Maker04

Page 1

Vol.04 กุมภาพันธ์ 2559

วารสารเพื่อการประดิษฐ์โครงงานและสิ่งของสร้างสรรค์

ลองเล่นและใช้งาน

Nucleo-F303K8

FREE

COPY

ไมโครซีรีส์ของบอร์ดไมโครฯ 32 บิตจาก ST ที่มาใน ฟอร์แมตเล็กจัดขาตรงกับ Arduino Nano เพื่อเมกเกอร์ที่ต้องการพัฒนางานอีกขั้น จาก 8 บิตมาสู่ 32 บิต

หมอน แคสตัส

รับลมร้อน

r e t p o C r e p Pa

er Shak Happiness Card

กระดาษบินติด LED

การ์ดฟรุ้งฟริ้งเขย่าได้ กดแล้วไฟติดด้วยปากกาน�ำไฟฟ้า วารสารแจกฟรี มูลค่า 39 บาท

BulbVase

กระถางต้นไม้จากหลอดไฟไส้

เที่ยวงานวันนักประดิษฐ์ 2559 ชมผลงานของเมกเกอร์รุ่นเยาว์

www.makersmagazine.in.th /makersmagzine



MAKERS

1


✎ㄎᤎᜎ㔎䠎 ㈀㜀 Ď㠎ℎ‎㈎Ḏㄎᤎ᠎໷  ᜎ㔎䠎 倀䤀一一 䌀爀攀愀琀椀瘀攀 匀瀀愀挀攀 吀栀攀 匀栀漀瀀瀀攀猀 䜀爀愀渀搀 刀愀洀愀 㤀

Ἆ⌎㔎ᔎ┎ⴎᐎ܎㈎ᤎ℀℀

㄀Ⰰ㠀 ⸀ⴀ ᔎ૷ⴎᜎ૷㈎ᤎ

✎ㄎᤎᜎ㔎䠎 ㈀㄀ Ď㠎ℎ‎㈎Ḏㄎᤎ᠎໷  䀎✎┎㈎ ㄀㌀⸀㌀  ⴀ ㄀㜀⸀ ㌀  ᤎ⸀ ᜎ㔎䠎 倀䤀一一 䌀爀攀愀琀椀瘀攀 匀瀀愀挀攀 娀倀䔀䰀䰀⼀ 䘀甀琀甀爀攀 倀愀爀欀

䔀匀倀爀攀猀猀漀 䰀椀琀攀 ㄀ ᔎㄎ✎ ⌎ㄎᨎ䀎Ḏ㔎∎܎ ㄀㈀ ᜎ૷㈎ᤎ䀎ᜎ૷㈎ᤎㄎ䤎ᤎ

㄀㔀ⴀ㄀㘀 䄎┎『 ㈀㐀ⴀ㈀㔀 Ď㠎ℎ‎㈎Ḏㄎᤎ᠎໷ ㄀㈀⸀  ⴀ ㄀㔀⸀  ᤎ⸀ ᜎ㔎䠎 倀䤀一一 䌀爀攀愀琀椀瘀攀 匀瀀愀挀攀 吀栀攀 匀栀漀瀀瀀攀猀 䜀爀愀渀搀 刀愀洀愀 㤀

2

MAKERS

웠 椀渀昀漀䀀瀀椀渀渀挀爀攀愀琀椀瘀攀⸀挀漀洀


ระลึกวันที่ก่อเกิด MAKERS เมื่อเกือบปีที่ผ่านมา ค�าว่า “เมกเกอร์ ” ได้ถูกจุดพลุขึ้นในสยามประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วม มือ ร่วมแรง ร่วมใจของผู้คนมากมายในสังคม ในหลายแหล่ง การเกิดขึ้นของงาน Chiang Mai Maker Party เมื่อ มีนาคม 2558 ได้รับการต่อยอดมาจนกระทั่งเกิดเป็นงาน Bangkok Mini Maker Faire ครั้งแรกของประเทศไทย และ อาจกล่าวได้ว่า เป็นงาน Mini Maker Faire ที่มีการโปรโมทมากที่สุดในเอเชีย เพราะผู้สนับสนุนการจัดงานได้ทุ่ม งบประชาสัมพันธอย่างมากเพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ในสังคม ซี่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ในสายตาของผมที่ ได้มีโอกาสเดินทางไปชมงาน Maker Faire และ Mini Maker Faire หลายแห่งในหลายประเทศ ต้องยอมรับและขอ คารวะคณะผู้จัดงาน Bangkok Mini Maker Faire ว่าเป็นทีมงานคุณภาพ และเป็นงาน Mini Maker Faire ที่ดีใน ระดับทวีปเลยมีเดียว

ᤎ⸀

โดยปกติแล้วการสร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ ในเรื่องใดก็ตามของประเทศนี้ท�าได้ง่ายครับ หากแต่การสานต่อเพื่อ ด�ารงรักษาวัฒนธรรมหรือแนวคิดนั้นๆ ให้คงอยู่เป็นเรื่องไม่ง่ายเลย เมื่องาน Bangkok Mini Maker Faire 2015 ผ่านพ้นไป ผมได้ตระหนักว่า หากไม่มีการด�าเนินการใดๆ ต่อบรรยากาศและกระแสแห่งวัฒนธรรมท�าเอง ที่ทุกคนที่ เกี่ยวข้องช่วยกันจุด ช่วยกันก่อ อาจถูกหลงลืมไปได้ เพราะกว่าจะถึง Bangkok Mini Maker Faire 2016 (ซึ่งหวังว่า จะมีการจัดต่อเนื่อง) ก็อีกเนิ่นนานร่วมปี ในระหว่างนี้จึงควรมีการท�าอะไรสักอย่างเพื่อด�ารงรักษา movement นี้ให้คง อยู่ ผมจึงขออาสาท�าในสิ่งที่ถนัดและท�ามาทั้งชีวิต นั่นคือ การท�าหนังสือหรือวารสาร MAKERS ที่คุณๆ ที่รักก�าลัง อ่านกันอยู่นี้ โดยน�าเสนอโครงการนี้ในที่ประชุมสรุปงาน Bangkok Mini Maker Faire ที่ สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร ถนนโยธี และร้องขอการสนับสนุนจากบิ๊กสปอนเซอร ผมได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้ยินดีให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดท�าวารสาร MAKERS ซึ่งเราท�า แบบ “แจกฟรี ” มากพอสมควร แม้ว่า ยังไม่เพียงพอ แต่ก็พอเพียงให้เกิดก�าลังใจในการเดินหน้าโครงการนี้ Chevron (ประเทศไทย) ตอบรับแทบจะในทันทีตอ่ การสนับสนุนวารสาร MAKERS ตามมาด้วย Intel (ประเทศไทย) พี่น้องร่วมวงการอย่าง Thai Easy Elec และ Sila Research ก็ไม่ลังเลในการร่วมสนับสนุนโครงการนี้ Makerspace พันธมิตรล้วนให้ความร่วมมือ และให้ก�าลังใจในการผลักดันวารสาร MAKERS นี้ให้ได้ไปต่อ สวทช. เข้ามาสนับสนุน การให้พื้นที่เพื่อฝากไฟลของวารสาร MAKERS ในรูปแบบดิจิตอล เพี่อให้ทุกท่านที่สนใจดาวนโหลดได้ฟรีอย่างเต็มที่ และยินดีเป็นตัวกลางในการกระจายวารสารในแบบกระดาษไปยังทุกท่านที่สนใจและร้องขอมา ทั้งหมดที่ผมไล่เรียงมาคือ พ่อ-แม่ และครอบครัวของวารสาร MAKERS ผม, กองบรรณาธิการ และนักเขียนต่าง ล้วนเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวนี้เช่นกัน โดยเรามีพันธกิจที่คิดขึ้นเองว่า จะผลักดันให้เกิด “เมกเกอรไทย” ให้ มากๆ ท�าให้วัฒนธรรมท�าเองเป็นวัฒนธรรมหลักของสังคมไทย ส่งเสริมและกระจายความรู้ในการประดิษฐ ดัดแปลง สร้างสรรคชิ้นงานที่เปี่ยมไปด้วยความคิดร่วมหรือล�้าสมัย เราท�างานนี้อย่างไม่มีข้อแม้ เงื่อนไข เราตั้งใจท�าวารสาร MAKERS นี้สุดก�าลัง และไม่ว่าในบทสรุปจะเป็นเช่นไร นั่นไม่ใช่สาระ เพราะทันทีที่เราท�า เห็นวารสารได้รับการ เผยแพร่ มีผู้คนได้รับประโยชน พวกเราทั้งหมดรวมถึงผู้สนับสนุนต่างล้วนพึงพอใจ

M

กระแสของเมกเกอรเมื่อเริ่มต้นปี 2559 ท�าท่าไปได้สวย เมื่องาน Chiang Mai Maker Party กลับมาอีกครั้ง คราวนี้จัดกันในปลายเดือนมกราคม 2559 ที่ผ่านมา มีคนชมงานมากกว่า 2,000 คน มีเมกเกอรทั้งไทยและต่างชาติ มาร่วมมากมาย มากกว่าปีที่แล้วเป็นเท่าตัว ถัดจากนั้น ปลายเดือนกุมภาพันธ ทาง สวทช. สนับสนุนให้เกิดกิจกรรม Makeholic ที่อุทยานวิทยาศาสตร ในวันที่ 25 กุมภาพันธ 2559 รวมถึงข่าวสารที่ออกมาอย่างหนาหูว่า สวทช. และผู้ สนับสนุนรายใหญ่จะยกระดับงาน Bangkok Mini Maker Faire ไปสู่การเป็น Bangkok Maker Faire หากท�าได้จริง นับเป็นเรื่องน่ายินดี และแน่นอนวารสาร MAKERS เล่มน้อยนี้จะขอเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมยิ่งใหญ่นี้ วารสาร MAKERS เกิ ดขึ้นจากฝั นเล็กๆ ของกลุ่มคนทีเ่ ห็นพัฒนาการของเมกเกอร์ มาเป็ นสิ บปี และหวังเหลือเกิ น ว่า ฝั นเล็กๆ นีจ้ ะได้รบั โอกาสให้ฝันต่ออย่างต่อเนือ่ ง จนเป็ นฝั นทีเ่ ป็ นจริ ง และเป็ นฝั นสวยงามในอีกไม่นาน... ชัยวัฒน ลิ้มพรจิตรวิไล

www.makersmagazine.in.th www.facebook.com/makersmagzine

บรรณาธิการบริหาร ชัยวัฒน ลิ้มพรจิตรวิไล

108 ซอยสุขุมวิท101/2 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 โทรศัพท 0-2747-7001-4 โทรสาร 0-2747-7005 URL : www.makersmagazine.in.th

กองบรรณาธิการ

การตลาด/โฆษณา

ฝ่ายสมาชิก

กฤษดา ใจเย็น ณัฏฐพล วงศ์สุนทรชัย วรพจน์ กรแก้ววัฒนกุล นที เกษมโชติพันธุ์ ธีรวุธ จิตพรหมมา

จงจิตร ลิ้มพรจิตรวิไล กานต์วรางค์ นิพิทธชยังกูร

จงจิตร ลิ้มพรจิตรวิไล

ศิลปกรรม

พิมพ์ที่

ธนชัย ประทุมเศษ

วีเจ พริ้นติ้ง MAKERS

3


contents ฉบับ​ที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Maker-NEWS

Maker-Knowledge

Nucleo-F303K8

5 ตอนที่ 1 : ลองเล่นและใช้งาน 10

Nucleo-F303K8

12

Nucleo-F303K8

16

ตอนที่ 2 : ใช้งานร่วมกับ Keil uVision ตอนที่ 3 : ตัวอย่างโครงงาน

กราวิเทคไทย ร่วมมือ สวทช.

ตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาผลิตอิเล็กทรอนิกส์

18 งานวันนักประดิษฐ์ 2559 20

Shaker Happiness Card การ์ดฟรุ้งฟริ้งเขย่าได้กดแล้วไฟติดด้วยปากกานำ�ไฟฟ้า

Maker-Project

22 หมอนแคสตัสรับลมร้อน 26

BulbVase กระถางต้นไม้จากหลอดไฟไส้

29 3

Paper Copter กระดาษบินติด LED

Makers talk

20 www.makersmagazine.in.th www.facebook.com/makersmagzine 4

MAKERS

26 22

29


Micro

Maker Hardware ผศ. โอภาส ศิริครรชิตถาวร

Nucleo-F303K8 ลองเล่นและใช้งาน

ไมโครซีรีส์ของบอร์ด ไมโครฯ 32 บิตจาก ST ที่มาในฟอร์แมตเล็กจัดขา ตรงกับ Arduino Nano เพื่อนักเล่นและเมกเกอร์ที่ ต้องการพัฒนางานอีกขั้น จาก 8 บิตมาสู่ 32 บิต เริ่มกันด้วยการท�ำความ รู้จักและพัฒนาโปรแกรม ขั้นต้นด้วย mbed IDE

STMicroelectronic ได้ผลิตบอร์ดทดลอง ไมโครคอนโทรลเลอร์ ใ นอนุ ก รม Nucleo ที่ มี ขาต่อเข้ากันได้กับบอร์ด Arduino มาตรฐาน ออกมามากถึง 14 รุน่ โดยใช้ไมโครคอนโทรเลอร์ STM32 ที่มีตัวถังขนาด 64 ขา มาปลายปี 2015 นี้ทาง ST ได้อ อกบอร์ด Nucleo ตัวใหม่ที่ใ ช้ ไมโครคอนโทรเลอร์ STM32 รุ ่ น 32 ขา โดย ออกแบบแผ่ นวงจรพิ มพ์ แ ละจั ดขาต่ อ ให้ ตรง กับ Arduino Nano ท�ำให้มีขนาดเล็กมาก นับ ถึ ง เวลาที่ เ ขี ย นต้ น ฉบั บ มี 3 รุ ่ น คื อ NucleoF042K6, Nucleo-F031K6 และ NucleoF303K8 เป้ า หมายหลั ก ของการน� ำ เสนอบอร์ ด Nucleo ในอนุกรมนี้คือ ต้องการให้มีขนาดเล็ก และสนับสนุนให้นักเล่น นักทดลอง รวมถึงบร รดาเมกเกอร์ได้ใช้งานบอร์ดไมโครฯ 32 บิตภาย ใต้ความคุ้นเคยเดิมที่เคยใช้งาน Arduino Nano

