seb outlook 2556-2557

Page 1

ประมาณการเศรษฐกิจไทยป 2556 และป 2557

THAILAND'S ECONOMIC OUTLOOK 2013-2014 : SEPTEMBER

เดือนกันยายน

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

http://www.fpo.go.th


THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2013-2014 : SEPTEMBER FISCAL POLICY OFFICE เป้าประสงค์ และ ยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 1. ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการคลัง เพื่อให้ภาคการคลังของประเทศมีความแข็งแกร่งยั่งยืน เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นหลักของ ระบบเศรษฐกิจไทย 2. การพัฒนาความแข็งแกร่งของระบบการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Financial System Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการเงิน เพื่อให้ภาคการเงินแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ 3. เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน (Sustainable Economic and Social Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อกระจายความมั่งคั่ง สู่ภูมิภาคและเศรษฐกิจฐานราก + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น 4. ความมีประสิทธิภาพ ความทันสมัย และความโปร่งใสในการท�ำงาน (Modernization of Management and Good Governance Promotion) + ด�ำเนินการเพื่อให้เป็นองค์กรเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับด้านความสามารถของบุคลากร + ด�ำเนินการเพื่อให้การท�ำงานและการให้บริการโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้ โดยใช้ระบบ IT ลดขั้นตอนการท�ำงาน

กลยุทธ์ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค : “เสาหลักด้านเศรษฐกิจมหภาคอย่างมืออาชีพ” “วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพ แม่นย�ำ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้สามารถเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้อย่าง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณชน”

ช่องทางใหม่ในการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ

ขั้นตอนการใช้งานผ่านอุปกรณ์ iPad iPhone / ระบบปฏิบัติการ Android 1 โหลด App ชื่อ “ebooks.in.th” จาก App Store / Android Market 2 เปิด App “ebooks.in.th” แล้ว Search ค�ำว่า “Fiscal Policy Office” 3 เลือกหนังสือและบทความที่ท่านต้องการอ่าน เพื่อเก็บไว้ที่ตู้หนังสือ 4 เลือก Icon “Bookshelf” เพื่ออ่านหนังสือที่ต้องการ (ในครั้งแรกต้องลงทะเบียนก่อนใช้งาน)



THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2013-2014 : SEPTEMBER FISCAL POLICY OFFICE

สารบัญ 1. ประมาณการเศรษฐกิจไทย บทสรุปผู้บริหาร Executive Summary ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 (ณ เดือนกันยายน 2556) 1.1 สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 1.2 ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 2. ภาคการคลัง : สรุปสถานการณ์ด้านการคลังในช่วง 12 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556

หน้า 3 7 11 12 30 42

3. บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ : Macroeconomic Analysis Briefings 3.1 2013 Technical Recession : This time is different 3.2 ปัญหาค่าครองชีพ : ของแพงจริงหรือรู้สึกกันไปเอง 3.3 ทิศทางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย : โอกาสจาก Solid State Drive (SSD) หรือ ภัยคุกคามต่อ Hard Disk Drive (HDD) 3.4 กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ทางเลือกใหม่ในการบริหารหลักทรัพย์ของรัฐเชิงรุก 3.5 พื้นที่การคลัง (Fiscal Space) กับกรอบความยั่งยืนทางการคลังของกระทรวงการคลัง 3.6 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ใครเป็นใคร ได้ประโยชน์อะไร และจะก้าวต่อไปอย่างไร 3.7 How the slowdown of Chinese economy affects Thai export to China ? 3.8 เหลียวหลังแลหน้าประเทศเพื่อนบ้านใน AEC : ไทย-มาเลเซีย 3.9 ออสเตรเลีย เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ได้อย่างไร ?

71 77 84 91 96 104

4. ภาคการเงิน : รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2556

110

5. Thailand’s Key Economic Indicators

114

คณะผู้จัดท�ำ : ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทรศัพท์ 02-273-9020 ต่อ 3257 โทรสาร 02-298-5602 / 02-618-3397 http:// www.fpo.go.th

49 58 63


บทสรุปผู้บริหาร

ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 (ณ เดือนกันยายน 2556) รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 “เศรษฐกิจไทยปี 2556 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.5-4.0” ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ไม่ ต�่ำกว่าร้อยละ 3.5 และจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4.0 หากการเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐในไตรมาสที่ 1 ของ ปีงบประมาณ 2557 เป็นไปตามแผนของมาตรการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ อัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงส่วนหนึ่งมาจากการที่เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกชะลอลงกว่าที่คาด โดยเฉพาะ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงหลังจากที่เร่งขึ้นไปมากในช่วงก่อนหน้า ขณะที่การลงทุน ภาครัฐคาดว่าจะยังคงเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ตามการใช้จา่ ยในงบประมาณของรัฐบาลส่วนกลางและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจทีย่ งั เบิกจ่ายได้อย่างต่อเนือ่ ง ส�ำหรับ การส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะเติบโตในอัตราเร่งขึน้ โดยได้รบั อานิสงส์จากการส่งออกด้านบริการทีจ่ ะขยายตัว ตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเกือบทุกภูมิภาค ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายใน ประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.1-2.6) ลดลงจาก ปีก่อนหน้า ตามการชะลอตัวลงของอุปสงค์ภาคเอกชน ประกอบกับราคาน�้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่มี แนวโน้มลดลงอันเป็นผลมาจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอลง ส�ำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่าง ต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 5.1 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 4.6-5.6) โดยได้รบั อานิสงส์จากเศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ ทีม่ แี นวโน้ม ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการ นอกจากนี้ สถานการณ์ การจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีและภาวะทางการเงินที่ผ่อนคลายจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต�่ำจะช่วยสนับสนุน ให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนสามารถขยายตัวได้ ขณะทีแ่ รงกระตุน้ จากการใช้จา่ ยภาครัฐมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ จากการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการบริหารจัดการน�้ำที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการลงทุน ในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่คาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปในปี 2557 จะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.8 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 2.3-3.3) อันเป็นผลจากอุปสงค์ ภาคเอกชนทีป่ รับตัวดีขนึ้ ประกอบกับราคาน�ำ้ มันในตลาดโลกทีค่ าดว่าจะเพิม่ ขึน้ เล็กน้อยตามแนวโน้มการเติบโตของ เศรษฐกิจโลก”

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

3


ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2556 และปี 2557 (ณ เดือนกันยายน 2556)

2555 สมมติฐานหลัก

2556 f 2557 f (ณ กันยายน 2556) (ณ กันยายน 2556) เฉลี่ย ช่วง เฉลีย่ ช่วง

สมมติฐานภายนอก 1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี) 3.4 3.3 3.1-3.6 2) ราคาน�้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) 109.1 106.0 103.5-108.5 3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 0.6 0.0 -0.5 ถึง 0.5 4) ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 5.9 -2.0 -2.5 ถึง -1.5 สมมติฐานด้านนโยบาย 5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) 31.1 30.6 30.1-31.1 6) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละ) 2.75 2.50 2.25-2.75 7) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท) 2.89 3.15 3.14-3.16 ผลการประมาณการ 1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 6.5 3.7 3.5-4.0 2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี) 6.8 2.3 2.1-2.6 - การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 6.7 2.1 1.9-2.4 - การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 7.5 2.7 2.5-3.0 3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี) 13.2 4.4 3.9-4.9 - การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 14.4 2.3 1.8-2.8 - การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 8.9 12.3 11.8-12.8 4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 3.1 5.6 5.1-6.1 5) อัตราการขยายตัวปริมาณน�ำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 6.2 4.7 4.2-5.2 6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 6.0 4.9 4.4-5.4 - สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 3.1 1.8 1.3-2.3 - สินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 8.8 2.2 1.7-2.7 0.3-2.3 7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) -1.5 1.3 - ร้อยละของ GDP -0.4 0.3 0.1-0.6 8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี) 3.0 2.3 2.1-2.6 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี) 2.1 1.1 0.9-1.4 9) อัตราการว่างงาน (ร้อยละของก�ำลังแรงงานรวม) 0.7 0.7 0.6-0.8 f = ประมาณการ โดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)

4

3.8 3.3-4.3 107.0 102.0-112.0 0.5 -0.5 ถึง 1.5 0.5 -0.5 ถึง 1.5 31.0 2.50 3.47

30.0-32.0 2.00-3.00 3.46-3.48

5.1 4.6-5.6 3.6 3.1-4.1 3.4 2.9-3.9 4.8 4.3-5.3 10.3 9.3-11.3 9.5 8.5-10.5 13.4 12.4-14.4 8.6 7.6-9.6 7.6 6.6-8.6 1.5 0.5-2.5 7.5 6.5-8.5 9.3 8.3-10.3 0.1 -1.9 ถึง 2.1 0.0 -0.5 ถึง 0.5 2.8 2.3-3.3 1.5 1.0-2.0 0.7 0.6-0.8


1. เศรษฐกิจไทยในปี 2556 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5-4.0) โดยจะสามารถ ขยายตัวได้รอ้ ยละ 4.0 หากการเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2557 เป็นไปตามแผนของมาตรการ สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ การคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงเป็น ผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกที่ต�่ำกว่าที่คาด (แม้ว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน ครึ่งปีแรกของปีก่อน) ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.9-2.4) ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8-2.8) ส่วนหนึง่ เนือ่ งจากการเปรียบเทียบกับฐานทีส่ งู ในปีกอ่ นจากการเร่งการลงทุนไปเพือ่ ซ่อมแซมความเสียหายจากอุทกภัย อย่างไรก็ดี การลงทุนในหมวดก่อสร้างคาดว่าจะขยายตัวได้ดี สะท้อนได้จากยอดจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศทีเ่ พิม่ ขึน้ ส�ำหรับ การใช้จ่ายภาครัฐคาดว่ายังคงเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีนี้ โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 2.7 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 2.5-3.0) และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวสูงถึง ร้อยละ 12.3 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 11.8-12.8) ตามการใช้จา่ ยในงบประมาณของรัฐบาลกลางและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ที่ยังเบิกจ่ายได้ในเกณฑ์ปกติ แม้ว่าการใช้จ่ายภาครัฐบางส่วนจะล่าช้าออกไปบ้าง โดยเฉพาะการใช้จ่ายตามแผนบริหาร จัดการน�้ำที่อาจมีความล่าช้าจากการท�ำประชาพิจารณ์ตามค�ำสั่งของศาลปกครอง ส�ำหรับอุปสงค์ภายนอกประเทศนั้นคาดว่า การส่งออกสินค้าและบริการจะเติบโตในอัตราเร่งขึ้นจากปีก่อนมาขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.1-6.1) โดยได้รบั อานิสงส์จากการส่งออกด้านบริการทีจ่ ะขยายตัวตามจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วต่างประเทศทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งจากเกือบ ทุกภูมิภาค โดยเฉพาะจากจีนและรัสเซีย อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวชะลอลง เนื่องจากเศรษฐกิจ โลกทีฟ่ น้ื ตัวอย่างล่าช้าส่งผลกระทบให้ความต้องการสินค้าส่งออกของไทยลดลง ประกอบกับการส่งออกสินค้าประมงมีแนวโน้ม หดตัวจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดบิ กุง้ เพือ่ ผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง ขณะทีป่ ริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 4.7 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 4.2-5.2) ชะลอลงเล็กน้อยจากปีกอ่ นหน้า ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุน 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 2.0-2.5) ลดลงจากปีก่อนหน้า จากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่ลดลงตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภาคเอกชน และแนวโน้ม ราคาน�้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ลดลงตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งผลจากแนวทาง การดูแลราคาน�้ำมันขายปลีกของภาครัฐ ในส่วนของอัตราการว่างงาน คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.7 ของก�ำลัง แรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.6-0.8 ของก�ำลังแรงงานรวม) ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชี เดินสะพัดจะเกินดุลที่ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.1-0.6 ของ GDP) โดยดุลการค้าคาดว่าจะเกินดุลลดลงจากปีก่อนมาอยูท่ ี่ 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีชว่ งคาดการณ์ที่ 4.4-5.4 พันล้าน เหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้าน�ำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก อย่างไรก็ดี ดุลบริการคาดว่าจะ เกินดุลเพิ่มขึ้นตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

5


2. คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2557 2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.6-5.6) โดยมีแรงขับเคลื่อน หลักจากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่มีแนวโน้มเร่งขึ้น การส่งออกที่ฟื้นตัว และแรงกระตุ้นจากการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนบริหารจัดการน�้ำที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการลงทุนในโครงสร้าง พื้นฐานของรัฐที่คาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น มาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9-3.9) ตามแนวโน้มรายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่อยู่ในระดับสูง ส่วนหนึง่ เป็นผลของการปรับเพิม่ ค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ เป็น 300 บาท และสถานการณ์การจ้างงานทีย่ งั อยูใ่ นเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการ ว่างงานที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต�่ำ นอกจากนี้ ภาวะการเงินโดยรวมที่ผ่อนคลาย สะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะยังอยู่ใน ระดับต�่ำจะยังคงเอื้อต่อการใช้จ่ายของภาคเอกชน เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ชัดเจนขึ้น โดยจะขยายตัวร้อยละ 9.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 8.5-10.5) จากปัจจัยสนับสนุนส�ำคัญ อาทิ ความจ�ำเป็นในการลงทุน ปรับโครงสร้างการผลิตเพือ่ รองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และมูลค่าการขอรับและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนของส�ำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ส�ำหรับการใช้จ่ายภาครัฐคาดว่าจะยังคงเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ จะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 4.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.3-5.3) และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.4 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 12.4-14.4) จากการใช้จา่ ยนอกงบประมาณที่ มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2557 โดยเฉพาะเม็ดเงินจากการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการบริหารจัดการน�้ำที่คาดว่า จะเพิม่ ขึน้ และการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานของรัฐทีค่ าดว่าจะเริม่ เบิกจ่ายได้ตงั้ แต่ปี 2557 เป็นต้น ไป ส�ำหรับอุปสงค์ภายนอกประเทศนั้นคาดว่า การส่งออกสินค้าและบริการจะเติบโตในอัตราเร่งขึ้นจากปีก่อนมาขยายตัวที่ ร้อยละ 8.6 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 7.6-9.6) เนือ่ งจากคาดว่าการส่งออกสินค้าจะได้รบั อานิสงส์จากการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจ โลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการจ้างงานที่เพิม่ ขึ้น และเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มขยายตัว เร่งขึ้นโดยได้รับอานิสงส์จากนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังอยู่ในช่วงของการปรับตัวต่อเสถียรภาพใน ระบบการเงินก็ตาม ขณะที่การส่งออกด้านบริการคาดว่าจะขยายตัวตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ส่วนปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 7.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 6.6-8.6) สอดคล้องกับแนวโน้มการใช้จ่ายภาคเอกชนที่คาดว่าจะเร่งขึ้น และการฟื้นตัวของภาคการส่งออก นอกจากนี้ จะยังได้รับแรงสนับสนุนจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐอีกด้วย 2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปในปี 2557 จะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.8 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 2.3-3.3) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า อันเป็นผลจากการเร่งขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ และแรงกดดันด้านต้นทุนที่ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สอดคล้องกับอุปสงค์โลกที่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเป็นส�ำคัญ ในส่วนของอัตราการว่างงาน คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต�่ำ ที่ร้อยละ 0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.6-0.8 ของก�ำลังแรงงานรวม) ส�ำหรับเสถียรภาพภายนอก ประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลเพียงเล็กน้อยที่ 0.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.0 ของ GDP (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ -0.5 ถึง 0.5 ของ GDP) เนือ่ งจากดุลการค้าทีค่ าดว่าจะเกินดุลลดลงมาอยูท่ ี่ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 0.5-2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้าน�ำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้า ส่งออก

6


Executive Summary

Thailand’s Economic Projection for 2013 and 2014 (As of September 2013) Thailand’s Economic Outlook Projection 2013 and 2014 The Thai economy in 2013 is projected to grow at 3.5-4.0 percent. The Fiscal Policy Office (FPO), Ministry of Finance, announced Thailand’s economic projections as of September 2013 stating that “the Thai economy in 2013 is projected to grow not less than an annualized rate of 3.5 percent and will expand at an annualized rate of 4.0 percent if the budget disbursement in the first quarter of fiscal year 2014 (October-December 2013) follows the economic plan of measures for the promotion of sustainable economic growth. The slowdown in economic growth partly comes from lower-than-expected economic growth in the first half of the year, especially private consumption and investment that grew more slowly after having sharply accelerated in the previous year. Public investment is expected to be the main driver for continuing growth of the Thai economy this year, according to the budget disbursement of the central government and state enterprises’ on-going investment. Exports of goods and services are anticipated to grow at a faster pace compared to last year, mainly from exports of services that expand with an increase in the number of foreign tourists visiting Thailand. With regard to internal stability, headline inflation in 2013 is anticipated to be 2.3 percent (or within a range of 1.8-2.8 percent), lower than that of the previous year, due to lower private demand and declining prices of world crude oil and commodity products as a result of lower global demand. For 2014, the Fiscal Policy Office anticipates that the economic growth is likely to continuously expand at the rate of 5.1 percent (or within a range of 4.6-5.6 percent), benefiting from the economic recovery of Thailand’s major trading counterparts which will help supporting the growth of exports of goods and services. Moreover, the positive employment situation together with low interest rates from the supportive monetary policy will help support private consumption and investment to continue to expand. Government expenditure will play an important role in driving the economy, especially from the higher disbursements of the water resource management plan and the disbursements of the infrastructure investment plan, which will begin from 2014 onwards. With regard to internal stability, headline inflation in 2014 is anticipated to be 2.8 percent (or within a range of 2.3-3.3 percent), due to higher private demand and increasing prices of world crude oil from the global economic recovery.”

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

7


Major Assumptions and Economic Projections of 2013 and 2014 (As of Sep 2013) 2012 Major Assumptions Exogenous Variables 1) Average Economic Growth Rate of Major Trading Partners 3.4 (percent y-o-y) 2) Dubai Crude Oil Price (U.S. dollar per Barrel) 109.1 3) Export prices in U.S. dollar (percent y-o-y) 0.6 4) Import prices in U.S. dollar (percent y-o-y) 5.9 Policy Variables 5) Exchange Rate (Baht per U.S. dollar) 31.1 6) Repurchase Rate (Policy Rate) at year-end (percent y-o-y) 2.75 7) Fiscal-Year Public Expenditure (Trillion Baht) 2.89 Projections 1) Economic Growth Rate (percent y-o-y) 6.5 2) Real Consumption Growth (percent y-o-y) 6.8 - Real Private Consumption 6.7 - Real Public Consumption 7.5 3) Real Investment Growth (percent y-o-y) 13.2 - Real Private Investment 14.4 - Real Public Investment 8.9 4) Export Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 3.1 5) Import Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 6.2 6) Trade Balance (billion U.S. dollar) 6.0 - Export Value of Goods in U.S. dollar (percent y-o-y) 3.1 - Import Value of Goods in U.S. dollar (percent y-o-y) 8.8 7) Current Account (billion U.S. dollar) -1.5 - Percentage of GDP -0.4 8) Headline Inflation (percent y-o-y) 3.0 Core Inflation (percent y-o-y) 2.1 9) Unemployment Rate (percentage of total labor force) 0.7 f = forecast by Fiscal Policy Office, Ministry of Finance, Thailand, Tel. 0 2273 9020

8

2013 f 2014 f (As of Sep 13) (As of Sep 13) Average Range Average Range

3.3

3.1-3.6

3.8

3.3-4.3

106.0 103.5-108.5 107.0 102.0-112.0 0.0 (-0.5)-(0.5) 0.5 (-0.5)-(1.5) -2.0 (-2.5)-(-1.5) 0.5 (-0.5)-(1.5) 30.6 2.50 3.15

30.1-31.1 31.0 2.25-2.75 2.50 3.14-3.16 3.47

30.0-32.0 2.00-3.00 3.46-3.48

3.7 2.3 2.1 2.7 4.4 2.3 12.3 5.6 4.7 4.9 1.8 2.2 1.3 0.3 2.3 1.1 0.7

3.5-4.0 5.1 4.6-5.6 2.1-2.6 3.6 3.1-4.1 1.9-2.4 3.4 2.9-3.9 2.5-3.0 4.8 4.3-5.3 9.3-11.3 3.9-4.9 10.3 1.8-2.8 9.5 8.5-10.5 11.8-12.8 13.4 12.4-14.4 5.1-6.1 8.6 7.6-9.6 4.2-5.2 7.6 6.6-8.6 4.4-5.4 1.5 0.5-2.5 1.3-2.3 7.5 6.5-8.5 1.7-2.7 9.3 8.3-10.3 0.3-2.3 0.1 (-1.9)-(2.1) 0.1-0.6 0.0 (-0.5)-(0.5) 2.1-2.6 2.8 2.3-3.3 0.9-1.4 1.5 1.0-2.0 0.6-0.8 0.7 0.6-0.8


1. Thailand’s Economic Projections for 2013 and 2014 1.1 Economic Growth The Thai economy in 2013 is projected to expand not less than an annualized rate of 3.5 percent and will grow at an annualized rate of 4.0 percent if the budget disbursement in the first quarter of fiscal year 2014 (OctoberDecember 2013) follows the economic plan of measures for the promotion of sustainable economic growth. The slowdown in economic growth partly comes from lower-than-expected economic growth in the first half of the year (even though such a growth rate is greater than that of the first half of the previous year). Growth in private consumption is expected to slow to a rate of 2.1 percent (or within a range of 1.9-2.4 percent) while growth in private investment is also anticipated to slow to a rate of 2.3 percent (or within a range of 1.8-2.8 percent). This partly comes off of sharply accelerated investment for flooding damages during last year. Investment for construction is expected to continuously expand, as reflected in the recent increase in cement sales. Public expenditure is expected to be the main driver for the continuing growth of the Thai economy this year. Public consumption is expected to increase at a rate of 2.7 percent (or within the range of 2.5-3.0 percent) while public investment will rise at a high rate of 12.3 percent (or within the range of 11.8-12.8 percent) following the budget disbursement of the central government and state enterprises’ on-going investment, although the water resource management investment plan is delayed for public hearings according to the order of the administrative court. For external demand, the quantity of exports of goods and services are anticipated to grow at a faster pace compared to last year at a rate of 5.6 percent (or within a range of 5.1-6.1 percent), mainly from exports of services that expand with an increase in the number of foreign tourists visiting Thailand, especially from China and Russia. Nevertheless, the value of exports of goods is expected to decelerate from the slow global economic recovery which affects the demand for Thai exports. In addition, a shortage in shrimp due to Early Mortality Syndrome or EMS has led to much lower exports of frozen seafood. The quantity of imports of goods and services is expected to grow at a rate of 4.7 percent (or within a range 4.2-5.2), a bit lower than that in the previous year, in line with the decelerated expansion of domestic demand, both consumption and investment. 1.2 Economic Stability With regard to internal stability, headline inflation in 2013 is anticipated to be 2.3 percent (or within a range of 2.0-2.5 percent), lower than that of the previous year, due to lower private demand and declining prices of world crude oil and commodity products according to slow global economic recovery and the public control of retail petroleum prices. Unemployment is expected to be 0.7 percent of the total labor force (or within a range of 0.6-0.8 percent). On external stability, the current account in 2013 is projected to record a small surplus of USD 1.3 billion, accounting for 0.3 percent of GDP (or within a range of 0.1-0.6 percent of GDP) as the estimated trade balance surplus is expected to drop slightly to USD 4.9 billion (or within a range of USD 4.4-5.4 billion). This is partially explained by accelerated import growth which is higher than export growth. Nevertheless, the services balance is expected to gain more surpluses following the continuously increasing number of foreign tourists.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

9


2. Thai Economy in 2014 2.1 Economic Growth The Thai economy in 2014 is projected to continue to expand at an annualized rate of 5.1 percent (or within a range of 4.6-5.6 percent). The acceleration of economic growth in 2014 will mainly be driven by private consumption expansion, export revival, and substantial investment by the government sector. It is anticipated that the disbursement rate for the water resource management investment plan will be augmented, while the disbursement of the infrastructure investment plan will begin in 2014. Private consumption is projected to expand faster at a rate of 3.4 percent (or within a range of 2.9-3.9 percent), because of higher household non-farm income, partly due to the higher 300 baht minimum wage and positive employment situation and very low unemployment rate. Furthermore, the low interest rate from the supportive monetary policy will help support private consumption and investment to continue to expand. Private investment is forecasted to rebound and expand at a rate of 9.5 percent (or within a range of 8.510.5 percent). Other factors that could support the expansion of private investment include the necessity to invest in production restructuring in order to cope with the labor mismatch problem as well as more investment privilege schemes offered by the Board of Investment that will continue to create incentives for foreign investors to invest in Thailand. In 2014, government spending will continue to be the key growth driver for the Thai economy. Government consumption is forecasted to grow at a rate of 4.8 percent (or within a range of 4.3-5.3 percent), while government investment is projected to expand at 13.4 percent (or within a range of 12.4-14.4 percent). The disbursement rate of the water management investment plan is anticipated to be expedited and it is highly likely that the disbursement of the infrastructure investment plan will be able to begin in 2014. In terms of international trade, it is anticipated that exports of goods and services will recover and grow faster than those in 2013, from the global economic recovery, especially Thailand’s main trading partners, including the US from its higher employment and Japan from its government’s recent economic policies, although there is a slowdown in the Chinese economy. Moreover, the outlook for the tourism sector remains particularly positive. Therefore, the quantity of exports of goods and services is projected to expand at a rate of 8.6 (or within a range of 7.6-9.6 percent). The quantity of import of goods and services is projected to expand at an accelerated rate of 7.6 percent (or within a range of 6.6-8.6 percent) as a result of private consumption expansion, revival of the export sector, and the large government investment projects. 2.2 Economic Stability With regard to internal stability, headline inflation in 2014 is anticipated to be 2.8 percent (or within a range of 2.3-3.3 percent), higher than that of the previous year, due to higher private demand and increasing prices of world crude oil and commodity products from higher external demand from the global economic recovery, especially from the US and Japan. Unemployment is expected to be 0.7 percent of the total labor force (or within a range of 0.6-0.8 percent). On external stability, the current account in 2014 is projected to record a small surplus of USD 0.1 billion, accounting for 0.0 percent of GDP (or within a range of -0.5 to 0.5 percent of GDP) as the estimated trade balance surplus drops slightly to USD 1.5 billion (or within a range of USD 0.5-2.5 billion). This is partially explained by accelerated import growth being higher than export growth.

10


ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 (ณ เดือนกันยายน 2556) ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2556 จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 (โดยมีช่วง คาดการณ์ร้อยละ 3.5-4.0) ขณะที่อัตราการขยายตัวปี 2557 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 5.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.6-5.6) โดยมีการปรับปรุงข้อมูลและสมมติฐานที่ส�ำคัญ ดังนี้

ปรับฐานข้อมูลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 ตามที่ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2556 ❍❍

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจมหภาคในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลงจากปี ก่อน สะท้อนจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการหดตัวของอุตสาหกรรมส�ำคัญ อาทิ อุตสาหกรรมในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สอดคล้องกับภาคเกษตรกรรมที่หดตัว ลงเช่นกันทีร่ อ้ ยละ 0.8 ตามการหดตัวข้าวนาปรังเป็นส�ำคัญ ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากการจ�ำกัดการผลิต เนือ่ งจากความกังวลจาก สถานการณ์ภัยแล้งในปีเพาะปลูก 2556 ขณะที่ผลผลิตยางพาราและปาล์มน�้ำมันยังขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ดี ด้านภาคบริการ ยังคงขยายตัวในระดับสูง และมีบทบาทส�ำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนจาก จ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส�ำหรับด้านการใช้จ่ายพบว่า เครือ่ งชีก้ ารบริโภคและการลงทุนส่งสัญญาณขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีกอ่ นเช่นกัน สาเหตุสว่ นหนึง่ มาจากรายได้ภาคครัวเรือน ที่ชะลอลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากรายได้ภาคเกษตรจากราคาสินค้าเกษตรบางรายการโดยเฉพาะราคายางพารา ที่ปรับตัวลดลงจากปีก่อน ในขณะที่การส่งออกสินค้าส่งสัญญาณขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน สอดคล้องกับการน�ำเข้าสินค้าและบริการยังคงขยายตัวต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 3.1 ตามการเพิม่ ขึน้ ของการน�ำเข้าในหมวดสินค้า อุปโภคบริโภคเป็นส�ำคัญ ทั้งนี้ การขยายตัวของการน�ำเข้าที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับการขยายตัวของการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้า ตามระบบกรมศุลกากรในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 ขาดดุลที่ระดับ 18.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ❍❍

การเปลี่ยนแปลงสมมติฐานที่ส�ำคัญ ได้แก่ (1) อัตราการขยายตัวของ 14 ประเทศคู่ค้า ในปี 2556 สศค. ประมาณการการขยายตัวของ 14 ประเทศคู่ค้าอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ปรับตัวลดลงจากการประมาณการครั้งก่อน สาเหตุหลักมาจาก การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนเป็นส�ำคัญ ส่งผลให้ประเทศคูค่ า้ หลักอืน่ ๆ ทีค่ า้ ขายกับจีนชะลอลงตามไปด้วย ขณะทีใ่ นปี 2557 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 (2) ก�ำหนดสมมติฐานราคาน�้ำมันดิบดูไบในปี 2556 อยู่ที่ 106.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อ บาร์เรล และในปี 2557 อยู่ที่ 107.0 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก (3) ปรับสมมติฐานราคาส่งออกและราคาน�ำเข้าในปี 2556 และในปี 2557 ให้ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 0.0 และร้อยละ 0.5 ตามล�ำดับ ตามการลดลงของราคาสินค้าเกษตรส�ำคัญ โดยเฉพาะราคา ยางพาราและการน�ำเข้าในปี 2556 และปี 2557 ให้อยูท่ รี่ อ้ ยละ -2.0 และร้อยละ 0.5 ตามล�ำดับ ตามราคาน�ำเข้าลดลงจากสินค้า วัตถุดิบและสินค้าเชื้อเพลิงเป็นส�ำคัญ (4) ปรับสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 และปี 2557 ให้อยู่ ที่ 30.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และ 31.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (5) ก�ำหนดสมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2556 และใน ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงอยู่ในระดับเดิมเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยูใ่ นระดับต�ำ่ แต่มโี อกาสทีจ่ ะเพิม่ ขึน้ ได้ในปี 2557 หากมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อ หรือจากสภาพ คล่องในระบบทีอ่ าจจะลดลง และ (6) รายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2556 (ตัง้ แต่เดือนตุลาคม 2555-กันยายน 2556) คาดว่าจะอยู่ที่ 3.1 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 8.7 จากปีก่อน และในปีงบประมาณ 2557 คาดว่าจะมีจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น 3.5 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 10.2 ต่อปี โดยมีรายละเอียดสมมติฐานและผลการประมาณการ ดังนี้ ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

11


สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2556 และปี 2557 1. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ 14 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย “สศค.คาดว่า ในปี 2556 เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศจะขยายตัวร้อยละ 3.3 ชะลอลงเล็กน้อยจากปี 2555 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 3.4 จากการทีเ่ ศรษฐกิจของประเทศหลักโดยเฉพาะจีนขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอลงและสหภาพ ยุโรปยังคงหดตัวต่อเนื่อง แม้ว่าจะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นก็ตาม ทั้งนี้ สศค.คาดว่า ในปี 2557 เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยจะขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจากปี 2556 โดยขยายตัว ที่ร้อยละ 3.8 จากเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น จากทั้งวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่คาดว่าจะคลี่คลาย มากขึน้ โดยยุโรปมีแนวโน้มทีจ่ ะกลับมาขยายตัวเป็นบวกในปี 2557 ประกอบกับปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่นที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง” ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศ (ร้อยละ) ประเทศคู่ค้าหลัก เรียงตามสัดส่วนมูลค่า ส่งออกปี 2555

2553 2554

14 ประเทศคู่ค้า (75.1%) 6.3 1. จีน (11.7%) 10.4 2. ญี่ปุ่น (10.2%) 4.7 3. สหรัฐอเมริกา (9.9%) 2.5 4. สหภาพยุโรป (6.6%) 1.9 5. ฮ่องกง (5.7%) 6.8 6. มาเลเซีย (5.4%) 7.4 7. ออสเตรเลีย (4.9%) 2.6 8. อินโดนีเซีย (4.9%) 6.2 9. สิงคโปร์ (4.7%) 14.8 10. เวียดนาม (2.9%) 6.8 11. อินเดีย (2.4%) 9.7 12. ฟิลิปปินส์ (2.1%) 7.6 13. เกาหลีใต้ (2.1%) 6.3 14. ไต้หวัน (1.5%) 10.8

3.9 9.3 -0.6 1.8 1.6 4.9 5.1 2.4 6.5 5.2 6.0 7.5 3.6 3.7 4.1

2555 3.4 7.8 2.0 2.8 -0.6 1.5 5.6 3.7 6.2 1.3 5.0 5.1 6.8 2.0 1.3

2555

2556

Q1

Q2

Q3

Q4

Q1

Q2

3.7 8.1 3.4 3.3 -0.2 0.7 5.1 4.4 6.3 1.5 4.1 5.1 6.5 2.8 0.6

3.7 7.6 3.8 2.8 -0.5 0.9 5.6 4.1 6.4 2.3 4.7 5.4 6.3 2.4 -0.1

3.0 7.4 0.3 3.1 -0.7 1.5 5.3 3.2 6.2 0.0 5.4 5.2 7.3 1.6 0.7

3.2 7.9 0.4 2.0 -1.0 2.8 6.5 3.1 6.1 1.5 5.0 4.7 7.1 1.5 4.0

2.8 7.7 0.3 1.3 -1.0 2.9 4.1 2.4 6.0 0.2 4.9 4.8 7.7 1.5 1.6

2.3 7.5 1.2 1.6 -0.5 3.3 4.3 2.6 5.8 3.8 4.9 4.4 7.5 2.3 2.5

ทั้งปี ทั้งปี 2556 f 2557 f 3.3 7.6 1.9 2.0 -0.5 3.1 4.7 2.6 5.6 2.1 5.0 4.6 5.5 2.0 2.0

3.8 7.5 1.3 2.4 0.8 4.1 5.0 3.0 6.0 5.1 5.3 5.0 5.5 3.5 3.2

ที่มา : รวบรวมและประมาณการโดย สศค.

1.1 เศรษฐกิจจีน (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 1 ของไทย สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 11.7 ของมูลค่าส่งออกสินค้า รวมปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวใน อัตราที่ชะลอลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.7 ท�ำให้การขยายตัวครึ่งปีแรกอยู่ที่ร้อยละ 7.6 ซึ่งยังคงอยู่ใน ระดับใกล้เคียงกับเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปี 2556 ที่ร้อยละ 7.5 โดยเศรษฐกิจที่ขยายตัวชะลอลงเป็นผลจากการ ค้าระหว่างประเทศและการลงทุนที่ชะลอตัวลง ขณะที่การบริโภคภายในประเทศขยายตัวต่อเนื่องในอัตราที่ไม่สูงนัก นอกจากนี้ ในส่วนของเศรษฐกิจด้านอุปทาน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวในระดับต�่ำต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ที่ร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านเสถียรภาพภายในประเทศพบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ทรงตัวในระดับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

12


ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน (ร้อยละ)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ปี 2556 (เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2556) เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้ม

ขยายตั ว ได้ ดี ขึ้ น หากเที ย บกั บ ไตรมาสก่ อ น โดยภาคการผลิ ต และภาคการค้ า ระหว่ า งประเทศเริ่ ม ส่ ง สั ญ ญาณ ฟืน้ ตัว ในขณะทีก่ ารบริโภคสามารถขยายตัวได้ตอ่ เนือ่ ง โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 10.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นต่อเนื่องจากเดือนกรกฎาคมและขยายตัวในอัตราสูงสุดตั้งแต่ต้นปี 2556 สอดคล้องกับ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมที่จัดท�ำโดย HSBC ในเดือนสิงหาคมที่อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด ซึ่งกลับมาอยู่เหนือระดับ 50 จุด เป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน บ่งชี้การกลับมาฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม และการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2 เดือน แรกของไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 3.7 เนือ่ งจาก อุปสงค์ของประเทศคูค่ า้ ส�ำคัญทีเ่ พิม่ ขึน้ นอกจากนี้ ด้านการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ตอ่ เนือ่ ง สะท้อนจากยอดค้าปลีก ทีข่ ยายตัวต่อเนือ่ ง โดยในเดือนสิงหาคม 2556 ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 13.4 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ชะลอลงเมือ่ เทียบกับการขยาย ตัวในปี 2555 ที่ร้อยละ 14.2 การลงทุนในสินทรัพย์คงทนยังคงขยายตัวได้ดีเช่นเดียวกัน โดยในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 20.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับที่ชะลอลงเล็กน้อยหากเทียบกับช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2556 ด้านเสถียรภาพภายในประเทศพบว่า ในเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม 2556 อัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปอยู่ทรี่ ะดับเฉลี่ยร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากราคาอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 7.6 ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 เนื่องจากจีนให้ความส�ำคัญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การลดความเหลื่อมล�้ำด้านรายได้ของประชากร และการเพิม่ การลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานโดยเฉพาะด้านคมนาคมและการส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว โดยมีการตัง้ เป้าหมายอัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2556 ไว้ที่ร้อยละ 7.5 และการส่งออกที่ร้อยละ 8.0 ต่อปี ➥➥ ในปี 2557 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 ชะลอลงเล็กน้อยจากปี 2556 ที่คาดการณ์ว่า จะขยายตัวที่ร้อยละ 7.6 เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี Li Keqiang ได้มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เพือ่ การขยายตัวและการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ผ่านการด�ำเนินนโยบายทีจ่ ะหลีกเลีย่ งการกระตุน้ เศรษฐกิจอย่างรุนแรง (No Drastic Stimulus) การลดการพึ่งพาการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการปล่อยสินเชื่อ (Deleveraging) และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และระบบการเงิน (Structural Reform) ซึง่ รัฐบาลพร้อมจะรับกับผลข้างเคียงทีอ่ าจหมายถึงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทีไ่ ม่ สูงมากหากเทียบกับทศวรรษทีผ่ า่ นมา แต่ตอ้ งยังคงรักษาระดับได้สงู กว่าร้อยละ 7.5 นอกจากนี้ ทางการจีนได้ประกาศเป้าหมาย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจส�ำหรับทัง้ ทศวรรษนี้ (ปี 2553-2563) ไว้ทรี่ อ้ ยละ 7.0 ลดลงจากร้อยละ 10.0 ในทศวรรษก่อนหน้า โดยได้ตงั้ เป้าหมายทีร่ อ้ ยละ 7.0 ต่อเนือ่ งเพือ่ ให้รายได้ประชาชาติตอ่ หัวของชาวจีนในปี 2563 เพิม่ เป็นสองเท่าจากระดับในปี 2553

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

13


1.2 เศรษฐกิจญี่ปุ่น (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.2 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจญีป ่ นุ่ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวเร่งขึน้ มาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 1.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน หรือเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อน (%qoq_sa) ส่งผลให้ครึ่งแรกปี 2556 เศรษฐกิจ ญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูง นับตั้งแต่ ไตรมาสที่ 2 ปี 2555 เป็นส�ำคัญ โดยการลงทุนภาครัฐในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 12.8 ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อ การบริโภคของภาคเอกชนยังคงขยายตัวในระดับต�่ำต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพที่ 2 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (ร้อยละ)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 ลดลงอย่างต่อเนือ่ งมาอยูท่ เี่ ฉลีย่ ร้อยละ 4.0 ของก�ำลังแรงงานรวม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ด้าน ภาวะเงินฝืดของญีป่ นุ่ เริม่ ปรับตัวดีขนึ้ ต่อเนือ่ งส่วนหนึง่ เป็นผลจากมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจญีป่ นุ่ ด้านต่าง ๆ เป็นส�ำคัญ สะท้อน จากอัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นเดือนกรกฎาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับว่าตัวเลขดังกล่าวกลับมาในแดน บวก 2 เดือนติดต่อกัน ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่ต�่ำที่ช่วงร้อยละ 0.0-0.1 เพื่อสนับสนุน การลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศให้ฟื้นตัวต่อเนื่อง ➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ปี 2556 (เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2556) เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีทิศทาง การฟื ้ น ตั ว อย่ า งค่อ ยเป็นค่อ ยไปจากภาคการค้ า ระหว่ า งประเทศที่ ป รั บ ตั ว ดี ขึ้ น ผนวกกั บ ความเสี่ ย งจากภาวะ เงินฝืดทีเ่ ริม่ คลีค่ ลายลง บ่งชีจ้ ากดัชนีผจู้ ดั การฝ่ายจัดซือ้ ภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2556 เฉลีย่ อยูท่ รี่ ะดับ 51.5 จุด ซึ่งอยู่เกินกว่าระดับ 50 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 จากดัชนีค�ำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ อันดับส�ำคัญ สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม 2556 ขยายตัวเฉลีย่ ร้อยละ 13.4 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ทัง้ นี้ อุปสงค์ในประเทศยังมีแนวโน้มการฟืน้ ตัวทีไ่ ม่ชดั เจน จากยอดค้าปลีกในเดือนกรกฎาคม 2556 ยังคงหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม การหดตัวของตัวเลขดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่ชะลอลง ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจญีป ่ นุ่ จะขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 1.9 ต่อปี หรือในช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 1.4-2.4 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 ทั้งนี้ แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ (ABENOMICS) ของรัฐบาล ญีป่ นุ่ ผ่านการกระตุน้ การใช้จา่ ยภาครัฐ ประกอบด้วยแผนการลงทุน 4 แผนใหญ่ ดังนี้ (1) การซ่อมแซมส่วนทีเ่ สียหายและป้องกัน ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (2) การลงทุนร่วมกับภาคเอกชนและสนับสนุนธุรกิจรายย่อยภายในประเทศ เพื่อเสริมสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ (3) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่น และ (4) มาตรการสาธารณประโยชน์ ต่าง ๆ และนโยบายค่าเงินเยนอ่อน จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวได้ต่อเนื่องในระยะต่อไป

14


➥➥ ในปี 2557 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอ

ลงจากปี 2556 ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 จากความเสี่ยงจากปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะประเด็นปัญหาสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อันอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ในระยะยาว ซึ่งถือเป็นความท้าทายส�ำคัญของทางการญี่ปุ่นในระยะต่อไป นอกจากนี้ ประเด็นส�ำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป้าหมายการลด การขาดดุลงบประมาณ และเข้าสู่งบประมาณแบบสมดุลของญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2563 ซึ่งควรติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป โดยเฉพาะ ในส่วนของขั้นตอนการด�ำเนินการและการบรรลุตามเป้าหมายข้างต้น 1.3 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 3 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.9 ของมูลค่า ส่งออกสินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอุปสงค์ในประเทศเป็นส�ำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.6 เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 ท�ำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ส�ำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา (Bureau of Economic Analysis) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ รวบรวมตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ประกาศปรับวิธกี ารค�ำนวณ GDP สหรัฐอเมริกา เมือ่ วันที่ 31 กรกฎาคม 2556 โดยมี การปรับนิยามของค่าใช้จา่ ยวิจยั และพัฒนามูลค่าของธุรกิจบันเทิง ตลอดจนปรับมูลค่าของทรัพย์สนิ ทางปัญญาและมูลค่าเพิม่ ใน การบริการของธนาคารพาณิชย์ จึงท�ำให้อตั ราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ในปี 2555 ตามนิยามใหม่ ปรับสูงขึน้ เป็น ร้อยละ 2.8 จากเดิมร้อยละ 2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2556 อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.6 ของก�ำลังแรงงานรวม แต่ยังคงสูงกว่าระดับก่อนวิกฤติเศรษฐกิจที่ประมาณ ร้อยละ 5.0 ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ที่อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ภาพที่ 3 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)

ที่มา : CEIC ค�ำนวณโดย สศค.

➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ปี 2555 (เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2555) เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

มีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง ทั้งด้านอุปสงค์และด้านอุปทาน โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐอเมริกา เดือน กรกฎาคม-สิงหาคม 2556 เพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ถึง 273,000 ต�ำแหน่ง และอัตราการว่างงานลดลงต่อเนื่อง มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.3 ของก�ำลังแรงงานรวม เป็นสัญญาณว่าภาคการจ้างงานเริ่มฟื้นตัวแล้ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริโภคภาค เอกชนต่อไป สอดคล้องกับยอดค้าปลีกของสหรัฐอเมริกา ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2556 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 และยอดจ�ำหน่ายบ้าน (Existing Home Sales) ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2556 มีจ�ำนวน 1.045 ล้านหลัง หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ในด้านอุปทานพบว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในเดือนสิงหาคม ประมาณการเศรษฐกิจไทย

15


2556 อยู่ที่ระดับ 55.7 จุด และ 58.6 จุด ตามล�ำดับ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี และ 7 ปี ตามล�ำดับ บ่งชี้ว่าภาคการผลิต สหรัฐอเมริกากลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่เพื่อตอบรับอุปสงค์ในประเทศที่มีการฟื้นตัวเช่นเดียวกัน ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.5-2.5 ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 โดยที่ผ่านมาในปี 2555-2556 เศรษฐกิจภายในของสหรัฐอเมริกามี สัญญาณการฟืน้ ตัวอย่างต่อเนือ่ ง ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการทางการเงิน แบบผ่อนคลายเพิ่มเติมเป็นระลอกที่ 3 (Quantitative Easing 3 : QE3) และระลอกที่ 4 (Quantitative Easing 4 : QE4) ในช่วง ปลายปี 2555 ที่ท�ำให้มีสภาพคล่องเพิ่มเติมเข้าสู่ระบบเดือนละ 85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม คาดว่าธนาคารกลาง สหรัฐอเมริกาจะด�ำเนินการลดขนาดมาตรการ QE3 และ QE4 ดังกล่าวภายในปี 2556 นี้ ซึง่ อาจท�ำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาชะลอตัวลงเล็กน้อย ประกอบกับปัจจัยฐานสูงในปีกอ่ นหน้า อย่างไรก็ตาม คาดว่านวัตกรรมใหม่และสินค้าเทคโนโลยี ต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาที่จะทยอยออกสู่ตลาดในช่วงที่เหลือของปี 2556 จะเป็นส่วนช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวได้ ต่อเนื่อง ตามการปรับวิธีการคิด GDP แบบใหม่ที่ให้ความส�ำคัญกับทรัพย์สินทางปัญญาและการวิจัยและพัฒนามากขึ้น ➥➥ ในปี 2557 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.9-2.9 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 โดยคาดว่าในปี 2557 เศรษฐกิจภายในของสหรัฐอเมริกา จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งเป็น หัวใจหลักของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา อีกทั้งมาตรการทางการเงินที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต�่ำที่ร้อยละ 0-0.25 ต่อปี ต่อเนื่องจนถึงกลางปี 2558 เป็นอย่างน้อย ปัจจัยเหล่านี้จะเอื้อให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวได้ดี 1.4 เศรษฐกิจสหภาพยุโรป 17 ประเทศ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 4 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 6.5 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 หดตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากเทียบ กับไตรมาสก่อนหน้า หลังจากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วกลับมาขยายตัวเป็นครัง้ แรกในรอบ 7 ไตรมาส ทีร่ อ้ ยละ 0.3 จาก ไตรมาสก่อน จากวิกฤติหนี้สาธารณะที่เริ่มคลี่คลาย โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.6 และ ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ ในขณะที่การบริโภคภาครัฐและการส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.3 และ ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ อย่างไรก็ตาม ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราการว่างงานโดย เฉลี่ยในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับที่สูงถึงร้อยละ 12.1 ของก�ำลังแรงงานรวม ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ลดลงจากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากราคาน�้ำมัน ในตลาดโลกและราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ลดลงเป็นส�ำคัญ ภาพที่ 4 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา : European Central Bank

16


➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ปี 2556 (เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2556) เศรษฐกิจยูโรโซนเริ่มส่ง

สัญญาณการฟืน้ ตัวทีช่ ดั เจนมากขึน้ สะท้อนจากดัชนีผจู้ ดั การฝ่ายจัดซือ้ ภาคการผลิตและภาคบริการในช่วงเดือนกรกฎาคมสิงหาคม 2556 ที่กลับมาเพิ่มสูงกว่าระดับ 50.0 จุด มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 50.8 จุด และ 50.2 จุด ตามล�ำดับ เป็นผลจากวิกฤติหนี้ สาธารณะที่เริ่มบรรเทาลง ขณะทีย่ อดการส่งออกเดือนกรกฎาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ อุปสงค์ในประเทศส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนสิงหาคมที่เพิ่มขึ้น ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ -15.6 จุด อีกทั้งยอดค้าปลีกกลับมาขยายตัว โดยในเดือนกรกฎาคม 2556 ขยายตัว ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนจะหดตัวที่ร้อยละ 0.5 หรือในช่วงคาดการณ์ ทีร่ อ้ ยละ -1.0 ถึง 0.0 หดตัวชะลอลงจากปีกอ่ นหน้าทีห่ ดตัวร้อยละ -0.6 โดยคาดว่าในปี 2556 เศรษฐกิจของกลุม่ ยูโรโซนจะ ฟืน้ ตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะเศรษฐกิจในกลุม่ ประเทศหลักอย่างประเทศเยอรมนีซงึ่ มีทศิ ทางขยายตัวทีช่ ดั เจนมากขึน้ อย่างไรก็ตาม ตลาดแรงงานทีย่ งั คงซบเซาและคาดว่ายังคงต้องใช้เวลาในการฟืน้ ตัว สะท้อนจากอัตราการว่างงานทีย่ งั คงทรงตัว อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยท้าทายส�ำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนในระยะต่อไป ➥➥ ในปี 2557 คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน หนึง่ จากปัจจัยฐานต�ำ่ กอปรกับวิกฤติหนีส้ าธารณะทีค่ าดว่าจะคลีค่ ลายต่อเนือ่ ง นอกจากนี้ ประเด็นด้านการเมืองทีม่ คี วามชัดเจน มากขึน้ ภายหลังการเลือกตัง้ ของประเทศส�ำคัญในกลุม่ ยูโรโซน โดยเฉพาะประเทศเยอรมนีเสร็จสิน้ โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นตัวแปร ส�ำคัญซึง่ สร้างความชัดเจนและมีความต่อเนือ่ งในการด�ำเนินนโยบายหรือมาตรการเพือ่ แก้ปญ ั หาวิกฤติหนีส้ าธารณะ ปัญหาด้าน เศรษฐกิจ รวมถึงประเด็นในภาคการเงินการธนาคารของกลุ่มประเทศยูโรโซน 1.5 เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.2 ของมูลค่าส่งออกรวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และฟิลิปปินส์) ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ส่วนใหญ่ขยายตัวในอัตราเร่ง (มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม) หรือชะลอลงเล็กน้อย (อินโดนีเซียและ ฟิลิปปินส์) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงแข็งแกร่งทั้งการบริโภคและการลงทุน ภาคเอกชน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการส่งออกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นตามแนวโน้ม เศรษฐกิจคู่ค้าส�ำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่เริ่มฟื้นตัว ด้านเสถียรภาพภายในประเทศของภูมิภาคอาเซียนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของประเทศ ส่วนใหญ่ในภูมภิ าคปรับตัวลดลง โดยมีสาเหตุหลักมาจากมาตรการควบคุมอัตราเงินเฟ้อของภาครัฐ ยกเว้นกรณีของอินโดนีเซีย ทีป่ ระสบปัญหาราคาสินค้าในหมวดอาหารและพลังงานทีเ่ พิม่ สูงขึน้ จากค่าเงินรูเปียห์ทอี่ อ่ นค่าลง ส่งผลให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อ เพิ่มสูงขึ้นมาก ตารางที่ 2 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ (สัดส่วนการส่งออก ปี 2555) (5.4%) (4.9%) (4.7%) (2.9%) (2.1%) อัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 4.3 5.8 3.8 5.0 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy) การบริโภคภาคเอกชน 3.6 2.8 1.0 n/a 3.6 การบริโภคภาครัฐ 1.3 0.2 0.8 n/a 2.0 การลงทุนรวม 1.7 1.2 -1.0 n/a 1.8 การส่งออกสุทธิ -3.3 2.0 1.2 n/a -2.0 การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง 1.0 -0.3 1.8 n/a 2.1 ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

17


ภาพที่ 5 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 6 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ปี 2556 (เดือน

กรกฎาคม–สิงหาคม 2556) ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน ยกเว้นประเทศอินโดนีเซีย ในด้านอุปสงค์ การบริโภคภายในประเทศของประเทศส่วนใหญ่ในภูมภิ าคมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึน้ จากไตรมาสก่อน ยกเว้นกรณี อินโดนีเซียที่ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย สะท้อนจากยอดค้าปลีก ขณะที่การส่งออกของประเทศส่วนใหญ่ขยายตัวเร่งขึ้น โดยเป็น ผลจากการฟืน้ ตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและญีป่ นุ่ เป็นส�ำคัญ อย่างไรก็ตาม การส่งออกของอินโดนีเซียยังคงหด ตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรัฐบาลอินโดนีเซียจ�ำกัดการส่งออกน�้ำมันดิบอย่างเข้มงวด เพื่อรองรับการใช้น�้ำมันภายในประเทศซึ่ง มีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ ท�ำให้การส่งออกน�ำ้ มันและการส่งออกรวมมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม จากการทีอ่ นิ โดนีเซียขาดดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนือ่ ง เป็นแรงกดดันให้คา่ เงินรูเปียห์ออ่ นค่าลงอย่างมาก ท�ำให้ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2556 รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศว่าจะผ่อนปรนการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติตา่ ง ๆ เพือ่ แก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้า และคาดหวัง ว่าจะส่งผลให้การส่งออกของอินโดนีเซียกลับมาขยายตัวได้ ทั้งนี้ ในส่วนของเศรษฐกิจด้านอุปทานมีลักษณะเช่นเดียวกับด้าน อุปสงค์ กล่าวคือ ภาคการผลิตของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน สะท้อนจากดัชนี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ส่วนใหญ่ขยายตัวเร่งขึ้น ยกเว้นกรณีของอินโดนีเซียที่มีแนวโน้มชะลอลง ด้านเสถียรภาพภายในประเทศ อัตราเงินเฟ้อของประเทศส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากมาตรการควบคุม อัตราเงินเฟ้อของภาครัฐ ยกเว้นเวียดนามและอินโดนีเซียที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นจากราคาน�้ำมันขายปลีกในประเทศที่สูง ขึ้น โดยในกรณีของอินโดนีเซีย รัฐบาลอินโดนีเซียได้ประกาศลดเงินอุดหนุนราคาน�้ำมันในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2556 ท�ำให้ ราคาสินค้าโดยรวมปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคม 2556 สูงถึงร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน และเป็นแรงกดดันให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่เดือนมิถุนายน–กันยายน 2556 ต่อเนือ่ ง 4 ครัง้ จากระดับร้อยละ 5.75 มาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 7.25 จึงควรต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอินโดนีเซียอย่างใกล้ชดิ ต่อไป ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนโดยรวมจะขยายตัวชะลอลงจากปี 2555 โดย สศค.คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.6 ในปี 2555 ชะลอลงจากปีก่อน ที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.2 จากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นคู่ค้าส�ำคัญของประเทศในภูมิภาคนี้ และประเด็ น ความผั น ผวนของเงิ น ทุ น เคลื่ อ นย้ า ย จากความเป็ น ไปได้ ที่ ธ นาคารกลางสหรั ฐ อเมริ ก าอาจประกาศลด ความเข้มข้นของมาตรการ QE ➥➥ ในปี 2557 คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุม ่ อาเซียนโดยรวมจะขยายตัวเฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ 5.3 ขยายตัว เร่งขึ้นจากปี 2556 จากปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ ส�ำหรับปัจจัยภายในประเทศ มาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่คาดว่าจะยังคงด�ำเนินอย่างต่อเนื่อง จะท�ำให้อุปสงค์ในประเทศของทั้ง 5 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ยังคงขยายตัวต่อเนื่องอย่างมีเสถียรภาพ ส�ำหรับปัจจัยภายนอกประเทศ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าส�ำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ยูโรโซน และญีป่ นุ่ ทีค่ าดว่าจะฟืน้ ตัวมากขึน้ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมภิ าคนีใ้ นปี 2557

18


1.6 เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลีย (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.6 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย (ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอินเดีย) และออสเตรเลีย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 โดยรวมมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่องในอัตราที่เร่งขึ้นเล็กน้อย ยกเว้นอินเดียที่ขยายตัว ในอัตราทีช่ ะลอลงเล็กน้อย ส�ำหรับประเทศทีเ่ ศรษฐกิจพึง่ พาการส่งออกเป็นหลัก ได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวัน มีอตั ราการ ขยายตัวในไตรมาสที่ 2 เร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้า แม้วา่ การชะลอลงของเศรษฐกิจโลกได้สง่ ผลให้อปุ สงค์ตอ่ ภาคการส่งออกลด ลง บ่งชีจ้ ากการส่งออกทีข่ ยายตัวชะลอลงของฮ่องกง คงตัวของไต้หวัน และขยายตัวเร่งขึน้ เล็กน้อยของเกาหลีใต้ ส�ำหรับประเทศ ทีเ่ ศรษฐกิจพึง่ พาการบริโภคภาคเอกชนเป็นหลัก ได้แก่ ออสเตรเลียมีอตั ราการขยายตัวในไตรมาสที่ 2 เร่งขึน้ เล็กน้อยจากไตรมาส ก่อนหน้า ในขณะที่อินเดียมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลง จากการบริโภคภายในประเทศที่ยังคงซบเซา ด้านเสถียรภาพภายใน ประเทศพบว่า โดยรวมอัตราเงินเฟ้อมีทศิ ทางปรับตัวลดลง ยกเว้นในกรณีของอินเดียทีอ่ ตั ราเงินเฟ้อยังคงอยูใ่ นระดับค่อนข้างสูง ตารางที่ 3 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ (สัดส่วนการส่งออก ปี 2555) อัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy) การบริโภคภาคเอกชน การบริโภคภาครัฐ การลงทุนรวม การส่งออกสุทธิ การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง

ฮ่องกง ออสเตรเลีย อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน (5.7%) (4.9%) (2.4%) (2.1%) (1.5%) 3.3

2.6

4.4

2.3

2.5

2.85 0.28 1.81 -0.51 -1.16

1.0 0.1 -0.6 1.8 0.0

2.2 1.2 -0.4 -0.6 0.0

0.9 0.6 0.7 1.0 -0.7

0.9 0.0 0.6 2.1 -1.1

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ปี 2556

(เดือนกรกฎาคม–สิงหาคม 2556) ขยายตัวต่อเนื่อง ส�ำหรับประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักมีอัตราการขยาย ตัวของการส่งออกต่อเนื่อง โดยเฉพาะฮ่องกงและเกาหลีใต้ จากสถานการณ์เศรษฐกิจคู่ค้าส�ำคัญทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้น ท�ำให้มีอุปสงค์ต่อการส่งออกเพิ่มขึ้น ส�ำหรับประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการบริโภคภาคเอกชนเป็นหลัก ทั้งออสเตรเลียและอินเดียยังคงมีความเปราะบาง ภาพที่ 7 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 8 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

19


➥➥ ในปี 2556 คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคูค ่ า้ อืน่ ๆ ในเอเชียและออสเตรเลีย ในภาพรวม

กลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักจะขยายตัวเร่งขึ้นจากปี 2555 จากปัจจัยฐานต�่ำในปี 2555 ในขณะที่กลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวชะลอลงจากปี 2555 ➥➥ ในปี 2557 คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคูค ่ า้ อืน่ ๆ ในเอเชียและออสเตรเลีย ในภาพรวม จะขยายตัวดีขนึ้ จากปี 2556 เนือ่ งจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกทีเ่ ริม่ มีสญ ั ญาณฟืน้ ตัว โดยเฉพาะในกลุม่ ประเทศซึง่ เป็นคูค่ า้ ส�ำคัญ ทั้งในแถบสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมทั้งความเสี่ยงที่ลดลงจากเศรษฐกิจจีนซึ่งไม่น่าจะประสบปัญหาชะลอตัวลงอย่าง รวดเร็วดังทีเ่ คยมีความกังวลกัน จึงน่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนส�ำคัญในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของกลุม่ ประเทศดังกล่าวในปี 2557

2. ราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลก “ในปี 2556 คาดว่าราคาน�ำ้ มันดิบดูไบเฉลีย่ จะอยูท่ ี่ 106.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์อยูท่ ี่ 103.0109.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) ลดลงจากปี 2555 เนือ่ งจากการฟืน้ ตัวอย่างล่าช้าของเศรษฐกิจโลก ทีส่ ง่ ผลให้อปุ สงค์ ของน�ำ้ มันดิบขยายตัวชะลอลง โดยเฉพาะจากกลุม่ ประเทศยูโรโซนเป็นส�ำคัญ ประกอบกับความกังวลของนักลงทุนต่อ การประกาศเตรียมลดมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกา ท�ำให้นักลงทุนบางส่วนมีการลดการถือครองสินทรัพย์ต่าง ๆ รวมถึงสินทรัพย์ในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น�้ำมัน อีกด้วย ขณะที่อุปทานน�้ำมันดิบโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก การผลิตน�้ำมันจากทั้งกลุ่ม OPEC และกลุ่ม Non-OPEC น�ำโดยประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีเทคโนโลยีการผลิตน�้ำมัน แบบใหม่ (Shale Gas) อย่างไรก็ดี ความไม่สงบทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลาง อาทิ ซีเรียและอียิปต์ ได้สร้าง แรงกดดันระยะสั้นที่ท�ำให้ราคาน�้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นในระยะสั้น อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวได้คลี่คลายลงแล้ว ท�ำให้การเพิ่มขึ้นของราคาอยู่ในกรอบที่จ�ำกัดเท่านั้น” ภาพที่ 9 สมมติฐานราคาน�้ำมันดิบดูไบในปี 2556

ที่มา : Reuters และการคาดการณ์โดย สศค.

➥➥ ราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปี 2556 คาดว่าจะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 106.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จาก

ปี 2555 ที่อยู่ ณ ระดับ 109.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นการหดตัวร้อยละ 2.8 จากปี 2555 ราคาน�้ำมันดิบดูไบใน ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 แม้จะมีการปรับเพิ่มขึ้นในบางช่วงจากเหตุการณ์ความไม่สงบและการบริโภคที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ในไตรมาสที่ 3 ของปี แต่แนวโน้มส่วนใหญ่อยู่ในขาลงอย่างเห็นได้ชัด จากการฟื้นตัวที่ล่าช้าของเศรษฐกิจโลกเป็นส�ำคัญ โดยเฉพาะเศรษฐกิจยูโรโซนและสหรัฐอเมริกา รวมถึงการชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ท�ำให้อปุ สงค์การใช้นำ�้ มันทัง้ จาก ภาคการผลิตและการบริโภคลดลง นอกจากนี้ ราคาน�้ำมันยังได้รับผลกระทบจากการประกาศเตรียมลดเม็ดเงินในมาตรการ QE ข้อมูลล่าสุดในเดือนกันยายน 2556 ราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 104.9 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนด้านอุปทานน�้ำมัน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการผลิตน�้ำมันจากทั้งกลุ่ม OPEC และกลุ่ม Non-OPEC น�ำโดยประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีเทคโนโลยี

20


การผลิตน�้ำมันแบบใหม่ (Shale Gas) ถึงแม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกจะได้รับแรงกดดันจากความตึงเครียดในประเทศอิหร่านจาก การเข้าตรวจอาวุธนิวเคลียร์โดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ประกอบกับเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศผูผ้ ลิต น�้ำมันดิบ ได้แก่ ซีเรีย อิสราเอล ซีดาน และอียิปต์ ซึ่งส่งผลกระทบเล็กน้อยต่ออุปทานน�้ำมันดิบในระยะสั้น ➥➥ ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาน�้ำมันดิบดูไบในปี 2556 คือ (1) การชะลอตัวลงของอุปสงค์ต่อน�้ำมันดิบ โลกตามการฟืน้ ตัวอย่างล่าช้าของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิง่ จากปัญหาวิกฤติหนีส้ าธารณะในยุโรป ประกอบกับ การลดลงของการเก็งก�ำไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Market) เนื่องจากการเตรียมการปรับลดปริมาณ เม็ดเงินจากมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกาที่จะอัดฉีดเข้าสู่เศรษฐกิจโลก ขณะที่ (2) อุปทานน�้ำมันดิบโลกคาดว่า จะเพิ่มขึ้นจากการผลิตน�้ำมันจากทั้งกลุ่ม OPEC และกลุ่ม Non-OPEC น�ำโดยประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีเทคโนโลยี การผลิตน�้ำมันแบบใหม่ (Shale Gas) 1) อุปสงค์ต่อน�้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น International Energy Agency (IEA) คาดการณ์ ณ เดือนกันยายน 2556 ว่า ในปี 2556 ความต้องการน�้ำมันดิบทั่วโลกจะอยู่ที่ 90.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ระดับ 89.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็น การปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากความต้องการของประเทศนอก กลุ่ม OECD เป็นส�ำคัญ ประเทศในกลุ่ม OECD คาดว่าในปี 2556 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 45.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ระดับ 46.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการปรับตัวลดลง 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือหดตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี ในขณะที่ประเทศนอกกลุ่ม OECD คาดว่าในปี 2556 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 45.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ 43.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี 2) อุปทานน�้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น คาดการณ์ ณ เดือนกันยายน 2556 ว่า ในปี 2556 ปริมาณน�้ำมันดิบที่ผลิตทั่วโลก จะอยู่ที่ 93.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ 91.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตรา ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากปีก่อนหน้า ในกลุ่ม OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตน�้ำมันดิบในปี 2556 จะอยู่ที่ 38.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ ที่ระดับ 37.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 3.5 โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้นมา จากประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นหลัก ส่วนในกลุ่ม Non-OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตในปี 2556 อยู่ที่ระดับ 54.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่ อยูท่ ี่ 53.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิม่ ขึน้ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี เนือ่ งจากการผลิตทีเ่ พิม่ ขึน้ จาก กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและรัสเซียเป็นส�ำคัญ

• •

3. ราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) “ในปี 2556 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 0.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เนื่องจากคาดว่าราคาส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าแร่และเชื้อเพลิงจะหดตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเฉพาะราคายางพาราและปาล์มน�้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าอุตสาหกรรมคาด ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวจากปีก่อนหน้า ส่วนราคาสินค้าน�ำเข้าคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 2.0 จากสมมติฐานราคาน�้ำมันดิบโลกที่คาดว่าจะลดลงจากปีก่อนเป็นส�ำคัญ ขณะที่ในปี 2557 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้าน�ำเข้าจะขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.5 ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและราคาน�้ำมัน”

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

21


ภาพที่ 10 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2556 และปี 2557 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออก (รูปดอลลาร์สหรัฐ) อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และ สศค.

3.1 ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าส่งออกในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.0 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ -0.5 ถึง 0.5) ขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนหน้าเล็กน้อย เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรและสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 11.31 และร้อยละ 6.79 ของดัชนีรวม ตามล�ำดับ มีการหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 หดตัวที่ร้อยละ 1.7 และร้อยละ 0.2 ตามล�ำดับ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากราคายางพาราและปาล์มน�้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากอุปทานในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการเพิ่มสต๊อกของประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่วนราคา สินค้าอุตสาหกรรมและราคาสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 75.31 และร้อยละ 6.59 มีการขยายตัว โดยใน ช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 มีการขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 และร้อยละ 0.7 ตามล�ำดับ ในขณะที่ปี 2557 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.5 ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะ ปรับตัวดีขนึ้ จากปี 2556 โดยเฉพาะประเทศทีเ่ ป็นอุปสงค์สดุ ท้าย (Final Demand) ดังเช่นประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป จะเป็นปัจจัยบวกให้ราคาสินค้าส่งออกปรับตัวดีขึ้นได้ 3.2 ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าน�ำเข้าในปี 2556 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 2.0 (ช่วงคาดการณ์ทรี่ อ ้ ยละ -2.5 ถึง -1.5) เนือ่ งจาก คาดว่าราคาน�้ำมันดิบโลกซึ่งเป็นสินค้าน�ำเข้าส�ำคัญของไทยจะมีการหดตัวจากปีก่อน ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ได้แก่ สินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้ายานพาหนะ มีการขยายตัวเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้ดัชนีรวมมีการขยาย ตัวชะลอลงจากปีก่อน ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 ดัชนีราคาสินค้าน�ำเข้ามีการหดตัวร้อยละ 2.4 จากการหดตัวของ สินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าวัตถุดิบเป็นส�ำคัญ ในขณะทีป่ ี 2557 คาดว่าราคาสินค้าน�ำเข้าจะขยายตัวเร่งขึน้ ทีร่ อ้ ยละ 0.5 เนือ่ งจากคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับมา ฟื้นตัวดีขึ้น ท�ำให้การส่งออกกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ส่งผลต่อเนื่องให้มีการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าน�ำเข้าวัตถุดิบ จึงมีการปรับตัวสูงขึ้นในปี 2557 นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้นอาจจะส่งผลต่อราคาน�้ำมันโลกให้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้ เป็นผลให้ราคาสินค้าน�ำเข้าโดยรวมจะขยายตัวเร่งขึ้นในปีหน้า

22


4. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ “ในปี 2556 ค่าเงินบาทเฉลีย่ มีทศิ ทางแข็งค่าขึน้ เล็กน้อยจากค่าเฉลีย่ ในปี 2555 ที่ 31.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 30.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือในช่วงคาดการณ์ระหว่าง 30.10-31.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ปี 2557 ค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือในช่วงคาดการณ์ระหว่าง 30.00-32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 11)” ภาพที่ 11 สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยในปี 2556 และปี 2557

ที่มา : Reuters

4.1 สถานการณ์ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา หากพิจารณาทิศทางความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐปัจจุบันเทียบกับต้นปี 2556 แล้วจะพบว่าค่าเงินบาทอ่อนค่าลงร้อยละ 3.00 (ภาพที่ 12) เนื่องจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย อีกทั้ง มีเงินทุนไหลออกจากตลาดทุนไทย โดยเฉพาะจากตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน และเดือนสิงหาคม 2556 และตลาดพันธบัตรในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และเดือนสิงหาคม 2556 ซึ่งมีสาเหตุส�ำคัญจากความเป็นไปได้ที่ธนาคาร กลางสหรัฐอเมริกาอาจลดขนาดหรือยุติมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายระลอกที่ 3 และระลอกที่ 4 (QE3 และ QE4) ใน ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2556 นี้ หากเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ตลอดจน ปัญหาหนีส้ าธารณะของสหรัฐอเมริกาซึง่ ส่งผลให้นกั ลงทุนเริม่ กังวลต่อสภาพคล่องดอลลาร์สหรัฐทีอ่ าจลดลงในอนาคต และเริม่ ถอนเงินกลับจากตลาดภูมิภาคไปสู่สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง (Safe Haven) ภาพที่ 12 อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐรายวัน

(30 Sep, 2013)

ที่มา : CEIC / สศค.

ทั้งนี้ ดุลบัญชีการช�ำระเงิน (Balance of Payment) ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 ที่ขาดดุลสะสม 3.6 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 13) เป็นอีกปัจจัยที่ท�ำให้ค่าเงินบาทโดยรวมอ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา ประมาณการเศรษฐกิจไทย

23


ภาพที่ 13 ดุลการช�ำระเงินของประเทศไทยปี 2555-2556

ที่มา : ธปท.

4.2 แนวโน้มของค่าเงินบาทในระยะถัดไป ในปี 2556 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลีย่ ต่อดอลลาร์สหรัฐจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึน้ เล็กน้อยเมือ่ เทียบกับค่าเฉลีย่ ในปี 2555 มาอยู่ที่ระดับ 30.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ระดับ 30.10-31.10 บาทต่อดอลลาร์ สหรัฐ) โดยถึงแม้วา่ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาอาจลดขนาดหรือยุตมิ าตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายระลอกที่ 3 และระลอก ที่ 4 (QE3 และ QE4) ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2556 นี้ ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนเริ่มกังวลต่อสภาพคล่องดอลลาร์สหรัฐที่อาจลดลงใน อนาคต และเริ่มถอนเงินกลับจากตลาดภูมิภาคไปสู่สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง (Safe Haven) อย่างไรก็ตาม เงินทุนที่ไหล เข้ามาในช่วงต้นปีและในช่วงเดือนกันยายน 2556 ภายหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศคงมาตรการ QE ในวันที่ 18 กันยายน 2556 เป็นปัจจัยที่ช่วยให้ค่าเงินบาทไม่อ่อนค่าไปมากกว่านี้ ในปี 2557 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สหรัฐจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ระดับ 30.00-32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) จากปัจจัยหลัก คือ เงิน ทุนเคลื่อนย้ายที่คาดว่าจะไหลออกตามการยุติมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและญีป่ นุ่ ตามการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจประเทศดังกล่าว ประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อของประเทศ เหล่านั้นที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยด้านอุปสงค์ที่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้ ดุลเงินทุนของไทยในระยะต่อไปคาดว่าจะยังคงมีความผันผวนสูง อันเป็นผลจากความไม่แน่นอน ของการยุติมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องจากธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ท�ำให้นักลงทุนอาจถอนเงินทุนกลับสู่แหล่งการลงทุนที่ ปลอดภัย (Safe Haven) หากธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มจะยุติมาตรการดังกล่าว ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ค่าเงิน บาทตลอดจนค่าเงินในภูมิภาคอื่น ๆ มีความผันผวนตามไปด้วย

5. อัตราดอกเบี้ยนโยบาย “สศค.คาดการณ์วา่ ในปี 2556 อัตราดอกเบีย้ นโยบายจะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.50 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ 2.00-3.00 ต่อปี) และยังคงอยู่ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.00-3.00 ต่อปี) ในปี 2557” ➥➥ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ด�ำเนินนโยบายการเงิน

แบบผ่อนคลายต่อเนื่องในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 ส่วนหนึ่งมาจากอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกที่คาดว่าจะ ทยอยฟื้นตัว แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่จะล่าช้าออกไป ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อในปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ส่งผลให้ในเดือนสิงหาคม 2556 กนง.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 ที่ร้อยละ 2.50

24


ภาพที่ 14 อัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และ ธปท. รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในปี 2556 สศค.คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มอยู่ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์

2.00-3.00 ต่อปี) โดยแม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจ โลกที่ยังคงส่งสัญญาณชะลอลงอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก จึงส่งผลให้คาดว่า กนง.อาจจ�ำเป็นต้องด�ำเนินนโยบาย การเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี 2556 ➥➥ ในปี 2557 สศค.คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 2.50 (ช่วงคาดการณ์ 2.00-3.00 ต่อปี) เนือ่ งจากถึงแม้จะมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อทีค่ าดว่าจะสูงขึน้ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ผนวกกับสถานการณ์ เศรษฐกิจโลกทีน่ า่ จะปรับตัวดีขนึ้ จากปี 2556 แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังคงเป็นปัจจัยเสีย่ งส�ำคัญทีอ่ าจ กระทบต่อภาคการส่งออกและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ภาพที่ 15 สมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี

ที่มา : ธปท. ประมวลผลโดย สศค.

6. รายจ่ายภาคสาธารณะประจ�ำปีงบประมาณ 2556 “ปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายภาคสาธารณะ (ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล (2) รายจ่ายองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ) สามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 3,146,687 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 8.7 ต่อปี ส�ำหรับปีงบประมาณ 2557 รายจ่ายภาคสาธารณะคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 3,467,196 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.2 ต่อปี” ประมาณการเศรษฐกิจไทย

25


6.1 กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลตั้งกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2,400,000 ล้านบาท ซึ่งเป็น การด�ำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล 300,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.5 ของ GDP1 ภายใต้ประมาณการจัดเก็บ รายได้รัฐบาลเท่ากับ 2,100,000 ล้านบาท โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 1,900,477 ล้านบาท (2) รายจ่ายลงทุน 450,374 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ 49,150 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีการใช้จ่ายงบประมาณภายใต้พระราชก�ำหนด (พ.ร.ก.) ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินกู้ 350,000 ล้านบาท ส�ำหรับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2557 มีจำ� นวน 2,525,000 ล้านบาท ซึง่ เป็นการด�ำเนินนโยบาย งบประมาณแบบขาดดุล 250,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 1.9 ของ GDP2 ภายใต้ประมาณการการจัดเก็บรายได้รัฐบาล เท่ากับ 2,275,000 ล้านบาท โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 2,017,244 ล้านบาท (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 13,424 ล้านบาท (3) รายจ่ายลงทุน 441,510 ล้านบาท และ (4) รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ 52,822 ล้านบาท ตารางที่ 4 กรอบโครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2556 และ 2557 ปีงบประมาณ

2556

2557

1. วงเงินงบประมาณ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราเพิ่ม) 1.1 รายจ่ายประจ�ำ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.2 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.3 รายจ่ายลงทุน (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.4 รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว)

2,400,000.0 19.5 0.8 1,900,476.7 79.2 3.2 - - -100 450,373.8 18.7 2.7 49,149.5 2.1 4.9

2,525,000.0 19.1 5.2 2,017,244.0 79.9 5.3 13,423.7 0.5 100.0 441,510.4 17.5 1.5 52,821.9 2.1 8.3

2. ประมาณการรายได้ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราขยายตัว)

2,100,000.0 17.2 6.1

2,275,000.0 17.3 8.3

3. การขาดดุล/เกินดุล (สัดส่วนต่อ GDP)

-300,000.0 2.5

-250,000.0 1.9

4. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ 12,295,000.0 (GDP) เบื้องต้น ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2555 12,295,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2556 13,242,000 ล้านบาท

1 2

26

13,242,000.0


ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2556 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ 2,498,329 ล้านบาท ภายใต้สมมติฐาน การเบิกจ่ายร้อยละ 94.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2,400,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ จ�ำนวน 2,475,090 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 1,931,716 ล้านบาท (2) รายจ่ายลงทุน 323,325 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายเหลื่อมปี 220,049 ล้านบาท ส�ำหรับการเบิกจ่ายตาม พ.ร.ก.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบ บริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 17,422 ล้านบาท ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2557 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ 2,780,912 ล้านบาท ภายใต้สมมติฐาน การเบิกจ่ายร้อยละ 95.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2,525,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ จ�ำนวน 2,657,234 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 2,037,653 ล้านบาท (2) รายจ่ายลงทุน 362,039 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายเหลื่อมปี 257,542 ล้านบาท ส�ำหรับการเบิกจ่ายตาม พ.ร.ก.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบ บริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 59,058 ล้านบาท และการเบิกจ่ายตาม พ.ร.บ.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ พ.ศ. ... คาดว่าจะสามารถ เบิกจ่ายได้ 61,620 ล้านบาท ตารางที่ 5 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลปีงบประมาณ 2556 และ 2557

(หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ 2556 ปีงบประมาณ 2557 คาดการณ์ ณ ก.ย. 2556 คาดการณ์ ณ ก.ย. 2556

กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย

2,400,000

2,525,000

อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ

94.0%

95.0%

2,498,329 2,475,090 1,931,716 323,325 220,049 2,255,041

2,780,912 2,657,234 2,037,653 362,039 257,542 2,399,691

23,239 5,817

123,678 3,000

17,422

59,058

-

61,620

1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน (3) รายจ่ายเหลื่อมปี รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท) (3) พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานฯ (วงเงิน 2.0 ล้านล้านบาท)

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

27


6.2 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) ในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมทัง้ สิน้ 337,874 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.3 ต่อปี ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2557 คาดว่า อปท.จะมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวม 361,626 ล้าน บาท หรือขยายตัวร้อยละ 7.0 ซึ่งสอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติ ก�ำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ�ำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ต้องการให้มีการกระจายอ�ำนาจให้ แก่ อปท.เพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายและจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในด้านคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ตารางที่ 6 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2556 และ 2557 (หน่วย : ล้านบาท)

รายจ่ายท้องถิ่น

ปีงบประมาณ 2556 ปีงบประมาณ 2557 คาดการณ์ ณ ก.ย. 2556 คาดการณ์ ณ ก.ย. 2556 337,874

361,626

ที่มา : สศค. และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ค�ำนวณโดย สศค.

6.3 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 310,484 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 12.0 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เนือ่ งจากมาตรการเร่งรัดติดตามการใช้จา่ ยเงินปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 และมาตรการการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ส�ำหรับใน ปีงบประมาณ 2557 คาดว่ารายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจจะสามารถเบิกจ่ายได้ 324,658 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน ตารางที่ 7 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2556 และ 2557 รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ

(หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ 2556 ปีงบประมาณ 2557 คาดการณ์ ณ ก.ย. 2556 คาดการณ์ ณ ก.ย. 2556 310,484

324,658

ที่มา : สศค. และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ค�ำนวณโดย สศค.

6.4 สรุปรวมรายจ่ายภาคสาธารณะ จากสมมติ ฐ านการใช้ จ ่ า ยของรั ฐ บาล องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และการลงทุ น ของรั ฐ วิ ส าหกิ จ ในปีงบประมาณ 2556 ดังกล่าว ท�ำให้คาดว่าในปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายภาคสาธารณะสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ 3,146,687 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปี ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาลรวมจ�ำนวน 2,498,329 ล้านบาท (2) รายจ่ายองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 337,874 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 310,484 ล้านบาท ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2557 คาดว่ารายจ่ายภาคสาธารณะจะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 3,467,196 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.2 ต่อปี ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาลรวมจ�ำนวน 2,780,912 ล้านบาท (2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 361,626 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 324,658 ล้านบาท

28


ตารางที่ 8 สมมติฐานการเบิกรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2556 และ 2557 (หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ 2556 ปีงบประมาณ 2557 คาดการณ์ ณ ก.ย. 2556 คาดการณ์ ณ ก.ย. 2556

กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย

2,400,000

2,525,000

อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ

94.0%

95.0%

1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน (3) รายจ่ายเหลื่อมปี รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท) (3) พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานฯ (วงเงิน 2.0 ล้านล้านบาท)

2,498,329 2,475,090 1,931,716 323,325 220,049 2,255,041 23,239 5,817

2,780,912 2,657,234 2,037,653 362,039 257,542 2,399,691 123,678 3,000

17,422

59,058

-

61,620

2. รายจ่ายท้องถิ่น

337,874

361,626

3. รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ

310,484

324,658

4. รายจ่ายภาคสาธารณะ (1+2+3)

3,146,687

3,467,196

ที่มา : สศค. และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ค�ำนวณโดย สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

29


ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 1. ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “สศค.ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2556 จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากปี 2555 ที่เศรษฐกิจขยายตัว ในอัตราเร่งทีร่ อ้ ยละ 6.5 ในขณะทีใ่ นปี 2557 คาดว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 5.1 (ช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 4.6-5.6) จากปี 2556” ➥➥ สศค.คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2556 ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 3.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5-4.0)

ปรับตัวชะลอลงจากปีก่อน จากการขยายตัวที่ต�่ำกว่าที่คาดของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรก โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุน ภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานที่สูงในปีก่อนจากการเร่งการลงทุนไปเพื่อซ่อมแซม ความเสียหายจากอุทกภัย ส�ำหรับการใช้จ่ายภาครัฐคาดว่ายังคงเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการใช้จ่ายในงบประมาณของรัฐบาลส่วนกลางและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ยังเบิกจ่ายได้ อย่างต่อเนื่อง ส�ำหรับอุปสงค์ภายนอกประเทศนั้นคาดว่าการส่งออกสินค้าและบริการจะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน โดยเฉพาะ การส่งออกด้านบริการที่จะขยายตัวตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการ คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ ภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ตามราคาน�้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่มี แนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลง ขณะที่ด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลที่ 1.3 พันล้าน เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของ GDP ➥➥ ส�ำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนที่ร้อยละ 5.1 (โดยมี

ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.6-5.6) โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่มีแนวโน้มเร่งขึ้น การส่งออกที่ฟื้นตัว และแรงกระตุ้นจากการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนบริหารจัดการน�้ำที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่คาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2557 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.8 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า อันเป็นผลจากการเร่งขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ และแรงกดดันด้านต้นทุนที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ส�ำหรับเสถียรภาพ ภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลเพียงเล็กน้อยที่ 0.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภาพที่ 16 ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)

30


1.1 การบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง

1.1.1 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาคเอกชนทีแ ่ ท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 2.4 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน จากไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 และเมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า การบริโภคภาคเอกชน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 หดตัวร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าคงทนประเภท ยานยนต์ที่ชะลอตัวลงมาก เนื่องจากนโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรกที่ได้ทยอยหมดลง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่ลดลงในไตรมาสนี้ เป็นผลส่วนหนึ่งให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย ส่งผลให้การใช้จ่ายของครัวเรือนโดยรวม ชะลอตัวจากไตรมาสทีผ่ า่ นมา อย่างไรก็ดี จากอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อทีอ่ ยูใ่ นระดับต�ำ่ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนทีส่ ำ� คัญ ต่อการใช้จ่ายของครัวเรือน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการบริโภคจ�ำแนกตามรายหมวดส�ำคัญพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 การบริโภค ภาคเอกชนปรับตัวลดลงในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะหมวดสินค้าคงทนทีข่ ยายตัวร้อยละ 2.8 จากไตรมาสก่อนทีข่ ยายตัว ในอัตราเร่งทีร่ อ้ ยละ 67.9 เนือ่ งจากหมวดยานยนต์ทปี่ ระกอบด้วยรถยนต์นงั่ ส่วนบุคคล รถบรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรกของรัฐบาลที่ได้ทยอยหมดลงเป็นส�ำคัญ ในขณะที่การใช้จ่ายกลุ่มสินค้าที่ไม่คงทนและบริการขยายตัว โดยในหมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ และเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวร้อยละ 3.7 ปรับตัวเพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อน ซึง่ เป็นการปรับตัวเพิม่ ขึน้ เกือบทุกหมวดสินค้า โดยการบริโภค เนื้อสัตว์และสินค้าเกษตรแปรรูปขยายตัวร้อยละ 0.3 ส่วนนมและผลิตภัณฑ์นมขยายตัวร้อยละ 4.8 การบริโภคเครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 6.4 และการอุปโภคเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและสิ่งทออื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 3.6 ในขณะที่ในหมวดบริการ โดยเฉพาะหมวดโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 17.4 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 14.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนและประเทศรัสเซีย ภาพที่ 17 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 การบริโภคภาคเอกชนทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีกอ่ นมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ

2.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.9-2.4) ภายหลังจากที่เร่งขึ้นไปมากในช่วงก่อนหน้าที่ได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายภาค รัฐ อาทิ มาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก นอกจากนี้ก�ำลังซื้อของครัวเรือนในภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงตามรายได้เกษตรกรที่ หดตัวลง ส่วนหนึง่ เป็นผลจากราคายางพาราทีล่ ดลงอย่างต่อเนือ่ ง อย่างไรก็ดี ปัจจัยทีค่ าดว่าจะสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชน ในปี 2556 ได้แก่ (1) ระดับราคาสินค้าทัว่ ไปทีไ่ ม่สงู มากนัก สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทีย่ งั ทรงตัวอยูใ่ นระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 2.7 ในช่วง 8 เดือนแรกปี 2556 (2) ผลจากการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำจะยังคงมีส่วนช่วยประคับประคองให้ การบริโภคภาคเอกชนไม่ชะลอตัวมากนัก และ (3) อัตราดอกเบีย้ ทีท่ รงตัวในระดับต�ำ่ ทัง้ นี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า การบริโภค ภาคเอกชนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลง สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

31


ราคาคงที่ ซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากร้อยละ 14.1 ในปีก่อน ในขณะที่การบริโภคในหมวด สินค้าคงทนที่สะท้อนจากปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 17.6 และหดตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2557 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.4 (โดยมี

ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9-3.9) จากปี 2556 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.1 โดยได้รับปัจจัยบวกจาก (1) การขยายตัว ต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 จากปี 2556 ซึ่งเป็นการขยายตัวทั้งทางด้านอุปสงค์ และด้านอุปทาน โดยเฉพาะจากอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดี ตามภาคการส่งออก ที่จะขยายตัวเร่งขึ้นจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่น่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้ในช่วงปลายปี 2556 (2) แนวโน้มรายได้ของครัวเรือน นอกภาคเกษตรที่อยู่ในระดับสูง ส่วนหนึ่งเป็นผลของการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต�่ำเป็น 300 บาท และสถานการณ์การจ้างงาน ที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต�่ำ และ (3) ภาวะการเงินโดยรวมที่ผ่อนคลาย สะท้อน จากอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะยังอยู่ในระดับต�่ำอันจะยังคงเอื้อต่อการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจาก 3 ปัจจัยหลักดังกล่าวจะเป็น ส่วนส�ำคัญในการสนับสนุนการบริโภคในปี 2557 ต่อไป

1.1.2 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.8 เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากไตรมาสก่อนหน้า ท�ำให้ช่วงครึ่งปีแรกของ ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.4 โดยเป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงานทีเ่ พิม่ ขึน้ ร้อยละ 5.4 และรายจ่ายค่าซือ้ สินค้าและบริการสุทธิ ขยายตัวร้อยละ 6.2 ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลโดยรวม ณ ราคาประจ� ำปีมีมูลค่า 399.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.5 แบ่งออกเป็นค่าตอบแทนแรงงาน 273.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.6 และรายจ่าย ค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิ 125.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.2 ภาพที่ 18 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 การบริโภคของภาครัฐทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ

2.5-3.0) ขยายตัวชะลอลงจากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ทั้งนี้ พระราชบัญญัติกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ� ำ ปีงบประมาณ 2556 ตามมติคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2.4 ล้านล้านบาท โดยในจ�ำนวนนี้เป็น งบประมาณรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 2.0 ล้านล้านบาท โดยมีเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณที่ร้อยละ 96.8

32


โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-สิงหาคม 2556) รายจ่ายประจ�ำสามารถเบิกจ่ายได้ ทั้งสิ้นจ�ำนวน 1,708.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี และคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 85.6 ของกรอบวงเงิน งบประมาณรายจ่ายประจ�ำ ➥➥ ในปี 2557 การบริโภคของภาครัฐทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ

4.3-5.3) โดยมีกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2557 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงินงบประมาณ รายจ่ายจ�ำนวน 2.525 ล้านล้านบาท โดยในจ�ำนวนนี้เป็นงบประมาณรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 2,017.2 พันล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 79.9 ของวงเงินงบประมาณรวม และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 6.1 ต่อปี 1.2 การลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง

