หมอกควันกับนโยบาย 100 วันอันตราย มิ่งสรรพ ขาวสอาด สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ใกลสงกรานตเขามาแลว แตจุดความรอน (Hotspot) ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนก็ยังคง เพิ่มจํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ ขอมูล ณ วันที่ 2 เมษายน 2556 มีจํานวนสะสมถึง 9,300 กวาจุดแลว (รูปที่ 1) ทําใหสถานการณหมอกควันในภาคเหนือยังไมดีขึ้นในบางจังหวัด อยางไรก็ดี ตามคติความเชื่อของ ทางเหนือทุกปจะตองมีฝนหลวง (ฝนตกหนัก) และจะตกกอนวันที่ 13 เมษายนอยางแนนอน เทาที่ ผูเขียนอยูเชียงใหมมากวา 30 ป คติความเชื่อนี้ก็ยังไมเคยพลาด ก็ขอสงกําลังใจใหคนที่คิดจะมาเลนน้ํา สงกรานตที่เชียงใหมไดสุขใจสบายปอดเหมือนทุกปนะคะ รูปที่ 1 แผนที่จุดความรอน (Hotspot) สะสมในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ณ วันที่ 2 เมษายน 2556
ที่มา: ศุทธินี ดนตรี (2556)
สถานการณหมอกควันในภาคเหนือมีมานานก็จริงจนแมฮองสอนไดสมญานามวา “เมืองสาม หมอก” แตทุกวันนี้หมอกปลายหนาวตนแลงนับวันจะรุนแรงมากขึ้น สถิติไฟไหมปาของสํานักบริหาร พื้นที่อนุรักษที่ 16 (เชียงใหม) ในชวง 2-3 ปที่ผานมาไดระบุวา เกิดกรณีไฟไหมปาที่เชียงใหมครอบคลุม พื้นที่เพียง 5,000 - 8,000 ไร ดูตัวเลขแลวก็ไมมาก แตทําไมหมอกและฝุนฟุงกระจายไปทั่วบดบังทัศน วิสัยจนมองไมเห็นพระธาตุดอยสุเทพ และมีผลตอสุขภาพคนในเมืองเชียงใหมมาก โดยเฉพาะเด็กๆ มี 1
อาการคัน แสบตา และคนที่เปนโรคหอบหืดจะมีปญหาทางเดินหายใจมากกวาคนทั่วไป พิษจากฝุนควัน เปนที่รูกันวากอมะเร็งและทําใหอายุสั้นลง การแกไขปญหาหมอกควันที่ผานมามักทําที่ปลายเหตุคือ ตักเอาน้ําขึ้นไปรดปา สรางฝนเทียม เอารถดับเพลิงไปฉีดพนน้ํากลางตลาด เรียกวาเปนพิธีการละลายน้ําพริกในแมน้ํา ดับไดก็เพียงแตไฟใน ใจของผูวางนโยบายเทานั้น แตควันยังโขมงในใจของคนทั้งเมือง ล าสุ ด รั ฐ บาลได มีคํ า สั่งเหนือ เมฆซึ่ งลื อกัน วา เหนื อกว า กระทรวงทรัพ ยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดลอมเสียอีกไดสั่งการลงมาวาหามเผาเด็ดขาด มีผลมาตั้งแตเดือนมกราคม แรกๆ ก็บังคับ 80 วัน จนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2556 กําหนดเปน 100 วันอันตราย ระดับหมอกควันที่ทําใหฝุนในจังหวัดภาคเหนือตอนบนเกินมาตรฐาน 2 ถึง 3 เทา หมายความ วา นโยบายที่วาไรผลโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะเปนโยบาย (เหมือนนโยบายอื่นๆ อีกหลายนโยบาย) ที่ ไมไดคิดทั้งระบบ ไมไดอยูบนฐานขอมูลที่ศึกษามาอยางดี และไมไดคิดถึงผูมีสวนไดสวนเสียทั้งหมด ความล ม เหลวในการแก ไ ขป ญ หาหมอกควั น ที่ ผ า นมา อาจเนื่ อ งมาจากป จ จั ย อย า งน อ ย 2 ประการคือ ประการแรก รัฐบาลยังไมเคยลงทุนทําตัวเลขพื้นที่เผาทั้งหมด สวนตัวเลขที่รายงานโดยสํานัก บริหารพื้นที่อนุรักษก็เปนเพียงพื้นที่ที่มีสํานักงานจึงครอบคลุมพื้นที่นอยมาก เมื่อแผนงานสรางเสริม นโยบายสาธารณะที่ดี (แผนงาน นสธ.) สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะไดสนับสนุนให ผศ.