พัฒนาฝีมือแรงงาน ทางออกวิกฤตเศรษฐกิจไทย Upgrading Skills, Upgrading Thailand
โดย มูลนิธิ ควง อภัยวงศ์
พัฒนาฝีมือแรงงาน ทางออกวิกฤตเศรษฐกิจไทย คณะผู้วิจัย ดร.ธราดล เปี่ยมพงศ์สานต์ (หัวหน้าโครงการ)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสกสิริ นิวัติศัยวงศ์ นางสาววิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ นางสาวจุฑาทิพย์ ตาฬุมาศสวัสดิ์
ผู้ช่วยวิจัย
นางสาวกุลยา สุทธิมรรคผล
พิมพ์ครั้งที่ 1 มกราคม 2561 รูปเล่ม
นางสาวธัญชนก นานา
จัดพิมพ์โดย สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย (Future Innovative Thailand Institute: FIT)
คำ�นำ� สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย (Future Innovative Thailand Institute: FIT) ได้จัดทำ�งานวิจัยเชิงนโยบาย เรื่อง พัฒนาฝีมือแรงงาน ทางออกวิกฤตเศรษฐกิจไทย เล่มนี้ขึ้น เพื่อนำ�เสนอข้อมูลสถิติที่สำ�คัญ บทวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา นโยบายในปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงข้อเสนอเชิงนโยบาย ตั้งแต่เรื่องภาพรวมเศรษฐกิจไทย อาชีวศึกษา การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และเรื่องการพัฒนาทักษะในภาคบริการ สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงในความกรุณาของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้ การสนับสนุนทางด้านวิชาการและความร่วมมือเป็นอย่างดีโดยตลอดมา อันได้แก่ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภากายภาพบำ�บัด ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำ�นักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรม สิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สภาอุตสาหกรรม สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ศูนย์ฝึกอาชีพวัดธรรมมงคล ธนาคารโลก และ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยเชิงนโยบายเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สามารถนำ�ข้อมูลไปใช้ในการกำ�หนดนโยบาย วางแผน และดำ�เนินงานด้านการพัฒนาทักษะ แรงงานในประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้ในที่สุด คณะผู้วิจัยสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย
I
บทสรุปสำ�หรับผู้บริหาร (Executive Summary) ที่มาและความสำ�คัญ ในอดีตก่อนเกิดวิกฤตทางการเงินปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยมีการเติบโตทางเศรษฐฏกิจอย่างก้าวกระโดด โดย มีอัตราการเติบโตของ GDP อยู่ที่ร้อยละ 7.61 ต่อปี ซึ่งปัจจัยสนับสนุนที่ทำ�ให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างรวดเร็วก่อนปี พ.ศ.2540 นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ประการหลัก คือ 1. รายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมมายาวนาน 2. แรงงาน ไร้ฝีมือราคาถูกเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง ทำ�ให้มีชาวต่างชาติต้องการมาลงทุนโดยตรงใน ประเทศไทยสูง 3. ข้อตกลง Plaza Accord ในปี พ.ศ.2529 ส่งผลให้บริษัทในประเทศญี่ปุ่นจำ�นวนมากย้ายฐานการผลิต มายังประเทศไทย และ 4. นโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสมกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในเวลานั้น อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจทางการเงินในปี พ.ศ. 2540 ส่งผลให้การเติบโตของประเทศหยุดชะงักไป ประมาณ 2 ปีแล้วจึงเริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างช้า ๆ อีกครั้ง หลังจากเกิดวิกฤตในครั้งนั้นประเทศไทยได้มีการปรับโครงสร้าง ในประเทศหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการธนาคารของประเทศ แต่ไม่สามารถที่จะทำ�ให้ประเทศไทยกลับไปอยู่ใน จุดที่มีอัตราการเติบโตสูงเทียบเท่ากับช่วงก่อนเกิดวิกฤตได้อีกเลย โดยในปัจจุบันอัตราการเติบโตของ GDP ในประเทศอยู่ที่ ร้อยละ 3 และรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ US 6,264.34 ซึ่งถือว่าประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางตอนบน นอกจากนี้ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ติดอยู่ในกับดักประเทศรายได้ปานกลางมายาวนานถึง 20 ปีแล้ว รัฐบาลไทยในยุคพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความประสงค์จะนำ�ประเทศไทยหลุดออกจากกับดักประเทศรายได้ ปานกลางไปเป็นประเทศรายได้สูงในปี พ.ศ. 2569 อย่างไรก็ตามจากการคำ�นวณของสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย (Future Innovative Thailand Institute: FIT) พบว่าประเทศไทยต้องใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำ�กว่า 15 ปี ในการก้าวสู่การเป็น ประเทศรายได้สูง ทางสถาบันฯ มีความเห็นว่าการจะหลุดออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้นั้น จำ�เป็นต้องมีการยก ระดับฝีมือแรงงานไทย เมื่อแรงงานไทยมีทักษะฝีมือที่สูงขึ้นก็จะสามารถสร้างผลิตผลที่มีมูลค่าเพิ่มสูง รวมถึงได้รับค่าจ้าง แรงงานที่สูงขึ้น เมื่อรายได้เฉลี่ยของคนในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยก็จะสามารถก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปาน กลางได้ในที่สุด ดังนั้นทางสถาบันฯ ขอเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในการยกระดับฝีมือแรงงานไทยดังต่อไปนี้ 1. แก้ไขและ พัฒนาระบบอาชีวศึกษาในประเทศไทย 2. การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และ 3. การพัฒนาทักษะในภาคบริการ
การแก้ไขและพัฒนาระบบอาชีวศึกษาในประเทศไทย ในปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนนักเรียนสายอาชีวศึกษาน้อยมากเมื่อเทียบกับนักเรียนสายสามัญ ซึ่งนักเรียน สายอาชีวศึกษาเหล่านี้เมื่อเรียนจบจะกลายเป็นกลุ่มแรงงานที่ตลาดแรงงานไทยต้องการเป็นจำ�นวนมาก ส่งผลให้ใน ปัจจุบันผู้เรียนที่จบสายสามัญมีอัตราการว่างงานที่สูง ในขณะที่ตลาดแรงงานเองก็ไม่สามารถหาแรงงานมาทำ�งานใน บริษัทได้เช่นกัน เกิดปัญหาที่เรียกว่า Labor Mismatch ขึ้น รัฐบาลเล็งเห็นปัญหานี้และมีความพยายามในการผลักดัน ให้นักเรียนไปเข้าเรียนในสายอาชีวศึกษามากขึ้น อย่างไรก็ตามนักเรียนจำ�นวนมากก็ยังคงเลือกที่จะเรียนในสายสามัญ เหมือนเดิมเนื่องจากระบบอาชีวศึกษาในประเทศยังมีปัญหาจำ�นวนมาก เช่น ภาพลักษณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับนักเรียน อาชีวศึกษา จำ�นวนครูและเครื่องจักรที่ไม่เพียงพอต่อนักเรียน ระบบการเรียนการสอนและหลักสูตรไม่มีประสิทธิภาพและ II
ไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน และเงินกู้ยืมกยศ.สายอาชีวศึกษามีสัดส่วนที่น้อยกว่าในสายสามัญ เป็นต้น การแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดจะช่วยดึงดูดนักเรียนให้หันมาเรียนสายอาชีวศึกษาได้มากขึ้นสถาบันฯได้เสนอ ข้อเสนอเชิงนโยบายว่ารัฐบาลควรดำ�เนินการดังต่อไปนี้ 1. ออกนโยบายสนับสนุนเรียนฟรีในระดับปวช. และปวส.ทั้งใน อาชีวศึกษาภาครัฐ-เอกชน เฉพาะสายช่าง และสายวิชาชีพ เนื่องจากเป็นสายที่ตลาดแรงงานต้องการมากที่สุดและ กำ�ลังขาดแคลนมากที่สุด 2. กยศ.ควรขยายวงเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาทั้งในส่วนของค่าครองชีพและค่าเล่าเรียนให้เทียบ กับสายสามัญ 3. จัดหาบุคลากรครูที่มีคุณภาพ และลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้เพียงพอและทันสมัย เพื่อให้ สอดคล้องกับหลักสูตรในปัจจุบัน 4. ปรับหลักสูตรอาชีวศึกษาจากเดิมที่มีการเรียนภาคทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ ให้มี สัดส่วนเวลาที่เท่ากัน กล่าวคือมีการเรียนภาคทฤษฎี 3 เดือนสลับกับการฝึกงาน 3 เดือนตลอดทั้งปี 5. เพื่อให้ นักเรียนนักศึกษาที่สถานศึกษาผลิตออกมาตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานจริง รัฐบาลควรเปิดโอกาสให้ภาค อุตสาหกรรม สมาคมผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตร 6. จัดตั้ง Internship Center เพื่อเป็นตลาดกลางในการกระจายนักศึกษาฝึกงานไปยังสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการที่อัตรา ค่าแรงขั้นต่ำ�ที่กฎหมายกำ�หนด และ 7. เสนอข้อจูงใจหรือออกกฏข้อบังคับให้กับผู้ประกอบการเพื่อให้รับนักเรียนฝึกงาน โดยผู้ประกอบการที่ดำ�เนินการรับนักเรียนฝึกงานจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าจ้างนักเรียนฝึกงาน รวมไปถึงสิทธิประโยชน์ทาง ภาษีและการกู้ยืมเงิน
การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย รั ฐ บาลไทยได้ เ ล็ ง เห็ น ถึ ง ความสำ � คั ญ และจำ � เป็ น ในการให้ ค วามรู้ แ ละยกระดั บ ฝี มื อ ให้ แ ก่ แ รงงานไทย เสมอมาเพื่อช่วยให้แรงงานไทยมีมาตรฐานฝีมือแรงงานเดียวกันทั่วประเทศ สามารถเปลี่ยนถ่ายและโยกย้ายไปยังภาค อุตสาหกรรมและภาคบริการได้อย่างราบรื่น รัฐบาลจึงมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นผู้รับ ผิดชอบหลักในจัดทำ�มาตรฐานฝีมือแรงงาน การส่งเสริมและจัดหลักสูตรอบรมและยกระดับฝีมือแรงงานไทย ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และให้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นผู้รับผิดชอบหลักในด้านจัดทำ�มาตรฐานอาชีพให้ครอบคลุม ทุกสาขาอาชีพ จัดทำ�วิธีการตรวจประเมิน จัดตั้งองค์กรรับรอง และ ทำ�การทดสอบสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ หากประเทศไทยต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำ�งาน รัฐบาลจำ�เป็นต้อง มีการเปลี่ยนรูปแบบ/โครงสร้างการฝึกทักษะฝีมือแรงงานให้มีมาตรฐานที่ทุกคนในประเทศยอมรับ สนับสนุนให้มีผู้เข้า รับการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นมากกว่าในปัจจุบัน โดยรัฐบาลควรช่วยสนับสนุนค่าฝึกอบรมผ่านการให้คูปอง มูลค่า 3,500 บาท จำ�นวน 1 ล้านใบต่อปี นอกจากนี้รัฐควรสนับสนุนให้เอกชนเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรออนไลน์ (Online Course) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในหลักสูตรพัฒนาฝีมือแรงงานด้านต่าง ๆ โดยรัฐสนับสนุนงบประมาณบางส่วน และให้กรมพัฒนา ฝีมือแรงงานเปลี่ยนบทบาทจากผู้จัดอบรมเองเป็นส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้จัดหลักสูตร และเป็นตัวกลางดูแลมาตรฐาน หลักสูตรและอำ�นวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการหาหลักสูตรฝึกอบรม
การพัฒนาทักษะในภาคบริการ การพัฒนาฝีมือแรงงานในประเทศไทยด้วยการพัฒนาทักษะในภาคบริการนั้นนับเป็นการสนับสนุนภาคบริการ ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงและมีสาขาวิชาชีพที่หลากหลาย ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้น การพัฒนาทักษะแรงงานในภาคบริการ III
ควรส่งเสริมให้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพแบบที่มีสภาวิชาชีพรับรองหลักสูตรมีความสามารถในการเพิ่มจำ�นวนผู้ เรียนและผลิตบุคลากรต่อปีมากขึ้น สำ�หรับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพแบบที่ไม่มีสภาวิชาชีพรับรองหลักสูตร ควร จัดตั้งองค์กรกลางของแต่ละสาขาอาชีพในการทำ�หน้าที่ตรวจสอบ จัดทำ�มาตรฐาน และประกันคุณภาพหลักสูตรของ สถาบันการศึกษา มีการตรวจสอบและประเมินมาตรฐานคุณภาพหลักสูตรของสถาบันการศึกษาร่วมกับสถาบันคุณวุฒิ วิชาชีพ (องค์การมหาชน) นอกจากนี้ควรสนับสนุนให้มีการเปิดหลักสูตรวิชาชีพที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ในภาคบริการให้มากขึ้น โดยจัดเป็นหลักสูตรระดับ ปวช. หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ
IV
สารบัญ
คำ�นำ� บทสรุปสำ�หรับผู้บริหาร สารบัญตาราง แผนภูมิ และรูปภาพ บทนำ� บทที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ปัจจัยสนับสนุนที่ทำ�ให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างรวดเร็วก่อนปี พ.ศ. 2540 และปัญหาเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ผลผลิตมวลรวมในประเทศและสัดส่วนแรงงาน อันดับความสามารถโดยรวมของประเทศ กับดักประเทศรายได้ปานกลาง ความท้าทายทางเศรษฐกิจในอนาคต แนวทางหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง บทที่ 2 แนวทางการแก้ไขและพัฒนาระบบอาชีวศึกษาในประเทศไทย ภาพรวมและสถานการณ์ระบบอาชีวศึกษาในประเทศไทย ประเด็นปัญหาที่มีส่วนทำ�ให้อาชีวศึกษาในประเทศไทยยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ อาชีวศึกษาและการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ ธุรกิจ SME ในบริบทประเทศไทย กรณีศึกษาในต่างประเทศ ข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการปรับใช้ในประเทศไทย บทที่ 3 การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (Skill Development Fund) รายได้ขั้นต่ำ�ของแรงงานไทยและอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ใบอนุญาต สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ บทที่ 4 การพัฒนาทักษะภาคบริการ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพแบบที่มีสภาวิชาชีพรับรองหลักสูตร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพแบบที่ไม่มีสภาวิชาชีพรับรองหลักสูตร หลักสูตรภาคบริการที่ประเทศไทยควรเปิดเพิ่มในอนาคต (กรณีศึกษา ประเทศสิงคโปร์) Appendix
หน้า I II VI VIII 1 1 2 4 6 10 10 12 12 14 18 19 20 23 26 26 33 37 38 38 40 40 42 43 45 V
ตารางที่ 1 ตารางที่ 2 ตารางที่ 3 ตารางที่ 4 ตารางที่ 5 ตารางที่ 6 ตารางที่ 7 ตารางที่ 8 ตารางที่ 9 ตารางที่ 10 ตารางที่ 11 ตารางที่ 12
ตารางที่ 13 ตารางที่ 14 ตารางที่ 15 ตารางที่ 16 ตารางที่ 17 ตารางที่ 18 แผนภาพที่ 1 แผนภาพที่ 2 แผนภาพที่ 3 แผนภาพที่ 4 แผนภาพที่ 5 VI
สารบัญตาราง แผนภูมิ และรูปภาพ อันดับ FDI Inflow ของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อันดับของปัจจัยย่อยด้านความรู้ รายละเอียดของปัจจัยย่อยด้านความรู้ สัดส่วนรายได้ของประชากรในประเทศ ความง่ายในการหาแรงงานที่มีทักษะ เปรียบเทียบสัดส่วนการเรียนภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ จำ�นวนครูต่อนักเรียนและประเภทการว่าจ้างครูในระบบอาชีวศึกษา จำ�นวนเครื่องจักรต่อนักเรียนและระยะเวลาซ่อมบำ�รุงเครื่องจักรในระบบอาชีวศึกษาของ ประเทศต่าง ๆ วงเงินให้กู้ยืมสูงสุดของกยศ.จำ�แนกตามระดับการศึกษา อัตราค่าเล่าเรียนระดับปวช. และอัตราเงินอุดหนุนจากภาครัฐ งบการลงทุนแบบรายหัวของนักเรียนอาชีวศึกษาระดับปวส. เปรียบเทียบกับค่าธรรมเนียม การศึกษาของอาชีวศึกษาเอกชน (สายช่าง) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรี งบการลงทุนแบบรายหัวของนักเรียนอาชีวศึกษาระดับปวส.เปรียบเทียบกับค่าธรรมเนียม การศึกษาของอาชีวศึกษาเอกชน (สายพาณิชย์) และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีใน ระดับปริญญาตรี เปรียบเทียบระบบอาชีวศึกษาในประเทศเยอรมนีและประเทศไทย เปรียบเทียบระบบอาชีวศึกษาในประเทศเยอรมนีและประเทศสิงคโปร์ ข้อเสนอวงเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในระดับ ปวส. จํานวนแรงงานท่ี่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานและได้งานทํา (จําาแนกตามกิจกรรมการฝึก หลัก) ปีงบประมาณ 2557-2560 ประมาณการรายได้รวมต่อเดือนของอาชีพผู้ช่วยพยาบาล อัตราส่วนผู้ดูแลเด็กต่อเด็กในแต่ละช่วงวัย สัดส่วน GDP และแรงงานในแต่ละภาคส่วนในประเทศไทย พ.ศ. 2559 สัดส่วน GDP และแรงงานในแต่ละภาคส่วนในประเทศรายได้สูง (ประเทศ สหราชณาจักร เยอรมนี และเกาหลีใต้) ปี พ.ศ.2559 อันดับความสามารถโดยรวมของประเทศไทย ระดับการศึกษาของคนในประเทศ พ.ศ. 2559 จำ�นวนนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชน ปีการศึกษา 2555 - 2560
หน้า 1 5 6 7 9 14 14 15 16 17 17 17 21 23 24 31 42 42 3 3 5 9 12
แผนภาพที่ 6 แผนภาพที่ 7 แผนภาพที่ 8 แผนภาพที่ 9
สัดส่วนนัดเรียนสายสามัญต่อสายอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2550 - 2559 งบประมาณรายหัวต่อนักเรียนสายอาชีวศึกษาและสายสามัญในปีการศึกษา 2556 จำ�นวนผู้เรียนในหลักสูตรอาชีวศึกษาทวิภาคี จำ�นวนผู้จบการศึกษาระดับปวช.และปวส. จำ�นวนผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน และจำ�นวน แรงงานที่ตลาดแรงงานต้องการในปี พ.ศ. 2557-2560 การอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานปีงบประมาณ 2557-2559 จำ�นวนคนที่ต้องได้รับการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานปีงบประมาณ 2555-2560 จำ�นวนงบประมาณรายจ่ายรวมปีงบประมาณ 2555-2560 จำ�นวนแรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานและได้งานทำ� (จำ�แนกตามกิจกรรมการฝึก หลัก) ปีงบประมาณ 2557-2560
13 13 18
รูปภาพที่ 1 รูปภาพที่ 2 รูปภาพที่ 3 รูปภาพที่ 4 รูปภาพที่ 5 รูปภาพที่ 6 รูปภาพที่ 7
รายได้ประชาชาติต่อหัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2559 Upgrading Skills, Upgrading Thailand โครงสร้างอาชีวศึกษาของประเทศเยอรมนี Overview of Singapore Education System รายชื่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั้ง 5 แห่งของประเทศสิงคโปร์ ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการเรียนฟรี (สายช่าง) ปวช.-ปวส. กระบวนการรับเข้านักศึกษาและระบบอาชีวศึกษาทวิภาคี
7 11 20 22 22 24 25
รูปภาพที่ 8
ข้อเสนอการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
39
Appendix A Appendix B Appendix C Appendix D
ค่าใช้จ่ายในการเปิดหลักสูตรอบรมของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน หลักสูตรพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับ Thailand 4.0 - การฝึกเทคโนโลยีชั้นสูง การอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานไทย ปีงบประมาณ 2557 – 2559
45 46 49 53
Appendix E
ตารางอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ�ใหม่ ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ� (ฉบับที่ 8) อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ จำ�แนกตามสาขาอาชีพ
