ประมาณการเศรษฐกิจไทยป 2556
THAILAND'S ECONOMIC OUTLOOK 2013 : MARCH
เดือนมีนาคม
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
http://www.fpo.go.th
THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2013 FISCAL POLICY OFFICE เป้าประสงค์ และ ยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 1. ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการคลัง เพื่อให้ภาคการคลังของประเทศมีความแข็งแกร่งยั่งยืน เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นหลักของ ระบบเศรษฐกิจไทย 2. การพัฒนาความแข็งแกร่งของระบบการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Financial System Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการเงิน เพื่อให้ภาคการเงินแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ 3. เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน (Sustainable Economic and Social Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อกระจายความมั่งคั่ง สู่ภูมิภาคและเศรษฐกิจฐานราก + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น 4. ความมีประสิทธิภาพ ความทันสมัย และความโปร่งใสในการท�ำงาน (Modernization of Management and Good Governance Promotion) + ด�ำเนินการเพื่อให้เป็นองค์กรเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับด้านความสามารถของบุคลากร + ด�ำเนินการเพื่อให้การท�ำงานและการให้บริการโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้ โดยใช้ระบบ IT ลดขั้นตอนการท�ำงาน
กลยุทธ์ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค : “เสาหลักด้านเศรษฐกิจมหภาคอย่างมืออาชีพ” “วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพ แม่นย�ำ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้สามารถเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้อย่าง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณชน”
ช่องทางใหม่ในการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ
ขั้นตอนการใช้งานผ่านอุปกรณ์ iPad iPhone / ระบบปฏิบัติการ Android 1 โหลด App ชื่อ “ebooks.in.th” จาก App Store / Android Market 2 เปิด App “ebooks.in.th” แล้ว Search ค�ำว่า “Fiscal Policy Office” 3 เลือกหนังสือและบทความที่ท่านต้องการอ่าน เพื่อเก็บไว้ที่ตู้หนังสือ 4 เลือก Icon “Bookshelf” เพื่ออ่านหนังสือที่ต้องการ (ในครั้งแรกต้องลงทะเบียนก่อนใช้งาน)
THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2013 : MARCH FISCAL POLICY OFFICE
สารบัญ 1. ประมาณการเศรษฐกิจไทย บทสรุปผู้บริหาร Executive Summary ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 (ณ เดือนมีนาคม 2556) 1.1 สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 1.2 ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 2. ภาคการคลัง : รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2556
หน้า 3 6 9 10 26 37
3. บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ : Macroeconomic Analysis Briefings 3.1 ก้าวใหม่ระบบขนส่งไทย : แผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในระบบขนส่งของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาท 3.2 แนวทางการพัฒนาการจัดจ�ำหน่ายกองทุนรวมของไทย (ตอนที่ 2) 3.3 สงครามค่าเงิน : ใครได้ ใครเสีย 3.4 ทางรอดอุตสาหกรรมอัญมณีไทย 3.5 แนวทางการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจไทย : ประโยชน์ของดัชนีเครื่องชี้เศรษฐกิจ 3.6 มาตรการ QE และ Q2 : ไพ่ใบสุดท้ายของญี่ปุ่น 3.7 ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ : รุ่งหรือร่วง 3.8 ข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังในอนาคต 3.9 The Effectiveness of Government Spending in Thailand during the 2008 Crisis
52 62 71 78 87 94 102 109
4. ภาคการเงิน : รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2556
116
5. Thailand’s Key Economic Indicators
120
คณะผู้จัดท�ำ : ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทรศัพท์ 02-273-9020 ต่อ 3257 โทรสาร 02-298-5602 / 02-618-3397 http:// www.fpo.go.th
45
บทสรุปผู้บริหาร
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 (ณ เดือนมีนาคม 2556) รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 “เศรษฐกิจไทยปี 2556 คาดว่าจะสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.3” ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้รอ้ ยละ 5.3 (โดยมีชว่ งคาดการณ์รอ้ ยละ 4.8-5.8) ซึง่ เป็นการปรับเพิม่ ขึน้ จากการคาดการณ์ครัง้ ก่อนทีค่ าดว่าจะขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 5.0 เนือ่ งจากอุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนือ่ ง โดยการบริโภคภายในประเทศจะเป็นแรงขับเคลือ่ น ส�ำคัญของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนได้รับผลดีจากรายได้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้น จากการจ้างงานที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี รวมถึงมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการปรับค่าแรง รายวันขั้นต�่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ หรือโครงการรับจ�ำน�ำข้าว เป็นต้น ส�ำหรับการบริโภคภาครัฐก็ขยายตัวดีตาม การเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีของรัฐบาลในปี 2556 ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การลงทุนภายในประเทศจะยัง สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ โดยการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะยังคงเร่งตัวในระดับ สูงต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากได้รับผลดีจากการด�ำเนินนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากอุทกภัย ในปีที่ผ่านมา รวมทั้งจากมาตรการของรัฐเพื่อการส่งเสริมการลงทุน ในขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นใน ปีนจี้ ากการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐและการลงทุนตามแผนการบริหารจัดการน�ำ้ ของภาครัฐวงเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท ส�ำหรับอุปสงค์ภายนอกจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกในปีนี้ โดยการส่งออกคาดว่าขยายตัวร้อยละ 9.0 (โดยมีชว่ งคาดการณ์รอ้ ยละ 8.0-11.0) ตามการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจโลกโดยรวมทีค่ าดว่าจะขยายตัวดีขนึ้ จากปีกอ่ น ถึงแม้การส่งออกจะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าบ้างก็ตาม ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 จะยังอยู่ที่ร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.5-3.5) ตามราคาน�้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในด้าน เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ ดุลการค้าจะเกินดุลเล็กน้อยจากปีทแี่ ล้ว เนือ่ งจากมูลค่าการน�ำเข้าทีเ่ ร่งตัวเพิม่ ขึ้นในอัตราที่มากกว่ามูลค่าการส่งออก ซึ่งจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเล็กน้อยที่ประมาณร้อยละ 0.04 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ (-0.5)-(0.5) ของ GDP)”
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
3
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2556 (ณ เดือนมีนาคม 2556)
2555
2556 f (ณ มีนาคม 2556) เฉลี่ย
ช่วง
สมมติฐานหลัก สมมติฐานภายนอก 1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี) 3.3 3.8 3.3-4.3 2) ราคาน�้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) 109.1 113.0 108.0-118.0 3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 0.6 2.9 1.9-3.9 4) ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 1.6 3.2 2.2-4.2 สมมติฐานด้านนโยบาย 5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) 31.1 29.4 28.4-30.4 6) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละต่อปี) 2.75 2.75 2.25-3.25 7) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท) 2.89 3.16 3.11-3.21 ผลการประมาณการ 1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 6.4 5.3 4.8-5.8 2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี) 6.6 4.4 3.9-4.9 - การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 6.6 4.6 4.1-5.1 - การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 7.4 3.5 3.0-4.0 3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี) 10.2 10.3 9.3-11.3 - การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 14.6 9.3 8.3-10.3 - การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 8.9 14.2 13.2-15.2 4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 2.9 5.7 4.7-6.7 5) อัตราการขยายตัวปริมาณน�ำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 6.2 5.8 4.8-6.8 6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 8.3 5.8 4.8-6.8 - สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 3.2 9.0 8.0-10.0 - สินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 7.8 10.6 9.6-11.6 7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 2.7 0.2 (-1.8)-(2.1) - ร้อยละของ GDP 0.5 0.0 (-0.5)-(0.5) 8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี) 3.0 3.0 2.5-3.5 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี) 2.1 1.9 1.4-2.4 9) อัตราการว่างงาน (ร้อยละของก�ำลังแรงงานรวม) 0.7 0.6 0.5-0.7 f = ประมาณการ โดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
4
1. เศรษฐกิจไทยในปี 2556 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีก่อนที่ร้อยละ 5.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 4.8-5.8) จากอุปสงค์ภาคเอกชนทีม่ แี นวโน้มขยายตัวดี โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 (โดยมีชว่ ง คาดการณ์รอ้ ยละ 4.1-5.1) ทัง้ นี้ เห็นได้จากยอดจ�ำหน่ายรถยนต์นงั่ และรถจักรยานยนต์มกี ารขยายตัวสูง โดยรายได้ภาคครัวเรือน ที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อันได้แก่ มาตรการการเพิ่มค่าแรงรายวันขั้นต�่ำ เป็น 300 บาททั่วประเทศ และโครงการรับจ�ำน�ำข้าวที่ส่งผลโดยตรงต่อกลุ่มแรงงานและครัวเรือนในระดับฐานราก ซึ่งจะช่วย ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อไป ในส่วนของการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐทีค่ าดว่าจะขยายตัวได้ในระดับ สูงร้อยละ 14.2 (โดยมีชว่ งคาดการณ์รอ้ ยละ 13.2-15.2) นัน้ มีปจั จัยสนับสนุนจากทัง้ รายจ่ายงบประมาณและรายจ่ายตามแผน บริหารจัดการน�้ำของภาครัฐวงเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาทที่เริ่มทยอยลงทุนได้มากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2556 โดยการลงทุน ภาครัฐทีเ่ ด่น ได้แก่ การลงทุนในหมวดก่อสร้างจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีมว่ ง บางใหญ่-บางซือ่ ขณะทีก่ ารบริโภคภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 (โดยมีชว่ งคาดการณ์รอ้ ยละ 3.0-4.0) ตามการเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีของรัฐบาลในปี 2556 ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 8.3-10.3) ซึ่งยัง คงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะหมวดเครื่องมือเครื่องจักร โดยมีแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐในส่วนของมาตรการส่งเสริม การลงทุนส�ำหรับการค้าระหว่างประเทศนั้น คาดว่าการส่งออกสินค้าและบริการยังคงเป็นองค์ประกอบส�ำคัญของการขยายตัว เศรษฐกิจในปีนี้ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยรวม โดยปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการจะขยายตัวร้อยละ 5.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.7-6.7) และมูลค่าการส่งออกขยายตัวดีที่ร้อยละ 9.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 8.0-10.0) ถึงแม้วา่ จะได้รบั ผลกระทบบางส่วนจากค่าเงินบาททีแ่ ข็งค่าขึน้ และยังคงมีความเสีย่ งจากความเปราะบางทางเศรษฐกิจของกลุม่ ยูโรโซนโดยเฉพาะในส่วนของประเทศไซปรัสทีย่ งั คงมีปญ ั หา ส่วนปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.8-6.8) และมูลค่าการน�ำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 9.6-11.6) โดยอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกหมวดโดยเฉพาะน�้ำมันดิบ โลหะ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของอุปสงค์การน�ำเข้าภายในประเทศเพื่อการผลิตที่เพิ่มขึ้น 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพภายในประเทศ ในด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 คาดว่าจะอยู่ร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.5-3.5) ตามราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่คาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อจาก สินค้าน�ำเข้าหลายรายการรวมทัง้ น�ำ้ มันดิบ อย่างไรก็ดี ความเสีย่ งด้านภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติและภัยแล้งอาจส่งผลให้ราคาธัญพืช ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ในส่วนของอัตราการว่างงาน คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.6 ของก�ำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.5-0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม) ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะ เกินดุลเล็กน้อยที่ 0.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.04 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ (-0.5)-(0.5) ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 4.8-6.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้าน�ำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
5
Executive Summary
Thailand’s Economic Projection for 2013 (As of March 2013) Thailand’s Economic Outlook Projection 2013 The Thai economy in 2013 is projected to grow at 5.3 percent. The Fiscal Policy Office (FPO), Ministry of Finance, announced Thailand’s economic projection as of March 2013 stating that “the Thai economy in 2013 is projected to grow at an annual rate of 5.3 percent (or within a range of 4.8-5.8 percent), higher than the previous projected rate of 5.0 percent, due to a continued expansion in domestic demand. Private consumption continues to be the main driver of the economy, following higher employment and household income. The stimulus measures to generate income, e.g. the 300 Baht minimum wage policy and the rice mortgage scheme, have proved to be supportive of private consumption spending. Public consumption continues to expand, following the ongoing annual budget disbursements. Domestic investment is also expected to support economic growth this year. Private investment is expected to continue to grow at a high rate, due to the government’s stimulus and investment promotion measures. Public investment is expected to grow at a higher rate this year due to an acceleration in budget disbursements for government investment, including the investment in the water resource management plan (350 billion baht). Meanwhile, external demand is anticipated to benefit exports this year. It is expected that the value of exports of goods and services will grow at a rate of 9.0 percent (or within a range of 8.0-11.0 percent) due to the global economic recovery, despite the appreciation of the Thai Baht. With regard to internal stability, headline inflation in 2013 is anticipated to be 3.0 percent (or within a range of 2.5-3.5 percent), due to higher prices of oil and commodity products. For external stability, the trade balance is projected to record a smaller surplus than it had in the previous year. Import growth has accelerated at a faster pace than that of export growth, resulting in an estimated current account surplus of 0.04 percent of GDP (within a range of (-0.5)-(0.5) percent of GDP).”
6
Major Assumptions and Economic Projections of 2013 (As of Mar 2013) 2012
2013 f (As of Mar 2013) Average
Range
Major Assumptions Exogenous Variables 1) Average Economic Growth Rate of Major Trading Partners (percent y-o-y) 3.3 3.8 3.3-4.3 2) Dubai Crude Oil Price (U.S. dollar per Barrel) 109.1 113.0 108.0-118.0 3) Export price in U.S. dollar (percent y-o-y) 0.6 2.9 1.9-3.9 4) Import price in U.S. dollar (percent y-o-y) 1.6 3.2 2.2-4.2 Policy Variables 5) Exchange Rate (Baht per U.S. dollar) 31.1 29.4 28.4-30.4 6) Repurchase Rate (Policy Rate) at year-end (percent y-o-y) 2.75 2.75 2.25-3.25 7) Fiscal-Year Pubic Expenditure (Trillion Baht) 2.89 3.16 3.11-3.21 Projections 1) Economic Growth Rate (percent y-o-y) 6.4 5.3 4.8-5.8 2) Real Consumption Growth (percent y-o-y) 6.6 4.4 3.9-4.9 - Real Private Consumption 6.6 4.6 4.1-5.1 - Real Public Consumption 7.4 3.5 3.0-4.0 3) Real Investment Growth (percent y-o-y) 10.2 10.3 9.3-11.3 - Real Private Investment 14.6 9.3 8.3-10.3 - Real Public Investment 8.9 14.2 13.2-15.2 4) Export Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 2.9 5.7 4.7-6.7 5) Import Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 6.2 5.8 4.8-6.8 6) Trade Balance (billion U.S. dollar) 8.3 5.8 4.8-6.8 - Export Value of Goods in U.S. dollar (percent y-o-y) 3.2 9.0 8.0-10.0 - Import Value of Goods in U.S. dollar (percent y-o-y) 7.8 10.6 9.6-11.6 7) Current Account (billion U.S. dollar) 2.7 0.2 (-1.8)-(2.1) - Percentage of GDP 0.5 0.0 (-0.5)-(0.5) 8) Headline Inflation (percent y-o-y) 3.0 3.0 2.5-3.5 Core Inflation (percent y-o-y) 2.1 1.9 1.4-2.4 9) Unemployment Rate (percentage of total labor force) 0.7 0.6 0.5-0.7 f = forecast by Fiscal Policy Office, Ministry of Finance, Thailand
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
7
1. Thailand’s Economic Projections for 2013 1.1 Economic Growth The Thai economy in 2013 is forecasted to grow at an annual rate of 5.3 percent (or within a range of 4.85.8 percent), higher than the previous projection of 5.0 percent, due to a continued expansion in domestic private demand. Private consumption is projected to grow at 4.6 percent (or within a range of 4.1-5.1 percent). This could be seen from higher growth rates of passenger car and motorcycle sales. Higher household income, partially resulting from the government’s stimulus measures e.g. the 300 Baht minimum wage policy and the rice mortgage scheme, leads to the continued expansion of private consumption. Public investment is estimated to grow at an accelerated rate of 14.2 percent per year (or within a range of 13.2-15.2 percent), supported by annual budget disbursements and disbursements for the water resource management plan (350 billion baht), which have accelerated since the beginning of the year 2013. An outstanding government investment project is the Mass Transit project (Purple line: Bang Yai - Bang Sue). Meanwhile, public consumption is expected to grow at a rate of 3.5 percent (or within a range of 3.0-4.0 percent) following the ongoing annual government budget disbursements. Private investment is anticipated to grow at a high rate of 9.3 percent (or within a range of 8.3-10.3 percent), especially in the equipment and machinery sector, with support from the government’s stimulus and investment promotion measures. Moreover, with the global economic recovery, exports of goods and services will help contribute to economic growth this year. The quantity of exports of goods and services is expected to grow at 5.7 percent (or within a range of 4.7-6.7 percent) while the value of exports of goods and services is anticipated to grow at 9.0 percent (or within a range of 8.0-10.0 percent), in spite of the appreciation of the Thai Baht and risks from economic vulnerabilities of the Eurozone, especially in Cyprus. The quantity of imported goods and services is expected to grow at a rate of 5.8 percent (or within a range of 4.8-6.8 percent) while the value of imported goods and services is anticipated to grow at 10.6 percent (or within a range of 9.6-11.6 percent). This is partially due to the appreciation of the Thai Baht. Imports are expected to increase in all sectors, especially crude oil, metal and electronic parts, showing the expansion of import demand due to an increase in domestic production. 1.2 Economic Stability For internal stability, headline inflation in 2013 is anticipated to be 3.0 percent (or within a range of 2.5-3.5 percent), due to an increase in global oil prices. Nevertheless, the appreciation of the Thai Baht should help lower inflationary pressure on imported products, including oil. However, the risks of natural disasters, including drought, could lead to a rise in agricultural commodity prices in the world market. Unemployment is expected to be 0.6 percent of the total labor force (or within a range of 0.5-0.7 percent). On external stability, the current account in 2013 is projected to record a surplus of USD 0.2 billion, accounting for 0.04 percent of GDP (or within a range of (-0.5)-(0.5) percent of GDP) as the estimated trade balance surplus drops slightly to USD 5.8 billion (or within a range of USD 4.8-6.8 billion). This is partially explained by accelerated import growth which is higher than export growth.
8
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 (ณ เดือนมีนาคม 2556) ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2556 จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 (โดยมีช่วง คาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5-5.5) ต่อเนื่องจากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 โดยมีการปรับปรุงข้อมูลและสมมติฐานที่ส�ำคัญ ดังนี้ ปรับฐานข้อมูลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 และในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามที่ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 ❍❍
เครือ่ งชีภ้ าวะเศรษฐกิจมหภาคในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 บ่งชีว้ า่ เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวต่อเนือ่ งจาก ปีกอ่ น โดยเฉพาะด้านภาคบริการทีข่ ยายตัวในระดับสูง และมีบทบาทส�ำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ในช่วงทีผ่ า่ นมา สะท้อนจากจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วทีข่ ยายตัวในอัตราเร่งทีร่ อ้ ยละ 18.8 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ส�ำหรับด้าน การผลิตยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดเี ช่นกัน แม้วา่ จะชะลอลงจากปีกอ่ น สะท้อนจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 และร้อยละ 0.3 ตามล�ำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและความต่อเนื่อง ของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส�ำหรับด้านการใช้จ่ายพบว่า เครื่องชี้การบริโภคและลงทุนส่งสัญญาณขยายตัวอย่าง ต่อเนื่องจากปีก่อนเช่นกัน โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการ ส่งสัญญาณขยายตัวจากปีก่อนที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับการน�ำเข้าสินค้าและบริการ ยังคงขยายตัวในอัตราเร่งต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 22.2 ตามการเพิม่ ขึน้ ของการน�ำเข้าในหมวดสินค้าทุนและสินค้าอุปโภค-บริโภค ทัง้ นี้ การขยายตัวของการน�ำเข้าที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับการขยายตัวของการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้าตามระบบกรมศุลกากร ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 ขาดดุลที่ระดับ 7.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ❍❍
การเปลี่ยนแปลงสมมติฐานที่ส�ำคัญ ได้แก่ (1) อัตราการขยายตัวของ 14 ประเทศคู่ค้า ในปี 2556 สศค.ประมาณการการขยายตัวของ 14 ประเทศคู่ค้าอยู่ที่ร้อยละ 3.8 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.3-4.3) เร่งขึ้นจากปีก่อน ที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ในขณะที่ ยังมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหภาพยุโรป เนื่องจากปัญหาการเงินของประเทศไซปรัส (2) ก�ำหนดสมมติฐาน ราคาน�้ำมันดิบดูไบในปี 2556 อยู่ที่ 113 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์ที่ 108.0-118.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) ตามการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจโลก (3) ปรับสมมติฐานราคาส่งออกและราคาน�ำเข้าในปี 2556 ให้ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 2.9 และร้อยละ 3.2 ตามล�ำดับ ตามการลดลงของราคาสินค้าเกษตรส�ำคัญ โดยเฉพาะราคายางพารา ในขณะทีร่ าคาน�ำเข้าลดลงจากสินค้าวัตถุดบิ และสินค้าเชือ้ เพลิงเป็นส�ำคัญ (4) ปรับสมมติฐานอัตราแลกเปลีย่ นบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 ให้อยูท่ ี่ 29.4 (ช่วงคาดการณ์ อยู่ที่ 28.4-30.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) แข็งค่าขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเงินทุนไหลเข้าใน ตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ของภูมิภาคเอเชียรวมถึงประเทศไทย (5) ก�ำหนดสมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.25-3.25) เนื่องจากมีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจประเทศ คูค่ า้ หลักของไทย ประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยูใ่ นระดับต�ำ่ และ (6) รายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2556 (ตัง้ แต่ เดือนตุลาคม 2555–กันยายน 2556) คาดว่าจะอยูท่ ี่ 3.17 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 9.3 จากปีกอ่ น และในปีงบประมาณ 2557 คาดว่าจะมีจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น 3.26 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี โดยมีรายละเอียดสมมติฐานและ ผลการประมาณการ ดังนี้ ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
9
สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2556 1. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ 14 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย “สศค.คาดว่าในปี 2556 เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ขยายตัวเร่งขึ้นจาก ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าส�ำคัญที่ส่งสัญญาณขยายตัวดีขึ้นจากปี ก่อน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังคงมีความเสี่ยงจากวิกฤติหนี้สาธารณะของยูโรโซนที่คาดว่าจะยืดเยื้อ เศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาที่ประสบปัญหาเพดานหนี้และหน้าผาการคลัง และเศรษฐกิจจีนในประเด็นกรณีพิพาทกับญี่ปุ่นและ ประเทศในแถบทะเลจีนใต้” ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศ (ร้อยละ) ประเทศคู่ค้าหลัก เรียงตามสัดส่วนมูลค่าส่งออกปี 2555 14 ประเทศคู่ค้า (75.1%) 1. จีน (11.7%) 2. ญี่ปุ่น (10.2%) 3. สหรัฐอเมริกา (9.9%) 4. สหภาพยุโรป (6.5%) 5. ฮ่องกง (5.7%) 6. มาเลเซีย (5.7%) 7. ออสเตรเลีย (4.9%) 8. อินโดนีเซีย (4.9%) 9. สิงคโปร์ (4.7%) 10. เวียดนาม (2.9%) 11. อินเดีย (2.4%) 12. ฟิลิปปินส์ (2.1%) 13. เกาหลีใต้ (2.1%) 14. ไต้หวัน (1.5%)
2554 2553 2554
2555
6.3 10.4 4.7 2.4 2.0 6.8 7.2 2.6 6.2 14.8 6.8 9.7 7.6 6.3 10.8
3.3 7.8 2.0 2.2 -0.5 1.4 5.6 3.6 6.2 1.3 5.0 5.0 6.6 2.0 1.3
3.9 9.3 -0.6 1.8 1.5 4.9 5.1 2.4 6.5 5.2 6.0 7.5 3.9 3.6 4.1
2555 Q1
Q2
Q3
Q4
ทั้งปี 2556 f
3.6 8.1 3.4 2.4 -0.1 0.8 5.1 4.3 6.3 1.5 4.1 5.1 6.3 2.8 0.6
3.6 7.6 3.9 2.1 -0.5 1.0 5.6 4.0 6.4 2.3 4.7 5.5 6.0 2.4 -0.1
3.0 7.4 0.4 2.6 -0.6 1.4 5.3 3.2 6.2 0.0 5.4 5.3 7.2 1.6 0.7
3.2 7.9 0.5 1.6 -0.9 2.5 6.4 3.0 6.1 1.5 5.5 4.5 6.8 1.5 3.7
3.8 8.2 1.5 2.2 -0.2 3.8 4.7 3.1 6.6 3.2 6.3 6.0 5.1 3.8 4.5
ที่มา : รวบรวมและประมาณการโดย สศค.ใช้สัดส่วนการส่งออกปี 2553
1.1 เศรษฐกิจจีน (ตลาดส่งออกใหญ่อนั ดับ 1 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 11.7 ของมูลค่าส่งออกสินค้า รวมปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจของจีนในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 7.4 ท�ำให้ทงั้ ปี 2555 เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 7.8 ขยายตัวสูงกว่าทีท่ างการจีน ตั้งเป้าหมายร้อยละ 7.5 ไว้ แต่นับเป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีก่อนและต�่ำสุดในรอบ 13 ปี ทั้งนี้ การชะลอตัวของ อุปสงค์ของประเทศคู่ค้าต่อสินค้าส่งออกของจีน โดยเฉพาะสหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับที่ 2 ของจีน ส่งผลกระทบต่อ ภาคการส่งออก ภาคการลงทุน และภาคการผลิตของจีน สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกปี 2555 ขยายตัวเพียงร้อยละ 7.9 ซึ่งถือ เป็นอัตราการขยายตัวที่ต�่ำสุดในรอบ 2 ปี อีกทั้งการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรปี 2555 ขยายตัวเพียงร้อยละ 21.2 ต�่ำที่สุดนับตั้งแต่ ปี 2546 ประกอบกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมอยู่ในระดับหดตัวต่อเนื่องยาวนาน ทั้งนี้ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ของจีนยังคงอยู่ในระดับดีต่อเนื่อง บ่งชี้จากอัตราเงินเฟ้อปี 2555 อยู่ที่ระดับต�่ำ เฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.7 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจ จีนยังคงมีความเสี่ยงจากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2555 เป็นต้นมา
10
ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556) เศรษฐกิจจีนมี
แนวโน้มขยายตัวดีขนึ้ จากไตรมาสก่อน ทัง้ จากการขยายตัวของภาคอุปสงค์ในประเทศและภาคการค้าระหว่างประเทศ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจในทุกภาคส่วน กล่าวคือ ด้านการบริโภคภาคเอกชน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค 2 เดือนแรกของ ไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 106.4 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 105.0 จุดในไตรมาสก่อน บ่งชี้ว่าผู้บริโภคเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของจีนมากขึ้น ด้านการลงทุนภาคเอกชน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 2 เดือนแรกของไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 21.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ น เร่งขึน้ จากไตรมาสก่อน และราคาอสังหาริมทรัพย์ของ 2 เดือนนีข้ ยายตัวเป็นบวกครัง้ แรกในรอบ 4 ไตรมาส ด้านการค้า ระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสนี้ขยายตัวเร่งขึ้นมากสูงสุดในรอบ 8 ไตรมาสที่ร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ หากพิจารณาด้านอุปทาน การผลิตภาคอุตสาหกรรมยัง คงส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนือ่ ง สะท้อนจากดัชนีผจู้ ดั การฝ่ายจัดซือ้ ภาคอุตสาหกรรมทีจ่ ดั ท�ำโดย HSBC ในไตรมาสแรกปี 2556 เฉลีย่ อยูท่ รี่ ะดับ 51.5 จุด เพิม่ ขึน้ จากไตรมาสก่อนซึง่ อยูท่ รี่ ะดับ 50.5 จุด บ่งชีก้ ารขยายตัวทีเ่ ร่งขึน้ ของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ในเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับลดลงจากระดับเฉลี่ยปี 2555 อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 นี้ ราคาบ้านใหม่ของ จีนขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบปีที่ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนที่ ท�ำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2555 ที่ผ่านมา ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 8.2 หรือในช่วงคาดการณ์ร้อยละ 7.7–8.7 ขยายตัว เร่งขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 เนื่องจากประธานาธิบดี Xi Jin Ping ผู้น�ำคนใหม่รุ่นที่ 5 ของจีนซึ่งเข้ารับต�ำแหน่งใน วันที่ 14 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ประกาศแผนการพัฒนาประเทศโดยเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ด้วยการลด ความเหลื่อมล�้ำด้านรายได้ทางประชากร นโยบายเศรษฐกิจสีเขียว และการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้าน คมนาคม อันเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นส�ำคัญ และสร้างสมดุลระหว่างปัจจัยภายในและ ภายนอกประเทศ อย่างไรก็ตาม ทางการจีนตัง้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป้าหมายไว้รอ้ ยละ 7.5 ต่อเนือ่ งเป็นปีที่ 2 และตัง้ เป้าการส่งออกลดลงจากร้อยละ 10.0 ต่อปีในปีก่อนเป็นร้อยละ 8.0 ต่อปี อีกทั้งยังมีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจด้านเศรษฐกิจคู่ค้า ทีย่ งั คงชะลอตัวและกรณีพพิ าทกับประเทศทีม่ อี าณาเขตติดต่อกัน อาทิ 1) วิกฤติหนีส้ าธารณะของยูโรโซนซึง่ เป็นคูค่ า้ หลักทีค่ าด ว่าจะท�ำให้เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวต่อเนื่องจากปีก่อน จะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนของจีน 2) กรณี พิพาทประเด็นกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุ และ 3) กรณีพิพาทน่านน�้ำทะเลจีนใต้ซึ่งทับซ้อนกับอาณาเขตพื้นที่ของ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไน มาเลเซีย และไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจจีนในระยะต่อไป
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
11
1.2 เศรษฐกิจญี่ปุ่น (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.2 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวในอัตราต�่ำร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยมีสาเหตุจากการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องเป็นส�ำคัญ ทั้งนี้ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วเศรษฐกิจญี่ปุ่นทรงตัว จากไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนภาคเอกชนที่กลับมาหดตัวในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ที่ร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวดี ตามมาตรการของรัฐเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เศรษฐกิจ ญี่ปุ่นทั้งปี 2555 นั้นกลับมาขยายตัวร้อยละ 2.0 ภายหลังจากหดตัวร้อยละ 0.6 ในปี 2554 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัย ฐานต�่ำในปีที่ผ่านมา จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในเดือนมีนาคม 2554 ผนวกกับปัญหาห่วงโซ่อุปทานจากอุทกภัยใน ประเทศไทยในไตรมาสสุดท้ายปี 2554 เป็นส�ำคัญ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ทรงตัวจากไตรมาสก่อนเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.2 ของก�ำลังแรงงานรวม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ -0.4 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต�่ำที่ช่วง ร้อยละ 0.0–0.1 ต่อปี จากปัญหาภาวะเงินฝืด และเพื่อสนับสนุนการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศ ภาพที่ 2 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556) เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัว
ดีขึ้นจากไตรมาสก่อน แต่ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง พิจารณาจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 48.1 จุด อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ยังคงอยู่ระดับต�่ำกว่า 50 จุด สะท้อน ภาคการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ดีขึ้นแต่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทั้งนี้ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดค้าปลีกใน 2 เดือนแรกของปี 2556 หดตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศกลับมาขยายตัวอีกครั้งจากปัจจัยฐานต�่ำในปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกใน เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556 กลับมาขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่น ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากวิกฤติหนี้สาธารณะในยูโรโซน ประกอบกับความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างจีนและญี่ปุ่นจากประเด็น พิพาทในกรรมสิทธิ์ครอบครองหมู่เกาะเซนกากุ/เตียวหยูที่ยังไม่คลี่คลายลง ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอลงจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 ส่วนหนึง่ มาจากปัจจัยฐานต�ำ่ ทีห่ มดไปในปีกอ่ น อย่างไรก็ตาม ในปี 2556 นีค้ าดว่าญีป่ นุ่ จะยังคงเผชิญกับภาวะเงินฝืดทีต่ อ่ เนือ่ ง ยาวนานเป็นส�ำคัญ สืบเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงส่งสัญญาณ ชะลอตัว อีกทัง้ ความเสีย่ งจากอุปสงค์ภายนอกประเทศทีอ่ าจส่งผลกระทบผ่านช่องทางการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะประเทศ คูค่ า้ อันดับส�ำคัญ อาทิ จีนและยูโรโซน อย่างไรก็ดี การบริหารประเทศภายใต้การน�ำของนายชินโซะ อาเบะ มีความพยายามทีจ่ ะ กระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้กลับมาฟื้นตัว โดยประเด็นล่าสุดที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ การประกาศใช้มาตรการผ่อนคลาย เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Quantative and Qualitative Easing : Q2) ผ่านการซื้อพันธบัตรและสินทรัพย์ทางการเงินว่าจะมี นัยส�ำคัญต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นในทิศทางใดต่อไป
12
1.3 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 3 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.9 ของมูลค่า ส่งออกสินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอุปสงค์ภายในประเทศเป็นส�ำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 1.9 ในขณะทีก่ ารลงทุนภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงมากร้อยละ 3.6 จากไตรมาส ก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 11.1 ซึง่ เป็นผลจากการตัดสินใจชะลอการลงทุนของนักลงทุน จากกรณีการเจรจาหน้าผาทางการคลัง ตลอดจนภัยพิบตั จิ ากพายุเฮอร์รเิ คนแซนดีท้ เี่ ข้าถล่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2555 เป็น ส�ำคัญ ทั้งนี้ ทั้งปี 2555 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวร้อยละ 2.2 เร่งขึ้นจากปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากการลงทุน ภาคเอกชนที่ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 9.8 เป็นส�ำคัญ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ณ ไตรมาสที่ 4 ปี 2555 อัตราการว่างงาน ของสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ถึงแม้จะยังคงอยู่ในระดับร้อยละ 7.8 ของก�ำลังแรงงานรวม ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนวิกฤติ เศรษฐกิจทีอ่ ยูท่ ปี่ ระมาณร้อยละ 5.0 ขณะทีเ่ งินเฟ้อทัว่ ไปเฉลีย่ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 1.9 เพิม่ ขึน้ จากไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ทีอ่ ยูท่ รี่ อ้ ยละ 1.7 ภาพที่ 3 แหล่งทีม่ าและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556) อุปสงค์ในประเทศ
ของสหรัฐอเมริกามีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐอเมริกา เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556 เพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นปี 2555 ถึง 355,000 ต�ำแหน่ง และอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.7 ของก�ำลัง แรงงานรวม โดยมีทงั้ ต�ำแหน่งงานและแรงงานกลับเข้าสูต่ ลาดมากขึน้ เป็นสัญญาณบวกว่าผูบ้ ริโภคเริม่ มีความเชือ่ มัน่ ในสภาพ เศรษฐกิจ อีกทัง้ ยอดค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาในช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556 ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปี ก่อน ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ขณะที่ยอดจ�ำหน่ายรถยนต์ในช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556 มีค่าเฉลี่ยที่ 12.0 ล้านคันต่อปี ดีขึ้นต่อเนื่องจากค่าเฉลี่ยปี 2555 ที่ระดับ 11.2 ล้านคันต่อปี และยอดจ�ำหน่ายบ้าน (Existing Home Sales) ในช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ 5.0 ล้านหลังต่อปี หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวร้อยละ 2.2 หรือในช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.7-2.7 เท่ากับปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 โดยคาดว่าในปี 2556 เศรษฐกิจภายในของสหรัฐอเมริกาจะได้รับปัจจัยสนับสนุน จากมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างต่อเนือ่ ง ไม่วา่ จะเป็นมาตรการด้านการเงินตามนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย ด้วยอัตราดอกเบีย้ นโยบายทีอ่ ยูใ่ นระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 0-0.25 ตลอดจนมาตรการ QE3 และ QE4 อย่างไรก็ตาม ระดับหนีส้ าธารณะ ที่สูงแตะเพดานหนี้สาธารณะและหน้าผาการคลัง (Fiscal Cliff) อันได้แก่ การตัดลดรายจ่ายของภาครัฐตามกฎหมาย การควบคุมงบประมาณ (Budget Control Act 2011) และการขึ้นภาษีที่เก็บจากเงินเดือน (Payroll Tax) อาจเป็นความเสี่ยงของ การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาได้
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
13
1.4 เศรษฐกิจสหภาพยุโรป 17 ประเทศ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 4 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 6.5 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2555) ภาพที่ 4 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่มา : CEIC ค�ำนวณโดย สศค.
➥➥ เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลจากวิกฤติ เศรษฐกิจหนีส้ าธารณะทีเ่ รือ้ รัง ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 1.2 และร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ตามล�ำดับ ขณะทีอ่ ปุ สงค์จากนอกประเทศยังคงขยายตัว ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจาก ค่าเงินที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ ทั้งปี 2555 เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวร้อยละ 0.5 ลดลงจากปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ด้าน เสถียรภาพเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง ด้วยอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 11.8 ของก�ำลังแรงงานรวม ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง ➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556) ยังคงบ่งชี้ภาวะถดถอย ต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ยังคงอยู่ระดับต�่ำกว่า 50 จุดอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ 47.9 จุด และระดับ 48.3 จุด ตามล�ำดับ บ่งชี้แนวโน้มการหดตัวของ ภาคการผลิตและภาคบริการในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 ด้านเสถียรภาพพบว่า อัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปในช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556 ลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราการว่างงาน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2556 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 11.9 ของก�ำลังแรงงานรวม สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556 ยังคงอยู่ระดับต�่ำกว่า 0 ต่อเนื่องที่ระดับ -23.75 จุด บ่งชี้ว่าผู้บริโภคมีความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ สะท้อนแนวโน้มการจับจ่ายใช้สอยที่อาจซบเซาต่อเนื่อง ขณะที่ ภาคการค้าระหว่างประเทศยังคงขยายตัวได้ดี โดยมูลค่าการส่งออกเดือนมกราคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะหดตัวต่อเนือ ่ งร้อยละ 0.2 หรือในช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ (-0.7)–(0.3) จากความเสีย่ งจากวิกฤติหนีส้ าธารณะทีย่ งั คงเรือ้ รัง และยังคงส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจยูโรโซน โดยแม้วา่ ทางการ ยุโรปได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่ประเด็นด้านการเมืองจากการเลือกตั้งในหลายประเทศส�ำคัญ อาทิ อิตาลี ซึง่ แม้วา่ จะเลือกตัง้ เสร็จสิน้ ไปแล้วตัง้ แต่ชว่ งวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2556 แต่มปี ญ ั หาในการจัดตัง้ รัฐบาล และการเลือกตัง้ ในเยอรมนีในช่วงเดือนกันยายน 2556 อาจส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องในการด�ำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาได้ในอนาคต นอกจากนี้ ปัญหาในภาคธนาคารของไซปรัสเริม่ ส่งผลกระทบต่อความเชือ่ มัน่ ของนักลงทุน ซึง่ อาจสร้างความผันผวนในตลาดเงิน ยูโรโซน และกระทบต่อเสถียรภาพของค่าเงินยูโรได้ ท�ำให้คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะถดถอยต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ท่ามกลาง ความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอก
14
1.5 เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.9 ของมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และฟิลิปปินส์) ในไตรมาส ที่ 4 ปี 2555 ขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ยกเว้นฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียขยายตัวในอัตราชะลอลง โดยการบริโภคภายในประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังคงชะลอตัว ขณะที่ภาคการส่งออกเริ่มปรับตัวดีตามการส่งออก ไปยั ง จี น คู ่ ค ้ า อั น ดั บ หนึ่ ง อย่ า งไรก็ ต าม ผลกระทบจากวิ ก ฤติ ห นี้ ส าธารณะในยุ โ รป การชะลอตั ว ของเศรษฐกิ จ สหรัฐอเมริกาและจีนที่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงมาตั้งแต่ต้นปี ต่อภาคส่งออกให้กลับมาชะลอตัวอีกครั้ง ทั้งปี 2555 เศรษฐกิจ อาเซี ย นส่ ว นใหญ่ ข ยายตั ว ในอั ต ราชะลอลงจากปี ก ่ อ น (ยกเว้ น เศรษฐกิ จ มาเลเซี ย และฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ที่ ข ยายตั ว ใน อัตราเร่ง) ผลกระทบจากภาคการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนในประเทศโดยรวมชะลอลง ในขณะทีก่ ารลงทุนรวมขยายตัว เร่งขึ้น อันเป็นผลจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มอาเซียนในปี 2555 พบว่า อัตราเงินเฟ้อโดยรวมเฉลี่ยปรับตัวลดลงจากปีก่อน โดยเฉพาะราคาอาหารที่ปรับตัวลดลงตามการชะลอการใช้จ่ายภายใน ประเทศและมาตรการรัฐในการควบคุมราคาสินค้าจ�ำเป็น ทั้งนี้ ยังมีความเสี่ยงจากราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
ตารางที่ 2 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ มาเลเซีย (5.4%) (สัดส่วนการส่งออกปี 2555) อัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2555 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy)
การบริโภคภาคเอกชน การบริโภคภาครัฐ การลงทุนรวม การส่งออกสุทธิ การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง
อินโดนีเซีย (4.9%)
สิงคโปร์ (4.7%)
เวียดนาม (2.9%)
ฟิลิปปินส์ (2.1%)
5.6
6.2
1.3
5.0
6.6
3.8 0.6 4.7 -3.8 0.3
2.9 0.1 2.4 -1.5 2.3
0.7 -0.3 1.6 -5.6 4.9
n.a. n.a. n.a. n.a. n.a.
2.1 0.6 3.6 -2.0 2.3
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 5 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 6 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ เศรษฐกิ จ ของกลุ ่ ม ประเทศอาเซี ย น 5 ประเทศในช่ ว ง 2 เดื อ นแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2556
(เดื อ นมกราคม–กุ ม ภาพั น ธ์ 2556) มี แ นวโน้ ม ชะลอตั ว ทั้ ง จากปั จ จั ย ภายในและปั จ จั ย ภายนอกประเทศ ส�ำหรับปัจจัยภายในประเทศส่งสัญญาณชะลอตัวสะท้อนจากการบริโภคภาคเอกชนของประเทศในกลุม่ อาเซียน โดยยอดค้าปลีก ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 ก็ชะลอลง ด้านปัจจัยภายนอกประเทศ การส่งออกของกลุ่มประเทศอาเซียนส่วนใหญ่ขยายตัว ในอัตราชะลอลง ยกเว้นมาเลเซีย เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าอย่างจีนและสหรัฐอเมริกายังคงชะลอตัวจาก วิกฤติหนี้สาธารณะยูโรโซน นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมในประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียนขยายตัวในอัตราชะลอลง ถึงหดตัวลงตามแนวโน้มการส่งออกที่ยังคงซบเซา สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงส่งสัญญาณชะลอตัว ประมาณการเศรษฐกิจไทย
15
➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนโดยรวมจะขยายตัวชะลอลงจากปี 2555
โดยเศรษฐกิจของประเทศในกลุม่ อาเซียน 5 ประเทศคาดว่าจะขยายตัวเฉลีย่ ร้อยละ 4.6 ในปี 2556 ชะลอลงจากปีกอ่ นทีข่ ยายตัว เฉลี่ยร้อยละ 5.2 จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง โดยเฉพาะภาคการส่งออก ซึ่งเป็นแรง ผลักดันให้หลายประเทศในอาเซียนยังคงต้องด�ำเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ต่อไป 1.6 เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลีย (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.6 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจประเทศคูค ่ า้ อืน่ ๆ ในเอเชีย (ฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน) และออสเตรเลียในไตรมาส ที่ 4 ปี 2555 ผันผวนตามสัดส่วนการพึ่งพาอุปสงค์นอกประเทศ โดยเศรษฐกิจออสเตรเลียและอินเดียขยายตัวชะลอลง จากการส่งออกที่หดตัวเร่งขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปีเป็นส�ำคัญ ส่วนเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราเร่ง ได้แก่ ฮ่องกงและไต้หวัน จากการบริโภคภาคเอกชนซึ่งเป็นก�ำลังส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ผนวกกับภาคการส่งออก ปรับตัวดีขนึ้ ตามปัจจัยฤดูกาล ขณะทีเ่ ศรษฐกิจเกาหลีใต้นนั้ ทรงตัวจากไตรมาสก่อน ด้านเสถียรภาพภายในประเทศพบว่า ระดับ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในแต่ละประเทศมีเสถียรภาพมากขึน้ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อกลุม่ ประเทศดังกล่าว ทีป่ รับตัวลดลง ยกเว้นเกาหลีใต้และฮ่องกงทีป่ รับเพิม่ ขึน้ จากราคาอาหารและราคาอสังหาริมทรัพย์ทปี่ รับตัวสูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ทั้งนี้ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในปี 2555 โดยส่วนใหญ่ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่อง ตามการชะลอลง ของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบผ่านช่องทางการค้า ขณะที่เศรษฐกิจออสเตรเลียยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง จากการลงทุนรวม และการบริโภคภาครัฐที่ขยายตัวเร่งขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตารางที่ 3 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกปี 2555) อัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2555 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy)
การบริโภคภาคเอกชน การบริโภคภาครัฐ การลงทุนรวม การส่งออกสุทธิ การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง
ฮ่องกง (5.7%)
ออสเตรเลีย (4.9%)
อินเดีย (2.4% )
เกาหลีใต้ (2.1%)
ไต้หวัน (1.5% )
1.4
3.6
5.0
2.0
1.3
2.6 0.3 2.1 -2.5 -1.1
1.7 0.6 2.4 0.0 0.0
3.5 0.8 0.2 -1.9 0.6
0.9 0.5 -0.3 0.9 -0.1
1.1 0.0 -0.8 1.1 0.0
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 7 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
16
ภาพที่ 8 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2556
(เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556) ปรับตัวดีขึ้นจากปัจจัยฐานต�่ำในปีที่ผ่านมาเป็นส�ำคัญ โดยเฉพาะในส่วนของ ภาคการส่งออก สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2556 กลับมาขยายตัวเฉลี่ยดีขึ้น จากเศรษฐกิจโลก ที่ชะลอตัวปีที่ผ่านมาเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัว ถึงแม้ปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญก็ตาม ยกเว้น ออสเตรเลียที่แม้จะปรับตัวดีขึ้นในเดือนมกราคม 2556 แต่การส่งออกยังคงหดตัวร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากพิจารณาด้านอุปสงค์ของกลุ่มประเทศเหล่านี้พบว่า ภาคการผลิตกลับมาขยายตัวเร่งขึ้น สะท้อนได้จากผลผลิตภาค อุตสาหกรรมในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (ภาพที่ 7 และภาพที่ 8) ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวก ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในภาพรวม จะกลับมาขยายตัวเร่งขึน้ ในปีนี้ จากเศรษฐกิจจีนซึง่ เป็นคูค่ า้ อันดับส�ำคัญทีส่ ง่ สัญญาณการฟืน้ ตัว ขณะทีย่ งั มีความเสีย่ งจาก วิกฤติหนี้สาธารณะในยูโรโซนโดยเฉพาะปัญหาภาคธนาคารของไซปรัสและความไม่แน่นอนทางการเมืองของประเทศใหญ่ ในยูโรโซน อย่างไรก็ดี อุปสงค์ภายในประเทศของกลุม่ ประเทศดังกล่าวคาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดี จากมาตรการสนับสนุนของ ภาครัฐในแต่ละประเทศเพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
2. ราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลก “ในปี 2556 คาดว่าราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะอยู่ที่ 113.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 108.0–118.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) เพิม่ ขึน้ จากปี 2555 เนือ่ งจากการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจโลกทีจ่ ะส่งผลให้อปุ สงค์ ของน�ำ้ มันดิบเพิม่ ขึน้ โดยเฉพาะจากกลุม่ ประเทศ Non-OECD เป็นส�ำคัญ ซึง่ น�ำโดยกลุม่ ประเทศเอเชีย ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา ประกอบกับการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและจีน อย่างไรก็ดี ปัญหาวิกฤติ หนี้สาธารณะในยุโรปและการเพิ่มการผลิตน�้ำมันในประเทศของสหรัฐอเมริกา (Shale Gas) ยังคงเป็นปัจจัยที่ท�ำให้ ราคาน�้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในกรอบที่จ�ำกัด” ภาพที่ 9 สมมติฐานราคาน�ำ้ มันดิบดูไบ ในปี 2556
2552
2553
2554
2555f
2556f
ที่มา : Reuters
➥➥ ราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปี 2556 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 113.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
จากปี 2555 ที่อยู่ ณ ระดับ 109.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.6 จากปี 2555 โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 ราคาน�้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปลายปี 2555 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนและสหรัฐอเมริกา ท�ำให้อปุ สงค์การใช้นำ�้ มันทัง้ จากภาคการผลิตและการบริโภคเพิม่ สูงขึน้ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลล่าสุดเดือนมีนาคม 2556 ราคาน�้ำมันดิบปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 105.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากความกังวล ในปัญหาวิกฤติทางการเงินของประเทศไซปรัส ส่วนด้านอุปทานน�ำ้ มันมีความตึงเครียดในประเทศอิหร่านจากการเข้าตรวจอาวุธ นิวเคลียร์โดยองค์กรปรมาณูระหว่างประเทศ ประกอบกับเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน�้ำมันดิบ ได้แก่ ซีเรียและ อิสราเอล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุปทานน�้ำมันดิบ ขณะที่เทคโนโลยีการผลิตน�้ำมันแบบใหม่ของสหรัฐอเมริกา (Shale Gas) ยังผลิตได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ประมาณการเศรษฐกิจไทย
17
➥➥ ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาน�้ำมันดิบดูไบในปี 2556 คือ 1) การขยายตัวของอุปสงค์ต่อน�้ำมันดิบที่
เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของกลุ่มประเทศ Non-OECD โดยเฉพาะประเทศจีนเป็นส�ำคัญ ประกอบกับการเก็งก�ำไรใน ตลาดโภคภัณฑ์ (Commodity) เนือ่ งจากเม็ดเงินจากมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกาทีอ่ ดั ฉีดเข้าสูเ่ ศรษฐกิจโลก ขณะที่ 2) อุปทานน�้ำมันดิบโลกขยายตัวได้ในกรอบที่จ�ำกัด เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน�้ำมัน อาทิ ซีเรียและอิสราเอล
1) อุปสงค์ต่อน�้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น International Energy Agency (IEA) คาดว่าในปี 2556 ความต้องการน�้ำมันดิบ ทั่วโลกจะอยู่ที่ 90.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ระดับ 89.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากความต้องการของประเทศนอกกลุ่ม OECD เป็นส�ำคัญ • ประเทศในกลุ่ม OECD คาดว่าในปี 2556 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 45.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ระดับ 45.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการปรับตัวลดลง 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือหดตัวร้อยละ -0.9 ต่อปี • ในขณะทีป่ ระเทศนอกกลุม่ OECD คาดว่าในปี 2556 มีความต้องการใช้นำ�้ มันดิบรวมที่ 45.1 ล้านบาร์เรลต่อ วัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ 43.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี 2) อุปทานน�้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น คาดว่าในปี 2556 ปริมาณน�้ำมันที่ผลิตทั่วโลกจะอยู่ที่ 93.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ 90.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 2.8 จากปีก่อนหน้า • ในกลุ่ม OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตน�้ำมันดิบในปี 2556 จะอยู่ที่ 38.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ระดับ 37.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 3.7 โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้น มาจากประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นหลัก • ส่วนในกลุ่ม Non-OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตในปี 2556 อยู่ที่ระดับ 54.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ 53.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี เนื่องจากการผลิตที่ เพิ่มขึ้นจากกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและรัสเซียเป็นส�ำคัญ
3. ราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2556 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 2.9 โดยเป็นผลจากราคาสินค้าอุตสาหกรรมที่ คาดว่าจะมีราคาสูงขึน้ ตามการฟืน้ ตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงราคาส่งออกสินค้าเชือ้ เพลิงทีค่ าดว่าจะขยายตัวได้ เล็กน้อยตามราคาน�้ำมันดิบโลก ขณะที่ราคาสินค้าหมวดเกษตรกรรมมีแนวโน้มขยายตัวเพียงเล็กน้อยจากปีก่อน ส่วนราคาสินค้าน�ำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 จากการขยายตัวของราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค สินค้าเชื้อเพลิง และสินค้าวัตถุดิบ เป็นส�ำคัญ ภาพที่ 10 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2556 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออก (รูปดอลลาร์สหรัฐ)
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และ สศค.
