งานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบ Attribution Non-commercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ท้าซ้้า แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วน หนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณีที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่น้าไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่ งานดัดแปลงภายใต้ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ www.onopen.com (2548) เผยแพร่ล่าสุดบน https://issuu.com/fringer (2561)
การศึกษาแนวเสรี: เป้าหมายในอุดมคติของการศึกษาไทย? - สฤณี อาชวานันทกุล – เผยแพร่ครั้งแรก โอเพ่นออนไลน์, สิงหาคม 2548
[1] วิธียกระดับคุณภาพของการศึกษาไทย เป็นประเด็นหนึ่งที่ถกเถียงกัน มาอย่างยาวนานและกว้างขวาง ทั้งในแวดวงนักวิชาการ นักการเมือง ผู้ปกครอง และนิสิตนักศึกษา การประกาศใช้ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพิ่มแรงผลักดันให้การปฏิรูปการศึกษาไทยเกิดขึ้นอย่างเป็น รูปธรรมมากกว่าที่ผา่ นมาในอดีต หากมองอย่างผิวเผิน อาจดูเหมือนแวดวงการศึกษาไทยในปัจจุบันก้าลัง ก้าวหน้า เพราะมีทางเลือกที่หลากหลายกว่าเดิม และหลักสูตรวิชา เฉพาะด้านใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นและทันสมัย ในกรุงเทพ โรงเรียนนานาชาติผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด มหาวิทยาลัยหลายแห่งเปิด หลักสูตรปริญญาที่สอนด้วยภาษาอังกฤษล้วน ค่าเล่าเรียนเรือนแสนของสถาบันเหล่านี้ ยิ่งท้าให้ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ถอยห่างจากกันขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมองดูพฤติกรรมฉาบฉวย ขาดส้านึกทางสังคม และบริโภคนิยมสุดขั้วของลูกหลานชนชั้นกลางส่วนใหญ่ ที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลัก ของหลักสูตรแพงๆ เหล่านี้แล้ว ก็น่าคิดว่า การปฏิรูปการศึกษาของเรา ก้าลังเดินมาถูกทางหรือไม่? การแจกคอมพิวเตอร์ฟรีให้สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ให้ใช้อินเทอร์เน็ตฟรี มีประโยชน์ขนาดไหน ในเมื่อนักเรียนไทยส่วนใหญ่ ยังไม่เก่งภาษาอังกฤษพอที่จะได้รบั ประโยชน์จากขุมความรู้แห่งนี้ ซึง่ ยังมีเว็บไซต์ภาษาไทยดีๆ จ้านวนเพียงเศษเสีย้ วของเว็บไซต์ ลามก? การสอนวิชาต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษล้วน มีประโยชน์ขนาดไหน หากวิชาเหล่านั้นไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการ “ถอดความ” เนื้อหา ที่ “แย่” อยู่แล้ว (เช่น ล้าหลัง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นกลาง ฯลฯ) จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษทั้งดุ้น?
ค้าขวัญวันเด็กของนายกฯ ปี 2549 ที่ว่า “อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด” มีประโยชน์ขนาดไหน ถ้าเราได้บณ ั ฑิตที่ฉลาดจริง แต่ใช้ความฉลาดนั้นเพียงเพื่อกอบโกยประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเอง ขยันอ่านขยันคิดแต่ไม่ขยันท้าความดี ฉลาดแต่ปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง เหมือนที่ “ผู้ใหญ่” ผูม้ ีอ้านาจหลายคนก้าลังท้าตัวเป็นเยี่ยงอย่างอยู่ในขณะนี้? เราต้องการให้บณ ั ฑิตปริญญาตรีไทยเป็นคนฉลาด เก่งภาษาอังกฤษ มีทักษะความรู้พอที่จะหางานท้า เอาตัวรอดในโลกยุคโลกาภิ วัตน์ได้ เท่านั้นเองหรือ? เราคิดว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ มีหน้าที่ “ป้อน” ลูกจ้างที่มีศักยภาพให้กับตลาดแรงงาน เท่านั้นเองหรือ? ถ้าเป้าหมายของการศึกษาระดับอุดมศึกษามีเพียงแค่นี้ เราจะหา “พลเมืองดี” รุ่นใหม่ ที่มีคณ ุ ธรรม มีส้านึกทางสังคม รู้ทัน นักการเมืองขี้โกง พร้อมสละเวลามาช่วยวิเคราะห์แก้ไขปัญหาบ้านเมืองเมื่อชาติต้องการ ได้จากที่ไหน? หรือเราจะโทษแต่พ่อแม่และผู้น้าทางศาสนา ว่าอบรมบ่มนิสัยเยาวชนมาไม่ดีพอ โทษสภาพแวดล้อม ค่านิยม และนามธรรมอื่นๆ ที่ จับต้องไม่ได้ ว่าท้าให้เขาเสียคน หรือโทษตัวเด็กเองว่า ไม่เข้มแข็งพอที่จะทนแรงดึงดูดอันเย้ายวนของลัทธิบริโภคนิยมสุดขั้วได้? ขอบข่าย “ความรับผิดชอบ” ของสถาบันการศึกษาไทย เริม่ ต้นและสิ้นสุดตรงไหน? ถึงเวลาหรือยังที่สังคมไทยจะเริม่ อภิปรายกันอย่างจริงจังว่า “เป้าหมาย” หรือ “ปรัชญา” ของการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้น คือ อะไรกันแน่? ทุกคนรู้ดีว่า ระบบการศึกษาไทยต้องมีการปฏิรูปขนานใหญ่ แต่มีน้อยคนที่เสนอว่า เป้าหมายของการปฏิรูปนั้นคืออะไร รูปแบบ ของการศึกษาที่เราอยากเห็นนั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร ผู้เขียนเชื่อว่า การศึกษาระดับปริญญาตรีในไทย ควรพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่ฝรั่งเรียกว่า liberal arts education หรือเรียกสั้นๆ ว่า liberal education ซึ่งในที่นี้จะขอแปลว่า “การศึกษาแนวเสรี” บทความนี้แบ่งเป็นสามตอน ตามล้าดับความคิดดังนี้: 1) การศึกษาแนวเสรีคืออะไร? 2) เป้าหมายสูงสุดของการศึกษาแนวเสรี: ทักษะในการคิด คุณธรรมที่มั่นคง และวุฒิภาวะทางอารมณ์ 3) จุดเริ่มต้นของการศึกษาแนวเสรีในไทย …… 1) การศึกษาแนวเสรีคืออะไร? การศึกษาแนวเสรี คือปรัชญาการศึกษาระดับอุดมศึกษาปรัชญาหนึง่ ที่มีอิทธิพลครอบง้ามหาวิทยาลัยเก่าแก่ชื่อดังของอเมริกา หลายแห่ง ปรัชญานี้ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า นอกเหนือจากวิชาเฉพาะด้านที่เลือกเรียน นักศึกษาปริญญาตรีควรได้รับความรู้
เบื้องต้นในสาขาวิชาพื้นฐานต่างๆ ที่หลากหลาย ครอบคลุม ตลอดจนมีความสนใจ เข้าใจ และนับถือใน วิธีคิด ของแต่ละสาขาวิชา เหล่านั้น เพื่อให้สามารถคิดได้อย่าง “บูรณาการ” คือสามารถน้าความรู้จากสาขาวิชาอื่น มาประยุกต์ใช้ในสาขาที่ตนมีความช้านาญ ในความหมายของปรัชญานี้ “liberal arts” ไม่ได้หมายความเฉพาะวิชาด้าน “ศิลปศาสตร์” ดังค้าแปลปกติของศัพท์ค้านี้ใน ภาษาไทย แต่มีความหมายครอบคลุมวิชาด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วย ซึ่งเป็นแนวคิดทีส่ ะท้อนข้อเท็จจริงว่า “วิทยาศาสตร์” และ “ศิลปศาสตร์” นั้น ไม่สามารถแยกจากกันได้โดยเด็ดขาด โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันอันซับซ้อน ที่ต้องอาศัย ความรู้ และความเชี่ยวชาญหลายแขนงประกอบกัน ในการเข้าถึงสัจธรรมที่เป็นองค์รวม แก้ไขปัญหา และคิดค้น กระบวนการพัฒนาโลก ทั้งในมิตดิ ้านวัตถุ และมิตดิ ้านจิตใจ หากมองอย่างผิวเผิน มหาวิทยาลัยของอเมริกาส่วนใหญ่ดูไม่ต่างกันมาก