บอร์ด Nucleo รุ่นเล็กที่ ST เข็นออกมาให้ เมกเกอร์และนักพัฒนาได้ลองใช้งานกันมี 3 รุ่น และมี คุ ณ สมบั ติ ท างเทคนิ ค ที่ ส� ำ คั ญ โดยสรุ ป ดังนี้ 1. Nucleo-F042K6 เป็น ARM Cortex-M0 48MHz หน่วยความจ�ำแฟลช 32 กิโลไบต์ แรม 6 กิโลไบต์ 2. Nucleo-F031K6 เป็น ARM Cortex-M0 48MHz, หน่วยความจ�ำแฟลช 32 กิโลไบต์ แรม 4 กิโลไบต์ 3. Nucleo-F303K8 เป็น ARM Cortex-M4 เป็นรุ่นที่มีความสามารถในการประมวลผลเลข ทศนิยม และค�ำสั่ง DSP ความเร็ว 72MHz หน่วย ความจ�ำแฟลช 64 กิโลไบต์ แรม 16 กิโลไบต์ โดยทั้ ง สามรุ ่ น นี้ จ ะมี รู ป ร่ า งหน้ า ตาของ บอร์ดและชื่อขาต่อเหมือนกันแสดงได้ดังรูปที่ 1 มีราคาจ�ำหน่ายเท่ากันหมด ในที่นี้จึงเลือกบอร์ด Nucleo-F303K8 MAKERS

5


Maker Knowledge

รูปที่ 1 หน้าตาและชื่อขาต่อต่างๆ ของบอร์ด Nucleo-F303K8

ในการอ้างขาของบอร์ด Nucleo-F303R8 ท�ำได้ 2 แบบคือ อ้างแบบ Arduino มีขา D0 ถึง D13 และ A0 ถึง A7 (ตามรูปที่ 1 กรอบ สี่เหลี่ยมสีพื้นสีเขียว) หรืออ้างตามขาของไมโคร คอนโทรลเลอร์ (สีพื้นสีฟ้า) เช่น PA_0, PA_1, … PB_5 ฯลฯ ในการเขียนโปรแกรมแนะน�ำ ให้ อ ้ า งชื่ อ ขาตามแบบ Arduino เพื่ อ ให้ น� ำ โปรแกรมไปใช้กับบอร์ดอื่นที่ใช้กับ mbed คอม ไพเลอร์ได้

ติดตัง้ ไดรเวอร์ทดสอบจ่ายไฟครัง้ แรก

บอร์ด Nucleo ประกอบด้วยวงจรสองส่วน คือ ด้านบนเป็นส่วนของไมโครคอนโทรลเลอร์หลัก ส่วนด้านล่างของวงจร ST-Link ที่ใช้ในการดาว น์โหลดและดีบักโปรแกรม ส่วนของ ST-Link เมื่อต่อกับคอมพิวเตอร์ ผ่านพอร์ต USB จะท�ำงานเป็นอุปกรณ์ 3 ตัว คือ

6

MAKERS

1. USB Disk : คอมพิวเตอร์มองเห็นเป็น ดิสก์ไดร์ฟ ใช้ในการดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรม ภาษาเครื่อง 2. พอร์ตอนุกรมเสมือน (Virtual Com port) : คอมพิวเตอร์จะพบว่ามีพอร์ตอนุกรมเพิ่ มอีกหนึ่งตัว ใช้รับส่งข้อมูลระหว่างบอร์ดและ คอมพิวเตอร์ 3. ST-Link : เป็นฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการ ดีบักโปรแกรม บอร์ด Nucleo ทุกรุ่นจะมาเพียงบอร์ด เปล่าไม่มสี าย micro-USB ไม่มแี ผ่นซีดไี ดรเวอร์ ดังนัน้ ก่อนใช้งานต้องเตรียมสาย micro-USB ไว้ ส่วนของไดรเวอร์และไฟล์ที่เกี่ยวข้องโดยปกติ ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ www.st.com แต่ ผู้เขียนขอแนะน�ำให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ ของ mbed.org แทน

(1) เริ่มต้นดาวน์โหลดไดรเวอร์ที่ https:// developer.mbed.org/teams/ST/wiki/STLink-Driver คลิกที่หัวข้อ Download the latest ST-Link/V2 Driver เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ STLinkNucleoDriverSigned.zip (2) ท�ำการแตกไฟล์ออกมา ให้รันไฟล์ dpinst_amd64.exe ส�ำหรับระบบปฏิบัติการ วิ น โดวส์ 64 บิ ต หรื อ ไฟล์ dpinst_x86.exe ส�ำหรับวินโดวส์ 32 บิต (3) เมื่อติดตั้งไดรเวอร์ส�ำเร็จแล้ว ท�ำการ ต่อสาย micro-USB จากคอมพิวเตอร์มายัง บอร์ด Nucleo ที่คอมพิวเตอร์จะพบอุปกรณ์ และติดตั้งไดรเวอร์อัตโนมัติ เมื่อติดตั้งเสร็จ ให้ เปิดหน้าต่าง Device Manager จะพบอุปกรณ์ 3 ตัวดังรูปที่ 2


Maker Knowledge

รูปที่ 3 หน้าตาของเว็บ www.mbed.com รูปที่ 2 หน้าต่าง Device Manager แสดงการ เชื่อมต่อกับบอร์ด Nucleo เป็นอุปกรณ์ 3 ตัว (4) สังเกตการท�ำงานของ LED ต�ำแหน่ง LD3 สี เ ขี ย วที่ มุ ม ขวาล่ า งจะกะพริ บ ช้ า มาก ทดลองถอดจั๊มเปอร์ที่ต่อระหว่างขา D2 และ GND ออก จะพบว่า LD3 กะพริบเร็วขึ้น เมื่อ ต่อจั๊มเปอร์กลับที่เดิม LD3 จะกะพริบช้าเช่น เดิม แสดงว่าบอร์ด Nucleo32 ท�ำงานถูกต้อง

การพัฒนาโปรแกรมให้กับ Nucleo-F303R8 โดยใช้ mbed online IDE เพื่ อ ให้ ก ารพั ฒ นาโปรแกรมส� ำ หรั บ บอร์ด Nucleo-F303R8 ง่ายและสะดวก จึงขอ แนะน�ำให้ใช้ชุดซอฟต์แวร์ mbed online IDE ซึ่งจะต้องท�ำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ตตลอดเวลาที่ท�ำการพัฒนา โปรแกรม มีขั้นตอนเริ่มต้นไปจนถึงการเลือก ฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานกับ mbed IDE ดังต่อไปนี้ (1) สมัครสมาชิกที่ http://www.mbed. com ที่มุมบนด้านขวามือของโฮมเพจ ให้คลิก ปุ่ม mbed Classic Developer Site ดังรูปที่ 3 เพื่อไปยังหน้าเว็บ mbed ส�ำหรับสมัครใช้ บริการ

(4) จะเข้าสู่หน้า Let’s get started! ระบบจะถามว่ า เคยสมั ค รสมาชิ ก ของเว็ บ mbed.org แล้วหรือไม่ ถ้าไม่เคย ให้คลิก “No, I haven’t created and account before” ดัง รูปที่ 5 (5) ถัดมาจะเข้าสู่หน้าเพจ Signup ให้ ป้อนอีเมล์แอดเดรส, username, password, first name, Last name ดังรูปที่ 6 คลิกท�ำ เครื่องหมายถูกที่ช่อง I agree to the term and conditions เพื่อยอมรับเงื่อนไขการใช้ บริการ จากนั้นคลิกปุ่ม Signup

รูปที่ 5 โปรแกรมจะถามว่าเคยมี account แล้ว หรือไม่ ให้ยืนยันว่ายังไม่เคยมี

(6) เมื่ อ สมั ค รใช้ บ ริ ก ารเรี ย บร้ อ ยแล้ ว เข้ า สู ่ ห น้ า เว็ บ mbed.org อี ก ครั้ ง ท� ำ การ Login เข้าระบบ ที่มุมบนขวาจะมีข้อความ Hi ต้อนรับ ให้คลิกที่ข้อความ Compiler ดังรูป ที่ 7 เพื่อเข้าสู่หน้าต่างการเขียนโปรแกรมและ คอมไพล์โปรแกรม (7) เมื่อเข้าสู่หน้าต่าง mbed compiler แล้ว ก่อนเขียนโปรแกรม จะต้องเลือกอุปกรณ์ หรือบอร์ดทดลองที่ใช้ก่อน คลิกที่ปุ่มข้อความ No device selected มุมบนขวา ดังรูปที่ 8

(2) เมื่อเข้าสู่หน้าเพจหลักของ mbed แล้ว สังเกตที่มุมบนด้านขวามือ ให้คลิกปุ่ม Login or signup (3) เมื่อเข้าหน้าเว็บ login จะมีหน้าต่าง ให้ Login ส�ำหรับผู้ที่เคยสมัคร ส่วนที่ยังไม่เคย สมัครให้คลิกปุ่ม Signup ใต้ข้อความ mbed ดังรูปที่ 4 เพื่อสมัครใช้บริการ

รูปที่ 4 หน้า Login ให้คลิกปุ่ม Signup

รูปที่ 6 กรอกข้อมูลสมัครใช้บริการให้ครบ

MAKERS

7


Maker Knowledge

(8) หน้าต่าง Select a platform ปรากฏขึ้นดังรูปที่ 9 คลิกปุ่ม Add a device ที่มุมล่างซ้าย

รูปที่ 7 การเลือกรูปแบบการใช้งาน mbed IDE เพื่อเลือกใช้ mbed Compiler

(9) โปรแกรมจะเปิดแท็บใหม่ แสดงหน้าต่าง Platforms ซึ่ง แสดงบอร์ดต่างๆ ที่ใช้กับ mbed คอมไพเลอร์ได้ ให้เลือกบอร์ด Nucleo-F303K8 สังเกตที่ด้านขวามือให้คลิกปุ่มข้อความ Add to your mbed compiler ดังรูปที่ 10 จากนั้นปิดหน้าต่าง Platform แล้วกลับไปที่หน้าต่าง Compiler ให้ท�ำการ refresh หน้าเว็บ เป็นอัน เสร็จสิ้นขั้นตอนการเลือกฮาร์ดแวร์ซึ่งในที่นี้คือ

เริ่มต้นเขียนโปรแกรม เมื่อ mbed คอมไพเลอร์รู้จักกับบอร์ด Nucleo-F303K8 แล้ว ล�ำดับต่อไปคือ การเริ่มต้นเขียนโปรแกรม มีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้ (1) คลิกเลือกเมนู File > New program จะมีหน้าต่าง Create new program แสดงขึ้นมาดังรูปที่ 11

รู ป ที่ 8 คลิ ก No device selected เพื่ อ เลื อ กบอร์ ด และไมโคร คอนโทรลเลอร์ที่ใช้

รูปที่ 11 หน้าต่าง Create new program ให้เลือกบอร์ดและเทมเพลต โปรแกรมตัวอย่าง

รูปที่ 9 หน้าต่าง Select a platform คลิกเลือก Add a device

(2) ที่หน้าต่าง Create new program

• หัวข้อ Platform: เลือก Nucleo-F303K8

• ช่อง Template: ให้เลือกตัวอย่างโปรแกรม ในที่นี้ให้เลือก เป็น Blinky LED test for the ST Nucleo boards เพื่อเลือกโปรแกรม ไฟกะพริบพื้นฐาน • ช่อง Program Name: ให้พมิ พ์ชอื่ โปรแกรม ในตัวอย่างนีใ้ ช้ชอื่ ที่ โปรแกรมก�ำหนดให้ คือ Nucleo_blink_led เมื่อเลือกครบแล้ว คลิกปุ่ม OK เว็บเซิร์ฟเวอร์ของ mbed จะ สร้างไฟล์โปรเจ็กต์และไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

รูปที่ 10 ที่หน้าต่าง NucleoF303K8 คลิกเลือก Add to your mbed Compiler 8

MAKERS

(3) ที่หน้าเว็บจะกลับมายัง mbed คอมไพเลอร์ ที่กรอบ Program Workspace ด้านซ้ายมือจะพบกับโปรแกรมชื่อ Nucleo_ blink_led พร้อมกับแสดงว่า โปรแกรมนี้ประกอบด้วยไฟล์ main. cpp ที่เป็นโปรแกรมหลักและ mbed library ดังรูปที่ 12 เมื่อคลิกที่ ชื่อไฟล์ main.cpp หน้าต่างตรงกลางจะแสดงรายละเอียดของไฟล์ main.cpp เมื่อคลิกที่หัวข้อ mbed จะแสดงรายละเอียดของไลบรารี ถ้ามีการปรับปรุงไลบรารีตัวใหม่ ที่หน้าต่าง Library Build Details ด้านขวามือจะแจ้งเตือนว่า A newer version is available ให้คลิก ที่ปุ่ม Update


Maker Knowledge

รูปที่ 12 แสดงรายละเอียดของโปรแกรมที่สร้างขึ้นใหม่

รูปที่ 14 เมื่อคอมไพล์เสร็จจะส่งไฟล์ภาษาเครื่องมาให้อัตโนมัติ

ดาวน์โหลดโปรแกรม การดาวน์โหลดโปรแกรมภาษาเครื่องให้กับบอร์ด Nucleo-F303K8 ท�ำได้ง่ายๆ เพียงคัดลอกไฟล์ Nucleo_blink_led_NUCLEO_F303K8.bin เก็บไว้ในไดร์ฟที่เป็นบอร์ด Nucleo-F303K8 สังเกต LED LD1 ที่มุมบน ซ้ายของบอร์ดจะกะพริบสลับสีแดงและสีเขียว แสดงว่าก�ำลังดาวน์โหลด โปรแกรม เมื่อดาวน์โหลดโปรแกรมเสร็จแล้ว โปรแกรมจะรันอัตโนมัติ พบ ว่า LED LD3 สีเขียวที่ต่อกับขา D13 หรือขา PB_3 จะกะพริบโดยติด 0.2 วินาทีและดับ 1 วินาทีต่อเนื่องกันตลอดเวลา

