Vol.09 สิงหาคม 2559
วารสารเพื่อการประดิษฐ์โครงงานและสิ่งของสร้างสรรค์
การโปรแกรมเฟิร์มแวร์ IOIO-Q บอร์ด เชื่อมต่ออุปกรณ์แอนดรอยด์ด้วย
PICkit3 และ MPLABX
FREE
COPY
Straw LED Lamp Silicone Sumo Wheel ท�ำล้อยางซิลิโคนส�ำหรับ หุ่นยนต์ซูโม่ด้วยตัวเอง
อุปกรณ์จ่ายไฟแบบฉลาด ส�ำหรับของเล่นเด็กควบคุม ด้วยสมาร์ตโฟน
Coffee Raspberry Pi Cluster CMMC Basic Drone วารสารแจกฟรี มูลค่า 39 บาท
Cozy
www.makersmagazine.in.th /makersmagzine
MAKERS
1
contents
4
Maker-Project
Maker-Knowledge
ฉบับที่ 9 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559
4
อุปกรณ์จ่ายไฟแบบฉลาดส�ำหรับของเล่นเด็ก ควบคุมด้วยสมาร์ตโฟน
16
Raspberry Pi Cluster
23
การโปรแกรมเฟิร์มแวร์ IOIO-Q บอร์ดเชื่อมต่อ อุปกรณ์แอนดรอยด์ด้วย PICkit3 และ MPLABX
8
CMMC Basic Drone
12
Straw LED Lamp
14
Coffee Cozy Silicone Sumo Wheel
28 3
Makers Note
www.facebook.com/makersmagzine MAKERS
12
14
16
ท�ำล้อยางซิลิโคนส�ำหรับหุ่นยนต์ซูโม่ด้วยตัวเอง
www.makersmagazine.in.th
2
28
8 23
Maker Note
โชคดี
ที่เราคือเมกเกอร์ เชื่อว่าช่วงนี้หลายท่านคงมีความรู้สึกไม่ค่อยดีนักกับสถานการณบ้านเมืองของเราในปัจจุบัน กับเหตุการณความรุนแรงที่ยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วมันเกิดอะไรขึ้น บางคนรู้สึกสับสนและกังวลในความ ไม่ปลอดภัยจนไม่กล้าออกไปไหน เหตุการณวุ่นวายที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ก่อการร้าย การชุมนุมประท้วง สารพัดทีเ่ ราเริม่ ชินชาราวกับว่ามันเป็นส่วนหนึง่ ของสังคมไทยไปเสียแล้ว พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องของตัณหาหรือความอยากของมนุษยอันเป็นเรื่องที่ละได้ยากใน ปุถุชนทั้งหลาย แต่โชคดีที่เราคือเมกเกอร มีงานอดิเรกสนุกๆ ที่ใช้ความคิดสร้างสรรคประดิษฐนั่นโน่นนี่อย่าง ไม่มีวันหยุด เมกเกอรจึงมีสมาธิจดจ่ออยู่กับผลงานชิ้นโบวแดงของตัวเองมากกว่าคิดเรื่องอื่น เรียกว่า แทบจะลืมความวิตกกังวลในเหตุการณต่างๆ เหล่านั้นได้จนหมดสิ้น อย่างไรก็ตามกอง บก. Makers Magazine ขอเป็นก�าลังใจให้กับผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทุกท่านและขอให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดีครับ เมกเกอรฉบับนี้เดินทางมาถึงฉบับที่ 9 ยังคงความหลากหลายของเนื้อหาสาระที่มีให้อ่านกันอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งประเภท Robot , Gadget , Craft และ Electronics แต่ถ้าอยากให้หลากหลายมากกว่านี้ คุณผู้อ่านนั่นแหละครับ ที่จะร่วมด้วยช่วยกันไม่ต้องอายไม่ต้องเขิน เขียนไม่เก่งเขียนไม่เป็นเรามีทีม กองบก. ที่พร้อมจะช่วยตรวจทานและแก้ไขให้ แถมยังได้ค่าตอบแทนไปเป็นต้นทุนท�าผลงานโดนๆ ต่อได้อีกต่างหาก