เพราะแต่ละแห่งก็บังคับให้นักศึกษาเรียน “วิชาบังคับ” จ้านวนหนึ่ง ควบคู่ไปกับวิชาอื่นๆ ในภาควิชาที่ตนเลือก แต่ในความเป็นจริงแล้ว มหาวิทยาลัยที่ขับเคลือ่ นโดยปรัชญาการศึกษา แนวเสรีอย่างเข้มข้น แตกต่างจากมหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนโดยปรัชญาการศึกษาอื่นเป็นหลัก (ซึ่งในที่นี้จะนิยามว่า “การศึกษาแนว วิชาชีพ” คือการศึกษากระแสหลัก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน) หลาย ประการด้วยกัน เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ที่อนุรักษ์ปรัชญาการศึกษาแนวเสรีอย่างเหนียวแน่น ไม่ อนุญาตให้นักศึกษาปริญญาตรี เลือกเรียนเอกในสาขาที่ถือว่าเป็น “วิชาชีพ” โดยตรง ดังนั้นนักศึกษาที่รู้อยู่แล้วว่าตัวเองต้องการ ประกอบอาชีพอะไรหลังรับปริญญา จึงจ้าต้องเลือกเอกในสาขา “วิชาการ” ที่ใกล้เคียงที่สุดกับอาชีพเป้าหมายแทน เช่น ใครอยาก เป็นหมอก็ต้องเอกชีวเคมี (biochemistry) อยากเป็นนักการเงินก็ตอ้ งเอกเศรษฐศาสตร์ และถ้าอยากเป็นทนาย ก็ต้องเอก รัฐศาสตร์ (government) แทน หลักสูตรการศึกษาแนวเสรีของฮาร์วาร์ด – ซึ่งวิชาทั้งหมดคิดเป็นหนึ่งในสี่ของหน่วยกิตทั้งหมดที่นักศึกษาต้องเรียนก่อนจบปริญญา ตรี – เรียกรวมๆ ว่า “Core Program” มีเป้าหมายที่อธิบายไว้ใน[2] เว็บไซต์ Core Program ดังนี้: “ปรัชญาของหลักสูตร Core ของเรา ตั้งอยู่บนความเชื่อว่า บัณฑิตปริญญาตรีจากฮาร์วาร์ดทุกคนควรได้รับการศึกษาในมุมกว้าง ควบคู่ไปกับความช้านาญเฉพาะด้านทางวิชาการสาขาใดสาขาหนึ่ง ปรัชญานี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า นักศึกษาทุกคนควรได้รับค้า ชี้แนะในการบรรลุเป้าหมายนี้ และคณาจารย์มีหน้าที่น้าพวกเขาไปสู่ความรู้ ทักษะทางปัญญา และนิสัยทางความคิดที่เป็น คุณลักษณะของชายหญิงผู้มีการศึกษาทุกคน ...แต่หลักสูตร Core ของเรา แตกต่างจากโปรแกรมการศึกษาทั่วไปที่อื่น ตรงที่เรา มิได้ก้าหนดขอบเขตทางวิชาการไว้ที่ความรอบรู้เรื่องวรรณกรรมอมตะชุดใดชุดหนึ่ง ความรู้ลึกซึ้งด้านใดด้านหนึ่ง หรือแม้แต่ความรู้ รอบตัวทันสมัยในบางสาขาวิชา แต่เราต้องการแนะนากระบวนการค้นหาความรู้ ในสาขาวิชาที่เราเชื่อว่าขาดไม่ได้สาหรับ การศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรนี้ต้องการแสดงให้นักศึกษาเห็นว่า มีความรู้ และวิธีการสืบค้นความรู้แบบใดบ้าง ใน สาขาวิชาเหล่านี้ ตลอดจนชี้ให้เห็นวิธีการวิเคราะห์ ประโยชน์ และคุณค่าของแต่ละวิธี คอร์สต่างๆ ในแต่ละสาขาของ หลักสูตรนี้ “เหมือนกัน” ตรงที่เน้นให้เข้าใจมุมมองและวิธีคิด แม้ว่าหัวข้อจะแตกต่างกัน” ปรัชญาของการศึกษาแนวเสรี สะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรมในการออกแบบคอร์สต่างๆ ใน Core Program ของฮาร์วาร์ด ซึ่งปัจจุบัน บังคับให้นักศึกษาเรียนอย่างน้อยหนึ่งคอร์ส ในแต่ละสาขาต่อไปนี้: – วัฒนธรรมต่างชาติ (Foreign Cultures) – ประวัติศาสตร์ศึกษา (Historical Study) – วรรณกรรมและศิลปะ (Literature and Arts) – การใช้เหตุผลเชิงคุณธรรม (Moral Reasoning) – การใช้เหตุผลเชิงตัวเลข (Quantitative Reasoning) – วิทยาศาสตร์ (Science) – สังคมวิทยา (Social Analysis)
คอร์สที่บรรจุอยู่ใน Core Program ของฮาร์วาร์ดส่วนใหญ่ ไม่ได้เป็น “วิชาพื้นฐาน” เช่น ประวัติศาสตร์โลก 101 หรือ วรรณกรรม 101 หรือ ศิลปะ 101 แบบที่นักเรียนไทยคุ้นเคย แต่เป็นวิชาเกีย่ วกับหัวข้อหรือประเด็นแคบๆ เช่น “ฟลอเรนซ์สมัยเรอเนสซองส์” หรือ “แนวคิดเรื่องฮีโร่ในวรรณกรรมกรีกโบราณ” หรือ “สถาปนิกเอก แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์” คอร์สเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้น่า ติดตาม สอนโดยอาจารย์ที่เก่งที่สดุ ของภาควิชาต่างๆ เปรียบเสมือนเป็น “คอร์สแม่เหล็ก” ดึงดูดให้นักศึกษาใหม่เลือกเรียนเอกใน ภาควิชาของตน นอกจากนี้ Core Program ยังเป็น “พื้นที่แนวร่วม” ให้อาจารย์ต่างสาขา ต่างคณะ มาร่วมสอนนักเรียนด้วยกันแบบ “บูรณาการ” เพื่อชี้ให้เห็นวิธีมองประเด็นต่างๆ จากมุมมองของแต่ละสาขา คอร์สแบบนี้ส่วนใหญ่ได้รับความนิยมมาก อาทิเช่น คอร์ส Core ชื่อ [3] “Thinking about Thinking” (“คิดเกี่ยวกับคิด”) สอนพร้อมกันโดยอาจารย์สามคนจากสามภาควิชา ได้แก่ กฎหมาย วิทยาศาสตร์ และเทววิทยา (theology) มุ่งเน้นการตีกรอบ ให้นิยามค้าว่า “ผู้เชี่ยวชาญ” และ “ความจริง” ในแต่ละสาขา ตลอดจนกระบวนการต่างๆ สาขาเหล่านี้ใช้ค้นหาความจริงเหล่านั้น สไตล์การสอนของคอร์สนี้คือ ในแต่ละวันอาจารย์สามคนจะ หยิบยกประเด็นขึ้นมาถกกันหนึ่งเรื่อง เช่น ความยุติธรรม ความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ การแสดงความเห็นต่างของพลเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล และความน่าจะเป็น ฯลฯ กว่าคอร์สนี้จะจบ นักศึกษาไม่เพียงแต่จะได้เรียนรูเ้ กี่ยวกับวิธีคิดของ นักคิดในสามสาขานี้เท่านั้น แต่ยังได้รับความรูเ้ กี่ยวกับประเด็นส้าคัญต่างๆ ในโลก ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากนักวิชาการ หลากหลายสาขา ในการส้ารวจ วิเคราะห์ และอภิปรายเพื่อพัฒนาสังคมมนุษย์ …… 2) เป้าหมายสูงสุดของการศึกษาแนวเสรี: ทักษะในการคิด คุณธรรมที่มั่นคง และวุฒิภาวะทางอารมณ์ เพราะวิธีปฏิบตั ิของปรัชญาการศึกษาแนวเสรีคือการบังคับให้นักศึกษาเรียนคอร์สต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่า จะช่วยให้พวกเขามี “...ความรู้ ทักษะทางปัญญา และนิสัยทางความคิด” ในภาษาของฮาร์วาร์ด เป้าหมายของการศึกษาแนวเสรี จึงเป็นได้มากกว่า – และ ควรเป็น มากกว่า – การศึกษาแนววิชาชีพ กล่าวคือ ถ้าเราคิดว่านักศึกษาควรมีคณ ุ สมบัติอื่น นอกเหนือจากทักษะการใช้เหตุผล เช่น คุณธรรมหรือศีลธรรม และวุฒิภาวะทาง อารมณ์ เราก็ควรรวมคุณสมบัตเิ หล่านี้เข้าเป็น “เป้าหมาย” ของการศึกษาแนวเสรี และออกแบบหลักสูตรมาให้สอดคล้องกับ เป้าหมายนี้ การ “ขยาย” ขอบเขตของเป้าหมาย และโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาแนวเสรีไปในแนวนี้ จะไม่กระทบกระเทือนหลักสูตร การศึกษาแนววิชาชีพ ซึ่งเป็นส่วนของ “วิชาเอก” ที่นักศึกษาต้องเรียนอยู่แล้วก่อนจบปริญญา หากเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาแนววิชาชีพ (สามในสี่ของหน่วยกิตทั้งหมด) คือการผลิต “ผู้เชี่ยวชาญที่มีศักยภาพ” ในสาขา ต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน เป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาแนวเสรี (หนึ่งในสี่ของหน่วยกิตทั้งหมด) ควรเป็น การผลิต “ปัญญาชนผู้ทรงคุณธรรม” เพื่อสนองความต้องการของสังคมและโลก ซึ่งก้าลังถูกกลบด้วยเสียงเรียกร้องที่ดังขึ้นเรื่อยๆ ของตลาดแรงงาน เพราะ “ผูเ้ ชี่ยวชาญที่มีศักยภาพ” และ “ปัญญาชนผู้ทรงคุณธรรม” นั้น ควรเป็นคุณสมบัติของคนคนเดียวกัน ไม่เช่นนั้นสังคมก็จะ มีแต่ผเู้ ชี่ยวชาญที่ไร้คุณธรรม ใช้ความฉลาดและความรูเ้ พื่อรักษาและเพิ่มพูนผลประโยชน์ของตัวเองถ่ายเดียว
