HIP MAGAZINE ISSUE 143 : SEPTEMBER 2016 (SECTION B)

Page 1

1

b side



CONTENTS S e p t e m b e r 2 0 1 6 V o l. 1 2 N o. 1 4 3

Bike Route 04 Bike Safe 07 Bike Trip 08 Travel 14 Art 20 Exhibition 23

BIKE ROUTE

TRAVEL

BIKE SAFE

BIKE TRIP

ART

EXHIBITION

04 08 14

BIKE ROUTE

BIKE TRIP

TRAVEL

เพราะได้ยินเสียงร�่ำลือว่า ‘กิ่วฝิ่น’ นั้น ดุ ดั น และโหดเหี้ ย มยิ่ ง กว่ า แม่ ก� ำ ปอง บก.เปิ้ล แห่ง Bike Section จึงไม่รอช้า รวบรวมเหล่าผู้กล้าปั่นไปพิสูจน์ว่าที่นี่ จะโหดซักแค่ไหน! ผลจะเป็นอย่างไรนั้น ขอเชิญอ่านข้างในเล่ม แต่แอบสปอยล์ กันนิดหน่อยว่างานนี้มีแต่เขา และโหด ถึงขั้นต้องลงจูง!

เพราะอยากเอาจักรยานที่ชอบไปปั่น ให้ถึงที่ ท�ำให้ ตั้ม แห่งร้าน Velocity ที่ นั ก ปั ่ น รู ้ จั ก กั น ดี พาตั ว เองและ จักรยานคู่ใจไปปั่นไกลถึง ‘ไอซ์แลนด์’ เพื่ อ เผชิ ญ กั บ อากาศแปรปรวนและ ความหนาวระดับอุณหภูมเิ ลขตัวเดียว, ธรรมชาติหลากหลายแบบทีแ่ สนตืน ่ ตา และระยะทางกว่า 600 กิโลเมตร!

ตอนแรกของการเดิ น ทางไปตามหา ความฝั น ของบรรณาธิ ก ารผู ้ ช ่ ว ย ของ HIP ที่ ส วี เ ดน กั บ การใช้ เ วลา ส่วนหนึ่งของการเดิ น ทางมาส� ำ รวจ เมื อ งหลวงสตอกโฮล์ ม เพื่ อ ซึ ม ซั บ บรรยากาศของบ้านเมืองและวิถีชีวิต ของผู ้ ค นที่ นั่ น ก่ อ นที่ จ ะเตรี ย มตั ว ออกเดินบุกป่าฝ่าดงกันในตอนต่อไป

digital contents www.hipthailand.net

3

b side


BIKE ROUTE

KEWFIN กิ่วฝิ่นไร้ปรานี

เรื่อง / ภาพ: acidslapper

หนึ่งปีที่ผ่านมา หมอจีน ที่อาศัยอยู่ในนามปากกา ‘ฝาฟา’ นักเขียน+นักปั่น+นักดนตรี+นักท�ำฟัน+ นักปริญญาเอก เคยบรรเลงเพลงอักษรบนฟลอร์กระดาษเกี่ยวกับทริปมหาโหดติดอันดับที่นักปั่นต้องมาลอง นั่นคือ ‘แม่ก�ำปอง’ สายโลกสวยเขาว่ากันว่า “ทริปนี้ควรไปก่อนตาย” ส่วนสายอ�ำมหิตดาร์กไซด์เขาว่า “อยากตายเชิญทางนี้เลยค่ะ” ตอนนั้น (HIP ฉบับสิงหาคม 2558) คุณหมอจีนตั้งชื่อตามถ้อยความของเพลง ‘ปรากฎการณ์’ ของวงอพาร์ตเมนท์คุณป้าว่า ‘เจ็บปวดแต่งดงาม’ แต่ถามว่างามมั้ย? ฉันตอบเลยว่ามาก! เรือ่ งราวผ่านไปหนึง่ ปีแบบเจ็บๆ ปนงามๆ จนกระทัง่ ผมไปได้ยนิ ข่าวลือแว่วมาจากวงการจักรยานว่า ถ้าปัน่ เลย แม่ ก� ำ ปองไปจะเจอกั บ สุ ด ยอดอสุ ร กายอี ก ตั ว ตั ว นี้ ดุ เ ดื อ ด ดุ ดั น เหี้ ย มโหดยิ่ ง กว่ า แม่ ก� ำ ปองอี ก ! ปีศาจตัวนี้ชื่อว่า... กิ่วฝิ่น! “เฮ่ย! (ผมเผลออุทาน) อยากไปจัง!” เป็ นทีร่ ูๆ้ กัน (หมายถึงผมรูต้ วั เอง น่ะครับ) ว่าทีไ่ หนดอยดุๆ เนี่ย มันต้องพิสูจน์! อารมณ์เหมือนเมือ่ สิบปี ก่อน ทีว่ ยั รุ่นไทยชอบรวมกลุม่ กันไปพิสูจน์เรื่องลี้ลบั อ�ำนาจมืด กล่าวแบบไม่ออ้ ม คือไปดูผกี นั นัน่ แหละ ก็คนมันชอบปัน่ จักรยานขึ้นเขานีน่ า พอได้ขา่ วว่ามีของเด็ด มันก็อยากลองสิครับ ว่าแลว้ ก็ไม่รอช้า รวบรวมสมัครพรรคพวกเหล่าผูก้ ลา้ ด้วยการประกาศจัดทริป แต่เป็ นการจัดทริปแบบไม่มกี ารรับประกันเส้นทาง เพราะผู ้จัดไม่เคยไป! 555 ความน่าเชือ่ ถือ = 0 ประมาณว่าถ้าไม่รกั กันจริงก็ตอ้ ง บ้าระห�ำ่ พอสมควรแน่ๆ ถึงจะมาร่วมทางกันได้ แน่นอนครับ พวกเราทัง้ หมดถูกค�ำร�ำ่ ลือเรือ่ งความโหดเหี้ยมของชือ่ กิว่ ฝิ่ น สะกดจิตสร้างความลุ่มหลอนให้พอสมควร เราจึงตัดสินใจว่าจะไม่ปนั ่ ไป จากในเมือง แต่จะเอาจักรยานใส่รถยนต์ไปจอดทีส่ ามแยกสถานีตำ� รวจแม่โป่ ง ทางแยกจากถนนสาย 118 (เชียงใหม่ - ดอยสะเก็ด) เพือ่ รักษาพลังชีพไว้ ให้มากทีส่ ุด และเลือกจักรยานเสือภูเขา เนื่องจากต้องการเฟื องเบาๆ ไปสูศ้ ึก บนเขาสู ง และต้องพึ่งพาระบบดิสค์เบรคในการปัน่ ลงมหาภูเขาในขากลับ แม้ว่ารถเสือภูเขาจะหนักไปส�ำหรับ... เสือภูเข็น!!! 4

b side


คอลัมน์น้ผี มจะไม่ขอพูดถึงเส้นทางแม่กำ� ปองนะครับ ซึง่ ท่านผู ้อ่านสามารถ ติดตามอ่านย้อนหลังได้ท่ี HIP ฉบับสิงหาคม 2558 ทางเว็บ hipthailand.net แต่อย่าเข้าใจผิดนะครับ! ผมแค่ ไม่อยากให้เนื้อหาในหนังสือมันซ�ำ้ ซ้อนกัน ไม่ได้ตงั้ ใจจะข่มเหงว่าแม่กำ� ปองนัน้ หน่ อมแน้ม ไม่น่าสนใจแลว้ ไม่จริง! แม่กำ� ปองก็ยงั คงเป็ นแม่กำ� ปองอยู่วนั ยันค�ำ่ นัน่ แหล่ะครับ โหดสมค�ำร�ำ่ ลือ ไม่เสียพะยีห่ ้อเช่นเคยครับ หลัง จากที่ อ อกเดิ น ทาง พวกเราโดนแม่ ก�ำ ปองต่ อ ยนวดล�ำ ตัว มาจนถึงยกที่ส่ี กว่าจะกระทืบลูกบันไดมาถึงยอดเนินร้านกาแฟชมนกชมไม้ ร่างของพวกเราอ่อนระทวยกันในระดับหนึ่ง ซึง่ โดยปกติแลว้ เราจะใช้ทแ่ี ห่งนี้ เป็ นจุดหมายของทริป แต่วนั นี้... จะขอเป็ นทางผ่าน! ให้เธอก้าวเดินผ่านไป! พวกเราจอดแวะพักทีน่ ำ�้ ตกแม่กำ� ปองเพือ่ เติมพลังงานส�ำรองด้วยเมนู ‘บะหมี่ก่ึงส�ำเร็จโทษ’ กันคนละหนึ่งยู นิต อันที่จริงผมเองก็ไม่ได้อยากกิน หรอกครับ อีกแค่ 5 กิโลเมตรเอง เดีย๋ วค่อยไหลลงไปกินทีห่ มูบ่ ้านแม่กำ� ปอง ดีกว่า ทว่าเพือ่ นคนหนึ่งท้วงขึ้นว่า... กินไปเถอะ ถ้ามันแค่ 5 กม.ธรรมดา มันคงไม่ข้นึ ชื่อลือชาหรอก! มันจะโด่งดังจนเราต้องมา อยากรักก็ตอ้ งเสี่ยง ไม่อยากให้เธอเป็ นเพียงภาพในความฝานนนนน ฉะนัน้ มันต้องไม่ธรรมดาแน่ๆ ตุนพลังไว้ก่อนดีกว่า ยังไงซะเหลือก็ดกี ว่าขาด บรรยากาศวันหลังฝนทีฟ่ ้ าครึ้มๆ พื้นแฉะๆ ริมธารน�ำ ้ เห็นน�ำ้ ตกแม่กำ� ปอง การได้ปนั ่ มากับบรรดาเพื่อนๆ ได้นงั ่ จิบอะไรร้อนๆ พูดคุยกันไปนี่มนั ช่าง สุดแสนวิเศษเลยนะครับ... ใครจะรูล้ ะ่ ว่าหลังจากนัน้ ... เส้นทางต่อจากนี้เป็ นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดล�ำปาง ระยะทาง จากตรงนี้ไปยังกิว่ ฝิ่ นแค่นดิ เดียวเองครับ 5 กม. “แอ๊! แค่น้ เี องเหรอ?” วัยรุ่น เลือดเดือดคนหนึ่งอุทานขึ้น ถ้านี่เป็ นหนังฝรัง่ แนวสยองขวัญ ปนโรคจิต เจสัน ศุกร์ 13 ไอ้พวกวัยรุ่นห้าวๆ นี่แหละครับทีต่ ายก่อน! 555 ตัวเก๋าจริงๆ เนี่ย เขาอยู่กนั เงียบๆ แพ้กแ็ พ้เงียบๆ ตอนทีช่ นะค่อยออกมาคุยกร่าง ค่อยออกมา โหวกเหวกกันระงม ดูตวั อย่างจากแฟนลิเวอร์พลู สิครับ! ฮี้ววววววววว กลับเข้าเรื่อง! ก็ระยะทางแค่ไม่ถงึ 5 กม. มันจะอะไรกันนักกันหนา ถึงขัน้ จะต้องมาคุยโอ่กนั เป็ นวรรคเป็ นเวรเชียวเหรอ? ผมเองก็แบกค�ำถามนี้ มาตัง้ แต่เริ่มทริป... จริงครับ! จุดอ่อนจากการทีไ่ ว้ใจ! พอเริ่มออกจากน�ำ้ ตก แม่กำ� ปองปุ๊ บ สบายครับ ไม่มดี อยเลย เพราะทีส่ มั ผัสได้คอื เทือกเขาล ้วนๆ!!! (อนุ ญาตเติมเครื่องหมายตกใจไปสามดอก) ถนนมันตัง้ เด่ข้นึ ไปแบบอนันต์! จุ ด ที่ รู ส้ ึ ก ว่ า ปัน่ สบายๆ ได้พ กั ขาคื อ จุ ด ที่ มีค วามชัน 15% ย�ำ้ ! 15% ท่านไม่ได้ตาฝาดจริงๆ ครับ (ถ้านึกภาพไม่ออก ลองนึกถึงความชันช่ วง โค้งขุนกัณฑ์ดอยสุเทพเล ้ยยยย) นอกนัน้ น่ะเหรอ? 25% +++ (ไม่ใช่ค่า SPF ครีมกันแดดนะคะ) คณะผู ้กล ้าทีร่ ว่ มเดินทาง แต่ละคนก้มหน้าก้มตาค่อยๆ บรรจง กดขาลงช้าๆ ไม่มใี ครหันมาคุยกันแม้สักครึ่งค�ำ ต่างคนต่างพูดไม่ออก ได้แต่ มองตาอย่างน้านนนนนน ความเร็วเหรอคะ? 3 กม./ชม. หัวใจกระฉูดแทงกระทุง้ ทะลุโซน Anaerobic เรียบร้อยโรงเรียนปี น! เรื่องความชันเนี่ย เท่าที่ผม จะเหลือ บตาไปมองมิเ ตอร์ไ ด้คือ 38% แต่ ต อนที่ม นั ถึง จุด แตกหัก นี่ คือ ต้องลุกขึ้นยืนสปรินท์โน้มน�ำ้ หนักตัวกระหน�ำ่ ลง ซึ่งมองมิเตอร์ไม่ได้จริงๆ วิสาสะเดาว่ามี 40% แน่!

