DEC outlook 56-57

Page 1

ประมาณการเศรษฐกิจไทยป 2556 และป 2557

THAILAND'S ECONOMIC OUTLOOK 2013-2014 : DECEMBER

เดือนธันวาคม

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

http://www.fpo.go.th


THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2013-2014 : DECEMBER FISCAL POLICY OFFICE เป้าประสงค์ และ ยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 1. ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการคลัง เพื่อให้ภาคการคลังของประเทศมีความแข็งแกร่งยั่งยืน เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นหลักของ ระบบเศรษฐกิจไทย 2. การพัฒนาความแข็งแกร่งของระบบการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Financial System Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการเงิน เพื่อให้ภาคการเงินแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ 3. เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน (Sustainable Economic and Social Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อกระจายความมั่งคั่ง สู่ภูมิภาคและเศรษฐกิจฐานราก + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น 4. ความมีประสิทธิภาพ ความทันสมัย และความโปร่งใสในการท�ำงาน (Modernization of Management and Good Governance Promotion) + ด�ำเนินการเพื่อให้เป็นองค์กรเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับด้านความสามารถของบุคลากร + ด�ำเนินการเพื่อให้การท�ำงานและการให้บริการโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้ โดยใช้ระบบ IT ลดขั้นตอนการท�ำงาน

กลยุทธ์ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค : “เสาหลักด้านเศรษฐกิจมหภาคอย่างมืออาชีพ” “วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพ แม่นย�ำ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้สามารถเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้อย่าง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณชน”

ช่องทางใหม่ในการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ

ขั้นตอนการใช้งานผ่านอุปกรณ์ iPad iPhone / ระบบปฏิบัติการ Android 1 โหลด App ชื่อ “ebooks.in.th” จาก App Store / Android Market 2 เปิด App “ebooks.in.th” แล้ว Search ค�ำว่า “Fiscal Policy Office” 3 เลือกหนังสือและบทความที่ท่านต้องการอ่าน เพื่อเก็บไว้ที่ตู้หนังสือ 4 เลือก Icon “Bookshelf” เพื่ออ่านหนังสือที่ต้องการ (ในครั้งแรกต้องลงทะเบียนก่อนใช้งาน)



THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2013-2014 : DECEMBER FISCAL POLICY OFFICE

สารบัญ 1. ประมาณการเศรษฐกิจไทย บทสรุปผู้บริหาร Executive Summary ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 (ณ เดือนธันวาคม 2556) 1.1 สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 1.2 ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 2. ภาคการคลัง : รายงานสถานการณ์ด้านการคลังปีงบประมาณ 2556 และในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557

หน้า 3 7 11 12 30 42

3. บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ : Macroeconomic Analysis Briefings 3.1 แนวทางการก�ำหนดเป้าหมายทางการคลัง 3.2 “Abenomics” แสงสว่างปลายอุโมงค์ของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจริงหรือ ? 3.3 เพดานหนี้สาธารณะสหรัฐฯ : ระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่ยังไม่ได้ถอดสลัก 3.4 เจาะลึกเศรษฐกิจอิเหนา : วิกฤติเงินเฟ้อและเงินทุนไหลออกของอินโดนีเซีย 3.5 แนวโน้ม - ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปี 2557 3.6 ภัยธรรมชาติ : ภัยคุกคามของเศรษฐกิจไทย 3.7 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยถึงจุดอิ่มตัวแล้วจริงหรือ ?

48 54 59 67 74 79 85

4. ภาคการเงิน : รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2556

94

5. Thailand’s Key Economic Indicators

98

คณะผู้จัดท�ำ : ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทรศัพท์ 02-273-9020 ต่อ 3257 โทรสาร 02-298-5602 / 02-618-3397 http:// www.fpo.go.th


บทสรุปผู้บริหาร

ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 (ณ เดือนธันวาคม 2556) รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 “เศรษฐกิจไทยปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.8 และมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในปี 2557” ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 2.8 ลดลงจากทีค่ าดการณ์ไว้เดิมทีร่ อ้ ยละ 3.7 เนือ่ งจากเศรษฐกิจโลกทีฟ ่ น้ื ตัวอย่างล่าช้าส่งผลกระทบให้ความต้องการ สินค้าส่งออกของไทยลดลง ประกอบกับอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้ม ปรับตัวลดลง ตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการที่ปรับตัวลดลง และส่งผลให้ครัวเรือนและภาคธุรกิจ ระมัดระวังการใช้จ่ายและการลงทุนมากขึ้น นอกจากนี้ การลงทุนภาครัฐยังมีแนวโน้มลดลงจากที่เคยคาดไว้ อันเป็น ผลมาจากความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณและการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำ อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะเติบโตในอัตราเร่งขึ้นจากปีก่อน โดยได้รับอานิสงส์จาก การส่งออกด้านบริการที่จะขยายตัวตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเกือบทุกภูมิภาค ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ลดลงจาก ปีก่อนหน้า ตามการชะลอตัวลงของอุปสงค์ภาคเอกชนประกอบกับราคาน�้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่มี แนวโน้มลดลงอันเป็นผลมาจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอลง ส�ำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นมา ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5–4.5) ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ร้อยละ 5.1 โดยมีปัจจัย หลักจากการลงทุนในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐทีอ่ าจมีความล่าช้ากว่าทีค่ าด โดยเฉพาะ การเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำที่ต้องมีการท�ำประชาพิจารณ์ตามค�ำสั่งของศาลปกครอง และการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานของรัฐทีอ่ ยูร่ ะหว่างรอผลวินจิ ฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ การประกาศยุบสภาของรัฐบาลยังคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐให้เกิด ความล่าช้าได้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะยังคงได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้ม ฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการ นอกจากนี้ สถานการณ์การจ้างงานที่ ยังอยู่ในเกณฑ์ดีและภาวะทางการเงินที่ผ่อนคลายจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต�่ำ จะช่วยสนับสนุนให้การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนสามารถขยายตัวได้ ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปในปี 2557 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.9–2.9) ตามอุปสงค์ภาคเอกชนที่ดีขึ้น”

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

3


ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2556 และปี 2557 (ณ เดือนธันวาคม 2556)

2555

2556 f 2557 f (ณ ธันวาคม 2556) (ณ ธันวาคม 2556) เฉลี่ย เฉลีย่ ช่วง

สมมติฐานหลัก สมมติฐานภายนอก 1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี) 3.3 3.3 3.8 2) ราคาน�้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) 109.1 105.0 105.0 3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 0.6 -0.1 0.5 4) ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 1.6 -2.1 0.0 สมมติฐานด้านนโยบาย 5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) 31.1 30.7 31.2 6) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละต่อปี) 2.75 2.25 2.25 7) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท) 2.89 3.03 3.24 ผลการประมาณการ 1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 6.5 2.8 4.0 2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี) 6.8 1.3 2.7 - การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 6.7 0.4 2.8 - การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 7.5 5.6 2.1 3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี) 13.2 -1.1 8.3 - การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 14.4 -0.3 7.0 - การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 8.9 -4.1 13.2 4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 3.1 4.1 7.0 5) อัตราการขยายตัวปริมาณน�ำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 6.2 2.9 4.4 6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 6.0 5.3 8.9 - สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 3.1 -0.6 6.5 - สินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 8.8 -0.2 5.0 -6.2 4.4 7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) -1.5 - ร้อยละของ GDP -0.4 -1.6 1.0 8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี) 3.0 2.2 2.4 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี) 2.1 1.0 1.2 9) อัตราการว่างงาน (ร้อยละของก�ำลังแรงงานรวม) 0.7 0.7 0.7 f = ประมาณการ โดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)

4

3.3-4.3 100.0-110.0 0.0-1.0 -0.5 ถึง 0.5 30.2-32.2 1.75-2.75 3.23-3.25 3.5-4.5 2.2-3.2 2.3-3.3 1.6-2.6 7.8-8.8 6.0-8.0 12.2-14.2 6.0-8.0 3.4-5.4 7.9-9.9 4.5-8.5 3.0-7.0 3.4-5.4 0.7-1.3 1.9-2.9 0.7-1.7 0.6-0.8


1. เศรษฐกิจไทยในปี 2556 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 2.8 ชะลอลงจากปีก่อนหน้า และลดลงจากที่คาดการณ์ ไว้เดิมที่ร้อยละ 3.7 อันเป็นผลมาจากอุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงหลังจากที่เร่งขึ้นไปมากในช่วงก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 ตามความต้องการซื้อสินค้าคงทนโดยเฉพาะยานยนต์ ที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนและบริการคาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.3 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการเปรียบเทียบกับฐานที่สูงในปีก่อนจากการเร่งการลงทุนในหมวดเครื่องจักร และอุปกรณ์เพือ่ ซ่อมแซมความเสียหายจากอุทกภัย ประกอบกับความเชือ่ มัน่ ของผูป้ ระกอบการปรับตัวลดลงส่งผลให้ภาคธุรกิจ ระมัดระวังการลงทุนมากขึน้ นอกจากนี้ การลงทุนภาครัฐทีช่ ะลอออกไปยังส่งผลให้กจิ กรรมการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงตาม อย่างไรก็ดี การลงทุนในหมวดก่อสร้างคาดว่าจะขยายตัวได้ดี สะท้อนได้จากยอดจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศทีเ่ พิม่ ขึน้ เช่นเดียวกับ การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มลดลงจากที่เคยคาดไว้ โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 5.6 และการลงทุนภาครัฐ จะหดตัวร้อยละ 4.1 อันเป็นผลมาจากความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะการเบิกจ่ายเงินที่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิน่ (อปท.) ได้รบั จัดสรรมีความล่าช้า ตลอดจนการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนบริหารจัดการทรัพยากรน�ำ้ ทีม่ กี ารเบิกจ่ายได้ไม่ มากนัก เนื่องจากโครงการบางส่วนอยู่ระหว่างการจัดท�ำประชาพิจารณ์ก่อนเริ่มด�ำเนินโครงการตามค�ำสั่งศาลปกครอง ส�ำหรับ อุปสงค์ภายนอกประเทศนั้น การส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะเติบโตในอัตราเร่งขึ้นจากปีก่อนมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 โดยได้รบั อานิสงส์จากการส่งออกด้านบริการทีจ่ ะขยายตัวตามจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วต่างประเทศทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งจากเกือบ ทุกภูมิภาค โดยเฉพาะจากจีนและรัสเซีย อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกสินค้าคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.6 เนื่องจากเศรษฐกิจ โลกทีฟ่ น้ื ตัวอย่างล่าช้าส่งผลกระทบให้ความต้องการสินค้าส่งออกของไทยลดลง ประกอบกับการส่งออกสินค้าประมงมีแนวโน้ม หดตัวจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดบิ กุง้ เพือ่ ผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง ขณะทีป่ ริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 2.9 ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุน 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ลดลงจากปีก่อนหน้า จากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่ลดลงตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภาคเอกชน และแนวโน้มราคาน�้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ใน ตลาดโลกทีล่ ดลงอันเป็นผลมาจากอุปสงค์ในตลาดโลกทีช่ ะลอลง รวมทัง้ ผลจากแนวทางการดูแลราคาน�ำ้ มันขายปลีกของภาครัฐ ในส่วนของอัตราการว่างงาน คาดว่าจะยังคงอยูใ่ นระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลที่ 6.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.6 ของ GDP ส่วนหนึ่งมาจากการส่งก�ำไร และเงินปันผลกลับต่างประเทศของผูป้ ระกอบการทีอ่ ยูใ่ นระดับสูง ประกอบกับดุลการค้าคาดว่าจะเกินดุลลดลงจากปีกอ่ นมาอยู่ ที่ 5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมูลค่าสินค้าส่งออกที่คาดว่าจะชะลอมากกว่ามูลค่าสินค้าน�ำเข้า

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

5


2. คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2557 2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวได้รอ้ ยละ 4.0 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 3.5–4.5) ลดลงจากทีค่ าดการณ์ ไว้เดิมทีร่ อ้ ยละ 5.1 โดยมีปจั จัยหลักจากการใช้จา่ ยภาครัฐทีอ่ าจมีความล่าช้ากว่าทีค่ าด ทัง้ ในส่วนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ของภาครัฐ โดยเฉพาะการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำที่ต้องมีการท�ำประชาพิจารณ์ตามค�ำสั่งของ ศาลปกครอง และการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ การประกาศยุบสภาของรัฐบาลยังคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐให้เกิด ความล่าช้าได้ โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 2.1 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 1.6–2.6) และการลงทุนภาครัฐ จะขยายตัวได้รอ้ ยละ 13.2 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 12.2–14.2) อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะยังคงได้รบั อานิสงส์ จากเศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ ทีม่ แี นวโน้มฟืน้ ตัวดีขนึ้ ซึง่ จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการ ทัง้ นี้ การส่งออก สินค้าและบริการมีแนวโน้มเติบโตในอัตราเร่งขึ้นจากปีก่อนมาขยายตัวที่ร้อยละ 7.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 6.0–8.0) เนื่องจากคาดว่าการส่งออกสินค้าจะได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นโดยได้รับอานิสงส์จากนโยบาย เศรษฐกิจของภาครัฐ แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังอยู่ในช่วงของการปรับตัวต่อเสถียรภาพในระบบการเงินก็ตาม ขณะที่การส่งออก ด้านบริการคาดว่าจะขยายตัวตามจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วจากต่างประเทศทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชน มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3-3.3) ตามสถานการณ์การจ้างงานที่ยัง อยูใ่ นเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานทีม่ แี นวโน้มอยูใ่ นระดับต�ำ่ นอกจากนี้ ภาวะการเงินโดยรวมทีผ่ อ่ นคลาย สะท้อนจาก อัตราดอกเบีย้ ทีค่ าดว่าจะยังอยูใ่ นระดับต�ำ่ จะยังคงเอือ้ ต่อการใช้จา่ ยของภาคเอกชน เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนทีค่ าดว่า จะกลับมาฟื้นตัวได้ชัดเจนขึ้น โดยจะขยายตัวร้อยละ 7.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 6.0–8.0) จากปัจจัยสนับสนุนส�ำคัญ อาทิ ความจ�ำเป็นในการลงทุนปรับโครงสร้างการผลิตเพือ่ รองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และมูลค่าการขอรับและออกบัตร ส่งเสริมการลงทุนของส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณการน�ำเข้า สินค้าและบริการคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.4–5.4) สอดคล้องกับ แนวโน้มการใช้จ่ายภาคเอกชนที่คาดว่าจะเร่งขึ้น และการฟื้นตัวของภาคการส่งออก 2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2557 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 1.9–2.9) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า อันเป็นผลจากการเร่งขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่ราคาน�้ำมันดิบ ในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัว จากอุปสงค์น�้ำมันดิบที่คาดว่าจะเริ่มปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึง่ เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอุปทานน�ำ้ มันดิบในตลาดโลกทีม่ แี นวโน้มปรับเพิม่ ขึน้ เช่นกันตามการผลิตนอกกลุม่ OPEC ในส่วน ของอัตราการว่างงาน คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.6–0.8 ของก�ำลังแรงงานรวม) ส�ำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ คิดเป็นร้อยละ 1.0 ของ GDP (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 0.7-1.3 ของ GDP) เนือ่ งจากดุลการค้าทีค่ าดว่าจะเกินดุลเพิ่มขึน้ มา อยูท่ ี่ 8.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีชว่ งคาดการณ์ที่ 7.9-9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้าส่งออกทีค่ าดว่าจะขยายตัว ในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าน�ำเข้า

6


Executive Summary

Thailand’s Economic Projection for 2013 and 2014 (As of December 2013) Thailand’s Economic Outlook Projection 2013 and 2014 The Thai economy in 2013 is projected to grow at 2.8 percent, and likely to expand more in 2014 The Fiscal Policy Office (FPO), Ministry of Finance, announced Thailand’s economic projections as of December 2013 stating that “the Thai economy in 2013 is projected to grow at an annualized rate of 2.8 percent, lower than the earlier projection of 3.7 percent, from the slow global economic recovery which affects the demand for Thai exports. Domestic demand, both private consumption and private investment, will also likely slow down, following the decline in consumer and business confidence which makes the private sector cautious of spending and investment. Moreover, public investment is likely to be lower than expected, from delays in budget disbursements and disbursements for the water resource management plan. Nevertheless, exports of goods and services are anticipated to grow at a faster pace compared to last year, mainly from expanding exports of services due in part to an increase in the number of foreign tourists visiting Thailand. With regard to internal stability, headline inflation in 2013 is anticipated to be 2.2 percent, lower than that of the previous year, due to lower private demand and declining prices of world crude oil and commodity products, as a result of lower global demand. For 2014, the Fiscal Policy Office anticipates that economic growth is likely to continuously expand at a rate of 4.0 percent (or within a range of 3.5-4.5 percent), lower than the previous projection of 5.1 percent, from the delay in public investment, especially the water resource management plan which is bound by the Administrative Court’s order to call for a public hearing and the infrastructure plan which needs to be postponed awaiting for the decision by the Constitutional Court. Furthermore, the dissolution of the Parliament could also delay the previously planned public investment disbursements. However, the economic recovery of Thailand’s major trading counterparts is anticipated to help support the growth of exports of goods and services. Moreover, the positive employment situation together with low interest rates from the accommodative monetary policy will help support private consumption and investment to continue to expand. With regard to internal stability, headline inflation in 2014 is anticipated to be 2.4 percent (or within a range of 1.9-2.9 percent), due to higher private demand.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

7


Major Assumptions and Economic Projections of 2013 and 2014 (As of Dec 2013) 2012

2013 f (As of Dec 13) Average

2014 f (As of Dec 13) Average Range

Major Assumptions Exogenous Variables 1) Average Economic Growth Rate of Major Trading Partners (percent y-o-y)

3.3

3.3

3.8

2) Dubai Crude Oil Price (U.S. dollar per Barrel) 109.1 105.0 105.0 3) Export prices in U.S. dollar (percent y-o-y) 0.6 -0.1 0.5 4) Import prices in U.S. dollar (percent y-o-y) 1.6 -2.1 0.0 Policy Variables 5) Exchange Rate (Baht per U.S. dollar) 31.1 30.7 31.2 6) Repurchase Rate (Policy Rate) at year-end (percent y-o-y) 2.75 2.25 2.25 7) Fiscal-Year Public Expenditure (Trillion Baht) 2.89 3.03 3.24 Projections 1) Economic Growth Rate (percent y-o-y) 6.5 2.8 4.0 2) Real Consumption Growth (percent y-o-y) 6.8 1.3 2.7 - Real Private Consumption 6.7 0.4 2.8 - Real Public Consumption 7.5 5.6 2.1 3) Real Investment Growth (percent y-o-y) 13.2 -1.1 8.3 - Real Private Investment 14.4 -0.3 7.0 - Real Public Investment 8.9 -4.1 13.2 4) Export Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 3.1 4.1 7.0 5) Import Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 6.2 2.9 4.4 6) Trade Balance (billion U.S. dollar) 6.0 5.3 8.9 - Export Value of Goods in U.S. dollar (percent y-o-y) 3.1 -0.6 6.5 - Import Value of Goods in U.S. dollar (percent y-o-y) 8.8 -0.2 5.0 -6.2 4.4 7) Current Account (billion U.S. dollar) -1.5 - Percentage of GDP -0.4 -1.6 1.0 8) Headline Inflation (percent y-o-y) 3.0 2.2 2.4 Core Inflation (percent y-o-y) 2.1 1.0 1.2 9) Unemployment Rate (percentage of total labor force) 0.7 0.7 0.7 f = forecast by Fiscal Policy Office, Ministry of Finance, Thailand, Tel. 0 2273 9020

8

3.3-4.3 100.0-110.0 0.0-1.0 -0.5 ถึง 0.5 30.2-32.2 1.75-2.75 3.23-3.25 3.5-4.5 2.2-3.2 2.3-3.3 1.6-2.6 7.8-8.8 6.0-8.0 12.2-14.2 6.0-8.0 3.4-5.4 7.9-9.9 4.5-8.5 3.0-7.0 3.4-5.4 0.7-1.3 1.9-2.9 0.7-1.7 0.6-0.8


1. Thailand’s Economic Projections for 2013 and 2014 1.1 Economic Growth The Thai economy in 2013 is projected to grow at an annualized rate of 2.8 percent, lower than the earlier projection of 3.7 percent. This is due to a slowdown in domestic demand following an earlier sharp acceleration. Private consumption is expected to be sluggish with a growth rate of 0.4 percent, following lower demand for durable goods, especially automobiles, while the demand for non-durable goods and services is moderate. Private investment is also anticipated to contract by 0.3 percent, coming off of a high base from the acceleration in investment for flooding damages of the previous year and the decline in consumer and business confidence which makes the private sector cautious of spending and investment. Moreover, the delay in public investment disbursements will also decrease private investment. However, the investment in construction is expected to expand, reflected in higher cement sales in the domestic market. Public consumption is expected to grow at 5.6 percent whereas public investment is likely to contract by 4.1 percent from the delay in the budget disbursements, especially those related to local administrative organizations, and the delay in disbursements related to the water resource management plan, especially projects which are bound by the Administrative Court’s order to call for a public hearing. However, exports of goods and services are anticipated to grow at a faster pace compared to last year at 4.1 percent, mainly from exports of services that have expanded with the increase in the number of foreign tourists visiting Thailand, especially from China and Russia. Nevertheless, the value of exports of goods is expected to contract by 0.6 percent from the slow global economic recovery, which affects demand for Thai exports. In addition, a shortage in shrimp supply, due to Early Mortality Syndrome, has led to much lower exports of frozen seafood. The quantity of imports of goods and services is expected to grow at a rate of 2.9 percent, lower than that of the previous year, in line with the deceleration of domestic demand, both consumption and investment. 1.2 Economic Stability With regard to internal stability, headline inflation in 2013 is anticipated to be 2.2 percent, lower than that of the previous year, due to lower private demand, declining prices of world crude oil and commodity products according to slow global economic recovery and the public control of retail diesel prices. The unemployment rate is expected to be 0.7 percent of the total labor force. On external stability, the Current Account in 2013 is projected to record a small deficit of USD 6.2 billion, accounting for 1.6 percent of GDP, partly from the high rate of returning amount of profits, dividends and remittances back to foreign countries. Moreover, the estimated trade balance surplus is expected to drop slightly to USD 5.2 billion. This is partially explained by accelerated import growth, which is higher than export growth.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

9


2. Thai Economy in 2014 2.1 Economic Growth The Thai economy in 2014 is projected to continue to expand at an annualized rate of 5.1 percent (or within a range of 4.6-5.6 percent). The acceleration of economic growth in 2014 will mainly be driven by private consumption expansion, export revival, and substantial investment by the government sector. It is anticipated that the disbursement rate for the water resource management investment plan will be augmented, while the disbursement of the infrastructure investment plan will begin in 2014. Private consumption is projected to expand faster at a rate of 3.4 percent (or within a range of 2.9-3.9 percent), because of higher household non-farm income, partly due to the higher 300 baht minimum wage and positive employment situation and very low unemployment rate. Furthermore, the low interest rate from the supportive monetary policy will help support private consumption and investment to continue to expand. Private investment is forecasted to rebound and expand at a rate of 9.5 percent (or within a range of 8.5-10.5 percent). Other factors that could support the expansion of private investment include the necessity to invest in production restructuring in order to cope with the labor mismatch problem as well as more investment privilege schemes offered by the Board of Investment that will continue to create incentives for foreign investors to invest in Thailand. In 2014, government spending will continue to be the key growth driver for the Thai economy. Government consumption is forecasted to grow at a rate of 4.8 percent (or within a range of 4.3-5.3 percent), while government investment is projected to expand at 13.4 percent (or within a range of 12.4-14.4 percent). The disbursement rate of the water management investment plan is anticipated to be expedited and it is highly likely that the disbursement of the infrastructure investment plan will be able to begin in 2014. In terms of international trade, it is anticipated that exports of goods and services will recover and grow faster than those in 2013, from the global economic recovery, especially Thailand’s main trading partners, including the US from its higher employment and Japan from its government’s recent economic policies, although there is a slowdown in the Chinese economy. Moreover, the outlook for the tourism sector remains particularly positive. Therefore, the quantity of exports of goods and services is projected to expand at a rate of 8.6 (or within a range of 7.6-9.6 percent). The quantity of import of goods and services is projected to expand at an accelerated rate of 7.6 percent (or within a range of 6.6-8.6 percent) as a result of private consumption expansion, revival of the export sector, and the large government investment projects. 2.2 Economic Stability With regard to internal stability, headline inflation in 2014 is anticipated to be 2.8 percent (or within a range of 2.3-3.3 percent), higher than that of the previous year, due to higher private demand and increasing prices of world crude oil and commodity products from higher external demand from the global economic recovery, especially from the US and Japan. Unemployment is expected to be 0.7 percent of the total labor force (or within a range of 0.6-0.8 percent). On external stability, the current account in 2014 is projected to record a small surplus of USD 0.1 billion, accounting for 0.0 percent of GDP (or within a range of -0.5 to 0.5 percent of GDP) as the estimated trade balance surplus drops slightly to USD 1.5 billion (or within a range of USD 0.5-2.5 billion). This is partially explained by accelerated import growth being higher than export growth.

10


ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 (ณ เดือนธันวาคม 2556) ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2556 จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ขณะที่อัตรา การขยายตัวปี 2557 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.5–4.5) โดยมีการปรับปรุงข้อมูลและ สมมติฐานที่ส�ำคัญ ดังนี้ ปรับฐานข้อมูลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 ตามที่ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 ❍❍

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจมหภาคในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลงจาก ปีกอ่ น สะท้อนจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ตามการหดตัวของอุตสาหกรรมส�ำคัญ อาทิ อุตสาหกรรมในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ หมวดยานยนต์ และหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ขณะที่ภาคเกษตรกรรมขยายตัว เล็กน้อยที่ร้อยละ 1.0 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผล โดยเฉพาะยางพาราที่ยังขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับส่วน ด้านภาคบริการยังคงขยายตัวในระดับสูง และมีบทบาทส�ำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงทีผ่ า่ นมา สะท้อนจากจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 21.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส�ำหรับด้านการใช้ จ่ายพบว่า เครื่องชี้การบริโภคและลงทุนส่งสัญญาณขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีก่อนเช่นกัน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากรายได้ ภาคครัวเรือนที่ชะลอลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากรายได้ภาคเกษตรจากราคาสินค้าเกษตรบางรายการ โดยเฉพาะราคา ยางพาราที่ปรับตัวลดลงจากปีก่อน ในขณะที่การส่งออกสินค้าส่งสัญญาณหดตัวที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ส่วนการน�ำเข้าสินค้าและบริการมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 1.2 ตามการลดลงของการน�ำเข้าสินค้า ทุนเป็นส�ำคัญ ทั้งนี้ การขยายตัวของการน�ำเข้าที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับการขยายตัวของการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้าตามระบบ กรมศุลกากรในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ขาดดุลที่ระดับ 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ❍❍

การเปลี่ยนแปลงสมมติฐานที่ส�ำคัญ ได้แก่ (1) อัตราการขยายตัวของ 14 ประเทศคู่ค้า ในปี 2556 สศค. ประมาณการการขยายตัวของ 14 ประเทศคู่ค้าอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ขณะที่ในปี 2557 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 (2) ก�ำหนดสมมติฐานราคาน�้ำมันดิบดูไบในปี 2556 และปี 2557 อยู่ที่ 105.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากการที่เศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มจะฟื้นตัว ขณะที่อุปทานยังคงคาดว่าจะขยายตัวสูงและปัจจัยความไม่สงบในตะวันออกกลางมีความเสี่ยงลดลง จากกรณีที่อิหร่านให้ความร่วมมือในการเข้าตรวจอาวุธนิวเคลียร์ (3) ปรับสมมติฐานราคาส่งออกในปี 2556 หดตัวที่ร้อยละ 0.3 ตามการลดลงของราคาสินค้าเกษตรส�ำคัญ โดยเฉพาะราคายางพารา ส่วนในปี 2557 จะอยู่ในช่วงร้อยละ -0.5 ถึงร้อยละ 1.5 ตามแนวโน้มเพิม่ ขึน้ จากเศรษฐกิจโลกทีค่ าดว่าจะเติบโตดีขนึ้ ขณะทีร่ าคาน�ำเข้าในปี 2556 ให้อยูท่ รี่ อ้ ยละ -2.2 ตามราคาน�ำเข้า ลดลงจากสินค้าวัตถุดิบและสินค้าเชื้อเพลิงเป็นส�ำคัญ และในปี 2557 จะอยู่ที่ร้อยละ 0.0 จากราคาพลังงานที่มีแนวโน้มทรงตัว (4) ปรับสมมติฐานอัตราแลกเปลีย่ นบาทต่อดอลลาร์สหรัฐเฉลีย่ ในปี 2556 และปี 2557 ให้อยูท่ ี่ 30.7 และ 31.2 บาทต่อดอลลาร์ สหรัฐ (5) ก�ำหนดสมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2556 และในปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ย นโยบายยังคงอยูใ่ นระดับเดิมเพือ่ สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยูใ่ นระดับต�ำ่ แต่มโี อกาส ทีจ่ ะเพิม่ ขึน้ ได้ในปี 2557 หากมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อทีเ่ พิม่ ขึน้ ตามเศรษฐกิจทีม่ ีแนวโน้มฟืน้ ตัว และ (6) รายจ่ายภาคสาธารณะ ในปีงบประมาณ 2556 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555-กันยายน 2556) คาดว่าจะอยู่ที่ 3.03 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 4.8 จากปีก่อน และในปีงบประมาณ 2557 คาดว่าจะมีจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น 3.24 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี โดยมี รายละเอียดสมมติฐานและผลการประมาณการ ดังนี้ ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

11


สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2556 และปี 2557 1. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ 14 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย “สศค.คาดว่า ในปี 2556 เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศจะขยายตัวร้อยละ 3.3 ชะลอลงเล็กน้อย จากปี 2555 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 3.4 จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกซึง่ มีทศิ ทางการฟืน้ ตัวอย่างเปราะบาง วิกฤติหนีส้ าธารณะ ในสหภาพยุโรปซึ่งส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจจริงยังคงหดตัว ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัว แต่อัตราการว่างงาน ยังคงอยูใ่ นระดับสูงกว่าก่อนเกิดวิกฤติ และการก�ำหนดเป้าหมายของขนาดการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนในอัตราทีล่ ดลง เมื่อเทียบกับในอดีตนั้นยังคงเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง ภาคการเงิน และอุปสงค์โดยรวม ของโลก ส่งผลท�ำให้ประเทศที่พึ่งพาการส่งออกในระดับสูงนั้นขยายตัวในอัตราชะลอลงตาม ทั้งนี้ สศค.คาดว่า เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยในปี 2557 จะขยายตัวได้ดีกว่าปี 2556 โดยขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 จากเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อาทิ เศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ผนวกกับ ปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเป็นส�ำคัญ ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซนเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวและคาดว่า จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งในปี 2557 นี้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นด้านการเงินและการคลังของสหรัฐฯ การด�ำเนินมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายของญีป่ นุ่ ประกอบกับปัญหาความเสีย่ งฟองสบูใ่ นภาคอสังหาริมทรัพย์ จีน ยังคงเป็นความเสี่ยงส�ำคัญที่อาจส่งผลกระทบเชื่อมโยงต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม” ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศ (ร้อยละ) 2554 ประเทศคู่ค้าหลัก เรียงตามสัดส่วนมูลค่าส่งออกปี 2555 2553 2554 2555 14 ประเทศคู่ค้า (75.1%) 1. จีน (11.7%) 2. ญี่ปุ่น (10.2%) 3. สหรัฐอเมริกา (9.9%) 4. สหภาพยุโรป (6.5%) 5. ฮ่องกง (5.7%) 6. มาเลเซีย (5.4%) 7. ออสเตรเลีย (4.9%) 8. อินโดนีเซีย (4.9%) 9. สิงคโปร์ (4.7%) 10. เวียดนาม (2.9%) 11. อินเดีย (2.4%) 12. ฟิลิปปินส์ (2.1%) 13. เกาหลีใต้ (2.1%) 14. ไต้หวัน (1.5%)

6.3 10.4 4.7 2.5 1.9 6.8 7.4 2.6 6.2 14.8 6.8 9.7 7.6 6.3 10.8

4.0 9.3 -0.5 1.8 1.6 4.9 5.1 2.4 6.5 5.2 6.0 7.5 3.6 3.7 4.1

2555 Q1

Q2

Q3

2556 Q4

Q1

3.4 3.7 3.6 3.0 3.1 2.7 7.8 8.1 7.6 7.4 7.9 7.7 1.4 3.1 3.2 -0.2 -0.3 0.1 2.8 3.3 2.8 3.1 2.0 1.3 -0.6 -0.2 -0.5 -0.7 -1.0 -1.2 1.5 0.7 0.9 1.5 2.8 2.9 5.6 5.1 5.6 5.3 6.5 4.1 3.7 4.4 4.1 3.2 3.1 2.4 6.2 6.3 6.4 6.2 6.1 6.1 1.3 1.5 2.3 0.0 1.5 0.3 5.0 4.1 4.7 5.4 5.0 4.9 5.1 5.1 5.4 5.2 4.7 4.8 6.8 6.5 6.3 7.3 7.1 7.7 2.0 2.8 2.4 1.6 1.5 1.5 1.3 0.6 -0.1 0.7 4.0 1.7

Q2

ทั้งปี ทั้งปี 2556 f 2557 f Q3

3.4 3.7 3.3 7.5 7.8 7.7 1.2 2.4 1.6 1.6 2.0 1.8 -0.6 -0.4 -0.5 3.3 2.9 3.0 4.4 5.0 4.7 2.6 2.3 2.3 5.8 5.6 5.6 4.4 5.8 3.7 4.9 5.1 5.0 4.4 4.8 4.6 7.6 7.0 6.5 2.3 3.3 2.4 2.5 1.6 1.8

3.7 7.5 1.3 2.4 0.8 4.1 5.0 3.0 5.3 3.8 5.3 4.8 6.0 3.2 3.2

ที่มา : รวบรวมและประมาณการโดย สศค.

1.1 เศรษฐกิจจีน (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 1 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 11.7 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจของจีนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ 7.7 และร้อยละ 7.5 ในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ตามล�ำดับ ท�ำให้การขยายตัวในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งยังคงอยู่เหนือเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึง่ ก�ำหนดโดยทางการจีนทีร่ อ้ ยละ 7.5 ต่อปี โดยการขยายตัวเร่งขึน้ นีเ้ ป็นผลจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคการค้าระหว่าง

12


ประเทศ รวมทั้งภาคการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวเร่งขึ้น ในขณะที่ภาคการลงทุนยังคงขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง ได้อย่างต่อเนือ่ ง สะท้อนจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทีข่ ยายตัวเร่งขึน้ ถึงร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เทียบกับร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า การส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัวเร่งขึน้ เล็กน้อยทีร่ อ้ ยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เทียบกับ ร้ อ ยละ 3.7 ในไตรมาสก่ อ นหน้ า จากอุ ป สงค์ ข องประเทศคู ่ ค ้ า ส� ำ คั ญ ฟื ้ น ตั ว ขึ้ น ท� ำ ให้ ก ารส่ ง ออกไปสหรั ฐ ฯ ขยายตั ว เร่งขึ้นและการส่งออกไปยุโรปหดตัวชะลอลง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับยอดค้าปลีกที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดยในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเร่งขึน้ ทีร่ อ้ ยละ 13.4 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เทียบกับร้อยละ 13.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ การลงทุนในสินทรัพย์คงทนขยายตัวร้อยละ 20.2 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี เทียบกับร้อยละ 20.5 ในปีกอ่ น ส�ำหรับด้านเสถียรภาพ ภายในประเทศพบว่า ในไตรมาสนีอ้ ตั ราเงินเฟ้อทัว่ ไปอยูท่ รี่ ะดับเฉลีย่ ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เร่งขึน้ เล็กน้อยจาก ร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน (ร้อยละ)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2556 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2556) เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้ม

ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งในการผลิตภาคอุตสาหกรรม การบริโภคภายในประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการค้า ระหว่างประเทศ สะท้อนจากการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2556 ขยายตัวร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.9 ในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าส�ำคัญเพิ่มขึ้น ด้านการผลิต ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 10.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น ต่อเนื่องจากร้อยละ 10.1 ในไตรมาสที่ 3 สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมที่จัดท�ำโดย HSBC ในเดือน ตุลาคม–พฤศจิกายน 2556 ซึ่งอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 50.9 จุด สูงกว่าค่าเฉลี่ยของไตรมาสที่ 3 ที่ระดับ 49.3 จุด บ่งชี้การกลับมา ฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม ส่วนด้านการบริโภคภายในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดค้าปลีกที่ขยายตัวเร่งขึ้น ในเดือนพฤศจิกายนที่ร้อยละ 13.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับค่าเฉลี่ยการขยายตัวร้อยละ 13.1 ในช่วง 9 เดือนแรก ของปี อย่างไรก็ตาม การลงทุนในสินทรัพย์คงทนในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ขยายตัวต�่ำสุดในรอบ 11 ปีที่ร้อยละ 19.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับนโยบายของทางการจีน ซึ่งต้องการลดการพึ่งพาการขยายตัวทางเศรษฐกิจจาก การลงทุนลง ส�ำหรับเสถียรภาพภายในประเทศพบว่า ในเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2556 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับเฉลี่ย ร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าจากราคาอาหารที่ยังคงเพิ่มขึ้น ➥➥ ในปี 2556 คาดว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวที่ร้อยละ 7.7 ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 เนื่องจากทางการจีนโดยคณะผู้น�ำรุ่นใหม่ รุ่นที่ 5 ภายใต้การน�ำของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง และนายกรัฐมนตรีลีเคอเฉียง ได้ให้ความส�ำคัญกับการด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจตามระบบตลาดเสรี ควบคู่ไปกับการมุ่งเน้นการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนมากขึน้ กว่าการให้ความส�ำคัญกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลักดังเช่นในอดีต จึงท�ำให้มกี ารตัง้ เป้าหมาย การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2556 ไว้ที่ร้อยละ 7.5 ซึ่งต�่ำกว่าระดับเฉลี่ยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อเปิดช่องให้มีการทดลอง ริเริม่ น�ำนโยบายการปฏิรปู เศรษฐกิจในหลากหลายมิตมิ าใช้ อาทิ การหลีกเลีย่ งการกระตุน้ เศรษฐกิจอย่างรุนแรง (No Stimulus) การลดการพึ่งพาการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการปล่อยสินเชื่อ (Deleveraging) และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและระบบ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

13


การเงิน (Structural Reform) เพื่อการขยายตัวและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจจีน ซึ่งได้ก่อให้เกิดผลข้างเคียงคือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่สูงมากนัก ➥➥ ในปี 2557 คาดว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวทีร่ อ ้ ยละ 7.5 หรือในช่วงคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 7.3–7.7 ขยายตัว ในอัตราชะลอลงกว่าปี 2556 ทีค่ าดการณ์วา่ จะขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 7.7 เนือ่ งจากคาดการณ์ว่าการด�ำเนินการตามแผนปฏิรูป และพัฒนาเศรษฐกิจจีนอันเป็นผลจากการประชุมใหญ่ครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 18 ผ่านกลไกการบริหารราชการแผ่นดินที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นใหม่ (National Security Committee and Central Leading Group on Reform) เพื่อยกระดับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนให้มีความมั่นคงและยั่งยืน โดยปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ลด การแทรกแซงโดยภาครัฐและเพิ่มบทบาทของกลไกตลาดในการจัดสรรทรัพยากร น่าจะสามารถได้รับการขับเคลื่อนให้เป็น รูปธรรมได้ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2557 จึงท�ำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจชะลอลงบ้างในระยะสั้น อันเป็นผลจาก การปรับโครงสร้างในหลายภาคส่วนเศรษฐกิจ 1.2 เศรษฐกิจญี่ปุ่น (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.2 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน หรือเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อน ส่งผลให้ 3 ไตรมาสแรกปี 2556 เศรษฐกิจ ญี่ปุ่นขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูง กอปรกับภาคการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนเริ่มกลับมาขยายตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 เป็นส�ำคัญ ภาพที่ 2 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 ทรงตัวจากไตรมาสก่อนที่ระดับเฉลี่ย ร้อยละ 4.0 ของก�ำลังแรงงานรวม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน บ่งชีว้ า่ ภาวะเงินฝืดของญีป่ นุ่ เริม่ ส่งสัญญาณคลีค่ ลายไปในทิศทางทีด่ ขี นึ้ ต่อเนือ่ ง ส่วนหนึง่ เป็นผลจากการด�ำเนินมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ส่งผลในการคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเป็นส�ำคัญ ➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2556 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2556) เศรษฐกิจญีป ่ นุ่ มีทศิ ทาง การฟื้นตัวต่อเนื่องจากภาคการค้าระหว่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดที่มีแนวโน้ม คลี่คลายลง บ่งชี้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2556 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 54.7 จุด ซึ่งอยู่เกินกว่าระดับ 50 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 บ่งชี้การขยายตัวของภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีค�ำสั่งซื้อสินค้า ส่งออกใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าส�ำคัญ สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกเดือนตุลาคม– พฤศจิกายน 2556 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 18.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีผลส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานต�่ำในช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ นหน้า นอกจากนี้ อุปสงค์ในประเทศส่งสัญญาณการฟืน้ ตัวต่อเนือ่ ง บ่งชีจ้ ากยอดค้าปลีกในเดือนตุลาคม 2556 ขยายตัว ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ส�ำหรับอัตราเงินเฟ้อได้ปรับเพิ่มขึ้น

14


ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า โดยในเดือนตุลาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อได้กลับมา อยู่ในแดนบวกเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่ต�่ำที่ช่วงร้อยละ 0.0-0.1 ต่อปี เพื่อสนับสนุนการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศให้ฟื้นตัวต่อเนื่อง ➥➥ ในปี 2556 คาดว่า เศรษฐกิจญีป ่ นุ่ จะขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 1.6 ขยายตัวเร่งขึน้ จากปี 2555 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 1.4 โดยส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากแผนการกระตุน้ เศรษฐกิจของรัฐบาลญีป่ นุ่ ทีส่ ง่ ผลต่อการใช้จา่ ยภาครัฐทีข่ ยายตัวเร่งขึน้ ประกอบกับภาคการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม มาตรการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียด โดยเฉพาะประเด็นการปรับลดภาษีเงินได้ นิตบิ คุ คลเพือ่ เป็นปัจจัยส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนนัน้ ได้ถกู เลือ่ นการพิจารณาออกไป จึงยังคงเป็นประเด็นทีค่ วรให้ความส�ำคัญ และติดตามอย่างใกล้ชิดถึงแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะต่อไป ➥➥ ในปี 2557 คาดว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ ในช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ 0.8–1.8 ชะลอลงจากปี 2556 ทีค่ าดการณ์วา่ จะขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 1.6 โดยคาดว่าเศรษฐกิจญีป่ นุ่ ในปี 2557 จะเริ่มกลับมาขยายตัวในระดับปกติ อีกทั้งประเด็นการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 เป็นร้อยละ 8.0 จากเดิมร้อยละ 5.0 และจะปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 10.0 ในเดือนตุลาคม 2558 นั้น เป็นอีกหนึ่งประเด็นความเสี่ยงส�ำคัญ ต่อการเติบโตของอุปสงค์ในประเทศญี่ปุ่นในระยะต่อไปได้ 1.3 เศรษฐกิจสหรัฐฯ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 3 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.9 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอุปสงค์ในประเทศเป็นส�ำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีกอ่ น เท่ากับไตรมาสก่อนหน้า ในขณะทีก่ ารลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.9 เร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 4.4 ท�ำให้ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2556 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ด้านเสถียรภาพ เศรษฐกิจพบว่า ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2556 อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.2 ของก�ำลังแรงงานรวม แต่ยงั คงสูงกว่าระดับก่อนวิกฤติเศรษฐกิจทีป่ ระมาณร้อยละ 5.0 ขณะทีเ่ งินเฟ้อทัว่ ไปเฉลีย่ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 1.6 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ที่อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ภาพที่ 3 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)

ที่มา : CEIC ค�ำนวณโดย สศค.

➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2556 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2556) เศรษฐกิจสหรัฐฯ

มีสญ ั ญาณการฟืน้ ตัวต่อเนือ่ ง ทัง้ ด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2556 เพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ถึง 511,000 ต�ำแหน่ง และอัตราการว่างงานลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 7.0 ของก�ำลังแรงงานรวม เป็นสัญญาณว่าภาคการจ้างงานเริ่มฟื้นตัวแล้ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริโภคภาคเอกชนต่อไป สอดคล้องกับยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประมาณการเศรษฐกิจไทย

15


ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ขณะที่ในด้านอุปทานพบว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการในเดือนพฤศจิกายน 2556 อยู่ที่ระดับ 57.3 และ 53.9 จุด ตามล�ำดับ บ่งชี้ว่าภาคการผลิตสหรัฐฯ กลับมา ฟื้นตัวอย่างเต็มที่เพื่อตอบรับอุปสงค์ในประเทศที่มีการฟื้นตัวเช่นเดียวกัน ➥➥ ในปี 2556 คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัว ร้อยละ 2.8 โดยที่ผ่านมาในปี 2555–2556 เศรษฐกิจภายในของสหรัฐฯ มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติมเป็นระลอกที่ 3 (Quantitative Easing 3 : QE3) และระลอกที่ 4 (Quantitative Easing 4 : QE4) ในช่วงปลายปี 2555 ที่ท�ำให้มีสภาพคล่อง เพิ่มเติมเข้าสู่ระบบเดือนละ 85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้าประกอบกับปัญหาการตัดลด งบประมาณรายจ่ายของภาครัฐเป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวชะลอลง ➥➥ ในปี 2557 คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.9-2.9 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 โดยคาดว่าในปี 2557 เศรษฐกิจภายในของสหรัฐฯ จะได้รับ ปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการบริโภคภาคเอกชนอันเป็นหัวใจหลัก ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกทั้งมาตรการทางการเงินที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต�่ำที่ร้อยละ 0-0.25 ต่อปี ต่อเนื่อง จนถึงกลางปี 2558 เป็นอย่างน้อย ปัจจัยเหล่านี้จะเอื้อให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม การประกาศลดขนาด มาตรการ QE3 และ QE4 โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 อาจเป็นปัจจัยที่ท�ำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ สหรัฐฯ ชะลอตัวลงเล็กน้อย 1.4 เศรษฐกิจสหภาพยุโรป 17 ประเทศ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 4 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 6.5 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังจากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว ขยายตัวต่อเนือ่ งเป็นไตรมาสที่ 2 ทีร่ อ้ ยละ 0.1 จาก ภาพรวมเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวจากปัญหาหนี้สาธารณะ โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -0.4 และร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ ในขณะที่การบริโภคภาครัฐและการส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.6 และร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ อย่างไรก็ตาม ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราการว่างงาน โดยเฉลี่ยในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 12.1 ของก�ำลังแรงงานรวม ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.4 จาก ราคาสินค้าในหมวดพลังงาน และราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ลดลงเป็นส�ำคัญ ภาพที่ 4 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา : European Central Bank

16


➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2556 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2556) เศรษฐกิจยูโรโซน

เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้น สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในช่วง เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2556 ที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับ 50.0 จุดต่อเนื่อง ที่ระดับเฉลี่ย 51.5 จุด และ 51.4 จุด ตามล�ำดับ บ่งชี้ ภาคการผลิตที่ขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ยอดการส่งออกเดือนตุลาคม 2556 ขยายตัวต่อเนื่องเป็น เดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ อุปสงค์ในประเทศส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดค้าปลีกในเดือนตุลาคม 2556 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานที่ยังคงทรงตัว ในระดับสูงต่อเนื่องเป็นปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายใน โดยในเดือนตุลาคม 2556 อยู่ที่ ร้อยละ 12.1 ของก�ำลังแรงงานรวม โดยเฉพาะอัตราการว่างงานวัยเยาวชนที่สูงถึงร้อยละ 24.4 ➥➥ ในปี 2556 คาดว่า เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนจะหดตัวที่ร้อยละ -0.5 หดตัวใกล้เคียงกับปีก่อน หน้าที่หดตัวร้อยละ -0.6 โดยคาดว่าในปี 2556 เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะเศรษฐกิจ ในกลุ่มประเทศหลัก อาทิ ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีทิศทางขยายตัวที่ชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดแรงงานที่ยังซบเซาและ คาดว่าคงต้องใช้ระยะเวลาในการฟืน้ ตัว สะท้อนจากอัตราการว่างงานทีย่ งั คงทรงตัวอยูใ่ นระดับสูงต่อเนือ่ ง จะเป็นปัจจัยท้าทาย ส�ำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนในระยะต่อไป ➥➥ ในปี 2557 คาดว่า เศรษฐกิจยูโรโซนจะกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่คาดว่า จะหดตั ว ร้ อ ยละ -0.5 ส่ ว นหนึ่ ง เป็ น ผลจากปั จ จั ย ฐานต�่ ำ กอปรกั บ วิ ก ฤติ ห นี้ ส าธารณะที่ ค าดว่ า จะคลี่ ค ลายต่ อ เนื่ อ ง นอกจากนี้ ประเด็นด้านการเมืองที่มีความชัดเจนมากขึ้นภายหลังการเลือกตั้งของประเทศส�ำคัญในกลุ่มยูโรโซน โดยเฉพาะ ประเทศเยอรมนีเสร็จสิ้น ปัจจัยดังกล่าวเป็นตัวแปรส�ำคัญซึ่งจะสร้างความชัดเจนและความต่อเนื่องในการด�ำเนินนโยบาย โดยเฉพาะมาตรการเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ รวมถึงประเด็นในภาคการเงินการธนาคารของ กลุ่มประเทศยูโรโซน 1.5 เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.2 ของมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และฟิลป ิ ปินส์) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนทีเ่ น้นการส่งออกขยายตัวในอัตราเร่งขึน้ จากไตรมาสก่อน ในขณะที่ เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนทีเ่ น้นการบริโภคภายในประเทศขยายตัวในอัตราชะลอลง เมือ่ พิจารณาถึงอุปสงค์ ภายในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนของทุกประเทศสมาชิกอาเซียนยังคงแข็งแกร่ง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐของประเทศ ในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่กลับเริ่มขยายตัวชะลอลง (ยกเว้นอินโดนีเซีย) จากการลดการใช้จ่ายภาครัฐหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ในส่วนการค้าระหว่างประเทศ ภาคการส่งออกของทุกประเทศในภูมภิ าคกลับมาขยายตัวเร่งขึน้ จากการส่งออกไปยังคูค่ า้ ส� ำคัญ ที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกไปยังจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าส�ำคัญของประเทศในกลุ่มอาเซียน ด้านเสถียรภาพภายในประเทศของภูมิภาคอาเซียนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 พบว่า อัตราเงินเฟ้อโดยรวม ปรับตัวเพิม่ ขึน้ จากไตรมาสก่อน จากค่าใช้จา่ ยในการขนส่งประกอบกับราคาอาหารทีป่ รับตัวเพิม่ ขึน้ ตามราคาน�ำ้ มันในตลาดโลก ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน ทั้งนี้ ยังคงมีความเสี่ยงจากราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน ไตรมาสที่ 4 ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นอีกในระยะต่อไป

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

17


ตารางที่ 2 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ (สัดส่วนการส่งออก ปี 2555) (5.4%) (4.9%) (4.7%) (2.9%) (2.1%) อัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 2556 5.0 5.6 5.8 5.1 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy) การบริโภคภาคเอกชน 4.3 3.0 1.1 n.a. 4.3 การบริโภคภาครัฐ 0.9 0.6 0.6 n.a. 0.5 การลงทุนรวม 2.3 1.1 1.2 n.a. 2.6 การส่งออกสุทธิ 0.1 1.1 1.6 n.a. -1.7 การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง -2.6 -0.2 1.3 n.a. 1.3 ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 5 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 6 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2556 (เดือน

ตุลาคม–พฤศจิกายน 2556) มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ทั้งจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องและอุปสงค์ ภายนอกประเทศที่กลับมาขยายตัวเร่งขึ้น โดยด้านการใช้จ่ายภายในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ต่อ เนื่อง สะท้อนจากยอดค้าปลีกที่ขยายตัวต่อเนื่อง ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การส่งออกของทุกประเทศขยายตัวเร่งขึ้น จากการส่งออกไปยังจีนที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน และจากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่เริ่มปรับตัว ดีขึ้น ตามเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงต้นของไตรมาสที่ 4 ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุม ่ อาเซียนโดยรวมจะขยายตัวเร่งขึน้ เล็กน้อยจากปี 2555 โดย สศค.คาดว่า เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.1 ในปี 2556 เร่งขึ้นเล็กน้อย จากปีก่อนที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.0 จากเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเศรษฐกิจโลก ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2556 และส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจนในตอนต้นของไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ➥➥ ในปี 2557 คาดว่า เศรษฐกิจของประเทศในกลุม ่ อาเซียนโดยรวมจะขยายตัวเฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ 5.1 เท่ากับ ในปี 2556 โดยภาคส่งออกของแต่ละประเทศจะเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก จากการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ของเศรษฐกิจ โลกในปี 2557 อย่างไรก็ตาม การปรับลดขนาดมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายของสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 เป็นต้นไป อาจท�ำให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนเผชิญความเสี่ยงจากภาวะเงินทุนไหลออกได้ จึงควรเฝ้าติดตามสถานการณ์ ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป

18


1.6 เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลีย (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.6 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2555) ➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย (ฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน) และออสเตรเลีย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 สามารถจ�ำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม ส�ำหรับประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวัน อัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 3 มีทิศทางชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าจากอุปสงค์ต่อสินค้า ส่งออกลดลง บ่งชี้จากมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวชะลอลงของทั้ง 3 ประเทศ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังคงสามารถ ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าได้จากอุปสงค์ภายในประเทศเป็นส�ำคัญ ส�ำหรับประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการบริโภค ภาคเอกชนเป็นหลัก ได้แก่ ออสเตรเลีย มีอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ที่ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ อินเดียมีอัตราการขยายตัวเร่งขึ้นจากการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัวขึ้น ด้านเสถียรภาพภายในประเทศพบว่า โดยรวม อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัว ยกเว้นในกรณีของฮ่องกงและอินเดียทีอ่ ตั ราเงินเฟ้อขยายตัวเร่งขึน้ จากราคาทีพ่ กั อาศัยทีเ่ พิม่ ขึน้ จากอุปสงค์ของผู้ซื้อชาวจีนในกรณีของฮ่องกง และจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนของอุปทานที่เพิ่มขึ้นในกรณีของอินเดีย ตารางที่ 3 การเติบโตทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (%) ประเทศ (สัดส่วนการส่งออก ปี 2555) อัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 2556 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy) การบริโภคภาคเอกชน การบริโภคภาครัฐ การลงทุนรวม การส่งออกสุทธิ การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง

ฮ่องกง ออสเตรเลีย อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน (5.7%) (4.9%) (2.4%) (2.1%) (1.5%) 2.9

2.4

4.8

3.3

1.7

1.7 0.2 0.6 -0.9 1.2

1.0 0.3 -0.2 2.0 -0.9

1.3 -0.1 0.9 4.1 0.1

1.1 0.5 1.4 0.3 -0.1

0.8 -0.1 0.3 0.9 -0.2

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 7 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ภาพที่ 8 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2556

(เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2556) สามารถจ�ำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม ส�ำหรับประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก มี อั ต ราการขยายตั ว ของการส่ ง ออกโดยเฉลี่ ย เพิ่ ม ขึ้ น จากไตรมาสก่ อ นหน้ า จากเศรษฐกิ จ คู ่ ค ้ า ส� ำ คั ญ ทั้ ง สหรั ฐ ฯ และ สหภาพยุโรปที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้น ท�ำให้มีอุปสงค์ต่อการส่งออกเพิ่มขึ้น ส�ำหรับประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการบริโภค ภาคเอกชนเป็นหลักทั้งออสเตรเลียและอินเดียยังคงเป็นไปในทิศทางต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ประมาณการเศรษฐกิจไทย

19


➥➥ ในปี 2556 คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในภาพรวม

กลุม่ ประเทศทีเ่ ศรษฐกิจพึง่ พาการส่งออกเป็นหลักจะขยายตัวเร่งขึน้ จากปี 2555 ในขณะทีก่ ลุม่ ประเทศทีเ่ ศรษฐกิจพึง่ พา การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวชะลอลงจากปี 2555 โดยประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักได้รับอานิสงส์จากปัจจัย ฐานต�ำ่ และอุปสงค์ตอ่ การส่งออกจากประเทศในกลุม่ ดังกล่าวทีม่ แี นวโน้มเพิม่ ขึน้ ซึง่ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักทีจ่ ะช่วยส่งเสริม ให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีทิศทางสดใสขึ้นได้ในปีนี้ ในขณะที่ประเทศที่พึ่งพาการบริโภคภาคเอกชนเป็นหลัก ได้แก่ อินเดียและออสเตรเลีย ประสบปัญหาอุปสงค์ในประเทศยังคงซบเซาต่อเนื่องจากก�ำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังคงอ่อนแอ ➥➥ ในปี 2557 คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในภาพรวม จะขยายตัวดีขึ้นจากปี 2556 เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศซึ่งเป็นคู่ค้า ส�ำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป รวมทั้งความเสี่ยงที่ลดลงจากเศรษฐกิจจีนซึ่งไม่น่าจะประสบปัญหาชะลอตัว ลงอย่างรวดเร็วดังทีเ่ คยมีความกังวลกัน จึงน่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนส�ำคัญในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของกลุม่ ประเทศดังกล่าว ในปี 2557

2. ราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลก ในปี 2556 คาดว่าราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะอยู่ที่ 105.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 100.0–110.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) ลดลงจากปี 2555 เนือ่ งจากการฟืน้ ตัวอย่างล่าช้าของเศรษฐกิจโลก ทีส่ ง่ ผลให้ อุปสงค์ของน�้ำมันดิบขยายตัวชะลอลง โดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศยูโรโซนเป็นส�ำคัญ ประกอบกับความกังวลของ นักลงทุนต่อการประกาศลดมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกา ท�ำให้นักลงทุนบางส่วนมีการลดการถือครองสินทรัพย์ ต่าง ๆ รวมถึงสินทรัพย์ในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น�้ำมัน อีกด้วย ขณะที่อุปทานน�้ำมันดิบโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น จากการผลิตน�ำ้ มันจากทัง้ กลุม่ OPEC และกลุม่ Non-OPEC น�ำโดยประเทศสหรัฐอเมริกาทีม่ เี ทคโนโลยีการผลิตน�ำ้ มัน แบบใหม่ (Shale Gas) อย่างไรก็ดี ความไม่สงบทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลาง อาทิ ซีเรียและอียิปต์ ได้สร้าง แรงกดดันระยะสั้นที่ท�ำให้ราคาน�้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นระยะสั้น อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวได้คลี่คลายลงแล้วท�ำให้ การเพิ่มขึ้นของราคาอยู่ในกรอบที่จ�ำกัดเท่านั้น ภาพที่ 9 สมมติฐานราคาน�้ำมันดิบดูไบในปี 2556 และปี 2557

ที่มา : Reuters และการคาดการณ์โดย สศค.

➥➥ ราคาน�ำ้ มันดิบดูไบเฉลีย่ ปี 2556 อยูท ่ รี่ ะดับ 105.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากปี 2555 ทีอ่ ยู่ ณ ระดับ

109.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็นการหดตัวร้อยละ 3.8 จากปี 2555 ราคาน�ำ้ มันดิบดูไบในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 แม้จะมีการปรับเพิม่ ขึน้ ในบางช่วงจากเหตุการณ์ความไม่สงบและการบริโภคเพิม่ ขึน้ ตามฤดูกาลในไตรมาสที่ 3 ของปี แต่แนวโน้ม ส่วนใหญ่อยู่ในขาลงอย่างเห็นได้ชัด จากการฟื้นตัวที่ล่าช้าของเศรษฐกิจโลกเป็นส�ำคัญ โดยเฉพาะเศรษฐกิจยูโรโซนและ

20


สหรัฐอเมริกา รวมถึงการชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ท�ำให้อุปสงค์การใช้น�้ำมันทั้งจากภาคการผลิตและการบริโภค ลดลง นอกจากนี้ ราคาน�้ำมันยังได้รับผลกระทบจากการคาดการณ์และการประกาศลดเม็ดเงินในมาตรการ QE ข้อมูลล่าสุด ในเดือนธันวาคม 2556 ส่วนด้านอุปทานน�้ำมัน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการผลิตน�้ำมันจากทั้งกลุ่ม OPEC และกลุ่ม Non-OPEC น�ำโดยประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีเทคโนโลยีการผลิตน�้ำมันแบบใหม่ (Shale Gas) ถึงแม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกจะได้รับแรงกดดัน จากความตึงเครียดในประเทศอิหร่านจากการขอเข้าตรวจอาวุธนิวเคลียร์โดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ประกอบกับเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน�้ำมันดิบ ได้แก่ ซีเรีย อิสราเอล ซีดาน และอียิปต์ ซึ่งส่งผลกระทบเล็กน้อย ต่ออุปทานน�้ำมันดิบในระยะสั้น ➥➥ ปัจจัยหลักทีส ่ ง่ ผลต่อราคาน�ำ้ มันดิบดูไบในปี 2556 คือ 1) การชะลอตัวลงของอุปสงค์ตอ่ น�ำ้ มันดิบโลก ตามการฟื้นตัวอย่างล่าช้าของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป ประกอบกับ การลดลงของการเก็งก�ำไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Market) เนื่องจากการคาดการณ์การปรับลดปริมาณ เม็ดเงินจากมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกาที่จะอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ขณะที่ 2) อุปทานน�้ำมันดิบโลกคาดว่า จะเพิ่มขึ้นจากการผลิตน�้ำมันจากทั้งกลุ่ม OPEC และกลุ่ม Non-OPEC น�ำโดยประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีเทคโนโลยี การผลิตน�้ำมันแบบใหม่ (Shale Gas) 1) อุปสงค์ต่อน�้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น International Energy Agency (IEA) คาดการณ์ ณ เดือนกันยายน 2556 ว่า ในปี 2556 ความต้องการน�้ำมันดิบทั่วโลกจะอยู่ที่ 91.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ระดับ 90.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็น การปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากความต้องการของ ประเทศนอกกลุ่ม OECD เป็นส�ำคัญ ประเทศในกลุ่ม OECD คาดว่าในปี 2556 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 45.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับ ปี 2555 ที่อยู่ที่ระดับ 46.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการปรับตัวลดลง 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือหดตัวร้อยละ 0.1 ต่อปี ในขณะที่ประเทศนอกกลุ่ม OECD คาดว่าในปี 2556 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 45.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ 44.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี

• •

2) อุปทานน�้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น ณ เดือนธันวาคม 2556 คาดว่าในปี 2556 ปริมาณน�้ำมันดิบที่ผลิตทั่วโลกจะอยู่ที่ 92.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ 90.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 1.5 จากปีก่อนหน้า ในกลุ่ม OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตน�้ำมันดิบในปี 2556 จะอยู่ที่ 36.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ระดับ 37.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 4.0 โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้น มาจากประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นหลัก ส่วนในกลุ่ม Non-OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตในปี 2556 อยู่ที่ระดับ 56.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2555 ที่อยู่ที่ 53.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.3 ต่อปี เนื่องจากการผลิตที่เพิ่มขึ้น จากกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและรัสเซียเป็นส�ำคัญ

• •

➥➥ ในขณะทีป ่ ี 2557 คาดว่า ราคาน�ำ้ มันดิบเฉลีย่ จะอยูท่ ี่ 105.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์

อยู่ที่ 100.0–110.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) คงที่จากปี 2556 ตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้ม ปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้มีความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้น ทั้งจากกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนาอย่างจีนและ อินเดียเป็นส�ำคัญ และเศรษฐกิจของประเทศพัฒนา อาทิ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่มีแนวโน้มจะขยายตัว อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นจะเป็นไปได้อย่างจ�ำกัดเนื่องจากปริมาณอุปทานน�้ำมันดิบโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในระดับสูงจากการผลิตน�้ำมันดิบ จากชั้ น หิ น ดิ น ดาน (Tight Oil) ของประเทศสหรั ฐ อเมริ ก าและประเทศแคนาดา รวมถึ ง การผลิ ต น�้ ำ มั น ดิ บ เพิ่ ม ขึ้ น ของ กลุม่ OPEC ทัง้ นี้ ราคาน�ำ้ มันดิบอาจผันผวนในระยะสัน้ ได้จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในภูมภิ าคตะวันออกกลางและ แอฟริกาเหนือ (MENA) รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

21


3. ราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) “ในปี 2556 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะหดตัวมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 0.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เนือ่ งจาก คาดว่าราคาส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าแร่และเชื้อเพลิงจะหดตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเฉพาะ ราคายางพาราและข้าวปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าอุตสาหกรรมคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวจากปีก่อนหน้า ส่วนราคาสินค้าน�ำเข้าคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากสมมติฐานราคาน�้ำมันดิบโลกที่คาดว่าจะลดลงจากปีก่อนเป็นส�ำคัญ ขณะที่ในปี 2557 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่วนราคาสินค้าน�ำเข้าคาดว่าจะทรงตัว (ขยายตัวร้อยละ 0.0) จากราคาพลังงานที่มีแนวโน้มทรงตัว” ภาพที่ 10 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2556 และปี 2557 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออก (รูปดอลลาร์สหรัฐ)

อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และ สศค.

3.1 ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าส่งออกในปี 2556 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.3 เนื่องจากราคาสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 75.31 ร้อยละ 11.31 และร้อยละ 6.79 ของดัชนีรวม ตามล�ำดับ มีการหดตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 มีการหดตัวร้อยละ 0.2 ร้อยละ 1.4 และร้อยละ 0.1 ตามล�ำดับ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากราคายางพาราและข้าวที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากอุปทานในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามการเพิ่มสต๊อกของประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่วนราคาสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งมีสัดส่วน ร้อยละ 6.59 มีการขยายตัวโดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 มีการขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 ในขณะที่ปี 2557 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.5 ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2556 โดยเฉพาะประเทศที่เป็นอุปสงค์สุดท้าย (Final Demand) อาทิ ประเทศสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป จะเป็นปัจจัยบวกให้ราคาสินค้าส่งออกปรับตัวดีขึ้นได้ 3.2 ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าน�ำเข้าในปี 2556 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 2.2 เนื่องจากคาดว่าราคาน�้ำมันดิบโลกซึ่งเป็น สินค้าน�ำเข้าส�ำคัญของไทยจะมีการหดตัวลดลงจากปีก่อน ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ได้แก่ สินค้าทุนและสินค้าอุปโภค บริโภคมีการขยายตัวเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้ดัชนีรวมมีการขยายตัวชะลอลงจากปีก่อน ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ดัชนีราคาสินค้าน�ำเข้ามีการหดตัวร้อยละ 2.4 จากการหดตัวของสินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าวัตถุดิบ เป็นส�ำคัญ

22


ในขณะทีป่ ี 2557 คาดว่าราคาสินค้าน�ำเข้าจะขยายตัวเร่งขึน้ ทีร่ อ้ ยละ 0.5 เนือ่ งจากคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับมา ฟื้นตัวดีขึ้น ท�ำให้การส่งออกกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ส่งผลต่อเนื่องไปยังการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าน�ำเข้าวัตถุดิบ จึงมีการปรับตัวสูงขึ้นในปี 2557 เป็นผลให้ราคาสินค้าน�ำเข้าโดยรวมจะขยายตัวเร่งขึ้นในปีหน้า

4. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ “ในปี 2556 ค่าเงินบาทโดยเฉลีย่ มีทศิ ทางแข็งค่าขึน้ เล็กน้อยจากค่าเฉลีย่ ในปี 2555 ที่ 31.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยูท่ ี่ 30.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะทีป่ ี 2557 ค่าเงินบาทมีทศิ ทางอ่อนค่าลงมาอยูท่ ี่ 31.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือในช่วงคาดการณ์ระหว่าง 30.2–32.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 11)” ภาพที่ 11 สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยในปี 2556 และปี 2557

ที่มา : ธปท. รวบรวมโดย สศค.

4.1 สถานการณ์ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา หากพิจารณาทิศทางความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2556 เทียบกับต้นปี 2556 แล้วจะพบว่าค่าเงินบาทอ่อนค่าลงร้อยละ 7.7 (ภาพที่ 12) เนื่องจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย อีกทั้ง มีเงินทุนไหลออกจากตลาดทุนไทย ระหว่างช่วงปลายเดือนเมษายน–มิถุนายน เดือนสิงหาคม และเดือนพฤศจิกายน 2556 ซึ่งมีสาเหตุส�ำคัญจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจลดขนาดหรือยุติมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลาย ระลอกที่ 3 และ 4 (QE3 และ QE4) ในช่วงเวลาดังกล่าว ตลอดจนประเด็นทางการเมืองในประเทศส่งผลให้นักลงทุนเริ่มกังวล ต่อสภาพคล่องดอลลาร์สหรัฐที่อาจลดลงในอนาคต และเริ่มถอนเงินกลับจากตลาดภูมิภาคไปสู่สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง (Safe Haven) ภาพที่ 12 อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐรายวัน

ที่มา : ธปท. รวบรวมโดย สศค.

ทั้งนี้ ดุลการช�ำระเงิน (Balance of Payment) ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ที่ขาดดุลสะสม 4.8 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 13) สะท้อนปัจจัยที่ท�ำให้ค่าเงินบาทโดยรวมอ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วง ไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ประมาณการเศรษฐกิจไทย

23


ภาพที่ 13 ดุลการช�ำระเงินของประเทศไทยปี 2555-2556

ที่มา : ธปท.

โดยเฉลี่ยแล้วทั้งปี 2556 ค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ ค่าเฉลี่ยในปี 2555 มาอยู่ที่ระดับ 30.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยถึงแม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะประกาศเมื่อเดือน ธันวาคม 2556 ว่าจะเริ่มลดขนาดมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายระลอกที่ 3 และ 4 (QE3 และ QE4) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 เป็นต้นไป หลังจากที่ส่งสัญญาณความเป็นไปได้ในการลดขนาดมาตรการดังกล่าวตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 ซึ่งส่งผลให้ นักลงทุนกังวลต่อสภาพคล่องดอลลาร์สหรัฐที่อาจลดลงในอนาคต และเริ่มถอนเงินกลับจากตลาดภูมิภาคไปสู่สินทรัพย์ ที่มีความปลอดภัยสูง (Safe Haven) อย่างไรก็ตาม เงินทุนที่ไหลเข้ามาในช่วงต้นปีและในช่วงเดือนกันยายน 2556 ภายหลัง จากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศคงมาตรการ QE ในวันที่ 18 กันยายน 2556 เป็นปัจจัยที่ช่วยให้ค่าเงินบาทโดยเฉลี่ย ไม่อ่อนค่าไปมากกว่านี้ 4.2 แนวโน้มของค่าเงินบาทในระยะถัดไป ในปี 2557 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลีย่ ต่อดอลลาร์สหรัฐจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาอยูท่ รี่ ะดับ 31.2 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีชว่ งคาดการณ์อยูท่ รี่ ะดับ 30.2-32.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) จากปัจจัยหลัก คือ เงินทุนเคลือ่ นย้าย ที่คาดว่าจะไหลออกตามการลดขนาดมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ต่าง ๆ โดยเฉพาะ สหรัฐฯ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะในภาคการจ้างงาน ประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อของประเทศเหล่านั้น ที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยด้านอุปสงค์ที่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้น อย่างไรก็ดี คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเกินดุล ตามการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้นจากเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ ดุลเงินทุนของไทยในระยะต่อไปคาดว่าจะยังคงมีความผันผวนสูง อันเป็นผลจากความไม่แน่นอน ของการยุติมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องจากธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ท�ำให้นักลงทุนอาจถอนเงินทุนกลับสู่แหล่งการลงทุน ทีป่ ลอดภัย (Safe Haven) หากธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มจะยุตมิ าตรการดังกล่าว ปัจจัยเหล่านีจ้ ะส่งผลให้คา่ เงินบาท ตลอดจนค่าเงินในภูมิภาคอื่น ๆ มีความผันผวนตามไปด้วย

5. อัตราดอกเบี้ยนโยบาย “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี โดย สศค.คาดว่า ในปี 2557 อัตราดอกเบี้ย นโยบายจะทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.75-2.75 ต่อปี)”

24


➥➥ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ด�ำเนินนโยบายการเงิน

แบบผ่อนคลายต่อเนือ่ งในปี 2556 ซึง่ เป็นผลจากการทีเ่ ศรษฐกิจไทยขยายตัวต�ำ่ กว่าทีค่ าดไว้เดิม จากอุปสงค์ภายนอกประเทศ ชะลอตัวต่อเนื่อง กอปรกับอุปสงค์ภายในประเทศเริ่มชะลอลงเล็กน้อยภายหลังผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เริม่ ทยอยหมดลง ขณะทีแ่ รงกดดันจากเงินเฟ้อในปัจจุบนั ยังคงอยูใ่ นระดับทีบ่ ริหารจัดการได้ ส่งผลให้ในเดือนพฤศจิกายน 2556 กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ภาพที่ 14 อัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และ ธปท. รวบรวมโดย สศค.

➥➥ ในปี 2557 สศค.คาดว่า อัตราดอกเบีย้ นโยบายจะยังคงทรงตัวอยูท ่ รี่ อ้ ยละ 2.25 (ช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ

1.75–2.75 ต่อปี) เนื่องจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญ ส่วนหนึ่งจากราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกที่คาดว่า จะลดลง ถึงแม้คาดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2557 จะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2556 ก็ตาม หากแต่ภาคเศรษฐกิจจริงยังคง มีความเสี่ยง จึงจ�ำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป ภาพที่ 15 สมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี

ที่มา : ธปท. ประมวลผลโดย สศค.

6. รายจ่ายภาคสาธารณะประจ�ำปีงบประมาณ 2556 “ปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายภาคสาธารณะประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล (2) รายจ่ายองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ (อปท.) และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ จ�ำนวน 3,033,485 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 4.8 ต่อปี ส�ำหรับปีงบประมาณ 2557 รายจ่ายภาคสาธารณะคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 3,240,096 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี” ประมาณการเศรษฐกิจไทย

25


6.1 กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ส� ำ หรั บ กรอบวงเงิ น งบประมาณรายจ่ า ยปี ง บประมาณ 2557 มี จ� ำ นวน 2,525,000 ล้ า นบาท โดยเป็ น การด�ำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล 250,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 1.9 ของ GDP1 ภายใต้ประมาณการ การจัดเก็บรายได้รฐั บาลเท่ากับ 2,275,000 ล้านบาท ทัง้ นี้ โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายรัฐบาลแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 2,017,244 ล้านบาท (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 13,424 ล้านบาท (3) รายจ่ายลงทุน 441,510 ล้านบาท และ (4) รายจ่าย ช�ำระคืนต้นเงินกู้ 52,822 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณภายใต้พระราชก�ำหนด (พ.ร.ก.) ให้อ�ำนาจ กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินกู้ 350,000 ล้านบาท ตารางที่ 4 กรอบโครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2556 และ 2557 ปีงบประมาณ

2556

2557

1. วงเงินงบประมาณ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราเพิ่ม) 1.1 รายจ่ายประจ�ำ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.2 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.3 รายจ่ายลงทุน (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.4 รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว)

2,400,000.0 19.5 0.8 1,900,476.7 79.2 3.2 - - -100 450,373.8 18.7 2.7 49,149.5 2.1 4.9

2,525,000.0 19.1 5.2 2,017,244.0 79.9 5.3 13,423.7 0.5 100.0 441,510.4 17.5 1.5 52,821.9 2.1 8.3

2. ประมาณการรายได้ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราขยายตัว)

2,100,000.0 17.2 6.1

2,275,000.0 17.3 8.3

3. การขาดดุล/เกินดุล (สัดส่วนต่อ GDP)

-300,000.0 2.5

-250,000.0 1.9

4. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ 12,295,000.0 (GDP) เบื้องต้น ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ

คาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2556 13,242,000 ล้านบาท (ที่มา : งบประมาณโดยสังเขป)

1

26

13,242,000.0


ในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมได้ทั้งสิ้น 2,423,724 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อปี โดยมีการเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณได้ทั้งสิ้น 2,171,460 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 90.5 ของกรอบวงเงินงบประมาณ ซึ่งต�่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 94.0 โดยรายจ่ายงบประมาณสามารถแบ่งออก เป็น (1) รายจ่ายประจ�ำเบิกจ่ายได้ 1,894,885 ล้านบาท (2) รายจ่ายลงทุน เบิกจ่ายได้ 276,575 ล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปี เบิกจ่ายได้ 231,021 ล้านบาท ส�ำหรับการเบิกจ่ายรายจ่ายนอกงบประมาณในส่วนของ พ.ร.ก.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 ในปีงบประมาณ 2556 มีการเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 13,739 ล้านบาท ส�ำหรับปีงบประมาณ 2557 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมได้ทั้งสิ้น 2,580,953 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2,323,455 ล้านบาท ภายใต้สมมติฐานการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 92.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2,525,000 ล้านบาท ซึ่งต�่ำกว่าเป้าหมายของคณะรัฐมนตรีที่ตั้งเป้าการเบิกจ่ายไว้ที่ร้อยละ 95.0 โดยรายจ่ายงบประมาณแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 2,036,473 ล้านบาท (2) รายจ่าย ลงทุนคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 286,982 ล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปีคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 202,858 ล้านบาท เนือ่ งจากแนวโน้มของการเบิกจ่ายโดยรวมทีค่ าดว่าจะชะลอลง จากการบริหารของรัฐบาลเฉพาะกาลภายหลังจากมีการยุบสภา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ส�ำหรับการเบิกจ่ายรายจ่ายนอกงบประมาณในส่วนของ พ.ร.ก.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 28,085 ล้านบาท และ การเบิกจ่ายตาม พ.ร.บ.ให้อำ� นาจกระทรวงการคลังกูเ้ งินเพือ่ ลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานด้านการขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... คาดว่า จะสามารถเบิกจ่ายได้ 20,555 ล้านบาท ตารางที่ 5 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลปีงบประมาณ 2557

(หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ 2556

ปีงบประมาณ 2557 คาดการณ์ ณ ธ.ค. 2556

กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย

2,400,000

2,525,000

อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ

94.0%

95.0%

2,423,724 2,402,481 1,894,885 276,575 231,021 2,171,460

2,580,953 2,526,313 2,036,473 286,982 202,858 2,323,455

21,243 7,504

54,640 6,000

13,739

28,085

-

20,555

1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน (3) รายจ่ายเหลื่อมปี รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท) (3) พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานฯ (วงเงิน 2.0 ล้านล้านบาท) ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

27


6.2 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) ในปีงบประมาณ 2556 มีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมทัง้ สิน้ 301,371 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2557 คาดว่า อปท.จะมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวม 328,931 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.1 ซึ่งสอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติก�ำหนด แผนและขั้นตอนการกระจายอ�ำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยในปีงบประมาณ 2557 ได้ให้ความส�ำคัญ กับการเพิ่มศักยภาพและมีการกระจายอ�ำนาจให้แก่ อปท.เพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังของท้องถิ่น รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายและจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในด้านคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ตารางที่ 6 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2557 (หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายท้องถิ่น

301,371

ปีงบประมาณ 2557 คาดการณ์ ณ ธ.ค. 2556 328,931

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ค�ำนวณโดย สศค.

