Vol.08 กรกฎาคม 2559 วารสารเพื่อการประดิษฐ์โครงงานและสิ่งของสร้างสรรค์
Movement Alarm
on Facebook
เครื่องแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวผ่าน Facebook โดยใช้ Raspberry Pi 3 และโมดูล PIR
FREE
COPY
เครื่องเพาะ
ถั่วงอก
ระบบน�้ำหยด
Espert
ESPresso Lite V2.0
สัมผัสแรกกับการทดลองใช้งาน
Maker Faire Bay Area 2016
Google I/O 2016 วารสารแจกฟรี มูลค่า 39 บาท
@ Siam Discovery
www.makersmagazine.in.th /makersmagzine
DEV-MI0700LT HDMI-01-V1 คุณสมบัติ จอแสดงผลขนาด 7" พร้อมระบบสัมผัส Resistive Touch Screen แสดงผลโดยต่อผ่าน HDMI port ความละเอียด 800X(RGB)X480 , color =262k ควบคุมการท�ำงานของ Touch Screen ผ่าน Mini USB Port สามารถจ่ายไฟเลี้ยงวงจร ผ่าน USB Port หรือจ่ายตรงเข้ากับ ตัวบอร์ด
Application
ต่อกับบอร์ด Raspberry PI หรือต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ผ่าน HDMI Port
บริษัท อีเลคทรอนิคส์ ซอร์ซ จ�ำกัด 7/129 ชั้น 17 ห้อง 21702 เซ็นทรัลทาวเวอร์เอปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 Tel. 02-884-9210, Fax. 02-884-9214, Email: info@es.co.th สาขาบ้านหม้อ 77 ถนนบ้านหม้อ แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพ 10200 Tel. 02-623-9460, Fax. 02-623-9473-74
www.es.co.th
MAKERS
1
contents ฉบับที่ 8 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559
Maker Faire
4
Maker-Knowledge
8
Bay Area 2016
PINN CREATIVE SPACE @Siam Discovery
8 10 12
เชฟรอนและอพวช. ผลักดันการเรียนรู้
10 วิทยาศาสตร์ด้วยวัฒนธรรมเมกเกอร์ 29
Google I/O 2016 เก็บมาเล่าจากขอบเวทีงานแสดงพลังของยักษ์ G
12
Cat Tent
14
Espert ESPresso Lite V2.0
ประดิษฐ์เต็นท์หรือบ้านให้แมวด้วยวัสดุหาง่ายจากในบ้านของคุณ สัมผัสแรกกับการทดลองใช้งาน
18 เครื่องเพาะถั่วงอกระบบหยดน�้ำ Maker-Project
4
22 24
18
14
HeroPocket กระเป๋าเงินซูเปอร์ฮีโร่
Movement Alarm on Facebook เครื่องแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวผ่าน Facebook โดยใช้ Raspberry Pi 3 และโมดูล PIR
22
3 Makers Note www.makersmagazine.in.th www.facebook.com/makersmagzine 2
MAKERS
24
Maker Note
ว่าด้วยเรื่องธุรกิจเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
หัวเราะร่า น้ำตาริ น
เครื่องพิมพ 3 มิติเป็นสิ่งประดิษฐ เป็นผลิตภัณฑที่ว่ากันว่า เป็นหนึ่ง ในตัวแทนที่บ่งบอกว่าโลกใบนี้ก�าลังเดินหน้าไปสู่ Industrial 4.0 ยุคใหม่ ของอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าในจ�านวนที่เพียงพอ ด้วย กระบวนการผลิตที่เป็นมาตรฐาน เพราะในวันหน้ามนุษยต้องการสินค้าที่มี ความโดดเด่นและต้องการเปลี่ยนใหม่อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีที่ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ท�าให้สินค้าที่ขายเทคโนโลยีจ�าเป็นอย่างยิ่งต้องปรับ ตัวให้เร็วและทันต่อความต้องการ
ในประเทศไทยมีผปู้ ระกอบการเกีย่ วกับเครือ่ งพิมพ 3 มิตจิ า� นวนไม่นอ้ ย ทั้งเป็นผู้น�าเข้าทั้งตัวเครื่องพิมพ น�าเข้าชุดประกอบแล้วน�ามาประกอบร่าง ปรับแต่ง เพื่อจ�าหน่าย ผู้ผลิตและประกอบเองภายในประเทศ ผู้ให้บริการ พิมพชิ้นงาน ผู้จ�าหน่ายเส้นวัสดุ ผู้ออกแบบชิ้นงาน 3 มิติ ผู้รับสแกนรูปร่าง 3 มิติ ผู้ให้บริการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมและการใช้งานเครื่องพิมพ 3 มิติ ไปจนถึงผู้ให้บริการซ่อมและดัดแปลงเครื่องพิมพ จะเห็นได้ว่า การมาของ เครื่องพิมพ 3 มิติได้ก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากมาย ค�ำถำมที เ่ กิ ดขึ้นตำมมำคื อ พวกเขำเหล่ำนัน้ อยู่รอดและเติ บโตกันได้ อย่ำงจริ งจังเพียงไร ?
“ผมไม่มีค�ำตอบครับ”
ผมมีเพียงข้อสังเกตว่า ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเครื่องพิมพและการ พิมพ 3 มิติ มีน้อยรายที่มีธุรกิจหลักหรือมีรายได้หลักจากเครื่องพิมพ 3 มิติ ค�าถามต่อไปคือ เป็นสินค้าและบริการที่มีตลาดและความต้องการ สูงมากหรือไม่ เท่าที่ได้พบปะพูดคุย ความต้องการของผู้คนที่มีต่อการซื้อ เครือ่ งพิมพ 3 มิตมิ าใช้งานมีปริมาณทีส่ งู จนน่าสนใจ จนท�าให้เกิดผูป้ ระกอบการ โดดเข้ามาเล่นในตลาดนี้กันมากพอสมควร หากแต่การซื้อหามาใช้จริงนั้น กลับมีในปริมาณที่ไม่มากนักส�าหรับ หน่วยย่อยอย่างครอบครัวหรือคนท�างาน เข้าข่าย อยากได้ แต่ยังไม่ซื้อ เพราะยังรู้สึกว่า ใช้งานยาก ต้องมีความรู้ทั้งในการออกแบบชิ้นงาน 3 มิติ และปัญหาเกี่ยวกับการซ่อมบ�ารุง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องหัวตัน แต่ถ้าเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม ความต้องการในเรื่องนี้มีสูง และมีอย่าง ต่อเนื่อง เพราะมันช่วยเรื่องการท�าต้นแบบทางอุตสาหกรรมได้มาก ลดเวลา ในการท�าต้นแบบ ลดเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ ดังนั้น การจ่ายเพื่อ เครือ่ งพิมพคณ ุ ภาพสูงจึงเป็นไม่ปญ ั หา รวมถึงการบ�ารุงรักษาก็พอจัดการได้ เนื่องจากมีความช�านาญพอสมควร
ด้านการให้บริการพิมพงาน ก็ดมู ปี ญ ั หาไม่นอ้ ย ทัง้ คุณภาพทีไ่ ม่สมราคา หรือคุณภาพสูง ราคาก็รับกันไม่ไหว ด้านการขายเส้นวัสดุ ก็เกิดภาวะการตัดราคาของผู้จ�าหน่าย คุณภาพ ของเส้นวัสดุที่ไม่สม�่าเสมอ
และอีกเรือ่ งทีไ่ ด้ยนิ เสมอคือ ความคาดหวังของผูค้ น คนทีส่ นใจต้องการ ได้คุณภาพงานจากการพิมพเหมือนการฉีดพลาสติก แต่พร้อมจ่ายในราคา เพียงไม่เกินหมื่นบาท ...... นั่นจึงท�าให้เกิดความแตกต่างอย่างสุดทางของผู้คนที่สนใจในเครื่อง พิมพ 3 มิติ มันช่างน่าตื่นเต้นที่เมืองไทยตื่นตัวและสนใจ แต่ทว่า ข้อติดขัด ด้านความรู้สึกและการขาดความรู้ความเข้าใจ ท�าให้ธุรกิจนี้ด�าเนินการไป แบบอึดอัดกันไปทั้งหมด เท่านั้นยังไม่พอ ก็เกิดฟ้าผ่าลงกลางเมืองไทย เมื่อรัฐบาลไทยประกาศ จัดระเบียบการน�าเข้าเครื่องพิมพ 3 มิติ ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง... ตลาดของเครื่องพิมพ 3 มิติที่มันยากเย็น แข่งขันสูงในแบบไร้ทิศทาง ก็ว่ายากและหนักแล้ว ยังต้องมาพบกับลูกระนาดที่มาจากความกลัวของ ภาครัฐ การเดินบนเส้นทางนี้ของผู้เกี่ยวข้องทุกรายคงต้องใช้มากกว่าค�าว่า ความพยายาม ผมไม่อาจคาดคะแนความเป็นไปในแวดวงของธุรกิจเครื่องพิมพ 3 มิติ ของประเทศไทยที่ผมรักยิ่ง ผมได้แต่ภาวนา ขอให้ทุกท่านจงอดทน และเมื่อเมฆหมอกแห่งความ หวาดกลัวจากภาครัฐเจือจาง ดังเช่นการควบคุมเครื่องรับวิทยุเมื่อหลายสิบ ปีก่อน ทุกท่านคงได้หยัดยืนอย่างทรนงและสง่างาม ผมได้แต่หวังว่า ผู้ประกอบการทุกรายจะยังคงเอาจริงเองจังกับการ พัฒนาวงการเครื่องพิมพ 3 มิติอย่างไม่ย่อท้อ ท่านที่รอเครื่องพิมพที่พิมพงานสวยเหมือนงานฉีดในราคาหมื่นบาท ผมไม่คดิ ว่า ท่านจะสมหวังในชัว่ ชีวติ นี้ ผมเสียดายแทนหากเพียงเพราะเงือ่ นไขนี้ ท�าให้ท่านเสียโอกาสในการพัฒนาตัวเองกับเครื่องมือที่มีอรรถประโยชน ตัวนี้ หากท่านต้องการก้าวเข้าสู่ยุค Industrial 4.0 ขอเป็ นก� ำลังใจส� ำหรับผู้ประกอบกำรเกี ่ยวกับเครื ่ องพิ มพ์ และกำร พิ มพ์ 3 มิ ติทกุ ท่ำนครับ ชัยวัฒน ลิ้มพรจิตรวิไล
www.makersmagazine.in.th
www.facebook.com/makersmagzine
บรรณาธิการบริหาร ชัยวัฒน ลิ้มพรจิตรวิไล
108 ซอยสุขุมวิท101/2 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 โทรศัพท 0-2747-7001-4 โทรสาร 0-2747-7005 URL : www.makersmagazine.in.th
กองบรรณาธิการ
การตลาด/โฆษณา
ฝ่ายสมาชิก
กฤษดา ใจเย็น ณัฏฐพล วงศ์สุนทรชัย วรพจน์ กรแก้ววัฒนกุล นที เกษมโชติพันธุ์ ธีรวุธ จิตพรหมมา
จงจิตร ลิ้มพรจิตรวิไล กานต์วรางค์ นิพิทธชยังกูร
จงจิตร ลิ้มพรจิตรวิไล
ศิลปกรรม
พิมพ์ที่
ธนชัย ประทุมเศษ
วีเจ พริ้นติ้ง MAKERS
3
Maker Report
Maker Knowledge สมเกียรติ กิจวงศ์วัฒนะ
Maker Faire Bay Area 2016 รายงานพิเศษฉบับกระชับกับงานแสดงผลงาน เมกเกอร์ต้นต�ำรับจากสหรัฐอเมริกา Maker Faire Bay Area นับเป็นงานเมกเกอร์แฟร์ที่มีคนเข้า ชมมากที่สุดในโลก และเป็นงานที่มีประวัติศาสตร์ในตัวเองมาก พอสมควร งานเมกเกอร์แฟร์ครั้งแรกของโลกก็จัดขึ้นในบริเวณนี้ นับ เป็นปีที่ 11 แล้ว ผู้เขียนมีโอกาสไปชมงานในปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นที่ San Mateo รัญแคลิฟอร์เนีย ในระหว่างวันที่ 20 ถึง 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 จึงขอเก็บบรรยากาศมาเล่าสู่กันฟัง และวารสาร MAKERS เป็น วารสารไทยฉบับเดียวที่มีรายงานพิเศษแบบลงพื้นที่จริงจาก Maker Faire Bay Area
ที่จัดงานอาจไกลแต่เข้าถึงง่าย ส�ำหรับสถานที่จัดงานนั้นถือว่า ไม่ได้อยู่ใกล้ตัวเมืองหรือแหล่ง ชุมชนซักเท่าไร ดังนั้น ทางผู้จัดงานจึงจัดรถบัสเพื่อรับส่งผู้เข้าร่วม งานตลอดวันงาน ซึ่งสะดวกมากๆ ที่ชอบก็คือ รถบัสที่ใช้นั้นเป็นรถ บัสประจ�ำโรงเรียนนั่นเอง ท�ำให้ได้ความรู้สึกเหมือนนักเรียนก�ำลังจะ ไปทัศนศึกษาไม่น้อย มาถึงที่หน้าทางเข้างานก็ใช้เวลาไม่นานมากนัก ผู้เขียนซื้อตั๋ว ผ่าน Eventbrite ที่เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการซื้อตั๋วส�ำหรับงานนี้ โดย ซื้อตั๋วแบบ Single Day Pass ด้วยราคา $37.92 ตอนเข้างานมีเจ้า หน้าที่คอยสแกนตั๋วจากหน้าจอมือถือให้เลย
4
MAKERS
Maker Knowledge
เมื่อเข้ามาในงานแล้ว อย่างแรกก็ต้องหยิบ แผนที่ก่อนเลย จะได้รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน แต่เอา เข้าจริงผู้เขียนก็เดินไปทั่วงาน ส�ำหรับบางกิจกรรม ที่มีเรื่องของความปลอดภัย จะต้องมีการเซ็นต์ชื่อ ยินยอมและผูกสายรัดข้อมือด้วยไม่งั้นจะเล่นไม่ได้ ผู้เขียนคงเล่าให้ฟังทั้งหมดไม่ได้ เพราะจากที่ เดินภายในงานเป็นเวลา 6 ชั่วโมงก็พบว่า ตัวเองยัง เดินไม่ทั่วงานซักทีเพราะงานนี้ใหญ่มากและกว้าง มากโดยแบ่ ง พื้ น ที่ เ ป็ น หลายๆ ส่ ว นด้ ว ยกั น มี ทั้ ง กลางแจ้งและในร่ม
เมกเกอร์ช่างหลากหลาย ส�ำหรับงาน Maker Faire ทีน่ ไี่ ม่ได้จำ� กัดเฉพาะบางเรือ่ ง เท่านั้น แต่เป็นทุกอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับMaker ทั้งหมด ไม่วา่ จะงานโลหะ งานผ้า งานไม้ งานประดิษฐ์ ล้วนอยูใ่ นงาน Maker Faire นีท้ งั้ หมด มีการแบ่งพืน้ ทีอ่ อกจากกันค่อนข้างชัดเจน โดยแบ่งออกเป็น 10 โซน โซนด้านนอกเกี่ยวข้องกับโลหะหรือ ไฟ ใช่ครับในงานนี้มีสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟอยู่พอสมควร โดยเฉพาะที่พ่นไฟได้ อย่างเช่น รูปตั๊กแตนที่สร้างด้วยเหล็กที่ มีปุ่มกดเพื่อให้ตั๊กแตนพ่นไฟได้ (ปุ่มกดอยู่ไกลพอสมควรเด็กๆ ก็กดปุ่มเล่นได้) หรือชิงช้าที่ต้องเล่นกันสองคน โดยมีที่ปั่นเหมือนจักรยาน เพื่อให้ทั้งคู่ปั่น แล้วชิงช้าจะหมุนไปเรื่อยๆ อันนี้แอบหวาดเสียว พอสมควร MAKERS