5

b side


ตอนนัน้ พวกเราเหมือนโดนมนต์สะกดของ Professor X เลยครับ หูดบั ตาพร่า ตัวร้อนฉ่า เสียงหายใจกระชัน้ ถี่ รูส้ กึ เหมือนร่างจะระเบิด มันคือสุดยอด เทือกเขาทีช่ นั ต่อเนื่องแบบไม่ถอนคันเร่งให้กนั เลยสักนิด... เชิญคุณลงทัณฑ์ บัญชา จนสมอุราจนสาแก่ใจ... มิหน�ำฯ! ทัง้ ยังนัวเนียติดพันกันไปตลอด 5 กม. ระหว่างทางเราพบรถมอเตอร์ไซค์หลายคันที่ตอ้ งจอดเพื่อไล่คนซ้อนลงเดิน เพราะแรงเครื่องยนต์มนั ต้านไม่ไหว ไอ้หนุ่มนักบิดฮ�ำเพลงว่า... แม้ใจจริง... จะรักเพียงใด... ส่วนรถมอเตอร์ไซค์ครวญเพลง... อยากเก็บเธอเอาไว้... ทัง้ สองคน! จังหวะนัน้ แม้จะตลกแทบตายมันก็หวั เราะไม่ออกครับ พวกเรา ทัง้ จอดพัก ทัง้ ลงจูง ก็ตามสะดวกครับ ตามปกติแลว้ พวกเราเวลาออกทริป ใครลงจูง ใครเป็ นตะคริว ใครแอบขึ้นรถเซอร์วสิ ใครหนีกลับก่อน จะโดนสังคม (ทัง้ ออนไลน์แ ละออฟไลน์) รุ ม ประณามหยามเหยีย ดกัน เอ็ น จอยปาก (และคียบ์ อร์ด) แต่ทริปนี้ไม่วา่ กันครับ แค่มใี จมากันถึงตรงนี้กน็ บั ถือแล ้ว เวลาผ่านไปอย่างแช่มช้าราวกับนาฬกิ าถ่านอ่อน พอเงยหน้าหน้าขึ้นมา อีกที เจอป้ าย จุดชมวิวกิว่ ฝิ่ น และเขตจังหวัดล�ำปาง โอ้โห! เหมือนยกเทือกเขา ออกจากอก เราจอดรถพร้อมกับพ่นสบถค�ำหยาบพรังพรู ่ ออกมาระงม (ผู ้ปกครอง ควรอยูใ่ นค�ำชี้แนะของบุตรหลาน) คือมันควบคุมสติไม่อยูแ่ ล ้วจริงๆ ครับ ยังครับ ยังไม่จบ! เพราะจุดหมายของเราคือทีท่ ำ� การหน่วยพิทกั ษ์อทุ ยานแห่งชาติดอยล ้าน เราจะต้องเดินจูงรถเดินขึ้นเขาไปอีกประมาณ 200 เมตร เพือ่ ไปยังจุดชมทิวทัศน์ คุณแพะ! (ค�ำอุทาน) พวกเราเดิมพันพลังชีพทัง้ หมดไปกับดอย 40% เมือ่ กีแ๊ ล ้ว นี่ยงั ต้องมาเดินจู งรถขึ้นไปอีกเหรอ? พวกเราหันมองหน้ากันด้วยแววตา เปี่ ยมความสงสัยเชิงปรึกษา “เอาไงดีวะ?” “นี่พวกมึงจะไปกันจริงเหรอ?” แล ้วคนบางใคร (สงวนนาม) ก็โพล่งขึ้นว่า “ไปสิวะ! ทริปบ้าๆ แบบนี้ไม่ได้มา กันบ่อยๆ นะโว้ย หรือว่าอาทิตย์หน้าพวกมึงจะมากันอีก?” ทุกคนเงียบ ฤๅนี่คอื การยอมรับความคิด เราปล่อยให้ความเงียบสนทนากัน เราจึงได้แต่กม้ หน้าก้มตา เดินจูงรถกันไป เพราะไม่มใี ครกล ้าเถียงมัน 555

แต่กอ็ ย่างทีภ่ าษิต (ทีผ่ มแต่งขึน้ เอง) ว่าไว้... ‘ยง่ิ สูงยิง่ สวย’ ไม่ผดิ แม้แต่นอ้ ย บนยอดจุดชมทิวทัศน์นส่ี วยจริงๆ ครับ บรรยายเป็นตัวหนังสือยาก ถ่ายรูปมาฝาก ก็ยากอยูด่ ี เอาเป็ นว่าลองปัน่ มาดูกนั เองเถอะครับ ระยะทางแค่ 5 กม.แต่ใช้เวลา ชัว่ โมงนึงเต็มๆ!!! พลังงานบะหมีห่ มดจนแทบเลียถ้วยเลียชาม เหนื่อยๆ หิวๆ ล ้าๆ กันมาเต็บหอบซะขนาดนี้ แล ้วได้มายืนอยู่ในบรรยากาศ อุณหภูมิ และ ทิวทัศน์แบบนี้ อะหืยยยยยยยยย สะใจเป็ นบ้าเลยครับ เสพติดความทรมาน เรื่องแบบนี้พวกเราชาวน่ องเหล็กเข้าใจกันนะครับ เพราะถ้าขับรถยนต์มา เราอาจ ‘เห็น’ มันในความเข้าใจอีกแบบก็ได้นะ แต่กไ็ ม่วา่ กันครับ ใครจะมาแบบไหน อะไร ยังไง มันก็ไม่ใช่ธุระกงการอะไรของเรา เพราะมนุษย์ทกุ คนก็มสี ทิ ธิ์ทจ่ี ะรูส้ กึ ยิง่ ใหญ่ และภูมใิ จกับวีรกรรมทีเ่ ขาได้ทำ� ลงไป เมือ่ เรื่องราวถูกน�ำมาแบ่งปัน กระจายออกไป แค่น้ กี ถ็ อื เป็ นเรือ่ งทีน่ ่ายินดีมากแล ้วครับ แล ้วพบกันฉบับหน้าครับ ปล. ขาลง ผมแนะน�ำให้เดินจูงลงนะครับ ความดิ่งชันระดับเฉียด 40% นี่ ถ้าขีล่ งถือว่าอันตรายสุดๆ นะครับ ขนาดพวกเราใช้เมาเท่นไบค์ระบบดิสค์เบรค ยังเจออาการ ‘เบรคหาย’ บีบจนสุดแล ้วยังเอาไม่อยู่ ใบดิสค์รอ้ นจนแดงวาบ เสีย่ งตายเกินไป ผมไม่แนะน�ำนะครับ! เพือ่ ความปลอดภัย จัดรถเซอร์วสิ ไปรับ หรือเดินจูงเถอะครับ เก็บชีวติ ดีๆ นี้ไว้สำ� หรับเรื่องดีๆ หรือเก็บไว้ ‘ลองของ’ ทริปต่อๆ ไปดีกว่าครับ ...แมะ แมะ (เสียงแพะ)

6

b side


BIKE SAFE

BALANCING ACT สมดุลแห่งความสุข เรื่อง / ภาพ: @T

03

ของเพือ่ นบางคนก็รบั มรดกตกทอดมาจากพีๆ่ สนิมกินโซ่ทงั้ เส้น ขีไ่ ปทางไหนมีเสียงอีด๊ ๆ ตามไปด้วยเป็ นเอกลักษณ์

จ่ กั รยานสมัยเด็กๆ มันถึงได้สนุกสนาน สบายใจ 01 ถึ งจะไม่ท�ไำด้ไมตอนขี ไปไหนไกลจากบ้านมากนัก แต่ก็รูส้ กึ ว่า ได้มอี สิ ระเสรี เหนืออื่นใด จักรยานที่ใช้ก็แสนจะธรรมดา แต่ มนั ช่ างเหนือกว่า การเดินไปไหนต่อไหนมากมายนัก จักรยานของเพือ่ นบางคนก็มขี นาดใหญ่โตเกินตัว เพราะแอบเอา 02 ของคุ ณแม่มาใช้

04

มาถึง วัน นี้ วัน ที่พ ลเมือ งโลกครึ่ง หนึ่ ง เดิน ก้ม หน้า ก้ม ตา มองฝ่ ามือตัวเอง ไปตามทีส่ าธารณะ

