ประมาณการเศรษฐกิจไทยป 2555
THAILAND'S ECONOMIC OUTLOOK 2012 : MARCH
เดือนมีนาคม
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
http://www.fpo.go.th
THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2012 FISCAL POLICY OFFICE เป้าประสงค์ และ ยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 1. ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการคลัง เพื่อให้ภาคการคลังของประเทศมีความแข็งแกร่งยั่งยืน เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นหลักของ ระบบเศรษฐกิจไทย 2. การพัฒนาความแข็งแกร่งของระบบการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Financial System Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการเงิน เพื่อให้ภาคการเงินแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ 3. เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน (Sustainable Economic and Social Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อกระจายความมั่งคั่ง สู่ภูมิภาคและเศรษฐกิจฐานราก + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น 4. ความมีประสิทธิภาพ ความทันสมัย และความโปร่งใสในการท�ำงาน (Modernization of Management and Good Governance Promotion) + ด�ำเนินการเพื่อให้เป็นองค์กรเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับด้านความสามารถของบุคลากร + ด�ำเนินการเพื่อให้การท�ำงานและการให้บริการโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้ โดยใช้ระบบ IT ลดขั้นตอนการท�ำงาน
กลยุทธ์ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค : “เสาหลักด้านเศรษฐกิจมหภาคอย่างมืออาชีพ” “วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพ แม่นย�ำ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้สามารถเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้อย่าง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณชน”
ช่องทางใหม่ในการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ
ขั้นตอนการใช้งานผ่านอุปกรณ์ iPad iPhone / ระบบปฏิบัติการ Android 1 โหลด App ชื่อ “ebooks.in.th” จาก App Store /
Android Market
2 เปิด App “ebooks.in.th” แล้ว Search ค�ำว่า “Fiscal Policy Office” 3 เลือกหนังสือและบทความที่ท่านต้องการอ่าน เพื่อเก็บไว้ที่ตู้หนังสือ 4 เลือก Icon “Bookshelf” เพื่ออ่านหนังสือที่ต้องการ (ในครั้งแรกต้องลงทะเบียนก่อนใช้งาน)
THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2012 : MARCH FISCAL POLICY OFFICE
สารบัญ 1. ประมาณการเศรษฐกิจไทย บทสรุปผู้บริหาร Executive Summary ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 (ณ เดือนมีนาคม 2555) 1.1 สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 1.2 ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555
หน้า 3 6 9 10 27
2. ภาคการคลัง : รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555
39
3. บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ : Macroeconomic Analysis Briefings 3.1 MISSION IMPOSSIBLE : ปฏิบัติการเปิดฟ้าชะตาน�้ำมัน 3.2 ทางออกของวิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซ : บทเรียนจากฮังการี 3.3 ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงพลังงาน : ไทยจะก้าวต่อไปเช่นไร 3.4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ทางออกของวิกฤตหนี้สาธารณะของญี่ปุ่น ? 3.5 Inflation Targeting ของธนาคารกลางสหรัฐฯ : ฝันที่เป็นจริง ? 3.6 มิติใหม่ โลจิสติกส์ไทย 3.7 บทบาทนโยบายการคลังในการด�ำเนินนโยบายการป้องกันปัญหาอุทกภัย
47 56 65 76 82 90 98
4. ภาคการเงิน : รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2555
106
5. Thailand’s Key Economic Indicators
110
คณะผู้จัดท�ำ : ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทรศัพท์ 02-273-9020 ต่อ 3257 โทรสาร 02-298-5602 / 02-618-3397 http:// www.fpo.go.th
บทสรุปผู้บริหาร
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 (ณ เดือนมีนาคม 2555) รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 “เศรษฐกิจไทยปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 5.0–6.0 ฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ภายหลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายลง” ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งทีร่ อ้ ยละ 5.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.0–6.0) ปรับเพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้เดิมเมื่อเดือนธันวาคม 2554 และ เป็นการฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ภายหลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายลง โดยคาดว่าในปี 2555 อุปสงค์ภายในประเทศจะเป็นแรงขับเคลือ่ นหลักของเศรษฐกิจไทย จากความจ�ำเป็นในการบริโภค สินค้าเพือ่ ทดแทนทรัพย์สนิ ทีเ่ สียหายจากสถานการณ์อทุ กภัย และการลงทุนเพือ่ ฟืน้ ฟูอาคารบ้านเรือนและเครือ่ งมือ เครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น มาตรการปรับเพิ่ม รายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการจ�ำน�ำข้าวเปลือก อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกคาดว่า จะชะลอลงตามเศรษฐกิจโลกทีม่ แี นวโน้มฟืน้ ตัวอย่างเปราะบาง โดยเฉพาะการแก้ปญ ั หาหนีส้ าธารณะในกลุม่ ประเทศ สหภาพยุโรปที่ยังไม่ชัดเจน และเศรษฐกิจจีนที่เติบโตชะลอตัวลง ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศในปี 2555 คาดว่าจะยังคงแข็งแกร่ง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทัว่ ไป ในปี 2555 จะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.6 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 3.1–4.1) ลดลงจากปีกอ่ นหน้า ตามราคาน�ำ้ มันในตลาดโลก ทีค่ าดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลง อันเนือ่ งมาจากแรงกดดันด้านอุปสงค์นำ�้ มันในตลาดโลกทีช่ ะลอลงตามแนวโน้ม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศคาดว่าจะเริ่มได้รับปัจจัยเสี่ยงจาก ดุลบัญชีเดินสะพัดที่คาดว่าจะขาดดุลร้อยละ 0.9 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.4–1.4 ของ GDP) ตาม การเกินดุลการค้าที่มีแนวโน้มลดลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศคาดว่าจะส่งผลให้ มูลค่าการน�ำเข้าสินค้าขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 23.3 เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าที่คาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 13.5”
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
3
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2555 (ณ เดือนมีนาคม 2555) 2554 สมมติฐานหลัก สมมติฐานภายนอก 1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี) 4.0 2) ราคาน�้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) 105.6 3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 5.6 4) ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 10.1 สมมติฐานด้านนโยบาย 5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) 30.5 6) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละต่อปี) 3.25 7) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท) 2.77 ผลการประมาณการ 1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 0.1 2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี) 1.3 - การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 1.3 - การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 1.4 3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี) 3.3 - การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 7.3 - การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) -8.7 4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 9.5 5) อัตราการขยายตัวปริมาณน�ำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 13.6 6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 23.9 - สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 16.6 - สินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 24.7 7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 11.9 - ร้อยละของ GDP 3.4 8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี) 3.8 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี) 2.4 9) อัตราการว่างงาน (ร้อยละของก�ำลังแรงงานรวม) 0.7 f = ประมาณการ โดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
4
2555 f (ณ มีนาคม 2555) เฉลี่ย ช่วง
3.8 118.0 5.2 5.8
3.3-4.3 113.0-123.0 4.2-6.2 4.8-6.8
31.0 3.25 2.95
30.0-32.0 2.75-3.75 2.95-2.96
5.5 4.5 4.5 4.5 11.9 11.9 12.1 8.8 13.5 7.3 13.5 23.3 -3.5 -0.9 3.6 2.3 0.6
5.0-6.0 4.0-5.0 4.0-5.0 4.0-5.0 10.9-12.9 10.9-12.9 11.1-13.1 7.8-9.8 12.5-14.5 6.3-8.3 12.5-14.5 22.3-24.3 (-5.2)-(-1.5) (-1.4)-(-0.4) 3.1-4.1 1.8-2.8 0.5-0.7
1. เศรษฐกิจไทยในปี 2555 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.0–6.0) ปรับเพิ่มขึ้นจาก ทีป่ ระมาณการไว้เดิมเมื่อเดือนธันวาคม 2554 และเป็นการฟืน้ ตัวกลับเข้าสูภ่ าวะปกติจากปีกอ่ นหน้าทีข่ ยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ภายหลังสถานการณ์อทุ กภัยคลีค่ ลายลง โดยคาดว่าในปี 2555 อุปสงค์ภายในประเทศจะเป็นแรงขับเคลือ่ นหลักของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0–5.0) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้า เนื่องจากความจ�ำเป็นในการบริโภคสินค้าเพื่อทดแทนทรัพย์สินที่เสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย ประกอบกับนโยบายของ ภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น มาตรการปรับเพิ่มรายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการจ�ำน�ำ ข้าวเปลือก ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 10.9–12.9) เร่งขึ้น ตามความจ�ำเป็นในการฟืน้ ฟูอาคารบ้านเรือนและเครือ่ งมือเครือ่ งจักรในภาคอุตสาหกรรมทีไ่ ด้รบั ความเสียหายจากสถานการณ์ อุทกภัย ประกอบกับคาดว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบางสาขา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ยังคง ได้รับค�ำสั่งซื้อทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ จึงมีแนวโน้มเร่งฟื้นฟูเพื่อกลับมาท�ำการผลิตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 13.5 ตามเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้ม ฟืน้ ตัวอย่างเปราะบาง โดยเฉพาะการแก้ปญ ั หาหนีส้ าธารณะในกลุม่ ประเทศสหภาพยุโรปทีย่ งั ไม่ชดั เจน และเศรษฐกิจจีนทีเ่ ติบโต ชะลอตัวลง ส�ำหรับการใช้จ่ายภาครัฐในปี 2555 คาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้า ตามการเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีของรัฐบาลในปี 2555 ที่คาดว่าจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่า จะขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 12.1 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากแผนการกู้เงินจากพระราชก�ำหนดกู้เงินเพื่อบริหารจัดการน�้ำ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ที่จะเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2555 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ในด้านอัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปในปี 2555 คาดว่าจะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.6 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ ทีร่ อ้ ยละ 3.1–4.1) ชะลอลงเล็กน้อยจากปี 2554 อันเป็นผลจากความเปราะบางของการฟืน้ ตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคูค่ า้ ของ ไทยโดยเฉพาะเศรษฐกิจกลุม่ ประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้ว ทีค่ าดว่าจะส่งผลให้อปุ สงค์นำ�้ มันในตลาดโลกชะลอลง ประกอบกับแนวโน้ม การชะลอตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.6 ของก�ำลัง แรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5–0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม) ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศคาดว่าดุลบัญชี เดินสะพัดจะขาดดุลที่ 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.9 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.4-0.4 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 7.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 6.3–8.3 พันล้าน เหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้าน�ำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้า ในปี 2555 จะขยายตัวร้อยละ 23.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 22.3–24.3) ขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 13.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 12.5–14.5)
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
5
Executive Summary
Thailand’s Economic Projection for 2012 (As of March 2012) Thailand’s Economic Outlook Projection 2012 The Thai economy is likely to grow at 5.5 percent in 2012, return its potential after the flooding crisis has eased up. The Fiscal Policy Office (FPO), Ministry of Finance, forecasted that Thai economy in 2012 is likely to grow at an accelerate pace at an annualized rate of 5.5 percent (or within a range of 5.0-6.0 percent), higher than the previous projection, and recover from last year flood-hit sluggish growth of 0.1 percent. Domestic demand will be the main driver for this year economic growth as consumption spending as well as private investment to restore productions from flood damaged industrial estates will be recovered, Moreover, stimulus measures, in particular, the higher minimum wage policy for low-income workers and government officials, and the rice mortgage scheme are going to support domestic demand to return to its potential trend. Meanwhile, external demand is anticipated to grow at a slower pace due to the global economic slowdown, especially from the European sovereign debt crisis and concerns of the Chinese economic slowdown. With regard to internal stability, headline inflation in 2012 is anticipated to be at 3.6 percent (or within a range of 3.1-4.1 percent), lower than previous year, due to slower growth of oil price amidst fragile global recovery. Whereas, the external stability would be pressured by an estimated current account deficit of 0.9 percent of GDP (within the range of 0.4-1.4 percent of GDP) as the trade balance is projected to record a smaller surplus. This is partially explained by accelerated import growth of 23.3 percent due to a recovery in domestic demand. However, the total export value is likely to grow by 13.5 percent.
6
Major Assumptions and Economic Projections of 2012 (As of March 2012) 2011 Major Assumptions Exogenous Variables 1) Average Economic Growth Rate of Major Trading Partners 4.0 (% y-o-y) 2) Dubai Crude Oil Price (USD per Barrel) 105.6 3) Export price in USD Dollars (% y-o-y) 5.6 4) Import price in USD Dollars (% y-o-y) 10.1 Policy Variables 5) Exchange Rate (Baht per USD Dollars) 30.5 6) Repurchase Rate (Policy Rate) at year-end (% y-o-y) 3.25 7) Fiscal-Year Pubic Expenditure (Trillion Baht) 2.77 Projections 1) Economic Growth Rate (% y-o-y) 0.1 2) Real Consumption Growth (% y-o-y) 1.3 - Real Private Consumption 1.3 - Real Public Consumption 1.4 3) Real Investment Growth (% y-o-y) 3.3 - Real Private Investment 7.3 - Real Public Investment -8.7 4) Export Volume of Goods and Services (% y-o-y) 9.5 5) Import Volume of Goods and Services (% y-o-y) 13.6 6) Trade Balance (USD billion) 23.9 - Export Value of Goods in USD Dollars (% y-o-y) 16.6 - Import Value of Goods in USD Dollars (% y-o-y) 24.7 7) Current Account (USD billion) 11.9 - Percentage of GDP 3.4 8) Headline Inflation (% y-o-y) 3.8 Core Inflation (% y-o-y) 2.4 9) Unemployment rate (% of total labor force) 0.7
2012 f (As of Mar 2012) Average Range
3.8
3.3-4.3
118.0 5.2 5.8
113.0-123.0 4.2-6.2 4.8-6.8
31.0 3.25 2.95
30.0-32.0 2.75-3.75 2.95-2.96
5.5 4.5 4.5 4.5 11.9 11.9 12.1 8.8 13.5 7.3 13.5 23.3 -3.5 -0.9 3.6 2.3 0.6
5.0-6.0 4.0-5.0 4.0-5.0 4.0-5.0 10.9-12.9 10.9-12.9 11.1-13.1 7.8-9.8 12.5-14.5 6.3-8.3 12.5-14.5 22.3-24.3 (-5.2)-(-1.5) (-1.4)-(-0.4) 3.1-4.1 1.8-2.8 0.5-0.7
f = forecast by Fiscal Policy Office, Ministry of Finance, Thailand
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
7
1. Thailand’s Economic Projections for 2012 1.1 Economic Growth The Thai economy in 2012 is forecasted to accelerate at an annualized rate of 5.5 percent (or within a range of 5.0–6.0 percent), higher than the previous projection on December 2011, and be back to normal compared to its growth of 0.1 percent in 2011. This is expected to be driven mainly by domestic demand. Private consumption is projected to grow at 4.5 percent (or within a range of 4.0-5.0 percent) as a necessity of consumption, coupled with government policies that stimulate domestic spending such as the minimum wage policy for laborers and government officials and the rice scheme. On the other hand, private investment is estimated to grow at 11.9 percent per year (or within a range of 10.9-12.9 percent), supported by the necessity to rebuilt and repair the flood-damaged construction and equipment in the manufacturing sector. Moreover, the need for manufacturers, especially in automotive sector, to quickly recover in response to the continuous demand from both foreign and domestic partners, would temper the private investment even higher. However, the global economic slowdown especially from the unsettled European sovereign debt crisis and concerns of a Chinese slowdown has worsened exports value of goods and services to grow at 13.5 percent. With respect to public spending in 2012, public consumption is likely to grow at 4.5 percent (or within a range of 4.0–5.0 percent), with the continuation of the budgetary disbursement plan in 2012, while acceleration of public investment is projected to grow at 12.1 percent (or within a range of 11.1–13.1 percent), supported by water resource management plan (350 billion baht) which will begin its disbursement by the mid-year of 2012. 1.2 Economic Stability For internal stability, headline inflation in 2012 is likely to rise to 3.6 percent (or within a range of 3.1–4.1 percent), lower than that of the previous year due to the fragile recovery of developed countries which could lead to a slowdown in global oil demand and commodity prices. Unemployment is expected to hold its current low level of 0.6 percent of the total labor force (or within a range of 0.5–0.7 percent). On external stability, the current account in 2012 is projected to record a deficit of USD 3.5 billion, accounting for 0.9 percent of GDP (or within a range of (1.4)–(0.4) percent of GDP) as the estimated trade balance surplus drops to USD 7.3 billion (or within a range of USD 6.3 - 8.3 billion), partially explained by accelerated import growth which is expected to increase to 23.3 percent per year (or within a range of 22.3-24.3 percent). However, export value is likely to grow by 13.5 percent (or within a range of 12.5–14.5 percent).
8
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 (ณ เดือนมีนาคม 2555) ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2555 ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 โดยมี ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.0-6.0 เร่งขึ้นจากปี 2554 ที่ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 โดยมีการปรับปรุงข้อมูลและสมมติฐาน ที่ส�ำคัญ ดังนี้ ปรับฐานข้อมูลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 และทัง้ ปี 2554 ทีข่ ยายตัวร้อยละ -9.0 และร้อยละ 0.1 ตามล�ำดับ ตามที่ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 ประกอบการประมาณการ ❍❍
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจมหภาคในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2555 บ่งชี้ว่า ภาคเศรษฐกิจจริงโดยรวมส่งสัญญาณ ฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน หลังประสบปัญหาน�้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 โดยภาคบริการขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากจ�ำนวน นักท่องเทีย่ วทีข่ ยายตัวร้อยละ 7.1 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ส�ำหรับด้านการผลิต ภาคอุตสาหกรรมมีการหดตัวในอัตรา ชะลอลงมากที่ร้อยละ -9.4 ในช่วง 2 เดือนแรกปี 2555 จากไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ที่หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -34.4 เนื่องจาก สถานการณ์การผลิตที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากได้รับผลกระทบน�้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 ในขณะที่ภาคการเกษตร มีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี ตามราคาสินค้าเกษตรทีเ่ ริม่ ปรับตัวสูงขึน้ ส่วนด้านการใช้จา่ ยพบว่า เครือ่ งชีก้ ารบริโภคและลงทุน ส่งสัญญาณขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ตามความจ�ำเป็นในการบริโภคสินค้าเพื่อทดแทนทรัพย์สินที่เสียหายจาก สถานการณ์อุทกภัย และการลงทุนเพื่อฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับนโยบาย ของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย อาทิ มาตรการปรับเพิม่ รายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ ส�ำหรับการส่งออก สินค้าและบริการคาดว่าจะชะลอลงตามเศรษฐกิจโลกทีย่ งั มีแนวโน้มอ่อนแอ จากปัญหาหนีส้ าธารณะในกลุม่ ประเทศสหภาพยุโรป ทีย่ งั รุนแรง และแนวโน้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจีนทีเ่ ริม่ ชะลอตัวลง โดยในช่วง 2 เดือนแรกปี 2555 การส่งออกสินค้าหดตัว ร้อยละ -2.4 ตามการลดลงของสินค้าอุตสาหกรรมส�ำคัญ โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ เป็นต้น ในขณะที่การน�ำเข้าสินค้าขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.9 ท�ำให้คาดว่าการเกินดุลการค้ามีแนวโน้มลดลงจากปีก่อน ❍❍
การเปลี่ยนแปลงสมมติฐานที่ส�ำคัญ ได้แก่ (1) อัตราการขยายตัวของ 14 ประเทศคู่ค้าซึ่งถึงแม้ว่าอัตรา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศได้ผ่านภาวะวิกฤตมาแล้วและมีสัญญาณฟื้นตัว แต่ในอีกหลายประเทศยังคง มีสัญญาณการฟื้นตัวที่เปราะบางและไม่แน่นอน โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ยังรุนแรง ประกอบกับการเติบโตของเศรษฐกิจจีนทีส่ ง่ สัญญาณชะลอลง ท�ำให้ สศค.ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของ 14 ประเทศคูค่ า้ ในปี 2555 มาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.8 (2) ก�ำหนดสมมติฐานราคาน�ำ้ มันดิบดูไบ ในปี 2555 ให้อยูท่ ี่ 118.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ตามสถานการณ์ ราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีการปรับตัวอยู่ในระดับสูง จากความกังวลของความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกฝั่งตะวันตกที่อาจเข้าสู่ ภาวะถดถอยอีกครัง้ และความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตก (3) ปรับสมมติฐานราคาส่งออกในปี 2555 ให้ขยายตัว ที่ร้อยละ 5.2 และการน�ำเข้าในปี 2555 ให้อยู่ที่ร้อยละ 5.8 (4) ปรับสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปี 2555 ให้อยู่ที่ 31.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ตามการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาที่ส่งผลต่อการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (5) ก�ำหนดสมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2555 ให้อยู่ที่ ร้อยละ 3.25 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.75–3.75) โดยมีสาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตอุทกภัย รุนแรง จ�ำเป็นต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวระยะหนึ่ง และ (6) รายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2555 อยู่ในช่วง 2.95–2.96 ล้านบาท หรือขยายตัวในช่วงร้อยละ 6.6–7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.19 ล้านบาท หรือขยายตัวที่ร้อยละ 7.9 ❍❍
โดยมีรายละเอียดสมมติฐานและผลการประมาณการ ดังนี้ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
9
สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2555 1. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ 14 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย “สศค.คาดว่าในปี 2555 เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอลงจากปี 2554 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 เนื่องจากวิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปที่ได้กระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง ภาคการเงิน และอุปสงค์โดยรวมของโลก เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาทีม่ สี ญ ั ญาณการฟืน้ ตัวทีช่ ดั เจนขึน้ แต่ยงั คงเป็นไปอย่างค่อยเป็น ค่อยไป และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจากภัยธรรมชาติสึนามิและปัญหาอุทกภัยในไทย ประกอบกับเศรษฐกิจ ในภูมภิ าคเอเชียทีม่ แี นวโน้มชะลอตัวลง อันมีสาเหตุสำ� คัญมาจากเศรษฐกิจของจีนทีค่ าดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลง จากการปรับโครงสร้างภายในประเทศ” ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศ (ร้อยละ) ประเทศคู่ค้าหลัก เรียงตามสัดส่วนมูลค่าส่งออกปี 2554 14 ประเทศคู่ค้า (78.7%) 1. จีน (12.0%) 2. ญี่ปุ่น (10.5%) 3. สหรัฐอเมริกา (9.6%) 4. สหภาพยุโรป (9.4%) 5. ฮ่องกง (7.2%) 6. มาเลเซีย (5.4%) 7. สิงคโปร์ (5.0%) 8. อินโดนีเซีย (4.4%) 9. ออสเตรเลีย (4.0%) 10. เวียดนาม (3.1%) 11. อินเดีย (2.3%) 12. ฟิลิปปินส์ (2.0%) 13. เกาหลีใต้ (1.8%) 14. ไต้หวัน (1.7%)
2552
2553
2554
-0.2 9.2 -6.3 -2.4 -4.1 -2.7 -1.7 -0.8 4.5 1.3 5.3 7.0 1.1 0.2 -1.9
6.3 10.4 4.0 3.0 1.7 6.8 7.2 14.5 6.1 2.6 6.8 8.8 7.6 6.2 10.8
4.0 9.2 -0.7 1.7 1.5 5.0 5.1 4.9 6.5 2.2 5.9 7.1 3.7 3.6 4.0
2554 Q1
Q2
Q3
Q4
ทั้งปี 2555 f
4.9 9.7 -0.3 2.2 2.4 7.6 5.2 9.1 6.4 1.3 5.4 7.8 4.6 4.2 6.6
3.7 9.5 -1.7 1.6 1.6 5.3 4.3 1.2 6.5 2.4 5.7 7.7 3.1 3.4 4.5
4.0 9.1 -0.5 1.5 1.3 4.3 5.8 6.0 6.5 2.4 6.1 6.9 3.6 3.5 3.4
3.6 8.9 -0.6 1.6 0.7 3.0 5.2 3.6 6.5 2.5 6.1 6.1 3.7 3.4 1.9
3.8 8.0 2.0 2.2 -0.9 4.0 5.0 2.9 6.2 3.4 6.3 7.0 4.4 3.3 3.8
ที่มา : รวบรวมและประมาณการโดย สศค.
1.1 เศรษฐกิจจีน (ตลาดส่งออกใหญ่อนั ดับ 1 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.0 ของมูลค่าส่งออกสินค้า รวมปี 2554 จากร้อยละ 11.0 ปี 2553) ➥➥ เศรษฐกิจของจีนในปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 9.3 ชะลอลงจากปีกอ่ น อันเนือ่ งมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์ ประเทศคู่ค้าต่อสินค้าส่งออกของจีน โดยเฉพาะสหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของจีน การลงทุนภาคเอกชนยังคงเป็นปัจจัย ส�ำคัญในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของประเทศ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า เงินเฟ้อทัว่ ไปในปี 2554 โดยเฉลีย่ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 5.4 ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เป็นผลมาจากราคาอาหารปรุงส�ำเร็จและราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นส�ำคัญ
10
ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2555 (เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555) เศรษฐกิจจีนมีสญ ั ญาณ
การขยายตัวที่ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน จากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ชะลอตัว โดยยอดค้าปลีกของจีน ในเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2554 โดยขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของจีนจัดท�ำโดย HSBC ในไตรมาสแรก ปี 2555 ลดลงจากไตรมาสก่อน โดยเฉลีย่ อยูท่ รี่ ะดับ 48.8 สะท้อนภาคอุตสาหกรรมทีย่ งั คงหดตัว ในด้านภาคการค้าระหว่างประเทศ ชีว้ า่ อุปสงค์ภายนอกประเทศ มีสัญญาณการขยายตัวที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน โดยมูลค่าการส่งออกและการน�ำเข้า (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วง 2 เดือน แรกของไตรมาสนี้ ขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 6.8 และร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ในเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555 เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 3.9 ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ที่ระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.6 สะท้อนความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อภายในประเทศที่ปรับตัวลดลง อย่างต่อเนื่อง ท�ำให้รัฐบาลสามารถด�ำเนินนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวทีร่ อ ้ ยละ 8.0 หรือในช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 7.5–8.5 ชะลอลง จากปีก่อนหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 9.3 จากทางการจีนปรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป้าหมายเป็น ร้อยละ 7.5 จากร้อยละ 8.0 ในปี 2554 เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโดยลดขนาดภาคการส่งออกอันเป็นสาเหตุในการพึ่งพา อุปสงค์จากต่างประเทศ และให้ความส�ำคัญต่อภาคอุปสงค์ภายในประเทศทัง้ การบริโภคและการลงทุนทดแทน การปรับเป้าหมาย ดังกล่าวจะเป็นปัจจัยต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปีนี้ นอกจากนี้ คาดว่าในปี 2555 เศรษฐกิจจีนจะยังคงเผชิญกับ ปัจจัยเสี่ยง จาก (1) การชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของจีน โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ ภาคการส่งออกของจีนไปยังประเทศดังกล่าว และ (2) ภาวะเงินเฟ้อจากราคาน�้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 1.2 เศรษฐกิจญี่ปุ่น (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.5 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการหดตัวลงของ การส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนเป็นส�ำคัญ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวลงร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) นับเป็นการกลับมาหดตัวอีกครั้ง หลังจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตแผ่นดินไหวและ สึนามิ เนื่องจากปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานจากวิกฤตอุทกภัยในประเทศไทย ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 4 ของปีอยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.7 ของ ก�ำลังแรงงานรวม ซึง่ ใกล้เคียงกับค่าเฉลีย่ ทัง้ ปี 2554 ทีร่ อ้ ยละ 4.6 ของก�ำลังแรงงานรวม ขณะทีอ่ ตั ราเงินเฟ้อทัว่ ไปในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวลงในไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต�่ำติดต่อกันเป็นปีที่ 4 ที่ร้อยละ 0.0-0.1 จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ที่อยู่ในระดับต�่ำ และเพื่อสนับสนุนการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
11
ภาพที่ 2 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2555 (เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555) เศรษฐกิจญีป ่ นุ่ ยังอยูใ่ นช่วง
ฟื้นตัวจากการคลี่คลายของวิกฤตอุทกภัยในประเทศไทยที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศ พิจารณาจากดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม ในเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555 ปรับตัวสูงโดยเฉลี่ยที่ระดับ 50.6 บ่งชี้ว่าภาคการผลิต เริม่ กลับมาขยายตัวอีกครัง้ ทางด้านอุปสงค์ภายในประเทศเริม่ กลับมาฟืน้ ตัว จากยอดค้าปลีกในเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ภายนอกประเทศนั้นยังคงหดตัวจากมูลค่า การส่งออกในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 หดตัวโดยเฉลี่ยที่ร้อยละ -6.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจาก ไตรมาสที่ 4 ปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงประกอบกับเงินเยน แข็งค่าขึ้น ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจญีป ่ นุ่ จะขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 2.0 หรือในช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 1.5–2.5 ฟืน้ ตัว จากปีกอ่ นทีค่ าดว่าจะหดตัวทีร่ อ้ ยละ -0.6 ส่วนหนึง่ จากฐานการค�ำนวณทีต่ ำ�่ ในปีกอ่ น ประกอบกับมาตรการฟืน้ ฟูเศรษฐกิจ ของภาครัฐโดยเฉพาะการฟื้นฟูทางด้านสาธารณูปโภคก่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งการลงทุนโดยภาครัฐและภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 นี้คาดว่ายังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง จาก (1) สถานการณ์เงินเยนที่ผันผวน และ (2) การชะลอตัว ทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ที่อยู่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวจากการเกิดวิกฤต การเงินโลก 1.3 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 3 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.6 ของมูลค่า ส่งออกสินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ในปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากอุปสงค์ในประเทศเป็นส�ำคัญ โดยการ บริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 2.2 เร่งขึน้ เล็กน้อยจากปี 2553 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 2.0 ในขณะทีก่ ารลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.7 ชะลอลงจากปีก่อนที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 17.9 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ในปี 2554 อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ถึงแม้จะยังคงอยู่ในระดับร้อยละ 8.5 ของก�ำลังแรงงานรวม ซึ่งสูงกว่า ระดับก่อนวิกฤตเศรษฐกิจทีป่ ระมาณร้อยละ 5.0 ขณะทีเ่ งินเฟ้อทัว่ ไปเฉลีย่ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.2 เพิม่ ขึน้ จากปี 2553 ทีอ่ ยูท่ รี่ อ้ ยละ 1.6
12
ภาพที่ 3 แหล่งทีม่ าและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2555 (เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555) อุปสงค์ในประเทศของ
สหรัฐอเมริกามีสญ ั ญาณการฟืน้ ตัวทีช่ ดั เจนขึน้ โดยเฉพาะในภาคการจ้างงาน โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐอเมริกา เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 เพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นปี 2554 ถึง 511,000 ต�ำแหน่ง และอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ ระดับร้อยละ 8.3 ของก�ำลังแรงงานรวม โดยมีแรงงานกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น เป็นสัญญาณบวกว่าผู้บริโภคเริ่มมี ความเชื่อมั่นในสภาพเศรษฐกิจ อีกทั้งยอดค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากปี 2554 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.7 ขณะที่ยอดจ�ำหน่ายรถยนต์ในช่วงเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ 2555 มีค่าเฉลี่ยที่ 11.4 ล้านคันต่อปี ดีขึ้นมากจากค่าเฉลี่ยปี 2554 ที่ระดับ 9.9 ล้านคันต่อปี และยอดจ�ำหน่ายบ้าน (Existing Home Sales) ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ 4.61 ล้านหลังต่อปี เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย ปี 2554 ที่ 4.28 ล้านหลังต่อปี ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.7–2.7 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยคาดว่าในปี 2555 เศรษฐกิจภายในของสหรัฐอเมริกาจะได้รับปัจจัย สนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่วนหนึ่งจากที่ในปีนี้ สหรัฐอเมริกาจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ซึง่ จะเป็นแรงจูงใจให้ภาครัฐบาลผลักดันมาตรการเพือ่ กระตุน้ เศรษฐกิจภายในประเทศเพิม่ เติม อีกทัง้ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate) ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.0–0.25 จนถึงปี 2559 อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะยังคงเผชิญกับความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาได้ 1.4 เศรษฐกิจสหภาพยุโรป 17 ประเทศ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 4 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.4 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ เศรษฐกิจยูโรโซนในปี 2554 ขยายตัวทีร่ อ ้ ยละ 1.5 จากการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน เป็นส�ำคัญ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราการว่างงานในปี 2554 ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 10.7 ของก�ำลังแรงงานรวม เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ นทีอ่ ยูท่ เี่ ฉลีย่ ร้อยละ 10.1 ของก�ำลังแรงงานรวม ด้านเงินเฟ้อทัว่ ไปในปี 2554 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.7 เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ น ที่ร้อยละ 1.6 จากการเพิ่มขึ้นของราคาเชื้อเพลิงเป็นส�ำคัญ
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
13
ภาพที่ 4 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2555 (เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555) เศรษฐกิจยูโรโซน
มีสัญญาณชะลอลงอย่างชัดเจน สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ในช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ 48.9 และระดับ 49.1 ตามล�ำดับ บ่งชี้สัญญาณหดตัวในภาคการผลิต และภาคบริการในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 ด้านเงินเฟ้อทัว่ ไปในช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555 อยูท่ รี่ ะดับเฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากค่าเฉลี่ยของปี 2554 บ่งชี้ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน มกราคม–กุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ –20.3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ -20.6 สะท้อน การบริโภคภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณดีขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจยูโรโซนโดยรวมที่มีทิศทางถดถอยชัดเจน ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนจะหดตัวที่ร้อยละ -0.9 หรือในช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ (-1.4)–(-0.4) ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนจะยังคง เผชิญกับความเสีย่ งจากวิกฤตหนีส้ าธารณะในประเทศในกลุม่ GIIPS ทีอ่ าจลุกลามไปยังกลุม่ เศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจ เยอรมนีและฝรั่งเศสที่เริ่มมีสัญญาณชะลอลงชัดเจน นอกจากนี้ ราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากปัญหาการเมือง ในประเทศอิหร่าน อาจส่งผลให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อเพิ่มสูงและกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในปี 2555 1.5 เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.9 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์) ในปี 2554 ส่วนใหญ่ขยายตัวชะลอลงจากปีกอ่ น อันเนือ่ งมาจากวิกฤตหนีส้ าธารณะของสหภาพยุโรปทีส่ ง่ ผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อม ผ่านจีนต่อเศรษฐกิจอาเซียนผ่านภาคการค้าระหว่างประเทศและภาคการเงิน โดยมูลค่าการส่งออกซึ่งเป็นสัดส่วนส�ำคัญของ เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียนหดตัวจากปีก่อน ขณะที่การส่งออกของสิงคโปร์ชะลอลงจากปีก่อน ซึ่งแนวโน้มการส่งออก เชิงลบมาจากการหดตัวในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นส�ำคัญ สอดคล้องกับภาคการผลิตทีส่ ง่ สัญญาณการชะลอตัวอย่างชัดเจน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ภาคการบริโภคและการลงทุน ภาคเอกชนยังคงเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนโดยรวม อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจ อินโดนีเซียยังคงขยายตัวได้ดีจากการพึ่งพาอุปสงค์ภายในประเทศเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นส�ำคัญ ด้านเสถียรภาพภายในประเทศของประเทศกลุ่มอาเซียนในปี 2554 พบว่า อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยปรับตัว เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นส�ำคัญ ซึ่งเป็นผลให้ธนาคารกลางของประเทศในกลุ่ม อาเซียนปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นจากปีก่อน
14
ตารางที่ 2 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ มาเลเซีย (5.4%) สิงคโปร์ (5.0%) อินโดนีเซีย (4.4%) เวียดนาม (3.1%) ฟิลิปปินส์ (2.0%) (สัดส่วนการส่งออกปี 2554) อัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2554 5.1 4.9 6.5 5.9 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy) การบริโภคภาคเอกชน 3.7 1.5 2.7 n/a 4.2 การบริโภคภาครัฐ 2.3 0.1 0.3 n/a -0.1 การลงทุนรวม -0.7 0.8 2.1 n/a 0.5 การส่งออกสุทธิ -1.4 1.2 1.5 n/a -2.9 การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง 1.3 -1.4 -0.1 n/a 1.9 ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 5 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (% yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 6 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (% yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ เศรษฐกิจของกลุม ่ ประเทศอาเซียน 5 ประเทศในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ส่งสัญญาณ
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจากไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มูลค่าการส่งออกใน 2 เดือนแรกของกลุ่มประเทศอาเซียนขยายตัว ในระดับต�่ำ (ภาพที่ 5) โดยมีสาเหตุส�ำคัญจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปที่ ขยายวงกว้างสูภ่ มู ภิ าคเอเชีย โดยเฉพาะจีนซึง่ เป็นประเทศคูค่ า้ ทีส่ ำ� คัญของประเทศกลุม่ อาเซียน ท�ำให้การส่งออกไปยังสหภาพ ยุโรปและจีนขยายตัวชะลอลง อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกฟิลิปปินส์กลับมาขยายตัวอีกครั้งจากการหดตัวในไตรมาสก่อน เนื่องจากการเร่งน�ำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้าขั้นกลางของญี่ปุ่นภายหลังเหตุการณ์อุทกภัยของไทยได้คลี่คลายลง ขณะที่ภาคการผลิตมีสัญญาณชะลอตัวตามการส่งออก สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศในอาเซียน โดยรวมในช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555 ที่ขยายตัวในระดับต�่ำเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ภาพที่ 6) โดยมีการหดตัวของ การส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ซงึ่ เป็นสินค้าส่งออกส�ำคัญ มีสดั ส่วนต่อการส่งออกรวมในระดับสูงเป็นหนึง่ ในปัจจัยส�ำคัญ ของการชะลอตัวในภาคการผลิต อันเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ท�ำให้อุปสงค์จากภายนอกประเทศลดลง ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนโดยรวมจะขยายตัวชะลอจากปี 2554 โดย สศค.คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.0 ในปี 2555 จากการขยายตัวชะลอลง จากปีก่อนที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.2 จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งมีที่มาจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป ท� ำให้ ประเทศในกลุม่ อาเซียนส่วนใหญ่มนี โยบายกระตุน้ ภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ให้เป็นปัจจัยส�ำคัญของการขยายตัว ทางเศรษฐกิจทดแทนภาคการส่งออก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนจะได้ปัจจัยสนับสนุนจากปัจจัยฐาน ที่อยู่ในระดับต�่ำของปี 2554
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
15
1.6 เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลีย (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.2 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย (ฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน) และออสเตรเลีย ในปี 2554 ขยายตัวชะลอลง จากปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้า รวมถึงการชะลอลงของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้ภาคการส่งออก ปรับตัวลดลง สอดคล้องกับการลงทุนรวมของกลุ่มประเทศดังกล่าวที่ชะลอลงจากปี 2553 อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชน ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยส�ำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 2554 ด้านเสถียรภาพภายในประเทศพบว่า จากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในกลุ่ม ประเทศดังกล่าวในปี 2554 อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ยกเว้นประเทศอินเดียที่ประสบปัญหาแรงกดดันจากเงินเฟ้อ ทีเ่ พิม่ ขึน้ ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารทีย่ งั คงปรับตัวสูงขึน้ ต่อเนือ่ ง จากการขาดแคลนอุปทานหลังต้องประสบกับภัยธรรมชาติ หลายครั้ง ขณะที่ความต้องการซื้อยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้านภาพรวมของตลาดแรงงานในกลุ่มประเทศดังกล่าวปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ปรับตัวลดลงตามการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ตารางที่ 3 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ ฮ่องกง (7.2%) ออสเตรเลีย (4.0%) อินเดีย (2.3% ) เกาหลีใต้ (2.0%) ไต้หวัน (1.7%) (สัดส่วนการส่งออกปี 2553) อัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2554 5.0 2.2 7.1 3.6 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy) การบริโภคภาคเอกชน 5.3 1.9 3.7 1.2 1.6 การบริโภคภาครัฐ 0.1 0.3 0.5 0.3 0.2 การลงทุนรวม 1.4 2.0 0.0 -0.6 -0.7 การส่งออกสุทธิ -0.8 -2.7 0.6 2.1 3.7 การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง -1.2 0.7 2.3 0.6 -0.8 ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 7 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (% yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 8 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (% yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 ชะลอลง
โดยเฉพาะในส่วนของภาคการผลิต สะท้อนได้จากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 ทีข่ ยายตัวในระดับต�ำ่ และหดตัวลงในบางประเทศ โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยฐานสูง ผนวกกับการผลิตเพื่อการส่งออกที่ปรับตัวลดลงอย่าง มีนัยส�ำคัญตามอุปสงค์ของโลกที่ชะลอลง สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555 ขยายตัวชะลอลง ต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อนหน้า ทัง้ นี้ แม้วา่ การส่งออกในบางประเทศ อาทิ เกาหลีใต้และไต้หวันได้ปรับตัวเพิม่ ขึน้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 แต่การเร่งขึ้นดังกล่าวเกิดจากปัจจัยฐานต�่ำจากวันหยุดยาวในช่วงตรุษจีนในปีก่อนหน้า (ภาพที่ 7 และภาพที่ 8)
16
➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคูค ่ า้ อืน่ ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในภาพรวม
จะขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากปี 2554 ส่วนหนึ่งจากสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปที่คาดว่าจะเรื้อรังต่อเนื่อง ขณะทีเ่ ศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณชะลอลง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาทีม่ แี นวโน้มปรับตัวดีขนึ้ ผนวกกับอุปสงค์ภายใน ประเทศของกลุม่ ประเทศดังกล่าวทีค่ าดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดตี อ่ เนือ่ ง จะเป็นปัจจัยบวกส�ำคัญในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของ กลุม่ ประเทศดังกล่าวในปี 2555 อย่างไรก็ตาม ควรจับตามองสถานการณ์การเมืองในประเทศอิหร่าน ซึง่ อาจส่งผลให้ราคาน�ำ้ มัน ในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลลบต่อเสถียรภาพของระดับราคาในระยะต่อไป
2. ราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลก “ในปี 2555 คาดว่าราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 118.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 113.0-123.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) โดยเป็นผลจากอุ ป สงค์ ที่ เพิ่มขึ้ นตามการขยายตั ว ทางเศรษฐกิจของ กลุ่มประเทศ Non-OECD เป็นส�ำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกกลางและลาตินอเมริกา ประกอบกับ การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา รวมถึงเหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างประเทศอิหร่านและ ชาติตะวันตกบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งจะส่งผลต่อการขนส่งน�้ำมันของโลก ท�ำให้ราคาน�้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ส�ำคัญคือ ปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มสหภาพยุโรปที่อาจ ส่งผลต่ออุปสงค์น�้ำมันของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ขณะที่อุปทานน�้ำมันดิบยังเพิ่มได้ในกรอบที่จ�ำกัด จึงเป็น ปัจจัยสนับสนุนการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน�้ำมันดิบ” ภาพที่ 9 สมมติฐานราคาน�ำ้ มันดิบดูไบ ในปี 2555
ที่มา : Reuters
➥➥ ราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปี 2555 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 118.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
จากปี 2554 ทีอ่ ยู่ ณ ระดับ 105.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นอัตราการเพิม่ ร้อยละ 11.7 จากปีกอ่ น โดยในช่วงไตรมาสแรก ของปี 2555 ราคาน�้ำมันดิบดูไบปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากเหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างประเทศอิหร่านและ ชาติตะวันตกบริเวณช่องแคบฮอร์มุซซึ่งนับเป็นแหล่งการขนส่งน�้ำมันดิบที่ส�ำคัญที่สุดของโลก โดยมีการขนส่งน�้ำมันประมาณ 17.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.0 ของการขนส่งน�้ำมันทั้งหมด โดยราคาน�้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 109.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในเดือนมกราคม 2555 มาอยู่ที่ 122.7 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในเดือนมีนาคม 2555 คิดเป็นการปรับตัว เพิม่ ขึน้ กว่าร้อยละ 12.3 ในเวลา 3 เดือน ทัง้ นี้ หากสถานการณ์ทวีความรุนแรงอาจจะส่งผลต่อการปรับตัวเพิม่ ขึน้ ของราคาน�ำ้ มันดิบ ผ่านวิกฤตอุปทานน�้ำมันได้ (Oil supply shock) ประมาณการเศรษฐกิจไทย
17
➥➥ ปัจจัยหลักทีส่ ง่ ผลต่อราคาน�ำ้ มันดิบดูไบ ในปี 2555 คือ 1) การขยายตัวของอุปสงค์ความต้องการน�ำ้ มันดิบ
ที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของกลุ่มประเทศ Non-OECD เป็นส�ำคัญ รวมถึงแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของ สหรัฐอเมริกา ประกอบกับการลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์ของประเทศญีป่ นุ่ ส่งผลให้ความต้องการน�ำ้ มันดิบในการใช้ เป็นแหล่งพลังงานเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการน�้ำมันดิบของกลุ่มประเทศยุโรปจะลดลงเนื่องจาก ปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป ขณะที่ 2) อุปทานน�้ำมันดิบเพิ่มขึ้นได้ในกรอบที่จ�ำกัด เนื่องจากความไม่สงบทางการเมือง ระหว่างประเทศอิหร่านและชาติตะวันตกบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ 1) อุปสงค์น�้ำมันดิบเพิ่มขึ้น International Energy Agency (IEA) คาดว่าในปี 2555 ความต้องการน�้ำมันดิบทั่วโลก จะอยูท่ ี่ 89.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2554 ทีอ่ ยูท่ รี่ ะดับ 89.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึง่ เป็นการปรับตัวเพิม่ ขึน้ 0.8 ล้านบาร์เรล ต่อวัน หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มร้อยละ 0.9 ต่อปี • ประเทศในกลุ่ม OECD คาดว่าในปี 2555 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 45.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2554 ที่อยู่ที่ระดับ 45.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการปรับตัวลดลง 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นอัตราการลดลง ร้อยละ -0.9 ต่อปี เนื่องจากการลดลงของความต้องการใช้น�้ำมันดิบในกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นส�ำคัญ อันเป็นผลจากวิกฤต หนี้สาธารณะยุโรป โดยคาดว่าเศรษฐกิจของยุโรปจะหดตัวในปี 2555 ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีความต้องการน�้ำมันดิบเพิ่มขึ้น เพื่อน�ำไปเป็นแหล่งพลังงานทดแทนพลังงานนิวเคลียร์ที่เสียหายจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อกลางปีก่อนหน้า • ในขณะทีป่ ระเทศนอกกลุม่ OECD คาดว่าในปี 2555 มีความต้องการใช้นำ�้ มันดิบรวมที่ 44.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2554 ทีอ่ ยูท่ ี่ 43.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิม่ ขึน้ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราการเพิม่ ร้อยละ 2.8 ต่อปี โดยมีสาเหตุ ส�ำคัญจากความต้องการน�ำ้ มันของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging country) โดยเฉพาะประเทศจีน อินเดีย บราซิล รัสเซีย และประเทศในกลุม่ อาเซียนบางประเทศ 2) อุปทานน�ำ้ มันดิบโลกทีเ่ พิม่ ขึน้ คาดว่าในปี 2555 ปริมาณน�ำ้ มันทีผ่ ลิตทัว่ โลกจะอยูท่ ี่ 89.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับ ปี 2554 ทีอ่ ยูท่ ี่ 88.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิม่ ขึน้ 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราการเพิม่ ร้อยละ 0.9 จากปีกอ่ นหน้า ➥➥ ในกลุ่ม OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตน�้ำมันดิบในปี 2555 จะอยู่ที่ 35.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2554 ที่อยู่ที่ระดับ 35.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 0.3 โดยประเทศในกลุ่ม OPEC มีแนวโน้มเพิม่ อุปทานน�้ำมันดิบขึ้นเล็กน้อย จากการเพิม่ ก�ำลังการผลิตของประเทศซาอุดิอาระเบียในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ อุปทานน�้ำมันดิบของโลกมีปัจจัยเสี่ยง คือ เหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างประเทศอิหร่านและชาติตะวันตก โดยหากทวีความรุนแรงย่อมส่งผลต่อการผลิตและการขนส่งน�้ำมันได้ ➥➥ ส่วนในกลุม่ Non-OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตในปี 2555 อยูท่ รี่ ะดับ 53.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2554 ทีอ่ ยูท่ ี่ 52.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิม่ ขึน้ 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราการเพิม่ ร้อยละ 1.5 ต่อปี เนือ่ งจากการผลิตทีเ่ พิม่ ขึน้ จาก กลุม่ ประเทศลาตินอเมริกา รัสเซีย และจีน
3. ราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2555 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะมีอตั ราการเพิม่ ในอัตราชะลอลงทีร่ อ้ ยละ 5.2 เมือ่ เทียบกับปีกอ่ น (ช่วงคาดการณ์ ทีร่ อ้ ยละ 4.2-5.2) เนือ่ งจากคาดว่าราคาสินค้าอุตสาหกรรมจะปรับตัวดีขนึ้ ตามการเพิม่ ขึน้ ของอุปสงค์สนิ ค้าอุตสาหกรรม หลังภาคการผลิตสามารถกลับมาผลิตได้ปกติในระดับใกล้เคียงก่อนวิกฤตมหาอุทกภัย นอกจากนี้ มาตรการของรัฐบาล จะเป็นปัจจัยส�ำคัญในการสนับสนุนให้ราคาสินค้าเกษตรและราคาสินค้าในหมวดทีใ่ ช้แรงงานปรับตัวสูงขึน้ ในทีส่ ดุ อย่างไรก็ดี ผลจากปัจจัยฐานสูงในปีกอ่ นจะท�ำให้ราคาส่งออกในปี 2555 เพิม่ ขึน้ ในอัตราชะลอลง ขณะทีร่ าคาสินค้าน�ำเข้าจะมีอตั ราการเพิม่ ในอัตราทีช่ ะลอลงมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 5.8 เมือ่ เทียบกับปี 2554 (ช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 4.8-5.8) สาเหตุหลักจากราคาสินค้า ประเภทเชือ้ เพลิงมีแนวโน้มอัตราการเพิม่ ในอัตราทีช่ ะลอลงจากปี 2554 ตามการเพิม่ ขึน้ ของราคาน�ำ้ มันดิบโลก เนือ่ งจาก อุปสงค์ทเี่ พิม่ ขึน้ จากจีนและอินเดีย การฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และเหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและ ชาติตะวันตกบริเวณช่องแคบฮอร์มซุ ซึง่ เป็นเส้นทางการขนส่งน�ำ้ มันทีส่ ำ� คัญของโลก
18
ภาพที่ 10 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2555 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออก (รูปดอลลาร์สหรัฐ)
อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ)
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และ สศค.
