MAKERS06

Page 1

Vol.06 เมษายน 2559 วารสารเพื่อการประดิษฐ์โครงงานและสิ่งของสร้างสรรค์

Arduino Day

Genuino Day รู้จักกับบอร์ด

Genuino 101

2016

ลอง-เล่น-ใช้

chipKIT Cmod Roulette-10 ไฟวิ่งเสี่ยงทาย

Smartphone Holder for Car Creative NameCard

FREE

COPY

ถุงผ้า

ลายการ์ตูน จาก Felt

ประวัติศาสตร์ที่คุณ (อาจ)

ยังไม่รู้เกี่ยวกับ Arduino วารสารแจกฟรี มูลค่า 39 บาท

www.makersmagazine.in.th /makersmagzine


RN1723 Wireless LAN Module

The RN1723 is a small form factor, ultra-low power embedded TCP/IP/ UDP Wi-Fi module measuring only 27 x 18 x 3.1 mm. The RN1723 is a full-featured 802.11 b/g surface mount module that is footprint compatible with the RN171 Wi-Fi module. With an impressive 4mA Sleep mode, and a new power-saving DOZE mode, the RN1723 is extremely power efficient, making it ideal for a vast range of applications that require many years of battery life. Additionally, the RN1723 offers advanced SSL/ TLS security that runs on an external PIC32 MCU enabling highly secure client/server communication. The RN1723 is configured via simple ASCII commands for ease of development and quick time to market.

Features

• Ultra-low power for years of battery life • Firmware configurable transmit power: 0dBm to +12dBm • Hardware interfaces: UART and SPI Slave • Supports SoftAP and Infrastructure networking modes • RF pad for external antenna • User programmable GPIO & ADCs • Real-time clock for time-stamping, auto-sleep, and autowakeup modes • Run directly from batteries or regulated power supplies • ASCII interface for ease of development • Over the air firmware upgrade • WPS Mode for secure wireless setup • Secure Wi-Fi authentication schemes (WEP/WPA/WPA2) • Advanced SSL/TLS security running on external PIC® MCU • Full on-board TCP/IP/UDP stack (no external drivers required) • Efficient active and standby modes: • 4µ Sleep mode • 15mA DOZE (Standby) mode • 40mA Receive • 120mA Transmit


MAKERS

1


䀎⌎㔎∎ᤎ⌎㤎௷ ⨎ᤎ

㠎Ď䐎ᬎĎㄎᨎ 眀漀 ᜎ㔎䠎  倀䤀一一

䌀刀䄀吀䤀嘀䔀

爀欀猀栀漀瀀 ⌎

匀倀䄀䌀䔀

『∎『⨎ㄎ䤎ᤎ

웠 椀渀昀漀䀀瀀椀渀渀挀爀攀愀琀椀瘀攀⸀挀漀洀 2

MAKERS


Maker Note

Arduino day - Genuino day 29 มีนาคม 2014 เป็นวันที่เกิดขึ้นของกิจกรรมที่เรียกว่า Arduino day 2014 นับเป็นการจัดงานครั้งแรกในรอบ 10 ปีนับตั้งแต่การก่อเกิดของ ฮารดแวรระบบเปิดที่ดังที่สุดในโลก Arduino ได้เข้ามาบันทึกประวัติศาสตร หน้าส�าคัญ และท�าให้การเรียนรู้ไมโครคอนโทรลเลอร ระบบสมองกลฝังตัว รวมไปถึงศาสตรที่ใกล้เคียงกัน อาทิ Physical Computing หรือ Interactive Art หรือ Electronic Art ของโลกใบนี้ เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล บางคน ถึงกับน�าการก่อเกิดของ Arduino ไปเทียบกับกรณีเปิดเผยข้อมูลในการ สร้างคอมพิวเตอรส่วนบุคคลของ IBM ในปี ค.ศ. 1981 จนท�าให้เกิดการ ผลิตคอมพิวเตอร IBM PC compatible ซึ่งท�าให้ผู้คนทั้งโลกสามารถเข้าถึง คอมพิวเตอรได้ ไม่มีใครเคยเชื่อว่า ฮารดแวรระบบเปิดจะสร้างธุรกิจ หรือสร้างมูลค่า การตลาดได้ อย่าว่าแต่ตัวเลขในระดับพันล้านบาทเลย แค่หลักหน่วยของ แสนบาท อาจไม่ได้ด้วยซ�้า ทว่า Arduino ท�าเอาปากกาเซียนหักสะบั้นไปทั่ว โลก Arduino ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในรูปแบบ วิธีการ ราคาขาย การ ต่อยอด เพราะมันท�าให้ผู้ผลิตฮารดแวรของระบบสมองกลฝังตัวต่างล้วน ต้องเปิดประตูโดยลงสู้เวทีแข่งขัน เพียงเพราะไม่ต้องการให้ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นับตั้งแต่ Arduino เกิด และเติบโต จนมีความแข็งแกร่งจากพลังของ community ท�าให้วันนี้ทุกคนที่สนใจในเรื่องสมองกลฝังตัว หุ่นยนตอัตโนมัติ จะต้องรู้จักและผ่านการใช้งาน Arduino มาแล้วทั้งสิ้น มีรายงานวิจัยเชิง วิชาการจ�านวนไม่น้อยที่ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า Arduino ช่วย ให้การเรียนรู้ ใช้งาน จนน�าไปสู่การพัฒนาโครงงานเกิดขึ้นได้ค่อนข้างเร็ว และมีความยั่งยืนพอสมควร การเกิดขึ้นของ Arduino day ในปี 2015 ก็เต็มไปด้วยสีสันและความ ท้าทาย ก่อนน�าไปสู่ความขัดแย้งของกลุ่มผู้ก่อตั้ง จนถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล จนในที่สุด ก็มีการตัดสินถึง “สิ ทธิ์ ในการเรี ยกชื ่อสิ นค้า Arduino” ค�าว่า Arduino ทางกลุ่ม Arduino LLC (www.arduino.cc) จะใช้เรียกได้เฉพาะ ในสหรัฐอเมริกาเท่านัน้ หากออกสินค้า Arduino เพือ่ เผยแพร่นอกสหรัฐอเมริกา จะต้องใช้ชื่ออื่น ห้ามใช้ Arduino และท้ายที่สุดเลือกชื่อว่า Genuino

ไม่เพียงเท่านั้น ในเชิงการตลาดนับเป็นเรื่องยุ่งยากไม่น้อยในการ โปรโมทสินค้า Arduino เพราะต้องมีความชัดเจนว่า มาจากที่ไหน ปัญหา การกระจายสินค้าข้ามโซน รวมถึง ข้อถกเถียงว่า Genuino เป็นฮารดแวร OEM ของ Arduino หรือไม่ เรื่องนี้คงต้องใช้เวาลอีกนานพอสมครวกว่า เคีลยรและท�าความเข้าใจกับคนทั้งโลก งาน Arduino day จัดโดยกลุ่ม Arduino LLC จึงท�าให้การเรียก ชื่องานนี้ในส่วนอื่นๆ ของโลกต้องเปลี่ยนเป็น Genuino day และในปีน้ี ค.ศ. 2016 มีก�าหนดจัดขึ้นพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 2 เมษายน มีประเทศ เข้าร่วมจัดกิจกรรมมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก รวมแล้วมากกว่า 350 งาน แน่นอนประเทศไทยก็ไม่ยอมพลาด และนับเป็นครั้งแรกที่มีการปักหมุด ประกาศให้โลกรู้ว่า ประเทศไทยมีการจัดงาน Genuino day ด้วย โดยจัด งานที่ PINN Creative Space พระราม 9 กรุงเทพมหานคร กิจกรรมงาน Arduino/Genuino day เป็นงานที่มีระยะเวลาสูงสุด 24 ชั่วโมง ในบางประเทศมีการจัดงานข้ามวันข้ามคืน (แต่รวมเวลาแล้ว ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง) งานนี้เปิดต้อนรับผู้สนใจทุกคน ไม่ว่าจะเคยใช้ หรือไม่เคยใช้ รัก หลง คลั่งไคล้ใน Arduino หรือไม่ก็ได้ บางพื้นที่มีการ เก็บเงินทั้งในการชมงานและผู้ที่มาแสดงผลงาน แต่ส�าหรับประเทศไทย ฟรีทุกอย่าง ....จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่จะข้าร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของงาน สร้างสรรคในระดับโลกทางด้านเทคโนโลยี ที่เราๆ ท่านๆ อาจสามารถน�า มาต่อยอด สร้างชิ้นงาน สร้างธุรกิจก็เป็นได้ วารสาร MAKERS ขอส่ ง ความปรารถนาดี แ ละค� าขอบคุ ณ ไปยั ง ทุกคนที่เกี่ยวข้องและมีส่วนในการก่อเกิด Arduino ขอแสดงความยินดี และชื่นชมในความพยายามสร้างสรรคงานฮารดแวรระบบเปิด มีผู้คน จ�านวนนับล้านทั่วโลกที่ได้มีโอกาสและมีประสบการณในการเข้าถึงการ เรียน - เล่น - รู้ - ใช้งาน ฮารดแวรไมโครคอนโทรลเลอร รวมถึงเยาวชนคน รุ่นใหม่ในประเทศไทย

โดยส่วนตัว ผมขอภาวนาให้ความขัดแย้ง ข้อพิ พาทของ Arduino LLC และ Arduino S.R.L จบลงอย่างสร้างสรรค์ในท้ายทีส่ ดุ จนอาจน�ามา ผู้ที่ได้สิทธิ์ในการใช้ชื่อ Arduino นอกสหรัฐอเมริกาคือ Arduino S.R.L ซึ่งการใช้ชือ่ ฮาร์ ดแวร์ เป็ นหนึ่งเดียวเหมื อนทีเ่ คยเป็ นมาตัง้ แต่แรก........ (www.arduino.org) นับเป็ นเรื่องแปลกแต่ จริงที่เกิดขึน้ นับเป็ นครัง้ แรกๆ ที่เรื่ องราวของฮาร์ ดแวร์ ในสาขานี ้ มีคนติดตาม และต้ องไปจบลงที่ โอม.....เพีย้ ง !!!!! ศาล ซึ่งโดยส่ วนตัวแล้ ว เป็ นเรื่ องที่น่าเสียดาย ชัยวัฒน ลิ้มพรจิตรวิไล

www.makersmagazine.in.th

www.facebook.com/makersmagzine

บรรณาธิการบริหาร ชัยวัฒน ลิ้มพรจิตรวิไล

108 ซอยสุขุมวิท101/2 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 โทรศัพท 0-2747-7001-4 โทรสาร 0-2747-7005 URL : www.makersmagazine.in.th

กองบรรณาธิการ

การตลาด/โฆษณา

ฝ่ายสมาชิก

กฤษดา ใจเย็น ณัฏฐพล วงศ์สุนทรชัย วรพจน์ กรแก้ววัฒนกุล นที เกษมโชติพันธุ์ ธีรวุธ จิตพรหมมา

จงจิตร ลิ้มพรจิตรวิไล กานต์วรางค์ นิพิทธชยังกูร

จงจิตร ลิ้มพรจิตรวิไล

ศิลปกรรม

พิมพ์ที่

ธนชัย ประทุมเศษ

วีเจ พริ้นติ้ง MAKERS

3


contents Maker-Knowledge

ฉบับ​ที่ 6 เดือนเมษายน พ.ศ. 2559

14 18

รู้จักกับบอร์ด

Genuino 101

14 18

ลอง-เล่น-ใช้

ChipKIT Cmod

23 ถุงผ้าลายการ์ตูนจาก Felt

Maker-Project

26 28 29 3

Roulette-10 ไฟวิ่งเสี่ยงทาย

Smartphone Holder for Car

อุปกรณ์ยึดสมาร์ตโฟนในรถ

Creative NameCard ใส่ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่ม คุณค่าให้นามบัตรของคุณ Makers Note

www.makersmagazine.in.th www.facebook.com/makersmagzine 4

MAKERS

23

Maker-NEWS

29 5

ประวัติศาสตร์ที่คุณ (อาจ) ยังไม่รู้เกี่ยวกับ Arduino


Embedded System

Maker NEWS

Hernando Barrag’an เรียบเรียงโดย โกวิท โซวสุวรรณ

ประวัติศาสตร์ที่คุณ (อาจ) ยังไม่รู้เกี่ยวกับ Arduino

หมายเหตุจากกองบรรณาธิการ บทความนี้เรียงเรียงขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ผู้เรียบเรียงท�ำการถ่ายทอดข้อมูลโดยปราศจากการเพิ่มเติมข้อคิดความเห็น ทั้งสิ้น หากผู้อ่านท่านใดได้เคยอ่านต้นฉบับแล้วพบว่า การเรียบเรียงมีความคลาดเคลื่อนหรือบกพร่อง ขอได้โปรดแจ้งกอง บก. MAKERS เพื่อจะได้ท�ำการแก้ไขต่อไป

ถอดบทความแบบที่ ม าจากใจ ของหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทต่อ การก�ำเนิดเกิดก่อของ Arduino โครงการฮาร์ ด แวร์ ร ะบบเปิ ด อั น โด่ ง ดั ง ของโลก นี่ คื อ เรื่ อ ง ราวในอี ก ด้ า นหนึ่ ง ที่ เ ชื่ อ เหลื อ เกินว่า หลายคนไม่เคยรู้ สวัสดีครับ ผมชื่อ Hernando Barrag’an หลายปี ที่ ผ ่ า นมาจวบจนถึ ง การมี ป ั ญ หากั น ระหว่าง Arduino LLC และ Arduino S.R.L ผม ได้ รั บ ค� ำ ถามจ� ำ นวนมากจากผู ้ ค นที่ ต ้ อ งการรู ้ ถึงประวัติการก�ำเนิดของ Wiring และ Arduino นอกจากนี้ ผมยังได้แสดงสิ่งนี้บนเว็ปไซต์ของศาล รัฐบาลกลางสหรั ฐ เพื่ อจะได้น�ำเสนอเอกสารที่ อ้างถึงงานที่ผมท�ำ ซึ่งจะสนับสนุนการเรียกร้อง ของโจทก์ ประเด็นของผมก็คือ การมีส่วนร่วมใน งานของผมได้ถูกท�ำให้ผิดเพี้ยนไป บนข้อมูลที่เป็น ผลงานของผม

ส�ำหรับประวัติของ Arduino แล้วมันได้ถูกพูดถึงโดยใครหลายๆ คน และบาง ครั้งเรื่องราวก็ไม่ตรงกัน ผมจึงอยากจะชี้แจงข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับประวัติของ Arduino ด้วยการอ้างอิงข้อมูลและเอกสารเพื่อสื่อสารให้กับผู้ที่มีความสนใจเกี่ยว กับการเกิดขึ้นของ Arduino รวมทั้งการที่ผมจะพยายามแก้ไขบางอย่างที่ได้ท�ำลาย บทบาทการท�ำงานของผม โดยชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาด การเข้าใจผิด และความไร้ จรรยาบรรณของสื่อสารมวลชน ในบทความนี้ผมจะเล่าถึงบทสรุปก่อนจากนั้นผมจะ ตอบชุดค�ำถามที่ผมได้ถูกถามในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา

ท�ำไมคุณถึงสร้าง Wiring ขึ้นมา ผมเริ่มสร้าง Wiring ขึ้นมาในปี 2003 โดยเป็นโปรเจ็กต์ปริญญาโทที่ Interaction Design institute Ivrea (ต่อไปจะเรียกย่อๆ ว่า IDII) ณ ประเทศอิตาลี วัตถุประสงค์ของงานปริญญาโทชิ้นนี้คือ การท�ำให้นักออกแบบ และศิลปิน สามารถท�ำงานกับอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายมากขึ้น แนวคิดคือความซับซ้อนของงาน อิเล็กทรอนิกส์จะถูกลดทอนลงไปเพื่อให้นักออกแบบและศิลปินสามารถมุ่งไปที่เป้า หมายของงานที่ตัวเองต้องการ ส�ำหรับวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ http:// people.interactionivrea.org/ h.barragan/thesis/thesis_low_res.pdf โดยมี Massimo Banzi และ Casey Reas (ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นคนริเริ่มท�ำ Processing – เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งโอเพ่นซอร์สชนิดหนึ่งส�ำหรับงานอิเล็กทรอนิกส์ อาร์ตหรือนิวมิเดีย) เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผม โปรเจ็กต์หรืองานวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ของผมได้รับความสนใจมากมายที่ IDII และ มันยังได้ถูกน�ำไปใช้ในโครงงานอื่นๆ มากมายนับตั้งแต่ปี 2004 จนมาถึงการปิดภาค เรียนในปี 2005 MAKERS

5


Maker NEWS

และเป็นเพราะโครงงานชิ้นนี้ของผมนี่เอง ที่ท�ำให้ผม มีความภาคภูมิใจเมื่อจบการศึกษาด้วยผลการเรียนที่ยอด เยี่ ย มในปี 2004 หลั ง จากนั้ น ผมยั ง คงพั ฒ นาโปรแกรม Wiring ต่ อ ไปในขณะท� ำ งานอยู ่ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย De Los Andes ประเทศโคลัมเบีย ซึ่งเป็นที่ที่ผมเริ่มท�ำงานเป็นผู้สอน ด้าน Interaction Design มาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วอะไรคือ Wiring ที่ผมเอ่ยถึง และท�ำไมมันถึงได้ถูกสร้างขึ้นจากส่วนหนึ่งของ บทน�ำในวิทยานิพนธ์ของผม โปรดระลึกไว้เสมอว่าทั้งหมดนี้ มันอยู่ในปี 2003 และอยู่ที่สถานที่ที่เป็นจริงเป็นจัง คุณอาจ จะเคยได้ยินพวกเขาก่อนที่จะประกาศอย่างเป็นทางการ “… ปัจจุบันนี้ เครื่องส�ำหรับการสร้างต้นแบบในงาน อิเล็กทรอนิกส์ และการเขียนโปรแกรม เกือบทั้งหมดพุ่งเป้า หมายไปที่งานด้านวิศวกรรม หุ่นยนต์ และกลุ่มคนในงาน ด้านเทคนิค มันยากที่จะเรียนรู้ และภาษาส�ำหรับการเขียน โปรแกรมก็ยังห่างไกลจากความยืดหยุ่นที่จะน�ำไปปรับใช้กับ เทคโนโลยีในสาขาอื่นๆ…” ‘’… มันยังสามารถน�ำไปใช้สอนและเรียนรู้การเขียน โปรแกรมคอมพิ ว เตอร์ แ ละการสร้ า งต้ น แบบในงานด้ า น อิเล็กทรอนิกส์…”

‘’… Wiring สร้างบน Processing …”

ผลลัพธ์ ท่ สี ำ� คัญของ Wiring 1. มี IDE ที่เรียบง่าย ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของ Processing.org โดย IDE นี้สามารถท�ำงานได้บน วินโดวส์ แมค และลินุกซ์ เพื่อสร้างโปรแก รมซอฟแวร์หรือที่เรียกว่า sketches ด้วยอีดิเตอร์ที่ง่ายๆ

แล้ว Wiring ถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ค� ำ ตอบคื อ ตามเอกสารทั้ ง หมดในวิ ท ยานิ พ นธ์ ข องผม และมั น ก็ เ ป็ น ไปได้ที่ใครก็จะมาอ่านและเข้าใจกระบวนการออกแบบผมตามที่ได้อธิบาย ไว้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยและข้อมูลอ้างอิงจ�ำนวนมากที่ถูกน�ำมาอ้างเป็นงาน ที่ผ่านมา(prior work) ส�ำหรับงานวิทยานิพนธ์ของผม เพื่อให้เห็นภาพรวมอย่าง รวดเร็ว มีประเด็นส�ำคัญที่อยากน�ำเสนอดังนี้

1. เรื่องของภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม

คุณเคยสงสัยไหมว่าชุดค�ำสั่งเหล่านี้มาจากไหน ?

สิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่หนึ่งที่โดดเด่นที่สุดที่มีการรับรู้และใช้งานอย่างแพร่ หลายในทุกวันนี้ ที่ถูกใช้โดยผู้ใช้งาน Arduino ในโปรแกรมSketches ของ พวกเขา คือชุดค�ำสั่งที่ผมได้สร้างขึ้นเช่นเดียวกับภาษาที่ใช้ใน Wiring ตัวอย่าง เช่นpinMode(), digitalRead(), digitalWrite(), analogRead(), analogWrite(), delay() หรือ millis() การระบุขาของไมโครคอนโทรเลอร์จะใช้เป็นตัวเลขเป็นการตัดสินใจที่ดี ที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะไวยากรณ์ทางภาษาส�ำหรับเขียนโปรแกรมได้ถูก ก�ำหนดไว้ก่อนที่จะมีทดลองในแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ใดๆ ส่วนการตั้งชื่อค�ำสั่ง ที่ใช้ในภาษาส�ำหรับการเขียนโปรแกรมและไวยากรณ์ทั้งหมดเป็นผลมาจาก กระบวนการออกแบบที่ละเอียดรอบคอบที่ผมได้ท�ำไว้ ซึ่งรวมถึงการทดสอบ ของผู้ใช้งานกับนักเรียน โดยมีการสังเกต วิเคราะห์ การปรับแต่ง และทบทวน ในขณะที่ ผ มพั ฒ นาต้ น แบบฮาร์ ด แวร์ การพั ฒ นาภาษาก็ เ ป็ น ไปโดย ธรรมชาติ มันยังไม่นิ่งจนกระทั่งผมท�ำต้นแบบสุดท้ายเสร็จ สุดท้ายผมก็ได้ ภาษาที่แข็งแกร่งและได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามหากคุณยังคงอยากรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการออกแบบ ทั้งหมด นั้นมันมีอยู่ในเอกสารวิทยานิพนธ์ รวมถึงขั้นตอนก่อนหน้านั้นของการตั้งชื่อ ชุดค�ำสั่งและการสร้างไวยากรณ์ทางภาษาซึ่งได้อธิบายไว้ในตอนท้ายของ วิทยานิพนธ์

2. เป็นภาษาที่ง่าย ส�ำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์

2. ฮาร์ดแวร์

3. เป็นเครื่องในการพัฒนาโปรแกรมที่สมบูรณ์ ไม่มีปกปิด

4. โปรแกรม Bootloader นั้นง่ายที่จะอัปโหลด

จากมุมของนักออกแบบเชิงศิลปะ ส่วนนี้อาจเป็นส่วนที่ยากที่สุดจากจุดที่ เป็นอยู่ ผมได้สอบถามไปยังผู้ผลิตเพื่อขอบอร์ดมาทดลอง หรือไม่ก็ซื้อเอง จาก ผู้ผลิตไมโครคอนโทรลเลอร์หลากหลายยี่ห้อ และนี่คือช่วงเวลาที่ส�ำคัญบางช่วง ในการออกแบบฮาร์ดแวร์ส�ำหรับรองรับการเขียนโปรแกรมด้วยWiring

5. สามารถรับส่งข้อมูลแบบอนุกรมไปยังไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ เพื่อการตรวจสอบและพัฒนาโปรแกรม

6. ซอฟต์แวร์เป็นโอเพ่นซอร์ส

7. ฮาร์ดแวร์เป็นโอเพ่นซอร์สซึ่งถูกออกแบบนไมโครคอนโทรลเลอร์ จากบริษัท Atmel 8. ชุดค�ำสั่ง ไลบรารี ตัวอย่างโปรแกรม บทเรียน ฟอรัม และ ตัวอย่างโครงงานที่สร้างด้วย Wiring สามารถเข้าถึงได้แบบออนไลน์ และทั่วถึง

6

MAKERS

2.1 ต้นแบบตัวที่ 1 ต้นแบบตัวแรกส�ำหรับ wiring นั้นใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ชื่อว่า Javelin Stamp จาก Parallax มันเป็นทางเลือกที่เป็นธรรมชาติเพราะมันเป็นโปรแกรม ในกลุ่มย่อยของภาษา Java ตรงจุดนี้การพัฒนาโปรแกรมได้เริ่มบนโปรแกรม Processing แล้ว (อย่าลืมว่า Processing เป็นชื่อของIDE โอเพ่นซอร์สแบบ หนึ่ง) แต่ปัญหาก็คือ ตามที่ได้อธิบายไว้ในเอกสารวิทยานิพนธ์หน้า 40 การคอม ไพล์ การลิงค์ และการอัปโหลดโค้ด ต้องท�ำผ่านเครื่องมือของ Parallax ซึ่งมี ลิขสิทธิ์ ในขณะที่ Wiring นั้นมีความตั้งใจให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ ด้วยเหตุ นี้จึงท�ำให้ Javelin Stamp จึงไม่ได้ถูกเลือกมาใช้งาน


ต้นแบบตัวที่ 3 ต้นแบบตัวต่อมาเป็นการลดขนาดของไมโครคอนโทรลเลอร์ลง มาอีกระดับหนึ่งแต่ยังคงมีประสิทธิภาพดี นอกจากนี้ยังสามารถแก้ไข ดัดแปลงได้บ้างเล็กน้อย โดยไม่จ�ำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ผมได้เลือก ไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์ ATmega128 โดยซื้อบอร์ดเรียนรู้ STK500 มา ใช้พร้อมกับซ็อกเก็ตพิเศษส�ำหรับ ATmega128 อีกด้วย

รูปที่ 1 Javelin Stamp ถูกใช้เป็นต้นแบบฮาร์ดแวร์แรกส�ำหรับโปรเจกต์ Wiring ส่วนตัวต้นแบบถัดมา ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่จะน�ำมาใช้กับโปร เจกต์นี้จึงถูกเลือกอยู่บนพื้นฐานที่ต้องสามารถเปิดเผยเครื่องมือที่ใช้ ส�ำหรับการคอมไพล์ การลิงค์ไฟล์ต่างๆ รวมถึงการโหลดโค้ดของผู้ใช้เข้า สู่ตัวชิป ด้วยเหตุนี้เองจึงท�ำให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ยอดนิยมตระกูล PIC จากบริษัทไมโครชิปถูกตัดออกไปจากการพิจารณาเนื่องจากในตอนนั้น (2003) เครื่องมือในการพัฒนาของไมโครชิปไม่ได้เป็นแบบโอเพ่นซอร์ส

ต้นแบบตัวที่2 ส�ำหรับต้นแบบฮาร์ดแวร์ตัวที่ 2 ของโครงการ Wiring ไมโครคอน โทรลเลอร์ ที่ถูกเลื อกก็ คื อ AT91R40008 เป็ น คอนโทรลเลอร์ ตระกู ล ARM จาก Atmel ผลลั พ ธ์ ที่ ไ ด้ นั้ น ดี ม าก ในตอนนี้ โ ปรแกรมSketch ส�ำหรับการเขียนโปรแกรมก็ได้ถูกพัฒนาขึ้น รวมถึงชุดค�ำสั่งเพื่อใช้ในการ ทดสอบ ตัวอย่างเช่น pinWrite() ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น digitalWrite() AT91R40008 ของ Atmel ตัวนี้ถูกใช้เป็นตัวทดสอบชุดค�ำสั่งการ ควบคุมดิจิตอลอินพุต/เอาต์พุต และการควบคุมกาสื่อสารผ่านพอร์ต อนุกรมเพื่อประเมินความสามารถ ซึ่งที่ได้ตัว AT91R40008 นั้นเป็น ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีพลังการประมวลผลสูงมาก แต่ความยากก็คือ การจะน�ำตัวชิปไปใช้งานเพราะแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยส�ำหรับการจะ บัดกรีตัวชิปเข้ากับแผ่นวงจรโดยใช้การประกอบมือ หากต้องการข้อมูล เพิ่มเติมส�ำหรับต้นแบบตัวนี้ ให้ไปดูได้ที่หน้า 42 ของเอกสารวิทยานิพนธ์

รูปที่ 2 หน้าตาของบอร์ด AT91R40008 จาก Atmel ที่ถูกใช้เป็นต้นแบบ ฮาร์ดแวร์ตัวที่2 ของโครงการ Wiring

รูปที่ 3 หน้าตาของบอร์ด STK500 และส่วนต่อขยายส�ำหรับ ATmega128 เมื่อได้ทดสอบกับบอร์ด STK500 ก็ประสบความส�ำเร็จอย่างรวดเร็ว ดั ง นั้ น ผมจึ ง ซื้ อ บอร์ ด MAVRIC จากผู ้ ผ ลิ ต ที่ ชื่ อ ว่ า BDMICRO ซึ่ ง ใช้ ชิป ATmega128 บนบอร์ด โดยบอร์ดดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นโดยคนที่ชื่อ Brian Dean มาก่อนหน้านี้แล้ว งานของเขาก็คอื พัฒนาโปรแกรมทีช่ ว่ ยให้ การอัปโหลดโปรแกรมใหม่ไปยังบอร์ดของเขาสามารถท�ำได้งา่ ยมากขึน้ เรียก มันว่า “avrdude” ซึ่งแนวคิดนี้ยังคงถูกใช้อยู่ในซอฟต์แวร์ของ Arduino ปัจจุบัน เนื่องจากพอร์ตอนุกรมที่เป็นแบบ DB9 ของคอมพิวเตอร์นับวันจะ หายไปจากคอมพิวเตอร์ไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะโน้ตบุ๊กที่ปัจจุบันไม่มีแล้ว เหลือแต่พอร์ด USB เท่านั้น ผมจึงเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของ FTDI ส�ำหรับการ สื่อสารผ่านพอร์ต USB ท�ำหน้าที่เป็นพอร์ตอนุกรมเสมือน โดยผู้ผลิตดัง กล่าวได้ให้ไดรเวอร์ที่ท�ำให้อุปกรณ์ท�ำงานได้ทั้งระบบวินโดวส์ MAC OS และ Linux ซึ่งพอร์ตอนุกรมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ต้องการส�ำหรับการพัฒนา โปรแกรมโดยใช้ Wiring ในทุกๆ แพลตฟอร์ม

รูปที่ 4 ลักษณะบอร์ด MAVRIC จากผู้ผลิต BDMICRO ซึ่งถูกใช้เป็นบอร์ด ทดลองต้นแบบฮาร์ดแวร์ของ Wiring

MAKERS

7


ด้วยการใช้ต้นแบบรุ่นที่ 3 จึงได้ API ที่ได้รับการทดสอบและปรับ แต่ ง แล้ ว มี ก ารเพิ่ ม เติ ม ตั ว อย่ า งโปรแกรมให้ ม ากขึ้ น และผมได้ เ ขี ย น โปรแกรมตัวอย่างโปรแกรมแรกที่ท�ำให้ LED บนบอร์ดกะพริบ ซึ่งยังคงมีใช้ อยู่จนทุกวันนี้ บนโปรแกรม Sketch ของ arduino นอกจากนี้ยังมีตัวอย่าง ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้รองรับกับหน้าจอ LCD การสื่อสารผ่านพอร์ตอนุกรม การควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ และอื่นๆ อีกมาก แม้กระทั่งการเชื่อมต่อระหว่าง Wiring ด้วย Processing (เป็นIDE) ผ่านการสื่อสารของพอร์ตอนุกรมไปยัง ไมโครคอนโทรลเลอร์ ผู้สนใจสามารถพบได้ในเอกสารวิทยานิพนธ์ของผม หน้าที่ 50 รูปที่ 5 บอร์ด FT232BM จาก FTDI ที่ถูกใช้ในฮาร์ดแวร์ต้นแบบรุ่นที่ 3 ของ Wiring เพื่อสร้างพอร์ตอนุกรมเสมือนผ่านพอร์ต USB ในช่วงต้นปี 2004 บนพื้นฐานของบอร์ดต้นแบบรุ่นที่ 3 ที่ใช้บอร์ด MAVRIC ผมได้น�ำวงจรดังกล่าวเป็นตัวอ้างอิงเพื่อสร้างบอร์ดWiring บอร์ดแรกขึ้นมาซึ่งมีลักษณะดังนี้

• ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์ ATmega128

• ใช้ชป ิ FTDI232BM เพือ่ สร้างพอร์ตอนุกรมเสมือนผ่านพอร์ต USB

• มี LED หนึ่งดวงที่ต่ออยู่กับขาของไมโครคอนโทรลเลอร์

มาถึงเดือนมีนาคมปี2004 แผ่นวงจรพิมพ์จ�ำนวน 25 แผ่นของบอร์ด Wiring ล็อตแรกได้ถูกสั่งท�ำ โดยผลิตที่บริษัท SERP จ่ายเงินโดย IDII ผมเป็นคนบัดกรีเองกับมือทั้ง 25 บอร์ดและเริ่มด�ำเนินการทดลองใช้งาน โดยเพื่อนร่วมชั้นที่ IDII มันเป็นช่วงเวลา ที่น่าตื่นเต้นส�ำหรับผมมาก

• มี LED แสดงสถานะไฟเลี้ยงและ LED แสดงการรับส่งผ่านพอร์ต อนุกรม

ผมได้ใช้โปรแกรม Eagle PCB ส�ำหรับวาดวงจรและออกแบบแผ่น วงจร ได้ออกมาดังรูปที่ 6 และ 7

รูปที่ 6 วงจรบอร์ด Wiring รุ่นแรก

รูปที่ 8 ลักษณะของบอร์ด Wiring บอร์ดแรก และการทดลองใช้งาน

พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผมจบจาก IDII ในปี 2004 และกลับมาที่โคลัมเบีย เพื่อเริ่มการ สอนในฐานะครูผู้สอนวิชา Interaction Design ที่มหาวิทยาลัย de Los Andes ซึ่งผมยังคงพัฒนาโปรเจกต์ Wiring อย่างต่อเนื่อง และในปลายปี 2004 ที่ IDII ได้มีการประกอบบอร์ด Wiring อีก 100 บอร์ดเพื่อใช้ในการ เรียนการสอนวิชา physical computing ทั้งนี้ Bill Verplank (ผู้ร่วมก่อตั้ง คณะ IDII x) ได้บอกให้ Massimo Banzi ส่งบอร์ด Wiring ที่ผลิตขึ้น ส่ง มาให้ผมส�ำหรับใช้ในการเรียนการสอนที่ประเทศโคลัมเบีย ขณะเดียวกัน ยังมีคนในคณะ IDII ที่ประกอบด้วย Yaniv Steiner และ Paolo Sancis ได้เริ่มท�ำโครงการที่เรียกว่า Instant Soup Project โดยใช้บอร์ด Wiring อุปกรณ์พื้นฐานของโครงการดังกล่าว รูปที่ 7 ลักษณะแผ่นวงจรที่ออกแบบด้วยโปรแกรม Eagle PCB 8

MAKERS


ความส�ำเร็จครัง้ แรกด้วยโครงการ Strangely Familiar ในหน้าหนาวปี 2004 บอร์ด Wiring ได้ถูกใช้เป็นอุปกรณ์การสอน ในวิชา physical computing ที่ IDII ผ่านทางโปรเจกต์ที่เรียกชื่อว่า Strangely Familiar ซึ่งมีนักเรียนจ�ำนวน 22 คน และได้ผลลัพธ์เป็นโครง งานที่ส�ำเร็จจ�ำนวน 11 โครงงาน มีอาจารย์ 4 คนที่ท�ำโครงการนี้ ระยะ เวลา 4 สัปดาห์ ประกอบด้วย Massimo Banzi, Heather Martin, Yaniv Steiner และ Reto Wettach โครงการนี้ประสบความส�ำเร็จอย่างมากมายทั้งตัวนักเรียนและตัว อาจารย์ผู้สอน โครงการ Strangely Familiar ท�ำให้ได้เห็นถึงศักยภาพ ที่แท้จริงของ Wiring ที่จะเป็นแพลตฟอร์มส�ำหรับงานด้านการออกแบบ ปฎิสัมพันธ์ หรือ interaction design

วันที่ 16 ธันวาคม 2004 Bill Verplank ได้เขียนอีเมล์มาหาผม ดังนี้

“มันเป็ นโปรเจกต์ ที่ยอดเยี ่ยม ทุกคนมี อะไรบางอย่างที ่ต้องท�ำกัน อยู่ ตลอด มี โครงงานอยู่ 5 โครงงานที ่ใช้มอเตอร์ มาเป็ นส่วนประกอบ นอกจากนีย้ งั มี กลุ่มทีก่ า้ วหน้าทีส่ ดุ (ซึ่งมาจาก MIT 2คน เป็ นสถาปนิ กกับ นักคณิ ตศาสตร์ )ทีไ่ ด้รบั อนุญาติ ให้ใส่ขอ้ มูลส่วนตัวลงใน Processing ซึ่ งได้คิดโครงงานที ่ประกอบด้วยล้อและมอเตอร์ โดยการควบคุมด้วย Wiring” เป็นที่ชัดเจนว่าส่วนของหนึ่งของความส�ำเร็จของโครงการนี้ก็คือ การใช้บอร์ด Wiring นั่นเอง ผู้สนใจรายละเอียดของโครงการนี้เพิ่มเติม ดู ได้ที่นี่ http://wiring.org.co/exhibition/images/brief.pdf

กระจายออกสู่ทั่วโลก ในเดือนพฤษภาคม ปี 2005 ผมได้ติดต่อ Advanced Circuit ใน สหรัฐ เพื่อท�ำแผ่นวงจรพิมพ์ 200 บอร์ด ที่ไม่เกี่ยวกับ IDII และผมได้ ประกอบบอร์ดขึ้นในโคลัมเบีย ผมได้เริ่มขายและส่งออกบอร์ดWiring ไป ยังโรงเรียนและมหาวิทยาหลายแห่ง เมื่อสิ้นปี 2005 บอร์ด Wiring ก็ได้ ถูกน�ำไปใช้งานทั่วโลก

Arduino เริม่ ขึน ้ เมือ่ ไร และท�ำไมคุณถึงไม่ได้เป็นสมาชิก ผูก้ อ่ ตัง้ Arduino

เมื่อตอน IDII ได้ผลิตบอร์ด Wiring ชุดแรกนั้นมีต้นทุนประมาณ บอร์ดละ US$50 (จริงๆ แล้วไม่ทราบต้นทุนที่แท้จริง อย่างไรก็ตามผม ขายบอร์ด Wiring ที่โคลัมเบียในราคา US$60) นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่คิด จะเริ่มท�ำราคาของบอร์ดให้ต�่ำอยู่กว่าที่เป็นอยู่เพื่อให้คนส่วนใหญ่เป็น เจ้าของได้ ในปี 2005 Massimo Banzi ร่วมกับ David Mellis (ในขณะนั้นยัง เป็นนักศึกษาที่ IDII) และ David Cuartielles ได้น�ำไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega8 มาใช้ ซึ่งมีราคาถูกกว่าส�ำหรับสร้างบอร์ด Wiring พวกเขาได้ น�ำเอาซอร์สโค้ดของ Wiring ไปต่อยอด (หรือก๊อปปี้??) และเริ่มแยกเป็น อีกโครงการหนึ่งโดยเฉพาะ แล้วเรียกมันว่า Arduino อันที่จริงแล้วพวกเขาไม่จ�ำเป็นต้องสร้างเป็นโครงการแยกออกไป เพราะผมยังยินดีที่ช่วยพวกเขาพัฒนาด้วย ATmega8 หรือแม้กระทั่ง ไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์อื่นๆ ผมได้ตั้งใจจะท�ำเช่นนี้มาโดยตลอด Wiring และ Arduino ได้ร่วมกันพัฒนาในช่วงเริ่มต้นจนส�ำเร็จ โดย มี Nicholas Zambetti เข้าร่วมด้วย (ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ IDII โดยอยู่ห้อง เดียวกับ David Mellis) เป็นเวลาสั้นๆ ต่อมา Nicholas ได้ตัดสินใจเข้า ร่วมกับทีม Arduino ในช่วงเวลาเดียวกัน Gianluca Martino ก็ได้เข้าร่วมทีม Arduino ด้วย เพื่อช่วยในเรื่องการผลิตและพัฒนาฮาร์ดแวร์ การท�ำงานร่วมกันของ Gianluca และ David Cuartielles ได้พัฒนาฮาร์ดแวร์ที่มีราคาถูกกว่า เดิมโดยใช้ ATmega8 จึงเป็นผลให้ต้นทุนของบอร์ดพวกเขาลดลง Tom lgoe (อาจารย์คณะ ITP ที่ NYU) ได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมเวิร์ค ช็อปที่ IDII โดย Massino Banzi และต่อมาก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม Arduino จนถึงทุกวันนี้ ผมก็ไม่รู้จริงๆ ว่าท�ำไมทีม Arduino จึงได้น�ำเอางาน ของ Wiring มาต่อยอดและแยกออกไป ผมเองก็ “งง” ว่า ท�ำไมเราไม่ได้ ท�ำงานร่วมกัน และนี่ก็คือค�ำตอบของค�ำถามข้างต้น นอกจากนี้ ผมยังไม่ เคยได้รับการติดต่อให้เข้าร่วมทีม Arduino เลยสักครั้ง ถึงแม้ว่าผมจะสับสนกับการท�ำงานของทีมงาน Arduino ในการ เอางานของ Wiring ไปท�ำต่อ แต่ผมก็ยังพัฒนาWiring ต่อไปโดยโค้ด เกือบทั้งหมดที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ใช้กับ Wiring โดยผมและเพื่อน ร่วมอุดมการณ์ได้ถูกน�ำไปผนวกเข้ากับซอร์สโค้ดของ Arduino !!! ???