6.3 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2556 สามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวนทั้งสิ้น 308,390 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.2 ต่อปี เนือ่ งจากมาตรการเร่งรัดติดตามการใช้จา่ ยเงินปีงบประมาณ 2556 และมาตรการ การเพิม่ ประสิทธิภาพการใช้จา่ ยงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2557 คาดว่ารายจ่าย ลงทุนของรัฐวิสาหกิจจะสามารถเบิกจ่ายได้ 330,213 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี

ตารางที่ 7 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2557 ปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ

308,390

(หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ 2557 คาดการณ์ ณ ธ.ค. 2556 330,213

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ค�ำนวณโดย สศค.

6.4 สรุปรวมรายจ่ายภาคสาธารณะ จากสมมติ ฐ านการใช้ จ ่ า ยของรั ฐ บาล องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และการลงทุ น ของรั ฐ วิ ส าหกิ จ ในปีงบประมาณ 2557 ดังกล่าว ท�ำให้คาดว่าในปีงบประมาณ 2557 รายจ่ายภาคสาธารณะสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ 3,240,096 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาลรวมจ�ำนวน 2,580,953 ล้านบาท (2) รายจ่ายองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 328,931 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจจ�ำนวน 330,213 ล้านบาท

28


ตารางที่ 8 สมมติฐานการเบิกรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2557 (หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ 2556

ปีงบประมาณ 2557 คาดการณ์ ณ ก.ย. 2556

กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย

2,400,000

2,525,000

อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ

94.0%

95.0%

1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน (3) รายจ่ายเหลื่อมปี รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) อัตราการเบิกจ่าย 1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท) (3) พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานฯ (วงเงิน 2.0 ล้านล้านบาท)

2,423,724 2,402,481 1,894,885 276,575 231,021 2,171,460 90.5% 21,243 7,504

2,580,953 2,526,313 2,036,473 286,982 202,858 2,323,455 92.0% 54,640 6,000

13,739

28,085

-

20,555

2. รายจ่ายท้องถิ่น

301,371

328,931

3. รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ

308,390

330,213

4. รายจ่ายภาคสาธารณะ (1+2+3)

3,033,485

3,240,096

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ค�ำนวณโดย สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

29


ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และปี 2557 1. ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “สศค.ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2556 จะขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.8 จากปี 2555 ที่เศรษฐกิจขยายตัว ในอัตราเร่งทีร่ อ้ ยละ 6.5 ในขณะทีใ่ นปี 2557 คาดว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 4.0 (ช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 3.5–4.5) จากปี 2556” ➥➥ สศค.คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2556 ขยายตัวได้ทรี่ อ ้ ยละ 2.8 ปรับตัวชะลอลงจากปีกอ่ น จากการขยายตัว

ที่ต�่ำกว่าที่คาดของเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2556 เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงหลังจาก ทีเ่ ร่งขึน้ ไปมากในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน แม้วา่ การลงทุนในหมวดก่อสร้างคาดว่าจะยังคง ขยายตัวได้ดี ส�ำหรับอุปสงค์ภายนอกประเทศนัน้ การส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะเติบโตเร่งขึน้ จากปีกอ่ น โดยได้รบั อานิสงส์ จากการส่งออกด้านบริการที่จะขยายตัวตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจากเกือบทุกภูมิภาค อย่างไรก็ดี มูลค่า การส่งออกสินค้าคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.6 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างล่าช้า ขณะที่ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและ บริการคาดว่าจะขยายตัวชะลอลงมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.9 ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ขณะที่อัตราการว่างงาน คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต�่ำ ที่ร้อยละ 0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลที่ 6.2 พันล้าน เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.6 ของ GDP ➥➥ ส�ำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับปกติที่ร้อยละ 4.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่

ร้อยละ 3.5–4.5) โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจ สหรั ฐ ฯ และเศรษฐกิ จ ญี่ ปุ ่ น ส่ ง ผลให้ ก ารส่ ง ออกสิ น ค้ า และบริ ก ารขยายตั ว เร่ ง ขึ้ น จากปี ก ่ อ น ขณะที่ ก ารบริ โ ภคและ การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามสถานการณ์การจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี และจากความจ�ำเป็นในการลงทุน ปรับโครงสร้างการผลิตเพือ่ รองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ ทัว่ ไปในปี 2557 จะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.4 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 1.9–2.9) ขณะทีอ่ ตั ราการว่างงาน คาดว่าจะยังคงอยูใ่ นระดับ ต�่ำที่ร้อยละ 0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม ส�ำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 4.4 พันล้าน เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.0 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.7-1.3 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่า จะเกินดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 7.9-9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้า ส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าน�ำเข้า ภาพที่ 16 ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

30

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)


1.1 การบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง

1.1.1 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาคเอกชนทีแ ่ ท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 หดตัวทีร่ อ้ ยละ 1.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน จากไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 (ซึ่งนับเป็นการหดตัวลงครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี หลังจากที่เคยหดตัว ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติน�้ำท่วม) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าคงทน ประเภทยานยนต์ที่หดตัวมาก เนื่องจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรกได้ทยอยหมดลง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่ลดลงในไตรมาสนี้ เป็นผลให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย ส่งผลให้การใช้จ่ายของครัวเรือนโดยรวมชะลอตัว จากไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่การบริโภคในหมวดอื่น ๆ อาทิ กลุ่มสินค้ากึ่งคงทนและไม่คงทน ส่งสัญญาณชะลอตัวเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการบริโภคจ�ำแนกตามรายหมวดส�ำคัญพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 การบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้า คงทนหดตัวร้อยละ 13.6 จากไตรมาสก่อนทีข่ ยายตัวร้อยละ 2.8 และเป็นการหดตัวครัง้ แรกภายหลังจากทีม่ าตรการคืนภาษีรถยนต์ คันแรกของรัฐบาลทยอยหมดลง โดยยอดจ�ำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกส่วนบุคคล รวมทั้งรถจักรยานยนต์ หดตัวลง ต่อเนื่องในอัตราเร่ง ในขณะที่การใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าที่ไม่คงทนและบริการยังคงขยายตัวได้ โดยในหมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครือ่ งดืม่ ยาสูบ และเครือ่ งนุง่ ห่ม ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อน อันเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของหมวดเครื่องดื่มร้อยละ 0.5 ขณะที่การบริโภคเนื้อสัตว์และสินค้าเกษตรแปรรูปขยายตัว ร้อยละ 1.0 นมและผลิตภัณฑ์นมขยายตัวร้อยละ 8.3 และการอุปโภคเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและสิ่งทออื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 4.5 เป็นต้น ในขณะทีใ่ นหมวดบริการ โดยเฉพาะหมวดโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวเร่งขึน้ ต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 18.8 เทียบกับทีข่ ยายตัว ร้อยละ 17.4 ในไตรมาสก่อน ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วต่างประเทศทีเ่ พิม่ ขึน้ ต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยวจากประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออก สอดคล้องกับหมวดขนส่งและสื่อสารขยายตัวร้อยละ 11.3 โดยหมวด บริการขนส่งโดยรวมขยายตัวร้อยละ 10.9 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของการขนส่งทั้งทางบก ทางน�้ำ และทางอากาศ ภาพที่ 17 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 การบริโภคภาคเอกชนทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีกอ่ นมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ

0.4 ภายหลังจากทีเ่ ร่งขึน้ ไปมากในช่วงก่อนหน้าทีไ่ ด้รบั แรงสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ อาทิ มาตรการรถยนต์คนั แรก นอกจากนี้ ก�ำลังซื้อของครัวเรือนในภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงตามรายได้เกษตรกรที่หดตัวลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคายางพารา ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนและบริการคาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ ทั้งนี้ ปัจจัยที่คาดว่า จะสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนในปี 2556 ได้แก่ (1) ระดับราคาสินค้าทั่วไปที่ไม่สูงมากนัก สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อที่ยัง ทรงตัวอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 2.2 ในช่วง 11 เดือนแรกปี 2556 (2) ผลจากการปรับขึ้นเงินข้าราชการและค่าจ้างแรงงานขั้นต�่ำ 300 จะยังคงมีส่วนช่วยประคับประคองให้การบริโภคภาคเอกชนไม่ชะลอตัวมากนัก และ (3) อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับต�่ำ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

31


ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า การบริโภคภาคเอกชนในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลง สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (ที่สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนโดยรวม) หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.0 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น จากร้อยละ 14.1 ในปีกอ่ น สอดคล้องกับการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน ทีส่ ะท้อนจากปริมาณ การจ�ำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 17.6 และหดตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ขณะที่รายได้เกษตรขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2557 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.8 (โดยมี

ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3-3.3) จากปี 2556 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.4 โดยได้รับปัจจัยบวกจาก (1) การขยายตัว ต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ที่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 4.0 จากปี 2556 ซึ่งเป็นการขยายตัวทั้ง ทางด้านอุปสงค์และด้านอุปทาน โดยเฉพาะจากอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดี ตามภาคการส่งออกที่จะขยายตัวเร่งขึ้น (2) แนวโน้มรายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่อยู่ในระดับสูง ส่วนหนึ่งเป็นผล ของการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต�่ำเป็น 300 บาท และสถานการณ์การจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่มี แนวโน้มอยูใ่ นระดับต�ำ่ และ (3) ภาวะการเงินโดยรวมทีผ่ อ่ นคลาย สะท้อนจากอัตราดอกเบีย้ ทีค่ าดว่าจะยังคงอยูใ่ นระดับต�ำ่ และ เอื้อต่อการใช้จ่ายของภาคเอกชน ซึ่งจาก 3 ปัจจัยหลักดังกล่าวจะเป็นส่วนส�ำคัญในการสนับสนุนการบริโภคในปี 2557 ต่อไป

1.1.2 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 7.4 ต่อปี ต่อเนื่องจากไตรมาส ก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากไตรมาสก่อนหน้า ท�ำให้ ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 6.2 โดยเป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 และรายจ่าย ค่าซือ้ สินค้าและบริการสุทธิขยายตัวร้อยละ 6.2 ขณะทีร่ ายจ่ายเพือ่ การอุปโภคของรัฐบาลโดยรวมในราคาประจ�ำปีมลู ค่า 482.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.0 แบ่งออกเป็นค่าตอบแทนแรงงาน 287.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.9 ส�ำหรับรายจ่าย ค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิ 194.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.6 ภาพที่ 18 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 การบริโภคของภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจาก

ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากการประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7 เนื่องจาก การเบิกจ่ายจากงบประมาณเหลื่อมปีที่เติบโตสูงกว่าที่คาด ทั้งนี้ พระราชบัญญัติกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ� ำ ปีงบประมาณ 2556 ตามมติคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2.4 ล้านล้านบาท โดยในจ�ำนวนนี้เป็น

32


งบประมาณรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 2.0 ล้านล้านบาท โดยมีเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณที่ร้อยละ 96.8 โดยในปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายประจ�ำสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 1,894.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี และคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 95.1 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำ ➥➥ ในปี 2557 การบริโภคของภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์

ทีร่ อ้ ยละ 1.6–2.6 ต่อปี) และเป็นการปรับลดลงจากการประมาณการครัง้ ก่อนทีค่ าดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 เนือ่ งจากแนวโน้ม ของการเบิกจ่ายโดยรวมทีค่ าดว่าจะชะลอลง จากการบริหารของรัฐบาลเฉพาะกาลภายหลังจากมีการยุบสภาเมือ่ วันที่ 9 ธันวาคม 2556 ทั้งนี้ กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2557 ที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบการอนุมัติวงเงินงบประมาณ รายจ่ายมีจำ� นวน 2.525 ล้านล้านบาท โดยในจ�ำนวนนีเ้ ป็นงบประมาณรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 2,017.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 79.9 ของวงเงินงบประมาณรวม และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 6.1 ต่อปี 1.2 การลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง

1.2.1 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 หดตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 และเมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 หดตัวเช่นเดียวกันทีร่ อ้ ยละ 1.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ทัง้ นี้ เมือ่ พิจารณาในรายละเอียดพบว่า การลงทุนในหมวดเครือ่ งมือ เครือ่ งจักร (มีสดั ส่วนประมาณร้อยละ 80.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 หดตัวร้อยละ 5.7 เมือ่ เทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีกอ่ น จากไตรมาสก่อนทีข่ ยายตัวร้อยละ 0.6 เนือ่ งจากมีการเร่งลงทุนไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ทัง้ นี้ เมือ่ พิจารณา ในรายละเอียดพบว่า การลงทุนในหมวดเครื่องจักรอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 5.9 หมวดยานยนต์หดตัวร้อยละ 13.0 ขณะที่ การลงทุนในหมวดเครือ่ งใช้สำ� นักงานขยายตัวต่อเนือ่ งร้อยละ 5.3 อาทิ เครือ่ งมือสือ่ สารโทรคมนาคม และเครือ่ งมือและอุปกรณ์ ทางการแพทย์ ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างภาคเอกชน (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.8 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้บริโภค ชะลอการตัดสินใจซือ้ เนือ่ งจากรายได้คงที่ ท�ำให้ประชาชนลดการจับจ่ายใช้สอย อีกทัง้ ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการปล่อยสินเชือ่ มากขึ้น ส่งผลให้การก่อสร้างอาคารเพื่ออยู่อาศัยขยายตัวร้อยละ 6.4 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10.7 ส�ำหรับ อาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.3 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 ขณะที่อาคารโรงงานขยายตัวร้อยละ 3.5 ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 อันเป็นผลมาจากการชะลอการก่อสร้างโรงงานที่ก่อสร้าง ก่อนจะได้รับใบอนุญาต รง.4 ภาพที่ 19 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง

ที่มา : สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

33


➥➥ ในปี 2556 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.3 จากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ

14.4 ชะลอลงจากปี 2555 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งการลงทุนไปมากในปีก่อนเพื่อซ่อมแซมความเสียหายจากอุทกภัย ประกอบกับภาคธุรกิจมีก�ำลังการผลิตส่วนเกินอยู่จึงต้องชะลอการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ออกไป รวมถึง ความเชือ่ มัน่ ของผูป้ ระกอบการทีป่ รับตัวลดลง ส่งผลให้ภาคธุรกิจระมัดระวังการลงทุนมากขึน้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหมวด ก่อสร้างคาดว่าจะขยายตัวได้บ้าง ตามแนวโน้มการขยายตัวของการลงทุนในส่วนของภูมิภาค โดยเฉพาะการลงทุนในส่วนของ ภูมิภาคที่เป็นจังหวัดเศรษฐกิจส�ำคัญของภูมิภาค และจังหวัดที่เป็นหัวเมืองการท่องเที่ยว ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า ในช่วง 11 เดือนแรกปี 2556 การลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณชะลอลงจากปี 2555 สะท้อนจากเครือ่ งชีเ้ ศรษฐกิจด้านการลงทุน ในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร อาทิ การน�ำเข้าสินค้าทุนหักเครื่องบิน เรือ และรถไฟ หดตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่หดตัวร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการลงทุน ภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้างที่วัดจากเครื่องชี้เศรษฐกิจ อาทิ ปริมาณการจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (ที่สะท้อนต้นทุนในการผลิตหรือการก่อสร้าง) ขยายตัว ในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปี 2555 ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ซึ่งสะท้อนถึงราคาวัตถุดิบที่ใช้ ในการก่อสร้างอยู่ในระดับที่ลดลงและเอื้อต่อการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง ➥➥ ในปี 2557 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 7.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์

ที่ร้อยละ 6.0-8.0) จากปี 2556 ที่คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.3 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนส�ำคัญ อาทิ (1) ความจ�ำเป็น ในการลงทุนปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และ (2) มูลค่าการขอรับและออกบัตรส่งเสริม การลงทุนของส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะในโครงการลงทุน ขนาดใหญ่ เช่น กิจการขนส่งทางอากาศ กิจการศูนย์กระจายสินค้า กิจการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ

1.2.2 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 หดตัวร้อยละ 16.2 ต่อปี ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ทีข่ ยายตัวร้อยละ 15.4 และเมือ่ ขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า หดตัวร้อยละ 22.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ท�ำให้ในช่วง 3 ไตรมาสแรก ของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 3.3 ทั้งนี้ การลงทุนของภาครัฐที่แท้จริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 1) การลงทุนในหมวดก่อสร้าง ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 หดตัวร้อยละ 9.6 จากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 2.4 มีปจั จัยหลักจากการก่อสร้างของรัฐบาล กลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีห่ ดตัวร้อยละ 19.1 ส�ำหรับการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 13.3 ส่วนใหญ่เป็น โครงการต่อเนื่อง อาทิ โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่–ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน�้ำเงิน ช่วงหัวล�ำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โครงการก่อสร้างพัฒนาสายส่งพลังงานไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โครงการก่อสร้างพัฒนาสายส่งพลังงานไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง และโครงการก่อสร้างระบบจ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้าของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ 2) การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 หดตัวร้อยละ 30.5 โดยรัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหดตัวร้อยละ 22.3 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.4 และรัฐวิสาหกิจ หดตัวร้อยละ 37.5 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 52.1 โดยมีปัจจัยจากฐานสูงของช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี การน�ำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์จ�ำนวน 1 ล�ำ ของบริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน)

34


ภาพที่ 20 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 การลงทุนของภาครัฐทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 4.1 ต่อปี หดตัวลงจากปี 2555 ทีข่ ยายตัว

ร้อยละ 8.9 และเป็นการปรับลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7 เนื่องจากความล่าช้าทั้งจาก รายจ่ายลงทุนทั่วไป โครงการลงทุนรัฐวิสาหกิจ และโครงการน�้ำที่ล่าช้ากว่าที่คาดอยู่มาก ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาล ได้ตั้งวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 450.4 พันล้านบาท โดยมีเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณ ที่ร้อยละ 80.0 โดยในปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจ�ำนวน 276.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี และคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 61.4 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชก�ำหนดบริหารจัดการน�้ำฯ ตัง้ แต่เริม่ โครงการ (เดือนกุมภาพันธ์ 2555–กันยายน 2556) มีจ�ำนวน 15.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.4 ของกรอบวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ➥➥ ในปี 2557 การลงทุนภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 13.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 12.2–14.2) เพิ่มขึ้น

จากปี 2556 จากปัจจัยฐานค�ำนวณที่ต�่ำเป็นส�ำคัญ ประกอบกับรายจ่ายโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มต�่ำกว่าคาด จากการบริหารของรัฐบาลเฉพาะกาลในการอนุมัติการเบิกจ่ายงบประมาณ นอกจากนี้ การใช้จ่ายนอกงบประมาณที่มีแนวโน้ม การเบิกจ่ายทีล่ า่ ช้า โดยเฉพาะเม็ดเงินจากการเบิกจ่ายตามแผนการบริหารจัดการน�ำ้ ทีต่ อ้ งมีการด�ำเนินการจัดท�ำประชาพิจารณ์ และ EIA/EHIA ให้แล้วเสร็จตามค�ำสัง่ ศาลปกครอง รวมถึงการเบิกจ่ายภายใต้พระราชบัญญัตใิ ห้อำ� นาจกระทรวงการคลังกูเ้ งินเพือ่ ลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานด้านการขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... วงเงิน 2.0 ล้านล้านบาท ทีต่ อ้ งรอค�ำวินจิ ฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลได้ตั้งวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 441.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.5 ของกรอบวงเงินงบประมาณ และตั้งเป้าอัตราเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนไว้ที่ร้อยละ 82.0 1.3 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการทีแ ่ ท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 3.8 เมือ่ เทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 หากพิจารณาเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่า ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 โดยในด้านของมิติสินค้าพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 การส่งออกสินค้าหดตัวทีร่ อ้ ยละ 1.4 หดตัวต่อเนือ่ งจากไตรมาสก่อนหน้าทีห่ ดตัวร้อยละ 1.5 จากการหดตัวและขยายตัวชะลอลง เกือบทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมทีห่ ดตัวร้อยละ 0.8 ตามการหดตัวของสินค้าเครือ่ งใช้ไฟฟ้าทีห่ ดตัวร้อยละ 2.9 และการขยายตัวชะลอลงของยานยนต์ที่ร้อยละ 4.7 ประกอบกับสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรที่หดตัวร้อยละ 3.3 และร้อยละ 7.3 ตามล�ำดับ อย่างไรก็ดี สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าแร่และเชื้อเพลิงยังคงขยายตัวดีที่ร้อยละ 3.0 และ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

35


ร้อยละ 7.3 ตามล�ำดับ และเมื่อพิจารณารายตลาดพบว่า การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและยูโรโซนขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 0.7 และร้อยละ 3.2 ตามล�ำดับ ในขณะที่การส่งออกไปยังจีนและญี่ปุ่นหดตัวที่ร้อยละ 0.7 และร้อยละ 10.3 หดตัวต่อเนื่อง จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 3.6 และร้อยละ 2.5 ตามล�ำดับ และส�ำหรับการส่งออกบริการในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 25.5 จากจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวในระดับสูง ภาพที่ 21 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.1 เพิม ่ ขึน้ เล็กน้อยจากปี 2555

ทีข่ ยายตัวทีร่ อ้ ยละ 3.1 จากการส่งออกสินค้าทีข่ ยายตัวต�ำ่ กว่าคาด เนือ่ งจากภาวะเศรษฐกิจโลกทีฟ่ น้ื ตัวอย่างล่าช้าส่งผลกระทบ ให้ความต้องการสินค้าส่งออกของไทยลดลง อย่างไรก็ดี ยังคงได้รับอานิสงส์จากการส่งออกด้านบริการที่ขยายตัวตามจ�ำนวน นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะจากจีนและรัสเซีย ➥➥ ในปี 2557 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์

ที่ร้อยละ 6.0-8.0) เนื่องจากคาดว่าการส่งออกสินค้าจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาทีป่ รับตัวดีขนึ้ ต่อเนือ่ งตามการจ้างงานทีเ่ พิม่ ขึน้ และเศรษฐกิจญีป่ นุ่ ทีม่ แี นวโน้มขยายตัวต่อเนือ่ งโดยได้รบั อานิสงส์ จากนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ แม้วา่ เศรษฐกิจจีนจะยังอยูใ่ นช่วงของการปรับตัวต่อเสถียรภาพในระบบการเงินก็ตาม ขณะที่ การส่งออกด้านบริการคาดว่าจะขยายตัวตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 1.4 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการทีแ ่ ท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ขยายตัวชะลอลงมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 0.7

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลทางฤดูกาล แล้วพบว่า ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการหดตัวร้อยละ 4.7 และเมื่อพิจารณาปริมาณการน�ำเข้าสินค้าพบว่าหดตัว ร้อยละ 0.5 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 4.4 ตามการหดตัวเกือบทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าเชือ้ เพลิง ที่หดตัวร้อยละ 0.1 ลดลงมากจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 24.2 และสินค้าทุนที่หดตัวร้อยละ 7.9 หดตัวต่อเนื่องจาก ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ที่หดตัวร้อยละ 1.5 ประกอบกับสินค้ายานยนต์ที่หดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 12.3 ในขณะที่สินค้าวัตถุดิบ ยังขยายตัวดีที่ร้อยละ 7.3 และส�ำหรับปริมาณการน�ำเข้าบริการขยายตัวที่ร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.3

36


ภาพที่ 22 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการ

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.9 ลดลงจากปีก่อนหน้า

ที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 เนื่องจากมีการเร่งน�ำเข้าไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ท�ำให้อุปสงค์ต่อสินค้าน�ำเข้าชะลอตัวลงตามก�ำลังซื้อ ภายในประเทศและวัตถุดิบเพื่อการผลิตที่ลดลงเช่นเดียวกัน ➥➥ ในปี 2557 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์

ร้อยละ 3.4-5.4) คาดว่าจะขยายตัวจากความต้องการน� ำเข้าปัจจัยการผลิตเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัว และ สอดคล้องกับแนวโน้มการใช้จ่ายภาคเอกชนที่คาดว่าจะเร่งขึ้นและการฟื้นตัวของภาคการส่งออก

2. ด้านการค้าระหว่างประเทศ 2.1 มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ1 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 อยูท ่ ี่ 210.1 พันล้านดอลลาร์

สหรัฐ คิดเป็นการหดตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกตามระบบ กรมศุลกากรพบว่า เมื่อหักผลของการส่งออกทองค�ำที่มีความผันผวนสูงออก มูลค่าการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 1.2 โดยการส่งออกที่หดตัวนั้นเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ซึ่งได้ส่งผล ต่อเนือ่ งไปยังเศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ อืน่ ๆ ของไทย ท�ำให้อปุ สงค์ตอ่ สินค้าส่งออกของไทยลดลง ประกอบกับไทยยังประสบปัญหา ในภาคการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเกษตรจากโรคระบาดในกุ้ง นอกจากนี้ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนยังเป็น อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อภาคส่งออกในช่วงที่ผ่านมา ส�ำหรับสินค้าที่ส่งออกได้ดีในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้ายานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 9.2 และร้อยละ 0.7 ตามล�ำดับ ส่วนสินค้าในหมวดอืน่ มีการหดตัวทุกหมวดสินค้า กล่าวคือ สินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 5.1 จากการลดลงของปริมาณการส่งออกข้าวและราคายางพาราที่ตกต�่ำ ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม การเกษตรมีการหดตัวร้อยละ 4.2 จากการลดลงของการส่งออกกุ้งเนื่องจากโรคระบาดในกุ้ง และราคาน�้ำตาลทรายที่ลดลง อย่างมากในตลาดโลก และท้ายทีส่ ดุ คือ สินค้าเชือ้ เพลิงมีการหดตัวร้อยละ 5.6 โดยส่วนหนึง่ เกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

มูลค่าการส่งออกตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

37


ส่วนการส่งออกรายประเทศพบว่า ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ตลาดหลักของไทย คือ อาเซียน 9 ทวีป ออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป 15 โดยมีการขยายตัวร้อยละ 5.1 ร้อยละ 7.0 และร้อยละ 2.4 ตามล�ำดับ ส่วนตลาดที่เป็น แหล่งที่มา (Contribution) ของการหดตัวหลักในช่วงที่ผ่านมา คือ ญี่ปุ่น อินเดีย และแอฟริกา ที่หดตัวร้อยละ 5.4 ร้อยละ 5.3 และร้อยละ 2.7 ตามล�ำดับ ภาพที่ 23 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 สศค. คาดว่า มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะหดตัวร้อยละ 0.6 (โดยมีชว่ งคาดการณ์

ร้อยละ -0.1 ถึง -1.1) เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 เนื่องมาจากคาดว่าเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวอย่างล่าช้า โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ยังคงมีการชะลอตัว ➥➥ ในปี 2557 สศค.คาดว่า มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวร้อยละ 6.5 (โดยมีช่วง

คาดการณ์รอ้ ยละ 4.5–8.5) เพิม่ ขึน้ จากปี 2556 เนือ่ งจากคาดว่าการส่งออกสินค้าจะได้รบั อานิสงส์จากการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจ โลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มขยายตัว เร่งขึ้นโดยได้รับอานิสงส์จากนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังอยู่ในช่วงของการปรับตัวต่อเสถียรภาพ ในระบบการเงินก็ตาม 2.2 มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ2 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 อยูท ่ ี่ 232.0 พันล้านดอลลาร์

สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.2 ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการน�ำเข้าตามระบบกรมศุลกากรที่หักการน�ำเข้าทองค�ำ ที่มีความผันผวนออกพบว่า มูลค่าการน�ำเข้าหดตัวร้อยละ 0.6 ซึ่งเกิดจากการหดตัวของการน�ำเข้าสินค้าทุน โดยมีการหดตัว ในช่วง 11 เดือนแรก ร้อยละ 4.7 อย่างไรก็ดี การขยายตัวของการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบเกิดจากทองค�ำเป็นส�ำคัญ โดยการน�ำเข้า ทองค�ำขยายตัวถึงร้อยละ 41.8 โดยหากหักทองค�ำออก การน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบจะหดตัวร้อยละ 3.1

มูลค่าการน�ำเข้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)

2

38


ภาพที่ 24 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 สศค.คาดว่า มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะหดตัวทีร่ อ ้ ยละ 0.2 (โดยมีชว่ งคาดการณ์

ที่ร้อยละ -0.7 ถึง 0.3) ลดลงจากปี 2555 เนื่องจากมีการเร่งน�ำเข้าสินค้าทุนเข้ามาทดแทนเป็นจ�ำนวนมากหลังมหาอุทกภัย ในช่วงปีกอ่ นท�ำให้ฐานสูง ประกอบกับความต้องการสินค้าในตลาดโลกมีแนวโน้มชะลอลงตามเศรษฐกิจโลกทีฟ่ น้ื ตัวอย่างค่อยเป็น ค่อยไป ท�ำให้มีการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบลดลงจากภาคส่งออกที่ชะลอลงจากปีก่อน ➥➥ ในปี 2557 สศค.คาดว่า มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 (โดยมี

ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0-7.0) เพิ่มขึ้นจากปี 2556 เนื่องจากคาดว่าจะมีการเร่งน�ำเข้าสินค้าทุกประเภทโดยเฉพาะสินค้า วัตถุดิบและสินค้าเชื้อเพลิง ตามความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีขึ้น ท�ำให้มี การน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นจากภาคส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อน 2.3 ดุลการค้า3 ➥➥ ดุลการค้าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ขาดดุล 21.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วง 11 เดือนแรก

ของปี 2555 ที่ขาดดุล 18.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกมีระดับต�่ ำกว่ามูลค่าการน�ำเข้า โดย 11 เดือนแรก มูลค่าการส่งออกสินค้าอยู่ที่ 210.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการน� ำเข้าสินค้าอยู่ที่ 232.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพที่ 25 ประมาณการดุลการค้า

ที่มา : สศค. ดุลการค้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)

3

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

39


➥➥ ในปี 2556 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีชว่ งคาดการณ์รอ ้ ยละ 4.7–5.7

พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงจากปี 2555 เนื่องจากคาดว่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ในกรอบที่จ�ำกัด ขณะที่ การน�ำเข้าจะยังคงขยายตัวได้ดีจากสินค้าหมวดเชื้อเพลิงและวัตถุดิบเป็นส�ำคัญ เป็นผลให้ในปี 2556 จะมีการเกินดุลการค้า ลดลงจากปี 2555 ➥➥ ในปี 2557 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 8.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีชว่ งคาดการณ์รอ ้ ยละ 7.9–9.9

พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ตามมูลค่าสินค้าส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าน�ำเข้า

3. ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด ➥➥ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ขาดดุล 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลสูงขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 ที่ขาดดุล 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าตามระบบ ดุลการช�ำระเงินเกินดุล 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าการส่งออกจะหดตัว โดยเฉพาะในหมวดสินค้าเกษตรและสินค้า อุตสาหกรรม แต่การน�ำเข้าหดตัวในอัตราที่สูงกว่า ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ ขาดดุล 9.5 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งกลับก�ำไรและเงินปันผล โดยในเดือนกันยายน 2556 ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ ขาดดุลสูงถึง 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพที่ 26 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัด

ที่มา : สศค.

➥➥ ในปี 2556 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะขาดดุล 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปี

2555 ที่ขาดดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการส่งออกที่คาดว่าจะหดตัวเล็กน้อย และการส่งกลับก�ำไรและเงินปันผล ในระดับสูง ในขณะที่รายรับจากการท่องเที่ยวคาดว่าจะคงอยู่ในระดับสูงตามจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ➥➥ ในปี 2557 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุล 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีชว่ งคาดการณ์ที่ 3.4-4.4

พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 0.7-1.3 ของ GDP) เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ตามการส่งออกที่คาดว่าจะฟื้นตัว ตามเศรษฐกิจโลกที่กลับมาขยายตัวอย่างชัดเจนขึ้น

40


3.2 อัตราเงินเฟ้อ ➥➥ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ลดลงจากปี 2555 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.9 โดยมีสาเหตุหลักจาก

1) ราคาอาหารจ�ำพวกผักและผลไม้ เครือ่ งประกอบอาหาร และเครือ่ งดืม่ ไม่มแี อลกอฮอล์ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออ�ำนวยและเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวการผลิต ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น และ 2) ราคาสินค้าเชื้อเพลิงมีแนวโน้มชะลอลงจากราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกตามเศรษฐกิจโลกที่มีการฟื้นตัวอย่างล่าช้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อพืน้ ฐานทีไ่ ม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดอยูท่ รี่ อ้ ยละ 1.0 ลดลงจากปีกอ่ นหน้าทีอ่ ยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.0 เนื่องจากราคาอาหารส�ำเร็จรูปในปี 2556 ไม่ได้เร่งตัวรุนแรงเช่นเดียวกับปี 2555 ที่ผ่านมา ภาพที่ 27 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไป

ที่มา : สศค.

➥➥ ส�ำหรับปี 2557 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปในปี 2557 จะอยูท ่ รี่ อ้ ยละ 2.4 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ

1.9-2.9) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าอันเป็นผลจากการเร่งขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ และแรงกดดันด้านต้นทุน ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ การคาดการณ์ดังกล่าวได้รวมผลของนโยบายการเพิ่มราคาก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือน ไว้ด้วยแล้ว (เพิ่มจากราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 25.30 บาทต่อกิโลกรัม) และมาตรการพยุงราคาน�้ำมันขายปลีกดีเซล ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.2 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.7-1.7)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

41


ภาคการคลัง รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังปีงบประมาณ 2556 และในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 บทสรุปผู้บริหาร ปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลยังคงจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุล (Expansionary Fiscal Policy) ต่อเนือ่ งจาก ปีงบประมาณ 2556 โดยในปีงบประมาณ 2557 มีการจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 250 พันล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาล ยังได้ด�ำเนินงานตามโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2553 รวมถึงได้มีแผนการลงทุน โครงสร้างพืน้ ฐานของประเทศไทย ซึง่ รวมถึงแผนบริหารจัดการน�ำ้ ในระยะยาวของภาครัฐทีม่ วี งเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท ❍❍

ในช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม 2556–ธันวาคม 2556) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ สูงกว่าเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ โดยจัดเก็บได้ 504.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 ต่อปี และสูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 13.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 ส�ำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 เท่ากับ 831.1 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 45.1 พันล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 5.7 ต่อปี ส�ำหรับฐานะการคลังในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลขาดดุล 334.8 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 324.7 พันล้านบาท ❍❍

หนีส้ าธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 มีจำ� นวน 5,393.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.34 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 19.9 พันล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาลหนี้รัฐวิสาหกิจ ที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) เพิ่มขึ้น 28.2 พันล้านบาท และ 2.3 พันล้านบาท ตามล�ำดับ ทั้งนี้ระดับหนี้สาธารณะ คงค้างอยูใ่ นระดับทีม่ เี สถียรภาพ สะท้อนได้จาก (1) หนีส้ าธารณะคงค้างเป็นหนีภ้ ายในประเทศถึงร้อยละ 93.1 ของหนีส้ าธารณะ คงค้าง (2) หนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ระยะยาวถึงร้อยละ 97.5 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ (3) สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้าง ต่อ GDP ยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ก�ำหนดสัดส่วนไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 60.0 ❍❍

ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจ�ำปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-ธันวาคม 2556) ของรัฐวิสาหกิจรวม 46 แห่ง รวมทั้งสิ้น 226.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 75.2 ของแผนงบลงทุนทั้งปี และผลการเบิกจ่าย งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม–ธันวาคม 2556) รวมทัง้ สิน้ 10.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.8 ของแผนงบลงทุนทั้งปีของรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีงบประมาณ ❍❍

42


ผลการด�ำเนินนโยบายการคลังในช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม 2556-ธันวาคม 2556) 1. ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2557 ในช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม 2556–ธันวาคม 2556) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สูงกว่า เป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ 13.4 พันล้านบาท แต่ลดลงร้อยละ 0.8 ต่อปี ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าเป้าหมาย ได้แก่ ❍❍ ภาษีสุราและภาษีเบียร์ จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 4.3 พันล้านบาท และ 3.9 พันล้านบาท ตามล� ำดับ เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสุราเมื่อเดือนกันยายน 2556 ❍❍ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 3.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 6.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ต่อปี สะท้อนถึงฐานเงินได้ของภาคเอกชนที่ยังเติบโตได้ดี

ส�ำหรับภาษีที่จัดเก็บได้ต�่ำกว่าเป้าหมายที่ส�ำคัญ ได้แก่ ❍❍ ภาษีน�้ำมัน จัดเก็บได้ต�่ำกว่าเป้าหมาย 7.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 34.3 และลดลงร้อยละ 2.6 ต่อปี เนื่องจากมีการขยายเวลาปรับลดภาษีน�้ำมันดีเซลออกไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2557 ❍❍ ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้ต�่ำกว่าเป้าหมาย 7.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21.1 และลดลงร้อยละ 42.5 ต่อปี เนื่องจากได้มีการใช้สิทธิส่วนใหญ่จากโครงการรถยนต์คันแรกในปีงบประมาณ 2556 เกือบทั้งโครงการ ❍❍ อากรขาเข้า จัดเก็บได้ต�่ำกว่าเป้าหมาย 6.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.3 เนื่องจากมูลค่าการน�ำเข้า สินค้าต�่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่รายได้น�ำส่งของหน่วยงานอื่น ๆ สูงกว่าเป้าหมาย 10.0 พันล้านบาท เนื่องจากในเดือนธันวาคม 2556 มีการน�ำส่งคืนรายได้ที่กันไว้เพื่อชดเชยให้แก่ผู้ส่งออกสินค้าจ�ำนวน 5.9 พันล้านบาท รัฐวิสาหกิจน�ำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมาย 7.6 พันล้านบาท โดยรัฐวิสาหกิจที่น�ำส่งรายได้/เงินปันผลสูงกว่า ประมาณการทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ การท่าเรือแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมภิ าค การไฟฟ้านครหลวง และ บมจ. กสท โทรคมนาคม เป็นส�ำคัญ

ตารางที่ 1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-กันยายน 2556) 1. กรมสรรพากร 2. กรมสรรพสามิต 3. กรมศุลกากร รวมรายได้ 3 กรมจัดเก็บ 4. รัฐวิสาหกิจ 5. หน่วยงานอื่น รวมรายได้จัดเก็บ (Gross) หัก รวมรายได้สุทธิ (Net)

ปีงบประมาณ 2557 ร้อยละ 356,532 2.8 104,372 -12.3 27,195 -12.5 488,099 -1.8 47,338 123.3 37,754 -40.9 573,191 -1.5 68,625 -6.8 504,566 -0.8

(หน่วย : ล้านบาท)

ประมาณการตามเอกสารงบประมาณ จ�ำนวน ร้อยละ 349,511 2.0 114,759 -9.1 33,700 -19.3 497,970 -2.0 39,782 19.0 27,785 35.9 565,537 1.4 74,384 -7.7 48,153 2.7

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

43


2. ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม 2556–ธันวาคม 2556) ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 เท่ากับ 831.1 พันล้านบาท สูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า 45.1 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.7 ประกอบด้วยรายจ่ายปีปจั จุบนั จ�ำนวน 760.8 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 8.7 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 30.1 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (2.525 ล้านล้านบาท) ซึ่งสูงกว่า เป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ (เป้าหมายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 เท่ากับร้อยละ 22.0) ทั้งนี้ รายจ่ายปีปัจจุบันจ�ำนวน 831.1 พันล้านบาท ประกอบด้วย (1) รายจ่ายประจ�ำ 644.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 30.7 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน 116.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.5 ต่อปี หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 27.2 ของกรอบวงเงินงบประมาณ ส�ำหรับ รายจ่ายเหลื่อมปีเบิกจ่ายได้ 70.2 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.5 ต่อปี

ตารางที่ 2 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม 2556–ธันวาคม 2556) (หน่วย : ล้านบาท)