ดร.ศุทธินี ดนตรี แห ง มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม แปลภาพถ า ยดาวเที ย ม 3 จั ง หวั ด ภาคเหนื อ ได แ ก เชี ย งใหม เชียงราย แมฮองสอน และใหอาจารยนิอร สิริมงคลเลิศกุล แหงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา เชียงราย และอาจารยศราวุธ พงษลี้รัตน มหาวิทยาลัยฟารอีสเทอรน ศึกษาในจังหวัดเชียงรายก็พบวา มี พื้นที่เผาสะสมรวมกันถึงเกือบ 11 ลานไร (ดูตารางที่ 1) ดังนั้น ขนาดของปญหาจึงใหญเกินกวาจะสั่ง หามเผา เพราะรัฐจะตองใชกําลังขาราชการจํานวนมากแคไหนไปดูแลพื้นที่ขนาดนั้นทั้งวันทั้งคืน ตารางที่ 1: พื้นที่เผาไหมจากขอมูลดาวเทียม จังหวัด เชียงใหม ลําพูน แมฮองสอน เชียงราย รวม
2550 2,652,285 (21.11) 720,283 (25.58) 3,915,392 (49.40) 2,712,500 (37.16) 10,000,460 (32.67)
หนวย: ไร (รอยละของพื้นที่จังหวัด) พื้นที่เผาไหมสะสม 2553 2555 2,962,329 (23.57) 3,385,478 (26.94) 871,702 (30.95) 983,750 (34.93) 4,285,539 (54.07) 5,158,870 (65.09) 2,741,250 (37.56) n.a. 10,860,570 (35.48) 9,528,098 (38.79)
ที่มา: ศุทธินี ดนตรี (2556) นิอร สิริมงคลเลิศกุล และศราวุธ พงษลี้รัตน (2556) หมายเหตุ: พื้นที่รวมของแตละจังหวัดที่ใชในการคํานวณสัดสวนพื้นที่เผาไหมสะสม มาจากกรมแผนที่ทหาร แปลง เปนหนวยไรโดยใชอัตรา 1 ตร.กม. = 625 ไร
2
ประการที่สอง การเผาไรเปนสวนหนึ่งของปญหาความยากจน ปญหาการไมมีทางเลือกอื่นใน การทําเกษตร และสวนหนึ่งเปนแรงจูงใจจากราคาพืชผลเกษตรที่ดีของขาวโพด การแกไขจึงใชความคิด แบบคําสั่งเดียว (Single command) ไมได ตองใชมาตรการเปนระบบแกไขปญหาหลายๆ ปญหาไป พรอมๆ กัน นโยบายกํากับการเผาเกี่ยวของกับวิถีชีวิตที่หลากหลายของคนจํานวนมาก ดังนั้น การ บังคับใชนโยบายควบคุมการเผา จําเปนตองมีการแยกแยะมาตรการตามลักษณะพื้นที่และวิถีชีวิต และ ตองมีทั้งมาตรการระยะสั้น กลาง และยาว ไมใชแกปญหากันแตละปแบบไฟไหมฟางเทานั้น แผนงาน นสธ. สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ไดพยายามนําผลงานของอาจารยศุทธินีเสนอ ใหแกผูมีสวนไดสวนเสียในจังหวัดเชียงใหมและลําพูนซึ่งก็ไดรับการตอบรับที่ดีในพื้นที่ แตยังเขาไมถึงผู วางนโยบายในสวนกลาง ผูเขียนจึงขอยกเอาประเด็นมาตรการที่ไดสรุปไวเมื่อคราวที่แผนงาน นสธ. ได จัดประชุมกับผูมีสวนไดสวนเสีย ณ จังหวัดแมฮองสอน เมื่อเดือนกุมภาพันธที่ผานมา โดยมาตรการที่ได นําเสนอในการประชุมดังกลาว มีรายละเอียดดังตอไปนี้ 1. มาตรการทั่วไป และมาตรการเรงดวน 1.1) ให อปท. รวมกับกํานันผูใหญจัดระเบียบการเผาทุกปกอนฤดูกาลเผา ทําแนวกันไฟและ ลดปริมาณเชื้อเพลิงระหวางหมูบานและเขตแนวปา และใหความสําคัญกับพื้นที่ที่มีการเผาสะสมสูง ตามที่ปรากฏในแผนที่ (รูปที่ 2 และ 3) รูปที่ 2 การแบงกลุมการเผาตามการจําแนกเชิงพื้นที่
