Economic Projection

Page 1

ประมาณการเศรษฐกิจไทยป 2555

THAILAND'S ECONOMIC OUTLOOK 2012 : JUNE

เดือนมิถุนายน

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

http://www.fpo.go.th


THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2012 FISCAL POLICY OFFICE เป้าประสงค์ และ ยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 1. ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการคลัง เพื่อให้ภาคการคลังของประเทศมีความแข็งแกร่งยั่งยืน เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นหลักของ ระบบเศรษฐกิจไทย 2. การพัฒนาความแข็งแกร่งของระบบการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Financial System Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการเงิน เพื่อให้ภาคการเงินแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ 3. เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน (Sustainable Economic and Social Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อกระจายความมั่งคั่ง สู่ภูมิภาคและเศรษฐกิจฐานราก + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น 4. ความมีประสิทธิภาพ ความทันสมัย และความโปร่งใสในการท�ำงาน (Modernization of Management and Good Governance Promotion) + ด�ำเนินการเพื่อให้เป็นองค์กรเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับด้านความสามารถของบุคลากร + ด�ำเนินการเพื่อให้การท�ำงานและการให้บริการโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้ โดยใช้ระบบ IT ลดขั้นตอนการท�ำงาน

กลยุทธ์ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค : “เสาหลักด้านเศรษฐกิจมหภาคอย่างมืออาชีพ” “วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพ แม่นย�ำ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้สามารถเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้อย่าง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณชน”

ช่องทางใหม่ในการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ

ขั้นตอนการใช้งานผ่านอุปกรณ์ iPad iPhone / ระบบปฏิบัติการ Android 1 โหลด App ชื่อ “ebooks.in.th” จาก App Store /

Android Market

2 เปิด App “ebooks.in.th” แล้ว Search ค�ำว่า “Fiscal Policy Office” 3 เลือกหนังสือและบทความที่ท่านต้องการอ่าน เพื่อเก็บไว้ที่ตู้หนังสือ 4 เลือก Icon “Bookshelf” เพื่ออ่านหนังสือที่ต้องการ (ในครั้งแรกต้องลงทะเบียนก่อนใช้งาน)



THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2012 : JUNE FISCAL POLICY OFFICE

สารบัญ 1. ประมาณการเศรษฐกิจไทย บทสรุปผู้บริหาร Executive Summary ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 (ณ เดือนมิถุนายน 2555) 1.1 สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 1.2 ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555

หน้า 3 6 9 10 27

2. ภาคการคลัง : รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555

38

3. บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ : Macroeconomic Analysis Briefings 3.1 รู้ทันเงินเฟ้อ (กรณีศึกษา : การบริหารจัดการเงินเฟ้อในอดีต) 3.2 บทบาทของกระทรวงการคลังในการด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจภายหลังวิกฤตอุทกภัย 3.3 ยูโร ความเหมือนที่แตกต่าง 3.4 กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) อีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนของภาครัฐ 3.5 ผลกระทบนโยบายการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำ 300 บาท 3.6 ส่องกล้อง SMEs ไทยกับนโยบายภาครัฐ 3.7 อินเดียกับความเสี่ยงที่ต้องฝ่าฟัน 3.8 อวสานของมาตรฐานทองค�ำ

46 55 62 67 79 86 94 100

4. ภาคการเงิน : รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2555

108

5. Thailand’s Key Economic Indicators

112

คณะผู้จัดท�ำ : ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทรศัพท์ 02-273-9020 ต่อ 3257 โทรสาร 02-298-5602 / 02-618-3397 http:// www.fpo.go.th


บทสรุปผู้บริหาร

ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 (ณ เดือนมิถุนายน 2555) รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 “เศรษฐกิจไทยปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 5.2–6.2 กลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ภายหลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายลง” ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.2–6.2) ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้เดิมเมื่อเดือนมีนาคม 2555 โดย การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาท�ำการผลิตเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มากขึ้น ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2555 คาดว่าจะท�ำให้การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกในปี 2555 กลับเข้า สู่ระดับปกติได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ อุปสงค์ภายในประเทศภาคเอกชนคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง โดย มีปัจจัยสนับสนุนจากความชัดเจนของการฟื้นตัวของภาคการผลิตที่ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับความจ�ำเป็นในการบริโภคสินค้าเพื่อทดแทนทรัพย์สินที่เสียหาย จากสถานการณ์อทุ กภัย และการลงทุนเพือ่ ฟืน้ ฟูอาคารบ้านเรือนและเครือ่ งมือเครือ่ งจักรในภาคอุตสาหกรรม รวมทัง้ นโยบายของภาครัฐมีสว่ นสนับสนุนการใช้จา่ ยภายในประเทศ ไม่วา่ จะเป็นการเพิม่ รายได้แรงงานรายวันและเงินเดือน ข้าราชการ โครงการรับจ�ำน�ำข้าวเปลือก โครงการรถยนต์คนั แรก โครงการบ้านหลังแรก และการทยอยปรับลดภาษีเงินได้ นิติบุคคล เป็นต้น ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาครัฐเองยังคงมีบทบาทในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเบิกจ่ายตามแผนการบริหารจัดการน�้ำในระยะยาวของภาครัฐวงเงินลงทุนรวม 350 พันล้านบาทที่คาด ว่าจะเริม่ ทยอยลงทุนได้ในช่วงครึง่ หลังของปี 2555 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกสินค้าและบริการจะชะลอ ลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศในปี 2555 คาดว่าจะยังคงแข็งแกร่ง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0–4.0) ลดลงจากปีก่อนหน้า ตามราคาน�้ำมันในตลาดโลก ที่จะขยายตัวในอัตราชะลอลง อันเป็นผลมาจากอุปสงค์น�้ำมันในตลาดโลกที่ชะลอลงตามแนวโน้มการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศจะเริ่มได้รับปัจจัยเสี่ยงจากดุลบัญชีเดินสะพัดที่ คาดว่าจะขาดดุลร้อยละ 0.4 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.1–0.9 ของ GDP) ตามการเกินดุลการค้าที่มี แนวโน้มลดลงจากปีกอ่ น เนือ่ งจากการฟืน้ ตัวของอุปสงค์ภายในประเทศจะส่งผลให้มลู ค่าการน�ำเข้าสินค้าขยายตัวใน อัตราเร่งที่ร้อยละ 22.3 เทียบกับมูลค่าส่งออกสินค้าที่จะขยายตัวเพียงร้อยละ 12.8”

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

3


ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2555 (ณ เดือนมิถุนายน 2555)

2555 f (ณ มิถุนายน 2555) เฉลี่ย ช่วง

2554 สมมติฐานหลัก สมมติฐานภายนอก 1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี) 4.0 3.7 3.2-4.2 2) ราคาน�้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) 105.6 113.0 108.0-118.0 3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 5.6 3.8 3.3-4.3 4) ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 10.1 4.3 3.8-4.8 สมมติฐานด้านนโยบาย 5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) 30.5 31.25 30.25-32.25 6) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละต่อปี) 3.25 3.00 2.50-3.50 7) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท) 2.77 2.95 2.95-2.96 ผลการประมาณการ 1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 0.1 5.7 5.2-6.2 2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี) 1.3 5.1 4.6-5.6 - การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 1.3 5.2 4.7-5.7 - การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 1.4 4.5 4.0-5.0 3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี) 3.3 12.7 11.7-13.7 - การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 7.2 13.5 12.5–14.5 - การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) -8.7 9.7 8.7–10.7 4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 9.5 8.0 7.0-9.0 5) อัตราการขยายตัวปริมาณน�ำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 13.6 13.4 12.4-14.4 6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 23.5 7.4 6.4-8.4 - สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 16.4 12.8 11.8–13.8 - สินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 24.7 22.3 21.3-23.3 7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 12.3 -1.3 -0.4 ถึง -3.3 - ร้อยละของ GDP 3.4 -0.4 -0.1 ถึง -0.9 8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี) 3.8 3.5 3.0-4.0 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี) 2.4 2.3 1.8-2.8 9) อัตราการว่างงาน (ร้อยละของก�ำลังแรงงานรวม) 0.7 0.6 0.5-0.7 f = ประมาณการ โดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)

4


1. เศรษฐกิจไทยในปี 2555 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.2–6.2) ปรับเพิ่มขึ้น จากที่ประมาณการไว้เดิมเมื่อเดือนมีนาคม 2555 และเป็นการฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็วจากปีก่อนหน้าที่ ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ภายหลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายลง โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาท�ำการผลิต เพื่อตอบสนองอุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มากขึ้น ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2555 คาดว่าจะท�ำให้การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกในปี 2555 กลับเข้าสู่ระดับปกติได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ อุปสงค์ภายในประเทศภาคเอกชน คาดว่าจะฟืน้ ตัวอย่างแข็งแกร่งและต่อเนือ่ ง โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 4.7–5.7) เร่งขึน้ จากปีกอ่ นหน้า โดยมีปจั จัยสนับสนุนจากความชัดเจนของการฟืน้ ตัวกลับมาเป็นปกติของภาคการผลิต โดยเฉพาะ ในส่วนทีผ่ ลิตเพือ่ เน้นจ�ำหน่ายในประเทศ อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเครือ่ งดืม่ ทีส่ ง่ ผลให้ความเชือ่ มัน่ ของผูบ้ ริโภคในประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับความจ�ำเป็นในการบริโภคสินค้าเพื่อทดแทนทรัพย์สินที่เสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย รวมทั้ง นโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จา่ ย อาทิ มาตรการปรับเพิม่ รายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการ รับจ�ำน�ำข้าวเปลือก ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 12.5–14.5) เร่งขึ้นตามความจ�ำเป็นของผู้ประกอบการในการเร่งลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายของอาคารบ้านเรือนและซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมจากภาวะอุทกภัย นอกจากนี้ โรงงานในหลายอุตสาหกรรมที่กลับมาท�ำการผลิตได้แล้วคาดว่า จะมีการเร่งผลิตเพื่อตอบสนองค�ำสั่งซื้อที่ยังค้างอยู่ รวมทั้งเร่งสะสมสินค้าคงคลังเพื่อให้ใกล้เคียงกับระดับก่อนอุทกภัย ส�ำหรับ การใช้จ่ายภาครัฐคาดว่าจะยังคงมีบทบาทในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัว ร้อยละ 4.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0–5.0) และการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 8.7–10.7) ตามการใช้จา่ ยในโครงการภาครัฐ ทัง้ มาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจระยะสัน้ อาทิ การปรับขึน้ เงินเดือนข้าราชการ และมาตรการในส่วนของแผนการบริหารจัดการน�้ำในระยะยาวของภาครัฐวงเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท ที่คาดว่าจะเริ่ม ทยอยลงทุนได้ในช่วงครึง่ หลังของปี 2555 เป็นต้นไป ซึง่ มาตรการภาครัฐดังกล่าวจะเป็นแรงสนับสนุนส�ำคัญทีช่ ว่ ยให้เศรษฐกิจไทย ฟืน้ ตัวได้อย่างต่อเนือ่ ง อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะชะลอลงมาขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 8.0 (โดยมีชว่ ง คาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 7.0–9.0) ตามภาวะเศรษฐกิจโลกทีย่ งั มีแนวโน้มชะลอตัว เนือ่ งจากความเสีย่ งจากวิกฤตหนีส้ าธารณะในกลุม่ ประเทศสหภาพยุโรปเริ่มลุกลามเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจจริงและภาคสถาบันการเงินของประเทศสมาชิกหลัก ขณะที่ปริมาณการน�ำ เข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะเร่งตัวสูงกว่าการส่งออก โดยจะขยายตัวร้อยละ 13.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 12.4–14.4) ตามความต้องการจัดหาวัตถุดบิ ทดแทนจากต่างประเทศ เพือ่ บรรเทาปัญหาขาดแคลนชิน้ ส่วนในระยะเริม่ แรกของการฟืน้ ตัวจาก เหตุการณ์อุทกภัย ที่ภาคการผลิตบางส่วนยังไม่สามารถตอบสนองอุปสงค์ภายในประเทศได้เต็มที่ 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ในด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี (โดยมีช่วง คาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0–4.0) ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า ตามราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลง อันเนื่องมาจากแรงกดดันด้านอุปสงค์น�้ำมันในตลาดโลกที่ชะลอลงตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.6 ของก�ำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5–0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม) ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลที่ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ คิดเป็นร้อยละ 0.4 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.1-0.9 ของ GDP) เนื่องจากดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่คาดว่า จะขาดดุลค่อนข้างมาก ตามรายจ่ายค่าระวางสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากจากการน�ำเข้าสินค้าที่คาดว่าจะขยายตัว ประกอบ กับดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 6.4–8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้าน�ำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในปี 2554 จะขยายตัวร้อยละ 22.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 21.3–23.3) ขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 11.8–13.8) ประมาณการเศรษฐกิจไทย

5


Executive Summary

Thailand’s Economic Projection for 2012 (As of June 2012) Thailand’s Economic Outlook Projection 2012 Thai economy is forecasted to grow within a range of 5.2-6.2 percent in 2012, A strong recovery after last year’s flooding crisis. The Fiscal Policy Office (FPO) announced that Thai economy is likely to grow at the rate of 5.7 percent (5.2-6.2 percent range), higher than the earlier projection in March 2012. The recovery of the production to meet domestic and external demand since the beginning of the year is expected to be the main driver for consumption spending, private investment and exports. Moreover, the strong recovery of production is also the main supporting factor in restoring the confidence of both domestic and foreign investors. Increasing consumer demand as a result of rehabilitation from flood damages, higher investment demand for the reconstruction of damaged properties and re-investment in the machines and mechanical tools in the manufacturing sector, and government supportive measures e.g. the higher minimum wage policy for low-income workers and government officials, first-time car buyer program, first-time home buyer program, the reduction of the corporate income taxes, and the rice mortgage scheme are among the supportive factors for the economic recovery. Public consumption and public investment still play the important role on boosting the economic recovery, especially from the 350-billion-baht medium-term water management investment scheme to be gradually disbursed from mid-2012 onward. Nonetheless, the external demand is anticipated to grow at slower pace due to the risks of global economic slowdown especially from the European sovereign debt crisis. For internal stability, headline inflation for 2012 is anticipated to be at 3.5 percent (or within a range of 3.04.0 percent) lower than inflation rate in the previous year. This results from declining oil price amid fragile global recovery. Current account is expected to record a deficit at 0.4 percent of GDP (within the range of 0.4-1.4 percent of GDP) due to smaller trade surplus from accelerated import growth of 22.3 percent due to recovery in domestic demand compared to slower growth of export value at 12.8 percent.

6


Major Assumptions and Economic Projections of 2012 2011 Major Assumptions Exogenous Variables 1) Average Economic Growth Rate of Major Trading Partners 4.0 (% y-o-y) 2) Dubai Crude Oil Price (U.S. dollar per Barrel) 105.6 3) Export price in U.S. dollar (% y-o-y) 5.6 4) Import price in U.S. dollar (% y-o-y) 10.1 Policy Variables 5) Exchange Rate (Baht per U.S. dollars) 30.5 6) Repurchase Rate (Policy Rate) at year-end (% y-o-y) 3.25 7) Fiscal-Year Pubic Expenditure (Trillion Baht) 2.77 Projections 1) Economic Growth Rate (% y-o-y) 0.1 2) Real Consumption Growth (% y-o-y) 1.3 - Real Private Consumption 1.3 - Real Public Consumption 1.4 3) Real Investment Growth (% y-o-y) 3.3 - Real Private Investment 7.2 - Real Public Investment -8.7 4) Export Volume of Goods and Services (% y-o-y) 9.5 5) Import Volume of Goods and Services (% y-o-y) 13.6 6) Trade Balance (USD billion) 23.9 - Export Value of Goods in U.S. dollars (% y-o-y) 16.4 - Import Value of Goods in U.S. dollars (% y-o-y) 24.7 7) Current Account (USD billion) 12.3 - Percentage of GDP 3.4 8) Headline Inflation (% y-o-y) 3.8 Core Inflation (% y-o-y) 2.4 9) Unemployment rate (% of total labor force) 0.7

2012 f (As of June 2012) Average Range

3.7

3.2–4.2

113.0 3.8 4.3

108.0–118.0 3.3–4.3 3.8–4.8

31.25 3.00 2.95

30.25–32.25 2.50–3.50 2.95–2.96

5.7 5.1 5.2 4.5 12.7 13.5 9.7 8.0 13.4 7.4 12.8 22.3 -1.3 -0.4 3.5 2.3 0.6

5.2-6.2 4.6-5.6 4.7–5.7 4.0-5.0 11.7–13.7 12.5–14.5 8.7–10.7 7.0–9.0 12.4–14.4 6.4–8.4 11.8–13.8 21.3-23.3 (-0.4)–(-3.3) (-0.1)–(-0.9) 3.0–4.0 1.8-2.8 0.5-0.7

f = forecast by Fiscal Policy Office, Ministry of Finance, Thailand, Tel.: 0-2273-9020 Ext. 3259

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

7


1. Thailand’s Economic Projections for 2012 1.1 Economic Growth The Thai economy in 2012 is projected to grow at the annual rate of 5.7 percent (or within a range of 5.2–6.2 percent), higher than the previous projection in March 2012, and return to the normal condition compared to the low growth of 0.1 percent in 2011 after the negative effect from the flood has gradually subsided Manufacturing sector resumes its normal production after the flood crisis to meet domestic and external demand. In turn, it is expected that production recovery would be the main driver for normalization of consumption spending, private investment and export. Private consumption is projected to grow at 5.2 percent (or within a range of 4.7-5.7 percent) with the main supporting factor from greater confidence of domestic and foreign investors upon the economic recovery in the production sectors, especially from the production for the domestic market e.g. the food and beverages industries. The increase in the consumer demand on the new purchase to refurnish the damages, and the government stimulus measures e.g. the higher minimum wage policy for low-income workers and government officials, first-time buyer car program, first-time home buyer program, the reduction of the corporate income taxes, and the rice mortgage scheme are proved to be supportive for the economic recovery from the serious flood last year. The higher investment demands, of which is expected to be 13.5 percent (or within a range of 12.5-14.5 percent), come mainly from the re-investment and the repair for the machines and mechanical tools in the manufacturing sector suffered from the flood. Many factories have resumed their productions and speedily responsed to new purchasing orders, resulting in the level of inventories to be at the normal level prior to the flood. Public consumption and public investment still play the important role on boosting the economic recovery. It is expected that the public consumption world expand at the rate of 4.5 percent (or within a range of 4.0-5.0 percent) and the public investment grows at the rate of 9.7 percent (or within a range of 8.7-10.7 percent) according to the short term government spending measures e.g. increasing salary rate for government officials and especially from the 350-billion-baht medium-term water management investment scheme to be gradually disbursed after mid-2012. Nonetheless, export demand is anticipated to grow at a decreasing rate of 8.0 percent (or within a range of 7.0-9.0 percent) due to the risks from the global economic slowdown and the worsening European sovereign debt crisis. Import volume of goods and services is expected to grow faster than the export at the rate of 13.4 percent (or within a range of 12.4-14.4 percent) due to the demand for raw materials from the foreign market as substitution for the damaged domestic source, of which the production sectors could only partially supply to meet domestic demand. 1.2 Economic Stability For internal stability, headline inflation in 2012 is forecasted at 3.5 percent (or within a range of 3.0–4.0 percent), lower than that of the previous year given the fragile global recovery which could lead to a slowdown in the rising of global oil demand and commodity prices. Unemployment is expected to stay at its current low level of 0.6 percent (or within a range of 0.5–0.7 percent of the total labor force). On external stability, the current account in 2012 is projected to record a deficit of USD 1.3 billion, accounting for 0.4 per cent of GDP (or within a range of 0.1–0.9 percent of GDP) as the balance of services and money transfer are expected to be in deficit concerning freight expenses on the expected higher import value resulting from the higher domestic demand. The trade surplus is expected to drop to USD 7.4 billion (or within a range of USD 6.4-8.4 billion), partially explained by accelerated import growth which is expected to increase to 22.3 percent per year (or within a range of 21.3-23.3 percent), while export value is likely to grow by 12.8 percent (or within a range of 11.8–13.8 percent).

8


ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 (ณ เดือนมิถุนายน 2555) ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2555 ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 โดยมีช่วง คาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 5.2-6.2 เร่งขึน้ จากปี 2554 ทีข่ ยายตัวเล็กน้อยทีร่ อ้ ยละ 0.1 โดยมีการปรับปรุงข้อมูลและสมมติฐานทีส่ ำ� คัญ ดังนี้ ปรับฐานข้อมูลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ในปี 2555 ที่ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีของก่อน ตามที่ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงเมื่อ วันที่ 21 พฤษภาคม 2555 ประกอบการประมาณการ ❍❍

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจมหภาคในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2555 บ่งชี้ว่า ภาคเศรษฐกิจจริงโดยรวมส่งสัญญาณ ฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยภาคบริการขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันปีของก่อน สอดคล้องกับด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ในช่วง 2 เดือนใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2555 เนื่องจากสถานการณ์การผลิตที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงปลาย ปี 2554 ในขณะทีภ่ าคการเกษตรมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยได้รบั ปัจจัยบวกจากนโยบายภาครัฐ ส่วนด้านการใช้จา่ ยพบ ว่า เครื่องชี้การบริโภคและลงทุนส่งสัญญาณขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามความจ�ำเป็นในการบริโภคสินค้าเพื่อทดแทน ทรัพย์สนิ ทีเ่ สียหายจากสถานการณ์อทุ กภัย และการลงทุนเพือ่ ฟืน้ ฟูอาคารบ้านเรือนและเครือ่ งมือเครือ่ งจักรในภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จา่ ย เช่น มาตรการปรับเพิม่ รายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ ส�ำหรับการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะชะลอลงตามเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มอ่อนแอ จากปัญหาหนี้สาธารณะใน กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ยังรุนแรง และแนวโน้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่เริ่มชะลอตัวลง โดยในช่วง 2 เดือนแรกใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2555 การส่งออกสินค้าขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.3 ในขณะที่การน�ำเข้าสินค้าขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 13.1 ท�ำให้คาดว่าการเกินดุลการค้าที่มีแนวโน้มลดลงจากปีก่อน ❍❍

การเปลี่ยนแปลงสมมติฐานที่ส�ำคัญในครั้งนี้ ได้แก่ (1) อัตราการขยายตัวของ 14 ประเทศคู่ค้าซึ่งถึงแม้ว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศได้ผ่านภาวะวิกฤตมาแล้วและมีสัญญาณฟื้นตัว แต่ในอีกหลายประเทศ ยังคงมีสัญญาณการฟื้นตัวที่เปราะบางและไม่แน่นอน โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ยังรุนแรง ประกอบกับการเติบโตเศรษฐกิจจีนที่ส่งสัญญาณชะลอลง ท�ำให้ สศค.ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของ 14 ประเทศคู่ค้า ในปี 2555 มาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.7 (2) ก�ำหนดสมมติฐานราคาน�ำ้ มันดิบดูไบ ในปี 2555 ให้อยูท่ ี่ 118.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ตาม สถานการณ์ราคาน�ำ้ มันดิบในตลาดโลกทีม่ กี ารปรับตัวอยูใ่ นระดับสูง จากความกังวลของความเสีย่ งเศรษฐกิจโลกฝัง่ ตะวันตกที่ อาจเข้าสูภ่ าวะถดถอยอีกครัง้ และความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตก (3) ปรับสมมติฐานราคาส่งออกในปี 2555 ให้ ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 3.8 และการน�ำเข้าในปี 2555 ให้อยูท่ รี่ อ้ ยละ 4.3 (4) ปรับสมมติฐานอัตราแลกเปลีย่ นบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปี 2555 ให้อยูท่ ี่ 31.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ตามการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทีม่ แี นวโน้มสูงขึน้ (5) ก�ำหนดสมมติฐานอัตราดอกเบีย้ นโยบายในปี 2555 ให้อยู่ที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.50–3.50) โดยมีสาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจไทยได้รับ ผลกระทบจากวิกฤตอุทกภัยรุนแรง จ�ำเป็นต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวระยะหนึ่ง และ (6) รายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2555 คาดว่ามีจ�ำนวนทั้งสิ้น 2.95 ล้านบาท หรือขยายตัวในช่วงร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีของก่อน ในขณะที่ใน ปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจ�ำนวนรวมทัง้ สิน้ 3.14 ล้านบาท หรือขยายตัวในช่วงร้อยละ 6.4 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันปีของก่อน ❍❍

โดยมีรายละเอียดสมมติฐานและผลการประมาณการ ดังนี้

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

9


สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2555 1. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ 14 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย “สศค.คาดว่าในปี 2555 เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอลงจากปี 2554 ที่ ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 4.0 เนือ่ งจากวิกฤตการณ์หนีส้ าธารณะของสหภาพยุโรปส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ ภาคการเงิน และอุปสงค์โดยรวมของโลก เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างเปราะบางและอาจใช้ระยะเวลานาน กว่าทีค่ าด และการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจญีป่ นุ่ และเศรษฐกิจในภูมภิ าคเอเชียทีม่ แี นวโน้มชะลอตัวลง อันมีสาเหตุส�ำคัญ มาจากเศรษฐกิจของจีนที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง” ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศ (ร้อยละ) ประเทศคู่ค้าหลัก เรียงตามสัดส่วนมูลค่าส่งออกปี 2554 14 ประเทศคู่ค้า (78.7%) 1. จีน (12.0%) 2. ญี่ปุ่น (10.5%) 3. สหรัฐอเมริกา (9.6%) 4. สหภาพยุโรป (9.4%) 5. ฮ่องกง (7.2%) 6. มาเลเซีย (5.4%) 7. สิงคโปร์ (5.0%) 8. อินโดนีเซีย (4.4%) 9. ออสเตรเลีย (4.0%) 10. เวียดนาม (3.1%) 11. อินเดีย (2.3%) 12. ฟิลิปปินส์ (2.0%) 13. เกาหลีใต้ (1.8%) 14. ไต้หวัน (1.7%)

2552 -0.2 9.2 -6.3 -2.4 -4.1 -2.7 -1.7 -0.8 4.5 1.3 5.3 7.0 1.1 0.2 -1.9

2553

2554

6.3 10.4 4.0 3.0 1.7 6.8 7.2 14.5 6.1 2.6 6.8 8.8 7.6 6.2 10.8

4.0 9.2 -0.7 1.7 1.5 5.0 5.1 4.9 6.5 2.2 5.9 7.1 3.7 3.6 4.0

2554

2555

Q1

Q2

Q3

Q4

Q1

ทั้งปี 2555 f

4.9 9.7 -0.2 2.2 2.4 7.6 5.2 9.1 6.4 1.2 5.4 8.0 4.9 4.2 6.6

3.7 9.5 -1.8 1.6 1.6 5.4 4.3 1.2 6.5 2.3 5.7 6.7 3.6 3.5 4.5

4.0 9.1 -0.5 1.5 1.3 4.4 5.8 6.0 6.5 2.5 6.1 6.7 3.2 3.6 3.4

3.5 8.9 -0.6 1.6 0.7 3.0 5.2 3.6 6.5 2.7 6.1 6.1 4.0 3.3 1.8

3.5 8.1 2.8 2.0 -0.1 0.4 4.7 1.6 6.3 4.3 4.1 5.3 6.4 2.8 0.4

3.8 7.9 2.2 2.2 -0.9 3.2 4.8 2.9 6.1 3.1 5.6 6.7 4.3 3.3 3.6

ที่มา : รวบรวมและประมาณการโดย สศค.

1.1 เศรษฐกิจจีน (ตลาดส่งออกใหญ่อนั ดับ 1 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.0 ของมูลค่าส่งออกสินค้า รวมปี 2554 จากร้อยละ 11.0 ปี 2553) ➥➥ เศรษฐกิจของจีนในไตรมาสแรกของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนอันเนื่องมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้าต่อสินค้าส่งออกของจีน โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของจีน ที่ท�ำให้การส่งออกของจีนในไตรมาสแรกขยายตัวเพียงร้อยละ 7.6 และการชะลอตัวของการลงทุน ภาคเอกชน ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวได้ดี เช่นเดียวกับเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศที่ดีโดยอัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปในไตรมาสแรกของปีนี้ปรับตัวลดลง โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

10


ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน (ร้อยละ)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2555 (เดือนเมษายน–พฤษภาคม 2555) เศรษฐกิจจีน

มี แ นวโน้ ม ขยายตั ว ดี ขึ้ น เล็ ก น้ อ ยจากไตรมาสก่ อ น จากการส่ ง ออกที่ เ ริ่ ม ขยายตั ว เร่ ง ขึ้ น หลั ง การชะลอจาก ผลกระทบวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป โดยมูลค่าการส่งออก (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสนี้ ขยายตัวเร่งขึน้ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น อย่างไรก็ตาม ภาคเศรษฐกิจในประเทศยังคงขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอ ลงต่อเนื่อง ทั้งภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยยอดค้าปลีกของจีนในเดือนเมษายน–พฤษภาคม 2555 ขยายตัว ชะลอลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2554 โดยขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีผู้จัดการ ฝ่ายจัดซื้อที่จัดท�ำโดย HSBC ในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ลดลงจากไตรมาสก่อน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 48.6 สะท้อนการหดตัวของ ภาคอุตสาหกรรม และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ขยายตัวในอัตราที่ต�่ำกว่าร้อยละ 10.0 เป็นครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ รัฐบาล จีนมีมาตรการในการกระตุน้ เศรษฐกิจอย่างต่อเนือ่ งด้วยการลดอัตราดอกเบีย้ เงินฝากและเงินกูร้ ะยะเวลา 1 ปี ในเดือนมิถนุ ายน 2555 เป็นครั้งแรกจากเดือนธันวาคม 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 และร้อยละ 6.31 ตามล�ำดับ และลดอัตราเงินสดส�ำรองตาม กฎหมาย (Required Reserve Ratio) ลงเป็นครั้งที่ 2 ในเดือนพฤษภาคม 2555 มาอยู่ที่ร้อยละ 19.5 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่าในเดือนเมษายน–พฤษภาคม 2555 เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 4 ไตรมาส อันเป็นผลมาจากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัว ลดลงอย่างต่อเนื่องจากมาตรการลดความเสี่ยงการเกิดภาวะฟองฟูในภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นส�ำคัญ ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวที่ร้อยละ 7.9 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.4–8.4 ชะลอ ลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.3 จากวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักของจีนที่เริ่มส่งผลกระทบต่อ การส่งออกและการลงทุนของจีน อีกทัง้ ทางการจีนปรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป้าหมายเป็นร้อยละ 7.5 จากร้อยละ 8.0 ในปี 2554 เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโดยลดขนาดภาคการส่งออกอันเป็นสาเหตุในการพึ่งพาอุปสงค์จากต่างประเทศ และ ให้ความส�ำคัญต่อภาคอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนทดแทน การปรับเป้าหมายดังกล่าวจะเป็นปัจจัยต่อ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปีนี้ 1.2 เศรษฐกิจญี่ปุ่น (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.5 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ ในไตรมาสแรกของปี 2555 เศรษฐกิ จ ญี่ ปุ ่ น ขยายตั ว เร่ ง ขึ้ น ร้ อ ยละ 2.8 จากช่ ว งเดี ย วกั น ของ ปีก่อน สาเหตุส�ำคัญจากภาคการส่งออกและการบริโภคเอกชนที่ขยายตัวเร่งขึ้น เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจ ญีป่ นุ่ ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมือ่ เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) นับเป็นไตรมาสแรกทีก่ ลับมาขยายตัวอีกครัง้ หลังจากวิกฤต แผ่นดินไหวและสึนามิ เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นทุกภาคส่วนกลับมาฟื้นตัวได้เป็นอย่างดี

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

11


ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่าอัตราการว่างงานในไตรมาสแรกของปี 2555 อยู่ทรี่ ะดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.5 ของ ก�ำลังแรงงานรวม ขณะทีอ่ ตั ราเงินเฟ้อทัว่ ไปในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 0.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ซึง่ ขยายตัว เร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้าทีห่ ดตัวร้อยละ -0.3 ทัง้ นี้ ธนาคารกลางญีป่ นุ่ ยังคงอัตราดอกเบีย้ นโยบายในระดับต�ำ่ ติดต่อกันเป็นปี ที่ 5 ทีช่ ว่ งร้อยละ 0.0-0.1 จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อทีอ่ ยูใ่ นระดับต�ำ่ และเพือ่ สนับสนุนการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศ

ภาพที่ 2 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในช่ ว ง 2 เดื อ นแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2555 (เดื อ นเมษายน–พฤษภาคม 2555) เศรษฐกิ จ

ญี่ปุ่นกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งหนึ่ง หลังจากหดตัวในทุกไตรมาสในปีก่อน พิจารณาจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาค อุตสาหกรรมในเดือนเมษายน–พฤษภาคม 2555 ปรับตัวสูงโดยเฉลี่ยที่ระดับ 50.7 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตเริ่มกลับมาขยายตัว อีกครั้ง ทางด้านอุปสงค์ภายในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัว บ่งชี้จากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ ยอดค้าปลีกในเดือนเมษายน–พฤษภาคม 2555 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผนวกกับอุปสงค์ ภายนอกประเทศที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างชัดเจน จากมูลค่าการส่งออกในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555 ขยายตัวโดยเฉลี่ย ที่ร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.7–2.7 ซึ่งขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.7 ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานต�่ำในปีก่อน ประกอบกับมาตรการฟื้นฟู เศรษฐกิจของภาครัฐโดยเฉพาะการฟื้นฟูทางด้านสาธารณูปโภคก่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งการลงทุนโดยภาครัฐและภาค เอกชน อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 นีค้ าดว่ายังคงเผชิญกับปัจจัยเสีย่ งจาก (1) สถานการณ์เงินเยนทีผ่ นั ผวน (2) วิกฤตหนีส้ าธารณะ ในกลุม่ ยูโรโซนทีย่ งั คงเป็นปัญหาอย่างต่อเนือ่ ง ส่งผลให้เศรษฐกิจยุโรปเริม่ เข้าสูภ่ าวะถดถอย และ (3) เศรษฐกิจจีนทีส่ ง่ สัญญาณ ชะลอตัว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นผ่านช่องทางการค้าเนื่องจากยุโรปและจีนเป็นคู่ค้าหลักของญี่ปุ่น 1.3 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 3 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.6 ของมูลค่า ส่งออกสินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาไตรมาสแรกของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน จากอุปสงค์ในประเทศเป็นส�ำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีกอ่ น เร่งขึน้ เล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 1.6 ในขณะทีก่ ารลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงทีร่ อ้ ยละ 8.8 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ณ ไตรมาสแรกของปี 2555 อัตราการ ว่างงานของสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงต่อเนือ่ ง ถึงแม้จะยังคงอยูใ่ นระดับร้อยละ 8.2 ของก�ำลังแรงงานรวม ซึง่ สูงกว่าระดับก่อน วิกฤตเศรษฐกิจทีป่ ระมาณร้อยละ 5.0 ขณะทีเ่ งินเฟ้อทัว่ ไปเฉลีย่ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.8 ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ทีอ่ ยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.3

12


ภาพที่ 3 แหล่งทีม่ าและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2555 (เดือนเมษายน–พฤษภาคม 2555) อุปสงค์ในประเทศ

ของสหรัฐอเมริกามีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีสัญญาณชะลอตัวลงบ้าง โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตร สหรัฐอเมริกา เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555 เพิม่ ขึน้ จากช่วงสิน้ ไตรมาสแรกของปี 2555 146,000 ต�ำแหน่ง และอัตราการว่าง งานลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.2 ของก�ำลังแรงงานรวม โดยมีแรงงานกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น เป็นสัญญาณ บวกว่าผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นในสภาพเศรษฐกิจ อีกทั้งยอดค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดจ�ำหน่ายรถยนต์ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555 มีค่าเฉลี่ยที่ 10.9 ล้านคันต่อปี ดีขึ้นมากจากค่าเฉลี่ยปี 2554 ที่ระดับ 9.9 ล้านคันต่อปี และยอดจ�ำหน่ายบ้าน (Existing Home Sales) ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ 4.2 ล้านหลังต่อปี หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.7–2.7 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยคาดว่าในปี 2555 เศรษฐกิจภายในของสหรัฐอเมริกาจะได้รับปัจจัย สนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่วนหนึ่งจากที่ในปีนี้สหรัฐอเมริกาจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือน พฤศจิกายน 2555 ซึง่ จะเป็นแรงจูงใจให้ภาครัฐบาลผลักดันมาตรการเพือ่ กระตุน้ เศรษฐกิจภายในประเทศเพิม่ เติม อีกทัง้ ธนาคาร กลางสหรัฐอเมริกาประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate) ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.0–0.25 จนถึงปี 2559 อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะยังคงเผชิญกับความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาได้ 1.4 เศรษฐกิจสหภาพยุโรป 17 ประเทศ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 4 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.4 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสแรกของปี 2555 หดตัวที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ ไม่มีการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%qoq_sa) จากวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มยูโรโซนเป็นส�ำคัญ ด้านเสถียรภาพ เศรษฐกิจพบว่าอัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยไตรมาสแรกของปี 2555 นี้อยู่ในระดับที่สูงถึงร้อยละ 10.9 ของก�ำลังแรงงานรวม ด้านเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.9 จากราคาน�้ำมันใน ตลาดโลกเริ่มปรับตัวลดลง ผนวกกับธนาคารกลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 1.0 เป็นส�ำคัญ

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

13


ภาพที่ 4 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2555 (เดือนเมษายน–พฤษภาคม 2555) เศรษฐกิจยูโรโซนเริ่ม

เข้าสู่ภาวะชะลอตัว สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคการผลิตและดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคบริการในช่วงเดือนเมษายน– พฤษภาคม 2555 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ 45.5 และระดับ 46.8 ตามล�ำดับ บ่งชี้สัญญาณหดตัวในภาคการผลิตและภาคบริการใน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ด้านเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงเดือนเมษายน–พฤษภาคม 2555 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 2.5 ลดลงเล็กน้อย จากค่าเฉลี่ยของไตรมาสแรกของปี 2555 แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 2.0 อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคใน เดือนเมษายน–พฤษภาคม 2555 อยูท่ รี่ ะดับเฉลีย่ ที่ -19.8 เพิม่ ขึน้ เล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าทีอ่ ยูท่ รี่ ะดับเฉลีย่ ที่ -20.1 สะท้อน จากอุปสงค์ในประเทศทีเ่ ริม่ กลับมาขยายตัวได้เล็กน้อยในเดือนมีนาคม 2555 ผ่านมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจของธนาคารกลาง ยุโรป ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจยูโรโซนโดยรวมที่มีทิศทางถดถอยชัดเจน ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนจะหดตัวที่ร้อยละ -0.9 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ -1.4 ถึง -0.4 ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 โดยในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนจะยังคง เผชิญกับความเสีย่ งจากวิกฤตหนีส้ าธารณะในประเทศในกลุม่ GIIPS ทีอ่ าจลุกลามไปยังกลุม่ เศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจ เยอรมนีและฝรั่งเศสที่เริ่มมีสัญญาณชะลอลงชัดเจน นอกจากนี้ ยุโรปยังเผชิญความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่องของธนาคาร โดยเฉพาะล่าสุดสเปนและไซปรัสที่ก�ำลังประสบปัญหาดังกล่าว และได้รับอนุมัติเงินช่วยเหลือจากธนาคารกลางยุโรปเพื่อแก้ ปัญหาระบบธนาคารของประเทศดังกล่าวโดยตรง ซึ่งอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นและภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยุโรปปี 2555 1.5 เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.9 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์) ในปี 2554 ส่วนใหญ่ขยายตัวชะลอลงจากปีกอ่ น ยกเว้นฟิลปิ ปินส์ โดยการชะลอตัวทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มาจากวิกฤตหนีส้ าธารณะของ สหภาพยุโรปทีส่ ง่ ผลกระทบต่อภาคการค้าระหว่างประเทศและภาคการเงินทัง้ ทางตรงและทางอ้อมผ่านจีน โดยมูลค่าการส่งออก ซึ่งเป็นสัดส่วนส�ำคัญของประเทศในอาเซียนชะลอตัวลง มาจากการหดตัวในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นส�ำคัญ สอดคล้อง กับภาคการผลิตที่ส่งสัญญาณชะลอตัวตามการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผลผลิต ภาคอุตสาหกรรมทีข่ ยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน ขณะทีภ่ าคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ตอ่ เนือ่ ง ด้านเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการส่งออกไปยังญี่ปุ่นที่ขยายตัวเร่งขึ้นมากเป็นส�ำคัญ ด้านเสถียรภาพภายในประเทศของประเทศกลุม่ อาเซียนไตรมาสแรกของปี 2555 พบว่า อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลีย่ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน อันมีสาเหตุมาจากราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้ต้นทุน การขนส่งสินค้าและการคมนาคมลดลงตามไปด้วย ท�ำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง ธนาคารกลางของประเทศในกลุม่ อาเซียน ส่วนใหญ่จึงให้ความส�ำคัญต่อการชะลอตัวให้ด้านการส่งออกเพิ่มขึ้น ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงท้ายของไตรมาส

14


ตารางที่ 2 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกปี 2554) อัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 2555 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy)

การบริโภคภาคเอกชน การบริโภคภาครัฐ การลงทุนรวม การส่งออกสุทธิ การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง

มาเลเซีย (5.4%) สิงคโปร์ (5.0%) อินโดนีเซีย (4.4%) เวียดนาม (3.1%) ฟิลิปปินส์ (2.0%) 5.1

1.6

6.3

4.1

6.4

n/a n/a n/a n/a n/a

1.5 -0.5 4.0 -4.4 1.0

2.8 0.4 2.3 0.7 0.2

n/a n/a n/a n/a n/a

4.6 2.3 0.6 5.2 -8.0

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 5 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 6 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ เศรษฐกิ จ ของกลุ ่ ม ประเทศอาเซี ย น 5 ประเทศในช่ ว ง 2 เดื อ นแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2555

มีแนวโน้มทีด่ ขี นึ้ เล็กน้อย แต่ยงั คงส่งสัญญาณการชะลอตัวต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อน อันเนือ่ งมาจากการส่งออกไปยังจีน ซึ่งเป็นคู่ค้าส�ำคัญของประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เพิ่มปริมาณการน�ำเข้ามากขึ้นในช่วงนี้ โดยมูลค่าการส่งออกใน 2 เดือนแรกของ ไตรมาสนี้ขยายตัวเร่งขึ้นในระดับต�่ำ จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปที่ขยายวงกว้าง สู่ภูมิภาคเอเชีย ท�ำให้การส่งออกไปยังสหภาพยุโรปขยายตัวชะลอลง อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกฟิลิปปินส์ปรับมาขยายตัว อีกครั้งจากการหดตัวในไตรมาสก่อน ขณะที่ภาคการผลิตมีสัญญาณชะลอตัวตามการส่งออก สะท้อนจากดัชนีผลผลิต ภาคอุตสาหกรรมของประเทศในอาเซียนโดยรวมในช่วงเดือนเมษายน–พฤษภาคม 2555 ที่ขยายตัวในระดับต�่ำเมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน โดยมีการหดตัวของการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ซงึ่ เป็นสินค้าส่งออกส�ำคัญ มีสดั ส่วนต่อการส่งออกรวมใน ระดับสูงเป็นหนึ่งในปัจจัยส�ำคัญของการชะลอตัวในภาคการผลิต อันเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ท�ำให้อุปสงค์ จากภายนอกประเทศลดลง ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุม ่ อาเซียนโดยรวมจะขยายตัวชะลอจากปี 2554 โดย สศค. คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.7 ในปี 2555 จากการขยายตัวชะลอลงจาก ปีก่อนที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.2 จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งมีที่มาจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป ท�ำให้ธนาคาร กลางของประเทศในกลุ่มอาเซียนส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ให้เป็นปัจจัยส�ำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจทดแทนภาคการส่งออก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน จะได้ปัจจัยสนับสนุนจากปัจจัยฐานที่อยู่ในระดับต�่ำของปี 2554

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

15


1.6 เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลีย (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.2 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย (ฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน) และออสเตรเลีย ในปี 2555 ขยายตัวชะลอลง จากการชะลอลงของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้ภาคการส่งออกปรับตัวลดลง ผนวกกับมูลค่าการ น�ำเข้าได้ขยายตัวเร่งขึน้ จากราคาสินค้าน�ำเข้าทีป่ รับตัวสูงขึน้ ตามการปรับตัวเพิม่ ขึน้ ของราคาน�ำ้ มันในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศที่ยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องทั้งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจของกลุ่ม ประเทศดังกล่าวยังคงขยายตัวได้ ด้านเสถียรภาพภายในประเทศพบว่าจากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัว เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2555 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศอินเดียที่ ประสบปัญหาแรงกดดันจากเงินเฟ้อค่อนข้างรุนแรง ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและพลังงานที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ตารางที่ 3 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกปี 2554) อัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 2555 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy)