1.2.1 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 และเมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า การลงทุนภาคเอกชน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า การลงทุนในหมวด เครือ่ งมือเครือ่ งจักร (มีสดั ส่วนประมาณร้อยละ 80.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ขยายตัวร้อยละ 0.6 ชะลอลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 เนื่องจากในปีก่อนหน้าได้มีการเร่งลงทุนเพื่อชดเชยและซ่อมแซมความเสียหายจากอุทกภัย ไปแล้ว สะท้อนจากมูลค่าการน�ำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรที่หดตัวลง โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องมือ และอุปกรณ์โทรคมนาคม ส่งผลท�ำให้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหดตัวลงร้อยละ 4.3 ส�ำหรับ หมวดยานพาหนะขยายตัวร้อยละ 12.0 ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างภาคเอกชน (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20.0 ของ การลงทุนภาคเอกชนรวม) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อย จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ เนื่องจากรายได้คงที่ซึ่งท�ำให้ ประชาชนลดการจับจ่ายใช้สอย โดยการก่อสร้างอาคารเพื่ออยู่อาศัยขยายตัวร้อยละ 10.7 ยังอยู่ในระดับทรงตัวเมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 10.3 โดยเฉพาะก�ำลังซื้อคอนโดมิเนียมยังคงมีอยู่ต่อเนื่องหลังจากเหตุการณ์น�้ำท่วมในปี 2554 ส่วนอาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.9 ชะลอลงจากไตรมาสทีแ่ ล้วทีข่ ยายตัวร้อยละ 8.5 ในขณะทีอ่ าคารโรงงานขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 14.1 เป็นผลมาจากการชะลอการก่อสร้างโรงงานที่ก่อสร้างก่อนจะได้รับ ใบอนุญาต รง.4 ภาพที่ 19 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง

ที่มา : สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

33


➥➥ ในปี 2556 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ

2.0-2.5) จากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.4 ชะลอลงจากปี 2555 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งการลงทุนไปมากในปีก่อน เพือ่ ซ่อมแซมความเสียหายจากอุทกภัย ประกอบกับภาคธุรกิจมีกำ� ลังการผลิตส่วนเกินอยูจ่ งึ ชะลอการลงทุนในหมวดเครือ่ งจักร และอุปกรณ์ออกไป อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหมวดก่อสร้างคาดว่าจะขยายตัวได้ดี สะท้อนได้จากยอดจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ ในประเทศที่เพิ่มขึ้น ตามแนวโน้มการขยายตัวของการลงทุนในส่วนของภูมิภาค โดยเฉพาะการลงทุนในจังหวัดที่เป็นจังหวัด เศรษฐกิจส�ำคัญของภูมิภาคและจังหวัดที่เศรษฐกิจเกิดใหม่ ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า ในช่วง 8 เดือนแรกปี 2556 การลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณชะลอลงจากปลายปี 2555 สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนในหมวดเครื่องมือ เครื่องจักร อาทิ การน�ำเข้าสินค้าทุนหักเครื่องบิน เรือ และรถไฟ หดตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ ปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ขยายตัวเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้าง ที่วัดจากเครื่องชี้เศรษฐกิจ อาทิ ปริมาณการจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (ที่สะท้อนต้นทุนในการผลิตหรือการก่อสร้าง) ขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ซึ่งสะท้อนถึงอัตราการขยายตัวของราคาวัตถุดิบที่ใช้ ในการก่อสร้างอยู่ในระดับที่ลดลงและเอื้อต่อการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง ➥➥ ในปี 2557 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 9.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์

ที่ร้อยละ 8.5-10.5) จากปี 2555 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนส�ำคัญ ได้แก่ (1) ความจ�ำเป็น ในการลงทุนปรับโครงสร้างการผลิตเพือ่ รองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน (2) มูลค่าการขอรับและออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ของส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ อาทิ กิจการขนส่งทางอากาศ กิจการศูนย์กระจายสินค้า และกิจการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม และ (3) การลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะ แผนการบริหารจัดการน�้ำและแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่คาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป จะเป็นปัจจัยบวกให้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวตามไปด้วย

1.2.2 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 14.9 ต่อปี ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน หน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 18.8 และเมือ่ ขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากไตรมาสก่อนหน้า ท�ำให้ชว่ งครึง่ ปีแรก ของปี 2556 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 16.6 ทั้งนี้ การลงทุนของภาครัฐที่แท้จริงสามารถแบ่งออกได้เป็น (1) การลงทุนในหมวดก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.4 โดยมีปัจจัยหลัก จากการก่อสร้างของรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่หดตัวร้อยละ 2.6 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.5 ส�ำหรับการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 12.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากโครงการ ต่อเนือ่ งขนาดใหญ่ อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีมว่ ง ช่วงบางใหญ่-บางซือ่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีนำ�้ เงิน ช่วงหัวล�ำโพงบางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โครงการก่อสร้างเคเบิ้ลใต้น�้ำใยแก้วอ่าวไทย และระบบเคเบิ้ลใต้น�้ำ APG (Asia Pacific Gateway) ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า พลังความร้อนร่วมจะนะ (สงขลา) ชุดที่ 2 เป็นส�ำคัญ และ (2) การลงทุนในหมวดเครือ่ งมือเครือ่ งจักร ขยายตัวร้อยละ 38.1 ขยายตัว เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 30.3 มาจากรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 49.6 โดยเป็นการลงทุนด้านเครื่องมือ เครื่องจักรในโครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ของบริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) ได้มกี ารน�ำเข้าเครือ่ งบินเพือ่ การพาณิชย์จำ� นวน 1 ล�ำ มูลค่า 3.6 พันล้านบาท ส�ำหรับรัฐบาลกลางและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นขยายตัวร้อยละ 17.4

34


ภาพที่ 20 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 การลงทุนของภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.3 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์

ที่ร้อยละ 11.8-12.8 ต่อปี) ขยายตัวเร่งขึ้นจากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ตามการใช้จ่ายในงบประมาณของรัฐบาลกลาง และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ยังเบิกจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการใช้จ่ายภาครัฐบางส่วนจะล่าช้าออกไปบ้าง โดยเฉพาะ การใช้จา่ ยตามแผนบริหารจัดการน�ำ้ ทีม่ คี วามล่าช้าจากการท�ำประชาพิจารณ์ตามค�ำสัง่ ของศาลปกครอง ทัง้ นี้ ในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลได้ตั้งวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 400.7 พันล้านบาท โดยมีเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงิน งบประมาณที่ร้อยละ 80.0 โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–สิงหาคม 2556) รายจ่าย ลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ จ�ำนวน 243.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี และคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายทีร่ อ้ ยละ 60.3 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน ในขณะที่การเบิกจ่ายกู้ภายใต้พระราชก�ำหนดบริหารจัดการน�้ำฯ ตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือนกุมภาพันธ์ 2555–สิงหาคม 2556) มีจ�ำนวน 14.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.1 ของกรอบวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ➥➥ ในปี 2557 การลงทุนภาครัฐจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 12.4-14.4)

เพิ่มขึ้นจากปี 2556 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายนอกงบประมาณที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2557 โดยเฉพาะเม็ดเงินจากการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการบริหารจัดการน�้ำที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และการเบิกจ่ายเม็ดเงินตาม แผนการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานของรัฐทีค่ าดว่าจะเริม่ เบิกจ่ายได้ตงั้ แต่ปี 2557 เป็นต้นไป ทัง้ นี้ ในปีงบประมาณ 2557 รัฐบาล ได้ตั้งวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 441.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.5 ของกรอบวงเงินงบประมาณ และ ตั้งเป้าหมายอัตราเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนไว้ที่ร้อยละ 82.0 1.3 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ

2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.3 จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอลง โดยเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการหดตัว ที่ร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยในด้านของมิติสินค้าพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 การส่งออกสินค้าหดตัวที่ร้อยละ 1.5 จากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 3.7 จากการหดตัวและขยายตัวชะลอลงทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ที่หดตัวร้อยละ 11.0 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ตามการหดตัวของสินค้ากุ้ง จากปัญหาโรคระบาด (EMS) เป็นส�ำคัญ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.3 จากการขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามปริมาณการส่งออกของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หดตัวร้อยละ 10.9 และร้อยละ 3.1 ตามล�ำดับ และ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

35


การขยายตัวชะลอลงของสินค้ายานยนต์ทรี่ อ้ ยละ 9.0 และเมือ่ พิจารณารายตลาดพบว่า การส่งออกสินค้าไปยังประเทศคูค่ า้ หลัก หดตัวแทบทุกตลาด โดยเฉพาะการส่งออกไปยังจีนที่หดตัวร้อยละ 3.6 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 รวมถึง การส่ งออกไปยั งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่หดตัวร้อ ยละ 0.5 และร้อยละ 2.5 ตามล� ำ ดับ ในขณะที่การส่ง ออกบริการ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 22.2 จากจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวในระดับสูง ภาพที่ 21 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์

ที่ร้อยละ 5.1-6.1) ขยายตัวเร่งขึ้นจากปี 2555 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 โดยได้รับอานิสงส์จากการส่งออกด้านบริการที่จะ ขยายตัวตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเกือบทุกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงจาก เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างล่าช้า ➥➥ ในปี 2557 ปริมาณการส่งออกสินค้าบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.6 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ ้ ยละ

7.6-9.6) เนื่องจากคาดว่าการส่งออกสินค้าจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นโดยได้รับอานิสงส์จากนโยบาย เศรษฐกิจของภาครัฐ แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังอยู่ในช่วงของการปรับตัวต่อเสถียรภาพในระบบการเงินก็ตาม ขณะที่การส่งออก ด้านบริการคาดว่าจะขยายตัวตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 1.4 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 4.1

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 ทั้งนี้เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบ ว่า ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า และเมือ่ พิจารณาปริมาณการน�ำเข้าสินค้าพบ ว่า ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 ตามการหดตัวของสินค้าทุนที่ร้อยละ 1.5 จากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 3.7 รวมถึงการขยายตัวชะลอลงของสินค้าวัตถุดบิ ทีร่ อ้ ยละ 2.5 จากการขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 13.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่สินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 19.7 และร้อยละ 7.8 จาก ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 และร้อยละ 4.4 ตามล�ำดับ และส�ำหรับปริมาณการน�ำเข้าบริการขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.2

36


ภาพที่ 22 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการ

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์

ร้อยละ 4.2-5.2) ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 เนื่องจากมีการเร่งน�ำเข้าไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ท�ำให้อุปสงค์ ต่อสินค้าน�ำเข้าชะลอตัวลง ประกอบกับการชะลอตัวลงของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุน ➥➥ ในปี 2557 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์

ร้อยละ 6.6-8.6) โดยคาดว่าจะขยายตัวจากความต้องการน�ำเข้าปัจจัยการผลิตเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัว และ สอดคล้องกับแนวโน้มการใช้จ่ายภาคเอกชนที่คาดว่าจะเร่งขึ้นและการฟื้นตัวของภาคการส่งออก นอกจากนี้ จะยังได้รับ แรงสนับสนุนจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐอีกด้วย

2. ด้านการค้าระหว่างประเทศ 2.1 มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ1 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ 152.8 พันล้านดอลลาร์

สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกตามระบบ กรมศุลกากรพบว่า เมื่อหักผลของการส่งออกทองค�ำที่มีความผันผวนสูงออก มูลค่าการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 2.4 โดยการส่งออกที่ขยายตัวได้ในระดับต�่ำเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจ จีน ซึ่งได้ส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ของไทย ท�ำให้อุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกของไทยลดลง นอกจากนี้ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อภาคส่งออกในช่วงที่ผ่านมา ส�ำหรับสินค้าทีส่ ง่ ออกได้ดใี นช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้ายานยนต์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.0 และร้อยละ 1.2 ตามล�ำดับ ส่วนสินค้าในหมวดอื่นมีการหดตัวทุกหมวดสินค้า กล่าวคือ สินค้าเกษตร หดตัวร้อยละ 6.3 จากการลดลงของปริมาณการส่งออกข้าว และราคายางพาราและมันส�ำปะหลังที่ตกต�่ำ ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีการหดตัวร้อยละ 5.6 จากการลดลงของการส่งออกกุ้ง เนื่องจากโรคระบาดในกุ้ง และ ราคาน�้ำตาลทรายที่ลดลงอย่างมากในตลาดโลก และท้ายสุดคือสินค้าเชื้อเพลิง ซึ่งมีการหดตัวร้อยละ 6.1 โดยส่วนหนึ่งเกิดจาก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก มูลค่าการส่งออกตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

37


ส่วนการส่งออกรายประเทศพบว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 ตลาดหลักของไทย คือ ทวีปออสเตรเลีย ฮ่องกง และประเทศสิงคโปร์ โดยมีการขยายตัวร้อยละ 18.7 ร้อยละ 6.4 และร้อยละ 10.6 ตามล�ำดับ ส่วนตลาดที่เป็นแหล่งที่มาของ การหดตัว (Contribution) หลักในช่วงที่ผ่านมาคือ จีน และญี่ปุ่น ที่หดตัวร้อยละ 2.9 และร้อยละ 4.0 ตามล�ำดับ ภาพที่ 23 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวร้อยละ 1.8 (โดยมีชว่ งคาดการณ์

ร้อยละ 1.3–2.3) โดยเป็นการขยายตัวในระดับต�่ำกว่าปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 เนื่องมาจากคาดว่าเศรษฐกิจโลกยังคง ฟื้นตัวอย่างล่าช้า โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในช่วงที่เหลือ ของปีจะเป็นปัจจัยส�ำคัญของเศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลต่อภาคส่งออกของไทยโดยตรง ➥➥ ในปี 2557 คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวร้อยละ 7.5 (โดยมีชว่ งคาดการณ์

ร้อยละ 6.5–8.5) เพิ่มขึ้นจากปี 2556 เนื่องจากคาดว่าการส่งออกสินค้าจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มขยายตัว เร่งขึ้นโดยได้รับอานิสงส์จากนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังอยู่ในช่วงของการปรับตัวต่อเสถียรภาพ ในระบบการเงินก็ตาม 2.2 มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ2 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ 171.0 พันล้านดอลลาร์

สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.1 ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการน�ำเข้าตามระบบกรมศุลกากรที่หักการน�ำเข้าทองค�ำที่มี ความผันผวนออกพบว่า มูลค่าการน�ำเข้าขยายตัวร้อยละ 1.2 ซึ่งการขยายตัวของมูลค่าน�ำเข้าสินค้าเกิดจากการขยายตัวของ การน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าเชื้อเพลิง โดยมีการขยายตัวในช่วง 8 เดือนแรกร้อยละ 4.6 ร้อยละ 7.4 และร้อยละ 2.5 ตามล�ำดับ อย่างไรก็ดี การขยายตัวของการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดบิ เกิดจากทองค�ำเป็นส�ำคัญ โดยการน�ำเข้าทองค�ำ ขยายตัวถึงร้อยละ 38.6 โดยหากหักทองค�ำออก การน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบจะหดตัวร้อยละ 0.5

มูลค่าการน�ำเข้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)

2

38


ภาพที่ 24 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 คาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวทีร่ อ ้ ยละ 2.2 (โดยมีชว่ งคาดการณ์

ที่ร้อยละ 1.7-2.7) ลดลงจากปี 2555 เนื่องจากมีการเร่งน�ำเข้าสินค้าทุนเข้ามาทดแทนเป็นจ�ำนวนมากหลังมหาอุทกภัย ในช่วงปีก่อนท�ำให้ฐานสูง ประกอบกับความต้องการสินค้าในตลาดโลกมีแนวโน้มชะลอลงตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว อย่างค่อยเป็นค่อยไป ท�ำให้มีการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบลดลงจากภาคส่งออกที่ชะลอลงจากปีก่อน

➥➥ ในปี 2557 คาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวทีร่ อ ้ ยละ 9.3 (โดยมีชว่ งคาดการณ์

ที่ร้อยละ 8.3-10.3) เพิ่มขึ้นจากปี 2556 เนื่องจากคาดว่าจะมีการเร่งน�ำเข้าสินค้าทุกประเภท โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและ สินค้าเชื้อเพลิง ตามความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งท�ำให้มีการน�ำเข้า สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นจากภาคส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อน 2.3 ดุลการค้า3 ➥➥ ดุลการค้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 ขาดดุล 18.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วง 8 เดือนแรก

ของปี 2555 ทีข่ าดดุล 14.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกมีระดับต�ำ่ กว่ามูลค่าการน�ำเข้า โดย 8 เดือน แรก มูลค่าการส่งออกสินค้าอยูท่ ี่ 152.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะทีม่ ลู ค่าการน�ำเข้าสินค้าอยูท่ ี่ 171.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพที่ 25 ประมาณการดุลการค้า

ที่มา : สศค. ดุลการค้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)

3

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

39


➥➥ ในปี 2556 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.4-5.4

พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงจากปี 2555 เนือ่ งจากคาดว่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ในกรอบทีจ่ �ำกัด ขณะทีก่ ารน�ำเข้า จะยังคงขยายตัวได้ดีจากสินค้าหมวดเชื้อเพลิงและวัตถุดิบเป็นส�ำคัญ เป็นผลให้ในปี 2556 จะมีการเกินดุลการค้าลดลงจาก ปี 2555

➥➥ ในปี 2557 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.5-2.5

พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงจากปี 2556 ตามมูลค่าสินค้าน�ำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก

3. ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด ➥➥ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 ขาดดุล 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลสูงขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 8 เดือนแรกของปี 2555 ที่ขาดดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าตามระบบ ดุลการช�ำระเงินเกินดุลเล็กน้อยที่ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้วา่ การส่งออกจะชะลอตัวลงโดยเฉพาะในหมวดสินค้าเกษตรและ สินค้าอุตสาหกรรม ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ ขาดดุล 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งกลับ ก�ำไรและเงินปันผล โดยในเดือนกรกฎาคม 2556 ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ ขาดดุลสูงถึง 1.9 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ภาพที่ 26 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัด

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุลเล็กน้อยที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วง

คาดการณ์ที่ 0.3-2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 0.1-0.6 ของ GDP) เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่เกินดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการส่งออกที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ในขณะที่รายรับจากการท่องเที่ยวคาดว่าจะคงอยู่ในระดับสูงตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัว อย่างต่อเนื่อง ➥➥ ในปี 2557 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุลเล็กน้อยที่ 0.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วง

คาดการณ์ที่ -1.9 ถึง 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ -0.5 ถึง 0.5 ของ GDP) ลดลงจากปี 2555 ทีค่ าดว่าจะเกินดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการน�ำเข้าทีค่ าดว่าจะเร่งตัวขึน้ จากการใช้จา่ ยลงทุนของภาครัฐ โดยเฉพาะ การน�ำเข้าในหมวดสินค้าทุน ถึงแม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวเร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกก็ตาม

40


3.2 อัตราเงินเฟ้อ ➥➥ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลดลงจากปี 2555 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.9

โดยมีสาเหตุหลักจาก (1) ราคาอาหารจ�ำพวกผักและผลไม้ เครื่องประกอบอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ปรับตัวลดลง จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออ�ำนวยและเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวการผลิต ส่งผลให้ปริมาณผลผลิต ทางการเกษตรเพิ่มขึ้น และ (2) ราคาสินค้าเชื้อเพลิงมีแนวโน้มชะลอลงจากราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกตามเศรษฐกิจโลกที่มี การฟื้นตัวอย่างล่าช้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ลดลงจาก ปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เนื่องจากราคาอาหารส�ำเร็จรูปในปี 2556 ไม่ได้เร่งตัวรุนแรงเช่นเดียวกับปี 2555 ที่ผ่านมา ภาพที่ 27 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไป

ที่มา : สศค.

➥➥ ส�ำหรับปี 2556 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.1-2.6)

ลดลงจากปีกอ่ นหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากราคาน�ำ้ มันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงตามเศรษฐกิจโลกทีฟ่ น้ื ตัวอย่างค่อยเป็น ค่อยไป ประกอบกับประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถผลิตน�้ำมัน (Shale Gas) เพื่อตอบสนองอุปสงค์ภายในประเทศของตนเอง ได้มากขึ้น อีกทั้งภาครัฐมีมาตรการดูแลราคาน�้ำมันขายปลีกภายในประเทศท�ำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อ อาจเพิ่มขึ้นได้จากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอียิปต์และประเทศซีเรีย ซึ่งอาจส่งผลชั่วคราวต่ออุปทานน�้ำมันดิบโลกได้ ทั้งนี้ การคาดการณ์ดังกล่าวได้รวมผลของนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศ และนโยบายการเพิ่มราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนไว้ด้วยแล้ว (เพิ่มจากราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 25.30 บาทต่อกิโลกรัม) การเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) งวดเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคมมาอยู่ที่ 54 สตางต์ต่อหน่วย การขึ้นค่าผ่านทางพิเศษประมาณ 5-10 บาท ของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงาน และอาหารสด คาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.1 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.9-1.4) ➥➥ ส�ำหรับปี 2557 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปในปี 2557 จะอยูท ่ รี่ อ้ ยละ 2.8 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ

2.3-3.3) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า อันเป็นผลจากการเร่งขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ และแรงกดดันด้านต้นทุนที่มี แนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลก

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

41


ภาคการคลัง รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลัง ปีงบประมาณ 2556 บทสรุปผู้บริหาร ปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลยังคงจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุล (Expansionary Fiscal Policy) ต่อเนือ่ งจาก ปีงบประมาณ 2555 โดยในปีงบประมาณ 2556 มีการจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 300 พันล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาล ยังได้ด�ำเนินงานตามโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2553 รวมถึงได้มีแผนการลงทุน โครงสร้างพืน้ ฐานของประเทศไทย ซึง่ รวมถึงแผนบริหารจัดการน�ำ้ ในระยะยาวของภาครัฐทีม่ วี งเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท ❍❍ ในปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–กันยายน 2556) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เป็นไปตาม เป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ โดยจัดเก็บได้ 2,157.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่า ประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 57.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 โดยรายได้ของส่วนราชการอื่นจัดเก็บได้สูงกว่า ประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 47.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 45.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บรายได้สัมปทาน ปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ และการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีสังกัดกระทรวงการคลังสูงกว่าประมาณการ ตามเอกสารงบประมาณ 9.1 พันล้านบาท ส�ำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณ รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณของ ปีงบประมาณ 2556 เท่ากับ 2,402.5 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 107.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.7 ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบันจ�ำนวน 2,171.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 90.5 ของวงเงินงบประมาณ (2,400 พันล้านบาท) ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 1.1 และรายจ่ายปีก่อน 231.0 พันล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 57.3 ในส่วนของ ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลขาดดุล 238.4 พันล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 244.9 พันล้านบาท และการเกินดุลเงินนอกงบประมาณจ�ำนวน 6.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน โดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้จ�ำนวน 281.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล) เกินดุลเท่ากับ 43.6 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 603.9 พันล้านบาท ❍❍ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556 มีจ�ำนวน 5,300.1 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.6 ของ GDP และเมือ่ เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนีส้ าธารณะเพิม่ ขึน้ สุทธิ 74.3 พันล้านบาท โดยหนีข้ องรัฐบาล หนีร้ ฐั วิสาหกิจ ที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐเพิ่มขึ้น 37.5 พันล้านบาท 33.0 พันล้านบาท 4.5 พันล้านบาท และ 0.35 ล้านบาท ตามล�ำดับ ทั้งนี้ ระดับหนี้สาธารณะคงค้างอยู่ในระดับ ที่มีเสถียรภาพ สะท้อนได้จาก (1) หนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ภายในประเทศถึงร้อยละ 92.9 ของหนี้สาธารณะคงค้าง (2) หนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ระยะยาวถึงร้อยละ 97.8 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ (3) สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ก�ำหนดสัดส่วนไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 60.0 ❍❍ ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจสะสมในช่วงปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–กันยายน 2556) เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 168.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 54.2 ของแผนงบลงทุนทั้งปี โดยรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงาน ตามปีงบประมาณเบิกจ่ายงบลงทุนได้จำ� นวน 70.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.9 ของแผนงบลงทุนทัง้ ปี ขณะทีร่ ฐั วิสาหกิจ ที่ด�ำเนินงานตามปีปฏิทินเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 98.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50.8 ของแผนงบลงทุนทั้งปี ❍❍

42


1. ผลการด�ำเนินนโยบายการคลังปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–กันยายน 2556) 1.1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2556 ในปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–กันยายน 2556) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่ก�ำหนดไว้ โดยจัดเก็บได้ 2,157.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าประมาณการ ตามเอกสารงบประมาณ 57.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 โดยสาเหตุส�ำคัญมาจากการจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่น ที่สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ จ�ำนวน 47.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 45.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บ รายได้สัมปทานปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ นอกจากนี้ยังมีรายได้พิเศษนอกเหนือจากที่ประมาณการไว้ที่ส�ำคัญ เช่น รายได้ จากการประมูลให้ใช้คลืน่ ความถี่ 3G ย่าน 2.1 GHz และการส่งคืนเงินทีก่ นั ไว้เพือ่ ชดเชยค่าภาษีอากรส�ำหรับผูส้ ง่ ออกสินค้า ฯลฯ ทั้งนี้ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณที่ส�ำคัญ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา สะท้อนถึงกิจกรรมและธุรกรรมทางเศรษฐกิจทีย่ งั ด�ำเนินไปได้ดว้ ยดี ประกอบกับผลจากมาตรการ สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาครัฐที่ท�ำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีนี้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยในปีนี้ การจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีสังกัดกระทรวงการคลังสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9.1 พันล้านบาท โดยมีรายละเอียดการจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่ส�ำคัญ ดังนี้ กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 1,764.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ตำ�่ กว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.5 โดยมีสาเหตุสำ� คัญมาจากภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล จัดเก็บได้ต�่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 47.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 7.4 (แต่สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 8.8) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในปีนี้ยังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น�้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ส่งผลให้การช�ำระภาษีจากก�ำไรสุทธิรอบปีบญ ั ชี (ภ.ง.ด. 50) และจากประมาณการก�ำไรสุทธิครึง่ รอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด. 51) จัดเก็บได้ต�่ำกว่าประมาณการ ส�ำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต�่ำกว่าประมาณการ ตามเอกสารงบประมาณ 11.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการน�ำเข้าจัดเก็บได้ต�่ำกว่าประมาณการ สืบเนื่องจากมูลค่าน�ำเข้า ที่ชะลอตัวลง ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคในประเทศยังจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ สะท้อนการบริโภค ในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณที่ส�ำคัญ ได้แก่ (1) ภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 24.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 8.7 สะท้อนถึงรายได้ภาคครัวเรือน โดยเฉพาะ ฐานเงินเดือนและฐานเงินฝากที่ขยายตัวได้ดี (2) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 16.3 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 16.8 สืบเนื่องจากผลประกอบการในธุรกิจปิโตรเลียมที่เติบโตดี และ (3) ภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 8.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 20.4 สาเหตุส�ำคัญมาจากภาษีที่เก็บจากธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ ตามเอกสารงบประมาณ ❍❍

กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 432.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 20.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.1 โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ ตามเอกสารงบประมาณที่ส�ำคัญ ได้แก่ (1) ภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 31.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 26.1 สืบเนือ่ งจากโครงการรถยนต์คนั แรกเป็นส�ำคัญ (2) ภาษียาสูบจัดเก็บได้สงู กว่าประมาณการ ตามเอกสารงบประมาณ 7.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 13.2 เนือ่ งจากการปรับเพิม่ อัตราภาษีสรรพสามิตยาสูบเมือ่ เดือนสิงหาคม 2555 และ (3) ภาษีเบียร์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 จากปริมาณ การบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภาษีน�้ำมันและภาษีสุราจัดเก็บได้ต�่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 17.2 พันล้านบาท และ 7.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 21.3 และร้อยละ 12.2 ตามล�ำดับ ❍❍

กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 113.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น และต�่ำกว่า ประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.2 โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต�่ำกว่าประมาณการ ตามเอกสารงบประมาณ 3.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.6 เป็นผลจากมูลค่าน�ำเข้าที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้ มูลค่าการน�ำเข้าในรูป ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

43


ดอลลาร์สหรัฐและเงินบาท ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–สิงหาคม 2556) ขยายตัวร้อยละ 7.4 และร้อยละ 4.3 ตามล�ำดับ ซึ่งต�่ำกว่าอัตราการขยายตัวที่ประมาณการไว้ ส�ำหรับสินค้าที่จัดเก็บอากรขาเข้าได้สูงสุด ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบรถยนต์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า และ ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า รัฐวิสาหกิจ น�ำส่งรายได้ 101.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่า ประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.4 โดยรัฐวิสาหกิจที่น�ำส่งรายได้หรือเงินปันผลสูงกว่า ประมาณการที่ส�ำคัญ ได้แก่ บมจ.ทีโอที ธนาคารออมสิน และ บมจ.กสท โทรคมนาคม ❍❍

หน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 159.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 49.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 45.8 ส่วนหนึง่ เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้สมั ปทาน ปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ เนื่องจากปริมาณปิโตรเลียมที่ขุดเจาะสูงกว่าที่คาดไว้ ประกอบกับกรมธนารักษ์จัดเก็บรายได้ สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 46.5 สืบเนื่องจากการจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์ หมุนเวียนและเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเป็นส�ำคัญ นอกจากนี้ยังมีรายได้พิเศษนอกเหนือจากที่ประมาณการไว้ที่ส�ำคัญ เช่น รายได้จากการประมูลให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ย่าน 2.1 GHz จ�ำนวน 20.8 พันล้านบาท การส่งคืนเงินที่กันไว้เพื่อชดเชย ค่าภาษีอากรส�ำหรับผู้ส่งออกสินค้า จ�ำนวน 8.2 พันล้านบาท และการเหลื่อมน�ำส่งรายได้จากก�ำไรสุทธิประจ�ำปี 2553 ของ กสทช. จ�ำนวน 1.7 พันล้านบาท ฯลฯ ❍❍

การคืนภาษีของกรมสรรพากร จ�ำนวน 287.6 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 7.1 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 2.5 ประกอบด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 232.1 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.2 และการคืนภาษีอื่น ๆ (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์) 55.5 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 ❍❍

การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จ�ำนวน 15.7 พันล้านบาท สูงกว่า ประมาณการ 0.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 และเงินกันชดเชยภาษีสำ� หรับสินค้าส่งออก จ�ำนวน 17.0 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับ ที่ประมาณการไว้ ❍❍

การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามพระราชบัญญัติก�ำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอ�ำนาจฯ จ�ำนวน 93.6 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการ 4.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.4 เป็นผลจาก การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต�่ำกว่าประมาณการและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงกว่าประมาณการ (การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ อปท.จะจัดสรรจากฐานจัดเก็บสุทธิคือภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บหักการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ❍❍

44


ตารางที่ 1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-กันยายน 2556)

(หน่วย : ล้านบาท) ประมาณการตามเอกสาร เปรียบเทียบปีนี้กับ ที่มาของรายได้ ปีนี้ ปีที่แล้ว งบประมาณทั้งปีเท่ากับ ปีก่อนหน้า ประมาณการ ร้อยละ 2,100,000 ล้านบาท (ร้อยละ) เอกสารงบประมาณ

1. กรมสรรพากร 1,764,707 1,617,294 1.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม 698,087 659,804 1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล 592,499 544,591 1.3 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 299,034 266,203 1.4 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 113,291 97,097 1.5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ 48,771 41,057 1.6 อากรแสตมป์ 12,735 11,180 1.7 รายได้อื่น 290 362 2. กรมสรรพสามิต 432,868 379,651 2.1 ภาษีน�้ำมันฯ 63,532 61,061 2.2 ภาษีรถยนต์ 153,874 117,145 2.3 ภาษีเบียร์ 69,086 64,893 2.4 ภาษียาสูบ 67,891 59,915 2.5 ภาษีสุราฯ 52,671 53,500 2.6 ภาษีเครื่องดื่ม 17,838 16,208 2.7 ภาษีรถจักรยานยนต์ 2,909 2,318 2.8 ภาษีแบตเตอรี่ 2,294 2,126 2.9 ภาษีเครื่องใช้ไฟฟ้า 1,002 977 2.10 ภาษีอื่น 1,207 1,097 2.11 รายได้อื่น 564 411 3. กรมศุลกากร 113,382 118,974 3.1 อากรขาเข้า 110,618 116,325 3.2 อากรขาออก 254 323 3.3 รายได้อื่น ๆ 2,510 2,326 รวมรายได้ 3 กรม 2,310,957 2,115,919 4. รัฐวิสาหกิจ 101,448 122,749 5. หน่วยงานอื่น 159,016 116,642 5.1 ส่วนราชการอื่น 152,568 112,268 5.2 กรมธนารักษ์ 6,448 4,374 รวมรายได้จัดเก็บ (Gross) 2,571,421 2,355,310 หัก 1. คืนภาษีของกรมสรรพากร 287,641 260,374 - ภาษีมูลค่าเพิ่ม 232,112 216,012 - ภาษีอื่น ๆ 55,529 44,362 2. จัดสรรรายได้จาก VAT ให้ อบจ. 15,701 14,815 3. เงินกันชดเชยภาษีส�ำหรับสินค้า 16,992 15,280 ส่งออก รวมรายได้สุทธิ (Net) 2,251,087 2,064,841 หักเงินสรรจาก VAT ให้ อปท. 93,613 88,965 ตาม พ.ร.บ.ก�ำหนดแผนฯ รวมรายได้สุทธิ 2,157,474 1,975,876 หลังหักการจัดสรร อปท.

1,774,000 710,000 640,000 275,000 97,000 40,500 11,250 250 412,000 80,730 122,000 66,000 60,000 60,000 16,000 2,500 2,400 840 1,118 412 115,900 113,600 300 2,000 2,301,900 100,000 109,100 104,700 4,400 2,511,000 280,500 227,200 53,300 15,600

9.1 5.8 8.8 12.3 20.4 18.8 13.9 (19.9) 14.0 4.0 31.4 6.5 13.3 (1.5) 10.1 25.5 7.9 2.6 10.0 37.2 (4.7) (4.9) (21.4) 7.9 9.2 (17.4) 36.3 35.9 47.4 9.2 10.5 7.5 25.2 6.0

(9,293) (11,913) (47,501) 24,034 16,291 8,271 1,485 40 20,868 (17,198) 31,874 3,086 7,891 (7,329) 1,838 409 (106) 162 89 152 (2,518) (2,982) (46) 510 9,057 1,448 49,916 47,868 2,048 60,421 7,141 4,912 2,229 101

(0.5) (1.7) (7.4) 8.7 16.8 20.4 13.2 16.0 5.1 (21.3) 26.1 4.7 13.2 (12.2) 11.5 16.4 (4.4) 19.3 8.0 36.9 (2.2) (2.6) (15.3) 25.5 0.4 1.4 45.8 45.7 46.5 2.4

17,000

11.2

(8)

(0.0)

2,197,900

9.0

53,187

2.4

97,900

5.2

(4,287)

(4.4)

2,100,000

9.2

57,474

2.7

2.5 2.2 4.2 0.6

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

45


2.2 สรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–กันยายน 2556) ผลการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2556 เท่ากับ 2,402.5 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของ ปีที่แล้ว 107.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.7 ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบันจ�ำนวน 2,171.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 90.5 ของวงเงินงบประมาณ (2,400 พันล้านบาท) ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 1.1 และรายจ่ายปีก่อน 231.0 พันล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 57.3 ทัง้ นี้ รายจ่ายปีปจั จุบนั จ�ำนวน 2,171.5 พันล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจ�ำ 1,894.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 95.1 ของวงเงินรายจ่ายประจ�ำ ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 1.2 และรายจ่ายลงทุน 276.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 67.2 ของวงเงินรายจ่ายลงทุน ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 0.4 ตารางที่ 2 สรุปผลการเบิกจ่ายรายจ่ายรัฐบาลปีงบประมาณ 2556

(หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ เปรียบเทียบ ประเภทรายจ่ าย 2556 2555 จ�ำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 2,171,459 2,148,475 22,984 1.1 1.1 รายจ่ายประจ�ำ 1,894,885 1,873,067 21,818 1.2 1.2 รายจ่ายลงทุน 276,574 275,408 1,166 0.4 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 231,022 146,852 84,170 57.3 3. รายจ่ายรวม (1+2) 2,402,481 2,295,327 107,154 4.7 ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

นอกจากนี้รัฐบาลได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือนตุลาคม 2552–กันยายน 2556) โดยมีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 327.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 93.3 ของวงเงิน 348.9 พันล้านบาท และการเบิกจ่ายตามพระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้าง อนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือนกุมภาพันธ์ 2555–กันยายน 2556) โดยมีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 15.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของวงเงิน 350 พันล้านบาท 2.3 ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–กันยายน 2556) ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–กันยายน 2556) รัฐบาลขาดดุล 238.4 พันล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 244.9 พันล้านบาท และการเกินดุลเงินนอกงบประมาณจ� ำนวน 6.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน โดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้จ�ำนวน 281.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล) เกินดุลเท่ากับ 43.6 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 603.9 พันล้านบาท ตารางที่ 3 ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2556

(หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ เปรียบเทียบ 2556 2555 จ�ำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 2,157,609 1,977,670 179,939 9.1 2. รายจ่าย 2,402,481 2,295,327 107,154 4.7 3. ดุลเงินงบประมาณ (244,872) (317,657) 72,785 (22.9) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 6,510 12,620 (6,110) (48.4) 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (238,362) (305,037) 66,675 (21.9) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 281,949 344,084 (62,135) (18.1) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 43,587 39,047 4,540 11.6 8. เงินคงคลังปลายงวด 603,924 560,337 43,587 7.8 ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

46


2.4 หนี้สาธารณะ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556 มีจ�ำนวน 5,300.1 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.6 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,678.1 พันล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,097.0 พันล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ ทีเ่ ป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�ำ้ ประกัน) 524.1 พันล้านบาท และหนีห้ น่วยงานอืน่ ของรัฐ 0.8 พันล้านบาท และเมือ่ เปรียบเทียบกับ เดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 74.3 พันล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาล หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาล ค�้ำประกัน) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐเพิ่มขึ้น 37.5 พันล้านบาท 33.0 พันล้านบาท 4.5 พันล้านบาท และ 0.35 ล้านบาท ตามล�ำดับ ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง ทั้งนี้ ระดับหนี้สาธารณะ คงค้างอยูใ่ นระดับทีม่ เี สถียรภาพ สะท้อนได้จาก (1) หนีส้ าธารณะคงค้างเป็นหนีภ้ ายในประเทศถึงร้อยละ 92.9 ของหนีส้ าธารณะ คงค้าง (2) หนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ระยะยาวถึงร้อยละ 97.8 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ (3) สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้าง ต่อ GDP ยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ก�ำหนดสัดส่วนไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 60.0

ภาพที่ 1 ยอดคงค้างหนี้สาธารณะและสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP รายเดือน

ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

ตารางที่ 4 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556

(หน่วย : ล้านบาท)

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ เดือน ก.ย. 55 ณ เดือน ส.ค 56 เปรียบเทียบกับ จ�ำนวน % GDP จ�ำนวน % GDP จ�ำนวน ร้อยละ 1. หนี้ของรัฐบาล 3,515,011 32.4 3,678,124 31.0 163,113 4.6 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,064,288 9.8 1,097,038 9.2 32,750 3.1 3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน 352,207 3.2 524,133 31.0 163,113 4.6 (รัฐบาลค�้ำประกัน) 4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ - - - - 0 0.0 5. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 5,732 0.1 835 0.0 -4,898 -85.4 หนี้สาธารณะรวม (1+2+3+4+5) 4,837,238 45.5 5,300,130 44.6 362,891 7.4 ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

47


2.5 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–มิถุนายน 2556) กรอบอนุมัติงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ของรัฐวิสาหกิจรวม 46 แห่ง จ�ำนวนทั้งสิ้น 310.9 พันล้านบาท ในช่วงปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–กันยายน 2556) รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ทั้งสิ้น 168.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 54.2 ของแผนงบลงทุนทั้งปี โดยรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีงบประมาณเบิกจ่าย งบลงทุนได้จำ� นวน 70.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.9 ของแผนงบลงทุนทัง้ ปี ขณะทีร่ ฐั วิสาหกิจทีด่ ำ� เนินงานตามปีปฏิทนิ เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 98.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50.8 ของแผนงบลงทุนทั้งปี

ตารางที่ 5 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-กันยายน 2556)

(หน่วย : ล้านบาท)

แผนเบิกจ่าย ผลการเบิกจ่ายจริง % ผลการเบิกจ่ายจริง สะสมตั้งแต่ต้นปี ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ แผนงบลงทุนทั้งปี สะสมตั้งแต่ต้นปี สะสมตั้งแต่ต้นปี ต่ อ แผนงบลงทุนทั้งปี (ต.ค. 55-ก.ย. 56) (ต.ค. 55-ก.ย. 56) (ต.ค. 55-ก.ย. 56)

(1) รัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตาม ปีงบประมาณ จ�ำนวน 35 ราย (37.7%) การรถไฟแห่งประเทศไทย (13.6%) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย (8.6%) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) (2.4%) การประปานครหลวง (1.8%) การประปาส่วนภูมิภาค (1.7%) (2) รัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีปฏิทิน จ�ำนวน 11 ราย (62.3%) บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) (20.6%) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (13.3%) บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) (13.3%) บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) (3.1%) บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) (3.0%) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (4.6%) การไฟฟ้านครหลวง (4.0%) รวม (1) + (2)

117,541

117,529

70,381

59.9%

49,583

49,894

19,502

39.1%

18,583

18,583

20,249

109.0%

8,903

8,903

1,960

22.0%

6,592 6,950

6,592 6,950

5,018 6,754

76.1% 97.2%

193,396

116,058

98,160

50.8%

52,618

26,005

17,792

33.8%

37,309

22,652

22,436

60.1%

48,519

35,451

25,179

51.9%

12,017

8,995

9,498

79.0%

10,904

7,144

7,313

67.1%

17,079 12,712 310,937

9,152 5,176 233,588

9,153 5,494 168,541

53.6% 43.2% 54.2%

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง

48


Macroeconomic Analysis Briefing บทวิเคราะห์ เรื่อง 2013 Technical Recession : This time is different

1

บทสรุปผู้บริหาร ปรากฏการณ์ Technical Recession ที่เกิดขึ้นในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 จากการที่ Real GDP ขยายตัวติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาสนั้นมีสาเหตุมาจากการหดตัวรายไตรมาสติดต่อกัน ในด้านการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกสินค้าและบริการ ❍❍ การส่งออกทีห ่ ดตัวเกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการปรับตัวทางเศรษฐกิจ ของจีน ส่วนการบริโภคเกิดจากการหดตัวของการบริโภคหมวดยานยนต์เป็นส�ำคัญ หลังจากมีการเร่งบริโภค ทั้งจากการฟื้นตัวหลังภาวะอุทกภัยในปลายปี 2554 และนโยบายรถคันแรก อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 ตัวแปรมีแนวโน้ม การฟืน้ ตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ประกอบกับเมือ่ ทดลองท�ำการแยกเอาผลกระทบของนโยบายรถคันแรกออกจาก การพิจารณาพบว่า อุปสงค์การใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ยังท�ำงานได้ดีและยังมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีแรงเสริมเข้ามา ในครึ่งปีหลัง ด้วยการฟื้นตัวของปัจจัยลบและความต่อเนื่องของปัจจัยบวก ท�ำให้ Recession ในครั้งนี้อาจ กินเวลาเพียงช่วงสั้น ๆ เท่านั้น ❍❍ ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศเมื่อวัดด้วยตัวชี้วัดส�ำคัญ 6 ตัว ยังถือว่ามีสถานะอยู่ในระดับแข็งแกร่ง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประสบการณ์ Recession 2 ครั้งก่อนหน้า ในรอบ 30 ปีของประเทศไทย คือ วิกฤติต้มย�ำกุ้งในช่วงปี 2540 และวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในช่วงปี 2551 พบว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับภาวะ Recession เหมือนกัน แต่สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบนั มีเสถียรภาพทีด่ กี ว่า 2 ครั้งก่อนอยู่มาก ดังนั้น สถานการณ์ Technical Recession ทางเศรษฐกิจในครั้งนี้จึงไม่สามารถนับว่าเป็นวิกฤติ ทางเศรษฐกิจที่รุนแรงได้ ❍❍

1. บทน�ำ ปรากฏการณ์การถดถอยเชิงเทคนิค หรือ Technical Recession หมายความถึง การที่อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ มวลรวมที่แท้จริงของประเทศ หรือ Real GDP เมื่อเปรียบเทียบในแบบไตรมาสต่อไตรมาสหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล (QoQsa) หดตัวเป็นเวลา 2 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2556 ทีผ่ า่ นมา โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 มีอตั ราการเติบโตแบบ QoQsa อยูท่ รี่ อ้ ยละ -1.7 และร้อยละ -0.3 ตามล�ำดับ ด้วยปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกนิยามไว้อย่างแคบด้วยเงื่อนไขทางตัวเลขเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ค� ำนึงถึงบริบททาง เศรษฐกิจในเวลานัน้ จึงน�ำไปสูก่ ารตัง้ ข้อสงสัยต่อสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ว่ามาจากสาเหตุใดและจะน�ำไปสูอ่ ะไร จุดทีช่ วนให้คดิ ว่า Technical Recession ครัง้ นีแ้ สดงถึงความตกต�ำ่ หรือไม่นนั้ มาจากปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจทีแ่ ตกต่างไปจากความตกต�ำ่ ทางเศรษฐกิจ หรือ Recession ตามความเข้าใจโดยทั่วไป กล่าวคือ ประการแรก อาจเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจไทยเกิดการปรับตัวหลังจาก การเติบโตในอัตราที่สูงเป็นพิเศษในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อนหน้า และ ประการที่สอง เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยที่ยังแข็งแกร่ง ไม่ว่าจะด้วยมาตรวัดใด ต่างกับสถานการณ์ในสมัยวิกฤติต้มย�ำกุ้งเมื่อปี 2540 อีกทั้งเศรษฐกิจไทยก็ไม่ได้ถูกกระทบจาก วิกฤติภายนอกดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2551 สองข้อสังเกตดังกล่าวจึงน�ำไปสู่การวิเคราะห์ต่อปรากฏการณ์ในบทความนี้ เพื่อพิจารณาว่า Technical Recession นั้นมีนัยส�ำคัญต่อพื้นฐานเศรษฐกิจไทยหรือไม่ อย่างไร ? ผู้เขียน : นายกระแสร์ รังสิพล เศรษฐกรปฏิบัติการ ขอขอบคุณส�ำหรับค�ำแนะน�ำจาก ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค คุณวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการฯ และขอขอบคุณความอนุเคราะห์ด้านข้อมูลจากคุณธนิต ภัทรแสงไทย และ คุณอรอุมา หนูช่วย ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