รูปที่ 9 กราฟฟิกชือ่ Wiring Reach by 2005 ออกแบบโดย Collin Reisdorf

รูปที่ 10 บอร์ดที่อาจเป็นต้นแบบของ Arduino ตัวแรก หรืออาจเรียกว่า Wiring แบบย่อก็ได้

รูปที่ 11 หน้าตาของบอร์ด Arduino Extreme V2 เป็นการผลิต Arduino ในเวอร์ชันที่ใช้ USB ซึ่งได้รับการออกแบบโดย Gianluca Martino MAKERS

9


ส�ำหรับผมแล้ว ผมพยายามที่จะไม่สนใจความจริงที่ว่าพวกเขานั้น ยังคงท�ำงานอยู่บนงานของผมและยังนึกสงสัยในความซ�้ำซ้อนกันและ การสูญเสียทรัพยากรในการท�ำซ�้ำอีกครั้ง (หมายถึงการพยายามน�ำเอา โค้ดของ Wiring ไปใช้กับ Arduino) ปลายปี 2005 ผมได้เริ่มท�ำงานร่วมกับ Casey Reas โดยมีส่วนร่วม อยู่บทหนึ่งในหนังสือชื่อ Processing: A Programming Handbook for Visual Artist and Designers เนื้อหาในบทดังกล่าวได้น�ำเสนอประวัติ อย่างย่อของอิเล็กทรอนิกส์ในงานศิลปะ ซึ่งรวมถึงตัวอย่างการเชื่อมต่อ Processing ด้วย Wiring และ Arduino และแน่นอนว่าผมได้น�ำเสนอ ตัวอย่างทั้งสองแพลตฟอร์ม โดยท�ำให้แน่ใจว่าตัวอย่างของผมจะท�ำงาน ได้อย่างสมบูรณ์ทั้งบน Wiring และ Arduino หนังสือเล่มนี้พิมพ์เป็นครั้ง ที่2แล้วในปี 2013 และเนื้อหาในบทดังกล่าวได้ถูกปรับปรุงอีกครั้งโดยผม และ Casey นอกจากนี้หนังสือยังมีขายออนไลน์ตั้งแต่ปี 2014

รูปที่ 12 Massimo Banzi ก�ำลังสอนวิชา interaction design ที่ IDII ด้วย บอร์ด Wiring ในปี 2004 เดือนมกราคม ปี 2005 ทางคณะ IDII ได้จ้างให้ David Cuartielles พัฒนาบอร์ดที่จะน�ำมาเสียบบนบอร์ดWiring จ�ำนวน 1 ถึง 2 บอร์ดคือ บอร์ดขับมอเตอร์และบอร์ดเชื่อมต่อบลูทูธ

รูปที่ 13 ลักษณะบอร์ดปลัก๊ อินสองบอร์ดทีพ่ ฒ ั นาขึน้ โดย David Cuartielles ด้านซ้ายเป็นบอร์ดเชือ่ มต่อบลูทธู และด้านขวาเป็นบอร์ดขับมอเตอร์ ผมเคยโชว์บอร์ดWiring รุ่นแรกให้กับ Tom lgoe ดูขณะที่มาดูงานที่ คณะ ITP ในนิวยอร์ค ปี 2003 ในขณะนั้น เขายังไม่มีประสบการณ์ในการ ท�ำงานร่วมกับชิปของ Atmel ตามที่ Tom ได้เคยบอกไว้ เขาใช้ PIC ที่ ITP เป็นทางเลือกแทนที่ Basic stamp หรือ Basic X ที่มีราคาแพง ค�ำแนะน�ำ หนึ่งของ Tom ที่ให้กับผม ตอนที่ไปเยี่ยมชมครั้งนั้นคือ “ดีแล้ว ท�ำมันให้ PIC ด้วย เพราะนี่คือสิ่งที่เราจะใช้มันที่นี่” หลายปีต่อมา ในปี 2007 Tom lgoe ได้เขียนหนังสือชื่อ Making Things Talk โดยส�ำนักพิมพ์ O’Reilly3 ด้วยการน�ำเสนอการใช้งานทั้ง Wiring และ Arduino

10

MAKERS

Gianluca Martino ซึ่งเดิมเคยท�ำงานให้กับ SERP (เป็นโรงงานที่ ผลิตบอร์ด Wiring 25 บอร์ดแรกให้กับผม) ต่อมาได้เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทที่ ชื่อว่า SRL (1 เมษายน 2004) โดย SRL ได้ท�ำบอร์ด Wiring จ�ำนวน 100 บอร์ดให้กับ IDII ส�ำหรับใช้ในการเรียน Physical computing ในปี 2004

อะไรคือ Programma2003 และมีเกี่ยวข้องกับคุณ หรือ Wiring ยังไง Programma2003 คือบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้ PIC เป็น ตัวประมวลผล ตัวบอร์ดออกแบบโดย Massimo Banzi ในปี 2003 หลัง จากที่ใช้ BasicX ในการสอนวิชา Physical Computing ตอนฤดูหนาวปี 2002 Massimo ได้ตัดสินใจท�ำบอร์ดที่ใช้ PIC ในปี 2003 ปัญหาของ PIC ก็คือ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม เช่น ภาษา C ส�ำหรับเขียน ควบคุมในขณะนั้นมันไม่โอเพ่นซอร์ส

รูปที่ 14 ลักษณะของบอร์ด Programma2003 ออกแบบโดย Massimo Banzi ในปี 2003 เนื่องจากขาดเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมที่เป็นโอเพ่นซอร์ส Massimo จึงตัดสินใจไปใช้สภาพแวดล้อมในการโปรแกรมที่เรียกว่า JAL (เป็นภาษาๆ หนึ่ง) เพื่อโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC ซึ่ง JAL นั้นถูก พัฒนาขึ้นโดย Wouter van Ooijen JAL ประกอบด้วย คอมไพเลอร์ ลิงเกอร์ ตัวโหลดโค้ด บูตโหลดเดอร์ และตัวอย่างโปรแกรมส�ำหรับ PIC อย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์นี้รันได้เฉพาะ บนวินโดวส์เท่านั้น เพื่อท�ำให้ JAL ง่ายขึ้นส�ำหรับคนใช้งาน Massimo ได้ ใช้พื้นฐานตัวอย่างจาก JAL แล้วลดทอนบางอย่างให้เรียบง่ายและเล็กลง แล้วแจกจ่ายให้ใช้งานกันภายในคณะ IDII อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นเป็นปี 2003 นักศึกษาเกือบทั้งหมดที่ IDII มีคอมพิวเตอร์ Macintosh ไว้ใช้งาน ดังนั้นผมจึงอาสาช่วย Massimo โดยท�ำการสร้างโปรแกรมที่มีขนาดเล็กและเรียบง่ายซึ่งท�ำงานบน MAC OS X จึงท�ำให้นักศึกษาสามารถใช้งานเครื่อง Macintosh ได้เช่นเดียวกัน ในวิทยานิพนธ์ของผม ผมได้จัดให้บอร์ด Programma2003 เป็นบอร์ด ที่ไม่มีการพัฒนาต่อ เนื่องจากมีปัญหาหลักๆ คือ เป็นภาษาที่ไม่ค่อยมี คนรู้จัก, ไวยากรณ์และการออกแบบฮาร์ดแวร์ไม่ค่อยได้รับการเผยแพร่ มีโอกาสน้อยมากที่จะถูกน�ำไปใช้ในการเรียนการสอนที่อื่น, บนบอร์ดไม่มี LED แสดงสถานะไฟเข้า (เป็นปัญหาที่การออกแบบฮาร์ดแวร์) ส่งผลให้ แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรู้ว่า มีไฟเลี้ยงเข้ามาเลี้ยงวงจรหรือไม่ ซึ่งอาจ เป็นอันตรายกับผู้ใช้งานได้ นอกจากนี้ยังต้องการตัวแปลงจาก USB เป็น พอร์ตอนุกรมทุกครั้งที่จะต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์อีกด้วย


ในฐานะทีผ่ มได้มสี ว่ นช่วยในโครงการ Programma2003 ของ Missimo ผมได้เขียนโปรแกรมทีเ่ รียกว่า Programma2003 interface ซึง่ โดยพืน้ ฐาน แล้วอินเตอร์เฟสนี้สามารถงานได้กับทุกการสื่อสารแบบอนุกรมระหว่าง ไมโครคอนโทรลเลอร์ แ ละคอมพิ ว เตอร์ ที่ อ ยู ่ ใ นเครื อ ข่ า ยอิ น เตอร์ เ ฟส นี้ ไ ด้ ถู ก แจกจ่ า ยใช้ กั น ในคณะ IDII โดยถื อ ว่ า เป็ น ทู ล บ็ อ กซ์ ต ้ น แบบที่ อนุญาตให้นักศึกษาสามารถใช้โปรแกรม Adobe Flash สื่อสารกับไมโคร คอนโทรลเลอร์ได้

“Programma2003 ไม่ใช่แพลตฟอร์มการพัฒนา มันเป็นเพียงบอร์ด ไมโครคอนโทรลเลอร์กากๆ ง่ายๆ ไม่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใดโดยฝ่าย โจทก์ที่มาพร้อมกับบอร์ดดังกล่าว ลิงค์ที่แนบมานั้นว่างเปล่า ไม่มีไฟล์ ใดๆ ใน Sourceforge และเหตุใดมันจึงใช้เป็นหลักฐานได้”

ท�ำไม Arduino จึงได้เป็นที่รู้จักมากกว่า Wiring

“ผมเองก็ไม่ ร้ ู ”

มีการอ้างถึง Wiring บนเว็ปไซต์ของ Arduino.cc แม้ว่ามันจะดีขึ้น เล็กน้อยเมื่อเวลาผ่านไป ก็ยังมีการพยายามท�ำให้เกิดความเข้าใจผิดถึง การมีส่วนร่วมของ Wiring กับ Programma2003 ดังรูปที่ 15 และเพิ่ม ความสบสนด้วยรูปใน Flickr photo โดย Massimo Banzi ที่นี่ https:// www.flickr.com/photos/mbanzi/albums/72157633136997919/ with/8610131426/ มันถูกเรียกว่า “Teaching: IDII 2004 Strangely Familiar” อย่างที่ กล่าวมาข้างต้น Strangely Familiar นั้นได้ถูกสอนโดยใช้ Wiring อัลบั้ม รูปนี้ดูเหมือนว่าจะเชื่อมโยงกับ Programma2003 ที่ใช้เรียนในห้องด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่เคยได้ใช้เลย มันเป็นเรื่องแปลกที่บอร์ด Wiring หายไปจากอัลบั้ม ไม่มีสักรูปเลยที่จะปรากฏให้เห็น นอกจากนี ้ ทีผ่ า่ นมามันก็ไม่ได้เป็นเรือ่ งลึกลับอะไรทีว่ า่ ท�ำไม Wiring จึงไม่ค่อยมีคนรู้จัก กลับไปในปี 2013 ในงานประชุมโอเพ่นฮาร์ดแวร์ที่ MIT ขณะที่มีการเสวนาเรื่อง Implications of Open Source Business: Forking and Attribution มีการยอมรับเป็นครั้งแรกของ David Mellis ว่าทางทีม Arduino ยังไม่ได้ท�ำอะไรให้ Wiring เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่น่า เสียดาย สุดท้ายแล้วเขาก็ยังไม่ได้บอกในรายละเอียดว่าเพราะอะไรเขาถึง ไม่ท�ำ

โจทก์ กับ จ�ำเลย นานมาแล้วที่ผมเงียบมาตลอดถึงเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับ Arduino แต่มาถึงตอนนี้มีใครบางคนที่ตลบตะแลงหาว่างานที่ผมท�ำเป็นของพวก เขา ผมจึงรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องออกมาพูดถึงอดีตที่ผ่านมา ยกตัวอย่าง กรณีขัดแย้งระหว่าง Arduino LLC กับ Arduino S.R.L ที่มีอ้าง สิทธิโดยฝ่ายโจทย์ดังนี้ 34. Banzi คื อ ผู้ ที่ ส ร้ าง Programma2003 ที่ เ ป็ นตั ว ตั้ ง ต้ น ของบอร์ ด Arduino หลากหลายยี่ ห้ อ ในปั จจุ บั น นี้ ดู ไ ด้ ท่ี http:// sourceforge.net/projects/programma2003/. Banzi ยังเคยเป็ นทีป่ รึ ก ษาวิทยานิพนธ์ ของ Hernando Barragan ซึ่งงานทั้งหมดของเขาได้ ผ ลลัพธ์ เป็ นแพลตฟอร์ ม Wiring ซึง่ ได้ รับแรงบันดาลใจจาก Arduino

นี่มันคืออะไรกัน ในความเห็นของผม ค�ำอ้างสิทธิไม่ถูกต้องดังนี้

แนวคิดคือ การให้ข้อเท็จจริงที่ว่า Banzi เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ของผมซึ่งจะช่วยให้เขาดูมีสิทธิที่มากขึ้นบนงานของ Wiring ถึงตรงนี้ อย่างน้อยผมบอกได้เลยว่ามันน่าผิดหวังที่ได้อ่าน นอกจากนี้ยังมี 39. ผู้ก่อตั้งและผู้ช่วย Nicholas Zambetti ซึง่ เป็ นนักศึกษา อี ก คนที่ IDII รั บ หน้ าที่ พั ฒ นาโครงงานซึ่ ง พวกเขาได้ อ อกแบบ แพลตฟอร์ มและสภาพแวดล้ อ มในการเขี ย นโปรแกรมส�ำ หรั บ บอร์ ดไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อทดแทนโปรเจกต์ ของ Wiring โดย BanZi ได้ ตั้งชื่อโปรเจกต์ ว่า ARDUINO

นี่คือค�ำถามที่ผมต้ องถามไปถึง “ผู้ก่อตัง้ ”

1. ท�ำไมโครงการพัฒนา Wiring จึงจ�ำเป็นต้องถูกแทนที่

2. คุณได้ถามนักพัฒนาแล้วหรือยัง หากเขาท�ำงานร่วมกับคุณ

3. คุณไม่ชอบชือ่ เดิมของมันใช่หรือไม่ ( Banzi ได้ตง้ั ชือ่ โครงการ หลังสุด) ผมรู้ว่าทั้งหมดนี้มันได้เกิดขึ้นไปแล้ว คงกลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้มันผิดจรรยาบรรณและจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีส�ำหรับ นักวิชาการที่ท�ำเหมือนกรณีนี้กับงานของนักศึกษา ยิ่งเป็นนักการศึกษา ด้วยแล้วก็ต้องระวังมากกว่าคนอื่นในการหลีกเลี่ยงที่จะหาประโยชน์จาก งานของนักศึกษาของพวกเขา ไม่ว่าจะยังไง ผมเองก็ยังคงรู้สึกถูกละเมิด โดย “ผู้ก่อตั้ง” ที่พูดถึงงานของผมในมุมมองของพวกเขา ในทางกฏหมายแนวคิดของโครงการนีเ้ ป็นโอเพ่นซอร์สทัง้ ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ซึ่งมีทั้งปรัชญา ทั้งวาทกรรมที่เกี่ยวข้องและอีกหลายพัน ชั่วโมงของการท�ำงานโดยผู้เขียนที่ลงแรงไปกับการสร้างแบรนด์สินค้า และเผยแพร่ออกไปทั่วโลกในฐานะของ ”สิ่งใหม่” หรือ “แรงบันดาลใจ” แต่กรณีนี้มัน…. มันเป็นใช่ไหม???

ข้อมูลที่ผิดๆ ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง

ใครบางคนกล่าวไว้ว่า

“หากเราไม่ได้ท�ำหรื อพูดบางอย่างให้ให้ชดั เจนแล้วละก็ ผูค้ นต่างๆ ก็ จะสรุปกันเอาเองและมันจะกลายเป็ นเรื ่ องจริ ง แม้ว่าเราจะไม่เคยพูด อะไรอย่างนัน้ ” ดูเหมือนว่าผมจะเป็นอะไรแบบนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณ ชี้น�ำให้ผู้คนเข้าใจผิดด้วยการบิดเบือนความจริงไปเพียงเล็กน้อย คุณก็ สามารถท�ำให้ผู้คนไปสรุปกันเอาเองในแบบที่คุณต้องการได้ และนี่คือ ตัวอย่างบางส่วนของข้อมูลที่ท�ำให้เกิดความเข้าใจผิด

รูปที่ 15 ข้อความส่วนหนึ่งที่แสดงประวัติความเป็นมาของ Arduino ในเว็ปไซต์ Arduino.cc https://www.arduino.cc/en/Main/Credits

39. ผู้ก่อตั้งและผู้ช่วย Nicholas Zambetti ซึ่งเป็ นนั กศึกษาอีกคนที่ IDII รั บหน้ าที่พัฒนา โครงงานซึ่งพวกเขาได้ ออกแบบแพลตฟอร์ ม และสภาพแวดล้ อ มในการเขี ย นโปรแกรม ส� ำ หรั บบอร์ ดไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่ อ ทดแทนโปรเจกต์ ของ Wiring โดย BanZi ได้ ต้ัง ชื่อโปรเจกต์ ว่า ARDUINO

MAKERS

11


04

05

2003 06

07

08

09

02

03

04

2004 05

06

07

08

09

10

11

12

01

02

08

100 Wiring boards produced

The Amazing All-Band Radio Myriel Milicevic with Oren Horev

INSTANTSOUP

Giorgio Olivero, Paolo Sancis, Yaniv Steiner develop the cookbook Platform: Wiring+Flash

04

05

06

David Cuartielles

07

08

Ben Dove

09

10

11

Barbara Ghella

12

01

02

Dana Gordon

03

04

Didier Hilhorst

05

06

Oren Horev

07

08

09

Erez Kikin-Gil

10

11

12

Heather Martin

David Mellis

02

03

04

Myriel Milicevic

05

Stefano Mirti

06

se l Ba

Ista

ne sia n

Pro

do

el

In

Isra

He lsin

ki 01

nb re ul fe To re Ko ro nc Tu nto re rk e an u re fe re Sto Ch nce La ck in tv ho es ia lm Slo e re ve fe n Fre ia re nc nc e h re fe re nc Spa e nis h re fe re nc e Sig gra ph 20 04

dia In

nic a g in ce ssin Jap an g es in Bre He e m en bre w

a

Ele ctr o

Vie nn

Ars

ce ssin Pro

Am ste rd am

Sw itze rla nd Be Re Ne rlin fe w re Yo Osl nc rk o e Pa M is c ri an Co o ila mp s lom B le bia Na te russ d go e ya Sig Ba ls gra rcelo Lo nd p n Seo on Los h 2 a ul An 00 ge 3 les

Ya le 03

07

Giorgio Olivero

08

09

Noel Perlas

25.000 USERS

11

Soren Pors

12

01

Aparna Rao

02

Casey Reas

03

04

Michal Rinott

05

Paolo Sancis

06

07

08

Anurag Sehgal

Yaniv Steiner

09

Processing 1.0 (BETA) FIRST PUBLIC RELEASE

( WOW! )

New libraries - export to DFX - export to Illustrator - Open Sound Control - graphic controllers 10

E

02

Gillian C. Smith

E

Andreea Chelaru

PS

Giovanni Cannata

C UR

Dario Buzzini

AR RW

Jennifer Bove

Processing Class Ralph Ammer Walter Aprile

Processing 1.0 (ALPHA) revision #55 -audio -video -networking

500 Wiring I/O Boards produced in Bogota

Wiring EXTENSION BOARDS designed for Potsdam University - haptics (physical feedback) - bluetooth wireless connection David Cuartielles Diego Cuartielles Reto Wettach

HO

Hernando Barragàn @ Universidad de Los Andes in Bogotá

SO

WIRING 001 alpha

Hernando Barragàn Advisors: Casey Reas, Massimo Banzi

HA

Shawn Bonkowski

WIRING 004 alpha

002 003

WIRING 000 - thesis

InstantSOUP Class MATTEL - New Play Experiences Giorgio Olivero Yaniv Steiner Platform: Wiring+Flash

KS

Hayat Benchenaa

InstantSOUP WEBSITE v.1

EN

Hernando Barragàn

Salone del Mobile Milan

Light Appliances Giovanni Cannata

W

Massimo Banzi

SanSiro Exhibition

ECO Pods Erez Kikin-Gil

OP

Aram Armstrong

12

THESIS Projects using the Wiring platform

Salone del Mobile Milan

OR W

Walter Aprile

11

NE

Ralph Ammer

10

rg bo te Go

I‘m a boss

D UN

I‘m a professor

09

lia

01

I‘m a researcher

08

ra

www.processing.org

I‘m a student

Processing 1.0 (ALPHA) revision #52 - transparency - anti-alias - text output - camera control

Release of Processing 1.0 (ALPHA)

Map Design & Research by Giorgio Olivero/Static

07

SO

Triennale Exhibition

Reactive Tables Hernando Barragàn Plattform: Wiring

Casey Reas in Ivrea teaching and developing Processing

Processing Workshop in Ivrea Casey Reas Design by Numbers John Maeda Aesthetics and Computation Group MIT Media Laboratory. 1996-2003

06

st Au

Gillian Crampton Smith

05

300 Arduino boards produced

a re Ko

Processing is a programming language for people who want to program images, animation, and sound. It is used by students, artists, designers for learning, prototyping, and production. Processing is developed as an open-source alternative to commercial software tools.

04

tá go Bo

PROCESSING (2001 ~ NOW) Ben Fry & Casey Reas

NOW

03

am tsd Po

This map shows the work of professors and students over the past four years at Interaction-Ivrea, together with many collaborators all over the world. The software and hardware they have built, used in many of the Institute’s projects, allows designers to be truly creative in this new medium.

02

The Egg Jennifer Bove, Thomas Stovicek, Nicholas Zambetti Sfera Hayat Benchenaa, Garikoitz Iruretagoiena Message Table Shawn Bonkowski, Dana Gordon Quattro Didier Hilhorst, Nicholas Zambetti Tecno Tug Tug Exhibition Salone del Mobile Haiyan Zhang, Aram Armstrong Milan Feel the Music 1/2 James Tichenor, David Mellis

Massimo Banzi Heather Martin Yaniv Steiner Reto Wettach

FightSuit - thesis Soeren Pors Yaniv Steiner Platform: P2003, Flash

Processing for Mobile Media Class Casey Reas

Points and Pixel Class in Ivrea Casey Reas

Processing Class at MIT Media Lab John Maeda,Ben Fry, Tom White

01

Platform: Wiring

Audiograffiti Andreea Chelaru Ben Dove Noel Perlas Thomas Stovicek Platform: P2003

XML Network-Serial Interface Hernando Barragàn

PROCESSING

wiring.org.co

12

Strangely Familiar Class 4th Physical Computing Class

CreativeCollision Giovanni Cannata Anurag Sehgal Platform: P2003

WIRING

WIRING (2003 ~ NOW)

Until recently, this medium was only accessible to engineers: designers weren’t able to work directly with programming and electronics to develop and test their ideas.