โดยส่งเนื้อหามาให้กองบก. ได้ที่อีเมล editor@makersmagazine.in.th มาถึงข่าวดีๆ เกี่ยวกับแวดวงเมกเกอรสายหุ่นยนต ก็ยังมีมาให้เห็นกับการแข่งขัน World Robot Games 2016 ที่ทางทีมหุ่นยนตไทยก�าลังไปร่วมการแข่งขัน ณ เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่าง วันที่ 24 ถึง 27 สิงหาคม 2559 นี้ มาร่วมเป็นก�าลังใจและส่งแรงเชียรให้ทีมหุ่นยนตไทยคว้าแชมป์ กลับมาให้ได้ทุกรายการ โดยสามารถติดตามความคืบหน้าของการแข่งขันได้ที่ facebook.com/wrg. thailand และอีกข่าวดีที่เมกเกอรทุกคนรอคอย นั่นก็คืองาน Mini Maker Faire Bangkok ซึ่งจะจัดขึ้น ในต้นเดือนพฤศจิกายน 2559 เชิญชวนเมกเกอรน้อยใหญ่ล่วงหน้า เตรียมตัวมาพบปะกัน ท้ายนี้อยากเฉลยคุณผู้อ่านที่ก�าลังสงสัยบทความนี้ว่าท�าไมมีข้อเขียนและมุมมองที่ต่างไปจาก บทบรรณาธิการเดิม ก็แหงล่ะครับ ^^ เพราะ บก. ของเราตอนนี้ภารกิจยุ่งเหยิง เลยส่งมอบหน้าที่ให้ กับทีมกอง บก. มาพบปะกับคุณผู้อ่านแทน ฉบับหน้าค่อยพบกับการกลับมาของ บก. ตัวจริงเสียงจริง อย่างแน่นอนครับ นที เกษมโชติพันธุ www.makersmagazine.in.th
www.facebook.com/makersmagzine
บรรณาธิการบริหาร ชัยวัฒน ลิ้มพรจิตรวิไล
108 ซอยสุขุมวิท101/2 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 โทรศัพท 0-2747-7001-4 โทรสาร 0-2747-7005 URL : www.makersmagazine.in.th
กองบรรณาธิการ
การตลาด/โฆษณา
ฝ่ายสมาชิก
กฤษดา ใจเย็น ณัฏฐพล วงศ์สุนทรชัย วรพจน์ กรแก้ววัฒนกุล นที เกษมโชติพันธุ์ ธีรวุธ จิตพรหมมา
จงจิตร ลิ้มพรจิตรวิไล กานต์วรางค์ นิพิทธชยังกูร
จงจิตร ลิ้มพรจิตรวิไล
ศิลปกรรม
พิมพ์ที่
ธนชัย ประทุมเศษ
วีเจ พริ้นติ้ง MAKERS
3
Gadget
Maker Knowledge กองบรรณาธิการ
อุปกรณ์จ่ายไฟแบบฉลาดส�ำหรับ ของเล่นเด็กควบคุมด้วยสมาร์ตโฟน
นวัตกรรมจากแดนอาทิตย์อุทัย นี่คือ อุปกรณ์จ่ายกระแสไฟฟ้าก�ำลังต�่ำที่มาใน รูปของแบตเตอรี่ขนาด AA ควบคุมการจ่าย พลังงานไฟฟ้าให้กบั ของเล่นเด็กด้วยสมาร์ตโฟน ในแบบไร้สาย ตอบสนอง ต่อการสั่งงาน และจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้หลากหลายรูปแบบ เพียงน�ำไปต่อแทนแบตเตอรี่ AA ในกะบะถ่าน ของบรรดาของเล่น คุณๆ ก็จะสามารถ สั่งการของเล่นนั้นๆ ได้ด้วยสมาร์ตโฟน โดยไม่ต้องมีการดัดแปลงใดๆ
มองรถเด็กเล่นที่ใช้แบตเตอรี่ขนาด AA 2 หรือ 3 หรือ 4 ก้อนที่มี ดาษดื่น รวมถึงในห้องเก็บของเล่นเก่าของเราๆ ท่านๆ แล้วเกิดความคิดว่า หากเราสามารถควบคุมการท�ำงานของมันได้ด้วยสมาร์ตโฟนสารพัดยี่ห้อ ด้วยแอปแบบไร้สาย มันคงท�ำให้รถของเล่นคันเดิมคันนั้น มีค่าขึ้นมาใน ทันที แต่ครั้นจะท�ำแบบนั้นได้ ด้วยความรู้ที่เล่าเรียนมาก็จะบอกว่า ต้องแกะ เครื่องเราออก แล้วใส่โมดูลบลูทูธลงในตัวรถของเล่น ต้องมีการดัดแปลงพอ สมควร ปัญหาใหญ่หลังจากนั้นคือ ประกอบกลับไม่เหมือนเดิม...