การบริโภคภาคเอกชน การบริโภคภาครัฐ การลงทุนรวม การส่งออกสุทธิ การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง

ฮ่องกง (7.2%) ออสเตรเลีย (4.0%) อินเดีย (2.3% ) เกาหลีใต้ (2.0%) ไต้หวัน (1.7%) 0.4

4.3

5.3

2.8

0.4

3.5 0.2 2.3 -3.7 -1.9

2.4 0.2 2.4 -1.5 0.8

4.0 0.5 1.2 4.4 -4.8

0.8 0.7 1.0 0.5 -0.2

1.0 0.3 -1.9 1.6 -0.6

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 7 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 8 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ เศรษฐกิจประเทศคูค ่ า้ อืน่ ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ชะลอลง

โดยเฉพาะในส่วนของภาคการส่งออก สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555 ทีข่ ยายตัวชะลอลงต่อเนือ่ ง และเริม่ มีการหดตัวในบางประเทศ อาทิ ไต้หวัน อินเดีย และเกาหลีใต้ จากการชะลอลงของเศรษฐกิจคูค่ า้ หลัก โดยเฉพาะยูโรโซน ที่ยังคงประสบปัญหาหนี้สาธารณะเรื้อรัง สอดคล้องกับภาคการผลิตที่ชะลอลงต่อเนื่อง สะท้อนได้จากผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ที่ขยายตัวในระดับต�่ำและหดตัวในบางประเทศ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการปรับตัว ลดลงของการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นส�ำคัญ (ภาพที่ 7 และภาพที่ 8)

16


➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคูค ่ า้ อืน่ ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในภาพรวม

จะขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากปี 2554 ส่วนหนึ่งจากสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปที่คาดว่าจะเรื้อรังต่อเนื่อง ผนวกกับเศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณชะลอลง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ภายในประเทศของกลุ่มประเทศดังกล่าวที่คาดว่าจะยังคง ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าวในปี 2555

2. ราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลก “ในปี 2555 คาดว่าราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 113.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 108.0118.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่อยู่ที่ระดับ 105.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยเป็นผลจาก อุปสงค์น�้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ Non-OECD เป็นส�ำคัญ โดยเฉพาะ กลุ่มประเทศเอเชีย ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา รวมถึงเหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างประเทศอิหร่านและ ชาติตะวันตกบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งจะส่งผลต่อการขนส่งน�้ำมันของโลก ท�ำให้ราคาน�้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วในช่วงไตรมาสที่ 1 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ส�ำคัญคือ ปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่ม สหภาพยุโรปที่อาจส่งผลต่ออุปสงค์น�้ำมันของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ขณะที่อุปทานน�้ำมันดิบโลกจะตึงตัวขึ้น เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปออกมาตรการคว�่ำบาตรการน�ำเข้าน�้ำมันดิบจากอิหร่าน ที่มีผล บังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2555” ภาพที่ 9 สมมติฐานราคาน�ำ้ มันดิบดูไบ ในปี 2555

ที่มา : Reuters

➥➥ ราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปี 2555 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 113.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

จากปี 2554 ที่อยู่ ณ ระดับ 105.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จากปีก่อน โดยในช่วงไตรมาส แรกของปี 2555 ราคาน�้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปลายปี 2554 ซึ่งมีสาเหตุจากเหตุการณ์ความตึงเครียด ระหว่างประเทศอิหร่านและชาติตะวันตกบริเวณช่องแคบฮอร์มซุ ขณะทีใ่ นช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ราคาน�ำ้ มันดิบดูไบปรับตัว ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจากความกังวลปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป และการชะลอตัวลง ของเศรษฐกิจจีนทีส่ ง่ ผลต่ออุปสงค์นำ�้ มันดิบของโลก โดยราคาน�ำ้ มันดิบดูไบปรับตัวลดลงจาก 117.7 ดอลลาร์ตอ่ บาร์เรล ในเดือน เมษายน 2555 มาอยู่ที่ 94.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในเดือนมิถุนายน 2555 คิดเป็นการปรับตัวลดลงกว่าร้อยละ -19.7 ในเวลา 3 เดือน ทัง้ นี้ คาดว่าในช่วงครึง่ หลังของปี 2555 ราคาน�ำ้ มันจะปรับตัวสูงขึน้ เนือ่ งจากอยูใ่ นช่วงเทศกาลท่องเทีย่ วของสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการเข้าสู่ฤดูหนาวท�ำให้มีอุปสงค์การใช้น�้ำมันดิบเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในการท�ำความอบอุ่น ประมาณการเศรษฐกิจไทย

17


➥➥ ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาน�้ำมันดิบดูไบ ในปี 2555 คือ (1) การขยายตัวของอุปสงค์ความต้องการ

น�้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของกลุ่มประเทศ Non-OECD เป็นส�ำคัญ รวมถึงแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ของสหรัฐอเมริกา และการลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์ของประเทศญีป่ นุ่ ส่งผลให้ความต้องการน�ำ้ มันดิบในการใช้เป็น แหล่งพลังงานเพิม่ สูงขึน้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการน�ำ้ มันดิบของกลุม่ ประเทศยุโรปจะลดลงเนือ่ งจากปัญหา หนี้สาธารณะยุโรป ขณะที่ (2) อุปทานน�้ำมันดิบโลกจะขยายตัวได้ในกรอบที่จ�ำกัด เนื่องจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป ออกมาตรการคว�่ำบาตรการน�ำเข้าน�้ำมันดิบจากอิหร่าน ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 1) อุปสงค์น�้ำมันดิบเพิ่มขึ้น International Energy Agency (IEA) คาดว่าในปี 2555 ความต้องการน�้ำมันดิบทั่วโลก จะอยูท่ ี่ 89.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2554 ทีอ่ ยูท่ รี่ ะดับ 89.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึง่ เป็นการปรับตัวเพิม่ ขึน้ 0.8 ล้านบาร์เรล ต่อวัน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากความต้องการของประเทศนอกกลุ่ม OECD เป็นส�ำคัญ • ประเทศในกลุ่ม OECD คาดว่าในปี 2555 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 45.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2554 ที่อยู่ที่ระดับ 45.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการปรับตัวลดลง 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือหดตัวร้อยละ -0.9 ต่อปี เนื่องจากการลดลงของความต้องการใช้น�้ำมันดิบในกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นส�ำคัญ อันเป็นผลจากวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป โดยคาดว่าเศรษฐกิจของยุโรปจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2555 ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีความต้องการน�้ำมันดิบเพิ่มขึ้น เพื่อน�ำไป เป็นแหล่งพลังงานทดแทนพลังงานนิวเคลียร์ที่เสียหายจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อกลางปีก่อนหน้า • ในขณะที่ประเทศนอกกลุ่ม OECD คาดว่าในปี 2555 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 44.7 ล้านบาร์เรล ต่อวัน เทียบกับปี 2554 ที่อยู่ที่ 43.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี โดยมีสาเหตุส�ำคัญจากความต้องการน�้ำมันของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Country) โดยเฉพาะประเทศจีน อินเดีย บราซิล รัสเซีย และประเทศในกลุ่มอาเซียนบางประเทศ 2) อุปทานน�ำ้ มันดิบโลกทีเ่ พิม่ ขึน้ คาดว่าในปี 2555 ปริมาณน�ำ้ มันทีผ่ ลิตทัว่ โลกจะอยูท่ ี่ 91.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับ ปี 2554 ทีอ่ ยูท่ ี่ 88.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิม่ ขึน้ 3.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 3.5 จากปีกอ่ นหน้า ➥➥ ในกลุ่ม OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตน�้ำมันดิบในปี 2555 จะอยู่ที่ 38.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2554 ที่อยู่ที่ระดับ 35.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 6.7 โดยการผลิตเพิ่มขึ้น หลักมาจากประเทศซาอุดีอาระเบีย ทั้งนี้ อุปทานน�้ำมันดิบของโลกมีปัจจัยเสี่ยง คือ เหตุการณ์ที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปออก มาตรการคว�่ำบาตรการน�ำเข้าน�้ำมันดิบจากอิหร่าน มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 โดยอิหร่านได้ตอบโต้ด้วยการขู่ปิด ช่องแคบฮอร์มุซ ➥➥ ส่วนในกลุม่ Non-OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตในปี 2555 อยูท่ รี่ ะดับ 53.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2554 ทีอ่ ยูท่ ี่ 52.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิม่ ขึน้ 0.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี เนือ่ งจากการผลิตทีเ่ พิม่ ขึน้ จากกลุม่ ประเทศลาตินอเมริกา รัสเซีย และจีน เป็นส�ำคัญ

3. ราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2555 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะเพิม่ ขึน้ ในอัตราชะลอลงทีร่ อ้ ยละ 3.8 เมือ่ เทียบกับปีกอ่ น (ช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 3.3-4.3) เนือ่ งจากราคาส่งออกสินค้าเกษตรโดยเฉพาะราคายางพาราทีล่ ดลงในช่วงครึง่ ปีแรก ตามอุปสงค์ทลี่ ดลง จากประเทศจีนและกลุม่ สหภาพยุโรป ประกอบกับผลจากปัจจัยฐานสูงในปีกอ่ นจะท�ำให้ราคาส่งออกในปี 2555 เพิม่ ขึน้ ใน อัตราชะลอลง อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าอุตสาหกรรมยังปรับตัวดีขนึ้ ตามการเพิม่ ขึน้ ของอุปสงค์สนิ ค้าอุตสาหกรรม หลังภาค การผลิตสามารถกลับมาผลิตได้ปกติในระดับใกล้เคียงก่อนวิกฤตมหาอุทกภัย ขณะทีร่ าคาสินค้าน�ำเข้าจะเพิม่ ขึน้ ในอัตรา ทีช่ ะลอลงมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 4.3 เมือ่ เทียบกับปี 2554 (ช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 3.8-4.8) สาเหตุหลักจากราคาสินค้าประเภท เชือ้ เพลิงมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ ในอัตราทีช่ ะลอลงจากปี 2554 โดยราคาน�ำ้ มันดิบโลกจะเพิม่ ขึน้ ในอัตราทีช่ ะลอลงจากปีกอ่ นหน้า ซึง่ เป็นผลจากอุปสงค์ทชี่ ะลอตัวลงในหลายประเทศจากความกังวลด้านวิกฤตหนีส้ าธารณะยุโรป

18


ภาพที่ 10 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2555 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออก (รูปดอลลาร์สหรัฐ)

อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และ สศค.

3.1 ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าส่งออกในปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.3-4.3) ชะลอ ลงเมื่อเทียบกับปี 2554 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 12.9 และ ร้อยละ 7.6 ตามล�ำดับ มีการลดลง โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 ลดลงที่ร้อยละ –4.6 และร้อยละ -1.4 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน จากราคายางพาราและราคาน�้ำตาลทรายที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะราคายางพารานั้นมีแนวโน้มปรับตัว ลดลง โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 ลดลงที่ร้อยละ -30.2 อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะ ประเทศจีน และผลจากปัจจัยฐานสูงของราคายางพาราในปีกอ่ น ในทางกลับกันราคาสินค้าเกษตรบางประเภท เช่น ข้าวและสินค้า หมวดทีใ่ ช้แรงงานเข้มข้นมีแนวโน้มเพิม่ สูงขึน้ ซึง่ เป็นผลจากมาตรการรับจ�ำน�ำราคาข้าวและนโยบายขึน้ ค่าแรงขัน้ ต�ำ่ ของรัฐบาล อย่างไรก็ดี คาดว่าในปี 2555 ราคาสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 73.4 ของดัชนีราคารวมใน ปี 2554 จะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมหลังเหตุการณ์มหาอุทกภัย โดยราคาสินค้าอุตสาหกรรมในช่วง 5 เดือน แรกของปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับสินค้าแร่และเชื้อเพลิงที่คาดว่าจะขยายตัว ในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อนหน้าตามแนวโน้มราคาน�้ำมันดิบ โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 ราคาสินค้าแร่และเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.9 3.2 ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าน�ำเข้าในปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.8-4.8) ชะลอ ลงเมื่อเทียบกับปี 2554 ที่อยู่ที่ร้อยละ 10.1 เนื่องจากคาดว่าราคาสินค้าประเภทเชื้อเพลิงซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 19.1 ของดัชนีราคา รวมเพิม่ ขึน้ ในอัตราทีช่ ะลอลงจากปีกอ่ น โดยราคาน�ำ้ มันดิบโลกมีการปรับตัวเพิม่ ขึน้ ในช่วงไตรมาสแรกจากอุปสงค์ทเี่ พิม่ ขึน้ จาก ประเทศจีนและประเทศอินเดีย รวมถึงเหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส ที่ 2 ราคาน�้ำมันดิบมีการปรับตัวลดลงจากความกังวลปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป จึงท�ำให้ราคาน�้ำมันเฉลี่ยในช่วง 5 เดือนแรก ของปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ คาดว่าราคาสินค้าประเภทวัตถุดิบซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 43.0 ของดัชนีรวม จะเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอ ลงจากปีกอ่ น ตามการขยายตัวของภาคการส่งออกทีช่ ะลอลง เนือ่ งจากสินค้าน�ำเข้าประเภทวัตถุดบิ ส่วนใหญ่นำ� มาเพือ่ ผลิตเป็น สินค้าส่งออก โดยในช่วง 5 เดือนแรก ราคาสินค้าประเภทวัตถุดบิ และกึง่ ส�ำเร็จรูปเพิม่ ขึน้ ทีร่ อ้ ยละ 3.4 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ส่วนราคาสินค้าทุนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 24.9 ของดัชนีรวม คาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก แนวโน้มการน�ำเข้าสินค้าทุนเพื่อทดแทนเครื่องจักรที่เสียหายจากเหตุการณ์มหาอุทกภัย โดยในช่วง 5 เดือนแรก ราคาสินค้าทุน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประมาณการเศรษฐกิจไทย

19


4. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ “ในปี 2555 ค่าเงินบาทเฉลี่ยมีทิศทางอ่อนค่าลง จากค่าเฉลี่ยในปี 2554 ที่ 30.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 31.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือในช่วงคาดการณ์ระหว่าง 30.25–32.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 11)” ภาพที่ 11 สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยในปี 2554 และปี 2555

ที่มา : Reuters

4.1 สถานการณ์ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา หากพิจารณาทิศทางความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐปัจจุบันเทียบกับต้นปี 2555 แล้ว จะพบว่าค่าเงินบาทอ่อนค่าลงร้อยละ 1.13 (ภาพที่ 12) เนือ่ งจากดัชนีคา่ เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึน้ มาก อีกทัง้ มีเงินทุนไหล ออกจากตลาดทุนไทย โดยเฉพาะจากตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555 ซึ่งมีสาเหตุส�ำคัญจากความไม่ แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจในยุโรป โดยเฉพาะการเลือกตัง้ ในกรีซครัง้ แรกของปี 2555 เมือ่ วันที่ 6 พฤษภาคม 2555 ทีไ่ ม่มี พรรคทีไ่ ด้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดท�ำให้กรีซไม่สามารถจัดตัง้ รัฐบาลได้ และแสดงสัญญาณความเสีย่ งว่ากรีซอาจต้องออก จากยูโรโซน อีกทัง้ ภาคธนาคารของสเปนจ�ำเป็นต้องขอเข้ารับความช่วยเหลือเพิม่ ทุนจากสหภาพยุโรป และมีความเสีย่ งว่าอิตาลี อาจต้องขอรับความช่วยเหลือเป็นประเทศที่ 6 ต่อจากกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน และไซปรัส ท�ำให้นักลงทุนหันมาลงทุนใน สินทรัพย์ปลอดภัย โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและเทขายสินทรัพย์ในภูมิภาคซึ่งจัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง สูงกว่า อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งใหม่ของกรีซเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2555 มีผลที่ออกมาชัดเจนท�ำให้กรีซสามารถจัดตั้งรัฐบาล ผสมได้ส�ำเร็จ ท�ำให้นักลงทุนบางส่วนกลับมาซื้อสินทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียส่งผลให้ค่าเงินบาทไม่อ่อนค่าไปมากกว่านี้ ภาพที่ 12 อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐรายวัน

ที่มา : CEIC / สศค.

20


ทั้งนี้ ดุลบัญชีการช�ำระเงิน (Balance of Payments) ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 ที่ขาดดุลสะสม -1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 13) เป็นอีกปัจจัยที่ท�ำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา

ภาพที่ 13 ดุลการช�ำระเงินของประเทศไทย ปี 2554-2555

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

4.2 แนวโน้มของค่าเงินบาทในระยะถัดไป ในปี 2555 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สหรัฐจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 31.25 บาทต่อ ดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ระดับ 30.25–32.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) จากปัจจัยหลักคือ ดุลบัญชีเดิน สะพัดของไทยในปี 2555 ที่คาดว่าจะขาดดุลเล็กน้อย เนื่องจากการน�ำเข้าที่ขยายตัวเร่งขึ้นมากตามความต้องการสินค้า หมวดเครือ่ งจักรเพือ่ ทดแทนเครือ่ งจักรทีเ่ สียหายจากอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ในขณะทีก่ ารส่งออกและภาคการท่องเทีย่ ว ขยายตัวชะลอลง เนือ่ งจากเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชะลอตัวลงจากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในกลุม่ ยูโรโซนและการชะลอ การขยายตัวของเศรษฐกิจจีน ที่อาจส่งผลกระทบในวงกว้างต่อไปยังเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก รวมไปถึงอาจลุกลามไปยังภาคการธนาคารของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย อีกทั้งเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ยังคง ฟื้นตัวไม่เต็มที่ ปัจจัยเหล่านี้จะท�ำให้การส่งออกของไทยขยายตัวในอัตราที่น้อยกว่าการน�ำเข้า นอกจากนี้ ดุลเงินทุนของไทยในระยะต่อไปคาดว่าจะยังคงมีความผันผวนสูง อันเป็นผลจากมาตรการการ ให้ความช่วยเหลือประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่ประสบปัญหา ท�ำให้นักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับภาพรวมของเศรษฐกิจโลก รวมทัง้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองจากก�ำหนดการเลือกตัง้ ของประเทศมหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจ อาทิ สหรัฐอเมริกาและเยอรมนี รวมทั้งท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาที่ยังคงจุดยืนว่าจะยังไม่ท�ำมาตรการทางเงินแบบผ่อนคลายครั้งที่ 3 (Quantitative Easing 3 : QE3) มีเพียงการขยายเวลาการด�ำเนินมาตรการแทรกแซงในตลาดพันธบัตร (Operation Twist) ไปจนถึงสิ้นปี 2557 ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ค่าเงินบาทตลอดจนค่าเงินในภูมิภาคอื่น ๆ มีความผันผวนตามไปด้วย

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

21


5. อัตราดอกเบี้ยนโยบาย “สศค.คาดการณ์วา่ ในปี 2555 อัตราดอกเบีย้ นโยบายจะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.00 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ 2.50–3.50 ต่อปี)” ➥➥ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ดำ� เนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

ต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 จากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอลงชัดเจน โดยเฉพาะจากปัญหาวิกฤตหนี้ สาธารณะในยูโรโซนที่ยังคงเรื้อรังต่อเนื่อง ผนวกกับเศรษฐกิจจีนที่เริ่มส่งสัญญาณการขยายตัวชะลอลง (Soft Landing) ขณะที่ แรงกดดันจากเงินเฟ้อในปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ตามราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ในเดือนมิถุนายน 2555 กนง.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 ที่ร้อยละ 3.00 ภาพที่ 14 อัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน

ทีม่ า : กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มอยู่ที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 2.50-

3.50 ต่อปี) โดยคาดว่าความเสีย่ งทีเ่ พิม่ ขึน้ จากวิกฤตหนีส้ าธารณะในยูโรโซนอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยใน ช่วงครึ่งหลังของปี 2555 จึงส่งผลให้คาดว่า กนง.อาจจ�ำเป็นต้องด�ำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ภายในประเทศที่คาดว่าจะฟื้นตัวเต็มที่จากอุทกภัยในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 ส่งผลให้คาดว่าแรงกดดัน จากเงินเฟ้ออาจสูงขึน้ ในช่วงปลายปี 2555 ซึง่ อาจส่งผลให้ กนง.กลับมาด�ำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวมากขึน้ ในช่วงดังกล่าว ภาพที่ 15 สมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ประมวลผลโดย สศค.

22


6. รายจ่ายภาคสาธารณะประจ�ำปีงบประมาณ 2555

“ปีงบประมาณ 2555 รายจ่ายภาคสาธารณะ (ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล (2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วน ท้องถิน่ (อปท.) และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ) คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้จำ� นวน 2,946,323 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มจากปีงบประมาณ 2554 ซึ่งมีรายจ่ายภาคสาธารณะจ�ำนวน 2,769,757 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 176,566 ล้านบาท ส�ำหรับปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายภาคสาธารณะคาด ว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 3,136,971 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน” 6.1 กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลตั้งกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2,380,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการ ด�ำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล -400,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 3.4 ของ GDP1 ภายใต้ประมาณการจัดเก็บ รายได้รัฐบาลเท่ากับ 1,980,000 ล้านบาท โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 1,855,841 ล้านบาท (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 53,918 ล้านบาท (3) รายจ่ายลงทุน 423,387 ล้านบาท และ (4) รายจ่ายช�ำระคืน ต้นเงินกู้ 46,854 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีการออกพระราชก�ำหนด (พ.ร.ก.) ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหาร จัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินกู้ 350,000 ล้านบาท ส�ำหรับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2556 มีจ�ำนวน 2,400,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการด�ำเนิน นโยบายงบประมาณแบบขาดดุล -300,000 ล้านบาท หรือขาดดุลร้อยละ 2.4 ของ GDP 2 ภายใต้ประมาณการจัดเก็บ รายได้รัฐบาลเท่ากับ 1,980,000 ล้านบาท โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 1,884,000 ล้านบาท (2) รายจ่ายลงทุน 467,000 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ 48,600 ล้านบาท ตารางที่ 4 กรอบโครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 และ 2556 ปีงบประมาณ 1. วงเงินงบประมาณ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราเพิ่ม) 1.1 รายจ่ายประจ�ำ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.2 รายจ่ายลงทุน (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.3 รายจ่ายช�ำระต้นเงินกู้ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 2. ประมาณการรายได้ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราขยายตัว) 3. การขาดดุล/เกินดุล (สัดส่วนต่อ GDP) 4. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (GDP) เบื้องต้น

2555 2,380,000.0 20.6 9.7 1,840,672.6 77.4 10.4 438,555.4 18.4 23.4 46,854.0 2.0 43.9 1,980,000.0 17.1 11.9 (400,000.0) (3.5) 11,572,300.0

2556 2,400,000.0 19.1 0.8 1,901,911.7 79.2 3.3 448,938.8 18.7 2.4 49,149.5 2.1 4.9 2,400,000.0 16.7 6.1 (300,000.0) (2.6) 12,544,000.0

ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2555 11,572,300 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2556 12,544,000 ล้านบาท

1 2

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

23


ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2555 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 2,394,273 ล้านบาท ภายใต้ สมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 93.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2,380,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่าย ประจ�ำ 1,908,429 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 304,895 ล้านบาท โดยตัง้ เป้าอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนไม่นอ้ ย กว่าร้อยละ 72.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน และรายจ่ายเหลือ่ มปี 141,398 ล้านบาท ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2556 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 2,555,933 ล้านบาท ภายใต้สมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 93.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2,400,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำ 1,895,693 ล้านบาท รายจ่ายลงทุน 336,240 ล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปี 154,000 ล้านบาท นอกจากนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ 2555 คาดว่าจะ มีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 19,551 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.6 ของกรอบเงินลงทุนโครงการไทยเข้มแข็ง 349,960 ล้านบาท (โดยการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนกันยายน 2552 ถึง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 312,011 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 89.2 ของกรอบวงเงินทีไ่ ด้รบั อนุมตั ิ 349,960 ล้านบาท) นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะมี การใช้จา่ ยภายใต้พระราชก�ำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำ� นาจกระทรวงการคลังกูเ้ งินเพือ่ การวางระบบบริหารจัดการน�ำ้ และสร้างอนาคต ประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 350,000 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ได้มีการอนุมัติกรอบ งบประมาณจ�ำนวน 24,828.82 ล้านบาท เพื่อน�ำไปแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน ส�ำหรับ 246 โครงการ ให้สามารถด�ำเนิน การบริหารจัดการน�ำ้ และอุทกภัยเพือ่ เตรียมความพร้อมรับมือก่อนถึงฤดูฝนปี 2555 โดยยึดหลักการระบายน�ำ้ จากต้นน�ำ้ สูป่ ลาย น�ำ้ ให้สามารถระบายน�ำ้ ได้มากทีส่ ดุ และป้องกันพืน้ ทีเ่ ศรษฐกิจและชุมชนได้ทงั้ ฝัง่ ตะวันออกและฝัง่ ตะวันตกของแม่นำ�้ เจ้าพระยา โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2555 จะมีการเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 20,000 ล้านบาท ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะมี การเบิกจ่ายจ�ำนวน 170,000 ล้านบาท

ตารางที่ 5 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลกลางปีงบประมาณ 2555 และ 2556 กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ 1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3)+(4) รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน (3) รายจ่ายเพิ่มเติม (งบกลางปี) (4) รายจ่ายเหลื่อมปี 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)

24

ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2555 2554 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 55

(หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ 2556 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 55

2,169,968 94.5% 2,239,257 2,177,895 2,050,540 1,786,982 263,558 92,640 127,355

2,380,000 93.0% 2,394,273 2,354,722 2,213,324 1,908,429 304,895 - 141,398

2,400,000 93.0% 2,555,933 2,385,933 2,231,933 1,895,693 336,240 154,000

61,362 61,362 -

39,551 19,551

170,000 -

20,000

170,000


6.2 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น 285,862 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพื่อการใช้จ่ายงบประมาณใน การพัฒนาท้องถิน่ ทีป่ รับตัวสูงขึน้ ตามการฟืน้ ตัวของภาวะเศรษฐกิจของประเทศ สะท้อนได้จากการเบิกจ่ายของท้องถิน่ ในช่วงครึง่ ปีแรกของปีงบประมาณ 2555 สามารถเบิกจ่ายได้ 124,827 ล้านบาท ส�ำหรับปีงบประมาณ 2556 การเบิกจ่ายรายจ่ายองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 279,394 ล้านบาท

ตารางที่ 6 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2555 และ 2556

(หน่วย : ล้านบาท)

รายจ่ายท้องถิ่น

ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2555 2554 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 55 274,385

ปีงบประมาณ 2556 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 55

285,862

301,644

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

6.3 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ งบประมาณลงทุนประจ�ำปี 2555 ของรัฐวิสาหกิจที่พร้อมด�ำเนินการมีจ�ำนวน 365,156 ล้านบาท สามารถแบ่งออก ได้ดงั นี้ (1) รัฐวิสาหกิจทีใ่ ช้ปงี บประมาณ (เริม่ ด�ำเนินการวันที่ 1 ตุลาคม 2554–30 กันยายน 2555) มีงบลงทุนทีพ่ ร้อมด�ำเนินการ จ�ำนวน 128,125 ล้านบาท และ (2) รัฐวิสาหกิจที่ใช้ปีปฏิทิน (เริ่มด�ำเนินการวันที่ 1 มกราคม 2555–ธันวาคม 2555) มีงบลงทุน อนุมัติที่พร้อมด�ำเนินการ 237,031 พันล้านบาท ทัง้ นี้ คาดว่าทัง้ ปีงบประมาณ 2555 รัฐวิสาหกิจจะสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ประมาณร้อยละ 75 ของกรอบวงเงิน ลงทุนรัฐวิสาหกิจ หรือหากคิดเป็นระบบบัญชีรายได้ประชาชาติ (SNA) คาดว่าจะเบิกจ่ายลงทุนได้จ�ำนวน 266,189 ล้านบาท สะท้อนได้จากในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 แล้วจ�ำนวน 137,390 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.2 ของงบลงทุน อนุมัติ ส�ำหรับปีงบประมาณ 2556 การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 279,394 ล้านบาท

ตารางที่ 7 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2555 และ 2556 (ระบบบัญชีประชาชาติ (SNA)) รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ

ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2555 2554 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 55 256,114

266,189

(หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ 2556 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 55 279,394

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

25


6.4 สรุปรวมรายจ่ายภาคสาธารณะ จากสมมติ ฐ านการใช้ จ ่ า ยของรั ฐ บาล องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และการลงทุ น ของรั ฐ วิ ส าหกิ จ ในปีงบประมาณ 2555 ดังกล่าว ท�ำให้คาดว่าในปีงบประมาณ 2555 รายจ่ายภาคสาธารณะสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ 2,946,323 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล 2,394,273 ล้านบาท รายจ่ายจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 19,551 ล้านบาท และรายจ่ายจาก พ.ร.ก.ให้อำ� นาจกระทรวงการคลังกูเ้ งินเพือ่ ใช้จา่ ยบริหารจัดการน�ำ้ ทีค่ าดว่าจะมีการเบิกจ่ายได้ 20,000 ล้านบาท (2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 285,862 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 266,189 ล้านบาท ส�ำหรับปีงบประมาณ 2556 คาดว่ารายจ่ายสาธารณะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 3,136,971 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล 255,933 ล้านบาท รายจ่ายจาก พ.ร.ก.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำที่คาด ว่าจะมีการเบิกจ่ายได้ 170,000 ล้านบาท (2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 301,644 ล้านบาท และ (3) รายจ่าย ลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 279,394 ล้านบาท

ตารางที่ 8 สมมติฐานการเบิกรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2555 และ 2556

ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2555 2554 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 55

(หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ 2556 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 55

กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ 1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน (3) รายจ่ายเพิ่มเติม (งบกลางปี) (4) รายจ่ายเหลื่อมปี 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท)

2,169,968 94.5% 2,239,257 2,177,895 2,050,540 1,786,982 263,558 92,640 127,355 61,362 61,362 -

2,380,000 93.0% 2,394,273 2,354,722 2,213,324 1,908,429 304,895 - 141,398 39,551 19,551

2,400,000 93.0% 2,555,933 2,385,933 2,231,933 1,895,693 336,240 154,000 170,000 -

20,000

170,000

2. รายจ่ายท้องถิ่น 3. รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ 4. รายจ่ายภาคสาธารณะ (1+2+3)

274,385 256,114 2,769,757

285,862 266,189 2,946,323

301,644 279,394 3,136,971

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) / ค�ำนวณโดย สศค.

26


ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2555 1. ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “สศค.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะกลับมาขยายตัวเป็นปกติที่ร้อยละ 5.7 จากปี 2554 ที่เศรษฐกิจ ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 จากปัญหาอุทกภัยคลี่คลายลง” ➥➥ ส�ำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2555 สศค.คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น โดยคาดว่าจะกลับมา

ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 5.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.2-6.2) และเป็นการฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติจากปี ก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ภายหลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายลง โดยได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากการผลิตภาค อุตสาหกรรมทีเ่ ริม่ กลับมาท�ำการผลิตเพือ่ ตอบสนองอุปสงค์ทงั้ ในประเทศและต่างประเทศได้มากขึน้ ตัง้ แต่ชว่ งต้นปี 2555 เป็นต้น มา โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.7–5.7) ทั้งนี้มีปัจจัยสนับสนุนจาก การฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติของภาคการผลิต โดยเฉพาะในส่วนที่ผลิตเพื่อเน้นจ�ำหน่ายในประเทศ อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและ เครื่องดื่ม รวมถึงนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย อาทิ มาตรการปรับเพิ่มรายได้แรงงานรายวันและเงินเดือน ข้าราชการ และโครงการจ�ำน�ำข้าวเปลือก ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 12.5–14.5) เร่งขึ้นตามความจ�ำเป็นของผู้ประกอบการในการเร่งลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายของอาคารบ้านเรือนและ ซ่อมแซมเครือ่ งมือเครือ่ งจักรในภาคอุตสาหกรรมจากภาวะอุทกภัย นอกจากนี้ โรงงานในหลายอุตสาหกรรมทีก่ ลับมาท�ำการผลิต ได้แล้วคาดว่าจะมีการเร่งผลิตเพื่อตอบสนองค�ำสั่งซื้อที่ยังค้างอยู่ รวมทั้งเร่งสะสมสินค้าคงคลังเพื่อให้ใกล้เคียงกับระดับก่อน อุทกภัย อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะชะลอลงมาขยายตัวที่ร้อยละ 8.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 7.0–9.0) ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศ สหภาพยุโรปเริม่ ลุกลามเข้าสูภ่ าคเศรษฐกิจจริงและภาคสถาบันการเงินของประเทศสมาชิกหลัก ขณะทีป่ ริมาณการน�ำเข้าสินค้า และบริการคาดว่าจะเร่งตัวสูงกว่าการส่งออก โดยจะขยายตัวร้อยละ 13.4 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 12.4–14.4) ตามความ ต้องการจัดหาวัตถุดบิ ทดแทนจากต่างประเทศ เพือ่ บรรเทาปัญหาขาดแคลนชิน้ ส่วนในระยะเริม่ แรกของการฟืน้ ตัวจากเหตุการณ์ อุทกภัย ที่ภาคการผลิตบางส่วนยังไม่สามารถตอบสนองอุปสงค์ภายในประเทศได้เต็มที่ ภาพที่ 16 ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

27


1.1 การบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง

1.1.1 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาคเอกชนทีแ ่ ท้จริงในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 2.7 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน จากไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ -2.8 (ทั้งนี้ เมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า การบริโภคภาคเอกชน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 6.5 จากไตรมาสก่อนหน้า) ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม หลังจากรับผลกระทบจากภาวะอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 คลี่คลายลง ประกอบกับได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายรัฐบาลใน การกระตุน้ เศรษฐกิจอย่างต่อเนือ่ ง อาทิ มาตรการลดค่าครองชีพ การรับจ�ำน�ำข้าวเปลือก การปรับค่าจ้างแรงงานขัน้ ต�ำ่ 300 บาท การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มอ�ำนาจซื้อให้แก่ประชาชน ท�ำให้มีการเร่งการจับจ่ายใช้สอยตามความต้องการ ซือ้ ทีช่ ะลอลงจากไตรมาสก่อนทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากภาวะอุทกภัย ซึง่ เป็นผลมาจากรายได้เกษตรกรมีแนวโน้มปรับตัวลดลงจาก การชะลอตัวของปริมาณการผลิตและราคาพืชผลที่ส�ำคัญ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการบริโภคจ�ำแนกตามรายหมวดส�ำคัญพบว่า ใน ไตรมาสที่ 1 ปี 2555 การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยหมวดสินค้าคงทนที่หดตัวชะลอลงมาก ร้อยละ -3.2 จากไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ -21.7 โดยยอดการใช้จ่ายซื้อรถยนต์ของครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นทุกประเภท ประกอบด้วย รถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ที่หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -3.7 และร้อยละ -0.3 ส่วนรถบรรทุกส่วนบุคคลขยายตัว เร่งขึ้นร้อยละ 34.9 ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตในหมวดยานยนต์ที่สามารถกลับมาผลิตได้กลับเป็นปกติ ท�ำให้สามารถส่ง มอบให้ลูกค้าได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่การบริโภคสินค้ากึ่งคงทน เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ภาชนะและสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือน ขยายตัว ร้อยละ 3.0 จากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.0 โดยรายรับจากการค้าปลีกสินค้าที่สะท้อนโดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าไม่คงทน เช่น หมวดอาหาร เครื่องดื่ม ไฟฟ้าและประปา และของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.9 โดยหมวดอาหารขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 ตามการเพิ่มขึ้นของอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ และหมวดประมงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่วนหมวดที่มิใช่อาหารขยายตัวร้อยละ 7.4 ตามการขยายตัวของ เครื่องดื่มที่ร้อยละ 5.0 เป็นส�ำคัญ ภาพที่ 17 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2555 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์

ที่ ร ้ อ ยละ 4.7–5.7) เร่ ง ขึ้ น จากปี 2554 ที่ ข ยายตั ว เล็ ก น้ อ ยที่ ร ้ อ ยละ 1.3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความชัดเจน ของการฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติของภาคการผลิต โดยเฉพาะในส่วนที่ผลิตเพื่อเน้นจ�ำหน่ายในประเทศ อาทิ อุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับความจ�ำเป็นในการบริโภค

28


สิ น ค้ า เพื่ อ ทดแทนทรั พ ย์ สิ น ที่ เ สี ย หายจากสถานการณ์ อุ ท กภั ย รวมทั้ ง นโยบายของภาครั ฐ ในการสนั บ สนุ น การใช้ จ ่ า ย อาทิ มาตรการปรับเพิ่มรายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการจ�ำน�ำข้าวเปลือก ทั้งนี้ จากข้อมูล เชิงประจักษ์พบว่า การบริโภคภาคเอกชนในช่วง 5 เดือนแรกปี 2555 ส่งสัญญาณฟืน้ ตัวอย่างต่อเนือ่ ง หลังประสบปัญหาอุทกภัย ในช่วงปลายปี 2554 สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่วัดการบริโภคภาคเอกชนโดยรวม ขยายตัวที่ ร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2555 ที่ปรับตัวสูงสุด ในรอบ 9 เดือน ในขณะที่การบริโภคในหมวดสินค้าคงทนที่วัดจากปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์พบว่า ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 21.1 และร้อยละ 3.6 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ส่วนสินเชือ่ เพือ่ การบริโภคพบว่ายังขยายตัวต่อเนือ่ งที่ ร้อยละ 15.7 และยังคงเป็นปัจจัยหลักทีจ่ ะช่วยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนในปี 2555 ขยายตัวต่อเนือ่ ง อย่างไรก็ตาม ปัจจัย เสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนในปี 2555 ได้แก่ (1) แนวโน้มระดับราคาสินค้าทั่วไปที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น จากราคาอาหารส�ำเร็จรูปและราคาน�้ำมันขายปลีกในประเทศ (2) การเกิดปัญหาภัยพิบัติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา จะเป็นอุปสรรคต่อการผลิตสินค้า โดยเฉพาะภาคการผลิตภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในที่สุดจะกระทบต่อ การบริโภคของประชาชนโดยรวม และ (3) การฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจโลกทีย่ งั คงเปราะบาง ตามสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา

1.1.2 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 หดตัวร้อยละ -1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ น หดตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าทีห่ ดตัวร้อยละ -4.1 และเมือ่ ขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 2.5 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิลดลงร้อยละ 5.7 ขณะที่ค่าตอบแทนแรงงาน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในขณะที่รายจ่ายเพื่อการอุปโภคทั้งหมดของภาครัฐในราคาประจ�ำปีมูลค่า 351.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.2 แบ่งออกเป็น (1) ค่าตอบแทนแรงงานจ�ำนวน 260.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ผลจากการปรับเงินเดือนค่า ตอบแทนข้าราชการและเจ้าหน้าทีข่ องรัฐตามนโยบายรัฐบาลเกีย่ วกับด้านการเพิม่ รายได้ขนั้ ต�ำ่ ของข้าราชการและลูกจ้างภาครัฐ และ (2) รายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิจ�ำนวน 91.8 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -8.7 ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2555 มีวงเงิน งบประมาณจ�ำนวน 2.38 ล้านล้านบาท พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2555 (เดือนมกราคม 2555–มีนาคม 2555) มีการเบิกงบประมาณประจ�ำปีจ�ำนวน 731.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.5 รายจ่ายเหลื่อมปีจ�ำนวน 47.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 นอกจากนี้ มีการเบิกจ่ายจากโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 5.4 พันล้านบาท ท�ำให้ การเบิกจ่ายทั้งไตรมาสมีจ�ำนวนทั้งสิ้น 784.9 พันล้านบาท ภาพที่ 18 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง

ที่มา : สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

29


➥➥ ส�ำหรับปี 2555 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0-5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัว ร้อยละ 1.1 โดยปัจจัยหลักมาจากฐานต�่ำของช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลมีวงเงินรายจ่ายประจ�ำ จ�ำนวน 1,840 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.4 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำ ปีงบประมาณ 2555 ทั้งนี้ การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในปี 2555 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการที่รัฐบาลได้มีการอนุมัติการปรับ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างขั้นต�่ำ และการเร่งรัดการเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำให้ได้ร้อยละ 97.5 ของวงเงินรายจ่ายประจ�ำ (1,840 พันล้านบาท) ทัง้ นี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำได้จำ� นวน 1,299.5 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 66.9 ของวงเงินรายจ่ายประจ�ำ 1.2 การลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง

1.2.1 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน จากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.3 และเมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส ที่ 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 14.9 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า การลงทุนในหมวดเครื่องมือ เครื่องจักร (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 75.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ขยายตัวร้อยละ 11.2 จากไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ที่ หดตัวร้อยละ -2.4 เนื่องจากมีการเร่งลงทุนเพื่อชดเชยและซ่อมแซมความเสียหายจากอุทกภัยในช่วงปลายปีที่แล้ว โดยเฉพาะ หมวดเครื่องจักรไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ส่งผลให้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรอุตสาหกรรม และหมวดเครื่องใช้ส�ำนักงานในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 26.6 และร้อยละ 30.9 ตามล�ำดับ ส่วนการลงทุนใน หมวดการก่อสร้างภาคเอกชน (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 25.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ขยายตัว ร้อยละ 2.1 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เนือ่ งจากมีการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารทีอ่ ยูอ่ าศัยทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากอุทกภัย ในช่วงปลายปี 2554 ส่งผลให้การก่อสร้างในหมวดอาคารเพือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยและอาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 3.0 และร้อยละ 1.9 ตามล�ำดับ ในขณะที่การก่อสร้างในหมวดอาคารโรงงานหดตัวร้อยละ -2.8 ภาพที่ 19 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2555 การลงทุนภาคเอกชนทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.5 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ

12.5-14.5 ) จากปี 2554 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 7.2 เร่งขึน้ ตามความจ�ำเป็นของผูป้ ระกอบการในการเร่งลงทุนเพือ่ ฟืน้ ฟูความเสียหาย ของอาคารบ้านเรือนและซ่อมแซมเครือ่ งมือเครือ่ งจักรในภาคอุตสาหกรรมทีเ่ สียหายจากภาวะอุทกภัย นอกจากนี้ โรงงานในหลาย อุตสาหกรรมทีก่ ลับมาท�ำการผลิตได้แล้วคาดว่าจะมีการเร่งผลิตเพือ่ ตอบสนองค�ำสัง่ ซือ้ ทีย่ งั ค้างอยู่ รวมทัง้ เร่งสะสมสินค้าคงคลัง เพื่อให้ใกล้เคียงกับระดับก่อนอุทกภัย ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2555 การลงทุนภาคเอกชนส่ง

30


สัญญาณฟื้นตัวขึ้นมาก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร อาทิ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้า ทุนขยายตัวที่ร้อยละ 18.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ขยายตัวเร่ง ร้อยละ 42.2 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้างที่วัดจากเครื่องชี้เศรษฐกิจ เช่น ปริมาณการจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (ที่วัดต้นทุนในการผลิตหรือ การก่อสร้าง) ขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 4.6 จากปี 2554 ที่อยู่ที่ร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

1.2.2 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 หดตัวร้อยละ -9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน หดตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -12.1 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 2.3 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาครัฐที่แท้จริงสามารถแบ่งออกเป็น (1) การลงทุนในหมวดก่อสร้าง หดตัวร้อยละ -1.0 หดตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -15.9 จากการก่อสร้างภาครัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวร้อยละ 14.4 โดยเฉพาะ การก่อสร้างในโครงการต่อเนื่อง เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการบ้าน เอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ เป็นต้น ขณะที่การก่อสร้างของภาครัฐหดตัวร้อยละ -11.1 และ (2) การลงทุนในหมวดเครื่องมือ เครือ่ งจักร หดตัวร้อยละ -23.8 ต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อนหน้าทีห่ ดตัวร้อยละ -3.7 โดยเป็นการหดตัวทัง้ ภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ที่ร้อยละ -10.1 และร้อยละ -31.0 ตามล�ำดับ นอกจากนี้ ในไตรมาสแรกของปี 2555 ได้มีการน�ำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ ของบริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวน 1 ล�ำ มูลค่า 3.7 พันล้านบาท ภาพที่ 20 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง

ที่มา : สศค.

