ประมาณการเศรษฐกิจไทยป 2556
THAILAND'S ECONOMIC OUTLOOK 2013 : JUNE
เดือนมิถุนายน
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
http://www.fpo.go.th
THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2013 FISCAL POLICY OFFICE เป้าประสงค์ และ ยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 1. ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการคลัง เพื่อให้ภาคการคลังของประเทศมีความแข็งแกร่งยั่งยืน เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นหลักของ ระบบเศรษฐกิจไทย 2. การพัฒนาความแข็งแกร่งของระบบการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Financial System Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการเงิน เพื่อให้ภาคการเงินแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ 3. เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน (Sustainable Economic and Social Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อกระจายความมั่งคั่ง สู่ภูมิภาคและเศรษฐกิจฐานราก + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น 4. ความมีประสิทธิภาพ ความทันสมัย และความโปร่งใสในการท�ำงาน (Modernization of Management and Good Governance Promotion) + ด�ำเนินการเพื่อให้เป็นองค์กรเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับด้านความสามารถของบุคลากร + ด�ำเนินการเพื่อให้การท�ำงานและการให้บริการโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้ โดยใช้ระบบ IT ลดขั้นตอนการท�ำงาน
กลยุทธ์ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค : “เสาหลักด้านเศรษฐกิจมหภาคอย่างมืออาชีพ” “วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพ แม่นย�ำ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้สามารถเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้อย่าง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณชน”
ช่องทางใหม่ในการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ
ขั้นตอนการใช้งานผ่านอุปกรณ์ iPad iPhone / ระบบปฏิบัติการ Android 1 โหลด App ชื่อ “ebooks.in.th” จาก App Store /
Play Store
2 เปิด App “ebooks.in.th” แล้ว Search ค�ำว่า “Fiscal Policy Office” 3 เลือกหนังสือและบทความที่ท่านต้องการอ่าน เพื่อเก็บไว้ที่ตู้หนังสือ 4 เลือก Icon “Bookshelf” เพื่ออ่านหนังสือที่ต้องการ (ในครั้งแรกต้องลงทะเบียนก่อนใช้งาน)
THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2013 : JUNE FISCAL POLICY OFFICE
สารบัญ 1. ประมาณการเศรษฐกิจไทย บทสรุปผู้บริหาร Executive Summary ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 (ณ เดือนมิถุนายน 2556) 1.1 สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 1.2 ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 2. ภาคการคลัง : รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556
หน้า 3 6 9 10 26 37
3. บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ : Macroeconomic Analysis Briefings 3.1 ดอกเบี้ยนโยบาย ท่ามกลางกระแสสภาพคล่องล้นโลก 3.2 วิกฤติสภาพคล่องของจีนและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย 3.3 โอปป้าทะเลาะกัน คุกคามเศรษฐกิจไทยอย่างไร ? 3.4 เราสูญเสียการส่งออกจากโลกชะลอ หรือเงินแข็ง ? กรณีศึกษาจากข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ด้วยแบบจ�ำลอง Computable General Equilibrium 3.5 อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ 3.6 เหลียวหลังแลหน้าการบริโภคภาคเอกชนไทย 3.7 ทิศทางอนาคตของอาชีพพยาบาลไทย ภายใต้บริบทของ AEC และสังคมผู้สูงอายุ 3.8 แนวทางใหม่กับการระดมทุนภาครัฐ : Public - Private Partnership
72 78 84 89
4. ภาคการเงิน : รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2556
102
5. Thailand’s Key Economic Indicators
106
คณะผู้จัดท�ำ : ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทรศัพท์ 02-273-9020 ต่อ 3257 โทรสาร 02-298-5602 / 02-618-3397 http:// www.fpo.go.th
44 53 60 65
บทสรุปผู้บริหาร
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 (ณ เดือนมิถุนายน 2556) รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 “เศรษฐกิจไทยปี 2556 คาดว่าจะสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.5” ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.0–5.0) ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่มีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.8–5.8 เนือ่ งจากภาวะเศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ ทีย่ งั ฟืน้ ตัวอย่างล่าช้า ประกอบกับการใช้จา่ ยภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัว ในอัตราชะลอลง โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีก่อน ซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งจาก รายได้ภาคครัวเรือนที่คาดว่าจะชะลอลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากรายได้ภาคเกษตรจากราคาสินค้าเกษตรบาง รายการโดยเฉพาะราคายางพาราที่ปรับตัวลดลงจากปีก่อน นอกจากนี้ประชาชนยังมีฐานการบริโภคที่สูงในช่วงก่อน หน้านี้ โดยเฉพาะสินค้าคงทนที่ได้รับอานิสงส์จากนโยบายรถคันแรก ส�ำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางขยายตัว ชะลอลง โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดเครือ่ งมือเครือ่ งจักรทีม่ กี ารเร่งลงทุนในปีกอ่ นหน้าภายหลังจากเหตุการณ์อทุ กภัย คลี่คลายลง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐจะเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัว อย่างต่อเนื่องในปีนี้ โดยเฉพาะในส่วนของการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐ ส�ำหรับอุปสงค์ภายนอกประเทศ นั้นคาดว่าการส่งออกสินค้าและบริการจะเติบโตในอัตราเร่งขึ้นจากปีก่อน โดยได้รับอานิสงส์จากการส่งออกบริการที่ คาดว่าจะขยายตัวได้ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทยจ�ำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากยังคงได้รับปัญหาการฟื้นตัวที่ ค่อนข้างล่าช้าของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปในปี 2556 จะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.5 (โดยมีชว่ ง คาดการณ์ร้อยละ 2.0–3.0) ลดลงจากปีก่อนหน้า ตามราคาน�้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ ดุลการค้าจะเกินดุลลดลงจากปีที่แล้ว เนื่องจากมูลค่าการน�ำเข้าที่ เร่งตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่ามูลค่าการส่งออก ซึ่งจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเล็กน้อยที่ประมาณร้อยละ 0.5 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.0–1.0 ของ GDP)”
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
3
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2556 (ณ เดือนมิถุนายน 2556) 2556 f (ณ มีนาคม 2556) เฉลี่ย ช่วง
2555 สมมติฐานหลัก สมมติฐานภายนอก 1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี) 3.3 3.8 3.3-4.3 2) ราคาน�้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) 108.8 113.0 108.0-18.0 3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 0.6 2.9 1.9-3.9 4) ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 1.6 3.2 2.2-4.2 สมมติฐานด้านนโยบาย 5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) 31.1 29.4 28.4-30.4 6) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละต่อปี) 2.75 2.75 2.25-3.25 7) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท) 2.89 3.16 3.11-3.21 ผลการประมาณการ 1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 6.5 5.3 4.8-5.8 2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี) 6.8 4.4 3.9-4.9 - การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 6.7 4.6 4.1-5.1 - การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 7.5 3.5 3.0-4.0 3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี) 13.2 10.3 9.3-11.3 - การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 14.4 9.3 8.3-10.3 - การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 8.9 14.2 13.2-15.2 4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 3.1 5.7 4.7-6.7 5) อัตราการขยายตัวปริมาณน�ำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 6.2 5.8 4.8-6.8 6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 8.3 5.8 4.8-6.8 - สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 3.2 9.0 8.0-10.0 - สินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 7.8 10.6 9.6-11.6 7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 2.7 0.2 -1.8 ถึง -2.1 - ร้อยละของ GDP 0.8 0.0 -0.5 ถึง -0.5 8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี) 3.0 3.0 2.5-3.5 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี) 2.1 1.9 1.4-2.4 9) อัตราการว่างงาน (ร้อยละของก�ำลังแรงงานรวม) 0.7 0.6 0.5-0.7 f = ประมาณการ โดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
4
2556 f (ณ มิถุนายน 2556) เฉลี่ย ช่วง
3.4 2.9-3.9 106.0 101.0-111.0 1.1 0.1-2.1 0.6 -0.4 ถึง 1.6 30.0 2.50 3.16
29.0-31.0 2.00-3.00 3.11-3.21
4.5 4.0-5.0 3.6 3.1-4.1 3.6 3.1-4.1 3.7 3.2-4.2 7.3 6.8-7.8 5.7 5.2-6.2 13.3 12.8-13.8 6.5 5.5-7.5 6.5 6.0-7.0 2.9 1.9-3.9 5.5 4.5-6.5 8.4 7.9-8.9 -2.2 -4.0 ถึง -0.1 -0.5 -1.0 ถึง 0.0 2.5 2.0-3.0 1.2 0.7-1.7 0.7 0.6-0.8
1. เศรษฐกิจไทยในปี 2556 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้รอ้ ยละ 4.5 (โดยมีชว่ งคาดการณ์รอ้ ยละ 4.0–5.0) ซึง่ เป็นการปรับ ลดลงจากการคาดการณ์ครัง้ ก่อนทีม่ ชี ว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 4.8–5.8 เนือ่ งจากภาวะเศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ ทีย่ งั ฟืน้ ตัวอย่างล่าช้า ประกอบกับการใช้จ่ายภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลง ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวในอัตรา ชะลอลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.1–4.1) โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากรายได้ภาคครัวเรือนที่ คาดว่าจะชะลอลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากรายได้ภาคเกษตรจากราคาสินค้าเกษตรบางรายการโดยเฉพาะราคายางพารา ที่ปรับตัวลดลงจากปีก่อน นอกจากนี้ ประชาชนยังมีฐานการบริโภคที่สูงในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทนที่ได้รับ อานิสงส์จากนโยบายรถคันแรก ส�ำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางขยายตัวชะลอลง โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5.2–6.2) อันเป็นผลจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่ได้มีการเร่งลงทุนในปีก่อนหน้าภายหลัง จากเหตุการณ์อุทกภัยคลี่คลายลง ซึ่งจะส่งผลให้การลงทุนของภาคธุรกิจในปีนี้ชะลอลง อย่างไรก็ตาม ภาวะการเงินโดยรวมที่ เอื้อต่อการด�ำเนินธุรกิจสะท้อนจากสินเชื่อภาคธุรกิจที่ขยายตัวได้ดี และความชัดเจนของการลงทุนภาครัฐในส่วนของโครงสร้าง พืน้ ฐานระยะยาว คาดว่าจะช่วยสนับสนุนการลงทุนของภาคธุรกิจไม่ให้ชะลอตัวลงมากนัก ขณะทีก่ ารใช้จา่ ยภาครัฐจะเป็นปัจจัย ส�ำคัญที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีนี้ โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัว ร้อยละ 3.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.2–4.2) และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 12.8–13.8) ส�ำหรับอุปสงค์ภายนอกประเทศนัน้ คาดว่า การส่งออกสินค้าและบริการจะเติบโตในอัตราเร่งขึน้ จากปีกอ่ นมา ขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5.5–7.5) โดยได้รับอานิสงส์จากการส่งออกบริการที่คาดว่าจะขยายตัวได้ใน ระดับสูงอย่างต่อเนื่องตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทยจ�ำนวนมาก ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าคาดว่า จะขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ร้อยละ 5.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5–6.5) เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ โลกที่ยังคงอ่อนแออันเนื่องมาจากปัญหาการฟื้นตัวที่ค่อนข้างล่าช้าของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ประกอบกับตลาดการเงินโลก ยังคงมีความผันผวนต่อสถานการณ์ในระยะสั้น ซึ่งก่อให้เกิดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทให้ผันผวนขึ้นอันจะส่งผลกระทบต่อมูลค่า การส่งออกในรูปเงินบาทอีกด้วย ส่วนปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 6.0–7.0) เร่งขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า สอดคล้องกับการใช้จ่ายลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 2.0–3.0) ลดลงจากปีกอ่ นหน้า ตามราคาน�ำ้ มันในตลาดโลกทีค่ าดว่าจะมีแนวโน้มลดลงตามประมาณการอุปทานน�ำ้ มัน ในตลาดโลกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากฝั่งอเมริกาเหนือและซูดานใต้ ขณะที่ประมาณการอุปสงค์น�้ำมันในตลาดโลกคาดว่าจะลด ลงตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง ในส่วนของอัตราการว่างงานคาดว่า จะยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.6–0.8 ของก�ำลังแรงงานรวม) ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศคาด ว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลเล็กน้อยที่ 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 0.0–1.0 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วง คาดการณ์ที่ 1.9–3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้าน�ำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้า
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
5
Executive Summary
Thailand’s Economic Projection for 2013 (As of June 2013) Thailand’s Economic Outlook Projection 2013 The Thai economy in 2013 is projected to grow at 4.5 percent. The Fiscal Policy Office (FPO), Ministry of Finance, announced Thailand’s economic projections as of June 2013 stating that “the Thai economy in 2013 is projected to grow at an annualized rate of 4.5 percent (or within a range of 4.0-5.0 percent), lower than the previous projected rate of at least 4.8 percent (or within a range of 4.8-5.8 percent), due to the slow economic recovery of Thailand’s major trading partners and weak private demand growth. Growth in private consumption is expected to slow down, compared to the previous year. This is partly due to an expectation of a decline in household income, owing mainly to a decline in farm income as a result of low prices of some agricultural products, especially rubber. Moreover, private consumption had already accelerated sharply in previous periods, particularly consumption of durable goods, due to the first-time car buyer scheme. Private investment is also expected to grow at a slower rate, especially investment in machinery and equipment as it had sharply accelerated in the previous year with the replacement of flood-damaged machinery. For this year, public expenditure will play an important role in supporting the Thai economy to expand continuously. Meanwhile, for external demand, exports of goods and services are anticipated to grow at a faster pace compared to last year, mainly from exports of services that expand with an increase in the number of foreign tourists in Thailand. However, exports of goods are expected to grow at a moderate rate due to the slow economic recovery of Thailand’s major trading partners. With regard to internal stability, headline inflation in 2013 is anticipated to be 2.5 percent (or within a range of 2.0-3.0 percent), lower than that of the previous year, due to lower prices of world crude oil and commodity products. For external stability, the trade balance is projected to record a smaller surplus than it had in the previous year. Import growth has accelerated at a faster pace than that of export growth, resulting in an estimated current account deficit of 0.5 percent of GDP (within a range of 0.0-1.0 percent of GDP).” The Director-General of the FPO also added that “For the Thai economy to attain the growth higher than projected in the baseline case, the government needs to accelerate disbursement of investment projects, especially the 350-billion-baht water resources management plan and the 2-trillion-baht infrastructure development plan. Moreover, the government has to support the export sector in order to achieve the Ministry of Commerce’s export growth target, as well as to stimulate the Thai tourism industry. This would help the Thai economy in 2013 to grow at least 5.0 percent”.
6
Major Assumptions and Economic Projections of 2013 (As of June 2013) 2012 Major Assumptions Exogenous Variables 1) Average Economic Growth Rate of Major Trading Partners 3.9 (% y-o-y) 2) Dubai Crude Oil Price (U.S. dollar per Barrel) 108.8 0.6 3) Export prices in U.S. dollar (percent y-o-y) 4) Import prices in U.S. dollar (percent y-o-y) 1.6 Policy Variables 5) Exchange Rate (Baht per U.S. dollar) 31.1 6) Repurchase Rate (Policy Rate) at year-end (percent y-o-y) 2.75 7) Fiscal-Year Public Expenditure (Trillion Baht) 2.89 Projections 1) Economic Growth Rate (percent y-o-y) 6.4 2) Real Consumption Growth (percent y-o-y) 6.6 - Real Private Consumption 6.6 - Real Public Consumption 7.4 3) Real Investment Growth (percent y-o-y) 10.2 - Real Private Investment 14.6 - Real Public Investment 8.9 4) Export Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 2.9 5) Import Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 6.2 6) Trade Balance (billion U.S. dollar) 8.3 - Export Value of Goods in U.S. dollar (percent y-o-y) 3.2 - Import Value of Goods in U.S. dollar (percent y-o-y) 7.8 7) Current Account (billion U.S. dollar) 2.7 - Percentage of GDP 0.5 8) Headline Inflation (percent y-o-y) 3.0 Core Inflation (percent y-o-y) 2.1 9) Unemployment Rate (percentage of total labor force) 0.7
2013 f 2013 f (As of Mar 13) (As of June 13) Average Range Average Range
3.8
3.3-4.3
3.4
2.9-3.9
113.0 108.0-118.0 106.0 101.0-111.0 2.9 1.9-3.9 1.1 0.1-2.1 3.2 2.2-4.2 0.6 -0.4 to 1.6 29.4 2.75 3.16
28.4-30.4 30.0 2.25-3.25 2.50 3.11-3.21 3.16
29.0-31.0 2.00-3.00 3.11-3.21
5.3 4.8-5.8 4.5 4.0-5.0 4.4 3.9-4.9 3.6 3.1-4.1 4.6 4.1-5.1 3.6 3.1-4.1 3.5 3.0-4.0 3.7 3.2-4.2 10.3 9.3-11.3 7.3 6.8-7.8 9.3 8.3-10.3 5.7 5.2-6.2 14.2 13.2-15.2 13.3 12.8-13.8 5.7 4.7-6.7 6.5 5.5-7.5 5.8 4.8-6.8 6.5 6.0-7.0 5.8 4.8-6.8 2.9 1.9-3.9 9.0 8.0-10.0 5.5 4.5-6.5 10.6 9.6-11.6 8.4 7.9-8.9 0.2 -1.8 to 2.1 -2.2 -4.0 to -0.1 0.0 -0.5 to 0.5 -0.5 -1.0 to 0.0 3.0 2.5-3.5 2.5 2.0-3.0 1.9 1.4-2.4 1.2 0.7-1.7 0.6 0.5 -0.7 0.7 0.6-0.8
f = forecast by Fiscal Policy Office, Ministry of Finance, Thailand, Tel. 0 2273 9020
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
7
1. Thailand’s Economic Projections for 2013 1.1 Economic Growth The Thai economy in 2013 is forecasted to grow at an annualized rate of 4.5 percent (or within a range of 4.0-5.0 percent), lower than the previous projection of no less than 4.8 percent (or within a range 4.8-5.8 percent), due to the slow economic recovery of Thailand’s major trading partners and weak private demand growth. Growth in private consumption is expected to slow down at the rate of 3.6 percent (or within a range of 3.1-4.1 percent). This is partly due to an expectation of a decline in household income, owing mainly to a decline in farm income as a result of low prices of some agricultural products, especially rubber. Moreover, private consumption had already accelerated sharply in the previous periods, particularly consumption of durable goods due to the first-time car buyer scheme. Private investment is also expected to grow at a slower rate of 5.7 percent (or within a range of 5.2-6.2 percent), especially investment in machinery and equipment as it had strongly accelerated in the previous year with the replacement of flood-damaged machinery. Nevertheless, the sound financial situation in Thailand, as reflected by an expansion in business loans and the more concrete government investment plan, would help support the growth of private investment. Meanwhile, public expenditure plays an important role in supporting Thailand’s economic growth. Public consumption is anticipated to grow at 3.7 percent (or within a range of 3.2-4.2 percent) while the public investment is expected to grow at a high rate of 13.3 percent (or within a range of 12.8-13.8 percent), following an increase in public investment budget disbursements. Meanwhile, for external demand, exports of goods and services are anticipated to grow at a faster pace compared to last year at 6.5 percent (or within a range of 5.5-7.5 percent), mainly from exports of services that expand with an increase in the number of foreign tourists to Thailand. However, exports of goods are expected to grow at a moderate rate of 5.5 percent (or within a range of 4.5-6.5 percent) due to a weak global demand, following the slow economic recovery of Thailand’s major trading partners. Moreover, Thai exporters’ income in Thai baht may have been affected by the baht’s volatility, due to an increase in the short-term volatility of capital flows. The quantity of imports of goods and services is expected to grow at a rate of 6.5 percent (or within a range 6.0-7.0), a bit higher than in the previous year, in line with the expansion of public expenditure. 1.2 Economic Stability For internal stability, headline inflation in 2013 is anticipated to be 2.5 percent (or within a range of 2.0-3.0 percent), lower than the previous year, due to a decrease in global oil prices following an increase in the global oil supply from North America and South Sudan. Global oil demand is likely to decline, in line with the global economic slowdown. Unemployment is expected to be 0.7 percent of the total labor force (or within a range of 0.6-0.8 percent). On external stability, the current account in 2013 is projected to record a small deficit of USD 2.2 billion, accounting for 0.5 percent of GDP (or within a range of 0.0-1.0 percent of GDP) as the estimated trade balance surplus drops slightly to USD 2.9 billion (or within a range of USD 1.9-3.9 billion). This is partially explained by accelerated import growth which is higher than export growth.
8
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 (ณ เดือนมิถุนายน 2556) ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2556 จะขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 4.5 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ ร้อยละ 4.0-5.0) จากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 โดยมีการปรับปรุงข้อมูลและสมมติฐานที่ส�ำคัญ ดังนี้ ปรับฐานข้อมูลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวในระดับปกติร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 19.1 ตามที่ส�ำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2556 ❍❍
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจมหภาคในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลงจาก ปีกอ่ น สะท้อนจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ตามการหดตัวของอุตสาหกรรมส�ำคัญ อาทิ อุตสาหกรรมในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ เครือ่ งใช้ไฟฟ้า และหมวดอาหารและเครือ่ งดืม่ สอดคล้องกับภาคเกษตรกรรมทีข่ ยายตัว เล็กน้อยร้อยละ 0.3 ตามการขยายตัวของยางพาราเป็นส�ำคัญ ขณะที่ข้าวนาปรังหดตัวลงจากปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก การจ�ำกัดการผลิต เนื่องจากความกังวลจากสถานการณ์ภัยแล้งในปีเพาะปลูก 2556 อย่างไรก็ดี ด้านภาคบริการยังคงขยายตัว ในระดับสูงและมีบทบาทส�ำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนจากจ�ำนวน นักท่องเทีย่ วทีข่ ยายตัวในอัตราเร่งทีร่ อ้ ยละ 19.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ส�ำหรับด้านการใช้จา่ ยพบว่า เครือ่ งชีก้ ารบริโภค และลงทุนส่งสัญญาณขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีกอ่ นเช่นกัน สาเหตุสว่ นหนึง่ มาจากรายได้ภาคครัวเรือนทีช่ ะลอลง เนือ่ งจาก ได้รับผลกระทบจากรายได้ภาคเกษตรจากราคาสินค้าเกษตรบางรายการโดยเฉพาะราคายางพาราที่ปรับตัวลดลงจากปีก่อน ในขณะทีก่ ารส่งออกสินค้าส่งสัญญาณขยายตัวเล็กน้อยทีร่ อ้ ยละ 1.9 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น สอดคล้องกับการน�ำเข้า สินค้าและบริการยังคงขยายตัวในอัตราเร่งต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 5.7 ตามการเพิม่ ขึน้ ของการน�ำเข้าในหมวดสินค้าวัตถุดบิ และสินค้า อุปโภคบริโภค ทั้งนี้ การขยายตัวของการน�ำเข้าที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับการขยายตัวของการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้าตามระบบ กรมศุลกากรในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 ขาดดุลที่ระดับ 13.90 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ❍❍
การเปลี่ยนแปลงสมมติฐานที่ส�ำคัญ ได้แก่ (1) อัตราการขยายตัวของ 14 ประเทศคู่ค้า ในปี 2556 สศค. ประมาณการการขยายตัวของ 14 ประเทศคูค่ า้ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.4 (ช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ 2.9-3.9) ปรับตัวลดลงจากการประมาณการ ครัง้ ก่อน สาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้ประเทศทีค่ า้ ขายกับจีนชะลอลงตามไปด้วย ขณะทีเ่ ศรษฐกิจ ด้านฝั่งตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาคาดว่าจะยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาทางด้านการคลังของตนเอง และสหภาพยุโรป ยังไม่หลุดพ้นจากวิกฤติหนี้สาธารณะ (2) ก�ำหนดสมมติฐานราคาน�้ำมันดิบดูไบในปี 2556 อยู่ที่ 106.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์ที่ 101.0-111.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) ตามการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของเศรษฐกิจโลก (3) ปรับสมมติฐานราคา ส่งออกและราคาน�ำเข้าในปี 2556 ให้ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 1.1 และร้อยละ 0.6 ตามล�ำดับ ตามการลดลงของราคาสินค้าเกษตรส�ำคัญ โดยเฉพาะราคายางพารา ในขณะที่ราคาน�ำเข้าลดลงจากสินค้าวัตถุดิบและสินค้าเชื้อเพลิงเป็นส�ำคัญ (4) ปรับสมมติฐาน อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 ให้อยู่ที่ 30.0 (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 29.0-31.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) (5) ก�ำหนดสมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.00-3.00) เนื่องจาก มีการฟืน้ ตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ หลักของไทย ประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยูใ่ นระดับต�ำ่ และ (6) รายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2556 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555-กันยายน 2556) คาดว่าจะอยู่ที่ 3.2 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 9.2 จากปีก่อน และในปีงบประมาณ 2557 คาดว่าจะมีจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น 3.3 ล้านล้านบาท หรือขยายตัว ร้อยละ 3.9 ต่อปี โดยมีรายละเอียดสมมติฐานและผลการประมาณการ ดังนี้ ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
9
สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2556 1. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ 14 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย “สศค.คาดว่าในปี 2556 เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศจะขยายตัวร้อยละ 3.4 ขยายตัวเร่งขึ้นจากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าส�ำคัญที่ส่งสัญญาณขยายตัวดีขึ้นจากปีก่อน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังคงมีความเสี่ยงจากวิกฤติหนี้สาธารณะของยูโรโซนที่คาดว่าจะยืดเยื้อ เศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาที่ประสบปัญหาเพดานหนี้และหน้าผาการคลัง และเศรษฐกิจจีนในประเด็นกรณีพิพาทกับญี่ปุ่นและ ประเทศในแถบทะเลจีนใต้” ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศ (ร้อยละ) ประเทศคู่ค้าหลัก เรียงตามสัดส่วนมูลค่าส่งออกปี 2555 14 ประเทศคู่ค้า (75.1%) 1. จีน (11.7%) 2. ญี่ปุ่น (10.2%) 3. สหรัฐอเมริกา (9.9%) 4. สหภาพยุโรป (6.5%) 5. ฮ่องกง (5.7%) 6. มาเลเซีย (5.7%) 7. ออสเตรเลีย (4.9%) 8. อินโดนีเซีย (4.9%) 9. สิงคโปร์ (4.7%) 10. เวียดนาม (2.9%) 11. อินเดีย (2.4%) 12. ฟิลิปปินส์ (2.1%) 13. เกาหลีใต้ (2.1%) 14. ไต้หวัน (1.5%)
2554 2554 2555 3.9 9.3 -0.6 1.8 1.5 4.9 5.1 2.4 6.5 5.2 6.0 7.5 3.9 3.6 4.1
3.3 7.8 2.0 2.2 -0.5 1.4 5.6 3.6 6.2 1.3 5.0 5.0 6.6 2.0 1.3
2555
2556
Q1
Q2
Q3
Q4
Q1
ทั้งปี 2556 f
3.6 8.1 3.4 2.4 -0.1 0.8 5.1 4.3 6.3 1.5 4.1 5.1 6.3 2.8 0.6
3.6 7.6 3.9 2.1 -0.5 1.0 5.6 4.0 6.4 2.3 4.7 5.5 6.0 2.4 -0.1
3.0 7.4 0.4 2.6 -0.6 1.4 5.3 3.2 6.2 0.0 5.4 5.3 7.2 1.6 0.7
3.2 7.9 0.5 1.7 -0.9 2.5 6.4 3.0 6.1 1.5 5.5 4.5 6.8 1.5 3.7
2.8 7.7 0.4 1.6 -1.0 2.8 4.1 2.4 6.0 0.2 4.9 4.8 7.8 1.5 1.7
3.4 7.9 1.5 2.0 -0.5 3.0 4.7 3.0 6.3 2.2 5.0 5.8 5.1 2.8 2.9
ที่มา : รวบรวมและประมาณการโดย สศค. ใช้สัดส่วนการส่งออกปี 2553
1.1 เศรษฐกิจจีน (ตลาดส่งออกใหญ่อนั ดับ 1 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 11.7 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวม ในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง เล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 เป็นผลมาจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลงอย่างชัดเจน สะท้อนจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 8.1 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 นอกจากนี้ ในด้านอุปสงค์ การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในระดับต�่ำ สะท้อนจากยอดค้าปลีก ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 14.5 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ซึ่งเป็น ผลส่วนหนึ่งมาจากการชะลอตัวของภาคการบริการจัดเลี้ยงซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายภาครัฐซึ่ง เป็นฐานลูกค้ารายใหญ่ อย่างไรก็ตามการลงทุนขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากการลงทุนในสินทรัพย์คงทนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 20.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและภาคการค้าระหว่างประเทศเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยมูลค่าการส่งออก ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนมูลค่าการน�ำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.5
10
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มเห็นการปรับเพิ่มสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ โดย อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นจากร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 อันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและที่อยู่อาศัยเป็นส�ำคัญ ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2556 (เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556) เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้ม
ขยายตัวชะลอลงต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อน ทัง้ จากการหดตัวของภาคอุปสงค์และอุปทานในประเทศ รวมทัง้ ภาคการค้า ระหว่างประเทศ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจในทุกภาคส่วน กล่าวคือ หากพิจารณาด้านอุปสงค์พบว่า ด้านการบริโภค ภาคเอกชน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 ลดลงมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 101.4 จุด จากระดับ 105.1 จุด ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 โดยดัชนีฯ ในเดือนพฤษภาคม 2556 อยูต่ ำ�่ กว่าระดับ 100 เป็นครัง้ แรกในรอบ 8 เดือน บ่งชีค้ วามไม่เชือ่ มัน่ ของผู้บริโภค ด้านการลงทุนภาคเอกชน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสนี้ขยายตัวชะลอลง จากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ราคาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเดียวกันปรับตัว สูงขึน้ ต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อน เป็นสัญญาณความเสีย่ งต่อการเกิดภาวะฟองสบูใ่ นภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยราคาบ้านใหม่เฉลีย่ เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.2 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ทั้งนี้ราคาบ้านใหม่ เดือนพฤษภาคม 2556 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 สูงสุดในรอบ 28 เดือน แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการชะลอการขยายตัวของ ภาคอสังหาริมทรัพย์แล้วก็ตาม ทางด้านการค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออกเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 ขยายตัวชะลอลง อย่างมาก เหลือเพียงร้อยละ 7.4 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ลดลงจากร้อยละ 18.3 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 เนือ่ งจากการส่งออก ไปยังคู่ค้าส�ำคัญชะลอตัวหรือหดตัว โดยเฉพาะฮ่องกงซึ่งเป็นคู่ค้าล�ำดับที่ 2 และยูโรโซนซึ่งเป็นคู่ค้าล�ำดับที่ 3 สอดคล้องกับ การน�ำเข้าที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย เหลือเพียงร้อยละ 7.8 จากร้อยละ 8.5 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 นอกจากนี้ หากพิจารณา ด้านอุปทานพบว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมได้สง่ สัญญาณชะลอตัวต่อเนือ่ ง สะท้อนจากดัชนีผจู้ ดั การฝ่ายจัดซือ้ ภาคอุตสาหกรรม ทีจ่ ดั ท�ำโดย HSBC เฉลีย่ ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 ปรับตัวลงไปอยูท่ รี่ ะดับ 49.8 จุด บ่งชีก้ ารหดตัวของการผลิต โดยดัชนีฯ ในเดือนพฤษภาคม 2556 อยู่ต�่ำกว่าระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ระดับราคาปรับตัว ลดลงและยังคงมีเสถียรภาพ บ่งชี้จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวที่ร้อยละ 7.9 ขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อย จากปีก่อนซึ่งขยายตัว ร้อยละ 7.8 โดยผู้น�ำคนใหม่รุ่นที่ 5 ของจีนคือประธานาธิบดี Xi JinPing และนายกรัฐมนตรี Li KeQiang มุ่งเน้นแผนการพัฒนา ประเทศโดยให้ความส�ำคัญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การลดความเหลื่อมล�้ำด้านรายได้ของประชากร การเพิ่ม การลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐาน โดยเฉพาะด้านคมนาคมและการส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว โดยมีการตัง้ เป้าหมายอัตราการขยายตัว ทางเศรษฐกิจไว้ที่ร้อยละ 7.5 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และการส่งออกลดลงจากร้อยละ 10.0 ต่อปีในปีก่อนเป็นร้อยละ 8.0 ต่อปี ซึ่งจากทิศทางโดยรวมของเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 1 และในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ที่แสดงสัญญาณชะลอตัว บ่งชีถ้ งึ ความเสีย่ งทีเ่ ศรษฐกิจจีนในปี 2556 อาจไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางจีนสามารถพิจารณา ใช้การลดอัตราดอกเบี้ยเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มเติมในส่วนของการเกิด ประมาณการเศรษฐกิจไทย
11
ภาวะฟองสบูใ่ นตลาดอสังหาริมทรัพย์ทรี่ าคาบ้านใหม่ยงั คงเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง แม้วา่ รัฐบาลจะได้ออกมาตรการหลายมาตรการ มาเพื่อบรรเทาปัญหานี้ ทั้งนี้ ผู้น�ำจีนได้แสดงจุดยืนว่าจะให้ความส�ำคัญกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อก้าวสู่การขยายตัว ที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น จึงอาจเป็นได้ว่ารัฐบาลจีนจะยอมรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอความร้อนแรงลงบ้างในปี 2556 หากเปรียบเทียบกับช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อแลกกับเส้นทางสู่ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและมีเสถียรภาพกว่า ในระยะยาว 1.2 เศรษฐกิจญี่ปุ่น (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.2 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 เศรษฐกิจญีป ่ นุ่ ยังคงขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น หรือ ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) นับเป็นสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยการขยายตัวดังกล่าวเป็นผลมาจาก การบริโภคภาคเอกชนและภาคการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นส�ำคัญ ขณะที่ การลงทุน ภาคเอกชนที่หดตัวต่อเนื่องยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตรา การว่างงานในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 ทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของก�ำลังแรงงานรวม ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยที่ร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งลดลงจากร้อยละ -0.2 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้ ธนาคารกลาง ญี่ ปุ ่ น ยั ง คงอั ต ราดอกเบี้ ย นโยบายในระดั บ ต�่ ำ ที่ ช ่ ว งร้ อ ยละ 0.0-0.1 ต่ อ ปี จากการที่ ญี่ ปุ ่ น ยั ง คงเผชิ ญ กั บ ภาวะเงิ น ฝื ด และเพื่อสนับสนุนการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศ ภาพที่ 2 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2556 (เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556) เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัว
ดีขึ้นจากไตรมาสก่อน แต่ยังคงมีความเสี่ยงจากแรงกดดันด้านเงินฝืดเป็นส�ำคัญ พิจารณาจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคอุตสาหกรรมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ระดับ 51.3 จุด ซึ่งเกินกว่าระดับ 50 จุด นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2556 สะท้อนกิจกรรมการผลิตในญี่ปุ่นที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดค้าปลีกในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 ที่ขยายตัว ในอัตราต�่ำเฉลี่ยร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศส่งสัญญาณดีขึ้นต่อเนื่อง จากมูลค่า การส่งออกในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ค่าเงินที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจยูโรโซนที่ยังคงหดตัวที่ส่งผลกระทบผ่านช่องทางการค้า เนื่องจากยูโรโซน เป็นคู่ค้าส�ำคัญอันดับ 3 ของญี่ปุ่น (สัดส่วนปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 7.6 ของมูลค่าการส่งออกรวม) ผนวกกับแรงกดดันจาก ภาวะเงินฝืดยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของอุปสงค์ภายในประเทศเป็นส�ำคัญ ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 1.5 ซึ่งชะลอลงจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานต�่ำที่หมดไปในปีก่อน ทั้งนี้ ในปี 2556 คาดว่าญี่ปุ่นจะยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเงินฝืด ที่ต่อเนื่องยาวนาน โดยระดับอัตราเงินเฟ้อปัจจุบัน ณ เดือนพฤษภาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน นับว่าอัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 1 ปีแล้ว อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจญี่ปุ่นในยุคของนายกรัฐมนตรี
12
ชินโสะ อาเบะ ได้พยายามออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ “มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ” (Quantitative and Qualitative Easing : Q2) ซึ่งประกาศออกมาเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2556 อันมีเป้าหมาย ทีจ่ ะเพิม่ ฐานเงินขึน้ เป็น 2 เท่า ผ่านการเข้าซือ้ พันธบัตรรัฐบาลและสินทรัพย์ทางการเงินอืน่ ๆ โดยยังคงเป็นความท้าทายส�ำคัญว่า จะส่งผลท�ำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับมาฟื้นตัวและหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดได้ตามกรอบเป้าหมายภายในระยะเวลา 2 ปี หรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นส�ำคัญที่จะต้องติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด 1.3 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 3 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.9 ของมูลค่า ส่งออกสินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอุปสงค์ในประเทศเป็นส�ำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 1.9 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เพิม่ ขึน้ เล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 1.8 ในขณะทีก่ ารลงทุนภาคเอกชนขยายตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า ที่ร้อยละ 4.0 จากการตัดสินใจชะลอการลงทุนของนักลงทุน จากกรณีการตัดลดงบประมาณรายจ่ายอัตโนมัติ (Sequestration) ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2556 เป็นส�ำคัญ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ถึงแม้จะยังคงอยู่ในระดับร้อยละ 7.7 ของก�ำลังแรงงานรวม ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนวิกฤติเศรษฐกิจที่อยู่ที่ ประมาณร้อยละ 5.0 ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ที่อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ภาพที่ 3 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC ค�ำนวณโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2556 (เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556) อุปสงค์ในประเทศของ
สหรัฐอเมริกามีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐอเมริกา เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ถึง 394,000 ต�ำแหน่ง และอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.6 ของ ก�ำลังแรงงานรวม โดยมีแรงงานกลับเข้าสู่ตลาดมากขึ้น เป็นสัญญาณบวกว่าผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นในสภาพเศรษฐกิจ อีกทั้งยอดค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึน้ จากไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 3.1 ขณะทีย่ อดค�ำสัง่ ซือ้ สินค้าคงทนหักสินค้ายุทโธปกรณ์ในช่วงเดือนเมษายนพฤษภาคม 2556 ขยายตัวสูงทีร่ อ้ ยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เร่งขึน้ จากไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 1.0 และ ยอดจ�ำหน่ายบ้าน (Existing Home Sales) ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 อยู่ที่ 9.7 แสนหลัง หรือคิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวทีร่ อ ้ ยละ 2.0 หรือในช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 1.5-2.5 ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 โดยคาดว่าในปี 2556 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะได้รับอานิสงส์จาก การฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะได้รับผลกระทบจากการตัดลดงบประมาณรายจ่ายเพื่อลดการขาดดุลการคลัง อีกทั้ง ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา บ่งชี้ว่าอาจมีการลดขนาดหรือยุติมาตรการ QE3 และ QE4 ก่อนก�ำหนดได้ หากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาแสดงการฟื้นตัวอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในภาคการจ้างงาน ประมาณการเศรษฐกิจไทย
13
1.4 เศรษฐกิจสหภาพยุโรป 17 ประเทศ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 4 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 6.5 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 หดตัวร้อยละ -1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจาก วิกฤติหนี้สาธารณะที่เรื้อรัง ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ -1.2 และร้อยละ -5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ ขณะที่อุปสงค์จากนอกประเทศยังคงขยายตัว ส่วนหนึ่งจากค่าเงิน ที่อ่อนค่าลง ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง ด้วยอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 12.1 ของก�ำลังแรงงานรวม ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 อยู่ที่ ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ภาพที่ 4 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่มา : CEIC ค�ำนวณโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2556 (เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556) เศรษฐกิจยูโรโซน
ยังคงบ่งชีภ้ าวะถดถอยต่อเนือ่ ง สะท้อนจากดัชนีผจู้ ดั การฝ่ายจัดซือ้ ทัง้ ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการทีย่ งั คงอยูร่ ะดับต�ำ่ กว่า 50 จุด โดยช่วงเดือนเมษายน–พฤษภาคม 2556 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ 46.6 จุด และ 47.3 จุด ตามล�ำดับ บ่งชี้แนวโน้มเศรษฐกิจ ด้านอุปทานที่หดตัวต่อเนื่องในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 ด้านเสถียรภาพพบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงเดือนเมษายน– พฤษภาคม 2556 ลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราการว่างงาน ณ สิ้นเดือน เมษายน 2556 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 12.2 ของก�ำลังแรงงานรวม สะท้อนอุปสงค์ในประเทศ ที่ยังไม่ฟื้นตัว สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 ที่ยังคงอยู่ระดับต�่ำกว่า 0 ต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ระดับ -22.1 จุด บ่งชี้ว่าผู้บริโภคยังคงกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในระยะต่อไป สะท้อนแนวโน้มการจับจ่ายใช้สอย ที่อาจซบเซาต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการค้าระหว่างประเทศยังคงขยายตัวได้ดี โดยมูลค่าการส่งออกเดือนเมษายน 2556 ขยายตัว ร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -0.5 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.0 ถึง 0.0 จากความเสี่ยงจากวิกฤติหนี้สาธารณะที่ยังคงเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจยูโรโซน โดยแม้ว่า ทางการยุโรปได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่ประเด็นด้านการเมืองโดยเฉพาะการเลือกตั้งทั่วไป ในเยอรมนีทจี่ ะมีขนึ้ ในช่วงเดือนกันยายน 2556 อาจส่งผลกระทบต่อความต่อเนือ่ งในการด�ำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาได้ในอนาคต ซึ่งอาจสร้างความผันผวนในตลาดการเงินยูโรโซน และกระทบต่อเสถียรภาพของค่าเงินยูโรได้ ส่งผลให้คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซน จะถดถอยต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ท่ามกลางความเสี่ยงทั้งภายในภูมิภาคและภายนอกภูมิภาค
14
1.5 เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.9 ของมูลค่าส่งออกรวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลป ิ ปินส์) ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ส่วนใหญ่ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน โดยทุกประเทศยกเว้นฟิลิปปินส์มีแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อย่างชัดเจน เป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวชะลอลง (ยกเว้นมาเลเซียที่การบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัว ในอัตราเร่งขึน้ ) และการลงทุนรวมทีข่ ยายตัวในอัตราชะลอลงหรือหดตัวเป็นส�ำคัญ ส�ำหรับการบริโภคภาครัฐนัน้ เนือ่ งจากรัฐบาล ของประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียน อาทิ ฟิลปิ ปินส์และสิงคโปร์ เริม่ หันมาด�ำเนินนโยบายการคลังเพิม่ ขึน้ เพือ่ กระตุน้ เศรษฐกิจ ท�ำให้ การบริโภคภาครัฐขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น ในส่วนภาคการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกยังคงขยายตัวในอัตราชะลอลงจนถึง หดตัวตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าส�ำคัญ อาทิ จีน ญี่ปุ่น และยูโรโซน ด้านเสถียรภาพภายในของกลุ่มประเทศอาเซียนในไตรมาสแรกของปี 2556 พบว่า อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยปรับตัว เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน จากราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี ซึ่งท�ำให้ราคาสินค้าในหมวด อาหารสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัว ส่งผลให้ธนาคารกลาง ของประเทศในกลุ่มอาเซียนส่วนใหญ่ยังตัดสินใจไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตารางที่ 2 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ มาเลเซีย (สัดส่วนการส่งออก ปี 2555) (5.6%) อัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy) การบริโภคภาคเอกชน 3.8 การบริโภคภาครัฐ 0.0 การลงทุนรวม 3.3 การส่งออกสุทธิ -3.7 การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง 0.7
สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ (5.1%) (4.5%) (3.2%) (2.1%) 0.2
6.0
4.9
7.8
0.6 1.8 -1.2 -4.7 3.7
2.9 0.0 1.4 1.8 -0.1
n.a. n.a. n.a. n.a. n.a.