3.1 ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าส่งออกในปี 2555 คาดว่าจะมีอต ั ราการเพิม่ ร้อยละ 5.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 4.2-5.2) ชะลอลงเมือ่ เทียบกับปี 2554 ทีม่ อี ตั ราการเพิม่ ร้อยละ 5.6 เนือ่ งจากคาดว่าราคาสินค้าอุตสาหกรรมซึง่ มีสดั ส่วนสูงถึงร้อยละ 73.4 ของดัชนีราคารวมในปี 2554 จะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมหลังประสบเหตุการณ์มหาอุทกภัย โดยราคาสินค้า อุตสาหกรรมในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 มีอัตราการเพิ่มร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับราคา สินค้าแร่และเชือ้ เพลิงซึง่ มีสดั ส่วนทีร่ อ้ ยละ 6.0 ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 ปรับตัวสูงขึน้ ร้อยละ 7.1 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ น ตามการเพิม่ ขึน้ ของราคาน�ำ้ มันดิบในตลาดโลก โดยมีปจั จัยส�ำคัญมาจากเหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและ ชาติตะวันตกบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางการขนส่งน�้ำมันที่ส�ำคัญของโลกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 13.0 และร้อยละ 7.6 ตามล�ำดับ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 หดตัวร้อยละ –5.0 และร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคายางพาราและ ผลิตภัณฑ์มนั ส�ำปะหลัง โดยเฉพาะราคายางพารานัน้ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 มีอตั ราการลดลง ร้อยละ -34.0 โดยเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศจีน ผลกระทบของเหตุการณ์มหาอุทกภัย ต่อภาคอุตสาหกรรมทีต่ อ้ งใช้ยางพาราเป็นวัตถุดบิ และผลจากปัจจัยฐานสูงของราคายางพาราในปีกอ่ น ขณะทีร่ าคาผลิตภัณฑ์ มันส�ำปะหลังมีอัตราลดลงเช่นเดียวกันกับราคายางพารา เนื่องจากผลผลิตที่มีมากเกินความต้องการ อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้า เกษตรบางรายการมีแนวโน้มเพิม่ สูงขึน้ ได้แก่ ข้าวและสินค้าหมวดทีใ่ ช้แรงงานเข้มข้น ซึง่ เป็นผลจากมาตรการรับจ�ำน�ำราคาข้าว และนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต�่ำ 3.2 ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าน�ำเข้าในปี 2555 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.8-5.8) ชะลอลง จากปี 2554 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เนื่องจากราคาสินค้าประเภทเชื้อเพลิงซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 19.1 ของดัชนีราคารวมในปี 2554 มีอตั ราการเพิม่ ขึน้ โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 18.4 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ตามการเพิม่ ขึน้ ของราคาน�ำ้ มันดิบในตลาดโลก เนือ่ งจากอุปสงค์ทเี่ พิม่ ขึน้ จากประเทศจีนและประเทศอินเดีย ประกอบกับการฟืน้ ตัวอย่างต่อเนือ่ ง ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงเหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตกบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทาง การขนส่งน�้ำมันที่ส�ำคัญของโลก นอกจากนี้ ราคาสินค้าประเภทวัตถุดิบและกึ่งส�ำเร็จรูปที่มีสัดส่วนมากที่สุดถึงร้อยละ 43.0 ยังมีอัตราการเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 2 เดือนแรกมีอตั ราการเพิม่ ร้อยละ 4.8 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ซึง่ เป็นไปตามการฟืน้ ตัวของภาคการผลิต จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 อีกทั้งราคาสินค้าประเภทอุปโภค-บริโภคขยายตัวได้ดี จากความต้องการ ภายในประเทศเพื่อทดแทนสินค้าที่ไม่มีการผลิตหรือผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
19
4. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ “ในปี 2555 ค่าเงินบาทเฉลีย่ มีทศิ ทางอ่อนค่าลงเล็กน้อย จากค่าเฉลีย่ ในปี 2554 ที่ 30.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือในช่วงคาดการณ์ระหว่าง 30.00–32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 11)” ภาพที่ 11 สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยในปี 2554 และปี 2555
ที่มา : Reuters
4.1 สถานการณ์ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา หากพิจารณาทิศทางความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐปัจจุบันเทียบกับต้นปี 2555 แล้ว จะพบว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.95 (ภาพที่ 12) เนื่องจากมีเงินทุนไหลเข้าตลาดทุนไทยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ทั้งตลาดพันธบัตรและตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีสาเหตุส�ำคัญจากมาตรการของธนาคารกลางยุโรปที่ช่วยเหลือสภาพคล่อง ของธนาคารพาณิชย์ด้วยการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต�่ำที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี (Long-Term Refinancing Operations : LTRO) ถึง 2 ครั้ง ด้วยวงเงินรวมกว่า 1 ล้านล้านยูโร โดยสถาบันการเงินยุโรปที่ขอกู้สามารถใช้พันธบัตรรัฐบาลของประเทศ ในกลุ่ม GIIPS (กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี โปรตุเกส และสเปน) ที่มีปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะเป็นหลักทรัพย์ค�้ำประกันในการขอกู้ ท�ำให้มีสภาพคล่องยูโรในตลาดโลกเป็นจ�ำนวนมาก อันส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ในภูมิภาค ภาพที่ 12 อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐรายวัน
ที่มา : CEIC / สศค.
20
นอกจากนี้ ดุลการช�ำระเงิน (Balance of Payments) ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 ที่เกินดุลสะสมแล้วกว่า 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 13) ก็เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ภาพที่ 13 ดุลการช�ำระเงินของประเทศไทย ปี 2554-2555
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้กลับอ่อนค่าลงจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา เริม่ ส่งสัญญาณฟืน้ ตัวทีช่ ดั เจนยิง่ ขึน้ ท�ำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์สกุลดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินทีม่ คี วามปลอดภัย (Safe – Haven currency) มีมากขึ้นจึงส่งผลดีต่อการแข็งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ 4.2 แนวโน้มของค่าเงินบาทในระยะถัดไป ในปี 2555 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลีย่ ต่อดอลลาร์สหรัฐจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาอยูท่ รี่ ะดับ 31.0 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีชว่ งคาดการณ์อยูท่ รี่ ะดับ 30.0–32.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) จากปัจจัยหลัก คือ ดุลบัญชีเดินสะพัด ของไทยในปี 2555 ทีค่ าดว่าจะขาดดุลเล็กน้อยจากการน�ำเข้าทีข่ ยายตัวเร่งขึน้ มากตามความต้องการสินค้าหมวดเครือ่ งจักร เพือ่ ทดแทนเครือ่ งจักรทีเ่ สียหายจากอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ในขณะทีก่ ารส่งออกและภาคการท่องเทีย่ วขยายตัวชะลอลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชะลอตัวลง จากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มยูโรโซนและการชะลอการขยายตัวของ เศรษฐกิจจีน ที่อาจส่งผลกระทบในวงกว้างต่อไปยังเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก รวมไปถึง อาจลุกลามไปยังภาคการธนาคารของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย นอกจากนี้ ดุลเงินทุนของไทยในระยะต่อไปคาดว่าจะยังคงมีความผันผวนสูง อันเป็นผลจากการด�ำเนิน มาตรการ Long Term Refinancing Operation (LTRO) ของยุโรปกว่า 1 ล้านล้านยูโร ซึ่งจะส่งผลให้มีสภาพคล่อง ในตลาดเงินโลกในระดับทีส่ งู รวมทัง้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองจากก�ำหนดการเลือกตัง้ ของประเทศมหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจ อาทิ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และฝรั่งเศส รวมทั้งความไม่แน่นอนของการช่วยเหลือประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ประสบวิกฤต หนีส้ าธารณะอืน่ ๆ อาทิ สเปน ในระยะต่อไป ซึง่ จะส่งผลให้คา่ เงินบาทตลอดจนค่าเงินในภูมภิ าคอืน่ ๆ มีความผันผวนตามไปด้วย
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
21
5. อัตราดอกเบี้ยนโยบาย “สศค.คาดการณ์วา่ ในปี 2555 อัตราดอกเบีย้ นโยบายจะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.25 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ 2.75–3.75 ต่อปี)” ➥➥ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ดำ� เนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
ต่อเนือ่ งในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2555 จาก (1) สถานการณ์น�้ำท่วมทีส่ ง่ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม (2) เศรษฐกิจโลก ที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอลงชัดเจน และ (3) อัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ส่งผลให้ กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย นโยบาย 1 ครั้ง ในเดือนมกราคม 2555 และคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้ง ในเดือนมีนาคม 2555 ที่ร้อยละ 3.00 ภาพที่ 14 อัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มที่จะอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์
2.75-3.75 ต่อปี) โดยในช่วงต้นปี 2555 กนง.อาจด�ำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังเหตุการณ์นำ�้ ท่วม อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึง่ หลังของปี 2555 แรงกดดันจากเงินเฟ้อทีค่ าดว่าจะเพิม่ ขึน้ ตามเศรษฐกิจทีฟ่ น้ื ตัว ดีขึ้น จะส่งผลให้ กนง.อาจกลับมาด�ำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวมากขึ้น ภาพที่ 15 สมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ประมวลผลโดย สศค.
22
6. รายจ่ายภาคสาธารณะประจ�ำปีงบประมาณ 2555
“ปีงบประมาณ 2555 รายจ่ายภาคสาธารณะ (ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล (2) รายจ่ายองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ) คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 2.95 ล้านล้านบาท เพิม่ จากปีงบประมาณ 2554 ซึง่ มีรายจ่ายภาคสาธารณะจ�ำนวน 2.77 ล้านล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 6.7 เมือ่ เทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ส�ำหรับปีงบประมาณ 2556 คาดว่ารายจ่ายภาคสาธารณะจะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 3.19 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 จากปีงบประมาณปัจจุบัน” 6.1 กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลตั้งกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2,380,000 ล้านบาท ซึ่งเป็น การด�ำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 400,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 3.4 ของ GDP1 ภายใต้ประมาณการ จัดเก็บรายได้รฐั บาลเท่ากับ 1,980,000 ล้านบาท ทัง้ นี้ โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ จ�ำนวน 1,855,841 ล้านบาท (2) รายจ่ายเพือ่ ชดใช้เงินคงคลังจ�ำนวน 53,918 ล้านบาท (3) รายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 423,387 ล้านบาท และ (4) รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้จ�ำนวน 46,854 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีการออกพระราชก�ำหนด (พรก.) ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหาร จัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินกู้มูลค่ารวมกันไม่เกิน 350,000 ล้านบาท ส�ำหรับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2556 มีจ�ำนวน 2,400,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการด�ำเนิน นโยบายงบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 300,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.4 ของ GDP2 ภายใต้ประมาณการจัดเก็บ รายได้รฐั บาลเท่ากับ 2,100,000 ล้านบาท โดยโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 1,884,000 ล้านบาท (2) รายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 467,000 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้จ�ำนวน 48,600 ล้านบาท ตารางที่ 4 กรอบโครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2554-2556 ปีงบประมาณ 1. วงเงินงบประมาณ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราเพิ่ม) 1.1 รายจ่ายประจ�ำ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราเพิ่ม) 1.2 รายจ่ายลงทุน (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราเพิ่ม) 1.3 รายจ่ายช�ำระต้นเงินกู้ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราเพิ่ม) 2. ประมาณการรายได้ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราเพิ่ม) 3. การขาดดุล/เกินดุล (สัดส่วนต่อ GDP) 4. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (GDP) เบื้องต้น
2554
2555
2556
2,169,967.5 20.0 27.6 1,667,439.7 76.8 16.2 355,484.6 16.4 65.8 32,554.6 1.5 (36.1) 1,770,000.0 16.3 31.1 (400,000.0) (3.7) 10,867,600.0
2,380,000.0 20.2 9.7 1,855,841.0 78.0 -52.9 423,387.0 17.8 19.1 46,854.0 2.0 43.9 1,980,000.0 16.8 11.9 (400,000.0) (3.4) 11,794,200.0
2,400,000.0 19.1 0.8 1,884,000.0 78.5 13.0 467,000.0 19.5 31.4 48,600.0 2.0 3.7 2,100,000.0 16.7 6.1 (300,000.0) (2.4) 12,544,000.0
ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2554 11,794,200 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2555 12,544,000 ล้านบาท
1 2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
23
ในปีงบประมาณ 2555 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 2,350,646 ล้านบาท ภายใต้ สมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 93.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ โดยแบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 1,908,528 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 304,862 ล้านบาท โดยตัง้ เป้าการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนไม่นอ้ ยกว่า ร้อยละ 72.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2556 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้ ทั้งสิ้นจ�ำนวน 2,385,933 ล้านบาท ภายใต้สมมติฐานการเบิกจ่ายร้อยละ 93.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณจ�ำนวน 2,400,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 1,895,693 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 336,240 ล้านบาท นอกจากนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ 2555 คาดว่า จะมีการเบิกจ่ายรวมจ�ำนวน 19,551 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.6 ของกรอบเงินลงทุนโครงการไทยเข้มแข็ง 349,960 ล้านบาท (โดยการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการ เดือนกันยายน 2552–ปัจจุบัน ณ วันที่ 23 มีนาคม 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 306,710 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 87.6 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติ 349,960 ล้านบาท) นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง จะมีการใช้จ่ายภายใต้พระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคต ประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินกู้มูลค่ารวมกันไม่เกิน 350,000 ล้านบาท โดยมติการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ได้มกี ารอนุมตั กิ รอบงบประมาณจ�ำนวน 24,828.82 ล้านบาท เพือ่ น�ำไปแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน จ�ำนวน 246 โครงการ ให้สามารถด�ำเนินการบริหารจัดการน�้ำและอุทกภัยเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือก่อนถึงฤดูฝนปี 2555 โดย ยึดหลักการระบายน�้ำจากต้นน�้ำสู่ปลายน�้ำให้สามารถระบายน�้ำได้มากที่สุด และสามารถป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน ได้ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น�้ำเจ้าพระยา โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2555 จะมีการเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 30,000 ล้านบาท ขณะที่ในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายจ�ำนวน 210,000 ล้านบาท
ตารางที่ 5 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลกลางปีงบประมาณ 2555 และ 2556
ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2555 ปีงบประมาณ 2556 2554 คาดการณ์ ณ มี.ค. 55 คาดการณ์ ณ มี.ค. 55
กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย 2,169,968 อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ 94.5% 1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 2,239,257 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) 2,177,895 (1) รายจ่ายประจ�ำ 1,786,982 (2) รายจ่ายลงทุน 263,558 รายจ่ายเพิ่มเติม (งบกลางปี) 92,640 - ชดใช้เงินคงคลัง 87,459 - เพื่อฟื้นฟูภัยพิบัติและอุดหนุน อปท. 5,181 รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) 2,050,540 (3) รายจ่ายเหลื่อมปี 127,355 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ 61,362 (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 61,362 (2) พรก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท) ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
24
(หน่วย : ล้านบาท)
2,380,000 93.0% 2,440,197 2,350,646 1,908,528 304,862 - - - 2,213,390 137,256 49,551 19,551
2,400,000 93.0% 2,625,933 2,385,933 1,895,693 336,240 2,231,933 154,000 210,000 -
30,000
210,000
6.2 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในปีงบประมาณ 2554 มีการเบิกจ่ายงบประมาณตามระบบบัญชีประชาชาติ (SNA) รวมทั้งสิ้น 274,385 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วงไตรมาสที่ 2–4 ของปีงบประมาณ 2554 มีการเบิกจ่ายที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ในขณะที่ ปีงบประมาณ 2555 มีการจัดท�ำงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณล่าช้าอาจส่งผลกระทบต่อการโอนเงินไปสู่ อปท. โดยในปีงบประมาณ 2555 คาดว่ารายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 290,523 ล้านบาท ขณะที่ ในปีงบประมาณ 2556 คาดว่ารายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 315,932 ล้านบาท
ตารางที่ 6 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2555 และ 2556
(หน่วย : ล้านบาท)
รายจ่ายท้องถิ่น
ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2555 ปีงบประมาณ 2556 2554 คาดการณ์ ณ มี.ค. 55 คาดการณ์ ณ มี.ค. 55 274,385
290,523
315,932
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
6.3 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2554 มีการเบิกจ่ายงบประมาณตามระบบบัญชีประชาชาติ (SNA) รวมทั้งสิ้น 256,114 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบกรอบงบประมาณของรัฐวิสาหกิจประจ�ำปีงบประมาณ 2555 วงเงินเบิกจ่ายลงทุนจ�ำนวน 533,411 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) การลงทุนโครงการต่อเนือ่ งทีไ่ ด้รบั อนุมตั ใิ ห้ดำ� เนินการแล้วและงานตามภารกิจปกติ วงเงินเบิกจ่ายลงทุน จ�ำนวน 473,442 ล้านบาท และ 2) การลงทุนที่ขอเพิ่มเติมระหว่างปี (การเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมงบลงทุน) วงเงินด�ำเนินการ และวงเงินเบิกจ่ายลงทุนจ�ำนวน 60,000 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าทั้งปีงบประมาณ 2555 รัฐวิสาหกิจจะสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงคาดการณ์ 261,676–273,676 ล้านบาท ขณะทีใ่ นปีงบประมาณ 2556 คาดว่ารัฐวิสาหกิจจะสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้จำ� นวน 315,932 ล้านบาท (ระบบบัญชี ประชาชาติ (SNA))
ตารางที่ 7 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2555 และ 2556 (ระบบบัญชีประชาชาติ (SNA)) รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2555 ปีงบประมาณ 2556 2554 คาดการณ์ ณ มี.ค. 55 คาดการณ์ ณ มี.ค. 55 256,114
261,676–273,676
276,860
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
25
6.4 สรุปรวมรายจ่ายภาคสาธารณะ จากสมมติ ฐ านการใช้ จ ่ า ยของรั ฐ บาล องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และการลงทุ น ของรั ฐ วิ ส าหกิ จ ในปีงบประมาณ 2555 ดังกล่าว ท�ำให้คาดว่าในปีงบประมาณ 2555 รายจ่ายภาคสาธารณะจะมีจ�ำนวน 2,954,396 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้า (โดยมีช่วงคาดการณ์จ�ำนวน 2,952,396– 2,964,396 ล้านบาท) ประกอบด้วย 1) รายจ่ายรัฐบาลจ�ำนวน 2,400,197 ล้านบาท และรายจ่ายจากแผนปฏิบัติการ ไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 19,551 ล้านบาท และพระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหาร จัดการน�ำ้ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 จ�ำนวน 30,000 ล้านบาท 2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จ�ำนวน 290,523 ล้านบาท และ 3) รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจจ�ำนวน 263,676 ล้านบาท (โดยมีชว่ งคาดการณ์จำ� นวน 261,676–273,676 ล้านบาท) ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายภาคสาธารณะจะมีจ�ำนวน 3,188,725 ล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วย 1) รายจ่ายรัฐบาลจ�ำนวน 2,595,933 ล้านบาท และรายจ่ายจาก พระราชก�ำหนดให้อำ� นาจกระทรวงการคลังกูเ้ งินเพือ่ การวางระบบบริหารจัดการน�ำ้ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 จ�ำนวน 210,000 ล้านบาท 2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 315,932 ล้านบาท และ 3) รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจจ�ำนวน 276,860 ล้านบาท
ตารางที่ 8 สมมติฐานการเบิกรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2555 และ 2556 กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ 1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน รายจ่ายเพิ่มเติม (งบกลางปี) - ชดใช้เงินคงคลัง - เพื่อฟื้นฟูภัยพิบัติและอุดหนุน อปท. รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) (3) รายจ่ายเหลื่อมปี 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ 1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 2) พรก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท) 2. รายจ่ายท้องถิ่น 3. รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ 4. รายจ่ายภาคสาธารณะ (1+2+3)
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2555 ปีงบประมาณ 2556 2554 คาดการณ์ ณ มี.ค. 55 คาดการณ์ ณ มี.ค. 55 2,169,968 94.5% 2,239,257 2,177,895 1,786,982 263,558 92,640 87,459 5,181 2,050,540 127,355 61,362 61,362 -
2,380,000 93.0% 2,440,197 2,350,646 1,908,528 304,862 - - - 2,213,390 137,256 49,551 19,551
2,400,000 93.0% 2,625,933 2,385,933 1,895,693 336,240 2,231,933 154,000 210,000 -
30,000
210,000
274,385 256,114 2,769,757
290,523 261,676 – 273,676 2,952,396 - 2,964,396
315,932 276,860 3,188,725
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) / ค�ำนวณโดย สศค.
26
ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2555 1. ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “สศค.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ขยายตัวทีร่ ะดับร้อยละ 5.5 จากปี 2554 ทีเ่ ศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 โดยมีแรงขับเคลื่อนมาจากอุปสงค์ภายในประเทศเป็นส�ำคัญภายหลังปัญหาอุทกภัยคลี่คลายลง” ➥➥ เศรษฐกิจไทยในปี 2555 สศค.คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟืน ้ ตัวขึน้ โดยคาดว่าจะกลับมาขยายตัว
ในอัตราเร่งที่ร้อยละ 5.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.0-6.0) และเป็นการฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติจากปีก่อนหน้า ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ภายหลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายลง โดยได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0–5.0) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้า เนือ่ งจากความจ�ำเป็นในการบริโภคสินค้าเพือ่ ทดแทนทรัพย์สนิ ทีเ่ สียหายจากสถานการณ์อทุ กภัย ประกอบกับนโยบายของภาครัฐ ในการสนับสนุนการใช้จา่ ย อาทิ มาตรการปรับเพิม่ รายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการจ�ำน�ำข้าวเปลือก ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 10.9–12.9) เร่งขึ้นตามความจ�ำเป็น ในการฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย ประกอบกับคาดว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบางสาขา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ยังคงได้รับ ค�ำสั่งซื้อทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ จึงมีแนวโน้มเร่งฟื้นฟูเพื่อกลับมาท�ำการผลิตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปริมาณ การส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 13.5 ตามเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มอ่อนแอ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ยังรุนแรง และแนวโน้มการเจริญเติบโตของ เศรษฐกิจจีนที่เริ่มชะลอตัวลง
ภาพที่ 16 ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
27
1.1 การบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง
1.1.1 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 หดตัวร้อยละ -3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ น จากไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 2.4 (ทัง้ นี้ เมือ่ ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า การบริโภคภาคเอกชน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 หดตัวสูงทีร่ อ้ ยละ -4.1 จากไตรมาสก่อนหน้า) ส่งผลให้ในปี 2554 การบริโภคภาคเอกชนทีแ่ ท้จริงขยายตัว เล็กน้อยทีร่ อ้ ยละ 1.3 ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากรายได้เกษตรกรมีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากการชะลอตัวของปริมาณการผลิตและ ราคาพืชผลทีส่ ำ� คัญ โดยเฉพาะยางพารา มันส�ำปะหลัง และปาล์มน�ำ้ มัน ประกอบกับระดับราคาสินค้าทัว่ ไปทีท่ รงตัวในระดับสูง รวมถึงสถานการณ์น�้ำท่วมในหลายพื้นที่เขตเศรษฐกิจส�ำคัญรวมถึงกรุงเทพมหานคร ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะ การผลิตอุตสาหกรรมหลัก ตลอดจนภาคการค้าและการขนส่งหยุดชะงัก ส่งผลต่อเนื่องต่ออ�ำนาจซื้อของประชาชน รวมถึง ความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของประชาชนโดยรวมลดลง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการบริโภคจ�ำแนกตามรายหมวดส�ำคัญพบว่า ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลงในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยหมวดสินค้าคงทนทีห่ ดตัวร้อยละ -21.8 จาก ไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 10.2 โดยยอดการใช้จา่ ยซือ้ รถยนต์ของครัวเรือนลดลงทุกประเภท ประกอบด้วย รถยนต์นงั่ รถบรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ -42.5 ร้อยละ -54.9 และร้อยละ -12.7 ตามล�ำดับ ในขณะที่การบริโภค สินค้ากึ่งคงทน อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า ภาชนะและสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือน หดตัวร้อยละ -0.7 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 โดยรายรับจากการขายปลีกสินค้าที่สะท้อนโดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงมีทิศทางชะลอลง สอดคล้องกับการบริโภคสินค้า ไม่คงทน อาทิ หมวดอาหาร เครื่องดื่ม และของใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน หดตัวร้อยละ -1.3 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 โดยหมวดอาหารชะลอลงที่ร้อยละ 0.3 จากการลดลงของอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ เป็นต้น ส่วนหมวดที่มิใช่อาหารหดตัว ร้อยละ -1.9 ตามการลดลงของเครื่องดื่มร้อยละ -7.0 เป็นส�ำคัญ ในขณะที่การบริโภคในหมวดบริการสุทธิพบว่า ขยายตัว ร้อยละ 1.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการบริการด้านอสังหาริมทรัพย์และการให้เช่าฯ และบริการสื่อสาร ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 และร้อยละ 4.6 ตามล�ำดับ ภาพที่ 17 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2555 การบริโภคภาคเอกชนทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ
4.0-5.0) เร่งขึ้นจากปี 2554 ที่ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.3 ตามความจ�ำเป็นในการบริโภคสินค้าเพื่อทดแทนทรัพย์สิน ที่เสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย ประกอบกับนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย อาทิ มาตรการปรับเพิ่มรายได้ แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการจ�ำน�ำข้าวเปลือก ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า การบริโภคภาคเอกชน
28
ในช่วง 2 เดือนแรกปี 2555 ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หลังประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 สะท้อนจาก การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ที่วัดการบริโภคภาคเอกชนโดยรวม ขยายตัวที่ร้อยละ 12.4 สอดคล้องกับดัชนี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันที่ระดับ 66.5 ในเดือนมีนาคม ปี 2555 ในขณะที่การบริโภค ในหมวดสินค้าคงทนที่วัดจากปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์พบว่า หดตัวในอัตราที่ชะลอลงมากที่ร้อยละ -6.8 และร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ -42.3 และร้อยละ -12.7 ในขณะที่รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (ที่สะท้อนก�ำลังซื้อของประชาชนภาคชนบท) ในช่วง 2 เดือนแรกปี 2555 ยังหดตัวในระดับ สูงที่ร้อยละ -18.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานสูงปีก่อนที่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่งในช่วงครึ่งแรกปี 2554 ส่วนสินเชื่อเพื่อการบริโภคพบว่า ยังขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.9 และยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยสนับสนุนการบริโภค ภาคเอกชนในปี 2555 ให้สามารถขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชน ในปี 2555 ได้แก่ 1) แนวโน้มระดับราคาสินค้าทั่วไปที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน�้ำมันและราคาโภคภัณฑ์ 2) การแปรปรวน ของสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะเป็นอุปสรรคต่อการผลิตสินค้า โดยเฉพาะภาคการผลิต ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งในที่สุดจะกระทบต่อการบริโภคของประชาชนโดยรวม และ 3) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ยังคงเปราะบาง ตามสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา
1.1.2 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาครัฐทีแ ่ ท้จริงในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 หดตัวร้อยละ -1.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีกอ่ น หดตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 4.9 และเมือ่ พิจารณาผลของการปรับค่าการเปลีย่ นแปลงตามฤดูกาล แล้วพบว่า การบริโภคภาครัฐหดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ -4.8 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 โดย มาจากค่าตอบแทนแรงงานและรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิ ลดลงร้อยละ -2.0 และร้อยละ -4.6 ตามล�ำดับ ทั้งนี้ การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 4 ที่หดตัวเป็นผลมาจากในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม 2554–ธันวาคม 2554) รัฐบาลมีการเบิกจ่ายจ�ำนวน 439.4 พันล้านบาท หดตัวลงร้อยละ -20.6 เนื่องจากพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ยังไม่มีผลบังคับใช้ ส�ำหรับทั้งปี 2554 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงขยายตัว ที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.4
ภาพที่ 18 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
29
➥➥ ในปี 2555 การบริโภคภาครัฐทีแ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น (โดยมี
ช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ 4.0–5.0) ขยายตัวเร่งขึน้ จากปี 2554 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 1.4 โดยเป็นผลมาจากปัจจัยฐานต�ำ่ ของช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ น และปัจจัยสนับสนุนจากการทีร่ ฐั บาลได้มกี ารอนุมตั กิ ารปรับขึน้ เงินเดือนข้าราชการ ทีม่ ผี ลตัง้ แต่เดือนมกราคม 2555 ตามล�ำดับ นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลได้มกี ารอนุมตั วิ งเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 1.86 ล้านล้านบาท เพิม่ ขึน้ จากปีงบประมาณ 2554 ทีร่ อ้ ยละ 11.3 โดยคาดว่ารัฐบาลจะสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ�ำให้ได้ ร้อยละ 97.5 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำ 1.2 การลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง
1.2.1 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาคเอกชนทีแ ่ ท้จริงในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 หดตัวร้อยละ -1.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 และเมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 หดตัวร้อยละ -7.6 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 75.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) หดตัวร้อยละ -2.4 จากไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.1 โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดยานพาหนะและหมวดเครือ่ งจักรภายในประเทศทีห่ ดตัวลงตามก�ำลังการผลิต เช่น อุตสาหกรรม ชิ้นส่วนยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ และการผลิตสิ่งทอต้นน�้ำ ฯลฯ ประกอบกับประสบปัญหา น�้ำท่วมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานีที่ต้องหยุด การผลิต ส่งผลให้การลงทุนหดตัว ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างภาคเอกชน (มีสดั ส่วนประมาณร้อยละ 25.0 ของการลงทุน ภาคเอกชนรวม) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 6.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และต่อเนื่องมาในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ในเขตภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลให้การก่อสร้างไตรมาสนี้ชะลอลง โดยเฉพาะการชะลอลงของที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ อาคารโรงงาน จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 ร้อยละ 14.3 และร้อยละ 13.2 ในไตรมาสที่แล้ว เหลือร้อยละ 2.8 ร้อยละ 4.8 และร้อยละ 3.9 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554
ภาพที่ 19 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
30
➥➥ ในปี 2555 การลงทุนภาคเอกชนทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.9 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ
10.9-12.9) ต่อเนื่องจากปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ของภาครัฐ อาทิ มาตรการสนับสนุนสินเชื่อ การปรับลดภาษีรายได้นิติบุคคล เพื่อเป็นการเร่งสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทัง้ ของในประเทศและต่างประเทศ ซึง่ จะช่วยให้อปุ สงค์ในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ทัง้ การก่อสร้าง ใหม่ การซ่อมแซมและฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร เพื่อทดแทนเครื่องเดิมที่ได้รับ ความเสียหายหลังประสบปัญหาน�้ำท่วมหนักในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่าในช่วง 2 เดือนแรกปี 2555 การลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้นมาก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน อาทิ มูลค่า การน�ำเข้าสินค้าทุนขยายตัวที่ร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 31.4 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้างที่วัดจากเครื่องชี้เศรษฐกิจ อาทิ ปริมาณ การจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
1.2.2 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 หดตัวร้อยละ -12.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีกอ่ น หดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าทีห่ ดตัวร้อยละ -10.9 และเมือ่ ปรับค่าการเปลีย่ นแปลงตามฤดูกาลแล้วพบว่า การลงทุน ภาครัฐหดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ -2.4 ท�ำให้ในปี 2554 การลงทุนภาครัฐทีแ่ ท้จริงหดตัวร้อยละ -8.7 ซึง่ เป็นการหดตัว เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.2 ทั้งนี้ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 4 ที่หดตัวลงมากเป็นผลมาจากรัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีการเบิกจ่ายงบลงทุนลดลง เนื่องจากความล่าช้าในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ งบประมาณ (พ.ร.บ.) รายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ท�ำให้โครงการลงทุนใหม่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ ขณะที่การลงทุนของ รัฐวิสาหกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 1.7 ทั้งนี้ การลงทุนภาครัฐแบ่งออกเป็น การลงทุนในหมวดการก่อสร้าง หดตัวร้อยละ -15.9 หดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าทีห่ ดตัว -15.3 โดยรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ หดตัวร้อยละ -26.3 และรัฐวิสาหกิจ หดตัวร้อยละ -2.0 จากความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบลงทุน ขณะที่การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในหมวดการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรหดตัวร้อยละ -3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็น การหดตัวในการลงทุนของรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ร้อยละ -21.5 ขณะทีก่ ารลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 7.6 จากโครงการลงทุนต่อเนือ่ งขนาดใหญ่ อาทิ บริษทั กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษทั การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) มีการน�ำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ในไตรมาสที่ 4 จ�ำนวน 2 ล�ำ มูลค่า 7.3 พันล้านบาท และเมื่อพิจารณาทั้งปีงบประมาณ 2554 รายจ่ายในส่วนงบลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 263.6 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 73.0 ของ กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนประจ�ำปีงบประมาณ 2553 ภาพที่ 20 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
31
➥➥ ในปี 2555 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 11.1–13.1) ขยายตัวจากปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ -8.7 จากปัจจัยฐานต�่ำของ ช่วงเดียวกันของปีก่อน และวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ 2555 ที่มีวงเงินงบประมาณลงทุนจ�ำนวน 423.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2554 ที่มีวงเงินงบประมาณลงทุนจ�ำนวน 355.5 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 19.1 และคาดว่ารัฐบาลจะสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนให้ได้ร้อยละ 72.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ รายจ่ายลงทุน ประกอบกับการที่รัฐบาลได้ออกพระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการ น�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ได้เริ่ม มีการอนุมตั กิ ารใช้จา่ ยงบประมาณแล้วจ�ำนวน 2.4 หมืน่ ล้านบาท เพือ่ น�ำไปแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วนจ�ำนวน 246 โครงการ ให้สามารถด�ำเนินการบริหารจัดการน�้ำและอุทกภัยเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือก่อนถึงฤดูฝนปี 2555 1.3 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 หดตัวร้อยละ -6.5 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 17.3 โดยมีปัจจัยส�ำคัญจากเหตุการณ์อุทกภัย ที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2554 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิต ภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกเป็นอย่างมาก ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอลงจากวิกฤตหนีส้ าธารณะในสหรัฐอเมริกา และยุโรป โดยเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการหดตัวร้อยละ -15.3 ลดลงมากจาก ไตรมาสก่อนหน้า ด้านมิติสินค้าพบว่า ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 การส่งออกสินค้าหดตัวที่ร้อยละ -6.9 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ทีข่ ยายตัวร้อยละ 16.6 โดยภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ -13.0 ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 17.8 โดยสินค้า ในหมวดหลักหดตัวทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทหี่ ดตัวสูงทีร่ อ้ ยละ -32.3 เครือ่ งใช้ไฟฟ้าหดตัวทีร่ อ้ ยละ -16.3 และ ยานยนต์หดตัวที่ร้อยละ -28.2 ทั้งนี้สินค้าเกษตรกรรม สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ขยายตัวชะลอลง ที่ร้อยละ 9.0 ร้อยละ 25.2 และร้อยละ 3.4 ตามล�ำดับ และเมื่อพิจารณารายตลาดพบว่า การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลัก ขยายตัวชะลอลงโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป เนื่องจากวิกฤตหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้น ในขณะที่การส่งออกไปยัง อาเซียน 5 น�ำโดยสิงคโปร์และอินโดนีเซียขยายตัวต่อเนือ่ ง สินค้าส่งออกทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ รถยนต์ น�ำ้ ตาลทราย และน�ำ้ มันส�ำเร็จรูป ส�ำหรับตลาด G3 และจีน ก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน และส�ำหรับการส่งออกบริการก็หดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -4.8 ลดลงมาก จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.6 จากผลกระทบของอุทกภัยในภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ภาพที่ 21 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ
ที่มา : สศค.
