10
Preface Here comes the 10th issue of “Knitting the Fulbright Network” and the pilot project for Fulbright Thailand’s e-publication as we decided to explore ways to catch up with the advance technology, safe the environment and, at the same time, be more budget-wise! There are a lot of thing happened in a year. Some might be vaguely remembered but some are still vivid whenever recalled. This issue of “Knitting the Fulbright Network” collects our highlights of the year including annual activities, memorable experiences, as well as a reflection on Thai education. From the second Fulbright Talk Show, we gathered some feedbacks from high school students who found the show useful in different aspects. It is interesting to see how students think further. In more advance level, the ‘culture of thinking’ was reemphasized in the second Fulbright Internationalization Forum as we encourage university staffs to draw links across all things and integrate the knowledge gained into their daily life. Such ‘lintegration’ will make their endeavor more innovative with greater impacts. Specially, the last badge of ESP (Educational Seminars Program) was completed this year and we marked the occasion by jointly organizing a seminar on “Teachers are Key to Quality Education” with Teacher College, Columbia University, who also 1
celebrated her 125th Anniversary. Sharing the same of objective in human development, we both have lots to share! In addition, we have five cute stories on Fulbright Thailand memories through different eyes on different occasions. You may follow khun Cheewarat, our former Junior Program Officer, on her inward journey during Knowing Our Own Roots and get some pictures of our busy days during the 5th Annual Mid-year Enrichment Workshop for U.S. Scholars and Students in Southeast Asia through khun Kulkanlaya, our Temporary Junior Program Officer. On more personal aspects, grantees from different grant programs share their experiences and impressions which could bring back to you your own Fulbright days. The issue ends with a reflection on Thai way of learning, which has not been changed much despite series of education reforms. Years of experiences through Fulbright Thailand confirm me that the change is possible and is better achieved at personal level‌first. Enjoy the stories kha!
Porntip Kanjananiyot Executive Director
2
คํานํา ในที่สุด “ร้อยถ้อยถักใย สื่อฟุลไบรท์ในสากล” ก็มาถึงฉบับที่ 10 แล้ว และฉบับนี้ยังเป็นฉบับแรกที่เราทดลองจัดทําเป็น e-book เพื่อให้ทันกับกระแส เทคโนโลยีในโลกยุคใหม่ ทั้งยังเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการ ประหยัดงบประมาณในคราวเดียวกัน มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นในปีนี้ บางเรื่องก็อาจจะเลือน ๆ ไปบ้าง แต่ บางเรื่องนั้น ไม่ว่าจะนึกถึงขึ้นมาเมื่อไรก็ยังคงชัดเจนเหมือนเพิ่งจะเกิดขึ้นได้ไม่ นาน หนังสือ “ร้อยถ้อยถักใยฯ” ฉบับนี้ ได้รวบรวมเรื่องเด่นประจําปี 2556 ไม่ ว่าจะเป็นกิจกรรมประจําปี ประสบการณ์อันน่าจดจํา รวมถึงภาพสะท้อน การศึกษาไทยเข้าไว้ด้วยกัน ปีนี้เราเน้นส่งเสริม “วัฒนธรรมการคิด” โดยเริ่มจาก Fulbright Talk Show ครั้งที่สอง ซึ่งเราได้ตัดปะข้อความของนักเรียนมัธยมที่เขียนถึงกิจกรรม ครั้งนี้ในหลากหลายแง่มุมมาให้อ่านกัน เพราะความคิดที่ต่อยอดไปจากกิจกรรม นั้นน่าสนใจมาก ส่วนในระดับที่สูงกว่านั้นเราใช้เวที Fulbright Internationalization Forum เพื่อเน้นการคิดที่ซับซ้อนขึ้นในหมู่อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย โดยนําเสนอการเชื่อมโยงและบูรณาการ สิ่งต่าง ๆ ในชีวิต ซึ่งเราตั้งเป็นศัพท์ใหม่ว่า ‘lintegration’ เพื่อสื่อว่าการ link และการ integration นั้นจําเป็นต้องใช้คู่กันจึงจะทําให้เกิดนวัตกรรมและการ สร้างคุณค่างานที่มากขึ้น สิ่งที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งในปีนี้คือ โครงการ ESP (Educational Seminars Program) ได้ดําเนินมาถึงปีสุดท้ายแล้ว เราจึงฉลองโอกาสนี้ด้วย กาจัดสัมมนาหัวข้อ “Teachers are Key to Quality Education” ร่วมกับ Teacher College, Columbia University ซึ่งกําลังฉลองครบ 125 ปีพอดี ใน 3
ฐานะที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เราทั้งสองสถาบัน จึงมีอะไรให้คุยได้ไม่รู้จบ นอกจากนี้ เรายังมีเรื่องเล่าน่ารัก ๆ อีก 5 เรื่อง เกี่ยวกับฟุลไบรท์ผ่าน หลากหลายมุมมองจากหลากหลายวาระ คุณชีวรัตน์ อดีตเจ้าหน้าที่บริหาร โครงการบรรยายถึงความคิดความรู้สึกระหว่างกิจกรรมรู้รักรากเรา คุณกุล กัลยา เจ้าหน้าที่บริหารโครงการชั่วคราวเล่าถึงความสับสนอลหม่านของ เบื้องหลังการจัดงาน the 5th Annual Mid-year Enrichment Workshop for U.S. Scholars and Students in Southeast Asia และยังมีเรื่องของผู้รับ ทุนที่มีประสบการณ์และความประทับใจแตกต่างกันไป อ่านแล้วหลายคนอาจจะ อดคิดถึงไปสมัยที่ยังอยู่อเมริกาก็เป็นได้ เราปิดท้ายฉบับนี้ด้วยมุมมองเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบไทย ๆ ซึ่งแทบจะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ไม่ว่าเราจะมีปฏิรูปการศึกษาไปกี่แล้วครั้งก็ตาม อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ของฟุลไบรท์ย้ําว่าเราอาจสร้างความเปลี่ยนแปลง ได้ เพียงแต่จะต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน ขอให้สนุกกับการอ่านนะคะ!
พรทิพย์ กาญจนนิยต ผู้อํานวยการบริหาร
4
Table of Content Fulbright Activities เค้นสมองคิด: เสียงสะท้อนจากด้านล่างเวที Brain Gain – The Power of Thinking
4
นักเรียนโรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร กาฬสินธุ์
When TC Meets FB คนละค่ายเดียวกัน
12
Parinda Viranuvat 2011 Teachers College (TC)’s alumna
Fulbright Internationalization Forum “Education Exchange Excellence with Lintegration” เพิ่มมูลค่างานด้วยการเชื่อมโยงและบูรณาการ
16
Jakrapop Wongwiwat 2014 Candidate under Open Competition Scholarship Program
Fulbright Memories ชาวปะหล่องกับความสุข ณ จุดที่ยืนอยู่ The Simple Happiness
19
Cheewarat Kaewsangkwan
Junior Program Officer, Fulbright Thailand
The Fulbright Experience ฟุลไบรท์ในความทรงจํา
28
Kamkaeo Maneerot 2011 Fulbright Fellow under Open Competition Scholarship Program
Living the Thai life ชีวิตไทย ๆ
33
Arron Johson 2012 Public Policy Fellowship Program
5
My First Month in the USA – Reconnecting with my Thai roots in a multicultural society พบตัวตนในที่แตกต่าง
36
Wanlapa Khiao-ui 2013 Global Undergraduate Exchange Program
Stories behind the Story เล่าเรื่องเบื้องลึก
41
Kulkanlaya Kritnoi A Temporary Junior Program Officer, Fulbright Thailand
Fulbright Reflection คนไทยไปไม่ถึงการเรียนรู้อย่างบุ๋น Rethinking the Thai Way of Learning
46
Porntip Kanjananiyot Executive Director, Fulbright Thailand
6
Brain Gain – The Power of Thinking While still focusing on the culture of learning, Fulbright Thailand organized the 3rd Fulbright Talk Show in Khon Kaen to further discuss ways to better benefit from reading – the highlight of the 1st and the 2nd events. The information, ready knowledge, and instant experiences from reading are inputs for our learning and development. These inputs need to be analyzed and synthesized appropriately through thinking processes for proper applications. Thinking skill is very significant for personal and professional development and is thus the theme of the 3rd Fulbright Talk Show. A week after the Talk Show, Ajarn Sa-nguansak Kosinan, 2010 Educational Seminars Program, sent Fulbright Thailand a compilation of short essays by his students, reflecting what they had learned. It was interesting to share their views on how they tried to think further, asked themselves questions, had more courage to share their ideas, etc. It was also impressive to learn that many of them thought more of their own happiness when considering their future choices. Thanks to Ajarn Sa-nguansak!