49


บทวิเคราะห์นี้เป็นการศึกษาใน 2 มิติ ได้แก่ มิติแรก จะพิจารณาถึงสาเหตุของการเกิด Technical Recession ว่าเกิดจากองค์ประกอบใด และองค์ประกอบทีเ่ ป็นสาเหตุนนั้ จะมีแนวโน้มอย่างไรต่อไป กล่าวโดยเฉพาะเจาะจงคือ องค์ประกอบ ดังกล่าวจะน�ำไปสูไ่ ตรมาสที่ 3 ของ Technical Recession หรือไม่ ส่วนการศึกษาในมิตทิ สี่ องจะเป็นการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ Technical Recession ในปัจจุบันกับ Recession ที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหมือนและต่างกันอย่างไร ทั้งในแง่ของอุปสงค์โดยรวม และด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ

มิติที่ 1 : สาเหตุของ 2013 Technical Recession ในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.7 และร้อยละ -0.3 ตามล�ำดับ เกิดเป็น Technical Recession การพิจารณาหาสาเหตุของปรากฏการณ์ดังกล่าวจะท�ำโดยการวิเคราะห์ ในองค์ประกอบย่อยของ GDP ด้านรายจ่าย ซึ่งประกอบไปด้วยการบริโภคจากเอกชนและรัฐ การลงทุนจากเอกชนและรัฐ การส่งออกและการน�ำเข้า โดยพิจารณาว่าแต่ละรายการมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในช่วงเวลาที่เกิด Technical Recession เมือ่ ดูจากอัตราการเติบโตจากตารางที่ 1 จะเห็นได้วา่ มีองค์ประกอบหลัก 2 ประการทีน่ �ำไปสูก่ ารถดถอยเชิงเทคนิค นัน่ คือ การบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกสินค้าและบริการ ทีต่ ดิ ลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส ส�ำหรับในภาคการส่งออกเป็นทีท่ ราบกันดี ว่าเศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตัวลงในช่วงครึง่ ปีแรกมากกว่าทีห่ ลายฝ่ายคาด ท�ำให้ประเทศไทยได้รบั ผลกระทบผ่านการชะลอตัว ของการส่งออกสินค้า แม้วา่ ส่งออกภาคบริการในครึง่ ปีแรกของปี 2556 จะมีอตั ราการขยายตัวดีถงึ ร้อยละ 24.1 เมือ่ เทียบกับครึง่ ปีแรกในปี 2555 น�ำโดยภาคการท่องเที่ยว แต่จากการที่มูลค่าการส่งออกบริการมีสัดส่วนที่น้อยกว่า (คิดเป็นร้อยละ 20.6 ของ มูลค่าการส่งออกที่แท้จริงรวมในปี 2555) ท�ำให้ตัวเลขรวมได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของการส่งออกสินค้า อย่างไรก็ดี การชะลอตัวดังกล่าวไม่ได้ถึงกับอยู่ในระดับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด โดยสาเหตุจากการชะลอตัวนั้นมาจากการที่ ประเทศคู่ค้าหลักของไทย คือ ประเทศจีนมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจซึ่งท� ำให้หลายประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบ และ ส่งผลกระทบแก่ไทยอีกต่อหนึ่ง อย่างไรก็ดี คาดว่าการส่งออกที่ชะลอตัวจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากมีการคาดว่า เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวในปีหน้า2 และสถานการณ์ในจีนก็อยู่ในระดับที่ควบคุมได้แล้ว3 และไม่ได้น�ำไปสู่วิกฤติทางเศรษฐกิจ ส�ำหรับประเทศจีนแต่อย่างใด ท�ำให้มีความเป็นไปได้ที่เราจะได้เห็นการฟื้นตัวของการส่งออกของไทยในเร็ววัน ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวแบบไตรมาสต่อไตรมาสหลังปรับผลทางฤดูกาล (QoQsa) ขององค์ประกอบด้าน รายจ่ายของ GDP ที่แท้จริง Private Public Private Public Export Import Real GDP Consumption Consumption Investment Investment G&S G&S 2556Q1 2556Q2

-1.7 -0.3

-1.3 -1.9

-4.2 7.5

-3.1 1.8

-6.7 3.1

-0.6 -1.4

0.5 0.7

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และค�ำนวณโดยผู้เขียน

อีกสาเหตุของ Technical Recession ในครั้งนี้ก็คือ การหดตัวของการบริโภคภาคเอกชน เราจะท�ำการพิจารณาเจาะลึก เพื่อให้ทราบว่าการบริโภคในหมวดใดเป็นสาเหตุและมีแนวโน้มอย่างไรต่อไป โดยจะวิเคราะห์ด้วยการค�ำนวณแหล่งที่มาของ การขยายตัว หรือ Contribution to growth ซึ่งมีสูตรการค�ำนวณดังสมการด้านล่างนี้

IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลก (ณ เดือนตุลาคม 2556) เติบโตร้อยละ 2.9 ร้อยละ 3.6 ในปี 2556 และปี 2557 ตามล�ำดับ ด้าน World Bank (ณ เดือนมิถุนายน 2556) คาดไว้ที่ร้อยละ 3.1 และร้อยละ 3.8 3 บทความ “China Is Going To Slow Down But It Can Handle It” จากไฟแนนเชียลไทมส์ และบทความ “China's Slow Growth Can Be Good News” จากฟอร์บส ได้ชี้ว่าการชะลอตัวลงของจีนเป็นเพียงการปรับตัวเพื่อจะน�ำไปสู่แนวทางการเติบโตทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ที่น�ำไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาว 2

50


เมือ่ ค�ำนวณตามสมการดังกล่าวในแต่ละรายการ จะพบว่ามี 5 ประเภทของการบริโภคภาคเอกชนด้วยกันทีต่ ดิ ลบต่อเนือ่ ง 2 ไตรมาสติดต่อกัน ได้แก่ การบริโภคภาคเอกชนในหมวดเคมีภัณฑ์ (สัดส่วนร้อยละ 12.6) หมวดยางและพลาสติก (สัดส่วน ร้อยละ 3.0) หมวดเครื่องจักร (สัดส่วนร้อยละ 2.9) หมวดยารักษาโรค (สัดส่วนร้อยละ 0.5) และหมวดยานยนต์ (สัดส่วนร้อยละ 11.1) ส�ำหรับ 4 รายการแรกมีแนวโน้มการหดตัวที่ลดลงอย่างชัดเจน แต่มีส่วนต่อการหดตัวของการบริโภคภาคเอกชนโดยรวม ไม่มากนัก แต่รายการที่เป็นแหล่งที่มาที่ตัวใหญ่สุดและมีการหดตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาสที่ 2 ได้แก่ การบริโภคสินค้า ยานยนต์หรือ Transport equipment (ภาพที่ 1 และตารางที่ 2) ภาพที่ 1 แหล่งที่มาของการขยายตัวแบบ QoQsa ของการบริโภคภาคเอกชน ในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ปี 2556

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และค�ำนวณโดยผู้เขียน

ตารางที่ 2 อัตราการขยายตัวแบบ QoQsa และแหล่งที่มาของการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ปี 2556 Private consumption growth by category Agriculture Live animals Fish Ores, Minerals Meat, Fish, Vegetables Dairy Grain mill products Beverages Tobacco Textiles Wood, Paper Coke, Chemical Products Rubber, Plastic, Glass Furniture Metal products Machinery Medical Transport equipment Trade, Services Hotel, Restaurants Transport services Telecommunication Business services Education, Health, Social Community, Personal Expenditure: resident abroad (less) Expenditure: non-resident Private Consumption

2556Q1 QoQsa contribution 4.7 0.2 -1.2 0.0 5.7 0.1 -3.2 -0.1 -8.4 -0.4 -2.7 0.0 3.6 0.2 0.3 0.0 4.6 0.0 1.5 0.1 1.5 0.0 -5.6 -0.7 -2.3 -0.1 1.2 0.0 7.4 0.1 -12.6 -0.4 -1.1 0.0 -6.4 -0.9 3.0 0.0 2.5 0.3 4.3 0.2 1.7 0.1 -5.0 -0.6 1.3 0.0 -1.4 0.0 0.1 0.0 -2.5 -0.4 -1.3 -1.3

QoQsa 1.1 1.5 -0.2 2.7 5.9 2.8 -1.0 1.7 2.0 1.1 1.9 -1.5 -1.1 14.6 -1.8 -3.2 -3.2 -22.1 2.3 5.5 4.4 0.7 6.6 2.0 0.8 0.7 8.4 -1.9

2556Q2

contribution 0.1 0.0 0.0 0.1 0.3 0.0 0.0 0.2 0.0 0.1 0.0 -0.2 0.0 0.3 0.0 -0.1 0.0 -2.8 0.0 0.6 0.3 0.0 0.7 0.0 0.0 0.0 1.5 -1.9

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และค�ำนวณโดยผู้เขียน

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

51


ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าว เราจึงตั้งสมมติฐานได้ว่า การเร่งตัวของการบริโภครถยนต์ในช่วงก่อนหน้าน่าจะเป็นสาเหตุ ให้เศรษฐกิจเร่งตัวเกินกว่าระดับศักยภาพ โดยอัตราการเติบโตของการบริโภครถยนต์สงู ขึน้ มากในช่วงหลังน�ำ้ ท่วมจากการทะลัก ของอุปสงค์ที่คงค้าง และอุปสงค์เพื่อการทดแทนรถที่เสียหายจากน�้ำท่วม กระนั้นก็ตามเมื่อเจาะลึกลงไปอีกชั้นในรายประเภทของรถยนต์ที่จัดอยู่ในหมวดการบริโภคแยกตามขนาดเครื่องยนต์ พบว่า รถยนต์นั่งขนาดต�่ำกว่า 1,500 cc ในปี 2555 มียอดขายและอัตราการเติบโตสูงกว่ายอดขายรถยนต์นั่งประเภทอื่น ๆ ในปีเดียวกันอย่างเห็นได้ชดั (ภาพที่ 2 และตารางที่ 3) ทัง้ นี้ มีสาเหตุมาจากนโยบายรถคันแรกทีใ่ ห้สทิ ธิเงินคืนภาษีสำ� หรับผูซ้ อื้ รถ ที่มีขนาดเครื่องยนต์ต�่ำกว่า 1,500 cc ซึ่งเป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้การบริโภคภาคเอกชนพุ่งสูงขึ้นตามกัน และเมื่อน�ำยอดขายของ รถยนต์นั่งขนาดดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับยอดขายของรถขนาดอื่น ๆ จะพบว่า รถยนต์นั่งขนาด 1,501-2,500 cc ซึ่งโดยปกติ ในช่วง 5 ปีกอ่ นหน้า (ปี 2550-2554) มีจำ� นวนยอดขายรวมกันคิดเป็นประมาณร้อยละ 80-90 ของรถยนต์ขนาดต�ำ่ กว่า 1,500 cc แต่ในช่วงปี 2555 ที่รัฐบาลออกนโยบายดังกล่าว รถยนต์ขนาด 1,501-2,500 cc มียอดขายคิดเป็นสัดส่วนลดลงเหลือเพียง ประมาณร้อยละ 50 ของรถยนต์ขนาด 1,500 cc เมื่อนโยบายรถคันแรกน�ำไปสู่การเติบโตในแบบพิเศษ จึงควรที่จะท�ำการทดลองถอดผลกระทบจากนโยบายรถคันแรก ออกในการวิเคราะห์พื้นฐานของอุปสงค์ในส่วนอื่น ๆ เพื่อดูว่านอกจากนโยบายดังกล่าวแล้ว การบริโภคภาคเอกชนส่วนอื่น มีปัญหาหรือไม่ การวิเคราะห์ในแง่นี้จะท�ำโดยสมมติให้อัตราการเติบโตของการบริโภคหมวดยานยนต์ (Transport equipment) เท่ากับอัตราการเติบโตของยอดขายของรถยนต์กลุ่มที่ไม่ได้สิทธิประโยชน์จากนโยบายรถคันแรก คือ รถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่ง ขนาดเครื่องยนต์ต�่ำกว่า 1,500 cc โดยจะใช้อัตราการเติบโตของรถยนต์ขนาด 1,501-2,500 cc แทนการเติบโตของ Transport equipment การเติบโตของรถยนต์ขนาดต�่ำกว่า 1,500 cc มีความสัมพันธ์ไปทางเดียวกันกับการเติบโตของ Transport equipment อย่างมีนัยส�ำคัญ (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.83) การทดลอง ถอด เอานโยบายรถคันแรกออก เราจึงใช้อัตราการเติบโต ของรถยนต์ขนาด 1,501-2,500 cc ซึ่งไม่มีส่วนได้ประโยชน์จากรถคันแรกมาใช้แทน ภายใต้ข้อสมมติว่าถ้าไม่มีนโยบาย รถคันแรกแล้วการขยายตัวของรถยนต์ขนาดต�ำ่ กว่า 1,500 cc จะเท่ากับการขยายตัวของยอดขายรถยนต์ขนาด 1,501-2,500 cc

ภาพที่ 2 อัตราการขยายตัวของการบริโภคหมวดยานยนต์, อัตราการเติบโตของยอดขายรถยนต์ขนาดต�่ำกว่า 1,500 cc และขนาด 1,501-2,500 cc

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

52


ตารางที่ 3 อัตราการขยายตัวของการบริโภคหมวดยานยนต์, อัตราการเติบโตของยอดขายรถยนต์ขนาดต�่ำกว่า 1,500 cc และขนาด 1,501-2,500 cc %QoQSa 2555 2556

Q2 Q3 Q4 Q1

C in Transport equipment

Sales in car < 1,500 cc

Sales in car 1,501-2,500 cc

25.7 25.0 13.3 -6.4

66.1 25.1 20.2 -4.9

23.5 25.0 -4.2 3.2

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

ตารางที่ 4 อัตราการขยายตัวของการบริโภครวมภาคเอกชนและ Real GDP กรณีมีและไม่มีนโยบายรถคันแรก %QoQSa 2555 2556

Q2 Q3 Q4 Q1 Q2

Private Consumption First car Excl. First car 1.4 2.0 2.9 -1.3 -1.9

1.0 1.6 2.6 -0.1 1.6

First car 2.4 1.9 2.7 -1.7 -0.3

Real GDP

Excl. First car 2.2 1.7 2.6 -1.1 1.5

ที่มา : ค�ำนวณโดยผู้เขียน

จะเห็นว่าเมือ่ ถอดเอานโยบายรถคันแรกออก แม้การเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนจะลดลงในช่วงปี 2555 (ตารางที่ 4) เนือ่ งจากขาดแรงเร่งจากนโยบายดังกล่าว แต่การเปลีย่ นแปลงแบบ QoQsa มีการหดตัวเพียงเล็กน้อยในไตรมาสแรกของปี 2556 เพียงไตรมาสเดียวเท่านั้น เมื่อน�ำข้อมูลการบริโภคภาคเอกชนในกรณีไม่มีนโยบายรถคันแรกเข้าไปรวมกับ Real GDP แทน ก็จะพบว่าการบริโภคภาคเอกชนโดยที่ไม่มีนโยบายรถคันแรกได้ท�ำให้เศรษฐกิจโดยรวมมีความผันผวนน้อยลง กล่าวคือ เมื่อดูโดยเปรียบเทียบ 2 กรณีแล้ว Real GDP ในกรณีที่ 2 ไม่ได้มีการเติบโตที่มากเกินไปและปรับตัวลงแรงจนเป็นเหตุให้เกิด Technical recession หลังการหมดลงของนโยบายดังกล่าว กระนัน้ ก็ตามเศรษฐกิจไทยยังคงเลีย่ งไม่พน้ ทีจ่ ะต้องเผชิญการหดตัว แบบ QoQsa ในไตรมาสที่ 1 เนือ่ งจากการฟืน้ ตัวจากอุทกภัยทีเ่ กิดขึน้ อย่างรวดเร็วจะอาศัยก�ำลังการผลิตเหนือจุด Full capacity และเมื่อเศรษฐกิจปรับตัวเข้าสู่ระดับศักยภาพย่อมเกิดการชะลอตัว จากการทดลองจะเห็นได้ว่าการออกนโยบายรถคันแรกได้พาเศรษฐกิจไปสู่จุดการผลิตและบริโภคเกินก� ำลัง หรือ ภาวะ Over capacity ในระดับที่สูงกว่ากรณีที่ไม่มีนโยบาย สังเกตได้จากข้อมูลการใช้ก�ำลังการผลิต ในปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 65.3 ขณะที่อัตราการใช้ก�ำลังการผลิตโดยรวม 12 ปีย้อนหลัง (ปี 2543-2554) เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.0 โดยสาเหตุหลักมาจาก อัตราการใช้กำ� ลังการผลิตรถยนต์ทสี่ งู ถึงร้อยละ 99.9 ในปี 2555 เกินกว่าค่าเฉลีย่ 12 ปียอ้ นหลังทีอ่ ยูท่ รี่ อ้ ยละ 67.6 เท่านัน้ ท�ำให้ กระบวนการปรับตัวทางเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติมีขนาดใหญ่กว่าโดยเปรียบเทียบและเป็นผลให้เกิดปรากฏการณ์ Technical Recession ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เมื่อท�ำการทดลองถอดนโยบายรถคันแรกออก ภาวะ Over capacity จึงปรากฏให้เห็นน้อย ลง เพราะจะเหลือเพียงภาวะ Over capacity จากปัญหาน�้ำท่วมเพียงอย่างเดียว ท�ำให้การปรับตัวหลังจากนั้นจะไม่รุนแรงและ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นลบในขนาดที่เล็กกว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 ไตรมาสเดียว และเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ก็จะสามารถกลับมาเติบโตเป็นบวกได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ เศรษฐกิจไทยไม่ได้เผชิญกับ Technical Recession แต่อย่างใด

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

53


ค�ำถามส�ำคัญคือ แล้วแนวโน้มของการบริโภคหมวดยานยนต์หลังจากติดลบมาแล้ว 2 ไตรมาสจะเป็นอย่างไรต่อไป ? จากเป้าหมายด้านยอดขายรถยนต์นั่งภายในประเทศที่ได้วางไว้โดยสถาบันยานยนต์ คาดว่ารถยนต์ภายในประเทศจะขายได้ 1.4 ล้านคัน ปรับลดลงจากปี 2555 ร้อยละ -2.2 ซึ่งล่าสุด 8 เดือนแรกของปี 2556 นี้สามารถขายได้ไปแล้ว 9.4 แสนคัน หรือ คิดเป็นเฉลี่ย 1.18 แสนคันต่อเดือน หากสามารถคงยอดได้ในอัตรานี้จะสามารถท�ำยอดขายได้ตามเป้าที่วางไว้ นอกจากนี้ มีแนวโน้มที่ไตรมาสที่ 4 จะมีการออกโปรโมชันและรถยนต์รุ่นใหม่จากค่ายรถยนต์ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นตลาดและเร่งปิดยอดขาย ก่อนสิ้นปี ประกอบกับอัตราการว่างงานและดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสนับสนุน และก�ำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นจากรายได้โบนัสของ กลุม่ พนักงานประจ�ำทีส่ ว่ นหนึง่ อาจแปลงมาสูอ่ ปุ สงค์ตอ่ รถยนต์สว่ นบุคคล อีกทัง้ ในปี 2556 นีไ้ ด้เกิดภาวะน�ำ้ ท่วมในบางจังหวัด (แต่ไม่รุนแรงเท่าเหตุการณ์เมื่อปลายปี 2554) ท�ำให้อาจมีอุปสงค์เพื่อทดแทนรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายด้วย ปัจจัยเหล่านี้ ท�ำให้แนวโน้มการฟื้นตัวปลายปีมีความเป็นไปได้สูง โดยสรุปแล้วทั้ง 2 สาเหตุหลักที่ฉุดให้การขยายตัวของ Real GDP ติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส ทั้งเศรษฐกิจโลกและ การบริโภคหมวดยานยนต์มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในเร็ววัน ขณะที่พื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไปยังคงอยู่ในสถานะที่แข็งแรงและ มีแนวโน้มที่ดี เช่น รายจ่ายภาคสาธารณะมักจะเร่งเบิกจ่ายในไตรมาสที่ 3 ด้านมูลค่าการส่งออกสินค้า 2 เดือนแรกของ ไตรมาสที่ 3 ก็สามารถขยายตัวได้ ขณะที่การท่องเที่ยวยังคงเฟื่องฟูต่อเนื่อง โดยใน 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ก็ยังสามารถ ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 25.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยดังกล่าวนี้จึงชี้ให้เห็นว่าความต่อเนื่องของ Technical Recession นั้นอาจมีความเป็นไปได้ไม่มากนัก ในส่วนต่อไปเราจะพิจารณาอีกแง่มุมหนึ่งเพื่อวิเคราะห์ว่า Recession ครั้งนี้สามารถแปลงไปสู่วิกฤติได้หรือไม่ อย่างไร

มิติที่ 2 : การเปรียบเทียบระหว่าง Recession ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกับประสบการณ์ ในอดีต ประเทศไทยได้ประสบกับภาวะที่เข้าข่ายปรากฏการณ์เรียกว่า “เศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิค” (Technical Recession) 3 ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกคือ วิกฤติต้มย�ำกุ้ง กินเวลาทั้งหมด 7 ไตรมาส (2539Q4-2540Q1 และ 2540Q3-2540Q3) ครั้งที่สองคือ วิกฤติซับไพรม์ ใช้เวลา 2 ไตรมาส (2551Q4-2552Q1) และครั้งที่สามล่าสุดคือ ปัจจุบัน ที่เกิดขึ้นมาแล้ว 2 ไตรมาส (2556Q12556Q2) ในแง่นเี้ ราจึงสามารถทีจ่ ะศึกษาจากประสบการณ์ในอดีตเพือ่ เปรียบเทียบเหตุการณ์ในปัจจุบนั กับสิง่ ทีเ่ คยเกิดขึน้ แล้ว ของเหตุการณ์ก่อนหน้า เพื่อดูว่ามีความเหมือนและความต่างกันอย่างไร เราจะพิจารณาความแตกต่างใน 3 แง่มุม ดังต่อไปนี้ ความแตกต่างประการแรก : องค์ประกอบการใช้จ่ายที่ต่างออกไป เหตุการณ์ Recession ใน 2 ครั้งแรก สิ่งที่เกิดขึ้น คือการเปลี่ยนแปลงแบบ QoQsa ของแต่ละหมวดรายจ่าย ได้แก่ การบริโภคภาคเอกชน (Cp) การลงทุนภาคเอกชน (Ip) และ การน�ำเข้า (Mgs) จะมีการหดตัวคูไ่ ปกับการเปลีย่ นแปลงของ Real GDP จะเห็นได้จากอัตราการเปลีย่ นแปลงของตัวแปรดังกล่าว จะมีทิศทางไปในทางเดียวกันอย่างชัดเจน (ตารางที่ 5) แต่ Technical Recession ในครั้งปัจจุบันนี้ต่างออกไป กล่าวคือ ประการแรก การลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้เป็นบวก และ ประการทีส่ อง ปริมาณน�ำเข้าก็ยงั ขยายตัวแบบ QoQsa เป็นบวก เช่นกัน กล่าวได้วา่ การหดตัวระหว่างไตรมาสในครัง้ นีเ้ กิดขึน้ จากการหดตัวของการบริโภคเพียงอย่างเดียว เมือ่ พิจารณาในส่วนนี้ ท�ำให้เราทราบว่าจุดส�ำคัญคือการบริโภคภาคเอกชนที่เป็นตัวฉุด GDP ทั้งหมดลงมา ประกอบกับเมื่อดูอัตราการเปลี่ยนแปลง ในปี 2555 เราจะเห็นว่าอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 โตสูงสุดในรอบมากกว่า 15 ปี

54


ตารางที่ 5 อัตราการขยายตัวแบบ QoQsa ของ Real GDP และองค์ประกอบด้านรายจ่ายใน 3 เหตุการณ์ Recession %QoQSa ต้มย�ำกุ้ง แฮมเบอร์เกอร์ Tech Recession

2539Q4 2540Q1 2540Q3 2540Q4 2541Q1 2541Q1 2541Q3 2551Q4 2552Q1 2556Q1 2556Q2

RGDP

Cp

Ip

Mgs

-0.9 -1.9 -0.9 -3.6 -5.1 -4.6 -0.8 -4.8 -2.6 -1.7 (-1.1)* -0.3 (1.5)*

0.5 -2.0 -3.1 -5.9 -2.2 -4.2 -2.4 -0.7 -2.3 -1.3 (-0.1)* -1.9 (1.6)*

6.7 -22.1 -8.9 -23.7 -22.3 -18.8 -10.7 -3.5 -14.0 -3.4 2.9

-1.8 -2.3 -4.9 -11.0 -11.9 -2.5 1.7 -7.2 -27.8 1.2 1.0

* คือ QoQsa growth หลังจากหักการบริโภคภาคเอกชนหมวด Transport equipment ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และค�ำนวณโดยผู้เขียน

ความแตกต่างประการที่สอง : Sentiment ตลาดที่ต่างออกไป เราพิจารณา Sentiment ของตลาดต่อการเกิดขึ้น ของ Technical Recession จากดัชนีตลาดหลักทรัพย์เฉลี่ยรายไตรมาสพบว่า Recession 2 ครั้งในอดีต ตลาดมองว่าเป็น Recession ของจริง จึงลดการลงทุนและมีแรงเทขายอย่างชัดเจน (ตารางที่ 6) ท�ำให้ดัชนีปรับลดลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน (%YoY) และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่ Recession ที่เกิดขึ้นล่าสุด แม้จะมีการชะลอตัวของดัชนี Set index แต่โดยเฉลี่ย ดัชนีก็ยังสามารถขยายตัวได้ไม่ว่าจะเทียบกับปีก่อนหน้าหรือไตรมาสก่อนหน้าก็ตาม แสดงให้เห็นว่า ภาวะของตลาดเมื่อสังเกตผ่านพฤติกรรมของนักลงทุนไม่ได้มีความกังวลต่อการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์นี้มากนัก จึงไม่เชื่อว่า ผลประกอบการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จะเปลี่ยนไปอย่างมีนัยส�ำคัญ ท�ำให้ไม่มีการเทขายอย่าง 2 ครั้งก่อน ดังนั้น ท�ำให้ Recession ในครั้งนี้มีความเสี่ยงที่จ�ำกัดในด้านความตื่นตระหนก (Panic) หรือความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติที่แท้จริงจากกรณี ค�ำท�ำนายที่กลายเป็นจริง (Self-fulfilling prophecy) ตารางที่ 6 อัตราการเปลี่ยนแปลงแบบ YoY และ QoQ ของ Set Index ใน 3 เหตุการณ์ Recession ต้มย�ำกุ้ง แฮมเบอร์เกอร์ Tech Recession

2539Q4 2540Q1 2540Q3 2540Q4 2541Q1 2541Q1 2541Q3 2551Q4 2552Q1 2556Q1 2556Q2

SET index (เฉลี่ย)

%YoY

%QoQ

889.29 740.34 570.80 405.12 494.25 335.02 245.02 422.78 433.57 1,525.61 1,537.28

-28.8 -44.8 -47.6 -54.4 -33.2 -42.7 -57.1 -51.4 -46.8 33.0 30.2

-18.3 -16.7 -2.4 -29.0 22.0 -32.2 -26.9 -35.2 2.6 14.0 0.8

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

55


ความแตกต่างประการที่สาม : เสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ต่างออกไป Recession ใน 2 ครั้งก่อนจัดได้ว่าเป็น วิกฤติเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง (Real sector) และเสถียรภาพอย่างชัดเจน เมื่อมาพิจารณาถึง Recession ในครั้งนี้ในมิติของเสถียรภาพพบว่าไม่ได้มีสัญญาณบ่งชี้การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแต่อย่างใด เราพิจารณาตัวชี้วัดเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจที่ส�ำคัญ 6 ตัวชี้วัดด้วยกัน (ตารางที่ 7) ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน อัตราส่วนเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital adequacy ratio) อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อัตราส่วนหนี้ต่างประเทศต่อ GDP และอัตราส่วนเงินทุนส�ำรอง ต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น เสถียรภาพตัวแรก คือ อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก คือ ร้อยละ 3.1 และร้อยละ 2.3 ในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 ตามล�ำดับ เช่นเดียวกันกับเงินเฟ้อในช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ (อยู่ที่ร้อยละ 2.1 และร้อยละ -0.3) ท�ำให้ Recession ในปัจจุบันเงินเฟ้อไม่ได้เป็นปัญหาที่จะกระทบก�ำลังซื้อ หรือไม่เกิดภาวะเงินฝืด (Deflation) ที่อาจสะท้อนถึง เศรษฐกิจโดยรวมทีก่ ำ� ลังฝืดเคือง ขณะทีเ่ งินเฟ้อค่อนข้างจะเป็นปัญหาในช่วงวิกฤติตม้ ย�ำกุง้ โดยอัตราเงินเฟ้ออยูท่ รี่ อ้ ยละ 5.6-8.1 ซ�้ำเติมความตกต�่ำทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาดังกล่าว ด้านอัตราการว่างงาน เราจะเห็นได้ชัดว่า Recession ในครั้งนี้ไม่น�ำไปสู่การว่างงานอย่างมีนัยส�ำคัญอย่างใน 2 ครั้งก่อน โดย 2 ไตรมาสแรกของปี 2556 ค่าเฉลี่ยของอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 เท่านั้น ขณะที่อัตราดังกล่าวในช่วง วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์อยู่ที่ร้อยละ 1.3 และเพิ่มเป็นร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่ 2 ของ Recession โดยเราจะเห็นการเพิ่มขึ้นของ การว่างงานที่ชัดเจนขึ้นในช่วงวิกฤติต้มย�ำกุ้งที่อัตราการว่างงานเพิ่มจากร้อยละ 1.5 ไปเป็นร้อยละ 4.4 ในปี 2541 ด้านภาคธนาคาร เมื่อพิจารณาด้วยอัตราส่วนเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อสะท้อนถึงความปลอดภัยในการด�ำเนิน ธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์ในแต่ละช่วงเวลาก็จะพบว่า ปี 2556 เป็นช่วงเวลาที่ภาคธนาคารมีส่วนเผื่อรองรับความเสี่ยงที่สูง ที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง 3 เหตุการณ์ โดยช่วงวิกฤติต้มย�ำกุ้งมีอัตราส่วนอยู่ที่ร้อยละ 9.9-11.9 วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์อยู่ที่ ร้อยละ 14.6-15.2 ขณะที่ Recession ปี 2556 ภาคธนาคารมีความระมัดระวังมากขึ้น ท�ำให้อัตราส่วนดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 15.9 โดยเฉลี่ย ด้านเสถียรภาพการเงินของภาคสาธารณะ เมื่อวัดจากอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อันจะสะท้อนถึงภาระหนี้สิน ส่วนรวมที่ประชาชนผู้เสียภาษีต้องแบกรับพบว่า อัตราส่วนไม่มีความต่างกันมากนักในทั้ง 3 เหตุการณ์ แม้ในช่วงก่อนวิกฤติ ต้มย�ำกุ้งเราจะมีอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ต�่ำ เนื่องจากวิกฤติครั้งดังกล่าวไม่ได้เกิดจากปัญหาด้านการคลังแต่อย่างใด แต่หนี้สาธารณะก็ได้เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับร้อยละ 48.7 ในปี 2541 ซึ่งมากกว่าช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์และ Recession ในปัจจุบันเล็กน้อย อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาเทียบกับมาตรฐานสากลของอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ไม่เกินร้อยละ 60 จะพบว่า ประเทศไทยสามารถบริหารจัดการด้านหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับปลอดภัยได้ในทั้ง 3 เหตุการณ์ ด้านเสถียรภาพต่างประเทศ เมื่อพิจารณาจากอัตราส่วนหนี้ต่างประเทศต่อ GDP และอัตราส่วนเงินทุนส�ำรองต่อ หนีต้ า่ งประเทศระยะสัน้ จะพบว่า ประเทศไทยมีเสถียรภาพทีแ่ ข็งแกร่งมากหลังช่วงวิกฤติตม้ ย�ำกุง้ เป็นต้นมา ดูจากตัวเลขในช่วง วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์และ Recession ล่าสุด หนี้ต่างประเทศต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 28.6-39.6 ส่วนเงินส�ำรองต่อหนี้ต่างประเทศ ระยะสั้นอยู่ที่ประมาณ 3-4 เท่าด้วยกัน ต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงต้มย�ำกุ้งที่อัตราส่วนหนี้ต่างประเทศต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 64.8-69.6 ขณะที่เงินทุนส�ำรองมีเพียง 0.7-1 เท่าของหนี้ระยะสั้นต่างประเทศเท่านั้น

56


ตารางที่ 7 ตัวชี้วัดด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ส�ำคัญใน 3 เหตุการณ์ Recession เงินส�ำรอง อัตรา เงินทุนต่อ หนี้สาธารณะ หนี้ เงินเฟ้อ ต่อหนี้ การว่างงาน สินทรัพย์เสี่ยง ต่อ GDP ต่างประเทศ (%) ต่างประเทศ (%) (%) (%)* ต่อ GDP (%) ระยะสัน้ (%) ต้มย�ำกุ้ง แฮมเบอร์เกอร์ Technical Recession

2539Q4 5.9* 1.5* 2540Q1 2540Q3 5.6* 1.5* 2540Q4 2541Q1 2541Q2 8.1* 4.4* 2541Q3 2551Q4 2.1 1.3 2552Q1 -0.3 2.1 2556Q1 3.1 0.7 2556Q2 2.3 0.7

n/a 14.2* 65.9* 10.4 10.3 35.3* 64.8* 9.9 10.2 11.9 48.7* 69.9* 10.9 15.2 37.5* 31.4 14.6 44.3* 28.6 15.9 39.6 44.1* 15.9 39.3

81.1 70.4* 103.9* 330.3 411.8 293.0 265.6

* ข้อมูลรายปี ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สรุป เราอาจกล่าวได้วา่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจทีเ่ กิดขึน้ ใน 2 ไตรมาสแรกของปี 2556 นัน้ เป็นเพียงเรือ่ งชัว่ คราวทีจ่ ะผ่านพ้นไป ในระยะสั้น จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงชั่วคราวและการปรับตัวของภาคเอกชนในด้านการบริโภค ซึ่งจากการประเมิน แนวโน้มสถานการณ์ทเี่ กีย่ วข้องก็จะพบว่า ความต่อเนือ่ งของปรากฏการณ์ Technical Recession มีความเป็นไปได้คอ่ นข้างน้อย นอกจากนี้ Technical Recession ในครั้งนี้ก็ยังแตกต่างไปจาก 2 ครั้งที่ผ่านมา ในแง่ที่ว่าแม้เราจะเผชิญกับอุปสงค์ที่ชะลอ แต่เรามีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศที่แข็งแกร่งรองรับ ซึ่งจะมีส่วนท�ำให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นคืนได้ อย่างรวดเร็ว กล่าวคือ ไม่มีการล้มหายของภาคธุรกิจอย่างมีนัยส�ำคัญ จึงไม่น�ำไปสู่การว่างงาน ดังนั้น ครัวเรือนจึงยังมีรายได้ และภาคธุรกิจยังมีเงินทุน นอกจากนี้ ภาคธนาคารก็ยังมีสถานะที่แข็งแกร่งและมีเงินทุนพร้อมส�ำหรับการปล่อยกู้แม้จะมี ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นก็ตาม กล่าวได้ว่าเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ได้เกิดความเสียหาย สภาพโดยทั่วไปยังอยู่ ในเกณฑ์ดี เพียงแต่ชะลอการท�ำงานลงชั่วคราวเท่านั้น

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

57


บทวิเคราะห์ เรื่อง ปัญหาค่าครองชีพ : ของแพงจริงหรือรู้สึกกันไปเอง

1

บทสรุปผู้บริหาร ปัจจุบันปัญหาสินค้าราคาแพงก�ำลังเป็นประเด็นที่ภาครัฐให้ความสนใจและติดตามอย่าง ใกล้ชิด เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง “ประชาชน รู้สึกกันไปเองหรือว่าของราคาแพงขึ้นจริง” ❍❍ จากการวิเคราะห์ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Consumer Price Index : CPI) และอัตราเงินเฟ้อ ทัว่ ไป (Headline Inflation) พบว่า ราคาสินค้ากลับมีอตั ราการขยายตัวทีช่ ะลอลงเมือ่ เทียบกับปีกอ่ นหน้า โดยอัตรา เงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ชะลอลงจากปี 2555 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ชะลอตัวลง ต่อเนือ่ งนับตัง้ แต่ตน้ ปี 2556 อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผูบ้ ริโภคทัว่ ไปนัน้ อาจไม่สะท้อนถึงค่าครองชีพทีแ่ ท้จริงได้ อย่างครบถ้วน เนื่องจากใช้สัดส่วนน�้ำหนักปีฐาน 2554 ท�ำให้ข้อสรุปทางเศรษฐศาสตร์นั้นคลาดเคลื่อนได้ รวมถึงราคาที่สูงขึ้นนั้นอาจเกิดจากปรากฏการณ์กระแสนิยม (Bandwagon Effect) ก็เป็นได้ ❍❍ ถึงแม้ว่าราคาสินค้าในปัจจุบันยังมีเสถียรภาพที่ดี อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปี 2556 ยังอาจได้รับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากปัจจัยต่าง ๆ โดยความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในปี 2556 นั้นเป็นผลมาจาก แรงกดดันที่เกิดจากต้นทุนการผลิต (Cost Push Inflation) เป็นส�ำคัญ จากความผันผวนของราคาพลังงานทั้งจาก ปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศ อาทิ การขึ้นค่าผ่านทางด่วนพิเศษ ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) และราคา ก๊าซหุงต้ม (LPG) ❍❍ จากการใช้แบบจ�ำลองเงินเฟ้อของส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พบว่า กรณีการขึ้นค่าผ่าน ทางด่วนพิเศษ กรณีการปรับเพิ่มขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ภาคครัวเรือน และกรณีการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าโดย อัตโนมัติ (FT) ในงวดเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2556 จะส่งผลให้อตั ราเงินเฟ้อปรับตัวเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.08 ร้อยละ 0.04 และร้อยละ 0.02 ตามล�ำดับ ดังนัน้ โดยสรุปผลกระทบจากนโยบายภาครัฐดังกล่าวจะส่งผลให้อตั รา เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14 ทั้งนี้ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 จะอยู่ ที่ร้อยละ 2.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.0-2.5) ซึ่งได้รวมผลของปัจจัยดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ❍❍ ดังนั้น ภาครัฐได้ตระหนักถึงข้อปัญหาและภาระค่าครองชีพของประชาชนในปัจจุบัน จึงได้ ออกมาตรการบรรเทาปัญหาค่าครองชีพของประชาชนในปัจจุบนั ซึง่ จะเป็นการรักษาความสามารถในการบริโภค ของประชาชนและความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ❍❍

1. บทน�ำ : สถานการณ์ค่าครองชีพในปัจจุบัน ปัจจุบนั ปัญหาสินค้าราคาแพงก�ำลังเป็นประเด็นทีภ่ าครัฐให้ความสนใจและติดตามอย่างใกล้ชดิ เพือ่ พิจารณาหาแนวทาง ที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง “ประชาชนรู้สึกกันไปเองหรือว่าของราคาแพงขึ้นจริง” ดังนั้น บทความนี้จึงต้องการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงบนพื้นฐานของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และรายงานมาตรการ ภาครัฐในการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพของประชาชนที่ได้ด�ำเนินการในปัจจุบัน

1

58

ผู้เขียน : นายธนิต ภัทรแสงไทย เศรษฐกรปฏิบัติการ ขอขอบคุณ นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ


ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค การพิจารณาว่าระดับราคาสินค้านั้นแพงหรือไม่ หรือค่าครองชีพของประชาชนเพิ่ม ขึ้นหรือไม่นั้นสามารถวัดได้จากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Consumer Price Index : CPI) และอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนี CPI หรือที่เรียกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของส�ำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวง พาณิชย์ โดยหากดัชนี CPI เพิ่มขึ้นก็จะหมายถึงราคามีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปค�ำนวณจาก ค่าเฉลี่ยถ่วงน�้ำหนักของราคาตัวแทนสินค้าเพื่อการด�ำรงชีวิตส�ำหรับผู้บริโภคทั่วไปใน 7 หมวด ได้แก่ 1) หมวดอาหารและ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 33.48 ของตะกร้าเงินเฟ้อปีฐาน 2554) 2) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า (ร้อยละ 3.06) 3) หมวดเคหสถาน (ร้อยละ 24.14) 4) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล (ร้อยละ 6.54) 5) หมวดยานพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร (ร้อยละ 25.54) 6) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนา (ร้อยละ 6.03) และ 7) หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 1.20) จากการวิเคราะห์ตวั เลขอัตราเงินเฟ้อพบว่า อัตราการขยายตัวของราคาสินค้ากลับมีแนวโน้มชะลอตัวเมือ่ เทียบกับปีกอ่ น หน้า โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ชะลอลงจากปี 2555 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ชะลอตัวลง ต่อเนือ่ งนับตัง้ แต่ตน้ ปี 2556 สาเหตุหลักมาจาก 1) ราคาอาหารสดจ�ำพวกผักและผลไม้ เครือ่ งประกอบอาหารและเครือ่ งดืม่ ไม่มี แอลกอฮอล์ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออ�ำนวยและเป็นฤดูกาลการผลิต ส่งผลให้ ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น 2) ราคาสินค้าเชื้อเพลิงมีแนวโน้มชะลอลงจากราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกตามเศรษฐกิจ โลกที่มีการฟื้นตัวอย่างล่าช้า และ 3) ภาครัฐยังคงมีมาตรการดูแลด้านค่าครองชีพของประชาชน อาทิ มาตรการขยายเวลาลด ภาษีสรรพสามิตน�้ำมันดีเซล และมาตรการรถเมล์ รถไฟฟรี ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและ อาหารสดอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ลดลงจากปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เนื่องจากราคาอาหารส�ำเร็จรูปในปี 2556 ไม่ได้เร่งตัวรุนแรง เช่นเดียวกับปี 2555 ที่ผ่านมา ภาพที่ 1 กราฟดัชนีราคาผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อ

ที่มา : ส�ำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

59


2. ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ : ปัจจัยที่ส่งผลต่อพลวัตของอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปี 2556 ถึงแม้ว่าราคาสินค้าในปัจจุบันยังมีเสถียรภาพที่ดี อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปี 2556 ยังอาจได้รับแรงกดดันด้าน เงินเฟ้อจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งนี้ ในเชิงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นั้นความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อสามารถจ�ำแนกได้ 2 ประเภท คือ 1) เงินเฟ้อ ที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น (Demand Pull Inflation) กล่าวคือ ปริมาณสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจไม่เพียงพอต่อ อุปสงค์มวลรวมของประเทศ และ 2) เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อาทิ ปัจจัยแรงงาน ทุน พลังงาน และการเพิ่มก�ำไร ของผู้ผลิต หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เช่น ภาวะสงคราม ฯลฯ ส�ำหรับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในปี 2556 นั้นเป็นผลมาจาก แรงกดดันที่เกิดจากต้นทุนการผลิต (Cost Push Inflation) เป็นส�ำคัญ จากความผันผวนของราคาพลังงานทั้งจากปัจจัยภายใน ประเทศและปัจจัยภายนอกประเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ปัจจัยภายในประเทศ ประกอบด้วย 2.1.1 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีมติเพิ่มค่าผ่านทางด่วนพิเศษเฉลิมมหานคร ทางด่วนพิเศษศรีรัช และทางด่วนพิเศษบูรพาวิถี ประมาณ 5-10 บาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.3 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 โดยเป็นการปรับ อัตราค่าผ่านทางครั้งที่ 3 ตามสัญญาสัมปทานที่ก�ำหนดให้ปรับอัตราค่าผ่านทางทุก 5 ปี นอกจากนี้ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 จะมีการปรับค่าผ่านทางพิเศษอุดรรัถยา โดยมีรายละเอียดปรากฏดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 สรุปรายละเอียดการปรับขึ้นค่าผ่านทางพิเศษ ประเภทรถ

ราคาปัจจุบัน

4 ล้อ 6-10 ล้อ >10 ล้อ

45 70 100

ราคาหลัง 1 ก.ย. 2556 50 75 110

ส่วนต่าง (บาท)

เพิ่มขึ้น/ลดลง

5 5 10

11.1% 7.1% 10%

ที่มา : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

2.1.2 กระทรวงพลังงานมีมติปรับเพิ่มขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ภาคครัวเรือน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 ตาราง ที่ 1 สรุปรายละเอียดการปรับขึ้นค่าผ่านทางพิเศษเป็นต้นไป เดือนละ 50 สตางค์ และจะเพิ่มไปจนสะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซ ก๊าซธรรมชาติที่ 24.82 บาทต่อกิโลกรัม ในเดือนตุลาคม 2557 รวมทั้งทยอยปรับราคาก๊าซ LPG ในทุกภาคอีกด้วย 2.1.3 คณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบเพิ่มค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (ค่า FT) งวดเดือน กันยายนถึงเดือนธันวาคม 2556 มาอยู่ที่ 54 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 7.08 สตางค์ต่อหน่วยเมื่อเทียบกับงวดก่อนที่อยู่ที่ 46.92 สตางค์ต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 2.1.4 ในช่วงเทศกาลกินเจตัง้ แต่วนั ที่ 5-13 ตุลาคม 2556 ความต้องการผักและผลไม้ทสี่ งู ขึน้ ส่งผลให้ราคาในหมวด ผักและผลไม้ปรับตัวเพิม่ ขึน้ ชัว่ คราว โดยสินค้าประเภทผักและผลไม้คดิ เป็นสัดส่วนร้อยละ 3.95 ของตะกร้าเงินเฟ้อในปีฐาน 2554 2.2 ปัจจัยภายนอกประเทศ ประกอบด้วย 2.2.1 สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในภูมภิ าคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะประเทศอียปิ ต์และประเทศซีเรีย อาจส่งผลต่อการขาดแคลนของอุปทานน�้ำมันดิบโลกในระยะสั้น และส่งผลให้ราคาน�้ำมันดิบขายปลีกภายในประเทศปรับตัว สูงขึ้นชั่วคราว 2.2.2. ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยปัจจุบันค่าเงินบาทอ่อนค่าลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับต้นปี 2555 (ค่าเงินบาทต้นปี 2555 อยู่ที่ 31.06 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินบาทในปัจจุบันอยู่ที่ 30.39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งอาจกดดันให้ราคาสินค้าน�ำเข้าทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น 2.2.3 ปัจจัยทางฤดูกาลในช่วงไตรมาสที่ 3-4 เป็นช่วงฤดูหนาวซึ่งจะเร่งอุปสงค์น�้ำมันดิบ และท�ำให้ราคาน�้ำมันดิบ โลกปรับตัวสูงขึ้น