แผนภาพที่ 10 แผนภาพที่ 11 แผนภาพที่ 12 แผนภาพที่ 13
Appendix F
19 28 30 30 19
54 55
VII
บทนำ� การผลักดันให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) หรือการยกระดับ ประเทศไทยจากการเป็น “ประเทศรายได้ปานกลางตอนบน” ไปเป็น “ประเทศรายได้สูง” นั้น นับเป็นความท้าทายอย่าง ยิ่ง เนื่องจากรูปแบบการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอดีต ไม่สามารถใช้ในภาวะปัจจุบันและอนาคตได้ จากการเปลี่ยนแปลง ของโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ติดอยู่ในกับดักประเทศรายได้ ปานกลางมายาวนานถึง 20 ปีแล้ว รัฐบาลไทยในสมัย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความประสงค์จะนำ�ประเทศไทย หลุดออกจากกับดักรายได้ปานกลางไปเป็นประเทศรายได้สูงในปี พ.ศ. 2569 อย่างไรก็ตามจากการคำ�นวณของสถาบัน ออกแบบอนาคตประเทศไทย (Future Innovative Thailand Institute: FIT) พบว่าประเทศไทยต้องใช้เวลาอย่างน้อย ไม่ต่ำ�กว่า 15 ปี ในการก้าวสู่การเป็นประเทศรายได้สูง สำ�หรับอัตราการเจริญเติบโตของประเทศรายได้ปานกลางในช่วงแรกมักมาจากจำ�นวนแรงงานมหาศาล แต่หากประเทศไทยต้องการจะหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลางไปเป็นประเทศรายได้สูง ทางสถาบันฯ มีความเห็น ว่าประเทศไทยจำ�เป็นต้องเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมมายังภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ซึ่งการ จะทำ�เช่นนั้นได้ จำ�เป็นต้องมีการยกระดับฝีมือแรงงานไทย ด้วยการฝึกอบรมแรงงานให้มีทักษะที่สูงขึ้นตอบโจทย์ตลาด แรงงานยุคใหม่ ทั้งแรงงานใหม่ แรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงาน ผู้ว่างงาน ผู้ต้องการเปลี่ยนอาชีพ หรือประกอบอาชีพอิสระ รวมไปถึงการกำ�หนดมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการทดสอบทักษะ เมื่อแรงงานไทยมีทักษะที่สูงขึ้นก็จะสามารถสร้าง ผลิตผลที่มีมูลค่าเพิ่มสูง รวมถึงได้รับค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น เมื่อรายได้เฉลี่ยของคนในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยก็ จะสามารถก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้ในที่สุด ทางสถาบันฯ ได้มีข้อเสนอเชิงนโยบายสำ�หรับการยกระดับฝีมือแรงงานไทยในเรื่องการแก้ไขและพัฒนาระบบ อาชีวศึกษาในประเทศไทย การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และการพัฒนาทักษะในภาคบริการ โดยจะเริ่มจากการ วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจและประเด็นปัญหาที่สำ�คัญของประเทศ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเชิงลึก ก่อนที่จะนำ�เสนอถึง วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยข้อเสนอเชิงนโยบายที่มีวัตถุประสงค์ในการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ที่นับเป็นวิกฤตเศรษฐกิจไทยด้วยวิธีการพัฒนาฝีมือแรงงาน
VIII
บทที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจไทย 1.1 ปัจจัยสนับสนุนที่ทำ�ให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างรวดเร็วก่อนปี พ.ศ. 2540 และปัญหาเศรษฐกิจไทยใน ปัจจุบัน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยพิจารณาจากอัตราการขยายตัวของ GDP ในช่วงปี พ.ศ. 2515- 2559 พบว่า ก่อนวิกฤตปี พ.ศ. 2540 มีอัตราการเติบโตอยู่ราวร้อยละ 7.61 ในขณะที่หลังจากเกิดวิกฤต ประเทศไทยมีอัตราการเติบโต เฉลี่ยเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น และไม่มีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอีก ทางสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย (FIT) มีความเห็นว่าปัจจัยหลักที่สนับสนุนที่ทำ�ให้เศรษฐกิจไทยเติบโต อย่างรวดเร็วก่อนปี พ.ศ. 2540 นั้นมีด้วยกัน 4 ประการหลัก กล่าวคือ 1. รายได้จากการส่งออก - ประเทศไทยมีราย ได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมมายาวนาน โดยพบว่าอัตราการเติบโตด้านการส่งออกนั้นอยู่ประมาณร้อยละ 12.33 ต่อปี ในขณะที่หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินปีพ.ศ. 2540 นั้นอัตราการเติบโตด้านการส่งออกของประเทศลดลงอย่าง มีนัยสำ�คัญ คือ ร้อยละ 6.17 ต่อปีเท่านั้น 2. แรงงานไร้ฝีมือราคาถูก - แรงงานไทยในช่วงก่อนปี พ.ศ.2540 นั้นมีเป็น แรงงานไร้ฝีมือที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง ทำ�ให้มีชาวต่างชาติต้องการมาลงทุน โดยตรงในประเทศไทยสูง โดยพบว่าอันดับของ FDI Inflow ของประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกนั้นเพิ่มสูงขึ้นจากอันดับที่ 8 ในปี พ.ศ.2539 มาเป็นอันดับที่ 5 ในปี พ.ศ.2549 และปัจจุบันตกลงไปยังอันดับที่ 12 ในปี พ.ศ.2558 (ตารางที่ 1) 3. ข้อตกลง Plaza Accord - มีการกำ�เนิดข้อตกลง Plaza Accord ในปี พ.ศ.2529 ส่งผล ทำ�ให้บริษัทในประเทศญี่ปุ่นจำ�นวนมากย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย และ 4. นโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม - ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตนั้นประเทศไทยมีการดำ�เนินนโยบายมหภาคได้อย่างมีความเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบท ของประเทศไทยในช่วงเวลานั้น ตารางที่ 1 อันดับ FDI Inflow ของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Region Name 1996 China 1 Singapore 2 Hong Kong, China 3 Malaysia 4 Indonesia 5 Korea, Republic of 6 Vietnam 7 Thailand 8 Taiwan Province of China 9 Philippines 10
2006 1 3 2 7 8 4 10 5 6 9
2016 1 3 2 6 9 5 4 12 7 8 1
Brunei Darussalam Myanmar Cambodia Lao People’s Democratic Republic ที่มา ธนาคารโลก
11 12 13 14
13 11 12 14
14 10 11 13
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานหลังจากเกิด วิกฤตในปี พ.ศ. 2540 และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะสามารถกลับไปเติบโตในอัตราเดิมได้อีกเลย ดังนั้นหากพิจารณาปัญหา ของประเทศอย่างถ่องแท้จะพบว่าปัญหาของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันนั้นเกิดมาจาก 1. แรงงานไร้ฝีมือในประเทศไทยมี ราคาค่าแรงที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศตลาดเกิดใหม่ 2. แรงงานที่มีทักษะปานกลางถึงสูงยังมีจำ�นวนน้อยมาก โดย แรงงานประเภทนี้จะเป็นแรงงานที่สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการได้เป็นอย่างดี 3. ประเทศไทยขาดการส่ง เสริมด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงไม่มีการปรึกษาหารือกับทุกภาคส่วนในประเทศ และกำ�หนดทิศทาง การวิจัยและพัฒนาไปยังแนวทางเดียวกันอีกด้วย ดังนั้นในปัจจุบันการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทยจะเป็นลักษณะของ ต่างคนต่างทำ� ไม่มีการเชื่อมโยงและบูรณาการกันของสหวิชาชีพอย่างแท้จริง และ 4. นโยบายของรัฐที่นำ�มาดำ�เนิน การในช่วงหลังมักเป็นนโยบายที่ใช้เงินงบประมาณสูงและไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่แท้จริงของประชาชนในระยะยาว รวมถึงมี โครงการรัฐจำ�นวนมากเป็นนโยบายประชานิยม ไม่ก่อให้เกิดการสร้างศักยภาพของเศรษฐกิจในระยะยาว
1.2 ผลผลิตมวลรวมในประเทศและสัดส่วนแรงงาน ผลผลิตมวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ของเศรษฐกิจไทยนั้นมาจาก 3 ภาคส่วนหลัก คือ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ โดยในปี พ.ศ.2559 ประเทศไทยมี GDP อยู่ที่ 395.3 พันล้าน ดอลล่าห์สหรัฐ1 หรือราว 13.4 ล้านล้านบาท ประชาชนในประเทศมีรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 6,264.34 ดอลล่าห์สหรัฐ หรือราว 212,862.30 บาท2 และกำ�ลังแรงงานรวมอยู่ที่ 38.68 ล้านคน3 สัดส่วนแรงงานไทยในภาคเกษตรกรรมอยู่ที่ร้อยละ 32.2 ภาคอุตสากรรมอยู่ที่ร้อยละ 16.7 และภาคบริการอยู่ที่ ร้อยละ 51.1 แต่หากมองในมุมของสัดส่วน GDP ที่ได้รับในแต่ละภาคส่วนจะพบว่าสัดส่วน GDP ที่มาจากภาคเกษตรกรรม อยู่ที่ร้อยละ 8.9 ภาคอุตสากรรมอยู่ที่ร้อยละ 35.9 และภาคบริการอยู่ที่ร้อยละ 55.3 (แผนภาพที่ 1) ดังนั้นอาจกล่าวอีกนัย หนึ่งได้ว่า GDP ที่เกิดขึ้นจากแรงงานหนึ่งหน่วยในภาคเกษตรกรรมนั้นน้อยที่สุดคือมีเพียง 95,976.34 บาทต่อแรงงานหนึ่ง หน่วยเท่านั้น ในขณะที่ GDP เกิดขึ้นจากต่อแรงงานหนึ่งหน่วยในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการนั้นมากถึง 746,462.54 บาทต่อแรงงานหนึ่งหน่วย และ 375,780.53 บาทต่อแรงงานหนึ่งหน่วย ตามลำ�ดับ หากเปรียบเทียบกับประเทศรายได้สูง เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี และเกาหลีใต้ เป็นต้น จะพบว่าประเทศ 1 World Bank http://www.worldbank.org/en/country/thailand 2 สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติhttp://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=5851&filename=index 3 Labor force survey สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ http://web.nso.go.th/en/survey/lfs/data_lfs/2016_lf_Q3_Whole.pdf 2
รายได้สูงเหล่านี้จะมีสัดส่วน GDP และแรงงานในภาคบริการมากที่สุด รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรม และน้อยที่สุดคือ ภาคเกษตรกรรม (แผนภาพที่ 2) ดังนั้นหากประเทศไทยต้องการมุ่งเข้าสู่ประเทศรายได้สูงนั้น ประเทศไทยมีความจำ�เป็นต้องปรับเปลี่ยน โครงสร้างเศรษฐกิจให้มีการโยกย้ายคนจากภาคเกษตรที่สามารถสร้าง GDP ได้น้อยไปยังภาคอุตสาหกรรมและบริการที่ สามารถสร้าง GDP ให้แก่ประเทศมากกว่า แผนภาพที่ 1 สัดส่วน GDP และแรงงานในแต่ละภาคส่วนในประเทศไทยปี พ.ศ.2559
ที่มา Central Intelligence Agency (US)4 แผนภาพที่ 2 สัดส่วน GDP และแรงงานในแต่ละภาคส่วนในประเทศรายได้สูง (ประเทศสหราชณาจักร เยอรมนี และ เกาหลีใต้) ปี พ.ศ.2559
4 https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/fields/2048.html
3
ที่มา Central Intelligence Agency (US)
1.3 อันดับความสามารถโดยรวมของประเทศ รายงาน IMD World Competitiveness Yearbook 20175 ได้จัดอันดับความสามารถโดยรวมของประเทศไทย ปี พ.ศ.2560 อยู่ในอันดับที่ 41 จากทั้งหมด 63 ประเทศทั่วโลก ตกลงจากปี พ.ศ.2559 2 อันดับ โดยพบว่าปัจจัยด้าน ความรู้ (Knowledge) ของประเทศนั้นตกลงจากปี พ.ศ.2559 จากอันดับที่ 42 มาอยู่อันดับที่ 44 ปัจจัยด้านเทคโนโลยีอยู่ ในอันดับเท่ากับปี พ.ศ.2559 คือ อันดับที่ 30 ส่วนปัจจัยด้านความพร้อมในอนาคต (Future Readiness) ปรับตัวสูงขึ้นมา 3 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 45 (แผนภาพที่ 3)
5 IMD World Competitiveness Yearbook 2017 http://www.imd.org/globalassets/wcc/docs/release-2017/world_digital_competitiveness_yearbook_2017.pdf 4
แผนภาพที่ 3 อันดับความสามารถโดยรวมของประเทศไทย
ที่มา IMD World Competitiveness Yearbook 2017 สิ่งที่น่ากังวลที่สุดจากรายงานฉบับนี้คือเรื่องความรู้ (Knowledge) ของคนไทย โดยปัจจัยด้านความรู้นั้นได้ถูก แบ่งเป็นปัจจัยย่อย 3 ปัจจัยคือ 1. พรสวรรค์ (Talent) 2. การฝึกฝนและการศึกษา (Training and Education) และ 3. ความเข้มข้นด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Concentration) ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 42 47 และ 43 ตามลำ�ดับจาก ทั้งหมด 63 ประเทศ ถือว่าอยู่แดนที่ต่ำ�กว่าครึ่งหนึ่งของโลก ปัญหาที่รุนแรงและต้องได้รับการปรับปรุงด่วนที่สุดคือด้าน ทักษะความรู้ทางด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี (Digital/Technological skills) นอกจากนี้ยังพบว่าการลงทุนในการวิจัยและ พัฒนาอยู่ในระดับที่ต่ำ� และการลงทุนด้านการศึกษาของภาครัฐ ก็อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง ตารางที่ 2 อันดับของปัจจัยย่อยด้านความรู้ Subfactors 2013 Talent 38 Training and Education 56 Scientific Concentration 49 ที่มา IMD World Competitiveness Yearbook 2017
2014 40 52 47
2015 42 54 44
2016 42 44 41
2017 42 47 43 5
ตารางที่ 3 รายละเอียดของปัจจัยย่อยด้านความรู้ Talent Rank Training and Education Educational Assessment 48 Employee training PISA -Math International experience 22 Total public expenditure on education Foreign highly - skilled 24 Higher education personnel achievement Management of cities 38 Pupil-teacher ratio (Tertiary education) Digital/Technological skills 50 Graduate in Sciences Net flow of international 38 Women with degrees students ที่มา IMD World Competitiveness Yearbook 2017
Rank Scientific Concentration Rank 18 Total expenditure on R&D 47 (%) 43 Total R&D personnel 37 per capita 37 Female researchers 2 47 R&D productivity by publication 13 Scientific and technical employment 44 High - tech patent grants
21 47 31
1.4 กับดักประเทศรายได้ปานกลาง จากนิยามของธนาคารโลกได้กล่าวว่าประเทศที่มีรายได้ปานกลางตอนล่างคือประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อ หัว (Gross National Income per Capita) อยู่ที่ US$1,026 ถึง $4,035 ในขณะที่ประเทศรายได้ปานกลางตอนบนคือ ประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ US$4,036 ถึง $12,475 และประเทศรายได้สูงคือประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อ หัวตั้งแต่ US$12,476 ขึ้นไป หากมาพิจารณาในประเทศไทยจะพบว่ารายได้ประชาชาติต่อหัวของคนไทยอยู่ที่ US$220 ในปี พ.ศ.2515 และ ประเทศไทยเข้าสู่ประเทศรายได้ปานกลางตอนล่างในปี พ.ศ.2532 และสามารถมุ่งเข้าสู่ประเทศรายได้ปานกลางตอน บนได้ในปี พ.ศ.2554 โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ US$5,739 (รูปภาพที่ 1) อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่อาจก้าวพ้นจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลางไปได้ และเราติดอยู่ในขั้นนี้มาประมาณ 27 ปีแล้ว ซึ่ง เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า กับดักประเทศรายได้ปานกลาง นอกจากนี้หากมาพิจารณาในรายละเอียดด้านรายได้ของประชากรในประเทศจากข้อมูลการสำ� รวจภาวะการ ทำ�งานของประชากร โดยสำ�นักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2559 พบว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำ�กว่า 10,000 บาท มีจำ�นวน 36 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 54.32 ของคนทั้งประเทศและผู้ที่มีรายได้ต่ำ�กว่า 15,000 บาท จำ�นวน 51 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 76.27 ของคนทั้งประเทศ (ตารางที่ 4)
6
รูปภาพที่ 1 รายได้ประชาชาติต่อหัวตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ถึง ปี พ.ศ.2559
ที่มา ธนาคารโลก ตารางที่ 4 สัดส่วนรายได้ของประชากรในประเทศ ระดับของรายได้ ร้อยละ ยอดรวม 100.0 ต่ำ�กว่า 1,501 บาท 0.41 1,501 - 2,500 บาท 1.23 2,501 - 3,500 บาท 2.09 3,501 - 4,500 บาท 2.50 4,501 - 5,500 บาท 3.44 5,501 - 6,500 บาท 5.18 6,501 - 7,500 บาท 6.26 7,501 - 10,000 บาท 33.22 10,001 - 15,000 บาท 21.94 15,001 - 20,000 บาท 8.69 20,001 - 30,000 บาท 7.81 มากกว่า 30,000 บาท 6.50 ไม่ทราบ 0.73 ที่มา การสำ�รวจภาวการณ์ทำ�งานของประชากร สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2559 กับดักประเทศรายได้ปานกลางคือสถานการณ์ที่การเจริญเติบโตของประเทศตกต่ำ�ลงหรือมีการเติบโตอย่าง เชื่องช้าหลังจากประเทศได้เข้าสู่การเป็นประเทศรายได้ปานกลางแล้ว การเปลี่ยนจากประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ 7
ประเทศรายได้สูงนั้นดูจะเป็นไปได้ยาก จากบทความเรื่อง Escaping the Middle Income Trap6 ระบุว่าข้อมูลของ World Bank แสดงให้เห็นว่ามีเพียง 13 จาก 101 ประเทศรายได้ปานกลางในปี พ.ศ.2503 ที่สามารถผันตัวไปเป็นประเทศ รายได้สูงได้ในปี พ.ศ.2551 ช่วงแรกของการเติบโตของหลายประเทศจะมาจากการที่เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นอย่างมีนัยสำ�คัญ ส่งผลให้ อัตราการเกิดของประชากรในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงแรกนั้นเป็นผล มาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศ จากข้อมูลในอดีตชี้ว่าอัตราการเติบโตของ GDP มักจะมีการชะลอตัวลงอย่าง มากในช่วงรายได้ของประเทศอยู่ราว US$10,000 ถึง US$15,000 รัฐบาลไทยในสมัยของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีวิสัยทัศน์ที่จะนำ�ประเทศไทยออกจากกับดักประเทศ รายได้ปานกลางเมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 13 กล่าวคือในปี พ.ศ.2569 อย่างไรก็ตามทางสถาบัน ออกแบบอนาคตประเทศไทยได้ทำ�การคำ�นวณเบื้องต้นว่าหากประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของ GDP อยู่ที่ร้อยละ 5 ต่อปี ประเทศไทยจำ�เป็นต้องใช้ระยะเวลาอีก 15 ปี หรือคือปี พ.ศ.2575 ในการก้าวเข้าสู่ประเทศรายได้สูง นอกจากนี้ สมมติฐานว่าด้วยอัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ 5 ต่อปีก็ไม่ได้สอดคล้องกับความเป็นจริงนัก เนื่องจากหากดูสถิติย้อน หลังจะพบว่าประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของ GDP อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 ต่อปีเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าประเทศไทย หากอัตราการเติบโตของ GDP ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 3 ต่อปีหรือน้อยกว่านี้ ประเทศไทยจำ�เป็นต้องใช้เวลายาวนานกว่า 15 ปี ในการก้าวเข้าสู่ประเทศรายได้สูง หนึ่งในสาเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้การเติบโตของประเทศลดลงอย่างมีนัยสำ�คัญ คือ การที่แรงงานของประเทศไม่ สามารถปรับตัวจากแรงงานที่ไม่มีทักษะ (Unskilled Labor) ไปเป็นแรงงานที่มีทักษะ (Skilled Labor) ได้ แรงงานต้อง เผชิญความท้าทายอย่างมากในการปรับตัวเพื่อโยกย้ายจากภาคเกษตรกรรมที่ไม่จำ�เป็นต้องใช้เทคโนโลยี หรือใช้เพียง เทคโนโลยีอย่างง่ายเท่านั้นไปยังภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่มีการใช้เทคโนโลยีขั้นกลางไปจนถึงขั้นสูง ส่งผลให้ อัตราการผลิตและประสิทธิภาพในการผลิตลดลง และทำ�ให้การเจริญเติบโตของประเทศปรับตัวลดลง อีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของประเทศรายได้ปานกลางในช่วงแรกนั้นมาจากจำ�นวน แรงงานมหาศาล แต่หากประเทศไทยต้องการจะหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลางไปเป็นประเทศรายได้สูงนั้นจำ�เป็น ที่จะต้องพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในประเทศ รวมไปถึงการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่อีกด้วย บทความเรื่อง Thailand in a Middle-income Trap ของดร.สมชัย จิตสุชน7 ระบุว่าสาเหตุที่ประเทศไทย ติดกับดักประเทศรายได้ปานกลางนั้นไม่ได้มีปัจจัยเด่นชัดว่ามาจากปัจจัยใดเป็นหลัก แต่เป็นสาเหตุมาจากปัจจัยหลาย ประการมาประกอบกัน ซึ่งสาเหตุหลักมีดังต่อไปนี้ 1. การขาดแคลนแรงงาน: ประเทศไทยเผชิญกับภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานทั้งแรงงานที่ไม่มีทักษะและ แรงงานที่มีทักษะหลายปีต่อเนื่องกัน ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างมีนัยสำ�คัญของประชากรไทย ส่งผลให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติเป็นจำ�นวนมาก ซึ่งการทดแทนแรงงานไทยด้วยแรงงานต่างชาติ ทีม่ รี าคาถูกนัน้ เป็นวิธกี ารทีไ่ ม่ยงั่ ยืน อันจะเห็นได้จากการทีใ่ นปัจจุบนั แรงงานต่างชาติ เช่น แรงงานเมียนมาร์ และ แรงงานลาว ได้ย้ายกลับไปประเทศของตนเนื่องจากค่าแรงในประเทศเหล่านั้นมีการปรับตัวสูงขึ้นใกล้เคียงกับ ค่าแรงในประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยก็ยังคงเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงาน นอกจากนี้ Human 6 Escaping the Middle Income Trap, Global Economic Symposium, Symposium 2014 7 Thailand in a Middle-income Trap, Somchai Jitsuchon, TDRI Quarterly Review, June 2012. 8