7
เค้นสมองคิด เสียงสะท้อนจากด้านล่างเวที และแล้วฟุลไบรท์ก็จัดงาน Fulbright Talk Show1 ขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะมนุษยศาสตร์ และศิลปศาสตร์เป็นเจ้าภาพร่วม แม้จะเป็นครั้งที่ 3 แล้วแต่กิจกรรมก็ยังคงอยู่ ภายใต้แนวคิดหลักคือ culture of learning เพียงแต่เน้นไปที่ทักษะ “การคิด” ซึ่งต่อยอดจากทักษะ “การอ่าน” ที่ย้ําเน้นกันใน Fulbright Talk Show ครั้ง ก่อนหน้านั้น โดยครั้งนี้เราพยายามกระตุ้นให้เกิดการคิดหลากหลายมิติ โดยใช้ ประโยชน์จากมุมมองข้ามวัฒนธรรม ประสบการณ์ที่หลากหลาย ฐานข้อมูล จากการอ่าน การเชื่อมโยงและต่อยอด รวมทั้งการตั้งคําถาม ซึ่งเราได้รับเสียง ตอบรับอย่างดีจากผู้เข้าฟัง และขอยกข้อความบางตอนที่นักเรียนโรงเรียนยาง ตลาดวิทยาคารเขียนเป็นการบ้านส่งให้อาจารย์สงวนศักดิ์ โกสินันท์ อดีตผู้รับ ทุนฟุลไบรท์ มาแบ่งกันอ่าน “ตั้งแต่ฟัง talk show ครั้งนั้นกลับมา ผมคิดได้ว่าการอ่านทุกครั้ง เมื่อ อ่านเสร็จต้องคิดด้วย อ่านด้วย คิดด้วย เพื่อนําสิ่งที่อ่านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่เหมือนแต่ก่อนที่ผมอ่านก็แต่สักว่าอ่าน ผ่านแล้วก็ผ่านไป ไม่ก่อให้เกิด ประโยชน์ อ่านหนังสือส่วนมากก็อ่านที่เขาแนะนํามาว่า “ดี” หรือ “สนุก” แต่ พอผมได้ฟัง talk show เค้าก็บอกว่าให้อ่านหนังสือที่ตนเองสนใจ หลักจากนั้น ผมก็เลือกหาหนังสือที่ตัวผมเองสนใจ เมื่ออ่านเสร็จผมคิด คิดว่าหนังสือเล่มนี้ ให้ประโยชน์อย่างไร สามารถนํามาใช้ในชีวิตประจําวันอย่างไร คนแต่ละคนก็มี ความคิดที่แตกต่างกัน อย่างเช่น หลายวันที่ผ่านมานี้ เพื่อนคนหนึ่งเอาหนังสือ นิยายเล่มบาง ๆ มาให้เพื่อน ๆ อ่าน เวียนกันอ่าน พอทุกคนอ่านจบ มาเล่าให้ 1
The 3rd Fulbright Talk Show on Brain Gain - เค้นสมองคิด วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2556 ณ ห้องประชุมเภา สารสิน วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 8
กันฟัง ไม่ค่อยจะเหมือนกันเท่าไร ผมจึงคิดว่า หนังสือเล่มเดียวกัน แต่คนละคน อ่าน ความคิดของแต่ละคนต่างกัน และเราก็ไม่สามารถห้ามความคิดของคนอื่น ได้ด้วย ดังนั้น ผมจึงเลือกอ่านหนังสือแล้วคิดให้เกิดประโยชน์กับตนเอง กับคน อื่น ที่สําคัญ...อ่านแล้วคิดด้วยนะ!!!” ดช. พชร ปาระมัด ม 3/9 “...ฉันเคยเห็นอะไรมากมายมาก็เยอะแล้ว แต่ฉันก็ไม่คิดว่าสิ่งที่ฉันเห็น นั้นเป็นความรู้ แต่เมื่อดิฉันได้เข้ารับฟัง Fulbright Talk Show วันนั้น ความคิด ฉันก็เปลี่ยนไปจากเดิม...” น.ส. ศิรินยา ภูทองเงิน ม.4/8 “...ในวันนั้นผมได้ความรู้ในการใช้ชีวิต ทักษะในการคิด กระบวนการคิด และทักษะที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และที่สําคัญได้ข้อคิดว่า คนเราเกิด มาไม่มีอะไรพร้อม อยู่ที่ตัวของเราจะคว้าเอาไว้ ความสําเร็จไม่ได้มาง่าย ต้อง ผ่านอุปสรรคมากมาย มีทั้งเรื่องทุกข์ มีทั้งเรื่องสุข มีไว้ให้เราแก้ปัญหา บางคน ไม่สามารถผ่านพ้นไปได้และย้อนกลับมาอยู่ที่จุดเดิม แต่บางคนที่มีความตั้งใจ และมีจิตใจที่เข้มแข็ง ก็ผ่านอุปสรรคนั้นไปได้ และประสบความสําเร็จใน ที่สุด…” นายพิพัฒน์ ทองพิลา ม.6/2 “...การคิดต่างไม่ใช่เรื่องผิด ไม่ใช่เรื่องแปลกไปจากพวก แต่เป็น มุมมองอีกมุมมองหนึ่งที่บางคนอาจคิดไม่ถึง การที่เราเป็นคนคิดต่างในอนาคต แน่นอนที่สุดเราต้องเติบโตอยู่ในสังคมของคําว่าอาเซียน ถ้าเราต้องการ ประกอบธุรกิจบางอย่างด้านการค้า ถ้าเกิดว่าสินค้าที่เราทําอยู่ซ้ําซากไม่มีความ แปลกใหม่ ไม่ดึงดูดความสนใจของลูกค้า ธุรกิจอาจล้มเหลว เพราะฉะนั้นแล้ว หากว่าเรารู้จกั คิดต่างไปจากคนอื่น แม้ว่าสินค้าจะเป็นประเภทเดียวกัน หากว่า
9
เรามีการคิดต่าง พัฒนาและต่อยอดสินค้าให้แปลกใหม่ ไม่ซ้ําใคร ธุรกิจเราก็จะ ประสบความสําเร็จด้วยการคิดต่าง...” น.ส. เนตรนภา โพธิ์พันธ์ ม.6/2 “...ฟุลไบรท์ทําให้เราเห็นคุณค่าในตัวเรามากขึ้น ทําให้ฉันมองสิ่งต่าง ๆ ใด้กว้างขึ้น แตกต่างมากขึ้น ทั้งในเรื่องการเรียน การเป็นอยู่ของฉัน ถึงแม้ว่า มันอาจจะเป็นความคิดเล็ก ๆ ของคน ๆ นึง แต่ฉันคิดว่าความคิดของคน ๆ นึง แล้วเมื่อมองในหลาย ๆ ด้านรวมกันมันก็อาจจะยิ่งใหญ่ได้ในวันข้างหน้า ...” น.ส. อารีย์ ชิตบุตร ม.4/8 “...ฉันได้ฝึกกระบวนการคิดหลาย ๆ อย่าง ส่วนมากที่ฉันเป็นเด็กไทย ไม่ชอบใช้ความคิด เกียจคิด เบื่อที่จะคิด แต่พี่ ๆ ที่มางาน Talk Show ในวัน นั้น ทําให้ฉันรู้สึกว่าการคิดไม่น่าเบื่อ การคิดสนุก การคิดเป็นสิ่งแปลกใหม่น่า ค้นหา และมันทําให้ฉันกล้าที่จะคิดแปลกใหม่ กล้าที่จะตอบในสิ่งที่ตัวเองคิด เวลาที่ฉันเรียนหนังสือ ฉันมักจะตั้งคําถามกับหัวข้อที่ฉันไม่เข้าใจแล้วฉันก็จะนั่ง คิดอยู่ครู่หนึ่ง ถ้ายังคิดไม่ออก ฉันก็จะเก็บไว้คิดวันหลัง แบ่งเวลาไว้ทําอย่างอื่น บ้าง แต่สุดท้ายแล้ว ฉันก็จะได้คําตอบ ทําให้ฉันมีประสิทธิภาพในการเรียนมาก ขึ้น” น.ส. สุวิมล เทพวรรณ์ “…คําพูดที่ฉันชอบที่สุดคือคําว่า ‘การอ่านหนังสือเหมือนการขุด คลอง’ ความรู้สึกแรกที่ได้เห็นคําพูดนี้ปรากฏขึ้นบนโปรเจคเตอร์ ฉันรู้สึกเหมือน มีแรงกระตุ้นให้อยากอ่านหนังสือมากขึ้น และจากวินาทีนั้น ฉันก็ได้มีความตั้งใจ ว่าจะอ่านหนังสือทุกวัน และฉันก็ทําได้จริง ๆ ...” น.ส. อภิญญา ภูปัง ม.5/7
10
“...ทําให้เราสามารถแสดงความคิดเห็นโดยที่ไม่จํากัดคําว่าถูกหรือผิด เป็นความคิด ทัศนคติของแต่ละคนที่จะคิดได้หลาหลายกว้างไกล คิดให้เป็น ไม่ได้บังคับว่าต้องคิดในประมาณนี้ แต่ขอแค่เราได้คิดได้ฝึกฝนในการคิดได้ ได้ ฝึกฝนในการคิดในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งด้านที่เป็นไปไม่ได้และเป็นไปได้ เพราะ ความคิดของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันไม่สามารถเลียนแบบกันได้....” น.ส. อารียา พรทิพย์ ม.4/8 ”...ได้เรียนรู้ประสบการณ์ของพวกพี่ ๆ ที่มาเล่าประสบการณ์ของ ตนเองใน talk show ว่าการที่จะประสบผลสําเร็จได้นั้น มีทั้งอุปสรรค มีปัญหา ที่ต้องใช้ทั้งความอดทนและความพยายามมาเป็นอย่างมาก กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ และได้หลักแนวคิดแนวทางในการวางแผนในการดําเนินชีวิต ซึ่งสามารถนํามา ปรับใช้ในส่วนที่บกพร่องของตนเองได้ ...” น.ส. ขวัญวรินทร์ กุโบยบิน ม. 6/1 “...การที่ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมในกิจกรรมทอคโชว์ครั้งนี้ ทําให้ดิฉันได้ แนวคิดหลายอย่าง ที่จะนํามาปรับปรุงตนเองให้ดียิ่งขึ้น ทั้งเป็นการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษอีกําด้วย นอกจากนี้ การไปดูทอคโขว์ครั้งนี้ยังทําให้ฉันได้รู้จัก เว็บไซต์ดี ๆ อย่าง TED Talk ซึ่งเป็นช่องทางเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษได้อีกทางหนึ่ง และทอคโชว์ครั้งนี้ยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่ทําให้ เรากล้าคิด กล้าพูดมากขึ้น และกิจกรรมหนึ่งในนั้นที่ชอบมากคือ เขาจะมีภาพ มาให้เราดูแล้วให้เราตอบว่าดูภาพแล้วรู้สึกอย่างไร ภาพมีนสะท้อนถึงอะไร หรือ มีคววามหมายว่าอย่างไร ซึ่งกิจกรรมนี้นับว่าเป็นกิจกรรมที่ดีในการกระตุก ความคิดของหลาย ๆ คน ตลอดจนความกล้า กล้าที่จะคิดอย่างสร้างสรรค์ และ ยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ‘เติมเต็มชิ้นส่วนที่หายไป’ เพื่อไปสู่เป้าหมายชีวิต ที่แท้จริง...” พัชริดา ภูปัง ม.5/7
11
คนละค่ายเดียวกัน แม้ดูเหมือนจะต่างคนต่างอยู่ แต่ Teachers College ของ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กับฟุลไบรท์มีอะไรบางอย่างที่คาบเกี่ยวกันอยู่ ไม่ว่าจะ เป็นด้านความสัมพันธ์เชิงลึก คือมีศิษย์เก่าที่เป็นผู้อํานวยการบริหารของฟุล ไบรท์และมีบางคนที่เป็นอดีตผู้รับทุนฟุลไบรท์ หรือจะความสัมพันธ์เชิง อุดมการณ์ คือมุ่งเน้นการ “สร้างคนมีคุณภาพ” เหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่อง แปลกที่ฟุลไบรท์จะควบรวมกิจกรรมสัมมนาครั้งสุดท้ายของทุน Educational Seminars Program เข้ากับการฉลองครบรอบวันเกิด 125 ปีของ Teachers College และครบรอบความสัมพันธ์ 180 ปีไทย-สหรัฐอเมริกา โดยถือเป็น โอกาสที่ทั้งสามวาระบรรจบมาครบกันพอดี คุณปริญดา วิรานุวัตร ศิษย์เก่า Teachers College ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาบอกเล่าถึง ประสบการณ์และความประทับใจในวันนั้น
12
When TC Meets FB Parinda Viranuvat2 When I heard that the Teachers College of Columbia University would be holding its 125th anniversary celebration in Bangkok, I was curious and wondered whether it would be just another alumni's cocktail party in which I had to bring a stack of name cards. But no! At least one of my Teachers College (TC) folks was panicking about his academic presentation. I used the term “academic� because the fact that I was asked to study prior to the event reminded me of those old days at school! The event was indeed a full-day workshop with a mix of people from several groups: Fulbright Thailand, TC alumni, and American teachers who came to Thailand under the Education Seminar Program (ESP). Since the TC alumni group was not a majority, I was trying to find some familiar faces to calm my nerves. (Well, I didn't know then that I could use the strategy proposed by Fulbright Thailand's Executive Director and also a TC alumna Khun Porntip Kanjananiyot, who said we could remain in our comfort zone, but still welcome others. She also gave us a few tips on how to deal with diversity in this land of smile and elephants. And then I found myself back in the familiar TC culture: decent snacks, 2