60


3. ประเมินผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ บทวิเคราะห์ฉบับนีป้ ระเมินผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อจากปัจจัยดังกล่าว โดยวิเคราะห์ผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อทีเ่ กิดจาก มาตรการภาครัฐ ได้แก่ 1) ผลกระทบของการขึน้ ค่าผ่านทางด่วนพิเศษ 2) ผลกระทบของการปรับเพิม่ ราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน (LPG) และ 3) ผลกระทบของการปรับค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) ส�ำหรับผลกระทบของราคาน�้ำมันดิบดูไบและค่าเงินบาทจะ แสดงในเชิงการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis) ค�ำนวณจากแบบจ�ำลองเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Model) รวมทั้งประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 ตารางที่ 2 Sensitivity Analysis ของปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ ปัจจัย ค่าผ่านทางด่วนพิเศษ ราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ภาคครัวเรือน ค่า FT ราคาน�้ำมันดิบโลก (เพิ่มขึ้น) อัตราแลกเปลี่ยน (แข็งค่า)

หน่วย

ผลกระทบต่อหน่วย

ผลกระทบทั้งหมด (ณ ปี 2556)

บาท สตางค์ สตางค์ %yoy บาท/USD

- - - +0.14% -0.07%

+0.08% +0.04% +0.02% -

ที่มา : รวบรวมและค�ำนวณโดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

กรณีการขึน้ ค่าผ่านทางด่วนพิเศษประมาณ 5-10 บาท จะส่งผลให้อตั ราเงินเฟ้อปรับตัวเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.08 โดยค่าโดยสาร สาธารณะ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.2 ของตะกร้าเงินเฟ้อในปีฐาน 2554 ส�ำหรับกรณีที่ 2 การปรับเพิม่ ขึน้ ราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ภาค ครัวเรือนจาก 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 20.13 บาท ณ สิน้ ปี 2556 คิดเป็นการเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 11.0 จะส่งผลให้อตั ราเงินเฟ้อปรับ ตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 และกรณีสุดท้าย การปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติในงวดเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2556 จะส่ง ผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02 โดยค่าไฟฟ้า เชื้อเพลิง น�้ำประปาและแสงสว่าง มีสัดส่วนร้อยละ 4.9 ของตะกร้า เงินเฟ้อในปีฐาน 2554 ดังนัน้ โดยสรุปผลกระทบจากนโยบายภาครัฐดังกล่าวจะส่งผลให้อตั ราเงินเฟ้อปรับตัวเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.14 นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis) ที่ค�ำนวณจากแบบจ�ำลองเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Model) พบว่า หากราคาน�้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จะท�ำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14 ขณะที่หากอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่า 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะท�ำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 ส�ำหรับปี 2556 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.0-2.5) ประมาณการ ณ เดือนกันยายน 2556 ลดลงจากปีกอ่ นหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากราคาน�ำ้ มันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้ม ลดลงตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถผลิตน�้ำมัน (Shale Gas) เพื่อตอบสนองอุปสงค์ภายในประเทศของตนเองได้มากขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีมาตรการดูแลราคาน�้ำมันขายปลีกภายใน ประเทศท�ำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้นได้จากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอียิปต์และ ประเทศซีเรีย ซึ่งอาจส่งผลชั่วคราวต่ออุปทานน�้ำมันดิบโลกได้ ทั้งนี้ การคาดการณ์ดังกล่าวได้รวมผลของนโยบายการปรับขึ้น ค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศ นโยบายการเพิ่มราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน (เพิ่มจากราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 25.30 บาทต่อกิโลกรัม) การเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) งวดเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม มาอยู่ที่ 54 สตางค์ต่อหน่วย และการขึ้นค่าผ่านทางพิเศษประมาณ 5-10 บาท ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 ไว้ด้วยแล้ว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสด คาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.1 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.9-1.4)

4. มาตรการภาครัฐในการบรรเทาปัญหาค่าครองชีพของประชาชนในปัจจุบัน จากผลกระทบของปัจจัยดังกล่าว ภาครัฐได้ตระหนักถึงข้อปัญหาและภาระค่าครองชีพของประชาชนในปัจจุบัน ดังนั้น จึงได้ออกมาตรการบรรเทาปัญหาค่าครองชีพของประชาชนในปัจจุบัน รายละเอียดดังนี้ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

61


4.1 มาตรการขยายเวลาลดภาษีสรรพสามิตน�้ำมันดีเซล มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน�้ำมันดีเซลได้เริ่มด�ำเนินการตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2554 โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติลดอัตราภาษีสรรพสามิตน�้ำมันดีเซลจาก 5.31 บาทต่อลิตร เป็น 0.005 บาทต่อลิตร เพื่อลดภาระของกองทุนน�้ ำมัน เชือ้ เพลิงทีต่ อ้ งจ่ายเงินอุดหนุนเพือ่ รักษาระดับราคาน�ำ้ มันดีเซลภายในประเทศให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร หลังจากทีร่ าคาน�ำ้ มันดิบ ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ส�ำหรับปี 2556 กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน�้ำมันดีเซล มีปริมาณก�ำมะถันไม่เกินร้อยละ 0.005 โดยน�้ำหนัก ในอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร และน�้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภท เมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ในอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตร ออกไปอีกถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2556 เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน 4.2 มาตรการ Easy Pass การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีมติเห็นชอบการท�ำโปรโมชันส�ำหรับบัตรค่าผ่านทางอัตโนมัติ (Easy Pass) โดยให้ส่วนแถมจากการเติมเงินจ�ำนวนร้อยละ 3 อาทิ เติมเงิน 1,000 บาท จะได้มูลค่าในบัตร 1,030 บาท โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน-31 ธันวาคม 2556 4.3 มาตรการขยายเวลาด�ำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนด้านการเดินทาง (มาตรการ รถเมล์ รถไฟฟรี) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอเรื่องการขยายเวลาด�ำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพ ของประชาชนด้านการเดินทาง (มาตรการรถเมล์ รถไฟฟรี) เป็นระยะที่ 13 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556–31 มีนาคม 2557 วงเงิน ชดเชยรวมทั้งสิ้น 2,085 ล้านบาท โดยให้ส�ำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายจาก การด�ำเนินมาตรการฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 4.3.1 มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจ�ำทาง ด�ำเนินการผ่านองค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยรัฐรับภาระค่าใช้จ่ายการจัดรถโดยสารประจ�ำทางธรรมดาจ�ำนวน 800 คันต่อวัน ใน 73 เส้นทาง ประมาณการค่าใช้จ่ายใน วงเงินจ�ำนวน 1,512 ล้านบาท 4.3.2 มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 ด�ำเนินการผ่านการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยรัฐรับ ภาระค่าใช้จา่ ยการจัดรถไฟชัน้ 3 เชิงสังคม จ�ำนวน 164 ขบวนต่อวัน และรถไฟชัน้ 3 ระยะทางไกลในขบวนรถเชิงพาณิชย์จำ� นวน 8 ขบวนต่อวัน ประมาณการค่าใช้จ่ายในวงเงินจ�ำนวน 548 ล้านบาท 4.4 มาตรการอุดหนุนราคาก๊าซ LPG ส�ำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยมีรายละเอียดดังนี้ 4.4.1 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน กับผู้ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ทั่วประเทศ ได้รับสิทธิ์ซื้อก๊าซ ราคาเดิม (18.13 บาทต่อกิโลกรัม) ไม่เกิน 18 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน 4.4.2 ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ที่ใช้ LPG ขนาดถัง 15 กิโลกรัม มีพื้นที่ค้าไม่เกิน 50 ตารางเมตร รับสิทธิ์ซื้อ ก๊าซราคาเดิมไม่เกิน 150 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน โดยต้องลงทะเบียนในระบบ SMS

5. บทสรุป ประเด็นเรือ่ งสินค้าราคาแพงนัน้ หากพิจารณาตามดัชนีราคาผูบ้ ริโภคทัว่ ไป พบว่า ราคาสินค้าในปี 2556 มีอตั ราการขยาย ตัวทีช่ ะลอลงเมือ่ เทียบกับปีกอ่ นหน้า อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผูบ้ ริโภคทัว่ ไปนัน้ อาจไม่สะท้อนถึงค่าครองชีพทีแ่ ท้จริง เนือ่ งจากใช้ สัดส่วนน�ำ้ หนักปีฐาน 2554 ท�ำให้ขอ้ สรุปทางเศรษฐศาสตร์นนั้ ผิดพลาดได้ รวมถึงราคาทีส่ งู ขึน้ อาจเกิดจากปรากฏการณ์กระแส นิยม (Bandwagon Effect) ซึง่ หมายถึงการอคติทางความคิด (Cognitive Bias) ประเภทหนึง่ ทีเ่ กิดขึน้ เมือ่ มนุษย์แห่ท� ำตาม ๆ กัน เป็นจ�ำนวนมากซึง่ การกระท�ำดังกล่าวไม่มเี หตุผลมาสนับสนุน ในบางครัง้ อาจน�ำไปสูก่ ารอุปทานหมู่ อาทิ การปรับเพิม่ ราคาสินค้า ของพ่อค้าแม่ค้าบางรายท�ำให้ผู้ประกอบการรายอื่นคิดว่าต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ท�ำให้มีการปรับเพิ่มราคาสินค้าขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ดี ภาครัฐได้ตระหนักถึงข้อปัญหาและภาระค่าครองชีพของประชาชนในปัจจุบันจึงได้ออกมาตรการบรรเทาปัญหาค่า ครองชีพของประชาชนดังกล่าว ซึง่ จะเป็นการรักษาความสามารถในการบริโภคของประชาชนและความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

62


บทวิเคราะห์ เรื่อง ทิศทางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย : โอกาสจาก Solid State Drive (SSD) หรือ ภัยคุกคามต่อ Hard Disk Drive (HDD) 1

บทสรุปผู้บริหาร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มคี วามส�ำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่าง มาก สะท้อนได้จากสัดส่วนมูลค่าของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อยูท่ ปี่ ระมาณร้อยละ 4.2 ของ GDP และสามารถสร้าง รายได้จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์นับเป็นมูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะจากฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive : HDD) ❍❍ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ท�ำให้ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สะดุดยาวนานถึงกลางปี 2555 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทไี่ ด้รบั ผลกระทบหนัก คือ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ซึ่งไทยถือได้ว่าเป็นฐานการผลิตและเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ❍❍ ตลาดส่งออกที่ส�ำคัญของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน มาเลเซีย และ ญี่ปุ่น ตามล�ำดับ ❍❍ การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่ง มาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมมนุษย์ที่หันมาใช้ สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตมากขึ้น ❍❍ ผู้ประกอบการอาจจ�ำเป็นต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ❍❍

1. บทน�ำ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความส�ำคัญต่อโลกค่อนข้างมาก และเป็นอุตสาหกรรมที่มีความ เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ สูง ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทส�ำคัญในอุตสาหกรรมนี้ โดยไทยเป็นฐานการ ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ส�ำคัญรายใหญ่ของโลก โดยมีบริษัทประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive : HDD) รายใหญ่ ของโลกจ�ำนวน 4 ใน 5 ของบริษัท ที่ตั้งฐานการผลิตอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ บ.เวสเทิร์น ดิจิตอล (Western Digital) บ.ซีเกท เทคโนโลยี (Seagate) บ.ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยี (HGST) และ บ.โตชิบา สตอเรจดีไวส์ (Toshiba) คิดเป็นสัดส่วน การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟร้อยละ 41 ของการผลิตรวมของโลก ดังนั้น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จึงมีบทบาทต่อการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของประเทศ โดยสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกนับเป็นมูลค่ามหาศาล โดยในปี 2555 มีมลู ค่าส่งออกชิน้ ส่วนและ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์รวม 32,004.71 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.96 ของการส่งออกรวม และมูลค่าการผลิต สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.2 ของ GDP

ผู้เขียน : นางสาวอรอุมา หนูช่วย เศรษฐกรโท ส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายปฐมดนัย พลจันทร์ นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ และนางสาวกุลยา ตันติเตมิท ส�ำหรับข้อแนะน�ำ

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

63


2. ลักษณะและโครงสร้างของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1. อุตสาหกรรมต้นน�ำ้ (Upstream Industry) เป็นอุตสาหกรรมขัน้ พืน้ ฐานส�ำหรับการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Wafer Fabrication, Printed Circuit Board (PCB) Design, Integrated Circuit (IC) Design ฯลฯ โดยในปัจจุบันประเทศไทยได้มี การผลิตอุตสาหกรรมต้นน�้ำบางประเภท แต่ส่วนใหญ่ยังใช้เทคโนโลยีขั้นต�่ำอยู่ ส่วน Wafer Fabrication (กระบวนการใน การสร้างวงจรรวมบนแผ่นเวเฟอร์) นั้นเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง แต่ประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตได้เอง 2. อุตสาหกรรมกลางน�้ำ (Midstream Industry) หมายถึงอุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบของสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ เช่น Integrated Circuit (IC) หรือที่เรียกว่า “ชิป หรือ ไมโครชิป” Printed Circuit Board (PCB) หรือ "แผ่นพรินต์" และ Capacitor (ตัวเก็บประจุไฟฟ้า) ฯลฯ ซึ่งในประเทศไทยได้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทนี้สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นการ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การร่วมลงทุน และบริษัทในประเทศเอง โดยบริษัทต่างชาติและบริษัทร่วมลงทุนจากต่างชาติมัก จะมีขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งโดยมากแล้วจะใช้เครื่องจักร วัตถุดิบ รวมทั้งเทคโนโลยีจากบริษัทแม่จากต่างประเทศ ส่วน บริษัทที่เป็นของคนไทยเองนั้นส่วนใหญ่มีขนาดเล็กหรือไม่ก็เป็นการท�ำสัญญาการผลิต (Subcontracting) ซึ่งกระบวนการผลิต ของบริษัทจะไม่ซับซ้อนมากนัก และปัจจัยการผลิตหลักคือแรงงาน ทั้งนี้ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมกลางน�้ำที่มีมูลค่า การส่งออกสูงและมีแนวโน้มว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่ IC และ PCB 3. อุตสาหกรรมปลายน�ำ้ (Downstream Industry) เป็นการผลิตสินค้าขัน้ สุดท้ายของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ ซึ่งสินค้าขั้นสุดท้ายที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้โดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนมาก นัก ได้แก่ เครื่องรับวิทยุ และโทรทัศน์ โดยผู้ประกอบการไทยมีความช�ำนาญเฉพาะด้านมากว่า 30 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม การใช้ ชิ้นส่วนภายในประเทศของอุตสาหกรรมขั้นปลายน�้ำนี้ค่อนข้างน้อย

3. สถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 พบว่าหดตัวร้อยละ 7.3 ในขณะที่การส่งออกก็หดตัวเช่นกัน ที่ร้อยละ 3.2 (ภาพที่ 1) จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ท�ำให้ความต้องการจากผู้ซื้อหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และ จีนลดลงไปมาก นอกจากนี้ยังถูกแรงกดดันจากต้นทุนที่สูงขึ้นจากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นด้วย ท�ำให้คาดว่าแนวโน้มการส่งออกสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ปนี จี้ ะอยูใ่ นขาลง แต่หากพิจารณาเป็นรายเดือนพบว่า ทัง้ การผลิตและการส่งออกเริม่ ส่งสัญญาณดีขนึ้ โดยล่าสุด เดือนสิงหาคม 2556 การผลิตกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ในขณะที่การส่งออกขยายตัวต่อเนื่องจากเดือน ก่อนหน้า อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ก�ำลังประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยปัจจุบันอุปกรณ์ที่ ใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ (Data Storage Device) หรือที่เราคุ้นเคยกับการเรียกอุปกรณ์นี้ว่า “ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ” (Hard Disk Drive : HDD) ก�ำลังมีแนวโน้มถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเป็นที่น่าจับตามองมากขึ้น เรื่อย ๆ นั่นคืออุปกรณ์เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “Solid State Drive” หรือ SSD ปัจจัยดังกล่าวอาจส่ง ผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมในระยะถัดไปจากนี้ ภาพที่ 1 อัตราการเปลี่ยนแปลงผลผลิตและมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและกระทรวงพาณิชย์ ค�ำนวณโดย สศค.

64


3.1 สถานการณ์ด้านการผลิตของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แนวโน้มการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตขึน้ อยูก่ บั ความต้องการของผูบ้ ริโภคและความสะดวกของการ ด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิตให้สามารถปรับใช้ได้หลากหลายฟังก์ชัน มีความยืดหยุ่น ในการใช้งานและพกพาได้สะดวก ส่งผลให้อปุ กรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์มขี นาดทีเ่ ล็กลงและมีนำ�้ หนักเบา ด้วยเหตุนกี้ ารผลิตฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟจึงได้รบั ผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงเทคโนโลยีดงั กล่าว และท�ำให้แนวโน้มการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟลดลงอย่างต่อเนือ่ ง โดยในช่วง 8 เดือนของปี 2556 การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟมีทั้งหมดประมาณ 127,594,876 ชิ้น หรือลดลงร้อยละ 10.1 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน (ภาพที่ 2 และตารางที่ 1) ภาพที่ 2 อัตราการขยายตัวของการผลิต Hard Disk Drive

ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมวลผลโดย สศค. หมายเหตุ : ข้อมูลเป็นตัวเลขประมาณการที่ค�ำนวณจากข้อมูลจริงประมาณร้อยละ 70-80

ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อิเล็กทรอนิกส์

หน่วย

Semicon/Transistor พันชิ้น %yoy Monalithic IC พันชิ้น %yoy Other IC พันชิ้น %yoy Hard disk drive HDD ชิ้น %yoy

2548

2549

2550

2551

2552

2553

2554

2555

19,799,344 23,278,568 23,790,978 21,020,609 17,419,180 23,186,024 16,612,742 9,667,135 - 17.57 2.20 -11.64 -17.13 33.11 -28.35 -41.81 4,404,121 4,917,941 5,254,477 5,028,809 4,149,809 5,304,036 4,050,675 2,651,641 - 11.67 6.84 -4.29 -17.84 27.81 -233.63 -34.54 9,388,005 11,810,868 14,512,965 20,168,907 16,982,044 23,625,023 21,708,071 16,525,568 - 25.81 22.88 38.97 -15.8 39.12 -8.11 -23.87 8,441,276 150,662,859 204,168,886 247,193,865 259,569,625 296,454,012 225,317,667 208,572,655 - 1684.84 35.51 21.07 5.01 14.21 -24.00 -7.43

ม.ค.-ส.ค. 2556 6,270,066 -5.9 1,867,233 3.5 15,798,267 39.5 127,594,876 -10.10

ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หมายเหตุ : ข้อมูลเป็นตัวเลขประมาณการทีค่ ำ� นวณจากข้อมูลจริงประมาณร้อยละ 70-80

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

65


3.2 สถานการณ์การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ภาพรวมด้านการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปี 2556 มีแนวโน้มทีล่ ดลง โดยมีการส่งออกไปยังตลาดหลักของ ไทย (สัดส่วนปี 2555) ได้แก่ จีน (สัดส่วนร้อยละ 19.20) สหรัฐอเมริกา (สัดส่วนร้อยละ 17.47) ฮ่องกง (สัดส่วนร้อยละ 17.14) และญีป่ นุ่ (สัดส่วนร้อยละ 7.23) (ตารางที่ 2) ทัง้ นี้ ในส่วนของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟนัน้ มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน โดยใน ช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 การส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟมีมูลค่า 2,356.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นการหดตัวร้อยละ 29.96 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 3,364.72 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน (สัดส่วน ร้อยละ 50.5) สหรัฐอเมริกา (สัดส่วนร้อยละ 22.18) ฮ่องกง (สัดส่วนร้อยละ 10.41) และญี่ปุ่น (สัดส่วนร้อยละ 3.59) (ตารางที่ 3) โดยในปี 2555 สินค้าฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟมีสดั ส่วนมูลค่าการส่งออกประมาณร้อยละ 14.6 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทัง้ หมด และส�ำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 สินค้าฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟมีสดั ส่วนการส่งออกลดลงมาอยูท่ ปี่ ระมาณร้อยละ 11.33 ตลาดจีน จีนเป็นฐานการผลิตคอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก และไทยส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปจีน เป็นจ�ำนวนมากเพื่อให้จีนประกอบสินค้า โดยไทยส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟไปจีนประมาณร้อยละ 50 ของการผลิตในไทยทั้งหมด ทั้งนี้ ก�ำลังการผลิตคอมพิวเตอร์ของจีนในปัจจุบันสูงมาก แต่ความต้องการคอมพิวเตอร์ในตลาดโลกส่งสัญญาณชะลอตัวลง ท�ำให้การผลิตของจีนต้องลดลงไปด้วย และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ยอดค�ำสั่งซื้อจากจีนลดลง ท�ำให้มูลค่าการส่งออกสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปยังจีนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ 2,675.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี ก่อน 1,366.56 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือหดตัวร้อยละ 33.8 ซึ่งในส่วนนี้เป็นมูลค่าการส่งออกสินค้าฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟอยู่ที่ 687.41 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นการหดตัวร้อยละ 60.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ส่งออกได้ 1,748.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดสหรัฐอเมริกา ตลาดสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมาเติบโตได้ดี สะท้อนได้จากมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปี 2555 อยู่ในระดับสูงถึง 5,678.43 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 34.5 ส�ำหรับในปี 2556 ได้มีการคาดการณ์ตลาด สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐอเมริกา2 ว่าจะเติบโตประมาณร้อยละ 3 ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ของไทย ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปยังสหรัฐอเมริกามีมูลค่าอยู่ที่ 4,2297.5 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 อย่างไรก็ดี แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ ของสหรัฐอเมริกาที่ยังคงมีความผันผวนและมีความไม่แน่นอนสูงอาจส่งผลกระทบต่อค�ำสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยได้ โดยในส่วนของสินค้าฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟนั้น ข้อมูล 8 เดือนแรกของปี 2556 สะท้อนให้เห็นถึงทิศทางที่ลดลง โดยมูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 663.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นการหดตัวลงประมาณร้อยละ 8.96 ตลาดฮ่องกง ตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในฮ่องกงคาดว่าจะยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง สะท้อนได้จากมูลค่าการส่งออก 8 เดือนแรกของปี 2556 อยูท่ ี่ 4,001.57 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 7.3 จากสถิตกิ ารค้าระหว่างประเทศของฮ่องกงกับไทยพบว่า ฮ่องกงน�ำเข้าสินค้าเครือ่ งคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้าเป็นอันดับต้น ๆ โดยส�ำหรับฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ นัน้ จากข้อมูล 8 เดือนของปี 2556 มีการน�ำเข้าจากไทยอยูท่ ี่ 406.58 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นการเพิม่ ขึน้ ประมาณร้อยละ 20.43 ตลาดญี่ปุ่น ญีป่ นุ่ มีแนวโน้มว่าจะน�ำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลงต่อเนือ่ ง โดยมูลค่าการส่งออก 8 เดือนแรกของปี 2556 อยูท่ ี่ 1,274.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นการหดตัวประมาณร้อยละ 16.9 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยส่วนใหญ่ญปี่ นุ่ จะน�ำเข้าสินค้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกปี 2556 ญี่ปุ่นน�ำเข้าสินค้าฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟจากไทยอยู่ที่ 72.44 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นการหดตัวร้อยละ 31.0

2

66

RnRMarketReserch.com เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ของรายงานการวิจัยตลาด


ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าการส่งออก : ล้านเหรียญสหรัฐ 2550

2551

2552

2553

2554

2555

ม.ค.-ส.ค. 56

17.47

4,939.71

4,834.10

3,959.58

4,596.27

4,223.10

5,678.43

4,297.50

%yoy

-

14.39

5.39

-15.31

16.08

-8.12

34.46

15.42

ฮ่องกง

17.14

3,577.83

3,770.77

3,173.43

4,880,.49

5,369.29

5,868.87

4,001.57

%yoy

-

17.35

5.39

-15.31

52.83

10.02

9.30

7.30

19.2

5,492.90

6,297.08

5,771.01

6,643.66

5,970.96

5,610.58

2,675.44

-

49.60

14.64

-8.35

15.12

-10.13

-6.04

-33.81

6.08

1,751.23

1,775.37

5,771.01

2,294.75

2,558.20

1,946.09

1,399.91

%yoy

-

18.22

1.38

-9.48

42.79

11.48

-23.53

5.73

ญี่ปุ่น

7.23

3,364.87

3,101.52

2,592.51

2,294.75

2,530.47

2,314.93

1,273.97

%yoy

-

4.98

-7.83

-16.41

15.87

-15.76

-8.25

-16.92

4.12

1,942.16

1,902.24

1,294.73

1,457.65

1,508.32

1,450.33

1,066.83

%yoy

-

14.64

-2.06

-31.94

12.58

3.48

-3.84

15.94

รวม

100

30,897.87

31,102.45

27,025.97

32,952.76

31,432.89

32,004.71

20,799.67

%yoy

-

14.85

0.66

-13.11

21.93

-4.61

1.82

-3.17

ประเทศ สัดส่วนปี 2555 สหรัฐอเมริกา

จีน %yoy มาเลเซีย

เนเธอร์แลนด์

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกสินค้าฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ มูลค่าการส่งออก : ล้านเหรียญสหรัฐ 2550

2551

2552

2553

2554

2555

ม.ค.-ส.ค. 56

50.5

1,386.68

1,307.04

1,257.87

1,574.54

1,236.31

2,361.59

687.41

-

n.a.

-5.74

-3.76

25.18

-21.48

91.02

-60.68

22.18

280.68

266.71

170.55

168.32

276.74

1,037.27

663.40

%yoy

-

n.a.

-4.98

-36.05

-1.31

64.41

274.82

-8.96

ฮ่องกง

10.41

296.14

387.73

238.73

368.06

329.55

486.66

406.58

%yoy

-

n.a.

30.93

-38.43

54.17

-10.46

47.67

20.43

สิงคโปร์

3.5

55.95

46.46

32.07

54.60

87.82

163.70

137.31

%yoy

-

n.a.

-16.97

-30.97

70.27

60.83

86.40

21.20

เม็กซิโก

1.66

9.44

26.11

17.90

18.49

21.59

77.52

127.07

%yoy

-

n.a.

176.59

-31.44

3.28

16.78

259.06

124.94

ญี่ปุ่น

3.59

201.46

137.99

160.58

178.94

98.47

168.04

72.44

%yoy

-

n.a.

-31.51

16.37

11.43

-44.97

70.65

-31.00

รวม

100

2,646.19

2,428.68

2,056.82

2,550.08

2,233.58

4,676.50

2,356.67

%yoy

-

n.a.

-8.22

-15.31

23.98

-12.41

109.37

-29.96

ประเทศ สัดส่วนปี 2555 จีน %yoy สหรัฐอเมริกา

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

67


4. แนวโน้มของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไทย แนวโน้มการผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มลดลง โดยมีโอกาสและภัยคุกคามจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 4.1 การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี จากการเปลีย่ นแปลงเทคโนโลยีทกี่ ล่าวมาแล้วข้างต้นจากอุปกรณ์เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์อกี ชนิดหนึง่ ทีเ่ รียกว่า “Solid State Drive” (SSD) ท�ำให้หลายคนอาจสงสัยว่า Solid State Drive (SSD) คืออะไร Solid State Drive คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ชนิดหนึง่ ทีใ่ ช้อา่ นและบันทึกข้อมูลโดยชิปวงจรรวมทีป่ ระกอบรวมเป็นหน่วยความจ�ำ เพือ่ จัดเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนฮาร์ดดิสก์ ซึง่ ผูผ้ ลิตเครือ่ งคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลกเริม่ ใช้มากขึน้ โดยเฉพาะในกลุม่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุก๊ ท�ำให้ตลาด Solid State Drive ค่อย ๆ เติบโตขึน้ เรือ่ ย ๆ ด้วยจุดเด่นด้านความเร็วและน�ำ้ หนักเบา สะดวกในการพกพา และส่งผลให้สนิ ค้าฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟน่าเป็น ห่วง ทั้งนี้ มีผู้ผลิต Solid State Drive หลัก ได้แก่ บริษัท Intel, Kingston และ AData 4.1.1 แนวโน้มตลาด Solid State Drive หรือ SSD แนวโน้มของตลาด Solid State Drive คาดว่ามีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่อง โดยผู้ผลิตหลัก ได้แก่ บริษัท Intel และ AData นั้นมีฐานการผลิตอยู่ในประเทศเวียดนาม ส่วนในประเทศไทยพบว่ายังไม่มีการด�ำเนินการผลิต มีเพียงการพัฒนา ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟและ Solid State Drive แบบไฮบริด (Solid State Hybrid Drive : SSHD) ของบริษทั ยักษ์ใหญ่อย่างบริษทั เวสเทิรน์ ดิจิตอล (Western Digital) ซึ่งมีขนาด 2.5 นิ้วตัวแรกที่บางที่สุดในโลกด้วยความหนาเพียง 5 มิลลิเมตร ซึ่งได้รับการออกแบบขึ้น เพือ่ การผนวกรวมเข้ากับอุปกรณ์ทบี่ างทีส่ ดุ และสภาพแวดล้อมของคอมพิวเตอร์ทมี่ กี ารจ�ำกัดพืน้ ที่ โดยมีความจุในการจัดเก็บถึง 500 GB ด้วยความสะดวกในการพกพาท�ำให้ตลาดของ Solid State Drive มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตารางที่ 4 ข้อดีและข้อเสียของ Solid State Drive (SSD) ข้อดีของ Solid State Drive (SSD) 1. ความเร็ ว ในการเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ไวกว่ า เมื่ อ เปรียบเทียบกับฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

1. การเขียนข้อมูลค่อนข้างจะช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟเพราะเป็น Flash ในการเขียนจะต้องท�ำการเพิ่มก�ำลังไฟฟ้าให้สูงขึ้นพอที่ จะท�ำให้ข้อมูลใหม่เพิ่มเข้าไปได้

2. ไม่ มี เ สี ย งดั ง เนื่ อ งจากเก็ บ ข้ อ มู ล ด้ ว ย Flash Memory จึงไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนไหว

2. ราคาค่อนข้างแพงกว่าฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟราว 6-10 เท่า เทียบกับ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่สามารถเก็บข้อมูลได้ในปริมาณที่เท่ากัน

3. สามารถกันกระแทกได้ โดยตกจากที่สูงได้ ใน ขณะที่ข้อมูลด้านในไม่เป็นอะไร

3. ความจุของ SSD ค่อนข้างต�่ำ บางรุ่นมีพื้นที่เก็บข้อมูลรวม 64 265 GB

4. ประหยัดพลังงาน ไม่มคี วามร้อน และมีความไวใน การ Boot เครื่อง 5. ขนาดเล็ก น�้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก

68

ข้อเสียของ Solid State Drive (SSD)


จากภาพที่ 3 แสดงให้เห็นการคาดการณ์ของ Information Handling Services (IHS) ว่า ตลาด Solid State Drive ทัว่ โลกมีแนวโน้มเติบโตอย่างมาก ในขณะทีฮ่ าร์ดดิสก์ไดร์ฟมีแนวโน้มลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเชือ่ ว่ายอดจ�ำหน่าย Solid State Drive ในคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นถึง 227 ล้านหน่วย ในปี 2560 (ค.ศ. 2017) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 600 จาก 31 ล้าน หน่วย ในปี 2555 (ค.ศ. 2012) ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในคอมพิวเตอร์จะลดลงเหลือประมาณ 410 ล้านหน่วย ในปี 2560 หรือ ลดลงร้อยละ 14 ภาพที่ 3 ยอดการจ�ำหน่าย HDDs และ SSDs ใน PCs ทั่วโลก, ค.ศ. 2012–2017 (ล้านหน่วย)

ที่มา : แหล่งข้อมูล IHS

ทั้งนี้ ในตลาดโลกนั้นมีความเป็นไปได้ว่าในปี 2560 Solid State Drive จะสามารถเจริญเติบโตและครองพื้นที่สูงถึง ร้อยละ 36 ของตลาดสินค้าทั้ง 2 ประเภทนี้ จากที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 6 ในปี 2555 โดยเชื่อว่าการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟจะมี แนวโน้มลดลงและครองตลาดเหลือเพียงสัดส่วนร้อยละ 64 ในปี 2560 จากเดิมที่ครองสัดส่วนถึงร้อยละ 94 ในปี 2555 สะท้อน ให้เห็นถึงโอกาสในการแข่งขันในตลาดสินค้าใหม่ อาทิ Solid State Drive ซึ่งภาครัฐและภาคเอกชนควรให้ความสนใจและ เร่งพัฒนากลยุทธ์และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิต Solid State Drive เพื่อตอบรับให้สอดคล้องกับทิศทางของ Solid State Drive ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่ส�ำคัญของ Solid State Drive เช่นเดียวกับ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ 4.1.2 ผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของไทย จากการเปลีย่ นแปลงเทคโนโลยีดงั กล่าวท�ำให้หลายหน่วยงานเกิดความกังวลต่อสถานการณ์การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ของไทย โดยมีการมองว่า Solid State Drive จะเข้ามาแทนทีฮ่ าร์ดดิสก์ไดร์ฟซึง่ จะส่งผลกระทบต่อการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยผลกระทบในระยะสั้น พบว่าจะส่งผลให้แนวโน้มการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟลดลง จากข้อมูล 8 เดือนแรกของปี 2556 การผลิตฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์สว่ นบุคคล (Personal Computer : PC) มีแนวโน้มหดตัวต่อเนือ่ ง ซึง่ ส่งผลกระทบต่อความ ต้องการฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของโลกให้ปรับตัวลดลงตาม จากสถานการณ์ดังกล่าวจะท�ำให้การผลิตและการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ ของไทยได้รับผลกระทบ เนื่องจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าร้อยละ 60

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

69


ทัง้ นี้ ในระยะยาว เชือ่ ว่า Solid State Drive จะค่อย ๆ เติบโตขึน้ เรือ่ ย ๆ แต่ไม่สามารถแทนทีฮ่ าร์ดดิสก์ไดร์ฟได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากสินค้าบางประเภทยังคงมีความจ�ำเป็นต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟเป็นชิ้นส่วนประกอบส�ำคัญ และแม้ Solid State Drive มีแนวโน้มทีจ่ ะครองสัดส่วนในตลาดมากขึน้ แต่เชือ่ ว่าฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟจะยังคงครองสัดส่วนทีส่ งู เนือ่ งจากมีขอ้ ได้เปรียบด้านต้นทุน ในแง่ความจุที่สูงกว่าและความคุ้มค่าในส่วนของจ�ำนวนเงินที่ต้องจ่ายต่อกิกะไบต์ ทั้งนี้ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟจะยังมีบทบาทส�ำคัญที่ เกี่ยวข้องกับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลออนไลน์ หรือ Cloud Storage ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนรูปแบบการท�ำงานบนคอมพิวเตอร์ จากการมีเซิรฟ์ เวอร์สว่ นตัวไปเป็นการเก็บข้อมูลและประมวลผลผ่านระบบของผูใ้ ห้บริการ (Cloud Provider) ผ่านอินเทอร์เน็ตที่ ก�ำลังเติบโตอย่างมาก ผูใ้ ช้บริการสามารถซือ้ หรือเช่าบริการเท่าทีต่ อ้ งการโดยไม่ตอ้ งค�ำนึงถึงเรือ่ งการจัดการ และสามารถเข้าถึง ข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีอย่าง Computer Smartphone หรือ Tablet 4.2 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ปัจจุบันผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยหันมาใช้สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตมากขึ้น ซึ่งท�ำให้ตลาดสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตก็มีแนวโน้มเติบโตมากกว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในปัจจุบัน ปัจจัยดังกล่าวมีโอกาสที่จะเป็นภัยคุกคาม ต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในส่วนของคอมพิวเตอร์และฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เนื่องจากมีผลท�ำให้ตลาดคอมพิวเตอร์ซบเซา ลง สะท้อนจากยอดขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วโลกที่หดตัวต่อเนื่อง 5 ไตรมาสติดต่อกัน โดยในไตรมาสที่ 2/2556 หดตัวถึง ร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความต้องการสินค้าทดแทนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนือ่ งจากอุปกรณ์เคลือ่ นทีส่ มรรถนะสูง อาทิ สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต การเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมผูบ้ ริโภคดังกล่าวแสดงให้เห็น ถึงโอกาสและทิศทางทีภ่ าครัฐและภาคเอกชนควรให้ความสนใจในการพัฒนากลยุทธ์และกระบวนการทีเ่ กีย่ วข้องกับเทคโนโลยี การผลิต Solid State Drive เพื่อตอบรับให้สอดคล้องกับทิศทางพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะเป็นกุญแจส�ำคัญ ที่จะแสดงถึงความสามารถในการปรับตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมในล�ำดับต่อไป

5. บทสรุปและข้อเสนอแนะ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีจุดแข็งที่ส�ำคัญ คือ สัดส่วนการครองตลาดของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟอยู่ในระดับสูง เนื่องจากมีบริษัทชั้นน�ำรายใหญ่ ๆ ใช้ไทยเป็นฐานการผลิต แต่มีจุดอ่อนที่ส�ำคัญก็คือ จากสัดส่วนการครองตลาดที่สูงนั้น ยังไม่มีการกระจายการผลิตเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ รวมไปถึงการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ และยังคงเป็นอุตสาหกรรม ปลายน�้ำเน้นการประกอบชิ้นส่วน ดังนั้น จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริโภค ท�ำให้การผลิตและ การส่งออกสินค้าในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟมีแนวโน้มลดลงในอนาคตอันใกล้ ซึ่งผู้ประกอบการ อาจต้องพัฒนาและผลิตสินค้าที่เป็นที่ต้องการเพื่อรองรับทิศทางการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งหากไม่สามารถปรับตัว ตามการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดจากเทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริโภค ก็มโี อกาสทีจ่ ะเป็นเหมือนกรณีการทดแทนกล้องถ่ายรูปทีใ่ ช้ ฟิล์มโดยกล้องถ่ายรูปประเภทดิจิทัล ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่ส�ำคัญของโลก แต่ก็มีข้อจ�ำกัด จากการที่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนเป็นส่วนใหญ่ การปรับตัวจึงจ�ำเป็นต้องค�ำนึง ถึงทิศทางของการเปลี่ยนแปลงของบริษัทแม่ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรวางแผนกลยุทธ์แต่เนิ่น ๆ โดยภาครัฐควรช่วยเหลือในแง่ ของการปรับโครงสร้างภาษีให้มีอัตราภาษีที่เหมาะสมส�ำหรับการรองรับการผลิตสินค้าด้วยเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพใน การแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไทยให้มีต้นทุนการผลิตสินค้าที่สามารถแข่งขันได้ และเพื่อเพิ่มโอกาสการพัฒนาและสนับสนุน การผลิต Solid State Drive ในประเทศ ตลอดจนเพื่อรักษาฐานการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้คงอยู่ในประเทศไทยต่อไป โดย Solid State Drive จะเป็นโอกาสในลักษณะของตลาดใหม่ หรือเป็นภัยคุกคามต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวม และ โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของไทยนั้น กุญแจส�ำคัญจะอยู่ที่ความสามารถในการปรับตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เอง เป็นส�ำคัญ

70


บทวิเคราะห์ เรื่อง กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ทางเลือกใหม่ในการบริหารหลักทรัพย์ของรัฐเชิงรุก

1

บทสรุปผู้บริหาร การออมและการลงทุนเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในปี 2555 ครัวเรือนไทยมีการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินสะสมประมาณ 11,207,443 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จาก ปีก่อนหน้า และเมื่อพิจารณาโครงสร้างการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินของครัวเรือนไทย พบว่า บทบาทของ การถือครองสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อการลงทุนของครัวเรือนไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2535–2540 สัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อการลงทุนของครัวเรือนไทยคิดเป็นร้อยละ 10.7 ของมูลค่า การถือครองสินทรัพย์ทางการเงิน ขณะที่ในช่วงปี 2550–2555 สัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 40.8 ของมูลค่า การถือครองสินทรัพย์ทางการเงิน โดยเฉพาะกองทุนรวมทีไ่ ด้มบี ทบาทเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ มีสดั ส่วนคิดเป็น ร้อยละ 19.8 ของมูลค่าการถือครองสินทรัพย์ทางการเงิน ❍❍ กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 ตามกฎและระเบียบของ ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีบทบาทส�ำคัญ ในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงการคลังในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) และมีสว่ นร่วมในการฟืน้ ฟูกจิ การของบริษทั อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกลั ไทย จ�ำกัด (มหาชน) หรือ ทีพไี อ (ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นบริษัท ไออาร์พีซี จ�ำกัด (มหาชน)) ที่ประสบภาวะวิกฤติการเงินหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี 2540 ตลอดจนมีบทบาทส�ำคัญในการพัฒนาตลาดการเงินของประเทศ โดยกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เป็น กองทุนรวมทีม่ ขี นาดใหญ่ทสี่ ดุ จึงมีสว่ นช่วยในการเพิม่ ปริมาณเงินลงทุนหมุนเวียนในตลาดการเงินของประเทศ นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างความมีเสถียรภาพในตลาดการเงินของประเทศ ❍❍ กองทุนรวมวายุภก ั ษ์ หนึง่ เดิมจะสิน้ สุดอายุกองทุนในเดือนพฤศจิกายน 2556 ซึง่ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 เห็นชอบให้มีกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง อยู่ต่อไป เพื่อเป็นเครื่องมือใน การบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนกิจการที่ จ�ำเป็นและต้องการการส่งเสริมจากภาครัฐ ซึง่ จะสามารถช่วยลดภาระงบประมาณของรัฐได้ และเป็นส่วนหนึง่ ใน การพัฒนาตลาดการเงินของประเทศให้ขยายตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น รวมทั้งเป็นทางเลือกในการออมและ การลงทุนให้แก่ประชาชนอีกทางหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนและการบริหารการลงทุนของกองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง ในลักษณะการลงทุนเชิงรุก (Active Portfolio Management) ให้มากขึ้น ❍❍ หากกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง สามารถแปรสภาพได้ส�ำเร็จจะเป็นการเปิดโอกาสให้ภาครัฐ สามารถขยายขีดความสามารถในการลงทุนให้ครอบคลุมกิจการทีต่ อ้ งการการส่งเสริมจากภาครัฐมากยิง่ ขึน้ และ ประชาชนจะมีสนิ ทรัพย์ทางการเงินเพือ่ ใช้ในการลงทุนเพิม่ ขึน้ ภายใต้ความเสีย่ งทีจ่ ำ� กัด ตลอดจนตลาดการเงิน จะมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีคุณภาพมาก อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรให้ความส�ำคัญกับการบริหารความเสี่ยงที่ กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จะต้องไปลงทุนเป็นส�ำคัญ ซึ่งจะท�ำให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เป็นกลไกส�ำคัญใน การผลักดันการลงทุนของภาครัฐในอนาคตได้อย่างยั่งยืนต่อไป ❍❍

ผู้เขียน : นายนิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบาย เศรษฐกิจมหภาค และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำปรึกษาและข้อแนะน�ำ

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

71


1. ภาพรวมการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินของครัวเรือนไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน การออมและการลงทุนเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในปี 2555 ครัวเรือนไทยมีการถือครอง สินทรัพย์ทางการเงินสะสมประมาณ 11,207,443 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 7.0 จากปีกอ่ นหน้า และเมือ่ พิจารณาโครงสร้างการถือ ครองสินทรัพย์ทางการเงินของครัวเรือนไทย พบว่า บทบาทของการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินเพือ่ การลงทุนของครัวเรือนไทย ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2535–2540 สัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อการลงทุนของครัวเรือนไทยคิดเป็น ร้อยละ 10.7 ของมูลค่าการถือครองสินทรัพย์ทางการเงิน ขณะที่ในช่วงปี 2550–2555 สัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 40.8 ของ มูลค่าการถือครองสินทรัพย์ทางการเงิน โดยเฉพาะกองทุนรวมที่ได้มีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 19.8 ของมูลค่าการถือครองสินทรัพย์ทางการเงิน ภาพที่ 1 ภาพรวมการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินของครัวเรือนไทย ตั้งแต่ปี 2535-2555

ที่มา : สมาคมบริษัทจัดการลงทุน

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีจ�ำนวนกองทุนรวมที่ยังด�ำเนินงานอยู่ทั้งสิ้น จ�ำนวน 1,409 กองทุนรวม โดยมี มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value : NAV) จนถึงเดือนกันยายน 2556 เท่ากับ 2,804,130 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 จาก ช่วงต้นปี โดยกองทุนรวมตราสารหนี้เป็นกองทุนรวมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งมี NAV เท่ากับ 1,591,964 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56.8 ของ NAV รวม รองลงมา ได้แก่ กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) มี NAV คิดเป็นร้อยละ 22.9 ของ NAV รวม และ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) มี NAV คิดเป็นร้อยละ 12.1 ของ NAV รวม ขณะที่กองทุนรวมผสม (Mixed Fund) มี NAV คิดเป็นร้อยละ 3.2 ของ NAV รวม และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) มี NAV คิดเป็นร้อยละ 2.5 ของ NAV รวม ตามล�ำดับ