➥➥ ส�ำหรับในปี 2555 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่

ร้อยละ 8.7-10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ -8.7 โดยปัจจัยหลักมาจาก ฐานต�่ำของช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับวงเงินรายจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ 2555 จ�ำนวน 438.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.4 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.4 ของวงเงินงบประมาณ 2555 ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลตั้งเป้าหมาย การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนไว้ที่ร้อยละ 72.0 ประกอบกับมาตรการในส่วนของแผนการบริหารจัดการน�้ำในระยะยาวของภาครัฐ วงเงินลงทุนรวม 350.0 พันล้านบาท ทีค่ าดว่าจะเริม่ ทยอยลงทุนได้ในช่วงครึง่ หลังของปี 2555 เป็นต้นไป ซึง่ มาตรการภาครัฐดังกล่าว จะเป็นแรงสนับสนุนส�ำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 156.7 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 35.7 ของวงเงิน รายจ่ายลงทุน (438.6 พันล้านบาท) ประมาณการเศรษฐกิจไทย

31


1.3 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 หดตัวร้อยละ -3.2 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน มีทิศทางการฟื้นตัวหลังจากปัญหาอุทกภัยคลี่คลายลง แต่ยังประสบกับปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอลง จากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป โดยเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวที่ร้อยละ 11.6 เพิม่ ขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้า ด้านมิตสิ นิ ค้าพบว่าในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 การส่งออกสินค้าหดตัวทีร่ อ้ ยละ -5.0 หดตัวชะลอ ลงจากไตรมาสก่อนหน้า จากการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวร้อยละ -8.0 โดยสินค้าในหมวดหลักหดตัวเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หดตัวร้อยละ -12.1 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ -10.0 นอกจากนี้ ภาคเกษตรกรรมหดตัว เช่นเดียวกันที่ร้อยละ -16.6 จากผลกระทบของปัญหาอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ที่ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมได้รับความเสียหาย อย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามยังคงได้รับอานิสงส์ดีจากสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร และสินค้าแร่และเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ ร้อยละ 19.69 และร้อยละ 44.92 ตามล�ำดับ และในส่วนของยานยนต์กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งหลังจากหดตัวในไตรมาส ที่แล้วจากปัญหาอุทกภัยปลายปี 2554 เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวที่ร้อยละ 0.45 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ หดตัวร้อยละ -28.2 และเมื่อพิจารณารายตลาดพบว่า การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลักขยายตัวชะลอลงโดยเฉพาะสหภาพ ยุโรป จากวิกฤตหนี้สาธารณะที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ขยายตัวดีขึ้นจาก การส่งออกน�้ำมันส�ำเร็จรูป และส�ำหรับการส่งออกบริการขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.3 เริ่มฟื้นตัวกลับมา ขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งหลังจากหดตัวในไตรมาสก่อนหน้า ภาพที่ 21 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2555 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่

ร้อยละ 7.0-9.0) ขยายตัวชะลอลงจากปี 2554 ที่ร้อยละ 9.5 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจาก ความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเริ่มลุกลามเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจจริงและภาคสถาบันการเงินของ ประเทศสมาชิกหลัก อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ของภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ท�ำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการยัง ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

32


1.4 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เพิม่ ขึน้ จากไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 3.3 ตามการฟื้นตัวของภาคการส่งออกหลังจาก ปัญหาอุทกภัยคลี่คลายลง ท�ำให้มีการเร่งน�ำเข้าสินค้าส�ำคัญเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่า ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวเร่งขึน้ ทีร่ อ้ ยละ 7.3 จากไตรมาสก่อนหน้าทีห่ ดตัว และเมือ่ พิจารณาการน�ำเข้า สินค้าพบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 ตามการขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น ของปริมาณการน�ำเข้าสินค้ายานยนต์ที่ร้อยละ 13.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.3 ซึ่งเป็นการเร่งน�ำเข้าเพื่อมา ทดแทนอุปสงค์ภายในประเทศ และจากการขยายตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน และสินค้า อุปโภค-บริโภค ที่ร้อยละ 10.03 ร้อยละ 11.03 และร้อยละ 14.12 ตามล�ำดับ ในขณะที่ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบหดตัวที่ ร้อยละ -5.0 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.5 ส�ำหรับปริมาณการน�ำเข้าบริการที่แท้จริงขยายตัวเร่งขึ้นที่ ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ภาพที่ 22 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการ

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2555 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่

ร้อยละ 12.4-14.4) ขยายตัวชะลอลงจากปีกอ่ นแต่ยงั คงขยายตัวได้ตอ่ เนือ่ ง ซึง่ คาดว่าอัตราจะเร่งสูงกว่าการส่งออกตามความ ต้องการจัดหาวัตถุดบิ ทดแทนจากต่างประเทศ เพือ่ บรรเทาปัญหาขาดแคลนชิน้ ส่วนในระยะเริม่ แรกของการฟืน้ ตัวจากเหตุการณ์ อุทกภัย ที่ภาคการผลิตบางส่วนยังไม่สามารถตอบสนองอุปสงค์ภายในประเทศได้เต็มที่ ประกอบกับการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี เนื่องจากปัจจุบันรายได้ประชากรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชากรมีการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยัง คงมีปัจจัยเสี่ยงจากค่าเงินบาทที่ยังคงผันผวน

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

33


2. ด้านการค้าระหว่างประเทศ 2.1 มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ 92.5 พันล้านดอลลาร์

สหรัฐ คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเมื่อหักผลของการส่งออกทองค�ำออก พบว่า มูลค่าการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.4 โดยการหดตัวของภาคส่งออกเกิดจากเหตุการณ์ อุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งได้รับความเสียหายไม่สามารถผลิตได้ จึงส่งผลให้ในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2555 การส่งออกมีการหดตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมส่วนใหญ่สามารถฟื้นตัวได้อย่าง ต่อเนือ่ งจากภาวะอุทกภัยคลีค่ ลายลง โดยในเดือนพฤษภาคม 2555 การส่งออกของไทยขยายตัวได้อย่างดีทรี่ อ้ ยละ 7.7 สะท้อนให้เห็น ถึงภาพการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภาวะอุทกภัย นอกจากนี้ ปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปได้ส่งผลต่อ ภาคส่งออกของไทย โดยกระทบต่อภาคการส่งออกไปยังกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นส�ำคัญ การหดตัวของภาคการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกน�ำโดยหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสิ่งทอ และหมวดสินค้า อัญมณีและเครือ่ งประดับทีห่ ดตัวร้อยละ -15.2 และร้อยละ -17.4 ตามล�ำดับ ส่วนหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครือ่ งใช้ไฟฟ้า พบว่า มีการหดตัวในระดับที่ต�่ำลงมาที่ร้อยละ -2.6 และร้อยละ -3.1 ตามล�ำดับ ส่วนหมวดสินค้าเกษตรกรรมมีการหดตัวถึง ร้อยละ -17.9 จากมูลค่าการส่งออกที่ลดลงในหมวดสินค้าข้าวและยางพารา ทั้งนี้ หากพิจารณาเป็นรายตลาดพบว่ามูลค่าการส่งออกสินค้ามีการหดตัว โดยตลาดส่งออกหลัก อาทิ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป หดตัวร้อยละ -4.6 และร้อยละ -11.1 ตามล�ำดับ ในขณะที่การส่งออกไปยังจีนและอเมริกาขยายตัวที่ร้อยละ 8.4 และร้อยละ 3.4 ตามล�ำดับ ส่วนตลาดอาเซียน-5 สามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7.0 ภาพที่ 23 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 12.8 (โดยมีช่วง

คาดการณ์ที่ร้อยละ 11.8–13.8) ชะลอตัวลงจากปี 2554 เนื่องจากปัจจัยฐานสูงและการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ ประเทศจีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปที่ยังไม่สามารถคลี่คลายวิกฤตหนี้สาธารณะได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกในปี 2555 จะยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริการวมถึงการส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้ในปี 2555

34


2.2 มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ 102.3 พันล้านดอลลาร์

สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 11.5 โดยเมือ่ หักการน�ำเข้าทองค�ำทีม่ คี วามผันผวนพบว่า การน�ำเข้าขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 10.4 โดยเป็นผลมาจากการน�ำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าทุนเป็นส�ำคัญ โดยในช่วง 5 เดือนแรกการน�ำเข้าสินค้าทั้งสองประเภท ขยายตัวที่ร้อยละ 15.5 และร้อยละ 19.8 ตามล�ำดับ ซึ่งการน�ำเข้าสินค้าทุนเกิดจากการน�ำเข้าเครื่องจักรเพื่อน�ำมาทดแทน ความเสียหายจากภาวะอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 นอกจากนี้ การน�ำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคยังมีการขยายตัวได้ดีตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 การน�ำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคเพิ่มสูงขึ้นที่ร้อยละ 16.2 ภาพที่ 24 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 22.3 (โดยมีช่วง

คาดการณ์ที่ร้อยละ 21.4-23.4) ชะลอลงจากปีก่อน เนื่องจากปัจจัยฐานสูงและการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่ชะลอลงตาม การส่งออกในปี 2555 อย่างไรก็ดี การน�ำเข้ายังคงขยายตัวได้ในระดับสูงจากสินค้าทุนและเครื่องจักรเป็นหลัก ซึ่งเป็นการน�ำเข้า เพื่อทดแทนเครื่องจักรที่เสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัยในปีก่อน นอกจากนี้ จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเศรษฐกิจไทย จะส่งผลให้การน�ำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคมีการขยายตัวได้ดีในปี 2555 2.3 ดุลการค้า ➥➥ ดุลการค้าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 ขาดดุล -9.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วง 5 เดือน

แรกของปี 2554 ที่เกินดุล 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลจากมูลค่าการน�ำเข้าสินค้าที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า โดย 5 เดือนแรกของปี 2555 มูลค่าการส่งออกสินค้าอยู่ที่ 92.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการน� ำเข้าสินค้าอยู่ที่ 102.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

35


ภาพที่ 25 ประมาณการดุลการค้า

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2555 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 6.4-8.4

พั น ล้ า นดอลลาร์ ส หรั ฐ ) ซึ่ ง เป็ น การเกิ น ดุ ล เล็ ก น้ อ ยเมื่ อ เที ย บกั บ ปี ก ่ อ นหน้ า ตามมูลค่าสินค้าน� ำเข้าที่คาดว่าจะ ขยายตัวในอัตราเร่งจากการน�ำเข้าสินค้าทุนและเครือ่ งจักร ส่วนมูลค่าสินค้าส่งออกจะมีการขยายตัวชะลอลงจากปีกอ่ น เนือ่ งจาก ความกังวลด้านวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป ส่งผลให้การเกินดุลการค้าจะลดลงจากปีก่อน

3. ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด ➥➥ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 ขาดดุล -2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงมาก

จากช่วง 5 เดือนแรกของปี 2554 ที่เกินดุล 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าตามระบบดุลการช�ำระเงินเกินดุล 1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิขาดดุลรวม -3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเงินบริการ จ่าย โดยเฉพาะค่าระวางสินค้าและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการน�ำเข้าที่สูงขึ้น ภาพที่ 26 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัด

ที่มา : สศค.

36


➥➥ ในปี 2555 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะขาดดุล -1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่

-3.3 ถึง -0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ -0.9 ถึง -0.1 ของ GDP) ลดลงมากจากปี 2554 ที่เกินดุล 11.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการน�ำเข้าสินค้าที่ขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการน�ำเข้าสินค้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิม ที่เสียหายจากวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 สอดคล้องกับการลงทุนที่คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้น ในขณะที่การส่งออกสินค้า และบริการขยายตัวชะลอลงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบางและค่อย ๆ ฟื้นตัว 3.2 อัตราเงินเฟ้อ ➥➥ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ลดลงจากปี 2554 ที่อยู่ที่

ร้อยละ 3.8 โดยเป็นผลมาจากราคาสินค้าหมวดยานพาหนะและน�้ำมันเชื้อเพลิงที่ชะลอตัวลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ประกอบกับ ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เริ่มทรงตัวในไตรมาสที่ 2 หลังจากเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงต้นปีจากราคาวัตถุดิบที่ เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาไฟฟ้า เชื้อเพลิง น�้ำประปา และแสงสว่างมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนซึ่งมีผลมาจาก การเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ค่า Ft) เป็นส�ำคัญ ภาพที่ 27 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไป

ที่มา : สศค.

➥➥ ส�ำหรับปี 2555 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับตัวลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วง

คาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 3.0-4.0) โดยมีสาเหตุหลักจากราคาน�ำ้ มันในตลาดโลกทีจ่ ะขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอลงจากปี 2554 อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในปี 2555 อยู่หลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ (1) ราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะราคาข้าว จะปรับตัวสูงขึ้นจากมาตรการรับจ�ำน�ำข้าวของรัฐบาล (2) ราคาสินค้าที่ใช้แรงงานในการผลิตอาจปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับขึ้น ค่าแรงขั้นต�่ำ 300 บาท และ (3) การปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งก๊าซ NGV และ LPG ภาคขนส่ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดคาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8-2.8)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

37


ภาคการคลัง รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลัง ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 บทสรุปผู้บริหาร ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลได้จัดท�ำงบประมาณรายจ่ายแบบขยายตัว (Expansionary Fiscal Policy) โดยก�ำหนดวงเงินขาดดุล 400.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 ของ GDP เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้สามารถ เติบโตอย่างต่อเนือ่ งในช่วงทีก่ ารฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบาง รวมทัง้ การฟืน้ ฟูเศรษฐกิจทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากปัญหา อุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตอย่างรุนแรง ❍❍ ด้านรายได้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม 2554-พฤษภาคม 2555) รัฐบาล มีรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)) จ�ำนวน 1,296.2 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ ตามเอกสารงบประมาณ 1.9 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.4 พันล้านบาท หรือ เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.5 ทัง้ นี้ รายได้ภาษีจาก 3 กรมจัดเก็บ (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) มีจำ� นวนทัง้ สิน้ 1,347.5 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8.6 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.6 แต่ยังสูงกว่าปีงบประมาณ ก่อนหน้า 25.1 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ❍❍ ด้านรายจ่ายในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ทั้งสิ้น 1,571.8 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 4.1 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 จ�ำนวน 1,456.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 61.2 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 1,299.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 70.6 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 (2) รายจ่ายลงทุน เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 156.7 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตรา การเบิกจ่ายร้อยละ 35.7 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 และรายจ่ายเหลื่อมปีที่เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 115.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍ ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาล ขาดดุลเงินงบประมาณจ�ำนวน 451.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจ�ำนวน 44.0 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ขาดดุลจ�ำนวน 495.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ เงิน รวมทั้งสร้างความมั่นคงของฐานะการคลัง โดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้จ�ำนวน 189.5 พันล้านบาท ท�ำให้ดุลเงินสดหลัง การกู้เงินขาดดุลจ�ำนวน 306.0 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 215.3 พันล้านบาท ❍❍ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 4,614.6 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 42.40 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีงบประมาณ 2554 จ�ำนวน 166.3 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เนื่องจากหนี้ ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 231.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 7.3 โดยมีรายการส�ำคัญจากหนี้ในประเทศที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้ที่เพิ่มขึ้น 154.3 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เป็นส�ำคัญ ❍❍ กรอบอนุมัติงบประมาณลงทุนประจ�ำปี 2555 ของรัฐวิสาหกิจรวม 48 แห่ง ที่พร้อมด�ำเนินการมีจ�ำนวน ทั้งสิ้น 373.0 พันล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายสะสมถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2555 จ�ำนวน 70.1 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรา การเบิกจ่ายร้อยละ 18.8 ของกรอบงบลงทุนที่ได้รับอนุมัติ ❍❍

38


1. ผลการด�ำเนินนโยบายการคลังในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม 2554-พฤษภาคม 2555) 1.1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 ผลการจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)) มีจ�ำนวน 1,296.2 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1.9 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนจ�ำนวน 19.4 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ภาพที่ 1 รายได้รัฐบาลสุทธิสะสม ปีงบประมาณ 2555 และประมาณการรายได้สะสม ปีงบประมาณ 2555

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง

ทัง้ นี้ รายได้ภาษีจาก 3 กรมจัดเก็บภาษี (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) จัดเก็บได้ทงั้ สิน้ 1,347.5 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8.6 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.6 แต่ยังสูงกว่าช่วงเดียวกันของ ปีก่อน 25.1 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 โดยมีรายละเอียดการจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่ส�ำคัญดังนี้ ❍❍ กรมสรรพากรจัดเก็บได้จำ � นวน 1,025.3 พันล้านบาท ต�ำ่ กว่าประมาณการรายได้ 2.3 พันล้านบาท หรือ ลดลงร้อยละ 0.2 แต่ยงั สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีกอ่ น 60.9 พันล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 6.3 โดยมีรายละเอียดของภาษีที่ ส�ำคัญดังนี้ (1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ 419.5 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 11.7 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 40.8 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ภายหลังเหตุการณ์วิกฤตอุทกภัย โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มจากการน�ำเข้าที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 14.1 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 7.4 หรือสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.0 ซึ่งเป็นผลจากการน�ำเข้าสินค้าทุนเพื่อทดแทนที่เสียหายจากปัญหา อุทกภัย รวมถึงมูลค่าการน�ำเข้าน�้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นจากผลของราคาน�้ำมันดิบที่สูงขึ้นมาก (2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้ 307.6 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการรายได้ 20.8 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 6.3 และต�่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.8 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.0 โดยเป็นผลจากเหตุการณ์อทุ กภัยในช่วงปลายปี 2554 ทีไ่ ด้สง่ ผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของ นิตบิ คุ คล และท�ำให้การช�ำระภาษีจากก�ำไรสุทธิรอบสิน้ ปีบญ ั ชี 2554 ต�ำ่ กว่าประมาณการ และ (3) ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา จัดเก็บ ได้ 182.8 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 6.3 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีกอ่ น 19.2 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีจากฐานเงินเดือนและค่าจ้างที่เก็บได้สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍ กรมสรรพสามิตจัดเก็บได้จำ � นวน 242.8 พันล้านบาท ต�ำ่ กว่าประมาณการรายได้ 16.4 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 6.3 และต�่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 48.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 16.8 โดยมีรายละเอียดของภาษีที่ส�ำคัญดังนี้ (1) ภาษีสรรพสามิตน�้ำมัน จัดเก็บได้ 40.4 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการรายได้ 15.9 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 28.2 และ ต�่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 57.5 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 58.8 โดยเป็นผลจากนโยบายการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิต น�้ำมันดีเซลจาก 5.31 บาทต่อลิตร เป็น 0.005 ต่อลิตร ตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา (2) ภาษี สรรพสามิตรถยนต์ จัดเก็บได้ 64.1 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการรายได้ 6.8 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 9.6 แต่ยังสูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีกอ่ น 2.2 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.5 เนือ่ งจากสถานการณ์ของภาคการผลิตรถยนต์ทไี่ ด้รบั ความเสียหาย จากปัญหาวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 และต้องหยุดชะงักมีทิศทางการฟื้นตัวที่ดีขึ้นตามล�ำดับ และ (3) ภาษีเบียร์ จัดเก็บ ได้ 45.2 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 2.4 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.6 ประมาณการเศรษฐกิจไทย

39


พันล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 6.1 โดยเป็นผลจากการบริโภคภายในประเทศทีป่ รับตัวดีขนึ้ ต่อเนือ่ ง และผูผ้ ลิตเบียร์ได้เร่งผลิตเพือ่ ทดแทนสต๊อกสินค้าเก่าที่ไม่สามารถผลิตได้ในช่วงเกิดอุทกภัย ❍❍ กรมศุลกากรจัดเก็บได้จ�ำนวน 79.5 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 10.1 พันล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.1 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 โดยมีรายได้หลักจาก อากรขาเข้าที่จัดเก็บได้ 77.8 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 10.0 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 และสูงกว่าช่วง เดียวกันของปีก่อน 13.1 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 โดยเป็นผลจากการน�ำเข้าสินค้าในหมวดรถยนต์และส่วนประกอบ รถยนต์ที่ขยายตัวในระดับสูง เพื่อทดแทนก�ำลังการผลิตของภาคการผลิตรถยนต์ที่เสียหายจากปัญหาอุทกภัย ทั้งนี้ สินค้าที่จัดเก็บ อากรขาเข้าได้สูง 3 ล�ำดับแรก ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ❍❍ รัฐวิสาหกิจน�ำส่งรายได้จำ � นวน 82.1 พันล้านบาท ต�ำ่ กว่าประมาณการรายได้ 747 ล้านบาท หรือลดลง ร้อยละ 0.9 แต่ยงั สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีกอ่ น 5.8 พันล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 7.6 เนือ่ งจากบริษทั ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคน�ำส่งรายได้ต�่ำกว่าประมาณการจ�ำนวน 2.8 และ 2.8 พันล้านบาท ตามล�ำดับ ❍❍ หน่วยงานอื่น ๆ น�ำส่งรายได้จ�ำนวน 75.9 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 1.8 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.7 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เนื่องจากกรมศุลกากร ได้ส่งคืนเงินที่กันไว้เพื่อชดเชยค่าภาษีอากรส�ำหรับผู้ส่งออกสินค้าเหลือจ่ายจ�ำนวน 4.7 พันล้านบาท และกรมสรรพสามิตได้น�ำส่ง เงินค่าใช้จ่ายเก็บภาษีท้องถิ่นคืนเป็นรายได้แผ่นดินจ�ำนวน 2.0 พันล้านบาท ตารางที่ 1 สรุปผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555 ประเภทรายได้

1. กรมสรรพากร - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม - ภาษีธุรกิจเฉพาะ - อากรแสตมป์ - อื่น ๆ 2. กรมสรรพสามิต - ภาษีน�้ำมัน - ภาษียาสูบ - ภาษีสุราฯ - ภาษีเบียร์ - ภาษีรถยนต์ - อื่น ๆ 3. กรมศุลกากร - อากรขาเข้า - อากรขาออก - อื่น ๆ รวมรายได้ 3 กรมภาษี 4. รัฐวิสาหกิจ 5. หน่วยงานอื่น รวมรายได้จัดเก็บ รายได้สุทธิรัฐบาล (หลังการจัดสรรให้ อปท.) ที่มา : สศค.

40

(หน่วย : ล้านบาท)

ประมาณการ เปรียบเทียบกับ ปีนี้ ปีที่แล้ว ตามเอกสาร งปม. ปีก่อนหน้า ประมาณการ ประมาณการ (ต.ค.54-พ.ค.55) ( ต.ค.53-พ.ค.54) (ต.ค.54-พ.ค.55) (ร้อยละ) (ล้านบาท) (ร้อยละ)

1,025,259 182,829 307,577 82,504 419,528 25,597 6,950 274 242,783 40,363 41,245 36,520 45,249 64,077 731 79,496 77,799 256 1,441 1,347,538 82,143 75,859 1,505,540

964,398 6.3 1,027,578 163,674 176,484 11.7 320,404 328,387 (4.0) 72,497 84,474 13.8 378,764 407,815 10.8 22,304 23,390 14.8 6,570 6,869 5.8 185 159 48.1 291,681 259,166 (16.8) 97,857 56,223 (58.8) 39,236 38,231 5.1 35,404 36,001 3.2 42,643 42,887 6.1 61,919 70,844 3.5 738 754 (0.9) 66,405 69,350 19.7 64,744 67,750 20.2 153 64 67.3 1,508 1,536 (4.4) 1,322,484 1,356,094 1.9 76,329 82,890 7.6 72,201 74,076 5.1 1,471,014 1,513,060 2.3

1,296,165

1,276,799

1,294,255

1.5

(2,319) 6,345 (20,810) (1,970) 11,713 2,207 81 115 (16,383) (15,860) 3,014 519 2,362 (6,767) (23) 10,146 10,049 192 (95) (8,556) (747) 1,783 (7,520)

(0.2) 3.6 (6.3) (2.3) 2.9 9.4 1.2 72.3 (6.3) (28.2) 7.9 1.4 5.5 (9.6) (3.1) 14.6 14.8 300.0 (6.2) (0.6) (0.9) 2.4 (0.5)

1,910

0.1


1.2 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณ ได้ทั้งสิ้น 1,571.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำ ปีงบประมาณ 2555 จ�ำนวน 1,456.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย ร้อยละ 61.2 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 1,299.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 70.6 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 และ (2) รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 156.7 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตรา การเบิกจ่ายร้อยละ 35.7 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 และรายจ่ายเหลื่อมปีที่เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 115.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตาม เป้าหมายอย่างน้อยทีร่ อ้ ยละ 93.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2555 (2,380 พันล้านบาท) ซึง่ ถือเป็น ส่วนส�ำคัญของการใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

ตารางที่ 2 สรุปผลการเบิกจ่ายรายจ่ายรัฐบาลในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555

(หน่วย : ล้านบาท)

อัตราเบิกจ่าย กรอบวงเงิน ผลการเบิกจ่าย ผลการเบิกจ่าย ช่วง 8 เดือนแรก ช่วง 8 เดือนแรก อัตราการเพิ่ม/(ลด) เทียบกับกรอบ งบประมาณ ประเภทรายจ่าย รายจ่าย 2555 ของปีงบประมาณ ของปีงบประมาณ (ร้อยละ) วงเงินงบประมาณ 2555 2554 รายจ่าย 2555 1. รายจ่ายกรอบ งปม. - รายจ่ายประจ�ำ - รายจ่ายลงทุน 2. รายจ่ายเหลื่อมปี รายจ่ายรวม (1+2)

2,380,000 1,840,673 438,555 201,861 2,230,628

1,456,247 1,299,514 156,733 115,563 1,571,810

1,410,757 1,240,071 170,686 99,559 1,510,316

3.2 4.8 (8.2) 16.1 4.1

61.2 70.6 35.7 -

ที่มา : กรมบัญชีกลาง และ สศค.

นอกจากรายจ่ายภายใต้งบประมาณของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลได้มคี า่ ใช้จา่ ยในการเยียวยา ฟืน้ ฟู และป้องกัน ความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ ภายหลังจากที่ประเทศได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์วิกฤตอุทกภัยในช่วงปลาย ปี 2554 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ความคืบหน้าของค่าใช้จ่ายในการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2555 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 65.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 55.8 ของกรอบวงเงินที่ได้รับการจัดสรร จ�ำนวน 117.6 พันล้านบาท โดยมีรายละเอียดผลการเบิกจ่ายดังนี้

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

41


ตารางที่ 3 สรุปผลการเบิกจ่ายงบกลาง : ค่าใช้จา่ ยในการเยียวยา ฟืน้ ฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ กระทรวง

กระทรวงกลาโหม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม งบกลาง รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการไม่สังกัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ส�ำนักนายกรัฐมนตรี ผลรวมทั้งหมด

งบประมาณ หลังโอน เปลี่ยนแปลง

จัดสรร

เบิกจ่าย

(หน่วย : ล้านบาท) ร้อยละ เบิกจ่ายต่อ จัดสรร

7,767.74 11.41 1,887.16 12,065.64 16,779.23 7,078.65 560.07 20,236.04 271.36 71.94 1,168.29 2,034.97 5,891.82 1,885.31 721.37 2,367.48 37,799.78

7,767.74 11.41 1,887.16 12,065.64 16,779.23 7,078.65 560.07 20,236.04 271.36 71.94 1,168.29 2,034.97 5,981.82 1,885.31 721.37 - 37,799.78

1,155.19 11.41 1,548.30 5,613.27 4,551.55 3,739.76 - 7,581.13 111.83 67.21 133.75 458.36 2,105.27 1,233.24 113.05 - 35,970.32

14.87 100.00 82.04 46.52 27.13 52.83 37.46 41.21 93.42 11.45 22.52 35.73 65.41 15.67 95.16

1,383.46

1,383.46

1,237.30

89.44

18.29 120,000.00

18.29 117,632.52

17.90 65,648.85

97.86 55.81

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2555 ที่มา : กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

1.3 ฐานะการคลังในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลขาดดุลเงิน งบประมาณจ�ำนวน 451.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจ�ำนวน 44.0 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุล เงินสด (ก่อนกู)้ ขาดดุลจ�ำนวน 495.6 พันล้านบาท ทัง้ นี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินรวมทัง้ สร้าง ความมั่นคงของฐานะการคลัง โดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้จ�ำนวน 189.5 พันล้านบาท ท�ำให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินขาดดุล จ�ำนวน 306.0 พันล้านบาท และเงินคงคลังสิน้ เดือนพฤษภาคม 2555 มีจำ� นวนทัง้ สิน้ 215.3 พันล้านบาท ทัง้ นี้ การขาดดุลการคลัง ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 เป็นไปตามบทบาทการใช้นโยบายการคลังเพือ่ เป็นการกระตุน้ เศรษฐกิจภายในประเทศ

42


ตารางที่ 4 ฐานะการคลังในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 รายการ

1. รายได้ 2. รายจ่าย 3. ดุลงบประมาณ 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 5. ดุลเงินสด (ก่อนกู้) 6. กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 7. ดุลเงินสดหลังการกู้เงิน

ช่วง 8 เดือนแรกของ ปีงบประมาณ 2555 1,120,230 1,571,810 (451,580) (43,994) (495,574) 189,537 (306,037)

ช่วง 8 เดือนแรกของ ปีงบประมาณ 2554 1,048,768 1,510,316 (461,548) 52,443 (409,105) 134,938 (274,167)

(หน่วย : ล้านบาท)

เปรียบเทียบกับ จ�ำนวน ร้อยละ 71,462 6.8 61,494 4.1 9,968 (2.2) (96,437) -183.9 (86,469) 21.1 54,599 40.5 (31,870) 11.6

ที่มา : สศค.

1.4 หนี้สาธารณะ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 4,614.6 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.4 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีงบประมาณ 2554 จ�ำนวน 166.3 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เนื่องจากหนี้ของรัฐบาล เพิ่มขึ้นจ�ำนวน 231.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 7.3 โดยมีรายการส�ำคัญจากหนี้ในประเทศที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบ ประมาณและการบริหารหนีท้ เี่ พิม่ ขึน้ 154.3 พันล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 9.7 รวมทัง้ หนีห้ น่วยงานอืน่ ของรัฐเพิม่ ขึน้ จ�ำนวน 7.1 พันล้านบาท เป็นส�ำคัญ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสถานะของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2555 พบว่าอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ กล่าวคือ (1) หนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้สกุลเงินบาทโดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 92.9 ของหนี้สาธารณะคงค้าง (2) หนี้สาธารณะ ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 96.0 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ (3) สัดส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 42.4 ซึ่งยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ก�ำหนดสัดส่วนไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 ต่อ GDP

ภาพที่ 2 ยอดคงค้างหนี้สาธารณะและสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP รายเดือน

ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

43


ตารางที่ 5 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 เมษายน 2555 หนี้สาธารณะคงค้าง

1. หนี้ของรัฐบาล 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) 4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 5. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ หนี้สาธารณะรวม (1+2+3+4+5)

(หน่วย : ล้านบาท)

ณ ก.ย. 54 ณ เม.ย. 55 จ�ำนวน % GDP จ�ำนวน % GDP 3,181,159 30.2 3,412,701 31.4 1,079,749 10.3 1,036,256 9.5 156,942 30,445 - 4,448,295

1.5

158,589

เปรียบเทียบกับ จ�ำนวน ร้อยละ 231,542 7.3 (43,492) (4.0)

1.5

1,647

1.0

0.3 - - - 7,080 0.1 42.271 4,614,626 42.402

(30,445) 7,080 166,331

(100) 100 3.7

ที่มา : สบน.

1.5 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจแยกตามสาขาในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 กรอบอนุมัติงบประมาณลงทุนประจ�ำปี 2555 ของรัฐวิสาหกิจรวม 48 แห่ง ที่พร้อมด�ำเนินการมีจ�ำนวน ทั้งสิ้น 373.0 พันล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายสะสมถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2555 จ�ำนวน 70.1 พันล้านบาท หรือคิด เป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 18.8 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ ซึ่งสามารถแยกตามรายสาขาได้ 8 สาขา ดังนี้ 1) รัฐวิสาหกิจสาขาขนส่ง จ�ำนวน 11 แห่ง ประกอบด้วย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ การท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จ�ำกัด บริษทั ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) บริษทั การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จ�ำกัด สถาบันการบินพลเรือน การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟขนส่ง มวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัท ขนส่ง จ�ำกัด มีงบลงทุนที่พร้อมด�ำเนินการทั้งสิ้นจ�ำนวน 165.1 พันล้านบาท และมีการเบิก จ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 34.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.1 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ โดยการรถไฟ แห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่รับอนุมัติงบลงทุนสูงสุดในสาขา จ�ำนวน 53.8 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม จ�ำนวน 7.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 12.9 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ 2) รัฐวิสาหกิจสาขาสาธารณูปการ จ�ำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย องค์การจัดการน�้ำเสีย การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และการเคหะแห่งชาติ มีงบลงทุนที่พร้อมด�ำเนินการทั้งสิ้นจ�ำนวน 17.1 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่าย งบลงทุนสะสมจ�ำนวน 8.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 47.9 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ โดยการประปา ส่วนภูมภิ าคเป็นรัฐวิสาหกิจทีร่ บั อนุมตั งิ บลงทุนสูงสุดในสาขา จ�ำนวน 6.3 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 2.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 41.9 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ 3) รัฐวิสาหกิจสาขาสื่อสาร จ�ำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท อสมท จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จ�ำกัด มีงบลงทุนที่พร้อมด�ำเนินการทั้งสิ้นจ�ำนวน 27.8 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 5.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 20.3 ของกรอบ งบลงทุนอนุมัติ โดยบริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจที่รับอนุมัติงบลงทุนสูงสุดในสาขา จ�ำนวน 16.4 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 3.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.2 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ

GDP ณ กันยายน 2554 เท่ากับ 10,523.1 พันล้านบาท GDP ณ เมษายน 2555 เท่ากับ 10,884.4 พันล้านบาท

1 2

44


4) รัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน จ�ำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และบริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) มีงบลงทุนที่พร้อมด�ำเนินการทั้งสิ้นจ�ำนวน 154.6 พันล้านบาท และ มีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 19.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 12.8 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ โดยบริษทั ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจทีร่ บั อนุมตั งิ บลงทุนสูงสุดในสาขา จ�ำนวน 91.5 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่าย งบลงทุนสะสมจ�ำนวน 7.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 8.0 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ 5) รัฐวิสาหกิจอืน่ ๆ จ�ำนวน 25 แห่ง ประกอบด้วย โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ส�ำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การกีฬาแห่งประเทศไทย ส�ำนักงานกองทุนสงเคราะห์การท�ำสวนยาง เป็นต้น มีงบลงทุนที่พร้อมด�ำเนินการทั้งสิ้นจ�ำนวน 8.4 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 1.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 20.5 ของกรอบ งบลงทุนอนุมัติ โดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง เป็นรัฐวิสาหกิจที่รับอนุมัติงบลงทุนสูงสุด จ�ำนวน 2.6 พันล้านบาท และมี การเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 0.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 8.1 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 8 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2555 รัฐวิสาหกิจควรเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุน เพื่อให้เป็นไป ตามเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 95.0 ของกรอบอนุมัติงบประมาณลงทุนประจ�ำปี 2555

ตารางที่ 6 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจจ�ำแนกตามรายสาขา ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (หน่วย : ล้านบาท) รัฐวิสาหกิจรายสาขา (48 แห่ง)

ขนส่ง (11 แห่ง) การรถไฟแห่งประเทศไทย สาธารณูปการ (4 แห่ง) การประปาส่วนภูมิภาค สื่อสาร (4 แห่ง) บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) พลังงาน (4 แห่ง) บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) อุตสาหกรรม (6 แห่ง) โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง พาณิชย์และบริการ (6 แห่ง) ส�ำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สังคมและเทคโนโลยี (6 แห่ง) การกีฬาแห่งประเทศไทย เกษตรและทรัพยากรฯ (7 แห่ง) ส�ำนักงานกองทุนสงเคราะห์ การท�ำสวนยาง รวม 8 สาขา

งบลงทุนอนุมัติ สัดส่วน แผนเบิกจ่าย เบิกจ่ายจริง % การเบิกจ่าย % การเบิกจ่าย ปี 2555 (%) สะสม พ.ค.55 สะสม พ.ค.55 ตามแผน ตามงบลงทุนอนุมัติ

165,126.2 53,843.6 17,064.5 6,270.0 27,825.1 16,378.4 154,628.1 91,467.4 3,594.2 2,594.8 725.1 455.8 2,681.5 947.6 1,351.2

44.3% 14.4% 4.6% 1.7% 7.5% 4.4% 41.5% 24.5% 1.0% 0.7% 0.2% 0.1% 0.7% 0.3% 0.4%

64,625.6 30,251.8 10,152.2 4,462.0 14,525.8 10,926.0 48,041.4 31,842.2 1,774.8 1,490.8 474.1 371.2 1,177.6 312.6 434.2

34,887.1 6,955.5 8,175.0 2,626.2 5,635.2 3,472.1 19,721.4 7,291.3 428.2 209.8 202.9 146.8 848.9 154.8 233.4

54.0% 23.0% 80.5% 58.9% 38.8% 31.8% 41.1% 22.9% 24.1% 14.1% 42.8 39.5% 72.1% 49.5% 53.8%

21.1% 12.9% 47.9% 41.9% 20.3% 21.2% 12.8% 8.0% 11.9% 8.1% 28.0% 32.2% 31.7% 16.3% 17.3%

772.9

0.2%

161.2

43.5

27.0%

5.6%

372,995.8 100.0% 141,205.6

70,132.1

49.7%

18.8%

หมายเหตุ : 1. ข้อมูลงบลงทุนรัฐวิสาหกิจรายแห่งจาก GFMIS-SOE ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2555 2. มีการแก้ไขเพิ่มเติมงบลงทุนอนุมัติปี 2555 จาก 350.0 พันล้านบาท เป็น 373.0 พันล้านบาท ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

45


Macroeconomic Analysis Briefing บทวิเคราะห์ เรื่อง รู้ทันเงินเฟ้อ (กรณีศึกษา : การบริหารจัดการเงินเฟ้อในอดีต)

1

บทสรุปผู้บริหาร ภาวะเงินเฟ้อของไทยนับจากอดีตพบว่า เกิดจากสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ (1) ราคาน�ำ้ มันดิบ ปรับตัวสูงขึ้น (2) ค่าเงินบาทปรับตัวลดลง ท�ำให้ราคาสินค้าน�ำเข้าเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาน�้ำมัน และ (3) สภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัวในระดับสูงส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ❍❍ หน่วยงานของรัฐที่มีเครื่องมือในการควบคุมและบรรเทาภาวะเงินเฟ้อ ได้แก่ ธนาคารแห่ง ประเทศไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ (กฟผ. กฟน. กฟภ. กปน. กปภ. รฟท. ขสมก.) ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคของประชาชน ❍❍ หากเป็นเงินเฟ้อทีเ่ กิดจากอุปสงค์ฉด ุ (Demand Pull) นโยบายการเงินจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ในการควบคุม แต่หากเป็นเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น (Cost Push) การคุมราคาสินค้าส�ำคัญบาง ประเภทจะให้ผลในการบรรเทาภาวะเงินเฟ้อในระยะสั้นได้ดีกว่า แต่จะส่งผลต่อภาระภาคการคลังในอนาคต ❍❍

ภาวะเงินเฟ้อในอดีตของไทย หากพูดถึงประวัติศาสตร์การจัดท�ำดัชนีราคาในประเทศไทย2 ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2486 แต่เป็นการจัดท�ำเพื่อใช้ภายใน หน่วยงานราชการเท่านั้น ต่อมาได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเป็นล�ำดับจนได้เผยแพร่ครั้งแรกในปี 2491 โดยใช้ปี 2491 นี้เป็น ฐานในการพัฒนาปรับปรุงการจัดท�ำดัชนีราคาจนมาเป็นดัชนีราคาผูบ้ ริโภคในปัจจุบนั ซึง่ อาจแยกพัฒนาการได้เป็น 3 ระยะ คือ ➥➥ ระยะเริ่มต้น (ปี 2486-2504) ได้มีการจัดท�ำดัชนีราคา 2 ประเภท คือ (1) ดัชนีราคาค่าครองชีพที่มีวัตถุประสงค์ เพือ่ วัดการเปลีย่ นแปลงค่าใช้จา่ ยของคนงาน และข้าราชการทีม่ รี ายได้นอ้ ยในกรุงเทพฯ มีรายการสินค้าทีส่ ำ� รวจเพียง 21 รายการ ดัชนีชุดนี้มีการเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2491 และพัฒนามาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภคในปัจจุบัน และ (2) ดัชนีราคาขายปลีก ซึ่งได้มี การค�ำนวณดัชนีราคาอย่างง่าย ๆ โดยใช้ราคาเฉลี่ยที่ไม่มีการถ่วงน�้ำหนักของสินค้า 58 ชนิด ที่ซื้อขายในกรุงเทพฯ โดยดัชนีชุด นี้มีการจัดท�ำตั้งแต่ปี 2491 ถึงปี 2505 ➥➥ ระยะพัฒนา (ปี 2505–2519) ในช่วงนี้ได้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ให้เป็นระบบสากลมากขึ้น โดยมีปัจจัย ความส�ำเร็จจากการริเริ่มการส�ำรวจรายจ่ายของครัวเรือนในเขตกรุงเทพฯ และธนบุรี ในปี 2505 ของส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยกรมการสารสนเทศได้น�ำข้อมูลมาเป็นพื้นฐานในการค�ำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค ประกอบกับในปี 2505 รัฐบาลไทยได้รับ ความช่วยเหลือจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้นายแอบเนอร์ เฮอร์วิซ (Mr. Abner Hurwitz) ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติมาช่วยปรับปรุง งานสถิติให้แก่ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ และในโอกาสนี้ก็ได้มาช่วยให้ค�ำแนะน�ำและปรับปรุงการจัดท�ำดัชนีราคาของกรมการ สารสนเทศด้วย โดยการน�ำผลการส�ำรวจค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในปี 2505 มาใช้และเพิ่มรายการสินค้าเป็น 232 รายการ และ เปลีย่ นชือ่ จากดัชนีราคาค่าครองชีพมาเป็นดัชนีราคาผูบ้ ริโภคด้วย นอกจากนี้ ได้ยกเลิกการจัดท�ำดัชนีราคาขายปลีก และต่อมา ในปี 2507 ได้ขยายขอบเขตการจัดท�ำดัชนีราคาให้ครอบคลุมไปสูภ่ มู ภิ าคทัง้ 4 ภาค โดยเพิม่ จังหวัดทีม่ กี ารสืบราคาอีก 20 จังหวัด

ผู้เขียน : นายพนันดร อรุณีนิรมาน เศรษฐกรปฏิบัติการ และนายยุทธภูมิ จารุเศร์นี เศรษฐกรปฏิบัติการ ขอขอบคุณ นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ 2 สรุปข้อมูลจากส�ำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ http://www.price.moc.go.th/price/cpi/handbook/book_cpi_base_45.html 1

46


➥➥ ระยะสืบสานและก้าวหน้า (ปี 2519–ปัจจุบนั ) ระยะนีเ้ ป็นระยะทีม ่ กี ารจัดท�ำดัชนีราคาผูบ้ ริโภคเข้าสูร่ ะบบสากล

และมีการปรับปรุงน�้ำหนักและรายการสินค้าเป็นระยะ ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป โดยในปัจจุบัน การจัดท�ำดัชนีราคาได้ใช้ข้อมูลของปี 2550 เป็นปีฐาน ในการเปรียบเทียบความรุนแรงของเงินเฟ้อ เราสามารถจ�ำแนกความรุนแรงของภาวะเงินเฟ้อได้ 3 ระดับตามทฤษฎี เงินเฟ้อในระดับสากล ได้แก่ 1. เงินเฟ้ออย่างอ่อน (Mild Inflation) คือ อัตราเงินเฟ้อที่ไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติที่ท�ำให้ผู้ประกอบการมี แรงจูงใจในการท�ำกิจการ เนื่องมาจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นทุกปีในระดับเล็กน้อย 2. เงินเฟ้อระดับปานกลาง (Moderate Inflation) คือ อัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 5-20 ซึ่งถือเป็นระดับที่ท�ำให้ประชาชนอาจ ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น หากรายได้ไม่สามารถเพิ่มได้ทันกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า 3. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง (Hyperinflation) คือ อัตราเงินเฟ้อที่มากกว่าร้อยละ 20 ซึ่งส่งผลให้ระดับราคาสินค้าและบริการ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าของเงินจะลดลงอย่างรวดเร็วมาก ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ หากพิจารณาอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในอดีตจะเห็นได้ว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยในช่วงปี 2517–2554 ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ (ต�่ำกว่าร้อยละ 5) อย่างไรก็ดี จากข้อมูลได้บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อบางช่วงอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบ ต่อระบบเศรษฐกิจ3 โดยแบ่งเป็นภาพที่ 1 ที่แสดงภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนเพิ่มขึ้น (Cost Push Inflation) โดยมีสาเหตุหลัก จากราคาน�้ำมัน และภาพที่ 2 แสดงภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์ (Demand Pull Inflation) ที่มีสาเหตุหลักจากการขยายตัวใน ระดับสูงของเศรษฐกิจ ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อและราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลก (Cost Push Inflation)

ช่วงที่ 1

ช่วงที่ 5

ช่วงที่ 2 ช่วงที่ 3

ที่มา : รวบรวมโดย สศค.