แต่ถ้าเมกเกอร์อย่างพวกเรามีอุปกรณ์ท่ีชื่อว่า MaBeee จะท�ำให้ทุกอย่างเป็นเรื่องง่ายถึงง่ายที่สุด
การท�ำงานในภาพรวมของ MaBeee
4
MAKERS
ด้วย MaBeee กับแบตเตอรี่ AAA เพียง 1 ก้อน จะช่วยแก้ปัญหาชีวิตนี้ได้ในพริบตา เพียงใส่แบตเตอรี่ AAA ลงใน MaBeee แล้วน�ำ MaBeee ไปใส่แทน แบตเตอรี่ AA 1 ก้อน หากรถของเล่นเดิมใช้ 2 ก้อน หลังจากใส่ MaBeee ลงไปแล้ว ก็ใส่แบบเตอรี่ AA แบบปกติลงไปอีก 1 ก้อน จากนั้นติดตั้งแอปพลิเคชั่ นของ MaBeee ลงในสมาร์ตโฟน แล้วเปิดขึ้นมาใช้ งาน เพียงเท่านี้ เมกเกอร์หรือใครก็ตาม ก็จะควบคุม การขับเคลื่อนของรถของเล่นคันนี้ได้ผ่านสมาร์ตโฟน ในแบบไร้สายผ่านบลูทูธ 4.1 หรือ BLE (Bluetooth Low Energy)
Maker Knowledge
MaBeee คืออะไร ?? MaBeee ผลิตโดยบริษัท Nobarusu จ�ำกัดหรือ Novars Inc. ใน ชื่อภาษาอังกฤษ มันเป็นอุปกรณ์ที่ท�ำหน้าที่ควบคุมการจ่ายพลังงานจาก แบตเตอรี่ไปยังของเล่นเด็กผ่านทางสายไฟเลี้ยง จะมองอย่างง่ายๆ ว่า มันคือ สวิตช์ตัดต่อไฟเลี้ยงแบบควบคุมได้ผ่านทางสมาร์ตโฟนก็ได้ หาก แต่มันไม่ได้ท�ำหน้าที่แค่ตัดต่อ มันยังสามารถควบคุมปริมาณการจ่ายแรง ดันไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในลักษณะเป็นสัญญาณ PWM ได้ด้วย ดังนั้นหาก โหลดหรืออุปกรณ์ที่น�ำมาต่อเป็น LED มันก็จะหรี่หรือปรับความสว่างได้ ด้วย MaBeee เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการระดมทุนจากเว็บไซต์ makuake.com ถือว่าเป็น Kickstarter ส�ำหรับคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ โดย MaBeee สามารถระดมทุนได้มากกว่า 6 ล้านเยน (https://www.makuake .com/project/mabeee) มีผู้ให้การสนับสนุนรวม 898 ราย จากรูปแสดงหน้าตาภายนอกและคุณสมบัติทางเทคนิคที่ควรทราบ ของ MaBeee จะเห็นว่า มีลักษณะคล้ายปลอกแบตเตอรี่ขนาด AA แต่มัน มีขั้วถ่านส�ำหรับบรรจุแบตเตอรี่ขนาด AAA ดังนั้นในการใช้งาน MaBeee จึงต้องการแบตเตอรี่ AAA 1 ก้อนเป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับวงจรที่อยู่ภายใน ความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้นกับความจุของแบตเตอรี่ที่น�ำมา ใช้งาน MaBeee รับแรงดันรวมได้สูงสุด 6V จากแบตเตอรี่รวม 4 ก้อน
หน้าตาและคุณสมบัติที่ควรทราบของ MaBeee
