The PREMIUM@KU

Page 1

รายงานสรุปผลการดำเนินงาน โครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินงานโดย ศูนย์นวัตกรรมกรรมวิทยาการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-FIRST) โดยความร่วมมือระหว่าง คณะเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะประมง คณะวิทยาศาสตร์ คณะวนศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สกลนคร และสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
สารบัญ หลักการและเหตุผล 1 วัตถุประสงค์ 3 เป้าหมายของโครงการ 3 วิธีการดำเนินงานและแผนการดำเนินงาน 3 ตารางแผนการดำเนินงาน 4 ระยะเวลาดำเนินการ 4 ที่ปรึกษาและคณะทำงาน 5 ผลการดำเนินงาน 6 SOP ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร The PREMIUM@KU 6 1. น้ำนมข้าวโพดไร่สุวรรณ (UHT) 19 2. น้ำอัดลมสมุนไพร 22 3. ไข่ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) 27 4. ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย 36 5, ปลาสลิดแดดเดียวแช่แข็ง 43 6. ปลากุแลอบแห้ง (Dried Goldstrip sardinella Fish) 48 7. ข้าวฮางงอก 54 8. เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้ (Fruit Vinegar Drink) 59 9. น้ำปลาหวาน 69 10. น้ำแกงส้ม 74 11. น้ำนมข้าวโพดไร่สุวรรณ (พาสเจอร์ไรซ์) 77 12. แป้งกล้วย ภาคผนวก 1. แบบฟอร์มการเสนอผลิตภัณฑ์เข้าร่วม 2. ภาพกิจกรรม 3. ผลการตรวจวิเคราะห์
1 รายงานสรุปผลการดำเนินงาน โครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินงานโดย ศูนย์นวัตกรรมกรรมวิทยาการอาหาร โดยความร่วมมือระหว่าง คณะเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะประมง คณะวิทยาศาสตร์ คณะวนศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สกลนคร และสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร หลักการและเหตุผล เนื่องด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีแผนการดำเนินงานโครงการ KUniverse ซึ่งเป็นโครงการ พลิกโฉม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อยกระดับความรู้ นวัตกรรมของประเทศผ่านสินค้าและบริการ คุณภาพคู่กับการพัฒนาคน และการสร้างนวัตกรรมให้ไปสู่ระดับนานาชาติโดยจะขับเคลื่อนอย่างเต็มกำลังในปี พ.ศ. 2565 นี้ โดยเชื่อมโยงระหว่าง - สินค้า และบริการคุณภาพ - Market place ในระดับชาติและนานาชาติ - การรับรองคุณภาพสินค้าและบริการของประเทศ - KU holding company and Start up company - การสร้างผู้ประกอบการ - การพัฒนานิสิตและคนวัยทำงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ - แหล่งสร้าง Start up - แหล่งเรียนรู้ - แหล่งความรู้เชิงท่องเที่ยว - จุด Check in ของประเทศ ทั้งหมดเป็นการบูรณาการของการดำเนินการของคณะ สำนัก สถาบัน ที่มีภารกิจ (Function) ต่างๆ อยู่แล้ว แต่เมื่อนำมาบูรณาการกันจักนำไปสู่วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างคนและ นวัตกรรมระดับโลก ทั้งนี้ เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 KUniverse คือ จักรวาลแห่งการเรียนรู้สู่โลกธุรกิจในยุคอนาคตของชาวเกษตรศาสตร์ และพันธมิตรทางปัญญา ทั้งภาคเกษตร อาหาร BCG นวัตกรรม ผู้ประกอบการ SMEs Startup และภาคเอกชน ด้วยการขับเคลื่อนผ่าน Entrepreneurial university และ Innovative university และยังเป็นการยกระดับความร่วมมือของภาค มหาวิทยาลัยกับภาครัฐและเอกชนในระดับชาติและนานาชาติเพื่อการแข่งขันได้ และสร้างความโดดเด่นในเวที ระดับชาติ และนานาชาติพร้อมกับต่อยอดสร้าง reputation ระดับโลก องค์ประกอบหลักของ KUniverse ได้แก่ - The PREMIUM@KU: เป็นแพลตฟอร์มแห่งการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพสูง ด้านเกษตรและอาหารแบบครบวงจร 360 องศา - ระบบการรับรองมาตรฐานคุณภาพขั้นสูง “KU quarantine / KU-best” ด้วยการรับรอง คุณภาพผลิตภัณฑ์และการผลิตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย - ระบบพัฒนา “KUality” ด้วยการสร้างตราสินค้าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สร้างตราสินค้า -
- ร้านอาหารคุณภาพ “Kin-dee & U-dee” เพื่อบริการเมนู Chef Table : “แล้วแต่ KU” - การพัฒนาการเรียนรู้ผ่าน วิทยาลัยบูรณาการ และส่วนงานต่างๆ เพื่อพัฒนานิสิตและคนวัย ทำงาน ผ่านสินค้าและบริการ เป็นการเรียนบนพื้นฐานของประสบการณ์และการปฏิบัติจริง (experience base learning and reality based learning) - การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุน การพัฒนา smart Entrepreneurs SME และ smart farmers ผ่านคณะ สำนักวิชา (academic faculty) และวิทยาลัยบูรณาการ (School of Integrated Science) และส่วนงานต่างๆ - ระบบการตลาดออนไลน์ (online market) และการเรียนรู้ควบคู่ในห้องเรียนและออนไลน์ hybrid learning เพื่อเชื่อมโยง มก. ให้อยู่ในโลกดิจิทัล ทั้งระดับชาติและนานาชาติ
(Branded KU) โดยใช้องค์ความรู้ด้านการตลาด การสร้างนวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิต และ
ร้านค้า “KU-mart” เพื่อจำหน่ายสินค้าคุณภาพที่คัดสรรและผ่านการรับรองคุณภาพ
3 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อจัดทำต้นแบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและ อาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ ภายใน 10 เดือน 2. ยกระดับผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้เป็น ผลิตภัณฑ์คุณภาพ ความปลอดภัยสูง (The Premium@KU) 3. สร้างนวัตกรรมระดับประเทศ ส่งเสริมการเกิดขึ้นของ Business Unit และ Start up Company ภายใต้ Holding Company ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป้าหมายของโครงการ ได้ต้นแบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ ภายใน 10 เดือน (โดยจะได้ต้นแบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อาหาร The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์ภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565) วิธีการดำเนินโครงการและแผนการดำเนินงาน 1. ประชุมหารือวางแผนการดำเนินงานและคัดเลือกต้นแบบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ 2. จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีเอกลักษณ์ของ KU ทั้งนี้ อ้างอิงหลักเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานอาหารอ้างอิงตามเกณฑ์ประกาศกระทรวง สาธารณสุข มาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยอาหาร และ/หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และออกแบบมาตรฐานสินค้า เกษตรและอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ภายใต้ “The Premium@KU” 3. ออกแบบวิธีมาตรฐานปฏิบัติ (SOP) เพื่อใช้ในการตรวจติดตามคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ต้นแบบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทวนสอบความใช้ได้ก่อนที่จะสรุปเป็น SOP 4. ออกแบบและจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ (Brochure) และ Clip Video ประชาสัมพันธ์ 5. สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
4 ตารางแผนการดำเนินงาน กิจกรรม/เดือน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 1. ประชุมหารือวางแผนการดำเนินงานและคัดเลือก ต้นแบบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ ✓ ✓ ✓ 2. จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีเอกลักษณ์ของ KU โดย อ้างอิงหลักเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานอาหารอ้างอิงตามเกณฑ์ประกาศกระทรวง สาธารณสุข มาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยอาหาร และ/หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และออกแบบมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ภายใต้ “The Premium@KU” ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ 3 ออกแบบวิธีมาตรฐานปฏิบัติ (SOP) เพื่อใช้ในการ ตรวจติดตามคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ต้นแบบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทวนสอบความ ใช้ได้ก่อนที่จะสรุปเป็น SOP ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ 4. ออกแบบและจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ (Brochure) และ Clip Video ประชาสัมพันธ์ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ 5 สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ✓ ✓ ระยะเวลาดำเนินการ 10 เดือน (1 มีนาคม พ.ศ. 2565 - 31 ธันวาคม 2565)
5 ที่ปรึกษา 1 ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี 2 รศ.ดร.สุตเขตต์ นาคะเสถียร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ 3 ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม 4 รศ.ดร.อนุวัตร แจ้งชัด คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร 5 ดร.พิศมัย ศรีชาเยช ผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 6 รศ.ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย คณบดีคณะเกษตร 7 ผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดีคณะประมง 8 รศ.ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ 9 ผศ.ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย คณบดีคณะวนศาสตร์ 10 ผศ.ดร.ศุภสิทธิ์ สิทธาพานิช คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สกลนคร คณะทำงาน 1 ผศ.ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการ ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-FIRST) 2 ดร.ประมวล ทรายทอง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย
3 นางวนิดา เทวารุทธิ์ ชิติสรรค์กุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ/นักวิจัย ชำนาญการพิเศษ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
นางจันทร์สุดา จริยวัฒนวิจิตร หัวหน้าศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร/นักวิจัย ชำนาญการพิเศษ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 5 ผศ.ดร.กุลนาถ ทองขาว หัวหน้าภาควิชาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร 6 รศ.ดร.สุดสาย ตรีวานิช อาจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร 7 ผศ.ดร.กนิฐพร วังใน อาจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร 8 ผศ.ดร.ปัทธิมา อุดมไพจิตรกุล อาจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร 9 นางเขมพัษ ตรีสุวรรณ นักวิจัย ชำนาญการ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 10 นางสาวธนาทิพย์ สุทธิประภา เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 11 นางสาวสุพรรษา สายสินธุ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 12 นางสาวปรียชาติ จันทโชติ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-FIRST)
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
4
6 ผลการดำเนินงาน SOP ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร The PREMIUM@KU การได้รับรองตรา The PREMIUM@KU ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะเด่น มีคุณภาพหรือมาตรฐานตามเกณฑ์ ผ่านการคัดสรรจากสินทรัพย์ ทางความรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลิตภัณฑ์มีการผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีคุณภาพชั้นเยี่ยม ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์ความแตกต่าง และรสชาติที่โดดเด่น ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยที่สอดคล้องตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เติมเต็มความมั่นคงทางโภชนาการและวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ ยกระดับความยั่งยืนของ สภาพแวดล้อมเพื่อลูกหลาน ตรา The PREMIUM@KU ผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารที่ได้รับตรา The PREMIUM@KU สามารถใช้ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวได้ โดยแสดงให้เห็นได้ง่ายและชัดเจนไว้ที่บรรจุภัณฑ์ และวางจำหน่ายที่ร้าน The PREMIUM@KU ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
7 ขั้นตอนการขอรับรองตรา The PREMIUM@KU สำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ผู้ขอรับรองยื่นคำขอรับรองตรา The PREMIUM@KU พร้อมเอกสารและหลักฐาน ฝ่ายควบคุมคุณภาพร้าน The PREMIUM@KU ตรวจคุณสมบัติเบื้องต้น และเอกสาร แจ้งผลการรับรองต่อผู้ขอรับรองตรา The PREMIUM@KU ภายใน 1 เดือน นับจากการยื่นขอรับรอง ประเมินและสรุปผลการตัดสิน ยื่นขอรับการตรวจประเมิน เพื่อรับรอง ตรา The PREMIUM@KU ใหม่ ส่งผลตรวจวิเคราะห์คุณภาพหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และเอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูลเพื่อแสดงการรักษา คุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ทุก ๆ 6 เดือน นับ จากวันที่ได้รับรองตรา The PREMIUM@KU ไม่ผ่าน ผ่าน ไม่ผ่าน ผ่าน แจ้งให้ปรับปรุงแก้ไข เพื่อยื่น ขอรับการตรวจประเมิน เพื่อ รับรองตรา The PREMIUM@KU ใหม่ แจ้งผลการคงสิทธิ์การ ได้รับรองตรา The PREMIUM@KU
8 ผู้ขอการรับรองตรา The PREMIUM@KU 1. ยื่นเอกสารขอรับการพิจารณาเพื่อรับตรา The PREMIUM@KU แสดงบนผลิตภัณฑ์ ผู้ที่ต้องการขอการรับรองตรา The PREMIUM@KU ให้แจ้งฝ่ายควบคุมคุณภาพร้าน The PREMIUM@KU และดำเนินการกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มการสเนอผลิตภัณฑ์เข้าร่วมโครงการ The PREMIUM@KU ตามลิงค์ https://docs.google.com/forms/d/e/1 FAIpQLSfu1 hdSPgxKIJJY9e5cTa0InmLePN0j7c2wGY1gbKeuzpKOw/viewform โดยมีรายละเอียดที่ต้องกรอกข้อมูลแสดงใน ภาคผนวก 1 พร้อมแนบเอกสาร หรือหลักฐานอื่นเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดดังนี้ • มีบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีส่วนร่วมในผลิตผลทางการเกษตร หรือการ พัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร หรือเป็นบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจขอรับรองตรา The PREMIUM@KU ให้กับผลิตผลทางการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ที่มีคุณภาพ มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด • มีการผลิตเชิงพาณิชย์หรือจำหน่ายต่อเนื่องเป็นประจำ หรือหากมีการขายสิทธิ์ให้กับ
อักษรจากผู้บริหารสูงสุดของบริษัทในการให้นำเสนอผลิตภัณฑ์เข้าร่วมโครงการ โดยให้แนบส่ง เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังกล่าว • มีข้อมูลบรรยายถึงความเป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะอันโดดเด่นของผลิตภัณฑ์เกษตรและ อาหาร เช่น ประวัติความเป็นมา สายพันธุ์ที่มีลักษณะโดดเด่น ลักษณะและคุณค่าทางโภชนาการ พร้อมด้วยรายละเอียดผู้ผลิต และสถานที่ผลิต รวมทั้งตัวแทนผู้ประสานงาน
บริษัทเอกชนเป็นผู้ผลิตแทน ในกรณีดังกล่าวต้องมีหนังสือได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์
9 ตัวอย่าง ลำดับที่ ผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ผู้ประสานงาน เอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะอัน โดดเด่น 1 น้ำนมข้าวโพดหวาน 97.8% ตราไร่สุวรรณ (ผ่าน กระบวนการฆ่าเชื้อโดยวิธี พาสเจอร์ไรซ์) ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่าง แห่งชาติ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำบล กลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา 30320 โทร 080-158-8680 นายข้าวโพด หวานดี 1. ความสด 2. สายพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ อินทรี 2 ที่มีรสหวานและกลิ่นหอม โดดเด่น 3. ปริมาณเบต้าแคโรทีนและ lutein 2 เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชู หมักผสมน้ำรสบลูเบอร์รี่ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 นางสาวน้ำส้ม ใจดี 1. หมักด้วยวิธีทางธรรมชาติ หรือ กล้าเชื้อน้ำส้มสายชูที่ได้จาก ธรรมชาติสายพันธุ์ Acetobacter aceti TISTR 354 2. ใช้เทคนิคเฉพาะในการหมักแบบ
5.
6.
low-density lipoprotein (LDL) 7. ช่วยชะลอวัยและป้องกันมะเร็ง จากสารต้านอนุมูลอิสระ 8. มีกลิ่นหอมของน้ำผึ้งและกลิ่น เฉพาะของน้ำผลไม้ที่นำมาเป็น ส่วนประกอบหลัก 9. ไม่เติมน้ำตาลทราย ไม่แต่งกลิ่น ไม่แต่งสี 10. ไม่ใส่วัตถุกันเสีย 11. ควบคุมกระบวนการผลิตด้วย ระบบ Good Manufacturing Practices (GMP)
Rapid tray สามารถหมักได้อย่าง รวดเร็ว 3. ไม่แต่งกลิ่น ไม่เจอสีสังเคราะห์ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย 4. ดื่มง่าย เพียงแค่แช่เย็น แล้วเปิด ขวด ดื่มได้ทุกวัน
ช่วยย่อยอาหาร
ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์และไขมันชนิด
10
หรือมีคุณลักษณะที่เด่น เป็นพิเศษ • มีการผลิตในสถานที่ผลิตได้รับการรับรองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจากหน่วยงานของรัฐที่มี อำนาจหน้าที่ หรือหน่วยรับรองที่หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ให้การยอมรับ รวมทั้งแนบ ข้อมูลแนวปฏิบัติและการจัดการด้านสุขลักษณะการผลิตของสถานที่ผลิต • มีเอกสารแสดงผลการวิเคราะห์ที่เป็นปัจจุบันล่าสุด (ผลการตรวจวิเคราะห์อย่างน้อย 2 เดือน ก่อนวันยื่นขอรับรอง) โดยผลวิเคราะห์ต้องได้จากการจัดเตรียมตัวอย่างผลิตภัณฑ์ตาม กระบวนการผลิตจริง และมีการสุ่มชักตัวอย่างผลิตภัณฑ์ และขนส่งตัวอย่าง ตามหลักเกณฑ์แนบ ท้าย เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพหรือมาตรฐานกับหน่วยงานการตรวจวิเคราะห์ที่ผ่านการ รับรอง ISO/ IEC 17025 (เช่น ศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร สถาบันค้นคว้าและพัฒนา ผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ทั้งนี้รายการการตรวจวิเคราะห์คุณภาพทาง กายภาพ ทางเคมี และจุลินทรีย์ขึ้นกับประเภทของผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มในภาชนะ ปิดสนิทต้องตรวจตามเกณฑ์มาตรฐานของประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ผลิตภัณฑ์ที่
จะมีโอกาสได้รับการรับรอง The PREMIUM@KU • หากมีข้อซักถามหรือปรึกษาในประเด็นการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหาร สามารถ ติดต่อขอรับการปรึกษาได้ที่ ศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร สถาบันค้นคว้าและพัฒนา ผลิตภัณฑ์อาหาร (อาคารอมรภูมิรัตน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เจตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร: 02-942-8629 ต่อ 1800 และ 1811 อีเมล: ifrfqa@ku.ac.th, ifrfqa@yahoo.com เวลาทำการ: วันจันทร์ - ศุกร์ (เวลา 08.3016.30) ยกเว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ หมายเหตุ ปิดรับตัวอย่างเวลา 16.00 น.
• มีหลักฐานแสดงการผลิตที่มีความสอดคล้องกับกระบวนการผลิตที่ดี • มีการใช้วัตถุดิบหรือส่วนผสมที่สำคัญที่มีคุณภาพหรือมาตรฐานที่คุณลักษณะเด่นเป็นพิเศษ • มีกระบวนการผลิตที่พิเศษที่ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพหรือมาตรฐาน
ผ่านเกณฑ์คุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานขั้นต่ำ
11 ตัวอย่าง ลำดับที่ ผลิตภัณฑ์ เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ 1 น้ำนมข้าวโพดหวาน 97.8% ตราไร่ สุวรรณ (ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ โดยวิธีพาสเจอร์ไรซ์) - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
บรรจุปิดสนทิ
(ฉบับที่ 414) พ ศ. 2563 มาตรฐานอาหารที่มี สารปนเปื้อน - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 416) พ ศ. 2563 มาตรฐานอาหาร ด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ ศ. 2563 วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) 2 เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูหมักผสม น้ำรสบลูเบอร์รี่ - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ ศ. 2556 เครื่องดื่มในภาชนะ บรรจุปิดสนทิ พาสเจอไรส์ pH ต่ำกว่า 4.3 - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ ศ. 2563 มาตรฐานอาหารที่มี สารปนเปื้อน - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 416) พ ศ. 2563 มาตรฐานอาหาร ด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
จัดเตรียมและส่งผลิตภัณฑ์ตัวอย่างที่ผ่านกระบวนการผลิตจริงพร้อมฉลาก 2. ส่งผลตรวจวิเคราะห์คุณภาพหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และเอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูลประกอบอื่นๆ เพื่อแสดงถึงการรักษาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพและผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองตาม ได้รับรองตรา The PREMIUM@KU ผู้ ยื่นขอการรับรองฯ ต้องส่งผลตรวจวิเคราะห์คุณภาพหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และเอกสาร หลักฐาน หรือ ข้อมูลประกอบอื่น ๆ เพื่อแสดงถึงการรักษาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา ที่ได้การรับรองตรา The PREMIUM@KU ทุก ๆ 12 เดือนต่อครั้ง นับจากวันที่ได้รับรองตรา The PREMIUM@KU ไปยังฝ่ายควบคุมคุณภาพร้าน The PREMIUM@KU โดยผู้ขอรับรองต้องดำเนินการสุ่มชัก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ และส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์คุณภาพหรือมาตรฐานกับหน่วยงานการตรวจวิเคราะห์ที่ผ่าน การรับรอง ISO/IEC 17025 หากพบว่าผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ และเอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูล ประกอบอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าไม่เป็นไปตามคุณภาพและมาตรฐานที่กำหนด มีผลต่อการยกเลิกการรับรองตรา
(ฉบับที่ 356) พ ศ. 2556 เครื่องดื่มในภาชนะ
พาสเจอไรส์ pH สูงกว่า 4.3 - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ ศ. 2563 วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) •
12 The PREMIUM@KU ผู้ยื่นขอรับรองต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขจนกว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามที่กำหนด จึงสามารถยื่นขอรับการประเมิน เพื่อรับรองตรา The PREMIUM@KU ใหม่ หากมีข้อซักถามหรือปรึกษา สามารถติดต่อขอรับการปรึกษาได้ที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพร้าน The PREMIUM@KU อาคาร KU Avenue 1 ตรงข้ามสนามฟุตบอลอินทรีจันทรสถิตย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เจตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00-19.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. โทร 097-154-8817 3. จัดส่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองตรา The PREMIUM@KU ไปวางจำหน่ายที่ร้าน The PREMIUM@KU ตามเงื่อนไขข้อตกลงร่วมกัน
13 ฝ่ายควบคุมคุณภาพของร้าน The PREMIUM@KU 1. พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ขอรับรอง เอกสาร หลักฐาน และข้อมูล ว่าสอดคล้องตาม หลักเกณฑ์หรือข้อกำหนดของการได้รับรองตรา The PREMIUM@KU 2. แจ้งผลการประเมินตัดสิน ข้อปฏิบัติ และข้อตกลงร่วมให้ผู้ขอรับรองรับทราบภายใน 1 เดือนนับจากวันที่ยื่น ขอการรับรอง 3. ติดตามประเมินผู้ได้รับรองตรา The PREMIUM@KU จากผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพและมาตรฐานของ ผลิตภัณฑ์ และเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่น ๆ จากผู้ได้รับรองตรา The PREMIUM@KU ทุก ๆ 12 เดือน ต่อครั้ง นับจากวันที่ผู้ขอรับรองได้รับรองตรา The PREMIUM@KU สำหรับผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ อาจมีสุ่มชัก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายไปตรวจวิเคราะห์ เพื่อทวนสอบ 4. แจ้งผลการประเมินติดตามไปยังผู้ได้รับรองตรา The PREMIUM@KU หากผู้ได้รับรองไม่สามารถปฏิบัติตาม ได้ หรือตรวจพบว่าผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ และเอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูลประกอบอื่น ๆ แสดงให้ เห็นว่าไม่เป็นไปตามคุณภาพและมาตรฐานที่กำหนด มีผลต่อการยกเลิกการรับรองตรา The PREMIUM@KU หากผลการประเมิน “ผ่าน” ผู้ได้รับรองตรา The PREMIUM@KU ยังคงสิทธิ์การได้รับรองตรา The PREMIUM@KU ต่อไป
14 (ร่าง) รายชื่อต้นแบบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากการประชุมหารือ ร่วมกับคณะเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะประมง คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สกลนคร และสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร จำนวน 16 ผลิตภัณฑ์ (สำหรับการคัดเลือกมาจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์) เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565 ที่ ผลิตภัณฑ์ หน่วยงาน 1 น้ำอัดลมสมุนไพร (KU CANNAFE) คณะเกษตร 2 น้ำนมข้าวโพด (น้ำนมข้าวโพดไร่สุวรรณ) คณะเกษตร 3 ไข่ไก่ดำนิลเกษตร(ศาสตร์) คณะเกษตร 4 น้ำปลาหวาน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 5 เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้ (Fruit Vinegar Drink) สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 6 ข้าวฮางงอก คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สกลนคร 7 ไอศกรีมกัญชา คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สกลนคร 8 ลูกชิ้นปลา คณะประมง 9 ห่อหมก คณะประมง 10 เนยถั่ว 3 รส (โกโก้ น้ำผึ้ง งาดำ) คณะเกษตร 11 งาดำคั่วบด (พันธุ์ มก. 18) คณะเกษตร 12 แป้งกล้วย สถานีวิจัยปากช่อง คณะเกษตร 13 ถ่านและน้ำส้มควันไม้ คณะวนศาสตร์ 14 แมคคาเดเมีย* ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตร 15 เชอรี่* สถานีวิจัยภูทับเบิก 16 ราสเบอรี่* คณะเกษตร *เป็นผลไม้ตามฤดูกาล ทั้งนี้ ต้นแบบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ที่จะนำมาจัดทำมาตรฐานฯ ภายในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565 นี้ ได้แก่ น้ำนมข้าวโพด และเครื่องดื่ม จากน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้
15 ผลการดำเนินงาน ต้นแบบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ ที่ ผลิตภัณฑ์ หน่วยงาน 1 น้ำนมข้าวโพด ไร่สุวรรณ (UHT) คณะเกษตร 2 น้ำอัดลมสมุนไพร (KU CANNAFE) คณะเกษตร 3 ไข่ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) คณะเกษตร 4 ถั่งเช่า คณะวิทยาศาสตร์ 5 ปลาสลิดแดดเดียว (แช่เยือกแข็ง) คณะประมง 6 ปลากุแลอบแห้ง (Dried Goldstrip sardinella Fish) คณะประมง 7 ข้าวฮางงอก คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สกลนคร 8 เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้ (Fruit Vinegar Drink) สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 9 น้ำปลาหวาน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 10 น้ำแกงส้ม สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดสอบแต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ที่ ผลิตภัณฑ์ หน่วยงาน 1 น้ำนมข้าวโพด ไร่สุวรรณ (พาสเจอร์ไรส์) คณะเกษตร 2 แป้งกล้วย สถานีวิจัยปากช่อง คณะเกษตร