รถจักรยานมีนำ�้ หนักเบาจนยกได้ดว้ ยปลายนิ้วก้อย วัสดุทใ่ี ช้ทำ� ยานอวกาศ ยังไม่ดพี อส�ำหรับจักรยาน ราคาจักรยานบางคันแพงกว่าเก๋งขนาดกลางมือสองสภาพดี จักรยานส่วนมาก มีเกียร์มากกว่าจ�ำนวนนิ้วมือและนิ้วเท้ารวมกัน แต่ทำ� ไมทุกวันนี้ หลายคนยิ่งปัน่ ยิ่งเครียด เงินเดือนทัง้ เดือนลงไปกับอุปกรณ์ชุดขับเคลือ่ นไฟฟ้ ารุ่นนัน้ ค่าขนมลูกถูกแบ่งมาเป็ นค่ากางเกงน�ำเข้ายี่หอ้ นี้ ขีจ่ กั รยานแถวบ้านหรือขีข่ ้ามจังหวัดเริม่ ไม่พอ ต้องกูเ้ งินซื้อตัวเครื ๋ อ่ งบินไปขีช่ มวิวต่างประเทศ การขีจ่ กั รยานกลายเป็ นการเข้าสังคม จักรยานเป็ นส่วนหนึ่งของหน้าตา มีเครือ่ งวัดความเร็วแบบใช้สญั ญาณดาวเทียมยังไม่พอ ต้องวัดอัตราการเต้นของหัวใจและก�ำลังทีใ่ ช้ เงินสดซื้อไม่พอก็ซ้อื เงินผ่อน กลายเป็ นขีจ่ กั รยานแล ้วมีแต่หนี้สนิ มีปญั หาครอบครัว การอยูใ่ นภาวะสมดุลทีท่ ำ� ให้เราทรงตัวอยูบ่ นสองล ้อแคบๆ ได้ ดูเหมือนจะง่ายกว่าการท�ำให้ชีวติ สมดุลในโลกปัจจุบนั นี้เสียแล ้ว

BIKE NEWS 11 กันยายน 2559 Fox Jamtrack & Mosso cup # 3 2016

TCA ร่ ว มกั บ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ร่ ว มกั น ระเบิ ด ความมั น ให้ พี่ น ้ อ งชาวเสื อ ภู เ ขาในศึ ก ที่ ส ามของปี 2016 เพิ่มความมันและระยะทางจากปีที่แล้ว กับการแข่ง เป็นรอบ รอบละ 3 กิโลเมตร ภายในเวลา 90 นาที ใครหมู่ใครจ่า รู้กันแน่นอนครับว่าใครจะเป็นผู้ที่ ท�ำเวลารวมได้ดีที่สุด!!! ณ คณะเกษตรศาสตร์ (แม่ เ หี ย ะ) มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม Hotline 08-9816-3983 คุณปาริชาติ / 09-8286-4370 คุณญาณภัทร์

18 กันยายน 2559 Chiangmai Car Free Day 2016

เส้นทางรอบคูเมืองเชียงใหม่ เริ่มปล่อยตัว ที่ลานอเนกประสงค์ประตูท่าแพ ลงทะเบียนล่วงหน้า เพื่อรับเสื้อได้ที่ http://carfreeday2016.com/ registration/

7

b side

25 กันยายน 2559 ปั่นรัก ไปทักแม่ฮ่องสอน : ปีนปาย ตะกายดอย

การแข่ ง ขั น จั ก รยานเสื อ ภู เ ขาทางเรี ย บ ณ อ� ำ เภอปาย จั ง หวั ด แม่ ฮ ่ อ งสอน ปล่ อ ยตั ว ที่ โ รงเรี ย นปายวิ ท ยาคาร (รั บ สมั ค รที่ ห น้ า งาน) รับเสื้อฟรีส�ำหรับผู้สมัคร 500 ท่านแรก


BIKE TRIP

สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ มีเมืองหลวงชือ่ เรคยาวิก (Reykjavík) เรคยาวิกจึงเป็นเมืองหลวงทีอ่ ยูใ่ กล้ขวั้ โลกเหนือมากทีส่ ดุ มีประชากรประมาณ 3 แสนคน ซึง่ ค่อนข้างเบาบาง ปี 2557 ไอซ์แลนด์ถกู จัดให้เป็นประเทศทีส่ งบสุขทีส่ ดุ ในโลก จากรูป ‘โจกุลซาลอน’ (Jökulsárlón) ทะเลสาบธารน�ำ้ แข็งทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ บนเกาะไอซ์แลนด์

8

b side


ON THE ROAD IN ICELAND เกาะแห่งความฝัน ที่ยังมีลมหายใจ เรื่อง / ภาพ: ขวัญชัย นวลจันทร์ฉาย (ตั้ม เวโล) เรียบเรียง: HIP Team

“มันจะดีกว่า ถ้าเราได้เอาจักรยานที่เราชอบไปขี่ที่ไอซ์แลนด์ด้วย“ ประโยคสั้นๆ แต่เต็มไปด้วยพลังมหาศาลของนักปั่นคนนี้ ตั้ม - ขวัญชัย นวลจันทร์ฉาย แห่งร้าน Velocity The Cyclist Shop ที่เรารู้จักกันดี ด้วยความหลงใหลในการปั่นจักรยานและท่องเที่ยว ทริปนี้จึงเกิดขึ้น จากการวางแผนและศึกษามาอย่างดีการไปไอซ์แลนด์ในครั้งนี้ เขาจึงชวนเพื่อนนักปั่นไปอีก 4 คน และผู้ติดตามที่จะคอยขับรถเซอร์วิสตลอดเส้นทาง (พี่ตั้มเรียกว่ากลุ่มแม่บ้าน) ระยะทางบนถนนกว่า 600 กิโลเมตร ในเวลา 5 วัน กับการปั่นที่ไม่เป็นไปตามที่คาดคิดไว้?

Day 1 “ทริปนี้กว่าจะถึงไอซ์แลนด์ เราต้องต่อเครื่อง 2 ครัง้ คือลงที่โดฮาเพื่อเปลีย่ นเครื่องไปโคเปนเฮเกน และเปลีย่ นเครือ่ งเพือ่ ไปเรคยาวิก” พีต่ มั้ เล่าให้ฟังว่าในการน�ำจักรยานจากไทยไป เขาต้องเตรียมแร็คทีใ่ ช้ตดิ รถยนต์ เพือ่ วางจักรยานไปด้วย “เตรียมไว้ดีกว่า เพราะจักรยานแพง” เมือ่ ถึงเมืองหลวงเรคยาวิก รถยนต์ทเ่ี ช่ามาก็ถกู ประกอบด้วยแร็คและจักรยาน ก่อนจะเริม่ ต้นขับรถมุง่ หน้าไป 400 กว่ากิโลเมตร ทางตะวันออกสุดของสถานทีท่ ว่ี างแผนไว้ นัน่ คือทะเลสาบธารน�ำ้ แข็งโจกุลซาลอน สถานที่ ทีพ่ ต่ี มั้ บอกกับเราว่า “เป็ นเหมือนอีกโลกหนึ่งทีเ่ ราไม่เคยสัมผัสมาก่อน”

9

b side


ที่นี่เขาให้เกียรติคนขับเท่าๆ กัน จะรถบรรทุกหรือ รถจักรยาน รถใหญ่หรือเล็ก ก็เป็นพาหนะหนึ่งคัน เหมือนกัน ทุกคนต้องเคารพกันซึ่งกันและกัน

Day 2

ไอซ์แลนด์เป็นประเทศที่ไม่มีทางรถไฟ มีถนน เส้นหลักคือ ทางหลวงหมายเลข 1 วนรอบ เกาะไอซ์แลนด์ (ถนนวงแหวน) ส�ำหรับคนไทย ที่ต้องการเช่ารถ ควรมีใบขับขี่สากล เพราะที่นี่ พวงมาลัยอยู่ทางซ้ายและขับรถเลนขวา

จากทีพ่ กั ทีมเริม่ ปันจั ่ กรยานย้อนกลับมาทางตะวันตก บนถนนหมายเลข 1 โดยให้รถกลุม่ แม่บ ้านขับน�ำไปก่อน พีต่ มั้ บอกว่าการวางแผนปัน่ จักรยานในทริปนี้ ด้วยระยะทางทัง้ หมด แผนทีว่ างไว้คือเช้าขีจ่ กั รยาน บ่ายนัง่ รถ จะไม่ขต่ี ะบี้ตะบัน จนไม่มแี รงเทีย่ ว และตัง้ ใจมาช่วงเดือนพฤษภาคมซึง่ เป็ นต้นฤดูรอ้ น น�ำ้ แข็งก�ำลัง ละลายแต่กย็ งั มีนำ�้ แข็งให้เห็นอยู่ อากาศวันนี้หนาวมาก อุณหภูมแิ ค่เลขตัวเดียว ที่น่ีอากาศค่ อนข้างแปรปรวนพอสมควร ด้วยความเป็ นเกาะ บางทีมเี มฆ แล ้วก็แดดออก ก�ำลังถ่ายรูปสวยๆ ซักพักเมฆก็มาละ หรือซักพักก็มฝี นปรอย แต่เดีย๋ วก็หายไปก็มี เหตุผลที่ไปทางตะวันออกก่ อนแลว้ ค่ อยย้อนกลับมาทางตะวันตก ก็คอื วิวทีจ่ ะได้เห็นขาไปและกลับจะไม่เหมือนกัน ด้วยระยะเวลาทีม่ อี ยูอ่ ย่างจ�ำกัด จึงต้องวางแผนให้กระชับ เริม่ สตาร์ทจากทีพ่ กั ใช้ความเร็วในการปัน่ ค่อนข้างต�ำ ่ เพราะหยุดถ่ายรูปกันค่อนข้างบ่อย ข้อเสียของการหยุดบ่อยคือสูญเสียความร้อน ต้องรักษาอุณหภูมใิ ห้ร่างกายอุน่ เพือ่ ต่อสูก่ บั อากาศหนาวภายนอก และชุดทีใ่ ช้ ต้องเป็ นชุดส�ำหรับปัน่ ในเมืองหนาว ระหว่างทีป่ นั ่ รูเ้ ลยว่าหลายคนเตรียมชุดมา ไม่พร้อม โดยเฉพาะถุงมือส�ำคัญมากเพราะถ้านิ้วชา ก�ำแฮนด์ยงั ไม่ไหวเลย จุดหมายแรกที่ไปถึงคือทะเลสาบธารน�ำ้ แข็งโจกุลซาลอน ระยะทาง ประมาณ 20 กิโลเมตร บริเวณส่วนนี้เป็ นทางออกของธารน�ำ้ แข็งใหญ่จาก Vatnajökull (วัทนาโจกุล) แตกตัวและลงมาทีท่ ะเลสาบนี้ก่อนลงทะเล ถ้ามาฤดู หนาวจะเห็นน�ำ้ แข็งเป็ นแผ่น ไม่เห็นเป็ นก้อนแบบนี้ สามารถนัง่ เรือเข้าไปใกล ้ๆ ได้ ถ้าโชคดีอาจเห็นแมวน�ำ ้ ถัดจากทะเลสาบนี้ไปมีชายหาดสีดำ � ทีพ่ ดั เอาก้อนน�ำ้ แข็ง ทีเ่ ริม่ ละลายจากทะเลมาเกยหาด ทีมเราดืม่ ด�ำ่ อยูต่ รงจุดนี้ประมาณ 3 ชัว่ โมง พร้อมกินข้าวกลางวันแบบครัวเอาท์ดอร์ เริม่ มีคนขีเ้ กียจปัน่ แล ้ว แต่ต ้องปลุกใจว่า ไหนๆ ก็เอาจักรยานมาแล ้ว วันนี้ตอ้ งขีใ่ ห้ได้ตามแผน!

DID YOU KNOW?