Consultant, Organization Development and Personal Development Teachers College, Social-Organizational Psychology, class 2011 13
collaborative mood, and discussions as a way of learning (i.e. you can't get away without uttering a word!). Here I am, writing a reflective paper! The opening talk was made grand by Khun Porntip, who introduced a new perspective of old issues like face-saving culture, seniority vs. equality, and eating DNA, just to name a few. It wasn't beneficial only to our American guests who visited Thailand for a short period of time, but also to expatriates and Thai citizens like myself. It was soothing to see that these issues were addressed early so we could avoid an awkward situation, and opened the door for discussions to get to know each other in an honest way. And instead of smiling as a way to escape, I was given a new password—ASEAN. I trust, with this password, a number of doors will be open and the comfort zone will soon be forgotten. The following sessions were not less important at all. Participants exchanged ideas on education cultures —Thai and American—with digital media that are gaining an increasingly significant role in teaching methods. But does our learning mentality change? It's the process of making digital media a tool to quickly access broader learning resources, while outcomes still depend on how one would want to see future adults, shaped by today's teaching methods, lead the world. (Now I'm very much into Fulbright's motto, “Inspiring Caring Leaders across Cultures.”… They really care!) With this kind of workshop that cherished flipchart papers and sticky notes, we had generated an in-depth 14
discussion of plagiarism—a heartache issue for teachers. What we care deeply was, in my own words, a child's individuation process. I still remember the pain when I had to paraphrase and cite the author's quote when I was studying abroad, for my education of 20 years earlier was all about multiple choices (if not multiple guesses) and memorizing exact words from texts. My warning to a new generation is that, from now on, you can't only just quote correctly, but you also have to limit the number of quotes. In other words, you can build on ideas that have been thought out before, but be yourself. While the Thai education system focuses on a high-level strategy in developing critical thinkers, the American system makes an enormous amount of effort in translating philosophical ideas into something that is more related to individuals. Ultimately, it is a blessing that I have experienced both systems, to be aware of what has been missing and have an opportunity to fill in the void. I am grateful to be a part of this workshop in which opinions could be honestly expressed. Human relations are nevertheless the greatest means of teaching and learning, although I couldn't help downloading a new phone application at the end of the day.!
15
เพิ่มมูลค่างานด้วยการเชือ่ มโยงและบูรณาการ นับเป็นปีที่สองแล้วที่ฟุลไบรท์จัดกิจกรรม Fulbright Internationalization Forum (FIF) ขึ้น โดยในปีนี้เนื้อหาของงานยังคง เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ซึ่งเป็นสาระหลักและเป็นความเชี่ยวชาญ ของฟุลไบรท์ของเรา ในปีแรกเราเน้นประเด็นช่องว่างระหว่างวัย (generation gap) ที่เป็นได้ทั้งโอกาสและปัจจัยเสริมในการจัดการการแลกเปลี่ยนนักศึกษา มาในปีนี้เราเน้นที่การสร้างความเชื่อมโยง ไม่ว่าจะเป็นบุคคล สายงาน และ ความคิด แล้วประยุกต์/บูรณาการความรู้หรือการสานสายสัมพันธ์ (connection) ที่ได้เข้ากับงานที่ทําเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนอกจากคุณ พรทิพย์ กาญจนนิยต ผู้อํานวยการบริหารของฟุลไบรท์มาเล่าคร่าว ๆ ถึง แนวคิด integration อันเป็นศัพท์ใหม่ที่ควบรวมเอาคําว่า link และ integration มาไว้ด้วยกันแล้ว เรายังได้แขกรับเชิญกิตติมศักดิ์ และอดีตผู้รับทุน ฟุลไบรท์มาร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะกันอย่างสนุกสนาน โดยจักรภพ วงศ์วิวัฒน์ ผู้ ได้รับเลือกให้รับทุนฟุลไบรท์ปี 2557 สรุปความมาให้เราอ่านกัน
16
Fulbright Internationalization Forum “Education Exchange Excellence with Lintegration” Jakrapop Wongwiwat3 On September 9, 2013, the Thailand-United States Educational Foundation (TUSEF/Fulbright Thailand) organized Fulbright Internationalization Forum on “Education Exchange Excellence with Lintegration”4 at the meeting room 101, Faculty of Education, Chulalongkorn University. The speakers in this forum were Ms. Porntip Kanjananiyot, TUSEF Executive Director, and six guests from both Fulbright family and network who shared their experiences on how to make linkage across all things and integrate relevant knowledge into their lives and work. The forum gathered more than 50 executives, teachers and foreign affair officers from schools and universities around the country. The first part of the forum explained a general concept of lintegration - the link and integration of different knowledge into one’s work and daily life. It cuts across disciplines, professionals, generations, languages, and cultures for the most effectiveness as well as greater impact of our function. The focus of the session was,
3
2014 Candidate under Open Competition Scholarship Program Newly invented word by Khun Porntip Kanjananiyot, Fulbright Thailand Executive Director, combining the words “link” and “integration” 4
17
however, made on student exchanges as a case study for integration. In the second session, Mr. Michael Honnold and Mrs. Onsri Balenciaga, facilitated by Ajarn Pawin Malaiwong, discussed lintegration at family level, in which they turn cross cultures (races, generations, professionals, etc.) and personal experiences into exceptional resource for their children upbringing. The concept of lintegration was elaborated further at working level by three Fulbright alumni, Asst. Prof. Benjawan Ubonsri, Ms.Krittiya Wongtavavimarn and Mr.Jakkree Tejawaree. All of them agreed that connecting the dots across peoples, projects, and ideas make them resourceful and creative. At the same time, integration of knowledge as well as the ability to link different things together into one’s working habit would not only maximizing the resources but also open up one’s horizon. In brief, the forum urged us to consider applying integration to our work and life with open minded, acquisitive learning spirit, and creativity.
18
“Simple” Happiness Inspired by a visit to the Royal Project Extension Area in Pang Dang under the Highland Research and Development Institute as part of the annual tradition entitled, “Knowing Our Own Roots”, Cheewarat Kaewsangkwan retold a story and her impression on the way Palong hill tribe villagers, who live in a very remote and not-socomfortable area, found their happiness in life. Forced to exile far away from home in Myanmar (or the then Burma), Palong villagers have resettled in Pang Dang, Chiang Mai, under the Royal Project since 1968. Although they live the harsh life by our standard, they are content with what they have and feel grateful for this country and the monarch to grant them their land and occupation for a living. Brutal and suffering history passed through generations makes them realize that human happiness is indeed very simple – being together with their love ones, free from life threatening causes, having a safe shelter and food, or just watching TV!