ปีงบประมาณ ประเภทรายจ่าย วงเงิน เป้าหมาย 2557 การเบิกจ่าย 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 2,525,000 760,825 22.0 1.1 รายจ่ายประจ�ำ 2,097,701 644,282 1.2 รายจ่ายลงทุน 427,899 116,543 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 301,083 70,233 3. รายจ่ายรวม (1+2) 2,826,083 831,058

เปรียบเทียบ อัตรา ร้อยละ การเบิกจ่าย 30.1 8.7 30.7 0.5 27.2 99.5 23.3 -18.5 29.4 5.7

ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือนตุลาคม 2552–ธันวาคม 2556) โดยมีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 328.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94.1 ของวงเงิน 348.9 พันล้านบาท และการเบิกจ่ายตามพระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำและ สร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือนกุมภาพันธ์ 2555–ธันวาคม 2556) มีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 17.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.1 ของกรอบวงเงิน 350.0 พันล้านบาท 3. ฐานะการคลังในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม 2556–ธันวาคม 2556) ฐานะการคลังในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม 2556–ธันวาคม 2556) รัฐบาลขาดดุล 342.5 พันล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 334.8 พันล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณจ� ำนวน 7.7 พันล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ 22.1 พันล้านบาท และรายรับจากการชดใช้เงินคงคลัง 13.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน โดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้จ�ำนวน 63.3 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 279.2 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 324.7 พันล้านบาท

44


ตารางที่ 3 ฐานะการคลังในช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม 2556-ธันวาคม 2556) (หน่วย : ล้านบาท)

1. รายได้ 2. รายจ่าย 3. ดุลเงินงบประมาณ 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 8. เงินคงคลังปลายงวด

ปีงบประมาณ 2557 2556 496,246 501,979 831,058 785,913 -334,812 -283,934 -7,674 120,203 -342,486 -404,137 63,294 102,936 -279,192 -301,201 324,732 259,136

เปรียบเทียบ จ�ำนวน ร้อยละ -5,733 -1.1 45,145 5.7 -50,878 17.9 112,529 -93.6 61,651 15.3 -39,642 -38.5 22,009 -7.3 65,596 25.3

ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

4. หนี้สาธารณะ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 มีจ�ำนวน 5,393.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.34 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,797.5 พันล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,089.3 พันล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) 505.8 พันล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 0.8 พันล้านบาท และ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 19.85 พันล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาลและหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็น สถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) เพิ่มขึ้น 28.2 พันล้านบาท และ 2.3 พันล้านบาท ตามล�ำดับ ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นัน้ ไม่มหี นีค้ งค้าง ทัง้ นี้ ระดับหนีส้ าธารณะคงค้างอยูใ่ นระดับทีม่ เี สถียรภาพ สะท้อนได้จาก (1) หนีส้ าธารณะคงค้างเป็นหนีภ้ ายใน ประเทศถึงร้อยละ 93.1 ของหนีส้ าธารณะคงค้าง (2) หนีส้ าธารณะคงค้างเป็นหนีร้ ะยะยาวถึงร้อยละ 97.5 ของหนีส้ าธารณะคงค้าง และ (3) สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำ� หนดสัดส่วนไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 60.0

ตารางที่ 4 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 หนี้สาธารณะคงค้าง

1. หนี้ของรัฐบาล 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) 4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟู 5. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ หนี้สาธารณะรวม (1+2+3+4+5)

(หน่วย : ล้านบาท)

ณ เดือน ต.ค. 56 ณ เดือน พ.ย. 56 จ�ำนวน % GDP จ�ำนวน % GDP 3,769,294.05 31.76 3,797,482.42 31.93 1,087,010.68 9.16 1,089,285.42 9.16

เพิ่ม/ลด จ�ำนวน 28,188.38 2,274.74

516,450.35 -------- 834.69 5,373,589.77

-10,612.97 ----------19,850.14

4.35 ---- 0.01 45.28

505,837.38 -------- 834.69 5,393,439.91

4.25 - -- 0.01 45.34

ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

45


5. ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจ�ำปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-ธันวาคม 2556) และ ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม–ธันวาคม 2556) ❍❍ กรอบอนุมัติงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจ�ำปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-ธันวาคม 2556) ของรัฐวิสาหกิจรวม 46 แห่ง มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 301.6 พันล้านบาท โดยในช่วงดังกล่าวรัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ ทั้งสิ้น 226.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 75.2 ของแผนงบลงทุนทั้งปี โดยรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีปฏิทิน (เดือน มกราคม-ธันวาคม 2556) เบิกจ่ายงบลงทุนได้จ�ำนวน 157.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 75.7 ของแผนงบลงทุนทั้งปี ขณะที่รัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีงบประมาณ (เดือนตุลาคม 2555-กันยายน 2556) เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 69.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 74.1 ของแผนงบลงทุนทั้งปี

ตารางที่ 5 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจ�ำปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-กันยายน 2556)

(หน่วย : ล้านบาท)

รัฐวิสาหกิจ แผนงบลงทุน เบิกจ่ายจริง ปีปฏิทิน 207,969 157,365 บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) 52,379 40,577 บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) 10,904 10,332 บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) 20,906 14,138 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 37,309 30,583 บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) 54,424 31,529 การไฟฟ้านครหลวง 12,712 11,072 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 17,079 17,143 ปีงบประมาณ (ณ เดือนกันยายน 2556) 93,605 69,319 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) 7,586 1,960 บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จ�ำกัด 2,347 847 การรถไฟแห่งประเทศไทย 27,597 20,001 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 18,585 18,356 การเคหะแห่งชาติ 6,396 6,176 การประปานครหลวง 6,592 5,018 การประปาส่วนภูมิภาค 6,950 6,754 รวม 301,574 226,684

% เบิกจ่ายต่อ งบลงทุนอนุมัติ 75.7% 77.5% 94.8% 67.6% 82.0% 57.9% 87.1% 100.4% 74.1% 25.8% 36.1% 72.5% 98.8% 96.6% 76.1% 97.2% 75.2%

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง

กรอบอนุมัติงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจ�ำปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม 2556-ธันวาคม 2557) ของรัฐวิสาหกิจรวม 46 แห่ง จ�ำนวนทัง้ สิน้ 325.5 พันล้านบาท โดยในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม–ธันวาคม 2556) รัฐวิสาหกิจทีด่ ำ� เนินงานตามปีงบประมาณเบิกจ่ายได้จำ� นวน 10.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.8 ของแผนงบลงทุน ทั้งปีของรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีงบประมาณ ❍❍

46


ตารางที่ 6 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม–ธันวาคม 2556) รัฐวิสาหกิจ แผนงบลงทุน ยอดแผนสะสม เบิกจ่ายจริง ตั้งแต่ต้นปี ปีงบประมาณ 138,507 16,417 10,845 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) 17,678 1,164 599 การรถไฟแห่งประเทศไทย 50,425 3,156 2,360 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 25,182 4,817 2,385 การเคหะแห่งชาติ 7,143 932 1,853 การประปานครหลวง 8,382 1,723 761 การประปาส่วนภูมิภาค 7,000 770 938 รวม 138,507 16,417 10,845

(หน่วย : ล้านบาท)

% เบิกจ่ายต่อ งบลงทุนอนุมัติ 7.8% 3.4% 4.7% 9.5% 25.9% 9.1% 13.4% 7.8%

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

47


Macroeconomic Analysis Briefing บทวิเคราะห์ เรื่อง แนวทางการก�ำหนดเป้าหมายทางการคลัง

1

บทสรุปผู้บริหาร การด�ำเนินนโยบายการคลังของไทยในอดีตอาจมีลักษณะที่สอดคล้องกับวัฏจักรเศรษฐกิจ (Procyclical Fiscal Policy) ท�ำให้บทบาทของภาคการคลังในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน ❍❍ การก� ำ หนดเป้ า หมายทางการคลั ง โดยก� ำ หนดดุ ล การคลั ง ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ภาวะเศรษฐกิ จ จะช่วยให้ภาคการคลังสามารถท�ำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้น ❍❍ แนวทางการก�ำหนดดุลการคลังเป้าหมาย คือ การตั้งดุลการคลังที่ท�ำให้เกิดแรงกระตุ้นทาง การคลัง (Fiscal Impulse) สวนทางกับช่องว่างทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ หากช่องว่างทางเศรษฐกิจเป็นบวก (ลบ) หรือเศรษฐกิจร้อนแรง (ชะลอตัว) แรงกระตุ้นทางการคลังก็ควรเป็นลบ (บวก) เพื่อลดความร้อนแรง (สนับสนุน) เศรษฐกิจ เป็นต้น ❍❍ อย่างไรก็ตาม ในกรณีทเี่ ศรษฐกิจชะลอตัว การอัดฉีดทางการคลังไม่สามารถท�ำได้อย่างไม่มท ี ี่ สิน้ สุด เนือ่ งจากภาคการคลังมีขอ้ จ�ำกัดในด้านกรอบความยัง่ ยืนทางการคลัง เช่น ในระยะยาว หากต้องการรักษา ระดับหนีส้ าธารณะต่อ GDP ไม่ให้เกินร้อยละ 50 (หรือร้อยละ 60) ก็ไม่ควรขาดดุลการคลัง (เบือ้ งต้น) ในภาพรวม เกินร้อยละ 1.5 (หรือร้อยละ 1.8) ของ GDP ฯลฯ (ค�ำนวณภายใต้สมมติฐานที่ก�ำหนด) ❍❍ นอกจากนี้ การก�ำหนดเป้าหมายทางการคลังยังควรมีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนตาม ความเหมาะสมได้เมื่อภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และความคลาดเคลื่อนจาก การประมาณการเศรษฐกิจ ฯลฯ ❍❍

1. บทน�ำ เป้าหมายทางการคลังทีม่ กี ารประกาศใช้ในปัจจุบนั คือ การปรับลดการขาดดุลงบประมาณเพือ่ เข้าสูง่ บประมาณสมดุลใน ปีงบประมาณ 2560 โดยมีจดุ ประสงค์หลักเพือ่ การรักษาวินยั ทางการคลังซึง่ ช่วยเพิม่ ความโปร่งใสและก่อให้เกิดความน่าเชือ่ ถือ ทางการคลัง ทั้งนี้ การรักษาวินัยทางการคลังนั้นเป็นเสมือนการส่งสัญญาณว่าภาคการคลังจะไม่ก่อให้เกิดปัญหากับระบบ เศรษฐกิจโดยรวมในระยะยาว เช่น จะไม่ใช้จ่ายเกินตัว หรือก่อหนี้สาธารณะจนท�ำให้สูญเสียความเชื่อมั่น ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ภาคการคลังควรมีบทบาทในการสร้างคุณูปการต่อระบบเศรษฐกิจควบคู่กันไปด้วย เช่น การมีบทบาทในการรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจ และการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ดังนั้น การก�ำหนดเป้าหมายทางการคลังนอกจากจะค�ำนึงถึง ข้อจ�ำกัดในเชิงวินัยการคลังแล้ว ยังควรค�ำนึงถึงการด�ำเนินนโยบายการคลังที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจด้วย

1

48

ผู้เขียน : นายนรพัชร์ อัศววัลลภ เศรษฐกรช�ำนาญการ ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร.เอกนิติ นิตทิ ณ ั ฑ์ประภาศ รองผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ดร.พิสทิ ธิ์ พัวพันธ์ ผูอ้ ำ� นวยการ ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค และ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับ ค�ำแนะน�ำ และขอขอบคุณ นายกวิน เอี่ยมตระกูล เศรษฐกรปฏิบัติการ ส�ำนักนโยบายการคลัง ส�ำหรับข้อมูลด้านการคลัง


2. ดุลการคลังกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หน้าที่ส�ำคัญประการหนึ่งของภาคการคลัง คือ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อาทิ หากเศรษฐกิจร้อนแรง2 ภาคการคลังก็ควรท�ำหน้าทีใ่ นการผ่อนความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ แต่หากเศรษฐกิจซบเซา ภาคการคลังก็ควรท�ำหน้าทีใ่ นการช่วย สนับสนุนเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ด้วยขนาดของภาคการคลังทีค่ อ่ นข้างเล็กเมือ่ เทียบกับระบบเศรษฐกิจโดยรวมซึง่ อยูท่ ปี่ ระมาณ ร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) การที่จะปรับเพิ่มหรือลดขนาดทางการคลังเพื่อสนับสนุนหรือลด ความร้อนแรงทางเศรษฐกิจโดยรวมจึงมีผลต่อการด�ำเนินนโยบายการคลังค่อนข้างมาก นอกจากนี้ หากพิจารณาทางด้านรายจ่าย จะพบว่า รายจ่ายทีค่ อ่ นข้างมีความยืดหยุน่ ในการปรับเพิม่ หรือลดนัน้ คือ รายจ่ายลงทุน แต่สดั ส่วนของรายจ่ายลงทุนในงบประมาณ ในปัจจุบันกลับลดลงอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายเท่านั้น อีกทั้งยังมักมีปัญหาความล่าช้าในการเบิก จ่ายอีกด้วย ดังนั้น การปรับนโยบายการคลังเพื่อปิดช่องว่างทางเศรษฐกิจทั้งหมดจึงอาจไม่สามารถกระท�ำได้ง่ายนัก ยกเว้นใน กรณีที่ช่องว่างทางเศรษฐกิจมีขนาดเล็ก ภาคการคลังก็อาจมีบทบาทในการปิดช่องว่างดังกล่าวได้ ทั้งนี้ การค�ำนวณเม็ดเงินที่ เหมาะสมในการปิดช่องว่างทางเศรษฐกิจจ�ำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier)3 ซึ่งงาน ศึกษากรณีประเทศไทยในปัจจุบนั พบว่าผลลัพธ์ยงั ไม่คอ่ ยสอดคล้องกันนัก อาจจ�ำเป็นต้องได้รบั การศึกษาค้นคว้าเพิม่ เติมต่อไป อย่างไรก็ตาม แม้ในเชิงปริมาณ ภาคการคลังอาจไม่สามารถด�ำเนินบทบาทในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ อย่างสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยในเชิงทิศทาง ภาคการคลังควรแสดงเจตนาอย่างชัดเจนในการด�ำเนินนโยบายที่สวนทางกับวัฏจักร เศรษฐกิจ (Countercyclical Fiscal Policy) เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่า ภาคการคลังของไทยไม่ได้ด�ำเนินนโยบายการคลังในลักษณะที่ควรจะเป็น กล่าวคือ การด�ำเนินนโยบายการคลังทีผ่ า่ นมามีลกั ษณะทีส่ อดคล้องกับวัฏจักรเศรษฐกิจ (Procyclical Fiscal Policy) เช่น อัดฉีดเมือ่ เศรษฐกิจ ร้อนแรง และลดการอัดฉีดเมือ่ เศรษฐกิจชะลอตัว ฯลฯ เห็นได้จากการศึกษาของ Frankel et al. (2013)4 ซึง่ ค�ำนวณหาค่าสัมประสิทธิ สหสัมพันธ์ระหว่างการใช้จ่ายภาครัฐและ GDP พบว่า ใน ค.ศ. 1960-1999 มีค่าเป็นบวกอยู่ที่ระดับ 0.22 และต่อมาใน ค.ศ. 2000-2009 ความสัมพันธ์ดังกล่าวยังคงเป็นบวกสูงขึ้นอีกที่ระดับ 0.35 จึงเห็นได้ว่าการด�ำเนินนโยบายการคลังของไทยใน ระยะหลังมีลกั ษณะ Procyclical มากขึน้ กว่าในอดีต สอดคล้องกับงานศึกษาของวิมล ชาตะมีนา (2551)5 ซึง่ กล่าวว่า รัฐบาลมัก มีแรงจูงใจทีจ่ ะด�ำเนินนโยบายแบบตามวัฏจักรเศรษฐกิจ (Procyclical Policy) โดยมีสาเหตุมาจากการใช้อำ� นาจรัฐตามดุลยพินจิ (Discretion) ในการเพิม่ รายจ่ายและลดภาษีในช่วงทีเ่ ศรษฐกิจขยายตัวดี และในช่วงเศรษฐกิจตกต�ำ่ รัฐบาลจะพยายามกระตุน้ อุปสงค์โดยการเพิม่ รายจ่ายและลดภาษีซงึ่ เป็นผลท�ำให้ดลุ การคลังขาดดุลมากขึน้ เมือ่ เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวดีอกี รัฐบาลจะ ด�ำเนินนโยบายแบบตามวัฏจักรอีก ซึง่ การด�ำเนินนโยบายเช่นนีท้ ำ� ให้สถานะทางการคลังของรัฐบาลอ่อนแอลง ไม่สามารถสะสม เงินทุนในการเตรียมรับกับปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และกล่าวว่า การใช้อ�ำนาจรัฐตามดุลพินิจใน การก�ำหนดและด�ำเนินนโยบายมักถูกนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการหาเสียง ซึ่งมักให้ความส�ำคัญกับ ผลสัมฤทธิ์ระยะสั้น โดยบางครั้งอาจมีผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีการเอื้อผลประโยชน์แก่พวกพ้อง

เศรษฐกิจอยู่ในภาวะร้อนแรงหรือซบเซาพิจารณาจากช่องว่างทางเศรษฐกิจ (Output Gap) ซึ่งวัดจากผลต่างระหว่างมูลค่า GDP ที่เกิดขึ้นจริงและมูลค่า GDP ตามศักยภาพ (Potential GDP) หารด้วยมูลค่า GDP ตามศักยภาพ โดยหากช่องว่างทางเศรษฐกิจมีค่าเป็นบวกแสดงว่าเศรษฐกิจร้อนแรง แต่หากเป็นลบแสดง ว่าเศรษฐกิจซบเซา 3 ตัวคูณทางการคลัง คือ สัดส่วนอัตราการเปลี่ยนแปลง GDP ต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายรัฐบาล 4 Frankel, Vegh, and Vuletin (2013) "On graduation from fiscal procyclicality" Journal of Development Economics, 100(1), p32-47 5 วิมล ชาตะมีนา และคนอืน่ ๆ (2551) “การศึกษาวินยั ทางการคลังของประเทศไทย (อดีตสูป่ จั จุบนั ) และแนวทางในการเสริมสร้างวินยั ทางการคลังตามหลักสากล” ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 2

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

49


3. แนวทางในการก�ำหนดเป้าหมายทางการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การค�ำนวณหาดุลการคลังที่ขจัดผลของวัฏจักรเศรษฐกิจ (Cyclical Adjusted Balance)6 เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถ น�ำมาใช้ช่วยในการก�ำหนดเป้าหมายทางการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ โดยก่อนอื่นควรท�ำความเข้าใจก่อนว่า ดุลการคลังทีเ่ กิดขึน้ จริงนัน้ มีองค์ประกอบ 2 ส่วนด้วยกัน คือ 1) ส่วนทีเ่ กิดขึน้ ตามวัฏจักรเศรษฐกิจและช่วยรักษาเสถียรภาพทาง เศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ (Automatic Stabilizer) อาทิ เมือ่ เศรษฐกิจดี รายได้รฐั บาลก็จะเพิม่ ขึน้ และเป็นการช่วยลดความร้อนแรง ของเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ โดยไม่ได้เกิดจากการด�ำเนินนโยบายของรัฐบาล และ 2) ส่วนที่เกิดจากการใช้นโยบายการคลังตาม ดุลพินิจ (Discretionary Policy) ของรัฐบาล เช่น การขึ้นเงินเดือนข้าราชการ โครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท การลด อัตราภาษี ฯลฯ ทัง้ นี้ การเปลีย่ นแปลงดุลการคลังเฉพาะในส่วนทีส่ อง (การด�ำเนินนโยบายการคลังตามดุลพินจิ ของรัฐบาล) หาก เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา แสดงว่าภาคการคลังมีแรงกระตุ้นทางการคลัง (Fiscal Impulse) เป็นบวก หรือในที่นี้ก�ำหนดให้เป็น นิยามของการด�ำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary Policy) ในทางกลับกันหากแรงกระตุ้นทางการคลังเป็นลบ จะถือว่ารัฐบาลด�ำเนินนโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary Policy) ทัง้ นี้ การก�ำหนดนิยามดังกล่าวก็เพือ่ ให้ความส�ำคัญ กับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการคลัง อันเป็นผลมาจากการด�ำเนินนโยบายการคลังของผู้วางนโยบายมากกว่าที่จะรวมเอา ผลกระทบตามวัฏจักรเศรษฐกิจซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมมาพิจารณาด้วย ดังนั้น แนวทางการก�ำหนดดุลการคลังเป้าหมายคือ การที่ภาคการคลังมีแรงกระตุ้นทางการคลังเป็นบวก7 ในยามที่ เศรษฐกิจซบเซา (ช่องว่างทางเศรษฐกิจเป็นลบ) และมีแรงกระตุ้นทางการคลังเป็นลบในยามที่เศรษฐกิจร้อนแรง (ช่องว่าง ทางเศรษฐกิจเป็นบวก) นั่นเอง นอกจากนี้ ยังสามารถวัดระดับของการด�ำเนินนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ โดยการน�ำแรงกระตุ้นทางการคลังมาหารด้วยช่องว่างทางเศรษฐกิจ8 เพื่อน�ำมาเปรียบเทียบเป็นรายปีว่า รัฐบาลมีแนวโน้มใน การพยายามรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจมากขึ้นหรือน้อยลงเพียงใด การค�ำนวณการขจัดผลของวัฏจักรเศรษฐกิจเพือ่ หาแรงกระตุน้ ทางการคลังนัน้ สามารถท�ำได้หลากหลายวิธี ในทีน่ ขี้ อน�ำ เสนอวิธกี ารค�ำนวณของ European Commission9 ซึ่งเป็นวิธที กี่ ารค�ำนวณไม่ซับซ้อน มีความโปร่งใส ไม่ตอ้ งใช้ดลุ ยพินจิ ร่วมใน การวิเคราะห์ และเป็นวิธีที่ใช้ในการรายงานตัวเลขการคลังของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปในปัจจุบัน10

ดุลการคลังในที่นี้ก�ำหนดให้เป็นดุลการคลังเบื้องต้น (Primary Balance) ซึ่งหมายถึงดุลการคลังที่ไม่นับรวมรายจ่ายเพื่อช�ำระคืนภาระหนี้ทั้งหมด เนื่องจากส่วนที่ เป็นภาระหนี้เกิดจากภาระผูกพันในการช�ำระหนี้ซึ่งไม่ใช่รายจ่ายที่รัฐบาลตั้งใจใช้ในการด�ำเนินนโยบายการคลัง 7 การกล่าวว่าภาคการคลังด�ำเนินนโยบายแบบขยายตัว (หดตัว) อาจก�ำหนดให้แรงกระตุ้นทางการคลังต้องมีค่าเกิน (ต�่ำกว่า) ค่าคงที่ค่าหนึ่ง เช่น บางงานศึกษา ก�ำหนดให้เท่ากับ 0.5 ฯลฯ แต่ในที่นี้ก�ำหนดให้ค่าคงที่ดังกล่าวเท่ากับศูนย์ 8 Villafuerte and Murphy (2010) “Fiscal Policy in Oil Producing Countries During the Recent Oil Price Cycle” IMF working paper WP/10/28 9 European Commission (2000) “European Economy” Directorate-General for Economic and Financial Affairs, Number 3 10 วิธีการค�ำนวณดุลการคลังที่ขจัดผลทางวัฏจักรเศรษฐกิจต่อ GDPP ตามวิธีของ European Commission ท�ำได้ ดังนี้ ดุลการคลังที่ขจัดผลทางวัฏจักรเศรษฐกิจต่อ GDPP = ดุลการคลังที่เกิดขึ้นจริงต่อ GDPP = ดุลการคลังที่เกิดขึ้นจริงต่อ GDPP– (ER + EG) x ช่องว่างทางเศรษฐกิจ โดย GDPP คือ ระดับ GDP ตามศักยภาพ (Potential GDP) ซึ่งค�ำนวณจาก Hodrick–Prescott Trend ส่วน ER และ EG คือ ความยืดหยุ่นของรายได้และราย จ่ายรัฐบาลต่อ GDP (การศึกษาฉบับนี้ค�ำนวณความยืดหยุ่นของรายได้จากรายได้รวมของรัฐบาลโดยมิได้แยกตามประเภทของรายได้ โดยใช้ข้อมูลจริงตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2538-2556 มีค่าเท่ากับ 1.09 เป็นตัวอย่างในการค�ำนวณ ซึ่งอาจปรับปรุงให้มีความเหมาะสมมากขึ้นตามภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ใน อนาคต) ซึง่ จะเห็นได้วา่ ดุลการคลังทีข่ จัดผลทางวัฏจักรเศรษฐกิจก็คอื ดุลการคลังทีเ่ กิดขึน้ จริงหักด้วยผลกระทบของวัฏจักรเศรษฐกิจทีม่ ตี อ่ ดุลการคลังนัน่ เอง โดย ผลกระทบดังกล่าวส�ำหรับประเทศไทยจะมาจากด้านรายได้อย่างเดียวเนือ่ งจากภาคการคลังไทยไม่มรี ายจ่ายทีร่ กั ษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยอัตโนมัตอิ ย่างมี นัยส�ำคัญ ในที่นี้ อาศัยข้อมูลการคลังตามระบบ Government Finance Statistics (GFS) เฉพาะในส่วน Budgetary โดยปีงบประมาณ 2556 มีการขาดดุลทั้งสิ้น 232 พันล้านบาท แต่เป็นรายจ่ายดอกเบี้ย 142 พันล้านบาท ดังนั้น ดุลการคลังเบื้องต้นจึงขาดดุลอยู่ที่ระดับ 90 พันล้านบาท โดยดุลการคลังเบื้องต้นนี้ แบ่งเป็น ส่วนที่มาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจซึ่งมีช่องว่างทางเศรษฐกิจเป็นบวกที่ร้อยละ 1.13 (เนื่องจากไตรมาสแรกของปีงบประมาณมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ สูงมากหลังจากวิกฤติน�้ำท่วมในปีก่อนหน้า) ซึ่งเมื่อค�ำนวณจากค่าความยืดหยุ่นจะพบว่าท�ำให้ดุลการคลังขาดดุลน้อยลงประมาณ 29 พันล้านบาท แสดงว่า ดุลการคลังที่ขจัดผลทางวัฏจักรเศรษฐกิจหรือส่วนที่มาจากการใช้นโยบายการคลังตามดุลพินิจท�ำให้เกิดการขาดดุลสูงถึง 119 พันล้านบาท (ดูตารางที่ 1) 6

50


ยกตัวอย่างการก�ำหนดเป้าหมายทางการคลังในปีงบประมาณ 255711 หากสมมติวา่ ช่องว่างทางเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2557 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1 ดังนั้น รัฐบาลควรรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยการชะลอการใช้นโยบายการคลังในลักษณะที่ ดุลการคลังที่ขจัดผลทางวัฏจักรเศรษฐกิจไม่ขาดดุลไปมากกว่าเดิม (แรงกระตุ้นทางการคลังไม่เป็นบวก) ทั้งนี้ ดุลการคลังที่ขจัด ผลทางวัฏจักรเศรษฐกิจในสัดส่วนต่อ GDPP ที่เท่าเดิมมีมูลค่าการขาดดุลประมาณ 126 พันล้านบาท ในขณะที่ช่องว่างทาง เศรษฐกิจที่ร้อยละ 1 จะท�ำให้ดุลการคลังดีขึ้นประมาณ 27 พันล้านบาท ดังนั้น เมื่อคิดย้อนกลับจะพบว่า เป้าหมายดุลการคลัง เบื้องต้นควรขาดดุลประมาณไม่เกิน 100 พันล้านบาทนั่นเอง แต่ในทางตรงข้ามหากสมมติว่าช่องว่างทางเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับ ร้อยละ -1 รัฐบาลก็ควรผลักดันเศรษฐกิจโดยมีระดับการขาดดุลการคลังที่ขจัดผลทางวัฏจักรเศรษฐกิจไม่น้อยไปกว่าเดิม (126 พันล้านบาท) ผนวกกับดุลการคลังที่จะขาดดุลมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจอีก 27 พันล้านบาท ดังนั้น จึงควรมีเป้าหมาย การขาดดุลเบื้องต้นที่ระดับไม่น้อยกว่า 153 พันล้านบาท (ดูตารางที่ 1) ตารางที่ 1 ข้อมูลการคลังปีงบประมาณ 2556 และเป้าหมายทางการคลังปีงบประมาณ 2557 ปีงบประมาณ ดุลการคลังเบื้องต้น ความยืดหยุ่นต่อรายได้ ช่องว่างทางเศรษฐกิจ ดุลการคลังที่ขจัดผลทางวัฏจักร เศรษฐกิจ สมมติฐานระดับ GDPP

2556

สมมติฐานและการค�ำนวณเป้าหมายปี 2557

-90 พันล้านบาท (ร้อยละ 0.8 ของ GDPP)

ขาดดุลน้อยกว่า ขาดดุลมากกว่า -100 พันล้านบาท -153 พันล้านบาท 1.09 ร้อยละ 1 ร้อยละ -1 ขาดดุลน้อยกว่า ขาดดุลมากกว่า P ร้อยละ 1 ของ GDP ร้อยละ 1 ของ GDPP 12.4 ล้านล้านบาท

ร้อยละ 1.13 -119 พันล้านบาท (ร้อยละ 1 ของ GDPP) 11.7 ล้านล้านบาท

ที่มา : ข้อมูลการคลังตามระบบ GFS ของส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และการค�ำนวณของผู้เขียน

4. ข้อจ�ำกัดทางการคลังและวินัยทางการคลัง จากตัวอย่างการก�ำหนดเป้าหมายทางการคลังในปีงบประมาณ 2557 ในมุมมองของวินัยทางการคลังผนวกกับลักษณะ พืน้ ฐานของประเทศก�ำลังพัฒนาส่วนใหญ่รวมถึงประเทศไทย ซึง่ มีแนวโน้มทีจ่ ะอัดฉีดทางการคลังสูร่ ะบบเศรษฐกิจ จะเห็นว่าหาก เป็นกรณีที่ช่องว่างทางเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับร้อยละ -1 เป้าหมายทางการคลังก็จะอยู่ที่ระดับการขาดดุลการคลังเบื้องต้นไม่น้อย กว่า 153 พันล้านบาท ซึ่งเป็นระดับการขาดดุลขั้นต�่ำ ท�ำให้เกิดค�ำถามว่ารัฐบาลสามารถอัดฉีดเงินได้อย่างไม่มีขีดจ�ำกัดหรือไม่ ซึง่ แตกต่างจากกรณีทชี่ อ่ งว่างทางเศรษฐกิจเป็นบวกและเป้าหมายทางการคลังเป็นการก�ำหนดระดับเพดานการขาดดุลการคลัง แน่นอนว่าการขาดดุลการคลังของรัฐบาลไม่สามารถที่จะท�ำได้อย่างไม่มีข้อจ�ำกัด เนื่องจากกระทรวงการคลังมีกรอบ ความยั่งยืนทางการคลังซึ่งก�ำหนดให้ระดับหนี้สาธารณะต้องไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหาร ความเสี่ยงทางการคลังในระยะหลังมีแนวนโยบายในการตั้งเป้าหมายในเชิงอนุรักษ์มากขึ้น กล่าวคือ ต้องการรักษาระดับหนี้ สาธารณะไม่ให้เกินร้อยละ 50 ต่อ GDP ดังนัน้ จึงต้องพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับหนีส้ าธารณะดังกล่าวว่าถูกกระทบ โดยการขาดดุลการคลังอย่างไร12 ซึง่ สามารถพิสจู น์ทางคณิตศาสตร์ได้โดยการหาอนุพนั ธ์ของสัดส่วนหนีส้ าธารณะต่อ GDP ต่อ เวลาซึ่งได้ผลลัพธ์ดังนี้ PB = (R - G) x D แม้ พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 จะถูกตราขึ้นเรียบร้อยแล้ว การศึกษานี้เพียงต้องการแสดงวิธีคิดเป็นตัวอย่าง และสามารถน�ำไป ปรับปรุงเพื่อใช้เป็นแนวทางในการก�ำหนดเป้าหมายทางการคลังในระยะปานกลางต่อไปได้ 12 นรพัชร์ อัศววัลลภ (2556) “การวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังของไทย” โครงการงานวิจัยของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (HiPPS) ส�ำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง กระทรวงการคลัง 11

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

51


โดย PB คือ ดุลการคลังเบือ้ งต้น, R คือ อัตราดอกเบีย้ หรือต้นทุนการกูเ้ งินของภาครัฐ, G คือ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่เป็นตัวเงิน และ D คือ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ความหมายของความสัมพันธ์ข้างต้นหมายความว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จะเพิ่มหรือลดขึ้นกับการเติบโตของ ทั้งตัวเศษ คือ หนี้สาธารณะ (อัตราดอกเบี้ย, R) และตัวส่วน คือ GDP (อัตราการเติบโตของ GDP, G) หรือกล่าวว่าสัดส่วนหนี้ สาธารณะต่อ GDP ก็จะโตขึ้นในอัตรา R - G นั่นเอง ดังนั้น เมื่อน�ำ R - G มาคูณกับมูลหนี้ (D) ก็จะได้มูลค่าของหนี้ที่จะเพิ่มขึ้น ในรูปสัดส่วนต่อ GDP ซึ่งหากการเกินดุลการคลัง (PB) มีค่าเท่ากับมูลค่าหนี้ที่จะเพิ่มขึ้นดังกล่าวพอดี ก็จะสามารถหักล้างกันไป ท�ำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP คงที่อยู่ในระดับเดิมได้นั่นเอง การค�ำนวณความสัมพันธ์ดังกล่าวจ�ำเป็นต้องอาศัยสมมติฐานอัตราดอกเบี้ยภาครัฐและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งในที่นี้หากค�ำนวณจากอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของภาครัฐในอดีตจะพบว่า อยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 4.5 ส่วนอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจในระยะปานกลาง กระทรวงการคลังคาดการณ์ว่าอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 7.5 ดังนั้น ต้นทุนทางการเงินสุทธิที่ มีผลต่อระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP หรือ (R - G) จึงอยู่ที่ระดับร้อยละ -3 ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการให้ระดับหนี้สาธารณะอยู่ที่ ระดับไม่เกินร้อยละ 50 ของ GDP (D = 0.5) การขาดดุลการคลังเบื้องต้น13 จะต้องอยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 1.5 ของ GDP หรือ ประมาณ 186 พันล้านบาท ดังนั้น กรอบการก�ำหนดเป้าหมายทางการคลังในกรณีที่ช่องว่างทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ -1 จึงอยู่ ในช่วงการขาดดุลระหว่าง 153 ถึง 186 พันล้านบาทนั่นเอง (หากเปลี่ยนระดับหนี้สาธารณะหนี้ต่อ GDP เป็นที่ระดับร้อยละ 60 ตามกรอบความยั่งยืนทางการคลังก็จะสามารถขาดดุลการคลังได้เพิ่มขึ้น แต่ไม่เกินร้อยละ 1.8 ของ GDP) อย่างไรก็ตาม เป้าหมายการขาดดุลการคลังที่ระดับไม่เกินร้อยละ 1.5 ของ GDP เพื่อรักษาระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่ให้เกินร้อยละ 50 นั้นเป็นเป้าหมายในระยะยาว ดังนั้น ในระยะสั้น ผู้ก�ำหนดนโยบายอาจพิจารณากรอบเพดานการขาดดุล การคลังดังกล่าวให้มีความยืดหยุ่นได้

5. การบริหารความเสี่ยงของการก�ำหนดเป้าหมายทางการคลัง แม้การก�ำหนดเป้าหมายทางการคลังทีไ่ ด้กล่าวมาทัง้ หมดจะสามารถค�ำนวณขึน้ ได้ในลักษณะทีเ่ บ็ดเสร็จ แต่อนั ทีจ่ ริงยัง มีปจั จัยอืน่ ทีม่ ผี ลกระทบต่อภาคการคลัง ซึง่ อาจน�ำมาร่วมพิจารณาเพือ่ ปรับปรุงเป้าหมายทางการคลังให้มคี วามเหมาะสมในแง่ การบริหารความเสี่ยงทางการคลัง ยกตัวอย่าง กรณีปัจจัยที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ อาทิ ภาวะสังคมผู้สูงอายุที่ก�ำลังจะมาถึงอาจ ส่งผลกระทบต่อทั้งรายได้ภาครัฐที่ลดลงและรายจ่ายส�ำหรับผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น หรือกรณีปัจจัยที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ยาก อาทิ วิกฤติเศรษฐกิจทั้งที่เกิดขึ้นในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพิงการส่งออก สูง นอกจากนี้ ยังรวมถึงความผิดพลาด (Error) ต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการคาดการณ์ที่คลาดเคลื่อนอีกด้วย เช่น การประมาณการ เศรษฐกิจหรือช่องว่างทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาด ฯลฯ ดังนั้น การก�ำหนดเป้าหมายทางการคลังจึงควรออกแบบให้มีความยืดหยุ่น และสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจและความผันผวนทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ อาจเกิดขึ้น โดยอาศัยข้อมูลในอดีตซึ่งพบว่า ในช่วงที่ผ่านมาช่องว่างทางเศรษฐกิจที่ต�่ำที่สุดเคยอยู่ที่ระดับร้อยละ -5 ของ GDPP (ช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์) หรืออีกวิธีหนึ่งอาจค�ำนวณจากสองเท่าของความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของ มูลค่าช่องว่างทางเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้นในอดีตซึ่งมีค่าเท่ากับร้อยละ -5.7 โดยหากมีสมมติฐานว่าการแจกแจงของช่องว่างทาง เศรษฐกิจเป็นแบบปกติ โอกาสที่ช่องว่างทางเศรษฐกิจจะติดลบต�่ำกว่าร้อยละ -5.7 จะมีเพียงประมาณร้อยละ 2 เท่านั้น ในที่นี้ เราอาจใช้ค่ากลางระหว่างตัวเลขทั้งสองก็สรุปได้ว่า ในกรณีเลวร้าย (Worst Case Scenario) เศรษฐกิจไทยอาจชะลอตัวจนเกิด ช่องว่างทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ -5.36 นั่นเอง ดุลการคลังในที่นี้ครอบคลุมถึงภาคสาธารณะทั้งหมด แต่เนื่องจากข้อมูลในภาครัฐวิสาหกิจยังไม่สมบูรณ์ เพื่อความง่ายจึงสมมติให้การขาดดุลเกิดขึ้นเฉพาะใน ส่วน Budgetary เท่านั้น และสมมติให้ดุลการคลังในภาคส่วนอื่นสมดุลทั้งหมด

13

52


ผลกระทบจากภาวะตามวัฏจักรเศรษฐกิจดังกล่าวต่อฐานะการคลังสามารถค�ำนวณได้จากความยืดหยุ่นของรายได้ที่ ได้กล่าวในหัวข้อก่อนหน้า โดยหากสมมติให้รายได้รัฐบาลมีขนาดร้อยละ 20 ของ GDP ก็จะท�ำให้ดุลการคลังขาดดุลเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ –1.2 ของ GDP ดังนั้น หากรัฐบาลมีวินัยทางการคลังที่เข้มงวดจะไม่ขาดดุลการคลังเกินระดับร้อยละ 1.5 ตามที่ค�ำนวณในหัวข้อก่อนหน้า แสดงว่ารัฐบาลจะเหลือเครื่องมือทางการคลังส�ำหรับการด�ำเนินนโยบายขาดดุลได้อีกเพียง ร้อยละ 0.3 ของ GDP เป็นต้น

6. บทสรุป ในอดีตทีผ่ า่ นมาการด�ำเนินนโยบายการคลังของไทยมีลกั ษณะทีย่ งั ไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ กล่าวคือ การด�ำเนิน นโยบายการคลังอาจมีแรงจูงใจทีจ่ ะท�ำการอัดฉีดสูร่ ะบบเศรษฐกิจ ทัง้ ในยามทีเ่ ศรษฐกิจดีและในยามทีเ่ ศรษฐกิจมีปญ ั หาขึน้ อยู่ กับทรัพยากรทีม่ อี ยูใ่ นขณะนัน้ ท�ำให้รปู แบบการด�ำเนินนโยบายการคลังมีลกั ษณะ Procyclical ซึง่ ไม่เอือ้ ต่อการรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจ ดั ง นั้ น การก� ำ หนดเป้ า หมายทางการคลั ง โดยการก� ำ หนดดุ ล การคลั ง เป้ า หมายที่ ส อดคล้ อ งกั บ ภาวะเศรษฐกิ จ จะช่วยให้ภาคการคลังสามารถท�ำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ตาม ภาคการคลังมีขนาดที่ไม่ใหญ่ นักเมือ่ เทียบกับขนาดของระบบเศรษฐกิจ ดังนัน้ การช่วยรักษาเสถียรภาพโดยการปิดช่องว่างทางเศรษฐกิจอาจไม่สามารถท�ำได้ อย่างสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยในเชิงทิศทาง ภาคการคลังควรแสดงเจตนาอย่างชัดเจนในการด�ำเนินนโยบายที่สวนทางกับวัฏจักร เศรษฐกิจ (Countercyclical Fiscal Policy) ซึ่งสามารถท�ำได้โดยการก�ำหนดดุลการคลังเป้าหมายที่มีแรงกระตุ้นทางการคลัง (Fiscal Impulse) สวนทางกับช่องว่างทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ หากช่องว่างทางเศรษฐกิจเป็นบวก (ลบ) หรือเศรษฐกิจร้อนแรง (ชะลอตัว) แรงกระตุ้นทางการคลังก็ควรเป็นลบ (บวก) เพื่อลดความร้อนแรง (สนับสนุน) เศรษฐกิจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เศรษฐกิจชะลอตัว การอัดฉีดทางการคลังก็ไม่สามารถท�ำได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เนื่องจากภาค การคลังมีข้อจ�ำกัดในด้านกรอบความยั่งยืนทางการคลังซึ่งก�ำหนดให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ต้องอยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 60 การด�ำเนินนโยบายทางการคลังจึงควรค�ำนึงถึงข้อจ�ำกัดด้านของกรอบเพดานการขาดดุลการคลังทีเ่ หมาะสมด้วย เช่น ในระยะยาว หากต้องการรักษาระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่ให้เกินร้อยละ 50 (หรือร้อยละ 60) ก็ไม่ควรขาดดุลการคลัง (เบื้องต้น) ใน ภาพรวมเกินร้อยละ 1.5 (หรือ 1.8) ของ GDP ฯลฯ นอกจากนี้ การก�ำหนดเป้าหมายทางการคลังยังควรมีความยืดหยุ่นสามารถ ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้เมื่อภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และความคลาดเคลื่อนจาก การประมาณการเศรษฐกิจ ฯลฯ

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

53


บทวิเคราะห์ เรื่อง “Abenomics” แสงสว่างปลายอุโมงค์ของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจริงหรือ ?

