วารสารอุตสาหกรรมสาร พฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 ไอศกรีม ธุรกิจเย็นดับร้อน

Page 1

วารสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พิมพ์เป็นปีที่ 59 ฉบับเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2560

ไอศกรีมผง จ.เชียงราย

นวัตกรรมไทยเขย่าวงการไอศกรีม

ไอศกรีมนมแพะ จ.สงขลา วิธีเพิ่มมูลค่าไอศกรีมชุมชน

โรงงานฉอยชิว จ.ราชบุรี

ผลิตโคนไอศกรีมป้อนแบรนด์ดังทั่วประเทศ

ไอศกรีม ไอซ์โคโค่

เด่นด้วยแพ็คเกจทรงมะพร้าว

ไอศกรี ม ธุรกิจเย็นดับร้อน มูลค่าตลาดหมื่นล้าน หักมุมพริกไทยตรามือ ผลิตไอศกรีมเครื่องเทศ

แฟรนไชส์ไอศกรีม แบรนด์ไหนน่าลงทุน

ไอศกรีมทุเรียน IceDEA กินได้ทั้งเปลือก

ไอศกรีมรีชาร์จ

เพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาว-เม็ดเลือดแดง


หน่วยงานเครือข่าย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในส่วนภูมภิ าค

2 3

1

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1

(เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำ�พูน ลำ�ปาง พะเยา แพร่ น่าน) 158 ถนนทุ่งโฮเต็ล ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ (053) 245 361-2, 243 494, 242 226 โทรสาร (053) 248 315 e-mail: ipc1@dip.go.th

4

5 7 6

(ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร สกลนคร ) 86 ถนนมิตรภาพ ต.สำ�ราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ (043) 379 296-9 โทรสาร (043) 379 302 e-mail: ipc5@dip.go.th

(พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก) 292 ถนนเลี่ยงเมือง-นครสวรรค์ ต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ (055) 282 957-9 โทรสาร (055) 283 021 e-mail: ipc2@dip.go.th

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3

(อุบลราชธานี ยโสธร อำ�นาจเจริญ ศรีสะเกษ) 222 หมู่ที่ 24 ถนนคลังอาวุธ ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ (045) 313 772, (045) 313 945, (045) 314 216, (045) 314 217 โทรสาร (045) 312 378, (045) 312 493 e-mail: ipc7@dip.go.th

(พิจิตร กำ�แพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี) 200 ม.8 ถนนเลี่ยงเมือง ต.ท่าหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000 โทรศัพท์ (056) 613 161-5 โทรสาร (056) 613 559 e-mail: ipc3@dip.go.th

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6

(สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม นนทบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์) 117 หมู่ 1 ถนนมาลัยแมน ต.ดอนกำ�ยาน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000 โทรศัพท์ (035) 441 027, 441 029, 441 031 โทรสาร (035) 441 030 e-mail: ipc8@dip.go.th

8

9

(กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี) ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2202 4422-3 โทรสาร 0 2354 3152

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10

(อุดรธานี หนองบัวลำ�ภู หนองคาย เลย) 399 ม.11 ถนนมิตรภาพ ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41330 โทรศัพท์ (042) 207 232-6, 207-238 โทรสาร (042) 207 241 e-mail: ipc4@dip.go.th

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2

หน่วยงานส่วนกลาง

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4

(นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) 333 ถนนมิตรภาพ ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา 30170 โทรศัพท์ (044) 419 622 โทรสาร (044) 419 089 e-mail: ipc6@dip.go.th

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9

(ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี สระบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว) 67 ม.1 ถนนสุขุมวิท ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000 โทรศัพท์ (038) 261-203, 273-702, 784 654-5 โทรสาร (038) 273 701 e-mail: ipc9@dip.go.th

11

ศูนย์สง่ เสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11

10

(นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ ภูเก็ต พังงา ระนอง ชุมพร) 131 ม.2 ถนนเทพรัตนกวี ต.วัดประดู่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 โทรศัพท์ (077) 200 395-8 โทรสาร (077) 200 449 e-mail: cre-pic10@dip.go.th

(สงขลา ตรัง พัทลุง สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) 165 ถนนกาญจนวนิช ต.นํ้าน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ (074) 211 905-8 โทรสาร (074) 211 904 e-mail: ipc11@dip.go.th


05 Information อุตสาหกรรมไอศกรีม มูลค่าตลาดหมื่นล้าน

Contents

วารสารอุตสาหกรรมสาร ฉบับเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2560 Market&Trend 11 ไอซ์โคโค่ : Ize Coco บุกเบิกไอศกรีมพรีเมียม เกรดสุขภาพ โดดเด่น ด้วยแพ็คเกจทรงมะพร้าว

14

Insight SMEs

อีซี่ ไอซี่ : E-Z ICY ไอศกรีมผง จ.เชียงราย นวัตกรรมไอศกรีมภูมิภาค เขย่าความแรงระดับจังหวัด

22

Report

17

ฟาร์มสุขไอศกรีม ไอศกรีมเพื่อสังคม แบ่งปันความสุขไม่มีวนั ละลาย

Local SMEs

อวดโฉม “บายใจ” ไอศกรีมนมแพะ จ.สงขลา เพิ่มมูลค่านมแพะสร้างรายได้ให้ชมุ ชน

08 Biz Focus

ตลาดไอศกรีมในประเทศไทย ธุรกิจหวานเย็นที่ยัง “ร้อนแรง” ตลอดกาล

26 Special Report

โรงงานฉอยชิว จ.ราชบุรี ผลิตโคนไอศกรีมป้อนแบรนด์ดังทั่วประเทศ

19 Showcase ไอศกรีมทุเรียนกินทั้งเปลือก เอาใจสาวกทุเรียน

29 Product Design

ไอศกรีมอุนจิฮอตสุดๆ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย ญี่ปุ่น

32 Biz Report

2 ยักษ์ใหญ่นวิ ซีแลนด์ ผลิต “ไอศกรีมรีชาร์จ” เพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาว-เม็ดเลือดแดง

34 Innovation

มองนวัตกรรมไอศกรีม ผ่านเวทีการประกวดระดับโลก

36 Marketing

จับกระแส...แฟรนไชส์ไอศกรีม

Opportunity

พริกไทยตรามือ หักมุมธุรกิจ ผลิตไอศกรีมเครื่องเทศ

24

39 Good Governance

คนจนในโลกนี้มี 2 แบบ คนยากจน กับ คนอยากจน

41 Book Corner


Editor Talk

วารสารอุตสาหกรรมตีพิมพ์ต่อเนื่องมายาวนาน นับถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 59

เจ้าของ

ไอศกรีมสะเทือน

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2202 4511

ที่ปรึกษา

ไม่น่าเชื่อว่าธุรกิจไอศกรีมจะมีมูลค่าตลาดนับหมื่นล้าน ธุรกิจเย็นๆ แต่การแข่งขันทางการตลาดกลับร้อนระอุ เนือ่ งจาก ตัวเลขการเติบโตของธุรกิจไอศกรีมสูงเพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะที่ ไอศกรีมต่างชาติตบเท้าเข้าเมืองไทยด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ สภาพอากาศที่ร้อนทั้งปีของเมืองไทย ส่งผลให้การท�ำกิจการ ไอศกรีมได้รบั การตอบรับที่ดี การท�ำไอศกรีมโฮมเมดขยายตัวสูงมากในช่วงไม่กี่ปี ที่ผ่านมา เนื่องจากใช้ทุนไม่สูงแต่ก�ำไรพอมีให้เห็น ท�ำเอง ขายเองไม่ตอ้ งง้อแรงงานและเครือ่ งจักร ไอศกรีมโฮมเมดเป็น ชนวนท�ำให้เกิดไอเดียสร้างสรรค์ไอศกรีมใหม่ๆ เกิดขึน้ ในวงจร ธุรกิจหวานเย็น จนประสบความส�ำเร็จถึงขัน้ ส่งออกก็มใี ห้เห็น วารสารอุ ต สาหกรรมสารฉบั บ นี้ หยิ บ เรื่ อ งราวของ ไอศกรีมมาถ่ายทอดให้เห็นกันชัดๆ เรื่องราวของไอศกรีม ทุ เ รี ย นที่ กิ น กั น ได้ ทั้ ง เปลื อ ก ไอศกรี ม ผงของภาคเหนื อ ที่ สร้างนวัตกรรมใหม่เขย่าวงการไอศกรีมเมืองไทยให้สะเทือน ไอศกรีมภาคใต้ที่จับแพะรีดนมท�ำไอศกรีมขายได้ ไอศกรีม โถส้วมที่ฮอตสุดๆ ในต่างแดน ตบท้ายความรู้ใหม่ว่าด้วย ไอศกรีมช่วยบ�ำบัดโรคได้ ขอเชิญทอดทัศนาเนื้อหาตามอัธยาศัย.

บรรณาธิการบริหาร

“บทความ บทสัมภาษณ์ หรืองานเขียนที่ตีพิมพ์ในวารสารเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ทางวารสารไม่จำ�เป็น ต้องเห็นด้วยเสมอไป หากประสงค์จะนำ�บทความใดๆ ในวารสาร ไปตีพิมพ์เผยแพร่ ควรแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกองบรรณาธิการ”

นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพรเทพ การศัพท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย ผู้อำ�นวยการสำ�นักบริหารกลาง นายวีระพล ผ่องสุภา ผู้อำ�นวยการกลุ่มประชาสัมพันธ์

บรรณาธิการบริหาร

นางสาวปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

กองบรรณาธิการ

นางสมจิตต์ เตียวสุนทรวงศ์, นางวิพาณี อวยพรรุ่งรัตน์, นายชเนศ ศรีพิทักษ์, นางสาวนฤมล ผึ้งเนียม, นางสาวกมลชนก กุลวงศ์, นายไพฑูรย์ มะเมียเมือง, นางเกสรา ภู่แดง, นายธานินทร์ กล่ำ�พัก, นางสุรางค์ งามวงศ์, นายสุรินทร์ ม่วงน้อย, นางสาวกัญศิญา ชุมศรี, นางสาวกนกรักษ์ นุกูลโรจน์, นางสาวศิริธร ชัยรัตน์, นายธวัชชัย มะกลํ่าทอง

จัดพิมพ์

บริษัท ซี แอด โปรโมชั่น (1997) จำ�กัด 77/14 หมู่บ้านชลลดา ซอย 2 ถนนสายไหม แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ 0 2991 3031-3 โทรสาร 0 2991 3066

สมัครสมาชิกวารสาร กรอกใบสมัครซึ่งอยู่หน้าสุดท้ายของเล่ม จากนั้นส่งใบสมัครได้ 3 ทาง ได้แก่ 1. สมัครทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึง บรรณาธิการวารสารอุตสาหกรรมสาร กลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 2. สมัครทางเครื่องโทรสาร หมายเลข 0 2354 3299 3. สมัครทางอีเมล : e-journal@hotmail.com


Information

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

อุตสาหกรรมไอศกรีม มูลค่าตลาดหมื่นล้าน

ก�ำเนิดไอศกรีม

ไอศกรี ม เริ่ ม ตั้ ง แต่ ส มั ย จั ก รพรรดิ เ นโรห์ แห่ ง อาณาจักรโรมั น ที่ ไ ด้ พ ระราชทานเลี้ ย งไอศกรี ม แก่ เหล่าทหารหาญที่อยู่ในกองทัพของพระองค์ ขณะนั้น ไอศกรีมเกิดจากเป็นการน�ำหิมะมาผสมเข้ากับน�้ำผึ้ง และผลไม้ ต่อมาเรียกไอศกรีมประเภทนี้ว่า เชอร์เบท (Sherbet) บางกระแสระบุ ว ่ า บรรพบุ รุ ษ ของคนจี น เป็นผู้ค้นพบไอศกรีมเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ 4,000 ปี ที่ผ ่ า นมา ซึ่ง ลัก ษณะของไอศกรีม ในประเทศจีน ท�ำมาจากข้าวบดผสมกับนมสดที่เย็นจนเป็นน�้ำแข็ง จากนั้ น มี ก ารถ่ า ยทอดสอนวิ ธีท�ำไอศกรี ม ให้ กั บ ชาวอินเดียและชาวเปอร์เซีย การก�ำเนิดไอศกรีมตามต�ำนานจีนระบุว่า เป็น เรื่องของความบังเอิญ เนื่องจากจีนในสมัยนั้นเพิ่งจะ รูจ้ กั รีดนมจากสัตว์เลีย้ งทีอ่ ยูใ่ นฟาร์ม เมือ่ รีดได้จ�ำนวนมาก บริโภคไม่หมด ประกอบกับน�้ำนมเป็นสินค้าที่มีราคา แพงมากๆ คนชั้นสูง จึงเกิดแนวคิดน�ำน�้ำนมไปหมก ไว้ในหิมะ นัยว่าเพื่อต้องการที่จะถนอมน�้ำนมเอาไว้ รับประทานได้นานๆ จนกระทัง่ น�ำ้ นมทีน่ �ำไปหมกไว้ใน หิมะกลายเป็นนมแช่แข็ง จากนัน้ ก็มกี ารพัฒนารูปแบบ จากนมแช่แข็งที่ธรรมดา ให้กลายเป็นน�้ำผลไม้แช่แข็ง ในส่ ว นของราชวงศ์ โ มกุ ล ได้ น�ำเอานมต้ ม มาผสมกั บ ถัว่ พิสตาชีโอจนเกิดเป็นของหวานแช่แข็งเรียกกันว่า Kulfi ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแบบแผนของไอศกรีมในยุคโบราณ

อุตสาหกรรมสาร 5


ปลายศตวรรษที่ 13 มาร์โค โปโล เดินทางไปจีนและ ชืน่ ชอบไอศกรีมของจีน จึงน�ำสูตรกลับไปอิตาลีขณะเดินทางมี การเติมนมลงไป กลายเป็นไอศกรีมสูตรของมาร์โค โปโล และ ได้แพร่หลายไปทัว่ ทัง้ อิตาลี ฝรัง่ เศส และข้ามไปอังกฤษ ด้วย เหตุนอี้ ติ าลีจงึ ประกาศว่าตนเองเป็นต้นต�ำรับไอศกรีมแบบทีน่ �ำ มาปั่นให้เย็นจนแข็ง เรียกว่า เจลาโต (Gelato) จากนั้นมีการ พัฒนาไอศกรีมหลากหลายจนท�ำให้อิตาลีได้ชื่อว่าเป็นแหล่ง ไอศกรีมเลิศรส เหตุนเี้ องจึงท�ำให้คนอิตาลีทกึ ทักเอาว่าบรรพชน ของตนเป็นคนค้นพบไอศกรีมเป็นครั้งแรก แถบยุโรปประมาณ ค.ศ.1670 ฟรานเอสโก ได้น�ำไอศกรีม ไปจ�ำหน่ายในร้านกาแฟของเขาเพือ่ ให้บริการลูกค้า ปรากฏว่า ได้รบั ความสนใจกันอย่างกว้างขวาง ไอศกรีมได้รบั การพัฒนา กระบวนการผลิ ต ขึ้ น เรื่ อ ยๆ จนกระทั่ ง ค.ศ.1846 แนนซี่ จอห์ น สั น สามารถสร้ า งเครื่ อ งผลิ ต ไอศกรี ม ขึ้ น มาได้ เ ป็ น ครัง้ แรก และนัน่ เป็นชนวนส�ำคัญทีท่ �ำให้อตุ สาหกรรมการผลิต ไอศกรีมกระจายไปทั่วโลก

ไอศกรีมในเมืองไทย

ในประเทศไทย ไอศกรีมเริ่มเข้ามาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เป็ น หนึ่ ง ในวั ฒ นธรรมตะวั น ตกที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงน�ำมาเผยแพร่ในสยาม หลังเสร็จ จากการประพาสอินเดีย, ชวา และสิงคโปร์ น�ำ้ แข็งในตอนแรกๆ ก็ยังไม่สามารถผลิตในประเทศได้ จึงต้องน�ำเข้าจากประเทศ สิง คโปร์ เมื่อ ไทยสั่งเครื่อ งท�ำน�้ำแข็งเข้ามาก็เริ่ม มีการท�ำ ไอศกรีมกินกันมากขึ้น ถือว่าไอศกรีมเป็นของเสวยเฉพาะ ส�ำหรับเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น โดยไอศกรีมในพระราชวังนั้นจะท�ำจากน�้ำมะพร้าวอ่อน ใส่เม็ดมะขามคั่ว จนต่อมาเมื่อมีโรงงานท�ำน�้ำแข็งแต่ก็ยัง ถื อ เป็ น ของชั้ น สู ง ต่ อ มามี ไ อศกรี ม ระดั บ ชาวบ้ า นท�ำเอง ในช่วงแรกๆ เป็นไอศกรีมกะทิมีลักษณะเป็นน�้ำแข็งละเอียด ใสๆ รสหวานไม่มากและมีกลิ่นหอมของดอกนมแมว ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 7 เริ่มมีไอศกรีมหลอดหรือไอศกรีม แท่งเกิดขึ้น โดยใช้น�้ำหวานใส่หลอดสังกะสีและเขย่าให้แข็ง และมีก้านไม้เสียบ โดยจะใส่ถังขายตามถนน สั่นกระดิ่งเป็น สัญญาณเพื่อเรียกลูกค้า นอกจากนี้ยังมีจุดขายที่การลุ้น ไอศกรีมฟรีจากไม้เสียบที่หากมีสีแดงป้ายอยู่ก็จะได้กินฟรี อีกหนึ่งแท่งด้วย ซึ่งไอศกรีมแบบหลอดก็มีการพัฒนาจนมา เป็นไอศกรีมโบราณที่มีส่วนผสมของนม โดยมีลักษณะเป็น แท่งสี่เหลี่ยม อาจทานเป็นแท่งหรือตัดใส่ถ้วยรับประทานก็ได้ จากนั้นมาก็เป็นยุคของไอศกรีมแบบวัฒนธรรมตะวันตก แท้ๆ จนถึงปัจจุบัน

อุตสาหกรรมไอศกรีม

“ไอศกรีม”เป็นผลิตภัณฑ์นมเยือกแข็งที่ได้จากการผสม ส่วนผสมทีฆ่ า่ เชือ้ แล้ว น�ำไปปัน่ ในทีเ่ ย็นจัด (Freezer) โดยอาศัย

6 อุตสาหกรรมสาร

เครือ่ งปัน่ ไอศกรีมเพือ่ ให้อากาศเข้าไปและท�ำให้เกิดรูปร่าง ข้นหนืดอย่างสม�่ำเสมอ จากนั้นน�ำไปเก็บในที่เย็นจัด การผลิตไอศกรีม ไม่ว่าจะผลิตด้วยระบบโรงงาน หรือปั่นด้วยมือ มีสูตรที่พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงได้ต่างกัน ตรงที่ระบบโรงงาน อาจใช้ทุนสูงและคนงานมาก การขาย จึงขยายขอบข่ายกว้าง อาจเป็นการผลิตด้วยวิธีแช่แข็ง แล้ววางจ�ำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าและร้านค้าที่มีตู้แช่ ส่วนการปั่นด้วยมือถ้าเป็นไอศกรีมที่ท�ำเป็นอุตสาหกรรม ในครัวเรือนก็จะขายเฉพาะที่หรือขายในท้องถิ่น ซึ่งวงการ ขายไม่กว้างนัก ขั้นตอนการผลิตไอศกรีมในระดับอุตสาหกรรม 1. การเตรียมส่วนผสม โดยการชั่งส่วนผสมทั้งหมด และผสมให้เข้ากัน 2. ก ารท�ำให้ เ ป็ น เนื้ อ เดี ย วกั น และการฆ่ า เชื้ อ (Homogenized and Pasteurized) ที่อุณหภูมิ 90 องศา เซลเซียส 2-3 วินาที 3. การท�ำให้เย็น (Cooling) โดยการบ่มในห้องเย็นเป็น เวลา 10-12 ชั่วโมง 4. การท�ำให้แข็งตัว (Freezing) โดยน�ำมาปัน่ ในเครือ่ ง ปั่นไอศกรีม 5. การบรรจุ (Packaging)

ไอศกรีมต้นทุนต�ำ่ ก�ำไรสูง

ธุ ร กิ จ ร้ า นไอศกรี ม ก�ำลั ง เป็ น ธุ ร กิ จ ที่ ไ ด้ รั บ ความ สนใจของผู ้ ป ระกอบการ SMEs รายใหม่ เนื่ อ งจาก การลงทุ น ผลิ ต ไอศกรี ม ใช้ ต ้ น ทุ น ไม่ สู ง สามารถสร้ า ง ก�ำไรได้ ไ ม่ ย าก โดยท�ำเลสถานที่ขายต้องดี ปัจจุบัน ไอศกรี ม โฮมเมดก�ำลั ง ได้ รั บ ความนิ ย มอย่ า งมาก น่ า จะเป็ น ทางเลื อ กที่ ดี ท างหนึ่ ง เมื่ อ พิ จ ารณาปั จ จั ย ทั้ ง ในด้ า นรู ป แบบสิ น ค้ า กระบวนการผลิ ต ช่ อ งทาง การจ�ำหน่าย การสร้างแบรนด์ งบประมาณการลงทุน และ สัดส่วนตลาด ไอศกรีมโฮมเมดถือเป็นดาวรุง่ ทีก่ �ำลังมาแรง ปั จ จุบั น ธุ ร กิ จ ไอศกรี ม มี ค วามก้ า วหน้ า อย่ า งมาก และมีความแปลกใหม่ให้ลิ้มลองอยู่เสมอ ด้วยปัจจัยที่


เอือ้ อ�ำนวยนี้ ท�ำให้ธรุ กิจไอศกรีมมีการเติบโตจากการขยาย ช่ อ งทางมาจากโรงงานไอศกรี ม ของบริ ษั ท ต่ า งชาติ ยักษ์ใหญ่ การขายแฟรนไชส์ของไอศกรีมชั้นน�ำที่มาจาก ต่างประเทศ รวมทั้งไอศกรีมแบบโฮมเมดที่มีการถ่ายทอด วัฒนธรรมกันไปมา และไอศกรีมที่สร้างสรรค์ขึ้นเองของ คนไทย ประกอบกับนวัตกรรมเครือ่ งผลิตไอศกรีมทีท่ �ำให้ การท�ำไอศกรีมท�ำได้งา่ ยขึน้ สะดวกขึ้น สิ่งเหล่านี้ท�ำให้เกิด ผลดีในธุรกิจไอศกรีม

มูลค่าตลาดนับหมืน่ ล้าน

ตัวเลขเกี่ยวกับมูลค่าตลาดของไอศกรีมมีที่มาหลาย ส�ำนักแต่ตัวเลขไม่ตรงกัน จะขอน�ำตัวเลขที่พอเชื่อถือได้ มากล่าว ณ ที่น้คี อื เมื่อปี พ.ศ. 2550 ศูนย์วิจยั กสิกรไทย ได้ระบุมูลค่าตลาดไอศกรีมในไทยมีมูลค่าสูงถึง 11,000 ล้านบาท โดยแบ่งตลาดเป็น 3 กลุม่ ได้แก่ 1. ตลาดไอศกรีม พรีเมียม 2. ตลาดไอศกรีมระดับกลางหรือไอศกรีมตลาด แมส กลุ่มนี้เป็นตลาดใหญ่สดุ 3. ตลาดไอศกรีมระดับล่าง ปลายปี พ.ศ. 2559 นิตยสารการตลาดอย่าง Marketeer ระบุตัวเลขตลาดไอศกรีมว่ามีมูลค่า 15,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีบริษัทต่างๆ ได้ท�ำการวิจัยตัวเลขไอศกรีม และเปิดเผยผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งพอจะรวบรวมตัวเลขเหล่า นั้นมาให้เห็นความเคลื่อนไหวในธุรกิจไอศกรีมได้คร่าวๆ ตามภาพที่ปรากฎเหล่านี้