32
➥➥ ในปี 2555 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์
ที่ร้อยละ 7.8-9.8) ขยายตัวชะลอลงจากปี 2554 ที่ร้อยละ 9.5 แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย เมื่อปลายปี 2554 จะเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มอ่อนแอต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศ สหภาพยุโรปที่ยังรุนแรงและแนวโน้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่เริ่มชะลอตัวลง อาจส่งผลกระทบให้การส่งออกในปี 2555 ชะลอลง 1.4 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 20.1 ตามการหดตัวของการส่งออกและ ผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2554 ท�ำให้การน�ำเข้าสินค้าส�ำคัญที่ใช้ในการผลิต เพื่อการส่งออกหยุดชะงักลง ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการหดตัวที่ร้อยละ -9.7 และเมื่อพิจารณาการน�ำเข้าสินค้าพบว่า ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.1 ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 23.4 ตามการหดตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่ร้อยละ -13.1 ที่ลดลงมากจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 18.4 และ จากการชะลอลงของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าอุปโภค-บริโภค ที่ร้อยละ 5.0 ร้อยละ 9.5 และร้อยละ 8.8 ตามล�ำดับ ในขณะที่ปริมาณการน�ำเข้าสินค้ายานยนต์ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส ก่อนหน้าทีข่ ยายตัวทีร่ อ้ ยละ 1.8 ส�ำหรับปริมาณการน�ำเข้าบริการทีแ่ ท้จริงขยายตัวชะลอลงทีร่ อ้ ยละ 2.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนหน้า ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.9
ภาพที่ 22 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการ
ที่มา : สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
33
➥➥ ในปี 2555 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์
ที่ ร ้ อ ยละ 12.5-14.5) ขยายตั ว ชะลอลงจากปี ก ่ อ นหน้ า เล็ ก น้ อ ย แต่ ยั ง คงขยายตั ว ได้ ต ่ อ เนื่ อ ง จากการท่ อ งเที่ ย วที่ ขยายตัวดี เนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ประชากรมีการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ มากขึ้น ส�ำหรับการน�ำเข้าสินค้าภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยมีการเร่งน�ำเข้าเครื่องมือเครื่องจักร เพื่อใช้ในการฟื้นฟู รวมถึงการท�ำประกันภัยของกลุ่มโรงงานต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะเข้าสู่ ภาวะปกติได้ภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาท
2. ด้านการค้าระหว่างประเทศ 2.1 มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ 34.1 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -2.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 หดตัวร้อยละ -5.2 และเมื่อหักผลของการส่งออกทองค�ำออกพบว่า มูลค่าการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 หดตัวร้อยละ -2.4 ทั้งนี้ การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีการหดตัวทั้งมูลค่าและปริมาณ โดยหมวดสินค้าอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และแผงวงจรไฟฟ้า หมวดอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และ อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่หดตัวร้อยละ -32.2 ร้อยละ -16.5 และร้อยละ -26.9 ตามล�ำดับ อีกทั้งหมวดเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเกษตร และเชื้อเพลิง ก็ขยายตัวในอัตราชะลอลงมาก เนื่องจากวิกฤตมหาอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ได้ส่งผลกระทบรุนแรง ต่อการผลิตทั้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม โดยเฉพาะบริเวณนิคมอุตสาหกรรมในแถบภาคกลาง รวมถึงก่อให้เกิด อุปสรรคต่อการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศและการคมนาคมขนส่ง ประกอบกับปัญหาความไม่แน่นอนของ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์และการจ้างงานในสหรัฐอเมริกา และปัญหาหนี้สาธารณะ ในกลุม่ ประเทศยุโรปเป็นแรงสนับสนุนให้การส่งออกหดตัวเร่งขึน้ ทัง้ นี้ หากพิจารณาเป็นรายตลาดพบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้า มีการหดตัว โดยตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป หดตัวร้อยละ -3.2 ร้อยละ -7.7 และร้อยละ -18.3 ต่อปี ตามล�ำดับ ส่วนการส่งออกไปจีนยังขยายตัวได้จากการส่งออกยางพารา แต่ในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 2.4 อีกทั้งการส่งออกไปยังตลาดภูมิภาค โดยเฉพาะตลาดอาเซียน-5 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 7.1
ภาพที่ 23 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : สศค.
34
➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 13.5 (โดยมี
ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 12.5-14.5) ชะลอตัวลงจากปี 2554 เนื่องจากปัจจัยฐานสูงและการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศจีนและสหภาพยุโรปที่ยังไม่สามารถคลี่คลายวิกฤตหนี้สาธารณะได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกในปี 2555 จะยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง และอานิสงส์ตามการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา หลังตัวเลขภาวะการจ้างงานเริ่มส่งสัญญาณเป็นบวก และเศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติ สึนามิ 2.2 มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ 31.6 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี โดยไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 12.1 ต่อปี ซึ่งเป็นผลจาก เหตุการณ์มหาอุทกภัยได้ก่อให้เกิดปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และท�ำให้โรงงานอุตสาหกรรมหยุดการผลิต และลดการน�ำเข้าสินค้า วัตถุดิบและสินค้าทุน เพื่อผลิตสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยการน�ำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าวัตถุดิบ สินค้าทุน สินค้า อุปโภค-บริโภค และสินค้าเชื้อเพลิง ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 16.0 ร้อยละ 6.4 ร้อยละ 13.9 และร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามล�ำดับ ทั้งนี้ หากหักทองค�ำและน�้ำมันดิบซึ่งมีความผันผวนแล้ว มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ภาพที่ 24 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
35
➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 23.3 (โดยมีช่วง
คาดการณ์ที่ร้อยละ 22.3-24.3) ชะลอลงจากปีก่อนเนื่องจากปัจจัยฐานสูง อย่างไรก็ดี การน�ำเข้ายังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้น ทั้งภาคการบริโภคและการลงทุนจากนโยบายการเพิ่มรายได้ของ รัฐบาล และนโยบายฟืน้ ฟูประเทศและบริหารจัดการทรัพยากรน�ำ้ ท�ำให้ตอ้ งมีการน�ำเข้าสินค้าทุน วัตถุดบิ รวมถึงสินค้าขัน้ กลาง เพิ่มขึ้น 2.3 ดุลการค้า ➥➥ ดุลการค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 เกินดุล 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วง 2 เดือนแรก
ของปี 2554 ที่เกินดุล 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่สูงกว่ามูลค่าการน�ำเข้าสินค้า โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าอยู่ที่ 34.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการน�ำเข้าสินค้าอยู่ที่ 31.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาพที่ 25 ประมาณการดุลการค้า
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2555 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 7.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 6.3-8.3
พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึง่ เป็นการเกินดุลลดลงจากปีกอ่ นหน้า ตามมูลค่าสินค้าน�ำเข้าทีค่ าดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่า มูลค่าสินค้าส่งออก เนือ่ งจากการน�ำเข้าสินค้าทุนและเครือ่ งจักรทีม่ แี นวโน้มเพิม่ ขึน้ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2555
36
3. ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด ➥➥ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 เกินดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก
ช่วง 2 เดือนแรกของปี 2554 ที่เกินดุล 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าตามระบบดุลการช�ำระเงินเกินดุล 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกที่ยังขยายตัวในระดับสูง และดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิขาดดุล -0.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเงินบริการจ่าย โดยเฉพาะค่าระวางสินค้าและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการน�ำเข้าที่สูงขึ้น
ภาพที่ 26 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัด
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2555 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะขาดดุล -3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่
(-5.2)-(-1.5) พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ (-1.4)-(-0.4) ของ GDP) ลดลงมากจากปี 2554 ที่เกินดุล 11.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลจากดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิที่คาดว่าจะขาดดุล จากเงินค่าระวางสินค้าและ ค่าโดยสารเดินทางที่เพิ่มขึ้นตามการน�ำเข้าสินค้าที่ขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการน�ำเข้าสินค้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักร เดิมที่เสียหายจากวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 สอดคล้องกับการลงทุนที่คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้น ในขณะที่การส่งออก สินค้าและบริการขยายตัวชะลอลงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง 3.2 อัตราเงินเฟ้อ ➥➥ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2554
ที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 เนื่องจากภาวะคลี่คลายจากวิกฤตน�้ำท่วม ส่งผลให้ราคาอาหารสดปรับตัวลดลง โดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์ และผักสดหลายประเภท อย่างไรก็ดี ราคาน�้ำมันขายปลีกในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากตามการเพิ่มขึ้นของราคา น�้ำมันดิบโลก โดยราคาน�้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มจาก 29.1 บาทต่อลิตร ในเดือนธันวาคม 2554 มาอยู่ที่ 32.1 บาทต่อลิตรในเดือน มีนาคม 2555 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.3 นอกจากนี้ ราคาน�้ำมันยังส่งผลให้ราคาต้นทุนวัตถุดิบต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้นตาม และท�ำให้ราคาสินค้าในหมวดอาหารส�ำเร็จรูปมีการปรับตัวสูงขึน้ อย่างมาก โดยในเดือนมีนาคม 2555 ดัชนีราคาอาหารส�ำเร็จรูป ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
37
ภาพที่ 27 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
ที่มา : สศค.
➥➥ ส�ำหรับปี 2555 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับตัวลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 (โดยมี
ช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 3.1-4.1) โดยคาดว่าจะมีสาเหตุหลักจากราคาน�ำ้ มันในตลาดโลกทีค่ าดว่าจะเพิม่ ขึน้ ในอัตราทีช่ ะลอลง จากปี 2554 อย่างไรก็ดี ยังมีปจั จัยทีส่ ง่ ผลต่ออัตราเงินเฟ้อหลายปัจจัย ได้แก่ 1) ราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะราคาข้าวจะปรับตัว สูงขึ้นจากมาตรการรับจ�ำน�ำข้าวของรัฐบาล 2) ราคาสินค้าที่ใช้แรงงานในการผลิตอาจปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรง ขั้นต�่ำ 300 บาท และ 3) การปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งก๊าซ NGV และ LPG ภาคขนส่ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวม ราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดคาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.3 (ช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 1.8-2.8)
38
ภาคการคลัง รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังในช่วงครึ่งปีแรกของ ปีงบประมาณ 2555 บทสรุปผู้บริหาร ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลได้จัดท�ำงบประมาณรายจ่ายแบบขยายตัว (Expansionary Fiscal Policy) โดยก�ำหนดวงเงินขาดดุล 400.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 ของ GDP เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้สามารถ เติบโตอย่างต่อเนือ่ งในช่วงทีก่ ารฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบาง รวมทัง้ การฟืน้ ฟูเศรษฐกิจทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากปัญหา อุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตอย่างรุนแรง ❍❍ ด้านรายได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม 2554–มีนาคม 2555) รัฐบาลมีรายได้ สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)) จ�ำนวน 812.7 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 33.4 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.3 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ รายได้ภาษีจาก 3 กรมจัดเก็บ (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 838.8 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 14.6 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และสูงกว่าปีงบประมาณก่อนหน้า 13.0 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ❍❍ ด้านรายจ่ายในช่วงครึง ่ ปีแรกของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ทงั้ สิน้ 1,269.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 จ�ำนวน 1,170.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 49.2 ของกรอบวงเงิน งบประมาณ 2555 โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 1,051.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 44.2 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 และ (2) รายจ่ายลงทุน เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 119.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 5.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 และรายจ่ายเหลื่อมปีที่เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 98.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍ ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลขาดดุล เงินงบประมาณจ�ำนวน 460.0 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจ�ำนวน 80.4 พันล้านบาท ส่งผลให้ ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ขาดดุลจ�ำนวน 540.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน รวมทั้ง สร้างความมั่นคงของฐานะการคลัง โดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้จ�ำนวน 93.6 พันล้านบาท ท�ำให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงิน ขาดดุลจ�ำนวน 446.8 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 74.5 พันล้านบาท ❍❍ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 4,362.4 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 41.06 ของ GDP ลดลงจากสิน้ ปีงบประมาณ 2554 จ�ำนวน 85.9 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.9 เนือ่ งจากหนีท้ รี่ ฐั บาล กู้โดยตรงลดลงจ�ำนวน 64.0 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.0 และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจ�ำนวน 30.4 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 100 อย่างไรก็ตาม หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีงบประมาณ 2554 จ�ำนวน 10.3 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 6.6 ❍❍ กรอบอนุมัติงบประมาณลงทุนประจ�ำปี 2555 ของรัฐวิสาหกิจรวม 48 แห่ง ที่พร้อมด�ำเนินการ มีจ�ำนวน ทั้งสิ้น 349.8 พันล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายสะสมถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 จ�ำนวน 27.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรา การเบิกจ่ายร้อยละ 7.8 ของกรอบงบลงทุนที่ได้รับอนุมัติ ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
39
1. ผลการด�ำเนินนโยบายการคลังในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม 2554-มีนาคม 2555) 1.1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555 ผลการจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาลในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหัก การจัดสรรให้ อปท.) จ�ำนวน 812.7 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 33.4 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.3 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.3 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ รายได้ภาษีจาก 3 กรมจัดเก็บ (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 838.8 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 14.6 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และสูงกว่าปีงบประมาณก่อนหน้า 13.0 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 โดยมีรายละเอียดการจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่ส�ำคัญ ดังนี้ ❍❍ กรมสรรพากรจัดเก็บได้จ�ำนวน 601.7 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 18.8 พันล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 3.2 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีกอ่ น 55.1 พันล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 10.1 โดยมีรายละเอียด ของภาษีที่ส�ำคัญ ดังนี้ (1) ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 306.6 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 7.8 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.6 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 33.7 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 สะท้อนการบริโภคสินค้าภายใน ประเทศทีป่ รับตัวดีขนึ้ ตามภาวะเศรษฐกิจภายหลังอุทกภัย และการน�ำเข้าสินค้าทุนเพือ่ ทดแทนเครือ่ งจักรทีเ่ สียหายจากน�ำ้ ท่วม ประกอบกับมูลค่าการน�ำเข้าน�้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก เนื่องจากราคาน�้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ (2) ภาษีเงินได้ นิติบุคคลจัดเก็บได้ 128.3 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 5.0 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 และสูงกว่าช่วง เดียวกันของปีก่อน 5.9 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และ (3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ 133.3 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 2.8 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.4 พันล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ❍❍ กรมสรรพสามิตจัดเก็บได้จ�ำนวน 179.2 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการรายได้ 9.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.9 และต�ำ่ กว่าช่วงเดียวกันของปีกอ่ น 49.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 21.5 โดยมีรายละเอียดของภาษีทสี่ ำ� คัญ ดังนี้ (1) ภาษีสรรพสามิตน�้ำมันจัดเก็บได้ 30.3 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการ 5.9 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 16.4 และ ต�่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 49.4 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 61.9 เนื่องมาจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2554 ให้ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตส�ำหรับน�้ำมันดีเซลจาก 5.31 บาทต่อลิตร เป็น 0.005 ต่อลิตร (2) ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ จัดเก็บได้ 43.0 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการรายได้ 9.2 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 17.7 และต�่ำกว่าช่วงเดียวกันของ ปีก่อน 4.1 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 8.6 เนื่องมาจากโรงงานผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ซึ่งสังเกต ได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ในหมวดยานยนต์ที่หดตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 24.2 ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา และ (3) ภาษีเบียร์จัดเก็บได้ 34.6 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 1.7 พันล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.4 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 และภาษียาสูบจัดเก็บได้ 31.8 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 3.7 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.4 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เนื่องจากมียอดค�ำสั่งซื้อจากผู้จ�ำหน่ายที่ได้เร่งการสั่งซื้อเพื่อทดแทนสต๊อกสินค้าเก่า ที่ไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ในช่วงเกิดอุทกภัย ❍❍ กรมศุลกากรจัดเก็บได้จ�ำนวน 57.9 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 5.1 พันล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.9 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 โดยมีรายได้หลักจาก อากรขาเข้าที่จัดเก็บได้ 56.6 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 5.0 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และสูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.8 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 โดยสินค้าที่น�ำเข้าส่วนใหญ่เพื่อทดแทนก�ำลังการผลิตภายใน ประเทศที่สูญเสียเนื่องจากประสบปัญหาอุทกภัย เช่น รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ฯลฯ ❍❍ รัฐวิสาหกิจน�ำส่งรายได้จ�ำนวน 57.1 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 4.0 พันล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.7 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 เนื่องจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) โรงงานยาสูบ และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) ได้น�ำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ จ�ำนวน 1.9 พันล้านบาท ประกอบกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยน�ำส่งรายได้ก่อนก�ำหนดจ�ำนวน 1.0 พันล้านบาท
40
หน่วยงานอื่น ๆ น�ำส่งรายได้จ�ำนวน 55.7 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 1.6 พันล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 3.0 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีกอ่ น 1.9 พันล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 3.6 เนือ่ งจากกรมศุลกากร ได้ส่งคืนเงินที่กันไว้เพื่อชดเชยค่าภาษีอากรส�ำหรับผู้ส่งออกสินค้าเหลือจ่ายจ�ำนวน 4.7 พันล้านบาท และกรมสรรพสามิต ได้น�ำส่งเงินค่าใช้จ่ายเก็บภาษีท้องถิ่นคืนเป็นรายได้แผ่นดินจ�ำนวน 2.0 พันล้านบาท ❍❍
ตารางที่ 1 สรุปผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555
(หน่วย : ล้านบาท)
ประมาณการ เปรียบเทียบกับ ปีนี้ ปีที่แล้ว ประเภทรายได้ ตามเอกสาร งปม. ปีก่อนหน้า ประมาณการ ประมาณการ (ต.ค. 54-มี.ค. 55) (ต.ค. 53-มี.ค. 54) (ต.ค. 54-มี.ค. 55) (ร้อยละ) (ล้านบาท) (ร้อยละ)
1. กรมสรรพากร - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม - ภาษีธุรกิจเฉพาะ - อากรแสตมป์ - อื่น ๆ 2. กรมสรรพสามิต - ภาษีน�้ำมัน - ภาษียาสูบ - ภาษีสุราฯ - ภาษีเบียร์ - ภาษีรถยนต์ - อื่น ๆ 3. กรมศุลกากร - อากรขาเข้า - อากรขาออก - อื่น ๆ รวมรายได้ 3 กรมภาษี 4. รัฐวิสาหกิจ 5. หน่วยงานอื่น รวมรายได้จัดเก็บ รายได้สุทธิรัฐบาล (หลังการจัดสรรให้ อปท.)
601,667 133,326 128,266 9,310 306,599 18,977 4,939 250 179,245 30,338 31,838 28,480 34,610 42,971 11,008 57,866 56,595 204 1,067 838,778 57,082 55,653 951,513
546,576 122,905 122,366 6,556 272,922 16,749 4,944 134 228,202 79,696 29,406 27,693 33,246 47,021 11,140 51,001 49,774 78 1,149 825,779 42,355 53,728 921,862
582,890 130,488 123,276 7,567 298,839 17,450 5,154 116 188,491 36,273 28,183 27,599 32,861 52,215 11,360 52,800 6,821 48 1,152 824,181 53,064 54,046 931,291
10.1 8.5 4.8 42.0 12.3 13.3 (0.1) 86.6 (21.5) (61.9) 8.3 2.8 4.1 (8.6) (1.2) 13.5 13.7 161.5 (7.1) 1.6 34.8 3.6 3.2
18,777 2,838 4,990 1,743 7,760 1,527 (215) 134 (9,246) (5,935) 3,655 881 1,749 (9,244) (352) 5,066 4,995 156 (85) 14,597 4,018 1,607 20,222
3.2 2.2 4.0 23.0 2.6 8.8 (4.2) 115.5 (4.9) (16.4) 13.0 3.2 5.3 (17.7) (3.1) 9.6 9.7 325.0 (7.4) 1.8 7.6 3.0 2.2
812,690
789,391
779,265
3.0
33,425
4.3
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
41
1.2 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555 การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลในช่วงครึง่ ปีแรกของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ ทัง้ สิน้ 1,269.3 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 จ�ำนวน 1,170.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 49.2 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 1,051.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 44.2 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 และ (2) รายจ่าย ลงทุนเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 119.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 5.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2555 และรายจ่ายเหลื่อมปีที่เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 98.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตาม เป้าหมายอย่างน้อยที่ร้อยละ 93.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ� ำปีงบประมาณ 2555 (2,380 พันล้านบาท) ซึ่งถือเป็นส่วนส�ำคัญของการใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
ตารางที่ 2 สรุปผลการเบิกจ่ายรายจ่ายรัฐบาลในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555
กรอบวงเงิน งบประมาณ ประเภทรายจ่าย รายจ่าย 2555 1. รายจ่ายกรอบ งปม. - รายจ่ายประจ�ำ - รายจ่ายลงทุน 2. รายจ่ายเหลื่อมปี รายจ่ายรวม (1+2)
2,380,000 1,840,673 438,555 201,861 2,230,628
(หน่วย : ล้านบาท)
ผลการเบิกจ่าย ผลการเบิกจ่าย อัตราเบิกจ่าย ช่วงครึ่งแรกของ ช่วงครึ่งแรกของ อัตราการเพิ่ม/(ลด) เทียบกับกรอบ ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ (ร้อยละ) วงเงินงบประมาณ 2555 2554 รายจ่าย 2555 1,170,916 1,051,041 119,875 98,402 1,269,318
1,070,454 930,256 139,928 88,710 1,159,164
9.4 13.0 (14.3) 10.9 9.5
49.2 44.2 5.0 -
ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
นอกจากรายจ่ายภายใต้งบประมาณของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลยังได้ด�ำเนินการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการ ไทยเข้มแข็ง 2555 โดยสถานะความคืบหน้าของโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งล่าสุด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 สามารถ เบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้นจ�ำนวน 307.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 88.0 ของวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ จ�ำนวน 348.9 พันล้านบาท โดยมีรายละเอียดผลการเบิกจ่ายดังนี้
42
ตารางที่ 3 สรุปผลการเบิกจ่ายเงินโครงการภายใต้แผนปฏิบตั กิ ารไทยเข้มแข็ง 2555 ในช่วงครึง่ ปีแรกของปีงบประมาณ 2555 (หน่วย : ล้านบาท)
วัตถุประสงค์/สาขา
วงเงิน ที่ได้รับอนุมัติ 1. สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานฯ 59,462 1.1 สาขาทรัพยากรน�้ำและการเกษตร 59,462 2. ปรับปรุงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานฯ 74,212 2.1 สาขาขนส่ง 46,586 2.2 สาขาพลังงาน 12 2.3 สาขาการสื่อสาร - 2.4 สาขาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว 3,281 2.5 สาขาพัฒนาด้านสาธารณสุข พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 14,302 2.6 สาขาสวัสดิภาพของประชาชน 9,158 2.7 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 182 2.8 สาขาสิ่งแวดล้อม 689 3. สร้างศักยภาพในการหารายได้จากการท่องเที่ยว 5,390 3.1 สาขาพัฒนาการท่องเที่ยว 5,390 4. สร้างฐานรายได้ใหม่ของประเทศฯ 1,311 4.1 สาขาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 1,311 5. ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ 51,981 5.1 สาขาการศึกษา 51,981 6. ปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุขฯ 1,832 6.1 สาขาพัฒนาด้านสาธารณสุข พัฒนาบุคลากร 1,832 7. สร้างอาชีพและรายได้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต 106,253 7.1 สาขาการลงทุนในระดับชุมชน 106,253 8. อื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีก�ำหนด 40,000 8.1 สาขาการประกันรายได้และการด�ำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 40,000 รวม 340,440 ส�ำรองจ่ายตามระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหาร 8,500 รวมทั้งสิ้น 348,940
ผลการเบิกจ่ายสะสม จ�ำนวน ร้อยละ 54,511 91.7 54,511 91.7 65,108 87.7 44,579 95.7 8 66.7 - 2,690 82.0 8,936 62.5 8,050 87.9 182 99.9 664 96.4 2,632 48.8 2,632 48.8 1,276 97.3 1,276 97.3 42,053 80.9 42,053 80.9 1,413 77.1 1,413 77.1 96,065 90.4 96,065 90.4 40,000 100.0 40,000 100.0 303,058 89.0 4,139 48.7 307,197 88.0
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
1.3 ฐานะการคลังในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลขาดดุล เงินงบประมาณจ�ำนวน 460.0 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจ�ำนวน 80.4 พันล้านบาท ส่งผลให้ ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ขาดดุลจ�ำนวน 540.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน รวมทั้ง สร้างความมัน่ คงของฐานะการคลัง โดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกูจ้ ำ� นวน 93.6 พันล้านบาท ท�ำให้ดลุ เงินสดหลังการกูเ้ งินขาดดุล จ�ำนวน 446.8 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิน้ เดือนมีนาคม 2555 มีจำ� นวนทัง้ สิน้ 74.5 พันล้านบาท ทัง้ นี้ การขาดดุลการคลัง ในช่วงครึง่ ปีแรกของปีงบประมาณ 2555 เป็นไปตามบทบาทการใช้นโยบายการคลังเพือ่ เป็นการกระตุน้ เศรษฐกิจภายในประเทศ
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
43
ตารางที่ 4 ฐานะการคลังในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2555 รายการ
1. รายได้ 2. รายจ่าย 3. ดุลงบประมาณ 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 5. ดุลเงินสด (ก่อนกู้) 6. กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 7. ดุลเงินสดหลังการกู้เงิน
ช่วงครึ่งปีแรกของ ปีงบประมาณ 2555 809,354 1,269,317 (459,963) (80,403) (540,366) 93,610 (446,756)
(หน่วย : ล้านบาท)
ช่วงครึ่งปีแรกของ ปีงบประมาณ 2554 779,156 1,159,164 (380,008) (48,533) (428,541) 113,605 (314,936)
เปรียบเทียบกับ จ�ำนวน ร้อยละ 30,198 3.9 110,153 9.5 (79,955) 21.0 (31,870) 65.7 (111,825) 26.1 (19,995) (17.6) (131,820) 41.9
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
1.4 หนี้สาธารณะ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 4,362.4 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.06 ของ GDP ลดลงจากสิ้นปีงบประมาณ 2554 จ�ำนวน 85.9 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.9 เนื่องจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ลดลงจ�ำนวน 64.0 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.0 และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจ�ำนวน 30.4 พันล้านบาท หรือลดลง ร้อยละ 100 เนื่องจากพระราชก�ำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ พัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ก�ำหนดให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีหน้าที่และรับผิดชอบ เกี่ยวกับการช�ำระคืนเงินกู้และช�ำระดอกเบี้ยเงินกู้แทนกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ตาม หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) เพิ่มขึ้น จากสิ้นปีงบประมาณ 2554 จ�ำนวน 10.3 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 6.6 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสถานะของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2555 พบว่า อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ กล่าวคือ 1) หนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้สกุลเงินบาทโดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 92.1 ของหนี้สาธารณะคงค้าง 2) หนี้สาธารณะ ส่วนใหญ่เป็นหนีร้ ะยะยาวมีสดั ส่วนสูงถึงร้อยละ 99.0 ของหนีส้ าธารณะคงค้าง และ 3) สัดส่วนยอดหนีส้ าธารณะคงค้างต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 41.06 ซึ่งยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ก�ำหนดสัดส่วนไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 ต่อ GDP ภาพที่ 1 ยอดคงค้างหนี้สาธารณะและสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP รายเดือน
ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
44
ตารางที่ 5 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2555 หนี้สาธารณะคงค้าง
1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) 4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 5. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ หนี้สาธารณะรวม (1+2+3+4+5)
(หน่วย : ล้านบาท)
ณ ก.ย. 54 ณ ม.ค. 55 เปรียบเทียบกับ จ�ำนวน % GDP จ�ำนวน % GDP จ�ำนวน ร้อยละ 3,181,159 30.2 3,117,187 29.3 (63,975) (2.0) 1,079,749 10.3 1,077,900 10.1 (1,849) (0.2) 156,942
1.5
167,270
1.6
30,445 0.3 - - - - - - 4,448,295 42.271 4,362,357 41.062
10,328
6.6
(30,445) - (85,938)
100 (1.9)
ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
1.5 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจแยกตามสาขาในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 กรอบอนุมตั งิ บประมาณลงทุนประจ�ำปี 2555 ของรัฐวิสาหกิจรวม 48 แห่ง ทีพ ่ ร้อมด�ำเนินการมีจำ� นวนทัง้ สิน้ 349.8 พันล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายสะสมถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 จ�ำนวน 27.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็น อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 7.8 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ ซึ่งสามารถแยกตามรายสาขาได้ 8 สาขา ดังนี้ 1) รัฐวิสาหกิจสาขาขนส่ง จ�ำนวน 11 แห่ง ประกอบด้วย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ การท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จ�ำกัด บริษทั ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) บริษทั การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จ�ำกัด สถาบันการบินพลเรือน การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟขนส่ง มวลชนแห่งประเทศไทย และบริษทั ขนส่ง จ�ำกัด มีงบลงทุนทีพ่ ร้อมด�ำเนินการทัง้ สิน้ จ�ำนวน 139.7 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่าย งบลงทุนสะสมจ�ำนวน 13.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 9.9 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ โดยการรถไฟ แห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่รับอนุมัติงบลงทุนสูงสุดในสาขา จ�ำนวน 53.8 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม จ�ำนวน 3.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 7.3 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ 2) รัฐวิสาหกิจสาขาสาธารณูปการ จ�ำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย องค์การจัดการน�้ำเสีย การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และการเคหะแห่งชาติ มีงบลงทุนที่พร้อมด�ำเนินการทั้งสิ้นจ�ำนวน 19.2 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่าย งบลงทุนสะสมจ�ำนวน 4.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 24.4 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ โดยการประปา ส่วนภูมภิ าคเป็นรัฐวิสาหกิจทีร่ บั อนุมตั งิ บลงทุนสูงสุดในสาขา จ�ำนวน 8.4 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 1.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 18.3 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ 3) รัฐวิสาหกิจสาขาสื่อสาร จ�ำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท อสมท จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จ�ำกัด มีงบลงทุนที่พร้อมด�ำเนินการทั้งสิ้นจ�ำนวน 27.9 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 2.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 9.3 ของกรอบ งบลงทุนอนุมัติ โดยบริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจที่รับอนุมัติงบลงทุนสูงสุดในสาขา จ�ำนวน 16.4 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 1.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 11.1 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ 4) รัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน จ�ำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และบริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) มีงบลงทุนที่พร้อมด�ำเนินการทั้งสิ้นจ�ำนวน 153.7 พันล้านบาท และ มีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 5.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 3.6 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ โดยบริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจที่รับอนุมัติงบลงทุนสูงสุดในสาขาจ�ำนวน 91.5 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่าย งบลงทุนสะสมจ�ำนวน 1.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 2.0 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ GDP ณ กันยายน 2554 เท่ากับ 10,523.1 พันล้านบาท GDP ณ มกราคม 2555 เท่ากับ 10,625.5 พันล้านบาท
1 2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
45
5) รัฐวิสาหกิจอืน่ ๆ จ�ำนวน 25 แห่ง ประกอบด้วย โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ส�ำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การกีฬาแห่งประเทศไทย และส�ำนักงานกองทุนสงเคราะห์การท�ำสวนยาง เป็นต้น มีงบลงทุนที่พร้อมด�ำเนินการทั้งสิ้นจ�ำนวน 9.4 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 0.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 7.4 ของ กรอบงบลงทุนอนุมัติ โดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง เป็นรัฐวิสาหกิจที่รับอนุมัติงบลงทุนสูงสุดจ� ำนวน 2.6 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจ�ำนวน 0.04 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 1.6 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 7 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2555 รัฐวิสาหกิจควรเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุน เพื่อให้เป็นไป ตามเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 95.0 ของกรอบอนุมัติงบประมาณลงทุนประจ�ำปี 2555
ตารางที่ 6 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจแยกตามรายสาขา ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (หน่วย : ล้านบาท)
รัฐวิสาหกิจรายสาขา (48 แห่ง)
งบลงทุนอนุมัติ สัดส่วน แผนเบิกจ่าย เบิกจ่ายจริง % การเบิกจ่าย % การเบิกจ่าย ปี 2555 (%) สะสม ก.พ. 55 สะสม ก.พ. 55 ตามแผน ตามงบลงทุนอนุมัติ (1) (2) (3) (4) (5) = (4) / (3) (6) = (4) / (1)
ขนส่ง (11 แห่ง) 139,716 39.9% การรถไฟแห่งประเทศไทย 53,844 15.4% สาธารณูปการ (4 แห่ง) 19,167 5.5% การประปาส่วนภูมิภาค 8,349 2.4% สื่อสาร (4 แห่ง) 27,875 8.0% บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) 16,378 4.7% พลังงาน (4 แห่ง) 153,699 43.9% บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) 91,467 26.1% อุตสาหกรรม (6 แห่ง) 3,381 1.0% โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง 2,608 0.7% พาณิชย์และบริการ (6 แห่ง) 1,938 0.6% ส�ำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 1,652 0.5% สังคมและเทคโนโลยี (6 แห่ง) 3,124 0.9% การกีฬาแห่งประเทศไทย 1,406 0.4% เกษตรและทรัพยากรฯ (7 แห่ง) 920 0.3% ส�ำนักงานกองทุนสงเคราะห์ 386.46 0.1% การท�ำสวนยาง รวม 8 สาขา 349,820 100.0% ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง
46
28,097 12,539 7,178 2,890 5,515 4,163 12,300 7,200 1,085 944 785 763 422 45 140 33
13,791 3,904 4,678 1,525 2,600 1,818 5,508 1,872 105 42 131 104 399 15 106 17
49.1% 31.1% 65.2% 52.8% 47.1% 43.7% 44.8% 26.0% 9.7% 4.5% 16.8% 13.6% 94.6% 33.4% 75.9% 50.6%
9.9% 7.3% 24.4% 18.3% 9.3% 11.1% 3.6% 2.0% 3.1% 1.6% 6.8% 6.3% 12.8% 1.1% 11.5% 4.3%
55,522
27,319
49.2%
7.8%
Macroeconomic Analysis Briefing บทวิเคราะห์ เรื่อง MISSION IMPOSSIBLE : ปฏิบัติการเปิดฟ้าชะตาน�้ำมัน
1
บทสรุปผู้บริหาร ในปี 2555 ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านกับสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรชาติ ตะวันตกได้สร้างความวิตกกังวลแก่ตลาดน�้ำมันโลก หากอิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ส�ำคัญ ในการขนส่งน�้ำมันดิบของโลก อาจส่งผลให้ราคาน�้ำมันในตลาดโลกทะยานสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนน�ำไปสู่ วิกฤตการณ์ราคาน�้ำมันขั้นรุนแรง ครั้งที่ 6 ❍❍ อย่างไรก็ดี กรณีที่อิหร่านจะปิดช่องแคบฮอร์มุซซึ่งเป็นกรณีที่ร้ายแรงที่สุด (Worst Case Scenario) นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่หากเกิดขึ้นจะท�ำให้ราคาน�้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง หากเปรียบเทียบกับสงครามน�้ำมันในอดีตทั้ง 5 ครั้ง พบว่า ปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับชาติตะวันตก ยังไม่มีความรุนแรงเทียบเท่ากับสงครามครั้งก่อน ❍❍ สศค.คาดว่า ราคาน�ำ ้ มันดิบดูไบเฉลีย่ ในปี 2555 ในกรณีปกติจะอยูท่ รี่ ะดับ 118.0 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ดี หากอิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซอาจท�ำให้ราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2555 ปรับตัว สูงขึ้นไป 128.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยอยู่ในช่วงคาดการณ์ 123.6–133.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ตามระยะเวลาและความรุนแรงของสงครามครั้งก่อน ❍❍ ผลกระทบในกรณีที่อิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซจะท�ำให้เกิดวิกฤตการณ์ราคาน�้ำมันขั้นรุนแรง และอาจส่งผลกระทบทางตรงต่อเศรษฐกิจไทยผ่านการขึ้นราคาของน�้ำมันขายปลีกภายในประเทศ โดยภายใต้ สมมติฐานราคาน�ำ้ มันดิบโลกในกรณีฐานทีอ่ ยูร่ ะดับ 118.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล พบว่า ในปี 2555 ราคาน�ำ้ มัน ดีเซลหมุนเร็วจะอยู่ที่ระดับ 31.31 บาทต่อลิตรภายใต้กรณีปกติ ขณะที่ในกรณีเลวร้ายที่สุดจะอยู่ที่ระดับ 32.90 บาทต่อลิตร ส�ำหรับน�้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 จะอยู่ที่ระดับ 35.82 บาทต่อลิตรในกรณีปกติ และหากเกิดกรณี รุนแรงที่สุด น�้ำมันเบนซิน 91 จะปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 37.41 บาทต่อลิตร เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่อยู่ระดับ 33.96 บาทต่อลิตร ❍❍ เพื่ อ เตรี ย มพร้ อ มรั บ มื อ ปั ญ หาอุ ป ทานน�้ ำ มั น ดิ บ ตึ ง ตั ว และวิ ก ฤตการณ์ ร าคาน�้ ำ มั น ดิ บ โลก ภาครัฐได้ออกมาตรการบริหารวิกฤตน�ำ้ มันเบือ้ งต้นไว้ 3 ขัน้ ตอน ได้แก่ ขัน้ ที่ 1 บริหารส�ำรองน�ำ้ มันไว้ 55 วัน ขัน้ ที่ 2 บริหารส�ำรองน�ำ้ มันเพิม่ ขึน้ อีก 64 วัน และขัน้ ที่ 3 จัดหาเรือส�ำรองน�ำ้ มันกลางทะเล พร้อมทัง้ ปรับสัดส่วนน�ำ้ มันดิบ สัญญาระยะยาวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะท�ำให้ประเทศไทยมีน�้ำมันดิบเพียงพอเพื่อใช้ในการบริโภครวม 119 วัน (4 เดือน) ❍❍
1. บทน�ำ ในช่วงที่ผ่านมา ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและพันธมิตรชาติตะวันตกได้สร้างความวิตกกังวลในเรื่อง ปัญหาอุปทานน�ำ้ มันดิบทัว่ โลก หากประเทศอิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มซุ (Strait of Hormuz) ซึง่ เป็นเส้นทางการเดินเรือขนส่งน�ำ้ มัน ทีส่ ำ� คัญ เพือ่ ตอบโต้มาตรการคว�ำ่ บาตรของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรชาติตะวันตก ท�ำให้ราคาน�ำ้ มันในตลาดโลกทะยานสูงขึน้ อย่างรวดเร็ว โดยนับตัง้ แต่ตน้ ปีถงึ วันที่ 8 มีนาคม 2555 ราคาน�ำ้ มันดิบดูไบเฉลีย่ อยูใ่ นระดับสูงที่ 113.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นที่กังวลว่าหากปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในระยะสั้นและมีความรุนแรงมากขึ้น ราคาน�้ำมันดิบโลกอาจ พุง่ ขึน้ ไปเหนือระดับทีเ่ คยท�ำสถิตสิ งู สุดเป็นประวัตกิ ารณ์เมือ่ กลางปี 2551 ซึง่ จะน�ำไปสูว่ กิ ฤตการณ์ราคาน�ำ้ มันขัน้ รุนแรง (Global ผูเ้ ขียน : นายธนิต ภัทรแสงไทย เศรษฐกรปฏิบตั กิ าร ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายยุทธภูมิ จารุเศร์นี เศรษฐกรปฏิบตั กิ าร ดร.กุลกัลยา พระยาราช เศรษฐกรช�ำนาญการ นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ หัวหน้าฝ่ายส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
47
Oil Shock) และน�ำไปสู่การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการผลิต และอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกในที่สุด อันจะเป็นอุปสรรคต่อ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบางในขณะนี้ บทวิเคราะห์นจี้ งึ ได้ทำ� การสรุปสถานการณ์ปญ ั หาความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและพันธมิตรชาติตะวันตก ประเมิน โอกาสและความรุนแรงของสถานการณ์ คาดการณ์แนวโน้มราคาน�้ำมันดิบในปี 2555 และประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ตลอดจนสรุปมาตรการบริหารวิกฤตน�้ำมันของรัฐบาล รวมทั้งจัดท�ำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระยะยาว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
2. สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่าน สหรัฐอเมริกา และพันธมิตรชาติตะวันตก เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 ขณะที่ทั่วโลกก�ำลังจับตาประเด็นปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป และมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ในประเทศไทยนั้น ส�ำนักงานปรมาณูสากล (International Atomic Energy Agency : IAEA) ได้รายงานว่า รัฐบาลอิหร่าน ก�ำลังด�ำเนินโครงการทดสอบเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียม เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ภายในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและไอโซโทปรังสีทางการแพทย์ เพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทว่าเหตุการณ์ดังกล่าว กลายเป็นจุดชนวนของความวิตกกังวลทั่วโลกว่า อิหร่านก�ำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อใช้ในการทหารอันจะเป็นอันตราย ต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของภูมิภาคและโลก ท�ำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกมาตรการคว�่ำบาตร โดยระงับ การน�ำเข้าน�้ำมันจากประเทศอิหร่าน (Sanction) ทันที ในเดือนธันวาคม 2554 สหภาพยุโรปได้ออกมาตรการสนับสนุนการคว�่ำบาตรต่ออิหร่านในเรื่องของการยึดสินทรัพย์ การห้ามเดินทางเข้าอิหร่าน และการห้ามท�ำธุรกรรมทางการเงิน หลังจากนั้นไม่นานอิหร่านได้มีการวางแผนซ้อมรบบริเวณ ช่องแคบฮอร์มุซเป็นเวลา 10 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2554 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 โดยอิหร่านได้ตอบโต้การที่ชาติตะวันตกออกมาตรการคว�่ำบาตรต่ออิหร่าน อย่างชัดเจน ด้วยการออกมาขู่ว่าจะปิดช่องแคบฮอร์มุซ ตามมาด้วยการประกาศของประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 12 มกราคม 2555 เรื่องการลดการน�ำเข้าน�้ำมันจากประเทศอิหร่าน เหตุการณ์ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2555 หลังจากสหภาพยุโรปมีมติห้ามน�ำเข้าน�้ำมันจากประเทศ อิหร่านอย่างเป็นทางการในการประชุมทีก่ รุงบรัสเซลส์ ซึง่ จะเริม่ บังคับใช้ตงั้ แต่เดือนมิถนุ ายน 2555 โดยห้ามท�ำสัญญาฉบับใหม่ ในการน�ำเข้าน�้ำมันดิบจากอิหร่าน ส่วนสัญญาการซื้อขายน�้ำมันเดิมให้ใช้จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 จนกระทั่งวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 อิหร่านได้ออกมาปฏิเสธไม่อนุญาตการเข้าตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ IAEA ของสหประชาชาติ และ ยืนยันถึงนโยบายการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากชาติตะวันตกก็ตาม พร้ อ มประกาศหยุ ด การส่ ง ออกน�้ ำ มั น ไปยั ง ประเทศอั ง กฤษและประเทศฝรั่ ง เศสก่ อ นถึ ง ก� ำ หนดการเริ่ ม การคว�่ ำ บาตร แบบเต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม 2555 นอกจากนั้ น ยั ง มี ค วามเสี่ ย งที่ อิ ส ราเอลจะโจมตี อิ ห ร่ า นในการท� ำ ลายแหล่ ง ผลิ ต พลั ง งานนิ ว เคลี ย ร์ ข องอิ ห ร่ า น เพื่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งสร้างความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลางให้มากขึ้น โดยนักวิเคราะห์ของ Wall Street Journal คาดการณ์วา่ อิสราเอลจะรอดูผลการเจรจาจากมาตรการทางการทูตและมาตรการคว�ำ่ บาตรก่อน และหากเจรจาไม่สำ� เร็จ อิสราเอลจะโจมตีอหิ ร่านก่อนการเลือกตัง้ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในเดือนพฤศจิกายน 2555 หรือในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ซึ่ง ณ วันที่ 5 มีนาคม 2555 ผลการหารือปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางระหว่างประธานาธิบดี บารัก โอบามา ของสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรีของอิสราเอลยังคงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกาเห็นว่า ควรจะรอดูและแก้ไขสถานการณ์ทางการทูตต่อไป และชะลอการใช้ก�ำลังทหารก่อน เนื่องจากหากใช้ มาตรการทางทหารอาจสร้างผลเสียมากกว่าผลดีแก่ประชาคมโลก
3. ประเมินโอกาสการเกิดวิกฤตการณ์ราคาน�้ำมันดิบโลก (Oil Shock) ➤ ข้อเท็จจริง สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง หากอิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มซุ ซึง่ เป็นจุดยุทธศาสตร์ของ
การขนส่งน�้ำมันของโลกสามารถส่งผลต่ออุปทานการผลิตน�้ำมันโลก และก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ราคาน�้ำมันขั้นรุนแรงได้ (Oil Shock)
48
o จากการศึกษาข้อมูลของ International Energy Agency (IEA) พบว่า ในปี 2554 ปริมาณการผลิตน�้ำมันดิบของ โลกอยู่ที่ระดับ 88.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยกลุ่มโอเปค (OPEC) ผลิตได้ 35.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 40.5 ส่วนกลุ่ม Non-OPEC ผลิตได้ 52.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ ประเทศอิหร่านถือเป็นประเทศผู้ผลิตน�้ำมันดิบใหญ่อันดับ 2 ของกลุ่มโอเปค รองจากประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยมีก�ำลังการผลิต 3.58 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 10.0 ของก�ำลังการผลิตน�้ำมันของ กลุ่ม OPEC หรือคิดเป็นร้อยละ 4.0 ของอุปทานน�้ำมันดิบทั้งโลก
ภาพที่ 1 สัดส่วนการผลิตน�้ำมันดิบของโลกในปี 2554
ที่มา : EIA และประมวลผลโดย สศค.