19
ชาวปะหล่องกับความสุข ณ จุดทีย่ ืนอยู5่ 6
ชีวรัตน์ แก้วแสงขวัญ
ในชีวิตของคนคนหนึ่งจะต้องเดินทางไกลและยาวนานสักเท่าไร จึงจะ ค้นพบดินแดนอันสงบสุข ดินแดนใดที่คนหนึ่งคนจะพร้อมยอมทิ้งทุกสิ่งที่ คุ้นเคยในแผ่นดินเกิด เพื่อเสาะแสวงหาและใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างปลอดภัยและ มีความสุขที่นั่น เมื่อต้นปี 2556 ฉันมีโอกาสได้ไปเยี่ยมหมู่บ้านชาวเขาเผ่าหนึ่งใน จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้รู้จักชาวเขาเผ่าปะหล่อง ดินแดนเทือกเขาสูงในรัฐฉาน คือถิ่นอาศัยดั้งเดิมของชนชาติปะหล่อง หรือ ดาระอั้ง หนึ่งในบรรดาชนชาตินับร้อยในพม่า ดินแดนแห่งความ หลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม บรรพบุรุษชาวปะหล่องใช้ชีวิตอย่าง สงบเรียบง่ายด้วยศรัทธาในพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการนับถือผีในดินแดน พม่ามาเป็นระยะเวลาหลายชั่วอายุคนจนกระทั่งถึงจุดเปลี่ยน ลุงคํา จองตาน ผู้นําหมู่บ้าน เล่าความหลังอันโหดร้ายให้ฟังว่า เมื่อทหารของขบวนการกู้ชาติ ไทยใหญ่มาตั้งกองทัพใกล้หมู่บ้านและทหารคอมมิวนิสต์บังคับให้ส่งเสบียง อาหาร ฝ่ายรัฐบาลพม่าจึงส่งกําลังเข้าปราบปราม ทําให้ชาวบ้านถูกฆ่าตายเป็น จํานวนมากเพราะถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนทหารกู้ชาติ นอกจากนั้นยังยึดสัตว์ เลี้ยงและของมีค่าไปทั้งหมด เผายุ้งข้าว ข่มขืนผู้หญิง และบังคับผู้ชายให้ไปเป็น ลูกหาบขนอาวุธเสบียงอาหาร บางคนถูกทารุณเพื่อบังคับให้บอกฐานที่ตั้งของ ทหารกู้ชาติไทยใหญ่และทหารคอมมิวนิสต์ เมื่อต้องเผชิญกับภัยสงคราม การ ละเมิดสิทธิมนุษยชน และปัญหายาเสพติดในพม่า ชาวปะหล่องจํานวนมากจึง 5
ขออนุญาตนําชือ่ หนังสือ "ความสุข ณ จุดที่ยนื อยู่" ของ หนุ่มเมืองจันท์ มาประกอบชื่อ เรื่อง 6 Junior Program Officer, มูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกนั (ฟุลไบรท์) 20
พากันอพยพหลบหนีข้ามแม่น้ําสาละวินลัดเลาะมายังชายแดนฝั่งไทยในปี พ.ศ. 2511 แล้วระเหเร่ร่อนย้ายถิ่นฐานเรื่อยมาจนตัดสินใจตั้งรกรากอยู่ที่หมู่บ้านปาง แดงใน อําเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา ปัจจุบันหมู่บ้านชาวปะหล่องเป็นพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงภายใต้การดูแล ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง แม้อาศัยอยู่ห่างไกลถิ่นฐานบ้านเกิดสักเพียงใด ชาวเขาเผ่าปะหล่อง ยังคงรักษาภาษา วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมไว้ได้อย่างเคร่งครัด สิ่งที่เห็น ได้ชัดที่สุดเมื่อเดินเข้ามาในหมู่บ้านนี้ คือวัฒนธรรมการแต่งกายของหญิงชาว ปะหล่อง ตัวฉันเองยังอดไม่ได้ที่จะหยุดจ้องมองเครื่องแต่งกายสีสันฉูดฉาด สวยงามกว่าชนเขาเผ่าอื่นๆ สาวชาวปะหล่องสวมเสื้อแขนยาวทรงกระบอก ผ่า หน้า เอวลอย ประดับด้วยเหรียญเงินมากน้อยตามใจชอบ นุ่งซิ่นตีนจกทอเอง มีริ้วลายขวาง ยาวกรอมเท้า โพกศีรษะด้วยผ้าผืนยาว ออกจะวาบหวิวไปสักนิด ถ้าจะชี้ชวนให้ดูบั้นเอวของสาวๆ ชาวปะหล่องซึ่งสวมสิ่งที่ถือเป็นเอกลักษณ์อัน โดดเด่นของผู้สาวเผ่านี้ สิ่งนั้นคือ "หน่องว่อง" เป็นห่วงหวายลงรักแกะลาย บ้างใช้เส้นหวายเล็กๆ ย้อมสีถักเป็นลาย บางคนใช้โลหะสีเงินเหมือนแผ่นสังกะสี นํามาตัดเป็นแถบยาวตอกลาย และขดเป็นวงสวมใส่ปนกัน หญิงชาวปะหล่อง จะสวม "หน่องว่อง" ตลอดเวลา ยายเฒ่าคนหนึ่งยิ้มฟันดําเล่าให้ฟังอย่าง อารมณ์ดีว่า ห่วง "หน่องว่อง" เป็นสัญลักษณ์ของการเป็นลูกหลานนางฟ้า มี ตํานานเล่าสืบต่อกันมาว่ามีนางฟ้าชื่อ "หรอยเงิน" ลงมาเล่นน้ําในเมืองมนุษย์ แต่โชคร้ายไปติดแร้วของพวกมูเซอ ทําให้กลับสวรรค์ไม่ได้เลยต้องอยู่บนโลก มนุษย์และกลายเป็นบรรพบุรุษของชาวปะหล่อง ผู้หญิงจึงต้องสวม "หน่อง ว่อง" ตลอดเวลาเพื่อระลึกถึงนางฟ้าหรอยเงิน ชาวปะหล่องเชื่อกันว่า การสวม "หน่องว่อง"จะทําให้มีความสุขและเป็นสิริมงคล เมื่อตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์ หญิงชาวปะหล่องจึงสวม "หน่องว่อง" ติดตัวตลอดเวลาแม้ในเวลานอน ฟัง แล้วคล้ายวรรณกรรมท้องถิ่นทางภาคใต้เรื่องพระสุธน-มโนห์รา จะว่าไป ไม่ว่า
21
ภาคเหนือภาคใต้ ต่างกันนัก
จะไทยหรือพม่า
เราล้วนมีพื้นฐานความเชื่อและศรัทธาไม่
ชาวปะหล่องยึดถือคําสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด มีประเพณี พื้นบ้านที่เกี่ยวพันกับพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้นโดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง มี พิธีกรรมหนึ่งที่ยังคงปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานและน่าชื่นชม คือประเพณีสืบ ชะตาน้ําหรือเรียกให้เข้าใจง่ายว่าเป็นการทําความสะอาดแหล่งน้ํา ถือเป็นกุศโล บายหนึ่งในการรักษาป่าและต้นน้ําลําธาร ชาวเขาเผ่านี้มีวิถีชีวิตอย่างพอเพียง ปราศจากอบายมุข หาเลี้ยงชีพด้วยการทําการเกษตรแบบผสมผสาน ควบคู่ไป กับการอนุรักษ์ดินและน้ํา การผลิตผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ และสินค้าหัตถกรรม อย่างที่เราเรียกว่าแฮนด์เมด การท่องเที่ยวก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะทําเล ที่ตั้งอยู่บนดอย อากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย มีบริการบ้านพักแบบโฮมสเตย์ทั้ง แบบระยะสั้นและระยะยาว เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ และศึกษา วัฒนธรรมของชาวปะหล่อง นักท่องเที่ยวเริ่มมีเข้ามามากขึ้น แต่เพราะชุมชน ชาวเขาเผ่าปะหล่องมีความสามัคคีกัน มีจิตสํานึกรักและหวงแหนชุมชนที่อาศัย อยู่ร่วมกันเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน การท่องเที่ยวจึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อ วิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าปะหล่อง กว่าสี่สิบปีที่ชาวปะหล่องละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ บนแผ่นดินไทย ดิ้นรนจนได้รับสัญชาติไทยเมื่อปี พ.ศ. 2549 พวกเขายังคง รักษาวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ไว้ได้เป็นอย่างดี แต่ความ เปลี่ยนแปลงก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะต่อสังคมวัฒนธรรมใดก็ตาม แม้จะรอดพ้นเงื้อมมือจากภัยสงคราม ฉันอดหวั่นใจไม่ได้ว่าการท่องเที่ยวจะ กลายเป็นดาบสองคมมาทําร้ายชาวเขาเผ่านี้เข้าสักวัน ได้แต่หวังว่า วัฒนธรรม เมืองที่ค่อยๆ แทรกซึมเข้ามาผ่านการท่องเที่ยวและทางโทรทัศน์ที่เคยกลืนกิน วัฒนธรรมเก่าแก่ในหลายๆ ที่ทั่วโลกมานักต่อนักแล้วนั้น จะชะลอตัวให้ช้าที่สุด
22
และพ่ายแพ้ต่อความงดงามและความบริสุทธิ์สะอาดของชาวปะหล่อง ณ ที่แห่ง นี้ มื้อกลางวันฉันได้ชิมผักสดที่เก็บจากสวน ผัดผักใบเขียวมาพร้อมกับไข่ เจียว แกงฟักทอง น้ําพริกถั่วเน่ากับข้าวสวยร้อนๆ เท่านี้ก็อร่อยจนลืมตัวจัดไป เบาๆ สองจานย่อมๆ สําเร็จไปหนึ่งอิ่ม ก่อนออกไปเดินเล่นในหมู่บ้านและพูดคุย กับชาวบ้านที่นั่งทํางานอยู่หน้าบ้านและกับเด็กๆ ที่วิ่งเล่นคลุกดินคลุกฝุ่นอยู่ ละแวกนั้น สภาพบ้านเรือนของพวกเขาไม่ได้แตกต่างไปจากที่พักอาศัยของชาวเขา เผ่าอื่นๆ เท่าไรนัก แต่ภาพที่น่าแปลกใจและตื้นตันที่สุดคือ มีรูปในหลวงแขวน อยู่บนฝาบ้าน แทนที่จะเป็นรูปผู้นําประเทศหรือผู้นําทางจิตวิญญาณของเขา เอง ลุงคําเล่าด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและด้วยความภาคภูมิใจ ว่า “การที่เราได้อาศัยอยู่ที่นี่ ได้อยู่บนผืนแผ่นดินไทยก็เป็นบุญแล้ว การที่เราได้ ทํามาหากินเป็นแค่ส่วนหนึ่ง แต่ที่เราได้กิน ได้มีที่อยู่ที่นอน แค่นี้ก็เป็นบุญ วาสนาที่เราได้อยู่ใต้พระบารมีของท่านแล้ว แถมเรายังได้ทํางานอย่างถูกต้อง เราได้พออยู่พอกิน ไม่เหมือนกับที่เราเคยหนีหัวซุกหัวซุน เข้าป่าเข้าดอย ต้อง หนีทหารต้องหนีการสู้รบ มันเดือดร้อนเหมือนเรากําถ่านไฟแดงเอาไว้ในมือ ทีนี้ เราได้มาอยู่ตรงนี้แล้ว ถ้าพูดถึงความซาบซึ้ง ทุกคนซาบซึ้งมากอยู่แล้ว มันไม่รู้ จะพูดยังไง จากแต่ก่อน ชาวบ้านเขาก็ทํามาหากิน ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด ปลูก ฝิ่น หลังจากที่ผู้นําเราแต่ก่อนเคยได้เข้าเฝ้าในหลวง ขอมาอาศัยอยู่แถวๆ ตาม แนวชายแดนแถวนี้ ในหลวงก็อนุญาต แล้วก็มีโครงการหลวงมาช่วยส่งเสริม ตอนแรกก็มาปลูกไม้ผลไม้อะไรต่างๆ ทดลองก่อน พอเริ่มเข้าใจแล้วก็เริ่มทําเป็น รูปเป็นร่างขึ้นมา จนฝิ่นหรือว่าอะไรต่างๆ ลดลงเรื่อยๆ ถึงตอนนี้จะให้เขาไปปลูก ฝิ่นกันเขาก็ไม่ไปแล้ว มันยุ่งยากลําบาก อยู่แบบนี้ทํางานแบบนี้ดีกว่า สบายใจ ด้วย ลุงก็ไม่รู้หรอกว่าโครงการหลวงเกิดขึ้นเพราะชาวเขาหรือเปล่า แต่คิดว่า