11

Arduino Board Development Massimo Banzi, David Cuartielles, David Mellis, Nicholas Zambetti

Hernando Barragàn

All designers have their medium: for a product designer it may be plastics, for an architect brick or concrete, for a graphic designer litho printing. The medium of the interaction designer is computation: software and electronics.

10

ARDUINO

Lettera22 POP - thesis Aparna Rao Platform: P2003

P2003 + Flash experiments First InstantSOUP recipes Yaniv Steiner Platform: P2003, Flash

Speed Factor Ivar Lyngve Yaniv Steiner Platform: GPS, PocketPC, Flash

It's a small circuit board that contains a computer squeezed into the size of a postage stamp. This computer on a chip can be programmed using a simple development environment to control sensors and actuators in order to create all kinds of interactive artefacts.

Wiring is a programming environment and a powerful electronics I/O board for exploring the electronic arts, tangible media, teaching and learning computer programming and prototyping with electronics.

09

S IC PT HA H OT TO UE BL

Platform: P2003

?

www.instantsoup.org

07

Tableportation - thesis Giorgio Olivero Peggy Thoeny Platform: P2003

Intimacy Exhibit

Walter Aprile Massimo Banzi Stefano Mirti Jan Christoph Zoels

Educational website and electronics cookbook. Easy step-by-step recipes to connect Flash™ to the physical world. The lessons are an introduction, that anyone can follow, to the marvels of physical computing.

06

Dario Buzzini

Life without objects 3rd Physical Computing Class

WHAT IS AN I/O BOARD?

05

a lon rce

PIC test Massimo Banzi Livia Sunesson

Platform: P2003

arduino.berlios.de

2005 04

Massimo Banzi develops Programma 2003

BOXES v.2 Victor Vina Platform: PIC

Giorgio Olivero, Paolo Sancis, Yaniv Steiner

03

Ba

PIC Workshop Massimo Banzi Platform: PIC

BOXES v.1 Victor Vina Platform: Basic-Stamp

INSTANTSOUP (2004 ~ NOW)

Questa mappa vuole illustrare il lavoro che professori e studenti dell’Interaction-Ivrea hanno svolto negli ultimi quattro anni, insieme ad un ampio numero di collaboratori provenienti da ogni parte del mondo. I componenti software e hardware sviluppati, utilizzati in molti dei progetti realizzati all’interno dell’Istituto, danno modo ai designer di essere veramente creativi in questo nuovo medium.

01

50 P2003 boards produced

Small, inexpensive, open-source I/O board based on the Wiring IDE. It is used to deploy designs developed with Wiring. It's useful when you want to make multiple objects and don't want to give away your precious Wiring board.

Fino a un tempo relativamente recente, questi strumenti erano accessibili solo agli ingegneri: i designer non erano in grado di lavorare direttamente sulla programmazione e l’elettronica per sviluppare e verificare le loro idee.

12

PROGRAMMA2003

Massimo Banzi, David Cuartielles, David Mellis, Nicholas Zambetti

Ogni progettista ha il proprio medium: per un product designer può essere la plastica, per un architetto il mattone o il cemento, per un grafico la tipolitografia. Software ed elettronica sono il medium dell’interaction designer.

11

iBox/oBox 2nd Physical Computing Class Bill Verplank Massimo Banzi Platform: BasicX-24

ARDUINO (2005 ~ NOW)

(a history)

10

OR E RE CIP ES W OR KS HO PS

03

M

02

el

01

Isra

12

n

11

ila

10

M

09

Ko ng

08

Ho ng

2002 07

o alm M

TOOLBOX

06

ark nm De

Prototyping

05

rid ad M

Massimo Banzi

The first physical computing I/O board produced in IDII. Named after the glorious Olivetti 101 ”the first ever desktop computer” the platform was designed to be low-cost, robust, easy to build, cross-plattform and open-source.

INTERACTION DESIGN INSTITUTE IVREA

04

Tofuboxes 1st Physical Computing Class in Ivrea Bill Verplank Dag Svanes Platform: Basic-Stamp

PROGRAMMA2003 (2003 ~ 2004†)

THE

03

ne ap oli s

02

in

01

MADE in IDII

M

2001

TOOLS

10

Thomas Stovicek

11

12

Livia Sunesson

01

Dag Svanaes

02

Peggy Thoeny

03

James Tichenor

04

05

Bill Verplank

06

Victor Vina

07

Reto Wettach

08

Nicholas Zambetti

09

Haiyan Zhang

10

11

Jan C. Zoels

12

AND MANY MORE!

YO!

รูปที่ 16 ไดอะแกรมเกีย่ วกับการพัฒนาเครือ่ งมือต้นแบบ - ข้อมูลจาก http://blog.experientia.com/uploads/2013/10/Interaction_Ivrea_arduino.pdf ไดอะแกรมในรูปที่ 16 ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อบอกถึงเรื่องราวการพัฒนา เครื่องมือต้นแบบที่ IDII มันออกแบบมาได้สวยงามโดย Giorgio Olivero ซึ่งได้ใช้ข้อมูลที่ให้โดยวิทยาลัยในปี 2005 และเผยแพร่ในปี 2006 การน�ำ เสนอโครงการในไดอะแกรมแสดงด้วยกรอบสีแดง แม้ว่าพวกเขาจะท�ำด้วย Wiring แต่กลับมีการน�ำเสนอว่า เกี่ยวข้องกับ Arduino ทั้งที่ความจริงในช่วง เวลานั้น Arduino ยังไม่มีอะไรเลย แม้กระทั่งแนวคิดก็ยังไม่มีเลยด้วยซ�้ำ ขณะที่เมื่อมีใครบางคนได้ท้วงติงถึงข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ปรากฏ บนไดอะแกรมและค�ำถามว่าท�ำไมถึงมีการเลื่อนงานของพวกเขาเข้าไปอยู่ใน ส่วนของ Arduino แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ ไดอะแกรมนี้อาจไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้ตรงกับความเป็นจริง แต่ผม ก็ต้องขอบคุณเหล่านักศึกษาที่ช่วยชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาดของข้อมูลและ เป็นธุระด�ำเนินการสอบถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้

ว่าด้วยเรื่องสารคดีเกี่ยวกับ Arduino ผลงานอีกชิ้นที่ออกสื่อเป็นจ�ำนวนมากตั้งแต่ปี 2010 คือ สารคดีของ Arduino (เขียนบทและก�ำกับโดย Raúl Alaejos, Rodrigo Calvo) นี่เป็นอีก หนึ่งงานที่น่าสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ดูมันในวันนี้ปี 2016 ส�ำหรับผม แล้วมันเป็นความคิดในการท�ำสารคดีที่ดีมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโครงการ ที่มีประวัติยาวนานเช่นนี้

ต่อไปนีค้ อื บางช่วงบางตอนทีม่ กี ารน�ำเสนอข้อมูลผิดไปจากความเป็นจริง

นาที ที่ 1.45 – “เราต้อ งการท� ำ ให้ มัน เป็ นโอเพ่ น ซอร์ ส ซึ่ ง ทุก ๆ คน สามารถเข้าช่วยและมี ส่วนร่ วมได้” นีเ่ ป็ นการชี น้ �ำให้เห็นว่า Wiring ไม่ได้ โอเพ่นซอร์ ส ซึ่งความจริ งไม่ใช่ เนือ่ งจาก Wiring ได้ถูกสร้างขึ้นบนพืน้ ฐาน จาก Processing และ Processing ก็เป็ น GPL โอเพ่นซอร์ ส รวมไปถึง ไลบรารี ต่างๆ ด้วย ดังนัน้ Wiring และ Arduino จึงต้องเป็ น โอเพ่นซอร์ ส มันไม่มีเหตุผลใดที ่จะไม่เป็ นโอเพ่นซอร์ ส นอกจากนี ้ยงั มี การกล่าวอ้างว่า พวกเขาท�ำซอฟต์แวร์ ให้ง่ายขึ้นนัน้ เป็ นความเข้าใจผิ ดเนือ่ งจากพวกเขาไม่ได้ เปลีย่ นแปลงอะไรในภาษาซึ่งเป็ นหัวใจหลักของโปรเจกต์นี้ นาทีที่ 3.20 – David cuartielles ได้รู้จกั กับ Wiring แล้ว เขาจึงได้ ถูกจ้างให้ออกแบบบอร์ ดปลัก๊ อิ น 2 บอร์ ดส�ำหรับ Wiring โดย IDII ในปี 2005 ซึ่งได้กล่าวแล้วในตอนต้นของบทความนี ้ ขณะที ่ David Mellis ได้ วิ ชา Physical computing โดยใช้ Wiring เมื อ่ ครัง้ ยังเป็ นนักศึกษาที ่ IDII ในปี 2004 และทีน่ ่าสนใจอย่างยิ่ งคือ Gianluca ได้กลายมาเป็ นผูท้ ีส่ ามารถ ออกแบบบอร์ ดได้ดว้ ยตัวเอง (ทัง้ ทีค่ วามจริ งแล้ว เขาไม่เคยแม้กระทัง่ ติ ดต่อ กับผูผ้ ลิ ตแผ่นวงจรพิ มพ์) สุดท้ายเขาได้เป็ นส่วนหนึ่งของทีม Arduino 12

MAKERS

นาทีที่ 8.53 – David Cuartielles ก�ำลังน�ำเสนองานทีม่ ี เดียแล็ปในมาดริ ดใน เดือนกรกฏาคม ปี 2005 ได้พดู ว่า “Arduino เป็ นโครงการล่าสุด ผมเพิ่ งท�ำเสร็ จเมื อ่ สัปดาห์ทีแ่ ล้ว ผมได้พดู กับ Ivrea ซึ่งเป็ นเทคนิ คอลไดเร็ กเตอร์ และได้บอกกับเขาว่า จะดีแค่ไหนหากพวกเราสามารถท�ำอะไรบางอย่าง เราให้ฟรี เลยดีไหม เขาพูด – ฟรี เห รอ?- เยส!” สรุปคือDavid ได้กลายมาเป็ นผูท้ ีท่ �ำให้โครงการนีส้ �ำเร็ จตามทีเ่ ขาพูดว่า “สัปดาห์ทีแ่ ล้ว” และโน้มน้าวให้ “เทคนิ คอลไดเร็ กเตอร์ ” ที ่ IDII คิ ดว่า ควรจะท�ำแจก ฟรี นาทีที่ 18.56 – Massimo Banzi “ส�ำหรับพวกเราในตอนเริ่ มต้นนัน้ เป็ นอะไร ทีพ่ อเหมาะพอเจาะ พวกเรารู้มาว่า วิ ทยาลัยก�ำลังปิ ดและพวกเรากลัวว่าทนายจะต้อง ปรากฎขึ้นในสักวันหนึ่ง เพือ่ บอกว่า ทุกอย่างทีน่ ีจ่ ะถูกเก็บลงกล่องและลืมมันไปซะ ดังนัน้ เราจึงคิ ดว่า โอเค, ถ้าเราเปิ ดเผยหมดทุกอย่างเกี ย่ วกับสิ่ งนี ้ วิ ทยาลัยของเราก็จะ รอดจากการถูกปิ ด และนัน่ ก็คือก้าวแรก” ท่อนนี้พิเศษเป็นอย่างมาก เนื่องจากมันท�ำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างใหญ่ หลวงถึงความจริงในการท�ำให้ Arduino เป็นโอเพ่นซอร์สเนื่องจากวิทยาลัยก�ำลังจะ ปิดลง ค�ำถามก็คือ ท�ำไมทนายถึงจะต้องเอามันลงกล่อง (หมายถึงไม่ให้ท�ำ) แล้ว โครงการอื่นๆ ล่ะ ซึ่งก็เป็นโอเพ่นซอร์สเช่นเดียวกัน ท�ำไมถึงไม่ท�ำแบบเดียวกัน เรื่องนี้ มันไร้สาระมาก ปัญหาก็คือ ผู้คนทั่วไปที่ได้รับรู้เรื่องราวนี้อาจคิดว่ามันเป็นเรื่องจริง ซึ่ง เป็นการสนับสนุนเหตุผลว่าท�ำไมถึงต้องท�ำให้ Arduino เป็นโอเพ่นซอร์ส

ข่าวและบทความที่ถูกบิดเบือน ในส่วนนี้ ผมแค่ต้องการจะแสดงบางส่วนของบทความจ�ำนวนมากที่ตีพิมพ์ใน หลายๆ ที่ทั้งที่เป็นบทความและเป็นข่าว ที่ได้เขียนเกี่ยวกับ Arduino ซึ่งรวมไปถึง ประวัติความเป็นมาที่ไม่ค่อยจะพูดไปในทางเดียวกัน ดังนั้นขอให้ทุกท่านอ่านอย่าง สบายๆ แล้วลองคิดตามดู ว่า ท่านคิดเห็นอย่างไร และแน่นอนอย่าลืมตั้งค�ำถามกับตัว เองว่ามันจริงหรือไม่

สื่อสารมวลชนที่ไร้จรรยาบรรณ มันเป็นเรื่องยากที่จะเห็นสื่อมวลชนทุกวันนี้ท�ำการค้นหาเรื่องราวความจริงอย่าง เจาะลึก บทความต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของคิดเองเขียนเองไม่หาข้อมูลให้ละเอียด นิตยสาร Wired : ในคอลัมน์สัมภาษณ์ ปี 2008 Banzi ได้อธิบายว่าเขาท�ำ Arduino ขึ้นมาได้อย่างไร ในตอนสุดสัปดาห์ “ทั้งสองได้ตัดสินใจจะออกแบบบอร์ดเป็น ของตัวเองและมีนักศึกษาของ Banzi คนหนึ่ง คือ David Mellis เป็นคนเขียนโปรแกรม ให้กับบอร์ด ในสองวัน Mellis ได้ท�ำส�ำเร็จ และสามวันต่อมา บอร์ดก็เสร็จสมบูรณ์ พวกเขาเรียกมันว่า Arduino หลังจากที่ได้เผยแพร่ออกไปมันก็ได้รับความนิยมอย่าง มากในหมู่นักศึกษา” นีค่ อื บทความทีเ่ ขียนขึน้ โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง จึงท�ำให้ไม่รวู้ า่ ผูถ้ กู สัมภาษณ์ ก�ำลังให้ขอ้ มูลทีไ่ ม่ถกู ต้อง


รูปที่ 17 Hernando Barragán ผู้พัฒนา Wiring ซึ่งน่าจะ เ ป ็ น ต ้ น ก� ำ เ นิ ด ห ลั ก ข อ ง Arduino ที่โลก (อาจ) ไม่เคย รู้ - กอง บก. นิตยสาร IEEE Spectrum : บทความในปี 2011 หัวเรื่องคือ The Making of Arduino และนี่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่มีการน�ำเอาค�ำพูดของผู้ถูกสัมภาษณ์มาลง ตัวผมเองไม่เคยได้รับการติดต่อเลย ก่อนที่บทความจะถูกตีพิมพ์ หากผมได้ถูก พูดถึง ผมเชื่อว่าคนที่ IDII จะต้องติดต่อมาที่ผม ข้อความด้านล่างนี้เป็นเพียงแค่ ส่วนหนึ่งที่ท�ำให้เกิดความสับสนอย่างมากในประวัติของ Arduino “วัตถุประสงค์แรกเริ่มคือการท�ำให้สร้างได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย พวกเขาจะรู้สึกดีกว่าหากท�ำให้มันเป็นโอเพ่นซอร์สที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ มากกว่าจะปิดมันเอาไว้”

ผมอยากจะบอกว่ามันไม่เคยถูกปิด มันเป็นโอเพ่นซอร์สมาตั้งแต่ต้น

นิตยสาร Circuit Today : บทความในปี 2004 เป็นดังนี้

“มันเป็นสถาบันทางด้าน Interactive design ซึง่ มีวทิ ยานิพนธ์ดา้ นฮาร์ดแวร์ เล่มหนึ่งซึ่งมีส่วนร่วมโดยคนที่ออกแบบ Wiring ซึ่งเป็นนักศึกษาจากโคลัมเบีย นามว่า Hernando Barragan ชื่อของวิทยานิพนธ์คือ “Arduino–La rivoluzione dell’open hardware” หรือในภาษาอังกฤษคือ “Arduino – The Revolution of Open Hardware” ใช่แล้ว ฟังดูมันอาจจะเป็นชื่อวิทยานิพนธ์ที่ไม่ค่อยคุ้น สักเท่าไร แต่จะมีใครรูว้ า่ มันได้สร้างกระแสใหม่ขนึ้ มาส�ำหรับงานด้านอิเล็กทรอนิกส์ ทีมพัฒนามีทงั้ หมด 5 คน ทีท่ ำ� งานในวิทยานิพนธ์เล่มนี้และเมือ่ แพลตฟอร์มWiring เสร็จสมบูรณ์ พวกเขาก็ได้ท�ำให้มัน เรียบง่ายมีราคาถูก และอยู่ใน โอเพ่นซอร์ส คอมมูนิตี้” ผมอยากบอกว่าชื่อวิทยานิพนธ์ของผมที่ลงในบทความนั้นผิด และก็ไม่ได้ มีนักพัฒนาถึง 5 คนท�ำในวิทยานิพนธ์ของผม และโค้ดของผมก็เป็นโอเพ่นซอร์ส และอีกครั้งที่ผมไม่ได้รับการติดต่อเพื่อการอ้างอิง นิตยสาร Makezine : เป็นบทความในปี 2013 Dale Dougherty เป็นคน สัมภาษณ์ Massimo Banzi และก็เป็นอีกครั้งที่เรื่องราวได้ถูกเปลี่ยนแปลง “Wiring เป็นบอร์ดที่มีราคาแพง อยู่ที่ประมาณ 100 เหรียญ เนื่องจากมันใช้ ชิปราคาแพง ผมไม่ค่อยชอบมันนัก และนักศึกษาผู้ใช้และผมก็ไม่เห็นด้วย (ที่ใช้ ชิปราคาแพง)”

รูปที่ 18 ทีมพัฒนา Arduino ที่ได้รับเครดิตในปัจจุบัน - กอง บก. นี่ ก็ เ ป็ น อี ก ครั้ ง หนึ่ ง เช่ น กั น ที่ Massimo ได้ พู ด เป็ น นั ย ว่ า Wiring นั้ น ไม่ โอเพ่นซอร์ส และถ้ามันไม่ได้เป็นโอเพ่นซอร์สจริงแล้ว ท�ำไมพวกเขาจึงจะสร้าง ซอฟต์แวร์โดยเริ่มจาก Scratch (เพราะScratch นั้นโอเพ่นซอร์สอยู่แล้ว) ซึ่งพวก เขาไม่ได้ร่วมท�ำตั้งแต่แรก

ขอบคุณ

ขอบคุณที่สละเวลาอ่านบทความนี้ ผมคิดว่ามันส�ำคัญ ไม่เพียงแต่กับวงการ ศึกษาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสมบัติทางความรู้อื่นๆ ที่เป็นต้นฉบับ ผมได้เรียนรู้จาก ระบบการศึกษาที่ยอดเยี่ยมการท�ำเช่นนี้ไม่เพียงจะส่งเสริมงานของคุณเท่านั้น แต่ การอยู่ในต�ำแหน่งที่สามารถให้ผู้คนต่างๆ มาตรวจสอบและดูความคิดของคุณว่า ไอเดียของคุณมาได้อย่างไร ซึ่งมันอาจจะพบทางเลือกอื่นๆ ที่ดีกว่าของตนเองได้ โดยส่วนตัวแล้วการได้เห็นสิ่งที่ตัวเองสร้างสรรค์มาตั้งแต่ปี 2003 ได้แพร่ ขยายออกไปทั่วโลกและถูกใช้งานอย่างหลากหลาย การได้เห็นชุดค�ำสั่งที่มีส่วนช่วย ให้ผู้คนเกิดความคิดสร้างสรรค์และสร้างมันขึ้นมาเพื่อคนทั่วโลก ผมมีความภาค ภูมิใจมาก ไม่ว่าจะเป็นค�ำถามแปลกๆ เรื่องราวที่น่าประหลาดใจ ไอเดียที่สุดยอด และมิตรภาพ ผมขอขอบคุณส�ำหรับสิ่งเหล่านี้ ผมคิ ด ว่ า คนเราต้อ งเรี ย นรู้ จ ากอดี ต ที ่ผ่ า นเพื ่อ ระมัด ระวัง การท� ำ ผิ ด แบบ เดี ยวกันในอนาคตไม่ให้เกิ ดขึ้นอี ก บางครั้งผมก็อยากได้มีโอกาสพูดคุยถึงเรื ่องราว เหล่านี ้ที่แตกต่างออกไป เพื อ่ เป็ นบรรทัดฐาน มี หลายครั้งที ่ผมพบกับนักข่าวหรื อ คนทัว่ ไป ทีม่ กั จะประนีประนอบไม่ยอมพูดถึงเรื ่องดังกล่าว อาจเป็ นเพราะเขาอาจ มี ธุรกิ จที เ่ กี ่ยวข้องกับ Arduino หรื อไม่ก็ไม่อยากผิ ดใจกับ Massimo Bazi ซึ่ งพวก เขาเหล่านีป้ ิ ดใจทีจ่ ะยอมรับข้อมูลใหม่ทีข่ ดั กับความเชื อ่ เดิ มของตน แล้วยังมี บคุ คล บางกลุ่มผู้ซึ่งเป็ นชอบที ่จะท� ำซ�้ ำกับอะไรที ่สามารถท� ำซ�้ ำได้ บทความนี ้ก็จะเป็ น จดหมายเชิ ญให้เขาเหล่านัน้ มัน่ ใจได้ว่า สามารถส่งค� ำถามเชิ งลึ กในสิ่ งที ่อยากรู้ หรื อสนใจ ทีส่ �ำคัญคุณต้องเป็ นบุคคลทีม่ ี ตวั เองหรื ออยู่ในกลุ่มชุมชนออนไลน์

