ประมาณการเศรษฐกิจไทยป 2554 และ 2555
THAILAND'S ECONOMIC OUTLOOK 2011-2012 : DECEMBER
เดือนธันวาคม
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง http://www.fpo.go.th
THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2011-2012 FISCAL POLICY OFFICE เป้าประสงค์ และ ยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 1. ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการคลัง เพื่อให้ภาคการคลังของประเทศมีความแข็งแกร่งยั่งยืน เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นหลักของ ระบบเศรษฐกิจไทย 2. การพัฒนาความแข็งแกร่งของระบบการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Financial System Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการเงิน เพื่อให้ภาคการเงินแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ 3. เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน (Sustainable Economic and Social Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อกระจายความมั่งคั่ง สู่ภูมิภาคและเศรษฐกิจฐานราก + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น 4. ความมีประสิทธิภาพ ความทันสมัย และความโปร่งใสในการท�ำงาน (Modernization of Management and Good Governance Promotion) + ด�ำเนินการเพื่อให้เป็นองค์กรเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับด้านความสามารถของบุคลากร + ด�ำเนินการเพื่อให้การท�ำงานและการให้บริการโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้ โดยใช้ระบบ IT ลดขั้นตอนการท�ำงาน
กลยุทธ์ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค : “เสาหลักด้านเศรษฐกิจมหภาคอย่างมืออาชีพ” “วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพ แม่นย�ำ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้สามารถเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้อย่าง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณชน”
คณะผู้จัดท�ำ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ : boonchar@mof.go.th ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ดร.กุลยา ตันติเตมิท : kulaya.t@hotmail.mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ ณัฐยา อัชฌากรลักษณ์ : nuttaya@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค พิสิทธิ์ พัวพันธ์ : pisitp@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร : soraphol@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์ สิริกัลยา เรืองอ�ำนาจ : sirigunya@hotmail.com
ผู้รับผิดชอบรายภาคเศรษฐกิจ
ภาคการคลัง ดร.จงกล คำ�ไล้ : jongkon@fpo.go.th จรสพร เฉลิมเตียรณ : charosporn@yahoo.com คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com สุธิรัตน์ จิรชูสกุล : j_suthi01@ yahoo.com ภาคการค้าระหว่างประเทศ ธนิต ภัทรแสงไทย : thanitcfa@gmail.com อรุณรัตน์ นานอก : aobcy2000@hotmail.com ตลาดนำ�มัน ดร.กุลกัลยา พระยาราช : kulkunya@mof.go.th ยุทธภูมิ จารุเศร์นี : iam5111@msn.com เศรษฐกิจต่างประเทศ ดร.สิริกมล อุดมผล : sirikamon@mof.go.th ภาคการเงิน อาร์จนา ปานกาญจโนภาส : annulet@hotmail.com
อัตราแลกเปลี่ยน ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ : pim.hirankasi@gmail.com พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ : peerapan.ps@gmail.com ภาคอุตสาหกรรม วิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ : wiparat@fpo.go.th ธรรมฤทธิ์ คุณหิรัญ : thammaritud@yahoo.com อรอุมา หนูช่วย : onumaneung@hotmail.com ภาคเกษตรกรรม กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com ภาคการท่องเที่ยว คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com ดารินทร์ เกตุเรืองโรจน์ : lexlexjung@hotmail.com ภาคการบริโภค การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์ ยุทธภูมิ จารุเศร์นี : iam5111@msn.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com ด้านเสถียรภาพ พนันดร อรุณีนิรมาน : panundorn.a@gmail.com
THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2011-2012 : DECEMBER FISCAL POLICY OFFICE
สารบัญ 1. ประมาณการเศรษฐกิจไทย บทสรุปผู้บริหาร Executive Summary ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2554 และปี 2555 (ณ เดือนธันวาคม 2554) 1.1 สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2554 และปี 2555 1.2 ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2554 และปี 2555
หน้า
2. ภาคการคลัง : รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังในปีงบประมาณ 2554
43
3. บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ : Macroeconomic Analysis Briefings 3.1 บริบทใหม่การค้าไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า 3.2 การปฏิรูปโครงสร้างภาษีเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3.3 การปฏิรูปการคลังของประเทศไทยเพื่อความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม 3.4 ทิศทางการลงทุนภาครัฐเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 3.5 บทบาทสินเชื่อต่อการลงทุน 3.6 วิกฤตเศรษฐกิจสู่วิกฤตการเมืองยุโรป : ทางออกหรือทางตัน 3.7 จับตาอุตสาหกรรมยานยนต์อินโดฯ ฤาจะมาล้มไทย ?
54 61 66 72 78 84 92
4. ภาคการเงิน : รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2554
104
5. Thailand’s Key Economic Indicators
108
คณะผู้จัดท�ำ : ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทรศัพท์ 02-273-9020 ต่อ 3257 โทรสาร 02-298-5602 / 02-618-3397 http:// www.fpo.go.th
3 7 11 12 30
บทสรุปผู้บริหาร
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2554 และปี 2555 (ณ เดือนธันวาคม 2554) รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2554 และปี 2555
“เศรษฐกิจไทยปี 2554 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตอุทกภัย แต่คาดว่าจะฟื้นตัวได้ดีในปี 2555” ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ ร้อยละ 1.1 เนื่องจากวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปีได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและ ภาคเกษตรกรรมให้หดตัวลง และส่งผลกระทบต่อเนือ่ งให้ผผู้ ลิตสินค้าและบริการจ�ำนวนมากประสบปัญหาขาดแคลน ชิ้นส่วนในการผลิต โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะชะลอลงจากการที่เหตุการณ์อุทกภัยได้ส่งผลให้การจับจ่าย ใช้สอยของประชาชนในพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั ผลกระทบชะลอตัวลง โดยเฉพาะในหมวดอาหาร เครือ่ งดืม่ และโรงแรมภัตตาคาร และยังส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงตามผลผลิตทางการเกษตรที่เสียหาย ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่า จะชะลอลงตามปัญหาการหยุดชะงักของการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะบริเวณนิคมอุตสาหกรรมในแถบ ภาคกลางที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากเหตุการณ์อุทกภัย ส�ำหรับปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะ ขยายตัวชะลอลงเช่นกัน เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังตลาด ต่างประเทศ ประกอบกับปัญหาความไม่แน่นอนของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ และการจ้างงานในสหรัฐอเมริกา และปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรป ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายใน ประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.9 เร่งตัวขึ้นจากทั้งต้นทุนในหมวดสินค้าเกษตรจ�ำพวก เนือ้ สัตว์ ผัก และผลไม้ ทีไ่ ด้รบั แรงกดดันจากสภาพภูมอิ ากาศทีไ่ ม่เอือ้ อ�ำนวยต่อการเจริญเติบโต และต้นทุนในหมวด พลังงานที่เร่งขึ้นตามทิศทางราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกเป็นส�ำคัญ ส�ำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น โดย คาดว่าจะกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 5.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5–5.5) โดยมีแรงขับเคลื่อนหลัก จากอุปสงค์ภายในประเทศที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวเร่งขึ้น ตามความจ�ำเป็นในการเร่งฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและ เครื่องมือเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรม ภายหลังจากวิกฤตอุทกภัยคลี่คลายลง ประกอบกับนโยบายของภาครัฐ ในการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น มาตรการปรับเพิ่มรายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการจ�ำน�ำ ข้าวเปลือก ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศคาดว่าจะชะลอลงเล็กน้อยตามการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า หลักที่มีแนวโน้มชะลอลง ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0–4.0) ตามอุปสงค์น�้ำมันในตลาดโลกที่คาดว่าจะชะลอลง
1. ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2554 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจาก ปัญหาวิกฤตมหาอุทกภัยในช่วงปลายปีที่ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ประมาณการเศรษฐกิจไทย
3
ให้หดตัวลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการจ�ำนวนมากประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยได้ส่งผลให้ การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบชะลอตัวลง โดยเฉพาะในหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และโรงแรม ภัตตาคาร และยังส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงตามผลผลิตทางการเกษตรทีเ่ สียหาย นอกจากนี้ ระดับราคาสินค้าทีป่ รับตัวสูงขึน้ อันเนื่องมาจากเกิดภาวะขาดแคลนสินค้าในช่วงอุทกภัยยังส่งผลให้ภาระค่าครองชีพของประชาชนปรับตัวเพิ่มขึ้น และมีส่วน ท�ำให้การบริโภคภาคเอกชนชะลอลง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.4 ชะลอลงตามปัญหาการหยุด ชะงักของการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะบริเวณนิคมอุตสาหกรรมในแถบภาคกลางที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจาก ปัญหาอุทกภัย โดยคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรจะลดลงมากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ส�ำหรับ ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงเช่นกัน โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 อันมีสาเหตุส� ำคัญ มาจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นบริเวณนิคมอุตสาหกรรมในภาคกลางซึ่งเป็นฐานการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกในสัดส่วนสูง ได้กอ่ ให้เกิดอุปสรรคต่อการผลิตสินค้าเพือ่ ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ประกอบกับความไม่แน่นอน ของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์และการจ้างงานในสหรัฐอเมริกา และปัญหาหนี้สาธารณะ ในกลุ่มประเทศยุโรปที่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญต่อแนวโน้มอุปสงค์โลกให้ชะลอตัวลงมากกว่าที่คาด และส่งผลกระทบให้ ภาคการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีก่อน ส�ำหรับการใช้จ่ายภาครัฐในปี 2554 คาดว่าการบริโภค ภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 0.4 ชะลอลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากความล่าช้าในการจัดท�ำงบประมาณประจ�ำปี 2555 ที่ส่งผลให้ การเบิกจ่ายในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้เป็นไปอย่างล่าช้า ขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะหดตัวร้อยละ -6.6 โดยมีสาเหตุหลัก จากการที่โครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เริ่มเบิกจ่ายลดลงมากในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ท�ำให้ ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีการลงทุนภาครัฐหดตัวร้อยละ -7.8 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ในด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2554 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ต่อปี เร่งตัวขึน้ จากทัง้ ต้นทุนในหมวดสินค้าเกษตรจ�ำพวกเนือ้ สัตว์ ผัก และผลไม้ ทีไ่ ด้รบั แรงกดดันจากสภาพภูมอิ ากาศทีไ่ ม่เอือ้ อ�ำนวย ต่อการเจริญเติบโต และต้นทุนในหมวดพลังงานทีเ่ ร่งขึน้ ตามทิศทางราคาน�ำ้ มันดิบในตลาดโลกเป็นส�ำคัญ ส่วนอัตราการว่างงาน คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต�่ำทีร่ ้อยละ 0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัด จะเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 10.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 2.9 ของ GDP เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุล ลดลงมาอยู่ที่ 26.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในปี 2554 จะขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 23.3 ตามราคาสินค้าน�ำเข้าในตลาดโลก ขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.4
2. คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2555 2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 5.0 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5–5.5 ซึง่ มีแรงขับเคลือ่ นหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศทีค่ าดว่าจะยังคงขยายตัวเร่งขึน้ โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.3–4.3) ตามการจ้างงานที่คาดว่าจะยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับนโยบายของ ภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น มาตรการปรับเพิ่มรายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการจ�ำน�ำ ข้าวเปลือก ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 9.3–11.3) โดยได้รับ ปัจจัยสนับสนุนจากความจ�ำเป็นในการเร่งฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมภายหลังจาก วิกฤตมหาอุทกภัยคลีค่ ลายลง อย่างไรก็ตาม การฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ หลักทีม่ แี นวโน้มว่าจะเป็นไปในอัตราทีช่ ะลอลง ภายหลังจากเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปเริ่มมีสัญญาณอ่อนแอจากปัญหาหนี้สาธารณะที่ยืดเยื้อ คาดว่าจะส่งผลให้ การส่งออกสินค้าและบริการในปี 2555 ขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 8.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ
4
7.9–9.9) ส่วนปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 8.6–10.6) ตามความต้องการน�ำเข้าชิ้นส่วนและเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามาทดแทนส่วนที่เสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัย ส�ำหรับการใช้จ่าย ภาครัฐในปี 2555 คาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 4.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0–5.0) ตามการเบิกจ่าย งบประมาณประจ�ำปีของรัฐบาลในปี 2555 ทีค่ าดว่าจะเป็นไปอย่างต่อเนือ่ ง ขณะทีก่ ารลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวเร่งขึน้ มา อยู่ที่ร้อยละ 8.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.8–9.8) 2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ในด้านอัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปในปี 2555 คาดว่าจะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 3.0–4.0) ชะลอลงจากปี 2554 อันเป็นผลจากความเปราะบางของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทย โดยเฉพาะเศรษฐกิจกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วที่คาดว่าจะส่งผลให้อุปสงค์น�้ำมันในตลาดโลกชะลอลง ประกอบกับแนวโน้ม การชะลอตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.7 ของ ก�ำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.6–0.8 ของก�ำลังแรงงานรวม) ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศคาดว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลที่ 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.0 ถึง 0.0 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 3.9–5.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้าน�ำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่า น�ำเข้าสินค้าในปี 2554 จะขยายตัวร้อยละ 26.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 25.7–27.7) ขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าคาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 14.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 13.1–15.1) รายละเอียดสรุปผลการประมาณการเศรษฐกิจ ดังนี้
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
5
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2554 และปี 2555 (ณ เดือนธันวาคม 2554) 2553 สมมติฐานหลัก สมมติฐานภายนอก 1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี) 4.8 2) ราคาน�้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) 78.2 3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 9.2 4) ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 8.1 สมมติฐานด้านนโยบาย 5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) 31.7 6) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละต่อปี) 2.00 7) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท) 2.52 ผลการประมาณการ 1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 7.8 2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี) 5.1 - การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 4.8 - การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 6.4 3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี) 9.4 - การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 13.8 - การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) -2.2 4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 14.7 5) อัตราการขยายตัวปริมาณน�ำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 21.5 6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 32.2 - สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 28.5 - สินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 36.8 7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 13.7 - ร้อยละของ GDP 4.6 8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี) 3.3 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี) 1.0 9) อัตราการว่างงาน (ร้อยละของก�ำลังแรงงานรวม) 1.0 f = ประมาณการ โดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
6
2554 f (ณ ธันวาคม 2554) เฉลี่ย
2555 f (ณ ธันวาคม 2554) เฉลี่ย ช่วง
3.0 105.5 5.6 10.2
2.9 2.4–3.4 116.0 111.0–121.0 5.5 4.5–6.5 5.8 4.8–6.8
30.5 3.25 2.77
30.8 29.8–31.8 3.25 2.75–3.75 2.93 2.92–2.95
1.1 2.0 2.3 0.4 4.7 8.4 -6.6 9.3 9.6 26.3 16.7 23.3 10.1 2.9 3.9 2.4 0.7
5.0 4.5–5.5 4.0 3.5–4.5 3.8 3.3–4.3 4.5 4.0–5.0 10.0 9.5–10.5 10.3 9.3–11.3 8.8 7.8–9.8 8.9 7.9–9.9 9.6 8.6–10.6 4.9 3.9–5.9 14.1 13.1-15.1 26.7 25.7–27.7 -2.0 -4.1 ถึง 0.0 -0.5 -1.0 ถึง 0.0 3.5 3.0–4.0 2.3 1.8–2.8 0.7 0.6–0.8
Executive Summary
Thailand’s Economic Projection for 2011 and 2012 (As of December 2011) Thailand’s Economic Outlook Projection 2011
The Thai economy is likely to slow down sharply in 2011 due to the flooding crisis, and is expected to be back on track in 2012. The Fiscal Policy Office (FPO), Ministry of Finance, announced Thailand’s economic projection as of December 2011 for the Thai economy in 2011 to decelerate at an annualized rate of 1.1 percent as the severe and widespread flooding in the central region has severely affected the production in manufacturing and agricultural sectors especially in the last quarter of the year. Private consumption is expected to grow at a slower pace as the flooding has affected the production and transportation network, as well as farm income. Likewise, private investment shows sign of slow down as the manufacturing production has been disrupted by the flooding. For external demand, the volume of exported goods and services in 2011 is also estimated to grow at a low rate mainly due to the supply chain problems from the flooding in the late of 2011, with downside risks from the US economic slowdown and the European sovereign debt crisis. Reflecting internal stability, headline inflation in 2011 is likely to rise to 3.9 percent due to higher raw food costs, pressured by poor weather conditions and increase in world oil prices. Looking forward, the Thai economy in 2012 is forecasted to recover at an annualized rate of 5.0 percent (or within a range of 4.5-5.5 percent). Domestic demand will be the main driver for the growth as the flood-damaged construction and equipments in the manufacturing sector would be rebuilt and repaired, coupled with government policies that stimulate domestic spending, in particular the higher minimum wage policy for low-income workers and government officials, and the rice pledging scheme. Meanwhile, external demand is anticipated to grow at a slower pace due to the global economic slowdown resulting mainly from Eurozone debt crisis. With regard to internal stability, headline inflation in 2012 is forecasted to be at 3.5 percent (or within a range of 3.0-4.0 percent) due to moderate global oil demand growth.
1. Thailand’s Economic Projections for 2011 1.1 Economic Growth The Thai economy in 2011 is forecasted to decelerate at an annualized rate of 1.1 percent, lower than that in the previous year resulting from the severe flooding which has adversely affected the production, in particular in manufacturing and agricultural sectors. Private consumption is projected to grow at a slower pace of 2.3 percent because of higher costs of living, mainly caused by supply shortage. Private investment in 2011 is likely to grow at a decreasing rate of 8.4 percent according to the halt of production, in particular, private investment in equipments
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
7
which will be lower in the fourth quarter of 2011. For external demand, the volume of exported goods and services in 2011 is also estimated to grow at a lower rate of 9.3 percent mainly due to the supply chain problems, especially in central industrial estates, from the flooding in the late of 2011, coupled with downside risks from the US economic slowdown and the European sovereign debt crisis. Public consumption is forecasted to increase by 0.4 percent, slower than last year’s rate, owing to the delay in the budget disbursement plan in fiscal year 2012 which will impact fiscal outlays in the fourth quarter. Meanwhile, public investment is projected to contract at -6.6 percent as the capital expenditure disbursement under Thai Khem Khang: TKK 2012 program has started declining since the third quarter of 2011, leading to a decline in public investment at -7.8 percent year on year during the first three quarters of 2011. 1.2 Economic Stability For internal stability, headline inflation in 2011 is likely to rise to 3.9 percent as a result of higher raw food costs which have been pressured by poor weather conditions and increase in world oil prices. Unemployment is expected to hold its current low level of 0.7 percent of the total labor force. With regard to external stability, the current account is projected to record a smaller surplus of USD 10.1 billion, accounting for 2.9 percent of GDP as the estimated trade balance surplus declines to USD 26.3 billion. This is partially explained by accelerated import growth of 23.3 percent due to an increase in import prices in world markets. However, the total export value is likely to grow by 16.4 percent.
2. Thailand’s Economic Projections for 2012 2.1 Economic Growth The Thai economy in 2012 is forecasted to rebound at an annualized rate of 5.0 percent (or within a range of 4.5–5.5 percent) driven mainly by domestic demand. Private consumption is projected to grow at 3.8 percent (or within a range of 3.3-4.3 percent ) as a result of high employment, coupled with government policies that stimulate domestic spending such as the minimum wage policy for laborers and government officials and the rice pawning policy. On the other hand, private investment is estimated to grow at 10.3 percent per year (or within a range of 9.311.3 percent), supported by the necessity to rebuilt and repair the flood-damaged construction and equipments in the manufacturing sector. However, the unsettled European sovereign debt crisis has worsened the volume of exports of goods and services to grow at 8.9 percent (or within a range of 7.9-9.9 percent). At the same time, imports of goods and service in real terms are set to grow at 9.6 percent (or within the range of 8.6–10.6 percent) in response to an increase in imports of raw materials, machines, and equipments to repair damages caused by the flooding. With respect to public spending in 2012, public consumption is likely to grow at 4.5 percent (or within a range of 4.0–5.0 percent), with the continuation of the budgetary disbursement plan in 2012, while acceleration of public investment is projected to grow at 8.8 percent (or within a range of 7.8–9.8 percent). 2.2 Economic Stability For internal stability, headline inflation in 2012 is likely to rise to 3.5 percent (or within a range of 3.0–4.0 percent), lower than that of the previous year due to the fragile recovery of developed countries which could lead to
8
a slowdown in global oil demand and commodity prices. Unemployment is expected to hold its current low level of 0.7 percent of the total labor force (or within a range of 0.6–0.8 percent). On external stability, the current account in 2012 is projected to record a deficit of USD 2.0 billion, accounting for 0.5 percent of GDP (or within a range of (-1.0)–(0.0) percent of GDP) as the estimated trade balance surplus drops to USD 4.9 billion (or within a range of USD 3.9-5.9 billion), partially explained by accelerated import growth which is expected to increase to 26.7 percent per year (or within a range of 25.7-27.7 percent). However, export value is likely to grow by 14.1 percent (or within a range of 13.1–15.1 percent). Summary table is attached herewith.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
9
Major Assumptions and Economic Projections of 2011 and 2012 (As of December 2011) 2010 Major Assumptions Exogenous Variables 1) Average Economic Growth Rate of Major Trading Partners 4.8 (% y-o-y) 2) Dubai Crude Oil Price (USD per Barrel) 78.2 3) Export price in USD Dollars (% y-o-y) 9.2 4) Import price in USD Dollars (% y-o-y) 8.1 Policy Variables 5) Exchange Rate (Baht per USD Dollars) 31.7 6) Repurchase Rate (Policy Rate) at year-end (% y-o-y) 2.00 7) Fiscal-Year Pubic Expenditure (Trillion Baht) 2.52 Projections 1) Economic Growth Rate (% y-o-y) 7.8 2) Real Consumption Growth (% y-o-y) 5.1 - Real Private Consumption 4.8 - Real Public Consumption 6.4 3) Real Investment Growth (% y-o-y) 9.4 - Real Private Investment 13.8 - Real Public Investment -2.2 4) Export Volume of Goods and Services (% y-o-y) 14.7 5) Import Volume of Goods and Services (% y-o-y) 21.5 6) Trade Balance (USD billion) 32.2 - Export Value of Goods in USD Dollars (% y-o-y) 28.5 - Import Value of Goods in USD Dollars (% y-o-y) 36.8 7) Current Account (USD billion) 13.7 - Percentage of GDP 4.6 8) Headline Inflation (% y-o-y) 3.3 Core Inflation (% y-o-y) 1.0 9) Unemployment rate (% of total labor force) 1.0 f = forecast by Fiscal Policy Office, Ministry of Finance, Thailand
10
2011 f 2012 f (As of Dec 2011) (As of Dec 2011) Average Average Range
3.0
2.9
2.4–3.4
105.5 5.6 10.2
116.0 111.0–121.0 5.5 4.5–6.5 5.8 4.8–6.8
30.5 3.25 2.77
30.8 29.8–31.8 3.25 2.75–3.75 2.93 2.92–2.95
1.1 2.0 2.3 0.4 4.7 8.4 -6.6 9.3 9.6 26.3 16.7 23.3 10.1 2.9 3.9 2.4 0.7
5.0 4.0 3.8 4.5 10.0 10.3 8.8 8.9 9.6 4.9 14.1 26.7 -2.0 -0.5 3.5 2.3 0.7
4.5–5.5 3.5-4.5 3.3–4.3 4.0–5.0 9.5–10.5 9.3–11.3 7.8–9.8 7.9–9.9 8.6–10.6 3.9–5.9 13.1–15.1 25.7–27.7 (-4.1)–(0.0) (-1.0)–(0.0) 3.0–4.0 1.8–2.8 0.6-0.8
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2554 และปี 2555 (ณ เดือนธันวาคม 2554) ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอลงเหลือร้อยละ 1.1 จากปี 2553 ที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 7.8 ในขณะที่อัตราการขยายตัวในปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5-5.5 ) โดยมีการปรับปรุงข้อมูลและสมมติฐานที่ส�ำคัญ ดังนี้ ปรับปรุงฐานข้อมูลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ที่ร้อยละ 2.7 และร้อยละ 3.5 ตามล�ำดับ ตามที่ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 ❍❍
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจมหภาคในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจด้านอุปทานส่งสัญญาณ ขยายตัวในอัตราชะลอลง สะท้อนจากการผลิตภาคเกษตรและภาคบริการที่ขยายตัวแผ่วลงที่ร้อยละ 6.5 และร้อยละ 21.2 (เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกปี 2554 ที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 10.5 และร้อยละ 29.0) ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวสูงเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ -7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหามหาอุทกภัย ในช่วงปลายปี 2554 ส่งผลให้อุตสาหกรรมส�ำคัญต้องหยุดการผลิตลง โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมหลัก 7 แห่งในจังหวัด พระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานี ส�ำหรับเครื่องชี้ด้านอุปสงค์พบว่ายังขยายตัวได้ดี แม้ว่าในช่วงปลายปี 2554 จะประสบ ปัญหาน�้ำท่วมก็ตาม โดยการบริโภคและการลงทุนยังขยายตัวในเกณฑ์ดี สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ และ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าทุนหักรายการพิเศษที่ขยายตัวร้อยละ 11.9 และร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ ส�ำหรับการส่งออกสินค้าและบริการยังคงขยายตัวได้ในระดับสูงที่ร้อยละ 19.0 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ คู่ค้าส�ำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีนและอินเดีย เป็นส�ำคัญ ส่วนการน�ำเข้าสินค้าและบริการยังคง ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ตามการเพิ่มขึ้นของการน�ำเข้าในหมวดเชื้อเพลิง วัตถุดิบ และหมวดสินค้าอุปโภค บริโภค ส�ำหรับเครือ่ งชีด้ า้ นเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่าอยูใ่ นระดับแข็งแกร่ง โดยอัตราเงินเฟ้ออยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.8 ในปี 2554 และมีดลุ การค้า เกินดุลเล็กน้อยที่ระดับ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 ❍❍
การเปลี่ยนแปลงสมมติฐานที่ส�ำคัญ ได้แก่ (1) อัตราการขยายตัวของ 14 ประเทศคู่ค้า ซึ่งแม้ว่าอัตราการ เติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง แต่ประเทศฝั่งตะวันตกอย่างสหภาพยุโรปที่ ยังคงประสบปัญหาหนี้สาธารณะในระดับสูง และเริ่มลุกลามเข้าภาคเศรษฐกิจจริง ประกอบกับการฟื้นตัวอย่างเปราะบางของ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ท�ำให้สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังไม่ชัดเจน สศค.จึงได้ปรับประมาณการอัตราการขยาย ตัวของ 14 ประเทศคู่ค้าในปี 2554 และปี 2555 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 2.9 ตามล�ำดับ (2) ก�ำหนดสมมติฐานราคา น�้ำมันดิบดูไบในปี 2554 และปี 2555 ให้อยู่ที่ 105.5 และ 116.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ตามล�ำดับ ตามสถานการณ์ราคา น�้ำมันดิบในตลาดโลกที่ทรงตัวในระดับสูง จากอุปทานการผลิตที่ยังตึงตัว ขณะที่อุปสงค์ยังทรงตัว (3) ปรับสมมติฐานราคาส่ง ออกในปี 2554 และปี 2555 ให้ขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 และร้อยละ 5.5 ตามล�ำดับ และการน�ำเข้าในปี 2554 และปี 2555 ให้อยู่ที่ ร้อยละ 10.2 และร้อยละ 5.8 ตามล�ำดับ (4) ปรับสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปี 2554 และปี 2555 ให้ อยู่ที่ 30.5 และ 30.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ตามดุลการค้าที่เกินดุลเล็กน้อย และตามความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน เข้า-ออกตลาดตราสารหนี้และตราสารทุน (5) ก�ำหนดสมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2554 ให้อยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี และในปี 2555 คาดว่าจะอยูใ่ นช่วงร้อยละ 2.75–3.75 และ (6) รายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2554 (ตัง้ แต่เดือนตุลาคม 2553–กันยายน 2554) อยู่ที่ 2.77 ล้านล้านบาท และในปีงบประมาณ 2555 อยู่ในช่วง 2.92–2.95 ล้านบาท ❍❍
โดยมีรายละเอียดสมมติฐานและผลการประมาณการ ดังนี้ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
11
สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2554 และปี 2555 1. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ 14 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย “สศค.คาดว่าในปี 2554 เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอลงจากปี 2553 ทีข่ ยายตัวทีร่ อ้ ยละ 4.8 เนือ่ งจากวิกฤตหนีส้ าธารณะในสหภาพยุโรปทีไ่ ด้กระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง ภาคการเงิน และอุปสงค์ โดยรวมของโลก การฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาทีย่ งั คงเป็นไปอย่างเปราะบาง ประกอบกับเศรษฐกิจในภูมภิ าคเอเชีย โดยเฉพาะจีนทีค่ าดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงและญีป่ นุ่ ทีค่ าดว่าจะหดตัว ในปี 2555 สศค.คาดว่าเศรษฐกิจคูค่ า้ หลักของไทย 14 ประเทศจะขยายตัวร้อยละ 2.9 ตามการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาและแนวโน้มขยายตัวในระดับสูงต่อเนือ่ งของเศรษฐกิจจีนและอินเดีย ประกอบกับฐานการค�ำนวณทีต่ ำ�่ ในปี ก่อนหน้า” ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศ (ร้อยละ) ประเทศคู่ค้าหลัก เรียงตามสัดส่วนมูลค่าส่งออก ในปี 2553 14 ประเทศคู่ค้า (78.7%) 1. จีน (11.0%) 2. ญี่ปุ่น (10.5%) 3. สหรัฐอเมริกา (10.3%) 4. สหภาพยุโรป (9.8%) 5. ฮ่องกง (6.7%) 6. สิงคโปร์ (5.4%) 7. ออสเตรเลีย (5.4%) 8. มาเลเซีย (4.6%) 9. อินโดนีเซีย (3.8%) 10. เวียดนาม (3.0%) 11. ฟิลิปปินส์ (2.5%) 12. อินเดีย (2.2%) 13. เกาหลีใต้ (1.8%) 14. ไต้หวัน (1.7%)
2552
2553
-0.2 9.2 -6.3 -2.4 -4.1 -2.7 -0.8 1.3 -1.7 4.5 5.3 1.1 7.0 0.2 -1.9
4.8 10.4 4.0 3.0 1.7 6.8 14.5 2.6 7.2 6.1 6.8 7.6 8.8 6.2 10.8
2554 Q1
Q2
Q3
3.6 9.7 -1.0 2.2 2.5 7.5 9.3 1.0 4.7 6.5 5.4 4.6 7.8 4.2 6.2
2.7 9.5 -1.1 1.6 1.6 5.1 1.0 1.4 4.0 6.5 5.7 3.4 7.7 3.4 5.0
3.1 9.1 0.0 1.5 1.4 4.3 6.1 2.5 5.8 6.5 6.1 3.2 6.9 3.5 3.4
ทั้งปี ทั้งปี 3Q/54 2554 f 2555 f 3.3 9.4 -0.7 1.8 1.8 6.4 5.4 1.8 5.1 6.5 5.8 5.9 7.5 3.7 4.8
3.0 9.2 -0.6 1.7 1.5 5.1 4.5 2.0 5.0 6.5 5.6 4.0 7.5 3.6 5.0
2.9 8.4 2.0 1.9 -0.8 4.2 3.0 3.5 5.0 6.2 6.3 4.5 7.0 3.5 4.0
ที่มา : รวบรวมและประมาณการโดย สศค.