3.6 1.4 3.6 -4.3 3.6
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 5 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 6 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2556 (เดือน
เมษายน-พฤษภาคม 2556) อุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศยังคงหดตัว แต่ด้านอุปทานกลับขยายตัวเร่งขึ้น เมือ่ พิจารณาด้านอุปสงค์ภายในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 การบริโภคภาคเอกชนของประเทศในกลุม่ อาเซียนมีแนวโน้มขยายตัว ในอัตราชะลอลงถึงหดตัว สะท้อนจากตัวเลขยอดค้าปลีกในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศ การส่งออกของกลุม่ ประเทศอาเซียนส่วนใหญ่หดตัวหรือขยายตัวในอัตราชะลอลง ยกเว้นอินโดนีเซีย ทัง้ นี้ เป็นผลจากการส่งออก ประมาณการเศรษฐกิจไทย
15
ไปยังจีนที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรกเป็นส�ำคัญ อย่างไรก็ตาม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวสูงขึ้น สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวสูงขึ้นจากดัชนีค�ำสั่งซื้อใหม่ของสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ส่งสัญญาณถึงแนวโน้มการส่งออกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าส�ำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ ในอนาคตอันใกล้ ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจของกลุม ่ ประเทศอาเซียนโดยรวมจะขยายตัวชะลอลงจากปี 2555 โดย สศค. คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.7 ในปี 2556 ชะลอลงจากปีก่อนที่ขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 5.2 จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงส่งผลกระทบต่อการส่งออกต่อเนื่องสู่ภาคเศรษฐกิจจริง เป็นแรงผลักดัน ให้หลายประเทศในอาเซียนยังคงต้องด�ำเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป อย่างไรก็ตาม แรงกดดันจากเงินเฟ้ออาจเป็นข้อจ�ำกัดในการด�ำเนินนโยบายของรัฐบาลของกลุ่มประเทศอาเซียนได้ 1.6 เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลีย (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.6 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจประเทศคูค ่ า้ อืน่ ๆ ในเอเชีย (ฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน) และออสเตรเลียในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวต่อเนือ่ ง ทัง้ นี้ ยังคงมีความเสีย่ งจากอุปสงค์นอกประเทศทีท่ ศิ ทางการฟืน้ ตัวยังไม่ชดั เจน โดยเศรษฐกิจ ฮ่องกงและอินเดียขยายตัวเร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนจากอุปสงค์ในประเทศทีเ่ ติบโตอย่างต่อเนือ่ งเป็นหลัก ส่วนเศรษฐกิจทีข่ ยายตัว ในอัตราชะลอลง ได้แก่ ออสเตรเลียและไต้หวัน โดยเป็นผลมาจากการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนรวมที่ชะลอตัวลง ในไตรมาสดังกล่าว ขณะทีเ่ ศรษฐกิจเกาหลีใต้ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ด้านเสถียรภาพภายในประเทศพบว่า ระดับราคาสินค้า โภคภัณฑ์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพมากขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ยกเว้นออสเตรเลียที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ซึ่งเป็นผลจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไต้หวันยังทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ตารางที่ 3 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ (สัดส่วนการส่งออก ปี 2555) อัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy) การบริโภคภาคเอกชน การบริโภคภาครัฐ การลงทุนรวม การส่งออกสุทธิ การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง
ฮ่องกง ออสเตรเลีย อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน (5.7%) (4.9%) (2.4%) (2.1%) (1.5%) 2.8
2.4
4.8
1.5
1.7
4.6 0.2 -0.5 -1.7 0.2
1.1 0.1 0.0 2.3 -1.1
2.3 0.1 1.2 -1.3 2.5
0.8 0.2 -0.9 1.0 0.3
0.2 0.0 1.1 -0.1 0.4
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 7 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
16
ภาพที่ 8 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ปี 2556
(เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556) ทิศทางการฟื้นตัวของอุปสงค์นอกประเทศที่ไม่ชัดเจนยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญ ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าว พิจารณาจากช่องทางค้าระหว่างประเทศ สะท้อนจากมูลค่าการส่งออก ในเดือนเมษายน 2556 ที่ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกของไต้หวันและออสเตรเลียกลับมาหดตัว อีกครัง้ ตามการส่งออกไปยังจีนและสหรัฐอเมริกาทีช่ ะลอลงเป็นส�ำคัญ ยกเว้นการส่งออกของเกาหลีใต้ทเี่ ริม่ ปรับตัวดีขนึ้ ตามล�ำดับ ประกอบกับเมื่อพิจารณาในส่วนของภาคการผลิตในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 พบว่าชะลอลงจากไตรมาสก่อน บ่งชี้ถึงกิจกรรม การผลิตของประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียที่แผ่วลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา (ภาพที่ 7 และภาพที่ 8) ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในภาพรวม มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ชะลอลงเป็นส�ำคัญ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 ธนาคารกลางของออสเตรเลีย อินเดีย และ เกาหลีใต้ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ บ่งชี้ว่า ประเทศดังกล่าวมีความพยายามที่จะมุ่งเน้นการเติบโตภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง
2. ราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลก “ในปี 2556 คาดว่าราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะอยู่ที่ 106.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 101.0–111.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) ลดลงจากปี 2555 เนือ่ งจากการฟืน้ ตัวอย่างล่าช้าของเศรษฐกิจโลก ทีจ่ ะส่งผล ให้อุปสงค์ของน�้ำมันดิบขยายตัวชะลอลง โดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศยูโรโซนเป็นส�ำคัญ ประกอบกับความกังวลของ นักลงทุนต่อการประกาศเตรียมลดมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกา ท�ำให้นกั ลงทุนบางส่วนมีการลดการถือครองสินทรัพย์ ต่าง ๆ รวมถึงสินทรัพย์ในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น�้ำมัน อีกด้วย ขณะที่อุปทานน�้ำมันดิบโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น จากการผลิตน�ำ้ มันจากทัง้ กลุม่ OPEC และกลุม่ Non-OPEC น�ำโดยประเทศสหรัฐอเมริกาทีม่ เี ทคโนโลยีการผลิตน�ำ้ มัน แบบใหม่ (Shale Gas) อย่างไรก็ดี ความไม่สงบทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลาง อาทิ ซีเรียและอียิปต์ อาจเป็น แรงกดดันระยะสั้นที่จะท�ำให้ราคาน�้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นในกรอบที่จ�ำกัด” ภาพที่ 9 สมมติฐานราคาน�้ำมันดิบดูไบในปี 2556
ที่มา : Reuters
➥➥ ราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปี 2556 คาดว่าจะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 106.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จาก
ปี 2555 ที่อยู่ ณ ระดับ 109.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นการหดตัวร้อยละ 2.8 จากปี 2555 โดยในช่วง 5 เดือนแรก ของปี 2556 ราคาน�้ำมันดิบดูไบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนือ่ งจากปลายปี 2555 จากการฟืน้ ตัวทีล่ า่ ช้าของเศรษฐกิจโลก เป็นส�ำคัญ โดยเฉพาะเศรษฐกิจยูโรโซนและสหรัฐอเมริกาท�ำให้อุปสงค์การใช้น�้ำมันทั้งจากภาคการผลิตและการบริโภค ประมาณการเศรษฐกิจไทย
17
ลดลง อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลล่าสุดเดือนมิถุนายน 2556 ราคาน�้ำมันดิบปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 100.0 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จาก การประกาศเตรียมลดเม็ดเงินในมาตรการ QE ส่วนด้านอุปทานน�้ำมันคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการผลิตน�้ำมันจากทั้งกลุ่ม OPEC และกลุ่ม Non-OPEC น�ำโดยประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีเทคโนโลยีการผลิตน�้ำมันแบบใหม่ (Shale Gas) ถึงแม้ว่าจะได้รับ แรงกดดันจากความตึงเครียดในประเทศอิหร่านจากการเข้าตรวจอาวุธนิวเคลียร์โดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IEA) ประกอบกับเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศผูผ้ ลิตน�ำ้ มันดิบ ได้แก่ ซีเรีย อิสราเอล ซีดาน และอียปิ ต์ ซึง่ อาจส่งผลกระทบ เล็กน้อยต่ออุปทานน�้ำมันดิบในระยะสั้น ➥➥ ปัจจัยหลักทีส ่ ง่ ผลต่อราคาน�ำ้ มันดิบดูไบในปี 2556 คือ 1) การชะลอตัวลงของอุปสงค์ตอ่ น�ำ้ มันดิบโลก ตามการฟื้นตัวอย่างล่าช้าของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป ประกอบกับ การลดลงของการเก็งก�ำไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Market) เนือ่ งจากการเตรียมการปรับลดปริมาณเม็ดเงิน จากมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกาที่จะอัดฉีดเข้าสู่เศรษฐกิจโลก ขณะที่ 2) อุปทานน�้ำมันดิบโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น จากการผลิตน�ำ้ มันจากทัง้ กลุม่ OPEC และกลุม่ Non-OPEC น�ำโดยประเทศสหรัฐอเมริกาทีม่ เี ทคโนโลยีการผลิตน�ำ้ มัน แบบใหม่ (Shale Gas) 1) อุปสงค์ต่อน�้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น International Energy Agency (IEA) คาดว่าในปี 2556 ความต้องการน�้ำมันดิบ ทั่วโลกจะอยู่ที่ 90.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ระดับ 89.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือขยายตัวเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.9 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากความต้องการของประเทศนอกกลุม่ OECD เป็นส�ำคัญ ประเทศในกลุ่ม OECD คาดว่าในปี 2556 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 45.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับ ปี 2555 ที่อยู่ที่ระดับ 46.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการปรับตัวลดลง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือหดตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี ในขณะที่ประเทศนอกกลุ่ม OECD คาดว่าในปี 2556 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 45.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ 43.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี
• •
2) อุปทานน�้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น คาดว่าในปี 2556 ปริมาณน�้ำมันดิบที่ผลิตทั่วโลกจะอยู่ที่ 93.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ 91.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 2.6 จากปีก่อนหน้า ในกลุ่ม OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตน�้ำมันดิบในปี 2556 จะอยู่ที่ 38.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ระดับ 37.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 3.5 โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้น มาจากประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นหลัก ส่วนในกลุ่ม Non-OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตในปี 2556 อยู่ที่ระดับ 54.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ 53.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี เนื่องจากการผลิตที่เพิ่มขึ้น จากกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและรัสเซียเป็นส�ำคัญ
• •
3. ราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2556 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 1.1 โดยเป็นการขยายตัวของราคาสินค้าในทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดอุตสาหกรรมทีค่ าดว่าจะมีราคาสูงขึน้ ตามเศรษฐกิจโลกทีค่ าดว่าจะฟืน้ ตัวจากปีกอ่ นหน้า ขณะทีร่ าคา สินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรคาดว่าจะมีการขยายตัวเพียงเล็กน้อยจากแรงกดดันของราคายางพารา และราคาน�ำ้ ตาลทรายทีล่ ดลงเป็นหลัก ส่วนราคาสินค้าน�ำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 0.6 ชะลอตัวจากปีกอ่ น จากสมมติฐาน ราคาน�้ำมันดิบโลกที่คาดว่าจะหดตัวจากปีก่อนเป็นส�ำคัญ
18
ภาพที่ 10 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2556 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออก (รูปดอลลาร์สหรัฐ)
อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ)
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และ สศค.
3.1 ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าส่งออกในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.1 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.1-2.1) ขยายตัว เร่งขึน้ จากปีกอ่ นหน้าเล็กน้อย โดยเป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจโลกทีค่ าดว่าจะปรับตัวดีขนึ้ กว่าปีกอ่ น ส่งผลให้อปุ สงค์ตอ่ สินค้า ส่งออกของไทยเพิม่ ขึน้ ท�ำให้ราคาปรับตัวสูงขึน้ อย่างไรก็ดี จากข้อมูลล่าสุดพบว่า เศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัวจากเศรษฐกิจจีน เป็นหลัก จึงส่งผลให้ราคาสินค้าส่งออกอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในกรอบที่จ�ำกัด ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรก ดัชนีราคาสินค้าส่งออก โดยเฉลี่ยไม่มีการเปลี่ยนแปลง (ขยายตัวร้อยละ 0) โดยราคาสินค้าอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 5.2 ขณะที่ราคาสินค้า หมวดอืน่ มีการหดตัว ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรหดตัวจากราคายางพาราเป็นส�ำคัญ ส่วนราคาสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรหดตัว จากราคาน�้ำตาลทรายเป็นหลัก และสินค้าเชื้อเพลิงหดตัวจากราคาน�้ำมันดิบโลกที่อยู่ในระดับต�่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.2 ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าน�ำเข้าในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.6 (ช่วงคาดการณ์ทรี่ อ ้ ยละ -1.6 ถึง 1.6) ขยายตัว ชะลอลงจากปีกอ่ น เนือ่ งจากคาดว่าราคาน�ำ้ มันดิบโลกซึง่ เป็นสินค้าน�ำเข้าส�ำคัญของไทยจะมีการหดตัวลดลงจากปีกอ่ น ขณะที่ ราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ได้แก่ สินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ สินค้าอุปโภค-บริโภค และสินค้ายานพาหนะ มีการขยายตัวเพียง เล็กน้อย ส่งผลให้ดชั นีรวมมีการขยายตัวชะลอลงจากปีกอ่ น ทัง้ นีใ้ นช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 ดัชนีราคาสินค้าน�ำเข้ามีการหดตัว ร้อยละ 2.4 จากการหดตัวของสินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าวัตถุดิบเป็นส�ำคัญ
4. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ “ในปี 2556 ค่าเงินบาทเฉลี่ยมีทิศทางแข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในปี 2555 ที่ 31.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 30.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือในช่วงคาดการณ์ระหว่าง 29.00-31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 11)”
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
19
ภาพที่ 11 สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยในปี 2556
ที่มา : Reuters
4.1 สถานการณ์ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา หากพิจารณาทิศทางความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐปัจจุบันเทียบกับต้นปี 2556 แล้วจะพบว่าค่าเงินบาทอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงต้นปี หลังจากแข็งค่าขึ้นมาตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2556 (ภาพที่ 12) เนื่องจากเงินทุนจ�ำนวนมากไหลเข้าตลาดทุนไทย โดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเดือนมกราคม 2556 และ ตลาดพันธบัตรในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2556 ซึง่ มีสาเหตุสำ� คัญจากความส�ำเร็จในการเจรจาแก้ปญ ั หาหน้าผาทางการคลัง สหรัฐอเมริกา ในช่วงข้ามปี 2555-2556 ท�ำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจโลกดีขึ้น ประกอบกับธนาคารกลางของ ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นได้ประกาศท�ำมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติม ปัจจัยเหล่านีท้ ำ� ให้นกั ลงทุนกลับมาซือ้ สินทรัพย์เสีย่ งในภูมภิ าค ท�ำให้คา่ เงินบาทแข็งค่าขึน้ ในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ภายหลัง จากค่าเงินบาทแข็งขึ้นแตะระดับ 28.660 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 22 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 16 ปี ค่าเงินบาทเริม่ มีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนือ่ ง จากความกังวลของนักลงทุนว่าอาจมีมาตรการเพือ่ ควบคุมเงินทุนไหลเข้า ตลอดจน ในเดือนมิถุนายน 2556 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor’s ได้ปรับขึ้นแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของ สหรัฐอเมริกา จาก “เชิงลบ” เป็นระดับ “มีเสถียรภาพ” และการทีธ่ นาคารกลางสหรัฐอเมริกาอาจปรับลดความเข้มข้นของมาตรการ ทางการเงินแบบผ่อนคลาย ส่งผลให้วาณิชธนกิจต่างชาติขนาดใหญ่ลดสัดส่วนการลงทุนในไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ท�ำให้นักลงทุนขายสุทธิทั้งในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2556 อีกทั้งคณะกรรมการ นโยบายการเงินได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ท�ำให้แรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทลดลง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง แตะระดับ 31.107 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ภาพที่ 12 อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐรายวัน
ที่มา : CEIC / สศค.
ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลเข้าส่วนหนึ่งสะท้อนในดุลบัญชีการช�ำระเงิน (Balance of Payment) ในช่วง 5 เดือนแรกของ ปี 2556 ทีเ่ กินดุลสะสม 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 13) เป็นอีกปัจจัยทีท่ ำ� ให้คา่ เงินบาทแข็งค่าขึน้ ในช่วงทีผ่ า่ นมา
20
ภาพที่ 13 ดุลการช�ำระเงินของประเทศไทยปี 2555-2556
ที่มา : ธปท.
4.2 แนวโน้มของค่าเงินบาทในระยะถัดไป ในปี 2556 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สหรัฐจะมีแนวโน้มแข็งค่าจากปี 2555 ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 30.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีชว่ งคาดการณ์อยูท่ รี่ ะดับ 29.00-31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) และคาดว่าจะยังคง มีความผันผวนสูง อันเป็นผลจากความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาอาจยุติมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลาย ระลอกที่ 3 และระลอกที่ 4 (QE3 และ QE4) ในช่วงปลายปี 2556 นีห้ ากเครือ่ งชีท้ างเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาบ่งชีถ้ งึ การฟืน้ ตัว ทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ซึง่ ส่งผลให้นกั ลงทุนเริม่ กังวลต่อสภาพคล่องดอลลาร์สหรัฐทีอ่ าจลดลงในอนาคต และเริม่ ถอนเงิน กลับจากตลาดภูมิภาคไปสู่สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง (Safe Haven) ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ค่าเงินบาทตลอดจนค่าเงิน ในภูมิภาคอื่น ๆ มีความผันผวนตามไปด้วย
5. อัตราดอกเบี้ยนโยบาย “สศค.คาดการณ์วา่ ในปี 2556 อัตราดอกเบีย้ นโยบายจะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.50 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ 2.00-3.00 ต่อปี)” ➥➥ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ดำ� เนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
ต่อเนื่องในปี 2555 จากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอลงชัดเจน โดยเฉพาะจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยูโรโซน ที่ยังคงเรื้อรังต่อเนื่อง กอปรกับค่าเงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นปี 2556 ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อในปัจจุบันยังคง อยูใ่ นระดับทีบ่ ริหารจัดการได้ ส่งผลให้ในเดือนพฤษภาคม 2556 กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบีย้ นโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยูท่ ี่ ร้อยละ 2.50 ภาพที่ 14 อัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และ ธปท. รวบรวมโดย สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
21
➥➥ ในปี 2556 สศค.คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 2.50 (ช่วงคาดการณ์
2.00-3.00) จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงส่งสัญญาณชะลอลงต่อเนื่อง ขณะที่คาดว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้อจะยังอยู่ ในระดับไม่สูงมากนัก ภาพที่ 15 สมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี
ที่มา : ธปท. ประมวลผลโดย สศค.
6. รายจ่ายภาคสาธารณะประจ�ำปีงบประมาณ 2556 “ปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายภาคสาธารณะ (ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล (2) รายจ่ายองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ) สามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 3,162,915 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส�ำหรับปีงบประมาณ 2557 รายจ่ายภาคสาธารณะคาดว่าจะสามารถ เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 3,261,100 ล้านบาท ขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน” 6.1 กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลตั้งกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2,400,000 ล้านบาท ซึ่งเป็น การด�ำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล 300,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.5 ของ GDP1 ภายใต้ประมาณการจัดเก็บ รายได้รัฐบาลเท่ากับ 2,100,000 ล้านบาท โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 1,900,477 ล้านบาท (2) รายจ่ายลงทุน 450,374 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ 49,150 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีการใช้จ่ายงบประมาณภายใต้พระราชก�ำหนด (พ.ร.ก.) ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินกู้ 350,000 ล้านบาท ส�ำหรับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2557 มีจำ� นวน 2,525,000 ล้านบาท ซึง่ เป็นการด�ำเนินนโยบาย งบประมาณแบบขาดดุล 250,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 1.9 ของ GDP2 ภายใต้ประมาณการการจัดเก็บรายได้รัฐบาล เท่ากับ 2,275,000 ล้านบาท โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 2,017,244 ล้านบาท (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 13,424 ล้านบาท (3) รายจ่ายลงทุน 441,510 ล้านบาท และ (4) รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ 52,822 ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2555 12,295,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2556 13,242,000 ล้านบาท
1 2
22
ตารางที่ 4 กรอบโครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2556 และ 2557 ปีงบประมาณ
2556
2557
1. วงเงินงบประมาณ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราเพิ่ม) 1.1 รายจ่ายประจ�ำ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.2 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.3 รายจ่ายลงทุน (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.4 รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว)
2,400,000.0 19.5 0.8 1,900,476.7 79.2 3.2 - - -100 450,373.8 18.7 2.7 49,149.5 2.1 4.9
2,525,000.0 19.1 5.2 2,017,244.0 79.9 5.3 13,423.7 0.5 100.0 441,510.4 17.5 1.5 52,821.9 2.1 8.3
2. ประมาณการรายได้ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราขยายตัว)
2,100,000.0 17.2 6.1
2,275,000.0 17.3 8.3
3. การขาดดุล/เกินดุล (สัดส่วนต่อ GDP)
-300,000.0 2.5
-250,000.0 1.9
4. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ 12,295,000.0 (GDP) เบื้องต้น
13,242,000.0
ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ
ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2556 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ 2,256,270 ล้านบาท ภายใต้สมมติฐาน การเบิกจ่ายร้อยละ 94.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2,400,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ จ�ำนวน 2,521,361 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 1) รายจ่ายประจ�ำ 1,934,518 ล้านบาท 2) รายจ่ายลงทุน 321,751 ล้านบาท และ รายจ่ายเหลื่อมปี 225,246 ล้านบาท ส�ำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัตกิ ารไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 6,312 ล้านบาท และการเบิกจ่ายตาม พ.ร.ก.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 ที่คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 33,534 ล้านบาท ส�ำหรับ ในปีงบประมาณ 2557 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 2,374,190 ล้านบาท ภายใต้สมมติฐานการเบิกจ่าย ร้อยละ 94.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2,400,000 ล้านบาท ซึง่ เป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณจ�ำนวน 2,606,100 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 1) รายจ่ายประจ�ำ 2,008,590 ล้านบาท 2) รายจ่ายลงทุน 365,600 ล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปี 155,088 ล้านบาท ส�ำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ 2557 คาดว่า จะมีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท และการเบิกจ่ายตาม พ.ร.ก.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหาร จัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 73,822 ล้านบาท
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
23
ตารางที่ 5 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลปีงบประมาณ 2556 และ 2557
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2556 ปีงบประมาณ 2557 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 2556 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 2556
กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย
2,400,000
2,525,000
อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ
94.0%
94.0%
2,521,361 2,481,515 1,934,518 321,751 2,256,270 225,246
2,606,100 2,529,278 2,008,590 365,600 2,374,190 155,088
39,846 5,688
76,822 3,000
63,883
73,822
1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) (3) รายจ่ายเหลื่อมปี 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท) ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
6.2 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) ในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมทัง้ สิน้ 337,862 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2557 คาดว่า อปท.จะมีการเบิกจ่าย งบประมาณรวม 366,166 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 8.4 เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพิ่มมากขึ้น ส�ำหรับการใช้จ่ายงบประมาณในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายและจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในด้าน คุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ตารางที่ 6 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2556 และ 2557 (หน่วย : ล้านบาท)
รายจ่ายท้องถิ่น
ปีงบประมาณ 2556 ปีงบประมาณ 2557 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 2556 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 2556 337,862
366,166
ที่มา : สศค. และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ค�ำนวณโดย สศค.
6.3 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 300,151 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เนือ่ งจากในปี 2556 เป็นปีทรี่ ฐั บาลมีนโยบายส่งเสริม การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในระยะยาว โดยรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ สูงสุด 5 ล�ำดับแรก ได้แก่ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2557 คาดว่า รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจจะสามารถเบิกจ่ายได้ 310,721 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.5
24
ตารางที่ 7 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2556 และ 2557 รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2556 ปีงบประมาณ 2557 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 2556 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 2556 300,151
310,721
ที่มา : สศค. และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ค�ำนวณโดย สศค.
