. แตกเป็น 3 ซีก คำ�ระบุชนิด “fluviatilis” หมายถึงถิ่นที่อยู่ที่อยู่ใกล้แม่น้ำ� ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 38 หน้าที่ 37-41 ค.ศ. 2010 จากพันธุ์ไม้ต้นแบบ Suddee et al. 3110 (BKF)
22
นิ้วมือพระนารายณ์ใบขน
Schefflera pooma Esser & Jebb. วงศ์ Araliaceae พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่ดอยหัวหมด จังหวัดตาก เป็นพืชอิงอาศัย ขึ้นบนพื้นดินหรือตามโขดหิน สูง 2–5 เมตร มีหูใบเชื่อมติดก้านใบ ใบประกอบรูปฝ่ามือเรียงเวียน มีใบย่อย 7–10 ใบ ใบย่อยยาว 16–20 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีขน เส้น แขนงใบข้างละ 18–20 เส้น ช่อดอกแบบช่อซี่ร่มเชิงประกอบ มี 8–9 ช่อ ช่อซี่ร่มมี 15–25 ช่อ แต่ละช่อมี 9–13 ดอก กลีบ ดอกสีขาว 6 กลีบ เกสรเพศผู้ 6 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลเป็นร่องตามยาว ชื่อชนิด “pooma” ตั้งเป็นเกียรติแก่นายราชันย์ ภู่มา นักวิจัยหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ เก็บตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 38 ปี ค.ศ. 2010 จาก ตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Pooma et al. 6949 (BKF, M)
23
ที่ปรึกษา เมธินี ตาฬุมาสวัสดิ์
ผู้เรียบเรียง ราชันย์ ภู่มา
ออกแบบรูปเล่ม ปรีชา การะเกตุ
ถ่ายภาพ ราชันย์ ภู่มา ปรีชา การะเกตุ สมราน สุดดี ธรรมรัตน์ พุทธไทย
จัดพิมพ์โดย สำ�นักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำ�นวนพิมพ์ เล่ม พ.ศ. 2554 สงวนลิขสิทธ์
พิมพ์ที่
24