1.1 เศรษฐกิจจีน (ตลาดส่งออกใหญ่อนั ดับ 1 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 11.0 ของมูลค่าส่งออกสินค้า รวมในปี 2553) ➥➥ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 เศรษฐกิจจีนขยายตัวที่ร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอ ลงต่อเนื่องนับจากต้นปี ส่งผลให้ในช่วง 3 ไตรมาสของปี 2554 เศรษฐกิจจีนขยายตัวที่ร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึง่ เป็นคูค่ า้ อันดับ 1 และ อันดับ 2 ของจีน สะท้อนได้จากมูลค่าการส่งออก (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ซึง่ ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 20.5 จากช่วง เดียวกันของปีกอ่ น ชะลอลงจากไตรมาสที่ 2 ของปีทขี่ ยายตัวทีร่ อ้ ยละ 22.0 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า เงินเฟ้อทัว่ ไปไตรมาสที่ 3 ปี 2554 อยูท่ รี่ ะดับเฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เพิม่ ขึน้ จากไตรมาสที่ 2 ของปีทรี่ ะดับเฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ 5.7 จากราคา อาหารทีเ่ พิม่ ขึน้ เป็นส�ำคัญ
12
ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2554 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554) เศรษฐกิจจีนมีสญ ั ญาณ
ชะลอลงเล็กน้อย จากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ชะลอตัว โดยการก่อสร้างในเขตเมืองในเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 ยังคงขยายตัวเฉลีย่ ในระดับสูงทีร่ อ้ ยละ 27.8 แม้จะชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 3 ของปีทขี่ ยายตัวเฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ 29.5 ส�ำหรับ ยอดค้าปลีกสินค้าบริโภคของจีนในเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 ขยายตัวเท่ากับไตรมาสที่ 3 ของปีที่ร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ด้านอุปสงค์ภายนอกประเทศพบว่ามีสญ ั ญาณชะลอลงต่อเนือ่ ง โดยมูลค่าการส่งออก (ในรูปดอลลาร์ สหรัฐ) ในเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ในเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 4.9 ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ของปีที่ระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 6.3 สะท้อนความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง และท�ำให้รัฐบาลประกาศ ลดสัดส่วนการกันส�ำรองของธนาคารพาณิชย์ลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ➥➥ ในปี 2554 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 9.2 หรือในช่วงคาดการณ์ทรี่ อ ้ ยละ 8.7–9.7 ชะลอลง จากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.4 จากสัญญาณชะลอตัวลงของทั้งอุปสงค์ในและภายนอกประเทศในไตรมาสสุดท้าย ของปีตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าส�ำคัญ โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการ ฝ่ายซื้อภาคอุตสาหกรรม (NBS Manufacturing Purchasing Manager Index) ในปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ 51.4 ลดลงจาก ค่าเฉลี่ยในปี 2553 ที่ 53.8 บ่งชี้สัญญาณชะลอตัวในภาคการผลิตของจีน ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 8.3–9.3 ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 โดยคาดว่าในปี 2555 เศรษฐกิจจีนจะยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง จาก (1) การชะลอตั ว ของเศรษฐกิ จ ของประเทศคู ่ ค ้ า หลั ก ของจี น โดยเฉพาะสหภาพยุ โ รป ซึ่ ง จะส่ ง ผลกระทบต่ อ ภาค การส่งออกของจีนไปยังประเทศดังกล่าว และ (2) สภาวะเงินเฟ้อ จากปัจจัยราคาน�ำ้ มันและการเก็งก�ำไรในตลาดโลกทีม่ แี นวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
13
1.2 เศรษฐกิจญี่ปุ่น (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.5 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2553) ➥➥ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 เศรษฐกิจญีป ่ นุ่ ไม่ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น จากการหดตัวของ การส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนเป็นส�ำคัญ อย่างไรก็ตาม เมือ่ ปรับผลทางฤดูกาลแล้วเศรษฐกิจญีป่ นุ่ ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 1.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) ซึ่งนับเป็นการกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่าอัตราการว่างงานในไตรมาสที่3ของปีอยูท่ รี่ ะดับเฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ4.4ของก�ำลังแรงงานรวม ใกล้เคียงกับค่าเฉลีย่ ในไตรมาสแรกของปีทรี่ อ้ ยละ 4.6 ของก�ำลังแรงงานรวม ขณะทีอ่ ตั ราเงินเฟ้อทัว่ ไปในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 อยูท่ ี่ ร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เพิม่ ขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้าทีห่ ดตัวร้อยละ -0.4 ส่งผลให้ธนาคารกลางญีป่ นุ่ ยังคงอัตราดอกเบีย้ นโยบาย (Overnight Call) ในระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 0-0.1 เพือ่ สนับสนุนการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศ ภาพที่ 2 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2554 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554) เศรษฐกิจญีป ่ นุ่ ชะลอตัว
จากผลกระทบของวิกฤตอุทกภัยในประเทศไทยต่อห่วงโซ่อปุ ทานในประเทศ โดยยอดค้าปลีกในเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 เฉลีย่ หดตัวทีร่ อ้ ยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า โดยในเดือนตุลาคม 2554 ยอดค้าปลีกขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 1.9 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าหลังจากหดตัวในไตรมาสที่ 3 แต่ก็กลับมาหดตัวในเดือนพฤศจิกายนที่ร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ นหน้า ด้านอุปสงค์ภายนอกประเทศพบว่าได้รบั ผลกระทบจากวิกฤตอุทกภัยในประเทศไทยเช่นกัน โดยมูลค่าการส่งออก ในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 หดตัวที่ร้อยละ -4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แย่ลงจากไตรมาสที่ 3 ของปีที่ขยายตัว ที่ร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2554 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะหดตัวที่ร้อยละ -0.6 หรือในช่วงคาดการณ์ร้อยละ -1.1–0.1 ต่อปี ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 จากวิกฤตแผ่นดินไหวและสึนามิที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในไตรมาส ที่ 3 และวิกฤตอุทกภัยในประเทศไทยที่ส่งผลกระทบในท�ำนองเดียวกันในไตรมาสสุดท้ายของปี ประกอบกับการชะลอตัวของ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ส�ำคัญโดยเฉพาะสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลให้การส่งออกหดตัว ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.5–2.5 ฟืน้ ตัวจากปีกอ่ นหน้าทีค่ าดว่าจะหดตัวทีร่ อ้ ยละ -0.6 ส่วนหนึง่ จากฐานการค�ำนวณทีต่ ำ�่ ในปีกอ่ นหน้า ประกอบกับมาตรการ ฟืน้ ฟูเศรษฐกิจของภาครัฐจะส่งผลให้เกิดการลงทุนเพิม่ ขึน้ ทัง้ การลงทุนโดยภาครัฐบาลและภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจญีป่ นุ่ จะยังคงเผชิญกับปัจจัยเสีย่ ง จาก (1) สถานการณ์คา่ เงินเยนทีจ่ ะมีแนวโน้มแข็งค่า จากการทีน่ กั ลงทุนหัน มาถือครองเงินเยนซึง่ เป็นสกุลเงินทีม่ คี วามปลอดภัย (Safe Haven) เพิม่ ขึน้ อันจะส่งผลต่อรายได้ของผูส้ ง่ ออก และ (2) การชะลอ ตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของญี่ปุ่น โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา
14
1.3 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 3 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.3 ของมูลค่า ส่งออกสินค้ารวมในปี 2553) ➥➥ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนเป็นส�ำคัญ และเมือ่ ปรับผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อน หน้า (%qoq_sa) ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกายังคงอยู่ใน ระดับสูงที่ร้อยละ 9.0 ของก�ำลังแรงงานรวม ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนวิกฤตเศรษฐกิจที่ประมาณร้อยละ 5.0 ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ ที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ของปีที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพที่ 3 แหล่งทีม่ าและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2554 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554) อุปสงค์ในประเทศ
ของสหรัฐอเมริกายังไม่มสี ญ ั ญาณฟืน้ ตัวทีช่ ดั เจน โดยยอดค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ของปีทขี่ ยายตัวทีร่ อ้ ยละ 8.0 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ขณะที่ยอดจ�ำหน่ายรถยนต์ในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 มีค่าเฉลี่ยที่ 10.5 ล้านคันต่อปี ดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส ที่ 3 ที่ระดับ 9.8 ล้านคันต่อปี และยอดจ�ำหน่ายบ้าน (Existing Home Sales) ในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 อยู่ที่ระดับ เฉลี่ยที่ 4.33 ล้านหลังต่อปี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสที่ 3 ของปีที่ 4.17 ล้านหลังต่อปี ➥➥ ในปี 2554 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.3–2.0 ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากอุปสงค์ภายในประเทศที่คาดว่าจะลดลงจากความกังวลของ ประชาชนต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศ ประกอบกับผลกระทบจากวิกฤตหนีส้ าธารณะในยุโรปทีเ่ ริม่ ส่ง ผลต่อการส่งออกของสหรัฐอเมริกาไปยังภูมภิ าคดังกล่าว ดังเห็นได้จากดัชนีความเชือ่ มัน่ ผูบ้ ริโภคในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่มีสัดส่วนร้อยละ 70 ใน GDP ที่อยู่ในระดับเฉลี่ยที่ 48.1 ลดลงจากค่าเฉลี่ย ในไตรมาสที่ 3 ของปีทรี่ ะดับ 50.3 และมูลค่าการส่งออกในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 12.4 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสที่ 3 ของปีที่ขยายตัวที่ร้อยละ 18.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.5–2.5 เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ นหน้าทีค่ าดว่าจะขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 1.7 โดยคาดว่าในปี 2555 เศรษฐกิจภายในของสหรัฐอเมริกาจะ ได้รบั ปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจของรัฐบาล ส่วนหนึง่ จากทีใ่ นปีนสี้ หรัฐอเมริกาจะมีการเลือกตัง้ ประธานาธิบดี ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้ภาครัฐบาลผลักดันมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศเพิ่มเติม และมาตรการด้านการเงินแบบผ่อนคลาย ผ่านการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate) ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.0–0.25 อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะยังคงเผชิญกับความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของภาคการเงินในสหรัฐอเมริกาได้ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
15
1.4 เศรษฐกิจสหภาพยุโรป 17 ประเทศ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 4 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.8 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2553) ➥➥ เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จาก อุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกเป็นส�ำคัญ และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่าอัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 3 ทรงตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 10.1 ของก�ำลังแรงงาน รวม ด้านเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่ 3 ของปีทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพที่ 4 แหล่งทีม่ าและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2554 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554) เศรษฐกิจยูโรโซนมี
สัญญาณชะลอลงอย่างชัดเจน โดยภาคการผลิตมีสัญญาณชะลอลงจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ไม่รวมภาคก่อสร้าง) ใน ช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสที่ 3 ของปีที่ขยายตัว ที่ร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการส่งออกในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 ขยายตัวร้อยละ 8.0 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสที่ 3 ของปีที่ขยายตัวร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2554 คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 1.0–2.0 ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 โดยเห็นได้จาก (1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคการผลิตและ ดัชนีผจู้ ดั การฝ่ายซือ้ ภาคบริการในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 อยูท่ รี่ ะดับเฉลีย่ ที่ 46.8 และระดับ 47.4 ตามล�ำดับ ลดลง จากค่าเฉลี่ยในไตรมาสที่ 3 ของปีที่ระดับ 49.5 และระดับ 50.6 ตามล�ำดับ บ่งชี้สัญญาณหดตัวในภาคการผลิตและภาคบริการ ในช่วงที่เหลือของปีนี้และไตรมาสแรกของปี 2555 และ (2) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554 ซึ่งอยู่ ที่ระดับเฉลี่ยที่ -15.6 ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ของปีที่ระดับเฉลี่ยที่ -20.2 ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนจะหดตัวที่ร้อยละ -0.8 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ -1.3 ถึง -0.5 ลดลงจากปีก่อนหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 โดยในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโร โซนจะยังคงเผชิญกับความเสีย่ งจาก (1) การฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนโดยรวมจากวิกฤตหนีส้ าธารณะในประเทศในกลุม่ GIIPS โดยเฉพาะอย่างยิง่ จากสถานการณ์หนีส้ าธารณะในประเทศอิตาลีและประเทศกรีซ เนือ่ งจากในปี 2555 มูลค่าของพันธบัตรรัฐบาล อิตาลีซึ่งจะครบก�ำหนดไถ่ถอนมีมูลค่าสูงถึงกว่า 4 แสนล้านยูโร หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของ GDP และประเทศกรีซยังไม่สามารถ ตกลงกับเจ้าหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้ได้ส�ำเร็จ ซึ่งท�ำให้รัฐบาลในประเทศทั้งสองจ�ำต้องตัดงบประมาณรายจ่ายลงอย่างมีนัย ส�ำคัญ อันเป็นข้อจ�ำกัดของการใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2555 และ (2) เสถียรภาพของเงินสกุลยูโรและของ ภาคการเงินโดยรวมจากวิกฤตหนี้สาธารณะที่อาจลุกลามไปสู่ประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ผ่านการถือครองพันธบัตรของประเทศใน กลุ่ม GIIPS ของทั้งภาครัฐและภาคธนาคาร ซึ่งจะกระทบต่อความมั่งคั่ง (Wealth) ของสถาบันการเงินและประเทศผู้เป็นเจ้าหนี้
16
1.5 เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.3 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2553) ➥➥ เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์) ในไตรมาส ที่ 3 ปี 2554 ส่วนใหญ่ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า อันเนื่องมาจากการส่งออกซึ่งเป็นสัดส่วนส�ำคัญของเศรษฐกิจ กลุม่ ประเทศอาเซียนขยายตัวเร่งขึน้ ยกเว้นการส่งออกของฟิลปิ ปินส์ทหี่ ดตัวต่อเนือ่ งจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทหี่ ดตัว ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนของเศรษฐกิจอาเซียนขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ด้านเสถียรภาพภายในประเทศพบว่า (1) อัตราว่างงานของกลุม่ ประเทศอาเซียนปรับตัวลดลงตามการขยายตัว ของเศรษฐกิจทีด่ ขี นึ้ ขณะทีร่ ะดับเงินเฟ้อของประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ปรับตัวเพิม่ ขึน้ ต่อเนือ่ งจาก ไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางของประเทศอาเซียนส่วนใหญ่ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาสที่ 3 ของปี ตารางที่ 2 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ สิงคโปร์ (5.4%) มาเลเซีย (4.6%) อินโดนีเซีย (3.8%) เวียดนาม (3.0%) ฟิลิปปินส์ (2.5%) (สัดส่วนการส่งออกปี 2553) อัตราการขยายตัวของ GDP Q3/2554 6.1 5.8 6.5 6.1 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy) การบริโภคภาคเอกชน 2.4 4.0 2.7 n/a 4.7 การบริโภคภาครัฐ 0.2 2.6 0.2 n/a 0.9 การลงทุนรวม 1.6 1.4 1.7 n/a 0.1 การส่งออกสุทธิ 3.3 1.3 3.3 n/a -8.2 การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง -1.4 -3.5 -1.4 n/a 5.6 ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 5 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (% yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 6 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (% yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2554 เริ่มส่งสัญญาณการชะลอ
ตัวทางเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยภาคการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ กลุ่มประเทศอาเซียนชะลอตัวลง โดยเฉพาะอินโดนีเซียซึ่งมูลค่าการส่งออกในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2554 ขยายตัว เฉลีย่ เพียงร้อยละ 13.0 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า ชะลอลงจากไตรมาสที่ 3 ของปีทขี่ ยายตัวเฉลีย่ ร้อยละ 40.4 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อันเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซน ที่ขยายวงกว้างสู่ภูมิภาคเอเชีย (ภาพที่ 5) สอดคล้องกับภาคการผลิตที่มีสัญญาณชะลอตัวลงเช่นกัน โดยดัชนีผลผลิตภาค อุตสาหกรรมของประเทศในอาเซียนโดยรวมในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2554 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า เนือ่ งจาก การชะลอการผลิตสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์เป็นส�ำคัญ (ภาพที่ 6) อันเนื่องมาจากอุปสงค์จากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของอาเซียน ต่อสินค้าในหมวดนี้ชะลอลง ประมาณการเศรษฐกิจไทย
17
➥➥ ในปี 2554 คาดว่าเศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศจะขยายตัวชะลอลงจากปี 2553 อันเนื่องมาจากปัจจัย
ฐานสูงและความผันผวนของเศรษฐกิจคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่นแล้วทั้งในภาคการเงินและภาคการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศของอาเซียน จะยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง อีกทั้งเสถียรภาพเศรษฐกิจจะยังคงแข็งแกร่งจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง ซึ่งจะเป็น ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนในปี 2554 ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจอาเซียนโดยรวมยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปี 2554 โดย สศค. คาดว่าเศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.0 ในปี 2555 จากการขยายตัวของภาคการบริโภคและการลงทุน ของเศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศที่จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ส�ำคัญในปี 2555 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจอาเซียนยังคงมี ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนที่คาดว่าจะยังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง และอาจขยายวงกว้างสู่เศรษฐกิจในภูมิภาค อื่น ๆ ในด้านภาคการเงินและภาคการค้าระหว่างประเทศ 1.6 เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลีย (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.8 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2553) ➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย (ฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน) และออสเตรเลียใน ไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ขยายตัวชะลอลง จากปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้า รวมถึงการชะลอลงของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้ ภาคการส่งออกปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ ต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยส�ำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ด้านเสถียรภาพภายในประเทศพบว่า จากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับตัวอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่งผลให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศ ดังกล่าวปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2554 ยกเว้นประเทศอินเดียที่ยังคงประสบกับปัญหาเสถียรภาพด้าน ราคา จากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง จากการขาดแคลนอุปทานหลังต้องประสบกับภัยธรรมชาติ หลายครั้ง ขณะที่ความต้องการซื้อยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้านภาพรวมของตลาดแรงงานในกลุ่มประเทศดังกล่าวปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ปรับตัวลดลงตามการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ตารางที่ 3 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ ฮ่องกง (6.2%) ออสเตรเลีย (6.1%) อินเดีย (2.1% ) เกาหลีใต้ (1.8%) ไต้หวัน (1.5%) (สัดส่วนการส่งออกปี 2553) อัตราการขยายตัวของ GDP Q3/2554 4.3 2.3 6.9 3.5 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy) การบริโภคภาคเอกชน 5.3 2.5 4.3 1.0 1.7 การบริโภคภาครัฐ 0.1 0.2 0.5 0.5 0.3 การลงทุนรวม 2.0 2.1 -0.2 -0.5 -2.1 การส่งออกสุทธิ -4.0 -3.0 2.9 2.2 3.8 การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง 0.9 0.5 -0.7 0.3 -0.3 ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 7 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (% yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
18
ภาพที่ 8 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (% yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2554
ขยายตัวชะลอลง โดยเฉพาะในส่วนของภาคการผลิต สะท้อนได้จากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส ที่ 4 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554) ที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงชัดเจนและหดตัวในบางประเทศ โดยมีสาเหตุหลักมาจาก ปัจจัยฐานสูง ผนวกกับการผลิตเพื่อการส่งออกที่ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยส�ำคัญตามอุปสงค์จากนอกประเทศที่ชะลอลง สะท้อน จากมูลค่าการส่งออกในเดือนตุลาคม -พฤศจิกายน 2554 ขยายตัวชะลอลงต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะการส่งออก ของประเทศอินเดียและประเทศไต้หวัน (ภาพที่ 7 และภาพที่ 8) ➥➥ ในปี 2554 สศค.คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียจะ ขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอลง จากปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้า ผนวกกับปัจจัยเสี่ยงจากความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปและการชะลอลงของเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของอุปสงค์ใน ประเทศโดยเฉพาะในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนคาดว่า จะเป็นปัจจัยส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ ดังกล่าวในช่วงที่เหลือของปี 2554 ➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียใน ภาพรวมจะขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องจากปี 2554 ส่วนหนึ่งจากสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปที่คาดว่าจะเรื้อรัง ต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจจีนและสหรัฐอเมริกาส่งสัญญาณชะลอลง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ภายในประเทศของกลุ่มประเทศ ดังกล่าวคาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดี จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของภาครัฐและมาตรการด้านการเงินที่มี ทิศทางผ่อนคลายลง จะเป็นปัจจัยบวกส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าวในปี 2555
2. ราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลก “ในปี 2554 คาดว่าราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 105.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่อยู่ที่ ระดับ 78.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์น�้ำมันดิบตามการขยายตัวของ เศรษฐกิจส�ำคัญ โดยเฉพาะประเทศนอกกลุ่ม OECD อาทิ จีน อินเดีย และประเทศในกลุ่มเอเชีย นอกจากนี้ ภัยพิบัติ ทีเ่ กิดขึน้ ในญีป่ นุ่ ถือเป็นอีกปัจจัยหนึง่ ทีอ่ าจส่งผลให้ความต้องการน�ำ้ มันมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ เพือ่ ทดแทนการผลิตกระแส ไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม จากความกังวลด้านปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป รวมถึง ปัญหาความเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาคาดว่าจะส่งผลลบต่อราคาน�้ำมันดิบดูไบในตลาด โลก ขณะที่อุปทานการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในบางประเทศในกลุ่ม OPEC โดยเฉพาะประเทศซาอุดีอาระเบีย อิรัก และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส�ำหรับการผลิตของกลุม่ ประเทศนอกกลุม่ OPEC มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึน้ ตามราคาน�ำ้ มัน อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของการผลิตเป็นไปได้อย่างจ�ำกัด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบทาง การเมืองของประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น อียิปต์ ลิเบีย และตูนิเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกน�้ำมันดิบ รายใหญ่ของโลก ส่งผลให้มีการเก็งก�ำไรจากการซื้อขายสัญญาน�้ำมันดิบล่วงหน้าเพิ่มขึ้น ส่วนในปี 2555 คาดว่าราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 116.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 111.0-121.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) เนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ Non-OECD เป็นส�ำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเอเชีย ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา ทั้งนี้ อาจจะมีปัจจัยเสี่ยง คือ ความกังวลด้านปัญหาหนี้สาธารณะในประเทศกลุ่มยุโรป ขณะที่อุปทานน�้ำมันดิบยังเพิ่มขึ้นได้ในกรอบที่จ�ำกัด”
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
19
ภาพที่ 9 สมมติฐานราคาน�ำ้ มันดิบดูไบในปี 2554 และปี 2555
ที่มา : Reuters
➥➥ ราคาน�ำ้ มันดิบดูไบเฉลีย่ ปี 2554 คาดว่าจะปรับตัวเพิม ่ ขึน้ สูร่ ะดับ 105.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จาก
ปี 2553 ที่อยู่ ณ ระดับ 78.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 34.9 จากปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมา จากอุปทานการผลิตน�ำ้ มันทีล่ ดลงจากความไม่สงบในตะวันออกกลางและประเทศลิเบีย รวมถึงปัจจัยด้านอุปสงค์ทเี่ พิม่ ขึน้ จาก ความต้องการของประเทศนอกกลุ่ม OECD เป็นส�ำคัญ ประกอบกับเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่นในวันที่ 11 มีนาคม 2554 ส่งผลให้ญปี่ นุ่ ต้องน�ำเข้าน�ำ้ มันมากขึน้ เพือ่ ใช้ในการท�ำความร้อนและผลิตกระแสไฟฟ้าภายในประเทศทดแทนจาก การผลิตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทไี่ ด้หยุดด�ำเนินการ อย่างไรก็ตาม จากความกังวลด้านปัญหาหนีส้ าธารณะของยุโรปและปัญหา ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง ส่งผลให้ราคาน�้ำมันปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา ขณะที่ ราคาน�ำ้ มันในไตรมาสที่ 4 มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนือ่ งจากความเปราะบางของการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา วิกฤต หนี้สาธารณะยุโรป และการชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน ประกอบกับอุปทานน�้ำมันมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งจาก การผลิตของประเทศในกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ส่วนในปี 2555 คาดว่าราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 116.0 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 111.0-121.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) เนื่องจากอุปสงค์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ Non-OECD เป็นส�ำคัญ ในขณะที่ปัญหาหนี้สาธารณะในประเทศกลุ่มยุโรปและความเปราะบางใน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส�ำคัญ ➥➥ ปัจจัยหลักทีม ่ ผี ลต่อราคาน�ำ้ มันดิบดูไบในปี 2554 ได้แก่ 1) การขยายตัวของอุปสงค์นำ�้ มันดิบตามการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศนอกกลุ่ม OECD อย่างประเทศจีนและอินเดียเป็นส�ำคัญ ประกอบกับเหตุการณ์ ภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่นถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ท�ำให้มีความต้องการน�้ำมันทดแทนการผลิต กระแสไฟฟ้าภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านเงินเฟ้อในจีนและอินเดีย ความกังวลด้านวิกฤตหนี้ สาธารณะในยุโรป และความเสีย่ งทีเ่ ศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาอาจเข้าสูภ่ าวะถดถอยอีกครัง้ จะลดแรงกดดันราคาน�ำ้ มัน ในช่วงที่เหลือของปีไม่ให้ปรับตัวขึ้นมากนัก ขณะที่ 2) อุปทานน�้ำมันดิบคาดว่าจะเพิ่มขึ้นได้ในกรอบที่จ�ำกัด โดยเป็น ผลมาจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองของประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น อียิปต์ ลิเบีย และตูนิเซีย ซึง่ เป็นผูผ้ ลิตและส่งออกน�ำ้ มันดิบรายใหญ่ของโลก ส่วนในปี 2555 คาดว่าราคาน�ำ้ มันดิบดูไบจะได้รบั ผลจากอุปสงค์ที่ เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของประเทศในกลุ่มเอเชีย ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา อย่างไรก็ดี คาดว่าอุปสงค์จาก กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและยุโรปจะมีการปรับตัวลดลง จากปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปและ อเมริกา ขณะที่อุปทานยังเพิ่มขึ้นได้ในกรอบที่จ�ำกัด
20
1) อุปสงค์น�้ำมันดิบเพิ่มขึ้น International Energy Agency (IEA) คาดว่าในปี 2554 ความต้องการน�้ำมันดิบทั่ว โลกจะอยู่ที่ 89.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2553 ที่อยู่ที่ระดับ 88.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องหลังจากที่หดตัวติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 2 ปี ในปี 2551 และปี 2552 ทั้งนี้ • โดยประเทศในกลุ่ม OECD คาดว่าในปี 2554 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 45.8 ล้านบาร์เรลต่อ วัน เทียบกับปี 2553 ที่อยู่ที่ระดับ 46.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการปรับตัวลดลง 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือหดตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี เนื่องจากความต้องการใช้น�้ำมันดิบในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ลดลง จากความกังวลเรื่องวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป และ ความเปราะบางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นส่งผลให้ความต้องการ น�้ำมันดิบโลกของญี่ปุ่นมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่น�ำเข้าน�้ำมันดิบเป็นอันดับ 3 ของโลก • ในขณะทีป่ ระเทศนอกกลุม่ OECD คาดว่าในปี 2554 มีความต้องการใช้นำ�้ มันดิบรวมที่ 43.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2553 ทีอ่ ยูท่ ี่ 42.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิม่ ขึน้ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี สาเหตุสำ� คัญ มาจากความต้องการน�ำ้ มันของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะประเทศจีน อินเดีย และประเทศในกลุม่ อาเซียนบางประเทศ 2) อุปทานน�ำ้ มันดิบโลกทีเ่ พิม่ ขึน้ คาดว่าในปี 2554 ปริมาณน�ำ้ มันทีผ่ ลิตทัว่ โลกจะอยูท่ ี่ 88.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับ ปี 2553 ทีอ่ ยูท่ ี่ 87.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิม่ ขึน้ 0.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 1.03 จากปีกอ่ นหน้า ➥➥ ในกลุ่ม OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตน�้ำมันดิบในปี 2554 จะอยู่ที่ 35.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2553 ที่ อยูท่ รี่ ะดับ 34.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิม่ ขึน้ 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยในช่วงตัง้ แต่ไตรมาส ที่ 3 ที่ผ่านมา ประเทศในกลุ่ม OPEC โดยเฉพาะประเทศซาอุดีอาระเบีย อิรัก และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้เพิ่มก�ำลังการผลิต เพื่อชดเชยอุปทานน�้ำมันที่สูญหายไป เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางและประเทศลิเบีย ทั้งนี้ สถานการณ์ ความไม่สงบในลิเบียได้สงบลงเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2554 ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ลิเบียสามารถกลับมาผลิตน�้ำมันดิบในระดับ ปกติได้อีกครั้ง ➥➥ ส่วนในกลุม่ Non-OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตในปี 2554 อยูท่ รี่ ะดับ 52.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2553 ทีอ่ ยูท่ ี่ 52.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิม่ ขึน้ 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี เนือ่ งจากการผลิตทีเ่ พิม่ ขึน้ จากกลุม่ ประเทศ ลาตินอเมริกา รัสเซีย จีน เม็กซิโก บราซิล และโคลัมเบีย ตามราคาน�ำ้ มันโลกทีเ่ พิม่ สูงขึน้ เพือ่ ให้เพียงพอต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
3. ราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2554 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะขยายตัวในอัตราชะลอลงทีร่ อ้ ยละ 5.6 เมือ่ เทียบกับปีกอ่ น โดยมีปจั จัยสนับสนุน มาจากราคาสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรทีป่ รับตัวสูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ เป็นผลจากความต้องการของประเทศ คูค่ า้ ของไทยเพือ่ ใช้เป็นพลังงานทดแทน และน�ำไปใช้เป็นวัตถุดบิ ของภาคอุตสาหกรรม ขณะทีร่ าคาสินค้าน�ำเข้าคาดว่าจะ ขยายตัวสูงขึน้ ทีร่ อ้ ยละ 10.2 สาเหตุหลักมาจากราคาเชือ้ เพลิงทีป่ รับตัวเพิม่ ขึน้ มากตามการเพิม่ ขึน้ ของราคาน�้ำมันดิบใน ตลาดโลก เนือ่ งจากอุปสงค์ทเี่ พิม่ ขึน้ และผลของการจลาจลในตะวันออกกลาง ขณะทีใ่ นปี 2555 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะ ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 5.5 เนือ่ งจากคาดว่าราคาสินค้าเกษตรและราคาสินค้าในหมวดทีใ่ ช้แรงงานจะปรับตัวสูงขึน้ จากมาตรการ ของรัฐบาล ส่วนราคาสินค้าน�ำเข้าจะขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอลงมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 5.8 เมือ่ เทียบกับปี 2554 เนือ่ งจากราคาสินค้า ประเภทเชือ้ เพลิงมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอลงจากปี 2554 ภาพที่ 10 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2554 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออก (รูปดอลลาร์สหรัฐ)
อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ)
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และ สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
21
3.1 ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าส่งออกในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.6 เทียบกับปี 2553 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 9.2 เนือ่ งจาก คาดว่าราคาสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 75.3 ของดัชนีราคารวมจะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่ ฟืน้ ตัวจนใกล้เคียงกับระดับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โดยราคาสินค้าอุตสาหกรรมในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 3.8 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรและสินค้าแร่และเชือ้ เพลิง ซึง่ มีสดั ส่วนรองลงมาทีร่ อ้ ยละ 11.3 และร้อยละ 6.8 ตามล�ำดับ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 13.5 และร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยเฉพาะยางพาราและมันส�ำปะหลังซึง่ ราคาปรับตัวเพิม่ ขึน้ ตามความต้องการสินค้าเกษตรของประเทศ คู่ค้าเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนและน�ำไปเป็นวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาสที่ 4 ราคายางพารา ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเป็นผลมาจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอความร้อนแรงลง โดยช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ขยายตัวเหลือเพียงร้อยละ 20.0 จากไตรมาสที่ 2 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 60.5 ส่งผลให้ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 ราคายางพารา ขยายตัวถึงร้อยละ 60.6 ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์มันส�ำปะหลังยังขยายตัวได้ดีอยู่ที่ร้อยละ 35.9 ตามความต้องการของประเทศ คู่ค้าของไทย โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ราคาผลิตภัณฑ์มันส�ำปะหลังหดตัวลงในช่วงไตรมาสที่ 4 เช่นเดียวกันกับราคายางพารา เนือ่ งจากผลผลิตทีม่ มี ากเกินความต้องการ ส�ำหรับปี 2555 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะขยายตัวที่ ร้อยละ 5.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 4.5-6.5) ชะลอลงจากปีกอ่ น เนือ่ งจากราคายางพารามีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอ ลง โดยเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรบางรายการมีแนวโน้มเพิม่ สูงขึน้ ได้แก่ ข้าว และสินค้าหมวดที่ใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งเป็นผลจากมาตรการรับจ�ำน�ำราคาข้าวและนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต�่ำ 3.2 ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าน�ำเข้าในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 10.2 เทียบกับปี 2553 ที่ขยายตัว ร้อยละ 8.1 เนื่องจากราคาสินค้าประเภทเชื้อเพลิงซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 20.9 ของดัชนีราคารวมขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 33.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน�้ำมันดิบใน ตลาดโลก เนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากประเทศจีนและประเทศอินเดีย ประกอบกับอุปทานการผลิตที่ตึงตัว เนื่องจากปัญหา ความไม่สงบในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ราคาสินค้าประเภทวัตถุดิบและกึ่งส�ำเร็จรูปที่มีสัดส่วนมากที่สุดถึงร้อยละ 43.5 ยังขยายตัวได้ดี โดย ในช่วง 11 เดือนแรกขยายตัวที่ร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม จากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิในไตรมาสที่ 3 อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าราคาสินค้าน�ำเข้าจะหดตัวลง เนื่องจาก ความเสียหายจากภาวะอุทกภัยได้ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ส�ำหรับปี 2555 คาดว่าราคาสินค้าน�ำเข้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.8-6.8) โดยราคา สินค้าประเภทเชื้อเพลิงจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2554 ส่งผลให้ราคาสินค้าน�ำเข้ามีการขยายตัวในอัตราที่ ชะลอลงจากปี 2554
4. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ “ในปี 2554 ค่าเงินบาทเฉลี่ยมีทิศทางแข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในปี 2553 มาอยู่ที่ 30.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยมีความผันผวนสูง และ สศค.คาดว่าค่าเงินบาทในปี 2555 จะอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 30.8 บาทต่อ ดอลลาร์สหรัฐ หรือในช่วงคาดการณ์ระหว่าง 30.3–31.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ”
22
ภาพที่ 11 สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยในปี 2554 และปี 2555
ที่มา : Reuters
4.1 สถานการณ์ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา หากพิจารณาทิศทางความเคลือ่ นไหวของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบนั เทียบกับต้นปี 2554 แล้ว จะพบว่า ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงร้อยละ 5.15 (ภาพที่ 12) เนือ่ งจากมีเงินทุนไหลออกจากตลาดทุนไทยโดยเฉพาะตลาดตราสาร หนี้ในช่วงต้นปี และตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน เดือนสิงหาคม–กันยายน และเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งมีสาเหตุส�ำคัญจากการที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงไม่แน่นอน โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหภาพยุโรปยังคงเปราะบางจาก ปัญหาหนีส้ าธารณะและการถูกปรับลดอันดับความน่าเชือ่ ถือของประเทศต่าง ๆ ในกลุม่ ยูโรโซน อีกทัง้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายัง คงมีความเสีย่ งภายหลังจากการประชุมคณะกรรมการร่วมของ 2 พรรคการเมือง (Super-committee) ไม่สามารถหาข้อสรุปเรือ่ ง การปรับลดงบประมาณรายจ่ายได้ ส่งผลให้นักลงทุนดึงเงินกลับไปถือสินทรัพย์ที่ถือว่ามีความปลอดภัยสูงอื่น ๆ (Safe Haven) ภาพที่ 12 อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐรายวัน
ที่มา : Reuters / สศค.
อย่างไรก็ตาม ดุลบัญชีการช�ำระเงิน (Balance of Payment) ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 เกินดุลสะสม แล้วกว่า 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นปัจจัยที่ผลักดันมิให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากจากเงินทุนไหลออก
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
23
ภาพที่ 13 ดุลการช�ำระเงินของประเทศไทยปี 2554
ที่มา : ธปท.
4.2 แนวโน้มของค่าเงินบาทในระยะถัดไป ในปี 2555 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สหรัฐจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 30.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ระดับ 30.3–30.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) จากปัจจัยหลัก คือ ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในปี 2555 ที่น่าจะขาดดุลเล็กน้อย จากการน�ำเข้าที่ขยายตัวเร่งขึ้นมากตามความต้องการ สินค้าหมวดเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรที่เสียหายจากอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ในขณะที่การส่งออกและ ภาคการท่องเทีย่ วขยายตัวชะลอลง เนือ่ งจากเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชะลอตัวลง จากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในกลุม่ ยูโรโซนทีอ่ าจส่งผลกระทบวงกว้างต่อไปยังเศรษฐกิจของประเทศในภูมภิ าคทีเ่ น้นการส่งออกเป็นหลัก รวมไปถึงอาจลุกลามไปยัง ภาคการธนาคารของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย นอกจากนี้ ดุลเงินทุนของไทยในระยะต่อไปคาดว่าจะยังคงมีความผันผวนสูง จากความไม่แน่นอนทาง การเมืองของสหรัฐอเมริกาในการเจรจาปรับลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐ ตลอดจนความไม่แน่นอนของการช่วยเหลือประเทศ ในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ประสบวิกฤตหนี้สาธารณะ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินบาทตลอดจนค่าเงินในภูมิภาคอื่น ๆ มีความผันผวนตาม ไปด้วย
5. อัตราดอกเบี้ยนโยบาย “สศค.คาดการณ์ว่าในปี 2555 อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.75–3.75 ต่อปี” ➥➥ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ด�ำเนินนโยบายการเงินแบบ
ผ่อนคลายมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 จาก (1) สถานการณ์น�้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม (2) เศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอลงชัดเจน และ (3) อัตราเงินเฟ้อที่มีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี 2554 ส่งผลให้ กนง.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้งในเดือนสิงหาคม 2554 และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งใน เดือนพฤศจิกายน 2554 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25
24
ภาพที่ 14 อัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
ที่มา : ธปท. รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มที่จะอยู่ในช่วงคาดการณ์ 2.75-3.75 โดยใน
ช่วงต้นปี 2555 กนง.อาจปรับลดอัตราดอกเบีย้ ลงต่อเนือ่ งเพือ่ ช่วยกระตุน้ เศรษฐกิจหลังเหตุการณ์นำ�้ ท่วม อย่างไรก็ตาม ในช่วง ครึง่ หลังของปี 2555 แรงกดดันจากเงินเฟ้อทีค่ าดว่าจะเพิม่ ขึน้ ตามเศรษฐกิจทีฟ่ น้ื ตัวดีขนึ้ จะส่งผลให้ กนง.กลับมาด�ำเนินนโยบาย การเงินแบบตึงตัวมากขึน้ ภาพที่ 15 สมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี
ที่มา : ธปท. รวบรวมโดย สศค.
6. รายจ่ายภาคสาธารณะประจ�ำปีงบประมาณ 2554
“ปีงบประมาณ 2554 รายจ่ายภาคสาธารณะ (ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล (2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (อปท.) และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ) สามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 2,769.8 ล้านล้านบาท เพิ่มจาก ปีงบประมาณ 2553 ซึง่ มีรายจ่ายภาคสาธารณะจ�ำนวน 2,521 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 9.9 เมือ่ เทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน ส�ำหรับปีงบประมาณ 2555 รายจ่ายภาคสาธารณะคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายจ�ำนวน 2.92–2.95 ล้านล้านบาท ขยายตัวในช่วงร้อยละ 5.6–6.4”
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
25
6.1 กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลตัง้ กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2,070,000 ล้านบาท ซึง่ เป็นการด�ำเนิน นโยบายงบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 420,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 3.9 ของ GDP ภายใต้ประมาณการจัดเก็บ รายได้รัฐบาลเท่ากับ 1,650,000 ล้านบาท โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ� ำจ�ำนวน 1,661,482 ล้านบาท (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังจ�ำนวน 30,346 ล้านบาท (3) รายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 345,617 ล้านบาท และ (4) รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้จ�ำนวน 32,554 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลได้มกี ารจัดท�ำงบประมาณเพิม่ เติมจ�ำนวน 99,968 ล้านบาท โดยเป็นรายจ่ายเพือ่ ชดใช้เงินคงคลัง จ�ำนวน 84,143 ล้านบาท และรายจ่ายเพื่อการฟื้นฟูภัยพิบัติและเงินอุดหนุนให้ อปท. จ�ำนวน 15,825 ล้านบาท ส�ำหรับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2555 มีจำ� นวน 2,380,000 ล้านบาท ซึง่ เป็นการด�ำเนินนโยบาย งบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 400,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 3.4 ของ GDP ภายใต้ประมาณการจัดเก็บรายได้รฐั บาล เท่ากับ 1,980,000 ล้านบาท โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 1,855,841 ล้านบาท (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังจ�ำนวน 53,918 ล้านบาท (3) รายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 423,387 ล้านบาท และ (4) รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้จ�ำนวน 46,854 ล้านบาท ตารางที่ 4 กรอบโครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2553 และ 2554 2553
2554 รวมงบเพิ่มเติม
2555
1,700,000.0 17.5 (12.9)
2,169,967.5 20.0 27.6
2,380,000.0 20.2 9.7
1.1 รายจ่ายประจ�ำ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราเพิ่ม)
1,434,710.1 84.4 1.7
1,667,439.7 76.8 16.2
1,855,841.0 78.0 -52.9
1.2 รายจ่ายลงทุน (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราเพิ่ม)
214,369.0 12.6 (50.1)
355,484.6 16.4 65.8
423,387.0 17.8 19.1
1.3 รายจ่ายช�ำระต้นเงินกู้ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราเพิ่ม)
50,920.9 3.0 (20.0)
32,554.6 1.5 (36.1)
46,854.0 2.0 43.9
2. ประมาณการรายได้ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราเพิ่ม)
1,350,000.0 13.9 (15.9)
1,770,000.0 16.3 31.1
1,980,000.0 16.8 11.9
3. การขาดดุล/เกินดุล (สัดส่วนต่อ GDP)
(350,000.0) (3.6)
(400,000.0) (3.7)
(400,000.0) (3.4)
4. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (GDP) เบื้องต้น
9,726,200.0
10,867,600.0
11,794,200.0
ปีงบประมาณ 1. วงเงินงบประมาณ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราเพิ่ม)
ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ
26
ส�ำหรับงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2554 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 2,177,895 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94.5 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2,169,968 ล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่าย ประจ�ำจ�ำนวน 1,786,982 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 263,558 ล้านบาท โดยคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน ที่ร้อยละ 74.1 ของกรอบวงเงินรายลงทุน ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2555 คาดว่า รัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 2,335,839 ล้านบาท ภายใต้สมมติฐานการเบิกจ่ายร้อยละ 93.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณจ�ำนวน 2,380,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 1,907,698 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 304,839 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 โดยมีกรอบวงเงินลงทุนจ�ำนวน 349,960 ล้านบาท ในช่วง ปี 2552–2555 ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2554 มีการเบิกจ่ายเงินลงทุนจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 61,362 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 17.5 ของกรอบเงินลงทุนโครงการไทยเข้มแข็ง 349,960 ล้านบาท โดยมี การเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือนกันยายน 2552–กันยายน 2554) จ�ำนวนทั้งสิ้น 295,763 ล้านบาท คิดเป็นอัตรา การเบิกจ่ายร้อยละ 84.5 ของกรอบวงเงินทีไ่ ด้รบั อนุมตั ิ 349,960 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2555 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายรวม จ�ำนวน 15,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.3 ของกรอบเงินลงทุนโครงการไทยเข้มแข็ง 349,960 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์ การเบิกจ่ายจ�ำนวน 20,000–30,000 ล้านบาท) ตารางที่ 5 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลกลางปีงบประมาณ 2554 และ 2555 ปีงบประมาณ 2553 ปีงบประมาณ 2554
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2555 คาดการณ์ ณ ธ.ค. 2554
กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย
1,700,000
2,169,968
2,380,000
อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ
95.8%
94.5%
93.0%
2,004,313 1,784,413 1,444,760 183,115 1,627,875 156,538
2,239,257 2,177,895 1,786,982 263,558 92,640 87,459 5,181 2,050,540 127,355
2,373,839-2,383,839 2,353,839 1,907,698 304,839 2,212,536 141,303
219,901
61,362
20,000–30,000
1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน รายจ่ายเพิ่มเติม (งบกลางปี) - ชดใช้เงินคงคลัง - เพื่อฟื้นฟูภัยพิบัติและอุดหนุน อปท. รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) (3) รายจ่ายเหลื่อมปี 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่มา : สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
27
6.2 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) มีการเบิกจ่ายงบประมาณตามระบบบัญชีประชาชาติ (SNA) รวมทัง้ สิน้ 274,385 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วงไตรมาสที่ 2–4 ของปีงบประมาณ 2554 มีการเบิกจ่ายที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ในขณะที่ปีงบประมาณ 2555 มีการ จัดท�ำงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณล่าช้าอาจส่งผลกระทบต่อการโอนเงินไปสู่ อปท. โดยในปีงบประมาณ 2555 คาดว่ารายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 294,386 ล้านบาท อย่างไรก็ดี อปท. ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลได้จัดสรรเงินอุดหนุนให้ อปท. จ�ำนวน 223.2 พันล้านบาท ตารางที่ 6 สมมติฐานการเบิกรายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2554 และ 2555 ปีงบประมาณ 2553
ปีงบประมาณ 2554
286,557
274,385
รายจ่ายท้องถิ่น
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2555 คาดการณ์ ณ ธ.ค. 2554 294,386
ทีม่ า : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
6.3 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ มติ ค ณะรั ฐ มนตรี (ครม.) เมื่ อ วั น ที่ 27 ธั น วาคม 2554 เห็ น ชอบกรอบงบประมาณของรั ฐ วิ ส าหกิ จ ประจ� ำ ปีงบประมาณ 2555 วงเงินเบิกจ่ายลงทุน จ�ำนวน 533,411 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) การลงทุนโครงการต่อเนือ่ งทีไ่ ด้รบั อนุมตั ใิ ห้ ด�ำเนินการแล้วและงานตามภารกิจปกติ วงเงินเบิกจ่ายลงทุน จ�ำนวน 473,442 ล้านบาท และ 2) การลงทุนทีข่ อเพิม่ เติมระหว่างปี (การเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมงบลงทุน) วงเงินด�ำเนินการและวงเงินเบิกจ่ายลงทุนจ�ำนวน 60,000 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าทั้งปีงบประมาณ 2555 รัฐวิสาหกิจจะสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงคาดการณ์ 255,752–267,752 ล้านบาท (ระบบบัญชีรายได้ประชาชาติ (SNA)) ตารางที่ 7 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2554 (ระบบบัญชีรายได้ประชาชาติ (SNA)) ปีงบประมาณ 2553
ปีงบประมาณ 2554
315,370
256,114
รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2555 คาดการณ์ ณ ธ.ค. 2554 255,752–267,752
ทีม่ า : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
6.4 สรุปรวมรายจ่ายภาคสาธารณะ การใช้จ่ายของรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2554 พบว่า รายจ่ายภาคสาธารณะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 2,769,757 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.9 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ประกอบด้วย 1) รายจ่ายรัฐบาลจ�ำนวน 2,239,257 ล้านบาท และรายจ่ายจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 61,362 ล้านบาท 2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จ�ำนวน 274,385 ล้านบาท และ 3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจจ�ำนวน 256,114 ล้านบาท
28
จากสมมติฐานการใช้จ่ายของรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจใน ปีงบประมาณ 2555 ดังกล่าว ท�ำให้คาดว่าในปีงบประมาณ 2555 รายจ่ายภาคสาธารณะจะมีจ�ำนวน 2,934,977 ล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์จ�ำนวน 2,923,977–2,945,977 ล้านบาท) ประกอบด้วย 1) รายจ่ายรัฐบาลจ�ำนวน 2,335,839 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์จ�ำนวน 2,373,839–2,383,839 ล้านบาท) และรายจ่ายจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 15,000 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์จ�ำนวน 20,000– 30,000 ล้านบาท) 2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 294,386 ล้านบาท และ 3) รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจจ�ำนวน 261,752 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์จ�ำนวน 255,752–267,752 ล้านบาท) ตารางที่ 8 สมมติฐานการเบิกรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2554 และ 2555
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2553 ปีงบประมาณ 2554
ปีงบประมาณ 2555 คาดการณ์ ณ ธ.ค. 2554
กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย
1,700,000
2,169,968
2,380,000
อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ
95.8%
94.5%
93.0%
1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน รายจ่ายเพิ่มเติม (งบกลางปี) - ชดใช้เงินคงคลัง - เพื่อฟื้นฟูภัยพิบัติและอุดหนุน อปท. รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) (3) รายจ่ายเหลื่อมปี 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
2,004,313 1,784,413 1,444,760 183,115 1,627,875 156,538
2,239,257 2,177,895 1,786,982 263,558 92,640 87,459 5,181 2,050,540 127,355
2,373,839-2,383,839 2,353,839 1,907,698 304,839 2,212,536 141,303
219,901
61,362
20,000–30,000
2. รายจ่ายท้องถิ่น
286,557
274,385
294,386
3. รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ
230,377
256,114
255,752-267,752
4. รายจ่ายภาคสาธารณะ (1+2+3)
2,521,248
2,769,757
2,923,977-2,945,977
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ค�ำนวณโดย สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
29
ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2554 และปี 2555 1. ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “สศค.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี เทียบกับปี 2553 ที่เศรษฐกิจขยายตัว ร้อยละ 7.8 โดยเป็นการปรับประมาณการลดลงจากครั้งก่อนในเดือนกันยายน 2554 ที่คาดการณ์ไว้ว่าเศรษฐกิจไทย จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0” ➥➥ สศค.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 มีแนวโน้มจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 โดยเป็นการปรับตัว
ลดลงจากประมาณการครั้งก่อน เนื่องจาก 1) ผลกระทบจากปัญหาวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปีได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมให้หดตัวลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการจ�ำนวน มากประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต ท�ำให้ส่งผลกระทบต่อเนื่องผ่านการบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะชะลอลง โดยเฉพาะในหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และโรงแรมภัตตาคาร และยังส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงตามผลผลิตทางการเกษตรที่ เสียหาย ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะชะลอลงตามปัญหาการหยุดชะงักของการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ บริเวณนิคมอุตสาหกรรมในแถบภาคกลางที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากเหตุการณ์อุทกภัย และ 2) ปัญหาความไม่แน่นอน ของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์และการจ้างงานในสหรัฐอเมริกา และปัญหาหนี้สาธารณะ ในกลุ่มประเทศยุโรปคาดว่าจะท�ำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการจะขยายตัวชะลอลงเช่นกัน ➥➥ ส�ำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2555 สศค.คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น โดยคาดว่าจะกลับมา ขยายตัวในอัตราเร่งทีร่ อ้ ยละ 5.0 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 4.5–5.5) โดยมีแรงขับเคลือ่ นหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศ ที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวเร่งขึ้น ตามความจ�ำเป็นในการเร่งฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรม ภายหลังจากวิกฤตอุทกภัยคลี่คลายลง ประกอบกับนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น มาตรการปรับเพิ่ม รายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการจ�ำน�ำข้าวเปลือก ในขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศคาดว่าจะชะลอ ลงเล็กน้อย ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักที่มีแนวโน้มชะลอลง ภาพที่ 16 ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
30
1.1 การบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง
1.1.1 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การบริ โ ภคภาคเอกชนที่ แ ท้ จ ริ ง ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ขยายตั ว ร้ อ ยละ 2.4 เมื่ อ เที ย บกั บ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 (ทั้งนี้ เมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า การบริโภค ภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 0.0 จากไตรมาสก่อนหน้า) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้เกษตรกรมี แนวโน้มปรับตัวลดลงจากการชะลอตัวของปริมาณการผลิตและราคาพืชผลที่ส�ำคัญ ประกอบกับระดับราคาสินค้าทั่วไปมี แนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์น�้ำท่วมที่เริ่มส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายโดยรวม ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการบริโภคจ�ำแนกตามรายหมวดส�ำคัญพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลง ในเกือบทุกหมวดสินค้า ยกเว้นหมวดสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น หลังจากปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต และประกอบรถยนต์น�ำเข้าจากญี่ปุ่นคลี่คลายลง ส่งผลให้การบริโภคสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 10.2 เร่งขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากการขยายตัวของรถยนต์นั่ง รถบรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ที่ขยายตัวร้อยละ 15.5 จากไตรมาสก่อนที่ 5.3 ในขณะทีก่ ารบริโภคสินค้ากึง่ คงทน เช่น เสือ้ ผ้า รองเท้า ภาชนะและสิง่ ทอทีใ่ ช้ในครัวเรือน ขยายตัวชะลอ ลงที่ร้อยละ 3.4 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 โดยรายรับจากการขายปลีกสินค้าที่สะท้อนโดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง มีทิศทางชะลอลง สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าไม่คงทน เช่น หมวดอาหาร เครื่องดื่ม และของใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขยายตัว ร้อยละ 1.9 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนทีข่ ยายตัวร้อยละ 3.4 โดยหมวดอาหารชะลอลงทีร่ อ้ ยละ 2.1 และหมวดทีม่ ใิ ช่อาหารชะลอลงร้อยละ 1.7 ส่วนการบริโภคในหมวดบริการสุทธิพบว่า หดตัวร้อยละ -1.3 จากการชะลอลงของการบริการโรงแรมและภัตตาคาร การบริการ ขนส่งและคมนาคมที่ร้อยละ 9.5 และร้อยละ 7.1 ในขณะที่รายจ่ายของคนต่างประเทศในประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 ภาพที่ 17 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2554 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากปี 2553 ที่ ขยายตัวร้อยละ 4.8 เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยได้ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบชะลอตัวลง โดยเฉพาะในหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และโรงแรมภัตตาคาร และยังส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงตามผลผลิตทางการเกษตรที่ เสียหาย นอกจากนี้ ระดับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอันเนื่องมาจากเกิดภาวะขาดแคลนสินค้าในช่วงอุทกภัยยังส่งผลให้ภาระ ค่าครองชีพของประชาชนปรับตัวเพิ่มขึ้น และมีส่วนท�ำให้การบริโภคภาคเอกชนชะลอลง ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจบ่งชี้ว่า การบริโภคภาคเอกชนในช่วง 11 เดือนแรกปี 2554 ยังคงขยายตัวได้เกณฑ์ดี ตามการขยายตัวในอัตราเร่งในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 ในขณะที่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ส่งสัญญาณขยายตัวในอัตราชะลอลง และหดตัวลงในบางหมวดสินค้า เนื่องจากได้รับผลกระทบ จากปัญหาน�้ำท่วมในหลายพื้นที่เศรษฐกิจส�ำคัญ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล สะท้อนได้จากเครื่องชี้วัด เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ที่สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนโดย
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
31
รวม ขยายตัวที่ร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ (สะท้อนด้านการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน) ที่ร้อยละ 8.8 และร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ และรายได้เกษตรกรที่แท้จริง (สะท้อนก�ำลังซื้อของประชาชนภาคชนบท) ขยายตัวร้อยละ 15.3 ในขณะที่สินเชื่อเพื่อ การบริโภคในช่วง 10 เดือน ปี 2554 พบว่า ยังขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 15.0 ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชน ในปี 2554 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนในปี 2554 ได้แก่ 1) แนวโน้มระดับราคา สินค้าทั่วไปที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน�้ำมันและราคาโภคภัณฑ์ 2) ปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะภาค กลางของประเทศรวมถึงในพื้นที่เศรษฐกิจส�ำคัญในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิต ภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรมส�ำคัญ ซึ่งในที่สุดจะกระทบต่อการบริโภคของประชาชนโดยรวม และ 3) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ตามสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ➥➥ ในปี 2555 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.3-4.3) เร่งขึ้นจากปี 2554 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) ทิศทางรายได้ทั้งในและนอก ภาคเกษตรทีค่ าดว่าจะยังคงอยูใ่ นเกณฑ์ดี จากการจ้างงานทีค่ าดว่าจะยังคงอยูใ่ นระดับสูง ตามการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2555 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะยังคงทรงตัวในระดับสูง ตามความต้องการสินค้าเกษตรที่ยังคง ขยายตัวต่อเนือ่ ง ในขณะทีอ่ ปุ ทานค่อนข้างตึงตัว เนือ่ งจากประเทศทีผ่ ลิตสินค้าเกษตรหลัก เช่น อินเดีย เวียดนาม รวมถึงประเทศไทย ประสบปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติ และ 2) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น มาตรการปรับ เพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำ 300 มาตรการปรับเพิ่มรายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการจ�ำน�ำข้าวเปลือก
1.1.2 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าหดตัว ร้อยละ -1.1 จากไตรมาสก่อนหน้า ท�ำให้ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2554 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 1.3 โดย เป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงานเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.9 และรายจ่ายค่าซือ้ สินค้าและบริการสุทธิเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.3 ขณะทีร่ ายจ่าย เพื่อการอุปโภคทั้งหมดของภาครัฐในราคาประจ�ำปีมูลค่า 387.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.6 ซึ่งแบ่งออกเป็นค่าตอบแทน แรงงานจ�ำนวน 246.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.8 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิจ�ำนวน 143.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.0 ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2554 มีวงเงินงบประมาณจ�ำนวน 2.07 ล้านล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายเพิ่ม เติมจ�ำนวน 1.0 แสนล้านบาท ท�ำให้มีวงเงินงบประมาณจ�ำนวน 2.17 ล้านล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2554 มีการเบิกจ่าย รวมทั้งสิ้น 2.05 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94.5 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2554 โดยไตรมาสที่ 3 มีการเบิกจ่าย 458.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.0 รายจ่ายเหลื่อมปีจ�ำนวน 21.5 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -12.8 และการเบิกจ่ายจากโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 11.9 พันล้านบาท ท�ำให้การเบิก จ่ายในไตรมาสที่ 3 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 491.9 พันล้านบาท ภาพที่ 18 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
32
➥➥ ในปี 2554 การบริโภคภาครัฐทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.4 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น
ชะลอลงจากปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 เนื่องจากปัจจัยหลักมาจากฐานสูงของช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับ ความล่าช้าในการจัดท�ำงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ที่จะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประจ�ำในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ไม่สามารถเบิกจ่ายได้เท่าทีค่ วร ทัง้ นี้ ในปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลได้มกี ารอนุมตั วิ งเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 1.667 ล้านล้านบาท (รวมงบเพิม่ เติมในส่วนของงบประจ�ำทีช่ ดใช้เงินคงคลังจ�ำนวน 84.1 พันล้านบาท) เพิม่ ขึน้ จากปีงบประมาณ 2553 ที่มีวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 1.434 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 232.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรา การขยายตัวร้อยละ 16.2 ทั้งนี้ ทั้งปีงบประมาณ 2554 รายจ่ายประจ�ำของรัฐบาลสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 1,789.0 พันล้าน บาท ขณะที่เม็ดเงินจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่คงเหลือให้เบิกจ่ายลดลงจากปีก่อนหน้า ➥➥ ในปี 2555 การบริโภคของภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0-5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) ผลจากปัจจัยฐานต�่ำของช่วง เดียวกันของปีก่อน ประกอบกับพระราชบัญญัติกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ที่มีผลบังคับใช้ แล้วตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2,380.0 ล้านล้านบาท โดยในจ�ำนวนนี้เป็นงบประมาณ รายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 1.85 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 78.0 ของวงเงินงบประมาณ และเพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ นหน้าร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.2 การลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง
1.2.1 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง
➥➥ การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีกอ่ น จากไตรมาสก่อนทีข่ ยายตัวร้อยละ 8.6 และเมือ่ ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่าการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส ที่ 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า การลงทุนในหมวดเครื่องมือ เครื่องจักร (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 75.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ขยายตัวร้อยละ 10.1 จากไตรมาสที่ 2 ปี 2554 ที่ ขยายตัวร้อยละ 9.5 ตามการขยายตัวของการน�ำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัวร้อยละ 16.6 เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 8.0 โดยเฉพาะหมวดเครื่องจักรอุตสาหกรรมและหมวดเครื่องใช้ส�ำนักงานที่ขยายตัวร้อยละ 7.6 และร้อยละ 17.7 จากไตรมาส ก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 และร้อยละ 6.6 ตามล�ำดับ ส่วนหมวดยานพาหนะชะลอตัวลงโดยขยายตัวร้อยละ 7.6 จากไตรมาส ที่ 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 20.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากยอดการจดทะเบียนรถบรรทุกที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 10.1 ในขณะที่รถโดยสารหดตัวร้อยละ -27.6 ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างภาคเอกชน (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 25.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากไตรมาส ก่อนทีข่ ยายตัวร้อยละ 5.5 โดยการก่อสร้างอาคารทีอ่ ยูอ่ าศัยและอาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.4 และร้อยละ 14.3 ตามล�ำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นงานต่อเนื่องในโครงการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียมเพื่ออยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ ยังไม่มีโครงการใหม่ เกิดขึน้ มากนัก เนือ่ งจากแนวโน้มราคาวัสดุกอ่ สร้างและอัตราดอกเบีย้ ทีเ่ ริม่ ปรับตัวสูงขึน้ ส่วนอาคารโรงงานขยายตัวร้อยละ 13.2 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.7 ภาพที่ 19 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
33
➥➥ ในปี 2554 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.4 ชะลอลงจากปี 2553 ที่
ขยายตัวร้อยละ 13.8 ส่วนหนึง่ มาจากปัญหามหาอุทกภัยในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ทีส่ ง่ ผลกระทบเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุม ในหลายพืน้ ที่ โดยเฉพาะพืน้ ทีภ่ าคกลาง เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานี ซึง่ เป็นบริเวณนิคมอุตสาหกรรมและ เป็นแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหลักของประเทศไม่สามารถท�ำการผลิตได้ ท�ำให้คาดว่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ท�ำให้การลงทุน ภาคเอกชนในหมวดเครือ่ งมือเครือ่ งจักรลดลงมากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัว ในเกณฑ์ดี เนื่องจากมีการขยายตัวในอัตราเร่งในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 ตามการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของอุปสงค์ในประเทศ ในช่วงครึ่งแรกปี 2554 ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่าในช่วง 11 เดือนแรกปี 2554 การลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดี สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน เช่น ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าทุนหักรายการพิเศษ (เครื่องบิน เรือ รถไฟ) ขยายตัวที่ ร้อยละ 9.0 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า ในขณะทีก่ ารลงทุนภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้างทีว่ ดั จากเครือ่ งชีเ้ ศรษฐกิจ เช่น ปริมาณการจ�ำหน่ายเหล็กและปูนซีเมนต์ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 10.9 และร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนหน้า ตามล�ำดับ อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 การลงทุนภาคเอกชนต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อ การลงทุนภาคเอกชน ได้แก่ 1) อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนของการลงทุนภาคเอกชน 2) ต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะราคาน�้ำมันและราคาวัสดุก่อสร้างที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และ 3) ปัญหาภัยพิบัติจากธรรมชาติที่ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยที่ประสบมากขึ้นในปี 2554 จะเป็นปัจจัยกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อเนื่องต่อการลงทุนใหม่ในประเทศ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เนื่องจากต้องจัดสรรเงินทุนเพื่อซ่อมแซมทรัพย์สิน และสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติต่าง ๆ ➥➥ ในปี 2555 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 9.3–11.3) ต่อเนื่องจากปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ของภาครัฐ อาทิ มาตรการสนับสนุนสินเชื่อ การปรับลดภาษีรายได้นิติบุคคล เพื่อเป็นการเร่งสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้ง ของในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้อุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนทั้งการก่อสร้าง ใหม่ การซ่อมแซมและฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องเดิมที่ได้รับ ความเสียหายหลังประสบปัญหาน�้ำท่วมหนักในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2554
1.2.2 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 หดตัวร้อยละ -10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน หดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -9.9 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าหดตัวร้อยละ -3.7 จาก ไตรมาสก่อนหน้า ท�ำให้ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2554 หดตัวร้อยละ -7.8 ปัจจัยหลักมาจากยอดการเบิกจ่ายจากโครงการลงทุน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่เริ่มมีการเบิกจ่ายลดลง และการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐบาลท้องถิ่นที่หดตัวกว่า ร้อยละ -19.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในปีงบประมาณ 2554 ทั้งนี้ การลงทุนของภาครัฐที่แท้จริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 1) การลงทุนในหมวดก่อสร้าง หดตัวร้อยละ -15.3 หดตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -19.9 โดยรัฐบาลกลาง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหดตัวร้อยละ -22.4 เป็นผลจากยอดการเบิกจ่ายในโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทย เข้มแข็ง 2555 ที่เบิกจ่ายลดลง ซึ่งในไตรมาสที่ 3 มีการเบิกจ่าย 4.0 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของไตรมาสที่ แล้วที่มีการเบิกจ่าย 22.3 พันล้านบาท ในขณะที่การก่อสร้างของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะงานโครงการต่อเนือ่ ง เช่น การเคหะแห่งชาติ โครงการบ้านเอือ้ อาทรระยะที่ 2–ระยะที่ 5 การก่อสร้างท่าเรือและปรับปรุง ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลักของการประปานครหลวง เป็นต้น และ 2) การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร ขยายตัวร้อยละ 1.0 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.0 เป็นผลจากรัฐวิสาหกิจในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 1.3 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 48.1 ถึงแม้ว่าใน ไตรมาสนี้จะมีการน�ำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ของบริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวน 1 ล�ำ มูลค่า 4.0 พันล้านบาท ส�ำหรับภาครัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปรับตัวดีขึ้น โดยในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 0.7 ขยายตัวดีขึ้นจากไตรมาส ก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.0
34
ภาพที่ 20 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2554 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะหดตัวร้อยละ -6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อนหดตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่หดตัวร้อยละ -2.2 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบลงทุน ภาครัฐ และการเบิกจ่ายโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่เริ่มเบิกจ่ายได้ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ประกอบกับความล่าช้าในการจัดท�ำงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ทีจ่ ะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาส ที่ 4 ของปี 2554 ที่เป็นโครงการลงทุนใหม่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2554 รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลสามารถ เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 263.6 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 74.1 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน (รวม งบเพิ่มเติม) การเบิกจ่ายจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 สามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 61.4 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่าย สะสมตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือนกันยายน 2552–กันยายน 2554) จ�ำนวนทั้งสิ้น 295.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย ร้อยละ 84.5 ของกรอบวงเงิน 350.0 พันล้านบาท ➥➥ ในปี 2555 การลงทุนภาครัฐทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.8 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.8-9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) เพิ่มขึ้นจากปี 2554 เนื่องจากปัจจัยฐานต�่ำ ของช่วงเดียวกันของปีกอ่ น และวิกฤตอุทกภัยทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงปลายปี 2554 ทีส่ ง่ ผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบลงทุนเป็นหลัก ทัง้ นี้ เมื่อพระราชบัญญัติกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ท�ำให้คาดว่าภาครัฐจ�ำเป็น ต้องมีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนเพือ่ มาฟืน้ ฟูจากปัญหาน�ำ้ ท่วม และลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพืน้ ฐาน ภายใต้ ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยัง่ ยืน ประกอบกับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในปีงบประมาณ 2555 โดยรัฐบาลได้จดั สรรอุดหนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จ�ำนวน 223.2 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลได้ตั้งวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 423.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.8 ของกรอบวงเงินงบประมาณ ขณะที่งบลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ 2555 คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ภายในช่วงคาดการณ์จ�ำนวน 20.0–30.0 พันล้านบาท 1.3 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า เพิม่ ขึน้ จากไตรมาสก่อนทีข่ ยายตัวร้อยละ 12.0 ซึง่ มีปจั จัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรม ที่กลับมาฟื้นตัวจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น และถึงแม้ว่าจะได้รับ ผลกระทบจากภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะยุโรปที่มีปัญหาหนี้สาธารณะ แต่ประเทศในกลุ่มเอเชียยัง ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบจากอุทกภัยทางภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทยในช่วงปลายไตรมาส ซึ่งยัง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
35
ส่งผลกระทบไม่มากนักในด้านการส่งออกสินค้า โดยเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ ขยายตัว 2.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัว ด้านมิติสินค้าพบว่าภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 17.8 เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่ 2 ปี 2554 ทีร่ อ้ ยละ 7.2 ตามการฟืน้ ตัวในกลุม่ อุตสาหกรรมยานยนต์ทขี่ ยายตัวเร่งขึน้ ทีร่ อ้ ยละ 8.9 เพิม่ ขึน้ จากไตรมาส ก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -12.1 จากการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตและอุตสาหกรรม Hard Disk Drives ส่วนสินค้าในกลุ่ม เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรก็ขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 36.7 และร้อยละ 36.8 ตามล�ำดับ และเมื่อพิจารณา รายตลาดพบว่า การส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป หดตัวอย่างรุนแรงจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ ชะลอตัวลง ท�ำให้การน�ำเข้าสินค้าจากประเทศไทยลดลงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี ยังคงได้รับอานิสงส์จากประเทศจีน ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ที่มีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการท�ำข้อตกลงด้านการเงิน Bilateral swap ระหว่างญี่ปุ่นและ เกาหลีใต้ ซึ่งสินค้าส�ำคัญที่ส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ ยางพารา และมันส�ำปะหลัง ส�ำหรับตลาดอาเซียนขยายตัวชะลอลง แต่ยังขยายตัวได้จากสินค้าประเภทยานยนต์ ในขณะที่การส่งออกบริการขยายตัวชะลอ ลงที่ร้อยละ 21.3 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 29.8 จากผลกระทบของอุทกภัยในภาคเหนือและภาคกลางของ ประเทศไทยปลายไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ภาพที่ 21 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2554 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 ขยายตัวชะลอลงจากปีกอ่ น
หน้า ซึ่งปัจจัยสนับสนุนมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังภัยพิบัติสึนามิที่จะมีการน�ำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน และวัตถุดิบจากไทยเพื่อฟื้นฟูภายในประเทศตลอดจนอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งหลังปี 2554 เนื่องจาก แนวโน้มดุลการค้าเกินดุลลดลง อีกทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ อาทิ โครงการรับจ�ำน�ำข้าวเปลือก ซึ่งจะจูงใจให้ เกษตรกรเพิ่มการผลิตและส่งออกมากขึ้น แต่ทั้งนี้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ประเทศไทยได้รับ ผลกระทบจากภัยพิบตั นิ ำ�้ ท่วมในภาคเหนือและภาคกลางรวมถึงกรุงเทพมหานคร ซึง่ ได้สง่ ผลต่อผลิตผลเกษตรกรรมและการผลิต ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกถดถอย โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป รวมถึงการชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออก ของไทย และเกิดการแข่งขันเงินตรา (Currency War) ระหว่างเงินหยวนของจีนและดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอาจ ส่งผลให้การส่งออกและบริการในปี 2554 มีแนวโน้มชะลอลงมาก
36
➥➥ ในปี 2555 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่
ร้อยละ 7.9-9.9) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และผลของการด� ำเนินนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้น อุปสงค์ภายในประเทศ อาทิ มาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 มาตรการรับจ�ำน�ำ ข้าวเปลือก เป็นต้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกของไทยในปี 2555 แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน และ ความเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก 1.4 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 15.1 ตามการขยายตัวของการส่งออก ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวเร่งขึ้นเช่นเดียวกันจากไตรมาสก่อนหน้าที่ ร้อยละ 4.5 จากการขยายตัวเร่งขึ้นของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าหมวดยานยนต์ที่ร้อยละ 1.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ หดตัวทีร่ อ้ ยละ -3.1 ตามการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจญีป่ นุ่ และจากปริมาณการน�ำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน และสินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 15.2 ร้อยละ 18.2 และร้อยละ 18.4 ตามล�ำดับ ในขณะที่ปริมาณการน�ำเข้าสินค้า วัตถุดิบขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 22.6 ส�ำหรับปริมาณการน�ำเข้าบริการที่แท้จริงหดตัวที่ร้อยละ -7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนหน้า ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ -3.0 ภาพที่ 22 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2554 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.6 ขยายตัวชะลอลงมาก
จากปีก่อนหน้า สาเหตุส่วนใหญ่มาจากผลกระทบของปัญหาอุทกภัยในประเทศที่เกิดขึ้นในปลายไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ต่อเนื่อง ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ที่ท�ำให้โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตที่ส�ำคัญของประเทศไม่สามารถผลิตสินค้าได้ ส่งผลโดยตรงต่อ การน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเนื่องจากไม่มีการผลิต ➥➥ ในปี 2555 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 8.6-10.6) ขยายตัวในอัตราที่เท่ากันกับปีก่อนหน้า จากการน�ำเข้าเครื่องมือเครื่องจักร อะไหล่ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อ น�ำมาฟื้นฟูประเทศหลังเหตุการณ์อุทกภัยผ่านพ้นไป และยังมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการการกระตุ้นการบริโภคภาครัฐ อาจ ส่งผลให้การน�ำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มการอ่อนค่าลงของค่าเงินบาทอาจส่งผลให้ การน�ำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวในอัตราที่ไม่มากนัก ประมาณการเศรษฐกิจไทย
37
2. ด้านการค้าระหว่างประเทศ 2.1 มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 อยูท ่ ี่ 208.5 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ขยายตัว ร้อยละ 27.3 และเมือ่ หักผลของการส่งออกทองค�ำออกพบว่า มูลค่าการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 20.1 ทั้งนี้ การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้ามีการเร่งตัวขึ้นในแทบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานพาหนะ กลับมาขยายตัวเป็นบวกหลังจากประสบภัยพิบตั สิ นึ ามิในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 รวมทัง้ การส่งออกทองค�ำของนักลงทุนเป็นจ�ำนวน มากเพือ่ เก็งก�ำไรในช่วงเศรษฐกิจโลกผันผวน ส�ำหรับสินค้าหมวดเครือ่ งใช้ไฟฟ้านัน้ ยังขยายตัวในระดับสูง แต่มแี นวโน้มชะลอลง และหากพิจารณาเป็นรายตลาดพบว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวได้ดีในทุกตลาด โดยการส่งออกไปยังจีน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 62.9 ร้อยละ 5.2 ร้อยละ 25.5 และร้อยละ 30.2 ต่อปี ตามล�ำดับ อีกทั้งการส่งออกไป ยังตลาดภูมิภาคโดยเฉพาะตลาดอาเซียน-5 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 30.7 ภาพที่ 23 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2554 สศค.คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 16.4 ชะลอ
ลงจากปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 28.5 ต่อปี เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการที่สูงเกินคาดในช่วงครึ่ง แรกของปี โดยขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.9 อย่างไรก็ตาม ความเปราะบางของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจากภาวะการจ้าง งานในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรป รวมทั้งผลกระทบจากมหาอุทกภัย ภายในประเทศที่กระทบต่อภาคการผลิตยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญต่อแนวโน้มอุปสงค์โลกที่อาจชะลอตัวลงกว่าที่คาด และส่งผลกระทบให้ภาคการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2554 ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีก่อน
38
➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 14.1 (โดยมีช่วง
คาดการณ์ที่ร้อยละ 13.1-15.1) ชะลอตัวลงจากปี 2554 เนื่องจากปัจจัยฐานสูง อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกในปี 2555 จะยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มว่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นตามล�ำดับ และได้รับ อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นภายหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ 2.2 มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าการน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 อยู่ที่ 184.8 พันล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 25.1 ต่อปี โดยไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 33.4 ต่อปี ซึ่งเป็นผล จากอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่ง โดยการน�ำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าวัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าทุน ขยายตัว ร้อยละ 64.6 ร้อยละ 24.0 และร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามล�ำดับ ประกอบกับการน�ำเข้าวัตถุดิบ ยังคงขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 32.4 ทั้งนี้ หากหักน�้ำมันดิบซึ่งมีความผันผวนแล้ว มูลค่าการน�ำเข้าสินค้าในช่วง 11 เดือน แรกของปี 2554 จะขยายตัวร้อยละ 23.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ภาพที่ 24 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2554 สศค.คาดว่ า มู ล ค่ า การน� ำ เข้ า สิ น ค้ า ในรู ป ดอลลาร์ ส หรั ฐ จะขยายตั ว ที่ ร ้ อ ยละ 23.3
ชะลอตัวลงจากปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 36.8 เนื่องจากมูลค่าการน�ำเข้าสินค้าในครึ่งปีแรกของปีขยายตัวได้ดีเกินคาดที่ ร้อยละ 15.8 น�ำโดยสินค้าน�ำ้ มันดิบ ทองค�ำ และเคมีภณ ั ฑ์ อย่างไรก็ดี ปัญหาจากมหาอุทกภัยภายในประเทศในช่วงปลายไตรมาส ที่ 3 ปี 2554 ท�ำให้ภาคการผลิตหยุดชะงักส่งผลให้ความต้องการการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุนชะลอลง ➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่ามูลค่าการน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 26.7 (โดยมี ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 14.8-16.8) เร่งขึ้นจากปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้นทั้งภาคการบริโภค และการลงทุนจากนโยบายการเพิ่มรายได้ของรัฐบาล และนโยบายฟื้นฟูประเทศและบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำ ท�ำให้ต้องมี การน�ำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบ รวมถึงสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้น
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
39
2.3 ดุลการค้า ➥➥ ดุลการค้าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 เกินดุล 23.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วง
11 เดือนแรกของปี 2553 ที่เกินดุล 28.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่สูงกว่ามูลค่า การน�ำเข้าสินค้า โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าอยู่ที่ 208.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการน�ำเข้าสินค้าอยู่ที่ 184.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพที่ 25 ประมาณการดุลการค้า
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2554 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 26.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2553 โดยเป็นผลจาก
แนวโน้มอุปสงค์จากต่างประเทศชะลอลงตามการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจโลกทีย่ งั คงเปราะบาง และราคาสินค้าน�ำเข้าในตลาดโลก ทีท่ รงตัวในระดับสูง อย่างไรก็ตาม การเติบโตของเศรษฐกิจคูค่ า้ ใหม่โดยเฉพาะในภูมภิ าคเอเชียคาดว่าจะท�ำให้การส่งออกสินค้า ของไทยขยายตัวได้ดีและยังคงมีมูลค่าสูงกว่าการน�ำเข้าสินค้า ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 3.9-5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึง่ เป็นการเกินดุลลดลงจากปีกอ่ นหน้า ตามมูลค่าสินค้าน�ำเข้าทีค่ าดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่า มูลค่าสินค้าส่งออก เนือ่ งจากการน�ำเข้าสินค้าทุนและเครือ่ งจักรทีม่ แี นวโน้มเพิม่ ขึน้ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2555
3. ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด ➥➥ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 เกินดุล 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก
ช่วง 11 เดือนแรกของปี 2553 ที่เกินดุล 11.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าตามระบบดุลการช�ำระเงินเกินดุล 24.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกที่ยังขยายตัวในระดับสูง และดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ ขาดดุลสูงที่ -13.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเงินบริการจ่ายโดยเฉพาะค่าระวางสินค้าและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการน�ำเข้าที่สูงขึ้น
40
ภาพที่ 26 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัด
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2554 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุล 10.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ
2.9 ของ GDP) ลดลงจากปี 2553 โดยเป็นผลจากดุลการค้าที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงตามการน�ำเข้าสินค้าที่ขยายตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งจากราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และการส่งออกที่ชะลอตัวลงจากทั้งปัจจัยอุปทานภายในประเทศที่ ประสบปัญหาจากภาวะอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 และจากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ยังคงอ่อนแอ ➥➥ ในปี 2555 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะขาดดุล -2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ -4.1 ถึง 0.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ -1.0 ถึง 0.0 ของ GDP) ลดลงมากจากปี 2554 ตามการน�ำ เข้าสินค้าที่ขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการน�ำเข้าสินค้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมที่เสียหายจากวิกฤตอุทกภัยในช่วง ปลายปี 2554 ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวชะลอลงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง 3.2 เงินเฟ้อ ➥➥ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่มีอัตราเงินเฟ้อ
ที่ร้อยละ 3.3 อันเป็นผลจาก 1) ราคาอาหารส�ำเร็จรูปปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนวัตถุดิบและเครื่องประกอบอาหาร ที่เร่งตัวสูงขึ้น 2) ราคาสินค้าในหมวดยานพาหนะและเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงอยู่ใน ระดับสูงเมือ่ เทียบกับปีกอ่ นหน้า และ 3) ราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะผักสดและเนือ้ สัตว์มกี ารปรับตัวสูงขึน้ จากปีกอ่ น เนือ่ งจาก ความแปรปรวนของสภาพอากาศและเหตุการณ์น�้ำท่วม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและ อาหารสดปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ภาพที่ 27 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
ที่มา : สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
41
➥➥ ส�ำหรับปี 2555 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับตัวลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วง
คาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0-4.0) โดยคาดว่าจะมีสาเหตุหลักจากราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง จากปี 2554 อย่างไรก็ดี ในปี 2555 ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคบางหมวดอาจได้รบั แรงกดดันจากนโยบายภาครัฐ เช่น ราคาสินค้า เกษตร โดยเฉพาะราคาข้าวจะปรับตัวสูงขึน้ จากมาตรการรับจ�ำน�ำข้าวของรัฐบาล รวมถึงราคาสินค้าทีใ่ ช้แรงงานในการผลิตอาจ ปรับตัวสูงขึ้นจากมาตรการค่าแรงขั้นต�่ำ 300 บาท นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในปี 2555 ยังได้รับแรงกดดันจากราคาพลังงานที่ คาดว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นตามมาตรการของรัฐบาล ได้แก่ การยกเลิกการตรึงราคาก๊าซ NGV และ LPG ภาคขนส่ง รวมถึง การปรับลดหน่วยการใช้ไฟฟ้าฟรีจาก 90 หน่วย เหลือ 50 หน่วยต่อเดือน ขณะทีอ่ ตั ราเงินเฟ้อพืน้ ฐานทีไ่ ม่รวมราคาสินค้าในหมวด พลังงานและอาหารสดคาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8-2.8) 3.3 ภาวะตลาดแรงงานในปี 2554 และปี 2555 ในปี 2554 ตลาดแรงงานของไทยยังคงมีการจ้างงานที่ดี โดยล่าสุดการจ้างงานโดยรวมในช่วง 11 เดือนแรก ขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนอัตราการว่างงานในช่วง 11 เดือนแรก อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม ทั้งนี้ คาดว่าอัตราการว่างงานในปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม ลดลง จากปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของก�ำลังแรงงานรวม ส่วนในปี 2555 คาดว่าอัตราว่างงานจะอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของ ก�ำลังแรงงานรวมใกล้เคียงกับปี 2554 ตารางที่ 4 อัตราการว่างงาน
ม.ค. ก.พ.
2552 2.4 2553 1.4 2554 1.0
1.9 1.0 0.7
มี.ค.
เม.ย. พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
1.9 1.0 0.7
2.1 1.2 0.8
1.4 1.2 0.4
1.2 0.9 0.5
1.2 0.9 0.7
1.2 0.9 0.8
1.1 0.9 0.6
1.0 1.0 0.8
0.9 0.7 N.A.
1.7 1.5 0.5
ที่มา : ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ รวบรวมโดย สศค.
อัตราการว่างงานในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของก�ำลังแรงงานรวม โดยเป็นการลดลงของอัตราว่างงานในทุกสาขา โดยเฉพาะสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าที่มี การว่างงานลดลงถึงร้อยละ -50.2 สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานของไทย การจ้างงานในปี 2554 ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า โดยการจ้างงานภาคเกษตรในช่วง 11 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากราคาพืชผลทางการเกษตรในปี 2554 มีการขยายตัว ได้ดี อาทิ ข้าว มันส�ำปะหลัง และยางพารา เป็นผลให้แรงงานเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมมากขึ้น นอกจากนี้ การจ้างงาน ภาคบริการมีการขยายตัวเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า โดย 11 เดือนแรกของปี 2554 การจ้างงานภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 โดย มีสาเหตุหลักมาจากการจ้างงานหมวดการบริหารราชการและหมวดการศึกษา อย่างไรก็ตาม การจ้างงานภาคอุตสาหกรรม ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 มีการหดตัวที่ร้อยละ -0.5 เนื่องมาจากความเสียหายของภาคอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจาก เหตุการณ์ภยั พิบตั สิ นึ ามิในประเทศญีป่ นุ่ ทีส่ ง่ ผลต่อห่วงโซ่อปุ ทานในประเทศไทย รวมถึงเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมือ่ ปลายปีสร้าง ความเสียหายต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก ส�ำหรับในปี 2555 คาดว่าอัตราการว่างงานเฉลี่ยทั้งปีจะใกล้เคียงกับระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.6-0.8 ของก�ำลังแรงงานรวม) เนื่องจากในปี 2555 เศรษฐกิจไทยมีทิศทางที่จะสามารถขยายตัว ได้ดี ส่งผลให้การจ้างงานยังคงอยู่ในระดับสูง ท�ำให้อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับต�่ำเช่นเดียวกับปี 2554
42
ภาคการคลัง รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังในปีงบประมาณ 2554
1
บทสรุปผู้บริหาร ในปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุล (Expansionary Fiscal Policy) วงเงิน -400.0 พันล้านบาท และได้มีการด�ำเนินการโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2553 เพื่อใช้ ในการด�ำเนินนโยบายกระตุน้ เศรษฐกิจของรัฐบาล ซึง่ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้การบริโภคและการจ้างงานสามารถเติบโตอย่างต่อเนือ่ ง ในช่วงทีเ่ ศรษฐกิจโลกยังคงฟืน้ ตัวอย่างเปราะบาง ประกอบกับเศรษฐกิจไทยได้รบั ผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ ที่ประเทศญี่ปุ่น และปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงซึ่งกระทบต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิต ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลยังคงจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุลต่อเนื่อง โดยจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุลวงเงิน -400.0 พันล้านบาท ❍❍ ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2554 (เดือนตุลาคม 2553–กันยายน 2554) ผลการจัดเก็บรายได้สท ุ ธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)) มีจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น 1,891.0 พันล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณ 2553 จ�ำนวน 186.5 พันล้านบาทหรือร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณจ�ำนวน 241.0 พันล้านบาทหรือร้อยละ 14.6 ทัง้ นี้ รายได้ภาษีของ 3 กรมจัดเก็บภาษี (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) ในปีงบประมาณ 2554 จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 2,018.3 พันล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณที่แล้วจ�ำนวน 250.7 พันล้านบาทหรือร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้านี้ และสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิของรัฐบาลจ�ำนวน 237.2 พันล้านบาทหรือร้อยละ 13.3 ส�ำหรับรายจ่ายรัฐบาล รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 2,177.9 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2554 จ�ำนวน 2,050.5 พันล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นรายจ่าย ประจ�ำจ�ำนวน 1,787.0 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 263.5 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94.5 ของ กรอบวงเงินงบประมาณ 2,170 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบเหลือ่ มปีจำ� นวน 127.4 พันล้านบาท นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่าย งบประมาณลงทุนจากโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบตั กิ ารไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 295.8 พันล้านบาท ในส่วนของฐานะการคลัง ในปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจ�ำนวน -285.8 พันล้านบาทหรือประมาณร้อยละ -2.6 ของ GDP และท�ำให้ ดุลเงินสด (ก่อนการกู้เงิน) ขาดดุลทั้งสิ้นจ�ำนวน -108.7 พันล้านบาทหรือประมาณร้อยละ -1.0 ของ GDP อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ การขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ 2554 ถือได้ว่าต�่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากรัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ ได้สูงกว่าประมาณการจ�ำนวน 241.0 พันล้านบาท โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ สูงกว่าเป้าหมาย ในขณะที่ผลการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมาย ❍❍ ส�ำหรับในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554) ผลการจัดเก็บ รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 266.4 พันล้านบาท ต�่ำกว่าปีงบประมาณก่อนหน้าจ�ำนวน -4.5 พันล้านบาทหรือร้อยละ -1.7 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น แต่กย็ งั สามารถจัดเก็บได้สงู กว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณจ�ำนวน 2.8 พันล้านบาทหรือร้อยละ 1.1 แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตน�้ำท่วมเพราะรายได้เกินเป้า ทั้งนี้ รายได้สทุ ธิของ 3 กรมจัดเก็บภาษี (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) จัดเก็บได้ทงั้ สิน้ 256.5 พันล้านบาท ต�ำ่ กว่า ปีงบประมาณก่อนหน้าจ�ำนวน -9.2 พันล้านบาทหรือร้อยละ -3.5 แต่สงู กว่าประมาณการรายได้จำ� นวน 681 ล้านบาทหรือร้อยละ 0.3 ส�ำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 317.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -26.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีงบประมาณปัจจุบนั จ�ำนวน 287.8 พันล้านบาท ในส่วนของฐานะการคลังในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณแล้ว จ�ำนวน -65.6 พันล้านบาท และดุลเงินสด (ก่อนกู)้ ขาดดุลจ�ำนวน -219.6 พันล้านบาท ทัง้ นี้ รัฐบาลตัง้ เป้าหมายการขาดดุลงบประมาณ ในปี 2555 จ�ำนวน -400.0 พันล้านบาท เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ❍❍
ผู้เขียน : นางสาวคงขวัญ ศิลา นายวรพล คหัฏฐา และนางสาวสุธิรัตน์ จิรชูสกุล เศรษฐกร ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
43
แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตได้ดีภายหลังจากการฟื้นตัวจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่ในช่วง เดือนมีนาคม 2554 เศรษฐกิจไทยก็ต้องเผชิญกับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งส่งผลให้ ภาคอุตสาหกรรมของไทยต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ทปี่ ระสบปัญหาการขาดแคลนชิน้ ส่วนประกอบรถยนต์ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคในประเทศและการส่งออกที่มีการขยายตลาดไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้น เพือ่ ลดความเสีย่ งจากประเทศคูค่ า้ หลักทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก รวมทัง้ ภาคอุตสาหกรรมทีฟ่ น้ื ตัวหลังต้องเผชิญ กับปัญหาห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ก็สามารถกลับมาเติบโตได้ สะท้อนจากอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศที่แท้จริงในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตอุทกภัยในหลายจังหวัดทีเ่ กิดขึน้ รุนแรงทีส่ ดุ ในรอบ 50 ปี ของไทย และส่งผลท�ำให้การผลิตในภาคเกษตรและภาคบริการหดตัวลงมาก ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงค่อนข้างแรง ขณะเดียวกันได้ส่งผลให้การใช้จ่ายภายในประเทศและการส่งออกหดตัวลง ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลยังคงต้อง ด�ำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนคลาย (Expansionary Fiscal Policy) ผ่านนโยบายการคลังแบบขาดดุล เพื่อบูรณะและ ฟื้นฟูประเทศภายหลังความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากปัญหาวิกฤตอุทกภัย การวางระบบการบริหารทรัพยากรน�้ำของ ประเทศ การลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคขัน้ พืน้ ฐานต่าง ๆ เพือ่ เป็นการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมีกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2,380 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการด�ำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 400 พันล้านบาทหรือประมาณร้อยละ 3.4 ของ GDP ภายใต้ประมาณการจัดเก็บรายได้รัฐบาลจ�ำนวน 1,980 พันล้านบาท
1. ผลการด�ำเนินนโยบายการคลังในปีงบประมาณ 2554 (เดือนตุลาคม 2553–กันยายน 2554) 1.1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2554 ผลการจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)) มีจ�ำนวน รวมทั้งสิ้น 1,891 พันล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณ 2553 จ�ำนวน 186.5 พันล้านบาทหรือร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีกอ่ น และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจ�ำนวน 241 พันล้านบาทหรือร้อยละ 14.6 ทัง้ นี้ รายได้ภาษีของ 3 กรมจัดเก็บภาษี (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) ในปีงบประมาณ 2554 จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 2,018.3 พันล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณทีแ่ ล้วจ�ำนวน 250.7 พันล้านบาทหรือร้อยละ 14.2 เมือ่ เทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้านี้ และสูงกว่าประมาณการรายได้จ�ำนวน 237.2 พันล้านบาทหรือร้อยละ 13.3 โดยมีรายละเอียดการจัดเก็บรายได้รัฐบาล ดังนี้ ❍❍ กรมสรรพากรจัดเก็บได้ทง ั้ สิน้ 1,515.6 พันล้านบาท ขยายตัวจากปีงบประมาณก่อนหน้าทีร่ อ้ ยละ 19.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าประมาณการรายได้ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 16.1 โดยมีรายละเอียดที่ส�ำคัญ ดังนี้ (1) ภาษีเงินได้นิติบุคคลขยายตัวจากปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ 26.3 หรือสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 33.4 เนื่องมาจาก ผลประกอบการของนิติบุคคลที่ขยายตัวได้ดี (2) ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวจากปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ 15.0 หรือสูงกว่า เป้าหมายร้อยละ 7.6 เนือ่ งมาจากการขยายตัวของการบริโภคและการน�ำเข้า และ (3) ภาษีธรุ กิจเฉพาะขยายตัวจากปีงบประมาณ ก่อนหน้าร้อยละ 55.6 และสูงกว่าประมาณการรายได้จัดเก็บของรัฐบาลที่ร้อยละ 54.8 เนื่องจากมาตรการลดหย่อนภาษีให้ ภาคอสังหาริมทรัพย์สิ้นสุดลงในเดือนมีนาคม 2553 ❍❍ กรมสรรพสามิตจัดเก็บได้ทั้งสิ้น 399.7 พันล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ -1.5 แต่ยังสูงกว่าประมาณการรายได้ที่ร้อยละ 3.3 โดยมีรายละเอียดส�ำคัญ คือ ภาษีสรรพสามิตน�้ำมันหดตัวจากปีงบประมาณ ก่อนหน้าร้อยละ -22.8 หรือต�่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ -22.4 โดยเป็นผลมาจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน�้ำมันดีเซล ลงเหลือลิตรละ 0.005 บาท ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน–30 กันยายน 2554 ขณะที่ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ขยายตัวจาก ปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ 20.3 หรือสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 40.5 สะท้อนถึงการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้นจากความเชื่อมั่นของ ผูบ้ ริโภคทีเ่ พิม่ มากขึน้ รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศได้กลับเข้าสูภ่ าวะปกติภายหลังจากทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากการเกิด แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ❍❍ กรมศุลกากรจัดเก็บได้ทั้งสิ้น 102.8 พันล้านบาท ขยายตัวจากปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ 5.9 และสูงกว่าประมาณการรายได้ที่ร้อยละ 16.4 โดยเป็นการจัดเก็บภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นจากอากรขาเข้าที่สูงกว่าประมาณการ 13.9 พันล้านบาทหรือร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
44
รัฐวิสาหกิจน�ำส่งรายได้จ�ำนวน 98.7 พันล้านบาท ขยายตัวจากปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ 7.9 และสูงกว่าประมาณการร้อยละ 17.1 เป็นผลมาจากการน�ำส่งรายได้ที่สูงกว่าประมาณการของรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน สาขาขนส่ง และสาธารณูปการ จ�ำนวน 11.7 2.9 และ 2.1 พันล้านบาท ตามล�ำดับ ขณะที่รัฐวิสาหกิจสาขาสื่อสารและ สาขาอุตสาหกรรมน�ำส่งรายได้ต�่ำกว่าประมาณการ 5.5 และ 1.1 พันล้านบาท ตามล�ำดับ ❍❍ หน่วยงานอื่น ๆ น�ำส่งรายได้จ�ำนวน 107.2 พันล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ -25.5 แต่ยังสูงกว่าประมาณการร้อยละ 15.3 เนื่องจากรายได้จากธุรกิจสัมปทานปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 6.3 พันล้านบาท จากผลของราคาน�้ำมันดิบดูไบที่สูงกว่าคาดการณ์ไว้ รวมทั้งยังมีเงินรับคืนจากโครงการมิยาซาว่าและโครงการ เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรจ�ำนวน 1.9 และ 0.4 พันล้านบาท ตามล�ำดับ ❍❍
ตารางที่ 1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2554
(หน่วย : ล้านบาท)
ปมก. ตามเอกสาร เปรียบเทียบกับ ปีนี้ ปีที่แล้ว ประเภทรายได้ งปม. 1,650,000 ปีก่อนหน้า ประมาณการ (ต.ค. 53-ก.ย. 54) (ต.ค. 52-ก.ย. 53) ประมาณการ ล้านบาท (ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. กรมสรรพากร - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม - ภาษีธุรกิจเฉพาะ - อื่น ๆ 2. กรมสรรพสามิต - ภาษีน�้ำมัน - ภาษียาสูบ - ภาษีสุราฯ - ภาษีเบียร์ - ภาษีรถยนต์ - อื่น ๆ 3. กรมศุลกากร - อากรขาเข้า - อากรขาออก - อื่น ๆ รวมรายได้ 3 กรมภาษี 4. รัฐวิสาหกิจ 5. หน่วยงานอื่น รวมรายได้จัดเก็บ รายได้สุทธิรัฐบาล (หลังการจัดสรรให้ อปท.)