5
Maker Knowledge
ส�ำหรับงานฝีมือพวกไม้บางอย่างก็อยู่ข้างนอกครับ เช่น หุ่นยนต์ ไดโนเสาร์ที่สร้างขึ้นจากไม้หรือรางแข่งรถม้าไม้เป็นต้น และใกล้ๆ กัน นั้นก็จะมีพวกร้านค้าขายของแฮนด์เมดมากมายให้แวะไปดู แวะไปซื้อ มี กิ จ กรรมต่ า งๆ ส� ำ หรั บ ทุ ก วั ย ตั้ ง แต่ เ สื้ อ ผ้ า ไปจนถึ ง เครื่ อ งประดั บ ภายในบ้าน โซนแรกที่ ผู ้ เ ขี ย นเข้ า ไปนั้ น เป็ น โซนส� ำ หรั บ การศึ ก ษา แต่ ล ะ บู ธ มาจากสถานศึ ก ษาหรื อ โรงเรี ย นสอนพิ เ ศษที่ เ กี่ ย วกั บ หุ ่ น ยนต์ งานประดิษฐ์ และการฝึกเขียนโปรแกรมส�ำหรับเด็ก ผู้เขียนพบว่า ที่นี่ มีโรงเรียนสอนพิเศษโดยใช้เกม Minecraft ด้วย ซึ่งจะให้เด็กๆได้เรียน รู้เรื่องต่างๆ จากการเล่นเกม มีการแบ่งระดับตามวัย เมื่ออายุสูงขึ้น เรื่อยๆ ก็จะเน้นไปที่การเขียนโปรแกรมหรือฝึกฝนเกี่ยวกับลอจิก ไม่รู้ ว่าที่ประเทศไทยเรามีแบบนี้หรือยังนะ ส�ำหรับที่นี่ในเรื่องของการเกษตรและอาหารก็เป็นอีกหนึ่งอย่าง ที่คนที่นี่ให้ความสนใจกันครับ มีพื้นที่ส�ำหรับบรรยายเกี่ยวกับการท�ำ อาหารด้วย นอกจากจะเป็นพื้นที่โชว์ผลงานเกี่ยวกับการเกษตรและ อาหารก็ยังมีการขายพืชผลทางการเกษตรด้วย เมกเกอร์ ส ่ ว นใหญ่ เ ป็ น เมกเกอร์ ด ้ า นสิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ท่ี เ น้ น ไปใน เรื่องอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์ มีพวกงานผ้าบ้างประปราย มีทั้งจาก มหาวิทยาลัยและบริษัทใหญ่ๆ มาแสดงผลงาน เป็นบุคคลก็มีเช่นกัน (ในงานนีม้ คี นไทยมาตัง้ บูธอยูเ่ ช่นกัน แต่ผเู้ ขียนไม่ได้มโี อกาสได้ทกั ทาย) โดยผู้เขียนสังเกตเห็นว่า สิ่งประดิษฐ์ส่วนใหญ่นั้นมีส่วนประกอบที่ สร้างขึ้นมาจากไม้และเครื่องพิมพ์ 3 มิติเยอะมาก ในขณะที่บูธเกี่ยวกับ เครื่องพิมพ์ 3 มิติกลับไม่มากนัก เพราะเน้นไปที่การใช้ประโยชน์เพื่อ สร้างออกมาเป็นผลงานมากกว่า นอกจากสิ่งประดิษฐ์แล้วก็คงไม่พ้นชุดการเรียนรู้ต่างๆ หรือชุดพัฒนา โปรแกรมที่เริ่มเน้นไปในเรื่องของIoT (Internet of Things) กันเยอะพอสมควร เรียกได้ว่า เทคโนโลยีด้านสมองกลฝังตัวค่อนข้างเปลี่ยนไป เริ่มมีแพล็ตฟอร์ม ต่างๆ เข้ามาให้เลือกใช้งาน ภาษาโปรแกรมที่หลากหลายเข้าถึงได้ง่ายทั้งเด็ก และผู้ใหญ่
ส่วนเรื่อง Drone ก็มีเช่นกัน มีประปรายอยู่ตาม แต่ละโซน แต่ในงานก็มีการแข่ง Drone ด้วย มีการจัด พื้นที่และสนามให้โดยเฉพาะเลย
6
MAKERS
สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนชอบมากที่สุดคือ พื้นที่ส�ำหรับเวทีคอนเสิร์ตกลางแจ้งที่ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากการปั่นจักรยานของผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งมีอยู่ราวๆ 20 คัน โดยให้ใครก็ได้มาช่วยกันปั่นจักรยานเพื่อเป็นไฟฟ้าจ่ายให้กับเวทีนี้
โอกาสเผยแพร่ความรู้
บทสรุปที่ยังอยากไปต่อ
สิง่ หนึง่ ทีเ่ พิม่ เติมเข้ามาใน Maker Faire คือ การแสดง งานวิ จั ย หรื อ แสดงตั ว อย่ า งสิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ โดยน� ำ มาจาก ที่ต่างๆ ให้ได้ดู เพราะนี่คือ โฮกาสเผยแพร่องค์ความรู้แก่ เยาวชนและผู้สนใจ จนมีความรู้สึกว่า เป็นงานMaker ผสม กับงานวันวิทยาศาสตร์ก็ว่าได้ อย่างเช่น ทาง Computer History Museum ได้น�ำเอาคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ มา ให้ได้เห็นกันและได้ลองเล่นกัน มีการน�ำรถไฟไอน�้ำขนาด เล็กเพื่อจ�ำลองการท�ำงานของรถไฟในยุคก่อนๆ มาให้ชม มี ก ารแสดงชิ้ น ส่ ว นของดาวเที ย มที่ เ ป็ น พวกบอร์ ด วงจร และอิเล็กทรอนิกส์ มีการสาธิตการเป่าแก้ว การท�ำเครื่อง ประดับ การท�ำมีด หรือการดัดไม้และอื่นๆ อีกมากมาย
งาน Maker Faire ครี้งนี้เป็นครั้งแรกของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสมาสัมผัส และรู้สึกถึงความ ยิ่งใหญ่ของสังคม Maker ที่นี่ ได้เห็นการจัดพื้นที่ที่หลากหลายมากมาย ที่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ เข้าร่วมหลายๆ คนได้มีโอกาสสัมผัสและรับความรู้จากภายในงาน ได้เห็นพ่อแม่พาลูกมาร่วม กิจกรรมภายในงาน พบเห็นสิ่งประดิษฐ์ที่เปี่ยมด้วยไอเดียแปลกใหม่มากมาย บอกได้เลยว่า ที่ นี่อะไรและใครก็เป็น Maker ได้ครับ ขอแค่เพียงใส่ไอเดียลงไปแล้วใช้ฝีมือในการลงมือท�ำ
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ส�ำหรับเวิร์กช็อปอีกมากมาย ภายในงาน เปิดให้ผู้เข้าร่วมงานได้ลอง ได้ฝึก อาทิ พื้นที่ ส�ำหรับฝึกให้เด็กหัดสร้างเครื่องบินจากไม้ไอติม โดยใช้ หนังยางเป็นตัวหมุนใบพัด หรือแม้แต่การลองบัดกรีวงจรก็ มีเช่นกัน เป็นซุ้มใหญ่เลยทีเดียว
แอบเสียดายเล็กน้อยที่ผู้เขียนมีโอกาสเดินเที่ยวในงานแค่วันเดียว ถ้าเป็นไปได้ ก็อยาก ให้ประเทศไทยมีงาน Maker Faire แบบจริงๆ จังๆ แบบที่นี่บ้างเหมือนกัน อยากให้หลายๆ คน ได้มีโอกาสสัมผัสบรรยากาศงานแบบนี้กัน เพื่อที่จะได้เกิดสังคมส�ำหรับเหล่า Maker ที่ใหญ่ มากขึ้น คงได้พบและเห็นกันกับ Maker Faire แบบจริ งจังและเปี ่ ยมไปด้วยพลังบนแผ่นดิ นสยาม ในอีกไม่นาน...
ประมวลภาพจาก Maker Faire Bay Area 2016 ชมภาพถ่ายอีกมากมายจากงาน Maker Faire Bay Area 2016 ได้ที่ facebook ของ MAKERS : https://www.facebook.com/makersmagzine/
M MAKERS
7
NEWS
Maker Knowledge Pinn Creative Space
@ Siam Discovery พื้นที่สร้างสรรค์ที่สรรสร้าง ผลงานตามจินตนาการ หลังจาก Pinn Creative Space ได้บุกสร้างพื้นที่ สร้างสรรค์จนิ ตนาการในสองพืน้ ทีข่ องกรุงเทพไปแล้วนัน่ คือ ที่ The Shoppes พระรามเก้า และ ZPELL รังสิต วันนี้ Pinn Creative Space ได้พาตัวเองมาอยู่ย่านกลางใจ เมืองบนศูนย์การค้าที่เพิ่งปรับโฉมครั้งใหญ่เมื่อเร็วๆ นี้ นั่น ก็คือ Siam Discovery ซึ่งนอกจากจะมีสินค้าจากแบรนด์ ชั้นน�ำระดับโลกมาให้เราช็อปกันอย่างเพลิดเพลินแล้ว ที่นี่ ยังเปิดพื้นที่ให้กับผู้ที่มีพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ได้เข้า มาสานฝันให้เป็นจริงกับโซน PINN Creative Space ด้วย
อุดมด้วยเครื่องมือเพื่อรองรับงาน สร้างสรรค์ของคุณๆ มาชมมุมเครื่องมือที่ให้บริการในโซนของ เรากัน....
จักรปัก เพื่อนๆ สามารถสั่งปักลงบนผืนผ้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า, หมวกปีก, หมวกไหม พรม, เสื้อ หรือ รองเท้า เลือกปักได้หลายแบบ จะเป็นตัวอักษร หรือลายรูปภาพต่างๆ ก็ได้ เรามี บ ริ ก ารสร้ า งลายส� ำ หรั บ ปั ก ผ้ า ด้ ว ยค่ ะ
จักรเย็บและจักรโพ้ง ถ้าลูกค้าสนใจซื้อเครื่องจักร ทั้งจักรเย็บ และจักรโพ้ง ก็เข้ามาสอบถามได้เช่นกัน ที่นี่ยัง รับสอนการใช้งานตัวเครื่องเบื้องต้นอีกด้วยค่ะ โซน PINN Creative Space อยู ่ บ นชั้ น สองของ Siam Discovery เป็ น โซนที่ เ ปิ ด ขึ้ น เพื่ อ ให้ เ พื่ อ น สร้างสรรค์ผลงานของตัวเองได้ง่ายๆ ทั้งด้านงานพิมพ์ผ้า งานปัก งานเย็บ และรวมไปถึงการสร้างสรรค์ผลงานจาก เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ด้วย Life style ของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปใช้ชีวิตอยู่ ในห้างสรรพสินค้ามากขึ้น Pinn Creative Space จึงเป็น พื้นที่สร้างสรรค์ตัวตนของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ชอบอะไรเดิมๆ ซ�้ำๆ กับใคร มองจากภายนอกอาจเห็นเป็นเหมือนร้าน อุปกรณ์เย็บปักถักร้อยของสาวๆ แต่จริงๆ แล้ว โซน PINN Creative Space สามารถเข้ามาใช้บริการได้ทั้งครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงและผู้ชาย ตลอดไปจนน้องๆ หนูๆ ที่ อยากเสริมสร้างจินตนาการไปกับอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ในพื้นที่ของเรา 8
MAKERS
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครือ่ งพิมพ์ทสี่ ามารถพิมพ์ลายลงบนเสือ้ ได้ ง่ายๆ ด้วยการพิมพ์เลเซอร์ลงบนกระดาษชนิดพิเศษ ที่น�ำไปรีดติดกับผ้าได้ สั่งท�ำได้ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ ลงบนเสื้ อ หรื อ กระเป๋ า ผ้ า เครื่ อ งพิ ม พ์ เ ลเซอร์ ที่ นี่ พิเศษกว่าเครื่องทั่วไป นั่นคือ พิมพ์สีขาวได้ด้วย ท�ำ ให้เมกเกอร์แนวงานผ้าสามารถสร้างสรรค์งานได้ มากขึ้นกว่าการพิมพ์ในแบบธรรมดา
หัวใจของ PCS คืองานบริการที่ สร้างสรรค์
Workshop เพือ่ พัฒนาคุณๆ ให้เก่งขึน ้ นอกเหนือจากการให้บริการต่างๆ แล้ว เรายัง มีเวิร์กช็อป (workshop) สั้นๆ เปิดให้เพื่อนๆ ได้เข้า มาร่วมสนุก สร้างสรรค์ผลงานของตัวเองได้อีก ไม่ ว่าจะเป็นเวิร์กช็อปงานเย็บปักถักร้อย, เวิร์กช็อปการ สร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยสีน�้ำ เพื่อนๆ ไม่ต้องกลัวว่า จะท� ำ ไม่ ไ ด้ เพราะเรามี ศิ ล ปิ น มาคอยแนะน� ำ การ สอนอย่างใกล้ชิด แบบชนิดที่ว่า เมื่อเรียนจบไปแล้ว สามารถวาดรูปได้อย่างที่ต้องการแน่นอน
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ นอกจากงานเย็บปักถักร้อยของสาวๆ แล้ว ที่นี่ ยังมีบริการพิมพ์โมเดล 3 มิติด้วย เพื่อนๆ สามารถ สั่งพิมพ์โมเดลที่ต้องการ หรือจะสแกนหน้าเพื่อนๆ เป็นภาพสามมิติ แล้วน�ำมาพิมพ์เป็นโมเดลก็ได้เช่น กัน นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่เพื่อนๆ สามารถมาท ดลองได้ง่ายๆ ที่นี่ค่ะ
Scan & Cut เรารับตัดสติ๊กเกอร์ และตัด Flex ด้วยเครื่อง scan & cut ด้วย นอกเหนือจากนี้ยังมีบริการพิเศษ วาดรูปตัวคุณเป็นการตูนโดยศิลปินจาก PINN และ ตัด Flex ด้วยเครื่อง scan & cut แล้วน�ำมารีดติด กระเป๋าผ้าหรือเสื้อได้อีกด้วย เหมาะกับเพือ่ นๆ ทีต่ อ้ งการของชิน้ เดียวในโลก ที่เป็นหน้าของคุณ หรือจะท�ำเป็นของขวัญส�ำหรับ คนพิเศษก็ได้ค่ะ (บริการนี้จะเป็นบริการพิเศษ ไม่ได้ มีประจ�ำที่สาขานะคะ คอยติดตามได้ที่ facebook ของ PINN creative space)
นอกจากนี้ ยั ง มี เ วิ ร ์ ก ช็ อ ปส� ำ หรั บ คุ ณ ผู ้ ช ายที่ สนใจอบรมความรู ้ เ กี่ ย วกั บ เครื่ อ งพิ ม พ์ 3 มิ ติ ซึ่ ง นอกจากการอบรมให้ความรู้แล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมทุก ท่านยังได้ลงมือประกอบเครื่องพิมพ์ 3 มิติด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกลไกการท�ำงานและภูมิใจ กับเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง
Pinn Creative Space ที่นี่มีพนักงานให้ ค� ำ แนะน� ำ อย่ า งใกล้ ชิ ด เพื่ อ นๆ คนใดสนใจ สร้างสรรค์ชนิ้ งานของตัวเองสามารถขอค�ำแนะน�ำ จากพนักงานทุกคนได้เลย เริม่ จากการใช้อปุ กรณ์ เบื้องต้น ไปจนถึงการสร้างสรรค์ชิ้นงานแบบ ละเอียด หากติดใจ อยากได้เครือ่ งมือและอุปกรณ์ กลั บ ไปท� ำ ชิ้ น งานที่ บ ้ า น ก็ ซื้ อ กลั บ ไปได้ ด ้ ว ย พร้อมบริการหลังการขายแบบ full sevice ถ้า พบปัญหาอะไร ติดต่อสอบถามได้เลย หรือถ้าอยากออกแบบชิ้นงานด้วยตัวเอง ก็สามารถสั่งตุ๊กตาหรือปลอกหมอนแบบพิเศษ ที่ออกแบบได้ด้วยตัวเอง หรือถ้าให้เท่เข้าไปอีก ขั้น ก็สั่งพิมพ์ลายผ้าพันคอ ตลอดจนไปถึงท�ำ หมวกปีก ลายเก๋ๆได้ด้วย เพียงแค่เดินเข้าไปขอ ค�ำแนะน�ำจากพนักงาน หากต้องการท�ำของขวัญทีเ่ พิม่ ความประทับ ใจเข้าไปอีก ก็สั่งงานพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เป็นโมเดลรูปตัวคุณ หรือจะเป็นรูปภาพ 3 มิติ ในแบบพิ เ ศษไม่ ซ�้ ำ ใครได้ อี ก ด้ ว ย รั บ รองว่ า ประทับใจคนที่ได้รับแน่นอน
งานสร้างสรรค์ย่อมต้องสร้างเงิน นอกเหนือจาก Workshop ต่างๆ แล้ว PINN Creative Space ยั ง มี มุ ม สิ น ค้ า สวยๆที่ อ อกแบบ โดยศิลปินของ PINN ให้เลือกช็อป เลือกซื้อเป็นของ ขวัญได้อีกด้วย ขอบอกว่า มุมนี้ได้รับความนิยมจาก ชาวต่างชาติมากทีเดียว เพราะผลงานที่ออกแบบมี เอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวของศิลปินจาก PINN เท่านั้น ถ้าเพื่อนๆ คนไหนอยากสั่งออกแบบของขวัญ เป็นเสื้อยืด หรือกระเป๋าผ้าแบบเฉพาะเพื่อให้เป็น ของขวัญชิ้นพิเศษส�ำหรับคนส�ำคัญแล้วละก็ ที่นี่รับ บริการพิมพ์ลายลงบนเสื้อยืดและกระเป๋าด้วย แต่ถ้าสนใจเรื่องงานปักที่นี่ก็ท�ำได้เช่นกัน เรามี อุปกรณ์ให้ท�ำ อยากได้แบบไหนก็สร้างสรรค์ได้ ทั้ง รูปภาพและตัวหนังสือ ไม่ใช่แค่ปักลงบนเสื้อเท่านั้น รองเท้า กระเป๋า จนไปถึงหมวกก็ปักได้เช่นกัน
ขอฝากข้ อ ความส่ ง ท้ า ยไปยั ง เพื ่ อ นๆ ทีอ่ ยากหางานอดิ เรกสนุกๆ ท�ำ หรื ออยากสร้าง ผลิ ตภัณฑ์เท่ๆ ของตัวเอง ขอเชิ ญชวนที ่ Pinn Creative Space ได้เลย นอกจากจะเป็ นการ ใช้เวลาว่างให้เกิ ดประโยชน์ แล้ว ยังเป็ นการฝึ ก สมาธิ ความคิ ดสร้ างสรรค์ ของตัวเองอี กด้วย มาเยีย่ มชมกันเยอะๆ นะคะ
M MAKERS
9
NEWS
Maker Knowledge กองบรรณาธิการ
เชฟรอนและอพวช. ผลักดันการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ด้วยวัฒนธรรมเมกเกอร์
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการออกแบบกิจกรรม ส�ำหรับเมกเกอร์ โดยผู้เชี่ยวชาญจากนิวยอร์ก นายเดวิด เวลส์ ผู้อ�ำนวยการการออกแบบหลักสูตร เมกเกอร์ จากศูนย์นิวยอร์กฮอลล์ออฟไซนส์ ‘เมกเกอร์’ หรือ ‘นักสร้างสรรค์นวัตกรรม’ เป็นหนึ่งในกลไก ส�ำคัญในการผลักดันการพัฒนานวัตกรรมของประเทศเพื่อขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาท ในการด�ำรงชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ ท�ำให้ขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ จะวัดกันที่ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อ ช่วยให้การด�ำเนินชีวิตมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ช่วยให้ภาคการผลิต อุตสาหกรรม และธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างเข้มแข็ง มากขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมให้วัฒนธรรมเมกเกอร์เป็นที่รู้จักและเติบโต อย่างเป็นระบบในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เยาวชน จึงมี ความส�ำคัญยิ่ง เพราะเป็นรากฐานส�ำคัญในการส่งเสริมศักยภาพใน การพัฒนานวัตกรรมของประเทศอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยส�ำรวจและผลิต จ�ำกัด ร่วม กับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสถาบันคีนัน แห่งเอเซีย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ การพัฒนาและออกแบบ กิจกรรมส�ำหรับเมกเกอร์สเปซ (Maker Space Designing Workshop) หรือพื้นที่ท�ำงานรวมกันของเหล่าเมกเกอร์ หรือ ‘นักสร้างสรรค์ นวัตกรรม’ ให้แก่บุคลากรขององค์กรด้านการศึกษาระดับประเทศของ ไทย ทั้งจากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จากศูนย์ ทั่วประเทศ จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มหาวิยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงานอื่นๆ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ จากศูนย์นิวยอร์กฮอลล์ออฟไซนส์ (New York Hall of Science) ซึ่งได้ รับการยอมรับในระดับสากล มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ แนวทาง และหลักสูตรในการผลักดันวัฒนธรรมเมกเกอร์ ให้ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ส�ำหรับเยาวชนไทยอย่างมีประสิทธิภาพอันจะน�ำไป สู่การยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และการส่งเสริมพื้นที่ส�ำหรับเมกเกอร์นั้นถือเป็นการผลักดันให้เกิดการ พัฒนาวัฒนธรรมเมกเกอร์ในประเทศไทยได้อย่างเป็นระบบ 10
MAKERS
หลักสูตรที่ทางผู้เชี่ยวชาญจากนิวยอร์กฮอลล์ออฟไซนส์ น�ำมาอบรม ให้ความส�ำคัญกับ “อิสระ” ในการสร้างสรรค์ และ ท้าทาย “ข้อจ�ำกัด” ของ วัสดุที่จะน�ำมาสร้างสรรค์ โดยให้ผู้เรียนหรือเมกเกอร์ได้รู้จักใช้องค์ความรู้ที่ ตนเองมีอยู่ หรือแสวงหาองค์ความรู้ด้วยตนเอง น�ำมาสร้างเป็นชิ้นงานหรือ นวัตกรรมด้วยวัสดุที่อยู่รอบตัวซึ่งมีจ�ำกัด โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน (4D) ได้แก่ 1. ขั้นตอนการรื้อถอน ถอดรหัส และวิเคราะห์ (Deconstruction) ซึ่ง เน้นการท�ำความเข้าใจว่า สิ่งของหรือวัสดุที่อยู่ตรงหน้าคืออะไร ท�ำงาน อย่างไร ท�ำด้วยวัสดุอะไร เป็นต้น 2. ขั้นตอนการค้นคว้า เรียนรู้ เปรียบเทียบ (Discovery) ได้แก่การ ค้นหาว่าสิ่งของหรือวัสดุดังกล่าวหาได้จากที่ใด และใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้น อย่างไรได้บ้าง 3. ขั้นตอนการออกแบบ และลงมือท�ำ (Design and ‘Make’) คือ การน�ำความรู้จาก 2 ขั้นตอนแรกมาปรับใช้ ออกแบบ เพื่อสร้างเป็นชิ้นงาน 4. ขั้นตอนการจัดแสดงผลงาน (Display) อันจะน�ำไปสู่การแลก เปลี่ยนความรู้ การแบ่งปันองค์ความรู้จากการลองผิดลองถูก ซึ่งไม่เพียงช่วย ให้เมกเกอร์คนนั้นสามารถปรับปรุงผลงานของตน แต่เมกเกอร์คนอื่นก็อาจ น�ำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดได้อีกด้วย
Maker Knowledge นางสาวพรสุรีย์ กอนันทา ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารและ ภาพลักษณ์องค์กร เชฟรอนประเทศไทยกล่าวว่า
“ขั้นตอนการเรียนรู้แบบฉบับเมกเกอร์นี้จะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learners) เพราะผู้เรียนได้ลงมือท�ำและ แสวงหาค�ำตอบด้วยตนเอง และกล้าท�ำเพราะไม่ถูกตัดสินว่าอะไรผิดหรือ ถูก” นายเดวิด เวลส์ ผู้อ�ำนวยการการออกแบบหลักสูตรเมกเกอร์ จาก ศูนย์นิวยอร์กฮอลล์ออฟไซนส์ กล่าว “ศูนย์นิวยอร์กฮอลล์ออฟไซนส์เปิด ให้เยาวชน นักเรียน กลุ่มผู้ที่สนใจ หรือแม้กระทั่งกลุ่มองค์กร เข้ามาใช้พื้น ที่เมกเกอร์ภายในศูนย์ โดยตลอดระยะเวลา 6 ปีที่มีการใช้หลักสูตรนี้ เรา ได้เห็นผลลัพธ์ที่น่าประทับใจจากผู้ที่เข้ามาท�ำกิจกรรม มีเด็กหลายคนน�ำ ผลงานสิ่งประดิษฐ์ไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเหลือชุมชนของตนบ้าง ต่อยอดเป็นโครงการในระดับมหาวิทยาลัยบ้างหรือแม้กระทั่งกลายเป็น ธุรกิจสตาร์ทอัพที่ดูมีอนาคตไกล ความเป็นเมกเกอร์จึงเป็นจุดเริ่มต้นและ รากฐานที่ส�ำคัญมากต่อการศึกษาด้านสะเต็ม และต่อระบบเศรษฐกิจ หลายคนอาจไม่รู้ว่าจุดก�ำเนิดของคอมพิวเตอร์ (Processor) เครื่องแรก ของโลกก็ถูกพัฒนามาจากการเรียนรู้แบบเมกเกอร์นั่นเอง”
“การส่งเสริมและพัฒนาเมกเกอร์สเปซในประเทศไทย จะช่วยให้ เยาวชนมีพื้นที่ในการพัฒนากระบวนการคิด สร้างสรรค์และน�ำเสนอ ความรู้ด้านสะเต็มออกมาในรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ ที่ช่วยพัฒนาทั้งทักษะ ของเยาวชนเองและเป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมของประเทศต่อไปใน อนาคต โดยเฉพาะในยุคเศรษฐกิจดิจิตัลที่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีก�ำลังเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึง ร่วมมือกับ อพวช.และ New York Hall of Science ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ มี ความเชี่ ย วชาญในการพั ฒ นาและออกแบบกิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ ท าง วิทยาศาสตร์ทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และเป็นหัวหอกหลักในการจัดงาน World Maker Faire หรืองานแสดงผล งานของเหล่าเมกเกอร์ระดับโลก ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ให้มาจัดการ อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดแนวทางและแลกเปลี่ยนความรู้กับ บุคลากรขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ ในระดับประเทศ และน�ำไปขยายผลต่อไป” “การอบรมในครั้งนี้เป็นอีกความตั้งใจในการผลักดันให้เกิดวัฒน ธรรมเมกเกอร์ในประเทศไทยอย่างเป็นระบบภายใต้โครงการ Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ซึ่งประกอบด้วยหลากหลาย ส่วนในการส่งเสริมการศึกษาทั้งในสายสามัญและสายอาชีว รวมทั้ง ผลักดันผ่านทั้งโครงการการประกวด Enjoy Science: Young Makers Contest ที่มุ่งเฟ้นหาเมกเกอร์รุ่นใหม่ในสายสามัญและอาชีวศึกษาใน การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ ซึ่งได้รับความร่วมมือ กับสวทช. อพวช. และส�ำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาในการด�ำเนิน โครงการ ซึ่งในขณะนี้ก�ำลังเปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม รวม ถึงการจัดงาน Bangkok Mini Maker Faire เมื่อปีที่แล้วและที่ก�ำลังจะมี ขึ้นอีกในปลายปีนี้ เพื่อเป็นอีกแนวทางในการส่งเสริมการศึกษาในสาขา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือสะเต็ม (STEM) ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ”
i-Duino UNO R3B Starter kit
M
ชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พร้อมบอร์ด i-Duino UNO R3B ที่ใช้ฮาร์ดแวร์ Arduino กับชิป ATmega328PB ใหม่ล่าสุด พร้อมคุณสมบัติที่แข็งแกร่งด้าน ภาคจ่ายไฟ ท�ำให้ใช้งานกับแบตเตอรี่ 3V ได้ ส่งเสริมให้เมกเกอร์น�ำไปท�ำอุปกรณ์ Wearable Electronics ได้ง่ายขึ้น พร้อมคุณสมบัติกันการ copy code และ รักษาข้อมูล EEPROM ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ไม่มีใน UNO มาตรฐาน อุปกรณ์ในชุด
#8100072 @ 963 บาท
Innovative Experiment Co., Ltd.