72


ภาพที่ 2 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมจนถึงเดือนกันยายน 2556 ซึ่งแบ่งตามสินทรัพย์อ้างอิง

ที่มา : สมาคมบริษัทจัดการลงทุน

2. กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง 2.1 ความเป็นมาและสรุปสาระส�ำคัญ กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 ตามกฎและระเบียบของส�ำนักงานคณะกรรมการ ก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยมีรูปแบบ โครงสร้างเงินทุน และข้อก�ำหนดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) กองทุนรวมวายุภกั ษ์ หนึง่ เป็นกองทุนรวมประเภทไม่รบั ซือ้ คืนหน่วยลงทุนก่อนสิน้ สุดอายุโครงการ (กองทุนปิด) อายุโครงการ 10 ปี และเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในชื่อ “VAYU1” (2) กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีโครงสร้างผู้ถือหน่วยลงทุน 2 ประเภท ประกอบด้วย ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. (นักลงทุนทั่วไป) ถือครองหน่วยลงทุนจ�ำนวน 3,000 ล้านหน่วย คิดเป็นร้อยละ 30 ของจ�ำนวนหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุน ประเภท ข. (กระทรวงการคลัง) ถือครองหน่วยลงทุนจ�ำนวน 7,000 ล้านหน่วย คิดเป็นร้อยละ 70 ของจ�ำนวนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ กองทุนรวมวายุภกั ษ์ หนึง่ ได้มกี ารก�ำหนดผลตอบแทนและการคุม้ ครองการลงทุนของผูถ้ อื หน่วยลงทุนแต่ละประเภททีแ่ ตกต่าง กัน โดยผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. จะได้รับการคุ้มครองเงินลงทุนและอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนขั้นต�่ ำเฉลี่ยตลอดอายุ โครงการในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี (3) กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีวงเงินลงทุนเริ่มแรก 100,000 ล้านบาท โดยแบ่งกองทรัพย์สินออกเป็น 2 กอง คือ (3.1) กองทรัพย์สินเริ่มแรก (กอง 70,000 ล้านบาท) เป็นกองทรัพย์สินที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้มาจากกระทรวงการคลัง โดยมีสัญญาให้สิทธิในการขายกองทรัพย์สิน (Put Option) และสัญญาให้สิทธิในการซื้อกองทรัพย์สิน (Call Option) เมื่อสิ้นสุด อายุโครงการ และ (3.2) กองทรัพย์สินอื่น (กอง 30,000 ล้านบาท) เป็นกองทรัพย์สินที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง สามารถลงทุน ตามวัตถุประสงค์และขอบเขตที่ได้ก�ำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

73


ภาพที่ 3 การระดมเงินทุนและนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง

ที่มา : หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง

2.2 ผลการด�ำเนินงานและสถานะปัจจุบันของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มี NAV ไม่รวมมูลค่า Put/Call Options เท่ากับ 380,354 ล้าน บาท โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากเมื่อจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เฉลี่ยร้อยละ 15.0 ต่อปี ขณะที่ NAV เมื่อรวมมูลค่า Put/Call Options เท่ากับ 187,014 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากเมื่อจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เฉลี่ยร้อยละ 6.8 ต่อปี นอกจากนี้ ตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จนถึงสิ้นปี 2555 กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้จ่ายเงินปันผลให้ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.8 ต่อปี และอัตราเงินปันผลจ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. เฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 3.8 ต่อปี

3. บทบาทของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ในการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐและการพัฒนา ตลาดทุน (1) กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีบทบาทส�ำคัญในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงการคลังในการฟื้นฟู กิจการของบริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) (บมจ. การบินไทย) โดยได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ บมจ. การบินไทย ตามสิทธิของ กองทุนรวมวายุภกั ษ์ หนึง่ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการเพิม่ ทุนในส่วนของกระทรวงการคลัง โดยได้ซอื้ หุน้ บริษทั เอสโซ่ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) เพือ่ ให้กระทรวงการคลังน�ำเงินจ�ำนวนดังกล่าวมาใช้ในการซือ้ หุน้ บมจ. การบินไทย ตามสิทธิเพิม่ ทุนของกระทรวง การคลัง ท�ำให้สามารถลดภาระในการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อใช้ในการด�ำเนินการดังกล่าวของภาครัฐ (2) กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จ�ำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ (ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นบริษัท ไออาร์พีซี จ�ำกัด (มหาชน)) ที่ประสบภาวะวิกฤติการเงินหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 โดยกระทรวงการคลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ ซึ่งกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้เข้าร่วม เป็นผู้ลงทุนหลักในกิจการดังกล่าวในขณะนั้น (3) กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ถือว่ามีบทบาทส�ำคัญในการพัฒนาตลาดการเงินของประเทศ โดยกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เป็นกองทุนรวมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด จึงมีส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณเงินลงทุนหมุนเวียนในตลาดการเงินของประเทศ นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างความมีเสถียรภาพในตลาดการเงินของประเทศ

74


4. แนวทางการด�ำเนินการกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เมื่อสิ้นสุดอายุโครงการ กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จะสิ้นสุดอายุกองทุนในเดือนพฤศจิกายน 2556 ซึ่งเบื้องต้นมีแนวทางการด�ำเนินการกองทุน รวมวายุภักษ์ หนึ่ง เมื่อสิ้นสุดอายุโครงการสรุปได้ดังนี้ ตารางที่ 2 แนวทางการด�ำเนินการกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เมื่อสิ้นสุดอายุโครงการ2 แนวทางด�ำเนินการ

ประโยชน์

1. เลิ ก กองทุ น รวมวายุ ภั ก ษ์ • กระทรวงการคลังได้รบั หลักทรัพย์คนื ตามสิทธิซอื้ คืน หนึ่ง เมื่อสิ้นสุดอายุกองทุน ทั้งหมด โดยไม่มีการด�ำเนินการใด ๆ • กระทรวงการคลังสามารถก�ำหนดแนวทางบริหาร จัดการหลักทรัพย์ได้ในช่วงเวลาและรูปแบบทีเ่ หมาะสม

ข้อจ�ำกัด •

ตลาดทุนขาดผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นทางเลือก ในการลงทุนให้แก่นักลงทุน และอาจมีสภาพคล่อง จ�ำนวนมากไหลเข้าสูต่ ลาดการเงิน ซึง่ อาจท�ำให้เกิด ภาวะสภาพคล่องล้นตลาด

• ในกรณีที่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ต้องช�ำระบัญชี โดยการขายหลักทรัพย์ อาจสร้างความผันผวนต่อ ตลาดการเงินเนื่องจากกองทุนมีขนาดใหญ่ • กระทรวงการคลังจะต้องจัดหาเงินเพื่อซื้อทรัพย์สิน คืนตามสิทธิซื้อคืน และท�ำให้กระทรวงการคลังขาด เครื่องมือในการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐ

2. ให้มีกองทุนรวมวายุภักษ์ อยู่ต่อไป โดยคงนโยบาย การลงทุนทีเ่ ป็นไปในลักษณะ เชิงรับ (Passive Portfolio Management) แบบเดิม

• เป็นวิธีการด�ำเนินงานที่ง่ายที่สุด โดยกระทรวงการ • เป็นเพียงการเลื่อนระยะเวลาในการจัดหาเงินเพื่อ คลังไม่ตอ้ งจัดหาเงินเพือ่ ซือ้ คืนทรัพย์สนิ ตามสิทธิซอื้ จัดการภาระผูกพันหากกระทรวงการคลังยังคงมี ความประสงค์จะน�ำหลักทรัพย์ดังกล่าวกลับคืนมา คืนเมือ่ สิ้นสุดอายุโครงการ จะมี ภ าระในการจั ด หาเงิ น ทุ น เพื่ อ ซื้ อ หลั ก ทรั พ ย์ • กระทรวงการคลังสามารถใช้กองทุนเป็นเครื่องมือ ดังกล่าวคืนจากกองทุนรวมวายุภกั ษ์ หนึง่ ในอนาคต ทางการเงินในการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐ และมีบทบาทในการสนับสนุนการด�ำเนินการต่าง ๆ • วัตถุประสงค์ในการลงทุนและการบริหารการลงทุน เป็นไปในลักษณะเชิงรับ ซึ่งท�ำให้ไม่สามารถได้รับ ต่อไป และไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน ผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างเต็มที่และเกิด ประโยชน์สงู สุด รวมทัง้ ไม่สามารถใช้กองทุนเป็นกลไก สนับสนุนการลงทุนในโครงการที่มีความส�ำคัญ และ เป็นประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ และช่วยขยาย และพัฒนา ตลาดการเงินในประเทศ โดยการเพิม่ อุปสงค์ในตลาด และช่ ว ยลดความผั น ผวนของตลาดกรณี ที่ มี ก าร เคลื่อนย้ายเงินทุนของต่างประเทศอย่างฉับพลัน

3. ให้มีกองทุนรวมวายุภักษ์ อยู ่ ต ่ อ ไป โดยปรั บ ปรุ ง นโยบายการลงทุ น ใน ลั ก ษณะเชิ ง รุ ก (Active Portfolio Management) มากขึ้น

กระทรวงการคลั ง ไม่ ต ้ อ งจั ด หาเงิ น เพื่ อ ซื้ อ คื น ทรั พ ย์ สิ น ตามสิ ท ธิ ซื้ อ คื น เมื่ อ สิ้ น สุ ด อายุ ก องทุ น และสามารถใช้กองทุนเป็นเครื่องมือทางการเงิน ในการบริหารหลักทรัพย์และเป็นกลไกสนับสนุนการ ลงทุนในโครงการทีม่ คี วามส�ำคัญและเป็นประโยชน์ ในเชิ ง เศรษฐกิ จ เช่ น โครงการที่ ช ่ ว ยเพิ่ ม ความ สามารถหรือความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ ประเทศ หรือโครงการที่ช่วยกระจายความเสี่ยงให้ แก่เศรษฐกิจของประเทศ ฯลฯ

กระทรวงการคลังสามารถใช้กองทุนเป็นเครื่องมือ ทางการเงินในการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐ และมีบทบาทในการสนับสนุนการด�ำเนินการต่าง ๆ ต่อไป และเป็นการพัฒนาตลาดการเงิน โดยการเพิม่ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินทีห่ ลากหลายและเพิม่ จ�ำนวน นักลงทุนที่เพิ่มขึ้น

อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เนื่องจากการเข้า มาครอบง�ำการบริหารจัดการกองทุน เช่น การตัดสินใจ โครงการลงทุนต่าง ๆ ของภาครัฐ ฯลฯ ดังนัน้ กองทุน ที่ ตั้ ง ขึ้ น มาใหม่ จ ะต้ อ งให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ระบบ ปฏิบัติการ ระบบควบคุมภายใน และระบบบริหาร ความเสี่ยงเพื่อที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าว

การท�ำความเข้าใจกับผูถ้ อื หน่วยลงทุนเดิมและผูถ้ อื หน่วยลงทุนใหม่ เนือ่ งจากกองทุนทีจ่ ะตัง้ ใหม่มคี วาม ซับซ้อนในการบริหารการลงทุนด�ำเนินการมากกว่า เดิม เนื่องจากการลงทุนจะครอบคลุมในวงกว้าง มากกว่า ท�ำให้ต้องใช้เวลามากกว่าในการศึกษา ประเมินคัดเลือกหลักทรัพย์ที่จะลงทุน การวางแผน กลยุ ท ธ์ ก ารลงทุ น การบริ ห ารความเสี่ ย ง และ การติดตามประเมินผล เป็นต้น

ผลงานที่เป็นผลการด�ำเนินงานที่ผ่านมา เรื่องที่ 2 การน�ำเสนอนโยบายแนวทางการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐของนายพลจักร นิ่มวัฒนา

2

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

75


ซึง่ คณะรัฐมนตรีได้มมี ติเมือ่ วันที่ 27 ธันวาคม 2554 เห็นชอบในหลักการให้ขยายการด�ำเนินการของกองทุนรวมวายุภกั ษ์ หนึง่ เพือ่ เพิม่ ความสามารถของรัฐวิสาหกิจในการระดมทุนเพือ่ การลงทุน และลดภาระหนีส้ าธารณะของรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับ กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้มีส่วนในการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐและการพัฒนาตลาดการเงินมาโดยตลอด นอกจากนี้ กระทรวงการคลังมีความจ�ำเป็นในการพัฒนาเครือ่ งมือในการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐ เพือ่ ลดปัญหาและข้อจ�ำกัดในการ บริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐของกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ในปัจจุบันยังมีนโยบายการลงทุนเชิงรับ (Passive Investment) ดังนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 ได้เห็นชอบให้มีกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง อยูต่ อ่ ไป เพือ่ เป็นเครือ่ งมือในการบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐในปัจจุบนั ให้เกิดประโยชน์สงู สุด เป็นแหล่งเงินทุน เพื่อสนับสนุนกิจการที่จ�ำเป็นและต้องการการส่งเสริมจากภาครัฐ ซึ่งจะสามารถช่วยลดภาระงบประมาณของรัฐได้ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาตลาดการเงินของประเทศให้ขยายตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น และเป็นทางเลือกใน การออมและการลงทุนให้แก่ประชาชนอีกทางหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนและการบริหารการลงทุนของกอง ทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ในลักษณะการลงทุนเชิงรุก (Active Portfolio Management) ให้มากขึ้น

5. หลักทรัพย์ของรัฐ ขุมทรัพย์ที่ไม่ได้ถูกเปิดเผย3 ปัจจุบนั กระทรวงการคลังถือหลักทรัพย์ทงั้ สิน้ จ�ำนวน 104 หลักทรัพย์ มีมลู ค่าตามบัญชี (Book Value) ประมาณ 872,972 ล้านบาท ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ (1) หลักทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จ�ำนวน 18 หลักทรัพย์ มีมูลค่าตามบัญชี ประมาณ 490,172 ล้านบาท ประกอบด้วยหลักทรัพย์รัฐวิสาหกิจ 6 แห่ง จ�ำนวน 471,819 ล้านบาท เช่น บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) ฯลฯ และหลักทรัพย์บริษัทเอกชน 12 แห่ง จ�ำนวน 18,353 ล้านบาท เช่น ธนาคาร ทหารไทย จ�ำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) ฯลฯ (2) หลักทรัพย์ทไี่ ม่ได้จดทะเบียนใน ตลท. จ�ำนวน 85 หลักทรัพย์ มีมลู ค่าตามบัญชีประมาณ 273,389 ล้านบาท ประกอบ ด้วยหลักทรัพย์รัฐวิสาหกิจ 17 แห่ง จ�ำนวน 269,434 ล้านบาท และหลักทรัพย์บริษัทเอกชน 68 แห่ง จ�ำนวน 3,955 ล้านบาท (3) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีมูลค่าตามบัญชีประมาณ 109,410 ล้านบาท ทัง้ นี้ หากกองทุนรวมวายุภกั ษ์ หนึง่ สามารถสนับสนุนภาครัฐในการบริหารจัดการหลักทรัพย์เชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท�ำให้อตั ราผลตอบแทนจากการลงทุนของหลักทรัพย์ของรัฐเพิม่ ขึน้ โดยอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนทีเ่ พิม่ ขึน้ ทุก ๆ ร้อยละ 1 ของมูลค่าตามบัญชี จะท�ำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 8,730 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของงบประมาณรายจ่าย ประจ�ำปีงบประมาณ 2557

6. สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในอดีตกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เป็นหนึ่งในกลไกส�ำคัญของภาครัฐในการบริหารจัดการทรัพย์ที่รัฐถือครองให้เกิด ประโยชน์ ช่วยลดภาระของภาครัฐในการจัดสรรงบประมาณเพื่อน�ำไปลงทุนในกิจการที่มีความจ�ำเป็นและต้องการการส่งเสริม ของภาครัฐ และเป็นการเพิม่ ทางเลือกของประชาชนผูอ้ อมเงิน ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนของประเทศ ปัจจุบนั กองทุน รวมวายุภักษ์ หนึ่ง อยู่ระหว่างการแปรสภาพที่จะต้องด�ำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2556 ดังนั้น หากกองทุน รวมวายุภกั ษ์ หนึง่ สามารถแปรสภาพได้สำ� เร็จจะเป็นการเปิดโอกาสให้ภาครัฐได้มเี ครือ่ งมือในการบริหารจัดการหลักทรัพย์ทรี่ ฐั ถือครองเชิงรุก (Active Portfolio Management) ซึ่งภาครัฐจะสามารถขยายขีดความสามารถในการลงทุนให้ครอบคลุมกิจการ ที่ต้องการการส่งเสริมจากภาครัฐมากยิ่งขึ้น โดยไม่มีข้อจ�ำกัดของงบประมาณรายจ่าย และประชาชนจะมีสินทรัพย์ทางการเงิน เพื่อใช้ในการลงทุนเพิ่มขึ้นภายใต้ความเสี่ยงที่จ�ำกัด ตลอดจนตลาดการเงินจะมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่ง จะเป็นการพัฒนาตลาดการเงินทั้งเชิงลึกและกว้าง อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรให้ความส�ำคัญกับการบริหารความเสี่ยงที่กองทุน รวมวายุภักษ์ หนึ่ง จะต้องไปลงทุนเป็นส�ำคัญ ซึ่งจะท�ำให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เป็นกลไกส�ำคัญในการผลักดันการลงทุน ของภาครัฐในอนาคตได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ข้อมูลส�ำคัญของรัฐวิสาหกิจไทย (State Enterprise Key Indicators : SEKI) ฉบับที่ 2/56

3

76


บทวิเคราะห์ เรื่อง พื้นที่การคลัง (Fiscal Space) กับกรอบความยั่งยืน ทางการคลังของกระทรวงการคลัง 1

บทสรุปผู้บริหาร บทความนี้น�ำเสนอการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังตามแนวคิดพื้นที่การคลัง (Fiscal Space) ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างใหม่และเริ่มเป็นที่แพร่หลายในต่างประเทศ แนวคิดพื้นที่การคลังอาศัยวิธีการ ประมาณค่าพฤติกรรมการตอบสนองของดุลการคลังในอดีตทีม่ ตี อ่ ระดับสัดส่วนหนีส้ าธารณะต่อ GDP ซึง่ สามารถ น�ำไปค�ำนวณหาระดับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ดุลยภาพ และระดับเพดานสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ได้ โดยในกรณีของประเทศไทยพบว่า ระดับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ดุลยภาพอยู่ที่ระดับร้อยละ 45.3 ซึ่งใกล้เคียงกับระดับหนี้สาธารณะของไทยในปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความมีเสถียรภาพของฐานะการคลัง และพบว่าเพดานหนี้สาธารณะของไทยอยู่ระดับร้อยละ 60 ซึ่งสอดคล้องกับกรอบความยั่งยืนทางการคลังของ กระทรวงการคลังในปัจจุบนั และแสดงให้เห็นว่าฐานะการคลังของไทยในปัจจุบนั ยังคงมีความยัง่ ยืนทางการคลัง ❍❍

1. บทน�ำ ปัญหาหนีส้ าธารณะของหลายประเทศทัว่ โลกในปัจจุบนั (ภาพที่ 1) ได้เพิม่ ความรุนแรงขึน้ ในช่วงหลายทศวรรษทีผ่ า่ นมา ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากวิกฤติการณ์ต่าง ๆ อาทิ วิกฤติต้มย�ำกุ้งเมื่อปี 2540 เรื่อยมาจนถึงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ และ วิกฤติ หนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป ตลอดจนภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้เกิดปัญหาหนี้สาธารณะเช่นกัน จึงท�ำให้เกิดกระแสความกังวลและความตืน่ ตัวเกีย่ วกับการศึกษาวิเคราะห์ปญ ั หาความยัง่ ยืนทางการคลังเพิม่ มากขึน้ ซึง่ ในทาง วิชาการก็ได้มีความพยายามในการพัฒนาแนวทางการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังมาอย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษแล้ว เช่นกัน กระทั่งปัจจุบันได้มีวิธีวิเคราะห์ฐานะความยั่งยืนทางการคลังที่หลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป ส�ำหรับประเทศไทยกระแสความตืน่ ตัวในเรือ่ งนีเ้ ริม่ ขึน้ ครัง้ แรกในช่วงวิกฤติปี 2540 เนือ่ งจากหนีส้ าธารณะไทยได้เพิม่ สูงขึน้ จากระดับร้อยละ 15 ของ GDP ในปี 2539 ไปเป็นร้อยละ 62 ในปี 2543 ก่อนที่จะค่อย ๆ ปรับตัวลดลงกระทั่ง ณ สิ้นปี 2555 อยู่ที่ระดับร้อยละ 44 ของ GDP แม้ว่าระดับหนี้สาธารณะของไทยจะยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนักเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่ภายใต้กระแสโลกาภิวตั น์ทำ� ให้แรงกดดันจากปัญหาเศรษฐกิจภายนอกประเทศสามารถส่งผ่านมายังเศรษฐกิจไทยและฐานะ การคลังของไทยได้โดยง่าย ประกอบกับการด�ำเนินนโยบายขาดดุลการคลังอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลผนวกกับแผนการใช้จ่าย เงินนอกงบประมาณจ�ำนวนมาก ความเสี่ยงจากนโยบายกึ่งการคลัง (Quasi-Fiscal) และหนี้ที่อาจเกิดขึ้นจากภาระผูกพัน ทางการคลังต่าง ๆ (Contingent Liabilities) ท�ำให้ประเด็นความยั่งยืนทางการคลังยังคงมีความส�ำคัญที่จะต้องเฝ้าระวัง

ผู้เขียน : นายนรพัชร์ อัศววัลลภ เศรษฐกรช�ำนาญการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นางสาววิมล ชาตะมีนา ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายการคลัง นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค นางสาวสุภคั ไชยวรรณ ผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะด้านนโยบายและระบบการคลัง และนายพิสทิ ธิ์ พัวพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการงานวิจัยของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง ของส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังประจ�ำปีงบประมาณ 2556

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

77


ภาพที่ 1 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศต่าง ๆ ปี 2555

ที่มา : IMF database (April 2013)

ในการศึกษานี้จึงได้เลือกการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังตามแนวคิด “พื้นที่การคลัง (Fiscal Space)” ซึ่งเป็น วิธีวิเคราะห์ที่ค่อนข้างใหม่และเริ่มเป็นที่แพร่หลายในระดับสากล เนื่องจากในระยะหลังกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ได้กล่าวถึงการวิเคราะห์ลกั ษณะนีใ้ นรายงาน “Fiscal Monitor” และยังเป็นวิธที ถี่ กู น�ำไปใช้ ในบทวิเคราะห์ของภาคเอกชนด้วย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการคลังของไทยยังไม่เคยวิเคราะห์ ความยั่งยืนทางการคลังตามแนวคิดนี้มาก่อน นอกจากนี้ การวิเคราะห์ตามแนวคิดพื้นที่การคลังยังจะช่วยให้เกิดความเข้าใจ มากขึ้นเกี่ยวกับระดับหนี้สาธารณะที่มีความยั่งยืน และสามารถน�ำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบกับกรอบความยั่งยืน ทางการคลัง ซึ่งกระทรวงการคลังได้ก�ำหนดไว้ที่ระดับร้อยละ 60 ของ GDP ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดอีกด้วย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นข้อมูลรายปีงบประมาณตั้งแต่ปี 2537 ถึงปี 2555 โดยมีข้อมูลส�ำคัญคือ หนี้สาธารณะ2 และดุลการคลังเบื้องต้นซึ่งเป็นข้อมูลตามระบบ Government Financial Statistics (GFS) แต่ครอบคลุมเฉพาะงบประมาณ (Budgetary) เท่านั้น3 เนื่องจากความจ�ำกัดของข้อมูลในปัจจุบันที่ยังไม่รวมดุลของรัฐวิสาหกิจ 1. การวิเคราะห์พื้นที่การคลัง (Fiscal Space) โดยทัว่ ไปค�ำว่าพืน้ ทีก่ ารคลังหรือ Fiscal Space มีความหมายทีห่ ลากหลาย เช่น บางครัง้ อาจหมายถึงวงเงินงบประมาณ ที่ก�ำหนดเผื่อไว้นอกเหนือจากรายจ่ายประจ�ำและลงทุนตามปกติ เพื่อที่จะสามารถน�ำไปจัดสรรใช้ในการด�ำเนินนโยบาย บางประการในอนาคต ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในการศึกษานี้ พื้นที่การคลัง4 หมายถึง ความแตกต่างระหว่างระดับหนี้สาธารณะ ในปัจจุบันและระดับเพดานหนี้สาธารณะ (Debt Limit) ซึ่งค�ำนวณขึ้นจากพฤติกรรมการปรับตัวทางการคลังในอดีต ดังนั้น พื้นที่การคลังจึงใช้บ่งบอกถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP โดยอ้างอิงจากแบบแผนพฤติกรรม การตอบสนองของดุลการคลังต่อสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นในอดีต 2.1 แนวคิดพื้นที่การคลัง (Fiscal Space) ภาพที่ 2 แสดงถึงการก�ำหนดระดับหนี้สาธารณะดุลยภาพรวมถึงเพดานหนี้สาธารณะโดยเส้นทึบที่มีลักษณะเป็น S Shape เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนดุลการคลังเบื้องต้นต่อ GDP (pb) และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP 0 เพื่อแสดงถึง พฤติกรรมการตอบสนองของรัฐบาลในการก�ำหนดดุลการคลังเบื้องต้น ณ ระดับหนี้สาธารณะต่าง ๆ โดยจะเห็นได้ว่าในช่วงที่ ข้อมูลหนี้สาธารณะจัดท�ำโดยกระทรวงการคลัง ดุลงบประมาณตามระบบ GFS นับรวมการใช้จ่ายจากการกู้เงินนอกงบประมาณด้วย (เช่น เงินกู้ไทยเข้มแข็ง ฯลฯ) 4 Ostry, J.D. & Ghosh, A.R. & Kim, J.I. & Qureshi, M.S. (2010) Fiscal Space. IMF Staff Position Note, SPN/10/11 2 3

78


สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับต�่ำ รัฐบาลอาจมีแรงจูงใจในการขาดดุลการคลังและก่อหนี้สาธารณะ แต่เมื่อสัดส่วน หนีส้ าธารณะเพิม่ ขึน้ รัฐบาลอาจตอบสนองต่อระดับหนีส้ าธารณะดังกล่าวเพือ่ รักษาวินยั การคลังโดยการเพิม่ การเกินดุลการคลัง อย่างไรก็ตาม การเกินดุลการคลังไม่สามารถที่จะท�ำได้อย่างไม่มีขอบเขตจ�ำกัด ท�ำให้ลักษณะการตอบสนองของการก�ำหนด ดุลการคลังต่อหนี้สาธารณะมีลักษณะเป็น S Shape5 กล่าวคือจะมีการชะลอตัวของการเกินดุลการคลังในที่สุด ส่วนเส้นประ ที่ลากออกจากจุดก�ำเนิดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผลต่างของระดับอัตราดอกเบี้ยรัฐบาล (r) และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทีเ่ ป็นตัวเงิน (g) คูณด้วยสัดส่วนหนีส้ าธารณะต่อ GDP (d) ดังนัน้ ความชันของเส้นประจึงมีคา่ เท่ากับผลต่างของ r และ g นัน่ เอง การน�ำเส้นทัง้ สองมาเปรียบเทียบในภาพเดียวกันก็เพือ่ ทีจ่ ะแสดงให้เห็นถึงทิศทางการเคลือ่ นไหวของสัดส่วนหนีส้ าธารณะ ต่อ GDP โดย (r-g)d แสดงถึงภาระดอกเบี้ยบนมูลหนี้ที่รัฐบาลจะต้องจ่าย หากการเกินดุลการคลังสูงกว่าย่อมส่งผลให้สัดส่วน หนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลง แต่หากการเกินดุลมีขนาดเล็กกว่าภาระดอกเบี้ยก็จะท�ำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สะสม พอกพูนขึน้ ดังนัน้ จากภาพที่ 2 จะเห็นได้วา่ สัดส่วนหนีส้ าธารณะต่อ GDP ทีร่ ะดับ d* เป็นระดับดุลยภาพทีม่ เี สถียรภาพ เนือ่ งจาก เป็นจุดตัดของเส้นทั้งสองท�ำให้การเกินดุลการคลังอยู่ในระดับพอดีกับอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะอยู่ในระดับ คงที่ แต่หากมี Shock เกิดขึ้นท�ำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงต�่ำกว่าระดับดังกล่าว (d*) ระดับดอกเบี้ยสุทธิจะสูงกว่า การเกินดุลการคลังท�ำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะปรับเพิ่มขึ้น ในทางตรงข้ามหากหนี้สาธารณะสูงกว่าระดับดังกล่าวการเกินดุล การคลังจะอยูใ่ นระดับสูงกว่าภาระดอกเบีย้ สุทธิ ท�ำให้เกิดการช�ำระหนีแ้ ละสัดส่วนหนีส้ าธารณะปรับลดลงเข้าสูด่ ลุ ยภาพในทีส่ ดุ

ภาพที่ 2 การก�ำหนดระดับหนี้สาธารณะดุลยภาพและระดับเพดานหนี้สาธารณะ

ที่มา : Ostry, Ghosh, Kim, and Qureshi (2010)

เพดานหนี้สาธารณะถูกก�ำหนดด้วยจุดตัดระหว่างเส้น S Shape และเส้นประทางขวาสุด ณ ระดับหนี้สาธารณะ d~ ทั้งนี้ เนื่องจากหากระดับหนี้สาธารณะเกินจุดดังกล่าวการเกินดุลจะไม่เพียงพอที่จะช�ำระดอกเบี้ย ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งน�ำมาสู่ความไม่ยั่งยืนทางการคลัง (เส้นประที่มีลักษณะโค้งขึ้นในภาพแสดงถึงความเสี่ยง ทางการคลังทีอ่ ยูใ่ นระดับสูงเมือ่ ระดับหนีส้ าธารณะของประเทศเพิม่ สูงขึน้ มาก ส่งผลให้อตั ราดอกเบีย้ เริม่ ปรับเพิม่ ขึน้ ตัง้ แต่ระดับ d^ และส่งผลให้เพดานหนีส้ าธารณะลดลง อย่างไรก็ตาม การศึกษานีไ้ ม่ได้คำ� นึงถึงปัจจัยการเพิม่ ขึน้ ของอัตราดอกเบีย้ ดังกล่าว) Ostry, Ghosh, Kim, and Qureshi (2010) ได้ท�ำการศึกษาเชิงประจักษ์จากข้อมูลของประเทศที่พัฒนาแล้วจ�ำนวน 23 ประเทศ พบว่า การตอบสนองของ ดุลการคลังต่อสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP (ย้อนหลัง 1 ปี) มีลักษณะวกกลับ 2 ครั้งหรือเป็น S Shape จริง

5

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

79


2.2 การประมาณค่าแบบจ�ำลองเพื่อค�ำนวณพื้นที่การคลัง การค�ำนวณมีจดุ ประสงค์เพือ่ ประมาณค่าการตอบสนองทางการคลังต่อสัดส่วนหนีส้ าธารณะต่อ GDP หรือเส้น S Shape และตั้งสมมติฐานที่เหมาะสมของอัตราดอกเบี้ยและอัตราการเติบโตของ GDP หรือเส้นประ เพื่อค�ำนวณหาจุดตัดที่แสดงถึง ระดับหนี้สาธารณะดุลยภาพและระดับเพดานหนี้สาธารณะ ส�ำหรับการประมาณค่าเส้น S Shape ท�ำได้โดยการใช้แบบจ�ำลองทางเศรษฐมิตเิ พือ่ วิเคราะห์การตอบสนองทางการคลัง โดยก�ำหนดให้ตัวแปรทางซ้าย (Dependent Variable) เป็นดุลการคลังเบื้องต้นต่อ GDP เพื่อดูการตอบสนองต่อตัวแปรทางขวา (Explanatory Variables) หรือสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP (ย้อนหลัง 1 ปี) อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP มิใช่ปัจจัยเดียวที่มีผลกระทบต่อดุลการคลัง ดังนั้น จึงจ�ำเป็นที่จะต้องเพิ่มตัวแปรทางขวาที่เกี่ยวข้องเข้าไปด้วย ดังแสดงใน ตารางที่ 1 ยกตัวอย่าง Output Gap ซึ่งอาศัยหลักการทั่วไปว่าภาคการคลังควรท�ำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้น หากรัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะร้อนแรงก็ควรใช้นโยบายการคลังที่เข้มงวดขึ้น ในทางตรงข้ามหากคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะชะลอตัวก็ควรใช้นโยบายการคลังแบบผ่อนคลาย นอกจากนี้ ยังมีตัวแปร Government Expenditure Gap ซึ่งสะท้อนถึงภาระรายจ่ายประจ�ำของรัฐบาลว่า หากปีใดรัฐบาลมีรายจ่ายประจ�ำเพิ่มสูงขึ้นก็อาจส่งผลกระทบทางลบ ต่อดุลการคลังได้ เนื่องจากรายจ่ายงบประมาณประจ�ำปีประกอบด้วยรายจ่ายประจ�ำในสัดส่วนที่สูงและมีความยืดหยุ่น ในการปรับตัวต�่ำเมื่อเปรียบเทียบกับรายจ่ายลงทุน ตารางที่ 1 ตัวแปรในแบบจ�ำลองการตอบสนองทางการคลัง

ตัวแปรตาม

Primary Balance to GDP ratio (PB) ตัวแปรอิสระ Lagged debt to GDP ratio (LD) Output gap (OG) Government expenditure gap (GEG) Trade openness (OPEN) Inflation (INF)

สัดส่วนดุลงบประมาณเบื้องต้น (Budgetary) ตามระบบ GFS ต่อ Nominal GDP สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ย้อนหลัง 1 ปี ผลต่างระหว่าง Real GDP คาดการณ์ตามเอกสารงบประมาณ (ปรับด้วย GDP deflator) และ Real potential GDP (ค�ำนวณโดย Hodrick-Prescott Filter) ผลต่างระหว่าง Real government consumption ตามเอกสารงบประมาณ (ปรับด้วย Government consumption deflator) และ Real potential government consumption (ค�ำนวณโดย Hodrick-Prescott Filter) มูลค่าส่งออกและน�ำเข้าต่อ GDP อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี

ที่มา : ค�ำนวณโดย สศค.

เนื่องจากแบบจ�ำลองการตอบสนองทางการคลังมีลักษณะข้อมูลเป็นอนุกรมเวลา ดังนั้น การประมาณค่าจึงสมมติให้ Error Term มีลกั ษณะ First-order Autoregressive Process (AR1) และท�ำการทดสอบ Unit Root Test6 ของ Error Term พบว่า มีลักษณะ Stationary ท�ำให้เชื่อได้ว่าแบบจ�ำลองน่าจะไม่มีปัญหา Spurious นอกจากนี้ ยังให้ความส�ำคัญกับความน่าเชื่อถือ ของความมีนัยส�ำคัญของตัวแปรสัดส่วนหนี้สาธารณะทั้งสามที่สื่อถึงการตอบสนองทางการคลังแบบ S Shape จึงใช้ Robust Standard Errors (Newey-West HAC estimator) แทน Standard Errors ธรรมดา ซึ่งอาจมีปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพ (Efficient) จากปัญหาทางเศรษฐมิติต่าง ๆ ได้ เช่น Multicollinearity หรือ Heteroskedasticity ฯลฯ ทั้งนี้ จากผลการประมาณค่า แบบจ�ำลองปรากฏตามตารางที่ 2 จะเห็นว่าตัวแปรทางขวาทุกตัวมีนยั ส�ำคัญอย่างน้อยทีร่ ะดับร้อยละ 10 และโดยเฉพาะอย่างยิง่ ตัวแปร LD LD^2 และ LD^3 มีนัยส�ำคัญแสดงว่าการตอบสนองทางการคลังมีลักษณะเป็น S Shape สอดคล้องกับแนวคิด ที่กล่าวในตอนแรก การทดสอบใช้วิธี Phillips-Perron Unit Root Test ได้ค่า Adjusted t-Statistic เท่ากับ -9.59

6

80


ตารางที่ 2 ผลการประมาณค่าแบบจ�ำลองการตอบสนองทางการคลัง

Variable

Coefficient

Prob.

LD LD^2 LD^3 OG GEG OPEN INF Adjusted R-squared

-3.804407 0.089893 -0.000680 -6.80E-06 -6.40E-05 0.357924 -0.205367 0.792110

0.0149 0.0439 0.0851 0.0054 0.0167 0.0000 0.0082

ที่มา : ค�ำนวณโดย สศค.

หากพิจารณาถึงเครื่องหมายของตัวแปรทางขวามือจะพบว่า 1) Output Gap และ Inflation มีเครื่องหมายเป็นลบทั้งคู่ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดที่อธิบายข้างต้น แสดงว่า ภาคการคลังมิได้ท�ำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Countercyclical) แต่จะอัดฉีดมากเมื่อเศรษฐกิจดี และ อัดฉีดน้อยเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว (Procyclical) อย่างไรก็ตาม Frankel, Vegh, and Vuletin (2012)7 ได้อ้างถึงข้อมูลจาก IMF ว่า ประเทศก�ำลังพัฒนาส่วนใหญ่รวมถึงประเทศไทยมีลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างการใช้จ่ายของรัฐบาลที่แท้จริงกับ GDP ที่แท้จริงเป็นบวก (Procyclical) ซึ่งสอดคล้องกับเครื่องหมายในการศึกษานี้ 2) Government Expenditure Gap มีเครื่องหมายเป็นลบ สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่าหากปีใดมีรายจ่ายประจ�ำมาก เป็นพิเศษก็จะท�ำให้เกิดการขาดดุลการคลังเพิ่มขึ้น 3) Openness หรือระดับการเปิดประเทศ อันทีจ่ ริงในทางทฤษฎีอาจไม่สามารถระบุชดั เจนว่าเครือ่ งหมายควรเป็นอย่างไร เนือ่ งจากการเปิดประเทศจะท�ำให้มกี ารตรวจสอบจากต่างประเทศเข้มงวดขึน้ ซึง่ จะช่วยลดการคอร์รปั ชันและมีวนิ ยั ทางการคลัง ที่ดีขึ้น ส่งผลบวกต่อดุลการคลัง ในขณะเดียวกันการเปิดประเทศก็ท�ำให้เกิดการแข่งขันสูงขึ้นท�ำให้รัฐสูญเสียรายได้ภาษีและ มีความเสี่ยงจากโลกาภิวัตน์ อย่างไรก็ตาม Combes et. al. (2006)8 พบว่า กรณีกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนาที่มีนโยบาย การเปิดเสรี ผลด้านบวกมักสูงกว่าผลด้านลบ กล่าวคือดุลการคลังจะดีขนึ้ ซึง่ สอดคล้องกับเครือ่ งหมาย (บวก) ของการศึกษาครัง้ นี้ 2.3 ผลการค�ำนวณและความอ่อนไหวของพื้นที่การคลัง จากแนวคิดการค�ำนวณพืน้ ทีก่ ารคลังในภาพที่ 2 จะเห็นว่าหลังจากทีส่ ามารถประมาณค่าเส้น S Shape สิง่ ต่อมาทีต่ อ้ งการ ทราบคือความชันของเส้นประ (r-g) ซึ่งในที่นี้ก�ำหนดให้อยู่ที่ระดับร้อยละ 3 โดยมีที่มาดังต่อไปนี้ อัตราดอกเบี้ย (r) ต้องการแสดงถึงต้นทุนทางการคลังในการกู้เงิน ในที่นี้ใช้รายจ่ายอัตราดอกเบี้ยตามระบบ GFS ในงบประมาณหารด้วยยอดหนีส้ าธารณะคงค้างของรัฐบาล เพือ่ เป็นตัวแทนแสดงถึงต้นทุนทางการเงินจากการกูเ้ ฉลีย่ ของรัฐบาล ในระยะยาว โดยใช้ข้อมูลหลังวิกฤติเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2543-2555 พบว่าอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นตัวเงิน (g) ใช้อัตราคาดการณ์ของส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.5 (อัตราการเติบโตที่แท้จริงร้อยละ 4.5 และอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 3)

Frankel, J.A. & Vegh, C.A. & Vuletin, G. (2012) On Graduation from Fiscal Procyclicality, M-RCBG Faculty Working Paper, No. 2012-09 Combes, J.L. & Saadi-Sedik, T. (2006) How Does Trade Openness Influence Budget Deficits in Developing Countries?, IMF Working Paper, wp/06/3

7 8

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

81


1) ผลการค�ำนวณระดับหนี้สาธารณะดุลยภาพและระดับเพดานหนี้สาธารณะ จากผลการประมาณค่าแบบจ�ำลองเพือ่ ค�ำนวณพืน้ ทีก่ ารคลังในหัวข้อที่ 2.2 และการก�ำหนดระดับ r-g ข้างต้น สามารถ น�ำมาค�ำนวณหาจุดตัด d* และ d~ ตามภาพที่ 2 ได้ดังนี้ - ระดับเพดานหนี้สาธารณะ อยู่ที่ระดับร้อยละ 60 ซึ่งสอดคล้องกับกรอบความยั่งยืนทางการคลังของกระทรวง การคลังในปัจจุบัน - ระดับหนี้สาธารณะดุลยภาพ อยู่ที่ระดับร้อยละ 45.3 ซึ่งใกล้เคียงกับระดับหนี้สาธารณะในปัจจุบัน นอกจากนี้ หากค�ำนวณย้อนกลับจะพบว่า การเกินดุลการคลังเบื้องต้นที่สอดคล้องกับระดับหนี้สาธารณะดุลยภาพ ดังกล่าวอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.4 ของ GDP 2) การประเมินความอ่อนไหวของการค�ำนวณพื้นที่การคลัง การค�ำนวณพื้นที่การคลังมาจากการประมาณแบบจ�ำลองทางเศรษฐมิติผนวกกับสมมติฐานเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การเติบโตทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อ โดยทั่วไปจึงมีความอ่อนไหวค่อนข้างสูงเนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาก อีกทั้ง พฤติกรรมการจัดท�ำนโยบายการคลังของรัฐบาลในแต่ละยุคสมัยยังอาจมีความแตกต่างกันได้ ดังนั้น จึงทดลองประเมิน ความอ่อนไหวของการค�ำนวณภายใต้ข้อสมมติที่แตกต่างไป ดังนี้ 2.1) หากการเกินดุลงบประมาณเบื้องต้นสูงกว่าที่ค�ำนวณไว้ร้อยละ 1 ของ GDP จะท�ำให้ฐานะการคลังมีความเสี่ยง ลดลง กล่าวคือระดับเพดานหนี้สาธารณะปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 62.4 และระดับหนี้สาธารณะดุลยภาพลดลงเหลือร้อยละ 39.6 2.2) หากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นร้อยละ 1 หรืออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงร้อยละ 1 จะท�ำให้ฐานะการคลัง มีความเสี่ยงสูง กล่าวคือส่งผลให้ระดับเพดานหนี้สาธารณะปรับลดลงเหลือร้อยละ 57.8 และระดับหนี้สาธารณะดุลยภาพ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 48.1

2. บทสรุป 2.1 สรุปผลการศึกษา จากผลการศึกษาซึ่งพบว่าระดับเพดานหนี้สาธารณะอยู่ที่ร้อยละ 60 และดุลยภาพของหนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับร้อยละ 45.3 ท�ำให้ทราบว่า 1) ฐานะการคลังของไทยในปัจจุบันค่อนข้างมีเสถียรภาพและมีความยั่งยืนเนื่องจากระดับหนี้สาธารณะอยู่ในระดับ ที่ใกล้เคียงกับระดับดุลยภาพ อีกทั้งยังอยู่ห่างจากระดับที่จะก่อให้เกิดความไม่ยั่งยืนทางการคลัง 2) กรอบความยั่งยืนทางการคลังของกระทรวงการคลังที่ก�ำหนดไว้ที่ระดับร้อยละ 60 ของ GDP มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการศึกษาตามแนวคิด Fiscal Space 2.2 ข้อเสนอแนะ นอกจากการใช้ วิ ธี พื้ น ที่ ก ารคลั ง ในการประเมิ น ความยั่ ง ยื น ทางการคลั ง และความแข็ ง แกร่ ง ทางการคลั ง โดย การเปรียบเทียบระหว่างระดับหนีส้ าธารณะในปัจจุบนั และระดับหนีส้ าธารณะดุลยภาพกับเพดานหนีส้ าธารณะแล้ว การประยุกต์ แนวคิดพื้นที่การคลังอย่างง่ายวิธีหนึ่งเพื่อประโยชน์ในการจัดท�ำงบประมาณประจ�ำปี หรือการบริหารความเสี่ยงทางการคลัง เกี่ยวกับการประเมินทิศทางของหนี้สาธารณะ สามารถท�ำได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จ�ำเป็นต้องท�ำการประมาณค่าทางเศรษฐมิติ ใด ๆ ยกตัวอย่าง หากมีนโยบายที่จะรักษาเสถียรภาพของสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ระดับหนึ่ง ๆ เช่น อยู่ที่ระดับร้อยละ 50 ต่อ GDP ภายใต้สมมติฐาน r และ g ที่ใช้ในการศึกษาซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่ร้อยละ 3 หากการขาดดุลการคลังเบื้องต้น อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 (ระดับหนี้เป้าหมายที่ร้อยละ 50 หรือ 0.5 คูณกับส่วนต่างของ r และ g ที่ร้อยละ 3) ของ GDP ก็จะท�ำให้ หนี้สาธารณะต่อ GDP รักษาระดับอยู่ที่ร้อยละ 50 แต่หากการขาดดุลมาก (น้อย) กว่านี้ ก็จะท�ำให้ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้น (ลดลง) ฯลฯ9