ธุรกิจเย็นดับร้อน

ไอศกรีมของต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในเมืองไทยมองเห็น โอกาสตรงทีเ่ มืองไทยเป็นเมืองร้อนทั้งปี จึงพาเหรดกันเข้ามา เปิดแฟรนไชส์ โดยยึดห้างสรรพสินค้าเป็นท�ำเลทองกวาด รายได้ ส่วนแฟรนไชส์ไอศกรีมของไทยที่สร้างชื่อมานานและ ยืนหยัดอยู่ในวงการไอศกรีมมาอย่างเข้มแข็ง ต้องยกย่องให้ ไอศกรีม “มหาชัย” เป็นไอศกรีมของไทยที่เบียดเข้าไปอยู่ใน ห้างได้เช่นกัน ปัจจุบนั แรงขับเคลือ่ นทีท่ �ำให้ธรุ กิจไอศกรีมกลับมาคึกคัก ก็คือ ไอศกรีมโฮมเมด ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูง โดยจะเห็น ว่าแบรนด์ไอศกรีมหน้าใหม่ จ�ำนวนร้านค้าไอศกรีมโฮมเมด ที่เกิดขึ้นใหม่มีจ�ำนวนมากขึ้น บางรายขยายสาขาได้มากจน ต้องขยับเข้าสู่ไอศกรีมระดับอุตสาหกรรม มีการสร้างโรงงาน มาตรฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาด ต้องยอมรับว่าขณะนี้ไทยมีศักยภาพในการการส่งออก ไอศกรีมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไอศกรีมของไทยมีจุดแข็ง ในแง่ของวัตถุดิบ การใช้ผลไม้ท้องถิ่นมาผลิตไอศกรีม ท�ำให้ รสชาติ ไ อศกรี ม ของไทยมี เ อกลั ก ษณ์ ที่ ส ามารถน�ำมาเป็ น จุดขายได้เป็นอย่างดี ต่อไปนวัตกรรมใหม่ๆ จะถูกน�ำมาต่อยอดในธุรกิจไอศกรีม ในยุค Industry 4.0 อาจได้เห็นแรงกระเพือ่ มของ Ice Cream 4.0 ในรูปลักษณ์ใหม่ๆ ให้ฮอื ฮาทั้งในประเทศและต่างประเทศ

อุตสาหกรรมสาร 7


Biz Focus

• เรื่อง : ดา นานาวัน

https:www.jamja.vn

www.brandbuffet.in.th

ตลาดไอศกรีมในประเทศไทย

ธุรกิจหวานเย็นที่ยัง “ร้อนแรง” ตลอดกาล ไม่วา่ จะยุคสมัยใด ของหวาน ของทานเล่นในกลุม่ เครือ่ งดืม่ และสแน็ค (Beverage & Snack) ก็ยงั ได้รับความนิยมในบ้าน เราเสมอ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ “ไอศกรีม” อาจเพราะสภาพ อากาศทีม่ คี วามร้อนชืน้ และทวีความร้อนรุนแรงขึน้ ทุกปี ท�ำให้ ไอศกรีมเป็นตัวเลือกที่หลายคนนึกถึงเมื่อต้องการรับประทาน ต่อเนื่องจากอาหารมื้อหลักหรือนึกอยากกินเป็นอาหารว่าง แต่นอกเหนือจากปัจจัยสภาวะภายนอกแล้ว พฤติกรรมการ รับประทานไอศกรีมยังเป็นส่วนหนึง่ ของ “ไลฟ์สไตล์” ทางเลือก ของการพบปะสังสรรค์ของคนรุ่นใหม่ จึงเกิดการปรับแต่ง เมนูไอศกรีมให้เป็นลักษณะฟิวชัน่ หรือครบเครือ่ งแบบพาร์เฟ่ต์ เต็มสูตร โดยเลือกผสมผสานเข้ากับผลไม้ ขนมหวาน และ เครื่องดื่มหลายชนิด อาทิ แพนเค้ก ฮันนี่โทสต์ เครื่องดื่ม โฟลท์ ฯลฯ

ไอศกรีมในไทยอะไรบ้างทีย่ งั อยูใ่ นใจ

หากแยกประเภทธุรกิจไอศกรีมในปัจจุบัน สามารถแยก ตามประเภทวัตถุดิบ ได้แก่ ไอศกรีมนม คือไอศกรีมที่ท�ำจาก น�ำ้ นมหรือผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้จากนม (Dairy Product) และเพือ่ สร้าง ความหลากหลายจึงได้เติมน�ำ้ ผลไม้ เนือ้ ผลไม้ ถัว่ ช็อกโกแลต สารให้ ค วามหวานหรื อ วั ต ถุ ดิ บ อื่ น ในกลุ ่ ม อาหารผสม อยู่ด้วย ทั้งยังมีไอศกรีมดัดแปลง ไอศกรีมที่ผลิตโดยใช้ไขมัน ชนิดอืน่ เช่น น�ำ้ มันปาล์ม น�ำ้ มันมะพร้าวหรือกะทิ แทนมันเนย 8 อุตสาหกรรมสาร

(Milk Fat) บางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งท�ำให้มีลักษณะคล้ายคลึง กับไอศกรีมนมและมักจะน�ำวัสดุอื่นในกลุ่มอาหารมา รวมอยู่ ด้วยเพื่ อ สร้ า งความหลากหลาย และสุ ด ท้ า ยกั บ ไอศกรี ม หวานเย็น ซึ่งมักเรียกกันว่า Water Ice ไม่มีส่วนผสมของ นมอยู่ในนั้น มักท�ำจากน�้ำหวาน น�้ำผลไม้และวัสดุแต่งกลิ่น รส สี ด้วยก็ได้ นอกจากนั้น ยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามช่วงเวลาได้ดงั นี้ นั่นคือ 1. ไอศกรีมยุคโบราณ ทีม่ จี ดุ ขายในด้านรสชาติ ส่วนใหญ่ แล้ ว เป็ น รสกะทิ ส ดและจะอยู ่ ใ นแบบแท่ ง ตั ด หรื อ แบบตั ก ซึ่งปัจจุบันไอศกรีมในรูปแบบแท่งตัด ลดความนิยมลงไป แต่ เ ปลี่ ย นเป็ น ส�ำเร็ จ รู ป แทนหรื อ ดั ด แปลงเป็ น ไอศกรี ม รส ขนมไทยอย่าง ไอติมโบราณร้อยรส เป็นต้น ส่วนรูปแบบตัก นั้นมีความหลากหลายกว่าแบบอื่นๆ เช่น ตักใส่โคนธรรมดา ใส่ขนมปัง ใส่ถ้วย สามารถเลือกเติมส่วนผสมเพิ่ม เช่น ผลไม้เชื่อม ข้าวเหนียว ถั่วลิสง ฯลฯ โดยเฉลี่ยมีราคาขาย เริ่ ม ต้ น อยู ่ ที่ 10 บาท ปั จ จุ บั น ที่ ยั ง คงยื น หยั ด อยู ่ มี ห ลาย แบรนด์ เช่น ไผ่ทอง, ทิพย์สุคนธ์, ณ สยามไอศกรีม, นคร ไอศกรีม เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มักเป็นอุตสาหกรรม ครัวเรือน สามารถขยายสาขาได้ง่ายกว่าร้านไอศกรีมรูปแบบ อื่นๆ เพราะลงทุนไม่สูงนัก


2. ไอศกรี ม ยุ ค ปั จ จุ บั น เปลี่ ย นแปลงจากไอศกรี ม ในยุคแรกอย่างชัดเจน ทัง้ ในส่วนรสชาติของไอศกรีมทีม่ กี ารน�ำ รสชาติใหม่ๆ จากต่างประเทศเข้ามาผสมผสาน ทั้งยังก้าวสู่ การผลิตในระบบอุตสาหกรรมใหญ่มากขึ้น ตลอดจนรูปแบบ ของการรับประทานและราคา ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์น�ำเข้า จากต่างชาติ ซึง่ สามารถแบ่งย่อยได้อกี เป็น 2.1 ตลาดไอศกรีม นั่งร้าน ซึ่งเป็นการให้บริการรูปแบบร้านนั่งรับประทานภายใน ร้านและมีการออกแบบตกแต่งรูปลักษณ์สินค้าให้สวยงาม น่ากิน (Chain Store) ได้แก่ สเวนเซ่นส์ ฮาเก้น-ดาส และบาสกิน้ ร็อบบิ้นส์ เป็นต้น 2.2 ไอศกรีมแมส ประกอบด้วยคู่แข่งหลักๆ ในตลาดค้าปลีก คือ วอลล์ เนสท์เล่ ตามด้วยเจ้าเล็ก อย่าง แมกโนเลี ย ครี โ ม ล่ า สุ ด กั บ การเปิ ด ตั ว เรี ย กเสี ย งฮื อ ฮา ของแบรนด์ กู ลิโ กะ สัญชาติญี่ปุ่น และล็อ ตเต้ จากแดน กิมจิ ปัจจุบันเป็นกลุ่มที่มีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง ทั้งการ โฆษณาและโปรโมชั่นราคา ท�ำให้เจ้าตลาดไอศกรีมกลุ่มนี้ มักเป็นผู้ประกอบการกระเป๋าหนักหรือมีสายป่านยาว มีไลน์ ธุรกิจไอศกรีมอยูแ่ ล้วและต้องการขยายกลุม่ ธุรกิจให้กว้างขวาง ออกไป 3. ไอศกรีมยุคใหม่ เป็นไอศกรีมที่เกิดขึ้นจากความ ต้องการของลูกค้าที่มีความหลากหลายและไอเดียสร้างสรรค์ ไม่รู้จบของผู้ผลิต เรียกว่าอะไรที่สามารถดัดแปลงให้เป็น ไอศกรีมได้ก็สามารถขายได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกจัดกลุ่มให้อยู่ ในรูปแบบ “ไอศกรีมโฮมเมด” (Homemade) หรือไอศกรีม พรีเมียม โดยอาจมุ่งเน้นที่ลักษณะรูปร่างโดดเด่น อย่าง ไอศกรีมซอฟท์เสิรฟ์ (Soft Serve) ในรูปแบบไอศกรีมเหลวก่อตัว เน้นท�ำเร็วกินเร็ว หรือไอศกรีมเจลาโต (Gelato) ในรูปแบบ ตักใส่โคนหรือถ้วยเป็นไอศกรีมอิตาเลียนเนื้อเนียนแน่น ซึ่ง มักจะเป็นแฟรนไชส์จากต่างประเทศ แต่ก็ยังมีแบรนด์ไทยที่ แทรกตัวมาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดนี้ได้อย่าง ไอเบอร์ร่ี (Iberry) ทีส่ ามารถตัง้ ราคาขายได้สงู เทียบเท่าไอศกรีมแบรนด์นอก และได้รบั การตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุม่ ลูกค้าคนไทย หรือเอ เต้ (ete) ไอศกรีมทีเ่ น้นส่วนผสมนมสดจากฟาร์มปักธงชัยเป็นที่ นิยมในตลาดไอศกรีมโฮมเมดมานานและอาจพุง่ เป้าไปทีค่ วาม โดดเด่นในการน�ำเสนอแนวใหม่ หรือเลือกทีจ่ ะดึงมาเป็นจุดขาย เช่น ค�ำนึงถึงเรือ่ งสุขภาพ มีจดุ ขายในเรือ่ งไขมันต�ำ่ ท�ำขึน้ จาก ผลไม้ น�้ำเต้าหู้ ชูการ์ฟรี โยเกิร์ต หรือผสมผสานระหว่างผลไม้ และโยเกิร์ตเป็นโยเก้นฟรุ้ต ไม่เพียงแต่จะแยกตามลักษณะของการน�ำเสนอสินค้า เท่านัน้ แต่ยงั สามารถจัดกลุม่ ตามราคาขายปลีกได้อกี ด้วย นัน่ คือ ไอศกรีมทั่วไป (Low-Medium / Standard) เป็นไอศกรีมราคา ไม่แพง สามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของช�ำ ในหมู่บ้าน หรือรถขายไอศกรีม มีทั้งเจ้าตลาดสัญชาติไทย

ประเภทไอศกรีมยุคโบราณ และกลุม่ ทุนข้ามชาติยกั ษ์ใหญ่เข้า มาท�ำตลาดในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีเจ้าตลาดคือ วอลล์ จากยูนลิ เี วอร์ ประเทศไทย ครองสัดส่วนมากกว่าครึง่ ของมูลค่า ตลาดรวมนับ 10,000 ล้านบาท ตามด้วย เนสท์เล่ จากเนสท์เล่ ประเทศไทย และแมกโนเลีย ของเอฟแอนด์เอ็น ยูไนเต็ด ตามล�ำดับ ต่อด้วยไอศกรีมพรีเมียมที่มีระดับราคาอยู่ที่ 50 บาทขึ้นไปต่อก้อน (Scoop) และมักอยู่ในรูปแบบของเชนสโตร์ และเป็นแบรนด์จากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยมีผนู้ �ำตลาด พันล้านบาท คือ สเวนเซ่นส์ ตามมาด้วย บาสกิ้น รอบบิ้น, บัดส์, แดรีค่ วีน ทัง้ ยังมีเจ้าหลักในประเทศด้วย อย่าง ไอเบอร์รี่ หรืออืมม!..มิลค์ เป็นต้น รวมถึงการเพิม่ ไลน์สนิ ค้าคูเ่ คียงสินค้า หลักในร้านแมคโดนัลด์ เคเอฟซี และสุดท้าย คือ ไอศกรีมซูเปอร์ พรีเมียม เป็นไอศกรีมที่มีราคาสูงที่สุดในตลาดหลักร้อยบาท ต่อก้อนขึน้ ไป และมีเพียงไม่มแี บรนด์ทที่ �ำตลาด อาทิ ฮาเก้น-ดาส โคล สโตน และครีม แอนด์ ฟัดจ์ เป็นต้น

สถานการณ์การตลาดไอศกรีมแต่ละประเภท

เหตุผลหลักที่ท�ำให้ธุรกิจไอศกรีมยิ่งทวีความน่าสนใจ ในมุ ม มองของนั ก ลงทุ น ทั้ ง ไทย และต่ า งประเทศมากขึ้ น นอกจากมูลค่าตลาดและแนวโน้มการเติบโตที่มีสูงขึ้นทุกปี การเติบโตขึน้ แบบก้าวกระโดด เฉลีย่ แล้วเติบโตเพิม่ ขึน้ ประมาณ 8.1% ต่อปี โดยตัวเลขสถิตลิ ่าสุดมีมลู ค่าสูงมากกว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต ในปี 2559 ที่มีมูลค่ารวมอยู่ท่ี 28,000 ล้านบาทหรือเติบโตขึ้น 8.0% นับเป็นตัวเลขทีด่ งึ ดูดใจไม่นอ้ ยเลยและยังสะท้อนภาพให้ เห็นว่า ตลาดไอศกรีมย่อมเติบโตสูงมากกว่ากลุม่ ธุรกิจนมด้วย อย่างแน่นอน เนื่องจากวัตถุดิบที่น�ำมาประกอบเป็นไอศกรีม มีความหลากหลายกว่านั่นเอง เมื่อมูลค่าของตลาดไอศกรีม ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี ส่งผลให้การแข่งขันในตลาด ไอศกรีมมีความเข้มข้นมากขึน้ เนือ่ งจากบรรดาผู้ประกอบการ ในธุรกิจนี้ต่างปรับกลยุทธ์เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ไม่ว่าจะ เป็นการสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ การสร้างตราสินค้า และการขยายช่องทางการจ�ำหน่ายสินค้า ส�ำหรับกลุม่ ไอศกรีมราคาต�ำ่ ถึงปานกลางทัง้ ในยุคโบราณ ยังไม่มีผู้น�ำตลาดที่ชดั เจนผู้ประกอบการในตลาดนี้ ส่วนใหญ่ เป็นไอศกรีมที่ไม่มียี่ห้อและการท�ำตลาดจะเป็นที่รู้จักเฉพาะ ในท้องถิ่น ยังคงมุ่งเน้นการท�ำตลาดแข่งขันด้านราคาและ การพยายามกระจายจุดวางสินค้าให้ครอบคลุมร้านสะดวกซือ้ จุดจ�ำหน่ายตูแ้ ช่ การขายโดยอาศัยรถสามล้อจ�ำหน่ายในแหล่ง ชุมชน ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวและลงไปยังกลุ่มร้านอาหาร มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเน้นให้สนิ ค้าเข้าถึงมือผู้บริโภคให้มากที่สุด แต่ ถึ ง อย่ า งไรก็ ยั ง มี มู ล ค่ า การขยายตั ว ไม่ ม ากนั ก เนื่องจากผู้ประกอบการไอศกรีมตลาดระดับกลางหรือกลุ่ม ไอศกรีมยุคปัจจุบันและยุคใหม่ในกลุ่มพรีเมียมรุกคืบเข้าแย่งชิง ส่วนแบ่งตลาดล่างมากขึน้ ขณะเดียวกันผูป้ ระกอบการรายเล็ก ก็ยังต้องเผชิญปัญหาความเข้มงวดของคุณภาพของไอศกรีม ท�ำให้ธรุ กิจทีเ่ ป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน จ�ำเป็นต้องมีมาตรฐาน การผลิตไอศกรีมตามประเภทไอศกรีมแต่ละชนิดทั้งในเรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษา อุตสาหกรรมสาร 9


เป็ น ผลให้ ท างผู ้ ป ระกอบการไอศกรีม ระดับล่างต้องมีการ ปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อประคองตัวให้อยู่รอด โดยบางราย ได้หันมาผลิตไอศกรีมโบราณ เช่น ไอศกรีมห่อกระดาษไขตัด หรือใช้ไม้เสียบและไอศกรีมปั่น หรือไอศกรีมหวานเย็นที่ไม่ ต้องมีอายุเก็บรักษานาน ถือเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้ กับวงการไอศกรีมและได้รบั การตอบรับจากผูบ้ ริโภคคนรุน่ ใหม่ ที่แทบจะไม่รู้จกั ไอศกรีมแบบนี้มาก่อน ส่วนกลุ่มไอศกรีมยุคใหม่ ต้องยอมรับว่าเพิ่งได้รับความ นิยมอย่างมากในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ กลายเป็น ดาวรุ่งทีม่ าแรงทีส่ ดุ เนือ่ งจากเต็มไปด้วยโอกาสทางการตลาด จากการคิดค้นสูตรใหม่ๆ ด้วยวัตถุดิบแปลกใหม่แปลกตาเกิน ความคาดหมาย โดยจะเห็นร้านไอศกรีมโฮมเมดผุดขึ้นเป็น ดอกเห็ด ดึงดูดใจลูกค้าทัง้ ในด้านรูปแบบสินค้า กระบวนการผลิต ช่องทางการจ�ำหน่าย การสร้างแบรนด์ งบประมาณการลงทุน สัดส่วนตลาดและหันมาเพิ่มมูลค่าการตลาด โดยการขยาย เข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดไอศกรีมระดับล่าง โดยเฉพาะตลาด ในต่างจังหวัด ด้วยการอาศัยตรายีห่ อ้ ทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั บวกกับความ หลากหลายของรสชาติไอศกรีมและความสะอาดถูกสุขอนามัย ท�ำให้ตลาดไอศกรีมระดับกลางมีแนวโน้มเข้าไปแย่งส่วนแบ่ง ตลาดไอศกรีมระดับล่างได้อีกมาก ปั จ จุ บั น ตลาดไอศกรี ม โฮมเมดมี อั ต ราการเติ บ โต ไม่ต�่ำกว่าร้อยละ 40 ต่อปี หรือมีมูลค่าตลาดประมาณ 1,635 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30.0 ของมูลค่าตลาด รวมไอศกรีมพรีเมียม โดยคาดว่ามูลค่าตลาดประมาณ 5,450 ล้ า นบาท ไอศกรี ม โฮมเมดจึ ง กลายเป็ น แม่ เ หล็ ก ตั ว ใหญ่ ที่ ดึงให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่สนใจเข้ามาลงทุนเปิดร้านอิสระ กันมากขึ้น นอกจากผลิ ต เพื่ อ ป้ อ นให้ กั บ ภั ต ตาคาร ร้ า น อาหาร หรือโรงแรมต่างๆ เนือ่ งจากมีรสชาติทหี่ ลากหลายและ มีรปู แบบไอศกรีมทีเ่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะร้านแล้ว ยังจ�ำหน่าย ราคาทีไ่ ม่แพง แต่ใช้วตั ถุดบิ ทีม่ คี ณ ุ ภาพ มีการคัดเลือกใช้วตั ถุดบิ ตามความคิดสร้างสรรค์ อีกทัง้ ใช้จ�ำนวนเงินลงทุนไม่สงู มากนัก เมื่ อ เที ย บกั บ การตั้ ง โรงงานผลิ ต ไอศกรี ม แต่ ทั้ ง นี้ ยั ง มี ข้อจ�ำกัดในเรือ่ งของแบรนด์ทยี่ งั ไม่เป็นทีร่ จู้ กั ของผูบ้ ริโภคทัว่ ไป รวมไปถึงจ�ำนวนสาขาและปริมาณการผลิตทีอ่ าจไม่เพียงพอกับ ความต้องการของผู้บริโภค 10 อุตสาหกรรมสาร

ทางด้านผู้ประกอบการไอศกรีมพรีเมียมอย่างสเวนเซ่นส์, ฮาเก้น-ดาส, บาสกิ้น ร็อบบิ้น, ไอเบอร์รี่, โบนิโต้, เอเต้, บูโอโน่, เจลาโต และอืมม!..มิลค์ ยังคงเริ่มเพิ่มการลงทุนเพื่อ การพัฒนาการผลิตและการตลาด รวมทั้งขยายช่องทางการ จ�ำหน่ายใหม่ๆ โดยกลยุทธ์ส�ำคัญของผู้ประกอบการไอศกรีม ในกลุ่มพรีเมียมยังคงเน้นการขยายสาขา โดยเฉพาะการเปิด สาขาในท�ำเลที่ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะสถานี บริการน�ำ้ มัน ซึง่ เป็นกลยุทธ์การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึง การรุกตลาดซื้อกลับบ้าน (Take Home) เป็นช่องว่างทางการ ตลาดที่ยังไม่มีผู้น�ำตลาดที่ชัดเจนในช่องทางจ�ำหน่ายนี้และ ยังเป็นการรุกเข้าไปกินส่วนแบ่งการตลาดของไอศกรีมระดับ กลางบางส่วนด้วย อีกประเด็นที่น่าจับตามองส�ำหรับโอกาสธุรกิจไอศกรีม ในประเทศไทยก็คือ ตลาดไอศกรีมของไทยเป็นหนึ่งในตลาด เอเชียที่น่าสนใจของบรรดาผู้ผลิตไอศกรีมจากต่างประเทศ ท�ำให้ ใ นช่ ว งระยะไม่ กี่ ป ี ที่ ผ ่ า นมานี้ มี ไ อศกรี ม พรี เ มี ย ม ต่างประเทศหลากหลายแบรนด์เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ส่งผลให้ตลาดไอศกรีมพรีเมียมในไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขณะทีต่ ลาดส่งออกไอศกรีมของไทยนัน้ มีปจั จัยเกือ้ หนุนหลาย อย่างในการจะก้าวขึน้ ไปเป็นศูนย์กลางการส่งออกของภูมภิ าค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต เนื่องจากมีก�ำลังการผลิต ที่เพียงพอ มีวัตถุดิบหลากหลาย โดยเฉพาะไอศกรีมที่ใช้ วัตถุดิบจากผลไม้ไทย รวมทั้งการได้รบั สิทธิ์ในการขยายสาขา ในภูมิภาคของไอศกรีมที่ได้แฟรนไชส์จากต่างประเทศและ ต้นทุนการผลิตอยู่ในเกณฑ์ต�่ำ ประกอบกับประเทศในแถบ เพือ่ นบ้านของเรายังมีความต้องการบริโภคไอศกรีมเพิม่ ขึน้ ซึง่ เท่ากับว่ามีตลาดรองรับอยู่แล้ว ท�ำให้มีนักลงทุนต่างประเทศ สนใจเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตไอศกรีมในประเทศไทยและ ใช้ไทยเป็นฐานในการผลิตส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ด้วย นั่นเอง แต่ถึงอย่างนั้นไอศกรีมที่สร้างสรรค์ขึ้นเองโดยคนไทย ตัวเล็กๆ รวมทั้งขยายช่องทางมาจากโรงงานหรือไอศกรีมของ บริษัทต่างชาติยักษ์ใหญ่ด้วยการขายแฟรนไชส์ไอศกรีม ก็ยัง เป็นที่ต้องการอย่างมากและพร้อมขยายสาขาได้เรื่อยๆ ตราบใด ที่ยังมีกลุ่มผู้บริโภคจ�ำนวนมาก โอกาสทางการตลาดที่สดใส และไอเดียต่อยอดได้ไม่รู้จบ