รูปที่ 13 คลิกที่เมนู Compile เลือก Compile เพื่อแปลโปรแกรม (4) ที่หน้าต่าง Program Workspace ด้านซ้ายมือให้คลิกที่ชื่อไฟล์ main.cpp จะแสดงโปรแกรมภาษา C++ ของโปรแกรมไฟกะพริบ การ คอมไพล์โปรแกรมท�ำได้โดยคลิกที่เมนู Compile เลือก Compile (หรือกด ปุ่ม Ctrl-D) ดังรูปที่ 13 (5) mbed คอมไพเลอร์จะท�ำการคอมไพล์โปรแกรมภาษา C++ และลิงก์รวมกับไลบรารี mbed เพื่อสร้างไฟล์ภาษาเครื่อง ถ้าไม่มีข้อผิด พลาด จะได้ไฟล์ Nucleo_blink_led_NUCLEO_F303K8.bin พร้อมกับ ส่งโปรแกรมมายังคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ โดยแสดงชื่อไฟล์ที่มุมซ้าย ล่างของหน้าต่างโปรแกรม (6) เมื่อคลิกที่ข้อความ Buils Details หน้าต่าง Program Details จะ แสดงรายละเอียดว่าโปรแกรมนี้มีขนาดรวม 14.5kB ใช้เนื้อที่ RAM 0.4 kB ในการเปิดไฟล์ภาษาเครื่องให้คลิกที่ข้อความ “Show all downloads…” ที่มุมขวาล่าง ดังรูปที่ 14 เพื่อเปิดโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ที่ดาวน์โหลด

จากโปรแกรมไฟกะพริ บ ให้ ท ดลองเปลี่ ย นส่ ว นของโปรแกรม wait(0.2); ที่บรรทัดที่ 8 ซึ่งสั่งให้โปรแกรมหยุดรอ 0.2 วินาที เปลี่ยนเป็น ค่าอื่นๆ เช่น wait(1); ทดลองคอมไพล์และดาวน์โหลดโปรแกรมลงบอร์ด สังเกตการณ์ท�ำงานของโปรแกรมช่วงที่ LED สีเขียวติด จะติดนานขึ้น หรือไม่ ทัง้ หมดที ่กล่าวมาคื อ การเริ่ มต้นใช้งานบอร์ ด Nucleo-F303K8 น้องใหม่ล่าสุดของบอร์ ดไมโครฯ 32 บิ ตรุ่นประหยัดทีม่ ี การจัดขาตรงกับ Arduino Nano จึ งขอเชื ้อเชิ ญเมกเกอร์ ทกุ ระดับหันมามองและลองใช้ งานกัน เพราะมันอาจเป็ นค� ำตอบของแพล็ตฟอร์ มทางฮาร์ ดแวร์ ทีก่ � ำลัง มองหาอยู่ก็เป็ นได้

M ผู้สนใจบอร์ด Nucleo-F303K8 มีจ�ำหน่ายที่ www.inex.co.th (แถมสาย microUSB เฉพาะการสั่ง ซื้อกับ inex เท่านั้น) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 0-2747-7001-4 หรือ /innovativeexperiment

MAKERS

9


Micro

Maker Hardware ผศ. โอภาส ศิริครรชิตถาวร

Nucleo-F303K8 บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32 ขนาดเล็ก

ลองเล่นและใช้งาน ตอนที่ 2 : ใช้งานร่วมกับ Keil uVision

ไมโครซีรีส์ของบอร์ดไมโครฯ 32 บิต จาก ST ที่มาในฟอร์แมตเล็กจัดขาตรงกับ Arduino Nano เพื่อนักเล่นและเมกเกอร์ที่ ต้องการพัฒนางานอีกขั้นจาก 8 บิตมาสู่ 32 บิต

แม้ ว ่ า การใช้ ง าน mbed คอมไพเลอร์ แ บบออนไลน์ ผ ่ า นเว็ บ ใน การพัฒนาโปรแกรมให้แก่บอร์ด NUCLEO-F303K8 จะมีความสะดวก ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไร ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการอะไร แต่จะมีข้อ ด้อยตรงที่ ไม่สามารถดีบักดูการท�ำงานของโปรแกรมได้ และที่ส�ำคัญถ้า อินเทอร์เน็ตที่ใช้มีปัญหา จะไม่สามารถเขียนและคอมไพล์โปรแกรมได้ เลย ดังนั้นทางทีมงาน mbed จึงได้ท�ำเมนู Export Program เพื่อส่งออก โปรแกรมไปใช้กับโปรแกรม IDE และคอมไพเลอร์ภายนอกได้ โดยใช้ได้ กับ Keil uVision4, GCC (ARM Embedded), CooCox CoIDE และ โปรแกรม Emblocks

ขั้นตอนการส่งออกไฟล์

(1) ไปที่หน้าต่าง mbed compiler คลิกเ มาส์ปุ่มขวาที่โปรแกรมของผู้ใช้งานจะเป็นการ เปิดเมนูลัด ให้เลือกเมนู Export Program (2) จะมี ห น้ า ต่ า ง Export Program ปรากฏขึ้ น มาเลื อ ก Export Target เป็ น NUCLEO-F303K8 ที่ช่อง Export Toolchain ให้เลือกเป็น Keil uVision4 ดังรูปที่ 15 (3) ทางเว็ บ mebed.com จะส่ ง ไฟล์ Nucleo_blink_led_uvision_nucleo_f303k8.zip กลั บ มาให้ เมื่ อ ขยายไฟล์ พบว่ า ภายในมี โฟลเดอร์ Nucleo_blink_led ภายในโฟลเดอร์ มีไฟล์ผังงานหรือไฟล์โปรเจ็กต์ส�ำหรับใช้กับ KeiluVision, ไฟล์ main.cpp และไลบรารี

10

MAKERS

รูปที่ 15 ขั้นตอนการส่งออกโปรแกรม ในการเปิดไฟล์โปรเจ็กต์นจี้ ำ� เป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ Keil uVision Version 5.0 ขึน้ ไป จึงจะรูจ้ กั กับ ไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32F303K8


การติดตั้งซอฟต์แวร์ Keil uVsion V. 5.17 MDK-ARM จาก Keil (www.keil.com) เป็นซอฟต์แวร์ที่มี ประสิทธิภาพสูงใช้งานง่ายแต่มีราคาสูง อย่างไรก็ตาม ทางผู้ผลิตได้จัด ท�ำรุ่นทดลองใช้งาน (Evaluation) ที่มีข้อจ�ำกัดเรื่องขนาดของโปรแกรม ภาษาเครื่องที่คอมไพล์ จะมีขนาดไม่เกิน 32 กิโลไบต์ให้ใช้งาน โดย ดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้ง MDK-ARM จากเว็บ https://www.keil.com/ demo/eval/arm.htm จะต้องลงทะเบียนก่อนจึงจะดาวน์โหลดได้ เมื่ อ ดาวน์ โ หลดเสร็ จ จะได้ ไ ฟล์ MDK517.exe ขนาด 404 เมกะไบต์ ให้ ดั บ เบิ ล คลิ ก ไฟล์ เ พื่ อ ติ ด ตั้ ง โปรแกรม ในการติ ด ตั้ ง โปรแกรมให้คลิกปุ่ม Next ไปเรื่อยๆ จะมีหน้าต่างให้พิมพ์ชื่อ บริษัท หรือสังกัด อีเมล์ พิมพ์ให้เรียบร้อย จึงจะคลิกปุ่ม Next ได้ ให้คลิกต่อ ไปจนติดตั้งส�ำเร็จ

รูปที่ 16 เมื่อเปิดโปรแกรม Keil uVision ครั้งแรกจะเข้าสู่ Pack Installer

อัปเดตไลบรารี เมื่อติดตั้งโปรแกรมส�ำเร็จ เมื่อเปิดโปรแกรมครั้งแรก โปรแกรม จะเรียกโปรแกรมย่อย Pack Installer โดยมีหน้าต่างแจ้งว่า โปรแกรม ส� ำ หรั บ บริ ห าร Software pack ให้ ค ลิ ก ปุ ่ ม OK ตั ว โปรแกรมจะ ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของ Keil เพื่ออัปเดตข้อมูลไลบรารีส�ำหรับไมโคร คอนโทรลเลอร์ ARM Cortex-M จากบริษัทต่างๆ ดังรูปที่ 16 เมื่ อ อั ป เดตเสร็ จ จะแสดงข้ อ มู ล ให้ ท ราบ โดยในขณะที่ เ ขี ย น บทความนี้ มีบริษัทที่ผลิตไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล ARM ถึง 18 บริษัท โดยผลิตเป็นเบอร์ต่างๆ ถึงกว่า 1,000 เบอร์ จากนั้นไปที่แท็บ Devices ในหน้าต่างด้านซ้ายมือให้ด�ำเนินการ ดังนี้

(1) คลิกที่ชื่อผู้ผลิต STMicroelectronics

(2) คลิกที่ข้อความ STM32F3 Series

รูปที่ 17 เมื่อเปิดไฟล์โปรเจ็กต์ที่ได้มาจากการส่งออกจาก mbed IDE ใน Keil uVision

(3) ที่หน้าต่างด้านขวามือให้คลิกปุ่ม Install ด้านขวามือของ ข้อความ Keil::STM32F3xx_DFP เพื่อติดตั้งไลบรารี จากนั้นรอให้ดาว น์โหลดและติดตั้งไลบรารีเพิ่มเติมจนเสร็จ (4) ที่ ห น้ า ต่ า ง Project ด้ า นซ้ า ยมื อ จะแสดงชื่ อ โปรเจ็ ก ต์ เป็น mbed NUCLEO_F303K8 ให้คลิกที่โฟลเดอร์ย่อย src จะแสดง ไฟล์ย่อย ประกอบด้วย ไฟล์ main.cpp ให้คลิกที่ชื่อไฟล์เพื่อเปิดไฟล์ จากนั้นแก้ไขไฟล์ main.cpp ได้ตามที่ต้องการ (5) เมื่อต้องการคอมไพล์โปรแกรม คลิกเมนู Project, Build (หรือ กดปุ่ม F7) ถ้าโปรแกรมไม่มีข้อผิดพลาด ที่หน้าต่าง Build Output ด้าน ล่างจะแจ้งขนาดของโปรแกรมภาษาเครื่อง โดยต้องแจ้ง 0 Error(s), 0 Warning(s). ดังรูปที่ 18

ดาวน์โหลดและดีบักโปรแกรม การดาวน์ โ หลดโปรแกรมท� ำ ได้ ง ่ า ย เพี ย งคลิ ก เมนู Flash > Download ก็จะท�ำการดาวน์โหลดโปรแกรมผ่าน ST-Link ไปยังไมโคร คอนโทรลเลอร์ของบอร์ด NUCLEO-F303K8 ทันที เมื่อดาวน์โหลดเสร็จ กดปุ่ม Reset ที่อยู่ด้านล่างของบอร์ดเพื่อ สั่งรันโปรแกรม จะพบว่าLED ที่ต�ำแหน่ง LD3 สีเขียวที่มุมล่างขวาจะ กะพริบ ถ้ า ต้ อ งการดี บั ก ตรวจสอบการท� ำ งานของโปรแกรมที ล ะ บรรทัด ท�ำได้โดยคลิกเมนู Debug, Start/Stop Debug Session แล้ว จึงสั่งรันโปรแกรมทีละบรรทัดได้ตามต้องการ

รูปที่ 18 แสดงผลการคอมไพล์โปรแกรม Nucleo_blink_led_F303K8 ใน Keil uVision ข้อจ�ำกัดของการท�ำ offline compiler ก็คือ Keil uVision รุ่นทดลองใช้จ�ำกัด การคอมไพล์หรือดีบักโปรแกรมได้ไม่เกิน 32 กิโลไบต์ ถ้าต้องการคอมไพล์และดีบัก ได้โดยไม่จ�ำกัดขนาดของโปรแกรม จะต้องให้ส่งออกไฟล์โปรเจ็กต์ส�ำหรับคอมไพเลอ ร์แบบโอเพ่นซอร์สตัวอื่นแทน เช่น CooCox หรือ GCC ก่อน จึงจะคอมไพล์และดีบัก ได้โดยไม่จ�ำกัดขนาดของโปรแกรม หรือกลับเข้าไปคอมไพล์ในเว็บ www.mbed. com จะเห็นได้ว่า mbed คอมไพเลอร์ และบอร์ ด NUCLEO-F303K8 มี ความ ยืดหยุ่นสูงต่อการใช้งานทัง้ กับซอฟต์แวร์ ฟรี และแบบมื ออาชี พ จึงเหมาะสมทีจ่ ะเป็ น ทางเลือกของเมกเกอร์ ในทุกระดับ

M

MAKERS

11


Micro

Maker Hardware ผศ. โอภาส ศิริครรชิตถาวร

Nucleo-F303K8 บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32 ขนาดเล็ก

ลองเล่นและใช้งาน ตอนที่ 3 : ตัวอย่างโครงงาน หลั ง จากทราบถึ ง ขั้ น ตอนการพั ฒ นาโปรแกรมของบอร์ ด Nucleo-F303K8 แล้วจากบทความ 2 ตอนก่อนหน้า ในตอนนี้จะว่า กันต่อถึงการน�ำไปใช้สร้างโครงงานที่มีการติดต่อตรวจจับ แล้วน�ำมา ค่ามาแสดงผลที่จอกราฟิก LCD สี

ไมโครซีรสี ข์ องบอร์ดไมโครฯ 32 บิต จาก ST ที่มาในฟอร์แมตเล็ก จัดขาตรงกับ Arduino Nano เพื่อนักเล่นและเมกเกอร์ที่ต้องการ พัฒนางานอีกขั้นจาก 8 บิต มาสู่ 32 บิต ปิดท้ายด้วยตัวอย่าง การสร้างโครงงานเครื่องวัดสภาพ แวดล้อมอย่างง่ายแสดงผลด้วยจอก ราฟิก LCD สี

12

MAKERS

ตัวอย่างการใช้ไลบรารี Adafruit_ST7735 เพื่อต่อกับ จอ TFT LCD 128x160 ส� ำ หรั บ จอ TFT LCD โดยทั่ ว ไปจะ ติ ด ต่ อ กั บ ไมโครคอนโทรลเลอร์ แ บบขนาน ใช้ ข าต่ อ จ� ำ นวนมาก ส� ำ หรั บ จอแสดงผลที่ น� ำ มาใช้ เ ป็ น ตั ว อย่ า งนี้ ใช้ ก ารติ ด ต่ อ แบบ บัส SPI จึงใช้ขาพอร์ตติดต่อน้อยจอแสดงผล มีขนาด 1.8 นิ้ว ความละเอียด 128x160 จุด ภายในใช้ตัวควบคุมจอเบอร์ ST7735 โดย แสดงหน้าตาของจอได้ดังรูปที่ 19 มีขาต่อ 8 ขาใช้งาน จอกราฟิก LCD ทีใ่ ช้ตวั ควบคุม ST7735 ได้รับความนิยมมาก มีผู้สร้างไลบรารีจ�ำนวน มาก รวมถึง Adafruit (www. adafruits.com) ต่อมามีผู้ย้ายพอร์ตไลบรารีนี้มาใช้กับ mbed ได้ส�ำเร็จ ในการทดสอบจะค้นหาโปรแกรม ตั ว อย่ า งที่ ใ ช้ ไ ลบรารี Adafruit_ST7735 มาทดสอบ โดยมีขั้นตอนดังรูปที่ 20