Description of the PREMIUM@KU (FOOD)

16
17 รายชื่อผลิตภัณฑ์
18 รายชื่อผลิตภัณฑ์
19 1 น้ำนมข้าวโพด UHT (The PREMIUM@KU) ประวัติความเป็นมา (ผลิตภัณฑ์/ สถานที่ผลิต) ไร่สุวรรณ หรือ ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ เป็นต้นแบบการวิจัยและพัฒนาความรู้การ ปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดจนกลายเป็นแหล่งวิจัยข้าวโพดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย การส่งเสริม ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวพันธุ์อินทรี 2 เริ่มตั้งแต่ปี 2542 โดยเกษตรกรนำเมล็ดพันธุ์ไป ปลูกและส่งผลผลิตกลับมายังไร่สุวรรณ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและผู้บริโภค เพราะอายุเก็บเกี่ยวสั้นมีปริมาณน้ำตาลซูโครสสูง ทำให้ยืดเวลาสุกแก่ที่เหมาะสมต่อการรับประทาน และมี ความหวานธรรมชาติ โดยเฉลี่ย 14.5 องศาบริกซ์ นี่คือเหตุผล ทำไมข้าวโพดหวานไร่สุวรรณจึงเป็นที่กล่าวขาน ต่อมาได้ริเริ่มแนวคิดหาทางแก้ไขปัญหา ปริมาณผลผลิตข้าวโพดที่ผันผวน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ให้ มีรายได้ที่ต่อเนื่องและมั่นคง โดยการแปรรูปผลผลิตน้ำนมข้าวโพดเป็นแบบ UHT เพื่อช่วยเพิ่มช่องทางการ จำหน่าย และการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้นลดปัญหาเรื่องการขนส่งและอายุการเก็บรักษา จึงได้แสวงหา เครือข่ายและร่วมมือพัฒนากับ บริษัทสหชลผลพืช จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทในเครือสหพัฒน์) โดยได้ร่วมกันเริ่ม คิดค้น ทดลอง และพัฒนาต้นแบบ รวมถึงพัฒนากระบวนการผลิต จนก่อกำเนิดน้ำนมข้าวโพดแบบ UHT ตรา "ไร่สุวรรณ" ที่มีถึง 3 สูตรให้เลือกสรรตามใจชอบด้วยกัน ได้แก่ �� สูตรกลมกล่อม (สีเขียว) �� สูตรผสมเนื้อข้าวโพด (สีเหลือง) �� สูตรไม่เติมน้ำตาล (สีฟ้า) กระบวนการผลิต 1.1 เก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักสดจากแปลงเกษตรกร 1.2 ส่งวัตถุดิบ ข้าวโพดฝักสดเข้าโรงงาน (บริษัท สหชลผลพืช จำกัด อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ) 1.3 โรงงานบริษัท สหชลผลพืช จำกัด แปรรูปตามกระบวนการผลิตได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP, HACCP, ISO22000 และฮาลาล 1.4 รับผลผลิต น้ำนมข้าวโพด UHT มาจำหน่าย

1. สูตรกลมกล่อม - น้ำข้าวโพด (Corn Milk) 94.0% - น้ำตาล (Sugar) 5.0 % - เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน (Salt) 0.1% - แต่งกลิ่นสังเคราะห์ (Artificial Flavor)

2. สูตรผสมเนื้อข้าวโพด - น้ำข้าวโพด (Corn Milk) 90.0% - น้ำตาล (Sugar) 5.0 % - เนื้อข้าวโพด (Corn pulp) 4.0% - เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน (Salt) 0.1% - สารให้ความคงตัว (NS 407) - แต่งกลิ่นสังเคราะห์ (Artificial Flavor)

3. สูตรไม่เติมน้ำตาล - น้ำข้าวโพด (Corn Milk) 95.0% - เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน (Salt) 0.1% - สารให้ความคงตัว (NS 407) - แต่งกลิ่นสังเคราะห์ (Artificial Flavor