1,515,666 236,339 574,059 81,444 577,632 35,614 279 399,779 117,914 57,197 48,624 61,498 92,844 1,088 102,882 99,968 241 2,673 2,018,327 98,795 107,256 2,224,378
1,264,584 208,374 454,565 67,599 502,176 22,892 243 405,862 152,825 53,381 42,398 58,831 77,202 1,039 97,148 93,512 169 3,467 1,767,594 91,553 143,899 2,003,046
1,305,600 217,000 430,200 90,000 536,800 23,000 250 387,100 152,000 51,300 41,100 57,700 66,100 1,027 88,400 86,000 100 2,300 1,781,100 84,400 93,000 1,958,500
19.9 13.4 26.3 20.5 15.0 55.6 14.8 -1.5 -22.8 7.1 14.7 4.5 20.3 4.7 5.9 6.9 42.6 -22.9 14.2 7.9 -25.5 11.0
210,066 19,339 143,859 -8,556 40,832 12,614 29 12,679 -34,086 5,897 7,524 3,798 26,744 61 14,482 13,968 141 373 237,227 14,395 14,256 265,878
16.1 8.9 33.4 -9.5 7.6 54.8 11.6 3.3 -22.4 11.5 18.3 6.6 40.5 5.9 16.4 16.2 141.0 16.2 13.3 17.1 15.3 13.6
1,891,027
1,704,476
1,650,000
10.9
241,027
14.6
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
45
1.2 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณของปีงบประมาณ 2554 (เดือนตุลาคม 2553–กันยายน 2554) การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลประจ�ำปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ทงั้ สิน้ จ�ำนวน 2,177.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94.5 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2554 (2,169.9 พันล้านบาท) โดยแบ่งออกเป็น 1) รายจ่ายประจ�ำ จ�ำนวน 1,787.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 107.2 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำ หลังโอนเปลี่ยนแปลง (1,667.4 พันล้านบาท) 2) รายจ่ายลงทุน จ�ำนวน 263.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74.1 ของวงเงิน งบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลีย่ นแปลง (355.5 พันล้านบาท) และรายจ่ายเหลือ่ มปีเบิกจ่ายได้จำ� นวน 127.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 69.3 ของเงินกันไว้เหลือ่ มปี (183.7 พันล้านบาท) ท�ำให้มกี ารเบิกจ่ายงบประมาณรวมทัง้ สิน้ 2,177.9 พันล้านบาท (ตารางที่ 2) ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2554 เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 2,050.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94.5 ของกรอบวงเงิน ซึ่งเป็นการเบิกจ่ายที่สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 94.0
ตารางที่ 2 สรุปผลการเบิกจ่ายรายจ่ายรัฐบาลในช่วงปีงบประมาณ 2554
กรอบวงเงิน ทั้งปี ปีงบประมาณ งบประมาณ ประจ�ำปี 2554 ประเภทรายจ่าย งบประมาณ 2554 (1) (2) 1. รายจ่ายกรอบ งปม. - รายจ่ายประจ�ำ - รายจ่ายลงทุน 2. รายจ่ายเหลื่อมปี รายจ่ายรวม (1+2)
2,169,968 1,667,440 355,485 183,684 2,353,652
2,050,540 1,786,982 263,558 127,355 2,177,895
(หน่วย : ล้านบาท)
ทั้งปี อัตราเบิกจ่าย ปีงบประมาณ อัตราการขยายตัว เทียบกับกรอบ 2553 (ร้อยละ) วงเงินงบประมาณ (3)
(2) / (3)
(2) / (1)
1,627,875 1,444,760 183,115 156,538 1,784,413
26.0 23.7 43.9 -18.6 22.1
94.5 107.2 74.1 69.3 92.5
ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ส�ำหรับผลการเบิกจ่ายเงินโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ 2554 มีจ�ำนวน ทั้งสิ้น 61.4 พันล้านบาท ท�ำให้มีการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่การเริ่มต้นโครงการ (เดือนกันยายน 2552-กันยายน 2554) จ�ำนวน รวมทั้งสิ้น 295.8 พันล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 84.5 ของกรอบวงเงินภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (349.9 พันล้านบาท)
46
ตารางที่ 3 รายละเอียดผลการเบิกจ่ายเงินโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
(หน่วย : ล้านบาท)
แผนงาน-โครงการ/รายการ
กรอบวงเงิน เบิกจ่ายสะสม อัตรา ที่ได้รับอนุมัติ ณ 30 ก.ย.54 การเบิกจ่าย 1 สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานฯ 59,503.3 51,784.1 87.0% 1.1 สาขาทรัพยากรน�้ำและการเกษตร 59,503.3 51,784.1 87.0% 2 ปรับปรุงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานฯ 74,781.1 61,290.3 82.0% 2.1 สาขาขนส่ง 46,586.5 44,037.7 94.5% 2.2 สาขาพลังงาน 174.3 - 2.3 สาขาการสื่อสาร - - 2.4 สาขาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว 3,281.7 2,109.0 64.3% 2.5 สาขาพัฒนาด้านสาธารณสุข พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 14,691.5 6,918.7 47.1% 2.6 สาขาสวัสดิภาพของประชาชน 9,172.9 7,381.8 80.5% 2.7 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 185.0 179.4 97.0% 2.8 สาขาสิ่งแวดล้อม 689.2 663.6 96.3% 3. สร้างศักยภาพในการหารายได้จากการท่องเที่ยว 5,394.3 2,526.6 46.8% 3.1 รายการเงินส�ำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจ�ำเป็น 5,394.3 2,526.6 46.8% 4. สร้างฐานรายได้ใหม่ของประเทศฯ 1,330.6 1,274.9 95.8% 4.1 สาขาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 1,330.6 1,274.9 95.8% 5. ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ 51,981.4 39,400.7 75.8% 5.1 สาขาการศึกษา 51,981.4 39,400.7 75.8% 6. ปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุขฯ 1,927.7 1,323.7 68.7% 6.1 สาขาพัฒนาด้านสาธารณสุข พัฒนาบุคลากร 1,927.7 1,323.7 68.7% 7. สร้างอาชีพและรายได้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต 106,542.1 94,185.4 88.4% 7.1 สาขาการลงทุนในระดับชุมชน 106,542.1 94,185.4 88.4% 8. อื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีก�ำหนด 40,000 40,000.0 100.0% 8.1 สาขาการประกันรายได้และการด�ำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 40,000 40,000.0 100.0% รวม 341,460.4 291,785.7 85.5 ส�ำรองจ่ายตามระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหาร 8,500.0 3,977.6 46.8% รวมทั้งสิ้น 349,960.4 295,763.2 84.5% ที่มา : กระทรวงการคลัง
1.3 ฐานะการคลัง ในปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจ�ำนวน -285.8 พันล้านบาทหรือประมาณร้อยละ -2.6 ของ GDP2 และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจ�ำนวน 177.1 พันล้านบาท โดยมาจากรายรับจากการชดใช้เงินคงคลัง 114.4 พันล้านบาท และเงินฝากคลังของเงินกู้ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่คงเหลืออยู่จ�ำนวน 46.1 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้นจ�ำนวน -108.6 พันล้านบาทหรือประมาณร้อยละ -1.0 ของ GDP ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสด ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน รวมทัง้ สร้างความมัน่ คงของฐานะการคลัง โดยชดเชยการขาดดุลดังกล่าวด้วยการกูจ้ ำ� นวน 200.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เงินชดเชยการขาดดุล) เกินดุลเท่ากับ 91.9 พันล้านบาท ท�ำให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2554 มีจ�ำนวน 521.2 พันล้านบาท
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เบื้องต้นปีงบประมาณ 2554 เท่ากับ 10,867.6 พันล้านบาท
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
47
ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของปีงบประมาณ 2552-2554 ปีงบประมาณ 1. รายได้น�ำส่งคลัง 2. รายจ่าย 3. ดุลงบประมาณ 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 5. ดุลเงินสด (ก่อนกู้) 6. กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 7. ดุลเงินสดหลังการกู้เงิน
2552 1,410,858 1,917,129 -506,271 129,985 -376,286 441,061 64,775
(หน่วย : ล้านบาท)
2553 1,708,625 1,784,413 -75,788 -21,300 -97,088 232,575 135,487
2554 1,892,047 2,177,895 -285,848 177,150 -108,698 200,666 91,968
ที่มา : กระทรวงการคลัง
2. โครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 โครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 มีสาระส�ำคัญสรุป (ตารางที่ 5) ดังนี้ 2.1 งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 2,380 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ ก่อนหน้า 210 พันล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และคิดเป็นร้อยละ 20.2 ของ GDP
ตารางที่ 5 โครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2554 ปีงบประมาณ 2555 โครงสร้างงบประมาณ เพิ่ม/ลด เพิ่ม/ลด จ�ำนวน จ�ำนวน ร้อยละ ร้อยละ
1. วงเงินงบประมาณรายจ่าย (สัดส่วน/GDP) - รายจ่ายประจ�ำ (สัดส่วน/งบประมาณ) - รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง (สัดส่วน/งบประมาณ) - รายจ่ายลงทุน (สัดส่วน/งบประมาณ) - รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ (สัดส่วน/งบประมาณ) 2. รายรับ (สัดส่วน/GDP) - รายได้ - เงินกู้ 3. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ
48
2,169,967.5 27.6 20.0 1,667,439.7 16.2 76.8 114,488.6 -100.0 5.3 355,484.6 65.8 16.4 32,554.6 -36.1 1.5 2,169,967.5 27.6 20.0 1,770,000.0 3.8 400,000.0 14.3 10,867,600.0 7.5
2,380,000.0 20.2 1,855,841.0 78.0 53,918.0 2.2 423,387.0 17.8 46,854.0 2.0 2,380,000.0 20.2 1,980,000.0 400,000.0 11,794,200.0
9.7 11.3 -52.9 19.1 43.9 9.7 11.9 8.5
2.2 รายจ่ายส�ำหรับปีงบประมาณ 2555 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 2.2.1 รายจ่ายประจ�ำ จ�ำนวน 1,855.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้า 188.4 พันล้านบาทหรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.0 ของวงเงินงบประมาณ 2.2.2 รายจ่ายลงทุน จ�ำนวน 423.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้า 67.9 พันล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.8 ของวงเงินงบประมาณ 2.3 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ก�ำหนดไว้จ�ำนวน 53.9 พันล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 2.2 ของวงเงินงบประมาณ 2.4 รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ ได้ถูกจัดสรรจ�ำนวน 46.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้า 18.4 พันล้านบาทหรือลดลงร้อยละ 14.3 โดยรายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.0 ของวงเงินงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลได้มีการจัดท�ำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ดังนี้
ตารางที่ 6 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณปีงบประมาณ 2555
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งสิ้น
1. ยุทธศาสตร์การสร้างรากฐานการพัฒนาที่สมดุลสู่สังคม 2. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ 3. ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 4. ยุทธศาสตร์การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต และความเท่าเทียมกันในสังคม 5. ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม 7. ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8. ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 9. รายการค่าด�ำเนินการภาครัฐ
(หน่วย : ล้านบาท) งบประมาณ จ�ำนวน ร้อยละ 2,380,000.0 100.0
475,062.6 189,109.9 173,121.8 597,468.4 45,148.9 18,037.7 7,839.4 313,293.9 560,917.4
20.0 7.9 7.3 25.1 1.9 0.8 0.3 13.2 23.6
ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ
3. ผลการด�ำเนินนโยบายการคลังในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม 2554–พฤศจิกายน 2554) 3.1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สทุ ธิ (หลังการจัดสรรให้ อปท.) ได้ทงั้ สิน้ 266.4 พันล้านบาท ต�ำ่ กว่าปีงบประมาณทีแ่ ล้ว จ�ำนวน 4.5 พันล้านบาทหรือร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณจ�ำนวน 2.8 พันล้านบาทหรือร้อยละ 1.1 ทัง้ นี้ รายได้สทุ ธิของ 3 กรมจัดเก็บภาษี (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 256.5 พันล้านบาท ต�่ำกว่าปีงบประมาณก่อนหน้าจ�ำนวน 9.2 พันล้านบาทหรือร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าประมาณการรายได้จ�ำนวน 681 ล้านบาทหรือร้อยละ 0.3 โดยมีรายละเอียด การจัดเก็บรายได้รัฐบาล (ตารางที่ 6) ดังนี้ ❍❍ กรมสรรพากรจัดเก็บได้ทง ั้ สิน้ 187.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.8 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีงบประมาณก่อนหน้า และสูงกว่าประมาณการรายได้รอ้ ยละ 0.6 โดยการจัดเก็บรายได้เริม่ ชะลอตัวเนือ่ งจากได้รบั ผลกระทบ จากเหตุการณ์อุทกภัย และมีรายละเอียดภาษีที่ส�ำคัญ ดังนี้ (1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับ
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
49
ช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้า และสูงกว่าประมาณการรายได้ร้อยละ 0.1 (2) ภาษีเงินได้นิติบุคคลหดตัวร้อยละ -4.3 และสูงกว่าประมาณการรายได้ร้อยละ 7.1 และ (3) ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 7.8 และต�่ำกว่าประมาณการรายได้ร้อยละ -1.7 ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้เริ่มชะลอตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย ❍❍ กรมสรรพสามิตจัดเก็บได้ทง ั้ สิน้ 52.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -23.8 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีงบประมาณก่อนหน้า และสูงกว่าประมาณการรายได้ร้อยละ 2.1 โดยมีรายละเอียดของรายได้ภาษีส�ำคัญ ดังนี้ (1) ภาษี สรรพสามิตน�ำ้ มันจัดเก็บได้ลดลงมากจากปีงบประมาณก่อนหน้าถึงร้อยละ -61.1 แต่กย็ งั สามารถจัดเก็บได้สงู กว่าประมาณการ ร้อยละ 8.1 เนื่องจากการขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีน�้ำมันดีเซลเหลือลิตรละ 0.005 บาท ออกไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2554 (2) ภาษีสรรพสามิตรถยนต์จดั เก็บได้ลดลงจากปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ -17.0 และต�ำ่ กว่าประมาณการร้อยละ -24.0 เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์บางแห่งต้องหยุดกิจการชั่วคราวจากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่โรงงาน รวมถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ หลายแห่งต้องหยุดการผลิตลงชัว่ คราวจากการขาดชิน้ ส่วนประกอบรถยนต์จากเหตุการณ์อทุ กภัย และ (3) ภาษีสรรพสามิตเบียร์ จัดเก็บได้ลดลงจากปีงบประมาณก่อนหน้าร้อยละ -4.0 แต่กย็ งั สามารถจัดเก็บได้สงู กว่าประมาณการร้อยละ 13.1 โดยมีผลจาก การหยุดกิจการของผู้ผลิตเบียร์ที่ประสบปัญหาอุทกภัย ❍❍ กรมศุลกากรจัดเก็บได้ทั้งสิ้น 16.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีงบประมาณก่อนหน้า และต�่ำกว่าประมาณการรายได้ร้อยละ -8.2 เนื่องจากการจัดเก็บอากรขาเข้าที่ต�่ำกว่าประมาณการ เป็นส�ำคัญ ❍❍ รัฐวิสาหกิจน�ำส่งรายได้จ�ำนวน 32.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 37.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีงบประมาณก่อนหน้า และสูงกว่าประมาณการรายได้ร้อยละ 16.3 เนื่องจากบริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) ได้น�ำส่ง เงินปันผลจากก�ำไรสุทธิปี 2553 ที่เลื่อนมาจากปีก่อนจ�ำนวน 3.9 พันล้านบาท รวมทั้งบริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัท อสมท. จ�ำกัด (มหาชน) ได้น�ำส่งเงินปันผลที่สูงกว่าประมาณการ ❍❍ หน่วยงานอื่น ๆ น�ำส่งรายได้จ�ำนวนทั้งสิ้น 18.4 พันล้านบาท หดตัวจากปีงบประมาณก่อนหน้า ร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และต�่ำกว่าประมาณการรายได้ร้อยละ -7.4 เนื่องจากรายได้จัดเก็บจาก กิจการสัมปทานปิโตรเลียมต�่ำกว่าประมาณการ 1.2 พันล้านบาท 3.2 สรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม 2554–พฤศจิกายน 2554)
ผลการเบิกจ่ายรัฐบาลในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวนทั้งสิ้น 317.2 พันล้านบาท ต�่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนจ�ำนวน 1.2 พันล้านบาทหรือหดตัวร้อยละ -26.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งรายจ่ายรัฐบาลประกอบด้วย รายจ่ายปีปัจจุบันจ�ำนวน 287.8 พันล้านบาทหรือหดตัวร้อยละ -28.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ น คิดเป็นร้อยละ 13.9 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (2,380 พันล้านบาท) โดยรายจ่ายปีปจั จุบนั สามารถแบ่งออกได้เป็น (1) รายจ่ายประจ�ำเบิกจ่ายได้จำ� นวน 263.8 พันล้านบาทหรือหดตัวร้อยละ -31.7 และ (2) รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำ� นวน 24.0 พันล้านบาทหรือขยายตัวร้อยละ 60.7 ส�ำหรับรายจ่ายเหลื่อมปีเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 29.4 พันล้านบาท (ตารางที่ 7)
50
ตารางที่ 7 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2554)
(หน่วย : ล้านบาท)
ปมก. ตามเอกสาร เปรียบเทียบกับ ปีนี้ ปีที่แล้ว ประเภทรายได้ งปม. 1,980,000 ปีก่อนหน้า ประมาณการ (ต.ค. 54-พ.ย. 54) (ต.ค. 53-พ.ย. 53) ประมาณการ ล้านบาท (ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. กรมสรรพากร - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม - ภาษีธุรกิจเฉพาะ - อื่น ๆ 2. กรมสรรพสามิต - ภาษีน�้ำมัน - ภาษียาสูบ - ภาษีสุราฯ - ภาษีเบียร์ - ภาษีรถยนต์ - อื่น ๆ 3. กรมศุลกากร - อากรขาเข้า - อากรขาออก - อื่น ๆ รวมรายได้ 3 กรมภาษี 4. รัฐวิสาหกิจ 5. หน่วยงานอื่น รวมรายได้จัดเก็บ รายได้สุทธิรัฐบาล (หลังการจัดสรรให้ อปท.)
187,147 33,841 52,269 658 93,494 5,447 31 52,433 9,505 10,356 7,381 9,952 11,747 152 16,937 16,607 86 244 256,517 32,467 18,419 307,403
180,231 31,075 54,628 947 86,731 5,259 46 68,810 24,454 8,777 7,669 10,371 14,154 162 16,700 16,403 36 261 265,741 23,706 18,577 308,024
186,028 33,798 48,825 1,093 95,080 5,573 40 51,358 8,789 7,477 7,474 8,800 15,461 164 18,450 18,050 16 384 255,836 27,924 19,885 303,645
3.8 8.9 -4.3 -30.5 7.8 3.6 -32.6 -23.8 -61.1 18.0 -3.8 -4.0 -17.0 -6.2 1.4 1.2 138.9 -6.5 -3.5 37.0 -0.9 -0.2
1,119 43 3,444 -435 -1,586 -126 -9 1,075 716 2,879 -93 1,152 -3,714 -12 -1,513 -1,443 70 -140 681 4,543 -1,466 3,758
0.6 0.1 7.1 -39.8 -1.7 -2.3 -22.5 2.1 8.1 38.5 -1.2 13.1 -24.0 -7.3 -8.2 -8.0 437.5 -36.5 0.3 16.3 -7.4 1.2
266,488
271,085
263,651
-1.7
2,837
1.1
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ตารางที่ 8 สรุปผลการเบิกจ่ายรายจ่ายรัฐบาลในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555
ประเภทรายจ่าย
1. รายจ่ายกรอบ งปม. - รายจ่ายประจ�ำ - รายจ่ายลงทุน 2. รายจ่ายเหลื่อมปี รายจ่ายรวม (1+2)
ผลการเบิกจ่าย ช่วง 2 เดือนแรกของ ปีงบประมาณ 2555 (1) 287,773 263,795 23,978 29,415 317,188
ผลการเบิกจ่าย ช่วง 2 เดือนแรกของ ปีงบประมาณ 2554 (2) 401,319 386,401 14,918 29,285 430,604
(หน่วย : ล้านบาท)
อัตราการขยายตัว (ร้อยละ) (1)/(2) -28.3 -31.7 60.7 0.4 -26.3
ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
51
นอกจากรายจ่ายลงทุนที่จัดสรรภายใต้งบประมาณส�ำหรับปีงบประมาณ 2555 แล้ว รัฐบาลยังได้ด�ำเนินการลงทุน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 โดยสถานะความคืบหน้าของโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ สิ้นเดือน พฤศจิกายน 2554 สามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้นจ�ำนวน 299.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 85.5 ของ กรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ จ�ำนวน 350 พันล้านบาท 3.3 ฐานะการคลังในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554) ฐานะการคลังในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2554) รัฐบาลขาดดุล งบประมาณจ�ำนวน -65.6 พันล้านบาท และเมือ่ รวมกับดุลเงินนอกงบประมาณทีข่ าดดุลจ�ำนวน -154.0 พันล้านบาท ซึง่ มีสาเหตุหลัก มาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิจ�ำนวน 125.7 พันล้านบาท รายจ่ายเหลื่อมจ่ายจากเดือนกันยายน 2554 จ�ำนวน 15.7 พันล้านบาท และการถอนเงินฝากคลังของเงินกู้ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 3.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ ดุลเงินสดก่อนกู้เงินขาดดุลจ�ำนวน -219.6 พันล้านบาท และท�ำให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2554 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 301.7 พันล้านบาท (ตารางที่ 8) ตารางที่ 9 ฐานะการคลังในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 1. รายได้น�ำส่งคลัง 2. รายจ่าย 3. ดุลเงินงบประมาณ 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 7. ดุลเงินสดหลังการกู้เงิน
ต.ค.53 129,245 166,954 -37,709 -153,326 -191,035 0 -191,035
พ.ย.53 124,442 150,234 -25,793 -2,767 -28,560 0 -28,560
(หน่วย : ล้านบาท)
2 เดือนแรกปีงบประมาณ 2555 251,569 317,188 -65,620 -153,974 -219,594 0 -219,594
ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
4. หนี้สาธารณะ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2554 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 4,336.7 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.03 ของ GDP ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 111.6 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการลดลงที่ส�ำคัญจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง โดยลดลงสุทธิ 88.2 พันล้านบาท รายการทีส่ ำ� คัญเกิดจากการไถ่ถอนตัว๋ เงินคลังจ�ำนวน 125.7 พันล้านบาท ทีอ่ อกเพือ่ รักษากรอบวงเงินของตัว๋ เงินคลัง และใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2555 ทัง้ นี้ หนีส้ าธารณะคงค้างจ�ำแนกได้เป็น (1) หนีท้ รี่ ฐั บาลกูโ้ ดยตรง จ�ำนวน 3,092.9 พันล้านบาทหรือร้อยละ 29.3 ของ GDP ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 88.2 พันล้านบาท (2) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็น สถาบันการเงิน 1,058.9 พันล้านบาทหรือร้อยละ 10.0 ของ GDP ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 20.9 ล้านบาท (3) หนี้รัฐวิสาหกิจ ทีเ่ ป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�ำ้ ประกัน) 154.5 พันล้านบาทหรือร้อยละ 1.5 ของ GDP ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2.5 พันล้านบาท และ (4) หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 30.4 พันล้านบาทหรือร้อยละ 0.3 ของ GDP ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสถานะของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2554 พบว่าอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพมั่นคง กล่าวคือ 1) หนีส้ าธารณะส่วนใหญ่เป็นหนีส้ กุลเงินบาทโดยมีสดั ส่วนสูงถึงร้อยละ 92.1 ของหนีส้ าธารณะคงค้าง 2) หนีส้ าธารณะส่วนใหญ่ เป็นหนีร้ ะยะยาวมีสดั ส่วนสูงถึงร้อยละ 99.1 ของหนีส้ าธารณะคงค้าง และ 3) สัดส่วนยอดหนีส้ าธารณะคงค้างต่อ GDP อยูท่ รี่ อ้ ยละ 41.03 ซึ่งยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ก�ำหนดสัดส่วนไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 ต่อ GDP
52
ภาพที่ 1 สถานะหนี้สาธารณะและสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP รายเดือน
ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
ตารางที่ 10 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2554
(หน่วย : ล้านบาท)
หนี้สาธารณะคงค้าง
ณ สิ้น ส.ค. 54 ก.ย. 54 ต.ค. 54 % ของหนี้ฯ ก.ค./ต.ค. ต.ค. 53 ณ ต.ค. 54 เพิ่ม/ลด 1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,891,655 3,013,320 3,181,159 3,092,941 71.3% (88,218) 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,072,376 1,072,101 1,079,749 1,058,861 24.4% (20,888) (2.1+2.2) 2.1 หนี้ที่รัฐบาลค�้ำประกัน 532,436 523,770 527,431 517,839 11.9% (9,591) 2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค�้ำประกัน 539,940 548,331 552,318 541,022 12.5% (11,296) 3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน 175,200 155,624 156,942 154,461 3.6% (2,481) (รัฐบาลค�้ำประกัน) 4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (4.1+4.2) 62,092 30,445 30,445 30,445 0.7% 0.0 4.1 หนี้ที่รัฐบาลค�้ำประกัน 30,445 30,445 30,445 30,445 0.7% 0 4.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค�้ำประกัน 31,647 - - - - 5. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ - - - - - หนี้สาธารณะรวม (1+2+3+4+5) 4,201,324 4,271,491 4,448,295 4,336,708 100.0 (111,587) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP (ร้อยละ) 42.01 40.77 42.27 41.03 - หมายเหตุ : GDP เดือนตุลาคม 2554 เท่ากับ 10,569.55 พันล้านบาท และ GDP เดือนกันยายน 2554 เท่ากับ 10,523.08 พันล้านบาท ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
53
Macroeconomic Analysis Briefing บทวิเคราะห์ เรื่อง บริบทใหม่การค้าไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า
1
บทสรุปผู้บริหาร
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะจีน อินเดีย และอาเซียน ต่างให้ความส�ำคัญกับการด�ำเนินยุทธศาสตร์การเปิดประเทศ (Open Economy) ให้กว้างยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับ ประเทศไทยซึง่ ปัจจุบนั มีระดับอัตราการเปิดประเทศคิดเป็นร้อยละ 119.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยระดับการเปิดประเทศที่มากขึ้นดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรกรรม และส่งออกทีส่ ำ� คัญของโลก และเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ของภูมิภาคเอเชีย ❍❍ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนโครงสร้างภาคการค้าต่างประเทศของไทยในปัจจุบัน รวมถึงวิเคราะห์และประมาณการโครงสร้างภาคการส่งออกและการน�ำเข้าของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า ❍❍ จากการวิเคราะห์พบว่า ในอีก 10 ปีขา ้ งหน้า มูลค่าการค้าไทย-จีนจะมีสดั ส่วนมากทีส่ ดุ คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 17.2 ของมูลค่าการค้าของไทยทั้งหมด รองลงมาคือ ญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.9 อันดับ 3 คือ สวิตเซอร์แลนด์คิดเป็นร้อยละ 9.5 ❍❍ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจคู่ค้าที่ส�ำคัญของไทย ได้แก่ จีน ญีป่ นุ่ สหภาพยุโรป และอาเซียน อาจส่งผลให้เกิดการเปลีย่ นแปลงโครงสร้างการส่งออกและการน�ำเข้า ในอีก 10 ข้างหน้า กล่าวคือ ภาคการส่งออกของไทยมีแนวโน้มที่จะกระจายตลาดไปยังตลาดใหม่ ๆ อาทิ ประเทศออสเตรเลีย และจากการประมาณภายใต้สมมติฐานทีว่ า่ หากอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกและ การน�ำเข้าสินค้าเป็นไปตามแนวโน้มของอัตราการขยายตัวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนและอาเซียนจะเป็น ประเทศคู่ค้าที่ส�ำคัญของไทยในอนาคตอันใกล้นี้ ขณะที่ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาจะมีบทบาท ลดลงในเชิงการค้า ❍❍
1. บทน�ำ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะจีน อินเดีย และอาเซียน ได้ให้ความส�ำคัญกับ การด�ำเนินยุทธศาสตร์การเปิดประเทศ (Open Economy) ให้กว้างยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นนโยบายส่งเสริมการส่งออกเพื่อสนับสนุน การเติบโตทางเศรษฐกิจ (Export-led Growth) เช่นเดียวกับประเทศไทยซึ่งมีระดับการเปิดประเทศสูงถึงร้อยละ 118.6 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในช่วงปี 2543-2553 เทียบกับระดับ 87.9 ของ GDP ในช่วงปี 2533-2539 และ ในปี 2553 ไทยมีระดับการเปิดประเทศคิดเป็นร้อยละ 119.0 ของ GDP ทั้งนี้ ระดับการเปิดประเทศที่เพิ่มขึ้นของไทยส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากการเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรกรรมและส่งออกสินค้าเกษตรที่ส�ำคัญของโลก โดยเฉพาะข้าวและยางพารา อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้ ภาคการค้าของไทยนับจะยิ่งมีบทบาทส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและอนาคตมากยิ่งขึ้น
ผู้เขียน : ดร.กุลกัลยา พระยาราช เศรษฐกรช�ำนาญการ และนายธนิต ภัทรแสงไทย เศรษฐกรปฏิบัติการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ คุณวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ คุณณัฐยา อัชฌากรลักษณ์ ดร.กุลยา ตันติเตมิท และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
1
54
ตารางที่ 1 ระดับการเปิดประเทศ (Degree of Openness: DOP) ของเอเชีย
ประเทศ จีน อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า
2543 (% of GDP) 38.7 19.4 277.6 174.5 109.8 59.6 94.9 85.7 95.4 49.6 90.0 68.9
2553 (% of GDP) 50.7 33.9 308.0 153.9 119.0 40.9 58.2 97.8 156.5 59.0 113.5 5.7
ที่มา : UNCTAD Statistics โดย สศค. รวบรวมและประมวลผล
ภาพที่ 1 ระดับการเปิดประเทศของไทย ในช่วงปี 2523-2553 (1980-2010)
ที่มา : CEIC โดย สศค. รวบรวมและประมวลผล
2. โครงสร้างการค้าไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า หากพิจารณาโครงสร้างน�้ำหนักสัดส่วนมูลค่าการค้าของไทยในปี 2553 พบว่า ประเทศที่มีน�้ำหนักสัดส่วนมูลค่าการค้า เป็นอันดับ 1 คือ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนมูลค่าการค้าร้อยละ 15.4 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย รองลงมาคือ จีน มีสัดส่วนมูลค่าการค้าร้อยละ 12.1 อันดับ 3 คือ สหภาพยุโรป-15 มีสัดส่วนมูลค่าการค้าร้อยละ 8.6 อันดับ 4 คือ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนมูลค่าการค้าร้อยละ 8.2 และอันดับ 5 คือ มาเลเซีย มีสัดส่วนมูลค่าการค้าร้อยละ 5.6 จากการวิเคราะห์ภายใต้สมมติฐานที่ว่า หากอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกและการน�ำเข้าเป็นไปตามแนวโน้ม ของอัตราการขยายตัวของมูลค่าการค้าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า โครงสร้างน�้ำหนักสัดส่วนมูลค่าการค้า ประมาณการเศรษฐกิจไทย
55
ของไทยจะเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ มูลค่าการค้าของจีนจะมีความส�ำคัญเป็นอันดับแรก โดยมีสัดส่วนมูลค่าการค้าร้อยละ 17.2 รองลงมาคือ ประเทศญี่ปุ่น มีสัดส่วนมูลค่าการค้าร้อยละ 10.9 อันดับ 3 คือ สวิตเซอร์แลนด์ มีสัดส่วนมูลค่าการค้าร้อยละ 9.5 อันดับ 4 คือ ออสเตรเลีย มีสัดส่วนมูลค่าการค้าร้อยละ 7.3 อันดับ 5 คือ สหภาพยุโรป-5 มีสัดส่วนมูลค่าการค้าร้อยละ 4.9 ภาพที่ 2 สัดส่วนมูลค่าการค้าของไทย ปี 2553
ภาพที่ 3 สัดส่วนมูลค่าการค้าของไทยปีคาดการณ์ 2564
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดย สศค. วิเคราะห์และประมาณการ หมายเหตุ : ประเทศไทยมีการน�ำเข้าทองค�ำแท่งจากสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่าร้อยละ 78 ของมูลค่าน�ำเข้าทั้งหมด
3. แนวโน้มการส่งออกไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า เป็นอย่างไร ? จากข้อมูลเชิงประจักษ์ มูลค่าการส่งออกของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่าขยายตัวเฉลี่ยถึงร้อยละ 13.0 และในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 มูลค่าการส่งออกของไทยอยูท่ รี่ ะดับ 211.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 19.0 เมือ่ เทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ คาดว่าทั้งปี 2554 และปี 2555 มูลค่าการส่งออกของไทยจะอยู่ที่ระดับ 225.4 และ 257.2 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 16.4 และร้อยละ 14.12 ตามล�ำดับ ซึ่งนับเป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบกับ ปี 2553 ที่อยู่ที่ระดับ 195.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 28.1 ส�ำหรับสินค้าส�ำคัญที่ประเทศไทยส่งออกในปี 2553 ได้แก่ คอมพิวเตอร์ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา เคมีภัณฑ์ อาหารและเครื่องกระป๋อง อัญมณี แผงวงจรไฟฟ้า และเม็ดพลาสติก ตารางที่ 2 สินค้าส่งออกที่ส�ำคัญรายประเทศในปี 2553
อันดับ
ญี่ปุ่น
จีน
สหรัฐอเมริกา
ยุโรป-15
1 คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ 2 รถยนต์ ยางพารา อาหารทะเลกระป๋อง อัญมณี 3 ยางพารา เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์ 4 แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก อัญมณี เครื่องนุ่งห่ม 5 ไก่แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์ยาง
อาเซียน น�้ำมันส�ำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกล
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ประมาณการรวมผลกระทบน�้ำท่วม ภายใต้สมมติฐานเศรษฐกิจไทยปี 2554 และปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.1 และร้อยละ 5.0 ตามล�ำดับ (ประมาณการ ณ เดือนธันวาคม 2554)
2
56
จากการวิเคราะห์การส่งออกของไทยในอีก 5 ปีข้างหน้าพบว่า หากอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเป็นไปตาม แนวโน้มของอัตราการขยายตัวของการส่งออกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังอาเซียนและจีนมีแนวโน้ม เร่งตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการด�ำเนินการเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Cooperation: AEC) ภายในปี 2558 และการจัดท�ำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) ระหว่างไทย-จีน ขณะที่ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มขยายตัวในอัตราแผ่วลง ทั้งนี้ คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า โครงสร้างการส่งออกไทยจะเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ มูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียน จะมีสดั ส่วนมากทีส่ ดุ โดยจะมีสดั ส่วนทีร่ อ้ ยละ 21.0 ของมูลค่าการส่งออกไทยทัง้ หมด ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 22.7 ในปี 2553 อันดับ 2 คือ จีน ซึง่ คาดว่าจะมีสดั ส่วนมูลค่าการส่งออกทีร่ อ้ ยละ 14.6 เพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 11.0 ในปี 2553 อันดับ 3 คือ สวิตเซอร์แลนด์ จะมีสัดส่วนร้อยละ 14.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.1 ในปี 2553 อันดับ 4 คือ ออสเตรเลีย จะมีสัดส่วนร้อยละ 9.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.8 ในปี 2553 และฮ่องกง จะมีสัดส่วนร้อยละ 7.7 ลดลงจากร้อยละ 9.3 ในปี 2554 ภาพที่ 4 ประมาณแนวโน้มการส่งออกของไทยไปยังประเทศคู่ค้าส�ำคัญ ปี 2554-2564
ที่มา : ธปท. โดย สศค. วิเคราะห์และประมาณการ หมายเหตุ : World = Total Export, JP = ญี่ปุ่น, US = สหรัฐอเมริกา, CN = จีน, EU-15 = สหภาพยุโรป-15, ASEAN9 = อาเซียน 9 ประเทศ
ตารางที่ 3 สัดส่วนการส่งออกไทยไปยังคู่ค้าหลักในอีก 10 ปีข้างหน้า อันดับ
1 2 3 4 5
2553
ประเทศ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป-15
สัดส่วน (%) 22.7% 11.0% 10.5% 10.3% 9.8%
2564f
ประเทศ อาเซียน จีน สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง
สัดส่วน (%) 21.0% 14.6% 14.5% 9.6% 7.7%
ที่มา : ธปท. โดย สศค. วิเคราะห์และประมาณการ
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
57
4. แนวโน้มการน�ำเข้าของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า เป็นอย่างไร ? จากการศึกษามูลค่าการน�ำเข้าของไทยโดยรวมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า ขยายตัวโดยเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 11.4 โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 มูลค่าการน�ำเข้าของไทยอยู่ที่ระดับ 209.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 25.5 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ทัง้ นี้ คาดว่ามูลค่าการน�ำเข้าของไทยทัง้ ปี 2554 และปี 2555 จะอยูท่ รี่ ะดับ 199.1 และ 252.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 23.3 และร้อยละ 26.73 ชะลอลงจากปี 2553 ที่อยู่ที่ระดับ 182.4 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 36.5 ส�ำหรับสินค้าหลักทีไ่ ทยน�ำเข้าอันดับแรกในปี 2553 คือ แผงวงจรไฟฟ้า เครือ่ งจักรกล คอมพิวเตอร์ น�ำ้ มันดิบ ก๊าซธรรมชาติ เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ เป็นส�ำคัญ ตารางที่ 4 สินค้าน�ำเข้าที่ส�ำคัญรายประเทศในปี 2553 อันดับ
สหรัฐอเมริกา
แผงวงจรไฟฟ้า
1
ญี่ปุ่น
ยุโรป-15
จีน
อาเซียน
ตะวันออกกลาง
เครื่องจักรกล เครื่องจักรกล คอมพิวเตอร์ ก๊าซธรรมชาติ น�้ำมันดิบ 2 เครื่องจักรกล เหล็ก เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้า เรือ และ ก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ สิ่งก่อสร้างลอยน�้ำ 3 เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า น�้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ เวชกรรม 4 คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ น�้ำมันส�ำเร็จรูป 5 ผลิตภัณฑ์จากพืช แผงวงจรไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ สินแร่ โลหะอื่น ๆ ปุ๋ย และ ยาก�ำจัดศัตรูพืช ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
จากการวิเคราะห์แนวโน้มการน�ำเข้าในอีก 10 ปีข้างหน้าพบว่า มูลค่าการน�ำเข้าจากประเทศจีนจะมีการขยายตัวเร่งขึ้น อย่างรวดเร็ว โดยในอีก 10 ปีคาดว่ามูลค่าการน�ำเข้าจากประเทศจีนจะสูงเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ ประเทศญี่ปุ่น อาเซียน และ ตะวันออกกลาง ขณะที่การน�ำเข้าจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มแผ่วลง ภาพที่ 5 ประมาณแนวโน้มการน�ำเข้าของไทยไปยังประเทศคู่ค้าส�ำคัญ ปี 2554-2564
ที่มา : ธปท. โดย สศค. วิเคราะห์และประมาณการ ประมาณการรวมผลกระทบน�้ำท่วม ภายใต้สมมติฐานเศรษฐกิจไทยปี 2554 และปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.1 และร้อยละ 5.0 ตามล�ำดับ (ประมาณการ ณ เดือนธันวาคม 2554)
3
58
ส�ำหรับสัดส่วนมูลค่าการน�ำเข้าในอีก 10 ปีขา้ งหน้าคาดว่ามูลค่าการน�ำเข้าสินค้าจากประเทศจีนจะมีสดั ส่วนสูงสุด คิดเป็น ร้อยละ 22.7 ของมูลค่าการน�ำเข้ารวม เพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 13.3 ในปี 2553 รองลงมาคือ สัดส่วนมูลค่าการน�ำเข้าจากประเทศญีป่ นุ่ ตะวันออกกลาง และอาเซียน 5 ที่คิดเป็นร้อยละ 21.7 ร้อยละ 19.8 และร้อยละ 14.0 ของมูลค่าการส่งออกรวม ตามล�ำดับ ในขณะที่สัดส่วนมูลค่าการน�ำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปลดลงเหลือเพียงร้อยละ 2.9 และร้อยละ 4.2 ตามล�ำดับ ตารางที่ 5 สัดส่วนการน�ำเข้าของไทยจากประเทศคู่ค้าหลักในอีก 10 ปีข้างหน้า อันดับ 1 2 3 4 5
2553
ประเทศ ญี่ปุ่น อาเซียน จีน ตะวันออกกลาง สหภาพยุโรป-15
สัดส่วน (%) 20.8% 16.6% 13.3% 11.4% 7.3%
2564f
ประเทศ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้
สัดส่วน (%) 20.7% 17.9% 11.7% 10.5% 6.9%
ที่มา : ธปท. โดย สศค. วิเคราะห์และประมาณการ
ตารางที่ 6 ประมาณการสัดส่วนการส่งออกและน�ำเข้าของไทย ปี 2554-2564 สัดส่วนการส่งออก สัดส่วนการส่งออก สัดส่วนการน�ำเข้า ประเทศคู่ค้าหลัก 2549-2553 2554-2564 2549-2553 (% การส่งออกรวม) (% การส่งออกรวม) (% การน�ำเข้ารวม) จีน 9.9 13.6 11.9 ญี่ปุ่น 11.3 7.2 19.7 สหรัฐอเมริกา 12.1 6.1 6.6 ยุโรป 15 11.7 6.8 8.1 อาเซียน-9 21.7 22.1 17.6 รวม 66.7 55.8 63.9
สัดส่วนการน�ำเข้า 2554-2564 (% การน�ำเข้ารวม) 17.8 19.2 4.4 5.3 13.6 60.3
5. สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ภาคการค้าต่างประเทศยังคงมีบทบาทส�ำคัญทีช่ ว่ ยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ นี้ บริบทใหม่ ของโครงสร้างการค้าไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า อาจเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจคู่ค้าที่ส�ำคัญของไทย ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน และจากการประมาณภายใต้สมมติฐาน ที่ว่า หากอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกและการน�ำเข้าสินค้าเป็นไปตามแนวโน้มของอัตราการขยายตัวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนและอาเซียนจะเป็นประเทศคู่ค้าที่ส�ำคัญของไทยในอนาคตอันใกล้นี้ ขณะที่ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และ สหรัฐอเมริกาจะมีบทบาทลดลงในเชิงการค้า นอกจากนี้ ในอีก 10 ปีข้างหน้า ภาคการส่งออกของไทยมีแนวโน้มที่จะกระจาย ตลาดไปยังตลาดใหม่ ๆ อาทิ ประเทศออสเตรเลีย ซึง่ ปัจจุบนั ไทยส่งออกรถยนต์และทองค�ำเป็นสินค้าหลัก และส�ำหรับการน�ำเข้า ไทยมีแนวโน้มน�ำเข้าจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันไทยน�ำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าหลัก