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก สถาบันอาหาร ศูนย์อจั ฉริยะเพือ่ อุตสาหกรรมอาหาร www.fic.nfi.or.th. ตลาดไอศกรีมในประเทศไทย www.ชีช้ อ่ งรวย.com . ตลาดไอศกรีมไม่มวี นั ละลาย www.bangkokbiznews.com


Market&Trend

• เรื่อง : อรุษา กิตติวัฒน์

ไอซ์โคโค่ : Ize Coco

บุกเบิกไอศกรีมพรีเมียมเกรดสุขภาพ โดดเด่นด้วยแพ็คเกจทรงมะพร้าว แม้ ว ่ า คนไทยคุ ้ น เคยกั บ ไอศกรี ม กะทิ ส ดมายาวนาน แต่กลับนิยมไอศกรีมพรีเมียมแบรนด์นอก ไม่มใี ครเข้ามาจับตลาด ไอศกรีมมะพร้าวโฮมเมดทีเ่ ป็นระดับพรีเมียม จนกระทัง่ Ize Coco (ไอซ์โคโค่) น�ำเสนอไอศกรีม Thai Boutique รสชาติผลไม้ไทย ในบรรจุภณ ั ฑ์ลกู มะพร้าว รุกตลาดไอศกรีมสุขภาพ ปราศจาก นมวัว ปลอดกลูเตน ไม่มไี ขมันทรานส์ และไม่มคี อเลสเตอรอล ให้อร่อยได้พร้อมกับดีต่อสุขภาพ โดยมีเครื่องหมาย Healthier Choice จากประเทศสิงคโปร์ยนื ยัน

ความสุขจากไอศกรีมสูธ่ รุ กิจครอบครัว

จุดเริ่มต้นของไอศกรีม ไอซ์โคโค่ เกิดจากการรวมตัวของ สามพี่น้องร่วมสร้างธุรกิจของครอบครัวในนาม บริษัท เจเอ เจนเนอรั ล จ�ำกั ด โดยมี คุ ณ ฉทศา วงษ์ สิ ริ เ ดช หรื อ คุณโซเฟีย Executive Director เป็นผู้ริเริ่มก้าวแรกในราวปี พ.ศ. 2552 หลังจากที่ท�ำงานเป็นเลขานุการทูตควบคู่กับงาน ดีเจรายการเพลงวิทยุมา 12 ปี ถึงจุดที่อยากหยุดพักกลับมา ใช้เวลากับครอบครัว “พอไม่ได้ท�ำงานมาอยู่บ้านกับคุณพ่อคุณแม่ ก็คิดว่า ควรหาธุรกิจอะไรสักอย่างที่เริ่มจากบ้านได้ วันหนึ่งครอบครัว เราไปเที่ยวกัน แล้วไปทานไอศกรีมกะทิสด ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ น้อง และหลานๆ ทุกคนอร่อยและมีความสุข รู้สึกว่าไอศกรีม ผลไม้ไทยที่ดูธรรมดาก็สามารถท�ำให้ทุกคนยิ้มได้ น่าเอามา ท�ำให้ดูดีขึ้น เลยติดต่อรับไอศกรีมกะทิสดมาบรรจุใส่ถ้วย ท�ำแบรนด์เล็กๆ ส่งตามร้านอาหาร” แม้ผลตอบรับดีแต่ท�ำตลาดไปสักพักก็พบอุปสรรคส�ำคัญ พอบอกว่าเป็นไอศกรีมกะทิสด คนไทยส่วนใหญ่ยังติดภาพ ไอศกรีมพื้นบ้านที่ดูธรรมดา ท�ำให้เปิดการขายค่อนข้างยาก ต่อมา วันวิสา ตติยาพร หรือ คุณแอนนี่ น้องสาวคุณโซเฟีย ที่เข้ามาช่วยอีกแรงได้เล็งเห็นว่ายังมีเด็กๆ และคนแพ้นมวัว อีกจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีไ่ ม่สามารถรืน่ รมย์กบั ไอศกรีมได้ เนือ่ งจาก ส่วนผสมหลักของไอศกรีมคือนม ไอศกรีมกะทิสดทั่วไปก็ยังมี นมเป็นส่วนผสมอยู่ จึงเสนอไอเดียพัฒนาไอศกรีมสูตรมะพร้าว ล้วนๆ ซึ่งได้คณ ุ แม่ท่มี ีฝีมอื ทางด้านอาหารมาช่วยพัฒนาสูตร จนกระทั่งได้ไอศกรีมกะทิสดสูตรมะพร้าวอ่อนที่ลงตัวออกมา อุตสาหกรรมสาร 11


คุณฉทศา - คุณธีรธัช วงศ์ศริ ิเดช

“ไอศกรีมเราอร่อยจริง แต่ค่อนข้างหาความโดดเด่นยาก และยังต้องไปสู้ด้วยราคาอีก พอท�ำไอศกรีมกะทิสดดีๆ ต้นทุน เราสูงกว่า จะไปตั้งราคาต�่ำก็ไม่ไหว พอคิดต่อว่าเมื่อไอศกรีม เราดีแล้ว ก็ต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ดีด้วย เลยคิดถึงน้องชาย ขึ้นมา”

ทีม่ าแพ็คเกจใส่ไอศกรีมทรงมะพร้าว

ในจังหวะนั้น ธีรธัช วงศ์ศิริเดช หรือ คุณธี น้องชาย คุณโซเฟีย ซึ่งเข้ามารับหน้าที่ Managing Director และควบ ต�ำแหน่งออกแบบบรรจุภัณฑ์ท้ังหมด ก็ถึงจุดอิ่มตัวในการ ท�ำงานประจ�ำด้วยเช่นกัน หลังจากจับงานด้านออกแบบเกมใน บริษัทญี่ปุ่นมา 12 ปี จากนักออกแบบขยับขึ้นมาเป็นหัวหน้า เริม่ มองถึงการก้าวเข้ามาท�ำธุรกิจของตัวเองจึงเข้ามาเติมเต็มธุรกิจ ไอศกรีมเล็กๆ ที่พี่สาวริเริ่มมา “ช่วงนั้นพอดีกระแสของมะพร้าวมาแรงมาก ไปไหนก็ เจอแต่โปรดักส์มะพร้าว เราท�ำไอศกรีมมะพร้าวอยู่แล้ว ไหนๆ แนวโน้มตรงนีก้ �ำลังมา น่าลองออกแบบให้แตกต่างจากทีม่ อี ยู่ ในตลาด พี่สาวเล่าว่าไปกินไอศกรีมที่โรงแรม เขาเสิร์ฟมาใน ลูกมะพร้าวจริงๆ ดูน่ารักดี ผมคิดว่าถ้าเอาความน่ารักตรงนี้ มา แล้วท�ำให้สามารถเก็บรักษาได้นานและขนส่งได้งา่ ยขึน้ ล่ะ เลยได้ไอเดียถ้วยไอศกรีมทรงลูกมะพร้าวขึ้นมา” 12 อุตสาหกรรมสาร

“เราเป็นธุรกิจครอบครัวเล็กๆ ทุนน้อย ถ้าจะลงตลาด ไอศกรีมจริงจัง ซึง่ มีแต่รายใหญ่ๆ อยู่ จะสูก้ บั เขาได้กต็ อ้ งแตกต่าง ไอศกรีมเราจะต้องเป็นไอศกรีมกะทิไทยที่ขึ้นห้าง ไปอยู่ใน ซูเปอร์มาร์เก็ต แล้วต่อไปด้วยตัวไอศกรีมและบรรจุภัณฑ์นี้ ยังสามารถส่งออกไปต่างประเทศให้ชาวต่างชาติได้กินด้วย นี่คือจุดเริ่มต้นที่พวกเราคิดไว้ ไม่ใช่ไอศกรีมกะทิสดแบบที่อยู่ ในกะลามะพร้าวเพราะเก็บได้ไม่นาน เลยเริม่ จากการออกแบบ แพ็ ค เกจเป็ น ลู ก มะพร้ า วเพื่ อ ให้ ดึ ง ดู ด ใจและยกระดั บ ให้ ภาพลักษณ์ของไอศกรีมไทยดูมคี ุณค่าขึ้น” เมื่อมองเห็นตลาดจึงตัดสินใจว่าต้องเสี่ยง สามพี่น้อง จึงรวบรวมเงินกันมาลงทุนพัฒนาบรรจุภัณฑ์ อุปสรรคอันดับ แรกคือต้องมีทุนก้อนหนึ่งในการท�ำแม่พิมพ์ขึ้นรูป ทั้งแก้แบบ ทั้งระยะเวลาที่ท�ำแม่พิมพ์ ใช้เวลารวมแล้วสองปีกว่าและ เมือ่ มีทนุ น้อย ก็ตอ้ งผลิตจ�ำนวนน้อย ท�ำให้ตน้ ทุนต่อชิน้ สูงมาก ในช่วงแรก ต่อไปเมื่อออเดอร์เพิ่มขึ้น สามารถสั่งผลิตจ�ำนวน มากขึ้น ก็จะลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ลงมาได้ เมื่อ ใช้ ก ะทิส ดแทนนม น�ำเสนอความเป็ น ผลไม้ ไ ทย ทีช่ าวต่างชาตินยิ ม และมีบรรจุภณ ั ฑ์ทโี่ ดดเด่นแล้ว จึงตัดสินใจ รีแบรนด์ใหม่ เปลี่ยนชื่อให้เข้ากับสินค้าและจดจ�ำได้ง่ายขึ้น ซึ่งได้คุณแม่มาช่วยคิดชื่อ ไอซ์โคโค่ โดย Ize มาจากไอศกรีม ส่วน Coco ย่อมาจาก Coconut สื่อถึงความเป็นไอศกรีมจาก มะพร้าว “เมื่อก่อนเราเคยเอาไปไอศกรีมไปน�ำเสนอ ภาพลักษณ์ เป็นแค่ไอศกรีมแบรนด์หนึ่ง ใครๆ ก็ท�ำไอศกรีมโฮมเมด กว่า จะอธิบายข้อแตกต่างให้ลูกค้าเข้าใจได้เหนื่อยมาก แต่พอเรา มีแพ็คเกจใหม่คนค่อนข้างให้ความสนใจ เพราะว่ายังไม่มีมา ก่อน เราจดสิทธิบตั รบรรจุภัณฑ์ทรงมะพร้าวไว้ดว้ ย จึงกลาย เป็นจุดขายทีช่ าวต่างประเทศสนใจมาก เราได้รางวัล Healthier Choice จากสิงคโปร์ สามารถจับตลาดคนรักสุขภาพ คนทาน มังสวิรัติ และนักท่องเที่ยวต่างชาติ เรายังได้แนวทางของ ธุรกิจว่าต้องท�ำสินค้าที่มีความแตกต่างทั้งรูปลักษณ์ภายนอก สินค้าภายในก็ตอ้ งอร่อย บรรจุภณ ั ฑ์ตอ้ งสวยงามโดดเด่น เป็น คอนเซ็ปต์ส�ำหรับสินค้าทุกตัวของไอซ์โคโค่ในอนาคตและยัง มองเห็นกลุม่ เป้าหมายชัดเจนขึน้ พุง่ เป้าไปทีก่ ลุม่ ชาวต่างชาติ และมองตลาดส่งออกเป็นหลัก” เมื่อได้แนวทางชัดเจนไอซ์โคโค่จึงเลือกเปิดตัวในงาน แสดงสินค้าทางด้านอาหาร THAIFEX – World Food of Asia 2015 “เรานึกว่าไปออกงานนีแ้ ล้วจะได้ลกู ค้าเลย ปรากฏว่าคน สนใจเยอะ แต่ท�ำไมสองปียังไม่ได้ออเดอร์สักที เริ่มรู้สึกเสีย ก�ำลังใจ สงสัยว่าเรามาถูกทางหรือเปล่า แต่พอไปคุยกับคน อื่นๆ ที่ท�ำส่งออก ต่างก็บอกว่าเขาต้องดูด้วยว่าปีหนึ่งผ่านไป กิจการเรายังอยู่ได้หรือเปล่า กว่าจะดิวกันได้ใช้เวลาเป็นปีๆ” แม้ว่าตลาดส่งออกยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง แต่ตลาด ในประเทศกลับเปิดกว้าง เมือ่ มีผ้สู นใจโปรดักส์ มองเห็นความ เป็นไปได้ทางธุรกิจ จึงขอเป็นตัวแทนจ�ำหน่ายน�ำสินค้าไปเปิด


ตลาดในประเทศให้ ทุกอย่างลงตัว ตลาดเติบโตอย่างรวดเร็ว ไอศกรีมไอซ์โคโค่เริ่มวางจ�ำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขา ทั่วประเทศ “เราอยู ่ ใ นส่ ว นของการพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส่ ว นเรื่ อ ง การขายก็มอบให้เจ้าของพื้นที่ไปจัดการ แต่หลังจากท�ำได้ สักประมาณหนึง่ ปี โดนบอกเลิกเป็นตัวแทน ทัง้ ทีต่ ลาดไปได้ดมี าก สักพักก็มีไอศกรีมที่แพ็คเกจเหมือนเราเลย แต่เป็นคนละ แบรนด์ออกมาจ�ำหน่าย” หากนึ ก ภาพธุ ร กิ จ ที่ ห ลั ง จากทุ ่ ม เทพั ฒ นาโปรดั ก ส์ ที่ แตกต่าง ภูมิใจกับการออกแบบแพ็คเกจที่ยังไม่เคยมีในตลาด จดสิทธิบตั รการสร้างสรรค์นไี้ ว้ กัดฟันลงทุนสร้างให้เกิดจริงเพือ่ เป็นจุดขาย มีผู้มารับสินค้าไปจัดจ�ำหน่าย ตลาดเติบโต ธุรกิจ ก�ำลังไปได้ดี จู่ๆ ตัวแทนจ�ำหน่ายก็บอกเลิกกะทันหัน ทั้งยัง น�ำผลิตภัณฑ์หน้าตาเหมือนกันเข้าไปแจ้งลูกค้าว่ามีการปรับ แพ็คเกจและเปลีย่ นชือ่ แบรนด์ หมายถึงตลาดทีเ่ คยมีหายไปใน พริบตา คุณจะท�ำอย่างไรหากพบสถานการณ์แบบนัน้ ส�ำหรับ สามพี่น้องที่เพิ่งเริ่มต้นท�ำธุรกิจเล็กๆ ของครอบครัวครั้งแรก ถือว่าเป็นปัญหาหนักหนาสาหัสที่สุด

“เรามีแค่ตวั โปรดักส์ อยู่ๆ ตลาดหายไป เพราะอยู่ในมือ เขาหมด สัดส่วนทีเ่ ขารับไปจัดจ�ำหน่ายประมาณ 80 เปอเซ็นต์ ที่เหลืออยู่มีแค่ร้านอาหารและแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นลูกค้าเดิม มาตัง้ แต่เริม่ ต้น ตอนนัน้ เราต้องทิง้ เรือ่ งอืน่ หมด ตามเก็บสินค้า ที่มีอยู่คนื ลุยเองหมดทุกอย่าง วิ่งขายเอง ส่งของเอง เข้าไป คุยกับฝ่ายจัดซื้อว่าเราขายไอศกรีมให้ซูเปอร์มาร์เก็ตคุณมา นานแล้ว” แม้วา่ จะมีการจดสิทธิบตั รไว้ แต่การฟ้องร้อง ต้องใช้เวลา และค่าใช้จ่าย สิ่งที่ต้องให้ความส�ำคัญอันดับแรกคือรีบน�ำ ตลาดที่เคยมีกลับคืนมา ไอศกรีมไอซ์โคโค่ได้วางจ�ำหน่ายใน แผนกซูเปอร์มาร์เก็ตของห้างอีกครั้งคู่กับไอศกรีมแบรนด์ใหม่ ที่มีบรรจุภัณฑ์เหมือนกัน ขณะที่ผู้บริหารของซูเปอร์มาร์เก็ต อีกแห่ง เมื่อรับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ จึงตัดสินใจวางจ�ำหน่าย สินค้าเพียงแค่แบรนด์เดียว ไอซ์โคโค่ได้วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ต แห่งนั้นต่อไป

“เราต้องเปลี่ยนความคิด แทนที่จะมัวไปโกรธหรือเสียใจ กับตรงนั้น เรามีไอเดียอยู่ เราต้องเดินหน้าให้แซงเขาไปให้ได้ เลยตัดใจลุยต่อ ค่อยๆ วิง่ เปิดตลาดทีละแห่ง ขยายตลาดไปยัง สถานที่ท่องเที่ยว สนามบิน ฯลฯ และคิดสินค้าตัวใหม่ออกมา

ต่อยอดสู่ไอศกรีมคาแรคเตอร์

“เราเริ่มธุรกิจจากการลองผิดลองถูก ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีคอนเนคชั่น ไม่รู้จะเดินทางไหน ปรึกษาเพื่อนๆ ที่ท�ำธุรกิจ อยู่หรือขอค�ำแนะน�ำจากผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้าของธุรกิจบ้าง แต่หลัง จากเจอวิกฤตเรื่องลอกเลียนแบบ เราคิดว่าต้องศึกษาตลาด แล้ว เลยเริ่มค้นหาว่ามีหน่วยงานไหนที่มีโครงการสนับสนุน ผู้ประกอบการ อย่างเช่น โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) และศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (BSC) ของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ก็ได้รับค�ำแนะน�ำมาเรื่อยๆ เวลามีสัมมนา ออกบูธ เป็นที่ปรึกษาให้การสนับสนุน เป็น พี่เลี้ยงให้เราโดยไม่มคี ่าใช้จ่าย” วิกฤตน�ำมาสู่โอกาสให้ได้ติวเข้ม เรียนรู้ทุกๆ ส่วนของ ธุรกิจด้วยตัวเองในระยะเวลาสั้นๆ ท�ำให้มองถึงการขยายธุรกิจ ต่อไปอย่างยั่งยืน นอกจากไอศกรีมพรีเมียมดั้งเดิม ไอซ์โคโค่ ยังออกโปรดักส์ใหม่ ไอศกรีมโฮมเมดในแบรนด์ CocoCat ทีม่ สี ่วนผสมของนมในราคาทีซ่ อื้ ง่าย ในบรรจุภณ ั ฑ์ดไี ซน์เก๋ไก๋ คาแรคเตอร์แมวหลากสี มุ่งจับตลาดที่แมสขึ้น เพื่อให้มีสอง ตลาดรองรับกัน และเป็นทางออกเมื่อวัตถุดิบมะพร้าวราคา พุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีไอศกรีมแท่ง ไอซ์โคโค่ รสผลไม้ไทย สูตร Dairy Free ทีย่ งั เน้นความเป็นไอศกรีมพรีเมียมเพือ่ สุขภาพ ปราศจากนม ใช้วัตถุดิบผลไม้แท้ ทั้งคู่มุ่งตอบโจทย์ตลาด ที่แมสมากขึ้น เมื่อเปิดตัวสินค้าในงาน THAIFEX 2017 ได้รับ ความสนใจจากลูกค้าต่างประเทศ ท�ำให้มองถึงการส่งออก สินค้าตัวนี้ด้วยเหมือนกัน “ปีนี้เป็นปีท่ีเปลี่ยนแปลงของเราจริงๆ ในสองปีแรกที่ไป ออกงาน คนเข้ามาที่บูธเยอะกว่า แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ยังไม่ได้ ออเดอร์ แต่ปีที่สามลูกค้าเข้ามาน้อยกว่า แต่มีศักยภาพ มากกว่า หลังจากงานมีคนติดต่อเข้ามาเยอะมาก และต้องการ สินค้าเราจริงๆ เราเพิ่งได้ออเดอร์จากประเทศจีนและอังกฤษ มาเพิ่ม”.

บริษัท เจเอ เจนเนอรัล จ�ำกัด 2250/129 ถนนเจริญกรุง เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120 โทร. 0 2688 1878, 08 1444 9443 www.izecoco.com อุตสาหกรรมสาร 13


Insight SMEs

• เรื่อง : อรุษา กิตติวัฒน์

อีซี่ ไอซี่ : E-Z ICY

ไอศกรีมผง จ.เชียงราย นวัตกรรมไอศกรีมภูมิภาค เขย่าความแรงระดับจังหวัด

อีซี่ ไอซี่ : E-Z ICY ฉีกข้อจ�ำกัดการท�ำไอศกรีม โฮมเมดให้ เ หลื อ เพี ย ง 4 ขั้ น ตอนง่ า ยๆ คื อ ฉี ก ซอง เติมนม เขย่า แช่แข็ง เพียงเท่านี้ก็ ได้ ไอศกรีมคุณภาพ ทัดเทียมไอศกรีมที่ขายตามร้าน

ไอศกรีมผงกึ่งส�ำเร็จรูป อีซี่ ไอซี่ เป็นนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ โดยผู้ประกอบการรายเล็กๆ ต่อยอดจากธุรกิจไอศกรีมโฮมเมด แฮปปี ้ พ ลั ส ซึ่ ง เริ่ ม ต้ น ที่ ร ้ า นกาแฟเล็ ก ๆ ของคู ่ ส ามี ภ รรยา ถนัดพงษ์ และ โศรยา พรินทรากุล ที่ท�ำเป็นงานอดิเรกโดย ไม่คาดคิดว่าจะน�ำไปสู่เส้นทางธุรกิจที่จริงจังขึ้นมา ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2547 เมื่ออาคารพาณิชย์หน้า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงซึ่งเคยให้เช่าว่างลง สองสามีภรรยา ช่วยกันคิดว่าจะท�ำอะไรดีและได้ข้อสรุปที่การเปิดร้านกาแฟสด แต่เมื่อน�ำเคาท์เตอร์กาแฟ โต๊ะ เก้าอี้ เข้ามาในร้านแล้วร้าน ก็ ยั ง ดู โ ล่ ง ๆ จึ ง น�ำตู ้ แ ช่ ไ อศกรี ม จากบ้ า นมาวาง มี ไ อศกรี ม โฮมเมด 2-3 รสชาติ “ก่อนหน้านี้เราท�ำไอศกรีมกินกันเองที่บ้าน แต่ท�ำแบบ จริงจัง มีเครื่องปั่นไอศกรีม พอท�ำแล้วอุณหภูมิตู้เย็นไม่ได้ เลย ไปซื้อตู้แช่ไอศกรีมมา เริ่มท�ำไอศกรีมส�ำหรับวันเกิดเพื่อนลูก บางทีกไ็ ปวางไว้ทอี่ อฟฟิศของเราทัง้ คูใ่ ห้เพือ่ นๆ ชิมพอได้ฟดี แบค ก็ค่อยๆ ปรับมาเรื่อยๆ” 14 อุตสาหกรรมสาร

ต่อมาเมื่อโศรยาได้เข้าร่วมอบรมในโครงการเสริมสร้าง ผู้ประกอบการใหม่ (NEC) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และได้ เขียนแผนธุรกิจร้านกาแฟสดของตัวเอง ซึ่งน�ำไปสู่เส้นทางธุรกิจ ไอศกรีมจนกระทั่งก่อตั้ง บริษัท เชียงรายโฮมเมดไอศกรีม จ�ำกัด ซึง่ กลายเป็นเจ้าตลาดไอศกรีมโฮมเมดในจังหวัดเชียงราย