23
โครงการหลวงเป็นตัวแทนของในหลวงที่มาช่วยเรา ให้เราได้ทํางาน ช่วยให้เรา มีที่อยู่ที่ทํากิน ให้เราอยู่ได้” พอถามชาวปะหล่องว่าความสุขของพวกเขาคืออะไร คําตอบง่ายๆ ที่ ทําให้ฉันเผลอยิ้มออกมาทันทีคือ “การได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันในครอบครัว ได้กินข้าวด้วยกัน ไม่ต้องเข้าไปทํางานในเมือง ตื่นมามีงานทํา ไม่ต้องไปขอใคร เขากิน ไม่ต้องหนีใคร” อีกคนตอบแบบไม่ต้องคิดว่า “ดูทีวี” บ้านไหนฐานะดี หน่อยมีทีวี ชาวบ้านก็ได้มานั่งล้อมวงดูทีวีด้วยกัน “ทุกคนรอบตัวเป็นคนดี” เท่านี้ก็สุขมากแล้ว วิถีชีวิตที่เรียบง่ายและพอเพียงของชาวปะหล่อง ไม่ต้องการ สิ่งปรุงแต่งมากมายนอกจากปัจจัยสี่ ไม่ยึดติดในสิ่งที่มี ไม่อยากได้ในสิ่งที่ไม่มี แบบนี้ คงเพราะหลังจากที่ผ่านปัญหาอันหนักหนาสาหัสมาได้ พวกเขาก็เข้าใจ และรู้ว่าความสุขที่แท้จริงนั้นแสนจะเรียบง่ายและอยู่รอบๆ ตัวเขาเอง ความสุขง่ายๆ แบบนี้ทําไมถึงได้เหมือนกับความต้องการของมนุษย์ เงินเดือนบ้านนอกคนนึงที่นั่งอยู่แถวๆ นี้ขนาดนี้นะ? มันทําให้ฉันนึก เปรียบเทียบการดําเนินชีวิตอันแสนรีบร้อนวุ่นวายของคนเมืองที่ต้องแย่งกันกิน แย่งกันใช้ ทํางานหนักเป็นเครื่องจักรแลกเม็ดเงินที่ยิ่งมากยิ่งมีความสุข ดําเนิน ชีวิตอยู่บนความอยาก หลงไปว่าของใหม่จะบันดาลความสุขได้มากกว่าของที่เรา มีอยู่แล้วในมือ แล้วก็อยากมี อยากเป็น อยากไปหมดไม่รู้จบ ถ้าเราทําให้ได้ อย่างชาวปะหล่องที่ยึดหลัก อิ่มเดียวหลับเดียว ตามพระพุทธวจนะ โลภให้ น้อย ใจจะนิ่งแล้วจะเห็นว่าอะไรคือความสุขที่แท้จริง ประสบการณ์หลายอย่าง เราเรียนรู้ได้จากความสําเร็จและความ ผิดพลาดของชีวิตคนอื่น โชคดีที่ฉันไม่ต้องหนีภัยสงครามไปหาดินแดนใหม่อย่าง ชาวปะหล่อง มีครอบครัว มีงานทํา สุดท้ายก็ได้คําตอบแล้วว่า ไม่ว่าจะออก เดินทางไปไกลสักเพียงใด สําหรับฉัน ดินแดนแห่งความสุขอันสงบงามที่สุดนั้น อยู่ในใจที่ไม่ยึดติดของเราเอง 24
ฟุลไบรท์ในความทรงจํา การเดินทางให้ทั้งประสบการณ์ ความรู้ มุมมอง มิตรภาพ และความ ทรงจําที่สามารถร้อยรวมกันเป็นเรื่องเล่าหลากสีสัน ต่างกันไปตามตัวบุคคล แต่ทุกเรื่องเล่าล้วนมีคุณค่าและมีความหมายในตัวเอง ทั้งยังสามารถให้แง่คิด หรือเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่น ๆ อีกด้วย เรื่องเล่าของคําแก้ว มณีโรจน์ก็ เช่นกัน ประสบการณ์ในต่างแดนกับโครงการฟุลไบรท์ไม่เพียงแต่จะช่วยเปิดโลก ทัศน์ใหม่ ๆ ทั้งในด้านวิชาการและการใช้ชีวิตเท่านั้น แต่ยังนํามาซึ่งมิตรภาพและ การเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบสิ้น คําแก้วพบว่าหากเราเปิดใจและปรับตัวเข้ากับความ แตกต่างหรือความเปลี่ยนแปลงแล้ว เราจะ ‘ได้’ อย่างเต็มที่กับทุกสิ่งที่ชีวิต มอบให้ การได้พบได้รู้จักคนจากที่ซึ่งไม่คาดคิด ได้ลองอาหารที่ไม่คุ้นเคย ได้ลอง ทําอะไรแปลก ๆ หรือแม้กระทั่งการข้ามถนนกับคนหน้าใหม่ ๆ ก็ล้วนช่วยเปิด ขุมทรัพย์การเรียนรู้ให้กับตัวเองทั้งสิ้น
25
The Fulbright Experience Kamkaeo Maneerot7 My life was tinged by the Abroad Exchange Programs. The best kind of life I could have imagined. Someone used to say that traveling could turn you into a storyteller, and I can assure you that nothing is truer than that. So many stories are being stored in you bit by bit every time you make a journey. You picked up the world’s horizon, the grazing grasslands, the changing colors of sunrise, an empty bus stops by a lit lamp on the coldest street, the smell of pumpkins being cooked, the huge ocean-scenes where promises were made, the thousand stars over-hanging above you the night you were up on the rooftop, or even how the newspaper-man used to offer you free coffee and a single rose in the morning. My stories will not impress you as much as your own stories. The moments you have collected will not be the same with mine. We chose to land in different continents, we bought books from different bookstores, and you might spend your summer swimming in a private lagoon, drinking cheap beers from some tropical beachstands, while I had to catch up with a breathless walk and winding subway routes in New York City. 7
2011 Fulbright Fellow under Open Competition Scholarship Program at Washington State University 26
Despite all that, the only thing I have that can somehow impress you or make you wish you had been me on my journey is the fact that I have been ensured my warm, happy, and safe lifejourney by a Fulbright Family. I have learned through my two-year experience abroad that you can never collect the best kind of stories without chances, support, encouragement, friendship, heartwarming moments, and endless surprises of people network from the Fulbright. I am going to refer to Fulbright Thailand, like I did the first time I was introduced to it and like I have been doing from that moment on, as a miracle. I am one of the Fulbright Thailand’s Open Competition Scholarship grantees in 2011. The other grantees have become my best friends, and everyone at Thailand-United States Educational Foundation (TUSEF/Fulbright Thailand) has been an important part of my success. They opened the world full of spaces to act and speak for what I believe in. Fulbright is an amazing circle of people around the world. During my years in the United States, I came across so many Fulbright fellows from different countries. It made me realized, for the first time, what mutual understanding was really about. Regardless of regions, nationalities, religions, languages, or skin colors, Fulbrighters spent time together and shared feelings with one another with a smiling face and a sincere heart. My most impressed stories during the Fulbright years were the stories I had with a bunch of amazing Fulbright fellows at a three-week Fulbright English Refinement Program at Monterey 27
Institute of International Studies, Monterey, CA. I counted myself the luckiest person the day I had a chance to collect the cheerful piece of memory from African Fulbrighters and friends. On my first morning in Monterey, I saw a girl from Mauritius smiled her biggest smile and it actually stayed with me the whole day. I had never seen a more cheerful or happier smile in my life. Girls from Africa often impressed me with their sweet personality and their amazing bond with one another. I found it to be a perfect circle of empowerment. Each day, they would help one another recharging hopes and strength for the next day. I often saw them singing songs or braiding one another’s hair by the stair up to my hotel room. My most amazing woman and friend was a beautiful Zimbabwean. She had the amazing sense of humor, a perfect skin color, and a strong body. I admired her optimism towards things around her. She showed me how to braid a special kind of braid, and cooked me an exotic African meal with Sadza and boiled cow intestines. I remembered feeling so bad when I could not make myself eat her food, but she smiled and laughed at me without a slightest hint of anger. Understanding the differences was what she had, and that had made me love her so much. Another thing I admire about her is her love of adventure and discovery of new things. When I was with her, I found myself chasing the orange mountain at dusk, walking through a creepy lane just to find an Ethiopian restaurant, or watching an indie movie about romantic love and salmon fishing in the smallest cinema in town.
