วารสารอุตสาหกรรมสาร มี.ค.-เม.ย. 2560

Page 1

อุตสาหกรรมสาร วารสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พิมพ์เป็นปีที่ 59 ฉบับเดือนมีนาคม - เมษายน 2560

ผลิตภัณฑ์ตนแบบ

ตอบโจทยตลาดยุ ตอบโจทย์ ตลาดยุคใหม่


หน่วยงานเครือข่าย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในส่วนภูมภิ าค

2 3

1

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1

(เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำ�พูน ลำ�ปาง พะเยา แพร่ น่าน) 158 ถนนทุ่งโฮเต็ล ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ (053) 245 361-2, 243 494, 242 226 โทรสาร (053) 248 315 e-mail: ipc1@dip.go.th

4

(อุดรธานี หนองบัวลำ�ภู หนองคาย เลย) 399 ม.11 ถนนมิตรภาพ ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41330 โทรศัพท์ (042) 207 232-6, 207-238 โทรสาร (042) 207 241 e-mail: ipc4@dip.go.th

5 7 6

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2

(ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร สกลนคร ) 86 ถนนมิตรภาพ ต.สำ�ราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ (043) 379 296-9 โทรสาร (043) 379 302 e-mail: ipc5@dip.go.th

(พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก) 292 ถนนเลี่ยงเมือง-นครสวรรค์ ต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ (055) 282 957-9 โทรสาร (055) 283 021 e-mail: ipc2@dip.go.th

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3

(อุบลราชธานี ยโสธร อำ�นาจเจริญ ศรีสะเกษ) 222 หมู่ที่ 24 ถนนคลังอาวุธ ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ (045) 313 772, (045) 313 945, (045) 314 216, (045) 314 217 โทรสาร (045) 312 378, (045) 312 493 e-mail: ipc7@dip.go.th

(พิจิตร กำ�แพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี) 200 ม.8 ถนนเลี่ยงเมือง ต.ท่าหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000 โทรศัพท์ (056) 613 161-5 โทรสาร (056) 613 559 e-mail: ipc3@dip.go.th

8

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8

(สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม นนทบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์) 117 หมู่ 1 ถนนมาลัยแมน ต.ดอนกำ�ยาน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000 โทรศัพท์ (035) 441 027, 441 029, 441 031 โทรสาร (035) 441 030 e-mail: ipc8@dip.go.th

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6

9

หน่วยงานส่วนกลาง

(กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี) ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2202 4422-3 โทรสาร 0 2354 3152

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4

(นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) 333 ถนนมิตรภาพ ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา 30170 โทรศัพท์ (044) 419 622 โทรสาร (044) 419 089 e-mail: ipc6@dip.go.th

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9

(ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี สระบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว) 67 ม.1 ถนนสุขุมวิท ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000 โทรศัพท์ (038) 261-203, 273-702, 784 654-5 โทรสาร (038) 273 701 e-mail: ipc9@dip.go.th

11

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11

10

(นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ ภูเก็ต พังงา ระนอง ชุมพร) 131 ม.2 ถนนเทพรัตนกวี ต.วัดประดู่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 โทรศัพท์ (077) 200 395-8 โทรสาร (077) 200 449 e-mail:cre-pic10@dip.go.th

(สงขลา ตรัง พัทลุง สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) 165 ถนนกาญจนวนิช ต.นํ้าน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ (074) 211 905-8 โทรสาร (074) 211 904 e-mail: ipc11@dip.go.th


Contents วารสารอุตสาหกรรมสาร ฉบับเดือนมีนาคม - เมษายน 2560

Focus 05 SMEs อาหารผง ท�ำทุกอย่างให้เป็นผง

11

22

11-41

จากโต๊ะอาหารสู่ชุดสปาเซรามิกส์

24

Showcase

เครื่องประดับจากดินสู่คอ

ไรซ์เบอร์รี่สกัด คู่แข่งซุปไก่สกัด

31

ม้าโยกอารมณ์ดี เรียบง่ายดูดีมีราคา

13

โคมไฟไก่ปีระกา ฝีมือขั้นเทพจากกระดาษล้วนๆ

19

เพนกวินดูดกลิ่น

38

พลิกมูลค่าถ่านไม้ไผ่ เป็นเครื่องส�ำอางสุดหรู

15 ไดโนเสาร์ลายผ้าขาวม้า

18

หมอนอิงคลาสสิก อิงของเก่าให้เข้ายุคใหม่

16 จับช้อน-ส้อม-มีด มาใส่ดีไซน์ 26 หมูยอ.net รสชาติต้องเข้ม 28 จับจ๋อลงกล่อง โชว์ฝีมือถักโครเชต์ 29 สถาปัตยกรรมจ�ำลอง โมเดลหรูจากกระดาษ 33 ครีมบ�ำรุงเท้าภูแก้วสมุนไพร 34 กระเป๋าคิตัง กระเป๋าถือทรงเสน่ห์ 36 โคโลญจน์มาสก้า

40

โคโลญจน์สัญชาติไทย ไม้กวาดจิ๋ว สวยประดับโต๊ะท�ำงาน

21 ผ้าทอแต้ๆ เจ้า ย้อมสีธรรมชาติ คลาสสิกตลอดกาล


Editor Talk

วารสารอุตสาหกรรมตีพิมพ์ต่อเนื่องมายาวนาน นับถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 59

เจ้าของ

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2202 4511

SMEs เสริมใยเหล็ก ปัญหาหลักของผู้ประกอบการ SMEs ไทย ยังเป็นเรื่อง ของการพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น กล่ า วคื อ สิ น ค้ า และบริ ก าร ของผู ้ ป ระกอบการส่ ว นมากยั ง ขาดการพั ฒ นาและขาด การออกแบบให้ ต รงตามความต้อ งการของตลาด จึง ไม่ สามารถสร้างความแตกต่างหรือสร้างความโดดเด่นให้กับ ผลิตภัณฑ์ของตน เป็นเหตุให้ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละบริ ก ารของตนได้ ซึ่ ง สาเหตุ ห ลั ก ส� ำ คั ญ ในเรื่องนี้มาจากผู้ประกอบการยังขาดความรู้ความเข้าใจถึง ความส�ำคัญของการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์และ บรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จึงให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน ในด้าน การออกแบบให้ แ ก่ ผู ้ ป ระกอบการ เพื่ อ พั ฒ นารู ป แบบ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ หม่ ๆ ออกสู ่ ต ลาด ควบคู ่ ไ ปกั บ การพั ฒ นา บรรจุภณ ั ฑ์ให้มคี วามโดดเด่นและเป็นสากลมากขึน้ เพือ่ เพิม่ มูลค่าของผลิตภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ บรรจุภณ ั ฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทัง้ นีเ้ ป็น ไปตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งก�ำหนดให้การส่งเสริม SMEs เป็นวาระแห่งชาติ

บรรณาธิการบริหาร

“บทความ บทสัมภาษณ์ หรืองานเขียนที่ตีพิมพ์ในวารสารเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ทางวารสารไม่จำ�เป็น ต้องเห็นด้วยเสมอไป หากประสงค์จะนำ�บทความใดๆ ในวารสาร ไปตีพิมพ์เผยแพร่ ควรแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกองบรรณาธิการ”

ที่ปรึกษา

นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพรเทพ การศัพท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ ผู้อำ�นวยการสำ�นักบริหารกลาง นายวีระพล ผ่องสุภา รักษาการแทนผู้อำ�นวยการกลุ่มประชาสัมพันธ์

บรรณาธิการบริหาร

นางสาวปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

กองบรรณาธิการ

นางสมจิตต์ เตียวสุนทรวงศ์, นางวิพาณี อวยพรรุ่งรัตน์, นายชเนศ ศรีพิทักษ์, นางสาวนฤมล ผึ้งเนียม, นายไพฑูรย์ มะเมียเมือง, นางเกสรา ภู่แดง, นายธานิทร์ กล่ำ�พัก, นางสุรางค์ งามวงศ์, นายสุรินทร์ ม่วงน้อย, นางสาวกัญศิญา ชุมศรี, นางสาวกนกรักษ์ นุกูลโรจน์, นางสาวศิริธร ชัยรัตน์, นายธวัชชัย มะกลํ่าทอง

จัดพิมพ์

บริษัท ซี แอด โปรโมชั่น (1997) จำ�กัด 77/14 หมู่บ้านชลลดา ซอย 2 ถนนสายไหม แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ 0 2991 3031-3 โทรสาร 0 2991 3066

สมัครสมาชิกวารสาร กรอกใบสมัครซึ่งอยู่หน้าสุดท้ายของเล่ม จากนั้นส่งใบสมัครได้ 3 ทาง ได้แก่ 1. สมัครทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึง บรรณาธิการวารสารอุตสาหกรรมสาร กลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 2. สมัครทางเครื่องโทรสาร หมายเลข 0 2354 3299 3. สมัครทางอีเมล : e-journal@hotmail.com


อาหารผง

SMEs Focus

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

ทำ�ทุกอย่างให้เป็นผง

ปั จจุบนั อาหารหลายอย่าง ถูกเปลีย่ นรูปโฉมไปเป็นผงได้อย่างไม่นา่ เชือ่ สามารถเปลีย่ นธรรมชาติจากของเหลว ให้เป็นผงได้ เปลีย่ นค่านิยมและความคุน้ เคยกันมายาวนาน ให้เป็นผงได้ เปลีย่ นสิง่ ที่ไม่นา่ ท�ำเป็นผง ให้กลายเป็นผงได้ ท�ำไปท�ำไม ท�ำเพือ่ อะไร ท�ำแล้วได้อะไร ลองอ่านเรือ่ งราวของผูป้ ระกอบการเหล่านี้ ท�ำไมเขาหันมาท�ำอาหารให้เป็น “ผง” เปิดตัวขายในตลาดอย่างเปิดเผย อุตสาหกรรมสาร 5


น�้ำตาลโตนดผง

พลิกโฉมเป็นน�้ำตาลพรีเมี่ยม

ในเขตอ�ำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีตน้ ตาลโตนดมาก ทีส่ ดุ ในประเทศไทย มีการน�ำส่วนต่างๆ ของตาลโตนด ซึง่ ถือว่า เป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์โอทอปต่างๆ เช่น น�้ำตาลโตนดแว่น สบู่ตาลโตนด ภายใต้ชื่อยี่ห้อว่า “โหนด-นา-เล” โดยเฉพาะน�ำ้ ตาลโตนดแว่น เป็นน�ำ้ ตาลทีไ่ ด้จาก ต้นตาลโตนด ใช้ภมู ปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ในการแปรรูปน�ำ้ ตาลสดหรือ น�ำ้ ตาลโตนดเข้มข้น น�ำมาเคีย่ วในกระทะจนน�ำ้ ระเหยออกไปเหลือ เป็นน�ำ้ ตาลข้นเหนียว จากนั้นใช้ใบตาลมาท�ำเป็นวงกลมเล็กๆ เอาน�้ำตาลโตนดหยอดในวงก็จะได้น�้ำตาลโตนดก้อนกลมๆ แบนๆ ขนาดกะทัดรัด เรียกขานทัว่ ไปว่า “น�ำ้ ตาลแว่น” ต่อมากลุ่มสบู่ตาลโตนด โหนด-นา-เล จังหวัดสงขลา ต้ อ งการพั ฒ นาน�้ ำ ตาลโตนดให้ เ ป็ น น�้ ำ ตาลผง หวั ง ให้ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของตนมีความหลากหลายมากขึ้น จึงเข้า รับบริการปรึกษาจากศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทางศูนย์ฯ ส่งผูเ้ ชีย่ วชาญมาช่วย พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นน�ำ้ ตาลโตนดผง และออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์ โดยปรับโฉมใหม่ จนท�ำให้นำ�้ ตาลโตนดในท้องถิน่ แดนใต้กลาย เป็นสินค้าพรีเมีย่ มขึน้ มาได้ในพริบตา โดยเปลีย่ นบรรจุภณ ั ฑ์จากถุง พลาสติกมาใส่ขวดแก้วขนาดพอเหมาะ พร้อมท�ำฉลากสินค้า ออกแบบด้วยโทนสีนำ�้ ตาลให้สอดคล้องกับสีของน�ำ้ ตาลโตนด ท้าทายด้วยชือ่ แบรนด์โหนด-นา-เล เป็นภาษาอังกฤษเด่นชัด ‘Node Na-Le’ แค่นกี้ พ็ รีเมีย่ มเป๊ะทันตา รูปลักษณ์ใหม่ในขวดหรูทำ� ให้นำ�้ ตาลโตนดผงรายนี้ กลายเป็น ของฝากของขวัญทีม่ รี าคา มีความคลาสสิกในตัว ถือเป็นการ ขยายฐานการตลาดไปสูก่ ลุม่ พรีเมีย่ ม และขยายกลุม่ ลูกค้าไป สู่กลุ่มคนรักสุขภาพทีต่ ้องการเปลีย่ นแนวการใช้นำ�้ ตาลทราย มาใช้นำ�้ ตาลโตนดแทน โดยอาศัยจุดเด่นของน�ำ้ ตาลโตนดทีม่ ี ความได้เปรียบเรือ่ งความหอมและละลายได้รวดเร็ว ซึง่ น่าจะ เป็นแรงดึงดูดให้ขยายตลาดได้มากขึน้ ต่อไป.