18
อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ)
3.1 ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าส่งออกในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.9 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.9–3.9) ขยายตัว เร่งขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากคาดว่าราคาสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 75.1 จะสามารถขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อน ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 ดัชนีราคาส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มีการขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับราคาสินค้าส่งออกหมวดเชื้อเพลิงมีแนวโน้มขยายตัว เล็กน้อยตามการเร่งตัวของราคาน�้ำมันดิบโลกจากปลายปีก่อน ส�ำหรับราคาสินค้าส่งออกหมวดเกษตรกรรมมีแนวโน้มขยายตัว เพียงเล็กน้อย จากราคาข้าวทีค่ าดว่าจะขยายตัวได้เล็กน้อยจากปีกอ่ น ขณะทีร่ าคายางพาราในปี 2556 คาดว่าจะมีระดับทรงตัว เทียบเท่ากับราคาเฉลี่ยปี 2555 3.2 ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าน�ำเข้าในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงทีร่ อ ้ ยละ 3.2 (ช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 2.2-4.2) ขยายตัวเร่งขึ้นจากปี 2555 โดยเป็นผลจากการเร่งตัวของราคาสินค้าวัตถุดิบเป็นส�ำคัญ เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัว ดีขึ้นจากปี 2555 ท�ำให้ภาคอุตสาหกรรมส่งออกมีการน�ำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ประกอบกับคาดว่าดัชนีสินค้าอุปโภค-บริโภคจะมี การขยายตัวจากอุปสงค์ทเี่ พิม่ ขึน้ ตามการบริโภคภาคเอกชนทีค่ าดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนือ่ งในปี 2556 นอกจากนี้ ราคาสินค้า น�ำเข้าหมวดเชือ้ เพลิงมีแนวโน้มขยายตัวจากปีกอ่ นหน้า ตามราคาน�ำ้ มันดิบในตลาดโลกทีค่ าดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากปีกอ่ น
4. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ “ในปี 2556 ค่าเงินบาทเฉลี่ยมีทิศทางแข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในปี 2554 ที่ 31.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 29.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือในช่วงคาดการณ์ระหว่าง 28.40–30.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 11)” ภาพที่ 11 สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยในปี 2556
ที่มา : Reuters
4.1 สถานการณ์ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา หากพิจารณาทิศทางความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐปัจจุบันเทียบกับต้นปี 2556 แล้ว จะพบว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.84 (ภาพที่ 12) เนื่องจากเงินทุนจ�ำนวนมากไหลเข้าตลาดทุนไทย โดยเฉพาะใน ตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเดือนมกราคม 2556 และตลาดพันธบัตรในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2556 ซึ่งมีสาเหตุส�ำคัญจาก ความส�ำเร็จในการเจรจาแก้ปัญหาหน้าผาทางการคลังสหรัฐอเมริกา ในช่วงข้ามปี 2555-2556 ท�ำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นใน เศรษฐกิจโลกดีขนึ้ ประกอบกับธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ไม่วา่ จะเป็นสหรัฐอเมริกาและญีป่ นุ่ ได้ประกาศท�ำ มาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติม ปัจจัยเหล่านี้ท�ำให้นักลงทุนกลับมาซื้อสินทรัพย์เสี่ยงในภูมิภาค ท�ำให้ค่าเงินบาท แข็งค่าขึ้นในช่วงดังกล่าว ประมาณการเศรษฐกิจไทย
19
ภาพที่ 12 อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐรายวัน
ที่มา : CEIC / สศค.
ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลเข้า สะท้อนในดุลบัญชีการช�ำระเงิน (Balance of Payment) ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 ที่เกินดุลสะสม 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 13) ซึ่งเป็นปัจจัยที่ท�ำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ภาพที่ 13 ดุลการช�ำระเงินของประเทศไทยปี 2555-2556
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
4.2 แนวโน้มของค่าเงินบาทในระยะถัดไป ในปี 2556 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สหรัฐจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 29.40 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ระดับ 28.40–31.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) จากปัจจัยหลัก คือ ดุลการค้า ของไทยในปี 2556 ทีค่ าดว่าจะเกินดุลจากเศรษฐกิจโลกทีส่ ง่ สัญญาณฟืน้ ตัว โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหภาพยุโรปถึงแม้จะยัง หดตัว แต่คาดว่าจะหดตัวในอัตราที่น้อยลงกว่าปี 2555 จากความส�ำเร็จในการเจรจาสรุปเงื่อนไขการให้เงินช่วยเหลือกรีซอย่าง ชัดเจนในเดือนธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา อีกทั้งความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือภาคการเงินไซปรัสด้วยมาตรการเก็บภาษี จากผู้ฝากเงินขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าการให้ความช่วยเหลือสหภาพยุโรปจะเป็นไปในทิศทางที่แตกต่างจากเดิมและ น่าจะมีประสิทธิภาพมากขึน้ อีกทัง้ คาดว่ารัฐบาลกลางจีนจะประกาศมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจภายหลังการเปลีย่ นผูน้ ำ� ใหม่ ปัจจัย เหล่านี้จะท�ำให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ดีขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มี แนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจะส่งผลให้มีสภาพคล่องดอลลาร์ในตลาดการเงินโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค รวมถึงไทย
20
นอกจากนี้ ดุลเงินทุนของไทยในระยะต่อไปคาดว่าจะยังคงมีความผันผวนสูง อันเป็นผลจากมาตรการอัดฉีด สภาพคล่องจากธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ อาทิ มาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายระลอกที่ 3 และระลอกที่ 4 (QE3 และ QE4) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะส่งผลให้มีสภาพคล่องดอลลาร์ในตลาดการเงินโลกเพิ่มขึ้น ตลอดจนการประกาศเข้าซื้อสินทรัพย์ เพิ่มเติมโดยธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งมาตรการเหล่านี้อาจท�ำให้นักลงทุนคลายกังวลในภาวะเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น และท�ำให้มี เงินทุนจ�ำนวนมากไหลเข้าสูป่ ระเทศในภูมภิ าค โดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตร อย่างไรก็ตาม หากปัญหาทาง เศรษฐกิจของประเทศเหล่านีเ้ ริม่ ปะทุขนึ้ อีกครัง้ นักลงทุนอาจถอนเงินทุนกลับสูแ่ หล่งการลงทุนทีป่ ลอดภัย (Safe Haven) ปัจจัย เหล่านี้จะส่งผลให้ค่าเงินบาทตลอดจนค่าเงินในภูมิภาคอื่น ๆ มีความผันผวนตามไปด้วย
5. อัตราดอกเบี้ยนโยบาย “สศค.คาดการณ์ว่าในปี 2556 อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ร้อยละ 2.75 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.25–3.25 ต่อปี)”
➥➥ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ดำ� เนินนโยบายการเงินแบบ
ผ่อนคลายต่อเนื่องในปี 2555 จากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอลงชัดเจน โดยเฉพาะจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะ ในยูโรโซนที่ยังคงเรื้อรังต่อเนื่อง ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อในปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ส่งผลให้ในเดือน กุมภาพันธ์ 2556 กนง.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ร้อยละ 2.75 ภาพที่ 14 อัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
ทีม่ า : กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในปี 2556 สศค.คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ร้อยละ 2.75 (ช่วงคาดการณ์
2.25-3.25) เนื่องจากถึงแม้ว่าจะมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ผนวกกับสถานการณ์ เศรษฐกิจโลกทีน่ า่ จะปรับตัวดีขนึ้ จากปี 2555 แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังคงเป็นปัจจัยเสีย่ งส�ำคัญทีอ่ าจ กระทบต่อภาคการส่งออกและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
21
ภาพที่ 15 สมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ประมวลผลโดย สศค.
6. รายจ่ายภาคสาธารณะประจ�ำปีงบประมาณ 2556 “ปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายภาคสาธารณะ (ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล (2) รายจ่ายองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ) สามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 3,162,915 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส�ำหรับปีงบประมาณ 2557 รายจ่ายภาคสาธารณะคาดว่าจะสามารถ เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 3,261,100 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน” 6.1 กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลตั้งกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2,400,000 ล้านบาท ซึ่งเป็น การด�ำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล 300,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.5 ของ GDP1 ภายใต้ประมาณการจัดเก็บ รายได้รัฐบาลเท่ากับ 2,100,000 ล้านบาท โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 1,900,477 ล้านบาท (2) รายจ่ายลงทุน 450,374 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ 49,150 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลได้มกี ารใช้จา่ ยงบประมาณภายใต้พระราชก�ำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำ� นาจกระทรวงการคลังกูเ้ งินเพือ่ การวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินกู้ 350,000 ล้านบาท ส�ำหรับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2557 มีจ�ำนวน 2,525,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการด�ำเนิน นโยบายงบประมาณแบบขาดดุล 250,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 1.9 ของ GDP2 ภายใต้ประมาณการการจัดเก็บ รายได้รัฐบาลเท่ากับ 2,275,000 ล้านบาท โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 2,001,369 ล้านบาท (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 13,424 ล้านบาท (3) รายจ่ายลงทุน 457,000 ล้านบาท และ (4) รายจ่ายช�ำระคืน ต้นเงินกู้ 53,208 ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2555 12,180,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2556 13,118,000 ล้านบาท
1 2
22
ตารางที่ 4 กรอบโครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2556 และ 2557 ปีงบประมาณ
2556
2557
1. วงเงินงบประมาณ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราเพิ่ม) 1.1 รายจ่ายประจ�ำ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.2 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.3 รายจ่ายลงทุน (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.4 รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว)
2,400,000.0 19.7 0.8 1,900,476.7 79.2 3.2 - - -100 450,373.8 18.7 2.7 49,149.5 2.1 4.9
2,525,000.0 19.2 5.2 2,001,368.5 79.3 5.3 13,423.7 0.5 100.0 457,000.0 18.1 1.5 53,207.8 2.1 8.3
2. ประมาณการรายได้ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราขยายตัว)
2,100,000.0 17.2 6.1
2,275,000.0 17.3 8.3
3. การขาดดุล/เกินดุล (สัดส่วนต่อ GDP)
-300,000.0 2.5
-250,000.0 1.9
4. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ 12,180,000.0 (GDP) เบื้องต้น
13,118,000.0
ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ
ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2556 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 2,257,178 ล้านบาท ภายใต้ สมมติฐานการเบิกจ่ายร้อยละ 94.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2,400,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำ ปีงบประมาณจ�ำนวน 2,481,642 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 1) รายจ่ายประจ�ำ 1,937,706 ล้านบาท 2) รายจ่ายลงทุน 319,473 ล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปี 224,464 ล้านบาท ส�ำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการ ไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 5,688 ล้านบาท และการเบิกจ่ายตาม พระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 ที่คาดว่า จะสามารถเบิกจ่ายได้ 63,883 ล้านบาท
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
23
ตารางที่ 5 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลปีงบประมาณ 2556 และ 2557
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2557 ปี ง บประมาณ 2556 คาดการณ์ ณ มี.ค. 2556 กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ 1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) (3) รายจ่ายเหลื่อมปี
2,400,000 94.0% 2,551,213 2,481,642 1,937,706 319,473 2,257,178 224,464
2,525,000 94.0% 2,612,132 2,529,278 2,008,590 365,600 2,374,190 155,088
1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท)
69,571 5,688
82,854 3,000
63,883
79,854
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
6.2 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) ในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมทัง้ สิน้ 312,240 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการจัดสรร งบประมาณเพิ่มมากขึ้น ส�ำหรับการใช้จ่ายงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นที่ปรับตัวสูงขึ้นตามนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายในประเทศ ประกอบกับนโยบายการกระจายรายได้ของรัฐบาลที่เน้นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน
ตารางที่ 6 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2556 และ 2557 (หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2557 ปี ง บประมาณ 2556 คาดการณ์ ณ มี.ค. 2556 รายจ่ายท้องถิ่น
312,240
338,247
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
6.3 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 299,462 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.0 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เนือ่ งจากในปี 2556 เป็นปีทรี่ ฐั บาลมีนโยบายส่งเสริม การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในระยะยาว โดยรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ สูงสุด 5 ล�ำดับแรก ได้แก่ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
24
ตารางที่ 7 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2556 และ 2557
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2557 ปี ง บประมาณ 2556 คาดการณ์ ณ มี.ค. 2556 รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ
299,462
310,721
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
6.4 สรุปรวมรายจ่ายภาคสาธารณะ จากสมมติฐานการใช้จ่ายของรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจใน ปีงบประมาณ 2556 ดังกล่าว ท�ำให้คาดว่าในปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายภาคสาธารณะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 3,162,915 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล 2,551,213 ล้านบาท รายจ่ายจากแผนปฏิบตั กิ ารไทยเข้มแข็ง 2556 คาดว่าจะสามารถ เบิกจ่ายได้ 5,688 ล้านบาท และรายจ่ายจาก พ.ร.ก.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำที่คาดว่าจะมี การเบิกจ่ายได้ 63,883 ล้านบาท (2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 312,240 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายลงทุนของ รัฐวิสาหกิจ 299,462 ล้านบาท ตารางที่ 8 สมมติฐานการเบิกรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2556 และ 2557 (หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2557 ปี ง บประมาณ 2556 คาดการณ์ ณ มี.ค. 2556 กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ 1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) (3) รายจ่ายเหลื่อมปี
2,400,000 94.0% 2,551,213 2,481,642 1,937,706 319,473 2,257,178 224,464
2,525,000 94.0% 2,612,132 2,529,278 2,008,590 365,600 2,374,190 155,088
1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท)
69,571 5,688
82,854 3,000
63,883
79,854
2. รายจ่ายท้องถิ่น 3. รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ 4. รายจ่ายภาคสาธารณะ (1+2+3)
312,240 299,462 3,162,915
338,247 310,721 3,261,100
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ค�ำนวณโดย สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
25
ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 1. ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “สศค.ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2556 จะขยายตัวต่อเนือ่ งร้อยละ 5.3 (โดยมีชว่ งคาดการณ์รอ้ ยละ 4.8-5.8) จากปี 2555 ที่เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 6.4 ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลก” ➥➥ สศค.คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2556 จะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2555 ร้อยละ 5.3 โดยมีแรงส่งจาก
1) การขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวดี ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนได้จากยอดจ�ำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์มีการขยายตัวสูง ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ รัฐบาล อันได้แก่ มาตรการการเพิ่มค่าแรงรายวันขั้นต�่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ และโครงการรับจ�ำน�ำข้าวที่ส่งผลโดยตรงต่อ กลุ่มแรงงานและครัวเรือนในระดับฐานราก ในขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวได้ในระดับสูง โดยมีปัจจัยสนับสนุน จากทั้งรายจ่ายงบประมาณและรายจ่ายตามแผนบริหารจัดการน�้ำของภาครัฐวงเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท ที่เริ่มทยอย ลงทุนได้มากขึน้ ตัง้ แต่ตน้ ปี 2556 และ 2) การขยายตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศ ทีส่ ะท้อนจากภาคการค้าระหว่างประเทศ โดยคาดว่าการส่งออกสินค้าและบริการยังคงเป็นองค์ประกอบส�ำคัญของการขยายตัวเศรษฐกิจในปี 2556 เนื่องจากการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลกโดยรวม แม้วา่ จะได้รบั ผลกระทบบางส่วนจากค่าเงินบาททีแ่ ข็งค่าขึน้ และยังคงมีความเสีย่ งจากความเปราะบาง ทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซน ส่วนปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวดี ตามอุปสงค์การน�ำเข้าสินค้า เพือ่ สนับสนุนการผลิตทีเ่ พิม่ ขึน้ ทัง้ จากการผลิตเพือ่ ส่งออกและการผลิตเพือ่ บริโภคภายในประเทศ ประกอบกับการทีค่ า่ เงินบาท แข็งค่าขึน้ ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจในปี 2556 คาดว่าจะยังคงอยูใ่ นระดับแข็งแกร่ง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปในปี 2556 จะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.0 และอัตราการว่างงานจะยังคงอยูใ่ นระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 0.6 ของก�ำลังแรงงานรวม ส่วนด้านเสถียรภาพภายนอก ประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลเล็กน้อยที่ 0.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.04 ของ GDP เนื่องจาก ดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมูลค่าสินค้าน� ำเข้าที่คาดว่า จะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก ภาพที่ 16 ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
26
1.1 การบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง
1.1.1 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.0 และเมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาล แล้วพบว่าขยายตัวร้อยละ 2.6 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงในปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม หลังจากที่ผลกระทบจากภาวะอุทกภัย ในช่วงปลายปี 2554 ได้คลี่คลายลง ประกอบกับได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำและการรับจ�ำน�ำข้าวเปลือก รวมถึงอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับต�่ำซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ที่ส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการจ�ำแนกตามรายหมวดส�ำคัญพบว่า ในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดสินค้าคงทนขยายตัวในอัตราเร่ง ที่ร้อยละ 95.1 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 29.1 โดยเฉพาะยอดขายในหมวดยานยนต์ (ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง รถบรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์) ที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 169.3 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 44.2 ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตในหมวดยานยนต์ที่สามารถกลับมาผลิตได้เป็นปกติ ท�ำให้สามารถส่งมอบให้ลูกค้าได้เพิ่มขึ้น และนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลรวมถึงปัจจัยฐานในการค�ำนวณที่ต�่ำในปีที่แล้ว สอดคล้องกับการบริโภคสินค้ากึ่งคงทน เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ภาชนะ สิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือน ฯลฯ ขยายตัวร้อยละ 6.3 เร่งขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 ส่วนการบริโภคสินค้าไม่คงทน เช่น หมวดอาหาร เครื่องดื่ม ไฟฟ้าและประปา ของใช้ในครัวเรือน ฯลฯ ขยายตัวร้อยละ 6.5 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 โดยหมวดอาหารขยายตัวร้อยละ 2.2 ส่วนหมวดที่มิใช่อาหารขยายตัว ร้อยละ 9.2 เป็นต้น ในขณะที่การบริโภคในหมวดบริการ โดยเฉพาะการบริการด้านโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 25.5 ส่วนบริการด้านขนส่งสื่อสารและโทรคมนาคม และบริการด้านการเงินขยายตัวร้อยละ 5.8 และร้อยละ 24.5 ตามล�ำดับ ภาพที่ 17 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ
4.1-5.1) จากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 ซึ่งถือได้ว่ากลับมาขยายตัวในระดับปกติ หลังจากที่ปัจจัยฐานกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ดี ปัจจัยทีค่ าดว่าจะสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนในปี 2556 ได้แก่ 1) การขยายตัวต่อเนือ่ งของเศรษฐกิจไทยในปี 2556 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.3 จากปี 2555 ซึ่งเป็นการขยายตัวทั้งทางด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยเฉพาะจากอุปสงค์ทั้งภายใน ประเทศและภายนอกประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดี ตามภาคการส่งออกที่จะขยายตัวเร่งขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ น่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้ในช่วงปลายปี 2556 และ 2) ความต่อเนื่องของนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาทิ นโยบาย การรับจ�ำน�ำข้าวและการปรับเพิม่ ค่าแรงขัน้ ต�ำ่ 300 บาท ในจังหวัดทีเ่ หลือทัว่ ประเทศ ซึง่ ส่งผลโดยตรงต่อกลุม่ แรงงานและครัวเรือน ในระดับฐานราก อันจะสนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อไป ทัง้ นี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า เครือ่ งชีว้ ดั เศรษฐกิจ
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
27
ด้านการบริโภคภาคเอกชนในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 ยังคงขยายตัวต่อเนือ่ ง สะท้อนได้จากการจัดเก็บภาษีมลู ค่าเพิม่ ณ ระดับ ราคาคงที่ (ซึง่ สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนโดยรวม) ขยายตัวร้อยละ 10.0 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ในขณะทีก่ ารบริโภค ในหมวดสินค้าคงทนซึง่ สะท้อนจากปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์นงั่ และรถจักรยานยนต์พบว่า ขยายตัวร้อยละ 99.8 และร้อยละ 8.5 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ตามล�ำดับ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสีย่ งทีค่ าดว่าจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนในปี 2556 ได้แก่ 1) แนวโน้มระดับราคาสินค้าทัว่ ไปทีเ่ ริม่ ปรับตัวสูงขึน้ จากราคาอาหารส�ำเร็จรูปและราคาน�ำ้ มันขายปลีกในประเทศ 2) การเกิด ปัญหาภัยพิบตั ทิ มี่ แี นวโน้มเพิม่ ขึน้ มากในช่วง 2-3 ปีทผี่ า่ นมา ซึง่ จะเป็นอุปสรรคต่อการผลิตสินค้า โดยเฉพาะการผลิตในภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในที่สุดจะกระทบต่อการบริโภคของประชาชนโดยรวม และ 3) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่แม้ว่าจะ ขยายตัวต่อเนือ่ ง แต่ยงั คงมีความเปราะบางตามสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน และญีป่ นุ่
1.1.2 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 10.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าหดตัวร้อยละ 0.8 จาก ไตรมาสก่อนหน้า ท�ำให้ในปี 2555 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 7.4 โดยเป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงานเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 6.9 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ขณะที่รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลโดยรวม ในราคาประจ�ำปีมมี ลู ค่า 377.3 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 15.0 ซึง่ แบ่งออกเป็นค่าตอบแทนแรงงาน 272.5 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 11.4 เป็นผลจากการเบิกจ่ายทีเ่ พิม่ ขึน้ ในเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะบัญชีคา่ ครองชีพจากการปรับเพิม่ ค่าครองชีพชัว่ คราว ของข้าราชการและลูกจ้างประจ�ำส่วนราชการตามนโยบายรัฐบาล และบัญชีเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างจากโครงการเกษียณอายุ ก่อนก�ำหนด ส่วนรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิ 104.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 จากการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวด รายจ่าย โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในบัญชีค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค ภาพที่ 18 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 การบริโภคของภาครัฐทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.0-4.0) ชะลอลงจากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 ทั้งนี้ พระราชบัญญัติกรอบวงเงิน งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ตามมติคณะรัฐมนตรีฯ ได้อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2.4 ล้าน ล้านบาท โดยในจ�ำนวนนี้เป็นงบประมาณรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 2.0 ล้านล้านบาท โดยมีเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงิน งบประมาณร้อยละ 96.8 โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายประจ�ำสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ จ�ำนวน 641.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 59.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 32.1 ของ กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำ
28
1.2 การลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง
1.2.1 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน เร่งขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 16.2 และเมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า การลงทุน ภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 หดตัวเล็กน้อยทีร่ อ้ ยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า ท�ำให้ปี 2555 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว ร้อยละ 14.6 จากปี 2554 ทัง้ นี้ เมือ่ พิจารณาในรายละเอียดพบว่าการลงทุนในหมวดเครือ่ งมือเครือ่ งจักร (มีสดั ส่วนประมาณร้อยละ 75.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ขยายตัวร้อยละ 25.0 เร่งขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 18.2 ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากผูป้ ระกอบการมีความเชือ่ มัน่ ว่าทิศทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขนึ้ จึงมีการลงทุนเพือ่ ตอบสนองอุปสงค์ ทีค่ าดว่าจะเพิม่ ขึน้ ในอนาคต โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดยานพาหนะและหมวดเครือ่ งมือเครือ่ งจักรทีข่ ยายตัวดีตามก�ำลังการผลิต ของอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของยอดขายรถยนต์ เชิงพาณิชย์ และการน�ำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 285.5 และร้อยละ 32.6 ตามล�ำดับ ส่วนการลงทุนในหมวด การก่อสร้างภาคเอกชน (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 25.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 10.6 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อนทีข่ ยายตัวร้อยละ 9.9 ตามการก่อสร้างอาคารทีอ่ ยูอ่ าศัยและ อาคารพาณิชย์เป็นส�ำคัญ โดยเฉพาะทีอ่ ยูอ่ าศัยทีต่ ดิ เส้นทางรถไฟฟ้า โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 การก่อสร้างทีอ่ ยูอ่ าศัย อาคาร พาณิชย์ และอาคารโรงงาน ขยายตัวร้อยละ 12.2 ร้อยละ 11.3 และร้อยละ 11.7 ตามล�ำดับ ภาพที่ 19 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ
8.3-10.3 ) ชะลอลงจากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.6 เนื่องจากอุปสงค์ภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในอัตราชะลอ ลงกลับสู่ระดับการขยายตัวปกติ ภายหลังจากที่ผู้ประกอบการได้เร่งลงทุนเพื่อฟื้นฟูไปมากแล้วในช่วงปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ถือได้ว่าการลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยคาดว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนส�ำคัญจาก 1) การขยายตัวต่อเนื่องของ อุปสงค์ภายในประเทศจากปี 2555 โดยเฉพาะการลงทุนในส่วนของภูมภิ าคทีม่ กี ารเพิม่ การลงทุนเพือ่ สนับสนุนการขยายตัวของ เศรษฐกิจในเขตเศรษฐกิจส�ำคัญ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ และ 2) นโยบายภาครัฐในการกระตุน้ เศรษฐกิจด้านการลงทุน อาทิ การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 20.0 ในปี 2556 จากร้อยละ 23.0 ในปี 2555 นอกจากนี้ จากการที่ภาครัฐมีแผนการจะลงทุนตามแผนบริหารจัดการน�้ำวงเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท ที่คาดว่าจะ เริ่มทยอยลงทุนได้มากขึ้นในปี 2556 เป็นต้นไปนั้น ท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลดีต่อการลงทุนภาคเอกชนได้ต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากข้อมูล เชิงประจักษ์พบว่า ในช่วง 2 เดือนแรกปี 2556 การลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณฟื้นตัวโดยล�ำดับ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจ ด้านการลงทุนในหมวดเครือ่ งมือเครือ่ งจักร อาทิ การน�ำเข้าสินค้าทุน ขยายตัวร้อยละ 16.8 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น และ ปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ขยายตัวเร่งร้อยละ 24.2 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้างที่วัดจาก ประมาณการเศรษฐกิจไทย
29
เครื่องชี้เศรษฐกิจ อาทิ ปริมาณการจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (ซึ่งสะท้อนต้นทุนในการผลิตหรือการก่อสร้าง) ขยายตัวในอัตราชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 ซึ่งสะท้อนถึงราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการก่อสร้างที่ขยายตัว ชะลอลงและเอื้อต่อการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง 1.2.2 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 31.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.2 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้วพบว่า ขยายตัวร้อยละ 8.9 จากไตรมาสก่อนหน้า ท�ำให้ในปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.9 โดยปัจจัยหลักมาจากการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐบาลกลาง และ การเบิกจ่ายงบลงทุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ การลงทุนภาครัฐที่ แท้จริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 1) การลงทุนในหมวดก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 27.1 เพิม่ ขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 11.3 จากรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ขยายตัวร้อยละ 52.5 ส�ำหรับรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อเนือ่ งจาก ไตรมาสก่อนหน้า เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โครงการก่อสร้างโครงข่ายเคลื่อนที่ ยุคที่ 3 ของบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน) ฯลฯ และ 2) การลงทุนในหมวด เครื่องมือเครื่องจักร ขยายตัวร้อยละ 38.7 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.4 จากรัฐบาลกลางและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นขยายตัวร้อยละ 29.4 ส�ำหรับรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 43.0 โดยเฉพาะจากโครงการเคเบิ้ลใต้น�้ำใย แก้วอ่าวไทยของบริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) ขณะที่บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) มีการน�ำเข้าเครื่องบิน เพื่อการพาณิชย์ในไตรมาสที่ 4 จ�ำนวน 4 ล�ำ มูลค่า 23.8 พันล้านบาท
ภาพที่ 20 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 การลงทุนของภาครัฐทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 14.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 13.2-15.2) เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบาย รัฐบาลทีเ่ น้นการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐาน ทัง้ จากงบประมาณรายจ่ายลงทุนและรายจ่ายตามแผนบริหารจัดการน�ำ้ ในระยะยาว ของภาครัฐวงเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท ทัง้ นี้ ในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลได้ตงั้ วงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนจ� ำนวน 400.7 พันล้านบาท โดยมีเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณทีร่ อ้ ยละ 80.0 โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 58.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 53.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน และคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 14.6 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน
30
1.3 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 19.0
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 2.8 จากปัจจัยฐานต�่ำในปีก่อนหน้า ซึ่งเกิดจากปัญหา อุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ทีส่ ง่ ผลให้การส่งออกภาคอุตสาหกรรมชะงัก โดยเมือ่ ขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ปริมาณการส่งออก สินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 3.1 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยในด้านของมิติสินค้าพบว่า ในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 การส่งออก สินค้าขยายตัวร้อยละ 13.5 จากการขยายตัวเร่งขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 24.4 เพิ่มขึ้น จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 1.5 ตามการขยายตัวของสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ที่ ร้อยละ 34.6 ร้อยละ 24.9 และร้อยละ 93.6 ตามล�ำดับ และเมื่อพิจารณารายตลาดพบว่า การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลักเริ่ม ฟืน้ ตัวสูภ่ าวะปกติ โดยเฉพาะการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปทีข่ ยายตัวร้อยละ 13.4 หลังจากทีห่ ดตัวติดต่อกันเป็นเวลา 4 ไตรมาส รวมถึงการส่งออกไปยังญี่ปุ่นที่ขยายตัวเร่งขึ้นเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 9.0 จากการหดตัวติดต่อกันเป็นเวลา 4 ไตรมาส และส�ำหรับ การส่งออกบริการในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 42.3 ภาพที่ 21 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์
ร้อยละ 4.7-6.7) จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหลักของไทยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหนี้สาธารณะใน สหภาพยุโรปในปี 2555 เช่น จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ การฟื้นตัวดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนอุปสงค์ในตลาดโลกให้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งอาจส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกลดลง 1.4 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการทีแ ่ ท้จริงในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 14.7 เมือ่ เทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ที่หดตัวร้อยละ 1.8 ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 5.2 และเมื่อพิจารณาการน�ำเข้าสินค้าพบว่าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 16.6 จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 2.3 ตามการขยายตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าทุนและสินค้ายานยนต์ที่ร้อยละ 43.1 และร้อยละ 94.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 17.3 และร้อยละ 78.3 ตามล�ำดับ ประกอบกับปริมาณการน�ำเข้าสินค้า วัตถุดิบ อุปโภค-บริโภค และเชื้อเพลิง ที่กลับมาขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 1.6 ร้อยละ 8.9 และร้อยละ 3.7 จากไตรมาสก่อน หน้าที่หดตัวร้อยละ 17.2 ร้อยละ 8.4 และร้อยละ 1.2 ตามล�ำดับ ส�ำหรับปริมาณการน�ำเข้าบริการที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 ประมาณการเศรษฐกิจไทย
31
ภาพที่ 22 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์
ร้อยละ 4.8-6.8) โดยได้รบั ปัจจัยสนับสนุนหลักจากค่าเงินบาททีแ่ ข็งค่าขึน้ ท�ำให้มแี รงจูงใจต่อการน�ำเข้าสินค้าทัง้ เพือ่ การบริโภค และการผลิต รวมทั้งการน�ำเข้าบริการ ประกอบกับเศรษฐกิจไทยที่ยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคง ขยายตัวได้ดี ทั้งการบริโภคและการลงทุน
2. ด้านการค้าระหว่างประเทศ 2.1 มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ1 ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ 35.7 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกตามระบบ กรมศุลกากรพบว่า เมื่อหักผลของการส่งออกทองค�ำที่มีความผันผวนสูงออก มูลค่าการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 ยังขยายตัวได้ร้อยละ 8.4 ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมกราคม 2556 การส่งออกเร่งตัวขึ้นอย่างมากโดยสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 16.1 เนื่องจากปัจจัยฐานต�่ำในปีก่อนหน้าที่ภาคอุตสาหกรรมส่งออกส่วนใหญ่ยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะอุทกภัย อย่างไรก็ดี ในเดือน ต่อมาการส่งออกกลับหดตัวร้อยละ 5.8 โดยเป็นการหดตัวในหมวดสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร เชื้อเพลิง และทองค�ำ เป็นส�ำคัญ ประกอบกับปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าตั้งแต่กลางเดือนมกราคมเป็นต้นมา ได้ส่งผลต่อการหดตัวของการส่งออกใน เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส�ำหรับสินค้าที่ส่งออกได้ดีในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้า ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ และเมล็ดพลาสติก ที่ขยายตัวในช่วง 2 เดือนแรกถึงร้อยละ 20.9 ร้อยละ 16.6 และร้อยละ 16.0 ตามล�ำดับ ส่วนสินค้าในหมวดอืน่ มีการหดตัวทุกหมวดสินค้า ได้แก่ สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าเชือ้ เพลิงทีม่ กี ารหดตัว ร้อยละ 0.7 ร้อยละ 7.2 และร้อยละ 12.4 ตามล�ำดับ ส่วนด้านการส่งออกรายตลาดพบว่า ตลาดที่ขยายตัวได้ดีในช่วง 2 เดือน แรก ได้แก่ จีนและออสเตรเลีย จากการส่งออกรถยนต์ ยางพารา และเคมีภัณฑ์ เป็นหลัก
มูลค่าการส่งออกตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)
1
32
ภาพที่ 23 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 สศค.คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวร้อยละ 9.0 (โดยมีช่วง
คาดการณ์ร้อยละ 8.0-10.0) เร่งตัวขึ้นจากปี 2555 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปี 2555 แม้จะสามารถ ขยายตัวได้ในกรอบที่จ�ำกัดจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็ว ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจเพิ่มแรงกดดันด้านการขยายตัวของการส่งออกไทยในปี 2556 2.2 มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ2 ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ 37.9 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 20.2 จากการน�ำเข้าทองค�ำเป็นหลัก โดยการน�ำเข้าทองค�ำขยายตัวอย่างมากถึงร้อยละ 205.8 ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการน�ำเข้าตามระบบกรมศุลกากรที่หักการน�ำเข้าทองค�ำที่มีความผันผวนออกพบว่า การน�ำเข้า ขยายตัวร้อยละ 13.6 ในช่วง 2 เดือนแรกของปี ซึง่ การขยายตัวของการน�ำเข้าเกิดจากการน�ำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดบิ เป็นส�ำคัญ โดยสินค้าทั้งสองประเภทขยายตัวร้อยละ 15.8 และร้อยละ 30.6 ตามล�ำดับ ภาพที่ 24 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : สศค. มูลค่าการน�ำเข้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
33
➥➥ ในปี 2556 สศค.คาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวร้อยละ 10.6 (โดยมีช่วง
คาดการณ์ร้อยละ 9.6-11.6) เร่งขึ้นจากปี 2555 โดยเป็นผลมาจากการน�ำเข้าสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงเป็นส�ำคัญตามกิจกรรม ทางเศรษฐกิจทีค่ าดว่าจะขยายตัวต่อเนือ่ ง ประกอบกับการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดบิ ทีค่ าดว่าจะมีการเติบโตทีส่ งู ขึน้ จากภาคการส่งออก ที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2555 นอกจากนี้ ในปี 2556 การลงทุนทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนมีแนวโน้มจะขยายตัว มากขึ้น ท�ำให้การน�ำเข้าสินค้าทุนมีแนวโน้มขยายตัวตาม 2.3 ดุลการค้า3 ➥➥ ดุล ุ การค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 ขาดดุล 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วง 2 เดือนแรก
ของปี 2555 ทีเ่ กินดุล 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกมีระดับต�ำ่ กว่ามูลค่าการน�ำเข้า โดย 2 เดือน แรกมูลค่าการส่งออกสินค้าอยู่ที่ 35.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการน�ำเข้าสินค้าอยู่ที่ 37.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพที่ 25 ประมาณการดุลการค้า
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 4.8-6.8
พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงจากปี 2555 เนือ่ งจากการน�ำเข้าจะยังคงขยายตัวได้ดกี ว่าการส่งออกจากการน�ำเข้าสินค้าหมวด เชื้อเพลิง โดยเฉพาะวัตถุดิบและสินค้าทุนเป็นส�ำคัญ ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดี เป็นผลให้ในปี 2556 จะมีการเกินดุลการค้าลดลงจากปี 2555
ดุลการค้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)
3
34
3. ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด ➥➥ ดุุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 ขาดดุล 0.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วง
2 เดือนแรกของปี 2555 ที่เกินดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าตามระบบดุลการช�ำระเงินขาดดุล 2.2 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ จากการน�ำเข้าที่อยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะการน�ำเข้าทองค�ำ ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ ทุตยิ ภูมเิ กินดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายรับการท่องเทีย่ วทีอ่ ยูใ่ นเกณฑ์ดแี ละการชะลอการส่งกลับก�ำไรและเงินปันผล ภาพที่ 26 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัด
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุลเล็กน้อย 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วง
คาดการณ์ที่ (-1.8)-(2.1) พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ (-0.5)-(0.5) ของ GDP) ลดลงจากปี 2555 ที่ เกินดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการน�ำเข้าที่คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นตามอุปสงค์ในประเทศที่คาดว่าจะยังคงขยายตัว ต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะการน�ำเข้าในหมวดสินค้าทุนและสินค้าอุปโภค-บริโภค ตามการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐและการบริโภค ภาคเอกชนที่ขยายตัวดี ในขณะที่การส่งออกยังคงมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง 3.2 เงินเฟ้อ ➥➥ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 อยู่ร้อยละ 3.1 ลดลงจากปี 2555 ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.4
โดยมีสาเหตุหลักจาก 1) ราคาอาหารสดจ�ำพวกเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น�้ำ มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2) ราคาสินค้าในหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น�้ำประปา และแสงสว่าง ปรับตัวสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของค่าน�้ำประปาและการปรับ ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติหรือ Ft และ 3) ราคาสินค้าหมวดยานพาหนะและเชื้อเพลิงมีการเร่งตัวขึ้นจากราคาน�้ำมันดิบโลกที่ยังทรงตัว สูงกว่าราคาในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดอยู่ที่ ร้อยละ 1.5 ลดลงจากปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เนื่องจากราคาอาหารส�ำเร็จรูปในปี 2556 ไม่ได้เร่งตัวรุนแรงเช่นเดียวกับ ปี 2555 ที่ผ่านมา
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
35
ภาพที่ 27 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
ที่มา : สศค.