20 ความ premium/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ มีความหวานธรรมชาติจากข้าวโพด โดยเฉลี่ย 14.5 องศาบริกซ์ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ที่เป็นเอกลักษณ์ ของน้ำนมข้าวโพดไร่สุวรรณ เก็บรักษาได้นาน ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญ
21 เอกสารประชาสัมพันธ์
22 2 เครื่องดื่มอัดลมสมุนไพร สูตรดั้งเดิม (The PREMIUM@KU) ประวัติความเป็นมา (ผลิตภัณฑ์/ สถานที่ผลิต) กัญชาและกัญชง ถือเป็นพืชที่มีศักยภาพในการเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการนำมาใช้ประโยชน์ ในทางการแพทย์และสุขภาพ อย่างไรก็ตาม กัญชาและกัญชงยังจัดให้เป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 อยู่ ดังนั้น การผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ก่อนจึงจะดำเนินการได้ ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้มีการแก้กฎหมายใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้นำกัญชา และกัญชงไปศึกษาและวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ ได้ ทำให้พืชนี้ได้รับความสนใจในการปลูกเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมมากขึ้น คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้พัฒนาโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาต้นแบบวิธีการปลูกและการสกัด สารสำคัญจากกัญชา/กัญชงเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการปลูก กัญชา/กัญชง ในระบบปิด (indoor) และพัฒนาวิธีการสกัดสารสำคัญจากกัญชา/กัญชงเพื่อใช้ประโยชน์ทาง การแพทย์ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา โดยโครงการฯ ได้รับใบอนุญาตนำเข้า ผลิต และจำหน่าย ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวง สาธารณสุข อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนั้นยังได้รับการอนุญาตจาก อย. ให้สามารถจำหน่ายใบ กิ่ง ลำ ต้น ราก กากที่เหลือจากการสกัดกัญชา/กัญชง และผลิตภัณฑ์จากกัญชา/กัญชงได้ ซึ่งทางโครงการฯ ได้ใช้ส่วน ของใบมาเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปโดยการนำมาทำน้ำอัดลมสมุนไพรกัญชา โดยมีแนวคิดที่จะทำให้สมุนไพร ไทยนั้นสามารถรับประทานหรือดื่มได้ง่ายขึ้นและเป็นเครื่องดื่มที่ชื่นชอบของทุกเพศทุกวัยและส่งเสริม ผลิตภัณฑ์ไทยให้ก้าวไกลสู่ตลาดโลกเป็นที่รู้จักและยอมรับในต่างชาติภายใต้แบรนด์ KU CANNAFE และยัง ส่งเสริมให้เกษตรกรไทยหันมาสนใจปลูกพืชกัญชาและกัญชงอย่างถูกวิธีเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้มีแรงขับเคลื่อน พัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน กระบวนการผลิต เริ่มจากการคัดวัตถุดิบต่างๆ เช่น อบเชย ขมิ้น กัญชง เป็นต้น ที่นำเข้ามายังโรงงานจากนั้นเข้าสู่ กระบวนการล้างทำความสะอาดและตัดตกแต่งบางส่วนที่ไม่ต้องการออก เมื่อได้วัตถุดิบที่ต้องการแล้วนำมาบด และชั่งส่วนผสมและนำมาผสมรวมกันให้ส่วนผสมเข้ากันแล้วจึงนำไปต้มด้วยหม้อแรงดันหลังจากผ่านกระบวน การต้มแล้วจะได้หัวเชื้อแล้วจึงนำหัวเชื้อนั้นไปทำการอัดด้วยก๊าซ CO2 หลังจากการผ่านกระบวนการอัดแล้ว เข้าสู่กระบวนการบรรจุลงขวดแล้วจึงนำไปใส่ลังและทำการเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้อง เพื่อรอการส่งจำหน่าย ต่อไป
23 ความ premium/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ใบกัญชงแห้งที่ได้นั้นมาจากการปลูกกัญชงในระบบปิดที่เรียกกันว่า ระบบ “Indoor” หรือ“Plant factory with artificial light (PFAL)” ซึ่งการปลูกด้วยระบบนี้จะทำให้ได้กลิ่นของใบกัญชงที่หอม และกลิ่นที่ ชัดมากกว่าการปลูกด้วยระบบอื่น ซึ่งกลิ่นที่ได้นั้นเป็นกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งเกิดจากเทคนิคการปลูกและการควบคุม สภาพแวดล้อมที่ดี จึงได้ใบกัญชงที่มีคุณภาพ ไร้สารตกค้างและโลหะหนัก ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญ กระบวนการผลิตถูกสุขลักษณะ ควบคุมด้วยหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice, GMP) โดยผลิตภัณฑ์น้ำอัดลมสมุนไพรทุกขวดผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
24 เอกสารประชาสัมพันธ์
25 เอกสารผลการวิเคราะห์/ทดสอบ
26 สรุปผลการวิเคราะห์/ทดสอบ ตัวอย่าง : น้ำอัดลมสมุนไพร รายการทดสอบ, หน่วยทดสอบ ผลการทดสอบ เกณฑ์มาตรฐาน ไม่มี เกณฑ์ สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน) ประกาศ อย. ฉบับที่ 356 ประกาศ
ฉบับที่
ประกาศ
ฉบับที่
1 ผ่าน 8. Salmonella spp., /25 ml ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 9. Staphylococcus aureus, 0.1 ml ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 10. Lead, mg/kg ไม่พบ (LOD=0.01) ไม่เกิน 1 ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ชนิดเหลวพร้อมดื่มที่ผ่าน กระบวนการสเตอริไรส์หรือยูเอชที : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 416) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ความปลอดภัย
อย.
414
อย.
416 ข้อ 9.1 ประกาศ อย. ฉบับที่ 418 1. Net volumn, ml 330  2. Synthetic color, mg/kg ไม่พบ ตามชนิดสี ผ่าน 3. Benzoic acid, mg/kg 58.87 รวมกันไม่เกิน 200 ผ่าน 4. Sorbic acid, mg/kg 39.26 ผ่าน 5. Coliforms, MPN/100 ml น้อยกว่า 1.1 น้อยกว่า 2.2 ผ่าน 6. Escherichia coli, /100 ml ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 7. Yeasts and Molds, CFU/ml น้อยกว่า 1 น้อยกว่า
27 3 ไข่ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) (The PREMIUM@KU) ประวัติความเป็นมา (ผลิตภัณฑ์/ สถานที่ผลิต) ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) ถูกพัฒนาพันธุกรรมขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุน จากทุนอุดหนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2559 – 2561 ณ สถานีวิจัยและพัฒนา อาชีพแก่เกษตรกร คณะเกษตร ตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยใช้พันธุกรรมไก่ดำมองโกเลีย และไก่ดำเพชรูรณ์เป็นพันธุกรรมเริ่มต้น ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) ที่พัฒนาขึ้นมี 2 กลุ่มสีขน ที่มีลักษณะเด่น ภายนอกแตกต่างจากพันธุกรรมดั้งเดิมจนเป็นที่สนใจของผู้ผลิตและผู้บริโภค ประกอบด้วย ไก่ดำนิลเกษตรขน สีดำ มีขนสีดำหรือแซมสีน้ำตาลเล็กน้อย มีขนสีดำที่แข้ง มีจุกที่หัวสีดำ และหนังสีดำ และไก่ดำนิลเกษตรขนสี ขาว มีขนสีขาวตลอดตัว มีจุกที่หัวสีขาว และหนังสีดำ การพัฒนาพันธุกรรมไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) มีเป้าหมายเพื่อผลิตไก่ดำที่มีการให้ผลผลิต (เนื้อและ ไข่) ในปริมาณที่สูงขึ้น เนื่องด้วยไก่ดำจัดเป็นไก่พื้นเมืองที่มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ และให้ผลผลิตไข่จำนวน น้อย จึงทำให้มีผลผลิตของไก่ดำสำหรับการบริโภคอย่างจำกัด นอกจากนี้ ยังมุ่งหวังให้ผลผลิตเนื้อและไข่ของ ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) ในรูปแบบใหม่นี้ ถูกนำมาบริโภคอย่างแพร่หลาย ตามแนวคิด “บริโภคอาหารเป็น ยา” เนื่องจากในเนื้อของไก่ดำมีปริมาณสารสีเมลานินในปริมาณสูงกว่าไก่เนื้อทั่วไป ซึ่งสารสีเมลานินมี คุณสมบัติเป็น “สารต้านอนุมูลอิสระ” ช่วยชะลอวัย และเสริมสร้างสุขภาพได้ นอกจากนี้ ในเนื้อของไก่ดำยังมี ปริมาณคาร์โนซีนสูงกว่าไก่เนื้อและสัตว์ปีกชนิดอื่น ซึ่งคาร์โนซีนมีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อ ช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และความจำ และช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับคุณสมบัติเด่นของไข่ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) คือ มีสัดส่วนไข่แดงสูงกว่าไข่ไก่ทั่วไป สามารถทานสดได้ ไม่มีกลิ่นคาว และมีรสสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์ กระบวนการผลิต ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) เลี้ยงดูในโรงเรือนแบบเปิดที่มีการระบายอากาศ และการจัดการที่ถูก สุขลักษณะ จัดแบ่งคอกเลี้ยงตามกลุ่มการใช้ประโยชน์ คือ ไก่ดำพ่อแม่พันธุ์ ลูกไก่ดำ ไก่ดำรุ่น และไก่ดำที่ให้ ผลผลิต ผลิตลูกไก่เพื่อทดแทนฝูงและใช้สำหรับการผลิตเนื้อและไข่โดยใช้ตู้ฟักไข่อัตโนมัติ คัดเลือกไก่ดำรุ่นโดย พิจารณาลักษณะภายนอกที่ตรงตามสายพันธุ์ มีการเจริญเติบโตสูง และให้ผลผลิตไข่จำนวนมาก ในการผลิตไข่ ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) เพศเมียทีมีอายุตั้งแต่ 20 สัปดาห์ได้รับการเลี้ยงดูแบบปล่อย อิสระในคอกบนที่ปูด้วยแกลบ ไก่ดำจึงสามารถแสดงพฤติกรรมได้ตามธรรมชาติ ให้อาหารที่มีโปรตีนร้อยละ
28 19 ตลอดช่วงเวลาการให้ผลผลิตไข่ และเสริมด้วยธัญพืชหรือข้าวเปลือก สอดคล้องกับฤดูกาลผลิตในพื้นที่ ให้ น้ำดื่มที่สะอาด และเปลี่ยนวัสดุรองพื้นเป็นประจำ เพื่อรักษาคุณภาพและความสะอาดของผลผลิตไข่ โดยเริ่ม เก็บผลิตไข่ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) เมื่อไข่มีน้ำหนักตั้งแต่ 40 กรัมขึ้นไป จากนั้น ทำความสะอาด คัดแยกไข่ ตามน้ำหนัก และบรรจุกล่อง เพื่อจัดส่งไปห้องปฏิบัติการธุรกิจเกษตร “จ่าฝูง The Master Farm” ความ premium/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ไข่ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) เป็นไข่สดที่ผลิตจากไก่ดำนิลเกษตร เก็บรักษาคุณภาพความสดภายใต้ อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส มีสัดส่วนไข่แดงสูงกว่าไข่ไก่ทั่วไป สามารถทานสดได้ ไม่มีกลิ่นคาว ในไข่ 1 ฟอง มี โปรตีนร้อยละ 60–62 และไขมันร้อยละ 30–34 นอกจากนี้ ยังมีธาตุเหล็ก และแมงกานีสในปริมาณสูง ซึ่งเป็น ส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตเลือด และส่งเสริมให้การทำงานของระบบประสาทและสมองให้เป็นไปตามปกติ ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญ ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) เพศเมียอายุประมาณ 20 สัปดาห์ จะเริ่มให้ผลผลิตไข่ฟองแรก โดยผลผลิต ไข่ที่ผลิตได้จากไก่สาวที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 29 สัปดาห์ จะมีขนาดเล็ก มีน้ำหนักประมาณ 40 – 50 กรัมต่อ ฟอง มีค่าเฉลี่ยองค์ประกอบทางโภชนาการของไข่สูงกว่าไก่ในช่วงอายุอื่นที่ให้ผลผลิตไข่ที่มีขนาดฟองใหญ่ขึ้น
29
30
31
32
33 เอกสารประชาสัมพันธ์
34 เอกสารผลการวิเคราะห์/ทดสอบ

ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ความปลอดภัย

1. Lead, mg/kg ไม่พบ (LOD=0.05) 

2. Vitamin A (Beta-carotene), µg/100g 674.04 

3. Salmonella spp., /25 g * ไม่พบ 

35
สรุปผลการวิเคราะห์/ทดสอบ ตัวอย่าง : ไข่ไก่ดำนิลเกษตร (ศาสตร์) รายการทดสอบ, หน่วยทดสอบ ผลการทดสอบ ไม่มีเกณฑ์ สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน)
36 4. ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย (The PREMIUM@KU) ประวัติความเป็นมา (ถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย) งานวิจัยของถั่งเช่าคอร์ดี้ไทยได้มาจากแรงบัลดาลใจ เมื่อโรคร้ายเกิดกับแม่ผู้ที่เป็นรักอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ เป็นเหตุให้ศาสตราจารย์ ดร. มณจันทร์ เมฆธน ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อราปราบแมลงศัตรูพืชมากว่า 20 ปี ได้ทำการศึกษาวิจัยถั่งเช่า ซึ่งเป็นเชื้อรากินแมลงที่มีคุณสมบัติเด่นหลายประการ โดยเฉพาะหลากหลาย งานวิจัยที่บ่งชี้ถึงการต้านมะเร็งหลายชนิด ถั่งเช่ามีชื่อภาษาจีนว่า Dong Chong Xia Cao เป็นสมุนไพรที่ชาวจีนนิยมรับประทานเพื่อช่วยให้ ร่างกายแข็งแรง มีประวัติในการบริโภคมายาวนานนับพันปี จากงานวิจัยทั่วโลกกว่า 40 ชิ้น พบว่าถั่งเช่ามีสาร ออกฤทธิ์คอร์ไดซิปิน (cordycepin) ที่เป็นสารออกฤทธิ์เฉพาะในถั่งเช่าและพบว่าเป็นสารหลักที่ชูสรรพคุณ ทางยา ในช่วงที่ อาจารย์ ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ พบว่าถั่งเช่าทิเบตส่วนใหญ่สร้างสารคอร์ไดซิปินน้อยมาก จึงได้ทำการผสมและคัดเลือกสายพันธุ์ที่สร้างสารคอร์ไดซิปินสูงและเจริญเติบโตเร็วมาทำการเพาะเลี้ยง เมื่อ เพาะเลี้ยงสำเร็จ นอกจากคุณแม่ของอาจารย์ที่ได้บริโภคแล้วพบว่าอาการเจ็บปวดจากโรคมะเร็งตับระยะ สุดท้ายนั้นทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด อาจารย์เข้าใจว่ามะเร็งระยะสุดท้ายนั้นไม่สามารถที่จะรักษาได้ แต่หลังจาก ที่เห็นว่าการบริโภคถั่งเช่าทำให้คุณภาพชีวิตคุณแม่ดีขึ้น อาการเจ็บปวดลดลงจนกลับมาอยากรับประทาน อาหาร หลังจากนั้น ดร. ชาญ เมฆธน ผู้เป็นลูกชายของอาจารย์ จึงได้เข้าร่วมบ่มเพาะในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมพัฒนากระบวนการผลิตที่ทำให้ได้สารออกฤทธิ์สูงและคงที่ในทุกล็อตการ เพาะเลี้ยง และได้จดเป็น อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11927 นับเป็นนวัตกรรมร่วมระหว่าง บริษัท คอร์ดี้ไบโอเทค จำกัด และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย กระบวนการผลิต กระบวนการผลิตถั่งเช่าคอร์ดี้ไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เริ่มต้นจากการนำหัวเชื้อที่ได้เก็บรักษาไว้มา ขยายในสภาวะปลอดเชื้อเรียกว่าเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อตั้งต้น (starter) โดยใช้สูตรอาหารของ อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11927 เพาะเลี้ยงในห้องแอร์ ที่ 20-22 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 14วัน ในห้องมืด หลังจากนั้นเป็น กระบวนการขยายถ่าย starter เข้าเพาะเลี้ยงในขวดแก้วที่มีฝาเป็นเมมเบรนเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น ทำ การเพาะเลี้ยงต่ออีก 50-55 วัน โดยให้แสงสว่าง 300-500 ลักซ์ ตลอด 24 ชั่วโมง ถั่งเช่าที่โตเต็มวัยแล้วจะถูก นำไป อบให้แห้งที่อุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง จากนั้นนำไปสกัดให้เข้มข้น และทำแห้งด้วย การพ่นฝอยผ่านลม ร้อน (Spray dry) จะได้เห็ดถั่งเช่าทิเบตสกัดในรูปผงละลายน้ำ หลังจากที่แปรรูปเป็น แคปซูลในรูปแบบอาหารเสริมแล้ว ก่อนการจำหน่ายทุกครั้งจะมีการตรวจวัดคุณภาพสารออกฤทธิ์คอร์ไดซิปิน และ ตรวจค่าโลหะหนัก รวมไปถึงจุลินทรีย์ปนเปื้อน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
37 ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 เนื่องจากผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย ได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี และ มี จำนวนผู้บริโภคสูงขึ้น จึงได้พัฒนากรรมวิธีการเพาะเลี้ยงที่จะช่วยขยายปริมาณการผลิตต่อรอบให้สูงขึ้นโดยใช้ นวัตกรรมถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบแนวนอน (Horizontal Bioreactor) เป็นระบบใช้อากาศ ประกอบด้วย ตัวถัง รูปทรงกระบอกแนวนอน ที่สามารถส่งผ่านแสงสว่างที่ใช้ในการเจริญเติบโต ของเชื้อราสู่ภายในตัวถังได้อย่าง ทั่วถึง โดยตัวถังมีช่องเปิดส่วนบนสำหรับติดตั้งฝาถังสำหรับเปิด ออกเพื่อเก็บเกี่ยวเส้นใยและสปอร์เมื่อการ เพาะเลี้ยงเสร็จสิ้นแล้ว เป็นอีกหนึ่งงานวิจัยที่นับเป็นนวัตกรรมร่วมระหว่าง บริษัท คอร์ดี้ไบโอเทค จำกัด และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อนุสิทธิบัตร เลขที่ 16086) นวัตกรรมนี้ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้ถึง สามเท่า และยังคงปริมาณสารออกฤทธิ์คอร์ไดซิปินให้สูงดังเดิมได้ ความ premium/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย ถั่งเช่าคุณภาพจากงานวิจัย - ผลิตด้วยนวัตกรรมจาก อนุสิทธิบัตร สองชิ้น ประกอบกับถั่งเช่าทิเบตที่ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ โตเร็วและสร้างสารออกฤทธิ์ ทำให้การเพาะเลี้ยงได้สารออกฤทธิ์คอร์ไดซิปินสูง และคงที่ทุกล๊อตการ ผลิต - ผ่านการตรวจ DNA ที่ตรงกับถั่งเช่าแท้ถึง 99% - รับรองสารออกฤทธิ์ คอร์ไดซิปิน 0.65 มิลลิกรัม ต่อแคปซูล เป็นแบรนด์เดียวในท้องตลาดที่จำหน่าย ถั่งเช่าทิเบตและที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา ให้ระบุปริมาณสารออกฤทธิ์รับรอง บนฉลาก
38
39 ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญ - ผ่านการขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการอาหารและยาสองสูตร ได้แก่ ถั่งเช่าคอร์ดี้ไทยสูตรสำหรับท่าน ชาย : 10-1-08258-5-0004 และ ถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย สูตรสำหรับท่านหญิง: 10-1-08258-5-0006 - ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ US-FDA เพื่อส่งออกไปจำหน่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และผ่าน มาตรฐาน GMP สากล - ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่วางจำหน่ายเราได้พิสูจน์แล้วว่า ถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย มีความนิ่งของสารคอร์ได ซิปิน และมีปริมาณสารออกฤทธิ์คอร์ไดซิปินสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าทิเบตกว่า 30 พรีเมี่ยมแบรนด์ทั่วโลก
40
41 เอกสารประชาสัมพันธ์
42 เอกสารผลการวิเคราะห์/ทดสอบ
43 5 ปลาสลิดแดดเดียว (แช่เยือกแข็ง) (The PREMIUM@KU) ประวัติความเป็นมา (สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน) ปี พ.ศ. 2522 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้จัดตั้งขึ้นมา โดยในระยะแรกไม่ สามารถเปิดดำเนินการได้เนื่องจากการขาดแคลนน้ำประกอบกับพื้นที่เป็นดินเค็มจัด ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้ จัดให้มีระบบชลประทาน เพื่อนำน้ำจืดเข้ามาสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน และงานวิจัยของ วิทยาเขต จนในปี พ.ศ. 2533 วิทยาเขตได้มีหนังสือสอบถามมาทางคณะประมงเพื่อให้เข้ามาดำเนินกิจกรรมที่ วิทยาเขตกำแพงแสน ทางคณะประมงซึ่งมี ศ.สุภาพ มงคลประสิทธิ์ เป็นคณบดีในขณะนั้น ได้มอบหมายให้ ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งมี รศ.ดร.ยนต์ มุสิก เป็นหัวหน้าภาควิชา ประสานกับทางวิทยาเขต จนในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ได้จัดตั้ง “สถานปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกำแพงแสน” สังกัดภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานีฝึกงานทางด้านการประมงน้ำจืด ของนิสิตคณะประมง และบริการวิชาการด้านประมงแก่เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตก ต่อมาได้ เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน” เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และย้ายมาสังกัดศูนย์บริการ
นอกจากตามวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานีฝึกงานทางด้านการประมงน้ำจืด ในปีการศึกษา 2554 คณะ ประมงได้เปิดการสอน ในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีสาขา เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีการศึกษาวิจัยค้นคว้าเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และยังให้บริการวิชาการแก่ชุมชนโดยการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ งานวิจัย รวมทั้งการสาธิต ฝึกอบรม ดู งานเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และอีกหนึ่งภาระกิจหลักคือการผลิตลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศที่จัด จำหน่ายให้เกษตรกรทั่วประเทศ อีกทั้งยังต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลานิล อย่างปลานิลไร้ก้างแดดเดียว ซันนี่ฟิช และได้ร่วมมือกับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง ผลิตสินค้าแปรรูปจากปลาน้ำจืดอื่นๆอีก เช่น ปลาสลิด แดดเดียว ปลาช่อนแดดเดียว กระบวนการผลิตปลานิลแดดเดียว สิ่งที่สำคัญคือการคัดสรรค์เลือกตัวปลาสลิดที่มีความสด ขนาดที่ใช้ในการผลิตของเราจะมีขนาด 8 ตัว ต่อหนึ่งกิโลกรัม จากนั้นนำปลาสลิดมาตัดแต่งโดยการนำหัวออก ตัดครีบ ขอดเกล็ด และควักไส้ออก และล้าง ด้วยน้ำเกลือเพื่อกำจัดเมือกออกจากตัวปลา เมื่อล้างเสร็จแล้วตากปลาทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ และนำปลามา คลุกเคล้ากับเม็ดเกลือให้ทั่วตัวทั้งภายในช่องท้อง และภายนอกลำตัว จากนั้นเรียงปลาลงภาชนะที่เตรียมไว้โรย เกลือทับ เทน้ำเปล่าให้ทั่วตัวปลา ปิดฝา และหมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เมื่อครบเวลานำปลามาตากแห้ง ใน
งานวิจัยและสนับสนุนวิชาการตามการปรับโครงสร้างของคณะประมง เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561
44 พื้นที่โล่ง อากาศถ่ายเท แต่มีการป้องกันแมลงและสิ่งสกปรกจากภายนอก โดยตากเป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง จากนั้นนำมาบรรจุแพ็คแบบสุญญากาศ และแช่เยือกแข็งเพื่อรักษาคุณภาพ พร้อมส่งจัดจำหน่าย ความ premium/จุดเด่น ของผลิตภัณฑ์ (The PREMIUM@KU) ผลิตจากปลาสลิดคุณภาพจากฟาร์มที่ได้รับรองมาตรฐานการเลี้ยง (Good aquaculture practice, GAP) ซึ่งเลี้ยงด้วยอาหารเกรดพรีเมียม จึงมั่นใจได้ว่าเนื้อปลาจะไม่มีกลิ่นสาปโคลนที่จะบั่นทอนประสบการณ์ ในการรับประทาน ด้วยวิธีการปรุงจากแม่ครัวที่มีความชำนาญที่ความพิถีพิถัน ปรุงด้วยเกลือธรรมชาติ ซันนี่ ฟิชเข้าใจในไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่เร่งรีบเป็นอย่างดี จึงสรรสร้างบรรจุภัณฑ์เก็บรักษาในระบบสุญญากาศที่ ออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อเก็บรักษาความอร่อยไว้ได้นานกว่า 6 เดือน เพื่อส่งมอบความสุขให้แก่ผู้บริโภคได้ ทุกเวลาเพียงเมื่อฉีกซองและนำไปประกอบอาหาร ข้อมูลเพิ่มเติม กระบวนการผลิตถูกสุขลักษณะ ควบคุมด้วยหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice, GMP) ไม่เติมวัตถุกันเสีย มีความเค็มกำลังดีต่อสุขภาพ และเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี
45 เอกสารประชาสัมพันธ์
46 เอกสารผลการวิเคราะห์/ทดสอบ