เงื่อนไขที่ท�ำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP คงที่คือ pb = (r-g)d

9

82


อย่างไรก็ตาม หากสมมติฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษาสอดคล้องกับความเป็นจริง ภาพรวมของฐานะการคลังและ หนี้สาธารณะปัจจุบันในเชิงปริมาณถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่มีปัญหา ดังนั้น การบริหารนโยบายการคลังควรหันมาให้ความส�ำคัญ ในเชิงคุณภาพของการใช้จ่ายเงินและการหารายได้ของรัฐบาลควบคู่ไปด้วย อาทิ การจัดหารายได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรม โดยยึดหลักการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน และส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนในด้านรายจ่าย ควรใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพโดยการคัดเลือกนโยบายที่เหมาะสม ควบคุมรายจ่ายประจ�ำที่ไม่จ�ำเป็น และเพิ่มรายจ่ายลงทุน ตามล�ำดับความส�ำคัญสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน นอกจากนี้ การรักษาความยั่งยืนทางการคลังของประเทศไม่ควรค�ำนึงเฉพาะการรักษาสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ให้มีเสถียรภาพเพียงมิติเดียว แต่ควรค�ำนึงถึงความมีประสิทธิภาพในการบริหารรายได้ รายจ่าย ทรัพย์สิน การพัฒนาบุคลากร ฐานข้อมูล รวมถึงการป้องกันปราบปรามการทุจริตและความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ควบคู่กันไป ด้วยจึงจะน�ำมาสู่ความยั่งยืนทางการคลังอย่างแท้จริง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

83


บทวิเคราะห์ เรื่อง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ใครเป็นใคร ได้ประโยชน์อะไร และจะก้าวต่อไปอย่างไร

1

บทสรุปผู้บริหาร บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลข้อมูลในภาพรวมเพื่อประโยชน์ในการเตรียม ความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยแสดงให้เห็นถึงฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมในแง่มุม ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศสมาชิก ซึ่งโดยเฉลี่ยประเทศไทยจะอยู่ในอันดับที่ 3-4 จาก 10 ประเทศสมาชิก จากนั้น ได้เปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันของสินค้าอุตสาหกรรมของไทยและประเทศต่าง ๆ ว่ามีความได้เปรียบ เสียเปรียบเพียงใด อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมพบว่าการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะท�ำให้ประเทศ สมาชิกทุกประเทศได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น (โดยเฉลี่ย 5.3% ของ GDP) รวมถึงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็จะได้รับ ผลประโยชน์สุทธิเพิ่มขึ้น (โดยเฉลี่ย 0.1% ของ GDP) เช่นกัน จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าแม้ทุกฝ่ายจะตระหนักถึง ประโยชน์ของการรวมกลุม่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ในทางปฏิบตั กิ ลับยังมีอปุ สรรคทีย่ งั ไม่ได้รบั การแก้ไข อีกมาก เช่น การขาดการอ�ำนวยความสะดวก/กีดกันทางการค้า การเปิดเสรีในบางภาคเศรษฐกิจที่ยังไม่มี ความคืบหน้ามากนัก การขาดการให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาที่เท่าเทียมตามที่ก�ำหนดใน AEC Blueprint ฯลฯ ซึ่งจ�ำเป็นที่ทุกฝ่ายควรให้ความส�ำคัญและด�ำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนบรรลุเป้าหมายได้ส�ำเร็จ ❍❍

1. บทน�ำ การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ตามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือ อาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) ซึ่งผู้น�ำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามไว้ตั้งแต่ ปี 2546 ก�ำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า การท�ำความเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมพื้นฐานของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศสมาชิก รวมถึงการคาดการณ์ถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการรวมตัว ตลอดจนอุปสรรคต่าง ๆ ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียม ความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

2. สถานะของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ตารางที่ 1 การจัดอันดับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในเชิงเศรษฐกิจและสังคม Ease of Doing Global Index of Economic Corruption Global Peace Index Human Business 20131 Competitiveness Freedom Rank Perception Index Rank 20135 Development Index (189 countries) Index 2013-20142 20133 Rank 20124 (162 countries) Rank 20126 (148 countries) (177 countries) (174 countries) (186 countries) Singapore 1 Singapore 2 Singapore 2 Singapore 5 Singapore 17 Singapore 18 Malaysia 6 Malaysia 24 Malaysia 56 Brunei 46 Malaysia 29 Brunei 30 Thailand 18 Brunei 26 Thailand 61 Malaysia 54 Laos 39 Malaysia 64 Brunei 59 Thailand 37 Cambodia 95 Thailand 88 Vietnam 42 Thailand 103 Vietnam 99 Indonesia 38 Philippines 97 Philippines 105 Indonesia 54 Philippines 114 Philippines 108 Philippines 59 Indonesia 108 Indonesia 118 Cambodia 115 Indonesia 121 Indonesia 120 Vietnam 70 Vietnam 140 Vietnam 123 Philippines 129 Vietnam 127 Cambodia 137 Laos 81 Laos 144 Cambodia 157 Thailand 130 Laos 138 Laos 159 Cambodia 88 Myanmar 172 Laos 160 Myanmar 140 Cambodia 138 Myanmar 182 Myanmar 139 Brunei na Myanmar 172 Brunei na Myanmar 149 ทีม่ า : 1) www.doingbusiness.org, 2) World Economic Forum, 3) www.heritage.org, 4) www.transparency.org, 5) www.visionofhumanity.org และ 6) UNDP ผูเ้ ขียน : นายนรพัชร์ อัศววัลลภ เศรษฐกรช�ำนาญการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผูอ้ �ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจ มหภาค และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ

1

84


ตารางที่ 1 แสดงให้เห็นสถานะของประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนในแง่มุมต่าง ๆ โดยอาศัยดัชนีต่อไปนี้ ดัชนี Ease of Doing Business หรือดัชนีวัดความง่ายในการท�ำธุรกิจ มองในเรื่องของความเข้มแข็งของสถาบันทาง กฎหมาย (ได้แก่ การก�ำกับดูแลด้านการให้สินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน และกระบวนการล้มละลาย) และความซับซ้อน/ต้นทุน ของกระบวนการก�ำกับดูแลการประกอบธุรกิจ (ได้แก่ การตั้งธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง ไฟฟ้า การจดทะเบียนสินทรัพย์ ภาษี และการค้าระหว่างประเทศ) ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในล�ำดับที่ค่อนข้างสูงและยังสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ เช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรัง่ เศส ประเทศญีป่ นุ่ ฯลฯ เนือ่ งจากปัจจัยส�ำคัญคือ ประเทศไทยมีการปรับปรุงการอ�ำนวยความสะดวก ในการประกอบธุรกิจหลายประการ เช่น การปรับปรุงกระบวนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้มี ความง่ายและรวดเร็ว และการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของกระทรวงการคลัง ฯลฯ ดัชนี Global Competitiveness ใช้วัดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศซึ่งมองการขับเคลื่อน ทางเศรษฐกิจว่ามาจาก 3 กลุม่ ใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยการผลิต (ได้แก่ กฎระเบียบข้อบังคับ โครงสร้างพืน้ ฐาน สภาพเศรษฐกิจมหภาค และการศึกษาขัน้ ต้นและสาธารณสุข) ประสิทธิภาพ (ได้แก่ การศึกษาขัน้ สูง ความมีประสิทธิภาพของตลาดสินค้า ตลาดแรงงาน ตลาดการเงิน เทคโนโลยี และความประหยัดต่อขนาด) และนวัตกรรม (ได้แก่ โครงข่าย/กลยุทธ์ทางธุรกิจ และนวัตกรรม) ซึ่งในกรณีของประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพ (Efficiency-Driven Economy) และมีจุดเด่นในเรื่องการมีช่องทางการตลาดที่กว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ การคุ้มครองนักลงทุน และ ความมีประสิทธิภาพในตลาดต่าง ๆ แต่ก็มีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อขีดความสามารถของไทยคือ ความมีเสถียรภาพของนโยบาย รัฐบาล การคอร์รัปชัน และความไม่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐ ดัชนี Economic Freedom เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับความมีอิสระในด้านต่าง ๆ อาทิ การค้า การลงทุน การเงิน ธุรกิจ แรงงาน การคลัง รวมถึงการปลอดคอร์รัปชัน และสิทธิในการถือครองทรัพย์สิน ส�ำหรับประเทศไทยความมีอิสระอยู่ในระดับ ปานกลาง ได้รับคะแนนเท่ากับ 64.1 (เต็ม 100) สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ระดับ 59.6 ดัชนี Corruption Perception วัดระดับการคอร์รัปชันของหน่วยงานภาครัฐในช่วงคะแนน 0-100 โดยหากคะแนน ต�ำ่ กว่า 50 ถือว่าหน่วยงานภาครัฐควรต้องปรับปรุงให้มคี วามโปร่งใสและความรับผิดชอบทีส่ งู ขึน้ อย่างไรก็ตาม เป็นทีน่ า่ สังเกตว่า คะแนนเฉลีย่ ของโลกอยูท่ รี่ ะดับเพียง 43 คะแนน โดยมีรอ้ ยละ 68 ของประเทศในเอเชียแปซิฟกิ ทีไ่ ด้รบั คะแนนต�ำ่ กว่า 50 ส�ำหรับ อาเซียน 8 ใน 10 ประเทศสมาชิกได้รับคะแนนต�่ำกว่า 50 โดยไทยได้คะแนนเพียง 37 คะแนนเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงปัญหา การคอร์รัปชันที่ขยายวงอย่างกว้างขวางทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ดัชนี Global Peace วัดความสามารถของแต่ละประเทศในการรักษาและก่อให้เกิดสันติภาพ โดยในเอเชียแปซิฟิก กลุม่ ทีไ่ ด้รบั การจัดอันดับต�ำ่ ทีส่ ดุ 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศเกาหลีเหนือ สืบเนือ่ งมาจากความขัดแย้ง ภายในประเทศ ส�ำหรับประเทศไทยถูกจัดอยู่ที่อันดับที่ 130 จาก 162 ประเทศทั่วโลก นับเป็นปัญหาส�ำคัญที่ควรได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วน โดยประเด็นหลักที่มีผลต่อการจัดอันดับดังกล่าวมาจากความไม่สงบของประชาชนไทย-มุสลิมในพื้นที่ภาคใต้ ดัชนี Human Development เป็นการวัดการพัฒนาของมนุษย์ใน 3 มิติ คือ อายุขัย การศึกษา และรายได้ต่อหัว ในกลุ่ม ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศสิงคโปร์และประเทศบรูไนถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาสูงมาก ส�ำหรับประเทศไทย อยู่ในระดับปานกลาง และประเทศพม่าอยู่ในระดับต�่ำ ในภาพรวมการจัดอันดับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านต่าง ๆ 6 ด้าน (ตารางที่ 1) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวก ในการท�ำธุรกิจ ความสามารถการแข่งขัน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การคอร์รัปชัน ความสงบสุข และการพัฒนามนุษย์ จะเห็นว่า ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันอย่างมากในแทบทุกด้าน โดยมีสิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และไทย อยู่ในกลุ่ม ที่ได้รับการจัดอันดับค่อนข้างดีกว่าประเทศอื่น แต่หากพิจารณาในแง่อันดับเฉลี่ยของอาเซียนเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก จะพบว่า อาเซียนอยู่ในระดับปานกลางแทบทุกด้าน แม้ในเรื่องขีดความสามารถการแข่งขันอาจมีความโดดเด่นเหนือเรื่องอื่น ๆ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

85


อยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ หากไม่นับรวมดัชนีด้านความสงบสุขจะเห็นว่าทุกดัชนีมีความสัมพันธ์ ในเชิงอันดับ (Rank Correlation) อย่างมากต่อระดับรายได้ต่อหัว (GDP per Capita) หมายความว่า หากประเทศใดมีระดับ รายได้ต่อหัวสูงแล้ว สภาพแวดล้อมในด้านอื่น ๆ (เช่น ความสะดวกในการท� ำธุรกิจ ความสามารถการแข่งขัน เสรีภาพทาง เศรษฐกิจ การคอร์รัปชัน การพัฒนามนุษย์ ฯลฯ) ก็จะมีแนวโน้มที่ดีตามไปด้วยทั้งหมด หากพิจารณากลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในเชิงเศรษฐกิจ (ตารางที่ 2) จะเห็นว่า การเรียงล�ำดับของประเทศต่าง ๆ เริ่มแตกต่างไปจากตารางที่ 1 และเนื่องจากประเทศส่วนใหญ่เป็นประเทศก�ำลังพัฒนาจึงมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและ อัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างสูงและอัตราการว่างงานต�่ำ ส่วนในด้านประชากรพบว่า อาเซียนมีประชากรประมาณ 630 ล้านคน หรือ 8.9% ของประชากรโลก รวมถึงมีก�ำลังแรงงานในสัดส่วนที่สูงขึ้นไปอีกเล็กน้อยคือ 9.4% ของก�ำลังแรงงานโลกซึ่งในที่นี้ ยังไม่นับรวมปรากฏการณ์ “Demographic Dividends” ซึ่งจะท�ำให้สัดส่วนวัยแรงงานต่อวัยพึ่งพิงสูงขึ้นไปจนถึง ค.ศ. 2025 แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในเชิงก�ำลังการผลิตของภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ในแง่ก�ำลังซื้อแม้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะสูง และมีประชากรวัยท�ำงานมาก แต่รายได้เฉลี่ยต่อหัวยังอยู่ที่ระดับ 5,873 ดอลลาร์ต่อปี ต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวของโลก ที่ระดับ 12,400 ดอลลาร์ต่อปีอยู่ค่อนข้างมาก

ตารางที่ 2 การจัดอันดับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในเชิงเศรษฐกิจ Population Indonesia 251 Philippines 106 Vietnam 93 Thailand 67 Myanmar 55 Malaysia 30 Cambodia 15 Laos 7 Singapore 6 Brunei 0.4 Total 630 % of world 8.9%

GDP real growth rate GDP per capita (PPP) Labor Force Laos 8.3% Singapore 60,900 Indonesia 118.0 Philippines 6.6% Brunei 50,500 Philippines 40.4 Cambodia 6.6% Malaysia 16,900 Vietnam 49.2 Thailand 6.5% Thailand 10,000 Thailand 39.8 Myanmar 6.2% Indonesia 5,000 Myanmar 33.4 Indonesia 6.0% Philippines 4,300 Malaysia 12.9 Vietnam 5.0% Vietnam 3,500 Cambodia 7.9 Malaysia 4.5% Laos 3,000 Laos 3.7 Brunei 2.7% Cambodia 2,400 Singapore 3.6 Singapore 1.3% Myanmar 1,400 Brunei 0.2 weighted 5.3% weighted 5,873 Total 309 average average world 3.1% world 12,400 % of world 9.4%

Unemployment Rate Inflation Rate Cambodia 0.0% Brunei 1.2% Thailand 0.6% Malaysia 1.9% Singapore 2.0% Cambodia 2.9% Laos 2.5% Thailand 3.0% Brunei 2.6% Myanmar 3.1% Malaysia 3.2% Philippines 3.2% Vietnam 4.5% Singapore 4.4% Myanmar 5.4% Indonesia 4.5% Indonesia 6.1% Laos 4.9% Philippines 7.0% Vietnam 6.8% weighted 4.8% weighted 3.8% average average world 9.2% world 4%

ที่มา : CIA (2012 est.) และการค�ำนวณของผู้เขียน

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งจากข้อมูลทั้งในตารางที่ 1 และตารางที่ 2 จะเห็นว่าแต่ละประเทศสมาชิกค่อนข้างมี ความแตกต่างและมีการกระจายตัวของลักษณะเฉพาะด้านต่าง ๆ ในช่วงที่ค่อนข้างกว้าง ซึ่งหากเปรียบเทียบกับบทเรียนจาก กรณีวิกฤติในกลุ่มสหภาพยุโรปจะพบว่า เกิดจากความแตกต่างกันของกลุ่มประเทศสมาชิกนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การรวมกลุ่ม ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไม่ได้มุ่งหวังที่จะใช้สกุลเงินเดียวกันเหมือนกรณีเงินสกุลยูโร และมีมิติหรือระดับของการรวมตัว ที่ต่างกัน สภาพการณ์จึงแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ หากพิจารณาโดยรวมทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ฐานะของประเทศไทยค่อนข้างดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ยกเว้นประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ หากจัดล�ำดับในภาพรวมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ประเทศไทยน่าจะอยู่ที่ล�ำดับ 3-4 จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน

86


3. ความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยในอาเซียน การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกอย่างง่ายวิธีหนึ่ง คือ การพิจารณาความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบทีป่ รากฏ (Revealed Comparative Advantage : RCA) ซึง่ ค�ำนวณจากสัดส่วนการส่งออกของสินค้าชนิดหนึง่ ๆ ต่ อ การส่ ง ออกรวมของไทยหารด้ ว ยสั ด ส่ ว นการส่ ง ออกสิ น ค้ า ชนิ ด นั้ น ของทุ ก ประเทศต่ อ การส่ ง ออกรวมของโลก และ ความเสียเปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Disadvantage : RCDA) ซึ่งค�ำนวณในลักษณะเดียวกับ RCA แต่เปลี่ยนจากการส่งออกเป็นการน�ำเข้า ดังนั้น หากพบว่า RCA สูงกว่า 1 แสดงว่ามีความสามารถในการแข่งขันในสินค้า ประเภทนั้นมาก แต่หาก RCDA สูงกว่า 1 แสดงว่ามีการน�ำเข้าสินค้ามากแสดงถึงความเสียเปรียบในการแข่งขันของสินค้า ชนิดนั้น ทั้งนี้ ในกรณีของประเทศไทยหากน�ำค่า RCA และ RCDA มาลบหนึ่งแล้วน�ำมาจุดในกราฟเดียวกัน (ภาพที่ 1) ซึง่ แกนนอนแสดงให้เห็นถึงระดับความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบทีป่ รากฏ (RCA) ในขณะทีแ่ กนตัง้ แสดงถึงระดับความเสียเปรียบ โดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCDA)2 จะสามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้

ภาพที่ 1 ความได้ (เสีย) เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏของไทย ปี 2553

ที่มา : Setsuo Iuchi 2013

สินค้าทีอ่ ยูใ่ นควอดแรนท์ (Quadrant) ที่ 4 แสดงถึงความได้เปรียบทัง้ ในแง่ทมี่ คี วามสามารถในการส่งออกสูงและน�ำเข้าต�ำ่ ยกตัวอย่าง จักรยานยนต์ อาหาร และผลิตภัณฑ์ IT เป็นต้น ในทางตรงข้าม สินค้าในควอดแรนท์ที่ 2 เป็นกลุ่มสินค้าที่เสียเปรียบ ทั้งในเชิงการส่งออกที่ต�่ำและมีการน�ำเข้าสูง เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักร โลหะภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ฯลฯ ส่วนพื้นที่ที่มีลักษณะ ก�ำ้ กึง่ ได้แก่ ควอดแรนท์ที่ 1 เป็นกลุม่ สินค้าทีม่ ที งั้ การส่งออกและน�ำเข้าสูงอาจตีความว่ามีลกั ษณะธุรกิจการค้าทีเ่ สรี ในทางตรงข้าม สินค้าในควอดแรนท์ที่ 3 มีทั้งการส่งออกและน�ำเข้าต�่ำ แสดงว่าอาจมีการกีดกันทางการค้าเกิดขึ้น ดังนั้น โดยสรุปในภาพรวม

Setsuo Iuchi “Production Base and Networking in ASEAN and ASEAN+” presentation material on 2 march 2013

2

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

87


อาจแบ่งพืน้ ทีท่ งั้ หมดออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ด้วยเส้นทแยงมุมจากมุมบนขวาไปมุมล่างซ้ายของภาพ โดยพืน้ ทีเ่ หนือเส้นทแยงมุม แสดงถึงสินค้ากลุม่ ทีค่ อ่ นข้างจะเสียเปรียบและมีลกั ษณะการค้าแบบไม่เสรีโดยเปรียบเทียบ ในขณะทีพ่ นื้ ทีใ่ ต้เส้นทแยงมุมแสดง ถึงสินค้ากลุ่มที่ค่อนข้างจะได้เปรียบและมีลักษณะการค้าที่เสรีกว่าโดยเปรียบเทียบ หากเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนรวมถึงประเทศทีม่ กี ำ� ลังการผลิตสูงในเอเชียจะพบว่า มีจดุ แข็งในกลุม่ สินค้า ที่คล้าย ๆ กัน เช่น ประเทศมาเลเซียมีความได้เปรียบในสินค้ากลุ่มเครื่องปรับอากาศและผลิตภัณฑ์ IT ประเทศอินโดนีเซีย มีความได้เปรียบในสินค้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ประเทศฟิลิปปินส์มีความได้เปรียบในสินค้ากลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ IT และเครื่องปรับอากาศ ประเทศเวียดนามมีความได้เปรียบในสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ประเทศจีนมีความได้เปรียบ ในสินค้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม เครื่องปรับอากาศ จักรยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ IT ส่วนประเทศอินเดียมีความได้เปรียบในสินค้า กลุ่มจักรยานยนต์ เครื่องนุ่งห่ม โลหะภัณฑ์ และอุตสาหกรรมเคมี ฯลฯ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวประเทศไทยควรมีแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างชัดเจน 3 เช่น การสร้างความแตกต่างและความได้เปรียบในการผลิตสินค้าและบริการ (Niche Market) การเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต (Cluster) การสนับสนุนด้านนโยบายจากภาครัฐ การส่งเสริมการลงทุน การเพิม่ ศักยภาพการผลิต และการสร้างความเข้าใจและ ความพร้อมทางด้านข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ

4. ประโยชน์จากการรวมกลุ่มอาเซียน แม้ว่าภาวะการแข่งขันในบางอุตสาหกรรมอาจท�ำให้แต่ละประเทศสมาชิกมีผลประโยชน์ที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกัน แต่ในภาพรวมของการรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะท�ำให้ทุกประเทศสมาชิกตลอดจนประเทศต่าง ๆ โดยรวมทั่วโลก ได้รับผลประโยชน์สุทธิทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น4 (ตารางที่ 3) Petri, Plummer, and Zhai (2010) ได้ท�ำการศึกษาผลกระทบจากการรวมกลุ่ม AEC จากแบบจ�ำลองดุลยภาพทั่วไป (Computable General Equilibrium : CGE) ซึ่งได้รวมเอานโยบายส่งเสริมการรวมกลุ่ม AEC ของประเทศสมาชิกต่าง ๆ มาค�ำนวณในแบบจ�ำลองพบว่า การรวมกลุม่ AEC จะท�ำให้ระดับสวัสดิการในรูปของ Equivalent Variation (EV) ซึง่ ค�ำนวณเป็น สัดส่วนร้อยละของ GDP เพิ่มขึ้นส�ำหรับทุกประเทศสมาชิก โดยประเทศที่ได้ประโยชน์น้อยที่สุดคือ ประเทศเวียดนามอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 2.8 ในขณะที่ไทยจะได้รับประโยชน์ร้อยละ 4.9 และประเทศที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือ สิงคโปร์ที่ระดับร้อยละ 9.7 ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยทุกประเทศในอาเซียนจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ซึ่งมีขนาดเทียบเคียงได้กับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจาก การรวมตัวของกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union) เลยทีเดียว แม้ว่าความใกล้ชิดของการรวมกลุ่ม AEC จะน้อยกว่าก็ตาม ทัง้ นี้ เนือ่ งจากโดยเปรียบเทียบแล้วอุปสรรคทางการค้าก่อนการรวมกลุม่ AEC อยูใ่ นระดับทีส่ งู กว่ากลุม่ สหภาพยุโรปซึง่ ค่อนข้าง มีความใกล้ชิดกันอยู่แล้ว ท�ำให้การรวมกลุ่ม AEC ก่อให้เกิดความแตกต่างและเกิดประโยชน์ที่เด่นชัดขึ้นมา

ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การสัมมนาวิชาการประจ�ำปี เรื่อง เผชิญความท้าทายจากกระแสโลกาภิวัตน์ กลุ่มที่ 5 การเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลทิศทางการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับสากลเพือ่ เผชิญความท้าทายจากกระแส โลกาภิวัตน์ 4 Peter A. Petri, Michael G. Plummer and Fan Zhai “The Economics of the ASEAN Economic Community” 15 September 2010 3

88


ตารางที่ 3 ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่ม AEC

ประเทศ

ผลประโยชน์คิดเป็นร้อยละของ GDP

กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม บรูไน อาเซียน ทุกประเทศทั่วโลก

6.3 6.2 3.6 4.4 3.0 3.2 9.7 4.9 2.8 7.0 5.3 0.1

ที่มา : Petri, Plummer, and Zhai 2010

หากมองในภาพรวมของทุกประเทศทั่วโลก การศึกษาดังกล่าวยังพบว่าแม้บางประเทศที่อยู่นอกกลุ่มสมาชิกอาเซียน อาจสูญเสียประโยชน์บ้าง (เช่น เกาหลีใต้ จีน อินเดีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ) แต่ก็อยู่ในระดับที่ต�่ำมาก โดยเมื่อรวมผลกระทบสุทธิของ ทุกประเทศทั่วโลกแล้วพบว่า ระดับสวัสดิการของโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.1 ของ GDP นอกจากนี้ ยังพบว่าหาก AEC มีการขยายความร่วมมือเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement) กับประเทศหรือภูมิภาคอื่น ๆ เพิ่มขึ้น อาทิ กลุ่มประเทศเอเชีย ตะวันออก (ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้) ตลอดจนอินเดีย นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ระดับสวัสดิการของกลุ่มประเทศสมาชิก จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.3 เป็นร้อยละ 8.9 และหากขยายการเปิดเขตการค้าเสรีให้กว้างขึ้นอีกโดยมีการท�ำข้อตกลงกับสหภาพ ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ระดับสวัสดิการจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นร้อยละ 11.6 ของ GDP

5. หนทางสู่การรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แม้ว่าทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนดูเหมือนจะตระหนักถึงประโยชน์ของการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อีกทัง้ มีงานวิจยั ทางวิชาการรองรับดังทีก่ ล่าวในหัวข้อก่อนหน้า แต่กเ็ ป็นทีน่ า่ สังเกตว่าเหตุใดในทางปฏิบตั จิ งึ ยังมีปญ ั หาอุปสรรค อีกมากที่ถูกละเลย และจ�ำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขโดยกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อให้การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนบรรลุเป้าหมายได้ส�ำเร็จ5 ยกตัวอย่าง 1) ปัจจุบันอุปสรรคทางภาษีนับว่าได้ลดถอยลงไปมากแล้ว แต่อุปสรรคส�ำคัญอยู่ที่การกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย และประเทศเวียดนาม นับว่าเป็นกลุม่ ทีอ่ ปุ สรรคทีไ่ ม่ใช่ภาษีอยู่ ในขณะทีป่ ระเทศไทย พบว่ามีการกีดกันทีไ่ ม่ใช่ภาษีนอ้ ยทีส่ ดุ ในอาเซียน จึงจ�ำเป็นต้องมีกลไกทีช่ ดั เจนในการจัดการกับปัญหาเพือ่ ไม่ให้เกิดความลักลัน่ ในการแข่งขัน

Economic Research Institute for ASEAN and East Asia “Executive Summary : Mid-Term Review of the Implementation of AEC Blueprint” October 2012

5

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

89


2) การอ�ำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการค้า ประเด็นส�ำคัญอยูท่ กี่ ารจัดตัง้ ด่านศุลกากรในรูปแบบ National Single Window ที่มีความเชื่อมโยงกันทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนทางเอกสารและย่นระยะเวลาการตรวจสินค้า แต่ประเทศที่ยังไม่ค่อยมีความพร้อมในเรื่องนี้คือ กลุ่ม CLMV (ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม) นอกจากนี้ ยังควรมีการปรับ กฎระเบียบต่าง ๆ ของแต่ละประเทศให้มีความสอดคล้องกัน เช่น การท�ำ Mutual Recognition ส�ำหรับภาคบริการและ การเคลื่อนย้ายแรงงาน ฯลฯ รวมถึงการจัดให้มีระบบการจัดการข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วย 3) การเปิดเสรีในบางภาคเศรษฐกิจ อาทิ ภาคบริการ ยังไม่มีความคืบหน้าทีน่ ่าพอใจนัก จึงจ�ำเป็นต้องได้รับการผลักดัน จากทุกฝ่ายมากขึ้น 4) ควรให้ความส�ำคัญมากขึน้ เกีย่ วกับองค์ประกอบหลักทีส่ ามภายใต้ AEC Blueprint6 หรือการเป็นภูมภิ าคทีม่ พี ฒ ั นาการ ทางเศรษฐกิจทีเ่ ท่าเทียมกัน (Equitable Economic Development) เพือ่ ให้ประชากรอาเซียนทุกคนได้รบั โอกาสทางผลประโยชน์ จากการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม และบรรเทาปัญหาความยากจนรวมถึงช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศ สมาชิก ซึ่งหนึ่งในมาตรการส�ำคัญคือ การส่งเสริม SMEs โดยควรสนับสนุนให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและแหล่งเงินทุนได้ และสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เป็นต้น 5) ขยายความเชื่อมโยงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในวงที่กว้างขึ้น เช่น กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกโดยต้องพยายาม ขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีอยู่ เช่น การกีดกันทางการค้าที่ยังมีอยู่ทั้งในรูปภาษีและไม่ใช่ภาษี การก� ำหนดนิยามแหล่งก�ำเนิด (Rule of Origin) ที่สอดคล้องกัน และการลดต้นทุนทางธุรกรรมจากการมีกฎระเบียบข้อบังคับที่ซับซ้อนและแตกต่างกันส�ำหรับ แต่ละประเทศ ฯลฯ โดยสรุป จากภาพรวมทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดจะเห็นว่า ทิศทางการก้าวไปข้างหน้าเพือ่ น�ำไปสูก่ ารรวมกลุม่ ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนในปี 2015 จะก่อให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมต่อทุกประเทศสมาชิกรวมถึงประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ยังมีภารกิจ อีกจ�ำนวนมากที่ประเทศสมาชิกต้องร่วมกันด�ำเนินการและปรับตัวเพื่อให้การรวมกลุ่มประสบความส�ำเร็จตามเจตนารมณ์ ที่ตั้งไว้

แผนงานภายใต้ AEC Blueprint ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base) 2) การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (Competitive Economic Region) 3) การเป็นภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน (Equitable Economic Development) และ 4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Integration into the Global Economy)

6

90


Briefing Analysis How the slowdown of Chinese economy affects Thai export to China ? 1

Executive Summary

The recent slowdown of the Chinese economy, Thailand’s largest export market, has raised some concerns about probable contagious effects that may impact the Thai economy. ❍❍ The results from simple correlation suggest that Thai exports to China move together with strength in Chinese domestic demand, Chinese export condition, as well as Thailand supply condition. ❍❍ The results from linear regression analysis reaffirm that stronger domestic demand in China and China export condition lead to greater exports from Thailand, with China’s domestic condition having greater influence. ❍❍ To manage the risk of a slowdown in China, Thailand should therefore continue to monitor Chinese internal and external conditions as well as diversify our exports toward other markets. ❍❍

1. Introduction It is apparent that the period of double-digit growth of the Chinese economy has ended. The slowdown of the Chinese economy has raised some concerns about probable contagious effects on the Thai economy. The distress is particularly noticeable in the area of trade as China is the leading export market for Thai exporters. This article attempts to explore the characteristics of Thai exports to China, which is the biggest export market of Thailand, accounting for 11.7% of total exports in the year 2012. The main emphasis will be on how the slowdown of Chinese economy could affect the performance of the Thai economy through trade channel. The findings acquired from this study will shed some light on the determinants of Thai exports performance and could potentially be useful for policymakers when designing both export promotion and economic growth support strategies for Thailand.

2. Export is the main driver for Thai economic growth Exports as a share of Thailand GDP growth have gradually become more prominent in recent decades. While exports accounted for only 36.5% of GDP in 1990, it accounted for as much as 73.0% of GDP in 2012, as shown in Table 1. A greater proportion of international trade is consistent with our export-led growth policy2 and is most pronounced after the floatation of Thai baht at the start of the 1997 Asian Crisis. The author, Ms. Aurakanya Tejapaibul, would like to express her sincere appreciation to her advisors and colleagues, Dr. Kulaya Tantitemit, Executive Director of Macroeconomic Policy Bureau; Dr. Soraphol Tulayasathien, Director of Economic Stability Analysis Division; Dr. Pimnara Hirankasi, Economist (Professional Level); Ms. Archana Pankanchanophas, Economist (Practitioner Level); Ms. Pareena Wongsukkasem, Economist (Practitioner Level); and Ms. Phattraporn Kumsaard, Economist; for guidance and suggestions throughout this study. 2 As outlined in the 3rd National Economic and Social Development Plan (1972-1976). 1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

91


Table 1 Share of Thai GDP (%) 1990

1997

2008

2012

Consumption 65.9 62.6 61.4 62.2 • Private 57.1 54.4 52.1 52.1 • Public 8.8 8.2 9.3 10.1 Investment 39.1 34.2 22.1 22.9 • Private 33.2 22.7 16.7 18.1 2012 • Public 5.9 11.6 5.4 4.8 Exports 36.5 45.7 72.4 73.0 Imports 41.5 44.3 57.9 59.6 Net Exports -5.0 1.4 14.5 13.4 Source : Fiscal Policy Office

3. China is currently the most important export market for Thailand In the past, a significantly larger percentage of Thailand’s exports were to the Group of Three (G-3) countries, namely the United States, the European Union, and Japan. However, in recent decades, trade has shifted toward China, Asia, and ASEAN, particularly after China became a member of the World Trade Organization (WTO) in December 2001. In particular, the share of Thai exports to China has expanded from a mere 3.2% in 1998 to 11.7% in 2012, as shown in Figure 1. China is currently the largest export market for exports from Thailand. However, the growth rate has been unstable ranging from a contraction of -13.4% to an expansion of 13.7% within a period of just 6 quarters, as shown in Table 2. Figure 1 Export share to various destinations

Source : Ministry of Commerce

92


Table 2 Thai export to China growth rate 2012

Q1

2012 Q2

Q3

-1.4

2.0

-3.8

Q4

2013 Q1

Q2

18.5

4.3

-2.2

Total export (%yoy)

3.1

Export to China (Share = 11.7%)

2.5 1.4 13.7 -11.8 9.9 7.3 -13.4

Source : Fiscal Policy Office

4. Determinants of Thai export to China The importance of China as an export market makes it meaningful to question which economic factor(s) in China could affect the performance of exports from Thailand to China. If exports to China are used for Chinese domestic consumption, a slowdown in the Chinese economy would hurt Thai exports. Alternatively, if Thai exports to China are further processed and re-exported to other countries, it will be important to keep a close watch on China’s exports. The following sections will test whether Thai exports depend on China’s internal and/or export growths. The sample period is from January 2008 until June 2013. A simple correlation test is used in section 4.1, while linear regression analysis is used in section 4.2. 4.1 Simple correlation test Table 3 summarizes simple correlations between the growth rate of Thai exports to China and indicators for China’s internal and external conditions (“pull factors”) as well as on our production capacity (“push factor”). In particular, this paper uses growth in monthly retail sales and growth in monthly fixed asset investment in China to capture changes in China’s internal condition and uses growth in China’s total exports and the Purchasing Manager Index level to capture changes in China’s external condition. The results suggest that Thailand’s exports to China move together with strength in China’s domestic demand, China’s export condition, as well as Thailand’s supply condition, as shown in Table 3. Specifically, Thailand’s export growth to China is significantly and positively correlated with the growth of China’s retail sales and positively correlated with the growth of China’s fixed asset investment. This suggests that part of Thailand’s exports are used for domestic consumption in China and that a close watch should be kept on China’s domestic condition as it influences Thailand’s exports. Similarly, Thailand’s exports to China are positively correlated with both China’s total exports and China’s Purchasing Manager Index. This suggests that parts of Thailand’s exports are used as inputs for Chinese production to be re-exported to other countries. As such, it is also important to monitor China’s exports as well as the economic health of China’s main trading partners.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

93


Table 3 Correlation between Thai export growth to China and selected indicators China Fixed China Exports Thailand MPI Asset Investment China PMI %YoY %YoY Correlation 0.2432 0.1222 0.5560 0.5532 0.5162 T-Statistics 2.0365 0.9851 5.3518 5.3132 4.8226 China Retail Sales %YoY

Source : Fiscal Policy Office

The results of the simple correlation test shed some light on the factors that influence our exports to China. In the next section, a more structural approach will be used to understand the magnitude of this effect. 4.2 Linear regression analysis Using the same variables, linear regression analysis is used to estimate the magnitude of the impact on Thai exports to China. In general, the result is consistent with the direction of our intuition. Table 4 Correlation between Thai exports growth to China and selected indicators Dependent Variable Independent Variable China Retail Sale %YoY

Growth of Thailand export to China (1)

(2)

(3)

(4)

(6)

(7)

-1.5183** (1.0571)

2.6284** (1.1428)

China Fixed Asset Investment %YoY

1.9541*** (0.8767)

1.7243*** (0.7361)

0.2086 (0.2660)

0.7617*** (0.1609)

1.2995** (0.8020)

3.0874*** (0.8353)

0.7864*** (0.1668)

0.2567*** (0.1288)

0.2949*** (0.1510)

-1.1392 (2.2228)

0.7536 (1.6170)

0.4979 (1.7674)

0.8514 (0.9778)

China Exports %YoY

0.8796*** (0.1640)

China PMI

4.9177*** (0.9500)

Thailand MPI THB to RMB %MoM

-3.4942 (2.5283)

-1.9400 (2.5793)

-2.3012 (2.1301)

Constant

-29.3975 (19.6333)

-6.4995 (24.9984)

R2

0.0884

0.0237

4.0058 -239.5375*** -124.5550*** -135.8845*** -250.3046*** (3.6493) (49.2763) (29.7777) (43.0964) (42.5365) 0.5856 0.7100 0.3217 0.3067 0.2695

Adjusted R2

0.0595

-0.0072

0.3001

0.2847

0.2463

0.6750

0.5511

66

66

66

66

66

66

66

# of Observation

Source : Fiscal Policy Office Note : Figure in parentheses is robust standard errors. ***, **, * indicate significant level at 1%, 5%, 10%.

94

(5)

0.5598 (2.2205)


Specifically, a stronger domestic demand in China leads to greater exports from Thailand. The first regression equation in Table 4 suggests that Thailand’s exports to China are very sensitive to China’s domestic demand, as a 1% increase in retail sales in China leads to a 2.6% increase in Thailand’s exports to China. The result is significant at 95% confidence. Similarly, from the second regression equation, an increase in China’s fixed asset investment leads to an increase in Thailand’s exports to China as well, though not significant. Likewise, stronger Chinese exports lead to an increase in Thailand’s exports to China. From the third regression equation, a 1% increase in China’s overall exports leads to a 0.88% increase in our exports to China. This is consistent with a global supply chain story in which Thailand’s exports to China are further processed and re-export. Our supply condition also influences our exports to China. From the fifth regression, a 1% increase in Thailand’s PMI leads to a 0.79% increase in our exports to China. Putting all the variables together in the seventh regression equation, in general, both the signs and magnitudes are consistent with those obtained when each indicator is calculated separately. It is noted that, the coefficient in the seventh regression equation for China’s fixed asset investment is greater in magnitude than that of China’s total exports, suggesting that domestic factors play a more influential role in Thai exports than China’s export condition. Nonetheless, in the sixth equation, the sign for China’s retail sales is inconsistent with the results from the first equation. It is possible that this is caused by a multi-collinearity problem between retail sales and fixed asset investment. To address this problem, the China’s retail sales variable is eliminated in the seventh equation. It is also noted that in our simple linear regression analysis, we have not yet addressed the causation issues and as such the estimates could be subject to some bias.