Capital Index 2015, World Economic Forum ได้จัดทำ�ตัวชี้วัดความง่ายในการหาแรงงานที่มีทักษะ (Ease of finding skilled employees) โดยหากแรงงานที่มีทักษะหาได้ยากมากที่สุดจะได้คะแนนเท่ากับ 1 และหาก แรงงานที่มีทักษะหาได้ง่ายมากที่สุดจะได้คะแนนเท่ากับ 7 สำ�หรับประเทศไทยนั้นได้คะแนนเพียง 3.8 เท่านั้น ซึ่ง แสดงให้เห็นชัดเจนว่าประเทศไทยนั้นยังขาดแรงงานที่มีทักษะอยู่มาก (ตารางที่ 5)
ตารางที่ 5 ความง่ายในการหาแรงงานที่มีทักษะ
2. การศึกษา: การศึกษาไทยไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานทั้งในประเทศไทยและตลาดสากล ทักษะในด้านต่าง ๆ ไม่ได้ถูกรับการฝึกฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูง ทำ�ให้ประเทศไทยยังคาบเกี่ยว อยู่ในช่วงการเปลี่ยนถ่ายระหว่างเศรษฐกิจแบบ Labor-intensive ของประเทศรายได้ปานกลางกับเศรษฐกิจ แบบ Capital-intensive ของกลุ่มประเทศรายได้สูง หากพิจารณาระดับการศึกษาของคนในประเทศจะพบ ว่าแรงงานที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำ�กว่า มีจำ�นวน 27 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 48.45 และแรงงานที่มี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำ�กว่ามีจำ�นวน 37 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 66.35 (แผนภาพที่ 4) จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำ�ไมแรงงานในประเทศยังไม่สามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้
แผนภาพที่ 4 ระดับการศึกษาของคนในประเทศ พ.ศ. 2559
ที่มา การสำ�รวจภาวการณ์ทำ�งานของประชากร สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2559
9
3. วิจัยและพัฒนา: ประเทศไทยมีการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอยู่ในระดับต่ำ� ประมาณร้อยละ 0.2 ของ GDP ในแต่ละปีเท่านั้น ส่งผลให้การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงนั้นเป็นไปได้ยาก นวัตกรรมใหม่ก็ไม่ สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากเงินลงทุนและเงินสนับสนุนที่ไม่เพียงพอ
1.5 ความท้าทายทางเศรษฐกิจในอนาคต ภาคอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมี Technology Disruption ส่งผลให้มีความต้องการ ทักษะใหม่ ๆ เกิดขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการต้องการแรงงานที่มี ทักษะสูงขึ้น ทำ�ให้แรงงานไร้ฝีมือและแรงงานกึ่งฝีมือมีโอกาสตกงาน ดังนั้นในอนาคตคนไทยจึงจำ�เป็นต้องเรียนรู้ทักษะ ใหม่ตลอดเวลา
1.6 แนวทางการหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง การเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมมายังภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเพื่อให้ประเทศไทย หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง จำ�เป็นต้องให้แรงงานไทยเรียนรู้และยกระดับฝีมือของตนเอง ซึ่งการดำ�เนิน การนี้ต้องได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แนวทางการหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลางสามารถทำ�ได้โดย
1. สนับสนุนการศึกษา การศึกษาเป็นพื้นฐานของการพัฒนาต่อยอดทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ดังนั้นการศึกษาที่มี คุณภาพจะส่งผลทำ�ให้ประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น และ GDP ของประเทศสูงขึ้นอีกด้วย ดังนั้นประเทศไทย ควรส่งเสริมให้มีการผลิตบุคคลากรสายวิศวกรรมและอาชีวศึกษาสายช่างให้มีปริมาณมากขึ้นและมีคุณภาพ สูงขึ้นผ่านการลงทุนในเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีจำ�นวนที่เพียงพอและเหมาะสมแก่การเรียนรู้และ ลงมือภาคปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลิตภาพหรือมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรม
2. พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานไทย การเปลี่ยนถ่ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมไปยังภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการได้อย่างราบรื่น รวมถึงการ ยกระดับฝีมือแรงงานในแต่ละภาคส่วนนั้น จำ�เป็นต้องใช้ทักษะที่หลายหลาย ดังนั้นภาครัฐจึงควรสนับสนุนความ หลากหลายทางอาชีพโดยเริ่มต้นจากการเปิดหลักสูตรอบรมที่หลากหลาย การมีแหล่งฝึกที่มีคุณภาพและเชื่อ ถือได้ หลักสูตรที่เปิดอบรมนั้นจะต้องมีความทันสมัย มีการเรียนรู้ทั้งในด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติอย่างเข้มข้น พร้อมนำ�ไปใช้งานได้จริง
3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การส่งเสริมและให้เงินอุดหนุนด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นรากฐานสำ�คัญที่จะก่อให้เกิดความคิด นวัตกรรม และ
10
เทคโนโลยีขั้นสูง ส่งผลให้สินค้าและบริการในประเทศมีมูลค่าสูงขึ้น และเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ ตอบรับความต้องการของยุคสมัยปัจจุบัน ทำ�ให้รายได้ของประชาชาติและ GDP ของประเทศเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ จะสามารถนำ�มาทดแทนแรงงานที่ขาดหายไป และแก้ปัญหา เรื่องการขาดแคลนแรงงานของประเทศในระยะยาวได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
รูปภาพที่ 2 Upgrading Skills, Upgrading Thailand
11
บทที่ 2 แนวทางการแก้ไขและพัฒนาระบบอาชีวศึกษาในประเทศไทย 2.1 ภาพรวมและสถานการณ์ระบบอาชีวศึกษาในประเทศไทย 2.1.1 จำ�นวนนักเรียนที่ศึกษาในระบบอาชีวศึกษา ความไม่สอดคล้องของคุณลักษณะแรงงานกับความต้องการแรงงานในสถานประกอบการเป็นปัญหาสำ�คัญของ สถานการณ์แรงงานไทย ทั้งในด้านทักษะและช่วงอายุของแรงงาน ปัจจุบันประเทศไทยมีจำ�นวนแรงงานที่จบการศึกษาใน ระดับอาชีวศึกษามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ ปัจจัยเรื่องภาพลักษณ์และเรื่องค่านิยมในการเรียน สายสามัญมากกว่าสายอาชีพ แต่อย่างไรก็ตามแรงงานกลุ่มนี้ยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากที่สุด จากแผนภาพที่ 5 จำ�นวนนักเรียนอาชีวศึกษาทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ปีการศึกษา 2555-2560 มีจำ�นวน นักเรียนทั้งหมดประมาณ 1 ล้านคน โดยจำ�นวนนักเรียนอาชีวศึกษาที่อยู่ในสถานศึกษาภาคเอกชนมีประมาณ 3 แสนคน จำ�นวนนักเรียนอาชีวศึกษาที่อยู่ในสถานศึกษาภาครัฐมีประมาณ 6 แสนคน ซึ่งจำ�นวนของนักเรียนมีความไม่สอดคล้อง กับจำ�นวนสถานศึกษา กล่าวคือ จำ�นวนนักเรียนอาชีวศึกษาในสถานศึกษาภาคเอกชนมีจำ�นวนครึ่งหนึ่งของจำ�นวน นักเรียนอาชีวศึกษาในสถานศึกษาภาครัฐ แต่ข้อมูลจากสำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2560 แสดง ว่า สถานศึกษาภาคเอกชนมีจำ�นวนใกล้เคียงกับจำ�นวนสถานศึกษาภาครัฐ คือ ร้อยละ 52 และ ร้อยละ 48 ตามลำ�ดับ สะท้อนให้เห็นว่า มีการกระจุกตัวของนักเรียนอาชีวศึกษาในสถานศึกษาภาครัฐเกิดขึ้น แผนภาพที่ 5 จำ�นวนนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน ปีการศึกษา 2555-25608
2.1.2 แนวโน้มสัดส่วนนักเรียนสายสามัญต่อสายอาชีวศึกษา ปัจจุบันจำ�นวนนักเรียนสายอาชีวศึกษามีแนวโน้มลดลง จากร้อยละ 39.8 ในปีการศึกษา 2550 เป็นร้อยละ 26.1 ในปีการศึกษา 2559 ในขณะที่จำ�นวนนักเรียนสายสามัญมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสายอาชีวศึกษา จากร้อยละ 60.2 ในปีการศึกษา 2550 เป็นร้อยละ 73.9 ในปีการศึกษา 2559 ดังแผนภาพที่ 6 8 การบริหารจัดการรวมสถานศึกษาอาชีวะภาครัฐและเอกชน, http://www.moe.go.th/websm/2016/feb/084.html 12
แผนภาพที่ 6 สัดส่วนนักเรียนสายสามัญต่อสายอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2550-2559
2.1.3 การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลต่อการศึกษาในสายสามัญและสายอาชีวศึกษา การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลต่อการศึกษาในสายสามัญและสายอาชีวศึกษามีความแตกต่างกันมาก เห็นได้จากการลงทุนด้านงบประมาณรายหัวต่อนักเรียน โดยข้อมูลงบประมาณรายหัวต่อนักเรียนสายอาชีวศึกษาและ สายสามัญ ในปีการศึกษา 2556 โดยสำ�นักงบประมาณ ได้แสดงว่า สถานศึกษาสายสามัญได้รับงบประมาณสูงกว่าสาย อาชีวศึกษาถึงร้อยละ 13 โดยงบประมาณด้านครุภัณฑ์ของสายอาชีวศึกษา 10 ปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 7.3 ของงบ ประมาณทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นจำ�นวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการจัดสรรงบประมาณในด้านอื่น ๆ แต่ในความเป็นจริงนั้น สายอาชีวศึกษามีความต้องการงบประมาณการลงทุน ทั้งค่าอุปกรณ์และเครื่องจักรที่สูงกว่าสายสามัญ (แผนภาพที่ 7) แผนภาพที่ 7 งบประมาณรายหัวต่อนักเรียนสายอาชีวศึกษาและสายสามัญในปีการศึกษา 2556
13
2.2 ประเด็นปัญหาที่มีส่วนทำ�ให้อาชีวศึกษาในประเทศไทยยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ 2.2.1 ปัญหาด้านหลักสูตรและคุณภาพของการศึกษา หลักสูตรอาชีวศึกษาในประเทศไทยให้ความสำ�คัญกับภาคทฤษฎีมากกว่าภาคปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นได้จากตาราง ที่ 6 ซึ่งระบุถึงระยะเวลาในการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จากแผนภาพพบว่าระยะเวลาการเรียนภาคทฤษฎีมีสูงถึง ร้อยละ 83.3 แต่การฝึกในภาคปฏิบัตินั้นมีอยู่เพียงร้อยละ 16.67 ซึ่งหากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่าประเทศเหล่า นั้นให้ความสำ�คัญกับการฝึกภาคปฏิบัติมากกว่าหรือเทียบเท่ากับการฝึกภาคทฤษฎี เนื่องจากการเรียนการสอนในสาย อาชีวศึกษาจะเน้นแบบการนำ�ไปปฏิบัติงานได้จริง ซึ่งจะเป็นส่วนสำ�คัญที่จะทำ�ให้นักเรียนมีความสามารถและพร้อมที่จะ เข้าสู่ตลาดแรงงานหลังจบการศึกษา ตารางที่ 6 เปรียบเทียบสัดส่วนการเรียนภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ ประเทศ Classroom / Theory On-the-Job training เยอรมนี 20-30% 70-80% ฟินแลนด์ 20-30% 70-80% สิงคโปร์ 50% 50% มาเลเซีย 20-30% 70-80% ไทย 83.37% 16.67% ที่มา รายงานประจําปี สอศ. 2556, รายงานประจำ�ปี ITE พ.ศ. 2556-2557, Malaysia, Education for All พ.ศ.2558 National Review Skills Development In The Workplace In Malaysia นอกจากปัญหาด้านหลักสูตรการศึกษา ระบบอาชีวศึกษาในประเทศไทยยังมีปัญหาด้านการกระจุกตัวของ นักเรียนในชั้นเรียน เนื่องจากมีการรับนักเรียนที่มากเกินไปของสถานศึกษาและการขาดแคลนครูในภาคอาชีวศึกษา โดย พบว่าจำ�นวนครูต่อนักเรียนอาชีวศึกษาในประเทศไทยอยู่ที่ 1 ต่อ 50 (ตารางที่ 7) ตารางที่ 7 จำ�นวนครูต่อนักเรียนและประเภทการว่าจ้างครูในระบบอาชีวศึกษา ประเทศ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย 14
ประเภทการว่าจ้างครู ครูที่มีใบอนุญาต ครูที่มีใบอนุญาต ครูอัตราจ้าง ครูที่มีใบอนุญาต ครูที่มีใบอนุญาต ครูอัตราจ้าง
จำ�นวนครูต่อนักเรียน 1:20 1:50 1:25 1:45
ที่มา รายงานประจำ�ปี สอศ. 2556, รายงานประจำ�ปี ITE พ.ศ. 2556-2557, Malaysia Education for All พ.ศ. 2558 National Review Skills Development in The Workplace in Malaysia
2.2.2 ปัญหาด้านงบประมาณและการลงทุน เนื่องจากงบประมาณของนักเรียนสายอาชีวศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐต่ำ�กว่างบประมาณของ นักเรียนสายสามัญ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วนักเรียนสายอาชีวศึกษาควรจะได้รับงบประมาณที่สูงกว่า เนื่องจากมีการ ลงทุนทั้งในสื่อประกอบการเรียน เครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงเครื่องจักรที่มีราคาสูงกว่าการเรียนสายสามัญ นอกจากนี้ทุน ด้านครุภัณฑ์การศึกษาของอาชีวศึกษายังมีงบสนับสนุนที่ค่อนข้างต่ำ�จึงไม่สามารถตอบสนองกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ทำ�ให้นักเรียนอาชีวะมีความรู้และความชำ�นาญไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยี ซึ่งส่งผลให้ความสามารถของนักเรียนอาชีวศึกษาไม่เพียงพอและสอดคล้องต่อความต้องการของตลาดแรงงาน ในภาคอุตสาหกรรม การที่งบประมาณสนับสนุนที่ไม่เพียงพอจากภาครัฐนั้นส่งผลกระทบเชิงลบต่อปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. จำ�นวน เครื่องจักรต่อนักเรียนมีจำ�นวนจำ�กัด ส่งผลต่อนักเรียนไม่ได้รับการฝึกฝนและทดลองปฏิบัติที่เพียงพอ 2. งบประมาณที่ มีอยู่อย่างจำ�กัด ส่งผลให้ไม่สามารถซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยได้ และ 3. งบประมาณที่มีอยู่อย่าง จำ�กัดนั้นไม่เพียงพอต่อค่าซ่อมบำ�รุงเครื่องจักรในขณะที่เครื่องจักรควรมีการดูแลรักษาและตรวจเช็คทุก 3 ปีเป็นอย่างต่ำ� ตารางที่ 8 จำ�นวนเครื่องจักรต่อนักเรียนและระยะเวลาการซ่อมบำ�รุงเครื่องจักรในระบบอาชีวศึกษาของประเทศต่าง ๆ
ที่มา รายงานประจำ�ปี สอศ. 2556, รายงานประจำ�ปี ITE พ.ศ. 2556-2557, Malaysia Education for All พ.ศ. 2558 National Review Skills Development in The Workplace in Malaysia อุปกรณ์และเครื่องจักรถือเป็นสิ่งที่สำ�คัญมากในการเรียนภาคปฏิบัติในสายอาชีวศึกษา ซึ่งในปัจจุบันอุปกรณ์ และเครื่องจักรในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการพัฒนาและยกระดับให้ทันสมัย รวมถึงยังมีสถาบัน การศึกษาอีกหลาย แห่งมีเครื่องจักรที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน ข้อมูลจากการสำ�รวจเห็นได้ว่าจำ�นวนเครื่องจักรต่อนักเรียน ในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่เครื่องจักร 1 เครื่อง ต่อนักเรียน 100 คน และมีระยะการซ่อมบำ�รุงทุก 14 ปี ซึ่งมีความ 15
แตกต่างอย่างมากกับประเทศสิงคโปร์ที่มีระบบอาชีวศึกษาที่ดี กล่าวคือจำ�นวนเครื่องจักรต่อนักเรียนในประเทศสิงคโปร์มี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่เครื่องจักร 1 เครื่อง ต่อนักเรียน 35 คน และมีระยะการซ่อมบำ�รุงทุก 3 ปี
2.2.3 ปัญหาด้านกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การกู้ยืมเงินแก่นักเรียนนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับ การศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำ�เป็นในการครองชีพระหว่างการศึกษา ในปีการศึกษา 2539 ได้มีการให้นักศึกษากู้ยืมเป็น ครั้งแรกโดยใช้มติ ครม.รองรับ ต่อมาจึงได้ตราพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 เป็นกฎหมาย รองรับ กรอบวงเงินให้กู้ยืมสูงสุดของกยศ.ตามระดับการศึกษา จากการทบทวนข้อกำ�หนดในการกู้ยืมเงินของกยศ.นั้น พบว่าวงเงินในการกู้ยืมในส่วนของค่าเล่าเรียนและค่าใช้ จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษานั้นไม่เท่ากันระหว่างนักศึกษาสายอาชีวศึกษาและสายสามัญ ดังนั้นทางสถาบันฯมีความเห็น ว่าควรการพิจารณาเพิ่มวงเงินในการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาระดับอนุปริญญาให้สูงขึ้นเทียบเท่าการศึกษาในระดับปริญญา ตรี การกำ�หนดอัตราเพดานการกู้ยืมเงินในปัจจุบันนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในข้อจำ�กัดที่ทำ�ให้นักเรียนไม่เลือกเรียนต่อ ในสายอาชีวศึกษา เนื่องจากสามารถกู้ยืมเงินได้น้อยกว่าและมีค่าใช้จ่ายในการเรียนที่สูงกว่าเนื่องจากต้องจ่ายค่าอุปกรณ์ การเรียนเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีวศึกษาสายช่าง เนื่องจากโรงเรียนจำ�เป็นต้องลงทุนในด้านอุปกรณ์เครื่องมือที่มี มูลค่าสูง ส่งผลให้ต้นทุนการเรียนสายอาชีวศึกษา โดยเฉพาะสายช่างนั้นมีต้นทุนที่สูงกว่าต้นทุนการเรียนในระดับปริญญา ตรีบางสาขา ดังนั้นสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทยมีความเห็นว่าหากกยศ.มีการปรับเพิ่มวงเงินให้ในสายอาชีวศึกษา จะสามารถเพิ่มจำ�นวนนักเรียนที่มาเรียนสายอาชีวศึกษาได้ เนื่องจากนักเรียนไม่ต้องกังวลและไม่เป็นภาระของผู้ปกครอง ในเรื่องค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียน ตารางที่ 9 วงเงินให้กู้ยืมสูงสุดของกยศ.จำ�แนกตามระดับการศึกษา ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ปวช.หรือเทียบเท่า ปวท./ปวส. หรืออนุปริญญา หรือเทียบเท่า ปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพและหลักสูตรวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ปริญญาตรีหลักสูตรอื่น ๆ ที่มา คู่มือปฏิบัติงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ปี พ.ศ.2560