รูปที่ 19 หน้าตาของจอกราฟิก LCD รุ่น TFT01-1.8SP


รูปที่ 20 ขั้นตอนการค้นหา และเลือกโปรแกรมตัวอย่าง Adafruit_TFT_Shield (1) จาก mbed compiler คลิกที่ปุ่ม Import (2) ที่หน้าต่าง Import Wizard คลิกที่ปุ่ม Program เพื่อเลือกโปรแกรมตัวอย่าง (3) ที่หน้าช่อง Search ให้พิมพ์ข้อความ ST7735 adafruit (4) คลิกปุ่ม Search เพื่อให้ค้นหาโปรแกรมตัวอย่างที่มีข้อความ ST7735 adafruit (5) แสดงโปรแกรมที่มีข้อความ Adafruit_TFT ให้คลิกเลือก Adafruit_TFT_Shieldv1 ที่เป็น TFT graphic test program (6) คลิกปุ่ม Import น�ำโปรแกรมตัวอย่างนี้เข้าใน Program Workspace

ล� ำ ดั บ ต่ อ ไปคื อ ท� ำการอั ป เดตไลบรารี mbed เนื่องจากโปรแกรมตัวอย่างนี้เขียนเมื่อเ ดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ตัว mbed library เป็นรุ่น 103 ซึ่งยังไม่รู้จักกับบอร์ด NucleoF303K8 จึงจ�ำเป็นต้องอัปเดตไลบรารีก่อน ขั้น ตอนการอัปเดตไลบรารีแสดงในรูปที่ 21 การเชื่ อ มต่ อ ระหว่ า งบอร์ ด NucleoF303K8 กับ จอกราฟิก LCD ที่ใช้ตัวควบคุม เบอร์ ST7735 สังเกตได้จากบรรทัดที่ 5 ของ ไฟล์ main.cpp มีทั้งหมด 5 ขา ดังนี้ D11 ต่อกับ MOSI, D13 ต่อกับ SCLK, D10 ต่อกับ SSEL, D8 ต่อกับ TFT_DC และ D9 ต่อกับ TFT_RST ส่วนขา D12 ไม่ต่อ จากนั้นท�ำการคอมไพล์ และดาวน์โหลด โปรแกรมให้กับบอร์ด สังเกตที่หน้าจอแสดง ผลจะแสดงการพิมพ์ข้อความ รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ฯลฯ ต่อเนื่อง ดังรูปที่ 22

รูปที่ 21 ขั้นตอนการค้นหา และเลือกโปรแกรม ตัวอย่าง Adafruit_TFT_Shield (1) เมื่ อ อิ ม พอร์ ต โปรแกรมแล้ ว คลิ ก ที่ ไลบรารี mbed (2) ที่ ห น้ า ต่ า ง Library Build Details ด้านขวามือ คลิกที่ปุ่ม Update

MAKERS

13


Maker Knowledge

ต่อ DHT11 เข้ากับขาพอร์ต D4 ต่อไฟเลี้ยง +3.3V และกราวด์ ให้เรียบร้อย ท�ำการคอมไพล์และดาวน์โหลดโปรแกรมให้กับบอร์ด Nucleo-F303K8 ดูผลการท�ำงานผ่านหน้าต่างเทอร์มินอล โดยบอร์ด Nucleo-F303K8 จะอ่านค่าอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์จาก DHT11 แล้วแสดงค่าออกทางพอร์ตอนุกรม ได้ผลดังรูปที่ 24 หมายเหตุ ไลบรารี DHT เมื่อใช้งานฟังก์ชันค�ำนวณค่า อุณหภูมิ จุดน�้ำค้าง (dewpoint) มีการค�ำนวณซับซ้อนโปรแกรมจะมีขนาดใหญ่ ขึ้นอีก 8 Kbytes

รูปที่ 22 ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลการทดสอบไลบรารี Adafruit_ST7735

ตัวอย่างโปรแกรมอ่านค่าอุณหภูมิและความชื้นจาก DHT11 โดยเรียกใช้งานไลบรารี DHT ตั ว ตรวจจั บ สภาพแวดล้ อ มยอดนิ ย มที่ มี ร าคาถู ก มากคื อ DHT11 มี ผู ้ ท�ำไลบรารีให้ใช้งานได้กับ mbed แล้วด้วยเช่นกัน ดังนั้นการน�ำมาใช้งานจึง สะดวกมาก ขั้นตอนการดาวน์โหลดโปรแกรมตัวอย่างที่ใช้งานไลบรารี DHT แสดงได้ในรูปที่ 23

รูปที่ 24 หน้าจอของโปรแกรม Putty แสดงค่าอุณหภูมิและความชื้นที่ อ่านจาก DHT11 ทางพอร์ตอนุกรม

การทดลองเขียนโปรแกรมอ่านค่าจาก DHT11 แสดง ผลออกจอกราฟิก TFT LCD ในการทดลองนี้ จ ะอ่ า นค่ า อุ ณ หภู มิ แ ละความชื้ น จากโมดู ล DHT11 โดยน�ำค่ามาแสดงผลออกจอ TFT LCD ที่ใช้ในตัวอย่างก่อน หน้านี้ โดยเรียกใช้ไลบรารี Adafruit_ST7735 และ DHT ของตัวอย่าง ก่อนหน้านี้ โดยจะท�ำการคัดลอกโปรแกรม Adafruit_TFT_Shieldv1_ GraphicTest มาเปลี่ยนชื่อโปรแกรมเป็น DHT11_ST7735 โดยมีขั้น ตอนดังรูปที่ 25

รูปที่ 23 ขั้นตอนการค้นหา และเลือกโปรแกรมตัวอย่างที่ใช้ DHT11 (1) จาก mbed compiler คลิกที่ปุ่ม Import (2) ที่หน้าต่าง Import Wizard คลิกที่ปุ่ม Program เพื่อเลือกโปรแกรม ตัวอย่าง (3) ที่หน้าช่อง Search ให้พิมพ์ข้อความ ST7735 adafruit (4) คลิกปุ่ม Search เพื่อให้ค้นหาโปรแกรมตัวอย่างที่มีข้อความ ST7735 adafruit (5) แสดงโปรแกรมที่มีข้อความ Adafruit_TFT ให้คลิกเลือก Adafruit_ TFT_Shieldv1 ที่เป็น TFT graphic test program (6) คลิกปุ่ม Import น�ำโปรแกรมตัวอย่างนี้เข้าใน Program Workspace 14

MAKERS

รูปที่ 25 ขั้นตอนการคัดลอกโปรแกรมใน mbed IDE (1) คลิกเมาส์ขวาที่โปรแกรม Adafruit_TFT_Shieldv1_GraphicTest (2) จากแถบค�ำสั่งที่ปรากฏขึ้นเลือก Copy (3) ที่หน้าต่าง Save as ช่อง Target Name พิมพ์ชื่อโปรแกรมใหม่ เป็น DHT11_ST7735 (4) คลิกปุ่ม OK


Maker Knowledge

รูปที่ 26 ขั้นตอนการน�ำเข้าไลบรารี DHT (1) ที่หน้าต่าง mbed คลิกปุ่ม Import ด้านบน (2) คลิกแท็บ Libraries (3) ที่ช่องก่อนหน้าปุ่ม Search พิมพ์ค�ำว่า dht11 (4) คลิกปุ่ม Search ด้านขวามือ (5) คลิกเลือกไลบรารี DHT ของ Team Component (6) คลิกปุ่ม Import ปุ่มใหญ่ที่มีรูปเครื่องคอมพิวเตอร์ (7) ที่หน้าต่าง Import Library ให้คลิกปุ่ม Import โปรแกรมที่ 1 โปรแกรมทดสอบอ่านค่าจาก DHT11 มาแสดงผลที่ จอกราฟิก LCD สีของบอร์ด Nucleo F303-K8 #include “mbed.h”

#include “Adafruit_ST7735.h” #include “DHT.h”

Adafruit_ST7735 tft(D11, D12, D13, D10, D8, D9); // MOSI, MISO, SCLK, SSEL, TFT_DC, TFT_RST

จากนั้นท�ำการเพิ่มไลบรารี DHT11 ตามขั้นตอนในรูปที่ 26

ลบโปรแกรมในไฟล์ main.cpp เดิมและพิมพ์โปรแกรมที่ 1

ท� ำ การคอมไพล์ แ ละดาวน์ โ หลดโปรแกรมให้ บ อร์ ด NucleoF303K8 ได้ผลดังรูปที่ 27

DHT sensor(D4, DHT11); int main() {

int error = 0;

// Use this initializer if you’re using a 1.8” TFT

float c = 0.0f,h=0.0f,dp=0.0f;

tft.initR(INITR_BLACKTAB);

// initialize a ST7735S chip, black tab

tft.fillScreen(ST7735_WHITE);

tft.setTextWrap(false); tft.setTextSize(2);

tft.setRotation(3);

while(1) {

wait(2.0f);

error = sensor.readData();

c = sensor.ReadTemperature(CELCIUS);

dp = sensor.CalcdewPoint(c, h);

h

= sensor.ReadHumidity();

tft.fillScreen(ST7735_WHITE); tft.setCursor(0, 30);

tft.setTextColor(ST7735_RED);

tft.printf(“Temp = %4.1f C\r\n”,c);

tft.printf(“DewPt= %4.1f %%\r\n”,dp);

tft.fillScreen(ST7735_WHITE);

ntf(“Error: %d\n”, error);

} } }

tft.printf(“Humid= %4.1f %%\r\n”,h);

จากการทดลองใช้ mbed คอมไพเลอร์ และ mbed ไลบรารี กับ บอร์ ด Nucleo F303-K8 พบว่ าการใช้งานง่ ายมาก นอกจากนี ้ยงั น� ำ โปรแกรมไปใช้กบั บอร์ ดอื ่นๆ ได้ด้วย ในขณะที ่เขี ยนบทความนี ้มีมาก ถึง 78 บอร์ ดทีห่ ลากหลายทัง้ ขนาดและความสามารถ การเปลีย่ นผูผ้ ลิ ต เปลี ่ยนเบอร์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ก็ท�ำได้ง่าย แถมยังมี ไลบรารี อุปกรณ์ ต่างๆ มากมายให้ทดลองใช้งาน เมกเกอร์ สายไมโครฯ และนักพัฒนา ระบบสมองกลฝั งตัวร่ วมสมัยในวันนีจ้ ึงไม่ควรมองข้าม

} else {

รูปที่ 27 ผลการท�ำงานของโปรแกรม DHT11_ST7735

if (0 == error) {

tft.setCursor(0, 30);

error = sensor.readData();

M MAKERS

15


Reports

Maker News กองบรรณาธิการ

กราวิเทคไทย ร่วมมือ สวทช. ตั้งศูนย์วิจัยพัฒนา ผลิตอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา บริษัท กราวิเทคไทย (ไทย แลนด์) จ�ำกัด ร่วมมือกับส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) เปิดศูนย์วิจัยพัฒนาผลิตอิเล็กทรอนิกส์และพื้นที่ การเรี ย นรู ้ ส� ำ หรั บ นั ก ประดิ ษ ฐ์ (ศวผอ.) หรื อ มี ชื่ อ ภาษาอั ง กฤษว่ า Research and Development Electronic Innovation Creative Hub (RICH) ที่อาคารนวัตกรรม 1 ในอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (อวท.)

เกี่ยวกับศูนย์ RICH ศู น ย์ Research and Development Electronic Innovation Creative Hub หรือเรียกสั้นๆ ว่า RICH (ริช) นี้ เป็นอีกสาขาของ Home of Maker โดย บริษัท กราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จ�ำกัด ที่เป็นสถานที่ส�ำหรับ ให้เมกเกอร์มาใช้เครื่องไม้ เครื่องมือ ส�ำหรับสร้างชิ้นงานต้นแบบ หรือที่ หลายคนรู้จักในนาม Maker Space มีการให้บริการในรูปแบบสมาชิก และลูกค้าทั่วไป

นอกจากเป็นพื้นที่ส�ำหรับเวิร์กช็อปแล้ว ยังมีเครื่องจักรอัตโนมัติที่ ทันสมัยส�ำหรับให้บริการงานผลิตและประกอบแผ่นวงจรพิมพ์ต้นแบบ และยังรองรับลายวงจรขนาดเล็กได้ถึง 4 มิล เรียกว่าทุกกระบวนการผลิต จบที่นี่เลยก็ว่าได้ 16

MAKERS


Maker News

ดร.ชานนท์ ตุลาบดี

ประธานกรรมการ บริษัท กราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จ�ำกัด

ศูนย์ของเราจะให้บริการงานต้นแบบเป็น หลัก คือเป็น digital fabrication ที่แต่ก่อนจะ เป็น 3D Printer ,laser cutter ทีนี้เราก็ยกสเต็ป ขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง เพราะว่าตอนนี้เวลาเมกเกอร์ จะผลิตอะไรจะต้องค�ำนึงเรื่องการประกอบด้วย มือเอง ท�ำให้สินค้าที่ออกมามีขนาดใหญ่ท�ำให้ งานออกแบบบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถรองรับความ ต้องการตลาดได้ เราเจอปัญหานี้ค่อนข้างเยอะ กับเมกเกอร์ที่มาใช้บริการ Home of Maker ของ เราในสาขาอื่น เลยตัดสินใจลงทุนเครื่องจักร ส�ำหรับผลิตไว้ที่สาขานี้เพื่อรองรับเมกเกอร์ ที่ต้องการออกแบบ PCB ขนาดเล็กหรือ รูปทรงไหนก็ได้ และเพื่อเป็นฐานการ ผลิตสินค้าของกราวิเทคฯ เองด้วย ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมผลงานที่ จะออกมาจาก Startup และ บอกชาวโลกว่ า เป็ น ผลงานของ เมกเกอร์ ก รุ ๊ ป ที่ เ ป็ นเมดอิ นไทยแลนด์ ก็คื อ แกดเจตต่างๆ ที่จะไประดมทุนใน kickstarter หรือ cloud funding ต่างๆ ท�ำให้เราสามารถ ควบคุมคุณภาพและเวลาได้เพื่อสร้างความมั่นใจ กับลูกค้าหรือผู้ระดมทุนของเรา