เรื่องราวในเวอร์ชันนี้โดย Massimo Banzi นั้น ได้บอกว่า Arduino มี ต้นฉบับจาก Wiring แต่มันก็บอกเป็นนัยว่า ผมนั้นดื้อดึงที่จะใช้บอร์ดที่มีราคา แพง เมื่ออ้างตามเอกสาร disagreement : ผมไม่เคยได้พูดคุยกับ Massimo Banzi ถึงเรื่องที่บอร์ดมีราคาแพงเกินไป ผมหวังว่าเขาและผมจะได้มีโอกาสพูด คุยกันถึงเรื่องนั้น แต่เท่าที่ผมได้คุยกับที่ปรึกษาท่านอื่นและเพื่อนร่วมงานของ ผม พบว่า มันเป็นบอร์ดที่สมบูรณ์แบบมาก ความขัดแย้งได้เกิดขึ้นหลังจากที่ผม ได้น�ำเสนอโครงการจบเสร็จ ที่ตรงนั้น Massimo ได้แสดงพฤติกรรมแปลกๆ กับ ผม เพราะเขาเป็นที่ปรึกษาผม ท�ำให้ผมอยู่ในฐานะเสียเปรียบ แต่ผมก็ได้ถาม Massimo ไปว่าท�ำไมเขาจึงแสดงพฤติกรรมแย่ๆ กับผม ซึ่งผมก็ไม่ได้รับค�ำตอบ ใดๆ ท�ำให้ผมรู้สึกถูกคุกคามและน่าอึดอัดใจมาก และพฤติกรรมนี้ยังได้ขยายไป ยังผู้ที่เคยร่วมงานกับผม ผมตัดสินใจว่า เราควรท�ำให้เป็นโอเพ่นซอร์สในเวอร์ชันของ Wiring เริ่ม จาก Scratch (เอดิเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรม) ผมเคยถาม Gianluca Martino (ตอนนี้เป็น 1 ใน 5 หุ้นส่วนของ Arduino) ให้เขาช่วยสร้างต้นแบบอันแรก รวมถึง การผลิตบอร์ดแรกด้วย

รูปที่ 19 ผลงานสร้างชื่อของ Hernando Barragán และบอร์ด Wiring - กอง บก. Hernando

M

MAKERS

13


Microcontroller

Maker Knowledge สมเกียรติ กิจวงศ์วัฒนะ

รู้จักกับบอร์ด

Genuino 101

บอร์ดไมโครฯ ในสไตล์ Arduino UNO ที่มากับชิป Intel Curie จาก Intel พร้อมกับบลูทูธ 4.0, ตัวตรวจจับ ความเร่ง และฐานเวลานาฬิกาจริง จัดเต็มและอลังการตามแบบฉบับ Intel

รูปที่ 1 หน้าตาของบอร์ด Genuino 101

14

MAKERS

Genuino 101 หรือ Arduino 101 เป็นหนึ่งในฮาร์ดแวร์ตระกูล Arduino ที่ร่วมมือกับ Intel ในการพัฒนา เหมาะส�ำหรับนักพัฒนา มือใหม่ที่อยากจะลองเริ่มต้นเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับบอร์ดสมองกล ฝังตัว เพื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางของเมกเกอร์สมัยใหม่ บอร์ด Genuino 101 มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Arduino Uno ค่อนข้างมาก แต่ทว่า แตกต่างกันในเรื่องของความสามารถที่เหนือกว่า เพราะว่า Genuino 101 ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิตที่ชื่อ Intel Curie ซึ่งได้เปิดตัว ไปในเมื่อต้นปี 2015 โดย Genuino 101 มาพร้อมกับขาพอร์ตอินพุต เอาต์พุตที่เข้ากันได้ตามมาตรฐานของ Arduino Uno แต่ที่เป็นทีเด็ด นอกเหนือจากชิปที่เร็วและแรงกว่าแล้ว บนบอร์ดยังมีวงจรบลูทูธ ก�ำลังงานต�่ำหรือบลูทูธ 4.0 เพื่อสนับสนุนการสื่อสารไร้สาย, ตัวตรวจ จับความเร่ง 6 แกน, ตัวตรวจจับไจโร และวงจรฐานเวลานาฬิกา จริงหรือรีลไทม์คล็อก นั่นท�ำให้บอร์ด Genuino 101 เกิดมาเพื่องาน Wearable Device ส�ำหรับเหล่าเมกเกอร์ก็ว่าได้


การเพิ่มบอร์ดตระกูล Intel Curie ใน Arduino IDE เมื่อเปิดโปรแกรม Arduino IDE ขึ้นมา เลือกไปที่ Tools > Board: XXXXX > Board Manager...

รูปที่ 2 ชิป Intel Curie หัวใจหลักของ Genuino 101

Genuino 101 ใหม่ทั้งตัวบนมาตรฐานสากล หน่วยประมวลผลของบอร์ด Genuino 101 มี 2 แกน แกนหนึ่ง จะเป็น Intel Quark ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบ x86 และอีกแกนหนึ่งใช้ สถาปัตยกรรมแบบ ARC 32 บิต ที่กินพลังงานไฟฟ้าต�่ำ ท�ำงานร่วมกัน ที่ความถี่สัญญาณนาฬิกา 32MHz มีหน่วยความจ�ำแฟลช 384 กิโลไบต์ และหน่วยความจ�ำสแตติกแรมมากถึง 80 กิโลไบต์ นับว่าไม่ธรรมดา

รูปที่ 3 ไลบรารีภาพวาดของบอร์ด Genuino 101 ที่มีให้ใช้ในซอฟต์แวร์ fritzing Genuino 101 มีจุดต่อพอร์ตอินพุตเอาต์พุต 14 ขา ซึ่งในนั้นมี 4 ขา ที่ใช้เป็นเอาต์พุตสัญญาณ PWM มีอินพุตอะนาลอก 6 ขา มีจุดต่อ USB แบบ A เพื่อต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ส�ำหรับการสื่อสารข้อมูลอนุกรมและ ใช้อัปโหลดโปรแกรมลงบนบอร์ด มีจุดต่อส�ำหรับการเชื่อมต่อบัส SPI และ I2C ตัวบอร์ดท�ำงานด้วยแรงดัน +3.3V รวมไปถึงขาพอร์ตอินพุต เอาต์พุตแต่ละขาด้วย เมื่อท�ำงานเป็นอินพุตดิจิตอลจะทนแรงดันได้ถึง +5V ส�ำหรับแหล่งจ่ายไฟภายนอกใช้อะแดปเตอร์จ่ายไฟที่แรงดันในย่าน +7 ถึง +12V

รูปที่ 4 เมื่อหน้าต่าง Boards Manager เปิดขึ้นมาแล้ว ให้ค้นหารายการ Intel Curie Board by Intel หรือจะพิมพ์ค้นหาจากช่องข้างบนก็ได้ จาก นั้นให้กด Install ได้เลย

รูปที่ 5 ในขั้นตอนการติดตั้ง Intel Curie Board ลงใน Arduino IDE จะต้อง เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ต้องดาวน์โหลดข้อมูลประมาณ​ 80MB ส�ำหรับ Intel Curie เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วจะใช้เวลาติดตั้งซักพัก และเมื่อติดตั้งเสร็จ แล้วให้ปิดโปรแกรม Arduino IDE แล้วเปิดขึ้นมาใหม่ จากนั้นก็จะเห็นชื่อ บอร์ด Genuino 101 อยู่ใน Tools > Board: ให้กดเลือกที่บอร์ดตัวนั้นได้ เลย

การเขียนโปรแกรมสั่งงานบอร์ด Genuino 101

ใช้ Arduino IDE เวอร์ชัน 1.6.7 ขึ้นไป (ดาวน์โหลดได้ที่https:// www.arduino.cc/en/Main/Software) และต้องเพิ่มบอร์ด Arduino ตระกูล Intel Curie เข้าไปใน Arduino IDE ผ่าน Board Manager ของ ตัวโปรแกรมด้วย เนื่องจาก Arduino IDE ในตอนแรกมีเพียงบอร์ดตระกูล AVR เป็นหลัก แต่ว่า Genuino 101 นั้นใช้ชิป Intel Curie ไม่ใช่ AVR ในกรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นระบบปฏิบัติการ Mac OSX หรือ Linux ไม่ต้องติดตั้ง Driver ส�ำหรับ Genuino 101 แต่ถ้าใช้งานกับ Windows จะ ต้องมีการติดตั้ง Driver ด้วย ซึ่งการติดตั้ง Driver จะอยู่ในขั้นตอนเพิ่ม บอร์ด Genuino 101 ลงใน Arduino IDE ผ่าน Board Manager อยู่แล้ว หลังจากอัปโหลดโปรแกรมลงบอร์ดเสร็จแล้ว จะต้องรอประมาณ 5 วินาที เพื่อให้บอร์ดเริ่มท�ำงาน

รูปที่ 6 MAKERS

15


Maker Knowledge จ่ายไฟให้กับบอร์ด แล้วต่อสาย USB เข้ากับคอมพิวเตอร์ จากนั้น เลือก Tools > Port ตาม COM Port ที่เห็นในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ จาก ภาพตัวอย่างผู้เขียนใช้ Mac OSX จะขึ้นเป็น /dev/cu.usbmodem1421 (Arduino 101) ให้เลือก

1. อ่านค่าวันเวลา ส�ำหรับโค้ดแบบเต็มๆ แสดงในโปรแกรมที่ 1 และผลการท�ำงาน ผ่านหน้าต่าง Serial Monitor แสดงในรูปที่ 8

รูปที่ 7

ทดสอบการท�ำงานของบอร์ด เมื่อเปิด Arduino IDE ขึ้นมา ยังไม่ต้องเพิ่มโค้ดใดๆ ให้ใช้โค้ดเริ่ม ต้นของตัวโปรแกรมก่อน นั่นก็คือ

void setup()

{}

void loop()

{}

จากนั้นคลิกปุ่ม Upload เพื่อทดสอบว่า ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลด โปรแกรมเปล่าๆ ลงในบอร์ดได้หรือไม่

โปรแกรมที่ 1 โค้ดตัวอย่างเพื่อใช้งานวงจรฐานเวลานาฬิกาจริงบนบอร์ด Genuino 101

Library ของ Genuino 101 ส�ำหรับการใช้งานโมดูลบลูทูธแบบก�ำลังไฟฟ้าต�่ำ (BLE), ตัวตรวจ จับความเร่ง, ตัวตรวจจับไจโร และวงจรฐานเวลานาฬิกาจริง จะมีไลบรารี เตรี ย มพร้ อ มไว้ ใ ห้ ใ ช้ ง าน ท� ำ ให้ ส ะดวกเป็ น อย่ า งมากในการพั ฒ นา โปรแกรม ใช้ชื่อไฟล์ไลบรารีดังนี้ CurieBLE ส�ำหรับควบคุมการท�ำงานของโมดูลบลูทูธแบบก�ำลังไฟ ฟ้าต�่ำ (BLE) CurieIMU ส�ำหรับควบคุมการท�ำงานของตัวตรวจจับความเร่งและ ตัวตรวจจับไจโร CurieRTC ส�ำหรับควบคุมการท�ำงานของวงจรฐานเวลานาฬิกาจ ริง (RTC)

ตัวอย่างการใช้งาน Curie RTC จะต้องประกาศ include <CurieTime.h> เมื่อต้องการเรียกใช้งาน วงจรฐานเวลานาฬิกาจริงในโปรแกรม ฟังก์ชั่นส�ำหรับอ่านข้อมูลวันที่และเวลาจากวงจรฐานเวลานาฬิกา จริง มีดังนี้ hour() ส�ำหรับอ่านค่าชั่วโมงในปัจจุบัน minute() ส�ำหรับอ่านค่านาทีในปัจจุบัน second() ส�ำหรับอ่านค่าวินาทีในปัจจุบัน day() ส�ำหรับอ่านค่าวันที่ในปัจจุบัน month() ส�ำหรับอ่านค่าเดือนในปัจจุบัน year() ส�ำหรับอ่านค่าปีในปัจจุบัน 16

MAKERS

รูปที่ 8 ผลการติดต่อและอ่านค่าเวลาจากบอร์ด Genuino 101 มาแสดงที่ หน้าต่าง Serial Monitor

2. ก�ำหนดเวลาและวันที่ลงในวงจรฐานเวลานาฬิกาจริงบน บอร์ด Genuino 101

ฟังก์ชั่นที่ใช้งานคือ

setTime(hour, minute, second, date, month, year)

โปรแกรมตัวอย่างเป็นดังนี้

#include <CurieTime.h> void setup()

{ …

setTime(10,25,59, 3,1, 2016);

}

Void loop()

{}


Maker Knowledge ตัวอย่างการอ่านค่าตัวตรวจจับบนบอร์ด Genuino 101

ฟังก์ชั่นอ่านค่าจากตัวตรวจจับความเร่ง และไจโร เมือ่ ต้องการติดต่อเพือ่ ค่าจากตัวตรวจจับความเร่ง และไจโร มีฟงั ก์ชนั่ ที่ควรทราบดังนี้

ตัวอย่างโปรแกรมอ่านค่าตัวตรวจจับไจโร

โปรแกรมอ่านค่าตัวตรวจจับไจโรในแนวแกน X แสดงในโปรแกรมที่ 3

CurieImu.getMotion6(&ax, &ay, &az, &gx, &gy, &gz) เมื่อต้องการอ่านค่าจากตัวตรวจจับความเร่ง และไจโรพร้อมกัน CurieImu.getAcceleration(&ax, &ay, อ่านค่าจากตัวตรวจจับความเร่งจากทั้งสามแกน

&az) เมื่อต้องการ

CurieImu.getAccelerationZ() เมื่อต้องการอ่านค่าจาก ตัวตรวจ จับความเร่งในแนวแกน Z CurieImu.getRotation(&gx, อ่านค่าจากตัวตรวจจับไจโร

&gy, &gz)

เมื่อต้องการ

C u r i e I m u . g e t R o t a t i o n Y ( ) เมื่ อ ต้ อ งการอ่ า นค่ า จาก Gyroscope ในแนวแกน Y

ตัวอย่างโปรแกรมอ่านค่าตัวตรวจจับความเร่ง ตัวอย่างการอ่านค่าตัวตรวจจับความเร่ง ทั้ง 3 แกนพร้อมๆกัน แสดงไว้ในโปรแกรมที่ 2 และผลการท�ำงานที่แสดงบนหน้าต่าง Serial Monitor แสดงในรูปที่ 9

โปรแกรมที่ 3 โค้ดตัวอย่างเพื่ออ่านค่าตัวตรวจจับไจโร

รูปที่ 10 ผลการติดต่อและอ่านค่าตัวตรวจจับไจโรด้วยบอร์ด Genuino 101 มาแสดงที่หน้าต่าง Serial Monitor

ตัวอย่างโปรแกรมอื่นๆ

โปรแกรมที่ 2 โค้ดตัวอย่างเพื่ออ่านค่าตัวตรวจจับความเร่ง

รูปที่ 9 ผลการติดต่อและอ่านค่าตัวตรวจจับความเร่งด้วยบอร์ด Genuino 101 มาแสดงที่หน้าต่าง Serial Monitor

การใช้งานไลบรารีของบอร์ด Genuino 101 ดูได้ที่ File > Examples จะพบตัวอย่างการใช้งานไลบรารีอยู่ใน CurieTime, CurieImu, Curie SoftwareSerial และ CurieBle ส่วนค�ำสั่งอื่นๆของ Arduino สามารถใช้ งานร่วมกันได้ทั้งหมด นับเป็ นอี กหนึ่ งบอร์ ดที ่น่าสนใจจาก Intel ที ่เกิ ดจากการร่ วมมื อ กับ Arduino เพื อ่ ผลักดันกระแสของเมกเกอร์ ให้แรงและเด่นชัดมากขึ้ น จะเห็ นได้จาก Intel Curie ในตอนเปิ ดตัวถู กท� ำให้มีขนาดเล็ กยิ่ งกว่ า เดิ ม เหมาะกับการใช้งานใน Wearable Device แต่เมื อ่ มาอยู่ในรู ปของ Arduino/Genuino 101 ก็ถูกท�ำให้อยู่ในรู ปของบอร์ ด Arduino ทีค่ นุ้ ตากัน เหมาะกับการศึกษาและพัฒนาเป็ นต้นแบบ ก่อนทีจ่ ะน�ำไปใช้ใน ผลิ ตภัณฑ์จริ งต่อไป

สนใจสั่งซื้่อบอร์ด Genuino 101 ได้ที่ www.inex.co.th, www.thaieasayelec.com หรือ https://th.rs-online.com

M MAKERS

17


Microcontroller

Maker Knowledge ผศ. โอภาส ศิริครรชิตถาวร

ลอง-เล่น-ใช้

chipKIT Cmod

อีกหนึ่งบอร์ดไมโครฯ ที่พัฒนาโปรแกรมใน สไตล์ Arduino ชิปหลักคือ PIC32 ไมโคร คอนโทรลเลอร์เรือธงจาก Microchip จัดมา ให้ได้รู้จัก อีกทางเลือกส�ำหรับแฟน PIC32 ที่ต้องการพัฒนางานได้ง่ายขึ้น

อีกหนึ่งบอร์ดไมโครฯ ที่พัฒนาโปรแกรมในสไตล์ Arduino ชิปหลัก คือ PIC32 ไมโครคอนโทรลเลอร์เรือธงจาก Microchip จัดมาให้ได้รู้จัก อีกทางเลือกส�ำหรับแฟน PIC32 ที่ต้องการพัฒนางานได้ง่ายขึ้น

การติดตัง้ โปรแกรมส�ำหรับพัฒนาบอร์ด chipKIT Cmod

รู้จักกันในภาพรวม

1. ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม MPLAB X IDE ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ Microchip ผู้ผลิตซีพียูได้จัดเตรียมให้ส�ำหรับใช้กับ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล PIC32 การพัฒนาโปรแกรมใช้ภาษา C โดยเรียกใช้ไลบรารีของ Microchip และต้องใช้คู่กับ PicKit 3 เครื่องโปรแกรม/ดีบักเกอร์ไมโคร คอนโทรลเลอร์ PIC ในการดาวน์โหลดโปรแกรมภาษาเครื่อง

รูปของบอร์ด chipKIT Cmod พร้อมขาต่อและหน้าที่อื่นๆ ของขา แต่ละขาพอร์ตแสดงในรูปที่ 1 การนับขาของบอร์ด chipKIT Cmod จะ นับตามขาต่อของตัวบอร์ด เหมือนกับขาของไอซี DIP 40 ขาคือ เริ่มจาก มุมบนซ้ายเป็นขา 1 นับลงมาด้านล่างทวนเข็มนาฬิกา วนกลับขึ้นด้าน บนฝั่งขวามือไปจบที่มุมบนขวาเป็นขาที่ 40 จากรูปส่วนของคอนเน็กเตอร์ แถวคู่ 12 ขาได้รับการจัดขาตามมาตรฐาน Cmod ของ Digilent (www. digilentinc.com) ท�ำให้น�ำบอร์ดเสริมรุ่น Cmod มาเสียบต่อได้ทันที

ในการพัฒนาโปรแกรมให้กับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์อนุกรม chipKIT ท�ำได้ 2 วิธีคือ

2. ติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE จากเว็บ www.arduino.cc เรียก เมนู Board Manager เพื่อติดตั้งส่วนขยายเพื่อให้ Arduino IDE รู้จักกับ บอร์ด chipKIT พัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา C/C++ โดยเรียกใช้ไลบรารี ของ Arduino อัปโหลดโปรแกรมผ่านตัวแปลง USB เป็นพอร์ตอนุกรม ที่มาพร้อมกับบอร์ด chipKIT Cmod

ในบทความนี้เลือกใช้วิธีที่สอง ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

(1) ติ ด ตั้ ง โปรแกรม Arduino โดยไปที่ ห น้ า เว็ บ https://www. arduino.cc/en/Main/Software คลิกเลือกไฟล์ติดตั้งส�ำหรับระบบปฏิบัติ การต่างๆ เช่น Windows, Mac OSX หรือ Linux ส�ำหรับ Windows จะ มีไฟล์ติดตั้งสองแบบคือไฟล์ .exe ส�ำหรับติดตั้งโปรแกรมและ .zip ที่ ไม่ต้องติดตั้งเพียงแค่ขยายไฟล์เก็บในฮาร์ดดิสก์ ผู้เขียนเลือกไฟล์ .zip ดาวน์โหลดได้ไฟล์ Arduino-1.6.7-windows.zip จากนั้นให้ขยายไฟล์ บันทึกลงในฮาร์ดดิสก์ ตัวอย่าง ผู้เขียนบันทึกไฟล์เก็บในไดร์ฟ c:\ (2) เปิดโปรแกรม Arduino IDE ในตัวอย่างนี้ท�ำได้โดยการเปิด โฟลเดอร์ c:\arduino-1.6.7 ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ arduino.exe (3) ติดตั้ง chipKIT core (ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่ให้ Arduino IDE ใช้ กับบอร์ดของผู้ผลิตรายอื่นๆ ที่ต่างสถาปัตยกรรมได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://chipkit.net/wiki/index.php?title=ChipKIT_core ) มีขั้นตอนดังนี้ รูปที่ 1 รูปและขาต่อของบอร์ด chipKIT Cmod 18