ดังนัน้ คอร์สที่บรรจุเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาแนวเสรี จึงไม่ควรเป็นแค่ “วิชาเบื้องต้น” ของภาควิชาต่างๆ เท่านั้น หาก ควรถูกออกแบบมาอย่างประณีต เฉพาะเจาะจง และค้านึงถึงมิตดิ ้านคุณธรรม และอารมณ์เป็นส้าคัญ ตัวอย่างเช่น คอร์สสาขา Moral Reasoning ใน Core Program ของฮาร์วาร์ด เป็นตัวอย่างของความพยายามให้นักศึกษามองเห็นมุมมองด้านศีลธรรม ใน การด้ารงชีวิตประจ้าวัน ในขณะที่คอร์สสาขา Foreign Cultures พยายามสอนให้นักศึกษามองเห็น เข้าใจ และนับถือแนวคิดและ คุณค่าต่างๆ ในวัฒนธรรมที่ตา่ งจากพื้นเพของตน หลักสูตรการศึกษาแนวเสรีที่ดี ไม่ควรพยายาม “บังคับ” ให้คนเป็นคน “ดี” ในกรอบที่อาจารย์หรือสังคมตีความ (เช่น ด้วยการ บังคับให้จ้าว่าศีล ๕ มีอะไรบ้าง ฯลฯ) แต่เน้นที่หลักเหตุผล และบริบทของประเด็นทางคุณธรรมมากกว่า ว่าท้าไมมุมมองนี้จึงเป็น เรื่องส้าคัญ เช่นเดียวกับทีไ่ ม่ควรบังคับให้นักศึกษาท่องจ้าปีที่เกิดเหตุการณ์ส้าคัญต่างๆ ในประวัติศาสตร์ แต่เน้นการอภิปรายเรื่อง บริบท เหตุผล และประเด็นต่างๆ ในเหตุการณ์เหล่านั้นแทน ซึ่งแน่นอน ก่อนที่เราจะสอนแบบนี้ได้ สังคมไทยและสถาบันการศึกษาเองจะต้องเลิก “ยึดติด” อยู่กับแบบแผนการสอนในอดีต ซึ่ง สอนเพียง “ประวัติศาสตร์กษัตริยไ์ ทย” ในฐานะ “ความจริงตายตัว” ที่ไม่อนุญาตให้ใครซักถามหรือตีความ ไม่ใช่ “ประวัตศิ าสตร์ ชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อาศัยในขอบเขตประเทศไทย” อย่างที่วิชาประวัตศิ าสตร์ควรจะเป็น การปฏิรปู การศึกษาไทยทั้งระบบโดยใช้ปรัชญาการศึกษาแนวเสรีเป็นหลัก น่าจะเป็นเรื่องเร่งด่วนและจ้าเป็นมาก เพราะคนรุ่นใหม่ ก้าลังเป็นปัจเจกชนเต็มขั้นที่ไร้ซึ่งส้านึกทางสังคม และสิ่งที่เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เรียกว่า “ส้านึกทางประวัติศาสตร์” ในหนังสือ ชื่อเดียวกัน ดังที่ กิตติพงศ์ สนธิสมั พันธ์ [4] สรุปความ ไว้ดังต่อไปนี:้ “...เสกสรรค์เน้นว่าแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมาทั้งหมด ส่งผลส้าคัญต่อความเสื่อมทรุดทางจิตวิญญาณของคน ไทย โดยปรากฏชัดเจนในหมูล่ ูกหลานคนชั้นกลาง ซึ่งสะท้อนว่าการได้เปรียบในเชิงโครงสร้างไม่ได้ช่วยให้มนุษย์วิวัฒน์ไปสู่ขั้นตอน ที่สูงขึ้นในด้านจิตใจและจิตวิญญาณเสมอไป เขาเชื่อว่า การเสื่อมสลายของจินตภาพในเรื่อง ‘ส่วนรวม’ ของสังคม ซึ่งเคยประกอบ ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนรุ่นเก่า ท้าให้คนหนุ่มสาวรุ่นปัจจุบันเลิกยึดถือในเรื่องผิดถูก และการมีชีวิตรวมหมู่ไม่ว่าจะในสังกัดไหน ๆ รวมทั้งจงใจเพิกเฉยต่อส้านึกทางประวัติศาสตร์ เพราะไม่เห็นทั้งคุณค่าและความส้าคัญ “สุดท้าย การไม่มสี ้านึกทางประวัติศาสตร์ท้าให้เราไม่มีจดุ หมายทางยุทธศาสตร์ส้าหรับขับเคลื่อนสังคมที่ตนเองสังกัด หากจะมีก็แค่ กลยุทธ์ในการค้นหาความอยู่รอดไปวันๆ” เสกสรรค์เห็นว่า การพัฒนาประเทศที่ผ่านมากระตุ้นให้คนเรายึดติดกับเปลือกนอกของชีวิตมากเกินไป เราแยกการศึกษาออกจาก คุณธรรม และตัดขาดมิติทางด้านจิตวิญญาณออกจากวิถีชีวิตอย่างสิ้นเชิง” ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียว ที่อุดมการณ์ของแวดวงการศึกษาก้าลังถูกกัดกร่อนด้วยผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ แอนดรูว์ ครัก กี้ (Andrew Chrucky) อาจารย์ปรัชญา มหาวิทยาลัยชิคาโก เขียนบทความเรื่อง “เป้าหมายของการศึกษาแนวเสรี” ซึ่งนอกจาก จะตีแผ่ปัญหาที่เขามองเห็นในอุดมศึกษาอเมริกาแล้ว ยังเรียบเรียงเหตุผลที่ชัดเจนเป็นล้าดับว่า เหตุใดการศึกษาแนวเสรี ควร ส่งเสริมให้นักศึกษามีคณ ุ ธรรมและวุฒิภาวะทางอารมณ์ นอกเหนือจากทักษะทางความคิด …… เป้าหมายของการศึกษาแนวเสรี
โดย แอนดรูว์ ครักกี้ แปลจาก [5] The Aim of Liberal Education ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยชิคาโกมีประเพณีให้โอวาทกับนักศึกษาใหม่ เรื่องเป้าหมายของการศึกษา บทโอวาท ของอาจารย์สามคนที่ทุกคนสามารถดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เน็ตคือ ของจอห์น เมียร์ไชเมอร์ (John Mearsheimer) อาจารย์ รัฐศาสตร์ [6] ปี 2540 โรเบิร์ต พิพพิน (Robert Pippin) อาจารย์ปรัชญา [7] ปี 2543 และแอนดรูว์ แอบบ็อท (Andrew Abbott) อาจารย์สังคมศาสตร์ [8] ปี 2545 ผมคิดว่า ไม่มีใครในนีเ้ ลยที่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการศึกษาแนวเสรี ผู้ให้ โอวาททั้งสามคนเน้นประโยชน์ของปริญญาจากมหาวิทยาลัยชิคาโกในตลาดแรงงาน และคิดว่าการศึกษาแนวเสรีไม่เกีย่ วกับ คุณธรรมเลย โดยเฉพาะส้าหรับเมียร์ไชเมอร์ เมื่อผนวกแนวคิดเรื่องความส้าเร็จ [ด้านการงาน] เข้ากับการไม่พดู เรื่องคุณธรรมแล้ว เราก็อดคิดไม่ได้ว่า อาจารย์เหล่านีก้ ้าลังเสนอและปกป้องการสอนให้คนใช้แค่ตรรกศิลป์ ([9] sophistry) แบบที่เพลโตเข้าใจ สมมติฐานร่วมของอาจารย์ทั้งสามคนคือ เราทุกคนมีชีวิตอยู่ในภาวะที่มีการแข่งขันสูง และจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ ช่วยให้เรา เป็นผู้ชนะ ทั้งสามคนใช้สถิติจากผลการวิจัยมากมายเพื่อแสดงให้นักเรียนเห็นว่า การที่พวกเขาเข้าโรงเรียนนี้ได้นั้น ก็เพียงพอแล้วที่ จะท้าให้เขาได้งานที่ให้ผลตอบแทนดีเมื่อจบการศึกษา ไม่ว่าเขาจะเรียนอะไรก็ตาม แอบบ็อทเสริมว่า นักเรียนจะมีความมั่นคงด้าน การเงินสูงขึ้นถ้าเลือกอาชีพเป็น แต่เขาก็ออกตัวว่า แต่ละอาชีพมีเส้นทางเรียนหลายสาย ดังนั้น จะเรียนอะไรก็ไม่ใช่เรื่องส้าคัญ บทสรุปนี้มเี หตุผลถ้านายจ้างอยากหาแต่ลูกจ้างที่ฉลาดหลักแหลม สถาบันแบบมหาวิทยาลัยชิคาโกท้างานเป็น “ตะแกรงร่อน” คัด สรรปัญญาชนระดับหัวกะทิ [ของประเทศ] อาจารย์เหล่านี้เน้นว่า การเข้ามหาวิทยาลัยชิคาโกได้ ท้าให้นักเรียนได้เปรียบในตลาดแรงงาน ด้วยเหตุผลสามข้อด้วยกัน เหตุผลข้อ แรกที่ผมกล่าวไปก่อนหน้านีค้ ือ สถิติแสดงให้เราเห็นแล้วว่า นักเรียนที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิคาโกส่วนใหญ่จะประสบ ความส้าเร็จ ไม่ว่าเขาจะเลือกเรียนอะไร เหตุผลข้อที่สองคือ พวกเขาจะได้รับความรู้อันน่าทึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ทฤษฎี