สงครามปัตตานี และทางออกสู่สันติภาพ

Page 1

สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สันติภาพ ใจ อึ๊งภากรณ์ ji.ungpakorn@gmail.com

บทความนี้เป็นความพยายามที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ในสงครามกลางเมืองที่ “ปาตานี-ภาคใต้” แต่จะเน้นการวิเคราะห์ จากมุมมองผู้ถูกกดขี่ที่กาลังเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ความยุติธรรม และสิทธิที่จะกาหนดการปกครองของตนเอง บทความนี้ต่างจากบทความของนัก วิชาการกระแสหลัก ที่ต้องการเขียนในกรอบที่ย อมรับลักษณะของพรมแดนรัฐไทย ปัจจุบัน และยอมรับอานาจของรัฐไทยและทหารเหนือประชาชน ผู้เขียนไม่ได้หวังเขียนเพื่อ เปลี่ยนใจพวกนายพลหรือ นักการเมือง แต่เขียนเพราะหวังว่าประชาชนธรรมดา ที่รักความเป็นธรรมและต้องการปฏิรูปให้สังคมก้าวหน้า จะได้อ่าน และนาไปคิด ถกเถียง และปฏิบัติต่อ สงครามในปาตานีเป็นสงครามร้ายแรง ตัวเลขของ กอ.รมน. ระบุว่าระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ มีคนเสียชีวิตในสงครามกลางเมืองนี้ 5,105 คน และบาดเจ็บ 9,372 น่าสังเกตว่ามากกว่าครึ่งหนึ่ง ของผู้เสียชีวิตเป็นคนมาเลย์มุสลิม ซึ่งทาให้เราเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่รัฐไทย ไม่ว่าจะสวมเครื่องแบบหรือนอกเครื่องแบบ เป็น ผู้ฆ่าประชาชนส่วนใหญ่ ในบทความนี้ผู้เขียนจะใช้คาว่า “ปาตานี” หรือ “ปาตานี-ภาคใต้” เพื่อระบุถึงสามจังหวัดที่รัฐไทยยึดครองอยู่และเคย เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ปาตานีโบราณ นั้นคือจังหวัด ปัตตานี นราธิวาส และยะลา รัฐไทยเป็นอุปสรรคหลักในการสร้างสันติภาพและการกาหนดอนาตเองของคนในพื้นที่ สงครามกลางเมืองปัจจุบันในปาตานีมีรากกาเนิดมาจากการสร้าง “รัฐชาติไทย” ในรูปแบบ “รัฐทุนนิยม” เป็นครั้งแรกใน สมัยรัชกาลที่๕ ก่อนที่จะมีการรวมศูนย์การปกครองในครั้งนั้น ชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ไทย มีการปกครองตนเองและการกระจายอานาจพอสมควร และหลายส่วน เช่นปาตานี เป็นรัฐอิสระ การสร้างรัฐสมัยใหม่ในรูปแบบรวมศูนย์ เกิดขึ้นในอาณานิคมตะวันตกด้วย เกิดในยุคที่ทุนนิยมเข้ามาในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับการล่าอาณานิคม จึงมีการสร้างรัฐรวมศูนย์ในมาลายู พม่า อินโดจีน และอินโดนีเซีย โดย อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลแลนด์ การยึดพื้น ที่ซึ่งในปัจจุบันเป็นประเทศไทยโดยรัฐบาลกรุงเทพฯ จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเดีย วกัน คือการล่าอาณานิคมและการสร้างรัฐทุนนิยมสมัยใหม่ การบังคับใช้ภาษากลาง และการส่งเสริม แนวชาตินิยมของส่วนกลาง โดยทาลายวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนพื้นเมือง เป็นองค์กระกอบสาคัญของกระบวนการ สร้างชาตินี้1 ถึงแม้ว่ารากกาเนิดของปัญหาในปาตานี-ภาคใต้อยู่ที่กระบวนการสร้างรัฐรวมศูนย์ในอดีต ซึ่งอาศัยข้อตกลงแบ่ง ดินแดนปาตานีระหว่างกรุงเทพฯ กับลอนดอนในปี ค.ศ. 1909 แต่การที่ความขัดแย้งและความรุนแรงยังดารงอยู่ทุกวันนี้ 1

ใจ อึ๊งภากรณ์ (๒๕๕๒) “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อถกเถียงทางการเมือง” WD Press กรุงเทพฯ หน้า 27 อ่านได้ที่ http://www.scribd.com/doc/42046714/ และ ใจ อึ๊งภากรณ์ (๒๕๔๓) “การเมืองไทยในทัศ นะลัทธิมาร์คซ์ ” ชมรมหนังสือประชาธิปไตยแรงงาน กรุงเทพฯ 1


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

ก็เพราะมีการผลิตซ้าการปราบปราม การกดขี่ และความอยุติธรรม ที่รัฐไทยกระทาต่อชาวมาเลย์มุสลิมมาตลอด ซึ่งจะลง รายละเอียดเพิ่มในหน้าต่อๆ ไป สิ่งที่สาคัญคือในยุคสมัยนี้ประชาชนในพื้นที่จานวนมากไม่มีความเชื่อมั่นในรัฐไทย และ อยากปลีกตัวออกไป เพราะรัฐไทยยึดครองปาตานีเหมือนอาณานิคม หลายคนอาจตั้งคาถามว่าทาไมส่วนอื่นของประเทศไทย เช่นภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มีขบวนการ อิสรภาพที่ต่อสู้เพื่อเอกราช เรื่องนี้ซับซ้อนและไม่ใช่ว่าคนในพื้นที่เหล่านั้น พึงพอใจกับรัฐไทยไปหมด แต่คาตอบหนึ่งคือใน กรณีภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ มีการดึงชนชั้นนาในพื้นที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นปกครอง “ไทย” มีการ เคารพวัฒนธรรมบ้าง และไม่มีปัญหาการกดขี่ทางศาสนาเพราะเป็นชาวพุทธ แต่ในกรณีปาตานีชนชั้นปกครองเก่าถูกเขี่ย ออกไปและวัฒนธรรม ศาสนา และภาษาถูกกดขี่อย่างหนัก เหมือนกับว่าชนชั้นปกครองไทยต้องการลบทิ้ งความเป็น ตัวเองของคนในพื้นที่ ให้หมดไป นอกจากนี้ในแง่ของเศรษฐกิจมีการทาให้ประชาชนเป็นคนชายขอบที่เข้าถึงการพัฒนาใน ส่วนอื่นๆ ไม่ได้อีก ด้วย เราไม่ควรแปลกใจที่ชนชั้นปกครองไทยมีผลประโยชน์โดยตรงที่มาจากการคุมพื้นที่ทั้งหมดที่ปัจจุบันอยู่ในเขตแดน ของประเทศ และพยายามอย่างถึงที่สุดที่จะปราบผู้ที่อยากแยกออกไปปกครองตนเอง รัฐต่างๆ ทั่วโลกไม่ได้ดารงอยู่อย่าง โดดเดี่ย ว แต่ดารงอยู่ใน “ระบบรัฐต่างๆ ของโลก” 2 และแต่ละรัฐมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่เท่าเทียม รัฐที่มีอานาจทาง ทหารและเศรษฐกิจจะกดขี่รัฐที่อ่อนแอกว่า นี่คือสภาพที่ เราเรียกว่า “จักรวรรดินิยม” จากงานเขียนของ เลนิน ชื่อ “รัฐกับการปฏิวัติ” เราเข้าใจได้ว่ารัฐมีไว้เป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองในการกดขี่ ควบคุมประชาชนภายในประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นล่าง เช่นเกษตรกรกับกรรมาชีพ รวมถึงชนชั้นกลางด้วย ดังนั้นจะเห็นว่าอานาจและผลประโยชน์ของรัฐมีทั้งมิติระหว่างประเทศกับภายในประเทศ รัฐไหนที่ดูอ่อนแอเพราะ ต้องยอมจานนต่อผู้ที่อยากแบ่งแยกดินแดนเพื่อปกครองตนเอง จะเสียเปรียบในการแข่ง ขันกับรัฐอื่นในโลกหรือใน ภูมิภาคอาเซี่ยน และเสียเปรียบในการที่จะควบคุมประชาชนทั้งหมดของประเทศอีกด้วย ด้วยเหตุนี้อุปสรรคหลัก ในการที่ชาวปาตานีจะได้เสรีภาพ คือรัฐไทยและผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองในรัฐไทย ถ้า เราเข้าใจตรงนี้ เราจะเข้าใจได้ว่าการวิงวอนขอความเมตตาจากชนชั้นปกครองไทย เพื่อสร้างอิสรภาพในปัตตานี ไม่ว่าจะ ด้วยการแบ่งแยกดินแดน หรือการปกครองตนเองภายในพรมแดนรัฐชาติไทย ย่อมไม่ประสบผลสาเร็จ ถ้าเสรีภาพจะ บังเกิด จะต้องมีการต่อสู้ แต่การต่อสู้มีหลายแบบ ไม่ใช่แค่การจับอาวุธ และผู้ที่จะสู้อาจต้องอาศัยแนวร่วมของขบวนการ เคลื่อนไหวทางการเมืองของคนชั้นล่างในพื้นที่อื่นด้วย เมื่อการต่อสู้เพื่อเสรีภาพย่อมนาไปสู่การเจรจา ผู้ที่สาคัญที่สุดในการเจรจาคือผู้ที่ถืออานาจทางการเมือง และมี ความชอบธรรมในการถืออานาจทางการเมืองนั้นด้วย พูดง่ายๆ ปัญหาสงครามในปาตานีต้องเป็นกระบวนการทาง การเมือง ไม่ใช่การใช้ทหารโดยรัฐไทย ทหารจึงไม่ควรมีส่วนในการเจรจาสันติภาพแต่อย่างใด

2

Alex Callinicos (2009) Imperialism and the Global Political Economy. Polity Press, Cambridge, U.K. 2