6.4 สรุปรวมรายจ่ายภาคสาธารณะ จากสมมติ ฐ านการใช้ จ ่ า ยของรั ฐ บาล องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และการลงทุ น ของรั ฐ วิ ส าหกิ จ ในปีงบประมาณ 2556 ดังกล่าว ท�ำให้คาดว่าในปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายภาคสาธารณะสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ 3,159,374 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาลรวมจ�ำนวน 2,521,361 ล้านบาท (2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 337,862 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 300,151 ล้านบาท ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2557 คาดว่ารายจ่ายภาคสาธารณะจะสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ 3,282,986 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาลรวมจ�ำนวน 2,606,100 ล้านบาท (2) รายจ่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 366,166 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 310,721 ล้านบาท ตารางที่ 8 สมมติฐานการเบิกรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2556 และ 2557 (หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2556 ปีงบประมาณ 2557 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 2556 คาดการณ์ ณ มิ.ย. 2556
กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย
2,400,000
2,525,000
อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ
94.0%
94.0%
1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) (3) รายจ่ายเหลื่อมปี 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท)
2,521,361 2,481,515 1,934,518 321,751 2,256,270 225,246 39,846 6,312
2,606,100 2,529,278 2,008,590 365,600 2,374,190 155,088 76,822 3,000
33,534
73,822
2. รายจ่ายท้องถิ่น
337,862
366,166
3. รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ
300,151
310,721
4. รายจ่ายภาคสาธารณะ (1+2+3)
3,159,374
3,282,986
ที่มา : สศค. และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ค�ำนวณโดย สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
25
ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 1. ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “สศค.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2556 จะขยายตัวร้อยละ 4.5 (โดยมีชว่ งคาดการณ์รอ้ ยละ 4.0-5.0) ชะลอลง จากปี 2555 ที่เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 6.5 ตามการฟื้นตัวอย่างช้าของเศรษฐกิจโลก” ➥➥ สศค.คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2556 จะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ
4.0-5.0) ซึ่ ง เป็ น การปรับลดลงจากการคาดการณ์ ครั้ ง ก่ อนที่ คาดว่ า จะขยายตั ว ไม่ ต�่ ำ กว่ า ร้ อยละ 4.8 เนื่องจาก (1) ภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ยังฟื้นตัวอย่างล่าช้า ส่งผลให้การส่งออกสินค้าจะขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับ ตลาดการเงินโลกยังคงมีความผันผวนต่อสถานการณ์ในระยะสั้น ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทให้มีความผันผวน และ จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทอีกด้วย และ (2) แนวโน้มการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน โดยเฉพาะ การบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีก่อน โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากรายได้ภาคครัวเรือนที่คาดว่า จะชะลอลง เนือ่ งจากได้รบั ผลกระทบจากรายได้ภาคเกษตรจากราคาสินค้าเกษตรบางรายการโดยเฉพาะราคายางพาราทีป่ รับตัว ลดลงจากปีก่อน นอกจากนี้ ประชาชนยังมีฐานการบริโภคที่สูงในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทนที่ได้รับอานิสงส์ จากนโยบายรถคันแรก นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางขยายตัวชะลอลง จากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร ทีไ่ ด้มกี ารเร่งลงทุนในปีกอ่ นหลังจากเหตุการณ์อทุ กภัยคลีค่ ลายลง อย่างไรก็ดี คาดว่าการใช้จา่ ยภาครัฐจะเป็นปัจจัยส�ำคัญทีจ่ ะ ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐซึง่ คาดว่าจะขยายตัวสูงถึง ร้อยละ 13.3 ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจในปี 2556 จะยังคงอยู่ในระดับแข็งแกร่ง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 ซึ่ง คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 และอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม ส่วนด้านเสถียรภาพ ภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลเล็กน้อยที่ 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ -0.5 ของ GDP ภาพที่ 16 ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
26
1.1 การบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง
1.1.1 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 12.4 และเมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว พบว่าหดตัวที่ร้อยละ 1.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวในอัตราเร่งในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับ รายได้ภาคครัวเรือนที่ชะลอตัวลงตามรายได้เกษตรกรที่หดตัว อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่สนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนให้ขยายตัว ในไตรมาสนี้ ได้แก่ การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำและการรับจ�ำน�ำข้าวเปลือก รวมถึงอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงาน ที่อยู่ในระดับต�่ำ ตลอดจนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการบริโภคจ�ำแนกตามรายหมวดส�ำคัญ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลงในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าไม่คงทน อาทิ หมวดอาหาร เครื่องดื่ม ไฟฟ้าและประปา และของใช้ในครัวเรือน ที่หดตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 โดยหมวดอาหาร ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 ส่วนหมวดที่มิใช่อาหารหดตัวร้อยละ 1.8 จากไตรมาสก่อน ที่ขยายตัวร้อยละ 9.2 ซึ่งสอดคล้องกับการบริโภคสินค้ากึ่งคงทน อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า ภาชนะ และสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือน ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ชะลอลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 ขณะที่การบริโภคในหมวดบริการ ด้านโรงแรม และภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 14.3 ส่วนบริการด้านขนส่งสื่อสารและโทรคมนาคมและบริการด้านการเงินขยายตัวร้อยละ 11.1 และร้อยละ 6.5 ตามล�ำดับ อย่างไรก็ดี การบริโภคในหมวดสินค้าคงทนยังขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลอลงจากไตรมาส ที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 43.6 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 95.0 โดยเฉพาะยอดขายในหมวดยานยนต์ (ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง รถบรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์) ที่ขยายตัวร้อยละ 67.9 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 169.2 ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตในหมวดยานยนต์ที่สามารถกลับมาผลิตได้เป็นปกติ ท�ำให้สามารถส่งมอบให้ลูกค้าได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ภาพที่ 17 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 การบริโภคภาคเอกชนทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีกอ่ นมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ
3.6 (โดยมีชว่ งคาดการณ์รอ้ ยละ 3.1-4.1) โดยส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนทีค่ าดว่าจะชะลอลง เนือ่ งจากได้รบั ผลกระทบจากรายได้ภาคเกษตรจากราคาสินค้าเกษตรบางรายการโดยเฉพาะราคายางพาราทีป่ รับตัวลดลงจากปีกอ่ น นอกจากนี้ ประชาชนยังมีฐานการบริโภคที่สูงในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทนที่ได้รับอานิสงส์จากนโยบายรถคันแรก อย่างไรก็ดี ปัจจัยทีค่ าดว่าจะสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนในปี 2556 ได้แก่ (1) ระดับราคาสินค้าทัว่ ไปทีไ่ ม่สงู มากนัก สะท้อน จากอัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 2.7 ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2556 (2) ผลจากการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
27
และค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำ 300 บาท จะยังคงมีส่วนช่วยประคับประคองให้การบริโภคภาคเอกชนไม่ให้ชะลอตัวมากนัก และ (3) อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับต�่ำ ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่าการบริโภคภาคเอกชนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลง สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (ที่สะท้อนการบริโภคภาค เอกชนโดยรวม) ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันที่ร้อยละ 14.0 ในปีก่อน ในขณะที่การบริโภคในหมวดสินค้า คงทนที่สะท้อนจากปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 53.4 และร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันที่ร้อยละ 86.6 และร้อยละ 5.8 ในปีก่อน นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการบริโภค ภาคเอกชนในปี 2556 ได้แก่ (1) การเกิดปัญหาภัยพิบัติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อ การผลิตสินค้า โดยเฉพาะการผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งในที่สุดจะกระทบต่อการบริโภคของประชาชนโดยรวม และ (2) การฟืน้ ตัวอย่างเชือ่ งช้าของเศรษฐกิจในประเทศคูค่ า้ ส�ำคัญของไทย ซึง่ รวมถึงเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ตลอดจนการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออก
1.1.2 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.5 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าหดตัวร้อยละ 4.8 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงานที่ลดลงร้อยละ 2.4 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิ ขยายตัวร้อยละ 8.9 ทั้งนี้ รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลโดยรวมในราคาประจ�ำปีมีมูลค่า 369.4 พันล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 3.8 แบ่งออกเป็นค่าตอบแทนแรงงาน 263.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.8 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิ 105.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.3 ภาพที่ 18 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 การบริโภคของภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.2-4.2) ชะลอลงจากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ทั้งนี้ พระราชบัญญัติ กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ตามมติคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2.4 ล้านล้านบาท โดยในจ�ำนวนนี้เป็นงบประมาณรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 2.0 ล้านล้านบาท โดยมีเป้าหมายอัตราการเบิกจ่าย ต่อวงเงินงบประมาณที่ร้อยละ 96.8 โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-พฤษภาคม 2556) รายจ่ายประจ�ำสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 1,329.3 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 66.5 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำ
28
1.2 การลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง
1.2.1 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 20.9 และเมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 หดตัวที่ร้อยละ 3.4 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 75.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 24.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการน�ำเข้าเครื่องจักรที่ชะลอลง โดยเฉพาะเครื่องจักรกลและเครื่องจักรไฟฟ้า เนื่องจากมีการเร่งน�ำเข้าในระดับสูงในช่วงปลายปีที่แล้ว ท�ำให้การลงทุนในหมวด เครื่องจักรอุตสาหกรรมหดตัวลงร้อยละ 9.0 ขณะที่หมวดยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 11.1 ชะลอลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 39.0 ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างภาคเอกชน (มีสดั ส่วนประมาณร้อยละ 25.0 ของการลงทุนภาคเอกชน รวม) ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 10.6 ตามการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เป็นส�ำคัญ โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยที่ติดเส้นทางรถไฟฟ้า โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 การก่อสร้างที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ ขยายตัวที่ร้อยละ 10.3 และร้อยละ 8.5 ตามล�ำดับ ขณะที่ อาคารโรงงานขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 14.1 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.7 สะท้อนถึงการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง ที่ยังขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน ภาพที่ 19 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ
5.2-6.2) ชะลอลงจากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.4 เนื่องจากอุปสงค์ภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในอัตราชะลอลง กลับสู่ระดับปกติ หลังจากที่ผู้ประกอบการได้เร่งลงทุนเพื่อการฟื้นฟูไปมากแล้วในช่วงปีก่อน อย่างไรก็ดี ภาวะการเงินโดยรวม ทีเ่ อือ้ ต่อการด�ำเนินธุรกิจสะท้อนจากสินเชือ่ ภาคธุรกิจทีข่ ยายตัวได้ดี และความชัดเจนของการลงทุนภาครัฐในส่วนของโครงสร้าง พื้นฐานระยะยาว ซึ่งคาดว่าจะช่วยสนับสนุนการลงทุนของภาคธุรกิจไม่ให้ชะลอตัวลงมากนัก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่จะช่วย สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนในปี 2556 ได้แก่ (1) การขยายตัวของการลงทุนภาครัฐในส่วนของภูมิภาค โดยเฉพาะในจังหวัด ทีเ่ ป็นจังหวัดเศรษฐกิจส�ำคัญของภูมภิ าคและจังหวัดเศรษฐกิจเกิดใหม่ (2) นโยบายภาครัฐในการกระตุน้ เศรษฐกิจด้านการลงทุน อาทิ การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 จากร้อยละ 23 ในปี 2555 ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่าในช่วง 5 เดือนแรกปี 2556 การลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณชะลอลงจากปลายปี 2555 โดยเฉพาะการลงทุนในหมวด เครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร อาทิ การน�ำเข้าสินค้าทุนขยายตัว ร้อยละ 2.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น และปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ทขี่ ยายตัวร้อยละ 16.3 ส่วนการลงทุน ประมาณการเศรษฐกิจไทย
29
ภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้างที่วัดจากเครื่องชี้เศรษฐกิจ อาทิ ปริมาณการจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (ที่สะท้อนต้นทุนในการผลิตหรือการก่อสร้าง) ขยายตัว ในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปี 2555 ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ซึ่งสะท้อนถึงราคาวัตถุดิบ ที่ใช้ในการก่อสร้างอยู่ในระดับที่ลดลงและเอื้อต่อการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง
1.2.2 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 18.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 31.1 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าหดตัว ร้อยละ 6.8 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ การลงทุนของภาครัฐที่แท้จริงสามารถแบ่งออกได้เป็น (1) การลงทุนในหมวดก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 13.4 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 27.1 โดยมีปัจจัยหลักจากการก่อสร้างของรัฐบาลกลาง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีข่ ยายตัวร้อยละ 21.6 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 52.5 ส� ำหรับการก่อสร้าง ของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 3.7 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน�้ำเงิน ช่วงหัวล�ำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ของการรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โครงการก่อสร้างเคเบิ้ลใต้น�้ำใยแก้วอ่าวไทยและระบบเชื่อมโยง Optical Fiber ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) เป็นส�ำคัญ และ (2) การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร ขยายตัว ร้อยละ 30.3 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 38.7 ทั้งนี้ การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรของจาก รัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขยายตัวร้อยละ 31.5 ส�ำหรับรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 29.4 โดยเป็นการลงทุน ด้านเครื่องจักรโรงไฟฟ้าใหม่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) ได้มีการน�ำเข้า เครื่องบินเพื่อการพาณิชย์จ�ำนวน 2 ล�ำ มูลค่า 11.9 พันล้านบาท ภาพที่ 20 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 การลงทุนของภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 12.8-13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่ขยายตัว ร้อยละ 8.9 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายรัฐบาลที่เน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาล ได้ตั้งวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 400.7 พันล้านบาท โดยมีเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณ ที่ร้อยละ 80.0 โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-พฤษภาคม 2556) รายจ่ายลงทุน สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 179.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็น
30
อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 44.6 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชก�ำหนด บริหารจัดการน�้ำฯ ตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือนกุมภาพันธ์ 2555-พฤษภาคม 2556) มีจ�ำนวน 11.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.1 ของกรอบวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท 1.3 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการทีแ ่ ท้จริงในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 8.4 เมือ่ เทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.6 จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวค่อนข้างล่าช้า และค่าเงินบาทที่มีความผันผวนสูง โดยเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการหดตัวที่ร้อยละ 0.1 โดยในด้านของมิติสินค้าพบว่าในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 การส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 3.8 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 13.5 จากการหดตัวและการขยายตัวชะลอลงในทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว ชะลอลงที่ร้อยละ 5.9 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 24.4 ตามการหดตัวของสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ที่ร้อยละ 1.8 และการขยายตัวชะลอลงของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ที่ร้อยละ 8.0 และร้อยละ 17.2 ตามล�ำดับ ประกอบกับการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่หดตัวร้อยละ 5.5 ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมขยายตัวกลับมาเป็นบวก อีกครั้งหลังจากหดตัวติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 ไตรมาสที่ร้อยละ 3.0 และเมื่อพิจารณาเป็นรายตลาดพบว่า การส่งออกสินค้า ไปยังประเทศคู่ค้าหลักหดตัวแทบทุกตลาด โดยเฉพาะการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาที่หดตัวร้อยละ 4.7 รวมถึงการส่งออก ไปยังญี่ปุ่นที่หดตัวร้อยละ 0.9 และการส่งออกไปยังจีนขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.1 อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยัง สหภาพยุโรปสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5.5 และส�ำหรับการส่งออกบริการในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ที่ร้อยละ 25.5 แม้จะเป็นการขยายตัวที่ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 45.7
ภาพที่ 21 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์
ที่ร้อยละ 5.5-7.5) ขยายตัวเร่งขึ้นจากปี 2555 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 โดยได้รับอานิสงส์จากการส่งออกบริการที่คาดว่า จะขยายตัวได้ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างล่าช้า ประกอบกับ ค่าเงินบาทที่ยังคงมีความผันผวนสูง ประมาณการเศรษฐกิจไทย
31
1.4 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 8.2
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 15.0 ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลทางฤดูกาล แล้วพบว่าปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 1.0 และเมื่อพิจารณาการน�ำเข้าสินค้าพบว่าขยายตัวร้อยละ 9.5 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 16.9 ตามการขยายตัวทีช่ ะลอลงของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าทุน สินค้าเชือ้ เพลิง และสินค้าอุปโภคบริโภคทีร่ อ้ ยละ 3.7 ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 5.0 จากไตรมาสก่อนหน้าทีร่ อ้ ยละ 43.1 ร้อยละ 3.7 และร้อยละ 8.9 ตามล�ำดับ ประกอบกับสินค้ายานยนต์ทขี่ ยายตัวชะลอลงเช่นเดียวกันทีร่ อ้ ยละ 29.7 ลดลงจากการขยายตัวในระดับสูงในไตรมาส ก่อนหน้าที่ร้อยละ 94.4 ในขณะที่ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 16.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ทีร่ อ้ ยละ 1.6 และส�ำหรับปริมาณการน�ำเข้าบริการทีแ่ ท้จริงขยายตัวร้อยละ 1.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นและชะลอลง จากไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 ภาพที่ 22 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 (โดยมีชว่ งคาดการณ์รอ ้ ยละ
6.0-7.0) เพิม่ ขึน้ เล็กน้อยจากปีกอ่ นหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 6.2 โดยได้รบั ปัจจัยสนับสนุนหลักจากค่าเงินบาททีแ่ ข็งค่าขึน้ เมือ่ เทียบ ปีก่อน ท�ำให้มีแรงจูงใจต่อการน�ำเข้าสินค้าทั้งเพื่อการบริโภคและการผลิต รวมทั้งการน�ำเข้าบริการ ประกอบกับเศรษฐกิจไทย ทีย่ งั ขยายตัวได้อย่างต่อเนือ่ ง จากอุปสงค์ภายในประเทศทีย่ งั คงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการใช้จา่ ยลงทุนภาครัฐทีข่ ยายตัวเพิม่ ขึน้
2. ด้านการค้าระหว่างประเทศ 2.1 มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ1 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ 92.9 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกตาม ระบบกรมศุลกากรพบว่า เมื่อหักผลของการส่งออกทองค�ำที่มีความผันผวนสูงออก มูลค่าการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกของ ปี 2556 สามารถขยายตัวได้เพียงร้อยละ 3.3 โดยการส่งออกที่ขยายตัวได้ในระดับต�่ำเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง มูลค่าการส่งออกตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)
1
32
โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ซึง่ ได้สง่ ผลต่อเนือ่ งไปยังเศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ อืน่ ๆ ของไทย ท�ำให้อปุ สงค์ตอ่ สินค้าส่งออกของไทยลดลง นอกจากนี้ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อภาคส่งออกในช่วงที่ผ่านมา ส�ำหรับสินค้าทีส่ ง่ ออกได้ดใี นช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้ายานยนต์ เคมีภณ ั ฑ์ และเม็ดพลาสติก ที่ขยายตัวร้อยละ 15.4 ร้อยละ 13.3 และร้อยละ 10.8 ตามล�ำดับ ส่วนสินค้าในหมวดอื่นมีการหดตัวทุกหมวด สินค้า กล่าวคือ สินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 5.2 จากการลดลงของปริมาณการส่งออกข้าว และราคายางพาราที่ตกต�่ำ ส่วนสินค้า อุตสาหกรรมการเกษตรมีการหดตัวร้อยละ 5.0 จากการลดลงของการส่งออกกุง้ เนือ่ งจากเกิดโรคระบาดในกุง้ และราคาน�ำ้ ตาลทราย ที่ลดลงอย่างมากในตลาดโลก และท้ายสุดคือ สินค้าเชื้อเพลิงมีการหดตัวร้อยละ 13.7 โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการชะลอตัวของ เศรษฐกิจโลก และการปิดซ่อมแซมโรงงานในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนการส่งออกรายประเทศพบว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 ตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวสูงคือ ทวีปออสเตรเลีย ฮ่องกง และอินโดนีเซีย โดยมีการขยายตัวร้อยละ 25.9 ร้อยละ 9.6 และร้อยละ 8.0 ตามล�ำดับ ส่วนตลาดที่เป็นแหล่งที่มาของ การหดตัว (Contribution) หลักในช่วงที่ผ่านมาคือ จีนและสิงคโปร์ ที่หดตัวร้อยละ 0.9 และร้อยละ 1.4 ภาพที่ 23 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 สศค.คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวร้อยละ 5.5 (โดยมี
ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5-6.5) โดยเป็นการขยายตัวในระดับสูงกว่าปีก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 เนื่องจากคาดว่า เศรษฐกิจโลกจะมีการขยายตัวในระดับสูงกว่าปีก่อนหน้า แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะมีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในช่วงที่เหลือของปีจะเป็นปัจจัยส�ำคัญของเศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลต่อภาคส่งออกของไทยโดยตรง 2.2 มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ2 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ 94.3 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.8 ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการน�ำเข้าตามระบบกรมศุลกากรที่หักการน�ำเข้าทองค�ำ ที่มีความผันผวนออกพบว่าการน�ำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.4 ซึ่งการขยายตัวเกิดจากการขยายตัวของการน�ำเข้าสินค้าทุกประเภท ได้แก่ สินค้าวัตถุดิบ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าเชื้อเพลิง โดยมีการขยายตัวในช่วง 5 เดือนแรกร้อยละ 7.8 ร้อยละ 2.5 ร้อยละ 8.0 และร้อยละ 1.6 ตามล�ำดับ อย่างไรก็ดี การขยายตัวของการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบเกิดจากทองค�ำเป็นส�ำคัญ โดย การน�ำเข้าทองค�ำขยายตัวถึงร้อยละ 42.9 โดยหากหักทองค�ำออก การน�ำเข้าสินค้าวัตถุดบิ จะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 1.5 เท่านัน้ มูลค่าการน�ำเข้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
33
ภาพที่ 24 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 สศค.คาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 8.4 (โดยมี
ช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ 7.9-8.9) เร่งขึน้ จากปี 2555 โดยเป็นผลมาจากการน�ำเข้าสินค้าในหมวดเชือ้ เพลิงเป็นส�ำคัญตามกิจกรรม ทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการขยายตัวของการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น จากภาคส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้นจากปีก่อน 2.3 ดุลการค้า3 ➥➥ ดุลการค้าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 ขาดดุล 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเมือ ่ เปรียบเทียบกับ
ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 ที่เกินดุล 1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกมีระดับต�่ำกว่ามูลค่า การน�ำเข้า โดย 5 เดือนแรก มูลค่าการส่งออกสินค้าอยู่ที่ 92.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการน�ำเข้าสินค้าอยู่ที่ 94.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพที่ 25 ประมาณการดุลการค้า
ที่มา : สศค. ดุลการค้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)
3
34
➥➥ ในปี 2556 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.9-3.9
พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงจากปี 2555 เนือ่ งจากคาดว่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ในกรอบทีจ่ ำ� กัด ขณะทีก่ ารน�ำเข้า จะยังคงขยายตัวได้ดีจากสินค้าหมวดเชื้อเพลิงและวัตถุดิบเป็นส�ำคัญ เป็นผลให้ในปี 2556 จะมีการเกินดุลการค้าลดลงจาก ปี 2555
3. ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด ➥➥ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 ขาดดุล 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลสูงขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 ที่ขาดดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าตามระบบ ดุลการช�ำระเงินขาดดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกทีช่ ะลอตัวลงมาก โดยเฉพาะในหมวดสินค้าเกษตรและสินค้า อุตสาหกรรม ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ ขาดดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งกลับก�ำไร และเงินปันผล โดยในเดือนเมษายน 2556 ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทตุ ยิ ภูมิ ขาดดุลสูงถึง 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพที่ 26 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัด
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2556 ดุ ล บั ญ ชี เ ดิ น สะพั ด คาดว่ า จะขาดดุ ล เล็ ก น้ อ ยที่ 2.2 พั น ล้ า นดอลลาร์ ส หรั ฐ (โดยมี
ช่วงคาดการณ์ที่ -4.0 ถึง -0.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ -1.0 ถึง 0.0 ของ GDP) ลดลงจากปี 2555 ทีเ่ กินดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการน�ำเข้าทีค่ าดว่าจะเร่งตัวขึน้ จากการใช้จา่ ยลงทุนของภาครัฐ โดยเฉพาะการน�ำเข้า ในหมวดสินค้าทุน ในขณะที่การส่งออกชะลอตัวลงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง 3.2 อัตราเงินเฟ้อ ➥➥ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.0 โดยมีสาเหตุหลักจาก (1) ราคาอาหารจ�ำพวกข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เครื่องประกอบอาหาร และ เครือ่ งดืม่ ไม่มแี อลกอฮอล์ ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น (2) ราคาสินค้าในหมวดเครือ่ งนุง่ ห่มชะลอลง และ (3) ค่าใช้จา่ ย ส่วนบุคคลมีการปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดอยู่ที่ ร้อยละ 1.2 ลดลงจากปีกอ่ นหน้าทีอ่ ยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.4 เนือ่ งจากราคาอาหารส�ำเร็จรูปในปี 2556 ไม่ได้เร่งตัวรุนแรงเช่นเดียวกับปี 2555 ประมาณการเศรษฐกิจไทย
35
ภาพที่ 27 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
ที่มา : สศค.
➥➥ ส�ำหรับปี 2556 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.0-3.0)
ลดลงจากปีก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากราคาน�้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกยังไม่สามารถ ฟื้นตัวได้เต็มที่ ถึงแม้ว่าประเทศสหรัฐอเมริกาจะสามารถผลิตน�้ำมันเพื่อตอบสนองอุปสงค์ภายในประเทศของตนเองได้มากขึ้น ก็ตาม อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้นได้จากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอียิปต์ ซึ่งอาจส่งผลต่ออุปทานน�้ำมันดิบ โลกได้ ทั้งนี้ การคาดการณ์ดังกล่าวได้รวมผลของนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศ และนโยบายการเพิ่มราคา ก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนไว้ด้วยแล้ว (เพิ่มจากราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 25.30 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งการเพิ่มราคา ก๊าซแอลพีจจี ะมีการปรับในช่วงเดือนกันยายนของปี 2556 โดยทยอยปรับขึน้ เดือนละ 50 สตางค์ตอ่ กิโลกรัม ขณะทีอ่ ตั ราเงินเฟ้อ พื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดคาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.2 (โดยมี ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.7-1.7)
36
ภาคการคลัง รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลัง ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 บทสรุปผู้บริหาร ปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลยังคงจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุล (Expansionary Fiscal Policy) ต่อเนือ่ งจาก ปีงบประมาณ 2555 โดยในปีงบประมาณ 2556 มีการจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 300.0 พันล้านบาท นอกจากนีร้ ฐั บาล ยังได้ด�ำเนินงานตามโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2553 รวมถึงได้มีแผนการลงทุน โครงสร้างพืน้ ฐานของประเทศไทย ซึง่ รวมถึงแผนบริหารจัดการน�ำ้ ในระยะยาวของภาครัฐทีม่ วี งเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท ❍❍ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-มิถน ุ ายน 2556) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สทุ ธิ (หลังหักจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)) ได้เท่ากับ 1,616.7 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 82.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีทแี่ ล้วร้อยละ 12.9) ซึง่ เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีสงั กัดกระทรวง การคลัง หน่วยงานอืน่ และรัฐวิสาหกิจ สูงกว่าเป้าหมาย 48.6 พันล้านบาท 44.5 พันล้านบาท และ 6.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.9 ร้อยละ 53.7 และร้อยละ 8.4 ตามล�ำดับ สะท้อนถึงอุปสงค์ภายในประเทศทีย่ งั คงขยายตัวได้อย่างต่อเนือ่ ง ในขณะเดียวกันการคืน ภาษีของกรมสรรพากร การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และการกันเงินชดเชยภาษีส�ำหรับสินค้า ส่งออก อยูใ่ นทีร่ ะดับสูงกว่าประมาณการ ส�ำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 สามารถ เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 1,853.6 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณ จากปีงบประมาณปัจจุบนั จ�ำนวน 1,663.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายทีร่ อ้ ยละ 69.3 ของกรอบวงเงินงบประมาณ รายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 (2.4 ล้านล้านบาท) โดยอีก 189.7 พันล้านบาท เป็นการเบิกจ่ายงบรายจ่ายจากงบประมาณ ปีก่อน ในส่วนของฐานะการคลัง ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจ�ำนวน 238.0 พันล้านบาท และท�ำให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจ�ำนวน 358.5 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2556 มีจ�ำนวน ทั้งสิ้น 423.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปี 2556 จ�ำนวน 300.0 พันล้านบาท ❍❍ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 5,154.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.2 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2555 จ�ำนวน 327.4 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เนื่องจากหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น จ�ำนวน 187.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.5 โดยมีรายการส�ำคัญจากหนีใ้ นประเทศที่รัฐบาลกู้เพือ่ ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และการบริหารหนี้ที่เพิ่มขึ้น 162.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 9.0 ❍❍ ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ สะสมในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 จ�ำนวน 110.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 29.3 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ โดยรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีปฏิทิน จ�ำนวน 11 แห่ง เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 63.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 26.7 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ และ รัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีงบประมาณจ�ำนวน 35 แห่ง เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 46.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย ร้อยละ 33.9 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
37
1. ผลการด�ำเนินนโยบายการคลังในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-มิถุนายน 2556) 1.1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้เท่ากับ 1,616.7 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 82.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.9) ซึ่งเป็น ผลจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีสังกัดกระทรวงการคลัง หน่วยงานอื่น และรัฐวิสาหกิจ สูงกว่าเป้าหมาย 48.6 พันล้านบาท 44.5 พันล้านบาท และ 6.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.9 ร้อยละ 53.7 และร้อยละ 8.4 ตามล�ำดับ สะท้อนถึงอุปสงค์ ภายในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดการจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่ส�ำคัญ ดังนี้ o กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 1,278.4 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 24.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีทแี่ ล้วร้อยละ 12.3) โดยภาษีทจี่ ดั เก็บได้สงู กว่าเป้าหมายทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ (1) ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาจัดเก็บ ได้สูงกว่าเป้าหมาย 23.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 10.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.5) สะท้อนฐานเงินเดือนและฐาน เงินฝากทีข่ ยายตัวได้ดตี ามการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ (2) ภาษีเงินได้ปโิ ตรเลียมจัดเก็บได้สงู กว่าเป้าหมาย 17.9 พันล้าน บาท หรือร้อยละ 20.6 เนือ่ งจากผลประกอบการในธุรกิจปิโตรเลียมทีเ่ ติบโตดี และ (3) ภาษีธรุ กิจเฉพาะจัดเก็บได้สงู กว่าเป้าหมาย 6.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 21.4 โดยเฉพาะภาษีที่จัดเก็บจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 28.9 ในขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต�่ำกว่าเป้าหมาย 23.2 พันล้านบาท หรือต�่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 5.9 แม้ว่าจะมียอดสูง กว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 10.0 เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยที่ส่งผลให้การยื่นช�ำระภาษีจากก�ำไรสุทธิประจ�ำปี 2555 (ภ.ง.ด. 50) ของภาคธุรกิจต�่ำกว่าประมาณการ ส�ำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต�่ำกว่าเป้าหมาย 0.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการน�ำเข้าจัดเก็บได้ต�่ำกว่าประมาณการ 18.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 7.1 เนื่องจาก อัตราการขยายตัวของมูลค่าการน�ำเข้าที่ชะลอตัวลง ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงหนึ่ง o กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 336.4 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 24.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 7.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 22.4) มาจาก (1) ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 31.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 33.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 62.0) (2) ภาษียาสูบ จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 4.4 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 9.8 เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตยาสูบเมื่อเดือนสิงหาคม 2555 และ (3) ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้สูงกว่า เป้าหมาย 3.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 7.6 จากปริมาณการบริโภคทีเ่ พิม่ มากขึน้ นอกจากนีภ้ าษีนำ�้ มันและภาษีสรุ าจัดเก็บได้ตำ�่ กว่า เป้าหมาย 12.4 พันล้านบาท และ 5.5 พันล้านบาท หรือต�่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 20.6 และร้อยละ 12.0 ตามล�ำดับ o กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 85.0 พันล้านบาท ต�ำ่ กว่าเป้าหมาย 0.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.8 (ต�ำ่ กว่าช่วง เดียวกันปีทแี่ ล้วร้อยละ 4.9) จากอากรขาเข้าจัดเก็บได้ตำ�่ กว่าเป้าหมาย 0.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.9 (ต�ำ่ กว่าช่วงเดียวกันปีที่ แล้วร้อยละ 4.9) ซึ่งเป็นผลจากการที่มูลค่าการน�ำเข้าชะลอตัวลง โดยมูลค่าการน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-พฤษภาคม 2556) ขยายตัวเพียงร้อยละ 9.8 และร้อยละ 6.7 ตามล�ำดับ ทั้งนี้ สินค้าที่จัดเก็บอากรขาเข้าได้สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบรถยนต์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า o รัฐวิสาหกิจ น�ำส่งรายได้ 85.8 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 6.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 8.4 (ต�่ำกว่าช่วง เดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.1) โดยรัฐวิสาหกิจที่น�ำส่งรายได้/เงินปันผลสูงกว่าประมาณการที่ส�ำคัญ ได้แก่ ธนาคารออมสิน บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ปตท น�ำส่งรายได้/เงินปันผลสูงกว่าประมาณการจ�ำนวน 3.8 พันล้านบาท 2.5 พันล้านบาท และ 2.2 พันล้านบาท ตามล�ำดับ
38
o หน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 127.4 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 44.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 53.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 49.5) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บรายได้สัมปทานปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 7.1 พันล้านบาท จากปริมาณปิโตรเลียมทีข่ ดุ เจาะได้เพิม่ ขึน้ สูงกว่าทีค่ าดไว้ กรมธนารักษ์จดั เก็บได้สงู กว่าเป้าหมาย 1.3 พันล้าน บาท จากการจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนและเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เป็นส�ำคัญ นอกจากนี้ยังมีรายได้พิเศษ ได้แก่ (1) รายได้จากการประมูลให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ย่าน 2.1GHz จ�ำนวน 20.8 พันล้านบาท (2) การส่งคืนเงินที่กันไว้เพื่อชดเชยค่าภาษี อากรส�ำหรับผู้ส่งออกสินค้าจ�ำนวน 8.2 พันล้านบาท และ (3) การเหลื่อมน�ำส่งรายได้จากก�ำไรสุทธิประจ�ำปี 2553 ของ กสทช. จ�ำนวน 1.6 พันล้านบาท o การคืนภาษีของกรมสรรพากร จ�ำนวน 225.3 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 19.0 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 9.2 ประกอบด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 177.8 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 16.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 10.1 และการคืนภาษีอื่น ๆ (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์) จ�ำนวน 47.5 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.8 o การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด และเงินกันเพื่อชดเชยค่าภาษีอากรสินค้า ส่ ง ออกที่ ผ ลิ ต ในประเทศ จ� ำ นวน 11.7 พั น ล้ า นบาท และ 12.6 พั น ล้ า นบาท สู ง กว่ า ประมาณการ 416 ล้ า นบาท และ 450 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.7 และร้อยละ 3.7 ตามล�ำดับ ตารางที่ 1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–มิถุนายน 2556) ที่มาของรายได้
1. กรมสรรพากร 1.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1.3 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1.4 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 1.5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ 1.6 อากรแสตมป์ 1.7 รายได้อื่น 2. กรมสรรพสามิต 2.1 ภาษีน�้ำมันฯ 2.2 ภาษีรถยนต์ 2.3 ภาษีเบียร์ 2.4 ภาษียาสูบ 2.5 ภาษีสุราฯ 2.6 ภาษีเครื่องดื่ม 2.7 ภาษีรถจักรยานยนต์ 2.8 ภาษีแบตเตอรี่ 2.9 ภาษีเครื่องใช้ไฟฟ้า 2.10 ภาษีอื่น 2.11 รายได้อื่น 3. กรมศุลกากร 3.1 อากรขาเข้า 3.2 อากรขาออก 3.3 รายได้อื่น ๆ รวมรายได้ 3 กรม
ปีนี้
(หน่วย : ล้านบาท) ประมาณการตามเอกสาร เปรียบเทียบปีนี้กับ ปีที่แล้ว งบประมาณทั้งปีเท่ากับ ปีก่อนหน้า ประมาณการ ประมาณการ 2,100,000 ล้านบาท (ร้อยละ) (ร้อยละ)
1,278,365 1,138,363 526,395 476,557 367,692 334,392 233,651 205,770 104,457 83,251 36,432 29,971 9,525 8,131 213 291 334,449 274,850 47,529 45,360 123,990 76,530 54,802 49,907 49,241 45,271 40,489 40,372 14,204 12,496 2,214 1,573 1,744 1,526 809 656 941 818 486 341 84,957 89,356 83,216 87,528 180 260 1,561 1,568 1,699,771 1,502,569
1,253,739 527,176 390,919 210,679 86,591 30,016 8,171 187 311,784 59,895 92,579 50,936 44,856 45,991 12,140 1,780 1,778 628 852 349 85,650 83,930 225 1,495 1,651,173
12.3 10.5 10.0 13.5 25.5 21.6 17.1 -26.8 22.4 4.8 62.0 9.8 8.8 0.3 13.7 40.8 14.3 23.3 15.0 42.5 -4.9 -4.9 -30.8 -0.4 13.1
24,626 -781 -23,227 22,972 17,866 6,416 1,354 26 24,665 -12,366 31,411 3,866 4,385 -5,502 2,064 434 -34 181 89 137 -693 -714 -45 66 48,598
2.0 -0.1 -5.9 10.9 20.6 21.4 16.6 13.9 7.9 -20.6 33.9 7.6 9.8 -12.0 17.0 24.4 -1.9 28.8 10.4 39.3 -0.8 -0.9 -20.0 4.4 2.9
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
39
ตารางที่ 1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–มิถุนายน 2556) (ต่อ) ที่มาของรายได้
ปีนี้
(หน่วย : ล้านบาท) ประมาณการตามเอกสาร เปรียบเทียบปีนี้กับ ปีที่แล้ว งบประมาณทั้งปีเท่ากับ ปีก่อนหน้า ประมาณการ ประมาณการ 2,100,000 ล้านบาท (ร้อยละ) (ร้อยละ)
4. รัฐวิสาหกิจ 85,764 85,852 79,084 -0.1 6,680 5. หน่วยงานอื่น 127,394 85,187 82,859 49.5 44,535 5.1 ส่วนราชการอื่น 122,193 81,135 78,939 50.6 43,254 5.2 กรมธนารักษ์ 5,201 4,052 3,920 28.4 1,281 รวมรายได้จัดเก็บ (Gross) 1,912,929 1,673,608 1,813,116 14.3 99,813 หัก 1. คืนภาษีของกรมสรรพากร 225,263 185,009 206,291 21.8 18,972 - ภาษีมูลค่าเพิ่ม 177,795 147,999 161,416 20.1 16,379 - ภาษีอื่น ๆ 47,468 37,010 44,875 28.3 2,593 2. จัดสรรรายได้จาก VAT ให้ อบจ. 11,722 10,736 11,306 9.2 416 3. เงินกันชดเชยภาษีส�ำหรับสินค้า 12,604 10,925 12,154 15.4 450 ส่งออก รวมรายได้สุทธิ (Net) 1,663,340 1,466,938 1,583,365 13.4 79,975 หักเงินจัดสรรจาก VAT ให้ อปท. ตาม พ.ร.บ.ก�ำหนดแผนฯ 46,657 34,817 48,680 34.0 (2,023) รวมรายได้สุทธิ 1,616,683 1,432,121 1,534,685 12.9 81,998 หลังหักการจัดสรร อปท.