➥➥ ส�ำหรับปี 2556 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในระดับเดียวกับปี 2555 ที่ร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วง
คาดการณ์ร้อยละ 2.5-3.5) โดยมีสาเหตุหลักจากราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัว จึงมีความต้องการใช้น�้ำมันดิบเพิ่มขึ้น ถึงแม้ในด้านอุปทานน�้ำมัน ประเทศสหรัฐอเมริกาจะสามารถผลิตน�้ำมันเพื่อตอบสนอง อุปสงค์ภายในประเทศของตนเองได้มากขึน้ ก็ตาม ทัง้ นี้ การคาดการณ์ดงั กล่าวได้รวมผลของนโยบายการปรับขึน้ ค่าจ้าง 300 บาท ทั่วประเทศ และนโยบายการเพิ่มราคาก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนไว้ด้วยแล้ว (เพิ่มจากราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 25.30 บาทต่อกิโลกรัม) ซึง่ คาดว่าการเพิม่ ราคาก๊าซแอลพีจจี ะมีการปรับในช่วงเดือนมิถนุ ายนของปี 2556 ขณะทีอ่ ตั ราเงินเฟ้อพืน้ ฐาน ที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดคาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.4-2.4)
36
ภาคการคลัง รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลัง ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2556 บทสรุปผู้บริหาร ปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลยังคงจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุล (Expansionary Fiscal Policy) ต่อเนือ่ งจาก ปีงบประมาณ 2555 โดยในปีงบประมาณ 2556 มีการจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 300.0 พันล้านบาท นอกจากนีร้ ฐั บาล ยังได้ด�ำเนินงานตามโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2553 รวมถึงได้มีแผนการลงทุน โครงสร้างพืน้ ฐานของประเทศไทย ซึง่ รวมถึงแผนบริหารจัดการน�ำ้ ในระยะยาวของภาครัฐทีม่ วี งเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท โดยคาดว่าจะเริ่มทยอยลงทุนได้มากขึ้นในปี 2556 และแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ (ปี 2556-2562) ที่มีมูลค่า 2.0 ล้านล้านบาท ซึ่งขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... อยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา ทั้งนี้ การด�ำเนินนโยบายกระตุ้น เศรษฐกิจของรัฐบาลจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การบริโภคและการจ้างงานสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่เศรษฐกิจ โลกยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง และการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศไทย และเตรียมความพร้อมส�ำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ❍❍ ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-มีนาคม 2556) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้เท่ากับ 978.8 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 94.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 10.7 (สูงกว่า ช่วงเดียวกันปีทแี่ ล้วร้อยละ 18.7) ซึง่ เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษี สังกัดกระทรวงการคลัง หน่วยงานอืน่ และรัฐวิสาหกิจ สูงกว่าเป้าหมาย 59.9 พันล้านบาท 41.9 พันล้านบาท และ 5.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 ร้อยละ 78.0 และร้อยละ 12.8 ตามล�ำดับ สะท้อนถึงอุปสงค์ภายในประเทศและรายได้ภาคครัวเรือนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การคืนภาษีของกรมสรรพากร การจัดสรรภาษีมลู ค่าเพิม่ ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และการกันเงินชดเชยภาษีสำ� หรับ สินค้าส่งออก สูงกว่าประมาณการรวม 12.7 พันล้านบาท ส�ำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณ ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2556 สามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ 1,371.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.1 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยเป็นการเบิกจ่าย งบประมาณจากปีงบประมาณปัจจุบนั จ�ำนวน 1,212.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายทีร่ อ้ ยละ 50.5 ของกรอบวงเงิน งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 (2.4 ล้านล้านบาท) ในส่วนของฐานะการคลังในช่วงครึง่ ปีแรกของปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจ�ำนวน 414.4 พันล้านบาท และท�ำให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจ�ำนวน 529.9 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 194.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณ ในปี 2556 จ�ำนวน 300.0 พันล้านบาท ❍❍ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 5,074.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.05 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2555 จ�ำนวน 246.7 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เนื่องจากหนี้ของรัฐบาล เพิ่มขึ้นจ�ำนวน 153.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 โดยมีรายการส�ำคัญจากหนี้ในประเทศที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณและการบริหารหนี้ที่เพิ่มขึ้น 141.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 7.8 ❍❍ ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจสะสมในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2556 จ�ำนวน 60,966 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 16.1 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ โดยรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีปฏิทินจ�ำนวน 11 แห่ง เบิกจ่ายได้จำ� นวน 28.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 12.0 ของกรอบงบลงทุนอนุมตั ิ และรัฐวิสาหกิจ ที่ด�ำเนินงานตามปีงบประมาณจ�ำนวน 35 แห่ง เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 32.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 23.4 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
37
1. โครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2556 โครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2556 มีสาระส�ำคัญสรุป (ตารางที่ 5) ดังนี้ 1.1 งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 2.4 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ ก่อนหน้า 20.0 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และคิดเป็นร้อยละ 19.1 ของ GDP ตารางที่ 1 โครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2556
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2555 ปีงบประมาณ 2556 จ�ำนวน เพิ่ม/ลด (ร้อยละ) จ�ำนวน เพิ่ม/ลด (ร้อยละ) 1. วงเงินงบประมาณรายจ่าย 2,380,000.0 9.7 2,400,000.0 0.8 (สัดส่วน/GDP) 20.6 19.1 - รายจ่ายประจ�ำ 1,840,672.6 10.4 1,901,911.7 3.3 (สัดส่วน/งบประมาณ) 77.4 79.2 - รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 53,918.0 -52.9 - -100.0 (สัดส่วน/งบประมาณ) 2.2 - - รายจ่ายลงทุน 438,555.4 23.4 448,938.8 2.4 (สัดส่วน/งบประมาณ) 18.4 18.7 - รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ 46,854.0 43.9 49,149.5 4.9 (สัดส่วน/งบประมาณ) 2.0 2.1 2. รายรับ 2,380,000.0 9.7 2,400,000.0 0.8 (สัดส่วน/GDP) 20.6 19.1 - รายได้ 1,980,000.0 11.9 2,100,000.0 6.1 - เงินกู้ 400,000.0 - 300,000.0 -25.0 3. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 11,572,300.0 9.8 12,544,000.0 8.4 โครงสร้างงบประมาณ
ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ
1.2 รายจ่ายส�ำหรับปีงบประมาณ 2556 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.2.1 รายจ่ายประจ�ำ จ�ำนวน 1,901.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้า 61.2 พันล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79.2 ของวงเงินงบประมาณ 1.2.2 รายจ่ายลงทุน จ�ำนวน 448.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้า 10.4 พันล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.7 ของวงเงินงบประมาณ 1.3 รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ ได้ถกู จัดสรรจ�ำนวน 49.1 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ จากปีงบประมาณก่อนหน้า 2.3 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 โดยรายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.1 ของวงเงินงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลได้มีการจัดท�ำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ดังนี้
38
ตารางที่ 2 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณปีงบประมาณ 2556
(หน่วย : ล้านบาท)
งบประมาณ จ�ำนวน ร้อยละ รวมทั้งสิ้น 2,400,000.0 100.0 1. ยุทธศาสตร์การสร้างรากฐานการพัฒนาที่สมดุลสู่สังคม 491,482.0 20.5 2. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ 204,537.1 8.5 3. ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 228,395.8 9.5 4. ยุทธศาสตร์การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต และความเท่าเทียมกันในสังคม 625,443.3 26.1 5. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 57,682.1 2.4 6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม 19,636.3 0.8 7. ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 7,982.2 0.3 8. ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 330,686.4 13.8 9. รายการค่าด�ำเนินการภาครัฐ 434,154.8 18.1 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ
2. ผลการด�ำเนินนโยบายการคลังในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-มีนาคม 2556) 2.1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2556 ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้เท่ากับ 978.8 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 94.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 10.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 18.7) ซึง่ เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีสงั กัดกระทรวงการคลัง หน่วยงานอืน่ และรัฐวิสาหกิจ สูงกว่าเป้าหมาย 59.9 พันล้านบาท 41.9 พันล้านบาท และ 5.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 ร้อยละ 78.0 และร้อยละ 12.8 ตามล�ำดับ สะท้อนถึง อุปสงค์ภายในประเทศและรายได้ภาคครัวเรือนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การคืนภาษีของกรมสรรพากร การจัดสรร ภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อบจ. และการกันเงินชดเชยภาษีส�ำหรับสินค้าส่งออก สูงกว่าประมาณการรวม 12.7 พันล้านบาท โดยมี รายละเอียดการจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่ส�ำคัญดังนี้ ❍❍ กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 702.6 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 36.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 16.7) โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่ส�ำคัญ ได้แก่ (1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 15.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 11.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.5) สะท้อนถึงรายได้ ภาคครัวเรือนที่ขยายตัวได้ดีตามการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ และ (2) ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 7.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.5) เนื่องมาจากการบริโภคในประเทศที่ขยายตัว ต่อเนือ่ ง โดยภาษีมลู ค่าเพิม่ ทีจ่ ดั เก็บจากการบริโภคภายในประเทศสูงกว่าเป้าหมาย 12.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 7.2 ในขณะที่ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการน�ำเข้าต�่ำกว่าเป้าหมาย 4.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 เป็นผลจากมูลค่าการน�ำเข้าที่ชะลอตัว ❍❍ กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 231.1 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 23.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 11.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 28.9) โดยภาษีรถยนต์จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 25.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 40.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 102.2) เป็นผลจากโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกเป็นส�ำคัญ ขณะที่ภาษียาสูบและ ภาษีเบียร์จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 4.3 พันล้านบาท และ 3.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 14.6 และร้อยละ 9.7 ตามล�ำดับ สืบเนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราเมื่อเดือนสิงหาคม 2555 อย่างไรก็ตาม ภาษีสุราจัดเก็บได้ต�่ำกว่า เป้าหมาย 3.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 11.4 เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีท�ำให้ราคาขายปลีกสุราเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ การบริโภคสุราลดลง ส�ำหรับภาษีน�้ำมันจัดเก็บได้ต�่ำกว่าเป้าหมาย 8.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 20.3
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
39
กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 58.7 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 809 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.3) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 727 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.3 (สูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีทแี่ ล้วร้อยละ 1.4) ทัง้ นี้ สินค้าทีจ่ ดั เก็บอากรขาเข้าได้สงู สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบรถยนต์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ❍❍ รัฐวิสาหกิจ น�ำส่งรายได้ 50.8 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 5.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 12.8 (ต�่ำกว่า ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 11.1) เนื่องจากธนาคารออมสินน�ำส่งรายได้จากก�ำไรสุทธิประจ�ำปี 2555 สูงกว่าประมาณการ 3.8 พันล้านบาท และการเหลื่อมการน�ำส่งรายได้จากก�ำไรสุทธิประจ�ำปี 2554 ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวน 2.9 พันล้านบาท (จากที่ประมาณการไว้ว่าจะน�ำส่งในเดือนพฤษภาคม 2556) ❍❍ หน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 95.5 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 41.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 78.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 70.8) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้สัมปทานปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 5.1 พันล้านบาท สาเหตุมาจากปริมาณปิโตรเลียมที่ขุดเจาะได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับกรมธนารักษ์จัดเก็บสูงกว่าเป้าหมาย 1.4 พันล้านบาท จากการจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนและเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเป็นส�ำคัญ นอกจากนี้ยังมีรายได้พิเศษ ได้แก่ (1) รายได้จากการประมูลให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ย่าน 2.1 GHz จ�ำนวน 20.8 พันล้านบาท (2) การส่งคืนเงินที่กันไว้ เพื่อชดเชยค่าภาษีอากรส�ำหรับผู้ส่งออกสินค้าจ�ำนวน 8.2 พันล้านบาท (3) การเหลื่อมการน�ำส่งรายได้จากก�ำไรสุทธิประจ�ำปี 2553 ของคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จ�ำนวน 1.7 พันล้านบาท (4) เงินช�ำระหนี้ค่าข้าวจากโครงการขายข้าวรัฐบาลรัสเซียจ�ำนวน 1.1 พันล้านบาท (5) เงินรับคืนจากโครงการจัดจ้างผลิต เล่มหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) ระยะที่ 1 จ�ำนวน 913 ล้านบาท และ (6) การส่งคืนเงินบ�ำรุงองค์การ กระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (TPBS) จ�ำนวน 616 ล้านบาท ❍❍ การคืนภาษีของกรมสรรพากร จ�ำนวน 144.9 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 11.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 8.8 ประกอบด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 119.2 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 13.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 12.4 และการคืนภาษีอื่น ๆ (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์) จ�ำนวน 25.6 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการ 1.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.5 ❍❍ การจัดสรรรายได้จากภาษีมล ู ค่าเพิม่ ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด และเงินกันชดเชยภาษีส�ำหรับ สินค้าส่งออก จ�ำนวน 7.7 พันล้านบาท และ 7.3 พันล้านบาท ตามล�ำดับ สูงกว่าประมาณการ 501 ล้านบาท และ 526 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.9 และร้อยละ 7.8 ตามล�ำดับ ❍❍
40
ตารางที่ 3 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-มีนาคม 2556) ที่มาของรายได้
ปีนี้
(หน่วย : ล้านบาท) ประมาณการตามเอกสาร เปรียบเทียบปีนี้กับ ปีที่แล้ว งบประมาณทั้งปีเท่ากับ ปีก่อนหน้า ประมาณการ ประมาณการ 2,100,000 ล้านบาท (ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. กรมสรรพากร 702,632 601,898 666,478 16.7 36,154 1.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม 354,022 306,598 346,143 15.5 7,879 1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล 152,127 128,257 148,245 18.6 3,882 1.3 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 152,861 133,480 137,686 14.5 15,175 1.4 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 13,259 9,310 9,650 42.4 3,609 1.5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ 23,931 19,089 19,589 25.4 4,342 1.6 อากรแสตมป์ 6,305 4,951 5,050 27.3 1,255 1.7 รายได้อื่น 127 213 115 -40.4 12 2. กรมสรรพสามิต 231,105 179,243 208,146 28.9 22,959 2.1 ภาษีน�้ำมันฯ 31,500 30,338 39,522 3.8 -8,022 2.2 ภาษีรถยนต์ 86,883 42,971 61,783 102.2 25,100 2.3 ภาษีเบียร์ 38,145 34,610 34,761 10.2 3,384 2.4 ภาษียาสูบ 33,582 31,838 29,310 5.5 4,272 2.5 ภาษีสุราฯ 27,606 28,480 31,165 -3.1 -3,559 2.6 ภาษีเครื่องดื่ม 9,228 8,021 8,035 15.0 1,193 2.7 ภาษีรถจักรยานยนต์ 1,394 883 1,165 57.9 229 2.8 ภาษีแบตเตอรี่ 1,146 939 1,154 22.0 -8 2.9 ภาษีเครื่องใช้ไฟฟ้า 565 364 394 55.2 171 2/ 2.10 ภาษีอื่น 648 535 577 21.1 71 2.11 รายได้อื่น 408 264 280 54.5 128 3. กรมศุลกากร 58,659 57,897 57,850 1.3 809 3.1 อากรขาเข้า 57,437 56,626 56,710 1.4 727 3.2 อากรขาออก 101 204 150 -50.5 -49 3.3 รายได้อื่น ๆ 1,121 1,067 990 5.1 131 รวมรายได้ 3 กรม 992,396 839,038 932,474 18.3 59,922 4. รัฐวิสาหกิจ 50,760 57,082 44,984 -11.1 5,776 5. หน่วยงานอื่น 95,526 55,929 53,655 70.8 41,871 5.1 ส่วนราชการอื่น 91,230 52,791 50,763 72.8 40,467 5.2 กรมธนารักษ์ 4,296 3,138 2,892 36.9 1,404 รวมรายได้จัดเก็บ (Gross) 1,138,682 952,049 1,031,113 19.6 107,569 หัก 1. คืนภาษีของกรมสรรพากร 144,856 114,831 133,170 26.1 11,686 - ภาษีมูลค่าเพิ่ม 119,236 95,504 106,057 24.8 13,179 - ภาษีอื่น ๆ 25,620 19,327 27,113 32.6 -1,493 2. จัดสรรรายได้จาก VAT ให้ อบจ. 7,742 6,876 7,241 12.6 501 3. เงินกันชดเชยภาษีส�ำหรับสินค้า 7,250 6,044 6,724 20.0 526 ส่งออก รวมรายได้สุทธิ (Net) 978,834 824,298 883,978 18.7 94,856 หักเงินสรรจาก VAT ให้ อปท. ตาม พ.ร.บ.ก�ำหนดแผนฯ - 13,001 - รวมรายได้สุทธิ 978,834 811,297 883,978 20.7 94,856 หลังหักการจัดสรร อปท.
5.4 2.3 2.6 11.0 37.4 22.2 24.9 10.4 11.0 -20.3 40.6 9.7 14.6 -11.4 14.8 19.7 -0.7 43.4 12.3 45.7 1.4 1.3 -32.7 13.2 6.4 12.8 78.0 79.7 48.5 10.4 8.8 12.4 -5.5 6.9 7.8 10.7 10.7
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
41
2.2 สรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–มีนาคม 2556)
ผลการเบิกจ่ายรัฐบาลในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 1,371.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนจ�ำนวน 102.3 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยรายจ่ายรัฐบาลแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบันจ�ำนวน 1,212.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีกอ่ น หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 50.5 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 (2.4 ล้านล้านบาท) รายจ่ายปีปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น (1) รายจ่ายประจ�ำเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 1,063.6 พันล้านบาท หรือขยายตัว ร้อยละ 1.2 และ (2) รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 149.1 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 24.4 โดยรายจ่ายที่ส�ำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเงินอุดหนุนกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิน่ 148.7 พันล้านบาท รายจ่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพ 75.4 พันล้านบาท เงินอุดหนุนกระทรวงศึกษาธิการ 89.7 พันล้านบาท รายจ่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 62.2 พันล้านบาท และรายจ่าย เพื่อช�ำระหนี้กระทรวงการคลัง 67.6 พันล้านบาท เป็นส�ำคัญ ส�ำหรับรายจ่ายเหลื่อมปีเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 158.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 61.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 สรุปผลการเบิกจ่ายรายจ่ายรัฐบาลในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2556 ประเภทรายจ่าย 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน - รายจ่ายประจ�ำ - รายจ่ายลงทุน 2. รายจ่ายเหลื่อมปี รายจ่ายรวม (1+2)
(หน่วย : ล้านบาท)
ผลการเบิกจ่าย ช่วงครึ่งปีแรกของ ปีงบประมาณ 2556 (1)
ผลการเบิกจ่าย ช่วงครึ่งปีแรกของ ปีงบประมาณ 2555 (2)
อัตราการขยายตัว (ร้อยละ) (1)/(2)
1,212,687 1,063,598 149,089 158,891 1,371,578
1,170,916 1,051,041 119,875 98,402 1,269,318
3.6 1.2 24.4 61.5 8.1
ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
นอกจากนี้รัฐบาลได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือนตุลาคม 2552–มีนาคม 2556) มีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 323.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.6 ของวงเงิน 348.9 พันล้านบาท และการเบิกจ่ายตามพระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้าง อนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือนกุมภาพันธ์ 2555–มีนาคม 2556) มีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 7.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.0 ของวงเงิน 350.0 พันล้านบาท 2.3 ฐานะการคลังในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–มีนาคม 2556) ฐานะการคลังในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–มีนาคม 2556) รัฐบาลขาดดุล เงินงบประมาณจ�ำนวน 414.4 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจ�ำนวน 115.6 พันล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังจ�ำนวน 102.1 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เงินขาดดุลจ�ำนวน 529.9 พันล้านบาท และท�ำให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 194.2 พันล้านบาท (ตารางที่ 5)
42
ตารางที่ 5 ฐานะการคลังในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2556 1. รายได้น�ำส่งคลัง 2. รายจ่าย 3. ดุลเงินงบประมาณ 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 7. ดุลเงินสดหลังการกู้เงิน
ปีงบประมาณ 2556 957,192 1,371,578 -414,386 -115,556 -529,942 163,758 -366,184
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2555 812,147 1,269,318 -457,171 -83,195 -540,366 93,610 -446,756
ร้อยละ 17.9 8.1 -9.4 38.9 -1.9 74.9 -18.0
ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
2.4 หนี้สาธารณะ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 5,074.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.05 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจ�ำนวน 30.6 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เนื่องจากหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 24.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 โดยมีรายการส�ำคัญจากหนี้ในประเทศที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและ การบริหารหนีท้ เี่ พิม่ ขึน้ 37.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.0 โดยระดับหนีส้ าธารณะคงค้างอยูใ่ นระดับทีม่ เี สถียรภาพ ซึง่ แบ่งออกเป็น 1) หนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้สกุลเงินบาท โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 93.26 ของหนี้สาธารณะคงค้าง 2) หนี้สาธารณะ ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 96.18 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ 3) สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ก�ำหนดสัดส่วนไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 60.0
ภาพที่ 1 ยอดคงค้างหนี้สาธารณะและสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP รายเดือน
ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
43
ตารางที่ 6 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 หนี้สาธารณะคงค้าง
1. หนี้ของรัฐบาล 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) 4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 5. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ หนี้สาธารณะรวม (1+2+3+4+5)
(หน่วย : ล้านบาท)
ณ เดือน ต.ค. 55 ณ เดือน ก.พ. 56 จ�ำนวน % GDP จ�ำนวน % GDP 3,402,463 30.5 3,555,635 30.9 1,052,369 9.4 1,072,414 9.3
เปรียบเทียบกับ จ�ำนวน ร้อยละ 153,171 4.5 20,045 1.9
365,261 - 7,232 4,827,326
72,613 - 821 246,651
3.3 - 0.1 43.3
437,874 - 8,054 5,073,977
3.8 - 0.1 44.1
19.9 11.4 5.1
ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
2.5 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในช่วงครึง่ แรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–มีนาคม 2556)
กรอบอนุมตั งิ บลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ของรัฐวิสาหกิจรวม 46 แห่ง จ�ำนวนทัง้ สิน้ 377.6 พันล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2556 จ�ำนวน 61.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 16.1 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ โดยรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีปฏิทินจ�ำนวน 11 แห่ง เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 28.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 12.0 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ และรัฐวิสาหกิจ ที่ด�ำเนินงานตามปีงบประมาณจ�ำนวน 35 แห่ง เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 32.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 23.4 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ ❍❍
ตารางที่ 7 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-มีนาคม 2556) ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ งบลงทุนอนุมัติ
รัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน (1) บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ (2) การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง การประปานครหลวง การเคหะแห่งชาติ รวม (1)+(2)
239,791 98,845 48,519 37,302 17,079 14,498 137,822 49,894 32,732 8,903 7,900 7,005 6,500 377,614
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง
44
ผลการเบิกจ่าย ผลการเบิกจ่ายสะสม % ผลการเบิกจ่ายสะสม เดือน มี.ค. 56 (ต.ค. 55-มี.ค. 56) ต่องบทุนอนุมัติ
14,239 1,322 6,545 3,548 204 1,020 12,994 7,952 2,011 88 54 544 823 27,233
28,705 3,868 12,370 6,231 1,466 2,039 32,261 13,905 7,412 395 353 1,942 2,883 60,966
12.0 3.9 25.5 16.7 8.6 14.1 23.4 27.9 22.6 4.4 4.5 27.7 44.4 16.1
Macroeconomic Analysis Briefing บทวิเคราะห์ เรื่อง ก้าวใหม่ระบบขนส่งไทย : แผนการลงทุนด้านโครงสร้าง พื้นฐานในระบบขนส่งของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาท 1
บทสรุปผู้บริหาร ประเทศไทยมีความจ�ำเป็นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง เนื่องจากจะเป็น การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภาคเอกชนและรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ ด้วยการลดต้นทุน การขนส่งทีอ่ ยูใ่ นระดับสูง และเพิม่ เส้นทางการเชือ่ มต่อทีจ่ ำ� เป็นซึง่ จะท�ำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมภิ าค ในการเชื่อมโยงด้านการขนส่ง และยังจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจอีกมาก ❍❍ รัฐบาลจึงได้ด�ำเนินการจัดท�ำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพือ่ การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ หรือ พ.ร.บ.กูเ้ งิน 2 ล้านล้านบาท เพือ่ สร้างและ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ ซึ่งจะจัดสร้างในช่วงปี 2556-2563 โดยสัดส่วนเงินลงทุน จะแบ่งเป็น การขนส่งทางรางร้อยละ 82.6 การขนส่งทางถนนร้อยละ 12.2 การขนส่งทางน�ำ้ ร้อยละ 1.5 การพัฒนา ทางด่านศุลกากรร้อยละ 0.6 และเงินส�ำรองจ่ายร้อยละ 3.1 ❍❍ ผลการค� ำ นวณจากแบบจ� ำ ลองเศรษฐกิ จ มหภาคของ สศค. พบว่ า เมื่ อ มี แ ผนการลงทุ น 2 ล้านล้านบาท จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในหลายประการ ได้แก่ ท�ำให้ในช่วงปี 2556-2563 เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงขึ้นจากกรณีฐาน (ไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฯ) เฉลี่ยร้อยละ 1.1 ต่อปี และ การจ้างงานจะเพิม่ สูงขึน้ กว่ากรณีฐานเฉลีย่ ประมาณร้อยละ 0.5 ต่อปีหรือคิดเป็น 5 แสนต�ำแหน่งงาน อย่างไรก็ดี ในด้านเสถียรภาพต่างประเทศ โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะท�ำให้อัตราดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากกรณีฐานเฉลี่ยร้อยละ 1.0 ต่อปี ❍❍ โครงการลงทุนนี้จ�ำเป็นต้องมีนโยบายและมาตรการเสริมรองรับ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและ ประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงจ�ำกัดผลกระทบทางลบทีอ่ าจเกิดขึน้ ในอนาคต อาทิ การเตรียมพร้อมเรือ่ งแรงงาน รองรับ การตั้งราคาค่าบริการที่เหมาะสม การปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออ�ำนวยความสะดวก การเฝ้าระวังภาวะ ฟองสบู่ และการวางผังเมืองส�ำหรับเมืองหรือชุมชนใหม่ที่อาจเกิดขึ้น ❍❍
1. ความเป็นมาของแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในระบบขนส่งของประเทศ ประเทศไทยมีอตั ราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลีย่ ร้อยละ 4.3 ในช่วงทศวรรษทีผ่ า่ นมา (ปี 2546-2555) สูงกว่าค่าเฉลีย่ ของ โลกที่ร้อยละ 3.8 อย่างไรก็ดี การเติบโตในช่วงดังกล่าวมาจากแนวทางการพัฒนาที่อาศัยประโยชน์จากปัจจัยการผลิตราคาถูก โดยเฉพาะแรงงาน ที่ดิน และทรัพยากรทางธรรมชาติประเภทต่าง ๆ ท�ำให้เศรษฐกิจสามารถพัฒนาได้ทั้ง ๆ ที่โครงสร้างพื้นฐาน ของประเทศโดยเฉพาะด้านการขนส่งไม่อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อการแข่งขันของภาคธุรกิจในระยะยาว ด้วยต้นทุนค่าขนส่ง ทีอ่ ยูใ่ นระดับสูงเมือ่ เทียบกับมาตรฐานสากล โดยต้นทุนค่าขนส่งต่อ GDP ของไทยอยูท่ รี่ ะดับร้อยละ 18.8 ต่อ GDP ขณะทีต่ น้ ทุน ต่อ GDP ของประเทศเพือ่ นบ้าน อาทิ มาเลเซียอยูท่ รี่ อ้ ยละ 14 สิงคโปร์อยูท่ รี่ อ้ ยละ 7 และส�ำหรับค่าเฉลีย่ ของประเทศพัฒนาแล้ว อยู่ที่ร้อยละ 9 เท่านั้น ผูเ้ ขียน : นายยุทธภูมิ จารุเศร์นี และนายกระแสร์ รังสิพล เศรษฐกรปฏิบตั กิ าร ส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบาย เศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
45
ปัจจุบันแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจโดยอาศัยปัจจัยการผลิตราคาถูกไม่ใช่แนวทางที่สร้างความได้เปรียบให้แก่ เศรษฐกิจไทยอีกต่อไป ท�ำให้การเติบโตในระยะต่อไปของเศรษฐกิจไทยต้องมีการยกระดับขีดความสามารถครัง้ ใหญ่ ประเทศไทย จึงจ�ำเป็นต้องมีโครงสร้างพืน้ ฐานที่เอื้อประโยชน์ให้ภาคเอกชนมีความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น ด้วยการลดต้นทุนการขนส่ง และเดินทางซึง่ เป็นสิง่ จ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของภาคเอกชน และรองรับการลงทุน จากต่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ ในโอกาสทีป่ ระเทศไทยและกลุม่ ประเทศสมาชิกอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นหนึง่ ในทางเศรษฐกิจ การค้าผ่านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) โครงสร้างพืน้ ฐานดังกล่าวจะท�ำให้ประเทศไทย ได้รับประโยชน์มหาศาลจากการมีท�ำเลที่ตั้งอันเป็นจุดเชื่อมโยงทางการขนส่งของภูมิภาค การลงทุนดังกล่าวไม่เพียงแต่จะให้ผลประโยชน์โดยตรงเท่านั้น โครงสร้างพื้นฐานจะสร้างโอกาสในการขยายตัวทาง เศรษฐกิจโดยภาคเอกชนอีกจ�ำนวนมากทีจ่ ะตามมา ทัง้ โครงการอสังหาริมทรัพย์และชุมชนใหม่ทจี่ ะเกิดขึน้ รวมไปถึงธุรกิจรองรับ อีกจ�ำนวนมาก ผลพวงดังกล่าวจะน�ำไปสู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นและรายได้ที่สูงขึ้นในขณะเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้จัดท�ำร่าง พ.ร.บ.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ขนส่งของประเทศขึ้น เพื่อน�ำไปสู่การเริ่มต้นสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางระบบขนส่งครั้งใหญ่ของประเทศไทย
2. แผนการลงทุนและแหล่งเงินทุนในโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในระบบขนส่งของ ประเทศ โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานจะด�ำเนินการในกรอบเวลาช่วงปี 2556-2563 โดยแหล่งเงินทุนหลักของโครงการ จะมาจาก พ.ร.บ.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ จ�ำนวน 2 ล้านล้านบาท นอกเหนือไปจากเงินงบประมาณแผ่นดิน รายได้จากรัฐวิสาหกิจ การร่วมทุนกับภาคเอกชน และการกู้ยืมอื่น ๆ แผนการลงทุนดังกล่าวประกอบไปด้วยการลงทุนด้านการขนส่งทางราง 1.65 ล้านล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 82.6) ทางถนน 2.43 แสนล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 12.2) ทางน�ำ้ 3.03 หมืน่ ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.5) และการพัฒนาด่านศุลกากร 1.22 หมื่นล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.6) ประกอบกับวงเงินส�ำรองจ่าย 6.31 หมื่นล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 3.1) ตารางที่ 1 สัดส่วนเงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท ในโครงสร้างพื้นฐาน
หน่วยงาน
วงเงินรวมตาม พ.ร.บ. (ล้านบาท)
ร้อยละ
ทางราง ทางถนน ทางน�้ำ กรมศุลกากร เงินส�ำรองจ่าย รวมทั้งสิ้น
1,651,322 243,029 30,277 12,195 63,175 2,000,000
82.6 12.2 1.5 0.6 3.1 100
ที่มา : Report on Investment Plan for Transport sector (2013-2020) *ข้อมูลเบื้องต้น
3. ช่องทางและผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในระบบขนส่งของประเทศภายใต้วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุน ระยะยาวทีม่ ขี นาดใหญ่ โดยรัฐบาลคาดว่าจะส่งผลกระทบด้านบวกต่อเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ ด้านอุปทาน ด้านการจ้างงาน และ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ ดังแสดงในภาพที่ 1
46
ภาพที่ 1 กลไกการส่งผ่านผลกระทบจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
ในด้านอุปสงค์ การลงทุนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้น (Ig) จะท�ำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากการพัฒนาและ ก่อสร้างตามโครงการลงทุนโครงสร้างพืน้ ฐาน ส่งผลให้รายได้ของกลุม่ แรงงานทีเ่ กีย่ วเนือ่ งปรับตัวเพิม่ ขึน้ ซึง่ คนกลุม่ นีม้ ฐี านรายได้ ที่อยู่ในระดับต�่ำเมื่อมีการขยายตัวของรายได้ จึงมีโอกาสที่จะน�ำเงินส่วนที่เพิ่มมานี้ใช้ในการบริโภคในสัดส่วนที่สูง (Marginal Propensity to Consume : MPC สูง) จึงท�ำให้การบริโภคภาคเอกชน (Cp) ขยายตัวดีขึ้น ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชน (Ip) ก็จะขยายตัวขึ้นตามมา เนื่องจากผลของ Crowding-In Effect กล่าวคือ ภาคเอกชนจะต้องมีการผลิตสินค้าและบริการ เพือ่ ตอบสนองการลงทุนของรัฐทีเ่ พิม่ ขึน้ มาอย่างมาก อย่างไรก็ดี การลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนจะมีสว่ นท�ำให้การน�ำเข้า ของสินค้า (Mg) เพิ่มขึ้นตามมา เนื่องจากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในหลายโครงการจ�ำเป็นต้องใช้วัสดุและชิ้นส่วนจาก ต่างประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในด้านอุปสงค์บ้าง ประกอบกับจะท�ำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด ในเวลาต่อมาค่อย ๆ ปรับตัวลดลงมา ส�ำหรับในด้านอุปทาน โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะท�ำให้เกิดการขยายตัวในการผลิตสินค้าและบริการในสาขา ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สาขาเกษตร สาขาการผลิต สาขาก่อสร้าง สาขาขนส่ง สาขาค้าส่งค้าปลีก สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ฯลฯ เป็นผลให้เกิดการจ้างงานในสาขาดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น ผลที่ได้จะส่งผ่านสู่ด้านอุปสงค์ให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นหมุนเวียน ต่อเนื่องกันเป็นพลวัตดังภาพที่ 1 จากการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคของโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในระบบขนส่งของประเทศ โดยใช้แบบจ�ำลองเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Model) ของ สศค. โดยมีสมมติฐานส�ำคัญที่ใช้ในการค�ำนวณ คือ ก�ำหนดให้เม็ดเงินจากโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพืน้ ฐานในระบบขนส่งของประเทศไหลเข้าสูร่ ะบบเศรษฐกิจในปี 2556-2563 เป็นดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 การเบิกจ่ายเงินลงทุนจากโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในระบบขนส่งของประเทศ
ปี
2556
2557
2558
2559
2560
2561
2562
2563
รวม 8 ปี
เม็ดเงินลงทุน (พันล้านบาท)
20.4
160.7
280.9
349.6
329.6
304.3
274.1
280.4 2,000.0
ที่มา : ประมาณการโดย สศค. ณ เดือนมีนาคม 2556
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
47
ผลการศึกษาพบว่าการลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฯ ดังกล่าวจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ท�ำให้ การลงทุนขยายตัวสูงขึ้น โดยในรอบแรก (First-round) การลงทุนก่อสร้างระบบคมนาคมทางรางและทางถนนต่าง ๆ จะท�ำให้ การลงทุนภาครัฐขยายตัวสูงขึน้ ซึง่ การลงทุนภาครัฐทีข่ ยายตัวจะส่งผลให้การลงทุนของภาคเอกชนเพิม่ สูงขึน้ ตามมาในระลอกที่ 2 (Second-round) หรือที่เรียกว่า Crowding-In effect เนื่องจากการลงทุนในโครงข่ายคมนาคมจะช่วยให้การคมนาคมระหว่าง จังหวัดต่าง ๆ เป็นได้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง น�ำความเจริญไปสู่ภูมิภาค เมื่อภาคเอกชนเห็นดังนั้นจึงมีการลงทุนเพื่อรองรับกับ อุปสงค์ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เช่น การลงทุนก่อสร้างในภาคอสังหาริมทรัพย์ทั้งบ้านเดี่ยว อาคารพาณิชย์ และคอนโดมิเนียม การลงทุนก่อสร้างโรงแรมและภัตตาคารเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น และการลงทุนก่อสร้างโรงงานเพื่อขยายก�ำลัง การผลิตให้รองรับอุปสงค์ที่จะเพิ่มขึ้น ฯลฯ การลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยผลลัพธ์จากแบบจ�ำลองเศรษฐกิจมหภาค พบว่า การลงทุนนี้ได้ยกระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศให้สูงขึ้นทัดเทียม ประเทศคูแ่ ข่งรายส�ำคัญ โดยการลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพืน้ ฐานจะท�ำให้ GDP ขยายตัวเพิม่ ขึน้ ต่อเนือ่ งจากกรณีฐาน กล่าวคือ เมื่อสิ้นสุดโครงการในปี 2563 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาประจ�ำปี (Nominal GDP) จะอยู่ที่ระดับ 22.5 ล้านล้านบาท เทียบกับกรณีฐานที่ไม่มีการลงทุนนี้จะอยู่ที่ 21.9 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 (ภาพที่ 2) ทั้งนี้ถ้าคิดในรูปผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาคงที่ (Real GDP) จะได้ว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการในปี 2563 การลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะท�ำให้ Real GDP เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ภาพที่ 2 ผลกระทบของการลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาปัจจุบัน (Nominal GDP)
ที่มา : ประมาณการโดย สศค. ณ เดือนมีนาคม 2556
ในด้านการจ้างงานพบว่า การลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะส่งผลดีต่อการจ้างงานโดยรวมของประเทศ เนื่องจากการก่อสร้างในโครงการต่าง ๆ ต้องอาศัยแรงงาน ทั้งแรงงานมีฝีมือระดับล่าง ระดับกลาง และระดับสูง นอกจากนั้น เมื่อโครงการลงทุนด�ำเนินการก่อสร้างแล้วยังได้รับผลดีจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นทั้งการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน (Second-round Effect) ท�ำให้เกิดการจ้างงานในภาคเศรษฐกิจจริงเพิม่ ขึน้ อีกด้วย ผลลัพธ์จากแบบจ�ำลองเศรษฐกิจมหภาค พบว่า การลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพืน้ ฐานจะท�ำให้การจ้างงานเพิม่ ขึน้ สูงสุดในปี 2558 ที่ 6.7 แสนต�ำแหน่ง หรือเพิม่ ขึ้น 1.6 แสนต�ำแหน่ง เมื่อเทียบกับกรณีฐานที่ไม่มีโครงการลงทุน และถ้านับรวมตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงสิ้นสุดโครงการ การลงทุนนี้ จะท�ำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 แสนต�ำแหน่ง (ภาพที่ 3)
48
ภาพที่ 3 ผลกระทบของการลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่อการจ้างงาน
ที่มา : ประมาณการโดย สศค. ณ เดือนมีนาคม 2556
ในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศพบว่า การลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะส่งผลให้การน�ำเข้าปรับตัว สูงขึ้น เนื่องจากการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต้องอาศัยการน�ำเข้าวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ จากต่างประเทศ เช่น หัวรถจักร ตู้โดยสารรถไฟฟ้า ระบบราง รวมทั้งเหล็ก ฯลฯ ผลลัพธ์จากแบบจ�ำลองเศรษฐกิจมหภาคพบว่า การลงทุนจากแผนการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานจะท�ำให้การน�ำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2558 โดยขยายตัวร้อยละ 10.9 เทียบกับกรณีฐานที่ไม่มีโครงการ จะขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 แต่หลังจากนั้นในปี 2559-2563 การน�ำเข้าสินค้าจะขยายตัวชะลอลงมาอยู่ในช่วงร้อยละ 9.0-10.2 (ภาพที่ 4) ภาพที่ 4 ผลกระทบของการลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่อการน�ำเข้าสินค้า
ที่มา : ประมาณการโดย สศค. ณ เดือนมีนาคม 2556
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
49
การน�ำเข้าทีเ่ พิม่ ขึน้ ยังส่งผลต่อเนือ่ งต่อดุลบัญชีเดินสะพัดท�ำให้ดลุ บัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิม่ ขึน้ ผลลัพธ์จากแบบจ�ำลอง เศรษฐกิจมหภาคพบว่า การลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะท�ำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลสูงสุดในปี 2560 ที่ร้อยละ -1.9 ต่อ GDP และจะค่อย ๆ ลดลงเหลือขาดดุลร้อยละ -0.5 ต่อ GDP ในปี 2563 (ภาพที่ 5) ภาพที่ 5 ผลกระทบของการลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่อดุลบัญชีเดินสะพัด
ที่มา : ประมาณการโดย สศค. ณ เดือนมีนาคม 2556
ในด้านราคา ผลการศึกษาพบว่าการลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฯ จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น เล็กน้อย เนื่องมาจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อแรงกดดันเงินเฟ้อประเภทอุปสงค์เกิน (Demand Pull Inflation) ผลลัพธ์จาก แบบจ�ำลองเศรษฐกิจมหภาคพบว่า การลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะท�ำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงสุดในปี 2559 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.23 เทียบกับกรณีฐานที่ไม่มีโครงการลงทุนที่อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ส่วนในปีอื่นพบว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงระดับ ที่ร้อยละ 3.10 ถึง 3.18 (ภาพที่ 6) ภาพที่ 6 ผลกระทบของการลงทุนจากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไป
50
ที่มา : ประมาณการโดย สศค. ณ เดือนมีนาคม 2556 * หมายเหตุ : ผลการประมาณการทางเศรษฐกิจดังกล่าวใช้เพือ่ การวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของนโยบาย เศรษฐกิจ ไม่ถือเป็นการแถลงข่าวของส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และตัวเลขอาจมี การเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะเศรษฐกิจและสมมติฐาน
4. ผลกระทบต่อระบบคมนาคมขนส่ง2 การขนส่งสินค้าจะมีการเปลี่ยนรูปแบบ (Modal shift) โดยเป็นการลดสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางถนนลง และเปลี่ยน ไปเป็นการใช้การขนส่งทางรางเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.5 เป็นร้อยละ 5 และทางน�้ำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 19 ด้าน การเดินทางของผูค้ นก็จะเปลีย่ นแปลงไปในแนวทางเดียวกัน โดยผูเ้ ดินทางจะใช้รถยนต์สว่ นตัวลดลงจากร้อยละ 59 เป็นร้อยละ 40 ในการเดินทางระหว่างจังหวัด ขณะที่ปริมาณผู้โดยสารทางรถไฟจะเพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคน-เที่ยว/ปี เป็น 75 ล้านคน-เที่ยว/ปี การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจะท�ำให้ต้นทุนค่าขนส่งต่อ GDP ลดลงจากปัจจุบันไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 จากปัจจุบันอยู่ที่ ร้อยละ 15.2 และลดการสูญเสียน�้ำมันเชือ้ เพลิงได้ไม่นอ้ ยกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี ขณะทีร่ ะยะเวลาการขนส่งและระยะเวลา เดินทางจะลดลงจากความเร็วเฉลี่ยของทั้งรถไฟขนสินค้าและรถไฟโดยสารที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50
5. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 5.1 การเตรียมพร้อมด้านแรงงาน การลงทุนขนาดใหญ่นจี้ ำ� เป็นต้องอาศัยแรงงานประเภทต่าง ๆ เป็นจ�ำนวนมาก ซึง่ ถ้าขาดการวางแผนและการบริหารจัดการ ด้านแรงงานที่ดีอาจน�ำไปสู่การขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะในปี 2558 ที่จะมีการใช้ก�ำลังแรงงานมากกว่า 6.7 แสนต�ำแหน่ง ดังนั้น ภาครัฐควรเตรียมพร้อมด้านแรงงานให้สามารถรองรับกับการก่อสร้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทั้งด้านปริมาณและด้าน คุณภาพ อาทิ ควรมุง่ เน้นเพือ่ การพัฒนาการศึกษาให้นกั เรียนและนักศึกษาทันการศึกษาต่อในระดับทีส่ งู ขึน้ ทัง้ ในภาคอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อเป็นการเพิ่มจ�ำนวนก�ำลังแรงงานในอนาคต อีกทั้งควรเน้นการพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดการอบรมเพื่อพัฒนา ทักษะในงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้างแก่แรงงานที่ขาดทักษะ อย่างไรก็ดี หากก�ำลังแรงงานไม่สามารถรองรับกับ ความต้องการได้กจ็ ำ� เป็นต้องเตรียมแผนการน�ำเข้าแรงงานจากประเทศเพือ่ นบ้าน ซึง่ ได้เปรียบในเรือ่ งค่าแรงทีถ่ กู กว่า แต่จำ� เป็น ต้องมีการวางแผนและจัดการที่ดีเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสังคมตามมาในอนาคต 5.2 การตั้งราคาค่าบริการที่เหมาะสม ส�ำหรับโครงการทีส่ ร้างเพือ่ อ�ำนวยความสะดวกผูใ้ ช้บริการ อาทิ รถไฟความเร็วสูงในการเดินทางไปยังภูมภิ าคต่าง ๆ ภายใน ประเทศ ภาครัฐควรมีการศึกษาการตั้งราคาของการให้บริการที่เหมาะสมก่อนการเปิดใช้บริการในแต่ละโครงการ เพื่อให้เกิด ความคุม้ ค่าทัง้ ในแง่ของรายได้และจ�ำนวนผูใ้ ช้บริการ และยังควรพิจารณาถึงการอุดหนุนและการประชาสัมพันธ์ในระยะเริม่ ต้น ของโครงการเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เดินทางมาใช้การโดยสารทางรางมากขึ้น 5.3 การปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออ�ำนวยความสะดวกการขนส่งทางด่านชายแดน การที่ไทยเป็นจุดเชื่อมการขนส่งและการเดินทางระหว่างหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน การคมนาคมขนส่งผ่านทาง ด่านชายแดนจึงมีความส�ำคัญเพิ่มขึ้นจากการยกระดับคุณภาพการเดินทางและการขนส่งที่จะท�ำให้ปริมาณการเดินทางและ ขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจ�ำนวนมาก ภาครัฐจึงจะต้องเตรียมการเพื่อเพิ่มความสะดวกต่อการคมนาคมทางด่าน โดยอาจท�ำได้ โดยการลดขัน้ ตอนหรือการแก้กฎระเบียบการข้ามด่านชายแดนให้สะดวกรวดเร็วเพือ่ อ�ำนวยความสะดวกต่อผูใ้ ช้บริการ อันจะเป็น การยกระดับคุณภาพการขนส่งทั้งระบบอย่างแท้จริง 5.4 การเฝ้าระวังการเก็งก�ำไร การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะดึงดูดการลงทุนภาคเอกชนตามมาอีกจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างและ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในปัจจุบันมีการจับจองเข้าซื้อที่ดินจ�ำนวนมากในบริเวณที่คาดว่าจะมีโครงการของรัฐเกิดขึ้น ท�ำให้ ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นมากกว่ามูลค่าพื้นฐานในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจึงควรเฝ้าระวังการเก็งก�ำไรในพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จาก โครงการ เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและป้องกันการเกิดภาวะฟองสบู่ซึ่งจะน�ำไปสู่ผลเสียทางเศรษฐกิจ ในวงกว้างในอนาคต 5.5 การวางผังเมืองเพื่อรองรับการเกิดขึ้นของเมืองหรือชุมชนใหม่ การเกิดขึน้ ของโครงสร้างพืน้ ฐานในการขนส่งเดินทางจะก่อให้เกิดประโยชน์ดา้ นความสะดวกและด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะดึงดูดให้เกิดการสร้างเมืองหรือชุมชนใหม่ในลักษณะต่าง ๆ อีกจ�ำนวนไม่น้อย ภาครัฐจึงควรที่จะวางแผนรองรับเพื่อให้ ชุมชนหรือเมืองใหม่ที่เกิดขึ้นมีความเป็นระเบียบและมีคุณภาพเหมาะสมกับลักษณะของเมืองที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเขตพื้นที่ อุตสาหกรรมชุมชนที่อยู่อาศัยหรือแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งล้วนแต่มีความจ�ำเป็นในการวางแผนตั้งแต่เริ่มทั้งสิ้น เพื่อให้การจัดสรร งบประมาณและทรัพยากรในการสร้างเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ของกระทรวงคมนาคม “พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างอนาคตประเทศ Thailand 2020”
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
51
บทวิเคราะห์ เรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดจ�ำหน่ายกองทุนรวมของไทย (ตอนที่ 2)
1
บทสรุปผู้บริหาร จากปัญหาด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่ายกองทุนรวมของแต่ละบริษทั หลักทรัพย์จดั การกองทุน ทีไ่ ม่สามารถเข้าถึงผูล้ งทุนได้อย่างเท่าเทียม ประกอบกับบริการการให้คำ� ปรึกษาการลงทุนจากเจ้าหน้าทีก่ ารตลาด ของบริษทั หลักทรัพย์ บริษทั หลักทรัพย์จดั การกองทุน (บลจ.) และธนาคารพาณิชย์ยงั มีปญ ั หาทัง้ ในเชิงคุณภาพและ ความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ อีกทัง้ ผูล้ งทุนส่วนมากยังขาดความรูค้ วามเข้าใจด้านการเงินและการลงทุน จึงท�ำให้ ผูล้ งทุนมีความเสีย่ งทีจ่ ะมีพฤติกรรมเอนเอียงในการตัดสินใจลงทุนและอาจท�ำให้ผลู้ งทุนไม่สามารถเลือกลงทุน ในผลิตภัณฑ์ทสี่ อดคล้องกับความต้องการของตนเอง ส่งผลให้ผลู้ งทุนไม่ได้รบั ประโยชน์จากการลงทุนเท่าทีค่ วร ❍❍ แนวทางแก้ไขจึงควรด�ำเนินการปรับปรุงช่องทางการจัดจ�ำหน่ายให้การเข้าถึงสินค้าและบริการ เป็นไปอย่างเท่าเทียมยิง่ ขึน้ พร้อมทัง้ ส่งเสริมการให้คำ� ปรึกษาทีม่ คี ณ ุ ภาพ ก�ำหนดมาตรการเพือ่ บรรเทาและจัดการ กับความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ ตลอดจนพัฒนาความรู้และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน ไทยไปพร้อมกัน ❍❍