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

ลาดับเหตุการณ์ส าคัญที่เป็นรากฐานความรุนแรง 3 ๒๔๓๓ รัฐบาลของรัชกาลที่ ๕ เข้ามายึดครองส่วนหนึ่งของปัตตานี แบ่งกับอังกฤษ ซึ่งเป็นกระบวนการในการสร้างชาติ ไทยสมัยใหม่เป็นครั้งแรก มีข้อตกลงระหว่างอังกฤษกับกรุงเทพฯในปี ๒๕๔๒ (1909) ๒๔๖๔ รัฐบาลมีนโยบายบังคับให้ชาวมาเลย์มุสลิมเปลี่ยนเป็น “ไทย” ผ่านระบบการศึกษา และมีการบังคับเก็บ ภาษี ๒๔๖๖ การกบฏ Belukar Semak บังคับให้รัชกาลที่ ๖ ทบทวนนโยบายการปกครอง และประนีประนอมกับวัฒนธรรม พื้นเมืองของชาวปัตตานี ๒๔๘๑ เผด็จการทหารของจอมพล ป. พิบูล สงคราม ใช้นโยบายชาตินิยมไทยสุดขั้วเพื่อกดขี่ประชาชนภาคใต้ ๒๔๘๙ นายกรัฐมนตรี ปรีดี พนมยงค์ ส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นเมือง และยอมรับหลักการณ์ของเขตปกครองพิเศษในปี ๒๔๙๐ แต่ถูกรัฐประหารโดยกลุ่มทหาของจอมพลป.ฯ เลยพ้นจากอานาจ ฮัจญีสุหลง ผู้นาปัตตานีคนหนึ่ง เสนอว่าควรมีเขตปกครองตนเองพิเศษภายในรัฐชาติไทย แต่รัฐไทยไม่ฟังแล้ว ๒๔๙๑ ฮัจญีสุหลง ถูกจับคุมโดยรัฐบาลไทย ในเดือนเมษายนตารวจไทยก่อเหตุนองเลือด ฆ่าชาวบ้านที่ บ.ตุซงญอ อ.ระแงะ จ. นราธิวาส ๒๔๙๗ ฮัจญีสุหลงถูกฆ่าตายโดยคาสั่งของ พลตารวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ผู้ร่วมคณะเผด็จการกับจอมพลป.ฯ ๒๕๐๓-๒๕๑๓ เริ่มต้นในสมัยรัฐบาลเผด็จการของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีการขนชาวบ้าน “ไทย” พุทธจากภาค ตะวันออกเฉียงเหนือลงมาในเขตปาตานี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดครองพื้นที่ มีการห้ามใช้ภาษายะวีใน โรงเรียนรัฐและสถานที่ราชการ ในรอบ 60 ปีที่ผ่านมารัฐไทยกดขี่ บังคับ และใช้ความรุนแรงกับประชาชนเชื้อชาติมาเลย์มุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้ อย่างต่อเนื่อง ไม่เคยมีการเคารพศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมของคนพื้นเมืองแต่อย่างใด มีการห้ามใช้ภาษายะวี มีการ บังคับสอนประวัติศาสตร์ ภาษา และวัฒนธรรมไทยแบบกรุงเทพฯ มี การปิดโรงเรีย นศาสนาอิสลาม ในบางช่วงมีการ บังคับให้นักศึกษาสวดมนต์ศาสนาพุทธ แต่งตัวแบบคนภาคกลาง เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อ “ไทย”ๆ และมีการละเลยการพัฒนา เศรษฐกิจในท้องที่ในรูปแบบที่จะเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ 4 สถานการณ์ดังกล่าวดารงอยู่ได้ภายใต้การยึดครองพื้นที่ ในรูปแบบอาณานิคมโดยทหารและตารวจ การปกครองโดยข้าราชการจากที่อื่น และการใช้ความรุนแรงโดยรัฐอามาตย์

3

Nik Anuar Nik Mahmud (2006) The Malays of Patani. The search for security and independence. School of History, Politics and Strategic Studies, University Kebangsaan, Malaysia. Tengku Ismail C. Denudom (2013) Politics, Economy, Identity or Religious Striving for the Malay Patani. A case study of the conflicts: Thailand-Pattani. Peace Innovation Forum, Focus Southeast Asia, Lund, Sweden.ถ้าอยากอ่านเพิ่มควรเริ่มที่ งานของ ธงชัย วินิจจะกูล ในกรุ งเทพธุรกิจ ๑๗,๑๘,๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗ และงานของธเนศ อาภรณ์สุวรรณ (๒๕๔๙) “ความเป็นมาของทฤษฏีแบ่งแยก ดินแดนในภาคใต้ไทย” โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4 อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง (๒๕๔๙) มลายู : วัฒนธรรมรากเหง้า ใน “สถานการณ์ชายแดนใต้ มุมมองของภาคประชาคม” คณะกรรมการประสานงานภาค ประชาชนเพื่อจังหวัดชายแดนใต้ 3


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

ดังนั้นความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ไม่ได้เริ่มมาจากผู้กบฏ ชาวบ้านพุทธแต่อย่างใด

http://redthaisocialist.com/

และไม่ได้เป็นการต่อสู้กันระหว่างชาวบ้านมุสลิมกับ

กองทัพไทย ทหารไทยคือปัญหาหลักและอุสรรคต่อสันติภาพ เพราะทหารไทยมีผลประโยชน์ทางการเมืองจากสงครามนี้ หลายคน เข้าใจเรื่องของทหารที่ “ดึงงบประมาณ” ลงมาในพื้นที่ ปาตานี ผ่านการคอร์รับชั่นและการสร้างสถานการณ์ด้วยวิธีต่างๆ คาดว่าในปัจจุบันรัฐไทยทุ่มงบประมาณลงไป 160 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงบประมาณเพื่อต่อสู้กับขบวนการ แบ่งแยกดินแดน แม้แต่งบประมาณ “พัฒนา” เช่นงบประมาณในการสร้างสาธารณูปโภค ก็ถูกใช้โดยองค์ก รของทหารที่ รับเหมาก่อสร้าง เงินงบประมาณ 160 พันล้านนี้ ต้องมาเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจปกติในปาตานี ซึ่งคาดว่ามีมูลค่าแค่ 120 พันล้านบาท5 อย่างไรก็ตามเราต้องเข้าใจว่าประเด็นการปกป้องงบประมาณของทหารนี้เป็นประเด็นรอง เพราะผลประโยชน์หลัก ของทหารไทยในทาสงครามอย่างต่อเนื่องใน ปาตานี เป็น “ผลประโยชน์ทางการเมือง” กองทัพไทยต้องการแทรกแซงการเมืองและสังคมไทยตลอดเวลา เช่นผ่านการทารัฐประหาร ผ่านการคุมสื่อและ รัฐวิสาหกิจ ผ่านการฆ่าประชาชนผู้รักประชาธิปไตยแล้วลอยนวลไม่โดนคดี ตลอด หรือผ่านการที่นายพลอย่าง ประยุทธ์ จันทร์โอชา คิดว่าตนเองมีสิทธิ์ที่จะแสดงความเห็นในทุกเรื่อง เท่ากับนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชน แต่ การแทรกแซงการเมืองนี้ข องทหาร ขัดต่อหลักพื้นฐานของประชาธิปไตยที่ประชาชนไทยชื่นชมมานาน ดังนั้นทหารไทย ต้องสร้างและแสวงหาความชอบธรรมจอมปลอมด้วยการอ้างว่าเป็นหน่วยงานหลักในการปกป้องสถาบัน กษัตริย์ และ ปกป้องไม่ให้รัฐไทยถูกแบ่งแยกตามความต้องการของคนในพื้นที่ 6 พื้นที่ ปาตานี กลายเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยคนติดอาวุธ คือ 45% ของกองกาลังของกองทัพไทยประจาการอยู่ใน ปา ตานี-ภาคใต้ และมีประชาชนที่ถูกนามาติดอาวุธโดยรัฐไทยระหว่างเจ็ดถึงแปดหมื่นคน 7 สถานการณ์แบบนี้หมายความ ว่าประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วมในการพูดคุยและกาหนดอนาคตตนเอง เพราะการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการ แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้ที่มีมุมมองที่แตกต่างกัน ย่อมทาไม่ได้ในสภาพสงครามหรือในบรรยากาศความกลัวอันมา จากสังคมที่อยู่ภายใต้เงามืดของคนติดอาวุธ 8

5

Z. Abuza (2011) “The Ongoing Insurgency in Southern Thailand: Trends in Violence, Counterinsurgency Operations, and the Impact of National Politics.” Strategic Perspectives, No. 6. Institute for National Strategic Studies. National Defense University Press: Washington, D.C. 6 ใจ อึ๊งภากรณ์ (๒๕๕๓) “วิกฤตการเมืองประชาธิปไตย เราจะโค่นอามาตย์อย่างไร” WD Press อ่านได้ที่ http://www.scribd.com/doc/42689920/ 7 International Crisis Group (2009) Southern Thailand: Moving Towards Political Solutions? Asia Report N°181 – 8 December 2009. http://www.crisisgroup.org/library/documents/asia/south_east_asia/181_southern_thailand___moving_towards_political_solutions.pdf 8 B. Zawacki (2012) “Politically Inconvenient, Legally Correct: A Non-international Armed Conflict in Southern Thailand.” Journal of Conflict and Security Law 18 (1): 151-179. D. Sarosi & J. Sombatpoonsiri (2011) “Arming Civilians for Self-defense: The Impact of Firearms Proliferation on the Conflict Dynamics in Southern Thailand.” Global Change, Peace and Security: formerly Pacifica Review: Peace, Security and Global Change 23 (3): 387-403. 4


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

ทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่เราต้องลดบทบาทของทหาร ทั้งในแง่ปริมาณงบประมาณ บทบาทในสื่อหรือรัฐวิสาหกิจ บทบาท ทางการเมือง และบทบาทในการเจรจากับ “บีอาร์เอน” หรือกองกาลังกบฎอื่นๆ ถ้ารัฐไทยจริงใจในการเจรจาสันติภาพ และการใช้ “การเมืองนาทหาร” รัฐไทยต้องให้นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนเจรจา ไม่ใช่ไปยกให้ทหารหรือฝ่าย ความมั่นคงเป็นผู้เจรจา การให้ทหารหรือฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้เจรจากับ “บีอาร์เอน” ในยุคนี้ แปลว่านัก การเมืองปัจจุบันกลายเป็นลูกน้อง ของทหารในการกาหนดนโยบายทางการเมือง และมันสะท้อนการที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย และทักษิณ ชินวัตร ไปจับมือ กับทหารหลังการเลือกตั้งปี ๒๕๕๔ เรารู้มานานแล้วว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มีทักษิณเป็นที่ปรึกษา มีข้อตกลงกับทหารตั้งแต่ก ารเลือกตั้ง เราเห็นได้ชัด จากการที่รัฐบาลปกป้องการใช้กฏหมายเผด็จการ 112 เพื่อปิดปากคนก้าวหน้า พร้อมกันนั้นมีก ารปฏิเสธที่จะปล่อย นักโทษทางการเมืองเสื้อแดง โดยเฉพาะนักโทษทางความคิดที่ติดคุกภายใต้กฏหมาย 112 นี้ นอกจากนี้รัฐบาลไม่ยอม ดาเนินเรื่องอะไรทั้งสิ้นในการจับ ฆาตกรที่เข่นฆ่าเสื้อแดงในปี ๒๕๕๓ มาขึ้นศาล และเราเห็นภาพ นายก ยิ่งลักษณ์ ชิน วัตร อ่อนน้อมต่อประธานองค์มนตรี เปรม ติณสูลานนท์ การไม่ยอมนาฆาตกรของรัฐอามาตย์มาขึ้นศาลในกรณีที่ส่งทหารสไนเปอร์ไปฆ่าคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์และผ่าน ฟ้า เป็นการผลิตซ้าวัฒนธรรมเลวทรามของชนชั้นปกครองไทยที่ฆ่าประชาชนมือเปล่าในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๖ ตุลา พฤษภา ๓๕ และตากใบปี ๔๗ มันเป็นการผลิตซ้า “สิทธิ” อันไร้ความชอบธรรมของทหารที่จะแทรกแซงการเมืองต่อไป อีกนาน มันตรงข้ามกับกระแสปฏิรูปแบบ “นิติราษฏร์” ที่หวังสร้างสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย และเราไม่ควรลืมว่า ทักษิณเองน่าจะถูกลงโทษในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีตอนที่ชายมือเปล่าจานวนมากโดนทหารและตารวจฆ่าที่ตากใบ เป้าหมายหลักของทักษิณและรัฐบาลเพื่อไทยคือการกลับไปสู่ความ “ปกติ” ของระบบอามาตย์ที่มีการเลือกตั้งเป็น ฉากบังหน้า และมีลัทธิ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไว้ให้ความชอบธรรมกับความโลภและความชั่วทุก อย่างของชนชั้น ปกครอง ทักษิณและพรรคพวกเป็นคนจงรัก ภักดีมาตั้งแต่แ รก และไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายสาคัญอีกอัน คือการ กลับสู่ประเทศไทยของทักษิณ การเน้น “การทหาร” ในรูปธรรม ทั้งๆ ที่รัฐไทยโกหกว่าให้ความสนใจกับการแก้ปัญหาด้วย”การเมือง” มักจะออกมาใน รูปแบบการพูดซ้าแล้วซ้าอีกว่าฝ่ายบริหารของรัฐไทยควรพัฒนาประสิทธิภาพในการ “ประสานงาน” ของกองทัพ ตารวจ และฝ่ายปกครอง ซึ่งจริงๆ แล้วคือการแค่พูดว่ารัฐไทยควรมีประสิทธิภาพในการกดขี่ปราบปรามประชาชนที่ดีกว่านี้ มัน ไม่นาไปสู่การแก้ปัญหาแต่อย่างใด ตราบใดที่รัฐไทยยึดครองพื้นที่แบบอาณานิคม ด้วยการใช้อาวุธท่ามกลางการไม่ เคารพวัฒนธรรม ศาสนา หรือภาษาของคนในพื้นที่ และไม่เคารพว่าเขาปกครองตนเองได้ จะไม่มีความสงบที่มี เสถียรภาพ แน่นอนทหารไทยคงไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนรูปแบบพรมแดนหรือการปกครองอย่างง่ายๆ แต่ท หารบางคนเข้าใจดีว่า “การทหาร” เอาชนะขบวนการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของปาตานีไม่ได้ เพราะขบวนการกบฏต่อรัฐไทยมีฐานสนับสนุนใน หมู่บ้านต่างๆ และพลทหารธรรมดาของรัฐไทยที่ขนจากพื้นที่อื่นๆ เพื่อไปรบ ก็ไม่สนใจที่จะปกป้องชาติเท่าไร อยากแค่ เอาตัวรอดเพื่อกลับบ้านเท่านั้น ซึ่งไม่ได้แสดงว่าเขาขี้ขลาด แต่มันเป็นวิธีก ารหนีความตายของคนฉลาดมากกว่า ดังนั้น 5