28
During my first few weeks in the U.S., I also met with a few good friends from South America. They were the first group of people who taught me how to enjoy life as it should be enjoyed. If you have ever spent time with Latino girls, you would know what I am talking about. They danced the sexiest dance, laughed the biggest laugh, and hugged with all their might. Every morning, I would walk from the hotel to the institute with my Argentine roommate. I would follow her sophisticated walk to her sophisticated coffee place for a morning tea and a bagel, and, most of the time, follow her sophisticated lead when it came to grammatical practice in our writing class. At the end of the day, I loved wasting my evening hours with my favorite Dominican. Whether it was the free time when we could find a place to sit and listen to the seals singing, or the rushing hours when we had to run for the last bus to the laundry place, she was the best girl to be with. In our evening rush back to the hotel when there were hailstones from the sky, we used to run, and laugh so much that we cried. On my very last days in Monterey, she wrote me a poem about all the dresses I had worn, and I still keep it in my diary by my bed. In Monterey, people loved walking towards the wharf in the late afternoon when the sun was almost down and the air got cooler. I crossed the street with an Italian girl during the walk one evening. And I am thankful for that chance, because she has become my best friend since. She spoke flawless English with a special tint of Italian accent. Every time we crossed the street, she 29
would shout ‘Attraversiamo!’ which means “Let’s cross over” in Italian because she knew I love hearing it. She was addicted to Nutella chocolate spread and allergic to Gluten. There were times when we had to search for hours for a bottle of Nutella, or a Glutenfree sign in front of a restaurant. She was really the first sign of European long-lasting friendship. I cannot leave out the fact that I shared the hotel room wall with another European girl from Turkey who sang beautifully and has the kindest heart. She is mature and that was the best thing a person should have in a foreign country. She would be the one taking me photos whenever I forgot my camera, hold on to my dress when the wind blew its fierce blow, and arranged my necklace when she found it twisted awkwardly on my neck. I feel grateful for her caring mind. A careless person like me was so lucky to have met her. During our hard-working English lessons, we had a special day off to the nearby San Francisco. We spent two hours on a bus before reaching the city. These days whenever I think of San Francisco, one lovely face always crosses my mind. We have discovered the most skillful English user that day from Bangladesh. The first time I met him, we talked about our mutual interest in literature. And when he found out I had also come to the U.S. to pursue a degree in literature just like him, he exclaimed “Lovely!” The way he said it was different from how it was normally said by anybody else. He has a special way of saying it. Our trip to San Francisco was full of his ‘Lovely’ enthusiasm and utterances of words. He began the trip by asking a guy at a tea place, while 30
holding a paper cup of hot water and a tea bag, if he could have ‘water’ for his tea instead of sugar, and ended the trip by telling tired people on a bus to go ‘rest’ in a restroom. After I had left Monterey, my long-lasting Fulbright friendship was proved to stay on. Most days I found myself struggling with my academic career during my graduate studies. Most of the time I felt discouraged and depressed by the fact that my English was not good enough. Despite this, I never gave it up and looked down on myself for long. A Fulbrighter I had met in Monterey proved to me again and again that it did not really matter whether you were a native English speaker or not or whether your English was perfect, what mattered is how you looked at yourself. He is a simple Korean and is not a perfect English speaker, but he had the wonderful sense of how to deal with English grammars. The best thing about him was actually the fact that he knew how to appreciate himself amidst the crucial eyes of his American classmates. I was impressed by his encouragement when I needed someone to look up to, and by the fact that he had let me call him ‘oppa’ for the rest of my life. When you learn to be flexible and open-minded, you could actually enjoy life the way it should be enjoyed. Ever since Fulbright had offered me the opportunity to be so, I have never regarded people from different backgrounds as anything else but brothers and sisters under the same over-arching sky. I have learned to try dipping my finger in an unfamiliar food, listening to songs in 31
different languages, crossing the street with a different person, or letting my hair be braided into a seven wonder of the braids. The Fulbright Program was established because the bridge of understanding between different cultures is needed. It happened because people needed peace in the world. I believe that the reason it is here these days echoes the very same reason it was here those days. Fulbrighters hold the secret of being best friends with people from different parts of the world. Fulbrighters know that if we could share the same sky, we could definitely share the same world. Ps. I want to thank my family & friends, Fulbright Thailand (TUSEF) & Foreign Fulbright Organization, my fellow OC 2011 grantees, my beautiful cohorts and faculties at English Department, Washington State University, people of Pullman that I have come across, Fulbrighters that I have met in Pullman, WA and Baltimore, MD, old & new friends across the American continent, Monterey Institute of International Languages (MIIS), and all Fulbrighters at a Fulbright English Refinement Program (July 2011) in Monterey, CA (whom I have mentioned and whom I have not).
32
ชีวิตไทย ๆ แอรอน จอห์นสัน ไม่คาดคิดว่าจากชีวิตสบาย ๆ ในเมืองเล็ก ๆ ของ เวอร์จิเนียจะต้องมาใส่สูทผูกไททํางานอยู่ในกรุงเทพมหานคร แม้ดูจะเหลือเชือ่ แต่ทุน Public Policy Fellowship Program ที่ให้เขาได้เข้าฝึกงานในกระทรวง ยุติธรรมของไทย ได้ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้เขาอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่ว่าจะเรื่อง วัฒนธรรมที่แตกต่างทั้งในด้านการทํางาน ทัศนคติ ไปจนถึงการใช้ชีวิต นอกจากนั้นแล้ว แอรอนได้รับมอบหมายให้ทํางานหลากหลายประเภท ซึ่งล้วน แต่ทําให้เขารู้สึกว่าได้ทําสิ่งที่มีความหมาย เขายังดีใจด้วยว่าได้เข้าไปมีส่วนร่วม ในกิจกรรมต่าง ๆ ของกระทรวงและผูกมิตรกับผู้คน จนเรียกได้ว่าไม่มีใครในตึก นั้น ที่ไม่รู้จักแอรอน
33
Living the Thai life Arron Johson
8
Growing up in a small town in Virginia, if you would have told me that I would be living in Bangkok as a Fulbright Public Policy Fellow working at the Ministry of Justice, I would have immediately laughed in your face and then responded that I don’t even like neckties. I’m glad that I was wrong. Working at the Ministry of Justice these past ten months has truly been an amazing experience that has no parallels. Nonetheless, before I started there was a litany of unanswered questions. Would my colleagues be willing to work with me? Would they be accepting or would they view me as the worst covert CIA agent of all time who just wanted to spy on the Thai government? Would I make friends or spend my lunch talking to an old volleyball like Tom Hanks in ‘Castaway’ (I would’ve at least gotten a newer ball)? Not immediately realizing it, when I arrived for my first day of work, my colleagues and I, although from different countries and cultures both shared a feeling of uncertainty as to exactly how my appointment would unfold. To my delight however, we also shared, two languages: Thai and love----both of which provided an immediate alleviation of concerns and ensured that this experience 8
2012 Public Policy Fellowship Program at Thai Ministry of Justice 34
would be as fruitful as possible. My immediate supervisor delegated me with the responsibility to research Thailand’s capacity to provide the minimum standard of treatment for prisoners as well quality probation services, which further provided me with a feeling of trust and the sense that I would be expected to make a meaningful contribution. Throughout the ten months, I was also asked to serve as an official Ministry of Justice representative on issues on the conflict in Southern Thailand, helped write a speech for Her Royal Highness Princess Bajrakitiyabha as well as participated in several meetings on violence against women and children co-hosted by the United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC). I also participated in the Ministry’s Sports Day and helped present gifts on behalf of the International Affairs Division. Lunchtime served as cultural exchange sites as I was able to discuss a variety of topics like American foreign policy, sports, religion, African-American history and culture as well as the lyrics to several hip-hop and rap songs (that’s right). I also learned about the perceptions of Thai bureaucrats towards a range of topics like politics, economics as well as the fascination with Thai soap operas and, my favorite, Thai slang. In sum, my rapport with not only my immediate colleagues but also the maintenance and cafeteria staff has been positive and truly enlightening. Everyone in the building knows the “farang” and, true to form, the farang knows everybody. I’m glad I’ve been wrong about many things in my life and I look forward to being wrong in the future.
35
พบตัวตนในที่แตกต่าง ทุน Global Undergraduate Exchange Program ซึ่งเป็นทุนที่ฟุล ไบรท์ช่วยบริหารจัดการให้สถานทูตสหรัฐ เป็นอีกทุนหนึ่งที่ได้รับความนิยม อย่างมาก เพราะช่วยเปิดโอกาสการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัย ภูมิภาค ซึ่งแม้จะต้องเสียเวลาเรียนไป 1 เทอม หรือ 1 ปี โดยอาจไม่สามารถ โอนหน่วยกิตได้ แต่ประโยชน์ที่ได้มานั้น เรียกว่าเทียบกันไม่ได้เลย นอกจากจะ เป็น ‘บทเกริ่นนํา’ สําหรับคนที่คิดจะไปเรียนต่อต่างประเทศแล้ว (เพราะได้ ลองใช้ชีวิตนักศึกษาต่างชาติ ลองเรียนในระบบอื่น กินอยู่แบบอื่น ในช่วงเวลา สั้น ๆ ที่ยัง ‘พอทน’) ยังช่วยให้ชีวิตมีสีสันขึ้นด้วยประสบการณ์ใหม่ ๆ ความรู้ ใหม่ ๆ และมุมมองใหม่ ๆ วัลภา เขียวอุย ผู้รับทุนปี 2556 เล่าถึงช่วงเวลาอันน่าจดจําที่ East Tennessee State University ซึ่งแม้ผู้คนจะมาจากคนละฟากโลก แต่ก็ผูกพัน กันด้วยมิตรภาพ และอาหาร!