เชียงใหม
ลําพูน
แมฮองสอน
ที่มา: ศุทธินี ดนตรี (2556) หมายเหตุ: จัดแบงกลุมตามระดับความรุนแรงของการเผา เรียงจากนอยไปมาก โดยกลุมที่ 5-7 เปนกลุมสําคัญที่ควร เฝาระวังและรวมกันจัดการพื้นที่เผาไหม
3
รูปที่ 3 พื้นที่เสี่ยงตอการเผาในที่โลงของจังหวัดเชียงราย
ที่มา: นิอร สิริมงคลเลิศกุล และศราวุธ พงษลี้รัตน (2556)
1.2) ใหกรมปาไมและกรมอุทยานแหงชาติ สัตวปาและพันธุพืช ทําการลดเชื้อเพลิงในพื้นที่ เสี่ยงตอการเกิดไฟปา 1.3) รัฐสวนกลางจะไมดําเนินมาตรการที่สงเสริมการขยายการผลิตของพืชไรในที่สูง เชน นโยบายประกันราคาสินคาเกษตร การรับจํานําสินคาเกษตร โดยเฉพาะขาวโพดซึ่งเปนพืชที่มีการเผา มาก 1.4) หามหนวยงานราชการทุกหนวยเผาขยะใบไมกิ่งไม 1.5) นําขาวที่รับจํานํามาแจกใหเกษตรการที่สูงเพื่อลดการปลูกขาวไร และหันไปปลูกพืชยืน ตนแทน 1.6) สนับสนุนงบประมาณใหเครือขายชุมชนเพื่อเฝาระวังการเผา และจัดการไฟปา 2. มาตรการระยะปานกลาง 2.1) อปท. จัดทําแผนชุมชนเพื่อจัดระเบียบการบรรเทาหมอกควันโดยการมีสวนรวมระหวาง อปท. ชุมชน และรัฐสวนกลาง 2.2) จัดสรรเงินอุดหนุนให อปท. จัดหาเครื่องบดกิ่งไม ใบไม แจกจายไปทุกหมูบาน 2.3) ให อปท. จัดสรรงบประมาณเพื่อใหมีรถไถกลบประจําตําบลเพื่อลดการกําจัดตอซังโดยวิธี เผา 2.4) สรางหลักประกันในการถือครองที่ดินในพื้นที่สูงใหแกชุมชนที่ไมมีกรรมสิทธิ์ที่ดินในรูป สทก. หรือโฉนดชุมชนเพื่อใหเกษตรกรมีแรงจูงใจเพื่อการลงทุนในการปลูกพืชยืนตน และเพื่อใหเปน เขตควบคุมการเผา 2.5) พัฒนาระบบน้ําเพื่อการเกษตรทําฝายชะลอน้ํา เพื่อรักษาความชุมชื้นในตนฤดูแลง 2.6) พั ฒ นาทางเลื อ กอาชี พ อื่ น ๆ ให แ ก ชุ ม ชนในที่ สู ง เพื่ อ ลดการทํ า การเกษตรในพื้ น ที่ มี ศักยภาพทางเกษตรต่ํา
4
2.7) กระจายอํานาจใหชุมชนและ อปท. มีสวนรวมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดย เริ่ ม ต น ที่ อปท. ที่ มี ศั ก ยภาพก อ น เช น มี ก ารดู แ ลป า ชุ ม ชน และมี ข อ บั ญ ญั ติ ก ารจั ด การ ทรัพยากรธรรมชาติอยางมีสวนรวม 3. มาตรการระยะยาว 3.1) พัฒนาเทคโนโลยีสําหรับระบบเกษตรที่สูงที่ไมพึ่งการเผา 3.2) พัฒนาระบบการผลิตไฟฟาขนาดเล็กสําหรับพืชที่ใชเศษพืชหมักเปนกาซชีวภาพ มาตรการระยะยาวนี้ ไมไดหมายความวาทําทีหลัง แตเปนนโยบายที่ตองอาศัยเวลา เห็นผลชา จึงตองเรงทําทันทีเชนเดียวกัน การบูรณาการการเผาเป นความท าทายที่แทจริงในการจัดการหมอกควันที่ตองอาศัยความ รวมมือของทุกๆ คน และขอฟนธงวางานนี้จะไมมีพระเอกหรือนางเอกที่ขี่มาขาวมาคนเดียวแลวแกไข ปญหาได
5