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

บางครั้งเราจะเห็นว่านายทหารระดับสูงอย่าง ชวลิต ยงใจยุทธ อาจออกมาเสนอเรื่องเขตปกครองพิเศษ และเราไม่ควรลืม ว่าชวลิต ยงใจยุทธ มีประสบการณ์จากการใช้การเมืองในการสร้างสันติภาพในสงครามระหว่างรัฐไทยกับพรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พ.ค.ท.)อีกด้วย ประเด็นความรุนแรง ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นนักสังคมนิยมมาร์คซิสต์ ผู้เขียนมองว่าเราต้องยืนอยู่เคียงข้างผู้ที่ถูกกดขี่ขูดรีดเสมอ ซึ่งหมายความ ว่าเราต้องเห็นใจผู้ที่ออกมาต่อสู้ จับอาวุธ กบฏต่อรัฐไทยในปาตานี-ภาคใต้ และทั้งๆ ที่ผู้เขียนและชาวมาร์คซิสต์มองว่า วิธี การต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพในการปลดแอกประชนชน คือแนวมวลชน ไม่ใช่การจับอาวุธ เราต้องยืนยันว่า ตราบใดที่รัฐ ไทยใช้กาลังทหารและตารวจติดอาวุธเพื่อปราบปรามประชาชน ผู้กบฏต่อรัฐมี “สิทธิ”ที่จะจับอาวุธเช่นกัน เพราะการ เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายใช้ “สันติวิธี” เป็นการเรียกร้องนามธรรมที่มองว่าความรุนแรงของรัฐไทย เทียบเท่ากับการใช้ความ รุนแรงของฝ่ายถูกกดขี่ ซึ่งไม่จริง เราต้องชัดเจนว่าต้นก าเนิดและปัญหาหลักของความรุนแรงในสามจังหวัดคือรัฐไทย ไม่ใช่ฝ่ายกบฏ9 บ่อยครั้งองค์กรเอ็นจีโอมักจะเรียกร้องให้ “ทั้งสองฝ่ายยุติความรุนแรง” ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ไม่มีความหมาย ดังนั้นข้อเรียกร้องให้มีการสร้างสันติภาพและยุติความรุนแรง ต้องพุ่งเป้าไปที่รัฐไทยก่อนอื่น โดยเรียกร้องให้ถอนทหาร ออกจากพื้นที่ไปเลย ในขั้นตอนแรกอาจถอนทหารเข้ากรมกองค่ ายทหาร แต่ในขั้นตอนต่อไปต้องถอนออกจาก ปาตานี ไปเลย หลายคนที่ไม่เข้าใจสถานการณ์อาจมองว่าการถอนทหารจะทาให้ประชาชน “ไทยพุทธ” อยู่ในสภาพอันตราย แต่ใน ความเป็นจริงกองกาลังกบฎต่อรัฐไทย ไม่ได้รบกับเพื่อนบ้าน “ไทยพุทธ” เขารบกับเจ้าหน้าที่รัฐไทยต่างหาก มันไม่ใช่ สงครามเชื้อชาติหรือสงครามศาสนา และการมีทหารในพื้นที่ และการแจกอาวุธให้ประชาชนจานวนมาก ยิ่งสร้าง บรรยากาศความรุนแรงมากขึ้น และเพิ่มอันตรายให้พลเมืองทุกคนไม่ว่าจะเชื้อชาติศาสนาอะไร นักเขียนชาวอินเดียชื่อ อรุณดาทิ รอย (Arundhati Roy)10 เคยเสนอว่าการโจมตี “ผู้ก่อการร้าย” ของฝ่ายรัฐ ไม่มี ความชอบธรรม ถ้ารัฐไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า มีการเปิดโอกาสให้พลเมืองประท้วงและมองต่างมุมกับรัฐด้วยวิธี สันติ ในกรณีภาคใต้รัฐไทยไม่เคยเปิดพื้นที่ให้ประชาชนปกครองตนเองและกาหนดอนาคตตนเองเลย และเมื่อมีการ ชุมนุมอย่างที่เกิดขึ้นที่ตากใบ ก็มีการฆ่าประชาชน อรุณดาทิ รอย เสนออีกว่าภาคประชาชนไม่มีสิทธิ์โจมตี “การก่อการร้าย” ถ้านิ่งเฉยไม่ออกมาต่อต้านความรุนแรงและ อาชญากรรมของรัฐ ซึ่งเป็นประเด็นสาคัญ ทุกวันนี้มีองค์กร เอ็นจีโอ หลายองค์กรที่หากินหาทุน ด้วยโครงการ “สอนให้ คนมาเลย์มุสลิมใช้สันติวิธี” แทนที่จะไปกดดันสั่งสอนรัฐและทหาร ยิ่งกว่านั้น องค์กรเอ็นจีโอไทยจานวนมาก หรือคนที่อ้างว่าตนเองเป็น “ภาคประชาชน” หรือ “ภาคประชาสังคม” เป็น

9

ถ้าต้องการเข้าใจประเด็นนี้เพิ่มควรดู เอกรินทร์ ต่วนศิริ (๒๕๕๑) วิวาทะความรุนแรงที่ชายแดนใต้ระหว่างเยาวชนนักต่อสู้ที่ไม่ปฏิเสธความรุนแรงกับเยาวชนนัก สันติวิธี ใน South See (จุลสารเพื่อความเข้าใจวัฒนธรรม วิถีชีวิต และปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ ) ฉบับที่ 5 สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 10 Arundhati Roy (2004) The ordinary Person’s Guide to Empire. Harper Perennial. 6


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

พวกที่ไปเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับ พันธมิตรฯ เสื้อเหลืองในการล้มประชาธิปไตยและเชิญทหารเข้ามทารัฐประหาร ๑๙ กันยา องค์กรแบบนี้ไร้ความชอบธรรมโดยสิ้นเชิงในการมีส่วนในการสร้างเสรีภาพและประชาธิปไตยในปาตานี11 อาชญากรรมรัฐที่ตากใบ ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ กองกาลังติดอาวุธของรัฐไทยได้สลายการชุมนุมอย่างสันติของชาวบ้านที่ตากใบจังหวัด นราธิวาส ชาวบ้านที่มาประท้วงหน้า ส.น.ตารวจในวันนั้นประกอบไปด้วย ชาย หญิง และเด็ก สาเหตุที่มาประท้วงก็ เพื่อให้ตารวจปล่อยตัวชาวบ้านที่ถูกจับในข้อหานาอาวุธไปให้ พวกกบฏ อาวุธดังกล่าวเดิมมาจากภาครัฐที่บังคับให้ ชาวบ้านถือไว้ และเขามอบอาวุธให้คนอื่นเพราะถูกข่มขู่ ชาวบ้านกลัวว่าผู้ที่ถูกตารวจจับจะหายตัวไปหรือถูกซ้อมตาม เคย จึงมาประท้วงเพื่อให้ปล่อยเพื่อนบ้าน นอกจากจะมีการใช้รถดับเพลิงฉีดน้าใส่ผู้ป ระท้วงและใช้ก๊าซน้าตาแล้ว มีการยิงกระสุนปืนใส่ชาวบ้านจนตาย 6 คน บาดเจ็บอีกมากมาย หนึ่งในผู้บาดเจ็บจากกระสุนปืนของรัฐไทยเป็นเด็กอายุ 14 ขวบ ในขณะที่ฝ่ายชาวบ้านไม่มีอาวุธแต่ อย่างใด หลังจากที่สลายการชุมนุมดังกล่าว ทหารและตารวจบังคับให้ชายทุกคนนอนลงกับพื้น ถูกถอดเสื้อ ถู กเตะตี แล้วมี การมัดมือไว้ข้างหลัง ต่อมาทหารก็โยนชายเหล่านั้นขึ้นรถทหารที่ไม่มีหลังคา มีการบังคับให้นอนทับกันหลายชั้น ใคร ร้องเรียนประท้วงหรือไม่พอใจ จะโดนทุบ ตีและเหยียบและถูกทหารปรามว่า “เดี๋ยวจะรู้ว่านรกจริงเป็นอย่างไร” ชาย เหล่านั้นไม่ได้กระทาความผิดอะไรทั้งสิ้น แค่มาประท้วงตามสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นเราต้องเข้าใจว่า รัฐไทยมองว่าเขาเป็น “เชลยศึก” ที่จะถูกลงโทษ ไม่ใช่ “ผู้ต้องหา” ที่มีสิทธิ เชลยศึกดังกล่าวถูกนาไปส่งที่ค่ายอิงคยุทธิ์ จ. ปัตตานี ซึ่งใช้เวลาเดินทางกลางแดดหลายชั่วโมง พอรถทหารคันแรกถึ งค่ายอิงคยุทธิ์ปรากฏว่ามีคนตายที่นอนอยู่ ข้างล่างหลายคน 6 ชั่วโมงหลังจากนั้นรถคันสุดท้ายมาถึงค่ายทหารและมีคนตายทั้งหมด 78 ศพ ในหกชั่วโมงที่ทหาร ทราบว่าการขนส่งมนุษย์แบบนี้มีปัญหา ไม่มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีขนคนแต่อย่างใด ดังนั้นเราต้องเห็นด้วย กับข้อสรุปของ ส.ว.บางคนว่าเป็นการ “จงใจฆ่าประชาชน”12 พล.ท.พิศาล วัฒนวงศ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวต่อหน้ากล้องโทรทัศน์ข องสื่อมวลชนขณะที่เกิดเหตุการณ์ว่า “เราจะ ทาอย่างนี้อีกทุกครั้ง” นอกจากแม่ทัพภาคที่ 4 แล้วผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับอาชญากรรมของรัฐครั้งนี้คือ ผู้บัญชาการตารวจ ในพื้นที่ และที่สาคัญที่สุดคือนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร รัฐมนตรีกลาโหม และผู้บัญชาการทหารและตารวจ ระดับชาติ หลังเหตุการณ์ที่ตากใบนายกรัฐมนตรีทักษิณ ออกมาชมทหารและตารวจ และรัฐบาลอ้างว่าคนที่เสียชีวิตไป ตาย เพราะ ”อุบัติเหตุ” ในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ สี่ปีหลังเหตุการณ์ นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวศ โกหกกับนักข่าวโทรทัศน์ช่อง Al 11