ไอศกรีมโฮมเมดเจ้าแรกในเชียงราย

“ตอนแรกเราท�ำร้านกาแฟสดเพื่อสนุก ให้เป็นที่นั่งคุยกับ เพื่อนๆ ไม่เคยคิดถึงต้นทุนก�ำไร เพราะบ้านตัวเองไม่ต้องเสีย ค่าเช่าอยู่แล้ว พอไปเรียน NEC ต้องเขียนแผนธุรกิจส่ง เลย เขียนแผนธุรกิจร้านกาแฟสดทีท่ �ำอยู่ โดยใช้ตวั เลขจริงจากเครือ่ ง คิดเงิน พอส่งแผนไปอาจารย์ทปี่ รึกษาวิเคราะห์ให้วา่ ยอดไอศกรีม โตขึน้ เรือ่ ยๆ ขณะทีก่ าแฟขายได้วนั ละห้าแก้ว มีความเป็นไปได้ที่ จะท�ำไอศกรีมให้เป็นธุรกิจ พอกลับมาทบทวนดูแผนธุรกิจก็พบว่า มันบอกเราได้จริงๆ” ย้อนกลับไปสิบกว่าปีที่แล้ว กาแฟสดยังไม่เ ป็นที่นิยม เหมือนปัจจุบัน บรรยากาศร้านกาแฟโทนสีน�้ำตาล เต็มไปด้วย ต้นไม้ ดูขดั กับท�ำเลหน้ามหาวิทยาลัยทีม่ กี ลุม่ เป้าหมายนักศึกษา และอาจารย์ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว หลังจากจบคอร์สหลักสูตร โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) กรมส่งเสริม


จากที่เคยเป็นเพียงแค่ร้านกาแฟสดแห่งหนึ่ง HAPPY PLUS กลายเป็นร้านไอศกรีมโฮมเมดแห่งแรกในจังหวัด เชียงราย จุดเด่นคือเรื่องคุณภาพ คัดสรรวัตถุดิบชั้นดีเหมือน ท�ำไอศกรีมรับประทานเองที่บ้าน โศรยาน�ำความรู้จากห้องเรียน ผู ้ ป ระกอบการมาปรั บ ใช้ กั บ ธุ ร กิ จ วิ เ คราะห์ ก ลุ ่ ม ลู ก ค้ า เป้าหมาย พบว่ากลุ่มเป้าหมายหลักคือนักศึกษาซึ่งมีรายได้จ�ำกัด ค่าครองชีพในพื้ น ที่ เ ชี ย งรายก็ ค ่ อ นข้ า งต�่ำ ท�ำให้ ตั้ ง ราคาสู ง ไม่ได้ จึงตกแต่งไอศกรีมเพื่อเพิ่มมูลค่า ออกเมนูใหม่ๆ และออก รสชาติพเิ ศษส�ำหรับเทศกาลต่างๆ ท�ำโปรโมชัน่ กระตุน้ ยอดขาย ต่อมาเริ่มน�ำไอศกรีมบรรจุถ้วยไปวางขายในร้านอาหารและรับจ้าง ผลิตไอศกรีมให้กับโรงแรม แหล่งท่องเที่ยว และร้านกาแฟต่างๆ ในจังหวัดเชียงราย หลังจากจบคอร์ส NEC โศรยายังคงเข้าร่วมกิจกรรมภายใต้ การสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอยู่เสมอ อย่างเช่น การออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์ทที่ �ำให้เริม่ สร้างแบรนด์ Little Hapiness ส�ำหรับไอศกรีมแบบถ้วยที่ส่งขายในร้านอาหาร ธุรกิจไอศกรีม ค่อยๆ เติบโตไปพร้อมกับต�ำแหน่งการงานทีก่ ้าวหน้าขึน้ แต่โศรยา เริ่มเห็นว่าคุณภาพชีวิตของครอบครัวกลับตรงกันข้าม เมื่อมอง เห็ น ว่ า รายได้ จ ากธุ ร กิ จ ไอศกรี ม หลั ง จากหั ก ลบกลบหนี้ แ ล้ ว เหลือ พอๆ กับ เงิน เดือ น โสรยาจึง ตัด สิน ใจลาออกจากงาน มาท�ำธุ ร กิ จ ไอศกรี ม เต็ ม ตั ว และยั ง ได้ เ วลาส�ำหรั บ ครอบครั ว กลับมาด้วย

ขยับตัง้ โรงงานไอศกรีมระดับมาตรฐาน

จากเครื่องปั่นไอศกรีมแบบใช้น�้ำแข็งกับเกลือเครื่องแรก มาเป็นเครื่องที่สอง เครื่องที่สาม ก�ำลังผลิตเริ่มไม่พอ ถนัดพงษ์ จึงสั่งซื้อเครื่องปั่นไอศกรีมมาตรฐานเครื่องใหญ่ราคา 170,000 บาทมาประจ�ำการ แม้วา่ จะได้ไอศกรีมทีม่ เี นือ้ เนียนขึน้ มีก�ำลังผลิต มากขึ้น สามารถผลิตไอศกรีมโฮมเมดกระจายตามร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยวและร้านกาแฟต่างๆ จนเรียกได้ว่าครอบคลุม ตลาดไอศกรีมโฮมเมดในเชียงรายและใกล้เคียง แต่สถานทีผ่ ลิตก็ เริม่ คับแคบเกินไป ในปี พ.ศ. 2557 จึงเริม่ ขยับขยายสร้างโรงงาน มาตรฐาน แบ่งพืน้ ทีท่ �ำงานเป็นสัดส่วน ให้เหมาะส�ำหรับการผลิต อาหาร เป็นจังหวะพอดีทผี่ บู้ ริหารของแบรนด์ทจี่ า้ งผลิต ขอเข้ามา ดูโรงงาน เมือ่ เห็นสถานทีผ่ ลิตซึง่ แม้จะเป็นโรงงานเล็กๆ แต่กส็ ะอาด และมีมาตรฐาน จึงขอให้ด�ำเนินการขอ อย. ด้วยการสนับสนุน จากสถาบันอาหารและโครงการสนับสนุน SMEs ของหน่วยงาน ภาครัฐ เชียงรายโฮมเมดไอศกรีม จึงสามารถต่อยอดไปสูม่ าตรฐาน อาหารระหว่างประเทศโคเด็กซ์

รัฐ-เอกชนดันนวัตกรรมใส่ไอศกรีม

อุตสาหกรรม กลุ่มอาจารย์ท่ปี รึกษาของโครงการ NEC ก็มาชิม ไอศกรีมทีร่ า้ นและแนะน�ำให้ตกแต่งใหม่ ร้านกาแฟสดถูกปรับให้ เป็นร้านไอศกรีม เฟอร์นเิ จอร์สไี ม้ขรึมๆ ถูกทาทับด้วยสีขาว สร้าง บรรยากาศสดใสปลอดโปร่งมากขึ้น

หลังจากครอบคลุมตลาดในเชียงราย เชียงรายโฮมเมด ไอศกรีมก็พบข้อจ�ำกัดที่ท�ำให้ขยายธุรกิจต่อไปไม่ได้ ด้วยเรื่อง การขนส่งและแนวโน้มตลาดไอศกรีมโฮมเมด “ตอนนีท้ กุ มหาวิทยาลัยมีสอนท�ำไอศกรีม ส่วนข้างนอกก็มี เวิรค์ ช็อปสอนท�ำไอศกรีม เรามองว่าอีกสองสามปีขา้ งหน้าตลาด อุตสาหกรรมสาร 15


ไอศกรีมโฮมเมดในเชียงรายทีเ่ คยเป็น Blue Ocean ก็จะกลายเป็น Red Ocean ลูกค้ามีแนวโน้มทีจ่ ะท�ำไอศกรีมเอง ซึง่ เป็นธรรมชาติ ของวงจรธุรกิจ เราเองก็ตอ้ งมีสนิ ค้าตัวอืน่ เพือ่ ท�ำให้บริษทั เติบโต ต่อไปได้ อีกจุดหนึง่ คือการทีเ่ ราไม่สามารถส่งไปต่างจังหวัดเพราะ อุปสรรคในด้านต้นทุนค่าขนส่งสินค้าไอศกรีม ท�ำอย่างไรถึงจะส่ง ไปต่างจังหวัดหรือส่งออกไปต่างประเทศได้” บริษัท เชียงรายไอศกรีมโฮมเมด จ�ำกัด ร่วมกิจกรรม ภายใต้การสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นโครงการคลัสเตอร์อาหาร การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และยังได้ทุน IRTC (Industrial Research and Technology Capacity Development Program) ที่สนับสนุนให้เกิดความ ร่วมมือระหว่างภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน เพื่ อ ผลั ก ดั น ให้ น�ำเทคโนโลยี ม าใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ ใ น เชิงพาณิชย์ มีการส่งผูเ้ ชีย่ วชาญเข้าไปเป็นทีป่ รึกษาในการแก้ไข ปัญหาทางเทคนิคส�ำหรับผูป้ ระกอบการ ปรับปรุงประสิทธิภาพ กระบวนการผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขณะทีโ่ ศรยาก็ต้องการตอบโจทย์ ว่าท�ำอย่างไรจึงจะส่งไอศกรีมให้ไกลขึ้นได้ “เราได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 7 ผู้ประกอบการ จากมหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภมู ภิ าคให้เข้า ร่วมงาน Entrepreneur Day ที่ฮ่องกง แต่เราไม่สามารถน�ำ ไอศกรีมของเราไปด้วยได้ เลยคิดพัฒนาไอศกรีมในรูปแบบผง ออกมา เพราะวัตถุดิบส่วนใหญ่ก็เป็นผงอยู่แล้ว เราต่อจาก การปั่นวัตถุดิบในเครื่องให้มาเป็นการเขย่าถุง ปรับสูตรให้ กลมกล่อม และหาบรรจุภัณฑ์ท่ที �ำไอศกรีมได้สะดวก บริษัท เชียงรายโฮมเมดไอศกรีม จ�ำกัด น�ำผลิตภัณฑ์ E-Z icy Ice Cream Mixed Powder เข้ า ร่ ว มงานแสดง สินค้าและจับคู่ธุรกิจที่ฮ่องกง หลังจากงานนั้นไอศกรีมผง กึง่ ส�ำเร็จรูปถูกพัฒนาต่อให้มคี ณ ุ ภาพมากขึน้ เพือ่ สามารถเข้าสู่ ตลาดได้จริง นอกจากตอบโจทย์ในเรือ่ งการขนส่งไอศกรีมท�ำให้ สามารถขยายตลาดต่อไปได้ โศรยายังมองถึงไลฟ์สไตล์ของ คนรุ่นใหม่ตอ้ งการอาหารทีส่ ามารถท�ำรับประทานเองได้งา่ ยๆ มีการต่อยอดกับโครงการ Thailand Northern Food Valley ของ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อาหาร ผ่านงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเชือ่ มโยงจากภาคเหนือสูต่ ลาดโลก

ความคิดเห็น ดูความเป็นไปได้ทางการตลาด ปรากฏว่าลูกค้า ต่างประเทศไม่สนใจเจลาโตเลย สิ่งที่เขาสนใจคือไอศกรีม รสชาติแบบไทยๆ เราตระหนักว่าบ้านเราก็มีของดีอยู่มาก แต่เรามองข้ามไป หลังจากงานนัน้ เราเน้นไอศกรีมรสผลไม้ไทย เป็นหลัก เรายังได้ไอเดียพัฒนาโปรดักส์ใหม่ เยลลีร่ สสมุนไพร ไทย อย่างเช่น อัญชัน-มะนาว ตะไคร้-ใบเตย ฯลฯ ทีม่ จี ดุ เด่นคือ ไม่ต้องแช่เย็น เพียงแค่เติมน�้ำร้อน คนให้เข้ากัน วางทิ้งไว้ครึ่ง ชัว่ โมงก็อร่อยได้แล้ว เป็นเยลลีส่ ขุ ภาพ มีเส้นใยสูง ไม่มนี ำ�้ ตาล เหมาะกับเด็กๆ ผู้สูงอายุ คนที่ใส่ใจสุขภาพและสามารถเป็น ของฝากรสชาติไทยๆ ได้ด้วย” ปั จ จุ บั น เชี ย งรายโฮมเมดไอศกรี ม ผลิ ต ไอศกรี ม โฮมเมดแบรนด์ Little Happiness, ไอศกรีมเพื่อสุขภาพแบรนด์ Happy Plus, และไอศกรีมผงแบรนด์ E-Z icy และรับผลิต ไอศกรีม (OEM) เมื่อย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น มาจากการได้ เข้าร่วมโครงการ NEC และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน ที่เชื่อมโยงกันท�ำให้ธุรกิจมาถึงวันนี้ได้ ซึ่งมีแนวทางในการท�ำ ธุรกิจแบบค่อยๆ ก้าวไปช้าๆ

สร้างแบรนด์ใหม่หวังสื่อความสะดวก

ไอศกรีมกึ่งส�ำเร็จรูป อีซี่ ไอซี่ ได้รางวัลชนะเลิศ NSP Innovation Awards 2016 ภาคเหนือ และได้รางวัลรองชนะเลิศ RSP Innovation award 2016 ส�ำหรับกลุ่มโปรดักส์นวัตกรรม ระดับประเทศ การเปิดตัวครั้งแรกในงาน THAIFEX : World of Food Asia 2017 นอกจากน�ำเสนอไอศกรีมโฮมเมดขั้นตอน ง่ายๆ เพียงเทนมใส่ถงุ เขย่า แช่แข็ง 4-5 ชัว่ โมง ก็จะได้ไอศกรีม โฮมเมดคุณภาพใกล้เคียงกับการรับประทานไอศกรีมที่ร้าน “เราท�ำออกมาสองกลุ่ม มีไอศกรีมเจลาโตที่ผสมนมและ ไอศกรีมผสมมะพร้าว ในงานเราน�ำไอศกรีมมาให้ชมิ เพือ่ ส�ำรวจ

16 อุตสาหกรรมสาร

บริษัท เชียงรายโฮมเมดไอศกรีม จ�ำกัด 45 หมู่ 9 ต�ำบลทุ่ด อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100 โทร. 08 7040 4094, 08 9433 7599 อีเมล happy_scoop@hotmail.com www.facebook.com/E-Z-icy-Ice-Cream-Powder


Local SMEs

• เรื่อง : พงษ์นภา กิจโมกข์

อวดโฉม “บายใจ”

ไอศกรีมนมแพะ จ.สงขลา เพิ่มมูลค่านมแพะสร้างรายได้ให้ชุมชน จั ง หวั ด สงขลาถื อ ว่ า เป็ น จั ง หวั ด หนึ่ ง ที่ มี ก ารเลี้ ย งแพะนมมากเป็ น อั น ดั บ ต้ น ๆ ของประเทศ อ� ำ เภอหาดใหญ่ เ ป็ น อี ก อ� ำ เภอหนึ่ ง ที่ มี ก ารเลี้ ย งแพะนมใน ครัวเรือน ด้วยยุคที่เศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว ผลผลิตน�้ำนมแพะล้นตลาด ส่งขายพ่อค้า คนกลางถูกกดราคา ท�ำให้ คุณเฉลิมพงศ์ ชาติ วั ฒ นา เจ้ า ของวั ฒ นาฟาร์ ม และ หจก.ฟาร์มแพะไอศกรีมเกิดไอเดียแปรรูป นมแพะและเพิ่ ม มู ล ค่ า นมแพะที่ ก� ำ ลั ง ล้ น ตลาดในขณะนั้ น ให้ ก ลายเป็ น ไอศกรี ม นมแพะเจ้าแรกของหาดใหญ่ภายใต้แบรนด์ บายใจไอศกรีม (By Jai)

จุดเริ่มต้นของแบรนด์ ไอศกรีม “บายใจ”

คุณ เฉลิมพงศ์ เจ้ า ของฟาร์ มแพะเล่ า ถึง จุดเริ่มต้ น ของบายใจ ไอศกรีมว่าเริ่มจากการที่เริ่มเลี้ยงแพะนมส่งน�้ำนมออกขาย แต่มีช่วงหนึ่ง ที่เกิดวิกฤตนมแพะล้นตลาด ขายออกไม่ได้ถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา ท�ำให้เสียรายได้เป็นจ�ำนวนมาก จึงมีความคิดที่จะเพิ่มมูลค่าให้นมแพะ อุตสาหกรรมสาร 17


จึ ง คิ ด ที่ จ ะแปรรู ป นมแพะโดยการคิ ด ว่ า จะท�ำแบบไหนให้ นมแพะทีอ่ อกมามีมลู ค่าสูงและสามารถเข้าถึงได้งา่ ยกับคนทัว่ ๆ ไป นั้นก็คือไอศกรีมเพราะไอศกรีมเป็นของหวานทั่วไปที่คนนิยม ทานไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถรับประทานได้ และ ไอศกรีมก็ยังเหมาะกับอากาศร้อนทางภาคใต้ซึ่งชื่อ บายใจ ก็ได้มาจากชือ่ ของหมูบ่ า้ นทีเ่ ลีย้ งแพะนมคือหมูบ่ า้ นทุง่ สบายใจ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มมูลค่าให้กับนมแพะแล้ว ยังสามารถสร้าง อาชีพและรายได้ให้กบั คนในชุมชนได้อีกด้วย

ชูจุดเด่นเน้นคุณประโยชน์

นมแพะมี โ ปรตี น จ�ำเพาะซึ่ ง ท�ำให้ เ กิ ด อาหารแพ้ ไ ด้ น้อยกว่านมวัว ปริมาณน�ำ้ ตาลในนมหรือทีเ่ รียกว่า “แลคโตส” น้อยกว่านมวัว มีประโยชน์ในด้านของการซ่อมแซมส่วนที่ สึกหรอของร่างกาย บ�ำรุงสายตา และวิตามินทีร่ า่ งกายต้องการ ส�ำหรับบายใจไอศกรีมนั้นคุณเฉลิมพงศ์กล่าวว่า ไอศกรีม นมแพะทีน่ �ำมาท�ำไอศกรีมได้ใช้วตั ถุดบิ ทีม่ คี ณ ุ ภาพดี ไม่แต่งสี ไม่แต่งกลิ่น เพราะใช้นมแพะแท้ๆ จากธรรมชาติและไม่ผสมน�้ำ ก็ถือ ว่ า เป็ น จุด เด่ น ของแบรนด์บายใจ ซึ่งตอนนี้มีทั้ง หมด 3 รสชาติ คือ รสนม รสช็อกโกแลต และรสสตรอเบอร์รี

ผลตอบรับจึงเป็นที่น่าพอใจ ตอนนี้บายใจไอศกรีมมีจ�ำหน่าย ที่ร้านดอยค�ำทุกสาขา ร้านค้าประจ�ำจังหวัดหาดใหญ่ ร้าน อาหารบนเขาและในอีก 2-3 อาทิตย์จะเข้าร้านสะดวกซือ้ อย่าง 7- eleven 5 สาขาในจังหวัดสงขลา

การสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

คุ ณ เฉลิ ม พงศ์ กล่ า วถึ ง การเข้ า มาให้ ก ารช่ ว ยเหลื อ ของกรมส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรมว่ า ทางกรมฯ และศู น ย์ ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 ได้เข้ามาช่วยในเรื่องของ การออกแบบผลิตภัณฑ์บนถ้วยไอศกรีมให้เป็นที่น่าจดจ�ำ ให้ ค�ำปรึ ก ษาในด้ า นการพั ฒ นาแบรนด์ ใ ห้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ อี ก ทั้ ง ยั ง สอนในเรื่ อ งของหลั ก การ วิ ธีก ารบริ ห ารงาน รวมไปถึ ง ด้ า นการท�ำการตลาด การจั ด จ�ำหน่ า ยสิ น ค้ า งบประมาณที่จะในการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เรียกได้ว่า ทางกรมส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรมเข้ า มาช่ ว ยเกื อ บทุ ก เรื่ อ งที่ สามารถจะด�ำเนินการได้ และตอนนี้ไอศกรีมนมแพะต้องการ ที่จะปรับปรุงแบรนด์ใหม่ให้มันมีมูลค่ามากขึ้น ทางกรมฯ ได้เข้ามาช่วยเหลือด้านนี้เช่นกัน

เส้นทางการตลาดของแบรนด์ ไอศกรีม

ในส่วนของเรื่องการท�ำการตลาดตอนนี้เน้นตลาดทาง ภาคใต้และในประเทศไทยก่อน เพราะต้องการควบคุมคุณภาพ ของสินค้าให้มีมาตรฐานและเป็นที่ไว้วางใจจากกลุ่มผู้บริโภค แล้วค่อยขยับขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ หรือส่งออกต่างประเทศ ซึ่งตอนนี้ผลตอบรับของผู้บริโภคเป็นไปในทิศทางที่ค่อนข้างดี เนื่องจากไอศกรีมนมแพะไปตรงกับกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ

18 อุตสาหกรรมสาร

บายใจไอศกรีม 44/12 หมู่ 3 ต�ำบลคลองอู่ตะเภา อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร. 09 1797 2379 www.facebook.com/byjaiicecream


Showcase

• เรื่อง : พงษ์นภา กิจโมกข์

ไอศกรีมทุเรียนกินทั้งเปลือก เอาใจสาวกทุเรียน

เชือ่ ว่าผลไม้ฮอตฮิตในเวลานีค้ งหนีไม่พน้ “ทุเรียน” ราชาแห่งผลไม้อย่างแน่นอน ด้วยรสชาติที่อร่อยถูกปาก ถูกใจแก่หลายๆ คน ประเทศไทยก็มีสวนทุเรียน อยู่ไม่น้อย ทุเรียนของไทยขึ้นชื่อว่าเป็นทุเรียนที่อร่อยที่สุดท�ำให้คนต่างชาติ อย่าง จีน ฮ่องกง ไต้หวัน นิยมมาเที่ยวเมืองไทยเพื่อมารับประทานทุเรียนอย่าง เต็มปากเต็มค�ำ

ด้วยความที่ทุเรียนเป็นผลไม้ยอดนิยมทั้งของคนไทย และคนต่างชาตินั้น ท�ำให้เกิดสินค้าใหม่ๆ ที่มีส่วนผสม ของทุเรียนให้ได้เลือกรับประทานกันมากมาย ไม่เว้นแม้แต่ ไอศกรีมตัวช่วยดับร้อนก็ยงั มีรสทุเรียน ท�ำให้หลายๆ คนถูกอก ถูกใจกับทุเรียนในรูปแบบของไอศกรีม เพราะด้วยความหวาน ความหอม ความเย็นมารวมตัวกันท�ำให้ไอศกรีมทุเรียน มีรสชาติท่เี ป็นเอกลักษณ์ถูกปากคนไทยไม่น้อย อุตสาหกรรมสาร 19


ไอศกรีมทุเรียนที่กินได้ตั้งแต่เม็ดยันเปลือก

ถือเป็นอีกสินค้าหนึ่งที่ก�ำลังเป็นกระแสในหมู่ ของคนรักไอศกรีมไม่น้อยอย่างร้าน IceDEA ได้ สร้างสรรค์ไอศกรีมทุเรียนแบบเฉพาะของทางร้าน ที่ ท�ำคล้ า ยๆ ทุ เ รี ย นของจริ ง แต่ ต ่ า งกั น ตรงที่ ว ่ า ไอศกรีมตัวนีส้ ามารถรับประทานได้ทงั้ เม็ด เนือ้ และ เปลือก โดยตัวเนื้อทุเรียนใช้ทุเรียน 100% ไม่มีการ แต่งกลิน่ หรือสีใดๆ ทัง้ สิน้ ในส่วนของเม็ดในไอศกรีม ทุ เ รี ย นใช้ ถั่ ว อั ล มอนด์ เ พิ่ ม ความหวานมั น ให้ กั บ ไอศกรีมและส่วนของเปลือกทุเรียนท�ำจากชาเขียว ผสมทุ เ รี ย นเพิ่ ม ความกรุ บ กรอบของถั่ ว อั ล มอนด์ ลงในหนามของทุเรียน ก็ถือว่าเป็นความแปลกใหม่ ของวงการไอศกรีมทุเรียนไม่น้อย

เอาใจสาวกทุเรียนด้วยไอศกรีมทุเรียน

ส�ำหรับคนรักทุเรียนต้องไม่พลาดกับร้าน AfterYou Durian คาเฟ่ขนมหวานใหม่จากร้าน After You ที่มีเมนูมากมายที่ถูกรังสรรค์จากผลไม้อย่าง ทุเรียน อย่างเมนู Toast ทีน่ �ำขนมปังอบร้อนยัดไส้ดว้ ย ข้าวเหนียวทุเรียน ไอศกรีมทุเรียนเสริมอยู่ด้านบน ขนมปั ง พร้ อ มซอสทุ เ รี ย นรสชาติ เ ข้ ม ข้ น และ เมนู ที่ ส าวกทุ เ รี ย นพลาดไม่ ไ ด้ เ ลยคื อ เมนู DurianCrumb Stick ไอศกรีมแท่งรสทุเรียน ด้วยดีไซน์ของ ไอศกรีมทีอ่ อกแบบให้คล้ายกับพูทเุ รียนเล็กๆ เหมือน 20 อุตสาหกรรมสาร


กับว่าเราก�ำลังรับประทานทุเรียนอยู่ท�ำเอาถูกใจคน รักไอศกรีมเป็นอย่างมาก

เอเต้ ไอศกรีมทุเรียนสัญชาติไทยแท้

หากใครชอบรับประทานไอศกรีมทุเรียนแบบ แท่งต้องแบรนด์ ete Ice Cream (เอเต้ ไอศกรีม) แบรนด์ ไ อศกรี ม ในเครื อ ซี พี แ ละที่ ส�ำคั ญ ยั ง เป็ น แบรนด์ไอศกรีมสัญชาติไทยอีกด้วย เอเต้ได้ออก ไอศกรีมทุเรียนมา 2 แบบอย่างไอศกรีมแท่ง ete Thai Fruit รสทุเรียน ทีท่ �ำจากทุเรียนสดกับกะทิ ท�ำให้ได้ทงั้ ความหอมและความหวานมันไปในค�ำเดียว อีกตัวคือ ไอศกรีมแท่ง ete Thai Fruit Jumbo รสทุเรียนเคลือบ กะทิและถั่วทอง ที่จะได้ทั้งรสชาติที่หวานมัน กลิ่น หอมๆ ของทุเรียนกับกะทิแล้วยังได้ความกรุบกรอบ จากถั่วทองที่ถูกเคลือบอยู่ด้านนอก เพิ่มสัมผัสและ รสชาติใหม่ให้กบั คนรักไอศกรีมทุเรียนอย่างแน่นอน

ไอศกรีมทุเรียนก็ถือว่าเป็นการแปรรูปผลไม้ไทย อย่างหนึ่งที่ท�ำให้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ อี ก ทั้ ง ยั ง ได้ ค วามแปลกใหม่ เ พื่ อ มาเพิ่ ม ความ น่าสนใจให้กับสินค้า เป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคได้ ตัดสินใจเลือกซื้อ การพัฒนาสินค้าถือเป็นอีกปัจจัย หนึ่งทางด้านการตลาด ยิ่งท�ำให้สินค้ามีความแปลก ไม่ มี เ หมื อ นใครมากเท่ า ไหร่ ยิ่ ง ได้ เ ปรี ย บทางการ ตลาดมากขึ้นและที่ส�ำคัญความใส่ใจในตัววัตถุดิบ คุณภาพของสินค้าก็เป็นส่วนส�ำคัญที่จะท�ำให้ครองใจ ของลูกค้าได้นานขึ้น เช่นเดียวกับไอศกรีมทุเรียน หลากหลายแบรนด์ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการน�ำ ผลไม้ไทยมาสร้างเอกลักษณ์ที่สามารถรับประทาน ได้ทั้งคนไทยเองและชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยว ในประเทศไทย.