MAKERS

(3.1) ทีโ่ ปรแกรม Arduino IDE คลิกเลือกเมนู File > Preference


Maker Knowledge คุณสมบัติของบอร์ด chipKIT Cmod - ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิตเบอร์ PIC32MX150F128D ท�ำงานที่ความถี่ 50MHz หน่วยความจ�ำแฟลช 128 กิโลไบต์ และหน่วยความจ�ำแรม 32 กิโลไบต์

- ตัวบอร์ดมีขาต่อ 40 ขาตามมตรฐานไอซีแบบ DIP ระยะห่าง 600 มิล ติดตั้งลง บนแผงต่อวงจรหรือเบรดบอร์ดได้โดยตรง

- อินพุตอะนาลอก 13 ช่อง ความละเอียดในการแปลงสัญญาณ 10 บิต

- มี LED ส�ำหรับผู้ใช้งานจ�ำนวน 2 ดวง

- มีวงจรสื่อสารข้อมูลอนุกรม UART, บัส SPI และ I2C อย่างละ 2 ชุด

- เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต USB เพื่อสื่อสารข้อมูลและอัปโหลดโปรแกรม

- ขาอินพุตเอาต์พุต 33 ขา

- ใช้ไฟเลี้ยงจากพอร์ต USB ได้ (3.5) ระบบจะดาวน์โหลดข้อมูลส่วนเสริมของบอร์ด chipKIT มาติดตั้งให้ Arduino IDE เพื่อให้รู้จักและใช้เขียนโปรแกรมได้ รอจน ดาวน์โหลดและติดตั้งส�ำเร็จ คลิกปุ่ม close เพื่อปิดหน้าต่างนี้

ติดตั้งไดรเวอร์ให้กับบอร์ด chipKIT Cmod ต่อสาย USB ให้กับบอร์ด chipKIT Cmod ในการต่อครั้งแรก ส�ำหรับคอมพิวเตอร์ของผู้เขียนที่ติดตั้ง Windows 10 ระบบจะท�ำการติด ตั้งไดรเวอร์อัตโนมัติ ให้เปิดหน้าต่าง Device Manager คลิกที่หัวข้อ Port (COM & LPT) จะพบกับอุปกรณ์ตัวใหม่คือ USB Serial Port (COM3) ดัง รูปที่ 5 ให้จ�ำหมายเลขนี้ไว้เพื่อน�ำไปใช้กับโปรแกรม Arduino IDE ต่อไป รูปที่ 2 หน้าต่าง Preferences ของ Arduino IDE ที่ป้อนข้อมูลส่วนเสริม ของบอร์ด chipKIT Cmod

(3.2) ที่ช่อง Addition Boards Manager URLs: ให้พิมพ์

https://github.com/chipKIT32/chipKIT-core/raw/ master/package_chipkit_index.json เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK

(3.3) เปิดโปรแกรม Arduino IDE จากนั้นคลิกเลือกเมนู Tools > Board โปรแกรมจะแสดงเมนูย่อยด้านซ้ายมือคลิกเลือกหัวข้อ Boards Manager… ดังรูปที่ 3 รูปที่ 5 เมื่อติดตั้งไดรเวอร์ส�ำเร็จจะพบอุปกรณ์ตัวใหม่เป็นพอร์ตอนุกรม COM3

เริ่มต้นใช้งาน Arduino IDE กับ chipKIT Cmod รูปที่ 3 การเลือกเมนู Boards Manager…

(1) เริ่มต้นด้วยการเปิดโปรแกรม Arduino IDE โปรแกรมจะเปิด หน้าต่างของโปรแกรมดังรูปที่ 6

(3.4) โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง Boards Manager คลิกเลื่อนดู ข้อมูลด้านล่างสุดจะพบบอร์ด chipKIT by chipKIT Community ให้คลิก ที่ More info โปรแกรมจะแสดงรุ่นของส่วนขยายนี้พร้อมกับปุ่ม Install ให้ คลิกปุ่ม Install ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 ที่หน้าต่าง Boards Manager ให้ค้นบอร์ดของ chipKIT คลิก More Info คลิก Install

รูปที่ 6 หน้าตาเริ่มต้นของโปรแกรม Arduino IDE MAKERS

19


(2) ถัดมาให้เลือกบอร์ดเป็น chipKIT Cmod ด้วยการคลิกเมนู Tools > Board > chipKIT Cmod ดังรูปที่ 7

(5) แก้ไขโปรแกรม 3 ต�ำแหน่ง โดยเปลี่ยนตัวเลขจาก 13 เป็น 14 ดัง รูปที่ 10

รูปที่ 10 แสดงต�ำแหน่งแก้ไขโปรแกรม รูปที่ 7 เลือกบอร์ดเป็น chipKIT Cmod (3) เลือกพอร์ตเชื่อมต่อ โดยคลิกเลือกเมนู Tools > Port > COM3 ดังรูปที่ 8

(6) เมื่อเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว ให้ท�ำการบันทึกโปรแกรมด้วยการ คลิกเลือกเมนู File > Save หรือคลิกที่ปุ่ม [ไฟล์ chipKIT-SaveButton] ตัวโปรแกรม Arduino IDE จะแจ้งว่า เป็นไฟล์ที่อ่านได้อย่างเดียว ให้ บันทึกไฟล์ในชื่อใหม่ จากตัวอย่างตั้งชื่อเป็น BlinkLED โดยให้บันทึก ในโฟลเดอร์ Document\Arduino โดยจะสร้างโฟลเดอร์ชื่อเดียวกับ โปรแกรมคือ BlinkLED พร้อมกับบันทึกไฟล์ชื่อ BlinkLED.ino ไว้ใน โฟลเดอร์นี้ (7) คอมไพล์โปรแกรมด้วยการคลิกปุ่ม Verify [ไฟล์ chipKITVerifyButton] หรือกดคีย์ Ctrl และ V ถ้าโปรแกรมที่เขียนขึ้นไม่มีที่ผิด ที่ หน้าต่าง Status ด้านล่างของโปรแกรม Arduino IDE จะแจ้งขนาดของ โปรแกรมภาษาเครื่องที่ได้ ดังรูปที่ 11 ในโปรแกรมตัวอย่างนี้มีขนาด 6,272 ไบต์

รูปที่ 8 เลือกพอร์ตที่ใช้ติดต่อกับบอร์ด chipKIT Cmod (4) เริม่ ต้นเขียนโปรแกรมควบคุมให้ขา 14 มีการท�ำงานเป็นลอจิก "1" หรือ "0" โดยขา 14 ต่อกับ LED LD3 ทีอ่ ยูม่ มุ ล่างซ้าย จึงไม่จำ� เป็นต้องต่อ LED เพิม่ เติม คลิกเลือกเมนู File > Examples > 01.Basics > Blink ดังรูปที่ 9

รูปที่ 11 ผลของการแปลโปรแกรมที่เสร็จสมบูรณ์ (8) อั ป โหลดโปรแกรมให้ ค ลิ ก ปุ ่ ม Upload [ไฟล์ chipKITUploadButton] หรือกดคีย์ Ctrl และ U โปรแกรม Arduino IDE จะสั่ง คอมไพล์โปรแกรมและส่งโปรแกรมไปยังบอร์ด สังเกต LED ต�ำแหน่ง LD1 และ LD2 ด้านล่างของพอร์ต USB จะกะพริบรวดเร็วขึ้นตามจังหวะ การรับส่งข้อมูล เมื่ออัปโหลดโปรแกรมส�ำเร็จแล้ว โปรแกรม Arduino จะแจ้งสถานะดังรูปที่ 12

รูปที่ 9 ขั้นตอนการเปิดโปรแกรมไฟกะพริบตัวอย่าง รูปที่ 12 โปรแกรม Arduino แจ้งสถานะการอัปโหลดโปรแกรมส�ำเร็จแล้ว 20

MAKERS


Maker Knowledge

(9) เมื่ออัปโหลดโปรแกรมเสร็จ บอร์ด chipKIT Cmod จะท�ำงาน ทันที LED ที่ต�ำแหน่ง LD4 ที่ต่อกับขา 14 จะติดนาน 1 วินาที แล้วดับ 1 วินาที สลับกันไปมาตลอดเวลา ทดลองแก้โปรแกรมให้เปลี่ยนเวลาการ ติดดับด้วยการเปลี่ยนค่า delay(1000); เป็นค่าอื่นๆ ตามต้องการ

การทดลองอ่านค่าจาก DHT11 โมดูลตตรวจจับ ความชื้นแสดงผลทางพอร์ตอนุกรม ในหัวข้อนี้จะทดลองเขียนโปรแกรมอ่านค่าอุณหภูมิและความชื้น จากโมดูล DHT11 โดยใช้ไลบรารีส�ำเร็จรูปจาก Adafruit เริ่มต้นให้ ดาวน์โหลดไลบรารีจากเว็บ https://github.com/adafruit/DHT-Sensorlibrary คลิกที่ปุ่ม Download Zip ดังรูปที่ 13 จะได้ไฟล์ DHT-sensorlibrary-master.zip

รูปที่ 15 ผังการต่อ chipKIT Cmod กับโมดูล DHT-11

จากไฟล์ตัวอย่างให้แก้ไขโปรแกรม 3 บรรทัดต่อไปนี้

บรรทัดที่ 6 แก้ #define DHTPIN 2 แก้เป็น #define DHTPIN 4 เนือ่ งจากขา 2 ของ chipKIT Cmod เป็นขา VCC 3V3 ไม่สามารถใช้งานได้

บรรทัดที่ 9 ลบเครือ่ งหมาย // หน้าบรรทัด #define DHTTYPE DHT11

บรรทัดที่ 10 เพิม่ เครือ่ งหมาย // หน้าบรรทัด #define DHTTYPE DHT22

โปรแกรมที่แก้ไขแล้วแสดงได้ในรูปที่ 16

รูปที่ 13 ดาวน์โหลดไลบรารี DHT sensor ของ Adafruit การติดตั้งไลบรารี DHT ให้กับ Arduino IDE ท�ำได้ง่าย เพียง ท�ำการขยายไฟล์ แล้วบันทึกทั้งโฟลเดอร์ที่ขยายจากไฟล์ .zip ในที่นี้คือ โฟลเดอร์ DHT-sensor-library-master ไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ libraries ของ Arduino ในตัวอย่างนี้ก็คือ c:\arduino-1.6.7\libraries ขั้นตอนต่อมา เปิดไฟล์ตัวอย่างของ DHT-sensor-library จาก โปรแกรม Arduino IDE คลิกเลือกเมนู File > Examples > DHT-sensor library > DHTtester ดังรูปที่ 14

รูปที่ 16 โปรแกรม DHTtester ที่แก้ไข (แก้ไขไฟล์เสร็จแล้วเซฟชื่อใหม่เป็น DHT11) อัปโหลดโปรแกรมไปยังบอร์ด chipKIT Cmod แล้วคลิกปุ่ม [ไฟล์ chipKIT-SerialButton.png] เพื่อเปิดหน้าต่าง Serial Monitor ของ Arduino IDE หรือกดคีย์ Ctrl Shift และ M หน้าต่างนี้จะแสดงข้อความค่า ความชื้นและอุณหภูมิที่อ่านได้จาก DHT11 ดังรูปที่ 17 รูปที่ 14 เลือกโปรแกรมตัวอย่างของไลบรารี DHT sensor การเชื่อมต่อกับ chipKIT Cmod ของโมดูล DHT11 จะใช้งานเพียง 3 ขาคือ ไฟเลี้ยง +3.3V ให้ต่อกับขา 2 ของ chipKIT Cmod, ต่อกราวด์ที่ ขา 40 และต่อขาสัญญาณของ DHT11 เข้ากับขา 4 ของ chipKIT Cmod ดังรูปที่ 15

รูปที่ 17 ผลการท�ำงานของโปรแกรมตัวอย่างที่อ่านค่าจาก DHT11 MAKERS

21


/* DHT11-LCD.ino Reading temp and humidity from DHT11 display on LCD 16x2 By Opas Sirikunchittavorn */ #include "DHT.h" #include <LiquidCrystal.h>

#define DHTPIN 4

การทดลองอ่านค่าอุณหภูมิความชื้นจาก DHT11 แสดงผลออกที่โมดูล LCD จากหัวข้อก่อนหน้านี้ จะเปลี่ยนการแสดงผลจากหน้าต่าง Serial Monitor เป็นโมดูล LCD 16 ตัวอักษร 2 บรรทัด ใน Arduino IDE มี ไลบรารีส�ำหรับต่อกับโมดูล LCD ตัวอักษร การเรียกใช้ท�ำได้ง่าย เพียง เพิ่มบรรทัด #include <LiquidCrystal.h> ไว้ที่ส่วนหัวของโปรแกรม ใน ไลบรารีใช้การเชื่อมต่อแบบข้อมูลขนาน 4 บิต และ สัญญาณควบคุม 2 บิต รวม 6 บิต

การเชื่อมต่อระหว่าง chipKIT Cmod กับโมดูล LCD เป็นดังนี้

#define DHTTYPE DHT11

ขาของโมดูล LCD : RS R/W EN D4 D5 D6 D7

DHT dht(DHTPIN, DHTTYPE);

ขา chipKIT :

// initialize the library with the numbers of the interface pins LiquidCrystal lcd(5, 6, 7, 8, 10, 11);

5

Gnd 6

7

8

10

ต่อขา Data ของ DHT11 ต่อกับขา 4 ของ chipKIT Cmod

เขียนโปรแกรมทดสอบตามที่แสดงในโปรแกรมที่ 1

11

ผลการท�ำงานของโปรแกรมแสดงได้ดังรูปที่ 18

void setup() { dht.begin(); lcd.begin(16, 2); }

void loop() { delay(1000);

float h = dht.readHumidity(); // Read temperature as Celsius (the default) float t = dht.readTemperature();

// Check if any reads failed and exit early (to try again). if (isnan(h) || isnan(t)) { lcd.print("Failed to read from DHT sensor!"); return; } lcd.setCursor(0, 0); lcd.print("Humid.: "); lcd.print(h);

lcd.setCursor(0, 1); lcd.print("Temp. : "); lcd.print(t); }

โปรแกรมที่ 1 โปรแกรมทดสอบอ่านค่าโมดูลวัดความชื้นสัมพัทธ์ DHT11 ด้วย chipKIT Cmod แสดงผลผ่านโมดูล LCD 16 ตัวอักษร 2 บรรทัด

22

MAKERS

รูปที่ 18 การท�ำงานของโปรแกรมอ่านค่าโมดูลวัดความชื้นสัมพัทธ์ DHT11 ด้วย chipKIT Cmod แสดงผลผ่านโมดูล LCD 16 ตัวอักษร 2 บรรทัด ทัง้ หมดที ่น�ำเสนอเป็ นการแนะน� ำให้เมกเกอร์ ทราบว่า ในปั จจุบนั มี บอร์ ดไมโครฯ ทางเลือกมากมายทีน่ �ำ Arduino IDE ไปต่อยอด ท�ำให้ มี ความสามารถสูงขึ้น อย่างเช่นการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิ ตจาก PIC32 ของ Microchip ทีเ่ ดิ มหากใช้ MPLAB X ในการพัฒนาร่ วมกับ C32 คอมไพเลอร์ อาจยากหรื อค่อนข้างซับซ้อน เมื อ่ มี ตวั ช่วยทีย่ งั คงท�ำให้ การใช้งาน PIC32 ดีเหมื อนเดิ มอยู่ ก็ควรให้ความสนใจ มิ ตรรักแฟน PIC ทีส่ นใจจะพัฒนาโปรแกรมในสไตล์ Arduino ตัว chipKIT Cmod จึงเป็ น ทางเลือกทีน่ ่าสนใจ

M

สนใจสั่งซื้อบอร์ด chipKIT Cmod ได้ที่ บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จ�ำกัด / www.inex.co.th


Craft

Maker Project PINN Creative Space

ถุงผ้า

ลายการ์ตูน

จาก Felt

เพื่อนๆ เคยคิดอยากได้ถุงผ้าลายน่ารักๆ แต่แหวกแนวจากเทคนิคสกรีนแบบเดิมๆ ไหมเอ่ย ถ้าอยากได้ ตามมาเลยค่ะ มาท�ำถุงผ้าจาก Felt ลายตัวการ์ตูน ง่ายๆ ด้วยตัวเองกัน

รู้จักกับงาน Felt กันก่อน Needle felting เป็นเทคนิคงานฝีมืออย่างหนึ่ง เป็นการน�ำเส้นใย ขนแกะหรือโพลีเอสเตอร์ (ผ้าสักหลาด) น�ำมาดัดแปลงให้เป็นรูปร่างหรือ รูปภาพ โดยการใช้เข็มชนิดพิเศษแทงให้เกิดป็นรูปร่าง มีทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ หากเป็นแบบ 2 มิติ เป็นลักษณะสร้างรูปภาพลงบนพื้นผ้า โดยต้อง ใช้แปรงรอง Felt มารองด้านล่างของผ้าที่ต้องการใส่ลวดลายลงไป แล้ว ใช้เข็มชนิดพิเศษในการสร้าง Felt แทงให้เกิดรูปภาพ รอยบากในเข็มจะ น�ำพาเส้นใยขนแกะให้ยึดติดกับตัวผ้าด้านล่างไปด้วย ท�ำให้เส้นใยยึดติด กับตัวผ้าได้

รูปที่ 1 ตัวอย่างงานFelt แบบ 2 มิติ [ค�ำบรรยายใต้รูป]

MAKERS

23


Maker Project กรณีแบบ 3 มิติ เป็นการสร้างชิ้นงานลอยตัว เช่น ตุ๊กตา โดยใช้โฟม เป็นฐานรองด้านล่างแทนแปรง แล้วน�ำใยขนแกะที่ต้องการวางไว้บนโฟม จากนั้นใช้เข็มแทงให้เส้นใยยึดติดกันแน่น และใหญ่ตามขนาดที่ต้องการ

3. เส้นไหมพรมส�ำหรับถัก

รูปที่ 5 เส้นไหมพรม

รูปที่ 2 ตัวอย่างงาน Felt แบบ 3 มิติ

ชนิดของวัสดุส�ำหรับ Needle Felting

มี 3 ชนิดคือ

1. ใยโพลีเอสเตอร์หรือผ้าสักหลาด มีลักษณะเป็นแผ่นหนา เหมาะ กับผู้เริ่มต้นเรียนเทคนิค Felt เพราะ ควบคุมได้ง่ายกว่า

อุปกรณ์ • ถุงผ้าแคนวาส • ผ้าสักหลาด สีส้ม สีน�้ำตาล และสีขาว • ใย Needle Felting สีเขียว น�้ำเงิน เหลือง • แปลงรอง Felt • เข็ม Felt อุปกรณ์ทั้งหมดมีจ�ำหน่ายที่ PINN Shop สาขา The Shoppes Grand Rama 9

รูปที่ 3 ใยโพลีเอสเตอร์หรือผ้าสักหลาด 2. ใยขนแกะเป็นใยที่ท�ำจากขนแกะ น�้ำหนักเบา น�ำไปท�ำเป็นงานที่ มีลักษณะ 3 มิติ ได้

เมื อ่ พอรู้จกั การ Felt แล้ว ไป เริ่ มขั้น ตอนการท� ำ กัน เลย ดีกว่าค่ะ ... รูปที่ 4 ใยขนแกะ Needle Felting

24

MAKERS


วิธีท�ำ

14.1

(1) ตัดแผ่นผ้าสักหลาดสีส้ม (ล�ำตัว), สี ขาว (ปาก) และ สีน�้ำตาล (ปลายหาง, หู, ตา และจมูก) ตามแบบในรูปที่ 6 จะได้ชิ้นส่วนดัง รูปที่ 7 รูปที่ 10

รูปที่ 6

(5) ส่ ว นเสื้ อ สี เ ขี ย ว ใช้ ใ ย Needle Felting สีเขียว วิธีการคือ ค่อยๆ ดึงออกใย ออกมาทีละน้อย น�ำไปวางไว้บนตัวถุง และ ค่อยๆ ใช้เข็มแทงลงไปให้ยึดติดกับตัวผ้า ตาม รูปที่ 11

14.2

14.3 รูปที่ 7 รูปที่ 11 (2) น�ำฐานรอง Felt ใส่ดา้ นในตัวถุงให้ดา้ น แปรงหงายขึน้ จากนัน้ น�ำส่วนล�ำตัวสีสม้ วางแนบ ถุงด้านนอก ให้แปรงอยูด่ า้ นล่าง ดังรูปที่ 8

รูปที่ 14

(6) ส�ำหรับตัวหนังสือ ให้ใช้ดินสอร่าง เป็นแนวทางไว้ก่อน แล้วน�ำ Felt สีเขียวและสี เหลืองมาผสมกัน ด้วยการฉีกและจับมาผสม กันทีละน้อย จนสีทั้งสองผสมกัน (เทคนิคนี้ไม่ ใช้การขย�ำนะคะ มิเช่นนั้นสีอาจไม่กลืนกัน) ดัง รูปที่ 12

รูปที่ 8 (3) ค่อยๆ ใช้เข็มแทงลงไปตรงๆ ให้ทะลุ เพื่อให้เนื้อผ้าสักหลาดติดเข้ากับเนื้อถุง ท�ำเช่น นี้เรื่อยๆ จนผ้าสักหลาดติดแน่นกับตัวถุง ตาม รูปที่ 9 (ไม่ต้องแน่นมากก็ได้ เพราะถ้าแน่น มากไปอาจไม่สวย)