Tel : 0-2747-7001-4 Url : www.inex.co.th
• บอร์ด i-Duino UNO R3B • แผงต่อวงจร 170 จุด • ไมโครสวิตช์ 2 ตัว • ตัวเก็บประจุ • LED ขนาด 2 มม. 2 ดวง • ตัวต้านทานแปรค่าตามแสง (LDR) • ไอซี MCP9701 • ล�ำโพงเปียโซ
• ตัวต้านทาน 1/4 วัตต์ 5 ตัว • กะบะถ่านแบบมีสวิตช์เปิดปิด ขนาด AA 2 ก้อน • ปลั้ก/แจ๊กอะแดปเตอร์แบบมีขั้วส�ำหรับต่อสายไฟ 1 คู่ • สายต่อวงจร • สาย MINI USB • หนังสือ Electronic123 • หนังสือเรียนรู้ไมโครคอนโทรลเลอร์ง่ายๆ กับ Arduino MAKERS
11
Craft
Maker Project Tommy DIY
Cat Tent
ประดิษฐ์เต็นท์หรือบ้านให้แมวด้วยวัสดุหาง่ายจากในบ้านของคุณ
อยากมีบ้านหลังน้อยๆ ให้เจ้าเหมียวไว้นอนเล่น นอนจริง ก็ได้ทั้งนั้น สร้างง่ายๆ ไม่ต้องใช้ทักษะด้านงานฝีมือ แถม เสร็จรวดเร็วภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที เกริ่นซะขนาดนี้ชมรมคนรักแมวทั้งหลายคงเริ่มคันไม้คันมือ กันแล้ว แต่ขอออกตัวก่อนนะขอรับ ว่าผู้เขียนไม่ได้คิดขึ้นมาเองแต่ ไปเห็นในเว็บฝรั่งเค้าท�ำกัน เลยอยากท�ำบ้าง แต่ไหนๆ จะท�ำแล้ว ก็ไม่ให้เสียเปล่าส่งผลงานนี้มายังกอง บก. ของวารสาร Makers ทันที (อารมณ์คนอยากอวด^^) ก็อย่างที่บอกล่ะครับว่ามัน สุด แสนจะง่ายดายแทบไม่ต้องวิ่งหาซื้ออุปกรณ์จากนอกบ้านมาเพิ่ม เติมแต่อย่างใด ว่าแล้วก็ไม่รอช้า มาเตรียมอุปกรณ์กันก่อนเลย
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ 1. ไม้ขวดเสื้อแบบลวดขนาดกลาง (เอาแบบลวดแข็งๆ ) 2. กระดาษลังขนาด 40x40 ซม. 3. เสื้อยืดคอกลมที่ไม่ใช้แล้ว 4. กระดาษกาวหรือเทปพันสายไฟ 5. คัตเตอร์ 6. คีมหนีบ/ตัด 7. เข็มกลัด อุปกรณ์ก็มีแค่นี้ล่ะครับ ลองมาดูวิธีการสร้างกันเลย รับรอง ว่า คุณจะอยากท�ำตามแน่นอน 12
MAKERS
รูปอุปกรณ์ที่ใช้สร้างเต็นท์แมว
Maker Project
ขั้นตอนการประดิษฐ์ (1) ตัดส่วนตะขอของไม้แขวนเสื้อออก แล้วดัดให้เป็นลวดเส้นตรงๆ ทั้งสองเส้น เพื่อใช้เป็นโครงสร้างของเต็นท์ดังรูป
(5) น�ำเสื้อยืดคอกลมที่เตรียมไว้ มาสวมเข้าไปโดยให้คอเสื้อเป็น ทางเข้าเต็นท์ แล้วพับเก็บชายเสื้อไว้ด้านล่างกระดาษลัง ใช้เข็มกลัดเก็บ ชายเสื้อไว้ด้านล่างของแผ่นกระดาษลัง
(2) ใช้ปลายลวดไม้แขวนเสื้อเจาะรูที่มุมของกระดาษลังทั้ง 4 มุม เสร็จแล้วครับ เต็นท์แมว รวดเร็วทันใจ แต่แนะน�ำให้หาเบาะหรือผ้า มารองด้านในเต็นท์ เจ้าเหมียวจะได้อบอุ่น จากนั้นก็น�ำไปให้เจ้าเหมียว ท�ำการ QC ความเรียบร้อยได้เลยจ้า
(3) สอดปลายลวดเข้าในรูที่มุมกระดาษลังแล้วใช้คีมพับปลายลวด ให้แนบกับด้านล่างของกระดาษลัง แล้วแปะด้วยกระดาษกาว ลองท�ำกันดูนะครับ ง่ายๆ แบบนีค้ ณ ุ แม่บา้ นก็ท�ำเองได้ไม่ตอ้ งง้อ ใครเลย
M
(4) น�ำลวดอีกเส้นมาวางคร่อมลวดอันแรกแล้วท�ำเหมือนขั้นตอนที่ 3 จากนั้นใช้กระดาษกาวหรือเทปพันสายไฟพันตรงจุดที่ลวดคร่อมกันไว้ ดังรูป
MAKERS
13
IoT
Maker Project อานนท์ ทองเติม
Espert ESPresso
Lite V2.0
สัมผัสแรกกับการทดลองใช้งาน มาถึงวันเวลาที่กระแส IoT ถาโถม ไปทุกๆ ที่ถ้าพูดถึง ESP8266 คนที่ ก�ำลังสนใจพัฒนาอุปกรณ์ IoT ในระดับ ฮาร์ดแวร์ย่อมต้องรู้จักเจ้าชิปตัวเก่งจาก Espressif นั่นคือ ESP8266 ต่อไปนี้ คือ อีกหนึ่งฮาร์ดแวร์ที่น�ำ ESP8266 มาสร้างเป็นบอร์ดใช้งานขนาดกะทัดรัด ในชื่อแสนกลมกล่อมราวกับกาแฟเลิศรส นั่นคือ ESPresso Lite V2.0
ชิ ป ESP8266 ที่ อ อกมาครองใจผู ้ พั ฒ นาอุ ป กรณ์ Internet of Things หรือ IoT ทัว่ โลกเนือ่ งจากมันมีความสามารถในการเชือ่ มต่อแบบ ไร้สายด้วยมาตรฐาน IEEE 802.11b/g/n และเขียนโปรแกรมได้จาก Arduino IDE โดยตรง จึงมีผผู้ ลิตโมดูลหรือบอร์ดพร้อมใช้งานขนาดต่างๆ ออกมาหลายรุ่น ตั้งแต่ ESP01 ถึง ESP14 และคาดว่า จะมีออกมาอีก แต่ละโมดูลจะใช้ชิป ESP8266EX ตัวเดียวกัน แต่จะต่างกันที่ขนาดของ หน่วยความจ�ำแฟลชและการจัดขาพอร์ตอินพุตเอาตพูต ส�ำหรับบอร์ด ESPresso Lite V2.0 ที่น�ำมาเสนอนี้ ใช้โมดูล ESP-WROOM-02 ซึ่ง ออกแบบโดย Espreesif (ผู้ผลิตชิป ESP8266 เอง) มีมาตรฐาน FCC, CE, TELEC และ SRRC รับรองเรียบร้อย
บอร์ดนี้มีเรื่องราว หลังจากมีโมดูล ESP8266 ออกสู่ตลาดหลายรุ่น ก็มีคนออกแบบ บอร์ดส�ำหรับนักพัฒนาโดยใช้โมดูลรุ่นต่างๆ เช่น NodeMCU ซึ่งเป็นการ น�ำโมดูล ESP8266 มาต่อกับชิปแปลงสัญญาณพอร์ต USB เป็น UART และออกแบบขาพอร์ตอินพุตเอาต์พุตให้ได้ใช้งานง่ายขึ้น นักพัฒนา สามารถต่อทดลองบนเบรดบอร์ดได้ ต่อมาทางทีม ESPert โดยคุณหมอจิมมี่ (นพ.ภาณุทัต เตชะเสน) และคุณ William (William Hooi) ได้ออกแบบบอร์ด ESPresso Lite ส�ำหรับ Maker นอกจากตัวบอร์ดที่เป็นฮาร์ดแวร์แล้วยังมีแพล็ตฟอร์ม และคลาวด์เซิร์ฟเวอร์รองรับการใช้งาน เพื่อให้นักพัฒนาเรียนรู้และ เข้าใจ IoT ได้ง่ายขึ้น บอร์ดที่น�ำมาแนะน�ำนี้เป็นเวอร์ชั่นที่ 2 แล้ว ถือว่า เป็นบอร์ด AEC อย่างแท้จริง เนื่องจากออกแบบและพัฒนาโดยทีมงาน ชาวไทย ผลิ ต ในประเทศมาเลเซี ย และท� ำ การตลาดโดยที ม งานชาว สิงคโปร์ ขณะนี้วางจ�ำหน่ายผ่านตัวแทนไปแล้วทั่วโลก
14
MAKERS
รูปที่ 1 แสดงการจัดขาของบอร์ด ESPresso Lite V2.0
ESPert Library
คุณสมบัติทางเทคนิคที่ส�ำคัญของ ESPresso Lite V2.0
• มีช่องต่อตัวตรวจจับความชื้นและอุณหภูมิเบอร์
ซึ่งต่อกับขา GPIO12 และ GPIO14
DHT22
• มีช่องต่อจอแสดงผล OLED เชื่อมต่อผ่านบัส I2C
• มี LED 1 ดวงต่อกับขา GPIO02
• มีสวิตช์ 2 ตัวต่อกับขา GPIO0 และ GPIO13
• มีขาส�ำหรับต่อกับบอร์ดแปลงสัญญาณ USB เป็น UART
การติดตั้ง ESPert Library (Arduino IDE Compatible) ในขั้นตอน แรกหากเราไม่เคยใช้งาน ESP8266 บน Arduino IDE มาก่อน จะต้องท�ำการ ติดตั้ง Board Manager ส�ำหรับ ESP8266 ก่อนโดยเข้าไปที่เมนู preferences ของโปรแกรม Arduino IDE (แนะน�ำให้ใช้กับ Arduino 1.6.7) แล้วท�ำการเพิ่ม บรรทัด http://arduino.esp8266.com/stable/package_esp8266com_ index.json เข้าไปยังส่วนของ Additional Boards Manager URLs ดังรูปที่ 2
เพื่ออัปโหลดโปรแกรมแบบอัตโนมัติ
มีจุดต่อขาพอร์ตอิสระ และเพิ่มขาส�ำหรับจ่ายไฟ +5V และกราวด์ให้มีจ�ำนวนขามากขึ้น
•
มีวงจรควบคุมไฟเลี้ยบงคงที่ที่ +3.3V จ่ายกระแสไฟฟ้า ได้ 800mA
•
• รับแรงดันอินพุตได้ +5 ถึง +12V
จากคุณสมบัตทิ างเทคนิค จะเห็นว่า เราสามารถใช้ ESPresso Lite V2.0 ศึกษาเรื่องการใช้งานพอร์ต GPIO ทั้งอินพุตและเอาต์พุต ได้เลย ด้วยการใช้งาน LED และสวิตช์ ทั้งยังใช้ต่อกับอุปกรณ์ยอด ฮิตเพื่อแสดงผลอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์อย่าง OLED และ DHT22 ได้ นอกจากนี้ก็ยังมีขาพอร์ตส�ำหรับต่ออุปกรณ์อื่นๆ ได้อีก ด้วย ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะบอกว่า บอร์ดตัวอื่นก็ท�ำได้เหมือนกัน ใช่ครับ บอร์ดอื่นๆ ก็ท�ำได้เหมือนกัน แต่อย่างที่บอกว่า เค้าท�ำมา เป็นแพล็ตฟอร์ม มันจึงไม่ได้มีดีแค่บอร์ดแน่นอน ดังนั้นเรามาศึกษา ส่วนอื่นกันต่อเลยดีกว่า
รูปที่ 2 แสดงการตั้งค่า Board Manager ส�ำหรับ ESP8266 ของ Arduino IDE จากนั้นเข้าไปยังเมนู Tools > Boards Manager โปรแกรม Arduino จะอ่านค่าเพิ่มเติมจาก URL ที่เราใส่เข้าไปในหัวข้อก่อนนหน้านี้ รอสักครู่ เมื่ออ่านค่าเรียบร้อยแล้ว พิมพ์ค้นหาค�ำว่า ESP8266 ในช่องค้นหา เมื่อพบ ให้คลิกติดตั้งได้เลย ดังรูปที่ 3
MAKERS
15
จากนั้นท�ำการติดตั้งไลบรารีอื่นๆ ที่ ESPert เรียกใช้ให้ครบถ้วน ดังรายการต่อไปนี้ (ติดตั้งด้วยวิธีเดียวกับการติดตั้ง ESPert library)
• DHT sensor library by Adafruit (current version 1.2.3)
• PubSubClient by Nick O’Leary (current version 2.4.0)
• ArduinoJson by Benoit Blanchon (current version 5.0.7)
• HttpClient by Adrian McEwen (current version 2.2.0)
• ESP8266 Oled Driver for SSD1306 display by Daniel Eichborn (current version 2.0.0) รูปที่ 3 แสดงการติดตั้งบอร์ดแพ็กเกจส�ำหรับ ESP8266 ในขัน้ ตอนนีต้ อ้ งรอการดาวน์โหลด ซึง่ ใช้เวลาพอสมควร เมือ่ เสร็จสิน้ การติดตัง้ แล้ว เข้าไปเลือกบอร์ดในเมนู Toos จะพบบอร์ดทีใ่ ช้ชปิ ESP8266 เพิ่มขึ้นมารวมถึง ESPresso Lite V1.0 และ ESPresso Lite 2.0 ด้วย ดังรูปที่ 4 ท�ำการเลือกบอร์ดให้ถูกต้อง ก่อนการอัปโหลดโปรแกรม
รูปที่ 4 แสดงการรายการบอร์ดที่เพิ่มขึ้นหลังจากติดตั้งแพ็กเกจ ESP8266 เมื่อตั้งค่าให้ Arduino IDE รู้จักกับบอร์ด ESPresso Lite V2.0 แล้ว ล�ำดับต่อไปท�ำการติดตั้ง ESPert Library เพื่อการเรียกใช้งานติดต่อ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ทาง ESPert เตรียมไว้ให้ ซึ่งสะดวกกว่าการเขียนเองใหม่ ทั้งหมด เข้าไปยังเมนู Sketch > Include Library > Manage Libraries แล้วค้นหา ESPert ในช่องค้นหา เมื่อพบ คลิกติดตั้งได้ทันที
• Adafruit NeoPixel by Adafruit (current version 1.0.4)
ทดสอบกันซะ.. เมือ่ ติดตัง้ ไลบรารีครบถ้วนแล้ว ต่อไปท�ำการทดลองตัวอย่างง่ายๆ กัน โดยเข้าไปดูตัวอย่างของโค้ดทั้งหมดได้ที่เมนู File > Examples > ESPert ตามรูปที่ 6
รูปที่ 6 แสดงรายการตัวอย่างโค้ดที่ ESPert มีมาให้ เลือกทดลองโปรแกรมไฟกะพริบในแบบ ESPert เนื่องจาก ESpert นั้นถูกพัฒนามาให้สะดวกต่อการใช้งาน การสั่งงานทั้งหมดจะท�ำผ่านอ อบเจ็กต์ที่ชื่อว่า ESPert ไม่เว้นแม้แต่ไฟกระพริบ ผู้ใช้งานไม่จ�ำเป็นต้อง ทราบว่า LED นั้นต่ออยู่กับขาพอร์ตอเอาต์พุตขาใด เพียงสั่ง espert.led. on() LED ก็จะติดสว่างขึ้นมา เมื่ออยากให้ดับ ก็เพียงสั่ง espert.led.off() เท่านั้น ดังแสดงโปรแกรมตัวอย่างดังรูปที่ 7
รูปที่ 5 แสดงการการค้นหา ESPert library เพื่อน�ำมาติดตั้ง
รูปที่ 7 แสดงรายการตัวอย่างโปรแกรมไฟกะพริบของ ESPert 16
MAKERS
Maker Knowledge
ทดลองการตั้งค่าเชื่อมต่อ WiFi จะต้องเชื่อม ต่อกับ Access Point ในบ้าน การตั้งค่าแบบง่าย จึงเป็นสิ่งจ�ำเป็น ESPert ออกแบบการตั้งค่ามา 2 แบบคือ ผ่านหน้าเว็บ และแบบ Smart config โดยใช้โค้ดตัวอย่างชื่อ _2000_ESPert_workshop ต้องต่อจอ OLED แบบบัส I2C เข้ากับ ESPresso Lite V2.0 และต่อ DHT22 เข้ากับบอร์ดผ่านช่อง ต่อที่เตรียมไว้ให้ เมื่ อ อั ป โหลดโปรแกรมเรี ย บร้ อ ยแล้ ว ที่ หน้าจอ OLED จะแสดงโลโก้ของ ESPert ขึ้นมา แล้วเข้าสู่หน้าจอแสดงโหมดการตั้งค่า โดยเริ่ม ที่ Smart config ในโหมดนี้เราสามารถตั้งค่าการ เชื่อมต่อให้กับ ESPresso Lite V2.0 ได้โดยการ ท�ำผ่านแอปพลิเคชั่นในระบบปฎิบัติการ Android ที่ชื่อ ESPert SmartConfig เมื่อก�ำหนดค่า SSID และรหัสผ่านแล้ว ค่าจะถูกส่งมาตัง้ ค่าที่ ESPresso Lite 2.0 โดยอัตโนมัติ