ลองลิ้มน�้ำตาลโตนดพรีเมี่ยมได้จาก กลุ่มสบู่ตาลโตนด โหนด-นา-เล 11/4 หมู่ 7 ต�ำบลท่าหิน อ�ำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 90190 โทร. 08 1275 7156, 07 4590 546, 08 3186 5473

6 อุตสาหกรรมสาร


น�้ำผึ้งผง

เพื่อนใหม่คู่หูชา-กาแฟ

คุณบัญชา นทีครี กี าญจน์ เจ้าของฟาร์มผึง้ พัฒนกิจ ตัง้ อยูใ่ นเขตอ�ำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ผูม้ ปี ระสบการณ์ เลีย้ งผึง้ และจ�ำหน่ายน�ำ้ ผึง้ มานานกว่า 30 ปี ผลิตภัณฑ์ น�้ำผึ้งเป็นที่รู้จักภายใต้แบรนด์ “Golden Bee” ผลิตและ จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผึ้งทุกรูปแบบทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ฟาร์มผึ้งพัฒนกิจนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ การยอมรับว่ามีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล ผู้ทปี่ ระสบความส�ำเร็จสูงในธุรกิจของตน เมือ่ มาถึง จุดหนึง่ ย่อมต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพือ่ หาจุดต่างให้กบั ธุรกิจของตน จากน�้ำผึ้งที่เป็นของเหลว คุณบัญชาอยาก เปลีย่ นโฉมน�ำ้ ผึง้ ให้เป็นน�ำ้ ผึง้ ผง เพือ่ ความสะดวกของผูใ้ ช้ และเปิดโอกาสหรือเปิดช่องทางให้มีการใช้ประโยชน์จาก น�ำ้ ผึง้ ผงได้มากขึน้ เช่น ใช้เสิรฟ์ คูช่ า-กาแฟ ตามร้านอาหาร ภัตตาคาร และโรงแรม เป็นต้น จุดเด่นของน�ำ้ ผึง้ ผงมีคณ ุ สมบัตลิ ะลายน�ำ้ ง่าย มีกลิน่ หอม และรสหวานทีเ่ ป็นธรรมชาติ และมีจดุ เด่นในเรือ่ งสรรพคุณ ของน�ำ้ ผึง้ ทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ ร่างกายอย่างมากมาย เจ้าของฟาร์มพัฒนกิจมีความเชื่อว่า การแปรรูป น�้ำผึ้งให้เป็นน�ำ้ ผึง้ ผง นอกจากท�ำให้ผบู้ ริโภคน�ำไปใช้งาน ได้สะดวกแล้ว ยังน�ำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายกว่าของเหลว ความปรารถนาของฟาร์ ม พั ฒ นกิ จ ดั ง ไปไกลถึ ง หน่ ว ย งานราชการอย่างศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

จึ ง ได้ ส ่ ง ผู ้ เ ชี่ ย วชาญช่ ว ยกั น คิ ด ค้ น ปรั บ สู ต ร และ กระบวนการผลิตจนได้นำ�้ ผึง้ ผงทีม่ มี าตรฐานทัง้ กลิน่ และรสชาติ ทีส่ ำ� คัญละลายได้ดใี นน�ำ้ ชา-กาแฟอีกด้วย น�ำ้ ผึง้ ผงเริม่ วางตลาดด้วยบรรจุภณ ั ฑ์กล่องขาวตัดกับสีทอง พร้อมข้อความภาษาอังกฤษบอกโต้งๆ ว่า “HONEY POWDER” ในแถบสีมว่ งทีโ่ ดดเด่น การออกแบบถูกวางตัวให้ น�ำ้ ผึง้ ผงกลาย เป็นสินค้าดูดมี รี ะดับในพริบตา.

อยากลองของมีระดับติดต่อได้ที่ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ฟาร์มผึ้งพัฒนกิจ 187 หมู่ 7 ต�ำบลหนองผึ้ง อ�ำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140 โทร. 0 5342 2460, 08 1961 6948 เว็บไซต์ www.phatthanakit.net อุตสาหกรรมสาร 7


ในเขตต�ำบาลท่าฉนวน อ�ำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นแหล่งชุมนุมปลาสร้อยจ�ำนวนมาก ซึง่ หาง่ายและราคาถูก กลุม่ สตรีในเขตต�ำบลท่าฉนวนจึงรวมตัวกันน�ำปลาสร้อยมาต้ม ท�ำเป็นน�ำ้ ปลาขายในละแวกหมูบ่ า้ นใกล้เคียง กรรมวิธกี ารต้ม น�ำ้ ปลาของสตรีกลุม่ นี้ ใช้สตู รและวิธหี มักแบบโบราณ จึงท�ำให้ ได้น�้ำปลารสชาติกลมกล่อมและมีกลิ่นหอมของน�้ำปลาแท้ๆ เมือ่ น�ำ้ ปลาทีผ่ ลิตเริม่ มีชอื่ เสียงเป็นทีย่ อมรับ ภายหลังจึงติด ตรายี่ห้อน�้ำปลาว่า “เด็ดดวง” ต่อมาน�้ำปลาของสตรีกลุ่มนี้ ได้ยกระดับกลายเป็นของดีประจ�ำต�ำบล และในทีส่ ดุ ได้ถบี ตัวขึน้ ไปเป็นสุดยอดของสินค้า “หนึง่ ต�ำบล หนึง่ ผลิตภัณฑ์”

น�้ำปลาผง

จากจุดอ่อนหรือปัญหาของคนขายน�้ำปลา คือเรื่อง การขนส่งและอายุการใช้งานที่สั้น เมื่อทิ้งไว้เป็นเวลานาน น�ำ้ ปลาจะตกตะกอนของเกลือ ขายไม่ได้ ท�ำให้ผผู้ ลิตน�ำ้ ปลา “เด็ดดวง” อยากหาทางออกเพือ่ ให้น�้ำปลาขนส่งได้งา่ ยขึน้ ขณะเดียวกันเก็บไว้ได้นานขึ้น จึงเกิดความคิดอุตริอยาก ท�ำน�้ำปลาที่เป็นน�้ำให้กลายเป็นน�้ำปลาผงให้รู้แล้วรู้รอดไป ในที่สุดความคิดพิเรนทร์ก็เป็นจริงได้เมื่อศูนย์ส่งเสริม อุ ต สาหกรรมภาคที่ 2 กรมส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรม ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาแนะน�ำให้ปรับการผลิตจากน�ำ้ ให้เป็น ผงได้ด้วยวิธีธรรมชาติ โดยใช้เทคนิคการระเหยที่เรียกว่า กระบวนการ Dehydration และกระบวนการพ่นฝอย ในทีส่ ดุ ความฝันของกลุม่ สตรีทา่ ฉนวน จังหวัดสุโขทัย ก็สำ� เร็จได้โดยสามารถผลิตน�ำ้ ปลาให้เป็นน�ำ้ ปลาผงได้สมใจนึก บรรจุในกระปุกปิดฉลากอย่างสวยหรู เดินสายขายได้ทั่ว ราชอาณาจักรภายใต้แบรนด์ “เด็ดดวง” นอกจากจะยกระดับ ผลิตภัณฑ์ให้ทนั สมัยแล้ว แม่บา้ นกลุม่ นีย้ งั ได้ยกระดับกลาย เป็นแม่บา้ นยุคใหม่ทที่ นั สมัย สามารถผลิตน�ำ้ ปลาผงได้สำ� เร็จ เพือ่ ตอบโจทย์แม่บา้ นยุคใหม่ได้ลงตัวเป๊ะ.

ตอบโจทย์คนซื้อและคนขาย สนใจอยากลองน�้ำปลารูปแบบใหม่ได้ที่ กลุ่มสตรีต้มน�้ำปลา 249/3 หมู่ 12 ต�ำบลท่าฉนวน อ�ำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย 64170 โทร. 08 1973 2666

8 อุตสาหกรรมสาร


ข้าวผง

เปลี่ยนข้าวกินเป็นข้าวดื่ม เนือ่ งจากเกษตรกรชาวบ้านในชุมชน ต�ำบลโพนทอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ประสบปัญหาข้าวล้นตลาด ท�ำให้ราคาข้าวตกต�ำ่ คุณสุวภัทร สิทธิวงศ์ จึงจัดตัง้ ศูนย์เพือ่ ช่วยเหลือชาวบ้านทีป่ ระสบปัญหาเรือ่ งข้าว โดย น�ำผลิตภัณฑ์ข้าวของเกษตรกรมาแปรรูปเป็นผงท�ำเป็น เครื่องดื่มชงกินเพื่อสุขภาพ ภายใต้ชื่อ “ข้าวอัศจรรย์” ตรานาคแเดง

จุ ด เด่ น ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข ้ า วผงรายนี้ คื อ ผลิ ต จาก ข้าวกล้องงอก 6 สายพันธุ์ชั้นดีของต�ำบลโพนทอง จังหวัด ชัยภูมิ ทีม่ คี ณ ุ ค่าทางโภชนาการสูง และมีสารต้านอนุมลู อิสระ โดยเฉพาะ ช่วยชะลอความแก่ ข้าวผงชงพร้อมดื่ม ตรานาคแดง จังหวัดชัยภูมิ ได้รับ ความสนใจเป็นอย่างดีจากกลุ่มลูกค้าผู้รกั สุขภาพ โดยเฉพาะ ได้ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญจากศู น ย์ ส ่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แนะน�ำให้ปรับกระบวนการผลิต ให้มีมาตรฐานขึ้น และต่อยอดพัฒนาสูตรโดยเพิ่มกลิ่นต่างๆ เพือ่ เป็นทางเลือกให้กบั ผูบ้ ริโภค โดยกลิน่ แรกทีเ่ ลือกวางจ�ำหน่าย ก่อนคือ กลิ่นกาแฟ มีเป้าหมายเจาะกลุ่มลูกค้าที่ช่ืนชอบ การดืม่ กาแฟ นอกจากนีย้ งั มีแผนการผลิตโดยเพิม่ กลิน่ ข้าวผง ชงดื่มอีก 6 กลิ่น ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการท�ำวิจัย ส่วนบรรจุภณ ั ฑ์เลือกใช้กล่องโลหะอะลูมเิ นียม เพือ่ ให้ตอบโจทย์ ความเป็นสากลในการขยายตลาดสู่กลุ่ม AEC ในอนาคต.

วิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมการตลาด ต.โพนทอง 230/5-7 หมู่ 2 ถนนชัยภูมิ-บัวใหญ่ ต�ำบลโพนทอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 36000 โทร. 08 9710 9194, 09 8146 1785, 08 1721 5452 เว็บไซต์ www.gonkham.com อุตสาหกรรมสาร 9


มะเขือเทศผง

พร้อมชงดื่มเพื่อสุขภาพ คุณสมพร วรรณเถิน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรวังธารทอง อ�ำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะเสริมรายได้ให้แก่สมาชิก ในกลุม่ ซึง่ ตลอดเวลาทีผ่ า่ นมาได้แปรรูปพืชผลทางการเกษตร ขายเป็นรายได้หลักของกลุม่ ได้แก่ ข้าว ล�ำไย เห็ดหลินจือ และ มะเขือเทศ ผลิตและจัดจ�ำหน่ายภายใต้แบรนด์ Khon Muang (ฅนเมือง) โดยเฉพาะมะเขือเทศน�ำไปอบแห้งขายแล้วก็ยังมี ผลผลิตอีกเป็นจ�ำนวนมากในท้องถิน่ ของตน จึงมองหาช่องทาง ทีจ่ ะจัดการกับมะเขือเทศทีม่ อี ยูใ่ นพืน้ ที่ จากกระแสความนิยมบริโภคมะเขือเทศเพื่อบ�ำรุงผิว พรรณให้เปล่งปลั่ง ยังคงเป็นกระแสนิยมที่ไม่เคยตกยุค คุณสมพรจึงโยงมะเขือเทศที่มีอยู่ในท้องถิ่นเข้ากับกระแส รักสุขภาพ ด้วยการน�ำมาแปรรูปเป็นมะเขือเทศผง บรรจุในซอง ทีพ่ กสะดวกและง่ายต่อการชงดืม่ ซึง่ ต่อมากลายเป็นจุดขาย ส�ำคัญ แค่ฉกี แล้วชงกับน�ำ้ ก็สามารถดืม่ น�ำ้ มะเขือเทศได้ทกุ ที่ ทุกเวลา

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์คือ ผลิตจากมะเขือเทศ 100% สะดวกต่อการรับประทานและพกพา สามารถเก็บไว้ได้นาน กว่าน�ำ้ มะเขือเทศสด โดยทีย่ งั คงรสชาติของน�ำ้ มะเขือเทศ และ คงคุณค่าด้านโภชนาการ ซึง่ อุดมด้วยไลโคปีนทีช่ ว่ ยต้านอนุมลู อิสระ เดิ ม ผลิ ต แค่ ม ะเขื อ เทศอบแห้ ง บรรจุ ใ นถุ ง พลาสติ ก หลั ง จากได้ รั บ การสนั บ สนุ น และพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ าก ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงตัดสินใจแปรรูปมะเขือเทศเป็นชนิดผงพร้อมชง ซึ่งช่วยยืด อายุการรับประทานได้นานมากขึน้ บรรจุในถุงอะลูมเิ นียมทีป่ ดิ สนิทเพือ่ ป้องกันความชืน้ มีขนาด 10 กรัม ต่อ 1 ซอง และบรรจุ ในกล่องกระดาษทีม่ มี าตรฐาน และใช้สอื่ สารสินค้ากับผูบ้ ริโภค.

หากสนใจติดต่อชงดื่มได้ที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรวังธารทอง 53/183 หมู่ 22 ต�ำบลดอยหล่อ อ�ำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ 50160 โทร. 08 1961 1232, 08 1208 8891

10 อุตสาหกรรมสาร


Showcase

• เรื่อง : อรุณวดี ปานมณี

เครื่องประดับ จากดินสู่คอ

นอกเหนื อ จากเสื้ อ ผ้ า ที่ เ ราสวมใส่ อ ยู ่ ทุ ก วั น แล้ ว ยั ง มี อี ก สิ่ ง หนึ่ ง ที่ เ ราสามารถ เพิม่ เติมในการแต่งกายเพือ่ ให้ดดู มี ากยิง่ ขึน้ นั่นคือ เครื่องประดับ ไม่ว่าจะเป็น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน นาฬิกา ต่างหู ฯลฯ การใส่เครื่องประดับเพิ่มเติม ถึงแม้จะแค่ ชิ้ น เดี ย ว ก็ ส ามารถเสริ ม ให้ บุ ค ลิ ก เรา ดูดีมากขึ้น รวมทั้งเสริมความมั่นใจให้กับ ตัวเราเองด้วย

อุตสาหกรรมสาร 11


ในยุ ค สมั ย ปั จ จุ บั น เครื่ อ งประดั บ ที่ ก� ำ ลั ง ได้ รั บ ความ นิยม ก็คงจะหนีไม่พ้นสิ่งที่ท�ำด้วยมือ หรือ Handmade เพราะ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผลิตภัณฑ์จะมีเรื่องราวที่พิเศษกว่า สินค้าทั่วไปตามท้องตลาด ท�ำให้ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดไอดินไทย เกิดแนวคิดผลิตสินค้า Handmade ที่เป็นเครื่องประดับยึดหลัก สามารถตอบสนองเทรนด์ปจั จุบนั ได้ นัน่ คือเหล่าเครือ่ งประดับ ทั้ ง หลาย น� ำ ที ม โดยสร้ อ ยคอกุ ห ลาบจากดิ น ปั ้ น ท�ำ จาก ดินญี่ปุ่นเป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการท�ำ เพราะมีรายละเอียดเยอะพอสมควร ผนึกก�ำลังมากับบรรจุภณ ั ฑ์ ทีม่ เี อกลักษณ์ น่าสนใจเพือ่ ดึงดูดลูกค้าทีม่ าเลือกซือ้ โดยทาง ผู้ผลิตได้ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์กับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 2 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.2 กสอ.) จนได้ เครื่องประดับจากดินปั้นที่สามารถทนเหงื่อ เช็ดท�ำความ สะอาดได้ พร้อมบรรจุภัณฑ์ที่สามารถมองเห็นความงามของ ผลิตภัณฑ์จากภายนอกได้

12 อุตสาหกรรมสาร

ส� ำ หรั บ ท่ า นที่ ส นใจ เครื่ อ งประดั บ ดิ น ปั ้ น สู ต รกั น น�้ ำ งานฝีมือที่ประณีตมีความแตกต่างจากเครื่องประดับทั่วไป ในท้องตลาด สามารถติดต่อได้ที่ คุณพัชร์ชิสา ไชยวีรวัฒน์ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดไอดินไทย 155/20 หมู่ 6 ต�ำบลหนองหลวง อ�ำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000 โทร. 08 1612 7964


Showcase

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

โคมไฟไก่ปีระกา

ฝีมือขั้นเทพจากกระดาษล้วนๆ

คุ ณ มานะ ทองสุ ก ผู ้ ผ ลิ ต และจั ด จ� ำ หน่ า ย ผลิตภัณฑ์เปเปอร์มาเช่ ภายใต้แบรนด์ของ ตัวเอง “เปเปอร์ อาร์ต ไทย” ผลิตงานศิลปะ ที่ ใ ช้ ก ระดาษเป็ น แรงบั น ดาลใจสร้ า งสรรค์ ผลิ ต ภั ณฑ์สวยงามรูป แบบต่างๆ มากมาย จุดเด่นของกิจการรายนีเ้ กิดจากการใช้เทคนิค สีบนผลิตภัณฑ์เปเปอร์มาเช่ ท�ำให้วสั ดุกระดาษ กลายเป็นวัสดุมีค่าได้อย่างคาดไม่ถึง

อุตสาหกรรมสาร 13


เนือ่ งด้วยปี 2560 ตรงกับปีระกา คุณมานะได้ไอเดีย ผลิตโคมไฟรูปไก่ปรี ะกาจากเปเปอร์มาเช่ ด้วยความถนัด ในเรือ่ งเทคนิคการให้สี จึงท�ำสีกระดาษให้ดเู หมือนเซรามิก ได้อย่างน่าทึง่ การเลือกเล่นสีไก่ปรี ะกาด้วยสีดำ� แดง ขาว แค่ 3 สี แต่ทว่าโดดเด่นโดนตาต้องใจทันที คุ ณ มานะเผยว่ า เดิ ม ผลิ ต เปเปอร์ ม าเช่ ใ ห้ เ ป็ น ของใช้ของตกแต่งบ้าน แต่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ตงั้ ใจผลิต โคมไฟไก่ปรี ะกาให้เป็นของขวัญ ของฝาก จึงท�ำหลอดไฟ ซ่อนไว้ภายในตัวไก่เพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยมากกว่า ตั้งโชว์เฉยๆ การฉลุรูบนตัวไก่เพื่อระบายความร้อนแฝง ความเป็นศิลปะได้อย่างลงตัวทีเดียว การท�ำโคมไฟโดยอาศัยกระดาษเป็นวัสดุหลักต้องมี ความรูม้ ากพอไม่เช่นนัน้ ไก่ปรี ะกาอาจกลายเป็นไก่ยา่ งได้ คุณมานะจึงออกแบบแนว ECO Design เน้นการใช้กระดาษ ทีย่ อ่ ยสลายได้ การเลือกสีทปี่ ลอดสารพิษ และอุปกรณ์ ดวงโคมทีไ่ ด้มาตรฐาน มีลกั ษณะเหมือนเซรามิก แต่เป็น กระดาษ 100% ตกแล้วไม่แตก หากตกหลุ ม เสน่ ห ์ แ ม่ ไ ก่ ป ี ร ะกาเข้ า แล้ ว ก็ ล อง ติ ด ต่ อ Paper Art Thai 38/162 หมู ่ 2 ต� ำ บลนาดี อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 74000 โทร. 09 0982 1259 เว็บไซต์ www.paperartthai.com

14 อุตสาหกรรมสาร


Showcase

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

ไดโนเสาร์ ลายผ้าขาวม้า

สตรีในหมูบ่ า้ นด่านเหนือ ต�ำบลโพนงาม อ�ำเภอ กมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้เวลาว่างจากการท�ำนา ท�ำไร่ด้วยการทอผ้ามัดหมี่กันแทบทุกครัวเรือน ต่อมา ปี 2540 ได้รวมตัวกันเพื่อน�ำผ้ามัดหมี่ของแต่ละบ้าน มาขายหวังท�ำเป็นอาชีพจริงจัง การจัดตัง้ กลุม่ ทอผ้ามัดหมี่ จึงเกิดขึน้ เพือ่ ทอผ้ามัดหมีส่ ำ� หรับขาย ทัง้ นีไ้ ด้ใช้ดา้ ย โทเรจากโรงงานมาเป็นวัสดุในการทอ จุดเด่นของผ้าทอ กลุ่มนี้จะเน้นลายแบบผ้าขาวม้าเป็นหลัก ล่าสุดได้ ไอเดีย “เปลี่ยนของใช้ให้เป็นของฝาก” จึงน�ำผ้าทอ ลายผ้าขาวม้ามาตัดเย็บเป็นตุก๊ ตาไดโนเสาร์ใช้กระดุมไม้ ต่อเติมเสริมแต่ง ช่วยปลุกไดโนเสาร์ให้มีชีวิตชีวา ขึน้ มา แม้จะมีเสียงกระซิบเบาๆ ว่า ไดโนเสาร์หรือจิงโจ้ กันแน่ ในเมือ่ ชาวบ้านบอกว่าไดโนเสาร์ เราก็ตอ้ งเชือ่ เช่นนั้น เพราะมันคือไดโนเสาร์คืนชีพจากผ้าขาวม้า สนใจซื้อฝากลูกหลานติดต่อ คุณธนวัฒน์ แก้วเคน กลุม่ ทอผ้ามัดหมีแ่ ละหมอนขิดบ้านด่านเหนือ 116 หมู่ 2 ต�ำบลโพนงาม อ�ำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 46130 โทร. 08 1965 6739