1

บทสรุปผู้บริหาร

ช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็นไปอย่างเปราะบาง ผนวก กับภาวะเงินฝืดที่ญี่ปุ่นเผชิญมาอย่างต่อเนื่องยาวนานยังคงเป็นอุปสรรคส�ำคัญต่อการเติบโตภายในประเทศ ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้การน�ำของนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ ได้ออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นเพื่อ ให้หลุดพ้นจากภาวะดังกล่าว โดยนโยบายทางเศรษฐกิจดังกล่าวถูกเรียกว่า “Abenomics” ซึ่งมีหัวใจส�ำคัญใน การด�ำเนินการเพื่อให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวในอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 (ณ ราคาคงที่) และอัตราเงินเฟ้อ เป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 เป็นส�ำคัญ ❍❍ ในบทความฉบั บ นี้ ก ล่ า วถึ ง รายละเอี ย ดของนโยบายกระตุ ้ น เศรษฐกิ จ แบบ Abenomics ซึ่งประกอบไปด้วยมาตรการ “ลูกศร 3 ดอก” (Three Arrows) ดังนี้ • มาตรการผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Q2E) โดยมีเป้าหมายการเข้าซื้อ พันธบัตรรัฐบาลและสินทรัพย์ทางการเงินทีเ่ ข้มข้นกว่าโครงการ APP กล่าวคือ ก�ำหนดให้ปริมาณเงิน (Monetary Base) เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ภายในระยะเวลา 2 ปี • มาตรการทางการคลังผ่านการใช้จา่ ยภาครัฐทีเ่ พิม่ ขึน้ โดยภาครัฐเข้าไปลงทุนในโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นหลัก • มาตรการปฏิรปู โครงสร้างทางเศรษฐกิจเพือ่ การเจริญเติบโตในระยะยาว โดยมีจดุ มุง่ หมาย ส�ำคัญคือ เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจให้แก่ญี่ปุ่น และยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของญี่ปุ่นเพื่อ รองรับการเติบโตในอนาคต ❍❍ อย่างไรก็ดี นโยบายทางเศรษฐกิจดังกล่าวของญีป ่ นุ่ นัน้ เสมือนเป็นความหวังใหม่ของนักลงทุน ส่วนใหญ่ที่มองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นเป็นเครื่องยนต์ส�ำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจโลกได้ ภายหลังจากเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกา ยูโรโซน และจีน ซึ่งเคยเป็นความหวังในอดีตนั้นมีทิศทางการเติบโตที่แผ่วลง ทั้งนี้ การด�ำเนินการ ดังกล่าวจ�ำเป็นต้องอาศัยความต่อเนื่องและให้ความส�ำคัญในการปรับใช้อย่างจริงจัง ❍❍

1. บทน�ำ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้เติบโตอย่างเปราะบาง ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้การน�ำของ นายกรัฐมนตรีชนิ โสะ อาเบะ หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party : LDP) มุง่ เน้นทีจ่ ะท�ำให้เศรษฐกิจญีป่ นุ่ หลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดทีเ่ ผชิญมาอย่างยาวนานเป็นส�ำคัญ โดยนโยบายดังกล่าวประกอบไปด้วยมาตรการ “ลูกศร 3 ดอก” (Three Arrows) ได้แก่ มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณและคุณภาพ (Quantitative and Qualitative Easing : Q2E) มาตรการ เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ และมาตรการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตในระยะยาว ซึ่งบทความนี้กล่าวถึงรายละเอียด ของการด�ำเนินมาตรการทั้งสาม รวมไปถึงโอกาสและความส�ำเร็จของมาตรการดังกล่าวต่อไป ผู้เขียน : นางสาวภัทราพร คุ้มสะอาด เศรษฐกร ขอขอบคุณ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ เศรษฐกรช�ำนาญการ และนางสาวปารีณา วงศ์สุขเกษม เศรษฐกรปฏิบัติการ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ

1

54


2. นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นภายใต้การด�ำเนินการลูกศร 3 ดอก แผนการบริหารเศรษฐกิจล่าสุดของญีป่ นุ่ ภายใต้แนวคิดของนายกรัฐมนตรีชนิ โสะ อาเบะ นัน้ เป็นการด�ำเนิน 3 มาตรการ ไปพร้อม ๆ กัน คือ เพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ และปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยมีจุดประสงค์ เดียวกันคือ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้กลับมาขยายตัวภายหลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นเผชิญกับปัญหาเงินฝืดควบคู่ไปกับ เศรษฐกิจที่ซบเซามายาวนานกว่า 2 ทศวรรษ (Two Lost Decades) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ภาพที่ 1 นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Abenomics

ที่มา : qz.com

ลูกศรดอกที่ 1 : มาตรการผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณแบบพิเศษ การด�ำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Quantitative and Qualitative Easing Measure : Q2E) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มาตรการ Q2E ผ่าน การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและสินทรัพย์ทางการเงินต่าง ๆ โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวและมี ส่วนท�ำให้เงินเยนมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอันเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทัง้ นี้ แต่เดิมนัน้ ธนาคารกลางญีป่ นุ่ ได้ เคยด�ำเนินมาตรการในลักษณะดังกล่าวมาแล้วนับตัง้ แต่ปี 2553 ผ่านโครงการเข้าซือ้ สินทรัพย์ (Asset Purchasing Programs : APP) ซึ่งไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าทีค่ วร ต่อมา นายชินโส อาเบะ ได้ยกเลิกโครงการ APP ดังกล่าวและประกาศด�ำเนินมาตรการ Q2E แทน โดยมาตรการ Q2E มีเป้าหมายการเข้าซือ้ พันธบัตรรัฐบาลและสินทรัพย์ทางการเงินทีเ่ ข้มข้นกว่าโครงการ APP กล่าวคือ ก�ำหนดให้ปริมาณเงิน (Monetary Base) เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับร้อยละ 2.02 ภายในระยะเวลา 2 ปี ลูกศรดอกที่ 2 : มาตรการทางการคลังผ่านการใช้จ่ายภาครัฐ โดยใช้การบริโภคและลงทุนภาครัฐในด้านโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ประกอบด้วยการลงทุนใน 4 แผนใหญ่ ดังต่อไปนี้ 1) แผนการซ่อมแซมความเสียหายจากภัย ธรรมชาติและป้องกันภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 2) แผนการลงทุนร่วมกับภาคเอกชนและสนับสนุนธุรกิจรายย่อยภายใน ประเทศ เพือ่ เสริมสร้างความมัง่ คัง่ ทางเศรษฐกิจ 3) แผนการส่งเสริมคุณภาพชีวติ และเร่งฟืน้ ฟูเศรษฐกิจท้องถิน่ และ 4) มาตรการ สาธารณประโยชน์ต่าง ๆ โดยหวังว่าการลงทุนในแผนส�ำคัญดังที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น จะช่วยกระตุ้นการจ้างงานภายในประเทศ และส่งเสริมเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้ดีขึ้นต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ3 2556 และ 2557 (ข้อมูลเบื้องต้น) มีการตั้ง งบประมาณราว 5.3 ล้านล้านเยนต่อปี (ประมาณ 60 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี) หรือสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.1 ของ GDP ส�ำหรับ 2 3

ปารีณา วงศ์สขุ เกษม และภัทราพร คุม้ สะอาด,“มาตรการ QE และ Q2 : ไพ่ใบสุดท้ายของญีป่ นุ่ ”, วารสารการเงินการคลังปีที่ 25 ฉบับที่ 76 : กรกฎาคม-กันยายน 2556. ปีงบประมาณ คือ ช่วงเวลาตั้งแต่ 1 เมษายน–30 มีนาคม

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

55


โครงการลงทุนภาครัฐ ทัง้ นี้ ทางการญีป่ นุ่ มีแผนเพิม่ งบประมาณรายจ่ายในอีก 5 ปีขา้ งหน้า รวมมูลค่าทัง้ สิน้ ประมาณ 25 ล้านล้าน เยน (260 พันล้านเหรียญสหรัฐ) โดยเริม่ ตัง้ แต่ปี 2558 เป็นต้นไป4 ซึง่ จากเดิมเคยตัง้ งบประมาณดังกล่าวไว้มลู ค่า 19 ล้านล้านเยน ลูกศรดอกที่ 3 : มาตรการปฏิรปู โครงสร้างทางเศรษฐกิจเพือ่ การเจริญเติบโตในระยะยาว ซึง่ ในลูกศรดอกสุดท้ายนัน้ ยังไม่มกี ารประกาศรูปแบบการด�ำเนินการทีช่ ดั เจน แต่มจี ดุ มุง่ หมายเพือ่ เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันแก่เศรษฐกิจ ญี่ปุ่นเช่นเดียวกับลูกศร 2 ดอกแรก ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอการพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนการปฏิรูปดังกล่าวจากศูนย์บัญชาการเพื่อ การฟืน้ ฟูเศรษฐกิจญีป่ นุ่ (Headquarter for Japan’s Economic Revitalization) เพือ่ เป็นกรอบความคิดส�ำหรับการเปลีย่ นแปลง โครงสร้างรองรับทิศทางการเติบโตในอนาคตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะต่อไป (ตารางที่ 1) ทั้งนี้ ผู้เขียนขอหยิบยกข้อเสนอการปฏิรูปเศรษฐกิจในประเด็นส�ำคัญดังต่อไปนี้ (1) ตลาดแรงงานในญี่ปุ่นซึ่งเป็นปัญหา เชิงโครงสร้างจากก�ำลังแรงงานอาวุโสที่มีสัดส่วนมากและแรงงานเพศหญิงซึ่งมีสัดส่วนน้อยนั้น แสดงถึงผลิตภาพเฉลี่ย ของแรงงานชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในระดับต�่ำและความยืดหยุ่นในตลาดแรงงานที่มีอยู่น้อย โดยข้อเสนอการเพิ่มสัดส่วนก�ำลังแรงงาน หญิงนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นส�ำหรับการปรับปรุงโครงสร้างตลาดแรงงานญี่ปุ่นเพื่อให้เกิดความหลากหลายต่อระบบการจ้างงาน (2) การยกเลิกวีซา่ ส�ำหรับนักท่องเทีย่ วในภูมภิ าคอาเซียนทีจ่ ะเดินทางเข้าญีป่ นุ่ ส่งผลท�ำให้อตุ สาหกรรมท่องเทีย่ วญีป่ นุ่ ขยายตัว ได้ในอัตราสูงและเป็นปัจจัยสนับสนุนเชื่อมโยงไปสู่การใช้จ่ายและการลงทุนภายในประเทศที่ขยายตัวเร่งขึ้นตาม และ (3) การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร โดยญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้อย่างมีเอกลักษณ์และโดดเด่น แต่จากที่ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าสูงเกินไปนั้นส่งผลถึงความเสียเปรียบทางการแข่งขันระหว่างประเทศ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าว มากกว่าการให้เงินสนับสนุนภายในประเทศนั้นถือเป็นความท้าทายอีกอย่างหนึ่งของรัฐบาลญี่ปุ่น นอกเหนือจากที่กล่าวมายัง มีข้อแนะน�ำการปฏิรูปเศรษฐกิจญี่ปุ่นอีกหลายประการที่น่าสนใจ ซึ่งมีรายละเอียดปรากฏดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แผนการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่น แผนการปฏิรูป และกระตุ้นเศรษฐกิจ

รายละเอียด

ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

สนับสนุน TPP และ FTAs

ลดมาตรการกีดกันทางการค้าและ เพิ่มมูลค่าการค้าในกลุ่ม และเป็นแนวทางใน ภาษีในกลุ่ม APEC ลง การน�ำไปสู่ FTAs ของเอเชียในอนาคต

พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม ตั้งเป้าหมายการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และผ่อนคลายการสร้างอาคารใน เพิม่ ขึ้นเป็น 35 ล้านล้านเยน ใน ค.ศ. 2020 จาก พื้นที่จ�ำกัดเพื่อขยายการลงทุน 17.8 ล้านล้านเยน ใน ค.ศ. 2012

เพิ่มก�ำลังแรงงาน

เพิ่มศูนย์ดูแลเด็กเล็กจ�ำนวน 4 แสน มีก�ำลังแรงงานที่เป็นผู้หญิงเพิ่มขึ้น แห่งให้ได้ใน ค.ศ. 2017

เพิ่มโครงการลงทุนกับเอกชน

เพิ่มการลงทุนร่วมระหว่างรัฐบาล ตั้งเป้าการลงทุนร่วมกันมูลค่ากว่า 12 ล้านล้าน และเอกชนให้ มี ม ากขึ้ น ในระบบ เยน ในอีก 10 ปีข้างหน้า (จาก 4 ล้านล้านเยน โครงสร้างพื้นฐาน และอื่น ๆ ใน ค.ศ. 2012)

พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร

ควบรวมและพัฒนาการเพาะปลูกให้ ลดต้นทุนการผลิตและความได้เปรียบในการส่ง มีประสิทธิภาพ ออกสินค้าเกษตร

ลดการขอวีซ่าของนักท่องเที่ยว ยกเลิกการขอวีซ่าของนักท่องเที่ยว สนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จากอาเซียน จากอาเซียน ส่งเสริมภาคเอกชนรับงานลงทุน ส่ ง เสริ ม ให้ เ อกชนรั บ งานลงทุ น เพิม่ การรับรูก้ ำ� ไรจากการลงทุนเป็น 30 ล้านล้าน โครงสร้างพืน้ ฐานในต่างประเทศ โครงสร้ า งพื้ น ฐานในต่ า งประเทศ เยน ใน ค.ศ. 2020 (จาก 10 ล้ า นล้ า นเยน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ในปัจจุบนั ) ที่มา : บลจ.ทิสโก้ 4

56

MikawayaRyokan, The Truth About Abenomics-The Japanese Economic Experiment That’s Captivating the World, [http://www.businessinsider. com/what-is-abenomics-2013-3#ixzz2fofEYzAP], Retrieved on 23 September 2013.


อย่างไรก็ดี การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดในการด�ำเนินงานต่าง ๆ ซึ่งในบาง แผนการนัน้ ยังจ�ำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม และมีการก�ำหนดวิธกี ารด�ำเนินงานทีช่ ดั เจนและต้องใช้เวลาระยะหนึง่ ทัง้ นี้ แนวคิดดังกล่าวถือว่าเป็นจุดเริม่ ต้นส�ำคัญต่อการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจญีป่ นุ่ เพือ่ รองรับการเจริญเติบโตตามเป้าหมายทาง เศรษฐกิจที่วางไว้ ซึ่งในประเด็นนี้ควรติดตามถึงความต่อเนื่องในการด�ำเนินการในระยะต่อไป

3. โอกาสและความส�ำเร็จ เป้าหมายของรัฐบาลนายชินโสะ อาเบะ ทีม่ งุ่ หวังให้เศรษฐกิจญีป่ นุ่ ฟืน้ ตัว โดยก�ำหนดระดับเงินเฟ้ออยูใ่ นกรอบเป้าหมาย ที่ร้อยละ 2.0 เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อระดับการขยายตัวให้อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ณ ราคาคงที่5 (ร้อยละ 4.0 ณ ราคาตลาด) ด้วย การด�ำเนินนโยบายต่าง ๆ ทีก่ ล่าวมาข้างต้นนัน้ อาจไม่สามารถประสบความส�ำเร็จได้ในระยะเวลาอันสัน้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจ ญีป่ ุ่นเริ่มมีสัญญาณบวกต่อเศรษฐกิจมากขึน้ ภายหลังด�ำเนินการต่าง ๆ ส่งผลให้เศรษฐกิจญีป่ ุ่นเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป บ่งชี้ได้ดังต่อไปนี้ o o o o

เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ขยายตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัว ร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลจากการขยายตัวของการใช้จ่ายภาครัฐและ ภาคการส่งออกเป็นส�ำคัญ อุปสงค์ในประเทศที่ส่งสัญญาณการฟื้นตัว สะท้อนจากชาวญี่ปุ่นที่เริ่มจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นท�ำให้ระดับราคาสินค้า ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่นปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาอยู่ในแดนบวกต่อเนื่องเป็นเวลา 5 เดือน ติดต่อกัน โดยในเดือนตุลาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาคการค้าระหว่างประเทศทีก่ ลับมาขยายตัวเร่งขึน้ จากปัจจัยฐานต�ำ่ และเงินเยนทีอ่ อ่ นค่าลงเป็นส�ำคัญ ข้อมูลล่าสุด มูลค่าการส่งออกญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน 2556 ขยายตัวร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ ภาคการส่งออกญี่ปุ่น 11 เดือนแรกปี 2556 นั้นขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน กิจกรรมภาคการผลิตภายในประเทศฟื้นตัวชัดเจน จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่อยู่เกินกว่าระดับ 50 จุด เป็นเวลา 9 เดือนติดต่อกัน ขณะทีก่ ารลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศยังมีทศิ ทางการฟืน้ ตัวทีไ่ ม่แน่ชดั สะท้อนถึงการลงทุน โครงการใหม่ของภาคเอกชนที่ยังคงอยู่ในระดับต�่ำ ซึ่งจ�ำเป็นต้องติดตามถึงการด�ำเนินการแก้ปัญหาของรัฐบาล ญี่ปุ่นต่อไป

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงส�ำคัญที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีดังนี้ o โครงสร้างประชากร การเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุของญีป่ นุ่ อาจส่งผลท�ำให้กำ� ลังแรงงานในการด�ำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประเทศเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตเป็นไปได้อย่างจ�ำกัด o ตลาดแรงงานที่ขาดความยืดหยุ่น จากการยึดหลักความอาวุโสเป็นหลัก ส่งผลให้ก�ำลังแรงงานวัยหนุ่มสาวมีโอกาส เข้าสู่ตลาดได้น้อยและได้รับค่าตอบแทนที่ต�่ำ ท�ำให้ขาดแรงจูงใจในการเพิ่มศักยภาพในการท�ำงาน ทั้งนี้ รัฐบาลชุด ปัจจุบันได้มองเห็นถึงปัญหาดังกล่าวพร้อมทั้งมีแนวคิดปรับปรุงโครงสร้างตลาดแรงงาน แต่ยังคงเป็นเพียงแนวคิด เริ่มแรกเท่านั้น o หนีส้ าธารณะญีป่ นุ่ ทีอ่ ยูใ่ นระดับสูง โดยในปี 2555 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 214.36 ต่อ GDP แม้วา่ หนีส้ ว่ นใหญ่จะมาจากการกูย้ มื ภายในประเทศก็ตาม หนีด้ งั กล่าวแสดงถึงภาระหนักทางการคลังของรัฐบาลญีป่ นุ่ ในอนาคต ซึง่ องค์กรระดับโลกอย่าง ธนาคารโลก (World Bank) ได้ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2557 ที่ยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากพันธบัตร รัฐบาลญี่ปุ่นที่ครบก�ำหนดช�ำระเงินในปี 2557 นั้นมีมูลค่าสูงถึง 1.8 ล้านล้านเยน

5 6

http://www.forbes.com/sites/stephenharner/2013/02/03/the-abeaso-government-three-arrows-agenda-for-economic-revival http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_public_debt

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

57


o

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของญี่ปุ่นและจีน โดยทั้งสองประเทศต่างเป็นคู่ค้าอันดับส�ำคัญด้วยกันนั้น ส่งผลให้ ประเด็นการพิพาทซึง่ เปรียบเสมือนคลืน่ ใต้นำ�้ อยูเ่ ป็นระยะมีผลกระทบเชือ่ มโยงต่อภาคเศรษฐกิจจริงของทัง้ ญีป่ นุ่ และ จีน อาทิ ความขัดแย้งประเด็นกรรมสิทธิ์การครอบครองหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุ ตลอดจนการปะทะคารมระหว่าง ผู้น�ำทั้งสองประเทศผ่านสื่อต่าง ๆ ที่สืบเนื่องมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ควรให้ความส�ำคัญและติดตาม อย่างใกล้ชิดต่อไป

อาจกล่าวได้ว่า การด�ำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะสั้นนั้นประสบความส�ำเร็จในแง่ของการคาดการณ์ เงินเฟ้อและการใช้จา่ ยในประเทศทีเ่ พิม่ ขึน้ ตลอดจนผลในด้านจิตวิทยาในแง่ของความเชือ่ มัน่ ของตลาดโลกต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ญีป่ นุ่ ดีขนึ้ ขณะทีก่ ารปฏิรปู หรือยกระดับทางเศรษฐกิจของญีป่ นุ่ ยังคงต้องก�ำหนดรูปแบบและการด�ำเนินการต่อไปในระยะกลาง ถึงระยะยาว

4. สรุป การด�ำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้แนวคิด Abenomics นั้น เป็นเสมือนความหวังใหม่ของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่ มองว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเป็นเครื่องยนต์ส�ำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจโลกได้ ภายหลังจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ยูโรโซน และ จีน ซึ่งเคยเป็นความหวังในอดีตนั้นมีทิศทางการเติบโตที่แผ่วลง ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าการด�ำเนินนโยบายลูกศร 2 ดอกแรกมุ่งเน้นไปในทางกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านอุปสงค์เพียงด้าน เดียว ดังนั้น ประเด็นที่ควรให้ความส�ำคัญในการติดตามคือลูกศรดอกที่ 3 หรือรายละเอียดของการด�ำเนินการปฏิรูปโครงสร้าง เศรษฐกิจญีป่ นุ่ ซึง่ จะเป็นกลจักรส�ำคัญทีน่ ำ� พาเศรษฐกิจญีป่ นุ่ ให้หลุดพ้นจากข้อจ�ำกัดทางการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ซึ่งหากไม่มีการขยายเศรษฐกิจด้านอุปทานควบคู่ไปกับการกระตุ้นด้านอุปสงค์จะท�ำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจบรรลุผล เพียงแค่ในระยะสั้นเท่านั้น อีกทั้งแผนการปรับภาษีมูลเพิ่มในระยะเวลาอันใกล้ของญี่ปุ่นจากเดิมร้อยละ 5.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 8.0 ในเดือนเมษายน 2557 และเพิม่ ขึน้ สูร่ อ้ ยละ 10.0 ในเดือนตุลาคม 2558 แม้วา่ ในระยะแรกนัน้ ส่งผลให้การใช้จา่ ยเพือ่ การบริโภค ภาคในประเทศเริ่มปรับตัวสูงขึ้นตามเงินเฟ้อที่คาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นในอนาคต แต่ในระยะยาวนั้นยังเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อ การขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นต่อไปได้ ทัง้ นี้ นัยเชิงเศรษฐกิจทีส่ ง่ ผลต่อประเทศไทย ในระยะสัน้ การฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจญีป่ นุ่ ส่งผลให้ภาคการค้าระหว่างประเทศ ของไทยทีด่ ขี นึ้ ผนวกกับการลงทุนในไทยเพิม่ เติมมากขึน้ เนือ่ งจากญีป่ นุ่ ถือเป็นประเทศคูค่ า้ อันดับส�ำคัญของไทย อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงหนึ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อไทยคือ เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลในภูมิภาคในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพค่าเงินบาทและความสามารถทางการแข่งขันสินค้าของไทยที่ลดลงเชิงเปรียบเทียบได้เป็น ส�ำคัญ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยญี่ปุ่นที่อยู่ในอัตราต�่ำมากส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ผันผวนต่อประเทศไทยและประเทศ อื่น ๆ ในภูมิภาคมากขึ้นอีกด้วย

58


บทวิเคราะห์ เรื่อง เพดานหนี้สาธารณะสหรัฐฯ : ระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่ยังไม่ได้ถอดสลัก

1

บทสรุปผู้บริหาร เพดานหนี้สาธารณะสหรัฐฯ เป็นประเด็นทางการเมืองระหว่างสภาคองเกรสและรัฐบาล สหรัฐฯ มาช้านาน เนื่องจากการระบุเพดานหนี้เป็นจ�ำนวนเงินท�ำให้ต้องมีการปรับเพิ่มเพดานหนี้อยู่เป็น ระยะ ๆ โดยต้องผ่านความเห็นชอบของวุฒสิ ภาและสภาผูแ้ ทนราษฎรสหรัฐฯ ก่อนจะลงนามโดยประธานาธิบดี สหรัฐฯ เป็นการคานอ�ำนาจระหว่างฝั่งนิติบัญญัติและฝั่งบริหารของสหรัฐฯ ❍❍ ในอดีตที่ผ่านมา ทางการสหรัฐฯ ปรับเพดานหนี้ไปแล้ว 79 ครั้ง ในรอบ 96 ปี โดยการปรับ เพดานหนี้ที่มีปัญหายืดเยื้อ ได้แก่ การปรับเพดานหนี้ในสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน ปี 2538 ที่น�ำมาสู่ การปิดท�ำการชั่วคราวของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ในช่วงปี 2538-2539 นานถึง 21 วัน ❍❍ ความยืดเยื้อในการปรับเพดานหนี้ในช่วงกลางปี 2554 ในวาระแรกของประธานาธิบดีบารัค โอบามา จากความขัดแย้งในสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีพรรคฝ่ายค้านครองเสียงข้างมากกับฝ่ายบริหารและวุฒิสภา ซึง่ มีพรรคฝ่ายรัฐบาลครองเสียงข้างมาก ท�ำให้รฐั บาลสหรัฐฯ จ�ำเป็นต้องออกกฎหมายควบคุมงบประมาณ 2554 ซึ่งเป็นต้นก�ำเนิดของประเด็นปัญหาหน้าผาทางการคลังในเวลาต่อมา อีกทั้งส่งผลให้สหรัฐฯ ถูกปรับลดอันดับ ความน่าเชื่อถือโดย Standard & Poor’s ❍❍ ถึงแม้ว่าในวันที่ 16 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา สภาคองเกรสและรัฐบาลสหรัฐฯ จะสามารถหา ข้อตกลงประเด็นเพดานหนีส้ าธารณะได้ แต่ยงั ไม่มกี ารปรับเพิม่ เพดานหนีเ้ พิม่ เติมจากระดับเดิม มีเพียงการยกเลิก การใช้เพดานหนีช้ วั่ คราวในลักษณะทีค่ ล้ายคลึงกับการยกเลิกเพดานหนีใ้ นช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ❍❍ หากรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่สามารถปรับขึ้นเพดานหนี้ได้จนต้องผิดนัดช�ำระหนี้ จะส่งผลกระทบ อย่างใหญ่หลวงแก่ระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก ทั้งทางด้านความเสี่ยงด้านสภาพคล่องในระบบธนาคาร พาณิชย์ ความเสี่ยงด้านทุนส�ำรองระหว่างประเทศ และความเสี่ยงด้านต้นทุนทางการเงินที่จะปรับสูงขึ้น ❍❍

1. บทน�ำ เมื่อคืนวันที่ 30 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา สภาคองเกรสสหรัฐฯ อันประกอบไปด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ที่ครองเสียงข้างมากโดยพรรครีพับลิกันซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านและวุฒิสภา (Senate) ซึ่งเป็นพรรคเดโมแครต ภายใต้การน�ำของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ครองเสียงข้างมาก ไม่สามารถหาข้อสรุปร่างและผ่านร่างงบประมาณประจ�ำ ปีงบประมาณ 2557 (เดือนตุลาคม 2556–กันยายน 2557) ได้ทันเวลา ส่งผลให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ จ�ำเป็นต้องปิดท�ำการเป็น บางส่วน (Partial Federal Government Shutdown)

ผู้เขียน : ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ เศรษฐกรช�ำนาญการ ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ส�ำหรับข้อแนะน�ำ

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

59


ต้นเหตุของความขัดแย้งในสภาคองเกรสครั้งนี้เกิดจากการที่พรรครีพับลิกันต้องการตัดค่าใช้จ่ายภาครัฐในการให้ สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ตามกฎหมายปฏิรูประบบสาธารณสุข (Patient Protection and Affordable Care Act : PPACA หรือ Obamacare2) และเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวออกไปอีก 1 ปี ซึ่งการตัดลดงบประมาณรายจ่ายนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของข้อตกลงจากการแก้ไขปัญหาหน้าผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม วุฒิสภา สหรัฐฯ ต้องการผลักดันกฎหมายนี้ให้ผ่านสภา จุดยืนที่แตกต่างกันของทั้งสองพรรคท�ำให้ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ ภาพที่ 1 ระยะเวลาในการปิดท�ำการชั่วคราวของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ในอดีต

ที่มา : Statista Charts

อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งในครั้งนี้มีนัยที่ซ่อนอยู่มากกว่าเพียงการปิดท�ำการชั่วคราวของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากรัฐบาลกลางสหรัฐฯ เคยปิดท�ำการมาแล้วถึง 17 ครั้งก่อนหน้านี้ โดยครั้งที่ยาวนาน ที่สุดเมื่อปี 2538 กินเวลาถึง 21 วัน หากแต่การไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการตัดลดงบประมาณรายจ่าย เป็นการเพิ่ม “ไพ่ไม้ตาย” ในมือของพรรครีพับลิกันในการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ซึ่งเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่สามารถ ส่งผลกระทบอันร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโลกได้

2

60

Obamacare หรือกฎหมายปฏิรูประบบสาธารณสุข (Patient Protection and Affordable Care Act : PPACA) ซึ่งมีใจความส�ำคัญบังคับให้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ ต้องซือ้ ประกันสุขภาพ ในขณะเดียวกันก็บงั คับห้ามบริษทั ประกันสุขภาพปฏิเสธการขายประกันสุขภาพแก่ผซู้ อื้ เนือ่ งจากเงือ่ นไขทางสุขภาพของผูซ้ อื้ ประกัน อีกทัง้ มีการเรียกเก็บภาษี Medicare จากผู้มีรายได้สูง ซึ่งกฎหมาย Obamacare นี้จะท�ำชาวอเมริกันส่วนใหญ่มีหลักประกันด้านสุขภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็จะท�ำให้ บริษทั ประกันตลอดจนกลุม่ คนรวยสูญเสียผลประโยชน์เป็นจ�ำนวนมาก ทัง้ จากค่าเบีย้ ประกันสุขภาพส�ำหรับคนรวยทีจ่ ะสูงขึน้ และค่าใช้จา่ ยของบริษทั ประกันใน การครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลผู้มีรายได้น้อยที่จะเพิ่มขึ้น


บทความนี้วิเคราะห์ที่มาของความขัดแย้งในการปรับเพดานหนี้สาธารณะสหรัฐฯ อีกทั้งจะวิเคราะห์นัยต่อเศรษฐกิจโลก หากการปรับเพดานหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ล้มเหลว เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

2. ที่มาของเพดานหนี้สาธารณะสหรัฐฯ รัฐบาลสหรัฐฯ มีอ�ำนาจกู้ยืมโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ปี 2330 (ค.ศ. 1787) มาตรา 1 วรรค 8 (Article I Section 8) ที่ให้อ�ำนาจสภาคองเกรสในการกู้ยืมหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ และเริ่มมีกฎหมายบังคับใช้เพดาน หนี้สาธารณะในปี 2460 (ค.ศ. 1917) ตามกฎหมายการออกพันธบัตรเพื่ออิสรภาพครั้งที่ 1 (The First Liberty Bond Act) ในเดือนเมษายน 2460 และกฎหมายการออกพันธบัตรเพื่ออิสรภาพครั้งที่ 2 (The Second Liberty Bond Act) ในเดือน ตุลาคม 2460 ที่ก�ำหนดเพดานการออกพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ไว้ที่ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามล�ำดับ3 โดยเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรในครั้งนั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อน�ำเงินมาสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่น�ำหลักการใช้เพดานหนี้มาเป็นกรอบในการขอกู้เงินของ รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งผ่านการเห็นชอบของสภาคองเกรส และใช้เป็นหลักในการปรับเพดานหนี้มาอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่มาของ การก�ำหนดเพดานหนี้สาธารณะสหรัฐฯ เป็นหน่วยดอลลาร์สหรัฐ ต่างจากประเทศอื่น ๆ ที่มักก�ำหนดเพดานหนี้สาธารณะไว้เป็น ร้อยละของขนาดเศรษฐกิจ ซึ่งการก�ำหนดเพดานหนี้เป็นหน่วยดอลลาร์สหรัฐนี้ท�ำให้สภาคองเกรสต้องพิจารณาอนุมัติปรับขึ้น เพดานหนี้เป็นระยะ ๆ จึงจัดเป็นการคานอ�ำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาคองเกรส) และฝ่ายบริหาร (ประธานาธิบดีและ รัฐบาล) ที่เข้มข้น ทั้งนี้ มูลค่าหนี้สาธารณะของประเทศใด ๆ ก็ตามมักจะเพิ่มขึ้นตามขนาดเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภาคการคลัง ซึ่งระดับ หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ก็เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ระดับหนี้คงค้างเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยมา โดยมีข้อยกเว้นในบางปี อาทิ ปี 2499-2500 (ค.ศ. 1956-57) ในสมัยของประธานาธิบดีดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ที่ระดับหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า จากระดับ 274.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2498 (ค.ศ. 1955) ลงสู่ระดับ 272.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2499 และ 272.3 พันล้านในปี 2500 โดยเป็นผลมาจากการเกินดุลงบประมาณมูลค่า 3.9 และ 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2499 และปี 2500 ตามล�ำดับ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาสัดส่วนของระดับหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ต่อขนาดเศรษฐกิจจะพบว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะ สหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2544 (ค.ศ. 2001) เป็นต้นมา หลังจากที่เคยพุ่งสูงถึงกว่าร้อยละ 121.7 ของ GDP ในปี 2489 (ค.ศ. 1946) ซึ่งเป็นช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยสหรัฐอเมริกากู้ยืมเพื่อใช้จ่ายทางการทหาร เป็นเหตุให้สัดส่วนหนี้สาธารณะพุ่งสูงขึ้นดังกล่าว ภาพที่ 2 ระดับหนี้สาธารณะสหรัฐฯ และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สหรัฐฯ รายปี

ที่มา : US Office of Management and Budget

3

ก่อนปี 2460 ที่จะมีการใช้กฎหมายดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรสในการกู้เงินเป็นครั้ง ๆ ไป

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

61


นับตัง้ แต่ปี 2483 มาจนถึงปัจจุบนั สภาคองเกรสได้ปรับเพิม่ เพดานหนีส้ าธารณะสหรัฐฯ ไปแล้ว 79 ครัง้ หรือเฉลีย่ มากกว่า ปีละ 1 ครั้ง อย่างไรก็ตาม การขยายเพดานหนี้ในปี 2554 (ค.ศ. 2011) เป็นการขยายเพดานหนี้ครั้งที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โลกมากที่สุด ดังจะกล่าวในหัวข้อต่อไป ภาพที่ 3 เพดานหนี้สาธารณะสหรัฐฯ

ที่มา : US Office of Management and Budget, US Department of Treasury รวบรวมโดย Heritage.org

3. การเจรจาเพดานหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ในปี 2538 ในวาระของประธานาธิบดีบิล คลินตัน สมัยแรก (ปี 2536–2540) พรรครีพับลิกันซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านได้ครองเสียงข้าง มากในสภาผู้แทนราษฎร ในขณะที่พรรคเดโมแครตได้เสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา ส่งผลให้การเจรจาในสภาคองเกรสต้องพบกับ ทางตัน (Political gridlock) หลายครั้ง โดยในเดือนกันยายน 2538 สภาคองเกรสไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณรายจ่ายได้ทัน ปีงบประมาณ 2539 (เดือนตุลาคม 2538–กันยายน 2539) เนื่องจากประธานาธิบดีบิล คลินตัน และวุฒิสภา ไม่ต้องการตัดค่าใช้ จ่ายเพือ่ การศึกษาและสาธารณสุขตามข้อเรียกร้องของสภาผูแ้ ทนราษฎร จึงเป็นทีม่ าของการปิดท�ำการชัว่ คราวของรัฐบาลกลาง สหรัฐฯ 2 รอบ ตั้งแต่วันที่ 14–19 พฤศจิกายน 2538 และวันที่ 16 ธันวาคม 2538–6 มกราคม 2539 ซึ่งการปิดท�ำการชั่วคราว รอบที่ 2 นี้เป็นการปิดท�ำการนานที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 21 วัน อีกทั้งท�ำให้มีความขัดแย้งในการปรับขึ้นเพดานหนี้สาธารณะ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวาระของประธานาธิบดีบิล คลินตัน ในสมัยแรกจะหมดลงในปลายปี 2539 ท�ำให้นายบ็อบ โดล ว่าที่ผู้สมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรตกลงปรับขึ้นเพดานหนี้สาธารณะ เพื่อ เรียกคะแนนเสียงให้แก่พรรครีพับลิกัน ภายหลังจากที่คะแนนนิยมของพรรคตกต�่ำลงจากประเด็นความขัดแย้งเรื่องการตัดลด รายจ่ายดังกล่าว จึงท�ำให้สหรัฐอเมริการอดพ้นจากวิกฤติเพดานหนี้สาธารณะได้ด้วยความยินยอมของทั้งสองพรรคการเมือง

62


ภาพที่ 4 นายบิล คลินตัน และนายบ็อบ โดล ระหว่างการหาเสียงชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2539

ที่มา : Businessweek

4. วิกฤติเพดานหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ในปี 2554 : ระเบิดเวลาลูกแรกของโอบามา ในปี 2554 ระหว่างที่นายบารัค โอบามา ด�ำรงต�ำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยแรก หนี้สาธารณะสหรัฐฯ ได้ชนเพดาน ที่ 14.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ท�ำให้สภาคองเกรสจ�ำเป็นต้องประชุมเพื่อหาข้อสรุปในการปรับเพิ่มเพดานหนี้ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม พรรครีพับลิกันซึ่งครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้เรียกร้องให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ตัดลด งบประมาณรายจ่ายลง แลกกับการยินยอมปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ โดยหากไม่มีการปรับขึ้นเพดานหนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ จะกู้ยืมเต็มเพดานในวันที่ 2 สิงหาคม 2554 และจะไม่สามารถกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อชดเชยการขาดดุลทางการคลัง ตลอดจนช�ำระ คืนหนี้ได้ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป การเจรจาในครัง้ นีเ้ ริม่ ต้นตัง้ แต่เดือนมกราคม 2554 และยืดเยือ้ ยาวนานกว่า 7 เดือน โดยพรรครีพบั ลิกนั มีขอ้ เรียกร้องว่า จะยอมปรับเพิ่มขึ้นเพดานหนี้ก็ต่อเมื่อ 1) มีการตัดลดรายจ่ายในมูลค่าที่เท่ากันกับระดับเพดานที่ปรับเพิ่มขึ้น (Dollar-to-dollar deal) 2) ให้มีการตัดลดงบประมาณรายจ่ายส่วนใหญ่ในช่วง 2 ปีแรกหลังจากการเจรจา 3) มีการก�ำหนดเพดานรายจ่าย 4) มีการน�ำรัฐบัญญัติงบประมาณสมดุล (Balanced Budget Amendment) เข้าผ่านการเห็นชอบของสภา โดยรัฐบัญญัติ ดังกล่าวระบุว่ารายได้ภาครัฐจะต้องครอบคลุมรายจ่ายเสมอ และ 5) ไม่มีการปรับขึ้นภาษี โดยอาจมีการปฏิรูปภาษีได้หาก จ�ำเป็น อย่างไรก็ตาม พรรคเดโมแครตมีจุดยืนที่ตรงกันข้าม ดังสรุปในตารางที่ 1 จึงเป็นที่มาของความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนาน ตารางที่ 1 เงื่อนไขของพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตในการเจรจาปรับขึ้นเพดานหนี้ ปี 2554 ประเด็น

พรรครีพับลิกัน

พรรคเดโมแครต

การปรับขึ้นเพดานหนี้

- ต้องตัดลดรายจ่ายในมูลค่าที่เท่ากัน

- ไม่มีเงื่อนไขในการปรับขึ้นเพดานหนี้ - ปรับขึ้นเพดานหนี้ในวงเงินที่สูงเพียงพอที่จะ ครอบคลุมรายจ่ายจนถึงปี 2556

การตัดลดรายจ่าย

- -

- -

การท�ำงบประมาณสมดุล

- น�ำรัฐบัญญัติงบประมาณสมดุลเข้า ผ่านการเห็นชอบของสภา

- ไม่มีการกล่าวถึงงบประมาณสมดุล

การปรับขึ้นภาษี

- ไม่สนับสนุนการปรับขึน้ ภาษี โดยอาจ มีการปฏิรูปภาษีได้หากจ�ำเป็น

- สนับสนุนการปรับขึ้นภาษี

ที่มา : รวบรวมโดย สศค.