36
My First Month in the USA – Reconnecting with my Thai roots in a multicultural society Wanlapa 9 Khiao-ui
The 2013 – 2014 Global Undergraduate Exchange Program Scholarship has given me an invaluable opportunity to explore the new world that is the United States of America – the most powerful country in the world. I was so excited when I first learned that I got this scholarship and I prepared myself a lot for fear of not adjusting well to the new environment and the locals. 9
2013 Global Undergraduate Exchange Program at the East Tennessee State University, Tennessee 37
When I first arrived here at the East Tennessee State University in Johnson, Tennessee, my thoughts changed. I was no longer worried about everything because people here were really friendly. Although no one picked me up at the Tri-Cities Airport because of my delayed arrival, an elderly lady kindly advised me to talk to a taxi-service agent. A few minutes later, a staff from the East Tennessee State University came. I was really impressed with how they handled things.
I had been studying English at ELS Language Centre of ETSU since the 21st of July. On my first day at ELS, I was quite nervous because I did not know anyone there. Most of my classmates came from Saudi Arabia. Their accent was quite difficult to understand (or my listening was probably not good enough!). However, after some time, I could talk to them easily. My ears became accustomed to their accent.
38
After finishing the English summer course at ELS, I moved to the ETS dormitory. The reception staff was very kind and took good care of us. There are also some staffs who lived here with us at all times (I mean all day and all night) so we could ask for help anytime. Other things that I really liked here were red brick buildings and big trees. Both kept the university cool and beautiful.
What really impressed me (again) was that all my friends and teachers here already knew so much about Thailand. They said 39
that Thai people were kind and friendly and they really love Thai food. There is a Thai restaurant in front of my university where my friends always asked me to accompany them to help order the dishes. Some of my teachers used to live in Thailand and they said that they really missed Thai food especially the hot and spicy dishes. Also, one of my teachers always greeted me in Thai with “SA-WAD DEE KRUB”, a bow and a “wai”. I was very proud of my country.
40
เล่าเรื่องเบื้องลึก เบื้องหลังความสําเร็จอันน่าภูมิใจและภาพความทรงจําที่งดงามย่อมมี เรื่องราวที่มาที่ไปน่าสนใจแฝงอยู่เสมอ กุลกัลยา กฤษน้อย อดีตนักศึกษา ฝึกงานและเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการชั่วคราวของฟุลไบรท์ที่เข้ามามีส่วน ร่วมกับการจัดงาน Midyear Enrichment Workshop ครั้งที่ 5 ตั้งแต่ต้น ประมวลภาพความชุลมุนยุ่งเหยิงในที่ทํางานมาเล่าสู่กันฟัง ไม่ว่าจะเป็นการรื้อ ๆ แก้ ๆ รายชื่อผู้เข้าร่วมงาน การเตรียมเอกสาร หรือการสร้างฝันสุดอลังการที่ พระราชวังพญาไท โดยอุทิศงานเขียนนี้ให้แก่คุณฉัตรชัย อักษรศิลป์ หรือพี่นิ้งที่ จากพวกเราไปก่อนที่จะได้เห็นผลงานครั้งสุดท้ายของตัวเอง
41
Stories behind the Story For the memory of Pi Nink, Chatchai The lovely beloved and lovable colleague… 10
Kulkanlaya Kritnoi
Like a tiny vessel on an open big blue, our work came across those big waves and heavy showers. However, we have sailed through the odds and faced with the calmness and sweet remedy of the aftermath. Keep it in mind that we have done it before, does not become that helpful when we were going through several meetings over and over again. Like Christmas presents, there are always some surprises hidden in the box, same as this year’s preparation for the 5th Midyear Enrichment Workshop. ‘65’ is the number of days we have spent in making an intensive preparation. ‘12’ is the total number of leading staffs who joined hands, with finger crossed, for this amazing ride, and ‘1’ is the number of our lost. We have been planning this since in 2012. There, we have received such heartbreaking news about our colleague, who had passed away unexpected. We miss him dearly, his efforts and team spirits kept us going, and for that, we dedicate this to him.
10
A Temporary Junior Program Officer at the Thailand-United States Educational Foundation (TUSEF/Fulbright Thailand) 42
All those Twists and Lists Managing people from various backgrounds and host countries was not all about fun, a bit of a fuzzy perhaps. It surely kept us occupied and alerted with all the changes that might have occurred at any time of the day. Countless interesting abstracts were received and we couldn’t be anymore intrigued to hear them at the real workshop. Many names were listed along with specific preferences, followed by countless brainstorming sessions that have developed from the list created. However, we thank all grantees who gave us prompt updates so that we could manage in time. “Coordinating with a large group of people was challenging, but it was clear that it was a great group of people to work with”, said Gracie Raver, 2012 Temporary Program Coordinator. A crowded office After long hours of meetings, discussions and daily updates, we were constantly moving in different directions as the moment of truth, and terrors, was getting closer. The sound of printer activating, phone ringing and things got lifting or moving around had become our ringtones. These sounds continued to the very last day of the workshop. “I felt like the office was getting smaller than ever, and we’ve bumped into each other from time to time, while packing the stuffs and compiling them together”
43
From Foresight Frustration to an Enchanted Evening Our farewell cultural reception was undeniably one of the highlight of them all. TUSEF team has received many kind words and constructive compliments from grantees and other stakeholders. However, this fairytale-like gala did not receive any help from a fairy god mother, and it surely could not be transformed overnight like Cinderella. There were no disagreements when it comes to Phayathai Palace. Its grace and regality have long appealed to every Thais, and because of this, we choose the palace for our grand finale. On our way to make grantees feel the magic and the exclusiveness the venue is promised to offer, we have been re-scheduling, rehearsing and re-organizing on daily basis. One complication led to another limitation, one limitation led to handful of frustrations, and in the end an adaptation. Luckily, like every Disney’s story, our tenacious will and hours of industrious tryouts, we have come across a happy ever-after outcome. Our hearts grew even bigger when we saw many faces of our party guests painted with excitement and sheer delight. “Everyone has been trying hard. We really want grantees to be amazed by this night, it was exhausted but once they walked to us with such sweet praises, it was all WORTH it!” “TUSEF staffs! You really outdone it ! Bravo !”
44
This Closer People-to-People Tie us together The purpose of this workshop is not only reserved for the participants. Strange it might sounds, it has reflected our ways of organizing the event as well. We have felt as we were brought together to become a better and brighter teamwork. The closer interactions between grantees, Fulbright Thailand staffs and other special guests have flourished across the engaging activities. We could only expect that these prosperous ties would continue to grow bigger and stronger, as we move toward for future relations between U.S-ASEAN and other countries across the globe. “Educational exchange can turn nations into people, contributing as no other form of communication can to the humanizing of international relations�, Senator J. William Fulbright
45
Rethinking the Thai Way of Learning While Thai education system has been under harsh criticism, Thais themselves are accused of not being good learners. One of the weaknesses hindering many Thais from learning new things is their fun-loving nature that decreases their attention in the not-so-fun situations. Khun Porntip Kanjananiyot, Fulbright Thailand Executive Director, then urged Thais to reset their learning concept in order to gain utmost benefits from any learning opportunities, both fun and serious ones. On one hand, they have to adjust themselves a little bit towards international practices and etiquettes. For example, cell phones must be turned off or switched to a silent mode, and talking whether in soft voice must be stopped. On the other hand, some of Thai characters such as ‘kreng-jai’, ‘caring’ and ‘gentleness’ could be enhanced in a favorable way that support learning. ‘Krengjainess’ will prevent offensive behaviors against speakers and other audience while ‘caring’ and ‘gentleness’ will make the exchange of ideas between speakers and audiences happen in a friendly and constructive way.