เกณฑ์มาตรฐาน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข

(ฉบับที่ 416) พ.ศ. 2563

1. Salmonella spp., /25 g ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน

2. Staphylococcus aureus, CFU/g น้อยกว่า 10 ไม่เกิน 50 ผ่าน

47 สรุปผลการวิเคราะห์/ทดสอบ ตัวอย่าง : ปลาสลิดแดดเดียวแช่แข็ง รายการทดสอบ, หน่วยทดสอบ ผลการทดสอบ เกณฑ์มาตรฐาน
ประกาศ อย.ฉบับที่ 416 ข้อ 32.3 สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน)
3. Bacillus cereus, CFU/g น้อยกว่า 10 ไม่เกิน 50 ผ่าน 4. Clostridium perfringens, CFU/ g น้อยกว่า 10 ไม่เกิน 50 ผ่าน มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ข้อ 32.3 ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ แช่แข็ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ความปลอดภัย
48 6 ปลากุแลอบแห้ง (Dried Goldstrip sardinella Fish) (The PREMIUM@KU) ประวัติความเป็นมา สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน (ชื่อเดิมสถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง) จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 โดยได้รับพื้นที่ราชพัสดุบริเวณหาดประพาส ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง มีเนื้อ ที่ทั้งหมด 220 ไร่ (ปัจจุบัน 265 ไร่) ปัจจุบันสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามันเป็นหน่วยงานในสังกัด คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีภารกิจหลักที่สำคัญคือดำเนินงานเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย บริการ งานวิจัย การบริการวิชาการตลอดจนสนับสนุนการเรียนการสอนและดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากร ชายฝั่งให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายฝั่งอันดามัน ดำเนินโครงการฟื้นฟูและพัฒนาสถานีวิจัยฯรวมทั้งการฟื้นฟู ระบบนิเวศวิทยาและทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดทั้งต้องการให้คงความเป็นแหล่งการศึกษาวิจัยเพื่อให้การ บริการวิชาการการศึกษาเรียนรู้แก่นิสิต นักศึกษา นักเรียน และประชาชนทั่วไปในรูปแบบที่เหมาะสมพร้อมทั้ง เร่งฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทั้งนี้ยังได้ดำเนินการจัดรูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้ เหมาะสมรวมถึงดำเนินการวางแผนเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวนอกจากนี้ยัง ได้ดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูให้ชุมชนพื้นที่ชายฝั่ง การพัฒนาอาชีพหลักและส่งเสริมอาชีพเสริม แก่ชุมชนชายฝั่ง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ปลากุแลอบแห้งเป็นปลาที่ได้จากการประกอบอาชีพหลักของเกษตรกรชาวประมงพื้นบ้าน ที่อยู่ บริเวณชายฝั่งทะเลอำเภอสุขสำราญ ลักษณะการทำประมงพื้นบ้านบริเวณอำเภอสุขสำราญในแถบชายฝั่ง ทะเลอันดามัน ส่วนใหญ่เป็นการวางอวนลอยดักจับสัตว์น้ำ ได้มาจำหน่ายสร้างรายได้หลักของชุมชน การจับ
49 ปลาแต่ละครั้งจะได้ปลาหลายชนิด รวมทั้งปลากุแล ซึ่งปลากุแลจะเป็นปลาที่ชาวประมงถือว่าไม่มีค่าทาง เศรษฐกิจ จะขายไปเป็นปลาเป็ดปลาไก่หรือปลาเหยื่อมีราคาต่ำ ทั้ง ๆ ที่ปลากุแลมีคุณค่าทางอาหาร ประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น น้ำมันโอเมก้า 3 วิตามินบี 12 แคลเซียม จึงควรค่าแก่การนำมาแปร รูปหรือถนอมอาหารเอาไว้รับประทาน สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารได้ระดับหนึ่ง และยังช่วยสร้างอาชีพ เสริม สร้างรายได้เพิ่มแก่ชาวประมงพื้นบ้านได้อีกหนึ่งช่องทาง นอกจากนี้ท่านคณบดีคณะประมง และท่าน หัวหน้าภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง ท่านได้เล็งเห็นถึงความสำคัญชี้แนะแนวทางการนำปลากุแลมาแปรรูปแล่เอา ก้างออก นำมาอบแห้งแบบใช้ความเค็มน้อย อบในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ที่อุณหภูมิพอดีที่ระยะเวลา เหมาะสม เลือกปลาที่ไม่ผ่านการแช่สารเคมี ปลอดสารฟอร์มาลีน เพื่อให้คงคุณค่าทางอาหารและใช้ กระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จึงเหมาะแก่ผู้รักสุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง กระบวนการผลิต เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต รับปลากุแล ชั่งน้ำหนัก ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดที่ผ่านการพักน้ำในถัง พัก แช่ในน้ำผสมน้ำแข็ง ขอดเกล็ด ตัดหัว ควักไส้ แล่เอาก้างออก ล้างทำความสะอาด ตรวจสอบสิ่ง แปลกปลอม หมักน้ำเกลือโดยใช้น้ำสะอาดละลายน้ำเกลือตามความเข้มข้นที่กำหนด โดยใช้เครื่องวัดความเค็ม หมักเป็นเวลาตามที่กำหนด ใช้ตะแกรงสแตนเลสตักปลาออกจากน้ำเกลือ พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ นำปลาเข้า กระบวนการอบแห้งในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นเวลา 12 ชั่วโมงตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพให้แห้ง สนิท นำปลาออกจากตู้ใส่ภาชนะบรรจุมีฝาปิดเข้าห้องบรรจุภัณฑ์ นำปลาที่ผ่านการอบแห้งแล้ว บรรจุใส่ถุงซีล ที่ปิดฉลากแล้ว ตรวจสอบแถบซีลให้ปิดสนิท ให้ภายในถุงอยู่ในสภาวะไร้ซึ่งมวลอากาศ โดยสภาวะดังกล่าว จะ ช่วยเก็บรักษาความสดใหม่ของวัตถุที่อยู่ในถุงได้นานขึ้น จัดทำการเก็บรักษาในตู้เย็นหรือที่อุณภูมิห้องและจัด จำหน่าย ความ premium/จุดเด่น ของผลิตภัณฑ์ (The PREMIUM@KU) 1. ปลาสดจากประมงพื้นบ้าน ปลาศจากสารฟอร์มมาลีน 2. ปลากุแลหรือปลาหลังเขียว ตากอบแห้งด้วยตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ เค็มน้อย 3. ขั้นตอนการตากอบ ใส่ใบมะกรูดลงไปด้วยเพื่อลดกลิ่นคาวและเพิ่มกลิ่นหอม 4. บรรจุปลาในถุงซีลสุญญากาศอย่างดีเพื่อลดการเจริญของจุลินทรีย์และเก็บได้นานขึ้น
50 ข้อมูลเพิ่มเติม 1. กระบวนการผลิตถูกสุขลักษณะ ควบคุมด้วยหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิตอาหาร ( Good Manufacturing Practice, GMP) โดยผลิตภัณฑ์ปลากุแลอบแห้งทุกแพ็คผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพและความปลอดภัยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2. เค็มน้อยเพื่อสุขภาพ ไม่เติมวัตถุกันเสีย 3. ประโยชน์ต่อสุขภาพอื่นๆ - ปลากุแลเป็นปลาตัวเล็กเต็มไปด้วยสารอาหารชนิดต่างๆ เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยป้องกัน โรคหัวใจเนื่องจากมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดและลดความ ดันโลหิต และอาจช่วยปกป้องผู้ที่เคยมีอาการหัวใจวายในอดีต มีวิตามินบี 12 ที่ดีเยี่ยม วิตามินนี้ช่วย ระบบหัวใจและหลอดเลือดและให้พลังงาน มีแคลเซียม ทำให้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่แพ้แลคโตส แพ้นมหรือต้องการแคลเซียมมากขึ้นในอาหาร
51 เอกสารประชาสัมพันธ์
52 เอกสารผลการวิเคราะห์/ทดสอบ

เกณฑ์มาตรฐาน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 อาหารที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท ข้อ 3 (2) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ความปลอดภัย

1. Yeast, CFU/ g 3.10 x 102 น้อยกว่า 1 ผ่าน

2. Molds, CFU/g น้อยกว่า 10 น้อยกว่า 1 ผ่าน

3. Escherichia coli, MPN/g น้อยกว่า 3 ไม่เกิน 50 ผ่าน

4. Staphylococcus aureus, CFU/g น้อยกว่า 10 ไม่เกิน 50 ผ่าน

5. Salmonella spp., /25 g ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน

6. Moisture, g/100 g 14.26  7. Water Activity (aw) at 25๐ C 0.754  8. Calcium, mg/100 g 1.422  9. Sodium, mg/100 g 2.133 

53 สรุปผลการวิเคราะห์/ทดสอบ ตัวอย่าง : ปลากุแลอบแห้ง รายการทดสอบ, หน่วยทดสอบ ผลการทดสอบ เกณฑ์มาตรฐาน ประกาศ
ไม่มีเกณฑ์
อย. ฉบับที่ 355
สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน)
54 7 ข้าวฮางงอก (The PREMIUM@KU) ประวัติความเป็นมา ข้าวฮางเป็นข้าวที่ผลิตขึ้นตามกรรมวิธีโบราณตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวเผ่าภูไท ในภาคอีสาน สืบ ต่อกันมากว่า 200 ปี เนื่องจากสมัยก่อนชาวภูไทนิยมอาศัยบนพื้นที่สูงตามเชิงเขาหุบดอย ตั้งบ้านเรือนพิงภูเขา ส่วนด้านหน้าเป็นที่ราบลุ่มมีสายน้ำไหลผ่าน จึงมักมีที่ทำนาน้อย ผลผลิตข้าวไม่พอกินตลอดปี จึงจำเป็นต้องหา วิธีที่จะนำข้าวที่ยังยืนต้นเขียวอยู่ แต่มีรวงค้อมแล้วมานึ่งกินก่อนที่ข้าวใหม่จะให้ผลผลิตออกมาตาฤดูกาล ข้าวฮาง เป็นชื่อเรียกตามลักษณะนามของเตาที่ใช้นึ่งข้าว ซึ่งภาษาอีสานเรียก “เตาฮาง” โดยเป็นเตา ที่ขุดดินทำเป็น่องหรือราง (ฮาง) สำหรับให้เปลวไฟขึ้นและตั้งหม้อนึ่ง ข้าวฮางทำได้ทุกพันธุ์ ที่นิยม ได้แก่ ข้าว หอมมะลิ ข้าวเหนียวกข6 ข้าวไรซ์เบอรี่ และข้าวหอมนิล เป็นต้น การทำข้าวฮางจึงเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของ คนไทยภาคอีสานเพื่อให้เก็บข้าวเปลือกไว้เป็นเวลานานเพื่อแก้ปัญหาข้าวขาดแคลนเนื่องจากภัยธรรมชาติ กระบวนการผลิตข้าวฮางงอก กระบวนการผลิตข้าวฮางประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก แช่-บ่ม-นึ่ง-ผึ่ง-สี โดยข้าวเปลือกจะถูกแช่น้ำ นาน 12 ชั่วโมง เพื่อให้เปลือกข้าวมีการอ่อนตัว จากนั้นจึงนำมาบ่มนาน 2 คืนเพื่อให้เกิดการงอก ก่อนนำไปนึ่ง ที่อุณหภูมิน้ำเดือด ทำให้เย็น อบแห้ง และกระเทาะเปลือกโดยไม่ผ่านการขัดสีตามลำดับ ด้วยกระบวนการที่มี การแช่ และทำให้ข้าวเปลือกสุกโดยการนึ่งก่อนนำไปกระเทาะเปลือก ทำให้สารอาหารต่าง ๆ จากเปลือกซึ่ง เข้าไปยังเมล็ดข้าว คุณค่าทางโภชนาการจึงยังคงอยู่ ขณะที่ขั้นตอนการบ่มเป็นขั้นตอนที่ผู้ผลิตต้องการที่จะเร่ง ให้ข้าวเกิดการงอกราก เพื่อให้ข้าวฮางมีสารกาบา เป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกับข้าวเพาะงอกที่กำลังเป็นที่ นิยมในปัจจุบัน นอกจากนี้ข้าวฮางยังมีอายุการเก็บรักษานานกว่าข้าวกล้องเนื่องจากเอนไซม์ถูกทำลายใน ขั้นตอนการนึ่งและอบแห้ง ความ premium/จุดเด่น ของผลิตภัณฑ์ ข้าวฮางเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีศักยภาพมากผลิตภัณฑ์หนึ่ง อีกทั้งข้าวฮางเป็นข้าวที่มีส่วนของจมูก ข้าว และเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว ซึ่งเป็นแหล่งรวมแร่ธาตุ และสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้มีสารกา บา (-aminobytyric acid, GABA) ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ลดความดันโลหิต ควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือด ช่วยลดระดับไขมันในเลือดประโยชน์ของการบริโภคข้าวฮาง

(กรัม) 77 72 79 โปรตีน (กรัม) 7.2 9.9 6.4 ไขมัน (กรัม) 4.3 2.6 1.05 เส้นใย (กรัม) 1.5 1.1 ไม่พบ

เถ้า (กรัม) 1.5 2.2 1.2

เหล็ก (มิลลิกรัม) 0.03 0.37 0.03

แคลเซียม (มิลลิกรัม) 0.09 0.06 0.09

โซเดียม (มิลลิกรัม) 0.35 0.06 0.08

ทองแดง (มิลลิกรัม) 0.00 0.00 0.00

สังกะสี (มิลลิกรัม) 0.03 0.02 0.03

แมกนีเซียม (มิลลิกรัม) 1.24 0.29 1.25

โปรตัสเซียม (มิลลิกรัม) 2.06 0.85 2.18 วิตามินอี (มิลลิกรัม) 0.17 0.25 ไม่พบ แกมม่าออริซานอล (มิลลิกรัม) 42.94 35.03 3.37 กาบา (มิลลิกรัม) 2.95 1.10 0.17 สารต้านอนุมูลอิสระ (ไมโครกรัม) 30.3 18.6 ไม่พบ

In-Vitro Glycemic Index (Rapidly available glucose) (g/100g ตัวอย่างข้าวสุก)

In-Vitro Glycemic Index (Slowly available glucose) (g/100g ตัวอย่างข้าวสุก)

23.73 22.62 26.72

15.76 17.16 3.65

55 ประโยชน์ของข้าวฮาง 1. สารกาบา (GABA) สมองดี อารมณ์ดี ต้านความจำเสื่อม 2. สารต้านอนุมูลอิสระ (Vitamin E และ Oryzanol) สุขภาพดี ต้านโรคความดัน โรคหัวใจ 3. ใยอาหารคุณค่าสูง (Dietary fiber) ระบบขับถ่ายดี ต้านมะเร็งลำไส้ ข้อมูลเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของข้าวฮาง ข้าวกล้องและข้าวขาวพันธุ์หอมมะลิ 100 กรัม สารอาหาร ข้าวฮาง ข้าวกล้อง ข้าวขาว คาร์โบไฮเดรต
56 เอกสารประชาสัมพันธ์
57 เอกสารผลการวิเคราะห์/ทดสอบ

เกณฑ์มาตรฐาน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 อาหารที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท ข้อ 3 (2)

1. Moisture, g/100 g 14.26 

2. Water Activity (a w ) at 25 ๐ C 0.754  3. Vitamin A (Beta-carotene), µg/100g Not detected  4. Vitamin B1, mg/100g * 0.25 

5. Vitamin B2, mg/100g Not detected  6. GABA, mg/100g * 7.43  7. Yeasts, CFU/ g < 10 น้อยกว่า 1 ผ่าน 8. Molds, CFU/ g 53 น้อยกว่า 1 ผ่าน