และ เทคนิคต่างๆ เหตุผลข้อสุดท้ายคือ พวกเขาจะสามารถเอาชนะในการถกเถียง และหว่านล้อมให้คนอื่นคล้อยตาม เพราะได้รับการ ฝึกฝนวิธีการโต้แย้งมาอย่างดี เมียร์ไชเมอร์เน้นประโยชน์ของทักษะในการถกเถียงเมื่อเขาชี้ให้เห็นว่า ทักษะเหล่านี้มีประโยชน์ส้าหรับทนาย แพทย์ นักธุรกิจ และ อาชีพอื่นๆ เพราะเขาไม่คิดถึงแง่มมุ ของคุณธรรม และเน้นทักษะการโต้แย้งแทน เมียร์ไชเมอร์จึงมองว่าการศึกษาแนวเสรีเป็นการ ฝึกวาทศิลป์ในการโต้วาทีให้ชนะ และทักษะในการโต้วาทีที่ปราศจากกรอบของคุณธรรมก้ากับนั้น ก็เป็นได้เพียงตรรกศิลป์และเล่ห์ เหลี่ยมเท่านั้น หน้าที่ของทนายในฐานะนักโต้วาทีเหลี่ยมจัดคือเถียงให้ชนะ ข้อสรุปส้าคัญของอาจารย์ทั้งสามคน โดยเฉพาะในโอวาทของเมียร์ไชเมอร์คือ การศึกษาไม่ควรเกี่ยวกับคุณธรรม เขาเสนอข้อสรุปนี้ ว่าเป็นลักษณะของการศึกษาแนวเสรีที่มหาวิทยาลัยชิคาโกสอน แอบบ็อทเห็นด้วยกับเมียร์ไชเมอร์ว่า เป้าหมายของการศึกษาแนว เสรีคือการพัฒนาทักษะในการคิด แต่แสดงความเสียดายนิดหน่อยว่า การศึกษาแนวเสรีไม่สอนคุณธรรม (moral education) และ วุฒิภาวะทางอารมณ์ (emotional education) อย่างไรก็ตาม ทั้งสามคนมองว่า การศึกษาแนวเสรีมุ่งพัฒนาทักษะในการคิด (cognitive skills) เท่านั้น ผมถามตัวเองว่า การศึกษาจะไม่เกี่ยวกับคุณธรรมเลยได้อย่างไร? มันไม่เกี่ยวในแง่ที่เป็นกระบวนการการเรียนรู้ข้อเท็จจริงและ ทฤษฎี ซึ่งความรู้เหล่านี้สามารถน้าไปใช้ได้กับเป้าหมายทั้งที่มีคุณธรรม ไร้คุณธรรม หรือไม่เกี่ยวกับคุณธรรมเลยก็ได้ ยกตัวอย่าง
เช่น การศึกษาวิธีสร้างระเบิด และความรู้ว่าระเบิดตึกอย่างไรนั้น ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับคุณธรรม แต่ถา้ คุณเอาความรู้นั้นไปใช้ระเบิด ตึกที่มีคนอยู่จริง เราต้องนับว่านั่นเป็นการกระท้าที่ไร้คุณธรรมมากทีเดียว จากมุมมองที่ไม่เกี่ยวกับคุณธรรม ด้านหนึ่งของการศึกษาคือ การเรียนรู้ข้อเท็จจริงและทฤษฎีตา่ งๆ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งคือ การ เรียนรู้วิธโี ต้แย้งด้วยเหตุผล และเทคนิคการใช้วาทศิลป์ในการหว่านล้อมผู้อื่นให้คล้อยตาม จากมุมมองนี้ ค้าถามว่านักเรียนจะเอา ความรู้เหล่านีไ้ ปใช้ท้าอะไร เป็นเรือ่ งส้าคัญรองลงมา – ความรู้นี้อาจใช้โดยนักธุรกิจ ภาครัฐ หรือมาเฟียใหญ่ก็ได้ ในทางกลับกัน ผมคิดว่าการศึกษาแนวเสรีในความเข้าใจที่ถูกต้องนั้น ต้องมีองค์ประกอบทั้งสามด้านคือ ทักษะในใช้การคิด คุณธรรมอันดีงาม และวุฒิภาวะทางอารมณ์ เฉพาะในกรณีที่คนเข้าใจผิดเท่านั้น ที่เขาจะแยกองค์ประกอบด้านคุณธรรมและ อารมณ์ออกจากกระบวนการการศึกษาได้ ถ้าการศึกษาแนวเสรีเป็นเรื่องของทักษะการคิดอย่างเดียว อย่างที่อาจารย์สามคน บอกล่ะก็ นักเรียนที่จบการศึกษาออกมาจะเป็นแบบไหน? ผมว่าพวกเขาจะเป็นได้แค่โซฟิสต์ (Sophist) เท่านั้น โซฟิสต์คือคน ที่สามารถโน้มน้าว และเถียงชนะคนอื่น หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ คนที่เอาตัวรอดในสังคมเก่ง แต่เพลโตต้องการฝึกนักปรัชญา ซึ่งหมายถึงนักตรรกวิทยาที่มีคุณธรรม หมายความว่าคนดีที่มีทักษะในการใช้เหตุผล และใช้ทักษะนั้นในการส่งเสริมคุณธรรม ด้วยอารมณ์ การศึกษาแนวเสรีไม่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ระเบิด แต่เกี่ยวกับการคานึงว่า เมื่อไหร่ที่เราควรใช้ระเบิด และใช้มัน เพื่ออะไร โรบินสัน ครูโซ เพื่อท้าให้ข้อสรุปของผมชัดเจนขึ้น ผมอยากจะใช้โมเดลกติกาสังคมเป็นตัวอย่าง ลองสมมุติว่าผมเป็นนักผจญภัยชื่อโรบินสัน ครูโซ ที่เรือล่มและติดเกาะอยู่คนเดียว ผมต้องหาทางเอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมนี้ ผมต้องการน้้าดื่ม อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และที่ พักอาศัย สมมุติด้วยว่า ผมสามารถค้นคว้าสารานุกรมบริตันนิกาที่อยู่ในห้องสมุดของเรือได้ สิ่งที่ผมต้องการคือ ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ว่า อะไรกินได้ ต้องเตรียมอาหารอย่างไร เย็บเครื่องนุ่งห่มและสร้างที่พักอาศัยได้จากวัสดุ อะไรบ้าง ตลอดจนกระบวนการท้าสิ่งเหล่านี้ ผมจะเรียกความรู้เหล่านี้ว่าเป็น “ความรูด้ ้านวิทยาศาสตร์และเทคนิค” แน่นอน ก่อนที่ผมจะใช้สารานุกรมได้ ผมต้องเข้าใจภาษาเขียนในนั้นก่อน และก็ต้องมีทักษะในการอ่านด้วย ผมอยากเน้นว่าทักษะในการ อ่านและใช้สารานุกรมเป็นนั้น ไม่ได้เป็นองค์รวมของการศึกษาแนวเสรี ที่จริงแล้วในกรณีนี้ ผมไม่ต้องการการศึกษาแนวเสรีเลยด้วย ซ้้า: ผมจะกังวลและหมกมุ่นอยู่กับแค่การปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผมจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งผมจะ ได้รับส่วนหนึ่งจากการอ่านสารานุกรม ผมจะต้องการการศึกษาแนวเสรีจริงๆ ก็ต่อเมื่อมีคนอีกคนโผล่มาขึ้นเกาะ สมมุติว่าเขาชื่อ “วันศุกร์” นะครับ วันศุกร์นี่คงอยากอยู่ รอดเหมือนผม ถ้าเขาไม่พูดภาษาเดียวกับผม เขาจะต้องฝึกให้เป็น ไม่เช่นนั้นผมก็ต้องเรียนภาษาของเขา แม้การรูภ้ าษาจะเป็น เงื่อนไขจ้าเป็นส้าหรับการใช้ห้องสมุด ตอนนี้มันได้กลายเป็นเงื่อนไขจ้าเป็นส้าหรับการสื่อสารด้วย ท้าไมผมจึงจะอยากสื่อสารกับวัน ศุกร์หรือครับ? ประการแรก วันศุกร์และผมอาจไม่รู้ว่า เราจะคาดหวังอะไรจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ ผมจะไว้ใจได้หรือไม่ว่า วันศุกร์จะไม่ ขโมยอาหาร เสื้อผ้า หรือเพิงของผม หรือแม้แต่ฆ่าผม? ถ้าผมสื่อสารกับวันศุกร์ไม่ได้ ไม่ไว้ใจเขา และรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อเขาอยู่ ใกล้ๆ – โดยเฉพาะถ้าเขาท้าร้ายผม ผมอาจพยายามฆ่าหรืออย่างน้อยก็ขังเขาไว้ แต่สมมุติว่าผมสื่อสารกับเขารู้เรื่อง และคิดว่าเขา เป็นคนดี เราจะประพฤติตัวต่อกันอย่างไร? ลองสมมุตติ ่อไปว่าวันศุกร์พูดได้ แต่อ่านไม่ออก ในกรณีนั้น ผมจะเป็นคนเดียวที่ใช้ สารานุกรมได้ เมื่อเทียบกับวันศุกร์ ผมจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เขาต้องพึ่ง แต่มันเป็นไปได้ว่าวันศุกร์อาจมีความรู้อยู่แล้ว อย่างน้อยก็ พอทีจ่ ะจัดการกับธรรมชาติเพื่อความอยู่รอด ซึ่งแปลว่าเขาอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยผม พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ผมกับวันศุกร์มีทักษะใน การเอาตัวรอดพอๆ กัน ในกรณีนนั้ เราต้องตกลงกันว่า จะอยู่ร่วมกันอย่างไร ข้อตกลงพื้นฐานเหล่านี้ ซึ่งจ้าเป็นต่อสันติสุขของเรา จะกลายเป็น “คุณธรรม” เราจะตกลงกันดังนี้:
1. ไม่ฆ่าฟันกัน 2. ไม่ท้าร้ายกัน 3. ไม่ขโมยของกัน 4. ไม่โกหกกัน 5. ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกที่นั่งล้าบาก 6. แสวงหาประโยชน์จากธรรมชาติเพื่อเอาตัวรอด และเท่าที่เราจะกักตุนได้ ตราบใดที่เกาะมีทรัพยากรเพียงพอส้าหรับเราทั้งสอง คน ส้าหรับการใช้พื้นที่ดินและแหล่งน้า้ มีหลายวิธีที่เราจะตกลงกันได้ เราอาจก้าหนดให้พื้นดินและน้้าทั้งหมดเป็นพื้นที่สาธารณะ หรือ แบ่งเกาะออกเป็นสองส่วน เรียกครึ่งหนึ่งว่าเป็นเขตของวันศุกร์ อีกครึ่งเป็นของผม หรือไม่เราอาจแบ่งเกาะเป็นสามส่วน คือของวัน ศุกร์ ของผม และพื้นทีส่ าธารณะที่ใช้ร่วมกัน นอกจากนี้เรายังสามารถตกลงกันเรื่องการใช้แรงงานด้วย สมมุติว่าวันศุกร์ตกปลาเก่ง ในขณะที่ผมสร้างเพิงที่พักเก่ง เราก็ตกลงกันได้ว่าจะท้างานแลกกันอย่างไร ตามความเข้าใจของผม การศึกษาแนวเสรีจา้ เป็นส้าหรับการบรรลุขอ้ ตกลงต่างๆ ทั้งวันศุกร์และผมต่างต้องควบคุมอารมณ์และ ความประพฤติ ในการปฏิบตั ิตามข้อตกลงของเรา จริงๆ แล้ว การเจรจาของเราก่อนจะบรรลุข้อตกลงเหล่านี้จะออกมาแย่มาก ถ้า เราทั้งคู่ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง ดังนั้นเราจึงต้องตกลงกันก่อนว่า จะถกประเด็นต่างๆ ด้วยความสุขุมเยือกเย็น ยิ่งเราใช้สติไตร่ตรองมาก ขึ้นเท่าไหร่ว่า เงื่อนไขอะไรที่จะท้าให้การอภิปรายมีประสิทธิผล เราจะยิ่งตระหนักว่าเราทั้งคู่ต้องวางตัวอย่างไร สมมุติว่าผมกับวันศุกร์แบ่งเกาะออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน ต่างคนต่างอยู่ เพราะผมเข้าถึงสารานุกรมได้ ผมสามารถสร้างเครื่องจักร ต่างๆ ได้ ผมสร้างแก๊สมีเทนจากทรัพยากรน้้าและอากาศ ใช้เป็นเชื้อเพลิง ฯลฯ พอวันศุกร์สังเกตเห็น ก็ถามว่าผมท้าสิ่งเหล่านี้ได้ อย่างไร ผมบอกเขาว่าผมเรียนรู้จากสารานุกรม วันศุกร์ขอให้ผมสอนเขาให้อ่านหนังสือออก และอนุญาตให้เขาใช้สารานุกรมด้วย ผมควรจะท้ายังไง? ผมอาจปฏิเสธไม่สอนหนังสือให้เขา และไม่ให้เขาเข้าห้องสมุด นอกจากนี้ สมมุติวา่ วันศุกร์มีความเชื่อทาง ศาสนาที่ท้าให้เขาไม่กินเนื้อสัตว์ และพืชบางประเภท การสอนวันศุกร์ให้อ่านหนังสือออก ให้เขาใช้ห้องสมุด หรือคุยกับเขาเรื่อง ศาสนา จะเป็นผลดีกับผมหรือเปล่า? ผมอยากเสนอว่า ผมมีพันธะ –ทั้งในแง่คุณธรรมและเพื่อความรอบคอบ – ที่จะให้การศึกษาแนวเสรีกับวันศุกร์ หมายความว่าสอน วันศุกร์ถึงวิธีการใช้ภาษาในการอภิปรายและอ่าน รวมทั้งการควบคุมอารมณ์ นั่นคือท้าให้วันศุกร์มีความสามารถทัดเทียมกับผมใน ศิลปะแห่งการอภิปราย ถ้าวันศุกร์มีความสามารถในด้านนี้เท่ากับผม เราก็จะสามารถเสาะหาความจริงที่เป็นภววิสัย (“dialectical truths”) ร่วมกันได้ เราจะตกลงกันใช้วิธีปฏิบัติและความเชื่อชุดหนึง่ ที่เกี่ยวเนื่องกับสมมุติฐานของเรา ที่จริงแล้วมีโลกทัศน์แบบ หนึ่งที่บอกว่า การอภิปรายด้วยเหตุผลนั้นเป็นหนึ่งในคุณค่าสูงสุดของความเป็นมนุษย์ (ultimate human good) – นี่เป็นมุมมอง ของโซเครตีส ชีวิตหลังความตายในทัศนะของโซเครตีสคือ ดินแดนที่เขาสามารถสนทนากับบุคคลส้าคัญต่างๆ ต่อจากตอนที่มีชีวิต อยู่ได้ และเมื่อมีผู้เสนอให้เขาด้ารงชีวิตที่ปราศจากการถกเถียง โซเครตีสโต้กลับว่า ชีวิตที่ไร้การพินิจพิจารณาเป็นชีวิตที่ไร้ค่า (the unexamined life is not worth living) ผมคิดว่า ชีวิตที่ “ไร้การพินิจพิจารณา” ในความหมายของโซเครตีสคือ ชีวิตที่ปราศจาก การอภิปรายด้วยเหตุผลกับผู้อื่น ถ้าผมไม่ช่วยให้การศึกษาแนวเสรีกบั วันศุกร์ ผมจะตัดสิทธิ์ตัวเองจากการอภิปรายอย่างมีเหตุผล
ซึ่งแปลว่าผมจะตัดสิทธิ์ตัวเองไม่ให้ได้รับคุณค่าชนิดหนึ่ง ดังนั้น การอภิปรายด้วยเหตุผลเพื่อบรรลุข้อตกลง จึงมีคุณค่าทั้งในตัวมัน เอง และคุณค่าเชิงปฏิบัติในฐานะเครื่องมือชนิดหนึ่ง มาถึงตรงนี้ ผมพร้อมแล้วที่จะบัญญัติแนวคิดของผมเกี่ยวกับการศึกษาแนวเสรี ในบริบทของสังคม: “เป้าหมายหลักของการศึกษาแนวเสรีคือ การสร้างคนให้มีทั้งความสามารถและอุปนิสัยทีจ่ ะพยายามบรรลุข้อตกลงในประเด็น ที่เป็นข้อเท็จจริง ทฤษฎี และการปฏิบัติ โดยใช้การอภิปรายอย่างมีเหตุผล” ไม่มีทางที่เราจะหลีกเลี่ยงมุมมองด้านคุณธรรม อาจารย์ชิคาโกทั้งสามคนอ้างว่า เราสามารถคิดเรื่องวิธีการศึกษาได้โดยไม่เกี่ยวกับคุณธรรม แต่ผมไม่เห็นว่าเราท้าอย่างนั้นได้ ถ้า เมียร์ไชเมอร์ หรืออาจารย์คนไหนก็ตาม ไม่ให้ความสนใจกับโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษา พวกเขาก็ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ ในทางกลับกัน ถ้าพวกเขามีความเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร แต่ไม่พูดอะไรเพราะเหตุผลทางการเมือง พวกเขาก็เป็นคนขลาด และถ้า พวกเขาไม่มีความเห็นจริงๆ พวกเขาก็ไร้ความสามารถ ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม พวกเขาท้าผิดคุณธรรมด้วยการอ้างตัวว่าเป็นอาจารย์ แม้เราอาจหลอกลวงตัวเองและคนอื่นว่า มุมมองด้านคุณธรรมไม่มบี ทบาทใดๆ ต่อการกระท้าของเราเพราะเราไม่ได้คิดถึงมัน มุมมองนี้ก็มักโผล่ขึ้นมาในห้วงความคิดเมื่อเราครุ่นคิดถึงการกระท้านั้นภายหลัง มีเพียงสองค้าถามที่ทกุ คนควรตั้ง: ประการแรก ท้าไมคนอย่างเมียร์ไชเมอร์ พิพพิน และแอ็บบ็อท จึงเป็นอาจารย์? แน่นอน เราจ่ายเงินให้เขาเป็นอาจารย์ – พวกเขาต้องท้ามาหา กิน ประการทีส่ อง ท้าไมนักเรียนอยากมีการศึกษา? เพราะมันสัญญาว่าจะเปิดช่องทางท้ามาหากินให้กบั พวกเขา ดังนั้น อาจารย์ และนักเรียนท้างานร่วมกันเพราะเห็นแก่การท้ามาหากิน การสาบสูญของที่ดินอิสระและภาวะทาสเงินเดือน แต่ท้าไมเราต้องกังวลกับการท้ามาหากินด้วย? ท้าไมไม่ใช้ชีวิตแบบพออยู่พอกิน เลี้ยงตัวเองจากแผ่นดินเหมือนชาวอินเดียนแดง สมัยก่อน? และท้าไมเราไม่เห็นชาวอินเดียนแดงออกตระเวนในทุ่งกว้าง และล่าวัวกระทิงอย่างอิสระแล้ว? เพราะรัฐบาลอเมริกันไม่ อนุญาต ที่ดินอิสระ (frontier) ทั้งหมดในประเทศถูกครอบครองอย่างช้าๆ เปลี่ยนสถานภาพเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัว – ไม่ว่าจะเป็น ของปัจเจกบุคคล หรือของรัฐ ดินแดนอิสระในอเมริกาหมดไปราวๆ พ.ศ. 2433 เทียบได้กับถ้าวันศุกร์เพิ่งขึ้นเกาะมา แล้วพบว่าโร บินสัน ครูโซประกาศว่าเกาะทั้งเกาะเป็นของเขา ยอมให้วันศุกร์อยูบ่ นเกาะได้เฉพาะในฐานะทาส หรือคนรับใช้เท่านั้น เมื่อทั้งประเทศไม่มีทดี่ ินอิสระอีกต่อไป เรามีทางเลือกอะไรเหลือที่จะหาเลี้ยงชีพ? ค้าตอบคือ: ต้องเป็นลูกจ้างหรือนายจ้าง และ ส้าหรับคนส่วนใหญ่ หนทางเริ่มต้นและสิ้นสุดลงด้วยการเป็นลูกจ้าง ดังนั้น เมื่อมองจากสภาพความเป็นจริง คนส่วนใหญ่จึงมอง การศึกษาว่าเป็นเครื่องมือในการแสวงหางานท้า แต่ถึงตรงนี้เราต้องเผชิญกับปัญหาที่สอง: งานในระบบทั้งหมดมีไม่เพียงพอกับ ความต้องการ โดยเฉพาะงานที่ให้ผลตอบแทนสูง ดังนั้น จึงจ้าเป็นทีค่ นต้องเอาชนะการแข่งขันในตลาดแรงงาน ท้าให้คนต้องใช้วุฒิ การศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งานท้า และในเมื่อการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอันมีชื่อเสียงช่วยในการแข่งขันนี้ นักเรียนจึงแข่ง กันเข้ามหาวิทยาลัยที่ดีที่สดุ เช่นมหาวิทยาลัยชิคาโก วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นสถานที่ที่มีการแข่งขันสูงมาก โจทย์แรกคือความอยูร่ อดของภาควิชา สมาชิกของแต่ละภาคจึง มีผลประโยชน์ส่วนตัวในการพยายามช่วยให้ภาควิชาของตนเจริญรุ่งเรือง ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน ไม่ใช่เพื่ออยู่รอด เท่านั้น แต่เพื่อให้อยู่ได้อย่างดีที่สดุ การปลดปล่อยของการศึกษาแนวเสรี