o ประเทศอิหร่านมีการส่งออกน�้ำมันดิบไปยังต่างประเทศ 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากพิจารณาตลาดส่งออกหลัก ในเดือนมกราคม–มิถุนายน 2554 ตามข้อมูลของ Energy Information Administration (EIA) พบว่า อิหร่านส่งออกน�้ำมันไปยัง ประเทศจีนมากที่สุดที่ร้อยละ 20.9 รองลงมาเป็นสหภาพยุโรปที่ร้อยละ 17.3 ตามมาด้วยประเทศญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ และ ตุรกี ที่ร้อยละ 13.1 ร้อยละ 12.6 ร้อยละ 9.4 และร้อยละ 7.0 ตามล�ำดับ ภาพที่ 2 ปริมาณน�ำ้ มันดิบทีข่ นส่งผ่านช่องแคบฮอร์มซุ
ภาพที่ 3 ปริมาณการส่องออกน�้ำมันของอิหร่าน
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
49
o นอกจากนี้ จากข้อมูลของ EIA พบว่า เส้นทางการขนส่งน�้ำมันที่มีการใช้มากที่สุดคือการขนส่งน�้ำมันทางเรือ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 48.0 ของการขนส่งน�้ำมันทั้งโลก รองลงมาเป็นการขนส่งทางท่อ (Pipeline) ร้อยละ 40.0 และการขนส่งทางบก ร้อยละ 12.0 โดยช่องแคบฮอร์มุซถือเป็น Oil Transit Chokepoint ที่ส�ำคัญที่สุดซึ่งมีการขนส่งน�้ำมันประมาณ 17.0 ล้านบาร์เรล ต่อวัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.0 ของการขนส่งน�้ำมันทางเรือของโลก ➤ โอกาสการเกิดวิกฤตการณ์ราคาน�้ำมันดิบโลก คาดว่า ปัญหาอุปทานน�้ำมันดิบโลกตึงตัวที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่
อิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นกรณีที่ร้ายแรงที่สุด (Worst Case Scenario) นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่หากเกิดขึ้น จะท�ำให้ราคาน�้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง เนื่องจาก o ประธานาธิบดีบารัก โอบามา พยายามรักษาเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างคะแนนนิยมของ พรรครัฐบาล ก่อนจะเข้าสู่การเลือกตั้งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายปี 2555 สะท้อนจากมาตรการทางการทูต และมาตรการคว�่ำบาตรที่จ�ำกัดเพียงมาตรการทางการค้าเท่านั้นที่แต่ละฝ่ายต่างออกมาตอบโต้กันในช่วงที่ผ่านมา รวมถึง การแสดงเจตจ�ำนงในการยุติสถานการณ์แบบสันติวิธี อาทิ การชะลอการใช้มาตรการทางการทหารของประเทศอิสราเอลต่อ อิหร่าน o รายได้ที่ส�ำคัญของอิหร่านมาจากการขายน�้ำมัน ซึ่งการหยุดส่งออกน�้ำมันจะท�ำให้อิหร่านขาดรายได้และ ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศแย่ลง โดยการส่งออกน�้ำมันถือเป็นกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้แก่ประเทศถึงร้อยละ 90.0 ของ GDP ประเทศอิหร่าน o ในระยะยาว ราคาน�้ำมันดิบมีทิศทางปรับเข้าสู่ปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง (Fundamental) ตามภาวะเศรษฐกิจโลก ทีม่ สี ญ ั ญาณชะลอตัวลง โดยเฉพาะสหภาพยุโรปยังคงประสบปัญหาวิกฤตหนีส้ าธารณะทีย่ งั ไม่คลีค่ ลาย รวมถึงมีความวิตกกังวล เกี่ยวกับประเทศกรีซที่มีโอกาสสูงในการผิดนัดช�ำระหนี้ในอนาคต หลังใช้มาตรการรัดเข็มขัดทางการคลังเพื่อแลกกับเงินกู้ 130 พันล้านยูโร สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปมีแนวโน้มถดถอยในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการ น�้ำมันของสหภาพยุโรปลดลง o ปริมาณก�ำลังการผลิตส�ำรองของกลุ่มโอเปค (OPEC Spare Capacity) ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.92 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะช่วยบรรเทาปัญหาอุปทานที่ลดลงไปได้ส่วนหนึ่ง หากอิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซจริงก็จะสามารถน�ำ ก�ำลังการผลิตส�ำรองนีม้ าผลิตทดแทน ประกอบกับประเทศซาอุดอี าระเบียซึง่ เป็นผูผ้ ลิตน�ำ้ มันดิบมากทีส่ ดุ ของกลุม่ โอเปคสามารถ เพิ่มก�ำลังการผลิต เพื่อทดแทนปริมาณการส่งออกน�้ำมันของอิหร่านได้ รวมทั้งก�ำลังการผลิตของลิเบียก็ใกล้กลับมาเป็นปกติ
4. การวิเคราะห์ราคาน�้ำมันดิบโลก เปรียบเทียบกับสงครามที่ส่งผลต่อราคาน�้ำมันในอดีต ➤ สรุปผลการปรับตัวของราคาน�้ำมันดิบจากวิกฤตการณ์ในอดีต (ปี 2516 ถึงปัจจุบัน)
o สงคราม Yom Kippur เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 6-25 ตุลาคม 2517 คิดเป็นระยะเวลาทั้งหมด 19 วัน ส่งผลให้ ราคาน�้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น 4.0 เท่าตัวจาก 2.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวขึ้นไปท� ำจุดสูงสุดที่ระดับราคา 11.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 300.0 o สงครามอิรกั -อิหร่าน เริม่ ต้นตัง้ แต่วนั ที่ 22 กันยายน 2523 ถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2531 คิดเป็นระยะเวลาทัง้ หมด 7 ปี 10 เดือน 29 วัน ส่งผลให้ราคาน�้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น 2.8 เท่าตัวจาก 13.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวขึ้นไป ท�ำจุดสูงสุดที่ระดับราคา 35.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 176.0 o สงครามอิรัก-คูเวต หรือสงครามอ่าวเปอร์เซีย ครั้งที่ 1 เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2533 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 คิดเป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน 26 วัน ส่งผลให้ราคาน�้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น 1 เท่าตัวจาก 16.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวขึ้นไปท�ำจุดสูงสุดที่ระดับราคา 34.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 104.2 o สงครามอิรัก-สหรัฐอเมริกา หรือสงครามอ่าวเปอร์เซีย ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเนื่องจากสหรัฐอเมริกาเชื่อว่า ประเทศอิรักได้ครอบครองอาวุธชีวภาพท�ำลายล้าง เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2546 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2554 คิดเป็น ระยะเวลาทั้งหมด 8 ปี 4 เดือน 30 วัน ส่งผลให้ราคาน�้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น 1.4 เท่าตัวจาก 29.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวขึ้นไปท�ำจุดสูงสุดที่ระดับราคา 70.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 142.1
50
o สงครามในลิเบียและกลุม่ ประเทศตะวันออกกลาง เริม่ ต้นตัง้ แต่วนั ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ถึงวันที่ 23 ตุลาคม 2554 คิดเป็นระยะเวลาทั้งหมด 8 เดือน 9 วัน ส่งผลให้ราคาน�้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น 1.2 เท่าตัวจาก 96.6 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล ปรับตัวขึ้นไปท�ำจุดสูงสุดที่ระดับราคา 118.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 ➤ เปรียบเทียบกับสงครามน�้ำมันในอดีต สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างประเทศอิหร่านกับสหรัฐอเมริกา
และพันธมิตรชาติตะวันตกยังไม่มคี วามรุนแรงเทียบเท่ากับสงครามครัง้ ก่อน แต่มคี วามใกล้เคียงกับสงครามลิเบีย ดังนัน้ ราคาน�้ำมันดิบดูไบจึงปรับตัวขึ้นไม่รุนแรงมากนัก อย่างไรก็ดี หากอิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซจริงย่อมส่งผลกระทบต่อทิศทาง ของราคาน�้ำมัน และยังสร้างผลทางจิตวิทยาให้แก่ประชาคมโลกต่อไปในอนาคต โดยสถานการณ์ราคาน�้ำมันดิบ (ดูไบ) และ อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาน�้ำมัน สรุปได้ดังนี้ o สถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศอิหร่านและพันธมิตรชาติตะวันตกถือเป็นวิกฤตการณ์ น�้ำมัน ครั้งที่ 6 นับตั้งแต่ปี 2516 เป็นต้นมา โดยวิกฤตความขัดแย้งครั้งล่าสุดนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 จนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2555 คิดเป็นระยะเวลาทั้งหมด 4 เดือน o เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ราคาน�้ำมันดิบโลก (ราคาน�้ำมันดิบดูไบ) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 106.9 ดอลลาร์ สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวขึ้นไปท�ำจุดสูงสุดในรอบ 30 เดือนนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 ที่ระดับ 123.3 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล คิดเป็นอัตราเพิม่ ร้อยละ 15.3 โดยราคาน�ำ้ มันดิบดูไบเฉลีย่ ในปัจจุบนั อยูท่ รี่ ะดับ 113.73 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2554
ภาพที่ 4 อัตราการขยายตัวของราคาน�้ำมันดิบดูไบเปรียบเทียบก่อน-ระดับสูงสุด ของเหตุการณ์สงครามในช่วงปี 2516 ถึงปัจจุบัน
ที่มา : Reuters และรวบรวม/ประเมินผลโดย สศค. ณ วันที่ 8 มีนาคม 2555
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
51
5. แนวโน้มราคาน�้ำมันดิบโลกและน�้ำมันขายปลีกภายในประเทศในปี 2555 ➤ กรณีฐาน (Base Case Scenario) สศค.คาดว่า ราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2555 จะอยู่ที่ระดับ 118.0
ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (โดยมีชว่ งคาดการณ์อยูท่ ี่ 113.0-123.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) หรือขยายตัวร้อยละ 11.7 ต่อปีเมื่อเทียบกับราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2554 ที่อยู่ระดับ 105.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยได้รับผลกระทบ จากปัจจัยบวกและปัจจัยลบดังนี้ o ปัจจัยบวก • จากรายงานภาวะตลาดน�้ำมันของ IEA ฉบับเดือนมีนาคม 2555 ประเมินว่าอุปสงค์น�้ำมันดิบโลกในปี 2555 จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 89.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับปี 2554 โดยมีสาเหตุหลักมาจากผลทางจิตวิทยา ระยะสั้นของการตอบโต้ระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกาภายใต้ข้อสมมติฐานว่า แต่ละฝ่ายมีการตอบโต้กันเพียงใช้มาตรการ การค้าลดการส่งออกน�้ำมันของอิหร่านในระยะสั้น • ความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์การเมืองในประเทศผู้ผลิตน�้ำมันดิบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ เช่น เวเนซุเอลา ไนจีเรีย อียิปต์ ซีเรีย ฯลฯ • การที่ญี่ปุ่นพยายามลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ท�ำให้มีความต้องการน�ำเข้าน�้ำมันดิบเพิ่มขึ้น • การฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาซึง่ คาดว่าในปี 2555 จะเติบโตทีร่ อ้ ยละ 2.0 ต่อปี ประกอบกับสหรัฐอเมริกา ก�ำลังเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อน ท�ำให้มีแนวโน้มที่การบริโภคน�้ำมันจะมีมากขึ้นจากการใช้รถยนต์นับจากช่วง ไตรมาสที่ 2 o ปัจจัยลบ ราคาน�้ำมันดิบดูไบได้รับแรงกดดันจากสัญญาณชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการเพิ่มขึ้น ของอุปทานน�้ำมันดิบในกลุ่ม OPEC เริ่มจากประเทศลิเบียที่กลับมาผลิตเป็นปกติ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ประเทศอิรัก และ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และกลุ่ม Non-OPEC ที่มาจากประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาที่มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น ➤ กรณีร้ายแรงที่สุด (Worst Case Scenario) เป็นกรณีที่เกิดสงครามระหว่างอิหร่านกับสหรัฐอเมริกาและ
ชาติตะวันตก ราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่ 128.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นอัตรา การเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 21.8 เมือ่ เทียบกับราคาเฉลีย่ ในปี 2554 ภายใต้สมมติฐานว่า สงครามระหว่างอิหร่านกับชาติตะวันตก จะมีระยะเวลาใกล้เคียงกับสงครามลิเบีย คือประมาณ 8-9 เดือน และมีความรุนแรงของราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 31.0 แนวโน้มราคาน�้ำมันขายปลีก o นอกจากนั้น การเพิ่มขึ้นของราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกจะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของราคาน�้ำมันขายปลีก ในประเทศ (Retail Oil Price) ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตที่ส�ำคัญ ท�ำให้โรงกลั่นผู้ผลิตน�้ำมันส�ำเร็จรูป (ทั้งราคาน�้ำมันเบนซินและ ดีเซล) จะปรับราคาขายสูงขึ้น ซึ่งเป็นการผลักภาระต้นทุนการผลิตไปให้ผู้บริโภคผ่านช่องทางราคา อันจะก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้น ของอัตราเงินเฟ้อและเป็นแรงกดดันให้เศรษฐกิจชะลอลงในที่สุด o ทั้งนี้ จากการศึกษาของ สศค.พบว่า หากราคาน�้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 1.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะท�ำให้ราคา น�ำ้ มันดีเซลเพิม่ ขึน้ 0.15 บาทต่อลิตร และการทีร่ าคาน�ำ้ มันดีเซลเพิม่ ขึน้ 1.0 บาทต่อลิตร จะท�ำให้อตั ราเงินเฟ้อเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.7 ภายใต้สมมติฐานว่าปัจจัยอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง o สศค.คาดว่า ภายใต้สมมติฐานราคาน�ำ้ มันดิบโลกในกรณีฐานทีร่ ะดับ 118.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล พบว่า ราคา น�้ำมันดีเซลหมุนเร็วเฉลี่ยในปี 2555 จะอยู่ที่ระดับ 31.31 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้น 1.86 บาทต่อลิตร เมื่อเทียบกับราคาน�้ำมันดีเซล เฉลี่ยปี 2554 ที่อยู่ระดับ 29.45 บาทต่อลิตร ขณะที่ในกรณีเลวร้ายที่สุดจะปรับขึ้นไปอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 32.90 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้น
52
3.45 บาทต่อลิตร ขณะที่น�้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 จะอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 35.82 บาทต่อลิตรในกรณีปกติ และหากเกิดกรณีรุนแรงที่สุด น�้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 จะปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 37.41 บาทต่อลิตร เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่อยู่ระดับเฉลี่ย 33.96 บาท ต่อลิตร ภาพที่ 5 สรุปแนวโน้มราคาน�้ำมันดิบดูไบและราคาน�้ำมันเชื้อเพลิง จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตก
ที่มา : กระทรวงพลังงาน และค�ำนวณโดย สศค.
6. มาตรการบริหารวิกฤตน�้ำมันของรัฐบาล ณ วันที่ 8 มีนาคม 2555 ภาครัฐได้ออกมาตรการส�ำหรับบริหารปริมาณส�ำรองน�ำ้ มัน และราคาน�ำ้ มันภายในประเทศ เบือ้ งต้นไว้ 3 ระดับ พร้อมเสนอมาตรการควบคุมการใช้พลังงาน เพือ่ เตรียมพร้อมรับมือวิกฤตการณ์ราคาน�ำ้ มัน หากสถานการณ์ ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตกเข้าสู่สถานการณ์ร้ายแรงที่สุด ทั้งนี้ ในปัจจุบันการด�ำเนินการตามมาตรการ ดังกล่าวท�ำให้ประเทศไทยสามารถส�ำรองน�ำ้ มันได้ทงั้ สิน้ 119 วัน หรือคิดเป็นปริมาณน�ำ้ มันดิบส�ำรองถึง 71.3 ล้านบาร์เรล โดยมีรายละเอียดดังนี้ ภาพที่ 6 มาตรการบริหารวิกฤตน�้ำมันของรัฐบาล
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ ประจ�ำวันที่ 9 มีนาคม 2555
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
53
➤ มาตรการระยะสั้น : มาตรการบริหารปริมาณน�้ำมันส�ำรอง
o ขั้นตอนที่ 1 บริหารส�ำรองน�้ำมันไว้ใช้ 55 วัน คิดเป็นปริมาณน�้ำมันดิบ 32.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยปัจจุบัน • มีปริมาณส�ำรองน�้ำมันดิบทางธุรกิจ 18 วัน โดยสามารถน�ำมาใช้ได้ทันทีเพียง 12 วัน • มีปริมาณส�ำรองน�้ำมันส�ำเร็จรูป 19 วัน • มีปริมาณส�ำรองน�้ำมันเพื่อเตรียมการกลั่นอีก 11 วัน • ปริมาณน�้ำมันที่ได้สั่งซื้อแล้วและอยู่ระหว่างการขนส่งทางเรืออีก 8.5 ล้านบาร์เรล ซึ่งสามารถใช้ได้ 13 วัน o ขั้นตอนที่ 2 บริหารส�ำรองน�้ำมันไว้ใช้ 64 วัน คิดเป็นปริมาณน�้ำมันดิบ 38.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดย • โรงกลั่นน�้ำมันจะเพิ่มปริมาณน�้ำมันจ�ำนวน 1.4 ล้านบาร์เรล เพื่อเตรียมการกลั่นอีก 2 วัน และ • ชะลอการซ่อมแซมถังเก็บน�้ำมันตามระยะเวลาที่ก�ำหนดออกไปก่อน ซึ่งจะท�ำให้สามารถเก็บน�้ำมันได้ เพิ่มอีก 7 วัน o ขั้นตอนที่ 3 กรณีเหตุฉุกเฉิน • โรงกลั่นน�้ำมันจะปรับสัดส่วนการจัดหาน�้ำมันดิบตามสัญญาระยะยาวกับจัดหาจากตลาดจรจากอัตราส่วน 50 : 50 เป็นอัตราส่วน 75 : 25 เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน • จัดหาน�้ำมันดิบจากผู้ส่งออกรายอื่น อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ • จัดหาเรือขนส่งน�้ำมันของ ปตท.ที่มีอยู่ 2 ล�ำ ซึ่งสามารถเก็บส�ำรองปริมาณน�้ำมันในเรือ (Floating Storage) ได้ล�ำละ 2 ล้านบาร์เรล ท�ำให้มีปริมาณส�ำรองน�้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 6 วัน มาตรการประหยัดพลังงาน กระทรวงพลังงานก�ำลังอยู่ในช่วงศึกษารายละเอียดและการหารือกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง • ประสานกรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ อาทิ การจ�ำกัด ความเร็วของผู้ขับขี่ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตามที่กฎหมายก�ำหนด ซึ่งจะสามารถลดความสิ้นเปลืองพลังงานได้ถึงร้อยละ 30 และช่วยยืดเวลาการใช้น�้ำมันส�ำรองที่มีอยู่ได้ • ห้ามโรงกลั่นและผู้ค้าน�้ำมันในไทยส่งออกน�้ำมันในช่วงเกิดวิกฤต • ปรับสัดส่วนองค์ประกอบน�้ำมันดีเซลให้มีส่วนผสมของไบโอดีเซลหรือเอทานอลมากขึ้น เพื่อลดการใช้น�้ำมัน • สนับสนุนให้มีการซื้อขายน�้ำมันกับประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น ➤ มาตรการระยะยาว
นอกจากมาตรการระยะสั้นดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางส�ำหรับการบริหารจัดการวิกฤตราคาน�้ำมันในอนาคต ภาครัฐ มีบทบาทส�ำคัญในการมุ่งเน้นให้ลดการพึ่งพาน�้ำมันจากต่างประเทศ และกระจายความเสี่ยงของภาคเศรษฐกิจ ซึ่งจะท�ำให้ เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ โดยมาตรการที่ควรพิจารณาด�ำเนินการ ได้แก่ 1. ปรับโครงสร้างการบริโภคพลังงาน • เร่งให้มีการด�ำเนินการมาตรการประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามแผนอนุรักษ์ พลังงานของกระทรวงพลังงาน และท�ำให้เกิดผลเป็นรูปธรรม • รัฐบาลควรพิจารณาทยอยปรับราคาน�้ำมันขายปลีกภายในประเทศให้สอดคล้องกับราคาน�้ำมันดิบโลก เพื่อสะท้อนโครงสร้างราคาน�้ำมันที่แท้จริง อันจะก่อให้เกิดพฤติกรรมการใช้น�้ำมันอย่างประหยัดในกลุ่มประชาชน • ภาครัฐควรสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน เช่น ไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล์ ฯลฯ ซึง่ เป็นพลังงานทางเลือกทีเ่ กิดจากการผสมระหว่างเอทานอลทีไ่ ด้จากอ้อยหรือมันส�ำปะหลังกับน�ำ้ มันเบนซิน โดยใช้มาตรการ ทางภาษีเป็นแรงจูงใจ อาทิ การปรับเพิม่ ภาษีสรรพสามิตน�ำ้ มันดีเซล เบนซิน ขณะเดียวกันก็ปรับลดภาษีสรรพสามิตน�ำ้ มันไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์
54
2. ปรับโครงสร้างการผลิต • ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ก๊าซชีวภาพ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยลดการน�ำเข้าน�้ำมันดิบฟอสซิล 3. พัฒนาระบบโลจิสติกส์ (Logistics) ของประเทศ โดยเฉพาะพัฒนาระบบการขนส่งทางราง เนื่องจากเป็นระบบ ที่มีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน (Energy Saving) เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendly) มีความปลอดภัยสูง (Safety) และเชื่อมโยงถึงพื้นที่เศรษฐกิจและแหล่งชุมชนส�ำคัญได้ (Accessibility) เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ของภาคอุตสาหกรรมและลดต้นทุนระบบขนส่ง โดยปัจจุบันต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศเฉลี่ย 10 ปี (ปี 2545-2554) อยู่ที่ ร้อยละ 17.8 ของ GDP ซึ่งอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
55
บทวิเคราะห์ เรื่อง ทางออกของวิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซ : บทเรียนจากฮังการี 1
บทสรุปผู้บริหาร ฮังการีเป็นกรณีศกึ ษาทีน่ า่ สนใจในการหาทางออกวิกฤตหนีส้ าธารณะของกรีซ เนือ่ งจากฮังการี ได้เผชิญวิกฤตหนี้สาธารณะเช่นเดียวกับกรีซ ❍❍ เศรษฐกิจของฮังการีและกรีซมีประเด็นคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ ในสหภาพยุโรป สถานะทางการคลังที่ย�่ำแย่ และความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ❍❍ แม้ฮง ั การีเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเช่นเดียวกับกรีซ แต่ฮงั การีไม่ได้ใช้เงินสกุลยูโรโดยใช้สกุลเงิน ตนเอง ท�ำให้มีระดับการเปิดประเทศและดุลการค้า ส่วนประกอบอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และ ความเคร่งครัดในการรักษาวินัยทางการคลังที่แตกต่างกัน ❍❍ บทเรียนจากฮังการีอาจใช้เป็นตัวอย่างในการพิจารณาถึงแนวทางการแก้ปญ ั หาหนีส้ าธารณะ ของกรีซได้ เช่น ➤ หากกรีซยังคงอยู่ในยูโรโซนต่อไป การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศผู้ใช้เงินสกุล ยูโรร่วมกันในระดับสูงจะลดความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นผลดีต่อเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจของกรีซ ➤ หากกรี ซ กลั บ มาใช้ ส กุ ล เงิ น ของตั ว เองอาจท� ำ ให้ ค ่ า เงิ น ของกรี ซ อ่ อ นค่ า ลงเมื่ อ เที ย บ สกุลเงินยูโร จึงไม่เกิดผลดีตอ่ ประเทศผูน้ ำ� เข้าสุทธิเช่นกรีซ แต่การใช้สกุลเงินตนเองจะส่งผลดีดา้ นความมีอสิ ระ ในการด�ำเนินนโยบายทางการเงินให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ❍❍ ไม่ ว ่ า กรณี ใ ดก็ แ ล้ ว แต่ กรี ซ จ� ำ เป็ น ต้ อ งสร้ า งความแข็ ง แกร่ ง ด้ า นอุ ป สงค์ ภ ายในประเทศ ซึง่ เป็นปัจจัยส�ำคัญในการขับเคลือ่ นทางเศรษฐกิจเพือ่ ให้เศรษฐกิจของกรีซฟืน้ ตัว และรักษาวินยั ทางการคลังอย่าง เคร่งครัดเพื่อลดการขาดดุลทางการคลัง ควบคู่ไปกับการรับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เพื่อบรรเทาระดับความรุนแรงของวิกฤตหนี้สาธารณะในระยะสั้น ❍❍
1. บทน�ำ วิกฤตหนีส้ าธารณะในยุโรปเป็นปัญหาเรื้อรังทีส่ ง่ ผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดยกรีซเป็นหนึง่ ในกลุม่ ประเทศ GIIPS (Greece Ireland Italy Portugal Spain) ที่ปัญหาหนี้สาธารณะรุนแรงเข้าขั้นวิกฤต ที่ผ่านมากรีซมีการขอความช่วยเหลือจาก สถาบันการเงินระหว่างประเทศ ทั้งด้านการขอพักและยืดระยะเวลาการช�ำระหนี้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ ยังไม่ได้บรรเทาลงแต่อย่างใด จนมีนักเศรษฐศาสตร์บางส่วนเห็นว่า กรีซควรออกจากการเป็นประเทศในยูโรโซน กล่าวคือ เลิกใช้เงินสกุลยูโรแล้วกลับมาใช้เงินสกุลดรักมา (Drachma) เดิมของตัวเอง อาจช่วยแก้ไขปัญหาหนีส้ าธารณะของกรีซได้ดกี ว่า ฮังการีเป็นประเทศหนึ่งในสมาชิกสหภาพยุโรปที่เผชิญกับวิกฤตหนี้สาธารณะ และมีเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับสหภาพยุโรป ในระดับสูงเช่นเดียวกับกรีซ แตกต่างกันตรงทีฮ่ งั การีไม่ได้เข้าร่วมในยูโรโซนจึงใช้เงินสกุลฟอรินท์ของตนเอง ท�ำให้การใช้ประโยชน์ จากการปรับเปลีย่ นค่าเงินและการด�ำเนินนโยบายทางการเงินของฮังการีนนั้ มีความยืดหยุน่ สูงกว่ากรีซ ซึง่ อาจน�ำไปสูก่ ารแก้ปญ ั หา หนี้สาธารณะของฮังการีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของฮังการี ผูเ้ ขียน : พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ เศรษฐกรปฏิบตั กิ าร และภัทราพร คุม้ สะอาด เศรษฐกรตรี ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ขอขอบคุณ นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ และ ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ ส�ำหรับ ค�ำปรึกษาและข้อแนะน�ำ
1
56
จึงอาจน�ำมาเป็นกรณีศึกษาเพื่อหาหนทางออกที่ดีที่สุดส�ำหรับกรีซ จากข้อพิพาทที่ว่ากรีซควรจะออกจากยูโรโซนและหันมาใช้ สกุลเงินของตัวเองหรือไม่ ? บทความนี้จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเสนอแนะแนวทางเพื่อประกอบการพิจารณาทางออกของปัญหาหนี้สาธารณะ ของกรีซที่มีภาระผูกกันอย่างกว้างขวาง โดยมีเนื้อหาหลัก 3 ส่วน คือ การเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง กรีซและฮังการี เพื่อส�ำรวจว่าฮังการีมีความคล้ายคลึงและแตกต่างจากกรีซอย่างไร ซึ่งอาจเป็นกุญแจส�ำคัญของการแก้ปัญหา วิกฤตของกรีซในกรณีที่กรีซออกจากยูโรโซน ส่วนต่อมาจะวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาสถานการณ์ของฮังการี เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ และส่วนสุดท้ายคือ การสรุปแนวทางออกปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ โดยพิจารณากรณีศึกษาจากฮังการี
2. ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างกรีซและฮังการี ในส่วนนี้จะศึกษาความเหมือนและความแตกต่างกันระหว่างลักษณะทางเศรษฐกิจของกรีซและฮังการี ในด้าน ความเหมือนนั้น การศึกษานี้จะพิจารณา 3 ประเด็นที่ส�ำคัญ คือ 1) ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 2) สถานะ ทางการคลัง และ 3) การเข้ารับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ในด้านความแตกต่างนัน้ มีประเด็นทีน่ า่ สนใจ 3 ประเด็น คือ 1) ระดับการเปิดประเทศและดุลการค้า 2) อัตราแลกเปลี่ยน และ 3) ความเคร่งครัดในการรักษาวินัยทางการคลัง โดยผลการศึกษานี้จะเอื้อประโยชน์ต่อการวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของทั้งสองประเทศในส่วนต่อไป
ความเหมือนประการที่ 1 : ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของฮังการีและกรีซ ท�ำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศผูกติดกับ สภาพเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ๆ ซึ่งมีประเทศเยอรมนีเป็นคู่ค้าส�ำคัญอันดับแรก โดยเศรษฐกิจ ทั้งสองประเทศเชื่อมโยงกับประเทศในสหภาพยุโรป 3 ด้านที่ส�ำคัญ คือ 1) ด้านการค้าระหว่างประเทศ ผ่านช่องทางการส่งออก และน�ำเข้าสินค้า 2) ด้านบริการ ผ่านช่องทางการท่องเที่ยวและการบริการสาธารณูปโภค และ 3) ด้านการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ด้านการค้าระหว่างประเทศ ทั้งสองประเทศส่งออกและน�ำเข้าจาก ประเทศในสหภาพยุ โ รปในสั ด ส่ ว น ที่สูง จากตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออก ของฮังการีและกรีซไปยังสหภาพยุโรป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 88.0 และร้อยละ 63.6 ของมู ล ค่ า การส่ ง ออกรวม ตามล�ำดับ และการน�ำเข้าจากสหภาพ ยุ โ รปมี สั ด ส่ ว นร้ อ ยละ 67.0 และ ร้ อ ยละ 51.7 ของมู ล ค่ า การน� ำ เข้ า รวม ตามล�ำดับ (สัดส่วนปี 2553) ใน รายละเอี ย ดพบว่ า ทั้ ง สองประเทศ ส่ ง ออกไปยั ง เยอรมนี ม ากที่ สุ ด คิ ด เป็นร้อยละ 28.7 และร้อยละ 11.2 ของมูลค่าการส่งออกรวม ตามล�ำดับ เช่ น เดี ย วกั บ การน� ำ เข้ า จากประเทศ เยอรมนี คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 23.9 และ ร้อยละ 10.6 ของมูลค่าการน�ำเข้ารวม ตามล�ำดับ
ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกและการน�ำเข้าของฮังการีและกรีซ ปี 2553 สัดส่วนการส่งออก (ร้อยละของ GDP) ยุโรป (ร้อยละของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) - เยอรมนี - อิตาลี เอเชีย สหรัฐอเมริกา สัดส่วนการน�ำเข้า (ร้อยละของ GDP) ยุโรป (ร้อยละของมูลค่าการน�ำเข้าทั้งหมด) - เยอรมนี - อิตาลี เอเชีย สหรัฐอเมริกา
ฮังการี 98.0 88.0 28.7 (1st) 6.3 (2nd) 7.4 2.3 91.0 67.0 23.9 (1st) 4.3 (3rd) 18.4 1.8
กรีซ 22.0 63.6 11.2 (1st) 10.9 (2nd) 1.8 3.9 30.0 51.7 10.6 (1st) 9.9 (2nd) 5.7 2.1
ที่มา : CEIC
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
57
ด้านการบริการ เป็นปัจจัยส�ำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของฮังการีและกรีซ ด้วยสัดส่วนต่อ GDP ในระดับสูง ที่ร้อยละ 54.83 และร้อยละ 68.88 ตามล�ำดับ (สัดส่วนปี 2553) โดยในภาคบริการของฮังการีนั้น ในด้านบริการสาธารณูปโภค มีสัดส่วนที่มากสุดถึงร้อยละ 27.88 ของภาคบริการรวม ซึ่งเอื้อประโยชน์และสร้างแรงจูงใจในการมาลงทุนของชาวต่างชาติ ขณะที่กรีซเน้นการบริการการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของประเทศคิดเป็นร้อยละ 15 ของ GDP ทั้งยังส่งผลให้เกิดการจ้างงาน ในประเทศมากถึง 1/5 ของก�ำลังแรงงานรวม ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) การเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของ ทัง้ สองประเทศช่วยเพิม่ ความดึงดูดด้านการลงทุนจากประเทศอืน่ เนือ่ งจากมีตลาดสหภาพยุโรปรองรับสินค้าทีผ่ ลิตในสองประเทศ นี้ ดึงดูดใจให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนโดยเฉพาะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเยอรมนีเข้ามามีบทบาท ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นอันดับแรกเมือ่ เทียบกับประเทศในสหภาพยุโรปด้วยกัน โดยทัง้ ฮังการีและกรีซมีสดั ส่วน การลงทุนจากเยอรมนีที่ร้อยละ 68.17 และร้อยละ 38.2 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศรวม2 ตามล�ำดับ จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นพบว่า ทั้งฮังการีและกรีซต่างเป็นประเทศที่มีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรปด้วยกันในสัดส่วนทีม่ าก แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจทีม่ กี ารพึง่ พาเศรษฐกิจจากภายนอกประเทศ และมีสัดส่วนของการพึ่งพาที่คล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก
ความเหมือนประการที่ 2 : สถานะทางการคลัง
แม้ว่าภาครัฐบาลของทั้งสองประเทศจะมีขนาดไม่ใหญ่นักคิดเป็นร้อยละ 10.1 ของ GDP ของฮังการี (ปี 2554) และ ร้อยละ 18.7 ของ GDP ของกรีซ (ปี 2553) หรืออาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลไม่ใช่ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยตรง แต่ ภาครัฐบาลมีส่วนผลักดันการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนโดยอ้อม กล่าวคือ ถ้ารัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐร้อยละ 1 จะสามารถเพิม่ การใช้จา่ ยด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนร้อยละ 1.67 และร้อยละ 1.16 ตามล�ำดับ ซึง่ ภาคการบริโภค และการลงทุนภายในประเทศมีความส�ำคัญคิดเป็นร้อยละ 80 และร้อยละ 91.2 ของ GDP แต่ละประเทศ ตามล�ำดับ นับเป็น ส่วนส�ำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ สถานะทางการคลังของทัง้ สองประเทศอยูใ่ นสถานการณ์ทนี่ า่ เป็นห่วง ซึง่ ตามข้อตกลงวินยั ทางการคลังของสหภาพยุโรป ภายใต้ Stability and Growth Pact (Lisbon Treaty) ก�ำหนดให้ประเทศสมาชิกและประเทศที่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ยูโรโซนมีสัดส่วนการขาดดุลการคลังไม่เกินร้อยละ 3.0 ของ GDP แต่กรีซและฮังการีมีการขาดดุลการคลังเกินกว่าที่ข้อตกลง ก�ำหนด กล่าวคือ โดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2538–2554 มีการขาดดุลอยู่ที่ร้อยละ 6.7 และร้อยละ 4.7 ของ GDP ตามล�ำดับ แม้บางปีฮังการีจะขาดดุลการคลังต�่ำกว่าข้อก�ำหนดก็ตาม (ภาพที่ 1 ก.) นอกจากนี้ ข้อตกลงดังกล่าวยังก�ำหนดให้ระดับ หนีส้ าธารณะต้องไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP แต่กลับพบว่าระดับหนีส้ าธารณะของกรีซและฮังการีตามภาพที่ 1 ข. อยูใ่ นระดับสูง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มจากร้อยละ 98.7 และร้อยละ 60.9 ของ GDP ในปี 2540 มาอยู่ที่ร้อยละ 165.6 และร้อยละ 76.1 ของ GDP ในปี 2554 ตามล�ำดับ เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ข้อตกลงวินัยการคลังของสหภาพยุโรปพบว่า ระดับหนี้สาธารณะของ กรีซสูงกว่าข้อตกลงตัง้ แต่ปี 2533 ขณะทีฮ่ งั การีเพิง่ จะมีระดับหนีส้ าธารณะสูงกว่าเกณฑ์ในปี 2548 อีกทัง้ ระดับหนีส้ าธารณะของ ทั้งสองประเทศก่อนเกิดวิกฤตการเงินโลกนั้นเมื่อเทียบกับ GDP พบว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่ เนื่องจากรัฐบาลสามารถกู้เงิน หรือออกพันธบัตรรัฐบาลใหม่และน�ำเงินมาใช้หนี้เก่าได้อย่างต่อเนื่อง (Refinance) จากการที่ถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ ในระดับน่าลงทุน นอกจากนี้ รัฐบาลฮังการียงั มีมาตรการลดปริมาณการขาดดุลการคลังเป็นระยะอีกด้วย วิกฤตการเงินโลกท�ำให้ รัฐบาลขาดสภาพคล่องจากรายได้ที่ลดลง ความสามารถในการช�ำระหนี้จึงลดลง เป็นผลให้ระดับหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นในที่สุด อย่างไรก็ตาม ระดับสถานะทางการคลังของฮังการีดีกว่ากรีซ เนื่องจากระดับการขาดดุลทางการคลังและระดับหนี้สาธารณะ ที่ต�่ำกว่า
ข้อมูลคิดเป็นสัดส่วนในปี 2552
2
58
ภาพที่ 1 สถานะทางการคลังของกรีซและฮังการี ก. ดุลการคลังภาครัฐ ตั้งแต่ปี 2538–2554 (ร้อยละของ GDP)
หมายเหตุ : ตัวเลขในปี 2554 เป็นตัวเลขคาดการณ์โดย IMF ณ เดือนกันยายน 2554 ที่มา : IMF
ข.ระดับหนี้สาธารณะ ตั้งแต่ปี 2540–2554 (ร้อยละของ GDP)
หมายเหตุ : ตัวเลขในปี 2554 เป็นตัวเลขคาดการณ์โดย IMF ณ เดือนกันยายน 2554 ที่มา : IMF
ความเสี่ยงต่อการเป็นประเทศล้มละลายเนื่องจากสถานะทางการคลังที่ย�่ำแย่ของทั้งสองประเทศ เป็นผลมาจาก การด�ำเนินนโยบายขาดดุลทางการคลังติดต่อกันทีม่ รี ะยะเวลาเกินทศวรรษ (ภาพที่ 1 ก.) โดยเฉพาะอย่างยิง่ ช่วงวิกฤตการเงินโลก เพือ่ กระตุน้ เศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ อาทิ มาตรการเพิม่ ค่าแรงขัน้ ต�ำ่ ของแรงงาน และ การเพิม่ เงินบ�ำนาญแก่ประชาชน โดยรัฐบาลของฮังการีดำ� เนินนโยบายขาดดุลด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาลขายให้แก่ประชาชน ภายในประเทศเป็นหลักคิดเป็นร้อยละ 12.4 ของ GDP โดยอีกร้อยละ 4.9 เป็นการออกพันธบัตรและกู้เงินจากต่างประเทศ (ร้อยละ 4.3 และร้อยละ 0.6 ของ GDP ตามล�ำดับ) (ปี 2554) ในกรณีของกรีซนั้น รัฐบาลใช้วิธีการออกพันธบัตรรัฐบาล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลทั้งหมดซึ่งคิดเป็นร้อยละ 16.5 ของ GDP (ปี 2553)
ความเหมือนประการที่ 3 : การเข้ารับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการเงินโลกในปลายปี 2551 ทั้งสองประเทศมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจระดับใกล้เคียงกัน เฉลี่ยร้อยละ 4.12 และร้อยละ 4.29 ต่อปี ตามล�ำดับ นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังประสบกับวิกฤตหนี้สาธารณะและ จ�ำต้องขอรับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน ฮังการีเข้าสู่วิกฤตหนี้สาธารณะก่อนกรีซ โดยฮังการีเกิดวิกฤตช่วงปลายปี 2551 เกิดจาก 2 ปัจจัยส�ำคัญ คือ 1) ระดับ หนีส้ าธารณะของฮังการีอยูใ่ นระดับสูงเมือ่ เทียบกับกลุม่ ประเทศยุโรปตะวันออกด้วยกัน ตามภาพที่ 2 และ 2) ระดับความน่าเชือ่ ถือ ของพันธบัตรรัฐบาลโดยในปี 2551 ฮังการีถูกปรับลดจากระดับความน่าเชื่อถือโดย S&P จากระดับ BBB แต่มีแนวโน้มเป็นลบ มาอยูท่ รี่ ะดับ BBB- (ระดับต�ำ่ ทีส่ ดุ ของระดับทีน่ า่ ลงทุน) ขณะทีใ่ นช่วงปีเดียวกัน ระดับความน่าเชือ่ ถือของกรีซยังคงอยูใ่ นเกณฑ์ดี ที่ระดับ A- แนวโน้มคงที่ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
59
ภาพที่ 2 ระดับหนี้สาธารณะของประเทศในยุโรปตะวันออก (ร้อยละของ GDP)
หมายเหตุ : ตัวเลขในปี 2554 เป็นตัวเลขคาดการณ์โดย IMF ณ เดือนกันยายน 2554 ที่มา : IMF