58 สรุปผลการวิเคราะห์/ทดสอบ ตัวอย่าง :
รายการทดสอบ,
ผลการทดสอบ
ข้าวฮางงอก
หน่วยทดสอบ
เกณฑ์มาตรฐาน ประกาศ อย. ฉบับที่ 355 ไม่มีเกณฑ์ สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน)
ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ความปลอดภัย
59 8. เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้ (The PREMIUM@KU) ประวัติความเป็นมา น้ำส้มสายชูหมัก (Vinegar) คือ น้ำส้มสายชูที่ได้จากการนำวัตถุดิบชนิดต่างๆ ได้แก่ ธัญพืช ผลไม้ น้ำตาล หรือกากน้ำตาลมาหมักกับเชื้อยีสต์แล้วหมักต่อด้วยแบคทีเรียกรดอะซีติกตามกรรมวิธี การผลิต น้ำส้มสายชูหมักจากผลไม้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดคู่ขนานมากับการผลิตไวน์ของสถาบันค้นคว้าและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ กรณีที่ไวน์ผลไม้ที่หมักมีคุณภาพไม่ดีพอที่จะขายเป็นไวน์ผลไม้พร้อมดื่มก็จะถูกนำมาทำเป็น น้ำส้มสายชูหมัก ในระยะแรกการหมักน้ำส้มสายชูของสถาบันฯ ใช้แบคทีเรียกรดอะซีติก (acetic acid bacteria) ที่ได้ จากธรรมชาติ เมื่อนำไวน์ผลไม้มาตั้งทิ้งไว้ในภาชนะปากกว้าง แบคทีเรียกรดอะซีติกก็จะปนเปื้อนลงไป และใช้ แอลกอฮอล์ในไวน์เปลี่ยนเป็นกรดน้ำส้ม ใช้ระยะเวลา 1-2 เดือน จึงจะได้น้ำส้มสายชูที่นำไปรับประทานได้ ต่อมาคณะทำงานด้านจุลินทรีย์ของฝ่ายควบคุมคุณภาพและฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ร่วมกันคิดสร้างเครื่องมือที่ จะช่วยให้การหมักน้ำส้มได้เร็วขึ้น โดยทำเป็นกระบอกทรงกลมสูงประมาณ 2-3 เมตร ทำด้วยวัสดุทนกรด ลักษณะใส ภายในบรรจุซังข้าวโพดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วและใช้เป็นที่ยึดเกาะของเชื้อน้ำส้ม จากนั้นปั๊มน้ำไวน์ ผลไม้ให้ไหลผ่านเชื้อน้ำส้มในกระบอกดังกล่าว ด้วยกรรมวิธีนี้จะช่วยให้การหมักเร็วขึ้นโดยใช้ระยะเวลา ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่การที่ใช้เชื้อจากธรรมชาติมาเป็นหัวเชื้อจะไม่สามารถควบคุมคุณภาพให้สม่ำเสมอได้ บางรุ่นเปรี้ยวมากบางรุ่นเปรี้ยวน้อย อาจารย์มาลัย เมืองน้อย นักวิจัยฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์มีโอกาสไปทำงานวิจัยที่ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งอาจารย์ผู้ควบคุมงานวิจัยได้พาไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากไวน์ผลไม้ขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นห้อง ภายในห้องทำเป็นชั้นวางเรียงถาดน้ำส้มจำนวนมาก ใช้ระยะเวลาการหมักไม่นาน เมื่อ กลับมาทำงานอาจารย์มาลัย เมืองน้อยจึงมีความคิดที่จะผลิตน้ำส้มสายชูหมักโดยใช้ถาดสแตนเลส และพบว่า สามารถลดระยะเวลาในการหมักลงได้ จากนั้นจึงมีแนวคิดที่จะใช้เชื้อน้ำส้มสายชูบริสุทธิ์โดยเชื้อจากศูนย์เก็บ รักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์แห่งประเทศไทย (MIRCEN) นำมาทดลองหมักกับไวน์ผลไม้ชนิดต่างๆ พบว่าการใช้เชื้อ บริสุทธิ์ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพของน้ำส้มสายชูได้ดี ให้ความเข้มข้นของกรดเท่ากันทุกครั้ง แต่ด้วยเชื้อ น้ำส้มสายชูสายพันธุ์ที่ใช้ คือ Acetobacter aceti TISTR 354 นั้น ไม่สามารถเก็บไว้ในอาหารวุ้นแข็ง MRS agar ได้นาน จึงนำมาสู่การทำงานวิจัยต่อของบุคคลากรฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์ ศึกษาการเก็บรักษาเชื้อ น้ำส้มนี้ในอาหารชนิดเหลว คือ น้ำสับปะรด พบว่า สามารถเก็บรักษาแบคทีเรียกล้าเชื้อได้นาน 1 เดือนและ ยังคงมีประสิทธิภาพในการหมักเหมือนเดิม เชื้อน้ำส้มสายชูสายพันธุ์ Acetobacter aceti TISTR 354 มีข้อดี
60 คือเป็นเชื้อที่ชอบเจริญในไวน์ผลไม้ที่ตั้งไว้นิ่งๆ ต้องการผิวหน้ากว้าง ขั้นตอนการหมักตั้งแต่การเตรียมหัวเชื้อ จนหมักเป็นน้ำส้มสายชูใช้ระยะเวลาประมาณ 5-7 วัน เมื่อสามารถผลิตน้ำส้มสายชูหมักที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ และมีปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้น ผู้อำนวยการของสถาบันฯ ในขณะนั้น คือ ดร.วารุณี วารัญญานนท์ ได้นำตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผสม น้ำส้มสายชูหมัก (fruit vinegar drink) จากประเทศญี่ปุ่นมาให้ดูเป็นตัวอย่าง จึงได้เกิดแนวความคิดที่จะเพิ่ม มูลค่าของน้ำส้มสายชูหมักจากไวน์ผลไม้ มาทำเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นโดยจัดทำ เป็นโครงการชื่อ “โครงการพัฒนากระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มหมัก” ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 ซึ่งคณะทำงานในขณะนั้นประกอบด้วย นางมณฑาทิพย์ ยุ่นฉลาด นางฉกามาศ วงศ์ข้าหลวง นางมาลัย บุญรัต นกรกิจ นางสิริพร สธนเสาวภาคย์ นางชิดชม ฮิรางะ นางสาวกรุณา วงษ์กระจ่าง และนางสาวพิศมัย ศรีชาเยช โดยมีภาระกิจพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของไวน์ผลไม้และผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำส้มสายชูหมักผสมน้ำผลไม้เพื่อ การจำหน่าย จากกระแสความนิยมเครื่องดื่มน้ำส้มสายชูหมักผสมน้ำผึ้งเริ่มมีการวางจำหน่ายในท้องตลาด คณะทำงานจึงเร่งดำเนินการพัฒนาเครื่องดื่มน้ำส้มสายชูหมักผสมน้ำผลไม้รสชาติต่างๆ 26 รสชาติ และให้ คณะทำงานทดลองชิมก่อนเพื่อคัดเลือกเบื้องต้น สุดท้ายมีการจัดให้มีการทดสอบทางประสาทสัมผัสด้วย บุคคลากรของสถาบันฯ ลูกค้าที่มาซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ห้องจำหน่าย และบุคคลากรของมหาวิทยาลัยในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2548 จำนวน 7 รสชาติ ได้แก่ ลิ้นจี่ แอปเปิ้ล มะเฟือง องุ่น สละ สตรอเบอร์รี่และลูกยอ จากนั้น ก็เริ่มผลิตเพื่อจำหน่ายพร้อมกับการออกแบบฉลากคอขวดและรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ให้ดูเป็นที่น่าสนใจ แตกต่างจากผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูจากผลไม้ ราคาขายเริ่มต้นอยู่ที่ ขวดละ 39 บาท ซึ่งผู้บริโภคยอมรับได้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนานี้เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี ด้วยรูปลักษณ์ของภาชนะบรรจุเหมาะ กับการนำไปจัดตะกร้าของขวัญ ต่อมาได้เพิ่มรสชาติใหม่ๆ ขึ้นอีก ได้แก่ แครอท ราสเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แครนท์ เบอร์รี่ ฯลฯ ขณะนี้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำส้มสายชูหมักผสมน้ำผลไม้ที่วางจำหน่ายได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับ อาหารและเลขสารบบอาหารจาก อย. แล้ว นอกจากองค์ความรู้ในการหมักน้ำส้มสายชูจากผลไม้ที่อาจารย์มาลัยได้ศึกษามาจนสามารถผลิตและ จำหน่ายในห้องขายผลิตภัณฑ์ ของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแล้ว องค์ความรู้ดังกล่าวยัง สามารถถ่ายทอดให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อทำศึกษาเพิ่มเติมและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประเทศได้แก่ การ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรจังหวัดเลยในการผลิตน้ำส้มสายชูจากสับปะรด ในภาวะสับปะรดล้นตลาด และมีราคาถูก โดยดร.ประมวล ทรายทอง ซึ่งในเวลาต่อมาอาจารย์มาลัย เมืองน้อย ได้มีการถ่ายทอดองค์
61 ความรู้ของกระบวนการหมักน้ำส้มให้แก่ นางเขมพัษ ตรีสุวรรณ ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวสามารถนำไปเพิ่มมูลค่า ให้แก่ข้าวกล้องมีสีด้วยการพัฒนากระบวนการหมักน้ำส้มสายชูจากข้าวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระและง่ายต่อการ บริโภคอีกด้วย ขั้นตอนการผลิตเครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้ ในขั้นแรกจะทำการคั้นน้ำผลไม้ด้วยเครื่องแยกกากเมื่อได้น้ำผลไม้แล้วนำไปต้มให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส (ปิดไอน้ำทันทีเมื่ออุณหภูมิถึงตามกำหนด) จากนั้นกรองด้วยผ้าขาวบาง 1 ชั้น ตามด้วยการ กรองด้วยผ้ากรองไนล่อน 1 ชั้น นำน้ำผลไม้ที่ได้ผสมกับน้ำ RO น้ำผึ้งและน้ำเชื่อมผสมเข้าด้วยกันและให้ความ ร้อนจนถึงอุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส (ปิดไอน้ำทันทีเมื่ออุณหภูมิถึงตามกำหนด) แล้วเติมน้ำส้มสายชูหมัก ผสมให้เข้ากันแล้วให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส (ปิดไอน้ำทันทีเมื่ออุณหภูมิถึงตามกำหนด) ทำ การกรองด้วยผ้ากรองไนล่อน 1 ชั้น บรรจุขวดปิดฝาพร้อมจำหน่าย นำเนื้อราสเบอร์รี่แช่แข็ง ต้มกับน้ำร้อน นำน้ำราสเบอร์รี่มาเข้าเครื่อง Screw Press และกรองด้วยผ้าขาวบาง ผสมน้ำราสเบอร์รี่ที่ผ่านการกรอง น้ำ RO น้ำผึ้ง และน้ำเชื่อม ในหม้อต้ม ต้มให้ความร้อน ให้ความร้อนถึง 85 องศาเซลเซียส และค่อยเติมน้ำส้มสายชูหมัก กรองด้วยผ้ากรองไนลอน บรรจุลงขวด ปิดฝา เข้าเครื่องตีเกลียว ตัวอย่างแผนภาพขั้นตอนการผลิตเครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้ (ราสเบอร์รี่)

และคณะ, 2014)

Budak, N. H., Aykin, E., Seydim, A. C., Greene, A. K., & Guzel‐Seydim, Z. B. (2014). Functional properties of vinegar. Journal of Food Science, 79(5), R757-R764.

Samad, A., Azlan, A., & Ismail, A. (2016). Therapeutic effects of vinegar: a review. Current Opinion in Food Science, 8, 56-61.

62 คุณประโยชน์ของเครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้ เมื่อบริโภคน้ำส้มสายชูแล้วทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เมื่อดื่มแล้วทำให้ชุ่มคอและลดอาการ ระคายเคืองในลำคอนอกจากนี้ยังสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้เนื่องจากน้ำส้มสายชูมีฤทธิ์เป็นสารต้านจุลินทรีย์ (Samad และคณะ, 2016) นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าการบริโภคน้ำส้มสายชูหมักสามารถลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์และ ไขมันชนิด low-density lipoprotein (LDL) ในหนูทดลองได้ ในขณะเดียวกัน การ บริโภคน้ำส้มสายชูหมักจากราสเบอร์รี่ในปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ/วัน สามารถลดน้ำหนักได้ภายใน 4 สัปดาห์ (Budak
เอกสารอ้างอิง
63 ความ premium/จุดเด่น ของผลิตภัณฑ์ 1. ผลงานวิจัยที่โดดเด่น - การผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากผลไม้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดคู่ขนานมากับการผลิตไวน์ของสถาบัน ค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 - ในระยะแรกการหมักน้ำส้มสายชูของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ใช้เชื้อ น้ำส้มสายชูหรือแบคทีเรียนกรดอะซีติก (acetic acid bacteria) ที่ได้จากธรรมชาติ เมื่อนำไป แยกเชื้อ พบว่าเป็น เชื้อสายพันธุ์ Acetobacter aceti TISTR 354 - องค์ความรู้ในการหมักน้ำส้มสายชูจากผลไม้ สามารถถ่ายทอดให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อทำศึกษา เพิ่มเติมและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประเทศ โดยการนำไปให้ความรู้กับเกษตรกรที่ประสบ ปัญหาภาวะสินค้าล้นตลาดและมีราคาถูก นอกจากนั้น ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาสูตรและเพิ่ม มูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการอีกจำนวนมาก 2. เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูหมักจากธรรมชาติ มีมาตรฐาน ปลอดภัย ดื่มได้ง่าย ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยลดไตรกลีเซอร์ไรด์และไขมันชนิด low-density lipoprotein (LDL) ช่วยลดความดันเลือด มีสารแอนโทร ไซยานิน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการชลอวัยและป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ดื่มได้ง่าย แค่แช่เย็น เปิด ขวด ทานได้เลย ข้อมูลเพิ่มเติม 1. กระบวนการผลิตถูกสุขลักษณะ ควบคุมด้วยหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice, GMP) โดยผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูหมักผสมน้ำผลไม้ทุกขวดผ่านเกณฑ์ มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2. หมักจากธรรมชาติ ไม่แต่งกลิ่นและไม่เจือสีสังเคราะห์ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย 3. ประโยชน์ต่อสุขภาพอื่นๆ - สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้เนื่องจากน้ำส้มสายชูมีฤทธิ์เป็นสารต้านจุลินทรีย์ - การบริโภคน้ำส้มสายชูหมักจากราสเบอร์รี่ในปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ/วัน สามารถลดน้ำหนักได้ ภายใน 4 สัปดาห์
64 เอกสารประชาสัมพันธ์
65 เอกสารผลการวิเคราะห์/ทดสอบ
66 สรุปผลการวิเคราะห์/ทดสอบ ตัวอย่าง : เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูหมักผสมน้ำมิกซ์เบอร์รี่ (651882, 651883) รายการทดสอบ, หน่วยทดสอบ (* รายการทดสอบที่ได้รับการรับรอง) ผลการทดสอบ เกณฑ์มาตรฐาน ไม่มี เกณฑ์ สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน) ประกาศอย. ฉบับที่
ผ่าน 8. Escherichia
ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 9.
ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 10.
ml * ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 11. Lead, mg/kg * ไม่พบ (LOD=0.01) ไม่เกิน 0.03 ผ่าน 12. Total phenolic compounds, mg GAE/g 0.391  13. Anthocyanin, mg/100mL 0.51  เกณฑ์มาตรฐาน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
ต่ำกว่า
:
416) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ความปลอดภัย
356 ประกาศอย. ฉบับที่ 414 ประกาศอย. ฉบับที่ 416 ประกาศอย. ฉบับที่ 418 1. Net Volume, ml 256  2. pH 3.92 ต่ำกว่า 4.3 ผ่าน 3. Synthetic color, mg/kg * ไม่พบ ตามชนิดสี ผ่าน 4. Benzoic acid, mg/kg * ไม่พบ รวมกันไม่เกิน 200 ผ่าน 5. Sorbic acid, mg/kg * ไม่พบ ผ่าน 6. Coliforms, MPN/100 mL * น้อยกว่า 1.1 น้อยกว่า 2.2 ผ่าน 7. Yeasts and Molds, CFU/mL * น้อยกว่า 1 น้อยกว่า 1
coli, /100 mL *
Staphylococcus aureus, /0.1 ml *
Salmonella spp., /25
พาสเจอร์ไรส์
4.3
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่

color, mg/kg * ไม่พบ ตามชนิดสี ผ่าน 4. Benzoic acid, mg/kg * ไม่พบ รวมกันไม่เกิน 200 ผ่าน 5. Sorbic acid, mg/kg * ไม่พบ ผ่าน 6. Coliforms, MPN/100 mL * น้อยกว่า 1.1 น้อยกว่า 2.2 ผ่าน 7. Yeasts and Molds, CFU/mL * น้อยกว่า 1 น้อยกว่า 1 ผ่าน