8.4 53.7 54.8 32.7 5.5 9.2 10.1 5.8 3.7 3.7 5.1 -4.2 5.3
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
1.2 สรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-มิถุนายน 2556) ผลการเบิกจ่ายของรัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 1,853.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนจ�ำนวน 124.4 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ น โดยรายจ่ายรัฐบาลแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปจั จุบนั จ�ำนวน 1,663.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมือ่ เทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 69.3 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 (2.4 ล้านล้านบาท) รายจ่ายปีปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น (1) รายจ่ายประจ�ำเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 1,464.7 พันล้านบาท หรือขยายตัว ร้อยละ 2.6 และ (2) รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 199.3 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 11.1 โดยรายจ่ายที่ส�ำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเงินอุดหนุนกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 183.5 พันล้านบาท รายจ่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพ 75.4 พันล้าน บาท เงินอุดหนุนกระทรวงศึกษาธิการ 105.4 พันล้านบาท รายจ่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ 67.9 พันล้านบาท และรายจ่ายเพื่อช�ำระหนี้กระทรวงการคลัง 105.4 พันล้านบาท เป็นส�ำคัญ ส�ำหรับรายจ่ายเหลื่อมปีเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 189.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 54.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2)
40
ตารางที่ 2 สรุปผลการเบิกจ่ายรายจ่ายรัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 ประเภทรายจ่าย 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน - รายจ่ายประจ�ำ - รายจ่ายลงทุน 2. รายจ่ายเหลื่อมปี รายจ่ายรวม (1+2)
(หน่วย : ล้านบาท)
ผลการเบิกจ่าย ช่วง 9 เดือนแรกของ ปีงบประมาณ 2556 (1)
ผลการเบิกจ่าย ช่วง 9 เดือนแรกของ ปีงบประมาณ 2555 (2)
อัตราการขยายตัว (ร้อยละ) (1)/(2)
1,663,938 1,464,688 199,250 189,676 1,853,614
1,606,627 1,427,285 179,342 122,597 1,729,224
3.6 2.6 11.1 54.7 7.2
ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ รั ฐ บาลได้ มี ก ารเบิ ก จ่ า ยงบประมาณภายใต้ แ ผนปฏิ บั ติ ก ารไทยเข้ ม แข็ ง 2555 ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม โครงการ (เดือนตุลาคม 2552-มิถนุ ายน 2556) มีการเบิกจ่ายรวมทัง้ สิน้ 324.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 93.0 ของวงเงิน 348.9 พันล้านบาท และการเบิกจ่ายตามพระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือนกุมภาพันธ์ 2555-มิถุนายน 2556) มีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 11.9 พันล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 3.4 ของวงเงิน 350.0 พันล้านบาท 1.3 ฐานะการคลังในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-มิถุนายน 2556) ฐานะการคลังในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-มิถุนายน 2556) รัฐบาลขาดดุล เงินงบประมาณจ�ำนวน 238.0 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจ�ำนวน 120.5 พันล้านบาท ซึ่งมี สาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังจ�ำนวน 102.1 พันล้านบาท และการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 6.1 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เงินขาดดุลจ�ำนวน 358.5 พันล้านบาท และท�ำให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 423.5 พันล้านบาท ตารางที่ 3 ฐานะการคลังในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 1. รายได้น�ำส่งคลัง 2. รายจ่าย 3. ดุลเงินงบประมาณ 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 7. ดุลเงินสดหลังการกู้เงิน
ปีงบประมาณ 2556 1,615,578 1,853,614 -238,036 -120,501 -358,537 221,697 -136,840
ปีงบประมาณ 2555 1,441,499 1,729,224 -287,725 -41,097 -328,822 232,429 -96,393
(หน่วย : ล้านบาท)
ร้อยละ 12.1 7.2 -17.3 193.2 9.0 -4.6 42.0
ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
41
1.4 หนี้สาธารณะ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 5,154.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.2 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจ�ำนวน 22.8 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 26.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 โดยมีรายการส�ำคัญจากหนีใ้ นประเทศทีร่ ฐั บาลกูเ้ พือ่ ชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหาร หนี้ที่เพิ่มขึ้น 13.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 โดยระดับหนี้สาธารณะคงค้างอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ ซึ่งแบ่งออกเป็น 1) หนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้สกุลเงินบาท โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 93.54 ของหนี้สาธารณะคงค้าง 2) หนี้สาธารณะ ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 96.66 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ 3) สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ก�ำหนดสัดส่วนไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 60.0 ภาพที่ 1 ยอดคงค้างหนี้สาธารณะและสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP รายเดือน
ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
ตารางที่ 4 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 เมษายน 2556 หนี้สาธารณะคงค้าง
1. หนี้ของรัฐบาล 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) 4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 5. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ หนี้สาธารณะรวม (1+2+3+4+5) ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
42
(หน่วย : ล้านบาท)
ณ เดือน ต.ค. 55 ณ เดือน เม.ย. 56 เปรียบเทียบกับ จ�ำนวน % GDP จ�ำนวน % GDP จ�ำนวน ร้อยละ 3,402,463 30.5 3,589,728 30.8 187,265 5.5 1,052,369 9.4 1,060,180 9.1 7,811 0.7 365,261 - 7,232 4,827,326
3.3 - 0.1 43.3
501,462 - 3,383 5,154,754
4.3 - 0.03 44.21
136,200 - 3,849 327,428
37.3 -53.2 6.8
1.5 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555มิถุนายน 2556) ❍❍ กรอบอนุมัติงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ของรัฐวิสาหกิจรวม 46 แห่ง จ�ำนวน ทั้งสิ้น 376.3 พันล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 จ�ำนวน 110.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 29.3 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ โดยรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีปฏิทิน จ�ำนวน 11 แห่ง เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 63.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 26.7 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ และ รัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีงบประมาณจ�ำนวน 35 แห่ง เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 46.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย ร้อยละ 33.9 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ ตารางที่ 5 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-มิถุนายน 2556) % ผลการ เบิกจ่าย % แผนการ % ผลการ ผลการ แผนการ ผลการเบิกจ่ายงบลงทุน งบลงทุน เบิกจ่าย ต่อแผน เบิกจ่ายสะสม เบิกจ่ายสะสม เบิกจ่ายสะสม รัฐวิสาหกิจ อนุมัติ การเบิกจ่าย ต่องบ ต่องบทุน เดือน (ต.ค. 55(หน่วย : ล้านบาท) ประจ�ำ ทุนอนุมัติ อนุมัติ มิ.ย. 56 มิ.ย. 56) เดือน มิ.ย. 56 รัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน (1) 239,633 10,048 95.9 63,909 26.7 29.5 บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) 98,845 1,462 43.0 9,430 9.5 13.0 บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) 48,519 807 66.9 21,158 43.6 47.7 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 37,308 2,053 170.4 15,625 41.9 40.2 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 17,079 1,202 97.6 5,041 29.5 29.5 การไฟฟ้านครหลวง 12,712 926 105.4 3,540 27.8 27.5 รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ (2) 136,711 5,462 55.6 46,338 33.9 62.9 การรถไฟแห่งประเทศไทย 49,894 1,119 45.5 17,226 34.5 66.1 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย 32,732 1,361 53.3 10,774 32.9 74.7 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) 8,903 354 61.9 1,383 15.5 31.2 โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง 7,900 69 9.5 640 8.1 19.4 การประปานครหลวง 7,005 567 126.1 3,274 46.7 46.9 รวม (1)+(2) 376,344 15,510 76.4 110,247 29.3 41.6 ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
43
Macroeconomic Analysis Briefing บทวิเคราะห์ เรื่อง ดอกเบี้ยนโยบาย ท่ามกลางกระแสสภาพคล่องล้นโลก
1
บทสรุปผู้บริหาร ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกปี 2551-2552 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลก นับตั้งแต่กลุ่มประเทศ G3 ได้ด�ำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต�่ำอย่างต่อเนื่อง ❍❍ เศรษฐกิจโลกในปี 2556 ที่เผชิญกับความเสี่ยงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ท�ำให้ ธนาคารกลางของประเทศในแถบเอเชียจ�ำเป็นต้องด�ำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายด้วยการลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบาย อาทิ เวียดนามและอินเดีย ที่ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายระลอกแรกในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ก่อนทีจ่ ะประกาศตัดลงเพิม่ เติมในเดือนพฤษภาคม 2556 ในระยะเวลาใกล้เคียงกับยูโรโซน ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ❍❍ กรณีของออสเตรเลียและเกาหลีใต้ถึงแม้จะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงเวลา ที่ไล่เลี่ยกัน แต่มีสาเหตุหลักที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ออสเตรเลียลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อช่วย กระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศเป็นหลัก ในขณะที่เกาหลีใต้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อบรรเทาผลกระทบของ ภาคการส่ ง ออก หลั ง จากที่ ค ่ า เงิ น เยนอ่ อ นค่ า ลงมากจนท� ำ ให้ สิ น ค้ า ส่ ง ออกของเกาหลี ใ ต้ ป ระสบปั ญ หา ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าจากญี่ปุ่นซึ่งมีความคล้ายคลึงกัน ❍❍ การด� ำ เนิ น นโยบายอั ต ราดอกเบี้ ย ต�่ ำ จ� ำ เป็ น ต้ อ งพิ จ ารณาปั จ จั ย ทั้ ง ภายในและภายนอก โดยเฉพาะเสถียรภาพด้านราคา ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายในการด�ำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ และควรค�ำนึงถึง ผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ (Spillover effect) ด้วย ❍❍ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ควรจับตามองอย่างใกล้ชิดว่า ธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลกจะด�ำเนิน นโยบายในลักษณะนี้ต่อไปจนถึงเมื่อใด ❍❍
1. บทน�ำ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายลงร้อยละ 0.25 จากเดิมที่ระดับร้อยละ 0.75 ต่อปี ลงสู่ระดับต�่ำเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี เพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจยูโรโซนทีห่ ดตัวต่อเนือ่ ง การปรับลดอัตราดอกเบีย้ นโยบายในครัง้ นีเ้ ป็นจุดเริม่ ต้นของการปรับลดอัตราดอกเบีย้ นโยบาย ระลอกใหญ่ทั่วโลก นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกในช่วงปลายปี 2551 ถึงช่วงต้นปี 2552 ที่ผ่านมา ซึง่ ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาและธนาคารกลางญีป่ นุ่ คงอัตราดอกเบีย้ นโยบายไว้ทรี่ ะดับใกล้รอ้ ยละ 0 ต่อเนือ่ งถึงปัจจุบนั
ผู้เขียน : ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ เศรษฐกรช�ำนาญการ นางสาวอาร์จนา ปานกาญจโนภาส เศรษฐกรปฏิบัติการ และนางสาวภัทราพร คุ้มสะอาด เศรษฐกรตรี ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
1
44
ภาพที่ 1 อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐอเมริกา ยูโรโซน และญี่ปุ่น
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
บทความนี้รวบรวมและวิเคราะห์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และนัยของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทั่วโลก เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
2. การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงต้นปี 2556 ช่วงปลายปี 2555 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2556 ประชาคมโลกต่างตั้งความหวังไว้ว่า ในปี 2556 นี้เศรษฐกิจโลกน่าจะกลับมา คึกคักด้วยแนวโน้มการฟื้นตัวที่ชัดเจน น�ำโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่สามารถผ่านวิกฤติหน้าผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) มาได้ทันเวลา ตลอดจนแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่สดใสขึ้น อย่างไรก็ตาม ตัวเลขทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้แม้ว่าจะมีแนวโน้ม ขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อน แต่อาจไม่สดใสเหมือนที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยเห็นได้จากกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลงในรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ฉบับล่าสุด ณ เดือนเมษายน 2556 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2556 จะขยายตัวดีที่ร้อยละ 3.5 เหลือเพียงร้อยละ 3.3 เท่านั้น เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความเปราะบางส่งผลต่อเศรษฐกิจทั้งภาคการค้าระหว่างประเทศ ประกอบกับสภาพคล่องจาก ฝั่งตะวันตกที่ยังคงไหลบ่ามายังตลาดเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง ท�ำให้บางประเทศตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 เพื่อลดแรงกดดันเงินทุนไหลเข้า ดังนี้
➢ เวียดนาม
ภาพที่ 2 อัตราดอกเบี้ยนโยบายเวียดนาม
เวี ย ดนามประกาศลดอั ต ราดอกเบี้ ย นโยบาย (Refinance Rate) เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2556 ลงร้อยละ 1.00 จากเดิมร้อยละ 9.00 ต่อปี เป็นร้อยละ 8.00 ต่อปี หลังจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2555 เป็นต้นมา
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
45
สาเหตุทที่ างการเวียดนามตัดสินใจลดอัตราดอกเบีย้ ดังกล่าวเนือ่ งจากต้องการกระตุน้ การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน ที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ดังจะเห็นได้จากยอดค้าปลีกเวียดนามในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า และชะลอลงมากจากค่าเฉลี่ยปี 2555 ที่ขยายตัวดีถึงร้อยละ 20.4 ในขณะที่ความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อเวียดนามในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 เฉลี่ยที่ร้อยละ 6.9 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ลดลงมากจากปี 2555 ทีเ่ ฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ 9.3 จากราคาสินค้าหมวดอาหารทีป่ รับตัวลดลงมาก ผลส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานผิดปกติในปีก่อนหน้าจากภัยธรรมชาติ ปัจจัยเหล่านีเ้ อื้อให้ทางการเวียดนามสามารถใช้มาตรการ ทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงของเสถียรภาพด้านราคามากนัก ภาพที่ 3 ยอดค้าปลีกเวียดนาม
ภาพที่ 4 อัตราเงินเฟ้อเวียดนาม
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการปรับลดอัตราดอกเบีย้ นโยบายดังกล่าว เศรษฐกิจเวียดนามยังคงไม่มสี ญ ั ญาณการฟืน้ ตัว ที่ชัดเจน ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากความล่าช้าของการส่งผ่านของมาตรการทางการเงิน (Effective lag of monetary transmission mechanism) ส่งผลให้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2556 ทางการเวียดนามประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพิ่มเติมอีกร้อยละ 1.00 เหลือร้อยละ 7.00 ต่อปี จึงจ�ำเป็นต้องจับตาดูผลกระทบต่อไป ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าเนื่องจากเวียดนามมีระบบ อัตราแลกเปลี่ยนแบบตายตัว (Fixed exchange rate system) จึงท�ำให้ตัวแปรด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่เป็นที่พูดถึงนัก ในการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเวียดนามในครั้งนี้
➢ อินเดีย
ธนาคารกลางอินเดียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo lending rate) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2556 ลงร้อยละ 0.25 จากเดิมร้อยละ 7.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 7.50 ต่อปี ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 2 ของปี หลังจากที่มี การปรับลดลงร้อยละ 0.25 ก่อนแล้วเมื่อเดือนมกราคม 2556 ที่ผ่านมา ภาพที่ 5 อัตราดอกเบี้ยนโยบายอินเดีย และอัตราเงินเฟ้อค้าส่ง
46
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
สาเหตุทธี่ นาคารกลางอินเดียตัดสินใจลดอัตราดอกเบีย้ ดังกล่าว เนือ่ งจากเพือ่ ต้องการกระตุน้ อุปสงค์ในประเทศทีช่ ะลอตัว ต่อเนือ่ ง เห็นได้จากเศรษฐกิจอินเดียในปี 2555 ทีข่ ยายตัวต�ำ่ เพียงร้อยละ 5.0 ต�ำ่ กว่าค่าเฉลีย่ ปี 2551–2554 ทีข่ ยายตัวดีถงึ ร้อยละ 7.9 โดยการบริโภคภาคเอกชนซึง่ เป็นหัวใจส�ำคัญของเศรษฐกิจอินเดียด้วยสัดส่วนกว่าร้อยละ 62.7 ของ GDP ในปี 2555 ขยายตัว ในระดับต�่ำเพียงร้อยละ 4.5 ในขณะที่ความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 4 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงมากจากระดับเฉลี่ยปี 2555 ที่อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ภาพที่ 6 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดีย
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
3. การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางปี 2556 ภายหลังจากที่ธนาคารกลางยุโรปประกาศลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในเอเชียได้ประกาศ ลดอัตราดอกเบีย้ นโยบายเพิม่ เติม โดยอินเดียและเวียดนามได้ประกาศลดอัตราดอกเบีย้ เพิม่ หลังจากทีไ่ ด้ประกาศลดไปในเดือน มีนาคม 2556 ดังที่กล่าวมาแล้ว ทั้งนี้ กรณีที่น่าสนใจมีดังนี้ ภาพที่ 7 อัตราดอกเบี้ยนโยบายออสเตรเลีย ➢ ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ธนาคารกลาง ออสเตรเลียได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น ครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยปรับลดลงร้อยละ 0.25 จาก เดิมอัตราดอกเบี้ยนโยบายออสเตรเลียอยู่ที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.75 ต่อปี ซึง่ เป็นอัตราดอกเบีย้ นโยบาย ที่ต�่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ ตลาดได้คาดการณ์ไว้ ก่อนหน้านี้แล้วว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะตัดสินใจ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
สาเหตุที่ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ เนื่องมาจาก o เศรษฐกิจโลกทีย่ งั คงเปราะบาง โดยธนาคารกลางออสเตรเลียได้คาดการณ์ไว้ในรายงานภาวะเศรษฐกิจว่าเศรษฐกิจ โลกในปี 2556 นี้จะยังคงขยายตัวอย่างเปราะบาง และจะมีสัญญาณการฟื้นตัวในปี 2557 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจออสเตรเลีย เป็นเศรษฐกิจแบบปิดด้วยสัดส่วนการส่งออกต่อ GDP เพียงร้อยละ 21.7 (สัดส่วนปี 2555) ดังนั้น เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จึงไม่น่าเป็นปัจจัยส�ำคัญในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายออสเตรเลียในครั้งนี้
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
47
o เศรษฐกิจออสเตรเลียเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว โดยเฉพาะจากอุปสงค์ในประเทศ โดยในปี 2555 เศรษฐกิจ ออสเตรเลียขยายตัวเพียงร้อยละ 3.6 ซึ่งใกล้เคียงกับระดับศักยภาพ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มการชะลอตัวที่ชัดเจนในครึ่งหลัง ของปี 2555 ทีข่ ยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น และส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนือ่ งในช่วงไตรมาสแรก ปี 2556 ภาพที่ 8 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจออสเตรเลีย
ภาพที่ 9 ยอดค้าปลีกออสเตรเลีย
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 10 อัตราเงินเฟ้อออสเตรเลีย o แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงอยู่ใกล้ระดับ เป้าหมาย โดยอัตราเงินเฟ้อล่าสุดไตรมาสที่ 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งใกล้เคียง กับระดับเงินเฟ้อเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0–3.0 และเป็น ระดับทีธ่ นาคารกลางออสเตรเลียเล็งเห็นว่าจะช่วยรักษา สมดุลของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับ การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 11 อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ ภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดั ง กล่ า ว ค่ า เงิ น ดอลลาร์ อ อสเตรเลี ย อ่ อ นค่ า ลง เล็กน้อย แต่ไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงอย่างมีนยั ส�ำคัญนัก โดยค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ ที่เฉลี่ย 1.0376 ดอลลาร์สหรัฐต่อดอลลาร์ออสเตรเลีย
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
48
➢ เกาหลีใต้
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน โดยปรับลดลงร้อยละ 0.25 จากเดิมอัตราดอกเบี้ยนโยบายเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี ซึ่งเป็น อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต�่ำสุดในรอบ 29 เดือน ภาพที่ 12 อัตราดอกเบี้ยนโยบายเกาหลีใต้
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
สาเหตุที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ เนื่องมาจาก o ค่าเงินวอนแข็งค่าเมือ่ เทียบกับเยน เนือ่ งจากทางการญีป่ นุ่ ได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2556 ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ประกาศด�ำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินรูปแบบใหม่ (Quantitative and Qualitative Easing) หรือที่เรียกว่ามาตรการ Q2 โดยจะเพิ่มฐานเงินเป็น 2 เท่า ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตร รัฐบาลและสินทรัพย์อื่น ๆ เป็นระยะเวลา 2 ปี ปีละ 70 ล้านล้านเยน ส่งผลให้ค่าเงินเยนปรับอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับเงินสกุล ต่าง ๆ รวมทั้งค่าเงินวอนเกาหลีด้วย ซึ่งค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงนี้ท�ำให้สินค้าส่งออกเกาหลีใต้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ด้านราคาเมื่อเทียบกับสินค้าจากญี่ปุ่น ภาพที่ 13 อัตราแลกเปลี่ยนวอนเกาหลีและเยน ต่อดอลลาร์สหรัฐ
ภาพที่ 14 อัตราแลกเปลี่ยนวอนเกาหลีต่อเยน
ที่มา : Reuters ประมวลผลโดย สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
49
o เศรษฐกิจเกาหลีใต้ส่งสัญญาณชะลอตัว จากภาคการส่งออกที่ชะลอตัวตามอุปสงค์ภายนอกประเทศ อีกทั้ง ความไม่สงบในคาบสมุทรเกาหลีจากการประกาศสงครามโดยเกาหลีเหนือได้เริ่มส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนและ การลงทุนในเกาหลีใต้ ปัจจัยเหล่านีท้ ำ� ให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ชะลอตัวลง โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัว เพียงร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) อีกทั้ง ทางการเกาหลีใต้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2556 นี้เหลือเพียงร้อยละ 2.3 ลดลงมากจากประมาณการครั้งก่อนหน้า ที่คาดไว้ที่ร้อยละ 3.0 ท�ำให้คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2556 นี้จะขยายตัวใกล้เคียงกับปีก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0 โดยภาคการส่งออกชะลอตัวลงอย่างมีนัยส�ำคัญ ผลจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและการแข่งขันกับสินค้าส่งออกจากญี่ปุ่น ที่ก�ำลังมีความได้เปรียบด้านราคา ภาพที่ 15 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเกาหลีใต้
ภาพที่ 16 ภาคการส่งออก-น�ำเข้าเกาหลีใต้
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 17 อัตราเงินเฟ้อเกาหลีใต้ o แรงกดดันด้านราคาในเกาหลีใต้เริ่มลดลง โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2556 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน และในเดือนเมษายน 2556 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยูท่ รี่ ะดับต�ำ่ เพียงร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น จากราคาสินค้าหมวดทีอ่ ยูอ่ าศัย เสือ้ ผ้าเครือ่ งนุง่ ห่มและ เครื่องประดับ เครื่องดื่ม และยาสูบ ที่ลดลงเป็นส�ำคัญ ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 18 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ (KRX) o ตลาดการเงินผันผวน โดยตลาดหลักทรัพย์ เกาหลีใต้มคี วามผันผวนสูงจากทัง้ ปัจจัยความเสีย่ งด้าน การเมือง ตลอดจนผลประกอบการของบริษทั จดทะเบียน ในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ที่ แ ย่ ล งตามภาคการส่ ง ออกที่ ชะลอตัว การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงเป็นการลด ต้นทุนในการลงทุนทัง้ ในภาคเศรษฐกิจจริงและในตลาด การเงิน
50
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
หลังจากที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว ตลาดการเงินมีผลตอบรับดังนี้ o ค่าเงินวอนอ่อนค่าลง ภายหลังการประกาศลดอัตราดอกเบีย้ ดังกล่าว ค่าเงินวอนอ่อนค่าลงมาก จากระดับ 1,087.00 วอนต่อดอลลาร์สหรัฐในวันก่อนหน้า มาปิดที่ระดับ 1,102.60 วอนต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากประกาศลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว และค่าเงินวอนยังคงทรงตัวอยู่ในระดับอ่อนค่าต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ค่าเงินวอนอ่อนค่าลงมาปิดที่ระดับ 1,128.30 วอนต่อดอลลาร์สหรัฐ ภาพที่ 19 อัตราแลกเปลี่ยนวอนต่อดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
o อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ ภายหลังการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลเกาหลีระยะสัน้ (อายุ 1 ปี) ปรับตัวลดลง ในขณะทีอ่ ตั ราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีระยะยาว (อายุ 10 ปี) ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจว่าอัตราผลตอบแทนฯ ดังกล่าวเป็นไปตามแนวโน้มในช่วง 2-3 วันก่อนการประกาศปรับลด อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้ว่านักลงทุนในตลาดพันธบัตรคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าธนาคารกลางเกาหลีอาจมี การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว ภาพที่ 20 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ 1 ปี และ 10 ปี
ที่มา : CEIC ประมวลผลโดย สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
51
4. สรุป ในช่วงต้นปี 2556 ที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ จ�ำเป็นต้องใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายโดยการลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายด้วยสาเหตุทสี่ ำ� คัญ 2 ประการ คือ ส�ำหรับประเทศทีเ่ ป็นเศรษฐกิจแบบปิดและมีการพึง่ พาการใช้จา่ ยภายในประเทศสูง การปรับลดอัตราดอกเบีย้ นโยบายก็เพือ่ กระตุน้ อุปสงค์ในประเทศ และส�ำหรับประเทศทีพ่ งึ่ พาการส่งออก การปรับลดอัตราดอกเบีย้ นโยบายก็เพื่อลดแรงกดดันด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ที่ได้ด�ำเนินนโยบายทางการเงิน แบบผ่อนคลายไปก่อนหน้า อันที่จริงแล้วการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องแปลก หากแต่ ในการด�ำเนินนโยบายดังกล่าวจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงปัจจัยด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเสถียรภาพด้านราคา ซึ่งเป็น หนึ่งในเป้าหมายในการด�ำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจด้วย อีกทั้งควรค�ำนึงว่าการด�ำเนินนโยบายดังกล่าวอาจส่งผลกระทบ ต่อประเทศอื่น ๆ (Spillover effect) นอกเหนือจากผลกระทบต่อประเทศที่ด�ำเนินนโยบายดังกล่าว ในส่วนของประเทศไทยเรา จึงควรจับตามองอย่างใกล้ชิดว่า ธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลกจะด�ำเนินนโยบายในลักษณะนี้ต่อไปจนถึงเมื่อใด
52
บทวิเคราะห์ เรื่อง วิกฤติสภาพคล่องของจีนและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
1
บทสรุปผู้บริหาร รัฐบาลจีนได้พยายามปรับลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจโดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ลง ผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น การปรับเพิม่ Reserve Requirement ของธนาคารพาณิชย์ และการก�ำกับการให้สนิ เชือ่ อย่าง เข้มข้นขึ้น แต่ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนก็ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง อันเป็นผลจากสินเชื่อผ่านระบบธนาคารเงา (Shadow Banking) ซึ่งกู้เงินผ่านตลาดเงินระยะสั้นเพื่อลงทุนในตราสารอสังหาริมทรัพย์ ❍❍ ธนาคารกลางจีนได้ปรับเพิ่มดอกเบี้ยกู้ยืมระยะสั้น (Discount Rate) เพื่อเพิ่มข้อจ�ำกัดธุรกรรม ผ่านธนาคารเงา พร้อมทั้งออกแถลงการณ์ว่าจะไม่เข้าอัดฉีดสภาพคล่องให้สถาบันการเงินขนาดเล็กที่มีปัญหา ❍❍ การคุ ม เข้ ม โดยธนาคารกลางจี น ในช่ ว งที่ ธ นาคารกลางสหรั ฐ อเมริ ก าเพิ่ ง ประกาศตั้ ง เป้ า ทีจ่ ะปรับลดมาตรการ QE ส่งผลให้นกั ลงทุนตืน่ ตระหนกว่าจะเกิดสถานการณ์สภาพคล่องตึงตัวอย่างรุนแรง ท�ำให้ ตลาดหุ้นจีนปรับลดลงกว่าร้อยละ 5.3 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2556 ❍❍ หากสถานการณ์ เ ป็ น เพี ย งระยะสั้ น จะไม่ มี ผ ลกระทบต่ อ เศรษฐกิ จ ไทยมากนั ก เนื่ อ งจาก ภาคการเงินไทยและจีนมีความเชื่อมโยงในระดับต�่ำ อีกทั้งสถาบันการเงินไทยยังมีสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีความสามารถอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบได้หากมี ความจ�ำเป็น ❍❍ อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ดังกล่าวยืดเยื้อและส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารพาณิชย์ และเศรษฐกิจจริงของจีน ก็จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยผ่านช่องทางการส่งออกและความผันผวนของเงินทุน เคลื่อนย้ายรวมทั้งค่าเงิน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้มไหลกลับ Safe Haven ❍❍
1. บทน�ำ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยมีแรงผลักดันจากภาคการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เกินกว่าครึ่งของสินเชื่อที่เป็นแหล่งเงินทุนผลักดันการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์นั้น มาจากระบบธนาคารเงา (Shadow Banking) ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารกลางจีน ด้วยเหตุนี้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2556 ธนาคารกลางจีนได้ออกมาตรการเพื่อจ�ำกัดธุรกรรมของระบบธนาคารเงา ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate) ปรับสูงขึ้นมาก จนกระทั่งบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือหลายแห่ง อาทิ Moody’s และ Fitch ออกมาเตือน ว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของสถาบันการเงินขนาดเล็กของจีน (Liquidity Crunch) ส่งผลให้นักลงทุนตื่นตระหนกและรีบถอนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จีน ท�ำให้ตลาดหุ้นจีนปรับลดลงกว่าร้อยละ 5.3 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2556 บทความฉบับนี้จะชี้ให้เห็นถึงภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นที่มาในการด� ำเนินนโยบายของธนาคารกลาง จีน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจนน�ำไปสู่วิกฤติสภาพคล่อง สถานการณ์วิกฤติสภาพคล่องล่าสุด พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบจาก วิกฤติสภาพคล่องดังกล่าวต่อเศรษฐกิจไทย
ผู้เขียน : นางสาวพีรพรรณ สุวรรณรัตน์ เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ นางสาวนภาพร โสภณ และนายเอกลักษณ์ มณีโชติ นักศึกษาฝึกงาน ขอขอบคุณ นางสาวกาญจนา ปานกาญจโนภาส เศรษฐกรปฏิบตั กิ าร นางสาวอรกันยา เตชะไพบูลย์ เศรษฐกรปฏิบตั กิ าร ดร.พิมพ์นารา หิรญ ั กสิ เศรษฐกรช�ำนาญการ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจ มหภาค ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
53
2. ที่มาของวิกฤติสภาพคล่องในจีน : ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ ในภาคอสังหาริมทรัพย์ สถานการณ์ฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนเริ่มต้นในครึ่งทศวรรษที่ผ่านมาหรือปี 2548 เป็นต้นมา เนื่องจาก เศรษฐกิจจีนในช่วงเวลานั้นขยายตัวได้ในระดับสูงถึงร้อยละ 10.1 ต่อปี (เฉลี่ยตั้งแต่ปี 2543-2553) (ภาพที่ 1) ท�ำให้ประชาชน ชาวจีนโดยเฉพาะชนชั้นกลางมีรายได้เพิ่มขึ้น มีเงินออมมากขึ้น และต้องการลงทุนจากเงินออมนั้น แต่ช่องทางการลงทุนในจีน มีอยู่อย่างจ�ำกัด เนื่องจาก 1) การลงทุนในต่างประเทศยังติดข้อจ�ำกัดด้านกฎหมาย 2) การลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุนของ จีนมีความผันผวนมาก และ 3) การลงทุนด้วยการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต�่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อมาก (ภาพที่ 2) ส่งผลให้นักลงทุนของจีนหันมาสนใจการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทั้งการลงทุนเพื่อเข้าอยู่อาศัยเองและการลงทุน เพื่อเก็งก�ำไร ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน
ที่มา : ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติจีน
ภาพที่ 2 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอายุ 1 ปีที่แท้จริงของจีน
หมายเหตุ : อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง คือ ผลต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอายุ 1 ปีและอัตราเงินเฟ้อ ที่มา : ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติจีน และธนาคารกลางจีน (People Bank of China)
นอกจากนี้ ในอดีตนโยบายของรัฐบาลจีนเองได้มีส่วนส�ำคัญท�ำให้ความต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยภายหลังทีจ่ นี ได้ปรับระบบเศรษฐกิจให้เสรีมากขึน้ รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถซือ้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยเป็นของตนเองได้ ท�ำให้ประชาชนที่ก�ำลังหาช่องทางการลงทุนสามารถเข้ามาเก็งก�ำไรจากตลาดแห่งนี้ได้
54
จากปัจจัยในด้านอุปสงค์ทเี่ พิม่ ขึน้ มากท�ำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิม่ สูงขึน้ อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้รฐั บาลจีนเริม่ กังวลถึง ฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ จึงได้ออกมาตรการต่าง ๆ หลายมาตรการเพื่อควบคุมภาวะฟองสบู่ดังกล่าว อาทิ การปรับขึ้น อัตราการส�ำรองเงินฝากธนาคารพาณิชย์เพือ่ จ�ำกัดการให้สนิ เชือ่ โดยธนาคารพาณิชย์ และการขึน้ อัตราภาษีจากก�ำไรการซือ้ ขาย อสังหาริมทรัพย์ (รายละเอียดของมาตรการปรากฏในตารางที่ 1) ส่งผลให้ระดับราคาอสังหาริมทรัพย์ได้ปรับลดลงชั่วคราว ในปี 2555 อย่างไรก็ตาม ระดับราคาอสังหาริมทรัพย์ได้ปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งตั้งแต่ช่วงต้นปี 2556 ที่ผ่านมา และมีแนวโน้ม ขยายตัวในอัตราที่เร็วกว่าในปี 2554 สะท้อนจากราคาบ้านในจีน (ภาพที่ 3) ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้สัดส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์ ต่อ GDP ที่แม้ว่าจะมีขนาดไม่ใหญ่นักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 3.5 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 5.7 ในปี 2548 และร้อยละ 7.1 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (ภาพที่ 4) สะท้อนให้เห็นว่าการก�ำกับดูแลภาคอสังหาริมทรัพย์ผ่านธนาคารพาณิชย์เพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ ภาพที่ 3 แนวโน้มราคาบ้านในจีน (yoy%)
ที่มา : ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติจีน และธนาคารประชาชนจีน (People Bank of China)
ภาพที่ 4 ขนาดและอัตราการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จีน
ที่มา : ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติจีน
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
55
ตารางที่ 1 มาตรการการแก้ไขปัญหาของจีนทั้งในอดีตและปัจจุบัน ปีที่ออกมาตรการ ปี 2552
รายละเอียด
o จ�ำกัดขนาดของโครงการขนาดใหญ่ ไม่เกิน 20 เฮกตาร์ (125 ไร่) o ปรับระยะเวลาในการถือครองอสังหาริมทรัพย์แล้วขายภายใน 2 ปี เป็นภายใน 5 ปี ต้องเสียภาษี ธุรกิจ (ไม่ตอ้ งการให้โอนเปลีย่ นมือก่อน 5 ปีเพือ่ เก็งก�ำไร) และนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทจี่ ะซือ้ ทีด่ นิ ต้องจ่ายขั้นต�่ำร้อยละ 50 ของราคาที่ดิน ปี 2553 o นักพัฒนาที่ดินที่ยังไม่ได้พัฒนาที่ดินที่ประมูลมาได้ ไม่มีสิทธิประมูลที่ดินแปลงใหม่ o ก�ำหนดวงเงินขั้นต�่ำ (เงินดาวน์) ส�ำหรับการเช่าซื้อบ้านหลังที่สองร้อยละ 40 o ปรับเพิ่มเงินดาวน์เช่าซื้อบ้านหลังแรกร้อยละ 30 ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยไม่เกิน 90 ตารางเมตร บ้านหลังที่สองเป็นร้อยละ 50 และการเช่าซื้อบ้านหลังที่สามงดสินเชื่อ o รัฐบาลไม่อนุญาตให้ Non-Resident ซื้อห้องชุด o ออกมาตรการบังคับใช้ในบางเมือง เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น เซียะเหมิน ฯลฯ เพื่อควบคุมอุปสงค์ ส่วนเกิน ครอบครัวที่ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่สามารถแสดงหลักฐานภาษีหรือ เงินสมทบประกันสังคม จะระงับการให้สินเชื่อเช่าซื้อ o ทางการจีนออกนโยบาย "1 ครัวเรือน 1 บ้าน" เเต่ละครัวเรือนจะสามารถซื้อบ้านได้เพียงหนึ่งหลัง เท่านั้น ใน 12 เมือง คือ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน เซินเจิ้น หางโจว หนานจิง หนิงโป ฝูโจว เซี่ยเหมิน ซานย่า กว่างโจว เเละไหโข่ว เพื่อลดอุปสงค์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ o ออกระเบียบให้โครงการบ้านที่อยู่อาศัยที่จะขายในราคาตั้งแต่ 30,000 หยวน (ประมาณ 4,448 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตารางเมตรขึน้ ไป ต้องได้รบั ใบอนุญาตจากหน่วยงานระดับเมืองก่อน ซึง่ เป็นการเพิม่ ระดับการตรวจสอบที่รัดกุมยิ่งขึ้น จากเดิมที่ก�ำหนดให้ยื่นขออนุมัติจากหน่วยงานในระดับเขตและ ต�ำบลเท่านั้น ปี 2554 o มาตรการขึ้นอัตราการส�ำรองเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 8 ครั้ง ธพ.ขนาดใหญ่เป็นอัตราร้อยละ 19.5 ธพ.ขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นอัตราร้อยละ 16.0 เพื่อลดปริมาณเงินในระบบ o มาตรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของธนาคารพาณิชย์ 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553 วันที่ 26 ธันวาคม 2553 และวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 o ทางการจีนออกมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ 8 ข้อ เช่น โครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยราคาไม่แพง 10 ล้านหน่วยเพือ่ เพิม่ อุปทานอยูอ่ าศัย เก็บภาษีธรุ กิจส�ำหรับการขายบ้านทีซ่ อื้ มาไม่เกิน 5 ปี การเช่าซือ้ บ้านหลังที่สองต้องช�ำระเงินดาวน์ร้อยละ 60 อัตราดอกเบี้ย 1.1 เท่าของอัตราอ้างอิง ฯลฯ บังคับใช้ ใน 36 เมือง o ทางการจีนออกมาตรการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ โดยมีการจัดเก็บจากผู้ซื้อบ้านใหม่หลังที่สอง ซึ่งผู้ซื้อต้องจ่ายภาษีต่อปีร้อยละ 0.4-1.2 ของราคาบ้าน โดยมาตรการดังกล่าวน�ำร่องใช้ในเซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง o คนทีไ่ ม่มสี ำ� มะโนครัวปักกิง่ ถ้าไม่มหี ลักฐานการจ่ายค่าประกันสังคมหรือการจ่ายภาษีเงินได้เป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน ไม่สามารถซื้อบ้านพักอาศัยในปักกิ่งได้ ส่วนคนที่มีส�ำมะโนครัวปักกิ่งสามารถซื้อบ้าน อีก 1 ชุดเท่านั้น ปี 2555 o ประกาศนโยบายเรียกเก็บอากรแสตมป์ในเดือนตุลาคม 2555 o ห้ามบุคคลที่มิได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในนครหนานหนิงท�ำการซื้อบ้านพักอาศัยในนครหนานหนิง (ครอบคลุมทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง) ห้ามจ�ำหน่ายบ้านพักอาศัยในนครหนานหนิงให้แก่บคุ คลทีม่ ชี อื่ อยูใ่ นทะเบียนบ้านในนครหนานหนิง ที่มีบ้านพักอาศัยตั้งแต่ 2 หลังขึ้นไป และบุคคลที่มิได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในนครหนานหนิงที่มี บ้านพักอาศัยตั้งแต่ 1 หลังขึ้นไปและไม่สามารถแสดงหลักฐานยืนยันการช�ำระภาษีหรือการช�ำระ ค่าประกันสังคมอย่างน้อย 1 ปีให้แก่ทางการนครหนานหนิง ปี 2556 o ประกาศเพิ่มการเก็บภาษีจากก�ำไรการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ขึ้นเป็นร้อยละ 20 จากเดิมที่ร้อยละ 2 o สั่งหยุดการปล่อยกู้ของภาคธนาคาร (ลูกหนี้บางรายโดนเรียกเงินกู้คืน) o ก�ำหนดให้ผู้อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เฉินตู ฯลฯ ซื้อบ้านได้ไม่เกิน 1 หลัง o ทางการเซี่ยงไฮ้ระบุว่าจะมีการห้ามไม่ให้ธนาคารต่าง ๆ ปล่อยเงินกู้ให้แก่ชาวเซี่ยงไฮ้ที่จะซื้อ อพาร์ตเมนต์ เป็นครั้งที่ 3 ขึ้นไป ที่มา : รวบรวมโดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
56
3. สถานการณ์วิกฤติสภาพคล่อง การขยายตัวของการให้สินเชื่อเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนขยายตัวในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Nominal GDP) ของจีนควบคู่ไปกับอัตราการขยายตัวของ การให้สินเชื่อจะพบว่า ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมาอัตราการขยายตัวของการให้สินเชื่ออยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจของจีน เท่ากับว่าชาวจีนก�ำลังก่อหนี้มากกว่าจ�ำนวนรายได้ที่สามารถสร้างได้จริง ปรากฏการณ์ดังกล่าวนับเป็น ความเสี่ยงอย่างยิ่งต่ออนาคตเศรษฐกิจจีน ยิ่งไปกว่านั้นการให้สินเชื่อดังกล่าวเกินกว่าครึ่งมาจากระบบธนาคารเงา (Shadow Banking) ดังปรากฏในภาพที่ 5 ระบบธนาคารเงาเป็นระบบตัวกลางทางการเงินที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การก�ำกับดูแลของธนาคารกลาง ใช้วิธีระดมทุนผ่านตลาดเงิน ระยะสั้นเพื่อลงทุนในตราสารอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกว่า Wealth Management Product (WMP) แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตรา การส�ำรองเงินฝากธนาคารพาณิชย์เพื่อลดปริมาณเงินในระบบ และท�ำให้ปริมาณสินเชื่อโดยรวมรวมทั้งสินเชื่อจากระบบ ธนาคารเงาลดลงไปในปี 2554 อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 การให้สินเชื่อได้กลับมาขยายตัวอีกครั้ง พร้อมกับการพึ่งพาระบบ ธนาคารเงาทีม่ แี นวโน้มสูงขึน้ อย่างรวดเร็ว ทัง้ นี้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 สัดส่วนการให้สนิ เชือ่ ของระบบธนาคารเงาคิดเป็นสัดส่วน สูงถึงร้อยละ 28 ของ GDP ในขณะที่สินเชื่อจากระบบธนาคารปกติอยู่ในระดับไม่ถึงร้อยละ 5 ของ GDP (ภาพที่ 6) ภาพที่ 5 การขยายตัวของการให้สินเชื่อในจีน ทั้งในภาพรวมและผ่านระบบธนาคาร
ที่มา : Societe Generale Cross Asset Research/Economics, ธนาคารกลางจีน ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติจีน
ภาพที่ 6 สัดส่วนของการให้สินเชื่อผ่านระบบธนาคารและระบบการเงินอื่น
ที่มา : ธนาคารกลางจีนและส�ำนักงานสถิติแห่งชาติจีน
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
57
เมื่อธุรกรรมผ่านระบบธนาคารเงาดังกล่าวได้กระตุ้นการลงทุนในสินทรัพย์ โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ธนาคารกลางจีนจึงได้ออกมาตรการควบคุม โดยเมือ่ วันที่ 20 มิถนุ ายน 2556 ได้ปรับเพิม่ ดอกเบีย้ กูย้ มื ระยะสัน้ (Discount Rate) เพื่อปิดทางเพิ่มสภาพคล่องของตัวกลางทางการเงินในระบบธนาคารเงา และเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2556 ธนาคารกลางจีน ได้ออกแถลงการณ์ว่าจะไม่เข้าอัดฉีดสภาพคล่องให้สถาบันการเงินขนาดเล็กที่มีปัญหา ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลให้อัตรา ดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate) ปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 13.44 (ภาพที่ 7) มาตรการดังกล่าวส่งผลให้บริษัท จัดอันดับความน่าเชื่อถือ อาทิ Moody’s และ Fitch ออกมาเตือนว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นดังกล่าวอาจส่งผลกระทบ ต่อสภาพคล่องของสถาบันการเงินขนาดเล็กของจีน (Liquidity Crunch) ภาพที่ 7 Shanghai Interbank Offered Rate (SHIBOR) overnight rate
ที่มา : The People's Bank of China
การคุมเข้มโดยธนาคารกลางจีนดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาเพิ่งประกาศตั้งเป้าที่จะปรับลด มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing : QE) ส่งผลให้นักลงทุนตื่นตระหนกว่าจะเกิดสถานการณ์สภาพคล่อง ตึงตัวอย่างรุนแรง ท�ำให้ตลาดหุ้นจีนปรับลดลงกว่าร้อยละ 5.3 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2556 ท้ายที่สุดเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2556 ธนาคารกลางจีนประกาศว่าได้อัดฉีดเม็ดเงินจ�ำนวนหนึ่ง เข้าระบบสถาบันการเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องแล้ว และอาจด�ำเนินการเพิ่มเติมหากจ�ำเป็นในอนาคต ท�ำให้นักลงทุนได้คลาย ความกังวลต่อความเสี่ยงด้านสภาพคล่องลงบ้าง สะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระยะสั้นระหว่างธนาคารพาณิชย์ที่ลดลง ตามล�ำดับ และมาอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ในวันที่ 26 มิถุนายน 2556 มาตรการของธนาคารกลางจีนเปรียบเสมือนยาทีน่ ำ� มาใช้รกั ษาโรคร้ายอย่างระบบธนาคารเงา หากแต่ยาทีม่ ฤี ทธิร์ นุ แรง ย่อมมีผลข้างเคียงร้ายแรงดังเช่นวิกฤติสภาพคล่องทีเ่ กิดขึน้ วิกฤติสภาพคล่องดังกล่าวนับเป็นบทเรียนส�ำคัญส�ำหรับทางการจีน ในการด�ำเนินนโยบายเพื่อชะลอความร้อนแรงของภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างรอบคอบยิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป
4. บทส่งท้าย : ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย หากวิกฤติสภาพคล่องในจีนเกิดขึ้นเป็นระยะสั้น ๆ จะไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก เนื่องจากภาคการเงินไทย และจีนมีความเชื่อมโยงในระดับต�่ำ อีกทั้งสถาบันการเงินไทยยังมีสภาพคล่องส่วนเกินในระบบค่อนข้างสูงที่ 2.5 ล้านล้านบาท (ประมาณร้อยละ 20 ของจีดีพี) ณ เดือนเมษายน 2556 โดยในจ�ำนวนนี้เป็นสภาพคล่องส่วนเกินที่มีความคล่องตัวสูง (Highly Liquid Assets) ที่ 6.5 แสนล้านบาท อีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังมีความสามารถในการอัดฉีดสภาพคล่อง เข้าระบบได้หากมีความจ�ำเป็น โดยในปัจจุบันพันธบัตร ธปท.อยู่ที่ 2.9 ล้านล้านบาท (ณ เดือนพฤษภาคม 2556)
58
ภาพที่ 8 สภาพคล่องส่วนเกินของไทย
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ค�ำนวณโดย สศค.
อย่างไรก็ตาม หากวิกฤติดังกล่าวยังคงด�ำเนินต่อเนื่องในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารพาณิชย์และ เศรษฐกิจจริงของจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยผ่าน 3 ช่องทาง ดังต่อไปนี้ ช่องทางการส่งออก จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย โดยการส่งออกของไทยไปยังจีนคิดเป็นร้อยละ 11.7 ของการส่งออกรวมในปี 2555 หากภาคเศรษฐกิจจริงของจีนได้รับผลกระทบจากวิกฤติดังกล่าว ท�ำให้อุปสงค์จากจีนลดลง ย่อมส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยอย่างแน่นอน ช่องทางการเงิน ถ้าปัญหาการขาดสภาพคล่องในจีนยังคงด�ำเนินต่อไป ย่อมส่งผลให้เกิดการไหลออกของเงินทุน กลับไปยังประเทศจีน ก่อให้เกิดความผันผวนในระบบการเงินของไทย ช่องทางการท่องเที่ยว ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นักท่องเที่ยวชาวจีนคิดเป็นร้อยละ 12.5 ของจ�ำนวน นักท่องเทีย่ วต่างชาติทงั้ หมดในปี 2555 ซึง่ มากเป็นอันดับ 2 รองจากนักท่องเทีย่ วจากยูโรโซน วิกฤติดงั กล่าวจะส่งผลให้ประชาชน ชาวจีนจะหันมาเก็บออมมากขึ้น และท�ำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนลดลง เนื่องจากภาวะฟองสบู่ในจีนยังคงด�ำเนินต่อไปและมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จึงอาจส่งผลให้ทางการจีน ต้องเข้าด�ำเนินการเพื่อลดสภาพคล่องในระบบได้ในอนาคต จึงควรเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
59
บทวิเคราะห์ เรื่อง โอปป้าทะเลาะกัน คุกคามเศรษฐกิจไทยอย่างไร ?