เนื่องจากความสวยงามแปลกตาเหมือนโลกต่างดาวของ Svínafellsjökull ผู้ก�ำกับ Christopher Nolan จึงใช้ โลเคชั่นนี้ ในภาพยนต์เรื่อง Interstellar ในฉากที่กลุ่มของ นักส�ำรวจก�ำลังหาดาวเคราะห์ดวงใหม่เพื่ออยู่อาศัย

10

b side


ICELAND ระหว่างปัน่ ไปจุดหมายต่อไป อยูด่ ๆี ลูกเห็บก็ตก ลมแรงมาก เพราะทีมเราขีย่ ้อนลมอุน่ ทางทิศใต้ขึน้ ไป ไม่ได้ถา่ ยรูปเลยเพราะมือแข็งมาก ไม่สามารถหยิบกล ้องออกมาโดยไม่ถอดถุงมือได้ ปัน่ มาได้ประมาณ 50 กิโลเมตร เราก็ถงึ ธารน�ำ้ แข็ง Svínafellsjökull (สวีนาเฟลล์โจกุล) เป็ นธารน�ำ้ แข็งทีส่ ามารถเดินไปดูใกล ้ๆ ว่ามันไหลลงมาจากภูเขาได้เลย เอกลักษณ์ของมันคือเป็ นเลเยอร์ จากเถ้าภูเขาไฟและน�ำ้ แข็งทับกันเป็ นชัน้ ๆ สามารถเดินเทรกกิ้งได้แต่ตอ้ งมีผู ้น�ำ (เคยมีคนหายสาบสูญมาแล ้ว) วันนี้ถอื ว่าปัน่ ได้ตามแผนทีว่ างไว้ คือประมาณ 70 กิโลเมตร จากนัน้ เราก็แพ็คจักรยานขึน้ รถและขับรถ เทีย่ วต่อไปยังหุบเขา Fjaðrárgljúfur (โตรกฟยาดราร์กลิเฟอร์) ซึง่ เกิดจากการกัดเซาะของน�ำ้ แข็งเป็ นหุบเขา ลึกประมาณ 2 กิโลเมตร ท�ำให้เกิดแลนด์สเคปทีส่ วยแปลกตา ก่อนเข้าทีพ่ กั ยังผ่านทุ่งหินลาวากว้าง สุดลูกหูลูกตาทีป่ กคลุมด้วยมอส จนมาถึงทีพ่ กั ทีเ่ มือง Vik กันตอนประมาณ 4 ทุม่ ท้องฟ้ ายังสว่างอยู่ ท่ามกลางอากาศ 1 องศาเซลเซียส ทุกคนก็แยกย้ายกันนอนพักเอาแรงส�ำหรับการปัน่ วันพรุ่งนี้ 11

b side


Day 3 ‘ผิด แผน’ ความจริ ง แล ว้ วัน นี้ ต อ้ งปัน่ ให้ไ ด้ป ระมาณ 50 - 60 กิโลเมตร ตามแผนทีว่ างไว้ แต่กต็ อ้ งยกเลิก เนื่องจาก ทุกคนยังปรับตัวกับสภาพอากาศทีห่ นาวจัดไม่ได้ เหมือนว่าการปัน่ ทีน่ ่ี 1 ชัวโมง ่ ร่างกายต้องสร้างพลังงานมากกว่าปกติ คือร้อนมาก ก็ไม่ดี หนาวมากก็ไม่ไหว วันนี้เลยเปลีย่ นแผนเป็ นขับรถเทีย่ วแทน จุดหมายต่อไปทีเ่ ราแวะก็คอื Reynisfjara ชายหาดหินสีดำ � จุดเด่น อีกอย่างของทีน่ ค่ี อื มีนกพัฟฟิ นท�ำรังอยูบ่ นชัน้ หินท และภูเขาริมทะเล มีแท่งหินวางเรียงตัวสวยแปลกตา เป็ นความอัศจรรย์ทางธรรมชาติ ทีเ่ กิดขึน้ เอง ส่วนข้างๆ ก็มถี ำ �้ Halsanefshellir ทีม่ เี รือ่ งเล่าเกีย่ วกับ ยักษ์โทรล จากเรือ่ งเล่าต่างๆ จะเห็นได้วา่ วิถชี วี ติ ของคนไอซ์แลนด์ ผูกพันกับธรรมชาติค่อนข้างมาก

DIDYOU KNOW?

น�้ ำ ตก Gullfoss เป็ น หนึ่ ง ในสถานที่ ถ ่ า ยท� ำ ฉากแรกๆ ของภาพยนตร์เรื่อง Prometheus

เราขับต่อมาทีห่ นิ สะพานโค้งทีม่ หี น้าผายืน่ ออกไปในทะเล เป็ นที่ตงั้ ของประภาคารเก่า ระหว่างทางที่จะไปจุดหมายต่อไป เราผ่านบ้านเก่าดัง้ เดิมทีเ่ ป็ นบ้านหินก่อผสมไม้กันลม แล ้วเราก็ถงึ อนุ สรณ์สถานภูเขาไฟ Eyjafjallajökull (เอยาฟจาลาโยคูลล์) ซึง่ เป็ นสถานทีร่ ำ� ลึกถึงการระเบิดครัง้ ใหญ่ของภูเขาไฟเมือ่ 6 ปีทแ่ี ล ้ว ขี้เถ้าของการระเบิดครัง้ นี้สร้างความเสียหายไปทัวยุ ่ โรป การจราจร ทางอากาศชะงัก จนมีคนพูดว่า “ไอซ์แลนด์เป็ นประเทศที่ไม่มี กองทัพ แต่เรามีภเู ขาไฟ...” จากนัน้ เรามุง่ หน้าสูน่ ำ�้ ตกยักษ์ทส่ี ูงทีส่ ดุ ในไอซ์แลนด์ Skógafoss (สโคคาร์ฟอสส์) สู งกว่า 60 เมตร สามารถเดินขึ้นไปชมวิวจากจุดสู งสุดได้ จุดเด่นคือแสงแดด ทีก่ ระทบกับละอองน�ำ้ จนเกิดรุง้ สองชัน้ ทีส่ วยงาม

12

b side


Day 4 วันนี้เราเริม่ จากแวะเทีย่ วใกล ้ๆ ทีพ่ กั นัน่ คือ น�ำ้ พุรอ้ นขนาดใหญ่ Geysir (กียเ์ ซอร์) ทีน่ ำ�้ พุ่งขึ้นด้วยแรงดันจากภูเขาไฟใต้ดนิ ต่อด้วยน�ำ้ ตกทีไ่ ม่ควรพลาดอีกที่ คือ Gullfoss (กุลล์ฟอสส์) ด้วยความใหญ่มหึมาอลังการ ท�ำให้ทีน่ ด่ี งั มาก จนถึงขัน้ จะน�ำมาผลิตกระแสไฟฟ้ า แต่กถ็ กู พับโครงการไปเพราะต้องการอนุรกั ษ์ไว้ ช่วงฤดูหนาวน�ำ้ ตกจะกลายเป็ นน�ำ้ แข็งหมดเลย เราแวะเปลี่ย นชุด เป็ น ชุด ปัน่ จัก รยาน วัน นี้ ต งั้ ใจจะปัน่ ให้ไ ด้ป ระมาณ 40 กิโ ลเมตร ชมวิวสองข้างทาง เวลาใกล ้ทุ่มแต่ยงั สว่างอยู่ เราแวะน�ำ้ ตก Hraunfossar (ฮัวฟอสส์ซ่าร์) ความพิเศษของทีน่ ่คี อื น�ำ้ ทีอ่ อกมาจากชัน้ หินลาวา เกิดเป็ นน�ำ้ สีฟ้าสวย ไหลลงแม่นำ �้ Hvítá เรียงไปตามความยาวของแม่นำ�้ กว่า 900 เมตร จากนัน้ ขับรถยาวต่อไปอีก 150 กิโลเมตร ทางตะวันตกสุดของทริปนี้ เพือ่ ไปพักใกล ้สถานทีท่ เ่ี ป็ นแรงบันดาลใจในการมาไอซ์แลนด์ครัง้ นี้ นัน่ คือภูเขา Kirkjufell (คริคจูเฟว) เรามักจะเห็นภาพถ่ายมุมมหาชนของคริคจูเฟวมากมาย กับภูเขาทรงหมวกทีด่ งึ ดูดนักท่องเทีย่ วจากทัวโลกให้มาเห็ ่ นทีน่ ่ดี ว้ ยตาตัวเอง

Day 5 วันสุดท้ายในไอซ์แลนด์ ก่อนกลับโคเปนเฮเกน เรากลับไปที่ เมื อ งหลวงเรคยาวิ ก เพื่ อ แวะโบสถ์ Hallgrimskirkja (ฮัลล์กรีมสคิรค์ ยา) โบสถ์ศาสนาคริสต์ท่สี ู งที่สุดในไอซ์แลนด์ ข้างหน้ามีอนุ สาวรียข์ อง เลฟร์ อีริกสัน ชาวยุโรปคนแรกที่มา ตัง้ รกรากทีน่ ้ ี จากนัน้ เราขับรถอีก 50 กิโลเมตร เพือ่ ไปแช่นำ�้ แร่ ภูเขาไฟที่ Blue Lagoon (บลู ลากูน) ก่อนจะกลับมาเรคยาวิก เพือ่ คืนรถเช่าและแพ็คจักรยาน เตรียมตัวร�ำ่ ลาเกาะไอซ์แลนด์ วิธเี ตรียมตัวก่อนไปไอซ์แลนด์ ควรศึกษาเส้นทางให้ดี หากจะเอาจักรยานไปปัน่ ก็ควรรูว้ า่ เส้นทางไหนเหมาะสม ดูเวลาด้วยว่า ช่วงทีไ่ ปกลางวันมีเวลากีช่ วั ่ โมง พระอาทิตย์ตกตอนไหน เรามีเวลาเท่าไหร่ เพราะถ้าเกิดเวลาไม่พอแล ้วมืดก่อน จะท�ำให้เราเทีย่ วได้นอ้ ยลง ยกเว้นตัง้ ใจมาดูแสงเหนือทีก่ ลางคืนมากกว่ากลางวัน ส่วนเรื่องชุดทีใ่ ส่ปนั ่ ต้องเป็ นชุดทีใ่ ช้ปนั ่ ในเมืองหนาว ถุงมือยาว มีเบสเลเยอร์ ชัน้ กลางหนาหน่อย และชัน้ นอกกันลมกันหนาว ไม่ใช่ใส่ลองจอนข้างใน เพราะมันไม่เหมาะกับการออกก�ำลังกาย ถ้าคุณเป็ นนักเดินทาง รักการผจญภัยและชอบปัน่ จักรยาน แนะน�ำว่าชีวติ หนึ่งต้องไปซักครัง้ ขีจ่ กั รยานกับขับรถมันให้อารมณ์ ทีแ่ ตกต่าง การปัน่ ท�ำให้เราสัมผัสได้ถึงสายลม แสงแดด หรือแม้แต่กลิน่ ของหญ้า ส่วนผมถ้ามีเวลาก็อยากจะมาอีก อยากเก็บให้รอบเกาะเลย พีต่ มั้ ทิ้งท้ายว่า “ครัง้ หน้าผมอยากปัน่ เสือภูเขานะ” 13