67 สรุปผลการวิเคราะห์/ทดสอบ ตัวอย่าง : เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูหมักผสมน้ำรสบลูเบอร์รี่ (651884, 651885) รายการทดสอบ, หน่วยทดสอบ (* รายการทดสอบที่ได้รับการรับรอง) ผลการทดสอบ เกณฑ์มาตรฐาน ไม่มี เกณฑ์ สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน) ประกาศอย. ฉบับที่ 356
ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 11.
ไม่พบ
ไม่เกิน 0.03 ผ่าน 12. Total
 13.
4.03  เกณฑ์มาตรฐาน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท พาสเจอร์ไรส์ ต่ำกว่า 4.3 : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่
มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
416) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ความปลอดภัย
ประกาศอย. ฉบับที่ 414 ประกาศอย. ฉบับที่ 416 ประกาศอย. ฉบับที่ 418 1. Net Volume, ml 255  2. pH 3.16 ต่ำกว่า 4.3 ผ่าน 3. Synthetic
8. Escherichia coli, /100 mL * ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 9. Staphylococcus aureus, /0.1 ml * ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 10. Salmonella spp., /25 ml *
Lead, mg/kg *
(LOD=0.01)
phenolic compounds, mg GAE/g 0.454
Anthocyanin, mg/100mL
414) พ.ศ. 2563
: ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่
68
สรุปผลการวิเคราะห์/ทดสอบ รายการทดสอบ Total phenolic compounds ตัวอย่าง (เลขคำขอรับบริการ) ผลการทดสอบ (mg GAE/g)
1. real simple real fruit smoothie 1.239 2. Tipco® Cool Berry Mix 0.498
69 9 น้ำปลาหวาน ตรา เคยู ฟู๊ด (The PREMIUM@KU) ประวัติความเป็นมา สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญต้นตำรับอาหารไทย อย่างแท้จริง ซึ่งถ่ายทอดองค์ความรู้ต้นตำรับอาหารไทยตั้งแต่บุคลากรในยุคแรก และสืบทอดองค์ความรู้ เหล่านั้นต่อกันมาจนถึงรุ่นปัจจุบันเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 50 ปี ผลิตภัณฑ์น้ำปลาหวานบรรจุขวด เป็นอีก หนึ่งผลิตภัณฑ์ของสถาบันฯที่คิดค้นและพัฒนาสูตรโดยบุคลากรของสถาบันฯ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม มาอย่างต่อเนื่องด้วยเอกลักษณ์และคุณภาพที่ดี ทำให้ผลิตภัณฑ์น้ำปลาหวานบรรจุขวดผลิตและจำหน่ายมา ยาวนานกว่า 20 ปี กระบวนการผลิตน้ำปลาหวาน ผลิตภัณฑ์น้ำปลาหวาน ตรา เคยู ฟู้ด ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพสูง ใช้น้ำตาลมะพร้าวที่ไม่ใช้สารฟอก ขาว นำมาเคี่ยวกับน้ำปลา เติมส่วนประกอบอื่นๆ ที่คัดสรรมาอย่างดีไม่ว่าจะเป็นกุ้งแห้ง หอมแดง และพริก ขี้หนูสวน สะอาดและปลอดภัย ผ่านกรรมวิธีการผลิตตามมาตรฐานสากลเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย และมีคุณภาพดี สามารถเก็บรักษาได้นาน โดยไม่ใช้วัตถุกันเสีย และยังคงรสชาติที่กลมกล่อมโดยไม่ต้องแต่ง กลิ่นรส ความพรีเมี่ยม - คิดค้นและพัฒนาสูตรโดยบุคลากรสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความเชี่ยวชาญด้าน อาหารไทย - ผลิตด้วยวัตถุดิบคุณภาพสูงใช้น้ำตาลมะพร้าวแท้ น้ำปลาชั้นดี กุ้งแห้งที่ผ่านกระบวนการเตรียมแบบ พิเศษทำให้ได้เนื้อเนียนฟู ใช้หอมแดงไทยและพริกขี้หนูสวนเพื่อให้กลิ่นรสดีและเป็นเอกลักษณ์ เครื่องปรุงทั้งหมดผ่านกระบวนการเตรียมอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีความสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพสูง - ผลิตด้วยกรรมวิธีการผลิตตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภันคุณภาพดี สามารถเก็บรักษาได้นาน โดยไม่ใช้วัตถุกันเสีย และยังคงรสชาติที่กลมกล่อม - เป็นผลิตภัณฑ์น้ำปลาหวานที่มีเอกลักษณ์ซึ่งผลิตและจำหน่ายมายาวนานกว่า 20 ปี
70 ข้อมูลเพิ่มเติม - ผลิตภัณฑ์น้ำปลาหวาน ตรา เคยู ฟู้ด มีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัยในระดับสากล ผลิตด้วย กรรมวิธีและกระบวนการที่ถูกสุขลักษณะ ภายใต้ระบบคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร GMP (Good Manufacturing Practice) - ได้รับการรับรองและปลอดภัยตามมาตรฐานอาหาร มีเครื่องหมาย อย. โดยสํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยา (Food and Drug Administration) กระทรวงสาธารณสุข
71 เอกสารประชาสัมพันธ์
72 เอกสารผลการวิเคราะห์/ทดสอบ

เกณฑ์มาตรฐาน

สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน) 1. Net weight, g 584.73 -2. Sodium benzoate, mg/kg ไม่พบ - ไม่เกิน 1,000 ผ่าน 3. Potassium sorbate, mg/kg ไม่พบ - ไม่เกิน 1,000 ผ่าน 4. Lead, mg/kg ไม่พบ ไม่เกิน 1 - ผ่าน 5. Total plate count, CFU/g 2.2 x 102 ไม่เกิน 1 x 104 - ผ่าน 6. Coliforms, MPN/g น้อยกว่า 3 น้อยกว่า 3 - ผ่าน 7. Yeasts and Molds, CFU/g น้อยกว่า 10 ไม่เกิน 100 - ผ่าน 8. Staphylococcus aureus, CFU/g น้อยกว่า 10 ไม่เกิน 100 - ผ่าน

9. Salmonella spp., /25 g ไม่พบ ไม่พบ - ผ่าน 10. Calcium, mg/100g 117.55 - -เกณฑ์มาตรฐาน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข

73 สรุปผลการวิเคราะห์/ทดสอบ ตัวอย่าง :
(ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ข้อ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่
พ.ศ.
กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และ อัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่
ข้อ
น้ำปลาหวาน รายการทดสอบ, หน่วยทดสอบ ผลการทดสอบ เกณฑ์มาตรฐาน ประกาศ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ความปลอดภัย
อย.ฉบับที่ 355 ข้อ 3(2)
ประกาศ อย.ฉบับที่ 418
3(2)
418)
2563
2)
3(2)
74 10. น้ำแกงส้ม (The PREMIUM@KU) ประวัติความเป็นมา สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญต้นตำรับอาหารไทย อย่างแท้จริง ซึ่งถ่ายทอดองค์ความรู้ต้นตำรับอาหารไทยตั้งแต่บุคลากรในยุคแรก และสืบทอดองค์ความรู้ เหล่านั้นต่อกันมาจนถึงรุ่นปัจจุบันเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 50 ปี ผลิตภัณฑ์น้ำแกงส้มเจชนิดเข้มข้นบรรจุถุง เพาช์ เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของสถาบันฯที่คิดค้นและพัฒนาสูตรโดยบุคลากรของสถาบันฯ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และมีคุณภาพที่ดี ทำให้ผลิตภัณฑ์น้ำแกงส้มเจ ชนิดเข้มข้นผลิตและจำหน่ายมายาวนาน กระบวนการผลิตน้ำแกงส้มเจ ชนิดเข้มข้น ผลิตภัณฑ์น้ำแกงส้มเจ ชนิดเข้มข้น ตรา เคยู ฟู้ด ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพสูง ทดแทนการใช้เนื้อสัตว์ ด้วยเห็ดเป็นแหล่งโปรตีนพืช ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปราศจากคอเลสเตอรอล และยังเป็นแหล่งสารสำคัญ อื่นที่มีคุณสมบัติเสริมสุขภาพอีกด้วย สมุนไพรที่ใช้คัดสรรคุณภาพเป็นอย่างดี ผ่านกระบวนการล้างทำความ สะอาดก่อนนำมาปรุงเป็นเครื่องแกงตามสูตรต้นตำรับของสถาบันฯ ผลิตด้วยกรรมวิธีการผลิตตาม มาตรฐานสากลเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำแกงส้มเจเข้มข้นที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพดี สามารถเก็บรักษาได้ นาน โดยไม่ใช้วัตถุกันเสีย และยังคงรสชาติที่กลมกล่อมโดยไม่ต้องแต่งกลิ่นรส ความพรีเมี่ยม - คิดค้นและพัฒนาสูตรโดยบุคลากรสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความเชี่ยวชาญด้าน อาหารไทย - ทดแทนการใช้เนื้อสัตว์ด้วย “เห็ด” เป็นแหล่งโปรตีนพืชที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ ผสมผสานกับ สมุนไพรเครื่องเทศที่คัดสรรอย่างดี เครื่องปรุงทั้งหมดผ่านกระบวนการเตรียมอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้ วัตถุดิบที่มีความสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพสูง - ผลิตด้วยกรรมวิธีการผลิตตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยคุณภาพดี สามารถเก็บรักษาได้นาน โดยไม่ใช้วัตถุกันเสีย และยังคงรสชาติที่กลมกล่อม - เป็นผลิตภัณฑ์เข้มข้นสามารถนำไปปรุงได้ง่าย พกพา และขนส่งได้สะดวก
75 ข้อมูลเพิ่มเติม - ผลิตภัณฑ์น้ำแกงส้มเจ ชนิดเข้มข้น ตรา เคยู ฟู้ด มีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัยในระดับสากล ผลิตด้วยกรรมวิธีและกระบวนการที่ถูกสุขลักษณะ ภายใต้ระบบคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร GMP (Good Manufacturing Practice) - ได้รับการรับรองและปลอดภัยตามมาตรฐานอาหาร มีเครื่องหมาย อย. โดยสํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยา (Food and Drug Administration) กระทรวงสาธารณสุข
76 เอกสารประชาสัมพันธ์
77 11. น้ำนมข้าวโพด ไร่สุวรรณ (The PREMIUM@KU) ประวัติความเป็นมา (ไร่สุวรรณ) พื้นที่ของ "ไร่สุวรรณ" เดิมชื่อว่า "ไร่ธนะฟาร์ม" เป็นที่ดินของ ฯพณฯ ท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้สำหรับปลูกข้าวโพดและพืชไร่อื่นๆ รวมทั้งเลี้ยงสัตว์ด้วยวิธีการที่ทันสมัยเพื่อเป็น ตัวอย่างของคนในท้องถิ่น และบริเวณใกล้เคียง หลังจากที่ท่านอสัญกรรม เมื่อปี พ.ศ.2506 ทรัพย์สินของท่าน ได้ตกเป็นของรัฐบาล ต่อมาในปี พ.ศ.2508 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับมอบ "ไร่ธนะฟาร์ม" จากกรมธนา รักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อจัดตั้งและพัฒนาไร่แห่งนี้ให้เป็นสถานที่สำหรับฝึกงานให้กับนิสิตคณะกสิกรรมและ สัตวบาล โดยตั้งชื่อว่า "สถานีฝึกนิสิตเกษตรสุวรรณวาจกกสิกิจ" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถานีวิจัยพืชไร่ สุวรรณวาจกกสิกิจ" จวบจนปัจจุบัน มีการจำหน่ายข้าวโพดหวานทั้งฝักดิบ ฝักที่ต้มสุกแล้ว รวมถึงผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานกระป๋อง และ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมาก คือ น้ำนมข้าวโพด ซึ่งเริ่มผลิตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งตอน พ.ศ. 2545 นั้นข้าวโพดหวานที่นำไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกนั้นผลผลิตเริ่มออกมามาก
ข้าวโพดดิบออกสู่ตลาดเริ่มมีปัญหา จึงนำมาทดลองแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพดหวาน ปรากฏว่า ขายดีมาก เป็นที่นิยมของผู้บริโภค จากนั้นเป็นต้นมาผลผลิตที่เก็บเกี่ยวทั้งหมดเราจึงนำมาทำผลิตภัณฑ์ "น้ำนมข้าวโพด" กระบวนการผลิตน้ำนมข้าวโพด เริ่มจากการนำข้าวโพดดิบมาปอกเปลือก จากนั้นก็เข้ากระบวนการฝานโดยเครื่องจักร เพื่อเอาแต่ เนื้อข้าวโพด เมื่อได้เนื้อข้าวโพดตามที่ต้องการ นำมาผสมกับน้ำสะอาดและเกลือ ต้มเดือดประมาณ 15-20 นาที ก่อนนำเข้าเครื่องบดเพื่อแยกกากออกให้เหลือแต่น้ำนมแล้วก็นำมากรองในตะแกรงละเอียดอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเศษกากข้าวโพดปะปนอยู่ จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนปรุงรสปรับความหวาน โดยเติมน้ำเชื่อม และเกลือ จากนั้นนำมาบรรจุขวดปิดฝา แล้วนำมาแช่ในถังน้ำแข็งต่ออีกประมาณ 10 นาที ก่อนนำไปเก็บ ในถังน้ำแข็ง หรือที่ 0 oC และพร้อมส่งจำหน่ายต่อไป
การจำหน่าย

เพราะต้องการให้ ได้ข้าวโพดที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเพื่อนำมาทำผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพด - บรรจงคัดสรรวัตถุดิบที่มีความสุกพอดีเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด (ถ้าข้าวโพดอ่อน

78 ความ premium/จุดเด่น ของผลิตภัณฑ์ 1. ข้าวโพดสดจากไร่ - เลือกใช้ข้าวโพดสายพันธุ์อินทรี 2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์เฉพาะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้ เวลาวิจัยนานกว่า 6 ปี โดยเป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ SSWI114 กับ KSei 14004 มีความโดด เด่นเป็นสายพันธุ์ที่มีความหอมและความหวานตามธรรมชาติมากกว่าข้าวโพดสายพันธุ์อื่นๆ ทำให้ ได้น้ำนมข้าวโพดที่หอมและมีความหวานจากธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีการเจือสีและแต่งกลิ่น เพิ่มเติม - ข้าวโพดเก็บเกี่ยววันต่อวันจากเกษตรกรในรัศมีใกล้เคียง โดยเกษตรกรนำข้าวโพดมาส่งในช่วงเช้า และนำวัตถุดิบดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการผลิตทันที เพื่อให้คงความสดมากที่สุด ผลิตภัณฑ์จึงมี ความหอมและหวานอร่อยจากความสดของวัตถุดิบ “ยิ่งสด ยิ่งหวาน” - ข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำนมข้าวโพดนั้นจะเป็นของเกษตรกรที่เป็นลูกไร่ของศูนย์ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 100 ราย โดยผลผลิตทุกแปลงของชาวบ้านจะอยู่ในความ ควบคุมดูแลจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์ตลอดตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว
เกินไป น้ำนมข้าวโพดที่ได้จะใส แต่ถ้าข้าวโพดแก่เกินไป ผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพดจะไม่มีความ หวานและความหอม) 2. มีสารเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) สารลูทีน (Lutein) 1.8 mg/kg และสารซีแซนทิน (Zeaxanthin) จึงช่วยป้องกันและบำรุงสายตา ลดความเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อมได้ ข้อมูลเพิ่มเติม 1. กระบวนการผลิตถูกสุขลักษณะ ควบคุมด้วยหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice, GMP) โดยผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพดทุกขวดผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2. หวานน้อยเพื่อสุขภาพ ไม่เติมวัตถุกันเสีย ไม่ผสมนมผง/ครีมเทียม 3. ประโยชน์ต่อสุขภาพอื่นๆ - มีเส้นใยอาหาร 0.4% จึงช่วยในเรื่องระบบการย่อยอาหาร
79 เอกสารประชาสัมพันธ์
80 เอกสารผลการวิเคราะห์/ทดสอบ
81
82 สรุปผลการวิเคราะห์/ทดสอบ น้ำนมข้าวโพดหวาน 97.8% ตราไร่สุวรรณ (651897, 651898) รายการทดสอบ, หน่วยทดสอบ (* รายการทดสอบที่ได้รับการรับรอง) ผลการทดสอบ เกณฑ์มาตรฐาน ไม่มี เกณฑ์ สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน) ประกาศอย. ฉบับที่
ประกาศอย. ฉบับที่
ประกาศอย.
416 ประกาศอย. ฉบับที่ 418 1.
2.
ผ่าน 3.
23 น้อยกว่า 2.2 ไม่ผ่าน 7. Yeasts and Molds, CFU/mL * น้อยกว่า 1 น้อยกว่า 1 ผ่าน 8. Escherichia coli, /100 mL * ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 9. Staphylococcus aureus, CFU/mL น้อยกว่า 1 น้อยกว่า 100 ผ่าน 10. Salmonella spp., /25 ml * ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 11. Bacillus cereus, CFU/mL * 2,600 น้อยกว่า 100 ไม่ผ่าน 12. Clostridium perfringens, CFU/mL * น้อยกว่า 1 น้อยกว่า 100 ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท พาสเจอร์ไรส์ สูงกว่า 4.3 : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 416) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ตาม ประกาศ อย.ฉบับที่ 356
356
414
ฉบับที่
Net Volume, ml 246 
pH 7.40 สูงกว่า 4.3
Synthetic color, mg/kg * ไม่พบ ตามชนิดสี ผ่าน 4. Benzoic acid, mg/kg * ไม่พบ รวมกันไม่เกิน 200 ผ่าน 5. Sorbic acid, mg/kg * ไม่พบ ผ่าน 6. Coliforms, MPN/100 mL * มากกว่า

13. Lead, mg/kg * ไม่พบ (LOD=0.01) ไม่เกิน 0.03 ผ่าน 14. Arsenic, mg/kg * ไม่พบ (LOD=0.02) ไม่เกิน 2 ผ่าน 15. Copper, mg/kg 0.29  16. Zinc, mg/kg 1.95  17. Iron, mg/kg 1.02  18. Tin, mg/kg น้อยกว่า 0.10 ไม่เกิน 250 ผ่าน 19. Sulphur dioxide, mg/kg ไม่พบ ไม่เกิน 70 ผ่าน 20. Vitamin A (Beta-carotene), µg/100g ไม่พบ < LOQ (LOQ=40.00)  21. Total Dietary Fiber, g/100g * 0.41  22. Lutein, mg/kg 1.79 