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
59
อย่างไรก็ดี ปัจจัยทีต่ อ้ งจับตามองในระยะสัน้ ซึง่ อาจกระทบต่อการค้าของไทย ได้แก่ การฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ความคืบหน้าการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป การชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นจะเร็วมากน้อยอย่างไร ผลกระทบการด�ำเนินนโยบายภาครัฐ อาทิ มาตรการรับจ�ำน�ำข้าวของรัฐบาลที่อาจส่งผลให้ ราคาส่งออกข้าวปรับตัวสูงขึ้น มาตรการปรับขึ้นค่าแรงที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ทิศทางค่าเงินบาทที่อาจผันผวน ตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ราคาน�้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง เนื่องจากอุปทานการผลิตที่อาจลดลง ตามสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง และอุปสงค์นำ�้ มันทีย่ งั คงเปราะบางตามภาวะเศรษฐกิจโลก ซึง่ ปัจจัยทีก่ ล่าวมา ข้างต้นดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและการน�ำเข้าของไทยในระยะต่อไปได้ ส�ำหรับแนวทางในการปรับตัวเพือ่ รองรับกับการเปลีย่ นแปลงดังกล่าว ภาครัฐและภาคเอกชนอาจพิจารณาด�ำเนินการ ดังนี้ แนวทางเชิงรุก 1. ภาครั ฐ ควรให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การพั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐาน เพื่ อ ลดต้ น ทุ น ด้ า นโลจิ ส ติ ก ส์ แ ละเป็ น การเพิ่ ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย 2. ผู้ประกอบการควรมุ่งมั่นที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศ (National Brand) พร้อมกับการพัฒนา คุณภาพและมาตรฐาน 3. ผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างการผลิต โดยยกระดับอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน และมุง่ เน้นการส่งออกสินค้าทีใ่ ช้เทคโนโลยีมากขึน้ ซึง่ ปัจจุบนั ไทยส่งออกคอมพิวเตอร์และชิน้ ส่วนเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ยางพารา และอันดับสามคือ รถยนต์ 4. การรวมกลุม่ ธุรกิจ (Cluster) โดยการเชือ่ มโยงผูป้ ระกอบการทัง้ ต้นน�ำ้ และปลายน�ำ้ และทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ขีดความสามารถ ในการพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพและมีมูลค่าเพิ่ม (Value Chain) การขยายช่องทางการค้าโดยกระจายตลาดไปยัง ประเทศใหม่ ๆ อาทิ ตะวันออกกลาง 5. ผู้ประกอบการควรให้ความส�ำคัญกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การจัดส่ง สินค้าหรือบริการ รวมถึงการสั่งซื้อวัตถุดิบ เป็นแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ การน�ำวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนมาจาก แหล่งทีเ่ หมาะสม ในปริมาณทีเ่ หมาะสม พร้อมกับการใช้สารสนเทศทีเ่ หมาะสม เพือ่ ขนส่งสินค้าไปยังสถานทีท่ ถี่ กู ต้อง ในเวลาที่ ถูกต้อง ภายใต้สภาพเงื่อนไขและความเร็วที่เหมาะสมถูกต้อง 6. การเพิ่มมูลค่าการค้ากับประเทศในภูมิภาคและการค้าชายแดนให้มากขึ้น เพื่อรองรับกับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนในปี 2558 และเพือ่ ลดผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาและ ยุโรป 7. การขยายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต�่ำและเป็นตลาดเป้าหมาย เพื่อเป็นแหล่งระบายสินค้า ของไทย แนวทางเชิงรับ 1. ผูป้ ระกอบการควรมีการปรับตัวและก�ำหนดกลยุทธ์เชิงการค้าระหว่างประเทศ เพือ่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปจั จุบนั อาทิ มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากค่าเงินมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น มีการน�ำเข้าเครื่องจักรเพื่อทดแทน แรงงานในสาขาที่ขาดแคลน เป็นต้น 2. ภาครัฐควรสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการค้าและการแข่งขันอย่างเป็นธรรม พร้อมกับการสร้างประสิทธิภาพกลไกตลาด เพื่อสร้างเสถียรภาพราคาสินค้ารวมถึงการอ�ำนวยความสะดวกทางการค้า
60
บทวิเคราะห์ เรื่อง การปฏิรูปโครงสร้างภาษี เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
1
บทสรุปผู้บริหาร
ในปี 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) โดยการเปิดเสรีภายใต้ AEC ท�ำให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการตลอดจนทุนและ แรงงานได้อย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งการเปิดเสรีภายใต้ AEC นั้นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างรายได้ภาษี ในแต่ละประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนรวมถึงประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ ประเทศไทยจึง ต้องมีการทบทวนและพิจารณาการปรับโครงสร้างภาษีอากรให้มคี วามสอดคล้องกับการเปลีย่ นแปลงทีจ่ ะเกิดขึน้ ❍❍ บทความนีจ ้ ะขอกล่าวถึงแนวทางการปฏิรปู โครงสร้างภาษีในเบือ้ งต้น เช่น (1) ปรับลดอัตราภาษี เงินได้นติ บิ คุ คล (Corporate Income Tax : CIT) เพิม่ ประสิทธิภาพของการผลิตและปรับปรุงการให้สทิ ธิประโยชน์ ทางภาษีต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน โดยค�ำนึงถึงผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) (2) ปรับลดอัตราภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา (Personal Income Tax : PIT) และปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บ (3) ก�ำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เหมาะสม (VAT) โดยค�ำนึงถึงช่วงระยะเวลาที่จะน�ำมาใช้ (4) ภาษีสรรพสามิต (5) ภาษีศุลกากร เป็นต้น ❍❍ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะยังได้มก ี ารทบทวนการน�ำภาษีประเภทใหม่มาใช้ในประเทศไทย ซึ่งในอนาคตจะเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ ซึ่งกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณา การน�ำเสนอภาษีประเภทใหม่ เช่น 1) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาใช้แทนภาษีบ�ำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือน และทีด่ นิ ซึง่ เป็นรายได้สำ� คัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) และ 2) ภาษีสงิ่ แวดล้อม เพือ่ เป็นเครือ่ งมือ ในการจัดการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผล เชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ❍❍ ทัง ้ นี้ การปรับโครงสร้างภาษีทงั้ ระบบจะช่วยให้นโยบายภาษีของประเทศไทยเป็นกลไกส�ำคัญ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ท�ำให้รัฐบาลมีรายได้ที่เพียงพอส�ำหรับการพัฒนาประเทศ ภาคเอกชนสามารถแข่งขัน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างความเป็นธรรมในสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม ❍❍
บทน�ำ ในปี 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) โดยการเปิดเสรีภายใต้ AEC ท�ำให้มกี ารเคลือ่ นย้ายสินค้าและบริการตลอดจนทุนและแรงงานได้อย่างเสรีมากขึน้ ซึง่ การเปิดเสรี ภายใต้ AEC นัน้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างรายได้ภาษีในแต่ละประเทศสมาชิกทีเ่ ข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมถึงประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ ประเทศไทยจึงต้องมีการทบทวนและพิจารณาการปรับโครงสร้างภาษีอากรให้มีความสอดคล้อง กับการเปลีย่ นแปลงทีจ่ ะเกิดขึน้ โดยค�ำนึงถึง (1) ภาษีศลุ กากรทีล่ ดลงจากการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศ (2) การขาดดุล งบประมาณทีจ่ ะเพิม่ ขึน้ อย่างมากจากนโยบายภาครัฐทีเ่ น้นการใช้จา่ ยภายในประเทศ และ (3) แนวโน้มการลดอัตราภาษีทางตรง และเพิม่ อัตราภาษีทางอ้อมของประเทศอืน่ ๆ ทัง้ นี้ แนวโน้มทีป่ ระเทศไทยจะมีการปรับโครงสร้างภาษี ได้แก่ (1) ปรับลดอัตราภาษี เงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax : CIT) เพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต และปรับปรุงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันโดยค�ำนึงถึงผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) (2) ปรับลดอัตราภาษี ผู้เขียน : นายวรพล คหัฏฐา เศรษฐกรปฏิบัติการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับ ข้อแนะน�ำ
1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
61
เงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax : PIT) และปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บ (3) ก�ำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เหมาะสม (VAT) โดยค�ำนึงถึงช่วงระยะเวลาที่จะน�ำมาใช้ (4) ภาษีสรรพสามิต (5) ภาษีศุลกากร ดังนั้น กระทรวงการคลัง จึงมีนโยบายในการปฏิรูปโครงสร้างภาษีของประเทศไทยในอนาคต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความบิดเบือน ของโครงสร้างภาษีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม และพัฒนาฐานรายได้ภาษีของรัฐบาล เพือ่ น�ำมาใช้จา่ ยส�ำหรับการพัฒนาประเทศ ทัง้ นี้ กระทรวงการคลังได้วางกรอบแนวทางการปฏิรปู โครงสร้างภาษี เพือ่ ด�ำเนินการ ในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งในบทความนี้จะขอกล่าวถึงแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างภาษี ในเบื้องต้นซึ่งสามารถสรุปสาระส�ำคัญได้ดังนี้ 1. ภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล (Corporate Income Tax : CIT) เป็นภาษีทจี่ ดั เก็บจากฐานก�ำไรสุทธิของบริษทั หรือห้างหุน้ ส่วน นิติบุคคล เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีที่จัดเก็บจากก�ำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นอกจากนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลถือเป็นรายได้หลักของภาครัฐที่มีความส�ำคัญรองจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย ใช้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ร้อยละ 30.0 ส�ำหรับกรณีทั่วไป ซึ่งในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็ก สนับสนุนการลงทุนในตลาดทุนหรือดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ จึงจัดเก็บภาษีเงินได้ นิตบิ คุ คลจากกลุม่ เหล่านีใ้ นอัตราทีต่ ำ�่ กว่ากรณีทวั่ ไป ทัง้ นี้ การทีป่ ระเทศไทยจะก้าวเข้าสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 รัฐบาลจึงมีนโยบายในการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงจากปัจจุบันที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 30.0 โดยมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 ได้มีมติเห็นชอบให้มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30.0 ให้เหลือร้อยละ 23.0 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20.0 ในปี 2556 เพือ่ สร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน เป็นการขยายฐาน ภาษีและรองรับการเข้าสูก่ ารเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ทัง้ นี้ ในภูมภิ าค ASEAN มีประเทศลาวเพียงประเทศเดียว ที่มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงกว่าประเทศไทย (ประเทศลาวเก็บในอัตราร้อยละ 35.0) และจากการปรับลดอัตราภาษีเงินได้ นิตบิ คุ คลของไทย จะท�ำให้ประเทศไทยมีการจัดเก็บอัตราภาษีเงินได้นติ บิ คุ คลต�ำ่ ทีส่ ดุ เป็นอันดับที่ 2 ในภูมภิ าค ASEAN (สูงกว่า สิงคโปร์ซึ่งเก็บที่ร้อยละ 17.0) ตารางที่ 1 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียน
ประเทศ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน
2550 30 20 27 35 28 30 35 27.5
2551 30 18 26 35 28 30 35 27.5
2552 30 18 25 35 25 28 30 25.5
2553 30 17 25 35 25 25 30 25.5
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax : PIT) ถือเป็นภาษีทางตรงที่มีความส�ำคัญควบคู่ไปกับ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) และมีบทบาทหลักเพื่ออ�ำนวยรายได้แก่รัฐบาลและเสริมสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ โดยในปัจจุบันก�ำหนดให้มีการจัดเก็บในอัตราภาษีแบบก้าวหน้าถึง 5 อัตรา (รวมขั้นเงินได้ที่รับการยกเว้นภาษี หรือ Zero-rated Bracket) ตัง้ แต่รอ้ ยละ 0 ถึงร้อยละ 37 อย่างไรก็ตาม ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาในปัจจุบนั มิได้มคี วามก้าวหน้าอย่างทีค่ วรจะเป็น ทั้งนี้ เพราะรัฐบาลในอดีตได้ใช้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเครื่องมือเพื่อเป้าหมายทางสังคมและเศรษฐกิจมากจนเกินไป โดยผ่านการให้ค่าลดหย่อนต่าง ๆ (เช่น เงินสะสมกองทุนส�ำ รองเลี้ยงชีพ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ลดหย่อน LTF
62
เบีย้ ประกันชีวติ ดอกเบีย้ ซือ้ บ้าน และ RMF) ซึง่ ค่าลดหย่อนต่าง ๆ เหล่านีม้ กี ารขยายเพดานมาโดยตลอด จึงเป็นการเอือ้ ประโยชน์ ต่อคนรวยค่อนข้างมาก ซึ่งในอนาคตกระทรวงการคลังจึงได้มีการพิจารณาการปฏิรูปโครงสร้างการจัดเก็บภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาทั้งในส่วนของการปรับปรุงอัตราและขั้นเงินได้ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อสร้างความเป็นธรรมและไม่ให้ เกิดความเหลื่อมล�้ำระหว่างภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และปรับปรุงระบบการช�ำระภาษีของคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีรายอื่น ๆ เป็นต้น ตารางที่ 2 อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียน
ประเทศ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
อัตราภาษี (%) 0, 10, 20, 30 และ 37 0, 3.5, 5.5, 8.5, 14, 17 และ 20 0, 1, 3, 7, 13, 19, 24, 27 และ 28 0, 5, 10, 15, 20 และ 25 5, 10, 15, 20, 25, 30 และ 35 5, 15, 25 และ 30 5, 10, 15, 20, 25, 30 และ 32
จ�ำนวนขั้นเงินได้ 5 7 9 6 7 4 7
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคทั่วไป (Consumption Tax) เป็นหลัก ซึง่ จัดเก็บแทนภาษีการค้าเดิมทีม่ ขี อ้ บกพร่องหลายประการ โดยเริม่ บังคับใช้ในประเทศไทยตัง้ แต่ วันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นมา โดยภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่ใช้หลักปลายทาง (Destination Principle) คือ การมุ่งเก็บภาษี จากสินค้าทีม่ กี ารบริโภคภายในประเทศและบริการทุกชนิดเป็นหลัก โดยไม่ได้คำ� นึงว่าสินค้านัน้ จะมีการผลิต ณ ทีใ่ ด นอกจากนี้ ยังมีการยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิม่ ให้แก่สนิ ค้าและบริการบางอย่าง รวมทัง้ จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 0 ส�ำหรับการส่งออกสินค้าด้วย เพื่อท�ำให้สินค้าส่งออกปราศจากภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ทั้งนี้ ในปัจจุบันอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ปกติตามประมวลรัษฎากรก�ำหนดไว้ในอัตราเดียว คือ ร้อยละ 10 แต่เนือ่ งจากในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 รัฐบาลต้องการ สนับสนุนอุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคของภาคเอกชน จึงได้ปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวเหลือ ร้อยละ 7 ทั้งนี้ ในปัจจุบันประเทศไทยยังคงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่อัตราเดิมที่ร้อยละ 7 ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2555 หากไม่มีการขยายระยะเวลาของการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป ภาพที่ 1 อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เปรียบเทียบกับประเทศอาเซียน
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
63
4. ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่กระทรวงการคลังจัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภทที่รัฐบาลต้องการจ�ำกัด การบริโภคหรือดูแลเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าและบริการประมาณ 17 ประเภท (ยกเว้น 4 รายการ) โดยมีอัตราการจัดเก็บที่หลากหลายตามวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ ทั้งนี้ รายได้ภาษีสรรพสามิตประมาณ ร้อยละ 90 เป็นการจัดเก็บจากสินค้าประเภทหลัก 5 ประเภท ได้แก่ (1) น�้ำมัน (2) ยาสูบ (3) สุรา (4) เบียร์ และ (5) รถยนต์ ซึ่ง ในอนาคตรายได้จากภาษีสรรพสามิตจะมีบทบาทความส�ำคัญเพิม่ ขึน้ ตามแนวโน้มการลดลงของรายได้ภาษีศลุ กากร เนือ่ งจาก การปรับลดอัตราภาษีศลุ กากรทีล่ ดลงภายใต้กรอบการค้าเสรีทงั้ ในระดับพหุภาคีและทวิภาคี ดังนัน้ กระทรวงการคลังจึงจ�ำเป็นต้อง มีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตให้มีความชัดเจนและเหมาะสมเพือ่ รองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยการปรับปรุง โครงสร้างภาษีสรรพสามิตจะสามารถด�ำเนินการได้ทงั้ ในการขยายฐานและการปรับอัตราภาษีในสินค้าและบริการ ทีม่ กี ารจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิตอยูแ่ ล้วให้เหมาะสม และจัดเก็บสินค้าและบริการประเภทใหม่เพิม่ เติมทีส่ ามารถท�ำได้ เช่น การทบทวนโครงสร้าง ภาษีน�้ำมันและผลิตภัณฑ์น�้ำมัน ภาษียาสูบ ภาษีสุรา ภาษีรถยนต์ ภาษีรถจักรยานยนต์ และภาษีเครื่องดื่ม เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อมที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน เมื่อภาษีสิ่งแวดล้อมเริ่มมีผลบังคับใช้ในอนาคต 5. ภาษีศุลกากร เป็นภาษีทางอ้อมที่จัดเก็บจากธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ (International indirect tax) โดยฐาน ทีใ่ ช้ในการจัดเก็บมาจากมูลค่าของสินค้าทีน่ ำ� เข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก ทัง้ นี้ ปัจจุบนั ทีม่ แี นวโน้มในการเปิดเสรีการค้ามากขึน้ หรือ FTAs และการแข่งขันที่รุนแรงทั้งในด้านต้นทุนและประสิทธิภาพการผลิต กระทรวงการคลังจ�ำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้าง ภาษีศุลกากรเพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจดังกล่าว รวมทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้แก่ผู้ประกอบการการผลิตภายในประเทศ ซึ่งในอนาคตการจัดเก็บภาษีศุลกากรมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน กระทรวงการคลังได้มีการพิจารณาทบทวนโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรทั้งระบบ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการ และแก้ไขปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีศุลกากรระหว่างวัตถุดิบต้นน�้ำ กลางน�้ำ และปลายน�้ำ โดยใช้หลักการไต่มูลค่า (Value-added Escalation) มาเป็นแนวทางในการก�ำหนดอัตราอากรขาเข้า 3 อัตราที่แตกต่างกันตามขั้นตอนการผลิต คือ (1) ร้อยละ 1 ส�ำหรับวัตถุดบิ (2) ร้อยละ 5 ส�ำหรับสินค้ากึง่ ส�ำเร็จรูป และ (3) ร้อยละ 10 ส�ำหรับสินค้าส�ำเร็จรูป รวมทัง้ ต้องค�ำนึงถึง ผลประโยชน์ในภาพรวมที่ประเทศไทยจะได้รับจากการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรภายใต้กรอบความตกลง FTAs กับประเทศ คู่ค้าต่าง ๆ ซึ่งได้มีผลบังคับใช้ไปแล้วด้วย
โครงสร้างภาษีของประเทศที่อยู่นอกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายใต้ทิศทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นในอนาคต ประเทศไทยจ�ำเป็นต้องปรับโครงสร้างภาษีให้แข่งขันได้ กับประเทศอื่น ๆ ที่อยู่นอกภูมิภาคเช่นกัน ทั้งนี้ ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่นอกกลุ่มประเทศอาเซียนได้มีการปรับโครงสร้างภาษี ในช่วงที่ผ่านมา เช่น (1) ไต้หวันได้มีการปรับลดโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากร้อยละ 6 ร้อยละ 13 และร้อยละ 21 เป็นร้อยละ 5 ร้อยละ 12 และร้อยละ 20 ตามล�ำดับ (2) อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศเกาหลีใต้ได้มีการปรับลดลง จากร้อยละ 27.5 เป็นร้อยละ 24.2 ของก�ำไรที่เกิน 200 ล้านวอน และจะมีการปรับลดลงอีกในปี 2555 ประเทศนิวซีแลนด์ มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 33.0 เป็นร้อยละ 28.0 ประเทศออสเตรเลียปรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 36.0 เป็นร้อยละ 30.0 และมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงอีกเหลือร้อยละ 29.0 ในปี 2556 และล่าสุดประเทศญี่ปุ่น ได้ตัดสินใจเมื่อปลายปี 2553 ที่จะมีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเดิมที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 41.0 มาเป็นร้อยละ 36.0 เป็นต้น ทัง้ นี้ จากการศึกษาวิจยั โครงสร้างภาษีโดย OECD พบว่า การปรับโครงสร้างภาษีในภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ ทีเ่ หมาะสม ในอนาคตควรเน้นการจัดเก็บภาษีทางอ้อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นระบบภาษีที่บิดเบือนน้อยกว่าการจัดเก็บภาษีทางตรงเป็นหลัก ซึ่งจะส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสร้างแรงจูงใจในการสร้างผลผลิต
64
การน�ำระบบภาษีเชิงสังคมมาปรับใช้เพิ่มเติม กระทรวงการคลังจะได้มกี ารทบทวนการน�ำภาษีประเภทใหม่มาใช้ในประเทศไทย ซึง่ ในอนาคตจะเป็นส่วนหนึง่ ของการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ ทั้งนี้ การน�ำภาษีประเภทใหม่มาใช้ในประเทศไทย กระทรวงการคลังอยู่ระหว่าง พิจารณาการน�ำเสนอภาษีประเภทใหม่ เช่น 1) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาใช้แทนภาษีบ�ำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเป็นรายได้ส�ำคัญขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) ทีใ่ นปัจจุบนั ยังมีขอ้ บกพร่องเกีย่ วกับฐานภาษี อัตราภาษี และวิธกี ารจัดเก็บ โดยฐานภาษีบำ� รุงท้องที่ ทีจ่ ดั เก็บอยูใ่ นปัจจุบนั มีความล้าสมัย และภาษีโรงเรือนและทีด่ นิ จัดเก็บจากฐานค่าเช่าต่อปี ซึง่ ซ�ำ้ ซ้อนกับการจัดเก็บภาษีเงินได้ จากฐานค่าเช่า ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีควรน�ำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้แทนภาษีบ�ำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน เนื่องจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีความจ�ำเป็นอย่างน้อย 3 ประการ คือ (1) ท�ำให้การจัดเก็บ ภาษีทรัพย์สินเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน (2) มุ่งกระจายการถือครองที่ดิน เพื่อให้มีการท�ำประโยชน์ในที่ดิน เพิม่ ขึน้ และลดความเหลือ่ มล�ำ้ ในสังคม เช่น ความเหลือ่ มล�ำ้ ในการถือครองทีด่ นิ ความเหลือ่ มล�ำ้ ในการจัดเก็บภาษีการถือครอง ทรัพย์สิน เป็นต้น โดยฐานภาษีจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามหลักการได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และ (3) ส่งเสริมการกระจายอ�ำนาจทางการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อให้สามารถ จัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 2) ภาษีสงิ่ แวดล้อม เพือ่ เป็นเครือ่ งมือในการจัดการแก้ไขปัญหาความเสือ่ มโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและการปล่อย มลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลเชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากหลายประเทศได้น�ำมาตรการด้านสุขอนามัยและ สิง่ แวดล้อมมากีดกันทางการค้า โดยตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมารัฐบาลได้ใช้มาตรการก�ำกับและควบคุม (Command and Control Measure) ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ และยังไม่มีการน�ำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาบังคับใช้เท่าที่ควร ดังนัน้ กระทรวงการคลังจึงได้ยกร่างพระราชบัญญัตเิ ครือ่ งมือทางเศรษฐศาสตร์เพือ่ การจัดการสิง่ แวดล้อม พ.ศ. .... เพือ่ วางกรอบ ในการน�ำภาษีสงิ่ แวดล้อมและเครือ่ งมือทางเศรษฐศาสตร์อนื่ ๆ อาทิ ภาษีผลิตภัณฑ์หรือค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ การวางประกัน ความเสี่ยงหรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และการซื้อขายสิทธิการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิทธิการปล่อยมลพิษ เป็นต้น มาใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งการด�ำเนินการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนนโยบายด้านเศรษฐกิจเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และนโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักการ ผูก้ อ่ มลพิษเป็นผูจ้ า่ ย (Polluters-Pay-Principle) เพือ่ ให้ผกู้ อ่ มลพิษรับผิดชอบต่อการกระท�ำทีก่ อ่ ให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหาย ต่อสิ่งแวดล้อม และจูงใจผู้ก่อมลพิษให้ลดการปล่อยมลพิษ รวมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ก่อมลพิษน้อยลง ทั้งนี้ รัฐบาล จะน�ำรายได้ที่ได้รับจากการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม และการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ต่าง ๆ ไปใช้ในการบริหารจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ กล่าวโดยสรุป การปฏิรูปโครงสร้างภาษีทั้งระบบจะช่วยให้นโยบายภาษีของประเทศไทยเป็นกลไกส�ำคัญในการพัฒนา เศรษฐกิจ และเพือ่ รองรับภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป และท�ำให้ภาคเอกชนสามารถแข่งขัน และเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต และสร้างความเป็นธรรมในสังคมและรักษาสิง่ แวดล้อม และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน ท�ำให้รัฐบาลมีรายได้ที่เพียงพอส�ำหรับการพัฒนาประเทศต่อไป
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
65
บทวิเคราะห์ เรื่อง การปฏิรูปการคลังของประเทศไทย เพื่อความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม 1
บทสรุปผู้บริหาร
การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศเป็นประเด็นทีท่ วั่ โลกต่างให้ความสนใจและร่วมกันหาวิธกี าร ชะลอการเปลี่ยนแปลง โดยหนึ่งในวิธีเหล่านั้น คือ การใช้นโยบายปฏิรูปทางการคลังเพื่อความมั่นคงด้าน สิ่งแวดล้อม (Green Fiscal Reform : GFR) เพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนด�ำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ท�ำลาย สิ่งแวดล้อม ❍❍ GFR ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้น�ำ GFR มาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์เพื่อชะลอ การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศแล้ว แต่มรี ะดับความส�ำเร็จทีแ่ ตกต่างกัน โดยสหราชอาณาจักรนับเป็นประเทศ ทีป่ ระสบความส�ำเร็จในเรือ่ ง GFR มาก เนือ่ งจากมีมาตรการ GFR ทีเ่ ป็นระบบและครบถ้วน กล่าวคือ มีทงั้ มาตรการ ทัง้ รายรับและรายจ่ายมีความสอดคล้องกันในการชะลอการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ขณะทีก่ รณีของสวีเดน ไม่ประสบความส�ำเร็จเนื่องจากใช้มาตรการภาษีเพียงอย่างเดียว ❍❍ กรณีของประเทศไทย GFR มีลักษณะคล้ายกับของสหราชอาณาจักรเป็นอย่างมาก แต่ของ ประเทศไทยยังอยูใ่ นขัน้ ตอนการวางแผน ยังไม่มกี ารก�ำหนดเป้าหมายทีช่ ดั เจนและยังไม่ได้นำ� นโยบายมาใช้จริง ในปัจจุบัน ❍❍ ดังนั้น ในระยะต่อไปประเทศไทยอาจทบทวนเร่งก�ำหนดเป้าหมายและด�ำเนินการมาตรการ GFR เพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยอาจอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมด้วย ❍❍
1. บทน�ำ ปัจจุบันนานาประเทศให้ความส�ำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและเร่งลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อชะลอ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ภูมิอากาศโลกขณะนี้อยู่ในสภาวะย�่ำแย่ สถิติปี พ.ศ. 2554 พบว่าโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณที่เหนือระดับที่ร้ายแรงที่สุดและภัยธรรมชาติมีความรุนแรงและ มีความถี่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้พลังงานซึ่งน�ำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ยังคงเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การหาจุดสมดุลระหว่างการใช้พลังงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจจึงเป็นเป้าหมายส�ำคัญของ ทุกประเทศ วิธีการหนึ่งที่หลายประเทศน�ำมาใช้ คือ การปฏิรูปทางการคลังเพื่อความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม (Green Fiscal Reform : GFR) การปฏิรูปการคลังเพื่อความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม คือ การปรับโครงสร้างด้านรายรับและรายจ่ายภาครัฐบาล เพือ่ เป็นแรงจูงใจให้ภาคเอกชนด�ำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทีไ่ ม่ทำ� ลายสิง่ แวดล้อม ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึง่ เป็นสาเหตุสำ� คัญในการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศของโลก และคงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของการด�ำเนินการ GFR ในประเทศไทยยังคงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ
ผู้เขียน : พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ และนางดวงกมล คล้ายคลึง และนายปิยะ สาชาติ ส�ำนักนโยบายภาษี ส�ำหรับข้อมูล
1
66
เพือ่ วิเคราะห์ประสิทธิภาพของมาตรการ GFR ในประเทศไทย งานศึกษานีไ้ ด้นำ� GFR ของต่างประเทศมาเป็นกรณีศกึ ษา โดยแบ่งงานศึกษาออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1) ความเคลื่อนไหว GFR ในต่างประเทศ 2) สถานการณ์สิ่งแวดล้อมประเทศไทย ในปัจจุบัน 3) มาตรการทางการคลังของประเทศไทยเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 4) สรุปข้อมูลงานศึกษาและ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2. ความเคลื่อนไหวการปฏิรูปทางการคลังเพื่อความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศ Green Fiscal Reform นี้มิใช่เรื่องใหม่ กล่าวคือ หลายประเทศทั่วโลกได้น�ำ GFR มาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์เพื่อชะลอ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว แต่มีระดับความส�ำเร็จที่แตกต่างกัน โดยในส่วนนี้จะขอหยิบยกกรณีศึกษาของ สหราชอาณาจักรและสวีเดนมาวิเคราะห์ผลกระทบและอุปสรรคต่าง ๆ เนื่องจากประเทศทั้งสองได้มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพ ในนโยบายดังกล่าว ซึ่งโดยสรุปพบว่า ในกรณีของสหราชอาณาจักรนโยบายนี้ประสบความส�ำเร็จอย่างมาก ในขณะที่ในกรณี ของสวีเดนไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าที่ควร กรณีศึกษาของสหราชอาณาจักร ➢ สหราชอาณาจักรได้เริ่มใช้ GFR มาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2533-2542 ด้วยการเก็บภาษีการใช้ทรัพยากร
บางประเภท เช่น ภาษีการใช้พลังงานภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น และมีพระราชบัญญัตกิ ารเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ พ.ศ. 2551 ซึ่งบัญญัติให้ภายในปี พ.ศ. 2593 สหราชอาณาจักรต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศร้อยละ 80 ของระดับ ในปี พ.ศ. 2533 โดยระหว่างนีร้ ฐั บาลก�ำหนดเป้าหมายเพิม่ เติม กล่าวคือ ภายในปี พ.ศ. 2563 ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างน้อยร้อยละ 34 ของระดับในปี พ.ศ. 2533 การก�ำหนดให้เป้าหมายระยะกลางเพื่อเร่งรัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นรูปธรรมเร็วขึ้น ท�ำให้รัฐบาล ต้องเร่งด�ำเนินนโยบาย GFR ด้วยการออกเป็นชุดนโยบาย (Policy Package) ปรับโครงสร้างภาษีสงิ่ แวดล้อมอย่างเต็มระบบ (Large–scale green tax shift) มาใช้ในปี พ.ศ. 2550 โดยมีการใช้มาตรการภาษีเพื่อลดการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองควบคู่ กับมาตรการรายจ่ายด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ภาษีการคมนาคมทางถนน (Road Transportation Tax) ภาษีใช้พลังงาน ในครัวเรือน (Household Use tax) และการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น Green Fiscal Commission2 (2009) ศึกษาความส�ำเร็จของ GFR ตามเป้าหมายที่รัฐบาลได้วางไว้ ผลการศึกษา พบว่าชุดนโยบายดังกล่าวสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซฯ ได้ตามเป้าหมาย อีกทัง้ ยังเพิม่ นวัตกรรมเพือ่ สิง่ แวดล้อม และสร้างอุตสาหกรรมใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมด้วย (Green Industries) เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ใช้พลังงานต�่ำกว่า จะสามารถลดต้นทุนการผลิต ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังส่งผลทางอ้อมให้รัฐมีรายได้ จากมาตรการ GFR จากร้อยละ 6 ของรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งหมดในปี พ.ศ. 2533 มาอยู่ที่ร้อยละ 15 ในปี พ.ศ. 2563 อันเป็นการลดภาระการคลัง กรณีศึกษาของสวีเดน ➢ ประเทศสวีเดนออกมาตรการ GFR ต่อเนื่องมาโดยตลอดเพื่อให้คนรุ่นหลังอยู่ในสังคมที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม
หลักได้รบั การแก้ไขแล้ว โดยก�ำหนดเป้าหมายให้ภายในปี พ.ศ. 2563 สวีเดนต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 40 ของระดับในปี พ.ศ. 2533 เนื่องจากปี พ.ศ. 2503-2512 สวีเดนเผชิญกับภูมิอากาศย�่ำแย่จากการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม ทีร่ วดเร็ว ท�ำให้ทะเลสาบหลายแห่งมีสารประกอบทางเคมีอยูม่ ากจนสัตว์นำ�้ อาศัยอยูไ่ ม่ได้ และอากาศมีกา๊ ซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) ในระดับที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เพือ่ ให้บรรลุเป้าหมาย สวีเดนจึงออกมาตรการเก็บภาษีใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสารประกอบทางเคมี แต่ ผลการศึกษาของ Swedish Environmental Protection Agency3 (2004) พบว่า มาตรการไม่ประสบความส�ำเร็จตามเป้าหมาย เนือ่ งจาก 1) ประชาชนไม่ให้ความส�ำคัญกับราคาทรัพยากรทีเ่ พิม่ ขึน้ จึงยังคงใช้ทรัพยากรในปริมาณเท่าเดิม และ 2) ภาษี องค์กรอิสระของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการเป็นสมาชิก ท�ำการศึกษาประสิทธิภาพของการปรับโครงสร้าง ภาษีสิ่งแวดล้อม (Green Tax Shift) ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม 3 หน่วยงานรัฐของสวีเดนก่อตั้งเพื่อผลักดัน ก�ำกับ ดูแล และประเมินผลการด�ำเนินการของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
67
สิง่ แวดล้อมเพียงด้านเดียวท�ำให้ขดี ความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง เนือ่ งจากมาตรการทางภาษีเพิม่ ต้นทุน การผลิตของผู้ประกอบการ ท�ำให้ราคาสินค้าของสวีเดนสูงกว่าเมื่อเทียบกับราคาตลาดโลก นอกจากนี้ 3) รัฐบาลไม่มีนโยบาย ด้านรายจ่ายเพื่อจูงใจให้ลดปริมาณการใช้ทรัพยากรอีกด้วย ดังนั้น งานศึกษาจึงสรุปว่า “การใช้มาตรการควบคุมและ ข้อบังคับเกี่ยวกับปริมาณการใช้ทรัพยากรและสารประกอบทางเคมีจะสามารถลดปริมาณการใช้ได้ดีกว่าการเก็บภาษี” จากกรณีศึกษาข้างต้น แม้ว่านโยบาย GFR ของทั้งสองประเทศจะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน แต่การด�ำเนินงานของ ทัง้ สองประเทศก็มขี อ้ สรุปทีน่ า่ สนใจ คือ GFR ทีก่ ารปฏิรปู ทางการคลังด้านรายรับและรายจ่ายด้านสิง่ แวดล้อมของภาครัฐ ทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยต้องไม่ปฏิรูปด้านรายรับหรือรายจ่ายเพียงอย่างเดียว
3. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบัน ส่วนนี้จะประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โดยยกตัวชี้วัดที่ส�ำคัญ 2 ตัว คือ 1) อัตราการเกิดภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ และ 2) ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนี้ ประเทศไทยประสบเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีแนวโน้มรุนแรงและถี่มากขึ้น โดยอุทกภัยซึ่ง เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 1 ครั้งต่อ 4 ปี ในช่วง พ.ศ. 2526-2533 มาเป็น 4 ครั้งต่อ 1 ปี ในปัจจุบัน (ภาพที่ 1) สอดคล้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในภาพที่ 2 ที่เพิ่มความถี่ขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 2 ครั้งต่อ 10 ปีในช่วง พ.ศ. 2455–2483 มาเป็น 88 ครั้งต่อ 10 ปี ในปัจจุบัน
➢
ภาพที่ 1 อัตราการเกิดอุทกภัยครั้งส�ำคัญ ของประเทศไทย พ.ศ. 2526-2554
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
ภาพที่ 2 จ�ำนวนแผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบ ถึงประเทศไทย พ.ศ. 2455-2553
ที่มา : ส�ำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา
ประเทศไทยมีแนวโน้มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและถูกจัดให้อยู่ในอันดับ ➢ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับต่างประเทศ จากตารางที่ 1 ประเทศไทยปล่อยก๊าซฯ เพิ่มขึ้นจาก 154,535 พันตันในปี พ.ศ. 2544 มาอยู่ที่ 198,145 พันตันในปี พ.ศ. 2551 โดยแหล่งก�ำเนิดมลพิษหลักของประเทศไทย คือ การผลิตไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 42.55 ของปริมาณการปล่อยทั้งหมด ขณะที่องค์การสหประชาชาติจัดอันดับประเทศที่มีปริมาณ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมด 178 ประเทศ พบว่า (ภาพที่ 3) ในปี พ.ศ. 2551 ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 22 ของโลก โดยประเทศที่มีปริมาณการปล่อยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย รัสเซีย และญี่ปุ่น
68
ตารางที่ 1 คาดการณ์ปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จ�ำแนกตามแหล่งก�ำเนิดมลพิษ พ.ศ. 2544-2551
(หน่วย : 1,000 ตัน)
แหล่งก�ำเนิด การคมนาคมขนส่ง ไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต ย่านพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย อื่น ๆ (สาขาเกษตรกรรม ก่อสร้าง และเหมืองแร่) รวม อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
2544 45,623 61,264 33,900 4,535 9,213
2545 48,026 63,458 37,135 4,569 9,851
2546 51,626 66,299 38,043 4,675 10,727
2547 55,150 72,637 42,975 4,713 11,241
2548 56,318 75,950 43,479 4,988 10,423
2549 53,818 75,839 45,567 5,345 10,712
2550 54,554 82,087 42,318 5,849 11,039
2551 52,379 83,370 45,023 6,389 10,984
154,535 163,039 171,370 186,716 191,158 191,281 195,847 198,145 N/A 5.50 5.11 8.95 2.38 0.06 2.39 1.17
หมายเหตุ ไม่รวมปริมาณการปล่อยมลพิษจากพลังงานหมุนเวียน น�้ำมันเตาที่ใช้ระหว่างประเทศ น�้ำมันดีเซล และน�้ำมันเครื่องบิน ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
ภาพที่ 3 ปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทย และประเทศ 5 อันดับสูงสุดของโลก (พ.ศ. 2533-2551)
ที่มา : Millennium Development Goals Indicators, United Nations (2554)
จากการพิจารณาด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มความถี่และความรุนแรงขึ้นประกอบกับปริมาณการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ทเี่ พิม่ ขึน้ พบว่า สถานการณ์สงิ่ แวดล้อมของประเทศไทยอยูใ่ นระดับทีย่ งั คงน่าเป็นห่วงและจ�ำต้องมี มาตรการจูงใจให้ทุกภาคส่วนลดการใช้พลังงาน เพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
4. มาตรการการคลังของประเทศไทยเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยเริม่ น�ำแนวคิด GFR ภายใต้การผลักดันของกระทรวงการคลังเพือ่ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ ชะลอการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีมาตรการการคลังทีส่ �ำคัญ 5 มาตรการ คือ 1) มาตรการภาษีของแต่ละกรมจัดเก็บ ที่มีอยู่เดิม 2) มาตรการด้านงบประมาณ 3) กรอบแผนการคลังเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Fiscal Framework) 4) ร่างพระราชบัญญัติมาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม และ 5) การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
69
มาตรการด้านภาษี : ➢ กระทรวงการคลังมีการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมสินค้าทีส่ ง่ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว โดยจัดเก็บ
ตามขอบเขตการท�ำงานของแต่ละกรมจัดเก็บ อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีลกั ษณะนีม้ คี วามซับซ้อนเนือ่ งจากสินค้า 1 ชนิด มีการจัดเก็บภาษีหลายประเภท เช่น รถยนต์น�ำเข้าจากต่างประเทศจัดเก็บภาษี 4 ประเภท คือ 1) อากรขาเข้า จัดเก็บโดย กรมศุลกากร 2) ภาษีสรรพสามิตโดยเก็บตามความจุกระบอกสูบ 3) ภาษีมหาดไทย และ 4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บโดย กรมศุลกากร เป็นต้น การจัดเก็บภาษีแบบเดิมนี้คล้ายคลึงกับมาตรการภาษีของสวีเดนที่เน้นเพิ่มรายรับของภาครัฐบาลจาก ภาษีสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว มาตรการด้านงบประมาณ : ➢ รั ฐ บาลจัดสรรงบประมาณรายจ่า ยด้ า นสิ่ ง แวดล้ อมมากขึ้ น อย่ า งต่ อเนื่ อง โดยอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์
การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลจัดสรรเงินให้ยุทธศาสตร์นี้ร้อยละ 1.9 ต่องบประมาณรายจ่ายทั้งหมด ซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และงบประมาณ 2555 นี้ไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ จากปีงบประมาณที่แล้วที่อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่องบประมาณรายจ่ายทั้งหมด ในเชิงโครงสร้าง (ภาพที่ 4) พบว่ามีการก�ำหนด งบประมาณ 2 ส่วนเพิ่มเติมจากงบประมาณ 2552 คือ 1) การป้องกัน เตือนภัย แก้ไข และฟื้นฟูความเสียหายจากภัยพิบัติ และ 2) การแก้ไขปัญหาการเปลีย่ นแปลงสภาวะภูมอิ ากาศ ซึง่ การจัดสรรงบประมาณลักษณะนีค้ ล้ายคลึงกับการสนับสนุนงบประมาณ รายจ่ายด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้ชุดนโยบายของสหราชอาณาจักร ภาพที่ 4 งบประมาณของ พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2555 ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ ส�ำนักนายกรัฐมนตรี
กรอบแผนการคลังเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Fiscal Framework) : ➢ รัฐบาลร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศร่วมวางกรอบแผนการคลังเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศทั้งด้านรายรับและรายจ่าย ซึ่งมีลักษณะเดียวกับ GFR ของสหราชอาณาจักร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และส�ำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP : United Nations Development Programme) ได้หารือและน�ำเสนอ แนวทางการด�ำเนินการระยะต่อไป (UNDP, 2011) โดยให้เร่งแปลงนโยบายด้านการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศเป็นค่าใช้จา่ ย ด้านลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนให้เป็นรูปธรรม และเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานทั้งส่วนกลางและ ส่วนท้องถิ่น รวมถึงมีการปรับปรุงข้อตกลงของสถาบันต่าง ๆ ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น และก�ำหนดเป้าหมายและเครื่องชี้วัด ที่ชัดเจน ตลอดจนมีระบบการประเมินวัดผลการด�ำเนินการ
70
ร่างพระราชบัญญัติมาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม : ➢ โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ปรับโครงสร้างการคลังเพือ่ ให้สอดคล้องกับการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมอย่างครบวงจร
ซึ่งร่างพระราชบัญญัตินี้เหมือนกับชุดนโยบายของสหราชอาณาจักร หากแต่ต่างกันในรายละเอียด โดยร่างพระราชบัญญัตินี้ ยึดหลักให้ผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการจัดการสิ่งแวดล้อม (Polluters Pay Principle) โดยมีมาตรการทางภาษี และมาตรการรายจ่ายจากรายได้ที่เกิดจากการเก็บภาษีมาใช้เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อม คล้ายคลึงกับ GFR ของสหราชอาณาจักร ทีม่ มี าตรการทัง้ ด้านรายรับและรายจ่ายด้านสิง่ แวดล้อม แต่ประเทศไทยเน้นลดมลพิษ เช่น ก๊าซมีเทน ไนโตรเจน ฝุน่ และซัลเฟอร์ ซึง่ เกิดจากภาคเกษตรกรรม ขณะทีส่ หราชอาณาจักรเน้นลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทเี่ กิดจากโรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงยังมิได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ในปัจจุบัน
การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี : ➢ สร้างแรงจูงใจในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการวางกรอบแนวทาง โดยเมื่อวันที่
8 ธันวาคม 2554 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้มีการประชุมกับส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและกรมสรรพากร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รูปแบบการให้สิทธิประโยชน์ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา
จากมาตรการการคลังข้างต้นพบว่า ประเทศไทยมีมาตรการ GFR ที่คล้ายคลึงกับ GFR ของสหราชอาณาจักร ซึ่งประสบความส�ำเร็จ ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อประเทศไทยที่ GFR อาจประสบความส�ำเร็จได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยต้องก�ำหนดเป้าหมายการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ชัดเจน ตลอดจนเร่งอนุมัติและด�ำเนินการ มาตรการต่าง ๆ เพื่อให้การชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประสบความส�ำเร็จ
5. สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากบทเรียนประสบการณ์ต่างประเทศพบว่า Green Fiscal Reform จะสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศได้ก็ต่อเมื่อมีมาตรการที่ครบถ้วนและเป็นระบบ กล่าวคือ มีการปรับโครงสร้างการคลังทั้งระบบรายรับและ รายจ่ายให้สอดคล้องกับนโยบายในการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม เช่น ในกรณีของสหราชอาณาจักรทีป่ ระสบความส�ำเร็จ ขณะที่ สวีเดนก�ำหนดภาษีใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสารประกอบทางเคมีเพียงอย่างเดียวจึงไม่ประสบความส�ำเร็จ ต้องหันมาใช้ การควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทดแทน กรณีประเทศไทย รัฐบาลมีการวางแนวทาง GFR ในรูปแบบที่คล้ายกับกรณีของสหราชอาณาจักร แต่แตกต่างกัน ในรายละเอียดตามลักษณะเฉพาะของประเทศตน อย่างไรก็ดี ปัญหาส�ำคัญคือประเทศไทยยังไม่มีการก�ำหนดเป้าหมาย ที่ชัดเจน และยังขาดการน�ำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการหาเจ้าภาพที่ชัดเจนในการเร่ง ขับเคลื่อนนโยบายโดยรวมของประเทศที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ดังนัน้ ประเทศไทยต้องเร่งก�ำหนดเป้าหมายทีช่ ดั เจนทัง้ ด้านระยะเวลาด�ำเนินการและปริมาณการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก เร่งแปลงนโยบายสูก่ ระบวนการปฏิบตั ิ และก�ำหนดระบบการประเมินผลทีม่ ปี ระสิทธิภาพ โดยอาจอาศัย ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership) เพื่อให้ GFR ของประเทศไทยประสบความส�ำเร็จ เช่นเดียวกับกรณีสหราชอาณาจักร
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
71
บทวิเคราะห์ เรื่อง ทิศทางการลงทุนภาครัฐเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
1
บทสรุปผู้บริหาร
บทความนี้มุ่งเสนอทิศทางที่เหมาะสมของการลงทุนภาครัฐว่าควรลงทุนเพิ่มหรือไม่ และ ควรลงทุนในภาคส่วนใด ❍❍ จากการศึ ก ษาพบว่ า การลงทุ น ภาครั ฐ ก่ อ ให้ เ กิ ด ทั้ ง ผลดี แ ละผลเสี ย ต่ อ เศรษฐกิ จ โดยรวม (Crowding in and crowding out effect) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในประเทศไทย การลงทุนภาครัฐสามารถ ท�ำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ในระยะสั้น และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระยะยาว ด้วยการสร้างสต๊อกทุน ภาครัฐที่เพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเสื่อมราคาที่เสียไปในแต่ละปี ❍❍ จากการศึกษาด้านขีดความสามารถในการแข่งขันพบว่า ประเทศไทยควรส่งเสริมการลงทุน ภาครัฐเพิ่มเติมเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว ❍❍
1. บทน�ำ ในปัจจุบัน หลักการของเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ ถูกน�ำมาใช้อย่างแพร่หลาย จากแนวคิดนี้รัฐเป็นองค์กรส�ำคัญที่มีส่วน ในการแทรกแซงและสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้วยการใช้นโยบายการคลังผ่านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุน ในการกระตุ้นอุปสงค์ภาคเอกชน และยังมีบทบาทในการจัดสรรสินค้าสาธารณะ (Public goods) ที่ภาคเอกชนขาดแรงจูงใจ ในการด�ำเนินการด้วยตนเอง การลงทุนภาครัฐจึงมีส่วนส�ำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและสร้างความยั่งยืนทาง เศรษฐกิจในระยะยาว ส�ำหรับประเทศไทย รัฐบาลมีการก�ำหนดงบประมาณรายจ่ายด้านการลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศในทุก ๆ ปี อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาครัฐส่วนใหญ่ยงั ต�่ำกว่ากรอบความยัง่ ยืนทางการคลังทีก่ �ำหนดให้รายจ่ายด้านการลงทุนไม่ควรน้อยกว่าร้อยละ 25 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด โดยปีงบประมาณ 2553 การลงทุนภาครัฐมีจ�ำนวนเพียงร้อยละ 12.6 เท่านั้น ซึ่งต�่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จึงน�ำไปสู่ความสงสัยว่าการลงทุนภาครัฐของไทยในปัจจุบันมีลักษณะ ใด เพียงพอส�ำหรับการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจหรือไม่ และทิศทางการลงทุนภาครัฐควรเป็นอย่างไร โดยบทความนี้จะน�ำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อข้อสงสัยดังกล่าว
2. ผลกระทบของการลงทุนภาครัฐต่อระบบเศรษฐกิจ มีงานศึกษามากมายเกี่ยวกับบทบาทของการลงทุนภาครัฐต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งผลการศึกษานั้นยังไม่สามารถสรุปได้ อย่างชัดเจน เนือ่ งจากผลจากหลายงานวิจยั ให้ผลไม่ตรงกัน ส่วนหนึง่ สนับสนุนความเชือ่ ทีว่ า่ การลงทุนภาครัฐช่วยเพิม่ ศักยภาพ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะทีอ่ กี ส่วนหนึง่ ไม่เห็นด้วย ส�ำหรับสาเหตุความแตกต่างของผลการศึกษาดังกล่าวเกิดขึน้ จาก หลายปัจจัย อาทิ ช่วงเวลาท�ำการศึกษา ประสิทธิภาพของนโยบายการลงทุนภาครัฐของประเทศที่ท�ำการศึกษา รวมถึงนิยาม การลงทุนภาครัฐที่ใช้ในการศึกษา เป็นต้น ผูเ้ ขียน : นายพนันดร อรุณนี ริ มาน และนางสาวพีรพรรณ สุวรรณรัตน์ เศรษฐกรปฏิบตั กิ าร ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นางวิภารัตน์ ปัน้ เปีย่ มรัษฎ์ เศรษฐกรช�ำนาญการ นางณัฐยา อัชฌากรลักษณ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
1
72
ตามทฤษฎี การลงทุนภาครัฐก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ ในกรณีแรก การลงทุนภาครัฐส่งผลให้ การบริโภคและลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น (Crowding In Effect) และเศรษฐกิจขยายตัว เช่น การสร้างถนนท�ำให้การจ้างงาน มีมากขึน้ มีบา้ นพักอาศัยเพิม่ ขึน้ ตามเส้นทางถนน ช่วยสนับสนุนให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว ในทางกลับกัน การลงทุนภาครัฐอาจท�ำให้การลงทุนภาคเอกชนลดลง โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย (Crowding Out Effect)2 โดยจาก Mundell-Fleming model การเพิ่มการลงทุนภาครัฐอาจท�ำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น ส่งผลกระทบต่อเนื่องให้การส่งออก ลดลงซึง่ เป็นผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนัน้ การลงทุนภาครัฐจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไรขึน้ อยูก่ บั ขนาดของ Crowding In และ Crowding Out Effect การศึกษาผลกระทบของการลงทุนภาครัฐมีหลายวิธี ซึง่ วิธที ไี่ ด้รบั ความนิยมทีส่ ดุ คือ วิธแี บบฟังก์ชนั การผลิต (Production Function Approach) โดยงานศึกษาของ Arslanalp et al. (2010) ใช้ฟงั ก์ชนั การผลิตแบบ Cobb-Douglas ในการศึกษาโดยแบ่ง ปัจจัยการผลิตออกเป็น แรงงาน (Labour) ทุนภาครัฐ (Public Capital) และทุนภาคเอกชน (Private Capital) ทั้งนี้ งานศึกษา ดังกล่าวต่างจากงานศึกษาก่อนหน้าตรงที่ได้ใช้ระดับสต๊อกทุนภาครัฐเบื้องต้น3 (Initial Public Capital) เป็นปัจจัยการผลิต แทนการใช้จ่ายเพื่อการลงทุน (Public Investment) ที่นิยมใช้มาแต่เดิม เนื่องจากการใช้จ่ายด้านการลงทุนไม่ได้พิจารณา ผลกระทบของค่าเสื่อมราคาที่เกิดจากระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น ประเทศพัฒนาแล้ว (Advanced Economies) ซึ่งมีระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สูง มีแนวโน้มที่จะมีค่าเสื่อมราคาที่สูงกว่าประเทศก�ำลังพัฒนา (Developing Economies) ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนภาครัฐในประเทศพัฒนาแล้วเป็นเพียงเพื่อการบ�ำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เป็นส�ำคัญ มิใช่เป็นการใช้จา่ ยเพือ่ ก่อให้เกิดการก่อสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานเช่นในประเทศก�ำลังพัฒนา ซึง่ ผลจากการศึกษาพบว่า ระดับสต๊อกทุนภาครัฐในแต่ละปี4 มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจทีต่ า่ งกันระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศก�ำลังพัฒนา จากตารางที่ 1 แสดงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การลงทุนภาครัฐ การขยายตัวของสต๊อกทุนภาครัฐในช่วงปี 2503-2543 พบว่า สัดส่วนการลงทุนภาครัฐต่อ GDP ของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศก�ำลังพัฒนาอยูใ่ นระดับทีใ่ กล้เคียงกัน (ประมาณร้อยละ 3.8) ขณะที่การขยายตัวของสต๊อกทุนภาครัฐของประเทศก�ำลังพัฒนากลับสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว (เกือบ 2 เท่า) เนื่องจากประเทศพัฒนาแล้วมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สูงกว่า จึงท�ำให้ค่าเสื่อมราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศ ก�ำลังพัฒนา ส่งผลให้การใช้จ่ายลงทุนภาครัฐของประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายเพื่อบ�ำรุงรักษาและซ่อมแซม มากกว่าเป็นการใช้จ่ายเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมาใหม่ ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การลงทุนภาครัฐ และสต๊อกทุนในปี 2503-2543 การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (ร้อยละ) การลงทุนภาครัฐ (สัดส่วนต่อ GDP) การขยายตัวของสต๊อกทุนภาครัฐ (ร้อยละ)
ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศก�ำลังพัฒนา 3.4 3.6 3.3
4.4 3.9 5.7
ที่มา : Arslanalp et al. (2010)
ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสต๊อกทุนภาครัฐ (Stock) มีผลเป็นเชิงบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่การใช้จ่ายลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี (Flow) อาจจะไม่ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการลงทุนภาครัฐ ในบางประเทศอาจจะไม่ได้สร้างโครงสร้างพืน้ ฐานขึน้ ใหม่ แต่เป็นการใช้จา่ ยเพือ่ บ�ำรุงรักษาเท่านัน้ ดังนัน้ การลงทุนทีก่ อ่ ให้เกิด ผลิตภาพต้องท�ำให้สต๊อกทุนขยายตัว หรืออีกนัยหนึ่งคือ จ�ำนวนเงินลงทุนต้องมากกว่าค่าเสื่อมราคาจึงจะสามารถสร้าง ผลดีต่อระบบเศรษฐกิจได้ การใช้จ่ายภาครัฐที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เงินงบประมาณจากการเก็บภาษีหรือเงินกู้ก็ตาม ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าและบริการมากขึ้น ท�ำให้อัตรา ดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้นในที่สุด (จาก IS-LM Model) 3 คิดจาก มูลค่าที่แท้จริงของสต๊อกทุนภาครัฐต่อมูลค่าที่แท้จริงของ GDP 4 สต๊อกทุนภาครัฐ ณ ปัจจุบัน = สต๊อกทุนภาครัฐเบื้องต้น + การลงทุนภาครัฐ – ค่าเสื่อมราคา 2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
73
3. ลักษณะการลงทุนภาครัฐของไทย แม้ว่าการลงทุนภาครัฐของไทยมิใช่ปัจจัยหลักในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยตรง แต่ก็มีบทบาทส�ำคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว (ภาวินี วิโนทัย, 2547) โดย Contribution to GDP Growth ของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง ในปี 2540–2553 อยู่ในช่วงเพียงร้อยละ -3.32 ถึง 1.05 ทั้งนี้ ในปี 2553 เศรษฐกิจไทยขยายตัวระดับสูงที่ร้อยละ 7.81 ส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากการที่รัฐบาลลดบทบาทการลงทุนภาครัฐลงและให้ภาคเอกชนเป็นตัวเร่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายหลังจากวิกฤตปี 2540 การลงทุนภาครัฐทีแ่ ท้จริงอยูใ่ นระดับทีค่ อ่ นข้างคงทีโ่ ดยเฉลีย่ อยูท่ ี่ 2.5 แสนล้านบาท (ภาพที่ 1) โดยช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ปี 2540 และวิกฤต Subprime ปี 2552 ซึง่ ภาคเอกชนไม่สามารถด�ำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ปกติ รัฐบาลใช้การลงทุนภาครัฐเป็นตัวกระตุน้ เศรษฐกิจ ในด้านสต๊อกทุน (ภาพที่ 2) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ ก่อนและหลัง วิกฤตปี 2540 โดยภายหลังปี 2540 รัฐบาลสะสมทุนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อันเนื่องมาจากความต้องการส่งเสริมการขยายตัว ในภาคเศรษฐกิจจริงมากขึ้น ทดแทนขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงินในภาคการเงิน โดยการสะสมสต๊อกทุนภาครัฐบาล เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56.3 ต่อ GDP ในปี 2536 มาอยู่ที่ร้อยละ 77.3 ต่อ GDP ในปี 2553 ซึ่งระดับสต๊อกทุนถือว่าอยู่ในระดับสูง ภาพที่ 1 มูลค่าและอัตราการขยายตัว ของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง
ภาพที่ 2 สัดส่วนสต๊อกทุนสุทธิ (Net Capital Stock) ต่อ GDP ที่แท้จริง
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ด้านโครงสร้างสต๊อกทุน (ภาพที่ 3) มีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ละฉบับ โดยในปี 2513 ซึ่งอยู่ระหว่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 รัฐสนับสนุนการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งและสื่อสารเพื่อ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เป็นผลให้สต๊อกทุนกว่าร้อยละ 50 อยู่ในด้านนี้ โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญเกิดขึ้น ระหว่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) รัฐต้องการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และพลังงานให้มากขึน้ (ภาวินี วิโนทัย, 2547) ท�ำให้สัดส่วนสต๊อกทุนด้านไฟฟ้าและน�้ำประปาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 20-30 ของสต๊อกทุนทั้งหมด ปัจจุบันโครงสร้างสต๊อกทุนส่วนใหญ่ด้านคมนาคมขนส่งและสื่อสาร รวมถึงด้านไฟฟ้าและน�้ำประปาเป็นหลัก ขณะที่สต๊อกทุน ด้านการศึกษาและสาธารณสุขอยู่ในระดับต�่ำ ภาพที่ 3 โครงสร้างสต๊อกทุนสุทธิ (Net Capital Stock) (ร้อยละ)
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
74
ด้านการขยายตัวของสต๊อกทุน (ตารางที่ 2) พบว่า การขยายตัวของสต๊อกทุนด้านไฟฟ้าและน�้ำประปา และด้านคมนาคม ขนส่งและสือ่ สารชะลออย่างต่อเนือ่ งนับแต่ปี 2523 และปัจจุบนั หดตัวร้อยละ -0.9 และร้อยละ -2.3 ตามล�ำดับ บ่งชีว้ า่ ความส�ำคัญ ของการลงทุนเพิ่มเติมในด้านดังกล่าวลดลง ขณะที่สต๊อกทุนด้านบริการการโรงแรมฯ มีมากขึ้น ตารางที่ 2 อัตราการขยายตัวของสต๊อกทุนสุทธิ (Net Capital Stock) (ร้อยละ)
2514
2523
2533
2543
2553
เกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิต ไฟฟ้าและน�้ำประปา สิ่งปลูกสร้าง โรงแรมและร้านอาหาร คมนาคมขนส่งและสื่อสาร ระบบความปลอดภัยและความมั่นคง การศึกษา สาธารณสุข
8.7 5.5 10.1 7.9 8.1 6.7 5.7 14.2 11.6
14.0 22.7 26.2 19.4 18.3 11.0 9.4 16.3 13.4
7.9 2.1 9.7 8.5 11.7 6.2 7.1 1.4 13.5
n.a. 2.3 3.3 2.4 1.2 5.6 2.5 4.8 3.8
4.1 1.1 -0.9 0.2 26.2 -2.3 3.3 1.7 1.7
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการลงทุนภาครัฐของไทยมีบทบาทต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงที่เศรษฐกิจ ชะลอตัว หรือขณะทีภ่ าคเอกชนไม่สามารถด�ำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติ และภาครัฐบาลจะลดบทบาทของตนเองลง เมื่อเศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับสูง ทั้งนี้ ภายหลังปี 2540 การลงทุนภาครัฐและการสะสมสต๊อกทุนขยายตัวเร่งขึ้นอย่าง เห็นได้ชัด โดยเฉพาะโครงสร้างสต๊อกทุนอยู่ในด้านไฟฟ้าและน�้ำประปา และด้านคมนาคมขนส่งและสื่อสารเป็นส่วนใหญ่
4. ทิศทางการลงทุนภาครัฐส�ำหรับประเทศไทย ทิศทางการลงทุนภาครัฐควรจะเพิ่มขึ้น ลดลง หรือเท่าเดิมนั้น ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ 1) การลงทุนภาครัฐสามารถท�ำให้ เศรษฐกิจขยายตัวได้หรือไม่ โดยหากสามารถท�ำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ก็ควรจะมีการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น และ 2) โครงสร้าง พื้นฐานที่มีอยู่นั้นเพียงพอต่อการพัฒนาประเทศหรือไม่ หากยังมีไม่เพียงพอ ภาครัฐก็ควรเพิ่มการลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพ ทางเศรษฐกิจในระยะยาว ตารางที่ 3 มูลค่าการลงทุน ค่าเสื่อมราคา และสต๊อกทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่ มูลค่าการลงทุนภาครัฐ (ล้านบาท) ค่าเสื่อมราคาของสต๊อกทุนภาครัฐ (ล้านบาท) สต๊อกทุนส่วนเพิ่ม (ล้านบาท) สต๊อกทุนภาครัฐสุทธิ (ล้านบาท) อัตราขยายตัวสต๊อกทุนภาครัฐสุทธิ (ร้อยละ)
2548
2549
227,911 234,894 116,800 120,577 111,111 114,317 3,075,670 3,178,775 3.3 3.4
2550
2551
2552
2553
246,343 234,791 241,078 235,682 125,803 131,984 137,554 141,735 120,540 102,807 103,524 93,947 3,298,200 3,403,472 3,501,441 3,552,774 3.8 3.2 2.9 1.5
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
75
ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา การลงทุนภาครัฐจะมีส่วนในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในสัดส่วนที่น้อยกว่า องค์ประกอบอืน่ อย่างไรก็ตาม จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี 2548-2553 มูลค่าการลงทุนภาครัฐมีคา่ สูงกว่าค่าเสือ่ มราคา ของสต๊อกทุนภาครัฐในแต่ละปี ส่งผลดีต่อการสะสมสต๊อกทุนภาครัฐขึ้นใหม่ทุกปี โดยมีอัตราการขยายตัวของสต๊อกทุนภาครัฐ สุทธิเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากข้อเท็จจริงดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่า การลงทุนภาครัฐในประเทศไทยสามารถสร้างการขยายตัว ทางเศรษฐกิจได้ เนื่องจากสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Arslanalp et al. (2010) ซึ่งกล่าวว่า การขยายตัวของสต๊อกทุน ภาครัฐจะส่งผลบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ดังที่ได้อธิบายในส่วนก่อนหน้า) ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวยังสอดคล้อง กับผลงานของ ณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์ (2551) โดยได้สรุปไว้ว่า รายจ่ายลงทุนภาครัฐสามารถท�ำให้เกิดอุปสงค์ต่อเนื่องจาก ภาคเอกชนได้ (Crowding In Effect) และมีตัวคูณทางเศรษฐกิจ (Multiplier) มากกว่า 15 ดังนั้น ภาครัฐจึงควรมีการลงทุนเพิ่ม เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย ทั้งนี้ หากพิจารณาว่าโครงสร้างพื้นฐานที่มีนั้นเพียงพอต่อการพัฒนาประเทศหรือไม่ สามารถวิเคราะห์ได้จากข้อมูล International Institute for Management Development (IMD) และ World Economic Forum (WEF) ซึ่งหน่วยงานทั้งสองเป็น หน่วยงานทีจ่ ดั อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ทัว่ โลก โดย IMD จะเน้นปัจจัยเชิงโครงสร้างและการด�ำเนินการ เป็นหลัก ส่วน WEF จะเน้นปัจจัยด้านการประกอบธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งบทความนี้จะพิจารณาอันดับขีดความสามารถในด้านที่ เกี่ยวข้องกับการลงทุนของภาครัฐเท่านั้น ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสุขภาพ และด้านการศึกษา เมือ่ พิจารณาด้านประสิทธิภาพของโครงสร้างพืน้ ฐานของไทยเทียบกับประเทศในกลุม่ อาเซียน-5 พบว่า ขีดความสามารถ ด้านการแข่งขันในด้านโครงสร้างพื้นฐานของไทยดีกว่าประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้น (ตารางที่ 4) แสดงให้ เห็นว่าไทยยังต้องมีการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถแข่งขันกับประเทศในกลุ่มได้ ตารางที่ 4 อันดับการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียน-5
อันดับโครงสร้างพื้นฐาน
ไทย
สิงคโปร์
มาเลเซีย
อินโดนีเซีย
ฟิลิปปินส์
IMD (จาก 59 ประเทศ) WEF (จาก 142 ประเทศ)
46 42
11 3
25 26
55 76
56 105
ที่มา : The Global Competitiveness Report WEF 2011-2012 และ IMD Yearbook 2010-2011
อนึง่ WEF ได้จดั ให้ประเทศไทยอยูใ่ นกลุม่ ประเทศทีข่ บั เคลือ่ นเศรษฐกิจด้วยการเพิม่ ประสิทธิภาพการลงทุน (EfficiencyDriven) และมีโอกาสที่จะยกระดับการพัฒนาไปสู่ประเทศในกลุ่มที่ก้าวหน้ากว่า ซึ่งก็คือกลุ่มประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย นวัตกรรม (Innovation-Driven) โดยคะแนนของไทยในบางหมวด ได้แก่ หมวดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ขนาดตลาด และศักยภาพ ของตลาดแรงงาน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม ยังมี กลุ่มปัจจัยที่ต้องได้รับการปรับปรุง เช่น โครงสร้างพื้นฐาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี คุณภาพการศึกษา และนวัตกรรม เป็นต้น ซึง่ ผลสรุปดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลในตารางที่ 5 โดยเมือ่ เทียบกับกลุม่ ประเทศทีข่ บั เคลือ่ นเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม โครงสร้าง พื้นฐานของไทยยังล้าหลังอยู่มาก ตารางที่ 5 อันดับการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานเทียบกับประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม
อันดับโครงสร้างพื้นฐาน
ไทย
สิงคโปร์
ญี่ปุ่น
สหรัฐอเมริกา
ฮ่องกง
IMD (จาก 59 ประเทศ) WEF (จาก 142 ประเทศ)
46 42
11 3
13 15
1 16
1
ที่มา : The Global Competitiveness Report WEF 2011-2012 และ IMD Yearbook 2010-2011
หมายถึง การลงทุนภาครัฐสามารถสร้างรายได้ประชาชาติได้ โดยปริมาณส่วนเพิ่มนั้นมากกว่าปริมาณการลงทุนตั้งต้น
5
76
นอกจากนี้ หากพิจารณาลงในรายละเอียดถึงโครงสร้างพื้นฐานรายประเภทที่ต้องปรับปรุงของไทย ข้อมูลจากทั้ง IMD และ WEF บ่งชี้ว่า ประเทศไทยยังมีปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน6 ดังนี้ • การขนส่งทางบกโดยเฉพาะระบบรางยังมีไม่เพียงพอและขาดประสิทธิภาพ (ความหนาแน่นของเครือข่ายรถไฟ ต่อตารางกิโลเมตรยังต�่ำเมื่อเทียบกับต่างประเทศ) • ระบบการสือ่ สารยังไม่ทวั่ ถึงและการพัฒนาเทคโนโลยีสอื่ สารไม่ตรงกับความต้องการของธุรกิจ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ที่ยังมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ • เทคโนโลยีดา้ นนวัตกรรมของไทยยังมีไม่มากพอทีจ่ ะน�ำมาพัฒนาประสิทธิภาพของภาคการผลิตได้ เนือ่ งจากการลงทุน ด้านการวิจัยมีน้อยเมื่อเทียบกับต่างประเทศและยังไม่สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้ • การบริการด้านสุขภาพยังมีไม่ทั่วถึง สะท้อนภาพจากจ�ำนวนแพทย์และพยาบาลมีน้อยกว่าความต้องการ และ การลงทุนด้านสุขภาพของไทยที่ยังอยู่ในระดับที่ต�่ำ • ด้านการศึกษายังไม่ตอบสนองความต้องการทางสังคมและเศรษฐกิจ ประกอบกับการลงทุนด้านการศึกษายังมีไม่มาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ สะท้อนได้จากตัวชี้วัด จ�ำนวนค่าใช้จ่ายภาครัฐด้านการศึกษาต่อหัวยังต�่ำ
5. บทสรุป การลงทุนภาครัฐไทยในปัจจุบันมีอัตราส่วนเพียงร้อยละ 12.6 ของงบประมาณทั้งหมดซึ่งต�่ ำกว่ากรอบความยั่งยืน ทางการคลังทีก่ ำ� หนดไว้รอ้ ยละ 25 โดยการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านคมนาคมขนส่งและสือ่ สาร รองลงมาคือ การลงทุน ด้านไฟฟ้าและประปา อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากการสะสมทุนสต๊อกทุนภาครัฐพบว่า การสะสมทุนสต๊อกทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยปี 2553 การสะสมทุนสต๊อกทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 77.3 ต่อ GDP ส�ำหรับการลงทุนภาครัฐในอนาคตควรมีมากขึน้ เพือ่ ช่วยเร่งการสะสมสต๊อกทุนภาครัฐ เนือ่ งจากจะส่งผลดีตอ่ การขยายตัว ของเศรษฐกิจในระยะต่อไป ประกอบกับโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานของไทยยังคงต้องได้รับการพัฒนาอีกมาก เพื่อให้ เพียงพอต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของระบบเศรษฐกิจให้เพิ่มสูงขึ้น
6. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในช่วงหลายปีทผี่ า่ นมาหลังจากวิกฤตต้มย�ำกุง้ ความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพืน้ ฐานในเชิงปริมาณของไทย มีการพัฒนาที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ รัฐบาลยังต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐาน ดังนี้ 1. ควรมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เท่าเทียม และตรงตามความต้องการของตลาด เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ 2. ควรมีการพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานด้านเทคโนโลยีให้มปี ระสิทธิภาพและทัว่ ถึงมากขึน้ ตัวอย่างเช่น การพัฒนาโครงข่าย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้เข้าถึงส่วนภูมิภาค เป็นต้น 3. ควรมีการใช้จ่ายลงทุนเพื่อการพัฒนาการขนส่งระบบรางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และ มีบริการที่ดี) เพื่อลดภาระต้นทุนทางด้านการขนส่งของภาคเอกชน รวมถึงลดต้นทุนของประชาชนในการเดินทางอีกด้วย 4. ควรมีการสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานหรือที่เรียกว่า Public Private partnership (PPP) เพือ่ เป็นการลดภาระทางการคลังของภาครัฐ รวมถึงภาครัฐจะได้เรียนรูก้ ารบริหารจัดการทีม่ ปี ระสิทธิภาพจากภาคเอกชน นอกจากนี้ การร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐจะท�ำให้ประชาชนได้รบั บริการสาธารณะทีม่ ปี ระสิทธิภาพในราคาทีเ่ หมาะสม 5. ควรมีการพิจารณาปรับลดกฎระเบียบหรือขั้นตอนในการเบิกจ่ายงบประมาณด้านการลงทุนที่จะเป็นอุปสรรคต่อ การลงทุนภาครัฐ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
สรุปปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนจากเอกสาร “ผลการวิเคราะห์ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดการจุดอ่อนของประเทศไทยจากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันโดย WEF และ IMD” จัดท�ำโดยส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
6
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
77
บทวิเคราะห์
เรื่อง บทบาทสินเชื่อต่อการลงทุน
1
บทสรุปผู้บริหาร
สินเชื่อถือเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนของ การลงทุนภาคเอกชน จากความต้องการเงินทุนซึง่ เปรียบเสมือนน�ำ้ มันหล่อลืน่ เพือ่ ใช้ในการขับเคลือ่ นธุรกิจให้มี ความคล่องตัวมากขึ้น ❍❍ จากการวิเคราะห์พบว่า การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีลักษณะที่ส่งเสริมวัฏจักรของ เศรษฐกิจ (Pro-cyclicality) กล่าวคือ จะแปรผันตามทิศทางของการลงทุน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคาร พาณิชย์มีความกังวลต่อปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Performing Loans) จึงจ�ำเป็นต้องลดการปล่อย สินเชื่อในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย และเพิ่มปริมาณการปล่อยสินเชื่อใหม่ในช่วงที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวตาม ปกติ (Pro-cyclicality) ขณะทีท่ ศิ ทางของสินเชือ่ สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีลกั ษณะทีจ่ ะช่วยรักษาสมดุลของวัฏจักร เศรษฐกิจ (Counter-cyclicality) กล่าวคือ เป็นตัวน�ำทิศทางของการลงทุนภาคเอกชนจากมาตรการของภาครัฐเพือ่ กระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ❍❍ ภาครั ฐ จึ ง มี ค วามจ� ำ เป็ น ต้ อ งเพิ่ ม บทบาทของสถาบั น การเงิ น เฉพาะกิ จ ในช่ ว งที่ เ ศรษฐกิ จ ถดถอยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และควรทยอยลดบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจลงเมื่อเศรษฐกิจกลับมา ฟื้นตัวตามปกติ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ท�ำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินสู่ภาคเศรษฐกิจตามปกติ ❍❍
1. บทน�ำ ในช่วงที่ผ่านมาสินเชื่อถือเป็นหนึ่งในปัจจัยส�ำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการลงทุน ภาคเอกชนซึ่งสินเชื่อเปรียบเสมือนน�้ำมันหล่อลื่นที่ช่วยให้การขับเคลื่อนธุรกิจเป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ในช่วงที่ เศรษฐกิจตึงตัว ภาครัฐสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลไกด้านสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของ รัฐได้ อย่างไรก็ตาม ค�ำถามที่ส�ำคัญในเชิงเศรษฐกิจมหภาคคือ การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลไกด้านสินเชื่อดังกล่าวนี้สามารถ กระตุ้นเศรษฐกิจได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ในบทความนี้ผู้เขียนได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนภาคเอกชนและ สินเชื่อ ทั้งสินเชื่อผ่านระบบธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางใน การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผู้เขียน : นางสาวอาร์จนา ปานกาญจโนภาส เศรษฐกรปฏิบัติการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค และพีรวรรณ อนุสันติ นักศึกษาฝึกงาน ขอขอบคุณ ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ดร.กุลยา ตันติเตมิท และคุณบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
1
78
ภาพที่ 1 การขยายตัวของสินเชื่อสถาบันการเงินอื่นและการลงทุนภาคเอกชน
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2. สถานการณ์สินเชื่อและการลงทุนภาคเอกชนล่าสุด จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า สินเชื่อและการลงทุนมีการเคลื่อนไหวในทิศทางที่สอดคล้องกัน กล่าวคือ ยอด คงค้างสินเชื่อสถาบันการเงินอื่น2 (Total Credit) ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับ การเร่งขึน้ ของการลงทุนภาคเอกชน โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ยอดคงค้างสินเชือ่ สถาบันการเงินอืน่ อยูท่ ี่ 11.1 แสนล้านบาท หรือ ขยายตัวเร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้ามาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 17.5 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า (ภาพที่ 1) ขณะทีก่ ารลงทุนภาคเอกชน ที่แท้จริงอยู่ที่ 1.9 แสนล้านบาท หรือเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ภาพที่ 2) ภาพที่ 2 ยอดคงค้างสินเชื่อสถาบันการเงินอื่น
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
79
ภาพที่ 3 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่นเดียวกันในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2554 สินเชื่อสถาบันการเงินอื่นขยายตัวชะลอลง สอดคล้องกับ การหดตัวลงของเครือ่ งชีเ้ ศรษฐกิจภาคการลงทุนจากปัญหาน�ำ้ ท่วม โดยยอดคงค้างสินเชือ่ ของสถาบันการเงินอืน่ ขยายตัวชะลอ ลงทีร่ อ้ ยละ 16.0 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า ขณะทีเ่ ครือ่ งชีเ้ ศรษฐกิจด้านลงทุน อาทิ การน�ำเข้าสินค้าทุนทีช่ ะลอลงมากจาก ไตรมาสก่อนหน้ามาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น และยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวจากไตรมาสก่อนหน้ามา อยู่ที่ร้อยละ -57.6 ช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 88.3 (ภาพที่ 3) ภาพที่ 4 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคการลงทุน
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
80
กล่าวโดยสรุป การลงทุนภาคเอกชนและสินเชื่อโดยรวมมีความสัมพันธ์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เข้าใจ ถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างชัดเจนมากขึ้น ในส่วนต่อไปจะท�ำการศึกษา Lead-Lag analysis เพื่อวิเคราะห์หาตัวชี้วัดน�ำ (Leading Indicator) และตัวชี้วัดตาม (Lagging Indicator) ซึ่งจะท�ำให้สามารถใช้ผลลัพธ์จากการศึกษาดังกล่าวใน การคาดการณ์แนวโน้มของตัวแปรทั้งสอง รวมถึงผลกระทบที่ตัวแปรหนึ่งมีต่ออีกตัวแปรหนึ่งโดยมีมิติเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
3. ตัวชี้วัดน�ำและตัวชี้วัดตามระหว่างสินเชื่อและการลงทุนภาคเอกชน 3.1 สินเชื่อสถาบันการเงินอื่นและการลงทุนภาคเอกชน จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสินเชื่อสถาบันการเงินอื่นและการลงทุนภาคเอกชนพบว่า ไม่มีตัวชี้วัดน�ำและ ตัวชี้วัดตามในกรณีดังกล่าว โดยหากวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) พบว่า แนวโน้มของ สินเชื่อสถาบันการเงินอื่นมีความสัมพันธ์ที่เป็นบวกกับแนวโน้มของการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสเดียวกัน สะท้อนได้จาก ตารางที่ 1 เมื่อค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จะใกล้ 1 มากที่สุด เมื่อตั้งค่าให้การลงทุนภาคเอกชนอยู่ในไตรมาสเดียวกันกับสินเชื่อ สถาบันการเงินอื่น ตารางที่ 1 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างสินเชื่อสถาบันการเงินอื่นและการลงทุนภาคเอกชน การตั้งค่าความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนภาคเอกชนและสินเชื่อสถาบันการเงินอื่น
Correlation Coefficient
1. ภายในไตรมาสเดียวกัน (Contemporaneous)
0.878
2. สินเชื่อสถาบันการเงินอื่นน�ำ 1 ไตรมาส
0.866
3. สินเชื่อสถาบันการเงินอื่นน�ำ 2 ไตรมาส
0.838
4. การลงทุนภาคเอกชนน�ำ 1 ไตรมาส
0.871
5. การลงทุนภาคเอกชนน�ำ 2 ไตรมาส
0.844
ที่มา : ค�ำนวณโดย สศค.
การวิเคราะห์ตามกรณีศกึ ษาข้างต้นอาจไม่เพียงพอทีจ่ ะอธิบายความสัมพันธ์ทชี่ ดั เจนระหว่างสินเชือ่ และการลงทุน ภาคเอกชนได้ เนือ่ งจากองค์ประกอบของสินเชือ่ สถาบันการเงินอืน่ นัน้ ประกอบด้วยสถาบันการเงินหลัก 2 ประเภท ทีม่ จี ดุ ประสงค์ ในการด�ำเนินธุรกรรมต่างกัน คือ ธนาคารพาณิชย์ซึ่งหวังผลก�ำไร และสถาบันการเงินเฉพาะกิจซึ่งด�ำเนินนโยบายตามมาตรการ ของภาครัฐ ดังนัน้ เพือ่ ให้การวิเคราะห์ขา้ งต้นชัดเจนมากขึน้ จึงมีความจ�ำเป็นต้องหาความสัมพันธ์ดงั กล่าวแยกตามประเภทผูใ้ ห้ สินเชื่อ 3.2 สินเชื่อแยกตามประเภทผู้ให้สินเชื่อและการลงทุนภาคเอกชน หากวิเคราะห์แยกตามประเภทผู้ให้สินเชื่อพบว่าผลลัพธ์ต่างจากกรณีข้างต้น • การลงทุนภาคเอกชนเป็นตัววัดน�ำสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ โดยหากวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ โดยเลือกเฉพาะในส่วนของสินเชื่อธุรกิจ (เพื่อให้สอดคล้องกับกรณีศึกษา) และการลงทุนภาคเอกชน พบว่าแนวโน้มของสินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีความสัมพันธ์ที่เป็นบวกกับแนวโน้มของการลงทุนภาคเอกชนใน 2 ไตรมาส เดียวกัน สะท้อนได้จากตารางที่ 2 และภาพที่ 5 เมื่อค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จะใกล้ 1 มากที่สุด เมื่อตั้งค่าให้การลงทุน ภาคเอกชนน�ำสินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์อยู่ 2 ไตรมาส
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
81
ตารางที่ 2 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างสินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์และการลงทุนภาคเอกชน การตั้งค่าความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนภาคเอกชนและสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
Correlation Coefficient
1. ภายในไตรมาสเดียวกัน (Contemporaneous)
0.841
2. สินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์น�ำ 1 ไตรมาส
0.744
3. สินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์น�ำ 2 ไตรมาส
0.637
4. การลงทุนภาคเอกชนน�ำ 1 ไตรมาส
0.903
5. การลงทุนภาคเอกชนน�ำ 2 ไตรมาส
0.906
6. การลงทุนภาคเอกชนน�ำ 3 ไตรมาส
0.861
ที่มา : ค�ำนวณโดย สศค.
ภาพที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนและสินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
• การลงทุนภาคเอกชนเป็นตัวชี้วัดตามสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยเมื่อวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่างสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและการลงทุนภาคเอกชน พบว่า แนวโน้มของการลงทุนภาคเอกชนมีความสัมพันธ์ ที่เป็นบวกกับแนวโน้มของสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจในไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนได้จากตารางที่ 3 และภาพที่ 6 เมื่อ ค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์จะใกล้ 1 มากทีส่ ดุ เมือ่ ตัง้ ค่าให้สนิ เชือ่ สถาบันการเงินเฉพาะกิจน�ำการลงทุนภาคเอกชนอยู่ 1 ไตรมาส ตารางที่ 3 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและการลงทุนภาคเอกชน การตั้งค่าความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนภาคเอกชนและสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 1. ภายในไตรมาสเดียวกัน (Contemporaneous)
0.879
2. สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจน�ำ 1 ไตรมาส
0.881
3. สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจน�ำ 2 ไตรมาส
0.867
4. การลงทุนภาคเอกชนน�ำ 1 ไตรมาส
0.860
5. การลงทุนภาคเอกชนน�ำ 2 ไตรมาส
0.830
ที่มา : ค�ำนวณโดย สศค.