วงเงินกู้ยืมสูงสุด (บาทต่อปี) 27,200 47,400 51,400 - 86,400 116,400 - 226,400 76,400 - 96,400
ตารางที่ 10 ตารางแสดง อัตราค่าเล่าเรียนระดับปวช. และอัตราเงินอุดหนุนจากภาครัฐ 16
หน่วย:บาท งบสนับสนุน ค่าเทอมที่กำ�หนด รวม ค่าเล่าเรียน ค่าครุภัณฑ์ รวม ค่าเล่าเรียน จากภาครัฐ (นักเรียนจ่าย) (จากรัฐ+ค่าเทอม) (Extra) ที่โรงเรียนได้รับ (นักเรียนจ่าย) Total Expense คณะพาณิชกรรม 15,070 5,170 20,240 7,000 22,000 - 27,000 และการบริหาร ช่างอุตสาหกรรม/ 17,031 5,791 22,823 12,000 ~35,000 วิศวกรรม ที่มา การสำ�รวจค่าเทอมวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย, ตารางอุดหนุนจากภาครัฐปี พ.ศ. 2560 ตารางที่ 10 แสดงอัตราค่าเล่าเรียนในระดับปวช.และจำ�นวนเงินอุดหนุนที่ได้รับจากภาครัฐ จากตารางพบว่า นักเรียนต้องจ่ายเงินเพิ่มจากที่รัฐสนับสนุนอยู่ที่ 7,000 - 12,000 บาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาครัฐยังสนับสนุนเงินไม่เพียงพอ ต่อการสร้างสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพได้
ตารางที่ 11 งบการลงทุนแบบรายหัวของนักเรียนอาชีวศึกษาระดับปวส.เปรียบเทียบกับค่าธรรมเนียมการศึกษาของ อาชีวศึกษาเอกชน (สายช่าง) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรี หน่วย:บาท ค่าธรรมเนียม ขอบเขตเงินกู้ (กยศ.) ขอบเขตเงินกู้ (กยศ.) รวมขอบเขตเงินกู้ การศึกษา (ปี) ค่าเล่าเรียน (ปี) ค่าครองชีพ (กยศ.) มหาวิทยาลัยรังสิต 100,000 70,000 26,400 96,400 วิทยาลัยเทคโนโลยี 32,000 30,000-60,000 26,400 56,400-86,400 ภาคตะวันออก (อี.เทค) ที่มา มหาวิทยาลัยรังสิตและวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก(อีใเทค),ตารางเงินอุดหนุนจากภาครัฐ ปี พ.ศ.2560 ตารางที่ 12 งบลงทุนรายหัวของนักเรียนอาชีวศึกษาระดับ ปวส. เปรียบเทียบกับค่าธรรมเนียมการศึกษาของอาชีวศึกษา เอกชน (สายพาณิชย์) และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีในระดับปริญญาตรี หน่วย:บาท ค่าธรรมเนียม ขอบเขตเงินกู้ (กยศ.) ขอบเขตเงินกู้ (กยศ.) รวมขอบเขตเงินกู้ การศึกษา ค่าเล่าเรียน (ปี) ค่าครองชีพ (กยศ.) (ปี) มหาวิทยาลัยรังสิต 88,200 60,000 26,400 86,400 17
วิทยาลัยเทคโนโลยี 27,000 25,000 26,400 51,400 ภาคตะวันออก (อี.เทค) ที่มา มหาวิทยาลัยรังสิตและวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค), ตารางเงินอุดหนุนจากภาครัฐ ปี พ.ศ.2560
2.3 อาชีวศึกษาและการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ หลักสูตรการศึกษาของอาชีวศึกษาประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ เรียนและผู้ประกอบการได้อย่างเต็มที่ และหลักสูตรการศึกษาในระบบอาชีวศึกษาทวิภาคีในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่ หลาย มีจำ�นวนสถานศึกษาเพียงร้อยละ 10 ที่ใช้หลักสูตรนี้ ระบบการศึกษาอาชีวศึกษาทวิภาคีที่มีระบบการเรียนการ สอนแบบ “โรงเรียนโรงงาน” ถือเป็นการยกระดับคุณภาพหลักสูตรอาชีวศึกษาให้สามารถผลิตแรงงานที่มีทักษะตรงกับ ความต้องการของนายจ้างโดยนักเรียนที่เรียนหลักสูตรนี้จะมีโอกาสได้ฝึกงานกับสถานประกอบการอย่างน้อยร้อยละ 50 ของเวลาเรียนทั้งหมด ทำ�ให้นักเรียนมีโอกาสได้รับการจ้างงานสูง เนื่องจากมีทักษะที่ตรงตามความต้องการของนายจ้าง ประเทศในแถบยุโรปมีการเรียนการสอนหลักสูตรอาชีวศึกษาทวิภาคีมากถึงร้อยละ 70-80 สำ�หรับประเทศไทย แม้จะ เริ่มมีการนำ�หลักสูตรทวิภาคีมาใช้ในหลักสูตรมากกว่า 20 ปี แต่ปัจจุบันมีจำ�นวนนักเรียนที่ศึกษาในรูปแบบทวิภาคีเพียง ประมาณ 90,000 คน จากนักเรียนทั้งหมดประมาณ 650,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของนักเรียนอาชีวศึกษาทั้งหมด แผนภาพที่ 8 จำ�นวนผู้เรียนในหลักสูตรอาชีวศึกษาทวิภาคี
18
แผนภาพที่ 9 จำ�นวนผู้จบการศึกษาระดับปวช.และปวส. จำ�นวนผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน และจำ�นวนแรงงานที่ตลาดแรงงาน ต้องการ ในปี พ.ศ. 2557-2560
การเรียนการสอนในประเทศไทยยังประสบกับปัญหาการขาดแคลนการแนะแนวการศึกษาที่ดีทำ�ให้จ�ำ นวนผู้ เรียนและจำ�นวนผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานไม่เพียงพอกับจำ�นวนความต้องการของตลาดแรงงาน จากแผนภาพที่ 9 ผู้จบการ ศึกษาในสาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ แม่พิมพ์ และช่างเชื่อมโลหะ มีจำ�นวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน แต่ในขณะเดียวกันในสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลโรงงาน แม้จะมีผู้จบการศึกษาจำ�นวนมาก แต่ก็มีจำ�นวน ผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการตลาดเช่นกัน 2.4 ธุรกิจ SME ในบริบทประเทศไทย ประเทศไทยมีธุรกิจขนาดย่อม (SME) มากกว่าร้อยละ 95 ของจำ�นวนธุรกิจทั้งหมดในประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจการผลิต ธุรกิจการค้า และธุรกิจบริการ ส่งผลให้การจัดทำ�ระบบทวิภาคีระหว่างสถานศึกษาสายอาชีวศึกษาและผู้ ประกอบการเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากกำ�ลังการผลิต เครื่องมือ และอัตราการจ้างงานในธุรกิจ SME มีจำ�นวนน้อย และส่งผลให้เมื่อจบการฝึกงาน นักเรียนก็ยังคงไม่มีสถานประกอบการรับเข้าทำ�งานในทันที ในอดีตรัฐบาลไทยได้มีความพยายามหลายครั้งในการนำ�ระบบอาชีวศึกษาภายใต้รูปแบบทวิภาคีเข้ามาเป็นตัว เชื่อมระหว่างแรงงานในสถานศึกษาและสถานประกอบการในการจัดให้มีการฝึกฝนและพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อ เนื่อง แต่ประเทศไทยก็ยังมีข้อจำ�กัดหลายประการที่ทำ�ให้ระบบทวิภาคีไม่ประสบผลสำ�เร็จดังต่อไปนี้ 1. ประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจที่อยู่ในรูปแบบของธุรกิจ SME มากกว่าร้อยละ 90 เนื่องจากขนาดของสถาน ประกอบการที่มีขนาดเล็ก จึงทำ�ให้เกิดข้อจำ�กัดในการรองรับนักศึกษาฝึกงานในจำ�นวนที่ค่อนข้างน้อย 2. ธุรกิจ SME ส่วนใหญ่มีข้อจำ�กัดในเรื่องของอุปกรณ์ที่ไม่พร้อมและระบบที่ยังไม่โตและทันสมัยเพียงพอที่จะ รองรับนักศึกษาฝึกงานจำ�นวนมาก รวมถึงไม่มีผู้ที่จะสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาฝึกงานได้ 3. ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐที่มากพอการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ�ร้อยละ 3 ต่อปีจากรัฐบาลนั้นยังไม่สามารถ เป็นแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการในการรับนักศึกษาฝึกงานเพิ่มมากขึ้น 19
2.5 กรณีศึกษาในต่างประเทศ 2.5.1 กรณีศึกษาประเทศเยอรมนี ระบบอาชีวศึกษาของประเทศเยอรมนี ถูกกล่าวขานว่าเป็น “Backbone” ที่ทำ�ให้ประเทศเยอรมนีผ่านวิกฤต เศรษฐกิจที่ผ่านมา เพราะทำ�ให้ตลาดแรงงานของประเทศเยอรมนีมีแรงงานมีทักษะที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบ การหรือภาคธุรกิจ โดยระบบนี้สามารถสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียนและผู้ประกอบการ ทำ�ให้ปัจจุบันตลาดแรงงานของ ประเทศเยอรมนีมีผู้สำ�เร็จการศึกษาแบบทวิภาคี (Dual system) มากถึงร้อยละ 54 ในขณะที่ผู้สำ�เร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรี มีเพียงร้อยละ 18 ส่งผลให้อัตราการว่างงานของประชากรที่มีอายุระหว่าง 14-25 ปีของประเทศเยอรมนีมี เพียงร้อยละ 7.8 ซึ่งถือได้ว่าเป็นอัตราการว่างงานที่ต่ำ�ที่สุดในสหภาพยุโรป จุดเด่นของระบบการศึกษาเยอรมนี คือ มีความยืดหยุ่นสูง กล่าวคือ หลักสูตรนี้มีการเน้น “การเรียนรู้จาก การปฏิบัติ” เริ่มต้นจากนักเรียนที่สำ�เร็จการศึกษาเกรด 10 หรือเทียบเท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของระบบการศึกษา ซึ่ง สามารถสมัครเข้าเรียนในสายวิชาชีพที่ตนเองสนใจได้ โดยทำ�สัญญากับบริษัทในฐานะนักเรียนฝึกงานที่ได้รับเงินเดือน หลังจากนั้นทางบริษัทจะส่งนักเรียนไปศึกษาในโรงเรียนอาชีพ (Berufsschule) บริเวณใกล้เคียงบริษัทเป็นเวลา 1-2 วัน ควบคู่กับการเรียนรู้ภาคปฏิบัติในบริษัทเป็นเวลา 3-4 วัน อย่างไรก็ตาม สิ่งสำ�คัญที่แตกต่างจากการฝึกงานทั่วไป คือ การที่ทุกบริษัทมีผู้ฝึกสอนที่ผ่านการรับรองความร่วมมือจากภาครัฐและ เอกชนกลาง จึงทำ�ให้นักเรียนได้รับความรู้ในภาคปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การศึกษาแบบทวิภาคี หรือ Dual System ที่ร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลและเอกชนมีสาขาอาชีพที่หลากหลายให้ เลือกเรียน เช่น พนักงานห้างร้าน ธุรกิจค้าปลีก ช่างไฟฟ้า ช่างกลอุตสาหกรรม โลจิสติกส์ ผู้ช่วยแพทย์ ช่างทำ�ผม งาน บัญชี พาณิชย์นาวี ฯลฯ โดยมีระยะเวลาเรียน 2-3 ปี โดยมีสัดส่วนการเรียนที่โรงเรียนร้อยละ 40 และการฝึกภาคปฏิบัติ ที่บริษัทร้อยละ 60 โดยฝึกงานไม่ต่ำ�กว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน และได้รับเงินค่าตอบแทนจากนายจ้างด้วย9 รูปภาพที่ 3 ภาพแสดงโครงสร้างอาชีวศึกษาของประเทศเยอรมนี
ที่มา การส่งเสริมระบบอาชีวศึกษาในเยอรมนี Institute of Applied Technology 9 การส่งเสริมระบบอาชีวศึกษา (dual system) ในเยอรมนี http://www.thaibizgermany.com/de/vocational/ 20
ตารางที่ 13 เปรียบเทียบระบบอาชีวศึกษาในประเทศเยอรมนีและประเทศไทย Dual System เยอรมนี • ผู้เรียน 1.4 ล้านคน • ร้อยละ 5.4 ของลูกจ้างทั้งหมดเป็นผู้ฝึกงาน • บริษัท 4.4 แสนแห่งรับผู้เรียนทวิภาคี (ร้อยละ 20.7) • มากกว่าร้อยละ 87 ของบริษัทขนาดกลางขึ้นไปเข้าร่วมหลักสูตรทวิภาคี • ร้อยละ 59 ของผู้เรียนที่จบแล้วทํางานในบริษัทเดิม
Thai Vocational School • ผู้รับการฝึก 1 แสนคน (ร้อยละ15) • ไม่มีข้อมูลทางการ • ไม่มีข้อมูลทางการ • เฉพาะบริษัทที่มีชื่อเสียงสามารรักษา ผู้รับการฝึกเป็นลูกจ้างถาวรได้
ไม่มีปัญหา “Free-riding”
มีปัญหา “Free-riding”
กรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์ให้ความสำ�คัญกับการปรับภาพลักษณ์ในสายวิชาชีพ โดยเริ่มจากการให้ความสำ�คัญกับการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำ�คัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นตลาดแรงงานของประเทศสิงคโปร์จึงมีผู้สําเร็จ การศึกษาในระบบอาชีวศึกษามากถึงร้อยละ 65 ของจำ�นวนนักเรียนทั้งหมด วมการศึกษาระบบอาชีวศึกษาของประเทศสิงคโปร์เริ่มต้นจากการเน้นการผลิตแรงงานเพื่อเพิ่มปริมาณไปสู่การ เน้นการผลิตเพื่อเพิ่มคุณภาพมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2522 มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาที่เน้นการพัฒนาคุณภาพและ ทักษะของปัจเจกบุคคลมากขึ้น โดยการตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวประกอบกับการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2533 สู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based economy) ซึ่งจำ�เป็นต้องอาศัยนวัตกรรมความคิด สร้างสรรค์ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และประชากรที่มีความรู้ นอกจากนั้นประเทศสิงคโปร์ยังได้ให้ความสำ�คัญ ของการเรียนในห้องเรียนแบบที่มีการจำ�แนกรูปแบบการศึกษาออกเป็น 4 สาย อย่างชัดเจน ดังนี้ 1. หลักสูตรเร่งรัด (Express Academic) 2. หลักสูตรพิเศษ (Special Academic) 3. หลักสูตรสามัญ (Normal Academic) 4. หลักสูตรธรรมดา (Normal Technical) สิ่งที่น่าสังเกตคือ ประเทศสิงคโปร์มีการสนับสนุนให้แก่นักเรียนที่เรียนต่อด้านอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้ คะแนนสอบน้อยที่สุดในระบบโดยการพัฒนาสถาบันอาชีวศึกษาให้ทันสมัยเพื่อให้ทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ� รวมถึง มีการส่งเสริมให้มีโครงการฝึกงานกับบริษัทต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้ระดับเงินเดือนเฉลี่ยแรกเริ่มของนักศึกษาสายอาชีวศึกษา เพิ่มขึ้นจาก 700 เหรียญสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2537 เป็น 1,200 เหรียญสิงคโปร์ในปี พ.ศ.254810 10 พินิจการศึกษาไทย: สะท้อนผ่านเลนส์การสร้างชาติและการสร้างคนของสิงคโปร์http://www.siamintelligence.com/analysis-thai-education-system-from-singapore-nation-building/ 21
รูปภาพที่ 4 Overview of Singapore Education System
ที่มา Developing a Competitive World Class Workforce, Institute of Technical Education, Singapore 2017 ประเทศสิงคโปร์มีการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาเพียง 4 ปี หลังจากนั้นจะมีการสอบวัดระดับซึ่งผู้ที่สอบ ได้คะแนนที่สูงจะได้มีโอกาสไปเรียนต่อในสถานศึกษาต่าง ๆ ดังนี้ • Junior college • วิทยาลัยอาชีวศึกษา หรือ โรงเรียนสายอาชีพ (Polytechnic) • Institute of Technical Education หมายเหตุ : เรียงตามลำ�ดับคะแนนจากมากไปน้อย ประเทศสิงคโปร์ได้จัดตั้งโรงเรียนสายอาชีพ หรือ Polytechnic เพื่อเป็นต้นแบบในการบริหารโรงเรียนที่มี คุณภาพขึ้นมา 5 แห่ง ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีนักเรียนมากถึงร้อยละ 45 และมีหลักสูตรการเรียน 3 ปี พร้อมมีการเรียนในภาคทฤษฎีสลับกับการเรียนภาคปฏิบัติในทุก 3 เดือน เมื่อจบการศึกษานักเรียนสามารถเข้าทำ�งานได้ ทันที รูปภาพที่ 5 รายชื่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั้ง 5 แห่งของประเทศสิงคโปร์11
ที่มา: Singaporefintech
11 Singaporefintech ,https://singaporefintech.org/local-polytechnics-and-singapore-fintech-association-sign-mou-to-intensify-industry-collaboration-for-fintech-development/ 22
วิทยาลัยอาชีวศึกษาของประเทศสิงคโปร์มีทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ Singapore Polytechnic, Ngee Ann Polytechnic, Temasek Polytechnic, Republic Polytechnic และ Nanyang Polytechnic สำ�หรับการเข้าศึกษาต่อใน ระบบอาชีวศึกษานั้น นักเรียนจะต้องได้ผลคะแนนสอบ GCE ‘O’ Level ในเกณฑ์ดีอย่างน้อย 5 วิชาจาก 7 วิชา จึงจะ สามารถเลือกเรียนต่อสายอาชีพได้ ในวิทยาลัยอาชีวศึกษา (Polytechnic) ของประเทศสิงคโปร์มีหลักสูตรการเรียนสอนระยะเวลา 3 ปี ซึ่งนักเรียน จะได้รับการฝึกงานภาคปฏิบัติในชั้นปีที่ 3 เมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตร นักเรียนสามารถสมัครงานได้ทันทีโดยการเรียน สายวิชาชีพในประเทศสิงคโปร์มีภาพลักษณ์ในเชิงบวก เนื่องจากนักเรียนที่สามารถเข้าเรียนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐ ทั้ง 5 แห่งนั้น จะถูกมองว่าเป็นนักเรียนที่เก่ง กล่าวคือต้องมีประวัติการเรียนในระดับ ดี ถึง ดีมาก ในระดับมัธยมศึกษา นอกจากนั้น ยังมีสถาบันการศึกษาด้านเทคนิค (ITE - Institute of Technical Education) ที่ให้ความรู้และทักษะ ที่เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมภาคต่าง ๆ ให้กับนักเรียนกลุ่มที่ได้คะแนนน้อยที่สุดในการสอบวัดระดับความสามารถ โดยมีระยะเวลาหลักสูตรตั้งแต่ 15 สัปดาห์ จนถึง 2 ปี มีนักเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาด้านเทคนิคประมาณร้อยละ 20 การส่งเสริมและการสนับสนุนให้นักเรียนศึกษาต่อด้านอาชีวศึกษาในประเทศสิงคโปร์นั้น ภาครัฐจึงให้ความ สำ�คัญทั้งด้านการศึกษา ด้านการฝึกอบรม และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นในประเทศสิงคโปร์สิ่งที่จำ�เป็นต้อง ทำ�เป็นอันดับแรก คือ การฝึกอบรมทั้งก่อนและหลังจากที่มีงานทำ�เพื่อเป็นการฝึกเพื่อเพิ่มฝีมือและทัศนคติที่ดีต่องานสาย อาชีพ ตารางที่ 14 เปรียบเทียบระบบอาชีวศึกษาในประเทศเยอรมนีและประเทศสิงคโปร์
ลักษณะการเรียน ข้อแตกต่างทางเศรษฐกิจ
การสนับสนุนจากภาครัฐ ภาพลักษณ์และค่านิยม
Dual System เยอรมนี • ภาคทฤษฎี ร้อยละ 30 • ภาคปฏิบัติ ร้อยละ 70 มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่คิดเป็นร้อยละ 44.2 ของประเทศ สภาหอการค้า จำ�นวนนักเรียนมากกว่าร้อยละ 54 ของนักเรียนทั้งหมดอยู่ในภาคอาชีวศึกษา
School Based สิงคโปร์ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทุก ๆ 3 เดือน (เทียบเป็นสัดส่วน 50:50) มีอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าและเป็นที่ ยอมรับระดับโลก เช่น อู่ต่อเรือที่มี ขนาดใหญ่ เป็นต้น จัดตั้งสถานศึกษาต้นแบบ 5 แห่ง จำ�นวนนักเรียนร้อยละ 65 ในภาค อาชีวศึกษา มีภาพลักษณ์ที่ดีและค่า ตอบแทนที่สูง
2.6 ข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการปรับใช้ในประเทศไทย สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย ขอเสนอแนวทางการปรับใช้ แก้ไข และพัฒนาระบบอาชีวศึกษาใน ประเทศไทย เพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดังต่อไปนี้ 1. นโยบายสนับสนุนให้เรียนฟรีทั้งระดับปวช. และ ปวส.ในสายช่างทั้งในสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและภาค 23
เอกชน
1.1 รัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กับนักเรียนระดับปวช. สายช่างทั้งหมดเป็นจำ�นวน 35,000 บาท ต่อหัว (ในปัจจุบันนี้รัฐบาลสนับสนุนอยู่ที่ 17,000 บาท ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของสถาน ศึกษา ดังนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนเพิ่มขึ้นอีก 18,000 บาท ให้กับอาชีวศึกษาในระดับ ปวช.) 1.2 รัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กับ ปวส. ในสายช่างทั้งหมด เป็นเงิน 73,000 บาทต่อหัว 1.3 เงินสนับสนุนเพิ่มเติม (โบนัส) อีกร้อยละ 20 ขอเงินที่รัฐให้เป็นค่าเทอม ตามสัดส่วนของนักเรียนที่ สอบผ่านมาตรฐานประเมินปลายปี (โดย สทศ.) เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน 1.4 เพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ทางการศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาของภาครัฐให้สอด คล้องกับหลักสูตรที่ทันสมัย
รูปภาพที่ 6 ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการเรียนฟรี (สายช่าง) ปวช. และ ปวส.
2. ขยายวงเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในส่วนค่าครองชีพจาก 26,400 บาท เป็น 48,000 บาท ในทุกระดับชั้น การศึกษา 3. เพิ่มวงเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในระดับปวส. ทั้งสายช่างและสายพาณิชย์ให้เทียบเท่าระดับปริญญาตรีและเพิ่ม วงเงินค่าครองชีพ ดังตารางที่ 15
ตารางที่ 15 ข้อเสนอวงเงินกูยืมเพื่อการศึกษาในระดับ ปวส. ระดับการศึกษา ปัจจุบัน ค่าเทอม ค่าครองชีพ (บาทต่อปี) (บาทต่อปี) ปวส. สายพาณิชย์ 25,240 26,400 ปวส. สายช่าง 30,000 26,400 24
ค่าเทอม (บาทต่อปี) 60,000 70,000
ข้อเสนอ ค่าครองชีพ (บาทต่อปี) 48,000 48,000
รวม (บาทต่อปี) 108,000 118,000
4. จัดหาบุคลากรครูที่มีคุณภาพและเพิ่มการลงทุนในอุปกรณ์การเรียนการสอนให้เพียงพอและทันสมัย เพื่อให้ สอดคล้องกับหลักสูตรในปัจจุบัน 4.1 โรงเรียนเสนอแผนบุคลากรพร้อมแผนหลักสูตร 4.2 เปิดโอกาสให้โรงเรียนจัดหาครูที่มีความรู้เฉพาะด้าน ที่อยู่นอกสายครุศาสตร์ได้ 4.3 โรงเรียนเสนอหลักสูตรและแผนการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ให้สอดคล้องกับจำ�นวน นักเรียนที่จะเข้าโครงการเรียนฟรี 5. ปรับหลักสูตรอาชีวศึกษาให้มีการเรียนภาคทฤษฎี 3 เดือนสลับกับการฝึกงาน 3 เดือน ตลอดทั้งปี 6. ให้ภาคอุตสาหกรรม สมาคมผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตร 7. จัดตั้งศูนย์กลางการฝึกงาน (Internship Center) เพื่อเป็นตลาดกลางในการกระจายนักศึกษาฝึกงานไปยัง สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการที่อัตราค่าแรงขั้นต่ำ�ตามที่กฏหมายกำ�หนด โดยจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ • แก้ปัญหาความไม่สอดคล้องของการศึกษาต่อตลาดแรงงาน (Labor Mismatch) • ส่งเสริมการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานผ่านระบบทวิภาคี • ส่งเสริมให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน เพื่อลดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายแก่ครอบครัว โดยเมื่อฝึกงาน นายจ้างจะจ่ายเงินให้ตามค่าแรงขั้นต่ำ�ตามกฎหมายแรงงาน ดังนั้นศูนย์กลางการฝึกงานนี้จะมีหน้าที่ เป็นตัวกลางจับคู่ระหว่างทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐบาล เอกชน โรงเรียน และนักเรียน 8. เสนอข้อจูงใจหรือออกกฏข้อบังคับให้กับผู้ประกอบการเพื่อให้รับนักเรียนฝึกงานโดยผู้ประกอบการที่ดำ�เนิน การรับนักเรียนฝึกงานจะได้รับ • เงินสนับสนุนการรับงานนักเรียกฝึกงานอยู่ที่ร้อยละ 70 ของค่าแรงขั้นต่ำ� เป็นระยะเวลาตามที่นักเรียนฝึกงาน แต่ไม่เกิน 6 เดือนต่อปี • เงินสนับสนุนจะอยู่ที่ประมาณ 33,852 บาทต่อคนต่อ 6 เดือน • รวมเงินสนับสนุนนักเรียนปวช.ประมาณ 22,183,689,528 บาทต่อคนต่อ 3 ชั้นปีต่อ 6 เดือน • รัฐควรสนับสนุนการฝึกงานของนักเรียนระดับปวช.เนื่องจากเป็นการฝึกนิสัยให้ทำ�งานตั้งแต่วัยเยาว์และเพื่อ เป็นการให้โอกาสให้นักเรียนที่อาจไม่มีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รูปภาพที่ 7 กระบวนการรับเข้านักศึกษาและระบบอาชีวศึกษาทวิภาคี
25
บทที่ 3 การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน หนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำ�ให้ประเทศไทยไม่สามารถก้าวข้ามความยากจนได้ คือ การไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา และการฝึกอบรมที่เหมาะสมได้ หากประชาชนในประเทศมีการศึกษา ได้รับการอบรม และมีทักษะฝีมือในการทำ�งานแล้ว นั้น ประชาชนก็จะสามารถหางานทำ�ได้ มีรายได้เพียงพอต่อการอยู่อาศัย และสามารถหลุดพ้นความยากจนได้ในที่สุด รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญและจำ�เป็นในการให้ความรู้และยกระดับฝีมือให้แก่แรงงานไทยเสมอมา เพื่อช่วยให้แรงงานไทยสามารถเปลี่ยนถ่ายและโยกย้ายไปยังภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการได้อย่างราบรื่น รัฐบาลจึง มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงแรงงาน เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการส่งเสริมและจัดหลักสูตร อบรมและยกระดับฝีมือแรงงานไทย ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ด้วยความเชื่อมั่นว่าการพัฒนาทักษะฝีมือ แรงงานไทยคือการลงทุนที่คุ้มค่าต่อทั้งตัวบุคคลและต่อประเทศในภายภาคหน้า นอกจากนี้รัฐบาลก็ยังได้มีการออก พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ซึ่งมีใจความกล่าวถึงการส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงานไทย การยกระดับ รายได้และความเป็นอยู่ของคนในประเทศผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานไทยซึ่งมีกระทรวงแรงงานเป็นผู้ดูแลและดำ�เนินการ จัดทำ�มาตรฐานฝีมือแรงงานไทยขึ้น เพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่าแรงงานของไทยนั้นมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศและมีคุณภาพ ทัดเทียมสากล
3.1 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน การกำ�หนดงบประมาณและแผนการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย ผู้รับผิดชอบหลักในการกำ�หนดงบประมาณและแผนการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยในแต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพรปช.) เป็นผู้ประสาน งาน ในระดับจังหวัดจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการนั้นจะประกอบไปด้วยผู้ทรง คุณวุฒิในจังหวัดทั้งจากภาครัฐและเอกชน เช่น หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด เจ้าของโรงงาน และนายจ้าง ที่มีชื่อเสียงในจังหวัด เป็นต้น โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีการประชุมกันทุกเดือน และจะมีการประชุมระดับประเทศ จะจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง วาระการประชุมจะเกี่ยวเนื่องกับแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงานในแต่ละจังหวัด เช่น ในปีถัดไป จังหวัดต้องการแรงงานที่มีทักษะและฝีมือในด้านใด เป็นจำ�นวนกี่คน เป็นต้น หลังจากสรุปความต้องการและแนวทาง ในการพัฒนาฝีมือแรงงานของจังหวัดได้แล้ว จะนำ�แผนดังกล่าวส่งต่อไปยังฝ่ายแผนของสถาบัน/สำ�นักงานพัฒนาฝีมือ แรงงานจังหวัด ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นผู้รับผิดชอบต่อไป ฝ่ายแผนของสถาบัน/สำ�นักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะนำ�ข้อมูลระดับจังหวัด มาตรวจสอบแนวโน้มและความต้องการของจังหวัด รวมถึงตรวจสอบว่าเป้าหมายระดับจังหวัดในปีนั้นสอดคล้องและเป็น ไปในทิศทางเดียวกับนโยบายระดับสูงหรือไม่ เช่น ในปัจจุบันนโยบายรัฐบาล คือ การมุ่งเน้นทักษะสำ�หรับ Thailand 4.0 ดังนั้นหลักสูตรที่จะเปิดฝึกอบรมฝีมือแรงงานก็จำ�เป็นที่ต้องสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 ด้วย ดังนั้นอาจ กล่าวได้ว่าแผนที่ทางฝ่ายแผนทำ�ออกมานั้นต้องตอบสนองความต้องการของทุกภาคส่วนตั้งแต่ระดับจังหวัด ภูมิภาค ไป 26
จนถึงระดับประเทศ โดยในแผนจะระบุชัดเจนถึงหลักสูตรที่ต้องการเปิดฝึกอบรมในปีนั้น ๆ และงบประมาณที่คาดการณ์ ว่าจะต้องใช้ งบประมาณในการพัฒนาฝีมือแรงงานนั้นจะมีที่มาจาก 2 แหล่ง คืองบดำ�เนินงาน ซึ่งคืองบของกรมพัฒนา ฝีมือแรงงาน และงบบูรณาการ ซึ่งคืองบของหน่วยงานอื่น เช่น งบจังหวัด หรือหน่วยงานพิเศษ เป็นต้น ฝ่ายแผนของ จังหวัดจะส่งคำ�ของบประมาณไปที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือที่อื่น ๆ โดยห้ามส่งซ้ำ� เช่น ทางจังหวัดต้องการฝึกช่าง คอมพิวเตอร์ 100 คน จึงส่งคำ�ของบประมาณไปทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และในขณะเดียวกันก็ของบประมาณไปยัง จังหวัดด้วย การกระทำ�เช่นนี้นั้นไม่สามารถกระทำ�ได้ หากพบว่าส่งซ้ำ�จะถูกตัดงบนั้นทิ้งไป การดำ�เนินการด้านการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน การดำ�เนินด้านการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. กรมพัฒนาฝีมือแรงงานดำ�เนินการ เอง และ 2. ส่งเสริมให้เอกชนดำ�เนินการ ภาคเอกชน พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 โดยระบุว่าผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้น ไปทุกท้องที่ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำ�นวนลูกจ้างเฉลี่ยในรอบปี หาก ไม่จัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานหรือจัดฝึกอบรมแต่ไม่ครบตามสัดส่วนที่กำ�หนดต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนา ฝีมือแรงงานในอัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำ�นวณเงินสมทบ และให้ผู้ประกอบกิจการที่เข้าข่ายบังคับ ยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สท.2) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปทุกปี ซึ่งในปัจจุบันสถานประกอบการส่วนใหญ่ให้ ความร่วมมือที่ดีในการจัดฝึกอบรมให้แก่พนักงานของตน โดยรูปแบบจะมีทั้งการส่งไปอบรม และ/หรือ การจัด In-house Training โดยค่าใช้จ่ายในการอบรมหรือการจัด training นั้นสามารถนำ�ไปลดหย่อนภาษีได้ ดังนั้นโดยปกติบริษัทเอกชนนั้นจะจัดอบรมเพื่อเพิ่มทักษะฝีมือแรงงานให้กับลูกจ้างของตนภายในบริษัท โดย เน้นทักษะฝีมือที่นายจ้างต้องการเป็นสำ�คัญ ดังนั้นแต่ละบริษัทอาจจะฝึกทักษะที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็ได้ หลังจากฝึกอบรมแล้วก็จะส่งข้อมูลหัวข้อและรายละเอียดการฝึก รวมถึงรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมให้กับกรม พัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อนำ�หลักฐานจากกรมไปใช้ในการลดหย่อนภาษีปลายปีต่อไป ในปัจจุบันประมาณร้อยละ 95 ในการ ฝึกพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทเอกชน อีกราวร้อยละ 5 ทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะ เป็นผู้จัดอบรมเอง แผนภาพที่ 10 จะแสดงถึงการอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2557-255912 ภาครัฐบาล ผู้รับผิดชอบในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยจะมีการเปิดหลักสูตรต่าง ๆ ตามความต้องการตามที่ฝ่ายแผนระบุมาในแต่ละปี โดยในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2555 การฝึกอบรมนี้จะมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย แต่ในปัจจุบันการฝึกอบรมนั้นไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ และบางหลักสูตรยังมีเบี้ยเลี้ยงให้อีกด้วย กิจกรรมการฝึกหลักของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. การฝึกเตรียมเข้าทำ�งาน - การฝึกเพื่อเตรียมเข้าทำ�งานนั้นจะเป็นการฝึกระยะยาวประมาณ 4-10 เดือนแล้ว 12 Appendix D
27
แต่ความยากง่ายของหลักสูตร หลักสูตรนี้เหมาะสำ�หรับผู้ที่ไม่เคยทำ�งานมาก่อน หรือผู้ที่เคยทำ�งานมาแล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนสายงาน 2. การฝึกยกระดับ - การฝึกยกระดับนั้นจะเป็นการฝึกระยะสั้น ระยะเวลาของแต่ละหลักสูตรประมาณ 18 - 60 ชั่วโมง แล้วแต่ความยากง่ายของหลักสูตร หลักสูตรนี้เหมาะสำ�หรับผู้ที่ทำ�งานอยู่ในสายงานนั้นอยู่แล้ว แต่ต้องการยกระดับฝีมือของตน 3. การฝึกอาชีพเสริม - การฝึกอาชีพเสริมนั้นจะเป็นการฝึกระยะสั้น มักเน้นเป็นอาชีพง่าย ๆ เหมาะสำ�หรับผู้ว่าง งาน ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ ผู้ต้องการทำ�เป็นอาชีพเสริม ระยะเวลาของแต่ละหลักสูตรประมาณ 18 - 60 ชั่วโมงแล้วแต่ความยากง่ายของหลักสูตร
ในแต่ละหลักสูตรที่เปิดอบรมจะรับผู้เข้าเรียนไม่เกินหลักสูตรละ 25 คน ทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานระบุว่าการ เรียนเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดควรมีผู้เรียนประมาณ 16-20 คนต่อหลักสูตร และจุดคุ้มทุนที่รัฐบาลลงทุนไปในการเปิด หลักสูตรจะอยู่ประมาณ 12-15 คน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของหลักสูตรจะอยู่ที่หลักสูตรละ 20,000-25,000 บาท13 อย่างไรก็ตาม พบว่าในปัจจุบันคนมาสมัครเรียนไม่เต็มจำ�นวนรับ ยกเว้นหลักสูตรที่เป็นที่นิยม เช่น หลักสูตรซ่อมจักรยานยนต์ เป็นต้น หรือหลักสูตรโครงการที่มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี ประชาชนรับรู้เป็นวงกว้าง หรือหลักสูตรที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ การคัดเลือกผู้เข้าอบรมจะมีการสอบคัดเลือกเฉพาะหลักสูตรเตรียมเข้าทำ�งานเท่านั้น สำ�หรับหลักสูตรการฝึก เพื่อยกระดับและการฝึกอาชีพเสริมนั้นจะไม่มีการสอบคัดเลือก จะใช้ระบบผู้สมัครก่อนได้ก่อน เมื่อมีผู้สมัครเต็มจำ�นวนก็ จะปิดรับสมัคร นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายระดับประเทศที่ต้องการยกระดับฝีมือแรงงานไทยเพื่อรองรับเทคโนโลยี ขั้นสูงและ Thailand 4.0 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงได้มีการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับฝีมือแรงงาน เทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มเติมในปี พ.ศ.2560 นี้อีกด้วย รายละเอียดหลักสูตรเทคโนโลยีขั้นสูงสามารถดูเพิ่มเติมได้ใน Appendix C แผนภาพที่ 10 การอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2559
13 Appendix A 28
ที่มา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้จัดทำ�เป้าหมายจำ�นวนคนที่ต้องได้รับการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือ แรงงานในแต่ละปีเฉลี่ย 6 ปีย้อนหลังอยู่ที่ 3.57 ล้านคนต่อปี และได้ใช้งบประมาณเฉลี่ย 6 ปีย้อนหลังอยู่ที่ 2,066.63 ล้าน บาท แผนภาพที่ 11 และ 12 แสดงถึงจำ�นวนผู้ที่ต้องได้รับการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานและจำ�นวนงบประมาณราย จ่ายรวมปีงบประมาณ 2555 – 2560 และตารางที่ 13 แสดงถึงจำ�นวนแรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานและได้งาน ทำ� (จำ�แนกตามกิจกรรมการฝึกหลัก) ปีงบประมาณ 2557-2560
29
แผนภาพที่ 11 จำ�นวนคนที่ต้องได้รับการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานปีงบประมาณ 2555-2560 (หน่วย: ล้านคน)
ที่มา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน แผนภาพที่ 12 จำ�นวนงบประมาณรายจ่ายรวมปีงบประมาณ 2555-2560 (หน่วย: ล้านบาท)
ที่มา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
30
ตารางที่ 16 จำ�นวนแรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานและได้งานทำ� (จำ�แนกตามกิจกรรมการฝึกหลัก) ปีงบประมาณ 2557-2560 กิจกรรมการฝึกหลัก การฝึกเตรียมเข้าทำ�งาน ปี ผู้เข้ารับการฝึก ผู้จบการฝึก ผู้ได้งานทำ� สัดส่วนของผู้ได้งาน (คน) (คน) (คน) ทำ�ต่อผู้จบการฝึก (%) 2559 9,358 6,910 2558 8,698 6,651 2557 3,042 2,148 2556 7,186 4,510 3,061 67.87 2555 13,175 8,590 4,797 55.84 2554 12,796 7,982 1,625 20.36 2553 14,211 8,390 3,397 40.49 2552 16,394 9,658 877 9.08 กิจกรรมการฝึกหลัก การฝึกยกระดับฝีมือ ปี ผู้เข้ารับการฝึก ผู้จบการฝึก ผู้ได้งานทำ� สัดส่วนของผู้ได้งาน (คน) (คน) (คน) ทำ�ต่อผู้จบการฝึก (%) 2559 161,367 157,456 2558 154,398 151,083 2557 191,810 187,513 2556 314,422 310,185 135,556 43.70 2555 348,663 339,475 166,670 49.10 2554 149,228 142,081 119,013 83.76 2553 150,407 142,580 22,785 15.98 2552 166,307 157,483 22,225 14.11 31
ปี
ผู้เข้ารับการฝึก (คน)
2559 62,481 2558 48,010 2557 17,255 2556 39,182 2555 57,591 2554 94,673 2553 92,471 2552 90,965 ที่มา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
กิจกรรมการฝึกหลัก การฝึกอาชีพเสริม ผู้จบการฝึก ผู้ได้งานทำ� (คน) (คน) 61,727 47,350 16,880 38,571 56,440 91,876 89,189 86,229
4,784 9,031 43,228 13,168 10,012
สัดส่วนของผู้ได้งาน ทำ�ต่อผู้จบการฝึก (%) 12.40 16.00 47.05 14.76 11.61
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม การฝึกอบรมซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานนั้นมีข้อดีหลายประการดังต่อไปนี้ 1. การฝึกอบรมซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานนั้นจะมุ่งเน้นไปยังภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี โดยสัดส่วน ภาคทฤษฎีจะอยู่ที่2-3 ส่วน และภาคปฏิบัติจะอยู่ที่ราว7-8 ส่วน ในขณะที่โรงเรียนสายอาชีวศึกษาจะมุ่งเน้นไปยัง ภาคทฤษฎีมากกว่ากรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งผลให้ผู้ที่ผ่านการอบรมจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานโดยส่วนมาก จะมีทักษะในการปฏิบัติสูงกว่าผู้ที่เรียนอาชีวศึกษา 2. นายจ้างในประเทศไทยนั้นต้องการแรงงานที่มีฝีมือมากกว่าแรงงานที่มีทฤษฎีแม่นยำ� ดังนั้นการฝึกอบรมจะ เหมาะแก่การหางานทำ�มากกว่าการเรียนอาชีวศึกษา 3. ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานนั้นสามารถเข้าไปทำ�งานในอุตสาหกรรมได้เช่นเดียวกันกับ ผู้ที่จบอาชีวศึกษา 4. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมก็น้อยกว่าการไปเรียนอาชีวศึกษา ในปัจจุบันการฝึกอบรมกับทางกรมพัฒนาฝีมือ แรงงานนั้นไม่มีค่าใช้จ่าย จากเหตุผลข้างต้นนั้นจะเห็นได้ชัดว่าการฝึกอบรมนั้นมีข้อดีหลายประการ แต่ในปัจจุบันนั้นมีผู้ที่เข้ารับการฝึก อบรมจำ�นวนน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากทัศนคติและค่านิยมของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากการทำ�งานที่ต้องใช้ทักษะและ ฝีมือเป็นการให้ความสำ�คัญกับใบปริญญา และนโยบายรัฐที่ออกมาทำ�ให้ช่องว่างของเงินเดือนระหว่างผู้จบปริญญากับ แรงงานผู้มีทักษะสูงมาก ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหา Labor Mismatch ในสังคมไทย ทางรัฐบาลจึงควรหันมาส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ 32
หลักสูตรต่าง ๆ ที่จัดฝึกอบรมโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้มากขึ้นเพื่อการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด การติดตามผลหลังการฝึกอบรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้มีการพยายามทำ�การติดตามผลหลังการฝึกอบรมเสมอมา แต่มักไม่ประสบความ สำ�เร็จเท่าที่ควร โดยวิธีการติดตามผลและปัญหาที่เกิดขึ้นที่ใช้มีดังต่อไปนี้ 1. โทรศัพท์สอบถาม - กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะโทรศัพท์สอบถามไปยังเบอร์โทรศัพท์ที่ให้ไว้ในใบสมัคร แต่มักพบปัญหาไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ รวมถึงปัญหาการใส่ข้อมูลเบอร์ โทรศัพท์ในใบสมัครผิด 2. ส่งจดหมายไปยังที่อยู่บ้าน - พบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมาที่กรมประมาณร้อยละ 10-20 เท่านั้น 3. ติดตามผ่านระบบประกันสังคม - หากผู้ที่มารับการอบรมไปทำ�งานในบริษัทที่มีระบบประกันสังคม ทางกรม พัฒนาฝีมือแรงงานจะสามารถติดตามเงินเดือน ตำ�แหน่งงานและรายละเอียดอื่น ๆ ของผู้รับการอบรมได้ แต่โดยส่วนมากผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมเหล่านี้จะไปทำ�งานในบริษัทขนาดเล็กซึ่งบริษัทมักไม่ส่งประกันสังคม จึงไม่สามารถติดตามตรวจสอบได้