หากถามว่ า ท� ำ ไมถึ ง เลื อ กเปิ ด สาขาที่ สวทช. ก็ เ พราะที่ นี่ มี ข ้ อ ดี คื อ เราเหมื อ นมี นั ก วิชาการในสาขาวิชาการต่างๆ ที่สามารถให้ค�ำ ปรึกษาได้ เช่นเมกเกอร์ของเราติดปัญหาด้าน การพัฒนาส่วนไหนก็ขอค�ำปรึกษาได้ เพราะเรา อยู่ในพื้นที่ที่มีนักวิชาการหลากหลายสาขามา อยู่ใกล้ๆ กัน หรือหากนักวิชาการมีทฤษฎีอะไร เมกเกอร์ก็สามารถน�ำมาท�ำสินค้าได้เลย ดั ง นั้ น ผมคิ ด ว่ า เป้ า หมายหลั ก ของกราวิ เทคไทย คือเราต้องการสานฝันเมกเกอร์และนัก ประดิษฐ์ที่ต้องการเริ่มต้นมีธุรกิจด้วยสินค้าของ ตัวเอง ผลักดันผลงาน Startup ของคนไทย โดย เมกเกอร์ไม่ต้องกังวลเรื่องสิทธิในการขาย เมก เกอร์สามารถไปตั้งบริษัทของตัวเองได้เลย เราจะ ภูมิใจมากหากผลงานชิ้นนั้นเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ส�ำหรับการเข้ามาใช้บริการศูนย์ฯ ก็ไม่มี อะไรยุ่งยากครับ อาจโทรมาคุยโปรเจ็กต์เบื้องต้น ก่อน หรือเข้ามาที่ศูนย์เลยก็ได้ เรามีเทคโนโลยี และคอนเน็กชั่น หน่วยงานรัฐก็มีทุนพร้อมที่จะ ส่งเสริมให้ส�ำเร็จอยู่แล้ว

สัมภาษณ์ ดร.ชานนท์ ตุลาบดี

โดยเมกเกอร์และนักประดิษฐ์ ที่ต้องการท�ำแค่ 1 ชิ้น ก็สามารถสั่ง ได้ในราคาเพียง 99 บาทต่อตารางนิ้ว หรือกระทั่งผู้ประกอบการรายย่อยก็ สามารถสั่งผลิตได้เช่นกัน ซึ่งนับได้ว่ามาเติมเต็มช่องว่างของอุตสาหกรรม อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ข นาดเล็ ก ไปจนถึ ง ขนาดกลางที่ ต ้ อ งการผลิ ต สิ น ค้ า ใน จ�ำนวนไม่มาก ส�ำหรับเมกเกอร์ ทีม่ ี ไอเดียดีๆ ผลงานเด็ดๆ อยากท�ำฝั นของตัวเอง ให้เป็ นจริ ง ติ ดต่อขอค�ำแนะน�ำกับทีมงานของกราวิ เทคไทยได้ที่ โทรศัพท์ 0-2564-7200 ต่อ 5106 , 090-525-3000 หรื อ www.thai.ee และหาก ต้องการเข้าเยีย่ มชมศูนย์ RICH ก็เข้าไปได้เลยที ่ อุทยานวิ ทยาศาสตร์ แห่งประเทศไทย อาคารนวัตกรรม1 ห้อง 106 ต�ำบลคลองหนึ่ง อ�ำเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

M

ภาพเครื่องจักรส�ำหรับใช้ผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ MAKERS

17


Reports

Maker News กองบรรณาธิการ

งานวันนักประดิษฐ์ 2559 งานวั น นั ก ประดิ ษ ฐ์ ใ นปี นี้ ทางส� ำ นั ก งานคณะกรรมการวิ จั ย แห่งชาติ (วช.) ก�ำหนดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่าน มา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ภาย ใต้แนวคิด “Life & Learn” เพื่อสื่อความถึงผลงานการประดิษฐ์คิดค้น น�ำสู่การเรียนรู้ และพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและพัฒนา ประเทศอย่างยั่งยืน ส�ำหรับบรรยากาศภายในงาน ปีนี้ ค่อนข้างคึกคักเป็นพิเศษ เพราะปีนี้มีกิจกรรมเพิ่มเข้ามามากขึ้นทั้งสัมมนาและเวิร์ดช็อปหลาก หลายหัวข้อตลอดงาน แต่ส่วนที่กองบก. จะน�ำมาฝากกันนี้เป็นไอเดีย เรียบง่ายของเยาวชนและใช้งานได้ผลจริงๆ ความน่าสนใจจึงอยู่ที่ ความเป็นเมกเกอร์ตัวจริงของเยาวชนเหล่านี้

เครื่องหั่นกระเทียมและหอมแดง

คนทีเ่ คยเข้าครัวคงรูด้ วี า่ เวลาหัน่ หอมแดงนัน้ เป็นอย่างไร น้องๆ จาก โรงเรี ยนพระปฐมวิทยาลัย จึงได้สร้างโครงงานนี้ขึ้นมา โดยเครื่องนี้มี หลักการคล้ายกับเครือ่ งไสน�ำ้ แข็ง มีกล่องบรรจุหวั หอมหรือกระเทียมและมี ฝาปิดทีจ่ ะช่วยเป็นตัวกด เมือ่ ต้องการหุน่ ก็เพียงกล่องใส่หวั หอมไปตามราง ทีม่ ใี บมีดติดตัง้ อยูเ่ ราก็ได้หอมแดงซอยแบบไม่ตอ้ งแสบตาอีกแล้ว

คีมจับปิ๊ปเดินสายไฟอเนกประสงค์

ผลงานจากนักเรียนโรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์ จ.หนองบัวล�ำภู แม้หน้าตาของอุปกรณ์จะดูไม่หล่อเหลาแต่เมือ่ ลองใช้แล้วมันใช้การได้ดี จริงๆ อุปกรณ์ตวั นีท้ ำ� หน้าทีจ่ บั กิป๊ รัดสายไฟแทนนิว้ มือของเราไม่ตอ้ งเสีย่ ง กับหัวค้อนและด้วยการที่มันจับได้แน่นท�ำให้สะดวกเมื่อตอกเข้ากับผิว ปูน ท�ำให้ปนู ไม่ซยุ เป็นเหตุให้กปิ๊ หลุดได้งา่ ย แถมปลายด้ามยังท�ำเป็นล้อ ส�ำหรับรีดสายไฟได้อกี ด้วย

18

MAKERS

กล่องยืดอายุผลมะนาวแบบควบคุมอุณหภูมิด้วยการ ระเหย

สิ่งประดิษฐ์ของนักเรียนจากโรงเรียนเพชรพิทยาคมนี้มองดูคล้าย กระติกน�้ำแข็ง แต่ไม่ใช่ มันท�ำหน้าที่คล้ายกัน ผิวด้านในกล่องเป็นโฟม อัดแผ่นรียบหนา 5 มม. และชั้นกลางบรรจุทรายที่มีความชื้นเพื่อควบคุม อุณหภูมิภายในกล่อง ลดการสลายของคลอโรฟิลล์ในผลมะนาว ท�ำให้ มะนาวไม่เปลี่ยนสีเร็วเกินไป ผลงานนี้จึงเหมาะส�ำหรับแม่ค้าในตลาดสด หรือตลาดนัดที่ไม่สามารถน�ำตู้เย็นไปตั้งได้


Maker News เครื่องแยกเหรียญจากภูมิปัญญาไทย ไอเดียดีๆ ที่น�ำของใช้มาประยุกต์ยังคงมีให้เห็นในงานปีนี้ อย่าง เครื่องแยกเหรียญของนักเรียน โรงเรียนเมืองคง จ.นครราชสีมา ใช้ลิ้นชัก พลาสติกมาเจาะรูให้ได้ขนาดของเหรียญแต่ละประเภท โดยให้เหรียญสิบ ที่มีขนาดใหญ่สุดอยู่ด้านบน และขนาดเล็กลดหลั่นกันลงไปตามแต่ละชั้น แล้วใช้มอเตอร์เป็นตัวช่วยเขย่าให้เหรียญที่ปะปนกันอยู่ด้านบนหล่นผ่าน รูลงไปอยู่ในลิ้นชักแต่ละชั้น

เครื่องเพิ่มความชื้นอัตโนมัติ ปิ ด ท้ า ยด้ ว ยผลงานของนั ก ประดิ ษ ฐ์ รุ ่ น ใหญ่ จ ากวิ ท ยาลั ย สารพัดช่างสี่พระยา ด้วยเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศอัตโนมัติส�ำหรับ ห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ โดยอาศัยหลักการสั่นของคลื่นอัลตร้าโซ นิกเพื่อให้น�้ำแตกตัวเป็นละอองและละอองน�้ำนี้จะถูกเป่าออกมาด้วย พัดลมที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่อง โดยมีตัวตรวจจับความชื้นสัมพัทธ์ที่ติดตั้ง ไว้ด้านหลังคอยตรวจสอบค่าความชื้นในห้องให้เหมาะสม

เครื่องสุญญากาศ

ผลงานจากนักเรียนโรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์ จ.หนองบัวล�ำภู อีกแล้วครับ ใช้หลักการทางฟิสิกส์มาประยุกต์ โดยใช้ถังบรรจุน�้ำดื่ม 2 ถัง คว�่ำหากันมีวาล์วเปิดปิดกั้นกลางไว้ เมื่อเปิดวาล์วให้น�้ำจากถังบนไหลลง ถังใบล่าง ในช่วงเวลานี้เองอากาศในถุงอาหารจะถูกดูดเข้าไปแทนที่น�้ำ ในถังบนผ่านสายยางที่ต่อเข้าไปในถุงบรรจุอาหาร นับว่าเป็นเครื่องดูด อากาศออกจากถุงบรรจุอาหารที่ท�ำให้เก็บอาหารได้นานขึ้นโดยไม่ต้อง อาศัยพลังงานจากกระแสไฟฟ้าเลย

ความจริ งแล้วยังมี ผลงานที ่น่ าสนใจอี กมากมายในหลากหลาย สาขา ทีน่ �ำมาบอกเล่านีเ้ ป็ นเพียงส่วนเล็กๆ เท่านัน้ ผูอ้ ่านหรื อเมกเกอร์ ท่านใดที ่ยงั ไม่เคยไปแนะน� ำเลยครับว่าปี หน้าห้ามพลาด เพราะท่านจะ ได้ไอเดียแปลกๆ ใหม่ๆ จากทัง้ นักวิ ชาการมากหน้าหลายตา และจาก นักประดิ ษฐ์ ทงั้ รุ่นเล็กไปจนถึงรุ่นเก๋า ทีแ่ ต่ละคนพร้อมจะน�ำเสนอผลงาน และพูดคุยกับท่านอย่างไม่รู้จกั เหน็ดเหนือ่ ย

M

MAKERS

19


Gift/Gadget

Maker Project กานต์วรางค์ นิพิทชยังกูร

ได้ การ์ดฟรุ้งฟริ้งเขย่า กดแล้วไฟติด ด้วยปากกาน�ำไฟฟ้า

Shaker Happiness Card

อันยองฮาเซโย !! สวัสดีเดือนแห่งความรักค่าาา ^^ เรียกได้ว่าตอนนี้มองไปทาง ไหนก็เจอแต่บรรยากาศหวานๆ ใครที่มีคู่ช่วงนี้คงก�ำลังมองหาของขวัญเซอร์ไพร์แฟนกัน อยู่อย่างแน่นอน MAKERS ฉบับนี้เลยจะชวนคุณผู้อ่านมาท�ำการ์ดแทนใจกันค่ะ แต่เมก เกอร์อย่างเราท�ำทั้งทีจะท�ำแบบธรรมดาๆได้อย่างไร ไหนๆ ก็เพิ่งได้ของเล่นใหม่อย่าง ปากกาลูกลื่นน�ำไฟฟ้ามาแล้ว มาเพิ่มลูกเล่นให้การ์ดแห่งความสุขของเราในแบบไม่ ธรรมดากันดีกว่าค่ะ

อุปกรณ์ ส่วนของตัวการ์ด

1. กระดาษการ์ดลายน่ารักๆ หนา 180 แกรม

2. กระดาษการ์ดแบบสี หนา 180 แกรม

(ในที่นี้ใช้สีน�้ำตาล)

3. แผ่นพลาสติกใส

4. กาว 2 หน้าแบบหนา

5. กาว 2 หน้าแบบบาง

6. ลูกปัด / เลื่อมปักเสื้อสีต่างๆ

ส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

20

1. LED สีแดง แบบ SMD ตัวถัง 0805

2. แบตเตอรี่ลิเธียมหรือถ่านกระดุม CR2032

3. เทปอะลูมิเนียม

MAKERS

รูปที่ 1 หน้าตาของปากกาหมึกน�ำไฟฟ้า

ข้อมูลเบื้องต้นของปากกาหมึกน�ำไฟฟ้า ปากกาลูกลื่นน�ำไฟฟ้าเป็นผลงานจาก ElectronInks สหรัฐอเมริกา ตัว น�้ำหมึกมีส่วนผสมของเงิน (Silver Ink) ท�ำให้น�ำไฟฟ้าได้ มีความต้านทานใน ตัวอยู่ที่ 2 ถึง 10Ω ต่อเซนติเมตร การใช้งานเหมือนกับปากกาปกติทุกประการ ทั้งวาดและเขียน หมึกแห้งเกาะกระดาษเร็ว ไม่ต้องรอ ท�ำให้ไม่เลอะเทอะเวลา ใช้งานค่ะ


Maker Knowledge ขั้นตอนการประดิษฐ์ ส่วนของตัวการ์ดด้านหน้า (1) ตั ด กระดาษการ์ ด ออกเป็ น กรอบรู ป โพลาลอยด์ (ในที่นี้ใช้กระดาษการ์ดที่เป็นรูปกรอบ โพลาลอยด์อยู่แล้ว หากใช้เป็นกระดาษการ์ดแบบสี ท�ำการตัดที่ขนาด 3.5 x 5 ซม.และตัดขอบด้านใน ขนาด 2 x 4.5 ซม.) จ�ำนวน 3 ใบ ตัดแผ่นพลาสติก ใสในขนาดที่เท่ากัน ดังรูปที่ 2 .1 จากนั้นติดเข้าด้วย กันด้วยกาว 2 หน้าแบบบาง ดังรูปที่ 2.2 2.1

(4) เทลูกปัดและ/หรือเลื่อมปักลงในช่อง ที่ท�ำไว้ ในที่นี้เลือกเลื่อมปักสีขาวเป็นหลักทั้ง 3 ช่อง และใส่ลูกปัดเฉดแดง เหลือง น�้ำเงินใน แต่ละช่อง ดังรูปที่ 5.1 จากนั้นลอกกาว 2 หน้า เพื่อน�ำกรอบรูปจากขั้นตอนที่ (1) มาติด จะได้ ตัวการ์ดด้านหน้า ดังรูปที่ 5.2