1. บทน�ำ บทความนีเ้ ป็นบทวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการจัดจ�ำหน่ายกองทุนรวมของไทย ตอนที่ 2 ซึง่ สาระส�ำคัญของบทความ ในตอนแรกมีข้อสรุปว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว ดังนั้นการออมจึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่ ทุกฝ่ายต้องหันมาค�ำนึงถึง กองทุนรวมในฐานะที่เป็นช่องทางหลักช่องทางหนึ่งของการออมผ่านตลาดทุนในขณะนี้ยังมีปัญหา ด้านการจัดจ�ำหน่ายและท�ำให้ประชาชนผู้ออมและผู้ลงทุนไม่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนในกองทุนรวมอย่างเต็มที่ โดยปัญหาทางด้านผู้ขายกองทุนรวมที่ส�ำคัญคือ การจัดการของแต่ละ บลจ.ที่ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างเท่าเทียมกัน กองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทในเครือธนาคารพาณิชย์สามารถจ�ำหน่ายกองทุนผ่านเครือข่ายสาขาของธนาคาร ท�ำให้เข้าถึงประชาชนได้ง่ายจนท�ำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่โดยเฉลี่ยแล้วกองทุนรวมกลุ่มนี้ไม่ได้มี ผลประกอบการที่ดีไปกว่ากองทุนภายใต้การจัดการของ บลจ.กลุ่มอื่น แต่กองทุนของ บลจ.กลุ่มอื่นนี้กลับไม่สามารถเข้าถึง ประชาชนในวงกว้างได้ดีเท่าที่ควร ท�ำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความคุ้มค่าจากการลงทุนของผู้ลงทุนส่วนใหญ่ในขณะนี้ นอกจากนี้ ผูต้ ดิ ต่อกับผูล้ งทุนส่วนใหญ่ซงึ่ ก็คอื พนักงานธนาคารพาณิชย์ยงั มีปญ ั หาความรูค้ วามเข้าใจด้านการเงินและการลงทุน และมีความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้ค�ำปรึกษา ท�ำให้การลงทุนของประชาชนผู้ออมและผู้ลงทุน อาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของตนเองอย่างที่ควรจะเป็น ขณะเดียวกัน ผู้ลงทุนเองก็ขาดความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน
ผู้เขียน : นายนรพัชร์ อัศววัลลภ เศรษฐกรช�ำนาญการ ส่วนวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณโครงการขอยืมตัวบุคลากร เพื่อปฏิบัติงานที่สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือให้ข้าราชการไปปฏิบัติงาน ระหว่างส�ำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2554) นางสาวกุลยา ตันติเตมิท และนายพิสทิ ธิ์ พัวพันธ์ ที่ให้การสนับสนุนการจัดท�ำและเผยแพร่บทความนี้ ตลอดจน Cerulli Associates ส�ำหรับเอกสารข้อมูลต่าง ๆ
1
52
และการลงทุนซึ่งเห็นได้จากผลการส�ำรวจความรู้ความเข้าใจในการลงทุนของประชาชนปี 2553 ของส�ำนักงานคณะกรรมการ ก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ส�ำนักงาน ก.ล.ต.) และแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ยังประสบกับปัญหาดังกล่าว เช่นกัน ในบทความตอนนี้จะได้น�ำเสนอตัวอย่างการทดลองเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนรายย่อย ในต่างประเทศ เพือ่ เป็นบทเรียนในการท�ำความเข้าใจเกีย่ วกับความรูค้ วามเข้าใจด้านการเงินและการลงทุนของผูล้ งทุนในเชิงลึก เพิม่ เติม รวมถึงแสดงให้เห็นถึงระดับปัญหาของตลาดกองทุนรวมของไทยจากตัวชีว้ ดั อย่างง่าย และสุดท้ายจะเสนอแนะแนวทาง ในการแก้ปัญหาว่า ภาครัฐตลอดจนหน่วยงานก�ำกับดูแลควรพัฒนาตลาดกองทุนรวมไทยอย่างไรเพื่อให้สามารถเติบโตได้ อย่างยั่งยืนและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ลงทุนต่อไป
2. การทดลองเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนรายย่อยในสหภาพยุโรป และข้อเสนอแนะเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน2 มีประเด็นที่น่าสนใจสรุปได้ดังนี้ 1) การทดลองเพื่อทดสอบความสามารถของผู้ลงทุนในการตัดสินใจเลือกลงทุน (จากผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ 6,000 คนใน 8 ประเทศของสหภาพยุโรป) โดยให้ข้อมูลการลงทุนที่คล้ายคลึงกับข้อมูลในเอกสารประกอบการลงทุนแต่มี ความซับซ้อนและทางเลือกการลงทุนที่น้อยกว่ากันมาก ได้แก่ ผลตอบแทน ค่าธรรมเนียมซื้อ และค่าธรรมเนียมรายปี ดังแสดง ตัวอย่างในภาพที่ 1 เพือ่ ให้ผลู้ งทุนเลือกระหว่างการลงทุนสองแบบว่าแบบใดจะได้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยจะต้องเลือกจัดสรรเงิน เพื่อลงทุน 5 ครั้งจาก 5 คู่ของทางเลือกลงทุนที่แตกต่างกัน เช่น เปรียบเทียบกับผลตอบแทนที่อิงกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์3 เปรียบเทียบระหว่างอัตราผลตอบแทนรายปีและอัตราผลตอบแทนตลอดอายุการลงทุน เปรียบเทียบต้นทุนที่เป็นร้อยละและ หน่วยเงินตรา และเปรียบเทียบความสามารถการวิเคราะห์เมื่อมีข้อมูลมากเกินความจ�ำเป็น ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อทดสอบศักยภาพ และพฤติกรรมเอนเอียง (Bias) ของผู้ลงทุน ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ทดลองประสิทธิภาพของข้อมูลเสริมต่าง ๆ ว่าจะช่วยให้ผู้ลงทุน มีความส�ำเร็จในการลงทุนเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไรด้วย ผลการทดลองพบว่า โดยเฉลี่ยมีเพียงร้อยละ 56 ของคู่การลงทุนที่ถูกเลือกอย่างถูกต้อง ซึ่งจะเห็นว่าความน่าจะเป็น ที่จะเลือกลงทุนถูกต้องมีค่าใกล้เคียงกับความน่าจะเป็นของการโยนเหรียญ (ร้อยละ 50) เลยทีเดียว และพบว่ามีผู้ลงทุนเพียง ร้อยละ 1.4 ที่สามารถจัดสรรการลงทุนได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ครบทั้ง 5 ค�ำถาม จากการประมวลข้อมูลยังพบว่า ผู้ลงทุน มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจผิดพลาดมากขึ้นเมื่อทางเลือกในการลงทุนเข้าใจยากขึ้น สอดคล้องกับผลการทดลองของข้อมูลเสริม ทีใ่ ห้แก่ผลู้ งทุนซึง่ พบว่าการท�ำให้ขอ้ มูลง่ายต่อการเข้าใจมากขึน้ (Simplified) อาทิ การค�ำนวณผลตอบแทนให้เลย (Pre-calculated information) และการท�ำให้ชุดข้อมูลของแต่ละทางเลือกอยู่ในรูปแบบเดียวกัน (Standardizing) เพื่อให้เปรียบเทียบกันได้ง่าย จะช่วยยกระดับความสามารถในการตัดสินใจเลือกลงทุนของผู้ลงทุนได้อย่างมีนัยส�ำคัญ 2) การทดลองเพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ลงทุนที่มีต่อที่ปรึกษาทางการเงิน4 เนื่องจากที่ปรึกษาทางการเงินอาจมี ความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ในการให้ค�ำแนะน�ำเนื่องจากได้รับผลตอบแทนที่อิงอยู่กับมูลค่ากองทุนที่ขายได้ ดังนั้น จึงท�ำ การทดลองเพื่อทดสอบว่าการเปิดเผยความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ของที่ปรึกษาจะมีผลต่อพฤติกรรมของผู้ลงทุนอย่างไร ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลจะประสบความส�ำเร็จก็ต่อเมื่อผู้ลงทุนตระหนักถึงปัญหาและมีความสามารถในการลดทอน (Discount) ค�ำแนะน�ำที่ได้รับอย่างเหมาะสม
Chater N., Huck S., Inderst R. (2010). Consumer Decision-Making in Retail Investment Services: A Behavioural Economics Perspective. ผู้ลงทุนจะได้รับเงินค่าตอบแทนจากการตอบแบบสอบถามแปรผันตามความส�ำเร็จของการลงทุน นอกจากนี้ หากเลือกลงทุนในการลงทุนที่มีความเสี่ยง อาทิ ผลตอบแทนอิงกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ค่าตอบแทนก็จะถูกสุม่ จากความแปรปรวนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์นนั้ ด้วย ทัง้ นี้ เพือ่ ให้ผตู้ อบแบบสอบถามมีแรงจูงใจ ในการท�ำแบบสอบถามใกล้เคียงกับการลงทุนในสถานการณ์จริงมากที่สุด 4 การทดลองเกีย่ วกับทีป่ รึกษาทางการเงินนีแ้ บ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นแบบสอบถามออนไลน์ตอ่ เนือ่ งจากการทดลองในข้อหนึง่ แต่สว่ นทีส่ องเป็นการทดลอง กับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ 480 คน ในสามประเทศ คือ สาธารณรัฐเช็ก เยอรมนี และอังกฤษ เพื่อทดสอบพฤติกรรมการรับค�ำปรึกษาแบบ Face-to-Face ซึ่งมีความใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากขึ้น 2 3
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
53
ภาพที่ 1 ตัวอย่างส่วนหนึ่งของแบบสอบถามเพื่อทดสอบความสามารถของผู้ลงทุน
การทดลองถูกออกแบบให้มีการเปรียบเทียบการตอบสนองของผู้ลงทุนต่อที่ปรึกษาที่มีความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ (ที่ปรึกษารับค่าตอบแทนแปรผันตามการลงทุนของผู้ลงทุน) กับที่ปรึกษาที่ไม่มีความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ (ที่ปรึกษา รับค่าตอบแทนแบบคงที่) โดยมีค�ำเตือนการลงทุนที่แตกต่างกัน 5 รูปแบบ ดังนี้ 1. The advisor was only paid a fixed participation fee. (ไม่มีความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์) 2. The advisor will receive a payment only when you choose to invest. He receives nothing when you choose not to invest. 3. The advisor will be paid proportional to what you invest. 4. The advisor will be paid proportional to what you invest. Notice that this means that the advisor did not necessarily have your own investment earnings in mind when he gave his advice. 5. The advisor will be paid proportional to what you invest. Notice that this means that the advisor did not necessarily have your own investment earnings in mind when he gave his advice. ผลการทดลองทั้งในแง่ของความเต็มใจจ่ายเพื่อรับค�ำปรึกษาและการลงทุนตามค�ำปรึกษาที่ได้รับพบว่า ผู้ลงทุน ไม่ตอบสนองต่อค�ำเตือนในรูปแบบที่ 2 และรูปแบบที่ 3 และแม้คำ� เตือนในรูปแบบที่ 4 จะมีผลอยูบ่ า้ ง แต่กไ็ ม่ได้ผลเท่ากับค�ำเตือน ที่เด่นชัดในรูปแบบที่ 5 (อักษรหนา สีแดง) ที่ท�ำให้ผู้ลงทุนตระหนักถึงความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์อย่างมีนัยส�ำคัญที่สุด5 นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ลงทุนร้อยละ 20-30 มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการจ่ายเงิน Up-front เพื่อรับค�ำปรึกษาการลงทุนอีกด้วย ส�ำหรับการทดลองที่ผู้ให้ค�ำปรึกษาและผู้รับค�ำปรึกษาสามารถสนทนากันแบบ Face-to-Face พบว่าผู้รับค�ำปรึกษา บางส่วนมีการตอบสนองต่อการเปิดเผยความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์มากเกินไป6 จนท�ำให้ผู้ลงทุนมีพฤติกรรมการลงทุน
หากเปรียบเทียบกับกรณีของไทยซึ่งแม้จะไม่มีค�ำเตือนในลักษณะนี้ แต่ส�ำหรับค�ำเตือนในเรื่องอื่น ๆ ส�ำนักงาน ก.ล.ต. ก�ำหนดให้ต้องแสดงโดยใช้ฟอนต์ ที่ไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไป ดังนั้น จึงอาจเกิดค�ำถามว่าประสิทธิผลของค�ำเตือนการลงทุนของไทยมีมากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่าง ค�ำเตือนของกองทุนคุ้มครอง เงินต้นที่เปิดเผยต่อผู้ลงทุนว่ากองทุนมิได้รับประกันเงินต้นจริง ๆ เพียงแต่มีนโยบายการลงทุนเพื่อคุ้มครองเงินต้นเท่านั้น เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการสนับสนุน การขายผลิตภัณฑ์คล้ายเงินฝาก (Cross-selling) ของธนาคารพาณิชย์ 6 ผู้ลงทุนในการทดลองแบบ Face-to-Face มีความอ่อนไหว (Sensitive) ต่อการเปิดเผยความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์มากกว่าการท�ำแบบทดสอบออนไลน์ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะผู้ลงทุนรับรู้ความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ในรูปแบบที่ชัดเจนและโปร่งใสมากกว่า อีกทั้งยังอุทิศเวลาและมีสมาธิในการทดลองมากกว่า การท�ำแบบทดสอบออนไลน์อีกด้วย 5
54
ในทางตรงข้าม (Contrarian) กับค�ำแนะน�ำ อย่างไรก็ตาม พบว่าการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างที่ปรึกษาและผู้ลงทุนมีอิทธิพลอย่าง มีนัยส�ำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน ดังนั้นปฏิกิริยาการตอบสนองในทิศทางตรงข้ามดังกล่าวสามารถบรรเทาลงเมื่อมี การพูดคุยชักจูงจากทีป่ รึกษา ซึง่ อาจเป็นสิง่ ทีด่ หี รือไม่ดสี ำ� หรับผูล้ งทุนก็ได้ ทัง้ นี้ ขึน้ อยูก่ บั คุณภาพการให้คำ� ปรึกษาว่าสอดคล้อง กับความต้องการของผู้ลงทุนหรือไม่ ดังนัน้ รูปแบบของการเปิดเผยความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ของทีป่ รึกษาจึงเป็นสิง่ ส�ำคัญทีจ่ ะต้องออกแบบให้เหมาะสม เพื่อให้การตอบสนองของผู้ลงทุนไม่มากและไม่น้อยเกินไป อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยอาจไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควรตราบใดที่ ที่ปรึกษาทางการเงินยังมีแรงจูงใจที่จะให้ค�ำปรึกษาที่ไม่เป็นกลาง และมีความสามารถในการโน้มน้าวการตัดสินใจของผู้ลงทุน ได้ ดังนัน้ แม้แนวคิดการจ่ายเงินเพือ่ ซือ้ บริการให้คำ� ปรึกษาทีเ่ ป็นกลางตามแบบ Retail Distribution Review (RDR) จะสามารถ แก้ไขปัญหาเรือ่ งแรงจูงใจทีไ่ ม่เป็นกลางของทีป่ รึกษาได้ แต่กค็ วรค�ำนึงถึงผูล้ งทุนอีกกลุม่ หนึง่ ทีม่ พี ฤติกรรมหลีกเลีย่ งการจ่ายเงิน Up-front ซึ่งจะท�ำให้พลาดโอกาสในการรับค�ำปรึกษาก่อนการลงทุนด้วย 3) บทเรียนจาก Financial Literacy Program พบว่าความส�ำเร็จของการให้ความรู้ด้านการเงินไม่ได้อยู่ในระดับที่ น่าพอใจนัก7 ดังนั้น การส่งเสริมความรู้ทางการเงินของนักลงทุนอาจไม่ควรมุ่งให้คนมีความรู้เพื่อคิดค�ำนวณและตัดสินใจลงทุน ได้ด้วยตนเอง แต่ควรเป็นการส่งเสริมให้คนมีทักษะในการตัดสินใจที่ดี (Decision-making literacy) มากกว่า โดยสรุป จะเห็นว่ารูปแบบการทดลองข้างต้นมีที่มาของปัญหาและรูปแบบการทดลองที่ไม่แตกต่างจากบริบทของ ประเทศไทยมากนัก และเมือ่ พบว่าแม้แต่ผลู้ งทุนในสหภาพยุโรปยังมีลกั ษณะทีค่ อ่ นข้างห่างไกลจากสมมติฐานการเป็นนักลงทุน ทีด่ ใี นทางเศรษฐศาสตร์และไม่สามารถรับประโยชน์จากการลงทุนอย่างเต็มที่ ดังนัน้ ผลการทดลองนีจ้ งึ เป็นเครือ่ งเตือนใจส�ำหรับ นักลงทุนไทยว่าคงไม่ได้อยู่ในสถานะที่น่าเป็นห่วงน้อยไปกว่ากัน
3. เครื่องชี้วัดอย่างง่ายของปัญหาการจัดจ�ำหน่ายกองทุนรวมของไทย จากปัญหาทัง้ ด้านอุปทาน (บลจ.และผูจ้ ำ� หน่ายหน่วยลงทุน) ทีเ่ กีย่ วข้องกับคุณภาพการให้คำ� ปรึกษาและการจัดจ�ำหน่าย เฉพาะกองทุน In-house ของ บลจ.ในเครือธนาคารพาณิชย์ และปัญหาด้านอุปสงค์ (ผู้ลงทุน) ที่ผู้ลงทุนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ท�ำให้ท้ายที่สุดผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือ ผู้ลงทุน ซึ่ง สรายุทธ์ (2553)8 ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าผู้ลงทุนไทยจ�ำนวนมาก เสียประโยชน์จากการลงทุนในกองทุนที่อัตราผลตอบแทนต�่ำกว่าและมีต้นทุนสูงกว่า อย่างไรก็ตาม การค�ำนวณตัวเลขปัจจุบัน ในภาพรวมดังกล่าวต้องอาศัยฐานข้อมูลขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ผลลัพธ์ที่ได้ยังอาจมีความเบี่ยงเบนจากนโยบายการลงทุนที่ แตกต่างกันระหว่างกองทุนด้วย ดังนัน้ เพือ่ ให้การวัดระดับความรุนแรงของปัญหาท�ำได้งา่ ยขึน้ และหลีกเลีย่ งปัญหาความแตกต่าง ของนโยบายการลงทุน จึงเลือกเฉพาะกองทุนรวมทีม่ นี โยบายการลงทุนทีพ่ ยายามสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี SET50 มาแสดง นอกจากนี้ ข้อดีประการหนึง่ ของการเปรียบเทียบกองทุน SET50 คือ เป็นกองทุนทีผ่ ลู้ งทุนสามารถเปรียบเทียบเพือ่ เลือก ลงทุนได้โดยง่ายโดยเปรียบเทียบ เนือ่ งจากผูล้ งทุนไม่จำ� เป็นต้องเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุนเพราะมีความใกล้เคียงกับ ผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิงเดียวกันอยู่แล้ว ผู้ลงทุนเพียงเปรียบเทียบต้นทุนของการลงทุนเท่านั้น ดังนั้น ผู้ลงทุนที่มีเหตุมีผล จึงควรที่จะเลือกลงทุนในกองทุนที่มีต้นทุนต�่ำที่สุด
Chater Huck and Inderst (2010) อ้างถึงงานวิจัยที่ผ่านมาว่าผลลัพธ์ของ Financial Literacy Program ทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษไม่สามารถพัฒนาให้ นักลงทุนมีความรู้ความเข้าใจที่ดีนัก โดยในบางกรณีพบว่าคนที่ผ่านหลักสูตรเพื่อพัฒนาความรู้ทางการเงินในระบบโรงเรียนเป็นเวลา 1 ปี ไม่มีความสามารถ ทางการเงินเหนือกว่าคนที่ไม่ได้ผ่านหลักสูตรอย่างมีนัยส�ำคัญ เป็นต้น 8 สรายุทธ์ นาทะพันธ์. (2553). พัฒนาการของอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทย : โอกาสและความท้าทายในทศวรรษหน้า. เอกสารงานวิจยั ฉบับที่ 4/2553. สถาบันวิจยั เพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 7
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
55
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบข้อมูลกองทุนรวมที่ลงทุนในดัชนี SET50
บริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุน
ชื่อกองทุน อัตราร้อยละของค่าใช้จ่าย ทั้งหมดต่อมูลค่าทรัพย์สิน สุทธิ (Expense Ratio) มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (ล้านบาท)
ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย
กรุงศรี
กรุงไทย
วรรณ
SCBSET* K-SET50 KFLTF50 KSET50LTF TDEX (ETF) 1AMSET50 1.09
0.65
2,516.86 1,371.21
MFC M-S50
0.72
1.39
0.49
0.63
0.79
938.2
230.8
2,239.42
600.5
61.71
ที่มา : รวบรวมจากเอกสารประกอบการลงทุน ณ เดือนเมษายน 2555 * บลจ.ไทยพาณิชย์เริ่มเปิดกองทุน SCBSET50 ซึ่งลงทุนในดัชนี SET50 ในเดือนตุลาคม 2554 ดังนั้น จึงเลือกกองทุน SCBSET (ลงทุนในดัชนี SET) มาแสดงแทน เนื่องจากเป็นกองทุนที่เปิดมาเป็นเวลานานและได้รับความนิยม
อย่างไรก็ตาม ตารางที่ 1 ซึ่งแสดงข้อมูลอัตราส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Expense Ratio) ของ แต่ละกองทุน แสดงให้เห็นว่า กองทุน TDEX (ซึ่งเป็น Exchange Traded Fund : ETF9) มีต้นทุนต�่ำที่สุดคือ ร้อยละ 0.5 ต่อปี แต่ผู้ลงทุนจ�ำนวนมากยังคงซื้อกองทุนจาก บลจ.ในเครือธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะกองทุนของ บลจ.ไทยพาณิชย์ซึ่งมีต้นทุน สูงกว่า TDEX ประมาณหนึ่งเท่าตัว ทั้งนี้ หากพิจารณาล�ำดับความนิยมของกองทุนจากมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ จะเห็นว่าไม่มี ความสัมพันธ์กับต้นทุนของกองทุนรวมมากนัก แต่น่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น อาทิ ภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ การแข่งขัน ด้านการตลาด และความสะดวกจากสาขาของธนาคารพาณิชย์มากกว่า10 ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ กองทุนที่มีนโยบาย การลงทุนเดียวกันสองกองของ บลจ.วรรณ ได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนต่างกันอย่างชัดเจนแม้ว่าต้นทุนของแต่ละกองทุน จะใกล้เคียงกัน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าผู้ลงทุนที่มีบัญชีหุ้นกับบริษัทหลักทรัพย์อยู่แล้ว แม้จะสามารถซื้อกองทุน 1AMSET50 ผ่านทางเจ้าหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์ (ซึ่งเป็นช่องทางการจ�ำหน่ายหลักช่องทางหนึ่งของ บลจ.วรรณ) ได้ แต่ก็เลือกที่จะซื้อ TDEX ซึ่งเป็น ETF ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมากกว่าเป็นจ�ำนวนมาก จึงอาจกล่าวได้ว่าช่องทางการจ�ำหน่ายกองทุนรวม ผ่านกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์อาจไม่เป็นที่นิยมของผู้ลงทุนเท่าใดนัก โดยสรุป ข้อมูลจากตารางที่ 1 เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงระดับของปัญหาการจัดจ�ำหน่ายกองทุนรวมไทยโดยไม่ว่าปัญหา จะมาจากด้านผู้จ�ำหน่ายหรือด้านผู้ลงทุนก็ตาม แต่ผู้ลงทุนส่วนใหญ่ยังคงเสียประโยชน์จากการลงทุนผ่านกองทุนที่มีต้นทุนสูง นั่นเอง
4. บทสรุป ปัญหา และข้อเสนอแนะส�ำหรับการพัฒนาการจัดจ�ำหน่ายกองทุนรวมไทย แนวโน้มความจ�ำเป็นในการออมของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นท�ำให้ตลาดทุนต้องเข้ามามีบทบาทรองรับการออมการลงทุน ที่จะขยายตัวในอนาคต แม้ว่าที่ผ่านมากองทุนรวมไทยจะเจริญเติบโตอย่างมากแต่ก็ยังมีปัญหาต่าง ๆ แอบแฝงอยู่ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาจากผู้ซื้อหรือผู้ขายหน่วยลงทุนซึ่งจะกลายเป็นข้อจ�ำกัดในการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุนรวมที่ยั่งยืนต่อไปในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อช่องทางการจัดจ�ำหน่ายในปัจจุบันพึ่งพิงระบบสาขาของธนาคารพาณิชย์เป็นหลักและธนาคารพาณิชย์ เองก็จำ� หน่ายเฉพาะกองทุนในเครือ (In-House Product) ท�ำให้ บลจ.ในเครือธนาคารพาณิชย์เติบโตอย่างมากในขณะทีผ่ ลู้ งทุน ไม่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนเท่าที่ควร ETF เป็นกองทุนรวมเปิดที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนจึงสามารถซื้อขาย ETF ผ่านโบรกเกอร์ ณ ราคาตลาดระหว่างวันและก�ำหนดราคา ที่ต้องการซื้อขายเหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ 10 อย่างไรก็ตาม แม้ บลจ.กรุงศรีจะระดมทุนได้มากกว่า บลจ.กรุงไทยเป็นจ�ำนวนมาก แต่จ�ำนวนสาขาของธนาคารกรุงศรีอยุธยาทั่วประเทศมีเพียงประมาณ ครึง่ หนึง่ ของจ�ำนวนสาขาของธนาคารกรุงไทยเท่านัน้ นอกจากนี้ บลจ. MFC เดิมก็สามารถขายหน่วยลงทุนผ่านธนาคารนครหลวงไทยได้เช่นกัน แต่กไ็ ม่สามารถ ดึงดูดเงินจากนักลงทุนได้มากนัก (ปัจจุบนั หลังจากการควบรวมกิจการของธนาคารธนชาตและธนาคารนครหลวงไทย บลจ. เมือ่ วันที่ 1 ตุลาคม 2554 บลจ. MFC ก็ไม่สามารถจ�ำหน่ายหน่วยลงทุนผ่านสาขาธนาคารได้แล้ว) 9
56
4.1 ปัญหา หากจะกล่าวถึงปัญหาการจัดจ�ำหน่ายกองทุนรวมไทยโดยสรุปในอีกมุมหนึ่ง โดยกลับไปตั้งค�ำถามว่าเพราะเหตุใด กองทุนในเครือธนาคารพาณิชย์จึงได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนเหนือกว่ากองทุนกลุ่มอื่น ? ก็อาจอธิบายถึงสาเหตุได้อย่างน้อย 3 ประการ11 ดังนี้ 4.1.1 ความเชื่อถือในภาพลักษณ์ของสถาบันการเงิน (Branding) เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีประวัติศาสตร์ ที่แนบแน่นและอยู่คู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลายาวนาน ท�ำให้บริษัทลูกหรือ บลจ.ในเครือธนาคารพาณิชย์ได้รับความไว้วางใจ จากผู้ออมและผู้ลงทุนไทยตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ บลจ.ที่ไม่ได้อยู่ในเครือธนาคารพาณิชย์ซึ่ง ในบางกรณีผู้ออมและผู้ลงทุนรายย่อยอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อของบริษัทเหล่านี้มาก่อนด้วยซ�้ำ ท�ำให้ผู้ลงทุนอาจตัดสินใจเลือก ลงทุนด้วยความเชื่อมั่นในคุณภาพของกองทุนรวมในเครือธนาคารพาณิชย์มากเกินไป (Overconfidence) ว่าเป็นกองทุนที่มี การบริหารจัดการที่ดี เป็นธรรม และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า เสมือนบริการทางการเงินอื่นที่ได้รับจากธนาคารพาณิชย์นั้น ๆ12 แม้ว่าส�ำนักงาน ก.ล.ต.จะมีนโยบายชัดเจนในการเปิดเผยข้อมูลผลประกอบการและต้นทุนของกองทุนรวมทุกกอง แต่ผู้ลงทุน อาจประสบกับปัญหาการเปรียบเทียบข้อมูลเนื่องจากการแสดงข้อมูลใน Fund Fact Sheet ซึ่งเป็นเอกสารฉบับย่อของกองทุน ต่าง ๆ นั้น ไม่ได้น�ำเสนอในรูปแบบเดียวกันท�ำให้ไม่สามารถน�ำมาเปรียบเทียบเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนได้โดยสะดวก อีกทั้งต้องเผชิญกับข้อมูลและทางเลือกการลงทุนที่มีจ�ำนวนมาก13 (Choice and Information Overload) ท�ำให้ไม่สามารถ ตระหนักว่าผลตอบแทนของกองทุนที่ตนเองเลือกลงทุนนั้นมีความคุ้มค่าอย่างแท้จริงหรือไม่ 4.1.2 การให้ความเชื่อถือผู้แนะน�ำการลงทุนที่เป็นพนักงานธนาคารมากเกินไป (Over-Reliance) จาก ผลการส�ำรวจความรู้ความเข้าใจในการลงทุนของประชาชนไทยที่อ้างถึงข้างต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ออมและผู้ลงทุนไทย ส่วนใหญ่ยงั ขาดความรูค้ วามเข้าใจทางการเงิน (Cognitive Limitation) ผนวกกับภาวะ Choice and Information Overload จึงท�ำให้ ผูล้ งทุนมีความต้องการพึง่ พิงค�ำแนะน�ำจากผูแ้ นะน�ำการลงทุน โดยอาจไม่ได้ตระหนักว่าคุณภาพการให้ค�ำปรึกษาของผูแ้ นะน�ำ การลงทุน (พนักงานธนาคาร) มีมากน้อยเพียงใด ซึ่งในความเป็นจริงพนักงานธนาคารย่อมมีแรงจูงใจในการขายกองทุนที่อาจ ไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์สงู สุดของผูล้ งทุน อีกทัง้ ระดับความรูค้ วามเข้าใจในการลงทุนของผูแ้ นะน�ำการลงทุนก็ยงั เป็นประเด็น ที่มีข้อกังขาเช่นกัน ทั้งนี้ เนื่องจากผู้แนะน�ำการลงทุนที่เป็นพนักงานธนาคารมีจ�ำนวนมากและสามารถเข้าถึงผู้ลงทุนได้ดี ท�ำให้ กองทุนรวมในเครือของธนาคารพาณิชย์ได้รับความนิยมอย่างมากนั่นเอง 4.1.3 ความสะดวกสบาย เนือ่ งจากกลุม่ ธนาคารพาณิชย์ไทยทีม่ จี ำ� นวนสาขามากทีส่ ดุ 7 ล�ำดับแรกมีจำ� นวนสาขา รวมกันถึงกว่า 5,500 สาขาทั่วประเทศ ท�ำให้ผู้ออมและผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการของธนาคารรวมถึงผลิตภัณฑ์ ในเครือของธนาคารได้โดยสะดวก ซึ่งเปรียบเทียบไม่ได้กับ บลจ.กลุ่มอื่นที่มีช่องทางการจ�ำหน่ายหลักผ่านการขายตรงหรือ ขายผ่านธนาคารทีม่ สี าขาไม่มากและกลุม่ บริษทั หลักทรัพย์ซงึ่ ก็ไม่ได้รบั ความนิยมมากนัก นอกจากนี้ ผูล้ งทุนยังได้รบั ความสะดวก สบายในแง่การเข้าถึงบริการทางการเงินที่ครบถ้วนจากธนาคารพาณิชย์อีกด้วย14 4.2 ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขปัญหาข้างต้นอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 4.2.1 ปรับปรุงช่องทางการจัดจ�ำหน่าย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันและมีความโปร่งใสมากขึ้น ดังนี้ 1) จัดท�ำ Platform15 (เว็บไซต์) ที่สามารถซื้อขายกองทุนรวมส่วนใหญ่หรือทั้งหมดโดยมีเครื่องมือบนเว็บ ทีส่ ามารถช่วยผูล้ งทุนในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกองทุนได้ นอกจากนี้ ยังอาจเชือ่ มโยงกับฐานข้อมูลต่าง ๆ อาทิ เอกสารประกอบ เนื่องจากการศึกษานี้ไม่ได้จัดท�ำแบบส�ำรวจความคิดเห็นของผู้ลงทุนโดยตรง แต่เป็นการประมวลข้อมูลจากงานศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นเพียงการตั้งสมมติฐานถึงสาเหตุความเป็นไปได้ของปัญหาเท่านั้น 12 หากผู้ให้บริการค้นพบว่าผู้ลงทุนมีพฤติกรรมเอนเอียง (Bias) เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในการท�ำธุรกิจของผู้ให้บริการมากอยู่แล้ว ก็จะเป็นส่วนเสริมให้ผู้ให้บริการ มีอ�ำนาจทางการตลาด (Market Power) และส่งผลให้สินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้นในที่สุด 13 ณ เดือนสิงหาคม 2555 มีกองทุนรวมที่จดทะเบียนแล้ว 1,353 กอง อยู่ภายใต้การจัดการของ บลจ. จ�ำนวน 23 แห่ง 14 อย่างไรก็ตาม หากผู้ลงทุนตระหนักถึงประโยชน์และต้นทุนจากการเลือกใช้บริการจากสถาบันการเงินก็อาจเลือกเปิดบัญชีการท�ำธุรกรรมด้านการธนาคารกับ ธนาคารหนึ่ง และเปิดบัญชีด้านการลงทุนกับสถาบันการเงินอื่นที่มีความเชี่ยวชาญและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าก็ได้ 15 Platform โดยทั่วไปมี 2 รูปแบบ คือ 1) Supermarket มักจะให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจากนักลงทุนโดยตรง แต่จะเรียกเก็บจาก บลจ.แทนท�ำให้กองทุน จ�ำนวนหนึ่งที่ และ 2) Wrap มักมีความครอบคลุมจ�ำนวนกองทุนที่มากกว่าเพราะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ลงทุนโดยตรง แต่โดยทั่วไป บลจ.จะจ่าย Rebate คืนให้แก่นกั ลงทุนบางส่วน ท�ำให้โดยเฉลีย่ แล้วต้นทุนการใช้บริการของ Supermarket และ Wrap ไม่มคี วามแตกต่างกันมากนัก อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ ในต่างประเทศมักพบว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากที่จะมี Platform แห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งสามารถรวบรวมกองทุนทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันได้ 11
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
57
การลงทุน และข้อมูลผลประกอบการรวมถึงต้นทุนค่าธรรมเนียมต่าง ๆ16 เพือ่ ให้ผลู้ งทุนสามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้โดยสะดวก ซึ่งจะช่วยลดพฤติกรรมเอนเอียงของผู้ลงทุนที่ยึดติดกับภาพลักษณ์ของสถาบันการเงินได้ อย่างไรก็ตาม การออกแบบ Platform ต้องระวังไม่ให้เกิดปัญหา Choice and Information Overload ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเปิดช่องทางการเข้าถึงกองทุนให้มีความเท่าเทียม ระหว่าง บลจ. และแม้ว่าการใช้เครื่องมือช่วยในการให้ค�ำแนะน�ำการลงทุนจะไม่สามารถทดแทนบริการการวางแผนลงทุนของ ที่ปรึกษาทางการเงินได้ แต่ก็มีส่วนช่วยให้การตัดสินใจเลือกลงทุนของผู้ลงทุนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในประเทศไทยขณะนี้ แม้ว่าการให้บริการบนอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ซึ่งเป็นของกลุ่มบริษัทในเครือธนาคาร พาณิชย์มกั มีลกั ษณะแบบปิด แต่กม็ ผี ใู้ ห้บริการซือ้ ขายกองทุนรวมบนเว็บไซต์แบบเปิดอยูบ่ า้ งพร้อมทัง้ ให้บริการเสริมบนเว็บไซต์ เพือ่ เปรียบเทียบผลประกอบการของกองทุนด้วย17 อย่างไรก็ตาม จากการส�ำรวจของ Morningstar18 พบว่าส่วนแบ่งการตลาดของ ช่องทางการจ�ำหน่ายกองทุนแบบเปิดนั้นมีน้อยมาก ดังนั้น การส่งเสริมให้ช่องทางการขายกองทุนแบบเปิดมีส่วนแบ่งการตลาด เพิ่มขึ้นจึงยังเป็นทิศทางการพัฒนาที่ควรส่งเสริม แต่การคาดหวังให้เครือธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีศักยภาพในการเข้าถึงลูกค้า กลุม่ ใหญ่จดั ท�ำ Platform แบบเปิดและมีความเป็นกลางในการให้บริการอาจเป็นไปได้ยากเพราะเครือธนาคารพาณิชย์มกี องทุน ภายใต้การจัดการของตนเองอยู่แล้ว จึงมีประเด็นความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ในการชักชวนลูกค้าให้ไปซื้อกองทุนภายใต้ การจัดการของกลุ่มอื่นแม้จะมีความเหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุดก็ตาม ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยน่าจะเป็น หน่วยงานที่เหมาะสมในการจัดตั้ง Platform ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีความพร้อมทั้งในด้านระบบงาน Back Office ภาพลักษณ์ องค์กร เทคโนโลยี ศูนย์บริการความรูก้ ารลงทุน และช่องทางการประชาสัมพันธ์ ท�ำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีศกั ยภาพในการดึงดูด นักลงทุนและจะเป็นแรงผลักดันส�ำคัญที่ช่วยเพิ่มสัดส่วนการตลาดของช่องทางการจัดจ�ำหน่ายแบบเปิดได้ อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีส่วนได้ส่วนเสียจากการเติบโตของกองทุนรวมตราสารทุนเมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนรวมตราสารหนี้ ดังนั้น จึงมีข้อพึงระวังในการออกแบบ Platform ให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงและเปรียบเทียบกองทุนต่าง ๆ ได้อย่างเป็นธรรมด้วย ส�ำหรับตัวอย่างการให้บริการ Platform ของตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ คือประเทศอินเดียซึ่งได้เปิด ให้บริการ Platform มาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2552 จ�ำนวน 2 แห่งแล้ว (ตลาดหลักทรัพย์ทั้งสองแห่งมีฐานะเป็นบริษัทเอกชน) ได้แก่ National Stock Exchange of India’s Mutual Fund Service System (NSE MFSS) และ Bombay Stock Exchange’s StAR MF platforms (BSE StAR MF) และมีความแตกต่างจาก Platform ทั่วไปตรงที่ผู้ลงทุนที่มีบัญชีซื้อขายหุ้นกับ Broker ในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้วสามารถส่งค�ำสั่งซื้อขายกองทุนรวมผ่าน Broker โดยใช้บัญชีที่มีอยู่ได้เลย 2) ส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการจัดจ�ำหน่าย ในปัจจุบันส�ำนักงาน ก.ล.ต. ได้กำ� หนดมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของกองทุนเผยแพร่ในหนังสือชีช้ วนรวมถึงสือ่ ช่องทางอืน่ อยูแ่ ล้ว ทัง้ นี้ หากมองว่าการพัฒนากองทุนรวมให้เติบโตเพือ่ ให้เกิดประโยชน์จากความประหยัดต่อขนาดแล้ว การเปิดเผยข้อมูลทีช่ ดั เจน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเร่งกระบวนการดังกล่าวให้เกิดประสิทธิผลได้เร็วขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานักลงทุนไม่สามารถค้นหา ข้อมูลพัฒนาการของการเก็บค่าธรรมเนียมของแต่ละกองทุนได้โดยสะดวกเพือ่ เปรียบเทียบว่ามีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ หรือลดลงอย่างไร แต่จะรูเ้ พียงตัวเลขปัจจุบนั ทีเ่ ผยแพร่อยูเ่ ท่านัน้ นอกจากนี้ ประเด็นทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือ ผูล้ งทุนไม่รวู้ า่ ค่าใช้จา่ ยส�ำหรับการจัดจ�ำหน่าย มีมูลค่าเท่าใด เพราะอาจจะแฝงเป็นส่วนหนึ่งของค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end load) หรืออาจแฝงอยู่ในค่าธรรมเนียม การจัดการ (Management Fee) ซึ่งหักออกจากมูลค่าของกองทุนทุกปีก็ได้ ข้อมูลดังกล่าวจะมีบทบาทช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถ ตัดสินใจเปรียบเทียบการลงทุนในกองทุนได้ดีขึ้น และอาจท� ำให้เห็นข้อแตกต่างว่ากองทุนที่ขายผ่านธนาคารพาณิชย์และ ไม่ได้ผ่านธนาคารพาณิชย์มีต้นทุนต่างกันอย่างไร ซึ่งหากด�ำเนินการพร้อมกับการจัดตั้ง Platform (อาจจะเก็บค่าบริการหรือไม่ ก็ตาม) ผู้ลงทุนก็จะสามารถเลือกช่องทางการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปัจจุบนั เว็บไซต์ทผี่ ลู้ งทุนสามารถหาข้อมูลเพือ่ เปรียบเทียบผลประกอบการของกองทุน ยกตัวอย่าง เว็บไซต์ของส�ำนักงาน ก.ล.ต. เว็บไซต์ของสมาคมบริษทั จัดการ ลงทุน www.morningstarthailand.com และ www.siamchart.com เป็นต้น 17 แม้จะมีการให้บริการช่องทางการจัดจ�ำหน่ายแบบเปิดในไทย แต่กไ็ ม่ครอบคลุมทุกกองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ.ทีเ่ ข้าร่วม อีกทัง้ อาจมีแรงจูงใจ เกี่ยวกับความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์จากการที่ผู้ให้บริการมีกิจการในเครือซึ่งประกอบธุรกิจ บลจ. 18 Alpert B.N., Rekenthaler J. (2011). Global Fund Investor Experience 2011. Morningstar Inc. กล่าวว่า ประเทศเบลเยียม นอร์เวย์ สเปน และไทย เป็น 4 ประเทศจาก 22 ประเทศที่ท�ำการส�ำรวจทั่วโลก ซึ่งพบว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีการจ�ำหน่ายกองทุนรวมผ่าน Open-Architecture Platform น้อยที่สุด 16
58
แนวคิดเกีย่ วกับการแจกแจงข้อมูลส่วนแบ่งของค่าธรรมเนียมนี้ ในภูมภิ าคยุโรปได้เริม่ มีการศึกษาและตีพมิ พ์ เผยแพร่ครัง้ แรกเมือ่ เดือนตุลาคม 255419 ทีผ่ า่ นมานีเ่ อง โดยการศึกษาพบว่า Expense Ratio ทีผ่ ลู้ งทุนถูกเรียกเก็บจากผูจ้ ดั การ กองทุน UCITS20 นั้น ร้อยละ 42 ตกเป็นของผู้จัดการกองทุน ร้อยละ 41 ผู้จัดการกองทุนจ่ายคืนให้ผู้จ�ำหน่าย (Distributor) และ ที่เหลืออีกร้อยละ 17 เป็นค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินงาน เช่น การเก็บรักษา (Custody) และการจัดการ (Administration) ฯลฯ ดังนัน้ ในกรณีของไทยหากสามารถทีจ่ ะชีแ้ จงตัวเลขดังกล่าวได้ นอกจากผูล้ งทุนจะมีขอ้ มูลทีค่ รบถ้วนมากขึน้ แล้ว ความโปร่งใส ยังช่วยลดและป้องกันการเอารัดเอาเปรียบจากผู้จัดการกองทุน (โดยเฉพาะรายที่มีอ�ำนาจการตลาดสูง) ได้ด้วย 3) การเพิ่มช่องทางการจัดจ�ำหน่ายในระยะยาว ในระยะเริ่มแรกการเปิด Platform อาจเข้าถึงกลุ่มผู้ลงทุน เฉพาะกลุ่มที่มีความคุ้นเคยกับการใช้อินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ในระยะยาวเมื่อมีการพัฒนาในด้านคุณภาพของการให้ค�ำปรึกษา และความรู้ทางการเงินของประชาชนดีขึ้นแล้ว อาจเพิ่มช่องทางการเข้าถึงกองทุนรวมให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยอาจเปิดขาย หน่วยลงทุนผ่านที่ท�ำการไปรษณีย์ (เหมือนประเทศญี่ปุ่น) และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ21 ซึ่งมีเครือข่ายสาขาที่สามารถ เข้าถึงผู้ออมและผู้ลงทุนทุกกลุ่มได้เป็นอย่างดี 4.2.2 ส่งเสริมการให้คำ� ปรึกษาทีม่ คี ณ ุ ภาพและคุม้ ครองผูล้ งทุน เนือ่ งจากผูล้ งทุนยังมีขอ้ จ�ำกัดในการตัดสินใจ เลือกลงทุนด้วยตัวเองจึงมีความจ�ำเป็นต้องพึ่งพิงค�ำปรึกษาการลงทุนจากผู้แนะน�ำการลงทุน แต่ผู้แนะน�ำการลงทุนเองอาจมี ความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์หรืออาจไม่มีความรู้ที่ดีพอในการให้ค�ำปรึกษา จึงควรด�ำเนินการดังนี้ 1) จัดประเภทผู้แนะน�ำการลงทุน โดยอาศัยการเปิดเผยข้อมูลแนวทางเดียวกับ RDR ของประเทศอังกฤษ ซึ่งแบ่งผู้แนะน�ำการลงทุนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอิสระ (Independent) และกลุ่มที่มีข้อจ�ำกัด (Restricted) ซึ่งจะต้องเปิดเผย ให้แก่ผู้ลงทุนทราบอย่างชัดเจนว่าตนเองอยู่ในกลุ่มใด และหากมีข้อจ�ำกัด ข้อจ�ำกัดนั้นคืออะไร การให้บริการจะอยู่ภายใต้ ขอบเขตอะไร เช่น สามารถขายหรือให้ค�ำแนะน�ำได้เฉพาะกองทุนภายใต้การจัดการของ บลจ.ใดบ้าง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังควร เปิดเผยความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ทที่ ำ� ให้เกิดแรงจูงใจในการขายอีกด้วย เพือ่ ให้ผลู้ งทุนตระหนักและลดพฤติกรรมการพึง่ พิง ผูแ้ นะน�ำการลงทุนมากจนเกินไปได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบนั ผูแ้ นะน�ำการลงทุนทีเ่ ป็นพนักงานธนาคารซึง่ มีจำ� นวนมากมีลกั ษณะ เป็นแบบ Restricted ทัง้ หมด รวมทัง้ มีแรงจูงใจทีอ่ าจไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์สงู สุดของผูล้ งทุนเนือ่ งจากได้รบั ผลตอบแทน ที่อิงอยู่กับมูลค่าการขายหน่วยลงทุน ดังนั้น เพื่อให้เกิดทางเลือกในการรับบริการส�ำหรับผู้ลงทุนจึงควรริเริ่มและสนับสนุน การให้ค�ำปรึกษาที่เป็นกลางในข้อถัดไปนี้ 2) ริเริ่มการให้บริการค�ำปรึกษาการลงทุนแบบ Fee-only ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของ RDR อีกเช่นกัน เพื่อให้ ผู้ให้ค�ำปรึกษารับผลตอบแทนตามที่ตกลงกับผู้ลงทุนเพื่อขจัดความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ที่เกิดจากการขายกองทุน ซึ่งเมื่อ ด�ำเนินการคูก่ บั การเปิด Platform ผูใ้ ห้คำ� ปรึกษาสามารถใช้ Platform เป็นเครือ่ งมือวิเคราะห์เปรียบเทียบกองทุนและเป็นช่องทาง ในการให้ค�ำแนะน�ำเพื่อซื้อขายหน่วยลงทุนส�ำหรับผู้ลงทุนได้ด้วย ในระยะแรก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอาจเสนอตัวเป็นผู้น�ำในการตั้งสมาคมหรือเปิดให้ผู้แนะน�ำ การลงทุนที่ขึ้นทะเบียนกับส�ำนักงาน ก.ล.ต.อย่างถูกต้องและไม่มีความผูกพันเชิงผลประโยชน์กับ บลจ.มาขึ้นทะเบียนเป็น สมาชิก เพือ่ เป็นศูนย์รวมของผูใ้ ห้คำ� ปรึกษาทางการเงินอิสระเพือ่ เป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผลู้ งทุน ส�ำหรับตัวอย่างในต่างประเทศ ก็มสี มาคมของทีป่ รึกษาทีร่ บั ค่าธรรมเนียมตามทีต่ กลงกับผูล้ งทุน (Fee-only advisor) ในลักษณะทีค่ ล้ายกันนีเ้ ช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น National Association of Fee-Only Planners ในอิตาลี และ National Association of Personal Financial Advisors ในสหรัฐอเมริกา ฯลฯ
European Fund and Asset Management Association. (2011) Fund Fee in Europe : Analyzing Investment Management Fees, Distribution fees, amd Operating Expenses. 20 UCITS ย่อมาจาก Undertakings for Collective Investment in Transferable Securities Directives เป็นชุดกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรปทีช่ ว่ ยอ�ำนวยความสะดวก ในการเชื่อมโยงตลาดกองทุนรวมในสหภาพยุโรป เช่น เมื่อกองทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกหนึ่งจะสามารถจ�ำหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศ สมาชิกอื่น ๆ ได้โดยง่าย ฯลฯ 21 ตัวอย่างการขายกองทุนรวมผ่านเครือข่ายหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศ เช่น เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศเยอรมนี และ ธนาคารพาณิชย์ที่ถูกรัฐบาลอินเดีย Nationalized (แม้จะยังไม่แพร่หลายเท่าธนาคารพาณิชย์เอกชน) ฯลฯ 19
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
59
อย่างไรก็ตาม Fee-only advisor เป็นสิ่งที่ใหม่มากส�ำหรับประเทศไทย เพราะนักลงทุนไทยไม่คุ้นเคย กับการจ่ายเงินเพื่อรับค�ำปรึกษาทางการเงิน ดังนั้น การคิดอัตราค่าบริการและความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจของอุตสาหกรรม การให้ค�ำปรึกษาจึงยังเป็นประเด็นที่ท้าทาย แต่ก็เป็นสิ่งจ�ำเป็นหากค�ำนึงถึงการพัฒนาตลาดกองทุนรวมที่ยั่งยืนในระยะยาว อนึง่ หากระบบ Fee-only ยังเป็นสิง่ ทีย่ งั ไม่สามารถเกิดได้ในระยะสัน้ แต่อย่างน้อยหากตลาดกองทุนรวมไทย มีความนิยมในการใช้ช่องทางการจ�ำหน่ายกองทุนแบบเปิดที่เป็นกลางมากขึ้น สัดส่วนของผู้ให้ค�ำแนะน�ำการลงทุนที่อาศัย ช่องทางการจัดจ�ำหน่ายเหล่านีใ้ นการแนะน�ำการลงทุนก็นา่ จะเพิม่ ขึน้ ตามไปด้วย ซึง่ แม้วา่ ผูใ้ ห้คำ� แนะน�ำกลุม่ นีจ้ ะไม่ได้เป็นแบบ Fee-only และยังมีความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์อยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นการบรรเทาระดับความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ไปได้ ระดับหนึง่ และเป็นหนทางทีท่ ำ� ให้ผลู้ งทุนได้รบั ประโยชน์จากการลงทุนเพิม่ ขึน้ ได้เช่นกันหากเปรียบเทียบกับสิง่ ทีเ่ ป็นอยูใ่ นปัจจุบนั 3) ยกระดับความรู้ของผู้แนะน�ำการลงทุน เพื่อให้สามารถผลิตค�ำแนะน�ำที่มีคุณภาพได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีความหลากหลายมากขึ้นทั้งในแง่สินทรัพย์ที่ลงทุนและโครงสร้างของกองทุน ดังนั้น จึงควรเพิ่ม ความเข้มงวดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้แนะน�ำการลงทุนให้มากขึ้นซึ่งจะสอดคล้องกับแนวนโยบายของหน่วยงานก�ำกับดูแล ในหลายประเทศทั่วโลกขณะนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนเมษายน 2555 ที่ผ่านมา ส�ำนักงาน ก.ล.ต.ได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อ พยายามยกระดับคุณภาพของผู้แนะน�ำการลงทุน โดยการเพิ่มประเภทของผู้แนะน�ำการลงทุน และปรับเปลี่ยนโครงสร้าง การทดสอบความรู้ของผู้แนะน�ำการลงทุนให้สอดคล้องกันโดยแบ่งเนื้อหาของการทดสอบออกเป็นสัดส่วนตามประเภทของ ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้สอบสามารถเลือกสอบเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้โดยไม่จ�ำเป็นต้องทดสอบผ่าน ทุกประเภทพร้อมกันเหมือนเช่นที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพของคนขายให้มีความช�ำนาญเฉพาะด้าน โดยค�ำนึงถึง ความจ�ำเป็นในการเพิ่มจ�ำนวนผู้แนะน�ำการลงทุนเพื่อตอบสนองตลาดที่ก�ำลังขยายตัวไปพร้อมกัน 4.2.3 การพัฒนาความรู้ทางการเงินและความสามารถในการตัดสินใจลงทุนนักลงทุนไทย เพื่อให้คนไทย ตระหนักถึงความส�ำคัญของการออมและสามารถตัดสินใจทางการเงินได้อย่างมีเหตุมีผลและไม่เอนเอียง (Bias) เป็นประเด็น พื้นฐานส�ำคัญเนื่องจากเป็นปัจจัยขับเคลื่อนอุปสงค์ในตลาดกองทุนรวมอันจะน�ำมาซึ่งความมีประสิทธิภาพของตลาดในที่สุด อย่างไรก็ตาม ความส�ำเร็จในเรื่องนี้อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะแม้แต่การส�ำรวจระดับ Financial Literacy ของผู้บริโภคในกลุ่ม ประเทศทีม่ รี ายได้สงู หลายประเทศ (เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญีป่ นุ่ ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ฯลฯ) ยังพบว่าคนไม่มคี วามเข้าใจ ในความจ�ำเป็นทางการเงินตลอดจนเครือ่ งมือและผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ทีด่ เี พียงพอ22 อีกทัง้ มีงานวิจยั จ�ำนวนมากทีก่ ล่าวถึง ความไม่มีประสิทธิผลของการให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชน23 (โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา) จนมีนักวิจัยบางท่าน ให้ข้อเสนอแนะว่า หากรัฐน�ำเงินงบประมาณที่ใช้ในการจัดท�ำ Financial Literacy Program ไปจัดสรรเพื่อให้บริการที่ปรึกษา ทางการเงินที่เป็นกลางโดยไม่คิดมูลค่าแก่ประชาชนอาจจะมีประสิทธิผลและประหยัดงบประมาณได้มากกว่า เป็นต้น ดังนั้น การสนับสนุนเรื่อง Financial Literacy Program ของไทยซึ่งยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นโดยกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในขณะนี้ แม้จะเป็นความริเริ่มที่ดีแต่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ เรียนรู้จากประสบการณ์ความส�ำเร็จและความบกพร่อง
ค�ำกล่าวของ Hecklinger, Richard E. Deputy Secretary-General of the OECD เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2549 ณ กรุงลอนดอน (http://www.newstatesman. com/200601090040) 23 Cole S., Shastry G.K. (2009). Smart Money: The Effect of Education, Cognitive Ability, and Financial Literacy on Financial Market Participation. Meza D.D., Irlenbusch B., Reyniers D. (2008). Financial Capability: A Behavioural Economics Perspective. Consumer Research, Financial Service Authority, 69. Mandell L. (2006). Financial Literacy: If It’s So Important, Why Isn’t It Improving?. Networks Financial Institute Working Paper, 2006-PB-08. Mandell L. (2009). The Impact of Financial Education in High School and College on Financial Literacy and Subsequent Financial Decision Making. Paper presented at the American Economic Association Meetings. Mandell L., Klein L.S. (2007). Motivation and financial literacy. Financial Services Review, 16, 105-116. Mandell L., Klein L.S. (2009). The Impact of Financial Literacy Education on Subsequent Financial Behavior. Journal of Financial Counseling and Planning, Vol 20, No1, 15-24. Meza D.D., Irlenbusch B., Reyniers D. (2008). Financial Capability: A Behavioural Economics Perspective. Consumer Research, Financial Service Authority, 69. Schwartz S. (2010). Can Financial Education Improve Financial Literacy and Retirement Planning?. IRPP Study, 12. Willis L.E. (2008a). Against Financial-Literacy Education. Iowa Law Review, 94, 197-285. Willis L.E. (2008b). Evidence and Ideology in Assessing the Effectiveness of Financial Literacy Education. NELLCO Legal Scholarship Repository, University of Pennsylvania. 22
60
ในต่างประเทศ รวมถึงก�ำหนดขอบเขตให้ครอบคลุมการออมการลงทุนผ่านช่องทางต่าง ๆ และอาจจัดท�ำการส�ำรวจผูล้ งทุนภายใน ประเทศซึ่งออกแบบขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการท�ำความเข้าใจสภาพปัญหาและหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม ทั้งนี้ นอกจากการด�ำเนินการเพือ่ รองรับกลุม่ เป้าหมายทีก่ ำ� หนดในปัจจุบนั ได้แก่ กลุม่ นักเรียน/นักศึกษา กลุม่ แรงงานในระบบ รวมถึง ผู้เกษียณอายุและแรงงานนอกระบบ ยังควรค�ำนึงถึงมิติอื่น ๆ ด้วย เช่น คนที่อยู่ในระบบการเงินแล้วอาจยังมีปัญหาพฤติกรรม เอนเอียงในการตัดสินใจทางการเงินทีต่ อ้ งได้รบั การแก้ไข ส่วนคนทีย่ งั ไม่มสี ว่ นร่วมในระบบการเงินมากนักอาจยังไม่ตระหนักถึง ความส�ำคัญหรือไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะทั้ง 3 ประการเป็นเพียงก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น การด�ำเนินการที่จริงจังและ ต่อเนื่องย่อมเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะน�ำไปสู่ความส�ำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุนรวมให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป อีกทั้ง การส่งเสริมให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากการออมผ่านกองทุนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังช่วยให้ตลาดทุนไทยเพิ่มสัดส่วน ของนักลงทุนสถาบันเมื่อเปรียบเทียบกับนักลงทุนรายย่อย ซึ่งจะช่วยรักษาเสถียรภาพของตลาดทุนได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยพัฒนา ตลาดทุนทัง้ ในเชิงกว้างและเชิงลึก และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการออมระยะยาวมากกว่าการเก็งก�ำไรระยะสัน้ รวมถึงช่วยกระจาย ความเสี่ยงและบริหารจัดการเงินลงทุนของผู้ออมและผู้ลงทุนได้ดีขึ้นอีกด้วย
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
61
บทวิเคราะห์ เรื่อง สงครามค่าเงิน : ใครได้ ใครเสีย
1
บทสรุปผู้บริหาร “สงครามค่าเงิน” (Currency War) คือการที่นานาประเทศด�ำเนินนโยบายเพื่อให้ค่าเงินอ่อน ตามประเทศอื่น ๆ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าส่งออกของตนไว้ ❍❍ ในการประชุ ม G-20 เมื่ อ เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ 2556 ที่ ผ ่ า นมา ที่ ป ระชุ ม ได้ ห ยิ บ ยกประเด็ น การท�ำสงครามค่าเงินมาหารือ และมีมติร่วมกันว่าต้องการให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาดและ มีความยืดหยุ่นมากขึ้นตามปัจจัยพื้นฐาน และหลีกเลี่ยงการแทรกแซงค่าเงินที่ท�ำให้อัตราแลกเปลี่ยนเบี่ยงเบน จากกลไกตลาด ❍❍ ในอดีตทีผ ่ า่ นมา ประเทศต่าง ๆ มักใช้มาตรการค่าเงินอ่อนค่าในการช่วยเหลือภาคการส่งออก ของตน โดยเฉพาะหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก (The Great Depression) ทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นมา อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ เวเนซุเอลา และบราซิล ในขณะที่จีนมีแรงกดดันจากทั้งปัจจัยพื้นฐาน และจากภายนอกให้ปรับค่าเงินให้แข็งค่าขึ้น แต่จีนยังคงด�ำเนินมาตรการค่าเงินอ่อนค่าอยู่ ❍❍ อย่ า งไรก็ ต าม เมื่ อ เศรษฐกิ จ โลกมี ค วามซั บ ซ้ อ นมากขึ้ น อี ก ทั้ ง สิ น ค้ า ส่ ง ออกมี มู ล ค่ า เพิ่ ม มากขึ้น อุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกมักขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านรายได้มากกว่าด้านราคา การลดค่าเงินจึงไม่ช่วยเหลือ ภาคการส่งออกมากนัก ❍❍ สงครามค่าเงินระลอกล่าสุดนีส ้ ง่ ผลกระทบต่อไทยในระดับต�ำ่ เนือ่ งจากคูค่ า้ ของไทยส่วนใหญ่ อยูใ่ นภูมภิ าคเอเชียและตลาดทีม่ อี ตั ราการขยายตัวทีส่ งู อีกทัง้ ค่าเงินบาทได้เกาะกลุม่ กับค่าเงินของประเทศคูค่ า้ เหล่านี้ค่อนข้างดี แต่ยังคงจ�ำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและประเมินผลกระทบในระยะต่อไป ❍❍
1. บทน�ำ เมือ่ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 ทีผ่ า่ นมา ทีป่ ระชุม G-20 ซึง่ เป็นการประชุมของรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการคลังและผูว้ า่ การ ธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 อันดับแรกของโลก อันได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร บราซิล อิตาลี รัสเซีย อินเดีย แคนาดา ออสเตรเลีย เม็กซิโก เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย อาร์เจนตินา และแอฟริกาใต้ ได้มีข้อหารือในประเด็นด้านเศรษฐกิจและการเงิน ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย หนึ่งใน “ประเด็นร้อน” ที่ที่ประชุมได้หยิบยกมาหารือ ได้แก่ การด�ำเนินนโยบายค่าเงินอ่อนเพื่อกระตุ้นการส่งออก (Competitive Devaluation) ซึง่ โดยปกติแล้วประเทศทีม่ ดี ลุ การช�ำระเงิน โดยเฉพาะดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเป็นเวลายาวนาน ค่าเงินจะแข็งค่าขึ้นตามปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกได้ จึงมีการด�ำเนินนโยบายเพื่อให้ ค่าเงินอ่อนดังกล่าว ซึ่งหากประเทศใดประเทศหนึ่งด�ำเนินนโยบายนี้แล้ว ประเทศอื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่งทางการค้าอาจต้องด�ำเนิน นโยบายในลักษณะคล้ายคลึงกัน เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าส่งออกของตนไว้ หรือที่เรียกว่า “สงครามค่าเงิน” (Currency War)
ผู้เขียน : ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ เศรษฐกรช�ำนาญการ ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ดร.ดุลยา ตันติเตมิท และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
1
62
ภาพที่ 1 ดุลบัญชีเดินสะพัดสะสม ปี 2523-2551
ที่มา : OECD
ก่อนการประชุมเสร็จสิ้น ที่ประชุมเห็นพ้องว่าควรหลีกเลี่ยงการด�ำเนินนโยบายในลักษณะดังกล่าว ประหนึ่งว่า เป็นการตอบโต้การที่ก่อนหน้านี้ไม่นานญี่ปุ่นได้ประกาศเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องเยน เข้าในตลาดโลกซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง หลังจากที่แข็งค่าขึ้นมากในช่วงปี 2554-2555 ที่ผ่านมา ซึ่งการอ่อนค่า ของค่าเงินเยนในครั้งนี้ส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดการเงินโลกและมีการเก็งก�ำไรในค่าเงินประเทศต่าง ๆ ตามมา โดยแถลงการณ์ร่วมของประเทศสมาชิก G-20 มีใจความส�ำคัญว่า ต้องการให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาดและ มีความยืดหยุน่ มากขึน้ ตามปัจจัยพืน้ ฐาน และหลีกเลีย่ งการแทรกแซงค่าเงินทีท่ ำ� ให้อตั ราแลกเปลีย่ นเบีย่ งเบนจากกลไกตลาด2 ภาพที่ 2 ค่าเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปี 2554–2556
ที่มา : Bank of Japan
ภายหลังการประกาศเจตจ�ำนงของที่ประชุม G-20 ดังกล่าว ทางการญี่ปุ่นได้ออกมาประกาศว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น มิ ไ ด้ ตั้ ง ใจเข้ า ซื้อ พันธบัต รรัฐบาลสหรัฐอเมริก า แต่ จ ะเข้ า ซื้ อสิ น ทรั พย์ ใ นประเทศแทน ซึ่ ง การที่ ประชาคมโลกเข้า ใจว่า ทางการญี่ปุ่นจะเจตนาท�ำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าก่อนหน้านี้นั้นเป็นความเข้าใจผิด ซึ่งการประกาศ “กลับล�ำ” ของทางการญี่ปุ่น ดังกล่าวท�ำให้กระแสหวาดกลัวสงครามค่าเงินในตลาดการเงินโลกทุเลาลง บทความนี้จะวิเคราะห์การเกิดสงครามค่าเงินในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา อีกทั้งจะวิเคราะห์นัยของสงครามค่าเงิน ต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงผลกระทบที่ไทยอาจได้รับเพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น "... to move more rapidly toward more market-determined exchange rate systems and exchange rate flexibility to reflect underlying fundamentals, and avoid persistent exchange rate misalignments ..."