ตัดลดงบประมาณรายจ่ายส่วนใหญ่ ในช่วง 2 ปีแรกหลังจากการเจรจา (ปี 2555–2556) มีการก�ำหนดเพดานรายจ่าย

คัดค้านการตัดลดรายจ่ายสวัสดิการสังคมและ รายจ่ายสาธารณสุข (Medicare และ Medicaid) ก�ำหนดสัดส่วนการตัดลดรายจ่ายต่อการปรับ ขึ้นภาษี

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

63


ในที่สุด ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 หรือเพียง 2 วันก่อนที่จะถึงเส้นตาย สภาผู้แทนราษฎรยอมตกลงปรับเพิ่มเพดานหนี้ สาธารณะอีก 900 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สู่ระดับ 15.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม เพื่อแลกกับการปรับขึ้นเพดานหนี้ ดังกล่าว ประธานาธิบดีโอบามาจ�ำเป็นต้องออกกฎหมายควบคุมงบประมาณ 2554 (Budget Control Act 2011) ซึ่งมีใจความ ส�ำคัญดังนี้ ➥➥ รัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องตัดลดงบประมาณรายจ่ายในวงเงินที่มากกว่าการปรับเพิ่มเพดานหนี้ โดยในงวดแรก (First tranche) จะต้องมีการปรับลดงบประมาณรายจ่ายลง 917 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งเป็นวงเงินที่สูง กว่าเพดานหนี้ที่ได้ปรับเพิ่ม โดยตัดลดรายจ่ายลง 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีงบประมาณ 2555 ➥➥ สภาคองเกรสจะต้องจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อออกกฎหมายตัดลดรายจ่าย (Joint Select Committee on Deficit Reduction) เพื่อตัดลดรายจ่ายลง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอีก 10 ปีข้างหน้า ➥➥ หากสภาคองเกรสไม่สามารถออกกฎหมายปรับลดงบประมาณรายจ่ายอย่างน้อย 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ทันเวลา อาจมีการปรับขึ้นเพดานหนี้สาธารณะได้ในวงเงินที่เท่ากัน (1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่จะก่อให้เกิดการตัดลด งบประมาณในสัดส่วนที่เท่ากันทุกรายจ่ายโดยอัตโนมัติ (Sequestration) โดยมูลค่าการใช้จ่ายที่ภาครัฐจะถูกตัดออกจะเท่ากับ ส่วนต่างของแผนทีอ่ นุมตั กิ บั วงเงิน 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทัง้ นี้ การตัดลดจะกระทบกับรายจ่ายทีใ่ นโครงการประเภททีร่ ฐั สภา อนุมัติให้เป็นรายปี (Discretionary spending) ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นงบประมาณทางการทหาร (Defense Spending) และไม่รวม รายจ่ายส�ำคัญ อาทิ รายจ่ายประกันสังคมหรือสวัสดิการรักษาพยาบาล หลังจากที่เพดานหนี้สหรัฐฯ ได้รับการปรับขึ้นอาจดูเหมือนว่าสหรัฐฯ สามารถหลบวิกฤติทางการคลังได้พ้น หากแต่ ความยืดเยือ้ ในการเจรจาเพดานหนีใ้ นครัง้ นีไ้ ด้นำ� มาซึง่ การปรับลดอันดับความน่าเชือ่ ถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยสถาบัน จัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor’s (S&P) โดยปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ลง จากระดับ AAA สู่ระดับ AA+ ในวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลดลงมากจากเหตุการณ์ดังกล่าว ภาพที่ 5 ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ช่วงก่อนและหลังการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ

ที่มา : Dow Jones

ตารางที่ 2 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 ดัชนี S%P 500 FTSE 100 DAX Nikkei Hang Seng SET Index ที่มา : Bloomberg

64

ปิด ณ วันที่ 8 ส.ค. 56 1,199.38 5,246.99 6,236.16 9,175.24 20,409.00 1,078.19

เปลี่ยนแปลงจาก วันก่อนหน้า (ระดับ) -0.69 -146.15 -178.60 -124.64 -537.13 -15.19

เปลี่ยนแปลงจาก วันก่อนหน้า (%) -0.06% -2.71% -2.78% -1.34% -2.56% -1.39%


ภายหลั ง จากการปรั บ ขึ้ น เพดานหนี้ ใ นครั้ ง นี้ สหรั ฐ ฯ ได้ ผู ก มั ด ตั ว เองด้ ว ยกฎหมายควบคุ ม งบประมาณ 2554 ดั ง กล่ า ว ซึ่ ง เมื่อ รวมกับการตัด ลดภาษีในสมัย ของประธานาธิ บดี จ อร์ จ ดั บเบิ ลยู . บุ ช ที่ สิ้นสุ ดลงในวั น ที่ 31 ธั น วาคม 2555 ท�ำให้สหรัฐฯ ต้องประสบปัญหาทางการคลังทั้งด้านรายรับและรายจ่ายที่เรียกกันว่าปัญหา “หน้าผาทางการคลัง” (Fiscal Cliff)4 ซึ่งในที่สุดก็สามารถเจรจาหาทางแก้ปัญหาได้ในคืนวันที่ 1 มกราคม 2556 (ตามเวลาสหรัฐฯ) ซึ่งเรียกได้ว่า แทบจะเป็นการแก้ไขปัญหาได้ในนาทีสุดท้ายอีกครั้ง

5. จะเกิดอะไรขึ้น หากสหรัฐฯ ไม่สามารถปรับเพิ่มเพดานหนี้ได้ ถึงแม้ว่าสภาคองเกรสสหรัฐฯ จะสามารถหาข้อตกลงในประเด็นเพดานหนี้ได้ในคืนวันที่ 16 ตุลาคม 2556 (ตามเวลา สหรัฐฯ) โดยประธานาธิบดีโอบามาได้ลงนามในร่างกฎหมายดังกล่าวในเวลาหลังเที่ยงคืนเล็กน้อย ท�ำให้สหรัฐฯ รอดพ้น จากการผิดนัดช�ำระหนี้และยุติการปิดท�ำการชั่วคราวของรัฐบาลกลาง และหลีกเลี่ยงการก่อชนวนวิกฤติการเงินซึ่งจะส่ง ผลกระทบไปทั่วโลกได้อย่างฉิวเฉียด อย่างไรก็ตาม จากข้อตกลงดังกล่าวเพดานหนี้ยังมิได้ถูกปรับขึ้น หากแต่ได้รับการเลื่อนการเจรจาไปจนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 ที่จะถึงนี้ คล้ายคลึงกับการยกเลิกเพดานหนี้ชั่วคราวระหว่างวันที่ 4 กุมภาพันธ์–18 พฤษภาคม 2556 โดย ในช่วงเวลาดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ใช้มาตรการทางการคลังแบบพิเศษ (Extraordinary Measures) ในการบริหารเงินสด เพื่อลดการก่อหนี้เพิ่มเติมให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และหลีกเลี่ยงการผิดนัดช�ำระหนี้ โดยในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 สภาคองเกรสและรัฐบาลสหรัฐฯ ตัดสินใจว่าในวันที่ 19 พฤษภาคม 2556 ซึ่งเป็นวันที่จะเริ่มใช้เพดานหนี้อีกครั้ง เพดานหนี้ สหรัฐฯ จะกลับมาอยู่ที่ 16.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจ�ำนวนนี้ยังไม่รวมเงินกู้ที่รัฐบาลสหรัฐฯ กู้เพิ่มเติมในช่วงเวลาที่ใช้ มาตรการทางการคลังแบบพิเศษอีก 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ท�ำให้ยอดหนี้สาธารณะสหรัฐฯ คงค้างรวมอยู่ที่ระดับ 16.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ5 เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ดังกล่าว สภาคองเกรสจะต้องเจรจาเพื่อปรับขึ้นเพดานหนี้อีกครั้ง ซึ่งหากไม่สามารถ บรรลุข้อตกลงได้ทันเวลา รัฐบาลสหรัฐฯ อาจจ�ำเป็นต้องผิดนัดช�ำระหนี้พันธบัตรเป็นบางส่วน (Selective default) ซึ่งจะสร้าง ความเสี่ยงร้ายแรงแก่ตลาดการเงินโลก ดังนี้ ➥➥ ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง

หากรัฐบาลสหรัฐฯ ผิดนัดช�ำระหนี้ ระบบการช�ำระเงิน (Clearing system) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะไม่สามารถอนุญาตให้สถาบันการเงินใช้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นหลักประกันในการขอกู้ระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง (Overnight lending) กับธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากกฎหมายระบุห้ามไม่ให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ รับพันธบัตร รัฐบาลที่ผิดนัดช�ำระหนี้เป็นหลักทรัพย์ค�้ำประกัน ซึ่งจะท�ำให้ระบบธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ ขาดสภาพคล่องและอาจต้องปิด ท�ำการชั่วคราว และจะส่งผลให้ตลาดการเงินโลกตื่นตระหนกกว่าการล้มละลายของบริษัทเลห์แมน บราเธอรส์ ในปี 2551 อันเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกในปี 2551–2552 ได้

ดูรายละเอียดเพิม่ เติมได้ทบี่ ทความ “เลือกตัง้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ : เด็ดดอกไม้ สะเทือนทัง้ ดวงดาว” ใน ประมาณการเศรษฐกิจปี 2555-2556 ฉบับเดือนธันวาคม 2555 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 5 เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯ ได้รับรายได้เพิ่มเติมจาก Federal National Mortgage Association (FNMA หรือแฟนนี่เมย์) เป็นจ�ำนวน 59.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ท�ำให้รัฐบาลสหรัฐฯ มีเงินสดที่สามารถใช้จ่ายได้จนถึงเดือนตุลาคม 2556 4

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

65


ภาพที่ 6 สัดส่วนการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ โดยนักลงทุนและสถาบันต่างชาติ

ที่มา : US Department of Treasury รวบรวมและค�ำนวณโดย สศค.

➥➥ ความเสี่ยงด้านทุนส�ำรองระหว่างประเทศ

การผิดนัดช�ำระหนี้ของสหรัฐฯ ยังจะส่งผลต่อทุนส�ำรองระหว่างประเทศของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจาก พั น ธบั ต รรั ฐ บาลสหรั ฐ ฯ เป็ น สิ น ทรั พ ย์ ป ลอดภั ย ที่ น านาประเทศใช้ ถื อ เป็ น สั ด ส่ ว นขนาดใหญ่ ใ นทุ น ส� ำ รองต่ า งประเทศ (Foreign reserves) หากเกิดการผิดนัดช�ำระหนี้ขึ้น ประเทศต่าง ๆ ที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ในรูปของทุนส�ำรอง ระหว่างประเทศ จะต้องเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ออกมา เพือ่ ให้เป็นไปตามกฎการถือครองสินทรัพย์ตา่ งประเทศในทุนส�ำรอง ระหว่างประเทศ ซึ่งหลายประเทศไม่อนุญาตให้ธนาคารกลางถือสินทรัพย์ที่ผิดนัดช�ำระหนี้ในทุนส�ำรองระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้แก่ ทางการจีนและญี่ปุ่น ซึ่งถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รวมมูลค่าแล้วกว่า 2.42 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ความเสี่ยงด้านต้นทุนทางการเงิน

ปัจจุบันอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ถูกใช้เป็นฐานการค�ำนวณผลตอบแทนทางการเงิน อื่น ๆ ทั่วโลก เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ถูกจัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่สุดในโลก หากเกิดการผิดนัดช�ำระหนี้ขึ้น ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จะปรับตัวสูงขึ้นมากเพื่อสะท้อนความเสี่ยงในการผิดนัดช�ำระหนี้ (Default risk) และ จะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินปรับตัวสูงขึ้นมากในระยะเวลาสั้น ๆ

6. สรุป ประเด็นเพดานหนีส้ าธารณะสหรัฐฯ นัน้ เป็นประเด็นทีม่ นี ยั และความส�ำคัญต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก โดยถึงแม้วา่ กรณีที่สหรัฐฯ ผิดนัดช�ำระหนี้จะมีความเป็นไปได้ต�่ำมาก แต่ประชาคมโลกไม่ควรนิ่งนอนใจ เนื่องจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจะ ส่งผลที่รุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก จนอาจเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกระลอกต่อไปได้ เราจึงควรจับตามองประเด็นนี้ อย่างใกล้ชิดต่อไป

66


บทวิเคราะห์ เรื่อง เจาะลึกเศรษฐกิจอิเหนา : วิกฤติเงินเฟ้อและเงินทุนไหลออกของอินโดนีเซีย

1

บทสรุปผู้บริหาร วิกฤติเงินเฟ้อและเงินทุนไหลออกเกิดจากนโยบายอุดหนุนน�้ำมันของอินโดนีเซียซึ่งบิดเบือน อุปสงค์ที่แท้จริง ท�ำให้มีการน�ำเข้าน�้ำมันเกินความจ�ำเป็น ส่งผลให้อินโดนีเซียขาดดุลการค้าและดุลบัญชี เดิ น สะพั ด อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ประกอบกั บ กระแสข่ า วการยุ ติ ม าตรการ QE ของสหรั ฐ ฯ ยิ่ ง ท� ำ ให้ เ กิ ด ปั ญ หา เงิ น ทุ น ไหลออกเป็นจ�ำนวนมากจนกลายเป็ น วิ ก ฤติ ใ นที่ สุ ด ขณะเดี ย วกั น นโยบายอุ ด หนุ น น�้ ำ มั น ยั ง เป็น ภาระหนักทางการคลัง ท�ำให้มีข้อจ�ำกัดทางด้านงบประมาณส�ำหรับการพัฒนาที่จ�ำเป็น อาทิ การศึกษาและ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และท�ำให้ความสามารถในการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจจริงลดลง จนกระทั่ง ท้ายสุดรัฐบาลอินโดนีเซียจ�ำเป็นต้องปรับลดการอุดหนุนน�้ำมันและน�ำไปสู่วิกฤติเงินเฟ้อ ❍❍ ทางการอินโดนีเซียแก้ไขวิกฤติโดยใช้มาตรการต่าง ๆ อาทิ การขึน ้ อัตราดอกเบีย้ นโยบาย และ มาตรการส่งเสริมการส่งออกและลดการน�ำเข้า โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและควบคุม อัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของมาตรการดังกล่าวยังคงไม่ชัดเจน ❍❍ ในระยะต่อไปคาดว่าอินโดนีเซียยังคงประสบกับความท้าทายในการบริหารจัดการเงินทุน เคลื่อนย้ายจากทั้งปัจจัยภายนอก ซึ่งล่าสุดในวันที่ 19 ธันวาคม 2556 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ตัดสินใจปรับลด ขนาดมาตรการ QE และจากปัจจัยภายใน เนื่องจากในเดือนเมษายน 2557 อินโดนีเซียจะมีการเลือกตั้งทั่วไป จึงมีความเป็นไปได้วา่ อินโดนีเซียอาจใช้ “ยาแรง” อาทิ การเลือกใช้นโยบายกีดกันทางการค้าเพือ่ รักษาโรคเรือ้ รัง นี้ และสร้างคะแนนนิยมรักษาฐานเสียงของตนได้ จึงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป ❍❍

1. บทน�ำ ด้วยขนาดของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 16 ของโลก จ�ำนวนประชากรกว่า 250 ล้านคน และทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่มั่งคั่ง ท�ำให้อินโดนีเซียเป็นที่น่าจับตามองของนักลงทุนทั่วโลกในฐานะฐานการผลิตและตลาดที่ส�ำคัญ ดังเห็นได้จากในปี 2555 การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) มีมูลค่าสูงถึง 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวอย่าง ก้าวกระโดดจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 21.3 อย่างไรก็ตาม ตัง้ แต่กลางปี 2556 เป็นต้นมา อินโดนีเซียประสบกับวิกฤติเงินเฟ้อและเงินทุนไหลออก ส่งผลให้พฒ ั นาการ ทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียต้องหยุดชะงัก จึงเป็นค�ำถามที่น่าสนใจว่าเหตุใดเศรษฐกิจที่ครั้งหนึ่งมีพัฒนาการค่อนข้างดี กลับต้องมาประสบปัญหาอย่างรุนแรงเช่นนี้ บทความนี้น�ำเสนอภาพรวมของปัญหาสถานการณ์เศรษฐกิจของอินโดนีเซียใน ปัจจุบัน มาตรการแก้ไขปัญหาของทางการอินโดนีเซีย รวมทั้งแนวโน้มของเศรษฐกิจอินโดนีเซียในระยะต่อไป

1

ผู้เขียน : นางสาวปารีณา วงศ์สุขเกษม เศรษฐกรปฏิบัติการ ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

67


2. โครงสร้างเศรษฐกิจอินโดนีเซียและสถานการณ์ปัญหาล่าสุด อินโดนีเซียเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างปิด (Closed Economy) เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น กล่าวคือ เน้นการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก โดยการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนรวม และ การบริโภคภาครัฐ คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 56.6 ร้อยละ 25.9 และร้อยละ 8.1 ของจีดีพี ตามล�ำดับ (ภาพที่ 1) ในขณะที่ การส่งออกสุทธิคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 9.4 ของ GDP เท่านั้น ในช่วงปี 2546-2555 เศรษฐกิจอินโดนีเซียได้ขยายตัวในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยที่ร้อยละ 5.7 ต่อปี ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงแต่มีทิศทางที่ลดลง (ภาพที่ 2) ภาพที่ 1 โครงสร้างเศรษฐกิจอินโดนีเซีย

ภาพที่ 2 GDP Growth และอัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซีย

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ด้วยเหตุนี้ อินโดนีเซียจึงเป็นที่น่าจับตามองของนักลงทุนทั่วโลกในฐานะเป็นฐานการผลิตและตลาดที่ส�ำคัญ ดังเห็นได้ จากในปี 2555 ได้มีการลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment) จากต่างประเทศมีมูลค่าสูงถึง 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวอย่างก้าวกระโดดจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 21.3 (ภาพที่ 3) ภาพที่ 3 เงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิของอินโดนีเซียตั้งแต่ปี 2548-ปัจจุบัน

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

68


อย่างไรก็ตาม ตัง้ แต่กลางปี 2556 เป็นต้นมา เฉพาะเดือนมิถนุ ายนเพียงเดือนเดียวมีเงินทุนไหลออกจากตลาดหลักทรัพย์ และตลาดตราสารหนี้กว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 4) อันเป็นแรงกดดันให้เงินรูเปียห์อ่อนค่าลงอย่างมาก ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เงินรูเปียห์ออ่ นค่ามากถึงร้อยละ 6.7 จากต้นปี รวมทัง้ ประสบกับวิกฤติเงินเฟ้อ (อัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคม 2556 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 8.6 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น สูงขึน้ จากเดือนก่อนทีร่ อ้ ยละ 5.9) จึงเป็นค�ำถามทีน่ า่ สนใจว่าเกิดอะไร ขึ้นกับประเทศนี้จนน�ำไปสู่วิกฤติทางเศรษฐกิจในที่สุด ภาพที่ 4 เงินทุนเคลื่อนย้ายรายสัปดาห์ของอินโดนีเซีย

ที่มา : ASEAN+3 Macroeconomic Research Office (AMRO)

ภาพที่ 5 อัตราเงินเฟ้ออินโดนีเซียก่อน-หลังการประกาศลดเงินอุดหนุนราคาน�้ำมัน

ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

69


3. สาเหตุของวิกฤติเงินทุนไหลออกและวิกฤติเงินเฟ้อของอินโดนีเซีย การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอันเนื่องมาจากการน�ำเข้าน�้ำมันเป็นปัจจัยส�ำคัญที่น�ำไปสู่วิกฤติเงินทุนไหลออกและวิกฤติ เงินเฟ้อของอินโดนีเซีย โดยแม้วา่ อินโดนีเซียเป็นประเทศทีม่ ที รัพยากรน�ำ้ มันและแก๊สธรรมชาติอดุ มสมบูรณ์ และเคยเป็นประเทศ ผู้ส่งออกน�้ำมัน โดยอินโดนีเซียเป็น 1 ใน 12 ประเทศสมาชิก OPEC (Organization of the Petroleum Exporting Countries) อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซียในระดับสูง ประกอบกับนโยบายอุดหนุนราคาน�้ำมันตัง้ แต่ปี 2510 เป็นต้นมา ส่งผลให้การบริโภคน�้ำมันภายในประเทศปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กอปรกับความสามารถในการผลิตน�้ำมันของอินโดนีเซียที่ ลดลงอย่างต่อเนือ่ ง ส่งผลให้ตงั้ แต่ปี 2547 เป็นต้นมา อินโดนีเซียไม่สามารถผลิตน�้ำมันได้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายใน ประเทศ และกลับกลายเป็นประเทศน�ำเข้าน�้ำมันสุทธิ (ภาพที่ 6) ภาพที่ 6 ปริมาณการผลิตและบริโภคน�้ำมันภายในประเทศของอินโดนีเซีย

ที่มา : United States Energy Information Administration

การน�ำเข้าน�้ำมันสุทธิที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อินโดนีเซียขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง โดยใน 6 เดือนแรกของ ปี 2556 อินโดนีเซียขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกว่า 15.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 11.2 ของ GDP ครึ่งปี 2556 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด กอปรกับกระแสข่าวในช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 ว่าสหรัฐฯ อาจจะยุติการด�ำเนินมาตรการ ผ่อนคลายทางการเงิน (QE) ก่อให้เกิดกระแสเงินทุนไหลออกจากประเทศในภูมภิ าคกลับไปยังสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากอินโดนีเซียอย่างฉับพลัน โดยเห็นได้จากเงินทุนไหลออกจากทั้งตลาดหลักทรัพย์และตลาด ตราสารหนี้กว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะในเดือนมิถุนายนเพียงเดือนเดียว ส่งผลให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียจ�ำเป็น ต้องปรับลดค่าเงินรูเปียห์หลายครั้ง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2556 ค่าเงินรูเปียห์ปรับอ่อนค่าลงกว่าร้อยละ 17.0 จากต้นปี 2556 การอุดหนุนราคาน�ำ้ มันนอกจากจะบิดเบือนอุปสงค์ทแี่ ท้จริงแล้ว ยังสร้างภาระหนักให้แก่ภาคการคลังของอินโดนีเซียอีก ด้วย ที่ผ่านมาอินโดนีเซียได้มีการอุดหนุนราคาน�้ำมันในรูปแบบของเงินโอนจากรัฐบาลกลางไปสู่บริษัท Pertamina รัฐวิสาหกิจ ที่เป็นผู้ผลิตน�้ำมันและแก๊สธรรมชาติรายใหญ่ของประเทศ เพื่อชดเชยส่วนที่ Pertamina ขาดทุนจากการตรึงราคาน�้ำมันภายใน ประเทศให้อยู่ในระดับต�่ำกว่าราคาน�้ำมันในตลาดโลก ส่งผลต่อภาระด้านการคลังของรัฐบาล งบประมาณรายจ่ายที่รัฐบาลใช้ ในการอุดหนุนราคาน�้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี 2555 คิดเป็นมูลค่ากว่า 137 ล้านล้านรูเปียห์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 12.8 ของงบประมาณรายจ่ายภาครัฐ หรือร้อยละ 5.2 ของ GDP และล่าสุดในปี 2556 เงินอุดหนุนน�้ำมันจะสูงถึง 194 ล้านล้านรูเปียห์ ซึ่งเป็นจ�ำนวนที่มากกว่างบประมาณรายจ่ายด้านความมั่นคง ด้านการศึกษา และด้านสาธารณสุข (ตารางที่ 1) หรือสามารถ กล่าวได้อกี นัยหนึง่ ว่า เงินงบประมาณทีร่ ฐั จ�ำเป็นต้องส�ำรองไว้สำ� หรับเป็นเงินอุดหนุนน�ำ้ มันท�ำให้เหลืองบประมาณจ�ำกัดส�ำหรับ รายจ่ายทีจ่ ำ� เป็นในการพัฒนาประเทศด้านอืน่ ๆ อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐาน ภาระทางการคลังทีห่ นักหนาท�ำให้ในวันที่ 22 มิถุนายน 2556 รัฐบาลอินโดนีเซียจ�ำเป็นต้องประกาศลดการอุดหนุนราคาน�้ำมัน

70


ตารางที่ 1 งบประมาณรายจ่ายและเงินอุดหนุนของรัฐบาลกลางอินโดนีเซีย (ปี 2549-2556) หน่วย : ล้านล้านรูเปียห์ (IDR)

2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 Revised Proposed Audited Audited Audited Audited Audited Audited Budget Budget งบรายจ่ายภาครัฐทั้งหมด เงินอุดหนุน เงินอุดหนุนด้านพลังงาน • เงินอุดหนุนน�้ำมัน • เงินอุดหนุนค่าไฟฟ้า งบรายจ่ายการลงทุนภาครัฐ งบรายจ่ายภาครัฐบางประเภท • ด้านความมั่นคง • ด้านการศึกษา • ด้านสาธารณสุข • ด้านสวัสดิการสังคม

440 107 95 64 30 55

505 150 117 84 33 64

693 275 223 139 84 73

629 138 95 45 50 76

697 193 140 82 58 80

884 295 256 165 90 118

24 45 12 2

31 51 16 3

9 55 14 3

13 85 16 3

17 91 19 3

51 98 14 4

1,070 1,139 245 316 202 275 137 194 65 81 169 194 72 104 16 6

78 109 17 7

ที่มา : The International Institute for Sustainable Development, “A Citizens’ Guide to Energy Subsidies in Indonesia”

การปรับลดการอุดหนุนราคาน�้ำมัน ประกอบกับค่าเงินรูเปียห์ที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้ราคาน�้ำมันในประเทศในสกุลรูเปียห์ ปรับสูงขึ้น และเนื่องจากน�้ำมันเป็นวัตถุดิบส�ำคัญในการผลิต การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน�้ำมันในประเทศเป็นแรงกดดันให้อัตรา เงินเฟ้อปรับสูงขึ้นด้วย โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม–กันยายน 2556 อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเฉลี่ยอยู่ในระดับที่สูงถึงร้อยละ 8.6 ในที่สุดธนาคารกลางอินโดนีเซียจ�ำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งย่อมจะท�ำให้เศรษฐกิจจริง ชะลอตัวลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาพที่ 7 กลไกการเกิดวิกฤติเงินทุนไหลออกและวิกฤติเงินเฟ้อของอินโดนีเซีย

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

71


ภาพที่ 7 สรุปสาเหตุที่น�ำไปสู่วิกฤติเงินทุนไหลออกและวิกฤติเงินเฟ้อของอินโดนีเซีย คือ นโยบายอุดหนุนน�้ำมันที่ด�ำเนิน มาตั้งแต่ปี 2510 บิดเบือนอุปสงค์ที่แท้จริง เกิดการน�ำเข้าน�้ำมันเกินความจ�ำเป็น ท�ำให้อินโดนีเซียขาดดุลการค้าและดุลบัญชี เดินสะพัดเรื้อรัง ประกอบกับกระแสข่าวการยุติมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ท�ำให้เกิดวิกฤติเงินทุนไหลออกจากอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันนโยบายอุดหนุนน�้ำมันยังเป็นภาระหนักทางการคลัง ท�ำให้มีงบประมาณเหลือส�ำหรับการพัฒนาที่จ�ำเป็น อาทิ การศึกษาและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานน้อยลง และท�ำให้ความสามารถในการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจจริงลดลง จนกระทั่งท้ายสุดรัฐบาลอินโดนีเซียจ�ำเป็นต้องลดการอุดหนุนน�้ำมัน และน�ำไปสู่วิกฤติเงินเฟ้อในที่สุด ทั้งนี้ ในส่วนต่อไปจะ เป็นการรวบรวมมาตรการแก้ไขของทางการอินโดนีเซีย

4. มาตรการแก้ไขของทางการอินโดนีเซีย มาตรการของทางการอินโดนีเซียที่ผ่านมา เป็นการมุ่งเน้นการแก้ไขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ควบคู่ไปกับการลด ความร้อนแรงของเงินเฟ้อ 4.1 การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในระหว่างเดือนมิถุนายน–พฤศจิกายน 2556 ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 5 ครั้ง รวม 175 Basis Points. จากร้อยละ 5.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 7.50 ต่อปี เพื่อลดแรงกดดันจาก เงินเฟ้อและเพื่อจูงใจมิให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกจากประเทศอินโดนีเซีย ดังแถลงการณ์ของธนาคารกลางอินโดนีเซียใน วันที่ 6 มิถุนายน 25562 ภาพที่ 8 แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อในปี 2556

ที่มา : Bank of Indonesia

4.2 มาตรการกระตุ้นการส่งออก อาทิ การยกเลิกข้อจ�ำกัดในการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ผ่านกระบวนการ แปรรูปชั่วคราวจนถึงสิ้นปี 2556 (ในปี 2557 จะกลับมาเริ่มห้ามส่งออกอีกครั้ง) โดยยอมให้ส่งออกได้โดยไม่มีโควตาและไม่ต้อง เสียภาษีสง่ ออก ทัง้ นี้ ตัง้ แต่เดือนพฤษภาคม 2555 เป็นต้นมา รัฐบาลอินโดนีเซียได้ประกาศห้ามการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติที่ ยังไม่ผา่ นกระบวนการแปรรูป 32 รายการ เช่น ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ ฯลฯ ยกเว้นบริษทั ทีไ่ ด้รบั ใบอนุญาต (License) ซึง่ สามารถ ส่งออกได้เพียงร้อยละ 20 ของผลผลิตทั้งหมดที่ผลิตได้ รวมทั้งต้องจ่ายภาษีส่งออกสูงถึงร้อยละ 20

The policy was part of Bank Indonesia’s policy mix to response pre-emptively to rising inflation expectations and to maintain macroeconomic stability and financial system stability amid increasing uncertainty in global financial markets.” อ้างอิงจากเว็บไซต์ธนาคารกลางอินโดนีเซีย

2

72


4.3 มาตรการลดการน�ำเข้า อาทิ การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์โดยบังคับเพิ่มอัตราส่วนของ Biodiesel ที่ผสมในน�้ำมัน ดีเซล จากเดิมที่ผสมในสัดส่วนร้อยละ 2.5 เป็นไม่ต�่ำกว่าร้อยละ 10 โดยหวังว่าจะช่วยลดปริมาณการน�ำเข้าน�้ำมันดีเซลได้ 1.3 ล้านกิโลลิตร ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม 2556 และคาดการณ์ว่าจะช่วยลดการน�ำเข้าน�้ำมันดีเซลได้ 5.6 ล้านกิโลลิตร ระหว่างเดือนกันยายน 2556-สิงหาคม 2557 ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 4.4 มาตรการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอินโดนีเซียในวันที่ 23 สิงหาคม 2556 รองนายกรัฐมนตรีฝา่ ยเศรษฐกิจได้ออกมาเปิดเผยว่า จะเปิดให้ตา่ งชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมภายในประเทศมากขึน้ แต่ยงั ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียด รวมทั้งจะให้การยกเว้นการช�ำระภาษี (Tax Breaks) แก่บริษัทในภาคอุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงาน เป็นหลัก (Labor-Intensive) เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ฯลฯ โดยจะต้องเป็นอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกอย่างน้อยร้อยละ 30 ของ ผลผลิตรวม ภายหลังการปรับอัตราดอกเบีย้ นโยบายและการออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลออก เงินทุนไหลออกและอัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปก็เริ่มปรับตัวลดลง แม้ตัวเลขดุลการค้าในเดือนสิงหาคม 2556 จะกลับมาเกินดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนที่ 132.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็กลับมาขาดดุลอีกครั้งในเดือนกันยายนที่ 660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกยังคงหดตัว ต่อเนื่องที่ร้อยละ -6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ก่อนจะกลับมาเกินดุลเล็กน้อยในเดือนตุลาคม 2556 ที่ 42.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงอาจกล่าวได้ว่าการฟื้นตัวของภาคการส่งออกยังคงมีสัญญาณไม่แน่ชัด ในส่วนอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤศจิกายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังคงทรงตัวจากเดือนตุลาคมและเดือนกันยายนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 8.3 และร้อยละ 8.4 ตามล�ำดับ ดังนั้น ประสิทธิภาพของ มาตรการดังกล่าวจึงยังคงไม่ชัดเจน

5. บทสรุป แนวโน้มวิกฤติเงินทุนไหลออกและวิกฤติเงินเฟ้อของอินโดนีเซีย ถึงแม้ว่ารัฐบาลอินโดนีเซียได้ด�ำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้น แต่มาตรการยังคงไร้ผล ทั้งนี้ คาดว่าใน ระยะต่อไปอินโดนีเซียจะยังคงประสบกับวิกฤติเงินทุนเคลื่อนย้ายต่อเนื่องจากปัจจัยภายนอก จากตัวเลขทางเศรษฐกิจของ สหรัฐฯ เริ่มปรับตัวดีขึ้น อาทิ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาอยู่ที่ 203,000 ต�ำแหน่ง เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคมที่ 200,000 ต�ำแหน่ง อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 7.0 ซึ่งแม้ว่าจะยังสูง กว่าเป้าหมายทีน่ ายเบน เบอร์นนั กี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ คนปัจจุบนั ได้ตงั้ เป้าไว้ทรี่ อ้ ยละ 6.5 แต่ลา่ สุดในวันที่ 19 ธันวาคม 2556 ทีป่ ระชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee : FOMC) ได้ตดั สินใจปรับลดขนาดมาตรการ QE ดังนั้น สถานการณ์ของสหรัฐฯ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดวิกฤติเงินทุนไหลออกจึงกลับมาเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกครั้ง ในส่วนของปัจจัยภายใน การปรับลดการอุดหนุนน�้ำมันส่งผลลบต่อคะแนนนิยมของรัฐบาล ซึ่งในเดือนเมษายน 2557 อินโดนีเซียจะมีการเลือกตั้งทั่วไป หากรัฐบาลพรรคประชาธิปไตยของนายซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ซึ่งครองอ�ำนาจมากว่า 9 ปี ต้องการชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยหวังเรียกคะแนนนิยมจากกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อยซึ่งเป็นฐานเสียงส�ำคัญของพรรค กลับคืนมา อาจเลือกใช้ “ยาแรง” อาทิ การใช้นโยบายกีดกันทางการค้าเพื่อรักษาการขาดดุลการค้าซึ่งเป็นโรคเรื้อรังมานาน จึงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

73


บทวิเคราะห์ เรื่อง แนวโน้ม - ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปี 2557

1

บทสรุปผู้บริหาร ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2557 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ดกี ว่าปี 2556 จากเศรษฐกิจโลก ทีน่ า่ จะฟืน้ ตัว โดยมีปจั จัยบวกสนับสนุนทีส่ ำ� คัญมาจากการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและญีป่ นุ่ ตลอดจน เศรษฐกิจจีนที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ❍❍ ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ประกอบด้วย 1) สถานการณ์เศรษฐกิจ โลกที่คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ดีกว่าปี 2556 2) เศรษฐกิจเพื่อนบ้านที่ยังสามารถเติบโตได้ 3) เสถียรภาพ เศรษฐกิจทีย่ งั คงแข็งแกร่ง 4) ระดับราคาทีส่ นับสนุน สะท้อนได้จากระดับเงินเฟ้อทีอ่ ยูใ่ นระดับต�ำ่ และ 5) พืน้ ฐาน เศรษฐกิจไทยที่ยังคงแข็งแกร่ง ❍❍ อย่างไรก็ตาม ต้องจับตามองปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย 1) ความเสี่ยงจาก ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจภายนอก 2) ปัญหาทางการเมืองหากการเลือกตั้งล่าช้าออกไปจะเกิดผลกระทบ ต่อระบบเศรษฐกิจได้ 3) การขาดแคลนแรงงาน และ 4) ภัยธรรมชาติ ❍❍ เศรษฐกิจไทยปี 2557 คาดว่าจะสามารถขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5–4.5 (คาดการณ์ ณ เดือนธันวาคม 2556) โดยได้รบั อานิสงส์จากเศรษฐกิจประเทศคูค่ า้ ทีม่ แี นวโน้มฟืน้ ตัวดีขนึ้ ❍❍

1. บทน�ำ ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2557 คาดว่าจะยังสามารถขยายตัวได้ตอ่ เนือ่ งจากปี 2556 จากเศรษฐกิจโลกทีค่ าดว่าจะฟืน้ ตัว โดยเฉพาะจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและญีป่ นุ่ ตลอดจนเศรษฐกิจจีนทีย่ งั ขยายตัวได้อย่างต่อเนือ่ ง ขณะทีส่ ญ ั ญาณฟืน้ ตัวของ เศรษฐกิจยูโรโซนทีค่ าดว่าจะขยายตัวเป็นบวกในปี 2557 จะมีสว่ นช่วยลดความเสีย่ งในด้านการส่งออกว่ายังคงมีความเสีย่ งจาก เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและญีป่ นุ่ ในส่วนการเงินการคลังทีย่ งั คงต้องติดตาม และทีส่ ำ� คัญคือปัจจัยภายในประเทศด้านการเมือง ที่หากยังยืดเยื้อ สถานการณ์ดังกล่าวจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลเชื่อมโยงต่อเศรษฐกิจไทยต่อไปในปี 2557

2. ปัจจัยบวกและปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยปี 2557 1) ปัจจัยบวก - สถานการณ์เศรษฐกิจโลก ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2557 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ดีกว่าปี 2556 จากเศรษฐกิจโลกที่น่าจะฟื้นตัว โดยมีปจั จัยบวกจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ญีป่ นุ่ และเศรษฐกิจจีนทีน่ า่ จะยังคงขยายตัวได้ดตี อ่ เนือ่ งเป็นปัจจัยสนับสนุนส�ำคัญ ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซนเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว และคาดว่าจะขยายตัวเป็นบวกได้อีกครั้งในปี 2557 หลังจากหดตัวยาวนาน ถึง 6 ไตรมาสติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงบ้างจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ในประเด็นด้านการเงินและการคลัง ตลอดจนการด�ำเนินมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายของญีป่ นุ่ ประกอบกับปัญหาความเสีย่ งฟองสบูใ่ นภาคอสังหาริมทรัพย์ ในจีน ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่ต้องจับตามองต่อไปอย่างใกล้ชิด 1

74

ผู้เขียน : นายกระแสร์ รังสิพล เศรษฐกรปฏิบัติการ และนายปฐมดนัย พลจันทร์ เศรษฐกรช�ำนาญการส่วนแบบจ�ำลองประมาณการเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบาย เศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ส�ำหรับข้อแนะน�ำ


- เศรษฐกิจเพื่อนบ้านเติบโตดี ผู้ประกอบการไทยได้มีการกระจายตลาดการค้ามากขึ้น โดยหันมาค้าขายเพื่อรับประโยชน์จากการขยายตัวของ ประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV อันประกอบด้วยกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ที่ก�ำลังเติบโต และจะยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพในอนาคต ตารางที่ 1 สถิติการค้าส�ำคัญของกลุ่มประเทศ CLMV สถิติการค้า CLMV / ปี อันดับความส�ำคัญในฐานะตลาดส่งออกของไทย สัดส่วนในมูลค่าการส่งออกรวมของไทย มูลค่าการส่งออก (พันล้านเหรียญสหรัฐ) การเติบโตรายปี

2552

2553

2554

2555

6 6.2% 9.4 -7.1%

5 6.4% 12.4 31.2%

5 6.9% 15.4 24.0%

4 7.4% 17.0 10.5%

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

ตารางที่ 2 แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ CLMV โดย ADB ADB outlook CLMV Cambodia Laos Myanmar Vietnam

2556F

2557F

6.4 7.2 7.6 6.5 5.2

6.6 7.5 7.7 6.8 5.5

ที่มา : ADB

- เสถียรภาพทางเศรษฐกิจแข็งแกร่ง เสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคของไทยมีความแข็งแกร่งอย่างโดดเด่น ไม่วา่ จะเป็นอัตราการว่างงานทีอ่ ยูใ่ นระดับ ต�ำ่ เพียงร้อยละ 0.7 (เฉลีย่ ปี 2556) กล่าวได้วา่ คนไทยจ�ำนวน 100 คนมีจำ� นวนคนว่างงานไม่ถงึ 1 คน ซึง่ ถือเป็นอัตราการว่างงาน ทีต่ ำ�่ ในอันดับต้น ๆ ของโลกเมือ่ วัดกันด้วยมาตรฐานนี้ ส�ำหรับด้านการเงินนัน้ ภาคธนาคารของไทยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสีย่ ง มากเกินกว่าระดับทีก่ ำ� หนด รวมทัง้ ได้มกี ารควบคุมหนีเ้ สียอย่างใกล้ชดิ นอกจากนี้ ในภาคการคลังมีหนีส้ าธารณะอยูท่ ปี่ ระมาณ ร้อยละ 45 ของ GDP ซึ่งถือว่าต�่ำกว่าเกณฑ์ความยั่งยืนทางการคลังที่ก�ำหนดไว้ที่ร้อยละ 60 ของ GDP อยู่มาก และอีกประการ ที่เป็นจุดแข็งของไทยก็คือ ความสามารถของภาคเอกชนไทยด้านการแข่งขันและปรับตัว ดังจะเห็นได้จากวิกฤติการณ์ที่พบเจอ ทั้งวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์และวิกฤติน�้ำท่วมในปี 2554 ซึ่งก็ใช้เวลาเพียง 1-2 ไตรมาสหลังวิกฤติในการฟื้นตัวกลับมายืนอยู่จุดเดิม

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

75


- ระดับราคาสนับสนุน อัตราเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับต�่ำ ถึงแม้จะมีการร้องเรียนว่าสินค้าในกลุ่มอาหารมีราคาแพง แต่เมื่อพิจารณาใน ภาพรวมร่วมกับราคาหมวดสินค้าอื่น ๆ แล้ว ระดับราคาโดยรวมยังไม่ถือว่ากระทบก�ำลังซื้อมากนัก โดย ณ เดือนธันวาคม 2556 เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ส่งผลให้ทั้งปี 2556 เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.2 และเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ซึ่งอยู่ ภายใต้กรอบนโยบายการเงินที่ร้อยละ 0.5-3.0 ราคาน�ำ้ มันดิบดูไบปัจจุบนั อยูท่ ี่ 104.0 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (ณ เดือนมกราคม 2557) และมีแนวโน้มทีจ่ ะทรงตัว ในปีนี้จากอุปทานที่ยังขยายตัวสูง ทั้งนี้ สศค.คาดว่าราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะอยู่ที่ 105.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาด การณ์อยู่ที่ 100.0–110.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) เท่ากับปี 2556 ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยยังถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.25 (ประกาศ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556) - พื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง o ภาคการผลิต • การเป็นฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรม ท�ำให้มีองค์ความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์และ เครื่องใช้ไฟฟ้าส่งผลให้นักลงทุนนานาประเทศให้ความเชื่อถือ • การท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง อันเนื่องมาจากความได้เปรียบทางทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว และภาครัฐมี แนวโน้มที่จะสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง • กลุ่มการแพทย์ที่มีฝีมือและมีคุณภาพในการให้บริการระดับโลก ในราคาที่เข้าถึงได้ • มีศักยภาพด้านการผลิตภาคเกษตรทั้งทรัพยากรธรรมชาติและองค์ความรู้ o การบริโภค • ก�ำลังซื้อผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง โดยมีอัตราการว่างงานที่ต�่ำและตลาดแรงงานที่มีความยืดหยุ่น ประกอบกับมี กลุ่มผู้บริโภคหลายล�ำดับชั้น รองรับสินค้าได้ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับ Super Luxury อีกทั้งยังมีพื้นที่ส�ำหรับการเติบโต ทางการบริโภคอีกมาก o การลงทุน • การมีทตี่ งั้ เป็นจุดยุทธศาสตร์เชือ่ มโยงภูมภิ าคอาเซียน ส่งผลให้เอือ้ ประโยชน์ดา้ นการไหลเวียนของสินค้าและ บริการ • แนวโน้มของการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment : FDI) ที่จะเข้ามาประเทศเกิด ใหม่มากขึ้น • โครงการลงทุนโครงสร้างพืน้ ฐานจะสามารถสร้างศักยภาพการลงทุนและเพิม่ ผลิตภาพการผลิต (Productivity) ได้อีกมาก 2) ปัจจัยเสี่ยง - ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจภายนอก o การลดขนาดมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ (QE) และปัญหาภาคการเงินการคลังของ สหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการเงินของไทย • ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประกาศลดขนาดการด�ำเนินมาตรการ QE ลงแล้วรวม 20,000 ล้านดอลลาร์ จากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลกและไทยในระยะปานกลางถึงระยะ ยาว และล่าสุดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา U.S. Congress ได้ตกลงให้ขยายเพดานหนี้ตามที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ร้องขอ ซึ่งท�ำให้ตลาดการเงินทั่วโลกลดความกังวลในส่วนของ Default Risk ที่เกี่ยวข้อง

76


• อย่างไรก็ตาม การปรับลด QE อาจส่งผลให้ตลาดการเงินมีความผันผวนด้านเงินทุนเคลือ่ นย้ายและเสถียรภาพ อัตราแลกเปลี่ยนได้ ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ คนใหม่ นาง Janet Yellen ได้กล่าว หลังพิธสี าบานตนรับต�ำแหน่งถึงแผนงานการด�ำเนินการนโยบายการเงินว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะค่อย ๆ ปรับลดขนาด QE ลง และวางแผนทีจ่ ะจัดการอย่างมีความยืดหยุน่ มากขึน้ ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยจะเน้นดูแลการจ้างงานและสร้างเสถียรภาพ ด้านราคาเป็นหลัก • การด�ำเนินมาตรการผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณของญี่ปุ่น (Q2E) ที่ส่งผลให้เงินเยนที่อ่อนค่าส่ง ผลกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาสินค้าส่งออกของไทยที่ลดลงเป็นส�ำคัญ • เสถียรภาพในภาคอสังหาริมทรัพย์จนี จากราคาบ้านในจีนทีย่ งั คงขยายตัวในระดับสูงต่อเนือ่ งซึง่ อาจน�ำไป สู่ภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์นั้นยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญต่อภาคเศรษฐกิจของจีน นอกจากนี้สถานการณ์ Shadow Lending ในภาคการธนาคารอาจสร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยผ่านผลกระทบจากช่องทางการเงิน การค้า และการลงทุนได้ เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้าส�ำคัญของไทยอันดับที่ 1 - ปัญหาการเมือง o การจัดตัง้ รัฐบาลล่าช้าจะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ : ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรงจะเกิดจากการเบิกจ่าย รายจ่ายภาคสาธารณะท�ำได้ตำ�่ กว่าคาด โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนจากโครงการลงทุนทีต่ อ้ งอาศัยคณะรัฐมนตรีใหม่ในการอนุมตั ิ และโครงการที่ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน โดยเฉพาะโครงการลงทุนบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำ 3.5 แสนล้านบาท โครงการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และรายจ่ายลงทุน ตารางที่ 3 ผลกระทบต่อการเบิกจ่ายภาครัฐจากความไม่สงบทางการเมือง อัตราการเบิกจ่ายปี งปม.57 (ร้อยละ) รายจ่ายประจ�ำ รายจ่ายลงทุน รายจ่ายเหลื่อมปี โครงการน�้ำ 3.5 แสนล้านบาท โครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาท

กรอบวงเงิน (ล้านบาท)

กรณีฐาน

2,083,490 441,510 281,747 93,616 68,518

97.7 65.0 72.0 30.0 30.0

กรณี จ�ำนวนเงินที่สูญเสีย การเลือกตัง้ ล่าช้า (ล้านบาท) 97.7 60.0 72.0 0.0 0.0 รวม

28,084 20,555 48,639

ที่มา : จากการค�ำนวณ

o นอกจากนี้ คาดว่าการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้าจะส่งผลเสียหายทางเศรษฐกิจผ่านทางอุปสงค์ (การบริโภคและ การลงทุน) ภาคเอกชนเช่นกัน เนื่องจาก 1) ผู้บริโภคและนักลงทุนต่างก็ขาดความเชื่อมั่นต่อนโยบายรัฐที่จะเอื้อประโยชน์ต่อ เศรษฐกิจ อีกทั้งการไร้ซึ่งรัฐบาลจะท�ำให้การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจท�ำได้ยาก 2) หากความล่าช้าดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ ได้รบั ความยินยอมจากกลุม่ การเมืองกลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระลอกถัดมา ซึง่ อาจเป็นสถานการณ์ในรูปแบบ ของการเดินขบวนหรือการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐดังเช่นสถานการณ์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม 2556 และช่วง การเลือกตัง้ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ทผี่ า่ นมาหรือรุนแรงกว่า เหตุการณ์นหี้ ากเกิดขึน้ จริงจะกระทบต่ออุปสงค์ภาคเอกชนโดยตรง และ จะกระทบไปถึงภาคการท่องเที่ยวในระดับที่มากกว่าเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านพ้นไป เนื่องจากความไม่สงบที่เกิดขึ้นซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า จะท�ำให้ความไม่เชือ่ มัน่ ในการด�ำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตกต�ำ่ ลงไปมากกว่าเดิม (ผลกระทบจากทัง้ 2 สาเหตุ สามารถสรุปได้ ตามตารางที่ 4)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

77


ตารางที่ 4 ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากความไม่สงบทางการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า ประมาณการ ปี 2557 กรณีฐาน กรณีความไม่สงบ ยืดเยื้อ

รายจ่าย อัตราการเติบโต ภาคสาธารณะ จ�ำนวนนักท่องเที่ยว อัตราการเติบโต ของการบริโภค ของ GDP ต่างประเทศ ปี งปม. 57 ภาคเอกชน ที่แท้จริง (ล้านคน) (ล้านล้านบาท) ที่แท้จริง

อัตราการเติบโต ของการลงทุน ภาคเอกชน ที่แท้จริง

3.240

31.1

4.0

2.8

7.0

3.181

28.0

3.1

2.5

3.5

ที่มา : จากการค�ำนวณ

- ปัญหาความเหลื่อมล�้ำทางรายได้ สถานการณ์การกระจายรายได้ในช่วง 20 ปีทผี่ า่ นมานัน้ ดีขนึ้ เพียงเล็กน้อยและมีชอ่ งว่างระหว่างแต่ละกลุม่ รายได้ ชัดเจน โดยในช่วงปี 2531-2554 ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ด้านรายได้อยู่ในระดับ 0.48-0.54 โดยมี ค่าเท่ากับ 0.484 ในปี 2554 โดยผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ตกอยู่กับกลุ่มครัวเรือนรวยที่สุด (กลุ่ม 20% ที่ 5) ถึงร้อยละ 54.31 เมื่อรวมกับกลุ่มครัวเรือนชั้นที่รายได้รองลงมา (กลุ่ม 20% ที่ 4) ที่เป็นเจ้าของรายได้ร้อยละ 19.59 สรุปได้ว่า ในจ�ำนวนคนไทยทั้งหมด (100%) กลุ่มรวยที่สุด 2 กลุ่ม หรือ 40% (กลุ่ม 20% ที่ 4 และที่ 5) ของประเทศเป็น เจ้าของรายได้ประมาณร้อยละ 74 ในขณะที่ประชาชนอีก 60% ที่เหลือจะมีรายได้ประมาณร้อยละ 26 จากรายได้ทั้งหมดเท่านั้น โดยกลุ่มที่จนที่สุด (กลุ่ม 20% ที่ 1) ถือครองรายได้เพียงร้อยละ 4.62 ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มครัวเรือนที่รวยที่สุด (กลุ่ม 20% ที่ 5) สูงถึง 11.77 เท่า สะท้อนความเหลื่อมล�้ำทางรายได้ที่แตกต่างกัน (ข้อมูลจากการส�ำรวจเศรษฐกิจและสังคม ของครัวเรือน โดย ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ) - การขาดแคลนแรงงาน o อัตราการว่างงานที่ต�่ำกว่าร้อยละ 1 มาโดยตลอด ท�ำให้หากเกิดโครงการลงทุนขนาดใหญ่อาจมีความเสี่ยงใน เรื่องของการแย่งแรงงานในแต่ละสาขาได้ - ภัยธรรมชาติ o ปัญหาน�้ำท่วมและภัยแล้งที่ยังคงเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในทุก ๆ ปี ดังในกรณีอุทกภัยของปี 2556 ในช่วงฤดู น�้ำหลาก ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านอุปทานอีกปัจจัยหนึ่ง

3. บทสรุป เศรษฐกิจไทยปี 2557 คาดว่าจะสามารถขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน โดยได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่มี แนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการ นอกจากนี้ สถานการณ์การจ้างงานก็ยัง อยูใ่ นเกณฑ์ดแี ละภาวะทางการเงินทีผ่ อ่ นคลายจากอัตราดอกเบีย้ ทีอ่ ยูใ่ นระดับต�ำ่ จะช่วยสนับสนุนให้การบริโภคและการลงทุน ภาคเอกชนสามารถขยายตัวได้ ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2557 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.9-2.9) ตามอุปสงค์ภาคเอกชนที่ดีขึ้น ทัง้ นี้ หากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองยืดเยือ้ ออกไปจะส่งผลกระทบทางลบต่อการท่องเทีย่ วของไทย ผ่านจ�ำนวน นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามายังประเทศไทยที่คาดว่าอาจลดลงถึง 3 ล้านคน และอาจส่งผลให้การเบิกจ่ายโครงการลงทุนของ ภาครัฐมีความล่าช้าออกไปอีก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 หรือต�่ำกว่า (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0–4.0) นอกจากนี้ ในการประมาณการเศรษฐกิจยังต้องค�ำนึงถึงปัจจัยเสี่ยง อาทิ การด�ำเนินนโยบายทางการเงินของประเทศพัฒนาแล้วที่อาจส่งผลกระทบต่อความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนของไทย ภัยธรรมชาติและโรคระบาด อีกทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางสาขาอุตสาหกรรม

78


บทวิเคราะห์ เรื่อง ภัยธรรมชาติ : ภัยคุกคามของเศรษฐกิจไทย

1

บทสรุปผู้บริหาร ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนเพิ่มมากขึ้น จนท�ำให้เกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย พายุ แผ่นดินไหว หรือภัยแล้ง โดยเฉพาะปัญหาวิกฤติ มหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ทีส่ ง่ ผลให้อตั ราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงมากเป็นประวัตกิ ารณ์ ในขณะทีใ่ นปี 2556 ประเทศไทยก็ประสบปัญหาน�ำ้ ท่วมอีกครัง้ ซึง่ แม้วา่ จะไม่ได้สง่ ผลกระทบรุนแรงเท่าในปี 2554 แต่ก็ได้ส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค นักลงทุน รวมไปถึงประชาชนทั่วไป ❍❍ แนวโน้มสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติในปี 2557 พบว่า ประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับ ความเสีย่ งจากสถานการณ์ภยั แล้งทีค่ าดว่ารุนแรงทีส่ ดุ ในรอบ 10-15 ปี โดยตัง้ แต่วนั ที่ 11 ธันวาคม 2556–ปัจจุบนั มีจงั หวัดทีป่ ระกาศขอความช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยพิบตั กิ รณีฉกุ เฉิน (ภัยแล้ง) แล้ว 13 จังหวัด โดยแยกเป็นภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ และจังหวัดตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด บุรรี มั ย์ มหาสารคาม ขอนแก่น และจังหวัดศรีสะเกษ ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสิงห์บรุ แี ละจังหวัดสระบุรี และภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดปราจีนบุรี ❍❍ ในขณะทีก ่ ระทรวงเกษตรและสหกรณ์มกี ารเร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชอายุสนั้ ทีใ่ ช้นำ�้ น้อย และงดการเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 ซึง่ สอดคล้องกับส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรทีไ่ ด้มกี ารปรับ ประมาณการการเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบการผลิต 2556/2557 ลดลงเหลือ 8.47 ล้านตัน จากปีกอ่ นทีเ่ พาะปลูกได้ 10.74 ล้านตัน หรือหดตัวลงที่ร้อยละ 21.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍ มาตรการในการรับมือกับภัยพิบต ั ทิ างธรรมชาติ ได้แก่ 1. การขุดลอกแม่นำ�้ คูคลองสายส�ำคัญ ๆ ให้ลึกและกว้างขึ้น 2. ควรมีการท�ำฝายพวงหรือการท�ำฝายกั้นล�ำน�้ำเป็นระยะ ๆ เพื่อกักน�้ำไม่ให้น�้ำไหลลงพื้นที่ ทีต่ ำ�่ กว่าเร็วเกินไป 3. เพิม่ โครงการแก้มลิงขนาดใหญ่ให้มากขึน้ และ 4. เพิม่ พืน้ ทีป่ า่ ไม้ โดยการส่งเสริมเกษตรกรให้มี การปลูกพืชเศรษฐกิจประเภทไม้ยนื ต้น เช่น ยางพาราและพืชสวนยืนต้นอืน่ ๆ แทนการเพาะปลูกพืชล้มลุก ฯลฯ ❍❍ นอกจากนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้จัดท�ำยุทธศาสตร์เพื่อ ลดความเสีย่ งจากภัยพิบตั ขิ องชาติ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1. การป้องกันและลดผลกระทบ 2. การเตรียม ความพร้อมด้วยการพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยและการกระจายข่าวสาร 3. การบริหารจัดการฉุกเฉิน เช่น มาตรการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ ฯลฯ และ 4. การจัดการหลังเกิดภัยด้วยการประเมินความเสียหาย ของผู้ประสบภัย และมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ เป็นต้น ❍❍

1. บทน�ำ ดูเหมือนว่าในช่วง 4-5 ปีทผี่ า่ นมา ประเทศไทยประสบกับสภาพภูมอิ ากาศทีแ่ ปรปรวนเพิม่ มากขึน้ จนท�ำให้เกิดภัยธรรมชาติ บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย พายุ แผ่นดินไหว หรือภัยแล้ง โดยเฉพาะปัญหาวิกฤติมหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ที่ส่งผลให้ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงมากเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่ในปี 2556 ประเทศไทยก็ประสบปัญหาน�้ำท่วม อีกครั้ง และแม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงเท่าในปี 2554 แต่ก็ได้ส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค นักลงทุน รวมไปถึง ประชาชนทัว่ ไป นอกจากนี้ ในปี 2556 เกษตรกรไทยยังประสบสถานการณ์โรคระบาดทีแ่ ม้วา่ ไม่ได้เป็นผลมาจากภัยพิบตั โิ ดยตรง แต่สว่ นหนึง่ เป็นผลมาจากสภาพภูมอิ ากาศทีค่ อ่ นข้างแปรปรวน และได้สง่ ผลกระทบให้เกิดโรคระบาดในกุง้ หรือทีเ่ กษตรกรเรียกว่า ผู้เขียน : นางสาวกาญจนา จันทรชิต เศรษฐกรปฏิบัติการ ขอขอบคุณ นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ การคลัง และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

79


โรคตายด่วนในกุ้ง (Early Mortality Syndrome) ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ให้หดตัวลง อย่างรุนแรงในรอบหลายปี ปัจจัยเหล่านี้เป็นภัยร้ายส�ำคัญที่คุกคามต่ออัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย เพราะนอกจาก จะมีผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ให้ลดลงแล้ว ยังเป็นภาระต่อการจัดสรร งบประมาณในการชดเชยความเสียหายและเยียวยาผูป้ ระสบภัยด้วย ซึง่ ท�ำให้เสียโอกาสในการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนา ศักยภาพของประเทศในด้านอื่น ๆ

2. ผลกระทบของภัยธรรมชาติต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา วิกฤติมหาอุทกภัยในปี 2554 คงไม่มใี ครปฏิเสธว่าวิกฤติอทุ กภัยในช่วงปลายปี 2554 ได้กอ่ ให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ครอบคลุม การผลิตที่ส�ำคัญของประเทศ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนค่อนข้างสูงในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ประมาณร้อยละ 85 ของโครงสร้างเศรษฐกิจของ จังหวัดเป็นการผลิตภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีนิคมอุตสาหกรรมส�ำคัญ ๆ ที่ได้รับความเสียหาย อย่างมากจ�ำนวนสูงถึง 5 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้าไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรีแ่ ลนด์วงั น้อย และเขตประกอบการสวนอุตสาหกรรมโรจนะ รองลงมาเป็นจังหวัดปทุมธานี ที่ประมาณเกือบร้อยละ 80 ของโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดเป็นการผลิตภาคอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน เนื่องจากจังหวัด ปทุมธานีมีนิคมอุตสาหกรรมได้รับความเสียหาย ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นฐานการผลิตชิน้ ส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครือ่ งใช้ไฟฟ้า การทีน่ คิ มอุตสาหกรรมดังกล่าวได้รบั ผลกระทบจากน�ำ้ ท่วม ท�ำให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องไปยังห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยเฉพาะในการผลิตยานยนต์ที่ค่ายผลิตรถยนต์ อาทิ โตโยต้า ฟอร์ด ฮอนด้า และอีซูซุ ต้องระงับการผลิตเนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนประกอบส�ำคัญที่ผลิตขึ้นจากนิคมอุตสาหกรรม ดังกล่าว ขณะที่บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ซีเกท และเวสเทิร์น ดิจิตอล ระงับการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และ บริษทั ผลิตเครือ่ งใช้ไฟฟ้า อาทิ แคนนอนและนิคอนต้องระงับการผลิตเครือ่ งใช้ไฟฟ้าและต้องย้ายการผลิตไปทีป่ ระเทศเวียดนาม ชั่วคราว ขณะที่ความเสียหายด้านภาคการเกษตรมีพื้นที่การเกษตรเสียหาย 10,986,252 ไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเสียหาย 194,012 บ่อต่อกระชัง และด้านปศุสัตว์ มีสัตว์เลี้ยงที่ได้รับผลกระทบรวมทั้งสิ้น 13,282,622 ตัว ขณะที่ภาคบริการในพื้นที่ น�้ำท่วมขังส่วนใหญ่เป็นการผลิตในสาขาค้าปลีก ค้าส่ง สาขาการคมนาคม ขนส่ง และสื่อสาร สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาการก่อสร้าง และสาขาการเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ ความเสียหายได้เชือ่ มโยงไปถึงด้านอุปสงค์ ได้แก่ การส่งออก การบริโภค ภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน และได้สง่ ผลให้อตั ราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 หดตัวลงในระดับสูง ทีร่ อ้ ยละ -8.9 และส่งผลให้ในปี 2554 เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียงเล็กน้อยทีร่ อ้ ยละ 0.1 เท่านัน้ ทัง้ ๆ ทีใ่ นช่วงก่อนหน้าเกิดวิกฤติ อุทกภัย เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2553 ❍

ภาพที่ 1 อัตราการเจริญเติบโตของประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

80


จากการเกิ ด วิ ก ฤติ ม หาอุ ท กภั ย ในปี 2554 ท� ำ ให้ รั ฐ บาลมี ก ารใช้ ง บประมาณในการออกมาตรการการเยี ย วยา เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเป็นจ�ำนวนเงิน 3,420,044 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1. เงินช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยเพื่อซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายทั้งหลังเป็นเงิน 30,000 บาท และเสียหายบางส่วนเป็นเงินไม่เกิน 20,000 บาท 2. เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยฉุกเฉินครอบครัวละ 5,000 บาท นอกจากนี้ยังมีการออกนโยบายกึ่งการคลัง เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินผ่านมาตรการสินเชื่อ (Credit Policies) โดยมีการก�ำหนดวงเงินจ�ำนวน 277,000 ล้านบาท ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ 1) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2) ธนาคารออมสิน 3) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 4) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 5) ธนาคารอิสลาม แห่งประเทศไทย 6) ธนาคารเพื่อการส่งออกและน�ำเข้าแห่งประเทศไทย 7) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และ 8) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย รวมทั้งธนาคารกรุงไทย จ�ำกัด (มหาชน) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเดิมของธนาคาร ในเรือ่ งการพักช�ำระหนี้ ขยายระยะเวลาช�ำระหนี้ และลดดอกเบีย้ รวมทัง้ ให้เงินกูใ้ หม่แก่ลกู ค้าเดิมและประชาชนทัว่ ไป เพือ่ ฟืน้ ฟู อาชีพและซ่อมแซมบ้านเรือนรวมทั้งอาคารที่เสียหาย สถานการณ์ภัยพิบัติในปี 2556 สถานการณ์อุทกภัยในปี 2556 ในช่วงกลางเดือนกันยายนในปี 2556 ทีผ่ า่ นมา ประเทศไทยได้รบั อิทธิพลพายุดเี ปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ที่อ่อนก�ำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต�่ำ เคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ของประเทศไทย ท�ำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดน�้ำป่าไหลหลาก น�้ำท่วมขังระบายไม่ทัน โดยเฉพาะในจังหวัด ชลบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา ขณะเดียวกันก็เกิดอุทกภัยในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลางบางส่วน ในขณะที่ในเดือนพฤศจิกายนเกิดสถานการณ์น�้ำท่วมเฉียบพลันในภาคใต้ สถานการณ์อุทกภัยดังกล่าว ได้ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ความเสี ย หายทางเศรษฐกิ จ ในการผลิ ต ทั้ ง ภาคเกษตรและภาคอุ ต สาหกรรม โดยในด้ า นความเสี ย หาย ด้านการเกษตรนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประเมินความเสียหายจากเหตุการณ์น�้ำท่วมเบื้องต้นประมาณ 1,000 ล้านบาท ขณะที่ด้านภาคอุตสาหกรรมนั้นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบส่วนมากอยู่บริเวณภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่าง เช่น จังหวัด ชลบุรี จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา ฯลฯ ขณะทีใ่ นภาคใต้ อุตสาหกรรมทีไ่ ด้รบั ผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นกลุม่ อุตสาหกรรม อาหารแปรรูปและอุตสาหกรรมยางพารา เป็นต้น โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประเมินผลกระทบว่า ความเสียหายทั่วทุกภาคไม่เกิน 50,000 ล้านบาท จะเห็นว่าแม้ความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัยไม่ได้ส่งผลกระทบ ต่ อ อั ต ราการขยายตั ว ทางเศรษฐกิ จ อย่ า งมี นั ย ส� ำ คั ญ มากนั ก แต่ ก็ ส ่ ง ผลกระทบต่ อ จิ ต วิ ท ยาของผู ้ บ ริ โ ภคและนั ก ลงทุ น ต่อสถานการณ์ภัยพิบัติที่เพิ่มขึ้น อันน�ำไปสู่การชะลอการจับจ่ายใช้สอยและการลงทุนของภาคเอกชน ❍

สถานการณ์โรคระบาดในกุ้ง ในช่วงเดือนตุลาคม 2555 เป็นต้นมา เกษตรกรไทยผู้เลี้ยงกุ้งประสบปัญหาโรคระบาดที่ชื่อเรียกว่าโรคอีเอ็มเอส (Early Mortality Syndrome : EMS) หรือ “โรคตายด่วนในกุ้ง” ที่หลายฝ่ายคาดว่าสาเหตุของโรคระบาดครั้งนี้ ส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากสภาพภูมอิ ากาศทีค่ อ่ นข้างแปรปรวน และจากสถานการณ์ดงั กล่าวได้สง่ ผลให้ผลผลิตกุง้ ของประเทศไทยปี 2556 หดตัวลงมากเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ -54.0 และเป็นสาเหตุส�ำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องให้มูลค่าการส่งออกกุ้งในปี 2556 หดตัวร้อยละ -36.5 และปริมาณการส่งออกกุ้งหดตัวที่ร้อยละ -48.5 ต่อเนื่องจากปี 2555 ที่มูลค่าการส่งออกกุ้งหดตัวร้อยละ -13.4 และปริมาณที่ร้อยละ -11.2 อย่างไรก็ดี คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะสามารถคลี่คลายได้ตามปกติในช่วงครึ่งหลังของ ปี 2557 เป็นต้นไป

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

81


ตารางที่ 1 มูลค่าและปริมาณการส่งออกกุ้งในช่วงปี 2554-2556 มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม รวม อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)

2554 ปริมาณ 12,842,459 11,712,083 15,880,824 13,090,627 14,877,318 17,284,248 18,972,934 21,207,010 20,194,567 19,876,689 18,686,065 15,813,706 200,438,530

มูลค่า

ปริมาณ : กิโลกรัม มูลค่า : บาท

2555 ปริมาณ

3,082,495,433 10,452,463 2,871,253,418 11,348,838 3,927,721,763 12,865,069 3,284,320,564 12,801,795 3,846,371,154 19,202,966 4,451,958,876 17,456,701 5,073,751,211 18,850,928 5,767,117,381 15,364,077 5,189,234,343 14,679,489 5,201,776,067 15,808,935 5,103,835,472 15,733,803 4,352,248,725 13,338,241 52,062,084,407 177,903,305

-17.1

-1.7

-11.2

2556

มูลค่า

ปริมาณ

มูลค่า

2,945,640,320 3,133,036,757 3,349,354,276 3,114,409,548 4,486,494,229 4,343,124,882 4,553,131,033 3,769,233,267 3,954,853,329 3,949,337,720 4,189,613,268 32,320,526,670 45,108,755,299

10,432,221 8,582,035 8,355,008 6,345,030 7,529,736 6,198,498 6,371,236 8,067,366 8,542,670 8,659,389 7,312,690 5,268,825 91,664,704

2,652,724,014 2,232,266,458 2,288,649,349 1,703,399,558 2,186,841,997 1,902,454,482 2,009,702,698 2,669,002,650 2,977,117,973 3,155,851,404 2,787,865,272 2,058,110,208 28,623,986,063

-13.4

-48.5

-36.5

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และกรมศุลกากร

3. แนวโน้มสถานการณ์ภัยพิบัติในปี 2557 แนวโน้มสถานการณ์ภัยพิบัติในปี 2557 พบว่า ประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้ง ซึง่ จากค�ำกล่าวของ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธสิ ภาเตือนภัยพิบตั แิ ห่งชาติ ได้ออกมาเตือนภัยและคาดการณ์วา่ สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2557 นี้จะรุนแรงที่สุดในรอบ 10-15 ปี นอกจากนี้ยังกล่าวถึงข้อมูลขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 องศาเซลเซียส ท�ำให้พื้นที่น�้ำทะเลรับความร้อนไว้มากและจะเกิดการระเหย ของน�ำ้ รุนแรงขึน้ ท�ำให้เกิดเป็นพายุและมีการเคลือ่ นตัวของพายุจากทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟกิ ไปทางทิศตะวันออก ของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยน�ำความชื้นไปด้วยหรือเรียกว่าปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” ผลกระทบในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ เอลนีโญท�ำให้การก่อตัวของเมฆและฝนเหนือน่านน�้ำบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลง และจะขยับไปทางตะวันออกส่งผล ให้บริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิก เขตศูนย์สูตร รวมทั้งประเทศเปรูและประเทศเอกวาดอร์มีปริมาณฝนมากกว่า ค่าเฉลี่ย ขณะที่มีความแห้งแล้งเกิดขึ้นที่เกาะนิวกินีและประเทศอินโดนีเซีย อีกทั้งบริเวณเขตร้อนของประเทศออสเตรเลีย มักจะเริม่ ฤดูฝนล่าช้า นอกจากพืน้ ทีบ่ ริเวณเขตร้อนแล้วเอลนีโญยังมีความเกีย่ วข้องเชือ่ มโยงกับความผิดปกติของภูมอิ ากาศในพืน้ ที่ ซึ่งอยู่ห่างไกลด้วย อาทิ ความแห้งแล้งทางตอนใต้ของแอฟริกา จากการศึกษาเอลนีโญที่เคยเกิดขึ้นในอดีต นักวิทยาศาสตร์ พบว่าในฤดูหนาวและฤดูรอ้ นของซีกโลกเหนือ (ระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ และเดือนมิถนุ ายน-สิงหาคม) มีรปู แบบของฝน และอุณหภูมิหลายพื้นที่ผิดไปจากปกติ ได้แก่ ในฤดูหนาวบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกาและตอนเหนือของประเทศ บราซิลแห้งแล้งผิดปกติ ขณะทีท่ างตะวันตกของประเทศแคนาดา รัฐอะแลสกา และตอนบนสุดของอเมริกามีอณ ุ หภูมสิ งู ผิดปกติ ส่วนบางพื้นที่บริเวณกึ่งเขตร้อนของอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ (ประเทศบราซิลตอนใต้ถึงตอนกลางของประเทศอาร์เจนตินา) มีฝนมากผิดปกติ นอกจากเอลนีโญจะมีผลกระทบต่อรูปแบบของฝนและอุณหภูมแิ ล้วยังมีอทิ ธิพลต่อการเกิดและการเคลือ่ นตัว พายุหมุนเขตร้อนอีกด้วย โดยปรากฏการณ์เอลนีโญไม่เอือ้ อ�ำนวยต่อการก่อตัวและการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทร แอตแลนติก ท�ำให้พายุหมุนเขตร้อนในบริเวณดังกล่าวนี้ลดลง

82


นอกจากนี้ จากรายงานสถานการณ์น�้ำ ในเขื่อนส�ำคัญของประเทศไทยของหน่วยงานคลังข้อมูลสภาพน�้ ำในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 พบว่าปริมาณน�้ำในเขื่อนได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ที่มี ปริมาณน�้ำในอ่างเพียง 6,388 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 5,047 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณร้อยละ 47 และร้อยละ 53 ของ ระดับน�ำ้ เก็บกัก นอกจากนีห้ ากพิจารณาปริมาณน�ำ้ ทีส่ ามารถใช้ได้จริงจะพบว่าปริมาณน�ำ้ ทีส่ ามารถใช้การได้จริงมีเพียงร้อยละ 19 และร้อยละ 23 ของร้อยละระดับน�้ำที่เก็บกักเท่านั้น ในขณะที่จากรายงานของศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย รายงานสถานการณ์ภัยแล้งว่า ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2556–18 กุมภาพันธ์ 2557 มีจังหวัดที่ประกาศขอความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) แล้ว 13 จังหวัด โดยแยกเป็นภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ และจังหวัดตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ มหาสารคาม ขอนแก่น และจังหวัดศรีสะเกษ ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดสระบุรี และภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดปราจีนบุรี ตารางที่ 2 ปริมาณน�้ำในเขื่อนส�ำคัญของไทย

เขื่อน

(หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร)

ปริมาตรน�้ำในอ่าง ร้อยละระดับน�้ำเก็บกัก

ภูมิพล สิริกิติ์ ป่าสักชลสิทธิ์ วชิราลงกรณ์

6,388 5,047 507 6,321

47% 53% 53% 71%

ใช้การได้จริง

ร้อยละระดับน�้ำเก็บกัก

2,588 2,197 504 3,309

19% 23% 53% 37%

ที่มา : คลังข้อมูลสภาพน�้ำ, ข้อมูล ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557

ในขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการเร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรมีการเพาะปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น�้ำน้อย และ งดการเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 เนื่องจากปริมาณน�้ำมีไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าว ซึ่งสอดคล้องกับที่ส�ำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตรได้มีการปรับประมาณการการเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบการผลิต 2556/2557 ลดลงเหลือ 8.47 ล้านตัน จากปีก่อน ที่เพาะปลูกได้ 10.74 ล้านตัน หรือหดตัวลงที่ร้อยละ -21.12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตารางที่ 3 คาดการณ์ผลผลิตข้าวนาปรังรอบการผลิต 2556/2557 เนื้อที่ในการเพาะปลูก (ล้านไร่) ข้าวนาปรัง อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)

ผลผลิต (ล้านตัน)

2554/55

2555/56

2556/57f

2554/55

2555/56

2556/57f

18.10 n.a.

16.07 -11.25

12.55 -21.85

12.24 n.a.