อุตสาหกรรมสาร 15


Showcase

• เรื่อง : อรุณวดี ปานมณี

จับช้อน-ส้อม-มีด มาใส่ดีไซน์

อดีตสังคมไทยแต่เดิมนั้นใช้มือเปิบรับประทานอาหาร แต่พอยุคต้นรัตนโกสินทร์จึงเริ่มมีการใช้ ช้อนขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ช้อนตะกั่ว ช้อนมุก ช้อนถ้วย ช้อนทอง หรือช้อนหอย และด้วยวัสดุที่น�ำมา ใช้ผลิตในสมัยนั้นต่างกันจึงท�ำให้สังคมที่ใช้ช้อนแต่ละชนิดต่างกันด้วย ต่อมาชนชั้นสูงในช่วงสมัย รัชกาลที่ 4 มีการน�ำช้อน ส้อม มาใช้แต่กย็ งั เป็นธรรมเนียมเฉพาะในวงสังคมจ�ำกัด จนสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูตเพิ่มขึ้น การใช้ช้อน ส้อม มีดจึงมีบทบาทส�ำคัญบนโต๊ะอาหาร ท�ำให้เด็กๆ ในสมัยนั้นต้องฝึกรับประทานอาหารโดนใช้ช้อน ส้อม มีดแบบชาวตะวันตกไปด้วย และธรรมเนียมการใช้ช้อน ส้อม มีดนี้ก็ถูกสืบสานมาจนถึงปัจจุบัน 16 อุตสาหกรรมสาร


จากวัฒนธรรมการรับประทานอาหารด้วยการใช้ ช้อน ส้อม มีดตามแบบฉบับตะวันตก ท�ำให้มกี ารผลิตช้อน ส้อม มีด เพือ่ ตอบสนองความต้องการของผูบ้ ริโภคในยุค โลกาภิวตั น์ ท�ำให้กลุม่ กฤษณกร ซึง่ เป็นกลุม่ ผูผ้ ลิตชุมชน ได้เริม่ ผลิตช้อน ส้อม มีดสแตนเลส เพือ่ ตอบสนองเทรนด์ ใหม่ๆ พร้อมใส่จดุ เด่นในการดีไซน์แบบ Universal Design ออกแบบให้มีสัดส่วนรองรับวิธีการใช้งานที่เหมาะสมกับ ทุกวัย มีการน�ำผลิตภัณฑ์เก่าทีเ่ ป็นเอกลักษณ์มาปรับปรุง เป็นชุดผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่มีดีไซน์ที่สวยงาม และทั น สมั ย ยิ่ ง ขึ้ น อี ก ทั้ ง ยั ง ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ความ เชื่อมโยงระหว่างงานดีไซน์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ที่มี Mood and Tone สร้างความโดดเด่นให้กบั ผลิตภัณฑ์ และบรรจุ ภั ณ ฑ์ ซึ่ ง เป็ น การพั ฒ นาร่ ว มกั น กั บ ส� ำ นั ก พัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (สพช.กสอ.) คุ ณ ประภาศรี แม้ น ญาติ ตั ว แทนกลุ ่ ม ฯ ได้เปิดเผยว่า “ตลาดโดยรวมช่วงนี้เงียบกว่าปีที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง แต่ส�ำหรับตลาดในประเทศ ก็ยังคงขายได้เรื่อยๆ ร่วมกับยอดขายจากการส่งออก โดยช่องทางการจัดจ�ำหน่ายหลักของผลิตภัณฑ์จะเน้น ออกงานแฟร์ต่างๆ ซึ่งผลตอบรับจากลูกค้าถือว่าเป็น ทีน่ า่ พอใจ ทัง้ เรือ่ งของงานดีไซน์ คุณภาพ และราคา” ส�ำหรับ ท่ า นที่ ส นใจสามารถติ ด ต่ อ คุ ณ ประภาศรี แม้ น ญาติ ได้ ที่ 10/101 ซอยรามอิ น ทรา 8 ถนนรามอิ น ทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10220 โทร. 08 3017 1215 อีเมล prapasri.hammer@gmail.com

อุตสาหกรรมสาร 17


Showcase

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

คุณสุภชั ชา ลิมติยะโยธิน ผูผ้ ลิตและจัดจ�ำหน่าย ผลิตภัณฑ์ผา้ ห่ม ผ้าฝ้าย ผ้าทอพืน้ บ้าน ผ้าขาวม้า และ สินค้าอื่นๆ ที่ผลิตจากผ้าทอพื้นเมืองของกาญจนบุรี ล่าสุดพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นหมอนอิงโดยใช้ผา้ ทอพืน้ เมือง ของจังหวัดกาญจนบุรเี ป็นหลัก จุดเด่นคือการน�ำเทคนิค พิเศษมาท�ำให้พื้นผิวสัมผัสของผ้าทอพื้นบ้านมีความ นุม่ และเห็นเป็นเส้นใยชัดเจน ออกแบบตัดเย็บหมอนอิง ขนาดมาตรฐานโดยใช้ผา้ ทอพืน้ เมืองแบบเก่าผสมผสาน กับผ้าทอพืน้ เมืองในเทคนิคใหม่ ได้ผลิตภัณฑ์หมอนอิง แนวใหม่ตอบโจทย์คนยุคใหม่ ต้องยอมรับว่าคลาสสิกทัง้ รูปแบบและสีสนั เป็นการเอาของเก่ามาปรับใช้ให้เข้ากับ ยุคใหม่ได้เหมาะเจาะลงตัว เหมาะเป็นของใช้ ของฝาก ของขวัญ ของก�ำนัลได้ทกุ โอกาส สนใจติดต่อได้ที่ สุภชั ชา ผ้าฝ้าย 20/37 ต�ำบลบ้านใต้ อ�ำเภอเมือง จังหวัด กาญจนบุรี 71000 โทร. 08 9184 7450

หมอนอิงคลาสสิก

อิงของเก่าให้เข้ายุคใหม่

18 อุตสาหกรรมสาร


Showcase

• เรื่อง : อัฉริยา ถาวรวงษ์

เพนกวินดูดกลิ่น กลิน่ เป็นปัญหาสามัญประจ�ำบ้าน ไม่วา่ บ้านไหนก็จะต้องพบกับปัญหากลิน่ อับตามจุดต่างๆ เพือ่ แก้ปญ ั หานี้ มีหลากหลายผลิตภัณฑ์ทถี่ กู สร้างมาเพือ่ ใช้ดบั กลิน่ แต่จะดีแค่ไหนถ้าสิง่ ทีใ่ ช้ดบั กลิน่ เป็นวัสดุทที่ ำ� มาจากธรรมชาติ อีกทัง้ ยังมีรปู ร่างน่ารัก สามารถน�ำมาตกแต่งบ้านได้อกี ด้วย จึงเกิดเป็น เพนกวินดูดกลิน่ ขึน้ มา

เริ่ ม ต้ น จากรุ ่ น คุ ณ ยายที่ ท� ำ งานในโรงเลื่ อ ยและ น�ำเศษไม้มาเผาถ่าน ต่อเนื่องจนถึงรุ่นคุณแม่และรุ่นลูก ที่เห็นเศษถ่านเหลือๆ จึงเกิดแนวความคิดในการเพิ่มมูลค่า ด้วยการท�ำถ่านอัดแท่ง และพัฒนาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง จึ ง พั ฒ นามาเป็ น ถ่ า นดู ด กลิ่ น ที่ ส ามารถน� ำ มาเป็ น ของ ตกแต่งบ้านได้ ช่วยเสริมบรรยากาศภายในบ้านให้สดใส มีความน่าสนใจ กลมกลืนกับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านซึ่งน�ำ เศษถ่านที่เหลือมาเพิ่มมูลค่าน�ำมาอัดให้เป็นรูปทรงสัตว์ น่ า รั ก ๆ สามารถวางบนชั้ น เพื่ อ ประดั บ ตกแต่ ง ได้ ด ้ ว ย ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม เช่น ม้าแคระ แกะ และอัลปาก้า อุตสาหกรรมสาร 19


ด้ า นคุ ณ สุ ช าติ บุ ญ ส่ ง เจ้ า ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ พนกวิ น ดูดกลิ่นเปิดเผยว่า ก�ำลังพัฒนาสูตรให้ดีกว่าเดิมอีกทั้งผลิ ต ภั ณ ฑ์ ของตนยังใช้ดูดกลิ่นได้หลากหลายอย่าง เช่น น�ำไปใส่ไว้ในตู้เย็นหรือ ตู้เสื้อผ้าตู้รองเท้าได้จะช่วยดูดกลิ่นอับได้ พร้อมกันนี้เองศูนย์ส่งเสริม อุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.9 กสอ.) ได้เข้ามาให้ค�ำปรึกษาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากถ่านไม้อัดแท่งเป็น ถ่านดูดกลิ่นที่สามารถวางในช่องวางไข่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ดูกลมกลืน กับบริเวณทีน่ ำ� ถ่านไปวาง ในส่วนของกลุ่มลูกค้าจะเน้นเป็นกลุ่มลูกค้า ทัว่ ไป และจะมีการจัดจ�ำหน่ายเร็วๆ นีส้ ามารถติดตามได้ทเี่ พจเฟซบุก๊ Double Y Charcoal ที่อยู่ 363/3 หมู่ 10 บ้านชากแง้ว ต�ำบลห้วยใหญ่ อ�ำเภอ บางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150

20 อุตสาหกรรมสาร


Showcase

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

ผ้าทอแต้ๆ เจ้า ย้อมสีธรรมชาติ คลาสสิกตลอดกาล

จากการรวมกลุม่ ของแม่บา้ นบ้านศรีดอนมูล ต�ำบล แจ้ซ้อน อ�ำเภอเมืองปาน จังหวัดล�ำปาง จัดตั้งขึ้น เมือ่ ปี พ.ศ. 2539 ทีม่ คี วามสนใจและรักงานทอผ้าแบบ พืน้ เมือง จึงมารวมกลุม่ และแบ่งหน้าทีก่ นั ตามถนัด จุดเด่น ของผ้าทอกลุม่ นีค้ อื ทอด้วยมือและย้อมด้วยสีธรรมชาติ ไม่ใช้เคมี ซึง่ ก�ำลังเป็นทีต่ อ้ งการของตลาดชาวไทยและ ชาวต่างชาติ จากผ้าที่เคยทอเป็นผืนถูกน�ำมาประยุกต์ ให้เข้ากับรสนิยมของกลุ่มผู้ซื้อ โดยตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า และเครือ่ งแต่งกาย กระเป๋า หมวกในรูปแบบต่างๆ โดย ปรับเปลี่ยนเทคนิคการย้อมสีที่เน้นความเป็นธรรมชาติ ให้ปรากฏในเนื้อผ้ามากขึ้น ดีไซน์รูปแบบให้มีเสน่ห์ น่าดึงดูดใจมากขึน้ โดยเฉพาะรูปแบบผลิตภัณฑ์ทใี่ ช้งานง่าย สวมใส่สบาย เรียกทับศัพท์ในวงการเสือ้ ผ้าว่า Casual Style แม้จะปรับรูปแบบให้ดทู นั สมัยแต่กย็ งั ไม่ทงิ้ กลิน่ อายของ ผ้าทอเมืองเหนือให้เห็นเด่นชัด โดยเฉพาะลายตารางและ สีครามธรรมชาติ สนใจติดต่อ คุณสุทธิพร บุตรปะสะ 147 หมู่ 2 ต�ำบลแจ้ซอ้ น อ�ำเภอเมืองปาน จังหวัดล�ำปาง 52240 โทร. 08 9852 2592