3.2 กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (Skill Development Fund) เนื่องจากการพัฒนาฝีมือแรงงานของคนในประเทศนั้นถือเป็นหนึ่งในภารกิจสำ�คัญของรัฐบาลที่จะช่วยส่งเสริม ให้คนในประเทศมีการยกระดับคุณภาพและทักษะฝีมือแรงงานของตน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและช่วยกันพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมในประเทศ ดังนั้นในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเองได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญนี้จึงมี การจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกันคือการยกระดับฝีมือแรงงานของคนในประเทศ เช่น National Skill Development Fund (NSDC) ในประเทศอินเดีย และ Human Resources Development Fund ในประเทศมาเลเซีย เป็นต้น กรณีศึกษาประเทศอินเดีย - National Skill Development Fund (NSDC) กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติของประเทศอินเดีย เป็นองค์กรไม่แสวงหากำ�ไร จัดตั้งขึ้นใน ปี พ.ศ.2552 โดยรัฐบาลอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะให้กับประชาชนภายในประเทศ ด้วยการสร้างขีดความสามารถ ในการพัฒนาทักษะและสร้างความเชื่อมโยงกับตลาด NSDC เพื่อเป็นตัวเร่งในการพัฒนาทักษะ โดยให้เงินทุนแก่องค์กร บริษัท และองค์กรที่ให้การฝึกอบรมทักษะต่าง ๆ กองทุนนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเพิ่มการกระตุ้นและพัฒนาทักษะของเยาวชนอินเดีย โดยใช้กิจกรรมเฉพาะด้านต่าง ๆ โดยมีกองทุนทรัสต์ ซึ่งจัด ตั้งขึ้นโดยรัฐบาลอินเดีย เป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของกองทุน และเป็นผู้รับผิดชอบด้านการบริหารงาน โดยรับการบริจาค ในรูปแบบของเงินสดหรือสิ่งของจากผู้ร่วมสมทบทั้งหมด รวมทั้งรัฐบาล หน่วยงานพหุภาคี บริษัท และอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของกองทุน 33
นอกจากนี้กองทุนพัฒนาฝีมือแห่งชาติของประเทศอินเดียยังมีการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนและ ประสานงานการริเริ่มของภาคเอกชน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 NSDF ได้เปิดตัว Rs (STAR) และ UDAAN Scheme (J & K oriented) โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาโครงการพัฒนาทักษะ ได้แก่ National Skill Certification (STAR) และ UDAAN Scheme (J & K oriented) NSDC มีผู้ฝึกอบรมทั้งหมด 160 คนและศูนย์ฝึกอบรม 1722 แห่งซึ่งได้รับการ ฝึกอบรมมาแล้วประมาณ 3,500,000 คนทั่วประเทศอินเดีย การดำ�เนินงานบัญชีของกองทุนทรัสต์ จะต้องได้รับการตรวจสอบ CAG โดย Chartered Accountant และ ได้รับการกำ�กับดูแลโดย GOI ทุกปีงบประมาณ นอกจากนี้กองทุนทรัสต์ได้ร่วมงานกับ IL & FS Trust Company Ltd (ITCL) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรผู้ดูแลกิจการที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศอินเดีย เพื่อทำ�หน้าที่กำ�กับดูแลอย่างรอบคอบ ของ บริษัท คู่ค้าและติดตามผลประโยชน์ของกองทุนนี้ การดึงดูดเงินทุนจากภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเอกชน เงินทุนส่วนใหญ่จะมาจากเงินทุนของแต่ละบริษัทที่ต้อง ใช้ใน CSR อย่างน้อยร้อยละ 25 เพื่อเพิ่มขีดจำ�กัดในการพัฒนาทักษะโดยตรงหรือผ่าน NSDF นอกจากนี้อุตสาหกรรม ควรจัดสรรเงินอย่างน้อยร้อยละ 2 ของค่าจ้าง (รวมทั้งแรงงานสัญญาจ้าง) เพื่อพัฒนาทักษะในแต่ละสาขา กองทุนเหล่านี้ สามารถจัดทำ�เป็นช่องสำ�หรับกิจกรรมการพัฒนาทักษะได้โดยผ่าน SSCs หรือผ่าน NSDF รัฐบาลทุกภาคส่วนจะได้รับการสนับสนุนให้จัดสรรงบประมาณร้อยละ 10 ของงบประมาณโครงการไปสู่การ สานต่อทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคที่จำ�เป็นในภาคบังคับ เงินเหล่านี้สามารถนำ�ไปใช้โดยตรงหรือส่งผ่าน NSDF รัฐบาล อาจพิจารณาถึงทางเลือกอื่น ๆ รวมถึงการใช้เงินออมเป็นต้นเพื่อระดมทุนเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคส่วนนี้ การระดมทุนของประชาชนผ่านรูปแบบการจ่ายเงินขั้นพื้นฐานจะเป็นสื่อสำ�คัญในการ กิจกรรมการฝึกอบรม อย่างไรก็ตามรัฐบาลเชื่อว่าการที่ประชาชนไม่สามารถจ่ายค่าฝึกอบรมได้นั้น ไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมทักษะที่ ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน ดังนั้นรัฐบาลจึงได้มีการสนับสนุน ด้วยการมอบทุนการศึกษารางวัลและใบกำ�กับทักษะ (Skill Voucher: SV) เพื่อระดมทุนในการฝึกอบรมสำ�หรับผู้สมัครที่ต้องการจะพัฒนาขีดความสามารถนั้น โดยผู้สมัคร สามารถสมัครได้ทุกกิจกรรมฝึกอบรมทั้งหมดที่ NSQF ที่ผ่านการรับรองโดยใช้ Skill Voucher ซึ่งจะเชื่อมโยงกับ Aadhaar และบัญชี Jan Dhan หรือบัญชีธนาคาร อย่างไรก็ตามการเรียกเก็บค่าจ่ายนี้จะเรียกเก็บจากรายได้ในอนาคตซึ่งจะเชื่อม โยงกับการกู้ยืมเงินผ่าน Skill Voucher ข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอเพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ การได้รับและการใช้จ่ายคืน (Environment of Learn, Earn, and Pay.) โดยสามารถแลกคืน Skill Voucher ผ่านศูนย์ฝึกอบรบที่ได้รับการรับรองจากภาครัฐตาม กำ�หนดการชำ�ระเงินที่เชื่อมโยงกับประสิทธิภาพในการทำ�งาน โดยขึ้นอยู่กับความสำ�เร็จในการฝึกอบรม ทุนการศึกษา และเงินช่วยเหลือถึงร้อยละ 100 ที่เชื่อมโยงกับ Skill Voucher จะได้รับการจัดเตรียมไว้สำ�หรับบางส่วนของสังคมที่ด้อย โอกาส อย่างไรก็ตามร้อยละ 30 ของทุนสนับสนุนนี้จะเชื่อมโยงกับการจ้างงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี นอกจากนี้ยังมั่นใจได้ว่าแผนการทั้งหมดของรัฐบาลสำ�หรับการโอนผลประโยชน์โดยตรง (DBT) จะใช้เป็น กลไกในการชำ�ระเงินการเบิกจ่ายของกองทุนค้ำ�ประกันสินเชื่อเพื่อการพัฒนาทักษะ ดังนั้นจึงได้ตั้ง National Credit Guarantee Trustee Company (NCGTC) ขึ้นเพื่อสนับสนุนการกู้ยืมเพื่อการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานโดยเฉพาะ และจะ ใช้ในการยกระดับเครดิตการจัดหาเงินทุนในทักษะต่าง ๆ รวมถึงจะขยายตัวต่อไปเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของ ประชาชนได้มากขึ้น ในทำ�นองเดียวกันกองทุนประกันเครดิตเพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการที่มีมูลค่า 3,010 ล้านรูปีต่อปี 34
ได้เริ่มดำ�เนินการแล้วภายใต้นายกรัฐมนตรี MUDRA Yojna ผ่าน NCGTC กรณีศึกษาประเทศมาเลเซีย - Human Resources Development Fund กองทุนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development Fund หรือ HRDF) ของประเทศ มาเลเซีย เป็นองค์กรภายใต้กระทรวงทรัพยากรมนุษย์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 ภายใต้พระราช บัญญัติ The Pembangunan Sumber Manusia Bhd Act 2001 (PSMB Act 2001) HRDF ได้รับมอบอำ�นาจจากรัฐบาล มาเลเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการพัฒนาแรงงาน ให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะเฉพาะและทันสมัย ซึ่ง การฝึกอบรมและการยกระดับทักษะถือว่ามีความสำ�คัญอย่างยิ่งในการยกระดับคุณภาพของบุคลากรให้มีความหลาก หลายและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีและธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อช่วยให้ประเทศมาเลเซียกลายเป็น ประเทศที่มีรายได้สูง ในปี พ.ศ. 2563 จากรายงานการดำ�เนินการของ HRDF พบว่ากองทุนมีทรัพย์สินรวม 1,389,571,883 ริงกิตมาเลเซียในปี พ.ศ. 2557 และ 1,605,825,662 ริงกิตมาเลเซียในปี พ.ศ. 2558 ภาษีการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resources Development levy) • มาตรา 14 (1) แห่งพระราชบัญญัติ PSMB พ.ศ. 2544 กำ�หนดว่าผู้ประกอบการทุกรายจะต้องจ่ายภาษีการ พัฒนาทรัพยากรบุคคล สำ�หรับพนักงานแต่ละคนในอัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างรายเดือนของพนักงาน • มาตรา 15 (2) แห่งพระราชบัญญัติ PSMB พ.ศ. 2544 กำ�หนดให้ผู้ประกอบการจ่ายภาษีการพัฒนา ทรัพยากรบุคคล ให้แก่พนักงานแต่ละคนในอัตราร้อยละ 0.5 ของค่าจ้างรายเดือนของพนักงาน (สำ�หรับ พนักงานที่ลงทะเบียน) • ผู้ประกอบการที่ต้องจ่ายภาษีการพัฒนาทรัพยากรบุคคล จะต้องจ่ายเงินค่าจ้างดังกล่าวสำ�หรับค่าจ้าง เดือนแรกและเดือนถัดไปนับแต่วันที่ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบตามที่กำ�หนดไว้ในข้อ 7 ในกฎหมายการจด ทะเบียนผู้ประกอบการและการชำ�ระค่าประกาศ ของ Pembangunan Sumber Manusia Berhad และข้อ บังคับ พ.ศ. 2544 ระบุว่า การจ่ายเงินภาษีการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ ทุกราย โดยผู้ประกอบการไม่ได้รับอนุญาตให้หักค่าจ้างของพนักงานภายใต้สถานการณ์ใด ๆ โครงการของ HRDF 1. Recognition Prior Learning Scheme (RPL) เป็นโครงการที่ให้ผู้ประกอบกิจการกู้ยืม เพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานตามระดับที่กำ�หนดโดย Department of Skills Development (DSD) และ สนับสนุนให้แรงงานได้เข้ารับการฝึกอบรม Malaysia Skills Certification (SKM), Malaysia Diploma Skills (DKM) หรือ Malaysia Advanced Diploma Skills (DLKM) ตามระดับความสามารถของตน 2. Industrial Training Scheme เป็นโครงการที่ช่วยให้ผู้ประกอบกิจการได้รับความช่วยเหลือทางการเงินใน อัตราร้อยละ 100 หากผู้ประกอบการสนับสนุนการรับนักเรียนจากมหาวิทยาลัยวิทยาลัยหรือสถาบันฝึกอบรม เพื่อฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการของตน อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน สูงสุดไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดรวมในขณะที่ยื่นคำ�ขอ 35
3. Apprenticeship เป็นโครงการที่ต้องการเพิ่มอุปทานของแรงงานที่มีทักษะให้กับผู้ประกอบการในภาค อุตสาหกรรมที่กำ�หนดโดย PSMB และผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โครงการนี้ยังช่วยให้ ผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนกับ PSMB มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันด้วย โดยผู้ประกอบการมีสิทธิ์ได้รับเบี้ยเลี้ยงเต็ม รูปแบบขึ้นอยู่กับการเข้ารับการฝึกงานของผู้ฝึกงาน หากผู้เข้ารับการฝึกงานมีจำ�นวนมากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป ผู้ฝึกงานจะได้รับเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเต็มจำ�นวนเป็นจำ�นวนเงิน 500 เหรียญสหรัฐ แต่หากมีผู้เข้ารับการฝึกงานน้อย กว่าร้อยละ 80 เงินเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวจะถูกหารด้วยจำ�นวนวันที่เข้ารับการฝึกงาน โดยระยะเวลาการฝึกอบรมมี ตั้งแต่ 9 ถึง 27 เดือน ขึ้นอยู่กับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม 4. SME Training Partners (SMETAP) Scheme เป็นโครงการฝึกอบรมพิเศษด้วยความช่วยเหลือทางการเงินจาก PSMB ร้อยละ 100 โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือของ PSMB กับผู้ดำ�เนินการฝึกอบรม เช่น สถาบันฝึกอบรม อุตสาหกรรม (ILP) ศูนย์ฝึกผู้สอนและการฝึกอบรมทักษะขั้นสูง (CIAST) ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีขั้นสูง (ADTEC) และสถาบันความปลอดภัยในการทำ�งานและสุขภาพแห่งชาติ (NIOSH) โครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลทาง ด้านเทคนิคซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับทักษะของแรงงานไปพร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพของบริษัทในเวลาเดียวกัน สรุปจุดเด่นของกองทุน HRDF ของประเทศมาเลเซีย 1. กองทุนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development Fund หรือ HRDF) ของประเทศ มาเลเซีย จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการพัฒนาแรงงาน ให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะเฉพาะ และทันสมัย ผ่านการฝึกอบรมและการฝึกงานกับผู้ประกอบการ 2. กฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติ The Pembangunan Sumber Manusia Bhd Act 2001 (PSMB Act 2001) กำ�หนดว่าผู้ประกอบการทุกรายจะต้องจ่ายภาษีการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resources Development Levy) ตามอัตราที่กำ�หนด 3. กองทุน HRDF มีการจัดตั้งโครงการขึ้นมาหลายโครงการ เช่น โครงการฝึกอบรมพิเศษข้อมูลทางด้านเทคนิค เพื่อเพิ่มระดับทักษะความรู้ของแรงงานไปพร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพของบริษัท โครงการที่ให้ความช่วย เหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและทดสอบมาตรฐานของฝีมือแรงงาน เป็นต้น กรณีประเทศไทย - กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในประเทศไทย กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในประเทศไทยก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 มาตรา 27 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำ�หรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริม การพัฒนาฝีมือแรงงาน และมาตรา 28 (1) ให้ผู้รับการฝึกกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการเข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (2) ให้ผู้ดำ�เนินการฝึก ผู้ดำ�เนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และผู้ประกอบกิจการกู้ยืม เพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำ�เนิน การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน หรือการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินนั้นต่ำ�มาก สำ�หรับผู้เข้ารับ การฝึกจะคิดดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 1 ต่อปี และสำ�หรับผู้ดำ�เนินการฝึก ผู้ดำ�เนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน หรือ ผู้ประกอบกิจการจะคิดดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 3 ต่อปีเท่านั้น จากรายงานการดำ�เนินการของกองทุนในเดือนกุมภาพันธ์ 36
ปี พ.ศ.2560 พบว่ามีกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานมีเงินกองทุนอยู่ประมาณ 813 ล้านบาท 14 อย่างไรก็ตามพบว่ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในประเทศไทยนั้นไม่เป็นที่นิยมและรู้จักกันอย่างแพร่ หลายอัน เนื่องด้วยสาเหตุหลายประการ 1. ความไม่ใส่ใจในการเรียนรู้ของคนไทย - คนไทยจำ�นวนมากมักมีลักษณะนิสัยที่ไม่ใส่ใจในการเรียนรู้ หรือ ฝึกอบรมเพิ่มเติม นายจ้างมักมีแนวคิดว่าหากลูกจ้างมีฝีมือที่ดีขึ้นก็อาจจะย้ายงานไปทำ�บริษัทขนาดใหญ่แทน ในขณะเดียวกันลูกจ้างก็มักมีแนวคิดว่าไม่ว่าฝีมือจะดีขึ้นหรือไม่ ค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายก็ยังคงเดิม ดังนั้นหาก ไม่มีกฎหมายหรือข้อกำ�หนดบังคับ โดยปกติแล้วลูกจ้างหรือนายจ้างก็จะไม่ไปฝึกอบรมหรือเรียนรู้เพิ่มเติม 2. ทัศนคติและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป - สังคมไทยในปัจจุบันมีค่านิยมที่ให้ความสำ�คัญกับใบปริญญามากกว่า ฝีมือแรงงานที่แท้จริง ส่งผลให้คนส่วนใหญ่หันไปเรียนในหลักสูตรปริญญามากกว่าหลักสูตรภาคปฏิบัติที่เน้น เพิ่มพูนทักษะฝีมือแรงงาน 3. การประชาสัมพันธ์ที่น้อยเกินควร - ภาครัฐมีการจัดสรรงบประมาณสำ�หรับการประชาสัมพันธ์กองทุนที่น้อย เกินควร ทำ�ให้นายจ้างและลูกจ้างจากสถานประกอบการเพียงส่วนน้อยรู้จักกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน 4. หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินที่ยุ่งยากและมีข้อจำ�กัดสูง - หลักเกณฑ์การกู้ยืมของกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานนั้น มีเงื่อนไขมากและเงินที่ให้กู้ยืมแต่ละครั้งมีจำ�นวนน้อย15 ส่งผลให้มีข้อจำ�กัดในการกู้ยืมเงิน และส่งผลกระทบ ทำ�ให้มีผู้มายืมเงินเพื่อไปพัฒนาฝีมือแรงงานจำ�นวนน้อย
3.3 รายได้ขั้นต่ำ�ของแรงงานไทยและอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ในสังคมเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่บริษัทต่าง ๆ แสวงหากำ�ไรสูงสุด การได้มาซึ่งกำ�ไรที่เพิ่มขึ้นอาจทำ�ได้หลาย วิธี เช่น การเพิ่มราคาสินค้าและบริการ หรือการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการกดรายได้ของลูกจ้าง เป็นต้น ดังนั้นเพื่อ ป้องกันปัญหาการได้รับรายได้ที่ไม่เป็นธรรมของแรงงานไทย รัฐบาลจึงได้มีการออกกฎหมายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ�ขึ้น โดยในปัจจุบันค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ�ของประเทศไทยอยู่ที่วันละ 300 บาท และค่าจ้างขั้นต่ำ�อาจสูงกว่า 300 บาทเล็กน้อย ตามแต่ละพื้นที่(Appendex E) นอกจากนี้รัฐบาลยังให้ความสำ�คัญกับแรงงานที่มีทักษะ โดยมีแนวคิดที่ว่าแรงงานที่มีทักษะและฝีมือที่สูงกว่า ก็ควรจะได้รับค่าจ้างที่สูงกว่าแรงงานที่ไม่มีทักษะ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานจัดทำ�มาตรฐานฝีมือ แรงงาน และการจัดทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานขึ้น พร้อมทั้งได้ออกกฎหมายกระทรวงแรงงานว่าด้วยอัตราค่าจ้าง ตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน จำ�แนกตามสาขาอาชีพ ระบุให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ�ตามกฎหมายกำ�หนดต่อวัน (Appendix F) อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับนี้ได้ระบุโทษไว้ต่ำ�มาก เช่น หากนายจ้างไม่จ่ายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ�ตามที่กฎหมาย ระบุไว้ จะถือว่านายจ้างได้กระทำ�ผิด พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งจะมีโทษตามความหนักเบาของความผิด ตั้งแต่ปรับไม่เกิน 5,000 บาท ถึงจำ�คุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ16 ส่งผลให้นายจ้าง 14 สรุปรายงานผลการดำ�เนินงานและรายงานผลการเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน งวด 5 เดือน ประจำ�ปีงบประมาณ 2560 กรมพัฒนา ฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน 15 Appendix B 16 http://www.mol.go.th/employee/interesting_information/4120 37
จำ�นวนมากยังคงกดราคาอัตราค่าจ้างของแรงงานต่อไป นอกจากนี้ในกรณีที่แรงงานฝีมือประเภทนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานจะพบว่านายจ้างมีการจ่ายค่าจ้าง สูงกว่ากฎหมายอยู่แล้ว เช่น ช่างเชื่อมทิก ตามกฎหมายระบุให้จ่ายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ�วันละ 455-775 บาท แต่ในตลาด แรงงานจริงพบว่านายจ้างจ่ายค่าจ้างอยู่ที่วันละ 700-800 บาท เป็นต้น
3.4 ใบอนุญาต (License) ในปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้เล็งเห็นว่ามีอาขีพบางอาชีพที่สำ�คัญและหากผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ไม่มีความรู้ ความสามารถที่เพียงพออาจทำ�ให้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นและสังคมได้ ดังนั้นกระทรวงแรงงานจึงมีการออก ใบอนุญาตประกอบอาชีพขึ้น กล่าวคือหากผู้ใดต้องการประกอบอาชีพ จำ�เป็นต้องทำ�การขอใบอนุญาต หากไม่ได้รับใบ อนุญาตแต่ยังฝ่าฝืนประกอบอาชีพต่อไปจะถือว่ากระทำ�ผิดกฏหมาย ในปัจจุบันมีเพียงอาชีพเดียวที่บังคับให้มีใบอนุญาต คือ ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร อย่างไรก็ตามกระทรวงแรงงานกำ�ลังดำ�เนินการขึ้นใบอนุญาตอาชีพอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตราย ต่อสาธารณะต่อไป