5. Conclusion and policy considerations In conclusion, Thailand’s exports to China are dependent not only on the overall economic condition of the Chinese economy but also on the ability of Chinese manufacturers to sell their products in the global market which in turn depends on the global economic condition. Reliance of Thai economic performance on major trading partners, especially China economy, as our main export market, raises several issues that should be considered when designing both export promotion and economic growth enhancement strategies for Thailand. Essentially, Thailand should continue to diversify its export markets in order to manage risk stemming from excessive reliance on a single market. Although, the structure of our export market is currently reasonably diversified, the main export markets are limited to only relatively developed economies. This diversification has allowed Thailand to avert catastrophic economic disruptions several times in the recent past. For instance, increasing demand from China has offset decreased demand from the US, EU, and Japan when these countries encountered economic turmoil. At present, while China is facing an economic brinkmanship causing uncertainties in our export sector, a sign of economic recovery among G-3 countries has helped insulate us from severe economic disruption. However, over-reliance on Chinese economy would expose our economy to the risk of a slowdown in China. Thus, Thailand should diversify its export markets, not only to relatively advanced economies, but also to emerging economies where new opportunities are burgeoning, for example, CLMV counties. Moreover, it is imperative that Thailand monitors both China’s domestic demand and the external demand of Chinese exports consistently and meticulously. By seeking to acquire timely insights about China’s economic situation and policy, Thailand can proactively prepare to respond appropriately to any unforeseen changes and disruptions. This would help minimizing probable contagious effects that may impair the Thai economy.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

95


บทวิเคราะห์ เรื่อง เหลียวหลังแลหน้าประเทศเพื่อนบ้านใน AEC : ไทย-มาเลเซีย 1

บทสรุปผู้บริหาร มาเลเซียมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับไทย โดยทั้งสองประเทศเป็นเศรษฐกิจ แบบเปิดมีการส่งออกและการใช้จา่ ยภาคเอกชนเป็นกลไกหลักในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ และมีอตั ราการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของทัง้ สองประเทศค่อนข้างใกล้เคียงกันมาโดยตลอด รวมทัง้ มีสนิ ค้าส่งออกและกลุม่ ประเทศคูค่ า้ ทีค่ ล้ายกัน ส�ำหรับภาคการคลัง ไทยมีสถานะทางการคลังทีแ่ ข็งแกร่งกว่ามาเลเซียเล็กน้อย โดยมีระดับหนีส้ าธารณะ ต่อจีดีพีและระดับการขาดดุลงบประมาณต่อจีดีพีที่ต�่ำกว่ามาเลเซีย ❍❍ อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันและความสะดวกในการด�ำเนินธุรกิจ โดยเวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) สถาบันเพือ่ การพัฒนาการบริหาร (Institution for Management Development : IMD) และธนาคารโลก (World Bank : WB) จัดให้ไทยเป็นรองมาเลเซีย จากปัจจัยด้านโครงสร้าง พื้นฐาน ระดับการพัฒนาของตลาดการเงิน นวัตกรรม ประสิทธิภาพในการด�ำเนินธุรกิจ และด้านการศึกษา ❍❍ ดังนั้น ปัจจัยที่ไทยควรเร่งพัฒนา คือ 1) การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน และ 2) การพัฒนา ทักษะด้านภาษาอังกฤษของคนไทย พร้อมทัง้ สร้างแรงจูงใจในการดึงดูดทรัพยากรมนุษย์ทมี่ คี ณ ุ ภาพเพือ่ สนับสนุน การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ❍❍

1. บทน�ำ มาเลเซียนับเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับไทยมากประเทศหนึ่ง โดยทั้งสอง ประเทศเป็นเศรษฐกิจแบบเปิด มีการส่งออกและการใช้จ่ายภาคเอกชนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และมีอัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างใกล้เคียงกันมาโดยตลอด รวมทัง้ มีสนิ ค้าส่งออกและกลุม่ ประเทศคูค่ า้ ทีค่ ล้ายกัน อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันและความสะดวกในการด�ำเนินธุรกิจโดย WEF IMD และ World Bank รวมทั้ง โดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ อาทิ Standard and Poor’s และ Moody’s จัดให้ไทยเป็นรองมาเลเซีย บทความฉบับนี้ได้วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบพัฒนาการระหว่างไทยและมาเลเซียในมิติต่าง ๆ พร้อมทั้งเสนอแนะ แนวทางในการเพิ่มศักยภาพของไทยในระยะต่อไป

2. ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยและมาเลเซีย โครงสร้างทางเศรษฐกิจ เมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยและมาเลเซียพบว่า ทั้งสองประเทศมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ เป็นเศรษฐกิจแบบเปิด โดยระดับการค้าระหว่างประเทศอยู่สูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อีกทัง้ เป็นเศรษฐกิจทีข่ บั เคลือ่ นโดยอุปสงค์ภายในประเทศควบคูไ่ ปกับภาคการส่งออก โดยสัดส่วนการบริโภคภาคเอกชน ต่อ GDP ของไทยและมาเลเซียอยู่ที่ร้อยละ 53 และร้อยละ 51 ตามล�ำดับ (ตารางที่ 1) ดร.พิมพ์นารา หิรญ ั กสิ เศรษฐกรช�ำนาญการ นางสาวอาร์จนา ปานกาญจโนภาส นางสาวปารีณา วงศ์สขุ เกษม นางสาวอรกันยา เตชะไพบูลย์ เศรษฐกรปฏิบตั กิ าร และนางสาวภัทราภรณ์ คุ้มสะอาด เศรษฐกรตรี ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ

1

96


ตารางที่ 1 โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยและมาเลเซีย โครงสร้างด้านอุปสงค์ โครงสร้างด้านอุปทาน

การบริโภค การบริโภค การลงทุน การลงทุน การส่งออก ภาค ภาค การส่งออก การน�ำเข้า ภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการ ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาครัฐ สุทธิ

ไทย

52.1

10.1

19.6

4.8

13.4

73.0

59.6

8.4

41.3

50.3

มาเลเซีย

50.6

13.2

16.0

11.5

8.7

95.3

86.6

7.4

33.7

58.9

ที่มา : สศช. และส�ำนักงานสถิติแห่งชาติมาเลเซีย (ข้อมูลปี 2555)

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยและมาเลเซียอยู่ในระดับใกล้เคียงเช่นกัน โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจของมาเลเซียอยู่สูงกว่าไทยเล็กน้อยที่ร้อยละ 5 ต่อปี ในขณะที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี (ภาพที่ 1) ส�ำหรับทางด้านเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อเฉลีย่ ของไทยสูงกว่ามาเลเซียเล็กน้อยทีร่ อ้ ยละ 2.5 ต่อปี ในขณะทีอ่ ตั ราเงินเฟ้อของ มาเลเซียอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจรายปี ตั้งแต่ปี 2540-2555

ภาพที่ 2 อัตราเงินเฟ้อรายปี ตั้งแต่ปี 2540-2555

สถานะทางการคลัง ไทยมีสถานะทางการคลังที่เข้มแข็งกว่ามาเลเซีย สะท้อนจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยที่ต�่ำกว่า โดย ณ สิ้นปี 2555 อยู่ที่ระดับร้อยละ 44.3 ของ GDP ในขณะที่หนี้สาธารณะของมาเลเซียอยู่ที่ระดับเกินร้อยละ 50 ของ GDP ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา (ภาพที่ 3) อีกทั้งดุลการคลังของไทยมีการขาดดุลที่น้อยกว่า (ภาพที่ 4)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

97


ภาพที่ 3 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP (% ต่อ GDP)

ที่มา : IMF Fiscal Monitor, April 2013

ภาพที่ 4 สัดส่วนดุลการคลังต่อ GDP (% ต่อ GDP)

ที่มา : IMF Fiscal Monitor, April 2013

ตารางที่ 2 อัตราภาษีรายได้ส่วนบุคคลของไทยและมาเลเซีย เงินได้พึงประเมิน (บาท)

0–150,000 150,001–300,000 300,001–500,000 500,001–750,000 750,001–1,000,000 1,000,001–2,000,000 2,000,001–4,000,000 ตั้งแต่ 4,000,001 ขึ้นไป

หมายเหตุ : 1 ริงกิต เท่ากับประมาณ 10 บาท

อัตราภาษี 0% 5% 10% 15% 20% 25% 30% 35%

เงินได้พึงประเมิน (ริงกิต) 0–2,500 2,501–5,000 5,001–10,000 10,001–20,000 20,001–35,000 35,001–50,000 50,001–70,000 70,001–100,000 ตั้งแต่ 100,001 ขึ้นไป

อัตราภาษี 0% 1% 3% 3% 7% 12% 19% 24% 26%

เมือ่ พิจารณาถึงโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาและนิตบิ คุ คลพบว่า ทัง้ สองประเทศมีโครงสร้างทีค่ ล้ายคลึงกัน โดยทั้งสองประเทศใช้ระบบภาษีแบบอัตราก้าวหน้า (Progressive Tax Rates) แม้ว่าจะมีรายละเอียดขั้นบันไดอัตราภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาที่แตกต่างกันเล็กน้อย โดยอัตราภาษีขั้นต�่ำสุดของมาเลเซียอยู่ที่ร้อยละ 1 โดยผู้ที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้ ในอัตรานี้คือผู้มีรายได้น้อยในช่วงเงินได้ระหว่าง 2,501 ถึง 5,000 ริงกิตมาเลเซีย (ประมาณ 24,250-48,500 บาทต่อปี) ในขณะที่อัตราภาษีขั้นสูงสุดของมาเลเซียต�่ำกว่าไทย โดยอยู่ที่ร้อยละ 26 ในขณะที่กรณีของไทย อัตราภาษีขั้นสูงสุดอยู่ที่ ร้อยละ 35 ของเงินได้พึงประเมิน (ตารางที่ 2) เมื่อพิจารณาอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลพบว่า อัตราภาษีขั้นสูงสุดในปัจจุบันของไทยต�่ำกว่ามาเลเซีย (ไทยอยู่ที่ร้อยละ 20 ในขณะทีม่ าเลเซียอยูท่ รี่ อ้ ยละ 25) (ภาพที่ 5) และอัตราภาษีมลู ค่าเพิม่ ต่างกันเล็กน้อย โดยอัตราภาษีมลู ค่าเพิม่ ของไทยอยูท่ ี่ ร้อยละ 7 มาเลเซียอยู่ที่ร้อยละ 10 (ภาพที่ 6) กล่าวโดยสรุปอัตราภาษีของทั้งสองประเทศอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน สามารถ แข่งขันกันได้

98


ภาพที่ 5 อัตราภาษีรายได้นติ บิ คุ คลของไทยและมาเลเซีย

ที่มา : National Source

ภาพที่ 6 อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยและมาเลเซีย

ที่มา : National Source

การค้าต่างประเทศ ในส่วนภาคการค้าต่างประเทศพบว่า ตัง้ แต่ปี 2541 เป็นต้นมา มาเลเซียเกินดุลการค้ามาโดยตลอด ในขณะทีไ่ ทยเกินดุล ในระดับที่ต�่ำกว่าและขาดดุลการค้าในบางปี (ภาพที่ 7) โดยแม้ว่าสินค้าส่งออกหลักของไทยและมาเลเซียมีความคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 23.8 ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย และร้อยละ 32.9 ของมูลค่าส่งออกรวมมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกหลักในอันดับอืน่ ๆ มีความแตกต่างกัน โดยในกรณีของไทยเป็นสินค้า ในหมวดชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์และสินค้าเกษตร ในขณะที่กรณีของมาเลเซียเป็นสินค้าในหมวดน�้ำมันเชื้อเพลิงและเมล็ดโกโก้ (ตารางที่ 3 และตารางที่ 4) ซึง่ ในช่วงทีผ่ า่ นมาการส่งออกน�ำ้ มันเชือ้ เพลิงเป็นส่วนส�ำคัญทีส่ ง่ ผลให้มาเลเซียเกินดุลการค้าต่อเนือ่ ง

ภาพที่ 7 ดุลการค้ารายปี ตั้งแต่ปี 2533-2555

ที่มา : IMF

ในมิติคู่ค้า ไทยและมาเลเซียต่างส่งออกไปยังจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยูโรโซนในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน แต่มาเลเซีย ส่งออกไปยังสิงคโปร์เป็นอันดับ 1 ในขณะที่ไทยส่งออกไปยังจีนเป็นอันดับ 1 (ตารางที่ 5 และตารางที่ 6)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

99


ตารางที่ 3 สินค้าส่งออกหลัก 5 อันดับแรกของไทย สัดส่วนการส่งออกต่อ GDP ปี 2555 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ สินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป แร่และเชื้อเพลิง

23.8 12.5 10.3 7.9 6.7

ตารางที่ 5 ตลาดส่งออกหลัก 5 อันดับแรกของไทย สัดส่วนการส่งออกต่อ GDP ปี 2555 จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยูโรโซน ฮ่องกง

11.7 10.2 9.9 6.5 5.7

ตารางที่ 4 สินค้าส่งออกหลัก 5 อันดับแรกของมาเลเซีย สัดส่วนการส่งออกต่อ GDP ปี 2555 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า น�้ำมันปาล์ม แก๊สธรรมชาติเหลว ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เมล็ดโกโก้

32.9 10.4 7.9 6.8 6.8

ตารางที่ 6 ตลาดส่งออกหลัก 5 อันดับแรกของมาเลเซีย สัดส่วนการส่งออกต่อ GDP ปี 2555 สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยูโรโซน

13.6 12.6 11.8 8.6 7.0

โดยสรุปทั้งโครงสร้างทางเศรษฐกิจ อัตราภาษี และภาคการส่งออกของมาเลเซียมีลักษณะใกล้เคียงกับของไทย อย่างไรก็ตาม ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดย Moody’s ไทยได้รับอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ BBB+ ขณะที่มาเลเซีย ได้รับระดับ A- และในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดย S&P ไทยได้รับอันดับ Baa1 ขณะที่มาเลเซียได้รับระดับ A3 กล่าวคือ ทัง้ สองสถาบันให้อนั ดับความน่าเชือ่ ถือแก่มาเลเซียสูงกว่าไทย 1 ระดับ ดังนัน้ ความแตกต่างระหว่างสองประเทศทีน่ ำ� ไปสูร่ ะดับ การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ต่างกันอาจมาจากขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะพิจารณาในส่วนต่อไป

3. เปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยกับมาเลเซีย2 หากพิจารณาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและมาเลเซียที่จัดโดย WEF จะพบว่าไทยอยู่ในอันดับที่ต�่ำกว่า มาเลเซียมาโดยตลอด โดยล่าสุดในปี 2556-2557 มาเลเซียอยูอ่ นั ดับที่ 24 ในขณะทีไ่ ทยอยูอ่ นั ดับที่ 37 จาก 148 ประเทศ (ภาพที่ 8) เมื่อพิจารณาในรายละเอียดหลักเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละด้านจะพบว่า ไทยได้คะแนนต�่ำกว่ามาเลเซียในเกือบ ทุกด้าน (ภาพที่ 9) โดยไทยมีความได้เปรียบเพียงในด้านขนาดของตลาด (Market Size) และสภาพเศรษฐกิจ มหภาค (Macroeconomic Environment) แต่เสียเปรียบโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในด้านสถาบัน (Institution) นวัตกรรม (Innovation) โครงสร้าง พื้นฐาน (Infrastructure) และการศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม (Higher Education and Training) เมื่อพิจารณาเชิงลึกในด้านโครงสร้างพื้นฐานพบว่า ด้านการคมนาคมไทยยังด้อยกว่ามาเลเซีย โดยในการจัดอันดับ การขนส่งทางรางไทยได้อันดับที่ 72 มาเลเซียได้อันดับที่ 18 ส่วนการขนส่งทางน�้ำไทยได้อันดับที่ 56 มาเลเซียได้อันดับที่ 24 (ภาพที่ 11) ในด้านการศึกษาพบว่า ด้านการศึกษาของไทยยังเป็นรองมาเลเซียในทุกด้าน (ภาพที่ 13) ในการจัดอันดับด้านการศึกษา ในปี 2556-2557 ไทยได้อันดับที่ 66 มาเลเซียได้อันดับที่ 46 ในทุกด้าน (ภาพที่ 12) การจัดล�ำดับความสามารถในการแข่งขันนั้นมีสองหน่วยงานต่างประเทศที่จัดท�ำและค�ำนวณดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness Index) ได้แก่ เวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) เป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหาก�ำไร ตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส และสถาบันเพื่อการพัฒนาการบริหาร (Institute for Management Development : IMD) ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนตั้งอยู่ที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

2

100


ภาพที่ 8 และภาพที่ 9 อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันและเปรียบเทียบขีดความสามารถ ในการแข่งขันของไทยและมาเลเซีย ปี 2556-2557 โดย WEF

ที่มา : WEF Global Competitiveness Ranking

ภาพที่ 10 และภาพที่ 11 การจัดอันดับคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานโดยรวมและแยกตามประเภท (ปี 2556-2557) โดย WEF

ที่มา : WEF Global Competitiveness Ranking

ภาพที่ 12 และภาพที่ 13 การจัดอันดับคุณภาพของระบบการศึกษา (ปี 2556-2557) โดย WEF

ที่มา : WEF Global Competitiveness Ranking

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

101


ส่วนผลการจัดอันดับโดย IMD นั้นพบว่า ไทยอยู่ในอันดับที่ต�่ำกว่ามาเลเซียมาโดยตลอด โดยล่าสุดในปี 2555-2556 มาเลเซียอยู่อันดับที่ 15 ในขณะที่ไทยอยู่อันดับที่ 27 จาก 60 ประเทศ (ภาพที่ 14) เมือ่ พิจารณาในรายละเอียดหลักเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละด้านพบว่า อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย เป็นรองกว่ามาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ไทยได้อันดับที่ 48 ขณะที่มาเลเซียได้อันดับที่ 25 (ภาพที่ 15) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ด้านการศึกษาซึ่งจัดอยู่ในโครงสร้างพื้นฐานพบว่า การศึกษาของไทยยังเป็นรองมาเลเซีย โดยในปี 2556 ไทยได้อนั ดับที่ 51 มาเลเซียได้อนั ดับที่ 34 (ภาพที่ 16) เมือ่ พิจารณาเชิงลึกถึงหลักเกณฑ์การจัดอันดับด้านการศึกษาพบว่า เมื่อเทียบสัดส่วนงบประมาณด้านการศึกษาต่อจีดีพี ไทยลงทุนคิดเป็นร้อยละ 4.0 ขณะที่มาเลเซียลงทุนร้อยละ 5.6 (ตารางที่ 7) ภาพที่ 14 และภาพที่ 15 อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันและเปรียบเทียบขีดความสามารถ ในการแข่งขันของไทยและมาเลเซีย ปี 2556 แยกตามเกณฑ์ต่าง ๆ โดย IMD

ที่มา : IMD Competitiveness Year Book

ภาพที่ 16 และตารางที่ 7 การจัดอันดับคุณภาพของระบบการศึกษา ปี 2555-2556 โดย IMD

ที่มา : IMD Competitiveness Year Book 2013

102

Criteria for Educational System

Thailand

Malaysia

Total Public Expenditure on Education (% GDP) Total Public Expenditure on Education per capita ($US) Higher Education Achievement (%) TOEFL Score Educational System (scores from survey) Management education Illiteracy (%)

4.0

5.6

193

558

18 75

28.7 89

4.38

6.98

5.52 5.9

7.31 6.9


อย่างไรก็ตาม ในแง่ความสะดวกในการด�ำเนินธุรกิจ (Ease of Doing Business) ซึ่งจัดอันดับโดยธนาคารโลก (World Bank) ผลการจัดอันดับสวนทางกับการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2555 ไทยอยู่ในอันดับสูงกว่ามาโดยตลอด จนกระทั่งในปี 2556 ไทยกลับมาเป็นรองมาเลเซีย (ภาพที่ 17) เมื่อพิจารณาในรายละเอียดหลักเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละด้านพบว่า ในปี 2556 ด้านที่ไทยเหนือกว่ามาเลเซีย คือ การขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง (Dealingwith Construction Permits) การติดตั้งระบบไฟฟ้า (Electricity Application) การจดทะเบียนทรัพย์สิน (Registering Properties) และการบังคับใช้สัญญา (Contract Enforcement) (ภาพที่ 18)

ภาพที่ 17 และภาพที่ 18 การจัดอันดับความสะดวกในการด�ำเนินธุรกิจ และเปรียบเทียบความสะดวกในการด�ำเนินธุรกิจแยกตามเกณฑ์ต่าง ๆ ปี 2556 โดย World Bank

ที่มา : World Bank Doing Business World Competitiveness Year Book 2013

4. บทส่งท้าย : แนวทางในการเพิ่มศักยภาพของไทย จากการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบดังกล่าวข้างต้น จึงขอเสนอแนวทางในการเพิ่มศักยภาพของไทย ดังนี้ 1) ไทยมีที่ตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน มีความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ สามารถเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยง ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนได้ แต่ไทยยังขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคม โดยเฉพาะการขนส่งทางรางและทางน�้ำ ซึง่ หากมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพืน้ ฐานดังกล่าวจะท�ำให้ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากการได้เปรียบเชิงภูมศิ าสตร์อย่างเต็มที่ 2) แรงงานของไทยในสายวิชาชีพ อาทิ ภาคก่อสร้าง และภาคบริการ ล้วนมีทักษะสูง แต่ยังขาดทักษะในการใช้ภาษา อังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพจากการจัดอันดับความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษโดย Global English ปี 2555-2556 ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยอยูใ่ นอันดับที่ 33 ในขณะทีม่ าเลเซียอยูใ่ นอันดับที่ 6 และในปี 2556 ทัง้ ไทยและ มาเลเซียได้ถูกลดอันดับลงโดยไทยอยู่ในอันดับที่ 43 มาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 13 ไทยจึงควรเร่งพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ของแรงงานไทยพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการดึงดูดทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าดังกล่าวให้เพียงพอในการสนับสนุนการเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศ

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

103


Macroeconomic Analysis Briefing บทวิเคราะห์ เรื่อง ออสเตรเลีย เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ได้อย่างไร ?

1

บทสรุปผู้บริหาร ออสเตรเลียถือได้วา่ เป็นหนึง่ ในประเทศพัฒนาแล้วทีม่ เี สถียรภาพทางเศรษฐกิจสูง แม้แต่ใน ช่วงวิกฤติ เศรษฐกิจออสเตรเลียก็ยังสามารถขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ต่างจากประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ ❍❍ บทความนี้ พ บว่ า โครงสร้ า งเศรษฐกิ จ ของออสเตรเลี ย มี ป ั จ จั ย หนุ น ด้ า นอุ ป สงค์ แ ละด้ า น อุปทาน ช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศมีภูมิคุ้มกันต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยปัจจัยส�ำคัญที่ ท�ำให้เศรษฐกิจออสเตรเลียมีเสถียรภาพ คือ การพึง่ พาอุปสงค์ภายในประเทศ อันได้แก่ การบริโภคและการลงทุน เป็นหลัก นอกจากนี้ ภาคการส่งออกอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โดยเฉพาะสินแร่และทองค�ำยังเป็นปัจจัยสนับสนุน ให้เศรษฐกิจออสเตรเลียเติบโตได้ต่อเนื่อง และสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าเศรษฐกิจโลกในยามวิกฤติ ❍❍ อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของออสเตรเลียมีแนวโน้มจะชะลอ ตัวในอนาคต แต่การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภายในประเทศยังคงขยายตัวได้ดตี อ่ เนือ่ ง ท�ำให้เศรษฐกิจ ภายในประเทศยังสามารถเติบโตได้ ❍❍

1. บทน�ำ ออสเตรเลียถือได้ว่าเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้วที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพสูงและขยายตัวดีต่อเนื่อง แม้แต่ ในช่วงประสบภัยธรรมชาติและวิกฤติเศรษฐกิจโลก โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard and Poor’s (S&P) จัด ให้เศรษฐกิจออสเตรเลียอยู่ในระดับ AAA แนวโน้มคงที่ตั้งแต่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าออสเตรเลีย จะเผชิญกับภัยธรรมชาติเป็นระยะ ๆ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจออสเตรเลียก็ยังคง สามารถขยายตัวต่อเนื่องได้อย่างมีเสถียรภาพ โดยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจออสเตรเลียขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 3.1 สูง กว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้ว (Advanced Economies) ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.7 บทความนีม้ จี ดุ ประสงค์หลักเพือ่ วิเคราะห์โครงสร้างและปัจจัยพืน้ ฐานทางเศรษฐกิจ ทีท่ ำ� ให้ประเทศออสเตรเลียสามารถ รักษาเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกทีผ่ นั ผวนอยูใ่ นปัจจุบนั โดยส่วนแรกจะวิเคราะห์ปจั จัย ด้านอุปสงค์ ตามด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอุปทานที่ส�ำคัญ อันได้แก่ ภาคการส่งออกทองค�ำและสินแร่

ผู้เขียน : นางสาวทิพย์ธรา สีนะวัฒน์ และนางสาวสาวิตรี พยัคฆ์ศิริ นักศึกษาฝึกงานจากคณะเศรษฐศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอขอบคุณ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ เศรษฐกรช�ำนาญการ นางสาวอาร์จนา ปานกาญจโนภาส เศรษฐกรปฏิบัติการ นางสาวปารีณา วงศ์สุขเกษม เศรษฐกรปฏิบัติการ นางสาวอรกันยา เตชะไพบูรน์ เศรษฐกรปฏิบัติการ นางสาวภัทราพร คุ้มสะอาด เศรษฐกรตรี ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ

1

104


2. ปัจจัยด้านอุปสงค์ (ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ) เศรษฐกิจออสเตรเลียมีอัตราการขยายตัวดีและมีเสถียรภาพ โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ณ ราคาคงที่ (Real GDP Growth) ของออสเตรเลียมีการเติบโตในแดนบวกต่อเนื่อง แม้แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกซบเซาเนื่องจากวิกฤติ ซับไพรม์ (Subprime Crisis) ในช่วงปี 2008-2009 ต่อเนือ่ งด้วยอุทกภัยในปี 2010 และปี 2011 ออสเตรเลียก็ยงั สามารถพยุงอัตรา การเติบโตทางเศรษฐกิจให้ขยายตัวเป็นบวกไว้ได้ และมีแนวโน้มปรับตัวดีขนึ้ ภายหลังจากวิกฤติดงั กล่าวได้ผา่ นพ้นไป นอกจากนี้ แม้ว่าออสเตรเลียจะประสบกับเหตุการณ์พายุทอร์นาโดถล่มและอุทกภัยครั้งใหญ่ในรัฐ Queensland และ New South Wales ในช่วงต้นปี 2013 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสที่ 1 ปี 2013 ก็ยงั คงขยายตัวร้อยละ 2.4 และเมือ่ เปรียบเทียบกับกลุม่ ประเทศพัฒนาแล้ว (Advanced Economies) อัตราการขยายตัวของ GDP ออสเตรเลียถือว่าขยายตัวได้ดีอยู่ในระดับใกล้เคียง หรือขยายตัวได้มากกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโลก (ภาพที่ 1) ภาพที่ 1 การเติบโตของ GDP ออสเตรเลียเทียบกับ Advanced Economies

ที่มา : CEIC และ IMF รวบรวมโดย สศค.

ประเทศออสเตรเลียมีโครงสร้างด้านอุปสงค์เป็นจุดแข็ง และมีความส�ำคัญต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ออสเตรเลียมีการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเป็นปัจจัยส�ำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การบริโภคและการลงทุนคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 70.6 และร้อยละ 24.2 ต่อ GDP ตามล�ำดับ ในขณะที่ ภาคการส่งออกและการน�ำเข้ามีความส�ำคัญรองลงมา สะท้อนจากสัดส่วนต่อ GDP ทีค่ อ่ นข้างน้อยเปรียบเทียบกับภาคอืน่ ๆ โดย คิดเป็นร้อยละ 21.4 และร้อยละ 16.5 (ตารางที่ 1) สะท้อนถึงความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศซึ่งส่งผลให้ออสเตรเลีย มีภูมิคุ้มกันต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

105


ตารางที่ 1 เปรียบเทียบโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลีย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและในปัจจุบัน โครงสร้างทางเศรษฐกิจประเทศออสเตรเลีย (ร้อยละของ GDP)

ปี 2001-2011

ปี 2012

การบริโภครวม (Cp + Cg)

70.6

71.0

การลงทุนในประเทศ (I)

24.2

29.0

การส่งออก (X)

21.4

22.0

การน�ำเข้า (M)

16.5

21.0

การส่งออกสุทธิ (Net export)

4.8

1.0

ระดับการเปิดประเทศ (Degree of openness)

37.8

43.0

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

การส่งออกสุทธิเป็นปัจจัยที่ส่งผลลบต่อการขยายตัวของ GDP ภาพที่ 2 แสดงให้เห็นว่าการบริโภคและการลงทุน เป็นส่วนประกอบหลักที่ท�ำหน้าที่ผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ ส่วนการส่งออกสุทธินั้นเป็นส่วนประกอบที่ชะลอการเติบโต ของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ จากตารางที่ 1 สังเกตได้ว่าการส่งออกสุทธิมีสัดส่วนน้อยและมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยตลอด 10 ปีที่ผ่าน มา คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยเพียงร้อยละ 4.8 ทั้งนี้ภายในช่วงปี 2002-2011 ออสเตรเลียมีการส่งออกสุทธิเป็นลบหรือขาดดุลการค้า มาโดยตลอด ยกเว้นในช่วงปี 2009 เป็นที่น่าสนใจว่าการค้าสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งจะอธิบายในล�ำดับต่อไป อย่างไรก็ตาม การส่งออกสุทธิมีแนวโน้มลดลงจนมีสัดส่วนเหลือเพียงร้อยละ 1.0 ในปี 2012

ภาพที่ 2 ส่วนประกอบของอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2002-2012

ที่มา : CEIC และ IMF รวบรวมโดย สศค.

106


นอกจากนี้ ออสเตรเลียมีระดับการเปิดประเทศอยู่ในระดับน้อยมาก จากตารางที่ 1 พบว่า แม้ว่าระดับการเปิด ประเทศของออสเตรเลียจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะหลังนี้ แต่หากเทียบกับระดับการเปิดประเทศของประเทศอื่น ๆ ระดับการ เปิดประเทศของออสเตรเลียนัน้ เรียกได้วา่ มีโครงเศรษฐกิจทีค่ อ่ นข้างปิด (Almost Closed Economy) โดยมีระดับการเปิดประเทศ ไม่ถึงร้อยละ 50 การที่ออสเตรเลียมีระดับการเปิดประเทศต�่ำ ยิ่งเน้นย�้ำให้เห็นว่าเศรษฐกิจออสเตรเลียพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอก ประเทศน้อย หรือสามารถกล่าวได้วา่ เศรษฐกิจภายในประเทศมีศกั ยภาพเพียงพอในการค�ำ้ จุนเสถียรภาพของประเทศออสเตรเลีย ด้วยตัวเอง โดยปัจจัยภายนอกประเทศไม่อาจส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจภายในออสเตรเลียสั่นคลอนได้

3. ออสเตรเลียกับปัจจัยหนุนด้านอุปทานการส่งออกทองค�ำและสินแร่ สินค้าส่งออกส�ำคัญเปรียบเสมือนเครื่องยนต์ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียในยามวิกฤติ แม้ว่าภาค การส่งออกจะมีสดั ส่วนต่อ GDP ค่อนข้างน้อย แต่ภาพที่ 3 แสดงให้เห็นว่า การขยายตัวของภาคการส่งออกสินค้ากลับมีอตั รา การขยายตัวต่อเนือ่ งแม้จะอยูใ่ นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2008 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการขยายตัวปี 2011 มีคา่ ติดลบ เป็นผล มาจากปัจจัยฐานที่สูงกว่าปกติ เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการปี 2010 สูงถึง 302,715 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ซึ่งสูงกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการเฉลี่ยในช่วง 5 ปีก่อนหน้าอยู่ที่ 271,401 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยมีสาเหตุ มาจากอุปสงค์ของสินค้าส่งออกอย่างทองค�ำและสินแร่ทเี่ พิม่ มากขึน้ ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลให้มลู ค่าการส่งออกในปี 2010 เพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติ ทั้งนี้ การส่งออกในปี 2011 มีมูลค่า 300,358 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นการหดตัวเพียงเล็กน้อย ออสเตรเลียมีรายได้จากการส่งออกภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่มูลค่ากว่า 150,700 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย คิดเป็นร้อยละ 54 ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมด ทั้งนี้ สินค้าส่งออกออสเตรเลียที่ส�ำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ แร่เหล็กและสินแร่ ถ่านหิน ทองค�ำ ก๊าซธรรมชาติ และน�้ำมันดิบ (ตารางที่ 2) ภาพที่ 3 การขยายตัวของภาคการส่งออกสินค้าปี 2005-2012

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

107


ตารางที่ 2 ตารางแสดงสินค้าส่งออก 5 อันดับแรกของออสเตรเลีย ปี 2012 สินค้าส่งออก

มูลค่าการส่งออก (ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย)

คิดเป็นร้อยละ ของการส่งออกทั้งหมด

1. แร่เหล็กและสินแร่

54,689

22.0

2. ถ่านหิน

41,273

16.6

3. ทองค�ำ

15,525

6.3

4. ก๊าซธรรมชาติ

13,418

5.4

5. น�้ำมันดิบ

10,989

4.4

ที่มา : Trade Analysis and Statistics Section Department of Foreign Affairs & Trade, Australian Government

สัดส่วนการส่งออกภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทเี่ พิม่ ขึน้ ทุกปี ประกอบกับทิศทางการขยายตัวของภาคการส่งออก สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจออสเตรเลียให้เติบโตต่อไปได้ในทุกภาวะเศรษฐกิจ เศรษฐกิจ ออสเตรเลียอยู่ในยุคเฟื่องฟูส�ำหรับภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะไม่เพียงแต่ทองค�ำเท่านั้นที่เป็นที่ ต้องการในยามวิกฤติและเป็นปัจจัยเอือ้ ต่อความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของออสเตรเลีย สินแร่เองก็เป็นอีกหนึง่ สินค้าส่งออก ที่สร้างรายรับปริมาณมหาศาลให้แก่ประเทศ ออสเตรเลียจัดเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ที่ช่วยสนับสนุน การพัฒนาประเทศและก่อให้เกิดการพัฒนาทีย่ งั่ ยืน จากทีไ่ ด้กล่าวมาข้างต้นว่า ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่นนั้ มีมลู ค่าการส่งออก มากถึง 150,700 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย การเติบโตทางเศรษฐกิจจึงได้รบั แรงกระตุน้ มาจากภาคอุตสาหกรรมนีเ้ ป็นส�ำคัญ โดย ประเทศคู่ค้าหลักของภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ได้แก่ ประเทศจีน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 27.0 ของการส่งออกทั้งหมด การส่งออก สินค้าเหมืองแร่จำ� นวนมากนีเ้ ป็นแรงผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของออสเตรเลียอยูใ่ นยุคเฟือ่ งฟู และท�ำให้การส่งออก แร่เหล็กและสินแร่มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเร่ง ลักษณะการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่นี้ มีชื่อเรียกว่า Mining Boom โดยอัตราการเติบโตของแร่เหล็กและสินแร่ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 28.7 ของการส่งออกทั้งหมด ส�ำหรับปี 2012 อัตราการขยายตัวของการส่งออกแร่เหล็กและสินแร่คิดเป็นร้อยละ 22.0 ของการส่งออก ทั้งหมด นอกจากนี้ เศรษฐกิจออสเตรเลียสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าเศรษฐกิจโลก เนื่องจากออสเตรเลียได้ดุลการค้าจาก การส่งออกทองค�ำในช่วงวิกฤติ นักลงทุนส่วนใหญ่เลือกที่จะถือทองค�ำเพื่อเก็งก�ำไรแทนการลงทุนในตลาดเงินในภาวะวิกฤติ เศรษฐกิจ เนือ่ งจากความไม่มเี สถียรภาพภายในตลาดเงิน สะท้อนจากดัชนีตลาดหุน้ ทีต่ กลงและผันผวนทัว่ โลก แม้วา่ ออสเตรเลีย ไม่ได้พึ่งพาการส่งออกมากนัก หากแต่ความสามารถในการส่งออกทองค�ำเปรียบเสมือนโอกาส เพราะราคาทองค�ำในตลาดโลก มีแนวโน้มที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ อาทิ ในปี 2008 ซึ่งเศรษฐกิจโลกก�ำลังได้รับพิษจากวิกฤติ ซับไพรม์นั้น ราคาทองค�ำเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับ 1,030.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และในปี 2011 ราคาทองค�ำได้ดีดตัวขึ้นอีกครั้ง สูงสุดอยูท่ รี่ ะดับ 1,920.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เนือ่ งจากผลกระทบจากวิกฤติหนีส้ าธารณะยูโรโซน จากอุปสงค์ของทองค�ำทีส่ งู ขึน้ ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ท�ำให้ออสเตรเลียได้ดุลการค้าจากการส่งออกทองค�ำ ภาพที่ 4 แสดงให้เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ของราคาทองค�ำออสเตรเลียที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ท�ำให้ออสเตรเลียได้ดุลการค้าจากการค้าทองค�ำ ในปี 2009 (วิกฤติซับไพรม์) ถึง 6,962.0 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และในปี 2011 (วิกฤติหนีส้ าธารณะยุโรป) มีมลู ค่าสูงถึง 8,677.0 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เป็น การเน้นย�ำ้ ว่าสินค้าส่งออกทีเ่ ป็นทีต่ อ้ งการในช่วงวิกฤตินนั้ เป็นปัจจัยเอือ้ ต่อการฟืน้ ตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้เร็วกว่าประเทศ อื่น ๆ

108


ภาพที่ 4 แสดงราคาทองค�ำนับตั้งแต่ปี 2006-ปัจจุบัน (ข้อมูลล่าสุด ณ เดือนเมษายน 2013)

ที่มา : Reuters

4. เสถียรภาพในอนาคตของเศรษฐกิจออสเตรเลีย ในระยะต่อไป ผู้เขียนเห็นว่าเศรษฐกิจออสเตรเลียจะสามารถขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ แม้ว่าการส่งออก ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของออสเตรเลียจะแสดงถึงแนวโน้มการชะลอตัว แต่การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุน ภายในประเทศก็ยงั คงเป็นองค์ประกอบส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เศรษฐกิจออสเตรเลียสามารถเติบโตได้ โดยในปี 2012 การบริโภค ภาคเอกชนและการลงทุนภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 82.0 ของ GDP ในขณะที่ภาคการส่งออกของออสเตรเลียแสดงถึง การชะลอตัวลง ในช่วงทีผ่ า่ นมาแม้วา่ แนวโน้มของการส่งออกทัง้ สินแร่และทองค�ำในช่วง 5 ปีกอ่ นจะมีแนวโน้มโดยรวมเติบโตขึน้ ถึงร้อยละ 28.7 และร้อยละ 4.9 ตามล�ำดับ ทว่าอัตราการเติบโตของสินค้าส่งออกปี 2012 เมื่อเทียบกับปี 2011 แสดงให้เห็นว่า การส่งออกสินแร่นนั้ หดตัวถึงร้อยละ 14.7 และการส่งออกทองค�ำก็มอี ตั ราการขยายตัวชะลอลง โดยในปี 2012 อัตราการส่งออก ทองค�ำขยายตัวเพียงร้อยละ 3.0 จากเดิมปี 2011 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 ประกอบกับราคาทองค�ำปี 2013 มีแนวโน้มปรับตัวลด ลงประมาณร้อยละ 20.0 ตัง้ แต่เดือนมกราคมจนถึงปัจจุบนั และต้นทุนการผลิตทองค�ำทีส่ งู ขึน้ ท�ำให้รายได้โดยรวมในภาคการผลิต ทองค�ำลดลง ส่งผลให้นักวิเคราะห์เศรษฐกิจหลายคนกังวลกับสัญญาณทางเศรษฐกิจที่อาจบ่งชี้ถึงการใกล้สิ้นสุดลงของ ยุคเฟื่องฟูของเหมืองแร่ และอาจน�ำไปสู่ปัญหาการว่างงานที่จะเพิ่มขึ้น จากการที่ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่จะต้องพยายาม ลดต้นทุนการผลิต ซึ่งนับเป็นความท้าทายของรัฐบาลออสเตรเลียที่จะต้องเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อไม่ให้ส่ง ผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

5. บทสรุป ด้วยโครงสร้างด้านอุปสงค์และปัจจัยหลักด้านอุปทาน อันได้แก่ สินแร่และทองค�ำ ออสเตรเลียจึงจัดเป็นประเทศที่มี เสถียรภาพสูง แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและวิกฤติเศรษฐกิจโลก ออสเตรเลียก็ยังสามารถรับมือกับวิกฤติ ดังกล่าวและเติบโตได้อย่างต่อเนือ่ ง ปัจจัยหลักของความมีเสถียรภาพของออสเตรเลียนัน้ ได้แก่ การพึง่ พาอุปสงค์ภายในประเทศ เป็นหลัก ทั้งทางด้านการบริโภคและด้านการลงทุน แม้ว่าออสเตรเลียจะจัดเป็นประเทศที่มีระดับการเปิดประเทศที่น้อยมาก แต่ ในยามที่เศรษฐกิจโลกซบเซาหรือช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ สินค้าส่งออกส�ำคัญของประเทศกลับเป็นที่ต้องการทั่วโลก และเป็นปัจจัย หลักที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจออสเตรเลียให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นว่าโครงสร้างเศรษฐกิจของออสเตรเลียนั้น มีความได้เปรียบในเรื่องของโครงสร้าง และอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแรงมีภูมิคุ้มกันต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน อีกทั้ง ยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นที่ต้องการทั่วโลกในยามวิกฤติเป็นสินค้าส่งออกส�ำคัญ ส่งผลให้ออสเตรเลียสามารถเติบโตได้ใน ทุกภาวะเศรษฐกิจโลก ดังนั้น ออสเตรเลียอาจเป็นอีกหนึ่งความหวังส�ำหรับการส่งออกของไทย ในยามที่เศรษฐกิจโลกก�ำลังอยู่ ในภาวะซบเซาเช่นนี2้ ทั้งนี้ ปัจจุบันออสเตรเลียจัดเป็นประเทศคู่ค้าทางเศรษฐกิจอันดับที่ 9 ของไทย โดยไทยมีมูลค่าการส่งออกไปยังออสเตรเลียประมาณ 3,000 พันล้านบาท หรือคิด เป็นร้อยละ 4.9 ของการส่งออกทั้งหมด

2

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

109


ภาคการเงิน

รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2556 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อยู่ในระดับทรงตัว โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 2.43 ณ สิ้นปี 2555 เป็นร้อยละ 2.73 ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2556 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2556 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับ ณ สิ้นปี 2555 ที่ร้อยละ 7.19 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2556 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง 1 กลับมาเป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 (ภาพที่ 1) ❍❍ การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในปี 2556 และปี 2557 คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะทรงตัวใกล้เคียงกับ ปัจจุบนั สอดคล้องกับอัตราดอกเบีย้ นโยบายทีค่ าดว่าจะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.50 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ 2.00-3.00 ต่อปี) ณ สิ้นปี 2556 และ ณ สิ้นปี 2557 โดยคาดว่าแม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางขยายตัวได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากอุปสงค์จากนอกประเทศ ที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง ❍❍

ภาพที่ 1 อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ยอดคงค้างสินเชื่อและเงินฝากของสถาบันการเงินที่รับฝากเงินอื่น2 (Depository institutions) ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2556 ขยายตัวชะลอลง (ภาพที่ 2 และภาพที่ 3) โดย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2556 สถาบันรับฝากเงินอื่น มียอดคงค้างของสินเชื่อภาคเอกชนจ�ำนวน 14,151.9 พันล้านบาท ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 11.9 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น อย่างไรก็ตาม เมือ่ เทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลของฤดูกาลแล้วขยายตัวเร่งขึน้ ร้อยละ 0.8 ต่อเดือน สอดคล้องกับอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง แม้มีทิศทางชะลอลงบ้าง โดยเมื่อวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อ พบว่า ทัง้ ยอดคงค้างสินเชือ่ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ยงั คงเพิม่ ขึน้ ด้านเงินฝากของสถาบันรับฝากเงินอืน่ มียอดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 15,106.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.5 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า และเมือ่ ขจัดผล ของฤดูกาลแล้วขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 0.6 เมือ่ เทียบกับเดือนก่อน จากการทีส่ ถาบันการเงินยังคงระดมเงินฝากเพือ่ รองรับการขยายตัว ของสินเชื่อในระยะต่อไป กอปรกับธนาคารพาณิชย์ที่ยังคงแข่งขันระหว่างกันอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาฐานลูกค้า ❍❍

ค�ำนวณโดยน�ำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 12 เดือนเฉลี่ย - อัตราเงินเฟ้อในช่วงระยะเวลาดียวกัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน

1 2

110

ประมาณการเศรษฐกิจไทย


ภาพที่ 2 สินเชื่อในสถาบันรับฝากเงิน

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 3 เงินฝากในสถาบันรับฝากเงิน

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ยอดคงค้างสินเชื่อและเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือนสิงหาคม 2556 ขยายตัวชะลอลง (ภาพที่ 4 และภาพที่ 5) ณ สิน้ เดือนสิงหาคม 2556 ธนาคารพาณิชย์มยี อดคงค้างสินเชือ่ ภาคเอกชนจ�ำนวน 9,490.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับ เดือนก่อน ทัง้ จากการขยายตัวของสินเชือ่ ผูบ้ ริโภคและสินเชือ่ ธุรกิจ ด้านเงินฝากของธนาคารพาณิชย์มยี อดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 10,740.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ❍❍

ภาพที่ 4 สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 5 เงินฝากในธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ยอดคงค้างสินเชือ่ ภาคครัวเรือนและยอดคงค้างสินเชือ่ ธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือนสิงหาคม 2556 ขยายตัวต่อเนื่อง (ภาพที่ 6) สินเชื่อภาคครัวเรือน ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 45 ของสินเชื่อรวมขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย จากเดือนก่อนหน้า แต่ยงั ทรงตัวอยูใ่ นระดับสูงทีร่ อ้ ยละ 17.5 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ขณะทีส่ นิ เชือ่ ทีใ่ ห้แก่ภาคธุรกิจ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 55 ของสินเชื่อรวม ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

111


ภาพที่ 6 ยอดคงค้างสินเชื่อครัวเรือนและสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ยอดคงค้างสินเชือ่ ธุรกิจในภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม ขยายตัวได้ในระดับสูง (ภาพที่ 8) ยอดคงค้างสินเชือ่ ภาคบริการซึง่ มีสดั ส่วนร้อยละ 41.7 ของสินเชือ่ ธุรกิจ (ภาพที่ 7) ขยายตัว ในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 21.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับยอดคงค้างสินเชื่อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีส่วนแบ่งร้อยละ 45.7 ของสินเชื่อธุรกิจ ยังคงขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีกอ่ น แม้วา่ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 หดตัวร้อยละ 5.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีกอ่ น ยอดคงค้างสินเชือ่ ภาคเกษตรกรรม ขยายตัวเร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้ามาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 12.8 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน แม้ว่าดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍

ภาพที่ 7 สินเชื่อแยกตามภาคธุรกิจ

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 8 การขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 9 โครงสร้างสินเชื่อผู้บริโภค

112

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.


ยอดคงค้างสินเชื่อผู้บริโภคในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยสินเชื่อบุคคลเพื่อซื้อรถหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 7.5 ของสินเชื่อรวม หรือร้อยละ 29.2 ของสินเชื่อบุคคล ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน แต่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ที่ร้อยละ 25.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.9 ของสินเชื่อทั้งหมด หรือร้อยละ 46.0 ของสินเชื่อบุคคล ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวดีต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ทีร่ อ้ ยละ 35.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ส�ำหรับยอดคงค้างสินเชือ่ บัตรเครดิตคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.7 ของยอดคงค้าง สินเชื่อสถาบันการเงินรวม ในเดือนกรกฎาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ชะลอลงเล็กน้อย จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 14.0 สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ลดลงเล็กน้อยจาก เดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 70.6 ❍❍

ภาพที่ 10 การขยายตัวสินเชื่อบุคคล ธนาคารพาณิชย์แยกประเภท

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 11 การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ผ่านบัตรเครดิต

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

กล่าวโดยสรุป ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2556 เงินฝากและสินเชื่อของสถาบันการเงินไทยขยายตัว อย่างต่อเนือ่ งแม้จะขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอลงจากเดือนก่อน สะท้อนว่าอุปสงค์ในประเทศยังคงเป็นเครือ่ งจักรส�ำคัญ ของเศรษฐกิจ โดยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงขยายตัวได้ แม้จะชะลอลงเล็กน้อย ขณะที่ ยอดคงค้างเงินฝากขยายตัวในอัตราชะลอลง แต่ยังคงขยายตัวได้ในอัตราสูง ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ถึงสถานภาพของธนาคาร พาณิชย์ในปัจจุบันพบว่ายังคงมีความแข็งแกร่ง โดยสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 1.0 ของ สินเชือ่ ทัง้ หมด ขณะทีส่ ดั ส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสีย่ งยังคงอยูใ่ นระดับสูงทีร่ อ้ ยละ 15.8 ซึง่ สูงกว่าเกณฑ์ทกี่ ฎหมายก�ำหนดไว้ ที่ร้อยละ 8.5 ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

113


Thailand’s Key Economic Indicators ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators)

114


ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง FISCAL POLICY OFFICE

เสนอแนะอย่างมีหลักการ

ศ ค

ศึกษาโดยไม่หยุดนิ่ง คนคลังที่มีคุณภาพ

คณะผู้จัดท�ำ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ดร.กุลยา ตันติเตมิท : kulaya.t@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ วิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ : wiparat@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ : pisitp@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร : dr.soraphol@gmail.com ผู้อ�ำนวยการส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์ สิริกัลยา เรืองอ�ำนาจ : sirigunya@hotmail.co

ผู้รับผิดชอบรายภาคเศรษฐกิจ

ภาคการคลัง นรพัชร์ อัศววัลลภ : norabajra@mof.go.th คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com นิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว : nipat44@hotmail.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com พีรพัฒน์ วงศ์ชัยวัฒน์ : wongchaiwat@hotmail.com สุธิรัตน์ จิรชูสกุล : j_suthi01@yahoo.com ณัฏฐธิดา จัทภักดี : fongnutdee@hotmail.com ภาคการค้าระหว่างประเทศ ธนิต ภัทรแสงไทย : thanitcf@gmail.com อรุณรัตน์ นานอก : aobcy2000@hotmail.com ตลาดน�้ำมัน กระแสร์ รังสิพล : krasae.a@gmail.com เศรษฐกิจต่างประเทศ ปารีณา วงศ์สุขเกษม : yukinohana.p@gmail.com อรกันยา เตชะไพบูลย์ : aurakunya.t@gmail.com ภัทราพร คุ้มสะอาด : phattraporn088@gmail.com

ภาคการเงิน อาร์จนา ปานกาญจโนภาส : annulet@hotmail.com อัตราแลกเปลี่ยน ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ : pim.hirankasi@gmail.com ภาคอุตสาหกรรม ปฐมดนัย พลจันทร์ : pathomdanai@gmail.com อรอุมา หนูช่วย : onumaneung@hotmail.com ภาคเกษตรกรรม กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com ภาคการท่องเที่ยว คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com ภาคการบริโภค การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์ กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com ด้านเสถียรภาพ ดารินทร์ เกตุเรืองโรจน์ : lexlexjung@hotmail.com


สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท 0-2273-9020 โทรสาร 0-2298-5602 website : http://www.fpo.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.