ใจ อึ๊งภากรณ์ (๒๕๕๓) “วิกฤตการเมืองประชาธิปไตย เราจะโค่นอามาตย์อย่างไร” อ้างแล้ว “ความจริงที่ตากใบ” ไร้มนุษยธรรม ความชอบธรรมสิ้นสูญ เขียนโดย ส.ว.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ในปี ๒๕๔๗ ซึ่งเป็นเอกสารที่น่าเชื่อถือ แต่เราควรทราบว่าใน ภายหลัง เจิมศักดิ์ เงียบเฉยเวลารัฐบาลอภิสิทธิ์ฆ่าคนเสื้อแดงที่ร าชประสงค์ ผู้เขียนพยายามจะไม่ใช้สองมาตรฐานแบบที่เจิมศักดิ์กับพวกเสื้อเหลืองใช้ 12

7


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

Jazeera ว่าคนตายที่ตากใบตายเพราะ “ล้มทับกันเอง” “รัฐบาลทาผิดตรงไหน?” ในบทสัมภาษณ์เดียวกันสมัครโกหก อีกว่าในเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ “มีคนตายเพียงคนเดียว” “ไม่มีใครตายในธรรมศาสตร์” จาก ๖ ตุลา ผ่าน ตากใบ ไปสู่ ราชประสงค์ วัฒนธรรมอาชญากรรมของรัฐไทย คาโกหกของสมัคร สุนทรเวช เกี่ยวกับ ๖ ตุลาและตากใบ ไม่ ใช่เรื่องบังเอิญ สองเหตุการณ์ ๖ ตุลา กับ ตากใบ เป็นเพียง สองตัวอย่างในประวัติศาสตร์อันยาวนานของอาชญากรรมรัฐไทย ล่าสุดคือที่ราชประสงค์ ใครที่มีโอกาสดูวิดีโอเหตุการณ์ที่ตากใบที่ช่างภาพโทรทัศน์ถ่ายมา ซึ่งมีภาพถ่ายการสลายผู้ชุมนุมโดยทหารและ ตารวจ และการจับคุมวัยรุ่นเพื่อขนขึ้นรถอย่างป่าเถื่อน จะพบว่าสิ่งที่เตะตาที่สุดคือความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์นอง เลือด ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ที่ธรรมศาสตร์ เหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เป็นอาชญากรรมของรัฐไทยที่กระทาต่อคนหนุ่มสาวไทยที่ต้องการปกป้อง ระบบประชาธิปไตยและต้ องการสร้างความเป็นธรรมในสังคม 13 ผู้ที่ชุมนุมในธรรมศาสตร์ไม่พอใจที่เผด็จการถนอม กลับมาเมืองไทยหลังเหตุการณ์นองเลือด ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ในขณะเดียวกันส่วนอื่นของสังคมไทยมองต่างมุมกับ นักศึกษา ต้องการปราบปรามภาคประชาชนและสร้างระบบเผด็จการ เจ้าหน้าที่ตารวจที่นครปฐมได้ ฆ่าและแขวนคอ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสองคน ที่กาลังติดโปสเตอร์ประท้วงการกลับมาของถนอม ฝ่ายวิทยุยานเกราะและพวก อันธพาลขวาสุดขั้วเรียกร้องให้มีการ “จัดการ” กับนักศึกษาให้เด็ดขาด ฝ่ายพรรคชาติไทยวางแผนจะก่อเรื่องเพื่อทา รัฐประหาร การนาถนอมและประภาสกลับมาไทยเป็นส่วนหนึ่งของแผนนี้ การที่รัฐบาล และชนชั้นนาไทย มีส่วนในการก่ออาชญากรรม ๖ ตุลา และสังคมเราไม่มีการออกมาทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น และบทบาทของแต่ละคนในเหตุการณ์นั้น เป็นสิ่งที่ปูทางไปสู่การใช้ความรุนแรงของรัฐบาลต่อประชาชนไทยอย่าง ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น พฤษภาคม ปี ๒๕๓๕ การฆ่าประชาชนมากกว่า 3000 ศพในสงครามปราบยาเสพติดของทักษิณ การจุดไฟภาคใต้ การทารัฐประหาร ๑๙ กันยา หรือการฆ่าประชาชนเสื้อแดงที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์โดยรัฐบาล อภิสิทธิ์ ในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ กองกาลังของรัฐไทยติดอาวุธครบมือได้ล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และระดมกาลังบุก เข้าไปปราบ ฆ่าฟัน และสลายการชุมนุมอย่างสันติของนัก ศึกษา การกระทาครั้งนั้นไม่ได้ทาเพื่อ “รักษาความสงบ” เพราะ การชุมนุมมันสงบอยู่แล้ว การกระทาไม่ได้ทาเพื่อสลายการชุมนุมและให้คนกลับบ้าน เพราะกองกาลังของรัฐปิดช่องทาง ทั้งหมดที่พอจะหนี ออกจากธรรมศาสตร์ได้ บางคนที่หนีลงแม่น้าเจ้าพระยา อย่างนักศึก ษาพยาบาลหญิง ก็ถูกยิงทิ้งกลาง แม่น้า ดังนั้นการสลายการชุมนุมกระทาเพื่อทาลายขบวนการนักศึกษาต่างหาก ในวันที่ ๒๕ ตุลาคมปี ๒๕๔๗ กองกาลังของรัฐไทยติดอาวุธครบมือ ได้ล้อมการชุมนุมที่ยังสงบอยู่ ที่ตากใบ เพื่อ สลาย การชุมนุม การสลายการชุมนุมอาศัยการฉีดน้า ยิงก๊าซน้าตา และยิงปืนเข้าไปในฝูงชน ส่วนใหญ่อาจยิงขึ้นฟ้า แต่เรามี ภาพการยิงเข้าไปในการชุมนุมโดยตรงด้วย ตามคาให้ก ารของตารวจชั้นสูงต่อวุฒิสมาชิกหลายคนเช่น ส.ว. เจิมศักดิ์ การ 13

ดูรายละเอียดใน ใจ อึ๊งภากรณ์ และสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (๒๕๔๔) “อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง” คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 8


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

สลายการชุมนุมครั้งนี้กระทาไปเพื่อจับ คุมแกนนา 100 คนที่ทางการถ่ายรูปไว้ล่วงหน้า ดังนั้นมีการปิดล้อมไม่ให้คนหนี การสลายการชุมนุมกระทาไปเพื่อจับคนและลงโทษ และเพื่อสร้างความกลัวกับชาวภาคใต้ไม่ให้เขากล้าออกมาประท้วง อย่างสันติอีก และไม่ให้กล้าลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน นี่คือนโยบายของรัฐบาลไทยรัก ไทย ซึ่งได้รับการ สนับสนุนจากทุกส่วนของชนชั้นปกครองไทยในช่วงนั้น ถึงแม้ว่าบางคนอาจมองว่าการกระทาที่ตากใบอาจ “แรงไป หน่อย” ในวันที่ ๖ ตุลาคม ข้างนอกธรรมศาสตร์มีม็อบอันธพาล ประกอบไปด้วย ลูกเสือชาวบ้าน นวพล และกระทิงแดง ซึ่ง ก่อความรุนแรงเสริม มีการทุบ ตีนักศึกษา แขวนคอ มีการเผาทั้งเป็น และการทาความโหดร้ายป่าเถื่อนอื่นๆ กลุ่มอันธพาล เหล่านี้ โดยเฉพาะลูกเสือชาวบ้าน ได้รับการสนับสนุนก่อนหน้านั้นจากรัฐบาล ตารวจตระเวนชายแดน และชนชั้นนาของ รัฐอามาตย์ไทย บางคนสวม “ผ้าพันคอพระราชทาน” นักการเมืองขวาตกขอบอย่างสมัคร สุนทรเวช หรือ ชาติชาย ชุณ หวัน ก็ใกล้ชิดกับอันธพาลเหล่านี้ด้วย แต่หลังจากเหตุการณ์ ๖ ตุลา ประมาณ สองปี ตั้งแต่สมัยรัฐบาลเกรียงศักดิ์และ รัฐบาลเปรมเป็นต้นไป ชนชั้นนาในรัฐไทยที่มีสติปัญญา พยายามที่จะลดบทบาทของลูกเสือชาวบ้านในสังคม เพราะมอง ว่าสิ่งที่เขาทา และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง คือนัก ศึกษาเข้าป่าไปร่วมต่อสู้กับ พ.ค.ท. เป็นเรื่องที่สร้างสงครามและ ความขัดแย้งใหญ่หลวงในสังคม ทาให้สังคมเข้าสู่วิกฤตมากขึ้น นี่คือที่มาของการใช้ “การเมืองนา” ในการแก้ปัญหา สังคม แต่ดูเหมือนรัฐบาลในยุคนี้ลืมไปหมดแล้ว หลังจากที่เกิดเหตุตากใบในปี ๒๕๔๗ มีกระแสขวาตกขอบ จากชนชั้นนาระดับสูง เช่นมีการออกมาเรียกร้องให้ระดม ลูกเสือชาวบ้านอีกครั้ง และมีการพูดถึง “การเป็นห่วงคนไทย 3 แสนคนในภาคใต้” 14 แต่สามจังหวัดภาคใต้มีประชากร ทั้งหมด 1,673,872 คน15 ดังนั้น 3 แสนคนที่กล่าวถึงเป็นคนพุทธ และอีก 1 ล้าน 3 แสนคนเป็นคนมุสลิม เราไม่ต้องการให้ใครถูกฆ่าทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นประชาชนธรรมดา วัย รุ่นมุสลิม ตารวจ หรือพระสงฆ์ และไม่ว่าจะมา จากการกระทาของฝ่ายใด แต่การที่พลเมืองถูกรัฐไทยฆ่าตายที่ตากใบในวันเดียว 80 กว่าคน และการที่ทนายสมชายถูก ตารวจไทยอุ้มฆ่าไปในปีเดียวกัน 16 เป็นเรื่องสาคัญยิ่งที่ต้องคานึงถึง กระแสขวาตกขอบเสี่ยงกับการก่อให้เกิดการเพิ่ม ความรุนแรง และผลักดันคนหนุ่มสาวไปจับอาวุธ ในเหตุก ารณ์ ๖ ตุลา ตารวจสั่งให้นักศึกษา ทั้งหญิงและชายถอดเสื้อ นอนคว่าบนสนามฟุตบอล์ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นมีการยิงปืนกราดข้ามหัว ปลอกกระสุนร้อนๆ ตกบนหลังนักศึกษา มีการบังคับให้ นักศึกษาคลานขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐรุมซ้อมและขโมยทรัพย์สินส่วนตัว แต่ในที่สุดนัก ศึกษาทั้งหมดถูกปล่อยตัวไปเพราะ ฝ่ายรัฐไม่มีหลักฐานอะไรเพื่อดาเนินคดี สรุปแล้วเขาไม่ใช่ “ผู้ต้องหา” แต่แรก แต่เป็น “เชลยสงครามที่ถูกลงโทษ” มากกว่า ในเหตุก ารณ์ตากใบปี ๒๕๔๗ ทหารตารวจสั่งให้เยาวชนชายถอดเสื้อแล้วมีการมัดมือเหมือนเชลยศึกที่อิรัก มีการยึด 14

น.ส.พ. โพสต์ทูเดย์ 17 พฤศจิกายน 2547 หน้า 1 และ A6 ตามตัวเลขสานักงานสถิติแห่งชาติ ปัตตานีมี 6 แสน ยะลามี 4 แสน และนราธิวาสมี 6.6 แสน 16 ทนายสมชายถูกต ารวจฆ่าเพราะกาลังจะนาหลักฐานการทรมานผู้ต้องหาจากภาคใต้โดยต ารวจมาเปิดโปงให้สังคมทราบ และยังไม่มีการลงโทษต ารวจหรือ นักการเมืองคนใดเรื่องนี้ 15