3.5 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (Thailand Professional Qualification Institute: TPQI) เป็นองค์กรในกำ�กับของรัฐ ถูกจัด ตั้งขึ้นเพื่อปิดช่องโหว่ระหว่างระบบการศึกษากับตลาดแรงงานไทยและเติมเต็มช่องว่างของกระทรวงแรงงาน หน้าที่หลัก ของสถาบันคือการจัดทำ�มาตรฐานอาชีพให้ครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ จัดทำ�วิธีการตรวจประเมิน จัดตั้งองค์กรรับรอง และ ทำ�การทดสอบสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ โดยการรับรองมาตรฐานอาชีพของสถาบันฯนั้นได้รับมาตรฐาน ISO 17024 (มาตรฐานสากลว่าด้วยข้อกำ�หนดทั่วไปสำ�หรับหน่วยรับรองบุคลากร) ทำ�ให้มั่นใจว่าการรับรองมีความโปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ การจัดทำ�มาตรฐานวิชาชีพนั้นมีผลดีต่อทั้งนายจ้าง และหน่วยงานการศึกษา โดยนายจ้างสามารถสรรหาบุคคล ากรที่มีสมรรถนะตรงตามความต้องการกับงานของตนและสามารถนำ�มาตรฐานอาชีพนี้ไปกำ�หนดค่าตอบแทนที่เหมาะ สมแก่ลูกจ้าง สำ�หรับหน่วยงานการศึกษาก็จะสามารถนำ�เอามาตรฐานวิชาชีพมากำ�หนดหลักสูตรการเรียนการสอน พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของตนให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพ และเมื่อผู้เรียนสอบผ่านหลักสูตร ก็จะมั่นใจได้ ว่าสามารถออกไปทำ�งานได้จริงและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานจริง อย่างไรก็ตาม มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพที่ทางสถาบัน ฯ จัดทำ�ขึ้นยังมีจุดอ่อนอยู่ กล่าวคือ มาตรฐานคุณวุฒิ วิชาชีพที่จัดทำ�ขึ้นมานั้นไม่มีใครรู้จักและไม่มีใครใช้ ซึ่งปัญหาหลักเกิดจากการประชาสัมพันธ์ที่น้อยเกินไป นอกจากนี้ยัง มีความไม่สอดคล้องระหว่างมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพกับหลักสูตรที่เปิดสอน ส่งผลให้ในปัจจุบันผู้ที่ได้คุณวุฒิวิชาชีพตาม มาตรฐานยังมีน้อยมาก จึงทำ�ให้ตลาดแรงงานไม่สนใจ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน 1. รัฐบาลต้องเปลี่ยนรูปแบบและโครงสร้างการฝึกทักษะฝีมือแรงงาน จากเดิมที่ไม่มีมาตรฐาน หรือมีมาตรฐาน แต่ไม่มีคนยอมรับให้กลายเป็นมีมาตรฐานที่ทุกคนในประเทศยอมรับ 38
2. เนื่องจากจำ�นวนแรงงานผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีจำ�นวนน้อยเกินไป ดังนั้นรัฐบาลจึงควรช่วยสนับสนุนค่าฝึก อบรมผ่านการให้คูปอง มูลค่า 3,500 บาท จำ�นวน 1 ล้านใบต่อปี รวมเป็นเงิน 3,500 ล้านบาทต่อปี 3. สนับสนุนให้เอกชนเปิดฟรี Online Course ในหลักสูตรพัฒนาฝีมือแรงงานด้านต่าง ๆ โดยรัฐสนับสนุนงบ ประมาณ 4. กรมพัฒนาฝีมือแรงงานควรส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้จัดอบรมในทุกหลักสูตร เปลี่ยนบทบาทจากผู้จัดอบรมเอง และเป็นตัวกลางดูแลมาตรฐานหลักสูตรและอำ�นวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการหาหลักสูตรฝึกอบรม รูปภาพที่ 8 ข้อเสนอการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
39
บทที่ 4 การพัฒนาทักษะในภาคบริการ
การพัฒนาฝีมือแรงงานในประเทศไทยด้วยการพัฒนาทักษะในภาคบริการ นับเป็นการสนับสนุนภาคบริการให้ มีมูลค่าเพิ่มสูงและมีสาขาวิชาชีพที่หลากหลายมากขึ้น การพัฒนาทักษะแรงงานในภาคบริการในประเทศไทย นอกเหนือ จากการพัฒนาผ่านระบบการศึกษาสายสามัญและสายอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพแล้ว ยังมีระบบการศึกษาในรูปแบบของ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งเป็นหลักสูตรที่ใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 6 เดือน ถึง 2 ปี หลังจบการศึกษา จากระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหรือมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามคุณสมบัติที่แต่ละหลักสูตรกำ�หนด เมื่อจบการศึกษาผู้ เรียนสามารถนำ�ความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพได้ ประเทศไทยมีการเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับการรับรอง ตามสถานศึกษาจำ�นวนมาก ปัจจุบันมีหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับการรับรองจากสำ�นักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานกำ�หนดตำ�แหน่ง รวมทั้งหมด 134 หลักสูตร แบ่งเป็น สถาน ศึกษาภาครัฐจำ�นวน 132 หลักสูตร สถานศึกษาภาคเอกชนจำ�นวน 2 หลักสูตร เป็นหลักสูตรที่สามารถประกอบอาชีพภาย หลังจบการศึกษาในสาขาต่าง ๆ เช่น ผู้ช่วยทันตแพทย์ ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม พนักงานบัญชี ช่าง อิเล็กทรอนิกส์ ช่างก่อสร้าง เป็นต้น ในปัจจุบันหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพในประเทศไทยมีทั้งแบบที่มีสภาวิชาชีพรับรองหลักสูตร มีการจัดทำ� มาตรฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบที่ดีอยู่แล้ว แต่ยังมีปัญหาในเรื่องการผลิตบุคลากรได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของ ตลาดแรงงาน เช่น หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล เป็นต้น และ แบบที่ไม่มีสภาวิชาชีพรับรองหลักสูตร แต่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เช่น หลักสูตรอบรมผู้ดูแลเด็ก หลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น
4.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพแบบที่มีสภาวิชาชีพรับรองหลักสูตร ปัจจุบันประเทศไทยมีสภาวิชาชีพที่มีพระราชบัญญัติวิชาชีพรองรับ จำ�นวน 14 สภาวิชาชีพ โดยแบ่งเป็นสภา วิชาชีพในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขจำ�นวน 7 สภาวิชาชีพ ได้แก่ แพทยสภา (พระราชบัญญัติวิชาชีพ เวชกรรม พ.ศ.2525) ทันตแพทยสภา (พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537) สภาการพยาบาล (พระราชบัญญัติ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) สภาเภสัชกรรม (พระราชบัญญัติวิชาชีพ เภสัชกรรม พ.ศ.2537) สภาเทคนิคการแพทย์ (พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ.2547) สภากายภาพบำ�บัด (พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำ�บัด พ.ศ.2547) และ สัตวแพทยสภา (พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545) และสภาวิชาชีพที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขจำ�นวน 6 สภาวิชาชีพ ได้แก่ สภาวิชาชีพบัญชี (พระราชบัญญัติ วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547) สภาวิศวกร (พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542) สภาทนายความ (พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528) สภาสถาปนิก (พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543) คุรุสภา (พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการ ศึกษา พ.ศ.2546) สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2551) สำ�หรับสภาวิชาชีพในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขจำ�นวน 7 สภาวิชาชีพ พบว่ามีเพียง 2 สภา วิชาชีพเท่านั้นที่มีการเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเพื่อผลิตบุคลากรผู้ช่วย คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วย 40
ทันตแพทย์ ได้รับการรับรองจากสภาทันตแพทย์ และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล ได้รับการรับรองจากสภา การพยาบาล ซึ่ง 2 อาชีพนี้นับว่ามีความสำ�คัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันความต้องการพยาบาลและทันตแพทย์มี สูงมาก จากรายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข พ.ศ.2558 ของสำ�นักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำ�นักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พบว่าจำ�นวนทันตแพทย์ทั่วประเทศ มีจำ�นวน 4,123 คน ต้องการ 7,444 คน ขาดแคลน 3,321 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 44.61 จำ�นวนพยาบาลทั่วประเทศ มีจำ�นวน 64,655 คน ต้องการ 111,168 คน ขาดแคลน 46,513 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 41.84 ดังนั้นการที่ทันตแพทย์และพยาบาลมีบุคลากรจากอาชีพผู้ช่วยทันตแพทย์และผู้ช่วย พยาบาลช่วยเหลือขณะปฏิบัติหน้าที่ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระงานของทันตแพทย์และพยาบาลในยามขาดแคลนบุคลากรได้ เป็นอย่างมาก หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลใช้ระยะเวลาศึกษา หลักสูตรไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยผู้เรียนต้องจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ค่าเล่าเรียนต่อปี การศึกษาประมาณ 18,000-80,000 บาท โดยบางสถาบันมีการสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับผู้เรียน เช่น ทุนเรียนดี หรือ ทุนการศึกษาเต็มจำ�นวน แต่ต้องใช้ทุนเมื่อจบการศึกษา เป็นต้น เมื่อจบการศึกษาผู้เรียนจะได้รับค่าตอบแทนจากการ ประกอบอาชีพผู้ช่วยทันตแพทย์และผู้ช่วยพยาบาลในสถานบริการภาครัฐและภาคเอกชน ประมาณ 11,500-21,000 บาท ซึ่งนับว่าการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพหลักสูตรไม่น้อยกว่า 1 ปีนี้ เป็นการเพิ่มค่าตอบแทนให้กับผู้จบการ ศึกษาเกือบเทียบเท่าหรือสูงกว่าการจบการศึกษาจากหลักสูตรปริญญาตรีหลายสาขาอาชีพ โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษา เพียง 1 ปี ก็สามารถออกไปประกอบอาชีพได้ แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันที่จัดการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์ ที่ทันต-แพทยสภา ให้การรับรองหลักสูตร มีจำ�นวน 11 สถาบัน และสถาบันที่จัดการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลที่สภาการ พยาบาลให้การรับรองหลักสูตร มีจำ�นวน 6 สังกัด รวม 59 สถาบัน จากสรุปรายงานสถานการณ์การผลิตและการจ้างงาน ผู้ช่วยพยาบาลของ หน่วยบริการสังกัด สำ�นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า กรอบอัตรากำ�ลัง พ.ศ. 2560-2564 มีความต้องการผู้ช่วยพยาบาล 12,322 อัตรา โดยมีผู้ช่วยพยาบาลทำ�งานในปัจจุบันอยู่ประมาณร้อยละ 19.70 ของกรอบ ในภาพรวม อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับกรอบตำ�แหน่งการจ้างงานในปี พ.ศ. 2560 จำ�นวน 3,110 ตำ�แหน่ง คิดเป็น ร้อยละ 78.07 และมีตำ�แหน่งว่าง 682 อัตรา ทั้งนี้พบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา มีการกำ�หนดตำ�แหน่งและการจ้าง งานผู้ช่วยพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำ�หรับกำ�ลังการผลิต วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวง สาธารณสุข ผลิตได้ 1,600-2,000 คน ต่อปี สถาบันอื่น ๆ ทั้งรัฐและเอกชนผลิตประมาณ 4,000 – 7,000 คนต่อปี ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ ด้านการสร้างแรงจูงใจและการสนับสนุน มีดังนี้ 1.สภาการพยาบาล ได้ปรับปรุงประกาศว่า ด้วยเครื่องแต่งกาย ให้ใช้แบบฟอร์มขาวและสวมหมวกขีดเฉียง 2.สำ�นักการพยาบาล สำ�นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จัดทำ�คู่มือการบริหารอัตรากำ�ลังผู้ช่วยพยาบาล 3.สำ�นักนโยบายและยุทธศาสตร์ และกลุ่มกฎหมาย สำ�นักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข แก้ไขระเบียบเงินบำ�รุงฯ ฉบับที่ 5 เพื่อให้ผู้ช่วยพยาบาลได้รับค่าตอบแทนการทำ�งานล่วงเวลา (OT) 360 บาท/เวร และค่าตอบแทนเวรผลัด 145 บาท/เวร ประมาณการรายได้รวมต่อเดือน 13,920 บาท
41
ตารางที่ 17 ประมาณการรายได้รวมต่อเดือนของอาชีพผู้ช่วยพยาบาล เงินเดือน ค่าเวร ค่าล่วงเวลา P&P 8,330.00 1,740.00 2,880.00 1,000.00
รวม 13,920.00
ที่มา สรุปรายงานสถานการณ์การผลิตและการจ้างงานผู้ช่วยพยาบาลของ หน่วยบริการสังกัดสำ�นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สำ�หรับสาเหตุของการผลิตบุคลากรได้จำ�กัดในแต่ละปี จากการสัมภาษณ์ข้อมูลจากทันตแพทย-สภาและสภา การพยาบาล พบว่า ประเทศไทยยังมีมาตรการจำ�กัดปริมาณกำ�ลังคนภาครัฐ ขาดแคลนอาจารย์และอุปกรณ์การสอน หน่วยงานมีข้อจำ�กัดในการจ้างงาน
4.2 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพแบบที่ไม่มีสภาวิชาชีพรับรองหลักสูตร ปัจจุบันอาชีพในภาคบริการมีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้น หลายอาชีพเป็นอาชีพสำ�คัญที่จำ�เป็นต้องอาศัยความรู้ความ เชี่ยวชาญจากผู้ประกอบอาชีพ อย่างเช่น อาชีพผู้ดูแลเด็ก อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น อาชีพผู้ดูแลเด็กนับเป็นอาชีพหนึ่ง ที่มีความสำ�คัญต่อเด็กปฐมวัยมาก เนื่องจากประเทศไทยมีเด็กอายุ 0-5 ปี จำ�นวนทั้งสิ้น 4,429,374 คน คิดเป็นร้อยละ 6.74 ของจำ�นวนประชากรไทยทั้งหมด ซึ่งเด็กปฐมวัยนับเป็นวัยเริ่มต้นของพัฒนาการและชีวิตทุกด้าน ผู้ดูแลเด็กควรจะ ต้องมีความรู้ในเรื่องพัฒนาการเด็กและทักษะในเรื่องการดูแลเด็กเป็นอย่างดี โดยความต้องการผู้ดูแลเด็กได้แบ่งตามช่วง วัยต่าง ๆ ดังนี้ ตารางที่ 18 อัตราส่วนผู้ดูแลเด็กต่อเด็กในแต่ละช่วงวัย อายุเด็ก 6 เดือน – 1 ปี 1 – 2 ปี 2 – 3 ปี ที่มา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
อัตราส่วนผู้ดูแลเด็กต่อเด็ก 1:3 1:6 1 : 8-10
นอกจากนี้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 คือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 10.5 และจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2543-2573 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15.7 ในปี 2573 การเข้าสู่สังคมสูงอายุเช่นนี้ สิ่งสำ�คัญอย่างยิ่งก็คือการเตรียมความพร้อมในด้านสาธารณสุขและสังคม โดยเฉพาะการ เตรียมบุคลากรเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลพิเศษ ซึ่งผู้ดูแลผู้สูงอายุจำ�เป็นที่จะต้องมีความรู้และหลักในการดูแลผู้ สูงอายุก่อนเช่นกัน ปัจจุบันเริ่มมีสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กและหลักสูตร ประกาศนียบัตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มกำ�ลังบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะในการดูแลกลุ่มเป้า หมาย โดยหลักสูตรที่เปิดในสถานศึกษาจะได้รับการรับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ แต่ภายนอกสถานศึกษา พบว่ายังมีหลักสูตรที่ไม่ได้รับการประกันคุณภาพหรือรับรองหลักสูตรอีกจำ�นวนมาก นอกจากนี้ผู้ที่เรียนจบยังไม่มีการ 42
ประเมินคุณวุฒิของวิชาชีพอย่างจริงจัง ทำ�ให้นายจ้างไม่ได้รับการรับรู้ความรู้ความสามารถที่แท้จริงของผู้ที่เข้าทำ�งาน แม้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้เริ่มดำ�เนินการจัดทำ�มาตรฐานอาชีพของผู้ดูแลเด็กและผู้สูงอายุขึ้นมา แต่ก็ยังไม่มีการบังคับ ให้ผู้ปฏิบัติงานในสายอาชีพนี้ไปรับการประเมินอย่างจริงจัง นอกจากนี้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กในประเทศไทย มีเพียงกฎหมายสิทธิเด็กเท่านั้น ยังไม่มีกฎหมายใดที่กำ�หนดเรื่องมาตรฐานผู้ดูแลเด็ก ซึ่งหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ควรจะต้องดำ�เนินการออกกฎหมายเพื่อระบุและสร้างมาตรฐานให้กับอาชีพต่าง ๆ ที่จำ�เป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถ เฉพาะทางในการทำ�งาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและการส่งเสริมศักยภาพให้กับแรงงานไทยให้มากขึ้น
4.3 หลักสูตรในภาคบริการที่ประเทศไทยควรเปิดเพิ่มในอนาคต (กรณีศึกษา ประเทศสิงคโปร์) ประเทศสิงคโปร์มีสถาบันที่ชื่อว่า The Institute of Technical Education หรือ ITE ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2535 เป็นสถาบันที่เปิดสอนสำ�หรับผู้ที่สำ�เร็จการศึกษาจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปหรือผู้ที่ทำ�งาน แล้ว ให้ผู้สำ�เร็จการศึกษามีโอกาสในการทำ�งานและอาชีพที่ดีรวมถึงโอกาสที่จะได้รับการศึกษาและฝึกอบรมเพิ่มเติมผ่าน หลักสูตรที่มีการฝึกปฏิบัติจริงและมีคุณภาพสูงตอบสนองต่อความต้องการและตอบสนองต่อตลาดสำ�หรับระบบเศรษฐกิจ โลก โดยสถาบัน ITE ได้ทำ�การเปิดหลักสูตรที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้นจาก 29 หลักสูตร 7 สาขาอาชีพ ในปี พ.ศ. 2543 เป็น 101 หลักสูตร 11 สาขาอาชีพ ในปี พ.ศ. 2559 หลักสูตรที่เปิดมีหลากหลายด้าน เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านธุรกิจและบริการ ด้านการออกแบบและสื่อ ด้านเทคโนโลยีอิเล็คทรอนิคส์ ด้านวิศวกรรม คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ตัวอย่างหลักสูตรที่เปิด เช่น Games programming & development Fitness training Landscape management and design Opticianary Cyber and network security และ Paramedic and Emergency Care เป็นต้น ซึ่งการที่สถาบัน ITE เปิดหลักสูตรในภาคบริการที่หลากหลายนับเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตและ สนับสนุนให้ผู้ท่ีสนใจสามารถเข้ารับการศึกษาและฝึกปฏิบัติงานเพื่อมีทักษะไว้ใช้ประกอบอาชีพที่ตนสนใจส่งผลต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศด้วย ข้อเสนอเชิงนโยบาย: การพัฒนาทักษะในภาคบริการ 1. สำ�หรับสภาวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขที่มีสภาวิชาชีพและมีการจัดตั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเพื่อ ผลิตบุคลากรผู้ช่วยอยู่แล้ว ได้แก่ ทันตแพทยสภาและสภาการพยาบาล ซึ่งมีการรับรองหลักสูตรและจัดทำ� มาตรฐานหลักสูตรอย่างเป็นระบบ แต่ยังมีการผลิตบุคลากรออกมาได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการทางด้าน สาธารณสุข สภาวิชาชีพเหล่านี้ควรสนับสนุนให้สถาบันการศึกษามีการเพิ่มจำ�นวนอาจารย์และงบประมาณใน การเปิดหลักสูตรเพิ่มในสถานศึกษาที่มีคณะทันตแพทยศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์แต่ยังไม่มีหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพระยะสั้น หรือขยายขนาดการรองรับจำ�นวนผู้เรียนให้เพิ่มมากขึ้นในสถานศึกษาที่มี การเปิดหลักสูตรนี้แล้ว ทั้งนี้สถานศึกษาควรคำ�นึงถึงการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับบุคคลที่สนใจแต่ ขาดแคลนทุนทรัพย์ ด้วยการจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มจำ�นวนผู้เรียนและผลิตบุคลากรต่อปีให้ มากขึ้น 2. สำ�หรับสภาวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขที่มีสภาวิชาชีพ แต่ยังไม่มีการจัดตั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เพื่อผลิตบุคลากรผู้ช่วย ควรสรรหาบุคลากรและสนับสนุนงบประมาณสำ�หรับการจัดตั้งหลักสูตรเพื่อผลิต 43
บุคลากรผู้ช่วยในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ที่ยังขาดแคลน เช่น ผู้ช่วยนักกายภาพบำ�บัด เป็นต้น เพื่อช่วยแบ่งเบา ภาระในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขและช่วยสร้างอาชีพให้กับบุคคลที่สนใจ โดยหลักสูตรผู้ช่วย ที่ได้รับการจัดตั้งในแต่ละสาขาวิชาชีพจะต้องได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพนั้นเพื่อให้ได้รับการตรวจสอบ มาตรฐานและประกันคุณภาพของหลักสูตรอย่างถี่ถ้วน 3. สำ�หรับหลักสูตรที่ยังไม่มีสภาวิชาชีพรับรองและยังไม่มีมาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพ เช่น หลักสูตรผู้ดูแล เด็ก หรือ หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น สนับสนุนให้มีการจัดตั้งหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ ที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพกำ�หนด ควรจัดตั้งองค์กรกลางของแต่ละสาขาอาชีพในการทำ�หน้าที่ตรวจสอบ จัดทำ� มาตรฐานและประกันคุณภาพหลักสูตรของสถาบันการศึกษา มีการตรวจสอบและประเมินมาตรฐาน คุณภาพ หลักสูตรของสถาบันการศึกษา ร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และควรมีการประชาสัมพันธ์เรื่องการสอบวัด ระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพให้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้มีการสอบวัดระดับความสามารถ ของผู้จบการศึกษาทุกคนก่อนออกไปประกอบอาชีพจริง เนื่องจากหลายอาชีพจำ�เป็นที่จะต้องใช้ความรู้ความ สามารถเฉพาะทางในการทำ�งาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนและเกิดการส่งเสริมศักยภาพให้กับ แรงงานไทยให้มากขึ้น 4. หลักสูตรในภาคบริการที่ประเทศไทยควรเปิดเพิ่มในอนาคต สนับสนุนให้มีการเปิดหลักสูตรของวิชาชีพที่ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในภาคบริการ เป็นหลักสูตรระดับ ปวช. หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดย หลักสูตรต้องสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพกำ�หนด