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
63
2. สงครามค่าเงินในอดีต ก่อนทศวรรษที่ 1930 ช่วงก่อนทศวรรษ 1930 (พ.ศ. 2473) หลายประเทศมักใช้มาตรการลดค่าเงินด้วยการลดมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ของค่าเงิน อาทิ ลดสัดส่วนทองค�ำในการผลิตเหรียญกษาปณ์ เนื่องจากค่าเงินจะถูกก�ำหนดโดยมาตรฐานทองค�ำ (Gold Standard) อย่างไรก็ตาม การลดค่าเงินเพื่อความได้เปรียบทางการค้าไม่ส่งผลกระทบมากนัก เนื่องจากส่วนต่างต้นทุนการผลิต สินค้าในแต่ละประเทศคิดเป็นสัดส่วนที่มากกว่าส่วนต่างจากการปรับลดค่าเงินมาก ด้วยเหตุนี้ประเทศต่าง ๆ มักใช้มาตรการ ทางภาษีเพื่อกีดกันสินค้าน�ำเข้าจากประเทศอื่น ๆ เพื่อเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศแทน ช่วงมหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก (The Great Depression) ทศวรรษที่ 1930 ในช่วงทีเ่ ศรษฐกิจโลกตกต�ำ่ ครัง้ ใหญ่ หลายประเทศยกเลิกการใช้มาตรฐานทองค�ำ ส่งผลให้คา่ เงินแต่ละสกุลลอยตัว ไม่ตดิ ยึดระหว่างกัน และด้วยเศรษฐกิจทีห่ ดตัวอย่างรุนแรงประกอบกับอัตราการว่างงานทีส่ งู ท�ำให้ประเทศต่าง ๆ ด�ำเนินนโยบาย ลดค่าเงินเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและลดการว่างงานอย่างต่อเนื่อง เป็นที่มาของวลี “Beggar thy neighbors” หรือ “การปล้น ความมั่งคั่งจากประเทศเพื่อนบ้าน” ซึ่งมีความหมายว่า การลดค่าเงินของประเทศหนึ่ง ๆ จะเป็นการเอาเปรียบคู่แข่งทางการค้า และท�ำให้คแู่ ข่งทางการค้าประเทศอืน่ ๆ เสียเปรียบและจ�ำต้องลดค่าเงินตามเพือ่ ลดการเสียเปรียบนัน้ ในทีส่ ดุ ซึง่ ในเชิงทฤษฎีเกม แล้วการด�ำเนินนโยบายลักษณะนี้ในระยะปานกลางถึงระยะยาวจะท�ำให้เกิดดุลยภาพที่ไม่ใช่จุดที่เหมาะสมที่สุด (Suboptimal Equilibrium) กล่าวคือ ทุกประเทศต้องลดค่าเงินโดยทีภ่ าคการส่งออกมิได้รบั ผลประโยชน์จากค่าเงินทีอ่ อ่ นค่าลง อีกทัง้ นโยบาย ดังกล่าวท�ำให้ประเทศผู้น�ำเข้าสินค้าที่ต้องการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศและการจ้างงานในประเทศ (Protectionism) ปรับเพิ่มอัตราภาษีสินค้าน�ำเข้า เพื่อกดราคาสินค้าที่ผลิตในประเทศให้มีราคาต�่ำกว่าสินค้าที่ต้องน�ำเข้า ท�ำให้วิกฤติเศรษฐกิจ ดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้น สะท้อนได้จากการหดตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยืดเยื้อยาวนานกว่าทศวรรษ ภาพที่ 3 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ปี 2472–2482
ที่มา : Federal Reserve Bank of St. Louis Economic Data (FRED)
ช่วงการใช้ระบบ Bretton Woods ปี 2487–2514 (ค.ศ. 1944–1971) หลังจากสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ประเทศต่าง ๆ ได้ตกลงร่วมกันทีจ่ ะก�ำหนดอัตราแลกเปลีย่ นทีต่ ายตัว โดยค่าเงินดอลลาร์ สหรัฐถูกก�ำหนดไว้กบั ราคาทองค�ำ ในขณะทีค่ า่ เงินสกุลอืน่ ๆ จะถูกผูกไว้กบั ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอีกต่อหนึง่ ท�ำให้ประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถลดค่าเงินเพื่อช่วยเศรษฐกิจในประเทศผ่านการส่งออกได้ อย่างไรก็ตาม อัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกก�ำหนดตายตัว โดยมิได้สะท้อนปัจจัยพืน้ ฐานของประเทศนัน้ ๆ ท�ำให้ในทีส่ ดุ จ�ำเป็นต้องยกเลิกระบบการก�ำหนดอัตราแลกเปลีย่ นตายตัวดังกล่าว
64
ช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินเอเชีย ปี 2515–2540 (ค.ศ. 1972–1997) หลังระบบ Bretton Woods ล่มสลายในปี 2515 ประเทศต่าง ๆ เริ่มทยอยยกเลิกการตรึงค่าเงินของตนกับดอลลาร์ สหรัฐและเปลี่ยนไปใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแทน ในช่วงนี้พบว่ามีการแทรกแซงค่าเงินเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในกรณีของ Plaza Accord เมื่อปี 2528 ซึ่งสหรัฐอเมริกา เยอรมนีตะวันตก สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ได้ตกลงร่วมกันที่จะเข้าแทรกแซงให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นและให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง เพื่อช่วยเหลือ การขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐอเมริกา3 และเพียงไม่กปี่ หี ลังจากนัน้ ในปี 2530 สหรัฐอเมริกา เยอรมนีตะวันตก สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส แคนาดา และญี่ปุ่น ได้ร่วมแทรกแซงค่าเงินเยนอีกครั้งภายใต้ Louvre Accord ซึ่งในครั้งนี้เพื่อให้ ค่าเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ตลอดจนค่าเงินมาร์กเยอรมนีไม่แข็งค่าจนเกินไป ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐอเมริกา และการใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายของญี่ปุ่นและเยอรมนีตะวันตก แต่การแทรกแซงในครั้งนี้มีผลแค่ในระยะสั้น โดยค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมากจนท�ำให้บริษัทญี่ปุ่นสามารถย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น และท�ำให้สินค้าของญี่ปุ่น ที่ผลิตในประเทศที่มีค่าจ้างต�่ำยังคงความสามารถในการแข่งขันได้ และสร้างรายได้มหาศาลให้แก่ญี่ปุ่น จนภาคเอกชนญี่ปุ่น เริม่ เก็งก�ำไรในอสังหาริมทรัพย์ทงั้ ในประเทศและนอกประเทศ ก่อให้เกิดภาวะฟองสบู่ ก่อนทีค่ วามมหัศจรรย์ของเศรษฐกิจญีป่ นุ่ (Japanese Economic Miracle) จะล่มสลายลงในปี 2534 และเป็นจุดเริม่ ต้นของ “ทศวรรษทีห่ ายไป (The Lost Decade)” ในทีส่ ดุ
ภาพที่ 4 ค่าเงินเยนและเงินมาร์กเยอรมนีต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปี 2528–2530
ที่มา : Pacific Exchange Rate Service
ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินเอเชีย ปี 2540–2543 (ค.ศ. 1997–2000) ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินเอเชียในปี 2540 หลายประเทศในภูมภิ าครวมถึงไทยยังคงตรึงอัตราแลกเปลีย่ น กับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจนั้น ๆ โดยหลายประเทศมีดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลอย่าง ต่อเนื่อง ท�ำให้ในที่สุดหลายประเทศในภูมิภาคจึงไม่สามารถตรึงค่าเงินกับดอลลาร์สหรัฐได้ น�ำไปสู่การลอยตัวค่าเงินในที่สุด ทั้งนี้ การลอยตัวค่าเงินดังกล่าวถึงแม้จะช่วยเอื้อภาคการส่งออกในเวลาต่อมา แต่ไม่จัดว่าเป็นการท�ำสงครามค่าเงินแต่อย่างใด
ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน สหรัฐอเมริกาได้บีบบังคับให้ญี่ปุ่นจ�ำกัดจ�ำนวนรถยนต์ที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา (Voluntary Export Restraint) เพื่อช่วยลด การขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกา
3
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
65
ภาพที่ 5 ค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในเอเชีย ในช่วงปี 2540–2542 (2 มกราคม 2540 = 100)
ที่มา : Pacific Exchange Rate Service
จากข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจหลายประเทศมักจงใจเข้าแทรกแซงค่าเงินของตน ให้อ่อนค่าลงเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าส่งออก และเพื่อช่วยปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ผ่านราคาสินค้าน�ำเข้าที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการลดค่าเงินดังกล่าวมักรุนแรงและส่งผลในวงกว้างกว่าที่คาดไว้
3. สงครามค่าเงินในสหัสวรรษใหม่ ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย บริบทของเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งจากการที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การ การค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ในปี 2544 (ค.ศ. 2001) อีกทั้งภาคการเงินโลกมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ท�ำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและภาคการส่งออกเริ่มลดน้อยลง ดังจะเห็นได้จากภายหลังที่เลห์แมน บราเธอรส์ วาณิชธนกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาต้องประสบภาวะล้มละลายในเดือนกันยายน 2551 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ กลับแข็งค่าขึ้นมาก ทั้งจากการที่นักลงทุนกลับเข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยซึ่งอยู่ในสกุลดอลลาร์สหรัฐมากขึ้น (Flight to Quality) อีกทั้งบริษัทลูกสัญชาติอเมริกันส่วนใหญ่เร่งน�ำเงินส่งกลับประเทศเพื่อช่วยเหลือบริษัทแม่ที่อาจขาดสภาพคล่องซึ่งเป็นผลพวง ของวิกฤติดังกล่าว ทั้งนี้ ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนสูง กอปรกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ณ ขณะนั้น ซึ่งนักวิเคราะห์หลายฝ่ายได้คาดการณ์ว่าวิกฤติปี 2551 อาจเป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่มหาวิกฤติ เศรษฐกิจโลก ท�ำให้ธนาคารกลางหลายประเทศตัดสินใจเข้าแทรกแซงค่าเงินของตนให้อ่อนค่าด้วยความหวังว่าจะเป็น การช่วยเหลือภาคการส่งออกได้ โดยเกาหลีใต้เป็นประเทศแรก ๆ ที่ด�ำเนินมาตรการแทรกแซงค่าเงินดังกล่าวในช่วงไตรมาส สุดท้ายของปี 2551 ต่อเนื่องถึง 2 ไตรมาสแรกของปี 2552 หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีเงินทุนไหลเข้าเกาหลีใต้เป็นจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดพันธบัตร อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของเกาหลีใต้กม็ ไิ ด้ฟน้ื ตัวเร็วกว่าประเทศอืน่ ๆ ในภูมภิ าคแต่อย่างใด โดยมูลค่าการส่งออกของเกาหลีใต้เริ่มหดตัวในเดือนพฤศจิกายน 2551 ถึงร้อยละ -19.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ก่อนที่จะหดตัวยาวนานถึงกว่า 12 เดือน ในขณะเดียวกัน ค่าเงินวอนเกาหลีต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงมากจาก 1,207 วอนต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปลายเดือนกันยายน 2551 มาอ่อนค่าถึง 1,570 วอนต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2552 คิดเป็นการอ่อนค่าถึงร้อยละ 30.0 ในระยะเวลาน้อยกว่า 6 เดือน
66
ภาพที่ 6 ค่าเงินวอนเกาหลีและอัตราการขยายตัวของภาคการส่งออกเกาหลีใต้ ปี 2550-2552
ที่มา : CEIC
เมื่อวิกฤติเศรษฐกิจโลกทวีความรุนแรงขึ้นจนท�ำให้หลายประเทศเริ่มหามาตรการท�ำให้ค่าเงินอ่อนค่าเพื่อกระตุ้น การส่งออก ประชาคมโลกก็มิได้นิ่งนอนใจต่อการท�ำสงครามค่าเงินของประเทศผู้ส่งออกในเอเชีย โดยในการประชุม G-20 ประจ�ำปี 2552 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ที่ประชุมได้มีมติต่อต้านมาตรการกีดกันทางการค้า ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการจงใจ แทรกแซงค่าเงินให้อ่อนค่า ในเวลาเดียวกัน ประเทศที่ได้รับแรงกดดันในทิศทางตรงกันข้ามคือจีน เนื่องจากจีนได้ด�ำเนินนโยบายตรึงค่าเงินหยวน ของตนมาตลอดนับตั้งแต่การเข้าเป็นสมาชิก WTO แต่ด้วยปัจจัยพื้นฐานแล้วจีนมีดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลมหาศาล โดยเฉพาะดุลการค้าที่เกินดุลจากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ในขณะที่จีนยังคงตรึงค่าเงินหยวนไว้ที่ระดับซึ่งอ่อนค่ากว่า ระดับที่ควรจะเป็น ท�ำให้สินค้าส่งออกของจีนยังคงได้เปรียบทางด้านราคาในตลาดโลก และท�ำให้หลายประเทศเรียกร้องให้จีน หยุดการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและปล่อยให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าตามกลไกตลาด อย่างไรก็ตาม ทางการจีนยังคงตรึง ค่าเงินหยวนไว้กับดอลลาร์สหรัฐอย่างเหนียวแน่น โดยปล่อยให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นบ้างเมื่อมีแรงกดดันจากประชาคมโลก จากระดับ 7.2 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงต้นปี 2551 สู่ระดับ 6.2 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงต้นปี 2556 หรือคิดเป็น การแข็งค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.8 ต่อปี ภาพที่ 7 ค่าเงินหยวนและดุลการค้าสะสม ปี 2551-2556
ที่มา : CEIC
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
67
นอกจากประเทศในทวีปเอเชียแล้ว ประเทศในกลุม่ ลาตินอเมริกาดังเช่นเวเนซุเอลาซึง่ เป็นผูส้ ง่ ออกน�้ำมันและเป็นสมาชิก ของกลุ่มโอเปก ได้ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 ว่าจะลดค่าเงินโบลีวาร์ของตนลงอีก จากค่ากลางที่ระดับ 4.295 โบลีวาร์ใหม่ต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 6.292 โบลีวาร์ใหม่ต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการลดค่าเงินครั้งที่ 5 ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา4 หลังจากที่ทางการเวเนซุเอลาต้องประกาศใช้ค่าเงินโบลีวาร์ใหม่ซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่าเงินเก่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐถึงร้อยละ 65.4 ในเดือนตุลาคม 2553 ทีผ่ า่ นมา ทัง้ นี้ การลดค่าเงินดังกล่าวถึงแม้วา่ ควรจะช่วยความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออก เวเนซุเอลา แต่เนือ่ งจากสินค้าส่งออกหลักของเวเนซุเอลาคือน�้ำมันดิบและเคมีภณ ั ฑ์ทไี่ ด้จากการกลัน่ น�้ำมัน ซึง่ ในฐานะประเทศ สมาชิกกลุ่มโอเปก การส่งออกน�้ำมันดิบมีราคากลางก�ำหนดอยู่ ท�ำให้ภาคการส่งออกของเวเนซุเอลาอาจไม่ได้รับประโยชน์จาก ค่าเงินที่อ่อนค่าลงเท่าใดนัก ในทางกลับกัน เวเนซุเอลาน�ำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภค สินค้าวัตถุดิบ ตลอดจนสินค้าคงทนเป็น จ�ำนวนมาก ซึ่งค่าเงินโบลีวาร์ใหม่ที่อ่อนค่าท�ำให้ราคาสินค้าน�ำเข้าของเวเนซุเอลามีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ (Imported Inflation) ท�ำให้ทางการเวเนซุเอลาต้องออกมาตรการควบคุมราคาสินค้าจ�ำเป็นควบคู่ไปด้วย
ภาพที่ 8 ค่าเงินโบลีวาร์เก่าและใหม่ต่อดอลลาร์สหรัฐ ปี 2543-2556
ที่มา : Central Bank of Venezuela
ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่ทั่วโลกให้ความสนใจต่อนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนอีกหนึ่งประเทศคือ บราซิล ซึ่งเคย ประสบปัญหาค่าเงินแข็งค่าเกินกว่าปัจจัยพืน้ ฐาน (Overvalued) จนในทีส่ ดุ ในช่วงกลางปี 2542 ค่าเงินรีลอ่อนค่าลงมากจากเดิม ที่ระดับ 1 รีลต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงสู่ระดับเกือบ 4 รีลต่อดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่นั้นมาค่าเงินรีลก็มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ตามปัจจัยพืน้ ฐานทีด่ ขี นึ้ ก่อนจะอ่อนค่าลงในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2551 ดังกล่าว ทัง้ นี้ ในเดือนกันยายน 2553 นายกุยดู มันเตกา รัฐมนตรีคลังบราซิลในสมัยนั้นได้ออกมาให้สัมภาษณ์เตือนประชาคมโลกเป็นครั้งแรกว่า เศรษฐกิจโลกก�ำลังเผชิญกับสงคราม ค่าเงินจากประเทศต่าง ๆ อนึ่ง ความพยายามในการปรับลดค่าเงินของบราซิลเป็นการตอบโต้เงินทุนไหลเข้าจากมาตรการ ทางการเงิ น แบบผ่ อ นคลายของประเทศพั ฒ นาแล้ ว ที่ ท� ำ ให้ เ งิ น ทุ น เคลื่ อ นย้ า ยจ� ำ นวนมากไหลเข้ า ตลาดเกิ ด ใหม่ ที่ มี ผลตอบแทนสูง ทั้งในเอเชียและในกลุ่มประเทศ BRICs (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน)
"Venezuela devaluation hits U.S., European companies", http://www.reuters.com/article/2013/02/11/us-venezuela-currency-devaluation-impactidUSBRE91A12A20130211
4
68
ภาพที่ 9 ค่าเงินรีลบราซิล
ที่มา : Central Bank of Brazil
4. ผลกระทบต่อไทย ตามทฤษฎีแล้วในฐานะประเทศส่งออก ไทยจะได้รบั ผลกระทบทางลบหากค่าเงินบาทแข็งค่าขึน้ เมื่อเทียบกับค่าเงินของ ประเทศคู่ค้า โดยหากประเทศคู่แข่งทางการค้าของไทยลดค่าเงินของตนลง สินค้าส่งออกของไทยจะเสียเปรียบในการแข่งขัน เชิงราคา และในท�ำนองเดียวกัน หากประเทศที่น�ำเข้าสินค้าของไทยลดค่าเงิน สินค้าของไทยจะแพงขึ้นในสายตาของประเทศ ผู้น�ำเข้า อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากหลักฐานเชิงประจักษ์แล้ว พบว่าในช่วงเวลาที่ประเทศคู่ค้าหลักของไทยจงใจลดค่าเงิน มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังประเทศนั้น ๆ กับอัตราแลกเปลี่ยนก็มิได้ส่งสัญญาณการหดตัวที่ชัดเจน เนื่องจากการส่งออก ของไทยขึน้ อยูก่ บั ความมัง่ คัง่ ของประเทศคูค่ า้ มากกว่าค่าเงิน สอดคล้องกับการทีโ่ ครงสร้างการส่งออกของไทยทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป จากการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต�่ำเป็นสินค้าเทคโนโลยีและสินค้าคงทนมากขึ้น โดยเฉพาะในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ เครือ่ งใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ท�ำให้อปุ สงค์ตอ่ สินค้าดังกล่าวมีความยืดหยุน่ ต่อรายได้ (Income Elasticity) มากกว่าความยืดหยุน่ ด้านราคา (Price Elasticity) ภาพที่ 10 อัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกไทย เปรียบเทียบกับดัชนีค่าเงินบาท
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
69
5. สรุป อันที่จริงแล้ว การท�ำ “สงครามค่าเงิน” ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยเฉพาะส�ำหรับประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก หากแต่ การพิจารณาลดค่าเงินเพื่อช่วยภาคการส่งออกนั้น ควรค�ำนึงถึงโครงสร้างของสินค้าส่งออก ตลอดจนปัจจัยที่ก�ำหนดอุปสงค์ สินค้าส่งออก อีกทั้งควรพิจารณาถึงผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ ทั้งประเทศที่เป็นคู่ค้าและคู่แข่งอีกด้วย แต่ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่ เป็นเครื่องก�ำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุด คือ ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจนั้น ๆ นั่นเอง ทั้งนี้ ในส่วนของไทย สงครามค่าเงินในครั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อไทยไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากคู่ค้าของไทยส่วนใหญ่ อยูใ่ นภูมภิ าคเอเชียและตลาดทีม่ อี ตั ราการขยายตัวทีส่ งู อีกทัง้ ค่าเงินบาทได้เกาะกลุม่ กับค่าเงินของประเทศคูค่ า้ เหล่านีค้ อ่ นข้างดี แต่ยังคงจ�ำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและประเมินผลกระทบในระยะต่อไป
70
บทวิเคราะห์ เรื่อง ทางรอดอุตสาหกรรมอัญมณีไทย
1
บทสรุปผู้บริหาร อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มและแรงงานฝีมือ จ�ำนวนมากให้แก่ประเทศไทย ทัง้ นี้ หากพิจารณาจากการส่งออกพบว่า เป็นอุตสาหกรรมทีม่ มี ลู ค่าส่งออกในปี 2555 รวม 277,783.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นล�ำดับที่ 3 รองจากหมวดคอมพิวเตอร์และหมวดรถยนต์ ตามล�ำดับ ❍❍ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมประเภทนี้ก�ำลังประสบปัญหาทั้งจากปัจจัยภายนอกประเทศและ ภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิต ซึ่งสะท้อนจากระดับของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) และอัตราการใช้กำ� ลังการผลิต (Capital Utilization : CAPU) ทีม่ แี นวโน้มลดลงอย่างต่อเนือ่ ง จากระดับ 57.8 และระดับ 40.8 ตามล�ำดับ ในปี 2553 มาสู่ระดับ 50.7 และระดับ 34.1 ตามล�ำดับ ในปี 2555 ❍❍ โดยปัจจัยภายนอกทีส ่ ง่ ผลกระทบส�ำคัญ ได้แก่ ค�ำสัง่ ซือ้ จากตลาดหลักทีล่ ดลงโดยเฉพาะตลาด สหรัฐอเมริกาและยุโรปตามภาวะเศรษฐกิจทีช่ ะลอตัว ราคาวัตถุดบิ ในตลาดโลกทีป่ รับตัวลดลง และการทีอ่ ญ ั มณี และเครื่องประดับของไทยถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษี (Generalized System of Preferences : GSP) ส่วนปัจจัย ภายใน ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากรและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการน�ำเข้าอัญมณีและสินค้า ส�ำเร็จรูปที่ไม่เอื้อต่อการประกอบอุตสาหกรรมฯ เท่าที่ควร ❍❍ ดังนั้น ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องหาแนวทางการปรับตัวและร่วมพัฒนา อุตสาหกรรมฯ เพื่อให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีศักยภาพในการแข่งขันต่อไป อาทิ การสนับสนุน ตลาดใหม่ ๆ เพือ่ รองรับตลาดเดิม การรองรับความผันผวนของค่าเงินบาท การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ตลอดจน การปรับปรุงด้านกฎหมายให้ทันสมัย ❍❍
บทน�ำ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยมีความส�ำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยมีสัดส่วน (Weight) ในดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ค่อนข้างสูง เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นล�ำดับที่ 3 ของประเทศ (รองจากสินค้าอันดับ 1 หมวดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และอันดับ 2 หมวดรถยนต์และอุปกรณ์ ตามล�ำดับ) โดยคิดเป็นสัดส่วน ประมาณร้อยละ 6.0 ของมูลค่าการส่งออกรวม (การส่งออกในปี 2555 มีมูลค่ารวม 277,783.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) มีการจ้างงาน ในอุตสาหกรรมนี้กว่า 1.3 ล้านคน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษ ลักษณะสินค้า มีความละเอียด เหมาะกับแรงงานไทยที่มีทักษะด้านความอ่อนช้อย สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของ ตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ แรงงานทีเ่ ข้าสูอ่ ตุ สาหกรรมนีจ้ ะถูกฝึกฝนให้เป็นแรงงานฝีมอื (Skilled Labor) ซึง่ ช่างฝีมอื ในสาขา อัญมณีและเครื่องประดับของไทยนับเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ผู้เขียน : นายธรรมฤทธิ์ คุณหิรัญ เศรษฐกรช�ำนาญการ นางสาวดารินทร์ เกตุเรืองโรจน์ เศรษฐกรตรี ส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ นางสาวกุลยา ตันติเตมิท และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ (ข้อมูล เนื้อหาบางส่วนได้จากการสัมภาษณ์ นายวีระศักดิ์ เลอวิศิษฐ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ นายกสมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทยในงานแสดงสินค้า "Bangkok Gems & Jewelry 2013")
1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
71
ภาพที่ 1 ประเภทสาขาการผลิตในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่าการส่งออก Q1/2011 Q2/2011 Q3/2011 Q4/2011 Q1/2012 Q2/2012 Q3/2012 Q4/2012 (หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ) อ ัญมณีและเครื่องประดับ (1) 3,559.16 2,986.65 3,330.01 2,425.33 3,351.22 2,482.03 5,097.73 2,216.58 55,392.79 56,493.02 62,428.36 48,265.00 64,641.40 57,612.75 60,083.03 57,181.62 รวมทุกสินค้า (2) สัดส่วน [(1)/(2)] 6.43% 5.29% 5.33% 5.03% 5.18% 4.31% 8.48% 3.88% ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมประเภทนี้ก�ำลังประสบปัญหาทั้งจากปัจจัยภายนอกประเทศและภายในประเทศ ทีส่ ง่ ผลกระทบต่อผลผลิต ซึง่ สะท้อนจากระดับของ MPI และอัตราการใช้ก�ำลังการผลิต (CAPU) ในหมวดอุตสาหกรรมประเภทนี้ (ISIC 36) ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับ 57.8 และระดับ 40.8 ตามล�ำดับ ในปี 2553 มาสู่ระดับ 50.7 และระดับ 34.1 ตามล�ำดับ ในปี 2555 (ภาพที่ 2) ดังนี้ ภาพที่ 2 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ค�ำนวณโดย สศค.
72
ตารางที่ 2 อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ISIC 36 Gems & Jewelry
2008
2009
2010
2011
2012
56.9 35.1
58.7 35.3
57.8 40.8
51.6 35.5
50.7 34.1
MPI (Average) CapU (Average)
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ค�ำนวณโดย สศค.
ปัจจัยภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบ 1) ค�ำสั่งซื้อจากตลาดหลักลดลงโดยเฉพาะตลาดจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป (EU) : เมื่อพิจารณาจากตารางที่ 3 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่ส�ำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม และเยอรมนี ซึ่งอยู่ในล�ำดับที่ 1 ล�ำดับที่ 3 และ ล�ำดับที่ 4 ตามล�ำดับ พบว่ามีคำ� สัง่ ซือ้ ทีล่ ดลงโดยเฉพาะใน 4 กลุม่ หลัก ได้แก่ เพชร พลอย เงิน และทอง เนือ่ งจากประเทศเหล่านี้ ยังคงเผชิญปัญหาเศรษฐกิจภายใน ส่งผลให้ภาพรวมตัวเลขการส่งออกอัญมณีและเครือ่ งประดับในเดือนแรกของปี 2556 ติดลบ กว่าร้อยละ 542 ทัง้ นี้ จากปัญหาเศรษฐกิจภายในของสหรัฐอเมริกาและ EU ท�ำให้ประเทศไทยได้รบั ผลกระทบจากการส่งออกใน 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การส่งออกทางตรงไปสหรัฐอเมริกาและ EU (สัดส่วนโดยรวมประมาณร้อยละ 20 ของการส่งออกของไทย) และส่วนที่ 2 จากการส่งออกทางอ้อมไปตลาดต่าง ๆ ที่เป็นคู่ค้ากับสหรัฐอเมริกาและ EU โดยเฉพาะจีนและตลาดอาเซียน ตารางที่ 3 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ 5 อันดับแรกของไทย
ล�ำดับที่ ประเทศ
1 2 3 4 5
สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เบลเยียม เยอรมนี ญี่ปุ่น 5 ตลาด + อื่น ๆ รวม
มูลค่า : ล้านบาท
ปี 2554
ปี 2555
ปี 2556 (ม.ค.)