b side


TRAVEL

Hej! SAY HELLO TO SWEDEN WALKING IN STOCKHOLM

ฉันมาท�ำอะไรที่สวีเดน? เรื่อง / ภาพ: ศมนภรณ์

สมัยเรียน เรามักจะตัง้ เป้าหมายในชีวติ ไว้เพือ่ เป็นก�ำลังใจในการเรียน อายุ 7 ขวบ ก็อยากเรียนหมอ เพราะอยากให้พ่อแม่ภูมิใจ... พออายุ 17 จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็เปลี่ยนความคิดไปสอบวิศวะ โดยทีต่ อนนัน้ ยังไม่รเู้ ลยว่าจะเรียนได้มยั้ ... จนมาถึงวัยท�ำงาน ความคิดก็เปลีย่ นอีกรอบ เริม่ ลังเล เห็นเพือ่ นๆ สมัครเข้าท�ำงานบริษทั บ้าง เรียนต่อก็เยอะ คุยกับตัวเองเกือบปี สิง่ ทีเ่ ราสนใจมาตลอด คืออะไร อะไรที่ผลักดันศักยภาพของเรามาตลอด ทุกคนรอบตัวมองว่ามันคือการถ่ายภาพ และมักจะเรียกเราด้วยค�ำติดปากว่า ‘ฝน ช่างภาพ’ แต่มันเป็นเปลือกภายนอกที่พวกเขาเหล่านั้น มองมาเท่านั้นเอง ช่างภาพ มีค�ำว่า ‘ช่าง’ อยู่ด้วย ในที่นี้คงหมายถึงสิ่งที่ท�ำแล้วถนัด สามารถ หาเงินเลีย้ งตัวเองได้ แต่เราไม่เคยมองตัวเองว่าเป็นช่างภาพ เราถ่ายรูปเป็น เพราะชอบอ่านหนังสือ ที่มีรูปภาพ ชอบอ่านตัวหนังสือที่ประกอบด้วยรูปภาพ คนอื่นอาจจะมองว่าเป็นแค่งานอดิเรก ใครๆ ก็ทำ� กัน แต่ในใจลึกๆ ตอนนัน้ เราไม่รหู้ รอกว่าจริงๆ แล้วตัวเองถนัดอะไร ท�ำไมไม่หาค�ำตอบ ให้ตัวเองก่อนจะสายเกินไป ไม่มีใครรู้ดีกว่าตัวเองว่าเราเป็นยังไง... เวลาผ่านไปเร็วเหลือเกิน องค์ประกอบในชีวติ ชัดเจนมากยิง่ ขึน้ เดือนกันยายนนีค้ รบ 3 ปีทที่ ำ� งานให้หนังสือ ฮิพ แม็กกาซีน และอายุ 27 ปี... อยากรู้จังว่าตอนอายุ 37 ตัวเราจะเปลี่ยนไปยังไงนะ?

“อิจฉาจัง...ได้ไปสวิต” นี่เป็ นรอบที่ 10 แล ้วมัง้ ทีม่ คี นมาทัก หลังจากรูว้ า่ เดือนสิงหาเราจะได้ไปเทีย่ วยุโรป ทีส่ วีเดน เราไม่เข้าใจ ท�ำไมคนจ�ำสับสนระหว่าง สวิต (สวิตเซอร์แลนด์) กับ สวีเดน และเราก็ตอ้ งอธิบายทุกครัง้ ไปว่ามันไม่เหมือนกัน คนละประเทศกัน เหมือนว่าหลายคนไม่สามารถนึกภาพสวีเดนออกมาได้เลย คงต้อง ยกความดีความชอบให้สมัยเรียนมัธยม ชอบวิชา ‘โลกของเรา’ เคยได้ทอ่ งชือ่ ประเทศ เมืองหลวง คาบสมุทร ทะเล ภูเขา น�ำ้ ตก หรือแม้แต่ธงชาติ เราเป็ นคนหนึ่งทีค่ ่อนข้างชอบวิชานี้ ถึงแม้จะ เรียนได้เทอมเดียว ตอนนัน้ ไม่รูห้ รอกนะว่าท�ำไมถึงชอบ หรือว่า อยากไปทีท่ ท่ี อ่ งๆ มา? กลับมาทีก่ ารอธิบายประเทศนี้ สามารถเข้าใจ ได้ภายใน 3 ค�ำ คือ ไวกิ้ง, เรนเดียร์ และ ซลาตัน อิบราฮิโมวิช ส่ ว นใครที่ ย ัง ไงก็ ย ัง วาดภาพประเทศนี้ ไม่ ช ัด เจน ขอเรียนเชิญเสิรช์ กูเกิ้ล ค�ำว่า ‘Alexander Skarsgård‘ อิอิ

8 PM หญิงสาวคนหนึ่งเดินเล่นริมแม่น�้ำ ถ่ายรูปแสงแดดและท้องฟ้าที่สดใส หน้าร้อนของสวีเดน พระอาทิตย์ตกแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ท�ำไมมนุษย์ต้องก�ำหนดเวลาให้มี 24 ชั่วโมง ในเมื่อโลกแห่งความฝัน มักจะเกิดตอนกลางคืน

14

b side


Hej คนสวีเดน หรือ สวีดิช ให้ความส�ำคัญกับการทักทายค่อนข้างมาก อยู่ไม่ถึงครึ่งวัน พูดค�ำว่า “เฮ” กับคนแปลกหน้าไปมากมาย คือจะไม่ทักเราว่า “ฮาย” นะ ไม่ “เฮ้” ด้วย แค่พูดโต้ตอบว่า “เฮ” ก็พอ

15

b side


Gamla Stan ระหว่างเดินเรื่อยๆ จากที่พักไป Gamla Stan ย่านเก่าแก่ ใจกลางเมือง (เชียงใหม่คงเป็นท่าแพ) จะสังเกตเห็นถึง การใช้ ชิ วิ ต นอกบ้ า นของคนที่ นี่ ที่ วั น ไหนแดดออก เมืองจะคึกคักตลอดเวลา บ้างก็ออกมาเล่นดนตรีเปิดหมวก หรือนั่งชิลล์จิบกาแฟ ดื่มเบียร์กันตอนกลางวันในคาเฟ่เท่ๆ ที่ มี ป ราสาทอยู ่ ข ้ า งกั น ขณะที่ ก ารปั ่ น จั ก รยานในเมื อ ง ของคนที่นี่ ดูจะเป็นการเดินทางที่ค่อนข้างปกติ เพราะมี เลนจักรยานและเลนทางเดินแยกกันอย่างชัดเจน

มาถึงจริงๆ แล ้วใช่มยั้ ? นี่เป็ นจิตใต้สำ� นึกของตัวเองระหว่างนัง่ มอง ท้องฟ้ าในสตอกโฮล์ม ย้อนกลับไปปลายปี ท่แี ลว้ อยู่ๆ Notification ก็เด้งขึ้นมา พีม่ คิ กอง บก. ทีฮ่ พิ อินไวท์เราเข้าไปในอีเวนท์หนึ่ง เปิ ดเข้าไป พบกับรูปภาพด้านบนทีม่ ปี ระโยคว่า “ร่วมเดินทางไปกับเรา 110 กิโลเมตร ทางตอนเหนือของประเทศสวีเดน บนเส้นทางทีส่ วยระดับโลก Fjällräven Classic 2016” ประกอบรูปภาพทีม่ คี นแบกประเป๋ าเป้ ใบใหญ่เดินอยูใ่ นเทรล ล ้อมรอบด้วยหุบเขาแปลกตา สิง่ แรกทีค่ ดิ ‘Fjällräven’ อ่านว่าอะไรวะ? เราเคยเห็นค�ำนี้มาก่อนในช่วง 2 - 3 ปี เพราะเป็ นแบรนด์กระเป๋ ารุ่นหนึ่ง ทีอ่ ยูด่ ๆี ก็เห่อระเบิดระเบ้อในเมืองไทย ฝากหิ้ว ท�ำก๊อปกันจนเกลือ่ นถนน หลังจากรีเสิรช์ ว่าชือ่ นี้อ่านว่า ‘เฟี ยร์ราเวน’ (คิดว่านะ) ก็ตะโกนข้ามไปถาม พีม่ คิ ว่า มันคือไรอะพี?่ ท�ำไมถึงอินไวท์มา? “ก็เห็นเอ็งชอบแบบนี้” พีม่ คิ ตอบ พร้อมค�ำอธิบายอีกจ�ำนวนหนึ่ง... “แล ้วเราไปชอบอะไรแบบนี้ตอนไหนวะ?” รูต้ วั อีกทีเย็นวันนัน้ ก็ตดั สินใจสมัครไปแล ้ว... การทีค่ นเราสนใจบางสิง่ อย่างมาก หรือเข้าขัน้ หมกมุน่ อาจจะท�ำให้ชีวติ ชิบหายวายป่ วงได้ เพราะนอกจากมันจะเอาเวลากินเวลานอนของเราไปแล ้ว ตอนท�ำงานมันก็ชวนให้เราเพ้อฝันจิตใจไม่อยูก่ บั เนื้อกับตัว (นีไ่ ม่ได้แอบชอบ ใครนะ) เวลาผ่านไปสองเดือนการนัดเพือ่ สัมภาษณ์ก็เกิดขึ้น ต้องลางาน 1 วันเพือ่ ลงไป กทม. โดยเราไม่สามารถอธิบายคนอืน่ ได้วา่ สิง่ ทีเ่ ราท�ำอยู่ คืออะไร การไป กทม. เช้า - เย็นกลับคนเดียว เพือ่ การนัง่ คุยเรือ่ งสัพเพเหระ กับคนที่ไม่เคยรูจ้ กั กันมาก่อนเป็ นอะไรที่แปลกใหม่ในชีวติ ค่อนข้างมาก เวลา 1 - 2 ชัวโมงที ่ ไ่ ด้คยุ กับคนกลุม่ นี้ ท�ำให้เรานึกถึงประโยคของนักเขียน ทีเ่ ราชอบท่านหนึ่งว่า ‘สุดท้ายโลกจะหมุนเรา ไปอยูใ่ นจุดทีเ่ หมาะกับเรา’

Budget Plan

สต็ อ คโฮมขึ้ น ชื่ อ ว่ า เป็ น เมื อ งที่ ค่าครอบชีพสูง การจะมีชีวิตรอด ในเมืองแบบนี้ เราต้องอาศัยสิ่งที่ เรี ย กว่ า โฮสเทล หนึ่ ง ในสถานที่ ที่ ป ระทั บ ใจที่ สุ ด ในการเดิ น ทาง ครั้ ง นี้ ก็ คื อ ที่ ซุ ก หั ว นอนของ ตัวเองนี่ล่ะ Skanstulls Hostel