อุตสาหกรรมสาร 21


Showcase

• เรื่อง : บัณฑิตา ศิริพันธ์

จับเซรามิกส์คู่สปา

ตบเท้าขึ้นโต๊ะอาหาร การแตกหน่อออกผลของผลิตภัณฑ์เป็นสิง่ ทีพ่ บเจออยูบ่ อ่ ยครัง้ ในแวดวงธุรกิจ “ฆ้อนทองเซรามิกส์” หรือ KT Ceramics ธุรกิจผลิตสินค้าเครือ่ งใช้บนโต๊ะอาหาร อาทิ แก้วกาแฟ ถ้วย จาน ชาม คือ หนึง่ ในธุรกิจทีม่ กี ารพัฒนาสินค้าของตนเอง เมือ่ ด�ำเนินกิจการไปได้สกั ระยะก็ ได้ตดั สินใจเข้าร่วม โครงการกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากเดิม แต่ยงั คงจุดเด่นของธุรกิจเซรามิกเอาไว้ จึงก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์สนิ ค้าชุดสปาออกมาสูต่ ลาด 22 อุตสาหกรรมสาร


จากเดิมการผลิตสินค้าเครือ่ งใช้บนโต๊ะอาหาร เป็นการเจาะ กลุ ่ ม ลู ก ค้ า ตลาดล่ า งเพราะเป็ น การผลิ ต ที่ ใ ช้ เ งิ น ไม่ สู ง มาก ต่อมามีความคิดที่จะขยายกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่มตลาด กลางถึงตลาดบน จึงเกิดแนวความคิดใช้เทคนิคแตกไลน์สนิ ค้า ตกแต่งบ้าน คือ ชุดสปาทีโ่ ดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือน สินค้าในท้องตลาดทัว่ ไป โดยออกแบบชุดสปาเซรามิกส์รว่ มกับ ศูนย์พฒ ั นาอุตสาหกรรมเซรามิก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศม.กสอ.) ซึ่งชุดสปาเซรามิกส์ 1 ชุด จะประกอบไปด้วย ถาดรองแจกันทรงแบน แจกันทรงตั้ง และเตาน�้ำมันหอม จ�ำหน่ายทัง้ แบบแยกชิน้ และเป็นชุด เพือ่ ให้งา่ ยต่อการตัดสินใจ ของผูท้ สี่ นใจสินค้า สิง่ ส�ำคัญของการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์คอื การสร้าง จุดเด่น ซึง่ ชุดสปาเซรามิกส์อาศัยจุดเด่นในเรือ่ งสินค้าท�ำมือหรือ สินค้าแฮนเมด งานทุกชิน้ ทีท่ ำ� ออกมาจะมีเอกลักษณ์ไม่ซำ�้ กัน ในแต่ละชิน้ โดยการผลิตจะใช้เทคนิคการตกแต่งแบบขูดลาย ขู ด สี ท� ำ ด้ ว ยสีเ อนโกบ สร้ า งความโดดเด่ น ไม่ รู ้ จ บให้ แ ก่ ผลิตภัณฑ์ดว้ ยสีทตี่ ดั กันสุดคลาสสิกตลอดกาลอย่างสีขาว-ด�ำ ให้ความรูส้ กึ ลึกลับน่าค้นหา อีกทัง้ ยังเป็นสีทผี่ อ่ นคลายสะอาดตา เหมาะกับห้องสปาที่จะช่วยคลายความเหนื่อยล้าในแต่ละวัน ส�ำหรับใครที่สนใจสามารถติดต่อจับจองเป็นเจ้าของกันได้ที่ ฆ้อนทองเซรามิกส์ 193/2 หมู่ 1 ต�ำบลบ้านบอม อ�ำเภอแม่ทะ จังหวัดล�ำปาง 52150 โทร. 08 9702 9729 อีเมล ceramics.fac@ gmail.com

อุตสาหกรรมสาร 23


Showcase

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

ไรซ์เบอร์รี่สกัด คู่แข่งซุปไก่สกัด

คุณบวรพจน์ หอมแพน หัวหน้ากลุ่มข้าวไรซ์เบอร์รี่ วัลเล่ย์อู่ค�ำบึงกาฬ อ�ำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ รวบรวมชาวนาผู้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในพื้นที่ อ�ำเภอ ศรี วิ ไ ล จั ง หวั ด บึ ง กาฬ เป็ น กลุ ่ ม เป็ น ก้ อ นเพื่ อ ร่วมกันผลิตและจ�ำหน่ายข้าวไรซ์เบอร์รอี่ ย่างเป็นระบบ ต่อมาต้องการเพิม่ มูลค่าของข้าวไรซ์เบอร์รี่ ซึง่ เป็นข้าว ทีก่ ำ� ลังฮอตฮิตในหมูผ่ บู้ ริโภคกลุม่ รักสุขภาพ เนือ่ งจาก ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระสูง และ มีสรรพคุณด้านบ�ำรุงร่างกาย 24 อุตสาหกรรมสาร


การริ เ ริ่ ม น� ำ ข้ า วไรซ์ เ บอร์ รี่ ม าท� ำ เป็ น เครื่ อ งดื่ ม สกั ด คล้ า ยๆ ซุ ป ไก่ ส กั ด บรรจุ ใ นขวดเล็ ก ๆ กะทั ด รั ด บิ ด ฝา ดื่มได้ทันที นอกจากจะเพิ่มมูลค่าข้าวให้เป็นเครื่องดื่มแล้ว ยังมองไปไกลหวังยกระดับให้ขา้ วไรซ์เบอร์รสี่ กัดพลิกมูลค่าเป็นของฝาก ระดับพรีเมีย่ ม ของเยีย่ มคนป่วยคนไข้ และของจัดกระเช้าของขวัญ ในเทศกาลต่างๆ ได้อกี ด้วย พูดตรงๆ คือ ซุปไก่สกัดท�ำตลาด แบบไหน ข้าวไรซ์เบอร์รสี่ กัดก็ทำ� ตลาดแบบนัน้ ได้เช่นกัน ด้วยเหตุทมี่ คี วามได้เปรียบในเรือ่ งวัตถุดบิ คือ ข้าวไรช์เบอร์รี่ อินทรีย์ ซึ่งมีการรวมกลุ่มผลิตเป็นกลุ่มเป็นก้อนแหล่งใหญ่ พอสมควร นอกจากนี้ยังมีรายชื่อลูกค้าซึ่งเป็นฐานการตลาด อยูแ่ ล้ว คุณวรพจน์ หอมแพน จึงมีความมัน่ ใจอย่างมากในการผลิต เครือ่ งดืม่ ข้าวไรซ์เบอรีส่ กัดออกมาบุกเบิกตลาด เมื่อ 2 ยุทธภพมาเจอกัน ฝ่ายราชการต้องการผลงาน ฝ่ายผูป้ ระกอบการต้องการผลผลิต เมือ่ ส่วนผสมของประโยชน์ ตรงกันความส�ำเร็จจึงเกิดขึ้น ในที่สุดเครื่องดื่มข้าวไรซ์เบอร์รี่ สกัดจึงถือก�ำเนิดขึ้น ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์ส่งเสริม อุ ต สาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรม (ศก.4 กสอ.) ซึ่งส่งที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยเลยเข้าไป พัฒนาผลิตภัณฑ์ จนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ตามที่ผู้ประกอบการ ต้องการ และส่งต่อไปยังมหาวิทยาลัยมหาสารคามเพือ่ ผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์ตน้ แบบส�ำหรับออกจ�ำหน่าย คุณวรพจน์ หอมแพน เผยความส�ำเร็จด้านการตลาดว่า ต้นเดือนพฤศจิกายน 2559 เครื่องดื่มสกัดจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ภายใต้แบรนด์ “โฮมฮัก” (HOMEHUG) ซึง่ เป็นภาษาอีสานแปลว่า ร่วมกัน จะท�ำการผลิตล็อตแรกจ�ำนวน 20,000 ขวด โดยมีตลาด อเมริกา ออสเตรเลีย และดูไบ ฯลฯ รองรับผลิตภัณฑ์อยูแ่ ล้ว ทั้งนี้ได้บุตรชายที่อยู่ในอเมริกาเป็นก�ำลังส�ำคัญในการส่งออก ผลิตภัณฑ์ดงั กล่าว ส�ำหรับแบรนด์สินค้าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ เหมาะสมกับการส่งออก อาจเปลีย่ นชือ่ แบรนด์จาก “โฮมฮัก” เป็น “แทนนิน” เพือ่ ให้ดเู ป็นสากลมากขึน้ สนใจอยากลองลิม้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่สกัด ติดต่อได้ท่ี กลุ่มข้าวไรช์เบอร์รี่วัลเลย์อู่ค�ำ บึงกาฬ 157 หมู่ 7 ต�ำบลศรีวไิ ล อ�ำเภอศรีวไิ ล จังหวัดบึงกาฬ 38210 โทร. 08 1047 6679

อุตสาหกรรมสาร 25


Showcase

• เรื่อง : บัณฑิตา ศิริพันธ์

หมู ย อ . net รสชาติต้องเข้ม 26 อุตสาหกรรมสาร

การพั ฒ นาไม่ มี ที่ สิ้ น สุ ด คื อ แนวคิ ด ของ ร้ า นซ้ อ เฮง ธุ ร กิ จ ท� ำ เส้ น ก๋ ว ยจั๊ บ ญวนและหมู ย อ เดิมทีสินค้าภายในร้านเป็นเพียงการผลิตตามความ ต้ อ งการของลู ก ค้ า แต่ ก ารท� ำ ธุ ร กิ จ ให้ ก ้ า วหน้ า ได้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งจ�ำเป็น จากการท�ำ Market Survey พบว่าลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการหมูยอ ที่มีรสชาติเข้มข้น สามารถน�ำไปใช้เป็นเครื่องเคียง ในก๋วยจั๊บญวนได้ ท�ำให้ตัดสินใจคิดค้นสูตรหมูยอ ขึ้นมาใหม่ ด้วยความร่วมมือของผู้ประกอบการและ ส�ำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริม อุตสาหกรรม (สพจ.กสอ.) ที่เข้ามาช่วยเหลือ ในการให้ค�ำแนะน�ำการพัฒนา โดยแบ่งการช่วย เหลือออกเป็ น 2 ส่ ว นคื อ การปรั บ ปรุ ง สู ต รให้ ได้หมูยอพริกไทยด�ำทีม่ รี สชาติเข้มข้น โดดเด่นด้วย หมูเต็มๆ ค�ำ เนื้อสัมผัสแน่นแต่นุ่ม สามารถใช้เป็น เครือ่ งเคียงก๋วยจับ๊ ญวนหรือทานเล่นก็ได้ อีกทัง้ ยังให้ ความรูใ้ นการปรับเปลีย่ นบรรจุภณ ั ฑ์ให้ดทู นั สมัย และ


ยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึน้ กว่าเดิม การพัฒนาครัง้ นีโ้ ดนใจ ผู้บริโภคเข้าอย่างจัง ท�ำให้หมูยอของร้านซ้อเฮงได้รับความ นิย มอย่ า งท่ ว มท้ น อีก ทั้ง ความต้ อ งการของตลาดอาหาร เวีย ดนามก็พุ่ ง สู ง ขึ้น เรื่อ ยๆ จากเดิม ที่มีเ พีย งคนบางกลุ่ ม เท่านัน้ ทีร่ จู้ กั แต่ปจั จุบนั ความนิยมเกือบจะเทียบเท่าก๋วยเตีย๋ ว ทั่วไปแล้ว เนื่องจากกระแสการรับประทานอาหารสุขภาพ ในสังคม ท�ำให้คนหันมาเลือกทานอาหารเวียดนามทีม่ แี คลอรีต่ ำ�่ แต่รสชาติจัดจ้านถูกปากคนไทย คุณศุภณัฏฐ์ ปฏิภาณกุลพัฒน์ เจ้าของร้านซ้อเฮง ผูผ้ ลิตสินค้าก๋วยจับ๊ ญวน แย้มให้ฟงั ว่า หลังการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หมูยอได้ผลตอบรับที่ดีจากลูกค้าเก่า เพราะถูกใจในรสชาติ และคุณภาพทีด่ ขี นึ้ อีกทัง้ ยังได้ลกู ค้าใหม่เพิม่ ขึน้ อีก ทางร้านมี หน้าร้านอยู่แห่งเดียวตรงบริเวณดอนเมือง แต่กม็ กี ารส่งสินค้า ทัว่ ประเทศเพือ่ รองรับความต้องการของลูกค้า ซึง่ การท�ำธุรกิจ ที่เกี่ยวกับการบริโภค ความสดใหม่ของสินค้าเป็นสิ่งที่ต้อง ค�ำนึงถึง สินค้าภายในร้านแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ของสด และของแห้ง ท�ำให้การจัดส่งต้องแตกต่างกันออกไป ในส่วน ของแห้งไม่มีปัญหาอะไรเพราะมีอายุการเก็บรักษาได้นาน แต่ของสดจ�ำพวกเส้นก๋วยจั๊บญวนหรือหมูยอ จะต้องจัดส่งให้ ถึงมือลูกค้าภายใน 24 ชั่วโมง โดยอาศัยการขนส่งผ่านทาง บริการรถโดยสารแทนการส่งไปรษณีย์ที่ต้องใช้เวลานาน แนวคิ ด การพั ฒ นาที่ ไ ม่ สิ้ น สุ ด ของทางร้ า นและความ ช่วยเหลือจากทางภาครัฐ ท�ำให้มั่นใจได้เลยว่าหมูยอที่ผลิต ออกมาอัดแน่นไปด้วยคุณภาพและรสชาติที่ถูกปาก จะซื้อไป ใช้ในธุรกิจของตนเอง ซื้อไปทานเอง หรือซื้อไปเป็นของฝาก ก็ถกู ใจทัง้ ผูใ้ ห้ ผูใ้ ช้ และผูร้ บั แน่นอน สนใจสัง่ ซือ้ ได้ทางหน้าร้าน ที่ร้านซ้อเฮง 104 ถนนประชาอุทิศ เขตดอนเมือง จังหวัด กรุงเทพมหานคร 10210 โทร. 0 2928 0520, 09 5574 5777, 08 6345 5345 หรือสั่งผ่านทางออนไลน์ท่อี ีเมล inggie_tae@ hotmail.com เว็บไซต์ www.หมูยอ.net

อุตสาหกรรมสาร 27


Showcase

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

จับจ๋อลงกล่อง โชว์ฝีมือถักโครเชต์

คุณจิรวัฒนา อรุณเจริญยิง่ สร้างงานฝีมอื ด้วยการถักโครเชต์ เป็นรูปตุก๊ ตาต่างๆ เช่น กระเป๋า พวงกุญแจ ตุก๊ ตา โดยใช้ลงิ สร้าง เอกลักษณ์ของกิจการภายใต้ชื่อ “สารพัดถัก” จากที่เคยถักงาน ชิน้ เล็กๆ ก็เริม่ เปลีย่ นแนวถักผลงานเป็นชิน้ ใหญ่ขนึ้ ล่าสุดถักเป็นตุก๊ ตา ลิงตัวใหญ่ ใส่คาแรคเตอร์ (ลักษณะเฉพาะ) ให้แก่ลงิ แต่ละตัว กลาย เป็นคอลเลคชัน่ ลิงขึน้ มาโดยไม่ได้ตงั้ ใจ ท�ำไปท�ำมากลายเป็นลิง 5 หน้า 5 อารมณ์ ทีเ่ ป็นซิกเนเจอร์ของสารพัดถักรายนีไ้ ปโดยปริยาย เนือ่ งจาก ลิงได้ชอื่ ว่าอยูไ่ ม่นงิ่ มีความจ�ำเป็นต้องจับลิงใส่กล่องเพือ่ โก่งค่าตัวให้ สูงขึน้ ต้อนรับศักราชใหม่ปี 2560 ใครรักลิงชอบลิงเกิดปีลงิ ต้องการ ทาบทามไปเลี้ยงดู หรือหวังให้เป็นของขวัญ ของก�ำนัล ของที่ระลึก ติดต่อได้ที่ สารพัดถัก 59/152 หมู่ 5 แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10510 โทร. 0 2915 6795, 08 6573 0222

28 อุตสาหกรรมสาร


Showcase

• เรื่อง : ปรียนันท์ โฆษิตบุณยรัตน์

เสน่ห์ของกระดาษแผ่นสีขาวบางๆ ที่บ่อยครั้งจะ ถูกน�ำมาแต่งแต้มด้วยสีสันจากปากกาที่บรรเลง ตัวอักษรหรือวาดลวดลายลงไป บางคนใช้เป็น เครื่องบันทึกความทรงจ�ำได้เป็นอย่างดี แต่ใคร จะรู้ว่ากระดาษยังสามารถสร้างความประทับใจ ให้กับผู้พบเห็นได้อีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือกระดาษ ยั ง สามารถน� ำ มาประดิ ษ ฐ์ เ ป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ สถาปัตยกรรมได้ โดยผู้ที่ท�ำส�ำเร็จคือแบรนด์ “ไทยเปเปอร์โมเดล” ทีส่ ามารถผลิตสินค้าส่งออกได้ ทัง้ ในและต่างประเทศ สร้างชือ่ เสียงให้กบั ประเทศไทย ไม่นอ้ ย

สถาปั ต ยกรรมจ� ำ ลอง โมเดลหรูจากกระดาษ

อุตสาหกรรมสาร 29


จุ ด เริ่ ม ต้ น ด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ผลิ ต และจ� ำ หน่ า ยโมเดล สถาปัตยกรรมบ้านเรือนไทย ผลิตจากกระดาษ ก่อตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 ส่งออกสินค้าทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ ได้รบั ความนิยมมากจากชาวต่างชาติ จึงท�ำให้ผลิตภัณฑ์เป็นทีร่ จู้ กั ในชื่อของแบรนด์ “ไทยเปเปอร์โมเดล” จากเดิมผลิตภัณฑ์ ยังไม่คอ่ ยเสมือนจริงมากนัก และขนาดของโมเดลจ�ำลองไม่ได้ อ้างอิงจากแบบเรือนทรงไทยของต้นแบบ จึงน�ำมาต่อยอด พั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ ห้ มี ค วามสมจริ ง ยิ่ ง ขึ้ น โดยร่ ว มมื อ กั บ ศู น ย์ ส ่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่ ง เสริ ม อุตสาหกรรม (ศภ.3 กสอ.) ทีไ่ ด้เข้ามาให้คำ� ปรึกษาในการ ออกแบบปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ ท�ำให้พัฒนาเป็นโมเดล จ�ำลองอาคารพระที่นั่งวิมานเมฆ ที่มีความละเอียดเสมือน ต้นแบบ อีกทั้งยังเป็นการย่ออัตราส่วนลงมา ท�ำให้ดูสมจริง ยิ่งขึ้น ส่วนชุดโมเดลอุปกรณ์บนโต๊ะท� ำงาน ได้ออกแบบ โดยการแยกตามสาขาอาชีพ ปัจจุบันมีโมเดลในสาขาอาชีพ เกีย่ วกับ IT, Programmer ท�ำให้สนิ ค้ามีความน่าสนใจ และยังเป็น ผูผ้ ลิตเจ้าแรกๆ จึงท�ำให้ยงั ไม่คอ่ ยมีคแู่ ข่งทางการตลาดมากนัก ส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ ส นใจในสถาปั ต ยกรรมจ� ำ ลอง โมเดลหรู จากกระดาษ สามารถติดต่อได้ที่ คุณชลาทิป ทรัพย์มณี 43 ซอยโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ถนนอรรถกวี ต�ำบลปากน�ำ้ โพ จังหวัดนครสวรรค์ 60000 โทร. 08 9158 2310

30 อุตสาหกรรมสาร


Showcase

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

ม้าโยกอารมณ์ดี เรียบง่าย ดูดี มีราคา

กลุม่ แม่บา้ นสายใยรัก ต�ำบลไทรงาม อ�ำเภอบางเลน จังหวัด นครปฐม ร่วมกันผลิตและจัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์เครือ่ งจักสานจาก ผักตบชวาต่อเนื่องมายาวนาน ต่อมาต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพือ่ เพิม่ มูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สงู ขึน้ ขณะเดียวกันต้องการฉีกแนวรูปแบบ เดิมๆ ที่เคยท�ำกันมา จึงจับผักตบชวาแต่งงานกับเฟอร์นิเจอร์ไม้ ได้ลูกผสมแนวใหม่ไม่ซำ�้ แบบใคร โดยอาศัยรูปทรงของเก้าอี้ไม้ที่มี หลากหลายรูปแบบ มีทงั้ เก้าอีส้ ขี่ า เก้าอีโ้ ยก จากเก้าอีไ้ ม้ธรรมดา

อุตสาหกรรมสาร 31


เติมหัวสัตว์เข้าไปหน่อยเติมหางอีกนิด เก้าอี้ธรรมดา ก็กลายเป็นเก้าอี้สัตว์อารมณ์ดี เพิ่มมูลค่าให้หรูอีก หน่อยด้วยการหุม้ พืน้ ทีน่ งั่ ของเก้าอีใ้ ห้นมุ่ เป็นพิเศษด้วย ฟองน�ำ้ แล้วสานทับด้วยผักตบชวาสีธรรมชาติ เท่สดุ ๆ ด้วยเทคนิคถักสานผักตบชวาที่ท�ำให้ลวดลายปรากฏ ชัดเจนด้วยฝีมอื อันประณีตของชาวบางเลน จังหวัดนครปฐม ผลิตภัณฑ์เก้าอี้สัตว์อารมณ์ดีเหล่านี้ รับรองได้ว่า ถูกใจทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และวัยโจ๋ทั้งหลาย ส�ำหรับราคา ส่ ง -ราคาปลี ก คงต้ อ งสอบถามกั น ดู ที่ คุ ณ กั น ดาคุ ณ มานพ สระทองแยง กลุ ่ ม แม่ บ ้ า นสายใยรั ก 12 หมู่ 6 ต�ำบลไทรงาม อ�ำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม 73130 โทร. 09 2470 7722, 08 4551 4644