รูปที่ 10 แสดงค่าที่ถูกส่งมาจากอุปกรณ์ผ่านทางหน้า เว็บได้
รูปที่ 11 น�ำค่าที่ถูกส่งมาจัดแสดงผลในรูปแบบของ แดชบอร์ด
แต่หากไม่สะดวกที่จะติดตั้ง สามารถเลือกการตั้งค่าแบบผ่านหน้าเว็บได้ โดยการกดสวิตช์ที่ ต่อกับขา GPIO13 ค้างไว้ 5 วินาที บอร์ดจะเริ่มการท�ำงานใหม่และเข้าสู่ AP mode ที่หน้าจอ OLED จะปรากฎชื่อของ Access point ที่ต้องท�ำการเชื่อมต่อ รวมถึงหมายเลข IP ที่ใช้ในการเข้าไปตั้งค่า เมื่อเชื่อมต่อกับ Access point และเปิดหน้าเว็บเพื่อเข้าไปตั้งหมายเลข IP ที่แสดงได้แล้ว จะพบ หน้าเว็บส�ำหรับตั้งค่าโดยมี SSID ของ Access point ที่สแกนพบให้เลือก เมื่อพิมพ์รหัสผ่านของ Access point ตัวที่จะเชื่อมต่อแล้วคลิกตกลง ค่าจะถูกบันทึกลงในหน่วยความจ�ำอีอีพรอมของบอ ร์ด และเริ่มการท�ำงานใหม่ในโหมด Station ซึ่งจะแสดงหมายเลข IP ที่ได้จาก Access point ที่ท�ำการ เชื่อมต่อ หากไม่ได้ให้กดปุ่ม GPIO13 ค้างไปเรื่อยๆ จนเข้าสู่โหมด AP อีกครั้งเพื่อท�ำการตั้งค่าใหม่
ESPert Cloud นอกจากในส่วนของฝั่งฮาร์ดแวร์และไลบรารีแล้ว ทาง ESPert ยังให้บริการคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ ด้วย โดยมีบริการแบบต่างๆ มากมาย อาทิ MQTT broker, MQTT Websockets, Data visualizing, Push notification, Geofencing และ Augmented Reality โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าไปจัดการ ข้อมูลที่ถูกรับส่งผ่านโปรโตคอล MQTT ได้ และน�ำข้อมูลมาจัดรูปแบบให้ง่ายต่อการดูได้โดยสะดวก นอกจากนั้น ยังตั้งค่าให้ ESPresso Lite ส่ง Push notification มายังสมาร์ตโฟนได้ รวมไปถึง บริการอย่าง Geofencing ที่สามารถส่งค่าให้อุปกรณ์ได้ เมื่อเราเข้าออกยังบริเวณที่ก�ำหนดไว้ หรือ Augmented Reality ที่ช่วยให้เราสร้างอุปกรณ์ IoT เสมือนได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้การใช้งาน IoT กลายเป็นเรื่องง่ายนิดเดียว ซึ่งรายละเอียดการเจาะลึกการใช้งาน ESPert Cloud จะขอเล่าในโอกาส ต่อไป รับรองน่าสนใจมากแน่นอน
รูปที่ 8 แสดงการต่อจอ OLED เข้ากับ ESPresso Lite V2.0
รูปที่ 12 ส่วนของ Geofencing ที่ ESPert Cloud มีให้ บริการ
รูปที่ 9 QR code ส�ำหรับดาวน์โหลดโปรแกรม ESPert SmartConfig
รูปที่ 13 การน�ำ Augmented Reality มาสร้าง virtual device ของ ESPert Platform
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมของ ESPresso Lite V2.0 และการสั่งซื้อ ดูได้ที่ http://www.espressolite.com/espresso-lite-v2-0
M MAKERS
17
HOBBY
Maker Project Thai Inventor
เครื่องเพาะถั่วงอกระบบน�้ำหยด
เตรียมอุปกรณ์ (ไม่รวมเครื่องมือช่าง) 1. ภาชนะทึบแสง 2 ใบ ทรงกลมก็ดี ทรงเหลี่ยมก็ได้
ลงมือสร้างเครื่องเพาะถั่วงอกประจ�ำ ครัวเรือนที่หน่วงเวลาการรดน�้ำได้ โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า การเพาะถั่วงอกนั้นจริงแล้วเป็นเรื่องไม่ยากหากมีเวลาดูแล หมั่นรดน�้ำทุก 3 หรือ 4 ชั่วโมง หรืออย่างน้อยก็ต้องรดเช้าและ เย็นอย่าให้ขาด แต่ภารกิจของคนเมืองที่ต้องเร่งรีบออกจากบ้าน ก่อนไก่ตื่นเพื่อหลีกเลี่ยงความคับคั่งของการจราจร ผลสุดท้ายลืม สิคร๊าบ แต่จะดีแค่ไหน หากหน้าที่นี้ปล่อยให้ระบบน�้ำหยดเป็นผู้ ดูแลการรดน�้ำแทนเรา อย่างที่ทราบกันโดยทั่วไป ถั่วงอกจะสมบูรณ์ ขาวอวบ น่ารับ ประทานได้นั้น การรดน�้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือปัจจัยส�ำคัญ อันดับต้นๆ แต่ถ้าจะเอาให้ง่ายก็ใช้เครื่องตั้งเวลามาควบคุมวาล์ว ไฟฟ้าหรือปั้มน�้ำให้รดน�้ำตามเวลาที่เราต้องการ แต่แน่นอนว่าค่า ใช้จ่ายที่จะต้องตามมานอกจากค่าไฟแล้วยังมีค่าเครื่องตั้งเวลากับ วาล์วไฟฟ้า(โซลินอยด์วาล์ว) ดังนั้นการท�ำระบบน�้ำหยดพักน�้ำไว้ ในถัง แล้วใช้ระบบกาลักน�้ำ (Siphon) ดึงน�้ำจากถังพักไหลลงไปยัง ตะกร้าเพาะถั่วจึงเป็นทางเลือกที่น่าจะตอบโจทย์นี้ หากยังนึกภาพไม่ออกลองดูหลักการท�ำงานของเครื่องเพาะ ถั่วงอกในหน้าถัดไปครับ 18
MAKERS
2. ตะกร้ารูปทรงและขนาดที่สามารถใส่ลงในภาชนะตามข้อ 1 ได้ 1 ใบ 3. ท่อ PVC ขนาด 4 หุนพร้อมหัวอุด 4. ก้านลูกโป่ง หรือหลอดกาแฟ 5. หัวน�้ำหยด 6. ข้อต่อ 4 หุน ส�ำหรับต่อจากวาล์วน�้ำให้ขนาดเข้ากับสายยางได้ 7. สายยางเล็ก 8. วาล์วน�้ำ (สต๊อปวาล์ว) 9. กาวซิลิโคน 10. พลาสวูดหรือแผ่นพลาสติกอะคริลิก 1.
2.
3. 4. 5. 6. 7.
รูปที่ 1 อุปกรณ์หลักๆ ส�ำหรับท�ำเครื่องเพาะถั่วงอกระบบน�้ำหยด
Maker Project
1
2
หลักการท�ำงานของเครื่องเพาะถั่วงอกระบบน�้ำหยด ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการสร้าง เรามาดูหลักการท�ำงานกันก่อนจะ ได้เห็นภาพรวมของการท�ำงาน เพื่อการจัดเตรียมอุปกรณ์อย่างไม่ขาดตก บกพร่องกันนะครับ 1. เริ่มจากเปิดน�้ำเข้าถังบน หัวน�้ำหยดจะปล่อยให้น�้ำหยดลงถังน�้ำ อย่างช้าๆ (มากน้อยขึ้นอยู่กับการปรับวาล์วน�้ำและหัวน�้ำหยดด้วย) 2. เมื่อระดับน�้ำสูงจนถึงปลายท่อระดับ (ในที่นี้คือก้านลูกโป่ง) น�้ำ จะค่อยๆ ไหลลงท่อ แต่จะไหลลงอย่างช้าๆ
3
4
3. เมื่อน�้ำภายในท่อไหลเข้าไปแทนที่อากาศทั้งหมดระบบกาลักน�้ำ (Siphon) ก็เริ่มสูบน�้ำลงด้านล่าง ตอนนี้น�้ำจะไหลผ่านแผ่นกระจายน�้ำที่ เป็นแผ่นพลาสติกเจาะรูไว้ทั่วทั้งแผ่นลงไปยังตะกร้าที่บรรจุเมล็ดถั่วไว้
4. น�้ำที่ผ่านตะกร้าจะไหลออกทางท่อน�้ำทิ้งด้านล่าง
โดยระบบจะท�ำงานซ�้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ท�ำให้มั่นใจได้ว่าถั่วของเรา จะได้รับน�้ำอย่างสม�่ำเสมอ และได้เก็บเกี่ยวผลผลิตในเวลา 3 วันแน่นอน
หัวอุดท่อ 4 หุน ท่อ 4 หุน
ถังบน
หัวน�้ำหยด
ก้านลูกโป่ง
ฝาปิด
ถังล่าง
สายยางขนาดเล็ก
ข้อต่อวาล์ว 4 หุน
แผ่นกระจายน�้ำ ตะกร้าพลาสติก
วาล์วน�้ำ
ท่อน�้ำทิ้ง รูปที่ 2 แสดงโครงสร้างของเครื่องเพาะถั่วงอก
MAKERS
19
ขั้นตอนการสร้าง ส�ำหรับขั้นตอนการสร้าง ผู้เขียนจะอ้างอิงจากภาพประกอบที่ 2 ซึ่ง เป็นภาพวาดโครงสร้างและส่วนประกอบของเครื่อง (1) น�ำตะกร้ามาตัดขอบออกดังรูปที่ 3 จะได้ตะกร้าที่ใส่ลงในถังน�้ำ ได้พอดี แต่หากท่านที่มีตะกร้าขนาดพอดีกับถังน�้ำอยู่แล้วก็ข้ามขั้นตอนนี้ ไปเลย 3.1
(4) ท�ำแผ่นกระจายน�้ำโดยตัดแผ่นพลาสวูดหนา 3 หรือ 5 มม. ให้ ขนาดสามารถปิดลงไปกึ่งกลางของถังน�้ำได้ดังรูป 6.3 (ถังน�้ำส่วนใหญ่มี รูปทรงก้นเล็กปากบาน) แล้วตัดพลาสวูดชิ้นเล็กๆ ไว้เป็นที่จับติดด้วยกาว ร้อนตรงกลางแผ่นจากนั้นเจาะรูด้วยดอกสว่าน 3 มม. ให้ทั่วทั้งแผ่นให้น�้ำ กระจายได้ทั่วตะกร้าดังรูปที่ 6.4 6.2
6.1
3.2
6.3
6.4
รูปที่ 3 การตัดขอบปากตะกร้าให้ใส่ลงในถังน�้ำได้พอดี (2) ตัดท่อ PVC ขนาด 3 หรือ 4 หุน ก็ได้ เป็นชิ้นเล็กๆ น�ำมาผูกติด ก้นตะกร้าด้วยสายรัด (การหนุนให้ก้นตะกร้าสูงจากพื้นก็เพื่อป้องกันไม่ ให้เมล็ดถั่วถูกน�้ำขังจนท�ำให้เน่าได้) ดังรูปที่ 4 4.1
4.2
รูปที่ 6 ตัดแผ่นกระจายน�้ำ (5) น�ำสายยางขนาดเล็กมาหุ้มแผ่นกระจายน�้ำเพื่อให้แผ่นกระจาย น�้ำแนบสนิทกับถังน�้ำโดยไม่หลุดล่วงได้ง่าย โดยใช้กรรไกรผ่ากลางสาย ยางดังรูปที่ 7.2 แล้วน�ำไปหุ้มที่ขอบของแผ่นให้รอบดังรูปที่ 7.3 7.1
4.3
7.2
4.4
7.3
7.4
รูปที่ 4 ใช้ท่อ PVC หนุนตะกร้าป้องกันน�้ำขัง (3) เจาะรูที่ก้นถังน�้ำให้พอดีกับท่อน�้ำทิ้งขนาด 4 หุน ที่เตรียมไว้ จากนั้นใช้กาวซิลิโคนอุดภายในถังน�้ำเพื่อป้องกันน�้ำรั่วซึมจากรอยเจาะ 5.1
5.2
รูปที่ 7 การหุ้มขอบแผ่นกระจายน�้ำ (6) ตัดแผ่นพลาสวูดหนา 5 มม. ส�ำหรับท�ำฝาปิดถังล่างขนาด เท่ากับปากถังแล้วเจาะรูกลางแผ่นส�ำหรับสอดท่อน�้ำจากถังบน 8.1
รูปที่ 5 การติดตั้งท่อน�้ำทิ้ง รูปที่ 8 ท�ำฝาปิดถังล่าง
20
MAKERS
8.2
Maker Project
(7) น�ำถังอีกใบมาเจาะรูกลางถังขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ถึง 3 ซม. จากนั้นตัดแผ่นพลาสวูดเป็นทรงกลมมาแปะทับรูที่เจาะไว้ที่ ก้นถัง เจาะรูให้มีขนาดเท่ากับก้านลูกโป่ง (ให้คับก้านลูกโป่ง) ดังรูปที่ 9.1 จากนั้นน�ำก้านลูกโป่งสอดเข้าไปในรู โดยให้ความสูงพอประมาณหรือ เท่ากับระดับน�้ำที่เราต้องการ 9.2
9.1
ขั้นตอนการใช้งาน
(1) น�ำเมล็ดถั่วเขียวแช่น�้ำอุ่นไว้ประมาณ 4 ชั่วโมง
(2) เทเมล็ดถั่วเขียวที่แช่น�้ำอุ่นแล้วลงตะกร้า
(3) ปิดแผ่นกระจายน�้ำให้ได้ระดับดับไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
(4) ปิดฝาของถังน�้ำใบล่าง
(5) น�ำถังบนมาวางซ้อนให้ก้านลูกโป่งสอดลงในรูของฝาปิด
(6) เปิ ด วาล์ ว น�้ ำ น้ อ ยๆ แล้ ว ปรั บ หั ว น�้ ำ หยดให้ ไ ด้ ป ริ ม าณน�้ ำ ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อ 500 มิลลิลิตร (ใช้น�้ำ 3 ชั่วโมงต่อ 1.5 ลิตร) รูปที่ 9 ท�ำท่อระดับจากก้านลูกโป่ง
(7) ทิ้งไว้ 2 ถึง 3 วัน แล้วลองเปิดดูผลผลิต
12.1
12.2
12.3
12.4
12.5
12.6
(8) น�ำท่อ 4 หุน มาบากให้มีรูปทรงดังรูปที่ 10.1 โดยความสูงของ ท่อขึ้นกับความสูงของท่อระดับ (ก้านลูกโป่ง) แต่ต้องสูงกว่าท่อระดับ 1 ถึง 2 มม. จากนั้นครอบหัวอุดแล้วน�ำไปวางสวมท่อระดับดังรูปที่ 10.4 10.1
10.3
10.2
10.4
รูปที่ 10 ท�ำท่อระบบไซฟอน (9) ติดตั้งหัวน�้ำหยดเข้ากับส่วนบนของถังน�้ำดังรูปที่ 11.1 ส่วน ปลายสายอีกด้านก็ต่อเข้ากับหัวต่อท่อ 4 หุนดังรูปที่ 11.2 สุดท้ายสวมท่อ อ่อนเข้ากับน�้ำทิ้งของถังน�้ำล่าง ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการสร้างแล้วครับ 11.1
11.2
รูปที่ 12 ขั้นตอนการใช้งาน หลังจากผ่านไป 2 วัน ลองเปิดดูผลผลิตกันสักหน่อยครับ ผลที่ออก มาก็เป็นดังรูปที่ 13.1 และวันที่ 3 เป็นดังรูปที่ 13.2 น�ำไปล้างและรับ ประทานได้เลย 13.1
11.3
13.2
11.4
รูปที่ 13 ผลผลิตในวันที่ 2 และ 3
รูปที่ 11 ติดตั้งหัวน�้ำหยดและท่อน�้ำทิ้ง
เพียงเท่านีเ้ ราก็จะได้เครื ่องเพาะถัว่ งอกทีร่ ดน�้ำให้เราทุก 3 ชัว่ โมง (อยู่ทีก่ ารปรับหัวน�้ำหยด) แล้วล่ะครับ แนะน�ำให้รบั ประทานแบบปรุงสุก จะดีทีส่ ดุ ส�ำหรับคนทีช่ ื น่ ชอบการรับประทานแบบดิ บๆ ก็ตอ้ งดูแลเรื ่อง ปริ มาณให้เหมาะสมด้วยนะ เพราะหากมากเกิ นไปย่อมมี โทษเสมอ
M
MAKERS
21
Craft
Maker Project Pinn Creative Space
HeroPocket กระเป๋าเงินซูเปอร์ฮีโร่
ตั้งแต่ต้นปีหนังซูเปอร์ฮีโร่ มาแรง จึงขอเสนอวิธีท�ำ กระเป๋าใส่เศษเงินเล็กๆ น่ารักๆ ลายการ์ตูนซูเปอร์ ฮีโร่มาให้ได้ลองท�ำกัน
อุปกรณ์ •
หนังเทียม ขนาด 12 x 12 ซม. 2 ชิ้น
• อุปกรณ์เย็บผ้า • กรรไกร • ซิป
วิธีท�ำ (1) ออกแบบลวด ลายด้ ว ยการวาด ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาทิ Photoshop หรือ Illustrator ก็ได้ โดยออกแบบภาพเล็ก กว่าขนาดผ้าที่เตรียมไว้ ในที่นี้ออกแบบเป็น ขนาด 10 x 8.5 ซม.