รูปที่ 12 (7) ค่อยๆจับ Felt ให้เป็นรูปร่างตามแบบ ตัวอักษร แล้วใช้เข็มแทงเช่นเดิมจนแน่น และ เป็นรูปร่างของตัวหนังสือตามที่ออกแบบไว้ เพื่อให้ได้งานที่ละเอียดมากขึ้น เลือกดึงเข็ม ออกให้เหลือ 2 หรือ 1 จะได้ควบคุมง่ายขึ้น ดังรูปที่ 13 และ 14

รูปที่ 15 ถุงผ้าจากเทคนิต Felt จากฝีมือคุณเอง เสร็จแล้ววววววว ถุงผ้าลายการตูนจาก เทคนิ ค Felt เพื่ อ นๆ สามารถดั ด แปลงเป็ น ลายอื่นๆได้ด้วยนะคะ

รูปที่ 9 รูปที่ 13 (4) แปะชิ้ น ส่ ว นสี อื่ น ๆทั บ บนพื้ น สี ส ้ ม ตามที่ออกแบบไว้ ท�ำแบบเดิมจนผ้าติดแน่น ขั้นตอนนี้จะยากนิดหน่อยเพราะมีความหนา มากขึ้นระมัดระวังในการใช้เข็มด้วยนะคะ

เทคนิ คการท� ำผ้าเพื อ่ งานประดิ ษฐ์ มีหลากหลาย ด้วยเครื ่องมื อหลายแบบ แต่ทีส่ �ำคัญคือ Creativity ที ่ มี ในตัวเมกเกอร์ ทกุ ท่านบวกกับความตัง้ ใจในการลงมื อ ท�ำต่างหากคือ เรื ่องจริ งๆ ทีท่ �ำให้เกิ ดผลงานจริ ง มาสนุก กับการเป็ นเมกเกอร์ ดว้ ยกันนะคะ

M

MAKERS

25


Gadget

Maker Project กังสดาล พิณนภา

Roulette-10 ไฟวิง่ เสีย ่ งทาย

อีกหนึ่งโครงงานเกมอิเล็กทรอนิกส์ สุดคลาสสิกที่โกงไม่ได้ !! กระแส​ของ Retro Electronic มาแรง​อยาง​ตอเนื่อง โดย เฉพาะ​อ ยางยิ่ง​ใน​สหรัฐอเมริกา​และ​ญี่ปุน จาก​การ​ติดตาม​ขา วสาร​พ บ​วา ตอนนี้​มี​ผูผลิต​ชุ ดคิต ​โครงงาน​รวมถึง​เขียน​ต�ำรา​ อิเล็ ก ทรอนิกส​พื้น ฐาน​ออกมา​กัน ​อ ย า ง​ต อเนื่อง ​โดยเฉพาะ​ อยางยิ่ ง​พวก​โ ครงงาน​อิเล็กทรอนิ ก ส ​ส�ำ หรับ​นัก​เลน ​หนาใหม เรียกวา เกิด​การ​ยอน​ยุค​กลับ​ไป​เมื่อ 20 ถึง 30 ปกอน อาจ​เปน​ เพราะว า ​วันนี้ ​อ เมริ กัน​ช น​เ ริ่ ม ​ต ระหนั ก​แล ว​ว า ​พ วกเขา​ขาด​ นัก​ประดิษฐ​หนาใหม ท�ำให​ขาด​ความ​ตอเนื่อง​ใน​การ​พัฒนา​ นวัตกรรม เนื่องจาก​ความรู​พื้นฐาน​ที่​จำ� เปน​ถูก​ละ​เลยไป รวม ถึง​ขาด​การ​ปลูกฝง​ทักษะ​และ​จิตวิญญาณ​ของ​นัก​ประดิษฐ​ที่​ บรรพบุรุษ​ของ​พวก​เคา​เคย​กระท�ำ​มา​อยาง​ตอเนื่อง ชวง 10 ป​ หลัง​อเมริกัน​ชน​สวนใหญ​กลาย​เปน​ผูบริโภค​อยางเดียว จน​ ท�ำให​ดูเหมือน​ความ​เปน​มหาอ�ำนาจ​ใน​การ​ประดิษฐ​สิ่งของ​ ของ​พวกเขา​ดู​ถดถอย​ลง​ไป แมวา​จะ​มี​นวัตกรรม​กอง​โลก​ออก มา​อยาง iPAD หรือ i-Phone แต​นั่น​ก็​เปน​เพียง​ตัวอยาง​หนึ่ง​ ใน​ลาน ทั้งที่​ในอดีต​พวกเขา​คือ ประเทศ​มหาอ�ำนาจ​ใน​วงการ​ ประดิษฐ 26

MAKERS

เราเองก็ ​มี​แนวคิด​ที่​ตองการ​สงเสริม​ให​มี​นัก​อิเล็กทรอนิกส​หนาใหม​ เข า มา​โ ลดแล น​ใน​แวดวง​เทคโนโลยี​ให​มาก​และ​มี ​ความ​ตอเนื่อง​คะ ดังนั้น​ จึง​เพียร​พยายาม​หา​โครงงาน​ที่​สราง​ได​ไมยาก และ​รับประกัน​ผล​การ​ท�ำงาน​ ชนิด​ที่​เรียกวา หาก​พอ​บัดกรี​ได ตอง​ท�ำ​โครงงาน​เวิรก แนนอน​ท�ำให​เรา​ตอง​ มี​ก าร​น�ำ เสนอ​โ ครงงาน​พื้ นฐาน​ใน​แ นว​ย อน​ยุค ​ห น อ ยๆ เพราะ​โครงงาน​ เหลานั้น​ผาน​การ​พิสูจน​ทาง​กาล​เวลา​มาแลว เรา​ก็​จะ​ดัดแปลง​เพื่อให​เขากับ​ อุปกรณ​ทมี่​ ี​จ�ำหนาย​ใน​หวง​เวลานั้นๆ โครงงาน​ที่​น�ำมา​เสนอ​นี้​คือ หนึ่ง​ตัวอยาง​ของ​โครงงาน​อิเล็กทรอนิกส​ ยอดนิ ย ม​ต ลอดกาล​ข อง​ค า ย​อิ เ ล็ก ทรอนิ ก ส​ส�ำ หรับ​เยาวชน​และ​นัก​เลน​ หน า ใหม นั่ น ​คื อ โครงงาน​ไ ฟ​ว่ งิ ​เ สี่ ยงทาย​ หรื อ Roulette โดย​ไฟ​วิ่ง​ เสี่ยงทาย​ที่​น�ำมา​เสนอ​นี้​รับประกัน​การ​โกง​คะ เนื่องจาก​ใน​โครงงาน​นี้​ไมมี​ การ​ใช​ไมโคร​คอนโทรลเลอร ท�ำให "ล็อก​ผล" ไมไ ด​แนน อน ดว ย​การ​ใช​อปุ กรณ​ พืน้ ฐาน​ที่ท�ำงาน​โดย​ไม​ตอง​ม​ีการ​คิด​ค�ำนวณ ท�ำให​ไม​สามารถ​คาดเดา​ได​ เลย​ถึง​พฤติกรรม​ของ​อิเล็กตรอน​ที่​วิ่ง​ไป​วิ่ง​มา​ใน​ตัว​เก็บ​ประจุ​ที่​ใช​ใน​การ​ ก�ำหนด​คา​ความถี่​ของ​สัญญาณ​นาฬิกา​ที่​น�ำมาใช​กระตุน​การ​ท�ำงาน​ของ​ ไฟ​วิ่ง​เสี่ยงทาย​นี้


100n

4017

4017 100n

100n

4017

47µF

100n

4017

4017 100n

100n

100n

47µF

4017

100n

47µF

4017

47µF

4017

ก็ ​ง  า ยๆ เจ า คะ เพียง​กด​สวิตช​เพื่อ​เริ่ม​การ​ท�ำงาน LED บน​แผน​วงจร​พิมพ จะ​เริ่ม​ท�ำงาน​เปนไฟ​วิ่ง​ทีละ​ดวง​และ​จะ​วิ่ง​ ชา​ลง จน​หยุด​ที่​ดวง​ใด​ดวง​หนึ่ง ซึ่ง​ไม​สามารถ​คาดเดา​ได ดัง​ แสดง​ใน​รูป​ที่ 1 การ​น�ำไป​ใชงาน​จึง​เหมาะกับ​การ​เสี่ยงทาย​เพื่อ​ ประกอบ​ใน​การ​เลนเกม​หรือ​กิจกรรม ไม​แนะน�ำ​ให​ไป​ใช​ในทาง​ ที่​ไมสมควร​นะคะ

4017

47µF

4017

ไฟ​วิ่งเ​สี่ยงทาย..ท�ำงาน​อยางไร

100n

100n

รูปที่ 1 ภาพจ�ำลองลักษณะการท�ำงานของ Roulette-10

วงจร​ข อง Roulette-10 ไฟ​วิ่ง​เสี่ยงทาย​แสดง​ใน​รูป​ที่ 2 จะ​เห็นวา ใช​อุปกรณ​แสน​จะ​พื้นฐาน​คือ ไอซี 555 เพื่อ​เกา​ที่มา​ กับ​สหาย​รัก​ไอซี 4017 โดย​มี​นอง LED 10 ดวง​ท�ำหนาที่​แสดง ผล การ​ท�ำงาน​คือ IC1 เบอร 555 จะ​ท�ำหนาที่​ก�ำเนิด​สัญญาณ​ นาฬิกา​สงไปยัง IC2 เบอร 4017 เพื่อ​ท�ำการ​นับ​และ​แสดง​ดวย​ การ​ขับ LED ให​ติด​ทีละ​ดวง IC1 จะ​ก�ำเนิด​สัญญาณ​ได​ก็ตอ เมื่ อ ​มี ​ก าร​ก ด​สวิต ช S1 ท�ำ ให​ทรานซิ ส เตอร Q1 ท�ำ งาน เกิด​ แรงดัน​ไป​ประจุ​ตัว​เก็บ​ประจุ C2 สงผลให IC1 เริ่ม​ทำ� การ​สราง​ สัญญาณ​นาฬิกา และ​เมื่อป​ ลอย​ สวิตช S1 ตัว IC1 ยังคง​ก�ำเนิด​ สัญญาณ​ตอไป​เนื่องจาก​ยังมี​ประจุ​อยู​ใน C1 แต​ความเร็ว​ใน​ การ​ทำ� งาน​ของ IC2 ที่​ได​สัญญาณ​จาก IC1 จะ​คอยๆ ลดลง​ ตาม​แรงดัน​ที่อยู​ภายใน C1 จนกระทั่ง C1 หมด​ประจุ Q1 จะ​ หยุด​ท�ำงาน IC1 ก็​จะ​หยุด​การ​สงสัญญาณ​นาฬิกา IC2 จึง​หยุด​ ท�ำงาน​ตาม แต​จะ​คง​สถานะ​เอาตพุต​สุดทาย​ไว นัน่ ​คือ ผล​ของ​ การ​เสี่ยงทาย​ใน​ทายที่สุด

47µF

4017

วา​กัน​เรื่อง​ของ​วงจร

การ​สราง เนื่ อ งจาก​เปน​โครงงาน​ส�ำหรับ​มือใหม​หัด​ขับ​อยู​แลว ก็​ งายๆ เลย เริ่มจาก​ทำ​� แผน​วงจร​พมิ พ​ตา​มลาย​ทองแดง​ท​ี่แสดง​ใน​ รูป​ที่ 3 จากนัน้ ​จดั หา​อปุ กรณ​มา​บัดกรี​ลง​บน​แผน​วงจร​พิมพ​ตาม แบบ​ใน​รูป​ที่ 4 ส�ำหรับ IC1 และ IC2 ควร​ใส​ซ็อกเก็ตด​ วย เพราะ​ หาก​บัดกรี​โดย​ตรง​ความ​รอน​จาก​ปลาย​หัวแรง​อาจ​ท�ำให​ไอซีเ​สีย​ ได จุด ​ที่​ตองระวัง​เพิ่มเติม​คือ ขา​ของ Q1 และ LED ทั้ง 10 ดวง​ต อง​ใส​ให​ ถูกตอง ส�ำหรับ​ก าร​บัดกรี LED อาจ​ตอง​คิด​ เผื่อ​ใน​กรณีที่​ตองการ​ลง​กลอง ตอง​บัดกรี​ให LED สูงขึ้น​มา​พอ สมควร เพราะ​หาก​ใส LED แบบ​ชิดกับ​แผน​วงจร​พิมพ (เหมือน​ โครงงาน​ตนแบบ) การ​จะ​ติดตั้ง​เขากับ​หนาปด​จะ​ยาก เดี๋ยว​จะ​ หาวา..สวย​ไม​เตือน จะ​เห็นวา งาน​นี้​ไมมี​การ​เดิน​สายไฟ​ใดๆ ให​ยุงยาก บัดกรี​ เสร็จ​ก็​ตอ​ขั้ว​ถาน​เอา​แบตเตอรี่ 9V มา​ตอ​เพื่อ​จายไฟ กด​สวิตช LED ทั้ง 10 ดวง​จะ​ติด​กะพริบ​และ​ยัง​ไม​เปนไฟ​วิ่ง​เรียง​ทีละ​ตัว​ จนกวา ​จะ​ปล อย​สวิ ต ช ทัน ทีที่​ปล อย​สวิ ต ช LED จะ​เ ปนงาน​ เปนไฟ​วิ่ง​ทันที จนกระทั่ง​หยุด​ติดคาง​ที่​ต�ำแหนง​ใด​ต�ำแหนง​หนึ่ง

M

100n

รูปที่ 3 ลายทองแดงขนาดเท่าแบบของแผ่น รูปที่ 4 การลงอุปกรณ์บนแผ่นวงจรพิมพ์ วงจรพิมพ์ส�ำหรับ Roulette-10

รายการอุปกรณ์ ตัวต้ านทาน R1- 470kΩ 1/4W 5% R2 - 3.3MΩ 1/4W 5% R3 - 10kΩ 1/4W 5% R4 - 4.7MΩ 1/4W 5% R5 - 470Ω 1/8W 5% ตัวเก็บประจุ C1 - 2.2µF 16V อิเล็กทรอไลต์ C2 - 0.1µF 63V โพลีเอสเตอร์

อุปกรณ์ สารกึ่งตัวน�ำ LED1 ถึง LED10 - LED สีแดงแบบกลม 5 มม. 10 ตัว IC1 - ไอซี 555 IC2 - CD4017 Q1 - ทรานซิสเตอร์ BC557 อื่นๆ B1 - แบตเตอรี่ 6 หรือ 9V S1 - สวิตช์กดติดปล่อยดับ ขาลงแผ่นวงจรพิมพ์ เทอร์มินอลบล็อก 2 ขาตัวเล็ก, ซ็อกเก็ตไอซี 8 ขา, ซ็ อกเก็ตไอซี 16 ขา, ขั้วต่อแบตเตอรี่, แผ่นวงจรพิมพ์

MAKERS

27


Gadget

Maker Project Tommy Diy

Smartphone Holder for Car อุปกรณ์ยึดสมาร์ตโฟนในรถ

ประดิษฐ์ที่จับยึดสมาร์ตโฟนเพื่อท�ำหน้าที่ เป็นกล้องติดหน้ารถและแผนที่น�ำทาง โดย ไม่ ต ้ อ งยึ ด กั บ กระจกหน้ า รถ ท� ำ ได้ ด ้ ว ย พลาสวูด A4 เพียงแผ่นเดียว แค่ เห็นภาพผู้อ่านคงร้องอ๋อโดยไม่ต้องบรรยายอะไรมาก ว่าเจ้า อุปก รณ์ที่ว่านี้มันเอาไว้ท�ำอะไร แต่ก็แฝงด้วยความสงสัยกันต่อว่า จะท�ำ ไป เพื่ออะไร ทั้งๆ ที่อุปกรณ์ที่ท�ำหน้าที่แบบนี้มันก็มีขายกันให้ เกลื่อนตลาดแถมยังราคาหลักร้อยต้นๆ ซื้อเค้าไม่ดีกว่าเหรอ? แน่นอน ครับว่า ซื้อเอาทั้งสะดวกและสวยงาม แต่หากใครที่ต้องจอดรถกลาง แดดทุ กวันคงจะรู้ซึ้งถึงความร้อนที่สะสมอยู่หน้ากระจกรถของเรา ท�ำให้ เจ้าตัวดูดกระจกที่เราซื้อมาไม่สามารถทานทนได้และจ�ำต้องลา จากเราไปในเวลาอันแสนสั้น

ขั้นตอนการประดิษฐ์ (1) ตั ด แผ่นพลาสวูดขนาด 10x29 ซม. น�ำมาพับครึ่ง ด้วยปืนเป่า ลมร้อน โ ด ย การเป่าให้ความร้อนทั้งสองด้านของแนวที่ต้องการพับ เมื่อ เห็นว่า แ ผ่ นพลาสวูดเริ่มอ่อนตัวแล้ว ให้น�ำไปทาบกับวัสดุอะไรก็ได้ที่มี ความหนาใกล้เคียงกับที่บังแดด (ในที่นี้ใช้พลาสวูด 10 มม.) แล้วพับให้ แนบกับวั ส ดุที่น�ำมาทาบดังรูปที่ 1.3 รอให้พลาสวูดเย็นลงค่อยดึงออกมา จะได้ขาหนีบกับที่บังแดดรถยนต์ดังรูปที่ 1.4

ดังนั้น อุปกรณ์นี้จึงเป็นอีกทางเลือกของคนจอดรถกลางแจ้งและ ต้องกา รใ ช้สมาร์ตโฟนท�ำหน้าที่เป็นกล้องหน้ารถหรือใช้งานแผนที่ ส�ำหรับ น�ำ ทาง โดยอุปกรณ์นี้ออกแบบให้เสียบเข้ากับที่บังแดดในรถ ลองมาดูอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมกันก่อน

เตรียมอุปกรณ์

1.1

1.2

1. ตัวจับสมาร์ตโฟน (ถอดจากไม้ Selfie) 2. แผ่นพลาสวูดหนา 5 มม. ขนาด A4 (ซื้อได้ที่ www.inex.co.th) 3. สกรู 3x15 มม. พร้อมนอต 1 ชุด 4. สกรู 4x20 มม. พร้อมนอตตัวเมียแบบหางปลา 1 ชุด

1.3

5. กาวร้อน 6. ปืนเป่าลมร้อน 7. คัตเตอร์ 8. กระดาษทราย 28

MAKERS

รูปที่ 1 การดัดพลาสวูด

1.4


Maker Project

(2) ตัดพลาสวูดขนาด 3x4 ซม. 2 ชิ้น และขนาด 3x5 ซม. 1 ชิ้น เจาะรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มม. ทั้งสามชิ้น จากนั้นน�ำชิ้น 3x5 ซม. มาทาบกับส่วนพับของตัวหนีบดังรูปที่ 2.2 ใช้ดินสอวาดตามแนวโค้ง แล้ว ตัดให้ได้ส่วนโค้งตามแนวดินสอดังรูปที่ 2.4 แล้วยึดกับส่วนโค้งของตัว หนีบด้วยกาวร้อนดังรูปที่ 2.5

(5) น�ำชุดตัวหนีบกับฐานตัวจับสมาร์ตโฟนมาประกอบกันด้วย กาวร้อนโดยวางให้คร่อมนอตดังรูปที่ 5.2 ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย จะได้ อุปกรณ์ยึดสมาร์ตโฟนเข้ากับที่บังแดดหน้ารถดังรูปที่ 5.3

1.5 ซม.

5.1 3x4 ซม.

3x4 ซม.