40,408 74,880 11,695 8,646 10,530 371,239
39,429 88,614 12,097 13,363 11,707 408,040
3,748 1,706 1,250 1,168 963 14,723
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
2) ราคาทีป่ รับลดลงในตลาดโลก : มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครือ่ งประดับทีล่ ดลงดังกล่าว นอกจากเป็นผลจาก ค�ำสั่งซื้อจากตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นผลจากราคาวัตถุดิบโลหะทองค�ำและเงิน (Silver) ในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง โดยทองค�ำในเดือนธันวาคม 2555 มีราคา 1,688 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ และปรับลดลง เหลือ 1,671 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ในเดือนมกราคม 2556 ขณะที่ในช่วงเวลาดังกล่าว ราคาวัตถุดิบ Silver ก็มีการปรับลดลง เช่นกันจาก 34 บาทต่อกรัม เหลือประมาณ 27 บาทต่อกรัม (ภาพที่ 3 ประกอบ)
ถึงแม้การส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2556 มีมูลค่าถึง 1.82 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 16 แต่การน�ำเข้าในช่วงเดียวกันก็มีมูลค่าสูงถึง 2.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวกว่าร้อยละ 40 ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าในเดือนมกราคม 2556 ถึง 5.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.75 แสนล้านบาท) ซึ่งหนึ่งในจ�ำนวนสินค้าที่การน�ำเข้าขยายตัวมากและท�ำให้ไทยขาดดุลการค้าคือ ทองค�ำ (ผลจากการปรับลดลงของราคาทองค�ำและเงิน (Silver) ที่ส่งผลให้ มีการน�ำเข้าปริมาณทองค�ำในเดือนมกราคม 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 50.73 กิโลกรัม จากเดือนก่อนหน้าที่มีการน�ำเข้า 31.4 กิโลกรัม และน�ำเข้าปริมาณ Silver ในเดือน มกราคม 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 106 พันกิโลกรัม จากเดือนก่อนที่น�ำเข้า 78 พันกิโลกรัม) ซึ่งสวนทางกับการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในเดือนมกราคม 2556 ที่ติดลบถึงร้อยละ 54 (ทั้งนี้ หากพิจารณาในส่วนของการขาดดุลการค้านั้น หากหักการน�ำเข้าสินค้าเครื่องบินที่มีมูลค่าน�ำเข้าสูงถึง 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และการน�ำเข้าทองค�ำที่มีมูลค่า 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ การขาดดุลการค้าจะเหลือ 2,150 ล้านเหรียญสหรัฐ)
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
73
ภาพที่ 3 กราฟแสดงราคา (1-Year Closing Price) ทองค�ำแท่ง (กราฟบน) และเงินแท่ง (กราฟล่าง)
ที่มา : http://www.monex.com/prods/gold.html
3) อัญมณีและเครือ่ งประดับไทยถูกตัดสิทธิพเิ ศษทางภาษี (GSP) จาก EU3 : การถูกตัด GSP ส่งผลกระทบต่อการส่งออก ของอุตสาหกรรมประเภทนี้ค่อนข้างมาก เนื่องจากในช่วงปีที่ผ่านมาไทยส่งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไป EU กว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนการพึ่งพา EU ถึงร้อยละ 11.8 (ตารางที่ 4 ประกอบ) ซึ่งผลของการถูกตัด GSP ดังกล่าวท�ำให้ผปู้ ระกอบการมีตน้ ทุนทีเ่ พิม่ ขึน้ เนือ่ งจากต้องเสียภาษีนำ� เข้าทีร่ อ้ ยละ 5.5-6.5 จากทีเ่ คยได้รบั การยกเว้นภาษีจาก สิทธิ GSP ดังกล่าว ตารางที่ 4 สินค้าส่งออกของไทยที่ถูกตัดสิทธิ GSP เรียงตามมูลค่าส่งออก 10 อันดับแรกในปี 2555 (เดือน ม.ค.-พ.ย.) ล�ำดับ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
สินค้า
อัญมณีและเครื่องประดับ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหาร เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ท�ำจากเนื้อสัตว์ ปลาแปรรูป ผักกระป๋องและแปรรูป โกโก้และของปรุงแต่งที่ท�ำจากโกโก้
มูลค่าส่งออกไป EU (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
สัดส่วนการพึ่งพา EU (ร้อยละ)
1,501.70 347 262.6 225.7 132.9 98.9 63.3 53.9 45.1 15
11.8 24.4 10.9 16.7 13.1 10.3 23.2 10.8 14.3 20.4
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 สหภาพยุโรปได้ออกระเบียบ Commission Implementing Regulation (EU) No 1213/2012 เรื่องการระงับสิทธิ GSP เป็นรายหมวด สินค้าจากประเทศไทย 3 หมวดสินค้า ได้แก่ (1) หมวด 4a ได้แก่ Chapter 16 : ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา กุ้ง และสัตว์น�้ำ (2) หมวด 4b ได้แก่ Chapter 17 : น�้ำตาล/ขนมที่ท�ำจากน�้ำตาล Chapter 18 : โกโก้ ช็อกโกแลต Chapter 19 : ผลิตภัณฑ์ธัญพืช มอลต์ พาสต้า ขนมปัง Chapter 20 : ผัก ผลไม้ Chapter 21 : อาหารปรุงแต่ง ซอสและของส�ำหรับท�ำซอสครีม Chapter 22 : เครื่องดื่ม Chapter 23 : อาหารสัตว์ และ (3) หมวด 14 ได้แก่ Chapter 71 : อัญมณีและ เครื่องประดับ โดยการระงับสิทธิฯ ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559
3
74
4) อัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทไทยที่มีแนวโน้มแข็งค่าและค่อนข้างผันผวน : ขณะที่ประเทศคู่แข่งในอุตสาหกรรมนี้ อาทิ จีนและอินเดีย มีคา่ เงินทีม่ เี สถียรภาพมากกว่า ทัง้ นี้ ความผันผวนของค่าเงินจะส่งผลกระทบต่อความเชือ่ มัน่ ในการสัง่ สินค้า ของประเทศคูค่ า้ ได้ นอกจากนี้ ค่าเงินบาททีแ่ ข็งค่าเกินไปจะท�ำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าของไทยลดลง และคู่ค้าหันไปค้าขายกับประเทศทางเลือกอื่น (ภาพที่ 4 ประกอบ) ภาพที่ 4 แสดงความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มค่อนข้างผันผวนและแข็งค่า
ที่มา : ข้อมูลจาก CEIC ประมวลและรวบรวมโดย สศค. (* = Estimated)
ปัจจัยภายในประเทศที่ส่งผลกระทบ 1) การขาดแคลนแรงงานฝีมือ : เนื่องจากอุตสาหกรรมทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับมีความจ�ำเป็นต้องใช้ก�ำลังคน ทีม่ ที กั ษะและความสามารถสูง ซึง่ ต้องอาศัยระยะเวลาและประสบการณ์ในการฝึกฝน (On the Job Training) ดังนัน้ จึงเกิดปัญหา การขาดแคลนบุคลากรทั้งระดับบริหารจัดการและระดับฝีมือแรงงาน 2) กฎระเบียบต่าง ๆ ที่ไม่เอื้ออ�ำนวย : กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการน�ำเข้าวัตถุดิบอัญมณีและสินค้าส�ำเร็จรูป ค่อนข้างล้าสมัย และไม่เอื้อต่อการประกอบการอุตสาหกรรมฯ เท่าที่ควร ดังนี้ 2.1) การยกเว้นอากรขาเข้าส�ำหรับพื้นที่เขตปลอดอากร4 ซึ่งการก�ำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบกิจการในเขต ปลอดอากรค่อนข้างมีความเข้มงวด โดยกรมศุลกากรจะพิจารณาหลายปัจจัย และต้องเตรียมเอกสารหลายฉบับเพื่อประกอบ การยื่นค�ำขอ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาหลายวันกว่าจะมีการอนุมัติ เขตปลอดอากร หมายถึง เขตพื้นที่ที่ก�ำหนดไว้ส�ำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ โดยของทีน่ ำ� เข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รบั สิทธิประโยชน์ทางอากรตามทีก่ ฎหมายบัญญัติ ตลอดจนในกรณีการน�ำของออกจากเขตปลอดอากรเพือ่ ใช้หรือจ�ำหน่าย ภายในราชอาณาจักร หรือเพื่อโอนเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือจ�ำหน่ายให้แก่ผู้น�ำของเข้าตามมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 หรือผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรหรือกฎหมายอื่น ให้ถือว่าเป็นการน�ำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือน�ำเข้าส�ำเร็จ ในเวลาที่น�ำของเช่นว่านั้นออกจากเขตปลอดอากร
4
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
75
2.2) นโยบายและมาตรการทางด้านภาษีน�ำเข้า ส�ำหรับผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับที่มีการเก็บภาษีน�ำเข้า ในบางผลิตภัณฑ์ โดยในปี 2537 ได้มีการก�ำหนดอัตราภาษีน�ำเข้า (Import Duty) ให้อยู่ในช่วงร้อยละ 0-20 และได้ใช้อัตรานี้ มาจนถึงปัจจุบัน (ตารางที่ 5 ประกอบ) ซึ่งอุปสรรคที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากสินค้าส�ำเร็จรูปที่ส่งไปแล้วในบางครั้งหากมีต�ำหนิและ ผูป้ ระกอบการจ�ำเป็นต้องน�ำกลับเข้ามาในประเทศเพือ่ ซ่อมแซม แต่กลับต้องมาเสียภาษีนำ� เข้าร้อยละ 20 ทัง้ ทีส่ นิ ค้านัน้ เป็นของ ผู้ประกอบการไทยเอง ตารางที่ 5 อัตราภาษีน�ำเข้าที่เก็บจริงของผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับในปี 2545 ล�ำดับ ผลิตภัณฑ์ พิกัดอัตราภาษีขาเข้า 1 2 3 4 5
เพชร พลอย อัญมณีสังเคราะห์ เครื่องประดับแท้ (เฉพาะส่วนประกอบ) เครื่องประดับเทียม
อัตราอากรขาเข้า เก็บเต็มราคา เก็บเต็มสภาพ
7102 7103 7104
ยกเว้นอากร ยกเว้นอากร ยกเว้นอากร
7113
20%
-
7117
20%
-
ที่มา : ราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไปเล่ม 118 ตอนพิเศษ 132ง ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544
2.3) การขอคืนภาษีมลู ค่าเพิม่ (VAT) ซึง่ ในการประชุมคณะท�ำงานพิจารณาปรับปรุงกฎระเบียบปฏิบตั ทิ างด้านภาษี อากรที่เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544 ได้ออกหลักเกณฑ์ข้อก�ำหนด วิธกี ารคืนภาษีมลู ค่าเพิม่ ได้รวดเร็ว (Fast Lane) โดยผูป้ ระกอบการต้องมีคณ ุ สมบัตทิ ตี่ อ้ งเป็นไปตามข้อก�ำหนด อาทิ ต้องเป็นบริษทั จ�ำกัด (บจ.) หรือบริษัทมหาชนจ�ำกัด (บมจ.) ที่มีทุนจดทะเบียนที่ช�ำระแล้วตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป หรือหากเป็นอุตสาหกรรม ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องมียอดการส่งออกร้อยละ 50 ขึ้นไป ตลอดจนต้องมีการค�้ำประกันของธนาคารหรือ การใช้พนั ธบัตรรัฐบาลมาวางค�ำ้ ประกัน ทัง้ นี้ ระยะเวลาการได้รบั คืนภาษีขนั้ ต�ำ่ คือ 30-60 วัน (ขึน้ กับเกณฑ์คณ ุ สมบัตทิ กี่ ำ� หนด) อย่างไรก็ดี หลักเกณฑ์ดงั กล่าวอาจไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบนั เนือ่ งจากผูป้ ระกอบการส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ในปัจจุบันเป็น SMEs หรือเป็นผู้รับช่วงงานต่อ (Sub Contract) ได้แก่ ชาวบ้านที่เป็นหัตถกรรมทั่วไป ซึ่งไม่สามารถ ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ก�ำหนด อาทิ ประสบความยากล�ำบากในการหาสถาบันการเงินที่เชื่อถือได้มาค�้ำประกัน ท�ำให้ SMEs หรือ Sub Contractor ต่าง ๆ เหล่านี้เสียเปรียบในด้านต้นทุนและระยะเวลาเพื่อการขอคืน VAT จึงท�ำให้ค่อย ๆ หลุดหายออกไป จากวัฏจักรอุตสาหกรรมฯ ขณะที่บางประเทศคู่แข่งกลับมีนโยบายที่ส่งเสริมผู้ประกอบการอย่างเต็มที่ อาทิ ฮ่องกง5 ที่มี นโยบายประกาศให้เป็นท่าเรือปลอดภาษี (Free Port) และท�ำหน้าที่รวบรวมและกระจาย (Entrepot Port) สินค้าน�ำเข้าและ ส่งออก นอกจากนี้ ภาครัฐและภาคเอกชนของฮ่องกงยังได้ร่วมมือกันสนับสนุนส่งเสริมให้มีงาน Jewelry & Gem Fair6 เป็นประจ�ำทุกปี ซึง่ นับเป็นงานจัดแสดงอัญมณีทใี่ หญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เพราะมีการจัดควบคูก่ นั ถึง 2 แห่งในฮ่องกง ได้แก่ AsiaWorld-Expo และ Hong Kong Convention and Exhibition Centre 3) การขาดแหล่งวัตถุดิบที่มีความสม�่ำเสมอและขาดความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายแร่อัญมณี ในต่างประเทศ : ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยบางรายอาจท�ำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัวเมื่อเข้าไปซื้อแร่อัญมณีในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศแถบแอฟริกา ฮ่องกงเป็นตลาดการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากอิตาลี สหรัฐอเมริกา และอินเดีย ตามล�ำดับ เนื่องจากฮ่องกง เป็นเมือง Free Port มีท่าเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ และถือเป็นผู้น�ำผลิตภัณฑ์ทองค�ำและเป็นผู้น�ำสินค้าหยกรายส�ำคัญของโลก รวมทั้งเป็นผู้จัดงานแสดงสินค้า อัญมณีและเครื่องประดับที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก 6 ซึ่งมีผู้ประกอบการด้านอัญมณีมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม อาทิ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม สเปน อิตาลี จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ โดยสามารถดึงดูด ผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจด้านอัญมณีจากกว่า 150 ประเทศให้มารวมตัวกัน ส่งผลให้งาน Fair ดังกล่าวเป็นเวทีส�ำคัญในการค้าและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้า อัญมณีที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย 5
76
แนวทางการด�ำเนินงานเพื่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย 1. ภาครัฐสนับสนุนผู้ประกอบการในการน�ำพาไปเปิดตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพและไทยยังมีส่วนแบ่งตลาดน้อย อาทิ บราซิล รัสเซีย อินเดีย แอฟริกา อเมริกาใต้ และจีน เพื่อทดแทนตลาดหลักเดิม (สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป) ซึ่งเป็นตลาด ที่มีก�ำลังซื้อที่ดี และจ�ำเป็นต้องไปเจาะตลาดให้มากขึ้น7 ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มขึ้น อาทิ กลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) เพื่อลดต้นทุนการผลิต และใช้สิทธิ GSP ของประเทศ เพื่อนบ้านเพื่อสร้างแต้มต่อในการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป 2. เตรียมความพร้อมในการรองรับความผันผวนของค่าเงินบาท โดยอาศัยเครือ่ งมือในการป้องกันและบริหารความเสีย่ ง อาทิ การเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) ทีอ่ ยูใ่ นรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ตลอดจนการท�ำประกันความเสีย่ งผ่านเครือ่ งมือ เสริมอืน่ ๆ เช่น การท�ำสัญญาซือ้ ขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward/Option) ฯลฯ ทัง้ นี้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐ อาทิ การสนับสนุนเพือ่ เปิดให้มกี ารซือ้ ขายล่วงหน้าสินค้าเงิน (Silver Future) ในตลาดอนุพนั ธ์อกี ครัง้ หลังจากทีห่ ยุดไประยะหนึง่ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถซื้อประกันความเสี่ยงราคาวัตถุดิบล่วงหน้าได้ โดยปรับเงื่อนไขให้สามารถรับมอบสินค้าจริงได้ ซึ่งจะกระตุ้นให้มีปริมาณการซื้อมากขึ้น 3. การบูรณาการองค์กร/ศูนย์เทคโนโลยีการผลิตอัญมณี เพื่อให้มีองค์กรหลักในการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตทุกขั้นตอน ตลอดจนพัฒนาปัจจัยพื้นฐานและสิ่งอ�ำนวยความสะดวก การศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักร ตลอดจนการพัฒนาทักษะบุคลากร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจ�ำเป็นต้องปรับสายการผลิตสินค้าให้มีความหลากหลายและ พัฒนาคุณภาพสินค้า 4. การปรับปรุงด้านกฎหมาย โดยเฉพาะในด้านภาษี และมีสถานกงสุลเพือ่ อ�ำนวยความสะดวกในการเจรจาในประเทศ ที่เป็นแหล่งวัตถุดิบและดูแลผู้ประกอบการที่เดินทางไปซื้อวัตถุดิบในต่างประเทศ นอกจากนี้ ภาครัฐควรส่งเสริมด้านการจัดหา แหล่งวัตถุดิบที่ยั่งยืน ปรับปรุงโครงสร้างภาษี พัฒนาขยายตลาด และจัดหาเงินทุนให้ผู้ประกอบการพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการให้มากขึ้น
โอกาสและอุปสรรคในอนาคต อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีความส�ำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีพันธมิตร หลากหลาย (Linkage Industries) ทั้งต้นน�้ำ กลางน�้ำ และปลายน�้ำ ดังนั้น การมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 จะส่งผลกระทบในหลาย ๆ ด้านต่อผู้ประกอบการ โดยมีผลดีคือ ท�ำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบจากอาเซียน ได้ง่ายขึ้น (ซึ่งรวมถึงความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มประเทศ CLMV ที่เพิ่มขึ้นด้วย) นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะสามารถเข้าถึง แหล่งเงินทุน การขอให้ค�ำปรึกษาและการเข้าไปลงทุนในกลุ่มอาเซียนเพื่อพัฒนาวัตถุดิบได้อย่างสะดวกขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็จะสามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกสินค้าอัญมณีไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างเสรี ทั้งนี้ การค้าการลงทุนที่เสรีดังกล่าว จะมีส่วนช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมอัญมณีไทยมีศักยภาพและเป็นที่รู้จักแพร่หลายในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในทางกลับกันบุคลากรทางด้านการวิจัยพัฒนาและมีความสามารถก็จะไปหาแหล่งหรือประเทศที่มีค่าตอบแทนสูงกว่า ได้สะดวกขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงต่อปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ บุคลากรประเภทช่างเจียระไน และช่างเผาพลอย ปลายน�้ำได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจจะเสียส่วนแบ่งทางการตลาดกับสินค้าด้อยคุณภาพแต่ราคาถูกกว่าได้
โดยในปีนี้เริ่มเห็นความคืบหน้าในการขยายการค้า-การลงทุนมากขึ้น โดยเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ทางสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ได้มี การลงนามความร่วมมือ (MOU) กับผู้จัดการทั่วไปศูนย์นิทรรศการแห่งชาติประเทศโอมาน เพื่อร่วมมือสนับสนุนงาน Fair ด้านอัญมณีฯ ระหว่างไทย-โอมาน เพื่อ แลกเปลีย่ นความรูแ้ ละประสบการณ์ รวมถึงการแลกเปลีย่ นบูทในงานแสดงสินค้าของผูป้ ระกอบการทีจ่ ดั ขึน้ ในทัง้ สองประเทศ นอกจากนีใ้ นช่วงปลายเดือนมีนาคม 2556 ตัวแทนสมาคมร่วมกับคณะผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์เดินทางไปดูลู่ทางการขยายการค้า-การลงทุนที่ประเทศโมซัมบิก ซึ่งยังคงมีวัตถุดิบด้านอัญมณี ที่อุดมสมบูรณ์เพื่อผนึกเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างกันต่อไป
7
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
77
บทวิเคราะห์ แนวทางการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจไทย : ประโยชน์ของดัชนีเครื่องชี้เศรษฐกิจ 1
บทสรุปผู้บริหาร เศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเปิด มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจ ภายนอกในระดับสูง ท�ำให้ในปัจจุบันต้องประสบความผันผวนทางเศรษฐกิจจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ โลกค่อนข้างมาก อาทิ ปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป ปัญหาการฟื้นตัวที่ล่าช้าของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา รวมถึงการขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอลงทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุม่ เอเชีย (จีน ญีป่ นุ่ และอินเดีย) ซึง่ ทัง้ หมดนี้ จะท�ำให้การด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น ❍❍ ส�ำหรับส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) การประเมินภาวะเศรษฐกิจที่ถูกต้องและทันเวลา มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การเสนอแนวนโยบายเศรษฐกิจเป็นไปได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ จึงจ�ำเป็นต้องพัฒนารูปแบบการติดตามเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชดิ ทันต่อสถานการณ์ และมีความถูกต้องเชือ่ ถือได้ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจให้สาธารณชนได้ใช้ประโยชน์ในการติดตามและวิเคราะห์เป็นประจ�ำทุกเดือน โดยได้จดั ท�ำรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ซึง่ เป็นการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจล่าสุดของประเทศไทย จากเครือ่ งชี้ เศรษฐกิจแบ่งออกเป็น ด้านอุปสงค์ (Demand) ด้านอุปทาน (Supply) และเสถียรภาพภายในและภายนอกประเทศ ❍❍ ทั้ ง นี้ การติ ด ตามและวิ เ คราะห์ ภ าวะเศรษฐกิ จ จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ก ารทดสอบถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ระหว่างเครือ่ งชีเ้ ศรษฐกิจกับข้อมูลเศรษฐกิจจริงทีส่ ะท้อนจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทีจ่ ดั ท�ำ และประกาศโดยส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นรายไตรมาสว่า มีความสัมพันธ์กัน และน�ำมาเป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจได้ดีจริงหรือไม่ ❍❍ ผลการทดสอบจากการใช้วิธีสหสัมพันธ์ (Correlation) พบว่า เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่ส�ำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ใช้ในปัจจุบัน สามารถบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยได้ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม ในอนาคต ควรมีการพัฒนาเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในด้านอื่น ๆ เพื่อให้ครอบคลุมเศรษฐกิจไทยมากยิ่งขึ้น ❍❍
1. บทน�ำ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ส�ำคัญ บ่งบอกถึงผลผลิตของสินค้าและบริการ ขัน้ สุดท้ายทัง้ หมดในประเทศ ณ ช่วงเวลาหนึง่ โดยมีสำ� นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็น หน่วยงานที่จัดท�ำและด�ำเนินการเผยแพร่เป็นประจ�ำทุกไตรมาส อย่างไรก็ตาม การจัดท�ำจ�ำเป็นต้องใช้เวลา ท�ำให้การเผยแพร่ จะใช้เวลาประมาณ 1.5 เดือน หลังจากจบแต่ละไตรมาส ในขณะที่ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) มีหน้าที่ในการประเมิน ภาวะเศรษฐกิจอย่างทันท่วงที จึงได้เริ่มมีการรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังรายเดือนและมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน อย่างเป็นทางการต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2545 ถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการรายงานภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างใกล้ชิด โดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ มาติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ตลอดจนวิเคราะห์ถึงปัญหาและ ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งจากในประเทศและนอกประเทศ รายงานภาวะเศรษฐกิจ การคลังรายเดือนที่ได้จัดท�ำขึ้นนี้ ประกอบด้วยเครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจและเครื่องชี้วัดภาคการคลังที่ครอบคลุมข้อมูลทั้งใน ภาคเศรษฐกิจมหภาคและด้านการคลัง ท�ำให้กระทรวงการคลังและสาธารณชนสามารถติดตามและประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยได้ อย่างใกล้ชิด ถูกต้อง และทันต่อสถานการณ์ ผู้เขียน : นางสาวคงขวัญ ศิลา เศรษฐกรปฏิบัติการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
1
78
2. แนวทางการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยถือได้ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (Small Open Economy) ที่พึ่งพาการส่งออกและน�ำเข้า มากกว่าร้อยละ 130 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึง่ โครงสร้างเศรษฐกิจไทยทีต่ อ้ งพึง่ พาเศรษฐกิจภายนอกในระดับสูง เช่นนี้ได้ส่งผลท�ำให้ประเทศไทยต้องประสบความผันผวนทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก และท�ำให้การด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจ มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จ�ำเป็นต้องประเมินภาวะเศรษฐกิจที่ถูกต้องและทันเวลา เพื่อเสนอแนวนโยบายเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ สศค.จึงได้พัฒนารูปแบบการติดตามภาวะเศรษฐกิจไทยให้ทันต่อสถานการณ์และมีความถูกต้องเชื่อถือได้ มีข้อมูล เศรษฐกิจให้สาธารณชนใช้ประโยชน์ในการติดตาม วิเคราะห์ และก�ำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป โดยได้จดั ท�ำ รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังในแต่ละเดือน ซึง่ เป็นการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจล่าสุดของประเทศไทย แบ่งออกเป็น ด้านอุปสงค์ (Demand) ด้านอุปทาน (Supply) และเสถียรภาพภายในและภายนอกประเทศ โดยในการติดตามและวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพจ�ำเป็นต้องมีการทดสอบถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครือ่ งชีเ้ ศรษฐกิจกับข้อมูลเศรษฐกิจจริง (GDP) ทีป่ ระกาศโดยส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยสามารถท�ำการทดสอบโดยการใช้วธิ ี สหสัมพันธ์ (Correlation) ซึ่งเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เพื่อหาความสัมพันธ์ในทางสถิติของเครื่องชี้เศรษฐกิจ กับตัวเลข GDP 2.1 การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) สหสัมพันธ์ (Correlation) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป (หรือข้อมูล 2 ชุดขึ้นไป) ซึง่ การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่ามีมากน้อยเพียงใดนัน้ จะใช้คา่ สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) เป็นค่าที่วัดความสัมพันธ์ ซึ่งโดยวิธีการทางสถิติมีอยู่หลายวิธี ทั้งนี้ การใช้สถิติตัวใดขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวแปรหรือระดับของ การวัดในตัวแปรนั้น ๆ ดังนั้น สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จึงมีทั้งแบบที่เป็นสถิติ Parametric และสถิติ Non-parametric การวัดความสัมพันธ์แต่ละแบบจะต้องมีการทดสอบนัยส�ำคัญก่อน จึงจะสรุปได้ว่าตัวแปรคู่ใดมีความสัมพันธ์กัน จริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ส�ำหรับการแปลผลจะมองในแง่ของความเกีย่ วพัน ความสอดคล้อง การแปรผันร่วมกันหรือไปด้วยกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าตัวแปรหนึ่งเป็นเหตุและอีกตัวแปรเป็นผล (หรือไม่สามารถระบุได้ว่าตัวแปรไหนเป็นตัวแปรต้นหรือ ตัวแปรตาม) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยทั่วไปนิยมใช้สัญลักษณ์ r แทนสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง (บางชนิด จะใช้สัญลักษณ์ C, W หรืออื่น ๆ) และ แทนสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของประชากร ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ใช้วัดขนาดของ ความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปร มี 2 ลักษณะ คือ -1 ≤ r ≤ 1 และ 0 ≤ r ≤ 1 การบอกระดับหรือขนาดของความสัมพันธ์ จะใช้ตัวเลขของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ หากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ มีค่าเข้าใกล้ -1 หรือ 1 แสดงถึงการมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง แต่หากมีค่าเข้าใกล้ 0 แสดงถึงการมีความสัมพันธ์กันในระดับ น้อยหรือไม่มีเลย ส�ำหรับการพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยทั่วไปอาจใช้เกณฑ์ดังนี้ ค่า r ระดับของความสัมพันธ์ .90 - 1.00 มีความสัมพันธ์กันสูงมาก .70 - .90 มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง .50 - .70 มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง .30 - .50 มีความสัมพันธ์กันในระดับต�่ำ .00 - .30 มีความสัมพันธ์กันในระดับต�่ำมาก เครื่องหมาย +, - หน้าตัวเลขสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จะบอกถึงทิศทางของความสัมพันธ์ โดยที่หาก r มีเครื่องหมาย + หมายถึง การมีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกัน (ตัวแปรหนึ่งมีค่าสูง อีกตัวหนึ่งจะมีค่าสูง ไปด้วย) r มีเครื่องหมาย - หมายถึง การมีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางตรงกันข้าม (ตัวแปรหนึ่งมีค่าสูง ตัวแปรอีกตัวหนึ่ง จะมีค่าต�่ำ) ประมาณการเศรษฐกิจไทย
79
ทั้งนี้ การค�ำนวณค่าตัวเลขสหสัมพันธ์ (Correlation) ยังสามารถค�ำนวณโดยใช้สูตรสถิติ โดยเป็นการวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อให้ทราบได้ชัดเจนมากขึ้นว่า ตัวแปร 2 ตัวดังกล่าวนั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ และมีขนาดหรือระดับของความสัมพันธ์ มากน้อยเพียงใด โดยขนาดหรือระดับของความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัวดังกล่าว เรียกชื่อเฉพาะว่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย rxy ส�ำหรับกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
สูตรการค�ำนวณ ในที่นี้
x คือ ข้อมูลของตัวแปรที่ 1 y คือ ข้อมูลของตัวแปรที่ 2 n คือ จ�ำนวนข้อมูลของตัวแปรตัวใดตัวหนึ่ง
2.2 การจัดท�ำฐานข้อมูลเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตในประเทศ ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดย GDP สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้น ๆ โดยการวัด GDP ในระดับประเทศสามารถวัดได้ทั้งทางด้านการผลิตและด้านการใช้จ่าย ซึ่งในการค�ำนวณทั้ง 2 ด้าน จะได้มูลค่าที่เท่ากันเสมอ 1. การค�ำนวณบัญชีประชาชาติทางด้านผลผลิต (Production Approach) : วัดจากด้านการผลิตสินค้าและบริการของ แต่ละสาขาการผลิต เช่น การผลิตในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ เช่น สาขาภัตตาคารและโรงแรม และ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ โดยเป็นการวัดเฉพาะมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตเท่านั้น หรือเลือกนับเฉพาะมูลค่าเพิ่ม ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการนับซ�้ำ 2. การค�ำนวณบัญชีประชาชาติทางด้านรายจ่าย (Expenditure Approach) : การค�ำนวณบัญชีประชาชาติทางด้าน รายจ่ายเป็นการค�ำนวณตามแนวคิดมาจากสมการพื้นฐานของส�ำนักเคนส์ (Keynesian School) ซึ่งประกอบด้วย ค่าใช้จ่าย ในการอุปโภค-บริโภคของครัวเรือน ค่าใช้จา่ ยเพือ่ การอุปโภค-บริโภคของรัฐบาล การสะสมทุน การส่งออกสินค้าและบริการไปยัง ต่างประเทศหักด้วยมูลค่าของสินค้าและบริการทีน่ ำ� เข้าจากต่างประเทศ โดยหลักการแล้วยอดรวมของรายจ่ายทัง้ หมดจะเท่ากับ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ดังสมการต่อไปนี้
Y =
C + I + G + (X - M)
โดยที่ Y ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) C ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค-บริโภคของครัวเรือน (Private Consumption Expenditure : PCE) เป็นรายจ่าย ในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย I การลงทุน (Investment) หรือการสะสมทุน (Gross Fixed Capital Formation : GFCF) เป็นค่าใช้จ่าย ในการลงทุ น ซึ่ ง จะรวมถึ ง การลงทุ น ของภาครั ฐ และภาคเอกชน โดยการลงทุ น จะเป็ น การลงทุ น ในรูปสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) G ค่าใช้จ่ายภาครัฐบาล (Government Consumption Expenditure : GCE) เป็นรายจ่ายของภาครัฐบาล เพื่ อ ซื้ อ สิ น ค้ า และบริ ก ารของส่ ว นราชการต่ า ง ๆ เพื่ อ การบริ ห ารประเทศ พั ฒ นาเศรษฐกิ จ รั ก ษา ความปลอดภัยและสร้างความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น (X - M) การส่งออกสุทธิ (Net Exports) เป็นรายได้สทุ ธิทเี่ กิดจากการส่งออกและน�ำเข้าสินค้าและบริการของประเทศ กับต่างประเทศ
80
ทัง้ นี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเป็นหน่วยงานหลักในการประกาศ GDP แต่ด้วยกระบวนการจัดท�ำข้อมูลท�ำให้การเผยแพร่จ�ำเป็นต้องใช้เวลาประมาณ 1.5 เดือน หลังจากจบแต่ละไตรมาส ในขณะที่ สศค.จ�ำเป็นต้องประเมินภาวะเศรษฐกิจอย่างถูกต้องและทันต่อสถานการณ์ล่าสุด เพื่อเสนอแนวนโยบายเศรษฐกิจได้อย่าง ทันท่วงที ดังนั้น จึงได้พัฒนารูปแบบการติดตามภาวะเศรษฐกิจไทยจากเครื่องชี้ต่าง ๆ แบ่งเป็นเครื่องชี้ทางด้านอุปสงค์ (ด้านรายจ่าย) ด้านอุปทาน (ด้านการผลิต) และเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนี้ เครื่องชี้ทางด้านอุปสงค์ (ด้านรายจ่าย) ประกอบไปด้วย 1. ภาคการบริโภคภาคเอกชน โดยวิเคราะห์เครื่องชี้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม (ณ ราคาคงที่) มูลค่าการน�ำเข้าสินค้า อุปโภค-บริโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐ เครื่องชี้การบริโภคสินค้าคงทนจากปริมาณจ�ำหน่ายรถยนต์นั่ง ปริมาณการจ�ำหน่าย รถจักรยานยนต์ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค 2. ภาคการลงทุนภาคเอกชน โดยวิเคราะห์เครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากมูลค่าการน�ำเข้า สินค้าทุนและปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างจากภาษีธุรกรรม อสังหาริมทรัพย์ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม 3. ภาคการคลัง โดยวิเคราะห์ถึงรายจ่ายงบประมาณ รายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาล ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ และภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค 4. ภาคการค้าระหว่างประเทศ จากมูลค่าการส่งออก ปริมาณการส่งออก มูลค่าการน�ำเข้า และดุลการค้า เครื่องชี้ในด้านอุปทาน (ด้านการผลิต) ประกอบไปด้วย 1. ภาคการเกษตร โดยวิเคราะห์จากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร รายได้เกษตรกรที่แท้จริง การจ้างงานภาคเกษตร 2. ภาคอุตสาหกรรม โดยวิเคราะห์จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมูลค่า อัตราการใช้ก�ำลังการผลิต การจ้างงาน ภาคอุตสาหกรรม และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) 3. ภาคบริการ โดยวิเคราะห์จากจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1. เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยวิเคราะห์จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน อัตราการว่างงาน และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 2. เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ โดยวิเคราะห์จากดุลบัญชีเดินสะพัด ทุนส�ำรองระหว่างประเทศ ฐานะซือ้ เงินตรา ต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ และทุนส�ำรองต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 2.3 การจัดท�ำรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง การจัดท�ำรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังจะมีการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจล่าสุดของประเทศไทย ทั้งทางด้านอุปสงค์ (Demand) ด้านอุปทาน (Supply) และเสถียรภาพภายในและภายนอก โดยมีการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
81
ตารางที่ 1 สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่ สศค.จัดท�ำและการประกาศตัวเลขของหน่วยงาน ข้อมูลจริง/เครื่องชี้เศรษฐกิจ หน่วยงาน/แหล่งข้อมูล ความถี่ของการติดตามข้อมูล ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สศช. ไตรมาส 1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศด้านรายจ่าย สศช. ไตรมาส 1.1 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค-บริโภคภาคเอกชน สศช. ไตรมาส เครื่องชี้ทางด้านการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค-บริโภคภาคเอกชน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ก.การคลัง รายเดือน มูลค่าการน�ำเข้าสินค้าอุปโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐ ก.พาณิชย์ รายเดือน ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าอุปโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐ ก.การคลัง รายเดือน ปริมาณจ�ำหน่ายรถยนต์นั่ง ค�ำนวณโดย สศค. รายเดือน ปริมาณจ�ำหน่ายรถจักรยานยนต์ ค�ำนวณโดย สศค. รายเดือน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวม (ระดับ) ม.หอการค้าไทย รายเดือน 1.2 การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนภาคเอกชน สศช. ไตรมาส เครื่องชี้ทางด้านการลงทุนภาคเอกชน มูลค่าการน�ำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐ ก.พาณิชย์ รายเดือน ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐ ก.พาณิชย์ รายเดือน ปริมาณจ�ำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ก.พาณิชย์ รายเดือน ภาษีจากการท�ำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวม ก.การคลัง รายเดือน ยอดขายปูนซีเมนต์ ค�ำนวณโดย สศค. รายเดือน 1.3 การใช้จ่ายภาครัฐ สศช. ไตรมาส เครื่องชี้ทางด้านการใช้จ่ายภาครัฐ รายจ่ายงบประมาณ ก.การคลัง รายเดือน รายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาล ก.การคลัง รายเดือน ดุลเงินงบประมาณ ก.การคลัง รายเดือน 1.4 ภาคการค้าระหว่างประเทศ สศช. ไตรมาส มูลค่าการส่งออก ก.พาณิชย์ รายเดือน ปริมาณการส่งออก ก.พาณิชย์ รายเดือน มูลค่าการน�ำเข้า ก.พาณิชย์ รายเดือน ราคาสินค้าน�ำเข้า ก.พาณิชย์ รายเดือน ดุลการค้า ก.พาณิชย์ รายเดือน 2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศด้านการผลิต สศช. ไตรมาส 2.1 ภาคการเกษตร สศช. ไตรมาส เครื่องชี้ทางด้านการเกษตร ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร สนง.เศรษฐกิจการเกษตร รายเดือน ดัชนีราคาสินค้าเกษตร สนง.เศรษฐกิจการเกษตร รายเดือน รายได้เกษตรกรที่แท้จริง สศค. รายเดือน การจ้างงานภาคเกษตร ส�ำนักงานสถิติ รายเดือน
82
ตารางที่ 1 สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่ สศค.จัดท�ำและการประกาศตัวเลขของหน่วยงาน (ต่อ) ข้อมูลจริง/เครื่องชี้เศรษฐกิจ หน่วยงาน/แหล่งข้อมูล ความถี่ของการติดตามข้อมูล 2.2 ภาคอุตสาหกรรม สศช. ไตรมาส เครื่องชี้ทางด้านอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม สนง.เศรษฐกิจอุตสาหกรรม รายเดือน มูลค่าการน�ำเข้าวัตถุดิบ ก.พาณิชย์ รายเดือน ปริมาณการน�ำเข้าวัตถุดิบ ก.พาณิชย์ รายเดือน อัตราการใช้ก�ำลังการผลิต สนง.เศรษฐกิจอุตสาหกรรม รายเดือน การจ้างงานภาคอุตสาหกรรม ส�ำนักงานสถิติ รายเดือน ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) สนง.เศรษฐกิจอุตสาหกรรม รายเดือน 2.3 ภาคบริการ สศช. ไตรมาส เครื่องชี้ทางด้านบริการ จ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ก.การท่องเที่ยว รายเดือน การจ้างงานภาคบริการ ส�ำนักงานสถิติ รายเดือน 3. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3.1 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัด ธนาคารแห่งประเทศไทย รายเดือน ทุนส�ำรองทางการ ธนาคารแห่งประเทศไทย รายเดือน ฐานะซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ ธนาคารแห่งประเทศไทย รายเดือน ทุนส�ำรองต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย รายเดือน 3.2 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ อัตราการว่างงาน ส�ำนักงานสถิติ รายเดือน อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ก.พาณิชย์ รายเดือน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ก.พาณิชย์ รายเดือน หนี้สาธารณะต่อ GDP ก.การคลัง รายเดือน
3. ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องชี้เศรษฐกิจกับข้อมูลจริง การติดตามวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจจ�ำเป็นต้องมีการทดสอบถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องชี้เศรษฐกิจที่ได้จัดท�ำขึ้นกับ ข้อมูลเศรษฐกิจจริง (GDP) ทีป่ ระกาศโดยส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ว่ามีความสัมพันธ์ สอดคล้องกัน และสามารถเป็นเครื่องชี้ได้ดีจริงหรือไม่ จึงได้ท�ำการทดสอบโดยการใช้วิธีสหสัมพันธ์ (Correlation) ซึ่งเป็น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ดังนี้ 3.1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน กับข้อมูลเศรษฐกิจจริงด้านการใช้จ่าย เพื่อการอุปโภค-บริโภคภาคเอกชน พบว่า มีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับข้อมูลจริงที่ออกมา โดย ข้อมูลเศรษฐกิจจริงด้านการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค-บริโภคภาคเอกชนมีความสัมพันธ์กับเครื่องชี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติในระดับมากอยู่ที่ร้อยละ 92.5 เช่นเดียวกับมูลค่าการน�ำเข้าสินค้าอุปโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐมี ความสัมพันธ์อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติในระดับมากอยู่ที่ร้อยละ 90.4 นอกจากนี้ปริมาณจ�ำหน่ายรถยนต์นั่งมีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติในระดับสูงอยู่ที่ร้อยละ 88.3
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
83
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน
• ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ • มูลค่าการน�ำเข้าสินค้าอุปโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐ • ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าอุปโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐ • ปริมาณจ�ำหน่ายรถยนต์นั่ง • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 92.5 90.4 89.6 88.3 58.4
ที่มา : จากการค�ำนวณโดยผู้เขียน
3.1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน กับข้อมูลเศรษฐกิจจริงด้านการใช้จ่ายเพื่อ การลงทุนภาคเอกชน พบว่า มีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับข้อมูลจริง โดยมูลค่าการน�ำเข้าสินค้าทุน ในรูปดอลลาร์สหรัฐมีความสัมพันธ์อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ ใี่ นระดับสูงอยูท่ รี่ อ้ ยละ 88.8 ปริมาณจ�ำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ มีความสัมพันธ์อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ ใี่ นระดับสูงอยูท่ รี่ อ้ ยละ 87.9 ภาษีจากการท�ำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์มคี วามสัมพันธ์ อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ในระดับสูงอยู่ที่ร้อยละ 81.3 ในขณะที่ยอดขายปูนซีเมนต์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ในระดับปานกลางอยู่ที่ร้อยละ 61.6
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน
• มูลค่าการน�ำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐ • ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐ • ปริมาณจ�ำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ • ภาษีจากการท�ำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ • ยอดขายปูนซีเมนต์
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 88.8 87.9 82.9 81.3 61.6
ที่มา : จากการค�ำนวณโดยผู้เขียน
3.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างเครือ่ งชีเ้ ศรษฐกิจด้านการใช้จา่ ยภาครัฐ กับข้อมูลเศรษฐกิจจริงด้านการใช้จา่ ยภาครัฐ พบว่า รายจ่ายงบประมาณและรายจ่ายประจ�ำมีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับข้อมูลจริงอย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติในระดับปานกลางอยู่ที่ร้อยละ 50.2 และร้อยละ 50.0 ตามล�ำดับ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งที่รายจ่ายงบประมาณและรายจ่าย ประจ�ำมีความสัมพันธ์อยูใ่ นระดับปานกลางเนือ่ งจากการใช้จา่ ยของภาครัฐแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) รายจ่ายรัฐบาล ส่วนกลาง (2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (3) รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ และการจัดเก็บข้อมูลจากระบบ Government Finance Management Information System (GFMIS) ที่ได้น�ำมาเป็นข้อมูลเครื่องชี้จะสูงกว่าตัวเลขการใช้จ่าย ของรัฐบาลตามระบบบัญชีประชาชาติ หรือ System of National Accounts (SNA) ตามที่ สศช.ประกาศ เนือ่ งจากในการค�ำนวณ การใช้จ่ายของรัฐบาลในฐาน SNA จะต้องหักรายการที่ไม่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือเป็นการโอนเงินให้แก่ภาครัฐอื่น ๆ หรือภาคเอกชนออก ท�ำให้รายจ่ายงบประมาณและรายจ่ายประจ�ำที่ได้น�ำมาเป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายภาครัฐนั้น มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
84
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายภาครัฐ
• รายจ่ายงบประมาณ • รายจ่ายประจ�ำ
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 50.2 50.0
ที่มา : จากการค�ำนวณโดยผู้เขียน
3.1.4 ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเศรษฐกิจด้านภาคการค้าระหว่างประเทศ กับข้อมูลจริงด้านการค้าระหว่างประเทศ พบว่า มีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับข้อมูลจริงอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติในระดับมาก
ภาคการค้าระหว่างประเทศ
• มูลค่าการส่งออก • ปริมาณการส่งออก • มูลค่าการน�ำเข้า • ปริมาณการน�ำเข้า
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 96.9 98.9 92.3 97.1
ที่มา : จากการค�ำนวณโดยผู้เขียน
3.1.5 ความสัมพันธ์เครือ่ งชีใ้ นด้านอุปทาน (ด้านการผลิต) กับข้อมูลเศรษฐกิจจริงด้านการผลิต พบว่า มีความสัมพันธ์เป็น ไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับข้อมูลจริง โดยเครือ่ งชีท้ างด้านการเกษตรวัดจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรมีความสัมพันธ์ ระหว่างกับข้อมูลจริงอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติในระดับสูงอยู่ที่ร้อยละ 89.9 เช่นเดียวกับเครื่องชี้ทางด้านอุตสาหกรรมวัดจาก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีความสัมพันธ์ระหว่างกับข้อมูลจริงอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตใิ นระดับสูงอยูท่ รี่ อ้ ยละ 87.0 นอกจากนี้ เครื่องชี้ทางด้านบริการวัดจากจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีความสัมพันธ์ระหว่างกับข้อมูลจริงอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ในระดับมากอยู่ที่ร้อยละ 93.2
เครื่องชี้ทางด้านการเกษตร
• ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร • ดัชนีราคาสินค้าเกษตร • รายได้เกษตรกรที่แท้จริง เครื่องชี้ทางด้านอุตสาหกรรม • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม • มูลค่าการน�ำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐ • ปริมาณการน�ำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐ • อัตราการใช้ก�ำลังการผลิต • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) เครื่องชี้ทางด้านบริการ • จ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 89.9 16.6 73.7 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 87.0 74.5 78.1 12.2 69.6 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 93.2
ที่มา : จากการค�ำนวณโดยผู้เขียน
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
85
4. สรุปผลการทดสอบความสัมพันธ์และการใช้ประโยชน์จากเครื่องชี้เศรษฐกิจไทย ผลการทดสอบโดยการใช้วิธีสหสัมพันธ์ (Correlation) พบว่า เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสามารถอธิบายภาวะเศรษฐกิจไทย ได้ในระดับที่ค่อนข้างดี โดยเครื่องชี้โดยส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก ในขณะที่บางตัวยังมีความสัมพันธ์ในระดับ ต�่ำมาก (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 สรุปผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจกับข้อมูลเศรษฐกิจจริง ระดับของความสัมพันธ์ ระดับสูงมาก (0.90-1.00) ระดับสูง (0.70-0.90) ระดับปานกลาง (0.50-0.70) ระดับต�่ำ (0.30-0.50) ระดับต�่ำมาก (0.00-0.30)
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ มูลค่าการน�ำเข้าสินค้าอุปโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐ มูลค่า การส่งออก ปริมาณการส่งออก มูลค่าการน�ำเข้า ปริมาณน�ำเข้า จ�ำนวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าอุปโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณจ�ำหน่ายรถยนต์นั่ง มูลค่า การน�ำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณจ�ำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ภาษีจากการท�ำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีผลผลิต สินค้าเกษตร รายได้เกษตรกรที่แท้จริง ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มูลค่าการน�ำเข้าวัตถุดิบ ในรูปดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณการน�ำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวม ยอดขายปูนซีเมนต์ รายจ่ายประมาณ รายจ่ายประจ�ำ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) ดัชนีราคาสินค้าเกษตร อัตราการใช้ก�ำลังการผลิต
ที่มา : จากการค�ำนวณโดยผู้เขียน
ดังนั้น การจัดท�ำภาวะเศรษฐกิจการคลังรายเดือนจึงเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้เชิงวิชาการทางเศรษฐศาสตร์เบื้องลึก ในหลายมิติ และใช้ขอ้ มูลทางสถิตใิ นการวิเคราะห์สภาวะทางเศรษฐกิจในช่วงเวลานัน้ ๆ ตลอดจนต้องติดตามภาวการณ์เศรษฐกิจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด รวมถึงการประเมินผลกระทบจากความแปรปรวนของระบบเศรษฐกิจต่างประเทศ ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้การจัดเก็บข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจต่าง ๆ มาจากหลายหน่วยงาน ซึ่งการประกาศข้อมูลขึ้นอยู่กับ หน่วยงานนั้น ท�ำให้บางครั้งหากมีการประกาศล่าช้าจากหน่วยงานต้นสังกัดจะท�ำให้กระทบต่อการวิเคราะห์และการจัดท�ำ ภาวะเศรษฐกิจการคลังรายเดือน ฉะนั้น การพัฒนาดัชนีเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมสภาพเศรษฐกิจ ต่าง ๆ อยู่เสมอ จะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยให้มีความถูกต้อง แม่นย�ำ และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
86
บทวิเคราะห์ มาตรการ QE และ Q2 : ไพ่ใบสุดท้ายของญี่ปุ่น
1
บทสรุปผู้บริหาร การด�ำเนินมาตรการผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ (Quantitative Easing : QE) ของญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ระหว่างปี 2544-2549 และช่วงที่ 2 ระหว่างปี 2553-ปัจจุบัน ❍❍ มาตรการ QE ในช่วงที่ 1 เป็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต�ำ ่ ภายหลังภาวะฟองสบูแ่ ตกซึง่ ต่อมา ก่อให้เกิดปัญหางบดุลของภาคเอกชน (Balance Sheet Recession) ทัง้ นี้ การด�ำเนินมาตรการ QE ในช่วงที่ 1 แม้ชว่ ย ให้อตั ราดอกเบีย้ ของสินทรัพย์ทางการเงินลดลง แต่ไม่จงู ใจให้ภาคเอกชนกลับมากูย้ มื เพือ่ ลงทุน ภาคเอกชนยังคง มุง่ ช�ำระหนีท้ เี่ กิดจากการกูย้ มื ในการเข้าเก็งก�ำไรอสังหาริมทรัพย์และขาดทุนเป็นจ�ำนวนมาก การใช้มาตรการ QE ในช่วงที่ 1 ท�ำให้อตั ราเงินเฟ้อพืน้ ฐานกลับเข้าสูแ่ ดนบวกในปี 2549 แต่หลังยุตมิ าตรการในปีตอ่ มา อัตราเงินเฟ้อ ก็ปรับตัวเข้าสู่แดนลบอีกครั้ง จึงถือว่ามาตรการดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวร ❍❍ มาตรการ QE ในช่วงที่ 2 เป็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต�่ำหลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติ เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป ในเบื้องต้นมาตรการนี้ช่วยให้อัตราดอกเบี้ยและ ความผันผวนในตลาดการเงินลดลง แต่เนื่องจากปัญหาโครงสร้างด้านประชากรของญี่ปุ่นที่จ�ำนวนผู้สูงอายุ มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และแรงกดดันจากประชาคมโลกต่อการด�ำเนินมาตรการ QE ของญี่ปุ่น จึงคาดการณ์ว่า มาตรการ QE อาจประสบความส�ำเร็จได้ยาก ❍❍
1. บทน�ำ ภายหลังชัยชนะการเลือกตัง้ เพียงไม่นาน นายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญีป่ นุ่ ได้สร้างกระแสทางเศรษฐกิจ อีกครั้งโดยได้ประกาศสนับสนุนเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากเดิมที่ร้อยละ 1.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่น ภายใต้การน�ำของนายฮารุฮโิ กะ คุโรดะ ผูว้ า่ การคนใหม่รบั ลูกนโยบายของนายอาเบะโดยได้ประกาศเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อใหม่ เพือ่ กระตุน้ เศรษฐกิจญีป่ นุ่ ให้กลับมาฟืน้ ตัวหลังจากทีไ่ ด้ซบเซามานานกว่า 2 ทศวรรษ บทความฉบับนีจ้ ะศึกษาวิเคราะห์นโยบาย กระตุน้ เศรษฐกิจครัง้ ใหม่วา่ มีแนวโน้มทีจ่ ะประสบผลส�ำเร็จเพียงใด และมีความเหมือนหรือแตกต่างจากนโยบายกระตุน้ เศรษฐกิจ ในครัง้ ก่อน ๆ และทีส่ ำ� คัญมีนยั ส�ำคัญต่อเศรษฐกิจอย่างใด โดยในส่วนที่ 2 จะเป็นการวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจญีป่ นุ่ ส่วนที่ 3 เป็นการอธิบายเกี่ยวกับการด�ำเนินการมาตรการผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ (Quantitative Easing : QE) ในอดีตและปัจจุบัน และในส่วนที่ 4 เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของมาตรการ QE ทั้งสองช่วง
2. ภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่น ญีป่ นุ่ เป็นประเทศทีม่ โี ครงสร้างทางเศรษฐกิจทีค่ อ่ นข้างปิด (Closed Economy) กล่าวคือ เน้นการบริโภคภายในประเทศ เป็นหลักโดยการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนรวม และการบริโภคภาครัฐ คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 59.4 ร้อยละ 19.9 และ ร้อยละ 19.5 ตามล�ำดับ (ภาพที่ 1) ในอดีตญี่ปุ่นมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงและเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง โดยขยายตัวเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 4.0 ต่อปี ต่อมาในช่วงปี 2530-2534 เศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลงหลังจากประสบปัญหาฟองสบู่แตกในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ผู้เขียน : นางสาวปารีณา วงศ์สุขเกษม เศรษฐกรปฏิบัติการ และนางสาวภัทราพร คุ้มสะอาด เศรษฐกรตรี ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการ ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ เศรษฐกรช�ำนาญการ และนางสาวอาร์จนา ปานกาญจโนภาส เศรษฐกรปฏิบัติการ ส�ำนักนโยบาย เศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
87
เมื่อปลายปี 2529 แม้ว่ารัฐบาลในขณะนั้นจะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตามก็ไม่ประสบผลส�ำเร็จ อีกทั้ง ผลกระทบจากวิกฤติการเงินเมื่อปี 2551 และเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อปี 2554 ได้ซ�้ำเติมเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้ถดถอย ต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน (ภาพที่ 2) ด้วยเหตุนี้ช่วงระยะเวลาที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นซบเซาดังกล่าวจึงถูกขนานนามใหม่ว่า “2 ทศวรรษที่สูญหาย” (The Lost Two Decades) ภาพที่ 1 โครงสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่นด้านอุปสงค์ ปี 2555
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 2 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น ช่วงปี 2504-2555
ที่มา : IMF รวบรวมโดย สศค.
ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) วิเคราะห์ว่า ประเด็นส�ำคัญที่ส่งผลต่อ “2 ทศวรรษที่สูญหาย” ดังกล่าว ได้แก่ 1) เงินเยนที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง2 (Yen Appreciation) ในช่วงต้นทศวรรษ 2510 ญี่ปุ่นเผชิญปัญหาค่าเงินเยน แข็งค่ามาก ท�ำให้ขดี ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าญีป่ นุ่ ในด้านราคาลดลง บริษทั ญีป่ นุ่ จ�ำนวนมากต้องย้ายฐานการผลิต ออกไปยังต่างประเทศเพื่อลดต้นทุนการผลิต ท�ำให้เศรษฐกิจภายในประเทศของญี่ปุ่นชะลอตัวลงอย่างมากและเป็นอุปสรรค ส�ำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น (ข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน 2556 = 97.99 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ) ตามภาพที่ 3 2) ภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์3 (Asset ภาพที่ 3 อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐ Bubble) ช่วงปี 2529–2534 ในช่วงนัน้ เศรษฐกิจญีป่ นุ่ ขยายตัว เฉลี่ ย ถึ ง ร้ อ ยละ 5.3 ราคาอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ แ ละราคาหุ ้ น ในตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก นักลงทุนญีป่ นุ่ ได้กเู้ งินจากสถาบันการเงินในอัตราดอกเบีย้ ต�ำ่ และไปเก็ ง ก� ำ ไรในภาคอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ เมื่ อ เกิ ด ปั ญ หา ฟองสบู่แตก ราคาอาคารและบ้านในเขตโตเกียวในปี 2547 ราคาลดลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 5–10 ของราคาสูงสุด และ ราคาบ้านใน 6 เมืองใหญ่ปรับตัวลดลงร้อยละ 64 จากราคา สูงสุด เช่นเดียวกัน ส่วนดัชนีหลักทรัพย์ของญี่ปุ่นก็ลดลงจาก 38,957.44 จุด เหลือเพียง 9,000 กว่าจุดในปัจจุบัน เท่ากับ ความมัง่ คัง่ ของประเทศหายไปกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ4 ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค. หรื อคิ ดเป็ น ร้ อยละ 74.0 ของจี ดีพี ท� ำ ให้ เ ศรษฐกิ จ ญี่ ปุ่น เข้าสูภ่ าวะชะงักงันยาวนานต่อเนือ่ งกว่า 20 ปี (The Lost Two Decades) ถึงแม้วา่ ปี 2548 เศรษฐกิจญีป่ นุ่ จะค่อย ๆ ปรับตัวดีขนึ้ ก่อนได้รับผลกระทบอีกครั้งในช่วงปี 2551 จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต�่ำลงจนถึงปัจจุบัน
http://www.ryt9.com/s/iq03/975812 http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/AsianEconomies/Yunnan/Article/DocLib_YNArticle/China_Real_Estate.pdf 4 มูลค่าสะสมตั้งแต่ธันวาคม 2532–กันยายน 2535 2 3
88
3) ภาวะเงินฝืด (Deflation) หลังเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี 2534 อุปสงค์ภายในประเทศลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ ลดต�่ำจนเข้าสู่แดนลบ ญี่ปุ่นเผชิญปัญหาเงินฝืดมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งภาวะเงินฝืดดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจริง โดยท�ำให้ธุรกิจและผู้บริโภคของญี่ปุ่นขาดแรงจูงใจในการจับจ่ายใช้สอยอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุดังนี้ (1) การปรับเพิ่ม อัตราดอกเบีย้ นโยบายจากร้อยละ 2.5 มาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 6.0 (2) ความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินญีป่ นุ่ ทีส่ ง่ ผลกระทบ ต่อความเชือ่ มัน่ ของภาคเอกชน และ (3) การใช้จา่ ยของภาครัฐเพือ่ กระตุน้ เศรษฐกิจยังไม่เกิดประสิทธิผลอย่างเต็มที่ ล่าสุดอัตรา เงินเฟ้อ ณ เดือนมีนาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ -0.9 (ภาพที่ 4) 4) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) สถิติล่าสุด สถาบันวิจัยประชากรและสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่นพบว่า ในปี 2555 อัตราส่วนประชากรวัยท�ำงานต่อประชากรวัยพึง่ พิงอยูท่ ี่ 2 ต่อ 1 อัตราส่วนผูส้ งู อายุมแี นวโน้มสูงขึน้ เรือ่ ย ๆ ประกอบกับ อัตราการเกิดทีล่ ดลง ส่งผลให้อตั ราส่วนประชากรวัยพึง่ พิงมีแนวโน้มสูงขึน้ เป็นล�ำดับ (ภาพที่ 5) ส่งผลให้รายได้สทุ ธิของประชากร วัยท�ำงานทีส่ ามารถน�ำมาใช้บริโภคจะลดลง ประกอบกับผูส้ งู อายุมกั มีแนวโน้มการออมเงินมากกว่าการบริโภคอยูแ่ ล้ว ด้วยเหตุนี้ ย่อมท�ำให้อุปสงค์ภายในลดลงอย่างต่อเนื่อง ภาพที่ 4 อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่น
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 5 แนวโน้มจ�ำนวนประชากรญีป่ นุ่ แยกตามช่วงอายุ
ที่มา : สถาบันวิจัยประชากรและสวัสดิการสังคมญี่ปุ่น รวบรวมโดย สศค.