(6) ใช้ ป ากกาหมึ ก น� ำ ไฟฟ้ า วาดลาย วงจรตามรูปที่ 7.1 โดยระบายจุดสัมผัสเป็นรูป สี่เหลี่ยม จากนั้นใช้ปากกาแต้มหมึกลงไปที่ขา ของ LED สีแดงแบบ SMD ทั้ง 2 ด้าน แล้วติด LED ลงไปด้วยกาวร้อน โดยด้านที่มีแถบสีคือ ขั้วลบ (แคโทด) พร้อมกับถมหมึกลงไปบนขา ของ LED ทั้ง 2 ด้าน ดังรูปที่ 7.2

5.1 7.1

2.2

5.2 7.2 รูปที่ 2 (2) ตัดกระดาษการ์ดขนาด 12 x 17 ซม. เพื่อ เป็นตัวการ์ดด้านหน้า จากนั้นน�ำกรอบรูปที่ได้ในขั้น ตอน (1) มาวางทาบเรียงกัน 3 อัน ตรงกึ่งกลางด้าน บนของกระดาษ ตั ด ออกเป็ น ขนาดเท่ า กั บ กรอบ ด้านในของกรอบรูป ดังรูปที่ 3

รูปที่ 5

รูปที่ 7

ส่วนของตัวการ์ดด้านในและอิเล็กทรอนิกส์ (5) ตัดกระดาษการ์ดสี (จากตัวอย่างเป็น

สีน�้ำตาล) ขนาด 24.5 x 17 ซม. แล้วพับดังรูป ที่ 6.1 จากนั้นน�ำตัวการ์ดด้านหน้ามาทาบและ ตัดด้านในกระดาษบริเวณเดียวกับกรอบรูปใน การ์ดด้านหน้า ดังรูปที่ 6.2 ติดตัวการ์ดด้าน หน้าเข้ากับด้านในด้วยกาว 2 หน้าแบบบาง ดัง รูปที่ 6.3

รูปที่ 3 (3) ตัดแผ่นพลาสติกใสขนาด 15 x 6 ซม. ติด ด้วยกาว 2 หน้าแบบบางที่ด้านหลังของตัวการ์ด ด้านหน้า ดังรูปที่ 4.1 ติดกาว 2 หน้าแบบหนา 3 ถึง 4 ชั้นที่ด้านหน้าของตัวการ์ดรอบขอบที่ตัดไว้ ดังรูป ที่ 4.2

(7) ติดถ่านกระดุมด้วยเทปอะลูมิเนียม ที่ ข าทั้ ง 2 ด้ า น ดั ง รู ป ที่ 8.1 และติ ด เทป อะลูมิเนียมเข้ากับกาว 2 หน้าแบบหนาเพื่อท�ำ เป็นสวิตช์ด้านบนดังรูปที่ 8.2 จากนั้นทดลอง กดบริ เ วณรู ป หั ว ใจว่ า LED ติ ด สว่ า งหรื อ ไม่ ก่อนจะประกบตัวการ์ดเข้าด้วยกันด้วยกาว 2 หน้าแบบหนารอบตัวการ์ด 2 ชั้น ดังรูปที่ 8.3 จะได้ตัวการ์ดเสร็จสมบูรณ์

6.1

4.1

6.2

รูปที่ 8 6.3

4.2

รูปที่ 4

รูปที่ 6

หากอยากได้ LED มากกว่ า 1 ดวง แนะน� ำให้ ต ่ อ แบบขนานและใช้ ตั ว ต้ า นทาน ช่วยในการต่อวงจรนะคะ จะท�ำให้ได้ไฟที่สว่าง เท่ากันมากกว่าใช้ค่าของความต้านทานจาก การวาดค่ะ หวังว่าของขวัญชิ้ นนี ้คงถู กใจคนรับทุก ท่านนะคะ ^^

M MAKERS

21


Craft

Maker Project PINN Creative Space

หมอน แคสตัส

รับลมร้อน งานฝีมือส�ำหรับหนุนนอนเล่นใน ยามออกท่องเที่ยว คราวนี้พิเศษ ไปกว่าเดิม เพราะมันคือหมอน ที่มาจากฝีมือของคุณๆ เอง อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

22

MAKERS

1. ผ้า CMSQ เท่ากับขนาดหมอนที่ต้องการ

2. เข็มหมุด

3. กรรไกร

4. อุปกรณ์เย็บผ้า

5. โฟมเม็ดเล็กส�ำหรับใส่ในตัวหมอน

6. ขวดน�้ำเปล่าขนาด 1.5 ลิตร

เข้าสู่ช่วงปลายหนาวต้นร้อนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อเตรียมตัวสู่การวางแผนท่องเที่ยวในช่วงเวลานั้น มาท�ำ หมอนแคสตัสเก๋ๆ ไว้กอด หนุน ตอนไปเที่ยวทะเลในฤดูร้อน เพิ่มดีกรีความเป็นฮิปสเตอร์ของเรากันเถอะค่ะ

เตรียมแพ็ตเทิร์น วาดลายที่ ต ้ อ งการลงในคอมพิ ว เตอร์ ต ามขนาดที่ ต้องการ ทั้งด้านหนังและหลัง หรือจะดาวน์โหลดลายที่ท�ำ เอาไว้ ใ ห้ แ ล้ ว ก็ ไ ด้ ค ่ ะ (ดาวน์ โ หลดจาก www.maker magazine.in.th)


Maker Project

รูปที่ 1 ตัวอย่างแบบหรือแพ็ตเทิร์นส�ำหรับท�ำหมอนแคสตัส

เตรียมลายผ้าแล้วพิมพ์ ขั้ น ตอนนี้ จ ะคล้ า ยกั บ โครง งานจาก Pinn Creative Space ใน วารสาร MAKERS ที่ ผ ่ า นมา โดย ท� ำ การพิ ม พ์ ล ายด้ ว ยวิ ธี Digital Fabrication คื อ ออกแบบลายใน คอมพิ ว เตอร์ แ ล้ ว น� ำ ไปพิ ม พ์ ล งผ้ า ด้ ว ยเครื่ อ ง Sublimation โดยมี ขั้ น ตอนดังนี้

อย่าได้กังวลเรื่องการพิมพ์ผ้า เพราะ เพื่ อ นๆ สามารถมาใช้ บ ริ ก ารพิ ม พ์ ลายผ้าได้ที่ PINN Creative Space ทุกสาขานะคะ ^^

4.1

1) พิ ม พ์ ล ายผ้ า ลงบนกระดาษพิ เ ศษ ส�ำหรับเครื่อง sublimation

รูปที่ 2

(2) เตรียมผ้า CMSQ ตัดให้ขนาดพอดีกับตัวรูป

รูปที่ 3

(3) น�ำไปรีดด้วยความร้อน 200 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 40 วินาที ท�ำให้ตัวลายซึมติดลง ไปบนเนื้อผ้า

4.2

รูปที่ 4 MAKERS

23


Maker Project

ขั้นตอนการเย็บ (1) ประกบลายทั้งสองด้านเข้าหากัน แล้วน�ำเข็มหมุดกลัดให้รอบๆ เพื่อป้องกันชิ้นงานขยับในระหว่างเราน�ำไปเย็บ แต่หากไม่มีเข็มหมุด ให้ ใช้การเนาช่วยตรึงผ้าให้ตรงกันได้

(3) เมื่ อ เย็ บ เสร็ จ แล้ ว ตั ด ส่ ว นผ้ า ที่ ไ ม่ ไ ด้ ใ ช้ อ อก โดยเว้ น ระยะ จากเส้นขอบนอกประมาณ 1 ซม. วิธีการนี้จะสะดวกกว่าตัดตามลาย หมอนแล้วค่อยน�ำไปเย็บค่ะ เพราะการเย็บเราจะมีพื้นที่ส�ำหรับจับผ้า มากกว่า

5.1

รูปที่ 7 5.2

(4) ขลิบปลายผ้ารอบๆ ตัวหมอนให้ใกล้รอยเย็บมากที่สุด แต่อย่า เกินส่วนที่เย็บเข้าไป เพื่อเวลาใส่ตัวโฟม ผ้าจะได้รูปทรง ไม่เป็นรอยยับ จากนั้นจึงกลับด้านในออกมาเป็นด้านนอก 8.1

รูปที่ 5 (2) เย็บรอบๆ ตามเส้นขอบนอกหรือ Outline ของตัวหมอน เว้นไว้ 5 ซม. เพื่อกลับด้านในออกมาด้านนอก และเป็นช่องไว้ใส่เม็ดโฟม 8.2

รูปที่ 6

24

MAKERS

รูปที่ 8


วิธีการสอยซ่อนด้าย (5) น�ำขวดน�้ำขนาด 1.5 ลิ ต รมาตั ด ก้ น ออก น� ำ ไปเสี ย บ เข้ากับช่องขนาด 5 ซม.ที่เหลือไว้ จากนั้ น เทเม็ ด โฟมลงไปเรื่ อ ยๆ จนกระทั่ ง หมอนเราพองดี แ ล้ ว ระวังอย่าใส่เม็ดโฟมมากเกินไป นะคะ

(1) พับริมผ้าทีจ่ ะสอย ร้อยด้ายผูกปม สอดเข็ม ลงในรอยพับของผ้า ดึงด้ายขึ้นมาด้านบน

รูปที่ 9

(6) เย็ บ ปิ ด ตั ว หมอนโดย การสอยซ่ อ นด้ า ย ซึ่ ง ใครสอย ซ่ อ นด้ า ยไม่ เ ป็ น เรามี ขั้ น ตอน ง่ายๆ แนะน�ำด้วยค่ะ

(2) แทงเข็มเกี่ยวผ้าชั้นล่างขึ้นมาเพียงเล็ก น้อย

(3) สอดเข็มเข้าไว้ในริมผ้าที่พับไว้ ความยาว ของฝีเข็มประมาณ 1/2 นิ้ว

รูปที่ 10

11.1

11.2

(4) ดึงเข็มขึ้นมา แล้วดึงด้ายขึ้นมาจนสุด ท�ำ เหมือนข้อ 2, 3 และ 4 จนสุดผ้า

(5) จะได้รอยเย็บตามภาพ

รูปที่ 11 หมอนแคสคัสที่เสร็จแล้ว แสดงภาพทั้งด้านหน้าและหลัง เสร็ จแล้วววว หมอนแคสตัสตัวอ้วนกลม เอาไว้หนุน กอด ยามไปเทีย่ วชายทะเล สบายๆ รับฤดูร้อนกันนะคะ

M MAKERS

25


House

Maker Project อวิรุทธ์ วิชาเร็ว

BulbVase กระถางต้นไม้จากหลอดไฟไส้

จากหลอดไฟไส้ที่ขาดจนต้องโยนทิ้ง ชะลอความคิดนั้นไว้สักนิดแล้วใช้ความ คิดสร้างสรรค์เปลี่ยนขยะเทคโนโลยี สู่ของตกแต่งบ้านเป็นกระถางต้นไม้ใสๆ ใบเล็กๆ เพี่อไม้แขวนน่ารักๆ ของคุณ

สิ่งที่ต้องเตรียม

26

MAKERS

1. หลอดไฟไส้ (ที่ขาดแล้ว)

2. ลวด

3. ไขควง

4. คีมตัด

5. เชือก

6. ปืนยิงกาว

7. คีมจับ

8. กาวแท่ง

โครงงานนี้ขอเชิญชวนเมกเกอร์และ เพี่อนๆ มาประดิษฐิ์กระถางต้นไม้จากหลอด ไฟไส้ เ ก่ า ส� ำ หรั บ เอาไว้ แ ขวนในห้ อ งหรื อ ในมุมต่างๆ ของบ้าน เพื่อสร้างความรู้สึก สดชื่น เชื่อเหลือเกินว่าหลายท่านคงเบื่อกับ การแต่งห้องแบบเดิมๆ มาลองของใหม่กับ อุ ป กรณ์ เ ก่ า ที่ ก� ำ ลั ง จะหมดค่ า ขั้ น ตอนวิ ธี การท�ำและเครื่องไม้เครื่องมือก็หาได้ง่ายๆ จึงเหมาะกับทั้งเมกเกอร์มือใหม่ และมือโปร


Maker Knowledge

ขั้นตอน (1)น�ำหลอดไฟไส้ทไี่ ม่ใช้หรือเสียแล้วมาท�ำ เริ่ ม จากการแกะขั้ ว ทองเหลื อ งที่ ป ิ ด อยู ่ ก ้ น หลอดออก โดยใช้คีมหรือคัตเตอร์งัดออก

(3) น� ำ ลวดมาพั น เข้ า กั บ เกลี ย วของขั้ ว หลอดไฟเพื่อท�ำเป็นที่แขวน (รูปที่ 3.1) น�ำคีม จับมาม้วนตรงปลายของลวดเพื่อน�ำเชือกมา มัด (รูปที่ 3.2)

(6) ใช้ปืนยิงกาวหลอมกาวเพื่อยึดลวด กับหลอดไฟ ระหว่างที่กาวยังไม่เย็นตัว ท�ำการ จัดระยะห่างของลวดให้เท่ากันพอดี จากนั้นรอ ให้กาวเย็นตัว

1.1

3.1

6.1

1.2

3.2

6.2

รูปที่ 3 พันลวดเพื่อท�ำเป็นที่ยึดหลอดไฟ

รูปที่ 1 (2) ใช้ไขควงหรือคีมท�ำการทุบกรอบ ตัวปิดหลอดไฟสีด�ำออกก่อน ขั้นตอนนี้ค่อน ข้างอันตรายส�ำหรับเด็ก ๆ ที่จะท�ำด้วยตัวเอง ดังนั้นควรอยู่ในการดูแลของผู้ใหญ่ (รูปที่ 2.1) น�ำไขควงมาแทงให้ไส้ของหลอดไฟตกอยู่ใน หลอดแก้ ว (รู ป ที่ 2.2) น� ำ ไส้ ห ลอดและเศษ วั ส ดุ ทิ้ ง จากนั้ น น� ำ หลอดไฟที่ ไ ม่ มี ไ ส้ ไ ปท� ำ ความสะอาด (รูปที่ 2.3)

(4) น� ำ ลวดอี ก 1 เส้ น มาพั น ใช้ คี ม จั บ ท�ำการดัดปลายลวดตามรูปที่ 4.1 จากนั้นพัน ลวดให้เป็นตามรูปที่ 4.2 4.1