3

บทความนี้ได้นิยามอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เป็นอัตราเงินเฟ้อที่เกินระดับปกติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนผ่านระดับราคา สินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้นในระดับที่เกินปกติ

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

47


ภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อและอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (Demand Pull Inflation)

ช่วงที่ 3

ช่วงที่ 4

ที่มา : รวบรวมโดย สศค.

ช่วงที่ 1 ภาวะเงินเฟ้อในช่วงปี 2516-2518 ส�ำหรับสาเหตุของภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงในช่วงปี 2516-2518 มีสาเหตุจากราคาน�้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากใน ช่วงปีดงั กล่าว เป็นวิกฤตการณ์นำ�้ มันครัง้ แรกของโลก (Oil shock I) ซึง่ เป็นผลจากสงครามระหว่างอิสราเอลและประเทศในกลุม่ อาหรับหรือ Yom Kippur War จากเหตุการณ์นี้ประเทศในกลุ่มโอเปกได้รวมตัวกันประท้วงสหรัฐอเมริกาที่สนับสนุนอิสราเอลใน สงครามดังกล่าว ด้วยการงดขายน�้ำมันให้แก่สหรัฐอเมริกา ทางการสหรัฐอเมริกาจึงได้มีการสะสมน�้ำมันเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน ส่งผลให้ราคาน�ำ้ มันในตลาดโลกเพิม่ สูงขึน้ จากการขาดแคลนอุปทานและความกังวลของสงคราม จากเหตุการณ์ดงั กล่าวส่งผล ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงขึ้นทั่วโลกจากต้นทุนด้านน�้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นรวมถึงประเทศไทย จากเหตุการณ์เงินเฟ้ออยูใ่ นระดับสูงทัว่ โลก หลายประเทศได้ใช้มาตรการทางการเงินและการคลังแบบตึงตัว ท�ำให้ปริมาณ เงินลดลงในระบบเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาด้านภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัว อัตราว่างงานอยูใ่ นระดับสูง ขณะทีภ่ าวะเงินเฟ้อยังคงอยู่ ท�ำให้เกิดสถานการณ์ทเี่ รียกว่า Stagflation4 นับเป็นครัง้ แรกทีเ่ หตุการณ์ ดังกล่าวได้เกิดขึ้นในโลก ช่วงที่ 2 ภาวะเงินเฟ้อในช่วงปี 2520-2524 ในช่วงปี 2520-2521 สภาพเศรษฐกิจของไทยสามารถกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง โดยอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ มวลรวมที่แท้จริง (%yoy real GDP) เติบโตได้ร้อยละ 9.86 และร้อยละ 9.88 ในปี 2520 และปี 2521 ตามล�ำดับ ประกอบกับ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงดังกล่าวมีความคึกคักทั้งปริมาณ ราคา และมูลค่า เป็นอีกตัวชี้วัดถึงสภาพเศรษฐกิจใน ช่วงดังกล่าวได้เป็นอย่างดี จากสถานการณ์ขา้ งต้นส่งผลให้อตั ราเงินเฟ้อของไทยในช่วงนีเ้ ร่งตัวขึน้ ร้อยละ 7.6 และร้อยละ 7.9 ใน ปี 2520 และปี 2521 ตามล�ำดับ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ

4

48

Stagflation คือ สถานการณ์ที่ระบบเศรษฐกิจชะลอตัวควบคู่ไปกับอัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัว ส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากรายได้ของประชาชนลดลง ในขณะที่ต้นทุนค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นผ่านระดับราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น


ส�ำหรับในปี 2522-2523 อัตราเงินเฟ้อของไทยได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากอีกครั้งที่ร้อยละ 9.9 และร้อยละ 19.7 ตามล�ำดับ จากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาน�้ำมัน (Oil shock II) โดยสาเหตุที่ราคาน�้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ การปฏิวัติทางการเมืองของอิหร่านในปี 2522 และสงครามระหว่างอิรักและอิหร่านในปี 2523 ซึ่งท�ำให้เกิดความกังวล ด้านอุปทานน�้ำมัน สงครามและความเปลี่ยนแปลงในตะวันออกกลางส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ขณะที่เศรษฐกิจชะลอ ตัว อัตราว่างงานพุ่งสูงขึ้น ท�ำให้เศรษฐกิจโลกพบกับ Stagflation อีกครั้ง ส่วนอัตราเงินเฟ้อทีอ่ ยูใ่ นระดับสูงของปี 2524 เกิดจากราคาน�ำ้ มันทีย่ งั อยูใ่ นระดับสูงต่อเนือ่ งจากปีกอ่ นหน้า ประกอบกับ มีการประกาศลดค่าเงินบาทถึง 2 ครั้ง จาก 20.775 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ไปอยู่ที่ 21 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และในครั้งที่สองปรับ ลดค่าเงินบาทจาก 21 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ไปอยู่ที่ 23 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งการลดค่าเงินบาทถึง 2 ครั้ง ส่งผลให้ราคาสินค้า น�ำเข้าในรูปเงินบาทปรับสูงขึน้ โดยเฉพาะราคาน�้ำมันทีอ่ ยูใ่ นระดับสูงอยูแ่ ล้วเพิม่ สูงขึน้ ไปอีก อัตราเงินเฟ้อจึงเร่งตัวแรงในช่วงนัน้ ส�ำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้อในช่วงปี 2520-2524 นั้น เป็นช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น มีความวุ่นวายอย่างมาก มีการปฏิวัติบ่อยครั้ง นโยบายด้านเศรษฐกิจจึงไม่มีความต่อเนื่อง จนกระทั่งในสมัยของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี การเมืองจึงมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยพลเอกเปรมได้แต่งตั้งให้ นายสมหมาย ฮุนตระกูล รับต�ำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงได้มีมาตรการหลายอย่างจัดการกับปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ ซึ่งในขณะนั้น ดุลการคลังและดุลการค้าของประเทศขาดดุลเป็นจ�ำนวนมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงได้ปรับขึ้นภาษีหลายครั้งเพื่อ เพิ่มรายได้ของประเทศ อีกทั้งยังได้ประกาศลดค่าเงินเพื่อแก้ปัญหาดุลการค้าให้แก่ประเทศ จากนโยบายต่าง ๆ ที่มุ่งแก้ปัญหา ด้านดุลการค้าและดุลงบประมาณ ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่หลังจากนั้นโครงสร้างเศรษฐกิจก็ เริ่มกลับเข้าสู่ความสมดุล ระดับอัตราเงินเฟ้อจึงกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง ช่วงที่ 3 ภาวะเงินเฟ้อในช่วงปี 2532-2534 และปี 2537-2539 เมื่อสิ้นสุดยุคสมัยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปี 2531 เศรษฐกิจของโลกมีการขยายตัวในอัตราเร่ง ประเทศไทย จึงได้รับอานิสงส์จากภาวะเศรษฐกิจโลก ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ เป็นผล ให้เศรษฐกิจของไทยสามารถเติบโตได้สูงในช่วงปี 2531-2538 โดยสามารถเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 10.0 ซึ่งการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจในช่วงนี้น�ำมาซึ่งภาวะเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ กล่าวคือ เป็นเศรษฐกิจที่เกิดจากการเก็งก�ำไรมากกว่าการเติบโตของ ภาคเศรษฐกิจจริงจากผลของเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเป็นจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะการเก็งก�ำไรภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มี มูลค่าสูงมาก ก่อให้เกิดอุปสงค์เทียมท�ำให้เศรษฐกิจโตเกินความเป็นจริง น�ำมาซึ่งภาวะฟองสบู่แตกในเวลาต่อมา ภาวะเศรษฐกิจฟองสบูท่ เี่ กิดขึน้ ในช่วงนี้ ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวเพิม่ สูงขึน้ อย่างรวดเร็ว เนือ่ งจากเศรษฐกิจมีความคึกคัก ประกอบกับการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ท�ำให้มีเงินไหลเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจในปริมาณสูง เป็นที่มาของภาวะเงินเฟ้อในที่สุด นอกจากนี้ ในช่วงปี 2533 เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) ระหว่างอิรักและคูเวต ท�ำให้ ราคาน�้ำมันปรับเพิม่ สูงขึน้ อย่างมาก เป็นการซ�้ำเติมภาวะเงินเฟ้อให้มากขึน้ กว่าเดิม เรียกได้วา่ ภาวะเงินเฟ้อในช่วงนีเ้ ป็นเงินเฟ้อ ที่เกิดจากทั้ง Cost Push และ Demand Pull แม้ว่าในช่วงเวลานี้ภาวะเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูง (เกินระดับร้อยละ 5) อย่างไรก็ตาม พบว่าประเด็นเรื่องเงินเฟ้อกลับไม่ ได้เป็นประเด็นส�ำคัญของเศรษฐกิจในช่วงเวลานัน้ โดยไม่ปรากฏนโยบายในการบรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อแต่อย่างใด ส�ำหรับสาเหตุที่ประเด็นเรื่องเงินเฟ้อไม่ได้เป็นประเด็นส�ำคัญในช่วงเวลานั้น น่าจะเกิดจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวในระดับสูงและ ต่อเนื่อง ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากกว่าราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ประชาชนจึงไม่เดือดร้อนกับอัตราเงินเฟ้อที่เกินปกติ

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

49


ช่วงที่ 4 ภาวะเงินเฟ้อในปี 2540-2541 ในช่วงปี 2540-2541 เป็นช่วงที่เกิดวิกฤตของระบบเศรษฐกิจไทย ประเทศไทยถูกโจมตีค่าเงินจนต้องปล่อยค่าเงินบาท ลอยตัวเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เมื่อเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ธุรกิจมากมายต้องปิดกิจการ อัตราว่างงานเพิ่มสูงขึ้น นับเป็น วิกฤตครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย นอกจากเหตุการณ์ดังกล่าวยังพบว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงเวลานั้นเพิ่มขึ้นสูงอย่าง มากที่ร้อยละ 5.6 และร้อยละ 8.0 ในปี 2540 และปี 2541 ตามล�ำดับ โดยสาเหตุหลักที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นในช่วงนี้เกิด จากการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ท�ำให้ค่าเงินบาทลดลงถึงกึ่งหนึ่งจาก 25 บาท ไปถึงกว่า 50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นผล ให้ราคาสินค้าน�ำเข้าโดยเฉพาะราคาน�้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก จึงส่งผลไปยังการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ช่วงที่ 5 ภาวะเงินเฟ้อในปี 2551 ส�ำหรับภาวะเงินเฟ้อในปี 2551 เกิดจากราคาน�้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นมากผิดปกติอีกครั้งหนึ่ง โดยหากพิจารณาราคา น�้ำมันดิบในอดีตพบว่า ราคาน�้ำมันดิบพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 (ราคาน�้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 140.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์น�้ำมันดิบที่เร่งตัวขึ้นของประเทศกลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) ประกอบกับมีการเก็งก�ำไรราคาน�้ำมันในระดับสูงในช่วงครึ่งปีแรก ด้วยเหตุนี้จึงท�ำให้ราคาสินค้าและบริการมีความจ�ำเป็นใน การปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในช่วงดังกล่าวพุ่งขึ้นไปสูงสุดที่ร้อยละ 9.2 ในเดือนกรกฎาคม 2551 จากภาวะเงินเฟ้อในปี 2551 รัฐบาลได้มมี าตรการเพือ่ บรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อในวันที่ 1 สิงหาคม 2551 โดยมี ระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน มีชื่อว่า “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทย”5 ซึ่งประกอบไปด้วยการลดภาษีสรรพสามิตน�้ำมัน การชะลอการปรับราคาก๊าซ LPG การลดรายจ่ายค่าน�้ำประปา การลดรายจ่ายค่าไฟฟ้า รถเมล์ฟรี และรถไฟฟรี โดยพบว่าผล ของมาตรการทั้ง 6 สามารถลดอัตราเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี โดยในเดือนกรกฎาคม 2551 ก่อนหน้าการประกาศใช้ทั้ง 6 มาตรการ อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 9.2 ทั้งนี้ เมื่อมีการประกาศใช้ 6 มาตรการ ในวันที่ 1 สิงหาคม 2551 อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงไป อยู่ที่ร้อยละ 6.4 และค่อย ๆ ลดลงเหลือร้อยละ 6.0 ร้อยละ 3.9 ร้อยละ 2.2 และร้อยละ 0.4 ในเดือนกันยายน เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม ตามล�ำดับ จากข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่า 6 มาตรการสามารถชะลอภาวะเงินเฟ้อ ได้อย่างฉับพลัน อย่างไรก็ตาม การด�ำเนินมาตรการดังกล่าวจ�ำเป็นต้องชดเชยจากเงินงบประมาณประจ�ำปี ท�ำให้เป็นภาระ ต่อภาคการคลังในระดับหนึ่ง

บทบาทภาครัฐในการก�ำกับดูแลเงินเฟ้อ ในการก�ำกับดูแลเงินเฟ้อ ภาครัฐมีบทบาทส�ำคัญในการก�ำหนดนโยบายเพือ่ รักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเงินเฟ้อ ได้แก่ 1. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทั้งด้านราคาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และด�ำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ โดยมีมาตรการดูแลเงินเฟ้อดังนี้ ➥➥ การก�ำกับดูแลปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ - มาตรการนี้เป็นที่นิยมในการจัดการเงินเฟ้อในอดีต โดยในปี 2516 ได้มีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเพิ่มอัตราเงินสดส�ำรองตามกฎหมาย เพื่อดึงเงินออกจาก ระบบ แต่ผลที่ออกมาคือเศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงขณะที่เงินเฟ้อยังคงตัวในระดับสูง ในปี 2517 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึง เปลีย่ นนโยบายการเงินเป็นแบบผ่อนคลายเพือ่ กระตุน้ เศรษฐกิจแทน ทัง้ นีท้ งั้ นัน้ จากความซับซ้อนของระบบเศรษฐกิจทีเ่ พิม่ มาก ขึ้นในปัจจุบัน ท�ำให้การก�ำหนดปริมาณเงินไม่อาจควบคุมดูแลเงินเฟ้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นในอดีต ➥➥ การก�ำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย – เป็นหนึ่งในมาตรการที่ ธปท.สามารถคุมเงินเฟ้อได้ โดยหากเศรษฐกิจ ร้อนแรงจะท�ำให้อตั ราเงินเฟ้อเพิม่ ขึน้ การเพิม่ อัตราดอกเบีย้ จะเป็นการชะลอเศรษฐกิจโดยลดอุปสงค์รวมของประเทศ และชะลอ เงินเฟ้อไปในตัว ซึ่งในอดีตช่วงปี 2540-2541 มีการใช้มาตรการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในช่วง ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม พบว่ามาตรการทั้ง 6 มาตรการ ได้มีการต่ออายุจากหลายรัฐบาลจนมาถึงปัจจุบัน โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเล็กน้อย

5

50


2. กระทรวงการคลัง มีหน้าที่ในการเสนอแนะนโยบายด้านการคลัง เพื่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยกระทรวงการคลังมีเครื่องมือในการดูแลภาวะเงินเฟ้อ ดังนี้ ➥➥ ก�ำหนดอัตราภาษีประเภทต่าง ๆ – ในภาวะเงินเฟ้อ มาตรการที่สามารถลดภาระค่าครองชีพได้อย่างรวดเร็ว คือการลดราคาสินค้าโดยตรง ซึ่งกระทรวงการคลังมีเครื่องมือในการท�ำมาตรการดังกล่าวผ่านการลดอัตราภาษีประเภทต่าง ๆ โดยในอดีตกระทรวงการคลังได้มีบทบาทในการท�ำมาตรการนี้หลายครั้ง ได้แก่ ❍❍ ในช่วงปี 2540-2541 ได้มีการออกมาตรการคุมเงินเฟ้อในวันที่ 10 มีนาคม 2542 โดยมีการปรับลดภาษี มูลค่าเพิ่ม (VAT) จากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 ประกอบกับการลดภาษีสรรพสามิตน�้ำมันเป็นเงินถึง 23,800 ล้านบาท ทั้งนี้พบ ว่ามาตรการดังกล่าวผนวกกับการหดตัวอย่างรุนแรงของระบบเศรษฐกิจ ท�ำให้อตั ราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ อัตราเงินเฟ้อ โดยเฉลี่ยของปี 2542 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 แสดงให้เห็นถึงความส�ำเร็จของมาตรการดังกล่าว ❍❍ ในปี 2551 เนื่ อ งมาจากราคาน�้ ำ มั น พุ ่ ง สู ง ขึ้ น อย่ า งมาก จึ ง มี ก ารปรั บ ลดอั ต ราภาษี ส รรพสามิ ต น�้ ำ มั น โดยลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ 91, 95, E10, E20 และ E85 ลงลิตรละ 3.30 บาท เพื่อให้ราคาน�้ำมันแก๊สโซฮอล์มีส่วนต่าง จากราคาน�้ำมันเบนซินประมาณลิตรละ 8 บาท ขณะที่น�้ำมันดีเซล บี 2 มีการลดภาษีสรรพสามิตลงลิตรละ 2.30 บาท และลด ภาษีสรรพสามิตไบโอดีเซล บี 5 ลงลิตรละ 2.19 บาท ซึ่งใช้วงเงินทั้งหมดประมาณ 32,000 ล้านบาท โดยผลพบว่าสามารถลด อัตราเงินเฟ้อได้อย่างฉับพลัน ตารางที่ 1 ราคาน�้ำมันและส่วนลดภาษีสรรพสามิต ประเภทน�้ำมัน (บาท/ลิตร) แก๊สโซฮอล์ 95 (E10) แก๊สโซฮอล์ 91 (E10) แก๊สโซฮอล์ 95 (E20) E85 ดีเซลหมุนเร็ว (HSD) ดีเซลหมุนเร็ว บี 5 (HSD-B5)

ราคาน�้ำมัน ส่วนลด ส่วนลดภาษีอื่น ๆ ณ 15 ก.ค. 51 ภาษีสรรพสามิต และค่าการตลาด 38.19 37.39 36.89 - 44.24 43.54

-3.30 -3.30 -3.30 -3.30 -2.30 -2.10

-0.58 -0.53 -0.58 - -0.41 -0.37

ราคาใหม่

ส่วนต่าง

34.71 33.41 33.51 - 41.53 41.07

-3.88 -3.83 -3.88 -2.71 -2.47

ที่มา : www.thaigov.go.th

เมือ่ วันที่ 21 เมษายน 2554 ยังได้มมี าตรการลดภาษีสรรพสามิตน�ำ้ มันดีเซลจาก 5.31 บาทต่อลิตร เหลือเพียง 0.005 บาทต่อลิตร เพือ่ ควบคุมราคาน�ำ้ มันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร โดยผลของมาตรการพบว่าสามารถยับยัง้ การพุง่ สูงขึน้ ของอัตราเงินเฟ้อจากราคาน�้ำมันที่ขยายตัวในระดับสูงได้เป็นอย่างดี เนือ่ งจากราคาน�้ำมันดีเซลถือเป็นต้นทุนการขนส่งที่ส�ำคัญ ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

51


3. กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่ในการดูแลด้านการค้าของประเทศ รวมถึงดูแลราคาสินค้าต่าง ๆ ให้มีความเป็นธรรม โดยมีเครื่องมือในการดูแลเงินเฟ้อ คือ ➥➥ การก� ำ หนดราคาสิ น ค้ า ควบคุ ม – กระทรวงพาณิ ช ย์ มี อ� ำ นาจในการก� ำ หนดราคาสิ น ค้ า ควบคุ ม ผ่ า น พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 โดยในปัจจุบันสินค้าควบคุมมีทั้งหมด 42 รายการ6 ในความดูแล ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยการคุมราคาสินค้าเป็นการยับยั้งการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้นอกจาก การคุมราคาสินค้า กระทรวงพาณิชย์อาจมีการก� ำหนดให้แจ้งสินค้าคงคลังในแต่ละเดือน เพื่อดูว่าสินค้ามีเพียงพอต่อ ความต้องการในตลาดหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น สินค้าน�้ำตาลทรายที่มีการดูแลอย่างเข้มงวด โดยนอกจากจะมีการคุมราคาแล้ว ยังต้องมีการแจ้งปริมาณการขายในประเทศและการส่งออก รวมถึงมีการห้ามการขนย้ายน�้ำตาลที่มากกว่า 1 ตันออกจากพื้นที่ อีกด้วย โดยสาเหตุที่มีการดูแลอย่างเข้มงวดเนื่องจากในปี 2551 เกิดเหตุการณ์น�้ำตาลขาดตลาดและมีราคาสูง7 4. กระทรวงพลังงาน มีหน้าที่ในการก�ำหนดนโยบาย แผน และมาตรการด้านพลังงาน รวมถึงการดูแลราคาพลังงานด้วย โดยมีเครื่องมือดูแลเงินเฟ้อดังนี้ ➥➥ การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน�้ำมันเชื้อเพลิง – กองทุนเชื้อเพลิงมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นกลไกของรัฐในการรักษา ระดับราคาขายปลีกน�้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของประชาชน ➥➥ การตรึงราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน – ในปี 2551 ได้มีการชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน (LPG) ไปอีก 6 เดือน 5. รัฐวิสาหกิจ โดยรัฐวิสาหกิจสามารถดูแลเงินเฟ้อได้โดยผ่านการให้เงินอุดหนุนจากรัฐ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายใน การครองชีพให้แก่ประชาชนได้โดยตรง 5.1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้านครหลวง – ในปี 2551 ได้มีมาตรการ งดเก็บค่าไฟส�ำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วยต่อเดือน โดยภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ส่วนครอบครัวที่ใช้ไฟฟ้า เกินกว่า 80 หน่วยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งจะ ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศประมาณ 9.85 ล้านราย สามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120–200 บาทต่อครัวเรือน ใช้วงเงินประมาณ 12,000 ล้านบาท 5.2 การประปานครหลวง, การประปาส่วนภูมิภาค – ในปี 2551 ได้มีมาตรการงดเก็บค่าน�้ำประปาครัวเรือนที่ใช้ต�่ำ กว่า 50 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ครอบคลุมผู้ใช้น�้ำทั้งประเทศประมาณ 3.2 ล้านราย ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายน�้ำประปาเฉลี่ยต่อ รายต่อเดือนประมาณ 213 บาทในเขตนครหลวง และประหยัดได้ 176 บาทในเขตภูมิภาค ใช้วงเงินประมาณ 3,930 ล้านบาท 5.3 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ – ในปี 2551 มีการจัดรถโดยสารประจ�ำทางที่เป็นรถโดยสารธรรมดาหรือรถร้อน จ�ำนวน 800 คัน ใน 73 เส้นทาง เพื่อให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยใช้วงเงิน 1,224 ล้านบาท 5.4 การรถไฟแห่งประเทศไทย – ในปี 2551 ได้เปิดให้ประชาชนใช้บริการรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศฟรีทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้านคน โดยใช้วงเงิน 250 ล้านบาท จากเหตุการณ์เงินเฟ้อในอดีต สามารถสรุปมาตรการดูแลเงินเฟ้อและหน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมถึงผลของมาตรการต่อ ระบบเศรษฐกิจได้ดังนี้ ในปี 2555 สินค้าควบคุมของกระทรวงพาณิชย์มีทั้งหมด 42 รายการ ได้แก่ เครื่องสูบน�้ำ, รถไถนา, รถเกี่ยวข้าว, เครื่องวัดความชื้นข้าว, เครื่องตรวจสอบคุณภาพ ข้าว, เครื่องชั่งวัดอัตราส่วนร้อยละของแป้งในหัวมัน, กระดาษช�ำระและกระดาษเช็ดหน้า, บริการทางการเกษตร เช่น การจ้างเกี่ยวข้าว นวดข้าว และสีข้าว ฯลฯ, กระเทียม, ข้าวเปลือกและข้าวสาร, ข้าวโพด, มันส�ำปะหลังและผลิตภัณฑ์, ไข่ไก่, สุกรและเนือ้ สุกร, น�้ำตาลทราย, น�ำ้ มันและไขมันทีไ่ ด้จากพืชและสัตว์ทงั้ ทีบ่ ริโภค ได้หรือไม่ได้, ครีมเทียมข้นหวาน นมข้น นมคืนรูปและนมแปลงไขมัน, นมผงและนมสด, แป้งสาลี, อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ปลากระป๋อง), บะหมี่กึ่ง ส�ำเร็จรูป, ผงซักฟอก, ผ้าอนามัย, ปุย๋ , ยาป้องกันหรือก�ำจัดศัตรูพชื หรือโรคพืช, หัวอาหารสัตว์และอาหารสัตว์, ปูนซีเมนต์, เหล็กเส้น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็ก แผ่น, สายไฟฟ้า, กระดาษท�ำลูกฟูก กระดาษเหนียว, กระดาษพิมพ์และเขียน, เยื่อกระดาษ, แบตเตอรี่รถยนต์, ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์, รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุก, ก๊าซปิโตรเลียมเหลว, น�้ำมันเชื้อเพลิง, เม็ดพลาสติก, ยารักษาโรค, เครื่องแบบนักเรียน, การให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อ การค้า, บริการรับฝากสินค้าหรือบริการให้เช่าสถานที่เก็บสินค้า 7 ในปี 2551 น�้ำตาลขาดตลาดเนื่องจากประเทศบราซิลเกิดภัยแล้ง ประกอบกับราคาน�้ำมันอยู่ในระดับสูง จึงมีความต้องการน�ำอ้อยไปท�ำเอทานอลผสมกับน�้ำมัน เพื่อลดต้นทุน ส่งผลให้ราคาน�้ำตาลในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น ผู้ผลิตจึงน�ำสินค้าน�้ำตาลส่งออกไปขาย ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ขาดแคลนน�้ำตาลในประเทศ 6

52


ตารางที่ 2 มาตรการบรรเทาภาวะเงินเฟ้อและผลกระทบในอดีต ช่วงเวลาที่ภาวะ เงินเฟ้อเกินระดับปกติ 2516-2518

หน่วยงานที่รับผิดชอบ ธปท.

ผลกระทบต่อ ระบบเศรษฐกิจ

มาตรการดูแลเงินเฟ้อ

มาตรการทางการเงินแบบเข้มงวด เศรษฐกิจหดตัว ในขณะที่ เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง (เพิ่มอัตราดอกเบี้ยและ (Stagflation) เพิ่มอัตราเงินสดส�ำรองตามกฎหมาย)

2520-2524

ขาดมาตรการที่ชัดเจน

2532-2534 2537-2539

ภาวะเงินเฟ้อในช่วงนีไ้ ม่ได้เป็นประเด็น เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวในระดับสูง ธปท.

2540-2541 กระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง8

2551

มาตรการทางการเงินแบบเข้มงวด (เพิ่มอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง)

จากทั้ง 3 มาตรการ ประกอบกับเศรษฐกิจหด มาตรการปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ตัวอย่างรุนแรง ท�ำให้อตั รา เงินเฟ้อปรับตัวลดลงอย่าง จากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 ชัดเจน มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน�้ำมัน

กระทรวงการคลัง/ กระทรวงพลังงาน

มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน�้ำมัน

กระทรวงพลังงาน

ชะลอการปรับขึ้นราคา ก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน (LPG)

กระทรวงมหาดไทย (กปน. กปภ.)

ลดค่าใช้จ่ายประปาของครัวเรือน

กระทรวงพลังงาน/ กระทรวงมหาดไทย (กฟผ. กฟน. กฟภ.)

ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน

สามารถลดอัตราเงินเฟ้อ ได้อย่างฉับพลันในเดือน ต่อมา

กระทรวงคมนาคม (ขสมก.) ลดค่าใช้จา่ ยเดินทางรถโดยสารประจ�ำทาง กระทรวงคมนาคม (รฟท.)

ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถไฟชั้น 3

ที่มา : รวบรวมโดย สศค.

ในช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่มีการจัดตั้งกระทรวงพลังงาน ภาระหน้าที่จึงเป็นของกระทรวงการคลังเพียงหน่วยงานเดียว

8

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

53


ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยใช้นโยบายเพื่อรับมือเงินเฟ้อ 2 วิธีหลัก ๆ ขึ้นกับที่มาของเงินเฟ้อ กล่าวคือ หากเงินเฟ้อ เกิดจาก Demand Pull นโยบายทีไ่ ด้ผลคือการลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ หรืออีกนัยหนึง่ คือการท�ำให้อปุ สงค์โดยรวมและ เศรษฐกิจชะลอตัวลง ลดการเร่งตัวที่ร้อนแรงเกินปกติ ผ่านการลดการใช้จ่ายภาครัฐ (นโยบายการคลัง) และ/หรือการเพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยนโยบาย (นโยบายการเงิน) เพื่อชะลอความต้องการบริโภคและการลงทุนลง ในทางกลับกัน หากภาวะเงินเฟ้อเกิดจาก Cost Push สินค้าที่แพงเกิดจากการที่ต้นทุนสินค้าเพิ่มสูงขึ้น การลดรายจ่าย รัฐบาล และการใช้นโยบายการเงินจะไม่เป็นผล มาตรการที่มักน�ำมาใช้ในช่วงสั้น ๆ ได้แก่ มาตรการส�ำหรับเงินเฟ้อที่มีสาเหตุจากราคาพลังงาน ➥➥ มาตรการลดราคาพลังงานโดยตรง โดยท�ำได้จากการลดภาษีสรรพสามิตหรือภาษีนำ�้ มันตัวอืน่ รวมถึงการปรับ ลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน�้ำมัน ➥➥ มาตรการตรึงราคาพลังงาน โดยใช้เงินของรัฐในการแทรกแซงราคาตลาด ตัวอย่างเช่น การตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนไว้ที่ 18.13 บาทต่อลิตร มาตรการส�ำหรับเงินเฟ้อที่มีสาเหตุจากราคาอาหาร ➥➥ มาตรการคุมราคาสินค้า โดยกระทรวงพาณิชย์จะควบคุมราคาสินค้าวัตถุดบ ิ ทีส่ ำ� คัญทีใ่ ช้ในการประกอบอาหาร ได้แก่ กระเทียม ข้าวเปลือกและข้าวสาร ข้าวโพด มันส�ำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ไข่ไก่ สุกรและเนื้อสุกร น�้ำตาลทราย น�้ำมันและ ไขมันที่ได้จากพืชและสัตว์ทั้งที่บริโภคได้หรือไม่ได้ ครีมเทียมข้นหวาน นมข้น นมคืนรูป และนมแปลงไขมัน นมผงและนมสด แป้งสาลี อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ปลากระป๋อง) และบะหมี่กึ่งส�ำเร็จรูป เพื่อไม่ให้ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคเร่งตัวเร็ว จนเกินไป เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบอาจเกิดในช่วงสั้น ๆ ตามฤดูกาล ➥➥ มาตรการคูปองซื้ออาหาร เป็นการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนด้านอาหารโดยใช้คูปอง ท�ำให้ประชาชน สามารถซื้อสินค้าอาหารได้ในราคาถูกลงหรือไม่มีค่าใช้จ่าย ➥➥ มาตรการตั้งร้านค้าอาหารที่ขายสินค้าอาหารถูกกว่าราคาตลาด ท�ำให้ประชาชนสามารถหาแหล่งซื้ออาหาร ในราคาถูกได้อย่างเช่น ร้านอาหารธงฟ้า ร้านถูกใจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การตั้งร้านอาหารประเภทดังกล่าวต้องมีมากพอที่จะ ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีปัญหาสินค้าแพง เพื่อที่จะสามารถกระจายของราคาถูกให้แก่ทุกคนที่ประสบปัญหาได้ มาตรการส�ำหรับเงินเฟ้อที่มีสาเหตุจากราคาในหมวดเคหสถาน ➥➥ มาตรการให้ใช้ฟรีบางส่วน อย่างเช่น มาตรการไฟฟ้าฟรี และมาตรการน�้ำประปาฟรี ที่มีการใช้ฟรีตามจ�ำนวน หน่วยแรกที่ก�ำหนด โดยเน้นไปที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเป็นส�ำคัญ วิธกี ารดังกล่าวแม้จะเป็นวิธกี ารทีม่ ปี ระสิทธิภาพในการจัดการกับภาวะเงินเฟ้อในระยะสัน้ โดยสามารถลดอัตราเงินเฟ้อ ได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ดี มาตรการเหล่านี้ต้องอาศัยเงินจากงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งจะเป็นภาระต่อภาคการคลังในอนาคต ประกอบกับการเข้าแทรกแซงราคาน�ำ้ มันผ่านมาตรการต่าง ๆ จะส่งผลต่อการบิดเบือนกลไกราคา และอาจน�ำไปสูก่ ารทีผ่ บู้ ริโภค เคยชินกับการที่สินค้าและบริการมีราคาถูก ท�ำให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคหรือมีการบริโภคแบบขาดวินัยและ ฟุ่มเฟือย การยกเลิกการใช้มาตรการดังกล่าวอาจส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวแบบก้าวกระโดดขึ้นมาได้ ด้วยเหตุนกี้ ารจัดท�ำนโยบายในลักษณะแทรกแซงกลไกตลาดควรด�ำเนินการด้วยความระมัดระวังและไม่ยาวนานเกินไป เพราะจะส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนได้ รวมทั้งค�ำนึงถึงภาระที่จะเกิดกับงบประมาณด้วย

54


บทวิเคราะห์ เรื่อง บทบาทของกระทรวงการคลัง ในการด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจภายหลังวิกฤตอุทกภัย

1

บทสรุปผู้บริหาร กระทรวงการคลังมีบทบาทส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อน�ำพา ประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลมีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น พร้อมทั้ง การเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี 2558 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ❍❍ ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ด�ำเนินนโยบายและมาตรการ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ (1) นโยบายกระทรวงการคลังเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาอุทกภัย ผ่านมาตรการภาษีและมาตรการทางการเงิน และ (2) นโยบายกระทรวงการคลังเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Growth) เช่น 1) การเพิ่มรายได้ขั้นต�่ำของข้าราชการและลูกจ้างภาครัฐ 2) พักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้ น้อยที่มีหนี้คงค้างต�่ำกว่า 500,000 บาท 3) โครงการรถคันแรก/บ้านหลังแรก 4) การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ฯลฯ ทั้งนี้ ผลของมาตรการของกระทรวงการคลังท�ำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะสามารถขยายตัวได้ ร้อยละ 5.7 ต่อปี และท�ำให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ตามศักยภาพเศรษฐกิจ (Potential GDP) ในระยะยาว ที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี ❍❍

กระทรวงการคลังมีบทบาทส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อน�ำพาประเทศไทยไปสู่โครงสร้าง เศรษฐกิจที่สมดุลมีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ประกอบกับการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี 2558 ภายใต้วิสัยทัศน์ “การเป็นเสาหลักทางการคลังและ เศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน” และ 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ (1) การบริหารและรักษาความยั่งยืนทางการคลัง (2) เสริมสร้างความยัง่ ยืนทางเศรษฐกิจ (3) สนับสนุนความยัง่ ยืนทางสังคมและสิง่ แวดล้อม และ (4) บริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ซึ่งบทวิเคราะห์นี้ได้สรุปรายละเอียดของผลการด�ำเนินงานทางเศรษฐกิจของนโยบายกระทรวงการคลัง โดยแบ่งนโยบาย กระทรวงการคลังออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ (1) นโยบายกระทรวงการคลังเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาอุทกภัย และ (2) นโยบาย กระทรวงการคลังเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Growth) สามารถสรุปได้ดังนี้ ภาพที่ 1 เป้าหมายการด�ำเนินนโยบายของกระทรวงการคลัง

ที่มา : สศค. ผู้เขียน : นายวรพล คหัฏฐา เศรษฐกรปฏิบัติการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ และ คุณบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

55


1. นโยบายกระทรวงการคลังเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาอุทกภัย ภายหลังจากเหตุการณ์อุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ได้สร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจไทยจนส่งผลกระทบท�ำให้ เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ลดลงร้อยละ -8.9 จากการลดลงของห่วงโซ่อุปทานการผลิต โดยเฉพาะสาขา อุตสาหกรรมที่หดตัวลงร้อยละ -21.8 ส่งผลให้อุปสงค์ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศหดตัวลง โดยเฉพาะการใช้จ่ายเพื่อ การอุปโภค-บริโภคของครัวเรือน การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของภาครัฐและการลงทุน เป็นส�ำคัญ และต่อเนื่องถึงไตรมาสแรก ของปี 2555 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2554 เป็นต้นมา กระทรวงการคลังได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย มาตรการ ทางภาษีสรุปได้ดังนี้ ตารางที่ 1 นโยบายกระทรวงการคลังเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาอุทกภัย นโยบายกระทรวงการคลังเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาอุทกภัย 1. มาตรการภาษี 1.1 มาตรการสนับสนุนการบริจาคให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยเพื่อน�ำไปบริจาคต่อให้แก่ ผู้ประสบอุทกภัย ที่สามารถน�ำมาหักเป็นรายจ่ายในทางภาษีได้ 1.5 เท่า และ ผู้ได้รับบริจาคได้รับการยกเว้นไม่ต้องน�ำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคมา ถือเป็นเงินได้ในการค�ำนวณภาษีเงินได้

เป้าหมาย/ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

• สร้างแรงจูงใจให้มกี ารบริจาคเงินช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย

1.2 มาตรการให้หกั ค่าลดหย่อนภาษีสำ� หรับค่าใช้จา่ ยในการซ่อมแซมบ้าน ได้ไม่เกิน 1.0 แสนบาท ในปีภาษี 2554 หรือในปีภาษี 2555

• ท�ำให้ประชาชนมีรายได้หลังหักภาษี ส�ำหรับ

1.3 มาตรการให้หักค่าลดหย่อนภาษีส�ำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์ได้ ไม่เกิน 3.0 หมื่นบาท ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีในปีที่ได้จ่าย ค่าซ่อมแซมรถยนต์ในปีภาษี 2554 หรือในปีภาษี 2555

• ท� ำ ให้ ป ระชาชนมี ร ายได้ ห ลั ง หั ก ภาษี

1.4 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนในทรัพย์สินของผู้ประสบอุทกภัย ได้แก่ 1.4.1 มาตรการหักค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรที่ใช้ ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการรับจ้างผลิตสินค้าที่ได้รับผลกระทบจาก เหตุอุทกภัย ส�ำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภท เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการรับจ้างผลิตสินค้าเป็น จ�ำนวนร้อยละ 25 ของเงินได้ที่ได้จ่ายไป 1.4.2 ยกเว้ น ภาษี โ รงเรื อ นและที่ ดิ น ตามจ� ำ นวนเดื อ นที่ โ รงเรื อ นได้ รั บ ความเสียหายจากภัยพิบตั จิ นไม่สามารถใช้การได้ และยังไม่ได้ซอ่ มแซม ให้กลับสู่สภาพเดิม 1.4.3 ยกเว้นอากรขาเข้าเครือ่ งจักร ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครือ่ งจักร รวมถึงเครื่องมือและเครื่องใช้ที่ใช้กับเครื่องจักรดังกล่าวที่น�ำเข้ามาเพื่อ ทดแทนหรือซ่อมแซมเครื่องจักรที่ได้รับความเสียหาย 1.4.4 ยกเว้นอากรขาเข้ารถยนต์นั่งส�ำเร็จรูปเพื่อทดแทนการผลิตในประเทศ เป็นการชั่วคราว 1.4.5 ยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ที่น�ำเข้ามาเพื่อผลิตหรือประกอบ เป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบเป็นรถยนต์ส�ำเร็จรูปในประเทศ

การซ่ อ มแซมบ้ า น ซึ่ ง ถื อ เป็ น การลงทุ น ภาคเอกชนรูปแบบหนึ่ง

ส� ำ หรั บ การซ่ อ มแซมรถยนต์ ซึ่ ง ถื อ เป็ น การลงทุนภาคเอกชนรูปแบบหนึ่ง

• ท�ำให้มีรายได้หลังหักภาษี ส�ำหรับลงทุน ในทรัพย์สนิ ซึง่ ถือเป็นการลงทุนภาคเอกชน รูปแบบหนึ่ง

2. มาตรการทางการเงิน มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินผ่านมาตรการสินเชือ่ (Credit Policies) โดยมี ขยายสิ น เชื่ อ ให้ แ ก่ ภ าคเอกชนและภาค การก�ำหนดวงเงินจ�ำนวน 277,000 ล้านบาท ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ประชาชน เพื่ อ ฟื ้ น ฟู เ ศรษฐกิ จ และขยาย (Special Financial Institutions : SFIs) โอกาสการลงทุน

56


2. นโยบายกระทรวงการคลังเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Growth) กระทรวงการคลังมีบทบาทเพือ่ สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีสว่ นร่วม (Inclusive Growth) ผ่านมาตรการด้านภาษี มาตรการด้านงบประมาณและการเบิกจ่าย และมาตรการขยายการลงทุนภายในประเทศ เป็นส�ำคัญ ซึง่ สามารถแบ่งเป็นนโยบาย ด้านอุปสงค์ (Demand Side) และนโยบายด้านอุปทาน (Supply Side) นอกจากนี้กระทรวงการคลังได้มีการเตรียมความพร้อม การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี 2558

ภาพที่ 2 กลไกการส่งผ่านนโยบายการคลัง

ที่มา : รวบรวมโดย สศค.