ในบรรดาอาจารย์ผู้ให้โอวาททั้งสามคน พิพพินเป็นคนเดียวที่เน้นคุณสมบัติการปลดปล่อย (liberating nature) ของการศึกษาแนว เสรี แต่เขากลับเน้นคุณสมบัติที่ส้าคัญรองลงมา เหมือนชาวยิวในปาเลสไตน์หลังจากสิ้นสงครามระหว่างยิวกับโรมัน (พ.ศ. 609 – 613) กล่าวคือ ชาวยิวพบว่า พวกเขาไม่สามารถเปลีย่ นแปลงลัทธิจักรวรรดินิยมของโรมันได้ – จริงๆ แล้ว เสียงต่อต้านทุกประเภท เป็นเรื่องต้องห้าม – พวกเขาจึงเน้นการไถ่บาปของปัจเจกชน และการปลดปล่อยชั่วนิรันดร์ (eternal salvation) แทน แต่ไม่มีใคร ห้ามพิพพินไม่ให้พูดถึงความจ้าเป็นที่จะปลดปล่อยตัวเราจากภาวะทาสเงินเดือน (wave-slavery) เขาก็ไม่ได้พูดเรื่องนี้ตรงๆ แต่พูด แบบอ้อมๆ ถึงความไร้เสรีรูปแบบอื่น เช่น เขาพูดว่าเราต้องปลดปล่อยตัวเองจากความเชื่อที่ได้รับเป็นมรดกมาจากรุ่นปูย่ ่าตายาย ผมเห็นด้วย แต่การปลดปล่อยแบบนี้ยังไม่พอนะครับ การปลดปล่อยแบบเดียวที่เป็นประโยชน์จริงๆ คือการปลดปล่อยจากภาวะการแข่งขันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ระหว่างอาจารย์ด้วยกัน ในการแสวงหาตาแหน่งทางวิชาการ และระหว่างบัณฑิตจบใหม่ในการหางานทา ซึ่งเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการแข่งขัน เพื่อเอาตัวรอดในระบบทุนนิยม แต่พิพพินไม่เคยนึกถึงความเป็นทาสข้อนี้ หรือไม่เขาก็จงใจที่จะไม่พดู ถึงมัน เขาสนใจแต่เรื่อง เสรีภาพในการเลือกมุมมองต่างๆ ที่อยู่ในกรอบอันเดิม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พิพพินและอาจารย์คนอื่นๆ ต้องการให้นักศึกษาได้รับ อิสระเชิงญาณวิทยา (epistemic autonomy) เท่านั้น [ญาณวิทยา เป็นปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยก้าเนิดลักษณะ และความถูกต้อง แห่งความรู้ ตลอดจนวิธีหาความรู]้ ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาคนหนึง่ ที่ได้รับอิสระแบบนี้ อาจเลิกนับถือศาสนาของพ่อแม่ หันมา เชื่อมั่นในหลักวิทยาศาสตร์แทน ในมุมมองของพิพพิน นักศึกษาคนนี้ปลดปล่อยตัวเองส้าเร็จแล้ว เขาส้าเร็จการเรียนรู้ตรรกะของ ปรัชญาศาสนา และสามารถใช้เหตุผลได้ด้วยตัวเอง นี่หรือคือสิ่งที่การศึกษาแนวเสรีหยิบยื่นให้กับนักศึกษา? ความสามารถในการใช้เหตุผลยืนยันความคิดของตัวเองในการโต้วาที? พิพพินบอกว่านี่ถือเป็นการปลดปล่อยแล้ว แต่ส้าหรับผม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น แม้ใครๆ อาจมองว่า การศึกษาแนวเสรีเป็น การฝึกนักศึกษาให้ต่อสู้ในสนามประลองปัญญา การต่อสู้ที่แท้จริงในความเห็นของพิพพินและเมียร์ไชเมอร์ เกิดขึ้นในโลกแห่งความ จริงที่ทุกคนต้องแข่งกันท้ามาหากิน ในความเห็นของพวกเขา นี่เป็นเป้าหมายของการฝึกนักเรียนในการศึกษาแนวเสรี สานึกแห่ง “การปลดปล่อย” ที่เข้มแข็งกว่าเดิมในการศึกษาแนวเสรี ในความเห็นของผม จุดมุ่งหมายของการศึกษาแนวเสรีคือ ก้าจัดการแข่งขันส่วนตัวเพื่อความอยู่รอด ผมอยากอธิบายดังนี้ครับ ผม ไม่ได้หมายความว่า การศึกษาแนวเสรีจะปลดปล่อยเราออกจากภาระการยังชีพได้ เราต้องสู้รบปรบมือกับธรรมชาติตลอดเวลาใน การด้ารงชีวิตวันต่อวัน และสิ่งที่เราต้องใช้ในภารกิจนึ้คือ องค์ความรูท้ ั้งหมดที่วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มอบให้เรา นีเ่ ป็น สถานการณ์ของโรบินสัน ครูโซ ก่อนที่วันศุกร์จะมาติดเกาะเป็นเพื่อน แต่นอกเหนือจากธรรมชาติ เรายังต้องอยู่ร่วมกับมนุษย์คน อื่นๆ ที่ต้องการครอบครองที่ดินทัง้ หมดแบบผูกขาด นั่นคือสาเหตุพนื้ ฐานของสงครามส่วนใหญ่ในโลก ถึงแม้ว่าเราไม่ต้องการผูกขาดที่ดนิ แต่คนอื่นอยากท้าเช่นนั้น ซึ่งก็จะท้าให้เราตกเป็นเหยื่อของพวกเขา กฎแห่งเกมนี้คือ: ทุกคนต้อง ใช้ที่ดินเพื่อหาอาหาร และสร้างที่พักอาศัย ถ้าเราหาวิธีให้คนอื่นเอาอาหารให้เราและท้างานให้เราได้ เราก็จะไม่ต้องท้างานหรือ พะวงกับการยังชีพ แต่จะข้ามไปคิดเรื่องการใช้ชีวิตอย่างหรูหราและมั่งคั่งแทน เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้ว เราก็ต้องหาค้าตอบว่า เราจะท้า ให้คนอื่นท้างานแทนเราได้อย่างไร? วิธีหนึ่งคือการใช้ก้าลังบังคับให้เขาเป็นทาส หรือไม่ก็ยดึ ครองที่ดินทั้งหมด (เหมือนถ้าครูโซ ประกาศว่าเกาะทั้งเกาะเป็นของเขา) แล้วประกาศว่าทุกคนที่อยากอาศัยอยู่บนที่ของเราต้องท้าตามกฎที่เราตั้ง – ซึ่งรวมถึงการส่ง ส่วยและใช้แรงงาน แน่นอน ยิ่งเรามีที่ดินในครอบครองเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเก็บส่วยและใช้แรงได้มากขึ้นเท่านั้น ประวัติศาสตร์ส่วน ใหญ่ของมนุษย์คือ สงครามแย่งชิงดินแดนระหว่างเจ้าของที่ดินผูล้ ะโมบทั้งหลาย
ลองย้อนดูการจัดสรรที่ดินในอเมริกานะครับ เนื่องจากไม่มีการแก้ไขกฎหมายที่ดินแบบอังกฤษ หลังอเมริกาประกาศอิสรภาพแล้ว ผลที่ตามมาคือ การฆ่าชาวอินเดียนแดงแบบล้างเผ่าพันธุ์ การบังคับให้ชาวแอฟริกันเป็นทาส และระบบทาสเงินเดือนในปัจจุบัน ผม ใช้ค้าว่า “ทาสเงินเดือน” เพราะทุกคนถูกบังคับให้อยู่ในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูงแบบนี้ ใครเป็นคนบังคับเรา? ค้าตอบคือ รัฐ รัฐเป็นผู้บังคับให้ชาวอินเดียนแดงอาศัยอยู่แต่ในพื้นที่สงวน (reservations) และบังคับคนอื่นๆ แทบทุกคนให้กลายเป็นลูกจ้าง ใช้แรงงาน ท้าไมหรือครับ? เพราะรัฐเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อยที่มีอ้านาจผูกขาด และพวกเขาเป็นผู้ก่อตั้งและสืบ สานรัฐบาลแบบนี้ คนหมู่มากตกเป็นเบี้ยไร้ความส้าคัญในเกมผูกขาดเกมนี้ แต่เราเป็นประเทศประชาธิปไตยมิใช่หรือ? ใช่ครับ แต่เราไม่ได้เป็น ประชาธิปไตยที่ได้รับการศึกษาแนวเสรี การศึกษาแนวเสรีจ้าเป็นต่อการให้ประชาชนตกลงเลือกใช้นโยบายที่มีเหตุผล ทว่าตอนนี้ เสียงจากประชาชน ผสมปนเปกันอย่างสับสนแตกแยก สะท้อนเพียงความเชื่อที่คุ้นเคยและน่าตื่นเต้น