82
Correlation Coefficient
ภาพที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนและสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
กล่าวโดยสรุป เมือ่ วิเคราะห์สนิ เชือ่ รวมหรือสินเชือ่ สถาบันการเงินอืน่ ผลลัพธ์ทไี่ ด้จะต่างจากการแยกวิเคราะห์สนิ เชือ่ ตาม ประเภทผู้ให้สินเชื่อ โดยในส่วนของสินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์จะแปรผันตามทิศทางของการลงทุน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจาก การที่ธนาคารพาณิชย์มีความกังวลต่อความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Performing Loans) ที่อาจส่ง ผลกระทบต่อสถานะของธนาคารพาณิชย์ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจในขณะนัน้ จึงจ�ำเป็นต้องลดการปล่อยสินเชือ่ ในช่วงทีเ่ ศรษฐกิจ ถดถอย และเพิ่มปริมาณการปล่อยสินเชื่อใหม่ในช่วงที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวตามปกติ (Pro-cyclicality) เนื่องจากประเมิน ว่าความเสี่ยงที่จะเกิด NPLs ลดลง ขณะที่ทิศทางของสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเป็นตัวน�ำทิศทางของการลงทุนภาค เอกชน ตามนโยบายและมาตรการของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั้งจากในประเทศ และนอกประเทศ เพือ่ ลดผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ เมือ่ ผูป้ ระกอบการไม่สามารถกูเ้ งินเพิม่ เติมจากธนาคารพาณิชย์ในช่วงดังกล่าว ได้ (Counter-Cyclicality)
4. สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สินเชื่อและการลงทุนภาคเอกชนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยส�ำคัญ อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์มักจะชะลอ การปล่อยสินเชือ่ ในช่วงทีเ่ ศรษฐกิจถดถอยจากปัจจัยด้านความเสีย่ ง ดังนัน้ ภาครัฐจึงมีความจ�ำเป็นต้องเพิม่ บทบาทของสถาบัน การเงินเฉพาะกิจในช่วงดังกล่าวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (Counter-cyclical Policy) และลดภาระดังกล่าวของสถาบันการเงิน เฉพาะกิจลงเมื่อเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวตามปกติ เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจท�ำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน (Financial Intermediaries) ในช่วงที่ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถท�ำหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้ภาคการเงินท�ำหน้าที่สนับสนุน การขยายตัวของภาคเศรษฐกิจจริงต่อไปอย่างยั่งยืน
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
83
บทวิเคราะห์
เรื่อง วิกฤตเศรษฐกิจสู่วิกฤตการเมืองยุโรป : ทางออกหรือทางตัน
1
บทสรุปผู้บริหาร
ปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศ GIIPS ในสหภาพยุโรปได้บั่นทอนความเชื่อมั่นของ นักลงทุนต่อสภาพเศรษฐกิจยุโรปและค่าเงินยูโรมากว่า 2 ปี อีกทั้งขยายวงกลายเป็นปัญหาการเมือง ❍❍ วิกฤตเศรษฐกิจของกรีซและอิตาลีท�ำให้สหภาพยุโรปต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ด้วยเงื่อนไขที่ ว่าทั้งสองประเทศต้องลดการขาดดุลงบประมาณที่อาจท�ำให้ระดับหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น สร้างความไม่พอใจแก่ ประชาชนทัง้ สองประเทศและน�ำไปสูป่ ญ ั หาเสถียรภาพทางการเมือง จนท�ำให้ นายปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีกรีซ และนายเบร์ลสุ โคนี นายกรัฐมนตรีอติ าลี ต้องตัดสินใจลาออกในเวลาต่อมา หลังจากทีน่ ายกรัฐมนตรีไอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน ต้องพ่ายแพ้การเลือกตั้งและออกจากต�ำแหน่งก่อนหน้านี้ ❍❍ อย่างไรก็ตาม ระดับหนี้สาธารณะของประเทศดังกล่าวที่อยู่ในระดับเกินกว่าร้อยละ 100 ของ GDP ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจทีย่ งั ไม่มแี นวโน้มจะฟืน้ ตัว ท�ำให้คาดว่าการแก้ไขปัญหาโดยการลดงบประมาณ รายจ่ายแต่เพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะได้ ❍❍ ที่ผ่านมาสหภาพยุโรปเน้นการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องผ่านการอัดฉีดสภาพคล่อง ของธนาคารกลางยุโรป และการช่วยเหลือทางการเงินผ่านกองทุน European Financial Stability Facility (EFSF) โดยมิได้แก้ไขปัญหาภาคเศรษฐกิจจริงที่มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย ❍❍ ทั้งนี้ เห็นว่าปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทันท่วงที และเป็น รูปธรรม มากกว่าการแก้ไขปัญหาแต่เพียงเฉพาะหน้าอย่างไม่มีแนวทางสู่การแก้ต้นตอของปัญหาที่ชัดเจน ดังทีเ่ ป็นอยูใ่ นปัจจุบนั กล่าวคือ (1) เร่งจัดตัง้ กลไกเพือ่ เสริมสภาพคล่องแก่สถาบันการเงินและประเทศทีป่ ระสบ ปัญหา และ (2) เร่งก�ำหนดแนวทางการสร้างเสถียรภาพแก่เศรษฐกิจยุโรปและค่าเงินยูโรอย่างเป็นรูปธรรม ❍❍
1. ที่มา : ปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป ปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศ GIIPS ในสหภาพยุโรป อันได้แก่ กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี โปรตุเกส และสเปน ได้ บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสภาพเศรษฐกิจยุโรปและค่าเงินยูโรมากว่า 2 ปี โดยมีจุดเริ่มจากความกังวลในปัญหา หนี้สาธารณะของกรีซ หลังจากที่กรีซด�ำเนินนโยบายขาดดุลการคลังมาตลอดนับตั้งแต่เข้าร่วมใช้เงินสกุลยูโร ท�ำให้การออก พันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลการคลังท�ำได้ง่ายขึ้นและมีต้นทุนที่น้อยลง ส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซที่สูงดังกล่าวท�ำให้นักลงทุนเริ่มแสดงความวิตกต่อปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศอื่น ๆ ที่มีโครงสร้างและที่มาคล้ายคลึงกับกรีซ ปัญหาหนีส้ าธารณะในระดับสูงและแนวโน้มการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจทีอ่ อ่ นแอดังเห็นได้จากอัตราการว่างงานอยูใ่ นระดับ สูง น�ำมาซึง่ การปรับลดอันดับความน่าเชือ่ ถือของประเทศต่าง ๆ ในกลุม่ GIIPS ท�ำให้การออกพันธบัตรเพือ่ กูย้ มื เพิม่ เติมมีตน้ ทุน ทีส่ งู มากขึน้ ท�ำให้รฐั บาลของประเทศเหล่านีไ้ ม่สามารถใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุลเพิม่ เติมในการกระตุน้ เศรษฐกิจในช่วงที่ เศรษฐกิจของยุโรปยังคงเปราะบางได้ อีกทัง้ ประเทศต่าง ๆ ในกลุม่ ยูโรโซนไม่สามารถใช้นโยบายทางการเงินอย่างอิสระเพือ่ กระตุน้ เศรษฐกิจ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายถูกก�ำหนดโดยธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) จึงท�ำให้ปัญหา หนีส้ าธารณะและปัญหาเศรษฐกิจถดถอยของประเทศในกลุม่ GIIPS เรือ้ รังจนถึงทุกวันนี้ และขยายวงกลายเป็นปัญหาการเมือง ผู้เขียน : ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
1
84
ภาพที่ 1 หนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศในกลุ่มยูโรโซน ในปี 2553
ที่มา : Eurostat
บทความนี้จะวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศในกลุ่ม GIIPS ตลอดจนภาระการคลัง พร้อมทั้ง เสนอแนะทางออกที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศดังกล่าว
2. วิกฤตการเมืองในยุโรปใต้ ปัญหาหนีส้ าธารณะในกลุม่ ประเทศ GIIPS โดยเฉพาะกรีซและอิตาลี ได้ขยายวงสูภ่ าคเศรษฐกิจจริงและน�ำไปสูค่ วามไม่ สงบทางการเมือง สืบเนื่องจากประชาชนไม่เห็นด้วยต่อการปรับลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล อันเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไข การรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป (European Union) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) โดยมีรายละเอียดดังนี้ ➥➥ วิกฤตการเมืองในกรีซ
หลังจากชนะการลงมติไม่ไว้วางใจในสภาอย่างเฉียดฉิว รัฐบาลกรีซภายใต้การน�ำของ นายจอร์จ ปาปันเดรอู (George Papandreou) ได้รับความกดดันอย่างมากเกี่ยวกับการรัดเข็มขัดการใช้จ่ายภาครัฐ (Austerity measures) ซึ่งเป็น เงื่อนไขส�ำคัญของประเทศสมาชิกยูโรโซนและกองทุนการเงินระหว่างประเทศผู้เสนอให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องแก่กรีซ โดยการรัดเข็มขัดการใช้จ่ายภาครัฐดังกล่าวน�ำมาสู่ความไม่พอใจของประชาชนชาวกรีก เนื่องจากเป็นการจ�ำกัดเครื่องมือทาง ประมาณการเศรษฐกิจไทย
85
การคลังของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ประชาชนชาวกรีกยังประสบปัญหาอัตราการว่างงานที่สูง โดยในเดือน กรกฎาคม 2554 สูงถึงร้อยละ 16.5 ของก�ำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจ�ำนวนผู้ว่างงานกว่า 8.2 แสนคน เพื่อลดแรงกดดันดังกล่าว นายปาปันเดรอูได้เสนอให้ท�ำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับแผนให้ความช่วยเหลือทาง การเงิน ซึ่งรวมถึงมาตรการรัดเข็มขัดการใช้จ่ายภาครัฐด้วย อย่างไรก็ตาม การท�ำประชาพิจารณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดการเงินทั่วโลก เพราะความไม่ แน่นอนของผลการท�ำประชาพิจารณ์ได้ส่งผลให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ในตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก และน�ำเงินที่ขายได้ ดังกล่าวกลับไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ การท�ำประชาพิจารณ์ดังกล่าวจึงได้ถูกยกเลิกไป ส่งผลให้รัฐบาลของนายปาปันเดรอูต้องประสบ ปัญหาเสถียรภาพอย่างหนัก และนายปาปันเดรอูต้องตัดสินใจลาออกในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2554 เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสม แห่งชาติชุดใหม่เพื่อดูแลการจัดท�ำข้อตกลงแผนช่วยเหลือทางการเงินกับสหภาพยุโรป ➥➥ วิกฤตการเมืองในอิตาลี
ความไม่แน่นอนทางการเมืองของอิตาลีเป็นผลกระทบทางอ้อมจากกรีซ เนื่องจากประชาชนชาวอิตาลีได้ เห็นความปั่นป่วนของเศรษฐกิจและการเมืองกรีซซึ่งน�ำไปสู่การลาออกของนายกรัฐมนตรีกรีซ โดยเมื่อหันกลับมามองอิตาลี เศรษฐกิจอิตาลีก็ประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ มีหนี้สาธารณะในระดับสูงถึงเกือบร้อยละ 120 ของ GDP อีกทั้ง นายกรัฐมนตรีอิตาลี นายซิลวิโอ เบร์ลุสโคนี (Silvio Berlusconi) มีปัญหาอื้อฉาวทั้งเรื่องส่วนตัวและผลประโยชน์ทับซ้อนใน การด�ำเนินนโยบายทางการเมือง หลังจากที่สหภาพยุโรปกดดันให้อิตาลีเร่งลดการขาดดุลงบประมาณลง เพื่อหลีกเลี่ยง การขยายวงของวิกฤตเชิงลูกโซ่ รัฐบาลอิตาลีจงึ ได้เสนอร่างงบประมาณทีม่ แี ผนการลดการใช้จา่ ยภาครัฐ เพือ่ สร้างความเชือ่ มัน่ ว่าอิตาลีจะสามารถลดต้นทุนการกู้ยืมผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตาม พรรคฝ่ายค้านและพรรครัฐบาลบางส่วน ยังคงไม่ให้การสนับสนุน ท�ำให้แผนดังกล่าวยังไม่ได้รบั ความเห็นชอบจากสภา ส่งผลให้นายเบร์ลสุ โคนีประกาศยอมทีจ่ ะลาออก จากต�ำแหน่งในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 หากรัฐสภาผ่านร่างกฎหมายงบประมาณที่มีความเข้มงวดในการปรับลดการขาดดุล หลังการประกาศสละต�ำแหน่งของนายเบร์ลุสโคนี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 10 ปีปรับตัว เพิ่มขึ้นถึง 48 Bps มาอยู่ที่ร้อยละ 7.25 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 (ปี พ.ศ. 2540) อีกทั้งยังสูงที่สุดนับตั้งแต่ อิตาลีเข้าร่วมยูโรโซนมา ทัง้ นี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทีส่ งู ขึน้ มากเป็นผลมาจากการทีน่ กั ลงทุนขาดความเชือ่ มัน่ ในเศรษฐกิจ อิตาลี และคาดการณ์ว่าในกรณีเลวร้ายที่สุดอาจท�ำให้สหภาพยุโรปสิ้นสุดลง หรือในกรณีเลวร้ายรองลงมา กรีซและอิตาลีอาจ ถูกตัดออกจากกลุ่มยูโรโซน ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่ท�ำให้นักลงทุนบางส่วนต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยง ที่มากขึ้น (Risk premium) และนักลงทุนอีกเป็นจ�ำนวนมากที่ไม่มั่นใจในสภาพเศรษฐกิจอิตาลีต่างเทขายพันธบัตรอิตาลี ซึ่ง เป็นการขายพันธบัตรระยะยาวเป็นส่วนใหญ่ บ่งชี้ว่านักลงทุนไม่มีความมั่นใจต่อสภาพเศรษฐกิจของอิตาลีในระยะยาว จึงเป็น ผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นมาดังกล่าว สอดคล้องกับ Credit default swap spread ของอิตาลีที่ปรับตัวสูงขึ้น 12 Bps มาสู่ระดับ 551 Bps สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ภาพที่ 2 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี อายุ 10 ปี ตั้งแต่อิตาลีเข้าร่วมใช้เงินสกุลยูโร
ที่มา : Reuters
86
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 นายมาริโอ มอนติ (Mario Monti) อดีตกรรมาธิการยุโรป ได้รับแต่งตั้งให้ ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีตอ่ จากนายเบร์ลสุ โคนี เพือ่ จัดตัง้ รัฐบาลชุดใหม่กอ่ นการเลือกตัง้ ทัว่ ไปในปี 2556 โดยนายมอนติได้ รับปากว่าจะบริหารจัดการเพื่อลดระดับหนี้สาธารณะของอิตาลีลง เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นนักลงทุนอีกครั้ง หลังจากการประกาศ เข้ารับต�ำแหน่งดังกล่าว ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงสูร่ ะดับร้อยละ 6.69 อีกทัง้ Credit default swap spread ของอิตาลีปรับตัวลดลงมาสู่ระดับ 529.5 Bps ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 ➥➥ วิกฤตการเมืองในสเปน ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส
ไอร์แลนด์ : เป็นประเทศแรกในกลุม่ GIIPS ทีว่ กิ ฤตเศรษฐกิจส่งผลต่อเสถียรภาพรัฐบาล โดยรัฐบาลไอร์แลนด์ ภายใต้การน�ำของนายไบรอัน โคเวน (Brian Cowen) นายกรัฐมนตรีจากพรรคฟิอนั นา เฟล (Fianna Fáil) ทีเ่ ข้ามาบริหารประเทศ ตัง้ แต่วนั ที่ 7 พฤษภาคม 2551 ได้รบั ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลกทีเ่ ริม่ ปะทุในเดือนกันยายน 2551 ท�ำให้รฐั บาล ของนายโคเวนไม่ได้รบั ความนิยมจากประชาชนเท่าทีค่ วร จากปัญหาเศรษฐกิจตลอดจนหนีส้ าธารณะของไอร์แลนด์ทยี่ งั คงไม่มี ทีท่าดีขึ้น นายโคเวนได้รับแรงกดดันจากในพรรคจากความล้มเหลวในการปรับคณะรัฐมนตรี และจากพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ ใน การพิจารณาร่างงบประมาณ จนต้องตัดสินใจประกาศลาออกจากต�ำแหน่งหัวหน้าพรรคก่อนการเลือกตัง้ ทัว่ ไปเพียง 2 เดือน อีก ทัง้ ได้รบั แรงกดดันจากสาธารณชนในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทีไ่ ม่เป็นรูปธรรม จนในทีส่ ดุ นายโคเวนพ่ายแพ้การเลือกตัง้ ทัว่ ไป ในวันที่ 11 มีนาคม 2554 แก่พรรคไฟน์ เกล (Fine Gael) ที่น�ำโดยนายเอ็นดา เคนนี (Enda Kenny) นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ❍❍ โปรตุเกส : วันที่ 23 มีนาคม 2554 นายจูเซ่ โซกราติช (Jose Socrates) นายกรัฐมนตรีโปรตุเกส ได้ประกาศ ลาออกจากต�ำแหน่งหลังจากที่พรรคฝ่ายค้าน 5 พรรคในสภาผู้แทนราษฎรลงมติคัดค้านแผนตัดลดงบประมาณฉบับที่ 4 ของ รัฐบาลพรรคสังคมนิยมเสียงข้างน้อย ซึ่งการตัดสินใจลาออกของนายจูเซ่ โซกราติช ครั้งนี้ เกิดขึ้นก่อนหน้าการประชุมสุดยอด สหภาพยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เพื่อแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มยูโรโซนเพียง 1 วัน และหลังจาก การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 5 มิถุยายน 2554 นายเปดรู ปาซูช กูเอลยู (Pedro Passos Coelho) ผู้น�ำพรรคสังคมประชาธิปไตย ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ❍❍ สเปน : ถึงแม้ว่าสเปนจะมีระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ในระดับที่ต�่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม GIIPS อีก ทั้งยังคงมีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับสูง โดย ณ วันที่ 13 มกราคม 2555 อันดับความน่าเชื่อถือของสเปนที่จัดโดย Standard & Poors (S&P) อยู่ที่ระดับ A2 ซึ่งเป็นระดับที่ Bank for International Settlements (BIS) จัดว่า “มีความเสี่ยงที่ร้อยละ 20” แต่ วิกฤตหนี้สาธารณะในสเปนท�ำให้เศรษฐกิจสเปนประสบปัญหาการชะลอตัวอย่างชัดเจน โดยเศรษฐกิจสเปนในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือชะงักงันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่อัตรา ว่างงานที่อยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 21.5 ของก�ำลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นเหตุให้ประชาชนไม่พอใจ และท�ำให้ในการเลือกตัง้ ทัว่ ไปในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2554 พรรครัฐบาลทีน่ ำ� โดยนายโฮเซ่ ลุยส์ โรดริเกซ ซาปาเตโร่ (José Luis Rodríguez Zapatero) ต้องพ่ายแพ้แก่นายมาเรียโน ราฮอย (Mariano Rajoy) ผู้น�ำพรรคประชาชนซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน และ นับเป็นประเทศสุดท้ายในกลุ่ม GIIPS ที่ผู้น�ำประเทศต้องออกจากต�ำแหน่งเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ ❍❍
3. ภาระการคลังของประเทศในกลุ่ม GIIPS IMF ประมาณการว่าในช่วงปี 2554–2556 ประเทศในกลุ่ม GIIPS จะมีความจ�ำเป็นต้องกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อรองรับหนี้ครบ ก�ำหนดช�ำระ และการขาดดุลงบประมาณประจ�ำปีสูงประมาณร้อยละ 20 ของ GDP โดยในปี 2555 ประเทศอิตาลีมีภาระหนี้ที่ ต้องกู้ยืมสูงที่สุดในกลุ่ม GIIPS ที่ร้อยละ 23.5 ของ GDP หรือประมาณ 364 ล้านยูโร แม้ว่ารัฐบาลจะมีแผนขาดดุลการคลังต�่ำ ที่สุดในกลุ่มเพียงร้อยละ 2.4 ของ GDP ก็ตาม ท�ำให้หลายฝ่ายมีความกังวลว่าเศรษฐกิจอิตาลี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็น อันดับ 3 ที่กว่าร้อยละ 17 ของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนอาจต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง
ในขณะที่โปรตุเกสอยู่ที่ BB ไอร์แลนด์อยู่ที่ BBB+ อิตาลีอยู่ที่ BBB+ และกรีซอยู่ที่ CC ณ วันที่ 17 มกราคม 2555
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
87
ตารางที่ 1 คาดการณ์ความจ�ำเป็นต้องกู้ยืมเพิ่มในปี 2554–2556
ที่มา : IMF
นอกจากนี้ จากระดับหนี้สาธารณะของประเทศดังกล่าวที่อยู่ในระดับเกินกว่าร้อยละ 100 ของ GDP ประกอบกับสภาพ เศรษฐกิจที่ยังไม่มีแนวโน้มจะฟื้นตัว ท�ำให้คาดว่าการแก้ไขปัญหาโดยการตัดลดงบประมาณรายจ่ายแต่เพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในประเทศดังกล่าวลงได้ (ภาพที่ 1)
4. การแก้ไขปัญหาของสหภาพยุโรป : อดีตและปัจจุบัน การแก้ปัญหาของสหภาพยุโรปที่ผ่านมาเน้นแก้ไขเฉพาะหน้า โดยมิได้มีการแก้ไขปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่จะช่วย ให้ประเทศในกลุ่ม GIIPS สามารถมีรายได้เพียงพอในการช�ำระหนี้สาธารณะของตนได้อย่างยั่งยืน กล่าวคือ การแก้ไขปัญหา โดยสหภาพยุโรปและ IMF ในช่วงที่ผ่านมา เน้นเข้าแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินและการลดต้นทุนการกู้ยืมที่สูง ขึ้นของภาครัฐ ผ่าน (1) การอัดฉีดสภาพคล่องโดยธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) และ (2) การช่วยเหลือ การขาดสภาพคล่องของประเทศที่มีปัญหาผ่านกองทุน European Financial Stability Facility (EFSF) กล่าวคือ 4.1 การอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางยุโรป โดยที่ผ่านมา ECB ได้ประกาศพร้อมจะเพิ่มสภาพคล่องแก่ธนาคาร พาณิชย์ที่เกิดปัญหาอย่างไม่จ�ำกัด รวมถึงการท�ำความตกลงแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐ (Swap agreement) กับธนาคาร กลางของหลายประเทศ อาทิ ธนาคารกลางญีป่ นุ่ และธนาคารกลางสหรัฐ เพือ่ แก้ไขปัญหาการตึงตัวของสภาพคล่องเงินดอลลาร์ จากการที่มีการเทขายเงินสกุลยูโรในปริมาณมาก เพื่อลดผลกระทบวงกว้าง (Repercussion effect) โดยเฉพาะผลที่จะเกิดจาก การลุกลามไปสู่วิกฤตธนาคาร (Banking Crisis) ในยุโรป นอกจากการให้กยู้ มื ตามปกติแล้ว เมือ่ ต้นเดือนสิงหาคม 2554 ECB ยังได้เข้าซือ้ พันธบัตรรัฐบาลอิตาลีและสเปนในตลาด รอง เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของพันธบัตรดังกล่าวลง และลดความตื่นตระหนกในตลาดการเงิน
88
4.2 การช่วยเหลือผ่านกองทุน EFSF โดยยูโรโซนได้จดั ตัง้ กองทุนดังกล่าวเพือ่ ช่วยเหลือประเทศสมาชิกทีข่ าดสภาพคล่อง อย่างไรก็ตาม ประเด็นส�ำคัญทีท่ กุ ฝ่ายกังวล ได้แก่ ความเพียงพอของกองทุน EFSF โดยเฉพาะในกรณีทปี่ ญ ั หาลุกลามไปสูอ่ ติ าลี และสเปนซึง่ เป็นเศรษฐกิจใหญ่อนั ดับ 3 และอันดับ 4 ของยูโรโซน ประกอบกับเงือ่ นไขการอนุมตั วิ งเงินช่วยเหลือทีเ่ ข้มงวด ท�ำให้ การช่วยเหลือเป็นไปอย่างล่าช้า ดังนัน้ ล่าสุดผูน้ ำ� กลุม่ ประเทศยูโรโซนได้ตกลงแนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤตหนีส้ าธารณะของยุโรป เพิ่มเติม3 กล่าวคือ ➥➥ เพิ่มเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา (New Instruments) โดยกองทุน EFSF ที่จัดตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม 25534 จะสามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกยูโรโซนทีป่ ระสบปัญหาในรูปแบบทีเ่ พิม่ ขึน้ มากกว่าการให้กู้ กล่าวคือ EFSF สามารถให้ความช่วยเหลือในรูปแบบ 1) เงินให้กู้ยืม 2) การเพิ่มทุนให้แก่สถาบันการเงิน และ 3) การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ของประเทศสมาชิกในตลาดหลัก (Primary market) และตลาดรอง (Secondary market) การเพิ่มเครื่องมือดังกล่าวโดยเฉพาะ การเข้าซือ้ ในตลาดรองช่วยให้กองทุน EFSF สามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านสภาพคล่อง และการลดต้นทุนทางการเงิน ของประเทศสมาชิกได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ➥➥ ขยายวงเงิ น ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ของ EFSF โดยประเทศสมาชิ ก กลุ ่ ม ยู โ รโซนได้ มี ม ติ ใ ห้ ข ยายวงเงิ น ให้ ความช่วยเหลือของ EFSF ให้เต็มมูลค่า 440 พันล้านยูโร5 จากเดิมที่ EFSF สามารถให้กู้ได้เพียง 250 พันล้านยูโร ซึ่งเมื่อรวมกับ วงเงินกู้อีก 60 พันล้านยูโร จาก EFSM (European Financial Stabilisation Mechanism) และเงินให้กู้สมทบจาก IMF อีก 250 พันล้านยูโร จะรวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 750 พันล้านยูโร ซึ่งหลายฝ่ายเห็นว่าเพียงพอส�ำหรับสเปน แต่อาจไม่เพียงพอหากอิตาลี จ�ำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือจากกองทุน ➥➥ ยกระดับกองทุน EFSF ให้เป็นกลไกถาวร โดยในการประชุมสุดยอดผู้น�ำยุโรปในเดือนธันวาคม 2554 ที่ประชุม ได้เร่งรัดการจัดตั้งกองทุน European Stability Mechanism (ESM) จากเดิมที่ก�ำหนดให้แล้วเสร็จในปี 2556 ให้เร่งด�ำเนินการ ภายในกลางปี 2555 ➥➥ เพิ่มศักยภาพในการให้ความช่วยเหลือของกองทุน EFSF โดยประเทศสมาชิกยูโรโซนได้ตกลงเพิ่มศักยภาพใน การให้ความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุน EFSF เริ่มตั้งแต่ปี 2555 ใน 2 แนวทาง คือ (1) ให้ EFSF ค�้ำประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับพันธบัตรที่ออกใหม่ของประเทศสมาชิก (Partial risk protection) โดยในเบื้องต้นได้ก�ำหนดให้ EFSF ออกใบค�้ำประกัน (Certificate) ครอบคลุมร้อยละ 20–30 ของมูลค่าพันธบัตรที่ ออก (Principal amount) โดยใบค�้ำประกันดังกล่าว ผู้ถือสามารถซื้อขายได้ต่างหากจากพันธบัตรของรัฐบาลประเทศสมาชิก (2) จัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อการลงทุน (Co-Investment Funds: CIF) โดยมีแนวทางให้ EFSF ร่วมลงทุนกับ กองทุนของภาคเอกชนและ/หรือกองทุนภาครัฐบาล เพือ่ (1) เข้าซือ้ พันธบัตรของรัฐบาลของประเทศสมาชิกในตลาดหลัก (Primary market) และ (2) เพิ่มทุนให้แก่ธนาคารในยุโรป (Bank recapitalization) อีกทั้งยังมีข้อเสนอที่จะยกสถานะของ ESM ให้เป็นธนาคารเพื่อให้สามารถกู้ยืมเงินทุนเพิ่มเติมจากธนาคารกลาง ยุโรป (European Central Bank) อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากที่ประชุมสุดยอดผู้น�ำยุโรปเมื่อเดือน ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ในกรณีประเทศกรีซ สหภาพยุโรปได้ขอความร่วมมือ (Voluntarily Participation) จากภาคเอกชนที่เป็น เจ้าหนี้ของกรีซซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงินในฝรั่งเศสและเยอรมนีในการรับภาระหนี้บางส่วน ทั้งนี้ ส�ำนักข่าวรอยเตอร์ส (วันที่ 26 ตุลาคม 2554) อ้างบทสัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีเยอรมนีว่า เจ้าหนี้ของกรีซต้องลดมูลค่าหนี้ (Hair cut) ลงกว่า ร้อยละ 50 ทั้งนี้ การลดมูลค่าหนี้ดังกล่าวได้ก่อความไม่พอใจให้แก่เจ้าหนี้ของประเทศอื่น ๆ และท�ำให้คาดว่าแนวทางที่จะให้ ภาคเอกชนร่วมแบกรับภาระหนี้บางส่วนจะได้รับการต่อต้านหากน�ำมาใช้อีกในอนาคต
อ้างอิงจากผลการประชุม EU summit เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2554 และผลการประชุมรัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศยูโรโซน (Euro area Finance Ministers Meeting) เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 4 กองทุน EFSF เป็นกองทุนทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ เป็นการชัว่ คราว โดยสหภาพยุโรปได้กำ� หนดให้มกี ารจัดตัง้ กองทุนถาวรภายใต้ชอื่ “European Stability Mechanism” (ESM) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกยูโรโซน แทนกองทุน EFSF ณ วันที่ 1 มกราคม 2556 5 โดยวงเงินดังกล่าวได้รับการหนุนหลังด้วยการค�้ำประกัน (Guarantee) จากประเทศสมาชิกมูลค่า 780 พันล้านยูโร (1.65 เท่าของขนาดกองทุน EFSF) 3
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
89
ภาพที่ 3 แผนผังแสดงความเชื่อมโยงทางการเงินและการถือครองหนี้สาธารณะของประเทศในกลุ่ม PIIGS
ที่มา : The New York Times (เดือนพฤษภาคม 2554)
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าความช่วยเหลือที่ผ่านมาเป็นความช่วยเหลือระยะสั้น ซึ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสภาพ คล่องเป็นส�ำคัญ โดยมิได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาวในเรื่องของความสามารถของประเทศสมาชิกในการแก้ไข ปัญหาระดับหนี้สาธารณะที่สูงด้วยตนเอง ซึ่งแม้ว่าผู้น�ำยุโรปจะได้มีการหารือเกี่ยวกับการออกพันธบัตรร่วมกันระหว่างประเทศ สมาชิก (European Bond) หรือแม้แต่การจัดตัง้ สมาพันธ์การคลังยุโรป (European Fiscal Union) และการปรับแก้ขอ้ ตกลงด้าน เสถียรภาพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Stability and Growth Pact) เพือ่ ส่งเสริมวินยั ทางการคลังระหว่างประเทศสมาชิกให้ เข้มงวดขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถก�ำหนดนโยบายในระยะยาวดังกล่าวที่เป็นรูปธรรมได้
5. สรุป และอนาคตของประเทศกลุ่ม GIIPS ในสหภาพยุโรป ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรปมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยมิได้มีการแก้ไขปัจจัยพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจที่จะช่วยให้ประเทศในกลุ่ม GIIPS ฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้การเมืองของประเทศในกลุ่ม GIIPS เริ่มมีปัญหา ด้านเสถียรภาพ จากปัญหาหนี้สาธารณะที่เรื้อรังมาหลายปีประกอบกับภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรปที่เริ่มถดถอย จนท�ำให้ นายกรัฐมนตรีกรีซและนายกรัฐมนตรีอิตาลีจ�ำต้องประกาศลาออกเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน
90
ในเรือ่ งนีผ้ เู้ ขียนเห็นว่า วิกฤตหนีส้ าธารณะในยุโรปทีป่ จั จุบนั ได้ลกุ ลามกลายเป็นวิกฤตภาคเมืองในหลายประเทศ ซึง่ ล้วน ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเสถียรภาพของค่าเงินยูโรและความคงอยู่ของสหภาพยุโรปโดยรวมนั้น ควรได้รับ การแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทันท่วงที และเป็นรูปธรรม มากกว่าการแก้ไขปัญหาแต่เพียงเฉพาะหน้าอย่างไม่มแี นวทางสูก่ ารแก้ตน้ ตอ ของปัญหาที่ชัดเจนดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ 5.1 เร่งจัดตั้งกลไกเพื่อเสริมสภาพคล่องแก่สถาบันการเงินและประเทศที่ประสบปัญหา จากการที่ในปี 2555 ประเทศอิตาลีและประเทศสเปนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 และอันดับ 4 ของกลุ่ม ประเทศยูโรโซน จะมีพันธบัตรที่ครบก�ำหนดไถ่ถอนกว่า 570 พันล้านยูโร โดยกว่า 170 พันล้านยูโร จะครบก�ำหนดในไตรมาส แรกของปี 2555 นั้น สหภาพยุโรปควรเร่งจัดตั้งกองทุนถาวร European Stability Mechanism (ESM) ให้สามารถเริ่มให้ ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศที่ประสบปัญหาโดยเร่งด่วน (จากเดิมที่ก�ำหนดว่าจะจัดตั้งในกลางปี 2555) เพื่อเสริม วงเงินความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากกองทุน EFSF ซึ่งปัจจุบันสามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินร่วมกับ IMF ได้เพียง 750 พันล้านยูโร รวมทั้งการเร่งด�ำเนินการจัดตั้ง กองทุนร่วมเพื่อการลงทุน (Co-Investment Funds: CIF) เพื่อ (1) เข้าซื้อพันธบัตร ของรัฐบาลของประเทศสมาชิกในตลาดหลัก (Primary market) และ (2) เพิ่มทุนให้แก่ธนาคารในยุโรป (Bank recapitalization) หากจ�ำเป็น ซึ่งหากมีการจัดสรรวงเงินที่เพียงพอจะช่วยลดความเสี่ยงของทั้งสองประเทศในการต่ออายุหนี้ (Roll-over) ขณะ เดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนของรัฐบาลทั้งสองลงเพื่อไม่ให้เป็นภาระที่สูงเกินไป 5.2 เร่งก�ำหนดแนวทางการสร้างเสถียรภาพแก่เศรษฐกิจยุโรปและค่าเงินยูโรอย่างเป็นรูปธรรม แม้ว่าในปัจจุบันการตัดลดงบประมาณรายจ่ายในประเทศที่มีหนี้สาธารณะในระดับสูง เช่น กรีซและอิตาลี จะน�ำ มาสู่การประท้วงของประชาชนภายในประเทศ แต่การจะสร้างเสถียรภาพแก่เศรษฐกิจยุโรปและค่าเงินยูโรอย่างเป็นรูปธรรม นั้น จ�ำเป็นต้องมีการผลักดันให้เกิดการปรับกฎระเบียบ ข้อบังคับ ภายใต้สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพยุโรป (EU Treaty) เพื่อ ให้วนิ ยั ทางการคลังของประเทศสมาชิกเป็นไปตามข้อตกลงของสหภาพยุโรป (Stability and Growth Pact) ทีก่ ำ� หนดให้ประเทศ สมาชิกมีการขาดดุลการคลังไม่เกินร้อยละ 3 ของ GDP และหนี้สาธารณะไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP อย่างเคร่งครัด ประกอบ กับก�ำหนดขอบเขตการก่อหนี้ของสถาบันการเงินที่เหมาะสม เพื่อป้องกันวิกฤตภาคการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ การคงอยู่ของเงินสกุลยูโรยังขึ้นอยู่กับความจริงจังของประเทศสมาชิกในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจ เพือ่ ให้ประเทศสมาชิกมีขดี ความสามารถในการแข่งขันทีด่ ขี นึ้ โดยการเพิม่ ศักยภาพทางการผลิตของประเทศเพือ่ สนับสนุนการส่งออก พร้อมทัง้ ลดการน�ำเข้าเพือ่ ลดการขาดดุลการค้า ซึง่ เป็นแนวทางการสร้างกลไกขับเคลือ่ นเศรษฐกิจทีย่ งั่ ยืน ไม่ว่าทางออกของสหภาพยุโรปในการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะจะลงเอยในรูปแบบใดก็ตาม ประเทศอื่น ๆ ใน โลกรวมถึงไทยควรติดตามอย่างใกล้ชดิ และเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ โดยเร่งสร้างความแข็งแกร่งของอุปสงค์ภายในประเทศ เพื่อให้การบริโภคและการลงทุนสามารถท�ำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันความผันผวนในเศรษฐกิจโลกได้ ขณะเดียวกันก็ต้องดูแล เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศให้มคี วามมัน่ คงแข็งแรง เพือ่ ป้องกันความเสีย่ งทีจ่ ะเกิดวิกฤตเช่นทีเ่ กิดขึน้ ในสหภาพยุโรป
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
91
บทวิเคราะห์ เรื่อง จับตาอุตสาหกรรมยานยนต์อินโดฯ ฤาจะมาล้มไทย ?
1
บทสรุปผู้บริหาร
แม้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงต้นปี 2554 แต่ในช่วง 8 เดือนแรกของปียงั คงมีทศิ ทางทีส่ ดใส โดยมียอดการขายเกือบ 6 แสนคัน หรือเพิม่ ขึน้ กว่าร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่แล้วเป้าหมายที่จะผลิตรถยนต์ให้ได้รวม 1.8 ล้านคันตลอดทั้งปี ต้องมาสะดุดเมื่อเผชิญกับมหาอุทกภัยในช่วงปลายปีที่ส่งผลให้ยอดการผลิต ยอดขาย ดัชนี ผลผลิตอุตสาหกรรม และอัตราการใช้ก�ำลังการผลิต ต้องหดตัวติดลบมากที่สุดในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรม ยานยนต์ไทยในช่วงเวลากว่า 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ❍❍ นอกจากปัจจัยภัยพิบัติที่เข้ามาถาโถมภาคยานยนต์ไทยแล้ว ในปี 2554 ประเทศอินโดนีเซีย ก็ประกาศเป้าหมายทีจ่ ะมุง่ สูก่ ารเป็นฐานการผลิตรถยนต์หลักของอาเซียน โดยตัง้ เป้าการผลิตขัน้ ต�ำ่ ไว้ที่ 2 ล้านคัน ภายในปี 2563 ซึ่งสร้างความสั่นสะเทือนให้วงการยานยนต์ไทยในห้วงเวลาที่นักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะญี่ปุ่น ตัดสินใจหาประเทศที่เหมาะสมและเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ก�ำลังเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งส่งผลให้การตัดสินใจย้ายฐานการผลิตง่ายขึ้น ❍❍ ประเด็นทีค ่ วรให้ความส�ำคัญส�ำหรับผูเ้ กีย่ วข้องทุกภาคส่วนในกลุม่ อุตสาหกรรมยานยนต์ คือ การรักษาความเชือ่ มัน่ ของนักลงทุน การเสริมสร้างบรรยากาศทีด่ ตี อ่ การลงทุน และเหนีย่ วรัง้ ให้นกั ลงทุนต่างชาติ ยังคงยึดมั่นให้ไทยเป็นฐานการผลิตต่อไป ❍❍ ขณะเดียวกันจ�ำเป็นที่จะต้องจับตามองและวิเคราะห์ถึงความได้เปรียบเสียเปรียบ จุดอ่อน และจุดแข็งของประเทศอินโดนีเซีย เพื่อให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนและภาครัฐสามารถที่จะเตรียมพร้อมและ ปรับตัวให้ทนั ต่อสถานการณ์ทจี่ ะมีการเปลีย่ นแปลงในอนาคต เนือ่ งจากสถานภาพของไทยและอินโดนีเซียอาจมี แนวโน้มทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงจากสถานะประเทศคูค่ า้ (Partner) มาเป็นคูแ่ ข่ง (Competitor) และอาจท�ำให้ประเทศไทย ต้องสูญเสียผลประโยชน์จากการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตออกไปของนักลงทุนต่างชาติ ❍❍
บทน�ำ มหาอุทกภัยที่ผ่านพ้นไปในช่วงปลายปี 2554 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างหนักหน่วง และ ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย เนื่องจากยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศด้วยตัวเลขมูลค่าการส่งออก ไม่ตำ�่ กว่าปีละ 1 ล้านล้านบาท โดยอุทกภัยดังกล่าวส่งผลให้นคิ มอุตสาหกรรมหลัก 7 แห่งต้องหยุดด�ำเนินการ ดังแสดงในตารางที่ 1 (ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ประเมินตัวเลขทีเ่ สียหาย ได้แก่ จ�ำนวนโรงงาน 838 แห่ง เงินลงทุนรวม 3.8 แสนล้านบาท จ�ำนวนคนงานกว่า 3.8 แสนคน และส่งผลให้ GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 2554 ลดลงเป็นมูลค่า 72,884 ล้านบาท) โดยอุตสาหกรรม ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบอย่างมากจากมหาอุทกภัยดังกล่าว คือ ยานยนต์และชิน้ ส่วน โดยเฉพาะโรงงานผลิตชิน้ ส่วนและโรงงานประกอบ รถยนต์ในนิคมสหรัตนนครและนิคมโรจนะ ตลอดจนสร้างความเสียหายแก่ห่วงโซ่อุปทานและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (Supply Chain and Linkage Industries) กับอุตสาหกรรมดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นอิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ฯลฯ
ผู้เขียน : นายธรรมฤทธิ์ คุณหิรัญ เศรษฐกรช�ำนาญการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค น.ส.สุวิมล ส้มแก้ว และ น.ส.นุชนาฏ เอี่ยมกี่ นักศึกษาฝึกงาน ขอขอบคุณ คุณวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ คุณณัฐยา อัชฌากรลักษณ์ และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
1
92
ตารางที่ 1 นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยปี 2554 นิคมฯ ไฮเทค นิคมฯ บางปะอิน น�้ำท่วม 13 ต.ค. น�้ำท่วม 15 ต.ค. พื้นที่ 4,858 ไร่ พื้นที่ 1,962 ไร่ • โรงงาน 143 บริษัท • โรงงาน 90 บริษัท • การจ้างงาน 54,000 คน • การจ้างงาน 60,000 คน • เงินลงทุน 65,312 ลบ. • เงินลงทุน 60,000 ลบ.
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิคมฯ สหรัตนนคร น�้ำท่วม 5 ต.ค. พื้นที่ 2,050 ไร่ • โรงงาน 43 บริษัท • การจ้างงาน 16,000 คน • เงินลงทุน 9,500 ลบ.
นิคมฯ นวนคร น�้ำท่วม 18 ต.ค. พื้นที่ 6,495 ไร่ • โรงงาน 189 บริษัท (227 โรงงาน) • การจ้างงาน 170,000 คน • เงินลงทุน 100,000 ลบ.
นิคมฯ โรจนะ น�้ำท่วม 8 ต.ค. พื้นที่ 7,275 ไร่ • โรงงาน 198 บริษัท • การจ้างงาน 90,000 คน • เงินลงทุน 58,000 ลบ.
แฟคตอรี่แลนด์ น�้ำท่วม 16 ต.ค. พื้นที่ 130 ไร่ • โรงงาน 99 บริษัท • การจ้างงาน 6,000 คน • เงินลงทุน 11,000 ลบ.
จังหวัดปทุมธานี
พื้นที่ 1,200 ไร่ • โรงงาน 44 บริษัท • การจ้างงาน 12,000 คน • เงินลงทุน 22,000 ลบ.
นิคมฯ บางกระดี น�้ำท่วม 20 ต.ค.