9


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

ทรัพย์สินส่วนตัว มีการรุมซ้อม แล้วที่แย่ที่สุด คือมีการขนคนทับซ้อนกันจนตาย ซึ่งต้องสรุปว่าจงใจให้คนตายเพื่อ “สั่ง สอนว่าถ้าใครขัดขืนรัฐไทยจะพบนรก” และเราคงจาภาพการจับเชลยศึกเสื้อแดงที่ราชประสงค์ในปี ๒๕๕๓ ได้ มันไม่ต่างกัน หลังเหตุการณ์ ๖ ตุลา มีนักการเมืองออกมาโกหกเพื่อให้ความชอบธรรมกับอาชญากรรม มีข้อโกหกหลักสามข้อคือ 1. “ต้องสลายการชุมนุมเพราะคุมสถานการณ์ไม่ได้ ” ข้อกล่าวหาเท็จนี้เสนอโดยรองอธิบดีกรมตารวจในยุคนั้น คือ พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ แต่หลักฐานข้อมูลแสดงให้เห็นว่ามีการวางแผนปราบการชุมนุมมานาน และมีการระดม พลจากค่าย ต.ช.ด. หัวหินหลายชั่วโมงก่อน และเหตุก ารณ์ที่ธรรมศาสตร์เกิดรุนแรงขึ้นครั้งแรกเมื่อฝ่ายรัฐเข้าโจมตี ด้วยอาวุธสงครามในขณะที่นักศึกษาส่วนใหญ่กาลังนอนหลับอยู่ 2. “ต้องสลายการชุมนุมเพราะมีการสะสมอาวุธสงครามโดยผู้ชุมนุม ” ข้อกล่าวหาเท็จนี้เสนอโดย สมัคร สุนทรเวช และ พ.ต.ท.สล้าง บุญนาค (นายตารวจที่วิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องหากรณียาเสพติดในสมัยรัฐบาล ชวลิต ยงใจยุทธิ์ และ ผู้ที่ทาร้าย ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่สนามบินดอนเมืองในคืนวันที่ ๖ ตุลา) แต่ในภายหลังมีข้อมูลจากฝ่ายตารวจเองว่า นักศึกษามีปืนสั้นประมาณสามสี่ก ระบอกเพื่อป้องกันตัวเท่านั้น และทางฝ่ายรัฐไม่เคยแสดงหลักฐานอะไรว่า นักศึกษามีอาวุธร้ายแรงเลย 3. “ต้องสลายการชุมนุมเพราะคนต่างชาติเข้ามาชักนา”-ในกรณีนี้โกหกว่าเป็นคนเวียดนาม ข้อกล่าวหาเท็จนี้เสนอโดย รองอธิบ ดีกรมตารวจ พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมัคร สุนทรเวช แต่ปรากฏ ว่าคนตายและผู้ถูกจับทุกคนเป็นคนไทยทั้งสิ้น ในกรณีตากใบ นายกรัฐมนตรีทักษิณแถลงว่าการสลายการชุมนุมต้องกระทาหลังจากที่เจรจากับผู้ชุมนุมไม่สาเร็จ และเกรงว่าจะเกิดจลาจล แต่เราทราบตอนนี้ว่ามีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อสลายการชุมนุมและจับคุมแกนนา 100 คน ก่อนการเจรจาด้วยซ้า และนายกทักษิณโกหกอีกว่าคนที่ถูกจับพูดภาษาไทยไม่ได้ พูดได้แต่ภาษาอาหรับ ซึ่งไม่จริง และ รายงานข่าวต่างๆ ว่าผู้ชุมนุมพกอาวุธสงครามก็ไม่มีหลักฐานรองรับแต่อย่างใด ในกรณีการฆ่าประชาชนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ปี ๒๕๕๓ รัฐบาลอภิสิทธ์ และทหาร ศอฉ. โกหกว่ามี “ผู้ก่อการร้าย 500 คน” แต่จับมาไม่ได้สักคน และไม่พบอาวุธอะไรเลย หลังจากนั้นสี่ห้าเดือนก็โกหกว่ามีการฝึก อาวุธ และวางระเบิด และพันธมิตรฯ ก็ออกมาโกหกว่าคนเสื้อแดงจะใช้ระเบิดพลีชีพแบบที่ตะวันออกกลาง ดูเหมือนว่าการพูดเท็จหลังการก่ออาชญากรรมโดยรัฐ อามาตย์ไทยกลายเป็นประเพณีของชนชั้นปกครองไทยไปแล้ว “กรือแซะ” ในยุครัฐบาลทักษิณ มีเหตุการณ์นองเลือดในภาคใต้อีกเหตุการณ์หนึ่ง คือการนองเลือดที่ “กรือแซะ” ในเดือนเมษายน ๒๕๔๗ ในกรณีนี้มีชายหนุ่มโพกผ้าศักดิ์สิทธิ์และเข้าโจมตีป้อมตารวจด้วยดาบโบราณ การโจมตีป้อมตารวจที่มีอาวุธ ทันสมัยครบมือด้วยดาบโบราณ มีลักษณะของการพลีชีพในเชิงสัญลักษณ์ เพราะชายหนุ่มเหล่านั้นคงทราบดีว่าต้องตาย 10


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

แน่ แต่บางคนที่ไม่ตายท่ามกลางเหตุการณ์และถูกจับคุม ก็โดนวิสามัญฆ่าตกรรมโดยรัฐ อดีต ส.ว. ไกรศัก ดิ์ ชุณหวัณ 17 แจ้งว่าในเหตุก ารณ์นี้มีหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่รัฐไทยจับผู้ต้องหามามัดมือและประหารชีวิตอย่างเลือดเย็นที่ สบ้า ย้อย นายทหารที่เป็นผู้บังคับบัญชาที่ กรือแซะ ชื่อ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี นายทหารคนนี้เคยแจ้งกับหนังสือพิมพ์ว่าในอดีต สมัยรบกับคอมมิวนิสต์ กองทัพบกจะเข้าไปในหมู่บ้านและยิงทิ้งใครที่สงสัยว่ากบฏต่อรัฐ แต่ตอนนี้ต้องแนบเนียนกว่านี้ ต้องไปขู่เมียแทน18 ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมอันเลวทรามในการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทหารไทย ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนไทยที่เรียกตัวเองว่า “คนเสื้อแดง” จะต้องเห็นอกเห็นใจชาวบ้านมาเลย์มุสลิมในปาตานี จะต้องเริ่มพยายามมีอารมณ์ร่วม และเปิดใจเปลี่ยนความคิดที่เคยมีอคติกับ “คนต่าง” และเข้าใจว่าทาไมคนปาตานีบาง คนจึงจับอาวุธสู้กับรัฐไทย หรือใช้ก ารชุมนุมอย่างสันติ ในการปกป้องศัก ดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่แกน นา นปช. ไม่สนใจเรื่องแบบนี้ และมัวแต่พาคนเสื้อแดงไปเป็นกองเชียร์ที่เดินตามรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ในขณะที่พรรค เพื่อไทยจับมือกับทหารมือเปื้อนเลือด การทรมานและควบคุมคนโดยไม่ขึ้นศาล “แผนยุทธการพิทักษ์แดนใต้ ” ของรัฐบาล คมช. หลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา นาไปสู่ยุทธการปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่ เป้าหมายหลายสิบจุดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ เป็นต้นมา และในสองเดือน แรก ปรากฏว่ามีผู้ถูกควบคุมตัวมากกว่า 1,000 คน โดยที่ไม่นามาขึ้นศาลแต่อย่างใดทั้งสิ้น ในเรื่องนี้ พ.อ.อัคร ทิพย์โรจน์ โฆษกกองบัญชาการผสมพลเรือน ตารวจ ทหาร หรือ “พตท.” แสดงความเห็นว่าคนเหล่านี้ “เป็นผู้หลงผิดที่จาต้องนามา เยิ่ยวยา”19 แต่การควบคุมคนและตัดสินใจว่าเป็นผู้กระทาความผิด โดยไม่ขึ้นศาล ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้น พื้นฐาน ศูนย์ทนายความมุสลิมสามจังหวัดภาคใต้ รายงานว่าตั้งแต่ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ถึงกุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ มีการทรมานผู้ ถูกควบคุมตัวในสามจังหวัดภาคใต้ 59 ราย ถึงตาย 2 ราย ซึ่งรวมถึงกรณีการควบคุมตัวนัก ศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลาและสถาบันการพลศึกษายะลา รวม 7 คน เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคม ๒๕๕๑ โดยเจ้าหน้าที่ทหารที่เกี่ยวข้องมา จากหน่วยเฉพาะกิจที่ 11 ยะลา20 ในกรณีนี้มีการใช้วิธีการทรมานหลายวิธี เช่นการทุบ ตี การบังคับให้นั่งในห้องแอร์เย็นๆ ขณะที่ตัวเปียกน้า และการใช้ไฟฟ้าช๊อตเป็นต้น และการทรมานผู้ถูกคุมขังในค่ายทหารที่ภาคใต้ ยังเป็นปัญหาจนถึงทุก วันนี้21 การทรมานกระทาโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และมักเกิดในช่วงเวลา 3 วันแรกของการควบคุมตัว โดยผู้ถูกทรมานทั้งหมดถูก ควบคุมตัวโดยการใช้อานาจตามกฎอัยการศึกและพระราชกาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ 17

คนนี้ก็อีกคนหนึ่งที่รายงานมาอย่างน่าเชื่อถือในเรื่องภาคใต้ แต่มีสองมาตรฐานเวลาทหารฆ่าเสื้อแดง Pasuk Phongpaichit & Chris Baker (2004) Thaksin. The business of politics in Thailand. Silkworm. Page 19. 19 เวปไซท์ประชาไท http://www.prachatai.com 9/10/2007 20 เวปไซท์ประชาไท http://www.prachatai.com 18/2/2008 21 ประชาไท http://www.prachatai3.info/journal/2010/09/31308, http://www.prachatai3.info/journal/2010/06/30120, http://www.prachatai3.info/journal/2010/08/30685, http://www.prachatai3.info/journal/2010/09/31194, 18