มวลชนถูกชักจูง เบี่ยงเบน ความสนใจให้ไขว้เขวไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องอันซ้้าซากจ้าเจ ที่สื่อมวลชนและวงการบันเทิงโหมโปรโมทกันอย่างครึกโครม และถึงแม้ คนเหล่านี้จะหันมาสนใจประเด็นที่ส้าคัญต่างๆ พวกเขาก็ไม่รู้วิธีอภิปรายที่จะน้าไปสู่ข้อตกลงที่มีเหตุผลได้ ข้อเท็จจริงทีส่ ้าคัญคือ เรามีประชากรประมาณ 300 ล้านคน ในจ้านวนนี้ กว่า 8 ล้านเป็นคนว่างงาน และอีก 2 ล้านคนเป็นนักโทษในคุก ประชากร จ้านวนเท่าไหร่ที่เรารองรับได้หรือพึงประสงค์? ท้าไมบางคนจึงว่างงาน? อัตราการว่างงานและอัตรานักโทษติดคุก มีความเกี่ยวโยง กันหรือไม่? ในโครงสร้างเศรษฐกิจปัจจุบัน นายจ้างได้ประโยชน์จากการมีกลุ่มผูส้ มัครงานที่ “มีการศึกษา” ให้เลือก รูปแบบของการศึกษาที่ นายจ้างเหล่านี้ต้องการ คือการรู้หนังสือ ซึ่งท้าให้คนสามารถท้าตามค้าสั่งและคู่มือทางเทคนิคได้ สิ่งทีพ่ วกเขาไม่ต้องการคือ การศึกษาทางการเมือง นั่นเป็นต้นเหตุของความเชื่ออันแพร่หลายว่า การเมืองไม่ควรเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา แต่เป้าหมายของ การศึกษาแนวเสรีควรอยูต่ รงข้ามกับเป้าหมายเหล่านี้ มันควรเป็นการศึกษาเรื่องการเมือง – เพราะเป้าหมายควรเป็นการ ปลดปล่อยเราจากภาวะทาสเงินเดือน และวัฒนธรรมของการแข่งขันทั้งหมด สิ่งที่ยังขาดอยู่ในการศึกษาแนวเสรีปัจจุบนั คือการฝึกปรือทักษะ และอุปนิสัย – หรือความอยาก – ที่จะบรรลุข้อตกลงต่างๆ [ร่วมกับคนอื่น] แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เป้าหมายของการศึกษาแนวเสรีถูกเบี่ยงเบนไปเน้นการช่วยปัจเจกชนให้เป็นอิสระ เป็น ตัวของตัวเอง (personal autonomy) อย่างที่พิพพินต้องการ และเมื่อปัจเจกชนทุกคนต่างเป็นตัวของตัวเอง พวกเขาก็จะ รังแต่จะเถียงเอาชนะ ไม่ค่อยมีใครอยากตกลงกัน และดูเหมือนอาจารย์ทั้งสามคนจะพอใจที่เห็นบรรยากาศของความขัดแย้งเบ่ง บานในมหาวิทยาลัยชิคาโก และไม่มีใครแสดงความกังวล ท้าไมจึงเป็นเช่นนั้น? เพราะพวกเขาคิดถึงแต่ประเด็นทางวิชาการที่ไม่ เกี่ยวข้องกับคุณธรรม ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดาส้าหรับประเด็นทางวิชาการ: ประเด็นเหล่านั้นไม่มีผลลัพธ์ใดๆ ในทางปฏิบัติ อย่างน้อยก็โดยตรงหรือที่เห็นชัด แต่นอกเหนือจากประเด็นทางวิชาการแล้ว ยังมีประเด็นที่ส้าคัญและยิ่งใหญ่มากมายทีเ่ ราต้อง ตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น สภาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยชิคาโกเองลงมติให้ลดจ้านวนวิชาศึกษาทั่วไป [Common Core คือวิชาที่ นักศึกษาทุกคนต้องเรียน ไม่ว่าจะเอกอะไร] ในปี 2541 และเพิ่มจ้านวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี พวกเขาบรรลุข้อตกลงนี้โดย ผ่านกระบวนการอภิปรายอย่างมีเหตุผลหรือเปล่า? ค้าตอบขึ้นอยู่กับว่า เป้าหมายของการอภิปรายอย่างมีเหตุผลนั้น ใช้ความ สะดวกหรือคุณธรรมเป็นที่ตั้ง? ถ้าใช้เป้าหมายด้านคุณธรรม เราต้องวิเคราะห์วา่ การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเป็นผลดี หรือผลเสียกับ นักเรียน แต่เท่าทีผ่ มทราบ ประเด็นนี้อาจไม่อยู่ในการหารือด้วยซ้้า ประเด็นใหญ่ที่ทุกคนให้ความสนใจ น่าจะเป็นความอยู่รอดของ มหาวิทยาลัยชิคาโก และความอยูร่ อดของอาจารย์ – หมายถึงเงินเดือนของพวกเขา คณาจารย์มองว่า ถ้าลดความเคร่งครัดของ หลักสูตรลง จะมีผู้สมัครมากขึ้น และมี “ลูกค้า” จ่ายค่าเล่าเรียนมากขึ้น เพราะความต้องการพื้นฐานของอาจารย์ ก็คงหนีไม่พ้น การเอาตัวรอด
แล้วการศึกษาแนวเสรีล่ะ? จากการอ่านบทโอวาทของอาจารย์คณะต่างๆ ผมคิดว่าพวกเขาพอใจกับการผลิตเหล่าโซฟิสต์ และการ ลดจ้านวนวิชาศึกษาทั่วไปไม่น่าจะส่งผลอะไรกับกระบวนการนี้ ในเมือ่ อาจารย์เหล่านีไ้ ม่รู้ว่าการศึกษาแนวเสรีคืออะไร หรือถ้าพวก เขารู้ พวกเขาก็ไม่คิดว่าเป็นเรื่องส้าคัญ ท้าให้พวกเขาไม่คิดว่าการปรับเปลีย่ นหลักสูตรทีละน้อยแบบนี้เป็นผลเสียมากมายนัก แต่ จากมุมมองด้านคุณธรรม – ซึ่งอาจารย์เหล่านีไ้ ม่ใช้ หรือไม่กล้าใช้ – การศึกษาแนวเสรีควรช่วยให้ปัจเจกชนสามารถบรรลุข้อตกลง ระหว่างกัน อย่างน้อยก็ในประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง สิ่งที่เรียกกันว่า “หลักสูตรแนวเสรี” วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ประกอบด้วยภาควิชามากมาย ที่ต่างต้องการอยู่รอดและเจริญรุ่งเรือง ด้วยการโน้มน้าวให้ นักศึกษาสมัครเรียนวิชาต่างๆ ในภาคของตน ไม่ว่าจะในรูปวิชาบังคับ หรือวิชาเลือก ถ้าคุณเรียกคณบดีของแต่ละภาคมาประชุม ร่วมกันเรื่องหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป (core curriculum) แต่ละคนก็จะบทยืนยันว่า วิชาเบื้องต้นของภาคของเขาควรบรรจุเป็น วิชาบังคับ ผลลัพธ์ของวิธีคิดแบบต่างคนต่างเอาตัวรอดแบบนี้คือ การประนีประนอมกันด้วยการกระจายวิชาบังคับไปตามภาควิชา ต่างๆ: เท่านี้เครดิตจากภาควิชาอังกฤษ เท่านั้นเครดิตจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สังคมศาสตร์ ภาษา ฯลฯ และเราก็เรียก ทั้งหมดนี้ว่าเป็น “การศึกษาแนวเสรี” คณบดีเคยถกกันเรื่องลักษณะของการศึกษาแนวเสรีหรือเปล่า? ผมคิดว่าไม่เคย และตราบใด ที่สภาอาจารย์เป็นผู้ก้าหนดนโยบายการศึกษา ผลที่เกิดขึ้นย่อมหนีไม่พ้นการเกลี่ยวิชาไปตามภาคต่างๆ ในมุมมองของผม สาระของการศึกษาแนวเสรีควรประกอบด้วยปัญหาด้านคุณธรรม โดยเฉพาะปัญหาทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น ในภาควิชาประวัติศาสตร์ ผมคิดว่าข้อเขียนของชาร์ลส์ เบียร์ด (Charles Beard) โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง “บทตีความรัฐธรรมนูญ อเมริกา แนวเศรษฐศาสตร์” (Economic Interpretation of the U.S. Constitution) คือสิ่งที่เราต้องการ ในบรรดานักคิดและ นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ ผมคิดว่าทั้งฮาวเวิร์ด ซินน์ ([10] Howard Zinn) และโนม โชมสกี้ ([11] Noam Chomsky) ก้าลังพูดถึง ประเด็นที่ส้าคัญ พวกเขาเป็นคนส้าคัญเพราะก้าลังมองประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ต่างๆ จากมุมมองด้านคุณธรรม แก่นสารของการศึกษาแนวเสรีควรประกอบด้วยประเด็นคาถามด้านคุณธรรม ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคม วิทยา เศรษฐศาสตร์ และการเมือง นักศึกษาและอาจารย์ควรถกประเด็นเหล่านี้ควบคู่ไปกับการถกประเด็นเรื่องลักษณะของ คุณธรรม และลักษณะของการอภิปราย นั่นคือด้วยการศึกษาวาทศิลป์ และตรรกวิทยา และเมื่อการอภิปรายต้องใช้ภาษา ก็ควรมี การฝึกทักษะด้านนี้ด้วย