เนือ่ งจากวิกฤตหนีส้ าธารณะของฮังการีเกิดขึน้ ก่อน ท�ำให้ฮงั การีขอเข้ารับการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขการลดการขาดดุลทางการคลังอย่างเคร่งครัดก่อนกรีซ โดยฮังการีขอเข้ารับเงินกู้ช่วยเหลือครั้งแรกเดือนตุลาคม 2551 เป็นจ�ำนวน 2 หมื่นล้านยูโรจากสหภาพยุโรป (European Union : EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ขณะที่กรีซขอรับเงินช่วยเหลือจาก EU IMF และธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ทั้งหมด 2 ครั้ง คิดเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 2.1 แสนล้านยูโร โดยครั้งแรกอยู่ในเดือนพฤษภาคม 2553 จ�ำนวน 1.1 แสนล้านยูโร เป็นระยะเวลา 3 ปี (ปัจจุบันคงเหลือยอดที่ยังเบิกจ่ายไม่ครบอีก 3.4 หมื่นล้านยูโร) โดยมีเงื่อนไขให้กรีซควบคุมการขาดดุล ทางการคลังอย่างเข้มงวด ด้วยการเพิ่มภาษีและลดขนาดรายจ่ายภาครัฐลง และกรีซต้องเร่งขายสินทรัพย์ภาครัฐและแปรรูป รัฐวิสาหกิจเพือ่ น�ำเงินมาใช้หนี้ และครัง้ ทีส่ องในเดือนมีนาคม 2555 กรีซได้รบั เงินช่วยเหลือเพิม่ อีก 1.3 แสนล้านยูโร โดยแบ่งจ่าย เป็นงวดตลอดระยะเวลา 4 ปี งวดละ 2.8 หมืน่ ล้านยูโร และยังมีมาตรการช่วยเหลือด้วยการแลกเปลีย่ นพันธบัตรทีจ่ ะครบก�ำหนด เป็นพันธบัตรฉบับใหม่ที่ยืดเวลาการช�ำระหนี้ออกไปอีก 3 ปีด้วย อย่างไรก็ตาม ระดับความรุนแรงของสถานการณ์หนี้สาธารณะ ของฮังการีนั้นน้อยกว่าดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ท�ำให้การลดการขาดดุลทางการคลังเพื่อกลับเข้าสู่เกณฑ์ที่ก�ำหนดง่ายกว่ากรีซ หลังจากฮังการีและกรีซเข้ารับความช่วยเหลือและด�ำเนินมาตรการลดการขาดดุลทางการคลัง ท�ำให้เศรษฐกิจของ ทั้งสองประเทศหดตัวประมาณ 1 ปีเช่นเดียวกัน และพบว่าเศรษฐกิจของฮังการีกลับขยายตัวอีกครั้งในไตรมาสแรกของปี 2553 ขณะที่เศรษฐกิจของกรีซก็ส่งสัญญาณการฟื้นตัวจากการหดตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ตามภาพที่ 3 ภาพที่ 3 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2544-ไตรมาสที่ 3 ปี 2554 (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC
60
ความแตกต่างประการที่ 1 : ระดับการเปิดประเทศและดุลการค้า
เมื่อพิจารณาเศรษฐกิจของกรีซและฮังการีพบว่า มีประเด็นความแตกต่างที่น่าสนใจทางด้านระดับการเปิดประเทศ (Degree of Openness) และด้านดุลการค้า ซึ่งอธิบายได้ดังนี้ ด้านระดับการเปิดประเทศ เศรษฐกิจกรีซมีทิศทางการด�ำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการค้าระหว่าง ประเทศที่ค่อนข้างปิดโดยมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 52 ของ GDP สอดคล้องกับข้อมูลทางด้านส่วนประกอบของอัตราการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ (Contribution to Growth) ทีพ่ บว่าการบริโภคภาคเอกชนเป็นหัวใจส�ำคัญของการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของประเทศ (ภาพที่ 4) โดยท�ำให้เศรษฐกิจโตเฉลี่ยร้อยละ 3.21 ของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แตกต่างจากฮังการีเป็นอย่างมาก เนื่องจากระดับการเปิดประเทศของฮังการีนั้นมีสัดส่วนที่มากถึงร้อยละ 190 ของ GDP แสดงให้เห็นการด�ำเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจของฮังการีด้านภาคการค้าระหว่างประเทศเป็นสิ่งส�ำคัญที่มีความเชื่อมโยงต่อเศรษฐกิจของฮังการี โดย ภาคการส่งออกมี Contribution ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจฮังการีถึงร้อยละ 2.1 (ภาพที่ 5) ด้านดุลการค้าพบว่ากรีซนั้นเป็นประเทศผู้น�ำเข้าสุทธิ (Net Importer) จากดุลการค้ากรีซที่ขาดดุลมากถึง -1,827.24 ล้านยูโร (สัดส่วนในปี 2553) โดยกรีซเป็นผู้น�ำเข้าสินค้าน�้ำมันและเครื่องจักรกลสุทธิ แตกต่างจากฮังการีซึ่งเป็นประเทศ ผู้ส่งออกสุทธิ (Net Exporter) จากดุลการค้าเกินดุลที่ 459.6 ล้านยูโร (สัดส่วนในปี 2553) โดยฮังการีเป็นผู้ส่งออกเครื่องยนต์ และเครื่องจักรกลสุทธิ ภาพที่ 4 แหล่งที่มาการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกรีซปี 2544 และปี 2549
ที่มา : CEIC
ภาพที่ 5 แหล่งที่มาการขยายตัวทางเศรษฐกิจของฮังการีปี 2553-2554
ที่มา : CEIC
ความแตกต่างประการที่ 2 : อัตราแลกเปลี่ยน ความแตกต่างในภาคการเงินของกรีซและฮังการีมีสาเหตุส�ำคัญมาจากการที่กรีซเป็นสมาชิกของยูโรโซน ใช้สกุลเงินยูโร ขณะที่ฮังการีใช้สกุลเงินฟอรินท์ของตนเอง จึงส่งผลให้ค่าเงินสะท้อนระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาที่แท้จริงได้ และยังมีความยืดหยุ่นในการใช้นโยบายการเงินอีกด้วย
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
61
อัตราแลกเปลี่ยนและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคา การใช้สกุลเงินฟอรินท์ (Forint) ซึ่งเป็นสกุลเงินตนเองของฮังการี ท�ำให้อัตราแลกเปลี่ยนสามารถสะท้อนสภาพเศรษฐกิจ ของฮังการีได้อย่างชัดเจน และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาเมื่อฮังการีเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำจาก วิกฤตการเงินโลก ท�ำให้ค่าเงินของฟอรินท์อ่อนค่าลง สะท้อนจากอัตราแลกเปลี่ยนและดัชนีค่าเงินเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า (Nominal Effective Exchange Rate : NEER) ตามภาพที่ 6 ซึ่งท�ำให้ในมุมมองของผู้น�ำเข้าสินค้าจากฮังการีเห็นว่าราคาสินค้า ถูกลง เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจฮังการีจากการเป็นประเทศผู้ส่งออกสุทธิ ภาพที่ 6 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ค่าเงิน Forint (HUF) และ NEER 2543=100
ที่มา : CEIC และ Bank of International Settlements (BIS)
ขณะที่กรณีของกรีซ3 เนื่องจากการใช้สกุลเงินยูโร ค่า NEER จึงสะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคา ได้ดีกว่าการใช้อัตราแลกเปลี่ยน จากภาพที่ 7 เมื่อเปรียบเทียบ NEER ของกรีซกับประเทศในยูโรโซน (ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และสหภาพยุโรปโดยรวม) พบว่า NEER ของกรีซผันผวนน้อยกว่าของประเทศอืน่ เนือ่ งจากความเชือ่ มโยงกับประเทศนอกยูโรโซน หรือประเทศที่ไม่ได้ใช้เงินสกุลยูโรอยู่ในระดับต�่ำ ดังนั้น หากว่ากรีซกลับมาใช้สกุลเงินของตนเองแล้ว จะส่งผลให้ค่าเงินของกรีซ ผันผวนมากขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร นี่อาจเป็นเหตุให้ค่าเงินของกรีซอ่อนค่าลงมากจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากปัญหา หนี้สาธารณะในประเทศ ซึ่งส่งผลเสียแก่ประเทศที่น�ำเข้าสุทธิอย่างกรีซแน่นอน ภาพที่ 7 NEER 2543=100 ของประเทศในสหภาพยุโรปบางประเทศ
ที่มา : Bank of International Settlements (BIS) กรีซเริ่มใช้สกุลเงินยูโรในการค้าขายทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2544
3
62
อัตราแลกเปลี่ยนและความยืดหยุ่นในการใช้นโยบายการเงิน การใช้สกุลเงินร่วมกับประเทศในยูโรโซนของกรีซ ท�ำให้กรีซถูกจ�ำกัดขอบเขตการใช้นโยบายการเงินและอัตราแลกเปลีย่ น ตามเงือ่ นไขของประเทศสมาชิกยูโรโซน ขณะทีฮ่ งั การีสามารถด�ำเนินนโยบายการเงินตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศตน ได้อย่างเต็มที่ เงื่อนไขของยูโรโซนก�ำหนดให้การด�ำเนินนโยบายการเงินภายในประเทศจะต้องค�ำนึงถึงเสถียรภาพของระบบ เศรษฐกิจยูโรโซนเป็นหลัก ดังนั้น กรีซจึงไม่สามารถลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้สถานการณ์ที่ยูโรโซน มีปัญหาด้านเงินเฟ้อ เป็นต้น
ความแตกต่างประการที่ 3 : ความเคร่งครัดในการรักษาวินัยทางการคลัง
แม้ว่ากรีซและฮังการีต่างมีสถานะทางการคลังย�่ำแย่เหมือนกันตามที่ได้กล่าวมานั้น เมื่อพิจารณาความเคร่งครัด ในการรักษาวินยั ทางการคลังของทัง้ สองแล้วกลับพบว่ามีความแตกต่างกัน จากมาตรการลดการขาดดุลทางการคลังของฮังการี มีประสิทธิภาพ ขณะที่มาตรการของกรีซไม่บรรลุเป้าหมาย ฮังการีออกมาตรการลดการขาดดุลทางการคลังที่ชัดเจน 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2549 ด้วยความต้องการเข้าเป็น สมาชิกของยูโรโซน จ�ำเป็นต้องลดการขาดดุลทางการคลังตามระดับที่ก�ำหนด รัฐบาลฮังการีน�ำโดยนายกรัฐมนตรี Gyurcsany จึงออกมาตรการเพิ่มอัตราภาษี ลดการให้เงินสนับสนุน และลดขนาดรายจ่ายภาครัฐบาลลง ท�ำให้ปริมาณการขาดดุลการคลัง ลดลงจากขาดดุลร้อยละ 9.3 ของ GDP ในปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ในปี 2550 ขณะที่ปี 2553 รัฐบาลออกมาตรการปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจตามแผน Széll Kálmán ซึ่งมีเป้าหมายลดการขาดดุลการคลังด้วยการลดรายจ่ายที่ไม่จ�ำเป็น โดยเฉพาะ ระบบบ�ำนาญ ขณะทีเ่ ศรษฐกิจและอุปสงค์ภายในประเทศยังคงขยายตัวอยูไ่ ด้ ด้วยการส่งเสริมการจ้างงานและสร้างความเชือ่ มัน่ แก่นกั ลงทุน ท�ำให้การขาดดุลทางการคลังลดลงจากร้อยละ -4.3 ในปี 2553 และรัฐบาลสามารถด�ำเนินนโยบายเกินดุลทางการคลัง ที่ร้อยละ 2.0 ของ GDP ได้ในปี 2554 และหนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 80.2 ของ GDP ในปี 2553 เป็นร้อยละ 76.1 ในปี 2554 กรีซท�ำข้อตกลงกับคณะกรรมาธิการยุโรปด�ำเนินมาตรการควบคุมการขาดดุลการคลังที่เกินกว่าก�ำหนด (Excessive Deficit Procedure : EDP) จะลดการขาดดุลทางการคลังลงเหลือร้อยละ -3.7 ในปี 2552 และต�่ำกว่าร้อยละ -3.0 ในปี 2553 ด้วยเหตุนที้ ำ� ให้รฐั บาลออกมาตรการรัดเข็มขัดในช่วงต้นปี 2552 ด้วยการออกแผนระยะสัน้ คือ ไม่เพิม่ เงินเดือนและเงินบ�ำนาญ ข้าราชการ และเก็บภาษีพเิ ศษผูม้ รี ายได้สงู ครัง้ เดียว (One-off levy on high-income earners) ทัง้ นีย้ งั คงวางแผนปรับโครงสร้าง ด้านการคลังอีกในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในปี 2552 นัน้ กรีซต้องประสบปัญหาจากวิกฤตการเงินโลกและไม่มมี าตรการเพิม่ รายได้ ภาครัฐบาลทีช่ ดั เจน ท�ำให้ในทีส่ ดุ กรีซไม่สามารถลดการขาดดุลทางการคลังตามข้อตกลงและเงือ่ นไขเวลาทีก่ ำ� หนดได้ จากภาพที่ 1 พบว่าปี 2552-2553 กรีซขาดดุลการคลังทีร่ อ้ ยละ -15.5 และร้อยละ -10.4 ของ GDP ตามล�ำดับ ขณะทีห่ นีส้ าธารณะเพิม่ ขึน้ เป็น ร้อยละ 142.8 และร้อยละ 165.6 ของ GDP ตามล�ำดับ
3. บทเรียนของกรีซจากประสบการณ์ของฮังการี ในส่วนนี้ประสบการณ์ของฮังการีระหว่างเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะจะถูกน�ำมาเป็นบทเรียนของกรีซ โดยให้ฮังการีเป็น กรณีตัวอย่างของประเทศที่อยู่ภายนอกยูโรโซนซึ่งใช้สกุลเงินของตนเอง และน�ำมาพิจารณาในเชิงเปรียบเทียบว่า หากกรีซ ต้องเผชิญกับสถานการณ์เดียวกับทีฮ่ งั การีประสบในขณะนัน้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของกรีซอย่างไร โดยมีบทเรียนทีน่ า่ สนใจ อยู่ 3 ด้าน ดังนี้ หากกรีซออกจากยูโรโซน การเป็นประเทศน�ำเข้าสุทธิของกรีซมาตั้งแต่ก่อนเข้าเป็นสมาชิกยูโรโซนอาจ ไม่เอือ้ ประโยชน์ตอ่ การส่งออกขณะทีค่ า่ เงินอ่อนค่า เนือ่ งจากจะยิง่ ท�ำให้ดลุ การค้าขาดดุลมากขึน้ อีก จากประสบการณ์ ของฮังการีซึ่งเป็นประเทศส่งออกสุทธิ ขณะที่เศรษฐกิจฮังการีตกต�่ำจากปัญหาหนี้สาธารณะ ภาคการส่งออกมีบทบาทส�ำคัญ ต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในรูปแบบ J-Curve เนื่องจากค่าเงินฟอรินท์อ่อนค่ารุนแรง ท�ำให้ราคาสินค้าส่งออกของฮังการี ในสกุลเงินต่างประเทศถูกลงในระยะสั้น จึงซื้อสินค้าจากฮังการีมากขึ้น เมื่อพิจารณากรีซในกรณีเดียวกับกรีซซึ่งเป็นประเทศ น�ำเข้าสุทธิในกรณีที่กรีซใช้เงินสกุลตนเองพบว่า ค่าเงินที่อ่อนค่าแม้ว่าจะส่งผลดีต่อการส่งออก แต่เมื่อพิจารณาในมุมของ ดุลการค้าจะพบว่า การน�ำเข้าสินค้าที่มีราคาแพงขึ้นจากค่าเงินที่อ่อนค่าจะท�ำให้การขาดดุลการค้ามากขึ้น และส่งผลเชิงลบ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
63
ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกรีซ ดังนั้น การที่กรีซใช้เงินสกุลตนเองขณะที่ประสบปัญหาหนี้สาธารณะจะท�ำให้เศรษฐกิจ ของกรีซย�่ำแย่ลงอีก อย่างไรก็ตาม หากกรีซปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการส่งออก-น�ำเข้าเพื่อให้สอดคล้องกับค่าเงิน กรีซก็สามารถ ใช้ประโยชน์จากค่าเงินอ่อนค่าเช่นเดียวกับฮังการีได้ เนื่องจากกรีซมีการบริโภคภายในประเทศเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงไม่มีผลกระทบ อย่างมีนยั ส�ำคัญต่อการอยูใ่ นหรือนอกยูโรโซน เศรษฐกิจฮังการีเน้นภาคการส่งออกเป็นหลัก ค่าเงินทีอ่ อ่ นค่าตามสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจจะช่วยให้เศรษฐกิจของฮังการีฟื้นตัว ขณะที่เศรษฐกิจกรีซเน้นด้านการบริโภคภายในประเทศ ค่าเงินที่อ่อนค่าลง จะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของกรีซ เนื่องจากค่าเงินที่อ่อนค่าลงส่งผลให้ราคาสินค้าน�ำเข้าถูกลงในระยะสั้น ดังนั้น หากกรีซออกจากยูโรโซนอาจท�ำให้การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากราคาน�ำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น และท�ำให้เศรษฐกิจกรีซ ชะลอตัวลงในระยะสั้น เศรษฐกิจของกรีซอาจฟื้นตัวภายในระยะเวลาอันสั้นภายหลังจากรับความช่วยเหลือจาก IMF และ EU หากว่า กรีซลดการขาดดุลทางการคลังอย่างเคร่งครัดควบคู่ไปด้วย ภายหลังจากที่ฮังการีขอรับเงินช่วยเหลือในกลางปี 2551 ฮังการีรักษาวินัยทางการคลังตามเงื่อนไขของ IMF และ EU อย่างเคร่งครัดด้วยการออกมาตรการลดการขาดดุลทางการคลัง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แม้ว่าในระยะปีแรกจะท�ำให้เศรษฐกิจหดตัวมากยิ่งขึ้น แต่ในระยะต่อมาเศรษฐกิจของฮังการี ก็ค่อย ๆ ฟื้นตัวและกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในช่วงกลางปี 2553 ทั้งยังท�ำให้ดุลการคลังกลับมาเกินดุลในปี 2554 อีกด้วย ดังนั้น การเข้ารับความช่วยเหลือจึงถือเป็นโอกาสที่ดีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หากว่ากรีซจะน�ำโอกาสนี้มาใช้ควบคู่กับ การแก้ปัญหาหนี้สาธารณะที่ตรงจุด ด้วยการลดการขาดดุลทางการคลัง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ อยู่ในระดับที่รุนแรงกว่าของฮังการี ดังนั้น การแก้ปัญหาในกรณีของกรีซอาจใช้ระยะเวลายาวนานกว่า
4. สรุป จากประสบการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะของฮังการีซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจฮังการีกลับมาขยายตัวอยู่ในระดับที่เทียบเท่ากับ อัตราการขยายตัวก่อนเกิดวิกฤต ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของกรีซใน 2 กรณี ดังนี้ 1) หากกรีซยังคงใช้เงินสกุลยูโร การเชื่อมโยงเศรษฐกิจกรีซและประเทศผู้ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันในระดับสูงนั้น สามารถลดความเสี่ยงด้านการค้าและบริการ จากต่างประเทศจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งส่งผลดีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของกรีซ 2) หากกรีซกลับมา ใช้สกุลเงินตนเอง อาจท�ำให้ค่าเงินของกรีซอ่อนค่าลงเมื่อเทียบสกุลเงินยูโร จึงไม่เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจกรีซซึ่งเป็นประเทศ ผูน้ ำ� เข้าสุทธิ เพราะท�ำให้ดลุ การค้าของกรีซขาดดุลมากขึน้ ยิง่ เป็นการตอกย�้ำให้เศรษฐกิจกรีซเข้าขัน้ วิกฤตมากขึน้ อย่างไรก็ตาม หากว่ากรีซปรับเปลีย่ นโครงสร้างด้านการต่างประเทศเพือ่ ให้สอดคล้องต่อการเปลีย่ นแปลงของค่าเงินดรักมา จะเอือ้ ประโยชน์ตอ่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจของกรีซในระยะยาว นอกจากนี้ การใช้สกุลเงินตนเองท�ำให้รัฐบาลกรีซสามารถด�ำเนินนโยบายทางการเงิน ได้อย่างอิสระ เพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของกรีซในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม กรีซมีภาคการบริโภคภายในประเทศเป็นปัจจัยส�ำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ไม่ว่ากรีซ จะใช้สกุลเงินยูโรหรือสกุลเงินตนเอง กรีซจ�ำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งด้านอุปสงค์ภายในประเทศเป็นส�ำคัญเพือ่ ให้เศรษฐกิจ ของกรีซฟื้นตัว นอกจากนี้ การรักษาวินัยทางการคลังที่เคร่งครัดของกรีซด้วยการออกมาตรการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพือ่ ลดการขาดดุลทางการคลังจะสามารถแก้ไขปัญหาหนีส้ าธารณะได้อย่างตรงจุด ขณะทีใ่ นระยะสัน้ การได้รบั ความช่วยเหลือ จากสถาบันการเงินระหว่างประเทศช่วยบรรเทาระดับความรุนแรงของวิกฤตหนี้สาธารณะ และท�ำให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัว ได้อีกครั้งเช่นเดียวกับกรณีของฮังการี
64
บทวิเคราะห์ เรื่อง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงพลังงาน : ไทยจะก้าวต่อไปเช่นไร
1
บทสรุปผู้บริหาร จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. 2555-2559 ได้ระบุว่าแนวโน้มปัญหา ด้านพลังงานจะเป็นสิ่งที่ประเทศไทยก�ำลังเผชิญ ซึ่งมิใช่เป็นเพียงปัญหาระดับประเทศเท่านั้น แต่เป็นปัญหา ระดับนานาชาติ ดังที่ปรากฏในการประชุม WEF หรือ World Economic Forum เมื่อวันที่ 25-29 มกราคม 2555 ทีไ่ ด้เล็งเห็นและให้ความสนใจปัญหาด้านพลังงานทีอ่ าจน�ำไปสูค่ วามล้มเหลวของสังคมและเศรษฐกิจได้หากขาด การวางแผนที่ดีพอ ❍❍ สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้พลังงานในประเทศไทยที่มีความต้องการการใช้พลังงานเพื่อ พัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ประเภทของแหล่งที่มาของพลังงานส่วนใหญ่ คือ น�้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ต้องพึ่งพาการน�ำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมูลค่าการใช้พลังงาน (Energy Usage Value) สูงถึงร้อยละ 18 ของ GDP โดยประมาณ ซึง่ สะท้อนว่าความผันผวนของราคาพลังงานจะน�ำมาซึง่ ความเสีย่ งทางเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ ทั้งภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอย เป็นต้น ❍❍ ในการประชุม WEF ได้มก ี ารน�ำเสนอแนวคิดทีจ่ ะต้องมีการออกแบบสถาปัตยกรรมพลังงานใหม่ โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างความสมดุลด้านพลังงานในสามด้าน (Energy Triangles) ได้แก่ 1) การเจริญเติบโต และพัฒนาทางเศรษฐกิจ 2) การสร้างความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม และ 3) การเข้าถึงแหล่งพลังงาน ❍❍ ซึง ่ แนวคิดดังกล่าวสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้กบั ประเทศไทยภายใต้หลักการพัฒนาเทคโนโลยี โครงสร้างพืน้ ฐาน การปฏิรปู โครงสร้างตลาด การปรับปรุงกระบวนการผลิตและบริโภค และการบริหารเศรษฐกิจ ส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งพลังงานใหม่ ๆ โดยเฉพาะพลังงานทดแทนที่สามารถ น�ำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Renewable Energy) เป็นต้น ❍❍
บทน�ำ เมื่อพิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559) จะพบว่าหนึ่งในเจ็ด2 แนวโน้มหลักที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญภายในสองทศวรรษข้างหน้า คือ “แนวโน้มปัญหาด้านพลังงาน” ซึ่งจะมีผลต่อ ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของโลก โดยแนวโน้มปัญหาดังกล่าวสอดคล้องกับความกังวลในระดับนานาชาติของผูท้ ไี่ ด้มกี ารเข้าร่วม การประชุม WEF3 หรือ World Economic Forum ครัง้ ล่าสุด เมือ่ วันที่ 25-29 มกราคม 2555 ณ เมือง Davos Switzerland ทีเ่ ล็งเห็น และให้ความสนใจด้านพลังงาน โดยมีแนวคิดว่าในอนาคตความต้องการพลังงานเพื่อตอบสนองความเจริญทางเศรษฐกิจและ การพัฒนาที่ก้าวกระโดดของโลก อาจน�ำไปสู่ความล้มเหลวของสังคมและเศรษฐกิจได้หากขาดการวางแผนด้านโครงสร้าง ผูเ้ ขียน : นายธรรมฤทธิ์ คุณหิรญ ั เศรษฐกรช�ำนาญการ น.ส.อรอุมา หนูชว่ ย เศรษฐกรโท และนายจักรพันธ์ รัตนกูล เศรษฐกรฝึกงาน ส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการ เศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นางณัฐยา อัชฌากรลักษณ์ และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ 2 แนวโน้มทีต่ อ้ งเผชิญเจ็ดประการ ได้แก่ (1) การรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมภิ าค (2) ศูนย์กลางอ�ำนาจเศรษฐกิจจะมาอยูท่ ปี่ ระเทศแถบเอเชีย (3) การเงินโลกผันผวน มากขึ้น (4) ประชากรสูงอายุของโลกเพิ่มอย่างรวดเร็ว (5) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งต้องเตรียมความพร้อม (6) ภาวะโลกร้อน และ (7) ปัญหาด้านพลังงาน ดังกล่าว 3 WEF จัดขึ้นทุกปี ณ Davos Switzerland วัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการเสนอแนะทิศทางในการก�ำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศ โดยผู้เข้าร่วมจะเป็นผู้น�ำภาคการเมือง ธุรกิจ และภาคประชาสังคม โดยลักษณะของสมาชิกที่มีสิทธิ์ร่วมใน Forum นี้ ได้แก่ ก) บริษัทชั้นน�ำของโลก 1,000 แห่ง ที่เป็นสมาชิกใน Forum นี้ แบ่งเป็น (1) Strategic Partners คือบริษัทระดับโลกที่เป็น World Conglomerate (2) Industry Partners เป็นบริษัทที่มีผลการจัดอันดับ โดยรวมในระดับ 20 ล�ำดับแรกของแต่ละประเทศ และ (3) Foundation Members เป็นบริษัทที่มีรายได้มากกว่า 5 พันล้าน USD ต่อปี ข) Global Growth Company (GGC member) ที่มีรายได้ระหว่าง 1 ร้อยล้าน ถึง 5 พันล้าน USD ต่อปี และมี Growth Rate ประมาณ 15% ค) Technology Pioneers ผู้บุกเบิก เทคโนโลยีนวัตกรรมที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจและสังคมในระยะยาว ง) Other Community ได้แก่ ผู้น�ำรุ่นใหม่ (Yong Global Leader) ผู้น�ำหญิง เป็นต้น รายละเอียด ดูได้ใน http://www.weforum.org/reports/global-risks-2012-seventh-edition 1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
65
ทางพลังงานที่ดีพอ ทั้งนี้ ใน WEF ครั้งล่าสุดดังกล่าวได้วิเคราะห์ถึงภาวะความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่ส�ำคัญ 4 ประการ 4 โดยได้ระบุไว้ใน Insight Report of Global Risk 2012 ( 7th Edition) โดยหนึ่งในความเสี่ยงดังกล่าวคือ ความผันผวนที่รุนแรง ด้านราคาพลังงาน (Extreme volatility in energy) ซึง่ มีปจั จัยหลักมาจากความผันผวนทีเ่ กิดจากระดับราคาน�ำ้ มันดิบในตลาดโลก จากสถานการณ์ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศมหาอ�ำนาจและกลุ่มประเทศผู้ผลิตน�้ำมัน ดังเช่นกรณีพิพาท ในปัจจุบันระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่านที่อาจส่งผลให้ราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกท�ำสถิติสูงสุดใหม่ (New High) ได้
เหลียวมองสถานการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทย จากข้อมูลการใช้พลังงานของไทยพบว่า ประเทศไทยมีปริมาณการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น (Energy Usage) เพิ่มขึ้นทุกปี โดยสะท้อนได้จากข้อมูลของส�ำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ที่ระบุว่าในปี 2552 มีปริมาณ การใช้พลังงานพาณิชย์ขั้นต้นอยู่ที่ 1,604 พันล้านบาร์เรลเทียบเท่าน�้ำมันดิบต่อวัน (ดูตารางการแปลงหน่วยประกอบ) ตารางการแปลงหน่วย Oil Natural Gas -> Coal (Lignite) ->
6.84 1.00 50709.00 1.00 2.80
Barrel = 1 TOE (Ton crude Oil Equipment) = 42 GJ Cu.ft = 828.26 kJ = 0.00082826 GJ Cu.ft = 1 TOE Ton = 15 GJ Ton = 1 TOE
พิจารณาความหมาย ktoe ดังนี้ k คือ กิโล เท่ากับ หลักหนึ่งพัน (1,000) และ t คือ ตัน เท่ากับ หลักหนึ่งพัน (1,000) เช่นกัน ดังนั้น กิโลตัน เท่ากับ 1,000 x 1,000 ซึ่งเทียบเท่ากับ 1 ล้าน (1,000,000) ส่วน O คือ Oil และ e คือ equivalents ดังนั้น ktoe ก็คือ พันตันลิตรน�้ำมันดิบ (ทั้งนี้โดยทั่วไปจะคุ้นเคยกับค�ำว่าบาร์เรล โดย 1 บาร์เรลเทียบเท่า 42 US แกลลอน และ 1 US แกลลอน เทียบเท่า 3.785 ลิตร ดังนั้น 1 บาร์เรล เท่ากับ 42 x 3.785 = 158.97 ลิตร โดยความถ่วงจ�ำเพาะ (ถพ.) ของน�้ำมันดิบเท่ากับ 0.86 kg/ลิตร ทั้งนี้ ส�ำหรับประเทศไทย หน่วยงานด้านพลังงานจะใช้หน่วยวัดรวม เป็นต้น เทียบเท่าน�้ำมันดิบ (ton of oil equivalent : toe) ซึง่ หมายถึง พลังงานทีไ่ ด้จากการเผาไหม้ของน�ำ้ มันดิบ 1 ตัน หรือประมาณ 42 จิกะจูล (GJ) โดยส�ำนักงานพลังงานสากล (International Energy Association : IEA) และสหประชาชาติ (UN) ก�ำหนดให้ 1 ตันน�้ำมันดิบ = 41.868 GJ หรือ = 11.630 MWh หรือ =10 G cal
ซึ่งปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าวก็มีปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มาอยู่ที่ 1,856 พันล้านบาร์เรลเทียบเท่าน�้ำมันดิบต่อวัน ในปี 2554 หรือโดยเฉลี่ยแล้วในช่วงปี 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2552-2554) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.5 ต่อปี (โดยเฉพาะช่วงปี 25522553 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.0 ต่อปี)5 ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) โดยเฉลี่ย (ที่อยู่ในระดับประมาณ ร้อยละ 3.2) ทั้งนี้ หากพิจารณาในส่วนของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (Final Energy Consumption) 6 ก็จะพบว่าเพิ่มขึ้น โดยต่อเนื่องเช่นกัน จากวันละ 1.27 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน�้ำมันดิบ ในปี 2549 เป็นวันละ 1.51 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน�้ำมันดิบ ในปี 2554 หรือเพิ่มขึน้ ในอัตราเฉลีย่ ร้อยละ 3.5 ต่อปี (ภาพที่ 1 และภาพที่ 2) โดยเมือ่ พิจารณาสัดส่วนการใช้พลังงานขัน้ สุดท้าย ในปี 2554 พบว่า ถูกน�ำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการขนส่งเป็นส่วนใหญ่ โดยมีสัดส่วนการใช้พลังงานสูงถึงร้อยละ 37.0 และร้อยละ 35.5 ตามล�ำดับ ตามมาด้วยภาคที่อยู่อาศัยและธุรกิจการค้าที่ร้อยละ 15.1 และร้อยละ 7.2 ตามล�ำดับ และเพื่อภาคการเกษตรกรรมร้อยละ 5.2 (ภาพประกอบที่ 1 ถึงภาพประกอบที่ 4) สี่ประเด็นความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจที่ถูกระบุไว้ใน Insight Report of Global Risk 2012 (7th Edition) ได้แก่ 1) ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ (Severe income disparity) 2) ความล้มเหลวด้านการเงิน (Major systemic financial failure) 3) ผลกระทบด้านลบต่อการใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ (Negative consequences of regulation) และ 4) ความผันผวนที่รุนแรงด้านราคาพลังงานและสินค้าเกษตร (Extreme volatility in energy and agriculture prices) 5 หรือเมื่อเปรียบเทียบเป็นมูลค่าการใช้ (Energy Usage Value) เทียบกับ GDP จะพบว่าเพิ่มสูงขึ้นจากประมาณร้อยละ 17 ของ GDP เพิ่มมาเป็นร้อยละ 18 ของ GDP ในช่วงเวลา 3 ปีดังกล่าว 6 การใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (Final Energy Consumption) หมายถึง พลังงานขั้นสุดท้ายที่ผู้บริโภคใช้ โดยไม่รวมถึงเชื้อเพลิงที่น�ำไปใช้ในการผลิตพลังงานทุติยภูมิ เช่น เราใช้ไฟฟ้า แต่ไฟฟ้าผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ก็จะคิดเฉพาะปริมาณไฟฟ้าทีใ่ ช้เท่านัน้ ไม่รวมก๊าซธรรมชาติมาคิดซ�ำ ้ หรือถ้าน�ำน�ำ้ มันส�ำเร็จรูปมาเติมรถ ก็ถอื ว่า น�้ำมันส�ำเร็จรูปเป็นพลังงานสุดท้าย ฯลฯ ส�ำหรับ Energy Usage คือ การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น ซึ่งจะรวมพลังงานขั้นปฐมภูมิ เพื่อผลิตพลังงานทุติยภูมิ เข้าไปด้วย 4
66
ภาพที่ 1 สัดส่วนการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของแต่ละสาขาในภาคอุปทาน (เมื่อปี 2554)
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
ดังนัน้ ถึงเวลาทีป่ ระเทศไทยต้องพิจารณาถึงสถานะการใช้พลังงานของประเทศในฐานะทีไ่ ทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน World Economic Forum on East Asia ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2555 ซึ่งจะเป็นโอกาสของไทยที่จะได้ใช้เวที ดังกล่าวแสดงจุดยืนในการสานต่อเจตนารมณ์ WEF ณ Davos เมื่อต้นปี ยังจะเป็นโอกาสในการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและ แสดงบทบาทในการเป็นประเทศที่มีความพร้อมและมุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และสร้างความเชื่อมั่น แก่นักลงทุนให้มีมากขึ้นหลังจากอุทกภัยเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งได้บั่นทอนความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างประเทศไปค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากปริมาณความต้องการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป (Nonrenewable Energy) ของประเทศไทย ดังแสดง ในตารางที่ 1 พบว่า ความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นไปตามทิศทางของเศรษฐกิจโลก โดยได้มกี ารประเมินว่าแหล่งพลังงานส�ำคัญ ๆ ของโลกจะหมดไปในระยะเวลาไม่นาน (ตารางที่ 1) ขณะเดียวกัน การใช้พลังงาน ทดแทน (Renewable Energy) อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวภาพและชีวมวล7 ในส่วนของประเทศไทยและ ประเทศอืน่ ๆ ยังคงมีบทบาทน้อยหรือไม่ได้รบั การพัฒนาเท่าทีค่ วร ซึง่ หากเป็นเช่นนีต้ อ่ ไปอาจน�ำไปสูค่ วามล้มเหลวในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมโลกได้จากวิกฤตการณ์ขาดแคลนพลังงานในอนาคต ตารางที่ 1 แสดงปริมาณความต้องการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไปเปรียบเทียบปี 2549 และปี 2554 ความต้องการใช้/วัน ปี 2549 ปี 2554 น�้ำมันปิโตรเลียม 748.9 พันบาร์เรล 932.1 พันบาร์เรล ก๊าซธรรมชาติ 2,705 ล้านลูกบาศก์ฟุต 3,612 ล้านลูกบาศก์ฟุต ลิกไนต์ 33.8 ล้านตัน/ปี 35.7 ล้านตัน/ปี ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้า 4.5 ล้านตัน/ปี 8.8 ล้านตัน/ปี
อัตราการเพิ่มขึ้น (โดยเฉลี่ย/ปี) ระยะเวลา ของความต้องการใช้ ที่จะหมดไปจากโลก (ร้อยละ) 4.89 6.71 1.12 19.11
ภายใน 42 ปี ภายใน 60 ปี ภายใน 122 ปี
ที่มา : กระทรวงพลังงาน และ www.engineer-thai.com
พลังงานชีวมวล ได้แก่ ฟืน ถ่าน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ และก๊าซชีวภาพ (Including Fuel Wood, Charcoal, Paddy Husk, Baggasse, Agricultural Waste, Gabage and Biogas)
7
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
67
ภาพที่ 2 อัตราการใช้พลังงานประเภทต่าง ๆ ของไทยพบว่า โดยส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากน�้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีแนวโน้มการน�ำเข้า (ทั้งในรูปมูลค่าและปริมาณ) เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี
ที่มา : ข้อมูลสถิติพลังงาน http://www2.dede.go.th/energystat/
ภาพที่ 3 เปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) กับอัตราการเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงาน (Energy Consumption Growth) พบว่า โดยส่วนใหญ่พลังงานถูกใช้ในภาคการขนส่งและภาคการผลิตอุตสาหกรรม
ที่มา : ข้อมูลสถิติพลังงาน http://www2.dede.go.th/energystat/
68
ภาพที่ 4 เมื่อพิจารณาในกลุ่มอาเซียน ประเทศไทยเป็นประเทศที่น�ำเข้าน�้ำมันดิบสุทธิสูง เป็นอันดับสองรองจากสิงคโปร์ และเป็นเพียงหนึ่งในสองประเทศที่น�ำเข้าก๊าซธรรมชาติ
ที่มา : ปตท.
ภาพที่ 5 แสดงอัตราการน�ำเข้าสินค้าประเภทต่าง ๆ พบว่า สินค้าเชื้อเพลิงมีอัตราการขยายตัวที่มากที่สุด (ร้อยละ 35.2 ต่อปี) ในปี 2554 และมีสัดส่วน (Share) ที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 1.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 19.1 ของทุกหมวดสินค้าน�ำเข้าในปีดังกล่าว
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมโดย สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
69
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาสถานการณ์การน�ำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงของประเทศไทยพบว่า ตลอดปี 2554 มีมูลค่าน�ำเข้ารวม 43.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวถึงร้อยละ 35.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีกอ่ น ซึง่ เป็นการขยายตัวในระดับทีส่ งู ทีส่ ดุ ในทุกหมวดผลิตภัณฑ์น�ำเข้า ตามมาด้วยวัตถุดิบ สินค้าเพื่อการอุปโภค-บริโภค และสินค้าทุน ที่ขยายตัวร้อยละ 26.1 ร้อยละ 21.5 และร้อยละ 20 ต่อปี ตามล�ำดับ (ภาพที่ 5) ขณะเดียวกันสินค้าเชื้อเพลิงมีสัดส่วนต่อมูลค่าการน� ำเข้าสินค้าทั้งหมด เพิ่มสูงที่สุดในปี 2554 โดยเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 19.1 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการน�ำเข้าน�้ำมันเชื้อเพลิงสุทธิสูงเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ (และ เป็นเพียง 1 ใน 2 ประเทศทีน่ ำ� เข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพือ่ นบ้าน (ภาพที่ 6) ทัง้ นี้ นับจากช่วงปี 2543 เป็นต้นมา ประเทศไทย มีการน�ำเข้าพลังงานประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่น�้ำมันดิบในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นด้วยโดยเฉพาะการน�ำเข้าก๊าซธรรมชาติ) สะท้อนว่า ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดทีต่ อ้ งพึง่ พิงการน�ำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก8 ประเทศไทยจึงไม่สามารถ หลีกเลี่ยงผลกระทบจากภาวะความผันผวนของราคาน�้ำมันในตลาดโลก (ภาพที่ 6) และมักจะได้รับผลกระทบสืบเนื่องตามมา เสมอ ๆ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มักจะเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์วิกฤตการณ์ราคา น�้ำมันในตลาดโลกในแต่ละครั้ง ภาพที่ 6 แสดงราคาน�้ำมันดิบดูไบในช่วงปี 2553 ถึงช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 สะท้อนการเพิ่มขึ้นของราคาโดยเฉลี่ยในแต่ละปี
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ที่มาและผลกระทบของปัจจัยด้านราคาพลังงาน หากพิจารณาโครงสร้างสัดส่วนการใช้พลังงานของประเทศไทยจะพบว่า โดยเฉลีย่ แล้วในแต่ละปีพลังงานรวมขัน้ สุดท้าย ทีใ่ ช้เพือ่ การบริโภคในประเทศ (Final Energy Consumption) นัน้ เป็นพลังงานทีไ่ ด้มาจากการน�ำเข้า (Net Commercial Primary Energy Import) ไม่ว่าจะเป็นน�้ำมันส�ำเร็จรูป ถ่านหิน ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ และอื่น ๆ คิดเป็นสัดส่วนสูงมากกว่าร้อยละ 85 ของ พลังงานขัน้ สุดท้ายทีใ่ ช้เพือ่ การบริโภคทัง้ หมดในประเทศ (ภาพที่ 6) ซึง่ เป็นดัชนีชวี้ า่ ประเทศไทยมีความจ�ำเป็นต้องพึง่ พาการน�ำเข้า พลังงานขั้นต้นเพื่อใช้ในการบริโภคในประเทศเป็นอย่างมาก และการแปรรูปพลังงานขั้นต้น (Primary Energy) ไปเป็นพลังงาน ขั้นสุดท้าย (Final Energy) ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร นอกจากนี้ ในขณะที่ประเทศไทยได้มีการน�ำเข้าพลังงานในสัดส่วนที่ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับ GDP ประกอบกับราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงและมีความผันผวนมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากสถิตขิ อ้ มูลของราคาน�ำ้ มันดิบดูไบทีไ่ ด้ปรับตัวสูงขึน้ ทุกปี จนกระทัง่ แตะระดับ 110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล นับจาก ต้นปี 2555 เป็นต้นมา และอาจมีผลกระทบต่อเนือ่ งมาทีแ่ รงกดดันต่อก�ำลังซือ้ ของประชาชนและอัตราเงินเฟ้อในทีส่ ดุ (ภาพที่ 7) ขณะเดียวกัน ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้คำ� นวณประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศ ซึง่ พิจารณาจากค่าความยืดหยุน่ การใช้พลังงาน มีค่า 1.4 ต่อ 1 นั่นคือประเทศไทยต้องเพิ่มการใช้พลังงานร้อยละ 1.4 ต่อการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศร้อยละ 1 ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีค่าสัดส่วนนี้น้อยกว่า 1 : 1
8
70
ตารางที่ 2 แสดงราคาน�้ำมันดิบดูไบและอัตราเงินเฟ้อ (ทั่วไปและพื้นฐาน) นับจากปี 2553 เป็นต้นมา
ปี 2553 ปี 2554 ม.ค.54 ก.พ.54 มี.ค.54 เม.ย.54 พ.ค.54 มิ.ย.54 ก.ค.54 ส.ค.54 ก.ย.54 ต.ค.54 พ.ย.54 ธ.ค.54 ม.ค.55 ก.พ.55 YTD
ราคาน�้ำมันดิบ Dubai (ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล)
78.2 105.6 92.6 99.9 108.5 115.6 108.1 107.2 110.3 104.7 105.2 103.2 106.8 104.6 109.3 116.2 112.7
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%y-o-y) 3.3 3.8 3.0 2.9 3.1 4.0 4.2 4.1 4.1 4.3 4.0 4.2 4.2 3.5 3.4 3.4 3.4 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (%y-o-y) 1.0 2.4 1.3 1.5 1.6 2.1 2.5 2.6 2.6 2.9 2.9 2.9 2.9 2.7 2.8 2.7 2.7 ที่มา : CEIC NESDB รวบรวมโดย สศค.