1
บทสรุปผู้บริหาร ประเด็นความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี เป็นปัญหาสืบเนือ่ งมายาวนานตัง้ แต่ยคุ สงครามเย็น (ค.ศ.1950) จวบจนถึงปัจจุบัน โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ประเทศเกาหลีเหนือและประเทศ เกาหลีใต้ประกาศสงครามระหว่างกันอย่างเป็นทางการ สร้างความกังวลว่าจะเกิดเป็นสงครามโลกครัง้ ที่ 3 หรือไม่ ❍❍ ดัชนีตลาดทุนทัว ่ โลกรวมถึงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยเองมีการเปลีย่ นแปลงอย่าง มีนัยส�ำคัญ จากเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีความผันผวนมากขึ้น บ่งชี้ว่า การประกาศสงครามในบริเวณคาบสมุทร เกาหลีดังกล่าวสร้างความตื่นตระหนกให้แก่นักลงทุนทั่วโลก ❍❍ ภาคส่วนส�ำคัญในเศรษฐกิจไทยที่มีความเสี่ยงจากประเด็นปัญหาดังกล่าว ได้แก่ การผลิตใน ภาคอุตสาหกรรมและภาคการท่องเที่ยว จึงควรให้ความส�ำคัญและเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป ❍❍
1. บทน�ำ การประกาศสงครามระหว่างประเทศเกาหลีใต้และประเทศเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา สร้างความกังวลให้แก่นักลงทุนทั่วโลก ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีความผันผวนมากขึ้น นอกจากนี้ เนื่องจากเกาหลีใต้ เป็นหนึ่งในคู่ค้าที่ส�ำคัญของประเทศไทย การประกาศสงครามดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยไปยัง เกาหลีใต้ และอาจส่งผลต่อเนื่องถึงภาคอุตสาหกรรมของไทยจากความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน บทความนี้วิเคราะห์ ผลกระทบจากการประกาศสงครามดังกล่าวต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านหลัก ได้แก่ ผลกระทบต่อภาคการเงิน ผลกระทบต่อภาคการค้า ผลกระทบต่อการลงทุน และผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ดังต่อไปนี้
2. ผลกระทบต่อภาคการเงิน การประกาศสงครามในบริเวณคาบสมุทรเกาหลีดังกล่าวสร้างความตื่นตระหนกให้แก่นักลงทุน อันส่งผลให้เงินทุน เคลือ่ นย้ายทัว่ โลกซึง่ รวมถึงประเทศไทยมีความผันผวนมากขึน้ ส่วนหนึง่ เป็นผลจากความเชือ่ มโยงในระดับสูงระหว่างตลาดทุน ทั่วโลก ซึ่งผลกระทบจากความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นผ่านดัชนีตลาดทุนทั่วโลกทันที โดยภายหลังการประกาศสงครามของประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้ในวันที่ 30 มีนาคม 2556 ดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2556 ปิดลดลง 11.51 จุด มาอยู่ที่ 1,549.55 จุด (หรือลดลงร้อยละ 0.74 จากวันก่อนหน้า) และลดลงอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับจ�ำนวนเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลงในช่วงเวลา ดังกล่าว (ภาพที่ 2) โดยทีก่ ล่าวมานัน้ เป็นผลกระทบทัง้ จากความกังวลเกีย่ วกับสงครามในคาบสมุทรเกาหลี รวมไปจนถึงประเด็น หนี้สาธารณะในยูโรโซนเป็นส�ำคัญ
ผู้เขียน : นางสาวอาร์จนา ปานกาญจโนภาส เศรษฐกรปฏิบัติการ และนางสาวภัทราพร คุ้มสะอาด เศรษฐกรตรี ขอขอบคุณ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค รักษาราชการแทนผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพ เศรษฐกิจ ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ เศรษฐกรช�ำนาญการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
1
60
ภาพที่ 1 แสดงข้อมูลดัชนีตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้และไทย
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 2 แสดงเงินทุนเคลื่อนย้ายและสถานการณ์ค่าเงินบาท
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
แม้ว่า ณ ปัจจุบันยังไม่มีการตอบโต้ที่รุนแรงเกิดขึ้นตามที่ทั้งผู้น�ำของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้แสดงท่าทีไว้ก่อนหน้า นั้น โดยใช้การเจรจาระดับสูงเข้ามามีส่วนช่วยเพื่อกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายและหลีกเลี่ยงความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งมีหลายประเทศเข้ามาสนับสนุนการด�ำเนินการดังกล่าว อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ทั้งนี้ จากสถานการณ์ล่าสุดที่ได้ มีก�ำหนดการในการเจรจาระดับสูงระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี ในวันที่ 12 มิถุนายน 2556 นั้น ปรากฏว่าไม่มีการเจรจาดังกล่าวเกิดขึ้น และไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นการเลื่อนเจรจาหรือยกเลิกการเจรจาดังกล่าว เนื่องจากทั้ง สองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับระเบียบพิธีการทูต และเกาหลีเหนือยังไม่ได้แถลงอย่างเป็นทางการถึงการยกเลิก การเจรจา โดยท่าทีดงั กล่าวมีความเป็นไปได้วา่ ปัญหาความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลีอาจยืดเยือ้ และจ�ำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ในการคลี่คลายความขัดแย้ง ซึ่งจ�ำเป็นต้องติดตามประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
61
3. ผลกระทบต่อภาคการค้า ประเทศเกาหลีใต้ถอื เป็นหนึง่ ในคูค่ า้ ส�ำคัญของประเทศไทย โดยถึงแม้วา่ สัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังเกาหลีใต้ไม่สงู มากนัก แต่สัดส่วนการน�ำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้ของไทยอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยสัดส่วนการส่งออกไปยังเกาหลีใต้คิดเป็น ร้อยละ 2.1 ของมูลค่าการส่งออกรวม (ส่งผลให้เกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกส�ำคัญอันดับที่ 13 ของไทย) ขณะที่ไทยน�ำเข้าสินค้า จากเกาหลีใต้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.6 ของมูลค่าการน�ำเข้ารวม (อันดับที่ 6) ภาพที่ 3 มูลค่าการส่งออกไทยไปยังเกาหลีใต้
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 4 มูลค่าการน�ำเข้าจากเกาหลีใต้มาไทย
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมโดย สศค.
เมื่อพิจารณารายละเอียดสินค้าพบว่าไทยน�ำเข้าอุปกรณ์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมจากเกาหลีใต้เป็นส�ำคัญ ดังนั้น หากสถานการณ์ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เพิม่ ความรุนแรงมากขึน้ ในระยะต่อไป อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านห่วงโซ่ อุปทานต่อไทยได้ โดยสินค้าส่งออกและน�ำเข้าที่ส�ำคัญระหว่างไทยและเกาหลีใต้ 5 อันดับแรก แสดงดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สินค้าส่งออกและน�ำเข้าส�ำคัญ 5 อันดับแรก ระหว่างไทยและเกาหลีใต้ สัดส่วนปี 2555 สินค้าส่งออกส�ำคัญของไทย 1. ยางพารา 2. แผงวงจรไฟฟ้า 3. น�้ำตาลทราย 4. เคมีภัณฑ์ 5. น�้ำมันดิบ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมโดย สศค.
62
สินค้าน�ำเข้าส�ำคัญของไทย 1. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 2. เคมีภัณฑ์ 3. เครื่องจักรและส่วนประกอบ 4. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 5. แผงวงจรไฟฟ้า
ส่วนด้านการค้าระหว่างไทยกับเกาหลีเหนือนัน้ ไทยถือเป็นคูค่ า้ ส�ำคัญอันดับ 102 ของเกาหลีเหนือตามสัดส่วนของมูลค่า การน�ำเข้า อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยไปยังเกาหลีเหนือมีสัดส่วนที่น้อยมากเพียงร้อยละ 0.02 ของมูลค่าการส่งออกรวม ของไทย3 ทั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับเกาหลีเหนือมาโดยตลอด โดยสินค้าส่งออกและน�ำเข้าที่ส�ำคัญ 5 อันดับแรก มีดังต่อไปนี้ ตารางที่ 2 สินค้าส่งออกและน�ำเข้าส�ำคัญ 5 อันดับแรก ระหว่างไทยและเกาหลีเหนือ สัดส่วนปี 2555 สินค้าส่งออกส�ำคัญของไทย 1. ยางพารา 2. ไขมันและน�้ำมันจากพืชและสัตว์ 3. เคมีภัณฑ์ 4. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 5. เม็ดพลาสติก
สินค้าน�ำเข้าส�ำคัญของไทย 1. เคมีภัณฑ์ 2. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 3. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 4. ลวดและสายเคเบิล 5. แผงวงจรไฟฟ้า
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมโดย สศค.
4. ผลกระทบต่อการลงทุน สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากประเทศเกาหลีใต้มายังประเทศไทยอยู่ในระดับไม่สูงมาก โดยในปี 2555 การลงทุน โดยตรงจากเกาหลีใต้มายังไทย คิดเป็นร้อยละ 0.9 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศรวม โดยสาขาที่ลงทุนมากที่สุด ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส�ำหรับในปี 2555 มีโครงการลงทุน 157 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 93.885 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม การประกาศสงครามดังกล่าวอาจส่งผลลบต่อบรรยากาศการลงทุนโดยรวมในเอเชีย แม้ว่าไทยจะพึ่งพา การลงทุนโดยตรงจากเกาหลีใต้ในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย แต่สงครามระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้อาจส่งผลกระทบต่อ ความเชือ่ มัน่ ของนักลงทุนทัง้ ในภูมภิ าคและนอกภูมภิ าค ซึง่ อาจส่งผลให้มกี ารชะลอหรือระงับการลงทุนชัว่ คราว ซึง่ เป็นประเด็น ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ภาพที่ 5 แสดงสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในไทย ปี 2555
ที่มา : BOI
http://trade.ec.europa.eu/doclib/docs/2006/september/tradoc_113428.pdf สัดส่วนในปี 2555
2 3
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
63
5. ผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว นักท่องเทีย่ วชาวเกาหลีใต้ถอื ว่ามีความส�ำคัญต่อภาคการท่องเทีย่ วของไทย เนือ่ งจากจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วทีเ่ ดินทางเข้ามา ในไทยมีมากเป็นอันดับที่ 5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.2 ของนักท่องเทีย่ วต่างชาติทงั้ หมดทีม่ าประเทศไทย ทัง้ นี้ จ�ำนวนนักท่องเทีย่ ว จากเกาหลีใต้ขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยในปี 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 1,169,131 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 จากปีก่อนหน้า) และหาก วิเคราะห์ในรายมิตพิ บว่า รายรับจากนักท่องเทีย่ วเกาหลีใต้เฉลีย่ ต่อปีคดิ เป็นมูลค่า 3.9 พันล้านบาท หรือสัดส่วนร้อยละ 4.4 ของ รายรับจากนักท่องเที่ยวรวม ทั้งนี้ หากประเด็นปัญหาดังกล่าวยืดเยื้ออาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้เดินทางออกนอกประเทศน้อยลง ซึ่งจะ ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวของไทยในอนาคต อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางไปยัง เกาหลีใต้ในช่วงนี้อาจเปลี่ยนปลายทางไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาครวมถึงประเทศไทย ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์ดังกล่าว อย่างใกล้ชิด ภาพที่ 6 แสดงจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังไทย ปี 2555
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
6. บทสรุป ความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้นนั้ เป็นปัญหาสืบเนือ่ งมานับตัง้ แต่ชว่ งสงครามเย็น (ค.ศ. 1950) เป็นต้นมา ทั้งนี้ การประกาศสงครามระหว่างกันครั้งนี้หลายฝ่ายยังคงรอดูท่าทีของเกาหลีเหนือว่าจะด�ำเนินมาตรการรุนแรง หรือเป็น การด�ำเนินสงครามจิตวิทยาผ่านการประกาศสูส่ าธารณชน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความกังวลว่าประเด็นดังกล่าวอาจลุกลามกลาย เป็นสงครามยืดเยื้อและรุนแรง ซึ่งอาจก่อเกิดความตื่นตระหนกและสร้างความผันผวนให้แก่ตลาดทุนทั่วโลก ในกรณีของเศรษฐกิจไทย แม้ว่าในปัจจุบันการค้าระหว่างไทยและเกาหลีใต้จะมีสัดส่วนไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตาม ไทยอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมผ่านความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจระหว่างประเทศคู่ค้าส�ำคัญอื่น ๆ กับเกาหลีใต้ (Second round effect) นอกจากนี้ อุตสาหกรรมไทยอาจได้รับผลกระทบจากห่วงโซ่อุปทานเนื่องจากไทยน�ำเข้าสินค้าที่ใช้ในการผลิต ภาคอุตสาหกรรมในระดับค่อนข้างสูง อีกทั้งภาคการท่องเที่ยวไทยอาจได้รับผลกระทบจากสัดส่วนจ�ำนวนนักท่องเที่ยวจาก เกาหลีใต้ที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ทัง้ นี้ เมือ่ ดูจากสถานการณ์ปจั จุบนั ท่าทีทจี่ ะใช้ความรุนแรงระหว่างกันมีความเป็นไปได้นอ้ ย สะท้อนจากความพยายาม ในการเจรจาระดับสูงของทั้งสองประเทศ แต่ยังคงมีความยืดเยื้อเกิดขึ้นจากพิธีทางการทูตที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ส่งผลให้ ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวยังไม่สามารถคลี่คลายลงได้ในระยะเวลาอันใกล้ แต่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งในเรื่องดังกล่าว เป็นประเด็นส�ำคัญทีต่ อ้ งติดตามอย่างใกล้ชดิ เนือ่ งจากเป็นประเด็นทีส่ ามารถมีผลกระทบเชือ่ มโยงต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และส่งผลลบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลก
64
บทวิเคราะห์ เรื่อง เราสูญเสียการส่งออกจากโลกชะลอ หรือเงินแข็ง ? กรณีศึกษาจากข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ด้วยแบบจ�ำลอง Computable General Equilibrium 1
บทสรุปผู้บริหาร มูลค่าการส่งออกของไทยทีล่ ดลงต�ำ่ กว่าเป้าทีค่ าดการณ์ไว้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2556 อาจไม่ได้ เกิดจากการแข็งค่าของค่าเงินทั้งหมด ผู้เขียนใช้แบบจ�ำลองดุลยภาพทั่วไป (Computable General Equilibrium : CGE) ในการศึกษาผลของแรงกระทบ (Shock) 2 ประเภทที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวต่อสินค้าส่งออกที่ส�ำคัญ ของไทย โดย Shock ดังกล่าวประกอบด้วย หนึง่ การแข็งค่าของเงินบาท และ สอง การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ❍❍ Shock ดั ง กล่ า วท� ำ ให้ ดั ช นี ป ริ ม าณการส่ ง ออกปรั บ ลดลงร้ อ ยละ -5.5 โดยเป็ น ผลมาจาก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกร้อยละ -4.7 ขณะทีผ่ ลของค่าเงินอยูท่ รี่ อ้ ยละ -0.8 เท่านัน้ หรือกล่าวได้อกี นัยหนึง่ ว่า เศรษฐกิจโลกมีผลมากกว่าค่าเงิน 2.9 เท่า (ใกล้เคียงกับผลการประมาณโดยแบบจ�ำลองทางเศรษฐมิต)ิ อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์นี้ค่อนข้างอ่อนไหวต่อรูปแบบการปิดแบบจ�ำลอง (Closure) ที่ต่างกัน ❍❍ ผลกระทบต่อปริมาณสินค้าส่งออกในรายสินค้าส่งออกส�ำคัญของไทย ได้แก่ สินค้าประเภท อิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ -5.4 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกร้อยละ -5.0 และจากค่าเงินแข็งร้อยละ -0.4 สินค้า ประเภทรถยนต์และชิน้ ส่วนรถยนต์ลดลงร้อยละ -11.3 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกร้อยละ -10.4 และจากค่าเงินแข็ง ร้อยละ -0.9 สินค้าประเภทอาหาร (รวมข้าว) ลดลงร้อยละ -3.9 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกร้อยละ -3.0 และ จากค่าเงินแข็งร้อยละ -0.9 สินค้าประเภทประมงลดลงร้อยละ -6.5 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกร้อยละ -3.2 และ จากค่าเงินแข็งร้อยละ -3.3 อย่างไรก็ดี จากผลของแบบจ�ำลองปริมาณส่งออกสินค้าประเภทยางพารากลับเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 5.3 ทั้งนี้เนื่องจากราคาของยางพาราในประเทศลดลงมากกว่าราคาส่งออก ผู้ผลิตยางพาราจึงเลือกที่จะ ส่งออกมากขึ้น ❍❍
บทน�ำ ในช่วงปลายปี 2555 ถึงกลางปี 2556 ประเทศไทยต้องเผชิญกับการสูญเสียความสามารถทางการแข่งขันด้านราคา จากการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของเงินบาทต่อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และสกุลเงินประเทศคู่ค้าถ่วงน�้ำหนัก (Effective rate) ท�ำให้มกี ารพูดถึงกันอย่างกว้างขวางถึงผลกระทบของการแข็งค่าของค่าเงินต่อการส่งออก เนือ่ งจากในช่วงดังกล่าวการขยายตัว ของมูลค่าการส่งออกของประเทศไทยโดยเฉลี่ยลดลงต�่ำกว่าระดับการขยายตัวระยะยาว (Potential export growth) 2 โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ปริมาณการส่งออกขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 ขณะที่อัตราการขยายตัวเฉลี่ยระยะยาวอยู่ที่ร้อยละ 6.6 อย่างไรก็ดี อัตราการเติบโตทีต่ ำ�่ กว่าระดับระยะยาวหรือการเกิดช่องว่างของการส่งออก (Export output gap) ในช่วงเวลา ดังกล่าวอาจมีที่มาจากสาเหตุอื่นด้วยเช่นกัน อาทิ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง การย้ายฐานการผลิต และ นโยบายทางเศรษฐกิจต่าง ๆ อาทิ โครงการรับจ�ำน�ำข้าว รวมถึงเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว เช่น โรคระบาด ของกุ้ง ฯลฯ ท�ำให้เราไม่สามารถอ้างได้ว่าการเกิด Export output gap นั้นมาจากการแข็งค่าขึ้นของอัตราแลกเปลี่ยน ผูเ้ ขียน : นายกระแสร์ รังสิพล และนายพนันดร อรุณนี ริ มาน เศรษฐกรปฏิบตั กิ าร ขอขอบคุณส�ำหรับค�ำแนะน�ำจาก ดร.กุลยา ตันติเตมิท รักษาราชการแทน ผูอ้ ำ� นวยการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค คุณวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการฯ และขอขอบคุณความรู้ด้านแบบจ�ำลอง CGE จาก ดร.ปฐมดนัย พลจันทร์ เศรษฐกรช�ำนาญการ และคุณทวีชัย เจริญเศรษฐศิลป์ นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันวิจัยศศินทร์ (Sasin Institute for Global Affairs) 2 นิยามอย่างง่ายโดยการใช้ค่าเฉลี่ยของอัตราการขยายตัวในช่วงไตรมาสที่ 1 ของ 8 ปีย้อนหลัง 1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
65
แต่เพียงอย่างเดียว การศึกษาชิน้ นีจ้ งึ ถูกจัดท�ำขึน้ เพือ่ พิจารณาแยกแยะผลเชิงปริมาณของการแข็งค่าของเงินบาทต่อการส่งออก ในรายสินค้าส่งออกส�ำคัญของไทย 5 ประเภท ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และชิ้นส่วน อาหาร (รวมข้าว) ยางพารา และ สินค้าประมง ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (เดือนมกราคม–มีนาคม 2556) โดยใช้แบบจ�ำลองดุลยภาพทั่วไป (Computable General Equilibrium Model : CGE) ในการค�ำนวณ
แบบจ�ำลอง แบบจ�ำลอง CGE ที่ใช้ในการศึกษานี้3 เป็นแบบจ�ำลองที่สร้างจากข้อมูลโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปี 2548 แต่เนื่องจาก โครงสร้างเศรษฐกิจไทยและประเทศคู่ค้าในปี 2555 ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากปี 2548 (ตารางที่ 1 และตารางที่ 2) รูปแบบ การผลิตและลักษณะสินค้าส่งออก ตลอดจนปัจจัยทีก่ ำ� หนดปริมาณการส่งออกจึงน่าจะไม่แตกต่างกันมากนัก ท�ำให้เราสามารถ ใช้แบบจ�ำลองนี้เพื่อศึกษาสถานการณ์ในปัจจุบันได้ ตารางที่ 1 โครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปี 2548 และปี 2555
โครงสร้างเศรษฐกิจไทย (สัดส่วนร้อยละต่อ GDP)
มูลค่าการค้ารวม (น�ำเข้า+ส่งออก) อุตสาหกรรม ค้าส่ง ค้าปลีก ขนส่งและสื่อสาร เกษตรกรรม ก่อสร้างและเหมืองแร่ บริการอื่น ๆ
2548
2555
148.3 39.2 13.4 9.8 8.4 4.3 24.9
148.8 39.1 13.4 9.8 8.4 4.3 25.0
*หมายเหตุ : บริการอื่น ๆ รวมถึงภาคการเงิน การศึกษา และโรงแรมและภัตตาคาร เป็นต้น ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย และค�ำนวณจากข้อมูล สศช.
ตารางที่ 2 ประเทศคู่ค้าส�ำคัญของไทยในปี 2548 และปี 2555 อันดับ
1 2 3 4 5
2548
สัดส่วนมูลค่าการค้า
2555
สัดส่วนมูลค่าการค้า
ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน มาเลเซีย สิงคโปร์
18.8% 11.9% 8.0% 5.7% 5.9%
ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย
14.7% 12.6% 7.8% 5.5% 3.9%
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การใช้แบบจ�ำลอง CGE ดังกล่าวในการค�ำนวณหาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาปัจจุบันท�ำได้โดยการใส่แรงกระทบ (Shock) ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2556 นั้น โดยสมมติให้แรงกระทบ (Shock) เหล่านั้นเข้าส่งผลต่อระบบในช่วงต้น ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ครั้งเดียว และดัดแปลงตัวปิดแบบจ�ำลอง (Closure) ให้เป็นการปิดแบบจ�ำลองแบบระยะสั้น (Short-run closure) เพื่อให้ได้การปรับตัวของตัวแปรในระบบเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพใหม่ของระบบ (Post equilibrium) ที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เพื่อให้สามารถแสดงผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเพียง 1 ไตรมาสได้ แบบจ�ำลอง ORANI-g
3
66
ทั้งนี้ การนิยาม “ระยะสั้น” ในที่นี้จะท�ำโดยการก�ำหนดให้ตัวแปรมหภาคต่าง ๆ ได้แก่ การลงทุนรวม การใช้จ่ายภาครัฐ ระดับราคา ปัจจัยการผลิตด้านสินค้าทุน ที่ดิน รสนิยม และอัตราค่าจ้างที่แท้จริงไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากตัวแปรเหล่านี้ มีความหนืด (Rigidity) ในระยะสั้น ซึ่งระยะเวลาเพียง 1 ไตรมาสถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากเมื่อพิจารณาจากความสามารถ ในการปรับตัวของตัวแปรต่าง ๆ โดยในการศึกษานี้ผู้เขียนพิจารณาผลลัพธ์ใน 3 รูปแบบที่มีการปิดแบบจ�ำลอง (Closure) ทีต่ า่ งกัน ได้แก่ แบบทีห่ นึง่ (กรณีฐาน) การใช้มลู ค่าการบริโภคสินค้าฟุม่ เฟือยเป็น Numeraire4 แบบทีส่ อง การใช้มลู ค่าการบริโภค เป็น Numeraire และแบบที่สาม การใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็น Numeraire
การก�ำหนดค่าแรงผลกระทบ (Exogenous shocks) การก�ำหนด Exogenous shock เป็นการพิจารณาหาค่าความต่างระหว่างค่าของตัวแปรที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว กับค่าศักยภาพของตัวแปรในระยะยาว (Potential value) เพื่อให้สอดคล้องกับนิยามของ Shock ในแบบจ�ำลอง CGE โดยแรงกระทบ (Shock) ที่ถูกก�ำหนดขึ้นจะจ�ำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ณ เวลานั้นเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ โดยจะมุ่งเน้น ไปที่แรงกระทบจากภายนอก (External shock) ที่เกิดขึ้นจากตลาดโลกและสมมติให้เศรษฐกิจภายในประเทศคงที่ตามระดับ การขยายตัวระยะยาว โดยแรงกระทบ (Shock) ทีจ่ ะใส่เข้าไปในแบบจ�ำลองมี 2 ประเภท คือ หนึง่ แรงกระทบของอัตราแลกเปลีย่ น และ สอง แรงกระทบจากการชะลอตัวลงของอุปสงค์โลกผ่านทั้งทางราคาและปริมาณของสินค้าส่งออก โดยการค�ำนวณ เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าของแรงกระทบมีดังนี้ 1. ค่าคลาดเคลือ่ นของอัตราแลกเปลีย่ น (Real exchange rate misalignment) เราสร้างแบบจ�ำลองอัตราแลกเปลีย่ น ดุลยภาพระยะยาว (Long-term equilibrium exchange rate model) จากแนวคิดของ Edwards (1989)5 และน�ำมาเปรียบเทียบ กับอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเวลาศึกษา เพื่อค�ำนวณหาค่าคลาดเคลื่อน (Misalignment) ของทั้งสองค่า โดยอัตราแลกเปลี่ยน ที่น�ำมาใช้ในการศึกษาจะเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงกับสกุลเงินคู่ค้าส�ำคัญ (Real Effective Exchange Rate : REER) จากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยปัจจัยทีก่ ำ� หนด Long-term equilibrium real exchange rate จะประกอบไปด้วย หนึง่ สัดส่วน การลงทุนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สอง ขนาดการเปิดประเทศ (Degree of openness) สาม เงินทุนไหลเข้า สี่ อัตราการค้า (Terms of trade) และ ห้า มูลค่าหนีต้ า่ งประเทศต่อมูลค่าการส่งออก ซึง่ เมือ่ น�ำมาทดสอบกับข้อมูลของประเทศไทย แล้วพบว่ามีเพียงปัจจัยที่หนึ่ง สอง และห้า ที่สามารถอธิบาย REER ได้อย่างมีนัยส�ำคัญ สมการแบบจ�ำลองอัตราแลกเปลี่ยนระยะยาว LOG(REER) = 0.20 LOG(INV) – 0.14 LOG(OPEN) – 0.18 LOG(DEBTSERV) + 0.004 TIME + 3.64 [1.71]* [-1.27] [-3.50]*** [5.50]*** [3.33]*** Adjusted R-squared = 0.72 S.E. of equation = 0.03 Durbin-Watson stat = 0.96 t-stat in [ ] และ *,**,*** แสดงนัยส�ำคัญทางสถิติที่ร้อยละ 10 ร้อยละ 5 และร้อยละ 1 ตามล�ำดับ โดย REER คือ Real Effective Exchange rate INV คือ สัดส่วนการลงทุนต่อ GDP OPEN คือ ขนาดการเปิดประเทศ (Degree of openness) DEBTSERV คือ มูลค่าหนี้ต่างประเทศต่อมูลค่าการส่งออก TIME คือ Time trend ค่า Long-term REER จะถูกสร้างจากสมการดังกล่าวท�ำให้เราสามารถหาค่าคลาดเคลื่อนของอัตราแลกเปลี่ยน REER ปัจจุบัน จากสูตรค่าคลาดเคลื่อน (Misalignment) = (REER/long-term REER)-1 ค่าคลาดเคลื่อนดังกล่าวจะถูกน�ำไปใช้ เป็นแรงกระทบภายนอก (Exogenous shock) ในแบบจ�ำลอง CGE ร่วมกับ Shock อื่น ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อค�ำนวณหา ผลกระทบจากการแข็งค่าเงิน
Numeraire เป็นตัวแปรที่ถูกก�ำหนดให้มีค่าคงที่เท่ากับ 1 เพื่อเป็นฐานในการพิจารณาเปรียบเทียบตัวแปรทั้งหมดในระบบหนึ่ง ๆ Edwards, Sebastian. "Exchange rate misalignment in developing countries."The World Bank Research Observer 4.1 (1989): 3-21.
4 5
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
67
จากแบบจ�ำลองสามารถหาค่าคลาดเคลือ่ น (Misalignment) ทีไ่ ด้เท่ากับร้อยละ 5.9 และได้ดำ� เนินการปรับค่าลงครึง่ หนึง่ จากอัตราดังกล่าวเหลือร้อยละ 2.95 ด้วยเหตุผลว่า จากข้อสมมติของแบบจ�ำลอง CGE การแข็งค่าขึน้ ของอัตราแลกเปลีย่ น REER จะถูกส่งผ่านไปยังราคาสินค้าทัง้ หมด จากการทีผ่ ขู้ ายปรับขึน้ ราคาเต็มทีเ่ พือ่ รักษามูลค่าการส่งออกให้ได้เท่าเดิมท�ำให้ราคาสินค้า ในมุมผู้ซื้อมีราคาแพงขึ้น แต่ในความเป็นจริงของการท�ำธุรกรรมส่งออก สินค้าหลายชนิดท�ำการซื้อขายระหว่างประเทศในรูป สกุลเงินดอลลาร์ ดังนั้นผู้ซื้อสินค้านั้น ๆ จึงไม่ได้รับผลด้านราคาจากการแข็งค่าของสกุลเงินผู้ขาย (ในที่นี้คือเงินบาท) จึงท�ำให้ ผลกระทบจากค่าเงินต่อตัวแปรการส่งออกไม่มีผลมากนัก ดังนั้นแรงกระทบจากการคลาดเคลื่อนดังกล่าวจึงจะไม่สูงเท่า ค่าทีค่ ำ� นวณได้ ดังนัน้ จึงสมมติให้จากสินค้าส่งออกทัง้ หมดมีสนิ ค้าเพียงครึง่ หนึง่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงราคาตามข้อสมมติของแบบจ�ำลอง และสินค้าอีกครึ่งหนึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคา ท�ำให้การตั้งค่าคลาดเคลื่อนถูกปรับค่าลดลงครึ่งหนึ่ง ภาพที่ 1 ค่าจริง ค่าจากแบบจ�ำลอง และค่าคลาดเคลื่อนของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง (REER)
ที่มา : ค�ำนวณโดยผู้เขียน
2. การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก การเติบโตที่ชะลอลงของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาภายในภูมิภาคที่ส�ำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ยูโรโซน กระทั่งประเทศจีนที่เริ่มมีปัญหาในภาคการเงินได้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงและการค้าระหว่าง ประเทศ โดยท�ำให้กำ� ลังซือ้ และความต้องการสินค้าลดลง ในการออกแบบแรงกระทบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เราจึงก�ำหนดให้ การชะลอตัวของการเติบโตมีผลกระทบต่ออุปสงค์ของสินค้าส่งออกจากประเทศไทยทั้งทางด้านปริมาณและราคาที่ลดลง เมื่อเทียบกับระดับศักยภาพในระยะยาว การก�ำหนดค่า Shock ด้านปริมาณความต้องการสินค้าส่งออก ในแบบจ�ำลองได้สมมติให้การลดลงของความต้องการ ปริมาณสินค้าโลกลดลงเท่ากับ Output gap ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว จากข้อมูล Output gap ต่อ GDP คาดการณ์โดย IMF6 พบว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวมในปี 2556 จะขยายตัวได้ตำ�่ กว่าระดับศักยภาพ โดยเฉพาะในภูมภิ าคส�ำคัญของโลก เช่น กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ฯลฯ อย่างไรก็ดี ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้มีการค�ำนวณไว้ส�ำหรับทุกประเทศ ดังนั้นจึงสมมติให้ประเทศ คู่ค้าที่ไม่ได้มีข้อมูล ได้แก่ จีน ฮ่องกง อินเดีย ไต้หวัน และประเทศอาเซียนยังขยายตัวได้ในระดับศักยภาพของตนเอง (output gap = 0) ท�ำให้เมื่อค�ำนวณรวมในกลุ่มประเทศคู่ค้าส�ำคัญของไทย 14 ประเทศ7 จะได้ค่า Output gap per GDP ของทั้งกลุ่ม โดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ -0.7
http://www.econstats.com/weo/V009.htm ประเทศคู่ค้าส�ำคัญของไทย 14 ประเทศ ประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยูโรโซน ฮ่องกง มาเลเซีย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม อินเดีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน
6 7
68
การก�ำหนดค่า Shock ด้านราคาสินค้าส่งออก การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ระดับราคาสินค้าในตลาดโลก รายไตรมาสหลายรายการปรับตัวลดลง เราก�ำหนด Shock แต่ละรายการโดยการค�ำนวณค่าเบี่ยงเบน (Deviation) ของราคา ในเชิงเปรียบเทียบกับ Long-run trend ซึ่งค�ำนวณมาจากการใช้ Hodrick-Prescott Filter โดยพบว่าราคาสินค้าส�ำคัญของโลก อยู่ในระดับต�่ำกว่าระดับระยะยาวทั้งสิ้น (ภาพที่ 2) และเมื่อน�ำไปถ่วงน�้ำหนักกับสัดส่วนสินค้าส่งออกส�ำคัญของไทยจะได้ ค่าเฉลี่ยของ Shock ด้านราคาของสินค้าในแต่ละกลุ่มตามตารางที่ 3 ภาพที่ 2 ดัชนีราคาสินค้าในตลาดโลกรายหมวดส�ำคัญและระดับราคาสินค้าในระยะยาว
ที่มา : CEIC และค�ำนวณโดยผู้เขียน
ตารางที่ 3 ดัชนีราคาในตลาดโลกของสินค้าส�ำคัญ ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ดัชนีราคาสินค้าในระยะยาว และ ค่าคลาดเคลื่อน
สัดส่วนต่อมูลค่า สินค้าส่งออกรวม (ร้อยละ)
ดัชนีราคา ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2556
ดัชนีราคา ระยะยาวจาก HP Filter
ดัชนีราคาวัตถุดิบอุตสาหกรรม* 75.3 170.0 175.7 ดัชนีราคาสินค้าเกษตร 11.3 133.2 142.6 ดัชนีราคาพลังงาน 6.8 194.5 199.9 ดัชนีราคาอาหาร 6.6 181.4 184.6 ค่าคลาดเคลื่อนถ่วงน�้ำหนัก (Weighted-Average Misalignment)
ค่าคลาดเคลื่อน (Misalignment) (ร้อยละ) -3.2 -6.6 -2.7 -1.7 -3.5
หมายเหตุ : * ดัชนีราคาวัตถุดบิ อุตสาหกรรมเป็นตัวเลขประมาณการรายปีโดย IMF ใช้แทนข้อมูลรายไตรมาสโดยสมมติให้ดชั นีราคารายไตรมาสมีคา่ เท่ากับดัชนีรายปี ที่มา : CEIC และค�ำนวณโดยผู้เขียน
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
69
ผลการศึกษา จากการทดลองสร้างแรงกระทบ (Shock) ดังกล่าวให้ส่งผลกระทบต่อตัวแปรต่าง ๆ ในแบบจ�ำลองในรูปแบบการปิด แบบจ�ำลองระยะสัน้ พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 แรงกระทบทัง้ 2 แบบส่งผลให้ดชั นีปริมาณการส่งออกสินค้ารวม (Merchandise export volume index) ปรับลดลงร้อยละ -5.58 เมื่อแยกพิจารณาน�้ำหนักของผลกระทบระหว่าง 2 ปัจจัยจะพบว่า การส่งออก ได้รับผลกระทบจากปัจจัยการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้ามากกว่าปัจจัยด้านค่าเงินอย่างเห็นได้ชัด โดยในกรณีฐาน ดัชนี ปริมาณรวมได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกร้อยละ -4.7 ขณะทีผ่ ลของค่าเงินอยู่ที่ร้อยละ -0.8 เท่านัน้ หรือกล่าวได้อีกอย่างว่า เศรษฐกิจโลกมีผลมากกว่าค่าเงิน 2.9 เท่า อย่างไรก็ดี ผลการศึกษานีม้ คี วามอ่อนไหว (Sensitive) ต่อรูปแบบการปิดแบบจ�ำลอง (Closure) ค่อนข้างมาก จากกรณีฐาน (มูลค่าการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยเป็น Numeraire) ที่น�้ำหนักของค่าเงินน้อยกว่าผลจาก เศรษฐกิจโลกประมาณ 2.9 เท่าตัว กรณี Closure แบบที่สอง (มูลค่าการบริโภครวมเป็น Numeraire) พบความต่างเพียง 1.9 เท่า ในขณะที่ความต่างมีเพียง 0.8 เท่าในกรณี Closure แบบสุดท้าย (ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็น Numeraire) เมื่อพิจารณาผลกระทบของค่าเงินเพียงอย่างเดียวพบว่า ในกรณีฐาน การที่ค่าเงินแข็งค่าขึ้นร้อยละ 1 จะท�ำให้ปริมาณ การส่งออกหายไปร้อยละ -0.31 ส�ำหรับใน Closure อีก 2 แบบนั้น ดัชนีปริมาณลดลงเท่ากับร้อยละ -0.43 และร้อยละ -1.61 ตามล�ำดับ ในการตรวจสอบผลการศึกษา เราได้ทดลองศึกษาด้วยแบบจ�ำลองทางเศรษฐมิติอนุกรมเวลา (Time-series econometric model) และพบผลลัพธ์ในทิศทางที่สอดคล้องกัน กล่าวคือ น�้ำหนักของผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกมีมากกว่า ค่าเงินถึงประมาณ 2.3 เท่าตัว และผลจากการแข็งค่าของค่าเงินบาทเพียงอย่างเดียวอยู่ที่ร้อยละ -0.28 ซึ่งใกล้เคียงกับผลลัพธ์ ที่ได้จากแบบจ�ำลอง CGE ในกรณีฐาน สมการแบบจ�ำลองทางเศรษฐมิติ LOG(XI_VOL) = 0.63 LOG(GDPVOL) – 0.28 LOG(REER) – 0.22 Flood – 0.12 GFC + 0.71 LOG(XI_VOL(-1)) [5.11]*** [-4.52]*** [-6.55]*** [-6.15]*** [10.90]*** Adjusted R-squared = 0.99 S.E. of equation = 0.03 Durbin-Watson stat = 2.03 t-stat in [ ] และ *,**,*** แสดงนัยส�ำคัญทางสถิติที่ร้อยละ 10 ร้อยละ 5 และร้อยละ 1 ตามล�ำดับ โดย XI_VOL คือ ดัชนีปริมาณการส่งออก (Export volume index) ที่ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว GDPVOL คือ GDP volume index เฉลี่ยของประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น (คู่ค้าหลักของไทย) REER คือ Real Effective Exchange Rate Flood คือ Dummy ช่วงเกิดภาวะอุทกภัยปลายปี 2554 GFC คือ Dummy global financial crisis (วิกฤติเศรษฐกิจโลกปี 2552) เมื่อพิจารณาในรายประเภทสินค้าส่งออกส�ำคัญของประเทศไทย (พิจารณาจากมูลค่าการส่งออก) ทั้ง 5 ประเภทได้รับ ผลกระทบดังนี้ • สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 26.8 ของปริมาณการส่งออกรวม ลดลงร้อยละ -5.4 เป็นผล มาจากเศรษฐกิจโลกร้อยละ -5.0 และจากค่าเงินแข็งร้อยละ -0.4 • สินค้าประเภทรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ ลดลงร้อยละ -11.3 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกร้อยละ -10.4 และ จากค่าเงินแข็งร้อยละ -0.9 • สินค้าประเภทอาหาร (รวมข้าว) ลดลงร้อยละ -3.9 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกร้อยละ -3.0 และจากค่าเงินแข็ง ร้อยละ -0.9 • สินค้าประเภทประมง ลดลงร้อยละ -6.5 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกร้อยละ -3.2 และจากค่าเงินแข็งร้อยละ -3.3 • อย่างไรก็ดี จากผลของแบบจ�ำลอง ปริมาณส่งออกสินค้าประเภทยางพารากลับเพิม่ มากขึน้ ร้อยละ 5.3 ทัง้ นีเ้ นือ่ งจาก เมื่อระบบเศรษฐกิจได้รับแรงกระทบที่ออกแบบไว้ ราคาของยางพาราในประเทศกลับลดลงในสัดส่วนที่มากกว่าการลดลงของ ราคาที่จะได้จากการส่งออก ดังนั้น ผู้ผลิตยางพาราจึงเลือกที่จะส่งออกมากขึ้น (แต่ผลผลิตโดยรวมของยางพาราลดลง) ต่างกับ Merchandise export volume gap ทีเ่ กิดขึน้ จริงทีอ่ ยูท่ รี่ อ้ ยละ -2.1 ทัง้ นีน้ า่ จะมีสาเหตุจากข้อสมมติของสัดส่วนของผูส้ ง่ ออกทีต่ งั้ ราคาโดยการผลักราคาขึน้ เพื่อรักษามูลค่าของรายได้เดิมอาจจะถูกตั้งไว้ต�่ำเกินไป
8
70
ภาพที่ 3 ผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการแข็งค่าของค่าเงิน ต่อปริมาณการส่งออกรวมและรายสินค้าส�ำคัญของประเทศไทย
ที่มา : ค�ำนวณโดยผู้เขียน
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
71
บทวิเคราะห์ เรื่อง อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ 1
บทสรุปผู้บริหาร อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Capacity Utilization Rate หรือ Cap U) เป็นอีก หนึ่งเครื่องชี้ส�ำคัญเพื่อวัดระดับการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบการผลิตจริงกับก�ำลังการผลิต สูงสุดหรือศักยภาพของเครื่องจักร ❍❍ อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยในปี 2555 ประเทศไทยมีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตรวมที่ต�่ำกว่า 100 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 65.20 ของก�ำลัง การผลิตรวม สะท้อนว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทยสามารถรองรับการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออกได้ ❍❍ หากพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรมพบว่า อุตสาหกรรมทีม ่ อี ตั ราการใช้กำ� ลังการผลิตมากทีส่ ดุ คือ อุตสาหกรรมทีเ่ กีย่ วกับการผลิตอุปกรณ์ทใี่ ช้ทางการแพทย์ การผลิตยานยนต์ การผลิตเคมีภณ ั ฑ์ และการผลิต เครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 อุตสาหกรรมดังกล่าวมีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตที่ ร้อยละ 106.06 ร้อยละ 105.65 ร้อยละ 90.22 และร้อยละ 81.58 ตามล�ำดับ ❍❍
1. บทน�ำ อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Capacity Utilization Rate หรือ Cap U) เป็นอีกหนึ่งเครื่องชี้ส�ำคัญเพื่อวัด ระดับการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบการผลิตจริงกับก�ำลังการผลิตสูงสุดหรือศักยภาพของเครือ่ งจักร ซึง่ สะท้อน ถึงความเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของการผลิต การส่งออก และแรงกดดันต่อราคาสินค้าภายในประเทศ โดยทั่วไปอัตรา การใช้ก�ำลังการผลิตจะค�ำนวณจากความสัมพันธ์ของการผลิตที่แท้จริงเทียบกับการผลิตที่สามารถผลิตได้เต็มความสามารถที่ มีอยู่จริง (ศักยภาพการผลิต) ดังนี้ อัตราการใช้ก�ำลังการผลิต = (การผลิตที่แท้จริง/ศักยภาพการผลิต) x 100 ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติหรือการผลิตจริงนั้น ศักยภาพการผลิตในสายการผลิตของโรงงาน (Plant Capacity) ขึ้นอยู่กับ การออกแบบเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ (Design Specification) ที่เลือกใช้ ซึ่งอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตจะแยกเป็นรายหมวด อุตสาหกรรม และโดยทั่วไปแต่ละหมวดอุตสาหกรรมจะมีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตที่มากน้อยแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ ทั้งนี้ หากพิจารณาจากข้อมูลในอดีต โดยเฉลี่ยแล้วประเทศไทยมีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตรวม (Cap U) อยู่ในระดับที่ต�่ำกว่า 100 (จากสูตรค�ำนวณด้านบน หากการผลิตที่แท้จริงเทียบเท่าศักยภาพการผลิตจะได้อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตเท่ากับ 100) นอกจากนี้หากพิจารณาเป็นรายหมวดอุตสาหกรรมพบว่า โดยส่วนใหญ่จะมีระดับอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตในระดับที่ต�่ำกว่า 100 เช่นกัน อย่างไรก็ดี ในบางสถานการณ์อาจมีบางอุตสาหกรรมทีม่ กี ารใช้กำ� ลังการผลิตทีเ่ กินกว่าระดับ 100 อาทิ อุตสาหกรรม ยานยนต์ที่เร่งการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งส่งมอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้าตามโครงการรถยนต์คันแรก 1
72
ผู้เขียน : นายธรรมฤทธิ์ คุณหิรัญ เศรษฐกรช�ำนาญการ และนางสาวอรอุมา หนูช่วย เศรษฐกรโท ส่วนแบบจ�ำลองและประมาณเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจ มหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ขอขอบคุณ คุณวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
2. อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) คือ เครื่องชี้ระดับปริมาณการผลิตของภาค อุตสาหกรรมของงวดเวลาใดเวลาหนึง่ โดยพิจารณาการเปลีย่ นแปลงเทียบกับระดับการผลิตภาคอุตสาหกรรมในปีฐานซึง่ เท่ากับ หนึ่งร้อย ในกรณีของประเทศไทย ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดท�ำดัชนีผลผลิต ภาคอุตสาหกรรมโดยใช้ปี 2543 เป็นปีฐาน ซึ่งโดยทั่วไปนั้นอัตราการใช้ก�ำลังการผลิต (Cap U) กับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือมีความสัมพันธ์เป็นบวก ฉะนั้นเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ที่ชัดเจนมากขึ้น จึงได้ท�ำ การวิเคราะห์หาค่าสหสัมพันธ์ (Correlation Analysis)2 ของตัวแปร 2 ตัวดังกล่าวพบว่า อัตราการใช้ก�ำลังการผลิต (Cap U) กับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มีความสัมพันธ์อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตใิ นระดับสูงทีร่ อ้ ยละ 85.1 โดยระดับของดัชนีผลผลิต ภาคอุตสาหกรรมกับระดับของอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เพิม่ ขึน้ อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตก็จะเพิม่ ขึน้ ด้วย ในทางกลับกันเมื่อผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง อัตราการใช้ก�ำลังการผลิต ก็จะลดลงด้วยเช่นเดียวกัน (ภาพที่ 1) ภาพที่ 1 ระดับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกับอัตราการใช้ก�ำลังการผลิต
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมวลผลโดย สศค.
3. อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตในประเทศไทย ประเทศไทยมีอตั ราการใช้กำ� ลังการผลิตรวมเฉลีย่ อยูท่ ปี่ ระมาณร้อยละ 63.23 ของก�ำลังการผลิตรวม3 โดยประเทศไทยมี การใช้อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตที่สูงในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล (Seasonal Pattern) เนื่องจากเป็นช่วง ที่มีการเร่งผลิตเพื่อจ�ำหน่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์และเร่งผลิตเพื่อชดเชยในวันหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์ อย่างไรก็ตาม ใน ช่วงปลายปี 2554 ภาคอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับวิกฤติมหาอุทกภัยท�ำให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะ โรงงานอุตสาหกรรมทีต่ งั้ อยูใ่ นพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั ผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์นำ�้ ท่วมบริเวณนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ในพืน้ ทีจ่ งั หวัด อยุธยาและจังหวัดปทุมธานี ตลอดจนเหตุการณ์อทุ กภัยดังกล่าวยังส่งผลกระทบไปยังอุตสาหกรรมในพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ทีไ่ ม่โดนน�้ำท่วม แต่เป็นการผลิตชิ้นส่วนเพื่อประกอบต่อเนื่อง (Supply Chain) ส่งผลให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวต�่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวก็ได้ส่งผลให้อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตเข้าสู่ภาวะต�่ำสุดเช่นเดียวกัน โดยในเดือนพฤศจิกายน 2554 อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 42.10 ของก�ำลังการผลิตรวมซึ่งเป็นระดับต�่ำสุดเป็นประวัติการณ์ (ภาพที่ 2) สหสัมพันธ์ (Correlation) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมากน้อยเพียงใด โดยหากค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าเข้าใกล้ -1 หรือ 1 แสดงถึงการมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง แต่หากมีค่าเข้าใกล้ 0 แสดงถึงการมีความสัมพันธ์กันในระดับน้อย หรือไม่มีเลย 3 ข้อมูลรวบรวมโดยส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2543-ปัจจุบัน 2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
73
ภาพที่ 2 อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตรวม
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมวลผลโดย สศค.
อย่างไรก็ดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมได้กลับมาเข้าสูภ่ าวะปกติกอ่ นวิกฤตินำ�้ ท่วมในช่วงปลายปี 2554 อย่างรวดเร็วตัง้ แต่ เดือนมีนาคม 2555 โดยในเดือนมีนาคม 2555 อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตรวม (Cap U) อยู่ที่ร้อยละ 67.3 ของก�ำลังการผลิต รวม ซึ่งกลับมาอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตในเดือนกันยายน 2554 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดสถานการณ์อุทกภัย และล่าสุดข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2556 พบว่าอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตรวมอยู่ที่ระดับ 65.8 ของก�ำลังการผลิตรวม ยกเว้นบาง อุตสาหกรรมที่อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ต่อเนื่องโดยไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงตามภาวการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นช่วงก่อนหรือหลังวิกฤติน�้ำท่วม ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการย้ายฐานการผลิตไปยัง ประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับยอดค�ำสั่งซื้อที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน (ภาพที่ 3) ภาพที่ 3 อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตในอุตสาหกรรมส�ำคัญ
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมวลผลโดย สศค.
74
หากพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรมพบว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 อุตสาหกรรมทีม่ อี ตั ราการใช้กำ� ลังการผลิตสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ทางการแพทย์ การผลิตยานยนต์ การผลิตเคมีภัณฑ์ และการผลิตเครื่องจักร และอุปกรณ์ โดยมีอตั ราการใช้กำ� ลังการผลิตทีร่ ะดับร้อยละ 106.06 ร้อยละ 105.65 ร้อยละ 90.22 และร้อยละ 81.58 ตามล�ำดับ ขณะที่อุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตในระดับต�่ำ ได้แก่ อุตสาหกรรมการฟอกและตกแต่งหนังฟอก อุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์ และการผลิตไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ โดยมีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตร้อยละ 34.94 ร้อยละ 31.82 และร้อยละ 20.87 ตามล�ำดับ ทั้งนี้ สามารถสรุปอัตราการใช้ก�ำลังการผลิต (Cap U) ของสาขาการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ส�ำคัญได้มีดังนี้ (ตารางที่ 1) อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (ISIC 15) มีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตเฉลี่ยในปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 58.6 เป็น อุตสาหกรรมที่เน้นการจ�ำหน่ายและบริโภคภายในประเทศ (บริโภคภายในประเทศร้อยละ 70) ฉะนั้นอัตราการใช้ก�ำลังการผลิต ของอุตสาหกรรมสาขานี้ขึ้นอยู่กับอุปสงค์ภายในประเทศเป็นหลัก จากวิกฤติน�้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 พบว่า อุตสาหกรรม อาหารและเครือ่ งดืม่ เป็นอุตสาหกรรมทีไ่ ม่ได้รบั ผลกระทบมากนัก สะท้อนได้จากอัตราการใช้กำ� ลังการผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับระดับก่อนเหตุการณ์อุทกภัยที่ร้อยละ 54.3 ซึ่งต่างจากอุตสาหกรรมหลักอื่น ๆ โดยล่าสุดเดือน พฤษภาคม 2556 อุตสาหกรรมอาหารมีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 53.0 ตามการชะลอตัวของการบริโภคภายใน ประเทศ ส่งผลให้ 5 เดือนแรกของปี 2556 อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตที่ร้อยละ 55.5 อุตสาหกรรมยานยนต์ (ISIC 34) เป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตสูงกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ซึ่งเฉลี่ยแล้วมี อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตในปี 2555 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 99.7 ทั้งนี้ ตั้งแต่กลางปี 2555 ยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตรา การใช้กำ� ลังการผลิตทีเ่ กินกว่าร้อยละ 100 และเป็นอุตสาหกรรมหลักทีเ่ ป็นตัวขับเคลือ่ นการผลิตของภาคอุตสาหกรรมไทย เนือ่ งจาก ได้รับอานิสงส์จากนโยบายรถยนต์คันแรก ท�ำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ต้องเร่งการผลิตสินค้า ประกอบกับค่ายรถยนต์ต้องเร่ง ส่งมอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้าที่ยังค้างส่งมอบตั้งแต่ปีก่อน รวมทั้งการท�ำกิจกรรมส่งเสริมการขายที่มีการจัดโปรโมชั่นรองรับการแข่งขัน อย่างรุนแรงตัง้ แต่ชว่ งต้นปีเพือ่ กระตุน้ ยอดขาย โดยผูป้ ระกอบการได้เพิม่ ชัว่ โมงการท�ำงาน (Man Hour) และเร่งก�ำลังการผลิตของ เครือ่ งจักร ท�ำให้อตั ราการใช้กำ� ลังการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์เพิม่ ขึน้ มาก ส่งผลให้ 5 เดือนแรกของปี 2556 อุตสาหกรรม ยานยนต์มกี ารใช้อตั ราก�ำลังการผลิตในระดับสูงทีร่ อ้ ยละ 105.7 อย่างไรก็ตาม ในช่วงวิกฤตินำ�้ ท่วมอุตสาหกรรมยานยนต์มอี ตั รา การใช้ก�ำลังการผลิตต�่ำที่สุด โดยในเดือนพฤศจิกายน 2554 อยู่ที่เพียงร้อยละ 14.7 เท่านั้น แต่ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่มี การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วสะท้อนได้จากอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติตั้งแต่ต้นปี 2555 อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ISIC 17) เป็นอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 30-60 โดยมีอัตราการใช้ก� ำลัง การผลิตเฉลี่ยในปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 41.1 จากวิกฤติน�้ำท่วมในปลายปี 2554 นั้น อุตสาหกรรมสิ่งทอได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากโรงงานสิ่งทอตั้งอยู่บริเวณภาคกลางและปริมณฑล ส่งผลให้อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอในเดือน พฤศจิกายน 2554 ลดลงมาอยู่ที่เพียงร้อยละ 30.7 อย่างไรก็ดี หลังจากวิกฤติน�้ำท่วมอุตสาหกรรมสิ่งทอเริ่มกลับสู่การผลิตได้ เต็มที่ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 สะท้อนได้จากอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตที่เข้าสู่ในระดับเดียวกับก่อนเหตุการณ์อุทกภัย ตามผลผลิตที่ขยายตัวได้จากการผลิตผ้าผืนเป็นส�ำคัญ เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้ผลิตสิ่งทอต้นน�้ำซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบของ อุตสาหกรรมนี้ โดยล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2556 อุตสาหกรรมสิ่งทอมีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 43.5 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ISIC 30) ซึง่ เป็นอุตสาหกรรมทีม่ กี ารใช้เทคโนโลยีเข้มข้น ในช่วงวิกฤตินำ�้ ท่วมได้รบั ผลกระทบ อย่างรุนแรงจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ท�ำให้อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2554 ลดลงต�่ำสุดอยู่ที่ ร้อยละ 18.8 เนื่องจากบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ อาทิ บริษัท Western Digital ต้องระงับการผลิตของโรงงาน การผลิตทั้ง 2 แห่งในประเทศไทย อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กลับมาท�ำการผลิตได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ทั้งนี้ ปัจจุบันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทาย คือ ความเสี่ยงจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ง่ายต่อการพกพา ซึ่งเข้ามาแทนที่ Hard Disk Drive ท�ำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มลดลง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
75
ตารางที่ 1 อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม 2554 2555
(หน่วย : ร้อยละ)
ม.ค.
ก.พ.
Average 2556 มี.ค. เม.ย. พ.ค. ม.ค.-พ.ค.
อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม
59.06 65.20 66.86 62.77 71.03 60.28 65.76 65.34
ISIC : 15 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
56.74 58.65 60.16 52.25 61.88 50.26 53.02 55.51
ISIC : 16 การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ
48.39 47.79 44.43 47.88 58.41 41.26 47.16 47.83
ISIC : 17 การปั่น การทอ และการแต่งส�ำเร็จสิ่งทอ
44.42 41.12 42.50 41.04 44.87 40.69 43.48 42.52
ISIC : 18 การผลิตเครื่องแต่งกาย
52.29 45.44 41.11 39.71 40.68 35.83 42.38 39.94
ISIC : 19 การฟอกและตกแต่งหนังฟอก
48.04 38.18 41.58 38.34 38.01 26.21 28.59 34.55
ISIC : 20 การผลิตไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้และไม้ก๊อก 21.48 20.28 21.07 18.51 21.39 20.88 22.51 20.87 ISIC : 21 การผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 68.42 69.05 70.09 65.69 69.28 68.26 72.22 69.11 ISIC : 23 การผลิตผลิตภัณฑ์ถ่านโค้ก
71.91 78.01 74.61 70.59 79.00 74.44 65.99 72.92
ISIC : 24 การผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี
78.67 83.99 91.60 79.53 95.12 90.01 94.82 90.22
ISIC : 25 การผลิตผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก
65.22 66.90 67.20 66.26 71.82 60.62 64.85 66.15
ISIC : 26 การผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ
64.23 70.64 73.01 71.87 81.76 68.82 76.52 74.40
ISIC : 27 การผลิตโลหะพื้นฐาน
47.44 49.04 51.39 52.36 55.88 45.67 49.24 50.91
ISIC : 28 การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ท�ำจากโลหะประดิษฐ์ 56.85 60.82 54.88 57.83 66.68 51.99 65.94 59.47 ISIC : 29 การผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์
68.15 75.13 76.82 76.62 87.12 77.48 89.87 81.58
ISIC : 30 การผลิตเครื่องจักรส�ำนักงาน
68.21 61.37 53.06 54.61 66.55 53.59 54.80 56.52
ISIC : 31 การผลิตเครื่องจักรและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 60.86 74.32 80.30 68.22 74.59 69.66 85.67 75.69 ISIC : 32 การผลิตอุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์วิทยุ โทรทัศน์ 44.70 51.34 55.95 48.66 51.69 55.55 46.56 51.68 ISIC : 33 การผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์
66.31 106.38 109.51 101.46 112.30 90.45 116.57 106.06
ISIC : 34 การผลิตยานยนต์ รถพ่วงและรถกึ่งรถพ่วง 62.93 99.69 108.85 103.42 117.65 85.00 113.35 105.65 ISIC : 35 การผลิตเครื่องอุปกรณ์และการขนส่งอื่น ๆ 81.20 78.79 67.50 63.60 74.89 63.99 76.86 69.17 ISIC : 36 การผลิตเฟอร์นิเจอร์ ที ่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
76
35.67 34.10 31.74 32.07 34.17 21.11 33.02
31.2
4. ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการใช้ก�ำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นการผลิตเพือ่ รองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึง่ อัตราการใช้กำ� ลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม จะเป็นไปในทิศทางเดียวกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ (1) เศรษฐกิจภายในประเทศ หากเศรษฐกิจภายในประเทศอยู่ในระดับที่ขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนจะเป็น ปัจจัยบวกต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตและอัตราการใช้ก�ำลังการผลิต (2) เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าส�ำคัญ จากภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศคู่ค้าที่ชะลอลงจะส่งผลต่อยอดค�ำสั่งซื้อหรืออุปสงค์จากต่างประเทศ และส่งผลต่อเนื่องต่อผลผลิตและอัตราการใช้ ก�ำลังผลิตในบางอุตสาหกรรมทีเ่ น้นการส่งออกให้ลดลง และท้ายทีส่ ดุ จะส่งผลต่ออัตราการใช้กำ� ลังการผลิตรวม และ (3) นโยบาย ภาครัฐ ถือได้วา่ เป็นปัจจัยส�ำคัญทีม่ ีผลต่ออัตราการใช้ก�ำลังการผลิต โดยจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากนโยบายรถยนต์คนั แรกซึง่ มี ส่วนท�ำให้อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มสูงขึ้นมากในระดับที่เกินกว่าร้อยละ 100 นอกจากนี้นโยบาย อื่น ๆ ของภาครัฐ อาทิ นโยบายการเพิ่มค่าแรงขั้นต�่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ และนโยบายรับจ�ำน�ำข้าวเปลือก เพื่อเพิ่มก�ำลัง ซื้อและกระตุ้นการอุปโภค-บริโภคภายในประเทศ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมท�ำการผลิตเพื่อรองรับการอุปโภค-บริโภคดังกล่าว และท�ำให้อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน
5. บทสรุปและข้อเสนอแนะ การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทส�ำคัญต่อเศรษฐกิจไทย สะท้อนจากสัดส่วนของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สูงถึง ร้อยละ 39 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมต่อมูลค่าการส่งออก รวมที่สูงถึงร้อยละ 75.1 ในปี 2555 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากภาพรวมของอัตราการใช้ก�ำลังการผลิต (Cap U) ในช่วง 5 เดือนแรก ของปี 2556 นั้นพบว่า อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตมีค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 65.3 ของก�ำลังการผลิตรวม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นส�ำคัญ อย่างไรก็ดี มีบางอุตสาหกรรม ที่มีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตลดลง อาทิ อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายและการปั่นการทอจากการขาดแคลนแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ ภาคการผลิตของประเทศไทยมีประสิทธิภาพและมีอัตราการใช้ก�ำลังการผลิตที่เต็มศักยภาพ สามารถด�ำเนินการได้ดังนี้ 1) ขยายศักยภาพการผลิตโดยการเพิ่มก�ำลังแรงงานควบคู่ไปกับการเพิ่มคุณภาพแรงงานในตลาดแรงงานโดยเฉพาะ แรงงานวุฒิ ปวช.และ ปวส. รวมทั้งแรงงานที่มีทักษะสูง (Skilled Labor) เช่น ช่างเทคนิค วิศวกร นักบัญชี ฯลฯ นอกจากนี้ควร มีการสนับสนุนการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย อย่างไรก็ดี การจ้างแรงงานต่างด้าวควรค�ำนึงถึงปัญหาสังคมที่อาจตาม มาด้วย 2) ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้แก่ภาคอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับ การเพิ่มทักษะฝีมือแรงงานเพื่อให้มีการพัฒนาไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทัง้ นี้ การพัฒนาศักยภาพการผลิตต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึง่ ภาคเอกชนควรมีบทบาทหลัก ในการผลักดันให้เกิดการขยายศักยภาพการผลิต ในขณะทีภ่ าครัฐควรมีบทบาทในการสนับสนุนเพือ่ เอือ้ ให้เกิดการพัฒนาดังกล่าว
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
77
บทวิเคราะห์ เรื่อง เหลียวหลังแลหน้าการบริโภคภาคเอกชนไทย
1
บทสรุปผู้บริหาร การบริโภคภาคเอกชนเป็นฟันเฟืองส�ำคัญในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนือ่ ง สะท้อน จากสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่อยู่ในระดับสูงมาตลอด โดยล่าสุดในปี 2555 การบริโภค ภาคเอกชนมีสัดส่วนที่ร้อยละ 52.1 ของ GDP ซึ่งเป็นอันดับที่ 2 รองจากด้านการส่งออกสินค้าและบริการที่มี สัดส่วนร้อยละ 73.0 ของ GDP ❍❍ ปัจจัยเสีย ่ งทีจ่ ะส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนในปี 2556 ได้แก่ 1. รายได้เกษตรกรที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องเกือบทุกภาค 2. ฐานการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่สูงในช่วง ก่อนหน้า 3. การฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าส�ำคัญของไทย ขณะที่ปัจจัยบวกที่จะสนับสนุน การบริโภคภาคเอกชนในปี 2556 ได้แก่ 1. ความต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ 2. แนวโน้ม ระดับราคาสินค้าทั่วไปอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภาคเอกชน และ 3. อัตราการว่างงานและอัตราดอกเบี้ย นโยบายที่ยังคงอยู่ในระดับต�่ำ ❍❍ การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีก่อนมา อยู่ที่ร้อยละ 3.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.1-4.1) ❍❍ แนวนโยบายในการกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนให้ขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ 1. การสอด ประสานกันระหว่างนโยบายการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ 2. การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และ 3. การกระจายตลาดส่งออกไปยังประเทศที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะประเทศในภูมภิ าคอาเซียนทีเ่ ศรษฐกิจยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี เพือ่ เพิม่ รายได้ให้แก่ประเทศและเพิม่ ก�ำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ ❍❍
1. เหลียวหลังการบริโภคภาคเอกชน หากนึกถึงเศรษฐกิจไทยด้านอุปสงค์ในประเทศ หลายคนจะนึกถึงการบริโภคภาคเอกชนซึง่ เป็นฟันเฟืองส�ำคัญใน การขับเคลือ่ นเศรษฐกิจไทยมาอย่างต่อเนือ่ ง สะท้อนจากสัดส่วนต่อ GDP ทีอ่ ยูใ่ นระดับสูงมาตลอด โดยล่าสุดในปี 2555 การบริโภคภาคเอกชนมีสัดส่วนที่ร้อยละ 52.1 ของ GDP ซึ่งเป็นอันดับที่ 2 รองจากด้านการส่งออกสินค้าและบริการที่ มีสัดส่วนร้อยละ 73.0 ของ GDP (ภาพที่ 1) ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 18.0 ของ GDP และการใช้จ่าย ภาครัฐบาลมีสดั ส่วนร้อยละ 14.9 ของ GDP (โดยเป็นการบริโภคภาครัฐร้อยละ 10.1 และการลงทุนภาครัฐร้อยละ 4.8 ตามล�ำดับ) หากพิจารณาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมจะสอดคล้องกับอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน กล่าวคือ ในปี 2545 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ร้อยละ 5.3 ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.4 หรือในปี 2548 เศรษฐกิจ ไทยขยายตัวร้อยละ 4.6 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่เท่ากับอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่ง ทศวรรษหลังหรือตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาจะพบว่า อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยมีความผันผวนมากขึ้น เนื่องจาก ผู้เขียน : นางสาวกาญจนา จันทรชิต เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ คุณวิภารัตน์ ปัน้ เปีย่ มรัษฎ์ ผูอ้ ำ� นวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการฯ และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท รักษาการผูอ้ ำ� นวยการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
1
78
ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ อาทิ 1. ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกในช่วงปลายปี 2551-2552 และเป็นสาเหตุหลักที่ ท�ำให้เกิดปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปในช่วงระยะเวลาต่อมา ซึ่งได้ส่งผลกระทบให้เกิดการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก นอกจากนีย้ งั ส่งผลกระทบต่อไปยังภาคการเงินให้มคี วามผันผวนตามไปด้วย 2. ปัญหาภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ โดยเฉพาะปัญหา อุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ที่ส่งผลให้ภาคการผลิต โดยเฉพาะผลผลิตด้านอุตสาหกรรมหลักของประเทศหยุดการผลิตลง และ ส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าในเกือบทุกครั้งที่เศรษฐกิจไทย เผชิญกับวิกฤติตา่ ง ๆ ทีเ่ ข้ามารุมเร้า รัฐบาลได้มกี ารออกมาตรการในการกระตุน้ เศรษฐกิจผ่านการใช้จา่ ยในประเทศ โดยเฉพาะ การบริโภคภาคเอกชน เพือ่ ให้การบริโภคภาคเอกชนมีสว่ นในการประคับประคองเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนือ่ ง โดยในปี 2552 ที่เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก ซึ่งท�ำให้เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยซบเซา และส่งผลกระทบต่อการส่งออกของ ไทยจนหดตัวมากเป็นประวัติการณ์ อันส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลงตามไปด้วย (ภาพที่ 2) ท�ำให้รัฐบาลได้ด�ำเนินนโยบาย การคลังแบบขาดดุลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งรักษาอ�ำนาจซื้อของประชาชนผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท การส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศโดยใช้มาตรการในการลดหย่อนภาษี ฯลฯ ขณะที่ในช่วงปลายปี 2554 ที่เศรษฐกิจไทย ประสบปัญหาอุทกภัย รัฐบาลได้มีการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนเช่นกัน อาทิ โครงการ รถยนต์คันแรก รวมถึงการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำเป็น 300 บาท ภาพที่ 1 โครงสร้างเศรษฐกิจไทยด้านการใช้จา่ ย ปี 2555
ภาพที่ 2 อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศ (GDP) และการบริโภคภาคเอกชน
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
สถานการณ์ล่าสุดของการบริโภคภาคเอกชน o การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ชะลอ ลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ทีข่ ยายตัวในระดับสูงร้อยละ 12.4 ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากการขยายตัวในอัตราเร่งในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับรายได้ภาคครัวเรือนที่ชะลอตัวลง ตามรายได้เกษตรกรที่หดตัวลงตามราคาพืชผลส�ำคัญ โดยเฉพาะราคายางพารา และปาล์มน�้ำมัน เป็นต้น อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่สนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนให้ขยายตัวในไตรมาสนี้ ได้แก่ การปรับขึ้นค่าจ้าง แรงงานขัน้ ต�ำ่ และการรับจ�ำน�ำข้าวเปลือก รวมถึงอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานทีอ่ ยูใ่ นระดับต�ำ่ ตลอดจนความเชือ่ มัน่ ของ ผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ท�ำให้การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการบริโภคจ�ำแนกตามรายหมวดส�ำคัญพบ ว่า การบริโภคในหมวดสินค้าคงทนยังขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลอลงจากไตรมาสที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 43.6 จาก ไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 95.0 โดยเฉพาะยอดขายในหมวดยานยนต์ (ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง รถบรรทุกส่วนบุคคล และ รถจักรยานยนต์) ที่ขยายตัวร้อยละ 67.9 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 169.2 เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากนโยบายรถยนต์ คันแรกของรัฐบาล สอดคล้องกับการบริโภคในหมวดบริการ ด้านโรงแรมและภัตตาคาร และด้านขนส่งสือ่ สารและโทรคมนาคมที่
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
79
ขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 14.3 และร้อยละ 11.1 ตามล�ำดับ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนหมวดส�ำคัญอื่น ๆ อาทิ การบริโภค สินค้าหมวดกึ่งคงทน เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ภาชนะ ฯลฯ และการบริโภคสินค้าไม่คงทน เช่น หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ ขยายตัวในอัตราชะลอลงค่อนข้างมากจากไตรมาสที่ 4 ปี 2555 o จากการติดตามเครือ่ งชีท้ างเศรษฐกิจในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 พบว่า ภาพรวมของการบริโภคภาคเอกชนมี แนวโน้มชะลอตัวลงจากปีก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้ • การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่ชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 1) ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2556 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการขยายตัว ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และ ยานยนต์ เป็นส�ำคัญ สะท้อนถึงการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี สาขาการเงิน/ ประกันภัย และอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ท�ำให้ มีการขอคืนประกันสูงในช่วงต้นปี 2555 และการฟื้นตัวที่ไม่เต็มที่ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ อัตราการขยายตัว : %
2555
2556 Q1
เม.ย.
พ.ค.
5 เดือนแรก
ภาษีมูลค่า ณ ระดับราคาคงที่ (RVAT)
14.1
6.9
3.7
-1.7
4.5
• RVAT ที่เก็บจากการใช้จ่ายในประเทศ
10.4
13.8
7.0
13.2
12.2
• RVAT ที่เก็บจากการนำ�เข้าสินค้า
18.3
-0.2
0.0
-15.6
-3.5
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
• รายได้เกษตรกร ที่ชี้วัดความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน โดยเฉพาะในภาคชนบท (ตารางที่ 2) ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2556 พบว่า รายได้เกษตรกรหดตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายได้เกษตรกร ภาคใต้ทหี่ ดตัวสูงสุดจากการลดลงของราคายางพาราเป็นส�ำคัญ ท�ำให้ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของภาคชนบทลดลง และส่งผลต่อการบริโภคภาคเอกชนในภาคชนบท ตารางที่ 2 อัตราการขยายตัวของรายได้เกษตรกร อัตราการขยายตัว : %
2555
Q1
เม.ย.
พ.ค.
5 เดือนแรก
-4.3
3.6
-7.3
2.0
-3.3
• ภาคเหนือ
12.8
-3.7
-3.8
-8.6
-4.9
• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.6
0.1
1.4
3.3
1.2
• ภาคใต้
-19.6
-19.7
-15.6
-11.7
-16.7
รายได้เกษตรกร
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
80
2556
• ส�ำหรับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน ทีว่ ดั จากยอดขายรถยนต์นงั่ (ตารางที่ 3) พบว่า ยังขยายตัว ต่อเนื่องที่ร้อยละ 53.4 ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2556 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ซึ่งแรงส่งจาก มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะหมดลงในช่วงครึง่ หลังของปี 2556 ขณะทีย่ อดขายรถจักรยานยนต์ขยายตัวเล็กน้อยทีร่ อ้ ยละ 1.7 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการขยายตัวของยอดขายรถจักรยานยนต์ในกรุงเทพฯ ที่ร้อยละ 7.8 ขณะที่ยอดขายรถจักรยานยนต์ ในภูมิภาคขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่เริ่มปรับตัวลดลง ตารางที่ 3 อัตราการขยายตัวของยอดขายยานยนต์ อัตราการขยายตัว : %
2555
2556 Q1
เม.ย.
พ.ค.
5 เดือนแรก
ยอดขายรถยนต์นั่ง
86.6
101.9
22.9
-5.8
53.4
ยอดขายรถจักรยานยนต์
5.8
5.4
7.2
-11.4
1.7
ที่มา : กรมขนส่งทางบก
2. แลหน้าการบริโภคภาคเอกชน o ปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนในปี 2556 1. รายได้เกษตรกรที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องเกือบทุกภาค (ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยเฉพาะในภาคใต้ ตามราคาสินค้าเกษตรส�ำคัญ อาทิ ยางพาราและปาล์มน�้ำมันที่ปรับตัวลดลง จะท�ำให้ก�ำลังซื้อของประชาชนลดลง โดยเฉพาะ ประชาชนในภาคชนบทที่มีความโน้มเอียงในการบริโภค (Marginal Propensity to Consume : MPC) สูง และส่งผลกระทบ ต่อการบริโภคสินค้าภาคเอกชนในชนบทในระยะต่อไป อย่างไรก็ดี จากการที่รัฐบาลมีนโยบายรับจ�ำน�ำข้าวเปลือก 15,000 บาท ต่อตัน ได้มีส่วนช่วยให้รายได้เกษตรกรไม่หดตัวลงมากนัก 2. ฐานการบริโภคและลงทุนภาคเอกชนที่สูงในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากรัฐบาลได้มีการออกนโยบายกระตุ้น เศรษฐกิจไปแล้วในปีก่อนหน้า ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังจากเหตุการณ์อุทกภัยคลี่คลายลง เช่น นโยบายรถยนต์คนั แรก โครงการรับจ�ำน�ำข้าว การปรับขึน้ เงินเดือนข้าราชการและการปรับขึน้ ค่าจ้างแรงงานขัน้ ต�ำ่ เป็น 300 บาท ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนมีการเร่งการบริโภคและการลงทุนไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ดังนั้น ในปี 2556 การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะในส่วนของการบริโภคสินค้าคงทนประเภทยานยนต์ คาดว่าจะชะลอตัวลง ทั้งนี้ จากข้อมูลของสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่าบริษัทรถยนต์ต่าง ๆ จะสามารถเร่งทยอยการส่งมอบรถที่ค้างจองทั้งหมดจากโครงการรถยนต์ คันแรกภายในเดือนตุลาคม 2556 นี้ 3. การฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าส�ำคัญของไทย โดยเฉพาะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปที่ ยังคงหดตัวจากปัญหาวิกฤติหนีส้ าธารณะ โดยเศรษฐกิจจะยังไม่สามารถฟืน้ ตัวได้ในปี 2556 นอกจากนีเ้ ศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ยังคงมีความเสี่ยงในเรื่องของการปรับเพดานหนี้สาธารณะและการปรับลดงบประมาณรายจ่ายอัตโนมัติ ในขณะที่จีนจะมี การขยายตัวทางเศรษฐกิจทีช่ ะลอความร้อนแรงลง โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ หลักจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ไทยให้ขยายตัวชะลอตัวตามไปด้วย ผ่านด้านภาคการค้าระหว่างประเทศท�ำให้รายได้จากการส่งออกปรับตัวลง และท้ายทีส่ ดุ จะ ส่งผลกระทบต่อเนื่องให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงได้ 4. แนวโน้มการเกิดปัญหาภัยพิบัติที่เพิ่มขึ้นมากในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอุทกภัยและ ปัญหาภัยแล้งทีม่ คี วามรุนแรงมากขึน้ ซึง่ จะเป็นอุปสรรคต่อการท�ำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการผลิตในภาคเกษตรและ ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในท้ายที่สุดจะกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชน
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
81
o ปัจจัยบวกที่จะสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนในปี 2556 1. ความต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่แม้ว่าบางมาตรการได้หมดลงแล้ว แต่บาง มาตรการยังคงเป็นปัจจัยส�ำคัญในการสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนในระยะต่อไป อาทิ โครงการรับจ�ำน�ำข้าว การปรับขึ้น เงินเดือนข้าราชการและการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำเป็น 300 บาททั้งประเทศ จะมีส่วนช่วยประคับประคองให้อุปสงค์ใน ประเทศไม่ให้ชะลอตัวมากนัก 2. แนวโน้มระดับราคาสินค้าทัว่ ไปอยูใ่ นระดับทีเ่ อือ้ ต่อการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทีย่ งั ทรงตัว อยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 2.7 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 ซึ่งถือได้ว่าเป็นระดับที่จะช่วยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนได้ดี 3. อัตราการว่างงานทีย่ งั คงอยูใ่ นระดับต�ำ่ ท�ำให้ประชาชนมีรายได้ตอ่ เนือ่ ง และเป็นส่วนส�ำคัญในการขับเคลือ่ น เศรษฐกิจ โดยเฉพาะจะช่วยสนับสนุนอุปสงค์ในประเทศให้ขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 อัตรา การว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของก�ำลังแรงงานรวม 4. อั ต ราดอกเบี้ ย ที่ ท รงตั ว ในระดั บ ต�่ ำ ท� ำ ให้ ต ้ น ทุ น ในการกู ้ ยื ม เงิ น ของภาคเอกชนซึ่ ง รวมถึ ง ผู ้ บ ริ โ ภคต�่ ำ อันจะช่วยสนับสนุนการด�ำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ท�ำให้รายได้และก�ำลังซื้อของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และจะช่วยกระตุ้นอัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง โดยล่าสุดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวในระดับต�่ำที่ร้อยละ 2.50 ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2556 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.1-4.1) (ภาพที่ 3) ภาพที่ 3 แนวโน้มการบริโภคภาคเอกชนในปี 2556
ที่มา : สศค.
o แนวนโยบายในการกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนให้ขยายตัวต่อเนื่อง 1. การสอดประสานกันระหว่างนโยบายการคลังและนโยบายการเงินทีผ่ อ่ นคลายในการกระตุน้ เศรษฐกิจในประเทศ • นโยบายการคลัง ที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2555 อาทิ การด�ำเนินนโยบายการ คลังแบบขาดดุล การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 (จากร้อยละ 23 ในปี 2555) เป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนให้อปุ สงค์ในประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนือ่ ง นอกจากนีใ้ นส่วนของ นโยบายการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐาน หากเร่งให้มเี ม็ดเงินเข้าสูร่ ะบบเศรษฐกิจมาก ขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 นอกจากจะช่วยเสริมศักยภาพทางการแข่งขันของไทยให้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะเป็นปัจจัยสนับสนุน เศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่องได้ • นโยบายการเงิน จากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ ทรงตัวในระดับต�่ำต่อเนื่อง รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ มีส่วนช่วยสนับสนุน ในการด�ำเนินธุรกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน
82
ภาพที่ 4 อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ที่มา : ธปท. รวบรวมโดย สศค.