11


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

หน่วยงานรัฐหรือสถานที่ที่ถูกระบุว่ามีการทาร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุมตัวบ่อยครั้ง ได้แก่ หน่วยเฉพาะกิจ 11 ยะลา กรม ทหารพรานที่ 41 ค่ายวังพญา อาเภอรามัน จังหวัดยะลา และค่ายอิงยุทธบริหาร อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี การแก้ปัญหาสงครามที่ปาตานี เกี่ยวโยงกับสภาพไร้ประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพในประเทศไทยทั้งหมด ถ้าเราพิจารณาอาชญากรรมของรัฐไทยต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นคนไทยพุทธจากกรุงเทพฯ ภาคเหนือ หรือภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ หรือคนมาเลย์มุสลิมในปาตานี เราจะเห็นว่าทุกอย่างเกี่ยวโยงกัน พูดง่ายๆ เสรีภาพสาหรั บชาวปา ตานียากที่จะเกิด ถ้ากรรมาชีพและเกษตรกรในภาคอื่นๆ ของประเทศไทยขาดสิทธิเสรีภาพ นี่คือสาเหตุหลักที่ต้องมีการ สร้างแนวร่วมระหว่างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย สหภาพแรงงาน องค์กรก้าวหน้า และขบวนการที่ ต้องการเสรีภาพในปาตานี ถ้าสังคมเราจะยอมรับความหลากหลายของพลเมืองในพื้นที่ต่างๆ เราต้องก้าวเลยขอบเขตของการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์จากมุมมองรัฐบาลกรุงเทพฯ หรือมุมมองอามาตย์ ต้องมีหลายมุมมอง แต่ก็ยังไม่พออีก ควรมีการเรียน หลายๆ ภาษาในโรงเรียนทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่ภาษาไทย อังกฤษ หรือบางครั้งภาษาจีน ควรสอนภาษามาลายู อักษร อาหรับ ภาษากะเหรี่ยง ควรแยกศาสนาออกจากระบบโรงเรียนเพื่อให้เป็นประเด็นส่วนตัว ไม่ควรมีการบังคับสวดมนต์ แบบพุทธ หรือบังคับให้เคารพชนชั้นปกครอง ควรเปิดกว้างเรียนรู้หลากหลายความเชื่อ เช่นพุทธ อิสลาม คริสต์ ผีสาง นางไม้ วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ หรือแนวคิดอื่นๆ ของมนุษย์ และควรมีการประกาศให้วันเทศกาลสาคัญของจีน อิสลาม หรือ คริสต์ เป็นวันหยุดราชการและวันหยุดภาคเอกชนด้วย ต้องมีการให้สิทธิพลเมืองเต็มตัวกับผู้ที่เกิดภายในพรมแดน โดยที่ไม่ต้องพิสูจน์อะไรมากมาย ควรมีการรื้อถอนแนวคิดชาตินิยม เช่นต้องเลิกบังคับการเคารพธงชาติ และเลิกใช้คาว่า “ปวงชนชาวไทย” ใน รัฐธรรมนูญ เพราะพลเมืองประเทศเราประกอบไปด้วยหลายเชื้อชาติ ไม่ใช่แ ค่ “ไทย” เท่านั้น ในรัฐธรรมนูญปี ๒๔๗๕ ไม่ มีการระบุว่าประเทศไทยเป็นรัฐที่แบ่งแยกไม่ได้เหมือนสมัยนี้ มีการเน้นว่าอานาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชนต่างหาก เราควร ทบทวนและปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ในระยะสั้นสิ่งที่พิสูจน์ว่าเราพร้อมจะเคารพคนในพื้นที่ว่ามีความสามารถในการปกครองตนเอง และในการดูแลสังคม คือการเลิกกลัวว่าถ้าไม่มีกองกาลังของรัฐไทยตรงนั้นทุกอย่างจะปั่นป่ วน อย่าลืมว่าอามาตย์และเสื้อเหลืองชอบมองคนเสื้อแดงว่า “โง่” และไร้วุฒิภาวะที่จะเลือกรัฐบาลของตนเอง คนมุสลิมมาเลย์ต้องการความเคารพ อาจารย์ อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง 22 จากมหาวิทยาลัยสงขลาวิทยาเขตปัตตานีพูดว่า สิ่งที่คนมุสลิมในภาคใต้ต้องการ คือความเคารพ ไม่ใช่ความสงสาร หรือความช่วยเหลือแบบเงินให้ทาน เราควรจะสนับสนุนคาพูดนี้โดยเข้าใจว่าความเคารพคือการเคารพว่าเพื่อนพลเมืองในสามจังหวัดสามารถปกครอง ตนเอง สามารถเลือกอนาคตตนเอง โดยที่ไม่ต้องมีทหารหรือตารวจยึดครองเต็มเมือง และโดยที่ไม่ต้องมาพูดกันว่า “เขา” 22

ดูบทความใน http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content1/show.pl?0173 พฤษภาคม ๒๕๔๗ 12


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

ไม่ใช่ “พวกเรา” เพราะเขามีศัก ดิ์ศรีในการปกป้องวัฒนธรรมที่ต่างจากกรุงเทพฯ ในรูปธรรมมันหมายความว่าต้อง เรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึก ต้องถอนทหารและตารวจออกให้หมด ต้องเปิดเวทีป รึกษาหารือในหมู่พลเมืองในพื้นที่ ว่าจะกาหนดอนาคตกันเองอย่างไร และต้องเลิกมองว่าความเจ็บปวดที่สะสมมานานจนทาให้คนเกลียดชังรัฐไทย พร้อม จะจับอาวุธสู้ หรือการเสนอให้จัดพรมแดนใหม่ด้วยการแบ่งแยกดินแดน เป็นการ “หลงผิด” หรือคิดแบบ “หัวรุนแรง” ถ้าเข้าใจที่มาของพรมแดนไทย เราจะเข้าใจว่าถ้าเราไม่ใช่ชนชั้นปกครองหรืออามาตย์ เราพลเมืองธรรมดาไม่มีส่วนได้ อะไรจากการปกป้องพรมแดนไทยในรูปแบบปัจจุบัน เลย และเราจะเข้าใจอีกว่าก้าวแรกในการลดความรุนแรง คือการ ถอนกองกาลังของรัฐไทย ที่ใช้ความรุนแรงกับชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พี่น้องในสามจังหวัดกาหนดอนาคตเองอย่าง สันติสุขได้ อย่าลืมว่าในกรณีภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคนเสื้อแดงไม่น้อยที่พูดออกมา ด้วยความอึดอัดใจ ท่ามกลางเผด็จการของอามาตย์ว่า “ควรจะแยกดินแดนกับพวกเสื้อเหลืองไปเลย” นี่คืออารมณ์เดียวกันกับที่พี่น้องมาเลย์ มุสลิมรู้สึก หลังการเลือกตั้งปี ๒๕๔๘ ไทยรักไทย เสียคะแนนเสียงในภาคใต้เป็นจานวนมาก และมีการก่อตั้ง “คณะกรรมการ อิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ” (กอส.) โดยที่ อานันท์ ปันยารชุน 23 เป็นประธาน แต่อานันท์กล่าวต่อสื่อมวลชนว่า การปกครองตนเอง หรือการสร้างเขตปกครองพิเศษ “เป็นไปไม่ได้” และแนะนาให้ชาวบ้านลืมเหตุก ารณ์ที่ตากใบ 24 อย่างไรก็ตาม “คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ” มีข้อเสนอที่ก้าวหน้าหลายอย่าง เพราะมีการมอง ว่าปัญหามาจากการที่ไม่มีระบบยุติธรรมและการเคารพวัฒนธรรมในภาคใต้ นอกจากนี้มีการตาหนิว่ารัฐบาลไม่สนใจใช้ แนวสันติวิธีในการแก้ปัญหา โดยมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง มีการแนะนาว่าคนในพื้นที่ควรมีอานาจในการ ควบคุมทรัพยากร ภาคประชาสังคมต้องมามีบทบาทสาคัญในการสร้างความยุติธรรม และควรมีการใช้ภาษา ยะวี ควบคู่ กับภาษาไทยในระบบราชการเพื่อแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติ 25 แต่ปรากฏว่าข้อเสนอเรื่องการใช้ภาษา ยะวี ถูกปฏิเสธ ทันที โดยนายกทักษิณ และพลเอกเปรม ประธานองค์มนตรี 26 ความรุนแรงพร้อมยุทธศาสตร์การนามาเป็นพวก นักวิชาการอังกฤษชื่อ ดังแคน แมคคาร์โก อธิบ ายว่ารัฐไทยใช้นโยบายคู่ขนาน “ความรุนแรง” บวกกับ “การนามาเป็น พวก” มาตลอด ในสมัยนายกรัฐมนตรี เปรม ติณสูลานนท์ มีการดึงนักการเมืองมาเลย์มุสลิมมามีส่วนร่วมในรัฐสภาไทย 27 23

คนนี้มีประวัติในการรับใช้อามาตย์มานาน เช่นการเป็นนายกรัฐมนตรีเผด็จการหลังรัฐประหาร ๒๕๓๒ และการเข้ามาเป็นประธานกรรมการปฏิรูปของรัฐบาล อภิสิทธิ์ในปี ๒๕๕๓ 24 Bangkok Post 10 August 2005, 9 May 2005. 25 รายงานคณะกรรมการอิ สระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (๒๕๔๙) “เอาชนะความรุนแรงด้วยพลังสมานฉันท์ ” 26 Bangkok Post 26 and 27 June 2006. 27 Duncan McCargo (2008) "What’s Really Happening in Southern Thailand?" ISEAS Regional Forum, Singapore, 8 January 2008. Duncan McCargo (2009) "Thai Buddhism, Thai southern conflict". Journal of Southeast Asian Studies 40(1): 1-10. Duncan McCargo (2009) "The Politics of Buddhist identity in Thailand’s deep south: The Demise of civil religion?". Journal of Southeast Asian Studies 40(1): 11-32. 13


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

พวกนี้เป็นสมาชิก “กลุ่มวาดะห์” ซึ่งตอนแรกมีความสัมพันธ์กับพรรคความหวังใหม่ข อง ชวลิต ยงใจยุทธ แต่นั้นไม่ได้ แปลว่ารัฐบาลเปรมหรือรัฐบาลไทยหลังจากนั้นพร้อมจะให้คนในพื้นที่ปกครองตนเอง หรือพร้อมจะยุติการใช้ทหารเพื่อ ครอบครองปาตานี การดึงนักการเมืองมาเลย์มุสลิมมาเป็นพวกของรัฐไทย โดยที่ประชาชนธรรมดาไม่ได้รับประโยชน์ทาง การเมือง เสรีภาพ ความยุติธรรม หรือในทางเศรษฐกิจ ทาให้นักการเมืองเหล่านั้น เริ่มห่างเหินจากคนรากหญ้า และใน ที่สุดการต่อสู้กับรัฐไทยก็เกิดขึ้นอีก ในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร มี ใช้แนวคู่ขนานนี้ 28 ซึ่งเห็นจากการปราบปราม ประชาชนในปาตานีด้วยอาวุธ และการตั้ง “คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ” ดูเหมือนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ใช้แนวคู่ขนานนี้ ด้วย โดยเน้นการทหารพร้อมกับส่งทหารไปเจรจากับ “บีอาร์เอน” แต่สิ่งที่ เราต้องย้าเสมอคือมันเป็นแค่ยุทธศาสตร์เพื่อสร้างเสถียรภาพในการยึดครองพื้นที่โดยรัฐไทยเท่านั้น และบ่อยครั้งมันไม่ ประสบความสาเร็จด้วย มันไม่ใช่ความตั้งใจที่จะนาเสรีภาพและสันติสุขมาสู่ชาวปาตานี