44
Appendix A: ค่าใช้จ่ายในการเปิดหลักสูตรอบรมของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ระยะเวลาหลักสูตรฝึกอบรมยกระดับ 30 ชั่วโมง จำ�นวนผู้เรียนต่อหลักสูตร 25 คน กรณีถูกสุด ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท 18,000 จำ�นวน 30 ชั่วโมง ค่าวัสดุฝึก หลักสูตรละ 0 (บางหลักสูตรก็ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น หลักสูตรคอมพิวเตอร์ เป็นต้น) ค่าบริหารจัดการหลักสูตร 1,000 รวมค่าใช้จ่าย 19,000 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน 760
กรณีทั่วไป 18,000
กรณีแพงสุด 18,000
หน่วย บาท
3,000
5,000
บาท
1,500 22,500 900
2,000 25,000 1,000
บาท บาท บาท
45
Appendix B: หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน17 1. ผู้มีสิทธิกู้ยืม i. ผู้รับการฝึก ii. ผู้ดำ�เนินการฝึก iii. ผู้ดำ�เนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน iv. ผู้ประกอบกิจการ 2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิกู้ยืมเงิน • กรณีผู้รับการฝึก i. มีสัญชาติไทย ii. มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 50 ปี iii. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย iv. มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท v. ไม่เป็นลูกหนี้ของกองทุน • กรณีผู้ดำ�เนินการฝึก ผู้ดำ�เนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน หรือผู้ประกอบกิจการ vi. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย vii. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย viii. ไม่เป็นลูกหนี้ของกองทุน 3. ผู้รับรองรายได้ กรณีผู้รับการฝึก ผู้กู้ยืมที่เป็นผู้รับการฝึกต้องจัดทำ�หนังสือรับรองรายได้และให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นผู้รับรอง i. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ� พนักงานราชการ พนักงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำ�นาญที่มี เงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้ประจำ�คงเหลือสุทธิไม่น้อยกว่า 10,000 บาทขึ้นไป ii. นายจ้างของผู้กู้ยืมเงิน iii. ผู้บริหารหรือสมาขิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้ปกครองท้องที่ระดับกำ�นันหรือผู้ใหญ่บ้าน 4. การคัดเลือกผู้มีสิทธิกู้ยืมกองทุน การคัดเลือกผู้มีสิทธิกู้ยืมกองทุนจะพิจารณาตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ i. สาขาอาชีพที่จะส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานตามที่รัฐมนตรีประกาศกำ�หนดตามมาตรา 7 (1) แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ดังนี้ a. สาขาอาชีพก่อสร้าง b. สาขาอาชีพอุตสาหการ 17 ร่าง คู่มือการให้กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ กรมพัฒนาฝีมือ แรงงาน กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ฝ่ายเงินอุดหนุนและเงินกู้ 46
c. สาขาอาชีพช่างเครื่องกล d. สาชาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ e. สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ f. สาขาอาชีพเกษตรอุตสาหกรรม g. สาขาอาชีพบริการ ii. มาตรฐานฝีมือแรงงานที่ทดสอบต้องเป็นมาตรฐานฝีมือแรงงาน ตามมาตรา 22 หรือมาตรา 26 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 iii. กรณีผู้รับการฝึกเป็นผู้กู้ยืม ให้พิจารณาจากรายได้และความจำ�เป็นที่ต้องกู้ยืม iv. เงื่อนไขอื่นตามที่คณะกรรมการกำ�หนด
5. วงเงินกู้ยืม กรณี: ผู้เข้ารับการฝึก ระยะเวลาการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน วงเงินกู้ยืม ไม่เกิน 3 เดือน ไม่เกิน 10,500 บาท มากกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ไม่เกิน 21,000 บาท มากกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 9 เดือน ไม่เกิน 31,500 บาท มากกว่า 9 เดือนขึ้นไป ไม่เกิน 42,000 บาท ค่าใช้จ่ายที่จำ�เป็นในการครองชีพระหว่างฝึกอบรม ประกอบด้วย 1. ค่าอาหารและค่าเดินทาง ให้กู้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2,000 บาทต่อเดือน และ 2. ค่าที่พัก ให้กู้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 1,500 บาทต่อเดือน
กรณี: ผู้ดำ�เนินการฝึก หรือผู้ประกอบกิจการเป็นผู้ดำ�เนินการฝึก ค่าใช้จ่ายการดำ�เนินการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน วงเงินกู้ยืม ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน ไม่เกิน 300,000 บาทต่อครั้ง
กรณี: ผู้ดำ�เนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน หรือผู้ประกอบกิจการส่งลูกจ้างเข้ารับการทดสอบมาตรฐาน ฝีมือแรงงาน ค่าใช้จ่ายการดำ�เนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน วงเงินกู้ยืม ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน ไม่เกิน 300,000 บาทต่อครั้ง
47
6. ดอกเบี้ยและระยะเวลาชำ�ระหนี้ กรณี: ผู้เข้ารับการฝึก – ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี วงเงินกู้ยืม ไม่เกิน 10,500 บาท ไม่เกิน 21,000 บาท ไม่เกิน 31,500 บาท ไม่เกิน 42,000 บาท
ระยะเวลาการชำ�ระคืน ไม่เกิน 12 เดือน ไม่เกิน 24 เดือน ไม่เกิน 36 เดือน ไม่เกิน 48 เดือน
กรณี: ผู้ดำ�เนินการฝึก ผู้ดำ�เนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน หรือผู้ประกอบกิจการ – ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี วงเงินกู้ยืม ระยะเวลาการชำ�ระคืน ไม่เกิน 300,000 บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 12 เดือน
7. วันเริ่มชำ�ระหนี้ กรณี: ผู้รับการฝึก ให้ชำ�ระหนี้เงินกู้ยืมคืนกองทุนภายหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกแล้ว 30 วัน โดยชำ�ระเป็นรายเดือน ภายใน วันที่ 5 ของเดือนถัดไป กรณี: ผู้ดำ�เนินการฝึก ผู้ดำ�เนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน หรือผู้ประกอบกิจการ ให้ชำ�ระหนี้เงินกู้ยืมคืนกองทุนภายหลังจากลงนามในสัญญาและได้รับเช็คแล้วโดยชำ�ระเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป
48
Appendix C: หลักสูตรพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับ Thailand 4.0 - การฝึกเทคโนโลยีชั้นสูง กลุ่มอาชีพ ชื่อหลักสูตร ชั่วโมงฝึกรวม ออกแบบและเขียนแบบไฟฟ้า การเขียนแบบงานไฟฟ้าด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระดับ 1 18 การเขียนแบบงานไฟฟ้าด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระดับ 2 12 ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ การวิเคราะห์ปัญหาและปรับแต่งรถจักรยานยนต์หัวฉีด 18 ปศุสัตว์ การจัดการสุขลักษณะและการใช้ระบบ HACCP ในอุตสาหกรรม 24 อาหาร เมคคาทรอนิกส์ ระดับ 1 54 เมคคาทรอนิกส์ เมคคาทรอนิกส์ ระดับ 2 60 เมคคาทรอนิกส์ ระดับ 3 66 เมคคาทรอนิกส์ ระดับ 4 66 กสิกรรม เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารขั้นสูง 12 การจัดการคุณภาพยางแผ่นตามมาตรฐาน GMP 12 เทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 30 การตรวจสอบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 18 ช่างคอมพิวเตอร์ พื้นฐานทางศิลปและการวาดภาพ 36 การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ 36 การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ 36 ช่างโทรคมนาคม การตรวจสอบคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์มือถือระบบ 3G และ 4G 30 ช่างอิเล็กทรอนิกส์ การประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมกระบวนการผลิต 18 การประยุกต์ใช้ระบบ RFID ควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าอุตสาหกรรม 18 การใช้ไมโครคอนโทลเลอร์ในงานอุตสาหกรรม ระดับ 1 30 การใช้ไมโครคอนโทลเลอร์ในงานอุตสาหกรรม ระดับ 2 30 การใช้ไมโครคอนโทลเลอร์ควบคุมงานอัตโนมัติ 30 การออกแบบสมองกลฝังตัวในโรงงานอุตสาหกรรม 30 การตรวจสอบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 30 การประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์กับเครื่องให้ความร้อนโดยวิธี 18 เหนี่ยวนำ�ไฟฟ้า การประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมระบบ RFID 18 การประยุกต์ใช้ระบบสมองกลฝังตัวในโรงงานอุตสาหกรรม ระดับ 1 18 การประยุกต์ใช้ระบบสมองกลฝังตัวในโรงงานอุตสาหกรรม ระดับ 2 0 49
ช่างไฟฟ้า
50
การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยอินเวอร์เตอร์ (VSD) การควบคุมกระบวนการผลิตผ่านระบบเครือข่าย การประยุกต์ใช้งาน Smart Relay เพื่อควบคุมมอเตอร์ การควบคุมการผลิตอัตโนมัติด้วยด้วยอุปกรณ์ Touch Screen การควบคุมระบบอุณหภูมิแบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์และทรานสดิวเซอร์ในกระบวนการผลิต การประยุกต์ใช้งาน Servo Motor การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าสำ�หรับอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้งาน PLC ในงานอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้งาน Profinet ในงานอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้งาน Industrial Ethernet ในงานอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้งาน AS-i ในงานอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้ระบบโปรฟิบัสในงานอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้โปรแกรม SCADA ในงานอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้เซอร์โวมอเตอร์ในงานอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้อินเวอร์เตอร์ในงานอุตสาหกรรม การประกอบ ติดตั้งโปรแกรมเมเบิ้ลคอลโทรลเลอร์ การติดตั้งโปรแกรมและการใช้คำ�สั่งเพื่อควบคุมการทำ�งาน ของโปรแก รมเมเบิ้ลคอลโทรลเลอร์ การประยุกต์ใช้โปรแกรมเมเบิ้ลคอลโทรลเลอร์เพื่อควบคุมมอเตอร์ การบำ�รุงรักษาโปรแกรมเมเบิ้ลคอลโทรลเลอร์ การประกอบ ติดตั้งระบบนิวเมติกส์ การประกอบ ติดตั้งระบบนิวเมติกส์ไฟฟ้า การใช้โปรแกรมเมเบิ้ลคอลโทรลเลอร์ควบคุมระบบนิวเมติกส์ การบำ�รุงรักษาระบบนิวเมติกส์ การประยุกต์ใช้งาน Servo Motor การควบคุมระบบอุณหภูมิแบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์และทรานสดิวเซอร์ในกระบวนการผลิต การควบคุมการผลิตอัตโนมัติด้วยจอควบคุมระบบสัมผัส การควบคุมด้วยระบบนิวแมติกส์ไฟฟ้า ระดับ 1 การควบคุมด้วยระบบนิวแมติกส์ไฟฟ้า ระดับ 2 การควบคุมด้วยระบบนิวแมติกส์ไฟฟ้าในงานอุตสาหกรรม
30 18 18 12 12 12 12 12 18 18 18 18 18 30 18 18 6 12 6 6 6 6 12 6 18 12 12 12 18 18 30
ช่างสีและตัวถัง ช่างกลโรงงาน
การควบคุมด้วยระบบนิวแมติกส์ การควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิกส์ การใช้โปรแกรมเมเบิ้ลคอนโทรลเลอร์ควบคุมระบบนิวแมติกส์ในงาน อุตสาหกรรม การใช้ระบบควบคุมแบบซีเควนซ์ในงานอุตสาหกรรม การควบคุมระบบไฟฟ้าแบบซีเควนซ์ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในระบบงานอุตสาหกรรม สาขา การพ่นซ่อมสีรถยนต์อัจฉริยะระบบซ่อมด่วน การทำ�แม่พิมพ์ฉีดโลหะ ระดับ 1 การทำ�แม่พิมพ์ฉีดโลหะ ระดับ 2 การทำ�แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ระดับ 1 การทำ�แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ระดับ 2 การใช้เครื่องมือวัดสามมิติ CMM ระดับ 1 การใช้เครื่องมือวัดสามมิติ CMM ระดับ 2 การใช้เครื่องมือวัดละเอียดทางมิติ การใช้ การบำ�รุงรักษาและการสอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดด้าน มาตรวิทยามิติ เทคนิคการใช้เครื่องวัด CMM และ ULM ช่างควบคุมเครื่องกลึง CNC ระดับ 1 ช่างควบคุมเครื่องกลึง CNC ระดับ 2 ช่างควบคุมเครื่องกลึง CNC ระดับ 3 การใช้เครื่องกลึง CNC การใช้มีดกลึง CNC การเขียนโปรแกรมเครื่องกลึง CNC การกลึงชิ้นงานด้วยเครื่องกลึง CNC การอ่านแบบเครื่องกลของงานกลึง CNC การประกอบอุปกรณ์เครื่องมือตัด การเขียนโปรแกรมเครื่องกลึง CNC การกลึงชิ้นงาน CNC การเลือกเครื่องมือตัดและการอ่านแบบเครื่องกล การเขียนโปรแกรม CAD / CAM งานกลึง CNC การกลึงชื้นงาน CNC
18 18 18 30 18 30 18 18 30 18 30 30 18 30 12 35 30 30 30 6 3 12 12 2 4 12 12 4 8 12 51
ช่างควบคุมเครื่องกัด CNC ระดับ 1 ช่างควบคุมเครื่องกัด CNC ระดับ 2 ช่างควบคุมเครื่องกัด CNC ระดับ 3 ช่างควบคุมเครื่องตัดโลหะด้วยเส้นลวด ระดับ 1 ช่างควบคุมเครื่องตัดโลหะด้วยเส้นลวด ระดับ 2 ช่างควบคุมเครื่องตัดโลหะด้วยเส้นลวด ระดับ 3 ช่างควบคุมเครื่องกัดโลหะด้วยไฟฟ้า EDM ระดับ 1 ช่างควบคุมเครื่องกัดโลหะด้วยไฟฟ้า EDM ระดับ 2 ช่างควบคุมเครื่องกัดโลหะด้วยไฟฟ้า EDM ระดับ 3 การควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิกส์ ช่างประกอบผลิตภัณฑ์โลหะ ช่างควบคุมเครื่องตัดโลหะด้วยเส้นลวด ระดับ 1 ช่างควบคุมเครื่องตัดโลหะด้วยเส้นลวด ระดับ 1 ช่างเชื่อม การเชื่อมทิกแบบออบิตอล ระดับ 1 การเชื่อมด้วยหุ่นยนต์ ระดับ 1 การตรวจสอบงานเชื่อม ระดับพื้นฐาน ข้อมูล ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2560 ที่มา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
52
30 30 30 30 30 30 30 30 30 18 30 30 18 60 72
Appendix D: การอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานไทย ปีงบประมาณ 2557 – 2559 D.1 ปีงบประมาณ 2557 – ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2557 ผลผลิต/กิจกรรม/โครงการ เป้าหมาย เข้าฝึก (ต.ค. 56 – ก.ย. 57) ผลรวมทั้งหมด 3,478,613 4,475,204 กรมดำ�เนินการเอง 217,833 254,405 ส่งเสริมเอกชนดำ�เนินการ 3,260,780 4,220,799 ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 36,910 42,990 D.2 ปีงบประมาณ 2558 – ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2558 ผลผลิต/กิจกรรม/โครงการ เป้าหมาย เข้าฝึก (ต.ค. 57 ก.ย. 58) ผลรวมทั้งหมด 3,601,030 4,693,526 กรมดำ�เนินการเอง 183,322 237,349 ส่งเสริมเอกชนดำ�เนินการ 3,417,708 4,456,177 ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 36,910 44,001 D.3 ปีงบประมาณ 2559 – ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2559 ผลผลิต/กิจกรรม/โครงการ เป้าหมาย เข้าฝึก (ต.ค. 58 ก.ย. 59) ผลรวมทั้งหมด 3,676,180 4,095,849 กรมดำ�เนินการเอง 195,700 286,201 ส่งเสริมเอกชนดำ�เนินการ 3,480,480 3,809,648 ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 29,340 72,025
ร้อยละ (เข้าฝึก)
จบฝึก
ร้อยละ (จบฝึก)
128.65 116.79 129.44 116.47
4,456,984 236,185 4,220,799 30,481
99.59 92.84 100.00 70.90
ร้อยละ (เข้าฝึก)
จบฝึก
ร้อยละ (จบฝึก)
130.34 129.47 130.38 119.21
4,675,596 219,419 4,456,177 32,865
99.62 92.45 100.00 74.69
ร้อยละ (เข้าฝึก)
จบฝึก
ร้อยละ (จบฝึก)
111.42 146.24 109.46 245.48
4,016,233 206,585 3,809,648 50,852
98.06 72.18 100.00 70.60
ที่มา: กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
53
Appendix E: ตารางอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ�ใหม่ ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ� (ฉบับที่ 8) ลำ�ดับที่
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ� เขตท้องที่บังคับใช้ (บาท/วัน) 1 300 ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ระนอง และสิงห์บุรี 2 49 305 กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำ�แพงเพชร จันทบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ เชียงราย ตราด ตาก นครนายก นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ราชบุรี ลพบุรี ลำ�ปาง ลำ�พูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สระแก้ว สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคายหนองบัวลำ�ภู อ่างทอง อำ�นาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และอุบลราชธานี 3 13 308 กระบี่ ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พังงา ระยอง สงขลา สระบุรี และสุราษฎร์ธานี 4 7 310 กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ตารางแสดงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ� ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 หมายเหตุ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ� (ฉบับที่ 8) เมื่อวัน ที่ 22 พฤศจิกายน 2559 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ที่มา กระทรวงแรงงาน http://www.mol.go.th/employee/interesting_information/4131
54
จำ�นวน (จังหวัด) 8
Appendix F: อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ จำ�แนกตามสาขาอาชีพ สาขาอาชีพ สาขาอาชีพช่างเครื่องกล 1. ช่างสีรถยนต์ 2. ช่างเคาะตัวถังรถยนต์ 3. ช่างซ่อมรถยนต์ 4. ช่างบำ�รุงรักษารถยนต์ 5. ช่างซ่อมเครื่องยนต์ดีเซล 6.ช่างเครื่องปรับอากาศรถยนต์ขนาดเล็ก สาขาอาชีพภาคบริการ 7. ผู้ประกอบอาหารไทย 8. พนักงานนวดไทย 9. นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม สปาตะวันตก (หัตถบำ�บัด) 10. นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม สปาตะวันตก (สุคนธ บำ�บัด) 11. นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม สปาตะวันตก (วารี บำ�บัด) 12. นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม สปาตะวันตก (โภชน บำ�บัด) สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ 13. ช่างซ่อมไมโครคอมพิวเตอร์ 14. ช่างไฟฟ้าในอาคาร 15. ช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม 16. ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก 17. ช่างอิเล็กทรอนิกส์ (โทรทัศน์) สาขาอาชีพช่างอุตสาหการ 18. ช่างเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ 19. ช่างเชื่อมแม็ก 20. ช่างเชื่อมทิก
อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 400 420 360 340 360 360
465 505 445 400 445 445
530 590 530 ไม่มี 530 530
400 440 490
510 580 650
ไม่มี 720 ไม่มี
540
715
ไม่มี
565
750
ไม่มี
615
815
ไม่มี
400 400 400 400 400
500 500 500 500 500
600 600 600 600 ไม่มี
460 400 455
530 500 615
670 600 775 55
21. ช่างเชื่อมท่อพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง 22. ช่างประกอบท่อ 23. ช่างทำ�แม่พิมพ์ฉีดโลหะ สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง 24. ช่างไม้ก่อสร้าง 25. ช่างก่ออิฐ 26. ช่างฉาบปูน 27. ช่างอลูมิเนียมก่อสร้าง 28. ช่างหินขัด 29. ช่างฉาบยิปซั่ม 30. ช่างมุงหลังคากระเบื้องคอนกรีต สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ 31. ช่างเย็บ 32. ช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี) 33. ช่างเครื่องเรือนไม้ 34. ช่างบุครุภัณฑ์ 35. ช่างสีเครื่องเรือน ที่มา http://lb.mol.go.th/main.php?filename=content01
56
460 400 480
ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ไม่มี ไม่มี ไม่มี
385 345 385 365 400 400 400
495 465 495 475 ไม่มี ไม่มี 510
605 585 605 585 ไม่มี ไม่มี 620
320 400 335 320 350
370 550 385 370 450
500 750 435 420 ไม่มี
Website: fit.or.th Facebook: Future Innovative Thailand Institute Address: 17/49 ซ.ประดิพัทธ์ 1 ถ.ประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
58