46
คนไทยไปไม่ถึงการเรียนรู้อย่างบุ๋น พรทิพย์ กาญจนนิยต
11
สังคมไทยที่กําลังตื่นตัวกับการเพิ่มพูนความรู้ของคนในองค์กร น่าจะเป็นสังคมที่ก้าวสู่การ พัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เพราะคนไทยไม่เป็นที่สองรองจากใคร นอกจากทําให้ตัวเองเป็น “รอง” ของ คนอื่นเอง จริงหรือไม่ หลายอย่างที่เราทํากันอยู่บ่อย ๆ ด้วยความเคยชิน หรือเห็นจนคุ้นตา หรือได้ยินจนคุ้นหู จน อาจทําให้โอกาสที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจริงจังน้อยลงไป! หลายอย่างต้องทําให้ชอบ ต้องทําให้ สนุก ซึ่งอาจกลายเป็นจุดอ่อนในการพัฒนาตนของคนไทยไปอย่างน่าเสียดาย หากพวกเราลองคิด และตระหนักขึ้นอีกนิด การปรับเรื่องเล็ก ๆ นี้ น่าจะช่วยให้เราก้าวสู่ สังคมแห่งการเรียนรู้ได้มากขึ้นเป็นหลายเท่าตัว แต่เริ่มแรก คงต้องสํารวจพฤติกรรมต่าง ๆ ของเราเองก่อน ดังนี้ ก่อนเข้าฟัง ถ้าต้องเข้าฟังการบรรยาย เราต้องถามถึงชื่อผู้บรรยายให้แน่ใจว่า ผู้รับเชิญผู้นั้น พูด “สนุก”หรือไม่ ก่อนคิดตัดสินใจเข้าฟัง (หรือเตรียมใจไปหลับ) ระหว่างฟังการบรรยาย ปล่อยให้โทรศัพท์มือถือดังให้ได้ยินโดยทั่วกันเพื่อเจ้าตัวจะได้รู้ว่าใครโทรมา รับโทรศัพท์ขณะเข้าร่วมประชุมรับฟัง (เพื่อบอกว่า กําลังประชุม คุยด้วยไม่ได้) พูดคุยกันเองช่วงที่กําลังฟังการบรรยาย (พูดเรื่องที่ ‘เกี่ยวข้อง’ กับที่ฟังอยู่ แต่ เผลอแถมเรื่องอื่น ๆ ด้วย) เอางานเข้าไปทําระหว่างรับฟังการบรรยาย (งานเร่งและการบรรยายไม่ค่อยโดน ใจ) หลับ (เหนื่อย อิ่ม หรือ ชอบงีบ)
11
ผู้อํานวยการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกนั (ฟุลไบรท์) 47
หลังฟังการบรรยาย วิจารณ์/บ่น....ทั้งอาหารการกินและสถานที่ บรรยาย (ลืมไปแล้วว่า เข้าฟังเรื่องอะไร)
โดยไม่พูดถึงสาระที่ได้รับจากการ
หากปรากฏว่า พฤติกรรมต่าง ๆ ตรงกับท่านมากกว่า 4 ข้อแล้วล่ะก็ ท่านมีแนวโน้มที่จะเป็น ผู้มีส่วนร่วมในการลดระดับสังคมแห่งการเรียนรู้ของคนไทยได้ ลองพิจารณาจากการเข้าชมคอนเสิร์ตหรือละครเวที และแม้แต่ภาพยนตร์ มีการขอความ ร่วมมือให้ผู้ชมงดพูดคุยกับคนข้างตัว และงดการสนทนาผ่านโทรศัพท์มือถือ เพราะสําหรับการแสดง สดต่าง ๆ ความเงียบจะทําให้ผู้แสดงมีสมาธิในการสร้างอารมณ์และแสดงได้สมบทบาทมากขึ้น ในขณะที่ผู้ชมจะมุ่งจุดสนใจไปที่เวทีร่วมกันได้ สามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระและเกิดอารมณ์ร่วม และทํา ให้เกิดอรรถรสที่แท้จริงของการชมการแสดงนั้น ๆ ในการชมภาพยนตร์ก็คล้ายกัน ความเงียบสร้างให้เกิดความสนใจร่วมที่กําลังนําเสนอ ทําให้ ทุกฝ่ายพุ่งความสนใจต่อเรื่องราวที่อยู่ตรงหน้าได้ดีขึ้น โดยปกติแล้ว สังคมไทยเป็นสังคมสร้างสัมพันธ์เพื่ออยู่ร่วมกันด้วยดี ความสบายแถมความ สนุกในชีวิตประจําวันจึงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีไทยมาโดยตลอด ทําให้เราชินและใช้ความเคยชินนี้ใน รูปแบบคล้ายคลึงกันในการเรียนและการเรียนรู้ในเวทีต่าง ๆ กันจนมากเกินไป ลักษณะความเคยชินนี้ ทําให้เราพลาดโอกาสทองที่จะซึมซับความประทับใจและเก็บเกี่ยว ความรู้ที่จัดมาให้อย่างพร้อมตรงหน้า ทั้งเป็นเรื่องที่เป็นสาระล้วนและความบันเทิง เพราะอาจทําให้ ลดโอกาสที่จะสนุกเต็มที่ ตัวอย่างเช่น ความเพลิดเพลินกับการชมภาพยนตร์ หรือดูละครเวที หากมี เสียงรบกวน ทั้งเสียงเรียกเข้าทางโทรศัพท์มือถือ ทั้งเสียงพูดตอบรับ หรือแม้แต่เสียงคุยแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ตรงหน้า (ในเวลาที่ไม่เหมาะสม) ทําให้ลดสมาธิของตนเองและคนรอบ ข้างได้ทันที อาจมีผู้อยากจะแย้งว่า “ก็หนังมันไม่สนุก ผู้แสดงละครเล่นไม่ดี” ที่จริงแล้ว เราอาจต้องหา คําตอบก่อนมีพฤติกรรมดังกล่าว เช่น เราเป็นผู้เลือกหรือตกลงใจที่จะเข้าชมภาพยนตร์ หรือดูละคร เวทีนั้น ๆ ใช่หรือไม่ เราไม่ได้อยู่ในที่นั้นคนเดียวใช่หรือไม่ การพูดคุยกับเพือ่ นที่ไปด้วยกันทําให้เกิด 48
เสียงรบกวน ถือได้ว่าเราไม่เกรงใจผู้อื่นในที่นั้นด้วยหรือไม่ และแม้เรื่องที่เรากําลังดูนั้นเป็นเรื่องที่น่า ติดตาม เรากลับปิดโอกาสตัวเองที่จะคิดตามเรื่องอย่างต่อเนื่องและทําให้ผู้อื่น (ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่) รับ ผลกระทบนี้ไปด้วยใช่หรือไม่ ยิ่งเป็นการบรรยาย/ประชุมเชิงวิชาการ เราอาจไม่สามารถได้ประโยชน์และมีส่วนสร้างสรรค์ ให้เกิดการประชุมที่มีประสิทธิภาพเต็มที่ได้ จึงน่าจะถึงเวลาแล้วที่เราคงต้องมาดูว่า ในบางเวที เราคง ต้องปรับลักษณะความเคยชินบางอย่างของเรา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีตอ่ เรา เพียงคนเดียว แต่เป็นผลดีต่อผู้คนรอบข้างที่น่าจะได้เพิ่มสมาธิ ความสนใจในกิจกรรมการเรียนรู้ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังทําให้เราใช้โอกาสที่มีให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาวิธีคิด มุมมองและความ เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในศาสตร์/สาขาที่สนใจ รวมทั้งผลกระทบจากศาสตร์/สาขาอื่นๆ ที่เราต้องตระหนักถึงและพยายามเข้าใจเพื่อรู้เพิ่ม/ พร้อมขึ้น เราควรจะมองอีกมุมหนึ่งด้วยว่า คงจะต้องปรับเราเองให้เข้าสู่แนวปฏิบัติที่เหมาะสมตาม มาตรฐานสากล ซึ่งแม้ไม่ได้มีการกําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน แนวปฏิบัติหลายอย่างมีที่มา ที่ไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการทั้งในเชิงธุรกิจ บันเทิงและวิชาการ แนวปฏิบัติหลายอย่าง เช่น การ ตรงต่อเวลา ความพร้อมในการเป็นผู้ชม ผู้ฟังที่ดี และแสดงความคิดเห็นในเรื่องและเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น เป็นแนวปฏิบัติที่จะทําให้ผู้ร่วมประชุมมาหารือ ได้รับประโยชน์ร่วมกันและทําให้งานลุล่วงตาม ต้องการ หากเราวางฐานคิดอยู่ที่โอกาสในการเรียนรู้ ในทุกเวที ทั้งเรื่องบันเทิงและวิชาการ เราน่าจะ คิดเชิงบวกว่า “แค่ได้เรียนรู้เรื่องใหม่หนึ่งเรื่อง หรือรู้จักคนเพิ่มอีกหนึ่งคน เท่ากับว่า วันนั้นเป็นวันที่ เราประสบความสําเร็จแล้ว” ไม่เพียงเท่านั้น หากเราได้คิดและตระหนักถึงการใช้วิถีไทย ก็จะให้ ประโยชน์เพิ่มได้ในอีกด้วย เช่นการใช้คุณลักษณะที่ดีของคนไทยด้าน “ความเกรงใจ” เพื่อให้เอื้อต่อ การเรียนรู้ แม้ว่าในบางเวที การนําเสนออาจไม่ใช่สิ่งที่เราคิด ไม่ใช่สิ่งที่เราคาดหวัง แต่ด้วยความรู้สึก เกรงใจผูพ้ ูดที่ตั้งใจนําเสนอ ทั้งการแสดง หรือ ความคิด ทฤษฎี แนวทางต่างๆ (ที่อาจจะน่าเบื่อมาก เพราะนําเสนอไม่เป็นนัก) ใช้ “ความเกรงใจ” เป็นเกราะป้องกันไม่ให้เราทําอะไรที่ผู้พูดหรือผู้นาํ เสนอ รู้สึกว่าไม่ได้รับความสนใจ ก็น่าจะเป็นเรื่องดีต่อการเพิ่มบรรยากาศและโอกาสในการเรียนรู้ด้วย อันที่จริง คงต้องยอมรับความจริงว่า ยังมีหลาย ๆ เวที/การประชุม ที่น่าเบื่อจริง ๆ ดังนั้น หากเราคิดว่าไม่ได้ประโยชน์จากการร่วมงาน เราควรจะใช้คุณลักษณะ “ความมีน้ําใจ” และ “ความ อ่อนโยน” ของความเป็นไทย แสดงความคิดเห็นอย่างนุ่มนวล เพื่อให้ผู้จัดทราบและปรับปรุงต่อไป
49
อย่างไรก็ดี ประเด็นหนึ่งที่อาจต้องไม่ลืมคือ เรื่อง “การปล่อยวาง” ในหลาย ๆกรณี สิ่งที่ เกิดขึ้นแม้ว่าจะน่ารําคาญ แม้ดูเหมือนว่าจะไม่เหมาะสมตาม “แนวปฏิบัติสากล” แต่สังคมไทยยังคง เป็นสังคมไทยที่เราควรจะยืดหยุ่นและอะลุ้มอล่วยตามความเหมาะสม ไม่จําเป็นต้องเอาจริงเอาจังไป ทุกเรื่อง เพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความมีน้ําใจ การจะให้คนไทยอยู่ในสังคมแห่งปัญญาและสังคมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ จึงอยู่ที่พวกเราไม่ว่า ในฐานะผู้รับและผู้จดั ที่ต้องคํานึงถึงบทบาทของตนอย่างเต็มที่ และทําเต็มที่ในบทบาทนั้น ๆ เพือ่ ให้ กิจกรรมที่เกิดขึ้น เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง โดยยังมีการสานสัมพันธ์ที่ดีแบบ ไทยควบคู่กันไปด้วย
50
10