2.1

4.2

2.2

รูปที่ 4 พันลวดเพื่อท�ำเป็นที่ยึดหลอดไฟ เพิ่มเติม

2.3

รู ป ที่ 6 ยึ ด ลวดกั บ หลอดไฟด้ ว ยกาวแท่ ง โดยใช้ปืนยิงกาว (7) น� ำ เชื อ ก 3 เส้ น ความยาวตาม ต้องการ มาพันเข้ากับปลายลวด จัดความยาว ของเชือกให้ตัวหลอดไฟสมดุลพอดี แล้วมัดให้ แน่น

(5) น�ำลวดที่ดัดไว้ทั้งหมดมาพันเข้ากับ เกลียวของหลอดไฟ จัดวางให้เป็นสามแฉก ตามรูปที่ 5

รูปที่ 7 มัดเชือกกับลวดเพื่อท�ำที่แขวน รูปที่ 2 น�ำไส้ไฟฟ้าออกจากหลอดไฟ

รูปที่ 5 จัดวางและเรียงลวดที่น�ำมาท�ำเป็นที่ยึด หลอดไฟ MAKERS

27


(8) น�ำลวดอีก 1 เส้น ดัดเป็น รู ป ตั ว S เพื่ อ ใช้ แ ขวนเชื อ ก น� ำ เชือกทั้ง 3 เส้นจากขั้นตอนที่ (7) มาผูกรวมกับลวดตัว S จะได้เป็นก ระถางหลอดไฟใสๆ ไว้ใช้งาน

8.1

(9) น� ำ ต้ น ไม้ น้� ำ มาใส่ ใ ห้ สวยงาม อย่าลืมเติมน�้ำเพื่อเลี้ยง ต้นไม้ด้วย น�ำไปแขวนตกแต่งได้ ตามอัธยาศรัย 8.2

9.1 9.2

รูปที่ 8 ท�ำที่แขวนเชือก ท้ายสุดคือ ต้องระวังในการน�ำไปใช้งานสักหน่อย เพราะไม่ ว่าอย่างไรมันก็คือ แก้วบางๆ จะหยิบจับ แขวน วาง ก็ต้องระวังกัน นิด ไม่งั้นมันจะแตก จะมาเสียดายตอนหลังก็สายเสียแล้ว..... งดงามตามท้อ งเรื ่ อ ง ด้ว ยพลัง แห่ ง ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ช่วยฟื ้ นคืนขยะอย่างหลอดไฟเก่าให้มีคณ ุ ค่าต่อไป

M

28

MAKERS

รูปที่ 9 กระถางต้นไม้จาก หลอดไฟที่ใส่ต้นไม้ และน�ำ ไปแขวนตกแต่งในห้อง

M


Toy/Gadget

Maker Project อวิรุทธ์ วิชาเร็ว

Paper Copter

กระดาษบินติด LED

ท� ำ ของเล่ น เชิ ง วิ ท ยาศาสตร์ จ ากวั ส ดุ ใกล้ตัวชุดยิงใบพัดกระดาษในสไตล์มเก เกอร์ที่เติมสีสันด้วย LED

ในการเรียนการสอนวิทยาสาสตร์สมัยใหม่ รวมถึง STEM ได้มีความพยายามอย่างยิ่งในการน�ำศาสตร์ด้านวิศวกรรม เข้าไปสอนให้กับเด็กๆ ได้มีความคุ้นเคยและกระตุ้นให้เกิด ความสนใจตั้งแต่วัยเยาว์ มีค�ำใหม่ๆ เกิดขึ้น หนึ่งในนั่นคือ paper engineering หรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการน�ำกระดาษมาใช้ ในการท�ำโครงสร้างหรือสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรม ซึ่งแตกต่าง ไปจากการพับกระดาษแบบ Origami ที่เน้นการท�ำงานศิลปะ โครงงานแบบข�ำๆ ที่จะน�ำมาเสนอให้เมกเกอร์รุ่นเยาว์ไดก้ลอง ท�ำเล่นคือ หนึ่งในโครงงานยอดนิยมของ paper engineering นั่นคือ การท�ำคอปเตอร์กระดาษ (paper copter)

ขั้นตอนการประดิษฐิ์ (1) น�ำกระดาษแข็งขนาด A4 มาวาดแบบของฐานตามรูปที่ 1

สิ่งที่ต้องเตรียม 1. กระดาษ A4 แบบแข็งและแบบอ่อน 1 แผ่น

2. คลิปหนีบกระดาษ

3. หนังยาง

4. เทปใส

5. คัตเตอร์

6. ไม้บรรทัด

7. แท่งไม้กลม ยาวประมาณ 10 ซม.

8. แบตเตอรี่ลิเธียม 3V

9. LED 5 มม. สีอะไรก็ได้

10. เลื่อยฉลุ

รูปที่ 1 แบบของฐานคอปเตอร์กระดาษ (หน่วยเป็นเซนติเมตร)

MAKERS

29


Maker Project

(2) น�ำกระดาษอ่อนขนาด A4 มาวาดแบบของชิ้นส่วนปีก

รูปที่ 2 แบบปีกของคอปเตอร์กระดาษ (หน่วยเป็นเซนติเมตร) (4) พับส่วนที่ 1 ของชิ้นส่วนฐานขึ้นมา (รูปที่ 4.1) แล้วน�ำคลิปหนีบกระดาษมาเสียบ ยึดไว้กึ่งกลาง (รูปที่ 4.2) 9ติดเทปใสยึดคลิป หนีบกระดาษให้แน่น (รูปที่ 4.3)

(3) เมื่อวาดเสร็จแล้ว ตัดกระดาษตามรอยประ จะได้ตามรูปที่ 3

รูปที่ 3 ชิ้นส่วนของคอปเตอร์กระดาษที่ตัดออกมาแล้ว

(5) พับส่วนที่ 2 และ 3 เข้ามาหากัน (รูป ที่ 5.1 และ 5.2) น�ำเทปใสมาติดขอบด้านข้าง ให้แน่น (รูปที่ 5.3) 5.1

4.1

(6) น�ำชิ้นส่วนปีกชิ้นที่ 4 และ 5 มาแปะ กั บ ฐาน ให้ ส ่ ว นบนของฐานอยู ่ พ อดี กั บ ลาย เส้นประ (รูปที่ 6.1 และ 6.2) ยึดติดด้วยเทปใส รอบด้าน แต่อย่าติดเกินเส้นขอบด้านบนตาม รูปที่ 6.3 6.1

4.2

6.2

5.2 6.3

4.3 5.3

รูปที่ 6

รูปที่ 4 รูปที่ 5

30

MAKERS


Maker Project

(7) น� ำ ดิ น สอหรื อ แท่ ง กลมมาส่ ว นปี ก (สีชมพู) ให้โค้งงอลงด้านล่าง ท�ำเหมือนกันทั้ง 2 ข้าง

9.1 7.1

9.2

7.1

วิธีเล่น ง่ายมากๆ ดูรูปที่ 10 ประกอบ น�ำยาง ไปคล้องไว้ที่ร่องที่บากไว้ของที่ยิง จากนั้นจับ ตัวคอปเตอร์กระดาษ แล้วดึงเข้าหาตัว จาก นั้นปล่อย คอปเตอร์กระดาษจะถูกยิงขึ้นไปใน อากาศ แล้วค่อยๆ ร่อนหมุนตัวตกลงพื้น 10.1

รูปที่ 9 บากแท่งไม้ ท�ำที่ยิงคอปเตอร์กระดาษ 7.2

เติมสีสันแห่งแสงด้วย LED ถ้ า ต้ อ งการน� ำ ไปเล่ น ในเวลากลางคื น การเติม LED เข้าไป ท�ำให้เกิดแสงสี เพิ่มความ น่าสนใจให้แก่เจ้าคอปเตอร์กระดาษได้ไม่น้อย ท�ำได้อย่างไร มาติดตามกัน 11.1

10.2

11.2

7.3

10.3

รูปที่ 7 ดัดปีกของคอปเตอร์กระดาษ

รูปที่ 11 การต่อ LED กับแบตเตอรี่เพื่อเพิ่มลูก เล่นให้กับคอปเตอร์กระดาษ

(8) น� ำ หนั ง ยางมามั ด ไว้ กั บ คลิ ป หนี บ กระดาษที่กลายเป็นห่วงดังรูปที่ 8 จะได้คอป เตอร์กระดาษแบบมาตรฐานที่ พร้ อมเล่ น ได้ แล้ว

(11) น�ำแบตเตอรี่เสียบเข้ากับข่องกระ ดาษที่ฐานของคอปเตอร์กระดาษ จากนั้นใช้ เทปใสติ ด ยึ ด ไว้ ไ ม่ ใ ห้ แ บตเตอรี่ ห ลุ ด ออกมา เป็นอันเสร็จ 12.1

8.1

12.2

8.2

รูปที่ 8 รัดยางกับห่วงที่มาจากส่วนหนึ่งของ คลิปหนีบกระดาษ (9) ขั้นตอนต่อไป เป็นการท�ำที่ยิง น�ำไม้ แท่งกลมยาวประมาณ 10 ซม. มาบากด้าน บนให้ เ ป็ น ร่ อ งส� ำ หรั บ เสี ย บหนั ง ยางเพื่ อ ยิ ง คอปเตอร์กระดาษ

รูปที่ 12 ติดตั้งแบตเตอรี่เช้ากับฐานของคอป เตอร์กระดาษ

รูปที่ 10 วิธีเล่นคอปเตอร์กระดาษ ท� ำ เล่ น กั น หลายๆ ตั ว ด้ ว ยการเปลี่ ย น สี ข องกระดาษ หรื อ ท� ำ การวาดรู ป ระบายสี ตกแต่งตัวคอปเตอร์ด้วยก็ได้ นับ จากนี ้น้ อ งๆ หนู ๆ หรื อ เมกเกอร์ รุ่ น ใหญ่ ส ามารถน� ำ คอปเตอร์ ก ระดาษนี ้ไ ปเล่ น จะกลางวันหรื อกลางคื นก็ ได้ ไม่ต้องกลัวหาย เพราะมี ไฟจาก LED ติ ดตลอดเวลา (จนกว่า แบตเตอรี ่ จะหมด) นี ่คือของเล่นง่ายๆ ส� ำหรับ ทุกเพศทุกวัย จะเมกเกอร์ รุ่นไหนก็ท�ำได้ จะน�ำ มาประชันขันแข่งทัง้ ในการบิ นทน บิ นนาน หรื อ ประเภทสวยงามก็ท�ำได้ตามต้องการ

M MAKERS

31


Circuit Scribe

ปากกาน�้าหมึกน�าไฟฟ้าที่น�าไฟฟ้าได้จริงๆ จากผลงานการวิจยั มายาวนานเป็นแรมปีของ ElectronInks สหรัฐอเมริกา ท�าให้ได้น�้าหมึกเงิน (silver ink) ที่น�าไฟฟ้าได้จริงๆ น�าไปสู่การพัฒนาเป็น ปากกาลูกลื่นที่บรรจุน�้าหมึกที่น�าไฟฟ้าได้ โดยมีค่าความต้านทานเพียง 2 ถึง 10W ต่อเซนติเมตรเมื่อน�าวาดเป็นเส้นขนาด 0.5 มม. ผลิตภัณฑ์ล�้ายุค ที่น�ามาซึ่งการเชื่อมโยงวงการศิลปะและเทคโนโลยีเข้าด้วยกันตัวนี้มีชื่อว่า Circuit Scribe

ปากกา Circuit Scribe นี้ 1 ด้ า มสามารถลากเส้ น ได้ ย าว 60 ถึ ง 200เมตร ขึ้ น กั บ วิ ธี ก ารวาดและชนิ ด ของ กระดาษที่ใช้ หากใช้กระดาษที่มีการซึมซับสูง เช่น ทิชชู่ หรือกระดาษปรู๊ฟ จะวาดได้ 60 เมตร ถ้าใช้กับกระดาษส�าหรับพิมพ์ ภาพถ่าย (photo paper) จะวาดได้ยาวถึง 200 เมตร ผู ้ ใ ช้ ง านสามารถลากเป็ น เส้ น แทนการใช้ ส ายไฟได้ ระบายเป็ น วงกลมหรือสี่เหลี่ยมเพื่อใช้เป็นจุดสัมผัส หรือสวิตช์ก็ได้ และยังใช้งานกับ อะลูมิเนียมฟอยล์และแถบแม่เหล็กได้ ท�าให้น�าไปใช้สร้างสรรค์โครงงาน อิเล็กทรอนิกส์เชิงศิลปะได้โดยไม่ต้องบัดกรี หรือถ้าจ�าเป็นต้องบัดกรีก็ท�าได้

ปากกา Circuit Scribe วาดวงจรและน�าไฟฟ้าได้จริงด้วยน�้าหมึกที่มีส่วน ประกอบของเงิน เป็นผลงานจาก ElectronInks (www.electroninks.com) การใช้งาน จะเหมือนกับปากกาลูกลื่นทุกประการ ไม่ต้องเขย่า ผู้ใช้งานสามารถวาด หรือระบายเป็นพื้นที่กว้างได้ ที่ส�าคัญไม่มีสารพิษ ไม่มีกลิ่นฉุนรบกวนใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อน�าไปใช้งานหมึกจะแห้งเกาะกระดาษทันที ไม่ต้องรอ ท�าให้ไม่ เลอะเทอะในขณะใช้งาน

Paperduino แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ท�าจากกระดาษและเชื่อมต่อ ขาสัญญาณต่างด้วยปากกา Circuit Scribe ผลพวงแห่งพัฒนาการด้านนาโนเทคโนโลยี ท�าให้เกิ ดสารและวัตถุ ดิ บใหม่ๆ ที ท่ �าให้มนุษยชาติ ก้าวข้ามผ่านข้อจ� ากัด น�าไปสู่การสร้างสรรค์ สิ่ งประดิ ษฐ์ และนวัตกรรมทีใ่ นอดีตแม้แต่คิดก็ยงั ท�าไม่ได้

บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำ�กัด

ดูกันจะจะว่า เส้นจากน�้าหมึกเงินที่วาดโดยปากกา Circuit Scribe จะแห้ง ซ.สุกน�ขาุมไฟฟ้ วิท า101/2 ทันที และไม่เลอะเทอะเหมือนสี108 หรือหมึ แบบอื่น ถ.สุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 www.tpemagazine.com