16

b side


เคยคิดไว้ว่า ต้องไปเทีย่ วยุโรปเองซักครัง้ ในชีวติ (แบบไม่ไปกับทัวร์) จังหวะและโอกาสที่ดี มักมาในเวลาที่ไม่คาดคิด หลังจากได้รบั ค�ำตอบว่า ได้ไปแน่นอน ก็จดั การลางานเจ้านายครึง่ เดือนไปล่าฝัน การวางแผนเทีย่ วครัง้ นี้ นอกจากตัง้ ใจจะไปเดินป่ า (Trekking) แลว้ อีกสิ่งที่ตงั้ ใจไม่แพ้กนั ก็คือ การเทีย่ วเมืองหลวงอย่างสตอกโฮล์ม ข้อมูลของเมืองนี้สำ� หรับนักเทีย่ วถือว่า น้อยมากถ้าเทียบกับเมืองอืน่ ๆ ในยุโรป คนไทยมักจะข้ามไปเทีย่ วออสโลหรือ โคเปนเฮเกนแทน ปราสาทพระราชวังก็ดูจะไม่ค่อยดังเอาเสียเลย ไม่รูว้ ่า การไปเมืองนี้จะสนุกแบบทีค่ ดิ ไว้หรือเปล่า เลยคิดว่า ไปตายเอาดาบหน้าละกัน ทีโ่ ฮสเทลคงจะมีโบรชัวร์ข ้อมูลทีเ่ ทีย่ วเด็ดๆ เสียบไว้แน่นอน... สตอกโฮล์ม นอกจากจะเดินเท้าหรือปัน่ จักรยานเที่ยว (บ้านเมือง เป็ นบล็อคชัดเจน ไม่คอ่ ยมีซอยซอกแซกให้หลงให้ลืม) ยังมีอกี วิธคี อื รถไฟใต้ดิน หรือ MTR กระจายอยูท่ วเมื ั ่ อง ส่วนใครเป็ นห่วงว่าจะหลง แนะน�ำให้ซ้อื ซิม แล ้วเติมอินเตอร์เนต แค่น้กี ร็ อดแล ้ว เพราะพิกดั ของทีน่ ช่ี วั ร์แปดล ้านเปอร์เซ็นต์ อาหารการกินอาจจะกินยากซักนิด หากพกตังค์มาอย่างจ�ำกัด เราเลยฝากท้อง ไว้กับเคบับและเบอร์เกอร์เกือบทุกมื้อ น�ำ้ เปล่าจัดว่าแพง ขวดเล็กเท่าบ้านเรา ขวดละ 22 โครน (คูณสีเ่ ข้าไปเหงือ่ ตกเลยทีเดียว) การแก้ปญั หานี้ไม่ยาก หากเราเติมน�ำ้ ใส่ขวดออกมาจากทีพ่ กั เพราะว่าน�ำ้ ประปาสามารถดืม่ ได้เลย และอีกเรือ่ งทีส่ ำ� คัญไม่แพ้กัน คือเรือ่ งห้องน�ำ ้ หากปวดขึ้นมาในขณะทีเ่ ทีย่ วอยู่ จะหาห้องน�ำ้ เข้าไม่ใช่เรือ่ งยาก ห้องน�ำ้ จะมีตามศูนย์การค้าอยูแ่ ล ้ว แต่หน้าประตู ให้หยอดเหรียญเข้า! บางที่ 5 โครน บางที่ 10 โครน (อยากจิร ้องห้าย) วิธที ใ่ี ช้บอ่ ย เวลาปวดก็คอื เข้าคาเฟ่ ! ต้องยอมรับว่าคาเฟ่ ทน่ี เ่ี ยอะและเก๋มาก ถือโอกาสสังกาแฟ ่ เข้าห้องน�ำ้ และนัง่ พักไปในคราวเดียว (อยากดืม่ กาแฟราคาไหนก็เชิญเลือกร้าน กันตามศรัทธา แต่จะเดินดุม่ ๆ ไปเข้าห้องน�ำ้ ร้านเขาดูจะไม่ค่อยน่ารักนะ)

สังเกตตัวเองมาซักพักแล ้วระหว่างอยูใ่ นสตอกโฮล์ม ว่าไม่ค่อยอินกับ พวกปราสาทพระราชวังหรือสวนเท่าไหร่ มันสวยก็จริง แต่ทำ� ไมมันเหมือนๆ กัน ไปหมดเลย... ถ้าถามว่าอินกับอะไร ค�ำตอบคงเป็ นการได้นงั ่ สังเกตคนใช้ชวี ติ มากกว่า เวลาเดินอยู่คนเดียวก็นงั ่ แช่แดดข้างแม่นำ�้ แล ้วดูเรือผ่านไปผ่านมา ดูคนวิง่ จ๊อกกิ้ง ดูคนปัน่ จักรยาน หรือนัง่ ดูคู่รกั จูบกัน (ไม่ได้ตงั้ ใจ มันเห็นเอง) แต่ชวี ติ คงจะน่าเบือ่ ถ้ามาเทีย่ วแล ้วท�ำอยู่แค่น้ ี คอมพิวเตอร์ในโฮสเทลถือว่า เป็นจุดเปลีย่ นของการมาเทีย่ วครัง้ นี้ นอกจากหน้าตาจะไม่เหมือนระบบปฏิบตั กิ าร ที่เคยใช้แลว้ ยังทึ่งกับการออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น มันแบ่งเป็ นหมวดหมู่ชดั เจนว่าคุณเป็ นคนแบบไหนและสนใจอะไร ท�ำให้ ตัดสินใจว่าคงเป็ นแนวพิพธิ ภัณฑ์สนิ ะ บางทีก่ เ็ สียเงินเข้า บางทีก่ ฟ็ รี เลือกแต่ ทีเ่ ด็ดๆ ละกันนะ เดีย๋ วเวลาจะไม่พอ หนึ่งในพิพธิ ภัณฑ์ทม่ี คี นเข้ามากทีส่ ุดในสวีเดน คือ Vasamuseet (Vasa Museum) พิพธิ ภัณฑ์เรือรบวาซ่า อายุ 300 กว่าปี ด้วยความยิง่ ใหญ่ อลังการของเรือ (แวบแรกทีเ่ ห็นเรือ หน้าแจ๊ค สแปร์โรว์ลอยมาเลย) เห้ย! มันใหญ่จริงๆ เพราะข้างในจัดนิทรรศการประวัตคิ วามเป็ นมาของเรือรบล�ำนี้ และประวัตขิ องเรือรบสวีเดนไว้เกือบทัง้ หมด มีประมาณ 7 ชัน้ คุม้ ค่าคุม้ ราคาตัว๋ ทีเ่ สียไปมาก เดินเกือบ 2 ชัวโมง ่ ส่วนโซนใกล ้ๆ กันมีอกี พิพธิ ภัณฑ์ทน่ี ่าสนใจ เช่น Nordiska Museet (Nordic Museum) และ Moderna Museet (Modern Museum) ทีจ่ ดั แสดงงานเจ๋งๆ ให้คนทีช่ อบเสพงานออกแบบ และสถาปัตยกรรมแบบโมเดิรน์ ส่วนใครที่ชอบแนววิทย์ๆ แนะน�ำอีกที่ Naturhistoriska Riksmuseet (Swedish Museum of Natural History) เข้าไปแล ้วคุณจะได้ความรูต้ ดิ ตัวออกมาแน่นอน... เช็คเวลาเปิ ดปิ ดให้ดี บางที่ เปิ ดสายและปิ ดดึก เวลาไม่เท่ากันแล ้วแต่ฤดูกาล ไม่งนั้ อาจจะอดเห็นของดี

17

b side


ส่วนใครทีช่ ่นื ชอบภาพถ่าย ต้องยอมเสียเงินเข้าทีน่ ่ี! Fotografiska ไม่ควรพลาดด้วยประการทัง้ ปวง ภายในพิพธิ ภัณฑ์รวบรวมงานแสดงของศิลปิน ทีม่ ชี อ่ื เสียงหลายคนสับเปลีย่ นหมุนเวียนกัน อย่างตอนทีเ่ ราไปมีงานแสดงของ Bryan Adams, Nick Brandt และศิลปิ นท้องถิน่ พื้นทีภ่ ายในถูกออกแบบ มาเพือ่ งานภาพถ่ายโดยเฉพาะ และชัน้ บนสุดมีคาเฟ่ ท่สี ามารถมองออกไป เห็นวิวเมืองเก่าและท่าเรือได้ชดั เจน ทีพ่ เิ ศษกว่านัน้ คือ เปิ ด 9 โมงเช้า ปิ ดตี 1 เดินกันขาลากอยูใ่ นนัน้ ได้ทงั้ วัน สายช้อปปิ้ งแนะน�ำย่าน Hötorget ศูนย์รวม ร้านเสื้อผ้าแบรนด์ดงั เช่น Acne Studios, H&M, Naturkompaniet ส่วนใครคาดหวังว่าจะเจอห้างใหญ่ๆ แบบพารากอน ขอบอกว่าที่น่ีไม่มี คนไทยอาจจะคุน้ เคยกับศูนย์การค้าที่ครบวงจร แต่ท่นี ่ีเขาให้ความส�ำคัญ กับการออกไปใช้ชวี ติ ร่วมกันในสังคมภายนอกมากกว่า ส่วนห้างจะเปิ ดสายๆ และปิ ดตัง้ แต่ตอนเย็น เราไม่แปลกใจที่คนสวีเดนจะชอบใช้ชีวติ กลางแจ้ง ค�ำ่ คืนสว่างไสว เดือนสิงหาคมเป็ นฤดูรอ้ นของสวีเดน ทีอ่ ณ ุ หภูมเิ ท่าฤดูหนาวของเชียงใหม่ พระอาทิตย์ตกช้าตามการหมุนรอบตัวเองของโลก และโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในเวลาเดียวกัน การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เป็ นหนึ่งในปัจจัยทีก่ ำ� หนด ตารางชีวติ ของมนุ ษย์ ตัง้ แต่ลมื ตาตื่นจนกระทัง่ เข้านอนเพื่อหลับพักผ่อน ก่อนเริม่ วันใหม่ แล ้วถ้าหากต้องด�ำรงชีวติ อยูก่ บั ดวงอาทิตย์ทไ่ี ม่เคยลับขอบฟ้ า เลยล่ะ จะท�ำอย่างไร?

Flea Market

ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ จะมีตลาดนัดของมือสองและฟู๊ดทรัค Hornstulls Marknad (Hornstull Market) เริ่มขายตั้งแต่ 11 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น

18

b side


WHAT NEXT? FOLLOW THE TRAIL DREAM, HIKING IN KUNGSLEDEN

เรื่องราวในสวีเดนยังไม่จบแค่นี้ ตอนต่อไปติดตามการเดินทางที่จะพานั่งรถไฟไปทางตอนเหนือของสวีเดน สัมผัสเส้นทาง เดินเท้าที่สวยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ระยะทางกว่า 110 กิโลเมตร กับการนอนกลางดินกินกลางทราย เข้าห้องน�้ำ กลางแจ้ง! ทริปนี้จะโหด มัน ฮา แค่ไหน โปรดติดตาม...