10.74 -12.21

8.47 -21.17

ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

83


4. แนวนโยบายในการรับมือกับภัยพิบัติ จากการศึกษาข้อมูลในอดีตพบว่า ประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะประสบปัญหาภัยพิบัติ 2 เรื่อง คือ ปัญหาอุทกภัยและ ปัญหาภัยแล้ง กล่าวคือ หากปีใดมีฝนตกมากผิดปกติในช่วงหน้าฝนก็จะเกิดปัญหาน�้ำท่วมฉับพลัน ในทางกลับกันหากปีใดที่มี ฝนตกเป็นปริมาณน้อยหรือฝนทิ้งช่วงนานเป็นเวลาหลายเดือนติดกันในช่วงหน้าแล้งก็จะเกิดปัญหาภัยแล้งขึ้นได้ ซึ่งจะวนเวียน อย่างนี้เป็นวัฏจักรในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา และปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยยังไม่มีระบบกระจายน�้ำที่ดีพอ ดังนั้นแนวนโยบาย ส่วนใหญ่ของประเทศไทยในการรับมือภัยพิบตั จิ ะเป็นนโยบายเกีย่ วกับการแก้ไขปัญหาน�ำ้ ท่วมและปัญหาภัยแล้งเป็นส�ำคัญ ดังนี้ 1. การขุดลอกแม่น�้ำคูคลองสายส�ำคัญ ๆ ให้ลึกขึ้นและกว้างขึ้น เพื่อเป็นการระบายน�้ำให้ไหลได้รวดเร็วมากขึ้น ในกรณีทมี่ แี นวโน้มจะเกิดปัญหาน�ำ้ ท่วม นอกจากนีก้ ารทีม่ กี ารขุดลอกแม่นำ�้ คูคลองทีก่ ว้างขึน้ และลึกขึน้ นัน้ จะช่วยให้มกี ารเพิม่ ปริมาณการกักเก็บน�้ำได้มากขึ้นด้วยเพื่อน�ำมาไว้ใช้ในหน้าแล้งได้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งได้อีกทางหนึ่ง 2. ส�ำหรับที่สูงและที่ลาดเชิงเขา ควรมีการท�ำฝายพวงหรือการท�ำฝายกั้นล�ำน�้ำเป็นระยะ ๆ เพื่อกักน�้ำไม่ให้ น�ำ้ ไหลลงพืน้ ทีท่ ตี่ ำ�่ กว่าเร็วเกินไป และเพือ่ เป็นการเก็บน�ำ้ ไว้ใช้ในหน้าแล้ง โดยท�ำตัง้ แต่ตน้ น�ำ้ ของทุกล�ำน�ำ้ สาขาของแม่นำ�้ ใหญ่ ไล่ลงมาจนถึงแม่น�้ำหลัก และผันน�้ำในฝายไปเก็บไว้ในบ่อเก็บน�้ำขนาดเล็กของเกษตรกรโดยรอบ 3. ควรเพิ่มโครงการแก้มลิงขนาดใหญ่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ราบลุ่มภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน เป็นต้น 4. เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ เพื่อให้ท�ำหน้าที่เป็นระบบการกระจายน�้ำตามธรรมชาติ และช่วยดูดซับน�้ำบางส่วนไม่ให้ไหลเร็ว จนเกินไป จนเกิดปัญหาน�้ำท่วมและภัยแล้งได้ อย่างไรก็ดี การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้อาจเป็นไปได้ยากท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจ ในปั จ จุ บั น เนื่ อ งจากพื้ น ที่ ส ่ ว นใหญ่ ไ ด้ ถู ก จั บ จองเป็ น พื้ น ที่ เ พาะปลู ก ทางการเกษตรไปแล้ ว ดั ง นั้ น แนวทางที่ ส ามารถ กระท�ำได้คือการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เป็นประเภทไม้ยืนต้น เช่น ยางพาราและพืชสวนยืนต้นอื่น ๆ แทนการเพาะปลูกพืชล้มลุก ฯลฯ นอกจากนี้ในด้านมาตรการในการรับมือกับภัยพิบัติในภาพรวมนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวง มหาดไทย ได้จัดท�ำยุทธศาสตร์เพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของชาติ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1. การป้องกันและลดผลกระทบ ประกอบด้วย การใช้มาตรการใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ระบบการจัดการฐานข้อมูลสารสนเทศ ระบบการประเมินความเสี่ยงภัยและการจัดท�ำพื้นที่เสี่ยงภัย การพัฒนาแผนหลัก และแผนปฏิบัติการ การบริหารจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Disaster Risk Management) การสร้างความตระหนักและการให้การศึกษาเรื่องภัยพิบัติแก่ประชาชน ฯลฯ 2. การเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย การพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยและการกระจายข่าวสาร การจัดท�ำแผนและ การฝึกซ้อมแผน การฝึกอบรมเพือ่ เตรียมความพร้อมรับภัย การเตรียมพร้อมด้านปัจจัยสี่ การเตรียมการสนับสนุนด้านเครือ่ งจักรกล เครื่องมือ และงบประมาณการเตรียมพร้อม ด้านการประชาสัมพันธ์ และการเตรียมการด้านโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น 3. การบริหารจัดการฉุกเฉิน ประกอบด้วย มาตรการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ ระบบการสั่งการ การวางแผน การพัฒนาระบบสื่อสาร ทิศทางการหนีภัย การอพยพผู้ประสบภัย การช่วยเหลือเบื้องต้น มาตรการตอบโต้และกู้ภัย และ การปฏิบัติงานซ่อมฉุกเฉิน เป็นต้น 4. การจัดการหลังเกิดภัย ประกอบด้วย การประเมินความเสียหายของผู้ประสบภัย มาตรการช่วยเหลือและบรรเทา มาตรการดูแลสภาพแวดล้อมและสุขอนามัย มาตรการช่วยเหลือทางการเงินและสิ่งของบรรเทาทุกข์ การฟื้นฟูสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกเบือ้ งต้น การประเมินความเสียหายเบือ้ งต้น การฟืน้ ฟูสภาพจิตใจ การติดตามและประเมินผลเบือ้ งต้น และการจัดท�ำ แผนฟื้นฟูบูรณะด้านต่าง ๆ เป็นต้น

84


บทวิเคราะห์ เรื่อง ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยถึงจุดอิ่มตัวแล้วจริงหรือ ?

1

บทสรุปผู้บริหาร การเจริญเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างเป็นส่วนหนึง่ ในการสร้างความเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และบทบาทของภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างได้เพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง สะท้อนได้จากมูลค่าทางเศรษฐกิจของภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 5.0 ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) และมูลค่าทางเศรษฐกิจของภาคอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้างได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2556 มีมูลค่า 589,796 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 จากช่วง 5 ปีก่อน ❍❍ มูลค่าการซือ ้ ขายทีด่ นิ และสิง่ ปลูกสร้างทัง้ ประเทศช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 (เดือนมกราคมพฤศจิกายน 2556) เท่ากับ 722,055 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาคกลาง เป็นภาคที่มีมูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมากที่สุดที่ร้อยละ 63.3 ของมูลค่าการซื้อขายที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างทั้งประเทศ และเป็นภาคที่มีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดที่ร้อยละ 23.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมา ได้แก่ ภาคตะวันออกและภาคใต้ที่มีมูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ร้อยละ 11.3 และร้อยละ 9.5 ของมู ล ค่ า การซื้ อ ขายที่ ดิ น และสิ่ ง ปลู ก สร้ า งทั้ ง ประเทศ ขยายตั ว ที่ ร ้ อ ยละ 19.0 และร้ อ ยละ 17.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ ❍❍ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 2557 คาดว่าจะมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะ โครงการทีอ่ ยูใ่ นกรุงเทพฯ และปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด เช่น จังหวัดภูเก็ต สงขลา ชลบุรี ระยอง เชียงใหม่ นครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ สะท้อนได้จากการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งประเทศ เพื่อการพาณิชยกรรมในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 35.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ที่ให้แก่ผู้ประกอบการในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ขยายตัวถึง ร้อยละ 15.5 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของอาเซียน (AEC) และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ อย่างไรก็ดี มีปัจจัยที่ผู้ประกอบการควรให้ความส�ำคัญ คือ การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวและความระมัดระวังของสถาบันการเงินในการให้สินเชื่อ ราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น และค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ดี แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว แต่เป็นการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ❍❍ การที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืนควรให้ความส�ำคัญกับปัจจัย 3 ประการ ดังนี้ (1) Time : ผู้ประกอบการจะต้องค�ำนึงถึงวงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle) ให้สอดคล้องกับ สภาพคล่องคงเหลือของกิจการ และจะต้องเร่งส่งมอบสินค้าให้เร็วที่สุดเพื่อที่จะท�ำให้เหลือ Backlog น้อยที่สุด ซึง่ จะท�ำให้นำ� เงินจ�ำนวนดังกล่าวไปลงทุนต่อได้ (2) Cost : ปัจจุบนั ผูป้ ระกอบการก�ำลังเผชิญกับต้นทุนในการก่อสร้าง ทีม่ แี นวโน้มเพิม่ สูงขึน้ ซึง่ การบริหารต้นทุนเป็นปัจจัยชีว้ ดั ส�ำคัญของการอยูร่ อดของกิจการ และ (3) Quality : ปัจจุบนั ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีการแข่งขันที่รุนแรงทางด้านราคา ซึ่งการบริหารคุณภาพจึงเป็นปัจจัยชี้วัดความส�ำเร็จ ของผู้ประกอบการ ❍❍

ผู้เขียน : นายนิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบาย เศรษฐกิจมหภาค และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำปรึกษาและข้อแนะน�ำ

1

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

85


1. ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปัจจุบัน การเจริญเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศ และบทบาทของภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จากมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 5.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) และมูลค่าทางเศรษฐกิจของภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2556 ที่มีมูลค่า 589,796 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 จากช่วง 5 ปีก่อน

ภาพที่ 1 มูลค่าทางเศรษฐกิจของภาคอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ปี 2547-2556

ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ส�ำหรับมูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งประเทศช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 (เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2556) เท่ากับ 722,055 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาคกลางเป็นภาคที่มีมูลค่าการซื้อขาย ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมากที่สุดที่ร้อยละ 63.3 ของมูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งประเทศ และเป็นภาคที่มีอัตรา การขยายตัวสูงที่สุดที่ร้อยละ 23.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมา ได้แก่ ภาคตะวันออกและภาคใต้ที่มีมูลค่าการซื้อขาย ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ร้อยละ 11.3 และร้อยละ 9.5 ของมูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งประเทศ ขยายตัวที่ร้อยละ 19.0 และร้อยละ 17.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาตลาดอสังหาริมทรัพย์เฉพาะในกรุงเทพฯ2 และปริมณฑล ซึ่งมีสัดส่วนของเงินให้สินเชื่อของ ภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ทั้งประเทศแล้วพบว่า (1) ในช่วงครึง่ แรกของปี 2556 โครงการบ้านจัดสรรทีอ่ ยูร่ ะหว่างการขายในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจ�ำนวน 843 โครงการ และมีจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการรวมกันประมาณ 174,800 หน่วย โดยมีจ�ำนวนหน่วยที่ขายได้แล้วประมาณ 107,900 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 61.7 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการรวม จึงมีหน่วยเหลือขาย (อุปทานส่วนเกิน) จ�ำนวน 66,900 หน่วย หรือ คิดเป็นร้อยละ 38.3 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการรวม ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 274,200 ล้านบาท โดยกรุงเทพฯ มีจ�ำนวน โครงการมากที่สุด 392 โครงการ ประมาณ 72,900 หน่วย มีหน่วยเหลือขายประมาณ 23,800 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 32.6 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการกรุงเทพฯ นนทบุรี 152 โครงการ ประมาณ 31,600 หน่วย มีหน่วยเหลือขายประมาณ 13,000 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 41.1 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการนนทบุรี ปทุมธานี 117 โครงการ ประมาณ 28,300 หน่วย วารสารสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรราย 3 เดือน ฉบับที่ 34 มกราคม-มีนาคม 2557

2

86


มีหน่วยเหลือขายประมาณ 12,800 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 45.2 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการปทุมธานี สมุทรปราการ 108 โครงการ ประมาณ 25,800 หน่วย มีหน่วยเหลือขายประมาณ 9,700 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 37.6 ของจ�ำนวนหน่วย ตามผังโครงการสมุทรปราการ สมุทรสาคร 49 โครงการ ประมาณ 11,900 หน่วย มีหน่วยเหลือขายประมาณ 5,600 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 47.1 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการสมุทรสาครและนครปฐม 25 โครงการ ประมาณ 4,300 หน่วย มีหน่วยเหลือขายประมาณ 1,900 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 44.2 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการนครปฐม ทั้งนี้ (1.1) หน่วยเหลือขายทั้งหมดสามารถแยกประเภทเป็นทาวน์เฮาส์ประมาณร้อยละ 48 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด บ้านเดี่ยวประมาณร้อยละ 40 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด บ้านแฝดประมาณร้อยละ 9 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด และ อาคารพาณิชย์ประมาณร้อยละ 2 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด (1.2) แยกตามระดับราคาของหน่วยขายเหลือพบว่า โครงการ ที่มีราคาอยู่ระหว่าง 3.01-5.0 ล้านบาท เป็นโครงการที่มีหน่วยเหลือขายมากที่สุด ที่ร้อยละ 32 ของหน่วยขายเหลือทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ โครงการที่มีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท มีหน่วยเหลือขายร้อยละ 26 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด โครงการที่มี ราคาเกินกว่า 5 ล้านบาท มีหน่วยเหลือขายร้อยละ 22 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด และโครงการที่มีราคาอยู่ระหว่าง 2.01-3.0 ล้านบาท มีหน่วยเหลือขายร้อยละ 20 ของหน่วยเหลือขายทัง้ หมด และ (1.3) แยกตามสถานะของการก่อสร้างของหน่วยขายเหลือ พบว่า ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างประมาณ 29,300 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 43.8 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ประมาณ 23,600 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 35.3 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด และหน่วยที่สร้างเสร็จแล้วประมาณ 13,900 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 20.8 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด ทั้งนี้ จากสถิติในอดีตหน่วยเหลือขายของบ้านจัดสรรจะขายได้ ทั้งหมดภายในระยะเวลาประมาณ 22 เดือน หากไม่มีหน่วยขายเพิ่มในตลาด อย่างไรก็ดี พบว่าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 มีโครงการบ้านจัดสรรเปิดขายใหม่จ�ำนวน 247 โครงการ ประมาณ 41,300 หน่วย โดยสมุทรปราการมีโครงการบ้านจัดสรร เปิดขายใหม่มากที่สุดจ�ำนวน 7,900 หน่วย รองลงมา ได้แก่ บางกรวย-บางใหญ่-บางบัวทอง-ไทรน้อย จ�ำนวน 5,000 หน่วย และ สมุทรสาครจ�ำนวน 4,400 หน่วย เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการโครงการบ้านจัดสรรที่จะต้องเร่งจ�ำหน่าย หน่วยเหลือขายให้มากที่สุดก่อนโครงการบ้านจัดสรรใหม่จะออกสู่ตลาดในปี 2557

ตารางที่ 1 โครงการบ้านจัดสรรเปิดขายใหม่ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 พื้นที่โครงการบ้านจัดสรรเปิดขายใหม่ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 1. สมุทรปราการ 2. บางกรวย-บางใหญ่-บางบัวทอง-ไทรน้อย 3. สมุทรสาคร 4. ล�ำลูกกา-คลองหลวง-ธัญบุรี-หนองเสือ 5. มีนบุรี-หนองจอก-คลองสามวา-ลาดกระบัง 6. พระโขนง-บางนา-สวนหลวง-ประเวศ

หน่วย 7,900 5,000 4,400 4,200 3,500 3,100

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

(2) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 โครงการอาคารชุดที่อยู่ระหว่างการขายในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจ�ำนวน 362 โครงการ และมีจำ� นวนหน่วยตามผังโครงการรวมกันประมาณ 170,200 หน่วย เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 21.4 จากช่วง 6 เดือนก่อนหน้า โดยมีจำ� นวน หน่วยทีข่ ายได้แล้วประมาณ 127,300 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 74.8 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการรวม จึงมีหน่วยเหลือขาย (อุปทานส่วนเกิน) จ�ำนวน 42,900 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 25.2 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการรวม ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 140,900 ล้านบาท โดยกรุงเทพฯ มีจ�ำนวนโครงการมากทีส่ ดุ 293 โครงการ ประมาณ 132,200 หน่วย มีหน่วยเหลือขายประมาณ 30,500 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 23.1 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการกรุงเทพฯ นนทบุรี 28 โครงการ ประมาณ 19,500 หน่วย มีหน่วยเหลือขายประมาณ 5,500 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 28.2 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการนนทบุรี สมุทรปราการ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

87


27 โครงการ ประมาณ 10,800 หน่วย มีหน่วยเหลือขายประมาณ 3,300 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 30.6 ของจ�ำนวนหน่วย ตามผังโครงการสมุทรปราการ ปทุมธานี 9 โครงการ ประมาณ 6,700 หน่วย มีหน่วยเหลือขายประมาณ 3,200 หน่วย หรือ คิดเป็นร้อยละ 47.8 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการปทุมธานี และนครปฐม 5 โครงการ ประมาณ 1,100 หน่วย มีหน่วยเหลือขาย ประมาณ 400 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 36.4 ของจ�ำนวนหน่วยตามผังโครงการนครปฐม ทั้งนี้ (2.1) หน่วยเหลือขายทั้งหมดสามารถแยกประเภทเป็นแบบ 1 ห้องนอนร้อยละ 65 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด แบบสตูดิโอประมาณร้อยละ 17 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด แบบ 2 ห้องนอนประมาณร้อยละ 15 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด และแบบ 3 ห้องนอนขึ้นไปประมาณร้อยละ 3 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด (2.2) แยกตามระดับราคาของหน่วยขายเหลือพบว่า โครงการทีม่ รี าคาไม่เกิน 2 ล้านบาท เป็นโครงการทีม่ หี น่วยเหลือขายมากทีส่ ดุ ทีร่ อ้ ยละ 47 ของหน่วยเหลือขายทัง้ หมด รองลงมา ได้แก่ โครงการที่มีราคา 2.01-3.0 ล้านบาท มีหน่วยเหลือขายร้อยละ 21 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด โครงการที่มีราคา 3.01-5.0 ล้านบาท มีหน่วยเหลือขายร้อยละ 17 ของหน่วยเหลือขายทัง้ หมด และโครงการทีม่ รี าคาเกินกว่า 5.0 ล้านบาท มีหน่วยเหลือขาย ร้อยละ 15 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด และ (2.3) แยกตามสถานะของการก่อสร้างของหน่วยขายเหลือพบว่า อยู่ระหว่าง การก่อสร้างประมาณ 19,400 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 45.2 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างประมาณ 13,900 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 32.4 ของหน่วยเหลือขายทัง้ หมด และหน่วยทีส่ ร้างเสร็จแล้วประมาณ 9,600 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 22.4 ของหน่วยเหลือขายทั้งหมด ทั้งนี้ จากสถิติในอดีตหน่วยเหลือขายของห้องชุดจะขายได้ทั้งหมดภายในระยะเวลาประมาณ 8 เดือน หากไม่มหี น่วยขายเพิม่ ในตลาด อย่างไรก็ดี พบว่าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 มีโครงการห้องชุดเปิดขายใหม่จำ� นวน 199 โครงการ ประมาณ 84,600 หน่วย โดยนนทบุรีมีโครงการห้องชุดเปิดขายใหม่มากที่สุดจ�ำนวน 13,500 หน่วย รองลงมา ได้แก่ ธนบุรี 12,500 หน่วย และปทุมธานี 11,600 หน่วย เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการโครงการห้องชุด ที่จะต้องเร่งจ�ำหน่ายหน่วยเหลือขายให้มากที่สุดก่อนโครงการห้องชุดใหม่จะออกสู่ตลาดในปี 2557

ตารางที่ 2 โครงการห้องชุดเปิดขายใหม่ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 พื้นที่โครงการห้องชุดเปิดขายใหม่ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 1. นนทบุรี 2. ธนบุรี 3. ปทุมธานี 4. ห้วยขวาง-จตุจักร-ดินแดง 5. สุขุมวิทตอนปลาย 6. สีลม-สาทร-บางรัก

หน่วย 13,500 12,500 11,600 8,600 4,900 4,300

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

ส�ำหรับราคาอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 5 ปีล่าสุด (ปี 2552-2556) พบว่าปรับตัวในอัตราเร่งตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น อย่างมาก โดยเฉพาะราคาอาคารชุดที่ปรับเพิ่มมากกว่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่น สะท้อนได้จากดัชนีราคาอาคารชุดในปี 2556 เท่ากับ 134.5 ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.1 จากปี 2552 รองลงมา ได้แก่ ดัชนีราคาที่ดิน ดัชนีราคาทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดิน และดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.6 ร้อยละ 23.0 และร้อยละ 15.9 จากปี 2552 ตามล�ำดับ

88


ภาพที่ 2 ดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์รายประเภทตั้งแต่ปี 2552-2556

หมายเหตุ : ราคาปีฐาน ณ เดือนมกราคม 2552 เท่ากับ 100 ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

2. โอกาสและความท้าทายของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย จากข้ อ มูล ข้างต้นแสดงให้เห็นว่าปัจจุบั น ภาคอสั ง หาริ มทรั พย์ ข องไทยมี การขยายตั ว อย่ า งต่ อเนื่ อง อย่ างไรก็ดี ตลาดอสังหาริมทรัพย์ต้องเผชิญโอกาสและความท้าทายต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 โอกาสของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย (1) การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายหลังจากการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของอาเซียนปี 2558 จะท�ำให้จงั หวัดทีเ่ ป็นศูนย์กลางการค้าและ การลงทุนของแต่ละภูมิภาคขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนพื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดนก็มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่ดี ซึ่งจะเป็นโอกาสดีส�ำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ส�ำหรับคอนโดมิเนียมในพื้นที่ศูนย์กลางย่านธุรกิจ เช่น เพลินจิต สาทร สุขุมวิท ฯลฯ ยังมีการขยายตัวได้ดีเช่นกัน เนื่องจากมีข้อจ�ำกัดของที่ดินส�ำหรับการพัฒนาเป็นอาคารสูงและที่ตั้งมีศักยภาพสูง ในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้ง่าย อาทิ รถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT จึงท�ำให้คอนโดมิเนียมเหล่านี้มักจะมี คุณภาพและราคาที่สูง นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากกฎหมายได้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การถือครองกรรมสิทธิ์ในห้องชุดให้แก่ ชาวต่างชาติรวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของพืน้ ทีห่ อ้ งชุดทีข่ าย อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลมีนโยบายผ่อนคลายการถือครองกรรมสิทธิ์ ในห้องชุดให้แก่ชาวต่างชาติเพิม่ ขึน้ อาจท�ำให้อปุ สงค์ตอ่ ห้องชุดของชาวต่างชาติเพิม่ ขึน้ และสามารถกระจายตัวไปสูห่ วั เมืองต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยลดการกระจุกตัวในชุมชนเมืองได้ (2) การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ปัจจุบันรัฐบาลได้ประมาณการความต้องการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศ ในช่วงปี 2556-2563 ประมาณ 4,245.6 พันล้านบาท ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนน มาสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต�่ำกว่า (Modal Shift & Multimodal) วงเงินจ�ำนวน 1,076.5 พันล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศ และเชื่อมโยงกับ ประเทศเพื่อนบ้าน (Connectivity) วงเงินรวม 1,793.0 พันล้านบาท และยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่ง เพื่อยกระดับความคล่องตัว (Mobility) วงเงินรวมจ�ำนวน 1,376.0 พันล้านบาท แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญอยู่ระหว่างการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... มูลค่า 2,000 พันล้านบาท จึงไม่สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อลงทุนในโครงการดังกล่าวได้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลสามารถน�ำโครงการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจ�ำเป็นมาจัดหาเงินทุนในการด�ำเนินโครงการด้วยวิธีอื่น ๆ ได้ อาทิ วิธีการงบประมาณปกติ และการใช้ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจลงทุนเอง ซึ่งเบื้องต้นมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท ดังนั้น จึงถือเป็นโอกาสที่ดีของ ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนให้สอดคล้องกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งจะช่วยให้กระจายการลงทุนไปสู่ ภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ประมาณการเศรษฐกิจไทย

89


2.2 ความท้าทายของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย (1) การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว ปัจจุบนั อัตราดอกเบีย้ เงินกูร้ ะยะสัน้ มีแนวโน้มทรงตัวอยูใ่ นระดับต�ำ่ สะท้อนจากอัตราดอกเบีย้ อ้างอิงระยะสัน้ ตลาดกรุงเทพ (Bangkok Interbank Offer Rate : BIBOR) ระยะเวลา 6 เดือน และ 1 ปี เท่ากับร้อยละ 2.5 และร้อยละ 2.7 ต่อปี ปรับตัวลดลงร้อยละ -0.00154 ต่อปี ตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ณ เดือนมกราคม 2557 อยู่ระหว่างร้อยละ 8.2-7.75

ภาพที่ 3 ความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย BIBOR อายุต่าง ๆ และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ขณะที่ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ส่วนหนึง่ เกิดจากการปรับลดเม็ดเงินทีอ่ ดั ฉีดเข้ามาสูร่ ะบบการเงินโลกลงของสหรัฐอเมริกา (QE Tapering) ซึ่งจะท�ำให้สภาพคล่องทางการเงินของประเทศต่าง ๆ ตึงตัวขึ้น และจ�ำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อป้องกัน เงินไหลออกอย่างรวดเร็ว ดังนั้น แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในอนาคตน่าจะปรับไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเป็น แรงกดดันให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ภายในประเทศปรับเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และจะเป็นแรงกดดัน ด้านต้นทุนแก่ผู้ประกอบการและยังเป็นแรงกดดันด้านอุปสงค์แก่ผู้บริโภคให้ชะลอลง

90


ภาพที่ 4 แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศต่าง ๆ

ที่มา : IMF

(2) ราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนมกราคม 2557 เท่ากับ 126.8 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตั้งแต่ปี 2552-2557 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.2 ต่อปี และในระยะยาวแนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยเพิ่มขึ้น และอาจท�ำให้ความสามารถ ในการแข่งขันด้านราคาของภาคอุตสาหกรรมไทยลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศ

ภาพที่ 5 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552-มกราคม 2557

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

91


(3) ค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น ก่อนการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำ 300 บาท ในเดือนเมษายน 2555 จ�ำนวน 7 จังหวัด และในเดือนมกราคม 2556 ทั้งประเทศ ค่าจ้างแรงงานของการก่อสร้างซึ่งเป็นหนึ่งในต้นทุนการผลิตที่ส�ำคัญของภาคอสังหาริมทรัพย์ เฉลี่ยเท่ากับ 6,701 บาทต่อเดือน ขณะทีภ่ ายหลังการปรับอัตราค่าจ้างขัน้ ต�ำ่ ค่าจ้างแรงงานของการก่อสร้างเฉลีย่ เท่ากับ 8,064.1 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 ต่อเดือน ดังนั้น หากผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่สามารถบริหารต้นทุนในการผลิตได้ อย่างมีประสิทธิภาพ การที่ค่าจ้างปรับเพิ่มขึ้นอาจท�ำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของภาคอุตสาหกรรมไทยลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศ

ภาพที่ 6 ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของการก่อสร้าง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554-มกราคม 2557

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

3. แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 2557 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 2557 คาดว่าจะมีแนวโน้มเติบโตได้ตอ่ เนือ่ ง โดยเฉพาะโครงการทีอ่ ยูใ่ นกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด เช่น จังหวัดภูเก็ต สงขลา ชลบุรี ระยอง เชียงใหม่ นครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ สะท้อนได้จากการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งประเทศเพื่อการพาณิชยกรรมในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 35.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ที่ให้แก่ผู้ประกอบการในช่วง 11 เดือนแรก ของปี 2556 ขยายตัวถึงร้อยละ 15.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การเปิดเสรีการค้าและการลงทุน ของอาเซียน (AEC) และการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานของภาครัฐ เป็นต้น อย่างไรก็ดี มีปจั จัยทีผ่ ปู้ ระกอบการควรให้ความส�ำคัญ ได้แก่ การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวและความระมัดระวังของสถาบันการเงินในการให้สินเชื่อ ราคาวัสดุก่อสร้าง ที่เพิ่มขึ้น และค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ต้องให้ความส�ำคัญกับผลกระทบจากการเก็งก�ำไรในราคาที่ดินในภูมิภาค และการลงทุนเกินตัวในห้องชุด ซึง่ อาจท�ำให้ระยะเวลาในการขายช้าลง หรือท�ำให้เกิดสินค้าขายได้แต่รอการส่งมอบ (Backlog) มากขึ้น และจะท�ำให้สภาพคล่องของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมตึงตัว อย่างไรก็ดี แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ ไทยยังไม่ถึงจุดอิ่มตัวแต่เป็นการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย

92


4. สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 2556 ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง และแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 2557 คาดว่ามีแนวโน้มเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย โดยปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การเปิดเสรีการค้า และการลงทุนของอาเซียน (AEC) และการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานของภาครัฐ แต่มปี จั จัยทีผ่ ปู้ ระกอบการควรให้ความส�ำคัญ คือ การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวและความระมัดระวังของสถาบันการเงินในการให้สินเชื่อ ราคาวัสดุก่อสร้าง ที่เพิ่มขึ้น และค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น ดังนั้น ในระยะยาว หากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน ควรให้ความส�ำคัญกับปัจจัย 3 ประการ ดังนี้ (1) Time : ผู้ประกอบการจะต้องค�ำนึงถึงวงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle) ให้สอดคล้องกับสภาพคล่องคงเหลือ ของกิจการ และจะต้องเร่งส่งมอบสินค้าให้เร็วที่สุดเพื่อที่จะท�ำให้เหลือ Backlog น้อยที่สุด ซึ่งจะท�ำให้น�ำเงินจ�ำนวนดังกล่าว ไปลงทุนต่อได้ (2) Cost : ปัจจุบันผู้ประกอบการก�ำลังเผชิญกับต้นทุนในการก่อสร้างที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อาทิ ราคาวัสดุก่อสร้างและ ราคาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการบริหารต้นทุนเป็นปัจจัยชี้วัดส�ำคัญของการอยู่รอดของกิจการ (3) Quality : ปัจจุบันตลาดอสังหาริมทรัพย์มีการแข่งขันที่รุนแรงทางด้านราคาและคุณภาพ อย่างไรก็ดี ปัจจัยส�ำคัญ ที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ส่วนหนึ่งอยู่ที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากสินค้าอสังหาริมทรัพย์เป็นปัจจัย 4 ในการด�ำรงชีวิตของประชาชน ประกอบกับสินค้าอสังหาริมทรัพย์เป็นสินค้าราคาค่อนข้างสูงและผู้บริโภคต้องอยู่อาศัยเอง เป็นระยะเวลานาน จึงต้องค�ำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และนักลงทุนที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ก็ค�ำนึงถึงคุณภาพของสินค้า เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง แม้ราคาจะสูง แต่มูลค่าเพิ่มที่ให้แก่นักลงทุนก็จะมากกว่า สินค้าคุณภาพต�่ำ ดังนั้น การบริหารคุณภาพจึงเป็นปัจจัยชี้วัดความส�ำเร็จของผู้ประกอบการในภาวะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ มีการแข่งขันทางด้านราคาค่อนข้างสูง

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

93


ภาคการเงิน

รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 อัตราดอกเบีย้ เงินกูล้ ดลง ขณะทีอ่ ตั ราดอกเบีย้ เงินฝากเพิม่ ขึน้ เล็กน้อย โดยอัตราดอกเบีย้ เงินกู้ MLR เฉลีย่ 5 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ณ สิน้ เดือนพฤศจิกายน 2556 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 7.07 ลดลงเล็กน้อย จาก ณ สิน้ ปี 2555 ทีอ่ ยูท่ รี่ อ้ ยละ 7.19 ขณะทีอ่ ตั ราดอกเบีย้ เงินฝากประจ�ำ 1 ปีเฉลีย่ 5 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เพิม่ ขึน้ เล็กน้อย จากร้อยละ 2.43 ณ สิ้นปี 2555 เป็นร้อยละ 2.63 ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2556 (ภาพที่ 1) ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงนับตั้งแต่ ช่วงต้นปี 2556 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง1 ในเดือนพฤศจิกายน 2556 เป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ❍❍ ในปี 2557 คาดว่าอัตราดอกเบีย ้ จะทรงตัวใกล้เคียงกับปัจจุบนั สอดคล้องกับอัตราดอกเบีย้ นโยบาย ทีค่ าดว่าจะอยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.25 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ 1.75–2.75 ต่อปี) ณ สิน้ ปี 2557 โดยประมาณการว่าแม้วา่ ภาพรวม เศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางขยายตัวได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงจากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง แม้จะเริ่ม มีทิศทางเป็นบวกมากขึ้น กอปรกับคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะยังคงอยู่ในกรอบเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย ระหว่างร้อยละ 0.5-3.0 ต่อปี ❍❍

ภาพที่ 1 อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ยอดคงค้างสินเชื่อและเงินฝากของสถาบันการเงินที่รับฝากเงินอื่น 2 (Depository Institutions) ณ สิน้ เดือนพฤศจิกายน 2556 ขยายตัวชะลอลง (ภาพที่ 2 และภาพที่ 3) โดย ณ สิน้ เดือนพฤศจิกายน 2556 สถาบันรับฝากเงิน อื่นมียอดคงค้างของสินเชื่อภาคเอกชนจ�ำนวน 14,507.5 พันล้านบาท ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลของฤดูกาลแล้ว ขยายตัวเร่งขึ้น ร้อยละ 0.9 ต่อเดือน สอดคล้องกับอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ แม้มีทิศทางชะลอลง โดยเมื่อวิเคราะห์ตามผู้ให้สิน เชื่อพบว่า ทั้งยอดคงค้างสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ยังคงเพิ่มขึ้น ด้านเงินฝากของสถาบันรับ ฝากเงินอื่นมียอดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 15,553.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเงินฝากธนาคารพาณิชย์เร่งขึ้น ส่วนหนึ่งจาก การแข่งขันระหว่างกันที่ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง เพื่อรักษาฐานลูกค้า ขณะที่เงินฝากที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจชะลอลง ❍❍

ค�ำนวณโดยน�ำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 12 เดือนเฉลี่ย - อัตราเงินเฟ้อในช่วงเดียวกัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน

1 2

94

ประมาณการเศรษฐกิจไทย


ภาพที่ 2 สินเชื่อในสถาบันรับฝากเงิน

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 3 เงินฝากในสถาบันรับฝากเงิน

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ยอดคงค้างสินเชื่อและเงินฝาก ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2556 ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ ช่วงก่อนหน้า (ภาพที่ 4 และภาพที่ 5) โดย ณ สิน้ เดือนพฤศจิกายน 2556 ธนาคารพาณิชย์มยี อดคงค้างสินเชือ่ ภาคเอกชนจ�ำนวน 9,736.0 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 11.4 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น และเมือ่ ขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน จากสินเชื่อผู้บริโภคและสินเชื่อธุรกิจที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้จะเริ่มมีทิศทางชะลอลงบ้าง ด้านเงินฝาก ของธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 11,162.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ❍❍

ภาพที่ 4 สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 5 เงินฝากในธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ยอดคงค้างสินเชือ่ ภาคครัวเรือนและยอดคงค้างสินเชือ่ ธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือนพฤศจิกายน 2556 ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย (ภาพที่ 6) สินเชือ่ ภาคครัวเรือนซึง่ มีสดั ส่วนร้อยละ 45 ของสินเชือ่ รวมขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอลง ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 55 ของสินเชื่อรวม ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

95


ภาพที่ 6 ยอดคงค้างสินเชื่อครัวเรือนและสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ยอดคงค้างสินเชือ่ ธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมและภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอลง เล็กน้อย ขณะทีย่ อดคงค้างสินเชือ่ ภาคบริการและภาคเกษตรกรรมทรงตัวระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า (ภาพที่ 8) ยอดคงค้างสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีส่วนแบ่งร้อยละ 45.7 ของสินเชื่อธุรกิจ ยังคงขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับไตรมาส ก่อนหน้าที่ร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 หดตัว ร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 41.7 ของสินเชื่อ ธุรกิจขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับยอดคงค้างสินเชื่อภาคเกษตรกรรม ทีข่ ยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 4.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น สอดคล้องกับดัชนีผลผลิต ภาคเกษตรกรรมในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ที่ขยายตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍

ภาพที่ 7 สินเชื่อแยกตามภาคธุรกิจ

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 8 การขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 9 โครงสร้างสินเชื่อผู้บริโภค

96

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.


ยอดคงค้างสินเชื่อผู้บริโภคในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินเชื่อบุคคลเพื่อซื้อรถหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 7.5 ของสินเชือ่ รวม หรือร้อยละ 29.2 ของสินเชือ่ บุคคล ขยายตัวชะลอลงต่อเนือ่ งเป็นไตรมาสที่ 4 ทีร่ อ้ ยละ 20.8 เมือ่ เทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ขณะทีย่ อดคงค้างสินเชือ่ เพือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยซึง่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.9 ของสินเชือ่ ทัง้ หมด หรือร้อยละ 46.0 ของสินเชื่อบุคคล ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส�ำหรับยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.7 ของยอดคงค้างสินเชื่อสถาบันการเงินรวม ในเดือนตุลาคม ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 13.5 สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนตุลาคม 2556 ที่ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 66.6 ❍❍

ภาพที่ 10 การขยายตัวสินเชื่อบุคคล ธนาคารพาณิชย์แยกประเภท

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

ภาพที่ 11 การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ผ่านบัตรเครดิต

ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.

กล่าวโดยสรุป ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2556 เงินฝากและสินเชื่อของสถาบันการเงินไทยขยายตัว ในอัตราที่ชะลอลง โดยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงขยายตัวได้ แม้จะชะลอลงเล็กน้อย สะท้อนอุปสงค์ในประเทศทีช่ ะลอลง ทัง้ นี้ หากวิเคราะห์ถงึ สถานภาพของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบนั พบว่ายังคงมีความแข็งแกร่ง โดยสัดส่วนหนีท้ ไี่ ม่กอ่ ให้เกิดรายได้สทุ ธิยงั คงอยูใ่ นระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 1.0 ของสินเชือ่ ทัง้ หมด ขณะทีส่ ดั ส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์ เสี่ยงยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 16.6 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายก�ำหนดไว้ที่ร้อยละ 8.5 ❍❍

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

97


Thailand’s Key Economic Indicators ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators)

98


ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง FISCAL POLICY OFFICE

เสนอแนะอย่างมีหลักการ

ศ ค

ศึกษาโดยไม่หยุดนิ่ง คนคลังที่มีคุณภาพ

คณะผู้จัดท�ำ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ดร.กุลยา ตันติเตมิท : kulaya.t@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ วิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ : wiparat@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ : pisitp@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร : soraphol@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์ สิริกัลยา เรืองอ�ำนาจ : sirigunya@hotmail.com

ผู้รับผิดชอบรายภาคเศรษฐกิจ

ภาคการคลัง นรพัชร์ อัศววัลลภ : norabajra@mof.go.th คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com นิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว : nipat44@hotmail.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com พีรพัฒน์ วงศ์ชัยวัฒน์ : wongchaiwat@hotmail.com สุธิรัตน์ จิรชูสกุล : j_suthi01@yahoo.com ณัฏฐธิดา จัทภักดี : fongnutdee@hotmail.com ภาคการค้าระหว่างประเทศ ธนิต ภัทรแสงไทย : thanitcf@gmail.com อรุณรัตน์ นานอก : aobcy2000@hotmail.com ตลาดน�้ำมัน กระแสร์ รังสิพล : krasae.a@gmail.com เศรษฐกิจต่างประเทศ ปารีณา วงศ์สุขเกษม : yukinohana.p@gmail.com อรกันยา เตชะไพบูลย์ : aurakunya.t@gmail.com ภัทราพร คุ้มสะอาด : phattraporn088@gmail.com

ภาคการเงิน อาร์จนา ปานกาญจโนภาส : annulet@hotmail.com อัตราแลกเปลี่ยน ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ : pim.hirankasi@gmail.com ภาคอุตสาหกรรม ปฐมดนัย พลจันทร์ : pathomdanai@gmail.com อรอุมา หนูช่วย : onumaneung@hotmail.com ภาคเกษตรกรรม กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com ภาคการท่องเที่ยว คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com รชานนท์ ฉิมเชิด : rachanon.fpo@gmail.com ภาคการบริโภค การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์ กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com ด้านเสถียรภาพ ดารินทร์ เกตุเรืองโรจน์ : lexlexjung@hotmail.com


สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท 0-2273-9020 โทรสาร 0-2298-5602 website : http://www.fpo.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.