83
84 ผลวิเคราะห์ครั้งที่ 2 น้ำนมข้าวโพดหวาน 97.8% ตราไร่สุวรรณ รายการทดสอบ, หน่วยทดสอบ (* รายการทดสอบที่ได้รับการรับรอง) ผลการทดสอบ เกณฑ์มาตรฐาน ไม่มี เกณฑ์ สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน) ประกาศอย. ฉบับที่ 356 ประกาศอย. ฉบับที่ 414 ประกาศอย. ฉบับที่ 416 ประกาศอย. ฉบับที่ 418 1. Net Volume, ml2. pH3. Synthetic color, mg/kg - ตามชนิดสี 4. Benzoic acid, mg/kg - รวมกันไม่เกิน 200 5. Sorbic acid, mg/kg6. Coliforms,
9.2 น้อยกว่า 2.2 ไม่ผ่าน 7. Yeasts
น้อยกว่า 1 น้อยกว่า 1 ผ่าน 8. Escherichia
ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 9. Staphylococcus aureus, CFU/mL น้อยกว่า 1 น้อยกว่า 100 ผ่าน 10. Salmonella spp., /25 mL ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 11. Bacillus cereus, CFU/mL * 380 น้อยกว่า 100 ไม่ผ่าน 12. Clostridium perfringens, CFU/mL น้อยกว่า 1 น้อยกว่า 100 ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท พาสเจอร์ไรส์ สูงกว่า 4.3 : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 416) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ตามประกาศ อย.ฉบับที่ 356
MPN/100 mL
and Molds, CFU/mL
coli, /100 mL
85 ผลวิเคราะห์ครั้งที่ 3 น้ำนมข้าวโพดหวาน 97.8% ตราไร่สุวรรณ รายการทดสอบ, หน่วยทดสอบ (* รายการทดสอบที่ได้รับการรับรอง) ผลการทดสอบ เกณฑ์มาตรฐาน ไม่มี เกณฑ์ สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน) ประกาศอย. ฉบับที่ 356 ประกาศอย. ฉบับที่ 414 ประกาศอย. ฉบับที่ 416 ประกาศอย. ฉบับที่ 418 1. Net Volume, ml2. pH3. Synthetic
- ตามชนิดสี 4. Benzoic
- รวมกันไม่เกิน 200 5. Sorbic
6. Coliforms,
9.
น้อยกว่า
น้อยกว่า
10.
ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 11.
, CFU/mL น้อยกว่า 1 น้อยกว่า 100 ผ่าน 12. Clostridium perfringens, CFU/mL น้อยกว่า 1 น้อยกว่า 100 ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท พาสเจอร์ไรส์ สูงกว่า 4.3 : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 416) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ตามประกาศ อย.ฉบับที่ 356
color, mg/kg
acid, mg/kg
acid, mg/kg
MPN/100 mL 5.1 น้อยกว่า 2.2 ไม่ผ่าน 7. Yeasts and Molds, CFU/mL น้อยกว่า 1 น้อยกว่า 1 ผ่าน 8. Escherichia coli, /100 mL ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน
Staphylococcus aureus, CFU/mL
1
100 ผ่าน
Salmonella spp., /25 mL
Bacillus cereus
86 12. แป้งกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 (The PREMIUM@KU) ประวัติความเป็นมา (ผลิตภัณฑ์/ สถานที่ผลิต) สถานีวิจัยปากช่อง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2501 เดิมชื่อสถานีฝึกนิสิตเกษตรปากช่อง โดยขอพื้นที่จาก กรมปศุสัตว์ เขตอำเภอปากช่อง ได้โอนไปขึ้นกับสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2535 ได้โอนไปขึ้นกับสถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ ต่อมาได้โอนไป สังกัดกับคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2558 สถานีวิจัยปากช่องได้โอนย้ายไปขึ้นกับ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน สถานีวิจัยปากช่อง เป็นสถานีที่ทำวิจัยงานทางด้านไม้ผลเขตร้อนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มา กว่า 60 ปี ซึ่งกล้วยเป็นไม้ผลที่ทางสถานีฯให้ความสนใจได้รวบรวมและทำงานวิจัยมาช้านาน ในวาระ ครบรอบ 50 ปีของสถานีฯ ในปี พ.ศ. 2551 ทางสถานีฯได้เปิดตัวกล้วยน้ำว้าสายพันธุ์ใหม่ คือ “กล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50” ที่เกิดจากการคัดเลือกสายพันธุ์กล้วยน้ำว้าไส้เหลืองที่เก็บรวบรวมพันธุ์ไว้ที่ สถานีฯ โดยพบว่าสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้นี้มีคุณสมบัติที่เหมาะในการปลูกเพื่อการค้า ลักษณะเด่น คือ เครือใหญ่น้ำหนักเครือมากกว่า 30 กิโลกรัม (ไม่รวมก้านเครือ) จำนวนหวีมากกว่า 10 หวี จำนวนผลต่อหวี ประมาณ 18 ผล ผลกล้วยใหญ่อ้วน น้ำหนักผลโดยเฉลี่ยประมาณ 140 กรัม/ผล ไส้กลางไม่แข็งออกสีเหลือง เนื้อแน่นเมื่อสุกมีความหวานประมาณ 26 %Brix มีการส่งเสริมให้ปลูกอย่างแพร่หลายทั้งเพื่อบริโภคผลสดและ เพื่อการแปรรูป สำหรับการนำแปรรูปสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น การ แปรรูปอีกทางหนึ่งที่มีการยอมรับและมีงานวิจัยเกี่ยวกับกล้วยในระดับสากลแล้วนั้น คือ แป้งกล้วยที่มี คุณสมบัติเป็นแป้งต้านทานการย่อย หรือที่เรียกว่า Resistant starch เป็นแป้งที่มีประโยชน์อย่างมากต่อ ร่างกาย เนื่องจากแป้งต้านทานการย่อยเป็นแป้งที่ไม่ถูกย่อยและไม่ถูกดูดซึมในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แต่ผ่านเข้าถึงลำไส้ใหญ่เป็นแหล่งอาหารกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ (probiotics) ช่วยในการ ปรับสมดุลในร่างกาย และระบบทางเดินอาหาร สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร และภาควิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการวิจัย ภายใต้โครงการ เทคโนโลยีและการเพิ่มมูลค่ากล้วยน้ำว้าเชิงอุตสาหกรรม พบว่ากล้วยน้ำว้า มีปริมาณแป้ง ต้านทานการย่อยในกลุ่ม RS 2 (Resistant Starch type II ) มากกว่า 40% โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ที่มีปริมาณแป้งต้านทานการย่อยสูงถึง 55.59% อีกทั้งยังมีสรรพคุณ ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ช่วย กระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ (Probiotics) ช่วยในการปรับสมดุลในร่างกายและระบบทางเดิน นอกจากนี้คุณสมบัติของแป้งกล้วยยังสามารถนำมาทดแทนการใช้แป้งสาลี่ทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้ที่แพ้กลูเตนในแป้งสาลีได้ และยังสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ ได้อีกด้วย
87 กระบวนการผลิต นำกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ที่มีความแก่ 70-80 % (จากการวิจัยพบว่า อายุการเก็บเกี่ยวกล้วยน้ำว้า ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสีของแป้งกล้วยน้ำว้า ดังนั้น การเลือกระยะเก็บเกี่ยวกล้วยจึงมีความสำคัญต่อการนำมาแปรรรูปเป็นแป้งกล้วย) จากนั้นกล้วยมาหั่น แบ่งเป็นลูกๆ แล้วล้างทำความสะอาด ทำการปอกเปลือก สไลด์กล้วยที่ปอกเปลือกแล้วด้วยเครื่องสไลด์กล้วย ตามยาวหรือตามขวางให้มีขนาดความหนา ประมาณ 0.3 เซนติเมตร จากนั้นนำไปอบด้วยเครื่องอบแบบลม ร้อน ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง จากนั้นนำเข้าเครื่องบดหยาบที่ความละเอียด 3, 40 และ 80 เมช ตามลำดับ และนำเข้าเครื่องบดละเอียดที่ความละเอียด 100 เมช (0.25 ไมครอน) เก็บในภาชนะ ที่ปิดสนิท พร้อมนำไปชงดื่มหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพต่อไป
88 ความ premium/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ➢ ใช้กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกมีคุณสมบัติที่เหมาะในการปลูกเป็นการค้า ทั้งเพื่อบริโภคผลสดและ เพื่อการแปรรูป มีมาตรฐานการคัดเลือกตั้งแต่ระยะผลแก่ของกล้วยน้ำว้า ที่มีความแก่ 70-80 % (ซึ่ง จากการวิจัยพบว่า อายุการเก็บเกี่ยวกล้วยน้ำว้าส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์และ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสีของแป้งกล้วยน้ำว้า ดังนั้นการเลือกระยะเก็บเกี่ยวกล้วยจึงมี ความสำคัญต่อการนำมาแปรรรูปเป็นแป้งกล้วย) ➢ มีงานวิจัยรองรับ เกี่ยวกับคุณสมบัติเป็นแป้งต้านทานการย่อย หรือที่เรียกว่า Resistant starch ซึ่งเป็นแป้งที่ มีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า แป้งกล้วยน้ำว้า ปากช่อง 50 มีปริมาณแป้งต้านทานการย่อยในกลุ่ม RS 2 (Resistant Starch type II ) ถึง 55.59% ➢ ขั้นตอนและกรรมวิธีในการผลิด สะอาด ปลอดภัย ตามรูปแบบการผลิตมาตรฐานอาหารและยา เครื่องมือที่ใช้ทันสมัย มี คุณภาพ เครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตคุณภาพระดับ Food Grade จึงทำให้ผลิตภัณฑ์มีความ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญ ➢ วิธีรับประทาน ชงแป้งกล้วย 2 ช้อนชาต่อน้ำอุ่น หรือ นมอุ่น 1 แก้ว (100-200 ซีซี) เติมความหวานด้วย น้ำผึ้ง หรือหญ้าหวานตามความชอบ
89 เอกสารผลการวิเคราะห์/ทดสอบ

1525/2562 1. Net weight, g 100  2. Moisture, % 11.27 ไม่เกิน 6 % ไม่ผ่าน 3. Synthetic color, mg/kg ไม่พบ ตามชนิดสี ห้ามใช้ ผ่าน 4. Benzoic acid, mg/kg ไม่พบ รวมกันไม่เกิน 200 ห้ามใช้ ผ่าน

5. Sorbic acid, mg/kg ไม่พบ ห้ามใช้ ผ่าน

6. Coliforms, MPN/100 ml มากกว่า 23 น้อยกว่า 2.2 น้อยกว่า 2.2 ไม่ผ่าน 7. Escherichia coli, /100 ml ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 8. Yeasts and Molds, CFU/g Y=60, M=110 น้อยกว่า 100 น้อยกว่า 100 ไม่ผ่าน 9. Salmonella spp., /25 g ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 10. Staphylococcus

90 สรุปผลการวิเคราะห์/ทดสอบ ตัวอย่าง : แป้งกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 รายการทดสอบ, หน่วยทดสอบ ผลการทดสอบ เกณฑ์มาตรฐาน ไม่มี เกณฑ์ สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน) ประกาศ อย. ฉบับที่ 356 ประกาศ อย. ฉบับที่ 414 ประกาศ อย. ฉบับที่ 416 ข้อ 9.2 ประกาศ อย. ฉบับที่ 418 มผช.
aureus, CFU/g น้อยกว่า 10 ไม่เกิน 100 น้อยกว่า 10 ผ่าน 11. Bacillus cereus, CFU/g น้อยกว่า 10 ไม่เกิน 100 ไม่เกิน 100 ผ่าน 12. Lead, mg/kg ไม่พบ (LOD=0.05) ไม่เกิน 1 ผ่าน - ประกาศ อย.ฉบับที่ 356 พ.ศ. 2556 เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ชนิดแห้งหรือชนิดเข้มข้น เกณฑ์ Yeasts & Molds รวมกัน น้อยกว่า 100 cfu/g ใช้เกณฑ์ตามประกาศ 356 เนื่องจากด้านหน้าภาชนะบรรจุเขียนวิธีบริโภคให้ละลายแป้งกล้วย 2 ช้อนชา ต่อน้ำ 200 มิลลิลิตร เกณฑ์มาตรฐาน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ชนิดแห้งหรือชนิดเข้มข้น : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่
มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) : มผช.1525/2562 กล้วยผงชงดื่ม ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ความปลอดภัย ตามประกาศ ฉ.356
414) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 416) พ.ศ. 2563

1525/2562

Net weight, g -  -

Moisture, % 11.59 ไม่เกิน 6 % ไม่ผ่าน 3. Synthetic color, mg/kg - ตามชนิดสี ห้ามใช้4. Benzoic acid, mg/kg - รวมกันไม่เกิน 200 ห้ามใช้5. Sorbic acid, mg/kg - ห้ามใช้6. Coliforms, MPN/100 ml มากกว่า 23 น้อยกว่า 2.2 น้อยกว่า 2.2 ไม่ผ่าน 7. Escherichia coli, /100 ml ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ผ่าน 8. Yeasts and Molds, CFU/g Y=20, M=1.3x102 น้อยกว่า