5.2

3x5 ซม. 2.1

2.2

2.3

5.3 รูปที่ 5

การใช้งาน 2.4

2.5

รูปที่ 2 การท�ำแขนยึด (3) น�ำพลาสวูดขนาด 3x4 ซม. ที่ตัดไว้จากขั้นตอนที่แล้วมาประกบ เข้าด้วยกันด้วยสกรูขนาด 4x20 มม.และขันล็อกด้วยนอตแบบหางปลา ดังรูปที่ 3.2

3.1

ส�ำหรับคนที่ต้องการน�ำไปใช้เป็นกล้องติดหน้ารถ แนะน�ำให้ลงแอป พลิเคชั่นก่อน ส�ำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์แนะน�ำแอปฯที่ชื่อว่า AutoGuard กับ AutoBoy BlackBox นะครับ (ส่วน iOS ไม่รู้ครับ) เพราะ มีฟังก์ชั่นที่เหมาะกับการใช้งาน ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือมีการตรวจจับการ สั่นหรือกระแทกอย่างรุนแรงของสมาร์ตโฟน นั่นก็หมายความว่ารถเรา อาจก�ำลังเกิดอุบัติเหตุและสามารถเลือกได้ว่าจะให้โทรออกไปยังเบอร์ที่ เราระบุไว้หรือไม่ เมื่อลงแอปฯ และตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว ก็เพียงน�ำไปเสียบ ไว้กับที่บังแดดดังรูปที่ 6 และปรับมุมก้มเงยได้ตามต้องการด้วยนอต หางปลาก็เป็นอันเรียบร้อยพร้อมเดินทางแล้วจ้า

3.2

รูปที่ 3 (4) น�ำตัวจับสมาร์ตโฟนมาทาบกับพลาสวูดแล้วตัดให้ได้ขนาด เท่ากับฐานของตัวจับ หรืออาจใหญ่กว่าเล็กน้อยก็ได้ จากนั้นเจาะรูขนาด 3 มม. ส�ำหรับร้อยสกรู แล้วยึดตัวจับสมาร์ตโฟนเข้ากับแผ่นพลาสวูดด้วย สกรู 3x15 มม. และล็อกด้วยนอตจะได้ดังรูปที่ 4.4 รูปที่ 6 การติดตั้งกับที่บังแดด 4.1

4.2

ลองท�ำใช้กนั ดูนะครับ ง่ายๆ ประหยัดงบ ไม่ตอ้ งดูดกระจกให้ลนุ้ ว่า สมาร์ ตโฟนของเราจะล่วงลงมาเมื อ่ ไหร่

M 4.3

4.4

รูปที่ 4 ท�ำฐานตัวจับสมาร์ตโฟน MAKERS

29


Art

Maker Project นที เกษมโชติพันธุ์

Creative NameCard

ใส่ ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ เ พื่ อ เพิ่มคุณค่าให้นามบัตรของคุณ นามบัตรใครคิดว่าไม่ส�ำคัญ เพราะในโลกของธุรกิจ คุณจ�ำเป็นต้อง มีสิ่งบ่งบอกความเป็นตัวตนว่าคุณคือใคร ท�ำอะไร อยู่ที่ไหน นามบัตร จึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นอย่างมาก ในเมื่อมันมีความส�ำคัญอย่างมากและใครๆ ก็ ต ้ อ งการแจกนามบั ต รของตนให้ กั บ กลุ ่ ม ลู ก ค้ า เป้ า หมาย ดั ง นั้ น การ ออกแบบให้นามบัตรของเราควรค่าแก่การจดจ�ำจึงเป็นสิ่งที่ควรท�ำ ขอแนะน�ำไอเดียการออกแบบนามบัตรให้มีประโยชน์มากขึ้น โดย การเพิ่มความสามารถให้มันท�ำหน้าที่เป็นไฟฉาย โดยใช้อุปกรณ์หลัก เพียง 2 ตัว คือแบตเตอรี่ CR2032 ขนาด 3V และ LED 3 มม. หนึ่งดวง

เตรียมอุปกรณ์

1. แบตเตอรี่ CR2032 ขนาด 3V

2. LED 3 มม. สีตามใจชอบ

3. กระดาษการ์ด 190 แกรม

4. เทปกาวสองหน้าอย่างบาง

5. กระดาษไขหรือกระดาษสา ขนาด 4x4 ซม.

ขั้นตอนการประดิษฐ์ (1) ออกแบบนามบัตรให้มีขนาดมาตรฐาน แต่มีรูปทรงดังรูปที่ 1 แล้วสั่งพิมพ์ลงบนกระดาษการ์ด 190 แกรม จะได้นามบัตรที่มีลักษณะ เหมือนนามบัตร 2 ใบต่อชนกัน โดยมีปีกด้านข้าง จากนั้นตัดและเจาะรู กลมส�ำหรับให้แสงจาก LED ส่องสว่างออกมาได้ แล้วพับให้ได้รูปทรงดัง รูปที่ 2 (2) ติดกระดาษไขทับรูด้านในเป็นตัวกรองแสง LED ด้วยเทปกาว สองหน้าอย่างบางดังรูปที่ 3 (3) น�ำแบตเตอรี่ CR2032 มาติดเทปด้านขั้วบวกไว้ครึ่งหนึ่งเพื่อ กันขาแอโนดของ LED ไม่ให้สัมผัสกับขั้วบวกของแบตเตอรี่ดังรูปที่ 4.1 จากนั้นน�ำ LED มาต่อคร่อมเข้ากับแบตเตอรี่ดังรูป 4.2 ติดเทปกาวใส ยึดขาแคโถดกับขั้วลบของแบตเตอรี่ แล้วติดลงไปให้ตรงกับต�ำแหน่งของ สัญลักษณ์ที่ได้ออกแบบไว้ดังรูปที่ 4.3

30

MAKERS


รูปที่ 2 แสดงการพับประกบและการพับปีกส�ำหรับยึดนามบัตรเข้าหากัน 3.1

3.2

Note : _________________________ _________________________ _________________________ _________________________ _________________________ _________________________ _________________________ _________________________ _________________________

3.1

รูปที่ 3 การติดแผ่นกระดาษไข ส�ำหรับกรองแสง 4.1

4.2

4.3

4.4

Your Name Creative Projects

www.tpemagazine.com

Innovative Experiment Co., Ltd. 108 Sukhumvit 101/2, Sukhumvit Rd., Bangna, Bangkok 10260 Tel : 0-2747-7001-4 , Fax : 0-2747-7005

รูปที่ 1 ตัวอย่างนามบัตรด้านหน้าและด้านหลังพับประกบกัน 4. ติดเทปกาวสองหน้าบนปีกทั้ง 3 ด้านของนามบัตร ลอกแถบ กาวออกแล้วพับประกบกันก็จะได้นามบัตรไฟฉายดังรูปที่ 4.4 แล้ว ครับ

รูปที่ 4 การท�ำสวิตช์อย่างง่ายด้วยการติดเทปด้านขั้วบวกเพื่อกันขาของ LED สัมผัสกับแบตเตอรี่

M

เพียงง่ายๆ ไม่กีข่ นั้ ตอน แต่เชื อ่ มัย้ ครับว่ามันมี ประสิ ทธิ ภาพใน การสร้างการจดจ� ำได้เป็ นอย่างดี อย่างน้อยผูร้ ับก็คงยังไม่ทิ้งจนกว่า แบตเตอรี ่จะหมด แต่การจะแจกนามบัตรให้ใครก็ควรดูหน้าดูตาคน รับหน่อยก็แล้วกัน เพราะนามบัตรของเราไม่ใช่ใบละบาทนะครับ

MAKERS

31


ชุดเรียนรู้และพัฒนำโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ ด้วยโปรแกรมภำษำ C/C++ กับซอฟต์แวร์ Arduino 1.0

# Lite kit 3,500.# Standard kit 4,900.-

POP-BOT X2 Premium kit ครบชุดส�ำหรับเรียนรู้และแข่งขันทุกระดับ อุปกรณ์เพิ่มเติมจากชุด Standard แขนจับ SM-Gripper Wireless-X รีโมตคอลโทรลไร้สาย เข็มทิศดิจิตอล แผงวงจรตรวจจับรหัสล้อ มอเตอร์ใบพัด แผงวงจรตรวจจับแสง โครงหุ่นยนต์ FireBOT

# Premium kit 7,900.บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จ�ำกัด 32

MAKERS

เลขที่ 108 ซอยสุขุมวิท101/2 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ : 0-2747-7001-4 , www.inex.co.th


Everything in control ALFAT-SD ราคา 1,500.Module Read/Write SD-CARD • ท�ำงาน ด้ วย ALFAT SoC processor ประสิทธิภาพสูง • รองรับ หน่วยความจ�ำ SD-CARD ความจุ สูงสุด 8 GB • รองรับไฟล์ได้ 2 ระบบ คือ FAT16 และ FAT32 • ต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ได้ 4 รูปแบบ คือ I2C, SPI, UART (TTL) และ RS232 • สามารถเลือกโหมดการติดต่อสื่อสารด้วยจั้มเปอร์ ในกรณีใช้งานแบบ UART (TTL), RS232 และ Boot loader (ส�ำหรับ Update Firmware) • ไฟแสดงสถานะการติดต่อสื่อสารด้วย LED

ALFAT-USB ราคา 1,500.Module Read/Write FLASH DRIVE • ท�ำงานด้ ว ย ALFAT SoC processor ประสิทธิภาพสูง • รองรับห น่ วยความจ�ำ FLASH DRIVE USB 2.0 • รองรับ FLASH DRIVE ความจุได้ถงึ 8 GB • รองรับไฟล์ได้ 2 ระบบ คือ FAT16 และ FAT32 • ต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ได้ 4 รูปแบบ คือ I2C, SPI, UART (TTL) และ RS232 • สามารถเลือกโหมดการติดต่อสื่อสารด้วยจั้มเปอร์ ในกรณีใช้งานแบบ UART (TTL), RS232 และ Boot loader (ส�ำหรับ Update Firmware) • ไฟแสดงสถานะการติดต่อสื่อสารด้วย LED

WIFI220 ราคา 1,850.RS232 to Wireless LAN WIFI220 คือ บอร์ดส�ำหรับแปลงข้อมูลจาก RS232 เป็น Wireless LAN หรือ WIFI • เหมาะส�ำหรับงานที่ไม่ต้องการเดินสาย • หรือต้องการส่งข้อมูลจาก RS232 เข้าใน ระบบ TCP/IP (LAN) • การตั้งค่าใช้งานผ่านทาง RS232 ด้วย AT-Command แบบ Command line • มีโปรแกรมส�ำหรับตั้งค่าให้ใช้งานง่าย โดยไม่ต้องใช้ AT-Command เอง (โปรแกรมจะสร้าง AT-Command ให้อัตโนมัติเพียงคุณเลือกโหมดการใช้งาน และ ใส่ค่าต่างๆ ตามต้องการ)

• Wireless Lan มาตรฐาน 802.11 b/g ความถี่ 2.412 - 2.484 GHz • พร้อมเสาอากาศ และ LED แสดงสถานะบน บอร์ด • RS232 ใช้ความเร็วได้ 1200 - 115200 bps • การตั้งค่ากระท�ำผ่าน PC (ต่อกับ RS232) มี โปรแกรมให้ใน CD-Rom (AT Command) สามารถปรับการตั้งค่าผ่านทาง Web-Base ได้ ด้วย • ใช้ไฟเลี้ยง 5 - 9 VDC

• ย่านความถี่สาธารณะ 433 MHz เลือกความถี่ได้ 8 ช่อง • ส่งได้ไกลโดยมีระยะหวังผลถึง 100 เมตร • RS232 ใช้ความเร็วได้ 1200 - 19200 bps • การตั้งค่ากระท�ำผ่าน PC (ต่อกับ RS232) มีโปรแกรมให้ใน CD-Rom • หรือผู้ใช้อาจสร้างโปรแกรมตั้งค่าเองผ่าน AT Command ก็ได้ • ใช้ไฟเลี้ยง 9 VDC หรือ 5 VDC ก็ได้

AP-250 ราคา 4,650.Remote I/O Controller ผ่านระบบ Lan

• ใช้ตัวโมดูล CIEM10 มีขั้ว RJ45 ที่เสียบสายเข้ากับระบบ Lan 10/100 Base-T ได้ทันที • มี 8 Input (4 หน้าคอนแทคผ่านวงจร Opto และ 4 Intput แบบ TTL 3.3V) • มี 8 Output (4 Relay มีขั้ว NO,NC และ 4 Output แบบ TTL 3.3V) • มี 1 Analog Input แบบ 10-Bit A/D สามารถเลือกระดับแรงดันได้ด้วย Jumper 0-3.3V 0-5V 0-12V 0-24V • มี 1 Port RS232 สามารถใช้งานเป็นตัวแปลง Lan to RS232 ได้ด้วย • เหมาะส�ำหรับการควบคุมผ่าน Lan โดยตรงจากคอมพิวเตอร์ และใช้ควบคุม แบบ Web-Base ได้ด้วย • ใช้ไฟเลี้ยง 9 VDC และมีตัว Adapter จ่ายไฟให้พร้อม

PRO-WRITER ราคา 3,250.เครื่องโปรแกรมชิพ Megawin (MCS-51)

X-FE6051 ราคา 350.บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์อเนกประสงค์ ... ขนาดเล็ก ราคาประหยัด

• มีอุปกรณ์บนบอร์ดเป็น LED (และเป็น RS485-Drive ด้วย) , Buzzer และ Key=2 • มีพอร์ทสื่อสาร RS232 ขั้ว 3 Pin หรือ RS485 ขั้ว 2 Pin (Option-ต้องเปลี่ยนชิพเป็น Max3082) • ใช้ไฟเลี้ยง 5 VDC ผ่านขั้ว 2 Pin และใช้ระบบ Reset ภายในตัว MCU

เช่น การตัง้ ให้ใช้ Xtal ภายในของเบอร์ 87FE6051 (ซึง่ การโปรแกรมแบบ ISP ท�ำไม่ได้) • มีบอร์ดเสริม 5 ชิ้น เพื่อการเลือกเบอร์ชิพได้หลากหลาย (บอร์ดเสริมพัฒนาโดยศิลา ท�ำให้สินค้ามีราคาถูกลงมาก) • ใช้กับเบอร์ได้ดังนี้ 89L(E)5x 82L(E)54 82G516 87FL(E)x051 82FL(E)5xx • สามารถเลือกใช้งานแบบ On-Line หรือแบบ Off-Line (ไม่ต้องต่อกับเครื่อง PC) ก็ได้ สะดวกส�ำหรับการโปรแกรมจ�ำนวนมาก • ต่อกับเครื่อง PC ผ่านทาง USB Port พร้อมโปรแกรมบน PC ที่ใช้งานได้ง่ายและ สะดวก • อุปกรณ์ครบชุด พร้อม Adapter จ่ายไฟ และมีสาย 3 Pin ใช้งานแบบพ่วงหลายๆ บอร์ดได้ด้วย

บริษัท ศิลารีเสิร์ช จำ�กัด

www.silaresearch.com

คือบอร์ดขยายการท�ำงานของตัว Infrared Remote Control ทั่วไป เช่น รีโมททีวี รีโมทเครื่องเสียง รีโมทเครื่อง ฉายภาพ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน ... ดังนี้ 1. เพิ่มระยะทางของตัวรีโมทได้ทันที (ยิงสัญญานไปที่ตัวรับบน MKIT-7 และ MKIT-7 จะส่งสัญญาณออกทางตัวส่งทันที) 2. เพิ่มระยะทางของตัวรีโมทผ่านสาย RS485 (ต้องใช้ MKIT-7 จ�ำนวน 2 บอร์ด ตัวหนึ่งเป็นตัวรับ อีกตัวหนึ่งเป็นตัวส่ง) 3. เพิ่มระยะทางของตัวรีโมทแบบไร้สาย (เหมือนข้อ 2 และต้องเพิ่มโมดูล RFN96 ส่งผ่านคลื่นวิทยุ กับทั้ง 2 บอร์ดด้วย) 4. ท�ำเป็นตัวรีโมทส�ำรอง โดยโปรแกรมแต่ละคีย์ให้เหมือนรีโมทต้นฉบับได้ (ต้องเพิ่ม ชิพ EEprom และแผงคีย์ DK-16,32) 5. จากข้อ 4 นอกจากใช้เป็นตัวรีโมทแทนตัวต้นฉบับแล้ว ยังต่อพ่วง MKIT-7 ให้ ควบคุมหลาย ๆ จุดได้ด้วย ผ่านสาย RS485 6. จากข้อ 5 ไม่เพียงแต่ส่งสัญญาณด้วยปุ่มกด อาจสั่งงานกดจากเครื่อง PC ได้ด้วย ผ่านทาง RS485 เช่นกัน • ใช้ไฟเลี้ยงจากหม้อแปลง 9 VAC หรือจากตัว Adapter 9 VDC • มี LED แสดงสัญญาณ IR และไฟเลี้ยง ตั้งโหมดการท�ำงานด้วย Dip-Switch 4 ตัว • ขั้ว 16 Pin (4x8K) ส�ำหรับต่อกับแผงคีย์ DK-16 หรือ DK-32 • ขนาดบอร์ด 71 x 80 mm SLAB-TEST ราคา 250.ชุดทดสอบ I/O ส�ำหรับบอร์ดไมโครของศิลา

• การโปรแกรมสามารถก�ำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของชิพได้อย่างครบถ้วน

• มี Flash Memory 8K ... เป็น 6K (AP) และ 1K (IAP) และ 1K (ISP)

• มี I/O อิสะแบบ 5 Pin (3B Port) จ�ำนวน 2 ชุด และแบบ 3 Pin (I/O Port) จ�ำนวน 3 ชุด

MKIT-7 ราคา 490.บอร์ด IR Remote Extender

• ใช้กับชิพรุ่น Dip เท่านั้น โดยต้องน�ำชิพมา เสียบลงบน Socket แบบมีคันโยก บนเครื่อง โปรแกรม

• MCU เบอร์ MG87FE6051 ของ Megawin (ขาเหมือน Atmel 89S4051)

• มี Ram 256 Byte และโปรแกรมผ่านขั้ว ISP (3 Pin) ด้วยตัวโหลด PRO-MISP

• ชุดค�ำสัง่ แบบ Ascii Command แสดงตัวเลขหรือก�ำหนดระดับ Segment ได้ ปรับความสว่างได้ • หรือจะสัง่ งานผ่าน 3B Port (Dat,Clk,Str) ก็ได้ โดยมีรปู แบบเหมือนชิพ 595 (ต้องเพิม่ Delay) • ตัง้ คุณสมบัตดิ ว้ ย Dip-Switch 8 ตัว (RS485 / 3B , ความสว่าง 0-7 , Digit 0-15) • ใช้ไฟเลีย้ ง 12 VDC/AC กินกระแสสูงสุด 130 mA (ต่อหลัก) KYL200U ราคา 1,250.ตัวแปลงสัญญาณ RS232 เป็นคลื่น RF

• ใช้บอกคาบเวลาในโรงเรียน หรือโรงงาน โดยใช้ ไฟล์เสียงแบบ MP3 ที่บรรจุใน SD-Card • มี Line-Out ต่อเครื่องขยายเสียง และปลั๊กไฟ รองรับการเปิดปิดเครื่องขยาย (220VAC 3A)

• AP=Application Program IAP=In-Application Programming ISP=InSystem Programming

• มีบอร์ดควบคุมในตัวท�ำงานด้วย MCU เบอร์ 82E54AS2 • ปรับความสว่างได้ 8 ระดับ รองรับการใช้งานทัง้ In-Door และ Out-Door • ต่อพ่วงกันทาง RS485 ได้สงู ถึง 15 หลัก สัง่ งานด้วยค�ำสัง่ ชุดเดียว (Speed 19200)

TNSWII3 ราคา 1,150.ตัวแปลงสัญญาณ RS232 เป็น Wireless Lan

TMX-1000 ราคา 4,950.นาฬิกาบอกเวลาด้วยเสียง

• ตั้งหรือกดปุ่มให้บอกเวลาเป็นเสียงพูด เช่น ขณะนี้เวลาเก้านาฬิกายี่สิบสองนาที • แสดงเวลา HH:MM:SS ด้วยตัวเลขสีแดงสูง 1 นิ้ว มองเห็นได้ชัดเจน • แสดงวันเดือนปี DD/MM/YY ด้วยตัวเลขสีแดงสูง 0.56 นิ้ว • แสดงอุณหภูมิ XX.Xc เป็นองศาเซลเซียส ด้วยตัวเลขสีแดงสูง 0.56 นิ้ว • ระบบนาฬิกาเที่ยงตรงสูง ผิดพลาดไม่เกิน 2 นาที/ปี สามารถตั้งเวลามาตรฐาน จาก PC หรือ GPS ได้ • ตั้งโปรแกรมควบคุมเสียงได้ 2 ชุด ชุดละ 50 โปรแกรมแบบรอบสัปดาห์ (เลือกท�ำ ชุดใดชุดหนึ่ง) • มีปุ่มกดบนหน้าปัด 2 ปุ่ม และการตั้งโปรแกรมต่าง ๆ กระท�ำผ่านตัว Remote แบบ 18 Keys • มี LED บนบนหน้าปัด 2 ตัว แสดงสถานะการบอกเวลา และสถานะ Alarm Disable/Enable • มีพอร์ทอนุกรม RS232 หรือ RS485 ต่อสั่งงานผ่านเครื่อง PC หรือต่อเพื่อ Link เวลามาตรฐาน • ใช้ไฟบ้าน 220 VAC ขนาดตัวเครื่อง 233 x 165 x 61 mm

TZ-9 ราคา 1,250.แผงตัวเลข 7-Segment LED สีแดงความสูง 9 นิ้ว

1108/27 ถ.สุขุมวิท แขวง​พระโขนง เขต​คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร. 02-712-2850 โทรสาร.02-381-1447 เวลาท�ำการ : จันทร์-ศุกร์ 9.00-17.00 น. เสาร์ 9.00-12.00 น. ตัวแทน​จ�ำหน่าย : บจก. อี​เลคท​รอ​นิคส์ ซอร์ซ (บ้าน​หม้อ) โทร. 02-623-9460-6

ประกอบด้วย แผ่น PCB ทั้งหมด 9 ชิ้นพร้อมสาย 2 เส้น • ใช้ทดลองกับขั้ว 1B-I/O Port (3 Pin) , 3B-Port (5 Pin) , 8B-Port (16 Pin) • ใช้เป็น Output LED หรือ Input Switch และต่อกับ VR เพื่อทดลอง A/D Port ได้ด้วย ชุดเดียวครบถ้วน ราคาประหยัด สะดวกในการพัฒนางาน ควรมีไว้ประจ�ำโต๊ะ ทดลอง

ติดตามข้อมูลและสือ่ สารกับเราได้ทางช่องทางใหม่ ... เพียงแค่กด Like

www.facebook.com/silaresearch


พบกับสินค้าสำ�หรับเมกเกอร์ได้ที่

www.inex.co.th/shop/maker-shop.html บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำ�กัด 108 ซอยสุขุมวิท 101/2 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ : 0-2747-7001-4 / email : sale@inex.co.th / URL : www.inex.co.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.