ที่มา : กระทรวงอุตสาหกรรม รวบรวมโดย ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
ทั้งนี้ ตัวเลขการผลิตและยอดจ�ำหน่ายรถยนต์ได้รับผลกระทบจากภาวะน�้ำท่วมอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ตลาดรถยนต์ สะสม 8 เดือนแรก (เดือนมกราคม-สิงหาคม) ของปี 2554 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนเหตุการณ์อุทกภัยจะเข้าท่วมนิคมฯ ต่าง ๆ นั้น มีปริมาณการจ�ำหน่าย 5.83 แสนคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (%yoy) (ภาพที่ 1) เนื่องจาก ความนิยมอย่างต่อเนือ่ งของรถยนต์รนุ่ ใหม่ ๆ และภาวะก�ำลังซือ้ ของผูบ้ ริโภคทีอ่ ยูใ่ นเกณฑ์ดี อันเป็นผลมาจากราคาสินค้าเกษตร ที่ยังคงขยายตัว (โดยดัชนีราคาสินค้าเกษตรในช่วงไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 มีอัตราการขยายตัว ต่อเนื่องที่ร้อยละ 25.7 ร้อยละ 17.6 และร้อยละ 8.0 ต่อปี ตามล�ำดับ) อัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต�่ำ (อยู่ในช่วงร้อยละ 0.6-0.7) และการขยายตัวของสินเชือ่ ทัง้ ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนจากการก�ำหนดอัตราดอกเบีย้ นโยบายทีอ่ ยูใ่ นระดับค่อนข้างต�ำ่ (จากร้อยละ 2.5 ในช่วงไตรมาสแรก มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 ต่อปีในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2554 หรือขึ้นมาเพียงร้อยละ 0.5 ในช่วงเวลา 6 เดือน) ขณะเดียวกันเมื่อมองในมุมของภาคการส่งออกรถยนต์ในช่วง 8 เดือนแรกดังกล่าวพบว่า สามารถส่งออก รถยนต์ส�ำเร็จรูปได้ 5.49 แสนคัน (คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 2.42 แสนล้านบาท) ภาพที่ 1 มูลค่าและอัตราการขยายตัวของปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์นั่ง
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมโดย สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
93
แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ยอดการผลิตและจ�ำหน่ายรถยนต์ก็มีภาพที่เปลี่ยนไป จากภาพที่ 1 จะพบว่า มี 2 เหตุการณ์ส�ำคัญที่ส่งผลกระทบให้การผลิตและการส่งออกยานยนต์ลดลง เหตุการณ์ที่ 1 คือ ภัยพิบัติสึนามิที่ประเทศ ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ส่งผลให้ค่ายรถยนต์ในไทยลดก�ำลังการผลิต จากที่เคยท�ำงาน 2 ถึง 3 กะ ก็ลดก�ำลังการผลิต (Cap U) ลงกว่าร้อยละ 50 อย่างไรก็ดี ผลกระทบดังกล่าวได้สง่ ผลสะเทือนต่อการผลิตยานยนต์ในระยะเวลาไม่นาน โดยจ�ำเป็นต้อง ลดก�ำลังการผลิตลงประมาณ 1-2 เดือน ขณะเดียวกันโรงงานสามารถจัดหาชิน้ ส่วนต่าง ๆ จากแหล่งอืน่ มาทดแทนในการผลิตได้ เนื่องจากชิ้นส่วนที่ Import จากญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีเครื่องยนต์ที่ยังมีโรงงานอื่นนอกประเทศญี่ปุ่นสามารถผลิตได้ โดยหลังจากนัน้ ไม่นานการผลิตรถยนต์กก็ ลับคืนสูภ่ าวะปกติได้ โดยดัชนี MPI ยานยนต์กลับมาขยายเป็นบวกทีร่ อ้ ยละ 14.3 ต่อปี และ Cap U ยานยนต์กลับมาเพิ่มสู่ระดับ 90.3 ซึ่งเพิ่มมากกว่าช่วงก่อนเหตุการณ์สึนามิ นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าว ก�ำลังจะกลายเป็นโอกาสและความหวังของไทยที่จะเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นมาลงทุน เพราะก�ำลังพิจารณาย้ายฐานการลงทุน ออกมาตั้งนอกประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยงจากภัยพิบัติภายในญี่ปุ่น แต่แล้วประเทศไทยกลับต้องประสบกับเหตุการณ์ที่ 2 ที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ที่ 1 ในช่วง 4-5 เดือนต่อมา โดยเริ่มต้นเมื่อเดือนตุลาคม 2554 มหาอุทกภัยได้เริ่มเข้าโจมตี นิคมอุตสาหกรรมรวม 7 แห่ง โดยในจ�ำนวนนี้มี 4 นิคมฯ เป็นที่ตั้งของโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ต่าง ๆ ให้แก่โรงงาน ประกอบรถยนต์ ได้แก่ โรจนะ สหรัตนนคร บ้านหว้า (ไฮเทค) และบางปะอิน โดยโรงงานส่วนใหญ่ในนิคมฯ ดังกล่าวต่างพึ่งพา ชิน้ ส่วนรถยนต์ภายในประเทศ (Local Part) ในอัตราส่วนทีส่ งู กว่าชิน้ ส่วนน�ำเข้า (Import Part) มาก จึงมีขนาดของความเสียหาย ทีร่ นุ แรงและยาวนานกว่าเหตุการณ์แรก สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิต (MPI) ยานยนต์ในเดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายน 2554 ที่หดตัวถึงร้อยละ -66.1 และร้อยละ -84.0 ต่อปี (%yoy) ตามล�ำดับ ขณะเดียวกันอัตราการใช้ก�ำลังการผลิต (Cap U) เฉลี่ย ในช่วง 2 เดือนดังกล่าวเหลือเพียงร้อยละ 13.3 ของความสามารถในการผลิตเต็มที่ ซึ่งต�่ำ ที่สุดในประวัติศาสตร์การผลิต ยานยนต์ของไทย นอกจากนี้ เมื่อพิจารณายอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือนตุลาคม 2554 หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยดังกล่าว มีจ�ำนวนเหลือเพียง 42,873 คัน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าถึงร้อยละ -50.73 และลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ -40.5 โดยผลกระทบได้ต่อเนื่องมายังเดือนพฤศจิกายน 2554 ท�ำให้มียอดขายรถยนต์เหลือเพียง 26,069 คัน ซึ่งต�่ำสุดในรอบ 118 เดือน (ลดลงจากเดือนตุลาคม 2554 ร้อยละ 39.19 และลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ร้อยละ -66.95) ขณะที่ ยอดการผลิตเดือนพฤศจิกายน 2554 มีทั้งสิ้น 23,695 คัน ซึ่งต�่ำสุดในรอบ 151 เดือน (ลดลงจากเดือนตุลาคม 2554 ร้อยละ -52.1) ส่งผลให้จ�ำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในช่วง 11 เดือนแรกปี 2554 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 1,358,369 คัน (ลดลงจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ -9.92 และเมื่อพิจารณาการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกปี 2554 เป็นการส่งออกรถยนต์ส�ำเร็จรูป 700,581 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -15.06) ซึ่งเป็นการดับฝันเป้าหมายยอดการผลิตรถยนต์ปี 2554 ที่คาดไว้เดิมที่ 1.8 ล้านคัน ทั้งที่ก่อนหน้านี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังคงถูกจับตามองว่าจะเป็นอีกปีที่สดใส และสามารถท� ำสถิติสูงสุด ต่อเนือ่ ง (ดังทีไ่ ด้กล่าวข้างต้น ยอดขายสะสม 8 เดือนแรกปี 2554 ซึง่ เป็นช่วงเวลาก่อนเหตุการณ์อทุ กภัย มีปริมาณการขายเพิม่ ขึน้ ถึง ร้อยละ 19.6 ต่อปี) แต่จาก 2 เหตุการณ์ทไี่ ม่คาดฝันดังกล่าวทัง้ สึนามิและมาถูกถล่มซ�ำ้ โดยเหตุการณ์มหาอุทกภัยครัง้ ใหญ่ในรอบ 50 ปี ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2554 ดังกล่าว ได้ส่งผลช็อก ! และสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ไทยอย่างมหาศาล2 ขณะที่วงการอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต้องเผชิญกับเหตุการณ์น�้ำท่วมใหญ่ โดยรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ก�ำลังหาแนวทางเพือ่ วางแผนการบริหารจัดการน�ำ้ และแผนรับมือในอนาคต เพือ่ จะได้สร้างความเชือ่ มัน่ การลงทุนให้กลับคืนมา แต่ประเทศเพื่อนบ้านขนาดใหญ่ของไทย คือ “อินโดนีเซีย” (ภาพที่ 2) ได้ประกาศเป้าหมายอย่างชัดเจนที่จะมุ่งสู่ การเป็นฐานการผลิตรถยนต์หลักของอาเซียน โดยจะเร่งการผลิตรถยนต์ไม่ต�่ำกว่า 1 ล้านคันต่อปี ภายในปี 2556 และขยับเป็น 2 ล้านคันต่อปี ภายในปี 2563 นับว่าเป็นการประกาศที่สร้างความตระหนกให้แก่วงการอุตสาหกรรม รถยนต์ไทย
มีการประมาณการโดยส�ำนักวิชาการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่า การที่อุตสาหกรรมยานยนต์หยุดการผลิต 1 วัน จะส่งผลให้มูลค่าการผลิตหายไป 3-4 พันล้านบาทต่อวัน
2
94
ภาพที่ 2 ศักยภาพในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Growth) ซึ่งไทยและอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีศักยภาพ ใกล้เคียงกัน โดยต่างอยู่ในหมวดประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตในระดับสูง (Rapid Growth)
ที่มา : www.gbgindonesia.com
สถานะและศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์อินโดนีเซีย แม้ว่าในปัจจุบันเมื่อพิจารณาศักยภาพการผลิตยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียนนั้น อินโดนีเซียจะยังคงเป็นรองไทย อยู่ค่อนข้างมาก (โดยในปี 2553 ไทยสามารถผลิตได้ 1.6 ล้านคัน ขณะที่อินโดนีเซียผลิตได้ 0.7 ล้านคัน) อย่างไรก็ดี อินโดนีเซีย ณ ปัจจุบนั ได้เป็นฐานการผลิตทีส่ ำ� คัญแห่งหนึง่ ของภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และก�ำลังเป็นทีส่ นใจของนักลงทุนต่างชาติ ไม่น้อยไปกว่าประเทศไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ของอินโดนีเซียที่เป็นหนึ่งในเครือข่ายการผลิตของนักลงทุนญี่ปุ่น เช่นเดียวกับไทย สะท้อนจากยอดจ�ำหน่ายรถยนต์สายพันธุ์ญี่ปุ่นที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 92 ของยอดจ�ำหน่ายรถยนต์โดยรวม ในอินโดนีเซีย (ภาพที่ 3) ทั้งนี้ อินโดนีเซียนับวันจะมีความน่าดึงดูดต่อการลงทุนภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น จากหลายปัจจัย ซึ่งจะกล่าวในบทวิเคราะห์ SWOT Analysis ต่อไป ภาพที่ 3 ส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ในอินโดนีเซียซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถอเนกประสงค์ (MPV) และลงทุนโดยบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น
ที่มา : Business Monitor International
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
95
แม้ว่าในปัจจุบันไทยและอินโดนีเซียจะมีสถานะความสัมพันธ์ในแง่การเป็นประเทศคู่ค้า (Partner) ด้านอุตสาหกรรม ยานยนต์มากกว่าที่จะเป็นคู่แข่ง (Competitor) โดยไทยเป็นแหล่งน�ำเข้าสินค้ายานยนต์อันดับ 1 ของอินโดนีเซีย (ซึ่งครอง ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 35 ของการน�ำเข้ายานยนต์ของอินโดนีเซีย) เนื่องจากก�ำลังการผลิตของอินโดนีเซียไม่เพียงพอกับ ความต้องการในประเทศ3 โดยโครงสร้างการผลิตและยอดจ�ำหน่ายรถยนต์ของไทยจะเน้นที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งต่างจาก ของอินโดนีเซียที่เน้นไปที่การผลิตและจ�ำหน่ายรถยนต์นั่งถึงร้อยละ 71 ของการผลิตและจ�ำหน่ายโดยรวม ทั้งนี้ แม้ตลาดส่งออก ของอินโดนีเซียจะมีกลุ่มเป้าหมายใกล้เคียงกับไทย แต่เมื่อลงในรายละเอียดสินค้าแล้วยังมีความแตกต่างกัน โดยไทยกับ อินโดนีเซียก็ยังเป็นตลาดของกันและกันเพื่อใช้ประกอบรถยนต์ กล่าวคือ อินโดนีเซียส่งออกกระปุกเกียร์มายังไทย ขณะที่ไทยก็ ส่งออกถังเชื้อเพลิงและพวงมาลัยไปยังอินโดนีเซีย และนั่นจึงเป็นสาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับ อินโดนีเซียเป็นคู่ค้าที่เกื้อหนุนกัน4 แต่ในระยะถัดไปหากอุตสาหกรรมยานยนต์ของอินโดนีเซียมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น และสามารถ ดึงดูดนักลงทุนเข้าไปขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยท�ำให้นักลงทุน ต่างชาติเริม่ มีความลังเลทีจ่ ะตัดสินใจขยายการผลิตอย่างต่อเนือ่ งในประเทศไทย ปัจจัยเหล่านีอ้ าจท�ำให้อนิ โดนีเซียเปลีย่ นสถานะ จากคู่ค้ากลับกลายมาเป็นคู่แข่งของไทยในอนาคต
วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ของอุตสาหกรรมยานยนต์ อินโดนีเซีย
จุดแข็ง (Strengths) 1) New growth opportunity for the domestic component industry : อินโดนีเซียมีจ�ำนวนประชากรกว่า 240 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 40 ของอาเซียน) สะท้อนถึงโอกาสเติบโตของยอดขายยานยนต์ในอินโดนีเซีย ผนวกกับเศรษฐกิจอินโดนีเซีย สามารถรักษาระดับขยายตัวในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง (โดยมีอัตราการขยายตัวไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 โดยหากแบ่งประเภทของรถยนต์ส�ำหรับประเภทรถยนต์นั่งนั้น ไทยครองส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 62.5 ของการน�ำเข้ารถยนต์นั่งของอินโดนีเซีย และส�ำหรับ ประเภทรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ของไทยก็ครองตลาดเป็นอันดับ 2 ด้วยสัดส่วนประมาณร้อยละ 22 ของการน�ำเข้ารถยนต์เพื่อการพาณิชย์ของอินโดนีเซีย (รองจากญี่ปุ่นที่มีสัดส่วนร้อยละ 38) 4 ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ของนักลงทุนญี่ปุ่นที่เป็นนักลงทุนหลักทั้งในไทยและในอินโดนีเซีย ที่วางแผนให้แต่ละประเทศเป็นแหล่งผลิตที่แตกต่างกันตามลักษณะ ตลาดและศักยภาพในการผลิตของประเทศนั้น ๆ โดยการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยกับอินโดนีเซียที่ต่างก็มีตลาดญี่ปุ่นเป็นตลาดหลักนั้น อินโดนีเซีย จะส่งออกล้อและส่วนประกอบล้อไปญี่ปุ่น ขณะที่ไทยส่งออกถังเชื้อเพลิงและถุงลมนิรภัยไปยังญี่ปุ่น 3
96
ในปี 2554 ที่ร้อยละ 6.5 ร้อยละ 6.5 และร้อยละ 6.6 ต่อปี ตามล�ำดับ โดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ประมาณการ (ณ เดือน ธันวาคม 2554) ในปี 2555 เศรษฐกิจอินโดนีเซียจะยังคงขยายตัวต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 6.3 ต่อปี) ดังนัน้ การบริโภคจึงเป็นเครือ่ งยนต์ หลักในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ โดยมีสดั ส่วนถึงร้อยละ 60 ของภาคเศรษฐกิจอินโดนีเซีย จากปัจจัยการเพิม่ ขึน้ ของประชากรและ การขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว (ภาพที่ 4) จึงเป็นแรงส่งส�ำคัญให้ความต้องการยานยนต์ในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ภาพที่ 4 แสดงขนาดเศรษฐกิจ (GDP) และจ�ำนวนประชากร คาดการณ์ในช่วง 5 ปี พบว่าอินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่มีอัตราเร่งของการเพิ่มขึ้นของมิติทั้งสองรวดเร็วที่สุด ซึ่งจะเป็นประเทศเป้าหมายส�ำคัญต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์
ที่มา : World Bank
2) Government support for local part manufacturer : มาตรการภาครัฐในด้านต่าง ๆ ในการสนับสนุนอุตสาหกรรม ยานยนต์ เพื่อกระตุ้นการผลิตรองรับการบริโภคและลดทอนการน�ำเข้า โดยให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้แก่ 2.1) งดเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 5-10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มท�ำการผลิตและจ�ำหน่ายสินค้าได้ และเมื่อครบระยะเวลาดังกล่าวจะได้ลดภาษีลงร้อยละ 50 เป็นเวลาต่อเนื่องอีก 2 ปี5 2.2) ละเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสินค้าน�ำเข้าในกลุ่มวัตถุดิบ/สินค้าขั้นกลางส�ำหรับการผลิต เพื่อเอื้อประโยชน์ ต่อการน�ำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อประกอบเป็นรถยนต์ภายในประเทศ ส่งผลให้กว่าร้อยละ 77 ของชิ้นส่วนการผลิตประกอบ ในประเทศ (ภาพที่ 5) ทั้งนี้ อัตราภาษีปกติส�ำหรับการน�ำเข้ารถยนต์นั่ง/รถยนต์เพื่อการพาณิชย์เก็บภาษีน�ำเข้าในอัตราร้อยละ 0-50 ส�ำหรับชิ้นส่วนยานยนต์เก็บภาษีน�ำเข้าร้อยละ 0-10 ส�ำหรับกรณีประเทศคู่ค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) หรือ อาเซียนกับคู่เจรจาอื่น ๆ ที่ได้ลดภาษีการน�ำเข้าภายในกลุ่มสมาชิกเหลือร้อยละ 0 ไปแล้วในปี 2553 ที่ผ่านมา
โดยเริ่มมีผลบังคับใช้เดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีข้อก�ำหนดว่าต้องมีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 1 ล้านล้านรูเปียห์ และมีเงินฝากกับธนาคารกลางอินโดนีเซีย ร้อยละ 10 ของเงินลงทุน โดยครอบคลุมอุตสาหกรรมทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับภาควิศวกรรม “pioneer” ซึง่ หมายรวมถึงภาคอุตสาหกรรมยานยนต์กไ็ ด้อานิสงส์จากมาตรการ ดังกล่าวด้วยเช่นกัน
5
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
97
ภาพที่ 5 แหล่งที่มาของชิ้นส่วนการผลิตรถยนต์ พบว่าโดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 77) เป็นของในประเทศ
ที่มา : Business Monitor International
2.3) ลดภาษีรายได้เป็นพิเศษให้แก่นักลงทุนที่ผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีราคาประหยัด เพื่อให้ ผู้บริโภครายได้น้อยซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศสามารถเป็นเจ้าของรถยนต์ได้ โดยมีเงื่อนไขว่ารถยนต์ดังกล่าว ต้องมีราคาที่ 40-80 ล้านรูเปียห์ ส�ำหรับรถยนต์ไฮบริดมีอัตราการใช้น�้ำมันเชื้อเพลิงไม่เกิน 22 กิโลเมตรต่อลิตร ใช้ส่วนประกอบ ภายในประเทศขั้นต�่ำร้อยละ 80 และมีมาตรฐานมลพิษที่ Euro III 3) Global OEMs plans to build manufacturing facilities or increase their investment in Indonesia : นักลงทุน ต่างชาติมกี ารขยายการผลิตในอินโดนีเซียเพือ่ รองรับความเสีย่ งจากการลงทุน (อาทิ ปัญหาทางการเมืองและภัยธรรมชาติทเี่ กิด ในประเทศอื่น ๆ เช่น สึนามิในญี่ปุ่น หรืออุทกภัยในไทยที่เกิดขึ้นในช่วงต้นและปลายปี 2554 ดังกล่าว) ซึ่งนับตั้งแต่ต้นปี 2554 นักลงทุนต่างชาติในอินโดนีเซียต่างประกาศแผนเพิ่มการผลิตและขยายเงินลงทุนอย่างชัดเจนมากขึ้น เพราะเล็งเห็นโอกาส ในการขยายการผลิตที่ยังมีอีกมาก อาทิ บริษัท General Motors จะเริ่มการผลิตรถยนต์ในปี 2556 โดยลงทุนไปแล้วกว่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อฟื้นฟูการผลิตเดิมที่หยุดชะงักไปในเขต West Java โดยกลับมาปรับปรุงโรงงานที่มีศักยภาพ ในการผลิตขั้นต�่ำ 40,000 หน่วยต่อปี หรือบริษัท Nissan Motor และบริษัท Suzuki Motor ได้ประกาศขยายแผนการผลิต โดยลงทุนไปจ�ำนวน 200 และ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามล�ำดับ ขณะเดียวกันบริษทั France’s Peugeot SA และบริษทั India’s Tata Motors ต่างก็ประสงค์จะสร้างฐานการผลิตในอินโดนีเซีย เป็นต้น จุดอ่อน (Weaknesses) 1) Reluctances of OEMs to transfer its technology : โดยปกติแล้วการรับจ้างผลิต หรือ OEMs นั้น เจ้าของที่มี การวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้วยตนเองยังคงมีความลังเลในการถ่ายทอดเทคโนโลยี เนื่องจากเกรงความเสี่ยงที่ความรู้เหล่านี้ จะกระจายออกไปสู่ค่ายรถยนต์คู่แข่ง 2) Limited capabilities of local auto part makers : ปัจจุบันอินโดนีเซียยังขาดแคลนแรงงานมีฝีมือที่สามารถ ท�ำการผลิตได้หลากหลายและซับซ้อน ทั้งนี้ อินโดนีเซียยังเสียเปรียบไทยอยู่ในประเด็นด้านเครือข่ายของผู้ผลิตชิ้นส่วน และ การประสบภาวะขาดแคลนภาคการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งเป็นหัวใจส�ำคัญการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอินโดนีเซีย ที่ปัจจุบันยังต้องเร่งพัฒนา (ขณะที่ไทยด�ำเนินงานในภาคชิ้นส่วนมากว่า 40 ปีแล้ว) รวมถึงจุดอ่อนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ต่าง ๆ ตลอดจนนิคมอุตสาหกรรมทีย่ งั ไม่พร้อมเท่าไทย รวมทัง้ ความไม่สะดวกด้านระบบการขนส่งภายในประเทศ (จากภูมปิ ระเทศ ที่เป็นเกาะต่าง ๆ จ�ำนวนมาก) และการขนส่งเพื่อการส่งออก
98
3) Foreign investment in auto parts industry is increasing : แม้วา่ การเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติจะมีสว่ นช่วย เสริมจุดแข็งให้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์จากการขยายการลงทุน อย่างไรก็ดี ผลของมาตรการจูงใจด้านต่าง ๆ ภาครัฐ จนกระทั่ง มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นอิสระของผู้ก�ำหนดนโยบายอุตสาหกรรม ในประเทศได้ และมีนัยต่อการรุกล�้ำตลาดภายในประเทศอินโดนีเซียมากขึ้น (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 มาตรการการขยายการลงทุนของบริษัทรถยนต์ต่างชาติเข้ามาในอินโดนีเซีย
ระยะถัดไป
ปี 2554
มาตรการ Toyota (ญี่ปุ่น) Nissan (ญี่ปุ่น) Suzuki (ญี่ปุ่น) Daihatsu (ญี่ปุ่น) BMW (เยอรมนี) Chrysler (สหรัฐอเมริกา) GM (สหรัฐอเมริกา) Tata (อินเดีย) Geely (จีน)
การขยายการลงทุน 340 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มการผลิตและยกระดับฐานะ การผลิตในอินโดนีเซียให้เป็นฐานการส่งออก การขยายเงินลงทุน 250 ล้านดอลลาร์ฯ การขยายเงินลงทุน 800 ล้านดอลลาร์ฯ การขยายเงินลงทุน 246 ล้านดอลลาร์ฯ การขยายเงินลงทุน 12 ล้านดอลลาร์ฯ การขยายเงินลงทุน 100 ล้านดอลลาร์ฯ มีแผนผลิตรถแวนขนาด 7 ที่นั่ง และใช้อินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางการส่งออก สนใจขยายฐานการผลิตในอินโดนีเซียซึ่งอยู่ในระหว่างวางแผน ปัจจุบันอาศัยโรงงานของอินโดนีเซียในการผลิตและจ�ำหน่าย แต่ภายในปี 2558 จะขยายฐานการผลิตในอินโดนีเซีย
ที่มา : Jakarta Globe รวบรวมโดย สศค.
4) Natural Disaster : เนื่องจากอินโดนีเซียมีสภาวะภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะต่าง ๆ โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ หมู่เกาะซุนดาน้อย หมู่เกาะโมลุกะ และอิเรียนจายา (ปาปัวนิวกินีตะวันตก) ซึ่งล้วนอยู่ในต�ำแหน่งที่ตั้งของ “วงแหวนแห่งไฟ” (Pacific Ring of Fire)6 ในบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้งจุดหนึ่ง ของแผนที่โลก โอกาส (Opportunities) 1) Potential increasing production volumes and increasing demand in domestic and export markets after economic recovery : หากพิจารณาจากตัวเลขการผลิตรถยนต์จะพบว่าอินโดนีเซียเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก จากยอดการส่งออกสินค้ายานยนต์และอุปกรณ์การขนส่งในปี 2553 อยู่ในอันดับที่ 34 ของโลก มีมูลค่าการส่งออก 2.8 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.3 ของโลก (ขณะที่ในปีเดียวกันนั้นไทยส่งออกเป็นล�ำดับ 17 ของโลก มีสัดส่วน การส่งออกร้อยละ 1.7) ทัง้ นี้ ผลจากการเพิม่ ขึน้ ของศักยภาพการผลิตจากการใช้เทคโนโลยีทที่ นั สมัยขึน้ ประกอบกับความต้องการ ยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นทั้งจากตลาดในประเทศและตลาดส่งออก มีส่วนช่วยผลักดันให้การผลิตยานยนต์ของอินโดนีเซียขยายตัว แข็งแกร่งและเป็นที่น่าจับตามากขึ้น โดยจะเห็นได้จากการส่งออกส่วนประกอบยานยนต์ของอินโดนีเซียสัดส่วนการส่งออก สูงถึงร้อยละ 40 ของยอดการส่งออกของยานยนต์ของอินโดนีเซีย มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในระยะ 5 ปี (ปี 2549-2553) ร้อยละ 11.1 การส่งออกรถยนต์นั่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.4 ซึ่งขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 47.9 และส�ำหรับรถบรรทุกสินค้าแม้มีสัดส่วน การส่งออกร้อยละ 2.5 แต่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 109.6 ทั้งนี้ อินโดนีเซียมีแผนการผลิต ยอดขาย ยอดส่งออก ของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เป็นตัวเลขที่ชัดเจนและต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าเพิ่มยอดผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์จาก 7.5 แสนหน่วย และ 7.58 ล้านหน่วย ตามล�ำดับ ในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) เป็น 3.13 ล้านหน่วย และ 8.79 ล้านหน่วย ตามล�ำดับ ในปี ค.ศ. 2025 (พ.ศ. 2568) (ตารางที่ 3) แผ่นดินไหวประมาณร้อยละ 80 ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึน้ ในบริเวณ “วงแหวนแห่งไฟ” นอกจากนี้ ยังมีแนวแผ่นดินไหวหลักอีก 2 แห่ง ได้แก่ แนวเทือกเขา อัลไพน์ ซึง่ มีแนวต่อมาจากเกาะชวาสูเ่ กาะสุมาตรา (สาเหตุของแผ่นดินไหวและสึนามิทถี่ ล่มอินโดนีเซียในปี 2547) ผ่านเทือกเขาหิมาลัยและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร้อยละ 17 ของทั้งโลก และอีกแห่งคือ แนวกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร้อยละ 5-6 ของทั้งโลก
6
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
99
ตารางที่ 3 แสดงการประมาณการ (Demand Forecast) ยอดขายรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ในช่วง 15 ปี (ปี ค.ศ. 2010-2025) ของอินโดนีเซีย
ที่มา : Jakarta Globe
2) The Indonesia Government Plans for Eco cars production : รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนและตั้งเป้าหมายชัดเจน (Road Map) ในการผลิตรถยนต์ต้นทุนต�่ำ อาทิ Eco cars ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2555 และเป็นฐานการผลิตของรถ Hybrid อย่างเต็มรูปแบบภายในปี พ.ศ. 2563 ดังแสดงในตารางที่ 4 ตารางที่ 4 แสดงแผน Roadmap เพื่อมุ่งเน้นการผลิตรถยนต์ในแต่ละประเภทในช่วง 15 ปี (ถึงปี พ.ศ. 2568) ของอินโดนีเซีย
ที่มา : Jakarta Globe
100
นอกจากนี้ อินโดนีเซียมีนโยบายคงอัตราภาษีรถยนต์ส�ำเร็จรูปน�ำเข้าจากต่างประเทศ (CBU) ไว้ในระดับสูง (ตารางที่ 5 ประกอบ ซึง่ โดยส่วนใหญ่จะมีอตั ราอากรน�ำเข้าสูงถึงร้อยละ 40) ส่งผลให้ภาระต้นทุนเพิม่ ขึน้ จากภาระอัตราภาษีทสี่ งู กว่าผูผ้ ลิต ชิ้นส่วนภายในประเทศเอง ซึ่งเป็นการจูงใจนักลงทุนต่างชาติตัดสินใจเข้ามาลงทุนสร้างฐานการผลิตในอินโดนีเซียมากขึ้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนจากภาระทางภาษีดังกล่าว ตารางที่ 5 อัตราภาษีและอากรน�ำเข้ารถยนต์แต่ละประเภทของอินโดนีเซีย
ที่มา : Jakarta Globe * หมายเหตุ ; CKD - Completely Knocked Down คือ รถยนต์ที่ประกอบภายในประเทศ / CBU - Completely Built Up คือ รถยนต์ส�ำเร็จรูปน�ำเข้า / IKD - Incompletely Knocked Down คือ ประกอบแล้วเสร็จเป็นบางส่วนจากต่างประเทศ แล้วน�ำมาประกอบให้เสร็จสมบูรณ์ในประเทศ
อุปสรรค, ภัยคุกคาม (Threats) 1) Tax Disadvantage : อินโดนีเซียมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เรียกว่า Most Favored Nation หรือ MFN ซึ่งเป็น อัตราภาษีสนิ ค้าน�ำเข้าทีจ่ ดั เก็บกับประเทศสมาชิก WTO ทีอ่ ยูน่ อกกลุม่ อาเซียน โดยมีเป้าหมายการปรับลดภาษี MFN ลงเรือ่ ยมา เพือ่ ให้รายการสินค้าทีต่ อ้ งเสียภาษี (Tariff Line) โดยส่วนใหญ่ให้อยูท่ รี่ อ้ ยละ 5 อย่างไรก็ดี MFN ดังกล่าวส่วนใหญ่จะเอือ้ ประโยชน์ ให้แก่สนิ ค้าเพือ่ อุตสาหกรรมการเกษตร7 ขณะทีใ่ นหมวดอุตสาหกรรมยานยนต์นนั้ จะได้รบั สิทธิประโยชน์จากการเข้าเป็นประเทศ สมาชิกเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ซึง่ ท�ำให้อตั ราภาษีนำ� เข้าสินค้าระหว่างอินโดนีเซียกับประเทศ สมาชิก AFTA อื่น ๆ ลดลงเหลือร้อยละ 0 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากการน�ำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาประกอบ ในประเทศ (CKD) โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่อาศัยเทคโนโลยีการผลิตในระดับสูงนั้น ส่วนใหญ่จะน�ำเข้าจากประเทศที่อยู่นอก AFTA (อาทิ ญี่ปุ่น) ซึ่งส่งผลให้อินโดนีเซียได้รับประโยชน์ค่อนข้างน้อยจากสิทธิประโยชน์ AFTA ดังกล่าว ทัง้ นี้ เมือ่ พิจารณาในส่วนของประเทศไทยทีม่ กี ารผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับที่ 14 ของโลก หรือมีโตโยต้าเป็นฐานการผลิต ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนอยู่แล้ว จะได้ประโยชน์มากกว่าจากการน�ำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่ไม่สามารถผลิตได้ในไทย (แต่ผลิต ในประเทศนอกกลุ่ม AFTA) หรือต้นทุนผลิตสูงกว่าหากผลิตในประเทศไทย อาทิ ชิ้นส่วนพลาสติก อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยนต์ หรือชุดเกียร์ที่มีการใช้เทคโนโลยีระดับสูง โดยการน�ำเข้าชิ้นส่วนต่าง ๆ ดังกล่าวเข้ามาเพื่อมาประกอบในไทย เพราะสามารถ ส่งออกได้งา่ ยขึน้ จากต้นทุนทางภาษีทลี่ ดลงดังกล่าว เนือ่ งจากประเทศไทยมีนโยบายลดอัตราอากรอย่างต่อเนือ่ งจากการเปิดเสรี กับประเทศต่าง ๆ8 (ภาพที่ 6) เช่น ส่งผลให้อัตราอากรเฉลี่ยหมวดสินค้ายานยนต์ของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ นอกกลุ่ม AFTA มีสัดส่วนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ดูรายละเอียดการจัดเก็บและอัตราภาษีอินโดนีเซีย ใน http://otp.moc.go.th/modules/datacenter/images/File/indonesia/Indonesia_Tax.pdf การเปิดเสรีหมวดยานบกของประเทศไทยเป็นไปในลักษณะทยอยในแต่ละปี โดยการลดอากรขาเข้าในพิกัดนี้ส�ำหรับประเทศต่าง ๆ จะมีเงื่อนเวลาที่แตกต่างกัน โดยอัตราอากรขาเข้าเฉลี่ย (ETR) ที่ไทยเก็บได้จากประเทศคู่ค้าต่าง ๆ นั้น จะลดลงเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2559 ตามการลดอากรขาเข้าตามที่ ตกลงไว้ตามกรอบการค้าเสรี (FTA) เท่ากับหรือเกือบเท่ากับร้อยละ 0 ส�ำหรับประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา ยกเว้นญี่ปุ่น จีน และอาเซียน ซึ่งอัตราภาษีเฉลี่ยร้อยละ 4.75 ร้อยละ 7.06 และร้อยละ 7.06 ตามล�ำดับ
7 8
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
101
ภาพที่ 6 อัตราอากรเฉลี่ย (ETR) หมวดสินค้ายานยนต์ของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ
ที่มา : กรมศุลกากร
2) Lower growth for some car segments and brands : จากความต้องการใช้ประเภทยานยนต์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ที่นิยมใช้รถจักรยานยนต์เนื่องจากมีความคล่องตัวในการเดินทาง ท�ำให้ตลาดรถจักรยานยนต์ในอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่เป็น อันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและอินเดีย โดยมี Honda และ Yamaha ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Association of Motorcycle Industries คาดว่าตลาดรถจักรยานยนต์ในอินโดนีเซียจะเริ่มอิ่มตัวภายในปี 2558 ด้วยสัดส่วนจ�ำนวนประชากร ต่อรถจักรยานยนต์เฉลี่ยที่ 2 ต่อ 1 ซึ่งสวนทางกับความต้องการซื้อรถยนต์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งถือเป็น Threat ต่ออุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในอนาคต 3) Failing Consumer Confidence due to “Recall” : เหตุการณ์เรียกคืน (Recall) รถยนต์จากลูกค้าเนือ่ งจากมีขอ้ บกพร่อง (Defect) นั้นเป็น Threat ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนและผู้บริโภคได้ โดยเหตุการณ์ ดังกล่าวเคยเกิดในอินโดนีเซีย เช่น การ Recall รถยนต์ฮอนด้า City รุ่นที่ถูกผลิตระหว่างเดือนตุลาคม 2551-มกราคม 2553 และ ฮอนด้า Jazz ที่ผลิตในเดือนมิถุนายน 2551-มีนาคม 2553 จ�ำนวนรวม 16,300 คัน และฮอนด้า Freed ถูกเรียกคืน 10,592 คัน โดยตัวอย่างเหตุการณ์ทสี่ ะท้อนการลดลงของความเชือ่ มัน่ ผูบ้ ริโภค ได้แก่ Recall โตโยต้า ยังคงเป็นแบรนด์ระดับโลกอันดับหนึง่ ของญี่ปุ่น แต่มูลค่ายอดขายกลับลดลงเกือบ 1 ใน 5 เนื่องจากการเรียกคืนรถจ�ำนวนมาก โดยมูลค่าแบรนด์รถในบริษัท โตโยต้า คอร์ป ช่วงปี 2553 ลดลงร้อยกว่าละ -16.0 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (%yoy) หรืออยู่ที่ 25,660 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เหลียวมองอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ในระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยถูกเลือกให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์และค่ายชิ้นส่วนรายใหญ่ อาทิ โตโยต้า ฯลฯ โดยตัดสินใจให้ไทยเป็นโรงงานแม่ในการผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีระดับสูง มีมูลค่ามาก ท�ำให้ประเทศไทย ได้รับประโยชน์อย่างมาก เพราะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สร้างงานและเพิ่มโอกาสในการส่งรถ ออกไปขายในประเทศอาเซียนด้วยกัน อย่างไรก็ดี ประโยชน์ตา่ ง ๆ ทีไ่ ทยได้รบั ในอดีตก�ำลังถูกลดทอนไปจากปัญหาความเชือ่ มัน่ ของนักลงทุน และปัจจัยภายนอกที่ส�ำคัญคือ ประเทศคู่แข่ง คือ อินโดนีเซีย ดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ สิ่งส�ำคัญที่อุตสาหกรรม ยานยนต์ไทยต้องค�ำนึงถึงอีกประการหนึ่งนั่นคือ เมื่อเกิด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) แล้วก็จะเกิดการรวมกันของฐานการผลิต ซึ่งแม้จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของค่ายรถยนต์ที่มีเครือข่ายฐานการผลิตใน อาเซียนจะต�ำ่ ลง ด้วยการแลกเปลีย่ นชิน้ ส่วนยานยนต์กนั ในงานทีต่ นเองถนัด โดยในกรณีนเี้ มือ่ เหลียวกลับมามองทีไ่ ทยอาจจะดู ได้เปรียบ เพราะว่าปัจจุบนั ชิน้ ส่วนส�ำคัญและมีมลู ค่าสูงส่วนใหญ่จะผลิตในประเทศไทย อาทิ เครือ่ งยนต์หรือชุดเกียร์ โดยหากเกิด การแลกเปลี่ยนประเทศไทยจะมีความได้เปรียบในเชิงดุลการค้ามากขึ้น แต่ในอนาคตอาจจะเกิดเหตุการณ์ “การเลือกย้าย ฐานการผลิต” โดยอาจจะเลือกปิดฐานการผลิตในประเทศที่ผู้น�ำตลาดอันดับต้น ๆ แข็งแกร่งเกินกว่าจะสอดแทรกท�ำก�ำไรได้
102
แล้วเลือกประเทศใดประเทศหนึง่ เป็นฐานในการผลิตและส่งกลับมาจ�ำหน่าย ตัวอย่างเช่น กรณีศกึ ษารถจักรยานยนต์ซซู กู ิ แบรนด์ ชื่อดังจากญี่ปุ่นที่มีส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ลดน้อยลงเรื่อย ๆ ในประเทศไทย โดยปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ 4 จาก ตลาดรวม 1.5 ล้านคัน กระทัง่ ในทีส่ ดุ ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2552 ทีผ่ า่ นมาบริษทั Suzuki Motor Cop ผูผ้ ลิตรถจักรยานยนต์ รายใหญ่ของญีป่ นุ่ ได้ตดั สินใจย้ายโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์จากไทยไปอินโดนีเซีย โดยระบุวา่ ตลาดขนาดใหญ่กว่า 4 ล้านคัน ต่อปีของอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในเหตุผลของการย้ายโรงงานครั้งนี้ เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับวงการรถยนต์ ในประเทศไทยก็เป็นได้ ดังนั้น ประเด็นที่ควรให้ความส�ำคัญในระยะต่อไปส�ำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และภาครัฐของไทย คือ การรักษา ความเชื่อมั่นของนักลงทุน การเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการลงทุนและรั้งให้นักลงทุนต่างชาติยังคงยึดมั่นให้ไทยเป็น ฐานการผลิตต่อไป เพราะจากกรณีอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย และกระทบโดยอ้อมไปยังตลาดต่างประเทศมิใช่น้อย โดยเฉพาะในอาเซียนที่ต้องเผชิญภาวะชะงักงันทางการผลิต เพราะต้อง พึ่งพาชิ้นส่วน/ส่วนประกอบยานยนต์จากไทยเพื่อเดินสายการผลิตต่อไป ประกอบกับต้นทุนการผลิตในไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อาทิ ค่าจ้างแรงงาน ก็มีส่วนกระตุ้นให้นักลงทุนเริ่มแสวงหาแหล่งลงทุนในประเทศอื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งอินโดนีเซียก็เป็น ตัวเลือกที่น่าสนใจด้วยตลาดเฉพาะอินโดนีเซียก็ใหญ่กว่าไทยถึง 3 เท่าตัว และยังมีต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่ต�่ำกว่าไทยด้วย (ไทย 10 ดอลลาร์ฯ/วัน, อินโดนีเซีย 8 ดอลลาร์ฯ/วัน) จึงจ�ำเป็นทีภ่ าครัฐบาลไทยควรมีบทบาทสร้างความเชือ่ มัน่ ให้แก่นกั ลงทุนในการสร้างความได้เปรียบเชิงต้นทุนการผลิต ให้การอุดหนุนภาคอุตสาหกรรม เร่งสร้างเสริมศักยภาพแรงงานและจ�ำนวนแรงงานมีฝีมือ รวมไปถึงการสร้างความมั่นคง ทางการเมือง การช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมกรณีเกิดภัยธรรมชาติ และหาทางป้องกันไม่ให้ซ�้ำรอยเดิมหรือสร้างความเสียหาย ให้นอ้ ยทีส่ ดุ ทัง้ นี้ ล่าสุดรัฐบาลได้ตงั้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพือ่ การฟืน้ ฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำ (กยน.) โดยมีการก�ำหนดแผนฟื้นฟูประเทศ แผนป้องกันน�้ำท่วม ในระยะยาว นอกจากนี้ ในส่วนของภาคนิคมอุตสาหกรรมนั้นมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารร่วมกันระหว่างการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เพื่อด�ำเนินยุทธศาสตร์พัฒนานิคมอุตสาหกรรม ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) จัดท�ำแผนป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะเกิดแก่นิคมอุตสาหกรรม 2) การประสานงานออกใบอนุญาต ตั้งเขตประกอบการอุตสาหกรรมให้มีความสะดวกมากขึ้นแก่นักลงทุน และ 3) การเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย แก่โรงงาน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นในนิคมฯ มาบตาพุด เป็นต้น ขณะเดียวกัน การออกกฎหมายหรือเงือ่ นไขต่าง ๆ ควรค�ำนึงถึงสภาพความเป็นจริงและเหมาะสมกับช่วงเวลา ยกตัวอย่าง เงือ่ นไขของอีโคคาร์ ในปัจจุบันที่จะต้องผ่านมาตรฐานยูโร 4 ในขณะที่ไทยยังไม่ได้ใช้น�้ำมันตามเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว เป็นต้น นอกจากนี้ ควรมีการวางแผนร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ระหว่างภาครัฐ ผูป้ ระกอบการภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจยั ต่าง ๆ เพื่อพัฒนางานวิจัยมาปรับใช้ในเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น ตลอดจนการยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากร ทีป่ ฏิบตั กิ ารอยูใ่ นอุตสาหกรรมฯ โดยเฉพาะวิศวกรและช่างเทคนิค ตลอดจนการฝึกอบรมเพือ่ รักษามาตรฐานฝีมอื แรงงานให้กา้ วทัน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
103
ภาคการเงิน
รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 อัตราดอกเบีย้ เงินกูแ้ ละอัตราดอกเบีย้ เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 1 ปีและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.55 และร้อยละ 6.31 ณ สิ้นปี 2553 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.85 และร้อยละ 7.44 ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2554 ตามล�ำดับ (ภาพที่ 1) ตามการปรับเพิ่ม อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่ยังคง เพิ่มขึ้นส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงลดลงต่อเนื่อง ❍❍ การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2555 เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากของธนาคาร พาณิชย์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2554 โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในช่วงต้นปี 2555 ตามการปรับลด อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังสถานการณ์น�้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 แรงกดดันจาก เงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะส่งผลให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผนวกกับสินเชื่อที่คาดว่า จะขยายตัวเร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงดังกล่าว จะส่งผลให้มีการแข่งขันระดมเงินฝากมากขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าว จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ❍❍
ภาพที่ 1 อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชือ่ ของสถาบันการเงินทีร่ บั ฝากเงิน1 (Depository institutions) ณ สิน้ เดือนพฤศจิกายน 2554 ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่เงินฝากขยายตัวชะลอลง (ภาพที่ 2 และภาพที่ 3) โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2554 สถาบัน รับฝากเงินมียอดคงค้างของสินเชื่อภาคเอกชนจ�ำนวน 11,308.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีกอ่ น และเมือ่ ขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.6 เมือ่ เทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึง่ เป็นการขยายตัวทัง้ สินเชือ่ ภาคธุรกิจและ สินเชื่อภาคครัวเรือน โดยหากวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่าสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นชัดเจน ขณะที่ สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ชะลอลงจากปัญหาอุทกภัย ด้านเงินฝากของสถาบันรับฝากเงินมียอดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 11,455.0 พันล้านบาท ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วหดตัว เล็กน้อยที่ร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามการชะลอลงของเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงิน เฉพาะกิจยังคงเร่งขึ้นต่อเนื่อง จากการระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูหลังเหตุการณ์น�้ำท่วม ❍❍
1
104
ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน
ภาพที่ 2 สินเชื่อในสถาบันรับฝากเงิน
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 3 เงินฝากในสถาบันรับฝากเงิน
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
สินเชือ่ ของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือนสิงหาคม ปี 2554 ขยายตัวดีตอ่ เนือ่ ง ขณะทีเ่ งินฝากของธนาคาร พาณิชย์ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย (ภาพที่ 4 และภาพที่ 5) ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2554 ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง สินเชือ่ ภาคเอกชนจ�ำนวน 7,521.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.9 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า และเมือ่ ขจัดผลของ ฤดูกาลแล้วเพิม่ ขึน้ เพียงเล็กน้อยทีร่ อ้ ยละ 0.01 เมือ่ เทียบกับเดือนก่อนหน้า ด้านเงินฝากของสถาบันรับฝากเงินมียอดคงค้างเงินฝาก จ�ำนวน 7,823.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว หดตัวที่ร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ❍❍
ภาพที่ 4 สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 5 เงินฝากในธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อภาคครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือนพฤศจิกายน 2554 ขยายตัวชะลอลงจากสถานการณ์อทุ กภัย (ภาพที่ 6) สินเชือ่ ทีใ่ ห้แก่ภาคธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ซงึ่ มีสดั ส่วนกว่าร้อยละ 40 ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2554 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอลงของเศรษฐกิจโดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่สินเชื่อภาคครัวเรือนซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 60 ของสินเชือ่ รวม ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 15.0 สอดคล้องกับการชะลอลงของการบริโภคภาคเอกชนในช่วงสถานการณ์นำ�้ ท่วม ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
105
ภาพที่ 6 ยอดคงค้างสินเชื่อครัวเรือนและสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
สินเชื่อธุรกิจเกือบทุกภาคการผลิตขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมและ ภาคเกษตรกรรม (ภาพที่ 8) ยอดคงค้างสินเชือ่ ภาคอุตสาหกรรมซึง่ มีสว่ นแบ่งร้อยละ 42.6 ของสินเชือ่ ธุรกิจ ขยายตัวร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากยอดคงค้างสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว ร้อยละ 17.2 สอดคล้องกับสินเชือ่ อสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเร่งขึน้ ทีร่ อ้ ยละ 10.3 นอกจากนี้ ยอดคงค้างสินเชือ่ ภาคเกษตรกรรม ขยายตัวเร่งขึ้นจากยอดคงค้างสินเชื่อเกษตรกรรมในไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 25.9 สอดคล้องกับดัชนีผลผลิต ภาคเกษตรกรรมและราคาสินค้าเกษตรในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ยอดคงค้าง สินเชื่อภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 45 ของสินเชื่อธุรกิจ (ภาพที่ 7) ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ ร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอลงของจ�ำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ที่ร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ❍❍
ภาพที่ 8 การขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
ภาพที่ 7 สินเชื่อแยกตามภาคธุรกิจ
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 9 โครงสร้างสินเชื่อผู้บริโภค
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
106
ยอดคงค้างสินเชื่อผู้บริโภคในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนหน้า โดยสินเชื่อบุคคลเพื่อซื้อรถหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 5.0 ของสินเชื่อรวม หรือร้อยละ 22.0 ของสินเชื่อบุคคล ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องจากยอดคงค้างสินเชื่อดังกล่าวในไตรมาส ก่อนหน้าร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สะท้อนการบริโภคสินค้าคงทนในส่วนของรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ทอี่ ยูใ่ นระดับสูง ตามการผลิตหมวดสินค้ายานยนต์กลับมาสูร่ ะดับปกติหลังจากการขาดชิน้ ส่วนการผลิต (Supply shortage) ตามการปิดบริการชัว่ คราวของบริษทั ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในประเทศญีป่ นุ่ จากภัยพิบตั สิ นึ ามิในเดือนมีนาคม 2554 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะทีย่ อดคงค้างสินเชือ่ เพือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย ซึง่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.0 ของสินเชือ่ ทัง้ หมด หรือกว่าร้อยละ 55.0 ของสินเชือ่ บุคคล ขยายตัวเร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้ามาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 12.0 ยอดคงค้างสินเชือ่ บัตรเครดิตในเดือนตุลาคม 2554 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 7.0 บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนชะลอลงในช่วงสถานการณ์น�้ำท่วม สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนตุลาคม 2554 ที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 62.8 ❍❍
ภาพที่ 10 การขยายตัวสินเชื่อบุคคล ธนาคารพาณิชย์แยกประเภท
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 11 การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ผ่านบัตรเครดิต
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
กล่าวโดยสรุป ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2554 เงินฝากและสินเชื่อของสถาบันการเงินไทยขยายตัว ชะลอลงเนือ่ งจากสถานการณ์นำ�้ ท่วม โดยหากวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดพบว่า สินเชือ่ ของธนาคารพาณิชย์ทงั้ ในส่วนของ สินเชื่อผู้บริโภคและสินเชื่อธุรกิจขยายตัวชะลอลงจากผลกระทบของวิกฤตน�้ำท่วม ขณะที่สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ยังคงขยายตัวได้ดตี อ่ เนือ่ งตามมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ขณะทีเ่ งินฝากขยายตัวชะลอลงเช่นกัน โดยส่วนหนึง่ เป็นผลมาจาก การชะลอลงของเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ขณะที่เงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่อง จากการเร่ง ระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูระหว่างและหลังสถานการณ์น�้ำท่วม ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ถึงสถานภาพ ของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบนั พบว่ายังคงมีความแข็งแกร่ง โดยสัดส่วนหนีท้ ไี่ ม่กอ่ ให้เกิดรายได้สทุ ธิยงั คงอยูใ่ นระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 1.5 ของสินเชื่อทั้งหมด ขณะที่สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 15.3 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมาย ก�ำหนดไว้ที่ร้อยละ 8.5 ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
107
Thailand’s Key Economic Indicators ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators)
108
ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง FISCAL POLICY OFFICE
ส
เสนอแนะอย่างมีหลักการ
ศ
ศึกษาโดยไม่หยุดนิ่ง
ค
คนคลังที่มีคุณภาพ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท 0-2273-9020 โทรสาร 0-2298-5602 website : http://www.fpo.go.th