1
(2) น�ำภาพไปพิมพ์ลงบนกระดาษ CPM กระดาษชนิ ด นี้ เ ป็ น กระดาษชนิ ด พิ เ ศษที่ ออกแบบมาให้ถ่ายทอดภาพพิมพ์ลงบนวัสดุ ได้หลายชนิด เช่น ผ้า พลาสติก อะครีลิก และหนังเทียมได้ด้วย ในโครงงานนี้จะใช้มา พิมพ์ลงบนหนังเทียมค่ะ 22
MAKERS
2
3
7
(5) จากนั้นมาท�ำด้านหลังกระเป๋ากันตัด หนังเทียมชิ้นที่เหลือออกเป็น 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมี ขนาด 3.5 x 12 ซม. อีกชิ้นหนึ่งมีขนาด 6.5 x 12 ซม.
11
12
8 (3) เมื่ อ ได้ รู ป แล้ ว น� ำ ไปรี ด ด้ ว ยความ ร้อนลงบนหนังเทียม ระวังอย่าให้หน้าเตารีด สัมผัสหนังเทียมโดยตรงนะคะ ต้องมีฟองน�้ำ แบบละเอียดวางซ้อนก่อน จากนั้นค่อยรีดด้วย อุณหภูมิ 160 องศา เป็นเวลา 50 วินาที
13
4 (6) เย็บซิปติดทั้งสองชิ้น ถ้าเพื่อนๆ จะใช้ จักรในการเย็บต้องใช้ตีนตุ๊กแกที่ใช้เฉพาะเย็บ กับซิปเท่านั้นนะคะ เมื่อเย็บเสร็จบนและล่าง จะได้ดังรูปที่ 10
5
9
เท่านี้ก็เรียบร้อย กระเป๋าใส่เหรียญลาย ซูเปอร์ฮีโร่ตามที่เราออกแบบได้เอง สร้างสรรค์ เป็นของใช้ส่วนตัวหรือเป็นของขวัญให้คนพิเศษ ได้ด้วย
14 (4) รอให้กระดาษเย็นก่อน จากนั้นค่อยๆ ลอกออก ไม่เช่นนั้นสีอาจไม่ติดกับแผ่นหนัง จะ ได้ชิ้นงานตามรูปที่ 7
10
6
(7) น�ำชิ้นงานทั้งสองชิ้นประกบกัน แล้ว เย็บปิดรอบๆ (8) ตั ด ส่ ว นที่ เ กิ น ออกเป็ น รู ป ทรงตาม แบบที่ออกแบบ
เพือ่ นๆ มี ไอเดียอะไรอยากสรรสร้าง มา ปรึกษาเราได้ที ่ PINN creative space ทุกสาขา นะคะ
M
MAKERS
23
Embedded PC
Maker Project ธีรวุธ จิตพรมมา
Movement Alarm on Facebook
เครื่องแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวผ่าน Facebook โดยใช้ Raspberry Pi 3 และโมดูล PIR
โครงงานในฝันของเมกเกอร์รุ่นใหม่ เอาบอร์ดคอมพิวเตอร์ตัวดังต่อกับ ตั ว ตรวจจั บ PIR มาสร้ า งระบบ ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่แจ้งผล การท�ำงานมายัง Facebook เท่ป่ะ ถ้าชอบก็จัดเลย การท�ำระบบแจ้งเตือนมีรูปแบบหลากหลายไม่ว่า จะเป็นทาง SMS, Email,โทรไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ ที่ ก� ำ ลั ง ยอดนิ ย มมากๆ ในยุ ค นี้ คื อ แจ้ ง เตื อ นผ่ า นทาง Chat box ของ Facebook หรือ Messenger ดังนั้นเรา จะใช้เครื่องมือที่มีอยู่สร้างระบบรักษาความปลอดภัยโดย ไม่ต้องเสียเวลาสร้างแอปพลิคชั่นเพื่อใช้ในการแจ้งเตือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการสร้าง Platform as a Service ที่ท�ำหน้าที่เป็นตัวกลาง (broker) เนื่องจากสิ่งที่กล่าวมานี้ Facebook มีให้หมดแล้ว
สิ่งที่ต้องเตรียม อุปกรณ์ • RaspberryPi 3 ที่ติดตั้ง OS เรียบร้อยแล้ว (ในตัวอย่างนี้ติดตั้ง RASPBIAN JESSIE ) พร้อมแหล่งจ่ายไฟ 1 ชุด
• PIR โมดูลตรวจจับความเคลื่อนไหว จ�ำนวน 1 ตัว
• LED จ�ำนวน 1 ดวง
• ตัวต้านทาน 330Ω 1/4W 1 ตัว
Facebook อีเมล์และรหัสผ่านที่ใช้ในการล็อกอินเพื่อเข้าใช้งาน Facebook ใน โครงงานนี้ผู้เขียนท�ำการลงทะเบียนสมัคร Facebook ใหม่ในชื่อ Smart Home
รูปที่ 1 หน้า Facebook ของ Smart Home ที่ใช้ในโครงงานนี้ (ผู้สนใจท�ำ ตามสามารถสร้างหน้าเพจของ Facebook ในชื่อที่ต่างกันได้)
24
MAKERS
Maker Project การท�ำงาน เริ่มจากบอร์ด Raspberry Pi 3 ท�ำการอ่านค่าจากโมดูล ตรวจจับความเคลื่อนไหว PIR เมื่อโมดูล PIR พบความเคลื่อนไหว จะส่งสัญญาณลอจิกกลับมายังบอร์ด Raspberry Pi 3 เพื่อให้ ท�ำการส่งข้อความไปยังหน้า Facebook ที่ลงทะเบียนไว้แล้ว (ในที่นี้คือ Smart Home) เปรียบเสมือนว่า Raspberry Pi3 เป็น ผู้คอยส่งข้อความแจ้งมายังผู้ใช้งาน เมื่อมีการตรวจพบความ เคลื่อนไหวเกิดขึ้นภายในพื้นที่ตรวจจับ
(3) ก่อนจะเริ่มดาวน์โหลดไฟล์ ให้ย้ายไดเร็กตอรี่ปัจจุบันมาที่ Desktop ก่อน โดยใช้ค�ำสั่ง cd /home/pi/Desktop
(4) ใช้ค�ำสั่ง wget บน Raspberry Pi เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ โดยพิมพ์ค�ำสั่ง
wget https://nodejs.org/dist/v6.2.2/node-v6.2.2-linux-armv 7l.tar.gz
ติดตั้ง NodeJS NodeJS เป็นจาวาสคริปต์ที่ท�ำงานอยู่บนฝั่งเซิร์ฟเวอร์เพื่อ ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมควบคุมการท�ำงานบน ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ เป็นที่นิยมกันอย่าง แพร่หลายส�ำหรับการพัฒนาเว็บเซิร์ฟเวอร์ในยุคนี้ บนบอร์ด Raspberry PI 3 (จากนี้จะเรียกว่า Rpi3) ก็ใช้งาน NodeJS ได้ ด้วยเช่นกัน โดยมีขั้นตอนการติดตั้งดังนี้
(5) แตกไฟล์ด้วยค�ำสั่ง tar -xvf node-v6.2.2-linux-armv7l.
(6) เข้าไปในไดเร็กตอรี่ของ NodeJS ที่พึ่งแตกไฟล์ออกมา ด้วยค�ำสั่ง cd
(7) คัดลอกไฟล์ทั้งหมดไปเก็บไว้ในไดเร็กตอรี่ /usr/local/ ด้วยค�ำสั่ง sudo
(8) รีสตาร์ต Raspberry Pi 3 ด้วยค�ำสั่ง sudo
tar.gz โดยชื่อไฟล์อาจเปลี่ยนแปลงการปรับปรุงล่าสุด
หมายเหตุ : ส�ำหรับ NodeJS ทีต่ ิดตัง้ มาพร้อมระบบปฏิบตั ิการ Raspbian Jessie จะเป็ นรุ่น v0.10.29
(1) ตรวจสอบโดยใช้ค�ำสั่ง node
–v
เข้ า สู ่ ห น้ า ต่ า งเทอร์ มิ น อลของ Rpi3 จากนั้ น พิ ม พ์ ค�ำสั่ง node -v จะได้รุ่นของโปรแกรมแสดงกลับมา ในที่นี้คือ 0.10.29
(2) เนื่องจากรุ่น v0.10.29 เป็นเวอร์ชั่นนี้ไม่สามารถท�ำงาน กับแพ็กเกจ facebook-chat-api ได้ทันที จึงต้องดาวน์โหลด ไฟล์มาติดตั้งเอง โดยเข้าไปที่หน้าเว็บส�ำหรับดาวน์โหลดของ NodeJS ก่อน เพื่อตรวจสอบเวอร์ชันล่าสุดและ URL ส�ำหรับ ดาวน์โหลด ดังนี้
https://nodejs.org/en/download/current/
node-v6.2.2-linux-armv7l
cp -R * /usr/local/
reboot
(9) ตรวจสอบเวอร์ชันของ NodeJS หลังจากการติดตั้งด้วยค�ำสั่ง node -v จะได้หมายเลขเวอร์ชันเป็น V6.2.2
รูปที่ 2 แสดงหน้าต่างส�ำหรับอัปโหลด NodeJS MAKERS
25
Maker Project ติดตั้งแพ็กเกจ facebook-chat-api
ตัวอย่างโปรแกรม app.js
facebook-chat-api เป็นแพ็กเกจที่ช่วยให้ NodeJS สามารถส่งข้อความ ไปยัง Facebook ปลายทางได้ง่ายขึ้น โดยไม่จ�ำเป็นต้องไปศึกษา API ของ Facebook โดยตรง มีขั้นตอนการติดตั้งดังนี้
เมื่อเตรียมทุกอย่างเสร็จสิ้น ล�ำดับต่อไปคือ เรื่องของซอฟต์แวร์ ต้องท�ำการเขียนโปรแกรมจาวาสคริปต์ เพื่อทดสอบใช้งาน ตั้งชื่อไฟล์ว่า app.js ที่รายละเอียดแสดงในโปรแกรมที่ 1
(1) ย้ายไดเร็กตอรี่ปัจจุบันมาที่ Desktop ก่อน โดยใช้ค�ำสั่ง cd
(2) จากนั้นสร้างโฟลเดอร์เพื่อเก็บงาน โดยใช้ชื่อว่า Project ด้วยค�ำสั่ง
/home/
pi/Desktop
mkdir Project
โปรแกรมที่ 1 ไฟล์ app.js โปรแกรมจาวาสคริปต์ส�ำหรับทดสอบใช้ งานบอร์ด Raspberry Pi 3 เพื่อสร้างระบบแจ้งเตือนผ่าน facebook var login = require(“facebook-chat-api”);
(3) ย้ายไดเร็กตอรี่ปัจจุบันมาที่ Project โดยใช้ค�ำสั่ง cd
//เรียกใช้ Package facebook-chat-api Project
var Gpio = require(“onoff”).Gpio;
//เรียกใช้ Package onoff
led = new Gpio(17, “out”);
(4) ติดตัง้ facebook-chat-api ด้วยค�ำสัง่ npm
install facebook-chat-api
PIR = new Gpio(18, “in”);
//ก�ำหนดขา 17 เป็น output
//ก�ำหนดขา 18 เป็น input
var FB_EMAIL=”your_email@inex.co.th”;
//ตัวแปรก�ำหนด Email เข้า Facebook
ศึกษาข้อมูลเพิม่ เติมได้ที่ https://github.com/Schmavery/facebook
-chat-api
ติดตั้งแพ็กเกจ onoff onoff เป็นแพ็กเกจช่วยให้ใช้ NodeJS ควบคุมขาพอร์ต GPIO บน Raspberry Pi 3 ได้ง่ายขึ้น มีขั้นตอนการติดตั้งดังนี้
(1) ยังอยู่ที่ไดเร็กตอรี่ Project
(2) พิมพ์ค�ำสั่ง npm
install onoff
var FB_PASSWORD=”1234567890”;
//ตัวแปรก�ำหนด password เข้า Facebook var yourGroupID = 0;
//ตัวแปรก�ำหนดหมายเลข ID ส่งข้อความไปยังปลายทาง // Create simple echo bot // ฟังก์ชั่นส�ำหรับ Login เข้า Facebook login({email: FB_EMAIL, password: FB_PASSWORD}, function callback (err, api) {
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ท ี่ https://www.npmjs.com/package/onoff
ต่อวงจร ท�ำการต่อวงจรตามรูปที่ 3 โดยต้องต่อให้ขาต่างๆ ให้ถูกต้อง ทั้งสายไฟ เลี้ยง +3.3V (สีแดง) และสายกราวด์ (สีด�ำ)
if(err) return console.error(err);
api.listen(function callback(err,event) {
if(err) return console.error(err);
api.markAsRead(event.threadID, function(err) {
if(err) console.log(err);
//ฟังก์ชั่นก�ำหนดค�ำสั่งต่างๆเมื่อเกิดเหตุการณ์สทนา
//ค�ำสั่งบอกว่าอ่านข้อความแล้ว }); console.log(event);
//แสดงรายละเอียดของ event ทั้งหมด
switch(event.type) {
//ใช้รูปแบบของ event เป็นเงื่อนไข
case “message”:
รูปที่ 3 การต่อวงจรส�ำหรับการท�ำโครงงาน 26
MAKERS
//เข้าเงื่อนไขเมื่อรูปแบบเป็น message
if(event.body == ‘Hi’) {
//เข้าเงื่อนไขเมื่อข้อความเป็นค�ำว่า Hi
Maker Project
// event.threadID คือ ID ประจ�ำตัวของบุคคลนั้นๆที่ส่ง ข้อความเข้ามา
} else {
if (yourGroupID==event.threadID){
}else{ //ถ้ายังไม่ลงทะเบียนจะส่งข้อความนี้
api.sendMessage(“สวัสดีครับคุณยังไม่ได้ลงทะเ บียน กรุณาพิมพ์ข้อความลับของคุณเพื่อลงทะเบียน”,event. threadID);
console.log(“LED Off”);
f(stPIR == 1) {
//ถ้า PIR ตรวจพบความเคลื่อนไหว
console.log(“PIR”);
//ส่งข้อความไปยัง ID ปลายทาง โดยมีตัวแปร yourGroupID เป็นตัวก�ำหนด api.sendMessage(“ตรวจพบความเคลื่อนไหว”,
yourGroupID);
//ก�ำหนดรอบเวลาในการท�ำงานทุกๆ 1 วินาที 1000 = 1 วินาที
}
}
}}, 1000);
}
//ถ้าสถานะเป็น 1
led.writeSync(0); //ให้ LED ดับ
//ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่ลงทะเบียนไว้หรือไม่ api.sendMessage(“สวัสดีครับ”,event. threadID); //ส่งข้อความว่า “สวัสดีครับ”
else if (event.body == ‘Hi Login’){
});
//เข้าเงื่อนไขเมื่อข้อความเป็นค�ำว่า Hi Login
// ใช้ส�ำหรับลงทะเบียนเพื่อรับการแจ้งเตือน api.sendMessage(“เปิดระบบรักษาความปลอด ภัย”,event.threadID); //ส่งข้อความกลับ yourGroupID=event.threadID;
//ก�ำหนดให้ ID ได้รับข้อความแจ้งเตือนเมื่อพบความเคลื่อนไหว } else if (event.body == ‘Hi Logout’){
//เข้าเงื่อนไขเมื่อข้อความเป็นค�ำว่า Hi Logout
สร้างไฟล์ JavaScript เนื่องจากจะต้องมีการพิมพ์ภาษาไทยด้วย เพื่อความสะดวกใน การเขียนโปรแกรมผู้เขียนจึงใช้ซอฟต์แวร์ Notepad++ ในการสร้างไฟล์ JavaScript และก�ำหนดชื่อไฟล์เป็น app.js จากนั้นส่งไฟล์เข้าไปยัง Raspberry Pi 3 โดยผู้ใช้งานจะต้องติดตั้งปลั๊กอินที่ชื่อว่า NppFTP ก่อน เพื่อใช้ในการรับส่งไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับ Raspberry Pi 3 ได้ สะดวกยิ่งขึ้น