91 สรุปผลการวิเคราะห์/ทดสอบ ตัวอย่าง : แป้งกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ครั้งที่ 2 รายการทดสอบ, หน่วยทดสอบ ผลการทดสอบ เกณฑ์มาตรฐาน ไม่มี เกณฑ์ สรุปผล (ผ่าน / ไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน) ประกาศ อย. ฉบับที่ 356 ประกาศ อย. ฉบับที่ 414 ประกาศ อย. ฉบับที่ 416 ข้อ 9.2 ประกาศ อย. ฉบับที่
9.
ไม่พบ
10.
น้อยกว่า
ไม่เกิน 100 น้อยกว่า 10 ผ่าน 11. Bacillus cereus, CFU/g น้อยกว่า 10 ไม่เกิน 100 ไม่เกิน 100 ผ่าน 12. Lead, mg/kg - ไม่เกิน 1- ประกาศ อย.ฉบับที่ 356 พ.ศ. 2556 เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ชนิดแห้งหรือชนิดเข้มข้น เกณฑ์ Yeasts & Molds รวมกัน น้อยกว่า 100 cfu/g ใช้เกณฑ์ตามประกาศ 356 เนื่องจากด้านหน้าภาชนะบรรจุเขียนวิธีบริโภคให้ละลายแป้งกล้วย 2 ช้อนชา ต่อน้ำ 200 มิลลิลิตร เกณฑ์มาตรฐาน : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่
พ.ศ.
เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ชนิดแห้งหรือชนิดเข้มข้น
: ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 416) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) : มผช.1525/2562 กล้วยผงชงดื่ม ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ความปลอดภัย ตามประกาศ ฉ.356
418 มผช.
1.
2.
100 น้อยกว่า 100 ไม่ผ่าน
Salmonella spp., /25 g ไม่พบ
ไม่พบ ผ่าน
Staphylococcus aureus, CFU/g
10
356)
2556
: ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
92 ภาพเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการฯ ณ ร้าน The PREMIUM@KU
93
ภาคผนวก 1 แบบฟอร์มการเสนอผลิตภัณฑ์เข้าร่วม
8/15/22, 4:29 PM แบบฟอรมการเสนอผลตภณฑเขารวมโครงการ The PREMIUM@KU https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfu1hdSPgx-KIJJY9e5cTa0InmLePN0j7c2wGY1gbKeuzpKOw/viewform 1/4 แบบฟอรมการเสนอผลตภณฑเขารวม โครงการ The PREMIUM@KU กรณากรอกขอมลในชองวางใหครบถวน หากทานมขอสงสยหรอตองการปรกษาเพมเตมกรณาตดตอขอรบคาปรกษาไดทฝายควบคมคณภาพ ราน The PREMMIUM@KU อาคาร KU Avenue 1 ตรงขามสนามฟตบอลอนทรจนทรสถตย มหาวทยาลยเกษตรศาสตรเลขท 50 ถ งามวงศวานแขวงลาดยาวเขตจตจกรกรงเทพมหานคร 10900 วนจนทร-ศกรตงแตเวลา 9.00-19.00 น วนเสาร-อาทตยหรอวนหยดนกขตฤกษตงแตเวลา 10.00-18.00 น โทร 097-154-8817 kanithaporn.v@ku.th Switch account The name and photo associated with your Google account will be recorded when you upload files and submit this form. Your email is not part of your response. * Required ชอ-สกลผเสนอผลตภณฑเขารวมโครงการ (แนบสาเนาบตรประชาชน) * Your answer เบอรโทรศพทตดตอของผเสนอผลตภณฑเขารวมโครงการ * Your answer อเมลตดตอของผเสนอผลตภณฑเขารวมโครงการ * Your answer ภาพสาเนาบตรประชาชน * Add file
8/15/22, 4:29 PM แบบฟอรมการเสนอผลตภณฑเขารวมโครงการ The PREMIUM@KU https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfu1hdSPgx-KIJJY9e5cTa0InmLePN0j7c2wGY1gbKeuzpKOw/viewform 2/4 บคลากรทวไป บคลากรมหาวทยาลยเกษตรศาสตร ผลตภณฑจากโครงการวจยของมหาวทยาลยเกษตรศาสตร ชอบรษทผผลต (หากเปนนตบคคลกรณาแนบสาเนาหนงสอรบรองการจดทะเบยนนตบคคล) Your answer ภาพสาเนาหนงสอรบรองการจดทะเบยนนตบคคล) Add file ทอยบรษท (แนบแผนทตงของบรษท) Your answer ภาพถายสถานทผลตและบรรจผลตภณฑ Add file ชอผลตภณฑ/กลมผลตภณฑ (หากเปนกลมผลตภณฑกรณาระบใหครบทกรายการ) * Your answer ขอมลการมสวนรวมในผลตภณฑของมหาวทยาลยเกษตรศาสตร (กรณาเลอกทกขอท เกยวของ)   *
8/15/22, 4:29 PM แบบฟอรมการเสนอผลตภณฑเขารวมโครงการ The PREMIUM@KU https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfu1hdSPgx-KIJJY9e5cTa0InmLePN0j7c2wGY1gbKeuzpKOw/viewform 3/4 ภาพผลการวเคราะหผลตภณฑจากหองปฏบตการทไดรบการรบรองมาตรฐาน โดยผลการ ตรวจวเคราะหภายในระยะเวลา 6 เดอน (กรณาแนบเอกสาร) Add file ภาพสาเนาการไดรบอนญาตตงสถานทผลต Add file ภาพใบรบรองสถานทผลตอาหารทเทยบเทาเกณฑ Primary GMP Add file เลขสารบบอาหาร 13 หลก (เลขอย.) (ถาม) Your answer ภาพเอกสารหลกฐานแสดงหลกฐาน/มาตรฐาน/รางวลของผลตภณฑทไดรบการรบรอง Add file ประวตความเปนมาของผลตภณฑชนดนโดยสงเขป (เพอใชในการประชาสมพนธ) Your answer จดเดนหรออตลกษณของผลตภณฑน Your answer
8/15/22, 4:29 PM แบบฟอรมการเสนอผลตภณฑเขารวมโครงการ The PREMIUM@KU https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfu1hdSPgx-KIJJY9e5cTa0InmLePN0j7c2wGY1gbKeuzpKOw/viewform 4/4 Never submit passwords through Google Forms This form was created inside of มหาวทยาลยเกษตรศาสตร Report Abuse ภาพสนคาตวอยางพรอมฉลาก (ภาพถายหนาตรงและดานขาง) Add file ปรมาณการผลต/ความถในการสงสนคาใหกบทางราน The PREMIUM@KU * Your answer ขนาดบรรจ Your answer จานวนขนาดบรรจของผลตภณฑชนดนทงหมด Your answer สภาพในการเกบรกษา/จาหนายผลตภณฑเชนเกบรกษาในทแหงและเยนเกบรกษาในตแช แขงเปนตน Your answer Submit Clear form Forms
ภาพกิจกรรม
ภาคผนวก 2
ภาพกิจกรรม โครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีแผนการดำเนินงานโครงการ KUniverse ซึ่งเป็นโครงการ พลิกโฉม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อยกระดับความรู้ นวัตกรรมของประเทศผ่านสินค้าและบริการ คุณภาพคู่กับการพัฒนาคน และการสร้างนวัตกรรมให้ไปสู่ระดับนานาชาติโดยจะขับเคลื่อนอย่างเต็มกำลังในปี พ.ศ. 2565 นี้ The PREMIUM@KU แพลตฟอร์มแห่งการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพสูงด้านเกษตร และอาหารแบบครบวงจร 360 องศา ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสนับสนุนผลิตผลของเกษตรกรให้มี คุณภาพในระดับ Premium มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดทำมาตรฐาน The PREMIUM@KU โดยเริ่มจาก ผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ เป็นสินค้าขายดี และเด่นในด้านคุณค่าโภชนาการ สินค้ามีคุณภาพความปลอดภัยพื้นฐานตามหลักเกณฑ์ มาตรฐานอาหาร เกณฑ์ประกาศกระทรวงสาธารณสุข มาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็น ต้น ศูนย์นวัตกรรมกรรมวิทยาการอาหาร โดยความร่วมมือระหว่าง คณะเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะประมง คณะวิทยาศาสตร์ คณวนศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สกลนคร และ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ได้รับมอบหมายจากท่านอธิการบดีให้ดำเนินการจัดทำต้นแบบ มาตรฐาน The PREMIUM@KU ผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการดำเนินงาน ดังนี้ 1. จัดการประชุมครั้งที่ 1 ของคณะผู้บริหาร เพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ The PREMIUM@KU สำหรับ การจัดทำมาตรฐานฯ ในโครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและ อาหาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลิงค์ https://ku-edu.webex.com/kuedu/j.php?MTID=mdc6f47b377e06df91c60156cd9f31edf เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565
2 จัดการประชุมครั้งที่ 1 ของคณะทำงาน เพื่อชี้แจงแผนการดำเนินงานจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ The Premium@KU ในโครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและ อาหาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลิงค์ https://ku-edu.webex.com/kuedu/j.php?MTID=m396f366a3bae07dc478ad0740f66f69f เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565 3. จัดการประชุมครั้งที่ 2 ของคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ The Premium@KU ในโครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ห้อง 322 สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2565 4. จัดการประชุมครั้งที่ 3 ของคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ The Premium@KU ในโครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลิงค์ https://ku-edu.webex.com/kuedu/j.php?MTID=m2f03ee8e195cb2f2c7852ce85b576ecf เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565
5. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สวพ. มก.) เข้าบันทึกภาพและวีดีโอการ เตรียมวัตถุดิบและกระบวนการผลิตเครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้ ของสถาบันค้นคว้าและพัฒนา ผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ โรงงานผลิตทดลอง 2 สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565 6. เข้าร่วมการเปิดร้าน The PREMIUM@KU เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนำเสนอผลิตภัณฑ์ในโครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้ ของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ร้าน The PREMIUM@KU บริเวณประตูงามวงศ์วาน 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565
7. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวการเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดตัว ร้านค้า THE PREMIUM @ KU สนับสนุนการเรียนรู้ผ่านสินค้าเกษตรคุณภาพสูงและบริการ พร้อมแนะนำ ร้านอาหาร KU KIN DEE U-DEE ตามแนวคิด KUniverse สู่การขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้าน เกษตรและอาหารคุณภาพของภูมิภาคเอเชีย สนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ โดยบูรณาการเชื่อมโยงเพื่อยกระดับสินค้าเกษตรอาหาร และการบริการ ขับเคลื่อน BCG Model ของประเทศ ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนต่อไปที่ ลิงค์ https://youtu.be/6lZ25nGCkZs ขอขอบคุณ รายการเกษตรช่อง 5 พัฒนาชุมชน วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 13.10 น. ทาง ททบ.5 ไลฟ์สดทางเพจ TV5HD Online และเพจเกษตรช่อง 5 พัฒนาชุมชน 8. จัดการประชุมครั้งที่ 4 ของคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ The Premium@KU ในโครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลิงค์ https://ku-edu.webex.com/kuedu/j.php?MTID=m3a97b2d0446823a9a8f3bdc0b93cdb32 เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2565
9. จัดการประชุมครั้งที่ 5 ของคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ The Premium@KU ในโครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลิงค์ https://ku-edu.webex.com/kuedu/j.php?MTID=m78068dffdf9cfd367d16195069fdc429 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
10. จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง Branding and Packaging for The PREMIUM@KU ให้กับผู้ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านทางโปรแกรม Cisco Webex Meeting https://ku-edu.webex.com/kuedu/j.php?MTID=m60d6c0f4fce115ef49346f523c29194d เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
โดยได้เรียนเชิญผู้ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากคณะ ศูนย์วิจัย และ สถานีวิจัยต่างๆ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 31 หน่วยงาน มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานทั้งสิ้น จำนวน 169 คน แบ่งเป็น บุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 100 คน และบุคคลทั่วไป จำนวน 69 คน ซึ่งในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 มีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้น จำนวน 457 คน กล่าวเปิดงาน โดย ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวต้อนรับ โดย ผศ.ดร.นุชนาถ มั่งคั่ง รองอธิการบดีฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน กล่าวรายงาน โดย ผศ.ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-FIRST) วิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ 1. ผศ.ดร.อัจฉรา เกษสุวรรณ อาจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรม เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2. รศ.ดร.เลอพงศ์ จารุพันธ์ อาจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรม เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3. ผศ.ดร.วัชราธร เพ็ญศศิธร อาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า คุณทหารลาดกระบัง ดำเนินรายการ โดย นางสาวสาวิณี กฤตผล นักวิจัย ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาอุตสาหกรรม สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีคุณภาพและปลอดภัย ให้ได้รับความ สนใจและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง มีการพัฒนารูปลักษณ์และสร้างความรู้ความเข้าใจสินค้า ผ่านการสร้าง ตราสินค้า ผ่านการตลาด และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่เชิญชวนผู้ซื้อให้กับผู้ผลิตสินค้าและผู้เกี่ยวข้องกับ การผลิตผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แบบประเมินผล จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 53 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤษภาคม
พ.ศ. 2565)
ระดับความพึงพอใจ / ความรู้ความเข้าใจ / การนำไปใช้ ต่อการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ รายการ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด 1 การเตรียมตัวและความพร้อมของวิทยากร 33 19 1 0 0 2 สามารถอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและตรงประเด็น 34 18 1 0 0 3 ใช้ภาษาที่เหมาสมและเข้าใจง่าย 34 18 1
4 การตอบคำถามของวิทยากร 33 18 2
ที่ รายการ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด 1 ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 19 11 15 8 0
0 0
0 0
2 ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้หลังเข้าร่วมกิจกรรม 22 27 4 0 0 3 สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการ ปฏิบัติงานได้ในองค์กรของท่านได้ 23 26 4 0 0 4 สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ / ถ่ายทอดได้ 20 24 9 0 0 5 ภาพรวมของกิจกรรมในวันนี้ 28 24 1 0 0 ที่ รายการ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด 1 การเตรียมตัวและความพร้อมของวิทยากร 34 19 0 0 0 2 สามารถอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและตรงประเด็น 35 18 0 0 0 3 ใช้ภาษาที่เหมาสมและเข้าใจง่าย 33 20 1 0 0 4 การตอบคำถามของวิทยากร 34 19 0 0 0
ที่ รายการ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด 1 ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 18 16 13 5 1 2 ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้หลังเข้าร่วมกิจกรรม 21 30 2 0 0 3 สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการ ปฏิบัติงานได้ในองค์กรของท่านได้
4 สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ / ถ่ายทอดได้ 23 22
5 ภาพรวมของกิจกรรมในวันนี้ 33
ที่ รายการ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด
24 22 7 0 0
8 0 0
18 2 0 0
1 การเตรียมตัวและความพร้อมของวิทยากร 29 22 2 0 0 2 สามารถอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและตรงประเด็น 32 20 1 0 0 3 ใช้ภาษาที่เหมาสมและเข้าใจง่าย 33 19 1 0 0 4 การตอบคำถามของวิทยากร 33 19 1 0 0 ที่ รายการ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด 1 ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 16 15 10 11 1 2 ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้หลังเข้าร่วมกิจกรรม 22 27 4 0 0 3 สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการ ปฏิบัติงานได้ในองค์กรของท่านได้ 25 24 4 0 0 4 สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ / ถ่ายทอดได้ 20 28 5 0 0 5 ภาพรวมของกิจกรรมในวันนี้ 27 25 1 0 0 หัวข้อหรือประเด็นใด ที่ท่านสนใจอยากได้รับความรู้เพิ่มเติม 1. อยากทำ work shop 2. อยากให้มีการจัดแบบ workshop นำผลิตภัณฑ์ที่มีมาให้ดูด้วย 3. อยากได้การทำ workshop กับผลิตภัณฑ์ที่จะวางขาย
4. อยากให้ท่านวิทยากร ทำ Workshop การสร้าง Brand ของ มก. ของสถาบัน KAPI 5. อยากได้รับความรู้เพิ่มเกี่ยวกับภาพและ font ที่เป็นลิขสิทธิ์ 6. การกำหนดมาตรฐานสินค้า Premium @ KU 7. การเตรียมผลิตภัณฑ์หรือมาตรฐานการเป็นผลิตภัณฑ์ของแบรนด์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 8. เครื่องดื่มยอดนิยมหลังโควิดสงบ 9. ผลิตภัณฑ์ 10. การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า 11. Packaging 12. การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ 13. การวิเคราะห์ต้นทุนบรรจุภัณฑ์และความคุ้มค่า ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม 1. อยากให้มี work shop ให้กับแต่ละกลุ่มสินค้า เพื่อจะได้มีการพัฒนาproductใหม่ๆ 2. work shop ออกแบบบรรจุภัณฑ์ 3. อยากให้ทางผู้จัด ช่วยเรื่องจัดการทำแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ให้กับศูนย์สถานีคณะเกษตร เนื่องจากมี การทำผลิตภัณฑ์ส่งไปขายหลายรายการ 4. หัวข้อที่จัดในวันนี้ เหมาะสม กระชับมากค่ะ วิทยากรทุกท่านเก่ง และนำเสนอได้ดี 5. เป็นการอบรมที่ดีมากค่ะ อยากให้อาจารย์แต่ละท่านให้ความช่วยเหลือจริงๆ 6. อยากให้ท่านวิทยากร ยกตัวอย่างการสร้าง Brand ของ มก. ของสถาบัน KAPI 7. ควรแบ่งเวลาให้น้อยลงเป็นหลายวัน วันเดียวหนักเกินไปค่ะ 8. วิทยากรทุกท่านบรรยาย เนื้อหาละเอียดดีมากค่ะ เป็นประโยชน์อย่างมากในการคิดพัฒนาต่อ 9. ขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่อธิบายได้ดีมากเห็นภาพชัดเจน 10. อ.วัชราธร รับปรึกษาหรือรับออกแบบให้ไหมคะ ชอบไอเดียที่อาจารย์นำเสนอมาก 11. อยากให้มีการจัดอบรมบ่อยๆ 12. ควรมี VDO หรือ Youtube ให้ดูทบทวนย้อนหลังได้ เพื่อให้เข้าใจจากการทบทวนการ 13. ถ้ามีวีดีโอให้ดูย้อนหลังจะเป็นประโยชน์มาก
11. นำส่งข้อมูลต้นแบบผลิตภัณฑ์ โครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน The PREMIUM@KU ของ ผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 5 รายการ ประกอบด้วย Description of The PREMIUM@KU และผลิตภัณฑ์ 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1. น้ำอัดลมสมุนไพร 2. น้ำปลาหวาน 2. ข้าวฮาง งอก และ 4. ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย พร้อมสติกเกอร์ มก. ณ ร้าน The PREMIUM@KU เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2565
12. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เอกสารโครงการ Description of The Premium@KU (Food) ผ่าน ทางเฟสบุ้คของร้าน The Premium@KU ที่ลิงค์
13 มิถุนายน พ.ศ.
https://www.facebook.com/100844405922919/posts/pfbid02VmUmW8UvCPQ8X1B2xNfmJhHr pfZhVmB13K7YoVHeJZHL8bpFMbCfwu1qAfVt5PYTl/?d=n เมื่อวันที่
2565
13 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เอกสารโครงการ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้ที่ติด สติกเกอร์ มก ผ่านทางเฟสบุ้คของร้าน The Premium@KU ที่ลิงค์ https://www.facebook.com/100844405922919/posts/pfbid0YPcKnS631VQpeKmM9oZT9XqUr nKXXzJZthNxgvXc5PbgN4ZWNut4EcN4ttjvxpz1l/?d=n เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565 14 จัดการประชุมครั้งที่ 6 ของคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ The Premium@KU ในโครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน The PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลิงค์ https://ku-edu.webex.com/kuedu/j.php?MTID=mbfcba6fcc0f072a8b54dcd4463d1510d เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565
15 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เอกสารโครงการผ่านทางเว็บไซต์ของศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-FIRST) ภายใต้การบูรณาการความ ร่วมมือระหว่างหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ สำนักงานทรัพย์สิน คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ คณะประมง คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สกลนคร และ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ดำเนินงาน โครงการจัดทำต้นแบบมาตรฐาน THE PREMIUM@KU ของผลิตผลทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์เกษตรและ อาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ THE PREMIUM@KU เป็นแพลตฟอร์มแห่งการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพสูงด้าน เกษตรและอาหารแบบครบวงจร 360 องศา เพื่อจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์เกษตรและ อาหารที่มีมาตรฐานคุณภาพผ่านการคัดสรร และมีคุณลักษณะโดดเด่นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ร้าน THE PREMIUM@KU ซึ่งได้เริ่มเปิดการบริการอย่างเป็นทางการ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ในระยะเริ่มต้น โครงการมีเป้าหมายจัดทำต้นแบบมาตรฐาน THE PREMIUM@KU ของผลิตภัณฑ์ เกษตรและอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจะได้รับรองตรา THE PREMIUM@KU จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูหมักผสมน้ำผลไม้ และน้ำปลาหวาน (สถาบันค้นคว้าและ พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร)
อุตสาหกรรมเกษตร สกลนคร) ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย
ผู้สนใจสามารถแวะมาชม ชิม ซื้อ หรือสั่งจองสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการ และได้รับรอง ตรา THE PREMIUM@KU รวมทั้งผลิตผลและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมาย จากกว่า 26 หน่วยงานของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวม 170 ชนิดผลิตภัณฑ์ ณ ร้าน THE PREMIUM@KU ซึ่งตั้งอยู่ในอาคาร KU Avenue 1 ตรงข้ามสนามฟุตบอลอินทรีจันทรสถิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น. หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร 097-154-8817 ที่ลิงค์ https://www.kufirst.center.ku.ac.th/thepremiumku/ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565
น้ำอัดลมสมุนไพร (คณะเกษตร) ข้าวฮางงอก (คณะทรัพยากรธรรมชาติและ
(คณะวิทยาศาสตร์)
16 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เอกสารโครงการ ผ่านทางคลิปประชาสัมพันธ์ของร้าน The Premium@KU ที่ลิงค์ https://drive.google.com/file/d/1rcadz_8bLvxEymxQ4TIFFUiC8XHjQMt/view?fbclid=IwAR2FVS4qi0vmGk9hkUCiiAdO2ntfFJgGueQRB3p6ae9QwPlM01U2vJ-YgGo จากเฟสบุ้คของร้าน เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ภาคผนวก 3 รายงานผลการทดสอบ
6. น้ำนมข้าวโพดไร่สุวรรณ (UHT)
2. น้ำอัดลมสมุนไพร
3 ไข่ไก่ดำนิลเกษตร
(ศาสตร์)
4
ถั่ง่เช่า (ไม่ได้ส่งตรวจวิเคราะห์)
5 ปลาสลิดแดดเดียวแช่แข็ง
6 ปลากุแลอบแห้ง
(Dried Goldstrip sardinella Fish)
7 ข้าวฮางงอก
8. เครื่องดื่มน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้
9. น้ำปลาหวาน
10. น้ำแกงส้ม
11. น้ำนมข้าวโพดไร่สุวรรณ (พาสเจอร์ไรส์) ครั้งที่ 1
น้ำนมข้าวโพดไร่สุวรรณ (พาสเจอร์ไรส์) ครั้งที่ 2
น้ำนมข้าวโพดไร่สุวรรณ (พาสเจอร์ไรส์) ครั้งที่ 3
12. แป้งกล้วย

Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.