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://travel.sanook.com/1403805/ http://www.thaiticketmajor.com/variety/ent/6120/ อุตสาหกรรมสาร 21


Report

• เรื่อง : พงษ์นภา กิจโมกข์

ฟาร์มสุขไอศกรีม

ไอศกรีมเพื่อสังคม แบ่งปันความสุขไม่มีวันละลาย จากคนท�ำงานสายกราฟิ ก สู ่ ก ารท�ำไอศกรี ม เพื่ อ เด็ ก ด้ อ ยโอกาส ด้วยความชอบบวกกับต้องการค้นหาความสุขที่ ตัวเองตามหา ท�ำให้ คุณบอม ชัยฤทธิ์ อิม่ เจริญ ริเริม่ ทีจ่ ะท�ำ สิง่ ๆ หนึง่ เพือ่ สังคม เด็ก และผู้ด้อยโอกาส จนเกิดเป็น “ฟาร์มสุข ไอศกรีม” ไอศกรีมที่สร้างทั้งความสุขและความหวังให้กับตัว ผู้ให้และผู้รบั

จุดเริ่มต้นของการเริ่มท�ำไอศกรีม

เริม่ ต้นเพียงเพราะเป็นคนชอบทานไอศกรีม ด้วยความทีก่ ลัว ตัวเองจะเป็นโรคเบาหวาน จึงต้องการหาไอศกรีมที่หวานน้อย แต่รสชาติอร่อยก็พบว่าราคาค่อนข้างแพง ท�ำให้ผมสนใจเรื่อง การท�ำไอศกรี ม จึ ง คิ ด วิ ธีที่ จ ะท�ำไอศกรี ม ทานเองแบบเข้ ม ข้ น แต่ไม่หวาน จึงเกิดเป็น ฟาร์มสุขไอศกรีม อย่างทุกวันนี้ ซึ่งเดิมที ผมใช้ชื่อ Scoop The Love เหมือนกับเราตักไอศกรีมให้เด็กๆ ได้ ทานมันเป็นก้อนๆ ซึ่งตอนนี้ได้เปลี่ยนมาเป็นฟาร์มสุขไอศกรีม ได้มาตอนที่เขียนแผนงานส่งเข้าประกวดในโครงการกิจการเพื่อ สังคม ซึง่ ค�ำว่า ฟาร์ม ก็มที มี่ าผมพยายามจะท�ำให้มนั เข้ากับเด็กๆ ก็นึกได้ว่าเด็กๆ ชอบพูดไม่ชดั ความ เป็น ฟาม จึงใช้ค�ำว่า ฟาร์ม ให้เป็น ฟาร์มที่ผลิตความสุข 22 อุตสาหกรรมสาร


ท�ำไมต้องท�ำไอศกรีมเพื่อเด็กด้อยโอกาส

ด้วยความทีต่ อนสมัยผมเด็กๆ ฐานะทางบ้านยากจน ผมเคยมีความคิดที่อยากจะท�ำไอศกรีมไปแจกเด็กๆ และ คิดว่าคงไปแค่ครั้งเดียว ในตอนนั้นระหว่างที่เราก�ำลังตัก ไอศกรีมให้พวกเขาอยู่ ก็เห็นประกายแววตาที่เต็มไปด้วย ความสุขของพวกเขา มีความสุขแบบที่ขนาดผมมีบ้าน มีรถยังไม่มีความสุขแบบพวกเขาเลย หลังจากนั้นก็ท�ำ ไอศกรีมไปแจกเด็กเรือ่ ยๆ เป็นความสุขทีไ่ ด้มาแบบไม่รตู้ วั แรกๆ ท�ำไอศกรีมไปแจกแต่ด้วยความทีเ่ ราอยากให้เด็กได้ มีรายได้ มีอาชีพ มีความภาคภูมิใจ เราเลยสอนเขาท�ำ ไอศกรีมแทน สอนตั้งแต่เด็กด้อยโอกาส เด็กก�ำพร้า เด็ก พิการ เด็กทีถ่ กู กระท�ำรุนแรง สอนมาหมดแล้วทัว่ กรุงเทพฯ ส่วนต่างจังหวัดก็มีหน่วยงานเข้ามาสนับสนุน ซึ่งตอนนั้น สอนฟรีที่สวนโมกข์ ให้ครอบครัวและเด็กได้มาเรียนท�ำ ไอศกรี ม เพื่ อ เป็ น การให้ พ วกเขาได้ ใ ช้ เ วลาร่ ว มกั น ไป ในตัวด้วย ซึง่ ตัวคนสอนเองก็ได้ท�ำบุญและยังได้ชว่ ยเหลือ สังคมอีกด้วย

สอนท�ำไอศกรีมกับผลลัพธ์ที่ได้มา

ตอนแรกผมคิดว่าเด็กต้องการเงินเพราะผมเห็นว่า เงินมันส�ำคัญ ซึ่งท�ำให้ผมคิดว่าเวลาที่เราไปสอนใครอย่า เอาตัวเองเป็นบรรทัดฐาน เมื่อผมไปใช้ชีวิตอยู่กับเด็กๆ ท�ำไอศกรีมด้วยกัน ได้พูดคุยกัน ท�ำให้รู้ว่าเงินไม่ได้แก้ ปัญหาทุกอย่าง เพราะสิ่งที่เด็กต้องการมากที่สุดก็คือ ความรัก ปัญหาทีแ่ ท้จริงคือเด็กขาดความรัก ผมเลยพยายาม เติมเต็มความรักที่เขาขาดหายไป ท�ำเป็นกิจกรรมเพื่อให้ เขาได้เห็นคุณค่าของตัวเอง ซึ่งก่อนท�ำไอศกรีมทุกครั้งจะ ให้เด็กมานัง่ ล้อมเป็นวงกลม ให้โจทย์ว่าระหว่างทีเ่ ราไม่ได้ เจอกัน ใครมีเรื่องราวอะไรอยากจะเล่าให้ฟังบ้าง ผมได้ เรียนรู้จากเด็กๆ หลายอย่าง นอกจากจะสอนท�ำไอศกรีม แล้วผมยังมีทีมแอร์โฮสเตสที่เป็นอาสาสมัครเข้าไปช่วย สอนภาษาอังกฤษอีกด้วย

ยอดขาย “ฟาร์มสุขไอศกรีม”

รูปแบบที่เราขายตอนนี้เป็นถ้วยสีฟ้าขนาด 70 กรัม ราคาอยู่ท่ี 45 บาท มีทั้งหมด 7 รสชาติ ได้แก่ นม, กาแฟ อัลมอนด์, คุกกี้แอนด์ครีม, ชาเชียว, สตรอเบอร์รีกล้วย, สตรอเบอร์รีเชอร์เบทและช็อกโกแลต ส�ำหรับยอดขาย ไอศกรีมแบบเป็นถ้วยไม่ค่อยดีแบบเนื้อไอศกรีมที่เราผลิต ส่งให้คนอืน่ เพราะเขาเอาไปใช้ในร้านกาแฟของเขา หรือใส่ ถ้วยในแบรนด์ของเขา เงินทีข่ ายไอศกรีม 1 ถ้วยจะถูกแบ่ง เป็น 3 ส่วนคือ ค่าแรงของเด็ก ค่าวัตถุดิบ และค่าท�ำธุรกิจ

ฟาร์มสุขไอศกรีมให้อะไรกับตัวเรา

ผมได้รากฐานของต้นไม้มันท�ำให้ชีวิตมีความยั่งยืนขึ้น สิ่งที่ท�ำก็เพื่อต้องการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการ ท�ำงานจริง ท�ำงานจิตอาสา เราท�ำงานเพื่อนคนอื่น เราได้ เรียนรู้อะไรหลายอย่าง เราเติบโตมันท�ำให้เราเห็นคุณค่า ในตัวเรามากขึ้น

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.all-magazine.com http://www.manager.co.th www.facebook.com/farmsookicecream อุตสาหกรรมสาร 23


Opportunity

• เรื่อง : พงษ์นภา กิจโมกข์

Chili On Ice

Rosella Sorbet

พริกไทยตรามือ หักมุมธุรกิจ

ผลิตไอศกรีมเครื่องเทศ ไอศกรีม ขนมหวานเย็นๆ ทานง่าย ทานได้ทกุ เวลาถือเป็นขนมทีเ่ หมาะกับอากาศร้อนในบ้านเราได้เป็นอย่างดี ปัจจุบนั มีหลากหลายแบรนด์ ไอศกรีมทีผ่ ดุ ขึน้ มารองรับความต้องการของลูกค้า ผูป้ ระกอบการจึงต้องปรับเปลีย่ น ไอศกรีมแบบเก่า จากไอศกรีมเดิมๆ รสชาติเดิมๆ ให้กลายเป็นไอศกรีมเครื่องเทศ ไอศกรีมสมุนไพรที่นอกจาก จะช่วยดับร้อนแล้วยังเป็นขนมหวานที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

Thyme Sorbet 24 อุตสาหกรรมสาร

Orange Mandarin Cinnamon Sorbet


Lucky Prune

Mint Sorbet

Lemongrass Sorbet

Black Pepper

ง่วนสูน บริษัทที่เป็นผู้ผลิตเครื่องเทศอันดับหนึ่งของ ประเทศ ที่รู้จกั กันคือ พริกไทยตรามือที่ 1 ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ คูก่ บั คนไทยและครองใจชาวต่างชาติมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี มีการปรับโฉมใหม่เพื่อให้กับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง เผยโฉมไอศกรีมรูปแบบใหม่ภายใต้ร้าน “Spice Story” ร้าน Spice Story ร้านอาหารที่รวบรวมเครื่องเทศ กว่า 200 ชนิด จากทัว่ ทุกมุมโลก โดยเน้นเฉพาะเครือ่ งเทศ ทีค่ ุณภาพได้มาตรฐาน เพือ่ ท�ำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ซึง่ นอกจากเมนูอาหารแล้ว Spice Story ยังมีเมนูขนมหวาน อย่างไอศกรีมเครื่องเทศที่ถือว่าสร้างความแปลกใหม่ให้ วงการไอศกรีมได้ไม่น้อย เพราะมีไม่มากนักที่ไอศกรีม จะมีรสชาติเครื่องเทศสมุนไพร คุณวิภาวดี ลิ้มประนะ ผู้จัดการร้าน Spice Story กล่าวว่า “ขนมหวานของ ทางร้านจะเน้นไปไอศกรีม ตัววัตถุดบิ หลักก็คงจะหนีไม้พน้ เครือ่ งเทศทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ของทางร้าน เช่นพริกไทย พริกขีห้ นู อบเชย ตะไคร้ ขิง ซึ่งสูตรการท�ำไอศกรีมเครื่องเทศนี้เป็น

Almond Milk

Cardamom Sorbet

สูตรของทางครอบครัว ที่ทางครอบครัวได้ทดลองท�ำขึ้นมา กันเองและลองชิมกันภายในครอบครัว มัน่ ใจว่ารสชาติไอศกรีม ไม่แพ้แบรนด์ดงั อย่างแน่นอน” ส�ำหรับเมนูไอศกรีมเครื่องเทศของร้าน Spice Story นั้น จะมีเมนูแนะน�ำ คือ Ginger Milk Tea ชานมขิงที่จะช่วย บรรเทาอาการท้องอืด ไมเกรน Thyme Sorbet ตัวไทม์ช่วยใน เรื่องของอาการไอรวมไปถึงไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ Orange Mandarin Cinnamon Sorbet ตัวอบเชยจะช่วยในเรื่องของ ลดอาการเมื่ อ ยล้ า และยั ง ได้ วิ ต ามิ น ซี จ ากส้ ม แมนดาริ น Black Pepper พริกไทยด�ำ จะช่วยในเรื่องของภูมติ ้านทาน แก้ อ าการปวดฟั น Lemongrass Sorbet ที่ ช ่ ว ยบรรเทา อาการหวัดรวมไปถึงช่วยรักษาโรคความดันสูง Cardamom Sorbet ลูกกระวาน ช่วยแก้ไข้และบ�ำรุงโลหิต Chili On Ice ไอศกรีมพริกขี้หนู ที่จะช่วยขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากไอศกรีมเครื่องเทศแล้วทางร้าน ยังมีไอศกรีมรสชาติอื่นๆ อย่าง Mint Sorbet, Lucky Prune, Rosella Sorbet, Green Tea Poppy และ Almond Milk รั บ ประกั น ความหอมหวานอร่ อ ยแถมได้ ป ระโยชน์ จ าก เครื่องเทศในทุกค�ำที่ทาน

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.manager.co.th https://www.facebook.com/spicestoryshop/ อุตสาหกรรมสาร 25


Special Report • เรื่อง : นุชเนตร จักรกลม

คุณสุริยะ ชนะธุรการนนท์

โรงงานฉอยชิว จ.ราชบุรี ผลิตโคนไอศกรีม ป้อนแบรนด์ดังทั่วประเทศ คุณสุริยะ ชนะธุรการนนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฉอยชิว จ�ำกัด ผู้ผลิตโคนไอศกรีมเบอร์หนึ่งของเมืองไทย เปิดโรงงานถ่ายทอดประสบการณ์ กว่า 30 ปี ตั้งแต่นับหนึ่งจนถึงวันที่ธุรกิจโคนไอศกรีมประสบความส�ำเร็จ เป็นทีย่ อมรับของแบรนด์ชนั้ น�ำระดับประเทศ อาทิ Wall’s, KFC, McDonald’s, Swensen’s, Dairy Queen, ete, Mingo, Burger King ฯลฯ และมีการเติบโต ทั้ ง ก� ำ ลั ง การผลิ ต และยอดขายแบบก้ า วกระโดดจนต้ อ งขยายโรงงานเพื่ อ เพิม่ ก�ำลังการผลิตอีก 1 เท่าตัว พร้อมโกอินเตอร์รกุ ตลาดสากลอย่างเต็มก�ำลัง ในอีกไม่เกิน 3 ปี

คว้าโอกาส จากช่องว่างทางธุรกิจ

เดิมผมเป็นวิศวกรท�ำงานด้านเครื่องจักร ถนัดขึ้นโมแท่นพิมพ์ผลิตภัณฑ์ อุปโภคบริโภคต่างๆ กระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2525 มีโอกาสติดตามลูกพี่ ลูกน้องไปขายของที่ต่างจังหวัด และสังเกตว่าตลาดไอศกรีมยังมีช่องว่างและ มีโอกาสเติบโตไปได้อีกในอนาคต จึงเริ่มคิดจะท�ำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไอศกรีม มองหาความต้องการของตลาดจนกระทั่งตัดสินใจสร้างธุรกิจผลิตโคนไอศกรีม โดยใช้ชื่อบริษัทว่า ฉอยชิว ซึ่งเป็นชื่อโรงกลึงของเตี่ย แปลว่า ฤดูใบไม้ผลิหนึ่ง พันครั้ง ส่งขายตามร้านไอศกรีมต่างๆ เพราะแทบจะไม่มีคู่แข่งทางธุรกิจและ ก็เป็นผลิตภัณฑ์ทนี่ า่ สนใจซึง่ ช่วยเพิม่ มูลค่าให้กบั ร้านขายไอศกรีม อีกทัง้ ในมุมของ ผู้บริโภคเองก็ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ในการรับประทานไอศกรีมอีกด้วย โดย ตั้งโรงงานอยู่ท่ซี อยสุขสวัสดิ์ 26 ซึ่งข้อได้เปรียบก็คือ เรามีความถนัดด้านวิศวกร จึงสามารถสร้างเครือ่ งจักรทีร่ องรับการผลิตได้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า ในขณะนั้น ควบคู่ไปกับการเปิดตลาดเอง ส่งของเอง เก็บเงินเอง ซึ่งตลาดหลัก ในตอนนั้นจะเป็นร้านไอศกรีมกะทิหรือร้านขายไอศกรีมแบบโฮมเมด ช่วง 10 ปี 26 อุตสาหกรรมสาร


แรกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งธุรกิจช่วงปี พ.ศ. 2526 อุปสรรคใหญ่ที่พบคือ เรื่องของการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานตาม ที่ก�ำหนด เนื่องจากต้องอาศัยแรงงานคนในการผลิตเป็นหลัก ประกอบกับตลาดไอศกรีมมีอัตราการการขยายตัวสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เรามีโอกาสไปดูงานต่างประเทศและได้เห็นเครื่องจักร ในการผลิตโคนไอศกรีม บรรจุภัณฑ์ และเห็นแนวทางตลาดโคน ไอศกรีมของตลาดต่างชาติในอนาคต จึงน�ำเข้าเครื่องจักรส�ำหรับ ผลิตโคนไอศกรีมมือสองทีร่ าคาย่อมเยากว่ามาท�ำการปรับ แต่ง และซ่ อ มบ�ำรุ ง ตามสเป็ ก ที่ ต ้ อ งการด้ ว ยตั ว เอง กระทั่ ง ปี พ.ศ. 2541 ฉอยชิวย้ายโรงงานผลิตมาอยู่ที่ราชบุรี เพื่อเพิ่มก�ำลัง การผลิตที่พร้อมรองรับตลาดไอศกรีมที่เติบโตขึ้น

ประเภทของโคนไอศกรีมและขั้นตอนการผลิต

หลักๆ จะสามารถแบ่งโคนไอศกรีมได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. ชูการ์ โคน (Sugar Cone) เป็นโคนไอศกรีมที่มีน้ำ� ตาลอยู่ และสามารถทนความชืน้ ได้นาน 2. วาฟเฟิลโคน (Wafer Cone) ซึ่งทั้ง 2 ประเภทได้รบั ความนิยมใกล้เคียงกันและมีสัดส่วนการ เติบโตคู่กันไป เพียงแต่วาฟเฟิลโคนจะมีความหลากหลายเรื่อง รูปลักษณ์ทเี่ ปลีย่ นแปลงได้ตามต้องการเยอะกว่า โดยคุณสมบัติ ทีด่ ขี องโคนไอศกรีมทางกายภาพจะต้องดูทคี่ วามหอม เนือ้ สัมผัส กรอบ เป็นหลัก โดยมีสิ่งที่แฝงอยู่คือเรื่องของอายุการเก็บรักษา คุณสมบัตกิ ารทนความชืน้ และความหนาแน่นความมวลเนือ้ โคน ซึง่ ตรงนีเ้ ป็นความแตกต่างทีฉ่ อยชิวพัฒนาโคนไอศกรีมจนลูกค้า ให้การยอมรับ

กลุ่มลูกค้าจากอดีตถึงปัจจุบัน

ถ้าย้อนกลับไป 30 ปีที่แล้วจะเห็นว่าตลาดไอศกรีมเติบ โต ทุกปีและพัฒนาการของลูกค้าก็แปรผันตามตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมกลุ่มลูกค้าจะเป็นร้านไอศกรีมที่ท�ำเองตามบ้านเป็นหลัก แต่หลังจากทีแ่ บรนด์ไอศกรีมจากต่างประเทศเข้ามากระตุน้ ตลาด อาทิ ไอศกรีมวอลล์ โฟร์โมสต์ อาปาเช่ ฯลฯ ยิ่งท�ำให้ตลาดธุรกิจไอศกรีม ประเทศไทยคึกคักมากกว่าแต่กอ่ นหลายเท่าตัว โรงงานท�ำให้ไอศกรีม ในต่างจังหวัดก็เกิดการพัฒนา รวมถึงเรือ่ งของไฟฟ้าทีเ่ ป็นส่วนส�ำคัญ ในการขับเคลื่อนธุรกิจก็กระจายตัวเข้าถึงระดับภูมิภาคครอบคลุม มากขึ้น ประกอบกับก�ำลังการผลิตของเราที่พร้อมตอบสนองความ ต้องการของลูกค้าเพิม่ ขึน้ ท�ำให้เราขยายฐานธุรกิจมาเจาะกลุม่ ลูกค้า แบรนด์ใหญ่ๆ ทีเ่ น้นเรือ่ งคุณภาพและปริมาณของผลิตภัณฑ์เป็นหลัก

ธุรกิจโคนไอศกรีม โอกาสที่มาพร้อมความเสี่ยง

จริงอยู่ว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่การเติบโตสูง คู่แข่งน้อยกว่าธุรกิจอื่น แต่ต้องยอมรับว่าสินค้ามีจุดอ่อนตรงที่ท�ำสต็อกนานไม่ได้ อายุสั้น ต้องการพื้นที่ในการผลิตและการเก็บรักษา อีกทั้งลงทุนค่อนข้างสูง คนทีเ่ ข้ามาท�ำธุรกิจนีต้ อ้ งใช้ระยะเวลาในการเติบโตอย่างน้อย 10 -15 ปี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ต้องประเมิน