api.sendMessage(“ปิดระบบรักษาความปลอดภัย”
(1) บันทึกไฟล์ app.js (โปรแกรมที่ 1) ไปที่โฟลเดอร์ Project บน Raspberry Pi 3
yourGroupID=0;
,event.threadID); //ส่งข้อความกลับ
//ก�ำหนดให้ ID ที่จะส่งไปเป็น ID หมายเลข 0
(2) ตรวจสอบไฟล์ด้วยค�ำสั่ง
ls
} else { api.sendMessage(“ผมไม่รู้จักค�ำสั่งของคุณกรุณ าพิมพ์ข้อความว่า Hi”,event.threadID); }
การทดสอบ ทดสอบการเชื่อมต่อ ต่อวงจรและท�ำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้กับบอร์ด Raspberry Pi 3 ให้เรียบร้อย จากนั้นใช้ค�ำสั่ง sudo node app
break; }}); setInterval(function() { //ฟังก์ชน ั อ่านสถานะขา GPIO var state = led.readSync(); //อ่านสถานะ LED var stPIR = PIR.readSync(); //อ่านสถานะ PIR if(state == 0) { led.writeSync(1); console.log(“LED On”);
//ถ้าสถานะเป็น 0 //ให้ LED สว่าง จะเห็น LED ติ ดดับสลับกันทุกๆ 1 นาทีเป็ นอันว่า Script พร้อม ท�ำงาน
MAKERS
27
ทดสอบบน Facebook ในขั้นตอนนี้ ผู้เขียนใช้สมาร์ตโฟนในการ ทดสอบ (1) เปิดแอปพลิเคชัน่ Messager Facebook แล้วค้นหาชือ่ ผูใ้ ช้ Facebook ทีใ่ ช้กบั Raspberry Pi 3 ในทีน่ คี้ อื Smart Home
(3.2) ถ้าลงทะเบียนแล้ว จะแสดง ข้อความว่า “สวัสดีครับ”
(6) ถ้าไม่ตอ้ งการรับการแจ้งเตือนให้พมิ พ์ ข้อความว่า Hi Logout
(4) พิมพ์ขอ้ ความทีใ่ ช้ในการลงทะเบียนที่ ได้กำ� หนดไว้วา่ “Hi Login” จะตอบกลับดังรูป
(2) กดปุม่ ถูกใจเพือ่ ดูผลตอบกลับถ้าสคริปต์ ท�ำงานได้ปกติจะส่งข้อความตอบกลับมา
(7) ถ้าพิมพ์ขอ้ ความนอกเหนือจากทีก่ ำ� หนด ไว้ จะแสดงดังรูป (5) เมื่อพบการเคลื่อนไหวจะมีข้อความ แจ้งเตือนเข้ามายังผู้ที่ได้ลงทะเบียนไว้เท่านั้น
(3) พิมพ์ข้อความว่า Hi เพื่อตรวจสอบ ว่า เรามีสิทธิที่จะได้รับการแจ้งเตือนหรือไม่ (3.1) ถ้ายังไม่ได้ลงทะเบียนจะแสดง ข้อความดังรูป
ในโครงงานนี ้เป็ นการน� ำเสนอการแจ้ ง เตื อนผ่านบริ การของ Facebook ที ่มีเฉพาะ ข้อความเท่านัน้ เพือ่ สร้างความเข้าใจในเบื อ้ ง ต้น ในโอกาสต่อไปจะน�ำตัวอย่างโครงงานการ ส่งภาพมาแสดงพร้ อมกับข้อความ เสมื อนว่า เราก�ำลังส่งภาพถ่ายเหตุการณ์ ในเวลานัน้ ๆ ไป ให้เพื ่อนดูว่า เกิ ดอะไรขึ้ น โดยใช้โมดูลกล้อง ของ Raspberry Pi มาท�ำการบันทึกภาพ
28
MAKERS
M
Report
Maker Knowledge สมเกียรติ กิจวงศ์วัฒนะ
Google I/O 2016 เก็บมาเล่าจากขอบเวทีงานแสดงพลังของยักษ์ G
ตัวอย่างอุปกรณ์ Google Home ในด้านของระบบปฏิบัติการ Android ปีนี้ถึง คราวของ Android N ที่ทาง Google ได้เปิดตัวให้ นักพัฒนาได้ลองใช้งานกันซักพักแล้ว ในงานยังไม่ได้ เปิดตัวแต่ประกาศให้ทุกๆ คนทั่วโลกสามารถเสนอไอ เดียในการตั้งชื่อขนมที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร N กันได้ที่ https://www.android.com/n ในงานนี้จึงเพียงกล่าว ถึงความสามารถต่างๆ ของ Android N นอกจากนั้น มีการตั้งรูปปั้นหุ่นแอนดรอยด์สีขาวไว้ภายนอก เพื่อ ให้ผู้เข้าร่วมงานร่วมกันเขียนชื่อของ Android N บน นั้นได้ว่า อยากจะให้ชื่ออะไร
บันทึกบอกเล่าเรื่องราว งานเปิดตัวเทคโนโลยี รุ่นล่าของ Google ยักษ์ใหญ่ด้าน IT และ โทรคมนาคมของโลก
ที่จัดงาน Google I/O 2016
งาน Google I/O เป็นงานที่ทาง Google จัด ขึ้นมาเพื่อเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ๆ ของพวกเขาเอง ซึ่งในปี 2016 จัดไปเมื่อวันที่ 18 ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ที่ Shoreline Amphitheatre ซึ่ ง อยู ่ ใ กล้ ๆ กั บ Googleplex หรื อ ส� ำ นั ก งานใหญ่ ของ Google ที่เมือง San Francisco นั่นเอง
คีย์โน้ตที่โลกรอ ภายในงานจะมี Keynote เริ่ ม ขึ้ น ในเช้ า วันแรกที่เรียกได้ว่า เป็นช่วงที่คนทั่วโลกให้ความ สนใจกันเพราะจะมีการเปิดตัวสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะ เป็น Google Home ผู้ช่วยประจ�ำบ้านที่คอยรับค�ำ สั่งจากผู้ใช้ แล้วสามารถตอบกลับหรือควบคุมการ ท�ำงานอื่นๆ ได้ เรียกได้ว่า เกิดมาเพื่อยุค IoT จริงๆ เพราะสามารถสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านได้ รวมไปถึงตัวมันเองสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆได้ ด้วย
พร้อมกันนั้น Google ได้เปิดตัวแอปแชตและวิ ดีโอคอลใหม่อีกสองคือ Allo และ Duo โดยที่ Allo มีจุดเด่นในเรื่องของการใช้ Google Assistant เข้ามาช่วยในระหว่างบทสนทนา เช่น คุย กันว่า จะกินข้าวมื้อเย็นที่ไหนดี ก็จะมีข้อความจาก Google ที่เสนอร้านอาหารในละแวกนั้นให้โดยทันที และเน้นไปในเรื่องความปลอดภัยที่จะมีโหมดป้องกัน การถูกขโมยข้อความ โดยข้อความจะถูกลบทิ้ง หลัง จากที่ผู้อ่านปลายทางได้อ่านไปซักพัก ส่วน Duo เป็นแอปวิดีโอคอลที่เน้นให้ใช้งานได้ ง่ายขึ้น ผู้ใช้งานลงทะเบียนผ่านเบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้ เ ลย และมี ลู ก เล่ นที่ ส ามารถโชว์ วิดี โอจากอี ก ฝั ่ ง ก่อนที่อีกฝั่งจะรับสายได้ นอกจากนี้ยังเปิดตัว Daydream ที่จะท�ำงาน บน Android N เพื่อรองรับการใช้งานด้าน VR (Virtual Reality) โดยเป็นมาตรฐานในการพัฒนา VR ส�ำหรับ อุปกรณ์แอนดรอยด์และมีการแสดงตัวแว่น VR แบบ ใหม่และรีโมตควบคุม แต่ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา
ตัวอย่างแอป Allo (ซ้าย) และ Duo (ขวา) MAKERS
29
รูปปั้นแอนดรอยด์สีขาวที่ตั้งไว้ให้คนชมงานมาเขียนชื่อของ Android N ที่ต้องการ และสุดท้าย Firebase ที่เป็นบริการช่วยท�ำการรับส่ง ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นและรีลไทม์ ซึ่งทาง Google ได้ซื้อบริษัทนี้ไปในภายหลัง ในงานนี้ยังได้เปิดตัว โซลูชั่นใหม่ที่จะรวมไว้ในชื่อ Firebase เพื่อยกระดับในการ พัฒนาแอปให้ง่ายและสะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการท�ำ Push Notification, App Indexing, Crash Reporting, Test Lab ที่ต้องพึ่งการท�ำงานจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์ก็สามารถใช้ Firebase ช่วยจัดการได้หมด
ภาพร่างของ Daydream อุกปกรณ์ VR
นอกจากห้องบรรยายแล้ว ยังมีซุ้มโชว์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จาก Google เช่น Nest ที่เป็นบริษัทท�ำผลิตภัณฑ์ Smart Home Automation Android Experiment อีหนึ่งโปรเจ็กต์ของทาง Google ที่ให้นักพัฒนาสามารถ ส่งแอปแอนดรอยด์ที่เป็นไอเดียแปลกใหม่หรือไอเดียเจ๋งๆ มารวมไว้บนหน้าเว็บ มีการ เลือกโปรเจ็กต์บางส่วนมาโชว์กันในงานด้วย
สารพันงานแสดงพลัง หลังจากนั้นเป็นการเดินเที่ยวภายในงานครับ ซึ่งงาน ปีนี้จัดเป็นสถานที่กลางแจ้งแตกต่างจากปีก่อนๆดังนั้นพื้นที่ ทั้งหมดจึงจัดเป็นแบบซุ้มหรือโดม โดยจะมีห้องอยู่ทั้งหมด 10 ห้องส�ำหรับเข้าฟังบรรยายในหัวข้อต่างๆ ตลอด 3 วัน ผู้ เข้าร่วมงานสามารถเลือกหัวข้อที่สนใจได้ตามต้องการ
บางส่วน (จริงๆ) ของ Android Experiment Project Loon โปรเจ็กต์พิเศษที่ทาง Google ตั้งใจจะใช้บอลลูนเป็นสื่อกลาง ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อให้เข้าไปในที่ที่เดิมทีอินเทอร์เน็ตแบบสายไม่สามารถ เข้าถึงได้
30
ซุ้มงานโชว์และห้องบรรยายภายในงาน MAKERS
Project Loon ตัวเป็นๆ
Android Wear เป็นหนึ่งในโปรเจ็กต์ของทาง Google ที่ตั้งใจจะ ท�ำให้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ไปอยู่บนอุปกรณ์ทุกที่ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็ คือ นาฬิกา ซึ่ง Android Wear ในปีนี้เป็นบรรดาเหล่า Smartwatch ที่ได้ โอกาสในการแสดงพลัง มีการน�ำมาโชว์ให้ได้ลองเล่นด้วย Self-driving Car โปรเจ็กต์พฒ ั นารถอัจฉริยะของ Google ทีส่ ามารถ ขับเคลื่อนไปบนถนนได้ด้วยตัวเอง ไม่จ�ำเป็นต้องมีคนขับโปรเจ็กต์นี้ได้ พัฒนามาหลายปีแล้ว ในงานนี้มีการทดสอบโดยให้ Self-driving Car ขับไปมาเองอยู่บริเวณรอบๆ ส�ำนักงาน Google และน�ำมาตั้งไว้ให้ได้ เห็นตัวจริงๆ กัน
รถอัจฉริยะเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องมีคนขับ มาจอดให้ทัศนากันใกล้
นอกจากนี้ยังมีซุ้มต่างๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็น Android Studio, Google Play Console, Firebase, Web Development, Search, Accelerated Mobile Pages ที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาได้มาดู และพูด คุยปรึกษากับทีมพัฒนาของ Google ได้โดยตรง
Google I/O 2016
Android Pro Audio ที่แสดงให้เห็นว่าทุกวันนี้อุปกรณ์แอนดรอยด์ สามารถต่อกับเครื่องดนตรีต่างๆ และท�ำงานได้มากมายซึ่งก็มีให้ลองเล่น กันจริงๆ
ยังมีพื้นที่ส�ำหรับให้ผู้เข้าร่วมงานลองเขียนโปรแกรมในแต่ละอย่าง ได้ ซึ่งในงานก็ได้จัดเตรียมอุปกรณ์ไว้ให้ครบทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ในการพัฒนาและจะมีทีมพัฒนาของ Google คอยดูแลให้ความช่วย เหลืออยู่ด้วย
ใครอยากลองเขียนโปรแกรม Google จัดให้
อีกหนึง่ จุดน่าสนใจคือ หุน่ ยนต์แขนกลทีเ่ ปิดให้ผเู้ ข้าร่วมงานสามารถ ใช้สมาร์ตโฟนควบคุมได้ เพื่อให้เจ้าแขนกลหยิบแปรงสีที่ต้องการแล้ว สะบัดสีนั้นๆ ให้ไปติดอยู่บนลูกบาศก์ที่หมุนด้านที่ต้องการได้
บทสรุปที่ตรึงตรา ส�ำหรับงานนี้ก็ต้องบอกเลยว่า เป็นงานที่ใหญ่ มาก ยังมีอีกหลายๆ อย่างที่ผู้เขียนไม่ได้พูดถึง เพราะ มันเยอะมากจริงๆ จึงต้องขอหยิบเฉพาะสิ่งที่น่าสนใจ มาสรุปให้ฟังกัน Google I/O ถือว่าเป็นงานแสดงพลัง แสดงผล งานที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ของ Google ที่ จั ด ขึ้ น มาเพื่ อ ให้ นั ก พัฒนาที่ท�ำงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Google ได้ มาสัมผัสสิ่งใหม่ๆ พูดคุยกับทีมพัฒนาโดยตรง และ ได้ความรู้จากบรรยายในแต่ละหัวข้อ (มีถ่ายทอดสด และดูย้อนหลังได้บน YouTube) ในปีนี้น่าจะเป็นปีที่มี ผู้เข้าร่วมงานมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาก็ว่าได้ ถึงแม้ว่า บัตรนั้นจะไม่ได้ซื้อง่ายๆ ก็ตาม (บัตรเข้างาน Google I/O จะถูกสุ่มว่าใครจะได้สิทธิ์ในการซื้อ) ซึ่งนั่นก็น่า จะมาจากจ�ำนวนของนักพัฒนาแอปและสินค้าของ Google มีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี
และแล้ว Google ก็มาสนใจหุ่นยนต์ นี่คือ แขนกลหุ่นยนต์ที่ควบคุมด้วยสมาร์ตโฟน
ถ้าปี หน้าผู้เขี ยนมี โอกาสได้ไปร่ วมงานอี กก็ จะ เก็บภาพและข่าวสารมาฝากนะครับ
M MAKERS
31
䀎⌎㔎∎ᤎ⌎㤎௷ ⨎ᤎ㠎Ď䐎ᬎĎㄎᨎ Ўⴎ⌎⨎䀎⌎㔎∎ᤎ ⌎『∎『⨎ㄎ䤎ᤎ
32
㌀䐀 倀刀䤀一吀䔀刀 䘀伀刀 䴀䄀䬀䔀刀
䀎⌎㔎∎ᤎ⨎㔎ᤎ䤎㌎䄎┎『✎㈎┎㈎∎ 䄎Ḏᜎ䀎ᜎ㐎⌎ᤎ ᔎ㈎ℎ⨎䐎ᔎ┎ 䐀椀搀 礀漀甀 猀攀攀 愀渀礀 瀀愀琀琀攀爀渀㼀
⨎ⴎᤎᔎㄎ䤎䄎ᔎĎ㈎⌎ᬎ⌎『Ďⴎᨎ䀎Ў⌎㜎䠎ⴎ ㌀䐀 倀刀䤀一吀䔀刀 Ḏ⌎௷ⴎℎ⨎ⴎᤎḎ㜎䤎ᤎဎ㈎ᤎĎ㈎⌎䌎௷㈎ᤎ䀎Ў⌎㜎䠎ⴎ 䈎ᐎ∎ᰎ㤎௷䀎㔎䠎∎✎㈎എ
⨎ⴎᤎ✎㈎ᐎ㈎Ḏ⨎㔎ᤎ䤎㌎ 䄎┎『ᤎ㌎䐎ᬎࠎㄎᐎⴎЎᬎ⌎『Ďⴎᨎ ⨎⌎௷㈎┎㈎∎䄎Ḏᜎ䀎ᜎ㐎⌎ᤎȎⴎЎ㠎ጎ䀎ⴎ
MAKERS
웠 椀渀昀漀䀀瀀椀渀渀挀爀攀愀琀椀瘀攀⸀挀漀洀
Everything in control ALFAT-SD ราคา 1,500.Module Read/Write SD-CARD • ท�ำงาน ด้ วย ALFAT SoC processor ประสิทธิภาพสูง • รองรับ หน่วยความจ�ำ SD-CARD ความจุ สูงสุด 8 GB • รองรับไฟล์ได้ 2 ระบบ คือ FAT16 และ FAT32 • ต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ได้ 4 รูปแบบ คือ I2C, SPI, UART (TTL) และ RS232 • สามารถเลือกโหมดการติดต่อสื่อสารด้วยจั้มเปอร์ ในกรณีใช้งานแบบ UART (TTL), RS232 และ Boot loader (ส�ำหรับ Update Firmware) • ไฟแสดงสถานะการติดต่อสื่อสารด้วย LED
ALFAT-USB ราคา 1,500.Module Read/Write FLASH DRIVE • ท�ำงานด้ ว ย ALFAT SoC processor ประสิทธิภาพสูง • รองรับห น่ วยความจ�ำ FLASH DRIVE USB 2.0 • รองรับ FLASH DRIVE ความจุได้ถงึ 8 GB • รองรับไฟล์ได้ 2 ระบบ คือ FAT16 และ FAT32 • ต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ได้ 4 รูปแบบ คือ I2C, SPI, UART (TTL) และ RS232 • สามารถเลือกโหมดการติดต่อสื่อสารด้วยจั้มเปอร์ ในกรณีใช้งานแบบ UART (TTL), RS232 และ Boot loader (ส�ำหรับ Update Firmware) • ไฟแสดงสถานะการติดต่อสื่อสารด้วย LED
WIFI220 ราคา 1,850.RS232 to Wireless LAN WIFI220 คือ บอร์ดส�ำหรับแปลงข้อมูลจาก RS232 เป็น Wireless LAN หรือ WIFI • เหมาะส�ำหรับงานที่ไม่ต้องการเดินสาย • หรือต้องการส่งข้อมูลจาก RS232 เข้าใน ระบบ TCP/IP (LAN) • การตั้งค่าใช้งานผ่านทาง RS232 ด้วย AT-Command แบบ Command line • มีโปรแกรมส�ำหรับตั้งค่าให้ใช้งานง่าย โดยไม่ต้องใช้ AT-Command เอง (โปรแกรมจะสร้าง AT-Command ให้อัตโนมัติเพียงคุณเลือกโหมดการใช้งาน และ ใส่ค่าต่างๆ ตามต้องการ)
• Wireless Lan มาตรฐาน 802.11 b/g ความถี่ 2.412 - 2.484 GHz • พร้อมเสาอากาศ และ LED แสดงสถานะบน บอร์ด • RS232 ใช้ความเร็วได้ 1200 - 115200 bps • การตั้งค่ากระท�ำผ่าน PC (ต่อกับ RS232) มี โปรแกรมให้ใน CD-Rom (AT Command) สามารถปรับการตั้งค่าผ่านทาง Web-Base ได้ ด้วย • ใช้ไฟเลี้ยง 5 - 9 VDC
• ย่านความถี่สาธารณะ 433 MHz เลือกความถี่ได้ 8 ช่อง • ส่งได้ไกลโดยมีระยะหวังผลถึง 100 เมตร • RS232 ใช้ความเร็วได้ 1200 - 19200 bps • การตั้งค่ากระท�ำผ่าน PC (ต่อกับ RS232) มีโปรแกรมให้ใน CD-Rom • หรือผู้ใช้อาจสร้างโปรแกรมตั้งค่าเองผ่าน AT Command ก็ได้ • ใช้ไฟเลี้ยง 9 VDC หรือ 5 VDC ก็ได้
AP-250 ราคา 4,650.Remote I/O Controller ผ่านระบบ Lan
• ใช้ตัวโมดูล CIEM10 มีขั้ว RJ45 ที่เสียบสายเข้ากับระบบ Lan 10/100 Base-T ได้ทันที • มี 8 Input (4 หน้าคอนแทคผ่านวงจร Opto และ 4 Intput แบบ TTL 3.3V) • มี 8 Output (4 Relay มีขั้ว NO,NC และ 4 Output แบบ TTL 3.3V) • มี 1 Analog Input แบบ 10-Bit A/D สามารถเลือกระดับแรงดันได้ด้วย Jumper 0-3.3V 0-5V 0-12V 0-24V • มี 1 Port RS232 สามารถใช้งานเป็นตัวแปลง Lan to RS232 ได้ด้วย • เหมาะส�ำหรับการควบคุมผ่าน Lan โดยตรงจากคอมพิวเตอร์ และใช้ควบคุม แบบ Web-Base ได้ด้วย • ใช้ไฟเลี้ยง 9 VDC และมีตัว Adapter จ่ายไฟให้พร้อม
PRO-WRITER ราคา 3,250.เครื่องโปรแกรมชิพ Megawin (MCS-51)
X-FE6051 ราคา 350.บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์อเนกประสงค์ ... ขนาดเล็ก ราคาประหยัด
• มีอุปกรณ์บนบอร์ดเป็น LED (และเป็น RS485-Drive ด้วย) , Buzzer และ Key=2 • มีพอร์ทสื่อสาร RS232 ขั้ว 3 Pin หรือ RS485 ขั้ว 2 Pin (Option-ต้องเปลี่ยนชิพเป็น Max3082) • ใช้ไฟเลี้ยง 5 VDC ผ่านขั้ว 2 Pin และใช้ระบบ Reset ภายในตัว MCU
เช่น การตัง้ ให้ใช้ Xtal ภายในของเบอร์ 87FE6051 (ซึง่ การโปรแกรมแบบ ISP ท�ำไม่ได้) • มีบอร์ดเสริม 5 ชิ้น เพื่อการเลือกเบอร์ชิพได้หลากหลาย (บอร์ดเสริมพัฒนาโดยศิลา ท�ำให้สินค้ามีราคาถูกลงมาก) • ใช้กับเบอร์ได้ดังนี้ 89L(E)5x 82L(E)54 82G516 87FL(E)x051 82FL(E)5xx • สามารถเลือกใช้งานแบบ On-Line หรือแบบ Off-Line (ไม่ต้องต่อกับเครื่อง PC) ก็ได้ สะดวกส�ำหรับการโปรแกรมจ�ำนวนมาก • ต่อกับเครื่อง PC ผ่านทาง USB Port พร้อมโปรแกรมบน PC ที่ใช้งานได้ง่ายและ สะดวก • อุปกรณ์ครบชุด พร้อม Adapter จ่ายไฟ และมีสาย 3 Pin ใช้งานแบบพ่วงหลายๆ บอร์ดได้ด้วย
บริษัท ศิลารีเสิร์ช จำ�กัด
www.silaresearch.com
คือบอร์ดขยายการท�ำงานของตัว Infrared Remote Control ทั่วไป เช่น รีโมททีวี รีโมทเครื่องเสียง รีโมทเครื่อง ฉายภาพ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน ... ดังนี้ 1. เพิ่มระยะทางของตัวรีโมทได้ทันที (ยิงสัญญานไปที่ตัวรับบน MKIT-7 และ MKIT-7 จะส่งสัญญาณออกทางตัวส่งทันที) 2. เพิ่มระยะทางของตัวรีโมทผ่านสาย RS485 (ต้องใช้ MKIT-7 จ�ำนวน 2 บอร์ด ตัวหนึ่งเป็นตัวรับ อีกตัวหนึ่งเป็นตัวส่ง) 3. เพิ่มระยะทางของตัวรีโมทแบบไร้สาย (เหมือนข้อ 2 และต้องเพิ่มโมดูล RFN96 ส่งผ่านคลื่นวิทยุ กับทั้ง 2 บอร์ดด้วย) 4. ท�ำเป็นตัวรีโมทส�ำรอง โดยโปรแกรมแต่ละคีย์ให้เหมือนรีโมทต้นฉบับได้ (ต้องเพิ่ม ชิพ EEprom และแผงคีย์ DK-16,32) 5. จากข้อ 4 นอกจากใช้เป็นตัวรีโมทแทนตัวต้นฉบับแล้ว ยังต่อพ่วง MKIT-7 ให้ ควบคุมหลาย ๆ จุดได้ด้วย ผ่านสาย RS485 6. จากข้อ 5 ไม่เพียงแต่ส่งสัญญาณด้วยปุ่มกด อาจสั่งงานกดจากเครื่อง PC ได้ด้วย ผ่านทาง RS485 เช่นกัน • ใช้ไฟเลี้ยงจากหม้อแปลง 9 VAC หรือจากตัว Adapter 9 VDC • มี LED แสดงสัญญาณ IR และไฟเลี้ยง ตั้งโหมดการท�ำงานด้วย Dip-Switch 4 ตัว • ขั้ว 16 Pin (4x8K) ส�ำหรับต่อกับแผงคีย์ DK-16 หรือ DK-32 • ขนาดบอร์ด 71 x 80 mm SLAB-TEST ราคา 250.ชุดทดสอบ I/O ส�ำหรับบอร์ดไมโครของศิลา
• การโปรแกรมสามารถก�ำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของชิพได้อย่างครบถ้วน
• มี Flash Memory 8K ... เป็น 6K (AP) และ 1K (IAP) และ 1K (ISP)
• มี I/O อิสะแบบ 5 Pin (3B Port) จ�ำนวน 2 ชุด และแบบ 3 Pin (I/O Port) จ�ำนวน 3 ชุด
MKIT-7 ราคา 490.บอร์ด IR Remote Extender
• ใช้กับชิพรุ่น Dip เท่านั้น โดยต้องน�ำชิพมา เสียบลงบน Socket แบบมีคันโยก บนเครื่อง โปรแกรม
• MCU เบอร์ MG87FE6051 ของ Megawin (ขาเหมือน Atmel 89S4051)
• มี Ram 256 Byte และโปรแกรมผ่านขั้ว ISP (3 Pin) ด้วยตัวโหลด PRO-MISP
• ชุดค�ำสัง่ แบบ Ascii Command แสดงตัวเลขหรือก�ำหนดระดับ Segment ได้ ปรับความสว่างได้ • หรือจะสัง่ งานผ่าน 3B Port (Dat,Clk,Str) ก็ได้ โดยมีรปู แบบเหมือนชิพ 595 (ต้องเพิม่ Delay) • ตัง้ คุณสมบัตดิ ว้ ย Dip-Switch 8 ตัว (RS485 / 3B , ความสว่าง 0-7 , Digit 0-15) • ใช้ไฟเลีย้ ง 12 VDC/AC กินกระแสสูงสุด 130 mA (ต่อหลัก) KYL200U ราคา 1,250.ตัวแปลงสัญญาณ RS232 เป็นคลื่น RF
• ใช้บอกคาบเวลาในโรงเรียน หรือโรงงาน โดยใช้ ไฟล์เสียงแบบ MP3 ที่บรรจุใน SD-Card • มี Line-Out ต่อเครื่องขยายเสียง และปลั๊กไฟ รองรับการเปิดปิดเครื่องขยาย (220VAC 3A)
• AP=Application Program IAP=In-Application Programming ISP=InSystem Programming
• มีบอร์ดควบคุมในตัวท�ำงานด้วย MCU เบอร์ 82E54AS2 • ปรับความสว่างได้ 8 ระดับ รองรับการใช้งานทัง้ In-Door และ Out-Door • ต่อพ่วงกันทาง RS485 ได้สงู ถึง 15 หลัก สัง่ งานด้วยค�ำสัง่ ชุดเดียว (Speed 19200)
TNSWII3 ราคา 1,150.ตัวแปลงสัญญาณ RS232 เป็น Wireless Lan
TMX-1000 ราคา 4,950.นาฬิกาบอกเวลาด้วยเสียง
• ตั้งหรือกดปุ่มให้บอกเวลาเป็นเสียงพูด เช่น ขณะนี้เวลาเก้านาฬิกายี่สิบสองนาที • แสดงเวลา HH:MM:SS ด้วยตัวเลขสีแดงสูง 1 นิ้ว มองเห็นได้ชัดเจน • แสดงวันเดือนปี DD/MM/YY ด้วยตัวเลขสีแดงสูง 0.56 นิ้ว • แสดงอุณหภูมิ XX.Xc เป็นองศาเซลเซียส ด้วยตัวเลขสีแดงสูง 0.56 นิ้ว • ระบบนาฬิกาเที่ยงตรงสูง ผิดพลาดไม่เกิน 2 นาที/ปี สามารถตั้งเวลามาตรฐาน จาก PC หรือ GPS ได้ • ตั้งโปรแกรมควบคุมเสียงได้ 2 ชุด ชุดละ 50 โปรแกรมแบบรอบสัปดาห์ (เลือกท�ำ ชุดใดชุดหนึ่ง) • มีปุ่มกดบนหน้าปัด 2 ปุ่ม และการตั้งโปรแกรมต่าง ๆ กระท�ำผ่านตัว Remote แบบ 18 Keys • มี LED บนบนหน้าปัด 2 ตัว แสดงสถานะการบอกเวลา และสถานะ Alarm Disable/Enable • มีพอร์ทอนุกรม RS232 หรือ RS485 ต่อสั่งงานผ่านเครื่อง PC หรือต่อเพื่อ Link เวลามาตรฐาน • ใช้ไฟบ้าน 220 VAC ขนาดตัวเครื่อง 233 x 165 x 61 mm
TZ-9 ราคา 1,250.แผงตัวเลข 7-Segment LED สีแดงความสูง 9 นิ้ว
1108/27 ถ.สุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร. 02-712-2850 โทรสาร.02-381-1447 เวลาท�ำการ : จันทร์-ศุกร์ 9.00-17.00 น. เสาร์ 9.00-12.00 น. ตัวแทนจ�ำหน่าย : บจก. อีเลคทรอนิคส์ ซอร์ซ (บ้านหม้อ) โทร. 02-623-9460-6
ประกอบด้วย แผ่น PCB ทั้งหมด 9 ชิ้นพร้อมสาย 2 เส้น • ใช้ทดลองกับขั้ว 1B-I/O Port (3 Pin) , 3B-Port (5 Pin) , 8B-Port (16 Pin) • ใช้เป็น Output LED หรือ Input Switch และต่อกับ VR เพื่อทดลอง A/D Port ได้ด้วย ชุดเดียวครบถ้วน ราคาประหยัด สะดวกในการพัฒนางาน ควรมีไว้ประจ�ำโต๊ะ ทดลอง
ติดตามข้อมูลและสือ่ สารกับเราได้ทางช่องทางใหม่ ... เพียงแค่กด Like
www.facebook.com/silaresearch
มหกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์เพื่อคนทุกระดับ
29 ถึง 31 กรกฎาคม 2559 ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต การแข่งขันคัดเลือกทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย ไปแข่งขัน รายการ WRG2016 ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย
Organized by
Platinum Sponsor
Silver Sponsor
Supported by
รายการแข่งขัน หุ่นยนต์กู้ภัย หุ่นยนต์ดับเพลิง หุ่นยนต์ซูโม่ (แบบล้อและแบบขา) หุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามเส้น (แบบล้อและแบบขา)
เข้าดูรายละเอียดการลงทะเบียนและกติกาการแข่งขันได้ที่ www.wrg-thailand.inex.co.th
PANTONE: 1585 PC
(C-0 M-62 Y-97 K-0)