การอภิปรายคืออะไร? เท่าที่ผมทราบ ตัวอย่างเดียวของการอภิปรายที่แท้จริงคือบทสนทนาของเพลโต (Platonic dialogues) ซึ่งเป็นบทสนทนา (ระหว่างคนสองคนเท่านั้น) ที่มลี ักษณะพื้นฐานดังต่อไปนี้: คนหนึ่งยกข้ออ้างขึ้นมาหนึ่งข้อ แล้วคู่สนทนาตอบว่าเห็นด้วย ไม่เห็น ด้วย ขอให้คนพูดอธิบายให้ชัดเจนขึ้น หรือไม่แสดงข้อคิดเห็นใดๆ ข้ออ้างทุกข้อได้รับค้าตอบหนึ่งในสีแ่ บบนี้ ตราบใดที่คสู่ นทนาเห็น ด้วยกับคนพูด ก็ไม่มีการอภิปราย การอภิปรายเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีที่สองคนไม่เห็นพ้องต้องกัน จุดประสงค์ของการอภิปรายแบบ โซเครตีส (Socratic discussion) ไม่ใช่ชัยชนะ แต่เป็นการบรรลุข้อตกลงร่วมกัน สิ่งที่เรียกกันว่าการอภิปรายในงานสัมมนาหรือการอภิปรายสาธารณะส่วนใหญ่ เหมือนกับเลกเชอร์ชดุ ย่อยๆ ที่มีหรือไม่มีการโต้แย้ง คนหนึ่งแสดงความคิดเห็น แล้วคนต่อไปก็ท้าอย่างเดียวกัน เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีใครพยายามแม้แต่จะค้นหาว่า อีกคนเห็นด้วย หรือเปล่า ในขณะที่การอภิปรายทีแ่ ท้จริงนั้นต้องมีการโต้ตอบทุกข้อ ตัวอย่างเช่น ถ้าคนหนึ่งอ้างอะไรมาข้อหนึ่ง แล้วคู่อภิปรายไม่ เห็นด้วยกับข้อสรุปของเขา ความไม่เห็นด้วยนีต้ ้องเป็นเพราะข้ออ้างนั้นใช้ข้อมูลผิดพลาด (invalidity) หรือใช้เหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น
(unsoundness) หรือไม่ก็ต้องเป็นเพราะคู่อภิปรายไม่ยอมรับข้อสมมุติฐานหรือปัจจัยแวดล้อม (premise) ที่อยู่ภายใต้ข้ออ้าง แต่ ก่อนที่ใครจะแยกแยะประเด็นเหล่านี้ได้ เขาก็ต้องมีความรู้ ทักษะ และความเชื่อมั่นในตรรกะอยู่แล้ว ดังนั้นการศึกษาแนวเสรีควร สอนนักศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้ตรรกะด้วย. …… 3) จุดเริ่มต้นของการศึกษาแนวเสรีในไทย แม้หลักสูตรการศึกษาแนวเสรีตามแนวทางที่กล่าวมาแล้ว จะดูเหมือนเป็นเป้าหมายอันห่างไกลเมื่อเทียบกับระดับการศึกษาของ บ้านเราในปัจจุบัน ผู้เขียนเชื่อว่าเป้าหมายนี้อยูไ่ ม่ไกลเกินเอื้อม ก่อนอื่น เราต้องเห็นพ้องต้องกันว่า เป้าหมายของการศึกษาระดับปริญญาตรีของไทย ยังไม่ได้ถูกขับเคลื่อนโดยปรัชญาของ การศึกษาแนวเสรีอย่างแท้จริง รายงาน[12] แนวทางการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตามพ.ร.บ. การศึกษา พ.ศ. 2542 จาก เว็บไซด์ส้านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) ระบุว่า เป้าหมายของการศึกษาระดับปริญญาตรีคือ: “...[การ]มุ่งส่งเสริมให้ผเู้ รียนได้พฒ ั นาความรู้ ความสามารถในสาขาวิชาต่างๆ ในระดับสูง โดยเฉพาะการประยุกต์ทฤษฎีไปสู่การ ปฏิบัติ การริเริม่ การพัฒนาทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ” เป้าหมายนีเ้ น้นเฉพาะเป้าหมายของ “การศึกษาแนววิชาชีพ” เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึง “ความรู้พื้นฐาน” ที่นักเรียนพึงมี และก็ไม่ได้ กล่าวถึงคุณธรรม และวุฒิภาวะทางอารมณ์เลยแม้แต่น้อย หากระดับนโยบายได้รับการแก้ไขปรับเปลีย่ น การปฏิรูปการศึกษาไปในแนวเสรี – ซึ่งแปลว่าไม่ถูกครอบง้าด้วยความต้องการของ ตลาดแรงงาน หรือผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ไปหมด – ก็จะท้าได้ง่ายขึ้น การศึกษาแนวเสรี จ้าต้องมีบุคลากรครูที่มีคณ ุ ภาพ เพราะเป็นการสอนแบบ “เปิด” คือส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น อภิปรายประเด็นต่างๆ กันอย่างเต็มที่ ดังนั้นการขึ้นเงินเดือนครูทั่วประเทศ จึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนแรกๆ ที่เราควรท้า บนเส้นทางสู่ การศึกษาแนวเสรี เพราะเงินเดือนครูที่แสนน้อยนิด เป็นอุปสรรคส้าคัญที่ไม่ค่อยมีคนฉลาดอยากมาเป็นครู ถ้ารัฐบาลหันมาเอาจริงกับการปราบปรามคอรัปชั่นในแวดวงการศึกษา โดยเฉพาะในการจัดซื้อจัดจ้างคอมพิวเตอร์ หนังสือเรียน และอุปกรณ์เรียนต่างๆ เม็ดเงินที่ “ได้คืน” จากการคอรัปชั่นเหล่านี้ น่าจะเพียงพอต่อการขึ้นเงินเดือนให้ครูได้หลายเท่าตัว นอกจากนั้น เราต้องหันมาเอาใจใส่กับพัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแวดวงการศึกษา โดยเฉพาะในโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีนักคิด นักพัฒนาหลายคน ใช้เป็นช่องทางในการเผยแพร่แนวคิด หลักสูตร เลคเชอร์ หนังสือเรียน และเอกสารประกอบการเรียนการสอน มากมาย หลายแห่งโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เช่น [13] มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, [14] OpenCourseWare ของ MIT, [15] Stanford on iTunes, [16] Wikibooks, และ [17] Public Library of Science ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะเริ่มอภิปรายเรื่องการศึกษาแนวเสรีกันอย่างจริงจัง ก่อนที่บัณฑิตปริญญาตรีรุ่นใหม่ๆ จะมีเพียงสองแบบที่ ต่างกันตรงระดับสติปัญญาเท่านั้น: นักธุรกิจผู้ฉลาดหลักแหลมในการหาช่องทางเลี่ยงกฎหมาย และกอบโกยประโยชน์ส่วนตัว และ ลูกจ้างบริษัทที่ใช้ชีวิตไปวันๆ หลงใหลไปกับสิ่งบันเทิง และมหกรรมบริโภคนิยม
เมื่อถึงเวลานั้น ใครจะท้าหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ส่วนรวม?
URLs in this post: [1] Image: http://www.onopen.com/upload/atom.jpg [2] เว็บไซต์ Core Program: http://www.courses.fas.harvard.edu/~core/ [3] “Thinking about Thinking”: http://www.news.harvard.edu/gazette/2000/04.13/think.html [4] สรุปความ: http://ksamphan.blogspot.com/2005/12/2-2539-2543-2543-2545-2545-2546-4-1.html [5] The Aim of Liberal Education: http://www.ditext.com/chrucky/aim.html [6] ปี 2540: http://www.ditext.com/mearsheimer/aimsofeducation.html [7] ปี 2543: http://www.ditext.com/pippin/aims2000.html [8] ปี 2545: http://www.ditext.com/abbott/abbott_aims.html [9] sophistry: http://en.wikipedia.org/wiki/Sophistry [10] Howard Zinn: http://en.wikipedia.org/wiki/Howard_Zinn [11] Noam Chomsky: http://en.wikipedia.org/wiki/Chomsky [12] แนวทางการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตามพ.ร.บ. การศึกษา พ.ศ. 2542: http://www.onec.go.th/HTML_99/ONEC_PUB/BOOK/YR43/reform_udom/edreformudom.pdf [13] มหาวิทยาลัยเทีย่ งคืน: http://www.midnightuniv.org/ [14] OpenCourseWare ของ MIT: http://ocw.mit.edu/ [15] Stanford on iTunes: http://itunes.stanford.edu/ [16] Wikibooks: http://wikibooks.org/ [17] Public Library of Science: http://www.plos.org/