2. ส่งเสริมการท่องเทีย่ วภายในประเทศ ทัง้ นักท่องเทีย่ วชาวต่างประเทศและนักท่องเทีย่ วคนไทย เพือ่ ช่วยกระตุน้ ให้เกิดการจ้างงานและการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ส�ำหรับการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศยังคงมีแนวโน้มสดใส สะท้อนจากจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วต่างชาติทเี่ ดินทางเข้ามาในประเทศไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 ทีม่ จี ำ� นวน 10.69 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 19.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3. การกระจายตลาดส่งออกไปยังประเทศที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่เศรษฐกิจ ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกสินค้าของไทยมีการกระจายตัวไปในหลายประเทศ มากขึน้ จากภาพที่ 5 จะพบว่าสัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังประเทศฝัง่ ตะวันตก อาทิ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปลดลงอย่าง ต่อเนือ่ ง กล่าวคือ สัดส่วนการส่งออกของประเทศไทยไปยังสหรัฐอเมริกา ในช่วงระยะเวลา 15 ปี ลดลงจากร้อยละ 19.4 ของมูลค่า การส่งออกรวมในปี 2541 เหลือเพียงร้อยละ 9.9 ในปี 2555 สอดคล้องกับสัดส่วนการส่งออกของประเทศไทยไปยังสหภาพยุโรป ลดลงจากร้อยละ 17.8 เหลือเพียงร้อยละ 6.5 สะท้อนถึงการพึ่งพาเศรษฐกิจตะวันตกที่มีแนวโน้มลดลงในระยะเวลาเพียง 15 ปี และหันมาค้าขายระหว่างกันในภูมภิ าคมากขึน้ สะท้อนจากสัดส่วนการส่งออกไปประเทศจีนเพิม่ ขึน้ เกือบ 4 เท่า หรือจากร้อยละ 3.2 ในปี 2541 เป็นร้อยละ 11.7 ในปี 2555 และการส่งออกไปในประเทศอาเซียน 5 ประเทศ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.2 เป็นร้อยละ 17.2 ของการส่งออกรวมในปี 2555 ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงจาก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ภาพที่ 5 สัดส่วนประเทศคู่ค้าหลักของไทย
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ค�ำนวณโดย สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
83
บทวิเคราะห์ เรื่อง ทิศทางอนาคตของอาชีพพยาบาลไทย ภายใต้บริบทของ AEC และสังคมผู้สูงอายุ 1
บทสรุปผู้บริหาร ใน พ.ศ. 2558 ประเทศไทยก�ำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะเป็น การขยายการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจทีค่ รอบคลุมการเปิดเสรีดา้ นการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การเคลือ่ นย้าย แรงงานฝีมอื และการเคลือ่ นย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึน้ ของประเทศสมาชิกอาเซียน ทัง้ นี้ ส�ำหรับการเคลือ่ นย้าย แรงงานเสรี ประเทศสมาชิกได้จัดให้มีการท�ำข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน หรือ (Mutual Recognition Arrangements : MRA) โดยการจัดท�ำข้อตกลง MRA นั้นได้ท�ำการลงนามข้อตกลงไปแล้ว 7 วิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สถาปนิก นักบัญชี วิศวกร และนักส�ำรวจ ❍❍ วิชาชีพพยาบาลเป็น 1 ใน 7 วิชาชีพหลักของอาเซียน จากบทวิเคราะห์ “ศักยภาพการแข่งขัน ของแรงงานวิชาชีพจากการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” ของศูนย์ศกึ ษาการค้า ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 พบว่าคุณภาพของพยาบาลไทยนั้น อยู่ในระดับที่สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน หากแต่มีรายได้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต�่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศอื่น ๆ ท�ำให้แรงจูงใจในการท�ำงานภายในประเทศไทยนั้นลดลง ปัญหานี้จะส่งผลถึงการเคลื่อนย้าย แรงงานในอนาคตอย่างมาก พยาบาลทีม่ คี ณ ุ ภาพในประเทศไทยจะมีการเคลือ่ นย้ายออกไปสูต่ ลาดแรงงานของ ประเทศทีใ่ ห้คา่ ตอบแทนสูงกว่า และพยาบาลทีค่ ณ ุ ภาพต�ำ่ กว่าจากประเทศอืน่ ๆ จะเคลือ่ นย้ายเข้าสูป่ ระเทศไทย ท�ำให้คุณภาพการพยาบาลในไทยต�่ำลง ❍❍ นอกจากนี้ ประเทศไทยก�ำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ในอีก 20 ปีข้างหน้า หากมีจำ� นวนพยาบาลไม่เพียงพอจะก่อให้เกิดปัญหาทางสาธารณสุขตามมาอย่างแน่นอน ดังนัน้ ประเทศไทยเอง ควรทีจ่ ะเร่งศักยภาพในการผลิตพยาบาลให้มากขึน้ เพือ่ ให้เพียงพอส�ำหรับการดูแลผูส้ งู อายุในอนาคต ประเทศไทย นั้นถือเป็นศูนย์กลางด้านสาธารณสุขของประเทศทั้ง 10 ในอาเซียน ปัญหาพยาบาลไทยเคลื่อนย้ายออก นอกประเทศและการไหลเข้าของผูใ้ ช้บริการด้านสุขภาพของคนในต่างประเทศทีม่ จี ำ� นวนมากขึน้ ท�ำให้มาตรฐาน ด้านสาธารณสุขของประเทศไทยลดลง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยในอนาคตได้ จึงเป็น ปัญหาส�ำคัญที่ควรเร่งแก้ไขอย่างรวดเร็ว ❍❍ บทความนี้ มี ส รุ ป ข้ อเสนอแนะเชิ ง นโยบาย ดั ง นี้ 1) เร่ ง ผลิ ต พยาบาลให้ มี จ� ำ นวนมากขึ้ น และเพียงพอต่อความต้องการ 2) การยกระดับอาชีพพยาบาล และ 3) การปรับปรุงหลักสูตรพัฒนาทักษะ ภาษาอังกฤษให้แก่พยาบาล เพื่อรองรับการเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศเมื่อเข้าสู่ยุค AEC ❍❍
1. บทน�ำ ใน พ.ศ. 2558 นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดขึ้น เพราะจะเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า AEC ซึ่งเป็นการรวมตัวกัน ของประเทศทั้ง 10 ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เพื่อเพิ่มอ�ำนาจ ผู้เขียน : นายนภัส ศิริสมรรถการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักศึกษาฝึกงาน พ.ศ. 2556 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจ มหภาค ขอขอบคุณ นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค รักษาราชการแทน ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
1
84
ในการต่อรองทางการค้าขาย และเป็นการสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในเวทีโลก โดยการรวมฐานทางการผลิตและ ตลาดเป็นหนึ่งเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมือเสรี รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรี มากขึ้น ภายใต้กฎระเบียบและข้อปฏิบัติ ทั้งนี้ ส�ำหรับรูปแบบการเปิดเสรีแรงงานจะเป็นลักษณะของข้อตกลงยอมรับร่วม ในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน หรือ (Mutual Recognition Arrangements : MRA) โดยสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ จะให้การยอมรับในวุฒิการศึกษาหรือประสบการณ์ที่ได้รับและคุณสมบัติที่เป็นไปตามข้อก�ำหนด เพื่อวัตถุประสงค์ในการออก ใบอนุญาตหรือใบรับรองให้แก่ผู้ให้บริการ โดยการยอมรับดังกล่าวจะต้องท�ำอยู่บนพื้นฐานของความตกลงกับประเทศสมาชิก ที่เกี่ยวข้องหรืออาจให้การยอมรับโดยอิสระ ซึ่งในปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนได้สรุปผลการจัดท�ำ MRA และลงนามโดย รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนแล้วจ�ำนวน 7 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี นักส�ำรวจ และพยาบาล บทวิเคราะห์นกี้ ล่าวถึง 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) สถานะปัจจุบนั ของวิชาชีพพยาบาลไทย และอนาคตของวิชาชีพพยาบาล ภายใต้ AEC 2) การเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุ และ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพือ่ ทีจ่ ะได้รบั มือกับการเปลีย่ นแปลง และปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2. สถานะปัจจุบันของวิชาชีพพยาบาลไทย และอนาคตของวิชาชีพพยาบาลภายใต้ AEC ปัจจุบันปัญหาความขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทยเริ่มส่อเค้าความรุนแรงขึ้นอีกครั้งทั้งในด้านปริมาณ ก�ำลังคน และทักษะทีจ่ ำ� เป็นต่อการตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนทีม่ คี วามหลากหลาย ซึง่ มีสาเหตุหลัก 2 ประการ ได้แก่ 1) ความต้องการบริการสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว และ 2) การมีข้อจ�ำกัดในการเพิ่ม การผลิต ดังนัน้ เพือ่ สร้างแรงดึงดูดให้เด็กรุน่ ใหม่สนใจเรียนพยาบาล จะต้องมีการพัฒนาสถานภาพการท�ำงานของคนในอาชีพนี้ ทั้งความก้าวหน้า สภาพแวดล้อมการท�ำงานที่ปลอดภัย และค่าตอบแทนที่เหมาะสม
ตารางที่ 1 จ�ำนวนพยาบาลวิชาชีพและพยาบาลเทคนิค พ.ศ. 2553 จ�ำนวนพยาบาลวิชาชีพและพยาบาลเทคนิค พ.ศ. 2553 รวมทั้งประเทศ
กระทรวงสาธารณสุข พ.วิชาชีพ พ.เทคนิค 66,860 17,975
กระทรวงอื่นๆ พ.วิชาชีพ พ.เทคนิค 14,385 1,506
รัฐวิสาหกิจ พ.วิชาชีพ พ.เทคนิค 11 0
ที่มา : รายงานทรัพยากรสาธารณสุข ส�ำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
องค์การอนามัยโลกได้ก�ำหนดสัดส่วนอันพึงประสงค์โดยให้มีสัดส่วนจ�ำนวนพยาบาลต่อจ�ำนวนประชากร 1 : 500 คน หากแต่จากการส�ำรวจพบว่าประเทศไทยนัน้ มีสดั ส่วนเพียงแค่ 0.75 : 500 คน ท�ำให้ยงั อยูใ่ นภาวะขาดแคลนพยาบาล และจ�ำเป็น ต้องเพิม่ จ�ำนวนพยาบาลอีก 0.25 : 500 คน หรือคิดเป็นประมาณ 32,000 คน เมือ่ พิจารณาในกลุม่ ประเทศสมาชิกอาเซียนพบว่า แต่ละประเทศมีความสามารถในการผลิตพยาบาลไม่เท่ากัน ท�ำให้เกิดความขาดแคลนในบางประเทศ แต่ในบางประเทศกลับมี จ�ำนวนพยาบาลที่เกินความต้องการ ทั้งนี้ รายงาน Nurse Migration : The Asian Perspective รายงานว่าประเทศฟิลิปปินส์ มีการผลิตพยาบาลเพื่อออกไปท�ำงานนอกประเทศมากที่สุด หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของจ�ำนวนพยาบาลทั่วโลก ซึ่งจาก ความสามารถในการผลิตที่ไม่เท่าเทียมกัน ท�ำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานไปตามประเทศต่าง ๆ ที่ยังต้องการพยาบาล ในจ�ำนวนประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นสามารถแบ่งประเทศออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) ประเทศที่มีจ�ำนวนพยาบาล เพียงพอ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ 2) ประเทศที่ยังขาดแคลนพยาบาล ได้แก่ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และพม่า จึงก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศได้ โดยแรงงานพยาบาลในประเทศที่มีจ� ำนวนพยาบาล เพียงพอจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศที่ยังขาดแคลน ประมาณการเศรษฐกิจไทย
85
จากบทวิเคราะห์ “ศักยภาพการแข่งขันของแรงงานวิชาชีพจากการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” ของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 พบว่าประเทศไทย มีพยาบาลทีม่ ศี กั ยภาพสูงทีส่ ดุ ในอาเซียน เพราะระดับการศึกษาของพยาบาลไทยภาพรวมนัน้ เหนือกว่าประเทศอืน่ ๆ ในอาเซียน โดยพยาบาลไทยจบการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่จุดอ่อนหนึ่งของพยาบาลไทยที่พบคือการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ซึ่งท�ำให้พยาบาลไทยเสียเปรียบประเทศอาเซียนบางประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เนื่องจากพยาบาล ของประเทศเหล่านี้สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ และมีการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ ประเทศไทยนั้นจะประสบกับความท้าทาย โดยที่ต้องควบคุมมาตรฐานคุณภาพด้านสาธารณสุขเมื่อพยาบาล จากต่างประเทศเคลือ่ นย้ายเข้ามาท�ำงานในประเทศไทย และจ�ำเป็นต้องรักษาพยาบาลไทยซึง่ มีคณ ุ ภาพสูงกว่า ไม่ให้เคลือ่ นย้าย ออกนอกประเทศ ภาพที่ 1 จ�ำนวนพยาบาลต่อจ�ำนวนประชากร
ที่มา : ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย ณ พ.ศ. 2553
ทางด้านรายได้ของพยาบาลพบว่า คุณภาพของพยาบาลไทยนั้นอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ หากแต่มีรายได้ โดยเฉลีย่ อยูใ่ นระดับทีค่ อ่ นข้างต�ำ่ เมือ่ เปรียบเทียบกับต่างชาติ ท�ำให้แรงจูงใจในการท�ำงานภายในประเทศไทยนัน้ ลดลง ปัญหานี้ จะส่งผลถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานในอนาคตอย่างมาก พยาบาลที่มีคุณภาพในประเทศไทยจะมีการเคลื่อนย้ายออกไปสู่ ตลาดแรงงานของประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า อาทิ สิงคโปร์ ส่วนพยาบาลประเทศอื่น ๆ อาทิ ฟิลิปปินส์ จะเคลื่อนย้ายเข้าสู่ ประเทศไทย ส่งผลให้คุณภาพเฉลี่ยด้านสาธารณสุขของประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะลดลงได้ ภาพที่ 2 การเปรียบเทียบรายได้สุทธิต่อเดือนของพยาบาลไทยกับประเทศอื่น ๆ
ที่มา : Professional Nurse Salaries - International Comparison
86
3. ทิศทางอนาคตของวิชาชีพพยาบาลไทยภายใต้สังคมผู้สูงอายุ จากข้อมูลใน Population Pyramids ซึ่งแสดงถึงโครงสร้างประชากรไทย จะเห็นได้ว่าประเทศไทยก�ำลังเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ (Aging Society) ในอีก 20 ปีข้างหน้า2 ซึ่งหากมีจ�ำนวนพยาบาลไม่เพียงพอจะก่อให้เกิดปัญหาทางสาธารณสุขตามมา อย่างแน่นอน ดังนัน้ ประเทศไทยควรเร่งศักยภาพในการผลิตพยาบาลให้มากขึน้ เพือ่ ให้เพียงพอส�ำหรับการดูแลผูส้ งู อายุในอนาคต ทั้งนี้ ประเทศไทยนั้นถือเป็นศูนย์กลางด้านสาธารณสุขของประเทศทั้ง 10 ในอาเซียน ปัญหาพยาบาลไทยเคลื่อนย้ายออก นอกประเทศและการไหลเข้าของผู้ใช้บริการด้านสุขภาพของคนจากต่างประเทศที่มีจ�ำนวนมากขึ้น ถือเป็นปัญหาส�ำคัญ ที่ควรเร่งแก้ไขอย่างรวดเร็ว เพราะจะท�ำให้มาตรฐานด้านสาธารณสุขของประเทศต�่ำลง รัฐบาลควรเร่งยกระดับอาชีพพยาบาล เพราะถือเป็นอาชีพหลักด้านสาธารณสุขทีส่ ำ� คัญมาก หากบุคลากรด้านพยาบาลมีจำ� นวนไม่เพียงพอจะเกิดปัญหาด้านสาธารณสุข ตามมาในอนาคตอย่างแน่นอน ภาพที่ 3 โครงสร้างประชากรไทย
ที่มา : ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ
ตารางที่ 2 แสดงจ�ำนวนประชากรไทย ประชากรไทย คิดเป็นร้อยละตามช่วงอายุ
พ.ศ.
0-14 ปี
15-59 ปี
60 ปีขึ้นไป
2543 2548 2553 2558 2563 2568
24.7 23 21.2 20.2 19 18
65.9 66.7 67.1 66 64.2 62
9.4 10.3 11.7 13.8 16.8 20
สังคมผูส้ งู อายุ (Aging Society) หมายถึง สังคมทีม่ ปี ระชากรอายุ 60 ปีขนึ้ ไปทีอ่ ยูจ่ ริงในพืน้ ทีต่ อ่ ประชากรทุกช่วงอายุในพืน้ ทีเ่ ดียวกัน ในอัตราเท่ากับหรือมากกว่า ร้อยละ 10 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน ในอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 7 ขึ้นไป
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
87
4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 4.1 การเร่งผลิตพยาบาลให้มีจ�ำนวนมากขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการ ในอีก 20 ปีข้างหน้าที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุซึ่งมีความต้องการพยาบาลที่มากขึ้น นอกจากนี้ หลังจากการเปิด AEC จ�ำนวนของผู้ที่ต้องการการบริการด้านการรักษาพยาบาลภายในประเทศไทยจากต่างประเทศมีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้น หากแต่จ�ำนวนของพยาบาลไทยยังมีไม่เพียงพอและต�่ำกว่าที่องค์การอนามัยโลกก�ำหนดไว้ที่สัดส่วน 1 : 500 ปัญหาดังกล่าวนีส้ ามารถก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขตามมาได้ รัฐควรให้การสนับสนุนเพือ่ เพิม่ อัตราการผลิตพยาบาล อีกประมาณ 32,000 คน เพื่อให้ตรงตามที่องค์การอนามัยโลกก�ำหนดไว้ 4.2 การยกระดับอาชีพพยาบาล เนื่องจากพยาบาลไทยมีรายได้เฉลี่ยค่อนข้างต�่ำเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศจากข้อมูลรายได้สุทธิของ พยาบาลไทย รัฐควรมีนโยบายปรับโครงสร้างรายได้ให้มากขึน้ เพือ่ ลดการสูญเสียบุคลากรพยาบาล และเพิม่ แรงจูงใจในการท�ำงาน ภายในประเทศให้มากขึ้น 4.3 การปรับปรุงหลักสูตรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่พยาบาล การเพิ่มการศึกษาภาษาอังกฤษให้แก่พยาบาลไทยนั้นเป็นสิ่งส�ำคัญ เนื่องจากประเทศไทยยังขาดความพร้อม ด้านการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสือ่ กลางในการสือ่ สาร เมือ่ ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ AEC พยาบาลไทยจ�ำเป็นต้องมีทกั ษะภาษาอังกฤษ ที่เพียงพอ เพื่อใช้ในการสื่อสารกับผู้ใช้บริการการรักษาพยาบาลต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยที่มีแนวโน้มมากขึ้น
88
บทวิเคราะห์ เรื่อง แนวทางใหม่กับการระดมทุนภาครัฐ : Public - Private Partnership 1
บทสรุปผู้บริหาร การลงทุนเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และการสร้าง ความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ในช่วงทีผ่ า่ นมาการลงทุนภายในประเทศของ ไทยอยูใ่ นระดับต�ำ่ โดยในปี 2555 เศรษฐกิจไทยมีมลู ค่าการลงทุนภายในประเทศทีแ่ ท้จริงเท่ากับ 1.1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทีแ่ ท้จริง (Real Gross Domestic Product : RGDP) ลดลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ที่อัตราส่วนดังกล่าวเฉลี่ยในช่วงปี 2536–2539 เท่ากับร้อยละ 41.5 ของ RGDP โดยอัตราส่วนการลงทุนของภาครัฐทีแ่ ท้จริงเท่ากับร้อยละ 4.8 ของ RGDP ลดลง อย่างมีนัยส�ำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2539 ที่อัตราส่วนดังกล่าวเท่ากับร้อยละ 10.4 ของ RGDP ซึ่งส่วนหนึ่ง อาจสะท้อนว่ามีข้อจ�ำกัดทางด้านการคลัง ท�ำให้สัดส่วนการลงทุนของภาครัฐลดลง ❍❍ ปัจจุบน ั ประเทศไทยมีขอ้ จ�ำกัดในด้านโครงสร้างพืน้ ฐาน สะท้อนได้จาก The World Economic Forum (WEF) ได้จัดอันดับปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของไทยในปี 2555 อยู่ที่อันดับที่ 49 (จากอันดับที่ 42 ในปี 2554) ต�่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ที่อยู่ใน อันดับที่ 2 และอันดับที่ 29 ตามล�ำดับ ขณะที่ประเทศไทยก�ำลังเผชิญความท้าทายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ของประเทศ อาทิ ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยคิดเป็นร้อยละ 15.2 ของ GDP ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซียมีตน้ ทุนโลจิสติกส์อยูท่ รี่ ะดับร้อยละ 8 และร้อยละ 13 ของ GDP ตามล�ำดับ จึงท�ำให้รัฐบาลได้ก�ำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อใช้เป็น แนวทางในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งของประเทศ พ.ศ. 2556–2563 ❍❍ กฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือด�ำเนินการในกิจการของรัฐฉบับเดิม ซึง ่ ใช้บงั คับ มาตัง้ แต่ พ.ศ. 2535 มีหลักเกณฑ์บางประการทีไ่ ม่ชดั เจน ก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายและการตีความ กฎหมายเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังไม่ได้ก�ำหนดขั้นตอนและหลักเกณฑ์การด�ำเนินการที่ส�ำคัญบางประการไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการ ของรัฐ พ.ศ. 2556 ขึ้นมาเพื่อลดข้อจ�ำกัดดังกล่าว ❍❍ การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public - Private Partnership : PPP) จะช่วยเพิม ่ ทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ภาครัฐภายใต้ข้อจ�ำกัดของงบประมาณและการกู้ยืมเงิน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง ทางการคลังภายใต้ภาวะเศรษฐกิจทีม่ คี วามผันผวน ถึงแม้ตน้ ทุนทางการเงินในการระดมทุนผ่าน PPP อาจสูงกว่า การกูย้ มื เงินโดยรัฐบาล แต่ดว้ ยนวัตกรรมทางการเงินในปัจจุบนั สามารถช่วยลดข้อจ�ำกัดดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม ความส�ำเร็จของ PPP จ�ำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความชัดเจนของแผนการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานของ ประเทศ และแผนการระดมทุนของภาครัฐเพือ่ ลดการแย่งสภาพคล่องในตลาดเงินโดยภาครัฐ (Crowding - Out Effect) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลในทางลบต่อการลงทุนและเศรษฐกิจของ ประเทศโดยรวม ❍❍
ผู้เขียน : นายนิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจ มหภาค และนางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค รักษาราชการแทนผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำปรึกษา และข้อแนะน�ำ
1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
89
1. ภาพรวมการลงทุนของประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน การลงทุนเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ในช่วงทีผ่ า่ นมาการลงทุนภายในประเทศของไทยอยูใ่ นระดับต�ำ่ โดยในปี 2555 เศรษฐกิจ ไทยมีมูลค่าการลงทุนภายในประเทศประมาณ 3,245.9 พันล้านบาท แบ่งออกเป็นการลงทุนของภาครัฐบาลประมาณ 651.0 พันล้านบาท และการลงทุนของภาคเอกชนประมาณ 2,594.9 พันล้านบาท ทัง้ นี้ การลงทุนภายในประเทศได้ลดลงอย่างต่อเนือ่ ง โดยในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 การลงทุนที่แท้จริงเฉลี่ยประมาณร้อยละ 42.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่แท้จริง (Real Gross Domestic Product : RGDP) ขณะที่ในปี 2555 อัตราส่วนดังกล่าวลดลงเหลือเพียงร้อยละ 22.8 ของ RGDP นอกจากนี้สัดส่วนการลงทุนของภาครัฐที่แท้จริงต่อ RGDP ในปี 2539 เท่ากับร้อยละ 10.4 ขณะที่ปี 2555 อัตราส่วน ดังกล่าวลดลงเหลือเพียงร้อยละ 4.8 ซึ่งลดลงอย่างมีนัยส�ำคัญ จึงท�ำให้ภาครัฐจ�ำเป็นต้องเร่งเพิ่มการลงทุนภายในประเทศ เพื่อยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
ภาพที่ 1 การลงทุนภายในประเทศที่แท้จริงต่อ RGDP ตั้งแต่ปี 2539-2555
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
2. ภาพรวมการลงทุนของประเทศไทยในอนาคต ปัจจุบนั ประเทศไทยมีขอ้ จ�ำกัดในด้านโครงสร้างพืน้ ฐาน สะท้อนได้จาก The World Economic Forum (WEF) ได้จดั อันดับ ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของประเทศไทยในปี 2555 อยู่ที่อันดับที่ 49 (จากอันดับที่ 42 ในปี 2554) ต�่ำกว่า ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับที่ 2 และอันดับที่ 29 ตามล�ำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมือ่ พิจารณาคุณภาพของโครงสร้างพืน้ ฐานรายสาขาพบว่า คุณภาพถนนประเทศไทยอยูใ่ นอันดับที่ 39 ในขณะทีป่ ระเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 3 และอันดับที่ 27 ตามล�ำดับ ส�ำหรับคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟประเทศไทย ถูกจัดอันดับที่ 65 โดยประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซียมีคุณภาพเป็นอันดับที่ 5 และอันดับที่ 17 ตามล�ำดับ
90
ภาพที่ 2 การจัดอันดับคุณภาพปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ในปี 2555
ที่มา : The World Economic Forum (WEF)
นอกจากนีป้ ระเทศไทยก�ำลังเผชิญความท้าทายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศ ได้แก่ (1) ต้นทุนโลจิสติกส์ของ ประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 15.2 ของ GDP ขณะทีป่ ระเทศเพือ่ นบ้าน อาทิ ประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซียมีตน้ ทุนโลจิสติกส์ อยูท่ รี่ ะดับร้อยละ 8 และร้อยละ 13 ของ GDP ตามล�ำดับ (2) การเพิม่ ประสิทธิภาพการเชือ่ มโยงพืน้ ทีเ่ ศรษฐกิจและประตูการค้าหลัก ของประเทศ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) (3) การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในการเดินทาง ในพื้นที่เมืองและลดการเกิดอุบัติเหตุ และ (4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภาพที่ 3 การเปรียบเทียบอันดับโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมไทยกับประเทศอาเซียน ในปี 2555
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บแสดงอันดับในปี 2554 ที่มา : The World Economic Forum (WEF)
จากปัจจัยข้างต้นสะท้อนว่า โครงสร้างพืน้ ฐานของประเทศยังต้องได้รบั การพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งเมือ่ เทียบกับประเทศอืน่ ๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการลงทุนอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลเสียต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในอนาคต จึงท�ำให้รัฐบาล โดยกระทรวงคมนาคมได้ก�ำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อใช้เป็น แนวทางในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งของประเทศ พ.ศ. 2556-2563 ซึ่งประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ หลัก ดังนี้ 2.1 การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต�่ำกว่า (Modal Shift & Multimodal) เพือ่ มุง่ สูก่ ารขนส่งทีย่ งั่ ยืน โดยลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศในภาพรวม และให้ความส�ำคัญกับการเปลีย่ นแปลงรูปแบบ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
91
การขนส่งจากถนนสู่การขนส่งทางน�้ำและทางรางที่มีต้นทุนการขนส่งต�่ำกว่า โดยการพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายทางรถไฟ ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นโครงข่ายการขนส่งหลักของประเทศ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงโครงข่ายและการบริหารจัดการขนส่งสินค้าได้ อย่างสะดวกปลอดภัย และสามารถลดต้นทุนการขนส่งของประเทศได้ในภาพรวม อาทิ การพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ไปยังพื้นที่ อุตสาหกรรม หรือพืน้ ทีท่ มี่ ศี กั ยภาพในการขนส่งสินค้าโดยตูค้ อนเทนเนอร์ เช่น เส้นทางลพบุร–ี ปากน�้ำโพ มาบกะเบา–ชุมทางถนน จิระ สุราษฎร์ธานี–ปาดังเบซาร์ ฯลฯ นอกจากนีจ้ ะมีการพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานเพือ่ สนับสนุนให้มกี ารขนส่งสินค้าทางล�ำน�ำ้ และ ชายฝัง่ ภายในประเทศเพิม่ ขึน้ เพือ่ เป็นทางเลือกในการขนส่งสินค้าภายในประเทศและเชือ่ มโยงกับท่าเรือภูมภิ าค โดยการพัฒนา ท่าเรือล�ำน�ำ้ และท่าเรือชายฝัง่ ทัง้ ด้านฝัง่ อ่าวไทยและทะเลอันดามันเพือ่ ให้สามารถใช้เป็นท่าเรือชายฝัง่ ภายในประเทศและท่าเรือ ระหว่างประเทศ เช่น การก่อสร้างท่าเรือจังหวัดชุมพร ท่าเรือน�้ำลึกสงขลา แห่งที่ 2 ท่าเรือน�้ำลึกปากบารา จังหวัดชุมพร ฯลฯ 2.2 การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานและสิง่ อ�ำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสูเ่ มืองศูนย์กลางของ ภูมิภาคทั่วไป และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน (Connectivity) เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการย้ายฐาน การผลิตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ โดยมีการพัฒนาประตูการค้าหลักและประตูการค้าชายแดน (Gateway) โดยการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบถนนและจุดข้ามแดนตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้าม พรมแดนในอนุภูมิภาคกลุ่มแม่น�้ำโขง (The Great Mekong Subregion Cross – Border Transport Agreement : GMS CBTA) โดยเฉพาะในแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก–ตะวันตก (East – West Economic Corridor : EWEC) เพื่อให้ สามารถรองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ โครงการสนับสนุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือโครงการสนับสนุน นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือแหลมฉบัง นอกจากนีจ้ ะมีการพัฒนาโครงข่ายเชือ่ มต่อภูมภิ าค (Regional Connectivity) โดยพัฒนา ระบบรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางต่าง ๆ เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ–เชียงใหม่ กรุงเทพฯ–นครราชสีมา กรุงเทพฯ–หัวหิน เส้นทาง ต่อขยาย Airport Rail Link พัทยา–ระยอง ฯลฯ 2.3 การพัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว (Mobility) เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง ยกระดับคุณภาพชีวติ ความปลอดภัยในชีวติ ให้แก่ประชาชน โดยการพัฒนาระบบขนส่งในเขตเมือง (Urban) โดยขยายโครงข่าย ระบบขนส่งมวลชนทางรางให้มคี วามครอบคลุมพืน้ ทีบ่ ริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพือ่ ให้สามารถท�ำหน้าทีเ่ ป็นโครงข่าย หลักในการเดินทางของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ–มักกะสัน–หัวหมาก และ ช่วงบางซื่อ–หัวล�ำโพง สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต–มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นอกจากนี้จะมีการพัฒนาโครงข่ายขนส่ง เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักภายในประเทศ (Intercity) โดยพัฒนาโครงข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ปริมณฑลและ เมืองใหญ่ในภูมิภาค ประกอบด้วย การก่อสร้างถนนเชื่อมต่อราชพฤกษ์–กาญจนาภิเษก แนวเหนือ–ใต้ เป็นต้น ภาพที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ
ที่มา : ส�ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
92
ตารางที่ 1 สรุปภาพรวมความต้องการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งของประเทศ พ.ศ. 2556-2563 งบประมาณ ยุทธศาสตร์ ร่าง พ.ร.บ.* ส�ำหรับโครงการ เงินกู้ รายได้ PPP ลงทุนขนาดใหญ่ 1. การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง ทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต�่ำกว่า (Modal Shift & Mechanical)
1,047,251
6,170
19,460
1.1 การพัฒนาปรับปรุงระบบรถไฟ (แผนลงทุนระยะเร่งด่วนและทางคู่)
979,586
5,604
19,460
1.2 การพัฒนาท่าเรือและเขื่อนป้องกัน ตลิ่งพัง
47,599
567
1.3 การพัฒนาสิ่งอ�ำนวยความสะดวกด้าน การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
20,066
2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ สิ่งอ�ำนวยความสะดวกในการเดินทาง และขนส่งไปสู่เมืองศูนย์กลางของ ภูมิภาคทั่วไป และเชื่อมโยงกับประเทศ เพื่อนบ้าน (Connectivity) 2.1 การพัฒนาประตูการค้าหลักประตู การค้าชายแดน
-
รวม
3,660 1,076,541
3,660
1,004,650 51,826 20,066
1,537,134
1,245
17,450 100,455 13,720 1,793,004
41,208
871
17,450 100,455 53,350 213,334
2.2 การพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค
1,495,926
374
83,350 1,579,650
3. การพัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่ง เพื่อยกระดับความคล่องตัว (Mobility)
1,159,935
17,426
183,084 15,565
-
1,376,010
3.1 การพัฒนาระบบขนส่งในเขตเมือง
862,195
17,426
179,028 15,160
1,073,809
3.2 การพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่ เศรษฐกิจหลักภายในประเทศ
297,740
4,055 405
302,200
เงินส�ำรองจ่าย (Contingencies) วงเงินรวม
3,744,320
24,841
219,994 116,020 140,380 4,245,556
หมายเหตุ : * ร่าง พ.ร.บ.เบื้องต้นได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของ ประเทศ พ.ศ.... วงเงินประมาณ 2 ล้านล้านบาท ส�ำหรับวงเงินที่เกินกว่าร่าง พ.ร.บ. รัฐบาลจะจัดหาด้วยแนวทางอื่น ๆ ต่อไป ที่มา : กระทรวงคมนาคม
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
93
ทั้งนี้ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศข้างต้น ประเทศไทยจะมีการลงทุน ในโครงสร้างพืน้ ฐานด้านคมนาคมขนส่งประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท โดยเป็นการจัดหาเงินทุนด้วยการจัดท�ำร่างพระราชบัญญัติ ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ.... (ร่างพระราชบัญญัติฯ) ประมาณ 3.7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 88.2 ของความต้องการเงินทุนทัง้ หมด และการจัดหาเงินทุนโดยการร่วมลงทุน ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public - Private Partnership : PPP) ประมาณ 140.4 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภายหลัง จากการกลัน่ กรองแผนงาน/โครงการตามเกณฑ์การพิจารณาในเบือ้ งต้น อาทิ โครงการทีส่ อดคล้องกับแนวทางการเปลีย่ นแปลง รูปแบบการขนส่งทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต�่ำกว่า เช่น ทางรางและทางน�้ำ (Modal shift) และเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มี ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ หรือโครงการเพื่อเชื่อมโยงเมืองเศรษฐกิจหลักในภูมิภาค (Connectivity) และเมืองเศรษฐกิจคู่ขนาน เพื่อขยายขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการขนส่ง และเพิ่มศักยภาพ (Capacity) โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ฯลฯ พบว่ามีวงเงินที่จะต้องจัดหาเงินทุนด้วยการจัดท�ำร่างพระราชบัญญัติฯ ประมาณ 2.0 ล้านล้านบาท ส�ำ หรับวงเงิน ที่เกินกว่าร่างพระราชบัญญัติฯ รัฐบาลจะจัดหาด้วยแนวทางอื่น ๆ ต่อไป ตารางที่ 2 สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งของประเทศ พ.ศ. 2556-2563 ยุทธศาสตร์
วงเงินลงทุนร่าง พ.ร.บ.*
1. การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต�่ำกว่า (Modal Shift & Mechanical)
309,564
1.1 การพัฒนาปรับปรุงระบบรถไฟ (แผนลงทุนระยะเร่งด่วนและทางคู่)
278,287
1.2 การพัฒนาท่าเรือและเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง
30,277
1.3 การพัฒนาสิ่งอ�ำนวยความสะดวกด้านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
1,000
2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ เมืองศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วไป และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน (Connectivity)
954,757
2.1 การพัฒนาประตูการค้าหลักประตูการค้าชายแดน
63,875
2.2 การพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค
890,883
3. การพัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว (Mobility)
672,503
3.1 การพัฒนาระบบขนส่งในเขตเมือง
527,790
3.2 การพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักภายในประเทศ
144,714
เงินส�ำรองจ่าย (Contingencies)
63,176 วงเงินรวม
2,000,000
ที่มา : กระทรวงคมนาคม
3. ทางเลือกในการจัดหาเงินทุนส�ำหรับการลงทุนภาครัฐ (Government Financing) การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และบริการสาธารณะของภาครัฐต้องใช้เงินลงทุนจ�ำนวนมาก ซึ่งภาครัฐ สามารถจัดหาเงินลงทุนได้ในหลายลักษณะ เช่น รายได้ของภาครัฐ การกู้ยืมเงิน การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public - Private Partnership : PPP) การจ�ำหน่ายหลักทรัพย์ของรัฐ หรือแม้แต่การระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ฯลฯ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากแผนการลงทุนของภาครัฐพบว่าจะจัดหาเงินทุนจากการกู้ยืมเงินเป็นหลัก
94
ซึ่งจะมีต้นทุนทางการเงินต�่ำที่สุด อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability Rules) ที่มีเป้าหมาย เพือ่ สร้างวินยั ทางการคลังระยะยาวของประเทศถือเป็นข้อจ�ำกัด (Constraint) ประการหนึง่ ในการระดมเงินทุนเพือ่ ด�ำเนินโครงการ ภาครัฐ ดังนัน้ การจัดหาเงินทุนผ่าน PPP และ Infrastructure Fund จะช่วยลดข้อจ�ำกัดของภาครัฐในการลงทุนเพือ่ พัฒนาประเทศ และเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งการจัดหาเงินทุนของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ มีทั้งประโยชน์และข้อจ�ำกัดสรุปได้ดังนี้ ตารางที่ 3 เปรียบเทียบการระดมเงินทุนของภาครัฐรูปแบบต่าง ๆ รายการ การกู้ยืมเงิน ต้นทุนทางการเงิน หนี้สาธารณะ ความยืดหยุ่น ทางการเงิน
- ต�่ำ - เป็นหนี้สาธารณะ - มี ค วามเสี่ ย งในการ ผิดนัดช�ำระหนี้
แนวทางในการระดมทุน กองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐาน - ปานกลาง - ไม่เป็นหนี้สาธารณะ - Maturity ยาว - ไม่มคี วามเสีย่ งในการ ผิดนัดช�ำระหนี้ - มีความยืดหยุน่ ในการ จ่ายผลตอบแทน
PPP
รายได้ของรัฐบาล