โดดเด่นด้วยคุณภาพ สามารถครองตลาดมากว่า 30 ปี

ไทยเป็นตลาดไอศกรีมที่ดีเพราะเอื้อทั้งเรื่องของค่าแรง การ ส่งเสริมการผลิต แหล่งวัตถุดิบที่หลากหลาย ส่งผลให้ประเทศไทย มีโอกาสในการเป็นฐานการผลิตเพื่อรองรับอุตสาหกรรมไอศกรีม ในวงกว้าง รวมไปถึงตลาดโคนไอศกรีม เมื่อก่อนเราเป็นเจ้าแรก และเจ้าเดียวที่อยู่ในตลาด ช่วงหนึ่งก็มีคู่แข่งเพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ อุตสาหกรรมโคนไอศกรีมมีสีสัน แต่ท�ำได้ไม่นานบางเจ้าก็เลิกไป เพราะผลิตภัณฑ์น้มี ีข้อจ�ำกัดด้านพื้นที่และการดูแลรักษา ผลิตภัณฑ์ มีความบอบบางเสียหายแตกหักได้งา่ ย ซึง่ ตรงนีเ้ ป็นปัญหาทีช่ ว่ งแรกๆ ต้องแก้ไขด้วยการไปส่งสินค้าด้วยตัวเอง เพื่อลดทอนโอกาสในการ เสียหายของสินค้า อีกประเด็นคือ ตลาดบางแห่งเราไม่สามารถไปส่งได้ ผูผ้ ลิตทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ก็เกิดขึน้ เพือ่ ผลิตและจ�ำหน่ายโคนไอศกรีมให้ กับร้านค้าภายในพื้นที่ ท�ำให้กลไกตลาดขับเคลื่อนเร็ว และเป็นปัจจัย ที่ท�ำให้คนรู้จกั โคนไอศกรีมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปรียบเทียบเรื่อง อุตสาหกรรมสาร 27


เติบโตก้าวกระโดด เล็งต่อยอดสูต่ ลาดต่างประเทศเต็มรูปแบบ

คุณภาพ ความหลากหลาย และราคาของสินค้าตามมา ซึ่งฉอยชิว เองจับตลาดบนอยู่แล้ว เรารองรับได้ทั้งคุณภาพ รสชาติ สีสัน และ รูปแบบตามที่ลูกค้าต้องการ ส่วนตลาดทั่วไปเราก็ท�ำควบคู่ไปด้วย และก�ำลังค่อยๆ ขยายสัดส่วนเพิม่ ขึน้ เพือ่ รองรับการเติบโตในอนาคต สอดรับกับนโยบายที่เรายึดมั่นก็คือ รากฐานของคุณภาพที่มาจาก การร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทั้งองค์กร เพื่อผลิตสินค้าที่สะอาด ปลอดภัย และใช้วัตถุดิบอย่างมีคุณค่า เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึง พอใจสูงสุด ควบคูไ่ ปกับการพัฒนาบุคลากร และค�ำนึงถึงสิง่ แวดล้อม

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ช่วยเสริมองค์ความรู้ หนุนการเติบโต

ฉอยชิวกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีความสัมพันธ์อันดีมา ยาวนานเกือบ 17 ปี ซึ่งทางกรมฯ ก็ได้ช่วยเหลือให้ค�ำแนะน�ำในด้าน ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการท�ำธุรกิจมากมาย โดยเฉพาะการวาง ระบบ กระบวนการจัดการ รูปแบบภาษี ฯลฯที่น�ำมาปรับใช้ได้เยอะ มาก เพราะเดิมเราบริหารงานแบบครอบครัว พอกรมฯ เข้ามาช่วย ให้ค�ำปรึกษาก็ท�ำให้เรามีแนวทางให้การพัฒนาด้านต่างๆ ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมมากขึ้น อีกทั้งยังเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของกรมฯ อย่าง ต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะ โครงการพัฒนาผูป้ ระกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพการด�ำเนินธุรกิจ ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้ประสบความส�ำเร็จ และผมเอง ในฐานะผู้อบรมก็ได้น�ำความรู้มาปรับใช้กับธุรกิจเพื่อสร้างรากฐาน ที่ถูกต้องเป็นขั้นเป็นตอน จนท�ำให้ธุรกิจประสบความส�ำเร็จจนทุก วันนี้ อีกสิง่ ทีไ่ ด้รบั กลับมาก็คอื มิตรภาพจากเพือ่ นร่วมรุน่ ทีเ่ ข้าอบรม โครงการเดียวกัน ท�ำให้เกิดการแลกเปลีย่ นมุมมองและความคิดเห็น ใหม่ๆ รวมทั้งได้รับเกียรติจากเพื่อนร่วมอบรมให้เป็นประธานรุ่น 61 รวมถึงเป็นประธานคพอ.สาขากรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2559 เป็นความสัมพันธ์คุ้มค่าที่ได้รับกลับมาจากการอบรม 28 อุตสาหกรรมสาร

นอกจากก�ำลังการผลิตที่นับเป็นเจ้าใหญ่ระดับประเทศ เรายัง ได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ ในระดับสากล อาทิ อย. HACCP GMP ฮาลาล ฯลฯ ท�ำให้การผลิตหลักในตอนนี้คือ รับท�ำ OEM ให้กับแบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่จ�ำหน่ายในประเทศนับร้อยแบรนด์ อาทิ Wall’s, KFC, McDonald’s, Swensen’s, Dairy Queen ฯลฯ และก�ำลัง เตรียมความพร้อมเพื่อขยายการเติบโตไปยังช่องทางต่างๆ เพิ่มขึ้น ทั้งตลาดค้าปลีก และตลาดต่างประเทศ โดยส่งออกไปยังประเทศ ออสเตรเลียเป็นตลาดน�ำร่อง และอยู่ในขั้นตอนวางแผนเปิดตลาด อย่างจริงจังในหลายประเทศ คาดว่าจะสมบูรณ์ภายใน 2-3 ปี ข้างหน้า เพือ่ รองรับอุตสาหกรรมไอศกรีมทีม่ แี นวโน้มเติบโตต่อเนือ่ ง ตอนนีจ้ งึ เร่งเตรียมความพร้อมทัง้ เรือ่ งเอกสารต่างๆ การขยายโรงงาน เพื่อเพิ่มก�ำลังการผลิตให้มากขึ้นกว่าเดิมอีกเท่าตัว และมีการปรับ และวางระบบกระบวนการผลิตต่างๆ ใหม่ มีการเพิ่มหุ่นยนต์และ เครื่องจักรเข้าไปช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเสียต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างการผลิต เพราะตอนนีก้ �ำลังการผลิตเราค่อนข้างแน่น เรียกว่า 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม อีกปัจจัยที่ต้องยอมรับหากจะท�ำการส่งออกคือ ตลาดส่งออก ของอุตสาหกรรมโคนไอศกรีมมี 2 แบบ ทั้งขายเป็นรีเทล และ ขายแบบโปรเซสขึ้นรูปในไทยก่อนส่งออก เพราะธรรมชาติของ ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้คือราคาต่อหน่วยไม่สูงและแตกหักง่าย ท�ำให้เรา ต้องค�ำนึงถึงอุปสรรคและหาทางแก้ไ ขให้ผ ลิตภัณฑ์สามารถคง คุณภาพเดิมได้มากที่สุด รวมทั้งการสร้างพันธมิตรทางการค้าเพื่อ ผนึกก�ำลังเติบโตไปพร้อมกัน

ปรัชญาการท�ำธุรกิจ

ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ ลูกค้าหลายคนมองว่าวันหนึ่งผมอาจจะ ขยายไปท�ำไอศกรี ม เอง เพราะผมอยู ่ ใ นอุ ต สาหกรรมนี้ ม านาน รู ้ จั ก ตลาดครบตั้ ง แต่ ต ้ น จนถึ ง ปลายน�้ ำ ซึ่ ง ผมขอท�ำในสิ่ ง ที่ เ รา ถนัดให้ดีที่สุดและสนุกกับงาน สนุกกับการเรียนรู้ ในทุกๆ วันดีกว่า ผมใช้ สิ่ ง นี้ ส ร้ า งและรั ก ษาความเชื่ อ มั่ น กั บ ลู ก ค้ า มายาวนานนั บ 30 ปี จนสามารถสร้างการยอมรับจากบริษัทแถวหน้าระดับประเทศ ที่ ว างใจท�ำธุ ร กิ จ กั บ เรา ซึ่ ง ก็ เ ป็ น เครื่ อ งพิ สู จ น์ ว ่ า เราจริ ง ใจและ จริงจังกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทมี่ คี ณ ุ ภาพมาตรฐานอย่างไม่หยุดนิง่ ผมเชื่อว่าธุรกิจโคนไอศกรีมยังมีช่องว่างในตลาดที่สามารถต่อยอด สินค้าใหม่ๆ เข้าไปน�ำเสนออีกมากในอนาคต

บริษัท ฉอยชิว จ�ำกัด 155 หมู่ 1 ถนนเพชรเกษม ต�ำบลดอนทราย อ�ำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 70140 โทร. 0 3235 8909 www.choichew.co.th


Product Design

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

ไอศกรีมอุนจิฮอตสุดๆ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย ญี่ปุ่น ร้าน Modern Toilet ทีฮ่ อ่ งกง

ในไต้หวัน และ ฮ่องกง มีรา้ นไอศกรีมชือ่ ดัง Modern Toilet เปิดบริการไอศกรีมอุนจิให้แก่บรรดาลูกค้าผูช้ นื่ ชอบของแปลก ว่ากันว่าต้องจองคิวเข้าร้าน ภายในร้านตกแต่งบรรยากาศ ให้เหมือนอยู่ในห้องน�้ำ โดยใช้โถส้วมชักโครกมาท�ำเก้าอี้นั่ง ใช้อ่างอาบน�้ำมาท�ำโต๊ะ ภาชนะใส่ไอศกรีมรูปทรงส้วมหลุม จุดเด่นที่เป็นไฮไลท์ของร้านอยู่ตรงที่ไอศกรีมรูปทรงอุนจิใน ส้วมหลุม ถูกเสิร์ฟมาวางตรงหน้า ยอมรับว่าท�ำได้เหมือนเป๊ะ ไม่มีที่ติทั้งรูปทรงและสี ส่วนกลิ่นถ้าเจ้าของบ้าบิ่นท�ำกลิ่นได้ เหมือนของจริง คงไม่มใี ครเข้าร้าน

ร้าน Modern Toilet ที่ไต้หวัน

อุตสาหกรรมสาร 29


ร้าน T-Bowl มาเลเซีย เมนูของหวานไอศกรีมอุนจิ ร้าน T-Bowl ในประเทศมาเลเซีย ใช้โถส้วมและ บรรยากาศในห้องน�้ำตกแต่งร้าน โดยเจ้าของร้าน คือ Mr.Samuel Tan เผยว่าได้ไอเดียขณะนั่งอยู่บนโถส้วม บังเอิญนึกไปถึงฉากหนังทีม่ ตี วั ละครนัง่ กินอาหารบนโถส้วม เลยได้ไอเดียน�ำมาเป็นจุดขายของร้าน สร้างภัตตาคารที่มี โถส้วมเป็นภาชนะเสิร์ฟอาหาร โดยเฉพาะเมนูของหวาน จะมีไอศกรีมอุนจิเสิรฟ์ ด้วยโถชักโครกขนาดจิม้ ลิม้ ในฐานะ เจ้าของร้านเขามองว่า การเสิร์ฟด้วยโถส้วมมันไม่ใช่เรื่อง อุจาด แต่เป็นเรือ่ งของการให้อารมณ์สนุกสนานเพลิดเพลิน แก่ลูกค้า ความฮอตฮิตของร้าน T-Bowl สามารถขยายสาขาไป หลายรัฐในประเทศมาเลเซีย ปัจจุบนั ได้ขยายความฮอตมา ถึงเมืองไทย โดยเปิดสาขาอยู่ท่มี าบุญครอง

ภาพจาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ http://juzunming.blogspot.com/2011/01/t-bowltoilet-restaurant.html

ร้านคุโซะฟุโตะ ไอศกรีมอุนจิ ที่ญี่ปุ่น ร้านคุโซะฟุโตะ ค�ำว่า ฟุโตะ คือ ซอฟท์ครีมในภาษาญีป่ นุ่ หมายถึงไอศกรีมแบบกดจากเครื่อง ไม่ใช่ไอศกรีมแบบตัก น�ำ มาผสมกับค�ำว่า คุโซะ ทีเ่ ป็นค�ำด่าหรือค�ำอุทานในภาษาญีป่ นุ่ แปลว่า Shit ก็เลยกลายมาเป็นไอศกรีมอุนจิทมี่ าพร้อมภาชนะ ทรงโถส้วมหลุม ด้วยลักษณะของซอฟท์ครีมทีก่ ดใส่โถส้วมแบบ ขดๆ แถมยิ่งถ้าเป็นรสช็อกโกแลต, คาราเมล หรือกาแฟ สีสัน ได้อารมณ์ชวนเปิบพิสดารนักแล เจ้าของร้านยังมีอารมณ์ขัน โดยออกแบบช้อนตักไอศกรีมคุโซะฟุโตะ ให้มแี มลงวัน 1 ตัว เกาะอยู่ที่ปลายช้อน สนนราคาไอศกรีมอุนจิอยู่ที่ 500 เยน คิดเป็นเงินไทยก็เกือบสองร้อยบาท ภาพจาก http://prettyhd.blogspot.com 30 อุตสาหกรรมสาร


ไอศกรีมไข่จระเข้ ขายดีในฟิลิปปินส์ ร้านสวีท สปอต ในเมืองดาเวา ประเทศฟิลปิ ปินส์ ได้ ท�ำไอศกรี ม รสไข่ จ ระเข้ ใ ห้ กั บ ลู ก ค้ า โดยการผลิ ต ไอศกรีมดังกล่าวท�ำมาจากไข่แดงของจระเข้ โดยระบุชัด ไม่ได้มรี สของเนื้อจระเข้ในไอศกรีมดังกล่าว ใช้แต่ไข่แดง จระเข้ที่ฝ่อแล้วเท่านั้น ว่ากันว่ารสชาติอร่อยมาก ก�ำลัง เป็นนิยมอย่างมากในฟิลปิ ปินส์

ไอศกรีมแท่งผลไม้สด ไอศกรีมประเภทนีก้ �ำลังเป็น ที่นิยมในหลายประเทศ เป็นเมนู ของหวานประเภท Diet (ลดความอ้วน) ท�ำได้ง่าย ท�ำเลี้ยงกันเองได้ ออกแบบรสชาติได้ตามใจชอบ ให้ความรู้สึกสดชื่น ตัวไอศกรีม มีสีสันสวยงามในตัว

แดรกคูล่า ไอศกรีมสยองขวัญ ไอศกรีมยี่ห้อเก่าแก่ “แดรกคูล่า : DRACULA” เมื่อ ได้ยนิ ชือ่ ครัง้ แรกหลายคนจิตนาการทันทีวา่ ต้องเป็นไอศกรีม ที่ท�ำจากเลือดสัตว์อะไรสักอย่าง เพื่อเอาใจบรรดาสมุน แวมไพร์ทั้งหลาย กล่องใส่ไอศกรีมถูกออกแบบด้วยสีด�ำ ทะมึนเพื่อให้ดูน่ากลัว แถมบนชื่อแดรกคูล่ายังเลียนแบบไม้ กางเขนปักอยู่บนกล่องเพือ่ เพิ่มความน่าสะพรึงกลัวมากขึ้น เมื่อเห็นรูปกระเทียมบนกล่องไอศกรีม ยังนึกสนุกๆ ว่า ผู้ผลิตไอศกรีมช่างมีอารมณ์ข�ำเสียนี่กระไร เอากระเทียม มาท�ำเป็นโลโก้ของไอศกรีมแดรกคูล่า ก็รู้ๆ กันอยู่ทั่วโลกว่า ผีฝรั่งกลัวกระเทียม เลยเอากระเทียมมาเป็นยันต์กันผีว่า งั้นเถอะ! ขอบอก! ที่มโนมาทั้งหมดนี้ผิดถนัด ความจริงก็คือ ไอศกรีมแดรกคูลา่ ผลิตขึน้ ในหมูบ่ า้ นเล็กๆ แห่งหนึง่ ในประเทศ ญีป่ นุ่ ทีม่ ชี อื่ ว่า “หมูบ่ า้ นชิงโก๊ะ” (Shingo Village) หมูบ่ า้ นนี้ มีต้นกระเทียมขึ้นเต็มไปหมดและเป็นเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง มายาวนาน ภาพการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวกระเทียม จึงปรากฏให้เห็นตลอดหมู่บ้าน ไอศกรีมแดรกคูล่าจึงผลิต จากกระเทียมแท้ๆ จากหมู่บ้านแห่งนี้ เป็นไอศกรีมพรีเมียม ต่อมาเพิม่ รสกระเทียมเย็นซ่า ซึง่ เป็นรสกระเทียมผสมมินท์ ว่ากันว่ากระเทียมของหมู่บ้านนี้กินแล้วอายุยืน

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก https://pantip.com/topic/ http://www.manager.co.th/iBizChannel/ https://world.kapook.com/pin/ https://www.clipmass.com/story/84020 http://juzunming.blogspot.com/2011/01/t-bowltoilet-restaurant.html http://prettyhd.blogspot.com/2014/03/blog-post_9373.html http://www.smosh.com/smosh-pit/articles/6-funny-ice-cream-flavor-fails http://www.posttoday.com/world/news/301356 https://www.pinterest.com/pin/312929874095127860/ https://www.pinterest.com/pin/478155685408509240/ อุตสาหกรรมสาร 31


Biz Report

• เรื่อง : ฉัฐพร โยเหลา

2 ยักษ์ใหญ่นิวซีแลนด์

ผลิต “ไอศกรีมรีชาร์จ” เพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาว-เม็ดเลือดแดง อาหารคื อ ชี วิ ต ..มี บ ทบาทส�ำคั ญ ทั้ ง ต่ อ ร่ า งกายและ จิตใจของผู้ป่วยทุกคน เพราะร่างกายต้องการพลังงานและ สารอาหารที่เหมาะสมกับภาวะของโรคที่เป็นอยู่ หากไม่ได้ รับอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมอาจเกิดภาวะทุพโภชนาการได้ นั่นคือภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารผิดเบี่ยงเบนไปจาก ปกติอาจเกิดจากได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติ ซึ่งจะน�ำไป สู่การมีโรคแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น แต่หากเราดูแลด้านอาหาร ให้ถูกต้อง ผู้ป่วยได้รับพลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมจะ สามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนและช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขมี คุณภาพชีวิตที่ดีได้ ตัวอย่าง โรคมะเร็ง ที่ปัจจุบันมีสถิติผู้ป่วย เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาวะขาดสมดุลทั้งด้านการใช้ ชีวิตและอาหาร เมื่อเข้ารับการรักษาปัญหาที่ผู้ป่วยหลายคน ต้องเจอหลังได้รับเคมีบ�ำบัดคือ เซลล์ที่แบ่งตัวเร็ว ในร่างกาย ที่มีทั้งเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็งและหนึ่งในเซลล์ปกติที่แบ่ง ตัวเร็วที่สุดในร่างกายเราคือ เซลล์เยื่อบุช่องปากและล�ำคอ ซึง่ เมื่อหลังจากถูกยาท�ำลาย ก็จะก่อให้เกิดอาการผิดปกติใน ช่องปากท�ำให้ทานอาหารได้นอ้ ย น�ำไปสูก่ ารเบือ่ อาหาร ท�ำให้เสีย่ ง ต่อภาวะขาดสารอาหาร ภูมติ า้ นทานต�ำ่ อาการเหล่านีเ้ ป็นการ กระตุน้ ให้เกิดพัฒนาการของค�ำว่า “โภชนาบ�ำบัด” ทีผ่ า่ นมา ผูป้ ว่ ยมะเร็งต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานจากอาการข้างเคียง ของการท�ำคีโม วิวฒ ั นาการการรักษาในปัจจุบนั มีการวิจยั จาก พฤติกรรมของผู้ป่วยที่ได้ผลกระทบจากอาการข้างเคียงแล้ว พบว่า การทานไอศกรีมช่วยท�ำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร ได้มากขึ้น บรรเทาอาการคลื่นไส้ซึ่งเป็นผลมาจากยาหรือ การท�ำคีโม การคิดค้นด้านวิทยาศาสตร์ได้เริ่มที่นิวซีแลนด์ ซึง่ เป็นความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมนมทีถ่ อื เป็นอุตสาหกรรม ที่ใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ โดยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีม สูตรพิเศษที่จะช่วยบรรเทาอาหารข้างเคียง เช่น ท้องร่วง และเซลล์เม็ดเลือดขาวลดลง เป็นต้น ไอศกรีมสูตรพิเศษนี้ คิดค้นขึ้นโดย แลคโตฟาร์มา ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ฟอนเทอร์ร่า ผู้ผลิตนมรายใหญ่ที่สุดในโลกและมหาวิทยาลัย โอ๊คแลนด์ทมี่ คี วามเชีย่ วชาญด้านการแพทย์ ท�ำให้สามารถระบุ ส่วนประกอบส�ำคัญต่างๆ ในนมทีม่ สี รรพคุณในทางการแพทย์ 32 อุตสาหกรรมสาร

www.clipmass.com ไอศกรีมสตรอเบอร์ร่ใี ช้ชื่อ “รีชาร์จ” คิดค้นโดย แลคโตฟาร์มา ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับฟอนเทอร์ร่า

ไอศกรีมผลิตเฉพาะโรค เลือกใช้น�้ำตาลและนมที่เหมาะสมกับโรค

และส่งเสริมสุขภาพ คิดค้นกรรมวิธี การผลิตไอศกรีมแบบใหม่ ที่ท�ำขึ้นจากการใช้ไขมันในน�้ำนมที่สามารถช่วยเพิ่มเซลล์ เม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง และโปรตีนชนิดแลคโตเฟอร์รนี ซึง่ เป็นชนิดพิเศษทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ ผูป้ ว่ ยทีอ่ ยูใ่ นภาวะภูมคิ มุ้ กัน ต�ำ่ ลง โดยน�ำมาผสมเข้าด้วยกัน และตัง้ ชือ่ ว่า “ไอศกรีมรีชาร์จ” เพื่อสื่อความหมายว่าร่างกายจะมีความแข็งแรงต้านทาน อาการข้างเคียงจากคีโมได้ ขณะนี้มีการทดลองไอศกรีมผ่าน


ศูนย์รักษาโรคมะเร็ง 8 แห่งทั่วนิวซีแลนด์ โดยให้ผู้ป่วยมะเร็ง 200 คน รับประทานวันละ 100 กรัม ซึง่ จะมีการสรุปผลทดลอง ภายในหนึง่ ปี ก็คงต้องติดตามกันซึง่ เชือ่ ว่าประเทศไทยจะเป็น ตลาดใหญ่ท่จี ะขยายไปในประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน ส�ำหรับในเมืองไทยการพัฒนาสูตรไอศกรีมส�ำหรับผู้ป่วย ยังไม่ได้ท�ำแบบอุตสาหกรรม แต่ผลิตแบบเฉพาะโรค โดย มี นั ก โภชนาการก�ำกั บ ดู แ ลโดยมุ ่ ง ให้ ผู ้ ป ่ ว ยได้ รั บ พลั ง งาน และวิ ต ามิ น ที่ เ หมาะสม เช่ น ผู ้ ป ่ ว ยที่ มี พื้ น ฐานโรคเบา หวาน การผลิตไอศกรีมจะใช้น�้ำตาลแบบ Sugar Free หรือ สารให้ความหวานแทนน�้ำตาลหรือน�้ำตาลฟรุกโตสที่ได้จาก ผลไม้หรือหญ้าหวาน เป็นต้น ส่วนนมที่ใช้เป็นส่วนผสม ในการท�ำไอศกรี ม ก็ อ าจจะเปลี่ ย นจากนมผงปกติ เ ป็ น นม พร่องมันเนย, นมถั่วเหลืองหรือน�้ำเต้าหู้ เป็นต้น ซึ่งการใช้ วัตถุดิบ ส่วนผสมต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยจะอยู่ในการ ก�ำกับดูแลของนักโภชนาการหรือบางท่านทีร่ สู้ กึ ว่ามีภาวะเสีย่ ง จากการรับประทานอาหารทีข่ าดสมดุลอาจจะเข้าไปปรึกษาขอ ค�ำแนะน�ำจากนักก�ำหนดอาหารได้เช่นกัน และทั้งหมดนี้คือ ความก้าวหน้าของไอศกรีมทางเลือก...ฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วย ที่ท�ำให้พวกเขามีความสุขเพิ่มขึ้นในทุกวัน

www.gourmetdelight.in

ไอศกรีมเชอร์เบทลูกหว้า

ประโยชน์ของลูกหว้า

ลูกหว้าอุดมไปด้วยธาตุเหล็กซึ่งมีส่วนช่วยบ�ำรุงกระดูก และฟัน (ผลดิบ) 1. สรรพคุณลูกหว้า ผลดิบช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ผลดิบ) 2. สรรพคุ ณ ของลู ก หว้ า ผลสุ ก รั บ ประทานแก้ อ าการ ท้องร่วงและอาการบิด (ผลสุก) 3. ใช้รกั ษาอาการบิด มูกเลือด ท้องเสีย (ใบและเมล็ดหว้า) 4. น�ำมาใช้ท�ำเป็นยาอม ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย แก้คอเปื่อย เป็นเม็ดตามลิ้นและคอ 5. รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบและเมล็ดหว้าน�ำมา ต้มหรือบดให้ละเอียด แล้วน�ำมารับประทานเพื่อรักษาอาการ ของโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับ น�้ำตาลในเลือดได้ 6. ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือด อุดตันในสมองได้ (ผล) 7. ลูกหว้ามีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง (น�้ำมัน หอมระเหย) 8. ช่วยในการย่อยอาหาร ด้วยการเพิม่ การหลัง่ น�ำ้ ดี และ น�้ำย่อยต่างๆ (น�้ำมันหอมระเหย) 9. ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (น�้ำมัน หอมระเหย)