รัฐบาลญี่ปุ่นทุกสมัยต่างตระหนักดีว่าทั้ง 4 ปัจจัยข้างต้นเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็น โจทย์ให้ทุกรัฐบาลต้องพยายามแก้ไขปัญหานี้ให้ได้อย่างจริงจัง
3. มาตรการผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ (Quantitative Easing : QE) ของญี่ปุ่น 1) ท�ำไมต้องมีมาตรการ QE ? นับตั้งแต่เกิดภาวะฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ รัฐบาลและธนาคารกลางได้ใช้นโยบายการคลังและการเงิน เป็นระยะเวลาต่อเนือ่ งยาวนาน จนอัตราดอกเบีย้ อยูใ่ นระดับใกล้ศนู ย์ ส่งผลให้การด�ำเนินนโยบายการเงินแบบเดิมไร้ประสิทธิภาพ เกิดปัญหาในทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า Liquidity Trap ในสถานการณ์เช่นนีธ้ นาคารกลางญีป่ นุ่ จึงจ�ำเป็นต้องน�ำมาตรการ QE มาใช้ โดยมาตรการ QE คือ มาตรการทางการเงิน ซึ่งมีธนาคารกลางเป็นหน่วยงานในการด�ำเนินการผ่านการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินจากสถาบันการเงิน โดยมีจุดประสงค์เพื่อลด อัตราดอกเบีย้ ระยะยาวและส่งเสริมการกูย้ มื ซึง่ หวังว่าจะช่วยกระตุน้ เศรษฐกิจในทีส่ ดุ 5 ทัง้ นี้ ในการด�ำเนินมาตรการ QE ธนาคาร กลางจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารพาณิชย์ และบันทึกเป็นเครดิตในบัญชีเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารกลาง ท�ำให้งบดุลของธนาคารกลางขยายตัว ส่วนมาตรการผ่อนคลายทางคุณภาพ (Qualitative Easing) เป็นการเปลี่ยนโครงสร้าง การถือครองสินทรัพย์ทางการเงินของธนาคารกลางด้วยการเข้าซือ้ สินทรัพย์ทมี่ คี วามเสีย่ งมากขึน้ เช่น ตราสารหนีข้ องภาคเอกชน ฯลฯ แต่ยังคงขนาดงบดุลของธนาคารกลางไว้ ทั้งนี้ การด�ำเนินมาตรการ QE มีรายละเอียดดังนี้ BBC, What is Quantitative Easing?,[http://www.bbc.co.uk/news/business-15198789], Retrieved 24 February 2013.
5
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
89
• การด�ำเนินมาตรการ QE ในช่วงที่ 1 ระหว่างปี 2544-2549 เศรษฐกิจญี่ปุ่นในสมัยรัฐบาลนาย Junichiro Koizumi เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจซบเซาภายหลังเศรษฐกิจฟองสบู่ แตกในปี 2540 และเกิดวิกฤติ IT (Dotcom Crisis) ในปี 2544 ซึ่งต่อมาก่อให้เกิดปัญหางบดุลของภาคเอกชน (Balance Sheet Recession) กล่าวคือ สินทรัพย์ทเี่ อกชนถือครองอยูด่ อ้ ยค่าลงในทางบัญชีภาคเอกชนเหล่านัน้ อยูใ่ นสภาพขาดทุนถึงขัน้ ล้มละลาย แต่ในความเป็นจริง ภาคเอกชนต่าง ๆ ยังสามารถด�ำเนินธุรกิจได้ตามปกติ ทัง้ นี้ ท�ำให้ภาคเอกชนส่วนใหญ่ไม่ลงทุนเพิม่ ลดค่าใช้จา่ ย ด้านการผลิต และเลิกจ้างแรงงานบางส่วนเพือ่ เร่งช�ำระหนีค้ นื ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนลดลง เศรษฐกิจโดยรวม เข้าสู่ภาวะเงินฝืด ท�ำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในแดนลบต่อเนื่องยาวนาน มาตรการ QE ในช่วงที่ 1 ธนาคารกลางญี่ปุ่นเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพื่อกดให้อัตราดอกเบี้ยลดลง กระตุ้นให้ภาคเอกชนหันมาลงทุนและให้เศรษฐกิจฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม หลังจากด�ำเนินมาตรการ QE แล้ว อัตราเงินเฟ้อก็ยังคง อยู่ในแดนลบจนกระทั่งปลายปี 2547 เมื่อภาคเอกชนส่วนใหญ่เริ่มด�ำเนินการช�ำระหนี้คืนเสร็จสิ้นแล้ว จึงเริ่มกลับมาลงทุน อีกครั้งและเศรษฐกิจจึงเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และอัตราเงินเฟ้อเริ่มกลับสู่แดนบวกอีกครั้ง6 (รายละเอียดปรากฏในตารางที่ 3) • การด�ำเนินมาตรการ QE ในช่วงที่ 2 ระหว่างปี 2553-ปัจจุบัน ในช่วงปลายปี 2553 เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและวิกฤติหนี้สาธารณะ ในยุโรป ท�ำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นต้องด�ำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ชื่อว่า โครงการ Asset Purchase Program (APP) ซึ่งเป็นการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงอื่น ๆ ทั้งนี้ โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคม 2553 วงเงินครั้งแรก 5 ล้านล้านเยน และเมื่อรวมกับโครงการอื่นท�ำให้วงเงินรวมอยู่ที่ 35 ล้านล้านเยน ซึ่งต่อมาขนาดโครงการ ยังขยายขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน (ภาพที่ 7) จากการศึกษาเชิงประจักษ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ในปี 2554 พบว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน ท�ำให้อัตราดอกเบี้ยของสินทรัพย์นั้น ๆ ลดลง ดังปรากฏในภาพที่ 6 และ ยังพบว่ามาตรการ QE ในช่วงต้นไม่มีผลต่อการแข็งค่าของเงินเยน โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เงินเยนกับเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและไม่มีนัยส�ำคัญทางสถิติ ภาพที่ 6 ผลกระทบต่อภาคการเงินของมาตรการ QE ในช่วงที่ 2 (ปี 2551-2553)
ที่มา : W. Raphael Lam, 2554, Bank of Japan’s Monetary Easing Measures: Are They Powerful and Comprehensive?, IMF Working Paper
ในช่วงปี 2554-2555 ค่าเงินเยนมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง พร้อมกับขนาดโครงการ APP ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (ภาพที่ 7) อย่างไรก็ตาม จากมาตรการ Quantitative and Qualitative Easing (Q2) ที่ประกาศในวันที่ 4 เมษายน 2556 ที่ผ่านมานั้น ได้ยกเลิกโครงการ APP (ตารางที่ 1) และเปลีย่ นเป้าหมายจากการควบคุมอัตราดอกเบีย้ นโยบายเป็นการเพิม่ ฐานเงิน (Monetary Base) เป็น 2 เท่า ทัง้ นี้ ณ ปลายปี 2555 ฐานเงินอยูท่ ี่ 138 ล้านเยน และธนาคารกลางญีป่ นุ่ วางแผนจะเพิม่ เป็น 200 ล้านล้านเยน ในสิ้นปี 2556 และเพิ่มเป็น 270 ล้านล้านเยน ในสิ้นปี 2557 โดยเข้าซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ดังตารางที่ 2 โดยมีเป้าหมายให้ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2 ภายใน 2 ปี (ปี 2557) Richard C. Koo, 2551, The Holy Grail of Macroeconomics: Lessons from Japan’s Great Recession, John Wiley & Sons Inc.
6
90
ภาพที่ 7 โครงการ Asset Purchase Program กับ NEER ของค่าเงินเยน
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ตารางที่ 1 โครงสร้าง Asset Purchase Program
ตารางที่ 2 งบดุลของธนาคารกลางญี่ปุ่นภายใต้ Q2
คาดการณ์ ยอดคงเหลือ หน่วย : ล้านล้านเยน ณ เดือน ณ เดือน ธ.ค. 56 ก.พ. 56 Asset Purchase 76.0 46.4 JGBs 44.0 26.4 T-Bills 24.5 13.3 Commercial Papers 2.2 2.0 Corporate bonds 3.2 3.0 Exchange-traded fund 2.1 1.5 (ETFs) Japan real estate 0.13 0.12 investment trusts (J-REITs) Fixed-rate funds-supplying operation against pooled 25.0 23.6 collateral Total 101.0 70.0
ยอด คาดการณ์ ยอด หน่วย : ล้านล้านเยน คงเหลือ ปลายปี คงเหลือ ณ ธ.ค. 55 55 ปลายปี 57 JGBs 89 140 190 Commercial Papers 2.1 2.2 2.2 Corporate bonds 2.9 3.2 3.2 Exchange-traded 1.5 2.5 3.5 fund (ETFs) Japan real estate investment trusts 0.11 0.14 0.17 (J-REITs) Loan Support 3.3 13 18 Program Total Assets 158 220 290 (Including Others)
ที่มา : ธนาคารกลางญี่ปุ่น
4. เปรียบเทียบมาตรการ QE ของญี่ปุ่นทั้งสองช่วง ความแตกต่างที่ส�ำคัญของมาตรการ QE ใน 2 ช่วง คือ ประเภทของสินทรัพย์ที่ธนาคารกลางเข้าซื้อ ในช่วงที่ 1 ธนาคารกลางซื้อพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น ส่วนช่วงที่ 2 ธนาคารกลางซื้อสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ดังปรากฏ ในตารางที่ 3 ทั้งนี้ ในการศึกษาของ IMF การเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงมาก ยิ่งท�ำให้ประสิทธิภาพในการลด อัตราดอกเบี้ยของสินทรัพย์ทางการเงินมากขึ้นและเพิ่มแรงจูงใจภาคเอกชนให้ลงทุนมากขึ้น ในเชิงประสิทธิภาพ การใช้มาตรการ QE ในช่วงที่ 1 ท�ำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานกลับเข้าสู่แดนบวก ในปี 2549 แต่หลังยุติ มาตรการในปีต่อมา อัตราเงินเฟ้อก็ปรับตัวเข้าสู่แดนลบอีกครั้ง จึงถือว่าเป็นมาตรการที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถาวร มาตรการในช่วงที่ 2 เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2553 สมัยรัฐบาลของนายยูกิโอะ ฮาโตยามะ ของพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan : DPJ) ต่อเนื่องมาจนถึงในปลายปี 2555 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนรัฐบาลเป็นพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party : LDP) กลับมาบริหารประเทศอีกครัง้ ในสมัยนายชินโซะ อาเบะ ระยะเวลาผ่านมา 3 ปี ในช่วงเริม่ ต้น มาตรการ อัตราเงินเฟ้ออยูท่ รี่ อ้ ยละ -0.8 จนถึงปัจจุบนั ก็ยงั อยูใ่ นแดนลบทีร่ อ้ ยละ -0.9 จึงเป็นแรงกดดันให้รฐั บาลของนายอาเบะ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
91
ต้องด�ำเนินมาตรการ Q2 ให้สำ� เร็จอย่างเร่งด่วน เพือ่ สร้างความมัน่ คงให้แก่ฐานคะแนนเสียงของพรรค LDP ทีเ่ พิง่ ชนะการเลือกตัง้ กลับมา และด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางจึงได้ประกาศยกเลิกโครงการ APP ซึ่งด�ำเนินการมากว่า 3 ปี แต่ยังไม่สามารถฉุด อัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้นได้ โดยเปลี่ยนมาใช้มาตรการใหม่ที่มีการเพิ่มวงเงินเข้าซื้อสินทรัพย์มากขึ้นเป็น 2 เท่า และเน้นการซื้อ พันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ตราสารของ Exchange-Traded Funds (ETFs) และ Japan Real Estate Investment Trusts (J-REITs) ให้มากขึ้น โดยสามารถสรุปผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการท�ำมาตรการ QE ทั้ง 2 ช่วง ดังที่กล่าวมาดังปรากฏในตารางที่ 3 ตารางที่ 3 เปรียบเทียบมาตรการ QE และผลกระทบต่อเศรษฐกิจในญี่ปุ่นทั้ง 2 ช่วง QE ช่วงที่ 1 QE ช่วงที่ 2 ชื่อนโยบาย มาตรการผ่อนคลายทางปริมาณ 1. โครงการซื้อสินทรัพย์ (Asset Purchase (Quantitative Easing Policy : QEP) Program : APP) 2. มาตรการ Q2 ช่วงเวลาด�ำเนินนโยบาย ปี 2544-2549 ปี 2553-ปัจจุบัน ปัญหาเศรษฐกิจ - Balance Sheet Recession - เศรษฐกิจตกต�่ำเนื่องจากได้รับผลกระทบจาก หลังเศรษฐกิจฟองสบู่แตก วิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและยูโรโซน - อัตราการขยายตัวของดัชนีราคา - อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ใน ผู้บริโภคอยู่ในแดนลบ แดนลบ เป้าหมาย อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภค มีเป้าหมายให้ดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวตั้งแต่ เปลี่ยนจากแดนลบไปอยู่ในแดนบวก ร้อยละ 2 ขึ้นไป ภายในปี 2557 วิธีการด�ำเนินการ มาตรการผ่อนคลายทางปริมาณ มาตรการผ่อนคลายทางปริมาณและทางคุณภาพ (ขยายขนาดงบดุลของธนาคารกลาง) (ขยายขนาดงบดุลของธนาคารกลาง+เปลี่ยน 1. ธนาคารกลางเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล โครงสร้างสินทรัพย์ที่ธนาคารกลางถือครอง) จากธนาคารพาณิชย์ 1. ธนาคารกลางเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลจาก 2. บันทึกเครดิตในบัญชีเงินฝากที่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ที่ธนาคารกลาง 2. ธนาคารกลางเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น ตราสารหนี้ภาคเอกชนจากธนาคารพาณิชย์ ฯลฯ 3. บันทึกเครดิตในบัญชีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ มีอยู่ที่ธนาคารกลาง ประสิทธิภาพของนโยบาย ตลาดการเงิน : ส่งผลทางด้านจิตวิทยา ตลาดการเงิน : ผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและ - พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น อัตราดอกเบี้ยของ ระยะกลางในปัจจุบันลดลง รวมทั้งช่วย พันธบัตรรัฐบาลทุกอายุไถ่ถอนลดลง ลดความไม่แน่นอนในการด�ำเนินนโยบาย - ตราสารหนี้ภาคเอกชน อัตราดอกเบี้ยของ โดยท�ำให้ค่าธรรมเนียมประกันความเสี่ยง ตราสารหนี้เอกชนในทุกระดับความน่าเชื่อถือ (Risk Premium) ลดลง ลดลง Real Sector : อัตราเงินเฟ้อกลับมาอยู่ - ตลาดหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายล่วงหน้า : ในแดนบวกระยะสั้น ๆ ก่อนกลับเข้าสู่ ปริมาณการค้าเพิ่มขึ้น ความผันผวนของ แดนลบอีกครั้งในปี 2550 ตลาดหลักทรัพย์ลดลง - กองทุนการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ราคาเพิ่มขึ้น - ราคา Option ซึ่งสะท้อนความผันผวนในตลาด การเงินลดลงบ่งชี้ถึงระดับความเสี่ยงที่สามารถ ยอมรับได้ (Risk Appetite) ของนักลงทุนที่ ปรับตัวดีขึ้น ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและ ผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น Real Sector : ยังไม่สามารถสรุปได้ ที่มา : รวบรวมโดย สศค.
92
5. บทสรุป รัฐบาลญี่ปุ่นจากทุกพรรคการเมืองต่างมีนโยบายเดียวกันคือการแก้ไขภาวะเงินฝืดของประเทศ ทั้งนี้คาดการณ์ว่า การด�ำเนินมาตรการ QE ของญี่ปุ่นในครั้งนี้อาจประสบความส�ำเร็จได้ยาก เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 1) โครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นที่อัตราส่วนของประชากรในวัยพึ่งพิง (ผู้สูงอายุและเด็ก) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ รัฐบาลญี่ปุ่นในสมัยนายนาโอโตะ คัน จากพรรค DPJ ตระหนักถึงปัญหานี้เช่นกันจึงได้ออกกฎหมายยืดอายุเกษียณจาก 60 ปี เป็น 65 ปี ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 เพื่อลดภาระงบประมาณด้านสวัสดิการสังคม7 ขณะที่จ�ำนวนงานเท่าเดิม แต่จ�ำนวนผู้เกษียณลดลง ย่อมส่งผลให้บัณฑิตจบใหม่หางานท�ำได้ยากขึ้น ย่อมเป็นเหตุให้อุปสงค์รวมภายในประเทศญี่ปุ่น ลดน้อยลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 2) การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่ม G-20 ทั้ง 2 ครั้ง ณ กรุงมอสโค ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 และ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในวันที่ 19 เมษายน 2556 ส่งสัญญาณถึงความกังวลต่อการที่ประเทศ ต่าง ๆ เลือกใช้มาตรการ QE เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต�่ำ แต่กลับส่งผลต่อเนื่องท�ำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ อ่อนค่าลง เกินทีค่ วรจะเป็น และท�ำให้ประเทศนัน้ ๆ ได้เปรียบในการส่งออก ในกรณีของญีป่ นุ่ ดัชนีคา่ เงินเยน (Nominal Effective Exchange Rate : NEER) สะท้อนให้เห็นว่าตั้งแต่ต้นปีค่าเงินเยนอ่อนค่าลงไปแล้วถึงร้อยละ 5 ในแถลงการณ์ร่วมของที่ประชุม G-20 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ถึงแม้ว่าจะยอมรับว่าญี่ปุ่นด�ำเนินมาตรการ QE เพื่อแก้ไขภาวะเงินฝืด แต่ได้ย�้ำว่าประเทศต่าง ๆ รวมทั้ง ญี่ปุ่นควรตระหนักถึงผลข้างเคียงเชิงลบด้วย8 ด้วยเหตุนี้ญี่ปุ่นอาจถูกแรงกดดันให้การด�ำเนินการใช้มาตรการ QE ไม่เป็นไป ตามแผนที่วางไว้
ASEAN+3 Macroeconomic Research Office, Market Update for ASEAN+3, 3 August 2012. Communique of G20 Meeting of Finance Ministers and Central Bank Governors on April 19, 2013, Washington D.C., [http://www.g20.utoronto.ca/ 2013/2013-0419-finance.html], 19 April 2013
7 8
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
93
บทวิเคราะห์ เรื่อง ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ : รุ่งหรือร่วง
1
บทสรุปผู้บริหาร ภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์สิงคโปร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ หากแต่เป็นปัญหาสืบเนื่อง ยาวนานตั้งแต่ พ.ศ. 2513 วนเวียนเป็นวัฏจักรมาเป็น 4 ครั้ง เริ่มต้นจากรัฐบาลต้องการพัฒนาชุมชนเมืองและ ผลักดันให้ภาคบริการขยายตัว โดยเน้นให้ภาคธุรกิจของสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ❍❍ หลังจากวิกฤติการเงินโลกผ่านพ้นไป สิงคโปร์ประสบภาวะฟองสบู่อีกเป็นครั้งที่ 5 ซึ่งภาวะ ดังกล่าวยังคงยืดเยือ้ ไม่สามารถแก้ไขได้ แม้วา่ ตัง้ แต่ปี 2553 เป็นต้นมา ทางการสิงคโปร์ได้ออกชุดมาตรการชะลอ ความร้อนแรงของภาคอสังหาริมทรัพย์มาแล้วถึง 4 ชุดด้วยกัน แต่ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ❍❍ ทัง ้ นี้ ภาคธนาคารพาณิชย์ของสิงคโปร์ยงั คงแข็งแกร่ง แต่มคี วามเสีย่ งจากการถือครองสินเชือ่ เพื่อที่อยู่อาศัยในสัดส่วนที่สูง ❍❍ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามต่อไปว่าภาวะฟองสบูข ่ องสิงคโปร์จะก้าวไปสูภ่ าวะฟองสบูแ่ ตก หรือปัญหาจะได้รับการแก้ไขทันท่วงที ❍❍
1. บทน�ำ ภาวะฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นสาเหตุหนึ่งของวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินทั่วโลกหลายครั้ง ผลกระทบ จากภาวะฟองสบู่แตกท�ำให้ภาคการเงินการธนาคารประสบปัญหาหนี้เสีย นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจ ส่งผล ไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริง ประชาชนต้องเดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง และเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะหดตัวในที่สุด ตัวอย่างส�ำคัญที่รู้จัก กันดีคือ “วิกฤติการเงินแห่งเอเชีย พ.ศ. 2540” หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ “วิกฤติต้มย�ำกุ้ง” อันมีจุดเริ่มต้นจากภาวะฟองสบู่ใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยเช่นกัน ซึง่ สถานการณ์ดงั กล่าวท�ำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซาไปทัว่ เอเชีย อีกตัวอย่างหนึง่ คือ “วิกฤติ การเงินโลก พ.ศ. 2551” ที่เกิดขึ้นจากการปล่อยสินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์อย่างขาดความระมัดระวังผ่านเครื่องมือทางการเงิน ที่ซับซ้อนของสหรัฐอเมริกา ท�ำให้ในตอนนั้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยูโรโซนประสบปัญหาเป็นอย่างมาก และปัญหา ดังกล่าวยังคงยืดเยื้อและได้กลายสภาพเป็นวิกฤติหนี้สาธารณะของยูโรโซนในปัจจุบัน ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ทขี่ ยายตัวดีอย่างมากในขณะนีน้ นั้ มาจากหลายเหตุปจั จัย ทัง้ จากด้านอุปสงค์และด้าน อุปทานประกอบกัน โดยในช่วงไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสูงเป็นประวัติการณ์ สะท้อนได้ จากเครื่องชี้วัดด้านภาคอสังหาริมทรัพย์หลายตัว ท�ำให้ภาคเอกชนกังวลว่าสิงคโปร์อาจจะเกิดภาวะฟองสบู่แตกได้ จากความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศมีมากขึ้นโดยล� ำดับ การประเมินโอกาสที่จะเกิดภาวะ ฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์ว่ามีมากน้อยเพียงไรนั้น จึงเป็นการเฝ้าระวังและน�ำไปสู่การป้องกันไม่ให้ภาวะ ดังกล่าวทีอ่ าจจะเกิดขึน้ ส่งผลมายังเศรษฐกิจไทย บทความนีจ้ งึ มุง่ ศึกษาและประเมินสถานการณ์ภาคอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์ พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่แตกในภาคส่วนนี้
ผู้เขียน : นางสาวพีรพรรณ สุวรรณรัตน์ เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการส่วน การวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ และนางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค รักษาราชการแทน ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจ มหภาค ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
1
94
2. ล�ำดับเหตุการณ์แต่อดีต ความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์สิงคโปร์แท้จริงแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่วนเวียนเป็นวัฏจักรมา ตัง้ แต่ พ.ศ. 2513 ด้วยรัฐบาลต้องการให้ประชาชนมีทอี่ ยูอ่ าศัยและผลักดันให้ภาคบริการโดยเฉพาะภาคส่วนธุรกิจเป็นศูนย์กลาง ของภูมิภาค รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการหลายรูปแบบเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นช่วงจังหวะเดียวกับที่ เศรษฐกิจเฟื่องฟู ท�ำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ปรับเพิ่มขึ้นมากและเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่แตก อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ ยังไม่เคยประสบภาวะฟองสบู่แตกเลยแม้แต่ครั้งเดียว ในส่วนนี้จะล�ำดับที่มาที่ไปของความเสี่ยงดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมาและ สาเหตุที่สิงคโปร์สามารถผ่านภาวะนี้ไปได้
• ช่วงต้น : เริ่มต้นวัฏจักรฟองสบู่
รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการถือครองอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นใน พ.ศ. 2513 รัฐบาลใช้มาตรการทาง ภาษีเพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงอสังหาริมทรัพย์ของประชาชน ใน พ.ศ. 25172 คณะกรรมการผู้มีอ�ำนาจในการพัฒนาเมือง (Urban Redevelopment Authority) ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน วางแผนใช้ที่ดินในระยะยาว โดยรัฐรับผิดชอบพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ขณะที่ภาคเอกชนให้เงินสนับสนุนเพื่อขยายพื้นที่เมืองออกไปทั้งสร้างศูนย์การค้า บริษัท โรงแรม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงปีนนั้ มาตรการเหล่านีย้ งั ไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าทีค่ วร จากเศรษฐกิจทีต่ กต�ำ่ ตามเศรษฐกิจโลกทีป่ ระสบวิกฤติภาคธนาคาร โดยราคาอสังหาริมทรัพย์เฉลี่ยต่อไตรมาสตั้งแต่ พ.ศ. 2519–2521 ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อมาใน พ.ศ. 2522 รัฐบาลประสบความส�ำเร็จจากการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจากเศรษฐกิจที่เน้นภาคอุตสาหกรรมที่ ใช้แรงงานราคาถูกเป็นหลักมาเป็นการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีเป็นหลักทดแทน ท�ำให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับสูง ส่งผล ให้ประชาชนมีก�ำลังซื้อมากขึ้น และเวลานั้นเองที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ขยายตัวและเข้าสู่ยุคเฟื่องฟูเช่นกัน ด้วยข้อจ�ำกัดด้านพืน้ ทีท่ เี่ ป็นเกาะขนาดเล็ก ท�ำให้อปุ ทานทีอ่ ยูอ่ าศัยมีจำ� กัดและไม่สอดคล้องกับปริมาณความต้องการที่ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์กลาง พ.ศ. 2522 ถึงปลาย พ.ศ. 2524 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และท�ำให้สิงคโปร์เข้าสู่ภาวะ ฟองสบูใ่ นภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นครัง้ แรก โดยราคาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะราคาออฟฟิศและราคาทีอ่ ยูอ่ าศัยขยายตัวสูงสุด ในไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2524 ถึงร้อยละ 267.5 และร้อยละ 95.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ จากในไตรมาส ที่ 1 พ.ศ. 2519 ที่ร้อยละ 13.2 และร้อยละ 7.3 ตามล�ำดับ ท้ายสุดสิงคโปร์สามารถผ่านพ้นภาวะฟองสบู่ไปได้ เนื่องจากรัฐบาลอนุญาตให้ประชาชนซื้อขายที่ดินของรัฐซึ่งคิดเป็น กว่าร้อยละ 80 ของที่ดินในสิงคโปร์ทั้งหมดได้ อันเป็นการเพิ่มอุปทานอสังหาริมทรัพย์ให้สอดคล้องกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ประกอบ กับสิงคโปร์เข้าสูภ่ าวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เนือ่ งจากเศรษฐกิจโลกตกต�่ำจากวิกฤตินำ�้ มันซึง่ เข้าขัน้ วิกฤติทสี่ ดุ ใน พ.ศ. 2528 ท�ำให้เศรษฐกิจคูค่ า้ ส�ำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาประสบปัญหา จึงท�ำให้สงิ คโปร์ซงึ่ พึง่ พาการส่งออกเป็นหลักประสบ ปัญหาตามไปด้วย ก�ำลังซื้อของประชาชนจึงลดลงและท�ำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงในที่สุด
• ภาวะฟองสบู่วัฏจักรที่ 2 (พ.ศ. 2529–2541)
วงเวียนของภาวะฟองสบู่กลับเข้ามาบรรจบอีกครั้งเมื่อเศรษฐกิจสิงคโปร์ฟื้นตัวจากวิกฤติ รัฐบาลออกมาตรการลดอัตรา ภาษีโรงเรือนลงร้อยละ 50 ทัง้ พ.ศ. 2529 ท�ำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เริม่ เพิม่ สูงขึน้ อีกครัง้ โดยเฉพาะราคาอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว เฉลี่ยต่อไตรมาสร้อยละ 47.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนใน พ.ศ. 2536-2537 จากร้อยละ 6.6 ใน พ.ศ. 2531 เพื่อยับยั้งมิให้สถานการณ์ย�่ำแย่เหมือนภาวะฟองสบู่ในครั้งก่อน กลาง พ.ศ. 2539 รัฐบาลสิงคโปร์ปฏิรูปภาษีโรงเรือน โดยเริ่มเก็บภาษีก�ำไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์ส�ำหรับนักลงทุนที่ขายอสังหาริมทรัพย์ใน พ.ศ. 2539–2541 ผู้ประกอบการ ด้านอสังหาริมทรัพย์จะถูกเก็บร้อยละ 100 ไม่มีก�ำหนดเวลาสิ้นสุด ผู้ซื้อและผู้ขายอสังหาริมทรัพย์จะถูกเรียกเก็บอากรแสตมป์ หากซื้อขายภายในระยะเวลา 3 ปีนี้ และลดส่วนลดอัตราภาษีโรงเรือนอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้ภาวะฟองสบู่ผ่อนคลายลงก่อนวิกฤติ การเงินแห่งเอเชีย โดยราคาอสังหาริมทรัพย์เฉลี่ยต่อไตรมาสกลาง พ.ศ. 2539 ถึงกลาง พ.ศ. 2542 หดตัวร้อยละ -12.7 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน
http://www.guidemesingapore.com/taxation/topics/singapore-tax-rates
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
95
• ภาวะฟองสบู่วัฏจักรที่ 3 (พ.ศ. 2542–2547)
วัฏจักรภาวะฟองสบู่ในครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ภายหลังวิกฤติการเงินแห่งเอเชีย เศรษฐกิจของสิงคโปร์ ก็เริ่มฟื้นตัวอีกครั้ง พร้อมทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวตามไปด้วย ช่วงภาวะฟองสบู่ที่วิกฤติที่สุดเกิดขึ้นช่วงปลาย พ.ศ. 2542 ถึงต้น พ.ศ. 2543 เท่านั้น ต่อจากนั้นไม่นานดัชนีตลาดหลักทรัพย์ Straits Times ก็ตกอย่างรวดเร็วจากวิกฤติดอตคอม และสงครามสหรัฐอเมริกา-อิรัก ท�ำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันที่ร้อยละ 863 ดิ่งลงอย่างรวดเร็วและหดตัว ยาวนานเป็นเวลากว่า 3 ปี
• ภาวะฟองสบู่วัฏจักรที่ 4 (พ.ศ. 2548–2551)
ใน พ.ศ. 2548 ราคาอสังหาริมทรัพย์กลับมาขยายตัวเหนือร้อยละ 0 อีกครั้ง รัฐบาลจึงออกมาตรการกระตุ้นภาค อสังหาริมทรัพย์อีกครั้ง โดยยังคงเน้นการเพิ่มโอกาสในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ อาทิ การลดสัดส่วนเงินดาวน์จากร้อยละ 10 เป็น ร้อยละ 5 ของราคาบ้าน การเพิ่มสัดส่วนเงินกู้จากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 90 ของราคาบ้าน และการอนุญาตให้คนโสดที่ไม่มี ความเกี่ยวข้องใด ๆ ต่อกันสามารถใช้กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพเพื่อซื้อบ้านร่วมกันได้ ท�ำให้ยอดขายอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นเท่าตัว จาก 2,065 หลังในไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2548 เป็น 4,162 หลังในไตรมาสเดียวกัน พ.ศ. 2549 และราคาบ้านก็กลับมาขยายตัวใน ระดับสูงสุดอีกครั้งในไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2550 ที่ร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากร้อยละ 2.0 ในไตรมาส ที่ 1 พ.ศ. 2548 สัญญาณภาวะฟองสบู่ในไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2549 ท�ำให้ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 รัฐบาลออกข้อก�ำหนดไม่ให้ ประชาชนใช้กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพเป็นหลักประกันในการซื้อบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป และการไม่เปิดรับผู้ขอใช้กองทุนส�ำรองเลี้ยง ชีพรายใหม่ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย แต่มาตรการดังกล่าวก็ยังไม่เห็นผลชัดเจนโดยราคาอสังหาริมทรัพย์ ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ครึง่ หลังของ พ.ศ. 2551 ตลาดอสังหาริมทรัพย์เริม่ ชะลอตัว จากผลกระทบจากวิกฤติ Subprime ของสหรัฐอเมริกา ท�ำให้ ผูซ้ อื้ ชะลอการซือ้ โดยหวังให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงเพือ่ เข้าซือ้ ใหม่อกี ครัง้ ขณะทีอ่ สังหาริมทรัพย์ทสี่ ร้างเสร็จแล้ว ผูป้ ระกอบการ จึงจ�ำต้องยอมน�ำอสังหาริมทรัพย์ออกขายในตลาด ท�ำให้อุปสงค์ในตลาดลดลงและอุปทานเพิ่มขึ้น ประกอบกับรัฐบาลออกชุด มาตรการชะลอความร้อนแรงของภาคอสังหาริมทรัพย์ 3 ชุดด้วยกัน4 ท�ำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์มแี นวโน้มลดลงและหดตัวตัง้ แต่ ไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2551 ถึงไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2552 วัฏจักรภาวะฟองสบู่ 4 ครั้งที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ภาวะฟองสบู่ในสิงคโปร์เป็นปัญหาต่อเนื่องยาวนาน โดยตลาด อสังหาริมทรัพย์ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก โดยราคาอสังหาริมทรัพย์จะขยายตัวสูงมากเมื่อเศรษฐกิจโลกอยู่ ในช่วงเฟือ่ งฟู และราคาจะหดตัวมากเมือ่ เศรษฐกิจโลกเข้าขัน้ วิกฤติ ซึง่ ถือเป็นความเสีย่ งอย่างมากต่อเศรษฐกิจของสิงคโปร์ และ ท�ำให้รฐั บาลก�ำกับดูแลตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ยาก โดยปัจจุบนั ความเสีย่ งต่อภาวะฟองสบูแ่ ตกในสิงคโปร์กย็ งั ไม่ได้จางหายไป
3. ปัจจุบันวัฏจักรหมุนเวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้น พ.ศ. 2553 เข้าสู่ภาวะฟองสบู่เป็นวัฏจักรที่ 5 โดยยังไม่มี แนวโน้มชะลอลงอย่างชัดเจน หากพิจารณาจากดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย (ภาพที่ 1) พบว่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่า ตัวจากกลาง พ.ศ. 2552 ถึงปัจจุบัน โดยล่าสุดไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2556 ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 213.1 จุด (100 จุด = ราคาไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2541) ขณะที่อัตราการขยายตัวของราคาอสังหาริมทรัพย์หลังฐานเข้าสู่ภาวะปกติก็กลับมาขยายตัวในอัตราเร่งอีกครั้ง ตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2528 ถึงไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2556 http://www.newlaunchproperty-sg.com/property-news-2/history-of-cooling-measures/
3 4
96
ภาพที่ 1 ราคาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย
ที่มา : Urban Redevelopment Authority สิงคโปร์
ด้านยอดขายอสังหาริมทรัพย์ (ภาพที่ 2) สอดคล้องกับทิศทางราคาอสังหาริมทรัพย์ กล่าวคือ ยอดขายอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับคงที่ต่อเนื่องเฉลี่ยเกือบ 9,000 หลังต่อไตรมาส สูงกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ พ.ศ. 2539–2551 ที่กว่า 4,500 หลังต่อไตรมาส บ่งชี้ว่าประชาชนยังเข้าจับจองซื้ออสังหาริมทรัพย์แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการ ชะลอการซื้ออสังหาริมทรัพย์แล้วก็ตาม
ภาพที่ 2 ยอดขายอสังหาริมทรัพย์
ที่มา : Urban Redevelopment Authority สิงคโปร์
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
97
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น พบว่าภาวะฟองสบู่ในครั้งนี้คล้ายคลึงกับภาวะฟองสบู่ 4 ครั้งที่ผ่านมา แต่เมื่อเปรียบเทียบ ระดับความรุนแรงของสถานการณ์ถอื ว่าภาวะฟองสบูค่ รัง้ นีเ้ กิดขึน้ ยาวนานกว่า และระดับราคาก็เพิม่ สูงขึน้ มากกว่าครัง้ ก่อนมาก ในส่วนถัดไปจะเริ่มลงรายละเอียดสาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดภาวะฟองสบู่ในครั้งนี้
4. ชนวนปัญหาส�ำคัญของภาวะฟองสบู่ครั้งนี้ ภาวะฟองสบูใ่ นสิงคโปร์ทเี่ กิดขึน้ ขณะนีม้ าจากหลายเหตุปจั จัยทัง้ ด้านอุปสงค์และด้านอุปทานของตลาดอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นแรงกดดันให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสิงคโปร์เพิ่มโอกาสต่อการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายด้าน การบริโภคและการลงทุนในประเทศ ธนาคารกลางของสิงคโปร์ดำ� เนินมาตรการควบคุมอัตราแลกเปลีย่ นเพือ่ ให้ตน้ ทุนการกูเ้ งินลด ลง โดยเฉพาะการคงอัตราดอกเบี้ย SIBOR อายุ 3 เดือน (Benchmark ของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้) ในระดับต�่ำสุดเป็นประวัติการณ์ มายาวนานกว่า 4 ปี อัตราดอกเบี้ยในระดับต�่ำและคงที่นี้เองท�ำให้ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์มีแรงจูงใจในการกู้ยืมเนื่องจากต้นทุนที่ ลดลงและมั่นใจว่าต้นทุนการกู้ยืมจะไม่เพิ่มขึ้นระยะผ่อนช�ำระ ถือเป็นปัจจัยด้านอุปสงค์ ภาพที่ 3 อัตราดอกเบี้ย SIBOR อายุ 3 เดือน
ที่มา : Monetary Authority of Singapore
ประเทศผู้น�ำทางเศรษฐกิจของโลกด�ำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อเสริมสภาพคล่องในระบบอัน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ อาทิ มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณระยะที่ 1–4 ของสหรัฐอเมริกา ด�ำเนินการระยะที่ 1 ใน พ.ศ. 2551 และปัจจุบันอยู่ระหว่างด�ำเนินการระยะที่ 3 และระยะที่ 4 มาตรการ Long-term Refinancing Operation ของ ธนาคารกลางยุโรปด�ำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน และมาตรการ Asset Purchase ของธนาคารกลางญี่ปุ่น จากความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและการเงินในระดับสูง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้น�ำโลกที่ชะลอตัวขณะที่ เศรษฐกิจเอเชียยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนือ่ ง ท�ำให้เกิดการเคลือ่ นย้ายเงินทุนเข้าสูต่ ลาดเอเชียรวมถึงสิงคโปร์เป็นปริมาณมาก และส่วนหนึ่งเข้ามาถือครองอสังหาริมทรัพย์ นโยบายสนับสนุนการเพิ่มจ�ำนวนประชากรของรัฐบาลสิงคโปร์ วงเงิน 2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (1.6 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อป้องกันภาวะสังคมสูงอายุที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น เนื่องจากอัตราการเกิดของประชากรลดลงอย่างมาก โดยข้อมูล ล่าสุด พ.ศ. 2554 อยู่ที่ 9.5 คนต่อประชากร 1,000 คน ลดลงจาก 16.0 คนใน พ.ศ. 2539 และอัตราการเพิ่มของประชากรอยู่ใน ระดับต�่ำมาก โดยใน พ.ศ. 2546 หดตัวร้อยละ -1.5 ซึ่งเป็นระดับต�่ำสุดในประวัติศาสตร์ ท�ำให้ล่าสุดใน พ.ศ. 2555 อัตราการเพิ่ม ของประชากรสิงคโปร์อยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.1 ซึง่ สูงเป็นอันดับ 6 ของภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ ซึง่ มาจากการย้ายถิน่ ฐานของแรงงานฝีมอื จาก ประเทศเพือ่ นบ้าน การสนับสนุนการเพิม่ จ�ำนวนประชากรของรัฐบาล ท�ำให้อปุ สงค์ตอ่ อสังหาริมทรัพย์เพิม่ ขึน้ ตามจ�ำนวนประชากร
98
ลักษณะทางภูมศิ าสตร์ทเี่ ป็นเกาะขนาดเล็กท�ำให้อปุ ทานของอสังหาริมทรัพย์มจี ำ� กัด โดยสิงคโปร์มพี นื้ ทีเ่ พียง 710 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ที่มีขนาดเล็กที่สุดอันดับที่ 3 ของโลก อีกทั้งกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่สิงคโปร์ทั้งหมดเป็นพื้นที่ ของรัฐ ท�ำให้จ�ำนวนอสังหาริมทรัพย์เข้าสู่ตลาดมีจ�ำนวนจ�ำกัด
5. มาตรการชะลอความร้อนแรงของภาคอสังหาริมทรัพย์ ท่ามกลางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทเี่ ฟือ่ งฟูภายใต้ขอ้ จ�ำกัดด้านพืน้ ที่ ทางการสิงคโปร์พยายามอย่างยิง่ ทีจ่ ะยับยัง้ และป้องกัน ไม่ให้ภาคส่วนธุรกิจนี้ก้าวเข้าสู่ภาวะฟองสบู่ โดยตั้งแต่ช่วงปลาย พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา รัฐบาลและธนาคารกลางของสิงคโปร์ ออกชุดมาตรการชะลอความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์มาทั้งหมด 4 ครั้งซึ่งถือเป็นมาตรการชุดที่ 4–7 มาตรการต่าง ๆ ที่ทางการสิงคโปร์ออกมานั้น (ตารางที่ 1) ให้น�้ำหนักกับการลดปริมาณความต้องการซื้อของประชาชน ในตลาด เนื่องจากการเพิ่มอุปทานในตลาดเป็นไปได้ยากทั้งข้อจ�ำกัดด้านเวลาในการก่อสร้างและพื้นที่ขนาดเล็ก นอกจากนี้ มาตรการแต่ละชุดจะเพิ่มระดับความเข้มงวดมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อจ�ำกัดวงผู้ซื้อให้เป็นผู้ซื้อที่มีความสามารถในการใช้จ่าย และเป็นผู้ซื้อเพื่อประกอบการกิจการหรือเพื่ออยู่อาศัยอย่างแท้จริง ตารางที่ 1 ชุดมาตรการชะลอความร้อนแรงของภาคอสังหาริมทรัพย์ชุดที่ 4-7 ชุดที่ วันออกมาตรการ
รายละเอียด
4
20 กุมภาพันธ์ 2553
o การเก็บอากรแสตมป์ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อตั้งแต่ 20 กุมภาพันธ์ 2553 และขายภายใน 1 ปี o การลดสัดส่วนเงินกู้ต่อมูลค่าหลักทรัพย์เป็นร้อยละ 80 ก�ำลังการซื้อที่อยู่อาศัยทุกประเภท
5
8 ธันวาคม 2554
o ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นชาวต่างชาติและนิติบุคคลจะต้องเสียอากรแสตมป์ส่วนเพิ่ม ร้อยละ 10 o ผู้อยู่อาศัยถาวรที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแห่งที่ 2 เป็นต้นไป จะต้องเสียอากรแสตมป์ร้อยละ 3 o ชาวสิงคโปร์ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแห่งที่ 3 เป็นต้นไป จะต้องเสียอากรแสตมป์ร้อยละ 3
6
6 ตุลาคม 2555
o การจ�ำกัดระยะเวลาการผ่อนช�ำระเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยสูงสุด 35 ปี o สินเชื่อที่มีอายุมากกว่า 30 ปี หรือมีการขยายระยะเวลาการผ่อนช�ำระไปจนท�ำให้อายุของ ผู้กู้เกิน 65 ปี ณ วันที่สินเชื่อหมดอายุจะถูกลดสัดส่วนเงินกู้ต่อมูลค่าหลักทรัพย์ o การกู้ยืมเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ของนิติบุคคลจะได้รับการเพิ่มสัดส่วนเงินกู้ต่อมูลค่า หลักทรัพย์
7
11 มกราคม 2556
o การขึ้นอัตราอากรแสตมป์ส่วนเพิ่มของการซื้อที่อยู่อาศัย − ชาวสิงคโปร์ต้องเสียร้อยละ 7 เมื่อซื้อที่อยู่อาศัยแห่งที่ 2 ขึ้นไป จากเดิมซื้อที่อยู่อาศัยแห่งที่ 3 − ผู้อยู่อาศัยถาวรต้องเสียร้อยละ 5 เมื่อซื้อที่อยู่อาศัยแห่งแรก จากเดิมซื้อที่อยู่อาศัยแห่งที่ 2 − ชาวต่างชาติและนิติบุคคลต้องเสียร้อยละ 15 ของราคาซื้อ จากเดิมร้อยละ 10 o การเรียกเก็บอากรแสตมป์ส�ำหรับผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ในภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 5–15 หากไม่ถึงเกณฑ์ที่ก�ำหนด อาทิ ขายโกดังและ/หรือโรงงานที่ถือครองไม่เกิน 3 ปี o ผู้ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยแห่งที่ 2 ขึ้นไปต้องจ่ายเงินดาวน์ขั้นต�่ำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็น ร้อยละ 25 ของราคาที่อยู่อาศัยด้วย o การลดสัดส่วนเงินกู้ต่อมูลค่าหลักทรัพย์ของสถาบันการเงิน ส�ำหรับผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ แห่งที่ 2 เป็นต้นไป
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
99
เพื่อมิให้มาตรการเพิ่มประชากรได้รับผลกระทบ รัฐบาลสิงคโปร์ได้ก�ำหนดข้อยกเว้นบางประการไม่ให้ประชาชน ชาวสิงคโปร์หรือชาวต่างชาติที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยละความประสงค์เดิม อาทิ การลดหย่อนภาษีแก่คู่สมรสที่เป็นชาวสิงคโปร์ อย่างน้อย 1 คนซึ่งต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแห่งที่ 2 โดยมีแผนขายที่อยู่อาศัยหลังแรก
6. สถานะความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่แตกของเศรษฐกิจสิงคโปร์ การตรวจสอบสถานะความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์สิงคโปร์ถือเป็นการประเมินสถานการณ์ที่ อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม และเป็นการประเมินโอกาสทีเ่ ศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ จะได้รบั ผลกระทบหากว่า สิงคโปร์เข้าสู่ภาวะฟองสบู่แตก โดยบทความในส่วนนี้จะพิจารณาเครื่องชี้เศรษฐกิจที่วินิจฉัยสัญญาณของภาวะฟองสบู่ ภาคธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบนั ยังคงแข็งแกร่ง เนือ่ งจากธนาคารพาณิชย์โดยรวมมีสดั ส่วนสภาพคล่องตามกฎหมาย (Statutory liquidity ratio) (ภาพที่ 4) อยูใ่ นระดับสูงร้อยละ 16.7 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 แม้วา่ จะมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยจาก ในอดีตก็ตาม นอกจากนี้ ธนาคารกลางสิงคโปร์ยงั ก�ำหนดอัตราเงินกองทุนส�ำรองต่อสินทรัพย์เสี่ยงขัน้ ต�่ำของผู้ถือหุ้นสามัญที่สูง ถึงร้อยละ 6.5 สูงกว่าข้อก�ำหนดของ Basel III ที่ก�ำหนดไว้ที่ร้อยละ 4.5 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อต้น พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา (ภาพที่ 5) อีกทั้งอัตราการผิดนัดช�ำระหนี้ในภาคการก่อสร้างที่อยู่ในระดับต�่ำใกล้ศูนย์มาโดยตลอด (ภาพที่ 6) โดยอยู่ที่ร้อยละ 0.71 ของ สินเชื่อทั้งหมดเท่านั้น ณ สิ้น พ.ศ. 2555 ถือว่าภาคธนาคารพาณิชย์มั่นคงและพร้อมรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ภาพที่ 4 สัดส่วนสภาพคล่องตามกฎหมาย
ที่มา : Monetary Authority of Singapore
ภาพที่ 5 เปรียบเทียบข้อก�ำหนดเงินส�ำรองธนาคารพาณิชย์ของธนาคารกลางสิงคโปร์และ Basel III
ที่มา : Monetary Authority of Singapore
100
ภาพที่ 6 อัตราการผิดนัดช�ำระหนี้ในภาคการก่อสร้าง
ที่มา : Central Provident Fund Board
อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์เสี่ยงต่อการขาดสภาพคล่อง เนื่องจากพฤติกรรมการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (ภาพที่ 7) อยู่ในระดับที่สูงถึงร้อยละ 74 ของการปล่อยสินเชื่อผู้บริโภคทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของการปล่อยสินเชื่อ ทั้งหมด ในกรณีที่เกิดภาวะฟองสบู่แตกอาจท�ำให้ประชาชนไม่สามารถผ่อนช�ำระเงินกู้ได้ และจะเป็นผลให้ธนาคารขาดสภาพ คล่องและเสี่ยงต่อการล้มละลาย ภาพที่ 7 สัดส่วนการปล่อยสินเชื่อของภาคธนาคารต่อสินเชื่อผู้บริโภค ณ สิ้น พ.ศ. 2555
ที่มา : Monetary Authority of Singapore
7. บทสรุป ภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นปัญหายืดเยื้อมาแต่อดีต ในแต่ละครั้งทางการ สิงคโปร์พยายามทีจ่ ะด�ำเนินมาตรการชะลอความร้อนแรงของภาคอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบทีเ่ ข้มงวดขึน้ เรือ่ ย ๆ โดยครัง้ ปัจจุบนั ทางการสิงคโปร์ได้ออกมาตรการถึง 4 ครัง้ ขณะทีภ่ าคธนาคารพาณิชย์ยงั คงแข็งแกร่งจากข้อก�ำหนดทีเ่ ข้มงวดของธนาคารกลาง สิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมที่เน้นการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ท�ำให้จ�ำเป็นต้องเฝ้าระวังและติดตามภาวะ ฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์อย่างใกล้ชิด
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
101
บทวิเคราะห์ ข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังในอนาคต
1, 2
บทสรุปผู้บริหาร บทความนี้เป็นการสรุปสาระส�ำคัญส่วนหนึ่งของงานวิจัยโครงการบริหารการเปลี่ยนแปลง กระทรวงการคลังซึง่ จัดท�ำขึน้ เพือ่ ประโยชน์ในการก�ำหนดแผนยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังประจ�ำปีงบประมาณ 2556-2559 ประกอบด้วย 3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ การลดความเหลื่อมล�้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การสนับสนุน ศักยภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และการรักษาความยั่งยืนทางการคลัง โดยกลุ่มเป้าหมายของ การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ครอบคลุมทั้งระดับบุคคล (คนรวย ชนชั้นกลาง รากหญ้า) และระดับสถาบัน (วิสาหกิจขนาดใหญ่ กลาง เล็ก วิสาหกิจชุมชน และเศรษฐกิจนอกระบบ) ทั้งนี้ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และ กลยุทธ์ทนี่ ำ� เสนอนัน้ ล้วนส่งเสริมให้ทกุ หน่วยเศรษฐกิจสร้างความเข้มแข็ง ส่งเสริมความร่วมมือ และเพิม่ โอกาส ทางเศรษฐกิจเพื่อให้การพัฒนาประเทศมีความยั่งยืน สามารถรองรับกับบริบทการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัย ภายนอกได้ ซึ่งแตกต่างจากการด�ำเนินนโยบายแบบประชานิยมทั่วไป ❍❍
1. บทน�ำ กระทรวงการคลังในฐานะหน่วยงานทีเ่ ป็นหัวใจส�ำคัญของการด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจการคลังและการเงินของประเทศ มีความจ�ำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทเพื่อให้สามารถผลักดันและสนับสนุนการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับประเทศและระดับโลก จึงมีแนวคิดที่จะก�ำหนดแผนยุทธศาสตร์กระทรวงการคลัง ประจ�ำปีงบประมาณ 2556-2559 ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังมีกรอบการด�ำเนินงานร่วมเป็นทิศทางเดียวกัน อย่างชัดเจนและมีเอกภาพ โดยได้จัดท�ำโครงการบริหารการเปลี่ยนแปลงกระทรวงการคลังขึ้น3
2. ยุทธศาสตร์การด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจไทย ภายใต้ภาวะความชะลอตัวและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก การจะพัฒนาประเทศให้มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่ เข้มแข็งจะต้องสร้างกลไกขับเคลื่อนความมั่งคั่งใหม่เพื่อทดแทนกลไกขับเคลื่อนเดิมที่เน้นภาคการส่งออก ดังนั้น การก�ำหนด “โมเดลประเทศไทย” อย่างน้อยควรตอบโจทย์เชิงยุทธศาสตร์ 3 ประการ ได้แก่ 1) การตอบสนองต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลง เพื่อรับมือกับโอกาส ข้อจ�ำกัด ความเสี่ยง และภัยคุกคามที่แตกต่าง ไปจากโลกในอดีต 2) การมีสว่ นร่วมและครอบคลุมทัว่ ถึง เพือ่ เปิดกว้างให้ภาคประชาชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการก�ำหนด “นโยบายสาธารณะ” เพื่อให้ระบบการรวมศูนย์อ�ำนาจไว้ส่วนกลางลดน้อยลง ควบคู่กับการกระจายอ�ำนาจเพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน 3) การสร้างขีดความสามารถและภูมคิ มุ้ กัน เพือ่ สร้างความมัง่ คัง่ และความมัน่ คง ภายใต้ยทุ ธศาสตร์ Global-RegionalLocal Strategy ที่สอดรับกับการตอบสนองกับภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
สาระส�ำคัญและความเห็นในบทความเป็นความเห็นของผู้เขียนและไม่จ�ำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของกระทรวงการคลัง ผู้เขียน : นายนรพัชร์ อัศววัลลภ เศรษฐกรช�ำนาญการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ขอขอบคุณ นางสาวกุลยา ตันติเตมิท และ นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ที่ให้การสนับสนุนการเผยแพร่บทความนี้ 3 กระทรวงการคลัง โดยส�ำนักปลัดกระทรวงการคลัง ได้วา่ จ้างสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะทีป่ รึกษาเพือ่ จัดท�ำโครงการ บริหารการเปลี่ยนแปลงกระทรวงการคลังนี้ขึ้น 1 2
102
นอกจากนี้กลไกขับเคลื่อนความมั่งคั่งชุดใหม่จะต้องตอบโจทย์ความสมดุลใน 4 ภาคส่วนส�ำคัญ ประกอบไปด้วย (1) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ (2) สังคมที่อยู่ดีมีสุข (3) การรักษาสิ่งแวดล้อม และ (4) การเสริมสร้างภูมิปัญญามนุษย์ โดยเน้น การพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศให้มคี วามเข้มแข็งขึน้ ลดการพึง่ พาทุนต่างชาติให้นอ้ ยลง พร้อม ๆ กับการสร้างสมดุลระหว่าง “ตลาดโลก” “ตลาดภูมิภาค” และ “ตลาดในประเทศ” เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนที่เกิดขึ้นจากตลาดใดตลาดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะต้องเริ่มค�ำนึงถึงการใช้จุดแข็งหลาย ๆ ด้านของไทย โดยเฉพาะ การเป็นพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค และส่งเสริมผู้ประกอบการให้ออกไป ลงทุนหรือท�ำธุรกิจในอาเซียน ในขณะเดียวกันก็ควรให้ความส�ำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตลาดภายในประเทศ ผ่านการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ระบบการค้า ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดให้กระจาย ไปสู่ส่วนภูมิภาคของประเทศ ดังนั้น การบริหารจัดการเศรษฐกิจของกระทรวงการคลังให้มีความเท่าทันและสอดคล้องกับบริบท ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป จึงควรมีเป้าหมายหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ประการ (ภาพที่ 1) คือ การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน การลดความเหลื่อมล�้ำ และการรักษาความยั่งยืนทางการคลัง ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งระดับบุคคล (คนรวย ชนชั้นกลาง รากหญ้า) และระดับสถาบัน (วิสาหกิจขนาดใหญ่ กลาง เล็ก วิสาหกิจชุมชน และเศรษฐกิจนอกระบบ) โดยมีสาระส�ำคัญ สรุปได้ดังนี้
3. การสนับสนุนศักยภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Enhancing Competitiveness) ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
3.1) การสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจและการพัฒนาภาคเอกชนให้เกิดการสร้างมูลค่า เนื่องจากที่ผ่านมาความสามารถ ด้านการวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรมของไทยยังมีไม่มาก ธุรกิจไทยจ�ำนวนมากอยู่ในฐานะรับจ้างผลิตตามแบบของลูกค้า (Original Equipment Manufacturers : OEM) ไม่มีการพัฒนาสินค้าหรือสร้างตราสินค้าของตนเอง อีกทั้งวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ยังมีปญ ั หาในการยกระดับตนเอง และการพัฒนาเศรษฐกิจทีผ่ า่ นมาท�ำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสือ่ มโทรม และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น แนวทางกลยุทธ์ที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ ภาพที่ 1 การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ที่มา : Sasin Institute for Global Affairs (SIGA)
3.1.1) การเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ SMEs และธุรกิจขนาดจิ๋ว (Microenterprises) อาทิ • การบูรณาการมาตรการทางการเงินเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเพิ่มผลิตภาพการผลิต • การส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ธุรกิจขนาดเล็กสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้โดยเฉพาะ ในภูมภิ าค เช่น ห้องปฏิบตั กิ าร/ศูนย์ทดสอบมาตรฐานสินค้าเพือ่ ลดต้นทุนและความเสียเปรียบด้านขนาดของธุรกิจขนาดเล็ก ฯลฯ • การใช้มาตรการทางการเงินสร้างแรงจูงใจให้ธุรกิจเข้าอบรมการบริหารจัดการ เพื่อยกระดับการบริหาร และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันได้กับธุรกิจทั้งที่มีขนาดใหญ่กว่าและธุรกิจจากต่างชาติ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
103