2.1 นโยบายด้านอุปสงค์ (Demand Side) กระทรวงการคลังมีบทบาทส�ำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้าง ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ส�ำคัญของการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Growth) โดยมีรายละเอียดของนโยบายในแต่ละด้านดังนี้

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

57


ตารางที่ 2 นโยบายกระทรวงการคลังด้านอุปสงค์ นโยบาย/มาตรการ

ผลการด�ำเนินงาน

ด้านอุปสงค์ (Demand Side) นโยบายเพื่อส่งเสริมการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption)

• การเพิม่ รายได้ขนั้ ต�ำ่ ของข้าราชการและลูกจ้างภาครัฐ โดยด�ำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละ • ส�ำหรับการปรับฐานเงินเดือนข้าราชการ เมื่อวันที่ 10 เมษายน ไม่น้อยกว่า 300 บาท (เดือนละ 9,000 บาท) และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละ ไม่น้อยกว่า 15,000 บาท โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป

2555 คณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ มี ม ติ ใ ห้ เ ลื่ อ นการปรั บ ฐานเงิ น เดื อ น ข้าราชการเป็น 15,000 บาท ออกไปเป็นวันที่ 1 มกราคม 2557

• การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน�้ำมันดีเซล ให้คงอัตราภาษีสรรพสามิตน�้ำมันดีเซลที่ 0.005 บาท • การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน�้ำมันดีเซลขยายเวลาต่อ (คาดว่า ต่อลิตร จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2555 เพือ่ บรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการขนส่ง ภาคการผลิต และเพื่อลดค่าใช้จ่ายของประชาชน

จนถึงเดือนกันยายน 2555)

• พักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้คงค้างต�่ำกว่า 500,000 บาท • ลูกหนี้ที่มีปัญหาการช�ำระหนี้ โดย ณ วันที่ปิดรับการแสดง โครงการพักหนีฯ้ ประกอบด้วย 2 กลุม่ เป้าหมาย โดยมีรปู แบบโครงการแตกต่างกันตามความสามารถ พฤติกรรมการช�ำระเงินของลูกหนี้ และความรับผิดชอบทางการคลังของรัฐบาล มีรายละเอียดดังนี้ 1. ลูกหนี้ที่มีประวัติการช�ำระหนี้ดี (ลูกหนี้ที่มีสถานะหนี้ปกติ) ซึ่งมีหนี้คงค้างกับสถาบันการเงิน เฉพาะกิจนัน้ ไม่เกิน 500,000 บาท และไม่เป็นสินเชือ่ เพือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย สินเชือ่ เช่าซือ้ /ลิสซิง่ และสินเชือ่ ส�ำหรับผู้มีรายได้ประจ�ำ รวมทั้งไม่เป็นสินเชื่อที่ได้รับการลดอัตราดอกเบี้ยอยู่แล้ว โดยลูกหนี้ สามารถเลือก (1) พักเงินต้นและลดอัตราดอกเบีย้ ของสินเชือ่ ทีม่ อี ยูเ่ ดิมในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรือ ลดอัตราดอกเบีย้ ของสินเชือ่ ทีม่ อี ยูเ่ ดิมในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี โดยไม่พกั เงินต้น รวมเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2555 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2558 นอกจากนี้ ลูกหนี้ยังมีสิทธิขอกู้เงิน จากสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ขอพักช�ำระหนี้ในอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน 2. ลูกหนีท้ มี่ ปี ญ ั หาการช�ำระหนี้ ซึง่ เป็นลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีตน้ เงินกูค้ งเหลือรวม ทุกสัญญาในทุกสถาบันการเงิน รายละไม่เกิน 500,000 บาท และเป็นการกูย้ มื เพือ่ ประกอบอาชีพ จัดหาทีอ่ ยูอ่ าศัย การศึกษา และรักษาพยาบาล โดยจะพักช�ำระต้นเงินกูแ้ ละไม่ตอ้ งช�ำระดอกเบีย้ ให้แก่ลูกหนี้ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557

ความจ�ำนงเข้าโครงการ (วันที่ 15 เมษายน 2555) มีลกู หนีท้ ไี่ ด้รบั อนุมัติให้เข้าร่วมโครงการ 4.28 แสนราย คิดเป็นมูลหนี้ 52.3 พันล้านบาท หรือเป็นร้อยละ 55.27 ของจ�ำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด • ลูกหนีท้ มี่ ปี ระวัตกิ ารช�ำระหนีด้ ี (ลูกหนีท้ มี่ สี ถานะหนีป้ กติ) ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2555 มีผู้ที่ขอเข้าร่วมโครงการ 1,526.9 พันราย (คิดเป็นร้อยละ 40.63 จากกลุ่มผู้มีสิทธิทั้งหมด) คิดเป็นมูลหนี้ 179.1 พันล้านบาท

• โครงการรถคันแรก เป็นการคืนภาษีสรรพสามิตตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินคันละ 100,000 บาท • ตัง้ แต่วนั ที่ 16 กันยายน 2554–29 มิถนุ ายน 2555 มีการขอใช้สทิ ธิ โดยต้องเป็นรถใหม่คันแรกที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554–31 ธันวาคม 2555 ซึ่งราคาขายปลีก ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อคัน ขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร เป็นรถยนต์ที่ ผลิตขึ้นในประเทศ และจะจ่ายเงินให้เมื่อครอบครองรถยนต์ 1 ปีไปแล้ว

รถยนต์คันแรกจ�ำนวน 78.3 พันคัน คิดเป็นยอดขอคืนเงินจ�ำนวน 5.69 พันล้านบาท แบ่งออกเป็น 1. รถยนต์นั่งจ�ำนวน 45.9 พันคัน คิดเป็นยอดขอคืนเงินจ�ำนวน 4.16 พันล้านบาท 2. รถปิกอัพจ�ำนวน 16.1 พันคัน คิดเป็นยอดขอคืนเงินจ�ำนวน 269.7 พันล้านบาท 3. รถปิกอัพ Double Cab จ�ำนวน 16.2 พันคัน คิดเป็นยอด ขอคืนเงินจ�ำนวน 1.26 พันล้านบาท

• โครงการรับจ�ำน�ำข้าวเปลือกนาปี 54/55 (นาปรัง 55 มันส�ำปะหลัง และยางพารา) การรับจ�ำน�ำ • ณ วันที่ 16 เมษายน 2555 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ที่ราคาเกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาท ตามล�ำดับ

การเกษตรได้จา่ ยเงินกูร้ บั จ�ำน�ำให้เกษตรกรแล้วจ�ำนวน 1,276.6 พันราย รวม 6.798 ล้านตัน

• โครงการบัตรเครดิตเกษตรกร วงเงินให้สนิ เชือ่ สูงสุดก�ำหนดไม่เกินร้อยละ 70 ของผลผลิตส่วนเหลือ • คณะกรรมการธนาคาร ธ.ก.ส.ได้อนุมัติโครงการแล้วเมื่อวันที่ เพือ่ ขาย (ผลผลิตทีห่ กั ส่วนทีเ่ ก็บไว้เพือ่ การบริโภคในครัวเรือนแล้ว) โดยใช้ราคาตลาด ณ วันขอสินเชือ่ เป็นเกณฑ์ ทัง้ นี้ วงเงินบัตรสินเชือ่ เพือ่ เกษตรกรจะเท่ากับต้นทุนในการใช้ปจั จัยการผลิตจริง ซึง่ ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) คาดว่าจะคิดเป็นประมาณ 2,000 บาทต่อไร่ x พื้นที่ ผลิตจริง สิทธิประโยชน์ที่ได้จากโครงการฯ - ยกเว้นอัตราดอกเบี้ย 30 วันแรก หลังจาก 30 วันคิดอัตราดอกเบี้ย MRR - มีประกันชีวิตให้ลูกค้าในโครงการกรณีเสียชีวิต ในวงเงินตามมูลหนี้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ต่อราย ทั้งนี้บัญชีบัตรสินเชื่อต้องไม่อยู่ในสถานะคงค้าง

58

23 ธันวาคม 2554 โดยก�ำหนดเริ่มด�ำเนินการโครงการในวันที่ 1 มกราคม 2555 โดยภายใน 45 วันต้องด�ำเนินการ (1) ออกบัตร สินเชื่อเกษตรกรได้ 5,000 ใบ (2) ทดลองติดตั้งเครื่องรูดบัตรที่ ร้านค้าเครือข่ายของ ธ.ก.ส. จ�ำนวน 10 จุด และ (3) เริ่มทดลอง ระบบบัตร ใน 5 สาขา ของ ธ.ก.ส.ให้แล้วเสร็จ โดยมีเป้าหมาย ในการออกบัตรเกษตรกรจ�ำนวน 1 ล้านใบ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 และ 2 ล้านใบ ภายในวันที่ 13 มิถุนายน 2555 • ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2555 ได้ออกบัตรเกษตรกรแล้ว 7 แสนใบ และคาดว่าจะออกบัตรได้ 1 ล้านใบ ภายในวันที่ 1 มิถนุ ายน 2555 และ 2 ล้านใบ ภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2555


ตารางที่ 2 นโยบายกระทรวงการคลังด้านอุปสงค์ (ต่อ) นโยบาย/มาตรการ นโยบายเพื่อส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment) • ปรับลดภาษีเงินได้นติ บิ คุ คลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 เพือ่ สร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

ผลการด�ำเนินงาน

• คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 ได้มีมติเห็นชอบให้มีการปรับลดอัตราภาษี

เงินได้นติ บิ คุ คลจากร้อยละ 30.0 ให้เหลือร้อยละ 23.0 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20.0 ในปี 2556 • มีผลวันที่ 1 มกราคม 2555 โครงการบ้ า นหลั ง แรก มาตรการภาษี เ พื ่ อ ช่ ว ยเหลื อ ประชาชนให้ ม ี ท ่ ี อ ยู ่ อ าศั ย • • ปัจจุบันในช่วงเดือนกันยายน 2554 ถึงเดือนธันวาคม 2554 มีจ�ำนวนผู้ใช้สิทธิแล้ว เป็นของตนเอง เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และ จ�ำนวน 9,600 ราย สูญเสียภาษีจ�ำนวน 224 ล้านบาท ได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ก.) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 528) พ.ศ. 2554 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2554 เรียบร้อยแล้ว • มาตรการเพิ่มขีดความสามารถ SMEs • คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ Package ในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 1. มาตรการทางการเงิน ดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 - โครงการสินเชือ่ เพือ่ เพิม่ ผลิตภาพการผลิต Productivity Improvement Loan (ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย : ธพว.) - โครงการค�ำ้ ประกันสินเชือ่ ในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 4 (PGS 4 (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม : บสย.)) - โครงการค�ำ้ ประกันสินเชือ่ ในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme ส�ำหรับ ผู้ประกอบการใหม่ (PGS New-startup (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม ขนาดย่อม : บสย.)) - กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้ SMEs กู้ยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม - โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน (ผ่านกองทุนประกันสังคม) 2. มาตรการภาษี ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับ SMEs (หมายถึง นิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้จากการขายสินค้าและบริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ต่อปี) เป็นเวลา 1 ปี (จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555) ดังนี้ - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลส�ำหรับเงินได้ที่มาจากการขายเครื่องจักรเก่า เพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ - ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยให้หักค่าเสื่อมได้ 100% ในปีแรกส�ำหรับ เครื่องจักรและอุปกรณ์ - หักรายจ่ายส�ำหรับค่าจ้างแรงงานส่วนเพิม่ ได้ 1.5 เท่า ทัง้ ทีเ่ ป็นนิตบิ คุ คลและ บุคคลธรรมดา 3. มาตรการด้านตลาดทุน (Venture Capital) - การด�ำเนินการทบทวนกฎเกณฑ์และเงือ่ นไขในการให้สทิ ธิประโยชน์ทางภาษี แก่ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) • พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 จัดตั้งกองทุนภายใต้ • คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการรับประกันภัยพิบัติ ณ วันที่ 6 มีนาคม 2555 กระทรวงการคลัง มีฐานะเป็นนิติบุคคล วัตถุประสงค์ของกองทุนฯ คือ บริหาร • เริ่มเปิดขายกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ วันที่ 28 มีนาคม 2555 โดยมีบริษัทประกัน จัดการความเสี่ยงทางภัยพิบัติ โดยการประกันภัยและการประกันภัยต่อ และ วินาศภัยที่รับประกันภัยพิบัติทั้งหมด 54 บริษัท ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผปู้ ระกอบธุรกิจประกันวินาศภัย กระทรวงการคลัง โดย สบน.กู้เงินให้แก่กองทุนวงเงินไม่เกิน 50,000 ล้านบาท เพื่อรับประกันภัย ภัยธรรมชาติ นโยบายด้านการใช้จ่ายภาครัฐ (Government Consumption and Public Investment) • พ.ร.ก.ให้อำ� นาจกระทรวงการคลังกูเ้ งินเพือ่ ลงทุนวางระบบการบริหารจัดการ • เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรี น�ำ้ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 โดยให้กระทรวงการคลังมีอำ� นาจกูเ้ งิน ว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จา่ ยเงินเพือ่ วางระบบบริหารจัดการน�ำ้ และสร้าง วงเงิน 350,000 ล้านบาท เพื่อน�ำไปใช้จ่ายลงทุนวางระบบการบริหารจัดการน�้ำ อนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 และต่อมาได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว และสร้างอนาคตประเทศ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 • ณ วันที่ 13 มีนาคม 2555 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมตั เิ งินจ�ำนวน 24.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.09 ของวงเงินกู้ • การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานและการลงทุนภาครัฐ โดยเน้นการลงทุนในระบบ • กระทรวงการคลังได้มีการประชุมหารือสร้างความชัดเจนด้านการลงทุนในระบบ Logistics กระทรวงการคลังร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมในการก�ำหนดกรอบ การขนส่งของประเทศ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2554 แนวทางการพัฒนาระบบขนส่งที่สนับสนุน Logistics ของประเทศ (เน้นการขนส่ง และกระทรวงคมนาคมได้น�ำผลการหารือไปเสนอนายกรัฐมนตรีในคราวตรวจเยี่ยม ทางราง) โดยคาดว่าจะมีการลงทุนส�ำหรับการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ ในอนาคตเป็น เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 จ�ำนวนมาก ซึ่งอาจต้องพิจารณาแนวทางการระดมทุนลักษณะต่าง ๆ นอกจาก • คณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ ใ ห้ ค วามเห็ น ชอบร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ก ารให้ เ อกชนร่ ว มลงทุ น การใช้งบประมาณและการกู้เงินเพื่อลงทุนโครงการ เช่น PPPs และการจัดตั้ง ในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership : PPPs) แล้วเมื่อวันที่ 10 เมษายน กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ 2555 และได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรวาระที่ 1 แล้วเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 • ขณะนี้สภาผู้แทนราษฎรอยู่ระหว่างการตั้งกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership : PPPs)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

59


2.2 นโยบายทางด้านอุปทาน (Supply Side) กระทรวงการคลังมีบทบาทในการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันด้วยอุปทานผ่านการพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานขนาดใหญ่ของประเทศ แผนการลงทุนภายใต้ยทุ ธศาสตร์เพือ่ การฟืน้ ฟู และสร้างอนาคตประเทศทีม่ วี งเงินลงทุน 2.27 ล้านล้านบาท ส�ำหรับในระยะ 7 ปีขา้ งหน้า โดยกระทรวงการคลังมีบทบาทส�ำคัญ ในการเตรียมความพร้อมจัดหาแหล่งเงินทุนที่เพียงพอส�ำหรับการด�ำเนินโครงการดังกล่าว ตารางที่ 3 กรอบแผนการลงทุนเบื้องต้นด้านโครงสร้างพื้นฐานในช่วงปี 2555-2562 สาขาการลงทุน สาขาขนส่งทางบก • การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง • การพัฒนาระบบรถไฟ และรถไฟสายใหม่ • การพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง • การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง • การพัฒนาโครงข่ายถนนและขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ สาขาขนส่งทางอากาศและทางน�้ำ สาขาพลังงาน สาขาสื่อสาร สาขาสาธารณูปการ รวม

วงเงินลงทุน (ล้านบาท)

ร้อยละ

1,469,879.09 187,305.00 298,237.89 481,066.00 321,316.00 181,954.20 148,504.20 499,449.20 35,181.00 117,072.25 2,270,086.74

64.7 8.3 13.1 21.2 14.2 8.0 6.5 22.0 1.5 5.2 100.0

ที่มา : คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ สศช.

2.3 นโยบายกระทรวงการคลังในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) เพือ่ เป็นการเตรียมความพร้อมและความคืบหน้าของการจัดตัง้ ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ในส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง กับความร่วมมือด้านการเงินการคลัง กระทรวงการคลังได้ด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังด้านการเงินการคลัง เพือ่ รองรับประชาคมอาเซียน ภายใต้วสิ ยั ทัศน์ “มีความเป็นเลิศด้านการเงินการคลัง เพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน ของไทยในอาเซียน” เพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายหลักทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ (1) การเป็นตลาดและฐานการผลิต เดียวกัน : โดยมีการเคลื่อนย้ายเสรีใน 5 สาขา ได้แก่ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมือ ระหว่างประเทศสมาชิก ได้อย่างเสรีมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการขยายการค้าและการบริการเพิ่มขึ้น (2) การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถ ในการแข่งขันสูง : จะให้ความส�ำคัญกับประเด็นด้านนโยบายอื่น ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบาย การแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้าง พืน้ ฐาน (การขนส่ง โครงสร้างพืน้ ฐานสารสนเทศ พลังงาน เหมืองแร่ และการสนับสนุนด้านการเงินแก่โครงการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานต่าง ๆ ของอาเซียน) (3) การเป็นภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน : สนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้านต่าง ๆ และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น มาตรการริเริ่ม เพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiatives for ASEAN Integration) และ ASEAN-help-ASEAN Programs ฯลฯ เพื่อลดช่องว่าง ของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก และ (4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก : เน้นการปรับและประสานนโยบาย เศรษฐกิจ สร้างเครือข่ายกับประเทศภายนอกกลุ่ม เพื่อสร้างความเข้มแข็งในภูมิภาคและรองรับการแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มีการก�ำหนดยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ภายใต้ วิสยั ทัศน์ “มีความเป็นเลิศด้านการเงินการคลัง เพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในอาเซียน” ในแต่ละเสาหลักดังนี้

60


ภาพที่ 3 ยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

บทสรุป นโยบายต่าง ๆ ของกระทรวงการคลังเหล่านี้จะสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ประเทศ และ เป็นการสร้างความเข้มแข็งทัง้ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงการเตรียมความพร้อมการเข้าสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี 2558 ทั้งนี้ ผลของนโยบายกระทรวงการคลังที่กล่าวมานี้คาดว่า จะท�ำให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.7 ในปี 2555 และท�ำให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ตามศักยภาพ เศรษฐกิจ (Potential GDP) ในอนาคตต่อไป

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

61


บทวิเคราะห์ เรื่อง ยูโร ความเหมือนที่แตกต่าง

1

บทสรุปผู้บริหาร โดยทฤษฎีคา่ เงินสกุลใดสกุลหนึง่ ควรจะสะท้อนพืน้ ฐานความแข็งแกร่งเศรษฐกิจของประเทศ นั้น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม การรวมเป็นสกุลเงินยูโรส่งผลให้ค่าเงินยูโรอาจไม่สอดคล้องกับสถานะทางเศรษฐกิจ ของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย ในบทความนี้พยายามจะสะท้อน ความเหลื่อมล�้ำระหว่างค่าเงินยูโรและสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกยูโรโซน โดยอาศัยวิธีการ เปรียบเทียบดัชนีค่าเงิน (NEER) และดัชนีค่าเงินที่แท้จริง (REER) ระหว่างประเทศสมาชิกยูโรโซน ❍❍ ผลการเปรียบเทียบพบว่า ค่าเงินยูโรไม่สามารถสะท้อนความหลากหลายทางด้านเศรษฐกิจ ของประเทศสมาชิกยูโรโซนได้ อีกทัง้ การใช้สกุลเงินยูโรร่วมกันยังก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบด้านค่าเงิน อันเป็นต้นเหตุส�ำคัญประการหนึ่งที่น�ำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจของยูโรโซนในปัจจุบัน ❍❍

1. บทน�ำ สกุลเงินยูโร เป็นสกุลเงินหลักที่ประเทศในกลุ่มยูโรโซนใช้ร่วมกัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา โดยมี วัตถุประสงค์ในการอ�ำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคด้านการค้าสินค้าและบริการภายในยูโรโซน ทั้งนี้ โดยปกติแล้วค่าเงิน ของประเทศหนึ่ง ๆ สามารถบ่งชี้ความแข็งแกร่งและความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ แต่ในกรณีค่าเงินยูโรซึ่งเป็น สกุลเงินร่วมกันระหว่างประเทศในกลุ่มยูโรโซนย่อมไม่สามารถอธิบายลักษณะทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิกดังกล่าว ได้ การใช้เงินสกุลร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกจึงส่งผลให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างกัน กล่าวคือ ค่าเงินยูโรอาจแข็งเกินไปส�ำหรับบางประเทศ แต่อาจอ่อนเกินไปส�ำหรับอีกประเทศ ในการศึกษานีผ้ เู้ ขียนได้วเิ คราะห์อตั ราแลกเปลีย่ นจากมุมมองของประเทศสมาชิกยูโรโซนแต่ละประเทศ โดยพิจารณาจาก มุมมองด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน เพื่อชี้ให้เห็นถึงความได้เปรียบ เสียเปรียบของแต่ละประเทศจากการใช้สกุลเงินยูโรร่วมกัน และสะท้อนสถานการณ์หนี้สาธารณะของประเทศในยูโรโซน

2. ความสัมพันธ์และความแตกต่างระหว่างดัชนีค่าเงินกับดัชนีค่าเงินที่แท้จริง เมือ่ ค่าเงินยูโรไม่อาจสะท้อนลักษณะเฉพาะทางเศรษฐกิจของประเทศในยูโรโซนได้ ในการศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรร่วมกัน ผู้เขียนจึงใช้ดัชนีค่าเงิน (Nominal Effective Exchange Rate : NEER) และดัชนีค่าเงินที่แท้จริง (Real Effective Exchange Rate : REER) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับอัตราแลกเปลี่ยน มาทดแทน NEER และ REER คือ อัตราแลกเปลีย่ นของสกุลเงินตนเองต่อตะกร้าสกุลเงินของประเทศอืน่ ทัง้ หมดซึง่ ค�ำนวณในรูปแบบ ของดัชนี จึงบ่งชีก้ ารแข็งค่าหรืออ่อนค่าของสกุลเงินทีแ่ ท้จริงได้ และยังสะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงอัตราแลกเปลีย่ น โดยรวมกับประเทศอื่น ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) ได้ค�ำนวณ NEER โดยเฉลี่ยถ่วงน�้ำหนัก อัตราแลกเปลี่ยนของยูโรต่อประเทศคู่ค้าสินค้าอุตสาหกรรมของยูโรโซนอีก 20 ประเทศ โดยถ่วงน�้ำหนักจากสัดส่วนการค้าของ ผู้เขียน : พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ เศรษฐกรปฏิบัติการ และภัทราพร คุ้มสะอาด เศรษฐกรตรี ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ขอขอบคุณ นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ และ ดร.พิมนารา หิรัญกสิ ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ

1

62


ยูโรโซนต่อประเทศนั้น ๆ และใช้ไตรมาสแรกของปี 2542 เป็นปีฐาน เพื่อชี้วัดความสามารถทางการแข่งขันระหว่างประเทศ ซึ่งมี ปัจจัยส�ำคัญ 2 ประการที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงค่า NEER ดังนี้ 1) ปัจจัยพืน้ ฐานทางเศรษฐกิจ ซึง่ ขึน้ อยูก่ บั แต่ละประเทศจะพิจารณาให้สดั ส่วนใดมีความส�ำคัญ โดยมีสดั ส่วนทีส่ ำ� คัญ 3 ประการ ที่สามารถน�ำมาใช้ในการถ่วงน�้ำหนักได้ดังนี้ - สัดส่วนประเทศคูค่ า้ กล่าวคือ การท�ำการค้าระหว่างประเทศนัน้ สิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือ สกุลเงินของประเทศคูค่ า้ หลัก ที่ส�ำคัญ หากประเทศคู่ค้าดังกล่าวมีอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้น สะท้อนถึงอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศตนเองที่ลดลง มีผลท�ำให้ ค่า NEER ลดลง บ่งชี้ว่าราคาสินค้าส่งออกของประเทศนี้ถูกลงเมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่มาจากประเทศคู่แข่ง โดยวิธีดังกล่าว เป็นวิธีที่นิยมมากในการน�ำมาถ่วงน�้ำหนักค่า NEER - สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ แสดงถึงเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ประเทศนั้น ๆ ซึ่งหากประเทศคู่ค้าที่มี สัดส่วนการลงทุนที่มากมีอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น ท�ำให้ค่าเงินของประเทศนั้นอ่อนค่าลงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศดังกล่าว แล้ว ส่งผลให้ค่า NEER เพิ่มขึ้น - สัดส่วนหนี้สินต่างประเทศ หากประเทศดังกล่าวมีสัดส่วนหนี้สินต่างประเทศมาก เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนของ ประเทศที่เป็นเจ้าหนี้เพิ่มขึ้น จะส่งผลท�ำให้ประเทศนั้นเป็นหนี้เพิ่มขึ้นจากสกุลเงินในประเทศโดยเปรียบเทียบนั้นอ่อนค่าลงจาก ค่า NEER ที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อทั้งการลงทุนภายในประเทศและภาคการค้าระหว่างประเทศ 2) แรงกดดันจากการคาดการณ์และการเก็งก�ำไร การเก็งก�ำไรค่าเงินเป็นสิง่ ทีไ่ ม่สามารถควบคุมได้ ซึง่ ส่งผลทางอ้อม ต่อความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศนั้น ๆ โดยที่การเก็งก�ำไรค่าเงินไม่ได้สะท้อนถึงค่าเงินที่แท้จริงของประเทศ หากมีนักลงทุนเข้ามาเก็งก�ำไรค่าเงินมากเกินไปอาจส่งผลให้ค่า NEER ลดลงในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านนโยบาย แทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนและแรงกดดันจากการเก็งก�ำไรค่าเงินไม่มีผลต่อ NEER ของประเทศในยูโรโซน เนือ่ งจากการใช้สกุลเงินยูโรร่วมกัน ท�ำให้ประเทศใดประเทศหนึง่ ไม่สามารถออกนโยบายเพือ่ ควบคุมอัตราแลกเปลีย่ น ได้ และนักลงทุนไม่สามารถเก็งก�ำไรยูโรโดยเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่งในยูโรโซนได้ ดังนั้น ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็น เพียงปัจจัยเดียวที่มีผลต่อค่าเงินยูโร ส่วนค่า REER นั้นได้เพิ่มปัจจัยทางด้านอัตราเงินเฟ้อของประเทศตนเองและประเทศคู่ค้ามาพิจารณาร่วมด้วย โดยค�ำนึงถึงความแตกต่างด้านก�ำลังซื้อระหว่างประเทศคู่ค้า ท�ำให้เล็งเห็นค่าเงินที่แท้จริงโดยไม่มีผลของราคาเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วย การที่ค่า REER จะเพิ่มหรือลดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการด้วยกัน ดังต่อไปนี้ (1) การเปรียบเทียบอัตราเงินเฟ้อของประเทศตนเองและประเทศคู่ค้า (Relative Inflation) เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อของประเทศตนเองและประเทศคูค่ า้ นัน้ มีผลต่อการเปลีย่ นแปลงของ REER ในทิศทางทีแ่ ตกต่างกัน ดังนัน้ จึงจ�ำเป็น ต้องน�ำทั้งสองปัจจัยมาพิจารณาร่วมกัน ดังต่อไปนี้ - อัตราเงินเฟ้อในประเทศ หากอัตราเงินเฟ้อในประเทศเพิม่ ขึน้ สะท้อนจากราคาสินค้าโดยทัว่ ไปภายในประเทศ ปรับตัวสูงขึ้น (หมายรวมถึงราคาสินค้าเพื่อส่งออกด้วย) ส่งผลให้อุปสงค์ต่อเงินตราของประเทศนั้นเพิ่มขึ้น บ่งชี้ได้ว่าค่าเงินของ ประเทศนี้ที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ REER เพิ่มขึ้น - อัตราเงินเฟ้อของประเทศคู่ค้า หากอัตราเงินเฟ้อของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น แสดงถึงราคาสินค้าน�ำเข้าจาก ประเทศคูค่ า้ นัน้ แพงขึน้ ท�ำให้อปุ สงค์ของเงินตราต่างประเทศนัน้ เพิม่ ขึน้ เมือ่ เทียบกับราคาสินค้าน�ำเข้าเดิม ค่าเงินภายในประเทศ จึงอ่อนค่าลง และท�ำให้ค่า REER นั้นลดลง (2) ต้ น ทุ น อั ต ราค่ า จ้ า งแรงงานต่ อ คน ซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยต่อคนของแต่ละประเทศที่สูงขึ้นนั้นจะผลักดันท�ำให้ อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศสูงขึน้ ตามด้วย ส่งผลให้การแข่งขันทางด้านต้นทุนการผลิตสินค้าของประเทศนัน้ ลดลง จากค่า REER ที่สูงขึ้นเนื่องจากค่าเงินของประเทศนั้นแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้า แต่จะมีผลต่อ REER เพียงแค่ระยะสั้น เท่านั้น หากจะส่งผลในระยะยาวนั้นจะต้องมาจากโครงสร้างค่าจ้างโดยรวมในตลาดแรงงานของประเทศนั้น ๆ อย่างแท้จริง จากทีก่ ล่าวมาพบว่าค่า NEER และ REER ทีเ่ พิม่ ขึน้ นัน้ ท�ำให้สกุลเงินของประเทศนัน้ ๆ แข็งค่าขึน้ เพียงแต่ REER สามารถชี้วัดความสามารถทางการแข่งขันระหว่างประเทศได้อย่างแท้จริง โดยน�ำเรื่องของความแตกต่างทางด้านก�ำลังซื้อของ ประเทศคู่ค้ามาเป็นตัวชี้วัดด้วยอีกทางหนึ่ง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

63


3. ความแตกต่างของค่าเงินจากการใช้สกุลเงินยูโรร่วมกัน เราสามารถจ�ำแนกความแตกต่างของค่าเงินประเทศทีใ่ ช้สกุลเงินร่วมกันได้ ด้วยการหาอัตราการเปลีย่ นแปลงจากปีฐาน ของ NEER และ REER ของแต่ละประเทศและน�ำมาเปรียบเทียบกัน ตามตารางที่ 1 ทั้งนี้ ผู้เขียนได้ก�ำหนดปีฐาน 2 ปี คือ ปีฐาน พ.ศ. 2542 ซึง่ เป็นปีแรกทีเ่ ริม่ ใช้สกุลเงินยูโรเป็นหลัก สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังใช้เงินสกุลยูโรได้ดี และ ปีฐาน พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นปีก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก บ่งชี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่ละประเทศได้อีกด้วย ในบทวิเคราะห์นี้ ได้น�ำค่า NEER และ REER ของประเทศสมาชิกยูโรโซนรายประเทศจาก Bank for International Settlements (BIS)2 ซึ่ง ค�ำนวณค่าเงินของแต่ละประเทศจากค่าเงินยูโรทดแทนค่าเงินเดิมทีไ่ ด้ยกเลิกไปแล้วมาใช้ในการค�ำนวณอัตราการเปลีย่ นแปลง การเปรียบเทียบความแตกต่างนี้ได้หยิบยกปัจจัยที่มีผลต่อ NEER และ REER ที่กล่าวถึงในส่วนที่แล้วมาพิจารณา ทั้งนี้ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจดูจะเป็นเพียงตัวชี้วัดเดียวที่สามารถจ�ำแนกความแตกต่างของค่าเงินประเทศสมาชิกยูโรโซน ซึ่งจะ เป็นตัวเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากทั่วโลกได้ ตารางอัตราการเปลี่ยนแปลง NEER และ REER ของประเทศในยูโรโซน ปี 2553 เมื่อเทียบกับปีฐาน

ประเทศ

NEER

REER

ปีฐาน 2542

ปีฐาน 2551

ปีฐาน 2542

ปีฐาน 2551

1.74% 1.38% 1.56% 3.72% 2.89% 0.03% 2.12% 5.46%

-5.48% -4.67% -1.96% -4.13% -5.62% -2.42% -3.46% -8.26%

-12.63% -8.53% 3.61% -2.54% 7.65% 4.99% 6.33% -8.36%

-9.57% -7.91% -2.97% -5.65% -14.34% -0.86% -5.63% -12.86%

เยอรมนี ฝรั่งเศส โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ สเปน ยูโรโซน

ที่มา : BIS ค�ำนวณโดย สศค.

• ยูโรโซน การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจนั้นเพื่อประโยชน์ต่อการเพิ่มอ�ำนาจการต่อรองกับประเทศนอกสมาชิก อีกทั้งท�ำให้การค้า ระหว่างประเทศสมาชิกมีความสะดวกสบายมากขึ้น และยังท�ำให้การเคลื่อนย้ายทุนและแรงงานรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งมีผลท�ำให้ค่าเงินของประเทศสมาชิกแข็งค่าขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ค่าเงินยูโรในปัจจุบันจะแข็งค่าขึ้นกว่าการรวมตัวเป็น ยูโรโซนในระยะแรก สะท้อนจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของ NEER ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.46 เมื่อเทียบกับปี 2542 อย่างไรก็ตาม นอกจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยในการแข็งค่าของค่าเงินแล้ว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ของประเทศในกลุม่ ยูโรโซนก็มอี ทิ ธิพลต่อค่าเงินยูโรเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากค่าเงินยูโรทีย่ งั คงอ่อนค่าจากวิกฤตการเงินในปี 2551 โดยการเปลี่ยนแปลง NEER จากปีนั้นลดลงร้อยละ -8.26 ชี้ว่า ณ ปัจจุบันเศรษฐกิจของยูโรโซนโดยรวมยังไม่ฟื้นตัว เมื่อพิจารณาการเปรียบเทียบอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนและประเทศคู่ค้าร่วมด้วยตามการค�ำนวณ REER เพื่อหาค่าเงิน ทีแ่ ท้จริงของยูโรโซน กลับพบว่าค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงทัง้ จากก่อนเข้ายูโรโซนและหลังจากวิกฤตการเงินโลก เนือ่ งจากอัตราเงินเฟ้อ ของยูโรโซนน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศนอกยูโรโซน ค่าเงินทีอ่ อ่ นค่านีท้ ำ� ให้ยโู รโซนได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) กับประเทศคู่แข่งด้านส่งออกสินค้าและบริการ

http://www.bis.org/statistics/eer/index.htm

2

64


• ประเทศผู้น�ำยูโรโซน (เยอรมนีและฝรั่งเศส) V.S. ประเทศกลุ่ม PIIGS การมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกันของประเทศสมาชิกยูโรโซน ท�ำให้อัตราการเปลี่ยนแปลง NEER และ REER เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน แต่มีระดับการแข็งค่าและอ่อนค่าที่แตกต่างกันตามรายละเอียดปลีกย่อย โดยระดับ การแข็งค่าและอ่อนค่าที่แตกต่างกันนี้สามารถจ�ำแนกค่าเงินออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ค่าเงินของประเทศผู้น�ำยูโรโซน และค่าเงิน ของประเทศกลุ่ม PIIGS ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกที่มีฐานะทางการคลังและแนวโน้มเศรษฐกิจอ่อนแอ ได้แก่ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน เศรษฐกิจของประเทศที่ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพนั้นสามารถเรียกความเชื่อมั่นในการลงทุนและด�ำเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจของชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี นั่นท�ำให้การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศมีความผันผวนน้อยและมีแนวโน้ม ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนผ่านค่าเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับต�่ำ ค่าเงินของประเทศผู้น�ำยูโรโซนก็เช่นเดียวกัน การเปลีย่ นแปลง NEER จากปีฐาน พ.ศ. 2542 นัน้ อยูใ่ นระดับทีต่ ำ�่ กว่าค่าเงินของประเทศกลุม่ PIIGS ทีป่ ระสบปัญหาหนีส้ าธารณะ โดยเฉลี่ย ตัวแปรที่ส�ำคัญคือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศผู้น�ำยูโรโซนมีความผันผวนน้อยกว่า ส่วนการแข่งขันด้านราคาสินค้าและบริการเพือ่ การส่งออก ประเทศผูน้ ำ� ยูโรโซนมีอตั ราเงินเฟ้อโดยเปรียบเทียบ (Relative Inflation) ต�่ำกว่าประเทศกลุ่ม PIIGS โดยเฉลี่ย ท�ำให้ค่าการเปลี่ยนแปลง REER ติดลบขณะที่อัตราการเปลี่ยนแปลง NEER เป็นบวกหรือติดลบน้อยกว่า อัตราการเปลี่ยนแปลง REER ของประเทศผู้น�ำยูโรโซนจากปีฐานที่ติดลบนี้บ่งชี้การอ่อนค่าของ ค่าเงินที่แท้จริง ท�ำให้ประเทศผู้น�ำยูโรโซนได้เปรียบด้านราคาสินค้าและบริการที่ถูกกว่าประเทศอื่น ดึงดูดให้การส่งออกของ ประเทศดังกล่าวได้มากกว่า จากโครงสร้างการผลิตทีแ่ ตกต่างกัน โดยประเทศกลุม่ PIIGS ใช้แรงงานเข้มข้น ต่างจากเยอรมนีและฝรัง่ เศสทีใ่ ช้เครือ่ งจักร เข้มข้น เนือ่ งจากต้องการแรงงานเข้าสูก่ ระบวนการผลิตมากกว่า ท�ำให้คา่ แรงของประเทศกลุม่ PIIGS ปรับตัวเพิม่ ขึน้ รวดเร็วกว่า (ตามภาพที่ 1) และท�ำให้ค่าเงินแข็งค่ากว่าด้วย โดยปกติแล้วการลดค่าเงินจะช่วยลดต้นทุนการผลิตของประเทศที่ใช้แรงงาน เข้มข้นในมุมมองของผู้บริโภค ท�ำให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ แต่การใช้สกุลเงินเดียวกันทั้งยูโรโซนท�ำให้ไม่สามารถ ลดค่าเงินได้ และค่าแรงที่สูงกว่าของ PIIGS นี้ยังผลักดันให้การเปลี่ยนแปลง REER มากกว่าของประเทศผู้น�ำยูโรโซน ดังนั้น การปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อลดค่าแรงจะท�ำให้สินค้าจากประเทศกลุ่ม PIIGS สามารถแข่งขันกับประเทศผู้น�ำยูโรโซนได้

ภาพที่ 1 อัตราการเพิ่มค่าแรงของประเทศในยูโรโซน ปี 2553 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2551

ที่มา: EUSTAT ค�ำนวณโดย สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

65


• กรณีศึกษาของกรีซ เศรษฐกิจกรีซในปัจจุบนั ยังคงชะลอตัวลงจากวิกฤตหนีส้ าธารณะและการใช้มาตรการรัดเข็มขัดทีเ่ ข้มงวด ซึง่ เป็นอุปสรรค ต่อการด�ำเนินนโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ กรีซยังมีปัญหาด้านอัตราเงินเฟ้อ ที่อยู่ในระดับที่สูง สะท้อนให้เห็นจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของ REER เมื่อเทียบกับ NEER ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศ ของกรีซขยายตัวชะลอลงอย่างชัดเจน โดยที่การด�ำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกรีซยังต้องอยู่ในขอบเขตที่จ�ำกัด อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากตารางที่ 1 พบว่าค่าเงินที่แท้จริงของกรีซอ่อนค่าลง สะท้อนจากอัตราการเปลี่ยนแปลง NEER จากปีฐาน 2551 ที่ติดลบ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินที่แท้จริงของกรีซนั้นยังอ่อนค่าลงน้อยกว่าค่าเงินยูโร ส่งผลให้การเป็นสมาชิกยูโรโซนสร้างโอกาส ในการส่งออกแก่กรีซเพือ่ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้มากกว่าการใช้คา่ เงินของตนเอง ในทางกลับกัน จากความเชือ่ มโยงทางการค้า กับประเทศในยูโรโซนด้วยกันเองในระดับสูง โดยเฉพาะเยอรมนีและฝรัง่ เศสทีค่ า่ เงินทีพ่ จิ ารณาจากอัตราการเปลีย่ นแปลง REER อ่อนค่ากว่ากรีซเป็นอย่างมาก ท�ำให้ราคาสินค้าส่งออกของกรีซแพงกว่าประเทศทั้งสองในเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อ การส่งออก ดังนัน้ การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพือ่ ลดค่าเงินทีแ่ ท้จริง โดยเฉพาะควบคุมอัตราเงินเฟ้อและอัตราค่าจ้างแรงงาน (Internal Devaluation) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่รัฐบาลกรีซจ�ำเป็นต้องเร่งด�ำเนินการหากกรีซยังเลือกที่จะใช้เงินสกุลยูโรต่อไป

4. สรุป การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการใช้สกุลเงินร่วมกันของยูโรโซนอาจท�ำให้ดูเหมือนว่า ภายหลังการรวมกลุ่มจะท�ำให้ ค่าเงินของทุกประเทศเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วค่าเงินของแต่ละประเทศแตกต่างกันตามปัจจัยพื้นฐานทาง เศรษฐกิจของประเทศนัน้ ๆ ความหลากหลายทางเศรษฐกิจนีเ่ องเป็นผลให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบด้านค่าเงินของประเทศ ภายในยูโรโซนเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินยูโร อันเป็นปัจจัยส�ำคัญปัจจัยหนึ่งที่น�ำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจของยูโรโซนในปัจจุบัน กรณีของกรีซ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากมาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มงวดเพื่อลดระดับหนี้สาธารณะ ท�ำให้การส่งออก ดูจะเป็นหนึ่งในทางออกไม่กี่ทางที่รัฐบาลใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วยตนเอง แต่ค่าเงินแท้จริงของกรีซที่แข็งค่ากว่า ค่าเงินเยอรมนีและฝรัง่ เศสคูค่ า้ รายส�ำคัญกลับเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เนือ่ งจากค่าเงินทีแ่ ข็งค่าท�ำให้ราคาสินค้าส่งออกของ กรีซแพงกว่าของประเทศทัง้ สอง การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพือ่ ลดค่าเงินแท้จริง โดยเฉพาะการควบคุมอัตราเงินเฟ้อและอัตรา ค่าจ้างแรงงาน (Internal Devaluation) จึงเป็นทางเลือกที่รัฐบาลกรีซไม่อาจหลีกเลี่ยงได้หากกรีซเลือกที่จะใช้เงินสกุลยูโรต่อไป ดังนัน้ การรวมกลุม่ ทางเศรษฐกิจของยูโรโซนจะเอือ้ ประโยชน์สงู สุดต่อทุกประเทศภายในภูมภิ าค หากประเทศในยูโรโซน มีโครงสร้างเศรษฐกิจและด�ำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ดีและสอดรับกัน การก�ำหนดข้อตกลงการใช้เงินสกุลยูโรร่วมกัน อาจต้องมองไปถึงแง่ของโครงสร้างและการจัดการทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในช่องทางที่มีความสอดคล้องกันมากที่สุด เพือ่ ลดความได้เปรียบเสียเปรียบด้านค่าเงินลง ลักษณะดังกล่าวจะท�ำให้ประเทศในยูโรโซนได้ประโยชน์รว่ มกัน จากการใช้เงินสกุล ยูโรนอกเหนือจากการอ�ำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคด้านการค้าสินค้าและบริการภายในยูโรโซนแต่เพียงอย่างเดียว และ ยังท�ำให้เศรษฐกิจโดยรวมของยูโรโซนเกิดความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน

66


บทวิเคราะห์ เรื่อง กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) อีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนของภาครัฐ 1

บทสรุปผู้บริหาร การลงทุนเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและการพัฒนา ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว แต่อตั ราส่วนการลงทุนของภาครัฐต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ลดลงอย่างมีนยั ส�ำคัญ โดยอัตราส่วนดังกล่าวลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 5.5 ของ GDP ในปี 2554 เนือ่ งจากข้อจ�ำกัดทางด้านการคลัง ในขณะทีร่ ฐั บาลต้องมีคา่ ใช้จา่ ยทีเ่ ป็นรายจ่าย ประจ�ำที่เพิ่มขึ้น ท�ำให้สัดส่วนการลงทุนของภาครัฐมีแนวโน้มลดลง ❍❍ ด้วยข้อจ�ำกัดของความไม่สมดุลของโครงสร้างงบประมาณของประเทศ และข้อจ�ำกัดทางด้าน กฎหมาย ท�ำให้ภาครัฐต้องพิจารณาจัดหาแหล่งเงินอืน่ ทดแทน เช่น การหาแนวทางเพิม่ รายได้ของภาครัฐ การเพิม่ บทบาทการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public - Private Partnership : PPP) การจ�ำหน่ายหลักทรัพย์ ของรัฐ และการระดมเงินทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) เป็นต้น ❍❍ กองทุนรวมโครงสร้างพืน ้ ฐานจะช่วยเพิม่ ทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ภาครัฐ ภายใต้ขอ้ จ�ำกัด ของงบประมาณให้สามารถน�ำโครงการทีเ่ กีย่ วกับโครงสร้างพืน้ ฐานประเภทต่าง ๆ ทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ สาธารณะ ได้แก่ ระบบขนส่งทางราง ไฟฟ้า ประปา ถนนหรือทางพิเศษ ทางสัมปทาน ท่าอากาศยานท่าเรือน�ำ้ ลึก โทรคมนาคม และพลังงานทางเลือก เป็นต้น โดยเป็นการระดมทุนจากนักลงทุนสถาบันและประชาชนทัว่ ไป ซึง่ จะเป็นการแบ่งเบา ภาระการคลังของรัฐบาลในระยะยาว รวมทั้งเป็นการช่วยพัฒนาตลาดการเงินและช่วยสร้างความโปร่งใสให้แก่ รัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า หากภาครัฐสามารถเพิ่มการลงทุนในโครงสร้าง พื้นฐานได้ทุก ๆ 100,000 ล้านบาท จะท�ำให้ GDP ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 0.4 ❍❍ ความส�ำเร็จของกองทุนรวมโครงสร้างพืน ้ ฐานจ�ำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ (1) ความชัดเจน ของแผน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและแผนการระดมเงินทุนของภาครัฐ เพื่อลดการแย่ง สภาพคล่องในตลาดเงินโดยภาครัฐ (Crowding - out Effect) (2) โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ก�ำหนดขอบเขตของ โครงการลงทุนเชิงพาณิชย์ตา่ ง ๆ ทีภ่ าคเอกชนจะให้ความสนใจร่วมลงทุน และ (3) การพัฒนาตลาดการเงินของ ประเทศไทยทัง้ เชิงลึกและกว้าง เพือ่ จะดึงดูดนักลงทุนทีส่ นใจเข้ามาลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพืน้ ฐานซึง่ จะ ก่อให้เกิดการแข่งขันอันจะท�ำให้ต้นทุนในการระดมเงินทุนต�่ำลง ❍❍

1. ภาพรวมการลงทุนของประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน การลงทุนเป็นปัจจัยทีส่ ำ� คัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และการสร้างความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ในช่วงทีผ่ า่ นมาการลงทุนภายในประเทศของไทยอยูใ่ นระดับต�ำ่ โดยในปี 2554 เศรษฐกิจไทย มีมูลค่าการลงทุนเท่ากับ 2.8 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 26.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ลดลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ที่อัตราส่วนการลงทุนภายในประเทศต่อ GDP เฉลี่ย ในช่วงปี 2536–2539 เท่ากับร้อยละ 40.7 นอกจากนี้ อัตราส่วนการลงทุนของภาครัฐต่อ GDP ได้ลดลงอย่างมีนัยส�ำคัญ ผู้เขียน : นายนิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจ มหภาค นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำปรึกษาและข้อแนะน�ำ

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

67


โดยในปี 2539 อัตราส่วนการลงทุนของภาครัฐต่อ GDP เท่ากับร้อยละ 10.2 แต่ในปี 2554 ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 5.5 ซึง่ ส่วนหนึง่ อาจสะท้อนว่ามีข้อจ�ำกัดทางด้านการคลัง ท�ำให้สัดส่วนการลงทุนของภาครัฐลดลง ในขณะที่รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายที่เป็นรายจ่าย ประจ�ำในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ภาพที่ 1 อัตราส่วนมูลค่าการลงทุนภาครัฐต่อ GDP

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

ปัจจุบันประเทศไทยมีจุดอ่อนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศรวม 142 ประเทศ โดย The World Economic Forum (WEF) ในปี 2554 ประเทศไทยได้รบั คะแนนประเมินเท่ากับ 4.5 คะแนน (คะแนนเต็ม 7 คะแนน) อยู่ในล�ำดับที่ 39 ถูกปรับอันดับลดลง 1 อันดับ (จากอันดับที่ 38 ในปี 2553) และเมื่อพิจารณาปัจจัยหลักที่ใช้ ในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันพบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ถูกปรับอันดับลดลงมาอยู่ที่ อันดับที่ 42 (จากอันดับที่ 35 ในปี 2553) และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASAN Economic Community : AEC) จ�ำนวน 10 ประเทศ พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งสะท้อนว่า โครงสร้างพื้นฐานของประเทศยังต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการลงทุน อย่างต่อเนื่องอาจจะส่งผลเสียต่อความสามารถในการแข่งขันของไทยอนาคต

ภาพที่ 2 ระดับคะแนนของปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานประจ�ำปี 2554 ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

หมายเหตุ : ไม่ปรากฏข้อมูลของพม่าและลาวในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่มา : The Global Competitiveness Report 2011–2012

68


ตารางที่ 1 เปรียบเทียบคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระหว่างปี 2553 และปี 2554

รายการ สิงคโปร์ (2) มาเลเซีย (23) บรูไน (44) ประเทศไทย (47) กัมพูชา (76) อินโดนีเซีย (82) ฟิลิปปินส์ (113) เวียดนาม (123) พม่า ลาว

คุณภาพโดยรวม

ถนน

รางรถไฟ

ท่าเรือ

ขนส่งทางอากาศ

ไฟฟ้า

2554 2553 2554 2553 2554 2553 2554 2553 2554 2553 2554 2553 6.6 5.7 5.0 4.7 4.1 3.9 3.4 3.1 n/a n/a

6.6 5.5 5.1 4.9 3.8 3.7 3.2 3.0 n/a n/a

6.5 5.7 5.2 5.0 4.0 3.5 3.1 2.6 n/a n/a

6.6 5.7 5.3 5.1 3.8 3.5 2.8 2.7 n/a n/a

5.7 5.0 2.2 2.6 1.8 3.1 1.7 2.5 n/a n/a

5.8 4.7 n/a 3.0 1.6 3.0 1.7 2.9 n/a n/a

6.8 5.7 4.4 4.7 4.0 3.6 3.4 3.0 n/a n/a

6.8 5.6 4.5 5.0 3.9 3.6 3.6 2.8 n/a n/a

6.9 6.0 4.9 5.7 4.3 4.4 3.6 4.1 n/a n/a

6.9 5.9 4.9 5.9 4.3 4.6 3.6 4.2 n/a n/a

6.8 5.9 5.4 5.5 3.5 3.7 3.4 3.3 n/a n/a

6.7 5.7 5.2 5.7 3.1 3.6 3.4 3.6 n/a n/a

หมายเหตุ : คะแนนเต็มเท่ากับ 7.0 ที่มา : The Global Competitiveness Report 2011–2012 และ 2011–2010

2. ข้อจ�ำกัดทางการคลังในการลงทุนของภาครัฐ เนื่องจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยในการพัฒนาประเทศ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในระยะยาว ซึ่งภาครัฐต้องเป็นกลไกหลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่เนื่องจากโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของ ภาครัฐต้องใช้เงินลงทุนเป็นจ�ำนวนมาก แต่การลงทุนของรัฐบาลมีข้อจ�ำกัดต่าง ๆ ดังนี้ 1) ข้อจ�ำกัดด้านงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีของประเทศ โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมารายจ่ายงบประมาณที่เป็นรายจ่าย ประจ�ำเพิ่มขึ้นถึง 2.4 เท่า และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามนโยบายรัฐบาลที่ให้ความส�ำคัญกับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของ ประชาชน เช่น นโยบายทางด้านการศึกษา เบี้ยผู้สูงอายุ และการสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น ขณะที่ งบลงทุนมีสดั ส่วนลดลงโดยล�ำดับ ซึง่ เป็นข้อจ�ำกัดในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานเพือ่ ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ นอกจากนี้ การขยายตัวของงบประมาณรายจ่ายเพิม่ ขึน้ มากกว่าการขยายตัวของความสามารถในการจัดเก็บรายได้ อย่างมีนัยส�ำคัญ โดยในช่วงปี 2550–2554 รายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 9.8 ต่อปี ขณะที่รายได้น�ำส่งคลังเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7.6 ต่อปี ซึ่งความไม่สมดุลดังกล่าวท�ำให้รัฐบาลต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณต่อเนื่อง ภาพที่ 3 โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2555

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รวบรวม

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

69


ภาพที่ 4 ดุลงบประมาณตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2554

ที่มา : สศค. รวบรวม

นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องกู้เงินเพิ่มเติมนอกเหนือจากการขาดดุลงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในกรณีที่เกิดวิกฤต เช่น กรณี วิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2552 รัฐบาลกู้เงินพิเศษภายใต้พระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้าง ความมัน่ คงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 วงเงินไม่เกิน 400,000 ล้านบาท และวิกฤตน�ำ้ ท่วม ปี 2554 รัฐบาลกูเ้ งินตามพระราชก�ำหนด ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 350,000 ล้านบาท และพระราชก�ำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบตั ิ พ.ศ. 2555 วงเงิน 50,000 ล้านบาท ซึง่ ท�ำให้ภาระหนีส้ าธารณะเพิม่ สูงขึน้ ในอนาคตหากมีการเบิกจ่ายเงินกูด้ งั กล่าว โดยส�ำนักงานบริหารหนีส้ าธารณะ (สบน.) ได้ประมาณการยอดหนีส้ าธารณะต่อ GDP และภาระหนี้ต่องบประมาณในปี 2555 เท่ากับร้อยละ 48.7 และร้อยละ 9.8 ตามล�ำดับ และอัตราส่วนดังกล่าวมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2559 สบน.คาดว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP และภาระหนี้ต่องบประมาณเท่ากับร้อยละ 53.9 และร้อยละ 11.6 ตามล�ำดับ ซึ่งสะท้อนว่าการด�ำเนินนโยบายการคลังในระยะต่อไปอาจเป็นข้อจ�ำกัดในการระดมเงินทุนของภาครัฐได้ในอนาคต

ภาพที่ 5 ประมาณการหนี้สาธารณะต่อ GDP และภาระหนี้ต่องบประมาณรายจ่าย

ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)

70


2) เกณฑ์ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability Rules) ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างวินัยทางการคลังระยะยาวของ ประเทศ แต่กถ็ อื เป็นข้อจ�ำกัด (Constraint) ประการหนึง่ ในการระดมเงินทุนเพือ่ ด�ำเนินโครงการภาครัฐ แม้วา่ กฎหมายจะเปิดช่อง ให้รัฐบาลกู้ยืมเงินได้ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ที่ก�ำหนดเพดานการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณไม่เกิน (1) ร้อยละ 20 ของ งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และ (2) ร้อยละ 80 ของงบประมาณ รายจ่ายที่ตั้งไว้ส�ำหรับช�ำระคืนเงินต้น (3) ในการกู้เงินตราต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปี และ (4) หนี้ที่รัฐบาลค�้ำประกัน ในปีงบประมาณหนึ่ง กระทรวงการคลังจะค�้ำประกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย ประจ�ำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เป็นต้น ซึ่งจะท�ำให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมเงินและค�้ำประกัน เงินกู้ประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ได้สูงสุดถึง 1.2 ล้านล้านบาท2 แต่ในทางปฏิบัติรัฐบาลไม่อาจด�ำเนินการได้เต็มเพดานที่ กฎหมายอนุญาตได้ เนือ่ งจากต้องค�ำนึงถึงหลักความยัง่ ยืนทางการคลังประกอบด้วยโดยหลักความยัง่ ยืนทางการคลังก�ำหนดให้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60 ภาระหนี้ต่องบประมาณ ไม่เกินร้อยละ 15 การจัดท�ำงบประมาณสมดุล ในระยะปานกลาง และสัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณรายจ่ายไม่ต�่ำกว่าร้อยละ 25 เป็นต้น ภายใต้ข้อจ�ำกัดทางการคลังที่กล่าวมาข้างต้น รัฐบาลจึงต้องให้ความส�ำคัญกับการบริหารจัดการด้านการคลังเพื่อให้มี การลงทุนภายในประเทศที่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลของการรวมกลุ่มของ AEC ท�ำให้ต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพือ่ เชือ่ มโยงกับประเทศในภูมภิ าคและอนุภมู ภิ าค เช่น การปรับปรุงระบบขนส่งคมนาคมภายในเพือ่ รองรับการพัฒนาท่าเรือน�้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย ซึ่งจะเป็นโอกาสขยายฐานการผลิตอุตสาหกรรมและการเชื่อมโยงโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรม ของไทยและภูมิภาค โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเหล็กและเหล็กกล้า และยานยนต์ ซึ่งจะเป็นก้าวส�ำคัญของประเทศไทย ในการเข้าไปเปิดประตูการค้าและการลงทุนในพม่าอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของสถาบัน Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA) พบว่า โครงการทวายจะสามารถเพิ่มอัตราการเติบโตของ GDP ของประเทศไทย อีกประมาณร้อยละ 1.9 ซึ่งภาครัฐจะต้องใช้เงินลงทุนอย่างน้อย 45.0 พันล้านบาท เป็นต้น ภาพที่ 6 การเชื่อมโยงของประเทศในภูมิภาคและอนุภูมิภาค

ที่มา : สศช. หมายเหตุ : กรอบการด�ำเนินงานของกระทรวงการคลังตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ก�ำหนดแนวทางการกู้ยืมเงิน และการค�้ำประกันของรัฐบาล ดังนี้ (1) กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จ�ำนวน 513.5 พันล้านบาท (2) การค�้ำประกันและการให้องค์กรของรัฐกู้ต่อ (เงินบาท) จ�ำนวน 476.0 พันล้านบาท และ (3) การกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฯ (เงินตราต่างประเทศ) จ�ำนวน 238.0 พันล้านบาท

2

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

71


นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้มีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2.27 ล้านล้านบาท ในช่วง 7 ปีข้างหน้าอีกด้วย ที่เน้น การลงทุนโครงสร้างระบบขนส่งของประเทศไทย เช่น การลงทุนการขนส่งทางบกวงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท และการลงทุนสาขา พลังงานวงเงิน 0.5 ล้านล้านบาท เป็นต้น

ภาพที่ 7 วงเงินลงทุนตามยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ

ที่มา : สศช.

ทัง้ นี้ จากการประเมินโดยแบบจ�ำลองเศรษฐกิจมหภาคของส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) พบว่า หากภาครัฐสามารถ เพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานได้ทุก ๆ 100,000 ล้านบาท จะส่งผลดีต่อ GDP เพิ่มขึ้นได้อีกร้อยละ 0.4 จากกรณีฐาน

3. ทางเลือกในการระดมเงินทุนส�ำหรับการลงทุนภาครัฐ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐต้องใช้เงินลงทุนจ�ำนวนมาก ซึ่งภาครัฐสามารถจัดหาเงินลงทุนได้ ในหลายลักษณะ เช่น รายได้ของภาครัฐ การกูย้ มื เงิน การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public - Private Partnership : PPP) การจ�ำหน่ายหลักทรัพย์ของรัฐ หรือแม้แต่การระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) (กองทุนรวมฯ) เป็นต้น ซึง่ การระดมทุนผ่านกองทุนรวมฯ จะช่วยลดข้อจ�ำกัดของภาครัฐในการลงทุนเพือ่ พัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐาน ของประเทศ และเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโดยตรง อย่างไรก็ตาม การลงทุน ในกองทุนรวมฯ อาจมีความเสี่ยงที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งนักลงทุนควรที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจ ในการลงทุนเป็นอย่างดี ส�ำหรับการระดมเงินลงทุนภาครัฐมีในรูปแบบต่าง ๆ มีทั้งประโยชน์และข้อจ�ำกัดสรุปได้ดังนี้

72


ตารางที่ 2 เปรียบเทียบการระดมเงินทุนของภาครัฐรูปแบบต่าง ๆ

รายการ

แนวทางในการระดมทุน การกู้ยืมเงิน

กองทุนรวมฯ

ppp

รายได้ของภาครัฐ

ต้นทุนทางการเงิน

• ต�่ำ

• ปานกลาง

• ปานกลาง

• สูง

หนี้สาธารณะ

• เป็นหนี้สาธารณะ

• ไม่เป็นหนี้สาธารณะ

• ไม่เป็นหนี้สาธารณะ

• ไม่เป็นหนี้สาธารณะ

ความยืดหยุ่นทางการเงิน • มีความเสี่ยง ในการผิดนัดช�ำระหนี้

• Maturity ยาว • Maturity ยาว • ไม่มีความเสี่ยง • ไม่มีความเสีย่ ง ในการผิดนัดช�ำระหนี้ ในการผิดนัดช�ำระหนี้ • มีความยืดหยุ่น ในการจ่ายผลตอบแทน • ภาครัฐมีอ�ำนาจ ในการบริหารโครงการ

• มีความยืดหยุ่น ทางการเงินต�่ำ เนื่องจาก ถูกก�ำหนดการใช้เงิน ด้วยพระราชบัญญัติ งบประมาณฯ

ผลกระทบต่อ การบริหารจัดการ

• ภาครัฐมีอ�ำนาจ ในการบริหารโครงการ

• แล้วแต่จะตกลงกัน แต่ • ภาครัฐมีอ�ำนาจ ส่วนใหญ่ให้ภาคเอกชน ในการบริหารโครงการ บริหารโครงการและภาค รัฐก�ำกับการด�ำเนินงาน ตามสัญญา • ภาคเอกชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการควบคุม และตรวจสอบ ท�ำให้มี ความโปร่งใสมากขึ้น

ความสามารถ ในการระดมทุน

• ขึ้นอยู่กับนโยบาย • สามารถระดมทุนได้จาก • ขึ้นอยู่กับความสามารถ • ควบคุมได้ยากเนื่องจาก บริหารหนี้สาธารณะ ตลาดการเงินทั้ง ของเอกชนผู้ร่วมลงทุน จะแปรผันตามภาวะ ของภาครัฐ ในประเทศและ เศรษฐกิจ • ขึ้นอยู่กับความสามารถ นอกประเทศ ของการปล่อยกู้ของ • สามารถระดมให้เพียงพอ ผู้ให้กู้ ต่อความต้องการของ ภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

ผลกระทบต่อนักลงทุน/ ตลาดทุน

• เพิ่มการระดมทุนผ่าน การออกพันธบัตรและ หุ้นกู้

• เป็นผลิตภัณฑ์ • เป็นการดึงดูดนักลงทุน ทางการเงินแบบใหม่ซึ่ง รายใหญ่จากทั้ง จะช่วยพัฒนาตลาดทุน ในประเทศและ ทั้งทางกว้างและทางลึก ต่างประเทศ

-

ที่มา : สศค. รวบรวม

4. กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) 4.1 กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน คืออะไร กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน คือกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนจากนักลงทุนทั่วไปได้ในทั้งลักษณะ ตราสารทุน (Equity) หรือตราสารหนี้ (Debt) เพือ่ น�ำไปใช้พฒ ั นากิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทีเ่ ป็นโครงสร้างพืน้ ฐานของประเทศ โดยสามารถลงทุนได้ทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นของภาครัฐและโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นสัมปทานของเอกชน เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ทางพิเศษหรือทางสัมปทาน ฯลฯ ซึง่ จะมีการระบุไว้อย่างชัดเจนในรายละเอียดโครงการจัดการและหนังสือชีช้ วนว่าจะน�ำเงิน ไปลงทุนในกิจการโครงสร้างพืน้ ฐานประเภทใดบ้าง โดยกองทุนรวมฯ สามารถน�ำเงินทีร่ ะดมได้ไปใช้ในโครงการโครงสร้างพืน้ ฐาน ทัง้ ทีด่ ำ� เนินการเสร็จแล้ว (Brownfield project) หรือทีย่ งั ด�ำเนินการไม่แล้วเสร็จ (Greenfield project) ทัง้ ลงทุนโดยตรงในทรัพย์สนิ กิจการหรือลงทุนโดยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจ�ำนวนหุ้นที่จ�ำหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีอ�ำนาจควบคุมในบริษัทที่มี ทรัพย์สินหรือรายได้จากกิจการโครงสร้างพื้นฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของสินทรัพย์รวมหรือรายได้รวม ประมาณการเศรษฐกิจไทย

73


ได้แก่

4.2 ประเภทของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จากลักษณะของโครงการโครงสร้างพื้นฐานโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ ตามความเสี่ยงและผลตอบแทน

1) กองทุนรวมฯ ที่ใช้โครงการที่มีผลตอบแทนตามความพร้อมในการให้บริการ โดยไม่ขึ้นกับปริมาณการใช้บริการ จริง (กองทุนฯ ที่มีลักษณะเป็น Availability Payment) เช่น โรงไฟฟ้า ระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้า โรงผลิตน�้ำ และท่าเรือที่มีสัญญาเช่า ระยะยาว เป็นต้น ท�ำให้กองทุนรวมฯ ลักษณะนี้จะมีความเสี่ยงต�่ำส�ำหรับนักลงทุน เนื่องจากโครงการมีผลตอบแทนค่อนข้าง แน่นอน ซึ่งกองทุนรวมฯ ในต่างประเทศนิยมให้ผลตอบแทนในรูปแบบ Availability Payment เป็นการทั่วไป 2) กองทุนรวมฯ ที่ใช้โครงการที่ได้รับผลตอบแทนตามปริมาณการใช้งานจริง (กองทุนรวมฯ ที่มีลักษณะเป็น Demand Payment) เช่น โครงการทางด่วนทีจ่ ะได้รบั รายได้เมือ่ มีผใู้ ช้บริการทางด่วน โดยเฉพาะโครงการใหม่ ๆ ซึง่ จะคาดการณ์ ผลตอบแทนได้ยาก ส่งผลให้กองทุนรวมฯ มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง และอาจต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐโดยเฉพาะ ในช่วงแรกของโครงการเนื่องจากจะมีกระแสเงินสดที่ไม่สม�่ำเสมอ เช่น รับประกันผลตอบแทนขั้นต�่ำเพื่อเพิ่มความสนใจของ นักลงทุน และลดต้นทุนในการระดมทุน 4.3 สิทธิประโยชน์ทางภาษีและค่าธรรมเนียมในกรณีประเทศไทย 1) กองทุนรวมฯ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นและกองทุนรวม ส�ำหรับรายรับและการกระท�ำตราสารจากการโอนทรัพย์สินหรือสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สิน ให้แก่กองทุนรวมฯ โดยมีสัญญารับโอนกลับคืนจากกองทุนรวมฯ หรือให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามสัญญา 2) กองทุนรวมฯ ได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังนี้ - ค่าจดทะเบียนโอนจากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 3) ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมฯ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินปันผลหรือส่วนแบ่งก�ำไรแก่บุคคลธรรมดาหรือ ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมฯ เป็นระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งกองทุนรวมฯ 4.4 ความเสี่ยงของกองทุนรวมฯ กองทุนรวมฯ จัดอยูใ่ นกลุม่ กองทุนรวมทีล่ งทุนในทรัพย์สนิ ทางเลือก ซึง่ มีระดับความเสีย่ งสูงมาก (Risk Profile = 8)3 เพราะมีนโยบายลงทุนในทรัพย์สนิ ทีเ่ ป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุนหรือมีโครงสร้างซับซ้อน โดยต้องพิจารณาระยะเวลาคงเหลือ ของสิทธิตา่ ง ๆ (สิทธิการเช่า สิทธิสมั ปทาน หรือสิทธิได้รบั ประโยชน์จากรายได้ในอนาคต) ทีก่ องทุนรวมฯ ไปลงทุน เนือ่ งจากมูลค่า ทรัพย์สินของกองทุนรวมฯ จะลดลงตามอายุสิทธิที่เหลืออยู่ ประกอบกับกองทุนรวมฯ อาจมีความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการ หากกรณีการก่อสร้างล่าช้า (Project delay) หรือต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้น (Cost overrun) เป็นต้น 4.5 การจัดตั้งกองทุนรวมฯ ในต่างประเทศ ในต่างประเทศมีการจัดตั้งกองทุนรวมฯ ในการก่อสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกว่า 20 ประเทศทั่วโลก เช่น กองทุนรวมฯ ConnectEast Group เป็นกองทุนรวมฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย (ASX) โดยมีการลงทุน ในโครงสร้างพื้นฐานประเภททางด่วนที่มีการเก็บค่าผ่านทางในโครงการ Mitcham - Frankston Project (MFP) ซึ่งเจ้าของ สินทรัพย์เดิม หรือ Sponsor ได้รับสัมปทานในการจัดหาแหล่งเงินทุน ออกแบบ ก่อสร้าง และบริการ จาก State of Victoria เป็น ระยะเวลารวมทั้งหมด 39 ปี แบ่งเป็นช่วงของการก่อสร้าง (Construction Phase) ประมาณ 4 ปี และช่วงหลังการก่อสร้างเสร็จ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กองทุนฯ จากการเก็บค่าผ่านทางเป็นหลัก เป็นเวลานานประมาณ 35 ปี และปัจจุบันมีมูลค่าตามราคา ตลาดประมาณ 25.4 พันล้านบาท เป็นต้น นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ก่อตัง้ กองทุนสาธารณูปโภคอาเซียน (ASEAN Infrastructure Fund : AIF) เพือ่ ก่อสร้างสาธารณูปโภค ขั้นพื้นฐานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีกองทุนเริ่มต้น 485.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และประเทศไทยจะร่วมลงทุน 15 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)

3

74


ภาพที่ 8 โครงสร้างการลงทุนของกองทุนสาธารณูปโภคอาเซียน (AIF)

(หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ)

Item Tranche 1 Tranche 2 Tranche 3 ASEAN 111.8 111.6 111.6 - Brunei Darussalam 3.4 3.3 3.3 - Cambodia Unit - Indonesia 40.0 40..0 40.0 - Lao PDR Unit - Malaysia 50.0 50.0 50.0 - Philippines 5.0 5.0 5.0 - Singapore 5.0 5.0 5.0 - Thailand 5.0 5.0 5.0 - Viet Nam 3.4 3.3 3.3 ADB 50.0 50.0 50.0 Subtotal 161.8 161.6 161.6 Hybrid Capital Total 161.8 161.6 161.6

Subtotal 335.2 10.0 120.0 150.0 15.0 15.0 15.0 10.0 150.0 485.2 162.0 647.2

ที่มา : ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB)

ภาพที่ 9 การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

75


5. ประโยชน์และข้อจ�ำกัดของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมฯ เป็นการเพิ่มบทบาทให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐบาล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการท� ำงาน เพิม่ ทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ภาครัฐภายใต้ขอ้ จ�ำกัดของงบประมาณและการกูย้ มื เงิน และเป็นการขยายการเข้าถึงบริการ ของรัฐกับภาคประชาชน ทั้งนี้ ประโยชน์ของกองทุนรวมฯ เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วม (Stake-holders) สรุปได้ดังนี้ 5.1 ประโยชน์ 1) ประเทศและประชาชน กองทุนรวมฯ เป็นหนึง่ ในทางเลือกในการระดมทุนของภาครัฐทีจ่ ะช่วยสร้างให้มโี ครงสร้างพืน้ ฐานทีเ่ พิม่ ขึน้ และ ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระดับนานาชาติและจะยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนในประเทศให้ดีขึ้น แต่ขณะที่ประเทศยังคงความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินดังกล่าว 2) ภาครัฐ กองทุนรวมฯ จะช่วยเพิม่ ทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ภาครัฐภายใต้ขอ้ จ�ำกัดของงบประมาณและการกูย้ มื เงิน ช่วยลดความเสี่ยงทางการคลังภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวน เนื่องจากการระดมทุนด้วยวิธีดังกล่าวไม่นับรวมเป็น หนีส้ าธารณะของประเทศ รวมถึงความสามารถในการบริหารจัดการระบบงบประมาณของภาครัฐ ในกรณีทภี่ าครัฐได้พจิ ารณาถึง ความคุม้ ค่าทางการเงินแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสมทีจ่ ะให้เอกชนร่วมลงทุน จะท�ำให้ภาครัฐสามารถจัดสรรงบประมาณดังกล่าว ไปลงทุนในโครงการอื่น ๆ ตามความจ�ำเป็นและเหมาะสมได้มากขึ้น ประกอบกับเป็นการพัฒนาตลาดทุนของประเทศ เนื่องจาก เป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการเพิ่มขนาดของตลาดทุน 3) หน่วยงานเจ้าของโครงการ กองทุนรวมฯ สามารถช่วยระดมทุนให้แก่หน่วยงานเจ้าของโครงการเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ตนเอง มีความเชี่ยวชาญ โดยยังสามารถรักษาไว้ซึ่งอ�ำนาจในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานภายใต้หน่วยงานตนเอง นอกจากนี้ เป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการของภาครัฐ ซึ่งจะเพิ่มความโปร่งใสและก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการ 4) นักลงทุน กองทุนรวมฯ จะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ความสนใจและสามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุนที่มีหลากหลาย และสนับสนุนการออมของภาคประชาชน 5.2 ข้อจ�ำกัด 1) ต้นทุนทางการเงินในการระดมทุนผ่านกองทุนรวมฯ อาจสูงกว่าการระดมทุนปกติของภาครัฐ ดังนั้น จึงควรให้ โครงการลงทุนที่มีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return : FIRR) สูงกว่าอัตราผลตอบแทน เชิงเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) เน้นการระดมทุนที่ภาคเอกชนมีส่วนร่วม เพื่อรัฐบาลจะได้มีช่องว่าง ทางการคลัง (Fiscal Space) เหลือในการกู้เงินปกติ ส�ำหรับโครงการลงทุนที่มี EIRR สูง แต่มี FIRR ต�่ำ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว 2) ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าการระดมทุนผ่านกองทุนรวมฯ เป็นการแปรรูป รัฐวิสาหกิจรูปแบบหนึ่ง และผลกระทบทางบัญชีในการจัดสรรโบนัสและเงินรายได้น�ำส่งภาครัฐ 3) การก�ำกับดูแลกองทุนรวมฯ อาจมีความซับซ้อนมากกว่ากิจการที่ภาครัฐด�ำเนินการเอง เนื่องจากต้องมี ความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายและมีความชัดเจนในหลักเกณฑ์เพือ่ เอือ้ ต่อการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะในประเด็นการแบ่งรับ ภาระความเสี่ยง (Risk Transfer) ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เช่น การก่อสร้างล่าช้า (Project Delay) หรือต้นทุนก่อสร้าง เพิ่มขึ้น (Cost Overrun) ในโครงการที่ยังไม่เริ่มก่อสร้างหรือยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ (Greenfield Project) ซึ่งหากด�ำเนินการ ไม่เหมาะสมจะท�ำให้กองทุนรวมฯ เกิดความล้มเหลวและไม่มีประสิทธิภาพ

76


ภาพที่ 10 อัตราผลตอบแทนการลงทุนเชิงเศรษฐกิจ (EIRR)

ที่มา : สคร.

6. หน่วยงานของรัฐที่มีความเหมาะสมจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ในการคัดเลือกหน่วยงานทีเ่ หมาะสมของภาครัฐเพือ่ น�ำมาจัดตัง้ กองทุนรวมฯ นัน้ หากพิจารณาหน่วยงานของรัฐทัง้ หมด จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ หน่วยงานราชการ และ รัฐวิสาหกิจ โดยจากการพิจารณาพบว่าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ มีความเหมาะสมในการน�ำมาจัดตัง้ กองทุนรวมฯ มากกว่า เนือ่ งจากไม่อยูภ่ ายใต้ขอ้ จ�ำกัดในการท�ำธุรกรรมต่าง ๆ เหมือนหน่วยงาน ราชการ และกระทรวงการคลังมีความสามารถในการบริหารจัดการและดูแลการด�ำเนินงานหน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้อย่างเต็มที่ มากกว่า ทั้งนี้จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า มีรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมในการระดมทุนผ่าน กองทุนรวมฯ จ�ำนวน 5 แห่ง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ - กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่มีกระแสเงินเพียงพอสามารถจัดตั้งกองทุนรวมฯ ได้เอง เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นต้น - กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดตั้งกองทุนรวมฯ ได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการประปาส่วนภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกมีรัฐวิสาหกิจที่สนใจและพร้อมจัดตั้งกองทุนรวมฯ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะสามารถระดมทุนได้รวมประมาณ 27.0 พันบาท4

7. การด�ำเนินการของภาครัฐเกี่ยวกับกองทุนรวมฯ ในปัจจุบัน ปัจจุบันส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้จดั ท�ำประกาศหลักเกณฑ์การจัดตัง้ กองทุนรวมฯ และหลักเกณฑ์การรับหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียนใน ตลท.แล้ว ส�ำหรับ สิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้นกรมสรรพากรได้ด�ำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ของส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2555 และการลดหย่อนค่าธรรมเนียมนั้นกรมที่ดินได้ ออกกฎกระทรวงเรียบร้อยแล้ว ขณะนีอ้ ยูร่ ะหว่างการเสนอรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงมหาดไทยให้ความเห็นชอบ ดังนัน้ ในเบือ้ งต้น คาดว่ากฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องน่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2555

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)

4

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

77


8. สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมีความส�ำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในอนาคต และภาครัฐจ�ำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมอีกจ�ำนวนมาก หากภาครัฐยังด�ำเนินการระดมเงินลงทุนโดยการกู้ยืมเงินเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถทีจ่ ะระดมเงินทุนได้เพียงพอ และเป็นการเพิม่ ความเสีย่ งทางการคลังของประเทศ ประกอบกับสภาพคล่องส่วนเกิน ในระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศมีอยูจ่ �ำนวนมาก โดย ณ เดือนมีนาคม 2555 สินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคาร พาณิชย์มปี ระมาณ 2.1 ล้านล้านบาท5 มากกว่าเกณฑ์ขนั้ ต�ำ่ ทีก่ ฎหมายก�ำหนดถึง 4.2 เท่า จึงเพียงพอรองรับการลงทุนโครงสร้าง พื้นฐานของภาครัฐได้โดยไม่ก่อให้เกิดการแย่งทรัพยากรทางการเงินกับภาคเอกชน (Crowding - out Effect) ทั้งนี้ ความส�ำเร็จ ของกองทุนรวมฯ จ�ำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1) ความชัดเจนของแผนการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานของประเทศและแผนการระดมเงินทุนของภาครัฐ เพือ่ ลดการแย่ง สภาพคล่องในตลาดเงินโดยภาครัฐ (Crowding - out Effect) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น จนส่งผล ในทางลบต่อการลงทุนและเศรษฐกิจโดยรวม 2) ตัวโครงการลงทุนเองต้องมีขนาดใหญ่ทเี่ หมาะสมและเป็นทีส่ นใจของภาคเอกชน ซึง่ จะต้องมีการก�ำหนดขอบเขตของ โครงการลงทุนเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ ที่ภาคเอกชนจะให้ความสนใจร่วมลงทุน 3) การพัฒนาตลาดการเงินของประเทศไทยทัง้ เชิงลึกและกว้าง เพือ่ จะดึงดูดนักลงทุนทีส่ นใจเข้ามาลงทุนในกองทุนรวมฯ ซึ่งจะก่อให้เกิดการแข่งขันอันจะท�ำให้ต้นทุนในการระดมเงินทุนต�่ำลง เป็นต้น

หมายเหตุ : สภาพคล่องส่วนเกินตามความหมายกว้างของธนาคารพาณิชย์ (Excess liquid Assets) อ้างอิงจากนิยามของธนาคารแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ผลรวมของเงินสดทีธ่ นาคารพาณิชย์ถอื อยู่ (cash in hand) ยอดคงค้างในตลาดเงินกูย้ มื ระหว่างธนาคารสุทธิ (Net Investment in Interbank and Money Market) เงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (Eligible securities) หักออกจากเงินสดส�ำรองที่ธนาคารพาณิชย์ต้องด�ำรง (Reserve requirement)

5

78


บทวิเคราะห์ เรื่อง ผลกระทบนโยบาย การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำ 300 บาท

1

บทสรุปผู้บริหาร มาตรการปรับขึน้ อัตราค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ เป็น 300 บาทต่อวัน เริม่ มีผลบังคับใช้เมือ่ วันที่ 1 เมษายน 2555 ใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดภูเก็ต ในขณะทีอ่ กี 70 จังหวัดทีเ่ หลือ ให้ปรับขึ้นในอัตราร้อยละ 39.5 ของอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำของแต่ละจังหวัด ณ ปี 2554 และปรับขึ้นเป็น 300 บาท เท่ากันทุกจังหวัดในวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยมีข้อก�ำหนดว่าอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำใหม่นี้จะคงที่ไปอีก 2 ปี ❍❍ นโยบายการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล�้ำทางสังคม โดยข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า สัดส่วนรายได้กลุม่ คนทีร่ วยทีส่ ดุ (รายได้สงู สุดร้อยละ 10) มีมากกว่าสัดส่วนรายได้ ของคนที่จนที่สุด (รายได้ต�่ำสุดร้อยละ 10) ถึง 24 เท่า และค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini Coefficient) ของไทยเท่ากับที่ 0.40 ณ ปี 2552 ซึง่ ถือว่าสูงหากเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วและสะท้อนประเทศไทยยังมีปญ ั หา ความเหลื่อมล�้ำในปัจจุบัน ❍❍ ส� ำ หรั บ ผลกระทบของนโยบายการปรั บ เพิ่ ม ค่ า จ้ า งขั้ น ต�่ ำ พบว่ า ในปั จ จุ บั น สั ด ส่ ว นต้ น ทุ น แรงงานต่อต้นทุนการผลิตรวมของไทยไม่สงู มากนัก โดยคิดเป็นเฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ 8.9-12.4 ท�ำให้ประเมินว่าผลกระทบ จากการปรับเพิม่ ค่าแรงขัน้ ต�ำ่ จะเป็นไปอย่างจ�ำกัด โดยผลการศึกษาของส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประเมินว่า จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 3.6 และท�ำให้สัดส่วนต้นทุนแรงงานต่อต้นทุนการผลิตรวมเพิ่มขึ้น มาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 12.1 อย่างไรก็ตาม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้รบั ผลกระทบมากกว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ ในขณะทีก่ ลุม่ ภาคการผลิตทีใ่ ช้แรงงานอย่างเข้มข้นจะได้รบั ผลกระทบมาก เช่น อุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นเิ จอร์ เพชรพลอย และของเล่น อุตสาหกรรมเครือ่ งหนัง อุตสาหกรรมเครือ่ งนุง่ ห่ม อุตสาหกรรมสิง่ ทอ และอุตสาหกรรม การพิมพ์ ❍❍ นอกจากนี้ จากการเปรียบเทียบอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียนพบว่า อัตราค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ ของไทยทีเ่ พิม่ ขึน้ เป็น 300 บาทต่อวันหลังปรับด้วยความเท่าเทียมกันของก�ำลังซือ้ (Purchasing Power Parity-adjusted) ยังคงอยูใ่ นระดับทีใ่ กล้เคียงกับประเทศอืน่ ๆ ในภูมภิ าคอาเซียน และยังต�ำ่ กว่าอัตราค่าจ้าง ขัน้ ต�ำ่ ของประเทศฟิลปิ ปินส์ ลาว อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ซึง่ จะไม่ทำ� ให้ประเทศไทยเสียเปรียบทางด้านการแข่งขัน (Competitiveness) มากนัก ❍❍ นโยบายการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำเป็น 300 บาทจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน และยังเป็นแนวทางสนับสนุนก�ำลังซื้อของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงค่าจ้างขั้นต�่ำแบบ ก้าวกระโดดที่ผ่านมาอาจจะส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมในบางกลุ่ม ท�ำให้รัฐบาลจ�ำเป็น ต้องด�ำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาลในระยะต่อไปจ�ำเป็น ต้องเน้นการยกระดับผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) ซึ่งจะเป็นตัวช่วยผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจ ไทยในระยะยาวได้อย่างแท้จริง ❍❍

1. ความเป็นมาของนโยบายการเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำ 300 บาท อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำตามนิยามขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization หรือ ILO) เป็นระดับค่าจ้างทีช่ ว่ ยปกป้องแรงงานระดับล่างจากความยากจน และสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจให้แก่แรงงาน กล่าวคือ ผู้เขียน : ดร.พีรพัฒน์ วงศ์ชัยวัฒน์ เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ และ นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

79


ช่วยให้แรงงานได้รบั ประโยชน์ของการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับกลุม่ เศรษฐกิจอืน่ (Fair Wage) การก�ำหนด อัตราค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ ท�ำได้หลายรูปแบบ เช่น การก�ำหนดโดยคณะกรรมการจาก 3 ฝ่าย (Tripartite institutions) คือ ภาครัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง การก�ำหนดผ่าน Collective agreement ระหว่างกลุ่มนายจ้างกับกลุ่มลูกจ้างอย่างเช่น ประเทศไอร์แลนด์ ฯลฯ การก�ำหนดโดยรัฐบาลและการก�ำหนดโดยอาศัยกลไกตลาด ทั้งนี้ การก�ำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำที่ไม่ได้เป็นไปตาม กลไกตลาดต้องอาศัยข้อมูลและวิธีการค�ำนวณที่เหมาะสมตามแต่ละท้องที่และสถานการณ์ และในทางปฏิบัติยังมีเรื่องของ อ�ำนาจการต่อรอง ความเที่ยงธรรม และการบังคับใช้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ประเทศไทยเริ่มใช้ระบบอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำในปี 2515 ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 โดยให้อ�ำนาจกระทรวงมหาดไทยพิจารณาก�ำหนดค่าจ้างและค่าตอบแทนต่าง ๆ อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำที่ประกาศใช้ ครั้งแรกในปี 2516 อยู่ที่ 12 บาทต่อวัน โดยพิจารณาบนพื้นฐานตามที่แรงงานสมควรได้รับจากการท�ำงานและความเพียงพอ ต่อการครองชีพ อัตราค่าจ้างขั้นต�่ำในระยะแรกนั้นจ�ำกัดการใช้อยู่เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ แต่ยังเป็นอัตราเดียวทั้งประเทศ จนกระทั่ง เดือนธันวาคม 2544 ได้มีการปรับระบบการก�ำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำใหม่ โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการค่าจ้างแรงงาน ขั้นต�่ำจังหวัดเพื่อพิจารณาอัตราค่าจ้างในจังหวัดของตน โดยน�ำเอาปัจจัยเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละจังหวัด เข้ามาพิจารณาด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551) ซึ่งมีมาตราที่ก�ำหนดกรอบและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างอย่างชัดเจน รวมทั้งให้อ�ำนาจคณะกรรมการค่าจ้าง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อท�ำหน้าที่ให้ความเห็นในเรื่องค่าจ้างได้ตามความเหมาะสม โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับเพิ่ม อัตราค่าจ้างขั้นต�่ำอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2516 ตามตารางดังต่อไปนี้ (ตารางที่ 1) ตารางที่ 1 อัตราค่าจ้างขั้นต�่ำตั้งแต่ปี 2516 ถึงปัจจุบัน

(หน่วย : บาท/วัน)

ปี

กรุงเทพฯ และปริมณฑล

จังหวัดอื่น ๆ

ปี

กรุงเทพฯ และปริมณฑล

จังหวัดอื่น ๆ

2516 2517 2518 2519 2520 2521 2522 2523 2524 2525 2526 2527 2528 2529 2530 2531 2532 2533 2534

12.00 18.33 25.00 25.00 25.82 29.75 37.73 47.45 55.91 61.75 64.55 66.00 70.00 70.00 72.45 73.00 77.64 87.82 98.18

- 17.12 17.12 17.12 17.91 21.63 29.23 38.95 47.33 52.98 54.11 56.87 59.85 59.85 61.52 61.90 65.39 73.18 81.48

2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554

122.50 131.55 140.45 148.27 157.00 162.00 162.00 162.00 165.00 165.00 168.30 170.00 177.73 184.00 191.00 199.25 203.00 205.33 215.00

101.07 108.49 115.42 121.83 129.19 131.31 131.31 131.31 134.31 134.62 135.70 137.06 143.00 146.39 150.81 156.02 158.44 161.79 172.46 ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จากค่าแรงขั้นต�่ำเดิม

2535 112.27 92.91 2555 300 บาท ใน 7 จังหวัด ที่มา : กระทรวงแรงงาน

80


ปัจจุบันรูปแบบของคณะกรรมการและอนุกรรมการว่าด้วยการก�ำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำของไทยแบ่งได้ดังนี้ 1. คณะกรรมการค่าจ้าง (National Wage Committee : NWC) 2. คณะอนุกรรมการก�ำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำจังหวัด (Provincial Subcommittee on Minimum Wage : PSMW) 3. คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง (Subcommittee on Technical Affairs and Review : STAR) การเสนอให้มีการพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำเกิดขึ้นได้ 3 ทาง คือ (1) ตามความต้องการขององค์กรการค้าหรือ สหภาพแรงงาน (Trade unions) (2) จากข้อเสนอของคณะกรรมการค่าจ้าง หรือคณะอนุกรรมการก�ำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำ จังหวัด และ (3) โดยค�ำสั่งรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในปี 2540 คณะกรรมการค่าจ้างได้มีมติให้มีการทบทวนค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยในการพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำคณะกรรมการค่าจ้างได้ก�ำหนดกรอบแนวทาง การพิจารณาไว้ 3 ด้าน คือ (1) ความจ�ำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง (2) ความสามารถจ่ายของนายจ้าง และ (3) สภาพ เศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล�้ำทางสังคมในประเทศยังคงเป็นปัญหาส�ำคัญ รัฐบาลจึงได้พัฒนา โครงการสวัสดิการสังคมต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนเพือ่ ตอบสนองความจ�ำเป็นขัน้ พืน้ ฐานของประชาชน ให้ประชาชนมีคณ ุ ภาพชีวติ ที่ดีและสามารถพึ่งตนเองได้ โดยเหตุผลในการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำมี 2 ประการ คือ การช่วยให้แรงงานรอดพ้นจาก ความยากจนที่รุนแรงและมีรายได้ที่ใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายตามอัตภาพ (Poverty Safety Net) และการช่วยให้แรงงานมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่เติบโต (Fair Wage) แผนภูมิข้างล่างแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่ปี 2540 อัตราการเติบโตของเงินเฟ้อมากกว่าการเติบโตของอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำ ดังนั้น ค่าจ้างขั้นต�่ำควรจะมีการปรับเพิ่มมากขึ้นอีกกว่าในปัจจุบัน เพื่อที่จะรองรับการขยายตัวที่เร็วกว่าของอัตราเงินเฟ้อ ในช่วงที่ 15 ปีที่ผ่านมา

ภาพที่ 1 การเติบโตของอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำและอัตราเงินเฟ้อ

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 มาตรการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ได้เริ่มมีผลบังคับใช้ใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และนนทบุรี ในขณะที่อีก 70 จังหวัดที่เหลือให้ปรับขึ้น ในอัตราร้อยละ 39.5 ของอัตราค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ จังหวัดในปี 2554 จากนัน้ ให้ปรับขึน้ เป็น 300 บาทเท่ากันทุกจังหวัดในวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยอัตราค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ ของทุกจังหวัดจะคงไว้ที่ 300 บาทไปอีก 2 ปี ยกเว้นกรณีภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีความผันผวน อย่างรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการครองชีพของลูกจ้าง คณะกรรมการค่าจ้างสามารถพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำในปี 2557 และปี 2558 ได้ตามความเหมาะสม ทัง้ นี้ จะต้องมีการพิจารณาการปรับขึน้ ค่าจ้างแรงงานอีกครัง้ ภายหลังการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยค�ำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศด้วย ประมาณการเศรษฐกิจไทย

81


2. ความเหลื่อมล�้ำทางสังคม แม้วา่ เศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้ในระดับสูงในช่วงทีผ่ า่ นมา แต่ปญ ั หาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมทีเ่ กิดขึน้ ยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงอย่างเช่น ปัญหาการกระจายรายได้ของประชาชนที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล�้ำ ทางสังคม จากข้อมูลล่าสุดในปี 2552 คนรวยที่สุด (รายได้สูงสุด 10%) มีรายได้เฉลี่ยประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งประเทศ ซึ่งมากกว่ารายได้ของคนยากจน (รายได้ต�่ำสุด 10%) เฉลี่ยประมาณ 24 เท่า ตารางที่ 2 อัตราการกระจายรายได้ของประเทศไทย

Decile

Decile 1 (min) Decile 2 Decile 3 Decile 4 Decile 5 Decile 6 Decile 7 Decile 8 Decile 9 Decile 10 (max)

(หน่วย : บาท/วัน)

2531 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 2550 2552 1.78 2.80 3.60 4.45 5.49 6.89 8.84 11.78 17.14 37.25

1.54 2.42 1.13 3.93 4.92 6.19 7.95 10.95 16.54 42.43

1.54 2.42 3.13 3.93 4.92 6.19 7.95 10.95 16.54 42.43

1.59 2.48 3.25 4.10 5.18 6.50 8.39 11.30 16.49 40.73

1.62 2.56 3.34 4.22 5.26 6.58 8.48 11.44 16.58 39.93

1.68 2.63 3.44 4.31 5.33 6.67 8.49 11.33 16.63 39.50

1.44 2.41 3.24 4.20 5.32 6.78 8.84 11.88 17.19 38.71

1.63 2.59 3.42 4.31 5.36 6.72 8.57 11.51 16.48 39.42

1.78 2.76 3.58 4.46 5.53 6.87 8.66 11.51 16.4 38.44

1.37 2.55 3.4 4.35 5.47 6.86 8.65 11.4 16.2 39.76

1.60 2.70 3.54 4.46 5.53 6.89 8.76 11.47 16.15 38.91

1.69 2.88 3.72 4.61 5.65 6.93 8.73 11.4 15.98 38.41

ที่มา : ค�ำนวณโดยส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

ความเหลื่อมล�้ำทางสังคมสามารถแสดงได้ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini Coefficient) ซึ่งมีค่าระหว่าง ค่า 0 ถึง 1 โดยเมื่อค่าเข้าใกล้ค่า 0 ประชากรมีรายได้เท่าเทียมกันมากขึ้น แต่เมื่อสัมประสิทธิ์เข้าใกล้ค่า 1 การกระจายรายได้ แย่ลง โดยที่ค่าสัมประสิทธิ์ทางรายได้ของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน แต่กลับมี แนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ประเทศเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ลาว และจีน มีค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค ที่เพิ่มสูงขึ้น ตารางที่ 3 ดัชนีสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ทางรายได้

เขมร อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น

ปีเริ่มต้น

Gini Coefficients

ข้อมูลล่าสุด

Gini Coefficients

2537 2533 2535 2535 2534 2533 2535 2533 2535 1995

0.38 0.29 0.30 0.48 0.44 0.45 0.36 0.32 0.25 0.23

2551 2554 2551 2552 2552 2552 2551 2551 2553 2553

0.38 0.39 0.37 0.46 0.43 0.40 0.36 0.43 0.29 0.24

ที่มา : ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB)

82


3. นโยบายปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำกับผลกระทบต่อภาคการผลิต นโยบายการปรับขึน้ อัตราค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ เป็น 300 บาทต่อวัน จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการผลิตผ่านต้นทุนแรงงาน (Labor Cost) ที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาของส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พบว่า สัดส่วนต้นทุนแรงงาน ต่อต้นทุนการผลิตรวมของไทยอยู่ในระดับต�่ำเพียงร้อยละ 8.7-12.4 ซึ่งท�ำให้ประเมินได้ว่านโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำ จะมีผลกระทบเพียงเล็กน้อย ซึ่ง สศอ.ประเมินว่าสัดส่วนต้นทุนแรงงานต่อต้นทุนรวมจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.58 (ตารางที่ 4) ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่สูงนักเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนทั้งหมด ทั้งนี้ วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีสัดส่วนแรงงานต่อต้นทุน การผลิตโดยรวมมากกว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ ซึ่งจะได้รับผลกระทบมากกว่า

ตารางที่ 4 สัดส่วนต้นทุนแรงงานและต้นทุนรวมภาคอุตสาหกรรม

(หน่วย : ร้อยละ)

อุตสาหกรรม สัดส่วนต้นทุนแรงงานต่อต้นทุนรวม สัดส่วนต้นทุนแรงงานต่อต้นทุนรวม ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้น (ค่าแรงก่อนปรับ) (ค่าแรง 300 บาท) ภาพรวมทั้งหมด ขนาดเล็ก (S) ขนาดกลาง (M) ขนาดใหญ่ (L)

9.08 12.35 11.87 8.74

12.09 16.25 15.69 11.61

3.58 4.88 4.69 3.45

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ ข้อมูลผลการศึกษาของ สศอ.พบว่า อุตสาหกรรมทีใ่ ช้แรงงานอย่างเข้มข้น (Labor Intensive) จะได้รบั ผลกระทบ มากกว่าอุตสาหกรรมอืน่ ๆ เมือ่ อุตสาหกรรมทีใ่ ช้แรงงานอย่างเข้มข้นมีสดั ส่วนต้นทุนจากแรงงานสูงเมือ่ เทียบกับต้นทุนการผลิตรวม ดังนัน้ เมือ่ ต้นทุนแรงงานเพิม่ ขึน้ จะท�ำให้ตน้ ทุนรวมสูงขึน้ อย่างหลีกเลีย่ งมิได้ โดยหากประเมินตามรายภาคอุตสาหกรรมจะเห็นได้วา่ อุตสาหกรรมที่มีต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นมากที่สุดจากการปรับค่าจ้างขั้นต�่ำ 5 อันดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เพชรพลอย และของเล่น อุตสาหกรรมเครื่องหนัง อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมการพิมพ์ (ตารางที่ 5)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

83


ตารางที่ 5 สัดส่วนต้นทุนแรงงานและต้นทุนรวม จ�ำแนกตามรายภาคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง ไม้ กระดาษ การพิมพ์ น�้ำมัน เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก แก้ว เซรามิก ซีเมนต์ เหล็ก ผลิตภัณฑ์ที่ท�ำจากโลหะประดิษฐ์ เครื่องจักร เครื่องจักรส�ำนักงาน อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การแพทย์ ยานยนต์ อุปกรณ์การขนส่ง เฟอร์นิเจอร์ เพชรพลอย ของเล่น

(หน่วย : ร้อยละ)

สัดส่วนต้นทุนแรงงาน ต่อต้นทุนรวม (ค่าแรงก่อนปรับ)

สัดส่วนต้นทุนแรงงาน ต่อต้นทุนรวม (ค่าแรง 300 บาท)

ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้น

5.10 6.67 15.12 17.95 18.39 8.78 10.53 12.81 0.52 4.42 10.05 8.30 3.42 5.53 5.42 11.16 12.29 6.28 10.85 1.99 4.84 19.23

6.98 9.07 19.91 23.38 23.92 11.84 14.10 17.01 0.73 6.06 13.49 11.22 4.70 7.55 7.40 14.91 16.35 8.55 14.51 2.75 6.62 24.93

2.02 2.64 5.97 7.09 7.26 3.47 4.16 5.06 0.21 1.75 3.97 3.28 1.35 2.19 2.14 4.41 4.86 2.48 4.28 0.79 1.91 7.60

ที่มา : สศอ.

4. ประเมินต้นทุนอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค การประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ในภูมภิ าคพบว่า อัตราค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ ทีป่ รับขึน้ เป็น 300 บาท ต่อวัน ของประเทศไทยหลังปรับความเท่าเทียมกันของการซื้อ (Purchasing Power Parity-adjusted) อยู่ในระดับใกล้เคียงกับ ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ลาว และกัมพูชา (ภาพที่ 2)

84


ภาพที่ 2 แสดงอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำเปรียบเทียบประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน

ที่มา : ประมาณการโดย สศค.

จากภาพที่ 2 พบว่าการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำที่ระดับ 300 บาทของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศ เพื่อนบ้าน หลังมีการปรับความเท่าเทียมกันของการซื้อ (Purchasing Power Parity-adjusted) โดยที่ประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ลาว และอินโดนีเซีย ยังคงมีอตั ราค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ สูงกว่าไทยหลังจากการปรับอัตราค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ อย่างไรก็ตาม ประเทศคูแ่ ข่งส�ำคัญ ของไทย อาทิ มาเลเซีย มีอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำอยู่ในระดับที่ต�่ำกว่าประเทศไทย ดังนั้น นโยบายการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำไม่ได้ ท�ำให้อัตราค่าจ้างในประเทศไทยสูงกว่าประเทศอื่นในอาเซียนในเชิงเปรียบเทียบหลังมีการปรับความเท่าเทียมกันของการซื้อ

5. ข้อเสนอแนะ การปรับเพิม่ อัตราค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ เป็น 300 บาท ถือเป็นนโยบายทีช่ ว่ ยยกระดับความเป็นอยูข่ องประชาชน ลดความเหลือ่ มล�ำ้ ทางสังคม และยังเป็นแนวทางกระตุ้นอ�ำนาจซื้อของประชาชน อย่างไรก็ดี นโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำแบบก้าวกระโดด อาจจะท�ำให้บางภาคการผลิตไม่สามารถปรับตัวได้ในระยะสั้น ดังนั้น เพื่อให้ภาคการผลิตสามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ ภาครัฐจึงได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มเติม โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งจะได้รับผลกระทบ มากกว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ และที่ส�ำคัญภาคอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานที่เข้มข้น เช่น อุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เพชรพลอย ของเล่น อุตสาหกรรมเครื่องหนัง อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมการพิมพ์ ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็น (1) การช่วยอุดหนุนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้ประกอบการในปีแรก และทยอยลดเงินอุดหนุนลง แบบขั้นบันได หลังจากที่ผู้ประกอบการปรับตัวได้แล้ว (2) มาตรการลดหย่อนภาษี สนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ทั้งในกลุ่มแรงงานที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการในปัจจุบันและกลุ่มแรงงานใหม่ที่ก� ำลังจะ เข้าสูต่ ลาดแรงงาน ทัง้ นี้ ในระยะยาวภาครัฐควรสนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพเครือ่ งจักร และการเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิต ทีท่ นั สมัย เพือ่ พัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในของผูผ้ ลิต รวมทัง้ การส่งเสริมอุตสาหกรรมทีส่ ร้างมูลค่าเพิม่ สูง และสนับสนุน การย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมทีเ่ น้นการใช้แรงงานด้อยทักษะให้ยา้ ยฐานการผลิตไปสูเ่ ขตเศรษฐกิจชายแดน เพือ่ ประโยชน์ ด้านต้นทุนแรงงานทีถ่ กู กว่าจากประเทศเพือ่ นบ้าน ซึง่ นโยบายการยกระดับผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) จะเป็นตัวช่วย ผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคต

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

85


บทวิเคราะห์ เรื่อง ส่องกล้อง SMEs ไทยกับนโยบายภาครัฐ

1

บทสรุปผู้บริหาร SMEs มีบทบาทส�ำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย โดยได้สร้างผลผลิตมูลค่าเพิ่มให้แก่ ประเทศมากถึงร้อยละ 40.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และก่อให้เกิดการจ้างงานคิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 77.9 ของการจ้างงานรวม ❍❍ หากพิจารณาโครงสร้าง SMEs ของไทยพบว่า ในปี 2553 ผูป ้ ระกอบการทัง้ ประเทศเป็น SMEs ถึง 2.91 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.6 ของจ�ำนวนวิสาหกิจทั้งหมด และส่วนใหญ่จะด�ำเนินธุรกิจอยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากถึงร้อยละ 25.9 ❍❍ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในการทีจ ่ ะเอือ้ ให้เกิด การพัฒนา SMEs พบว่า ไทยยังเป็นรองสิงคโปร์ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านประสิทธิภาพระบบขนส่งคมนาคม ของประเทศ ความเอื้อต่อการจัดตั้งธุรกิจและการด�ำเนินธุรกิจ และเป็นรองมาเลเซียในบางด้าน ❍❍ รัฐบาลได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของการพัฒนา SMEs จึงได้มีการก�ำหนดยุทธศาสตร์และ มาตรการต่าง ๆ เพือ่ ส่งเสริมและพัฒนา SMEs โดยมีเป้าหมายเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพ ยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขัน และเสริมความเข้มแข็งให้แก่ SMEs เพือ่ ให้สามารถอยูร่ อดได้ในระยะยาวภายใต้ความเสีย่ งทีเ่ พิม่ ขึน้ ทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ❍❍

1. ท�ำความรู้จักกับ SMEs วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) หมายถึง กิจการที่ด�ำเนินธุรกิจซึ่ง ครอบคลุมประเภทธุรกิจ 4 กิจการส�ำคัญ ได้แก่ (1) กิจการการผลิต (Production Sector) ซึง่ ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร่ (Mining) (2) กิจการบริการ (Service Sector) (3) กิจการค้าส่ง (Wholesale Sector) และ (4) กิจการค้าปลีก (Retail Sector) ทั้งนี้ ในการก�ำหนดขนาดของ SMEs จะพิจารณาจาก 2 เงื่อนไขประกอบกัน คือ จ�ำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ ถาวร โดยในการพิจารณาก�ำหนดขนาดจะเลือกเงือ่ นไขทีน่ อ้ ยกว่าเป็นเกณฑ์กำ� หนดขนาด กล่าวคือ ในกรณีทจี่ ำ� นวนการจ้างงาน ของกิจการเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprises : SE) แต่มูลค่าสินทรัพย์ถาวรเข้าลักษณะของวิสาหกิจ ขนาดกลาง (Medium Enterprises : ME) หรือในทางกลับกันจะถือว่ากิจการนั้นเป็นวิสาหกิจขนาดย่อม (SE) โดยกระทรวง อุตสาหกรรมได้ให้ค�ำนิยามของธุรกิจ SMEs ในแต่ละสาขาการผลิตดังนี้ (ตารางที่ 1)

ผู้เขียน : นางณัฐยา อัชฌากรลักษณ์ เศรษฐกรช�ำนาญการพิเศษ และ ดร.กุลกัลยา พระยาราช เศรษฐกรช�ำนาญการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายพงศกร ม่วงบุญ นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และคุณวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ และขอบคุณ ดร.กุลยา ตันติเตมิท และ คุณบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ

1

86


ตารางที่ 1 การก�ำหนดขนาดของ SMEs ตามจ�ำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวร วิสาหกิจขนาดย่อม วิสาหกิจขนาดกลาง ประเภทธุรกิจ 1. กิจการผลิต (Production Sector) 2. กิจการบริการ (Service Sector) 3. กิจการค้าส่ง (Wholesale) 4. กิจการค้าปลีก (Retail)

การจ้างงาน มูลค่าทรัพย์สินถาวร การจ้างงาน (คน) (ล้านบาท) (คน) ≤ 50 ≤ 50 ≤ 25 ≤ 15

≤ 50 ≤ 50 ≤ 50 ≤ 30

51-200 51-200 26-50 16-30

มูลค่าทรัพย์สินถาวร (ล้านบาท) เกิน 50-200 เกิน 50-200 เกิน 50-100 เกิน 30-60

ที่มา : ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

2. SMEs กับการก้าวไกลของเศรษฐกิจไทย SMEs นับเป็นกลไกส�ำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจหลายประเทศทัว่ โลก โดยเฉพาะประเทศก�ำลังพัฒนา (Developing Countries) ซึ่งมีจ�ำนวน SMEs เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง SMEs ยังกระจายตัวไปในหลายสาขาการผลิต และเนื่องจาก SMEs ซึ่งเป็นวิสาหกิจที่ใช้เงินทุนจ�ำนวนไม่สูงมากนัก กิจการจึงมีการบริหารจัดการที่ไม่ซับซ้อนมากเมื่อเทียบกับกิจการขนาดใหญ่ ส่งผลให้ SMEs มีความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจและสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ทั่วไปได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น บทบาท ของ SMEs จึงไม่ได้เป็นเพียงกิจการที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในระดับประเทศเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทส�ำคัญมากขึ้น ในระดับธุรกิจภาคประชาชนที่น�ำไปสู่การกระจายรายได้ที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งต่อระบบเศรษฐกิจและสนับสนุน ให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน ข้อมูลของส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ระบุว่า ในปี 2553 ผู้ประกอบการทั้งประเทศ ทีเ่ ป็น SMEs มีจำ� นวน 2.91 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.6 ของจ�ำนวนวิสาหกิจทัง้ หมด โดย SMEs ส่วนใหญ่จะด�ำเนินธุรกิจ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากถึงร้อยละ 25.9 รองลงมาเป็นกรุงเทพฯ คิดเป็นร้อยละ 19.7 และภาคกลาง คิดเป็นร้อยละ 19.4 ขณะที่หากพิจารณาประเภทธุรกิจพบว่า SMEs ส่วนใหญ่ด�ำเนินธุรกิจการค้าส่งค้าปลีก (Wholesale and Retail) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.7 รองลงมาคือการผลิตอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 17.9 และอันดับสามคือกิจการโรงแรมและภัตตาคาร คิดเป็นร้อยละ 9.3 การกระจายตัวของ SMEs จึงช่วยในการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปสูภ่ มู ภิ าค อันจะก่อให้เกิดการพัฒนา ทางเศรษฐกิจทั้งในส่วนภูมิภาคและของประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ในส่วนของการจ้างงาน SMEs เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนัก โครงสร้างการผลิตจึงเน้นการใช้แรงงานเป็นส�ำคัญ (Labor Intensive) โดยในปี 2553 มีจ�ำนวนแรงงานในภาคธุรกิจ SMEs ถึงจ�ำนวน 10.5 ล้านคน จากการจ้างงานรวมทั้งสิ้น 13.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 77.9 ของจ�ำนวนแรงงานทั้งประเทศ โดยเป็นแรงงานในวิสาหกิจขนาดย่อม (SE) จ�ำนวน 9.0 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 66.7 และเป็นแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางจ�ำนวน 1.5 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

87


ภาพที่ 1 โครงสร้างจ�ำนวนวิสาหกิจไทย จ�ำแนกตามขนาด

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ สิ้นปี 2553 ที่มา : สสว.

ภาพที่ 2 โครงสร้างจ�ำนวน SMEs รายธุรกิจ

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ สิ้นปี 2553 ที่มา : สสว.และรวบรวมประมวลผลโดยผู้เขียน

กล่าวโดยสรุป SMEs เป็นกลไกขับเคลือ่ นทีส่ ำ� คัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยสร้างผลผลิตให้แก่ประเทศมากถึง 1.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อีกทัง้ SMEs ยังก่อให้เกิดการจ้างงาน ถึง 10.5 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80 ของจ�ำนวนการจ้างงานรวม ตลอดจน SMEs ยังเป็นแรงขับเคลื่อนที่ส�ำคัญของ ภาคการส่งออกของไทย โดยมีมลู ค่าการส่งออกถึง 1.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.4 ของมูลค่าส่งออกรวม นอกจากนี้ SMEs ยังมีบทบาทส�ำคัญในด้านอืน่ ๆ อาทิ เป็นจุดเริม่ ต้นในการลงทุน สร้างเสริมประสบการณ์และเป็นแหล่งพัฒนาทักษะฝีมอื แรงงาน ช่วยเชื่อมโยงภาคการผลิตต่าง ๆ จากการเป็นธุรกิจต้นน�้ำ ช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศ โดยการผลิตเพื่อทดแทน การน�ำเข้าจากต่างประเทศ และช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล�้ำ โดยการผลิตที่กระจายตัวไปยังภูมิภาค

88


ภาพที่ 3 จ�ำนวน SMEs และอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของ SMEs ณ ราคาคงที่

ที่มา : สสว.และรวบรวมประมวลผลโดยผู้เขียน

ตารางที่ 2 บทบาทของ SMEs ต่อระบบเศรษฐกิจของไทยปี 2553

SMEs

รวมทั้งประเทศ GDP ณ ราคาคงที่ (ล้านบาท) GDP Growth (%yoy) มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) มูลค่าการน�ำเข้า (ล้านบาท) จ�ำนวนแรงงาน (ล้านคน) จ�ำนวนกิจการ (ล้านกิจการ)

4,595,809 7.8 6,176,424 5,834,165 13.49617 2.92

ระดับ 1,849,132 7.9 1,753,804 1,775,083 10.50751 2.91

% ทั้งประเทศ 40.2% 28.4% 30.4% 77.9% 99.6%

ที่มา : สสว.และรวบรวมประมวลผลโดยผู้เขียน

3. ขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทยกับอาเซียน ปัจจุบนั ผูป้ ระกอบการ SMEs ไทยยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายทีเ่ พิม่ ขึน้ ทัง้ จากภายในประเทศ ไม่วา่ จะเป็นการแข่งขัน ที่สูงขึ้นจากจ�ำนวน SMEs ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การด�ำเนินนโยบายของภาครัฐ เช่น นโยบายเพิ่มรายได้แรงงาน 300 บาท ซึ่งส่งผลให้ SMEs ที่มีอยู่และที่ก�ำลังเข้ามาสู่ตลาดจ�ำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้าง ฐานของกิจการให้เข้มแข็ง ขณะที่ความท้าทายจากต่างประเทศก็มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากความผันผวน ของเศรษฐกิจโลก และผลกระทบภายหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ซึ่ง SMEs ไทยจะต้องอาศัยจุดแข็งจากความได้เปรียบของการเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรกรรม รายส�ำคัญของโลก และการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่าง ๆ ในภูมิภาค ASEAN เพื่อสร้างโอกาสและสร้าง ความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจ จากงานศึกษาของ World Bank ถึงความง่ายในการด�ำเนินธุรกิจ (Easc of Doing Business) ในปี 2555 ประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับ 17 ของโลก (ลดลงจากอันดับ 16 ในปี 2554) และเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รองจากสิงคโปร์ และฮ่องกง และหากเปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยกับอาเซียนพบว่า ไทยยังเป็นรองสิงคโปร์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพของระบบขนส่งคมนาคมของประเทศ สะท้อนจากดัชนีชี้ประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Logistic ประมาณการเศรษฐกิจไทย

89


Performance Index : LPI)2 ในปี 2555 ไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน (อันดับ 35 ของโลก) รองจากสิงคโปร์ (อันดับ 2 ของโลก) และมาเลเซีย (อันดับ 29 ของโลก) (ภาพที่ 4) เช่นเดียวกับความง่ายในการเริม่ ธุรกิจ (Starting a Business) ซึง่ พิจารณา จากจ�ำนวนวันและค่าใช้จา่ ยส�ำหรับการด�ำเนินการขอจัดตัง้ ธุรกิจ ไทยยังเป็นรองสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยการจัดตัง้ ธุรกิจในไทย จะใช้เวลานานกว่าสิงคโปร์และมาเลเซียถึงประมาณ 10 เท่า และ 5 เท่า ตามล�ำดับ (ไทยใช้เวลาส�ำหรับการจัดตั้งธุรกิจเฉลี่ย 29 วัน ขณะที่สิงคโปร์และมาเลเซียใช้ระยะเวลา 3 วัน และ 6 วัน ตามล�ำดับ) (ภาพที่ 5) และหากเปรียบเทียบต้นทุนจัดตั้งธุรกิจ แม้ว่าไทยจะมีความได้เปรียบหลายประเทศในอาเซียนจากการที่มีต้นทุนที่ต�่ำกว่า อย่างไรก็ดี ไทยยังมีต้นทุนการจัดตั้งธุรกิจ ที่สูงกว่าสิงคโปร์ถึงประมาณ 9.0 เท่า (ภาพที่ 6) ภาพที่ 4 เปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (LPI) อาเซียน

หมายเหตุ : ไม่มีข้อมูลประเทศบรูไน ที่มา : World Bank และรวบรวมประมวลผลโดยผู้เขียน

ภาพที่ 5 เปรียบเทียบความง่ายในการเริ่มธุรกิจอาเซียน

ภาพที่ 6 เปรียบเทียบต้นทุนจัดตั้งธุรกิจอาเซียน

หมายเหตุ : ไม่มีข้อมูลประเทศพม่า ที่มา : World Bank และรวบรวมประมวลผลโดยผู้เขียน ดัชนีชปี้ ระสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (LPI) เป็นการพิจารณาความมีศกั ยภาพของระบบโลจิสติกส์โดยมีคะแนนเต็ม 5 คะแนน ซึง่ มาจากการพิจารณา 7 ปัจจัยส�ำคัญ คือ (1) ประสิทธิภาพของการด�ำเนินการด้านกรมศุลกากร (2) ประสิทธิภาพในด้านการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน (3) ความง่ายในการขนส่งระหว่างประเทศ (4) ความสามารถของอุตสาหกรรม Logistic ในประเทศนั้น ๆ (5) ความสามารถในการสืบค้นสินค้าระหว่างส่ง (6) ต้นทุนในการขนส่งในประเทศนั้น ๆ และ (7) เวลาในการขนส่งตรงตามก�ำหนดหรือไม่

2

90


หากเปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าของไทยกับอาเซียนพบว่า ไทยมีความเสียเปรียบหลายประเทศ ในอาเซียน โดยเฉพาะมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึง่ มีตน้ ทุนในการส่งออกและน�ำเข้าทีต่ ำ�่ กว่าของไทย โดยต้นทุนการส่งออก ของมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ต�ำ่ กว่าของไทยถึงประมาณ 1.3 เท่า 1.4 เท่า และ 1.0 เท่า ตามล�ำดับ ขณะทีต่ น้ ทุนการน�ำเข้า ของไทยค่อนข้างสูงเป็นอันดับ 7 ของอาเซียน (ภาพที่ 7 และภาพที่ 8) ภาพที่ 7 เปรียบเทียบต้นทุนส่งออกอาเซียน

ภาพที่ 8 เปรียบเทียบต้นทุนน�ำเข้าอาเซียน

หมายเหตุ : ไม่มีข้อมูลประเทศพม่า ที่มา : World Bank และรวบรวมประมวลผลโดยผู้เขียน

4. นโยบายภาครัฐกับการส่งเสริม SMEs ภาครัฐได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของ SMEs ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจไทยจึงได้ก�ำหนดยุทธศาสตร์เพื่อช่วยเหลือ SMEs ให้พัฒนาได้อย่างยั่งยืนและสามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน ปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตในทุกสาขาการผลิต และเสริมความเข้มแข็งให้แก่ SMEs เพื่อสามารถปรับตัวให้เข้ากับ สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบนั ซึง่ ทีผ่ า่ นมา สสว.ได้จดั ท�ำแผนส่งเสริม SMEs ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) และฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ขึน้ เพือ่ เป็นแนวทางด้านยุทธศาสตร์ในการส่งเสริม SMEs ในประเทศ ซึง่ พอจะสรุปสาระส�ำคัญ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของประเทศ (พ.ศ. 2545-2549) ซึ่งจัดท�ำขึ้นจาก การทบทวนแนวทางการพัฒนา SMEs จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยมีเป้าหมายเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs โดยมุง่ เน้นการปรับโครงสร้างภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคการบริการ เพื่อสร้างศักยภาพของสินค้าและบริการ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพคน เทคโนโลยี และการบริหารการจัดการที่ดี เพื่อยกระดับ สินค้าและบริการส่งออกไปสู่ตลาดในระดับที่สูงขึ้น ฉบับที่ 2 แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของประเทศ (พ.ศ. 2550-2554) แผนฉบับนี้ มี ก รอบแนวความคิด มาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉบั บที่ 10 โดยมี เ ป้ า หมายหลั กเพื่ อการส่ง เสริม ความแข็งแกร่งให้แก่วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยส่งเสริมให้พงึ่ พาปัจจัยการผลิตจากภายในประเทศ เพือ่ ให้สามารถ เติบโตอย่างสมดุล ต่อเนื่อง และยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการท�ำธุรกิจด้วยฐานความรู้และ ความสามารถในเชิงทักษะฝีมือ (Knowledge – Skill Based) ฉบับที่ 3 แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของประเทศ (พ.ศ. 2555-2559) มีเป้าหมาย เพือ่ มุง่ เน้นการพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เติบโตอย่างสมดุลและยัง่ ยืน ทัง้ ในด้านการเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับรายย่อยและระดับกลางเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งมุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวและ เชื่อมโยงกันทางธุรกิจเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

91


ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีมาตรการต่าง ๆ เช่น (1) มาตรการด้านการเงิน โดยการให้สินเชื่อแก่ SMEs การค�ำ้ ประกันสินเชือ่ ให้แก่ SMEs และจัดตัง้ กองทุนร่วมทุน (2) มาตรการด้านการตลาดและการส่งออก โดยการผลักดันการจัดตัง้ ศูนย์กระจายสินค้าและส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์ (3) มาตรการส่งเสริมพัฒนาการด้านบุคลากร โดยจัดตัง้ โครงการพัฒนา ผู้ประกอบกิจการ และการจัดอบรม สัมมนาการให้ความรู้แก่ SMEs (4) มาตรการส่งเสริมด้านเทคโนโลยี โดยจัดตั้งโครงการ มุง่ เน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การสนับสนุนการวิจยั และพัฒนานวัตกรรม (5) มาตรการด้านภาษีและสิทธิประโยชน์ทางการคลัง โดยลดอัตราภาษีให้แก่ SMEs การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ SMEs โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับ ขีดความสามารถการแข่งขันของ SMEs ตลอดจนการเสริมความเข้มแข็งให้แก่ SMEs ให้สามารถอยู่รอดได้จากผลกระทบ ทัง้ จากปัญหาภายใน ไม่วา่ จะเป็นสถานการณ์ความวุน่ วายทางการเมืองในประเทศและมหาอุทกภัยทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงปลายปี 2554 และผลกระทบจากปัจจัยภายนอก อาทิ วิกฤตเศรษฐกิจโลกในช่วงปี 2551 (ภาพที่ 9) นอกจากนี้ ล่าสุดรัฐบาลได้ด�ำเนินมาตรการการสนับสนุนด้านการเงินและภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและบรรเทา ผลกระทบให้แก่ SMEs ใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) การยกระดับผลิตภาพการผลิต (Productivity) (2) การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และ (3) การลดภาระต้นทุนจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น โดยมีมาตรการส�ำคัญซึ่งประกอบด้วย มาตรการทางการเงิน ผ่านโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต การค�้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) การให้สินเชื่อแก่ SMEs เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมดอกเบี้ย ต�่ำผ่านกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน และการให้สินเชื่อแก่ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้นผ่านกองทุนประกันสังคม เป็นต้น นอกจากนี้ มาตรการภาษี โดยการยกเว้นภาษีเงินนิตบิ คุ คลส�ำหรับเงินได้ทมี่ าจากการขายเครือ่ งจักรเก่าเพือ่ เปลีย่ นเป็นเครือ่ งจักรใหม่ การหักค่าเสือ่ มเครือ่ งจักรในอัตราเร่งได้ 100% ปีแรก และเพิม่ การหักค่าใช้จา่ ยส�ำหรับค่าจ้างแรงงานส่วนเพิม่ จากมาตรการค่าแรง ขัน้ ต�ำ่ 300 บาท ได้ 1.5 เท่า และการก�ำหนดภาษีเงินได้นติ บิ คุ คลของ SMEs ในระดับทีต่ ำ�่ กว่านิตบิ คุ คลทีม่ ขี นาดใหญ่ (ตารางที่ 2) ภาพที่ 9 สรุปมาตรการภาครัฐในการส่งเสริม SMEs

ที่มา : รวบรวมและประมวลผลโดยผู้เขียน

92


ตารางที่ 2 มาตรการสนับสนุน SMEs การสนับสนุน 3 ด้าน มาตรการ

ยกระดับผลิตภาพการผลิต

สนับสนุนการเข้าถึง ลดภาระต้นทุนจาก แหล่งเงินทุน ค่าแรงทีเ่ พิ่มขึ้น เครื่องจักร แรงงาน การจัดการ

I. มาตรการทางการเงิน โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนา (เกิดสินเชือ่ เพิม่ ขึน้ ในระบบ รวม 86,000 ล้านบาท และ มี SMEs ได้รับประโยชน์ 28,000 ราย) งบประมาณ ที่ต้องใช้ 7,620 ล้านบาท)

ผลิตภาพการผลิต

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ส�ำหรับเงินได้ที่มาจาก การขายเครื่องจักรเก่า

II. มาตรการภาษี

ให้หักค่าเสื่อมเครื่องจักรได้ 100% ในปีแรก

หักรายจ่ายส�ำหรับค่าจ้าง ส่วนเพิ่มได้ 1.5 เท่า

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

PGS 4 (บสย.)

-

-

PGS New-Startup

-

-

กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน

-

กองทุนประกันสังคม

-

-

-

หมายเหตุ : 1. PGS 4 (บสย.) มีวัตถุประสงค์เพื่อค�้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการที่มีหลักทรัพย์ค�้ำประกันไม่เพียงพอเพื่อให้สามารถขอรับสินเชื่อจากสถาบัน การเงินได้มากยิ่งขึ้น 2. PGS New-Startup มีวัตถุประสงค์เพื่อค�้ำประกันให้แก่ผู้ประกอบการที่เพิ่งตั้งใหม่ไม่เกิน 2 ปี ให้สามารถขอรับสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

5. สรุปและข้อเสนอเชิงนโยบาย SMEs มีบทบาทส�ำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย โดย SMEs ได้สร้างผลผลิตมูลค่าเพิม่ ให้แก่ประเทศ เป็นแหล่งพัฒนา ฝีมอื แรงงานและช่วยในการสร้างงานให้แก่ชมุ ชน อีกทัง้ ยังเป็นจุดเริม่ ต้นในการลงทุนและยังมีสว่ นส�ำคัญต่อการเชือ่ มโยงกิจกรรม ทางเศรษฐกิจในทุกสาขาทัง้ ภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคการค้าปลีก-ค้าส่ง ทัง้ นี้ หากพิจารณาขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศไทยกับอาเซียนในการเอื้อให้เกิดการพัฒนา SMEs พบว่า ประเทศไทยยังเป็นรองสิงคโปร์และมาเลเซียในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านประสิทธิภาพโลจิสติกส์ การจัดตั้งธุรกิจ และการด�ำเนินธุรกิจ เนื่องจากประเทศไทยมีต้นทุนจัดตั้งธุรกิจและ การค้าที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซีย ท�ำให้รัฐบาลตระหนักถึงความส�ำคัญของการพัฒนา SMEs จึงได้มกี ารก�ำหนดยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ซึง่ ปัจจุบนั ได้มกี ารจัดท�ำแผนส่งเสริม SMEs แล้วทัง้ หมด 3 ฉบับ (ซึ่งจัดท�ำโดย สสว.ดังที่กล่าวข้างต้น) ดังนัน้ ภาครัฐจึงควรด�ำเนินการผลักดันยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผูป้ ระกอบการ SMEs ไทย โดยเร่งรัด ด�ำเนินการให้เป็นไปตามแผนการพัฒนาส่งเสริม SMEs ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพือ่ ให้ผปู้ ระกอบการไทยสามารถพัฒนาศักยภาพ ของธุรกิจและทันต่อการแข่งขันจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

93


บทวิเคราะห์ เรื่อง อินเดียกับความเสี่ยงที่ต้องฝ่าฟัน

1

บทสรุปผู้บริหาร อินเดียเป็นหนึ่งในประเทศ BRICS (Brazil, Russia, India, China, South Africa) ที่หลายฝ่าย ตั้งความหวังว่าจะเป็นผู้น�ำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจอินเดียเริ่มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากการแผ่วลงของอุปสงค์ทั้งในประเทศและนอกประเทศ ผนวกกับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ค่าเงินรูปียังคงอ่อนค่าลง ส่วนหนึ่งจาก การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ ถือเป็นความท้าทายส�ำคัญของทางการอินเดียในการเร่งแก้ไขปัญหา ดังกล่าวอย่างทันการณ์ มิเช่นนั้นอาจส่งผลลบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจอินเดียในระยะยาว ❍❍ ประเทศไทยมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับอินเดีย ผ่านการค้า การท่องเที่ยว และการเงิน ในระดับที่ไม่สูงมากนัก ดังนั้น หากเศรษฐกิจอินเดียต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจและชะลอลงในระยะต่อไป น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก ❍❍

บทน�ำ อินเดียเป็นหนึ่งในสมาชิกของประเทศก�ำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า “BRICS” (Brazil, Russia, India, China, South Africa) ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังว่าจะเป็นผู้น�ำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป โดยอินเดีย มีประชากรกว่า 1 พันล้านคน หรือประมาณร้อยละ 15 ของประชากรโลก แต่มสี ดั ส่วนของเศรษฐกิจต่อเศรษฐกิจโลกเพียงร้อยละ 7.7 (ตารางที่ 1) บ่งชี้ให้เห็นว่าศักยภาพในการขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดียในอนาคตยังมีอีกมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงสองปี ทีผ่ า่ นมาเศรษฐกิจอินเดียเริม่ ขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอลง บทความนีไ้ ด้ศกึ ษาสาเหตุของการชะลอลงของเศรษฐกิจอินเดียดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่อาจส่งผ่านมายังการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป

ตารางที่ 1 สัดส่วนในการสร้างอัตราการขยายตัวต่อเศรษฐกิจโลกของเศรษฐกิจ

1981-1990 1991-2000 2001-2010

Share to World GDP (PPP adjusted)

Contribution to World GDP Growth (%)

3.8 (rank no. 9) 4.4 (5) 7.7 (4)

8.9 9.9 15.3

ที่มา : International Monetary Fund (World Economic Outlook Database, September 2011)

ผู้เขียน : นางสาวอาร์จนา ปานกาญจโนภาส เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ

1

94


1. ภาพรวมของเศรษฐกิจอินเดีย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงและขยายตัวต�่ำกว่าศักยภาพการขยายตัว ของเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจอินเดียในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ขยายตัวในอัตราที่ต�่ำสุดในรอบ 9 ปีที่ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 และขยายตัวต�่ำกว่าศักยภาพการขยายตัวของ เศรษฐกิจ (Potential Growth) ที่ร้อยละ 7.5-8.52 (ภาพที่ 1) ภาพที่ 1 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา : CEIC

อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดียที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของภาคการลงทุน ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 34.6 ของ GDP โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 การลงทุนขยายตัวเพียงร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ชะลอลงจากทั้งปี 2554 ซึ่งการลงทุนขยายตัวร้อยละ 3.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ต้นทุนในภาคการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจากการใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว ผ่านการปรับขึน้ อัตราดอกเบีย้ นโยบายอย่างต่อเนือ่ งนับตัง้ แต่เดือนมีนาคม 2553 ถึงเดือนมีนาคม 2555 โดยในช่วงดังกล่าวธนาคารกลางอินเดีย (Reserve Bank of India : RBI) ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย นโยบาย 12 ครั้ง จากร้อยละ 4.75 เป็นร้อยละ 8.50 (ภาพที่ 2) อย่างไรก็ตาม RBI ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1 ครั้ง ในเดือนเมษายน 2555 เพือ่ กระตุน้ อุปสงค์ในประเทศทีช่ ะลอลง ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกทีม่ แี นวโน้มแผ่วลง ส่งผลให้อตั ราดอกเบีย้ นโยบายในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 8.00 ภาพที่ 2 การขยายตัวของการลงทุนที่แท้จริง อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ที่มา : CEIC อ้างอิงจากการศึกษาขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เดือนกันยายน 2550

2

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

95


นอกจากนี้ อินเดียยังประสบปัญหาจากการขาดดุลการค้าเรื้อรัง โดยเฉพาะนับตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2552-2553 เป็นต้นมา (ภาพที่ 3) จากมูลค่าการส่งออกที่ลดลงจากการชะลอลงของเศรษฐกิจคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะการส่งออก ไปยังยูโรโซนซึง่ เป็นคูค่ า้ ส�ำคัญอันดับ 1 ของอินเดียด้วยสัดส่วนการส่งออกกว่าร้อยละ 13.7 ของมูลค่าการส่งออกรวม (ภาพที่ 4) ซึ่งยังคงประสบปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะ โดยเศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัวและอัตราว่างงานอยู่ในระดับสูง ในขณะเดียวกัน อินเดียต้องพึ่งพาน�้ำมันจากต่างประเทศเป็นจ�ำนวนมาก โดยอินเดียมีสัดส่วนการน�ำเข้าน�้ำมันดิบกว่าร้อยละ 30.1 ของมูลค่า การน�ำเข้ารวม ส่งผลให้ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 อินเดียขาดดุลการค้าสูงถึง -3.9 ล้านล้านรูปี (ภาพที่ 5) ภาพที่ 3 การขยายตัวของการส่งออก การน�ำเข้า และดุลการค้า

ที่มา : CEIC

ภาพที่ 4 สัดส่วนการส่งออกสินค้าแยกตามประเทศคู่ค้า

ที่มา : CEIC

ภาพที่ 5 สัดส่วนการน�ำเข้าสินค้าแยกตามสินค้า

ที่มา : CEIC

การขาดดุลการค้าส่งผลให้เงินรูปีของอินเดียอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง (ภาพที่ 7) ท�ำให้ราคาน�้ำมันภายใน ประเทศและอัตราเงินเฟ้อสูงขึน้ ธนาคารกลางอินเดียจึงปรับขึน้ อัตราดอกเบีย้ นโยบาย ซึง่ ส่งผลให้อตั ราการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของอินเดียชะลอลงในปัจจุบัน

96


2. ความเสี่ยงของเศรษฐกิจอินเดียในระยะต่อไป เศรษฐกิจอินเดียต้องเผชิญกับความเสีย่ งหลายด้านด้วยกัน ทัง้ จากปัจจัยภายในประเทศและปัจจัยภายนอกประเทศ ได้แก่ 2.1 ความเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก อินเดียมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 26.4 ของ GDP ซึ่งแม้จะไม่มากนักแต่ความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก เป็นความเสีย่ งส�ำคัญ โดยเฉพาะจากการทีเ่ ศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มเข้าสูภ่ าวะถดถอยในปีนี้ ในขณะทีเ่ ศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ทีแ่ ม้วา่ จะมีเครือ่ งชีท้ สี่ ะท้อนสัญญาณบวกมากขึน้ อาทิ ดัชนีผจู้ ดั การฝ่ายจัดซือ้ ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Purchasing Manager’s Index) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับ 50.0 อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางจากอัตรา การว่างงานที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 8.2 ของก�ำลังแรงงานรวม ถือเป็นความเสี่ยงส�ำคัญที่จะส่งผลต่อการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงทั้งจากผลกระทบของการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะคู่ค้าส�ำคัญอย่างยูโรโซน และจากความพยายามปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนด้วยการด�ำเนินนโยบาย การเงินเข้มงวดก่อนหน้านี้ 2.2 การพึ่งพาการน�ำเข้าในระดับสูงของอินเดีย ส่งผลต่อการขาดดุลการค้าต่อเนื่อง จากอุปทานน�้ำมันดิบที่มีเพียงร้อยละ 20.0 ของความต้องการน�้ำมันในประเทศ ท�ำให้อินเดียต้องพึ่งพาการน�ำเข้า น�้ำมันดิบจากต่างประเทศเป็นจ�ำนวนมาก โดยอินเดียมีมูลค่าการน�ำเข้าน�้ำมันสูงถึงร้อยละ 30.1 ของมูลค่าการน�ำเข้ารวม ซึ่งราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้อินเดียขาดดุลการค้า เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาพที่ 6 การผลิตและการบริโภคน�้ำมันของประเทศอินเดีย