คาอธิบายผิดๆ เกี่ยวกับความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ การที่รัฐไทยเรียกฝ่ายกบฏต่อรัฐไทยว่าเป็น “โจรใต้” หรือ “ผู้ก่อการร้าย” หรือการที่เสนอว่ามีการหนุนหลังจากพวก “มุสลิมหัวรุนแรง” ในต่างประเทศ เป็นเพียงคาด่าที่หลีกเลี่ยงการอธิบายปัญหา มันเป็นความพยายามที่จะแช่แข็งสมอง และสติปัญญาของประชาชน เพื่อให้คิดว่าอยู่ดีๆ “คนร้าย” ก็คิดจะวางระเบิดหรือลอบยิงใคร หรืออยู่ดีๆ ถ้ามีคนอาหรับ มาเป่าหูหรือเอาเงินมาให้ ก็จะไปวางระเบิด โดยไม่มีเหตุผล ภาคประชาชนต้องเลิก คิดแบบนี้ และต้องเลิกพูดถึง “โจรใต้” ด้วย มีคนกลุ่มหนึ่งที่เคยใกล้ชิดกับ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลอกตัวเองและคนอื่น ว่าความรุนแรงในสาม จังหวัดภาคใต้มาจากองค์กรสายลับ ซีไอเอ ของสหรัฐ ที่มีแผนจะขยายอิทธิพลในไทย คาอธิบายนี้เมื่อพิจารณาผิวเผินก็ มีเหตุผลบ้าง เพราะสหรัฐเคยช่วยแม้แต่บินลาเดน หรือทาลิบัน แต่มันเป็นการมองข้ามและปฏิเสธข้อมูลเกี่ยวกับการกดขี่ ชาวมาเลย์มุสลิมของรัฐไทย และพวกที่กบฏต่อรัฐไทยในยุคนี้ ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะฟังสหรัฐ ไม่เหมือนกรณี ชาว อัฟกานิสถานในอดีตที่เคยถูกยึดครองโดยรัสเซียในสมัยสงครามเย็น อีกทฤษฎีหนึ่งที่พยายามจะ “อธิบาย” ความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ คือแนวคิดที่เสนอว่ามันมาจากการแข่งขัน กันระหว่าง “เครือข่ายพระราชวัง” (Network Monarchy) กับ “เครือข่ายทักษิณ” (Network Thaksin) ทั้งนี้เพื่อคุมอิทธิพล ในภาคใต้ และมุมมองนี้ ที่ถูกเสนอโดย ดังแคน แมคคาร์โก มองว่าทหาร นอกจากจะอยู่ฝ่ายวังแล้ว ยังมีผลประโยชน์ใน การค้าของเถื่อนข้ามพรมแดนอีก ด้วย 29 ทหารมีประวัติในการขายของเถื่อนข้ามพรมแดนจริง มีการร่วมมือกับอิทธิพลมืดจริง และเราก็เห็นความขัดแย้งที่ นาไปสู่รัฐประหาร ๑๙ กันยา แต่มันไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่าง “กษัตริย์” กับ “นายทุนสมัยใหม่” ตามที่พวกนี้คิด และที่

28

Duncan McCargo (2012) Mapping National Anxieties. Thailand’s Southern Conflict. NIAS Press. Duncan McCargo (2005) Network monarchy and legitimacy crises in Thailand. The Pacific Review 18 (4) December, 499-519. Duncan McCargo (2012) Mapping National Anxieties. อ้างแล้ว 29

14


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

สาคัญที่สุดคือ มุมมองนี้ปิดหูปิดตาถึงประวัติศาสตร์การกดขี่ข่มเหงประชาชนภาคใต้โดยรัฐไทยอีก ซึ่งแปลว่าทฤษฏีนี้ไม่ มีค่าในการอธิบายสถานการณ์แต่อย่างใด ขบวนการแบ่ง แยกดินแดนคือใคร? ในเมื่อมีขบวนการปลดแอกประชาชนและแบ่งแยกดินแดนในสามจังหวัดภาคใต้ หลายคนสงสัยว่าทาไมไม่มีใบปลิวหรือ แถลงการณ์ออกมาเหมือนขบวนการกู้ชาติอื่นๆ ในอดีต คาอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญการ “ก่อการร้าย” อธิบายว่าขบวนการ ที่ต่อสู้กับรัฐไทยตอนนี้มีการจัดตั้งที่ทันสมัยอย่างดี แต่จัดตั้งแบบกระจัดกระจายเป็นหน่วยเล็กๆ ที่ไม่ยอมประกาศข้อ เรียกร้องหรืออ้างว่าตนเองทาอะไร ซึ่งทาให้รัฐไทยสับสนและมีปัญหามากในการที่จะทราบว่าใครทาอะไรที่ไหน สรุปแล้ว ปราบปรามยาก30 ถ้าใครศึกษาประวัติของขบวนการแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ จะพบว่าในยุคหลัง ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ มีการร่วมมือกัน ระหว่างขบวนการนี้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและพรรคคอมมิวนิสต์มาเลเซีย ขบวนการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ในช่วงนั้นใช้ความคิดแนวสังคมนิยม แต่หลังจากการล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์ มีการเปลี่ยนไปต่อสู้ภายใต้ธงของ ศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่นที่ปาเลสไตน์ เป็นต้น31 ดังนั้นนักวิชาการที่มองว่าคนมาเลย์ มุสลิม “ยังจมอยู่กับการใช้ความคิดโบราณของอิสลาม ก่อนยุคโลกาภิวัตน์” อย่างเช่น สุรินทร์ พิศสุวรรณ 32 หรืออาจารย์ จาก มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นคนที่ไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนหน้าเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ในปี ๒๕๐๖ มีการก่อตั้งองค์กร Barisan Revolusi Nasional (B.R.N.) ต่อมาในปี ๒๕๑๑ ก็มีการตั้งอีก องค์กรหนึ่งชื่อ Pattani United Liberation Organisation (P.U.L.O.) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่ได้สู้ภายใต้ ธงของศาสนา อย่างไรก็ตามในยุคนี้ผู้นา P.U.L.O. สารภาพว่าตนไม่ค่อยมีอิทธิพลอะไรกับนักต่อสู้หนุ่มสาวรุ่นใหม่33 ในปี ๒๕๒๗ B.R.N. แตกเป็นสามฝ่าย หนึ่งในนั้นคือ Barisan Revolusi Nasional-Koordinasi (B.R.N.-C) และในปี ๒๕๔๘ องค์กรหรือกลุ่มหลวมๆ ชื่อ Runda Kumpulan Kecil (R.K.K.) ที่เติบโตมาจาก B.R.N.-C เริ่มมีบทบาทมากขึ้น คนหนุ่มสาวที่เป็นสมาชิก R.K.K. บางคนได้รับการฝึกฝนจากอินโดนีเซียและปากีสถาน จุดอ่อนของยุทธศาสตร์การจับอาวุธของฝ่ายกบฏต่อรัฐไทย ถึงแม้ว่าผู้เขียนเห็นใจและเข้าใจคนที่เลือกแนวทางจับอาวุธ เพื่อสู้กับการกดขี่ของรัฐไทย แต่ยุทธศาสตร์นี้มีจุดอ่อนด้อย มหาศาล เพราะเป็นการปิดพื้นที่เคลื่อนไหวสาหรับขบวนการที่ไม่อยากจับอาวุธ และเป็นการปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนแนวทาง สู่สังคมใหม่โดยประชาชนจานวนมาก การปิดพื้นที่ดังกล่าวมาจากสภาพสงครามที่เกิดขึ้น

30

Zachary Abuza. Terrorism Monitor 8 September 2006 James Town Foundation http://www.jamestown.org/terrorism/news/article.php?articleid=2370 31 Chris Harman (1994) The Prophet and the Proletarian. International Socialism Journal (London) No.64, Autumn. 32 ประชาไท http://www.prachatai3.info/journal/2010/10/31338 33 Interview with the B.B.C.’s Kate McGeown posted on the B.B.C. website 7 August 2006. http://www.bbc.co.uk/worldservice/ 15


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

ยิ่งกว่านั้นยุทธวิธีการใช้กองกาลังกระจายที่ดูเหมือนไม่มีศูนย์กลาง เพื่อให้ทหารและรัฐไทยต้องสู้กับ “ผี” มีข้อเสียทาง การเมืองมากมาย เพราะในสภาพที่มีก ารยิงกันและวางระเบิด แต่ไม่มีใครออกมาโฆษณารับผิดชอบ เป็นโอกาสทอง สารับวิธีรบแบบสกปรกของรัฐไทย เราทราบดีว่ารัฐไทยใช้หน่วยงานสังหารวิสามัญตลอดเวลา และใช้โจรหรือทหารนอก เครื่องแบบเพื่อฆ่าหรือข่มขู่ประชาชน 34 แต่เมื่อฝ่ายกองกาลังกบฏต่อรัฐไทยไม่ยอมประกาศอย่างชัดเจนว่าเป้าหมายของ เขาจะเป็นเพียงเจ้าหน้าที่รัฐ และเมื่อไม่มีการออกมารับผิดชอบต่อปฏิบัติการของกองกาลังแต่ละครั้งอย่างชัดเจน ฝ่ายรัฐ ไทยสามารถสร้างภาพว่า “โจรไม่ทราบฝ่าย” ไปเที่ยวฆ่าชาวบ้านอิสลามและพุทธโดยไม่เลือกหน้า วิธีการปิดลับและรบ แบบ “ผี” นี้ ทาให้ป ระชาชนทุกฝ่ายสับสนและเกรงกลัว มันไม่ช่วยในการสร้างมวลชน หรือในการเรียกร้องให้ป ระชาชน ภาคอื่นๆ เข้ามาสมานฉันท์แ ต่อย่างใด มันมีบทเรียนเรื่องนี้จากการสู้รบของ “ไออาร์เอ” ในไอร์แลนด์ หรือของขบวนการ อิสรภาพในอาเจห์กับทีมอร์ ขบวนการต้านรัฐไทยใน ปาตานี ควรสร้างพรรคมวลชนที่ทางานอย่างเปิดเผย ทั้งนี้เพื่อสร้างฐานในหมู่ป ระชาชนใน พื้นที่อย่างชัดเจน และเสนอนโยบายการเมือง เศรษฐกิจและสังคม สาหรับประชาชนทุกเชื้อชาติหรือศาสนา และเพื่อ เรียกร้องให้มีก ารลงประชามติเรื่องการปกครอง คือควรมีการเสนอประชามติว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการเขตปกครอง พิเศษ หรือต้องการแยกรัฐออกไปเลย หรือต้องการอยู่ต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง พรรคมวลชนแบบนี้สามารถรณรงค์ขอความสมานฉันท์จากประชาชนในภาคอื่นๆ ได้อีก ด้วย และสามารถทาแนว ร่วมกับกลุ่มที่ถูกกดขี่หรือด้อยโอกาสกลุ่มอื่นๆ ตัวอย่างที่ดีคือพรรคการเมืองถูกกฏหมายของฝ่ายจับอาวุธในไอร์แลนด์ อาเจห์ หรือในแข้วนบาสค์ระหว่างสเปนกับฝรั่งเศส ความจริงที่ป ฏิเสธไม่ได้คือในทุกกรณีที่มีสงครามกลางเมืองเพื่อแบ่งแยกดินแดน ฝ่ายจับอาวุธกั บฝ่ายทหารของรัฐไม่ สามารถเอาชนะกันได้ และการแก้ปัญหาในที่สุดย่อมอยู่ที่กระบวนการทางการเมืองที่โ ปร่งใส แนวทางเคลื่อนไหวมวลชนคือคาตอบ การต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมของรัฐไทยในปาตานี-ภาคใต้ ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของการจับอาวุธและวางระเบิด เพราะ ชาวบ้าน ทั้งหญิง ชาย และเด็กมีการออกมาปิดถนนทางเข้าหมู่บ้าน เพื่อปกป้องไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปจับคุม ทาร้าย และอุ้มฆ่าประชาชน ตัวอย่างหนึ่งคือ ในวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๘ ชาวบ้านที่หมู่บ้านละหาน หมู่ 8 ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ปิดถนนและแจ้งกับผู้ว่าราชการจังหวัดและทหารว่าไม่ต้อนรับเข้ามาในหมู่บ้าน 35 สองสัปดาห์ต่อมา ชาวบ้านตันหยงลิมอ กว่า 2000 คนประท้วงพร้อมจับ 2 นายทหารเป็นตัวประกันเพราะเชื่อว่าเป็นมือปืนฆ่าประชาชน มี การชูป้ายว่า “ทหารเป็นผู้ก่อการร้ายที่แท้จริง ” 36 หลังจากนั้นในเดือน พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ชาวบ้านในจังหวัดยะลา ออกมาประท้วงไล่ค่ายทหารในโรงเรียน มีป้ายด่าความชั่วร้ายของทหาร เพราะเข้ามาฆ่าคนบริสุทธิ์และทาลายหมู่ บ้าน37