19

b side


ART

ASIAN CULTURE STATION : THE OPENING เมื่อ Asian Culture Station เปิดสถานีที่เชียงใหม่ เรื่อง: ระพินทรนาถ ภาพ: ระพินทรนาถ, Asian Culture Station

กว่าที่ HIP ฉบับนี้จะถึงมือคุณผู้อ่าน Asian Culture Station ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกัน ระหว่ า ง The Japan Foundation Asia Center (JPF) และ Chiang Mai Art Conversation (CAC) ก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ไปแล้ ว แต่ ก ่ อ นหน้ า นั้ น ภายในออฟฟิ ศ ที่ ก� ำ ลั ง เร่ ง ตกแต่ ง ให้ เ สร็ จ เรี ย บร้ อ ยก่ อ นถึ ง วั น เปิ ด และท่ามกลางสมาชิกของ CAC ที่ยุ่งอยู่กับการ เตรียมงานต่างๆ เราสนทนากับ สุทธิรตั น์ ศุภปริญญา Director ของ CAC ซึ่งรับหน้าที่เ ป็นทีมงาน ที่จะดูแลและด�ำเนินงานต่างๆ ของที่นี่ ถึงความเป็นมา ของโครงการดังกล่าว และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในแวดวง ศิลปวัฒนธรรมของเชียงใหม่ หลังจากที่ Asian Culture Station เปิดตัวอย่างเป็นทางการ

วันทีเ่ รานัดหมายกันนัน้ ถึงจะเป็ นวันหยุด แต่ทมี งานของ CAC ก็ยงั คง เข้ามาท�ำงาน แม้ออฟฟิ ศของพวกเขาจะยังไม่เรียบร้อยและเต็มไปด้วยร่องรอย ของการตกแต่งภายในที่ยงั ไม่เสร็จสิ้นก็ตามที เราเลือกพื้นที่ใกลก้ ระจกหน้าต่าง ด้านหน้าออฟฟิ ศเป็ นสถานทีใ่ นการสนทนา ก่อนทีค่ ำ� ถามจะเริ่มต้นขึ้น สุทธิรตั น์เล่าถึงความเป็ นมาของ Asian Culture Station โดยอธิบาย ให้เ ราฟัง ว่ า โครงการดัง กล่ า วเป็ นโครงการของ JPF ที่ ว างแผนจะตั้ง ‘สถานีวฒั นธรรม’ ขึ้นในพื้นที่ 3 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึง่ ประกอบไปด้วย ย่างกุง้ ประเทศเมียนมา, โฮจิมนิ ห์ ซิต้ ี ประเทศเวียดนาม และ เชียงใหม่ ประเทศไทย โดยโจทย์ของ JPF คือเลือกสถานทีท่ ไ่ี ม่ใช่เมืองหลวง, มีองค์กรหรือทีมงานส�ำหรับ ด�ำ เนิ น กิ จ กรรมทางศิ ล ปวัฒ นธรรมต่ า งๆ และมีส ถานที่ส �ำ หรับ เป็ น แหล่ ง รวบรวมข้อมูล ติดต่อประสานงาน และจัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม 20

b side


“เมืองทีท่ าง JPF เลือกทีจ่ ะท�ำโครงการจะไม่ใช่เมืองหลวง แต่ก็เป็ นเมือง ทีม่ คี วามเคลือ่ นไหวทางด้านศิลปวัฒนธรรมอยูพ่ อสมควร เช่นเดียวกับต้องมีองค์กร ทีม่ คี วามเคลือ่ นไหวในการท�ำงานทางด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันองค์กร ทีว่ า่ ก็ตอ้ งรูจ้ กั และมีเครือข่ายทีเ่ ชื่อมโยงกับทัง้ ศิลปิ นในท้องถิน่ ในเอเชียตะวันออก เฉี ย งใต้ และรวมไปถึง ที่ญ่ีป่ ุนด้ว ย เพราะในการท�ำ งานจะต้อ งมีก ารติด ต่ อ ประสานงานกับทัง้ สามส่วนนี้ในการท�ำกิจกรรมต่ างๆ อันเป็ นหนึ่งในข้อตกลง ในการจัดตัง้ Asian Culture Station ขึ้น “ความตัง้ ใจของเขาคืออยากให้ท่ีน่ีเป็ นสถานที่ท่ีคนทัว่ ไปสามารถเข้ามา ใช้งานได้โดยง่าย มีการจัดกิจกรรมต่ างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศิลปวัฒนธรรม และเป็ นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องศิลปะในด้านต่างๆ ซึง่ สิง่ ที่ CAC คุยกับทาง JPF ไว้ก็คือ เราอยากให้ท่นี ่ีเป็ นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องศิลปวัฒนธรรมในเชียงใหม่ เพราะว่า CAC ก็ทำ� แผนที่นิทรรศการศิลปะเชียงใหม่ รวมทัง้ การท�ำเว็บไซต์ ทีร่ วบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะในเชียงใหม่อยู่แล ้ว และในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยง ไปถึงเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้และญี่ป่ ุนด้วยตามข้อตกลง ถ้ามาที่น่ีเราก็จะมี อินเตอร์เน็ตให้ใช้งาน มีเจ้าหน้าทีอ่ ยู่ประจ�ำ สามารถมาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง ศิลปวัฒนธรรมได้ ถ้าเรารูอ้ ะไร สามารถแนะน�ำอะไรได้กจ็ ะให้ขอ้ มูลไป แล ้ว CAC ก็จะรับหน้าทีใ่ นการจัดกิจกรรมต่างๆ ของ Asian Culture Station ซึง่ ในปี แรกนี้ เราก็เสนอกับทาง JPF ไปแล ้วว่าอยากจะท�ำอะไรกันบ้าง”

สุทธิรตั น์กล่าวต่อไปว่า หลังจากการเปิ ดตัว Asian Culture Station ในวันที่ 26 สิงหาคมแล ้ว กิจกรรมแรกทีจ่ ะเกิดขึ้นก็คอื การจัดการสัมมนาใน 2 วัน ต่อมา (27-28 สิงหาคม) ซึง่ จะมีการเชิญผูเ้ ชี่ยวชาญทัง้ ภายในประเทศ จากประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจากญีป่ ่ นุ มาพูดคุยกัน โดยเน้นไปทีก่ ารแลกเปลีย่ น ประสบการณ์ในการพัฒนาและสร้างความเคลือ่ นไหวให้กบั วงการศิลปะในท้องถิน่ ของแต่ ละฝ่ าย หลังจากนัน้ กิจกรรมอื่นๆ ที่วางแผนเอาไว้จะประกอบไปด้วย การท�ำงานร่วมกับกลุม่ ศิลปิ นสายศิลปะการแสดง กลุม่ ละครหุน่ และกลุม่ นักดนตรี เพือ่ ร่วมกันจัดงานแสดงต่อสาธารณะ ตามมาด้วยการจัดเวิรก์ ช็อปด้านการเขียน เกี่ยวกับงานศิลปะ เนื่องจากเห็นว่าวงการศิลปะยังขาดบุคคลที่มคี วามเชี่ยวชาญ ในส่วนนี้ จากนัน้ ก็จะเป็ นการจัดเทศกาลภาพยนตร์เป็ นล�ำดับสุดท้าย “แต่วา่ ในระหว่างทีเ่ ตรียมท�ำกิจกรรมเหล่านี้ เราก็จะมีงานอืน่ ๆ เกิดขึ้นไปด้วย ทัง้ การเชิญศิลปิ นให้เข้ามาใช้พ้นื ทีข่ อง Asia Culture Station หรืออาจจะเป็ นการ น�ำผลงานมาจัดแสดงก็ได้ เพราะในพื้นทีข่ องเราก็มสี ่วนของ Wall Gallery อยู่ คือเราอยากจะให้ท่ีน่ีมีกิจกรรมเกิดขึ้นอย่ างต่ อเนื่องเพื่อให้สถานที่เ ป็ นที่รู จ้ กั ส่วนการทีเ่ ราเลือกสถานทีต่ งั้ ให้อยู่ในบริเวณนี้ (ย่านนิมมานเหมินท์) เพราะอยากให้ เชื่อมโยงถึงคนในท้องถิน่ ด้วย ไม่อยากให้ดูเหมือนว่าท�ำเพือ่ รองรับนักท่องเที่ยว อย่างเดียว แลว้ ตรงนี้ก็อยู่ใกลก้ บั มหาวิทยาลัยด้วย อีกอย่างเราคิดว่าทีน่ ่ีเดินทาง มาไม่ยาก ไม่ได้ไกลจากตัวเมืองมาก แล ้วพื้นทีเ่ องก็ยดื หยุน่ ต่อการท�ำงาน คือถ้าเป็ น กิจกรรมเล็กๆ เราสามารถจะใช้พ้ นื ที่ตรงนี้ในการจัดกิจกรรมได้เลย แต่ถา้ เป็ น กิจกรรมทีใ่ หญ่ข้นึ เราก็ไปใช้สถานทีอ่ น่ื ๆ ขึ้นอยู่กบั ลักษณะของงานนัน้ ๆ” ส�ำหรับการท�ำงานร่วมกันระหว่าง CAC และ JPF ในการบริหารจัดการ Asian Culture Station เป็ นการท�ำงานกันแบบปี ต่อปี เพียงแต่ในกรณีของเชียงใหม่ นัน้ มีความพิเศษก็คือ ทาง JPF เป็ นเจ้าภาพหลักในการลงทุนทัง้ ในส่วนของการ ปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ และให้งบประมาณในการด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ขณะที่ CAC มีสว่ นร่วมลงทุนในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ และรับผิดชอบในการด�ำเนินการ ให้กจิ กรรมต่างๆ เกิดขึ้นตามเป้ าหมาย “คือทาง JPF เขามองหาองค์กรทีม่ สี ถานที่ อยู่แล ้ว แต่วา่ ด้วยความที่ CAC ไม่มพี ้นื ทีข่ องตัวเอง พอตกลงร่วมงานกันก็เลย เป็ นที่มาของการสร้างพื้นที่ใหม่ข้ นึ มา ส่วนกิจกรรมต่างๆ ที่บอกไปก่ อนหน้านี้ ทางเราเป็ นฝ่ ายเสนอว่าอยากจะท�ำอะไรบ้าง เพราะว่าเราเองก็มเี ป้ าหมายในการท�ำงาน ที่อยากจะท�ำให้เกิดขึ้นกับแวดวงศิลปวัฒนธรรมในเชียงใหม่อยู่ดว้ ย ซึ่งเขาก็จะ ปล่อยให้เราท�ำงานตามที่เราต้องการ โดยที่ถา้ มีขอ้ เสนอแนะอะไร ทาง JPF ก็จะให้ความเห็นหรือแนะน�ำมา” 21