โทรศัพท์ 0-2747-7001-4 ,โทรสาร 0-2747-7005 URL : www.inex.co.th

32 2

MAKERS The Prototype Electronics


Everything in control ALFAT-SD ราคา 1,500.Module Read/Write SD-CARD • ท�ำงาน ด้ วย ALFAT SoC processor ประสิทธิภาพสูง • รองรับ หน่วยความจ�ำ SD-CARD ความจุ สูงสุด 8 GB • รองรับไฟล์ได้ 2 ระบบ คือ FAT16 และ FAT32 • ต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ได้ 4 รูปแบบ คือ I2C, SPI, UART (TTL) และ RS232 • สามารถเลือกโหมดการติดต่อสื่อสารด้วยจั้มเปอร์ ในกรณีใช้งานแบบ UART (TTL), RS232 และ Boot loader (ส�ำหรับ Update Firmware) • ไฟแสดงสถานะการติดต่อสื่อสารด้วย LED

ALFAT-USB ราคา 1,500.Module Read/Write FLASH DRIVE • ท�ำงานด้ ว ย ALFAT SoC processor ประสิทธิภาพสูง • รองรับห น่ วยความจ�ำ FLASH DRIVE USB 2.0 • รองรับ FLASH DRIVE ความจุได้ถงึ 8 GB • รองรับไฟล์ได้ 2 ระบบ คือ FAT16 และ FAT32 • ต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ได้ 4 รูปแบบ คือ I2C, SPI, UART (TTL) และ RS232 • สามารถเลือกโหมดการติดต่อสื่อสารด้วยจั้มเปอร์ ในกรณีใช้งานแบบ UART (TTL), RS232 และ Boot loader (ส�ำหรับ Update Firmware) • ไฟแสดงสถานะการติดต่อสื่อสารด้วย LED

WIFI220 ราคา 1,850.RS232 to Wireless LAN WIFI220 คือ บอร์ดส�ำหรับแปลงข้อมูลจาก RS232 เป็น Wireless LAN หรือ WIFI • เหมาะส�ำหรับงานที่ไม่ต้องการเดินสาย • หรือต้องการส่งข้อมูลจาก RS232 เข้าใน ระบบ TCP/IP (LAN) • การตั้งค่าใช้งานผ่านทาง RS232 ด้วย AT-Command แบบ Command line • มีโปรแกรมส�ำหรับตั้งค่าให้ใช้งานง่าย โดยไม่ต้องใช้ AT-Command เอง (โปรแกรมจะสร้าง AT-Command ให้อัตโนมัติเพียงคุณเลือกโหมดการใช้งาน และ ใส่ค่าต่างๆ ตามต้องการ)

• Wireless Lan มาตรฐาน 802.11 b/g ความถี่ 2.412 - 2.484 GHz • พร้อมเสาอากาศ และ LED แสดงสถานะบน บอร์ด • RS232 ใช้ความเร็วได้ 1200 - 115200 bps • การตั้งค่ากระท�ำผ่าน PC (ต่อกับ RS232) มี โปรแกรมให้ใน CD-Rom (AT Command) สามารถปรับการตั้งค่าผ่านทาง Web-Base ได้ ด้วย • ใช้ไฟเลี้ยง 5 - 9 VDC

• ย่านความถี่สาธารณะ 433 MHz เลือกความถี่ได้ 8 ช่อง • ส่งได้ไกลโดยมีระยะหวังผลถึง 100 เมตร • RS232 ใช้ความเร็วได้ 1200 - 19200 bps • การตั้งค่ากระท�ำผ่าน PC (ต่อกับ RS232) มีโปรแกรมให้ใน CD-Rom • หรือผู้ใช้อาจสร้างโปรแกรมตั้งค่าเองผ่าน AT Command ก็ได้ • ใช้ไฟเลี้ยง 9 VDC หรือ 5 VDC ก็ได้

AP-250 ราคา 4,650.Remote I/O Controller ผ่านระบบ Lan

• ใช้ตัวโมดูล CIEM10 มีขั้ว RJ45 ที่เสียบสายเข้ากับระบบ Lan 10/100 Base-T ได้ทันที • มี 8 Input (4 หน้าคอนแทคผ่านวงจร Opto และ 4 Intput แบบ TTL 3.3V) • มี 8 Output (4 Relay มีขั้ว NO,NC และ 4 Output แบบ TTL 3.3V) • มี 1 Analog Input แบบ 10-Bit A/D สามารถเลือกระดับแรงดันได้ด้วย Jumper 0-3.3V 0-5V 0-12V 0-24V • มี 1 Port RS232 สามารถใช้งานเป็นตัวแปลง Lan to RS232 ได้ด้วย • เหมาะส�ำหรับการควบคุมผ่าน Lan โดยตรงจากคอมพิวเตอร์ และใช้ควบคุม แบบ Web-Base ได้ด้วย • ใช้ไฟเลี้ยง 9 VDC และมีตัว Adapter จ่ายไฟให้พร้อม

PRO-WRITER ราคา 3,250.เครื่องโปรแกรมชิพ Megawin (MCS-51)

X-FE6051 ราคา 350.บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์อเนกประสงค์ ... ขนาดเล็ก ราคาประหยัด

• มีอุปกรณ์บนบอร์ดเป็น LED (และเป็น RS485-Drive ด้วย) , Buzzer และ Key=2 • มีพอร์ทสื่อสาร RS232 ขั้ว 3 Pin หรือ RS485 ขั้ว 2 Pin (Option-ต้องเปลี่ยนชิพเป็น Max3082) • ใช้ไฟเลี้ยง 5 VDC ผ่านขั้ว 2 Pin และใช้ระบบ Reset ภายในตัว MCU

เช่น การตัง้ ให้ใช้ Xtal ภายในของเบอร์ 87FE6051 (ซึง่ การโปรแกรมแบบ ISP ท�ำไม่ได้) • มีบอร์ดเสริม 5 ชิ้น เพื่อการเลือกเบอร์ชิพได้หลากหลาย (บอร์ดเสริมพัฒนาโดยศิลา ท�ำให้สินค้ามีราคาถูกลงมาก) • ใช้กับเบอร์ได้ดังนี้ 89L(E)5x 82L(E)54 82G516 87FL(E)x051 82FL(E)5xx • สามารถเลือกใช้งานแบบ On-Line หรือแบบ Off-Line (ไม่ต้องต่อกับเครื่อง PC) ก็ได้ สะดวกส�ำหรับการโปรแกรมจ�ำนวนมาก • ต่อกับเครื่อง PC ผ่านทาง USB Port พร้อมโปรแกรมบน PC ที่ใช้งานได้ง่ายและ สะดวก • อุปกรณ์ครบชุด พร้อม Adapter จ่ายไฟ และมีสาย 3 Pin ใช้งานแบบพ่วงหลายๆ บอร์ดได้ด้วย

บริษัท ศิลารีเสิร์ช จำ�กัด

www.silaresearch.com

คือบอร์ดขยายการท�ำงานของตัว Infrared Remote Control ทั่วไป เช่น รีโมททีวี รีโมทเครื่องเสียง รีโมทเครื่อง ฉายภาพ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน ... ดังนี้ 1. เพิ่มระยะทางของตัวรีโมทได้ทันที (ยิงสัญญานไปที่ตัวรับบน MKIT-7 และ MKIT-7 จะส่งสัญญาณออกทางตัวส่งทันที) 2. เพิ่มระยะทางของตัวรีโมทผ่านสาย RS485 (ต้องใช้ MKIT-7 จ�ำนวน 2 บอร์ด ตัวหนึ่งเป็นตัวรับ อีกตัวหนึ่งเป็นตัวส่ง) 3. เพิ่มระยะทางของตัวรีโมทแบบไร้สาย (เหมือนข้อ 2 และต้องเพิ่มโมดูล RFN96 ส่งผ่านคลื่นวิทยุ กับทั้ง 2 บอร์ดด้วย) 4. ท�ำเป็นตัวรีโมทส�ำรอง โดยโปรแกรมแต่ละคีย์ให้เหมือนรีโมทต้นฉบับได้ (ต้องเพิ่ม ชิพ EEprom และแผงคีย์ DK-16,32) 5. จากข้อ 4 นอกจากใช้เป็นตัวรีโมทแทนตัวต้นฉบับแล้ว ยังต่อพ่วง MKIT-7 ให้ ควบคุมหลาย ๆ จุดได้ด้วย ผ่านสาย RS485 6. จากข้อ 5 ไม่เพียงแต่ส่งสัญญาณด้วยปุ่มกด อาจสั่งงานกดจากเครื่อง PC ได้ด้วย ผ่านทาง RS485 เช่นกัน • ใช้ไฟเลี้ยงจากหม้อแปลง 9 VAC หรือจากตัว Adapter 9 VDC • มี LED แสดงสัญญาณ IR และไฟเลี้ยง ตั้งโหมดการท�ำงานด้วย Dip-Switch 4 ตัว • ขั้ว 16 Pin (4x8K) ส�ำหรับต่อกับแผงคีย์ DK-16 หรือ DK-32 • ขนาดบอร์ด 71 x 80 mm SLAB-TEST ราคา 250.ชุดทดสอบ I/O ส�ำหรับบอร์ดไมโครของศิลา

• การโปรแกรมสามารถก�ำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของชิพได้อย่างครบถ้วน

• มี Flash Memory 8K ... เป็น 6K (AP) และ 1K (IAP) และ 1K (ISP)

• มี I/O อิสะแบบ 5 Pin (3B Port) จ�ำนวน 2 ชุด และแบบ 3 Pin (I/O Port) จ�ำนวน 3 ชุด

MKIT-7 ราคา 490.บอร์ด IR Remote Extender

• ใช้กับชิพรุ่น Dip เท่านั้น โดยต้องน�ำชิพมา เสียบลงบน Socket แบบมีคันโยก บนเครื่อง โปรแกรม

• MCU เบอร์ MG87FE6051 ของ Megawin (ขาเหมือน Atmel 89S4051)

• มี Ram 256 Byte และโปรแกรมผ่านขั้ว ISP (3 Pin) ด้วยตัวโหลด PRO-MISP

• ชุดค�ำสัง่ แบบ Ascii Command แสดงตัวเลขหรือก�ำหนดระดับ Segment ได้ ปรับความสว่างได้ • หรือจะสัง่ งานผ่าน 3B Port (Dat,Clk,Str) ก็ได้ โดยมีรปู แบบเหมือนชิพ 595 (ต้องเพิม่ Delay) • ตัง้ คุณสมบัตดิ ว้ ย Dip-Switch 8 ตัว (RS485 / 3B , ความสว่าง 0-7 , Digit 0-15) • ใช้ไฟเลีย้ ง 12 VDC/AC กินกระแสสูงสุด 130 mA (ต่อหลัก) KYL200U ราคา 1,250.ตัวแปลงสัญญาณ RS232 เป็นคลื่น RF

• ใช้บอกคาบเวลาในโรงเรียน หรือโรงงาน โดยใช้ ไฟล์เสียงแบบ MP3 ที่บรรจุใน SD-Card • มี Line-Out ต่อเครื่องขยายเสียง และปลั๊กไฟ รองรับการเปิดปิดเครื่องขยาย (220VAC 3A)

• AP=Application Program IAP=In-Application Programming ISP=InSystem Programming

• มีบอร์ดควบคุมในตัวท�ำงานด้วย MCU เบอร์ 82E54AS2 • ปรับความสว่างได้ 8 ระดับ รองรับการใช้งานทัง้ In-Door และ Out-Door • ต่อพ่วงกันทาง RS485 ได้สงู ถึง 15 หลัก สัง่ งานด้วยค�ำสัง่ ชุดเดียว (Speed 19200)

TNSWII3 ราคา 1,150.ตัวแปลงสัญญาณ RS232 เป็น Wireless Lan

TMX-1000 ราคา 4,950.นาฬิกาบอกเวลาด้วยเสียง

• ตั้งหรือกดปุ่มให้บอกเวลาเป็นเสียงพูด เช่น ขณะนี้เวลาเก้านาฬิกายี่สิบสองนาที • แสดงเวลา HH:MM:SS ด้วยตัวเลขสีแดงสูง 1 นิ้ว มองเห็นได้ชัดเจน • แสดงวันเดือนปี DD/MM/YY ด้วยตัวเลขสีแดงสูง 0.56 นิ้ว • แสดงอุณหภูมิ XX.Xc เป็นองศาเซลเซียส ด้วยตัวเลขสีแดงสูง 0.56 นิ้ว • ระบบนาฬิกาเที่ยงตรงสูง ผิดพลาดไม่เกิน 2 นาที/ปี สามารถตั้งเวลามาตรฐาน จาก PC หรือ GPS ได้ • ตั้งโปรแกรมควบคุมเสียงได้ 2 ชุด ชุดละ 50 โปรแกรมแบบรอบสัปดาห์ (เลือกท�ำ ชุดใดชุดหนึ่ง) • มีปุ่มกดบนหน้าปัด 2 ปุ่ม และการตั้งโปรแกรมต่าง ๆ กระท�ำผ่านตัว Remote แบบ 18 Keys • มี LED บนบนหน้าปัด 2 ตัว แสดงสถานะการบอกเวลา และสถานะ Alarm Disable/Enable • มีพอร์ทอนุกรม RS232 หรือ RS485 ต่อสั่งงานผ่านเครื่อง PC หรือต่อเพื่อ Link เวลามาตรฐาน • ใช้ไฟบ้าน 220 VAC ขนาดตัวเครื่อง 233 x 165 x 61 mm

TZ-9 ราคา 1,250.แผงตัวเลข 7-Segment LED สีแดงความสูง 9 นิ้ว

1108/27 ถ.สุขุมวิท แขวง​พระโขนง เขต​คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร. 02-712-2850 โทรสาร.02-381-1447 เวลาท�ำการ : จันทร์-ศุกร์ 9.00-17.00 น. เสาร์ 9.00-12.00 น. ตัวแทน​จ�ำหน่าย : บจก. อี​เลคท​รอ​นิคส์ ซอร์ซ (บ้าน​หม้อ) โทร. 02-623-9460-6

ประกอบด้วย แผ่น PCB ทั้งหมด 9 ชิ้นพร้อมสาย 2 เส้น • ใช้ทดลองกับขั้ว 1B-I/O Port (3 Pin) , 3B-Port (5 Pin) , 8B-Port (16 Pin) • ใช้เป็น Output LED หรือ Input Switch และต่อกับ VR เพื่อทดลอง A/D Port ได้ด้วย ชุดเดียวครบถ้วน ราคาประหยัด สะดวกในการพัฒนางาน ควรมีไว้ประจ�ำโต๊ะ ทดลอง

ติดตามข้อมูลและสือ่ สารกับเราได้ทางช่องทางใหม่ ... เพียงแค่กด Like

www.facebook.com/silaresearch


B a n d u n g , I n d o n e s i a C o mi n gs o o nt h i sA u g u s t 2 0 1 6


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.