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากตารางที่ 2 แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปนับจากปลายปี 2554 เป็นต้นมาจะอยู่ในช่วงผ่อนคลายลง ตามทิศทางปรับตัวลงของราคาสินค้าในหมวดอาหาร เครื่องดื่ม เป็นส�ำคัญ จากปัญหาอุทกภัยที่ผ่านมาผ่อนคลายลง แต่ ภาพการทยอยปรับสูงขึ้นของราคาสินค้าผู้บริโภคในลักษณะแบบเดือนต่อเดือน (m-o-m) เริ่มมีสัญญาณให้เห็นนับจากต้นปี 2555 ซึ่งคงต้องยอมรับว่าการทยอยปรับสูงขึ้นของราคาสินค้าผู้บริโภคแบบ m-o-m ในหลาย ๆ รายการมีปัจจัยส�ำคัญมาจาก การเพิม่ ขึน้ ของราคาในกลุม่ พลังงานดังกล่าว ซึง่ หลังจากนีไ้ ปเมือ่ พิจารณาปัจจัยแวดล้อมทัง้ จากปัจจัยภายนอก คือ ราคาน�ำ้ มัน ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากผลกระทบกรณีพิพาทของอิหร่านกับชาติตะวันตกที่อาจยืดเยื้อ และปัจจัยภายใน เช่น การปรับสูงขึ้นของราคาพลังงานในประเทศตามการปรับโครงสร้างราคาของรัฐบาล ทิศทางอุปสงค์ในประเทศหลังเศรษฐกิจ ฟืน้ ตัวจากเหตุการณ์อทุ กภัย นโยบายกระตุน้ การใช้จา่ ยและการลงทุนของภาครัฐในระยะข้างหน้า และโมเมนตัมของการขยายตัว ทางเศรษฐกิจไทยจากปัจจัยฐานต�่ำในปีที่แล้วที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ฯลฯ (ภาพที่ 7) จะเป็นปัจจัยที่เพิ่ม ความเสี่ยงต่อทิศทางเงินเฟ้อต่อไปอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2555 ต่อไป ภาพที่ 7 ปัจจัยเชิงนโยบายที่อาจส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อในช่วงต้นปี 2555 ของประเทศไทย
ที่มา : รวบรวมโดย สศค.
“Energy Triangles” สู่เป้าหมายหลักในการสร้างความสมดุลด้านพลังงานส�ำหรับประเทศไทย จากข้อเท็จจริงตามนัยที่กล่าวข้างต้น ประเด็นด้านพลังงานจึงเป็นสิ่งที่มีความกังวลและได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ส่งผลให้ WEF ได้มีการน�ำเสนอแนวคิดที่จะต้องมีการออกแบบสถาปัตยกรรมด้านพลังงานใหม่ (New Energy Architecture) ทีเ่ หมาะสมส�ำหรับสังคมในอนาคตทีม่ คี วามซับซ้อนมากขึน้ ในขณะทีท่ รัพยากรพลังงานมีจำ� กัด โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้าง ความสมดุลด้านพลังงานใน 3 ด้าน (Energy Triangles) ได้แก่ 1) การเจริญเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจ 2) การสร้างความยัง่ ยืน ด้านสิ่งแวดล้อม และ 3) การเข้าถึงและสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน (ภาพที่ 8)
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
71
ภาพที่ 8 Energy Triangles : ความสมดุลแห่งการพัฒนาด้านพลังงาน 3 ด้าน
ที่มา : reports.weforum.org
ทั้งนี้ การประยุกต์เพื่อสร้างความสมดุลด้านพลังงานใน 3 ด้าน (Energy Triangles) ดังกล่าวมาใช้กับประเทศไทยนั้น ในประเด็นแรกและประเด็นที่สอง คือ การเจริญเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการสร้างความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม ควรอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1) คือกระบวนการผลิตและการบริโภคที่มีประสิทธิภาพและไม่ท�ำลาย สิง่ แวดล้อม อาทิ การผลิตทีใ่ ช้เทคโนโลยีสะอาดและเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม (Clean and Environmental Friendly Technology) การลดของเสียในขั้นตอนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตทั้งโดยการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาคุณภาพ แรงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดความสิ้นเปลืองของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต กากของเสียในกระบวนการผลิต และลดต้นทุน การผลิตต่อหน่วย และประการที่ 2) คือการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างและรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจในระยะยาว ได้แก่ การเอื้ออ�ำนวยต่อการก�ำหนดกลไกภาษีและโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่จ�ำเป็น ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม อาทิ กลไกทางภาษีที่เหมาะสม การควบคุมโดยตรงที่ใช้หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย (Polluter Pays’ Principle หรือ PPP) และกลไกของตลาดจะต้องสามารถสะท้อนถึงต้นทุนการผลิตที่แท้จริง เพื่อให้ผู้ที่ได้รับ ผลประโยชน์จากกระบวนการผลิตและการบริโภคจะเป็นผู้ที่รับภาระต้นทุน เช่น การเรียกเก็บค่าปล่อยมลพิษ และการเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งแวดล้อม การมีกลไกภาษีทางอ้อมที่เหมาะสม เช่น การเก็บภาษีจากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บรรจุ หีบห่อทีม่ ีความยุ่งยากในขั้นตอนของการก�ำจัดของเสีย (Product charge) ตลอดจนรวมไปถึงการสนับสนุนการวิจัยด้าน Clean Technology จากภาครัฐ ฯลฯ ส�ำหรับประเด็นที่สาม การเข้าถึงแหล่งพลังงานและการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานนั้น กระทรวงพลังงานระบุว่า ปัญหาหนึ่งที่กระทบความมั่นคงด้านพลังงานและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย (รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก) นั่นคือ ยังคงมีการยึดติดกับพลังงานจาก Fossil มากเกินไป (อาทิ พลังงานน�้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ) ส�ำหรับ ประเทศไทยนัน้ เมือ่ พิจารณาจากภาพที่ 9 พบว่า มีการใช้พลังงานหมุนเวียนเพียงร้อยละ 15.8 ของพลังงานทีม่ อี ยู่ และใช้พลังงาน เชื้อเพลิงชีวภาพเพียงร้อยละ 0.6 ของพลังงานที่มีอยู่ และใช้พลังงานน�้ำและอื่น ๆ (ที่เป็นพลังงานหมุนเวียน) เพียงร้อยละ 0.9 ของพลังงานที่มีอยู่ (ในช่องที่ 1) และเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด (ช่องที่ 5) ประเทศไทยมีสัดส่วน การใช้พลังงานหมุนเวียนเพียงประมาณร้อยละ 18 (= 0.1/0.53) เท่านั้น ในขณะที่ใช้พลังงานจาก Fossil ในสัดส่วนที่สูงกว่า ร้อยละ 80 ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ได้วิเคราะห์ว่า ประเทศไทยรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในเอเชียแปซิฟิกนั้นเต็มไปด้วยแหล่งพลังงานที่สามารถน�ำมาหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง
72
ร้อยละ 40 ของศักยภาพทางเทคนิคที่จะผลิตพลังงานจากน�้ำได้ทั้งหมดของโลก และร้อยละ 35 ของศักยภาพจะผลิตพลังงาน แสงอาทิตย์และพลังงานความร้อนใต้พิภพ รวมถึงผลิตพลังงานชีวมวลและพลังงานลม9 ซึ่งแท้จริงแล้วนิยามของความมั่นคง ด้านพลังงานไม่ได้เกี่ยวข้องเพียงแค่การลดความเสี่ยงของภูมิภาคต่อการพุ่งสูงขึ้นของราคาพลังงาน แต่จ�ำเป็นที่ต้องให้ ผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงและมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอในราคาเหมาะสมและยั่งยืน รวมทั้งจ�ำเป็นต้องจัดหาแหล่งพลังงาน ใหม่ ๆ ที่มีความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์หรือมีต้นทุนต�่ำ ตลอดจนการส�ำรองแหล่งพลังงานรวมทั้งเร่งพัฒนาเทคโนโลยีและการลงทุน แหล่งพลังงานทดแทน เช่น การผลิตแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล การวิจัยพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ฯลฯ ต่อไป
ภาพที่ 9 โครงสร้างสัดส่วนการใช้พลังงานของประเทศไทย โดยเปรียบเทียบกับพลังงานทั้งหมดที่มีอยู่ = X ktoe (พันตันเมื่อเทียบเท่าน�้ำมันดิบ) ในปี 2553 (ทั้งนี้ สัดส่วนดังกล่าวเป็นสัดส่วนโดยประมาณซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในแต่ละปี)
ที่มา : กระทรวงพลังงาน รวบรวมโดย สศค.
นอกจากนี้ ESCAP ได้มีการคาดการณ์ว่า การเพิ่มประสิทธิภาพของพลังงานโดยใช้พลังงานน้อยลงในการท�ำงานเท่าเดิม ท�ำให้ความต้องการพลังงานของโลก ลดลงถึงร้อยละ 12 ภายในปี ค.ศ. 2030 และประหยัดกว่า 766 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงานใหม่
9
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
73
แนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความสมดุลด้านพลังงาน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านพลังงานของไทย 1) ภาครัฐบาล ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐโดยกระทรวงพลังงานมีแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี โดยมีเป้าหมายหลัก ได้แก่ การลด ความเข้มข้นการใช้พลังงาน (Energy Intensity) และลดสัดส่วนการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (Final Energy) ลงให้เหลือร้อยละ 20 ในปี 2573 ตลอดจนการสร้างความตระหนักของสาธารณชนในการอนุรกั ษ์พลังงาน โดยการใช้มาตรการบังคับด้วยกฎหมายและ มาตรการส่งเสริม พร้อมทั้งสนับสนุนด้วยการจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้พลังงาน o ทั้งนี้ เป้าหมายดังกล่าวนั้นภาครัฐก็ได้เริ่มด�ำเนินการในทางปฏิบัติแล้วในบางส่วน อาทิ การออกเป็นมาตรการ ลดใช้พลังงานภาครัฐ เพื่อให้ทุกหน่วยงานด�ำเนินการด้วยความเข้าใจตรงกันและบรรลุเป้าหมายที่ก�ำหนด ซึ่งการด�ำเนินการ แบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1) มาตรการระยะสั้น การก�ำหนดให้เป็นตัวชี้วัด (Key Performance : KPI) เพื่อเป็นกรอบในการประเมินผล การปฏิบัติราชการต่อไป โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ในการด�ำเนินการตามแผนมาตรการประหยัดพลังงาน โดยให้ ทุกหน่วยงานก�ำหนดเป้าหมายลดการใช้พลังงานลงจากที่เคยใช้เดิมอีกร้อยละ 10 เช่น ก�ำหนดเวลาเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ และปรับอุณหภูมิให้อยู่ที่ 25-26 องศาเซลเซียส รวมถึงตั้งงบประมาณเพื่อการล้างเครื่องปรับอากาศเป็นประจ�ำทุก 6 เดือน การก�ำหนดการใช้ลิฟต์ให้หยุดเฉพาะชั้นคู่หรืออาจจะสลับให้มีการหยุดเฉพาะชั้นคี่ และการรณรงค์ขึ้น-ลงชั้นเดียวให้ใช้ลิฟต์ ฯลฯ และ 2) มาตรการระยะยาว โดยการก�ำหนดให้อาคารของรัฐที่เป็นอาคารควบคุมก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานไม่ให้เกิน “ค่ามาตรฐานการจัดการใช้พลังงาน” ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการอาคารเอกชนที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม o นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทน อาทิ เอทานอล เพื่อลดการน�ำเข้าน�้ำมันจาก ต่างประเทศ และเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าเกษตรและเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรภายในประเทศอีกด้วย โดยที่ผ่านมารัฐบาล ได้ก�ำหนดราคาขายปลีกแก๊สโซฮอล์ให้จูงใจประชาชน โดยปรับลดเงินส่งเข้ากองทุนน�้ำมันของแก๊สโซฮอล์ 95 ลงและปรับเพิ่ม อัตราเงินชดเชยจากกองทุนน�้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน�้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และ E20 o ส�ำหรับในส่วนของกระทรวงการคลังได้มกี ารปรับแนวทางการจัดเก็บภาษีรถยนต์ โดยยึดหลักการประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน โดยน�ำแนวคิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้เป็น ตัววัดในการจัดเก็บภาษี10 เพื่อน�ำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป o นอกจากนี้ ในส่วนที่มีผลในทางปฏิบัติโดยกระทรวงการคลังแล้ว คือ ได้มีการส่งเสริมการใช้ E10 และ E20 ในรถจักรยานยนต์ ส่งเสริมการใช้เอทานอลในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยลดหย่อนภาษีรายได้ให้แก่ผู้ติดตั้ง เป็นต้น ตลอดจนที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามส่งสริมการใช้พลังงานจากชีวมวล โดยส่งเสริมการตั้งโรงไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อผลิตไฟฟ้าจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย กากปาล์ม ฯลฯ และส่งเสริมการใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิง เช่น โรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โรงงานปูนซีเมนต์ โดยสนับสนุนการรวบรวม เศษวัสดุทางการเกษตรมาใช้เพือ่ ทดแทนน�้ำมันเตา ฯลฯ ตลอดจนก�ำหนดให้หน่วยราชการจัดซื้ออุปกรณ์/เครือ่ งใช้ไฟฟ้าทัง้ หมด เป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน และเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงต่อการใช้พลังงาน 2) ภาคเอกชน การเสริมสร้างความสมดุลด้านพลังงานไม่สามารถที่จะกระท�ำโดยหน่วยงานภาครัฐได้เพียงฝ่ายเดียว แต่จ�ำเป็น ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนด้วย ทั้งนี้ ภาครัฐจ�ำเป็นต้องส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการสร้างความสมดุลดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในหลายภาคส่วน อาทิ
โดยได้แบ่งประเภทรถยนต์จากระดับเครื่องยนต์และประเภทของรถยนต์ในการจัดเก็บภาษี เช่น หากเกิน 3,000 ซีซี ก็จะเสียภาษีในอัตราที่สูง และ กรณีที่รถใช้พลังงานทดแทนก็จะได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐบาล เช่น รถยนต์ที่ใช้ E85 จะได้รับการอุดหนุนคันละ 30,000 บาท โดยอัตราการจัดเก็บภาษี จะแบ่งเป็น รถยนต์นั่ง จะวัดที่ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ 200 กรัมต่อกิโลเมตร หากสามารถดูแลให้น้อยกว่าระดับดังกล่าว จะได้รับสิทธิภาษี 5% รถปิกอัพ ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บภาษีต�่ำมากเพียง 3% จะยังคงอัตราไว้เท่าเดิม แต่จะไปเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มากขึ้น และกลุ่มสุดท้ายเป็นรถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ที่จัดเก็บในอัตรา 17% และรถไฟฟ้าจัดเก็บ 10%
10
74
o กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้เชิญภาคเอกชน ผู้ประกอบการที่มีอาคาร และโรงงาน เข้าร่วมโครงการรณรงค์การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร ในรูปแบบ “สัญญาแบบยินยอมพร้อมใจ” หรือ Voluntary Agreement (VA) ซึ่ง พพ.ได้ริเริ่มตั้งแต่ปี 2554 เพื่อกระตุ้นให้เอกชนในภาคส่วนต่าง ๆ มีความตระหนักต่อการลดใช้พลังงานเพื่อเป้าหมาย สร้างความสมดุลด้านพลังงานให้มากขึน้ ตลอดจนเพือ่ สร้างภาพลักษณ์ทดี่ ใี นการประหยัดพลังงานแก่ประชาชน และลดผลกระทบ จากภาวะโลกร้อนในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ มีหลาย ๆ หน่วยงานภาคเอกชนได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว อาทิ ธนาคารกรุงไทย การบินไทย เทสโก้ โลตัส และเครือเซ็นทรัลพัฒนา11 เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถขับเคลื่อนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และขยายผลต่อไปยังสาธารณชนในลักษณะสัญญาประชาคมด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจัง o นอกจากนี้ พพ.ได้เข้าร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TBCSD) เพื่อเชิญผู้ประกอบการภาคเอกชนที่เป็นสมาชิกให้เข้าร่วมเป็นเครือข่าย VA ดังกล่าว โดยแต่ละหน่วยงานที่จะเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องแสดงถึงเจตจ�ำนงและมีกจิ กรรมการอนุรกั ษ์พลังงานภายในอาคารทีเ่ ป็นรูปธรรม และทีส่ ำ� คัญมีมาตรการอนุรกั ษ์พลังงาน มากกว่าที่กฎหมายก�ำหนด ภายใต้แนวคิด “Energy Beyond Standard” พร้อมมีแนวคิดเพื่อขยายเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ พลังงานไปยังกลุ่มพันธมิตรภาคธุรกิจเศรษฐกิจและภาคบริการต่าง ๆ อันจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการอนุรักษ์พลังงานต่อไป ไปยังประชาชนทัว่ ประเทศ เพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อภาคเอกชน ทีน่ อกเหนือจากจะสามารถลดการใช้พลังงาน และลดต้นทุนการผลิตได้แล้ว ยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจอีกด้วย o ปัจจุบันมีหลาย ๆ หน่วยงานที่ได้เข้าร่วมโครงการ VA อาทิ บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่นซิสเทม จ�ำกัด หรือ เทสโก้ โลตัส ได้เปิดตัวสโตร์ที่มีแนวคิดปลอดคาร์บอนแห่งแรกของเอเชีย โดยมีการใช้พลังงานทดแทนภายในอาคารสูงถึง ร้อยละ 59 มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตไฟฟ้าใช้ภายในอาคารได้สูงถึง 46,000 หน่วยต่อเดือน รวมทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ที่ผลิตไฟฟ้าได้ 264 กิโลวัตต์ และแนวทางการอนุรักษ์พลังงานร้อยละ 32 อาทิ ระบบ แสงสว่างด้วยหลอด LED ผนังโปร่งแสงรับแสงธรรมชาติ ระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้า ปรับกระแสไฟฟ้าให้เหมาะสม รวมไปถึง การประยุกต์เพิ่มสัดส่วนการใช้น�้ำยาจากธรรมชาติเพื่อใช้ในระบบท�ำความเย็นกว่าร้อยละ 9
โดยในปี 2555 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานมีเป้าหมายจะขยายให้มีพันธมิตรภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อยจ�ำนวน 20 หน่วยงานขึ้นไป
11
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
75
บทวิเคราะห์ เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ทางออกของวิกฤตหนี้สาธารณะของญี่ปุ่น ?
1
บทสรุปผู้บริหาร ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2555 รัฐบาลญีป่ นุ่ มีแผนทีจ่ ะเสนอร่างกฎหมายเพือ่ เพิม่ อัตราภาษี มูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) ต่อรัฐสภา โดยปรับเพิ่มในลักษณะของขั้นบันได กล่าวคือ ปรับจากร้อยละ 5 ในปัจจุบันเป็นร้อยละ 8 ในเดือนเมษายน 2557 และปรับเพิ่มอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2558 เป็นร้อยละ 10 ❍❍ การปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมาจาก 3 ปัจจัยส�ำคัญ คือ ➤ รัฐบาลมีระดับหนี้สาธารณะในระดับสูง 957 ล้านล้านเยน (ประมาณ 361 ล้านล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 204.2 ของจีดีพี อันเป็นผลมาจากการขาดดุลงบประมาณ ซึ่งสะสมมาตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ ฟองสบูใ่ นภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศญีป่ นุ่ แตก อีกทัง้ ประเทศญีป่ นุ่ ยังมีรายจ่ายภาครัฐทีส่ งู ขึน้ โดยมีสาเหตุ มาจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ➤ อัตรา VAT ของประเทศญี่ปุ่นอยู่ในระดับต�่ำและมีฐานภาษีกว้าง (Broad-based) ➤ การขึ้นอัตรา VAT มีผลในเชิงลบต่อเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นไม่มากนัก ❍❍ นักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศวิเคราะห์ว่า ในการปรับเพิ่มอัตรา VAT ควรเป็นไปตามหลัก 4 S’s กล่าวคือ 1) เร่งปรับเพิ่มอัตรา VAT ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัว (Sooner) 2) ปรับเพิ่มอัตรา VAT เป็นขั้นบันได (Stepwise) 3) คงอัตรา VAT ที่ปรับขึ้นในช่วงระยะหนึ่ง (Sustain) และ 4) ปรับอัตรา VAT ให้เท่ากันในทุกสินค้า (Simple) ❍❍ ทัง ้ นี้ ผูเ้ ขียนเห็นว่า การปรับอัตรา VAT เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอทีจ่ ะลดระดับหนีส้ าธารณะได้ อย่างมีนยั ส�ำคัญ ญีป่ นุ่ จึงควรลดปริมาณการใช้จา่ ยของภาครัฐ โดยเฉพาะรายจ่ายด้านสุขภาพและสวัสดิการสังคม ซึง่ มีปริมาณสูงถึง 28.7 ล้านล้านเยน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 70 ต่อรายได้ภาษีทรี่ ฐั บาลญีป่ นุ่ สามารถเก็บได้ ตลอดปี ❍❍
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา นายโยชิฮิโกะ โนดะ (Yoshihiko Noda) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้ให้สัมภาษณ์กับ สือ่ ต่างประเทศว่า รัฐบาลญีป่ นุ่ มีความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะแก้ไขปัญหาหนีส้ าธารณะของตนด้วยการปฏิรปู การคลังภาครัฐ ทัง้ ในด้านรายได้ และรายจ่ายภาครัฐ ทั้งนี้ นายโยชิฮิโกะมีแผนที่จะเสนอร่างกฎหมายในการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) ต่อรัฐสภา ในปลายเดือนมีนาคม 2555 โดยจะเสนอให้ปรับอัตรา VAT จากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 8 ในเดือนเมษายน 2557 และร้อยละ 10 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 เป็นต้นไป
ท�ำไมต้องปฏิรูประบบภาษี ? ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ระดับหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการด� ำเนินนโยบายขาดดุล ทางการคลังของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2539 ถึงปี 2554 ที่ร้อยละ 6.46 ของจีดีพีต่อปี (ภาพที่ 1 และภาพที่ 2) โดยมีสาเหตุหลักจากการจัดเก็บรายได้ภาครัฐที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ซบเซามาร่วม 2 ทศวรรษ และผลกระทบของสึนามิเมื่อต้นปี 2554 รวมทั้งการที่ภาครัฐมีรายจ่ายผูกพันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรายจ่าย ผู้เขียน : ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร เศรษฐกรช�ำนาญการพิเศษ และนายณัฐวุฒิ บุญฤทธิ์ไชยศรี เศรษฐกรฝึกงาน ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
1
76
ด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ (ภาพที่ 3) จึงเป็นเหตุให้ระดับหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นปี 2554 ระดับหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นอยู่ที่ 957 ล้านล้านเยน (ประมาณ 361 ล้านล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 204.2 ของจีดีพี (ภาพที่ 4) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว (ภาพที่ 5) ภาพที่ 1 การขาดดุลการคลังของประเทศญี่ปุ่น
ที่มา : กระทรวงการคลัง ญี่ปุ่น
ภาพที่ 2 การขาดดุลการคลังต่อ GDP (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC
ภาพที่ 3 สัดส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลญี่ปุ่น ปี 2554
ที่มา : กระทรวงการคลัง ญี่ปุ่น
ภาพที่ 4 หนี้สาธารณะต่อจีดีพี (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
77
ภาพที่ 5 หนี้สาธารณะของประเทศญี่ปุ่นเทียบกับกลุ่มประเทศ OECD
ที่มา : OECD
โดยปกติแล้วระดับหนีส้ าธารณะทีส่ งู จะบัน่ ทอนความเชือ่ มัน่ ของนักลงทุนถึงความสามารถในการช�ำระคืนเงินกูใ้ นอนาคต อันจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมภาครัฐสูงขึ้นเพื่อชดเชยความเชื่อมั่นที่ลดลงดังกล่าว และส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินและ เงินทุนเคลื่อนย้ายได้หากนักลงทุนต่างประเทศถอนเงินลงทุนกลับประเทศของตน กล่าวโดยสรุปคือ ระดับหนี้สาธารณะที่สูง เป็นความเสี่ยงต่อภาครัฐ ทั้งในด้านต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นและความเสี่ยงในการปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ (Refinance Risk) อันเป็นข้อจ�ำกัดในการกู้ยืมเพิ่มเติมโดยภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของญี่ปุ่น ระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต�่ำจากการด�ำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายมาเป็น ระยะเวลายาวนาน ได้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมิได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นมากแม้ว่าระดับหนี้สาธารณะจะเพิ่มสูงขึ้น อย่างมหาศาล นอกจากนี้ ผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นคนญี่ปุ่นเอง ขณะที่นักลงทุนชาวต่างประเทศมีเพียง ส่วนน้อยคิดเป็นร้อยละ 5.7 ของมูลค่าพันธบัตรทัง้ หมด (ภาพที่ 6) ส่งผลให้ความเสีย่ งด้านอัตราแลกเปลีย่ นและเงินทุนเคลือ่ นย้าย ของหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นอยู่ในวงจ�ำกัด ภาพที่ 6 สัดส่วนผู้ถือหนี้สาธารณะ ปี 2554
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศ ญี่ปุ่น
ความไม่วิตกกังวลในปัญหาหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นเนื่องจากระดับดอกเบี้ยที่ต�่ำและสัดส่วนการถือครองส่วนใหญ่ เป็นคนในประเทศดังกล่าว เป็นปัจจัยหนึง่ ทีท่ ำ� ให้ญปี่ นุ่ สามารถก่อหนีใ้ นระดับทีส่ งู และยังคงอันดับความน่าเชือ่ ถือไว้ได้ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่นักลงทุนทั่วโลกต่างก็กังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป ระดับหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นที่สูง
78
เป็นเหตุให้บริษทั จัดอันดับความน่าเชือ่ ถือชัน้ น�ำของโลก อาทิ Standard and Poor’s ได้กล่าวเตือนให้รฐั บาลญีป่ นุ่ ต้องมีมาตรการ ทีช่ ดั เจนและน่าเชือ่ ถือในการบริหารจัดการปัญหาหนีส้ าธารณะทีอ่ ยูใ่ นระดับสูง ขณะเดียวกันก็ได้ปรับลดอันดับความน่าเชือ่ ถือ ของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นจาก AA เป็น AA- Negative Outlook เมื่อต้นปี 2554
ท�ำไมถึงต้องปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ? การลดระดับหนี้สาธารณะรัฐบาลญี่ปุ่นต้องอาศัยการปฏิรูปภาษี ซึ่งสามารถท�ำได้ในหลายรูปแบบจึงเป็นค�ำถาม ที่น่าสนใจว่าเหตุใดรัฐบาลญี่ปุ่นจึงเลือกที่จะปรับเพิ่ม VAT เป็นอย่างแรก ซึ่งในความเห็นของผู้เขียน การปรับอัตรา VAT นั้น เป็นทางเลือกที่เหมาะสมในบริบทของญี่ปุ่น เนื่องจาก 1) VAT เป็นภาษีที่เก็บบนฐานภาษีที่กว้าง (Broad Base) กล่าวคือ การปรับขึ้นอัตรา VAT แม้เพียงเล็กน้อยก็จะส่งผล ต่อรายได้การจัดเก็บทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างมาก หรือในอีกมุมมองหนึง่ ภาระภาษีทเี่ พิม่ ขึน้ จะถูกถัวเฉลีย่ ไปยังผูบ้ ริโภคจ�ำนวนมาก ท�ำให้ ผู้บริโภคแต่ละคนไม่ต้องแบกรับภาระภาษีมากนัก 2) อัตรา VAT ของญี่ปุ่นอยู่ในระดับที่ต�่ำมากเพียงร้อยละ 5 ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตรา VAT ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ในกลุ่ม OECD ที่เฉลี่ยร้อยละ 18 แล้ว แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นยังสามารถปรับเพิ่มอัตรา VAT ได้อีกมาก 3) อัตราภาษีอื่น ๆ ของญี่ปุ่นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ยกตัวอย่างเช่น อัตราภาษีรายได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) ทีส่ งู กว่าร้อยละ 40 ซึง่ เป็นระดับทีส่ งู มากเมือ่ เทียบกับประเทศในกลุม่ OECD ดังนัน้ การปรับเพิม่ อัตราภาษีอนื่ ๆ ทีม่ อี ตั ราสูง อยู่แล้วย่อมเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มอัตรา VAT อาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ภาษีอากรโดยรวมได้
ประสบการณ์การปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มของญี่ปุ่นในปี 2540 อันที่จริงแล้วในอดีตรัฐบาลญี่ปุ่นได้เคยปรับเพิ่ม VAT เพื่อลดการขาดดุลการคลัง โดยปี 2540 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่ม VAT จากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 ส่งผลให้ภาครัฐสามารถจัดเก็บ VAT ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากประมาณ 6 ล้านล้านเยน ในปี 2539 มาอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านล้านเยน ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา (ภาพที่ 7) จึงอาจกล่าวได้ว่าการปรับเพิ่มอัตรา VAT ได้ช่วยลดภาระทางการคลังประมาณปีละ 4 ล้านล้านเยน หรือประมาณร้อยละ 1 ของจีดีพี ทั้งนี้ ในช่วงทศวรรษที่ 20 ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและภัยธรรมชาติหลายครั้ง ทั้งจากวิกฤตการเงิน ในเอเชียในปี 2540 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2551 และสึนามิในปี 2554 ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้จากภาษีอื่น ๆ อาทิ ภาษีรายได้บุคคลธรรมดาและภาษีรายได้นิติบุคคลลดลงมาก ญี่ปุ่นจึงไม่สามารถปรับลดการขาดดุลการคลังได้ตามเป้าหมาย ภาพที่ 7 รายได้ภาษีของรัฐบาลญี่ปุ่น
ที่มา : กรมสรรพากร ญี่ปุ่น
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
79
อย่างไรก็ดี หากเศรษฐกิจของญีป่ นุ่ สามารถขยายตัวได้ใน 1-2 ปีขา้ งหน้า การปรับเพิม่ อัตราภาษีมลู ค่าเพิม่ น่าจะสามารถ ลดภาระทางการคลังของรัฐบาลได้บา้ ง ทัง้ นี้ ประเด็นค�ำถามทีส่ ำ� คัญต่อไปคือ รูปแบบการปรับขึน้ VAT ทีเ่ หมาะสมควรเป็นอย่างไร
ควรปรับขึ้น VAT เท่าไหร่และอย่างไร ? นักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF)2 วิเคราะห์วา่ ในการปรับเพิม่ อัตรา VAT ควรเป็นไปตามหลัก 4 S’s ดังนี้ 1. ควรเร่งปรับเพิม่ อัตรา VAT ในช่วงทีเ่ ศรษฐกิจยังขยายตัว (Sooner) กล่าวคือ การปรับเพิม่ อัตรา VAT ในช่วงทีเ่ ศรษฐกิจ อยูใ่ นขาขึน้ จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไม่มากนัก อีกทัง้ จะเป็นการลดภาระรายจ่ายดอกเบีย้ ของรัฐบาลในช่วง ทีอ่ ตั ราดอกเบีย้ ปรับเพิม่ ขึน้ ตามภาวะเศรษฐกิจ ดังนัน้ ในช่วงทีเ่ ศรษฐกิจโลกก�ำลังฟืน้ ตัว ญีป่ นุ่ จึงควรเร่งปฏิรปู ระบบภาษีของตน เพือ่ ลดภาระทางการคลัง ทัง้ นี้ IMF ประเมินว่าหากญีป่ นุ่ ปรับเพิม่ อัตรา VAT เร็วขึน้ 2 ปี จะส่งผลให้สดั ส่วนหนีส้ าธารณะต่อจีดพี ี ในปี 2573 ลดลงกว่าร้อยละ 10 ของจีดีพี (ภาพที่ 8) 2. ควรปรับเพิม่ อัตรา VAT เป็นขัน้ บันได (Stepwise) เนือ่ งจากการปรับเพิม่ อัตรา VAT ในครัง้ เดียวอาจส่งผลกระทบรุนแรง ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงควรปรับเพิ่มอัตรา VAT เป็นขั้นบันได อีกทั้งการประกาศที่จะปรับระดับภาษีล่วงหน้า จะส่งผลให้ผบู้ ริโภคเร่งการจับจ่ายใช้สอยก่อนทีจ่ ะมีการปรับอัตรา VAT จริง อันเป็นการกระตุน้ เศรษฐกิจและเพิม่ รายได้การจัดเก็บ ภาษีด้วย ภาพที่ 8 แบบจ�ำลองปริมาณหนี้สาธารณะเปรียบเทียบกับเวลาที่เริ่มขึ้นเพิ่มภาษี
ที่มา : IMF Staff Paper (2011)
3. ควรคงอัตรา VAT ที่ปรับขึ้นในระยะหนึ่ง (Sustain) จนกว่าภาระทางการคลังของญี่ปุ่นจะปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน 4. ควรปรับอัตรา VAT ให้เท่ากันในทุกสินค้า (Simple) กล่าวคือ ไม่ควรยกเว้นภาษี VAT ในบางประเภทสินค้า เพราะจะเป็นการบิดเบือนพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค อีกทั้งอาจก่อให้เกิดความสับสนในการจัดเก็บได้
Keen, M. et. al. “Raising the Consumption Tax in Japan : Why, When, How ?” IMF Staff Discussion Note : June 16, 2011.