b side


หากดูจากแผนงานต่างๆ ทีว่ างเอาไว้ การเริ่มต้นในปี แรกของ Asian Culture Station ด้านหนึ่งก็ถอื ว่าคึกคักและน่าจะมีความเคลือ่ นไหวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ตรงกับเหตุผลที่สุทธิรตั น์อธิบายว่าไม่อยากให้สถานที่เป็ นแค่ แหล่งข้อมูล เพียงอย่างเดียว แต่อยากดึงดูดคนให้เข้ามาสู่พ้นื ทีผ่ ่านกิจกรรมต่างๆ ด้วย แต่ใน อีกด้านหนึ่ง การทีต่ อ้ งรับผิดชอบทัง้ การพัฒนาพื้นที่ ด�ำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ รวมทัง้ ท�ำความคุน้ เคยกับการร่วมงานกับ JPF ซึ่งจะต้องมีการประสานงานกับ ส�ำนักงานของ JPF ในกรุงเทพมหานครฯ โดยตลอด ก็เป็ นสิง่ ทีถ่ อื ว่าหนักไม่นอ้ ย ส�ำหรับทีมงานเล็กๆ ของ CAC แต่ถงึ กระนัน้ สิง่ ทีพ่ วกเขาคาดหวังจากการเข้ามา ดูแลรับผิดชอบ Asian Culture Station คืออยากจะมีส่วนช่วยพัฒนาแวดวง ศิลปวัฒนธรรมในเชียงใหม่ในด้านต่างๆ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การเข้ามารับผิดชอบ ตรงจุดนี้ ก็มี ‘ความคาดหวัง’ จากผูค้ นในแวดวงศิลปะต่อพวกเขาด้วยเหมือนกัน “อย่างทีร่ ูว้ า่ งานที่ CAC ท�ำมาคือความพยายามทีจ่ ะสร้างเครือข่ายของศิลปิ น ในท้องถิน่ แลว้ ก็มเี รื่องอืน่ ๆ ทีอ่ ยากจะท�ำอีกหลายอย่าง ซึง่ เราก็ยงั ท�ำได้ไม่หมด แต่ การเข้ามาดู แลรับผิดชอบ Asian Culture Station มันก็สอดคลอ้ งกับ ความต้องการของเราที่อยากสร้างเครือข่ายของศิลปิ น และยังท�ำให้เครือข่ายที่ว่า มันกว้างขวางขึ้นด้วย คือจากในท้องถิน่ ในประเทศ ก็จะเชือ่ มต่อออกไปสูเ่ พือ่ นบ้าน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับเชือ่ มต่อไปสูญ ่ ป่ี ่ นุ ซึง่ จะเป็ นประโยชน์กบั คนทีท่ ำ� งาน ในสายนี้แน่ๆ แล ้วก็แน่นอนว่ากิจกรรมทีเ่ ราคิดอยากจะท�ำแต่วา่ ยังไม่สามารถท�ำได้ ก่อนหน้านี้ก็จะได้เริ่มท�ำกันอย่างจริงจัง เพราะมีความพร้อมมากขึ้นแลว้ สิง่ หนึ่ง ที่เราเรียนรู ต้ อนที่ CAC ท�ำแผนที่นิทรรศการศิลปะก็คือ เราได้รูจ้ กั แกลเลอรี่ ได้รูจ้ กั พื้นทีท่ างศิลปะหลายๆ แห่งเพิม่ ขึ้น แล ้วทีเ่ หล่านี้กส็ นใจ อยากจะมีส่วนร่วม อยากจะสร้า งความร่ ว มมือ กับ เราในการจัด กิ จ กรรมต่ า งๆ แต่ เ นื่ อ งจากเรา ยังไม่มคี วามพร้อมทีจ่ ะท�ำกิจกรรมได้อย่างทีค่ ิดไว้ ความร่วมมือเลยยังไม่เกิดขึ้น แต่ ใ นตอนนี้ เ รามีค วามพร้อ มมากขึ้น แล ว้ ดัง นัน้ ในอนาคตความร่ ว มมือ กับ แกลเลอรี่และพื้นทีท่ างศิลปะในการจัดกิจกรรมต่างๆ ทีน่ ่าสนใจและเป็ นประโยชน์ ก็จะขยายตัวขึ้นอย่างแน่นอน

ASIAN CULTURE STATION : THE OPENING “ส่วนเรือ่ งของความคาดหวังนัน้ ณ วันทีเ่ ราคุยกันนี้ Asian Culture Station ยัง ไม่ ไ ด้เ ปิ ด ตัว อย่ า งเป็ น ทางการ ยัง มีค นอีก เยอะที่ไ ม่ รู ว้ ่ า เราก�ำ ลัง ท�ำ อะไร เราเลยไม่รูว้ ่าเขาคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ยงั ไงบ้าง แต่เท่าที่ได้คุยกับคนส่วนหนึ่ง ในแวดวงศิ ลปะ เขาคาดหวังว่าเราจะท�ำหน้าที่เชื่อมหลายๆ องค์กรให้เข้ามา มีสว่ นร่วมตรงนี้ อีกอย่างคือเขาก็คาดว่าเราจะเริ่มท�ำกิจกรรมหลายอย่างทีเ่ คยคิดไว้ ซึง่ ก็ตอ้ งรอดูกนั ต่อไปว่าเราจะท�ำได้ดมี ากน้อยแค่ไหน แต่ความตัง้ ใจของพวกเรา ในช่วงเริ่มแรก ก็คงจะเน้นไปที่กิจกรรมต่างๆ ที่เราวางแผนเอาไว้เป็ นหลักก่อน ส่วนโปรเจ็คท์อ่นื ๆ นอกเหนือจากนี้เราคงเป็ นแค่ตวั เชื่อม เป็ นคนช่วยประสาน ช่วยกระจายข่าว แต่ถา้ จะให้เป็ นเจ้าภาพ เป็ นตัวหลักอาจจะไม่ไหว คิดว่าขอโฟกัส กับกิจกรรมทีเ่ ราวางแผนไว้ให้ออกมาครบถ้วนก่อนจะดีกว่า” เมือ่ เราถามว่า คิดว่าการเกิดขึ้นของ Asian Culture Station จะส่งผล อย่ างไรบ้างต่ อแวดวงศิ ลปวัฒนธรรมในเชียงใหม่ ค�ำตอบของสุ ทธิรตั น์ก็คือ เธอเชื่อว่าสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึ้นแน่ๆ คือการเข้าถึงบุคคลและพื้นทีท่ างศิลปะต่างๆ ทีน่ ่าจะ เพิ่ม มากขึ้น เพราะว่ า มีแ หล่ ง ข้อ มู ล ที่ส ามารถให้ค�ำ แนะน�ำ ได้ว่ า หากสนใจ ในเรื่องศิลปะแล ้วควรจะไปตรงไหนทีจ่ ะตอบสนองความต้องการนัน้ ได้ “คือถ้าใคร ทีส่ นเรื่องศิลปะแล ้วมาเชียงใหม่ แต่วา่ ไม่รูว้ า่ ควรจะเริ่มต้นจากตรงไหน พื้นทีต่ รงนี้ สามารถช่วยได้ เรามีขอ้ มูลให้ มาเอาแผนที่ก็ได้ หรือสนใจเรื่องอะไรเป็ นพิเศษ ถ้าเรารูเ้ ราก็จะช่วยแนะน�ำให้วา่ ควรต้องไปตรงไหน ไปเจอใคร “ขณะเดียวกันเราคิดว่าเป็ นเรื่องทีด่ ที ศ่ี ิลปิ นในเชียงใหม่จะมีโอกาสได้เจอกับ คนทีท่ ำ� งานด้านนี้จากทีอ่ น่ื ๆ ทัง้ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญีป่ ่ นุ ทีจ่ ะเข้ามาร่วม กิจกรรมกับเราต่ อจากนี้ คือบางคนนี่ก็ไม่ใช่ ว่าจะได้เจอกันง่ายๆ นะ ได้เห็น การท�ำงานของเขา ได้รบั รู ว้ ่าคนที่ทำ� งานศิลปะในพื้นที่อ่ืนๆ เขาท�ำงานกันยังไง ท�ำอะไรกันอยู่ เขาก�ำลังสนใจเรื่องอะไรกัน เขามีปญั หาอะไรบ้าง ก็เป็ นสิง่ ทีศ่ ิลปิ น ของเราสามารถจะเรียนรูแ้ ละเอามาประยุกต์ใช้ได้ แล ้วการได้รูจ้ กั คนเหล่านี้กจ็ ะช่วย เพิ่มเครือข่ายในวงการศิลปะให้กบั คนของเราด้วย คือเขาได้ประโยชน์แน่ ๆ ล่ะ แต่วา่ ก็คงจะต้องพาตัวเองมาร่วมกิจกรรมด้วยนะ เราเอางานมาให้ถงึ ทีแ่ ล ้ว” 22

b side


EXHIBITION

Cooking Class at Home

Golden Rain Trees

Joy Ride

New Friends

29.7 X 42 เซนติเมตร สีน�้ำกับหมึกสีบนกระดาษเส้นใยฝ้าย 100% อัดเย็น

29.7 X 42 เซนติเมตร สีน�้ำกับหมึกสีบนกระดาษเส้นใยฝ้าย 100% อัดเย็น

29.7 X 42 เซนติเมตร สีน�้ำกับหมึกสีบนกระดาษเส้นใยฝ้าย 100% อัดเย็น

ARCADIA แดนสุขภาวะ เรื่อง: กฤติยา, HIP Team ภาพ: กฤติยา

29.7 X 42 เซนติเมตร สีน�้ำกับหมึกสีบนกระดาษเส้นใยฝ้าย 100% อัดเย็น

‘Arcadia : แดนสุขภาวะ’ ตัง้ ใจเชิญชวนผูช้ มให้หนั มามองวิถชี วี ติ อีกแบบหนึ่ง โดยเสนอว่า วิถชี วี ติ เช่นนี้อาจจะเป็ นไปได้กบั การใช้ชวี ติ ของคนเรา ด้วยการสือ่ ภาพถึงความเป็ นอยู่ในเชิงอุดมคติ ทีเ่ กิดขึ้นเมือ่ มนุษย์เลือกด�ำเนินชีวติ อย่างมีสุขภาวะและหลุดพ้นจากบรรทัดฐานอันหนักอึ้งของสังคม บริโภคนิยม โดยการมีสุขภาวะนัน้ เป็ นประสานความพอดีในสัดส่วนของกาย จิต สังคม และปัญญา เพือ่ เป็ นภูมคิ ุม้ กัน ซึ่งต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมือ่ มนุ ษย์มสี ำ� นึกว่าตนเองเป็ นส่วนหนึ่ง ของชุมชน ทีม่ กี ารแบ่งปัน มีความรับผิดชอบ มีความเป็ นอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ ให้ค่ากับ ความงามความเรียบง่าย รวมทัง้ ท�ำงานอย่างสร้างสรรค์และเบิกบานใจ ‘Arcadia : แดนสุขภาวะ’ นิทรรศการสีน�้ำโดย กฤติกา บัวบุศย์ จัดแสดง ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 2 หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ 15 กันยายน จนถึง 15 พฤศจิกายน 2559 สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม โทร 0-5321-7793, 0-5321-9833 และ 08-9050-0576

ABOUT THE ARTIST กฤติกา บัวบุศย์ เกิดที่กรุงเทพมหานคร ใช้ชีวิตตั้งแต่เล็กจนโตที่ประเทศออสเตรเลีย ศึกษาในสาขาวิชา ออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ เคยเป็นอาจารย์ เป็นนักออกแบบ นักสื่อสารการค้าปลีก ฝ่ายผลิตและสรรหา แหล่งผลิตแฟชั่น ออกแบบการจัดหน้าร้าน เขียนบทความ จัดสัมมนา และเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่างๆ เธอมีความสนใจในเรื่องการออกแบบงานท�ำมือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน บนพื้นฐาน ความหมายของวลี ‘การออกแบบที่ดี’ ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันกฤติกาแบ่งเวลาการใช้ชีวิตอยู่ที่ กรุงเทพฯ และเขาใหญ่ ซึ่งเป็นทั้งบ้านและสตูดิโอ (ยูเรธา อะเทลิเยร์) รวมถึงมีผลงานเขียนในนิตยสาร Art4D

ผลงาน :

July 2015, Floral Choreography : ดอกไม้เริงระบ�ำ, สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพมหานคร August 2016, In the Eyes of the Children : ในสายตาของเด็ก, มังคุดแกลเลอรี กรุงเทพมหานคร 23

b side


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.