- สูง - ปานกลาง - ไม่เป็นหนี้สาธารณะ - ไม่เป็นหนี้สาธารณะ - ความยื ด หยุ ่ น ทาง - Maturity ยาว - ไม่มคี วามเสีย่ งในการ การเงินต�่ำ เนื่องจาก ถูกก�ำหนดการใช้เงิน ผิดนัดช�ำระหนี้ ด้ ว ย พ.ร.บ.วิ ธี ก าร งบประมาณ
- ภาครั ฐ มี อ� ำ นาจใน - ภาครั ฐ มี อ� ำ นาจใน - แ ล ้ ว แ ต ่ จ ะ ต ก ล ง - ภาครั ฐ มี อ� ำ นาจใน ผลกระทบ ต่อการบริหารจัดการ การบริหารโครงการ การบริหารโครงการ กั น แต่ ส่ ว นใหญ่ ใ ห้ การบริหารโครงการ ภาคเอกชนบริ ห าร โครงการ และภาครัฐ ก�ำกับการด�ำเนินงาน ตามสัญญา - ภาคเอกชนเข้ า มามี ส่วนร่วมในการควบคุม และตรวจสอบ ท�ำให้ มีความโปร่งใสมากขึน้ - ขึน้ อยูก่ บั นโยบายการ - สามารถระดมทุนได้ - ขึ้ น อ ยู ่ กั บ ค ว า ม - ค ว บ คุ ม ไ ด ้ ย า ก ความสามารถ บริหารหนี้สาธารณะ จากตลาดการเงิ น สามารถของเอกชน เนื่ อ งจากจะแปรผั น ในการระดมทุน ของภาครัฐ ตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้ ง ในประเทศและ ผู้ร่วมลงทุน - ขึ้ น อ ยู ่ กั บ ค ว า ม นอกประเทศ ส า ม า ร ถ ข อ ง ก า ร - สามารถระดมให้ ปล่อยกู้ของผู้ให้กู้ เพี ย งพอต่ อ ความ ต้ อ งการของภาครั ฐ อย่างต่อเนื่อง - เพิม่ การระดมทุนผ่าน - เ ป็ น ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ - เ ป็ น ก า ร ดึ ง ดู ด นั ก ผลกระทบ ต่อนักลงทุน/ตลาดทุน การออกพั น ธบั ต ร ทางการเงินแบบใหม่ ลงทุ น รายใหญ่ จ าก และหุ้นกู้ ซึ่ ง จ ะ ช ่ ว ย พั ฒ น า ทั้ ง ภายในประเทศ ตลาดทุน ทัง้ ทางกว้าง และต่างประเทศ และทางลึก ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รวบรวม
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
95
4. การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public - Private Partnership : PPP) PPP ได้เพิ่มบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง อาทิ การลงทุนในกิจการขนาดใหญ่ของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งที่ผ่านมา PPP มีมูลค่ารวมกันกว่าแสนล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในกิจการของรัฐวิสาหกิจประมาณ 23 โครงการ เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีนำ�้ เงิน (หัวล�ำโพง–บางแค) โครงการรถไฟฟ้าสายสีมว่ ง (บางใหญ่–บางซือ่ ) และโครงการ ระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ฯลฯ นอกจากนี้ในภาคการสาธารณสุขของประเทศ PPP ก็เข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบการเช่า ซึ่งเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบ�ำรุงรักษา ส่วนโรงพยาบาลจะเป็นผู้ให้บริการกับผู้ป่วยเอง และ (2) รูปแบบการวางเครื่องซึ่งเอกชนจะเป็นผู้ด�ำเนินการและบ�ำรุงรักษาเครื่องมือ ทั้งนี้ จากการส�ำรวจของภาครัฐ2 พบว่า โรงพยาบาลทั่วไปได้ด�ำเนินการเกี่ยวกับ PPP ประมาณร้อยละ 60.0 จากจ�ำนวน 48 แห่ง นอกจากนี้ภาคเอกชนสนใจร่วมลงทุน ในโรงพยาบาลศูนย์ประมาณร้อยละ 89.5 จากจ�ำนวน 25 แห่ง ส่วนกรณีโรงพยาบาลทัว่ ไป ภาคเอกชนสนใจร่วมลงทุนประมาณ ร้อยละ 72.9 จากจ�ำนวน 70 แห่ง เป็นต้น 4.1 รูปแบบ PPP3 PPP มีวตั ถุประสงค์เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการลงทุนและการบริหารทรัพย์สนิ ของภาครัฐและภาคเอกชน การถ่ายทอด องค์ความรู้และเทคโนโลยี รวมทั้งขยายขอบเขตและเพิ่มคุณภาพของบริการสาธารณะ ซึ่งสามารถด�ำเนินการได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ภาครัฐและภาคเอกชนได้รับ ดังนี้ (1) รูปแบบ Service Contract คือ การให้ภาคเอกชนเข้าท�ำงานกิจกรรมด้าน Operation ต่าง ๆ เช่น จัดระบบ การด�ำเนินการ บริหารจัดการ เก็บค่าใช้บริการ รักษาความปลอดภัย บ�ำรุงรักษา และอืน่ ๆ โดยทีภ่ าคเอกชนไม่ตอ้ งท�ำการลงทุนใด ๆ และภาคเอกชนจะได้รับผลตอบแทนจากรัฐบาลในรูปของค่าด�ำเนินงานโดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.1 Service Contract แบบที่ส่งถ่ายความเสี่ยงด้านอุปสงค์ให้ภาคเอกชน (Service Contract with Demand Risk) หมายถึง ให้ภาคเอกชนด�ำเนินงานปฏิบตั กิ ารโดยได้รบั ผลตอบแทนจากการด�ำเนินงาน เช่น การเก็บค่าโดยสาร ภาคเอกชน จึงต้องแบกรับความเสี่ยงด้านปริมาณผู้โดยสารหรืออุปสงค์ ฯลฯ 1.2 Service Contract แบบที่ภาคเอกชนได้รับค่าตอบแทนแบบคงที่ (Service Contract with Fixed Fee) หมายถึง การที่ภาคเอกชนได้รับค่าด�ำเนินงานแบบคงที่ ซึ่งหมายความว่าไม่ว่าปริมาณผู้โดยสารจะมากหรือน้อย ภาคเอกชน ก็จะยังได้ค่าตอบแทนเช่นเดิมไม่ขึ้นกับอุปสงค์ รูปแบบ Service Contract นี้ ภาคเอกชนจะมีสว่ นร่วมน้อยทีส่ ดุ เมือ่ เปรียบเทียบกับรูปแบบอืน่ ๆ ของ PPP และ ภาคเอกชนก็แบกรับความเสี่ยงน้อยที่สุดด้วยเช่นกัน (2) รูปแบบสัญญาเช่า (Leasing) คือ รูปแบบที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ลงทุนและด�ำเนินการก่อสร้างส่วนที่เป็น งานโยธาทีใ่ ช้สำ� หรับการด�ำเนินโครงการ เมือ่ ก่อสร้างแล้วเสร็จภาคเอกชนจะเป็นผูล้ งทุนและด�ำเนินการติดตัง้ งานส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง กับการ Operation อาทิ หากเป็นโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนค่าก่อสร้างอุโมงค์และสถานี ส่วนภาคเอกชนจะเป็นผูล้ งทุนในส่วนของระบบเดินรถรวมถึงขบวนรถไฟฟ้าด้วย และเมือ่ เปิดใช้งาน ภาคเอกชนจะเป็นผูเ้ ก็บรายได้ จากการให้บริการและคิดค่าเช่าในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ค่าเช่าแบบคงที่หรือค่าเช่าแบบส่วนแบ่งค่าโดยสาร (Revenue Sharing) ในรูปแบบนี้รัฐบาลและเอกชนแยกรับประเภทของความเสี่ยงกันชัดเจน กล่าวคือรัฐบาลรับความเสี่ยงในการก่อสร้างและความ รับผิดชอบต่าง ๆ ในส่วนของงานก่อสร้าง ส่วนเอกชนรับความเสีย่ งในการติดตัง้ งานระบบตลอดจนความเสีย่ งในด้าน Operation (3) รูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ส�ำหรับรูปแบบการร่วมลงทุนแบบกิจการร่วมค้า รัฐบาลจะร่วมลงทุน ในโครงการในฐานะผู้ถือหุ้น ซึ่งรัฐบาลจะระดมทุนในส่วนของรัฐบาลจากการน�ำทรัพยากรทางการเงิน อาทิ งบประมาณลงทุน ภาษีเฉพาะอย่าง (Earmarked Tax) หรือสินทรัพย์อื่น ๆ มาใช้ในโครงการ ซึ่งหมายความว่าทรัพยากรทางการเงินของทั้งรัฐบาล และเอกชนจะถูกน�ำมาใช้ร่วมกัน (Resource Pooling) และในการด�ำเนินงานทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนก็จะมีส่วนร่วมกัน ในการก�ำหนดนโยบายและตัดสินใจร่วมกันในการด�ำเนินงานต่าง ๆ รวมทั้งแบ่งรับความเสี่ยงทุกอย่างร่วมกัน (Risk Sharing) ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วรูปแบบกิจการร่วมค้าจะเป็นการร่วมกันท�ำงานอย่างแท้จริง ซึ่งต่างจากรูปแบบอื่น ๆ ที่รัฐบาลและเอกชน แยกกันท�ำงานคนละส่วน สรุปบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ครั้งที่ 25/2555 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2555 การร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลและเอกชน (Public Private Partnership) โดย ดร.สันติ เจริญพรพัฒนา
2 3
96
(4) รูปแบบสัมปทาน (Concession) ส�ำหรับรูปแบบการร่วมลงทุนแบบสัมปทาน รัฐบาลจะอยู่ในฐานะผู้ก�ำกับ ดูแลและให้การสนับสนุนทางการเงินในกรณีที่มีความจ�ำเป็น โดยภาคเอกชนจะเป็นผู้ด�ำเนินการทุกอย่างตั้งแต่การออกแบบ ก่อสร้าง ทัง้ ในส่วนของงานก่อสร้างและงานระบบตลอดจนการให้บริการและบ�ำรุงรักษา ซึง่ หมายถึงต้องรับความเสีย่ งทีเ่ กีย่ วข้อง ด้วยทัง้ หมด อย่างไรก็ตาม โดยปกติรฐั บาลอาจให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ภาคเอกชนผูร้ ว่ มลงทุน ดังนัน้ ในรูปแบบนีร้ ฐั บาล จะใช้ทรัพยากรทางการเงินในรูปของการให้การสนับสนุนทางการเงิน (Government Support Scheme) ซึง่ รูปแบบการสนับสนุนนัน้ มีหลายรูปแบบ เช่น การสนับสนุนเงินให้เปล่า (Grant) การประกันรายได้ขั้นต�่ำ (Minimum Revenue Guarantee) การให้เงินกู้ แบบ Subordinated Loan การประกันเงินกู้ (Debt Guarantee) ฯลฯ ซึ่งรูปแบบการให้การสนับสนุนนี้เองเป็นประเด็นที่ส�ำคัญ ในการเลือกรูปแบบการร่วมลงทุนแบบสัมปทาน ภาพที่ 5 การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public - Private Partnership : PPP)
ที่มา : ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB)
4.2 เปิดประสบการณ์ PPP ในต่างประเทศ ปัจจุบนั PPP มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทัว่ โลกเป็นจ�ำนวนมากผ่านการลงทุนในโครงสร้าง พื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น ทางยกระดับ ถนน สนามบิน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน PPP ได้ขยายบทบาทไปสู่บริการสาธารณะ อื่นเพิ่มขึ้น เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา ภาคการเกษตร ฯลฯ ซึ่งมีตัวอย่างโครงการดังนี้ (1) Bhutan Education City (BEC) ประเทศภูฏาน โครงการนีถ้ กู จัดตัง้ ขึน้ เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ ซึง่ รัฐสภา ภูฏานได้ผ่านกฎหมายดังกล่าวเมื่อปี 2554 โดยมีวงเงินโครงการ 364 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบันได้มีการลงนามในข้อตกลง กับสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศ อาทิ Indian Institute of Management และ Raffles Institution in Singapore โดยโครงการ ดังกล่าวมีแผนการลงทุนในคณะ Sport Complex และอพาร์ตเมนต์บนเนื้อที่ประมาณ 500 เอเคอร์ (2) Aurangabad (MaHaRASHTRA) Water Supply ประเทศอินเดีย โครงการนี้ตั้งขึ้นในรัฐมหาราชเพื่อเป็น การจัดหาแหล่งน�้ำเพื่อการบริโภคให้แก่ประชาชนจ�ำนวนมาก โดยโครงการดังกล่าวจะมีการวางท่อส่งน�้ำยาวประมาณ 1.2 พันกิโลเมตร จากเขื่อน Jayakwadi โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาด�ำเนินการกว่า 20 ปี ซึ่งจะถูกพัฒนาด้วยรูปแบบ Build – Operate – Own – and – Transfer (BOOT) และมีวงเงินโครงการประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (3) Punjab Grain Silos ประเทศอินเดีย โครงการดังกล่าวตั้งขึ้นที่รัฐปัญจาบเพื่อเก็บข้าว ซึ่งมีความจุประมาณ 50,000 ตัน โดยในปี 2553 บริษทั LT Foods ซึง่ เป็นผูส้ ง่ ออกข้าวรายใหญ่ของอินเดียเป็นผูช้ นะการประมูล โดยโครงการดังกล่าว ใช้ระยะเวลาประมาณ 30 ปี และจะช่วยคนยากจนในอินเดียกว่า 500,000 คน ให้มีโภชนาการที่ดีขึ้น
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
97
5. พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 5.1 ความเป็นมา กฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือด�ำเนินการในกิจการของรัฐฉบับเดิม ซึง่ ใช้บงั คับมาตัง้ แต่ พ.ศ. 2535 มีหลักเกณฑ์บางประการทีไ่ ม่ชดั เจน ก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายและการตีความกฎหมายเป็นอย่างมาก อีกทัง้ ยังไม่ได้ ก�ำหนดขั้นตอนและหลักเกณฑ์การด�ำเนินการที่ส�ำคัญบางประการไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา ประกอบกับ ในปัจจุบนั ประเทศไทยมีความจ�ำเป็นต้องจัดท�ำโครงสร้างพืน้ ฐานและบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ เพิม่ มากขึน้ ซึง่ การด�ำเนินการ ดังกล่าวจ�ำเป็นต้องใช้งบประมาณเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้ภาครัฐยังไม่สามารถด�ำเนินการให้เพียงพอแก่ความต้องการของ ประชาชนได้ ดังนัน้ การมอบหมายให้เอกชนเข้าร่วมด�ำเนินการในกิจการของรัฐเพือ่ จัดท�ำโครงสร้างพืน้ ฐานและบริการสาธารณะ จึง เป็นแนวทางหนึง่ ทีจ่ ะท�ำให้มกี ารจัดท�ำโครงสร้างพืน้ ฐานและบริการสาธารณะขึน้ อีกทัง้ ยังส่งผลต่อการประหยัดงบประมาณของ ภาครัฐด้วย ท�ำให้ใช้ทรัพยากรของรัฐเป็นไปอย่างคุม้ ค่าและเกิดประสิทธิภาพ ดังนัน้ จึงมีความจ�ำเป็นในการตราพระราชบัญญัติ การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ขึ้น 5.2 หลักการส�ำคัญของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 25564 พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พระราชบัญญัติฯ) มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 72 มาตรา ซึ่งสามารถสรุปสาระส�ำคัญได้ดังนี้ (1) พระราชบัญญัติฯ ได้ก�ำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โดยมีอ�ำนาจ หน้าที่ที่ส�ำคัญ อาทิ การจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ การให้ความเห็นชอบหลักการโครงการ ที่จะให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ และการพิจารณาเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางด้านการเงินหรือการคลัง ในการสนับสนุนเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐต่อคณะรัฐมนตรี (2) พระราชบัญญัติฯ ได้ก�ำหนดให้จัดท�ำแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เพื่อก�ำหนด นโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โดยมีระยะเวลาด�ำเนินการตามแผนไม่นอ้ ยกว่าห้าปี และเสนอแนะยุทธศาสตร์ ให้สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเพื่อทราบและประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยให้ถือว่าแผนยุทธศาสตร์เป็นนโยบาย ของรัฐในการจัดท�ำและเสนอโครงการ และยึดถือแผนยุทธศาสตร์เป็นหลักในการพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการ (3) พระราชบั ญ ญั ติ ฯ ได้ ก� ำ หนดหลั ก เกณฑ์ แ ละขั้ น ตอนการเสนอโครงการ โดยโครงการที่ มี มู ล ค่ า ตั้ ง แต่ หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไปหรือที่ก�ำหนดเพิ่มขึ้นโดยกฎกระทรวง ต้องด�ำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่ก�ำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติฯ และก�ำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการริเริ่มเสนอโครงการโดยส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และภาคเอกชนที่มีความสนใจร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ รวมทั้งก� ำหนดหลักเกณฑ์ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ ที่ประสงค์จะด�ำเนินโครงการเองทั้งหมดโดยไม่มีการให้เอกชนร่วมลงทุนต้องเปรียบเทียบต้นทุน ความเสี่ยง และความคุ้มค่า ในการด�ำเนินการ กับกรณีที่จะให้เอกชนร่วมลงทุน ตามหลักเกณฑ์และรูปแบบที่คณะกรรมการประกาศก�ำหนดและขั้นตอน การด�ำเนินการดังกล่าว นอกจากนีเ้ มือ่ คณะกรรมการให้ความเห็นชอบหลักการของโครงการแล้ว ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการร่างประกาศ เชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนร่างขอบเขตของโครงการ และร่างสัญญาร่วมลงทุนที่สอดคล้องกับข้อก�ำหนดมาตรฐานของสัญญา ร่วมลงทุนที่ผ่านการตรวจพิจารณาของส�ำนักงานอัยการสูงสุด และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ขึน้ เพือ่ พิจารณาให้ความเห็นชอบพร้อมเสนอ สคร. เพือ่ พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเกีย่ วกับงบประมาณแผ่นดิน ที่ก�ำหนดในสัญญา และเมื่อมีการลงนามในสัญญาแล้ว ก�ำหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดท�ำแผนการบริหารความเสี่ยง โครงการ และให้เอกชนจัดท�ำแผนปฏิบัติตามสัญญาและแผนการบริหารความเสี่ยงโครงการ และจัดตั้งคณะกรรมการก�ำกับ ดูแลขึ้นมาท�ำหน้าที่ติดตามก�ำกับดูแลโครงการให้เป็นไปตามที่ก�ำหนดในสัญญา
บันทึกส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบร่างพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.....
4
98
ทั้งนี้ เมื่อมีความจ�ำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอเหตุผลและความจ�ำเป็น ในการขอแก้ไข ประเด็นทีข่ อแก้ไข ผลประโยชน์ของรัฐทีจ่ ะลดลงหรือเพิม่ ขึน้ ผลกระทบจากการแก้ไขสัญญาและรายละเอียดอืน่ ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการก�ำกับดูแลพิจารณา หากคณะกรรมการก�ำกับดูแลเห็นด้วยกับการแก้ไข ให้แจ้งความเห็นพร้อมทั้ง ร่างสัญญาฉบับใหม่ไปยังรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดเพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป อย่างไรก็ตาม ก่อนสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่าสองปี ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดท�ำแนวทาง การด�ำเนินกิจการของรัฐภายหลังจากสัญญาสิ้นสุดเสนอกระทรวงเจ้าสังกัด โดยให้ค�ำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและความต่อเนื่อง ในการด�ำเนินกิจการของรัฐเพื่อเสนอรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป (4) พระราชบัญญัติฯ ได้ก�ำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐในกระทรวง การคลัง เพื่อสนับสนุนการจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์และพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนหน่วยงาน ของรัฐในการเสนอโครงการทีส่ อดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ การจัดท�ำผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการและการจ้างทีป่ รึกษา โดยให้กองทุนเป็นนิติบุคคล และให้มีคณะกรรมการกองทุนท�ำหน้าที่บริหารและก�ำกับดูแลกองทุน (5) พระราชบัญญัติฯ ได้ก�ำหนดโทษกรณีกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการ ของรัฐ คณะกรรมการคัดเลือก และคณะกรรมการก�ำกับดูแล ที่พ้นจากต�ำแหน่งแล้วไปเป็นกรรมการผู้มีอ�ำนาจในการจัดการ ทีป่ รึกษา หรือเป็นผูถ้ อื หุน้ ของเอกชนทีค่ ณะกรรมการได้อนุมตั หิ ลักการให้รว่ มลงทุนในกิจการของรัฐหรือได้ทำ� สัญญาร่วมลงทุน ภาพที่ 6 แนวทางการด�ำเนินการพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 25565
ที่มา : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ
การบรรยายเรือ่ ง Public Private Partnership และพระราชบัญญัตกิ ารให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 โดย ดร. เสรี นนทสูติ รองกรรมการผูจ้ ดั การ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส วันที่ 2 พฤษภาคม 2556
5
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
99
6. ประโยชน์และข้อจ�ำกัดของการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน PPP เป็นการเพิม่ บทบาทให้ภาคเอกชนเข้ามามีสว่ นร่วมกับภาครัฐจะเป็นการเพิม่ ประสิทธิภาพการท�ำงาน เพิม่ ทางเลือก ในการระดมทุนให้แก่ภาครัฐภายใต้ขอ้ จ�ำกัดของงบประมาณและการกูย้ มื เงิน และเป็นการขยายการเข้าถึงบริการสาธารณะของ ภาครัฐกับภาคเอกชน ทั้งนี้ ประโยชน์ของ PPP เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วม (Stake - Holders) สรุปได้ดังนี้ 6.1 ประโยชน์ 1) ประเทศและประชาชน PPP จะช่วยสร้างให้มีโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะที่เพิ่มขึ้น รวดเร็ว และทั่วถึง และจะเป็นการเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระดับนานาชาติ และจะยกระดับคุณภาพชีวติ ของประชาชนในประเทศให้ดขี นึ้ ในขณะที่ประเทศยังคงความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินดังกล่าว 2) ภาครัฐ ปัจจุบันประเทศไทยมีความจ�ำเป็นต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึง่ การด�ำเนินการดังกล่าวจ�ำเป็นต้องใช้งบประมาณเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้รฐั บาลไม่สามารถด�ำเนินการให้เพียงพอแก่ความต้องการ ของประชาชนได้ ดังนั้น การมอบหมายให้เอกชนร่วมด� ำเนินการในกิจการของรัฐเพื่อจัดท�ำโครงสร้างพื้นฐานและบริการ สาธารณะ จึงเป็นแนวทางหนึง่ ทีจ่ ะท�ำให้มกี ารจัดท�ำโครงสร้างพืน้ ฐานและบริการสาธารณะขึน้ อีกทัง้ ยังส่งผลให้เป็นการประหยัด งบประมาณของภาครัฐด้วย ท�ำให้การใช้ทรัพยากรของรัฐเป็นไปอย่างคุม้ ค่า นอกจากนี้ PPP จะช่วยเพิม่ ทางเลือกในการระดมทุน ให้แก่ภาครัฐภายใต้ข้อจ�ำกัดของงบประมาณและการกู้ยืมเงิน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงทางการคลังภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่มี ความผันผวน เนือ่ งจากการระดมทุนด้วยวิธดี งั กล่าวไม่นบั รวมเป็นหนีส้ าธารณะของประเทศ รวมถึงความสามารถในการบริหาร จัดการระบบงบประมาณของภาครัฐ ในกรณีที่ภาครัฐได้พิจารณาถึงความคุ้มค่าทางการเงิน (Value of Money) แล้วเห็นว่า มีความเหมาะสมที่จะให้เอกชนร่วมลงทุน จะท�ำให้ภาครัฐสามารถจัดสรรงบประมาณดังกล่าวไปลงทุนในโครงการอื่น ๆ ตามความจ�ำเป็นและเหมาะสมได้มากขึน้ ประกอบกับเป็นการพัฒนาตลาดการเงินของประเทศ เนือ่ งจากเป็นการเพิม่ ผลิตภัณฑ์ ทางการเงินและการเพิ่มขนาดของตลาดทุน 3) หน่วยงานเจ้าของโครงการ PPP สามารถช่วยระดมทุนให้แก่หน่วยงานเจ้าของโครงการเพือ่ ลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานทีต่ นเองมีความเชีย่ วชาญ โดยยังสามารถรักษาไว้ซึ่งอ�ำนาจในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานภายใต้หน่วยงานตนเอง นอกจากนี้เป็นการส่งเสริม ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการของภาครัฐ ซึ่งจะเพิ่มความโปร่งใสและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 4) นักลงทุน PPP จะช่วยเพิม่ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ซึง่ จะช่วยเพิม่ ความสนใจและสามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุน ที่มีหลากหลาย และสนับสนุนการออมของภาคประชาชน 6.2 ข้อจ�ำกัด 1) ต้นทุนทางการเงินในการระดมทุนผ่าน PPP อาจสูงกว่าการกู้ยืมเงินโดยรัฐบาล ดังนั้น จึงควรให้โครงการลงทุน ทีม่ อี ตั ราผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return : FIRR) สูงกว่าอัตราผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) เน้นการระดมทุนทีภ่ าคเอกชนมีสว่ นร่วม เพือ่ รัฐบาลจะได้มชี อ่ งว่างทางการคลัง (Fiscal Space) เหลือในการลงทุนส�ำหรับโครงการลงทุนที่มี EIRR สูง แต่มี FIRR ต�่ำ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศในระยะยาว 2) การก�ำกับดูแล PPP มีความซับซ้อนมากกว่ากิจการที่ภาครัฐด�ำเนินการเอง เนื่องจากต้องมีความเป็นธรรม ต่อทุกฝ่ายและมีความชัดเจนในหลักเกณฑ์เพื่อเอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะในประเด็นการแบ่งรับภาระ ความเสี่ยง (Risk Transfer) ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ การก่อสร้างล่าช้า (Project Delay) หรือต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้น (Cost Overrun) ซึ่งหากด�ำเนินการไม่เหมาะสมจะท�ำให้ PPP เกิดความล้มเหลวและไม่มีประสิทธิภาพในการด�ำเนินการ
100
7. สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การมอบหมายให้เอกชนร่วมด�ำเนินการในกิจการของรัฐเพือ่ จัดท�ำโครงสร้างพืน้ ฐานและบริการสาธารณะ เป็นแนวทางหนึง่ ที่จะท�ำให้มีการจัดท�ำโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้เป็นการประหยัดงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งจะท�ำให้การใช้ทรัพยากรของรัฐเป็นไปอย่างคุ้มค่า นอกจากนี้ PPP จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ภาครัฐภายใต้ ข้อจ�ำกัดของงบประมาณและการกูย้ มื เงิน ซึง่ จะช่วยลดความเสีย่ งทางการคลังภายใต้ภาวะเศรษฐกิจทีม่ คี วามผันผวน ถึงแม้ตน้ ทุน ทางการเงินในการระดมทุนผ่าน PPP อาจสูงกว่าการกูย้ มื เงินโดยรัฐบาล แต่ดว้ ยนวัตกรรมทางการเงินในปัจจุบนั สามารถช่วยลด ข้อจ�ำกัดดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม ความส�ำเร็จของ PPP จ�ำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ โครงการลงทุนเองต้องมีขนาดใหญ่ ที่เหมาะสมและเป็นที่สนใจของภาคเอกชน ซึ่งจะต้องมีการก�ำหนดขอบเขตของโครงการลงทุนเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ ที่ภาคเอกชน จะให้ความสนใจร่วมลงทุน และความชัดเจนของแผนการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานของประเทศ ตลอดจนแผนการระดมเงินทุน ของภาครัฐ เพือ่ ลดการแย่งสภาพคล่องในตลาดเงิน โดยภาครัฐ (Crowding - Out Effect) ซึง่ จะช่วยลดความเสีย่ งทีอ่ ตั ราดอกเบีย้ จะปรับตัวสูงขึ้น จนส่งผลในทางลบต่อการลงทุนและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
101
ภาคการเงิน
รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อยู่ในระดับทรงตัว โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 2.43 ณ สิ้นปี 2555 เป็นร้อยละ 2.73 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2556 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2556 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับ ณ สิ้นปี 2555 ที่ร้อยละ 7.19 (ภาพที่ 1) ทั้งนี้ แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ 2.50 ในเดือนพฤษภาคม 2556 อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง1 ในเดือนพฤษภาคม 2556 ได้ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ❍❍ การคาดการณ์อต ั ราดอกเบีย้ ในปี 2556 คาดว่าอัตราดอกเบีย้ จะทรงตัวใกล้เคียงกับปัจจุบนั สอดคล้อง กับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.00-3.00 ต่อปี) ณ สิ้นปี 2556 โดยคาดว่าอุปสงค์ในประเทศจะยังคงขยายตัวได้ดี โดยได้รับแรงขับเคลื่อนส�ำคัญจากการบริโภคและการลงทุนภาครัฐ ขณะที่ อุปสงค์จากประเทศคูค่ า้ ส่งสัญญาณชะลอลงโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนและยูโรโซน ซึง่ ถือเป็นความเสีย่ งส�ำคัญต่อภาคการส่งออก รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2556 ❍❍
ภาพที่ 1 อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชื่อและเงินฝากของสถาบันการเงินที่รับฝากเงินอื่น2 (Depository institutions) ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2556 ขยายตัวต่อเนื่อง (ภาพที่ 2 และภาพที่ 3) โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2556 สถาบันรับฝากเงิน อื่นมียอดคงค้างของสินเชื่อภาคเอกชนจ�ำนวน 13,758.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ โดยเมื่อ วิเคราะห์ตามผูใ้ ห้สนิ เชือ่ พบว่า ทัง้ ยอดคงค้างสินเชือ่ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์เพิม่ ขึน้ ด้านเงินฝากของ สถาบันรับฝากเงินอื่นมียอดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 14,931.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน จากการระดมเงินฝากเพื่อรองรับ การขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป และการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ ❍❍
ค�ำนวณโดยน�ำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 12 เดือนเฉลี่ย - อัตราเงินเฟ้อในช่วงเดียวกัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน
1 2
102
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
ภาพที่ 2 สินเชื่อในสถาบันรับฝากเงิน
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 3 เงินฝากในสถาบันรับฝากเงิน
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชื่อและเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือนพฤษภาคม 2556 ขยายตัวเร่งขึ้น (ภาพที่ 4 และภาพที่ 5) ณ สิน้ เดือนพฤษภาคม 2556 ธนาคารพาณิชย์มยี อดคงค้างสินเชือ่ ภาคเอกชนจ�ำนวน 9,186.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือน ก่อน ส่วนหนึ่งจากการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือน ซึ่งยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศของ ภาครัฐ ด้านเงินฝากของธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 10,581.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ❍❍
ภาพที่ 4 สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 5 เงินฝากในธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชื่อภาคครัวเรือนและยอดคงค้างสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือน พฤษภาคม 2556 ขยายตัวดีต่อเนื่อง (ภาพที่ 6) สินเชื่อภาคครัวเรือนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 45 ของสินเชื่อรวมขยายตัวในระดับ สูงที่ร้อยละ 19.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 55 ของสินเชื่อรวม ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
103
ภาพที่ 6 ยอดคงค้างสินเชื่อครัวเรือนและสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชือ่ ธุรกิจในภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรมเร่งขึน้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (ภาพที่ 8) ยอดคงค้างสินเชื่อภาคบริการ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 43.0 ของสินเชื่อธุรกิจ (ภาพที่ 7) ขยายตัวเร่งขึ้นจาก ไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 23.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับยอดคงค้างสินเชื่อภาคอุตสาหกรรม ซึง่ มีสว่ นแบ่งร้อยละ 44.3 ของสินเชือ่ ธุรกิจ ขยายตัวเร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้ามาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 13.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีกอ่ น สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ทีย่ งั คงขยายตัวได้ ส่วนหนึง่ จากปัจจัยฐานต�ำ่ เนือ่ งจาก ยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤตอุทกภัยไตรมาสที่ 4 ปี 2554 กอปรกับอุตสาหกรรมหลายสาขาฟื้นตัวดีต่อเนื่อง อาทิ ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยอดคงค้างสินเชื่อภาคเกษตรกรรม ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวต่อเนื่องจาก ไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍
ภาพที่ 7 สินเชื่อแยกตามภาคธุรกิจ
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 8 การขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 9 โครงสร้างสินเชื่อผู้บริโภค
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
104
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
ยอดคงค้างสินเชื่อผู้บริโภคในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 21.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยสินเชื่อบุคคลเพื่อซื้อรถหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 7.5 ของสินเชื่อรวม หรือร้อยละ 29.4 ของสินเชื่อบุคคล ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน แต่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ ร้อยละ 33.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนการบริโภคสินค้าคงทนที่ยังขยายตัวดีต่อเนื่องในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ขณะทีย่ อดคงค้างสินเชือ่ เพือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยซึง่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.9 ของสินเชือ่ ทัง้ หมด หรือร้อยละ 46.4 ของสินเชือ่ บุคคล ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษี ธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวดีต่อเนื่องในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ที่ร้อยละ 48.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส�ำหรับ ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.7 ของยอดคงค้างสินเชื่อสถาบันการเงินรวม ในเดือนเมษายน 2556 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่น ผู้บริโภคในเดือนเมษายน 2556 ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 72.1 ❍❍
ภาพที่ 10 การขยายตัวสินเชื่อบุคคล ธนาคารพาณิชย์แยกประเภท
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 11 การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ผ่านบัตรเครดิต
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
กล่าวโดยสรุป ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2556 เงินฝากและสินเชื่อของสถาบันการเงินไทยขยายตัว ต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ โดยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งสินเชื่อผู้บริโภคและสินเชื่อธุรกิจยังคง เพิม่ ขึน้ ส่วนหนึง่ ยังคงได้รบั อานิสงส์จากมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจจากภาครัฐ ขณะทีส่ นิ เชือ่ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคง ขยายตัวได้แม้จะชะลอลงเล็กน้อย ทั้งนี้ เงินฝากยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเป็นการเร่งขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นส�ำคัญ จากการเร่งระดมเงินฝากเพือ่ รองรับการขยายตัวของสินเชือ่ ทีค่ าดว่าจะขยายตัวดีตอ่ เนือ่ งตามการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ทัง้ นี้ หากวิเคราะห์ถงึ สถานภาพของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบนั พบว่ายังคงมีความแข็งแกร่ง โดยสัดส่วนหนีท้ ไี่ ม่กอ่ ให้เกิดรายได้ สุทธิยงั คงอยูใ่ นระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 1.0 ของสินเชือ่ ทัง้ หมด ขณะทีส่ ดั ส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสีย่ งยังคงอยูใ่ นระดับสูงทีร่ อ้ ยละ 16.1 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายก�ำหนดไว้ที่ร้อยละ 8.5 ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
105
Thailand’s Key Economic Indicators ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators)
106
ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง FISCAL POLICY OFFICE
ส
เสนอแนะอย่างมีหลักการ
ศ ค
ศึกษาโดยไม่หยุดนิ่ง คนคลังที่มีคุณภาพ
คณะผู้จัดท�ำ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ : boonchar@mof.go.th ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ดร.กุลยา ตันติเตมิท : kulaya.t@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ วิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ : wiparat@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ : pisitp@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร : soraphol@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์ สิริกัลยา เรืองอ�ำนาจ : sirigunya@hotmail.com
ผู้รับผิดชอบรายภาคเศรษฐกิจ
ภาคการคลัง นรพัชร์ อัศววัลลภ : norabajra@mof.go.th คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com นิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว : nipat44@hotmail.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com พีรพัฒน์ วงศ์ชัยวัฒน์ : wongchaiwat@hotmail.com สุธิรัตน์ จิรชูสกุล : j_suthi01@yahoo.com ภาคการค้าระหว่างประเทศ พนันดร อรุณีนิรมาน : panundorn.a@gmail.com อรุณรัตน์ นานอก : aobcy2000@hotmail.com ตลาดน�้ำมัน กระแสร์ รังสิพล : krasae.a@gmail.com เศรษฐกิจต่างประเทศ พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ : peerapan.ps@gmail.com ภัทราพร คุ้มสะอาด : phattraporn088@gmail.com ภาคการเงิน อาร์จนา ปานกาญจโนภาส : annulet@hotmail.com
อัตราแลกเปลี่ยน ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ : pim.hirankasi@gmail.com ภาคอุตสาหกรรม ธรรมฤทธิ์ คุณหิรัญ : thammaritud@yahoo.com อรอุมา หนูช่วย : onumaneung@hotmail.com ภาคเกษตรกรรม กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com ภาคการท่องเที่ยว คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com ภาคการบริโภค การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์ ยุทธภูมิ จารุเศร์นี : iam5111@msn.com กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com ด้านเสถียรภาพ ดารินทร์ เกตุเรืองโรจน์ : lexlexjung@hotmail.com
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท 0-2273-9020 โทรสาร 0-2298-5602 website : http://www.fpo.go.th