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.clipmass.com www.banitim.com www.bansuanporpeang.com อุตสาหกรรมสาร 33


Innovation

• เรื่อง : จารุวรรณ เจตเกษกิจ

ไอศกรีมของกินเล่นเย็นๆ ใจ ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบสนอง ความต้องการของผูบ้ ริโภค ความก้าวหน้าในการพัฒนาไอศกรีมสามารถมองผ่านเวทีการประกวดระดับโลกทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ “New Zealand Ice Cream Award” ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ “DuPont Awards for Packaging Innovation 2017” ในด้านการพัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์

มองนวัตกรรมไอศกรีม ผ่านเวทีการประกวด ระดับโลก New Zealand Ice Cream Awards 2017 ประเทศนิ ว ซี แ ลนด์ มี ก ารจั ด ประกวดสุ ด ยอด ไอศกรีมประจ�ำปีในแต่ละปี ซึ่งจัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนานภายใต้ช่อื New Zealand Ice Cream Award ซึ่ง ด�ำเนินการโดย New Zealand Ice Cream Manufacturers’ Association ในการประกวดมีการให้รางวัลในหลายหมวดหมู่ แต่รางวัลสุดยอดจะมี 2 รางวัล คือ 1) Supreme Award ส�ำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ และ 2) Supreme Award ส�ำหรับผู้ประกอบการที่เรียกว่า Boutique Manufacturer หรื อ ผู ้ ป ระกอบการรายกลางหรื อ เล็ ก ที่ ผ ลิ ต ไอศกรี ม ลักษณะโฮมเมด 34 อุตสาหกรรมสาร

ซึ่งในปี 2560 ผู้ชนะเลิศได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัล 2017 Supreme Award for a Large Manufacturer คือ Talley’s Green Tea Ice Cream made by Talley’s Group Ltd ผู้ผลิตชาวนิวซีแลนด์ ที่มี การสร้างสรรค์ผลิตไอศกรีมชาเชียวรสชาติยอดเยีย่ มถูกใจผูบ้ ริโภค โดยใช้วัตถุดิบท้องถิ่นที่มีคุณภาพและดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค และสามารถมีปริมาณการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภคในประเทศและเพื่อการจ�ำหน่ายในตลาดโลก ส�ำหรับรางวัล 2017 Supreme Award for a Boutique Manufacturer ผู้ชนะเลิศ คือ Chai Latte Ice Cream made by Puhoi Valley Cafe เจ้าของร้านชาวนิวซีแลนด์ ที่มีการสร้างสรรค์ ผลิตไอศกรีม Chai Latte รสชาติยอดเยี่ยมถูกใจผู้บริโภค โดย ใช้ผลิตภัณฑ์หลักที่มีคุณภาพและที่เป็นที่นิยมของทางร้าน คือ


ถ้วยไอศกรีมของ FRONERI, Brazil มีความเป็นนวัตกรรม บรรจุ ภั ณ ฑ์ ด ้ ว ยมี ก ารรั ง สรรค์ โ ดยใช้ เ ทคโนโลยี วั ส ดุ อ ย่ า ง ชาญฉลาดมาท�ำให้ผนังมีความบาง และสามารถผลิตปั้นฉีด ขึน้ รูปและติดฉลากในโมลด์ (Mold) เพือ่ การตกแต่งอย่างรวดเร็ว ในแต่ละรอบการผลิต ตลอดจนมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ให้เหมาะส�ำหรับผู้บริโภคที่ก�ำลังเดินทาง โดยมีช้อนในฝาถ้วย ไอศกรีมซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีการปรับปรุงจากผลิตภัณฑ์ ที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยผลิตให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่ได้เพิ่มชั้นฟิล์มอื่นเพื่อแยกช้อนและไม่ได้ใช้วัสดุ เพิม่ เติมส�ำหรับช้อน นอกจากนัน้ ได้มกี ารออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์ ให้เป็นแบบสมาร์ท (Smart) ท�ำให้บรรจุภณ ั ฑ์มนี ำ�้ หนักเบาและ ฝาถ้วยสามารถเปิดปิดได้ตามต้องการ

Colombian Espresso Milk ผสมผสานเข้ากับ Matakana Roasted Coffee Affogato Ice Cream จนกลายเป็นไอศกรีมพรีเมียมที่ดี ที่สุดส�ำหรับผู้บริโภค ทั้งนี้ไอศกรีมโฮมเมดดังกล่าวมีจ�ำหน่าย เฉพาะที่ร้าน Puhoi Valley Cafe ในประเทศนิวซีแลนด์เท่านั้น DuPont Awards for Packaging Innovation 2017 ในปี 2560 นวั ต กรรมบรรจุ ภั ณ ฑ์ ถ ้ ว ยไอศกรี ม ของ FRONERI, Brazil ได้รับคัดเลือกให้ชนะการประกวดได้รับ รางวัลเหรียญทอง (Gold Award) ในงาน DuPont Awards for Packaging Innovation 2017 ซึ่งเป็นงานระดับสากลที่จัดขึ้นมา อย่างยาวนาน เป็นทีร่ จู้ กั ทัว่ โลก เพือ่ ยกย่องนวัตกรรมบรรจุภณ ั ฑ์ วัสดุ เทคโนโลยีและขั้นตอนต่างๆ ของการบรรจุ โดยตัดสิน จากคณะกรรมการอิสระที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งในแต่ละปีจะมีผลงานจากทั่วโลกส่งเข้าประกวด

นวัตกรรมไอศกรีมยังคงเกิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ภายใต้การ พัฒนาหลักในด้านรสชาติให้มีความหลากหลายเป็นที่ถูกใจ ผู ้ บ ริ โ ภคตามแต่ ล ะยุ ค ทุ ก สมั ย ที่ เ ปลี่ ย นไปและพั ฒ นา ผลิตภัณ ฑ์ บรรจุภัณ ฑ์ ตามโมเดลธุร กิจ ของผู ้ ประกอบการ ในแต่ละรายกิจการ ซึง่ โดยภาพรวมสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คื อ โมเดลธุ ร กิ จ ตลาดเฉพาะ/ตลาดพรี เ มี ย ม ที่ ผ ลิ ต น้ อ ย แต่ขายมูลค่าต่อหน่วยสูงและขายในวงจ�ำกัดเพือ่ ท�ำให้ผบู้ ริโภค รู้สึกเป็นของหายากลักษณะที่ 2 คือ โมเดลธุรกิจตลาดโลก ที่ผู้ผลิตสามารถผลิตได้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทัว่ โลกเกิดผลก�ำไรในเชิงตลาดใหญ่ทมี่ กี ารประหยัดต้นทุนต่อ หน่วยและราคาขายต่อหน่วยเป็นราคาที่ผู้บริโภคสามารถหา ซื้อได้และไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกก็สามารถหาซื้อรับประทาน ได้โดยง่าย

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.nzicecream.org.nz/awards.htm http://talleysicecream.co.nz/green-tea-ice-cream-scoops-supreme-award http://puhoivalley.co.nz/ http://www.dupont.com/industries/packaging-and-printing/media /press-releases/2017-dupont-packaging-awards-winners.html อุตสาหกรรมสาร 35


Marketing

• เรื่อง : นภาภรณ์ อินโน

จับกระแส... แฟรนไชส์ไอศกรีม ธุรกิจไอศกรีม ขายได้ทุกฤดู

ปั จ จุบัน ในตลาดธุรกิจร้านอาหารประเภทอาหาร ทานเล่น (Light Food) ได้แก่ ธุรกิจร้านกาแฟ ธุรกิจเครือ่ งดืม่ ธุรกิจร้านเบเกอรี่และธุรกิจร้านไอศกรีม ก�ำลังเป็นที่สนใจ ในกลุ่มสตาร์อพั และเอสเอ็มอีหน้าใหม่ โดยเฉพาะ “ธุรกิจ ไอศกรีม” ที่ก�ำลังมาแรงแซงธุรกิจร้านกาแฟและธุรกิจ ร้านเบเกอรี่ ที่มีอยู่ในตลาดมานานและมีคู่แข่งขันเป็น จ�ำนวนมาก ขณะทีธ่ รุ กิจร้านไอศกรีมก�ำลังได้รบั ความนิยม เพิ่มขึ้น ในช่ ว งระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ ่านมานี้ โดยเฉพาะ ไอศกรีมโฮมเมด ที่สามารถน�ำมาสร้างสรรค์พัฒนาและ ต่อยอดเกิดเมนูใหม่ๆ ได้หลากหลาย 36 อุตสาหกรรมสาร

เหตุผลสนับสนุนในวงการอาหารจากสถาบันอาหาร วิ เ คราะห์ เ หตุ ผ ลที่ ต ลาดไอศกรี ม นั้ น เติ บ โตต่ อ เนื่ อ ง ก็ เ พราะเมื อ งไทยมี อ ากาศร้ อ นตลอดทั้ ง ปี ส่ ง ผล ให้ ธุร กิ จ อาหารประเภทคลายร้ อ น มี แ นวโน้ ม เติ บ โต เพิ่มขึ้นทุกปีตามความร้อนของสภาพอากาศ เป็นเหตุ ให้ธุรกิจไอศกรีม ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีตัวเลขการ เติบ โตของตลาดไอศกรีม เติบ โตขึ้น เฉลี่ย ร้ อ ยละ 8.1 ต่อปี จากมูลค่า 12,000 ล้านบาท เมื่อปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 15,000 ล้านบาท ในปี 58 แบ่งเป็นตลาดระดับกลางและ ระดับล่าง 70% และตลาดระดับพรีเมียม 30% โดยปัจจัยเสริม ที่สนับสนุนการเติบโตของตลาดนอกจากสภาพอากาศ ก็คือคุณสมบัติของไอศกรีมที่มีความหวานเย็น ให้ความ อร่อยและสดชื่น ท�ำให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคทุกเพศ ทุกวัย


อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่ส�ำคัญอย่างยิ่งของธุรกิจ ไอศกรีมก็เหมือนกับธุรกิจอืน่ ๆ คือเรือ่ งของภาวะเศรษฐกิจ และปัญหาการเมืองมีผลกระทบต่อธุรกิจไอศกรีมเช่นกัน

ไอศกรีมขายดี ต้องมีครีเอทีฟ

คุณนิมณิชา กรรณเลขา กรรมผู้จัดการ เอ็นทูไอซ์ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญในด้ า นการให้ ค�ำแนะน�ำเกี่ ย วกั บ การท�ำ ไอศกรีมและเจลาโต รวมถึงเป็นตัวแทนจ�ำหน่ายเครื่องท�ำ ไอศกรีมและอุปกรณ์ในการเปิดร้านไอศกรีม ให้ค�ำแนะน�ำ เกีย่ วกับโอกาสในการท�ำร้านไอศกรีมว่า “ส�ำหรับผู้ทกี่ �ำลัง ว่าจะเปิดธุรกิจไอศกรีม ถ้าลงทุนต�่ำสุดอาจใช้เครื่องปั่น ขนาดเล็ก บวกกับตูแ้ ช่ สามารถท�ำเป็นแนวแพ็คส่งร้านเป็น ถ้วย 4 ออนซ์ เนือ่ งจากการเริม่ ต้นลูกค้าจะไม่มนั่ ใจในการ เปิดร้าน ท�ำทีบ่ า้ นแล้วไปส่งร้านอาหาร ต้นทุนจะอยูไ่ ม่เกิน 3-4 หมืน่ จะคืนทุนค่อนข้างเร็ว มีลกู ค้าทีเ่ คยสอน เปิดร้าน ไอศกรีม ก็จะขายไอศกรีมแปลก ฝรั่งบ๊วย รสแปลกๆ หรือ บางรายมาซือ้ เครือ่ งไป แล้วส่งพนักงานมาอบรม ซึง่ บริษทั ก็จะมีบริการเพิ่มในเรื่องของการท�ำเมนูและรับจ้างเป็น ที่ปรึกษาในการเปิดร้านด้วย ส�ำหรั บ ประเทศเราเป็ น ประเทศร้ อ น ในแต่ ล ะปี ก็จะมีความต้องการไอศกรีมเพิ่มขึ้นปีละ 10% ดูจากยอด การสั่งซื้อวัตถุดิบ การซื้อเครื่องและการสมัครเรียนคอร์ส ท�ำไอศกรี ม สู ต รต่ า งๆ การที่ เ ราท�ำธุ ร กิ จ ด้ า นไอศกรี ม โฮมเมดนี้มาตลอดท�ำให้มองว่าตลาดไอศกรีมนี้มีโอกาส เติบโตสูงมาก เพราะปัจจุบันไอศกรีมสามารถน�ำสร้าง เมนูใหม่ๆ ในร้านกาแฟหรือไปครีเอทเมนูร่วมกับเบเกอรี่

คุณนิมณิชา กรรณเลขา

ในจุดนี้จึงกลายเป็นว่าขยายตลาดออกไปเพิ่มขึ้นเรื่อย ส่วนร้านไอศกรีมที่มองว่า จะมีโอกาสเติบโตไปได้ดีก็คง จะเป็ น ร้ า นไอศกรี ม แบบครบวงจรมากว่ า ร้ า นเล็ ก ๆ นั่งทานเล่น เพราะปัจจุบันคนไทยเราไม่ได้กินเพื่อรสชาติ อย่างเดียวแล้ว แม้ว่ารสชาติจะเป็นพื้นฐานของปัจจัย แต่ส่วนใหญ่จะทานตามไอเดีย ทานเมนูท่มี ีหน้าตาแปลก รสชาติเก๋ๆ มีการตกแต่งทีส่ วยงาม ร้านไอศกรีมจะต้องเป็น แบบครบวงจรมีการครีเอทเมนูและตกแต่งรูปแบบเมนู ใหม่ๆ ตลอดเวลาก็จะท�ำให้ธรุ กิจมีโอกาสส�ำเร็จมากกว่า”

แฟรนไชส์ ไอศกรีม แบรนด์ ไหนน่าลงทุน

ส�ำหรับใครที่ก�ำลังมองหาแบรนด์แฟรนไชส์ไอศกรีม อยู่ตอนนี้ ในด้านของแฟรนไชส์ไอศกรีม ก็มแี นวโน้มขยาย ตัวไปในทิศทางที่ดีมาก เพราะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของ ผู้ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง โดยการลงทุนก็มีให้เลือก หลากหลายรูปแบบ ไม่วา่ จะเป็นไอศกรีมโบราณ ไอศกรีมผัด ไอศกรีมรถเข็นหรือจะเป็นร้านไอศกรีมขนาดต่างๆ โดย งบประมาณการลงทุนมีตั้งแต่หลักพันไปถึงระดับล้านมา อุตสาหกรรมสาร 37


ดูกันค่ะว่า แบรนด์ไหนเหมาะส�ำหรับงบประมาณการลงทุนที่ คุณมีอยู่ 1. แบบรถเข็นหรือตู้แช่ เป็นรูปแบบจุดขายขนาดเล็ก โดยบรรจุอุปกรณ์ที่จ�ำเป็นในการขายครบถ้วนในรถเข็นคัน เดียวหรือในตู้แช่ตู้เดียว ส่วนใหญ่จะเป็นไอศกรีมแบบตักหรือ ขายแบบแท่งทีท่ �ำส�ำเร็จมาแล้ว ข้อดีอยูท่ ใี่ ช้พนื้ ทีน่ อ้ ย สะดวกใน การเคลือ่ นย้าย เน้นการขายแบบน�ำกลับ ตัวอย่างเช่น ไอศกรีม นมสดหนองโพ, มหาชัยไอศกรีม, โฮ-มุ ไอศกรีม, พีแอนด์พี สโนว์ มิลค์ ไอซ์ ไอศกรีมเกล็ดหิมะ, ไอศกรีมทอดแซนต้า, ไอศกรีมทอดตี๋ดอกสะเดา, ร้อยรสไอติมโบราณ, ล้วนอร่อย ไอติมโบราณ, ไผ่ทองไอศกรีม, ไอติมทอดดอทคอม, สโนว์ซิตี้ ไอศกรีม, ไอศกรีมวอลล์, ไอศกรีมเนสท์เล่ เป็นต้น 2. แบบคีออส (Kiosk) เป็นรูปแบบเคาน์เตอร์ 2 แนว ด้านหน้าและด้านหลังมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มมากขึ้น การลงทุน รูปแบบนีใ่ ช้เงินลงทุนประมาณหลักแสนไม่ถงึ หลักล้าน ตัวอย่าง แฟรนไชส์ที่เปิดขาย ได้แก่ ไอศกรีมเกล็ดหิมะ ไอซ์เบบี้, ดรีมโคน, Love Load, สมาย์มิลค์, ซา-รัน-โนะ ไอติมผัด สไตล์ญี่ปุ่น, Ice Monster ไอศกรีมเกล็ดหิมะ เป็นต้น 3. แบบร้ า นนั่ ง ทาน เป็ น ร้ า นไอศกรี ม เต็ ม รู ป แบบ มีพื้นที่และการตกแต่งเป็นสัดส่วนของตัวเอง ขนาดใหญ่หรือ เล็กก�ำหนดตามพื้นที่ การลงทุนจะเริ่มตั้งแต่ระดับล้านขึ้นไป ตัวอย่างแฟรนไชส์ท่เี ปิดขาย ได้แก่ Swensen’s, Dairy Queen, Bud’s Ice Cream, บิงซูบอย, Frist Snow ร้านบิงซูน�ำเข้าจาก เกาหลี เป็นต้น

38 อุตสาหกรรมสาร

ชี้โอกาสลงทุน ปัจจัยที่ท�ำให้รุ่ง

จากสถานการณ์ โ ดยรวมของแฟรนไชส์ ข องสมาคม แฟรนไชส์ไทย กล่าวว่า ในขณะนีจ้ �ำนวน แฟรนไชส์ในประเทศ มีอยู่ประมาณ 400-600 ราย ในละปีจะมีกลุ่มผู้ประกอบการ รุ่นใหม่ๆ ให้ความสนใจ สร้างธุรกิจของตัวเองให้เข้าสู่ระบบ แฟรนไชส์มากขึน้ ซึง่ เป็นสิง่ ทีด่ ปี ระกอบกับความต้องการซือ้ ธุรกิจ แฟรนไชส์ก็ยังคงได้รับความสนใจ โดยส่วนใหญ่ต้องการ แฟรนไชส์ที่มีแบรนด์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและต้องการธุรกิจ ที่มีสินค้าได้รบั ความนิยม แนวโน้มข้างหน้าของธุรกิจไอศกรีม มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกทั้งลูกค้ายังชอบลิ้มลองเมนู ที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ อาทิ เมนูบิงซู น�้ำแข็งใสเกาหลีที่ฮิตมากใน ช่วงปีท่ีผ่านมา ท�ำให้เกิดแฟรนไชส์ร้านบิงซูหน้าใหม่ รวมถึง ตัวแทนจ�ำหน่ายเครื่องบิงซูเกิดขึ้นใหม่เป็นจ�ำนวนมาก ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ลงทุนที่จะสนใจการลงทุนรูปแบบร้านส�ำเร็จรูป หรือแฟรนไชส์ หรือซื้อเครื่องน�ำไปสร้างสรรค์เมนูเปิดร้านเป็น ของตัวเองซึง่ ก็มหี ลายๆ บริษทั ทีเ่ ปิดให้บริการด้านขายอุปกรณ์ เปิดร้านและวัตถุดิบแบบครบวงจร อาทิ บริษัท เอ็นทูไอซ์, บริษัท I-Cream Solution เป็นต้น ส่วนไอศกรีมโฮมเมดก็เช่นเดียวกัน ยังคงเปิดกว้างส�ำหรับ นักออกแบบเมนูไอศกรีมสุดเลิศล�้ำ ยิ่งในปัจจุบัน ใครๆ ก็ท�ำ ไอศกรีมได้โดยไม่ตอ้ งลงทุนสร้างโรงงานใหญ่ๆ หรือมีทางเลือก สั่งผลิตได้ดั่งใจ สรุปก็คอื ธุรกิจไอศกรีมนีย้ งั มีชอ่ งทางส�ำหรับผูเ้ อาความ อร่อยเป็นจุดน�ำชัยและความแข็งแกร่งของแบรนด์ไอศกรีม ผู้ที่อยู่ในวงการไอศกรีมยังมองว่าตลาดในต่างจังหวัดยังไปได้ อีกมาก และถ้าโชคดีได้ท�ำเลทอง เช่น ท�ำเลของห้างทีเ่ ปิดใหม่ ท�ำเลที่เป็นชุมชนเดินผ่าน หรือแหล่งในโรงเรียน โรงพยาบาล แหล่งชุมนุมชนต่างๆ สินค้าไอศกรีมนั้นเป็นสินค้าที่ต้องมีการ กระตุ้นตลาดตรงหน้า เพราะเป็นสินค้าที่ไม่เห็นก็จะไม่กิน ต้องมีภาพหรือสีสันเมนูเด่นสะดุดตามากๆ ซึ่งหากสินค้านี้ ยิง่ เข้าใกล้แหล่งชุมชนก็จะได้ยอดขายเพิม่ ขึน้ ดังนัน้ หากใครรัก กิจการนีจ้ ริงๆ ละก็ มีความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนือ่ ง โอกาส ก็จะเป็นของคุณ


Good Governance

• เรื่อง : ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี

คนจนในโลกนี้มี 2 แบบ

คนยากจน กับ คนอยากจน

มีความรู้ เกีย่ วกับทรัพย์ อยูห่ ลายประเด็น ทีค่ นส่วนใหญ่ มักมองข้าม ประเด็นแรก คือ เป้าหมายของการหาทรัพย์ บางคน พออยากรวยก็พุ่งเป้าไปว่า ท�ำอย่างไรก็ได้ขอให้รวยแล้วกัน ไม่วา่ จะด้วยวิธกี ารใดทุม่ เทไปเต็มที่ พอถึงคราวรวยเป็นเศรษฐี ขึ้นมาจริงๆ ปรากฏว่าครอบครัวแตกแยก เพราะตนเองไม่มี เวลาให้ครอบครัว ไม่มีเวลาอบรมเลี้ยงดูลูก ภรรยาก็ไปทาง ลูกก็ไปอีกทาง ถ้าเป็นอย่างนี้ถามว่ารวยแล้วคุ้มไหมรวยแล้วมีความสุข จริงๆ หรือเปล่า เราอยากได้ไหมความรวยอย่างนี้ มีทรัพย์ แต่ผู้คนรอบข้างแย่หมด ก็คงไม่มีใครอยากจะเป็นอย่างนั้น หรื อ ว่ า วิ ธีห าทรั พ ย์ จ ะถู ก หรื อ ผิ ด ศี ล ธรรมอย่ า งไรไม่ ส นใจ ขอให้ได้ทรัพย์มาเถอะ ท�ำได้ทกุ อย่าง ปรากฏว่าบาปกรรมก็ท�ำ มิจฉาอาชีวะก็ท�ำ พอละโลกนี้ไปแล้วเลยไปตกนรกเสียย�่ำแย่