32 อุตสาหกรรมสาร


Showcase

• เรื่อง : ปรียนันท์ โฆษิตบุณยรัตน์

ครีมบ�ำรุงเท้าภูแก้วสมุนไพร จุดเริ่มต้นจากกลุ่มภูแก้วสมุนไพรสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ จากวัตถุดิบที่มีอยู่เดิม และสร้างความหลากหลายของสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เริ่มด้วยการท�ำน�้ำมัน มะพร้าวแบบสกัดเย็น จากการที่ได้ไปอบรมฝึกอาชีพที่เมือง โอซากา ประเทศญีป่ นุ่ เรือ่ งการสกัดสมุนไพร และได้ปรับเปลีย่ น มาใช้มะพร้าวเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ ส�ำหรับ จุดเด่นของครีมบ�ำรุงเท้าภูแก้วสมุนไพร ได้แก่ สะดวกใน การใช้งาน มีกลิ่นหอม ไม่เหนียวเหนอะหนะ บรรจุภัณฑ์ สวยงาม และใช้ วั ต ถุ ดิ บ หลั ก จากธรรมชาติ อ ย่ า งน�้ ำ มั น มะพร้าวสกัดเย็นและสมุนไพรไทย รวมทัง้ ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่อง โดยมีศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.10 กสอ.) ให้ค�ำแนะน�ำ ในการพัฒนาเนื้อครีมให้เนียนไม่เหนียวเหนอะหนะ และ แนะน�ำด้านการออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์ให้สวยงาม หรูหรา ตลอด จนถึงมีขนาดบรรจุภัณฑ์ที่พอเหมาะ สามารถจัดเป็นชุดหรือ แยกขายเพื่อเป็นของฝากในโอกาสต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงยังเป็นที่ปรึกษาด้านโซเชียลมีเดียให้อกี ด้วย ด้านคุณภูวนัย สุขชนะ เจ้าของผลิตภัณฑ์ครีมบ�ำรุงเท้า ภูแก้วสมุนไพร จากกลุ่มภูแก้วสมุนไพร เปิดเผยถึงตลาดใน การขายครีมบ�ำรุงเท้าภูแก้วสมุนไพรว่าปัจจุบันตลาดการขาย กว้างมากขึ้น เพราะมีลูกค้าสองต่อ ทั้งซื้อไปขายต่อตามห้างฯ หรือตามหน้าร้านต่างๆ และกลุ่มลูกค้าที่ซื้อไปใช้เอง จึงส่งผล ให้ผลิตภัณฑ์ครีมบ�ำรุงเท้าภูแก้วสมุนไพรได้รับความเชื่อถือ และมั่นใจในกลุ่มลูกค้า ทั้งในเรื่องของเนื้อครีมและรูปลักษณ์ ของสินค้า และไม่ใช่แค่ตลาดในประเทศเท่านั้น แต่ครีมบ�ำรุง เท้าภูแก้วสมุนไพร จากกลุ่มภูแก้วสมุนไพรยังได้รับความ สนใจจากลูกค้าฝั่งลาวที่ติดต่อไปจ�ำหน่ายอีกด้วย ส�ำหรับ ผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อได้ที่ตัวแทนจ�ำหน่ายตามต่างจังหวัด ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนื อ ทางเพจเฟซบุ ๊ ก ภู แ ก้ ว สมุ น ไพรน�้ำมันมะพร้าว หรือตามงาน OTOP ที่จัดขึ้นใน วาระต่างๆ และติดต่อโดยตรงที่ คุณภูวนัย สุขชนะ 34/3 หมู่ 6 ต�ำบลปากคลอง อ�ำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 86210 โทร. 08 6061 8901 อีเมล phukaew_9@hotmail.com

อุตสาหกรรมสาร 33


Showcase

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

กลุ่มคิตัง (กลุ่มทักษิณเมืองทองบาติก จังหวัด สงขลา) เริม่ ต้นกิจการด้วยการจ�ำหน่ายผ้าพืน้ เมืองจาก ภูมภิ าคต่างๆ ท�ำไปได้หลายปีจงึ รูต้ วั ว่าสินค้าทีข่ ายอยู่ ไม่ตรงกับตามความต้องการของตลาดและกลุ่มลูกค้า ของตน จึงเกิดความคิดทีจ่ ะรวมตัวน�ำผลิตภัณฑ์เด่นใน ท้องถิน่ ของตนมาต่อยอด จึงได้รวบรวมสมาชิกทีม่ คี วาม ช�ำนาญด้านต่างๆ ตัง้ เป็นกลุม่ ชือ่ ว่า กลุม่ คิตงั

34 อุตสาหกรรมสาร

กระเป๋าคิตัง

กระเป๋าถือทรงเสน่ห์


คิตงั เป็นชือ่ ปลาชนิดหนึง่ ของภาคใต้ ซึง่ ก่อนหน้านี้ มีการพัฒนาลายผ้าทอโดยได้ไอเดียจากลายและสีของ ปลาคิตงั จึงเรียกลายผ้าทอทีพ่ ฒ ั นาขึน้ มาใหม่วา่ “คิตงั ” กลุม่ คิตงั กลุม่ นีไ้ ด้พฒ ั นาผลิตภัณฑ์ตวั ใหม่ขนึ้ มาเป็นกระเป๋าถือ โดยใช้ผ้าทอลายคิตังเป็นวัสดุหลักผสมผสานกับจักสาน ที่ท�ำจากกระจูดหนู (ต้นเล็กกว่ากระจูดทั่วไป) ซึ่งเป็น วัสดุในท้องถิน่ ตัดเย็บเชือ่ มต่อโดยใช้วสั ดุหนังปิดทับรอย ตะเข็บ เน้นสีตามธรรมชาติ จุดเด่นอยูท่ หี่ หู วิ้ ซึง่ กว้านเป็น ช่องกว้างส�ำหรับหิ้วหรือคล้องแขนได้ ท�ำให้กระเป๋าถือ ของกลุ่มคิตัง จังหวัดสงขลา กลายเป็นกระเป๋าถือทรง เสน่หม์ แี รงดึงดูดความสนใจได้ไม่นอ้ ย โอกาสขยายตลาด จึงมีค่อนข้างสูง การเพิม่ Tag หรือป้ายแขวนทีเ่ ป็นกระดาษชิน้ เล็กๆ ติดกับกระเป๋าถือ บอกเล่าเรือ่ งราวของกระเป๋าเพือ่ สือ่ สาร กับผูซ้ อื้ จากกระเป๋าถือบ้านนอกถีบตัวขึน้ เป็นกระเป๋าถือ ไฮโซขึน้ มาทันที ปีใหม่นที้ า่ นใดอยากเปลีย่ นลุคใหม่ดว้ ย กระเป๋าถือทรงเสน่ห์ ลองสอบถามได้ที่ กลุม่ คิตงั 62/24 หมู่ 2 ซอย 2 ถนนกาญจนวนิช ต�ำบลเขารูปช้าง อ�ำเภอ เมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000 โทร. 08 6598 9550

อุตสาหกรรมสาร 35


Showcase

• เรื่อง : อัฉริยา ถาวรวงษ์

โคโลญจน์มาสก้า โคโลญจน์สัญชาติไทย 36 อุตสาหกรรมสาร


เพราะอยู่ในแวดวงธุรกิจด้าน Eau de Cologne มากว่า 60 ปี ท�ำให้มั่นใจที่จะสร้างแบรนด์ Masca โคโลญจน์สัญชาติ ไทยขึ้นเมื่อปี 2535 จนผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักในตลาดมาอย่าง ยาวนาน ซึง่ จุดเด่นของโคโลญจน์มาสก้า คือความน่าเชือ่ ถือ เพราะเป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนาน ผนวกกับ ปั จ จุ บั น ได้ มี แ นวคิ ด ขยายฐานกลุ ่ ม ลู ก ค้ า Gen Y จึ ง ได้ ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้มีความทันสมัย หรูหราอย่างมี ระดับเหมาะสมกับกลุม่ ลูกค้า จึงได้แนวความคิดการเพิม่ มูลค่า ให้กับผลิตภัณฑ์ โดยได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้ ทั น สมั ย มี ป ระโยชน์ ใ ช้ ส อยมากยิ่ ง ขึ้ น และร่ ว มพั ฒ นา ด้านบรรจุภัณฑ์กั บ ส่วนพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และการพิ ม พ์ ก องพั ฒ นาอุ ต สาหกรรมรายสาขา 2 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังเร่งท�ำการตลาด ในช่องทางออนไลน์ รวมถึงการจัดอีเว้นท์

คุณวิศิษฐ์ วิวัฒนาสิทธิพงศ์ เจ้าของแบรนด์ Masca โคโลญจน์ เปิดเผยถึงจุดเริ่มต้นว่า ผลิตภัณฑ์โคโลญจน์ใน ท้องตลาดขณะนัน้ มีไม่มากนัก ส่วนใหญ่ทมี่ กี จ็ ะเป็นผลิตภัณฑ์ ของเมืองนอกซึง่ มีราคาแพง เลยตัดสินใจท�ำขึน้ มา เพราะอยาก จะให้คนไทยได้ใช้ของทีดี มีคุณภาพ ในราคาสามารถเป็น เจ้าของได้ ในด้านของการตลาดตอนนี้ก็ถือว่ามีลูกค้าประจ�ำ อยูพ่ อสมควร จึงสามารถพัฒนาแบรนด์ได้อย่างต่อเนือ่ ง รวมถึง มีการออกแบบผลิตภัณฑ์อนื่ ทีอ่ ยูภ่ ายใต้แบรนด์ใหม่ทผี่ ลิตขึน้ มา โดยใช้ฐานความน่าเชื่อถือจากแบรนด์เดิม ท�ำให้แบรนด์ใหม่ ติดตลาดไปด้วย ในส่วนของกลุม่ ลูกค้าโคโลญจน์มาสก้าจะเน้น เป็นช่วงวัยผู้ใหญ่อายุ 35 ขึ้นไป ส�ำหรับผู้ท่สี นใจ และน�ำ้ หอม ส�ำหรับคนรุ่นใหม่ ติดต่อได้ที่ 51 ซอยจันทน์ 35 ถนนจันทน์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10120 โทร. 0 2211 4802, 08 1712 6999 อีเมล joof.visit@gmail.com หรื อ ซื้ อ ได้ ที่ โ กลเด้ น เพลซ ซู เ ปอร์ ม าร์ เ ก็ ต , ฟู ้ ด แลนด์ , ท็อปซูเปอร์มาร์เก็ต, โฮมเฟรชมาร์ท

อุตสาหกรรมสาร 37


Showcase

• เรื่อง : อัฉริยา ถาวรวงษ์

พลิกมูลค่าถ่านไม้ไผ่ เป็นเครื่องส�ำอางสุดหรู

ถ่าน เป็นสิง่ ทีห่ ลายๆ คนต้องใช้ ในการด�ำเนินชีวติ ในประจ�ำวัน คนส่วนใหญ่คดิ ว่า ถ่านเป็นแค่สงิ่ ทีใ่ ช้ ในการช่วยในการประกอบอาหาร นิยมใช้ตามบ้านเรือน หรือตามร้านอาหาร แต่จริงๆ แล้วถ่านนัน้ มีประโยชน์มากกว่าทีค่ ดิ บางคนอาจยังไม่ทราบว่าถ่านสามารถน�ำมาพัฒนาต่อยอดจากถ่านทีใ่ ช้แค่ในครัวเรือน หรือตามร้านอาหาร แต่ถา่ นยังสามารถน�ำมาเพิม่ มูลค่าได้ดว้ ยการคิดค้นเป็นผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ อาทิ แชมพูถา่ น สบูถ่ า่ น หมอนถ่านไม้ ไผ่ ถุงดับกลิน่ จากถ่านไม้ ไผ่ และยังมีผลิตภัณฑ์ อีกหลากหลายทีใ่ ช้ถา่ นไม้ ไผ่มาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์

38 อุตสาหกรรมสาร


ท�ำให้กลุ่มบ้านไม้ไผ่ไทยอากาศดีคดิ ค้นพัฒนาถ่านไม้ไผ่ เผื่อสุขภาพและถือเป็นต้นต�ำหรับถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ ที่ได้ รับคัดสรรให้เป็นสินค้า OTOP สร้างชื่อเสียงให้อ� ำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี เพราะมีความเชีย่ วชาญด้านการท�ำถ่านไม้ไผ่ ที่มีคุณภาพเช่นเดียวกับญี่ปุ่น กรรมวิธีผลิตถ่านที่ถูกเผาด้วย อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียสขึ้นไป ท�ำให้ถ่านไม้ไผ่สามารถ ดู ด กลิ่ น และฟอกอากาศได้ ดี น� ำ มาสู ่ ก ารเกิ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เครื่องส�ำอางจากถ่านไม้ไผ่ เพื่อให้ผู้ใช้มีความรู้สึกเหมือนกับ การได้สัมผัสกับถ่านไม้ไผ่จริงโดยไม่รู้สึกว่าจะเป็นอันตราย เพราะเป็นวัสดุที่ท�ำมาจากธรรมชาติ