ที่มา : U.S. Energy Information Administration, International Energy Statistics

2.3 การอ่อนค่าของค่าเงินรูปีส่งผลกระทบต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ค่ า เงิ น รู ป ี ที่ มี ค วามผั น ผวนสู ง และมี แ นวโน้ ม อ่ อ นค่ า ลงอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เป็ น อี ก ความเสี่ ย งส� ำ คั ญ ของอิ น เดี ย โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2555 ค่าเงินรูปีอยู่ที่ 56.31 รูปีต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงจาก ณ สิ้นปี 2554 ร้อยละ 5.7 โดยการอ่อนค่าลงของค่าเงินดังกล่าวได้ส่งผลให้ดุลการค้ารวมไปถึงดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้น ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ -3.4 ของ GDP โดยการขาดดุลการค้าต่อเนื่องจากการน�ำเข้าน�้ำมันที่คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง จะยิ่งกดดันให้ค่าเงินรูปี อ่อนค่าลงในระยะต่อไป ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อจากการน�ำเข้า (Imported Inflation) รวมถึง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นมาก (ภาพที่ 8) ประมาณการเศรษฐกิจไทย

97


ภาพที่ 7 ค่าเงินรูปีต่อดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : CEIC

ภาพที่ 8 อัตราเงินเฟ้อเปรียบเทียบในกลุ่ม BRICS

ที่มา : CEIC

2.4 ข้อจ�ำกัดของนโยบายการเงินการคลัง แม้ว่ารัฐบาลอินเดียได้ให้เงินสนับสนุน (Subsidies) ส�ำหรับสินค้าในหมวดส�ำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารและ พลังงานเพือ่ ควบคุมแรงกดดันจากเงินเฟ้อ โดยในปีงบประมาณ 2555-2556 รัฐบาลอินเดียได้ตงั้ งบประมาณการให้เงินช่วยเหลือ ไว้ถึงร้อยละ 2.0 ของ GDP อย่างไรก็ตาม ด้วยระดับหนี้สาธารณะที่สูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อินเดีย มีข้อจ�ำกัดในการกระตุ้นเศรษฐกิจรวมถึงการควบคุมระดับราคาด้วยนโยบายการคลังในระยะต่อไป โดย ณ สิ้นปี 2554 หนี้สาธารณะอินเดียอยู่ที่ร้อยละ 68.1 ต่อ GDP (ภาพที่ 9) ขณะที่ในปีงบประมาณ 2554-2555 อินเดียขาดดุลการคลังร้อยละ 5.2 ของ GDP (ภาพที่ 10) ทั้งนี้ เพื่อลดภาระภาคการคลัง รัฐบาลอินเดียมีแผนการลดเงินอุดหนุนราคาสินค้าในหมวดต่าง ๆ ให้เหลือร้อยละ 1.75 ภายในปีงบประมาณ 2558-2559 ภาพที่ 9 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นปี 2554 เปรียบเทียบในกลุ่ม BRICS

ที่มา : IMF

ภาพที่ 10 ดุลการคลังต่อ GDP ตามปีงบประมาณ

ที่มา : Reserve Bank of India

นอกจากนี้ แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการเงินผ่านการลด อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ต้องค�ำนึงถึงผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อด้วย ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยในเดือน พฤษภาคม 2555 ที่อยู่ที่ร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.2 จาก ราคาอาหารและพลังงานทีย่ งั คงทรงตัวอยูใ่ นระดับสูง ส่งผลให้ RBI อาจไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบีย้ นโยบายเพือ่ สนับสนุน การขยายตัวของเศรษฐกิจได้ในระยะต่อไป

98


3. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย การชะลอลงของเศรษฐกิจอินเดียอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่าน 3 ช่องทาง คือ 3.1 ช่องทางการค้า เศรษฐกิจอินเดียที่คาดว่าจะชะลอลง คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยไม่มากนัก โดยในเดือนมิถุนายน 2555 สศค.ประเมินว่าเศรษฐกิจอินเดียในปี 2555 จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.7 ชะลอลงจากปีก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ซึ่งคาดว่าการชะลอลงดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก เนื่องจากสัดส่วนการส่งออก ของไทยไปยังอินเดียอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก คือ ร้อยละ 2.3 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทยในปี 2554 3.2 ช่องทางการท่องเที่ยว ภาคการท่ อ งเที่ ย วของไทยจะได้ รั บ ผลกระทบจากการชะลอลงของเศรษฐกิ จ อิ น เดี ย อยู ่ ใ นวงจ� ำ กั ด โดยนักท่องเที่ยวอินเดียคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.4 ของจ�ำนวนนักท่องเที่ยวรวมของไทยในปี 2554 ซึ่งถือว่าไม่สูงมากนัก อีกทั้ง รายได้จากนักท่องเทีย่ วอินเดียคิดเป็นเพียงร้อยละ 3.9 ของรายได้จากนักท่องเทีย่ วรวมในปี 2554 ดังนัน้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจ อินเดียคาดว่าจะส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยวของไทยในวงจ�ำกัด ไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากการชะลอลงของเศรษฐกิจอินเดีย มากนัก แม้แนวโน้มนักท่องเที่ยวอินเดียจะมีเพิ่มขึ้นก็ตาม 3.3 ช่องทางการเงิน สถาบันการเงินไทยมีความเชือ่ มโยง (Exposure) กับภาคการเงินอินเดียค่อนข้างต�ำ่ โดย ณ สิน้ เดือนธันวาคม 2554 สถานะการลงทุน (Investment Exposure) ของภาคการเงินไทยในสินทรัพย์ของกลุม่ ประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) อยู่ที่ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 3.8 ของมูลค่ารวมสินทรัพย์ต่างชาติที่ถือโดยสถาบันการเงินไทย (86.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ประกอบกับฐานะทุนส�ำรองระหว่างประเทศของไทยมีความมั่นคงเพียงพอที่จะรองรับความผันผวนได้ โดยเงินทุนส�ำรองของไทย ณ วันที่ 29 มิถนุ ายน 2555 อยูท่ ี่ 174.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 2.8 เท่าของหนีต้ า่ งประเทศ ระยะสัน้ ผนวกกับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสีย่ งของธนาคารพาณิชย์อยูใ่ นระดับสูงทีร่ อ้ ยละ 15.3 สะท้อนความแข็งแกร่งของไทย ที่จะรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไปได้

4. สรุป ปัจจุบันอินเดียต้องเผชิญกับเศรษฐกิจที่ชะลอลงจากการแผ่วลงของอุปสงค์ทั้งในประเทศและนอกประเทศ ผนวกกับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ค่าเงินรูปียังคงอ่อนค่าลง ส่วนหนึ่งจากการขาดดุลบัญชี เดินสะพัดอย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ ถือเป็นความท้าทายส�ำคัญของทางการอินเดียในการเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างทันการณ์ มิเช่นนัน้ อาจส่งผลลบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจอินเดียในระยะยาว ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความเชื่อมโยงกับอินเดียทั้งช่องทางการค้า ช่องทางการท่องเที่ยว และช่องทางการเงิน ไม่ สู ง มากนั ก ส่ ง ผลให้ ค าดว่ า หากเศรษฐกิ จ อิ น เดี ย ต้ อ งเผชิ ญ กั บ วิ ก ฤตเศรษฐกิ จ และชะลอลงในระยะต่ อ ไป จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยมากนัก

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

99


บทวิเคราะห์ เรื่อง อวสานของมาตรฐานทองค�ำ

1

บทสรุปผู้บริหาร นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลกในปี 2551 เป็นต้นมา ราคาทองค�ำปรับตัวสูงขึ้นมาก เนื่องจากนักลงทุนเชื่อว่าการลงทุนทองค�ำมีความเสี่ยงต�่ำกว่าการลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ (Safe Haven) อีกทั้ง ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ได้ปรับสัดส่วนทุนส�ำรองระหว่างประเทศโดยหันมาถือทองค�ำมากขึ้น ทดแทน การถือครองสินทรัพย์ดอลลาร์สหรัฐและยูโรซึ่งอ่อนค่าลงมาก ❍❍ การที่ราคาทองค�ำในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามีความผันผวนสูงขึ้น ท�ำให้เกิดค�ำถามว่าทองค�ำยัง เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) อย่างที่เคยเชื่อกันมาในอดีตหรือไม่ บทความนี้ได้ทดสอบสมมติฐาน การเปลีย่ นแปลงเชิงโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างราคาทองค�ำกับราคาสินทรัพย์อนื่ ๆ เพือ่ ดูวา่ ทองค�ำยัง คงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยอยู่หรือไม่ ❍❍ จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า ทองค�ำยังคงเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้าน ราคา (Inflation Hedging Asset) อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้เศรษฐกิจโลกจะประสบกับภาวะวิกฤตทั้งในภาคเศรษฐกิจ จริงและในภาคการเงินนับตั้งแต่ปลายปี 2551 เป็นต้นมาก็ตาม ❍❍ ขณะเดียวกัน บทบาทของทองค�ำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยกลับลดลงมากนับตั้งแต่วิกฤต ดังกล่าว สะท้อนจากการที่การเคลื่อนไหวของราคาทองค�ำมีความสัมพันธ์กับดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (Dow Jones) มากขึ้นตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์ (Sub-prime crisis) เป็นต้นมา สะท้อนว่าเมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัว ลดลง ราคาทองค�ำจะลดลงตาม อีกทั้งราคาทองค�ำยังเคลื่อนไหวในทิศทางที่สวนทางกับดัชนีความผันผวนของ ตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (VIX Index) บ่งชี้ว่าเมื่อตลาดการเงินโลกมีความผันผวนมากขึ้น ราคาทองค�ำจะ ลดลง เป็นสัญญาณว่านักลงทุนได้ปรับบทบาทของทองค�ำจากสินทรัพย์ปลอดภัยมาเป็นสินทรัพย์เสี่ยงโดยมี วิกฤตการเงินโลกเป็นจุดเปลี่ยน ❍❍ อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลกรีซ ทองค�ำยังคงเป็นสินทรัพย์ทป ี่ ลอดภัย กว่า สะท้อนจากราคาทองค�ำทีป่ รับตัวสูงขึน้ เมือ่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลกรีซเพิม่ สูงขึน้ เป็นผลมาจาก นักลงทุนเข้าซื้อทองค�ำมากขึ้นในจังหวะที่พันธบัตรรัฐบาลกรีซมีความเสี่ยงการผิดนัดช�ำระหนี้สูงขึ้น ❍❍ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านีป ้ ระกอบกับเศรษฐกิจโลกทีย่ งั คงผันผวน ท�ำให้การคาดการณ์ราคาทองค�ำ เป็นไปได้ยาก นักลงทุนจึงควรตระหนักเสมอว่าการลงทุนในทองค�ำในปัจจุบนั มีความเสีย่ งเสมือนสินทรัพย์เสีย่ ง อื่น ๆ และจ�ำเป็นต้องน�ำปัจจัยเสี่ยงของราคาทองค�ำมาเป็นปัจจัยในการบริหารความเสี่ยงของการลงทุน ❍❍

1. ทองค�ำ : จากวันนั้นถึงวันนี้ ทองค�ำเป็นโลหะมีค่าที่เป็นที่รู้จักในสังคมมนุษย์มาช้านาน โดยเครื่องใช้ที่ท�ำจากทองค�ำที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ถูกผลิตขึ้นในช่วง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล จากประวัติศาสตร์ของการใช้ทองค�ำที่ยาวนานกว่า 6,000 ปี มนุษย์ทั้งในยุคโบราณ และยุคปัจจุบันต่างใช้ทองค�ำเป็นเครื่องประดับและเครื่องมือเครื่องใช้ที่บ่งบอกถึงความมั่งคั่งและอ�ำนาจ

ผู้เขียน : ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ เศรษกรช�ำนาญการ ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ

1

100


นอกจากการใช้ทองค�ำในการท�ำเครื่องประดับและเครื่องใช้แล้ว ทองค�ำยังมีบทบาทส�ำคัญในนโยบายการเงินและอัตรา แลกเปลี่ยน โดยใน พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1816) สหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกที่เริ่มใช้ระบบมาตรฐานทองค�ำ (Gold Standard) ในการก�ำหนดค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิง โดยก�ำหนดให้เงิน 20 ชิลลิง หรือ 1 ปอนด์ มีค่าเท่ากับทองค�ำบริสุทธิ์ 113 เกรน (7.3 กรัม) ต่อมาใน พ.ศ. 2413–2474 (ค.ศ. 1870–1931) ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ปรับใช้มาตรฐานทองค�ำด้วยการอ้างอิงทองค�ำใน การก�ำหนดค่าเงินของตน ตลอดจนก�ำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินต่าง ๆ อีกด้วย เช่น 1 ปอนด์สเตอร์ลิง มีค่าเท่ากับ 4.85 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 5.25 ดอลลาร์แคนาดา หรือ 26.28 ฟรังก์ฝรั่งเศส และ 20.43 มาร์กเยอรมัน เป็นต้น ระบบมาตรฐานทองค�ำนี้ถูกยกเลิกไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อทองค�ำของหลายประเทศในยุโรปได้ถูกน�ำมาใช้ใน ช่วงสงครามจึงเริ่มขาดแคลน ท�ำให้ประเทศเหล่านี้ไม่สามารถใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายหลังสงครามผ่านการเพิ่มปริมาณเงินในระบบได้ ทั้งนี้ เนื่องจากตามระบบมาตรฐานทองค�ำการเพิ่มปริมาณเงินต้องเพิ่ม ปริมาณทองค�ำส�ำรองควบคู่กันไปด้วย ในที่สุดใน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ในการประชุมที่เมืองเบร็ตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ประชุมอันประกอบไปด้วยตัวแทนจากนานาประเทศได้ตกลงยกเลิกการใช้ทองค�ำในการก�ำหนดอัตรา แลกเปลี่ยน โดยหันมาใช้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นมาตรฐานในการก�ำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแทน ถึงแม้ทองค�ำจะไม่ได้เป็นเครื่องก�ำหนดมูลค่าของสกุลเงินอย่างที่เป็นมาในอดีตอีกต่อไป แต่ทองค�ำก็ยังคงมีบทบาทใน การท�ำหน้าที่เป็นเครื่องรักษามูลค่า (Store of Value) อย่างต่อเนื่อง แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 6 สหัสวรรษ เนื่องจากทองค�ำเป็น โลหะที่มีมูลค่าที่แท้จริงในตัวเอง (Intrinsic Value) และทองค�ำยังเป็นวัตถุดิบส�ำคัญในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม เครือ่ งประดับ ปัจจัยเหล่านีท้ ำ� ให้ทองค�ำมีอปุ สงค์ทแี่ ท้จริง อีกทัง้ นักลงทุนนิยมลงทุนในทองค�ำเพือ่ ป้องกันความเสีย่ งจากเงินเฟ้อ (Inflation Hedge) อีกด้วย ภาพที่ 1 ราคาทองค�ำรายวัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2511–2555 (ค.ศ. 1968–2012)

ที่มา : Reuters รวบรวมโดยผู้เขียน

วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลกเมื่อปี 2551 ได้ส่งผลให้ราคาทองค�ำปรับตัวสูงขึ้นมาก (ภาพที่ 1) จากการปรับพอร์ต ลงทุนของนักลงทุนระหว่างช่วงต้นของวิกฤต โดยนักลงทุนหันมาลงทุนในทองค�ำมากขึ้น เนื่องจากเชื่อว่าการลงทุนในทองค�ำมี แนวโน้มความเสี่ยงที่ต�่ำกว่าการลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ (Safe Haven) ที่ประสบปัญหาราคาลดลง อีกทั้งธนาคารกลางต่าง ๆ ได้ปรับสัดส่วนทุนส�ำรองระหว่างประเทศโดยหันมาถือทองค�ำมากขึ้น ทดแทนการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐและยูโรซึ่งอ่อนค่า ลงมากทั้ง 2 สกุล อย่างไรก็ตาม ราคาทองค�ำในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีความผันผวนสูง (ภาพที่ 2) จากการเก็งก�ำไรในตลาดโภคภัณฑ์ ประกอบกับธนาคารกลางต่าง ๆ ได้ปล่อยสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้นักลงทุนสถาบันจ�ำนวนมากเข้าซื้อขาย ทองค�ำในตลาดโลก เป็นสัญญาณว่าทองค�ำอาจมิได้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยตามที่หลายฝ่ายเข้าใจ

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

101


บทความนี้ได้ทดสอบสมมติฐานการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างราคาทองค�ำกับราคาสินทรัพย์ อื่น ๆ เพื่อพิสูจน์ว่าทองค�ำยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยอยู่หรือไม่2 ด้วยข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 (ค.ศ. 2007) ถึงเดือน มีนาคม 2555 (ค.ศ. 2012) โดยจะพิจารณา 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงก่อนวิกฤตการเงินโลก ตัง้ แต่เดือนมกราคม 2550–เดือนมิถนุ ายน 2551 (ค.ศ. 2007–2008) และช่วงหลังวิกฤตการเงินโลก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551–เดือนมีนาคม 2555 (ค.ศ. 2008–2012) ภาพที่ 2 ราคาทองค�ำรายวันและพิสัยราคาระหว่างวัน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550–มีนาคม 2555

ที่มา : Reuters ค�ำนวณโดยผู้เขียน

2. ปัจจัยก�ำหนดราคาทองค�ำ เนื่องจากราคาทองค�ำที่ซื้อขายและส่งมอบทันที (Spot Gold Price) อยู่ในรูปของดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ออนซ์ (ประมาณ 28.3 กรัม) หากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงย่อมส่งผลให้ราคาทองค�ำเมื่อคิดเป็นดอลลาร์สหรัฐปรับตัวสูงขึ้น โดยเมื่อพิจารณาจาก ข้อมูลเชิงประจักษ์แล้วจะพบว่าในช่วงปี 2550–2555 ราคาทองค�ำและดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีความสัมพันธ์ที่ผกผัน โดยมี ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างราคาทองค�ำและดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ -0.2915 และมีนัยส�ำคัญทางสถิติ (ภาพที่ 3) ภาพที่ 3 ราคาทองค�ำและดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐรายวัน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550–มีนาคม 2555

ที่มา : Reuters ค�ำนวณโดยผู้เขียน 2

102

สินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) หมายถึง สินทรัพย์ที่เมื่อตลาดการเงินโดยทั่วไปมีความผันผวนสูงและราคาสินทรัพย์อื่น ๆ ปรับตัวลดลงมาก ราคาสินทรัพย์ ปลอดภัยจะยังคงไม่เสียมูลค่า ทั้งนี้ สถานะการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมักจะเป็นเพียงสถานะชั่วคราวเท่านั้น กล่าวคือ สินทรัพย์บางชนิดจะมีความปลอดภัยกว่า สินทรัพย์อื่น ๆ เฉพาะในบางช่วงเวลา และเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น (อ้างอิงจาก Baur, Dirk G. and Brian M. Lucey, 2010. Is Gold a Hedge or a Safe Haven ? An Analysis of Stocks, Bonds and Gold, The Financial Review 45, 217-229)


อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาช่วงก่อนวิกฤตแล้ว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างราคาทองค�ำและดัชนีค่าเงินดอลลาร์ สหรัฐจะสูงถึง -0.9405 ในขณะทีห่ ลังวิกฤต ค่าสัมประสิทธิฯ์ มีคา่ เพียง -0.4249 จึงอาจกล่าวได้วา่ ก่อนเกิดวิกฤต ค่าเงินดอลลาร์ สหรัฐเป็นหนึง่ ในปัจจัยหลักทีม่ ผี ลต่อราคาทองค�ำ แต่ความสัมพันธ์นลี้ ดลงนับตัง้ แต่วกิ ฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา โดยมีปจั จัยอืน่ ๆ ที่อาจเข้ามามีอิทธิพลต่อราคาทองค�ำ เช่น อุปสงค์ทองค�ำในการเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านราคา ตลอดจนอุปสงค์ต่อ การลงทุนในทองค�ำในฐานะที่ทองค�ำถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนต่อไป เป็นต้น

3. ทองค�ำ : เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านราคา ? ในช่วงอัตราเงินเฟ้อขาขึ้น นักลงทุนมักจะมีความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าขึ้นไปตามระดับราคา เพื่อป้องกัน ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่อาจท�ำให้มูลค่าการลงทุนที่แท้จริงลดลงได้ สินทรัพย์ที่จะสามารถท�ำหน้าที่เป็นเครื่องมือป้องกัน ความเสี่ยงด้านราคาจึงจ�ำเป็นต้องมีคุณสมบัติส�ำคัญ คือ ราคาและมูลค่าที่แท้จริงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันด้วยอัตราที่ ใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อ ภาพที่ 3 ราคาทองค�ำและดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐอเมริกา รายเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550–มีนาคม 2555

ที่มา : Reuters ค�ำนวณโดยผู้เขียน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลแล้วจะพบว่าในช่วงปี 2550–2555 ราคาทองค�ำและดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐอเมริกา เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ที่ 0.9231 และมีนัยส�ำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ทั้งในช่วงก่อนวิกฤตและหลังวิกฤต มีค่าเป็นบวกที่ 0.8422 และ 0.9091 ตามล�ำดับ และมีนัยส�ำคัญทางสถิติ จึงอาจ กล่าวได้ว่า ทองค�ำยังคงเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านราคาทั้งก่อนวิกฤตและหลังวิกฤต

4. ทองค�ำ : สินทรัพย์ปลอดภัยหรือสินทรัพย์เสี่ยง ? ถึงแม้การลงทุนในทองค�ำจะสามารถป้องกันความเสี่ยงด้านราคาได้ แต่การลงทุนในทองค�ำโดยเฉพาะช่วงหลังวิกฤต เป็นต้นมาถูกมองว่ามีความเสี่ยงมากขึ้น (Risky Asset) โดยเห็นได้จากราคาทองค�ำที่ผันผวน ซึ่งขัดกับความเชื่อก่อนหน้านี้ว่า การลงทุนในทองค�ำเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) เนือ่ งจากทองค�ำมีมลู ค่าทีแ่ ท้จริงในตัวเอง ในส่วนนีผ้ เู้ ขียน จะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างราคาทองค�ำและสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์สมมติฐานดังกล่าว ดังนี้

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

103


➥➥ ราคาทองค�ำและดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์

ดัชนีอตุ สาหกรรมดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average Index) เป็นหนึง่ ในดัชนีหลักทรัพย์ทมี่ อี ทิ ธิพลต่อ ตลาดการเงินโลกมากทีส่ ดุ โดยเป็นดัชนีทแี่ สดงถึงมูลค่าการซือ้ ขายหลักทรัพย์ของบริษทั ขนาดใหญ่ 30 บริษทั ในตลาดหลักทรัพย์ สหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาซือ้ ขายปกติ ทัง้ นี้ ดัชนีอตุ สาหกรรมดาวโจนส์จะมีความอ่อนไหวสูงต่อความเคลือ่ นไหวของตลาด ตลอด จนข่าวทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสภาพเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจโลกโดยรวม ภาพที่ 4 ราคาทองค�ำและดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550–มีนาคม 2555

ที่มา : Reuters ค�ำนวณโดยผู้เขียน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในอดีตแล้วจะพบว่าในช่วงปี 2550–2555 ราคาทองค�ำและดัชนีอุตสาหกรรม ดาวโจนส์เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน (ภาพที่ 4) แต่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ต�่ำเพียง 0.0673 กล่าวคือ การเคลื่อนไหว ของดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์สัมพันธ์กับความเคลื่อนไหวของราคาทองค�ำเพียงร้อยละ 6.7 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาช่วงก่อนวิกฤต ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของราคาทองค�ำและดัชนีอุตสาหกรรม ดาวโจนส์มีค่า -0.4163 และมีนัยส�ำคัญทางสถิติ บ่งชี้ว่าราคาทองค�ำและตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกามีทิศทางที่ตรงข้ามกัน กล่าวคือ เมื่อดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลดลง ซึ่งมักจะเกิดจากนักลงทุนขาดความมั่นใจในเศรษฐกิจ ราคาทองค�ำจะ ปรับตัวสูงขึ้น และในทางกลับกัน เมื่อดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวสูงขึ้นตามความมั่นใจของนักลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้น ราคาทองค�ำจะลดลง จึงอาจกล่าวได้ว่าในช่วงก่อนวิกฤต ทองค�ำจัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง (Safe Haven) ในทางตรงข้าม บทบาทของทองค�ำในฐานะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยได้ลดลงมากในช่วงหลังวิกฤตเป็นต้น มา สะท้อนจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่มีค่า 0.7717 หรือการเคลื่อนไหวของดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์และราคาทองค�ำ เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกว่าร้อยละ 77.2 ซึ่งมีความหมายว่าหากดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลดลง ราคาทองค�ำ ก็มักจะลดลงตามด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา ทองค�ำได้สูญเสียสถานะความเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และได้กลายเป็นสินทรัพย์เสี่ยงแล้ว อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ท�ำให้ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวสูงขึ้นหรือลดลงมิได้มีเพียงแค่ความมั่นใจของ นักลงทุนเท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงปัจจัยด้านพื้นฐานที่ท�ำให้หลักทรัพย์มีราคาสูงขึ้นและส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับตัวสูงขึ้นตาม ดังนั้น ในการพิสูจน์ว่าทองค�ำเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เราจ�ำเป็นต้องพิจารณาตัวแปรทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่ สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยตรงอีกด้วย

104


➥➥ ราคาทองค�ำและดัชนีความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา

ดัชนีความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (Chicago Board Options Exchange Market Volatility Index หรือ VIX Index) เป็นดัชนีที่จัดท�ำโดย Chicago Board Options Exchange (CBOE) ซึ่งค�ำนวณจากการซื้อขาย Options ของดัชนี S&P 500 ในตลาด CBOE ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งบ่งชี้การคาดการณ์ความผันผวนของดัชนี S&P 500 ในอีก 30 วันข้างหน้า ตลอดจนความหวาดกลัวของนักลงทุนต่อทิศทางการเคลือ่ นไหวของตลาด เมือ่ ตลาดมีความเสีย่ งสูงขึน้ ท�ำให้นกั ลงทุนมีความหวาด กลัวในตลาดมากขึ้น นักลงทุนย่อมสนใจลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ราคาของสินทรัพย์ปลอดภัยจึงควรเคลื่อนไหวไปตาม ดัชนี VIX เมื่อพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์ในช่วงก่อนวิกฤต ราคาทองค�ำเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันกับดัชนี VIX ด้วยค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์ 0.6656 บ่งชีว้ า่ ทองค�ำในช่วงก่อนวิกฤตเคยเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยส�ำหรับนักลงทุน อย่างไรก็ตาม เมือ่ พิจารณาช่วงหลังวิกฤต ราคาทองค�ำกลับมีการเคลือ่ นไหวสวนทางกับดัชนี VIX โดยมีคา่ สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์ -0.4418 (ภาพ ที่ 5) กล่าวคือ เมือ่ ตลาดมีความตืน่ ตระหนกมาก ราคาทองค�ำจะปรับตัวลดลง บ่งชีว้ า่ นักลงทุนเข้าซือ้ ทองค�ำลดลง ในทางกลับกัน หากนักลงทุนมีความเชือ่ มัน่ ในการลงทุนและภาวะของตลาดหลักทรัพย์รวมไปถึงตลาดการเงินโลก ราคาทองค�ำจะปรับตัวสูงขึน้ เป็นสัญญาณว่านักลงทุนจัดให้ทองค�ำเป็นสินทรัพย์ทมี่ คี วามเสีย่ งในระดับเดียวกันกับหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา ภาพที่ 5 ราคาทองค�ำและดัชนี VIX ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550–มีนาคม 2555

ที่มา : Reuters และ CBOE ค�ำนวณโดยผู้เขียน

➥➥ ราคาทองค�ำและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลกรีซ

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลกรีซ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในภาวะเศรษฐกิจยุโรปตลอดจนวิกฤตหนี้ สาธารณะในกลุ่มประเทศ GIIPS (กรีซ โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ และสเปน) ได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ เมื่อสถานการณ์หนี้สาธารณะ ของประเทศกลุม่ GIIPS มีแนวโน้มรุนแรงขึน้ นักลงทุนจะต้องการผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศในกลุม่ GIIPS สูงขึน้ เพือ่ ชดเชยความเสี่ยงจากการผิดนัดช�ำระหนี้ (Default Risk Premium) และหากความเสี่ยงดังกล่าวสูงขึ้น นักลงทุนจะเข้าซื้อสินทรัพย์ ปลอดภัยมากขึ้นเพื่อป้องกันความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโลก ราคาสินทรัพย์ปลอดภัยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล กรีซจึงควรเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

105


ภาพที่ 6 ราคาทองค�ำและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลกรีซ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550–มีนาคม 2555

ที่มา : Reuters ค�ำนวณโดยผู้เขียน

จากข้อมูลพบว่าในช่วงปี 2550–2555 ราคาทองค�ำและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลกรีซเคลือ่ นไหวไปในทิศทางเดียวกัน (ภาพที่ 6) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงถึง 0.8512 ทั้งนี้ ในช่วงก่อนวิกฤต ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างราคาทองค�ำและ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลกรีซมีค่าเพียง 0.1669 แต่ในช่วงหลังวิกฤตเป็นต้นมา ค่าสัมประสิทธิ์ฯ กลับเพิ่มสูงขึ้นถึง 0.8574 บ่งชี้ ว่าทองค�ำเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่าพันธบัตรรัฐบาลกรีซ และมีบทบาทในการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยสูงขึ้นในช่วงหลังวิกฤต การเงินโลกเป็นต้นมา อนึ่ง วิกฤตหนี้สาธารณะในกรีซเริ่มปะทุในช่วงปลายปี 2552 และน่าจะเป็นปัจจัยส�ำคัญให้ความสัมพันธ์ ระหว่างราคาทองค�ำและผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลกรีซสูงขึ้นในช่วงหลังวิกฤตเป็นต้นมา ทั้งนี้ เราสามารถสรุปความสัมพันธ์ของราคาทองค�ำกับตัวแปรทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่บ่งชี้โดยดัชนีสหสัมพันธ์ได้ในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 สรุปค่าดัชนีสหสัมพันธ์ระหว่างราคาทองค�ำและตัวแปรทางเศรษฐกิจต่าง ๆ

ตัวแปร

2550-2555

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ดัชนีความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลกรีซ

-0.2915*** 0.9231*** 0.0674*** -0.0800*** 0.8512***

*** มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 99 ที่มา : Reuters CEIC และ CBOE ค�ำนวณโดยผู้เขียน

106

ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจโลก หลังวิกฤตเศรษฐกิจโลก (ม.ค. 2550–มิ.ย. 2551) (มิ.ย. 2551–มี.ค. 2555) -0.9404*** 0.8422*** -0.4163*** 0.6656*** 0.1669***

-0.4249*** 0.9091*** 0.7717*** -0.4418*** 0.8574***


5. สรุป บทความนี้ได้วิเคราะห์บทบาทของทองค�ำในการท�ำหน้าที่เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความ เสี่ยงด้านราคา ความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนความเสี่ยงจากการผิดนัดช�ำระหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งบทบาทต่าง ๆ ของทองค�ำท�ำให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมิใช่ปัจจัยเดียวที่ก�ำหนดราคาทองค�ำ โดยจากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า ในช่วงปี 2550–2555 ราคาทองค�ำกับดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีการเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกัน เนื่องจากราคาทองค�ำอยู่ใน รูปของดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐทีแ่ ข็งค่าขึน้ ย่อมส่งผลให้ราคาทองค�ำลดลง อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของราคาทองค�ำ กับดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนแอลงในช่วงหลังวิกฤตเป็นต้นมา ทองค�ำยังคงท�ำหน้าที่เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านราคาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้เศรษฐกิจโลกจะประสบกับภาวะ วิกฤตทัง้ ในภาคเศรษฐกิจจริงและในภาคการเงินนับตัง้ แต่ปลายปี 2551 เป็นต้นมาก็ตาม อย่างไรก็ตาม บทบาทของทองค�ำในฐานะ สินทรัพย์ปลอดภัยลดลงมากนับตัง้ แต่วกิ ฤตดังกล่าว กล่าวคือ การเคลือ่ นไหวของราคาทองค�ำสัมพันธ์กบั ดัชนีอตุ สาหกรรมดาวโจนส์ มากขึ้นตั้งแต่ช่วงวิกฤตเป็นต้นมา อีกทั้งราคาทองค�ำยังเคลื่อนไหวในทิศทางที่สวนทางกับดัชนีความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์ สหรัฐอเมริกา บ่งชี้ว่าเมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงหรือตลาดการเงินโลกมีความผันผวนมากขึ้น ราคาทองค�ำจะลดลงตาม เป็นสัญญาณว่านักลงทุนได้ปรับบทบาทของทองค�ำจากสินทรัพย์ปลอดภัยมาเป็นสินทรัพย์เสีย่ งโดยมีวกิ ฤตการเงินโลกเป็นจุดเปลีย่ น อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลกรีซ ทองค�ำยังคงเป็นสินทรัพย์ทปี่ ลอดภัยกว่า สะท้อนจากราคาทองค�ำที่ ปรับตัวสูงขึน้ เมือ่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลกรีซเพิม่ สูงขึน้ เป็นผลมาจากนักลงทุนเข้าซือ้ ทองค�ำมากขึน้ ในจังหวะทีพ่ นั ธบัตร รัฐบาลกรีซมีความเสี่ยงการผิดนัดช�ำระหนี้สูงขึ้น ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ประกอบกับเศรษฐกิจโลกทีย่ งั คงผันผวน ท�ำให้การคาดการณ์ราคาทองค�ำเป็นไปได้ยากขึน้ นักลงทุนจึง ควรพึงตระหนักอยู่เสมอว่าการลงทุนในทองค�ำในปัจจุบันมีความเสี่ยงเสมือนสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ และจ�ำเป็นต้องน�ำปัจจัยเสี่ยงของ ราคาทองค�ำมาเป็นปัจจัยในการบริหารความเสี่ยงของการลงทุน

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

107


ภาคการเงิน

รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ปรับตัวลดลง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.85 ณ สิ้นปี 2554 เป็นร้อยละ 2.98 ณ สิ้นเดือน พฤษภาคม 2555 จากการแข่งขันระดมเงินฝากเพือ่ รองรับแนวโน้มการขยายตัวของสินเชือ่ ขณะทีอ่ ตั ราดอกเบีย้ เงินกู้ MLR ปรับ ลดลงจากร้อยละ 7.44 ณ สิ้นปี 2554 เป็นร้อยละ 7.32 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2555 (ภาพที่ 1) ตามการลดลงของอัตราดอกเบี้ย นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงต้นปี 2555 นอกจากนี้ การที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพได้ส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม 2555 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง1 ปรับตัวเป็นบวกครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 ❍❍ การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2555 เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2554 โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันตลอดไตรมาสที่ 3 ตามการคง อัตราดอกเบีย้ นโยบายเพือ่ สนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจ จากความเสีย่ งของอุปสงค์จากภายนอกประเทศทีค่ าดว่าจะชะลอลง อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี 2555 สินเชื่อที่คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงดังกล่าวจะท�ำให้มี การแข่งขันระดมเงินฝากมากขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น ❍❍

ภาพที่ 1 อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ยอดคงค้างสินเชือ่ และเงินฝากของสถาบันการเงินทีร่ บั ฝากเงิน2 (Depository institutions) ณ สิน้ เดือน พฤษภาคม 2555 ขยายตัวดีต่อเนื่อง (ภาพที่ 2 และภาพที่ 3) โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2555 สถาบันรับฝากเงินมียอดคง ค้างของสินเชื่อภาคเอกชนจ�ำนวน 12,279.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัด ผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากการขยายตัวเร่งขึ้นของสินเชื่อภาคครัวเรือนเป็นส� ำคัญ โดยสินเชือ่ ของทัง้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึน้ ด้านเงินฝากของสถาบันรับฝากเงินมียอดคงค้าง เงินฝากจ�ำนวน 12,603.7 พันล้านบาท ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเมื่อขจัดผล ของฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากการระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤตอุทกภัย ❍❍

ค�ำนวณโดยน�ำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 12 เดือนเฉลี่ย–อัตราเงินเฟ้อในช่วงเดียวกัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน

1 2

108

ประมาณการเศรษฐกิจไทย


ภาพที่ 2 สินเชื่อในสถาบันรับฝากเงิน

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 3 เงินฝากในสถาบันรับฝากเงิน

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ยอดคงค้ า งสิ น เชื่ อ และเงิ น ฝากของธนาคารพาณิ ช ย์ ณ เดื อ นพฤษภาคม ปี 2555 ขยายตัวเร่งขึ้น (ภาพที่ 4 และภาพที่ 5) ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2555 ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างสินเชื่อภาคเอกชนจ�ำนวน 8,060.1 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 14.7 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า และเมือ่ ขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.2 เมือ่ เทียบกับเดือนก่อนหน้า ด้านเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ยอดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 8,692.7 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ❍❍

ภาพที่ 4 สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 5 เงินฝากในธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ยอดคงค้างสินเชือ่ ภาคครัวเรือนและยอดคงค้างสินเชือ่ ธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือนพฤษภาคม 2555 ขยายตัวดีต่อเนื่อง (ภาพที่ 6) สินเชื่อภาคครัวเรือนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 40 ของสินเชื่อรวมขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 14.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า สอดคล้องกับเครือ่ งชีภ้ าวะเศรษฐกิจภาคการบริโภคทีส่ ง่ สัญญาณการขยายตัวต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทขี่ ยายตัวเร่งขึน้ ชัดเจน ขณะทีส่ นิ เชือ่ ทีใ่ ห้แก่ภาคธุรกิจซึง่ มีสดั ส่วนกว่าร้อยละ 60 ของสินเชื่อรวม ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สอดคล้องกับเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ ภาคการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

109


ภาพที่ 6 ยอดคงค้างสินเชื่อครัวเรือนและสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

สิ น เชื่ อ ธุ ร กิ จ เกื อ บทุ ก ภาคการผลิ ต ขยายตั ว ชะลอลง โดยเฉพาะสิ น เชื่ อ ภาคบริ ก ารและภาค เกษตรกรรม (ภาพที่ 8) ยอดคงค้างสินเชื่อภาคบริการ ซึ่ึงมีสัดส่วนร้อยละ 44 ของสินเชื่อธุรกิจ (ภาพที่ 7) หดตัวร้อยละ -2.4 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า สอดคล้องกับการหดตัวของจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 เมือ่ เทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 4.4 จากผลของวิกฤตน�้ำท่วม ยอดคงค้างสินเชื่อภาคเกษตรกรรมขยายตัวเร่งขึ้นจาก ยอดคงค้างสินเชือ่ เกษตรกรรมในไตรมาสก่อนหน้ามาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 9.4 สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ทีข่ ยายตัวได้ตอ่ เนือ่ งจากไตรมาสก่อนหน้า ยอดคงค้างสินเชือ่ ภาคอุตสาหกรรมซึง่ มีสว่ นแบ่งร้อยละ 42.6 ของสินเชือ่ ธุรกิจ ขยายตัวชะลอลงต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 10.0 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ทีห่ ดตัวจากการทีบ่ างอุตสาหกรรมยังไม่ฟน้ื ตัวจากวิกฤตอุทกภัยทีร่ อ้ ยละ -6.9 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ❍❍

ภาพที่ 8 การขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์

ภาพที่ 7 สินเชื่อแยกตามภาคธุรกิจ

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 9 โครงสร้างสินเชื่อผู้บริโภค

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

110

ประมาณการเศรษฐกิจไทย


ยอดคงค้างสินเชื่อผู้บริโภคในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนหน้า โดยสินเชื่อบุคคลเพื่อซื้อรถหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 5.0 ของสินเชื่อรวม หรือร้อยละ 22.0 ของสินเชื่อบุคคล ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ ร้อยละ 20.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า สะท้อนการบริโภคสินค้าคงทนในส่วนของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทยี่ งั ขยายตัวได้ดี แม้วา่ จะได้รบั ผลกระทบจากสถานการณ์อทุ กภัย ขณะที่ยอดคงค้างสินเชือ่ เพือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย ซึง่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.0 ของสินเชือ่ ทัง้ หมด หรือร้อยละ 55.0 ของสินเชือ่ บุคคล ขยายตัวต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 9.2 จากการที่ ผูบ้ ริโภคมีความเชือ่ มัน่ ทีจ่ ะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพิม่ ขึน้ หลังภาวะอุทกภัยคลีค่ ลายลง ส�ำหรับยอดคงค้างสินเชือ่ บัตรเครดิต คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.7 ของยอดคงค้างสินเชื่อธนาคารพาณิชย์รวม ในเดือนเมษายน ปี 2555 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อน หน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 10.6 บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนสะท้อนจากยอดการจับจ่ายใช้สอยฟื้นตัวต่อเนื่องหลังภาวะน�้ำท่วมผ่าน พ้นไป สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนเมษายน 2555 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 มาอยู่ที่ระดับ 67.5 ❍❍

ภาพที่ 10 การขยายตัวสินเชื่อบุคคล ธนาคารพาณิชย์แยกประเภท

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 11 การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ผ่านบัตรเครดิต

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

กล่าวโดยสรุป ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2555 เงินฝากและสินเชื่อของสถาบันการเงินไทยขยายตัว เร่งขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังภาวะน�้ำท่วม โดยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะสินเชื่อผู้บริโภคขยายตัว เร่งขึ้นจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังภาวะน�้ำท่วม ขณะที่สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงขยายตัว ได้ดีต่อเนื่องตามมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ในส่วนของสถานการณ์ด้านเงินฝากก็มีการขยายตัวเร่งขึ้นเช่นกัน โดยเป็น การเร่งขึ้นของทั้งเงินฝากของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จากการเร่งระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัว ของสินเชือ่ ตามการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤตอุทกภัย ทัง้ นี้ หากวิเคราะห์ถงึ สถานภาพของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบนั พบว่า ยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยสัดส่วนหนีท้ ไี่ ม่กอ่ ให้เกิดรายได้สทุ ธิยงั คงอยูใ่ นระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 1.3 ของสินเชือ่ ทัง้ หมด ขณะทีส่ ดั ส่วน เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 15.3 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายก�ำหนดไว้ที่ร้อยละ 8.5 ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

111


Thailand’s Key Economic Indicators ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators)

112


ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง FISCAL POLICY OFFICE

เสนอแนะอย่างมีหลักการ

ศ ค

ศึกษาโดยไม่หยุดนิ่ง คนคลังที่มีคุณภาพ

คณะผู้จัดท�ำ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ : boonchar@mof.go.th ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ดร.กุลยา ตันติเตมิท : kulaya.t@hotmail.mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ ณัฐยา อัชฌากรลักษณ์ : nuttaya@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค พิสิทธิ์ พัวพันธ์ : pisitp@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร : soraphol@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์ สิริกัลยา เรืองอ�ำนาจ : sirigunya@hotmail.com

ผู้รับผิดชอบรายภาคเศรษฐกิจ

ภาคการคลัง คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com นิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว : nipat44@hotmail.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com พีรพัฒน์ วงศ์ชัยวัฒน์ : wongchaiwat@hotmail.com สุธิรัตน์ จิรชูสกุล : j_suthi01@ yahoo.com กมลพงศ์ วิศษิ ฐวาณิชย์ : sasri_aorn13@hotmail.com รชานนท์ ฉิมเชิด : rachanon.fpo@gmail.com ภาคการค้าระหว่างประเทศ ธนิต ภัทรแสงไทย : thanitcfa@gmail.com อรุณรัตน์ นานอก : aobcy2000@hotmail.com ตลาดน�้ำมัน ดร.กุลกัลยา พระยาราช : kulkunya@mof.go.th ยุทธภูมิ จารุเศร์นี : iam5111@msn.com เศรษฐกิจต่างประเทศ พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ : peerapan.ps@gmail.com ภัทราพร คุ้มสะอาด : phattraporn088@gmail.com ภาคการเงิน อาร์จนา ปานกาญจโนภาส : annulet@hotmail.com

อัตราแลกเปลี่ยน ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ : pim.hirankasi@gmail.com ภาคอุตสาหกรรม วิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ : wiparat@fpo.go.th ธรรมฤทธิ์ คุณหิรัญ : thammaritud@yahoo.com อรอุมา หนูช่วย : onumaneung@hotmail.com ภาคเกษตรกรรม กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com ภาคการท่องเที่ยว คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com ดารินทร์ เกตุเรืองโรจน์ : lexlexjung@hotmail.com ภาคการบริโภค การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์ ยุทธภูมิ จารุเศร์นี : iam5111@msn.com กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com ด้านเสถียรภาพ พนันดร อรุณีนิรมาน : panundorn.a@gmail.com


สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท 0-2273-9020 โทรสาร 0-2298-5602 website : http://www.fpo.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.