มีทรัพย์เป็นเศรษฐีอยู่บนโลกมนุษย์ไม่กี่ปี แต่ไปนรกมีความ สุขสาหัสสากรรจ์เป็นล้านๆ ปี ก็คงไม่มใี ครอยากจะเป็นเศรษฐี แบบนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราต้องวางเป้าหมายของการหาทรัพย์ให้ ชัดเจน เราหวังจะให้ทรัพย์นั้นมาตอบสนองเรา เพื่อให้เรามี ความสุขในชีวิต ดังนั้นเป้าหมายไม่ใช่อยู่ท่เี พียงตัวเงินเท่านั้น ไม่ได้จบแค่นั้น แต่ต้องมองต่อไปว่าทรัพย์นั้นจะต้องเป็น ทางมาแห่งความสุขทัง้ ภพนีแ้ ละภพหน้าด้วย พอมองเป้าหมาย ชัดอย่างนี้แล้วเราจะได้เลือกอาชีพได้ถูก ว่าต้องเป็นสัมมา อาชีวะ อะไรที่ผิดศีลผิดธรรมเราไม่ท�ำและต้องสามารถแบ่ง เวลาได้ดี ทั้งเรื่องการงาน เรื่องครอบครัว เรื่องส่วนตัว การ ดูแลรักษาสุขภาพ การประพฤติปฏิบัติธรรม จัดสรรเวลาให้ พอเหมาะพอสม อย่างนีถ้ งึ จะเรียกว่าเป็นผูม้ เี ป้าหมายในการ หาทรัพย์ท่ถี ูกต้อง ประเด็นที่สอง คือ ประเภทของความจนมีสองแบบ ครูบาอาจารย์สอนย�้ำแล้วย�้ำอีกบอกแล้วบอกอีกว่า คนจน ในโลกมีอยู่สองประเภทใหญ่ คือ 1.คนจนเพราะไม่มี คือ ทรัพย์สินเงินทองมันมีน้อยไม่พอใช้สอย คนจนประเภทนี้เขา เรียกว่า “คนยากจน” 2.คนจนเพราะไม่พอ มีรถหนึ่งคัน อุตสาหกรรมสาร 39


ก็อยากจะได้สองคัน มีสองคันก็อยากจะได้สี่คัน พอมีส่ีคัน ก็อยากจะได้ยหี่ อ้ ดังๆ อยากจะมีบา้ นหลายๆ หลัง เงินในธนาคาร มี เ ยอะแล้ ว ก็ อ ยากจะให้ เ ยอะขึ้ น ไปอี ก คนจนประเภทนี้ เขาเรี ย กว่ า “คนอยากจน” มี เ งิ น หมื่ น ล้ า นก็ ยั ง มองว่ า ตนจนกว่าคนรวยแสนล้าน รู้สึกตัวเองยังจนอยู่เมื่อเทียบ กับเขา พอรวยแสนล้านขึ้นมาก็คิดว่าตนยังจนอยู่เพราะอยาก จะรวยล้านล้าน ครูบาอาจารย์สอนไว้ว่า ทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกนี้ ถ้าน�ำ มาจั ด สรรปั น ส่ ว นอย่ า งดี ก็ มี เ พี ย งพอที่ จ ะหล่ อ เลี้ ย งคน ทั้งโลก 6 – 7 พันล้านคนให้บริโภคใช้สอยอยู่ร่วมกันได้อย่าง มีความสุข แต่ในทางกลับกันแม้เราจะเอาทรัพย์สินเงินทอง ทั้งโลก ยกให้กับคนเพียงคนเดียวเพื่อตอบสนองความอยาก ของเขา เราจะพบว่ามันยังไม่พอ สมบัติทั้งหลายยกให้หมด แล้วก็ยงั ไม่พอ เพราะต่อไปเขาอาจอยากได้ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ขึ้นมาก็อาจเป็นได้

หาทรัพย์ ได้ตอ้ งใช้ทรัพย์เป็น

ถ้ า มี ค นยากจนคนหนึ่ ง เกิ ด ไปได้ ล าภลอยมี ค นยก ทรัพย์สินให้สักล้านบาท เขาคงจะดีใจมากสุขใจปลื้มใจกัน ใหญ่ แต่ในทางกลับกันถ้ามีมหาเศรษฐีโลกรวยเป็นแสนล้าน เกิดวันใดธุรกิจผิดพลาดทรัพย์สินร่อยหรอลงเหลือเงินอยู่แค่ ล้านบาท มหาเศรษฐีนั้นคงจะกลุ้มใจแทบคิดอยากฆ่าตัวตาย เลยทีเดียว ท�ำไมมีเงินล้านเท่ากันแต่คนสองคนคิดไม่เหมือนกัน คนหนึ่ ง ดี ใ จแทบแย่ มี ค วามสุ ข ใจชื่ น ใจ อี ก คนกลุ ้ ม แทบ จะฆ่ า ตั ว ตาย มั น อยู ่ ที่ ว ่ า มี ค วามรู ้ สึ ก ยิ น ดี พ อใจในสิ่ ง ที่ ตัวเองมีอยู่หรือไม่ ถ้าหากไม่รู้จักพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ ก็ จ ะกลุ ้ ม ทั้ ง ชาติ มี ท รั พ ย์ เ ท่ า ไรก็ ไ ม่ พ อ ยิ่ ง รวยก็ ยิ่ ง กลุ ้ ม ยิ่งรวยก็ยิ่งอยาก ดังนั้นเราต้องแยกแยะตรงนี้ให้ดี ทรัพย์สิน เงินทองจะต้องมาตอบสนอง เพื่อให้เรามีความสุขในภพนี้ และใช้เป็นอุปกรณ์แสวงบุญเป็นเสบียงติดตัวไปในภพเบือ้ งหน้า

40 อุตสาหกรรมสาร

จนกระทั่ ง ถึ ง เป้ า หมายอย่ า งยิ่ ง คื อ พระนิ พ พานในที่ สุ ด อย่างนี้ถึงจะใช้ได้ มี ค นกล่ า วว่ า เงิ น เป็ น บ่ า วที่ ดี แ ต่ เ ป็ น นายที่ เ ลว คื อ ใครปล่อยให้ตัวเองเป็นทาสของเงิน เมื่อนั้นจะมีความทุกข์ มาก ถ้ า ให้ เ งิ น มาเป็ น เจ้ า เข้ า ครอบง�ำหั ว ใจ เราก็ จ ะแย่ แต่ เ มื่ อ ใดเราเป็ น นายของเงิ น คื อ มี ท รั พ ย์ แ ล้ ว ใช้ ท รั พ ย์ ให้เป็นประโยชน์ในภพนี้ เป็นประโยชน์ในภพหน้า และเป็น ประโยชน์อย่างยิ่ง เราก็จะมีความสุขในชีวิต เราต้องใช้สอย เงิ น ได้ ถู ก ต้ อ งตามบทบาทหน้ า ที่ ข องมั น อย่ า ให้ เ งิ น เป็ น นายเรา แต่เราต้องเป็นนายเงิน หาทรัพย์ได้ต้องใช้ทรัพย์เป็น รู้ค่าของทรัพย์ แล้วก็ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

อย่าเป็นเศรษฐีซอื้ ผลไม้เน่า

เราคงเคยได้ยินเรื่อง มีเศรษฐีบางคนรวยมาก แต่เวลา ไปซื้อผลไม้ในตลาด ก็จะซื้อผลไม้ที่มันเริ่มเน่าแล้ว ราคาจะ ได้ถูกกว่า เสร็จแล้วก็มาตัดส่วนเน่าออก รับประทานส่วน ที่เหลือ ความจริงจะซือ้ ผลไม้ดๆี มาทานก็กลัวว่าเงินทองจะร่อยหรอ ทั้งๆ ที่จริงแล้วทรัพย์ที่เขามีนั้น ต่อให้น�ำไปซื้อของดีๆ ทาน ตลอดชาติกไ็ ม่ได้พร่องไปสักเท่าไร แต่เขาก็พอใจจะบริโภคของ เสียๆ เพราะความตระหนี่ในตัวเอง ส่วนบางคนมีเสื้อผ้าใหม่ๆ ดีๆ ก็ไม่ใส่ เก็บไว้ในตู้ พอใจใส่แต่เสื้อผ้าเก่าๆ อยู่อย่างนั้น เรือ่ งราวเหล่านีม้ เี หตุมที มี่ า กรรมชอบให้ทานในอดีตท�ำให้เป็น เศรษฐีในชาตินี้ มีขา้ วของเครือ่ งใช้ดๆี แต่อดีตท�ำทานด้วยของ ไม่ดีของไม่ประณีต จึงมีนิสัยชอบผลไม้เน่าราคาถูก ชอบใส่ เสื้อผ้าเก่า มีเสื้อผ้าใหม่กต็ ้องทิ้งไว้จนเก่าจึงหยิบมาใช้ ส่ ว นเราจะเลื อ กเป็ น คน “จนยาก” หรื อ “ยากจน” อยูท่ ตี่ วั เรา เมือ่ หาทรัพย์ได้ตอ้ งใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สขุ ทัง้ ในภพนี้ ภพหน้า และตลอดไป ด้วยหลักของพุทธศาสนาคือ ทาน ศีล สมาธิ อยากรวยต้องให้ทาน, อยากสวยอยากหล่อ ต้องรักษาศีล, อยากมีปัญญาต้องหมั่นนั่งสมาธิ


Book Corner

• เรื่อง : สุพรรณษา พุทธะสุภะ

ธุรกิจในฝันไอศกรีมมี ไอเดีย (G 25 อ51)

เนื้ อ หาเกี่ ย วกั บ การท�ำธุ ร กิ จ ไอศกรี ม ซึง่ น�ำเสนอความแปลกใหม่ โดยน�ำกลยุทธ์และ เทคนิคมากมายในการสร้างความแตกต่างและ ความโดดเด่นให้กับธุรกิจไอศกรีม รวมไปถึง หลักการและค�ำแนะน�ำเบื้องต้นในการเริ่มต้น ท�ำธุรกิจเพื่อให้ผู้อ่านมีแรงบันดาลใจว่าการสร้าง ธุรกิจไอศกรีมในฝันไม่ใช่เรือ่ งอยากอีกต่อไป

การศึกษาวิเคราะห์ลงทุนอุตสาหกรรม ไอศกรีมผลไม้โฮมเมด (IV กสอ17 อ196)

เนื้อหาเกี่ยวกับการรายละเอียดการศึกษา วิ เ คราะห์ ล งทุ น อุ ต สาหกรรมไอศกรี ม ผลไม้ โฮมเมด I - Suntaree ของบริ ษั ท สุ น ทรี สุนทรี จ�ำกัด ข้อมูล/จัดพิมพ์โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คพอ.รุน่ 196 อุทยั ธานี

โครงการไอศกรีม Herbal Ice (IV กสอ17 อ99)

เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์ลงทุน อุตสาหกรรมโครงการไอศกรีม Herbal Ice ข้อมูล/ จัดพิมพ์โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คพอ. รุน่ 99 อุบลราชธานี

ไอศกรีมโฮมเมด

รวบรวมเมนูไอศกรีมโฮมเมดในเเบบต่างๆ โดยในเล่ ม ได้ ใ ห้ ร ายละเอี ย ดของส่ ว นผสม อุปกรณ์ และการเก็บรักษา พร้อมภาพตัวอย่าง ประกอบชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น เจลาโต้รสนม วานิลลา เจลาโต้รสชา เจลาโต้รสผลไม้เขตร้อน ไอศกรีมรสวานิลลา ไอศกรีมรสรัมเรซิน่ ท็อปปิง้ ซอสผลไม้เเละไซรัป เชอร์เบทรสมะม่วงและอืน่ ๆ อีกมากมายในเล่ม เหมาะส�ำหรับผู้ที่ชื่นชอบ การท�ำไอศกรีมโฮมเมด จัดพิมพ์โดย ส�ำนักพิมพ์ แม่บา้ น ราคาหน้าปก 220.-

ไอศกรีม พาทิสเซอรี

ไอศกรีมพาทิสเซอรี (Ice Cream Patisserie) ซึ่งได้เลือกสรรขนมที่เหมาะจะใช้ไอศกรีมเป็น ส่วนประกอบ ได้รสอร่อย ท�ำง่าย กินแล้ว เข้ากันดี เช่น เค้กไอศกรีมทีรามิสุ ไอศกรีม บราวนี่ ไอศกรีมสตรอเบอร์รชี สี พาย ไอศกรีม คุ ก กี้ แ ซนด์ วิ ช ไอศกรี ม โมจิ ช าเขี ย ว ฯลฯ นอกจากนีย้ งั มีสตู รท�ำไอศกรีมพืน้ ฐานด้วยเครือ่ งท�ำไอศกรีม รวมถึงเชอร์เบท และกรานิตา้ ไอศกรีมรสฉ�ำ่ เย็น ท�ำโดยไม่ใช้เครือ่ งท�ำไอศกรีมก็อร่อยฉ�ำ่ ใจ ได้ทกุ สูตร มีภาพขัน้ ตอนการท�ำโดยละเอียด พร้อมข้อมูลแนะน�ำส่วนผสม ตลอดจนอุปกรณ์ท�ำไอศกรีมอย่างละเอียด แล้วไอศกรีมแสนอร่อยก็จะ อวดโฉมด้วยฝีมอื ของคุณเอง! แต่ง/แปล/จัดพิมพ์โดย ส�ำนักพิมพ์แสงแดด ราคาหน้าปก 250.-

ไอศกรีมโฮมเมด หวานชื่นฉ�่ำ รวยชื่นใจ

การเริ่มต้นคงจะไม่สวยงามเหมือน หน้าตาไอศกรีมนัก เพราะจะต้องเผชิญ กับสภาพการตลาดทีต่ อ้ งแข่งขันกันอย่าง ดุเดือดและพร้อมทีจ่ ะท�ำให้คณ ุ กลายเป็น ผู้แพ้ได้บนเวทีธุรกิจนี้ เพียงเพราะขาด เข็มทิศน�ำทาง จากความผิดหวังซ�้ำแล้ว ซ�ำ้ เล่าของผูป้ ระกอบการ จึงเป็นทีม่ าของ คูม่ อื อาชีพส�ำหรับผูท้ �ำธุรกิจไอศกรีมโฮมเมด จ�ำนวนหน้า 76 หน้า ราคา E-Book / Digital Price 69.- ข้อมูลโดย ส�ำนักพิมพ์พีเพิล มีเดีย บุค๊ ส์

Easy Ice Cream ไอศกรีมไม่ใช้เครื่อง

30 สู ต รไอศกรี ม ไม่ ใ ช้ เ ครื่ อ ง มี ทั้ ง ไอศกรี ม รสต่ า งๆ เชอร์ เ บท กรานิ ต ้ า และไอศกรีมแท่ง พร้อมขั้นตอนการท�ำ ไอศกรีมแบบละเอียด โดยที่ใช้อุปกรณ์ ไม่ เ ยอะและส่ ว นผสมที่ ห าง่ า ยตาม ท้ อ งตลาด ซึ่ ง เล่ ม นี้ สู ต รไอศกรี ม จะเนื้ อ เบานุ ่ ม ใกล้ เ คี ย ง กั บ ไอศกรี ม ใช้ เ ครื่ อ ง รั บ รองว่ า ถู ก ใจคนรั ก ไอศกรี ม ที่ อ ยาก ท�ำไอศกรีมรสใหม่ตามสไตล์ตัวเอง Key Message : ครั้งแรก กั บ การท�ำไอศกรี ม แสนอร่ อ ยแบบไม่ ต ้ อ งใช้ เ ครื่ อ งที่ คุ ณ หรื อ ใครก็ท�ำเองได้งา่ ยๆ ทีบ่ า้ น ผูแ้ ต่ง/จัดพิมพ์โดย ส�ำนักพิมพ์อมรินทร์ Cuisine ราคาหน้าปก 225.-

ไอศกรีม ประวัติศาสตร์แสนอร่อย

ประวัตศิ าสตร์แสนอร่อยของไอศกรีม จะพาเราสู ่ ก ารเดิ น ทางอั น น่ า ตื่ น ตา ตื่นใจ จากโลกเก่าสู่โลกใหม่ จากฤดู เก็บเกี่ยวน�้ำแข็งในจีนโบราณไปถึงงาน ฉลองวันเกิด ในยุคพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และ ไอศกรีมโคนที่เป็นศิลปะหลุดโลกผลงาน ของ แอนดี้ วอร์ฮอล นี่คือเรื่องราวที่ เต็มไปด้วยการผจญภัย ต�ำนาน และ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ชวนตะลึง...ไอศกรีม เป็ น หนึ่ ง ในความสุ ข ที่ เ ก่ า แก่ ที่ สุ ด และเสมอภาคที่ สุ ด ในโลกนี้ ไม่ ว ่ า คุ ณ จะเป็ น ใคร ยากดี มี จ นแค่ ไ หน อยู ่ ใ นตระกู ล สู ง ต�่ ำ เพียงไร คุณก็กนิ ไอศกรีมและมีความสุขกับมันได้ โดย ส�ำนักพิมพ์ มติชน หนา 224 หน้า ราคาหน้าปก 175.-

สถานที่สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม ห้องสมุดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 0 2202 4425, 0 2202 4417 หรือ 0 2354 3237 เว็บไซต์ http://library.dip.go.th อุตสาหกรรมสาร 41


ใบสมัครสมาชิก

วารสารอุตสาหกรรมสาร 2560 สมาชิกเก่า

สมาชิกใหม่

วันที่สมัคร................................................ ชื่อ / นามสกุล........................................................................................................บริษัท/หน่วยงาน.......................................... ที่อยู่................................................................................................................................................................................... จังหวัด........................................................ รหัสไปรษณีย์.......................................... เว็บไซต์บริษัท......................................... โทรศัพท์................................................ โทรสาร..................................................ต�ำแหน่ง...................................................... อีเมล...................................................................

แบบสอบถาม 1. ผลิตภัณฑ์หลักที่ท่านผลิตคือ………………………………………………………………………………………...............................……………. 2. ท่านรู้จักวารสารนี้จาก…………………………………………………………………………………………………………………………………....... 3. ข้อมูลที่ท่านต้องการคือ……………………………………………………………………………………………………………………………….....… 4. ประโยชน์ที่ท่านได้จากวารสารคือ……………………………………………………………………………….………………………..............……... 5. ท่านคิดว่าเนื้อหาสาระของวารสารอุตสาหกรรมสารอยู่ในระดับใด เมื่อเทียบกับวารสารราชการทั่วไป

ดีที่สุด

ดีมาก

ดี

พอใช้

ต้องปรับปรุง

ดี

พอใช้

ต้องปรับปรุง

6. การออกแบบปกและรูปเล่มอยู่ในระดับใด ดีที่สุด

ดีมาก

7. ข้อมูลที่ท่านต้องการให้มีในวารสารนี้มากที่สุดคือ (ใส่หมายเลข 1...2...3... ตามล�ำดับ)

การตลาด

การให้บริการของรัฐ

สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ

ข้อมูลอุตสาหกรรม

อื่นๆ ระบุ...................................

8. คอลัมน์ที่ท่านชอบมากที่สุด (ใส่หมายเลข 1...2...3... ตามล�ำดับความชอบ)

Interview (สัมภาษณ์ผู้บริหาร)

Product Design (ออกแบบผลิตภัณฑ์)

Good Governance (ธรรมาภิบาล)

SMEs Profile (ความส�ำเร็จของผู้ประกอบการ)

Report (รายงาน / ข้อมูล)

Innovation (นวัตกรรมใหม่)

Market & Trend (การตลาด / แนวโน้ม)

Book Corner (แนะน�ำหนังสือ)

อื่นๆ ระบุ......................................

9. ท่านได้รับประโยชน์จากวารสารอุตสาหกรรมสารมากน้อยแค่ไหน

ได้ประโยชน์มาก

ได้ประโยชน์พอสมควร

ได้ประโยชน์น้อย

ไม่ได้ใช้ประโยชน์

10. เทียบกับวารสารราชการทั่วไป ความพึงพอใจของท่านที่ได้รับจากวารสารเล่มนี้ เทียบเป็นคะแนนได้เท่ากับ 91-100 คะแนน

81-90 คะแนน

สมัครสมาชิกวารสาร

71-80 คะแนน

61-70 คะแนน

ต�่ำกว่า 60 คะแนน

กรอกใบสมัครซึ่งอยู่หน้าสุดท้ายของเล่มจากนั้นส่งใบสมัครได้ 3 ทาง ได้แก่ 1. สมัครทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึง บรรณาธิการวารสารอุตสาหกรรมสาร กลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 2. สมัครทางเครื่องโทรสาร หมายเลข 0 2354 3299 3. สมัครทางอีเมล : e-journal@hotmail.com


http://www.dip.go.th https://www.dip.go.th กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น พั ฒ นาอุ ต สาหกรรม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้ มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เ ป็ น เลิศ และ มีความยัง่ ยืนสูส่ ากล โดย 1. เพิม่ มูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2. สร้างแบรนด์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของ SMEs เข้าสู่ตลาด 3. เพิ่มผลิตภาพ SMEs 4. เพิ่มการใช้ระบบดิจิทัลในการประกอบการ

https://bsc.dip.go.th

ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม หรือ BSC

เป็นหน่วยงานภายใต้ส�ำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการข้อมูลสารสนเทศ และ บริการปรึกษาแนะน�ำเบื้องต้น โดยมุ่งเน้นเรื่องข้อมูลทางอุตสาหกรรม โอกาสการลงทุน โอกาสทางธุรกิจ และการเพิม่ ความสามารถในการแข่งขัน ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม

http://nec.dip.go.th

โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่

เป็นหน่วยงานภายใต้ส�ำนักพัฒนาผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สนับสนุน และผลักดัน ให้เกิดวิสาหกิจใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนนักศึกษาจบใหม่ ผู้ว่างงาน และพนักงานลูกจ้างที่มีศักยภาพ ให้สามารถสร้างโอกาสประกอบธุรกิจด้วยตนเอง

http://credit.dip.go.th

เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรม ในครอบครัวและหัตถกรรมไทย

เป็นหน่วยงานภายใต้ส�ำนักบริหารกลาง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สนับสนุนด้านการเงิน ส�ำหรับ การจัดการวัตถุดบิ เครือ่ งมืออุปกรณ์การผลิต การจ้างแรงงาน และการให้กยู้ มื เพือ่ เป็นทุนหมุนเวียน ส�ำหรับการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย โดยมีวงเงินให้กู้และระยะ เวลาผ่อนช�ำระคืนเงินกู้ ดังนี้ 1. วงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท ผ่อนช�ำระคืนภายใน 2 ปี 2. วงเงินกู้เกิน 50,000 ถึง100,000 บาท ผ่อนช�ำระคืนภายใน 4 ปี 3. วงเงินกู้เกิน 100,000 ถึง200,000 บาท ผ่อนช�ำระคืนภายใน 6 ปี 4. วงเงินกู้เกิน 200,000 ถึง700,000 บาท ผ่อนช�ำระคืนภายในเวลา 8 ปี

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ถนนพระรามที่ 6 (เยือ้ งโรงพยาบาลรามาธิบดี) เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400


อุตสาหกรรมสารออนไลน์ http://e-journal.dip.go.th

วารสารเพื่อผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP เว็บวารสารปรับโฉมใหม่ ! อุตสาหกรรมสารออนไลน์ http://e-journal.dip.go.th ฐานข้อมูลส่งเสริมความรูด้ า้ นอุตสาหกรรม และ แนวโน้มของอุตสาหกรรม กระบวนการผลิต การตลาด การบริหารการจัดการ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ การให้บริการต่างๆ ตลอดจนตัวอย่างผู้ประกอบการที่ประสบความส�ำเร็จ อยากรู้ข้อมูลคลิกอ่านได้เลย อยากเก็บข้อมูลดาวน์โหลดได้เลย

สมัครเป็นสมาชิกได้ที่

วารสารอุตสาหกรรมสาร กลุม่ ประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 สมัครผ่านโทรสารที่หมายเลข 0 2354 3299 หรือ สมัครผ่านอีเมล : e-journal@hotmail.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.