คุณอรอนงค์ เลิศล�้ำ ตัวแทนจากกลุ่มบ้านไม้ไผ่ไทย อากาศดี เปิดเผยถึงที่มาของผลิตภัณฑ์ว่า ได้ต้นแบบได้ พัฒนามาจากประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากทางกลุ่มได้ผลิตถ่าน ส่งออกไปยังประเทศญีป่ นุ่ และได้นำ� มาประยุกต์ทำ� ตามเพราะ มีวตั ถุดบิ ทีม่ มี าตรฐานของตนเองอยูแ่ ล้วเลยได้ขยายผลิตภัณฑ์ ขึน้ เพือ่ เน้นคุณสมบัตเิ ด่นของถ่านคือ การดูซบั ดีทอ็ กซ์ผวิ และ ตัวผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการรับรองจากส�ำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยาเรี ย บร้ อ ยแล้ ว อี ก ทั้ ง ได้ ร ่ ว มกั น พั ฒ นากั บ ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที ่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.9 กสอ.) ทีเ่ ข้ามาช่วยในเรือ่ งของการออกแบบและพัฒนา ตัวผลิตภัณฑ์ให้ พร้อมทั้งมีช่องทางการจัดจ�ำหน่ายโดยผ่าน ตัวแทนจ�ำหน่าย และใช้สอื่ โซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Line ส่ ง ผลให้ ผ ลิต ภัณ ฑ์ เ ป็ น ที่นิย มในกลุ่ ม ลู ก ค้ า นัก ศึก ษาและ กลุ่มวัยท�ำงานที่ชื่นชอบบ�ำรุงผิวและรักความสวยงาม อีกทั้ง ยังมีจำ� นวนลูกค้าประจ�ำทีใ่ ช้อย่างต่อเนือ่ งเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ท่ี คุณอรอนงค์ เลิศล�้ำ 110 หมู่ 1 ต�ำบลสาพันตา อ�ำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี 25220 โทร. 08 6786 1880 อี เ มล nong_nadee@hotmail.com เพจเฟซบุ๊กผลิตภัณฑ์บ้านถ่านไม้ไผ่ไทยอากาศดี

อุตสาหกรรมสาร 39


Showcase

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

ไม้กวาดจิ๋ว

สวยประดับโต๊ะท�ำงาน

การท� ำ ไม้ ก วาดจากดอกหญ้ า ของ อ� ำ เภอ ประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ถือเป็นภูมิปัญญา ของชุมชนที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 100 ปี เดิม ท�ำเป็นอาชีพเสริมรายได้หลังจากท�ำนาท�ำไร่ ปัจจุบัน กลายเป็นอาชีพหลักของทุกครัวเรือน ความประณีตใน การมัดดอกหญ้าไม่ให้หลุดง่าย ความตัง้ ใจผลิตสินค้า ให้มคี ณ ุ ภาพ ท�ำเป็นไม้กวาดของชุมชนแห่งนี้ ได้ชอื่ ว่า “ดินแดนไม้กวาดงาม” ค�ำล�ำ่ ลือทีบ่ อกต่อถึงคุณภาพ ของไม้กวาดจากอ�ำเภอประจันตคาม ท�ำให้ไม้กวาด ดอกหญ้าเขยิบฐานะจากสินค้าพื้นบ้านเป็นสินค้า โอทอประดับอ�ำเภอไปจนถึงระดับจังหวัด

40 อุตสาหกรรมสาร


กลุ่มอาชีพสตรีท�ำไม้กวาด ต�ำบลโพธิ์งาม อ�ำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ได้รวมตัวกันเป็นกลุม่ ก้อนผลิตและจ�ำหน่ายไม้กวาดกันอย่างเป็นล�ำ่ เป็นสัน เมือ่ เร็วๆ นี้ สตรีกลุม่ นี้ อยากเปลี่ยนรูปแบบไม้กวาดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าในกลุ่มของตน จึงขอรับบริการจาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพือ่ พัฒนารูปแบบไม้กวาดใหม่เป็นไม้กวาดขนาดจิว๋ สร้างจุดเด่น ตรงทีว่ สั ดุมดั ดอกหญ้า เล่นสีทตี่ ดั กับสีดอกหญ้าจนเกิดเป็นลายมัดทีโ่ ดดเด่น เป้าหมายคือ ต้องการ พัฒนาผลิตภัณฑ์เพือ่ เข้าถึงคนรุน่ ใหม่ได้งา่ ย โดยสร้างประโยชน์ใช้สอยได้จริงคือ ใช้ปดั กวาดเล็กๆ น้อยๆ บนโต๊ะท�ำงานหรือในออฟฟิศ เหมาะส�ำหรับคนรุน่ ใหม่ ขณะเดียวกันใช้เป็นของฝากของ ทีร่ ะลึกได้ดว้ ย จากไม้กวาดดอกหญ้าจิว๋ เอาด้ามไม้กวาดออก ก็กลายเป็นผลิตภัณฑ์อกี รูปแบบหนึง่ เรียกว่า “พูป่ ระดับ” เอาไว้หอ้ ยแขวนตกแต่งบ้านหรือของใช้ตา่ งๆ ได้ตามจิตนาการสร้างสรรค์ ของผูซ้ อื้ สนใจสอบถามได้ที่ คุณจตุพร พิมพิสาร 239 หมู่ 2 ต�ำบลโพธิง์ าม อ�ำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี 25130 โทร. 08 1782 7061

อุตสาหกรรมสาร 41


ใบสมัครสมาชิก

วารสารอุตสาหกรรมสาร 2560 สมาชิกเก่า

สมาชิกใหม่

วันที่สมัคร................................................ ชื่อ / นามสกุล........................................................................................................บริษัท/หน่วยงาน.......................................... ที่อยู่................................................................................................................................................................................... จังหวัด........................................................ รหัสไปรษณีย์.......................................... เว็บไซต์บริษัท......................................... โทรศัพท์................................................ โทรสาร..................................................ต�ำแหน่ง...................................................... อีเมล...................................................................

แบบสอบถาม 1. ผลิตภัณฑ์หลักที่ท่านผลิตคือ………………………………………………………………………………………...............................……………. 2. ท่านรู้จักวารสารนี้จาก…………………………………………………………………………………………………………………………………....... 3. ข้อมูลที่ท่านต้องการคือ……………………………………………………………………………………………………………………………….....… 4. ประโยชน์ที่ท่านได้จากวารสารคือ……………………………………………………………………………….………………………..............……... 5. ท่านคิดว่าเนื้อหาสาระของวารสารอุตสาหกรรมสารอยู่ในระดับใด เมื่อเทียบกับวารสารราชการทั่วไป

ดีที่สุด

ดีมาก

ดี

พอใช้

ต้องปรับปรุง

ดี

พอใช้

ต้องปรับปรุง

6. การออกแบบปกและรูปเล่มอยู่ในระดับใด ดีที่สุด

ดีมาก

7. ข้อมูลที่ท่านต้องการให้มีในวารสารนี้มากที่สุดคือ (ใส่หมายเลข 1...2...3... ตามล�ำดับ)

การตลาด

การให้บริการของรัฐ

สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ

ข้อมูลอุตสาหกรรม

อื่นๆ ระบุ...................................

8. คอลัมน์ที่ท่านชอบมากที่สุด (ใส่หมายเลข 1...2...3... ตามล�ำดับความชอบ)

Interview (สัมภาษณ์ผู้บริหาร)

Product Design (ออกแบบผลิตภัณฑ์)

Good Governance (ธรรมาภิบาล)

SMEs Profile (ความส�ำเร็จของผู้ประกอบการ)

Report (รายงาน / ข้อมูล)

Innovation (นวัตกรรมใหม่)

Market & Trend (การตลาด / แนวโน้ม)

Book Corner (แนะน�ำหนังสือ)

อื่นๆ ระบุ......................................

9. ท่านได้รับประโยชน์จากวารสารอุตสาหกรรมสารมากน้อยแค่ไหน

ได้ประโยชน์มาก

ได้ประโยชน์พอสมควร

ได้ประโยชน์น้อย

ไม่ได้ใช้ประโยชน์

10. เทียบกับวารสารราชการทั่วไป ความพึงพอใจของท่านที่ได้รับจากวารสารเล่มนี้ เทียบเป็นคะแนนได้เท่ากับ 91-100 คะแนน

81-90 คะแนน

สมัครสมาชิกวารสาร

71-80 คะแนน

61-70 คะแนน

ต�่ำกว่า 60 คะแนน

กรอกใบสมัครซึ่งอยู่หน้าสุดท้ายของเล่มจากนั้นส่งใบสมัครได้ 3 ทาง ได้แก่ 1. สมัครทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึง บรรณาธิการวารสารอุตสาหกรรมสาร กลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 2. สมัครทางเครื่องโทรสาร หมายเลข 0 2354 3299 3. สมัครทางอีเมล : e-journal@hotmail.com


หน้าแรก

เกีย่ วกับ กสอ.

งานบริการ

ข้อมูลน่ารู้

ข่าว กสอ

รับเรือ่ งร้องเรียน

ถามตอบ

ผังเว็บไซต์

http://www.dip.go.th แหล่ ง รวบรวมข่ า วสาร ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม และงานบริ ก ารต่ า งๆ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รวมถึงฐานข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บรรณานุกรมเครื่องจักร, ฐานข้อมูล วัตถุดิบ, ฐานข้อมูลเทคโนโลยีการผลิต, ฐานข้อมูลการออกแบบ, ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น เพื่อให้บริการ สำ�หรับ SMEs และผู้สนใจทั่วไป

http://elearning.dip.go.th ระบบฝึกอบรมผ่านอินเทอร์เน็ต แหล่ ง รวบรวมความรู้ท่ีผู้ป ระกอบการวิ ส าหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่ อ ม รวมทั้ ง ผู้ ส นใจทั่ ว ไป สามารถเข้ า ไป เรี ย น รู้ เพื่ อ ค ว า ม เข้ า ใจ ใน ส า ข า วิ ช า ต่ า ง ๆ ที่ จำ� เป็ นต่ อ การประกอบธุ ร กิ จ เช่ น เทคนิ ค การผลิ ต การตลาด การบริหารจัดการ บัญชี และการเงิน ตลอดจนเทปบันทึกรายการ คลินิกอุตสาหกรรม ที่ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนได้ตลอด เวลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

http://bsc.dip.go.th

ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม • Business Start Up เริ่มต้นธุรกิจ • Business Information ข้อมูลทางธุรกิจ • Business Advisory ให้คำ�ปรึกษาทางธุรกิจ • Business Opportunity โอกาสใหม่ทางธุรกิจ • Business Improvement พัฒนาศักยภาพของธุรกิจ • Japan Desk การทำ�ธุรกิจกับญี่ปุ่น

http://strategy.dip.go.th ยุทธศาสตร์และแผนงาน • ข้อมูลอุตสาหกรรม • ข้อมูลเศรษฐกิจมหภาค • ข้อมูลระหว่างประเทศ • โครงการ AEC

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ถนนพระรามที่ 6 (เยือ้ งโรงพยาบาลรามาธิบดี) เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400


อุตสาหกรรมสารออนไลน์ http://e-journal.dip.go.th

วารสารเพื่อผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP เว็บวารสารปรับโฉมใหม่ ! อุตสาหกรรมสารออนไลน์ http://e-journal.dip.go.th ฐานข้อมูลส่งเสริมความรูด้ า้ นอุตสาหกรรม และ แนวโน้มของอุตสาหกรรม กระบวนการผลิต การตลาด การบริหารการจัดการ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ การให้บริการต่างๆ ตลอดจนตัวอย่างผู้ประกอบการที่ประสบความส�ำเร็จ อยากรู้ข้อมูลคลิกอ่านได้เลย อยากเก็บข้อมูลดาวน์โหลดได้เลย

สมัครเป็นสมาชิกได้ที่

วารสารอุตสาหกรรมสาร กลุม่ ประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 สมัครผ่านโทรสารที่หมายเลข 0 2354 3299 หรือ สมัครผ่านอีเมล : e-journal@hotmail.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.