34

35 36 37

ดูกรณีของ อิสมาอีล ฮายีแวจ บก. Wartani http://www.prachatai.com/journal/ 2013/09/48746 Bangkok Post 5 September 2005. Bangkok Post 22 September 2005. Nation 6 November 2006. 16


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ มีประชาชนจากจังหวัดยะลากว่า 2,000 คน เดินทางมารวมตัวกันปิดถนนหน้าค่าย อิงคยุทธบริหาร อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องสงสัย 21 คน กลุ่มผู้ชุมนุมชุดนี้ เป็นกลุ่ม เดียวกันกับที่ชุมนุมปิดถนนที่หน้ามัสยิด อาเภอกรงปินัง ที่สลายตัวไปแล้ว แต่กลับมารวมตัวอีกครั้ง 38 เมื่อวันที่ ๓๑ พ.ค. ๒๕๕๐ “เครือข่ายนักศึกษาพิทักษ์ประชาชน” พร้อมประชาชนกว่า 3,000 คนได้ชุมนุมกันที่มัสยิด กลาง จ.ปัตตานี และประเด็นสาคัญของของการอออกมาชุมนุมครั้งนี้ พบว่ามีการชูประเด็นกรณีที่มีการสังหารชาวบ้านที่ หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตรวม 4 คน โดยหนึ่งในนั้นคือหญิงสาววัย 21 ปี ที่ ถูกฆ่าข่มขืนต่อหน้าต่อตาผู้เป็นแม่ ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการกระทาของทหารพราน ตูแวดานียา ตูแวมือแง ประธาน เครือข่ายนิสิตนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน เปิดเผยว่า “เรายึดหลักสันติประชา ธรรมในการชุมนุม จะไม่มีก ารยั่วยุให้มีการใช้ความรุนแรง” กลุ่มผู้ชุมนุมมีการเรียกร้องให้ภาครัฐทบทวนการปกครองใน จังหวัดชายแดนภาคใต้เสียใหม่ เพราะสาเหตุที่ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมมาจากฝีมือทหาร ทหารจึงเป็น สัญลักษณ์ของความรุนแรง ถ้าจะแก้ปัญหาจริงต้องแก้กันในระดับนโยบายของรัฐ 39 ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๐ ‘ดาริกา’ รายงานว่าในบางพื้นที่มีการพ่นสีบนถนนโดยชาวบ้านด้วยข้อความเช่น “สันติสุข จะเกิดขึ้นถ้าไม่มีทหาร” “ไม่ต้องการทหารเข้ามาในหมู่บ้าน ประชาชนกลัว” “ไม่มีทหารประชาชนเป็นสุข ” และ “เคอร์ฟิวส์ไม่ยุติธรรม ฆ่าคนบริสุทธิ์”40 ซึ่งอารมณ์แบบนี้น่าจะเป็นสิ่งที่เราเข้าใจได้ แนวทางมวลชนของชาวบ้านและนักศึกษาที่เรียกร้องความเป็นธรรมแบบนี้ คือความหวังหลักในการแก้ปัญหาความ รุนแรงด้วยวิธีสันติทางการเมือง แต่รัฐไทยและสื่อมวลชนกระแสหลักมักจะโจมตีว่าชาวบ้านและนักศึกษาเป็นพวก “หัว รุนแรง” ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีก ารแยกแยะระหว่างผู้จับอาวุธกับ ผู้เคลื่อนไหวมวลชนเลย และเป็นการผลักคนหนุ่มสาวไปสู่ แนวทางจับอาวุธ ยิ่งกว่านั้นมีการจับคุมและทรมานนักเคลื่อนไหวที่ใช้แนวมวลชนอีกด้วย เช่น เมื่อวันที่ ๒๗ ม.ค. ๒๕๕๑ เจ้าหน้าที่ทหารเฉพาะกิจ 11 ได้เข้าตรวจค้นและจับกุมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาและสถาบันพลศึกษา วิทยา เขตยะลา จานวน 7 คน นัก ศึกษากลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มนักศึกษากิจกรรมที่ได้ทากิจกรรมร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทย (สนนท.) และ ศูนย์ทนายความมุสลิม ในการไปเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับกฎหมายเฉพาะ 3 จังหวัด ภาคใต้41 ถ้าแนวทางเคลื่อนไหวมวลชนของชาวมาเลย์มุสลิมจะประสบความสาเร็จ เขาจะต้องได้รับการหนุนช่วยและความ สมานฉันท์จากประชาชนในส่วนอื่นของสังคมไทย เราไม่ควรประณามหรือหันหลังให้เขาโดดเดี่ยว

38

เวปไซท์ประชาไท http://www.prachatai.com 8/5/2007 เวปไซท์ประชาไท http://www.prachatai.com 4/6/2007 และเวปไซท์ประชาไท http://www.prachatai.com 17/6/2007 40 ดาริกา (๒๕๕๑) บันทึกจากหมู่บ้าน “คอลอบาแล” พื้นที่ที่ถูกทาให้เป็นสีแดง ใน South See (จุลสารเพื่อความเข้าใจวัฒนธรรม วิถีชีวิต และปัญหาความ รุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้) ฉบับที่ 5 สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 41 เวปไซท์ประชาไท http://www.prachatai.com 2/2/2008 39

17


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

จุดอ่อนขององค์กร “ภาคประชาชน” ต่อการสร้างสันติภาพ การแก้ปัญหาความรุนแรงใน ปาตานี เป็นภารกิจของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและองค์กรทางการเมืองรากหญ้าใน ภาคส่วนอื่นๆ ของประเทศไทย เราหวังอะไรไม่ได้จากฝ่ายรัฐหรือทหาร และเราหวังอะไรไม่ได้จากผู้นาประเทศอื่นหรือ สหประชาชาติ แต่องค์กรที่อ้างว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของ “ภาคประชาชน” ในภาคกลาง อีสานและเหนือ โดยเฉพาะ เอ็น จีโอ มีปัญหามาก เพราะองค์กรเหล่านี้ไปทาแนวร่วมกับทหารเผด็จการและฝ่ายเสื้อเหลือง กลายเป็นอุปสรรคต่อ ประชาธิปไตยและสันติภาพในสังคมโดยรวม และใน ปาตานี อีก ด้วย จุดออ่อนอีกอันหนึ่งคือการเน้นการเคลื่อนไหวประเด็นเดียว ดังนั้นองค์กรหรือขบวนการที่ไม่ไป “จับ” เรื่องภาคใต้ ก็จะ ไม่สนใจสงครามกลางเมืองที่กาลังเกิดขึ้น แม้แต่เสื้อแดงก็ไม่สนใจและบ่อยครั้ง ไปสนับ สนุนทหารกับตารวจไทยด้วย ถ้าจะมีการสร้างสันติภาพใน ปาตานี ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและองค์กรทางการเมืองที่ก้าวหน้าในภาคอื่น ต้องแสดงความสมานฉันท์กับผู้ที่เคลื่อนไหวต่อสู้กับการกดขี่ของรัฐไทยในปาตานี ต้องมีการเรียกร้องให้ลดบทบาทของ ทหารในสังคม และให้คนในพื้นที่ ปาตานี ก าหนดอนาคตของตนเองโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐไทย สรุป.....สู่เสรีภาพและการแก้ไขปัญหา ความเกี่ยวโยงระหว่างการขาดสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยในภาคกลาง ภาคอี สานและภาคเหนือ กับการขาดสิทธิ เสรีภาพและประชาธิปไตยใน ปาตานี แสดงให้เห็นว่าอุปสรรคหลักของการพัฒนาประชาธิปไตยกับสิทธิเสรีภาพในทุก ภาคเป็นเรื่องเดียวกัน ทหารที่ทารัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ ฆ่าประชาชนมือเปล่าที่เรียกร้องประชาธิปไตย ใช้กฏหมายเผด็จการอย่าง 112 แล้วหลังจากนั้นกดดันให้ตัวเองพ้นโทษทุกครั้ง เป็น “ศัตรู” ของประชาธิปไตยที่ประชาชนภาคกลาง ภาคอีส าน และ ภาคเหนือ เผชิญหน้าอยู่ และเป็นศัตรูเดียวกันกับที่ประชาชน ปาตานี เผชิญหน้า กฏหมายความมั่นคงที่สร้างความเจ็บปวดให้กับชาวบ้านภาคใต้ ไม่ต่างจากกฏหมาย 112 ที่ปิดปากและจาคุกคนเสื้อ แดง ดังนั้นคนเสื้อแดง กับชาวบ้าน ปาตานี มีผลประโยชน์ร่วมในการลดบทบาทและอิทธิพลของทหารในสังคม นอกจากนี้กรอบคิดชาตินิยมสุดขั้วที่ชนชั้นปกครองไทยพยายามใช้เพื่อฝังหัวประชาชนทั่วประเทศ เช่นการเคารพธง ชาติ และการบังคับสอนประวัติศาสตร์เท็จของฝ่ายชาตินิยมไทย เป็นวิธีการบังคับความจงรักภัก ดีของประชาชน และ นาไปสู่การดูถูกไม่เคารพคนหลากหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นคนอีสาน คนบนดอย ชนชาติกลุ่มน้อย แรงงานข้ามชาติ หรือคนมาเลย์มุสลิม ในกรณีคนมาเลย์มุสลิม การพับนกกระดาษของทักษิณหลังการเข่นฆ่าประชาชนที่ตากใบ หรือการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ อ้างว่า “คืน” ปืนใหญ่ให้กับปัตตานีโดยส่งปืนจาลองไปแทน หรือการพูดว่าคนมาเลย์มุสลิมขาดการศึกษา เป็นตัวอย่างที่ ดีของการไม่เคารพคนใน ปาตานี และการบังคับทาลายวัฒนธรรมกับภาษาของเขาก็ยิ่งซ้าเติม ในกรณีการกดขี่และห้าม ใช้ภาษายะวีในสถานที่ราชการ มันเป็นนโยบายที่โง่เขลา เพราะทาลายความสามารถในการติดต่อกับเพื่อนบ้านที่ มาเลเซียกับอินโดนีเซียภายใต้ร่มของอาเซี่ยนอีก ด้วย และเป็นการสวนทางกับแนวโน้มในอารยะประเทศที่เริ่มส่งเสริมการ ใช้หลากหลายภาษา 18


สงครามกลางเมืองที่ปาตานี และทางออกสู่สนั ติภาพ

ใจ อึ๊งภากรณ์ ๒๕๕๖

http://redthaisocialist.com/

การที่รัฐบาลเพื่อไทยไปจับมือกับทหาร พร้อมจะไม่เอาโทษกับทหารมือเปื้อนเลือด หักหลังวีรชนเสื้ อแดง และปล่อย ให้นักโทษการเมือง โดยเฉพาะนักโทษ 112 ติดคุก ต่อไป ทาให้การสร้างสันติภาพใน ปาตานี ยิ่งยากขึ้น เพราะเป็นการก้ม หัวให้ทหาร คนที่กบฏต่อรัฐไทย และผู้ที่รักเสรีภาพและความเป็นธรรมในภาคอื่น ควรเน้นกระบวนการทางการเมืองแบบมวลชน เพื่อเรียกร้องให้มีก ารถอนทหารออกไปและลดอิทธิพลของทหารในสังคมทั่วประเทศ เราต้องร่วมกันเรียกร้องให้มีการจัด ประชามติเรื่องรูปแบบการปกครองสาหรับประชาชนในพื้นที่ เราต้องไม่ยึดติดกับกรอบพรมแดนตามความคิดชาตินิยม สุดขั้ว และเราต้องเน้นว่ารัฐไทยกับกองกาลังรัฐไทยเป็นผู้สร้างความรุนแรงและปั ญหาแต่แรก

19


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.