2
80
ความคิดเห็นของผู้เขียน ผู้เขียนเห็นว่า การปรับขึ้นอัตรา VAT จะไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นมากนัก เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ ของญี่ปุ่นเป็นประชากรที่มีรายได้ระดับกลางและระดับสูง อีกทั้งอัตรา VAT ของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต�่ำ เมื่อเทียบกับประเทศ OECD อื่น ๆ นอกจากนี้ การประกาศเพิ่มอัตราภาษีอาจส่งผลเชิงบวกต่อการใช้จ่าย เพราะการประกาศ อัตราภาษีล่วงหน้าจะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนเร่งใช้จ่ายในปัจจุบัน ทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่า การปรับเพิ่มอัตรา VAT เพิ่มเพียงอย่างเดียวจะไม่ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นได้ อย่างแท้จริง เพราะสาเหตุหลักของปัญหาดังกล่าวคือ รายจ่ายภาครัฐด้านสุขภาพและสวัสดิการที่สูง ยกตัวอย่างในปี 2555 ถ้ารัฐบาลญี่ปุ่นมีการเพิ่มอัตรา VAT ไปเป็นร้อยละ 10 ของญี่ปุ่นนั้นจะมีรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นเพียง 10 ล้านล้านเยน ซึ่งไม่เพียงพอ ต่อรายจ่ายภาครัฐทีส่ งู กว่า โดยเฉพาะรายจ่ายด้านสุขภาพและสวัสดิการสังคมซึง่ มีปริมาณสูงถึง 28.7 ล้านล้านเยน หรือคิดเป็น อัตราสูงถึงร้อยละ 70 ต่อรายได้ภาษีที่รัฐบาลญี่ปุ่นสามารถจัดเก็บได้ตลอดปี ดังนั้น การปรับเพิ่มอัตราภาษี VAT จึงเป็นเพียง การบรรเทาแต่มใิ ช่การแก้ปญ ั หาอย่างตรงจุด กล่าวคือ เพือ่ ให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล รัฐบาลญีป่ นุ่ ควรปฏิรปู ทางด้านรายจ่ายภาครัฐควบคู่กันไปด้วย
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
81
บทวิเคราะห์ เรื่อง Inflation Targeting ของธนาคารกลางสหรัฐฯ : ฝันที่เป็นจริง ? 1
บทสรุปผู้บริหาร เมื่อเดือนมกราคม 2555 นายเบน เบอร์แนนกี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศ ที่จะด�ำเนินนโยบายทางการเงินด้วยเป้าหมายเงินเฟ้อที่ชัดเจน (Inflation Targeting) ทั้งนี้ ที่ผ่านมา Fed ไม่เคย ระบุเป้าหมายที่ชัดเจนในการด�ำเนินนโยบายการเงินมาก่อน ❍❍ แม้ว่า Fed จะไม่เคยระบุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ชัดเจนมาก่อน แต่ในอดีต Fed ในบางยุคสมัย ได้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การรั ก ษาเสถี ย รภาพด้ า นราคา ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ กฎของเทย์ เ ลอร์ (Taylor Rule) โดยนายโวล์กเกอร์ได้ให้ความส�ำคัญกับเสถียรภาพของระดับราคา แต่ปล่อยให้อตั ราว่างงานพุง่ สูงเป็นประวัตกิ ารณ์ ยุคของนายกรีนสแปนให้ความส�ำคัญกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและระดับราคาสินทรัพย์ จนเศรษฐกิจ สหรั ฐ อเมริ ก าสามารถขยายตั ว ได้ ต ่ อ เนื่ อ งและอั ต ราว่ า งงานลดต�่ ำ ลง แต่ ก็ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ภาวะฟองสบู ่ ใ น ภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการเงินขึ้น จนน�ำมาสู่วิกฤตซับไพรม์และวิกฤตการเงินโลกในเวลาต่อมา ❍❍ เพื่อป้องกันมิให้ประวัติศาสตร์ซ�้ำรอย Fed ในยุคสมัยของนายเบอร์แนนกี้จึงมีความพยายาม ทีจ่ ะวางเกณฑ์อนั รัดกุมและเป็นเครือ่ งยึดเหนีย่ วในการด�ำเนินนโยบายการเงิน (Policy anchor) จึงมีแนวความคิด ทีจ่ ะน�ำ Inflation Targeting มาใช้ โดย Fed จะอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อจากดัชนีราคาค่าใช้จา่ ยของผูบ้ ริโภค ณ ราคาคงที่ (PCEPI) ที่ร้อยละ 2.0 เป็นหลัก ❍❍ อย่ า งไรก็ ต าม ด้ ว ยอั ต ราเงิ น เฟ้ อ PCEPI ล่ า สุ ด ณ เดื อ นมกราคม 2555 ที่ ร ้ อ ยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.0 อีกทั้ง Fed ประกาศในการประชุม ครัง้ เดียวกันนีว้ า่ จะคงอัตราดอกเบีย้ นโยบายทีร่ อ้ ยละ 0-0.25 ต่อไปจนถึงปี 2557 ท�ำให้ Fed ไม่สามารถปรับเพิม่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ ❍❍ ทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่า การที่ Fed ประกาศเป้าหมายเงินเฟ้อที่ชัดเจนที่ร้อยละ 2.0 จะท� ำให้ ผู้บริโภคและนักลงทุนสามารถคาดเดาแนวทางของนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาในอนาคตได้อย่าง ชัดเจนยิง่ ขึน้ อันเป็นการควบคุมเงินเฟ้อด้วยการบริหารจัดการความคาดหวังของประชาชน (Inflation Expectative Management) และจะสามารถสร้างเสถียรภาพด้านราคาในระยะยาวได้ ❍❍
1. ที่มา : ประเด็นความขัดแย้งของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกากับประธานกรรมาธิการงบประมาณ ในการประชุมคณะกรรมาธิการด้านงบประมาณของสหรัฐอเมริกา เมือ่ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 ทีผ่ า่ นมา นายพอล ไรอัน (Paul Ryan) ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ปรามาสธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve System : Fed) ว่าเป็นต้นตอของ วิกฤตซับไพร์ม โดยนายอลัน กรีนสแปน (Alan Greenspan) ประธาน Fed ในช่วงปี 2530-2549 ได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในระดับต�่ำเป็นระยะเวลานาน อันส่งผลให้เกิดฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์และวิกฤตซับไพร์มในล�ำดับต่อมา ด้วยเหตุนี้ ท�ำให้นายไรอันวิพากษ์วิจารณ์นายเบน เบอร์แนนกี้ (Ben Bernanke) ประธาน Fed คนปัจจุบันว่า ได้ด�ำเนินนโยบายการเงิน แบบผ่อนคลายและไม่ได้ให้ความส�ำคัญอย่างเพียงพอกับเสถียรภาพด้านราคาอันอาจน�ำไปสูว่ กิ ฤตครัง้ ต่อไป ซึง่ นายเบอร์แนนกี้ ได้แถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านงบประมาณว่า Fed มิได้นิ่งนอนใจกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และจะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ผู้เขียน : ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ เศรษฐกรช�ำนาญการ ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
1
82
อยู่ในกรอบเงินเฟ้อเป้าหมาย (Inflation Targeting) ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของ Fed ในการประกาศอัตราเงินเฟ้อเป็น เป้าหมายของการด�ำเนินนโยบายทางการเงินอย่างชัดแจ้งและชัดเจน ค�ำแถลงของนายเบอร์แนนกี้ ตลอดจนรายงานการประชุมของคณะกรรมการก�ำหนดนโยบายการเงินที่ระบุเป้าหมาย เงินเฟ้ออย่างชัดเจน ท�ำให้หลายฝ่ายเกิดความสงสัยว่า Fed จะสามารถรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมายได้หรือไม่ บทความนีไ้ ด้วเิ คราะห์การด�ำเนินนโยบายทางการเงินของ Fed ในช่วงทีผ่ า่ นมา ทัง้ ในยุคสมัยของนายเบอร์แนนกี้ และในยุคสมัย ของประธาน Fed คนก่อน ๆ ตลอดจนความเป็นไปได้ของการด�ำเนินนโยบายแบบมีเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายที่นายเบอร์แนนกี้ ประกาศดังกล่าว
2. การด�ำเนินนโยบายของ Fed ที่ผ่านมา : จากโวล์กเกอร์ สู่กรีนสแปน ถึงเบอร์แนนกี้ ภาพที่ 1 ประธาน Fed : นายพอล โวล์กเกอร์ นายอลัน กรีนสแปน และนายเบน เบอร์แนนกี้
ที่มา : Getty Images
ทีจ่ ริงแล้วการมุง่ เน้นเป้าหมายทีก่ ารรักษาเสถียรภาพด้านราคาหรืออัตราเงินเฟ้อนัน้ ไม่ใช่เรือ่ งใหม่สำ� หรับ Fed แต่อย่างใด โดยแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาการด�ำเนินนโยบายทางการเงินของ Fed จะใช้ดุลพินิจเป็นหลัก (Discretionary Monetary Policy) กล่าวคือ Fed จะไม่ประกาศเป้าหมายอัตราเงินเฟ้ออย่างชัดแจ้ง แต่การก�ำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายด้วยดุลพินิจดังกล่าว สอดคล้องกับกฎของเทย์เลอร์ (Taylor Rule) ที่ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นอยู่กับ 2 ตัวแปรหลัก ได้แก่ 1) ตัวแปร ด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจ และ 2) ตัวแปรด้านเงินเฟ้อ กล่าวคือ Fed จะพิจารณาตัวแปรทางเศรษฐกิจที่ส�ำคัญ อาทิ ส่วนต่างระหว่างการขยายตัวของเศรษฐกิจจริงกับระดับศักยภาพ (Output gap) การคาดการณ์เงินเฟ้อ อัตราการใช้กำ� ลังการผลิต ราคาสินทรัพย์ การจ้างงานและอัตราว่างงาน แล้วจึงพิจารณาว่าเป้าหมายตัวแปรทางเศรษฐกิจตัวใดที่ Fed ต้องการจะบรรลุ ด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งกฎของเทย์เลอร์นี้สามารถอธิบายการด�ำเนินนโยบายทางการเงินของสหรัฐอเมริกา ได้อย่างดี โดยเฉพาะในยุคของนายพอล โวล์กเกอร์ (Paul Volcker) ต่อเนื่องมาจนถึงยุคของนายกรีนสแปน จึงเห็นได้ว่าในอดีต Fed เคยมีการให้น�้ำหนักกับเสถียรภาพด้านราคามาแล้ว อย่างไรก็ตาม Fed ในแต่ละยุคสมัยให้ความส�ำคัญกับตัวแปรของกฎของเทย์เลอร์ในลักษณะทีแ่ ตกต่างกัน โดยในยุคสมัย ของนายโวล์กเกอร์ (ปี 2522-2530) ซึ่งเข้ามารับต�ำแหน่งประธาน Fed ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกก�ำลังประสบวิกฤตด้านเงินเฟ้อ Fed ได้ให้น�้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพด้านราคาเป็นอย่างมาก โดยแม้ว่าจะมิได้ก�ำหนดเป้าหมายเงินเฟ้ออย่างชัดแจ้ง แต่ก็คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่สูงเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงดังกล่าวจะส่งผลเชิงลบ ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาก็ตาม การที่ Fed ในยุคสมัยของนายโวล์กเกอร์ได้ให้ความส�ำคัญต่อเสถียรภาพด้านราคาเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาในยุคนั้นมีอัตราเงินเฟ้อต�่ำและมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 14.8 ในเดือนมีนาคม 2523
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
83
ซึ่งเป็นช่วงต้นของการด�ำรงต�ำแหน่งของนายโวล์กเกอร์ ลงสู่ระดับร้อยละ 4.3 ในเดือนสิงหาคม 2530 ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดวาระของ นายโวล์กเกอร์ อย่างไรก็ตาม การด�ำเนินมาตรการทางการเงินแบบตึงตัวของนายโวล์กเกอร์ส่งผลให้อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้น เป็นประวัตกิ ารณ์ทรี่ อ้ ยละ 10.8 ของก�ำลังแรงงานรวมในเดือนพฤศจิกายน 2525 อีกทัง้ สหรัฐอเมริกายังประสบปัญหาการหดตัว ของเศรษฐกิจจริงถึงร้อยละ -1.9 ในปีเดียวกันอีกด้วย (ภาพที่ 2 และภาพที่ 3)
ภาพที่ 2 อัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานสหรัฐอเมริกา ปี 2522-2530
ที่มา : CEIC
ภาพที่ 3 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ปี 2522-2549
ที่มา : CEIC
การด�ำเนินนโยบายทางการเงินของนายกรีนสแปนซึ่งด�ำรงต�ำแหน่งประธาน Fed ต่อจากนายโวล์กเกอร์ ตั้งแต่ปี 2530–2549 นั้น ผิดกับการด�ำเนินนโยบายของนายโวล์กเกอร์โดยสิ้นเชิง โดยนายกรีนสแปนจะเน้นการใช้นโยบายทางการเงิน เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องของตลาดการเงินตลอดจนเพื่อพยุงราคาสินทรัพย์มากกว่าการควบคุมเสถียรภาพของเศรษฐกิจ โดยจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา Fed ได้ทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัว อย่างช้า ๆ แต่ต่อเนื่อง ไม่ร้อนแรงอย่างที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะต้องประสบปัญหาวิกฤตดอตคอมในช่วงปี 2543 ตลอดจนปัญหา การก่อการร้ายในช่วงปี 2544 ก็ตาม จึงเป็นทีม่ าของ “ชือ่ เล่น” ของช่วงกลางทศวรรษ 1980 ถึงกลางทศวรรษ 2000 (ปี 2530–2549) ของสหรัฐอเมริกาว่า The Great Moderation (ภาพที่ 4 และภาพที่ 5)
84
ภาพที่ 4 อัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานสหรัฐอเมริกา ปี 2530-2549
ที่มา : CEIC
ภาพที่ 5 ความผันผวนของ GDP สหรัฐอเมริกา ปี 1950-2008 (ปี 2493-2551)
ที่มา : เอกสารประกอบการบรรยาย “The Federal Reserve and the Financial Crisis, Part 2” โดยนายเบน เบอร์แนนกี้ วันที่ 22 มีนาคม 2555
อย่างไรก็ตาม การด�ำเนินนโยบายแบบเน้นการปล่อยสภาพคล่องเข้าสูร่ ะบบ และสนับสนุนการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจ จริงโดยการรักษาระดับอัตราดอกเบีย้ ให้อยูใ่ นระดับต�ำ่ ท�ำให้ราคาสินทรัพย์โดยเฉพาะราคาอสังหาริมทรัพย์สหรัฐอเมริกาปรับตัว สูงขึ้นมากโดยเฉพาะในช่วงท้าย ๆ ของวาระการด�ำรงต�ำแหน่งของนายกรีนสแปน และเป็นหนึ่งในสาเหตุของวิกฤตซับไพรม์ ซึ่งขยายวงกว้างเป็นวิกฤตการเงินโลกในปี 2551 ในที่สุด (ภาพที่ 6) ภาพที่ 6 อัตราดอกเบี้ยนโยบายและราคากลางบ้าน ปี 2543-2551
ที่มา : CEIC
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
85
นายเบอร์แนนกี้ผู้รับต�ำแหน่งจากนายกรีนสแปนจึงถือว่าเข้ามารับต�ำแหน่งในจังหวะที่ไม่สู้ดีนัก เพราะเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาในช่วงวิกฤตซับไพรม์ต่อจนถึงวิกฤตการเงินโลกประสบปัญหาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของสถาบันการเงิน ที่สินทรัพย์ในงบดุลเสียมูลค่าลงมากจากฟองสบู่ที่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระดับสูง ในขณะเดียวกันภาคเศรษฐกิจจริงก็มีปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ความเชื่อมั่นผู้บริโภคดิ่งลงเหว ตลอดจนอัตราการว่างงาน อยู่ในระดับสูง การด�ำเนินนโยบายทางการเงินของนายเบอร์แนนกี้ในช่วงแรกจึงเป็นการด�ำเนินนโยบายแบบเน้นการแก้ปัญหา เฉพาะหน้าซึ่งมีอยู่มากมาย ในรูปแบบของการเข้าช่วยเหลือเพิ่มทุนสถาบันการเงิน ตลอดจนการด�ำเนินมาตรการทางการเงิน แบบผ่อนคลาย (Quantitative Easing : QE) ถึง 2 ครั้ง ตลอดจนการเข้าแทรกแซงในตลาดพันธบัตรโดยเข้าซื้อพันธบัตร ระยะยาวและเทขายพันธบัตรระยะสั้น เพื่อให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวลดลงพร้อมกับผลตอบแทนพันธบัตร รัฐบาลระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้น (Operation Twist) ซึ่งเป็นการปรับสัดส่วนการถือครองพันธบัตรของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ให้เป็นพันธบัตรระยะยาวมากขึ้น หรือเป็นการยืดอายุการช�ำระหนี้ออกไปและเลี่ยงการเก็งก�ำไรด้วยอัตราดอกเบี้ยระยะยาว ที่ลดต�่ำลง และกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงปลายปี 2554 นายเบอร์แนนกี้จึงริเริ่มการ “จัดระเบียบ” การด�ำเนินนโยบายทางการเงินของ Fed ด้วยการก�ำหนดกรอบเงินเฟ้อเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของนโยบายทางการเงินของ สหรัฐอเมริกา โดยจากถ้อยแถลงของนายเบอร์แนนกี้ในการรายงานนโยบายการเงินและแนวโน้มเศรษฐกิจต่อสภาคองเกรส รอบ 6 เดือน2 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนขึ้นในมุมมองเศรษฐกิจ โดยถึงแม้นายเบอร์แนนกี้จะมองว่า ณ ปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวอย่าง “ช้าและไม่ต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวในอดีต” (“uneven and modest by historical standards”) แต่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ในขณะที่อัตราว่างงานปรับตัวลดลงเร็วกว่าที่คาด และมองว่า ภายในปีนี้อัตราว่างงานน่าจะอยู่ใกล้ระดับปัจจุบัน ณ เดือนมกราคม 2555 ที่ร้อยละ 8.3 ของก�ำลังแรงงานรวม ซึ่งมุมมองของ นายเบอร์แนนกี้ต่อสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันนี้เป็นการส่งสัญญาณว่า ในปี 2555 นี้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาจะลดบทบาท ในการด�ำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อพยุงเศรษฐกิจและเพิ่มการจ้างงาน และเป็นการตอกย�้ำเป้าหมายใหม่ ในการด�ำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาอีกด้วย จากแนวทางการด�ำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาในทั้งสามยุคสมัยที่ได้กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ ว่า การมุ่งเน้นเป้าหมายที่การรักษาระดับราคาในการด�ำเนินนโยบายการเงินมิใช่เรื่องใหม่ หากแต่น�้ำหนักที่แต่ละประธาน Fed จะให้กับการรักษาระดับราคานั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความเร่งด่วนด้านเศรษฐกิจในช่วงนั้น กล่าวคือ ในยุคสมัยของ นายโวล์กเกอร์ เงินเฟ้อเป็นปัญหาที่เร่งด่วนและส�ำคัญ จึงไม่น่าแปลกใจที่นายโวล์กเกอร์ได้ให้น�้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพ ด้านราคามากกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในทางตรงกันข้าม ในยุคสมัยของนายกรีนสแปนและนายเบอร์แนนกี้ การขยายตัว ของเศรษฐกิจเป็นปัญหาทีเ่ ร่งด่วนและส�ำคัญ จึงไม่นา่ แปลกใจทีน่ ายกรีนสแปนและนายเบอร์แนนกีไ้ ด้ให้นำ�้ หนักกับการขยายตัว ของเศรษฐกิจมากกว่าการรักษาเสถียรภาพด้านราคา อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเริ่มฟื้นตัวแล้ว การรักษา เสถียรภาพด้านราคาจึงมีความเร่งด่วนมากขึ้น นายเบอร์แนนกี้จึงได้ประกาศก�ำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อดังกล่าว ประเด็นส�ำคัญ จึงอยูท่ วี่ า่ เป้าหมายเงินเฟ้อทีน่ ายเบอร์แนนกีป้ ระกาศน่าเชือ่ ถือและสามารถท�ำได้จริงหรือไม่ ซึง่ ผูเ้ ขียนจะวิเคราะห์ในส่วนต่อไป
3. การก�ำหนดอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา เป้าหมายเงินเฟ้อที่นายเบอร์แนนกี้ประกาศนั้นอ้างอิงดัชนีราคาค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค ณ ราคาคงที่ (Personal Consumption Expenditures Price Index : PCEPI) ซึง่ จัดท�ำโดยส�ำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา (Bureau of Economic Analysis : BEA) เป็นหลัก โดยดัชนีดังกล่าวมีข้อแตกต่างที่ส�ำคัญจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline Consumer Price Index) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะใช้น�้ำหนักถ่วงคงที่กับสินค้าแต่ละรายการตามวิธีของลาสแปร์ (Laspeyres Index) ในขณะที่ดัชนี PCEPI จะใช้ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (Geometric mean) ระหว่างดัชนีราคาแบบลาสแปร์กับดัชนีราคาที่ใช้ น�้ำหนักถ่วงปัจจุบันตามวิธีของพาสเช่อ (Paasche Index) ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อ PCEPI เคลื่อนไหวในทิศทาง ที่สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ภาพที่ 7) ตาม Humphrey-Hawkins Full Employment Act
2
86
ภาพที่ 7 เปรียบเทียบอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และอัตราเงินเฟ้อ PCEPI
ที่มา : BEA ค�ำนวณโดย สศค.
ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 24-25 มกราคม 2555 ธนาคารกลาง สหรัฐอเมริกาได้ก�ำหนดกรอบเงินเฟ้อ PCEPI เป้าหมายที่ไม่เกินร้อยละ 2.0 ต่อปี3 โดยอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายนี้เป็นอัตราที่ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาเล็งเห็นว่าสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของนโยบายทางการเงิน เนือ่ งจากอัตราเงินเฟ้อในระยะยาว ได้รบั ผลจากการส่งผ่านของนโยบายการเงินโดยตรง อีกทัง้ การก�ำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อทีช่ ดั เจนเป็นการส่งสัญญาณต่อผูบ้ ริโภค ถึงทิศทางการด�ำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะช่วยท�ำให้การคาดการณ์เงินเฟ้อ (Inflation expectation) ของผูบ้ ริโภคเป็นไปในทิศทางทีธ่ นาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องการ ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของกลไกการรักษาเสถียรภาพของระดับราคา ในขณะที่ที่ประชุมฯ เห็นว่าการจ้างงานไม่ควรเป็นเป้าหมายหลักในการด�ำเนินนโยบายการเงิน เนื่องจากนโยบายทางการเงิน ในระยะยาวไม่สามารถก�ำหนดการจ้างงานหรือการว่างงานได้ แต่หากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาประสบวิกฤตอีกครัง้ ธนาคารกลาง สหรัฐอเมริกาก็จะยังคงมีเครื่องมือทางการเงินเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม4
4. ความสอดคล้องของเป้าหมายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา และความเป็นไปได้ ในการใช้เงินเฟ้อเป้าหมาย เนื่องจาก Fed ตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อ PCEPI ไว้ที่ร้อยละ 2.0 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อ PCEPI ล่าสุด ณ เดือนมกราคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า การใช้นโยบายการเงินผ่านเครื่องมือทางการเงินโดยทั่วไป Fed จ�ำเป็นต้องด�ำเนินนโยบายทางการเงินแบบตึงตัวมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว (Conventional Methods) ธนาคารกลางจะด�ำเนิน มาตรการการเงินแบบตึงตัวผ่านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และ/หรือการลดปริมาณเงินในระบบ อันทีจ่ ริงแล้วด้วยอัตราดอกเบีย้ นโยบายทีต่ ำ�่ Fed สามารถด�ำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวด้วยการปรับขึน้ อัตราดอกเบีย้ นโยบายได้ หากแต่ Fed ได้ประกาศในการประชุมครั้งเดียวกันนี้ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0-0.25 ต่อไปจนถึง ปี 25575 จึงมีความเป็นไปได้น้อยที่ Fed จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่การลดปริมาณเงิน “.... The inflation rate over the longer run is primarily determined by monetary policy, and hence the Committee has the ability to specify a longer-run goal for inflation. The Committee judges that inflation at the rate of 2 percent, as measured by the annual change in the price index for personal consumption expenditures, is most consistent over the longer run with the Federal Reserve's statutory mandate. Communicating this inflation goal clearly to the public helps keep longer-term inflation expectations firmly anchored, thereby fostering price stability and moderate long-term interest rates and enhancing the Committee's ability to promote maximum employment in the face of significant economic disturbances…” 4 จาก Minutes of the Federal Open Market Committee, January 24-25, 2012 5 “…the Committee expects to maintain a highly accommodative stance for monetary policy and currently anticipates that economic conditions-including low rates of resource utilization and a subdued outlook for inflation over the medium run--are likely to warrant exceptionally low levels for the federal funds rate at least through late 2014…” 3
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
87
ในระบบด้วยการขายพันธบัตรผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร (Open Market Operation) อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง หากระบบสถาบันการเงินสหรัฐอเมริกาได้รบั ผลกระทบจากวิกฤตหนีส้ าธารณะในยุโรปลุกลามมายังสถาบันการเงินสหรัฐอเมริกา สถานการณ์เช่นนี้จึงท�ำให้ Fed มีทางเลือกในการด�ำเนินนโยบายที่จ�ำกัด
ภาพที่ 8 เปรียบเทียบอัตราเงินเฟ้อ PCEPI กรอบเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ที่มา : CEIC, BEA ค�ำนวณโดย สศค.
อย่างไรก็ตาม Fed ยังคงมีทางเลือกอื่น ๆ (Non-conventional methods) ในการด�ำเนินนโยบายทางการเงินแบบตึงตัว เพือ่ ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ อาทิ การปรับขึน้ สัดส่วนเงินสดส�ำรองตามกฎหมายทีธ่ นาคารพาณิชย์ตอ้ งด�ำรงไว้ (Required Reserve Ratio : RRR) เพือ่ ลดการปล่อยสินเชือ่ และลดปริมาณเงินในระบบ แต่กลไกการส่งผ่านของนโยบายทางการเงินผ่านการปรับเพิม่ RRR มีการตอบสนองที่ช้า อีกทั้งการปรับขึ้น RRR เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดสินเชื่อที่ปล่อยในระบบ อาจสวนทางกับ นโยบาย QE ทีด่ ำ� เนินการอยู่ และจะส่งผลกระทบต่อการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาได้ จึงเป็นทีน่ า่ จับตามองว่า Fed จะใช้ เครื่องมือใดในการด�ำเนินนโยบายทางการเงินตามเป้าหมายเงินเฟ้อดังกล่าว
5. สรุป ที่ผ่านมาการด�ำเนินนโยบายการเงินโดย Fed สอดคล้องกับกฎของเทย์เลอร์ (Taylor Rule) อย่างไรก็ตาม ประธาน Fed แต่ละคนได้ให้น�้ำหนักของตัวแปรทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน โดยนายโวล์กเกอร์ได้ให้ความส�ำคัญกับเสถียรภาพของระดับราคา แต่ปล่อยให้อัตราว่างงานพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ยุคของนายกรีนสแปนให้ความส�ำคัญกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและระดับ ราคาสินทรัพย์ จนเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องและอัตราว่างงานลดต�่ำลง แต่ก็ก่อให้เกิดภาวะฟองสบู่ ในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการเงินขึ้น จนน�ำมาสู่วิกฤตซับไพรม์และวิกฤตการเงินโลกในเวลาต่อมา เพื่อป้องกันมิให้ประวัติศาสตร์ซ�้ำรอย Fed ในยุคสมัยของนายเบอร์แนนกี้จึงมีความพยายามที่จะวางเกณฑ์ที่รัดกุมและ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการด�ำเนินนโยบายการเงิน (Policy Anchor) การก�ำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อจึงดูเหมือนจะเป็นทางเลือก ที่ดีที่สุดในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้โดยง่าย ถึงแม้ว่าการประกาศใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายของการด�ำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ในแง่ของความพยายามควบคุมระดับราคา แต่การประกาศเป้าหมายเงินเฟ้อ PCEPI ที่ชัดเจนที่ร้อยละ 2.0 จะท�ำให้ผบู้ ริโภคและนักลงทุนสามารถคาดเดาแนวทางนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาในอนาคตได้อย่างชัดเจนยิง่ ขึน้ ซึ่งจะส่งผลต่อการคาดการณ์เงินเฟ้อ ซึ่งการคาดการณ์เงินเฟ้อที่ชัดเจนนี้จะสามารถสร้างเสถียรภาพด้านราคาในระยะยาวได้
88
ทั้งนี้ การประกาศเป้าหมายของนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาที่ชัดเจน น่าจะท�ำให้ความเป็นไปได้ ของการท�ำ QE ของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาลดลง นอกจากจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นในลักษณะที่สถาบันการเงิน สหรัฐอเมริกามีความจ�ำเป็นต้องเพิ่มสภาพคล่องอย่างฉุกเฉิน หรือเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาประสบวิกฤตระลอกสอง ประเทศไทย ในฐานะประเทศในตลาดเกิดใหม่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบายทางการเงินของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ จึงควรจับตามอง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชดิ ทัง้ ในด้านเศรษฐกิจจริงและความผันผวนในภาคการเงิน เพือ่ ให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัว ได้อย่างเต็มศักยภาพด้วยเสถียรภาพที่มั่นคง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
89
บทวิเคราะห์ เรื่อง มิติใหม่ โลจิสติกส์ไทย
1
บทสรุปผู้บริหาร การวัดความสามารถและความมีประสิทธิภาพของการใช้พลังงานของประเทศ เราสามารถใช้ มูลค่าเพิม่ ทีไ่ ด้จากพลังงานขนาดหนึง่ กิโลกรัมเทียบเท่าน�ำ้ มันดิบ (GDP per kg of oil equivalent) ในการเปรียบเทียบ โดยพบว่ามูลค่า GDP ของไทยที่ได้จากการใช้พลังงานหนึ่งหน่วย มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศก�ำลังพัฒนาด้วยกัน อาทิ ประเทศมาเลเซีย ตัวเลขมูลค่าเพิ่มที่ได้ ยังต�่ำกว่ามาก สะท้อนให้เห็นถึงการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพของประเทศไทย ❍❍ จากการศึกษาโครงสร้างการบริโภคพลังงานของประเทศไทยพบว่า การบริโภคพลังงานที่มี สัดส่วนสูงที่สุดคือการบริโภคสินค้าเชื้อเพลิงซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 61 ของการบริโภคพลังงานทั้งหมด โดยสินค้า เชือ้ เพลิงถูกใช้ในภาคคมนาคมขนส่งเป็นส�ำคัญ ดังนัน้ หากสามารถเพิม่ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในส่วนนีไ้ ด้ ก็จะท�ำให้การใช้พลังงานของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ❍❍ จากข้อมูลความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของไทยพบว่า อยู่อันดับที่ 35 ของโลก ยังเป็นรองประเทศในภูมภิ าคเดียวกันอย่างประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ พบว่าต้นทุนโลจิสติกส์ ต่อ GDP ของไทยอยู่ที่ร้อยละ 17-20 ซึ่งเป็นสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วที่มีสัดส่วน ประมาณร้อยละ 10 สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยควรเร่งปรับปรุงระบบขนส่งทัง้ ระบบ เพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถ ในการแข่งขันรวมถึงลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ ❍❍ แนวทางการพัฒนาระบบขนส่งของไทยควรจะเป็นการพัฒนาระบบขนส่งทางราง เนื่องจาก เป็นระบบทีม่ ปี ระสิทธิภาพเชือ่ มโยงถึงพืน้ ทีเ่ ศรษฐกิจและแหล่งชุมชนส�ำคัญได้ (Accessibility) ประหยัดพลังงาน (Energy Saving) เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendly) และมีความปลอดภัยสูง (Safety) ❍❍ การลงทุนสร้างระบบขนส่งทางรางเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ที่ส�ำคัญของประเทศ (Mega Project) จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้ • ระยะสั้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน • ระยะยาว เป็นการส่งเสริมภาคบริการผ่านการท่องเทีย ่ วทีเ่ พิม่ ขึน้ และเป็นการลดต้นทุนด้าน โลจิสติกส์ ❍❍
1. ความเป็นมา การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจ�ำเป็นต้องอาศัยปัจจัยการผลิตหลัก 2 ส่วนด้วยกัน คือ ปัจจัยทางด้านแรงงาน (Labor) และปัจจัยทุน (Capital) ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะปัจจัยทุนแล้วจะพบว่า พลังงานเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของไทยให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่อดีตทีผ่ า่ นมา โดยสามารถพิจารณาได้จากปริมาณการใช้พลังงานต่อคน (Energy Use per Capita) ของประเทศไทยทีเ่ พิม่ ขึน้ ตลอดในช่วง 30 ปีทผี่ า่ นมา จากปี 2523 ทีอ่ ยูท่ ี่ 463 กิโลกรัมเทียบเท่าน�ำ้ มันดิบต่อคน มาอยู่ที่ 1,504 กิโลกรัมเทียบเท่าน�้ำมันดิบต่อคน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3.2 เท่าตัว
ผู้เขียน : นายยุทธภูมิ จารุเศร์นี และนายพนันดร อรุณีนิรมาน เศรษฐกรปฏิบัติการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
1
90
ภาพที่ 1 ปริมาณการใช้พลังงานต่อคน
ที่มา : World Bank
อย่างไรก็ดี ปริมาณการใช้พลังงานจะมากหรือน้อยอาจไม่ใช่ประเด็นส�ำคัญ แต่สงิ่ ส�ำคัญอยูท่ วี่ า่ เราใช้พลังงานได้ “คุม้ ค่า” มากน้อยเพียงใด ซึ่งในเชิงเศรษฐศาสตร์เราสามารถวัดความคุ้มค่าได้จากมูลค่าเพิ่มที่ได้จากการใช้พลังงานขนาดหนึ่งกิโลกรัม น�้ำมันดิบ หรือที่เรียกว่า GDP per unit of energy use (constant 2005 PPP $ per kg of oil equivalent) ภาพที่ 2 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจากการใช้พลังงานหนึ่งหน่วย (หน่วย : ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัมเทียบเท่าน�้ำมันดิบ)
ที่มา : World Bank
ภาพที่ 2 แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการสร้าง GDP จากการใช้พลังงานหนึง่ หน่วยทีเ่ ท่ากัน โดยประเทศทีผ่ ลิตมูลค่าเพิม่ ได้นอ้ ยกว่า สะท้อนว่าประเทศนัน้ ใช้พลังงานอย่างไม่มปี ระสิทธิภาพ โดยหากพิจารณาในกรณีของประเทศไทยจะพบว่าในปี 2552 พลังงาน 1 กิโลกรัมเทียบเท่าน�้ำมันดิบสามารถสร้าง GDP ได้ 4.8 ดอลลาร์สหรัฐ (ณ ราคาคงที่ปี 2548) ซึ่งเป็นอัตราที่ ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยจากอดีตที่ผ่านมาอัตราที่สูงที่สุดอยู่ที่ 6.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัมเทียบเท่าน�้ำมันดิบ บ่งชี้ให้เห็นว่า การใช้พลังงานของประเทศไทยเพื่อการพัฒนาประเทศนั้นมีประสิทธิภาพที่ต�่ำลง เนื่องจากมีการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยและ ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศก�ำลังพัฒนาด้วยกัน ซึ่งเป็นคู่แข่งส�ำคัญของไทย อาทิ ประเทศมาเลเซียซึ่งสามารถ สร้าง GDP ได้มากกว่าที่ 5.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัมเทียบเท่าน�ำ้ มันดิบ ส่วนประเทศเวียดนามก็สามารถสร้าง GDP ได้เพิม่ ขึน้
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
91
เรื่อย ๆ ทุกปีจาก 2.1 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2527 มาอยู่ที่ 3.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 หน่วยกิโลกรัมเทียบเท่าน�้ำมันดิบ ในปี 2552 แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของประเทศเวียดนามในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นตามล�ำดับ ขณะที่ประเทศ ที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่นสามารถสร้าง GDP ได้มากกว่าประเทศไทยมากจากปริมาณ การใช้พลังงานที่เท่ากัน คือ ที่ 5.9 และ 7.9 ดอลลาร์สหรัฐ ตามล�ำดับ จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีปัญหาด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงเป็นโจทย์ใหญ่ ที่หลายฝ่ายจะต้องร่วมกันคิดเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ภาพที่ 3 โครงสร้างการบริโภคพลังงานของประเทศไทย แยกตามพลังงานชนิดต่าง ๆ
ที่มา : ส�ำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (EPPO)
ภาพที่ 3 แสดงถึงโครงสร้างการบริโภคพลังงานโดยรวมของประเทศไทย โดยพบว่าในปี 2553 ประเทศไทยมีการบริโภค พลังงานในรูปของน�้ำมันเชื้อเพลิงในสัดส่วนที่สูงที่สุดที่ร้อยละ 61.0 ขณะที่บริโภคพลังงานไฟฟ้าเพียงร้อยละ 26 และพลังงาน หมุนเวียนเพียงร้อยละ 7.0 ท�ำให้เกิดความไม่สมดุลในการใช้พลังงาน หากเกิดความผันผวน อาทิ ราคาน�้ำมันดิบปรับตัว พุ่งขึ้นสูงจากปัจจัยภายนอกจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อการบริโภคพลังงานของประเทศ ทั้งนี้ การบริโภคพลังงานในรูปน�้ำมัน เชื้อเพลิงส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อใช้ในภาคคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางน�้ำ และทางอากาศ ดังนั้น หากเราสามารถปรับปรุงและ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในส่วนนี้ได้ก็จะท�ำให้การใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้น จากการศึกษาด้านการประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของไทยโดยธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งมีข้อมูลจาก 155 ประเทศทั่วโลก ได้จัดท�ำเป็นดัชนีความสามารถด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index : LPI) ดังแสดงในตารางที่ 1
92
ตารางที่ 1 ดัชนีความสามารถด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index) Logistics Performance Index (2010) Rank
LPI - พิธีการศุลกากร - โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ - ขั้นตอนเตรียมการขนส่ง สินค้าระหว่างประเทศ - สมรรถนะผู้ให้บริการ โลจิสติกส์ (ภาครัฐและธุรกิจ) - การติดตามสินค้า - ความตรงต่อเวลา
สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้
จีน มาเลเซีย
ไทย
เวียดนาม อินโดนีเซีย
2 7 4.09 3.97 4.02 3.79 4.22 4.19
15 3.86 3.68 4.15
23 3.64 3.33 3.62
27 29 3.49 3.44 3.16 3.11 3.54 3.50
35 3.29 3.02 3.16
53 2.96 2.68 2.56
75 2.76 2.43 2.54
3.86 3.55
3.21
3.47
3.31 3.50
3.27
3.04
2.82
4.12 4.00 4.15 4.13 4.23 4.26
3.92 4.17 4.19
3.64 3.83 3.97
3.49 3.34 3.55 3.32 3.91 3.86
3.16 3.41 3.73
2.89 3.10 3.44
2.47 2.77 3.46
ที่มา : World Bank
จากข้อมูลในตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่าความสามารถด้านโลจิสติกส์ของไทยอยูอ่ นั ดับที่ 35 ของโลก โดยเป็นรองประเทศ ในภูมิภาคเดียวกัน อาทิ ประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย และยังคงมีคะแนนห่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศ สิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจุดอ่อนที่ส�ำคัญของไทยด้านโลจิสติกส์ คือ พิธีการศุลกากร สมรรถนะ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ภาพที่ 4 ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ของประเทศไทย
ที่มา : รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจ�ำปี 2553
นอกจากนี้ จากภาพที่ 4 แสดงให้เห็นว่าต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ของไทยอยู่ระหว่างร้อยละ 17.0–20.0 ซึ่งเป็นสัดส่วน ที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ ญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 9.0 และสหรัฐอเมริกาประมาณร้อยละ 10.02 และ เมื่อพิจารณาลงรายละเอียดแล้วจะเห็นว่า ต้นทุนโลจิสติกส์ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากต้นทุนค่าขนส่งสินค้า (เนื่องจากมีสัดส่วน สูงทีส่ ดุ ) สะท้อนถึงประสิทธิภาพด้านระบบขนส่งของไทยว่าต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างจริงจัง เพือ่ ยกระดับประสิทธิภาพ ด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต ข้อมูลจาก JETRO
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
93
2. การพัฒนาระบบขนส่งเพื่ออนาคตของประเทศไทย จากงานศึกษาของ Bradley & Associates (2007)3 ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบการใช้พลังงานของการขนส่ง ประเภทต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงประเภทของการขนส่งที่มีประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงาน โดยผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า การเดินทางด้วยระบบขนส่งทางรางจะมีการใช้พลังงานทีป่ ระหยัดกว่าการเดินทางโดยรถยนต์สว่ นบุคคลประมาณ 3.5 เท่า และ ยังก่อมลพิษน้อยกว่า นอกจากนี้ หากแบ่งประเภทของระบบรางย่อยลงไปอีกจะพบว่า การขนส่งด้วยรถไฟฟ้าจะใช้พลังงานและ ก่อมลพิษน้อยกว่าการเดินทางด้วยรถไฟธรรมดาที่ใช้น�้ำมันดีเซล โดยรถไฟฟ้าใช้พลังงานน้อยกว่ารถไฟดีเซลประมาณ 2.5 เท่า ตารางที่ 2 จ�ำนวนการใช้พลังงานและการปล่อยมลพิษของการขนส่งประเภทต่าง ๆ Mode ประเภท Car - 2 person Intercity rail (diesel-powered) Heavy rail (electricity power)
รถยนต์ส่วนบุคคล รถไฟดีเซล รถไฟฟ้า
การใช้พลังงาน การปล่อยมลพิษ BTU/passenger per mile CO2 g/passenger per mile 2,492 2,091 889
185 179 156
ที่มา : สรุปจาก Bradley & Associates (2007)
ภาพที่ 5 จ�ำนวนการใช้พลังงานและการปล่อยมลพิษของการขนส่งประเภทต่าง ๆ
ที่มา : สรุปจาก Bradley & Associates (2007)
ดังนั้น การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางรางของประเทศไทยจะท�ำให้การใช้พลังงานของประเทศมีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้น ประกอบกับระบบขนส่งทางรางเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงถึงพื้นที่เศรษฐกิจและแหล่งชุมชนส�ำคัญได้ (Accessibility) ประหยัดพลังงาน (Energy Saving) เป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม (Environmental Friendly) และมีความปลอดภัยสูง (Safety) ด้วยเหตุนี้ระบบขนส่งทางรางจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด การพัฒนาและลงทุนสร้างระบบขนส่งในประเทศมีความส�ำคัญต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมากทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาว โดยการลงทุนดังกล่าวจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจผ่านหลายช่องทาง ซึง่ ประกอบไปด้วยช่องทางการบริโภคภาคเอกชน ช่องทางการลงทุนภาคเอกชน ช่องทางด้านการท่องเที่ยว และช่องทางการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
งานศึกษาชื่อ Comparison of Energy Use and CO2 Emissions From Different Transportation Modes
3
94
ภาพที่ 6 ผลกระทบของการพัฒนาระบบขนส่งต่อระบบเศรษฐกิจผ่านช่องทางต่าง ๆ
ที่มา : สศค.
ช่องทางแรกที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ คือ ช่องทางการลงทุนภาคเอกชน โดยการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว เพิ่มขึ้นตามการสร้างและพัฒนาระบบขนส่ง (Crowding in effect) ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการตัดถนนไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ภาคเอกชน ก็จะเข้ามาลงทุนสร้างหมู่บ้านจัดสรรตามพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ และเงินที่ว่าจ้างในการสร้างหมู่บ้านเหล่านั้นก็จะหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจท�ำให้เศรษฐกิจดีได้ ช่องทางที่สองที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ คือ การเพิ่มขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน โดยการก่อสร้างระบบขนส่ง จะท�ำให้เกิดการจ้างงานเพิม่ สูงขึน้ ทัง้ แรงงานทีเ่ ข้ามาก่อสร้างระบบเองและแรงงานใหม่ในพืน้ ทีท่ รี่ ะบบขนส่งเชือ่ มโยงเข้าไปถึง เพิ่มความสะดวกในการเดินทางเพื่อเข้าไปท�ำงานในเขตเศรษฐกิจส�ำคัญต่าง ๆ ซึ่งเมื่อการจ้างงานเพิ่มขึ้น รายได้ของประชากร ก็จะสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น การบริโภคภาคเอกชนจึงสูงขึ้นในที่สุด นอกจากนี้ การสร้างระบบขนส่งยังส่งผลให้นกั ท่องเทีย่ วเข้าถึงสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วในภูมภิ าคต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัย ส่งผลให้ธุรกิจภาคการท่องเที่ยวขยายตัวสูงขึ้น เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งเสริม ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหันมาท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะท�ำให้การส่งออกบริการดีขึ้นในที่สุด ในช่องทางสุดท้าย ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของภาคธุรกิจลงได้อย่างมาก ซึ่งปัจจุบันจากการศึกษาเรื่องต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งจัดท�ำโดยส�ำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 16.8–20.0 ของ GDP ขณะที่ประเทศพัฒนา แล้วจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.0–10.0 การที่ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ลดลงก็จะส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการลดลง สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการได้ เป็นผลดีต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ หากต้องการเปรียบเทียบผลของการพัฒนาระบบขนส่งต่อระบบเศรษฐกิจในอดีต เราสามารถศึกษาได้จาก ความสัมพันธ์ระหว่าง Real GDP Growth จากภาคขนส่งและการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างก่อนและหลังการเปิดให้ใช้ บริการระบบขนส่งทางราง โดยจากภาพจะพบว่าหลังจากเปิดให้บริการรถไฟฟ้า BTS ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 อัตราการขยายตัว ของเศรษฐกิจในภาคขนส่งและสื่อสารมีการขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าค่อนข้างชัดเจน คือ จากร้อยละ 6.2 ในปี 2542 (ปี 2542 เป็นปีทฐี่ านการค�ำนวณต�ำ่ ) มาเป็นร้อยละ 7.5 ในปี 2543 แสดงให้เห็นมูลค่าทีเ่ พิม่ (Value Added) ทีไ่ ด้จากการพัฒนา ระบบขนส่งทางรางอย่างชัดเจน ซึ่งหลังจากนั้นประชาชนก็ได้หันมาเดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS มากขึ้นในปีถัดมาเนื่องจาก มีความสะดวก รวดเร็ว และหลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัดได้ การขยายตัวของเศรษฐกิจในภาคขนส่งและสื่อสารจึงเจริญเติบโต อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ในปี 2547 ยังได้มีการเปิดใช้รถไฟใต้ดิน MRT เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเส้นทาง ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ เศรษฐกิจในภาคขนส่งและสื่อสารขยายตัวเร่งขึ้นสูงอีกครั้งที่ร้อยละ 7.5
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
95
ภาพที่ 7 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภาคโทรคมนาคมและการขนส่ง
ที่มา : สศช.
3. แผนการลงทุนในระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย ส�ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม ได้มแี ผนการลงทุนในระบบขนส่งตามแผนงานทีช่ อื่ ว่า “แผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งและจราจร (พ.ศ. 2554-2563)” ด้วยวิสัยทัศน์ “สู่การขนส่งที่ยั่งยืน (Towards Sustainable Transport)” โดยจะมีเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเวียนเข้าสู่เศรษฐกิจไทยกว่า 1.86 ล้านล้านบาท ภายในระยะเวลา 10 ปี สนับสนุน การขยายตัวทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ ภาพที่ 8 งบประมาณลงทุนตามแผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งและจราจร (พ.ศ. 2554-2563)
ที่มา : ส�ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
ตามแผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งและจราจร ช่วงปี 2554-2563 การลงทุนในระบบขนส่งได้เปลี่ยนแนวทางจากเดิม โดยหันมาเน้นการพัฒนาและลงทุนระบบขนส่งด้านระบบรางเป็นหลัก จากเดิมทีเ่ น้นการลงทุนด้านระบบขนส่งทางถนนเป็นหลัก ในช่วงปี 2549-2553 จากภาพที่ 5 แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนงบประมาณของกระทรวงคมนาคมที่ลงทุนในสาขาการขนส่งทางถนน ลดลงจากร้อยละ 77 มาเหลือร้อยละ 39 ในช่วงปี 2554-2563 ขณะที่สาขาการขนส่งทางรางเพิ่มจากร้อยละ 18 มาอยู่ที่ร้อยละ 46 ในช่วงปี 2554-2563
96
ภาพที่ 9 งบประมาณในการสร้างระบบขนส่งระหว่างสองช่วงเวลา
ที่มา : ส�ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
แผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งและจราจร พ.ศ. 2554-2563 มีจุดประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบ ขนส่งของประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง (Hub for Connectivity) ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะมีการปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ เพือ่ อ�ำนวยความสะดวกต่อการเดินทางและขนส่ง นอกจากนี้ จะต้องมีการพัฒนาระบบขนส่งที่มีความปลอดภัย เข้าถึงทุกชุมชน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ แผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งและจราจร พ.ศ. 2554-2563 ยังได้กำ� หนดผลคาดหวังจากการด�ำเนินโครงการ ในอีก 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2563) ไว้ดังนี้ 1) สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางราง ปัจจุบันร้อยละ 2.2 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.0 และสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน�้ำ ปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 14.0 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 18.0 2) ความเร็วเฉลี่ย ขบวนรถไฟโดยสารปัจจุบัน 47.0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเพิ่มขึ้นเป็น 90.0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความเร็วเฉลี่ยขบวนรถไฟสินค้า ปัจจุบัน 35.0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเพิ่มเป็น 65.0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 3) สนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของประชากรจากอุบัติเหตุทางถนน ปัจจุบันมีสัดส่วน 18.2 คนต่อประชากรแสนคน ลดลงเหลือ 8.3 คนต่อประชากรแสนคน 4) เพิ่มสัดส่วนการใช้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนที่ 0.6 ล้านคนต่อเที่ยวต่อวัน เป็น 4.5 ล้านคนต่อเที่ยวต่อวัน 5) เพิ่มสัดส่วนการใช้บริการขนส่งสาธารณะระหว่างเมือง จากปัจจุบันร้อยละ 41.0 เป็นร้อยละ 46.0 และการเดินทาง ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล จากปัจจุบันร้อยละ 59.0 ให้เหลือเพียงร้อยละ 54.0 6) เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการขนส่งตู้สินค้า จากปัจจุบัน 10.8 ล้าน TEUs เพิ่มขึ้นเป็นไม่น้อยกว่า 20 ล้าน TEU4 7) เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติหลักของประเทศ โดยต้องรองรับได้ ไม่น้อยกว่า 60 ล้านคนต่อปี
4. บทสรุป แนวทางการพัฒนาระบบขนส่งของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า ได้เปลี่ยนแนวทางจากเดิมที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบขนส่ง ทางถนนมาเป็นการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ซึ่งแนวทางการพัฒนาดังกล่าวจะก่อให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่ในประเทศ ท�ำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่านจ�ำนวนเงินมหาศาลที่ใช้ในการลงทุนสร้างระบบราง นอกจากนี้ การลงทุนยังก่อให้เกิด การจ้างงานส่งผลให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เกิดการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค ส�ำหรับในระยะยาว ระบบขนส่ง ทางรางมีสว่ นช่วยลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ของหน่วยธุรกิจ สามารถเพิม่ ระดับการแข่งขันธุรกิจกับประเทศคูแ่ ข่งในระดับโลกได้ นอกจากนี้ ระบบรางยังเป็นระบบขนส่งที่สะดวก ปลอดภัย และรักษาสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดมลพิษต�่ำ ประกอบกับยังส่งผลดี ต่อภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการซึ่งเป็นสาขาเศรษฐกิจที่ส�ำคัญของไทยอีกด้วย TEU คือ ปริมาณความจุของตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต โดยทั่วไปมาตรฐานตู้คอนเทนเนอร์ มี 5 แบบ ได้แก่ ขนาด 20 ฟุต (ft), 40 ฟุต, 45 ฟุต, 48 ฟุต และ 53 ฟุต
4
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
97
บทวิเคราะห์ เรื่อง บทบาทนโยบายการคลัง ในการด�ำเนินนโยบายการป้องกันปัญหาอุทกภัย
1
บทสรุปผู้บริหาร ในช่วงปลายปี 2554 ทีผ่ า่ นมา ประเทศไทยได้เกิดเหตุการณ์อทุ กภัยครัง้ ใหญ่ ซึง่ จากเหตุการณ์ อุทกภัยทีเ่ กิดขึน้ ได้สง่ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก ทัง้ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตรกรรม ภาคบริการ และการใช้จ่ายภายในประเทศ การส่งออก และการท่องเที่ยว ส่งผลท�ำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2554 หดตัวร้อยละ -9.0 และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลออก (QoQ SA) พบว่าหดตัวร้อยละ -10.7 ต่อไตรมาส ท�ำให้ทั้งปี 2554 เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍ จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและระบบสาธารณูปโภค ต่าง ๆ ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ด�ำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบในช่วงที่เกิดวิกฤตอุทกภัย และริเริ่มนโยบาย หลังวิกฤตอุทกภัย เพื่อเร่งฟื้นฟูให้ภาคการผลิตสามารถกลับมาผลิตได้ตามปกติโดยเร็ว และเพื่อการสร้าง ความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยนโยบายการคลังมีบทบาทส�ำคัญในการฟื้นฟู เศรษฐกิจผ่านมาตรการด้านต่าง ๆ เช่น มาตรการด้านภาษี มาตรการด้านงบประมาณและการเบิกจ่าย มาตรการ ด้านการเงิน การประกันภัยพิบัติ และมาตรการขยายการลงทุนภายในประเทศ เป็นต้น ❍❍ มาตรการต่าง ๆ ทีภ ่ าครัฐด�ำเนินการจะส่งผลให้อตั ราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทย ขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2555 ได้ที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับปี 2554 โดยผ่านการลงทุนภายในประเทศที่จะขยายตัว เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนภาคการก่อสร้างที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น ตามมาตรการของภาครัฐทีเ่ น้นการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐาน อีกทัง้ ยังจะส่งผลดีตอ่ เศรษฐกิจในระยะปานกลาง ต่อไป ❍❍
1. บทน�ำ ในช่วงปลายปี 2554 ประเทศไทยได้เกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทย ทัง้ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตรกรรม และภาคบริการ รวมถึงการลงทุน การส่งออก และการท่องเทีย่ ว ส่งผลท�ำให้เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 หดตัวถึงร้อยละ -9.0 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น และหดตัวถึงร้อยละ -10.7 เมือ่ เทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ท�ำให้ทั้งปี 2554 เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ขณะที่ในด้านมูลค่าพบว่า Nominal GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ทีม่ กี ารปรับผลของฤดูกาลแล้วจะลดลงจากทีส่ ำ� นักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดไว้ทจี่ ำ� นวน 2.81 ล้านล้านบาท ลงมาเหลือ 2.45 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง -3.64 แสนล้านบาท ทั้งนี้ หากประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจพบว่า ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งพอสรุปผลกระทบได้ดังนี้ (1) ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 7 แห่งที่ต้องหยุดด�ำเนินการออกไป นอกจากนี้ ยังรวมถึงปัญหา Supply chain ท�ำให้โรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องต้องหยุดการผลิตตามไปด้วย โดย Real GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 หดตัวลงถึงร้อยละ -20.8 ในด้านมูลค่าจะพบว่า Nominal GDP ภาคอุตสาหกรรมที่มีการปรับฤดูกาลแล้วจะลดลงจากที่ สศค. คาดไว้ที่ 1.1 ล้านล้านบาท ลดลงมาเหลือ 0.85 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นความสูญเสียต่อภาคอุตสาหกรรม -2.54 แสนล้านบาท ผู้เขียน : นายวรพล คหัฏฐา เศรษฐกรปฏิบัติการ และนายกมลพงศ์ วิศิษฐวาณิชย์ เศรษฐกรโท ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
1
98
(2) ภาคบริการ โดย Real GDP ภาคบริการในไตรมาสที่ 4 หดตัวลงร้อยละ -0.7 ในด้านมูลค่าจะพบว่า Nominal GDP ภาคบริการที่มีการปรับฤดูกาลแล้วจะลดลงจากที่ สศค.คาดไว้ที่ 1.35 ล้านล้านบาท ลดลงมาเหลือ 1.28 ล้านล้านบาท หรือ คิดเป็นความสูญเสียต่อภาคบริการ -0.76 แสนล้านบาท และ (3) ภาคเกษตรได้รบั ผลกระทบน้อยทีส่ ดุ โดย Real GDP ภาคเกษตร ในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.7 เนื่องจากปัจจัยฐานที่ต�่ำของปีก่อนหน้า แต่ในด้านมูลค่าจะพบว่า Nominal GDP ภาคเกษตรที่มีการปรับฤดูกาลแล้วจะลดลงจากที่ สศค.คาดไว้ที่ 3.5 แสนล้านบาท ลดลงมาเหลือ 3.17 แสนล้านบาท หรือ คิดเป็นความสูญเสียต่อภาคเกษตร -0.33 แสนล้านบาท ตารางที่ 1 สรุปความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี 2554 Real GDP ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาคเกษตร
คาดการณ์ Q4/54 ก่อนน�้ำท่วม
ข้อมูลจริง
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
2,811,502 1,106,713 1,354,158 350,600
2,447,843 852,564 1,278,106 317,173
-363,659 -254,149 -76,052 -33,427
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัว (%qoq) และ Nominal GDP (Mil.THB : Seasonally Adjusted)
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
2. มาตรการเร่งด่วนในการบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย ในช่วงเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น นโยบายการคลังมีบทบาทส�ำคัญในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก อุทกภัยภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน ดังนี้ 2.1 มาตรการเยียวยาเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย o เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพื่อซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายทั้งหลังเป็นเงิน 30,000 บาท และเสียหาย บางส่วนเป็นเงินไม่เกิน 20,000 บาท o เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยฉุกเฉินครอบครัวละ 5,000 บาท ซึ่งได้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว 2,466,815 ราย วงเงิน 12,334.08 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 97 ของวงเงินเยียวยาทั้งหมด
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
99
ตารางที่ 2 ผลการด�ำเนินงานตามมาตรการช่วยเหลือที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยตามมติคณะรัฐมนตรี บัญชี กรอบ ครม. รับจากกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย
จ่ายแล้ว ราย %
คงเหลือ ราย %
34 จังหวัด เริ่มจ่าย 6 กันยายน 2554 36 จังหวัด เริ่มจ่าย 7 ตุลาคม 2554 รวม
175,088
159,879
159,792
99.95
87
0.05
334,039
302,239
299,921
99.23
2,318
0.77
509,127
462,118
459,713
99.48
2,405
0.52
*กทม. 42 เขต เริ่มจ่าย 7 ธันวาคม 2554 **62 จังหวัด เริ่มจ่าย 24 พฤศจิกายน 2554 รวม รวมทั้งสิ้น
1,089,242
597,764
566,013
94.69
31,751
5
1,821,675
1,482,817
1,441,089 97.19
41,728
3
2,910,917 3,420,044
2,080,581 2,542,699
2,007,102 2,466,815
73,479 75,884
4 3
96 97
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
2.2 มาตรการด้านการเงิน กระทรวงการคลังได้มีการก�ำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ผ่านมาตรการสินเชื่อ (Credit Policies) โดยมีการก�ำหนดวงเงินจ�ำนวน 277,000 ล้านบาท ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทัง้ 8 แห่ง ได้แก่ 1) ธนาคารเพือ่ การเกษตร และสหกรณ์การเกษตร 2) ธนาคารออมสิน 3) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 4) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งประเทศไทย 5) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 6) ธนาคารเพื่อการส่งออกและน�ำเข้าแห่งประเทศไทย 7) บรรษัท ประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และ 8) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย รวมทั้งธนาคารกรุงไทย จ�ำกัด (มหาชน) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเดิมของธนาคารในเรื่องการพักช�ำระหนี้ ขยายระยะเวลาช�ำระหนี้ และลดดอกเบี้ย รวมทั้ง ให้เงินกู้ใหม่แก่ลูกค้าเดิมและประชาชนทั่วไป เพื่อฟื้นฟูอาชีพและซ่อมแซมบ้านเรือนรวมทั้งอาคารที่เสียหาย โดยปรับลด อัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่ต�่ำกว่าปกติและลดหย่อนเกณฑ์การพิจารณา โดยมีรายละเอียดการให้ความช่วยเหลือของ แต่ละสถาบันการเงิน ดังนี้ 1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) o กรณีลูกค้าเสียชีวิตจากอุทกภัย จะจ�ำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส. รับภาระเอง o ขยายเวลาการช�ำระหนี้เงินกู้เดิมเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554-2556 และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554-2556 o ให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตรายละไม่เกิน 100,000 บาท และลดดอกเบี้ย เงินกู้จากอัตราปกติที่ ธ.ก.ส.เรียกเก็บจากลูกค้าลงร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี 2. ธนาคารออมสิน o สินเชื่อเคหะ - พักช�ำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย หรือพักช�ำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 6 เดือน - ปรับลดเงินงวด และ/หรือขยายระยะเวลาการผ่อนช�ำระหนี้ โดยเป็นไปตามเงื่อนไขการให้สินเชื่อเคหะของ ธนาคาร (ไม่เกิน 30 ปี) - ให้กเู้ พิม่ เพือ่ เป็นเงินกูก้ รณีฉกุ เฉินรายละ 300,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 10 ของจ�ำนวนเงินกูต้ ามสัญญาเดิม ระยะเวลาช�ำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 ร้อยละ 3.25 ต่อปี ปีที่ 3-5 เท่ากับร้อยละ MLR-1 ต่อปี
100
- เงินกู้เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยส�ำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะเดิมรายละ 300,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินหลักทรัพย์เดิม ส�ำหรับประชาชนทั่วไปไม่เกินรายละ 300,000 บาท ระยะเวลาช�ำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 เท่ากับร้อยละ 3.25 ปีที่ 3-5 เท่ากับร้อยละ MLR-1 ต่อปี o สินเชือ่ โครงการธนาคารประชาชน สินเชือ่ โครงการแก้ไขปัญหาหนีส้ นิ ภาคประชาชน (หนีน้ อกระบบ) สินเชือ่ ธุรกิจ ห้องแถว และสินเชื่อองค์กรชุมชน - พักช�ำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยไม่เกิน 6 เดือน - ปรับลดเงินงวด และ/หรือขยายระยะเวลาการผ่อนช�ำระหนี้ได้ไม่เกิน 1 ปี - ให้กู้เพิ่มส�ำหรับลูกค้าสินเชื่อเดิมและประชาชนทั่วไป โดยสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนรายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับร้อยละ MRR+1 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กรณีผิดช�ำระหนี้ร้อยละ 14 ต่อปี ระยะเวลาช�ำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี - ให้กู้เพิ่มส�ำหรับลูกค้าสินเชื่อเดิมและประชาชนทั่วไป โดยสินเชื่อห้องแถวรายละไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี ระยะเวลาช�ำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี 3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) - วงเงินให้กู้ส�ำหรับลูกหนี้เดิมของ ธอส.หรือลูกค้าใหม่เพื่อปลูกสร้างหรือซ่อมแซมอาคารไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร/ค่าซ่อมแซมอาคาร ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 30 ปี อัตราดอกเบี้ยแบ่งเป็น o ลูกหนี้เดิมของธนาคาร - กรณีหลักประกันได้รับความเสียหาย ลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนที่ 1-4 เหลือร้อยละ 0 ต่อปี โดยมีอัตราดอกเบี้ย ให้เลือก 2 แบบ - กรณีได้รบั ผลกระทบเรือ่ งรายได้ ลดอัตราดอกเบีย้ เหลือร้อยละ 1 ต่อปีเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากนัน้ คิดดอกเบีย้ ลอยตัวตามประกาศธนาคาร - กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0.01 ต่อปีตลอดระยะเวลาที่เหลืออยู่ o กูเ้ พิม่ หรือกูใ้ หม่ คิดอัตราดอกเบีย้ เงินกูค้ งที่ 5 ปี โดยปีที่ 1-5 เท่ากับร้อยละ 2 ต่อปีหลังจากนัน้ คิดดอกเบีย้ ลอยตัว ตามประกาศธนาคาร - กรณีอาคารที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ตามการตรวจสอบของธนาคาร ธนาคารจะพิจารณาปลดภาระเฉพาะภาระหนี้ตามยอดหนี้คงเหลือในส่วนของอาคาร โดยผู้กู้ผ่อนช�ำระหนี้ในส่วนของที่ดิน ที่คงเหลือ (ถ้ามี) ในอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม - ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ทุกวงเงินกู้และค่าธรรมเนียม ค่าเบี้ยปรับในรายการที่เกี่ยวข้องทุกกรณี 4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) o วงเงินกู้เพื่อปรับปรุง ซ่อมแซม ฟื้นฟูกิจการ และ/หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนรายละไม่เกิน 1,000,000 บาท ระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 6 ปี และระยะเวลาปลอดช�ำระคืนเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 2 ปี o อั ต ราดอกเบี้ ย คงที่ ที่ ร ้ อ ยละ 8 ต่ อ ปี ต ลอดอายุ สั ญ ญา โดยรั ฐ บาลชดเชยดอกเบี้ ย ให้ ร ้ อ ยละ 2 ต่ อ ปี ตลอดอายุสัญญา ดังนั้นผู้ประกอบการจะจ่ายจริงที่ร้อยละ 6 ต่อปีตลอดอายุสัญญา o ไม่ต้องมีหลักประกัน 5. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) o โครงการยิ้มสู้ฟื้นฟูอาชีพ (1) ผ่อนปรนการช�ำระหนี้ ทัง้ ส่วนเงินต้นและกําไร เป็นระยะเวลา 3 เดือน และเดือนที่ 4–24 ให้ชำ� ระทัง้ ส่วนเงินต้น และกําไร โดยคิดอัตรากําไรตํ่ากว่าสัญญาเดิมร้อยละ 1 หลังจากนั้นคิดอัตรากําไรตามสัญญาเดิม หรือช�ำระเฉพาะส่วนก�ำไร เป็นระยะเวลา 12 เดือน เดือนที่ 13–24 ให้ช�ำระทั้งส่วนเงินต้นและกําไรตามสัญญาเดิม (2) ให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม ส�ำหรับก่อสร้าง ซ่อมแซม/ต่อเติมที่อยู่อาศัย และ/หรือสถานประกอบธุรกิจที่ได้รับ ความเสียหายตามความจ�ำเป็น ให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินหลักประกันเดิมและ/หรือหลักประกันอื่นเพิ่มเติม ประมาณการเศรษฐกิจไทย
101
(3) ให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม ส�ำหรับใช้หมุนเวียนในธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องจากการได้รับผลกระทบทางอ้อม ให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินหลักประกันเดิม (4) ระยะเวลาการผ่อนช�ำระสูงสุดไม่เกิน 7 ปีส�ำหรับสินเชื่ออเนกประสงค์ และไม่เกิน 30 ปีส�ำหรับสินเชื่อ เพื่อก่อสร้าง ซ่อมแซม ต่อเติมที่อยู่อาศัย o โครงการประกันสังคมเคียงข้างผู้ประกันตนต้านอุทกภัย - ผูป้ ระกันตนไว้กบั ส�ำนักงานประกันสังคมตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในพืน้ ทีไ่ ด้รบั ความเสียหาย จากอุทกภัยนํ้าท่วม เพื่อน�ำไปซ่อมแซม ปรับปรุงที่อยู่อาศัยของตนเอง และ/หรือของบิดา-มารดารายละไม่เกิน 50,000 บาท - ผู้ประกอบกิจการที่ขึ้นทะเบียนจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนกับส�ำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ได้รับ ความเสียหายจากอุทกภัยนํ้าท่วม เพื่อน�ำไปฟื้นฟูสถานประกอบการ เครื่องจักรอุปกรณ์ หมุนเวียนในธุรกิจรายละไม่เกิน 1,000,000 บาท - ระยะเวลาการผ่อนช�ำระ 12 เดือนถึง 60 เดือน 6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและน�ำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) o สินเชื่อระยะยาว (กรณีวงเงินที่มีในปัจจุบัน) - พักการช�ำระหนี้ต้นเงินกู้และดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 2 เดือน - เลื่อนกําหนดการผ่อนช�ำระหนี้หรือปรับเงื่อนไขในการผ่อนช�ำระหนี้ ในส่วนของระยะเวลา/จ�ำนวนเงิน - ยกเว้นการคิดดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดช�ำระ o สินเชื่อระยะยาว (กรณีขอเงินกู้เพิ่มเติมเพื่อซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น) - กําหนดอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน - ระยะเวลาการช�ำระคืน เงือ่ นไขการผ่อนช�ำระและเงือ่ นไขอืน่ ๆ ให้ฝา่ ยงานด้านการตลาดเป็นผูน้ �ำเสนอขออนุมตั ิ จากผู้มีอ�ำนาจอนุมัติสินเชื่อ 7. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) o พักการช�ำระค่าธรรมเนียมคํ้าประกัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ส�ำหรับลูกค้า บสย.ที่ได้รับความเสียหายจาก สถานการณ์อุทกภัยปี 2554 และถึงก�ำหนดช�ำระค่าธรรมเนียมต่ออายุการคํ้าประกันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2555 o ให้ความร่วมมือแก่สถาบันการเงินทีล่ กู ค้าได้รบั การคํา้ ประกันสินเชือ่ จาก บสย.ในการผ่อนปรนเรือ่ งการพักช�ำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการสามารถด�ำเนินต่อไปได้ตามปกติ 8. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) o พักช�ำระหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน o ปรับลดเงินงวดหรือขยายระยะเวลาการผ่อนช�ำระหนี้ออกไปรวมไม่เกิน 30 ปี o ในกรณีที่ลูกค้ามีความประสงค์จะขอกู้เพิ่มเพื่อน�ำเงินไปซ่อมแซมบ้านที่ได้รับความเสียหาย บตท.จะเป็น ผู้ประสานกับสถาบันการเงินเพื่อให้กู้เพิ่มต่อไป 9. ธนาคารกรุงไทย จ�ำกัด (มหาชน) o ธนาคารกรุงไทยจับคู่ธุรกิจสู้อุทกภัย โดยจัด Business Matching ระหว่างผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหาย กับผูป้ ระกอบการทีจ่ ำ� หน่ายวัสดุกอ่ สร้างและเครือ่ งจักรอุปกรณ์ ผูร้ บั เหมา เพือ่ ให้ผทู้ ไี่ ด้รบั ความเสียหายสามารถปรับปรุงซ่อมแซม กิจการ หรือทดแทนและซ่อมบ�ำรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ ในสถานประกอบการที่ได้รับความเสียหายในราคาพิเศษ o โครงการสินเชื่อเพือ่ การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะเวลาการผ่อนช�ำระสูงสุด 60 งวด อัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรกอัตราคงที่ร้อยละ 4 ต่อปี หลังจากนั้นดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากประจ�ำ 6 เดือนบุคคลธรรมดา + ร้อยละ 1.65 ต่อปี ปลอดเงินต้น 6 เดือน
102
2.3 มาตรการด้านภาษี มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่ o การบริจาคให้แก่ผปู้ ระสบอุทกภัยผ่านหน่วยงานส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือผ่านเอกชนที่เป็นตัวแทนรับบริจาคที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสรรพากร เพื่อน�ำไปบริจาคต่อให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยนั้น สามารถน�ำมาหักเป็นรายจ่ายในทางภาษีได้ 1.5 เท่า ส�ำหรับการบริจาคระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และผู้ได้รับบริจาคได้รับการยกเว้นไม่ต้องน�ำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคมาถือเป็นเงินได้ในการค�ำนวณภาษีเงินได้ o มาตรการให้หักค่าลดหย่อนภาษีส�ำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้าน คือ การให้หักค่าลดหย่อนภาษี โดยการยกเว้นภาษีเงินได้ส�ำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซม รวมทั้งค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินซึ่งเป็น อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร หรือที่อยู่อาศัยในเขตอาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุด และทรัพย์สินที่มีการประกอบติดตั้งติดกับ ตัวอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด รั้ว และประตูรั้ว แต่ไม่เกิน 1.0 แสนบาท ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีในปีที่ได้จ่าย ค่าซ่อมแซมรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สิน ในปีภาษี พ.ศ. 2554 หรือในปีภาษี พ.ศ. 2555 ถ้าใช้สิทธิยกเว้น ในปี 2554 และปีภาษี พ.ศ. 2555 ทั้ง 2 ปีภาษี ให้ได้รับสิทธิยกเว้นรวมกันไม่เกิน 1.0 แสนบาท o มาตรการให้หักค่าลดหย่อนภาษีส�ำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์ คือ การให้หักค่าลดหย่อนภาษี โดยการยกเว้นภาษีเงินได้เท่าทีไ่ ด้จา่ ยเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ รวมทัง้ ค่าวัสดุอปุ กรณ์ในการซ่อมแซม รถยนต์ แต่ไม่เกิน 3.0 หมื่นบาท ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีในปีที่ได้จ่ายค่าซ่อมแซมรถยนต์ในปีภาษี พ.ศ. 2554 หรือในปีภาษี พ.ศ. 2555 ทั้ง 2 ปีภาษี ให้ได้รับสิทธิยกเว้นรวมกันไม่เกิน 3.0 หมื่นบาท มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนในทรัพย์สินของผู้ประสบอุทกภัย ได้แก่ o มาตรการหักค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการรับจ้าง ผลิตสินค้า คือ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้น ในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และอยู่ในท้องที่ที่ราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ส�ำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการรับจ้างผลิตสินค้า เป็นจ�ำนวนร้อยละ 25 ของเงินได้ที่ได้จ่ายไป o ยกเว้นภาษีโรงเรือนและทีด่ นิ ตามจ�ำนวนเดือนทีโ่ รงเรือนได้รบั ความเสียหายจากภัยพิบตั ิ จนไม่สามารถใช้การได้ และยังไม่ได้ซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพเดิม o ยกเว้นอากรขาเข้าเครือ่ งจักร ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครือ่ งจักร รวมถึงเครือ่ งมือและเครือ่ งใช้ทใี่ ช้กบั เครื่องจักรดังกล่าวที่น�ำเข้ามาเพื่อทดแทนหรือซ่อมแซมเครื่องจักรที่ได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากอุทกภัยเป็นระยะเวลา ชั่วคราว o ยกเว้นอากรขาเข้ารถยนต์นงั่ ส�ำเร็จรูปเพือ่ ทดแทนการผลิตในประเทศเป็นการชัว่ คราว ยกเว้นอากรขาเข้าชิน้ ส่วน รถยนต์ที่น�ำเข้ามาเพื่อผลิตหรือประกอบเป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบเป็นรถยนต์ส�ำเร็จรูปในประเทศ 2.4 มาตรการด้านงบประมาณและการเบิกจ่าย o มาตรการการสนับสนุนจังหวัดและส่วนราชการในการใช้จ่ายเงินทดรองราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยกรมบัญชีกลาง ซึง่ จังหวัดทีป่ ระสบภัยสามารถขอขยายวงเงินมายังกรมบัญชีกลางจากเดิมทีม่ สี ทิ ธิใช้ได้ 50 ล้านบาท เป็น 250 ล้านบาท เพือ่ บรรเทา ความเดือดร้อน (หากเกินกว่านี้ให้เป็นอ�ำนาจของหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงการคลังในการพิจารณาอนุมัติ) o การขยายระยะเวลาและผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกันเงินงบประมาณปี 2554 ไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ผูกพัน ได้อีก 6 เดือน จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2555 เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกจ่ายเงินตามระบบ GFMIS ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในรายการเพื่อช่วยเหลือแก้ไขและฟื้นฟูภายหลังอุทกภัย
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
103
3. นโยบายในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นภายหลังวิกฤตอุทกภัย ในระยะหลังจากเหตุการณ์อุทกภัย นโยบายการคลังจะต้องมีบทบาทส�ำคัญในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของ ประเทศไทย รวมทัง้ เพิม่ การลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐาน เพือ่ ป้องกันปัญหาอุทกภัยในอนาคตภายใต้แผนงานของรัฐบาลทีส่ ำ� คัญ สรุปได้ ดังนี้ 3.1 นโยบายการใช้จ่ายรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐ o ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลได้จัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 400,000 ล้านบาท ภายใต้กรอบวงเงิน งบประมาณรายจ่าย 2,380,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะมีการผลักดันการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางจะท�ำการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณหลังจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 เพื่อให้การด�ำเนินนโยบายการคลังเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการกระตุ้น และฟืน้ ฟูเศรษฐกิจในปี 2555 โดยในปีงบประมาณ 2555 นี้ คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณ ในภาพรวมที่ร้อยละ 93 ของวงเงินงบประมาณ และเป้าหมายการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนที่ร้อยละ 72 ของวงเงินรายจ่ายลงทุน o การลงทุนภาครัฐเพือ่ พัฒนาการบริหารจัดการน�ำ้ ภายใต้การออกพระราชก�ำหนดให้อำ� นาจกระทรวงการคลังกูเ้ งิน เพื่อการวางระบบการบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินไม่เกิน 3.5 แสนล้านบาท เพื่อน�ำมาใช้ ในการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานในส่วนของการวางระบบบริหารจัดการน�ำ้ ทัง้ นี้ มติการประชุมคณะรัฐมนตรี เมือ่ วันที่ 13 มีนาคม 2555 ได้มกี ารอนุมตั กิ รอบงบประมาณจ�ำนวน 24,828.82 ล้านบาท ตามทีค่ ณะกรรมการการบริหารจัดการน�ำ้ และอุทกภัย (กบอ.) เสนอ เพื่อน�ำไปแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน จ�ำนวน 246 โครงการ เพื่อให้สามารถด�ำเนินการบริหารจัดการน�้ำและอุทกภัย เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือก่อนถึงฤดูฝนปีนี้ โดยยึดหลักการระบายน�้ำจากต้นน�้ำสู่ปลายน�้ำให้สามารถระบายน�้ำได้มากที่สุด และสามารถป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชนได้ทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้ การออกแผนงาน หรือโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวยังสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและนักลงทุนต่างชาติ ตารางที่ 3 โครงการแก้ปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วนและระยะยั่งยืน
โครงการ
จ�ำนวนโครงการ
วงเงินโครงการ (ล้านบาท)
1. การด�ำเนินการในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำเจ้าพระยา 1.1 แนวคันกั้นน�้ำริมแม่น�้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก 1.2 แนวคันกั้นน�้ำฝั่งตะวันตก 1.3 การย้ายแนวคันพระราชด�ำริ 1.4 ซ่อมแซมประตูน�้ำ และติดตั้งสถานีสูบน�้ำเพิ่มเติม 1.5 ปรับปรุงคลองระบายน�้ำ 1.6 โครงการขุดลอกแม่น�้ำและคลองขนาดใหญ่ 2. การด�ำเนินการในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น�้ำเจ้าพระยา 2.1 แนวคันกั้นน�้ำด้านแม่น�้ำเจ้าพระยา 2.2 แนวคันกั้นน�้ำด้านใต้ตามคลองพระยาบรรลือ 2.3 แนวคันกั้นน�้ำด้านใต้ตามคลองพระพิมล 2.4 แนวคันกั้นน�้ำด้านใต้ตามคลองมหาสวัสดิ์ 2.5 แนวคันกั้นน�้ำฝั่งตะวันออกริมแม่น�้ำท่าจีน 2.6 เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน�้ำคลองทวีวัฒนา 2.7 ปรับปรุงคลองระบายน�้ำภายใต้คันปิดล้อมพื้นที่ฝั่งตะวันตก 2.8 ซ่อมแซมประตูน�้ำและติดตั้งสถานีสูบน�้ำเพิ่มเติม 2.9 จัดท�ำ Canel Street ที่ถนนพุทธมณฑลสาย 4 2.10 จัดท�ำ Canel Street ที่ถนนพุทธมณฑลสาย 5 2.11 ขยายทางยกระดับบรมราชชนนีถึงจังหวัดนครปฐมระยะทาง 21 กม. รวมโครงการเร่งด่วน รวมโครงการระยะยั่งยืน รวมทั้งสิ้น
161 8 41 15 50 38 9 88 33 8 8 3 12 1 3 17 1 1 1 246 3 249
15,592,821,500 559,500,000 9,081,196,500 1,964,550,000 355,306,000 136,269,000 3,496,000,000 25,735,999,000 2,263,514,000 1,792,900,000 626,100,000 1,858,250,000 2,542,805,000 48,140,000 10,600,000 93,690,000 1,500,000,000 2,500,000,000 12,500,000,000 24,828,820,500 16,500,000,000 41,328,820,500
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
104
o นอกจากนี้ ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2556 ซึ่งรัฐบาลได้วางแผนที่จะจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 300,000 ล้านบาท โดยมีวงเงินงบประมาณรายจ่าย 2,400,000 ล้านบาทนั้น ได้มีการก�ำหนดวงเงินรายจ่ายลงทุนไว้ 467,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของวงเงินงบประมาณ และสูงกว่าปีงบประมาณปัจจุบัน 28,445 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.5 3.2 มาตรการทางด้านการประกันภัยพิบัติ o ส�ำหรับนโยบายการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย รัฐบาลได้มีการด�ำเนินการภายใต้ พระราชก�ำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบตั ิ พ.ศ. 2555 ซึง่ จะเป็นการจัดตัง้ กองทุนเพือ่ รับประกันวินาศภัยในอัตราเบีย้ ประกัน ที่ไม่สูงมาก เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนในการประกันวินาศภัยและไม่ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น o วงเงินความคุ้มครองและการจ�ำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ (Sub limit) แบ่งตามประเภทของ ผู้เอาประกันภัยเป็น 3 ประเภท ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ดังนี้ 1) บ้านอยู่อาศัย วงเงินความคุ้มครองไม่เกิน 100,000 บาท คิดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีของวงเงิน ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ 2) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หมายถึง ธุรกิจที่มีทุนประกันภัยไม่เกิน 50 ล้านบาท จะจ�ำกัด ความรับผิดของกรมธรรม์ภัยพิบัติที่ไม่เกินร้อยละ 30.0 ของทุนประกันภัย คิดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ร้อยละ 1.0 ต่อปีของวงเงิน ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ 3) อุตสาหกรรม หมายถึง ธุรกิจที่มีทุนประกันภัยตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป จะจ�ำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ ภัยพิบตั ทิ ไี่ ม่เกินร้อยละ 30.0 ของทุนประกันภัย คิดอัตราเบีย้ ประกันภัยทีร่ อ้ ยละ 1.25 ต่อปีของวงเงินความคุม้ ครองตามกรมธรรม์ ประกันภัยพิบัติ 3.3 มาตรการขยายการลงทุนภายในประเทศ o กระทรวงการคลั ง ได้ ด� ำ เนิ น การและสนั บ สนุ น การจั ด ตั้ ง กองทุ น รวมโครงสร้ า งพื้ น ฐานในประเทศไทย (Infrastructure Fund) ขึ้น ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 o กระทรวงการคลังคาดว่าจะเริ่มมีการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวได้ในปี 2555 ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่ ในระบบเศรษฐกิจ o นอกจากการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใหม่ในประเทศแล้ว กระทรวงการคลังยังได้ให้ความส�ำคัญกับการลงทุน เพือ่ ฟืน้ ฟูกจิ การส�ำหรับผูท้ ไี่ ด้รบั ผลกระทบจากเหตุการณ์อทุ กภัย โดยผูป้ ระกอบการทีไ่ ด้รบั ความเสียหายจากอุทกภัย และต้องการ จะลงทุนเพือ่ ท�ำการผลิตชัว่ คราวหรือลงทุนใหม่เพือ่ ฟืน้ ฟูธรุ กิจในประเทศไทย กระทรวงการคลังได้กำ� หนดมาตรการภาษีเพือ่ ยกเว้น และลดหย่อนภาษีเงินได้นติ บิ คุ คลให้แก่ผปู้ ระกอบการดังกล่าว รวมถึงการยกเว้นอากรขาเข้าเครือ่ งจักรทีใ่ ช้ในการผลิตด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ มาตรการต่าง ๆ ที่ภาครัฐให้การส่งเสริมดังกล่าวจะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 2555 ให้ฟื้นตัวจากปีก่อนหน้า โดย สศค.คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.5 จากผลของการลงทุนภายใน ประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงจะก่อให้เกิดการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในภาคการก่อสร้าง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
105
ภาคการเงิน
รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ปรับตัวลดลง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.85 ณ สิ้นปี 2554 เป็นร้อยละ 2.98 ณ สิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 2555 จากการแข่งขันระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับลดลงจากร้อยละ 7.44 ณ สิ้นปี 2554 เป็นร้อยละ 7.32 ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 (ภาพที่ 1) ตามการปรับลดของ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยนับตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 นอกจากนี้ การที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับ ที่มีเสถียรภาพก็ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ❍❍ การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2555 เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากของธนาคาร พาณิชย์จะปรับตัวเพิม่ ขึน้ จากปี 2554 โดยคาดว่าอัตราดอกเบีย้ อาจมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในช่วงต้นปี 2555 ตามการปรับลด อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังสถานการณ์น�้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 แรงกดดันจาก เงินเฟ้อทีค่ าดว่าจะสูงขึน้ ตามการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจอาจส่งผลให้มกี ารปรับขึน้ อัตราดอกเบีย้ นโยบายได้ ผนวกกับสินเชือ่ ทีค่ าดว่า จะขยายตัวเร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงดังกล่าว จะท�ำให้มีการแข่งขันระดมเงินฝากมากขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าว จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ❍❍
ภาพที่ 1 อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชือ่ ของสถาบันการเงินทีร่ บั ฝากเงิน1 (Depository institutions) ณ สิน้ เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่เงินฝากขยายตัวชะลอลง (ภาพที่ 2 และภาพที่ 3) โดย ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 สถาบัน รับฝากเงินมียอดคงค้างของสินเชื่อภาคเอกชนจ�ำนวน 11,789.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากการขยายตัวเร่งขึ้นของสินเชื่อ ภาคครัวเรือนเป็นส�ำคัญ โดยหากวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า สินเชื่อของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวเร่งขึ้น ด้านเงินฝากของสถาบันรับฝากเงินมียอดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 11,964.3 พันล้านบาท ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากการระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อตามการขยายตัวของเศรษฐกิจหลังภาวะน�้ำท่วม ❍❍
1
106
ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน
ภาพที่ 2 สินเชื่อในสถาบันรับฝากเงิน
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 3 เงินฝากในสถาบันรับฝากเงิน
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือนสิงหาคม ปี 2554 ขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่เงินฝากของ ธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย (ภาพที่ 4 และภาพที่ 5) ณ สิน้ เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ธนาคารพาณิชย์มยี อดคงค้าง สินเชื่อภาคเอกชนจ�ำนวน 7,758.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเมื่อขจัด ผลของฤดูกาลแล้วขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ด้านเงินฝากของสถาบันรับฝากเงินมียอดคงค้าง เงินฝากจ�ำนวน 8,089.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลของฤดูกาล แล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ❍❍
ภาพที่ 4 สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 5 เงินฝากในธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชื่อภาคครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่สินเชื่อภาคธุรกิจขยายตัวชะลอลง (ภาพที่ 6) สินเชื่อภาคครัวเรือนซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 60 ของสินเชื่อรวมขยายตัว เร่งขึน้ ทีร่ อ้ ยละ 14.9 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า สอดคล้องกับเครือ่ งชีภ้ าวะเศรษฐกิจภาคการบริโภคทีส่ ง่ สัญญาณ การขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นชัดเจน ขณะที่สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ ซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 40 ของสินเชื่อรวม ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
107
ภาพที่ 6 ยอดคงค้างสินเชื่อครัวเรือนและสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
สินเชือ่ ธุรกิจเกือบทุกภาคการผลิตขยายตัวชะลอลง โดยเฉพาะสินเชือ่ ภาคบริการและภาคเกษตรกรรม (ภาพที่ 8) ยอดคงค้างสินเชื่อภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 45 (ภาพที่ 7) ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาส ก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สอดคล้องกับการหดตัวของจ�ำนวนนักท่องเที่ยวจากภาวะ น�้ำท่วมในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ที่ร้อยละ -4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ยอดคงค้างสินเชื่อภาคเกษตรกรรม ขยายตัวชะลอลงจากยอดคงค้างสินเชื่อเกษตรกรรมในไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.3 สอดคล้องกับดัชนีผลผลิต ภาคเกษตรกรรมและราคาสินค้าเกษตรในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ที่ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ยอดคงค้างสินเชื่อ ภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีส่วนแบ่งร้อยละ 42.6 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงจากยอดคงค้างสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ที่หดตัวจากสถานการณ์น�้ำท่วมที่ร้อยละ -34.4 ❍❍
ภาพที่ 7 สินเชื่อแยกตามภาคธุรกิจ
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 8 การขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 9 โครงสร้างสินเชื่อผู้บริโภค
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
108
ยอดคงค้างสินเชื่อผู้บริโภคในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนหน้า โดยสินเชื่อบุคคลเพื่อซื้อรถหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 5.0 ของสินเชื่อรวม หรือร้อยละ 22.0 ของสินเชื่อบุคคล ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ที่ร้อยละ 22.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สะท้อนการบริโภคสินค้าคงทนในส่วนของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่ยังขยายตัวได้ดี แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะน�้ำท่วม ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 13.0 ของสินเชื่อทั้งหมด หรือกว่าร้อยละ 55.0 ของสินเชื่อบุคคล ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 10.0 จากการที่ผู้บริโภคชะลอการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในช่วงน�้ำท่วม ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตในเดือนมกราคม ปี 2555 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 7.0 บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนเร่งขึ้นภายหลังสถานการณ์น�้ำท่วม สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมกราคม 2555 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 65.5 ❍❍
ภาพที่ 10 การขยายตัวสินเชื่อบุคคล ธนาคารพาณิชย์แยกประเภท
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 11 การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ผ่านบัตรเครดิต
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
กล่าวโดยสรุป ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เงินฝากและสินเชื่อของสถาบันการเงินไทยขยายตัว เร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังภาวะน�้ำท่วม โดยหากวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดพบว่า สินเชื่อของธนาคาร พาณิชย์โดยเฉพาะสินเชือ่ ผูบ้ ริโภคขยายตัวเร่งขึน้ จากความเชือ่ มัน่ ผูบ้ ริโภคทีเ่ พิม่ ขึน้ ต่อเนือ่ งหลังภาวะน�ำ้ ท่วม ขณะทีส่ นิ เชือ่ ของ สถาบันการเงินเฉพาะยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องตามมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ขณะที่เงินฝากขยายตัวเร่งขึ้นเช่นกัน โดยเป็นการเร่งขึ้นของทั้งเงินฝากของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จากการเร่งระดมเงินฝากเพื่อรองรับ การขยายตัวของสินเชื่อหลังสถานการณ์น�้ำท่วม ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ถึงสถานภาพของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันพบว่ายังคง มีความแข็งแกร่ง โดยสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 1.3 ของสินเชื่อทั้งหมด ขณะที่สัดส่วน เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 15.4 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายก�ำหนดไว้ที่ร้อยละ 8.5 ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
109
Thailand’s Key Economic Indicators ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators)
110
ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง FISCAL POLICY OFFICE
ส
เสนอแนะอย่างมีหลักการ
ศ ค
ศึกษาโดยไม่หยุดนิ่ง คนคลังที่มีคุณภาพ
คณะผู้จัดท�ำ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ : boonchar@mof.go.th ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ดร.กุลยา ตันติเตมิท : kulaya.t@hotmail.mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ ณัฐยา อัชฌากรลักษณ์ : nuttaya@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค พิสิทธิ์ พัวพันธ์ : pisitp@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร : soraphol@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์ สิริกัลยา เรืองอ�ำนาจ : sirigunya@hotmail.com
ผู้รับผิดชอบรายภาคเศรษฐกิจ
ภาคการคลัง คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com นิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว : nipat44@hotmail.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com พีรพัฒน์ วงศ์ชัยวัฒน์ : wongchaiwat@hotmail.com สุธิรัตน์ จิรชูสกุล : j_suthi01@ yahoo.com กมลพงศ์ วิศษิ ฐวาณิชย์ : sasri_aorn13@hotmail.com รชานนท์ ฉิมเชิด : rachanon.fpo@gmail.com ภาคการค้าระหว่างประเทศ ธนิต ภัทรแสงไทย : thanitcfa@gmail.com อรุณรัตน์ นานอก : aobcy2000@hotmail.com ตลาดน�้ำมัน ดร.กุลกัลยา พระยาราช : kulkunya@mof.go.th ยุทธภูมิ จารุเศร์นี : iam5111@msn.com เศรษฐกิจต่างประเทศ พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ : peerapan.ps@gmail.com ภัทราพร คุ้มสะอาด : phattraporn088@gmail.com ภาคการเงิน อาร์จนา ปานกาญจโนภาส : annulet@hotmail.com
อัตราแลกเปลี่ยน ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ : pim.hirankasi@gmail.com ภาคอุตสาหกรรม วิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ : wiparat@fpo.go.th ธรรมฤทธิ์ คุณหิรัญ : thammaritud@yahoo.com อรอุมา หนูช่วย : onumaneung@hotmail.com ภาคเกษตรกรรม กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com ภาคการท่องเที่ยว คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com ดารินทร์ เกตุเรืองโรจน์ : lexlexjung@hotmail.com ภาคการบริโภค การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์ ยุทธภูมิ จารุเศร์นี : iam5111@msn.com กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com ด้านเสถียรภาพ พนันดร อรุณีนิรมาน : panundorn.a@gmail.com
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท 0-2273-9020 โทรสาร 0-2298-5602 website : http://www.fpo.go.th