• การผลักดันแนวนโยบายผ่านทางรัฐวิสาหกิจและการบริหารสินทรัพย์ของรัฐ เพือ่ สร้างแรงจูงใจในการลงทุน สร้างหรือร่วมใช้ประโยชน์จากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (Business Incubators) • การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและการน�ำเสนอกฎหมายใหม่เกี่ยวกับธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital) เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน • การผลักดันให้มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจและปรับปรุงกฎระเบียบด้านหลักทรัพย์ ค�้ำประกันเพื่อเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs 3.1.2) การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาและการสร้างนวัตกรรมของภาคเอกชน • การใช้มาตรการทางการเงินเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเฉพาะรายอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ของประเทศ และส่งเสริมโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมระหว่างภาคอุตสาหกรรมและสถานศึกษา เพื่อเชื่อมโยง การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) ไปสู่การน�ำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) • การผลักดันการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีการผูกเงื่อนไขการถ่ายทอดเทคโนโลยี • การสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจร่วมลงทุนกับเอกชนในการพัฒนา R&D และนวัตกรรม 3.1.3) การส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว • การใช้เครื่องมือทางการคลังใหม่ ๆ อาทิ ภาษีสิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาตลาดคาร์บอน และการจัดท�ำกรอบแผนงานด้านการคลังที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้ การพัฒนาประเทศในระยะต่อไปอยู่บนเส้นทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน • การส่งเสริมสินเชื่ออุตสาหกรรมสีเขียวผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม • การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเพื่อส่งเสริมการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ภาษีรถยนต์ ฯลฯ 3.2) การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อก้าวสู่เศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อปรับปรุงฐานการผลิตของประเทศให้มี ความเข้มแข็งมากขึน้ กว่าทีผ่ า่ นมา ซึง่ สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ยงั พึง่ พาวัตถุดบิ น�ำเข้าเป็นจ�ำนวนมาก การรวมตัวและสร้างเครือข่าย ทางธุรกิจยังมีน้อยท�ำให้ไม่เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) และยังมีการลงทุนในต่างประเทศที่ไม่มากนักท�ำให้ สูญเสียโอกาสในการเข้าถึงตลาด ทรัพยากรการผลิต และเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงควรมีกลยุทธ์ดังนี้ • การใช้มาตรการทางการเงินส่งเสริมธุรกิจที่มีศักยภาพให้สร้างเครือข่ายระหว่างกันเพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง • การสร้างแรงจูงใจในการเพิม่ ฐานอุตสาหกรรมขัน้ กลางและสินค้าทุน โดยเฉพาะทีใ่ ช้เทคโนโลยีสงู โดยให้วสิ าหกิจ ขนาดใหญ่ช่วยพัฒนาวิสาหกิจขนาดเล็กเพื่อเติมเต็มห่วงโซ่อุปทานและลดการพึ่งพิงการน�ำเข้าวัตถุดิบ • การจัดตัง้ National Single Window และ ASEAN Single Window เพือ่ อ�ำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดน • การสนับสนุนการจัดท�ำความตกลงเขตการค้าเสรีและข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคี และระดับพหุภาคี เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจไทยกับห่วงโซ่อุปทานโลก • การสนับสนุนให้ภาคเอกชนไทยใช้บริการการค�ำ้ ประกันเครดิตการลงทุนจาก Credit Guarantee and Investment Facility (CGIF) และการจัดท�ำอนุสัญญาภาษีซ้อนให้ครอบคลุมจ�ำนวนประเทศมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการลงทุน/ท�ำธุรกิจ ในต่างประเทศ • การเชื่อมโยงตลาดทุนในอาเซียนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น โครงการ ASEAN Exchange Linkage ฯลฯ 3.3) การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานเพือ่ เพิม่ ศักยภาพการแข่งขัน เพือ่ แก้ปญ ั หาด้านปัจจัยการผลิตของประเทศไม่วา่ จะเป็น การเผชิญต้นทุนโลจิสติกส์และต้นทุนทางการเงินในระดับสูง การขาดแคลนแรงงานทักษะและโครงสร้างพืน้ ฐานทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงการบริหารจัดการน�้ำที่ยังขาดประสิทธิภาพ จึงควรมีกลยุทธ์ดังนี้ • สนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ • ผลักดันการลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น กฎว่าด้วยแหล่งก�ำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ฯลฯ • สนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อรองรับเศรษฐกิจชายแดนที่เกี่ยวเนื่องกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) • พิจารณาหลักเกณฑ์การให้สทิ ธิพเิ ศษทางภาษีของส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพือ่ สนับสนุน อุตสาหกรรมที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ และน�ำรายได้ไปพัฒนาภาคธุรกิจที่มีความต้องการ เช่น SMEs ฯลฯ
104
• พัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) และแผนการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPPs) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนทางเลือก ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ • สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายของอาเซียน (ASEAN Connectivity) การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อรองรับการเชื่อมโยงการค้าชายแดนและภูมิภาค • น�ำที่ราชพัสดุที่มีศักยภาพมาสนับสนุนโครงการด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับ AEC • พัฒนาระบบการบริหารจัดการน�้ำโดยการออก พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อลงทุนวางระบบการบริหารจัดการน�้ำและสร้าง อนาคตประเทศ • สนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนา อาทิ ศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T Park) ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และศูนย์การวิจัยในรูปแบบ PPPs เพื่อพัฒนาด้านการวิจัยและเทคโนโลยีที่สร้างมูลค่า ทางการเงิน • พัฒนาตลาดทุนให้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย อาทิ การออกพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อรายย่อย การออกพันธบัตร Benchmark Bond เพื่อเป็นแหล่งระดมทุนที่ยั่งยืน รวมถึงการออก Catastrophe Bond เพื่อถ่ายโอนความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ จากภาครัฐ • พัฒนาประสิทธิภาพของระบบสถาบันการเงินผ่านแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 และแผนพัฒนา ธุรกิจประกันภัยฉบับที่ 2 เพื่อลดต้นทุนของระบบสถาบันการเงิน นอกเหนือจากเป้าหมายการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจแล้ว ควรให้ความส�ำคัญกับมิติทางสังคมและความเท่าเทียมควบคู่กัน ไปด้วย เพื่อให้ประโยชน์จากการพัฒนาประเทศตกถึงประชาชนอย่างทั่วถึง
4. การลดความเหลื่อมล�้ำทางเศรษฐกิจและสังคม (Narrowing Inequality Gap) ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
4.1) การเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่คนฐานราก เนื่องจากที่ผ่านมาการพัฒนาประเทศไม่ได้สร้างความเข้มแข็ง ทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนท้องถิ่นในชนบท ท�ำให้ประชาชนฐานรากส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ในภาคเกษตรสร้างผลผลิตได้ในสัดส่วน ทีไ่ ม่มาก ขาดความมัน่ คงทางการเงินและการเข้าถึงแหล่งทุน และมีปญ ั หาด้านการศึกษาทัง้ ในเชิงคุณภาพและความครอบคลุม ทั่วถึง จึงควรพัฒนาใน 3 กลยุทธ์ คือ 4.1.1) การพัฒนาทุนมนุษย์ • การสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อการศึกษา ทั้งนโยบายพึ่งพาเงินกู้ อาทิ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และกองทุนเงินกูย้ มื เพือ่ การศึกษาทีผ่ กู กับรายได้ในอนาคต (กรอ.) และการให้ทนุ การศึกษาหรือการให้เงินเปล่า เพือ่ ไม่ให้ ภาระทางการเงินเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจเรียนต่อของคนจนที่มีความสามารถในการเรียน • การอุดหนุนเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการศึกษาหรือเพื่อชดเชยต้นทุนค่าเสียโอกาสในการท�ำงาน จากการเข้าศึกษาในระบบ • การปรับโครงสร้างระบบผลตอบแทนอาชีพครูเพื่อจูงใจให้ครูพัฒนาตนเองหรือส่งเสริม/จูงใจให้คนที่มี ความรู้ความสามารถมาประกอบอาชีพครู • การจัดท�ำโครงการน�ำร่องโดยใช้มาตรการเงินโอนอย่างมีเงื่อนไขเพื่อการศึกษา (Conditional Cash Transfer) ในพื้นที่เป้าหมาย • การสนับสนุนเงินทุนให้แรงงานพัฒนาทักษะเพือ่ ยกระดับอาชีพ ทัง้ ทักษะพืน้ ฐานทีจ่ ำ� เป็น ทักษะเฉพาะทาง/ สาขาอาชีพ และทักษะที่สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันในอนาคต เช่น ด้านภาษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการบริหาร จัดการ ด้านบัญชี ด้านการเงิน ด้านกฎหมาย ฯลฯ • การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ/นายจ้างในภาคธุรกิจมีการพัฒนาทักษะลูกจ้างมากขึ้นผ่านมาตรการภาษี หรือร่วมพัฒนากลไกการพัฒนาทักษะแรงงานที่มีอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานของกระทรวง แรงงาน ฯลฯ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
105
4.1.2) การเสริมสร้างศักยภาพทางการเงิน • การส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนฐานรากและผู้มีรายได้น้อยให้ได้รับความรู้ทางการเงิน ขั้นพื้นฐานที่จ�ำเป็นในการด�ำรงชีวิตประจ�ำวัน เพื่อให้มีวินัยทางการเงินและสามารถน�ำความรู้ทางการเงินไปใช้บริหารจัดการ การเงินส่วนบุคคลหรือการเงินของครอบครัว • การสนับสนุนการให้ความรู้ทางการเงินในระดับสูงขึ้น อาทิ การออมเพื่อการเกษียณ การวางแผน การลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่ง การลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน การวางแผนภาษี และการท�ำบัญชี/ใช้เครื่องมือทางการเงิน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์และบริการในระบบตลาดการเงิน • การสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน อาทิ การพัฒนาการเงินผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มีต้นทุนต�่ำลง • การส่งเสริมการพัฒนาการเงินฐานรากให้มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และการพัฒนาระบบ ตรวจสอบและระบบบัญชี เพือ่ สนับสนุนการพัฒนาไปสูส่ ถาบันการเงินในระดับชุมชน เช่น การขยายผลกลุม่ ออมทรัพย์ทปี่ ระสบ ความส�ำเร็จให้เป็นต้นแบบไปสู่ชุมชน/ท้องถิ่นอื่น ฯลฯ • การทบทวนกฎระเบียบ/กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการให้บริการทางการเงิน เพือ่ เพิม่ บทบาทภาคเอกชนหรือ ภาคประชาสังคมในการมีส่วนร่วมให้บริการในภาคการเงินระดับฐานราก • การส่งเสริมการออม เพิ่มช่องทางการเข้าถึงการออมและการแก้ปัญหาหนี้ของคนฐานราก เพื่อบรรเทา ผลกระทบทางลบจากความผันผวนของรายได้ที่มีต่อแบบแผนการบริโภค และป้องกันไม่ให้รายได้ที่ผันผวนส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ เช่น การศึกษาของบุตร สุขภาวะของครัวเรือน ฯลฯ 4.1.3) การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก • การสร้างแรงจูงใจทางภาษีเพื่อให้ภาคเอกชน บริษัทขนาดใหญ่ หรือธุรกิจในท้องถิ่นท�ำการพัฒนาชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจชุมชนโดยการถ่ายทอดความรู้ทางธุรกิจหรือเชื่อมโยงธุรกิจกับวิสาหกิจชุมชน เพื่อส่งเสริม การผลิต การบริโภค ระบบตลาด ตลอดจนการจ้างงานและการสร้างอาชีพให้แก่ท้องถิ่น • การสนับสนุนการจัดตั้งหรือการด�ำเนินกิจการของผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Enterprise) และ องค์กรไม่แสวงหาก�ำไร (NGOs) ที่มีกิจกรรมร่วมกับวิสาหกิจชุมชน 4.2) การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐานให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ ซึ่งไม่เพียงแต่การให้ความคุ้มครองทางสังคมจะไม่ ครอบคลุมและมีแนวโน้มที่จะครอบคลุมลดลงจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเท่านั้น การเข้าถึงบริการทางสังคมของคนจนยังมี สัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับคนที่มีฐานะ ดังนั้น จึงควรมีแนวการด�ำเนินการดังนี้ • การใช้มาตรการภาษีสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจ้างงานผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีเข้าท�ำงาน รวมถึงพิจารณา เพิ่มการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อการเลี้ยงดูบิดามารดา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระรัฐและส่งเสริมสถาบันครอบครัว และสังคม • การบูรณาการสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบประกันสุขภาพภาครัฐ ได้แก่ กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุน ประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพและ มาตรฐานเท่าเทียมกัน • การสร้างระบบเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การแจกคูปองหรือเงินโอนโดยตรง (Direct Cash Transfer) เพื่อให้คนจน (กลุ่มเป้าหมาย) ได้รับประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย • การใช้มาตรการภาษีเพือ่ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการจัดระบบสวัสดิการ เช่น ผู้ประกอบการเพื่อสังคม อาสาสมัคร องค์กรไม่แสวงหาก�ำไร องค์กรการกุศล ฯลฯ • การวางระบบงบประมาณอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจเชิงสังคม และการลดภาระค่าใช้จา่ ยทีเ่ กิดจาก หนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อลดภาระค่าครองชีพผู้มีรายได้น้อย 4.3) การกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สินอย่างเป็นธรรม โดยทั่วไปภาษีจะเป็นเครื่องมือหลักแต่ก็ยังท�ำหน้าที่ ได้จ�ำกัด เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากภาษีทางอ้อม ฐานภาษีแคบ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมีความซับซ้อนและ มักไม่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อคนรายได้ต�่ำมากนัก อีกทั้งยังมีการรั่วไหลจากบุคคลที่มีรายได้สูง ดังนั้น จึงควรให้ความส�ำคัญ กับการด�ำเนินการต่อไปนี้
106
• การส่งเสริมการขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมบุคคลทีย่ งั ไม่ได้เสียภาษี อาทิ การใช้ภาษีเงินได้แบบติดลบ (Negative Income Tax) เพื่อจูงใจให้คนฐานรากเข้ามาในระบบภาษี • การทบทวนการลดหย่อนภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้มีรายได้สูง และการทบทวนการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เงินได้นิติบุคคลและการปรับลดผลประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุน เพื่อลดการสูญเสียรายได้ภาษีและลดความรุนแรง ของปัญหาความเหลื่อมล�้ำ • การปรับขึ้นอัตราภาษีบางประเภทเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเพิ่มรายได้ให้รัฐบาลน�ำไป ใช้จ่ายด้านสวัสดิการด้านต่าง ๆ • การผลักดันกฎหมายจัดเก็บภาษีจากฐานมูลค่าทรัพย์สิน (Wealth Tax) ในอัตราที่เหมาะสมเพื่อเป็นสัญลักษณ์ ของการปฏิรูประบบภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล�้ำ • การใช้ทรัพย์สินของรัฐ อาทิ ที่ราชพัสดุ เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของคนฐานราก นอกเหนือจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ได้กล่าวมาแล้ว ประเด็นเป้าหมายสุดท้ายคือการแตะเบรกเพื่อมิให้ การพัฒนาประเทศมีความร้อนแรงเกินไป แต่เป็นการพัฒนาบนเส้นทางทีม่ คี วามยัง่ ยืนและมีภมู คิ มุ้ กันความผันผวนทางเศรษฐกิจ ที่อาจจะเกิดขึ้น นั่นคือ การให้ความส�ำคัญกับความยั่งยืนทางการคลัง
5. การรักษาความยัง่ ยืนทางการคลัง (Ensuring Fiscal Sustainability) ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
5.1) การเสริมสร้างความมั่นคงทางการคลัง ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 5.1.1) ด้านรายได้ • การขยายฐานภาษี โดยการจัดเก็บภาษีประเภทใหม่ อาทิ ภาษีฐานทรัพย์สนิ และภาษีสงิ่ แวดล้อม รวมถึง การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ให้แก่ภาครัฐ • การปรับระบบภาษีเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC อาทิ การปรับโครงสร้างภาษีเพื่อเพิ่มความสามารถใน การแข่งขัน การวางรูปแบบภาษีทเี่ อือ้ อ�ำนวยต่อการผลิตต่อเนือ่ งในอาเซียน การเชือ่ มโยงตลาดทุนไทยกับตลาดทุนอืน่ ในภูมภิ าค การขจัดภาระภาษีซ�้ำซ้อน และการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีของบริษัทข้ามชาติ 5.1.2) ด้านรายจ่าย • การวางแผนการจัดการภาระงบประมาณในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายในด้านบ�ำนาญ ค่ารักษาพยาบาลและสวัสดิการ เพื่อให้มีอัตราการเติบโตที่เหมาะสม • การเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนหมุนเวียนเพื่อลดความเสียหายจากค่าเสียโอกาสของเงินทุน รวมทั้ง เพิ่มการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสม • การเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ของสถานพยาบาลโดยการเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการร่วมจ่ายจาก การเสนอบริการที่หลากหลาย (Co-payment) 5.1.3) การบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐ ซึ่งรวมถึงการบริหารเงินคงคลัง ที่ราชพัสดุ และรัฐวิสาหกิจให้มี ประสิทธิภาพ • การบริหารผลตอบแทนเงินคงคลังและรักษาระดับเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม • การบริหารจัดการที่ราชพัสดุและทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านการสนับสนุนความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ เช่น การจัดตั้งตลาดกลาง คลังสินค้า ฯลฯ และการลดความเหลื่อมล�้ำทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การให้คนจนสามารถใช้ประโยชน์บางอย่างในพื้นที่ได้ ฯลฯ 5.1.4) การบริหารจัดการหนี้สินและความเสี่ยงทางการคลัง • การจัดท�ำกรอบนโยบายการคลังในระยะปานกลางและระยะยาว แผนการบริหารหนี้สาธารณะ และ แผนการบริหารความเสี่ยงด้านหนี้สาธารณะ รวมถึงการผลักดัน พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐให้มีผลบังคับใช้ 5.2) การส่งเสริมความโปร่งใสในการด�ำเนินงานของภาครัฐและการต่อต้านคอร์รัปชัน • การส่งเสริมความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในการด�ำเนินงานของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตโดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ การปฏิรูประบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
107
การวิเคราะห์จัดท�ำงบการเงินรวมอย่างครบวงจร รวมถึงข้อมูลภาระการเงินการคลังทั้งในระดับประเทศ กระทรวง และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น 5.3) การเพิ่มประสิทธิภาพในการท�ำงานของกระทรวงการคลัง 5.3.1) ระบบฐานข้อมูล • การปรั บ ปรุ ง ระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศให้ ทั น สมั ย โดยเฉพาะการเชื่ อ มโยงฐานข้ อ มู ล ระหว่ า ง 3 กรมจัดเก็บ เพื่อช่วยอ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี และใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบการเลี่ยงภาษี • การพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อประเมินฐานะการเงิน การคลังของประเทศในภาพรวม และเป็นเครื่องมือในการวางนโยบายเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค 5.3.2) การพัฒนาบุคลากร • การจัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรชั่วคราวทั้งระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง และ การเข้าไปฝึกงานในองค์กรภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ • การส่งเสริมการฝึกอบรมโดยวิทยากรมืออาชีพ เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จ�ำเป็นในการปฏิบัติงาน 5.3.3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการ • การปรับปรุงตัวชี้วัดและการประเมินผลกระทบผ่านการพัฒนาระบบการติดตามผลการด�ำเนินงาน ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง
6. บทสรุป แผนยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังเป็นการก�ำหนดทิศทางภาพรวมการด�ำเนินงานของหน่วยงานส�ำคัญของกระทรวง การคลัง เพือ่ ให้สามารถเชือ่ มโยงการท�ำงานตามบทบาทและภารกิจหลักของหน่วยงานไปยังภาพรวมของกระทรวงการคลัง และ ให้มีแนวทางการด�ำเนินงานร่วมหรือบูรณาการการท�ำงานเพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ของกระทรวง การคลังให้บรรลุเป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์ทกี่ ำ� หนดขึน้ เปรียบเสมือนแผนทีน่ ำ� ทางและกรอบการด�ำเนินงานในระยะสัน้ ถึงระยะ ปานกลางให้แก่กระทรวงและหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กระทรวงการคลัง โดยหน่วยงานสามารถปรับเปลีย่ นหรือเพิม่ เติมงานส�ำคัญ ที่จะด�ำเนินการเพื่อตอบสนองหรือรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม งานส�ำคัญเหล่านั้นควรมีความสอดคล้อง เหมาะสมกับหลักการที่ระบุไว้ข้างต้น เพื่อให้กระทรวงสามารถขับเคลื่อนภาพรวมการด�ำเนินงานในทิศทางที่เหมาะสมและไปสู่ เป้าหมายที่ต้องการได้ จะเห็นได้ว่าหลักการที่ระบุข้างต้นนั้นให้ความส�ำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งจากรากฐานของหน่วยเศรษฐกิจ ต่าง ๆ ในทุกระดับ เพือ่ ให้ทกุ ภาคส่วนสามารถทีจ่ ะพึง่ ตนเองและเชือ่ มโยงเกือ้ หนุนกันและกันได้ แตกต่างจากการด�ำเนินนโยบาย แบบประชานิยมหรือการอุดหนุนทั่วไป อาทิ มาตรการในการลดค่าเงินเพื่อท�ำให้สินค้าราคาถูกและแข่งขันได้ หากมองผิวเผิน อาจเข้าใจว่าเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่อันที่จริงแล้วมิได้เป็นการส่งเสริมหรือเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้ผลิต มีความเข้มแข็งพึง่ ตนเองได้จากการลดต้นทุนหรือเพิม่ ประสิทธิผลการผลิตตามแนวทางทีไ่ ด้กล่าวมาแต่อย่างใด ในท�ำนองเดียวกัน การอุดหนุนประชาชนโดยการลดราคาสินค้า ลดภาษี หรือเพิม่ ค่าจ้างนัน้ อาจเข้าใจว่าเป็นการเพิม่ โอกาสและลดความเหลือ่ มล�ำ้ ทางเศรษฐกิจและสังคมตามหลักการที่กล่าวมา แต่อันที่จริงแล้วนโยบายเหล่านั้นไม่ได้ช่วยเพิ่มความรู้ความสามารถหรือ ให้โอกาสทางเศรษฐกิจแก่ประชาชนฐานรากเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างยั่งยืน หรือแม้กระทั่งการรักษาความยั่งยืน ทางการคลังก็มิใช่เพียงการมุ่งรักษาเสถียรภาพของสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เพียงอย่างเดียว แต่ควรให้ความส�ำคัญกับ การเพิม่ ประสิทธิภาพการบริหารทัง้ ด้านรายได้ รายจ่าย ทรัพย์สนิ บุคลากร รวมถึงการแก้ปญ ั หาการทุจริตในแวดวงราชการและ การเมืองควบคู่กันไปด้วย
108
Briefing Analysis The Effectiveness of Government Spending in Thailand during the 2008 Crisis 1
Executive Summary
During the period of the 2008 global economic crisis, Thailand conducted two expansionary policies to counteract the adverse effects. This article aims to examine whether policy strategies were appropriate at that time. ❍❍ This analysis shows that government spending alone could bring the economy back to its long-run potential, but led to a negative effect on total consumption. With fiscal and monetary expansions together, the economy recovered even faster and stayed in the boom for longer. However, it did have the largest negative effect on the trade balance and private consumption. If we were to use only the monetary policy, it would help the economy without depressing private consumption. Again, it still resulted in a negative reaction on net export albeit milder. ❍❍ Some results were at odds with empirical evidences, especially for consumption and international variables. The model in this article thus needs to be extended in many ways to better capture the real world phenomena. Estimation method and shock creation could also be further developed. ❍❍
1. Introduction The 2008 financial crisis originated from the United States was felt around the world. While many countries were suffered from downfall in banking systems, the adverse effects transmitted through Thailand’s financial sector were relatively negligible. The real concern for the Thai economy at that time was about its real sector. Thai exporters suffered from a shocking drop in external demand as it relied heavily on trade with a number of ailing partners. This generated a chain reaction that eventually drove the economy down to recession. The crisis called for a large scale of active fiscal policy worldwide to counteract potential consequences as the room for the use of monetary policy has become limited. Although Thailand was partly affected by the crisis, it put fiscal policy in place immediately and massively to mitigate adverse impacts, despite that the Bank of Thailand also took serious actions to deal with the same problem. Thailand returned to business-as-usual in about one year. Many people tend to see the quick recovery as the victory of fiscal policy. However, some important questions might remain in doubt: • What would happen if we were to employ just one of these measures to handle the crisis? • Was it better to tackle this external threat with the large fiscal spending, alongside a deep cut in the interest rate? • What could be the side effect of doing so? Mr. Krasae Rangsipol, the author, is an economist at the Fiscal Policy Office, Ministry of Finance. The author thanks Mrs. Wiparat Panpiemrat for comments. The opinion and analysis in this paper do not reflect the official position of the Fiscal Policy Office
1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
109
This article aims to determine whether government spending in Thailand worked effectively during the 2008 crisis. To better understand how the policy actually worked in general sense, the policy transmission mechanism, a potential offsetting factor, and the evolution of the key variables, including aggregate output, aggregate consumption, employment, inflation, real interest rate, real exchange rate, and trade balances, in response to the policy and the crisis shock are considered. The results of this investigation can provide policymakers with insightful policy implications. To this end, a dynamic stochastic general equilibrium (DSGE) model, which is currently the workhorse of modern macroeconomic research, is employed. The model is to be augmented by a sufficient number of features to explain changes in relation to specific circumstances.
2. The Model The idea is simple. A model duplicating the Thai economic system is constructed and results from various scenarios of shocks to the economy are observed. To this end, the Thai economy in this article is modeled to be a small open economy with domestic price stickiness and liquidity constraint (for some proportion of households). The model consists of four key players in the economy; households, firms, policy authorities (both monetary and fiscal), and international part. There are two economies: Thailand and the world. The Thai economy is populated by two types of representative households: one who can save (‘saver’) and another one who cannot (‘non-saver’). This assumption can be justified by that an economy should have some degree of imperfect capital market or myopic behavior (Mankiw, 2000). Both households consume both goods produced by domestic and foreign firms. To earn income, they supply labor (working hours) to firms. Both of them also have to pay lump-sum tax. The savers save through government and foreign bonds, while the non-savers simply consume their period income as they cannot save. Firms produce different brands of goods and services, they thus have market power to set price, although changes in prices are assumed to be sluggish. Wage is set according to household utility optimization. The world, on the other hand, is set as an exogenous process, since there is no explicit setting of micro-agents. It is assumed here that the central bank follows the Taylor Rule in conducting monetary policy. It manipulates nominal interest rate to achieve price stability which is the ultimate goal. The government also has only one tool to conduct fiscal policy, which is the purchase of goods and services produced by private sector. The government spending only exists for its own sake, so it is unproductive as if the government buys goods and just throws them away. Spending is financed by two sources of funds, which are lump-sum taxes and government bonds. It is assumed that the government budget is always balanced. For tractability, the size of the model is minimized by excluding some features, such as capital, financial intermediaries, distortionary taxation, and imperfectness of international market. The DSGE model used here is extended from Tanboon (2008) by incorporating open-economy aspect from Gali and Monacelli (2005), and liquidity constraints on household from Gali et al. (2007). Figure1 illustrates how the system works and what we would learn from the model.
110
Figure 1 Model Diagram
The results are interpreted in relative term to its long-term potential. Under shock-free circumstances, the economy follows its long-run potential. When it is otherwise disturbed by a shock, the model would depict how the economy reacts overtime in general sense.
3. Policy Experiments In the period of the 2008 global economic crisis, Thailand was hit at its real sector, while financial sector was safe. Thai exporters suffered from a shocking drop in external demand. Once the demand had gone, firms adjusted themselves by reducing employment and production. In turn, lay-offs caused households to reduce their consumption. These consequences essentially mimic what happened to the Thai economy during the crisis. Eventually, total output went down below its full potential. It is assumed that the recession would last for roughly seven years (as long as the 1997 crisis) to recover, if there is no active policy to deal with. Banking and financial parts, however, were in stronger positions, since toxic assets composed only a fraction of the assets in one or two banks (Tanboon et al., 2009). Therefore, to characterize the crisis impact on Thailand’s real sector, an external shock which exogenously causes a large and long drop in exports is incorporated in the model, while leave financial sector unscratched (or to be precise, the financial sector is abstracted from the model) To see how the key variables in the model evolve over time in response to shocks, with three choices of policy uses are experimented 1) only fiscal policy to deal with the shock 2) both fiscal and monetary policies to deal with and 3) only monetary policy to handle the shock. The results for all three scenarios are illustrated in the same set of graphs (Figure 2 to Figure 8) for each case to compare the effects.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
111
3.1 Impacts of the external shock (namely, eenx – dotted line) In the case of the external shock without any active policy response rather than the Taylor Rule as the only automatic stabilizer, all the key variables illustrated a negative sign, as they are intended to represent the economy in a recession. Notably, total output dropped by 2.5 percent from its long-run potential and spent seven years to recover, while consumption decreased even more, by 10 percent at the lowest level. The adverse shock also affected real wages, as they decreased by 25 percent immediately, despite 5 percent more of unemployment being created at the same time. 3.2 Impacts of government spending during the crisis (namely, ecs1 – solid line) Once expansionary government spending is implemented (with one quarter lag due to the fact that policy takes time to response), it brought the economy back to the normal state within one year. Moreover, output and employment moved beyond the steady-state level for more than eight years. What drive the boom was that the government created an artificial demand to the market thus attracted more production which in turn added jobs. Surprisingly, the sole action from the fiscal authority worsened private consumption even more than the crisis did. It thus made consumption in this case the lowest among all scenarios. This counterintuitive result arose because the saver was hit twice: once by the crisis and once by government spending. The savers reduce consumption (save more) in response to expansionary fiscal policy to pay tax burden which will be raised in the future (this principle is known as Ricardian Equivalence). On the other hand, the policy was supportive for those non-savers as their consumption recovered. However, real interest rate was not accommodative enough (the central bank is not as easy as other two expansionary policies since it strictly aims at price stability), and share of non-saver household might be too small, so total consumption dropped according to household optimization process2 . The policy also strengthened domestic currency thus made net export even lower. 3.3 Impacts of implementing both policies during the crisis (namely, ecs2 – dashed line) This is the case that actually happened in Thailand during the crisis period. As a result of double expansion, the virtual Thai economy returned to its normal day by three quarters after the shock flew in, the fastest of all scenarios. Not only that the crisis came to the end so soon, it also experienced a boom of output for 0.5 percent and dissipated after ten years. The expansion did better, compared to sole fiscal action, in terms of consumption as it got back quite quickly to its long-run level. Still, it failed to generate a boom in total consumption. For adding jobs to the economy, as well as pushing up real wages, this is the most effective policy choice. The boom in the labor market also lasted for a decade. Implementing this policy, however, had the most negative impact on the trade balance, because both fiscal and monetary expansions are disadvantageous to this variable. Moreover, people suffered from a long period of positive inflation after two years of implementation.
The process tells that consumption today depends positively on future consumption and government spending, while it responds negatively on current real interest rate and change in future labor supply. This process differs from a standard one since it contains a proportion of non-saver behavior (non-standard agent)
2
112
3.4 Impacts of monetary easing during the crisis (namely, ecs3 – dash-dot line) If only the central bank were to be responsible for the crisis, the overall effect would be relatively desirable. The effect on output and employment was milder when compared to other two policy cases. It could also induce a boom in consumption for both savers and non-savers without causing inflation. Still, monetary expansion seemed to have a negative impact on net exports, as this policy also worsened international trade for the home country but not as much as double easing policy case. Figure 2 Policies impact on total output Unit : Deviation from its steady-state
Figure 3 Policies impact on private consumption Unit : Deviation from its steady-state
Figure 4 Employment responses in various cases of the external shock Unit : Deviation from its steady-state
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
113
Figure 5 Policies impact on home inflation Unit : Deviation from its steady-state
Figure 6 Policies impact on real interest rate Unit : Deviation from its steady-state
Figure 7 Policies impact on real exchange rate Unit : Deviation from its steady-state
114
Figure 8 Policies impact on net export Unit : Deviation from its steady-state
4. Conclusions In this paper, a standard New-Keynesian DSGE model has been embedded with a small open economy, heterogeneous household sector, and explicit fiscal rule. It is used as a baseline to study the effectiveness of government spending during the 2008 crisis in Thailand. As a result of the experiment, government spending alone helped bring the economy back to its long-run potential, but led to a negative effect on total consumption. With double expansion, the economy recovered the fastest and stayed in the boom period the longest. However, it did have the largest negative effect on the trade balance. Sole monetary policy also helped the economy without depressing private consumption. It still resulted in a negative reaction on net export albeit milder. Although the model worked better when compared to its standard counterpart, it still contains a lot of simplification and some unrealistic assumptions. For instances, there is neither capital nor financial sector in the model. International market was also set to be mostly perfect, which is not true in the real world. That is why some results showed up strangely for the case of Thailand, especially consumption and international variables. Nonetheless, the DSGE approach is still worth exploring further as it is theoretically better than old macroeconomic models. To be able to explain the real world phenomena, the model needs to be extended in many ways. Estimation is also necessary for finding the true values of the parameters. Lastly, the crisis shock is quite ad-hoc. Hence, a proper modeling as well as a robustness check should be further developed.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
115
ภาคการเงิน
รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับทรงตัว โดยอัตราดอกเบีย้ เงินฝากประจ�ำ 1 ปี ปรับเพิม่ ขึน้ เล็กน้อยจากร้อยละ 2.43 ณ สิน้ ปี 2555 เป็นร้อยละ 2.58 ณ สิน้ เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับ ณ สิ้นปี 2555 ที่ร้อยละ 7.19 (ภาพที่ 1) สอดคล้องกับการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไว้ที่ร้อยละ 2.75 ในเดือน กุมภาพันธ์ 2556 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง1 ติดลบต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 เป็นต้นมา ❍❍ การคาดการณ์อต ั ราดอกเบีย้ ในปี 2556 คาดว่าอัตราดอกเบีย้ จะทรงตัวใกล้เคียงกับปัจจุบนั สอดคล้อง กับคาดการณ์อตั ราดอกเบีย้ นโยบายทีค่ าดว่าจะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.75 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 2.25-3.25 ต่อปี) ร้อยละ ณ สิน้ ปี 2556 โดยคาดว่าอุปสงค์ในประเทศจะขยายตัวดีตอ่ เนือ่ ง อย่างไรก็ตาม แม้วา่ อุปสงค์จากประเทศคูค่ า้ จะปรับตัวดีขนึ้ จากปีกอ่ น แต่ยังคงมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจคู่ค้าส�ำคัญโดยเฉพาะยูโรโซน ❍❍
ภาพที่ 1 อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชื่อและเงินฝากของสถาบันการเงินที่รับฝากเงินอื่น2 (Depository institutions) ณ สิน้ เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ขยายตัวต่อเนือ่ ง (ภาพที่ 2 และภาพที่ 3) โดย ณ สิน้ เดือนกุมภาพันธ์ 2556 สถาบันรับฝากเงินอืน่ มียอดคงค้างของสินเชื่อภาคเอกชนจ�ำนวน 13,559.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมือ่ ขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.9 เมือ่ เทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามการฟืน้ ตัวอย่างต่อเนือ่ งของอุปสงค์ในประเทศ โดยเมือ่ วิเคราะห์ตามผูใ้ ห้สนิ เชือ่ พบว่า ทัง้ ยอดคงค้างสินเชือ่ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์เพิม่ ขึน้ ด้านเงินฝาก ของสถาบันรับฝากเงินอื่นมียอดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 14,503.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 21.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน จากการระดมเงินฝากเพื่อรองรับ การขยายตัวของสินเชื่อและการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ ❍❍
ค�ำนวณโดยน�ำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 12 เดือนเฉลี่ย - อัตราเงินเฟ้อในช่วงเดียวกัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน
1 2
116
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
ภาพที่ 2 สินเชื่อในสถาบันรับฝากเงิน
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 3 เงินฝากในสถาบันรับฝากเงิน
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชือ่ และเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ขยายตัวเร่งขึน้ (ภาพที่ 4 และภาพที่ 5) ณ สิน้ เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ธนาคารพาณิชย์มยี อดคงค้างสินเชือ่ ภาคเอกชนจ�ำนวน 8,980.2 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเฉพาะจากการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือน ตามนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศของภาครัฐ ด้านเงินฝากของ ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 10,254.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ❍❍
ภาพที่ 4 สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 5 เงินฝากในธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชือ่ ภาคครัวเรือนและยอดคงค้างสินเชือ่ ธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ขยายตัวดีต่อเนื่อง (ภาพที่ 6) สินเชื่อภาคครัวเรือนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 44 ของสินเชื่อรวมขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจภาคการบริโภคที่ส่งสัญญาณการขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์ที่ยังคงเพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 56 ของสินเชื่อรวม ขยายตัวดี ต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจภาคการลงทุน ทั้งในส่วนของ การก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
117
ภาพที่ 6 ยอดคงค้างสินเชื่อครัวเรือนและสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชือ่ ธุรกิจในภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรมเร่งขึน้ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 (ภาพที่ 8) ยอดคงค้างสินเชื่อภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 41.0 ของสินเชื่อธุรกิจ (ภาพที่ 7) ขยายตัวเร่งขึ้นจาก ไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 21.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับยอดคงค้างสินเชื่อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีส่วนแบ่งร้อยละ 45.9 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานต�่ำ จากวิกฤตอุทกภัยในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 กอปรกับอุตสาหกรรมหลายสาขาฟื้นตัวดีต่อเนื่อง อาทิ ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยอดคงค้างสินเชื่อภาคเกษตรกรรม ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีกอ่ น สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ทีข่ ยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍
ภาพที่ 7 สินเชื่อแยกตามภาคธุรกิจ
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 8 การขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 9 โครงสร้างสินเชื่อผู้บริโภค
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
118
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
ยอดคงค้างสินเชื่อผู้บริโภคในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 21.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ น โดยสินเชือ่ บุคคลเพือ่ ซือ้ รถหรือเช่าซือ้ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึง่ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 7.5 ของ สินเชื่อรวม หรือร้อยละ 28.2 ของสินเชื่อบุคคล ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 33.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนการบริโภคสินค้าคงทนที่ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่ย อดคงค้ า งสิ น เชื่ อ เพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.2 ของสินเชื่อทั้งหมด หรือร้อยละ 46.1 ของสินเชื่อบุคคล ขยายตัวต่อเนื่องจาก ไตรมาสก่อนมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 11.6 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีธรุ กรรมอสังหาริมทรัพย์ ที่ขยายตัวดีต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ที่ร้อยละ 48.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส�ำหรับยอดคงค้างสินเชื่อ บัตรเครดิตคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.7 ของยอดคงค้างสินเชือ่ ธนาคารพาณิชย์รวม ในเดือนมกราคม 2556 ขยายตัวต่อเนือ่ งจาก เดือนก่อนมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 11.6 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า สอดคล้องกับดัชนีความเชือ่ มัน่ ผูบ้ ริโภคในเดือนมกราคม 2556 ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 72.1 ❍❍
ภาพที่ 10 การขยายตัวสินเชื่อบุคคล ธนาคารพาณิชย์แยกประเภท
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 11 การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ผ่านบัตรเครดิต
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
กล่าวโดยสรุป ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เงินฝากและสินเชื่อของสถาบันการเงินไทยขยายตัว ต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ โดยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งสินเชื่อผู้บริโภคและสินเชื่อธุรกิจยังคง เพิ่มขึ้น จากความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงขยายตัวดี ทั้งนี้ เงินฝากขยายตัวเร่งขึ้นมาก โดยเป็นการเร่งขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นส�ำคัญ จากการเร่งระดมเงินฝากเพื่อรองรับ การขยายตัวของสินเชือ่ ทีค่ าดว่าจะขยายตัวดีตอ่ เนือ่ ง ตามการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ทัง้ นี้ หากวิเคราะห์ถงึ สถานภาพของ ธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบนั พบว่ายังคงมีความแข็งแกร่ง โดยสัดส่วนหนีท้ ไี่ ม่กอ่ ให้เกิดรายได้สทุ ธิยงั คงอยูใ่ นระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 1.1 ของสินเชื่อทั้งหมด ขณะที่สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 16.0 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมาย ก�ำหนดไว้ที่ร้อยละ 8.5 ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
119
Thailand’s Key Economic Indicators ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators)
120
ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง FISCAL POLICY OFFICE
ส
เสนอแนะอย่างมีหลักการ
ศ ค
ศึกษาโดยไม่หยุดนิ่ง คนคลังที่มีคุณภาพ
คณะผู้จัดท�ำ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ : boonchar@mof.go.th ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ดร.กุลยา ตันติเตมิท : kulaya.t@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ วิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ : wiparat@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ : pisitp@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร : soraphol@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์ สิริกัลยา เรืองอ�ำนาจ : sirigunya@hotmail.com
ผู้รับผิดชอบรายภาคเศรษฐกิจ
ภาคการคลัง นรพัชร์ อัศววัลลภ : norabajra@mof.go.th คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com นิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว : nipat44@hotmail.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com พีรพัฒน์ วงศ์ชัยวัฒน์ : wongchaiwat@hotmail.com สุธิรัตน์ จิรชูสกุล : j_suthi01@yahoo.com ภาคการค้าระหว่างประเทศ พนันดร อรุณีนิรมาน : panundorn.a@gmail.com อรุณรัตน์ นานอก : aobcy2000@hotmail.com ตลาดน�้ำมัน กระแสร์ รังสิพล : krasae.a@gmail.com เศรษฐกิจต่างประเทศ พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ : peerapan.ps@gmail.com ภัทราพร คุ้มสะอาด : phattraporn088@gmail.com ภาคการเงิน อาร์จนา ปานกาญจโนภาส : annulet@hotmail.com
อัตราแลกเปลี่ยน ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ : pim.hirankasi@gmail.com ภาคอุตสาหกรรม ธรรมฤทธิ์ คุณหิรัญ : thammaritud@yahoo.com อรอุมา หนูช่วย : onumaneung@hotmail.com ภาคเกษตรกรรม กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com ภาคการท่องเที่ยว คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com ภาคการบริโภค การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์ ยุทธภูมิ จารุเศร์นี : iam5111@msn.com กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com ด้านเสถียรภาพ ดารินทร์ เกตุเรืองโรจน์ : lexlexjung@hotmail.com
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท 0-2273-9020 โทรสาร 0-2298-5602 website : http://www.fpo.go.th