คุณสมบัติ • ขนาด (ภายนอก) : 50 × 14 × 14 มม.น�้ำหนัก 5 กรัม มีขนาด เท่ากับแบตเตอรี่ AA • ใช้ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ AAA 1 ก้อน บรรจุลงในกะบะถ่าน ที่อยู่ภายในตัว • มี ว งจรควบคุ ม ไฟเลี้ ย งคงที่ เ พื่ อ ก� ำ หนดไฟเลี้ ย งให้ กั บ อุปกรณ์ควบคุมทั้งหมด • ใช้การสื่อสารไร้สายด้วยโมดูลบลูทูธ 4.1 หรือบลูทูธก�ำลัง งานต�่ำ มีรัศมีท�ำการ 10 เมตร • ติดต่อกับสมาร์ตโฟนผ่านทางแอปพลิเคชั่น ใช้งานได้ทั้ง ระบบปฏิบัติการ iOS และแอนดรอยด์ • รับรู้การสั่งงานจากสมาร์ตโฟนผ่านแอปพลิเคชั่นได้ 6 โหมด (เขย่า, เอียง, เสียง, รีโมตคอนโทรล, เวลา และการสื่อสารจาก สมาร์ตโฟนอีกเครื่องหนึ่ง) • ควบคุมการท�ำงานของ MaBeee ได้พร้อมกันสูงสุด 10 ตัว ด้วยสมาร์ตโฟนหนึ่งเครื่อง
MaBeee รับรู้การสั่งงานจากสมาร์ตโฟนได้ 6 รูปแบบ
• รับแรงดันไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ที่น�ำมาต่อพ่วงด้วย รวม สู ง สุ ด 6V (จากแบตเตอรี่ ข นาด AAA 1 ก้ อ นที่ ติ ด ตั้ ง ลงใน MaBeee และจากแบตเตอรี่ขนาด AA ที่ต่ออนุกรมภายนอก อีก 3 ก้อน)
ใช้งานร่วมกับแบตเตอรี่รวมทั้งสิ้นสูงสุด 4 ก้อน โดยต่อกันแบบอนุกรม MAKERS
5
Maker Knowledge
วิธีใช้งาน ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงน�ำแบตเตอรี่ AAA 1 ก้อนมาใส่ลงกะบะถ่าน ที่อยู่ในตัว MaBeee แล้วน�ำ MaBeee ไปใส่ลงในกะบะถ่านขนาด AA ของของเล่นเด็กที่ต้องการควบคุม หากของเล่นนั้นใช้แบตเตอรี่ 1 ก้อน ก็จบใช้งานได้เลย หากต้องการ 2 ก้อนหรือมากกว่า (สูงสุดรวมแล้วไม่ เกิน 4 ก้อน) ให้ท�ำการบรรจุแบตเตอรี่ให้ครบตามจ�ำนวนที่ของเล่นตัว นั้นๆ ต้องการ
ขั้นที่ 4 - ควบคุมของเล่นกันได้เลยผ่านสมาร์ตโฟนในแบบไร้สาย
แอปฟรีที่หลากหลาย ขั้นที่ 1 - ใส่แบตเตอรี่ AAA ลงใน MaBeee
MaBeee มาพร้อมกับแอปพลิเคชัน่ ส�ำหรับติดตัง้ ลงในสมาร์ตโฟนทัง้ ในระบบ iOS และแอนดรอยด์ ผูใ้ ช้งานดาวน์โหลดได้ฟรีทแี่ อปสโตร์ของทัง้ สองค่าย หน้าตาของแอปพลิเคชั่นก็ดูน่ารัก สมกับกับที่ใช้งานกับของเด็ก เล่น การใช้งานแอปต่างๆ ก็งา่ ยมาก มีความเป็นมิตรกับผูใ้ ช้งานสูง
ขั้นที่ 2 - ใส่แบตเตอรี่ AA ให้ครบตามจ�ำนวนที่ของเล่นต้องการ หน้าตาของแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟนที่ใช้งานกับ MaBeee มีให้เลือก มากมาย ในแต่ละแอปก็จะบอกถึงความสามารถและอุปกรณ์ที่ต้องน�ำมาต่อ ร่วมด้วย ซึ่งก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพราะบางแอปเป็นการสั่งงานตุ๊กตาหมีให้ สั่นได้ หากน�ำไปใช้กับโคมไฟ LED ก็คงไม่ถูกต้อง ผิดวัตถุประสงค์ MaBeee เปลี่ยนของเล่นเด็ก (รวมทั้งของเล่นผู้ใหญ่) ที่แสนธรรมดา ให้เป็นของเล่นฉลาดที่ควบคุมด้วยสมาร์ตโฟนผ่านบลูทูธได้ง่ายๆ โดย ไม่ต้องท�ำการดัดแปลงใดๆ ที่ตัวของเล่น นอกจากนี้ ยังอาจต่อยอดไป ควบคุมเครื่องใช้ในบ้านที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาด AA ได้ ส�ำหรับ สนนราคาของ MaBeee คือ ประมาณ 5,000 เยนต่อชิ้น เว็บไซต์หลักของ MaBeee คือ http://mabeee.mobi/ ขัน้ ที่ 3 - เปิดแอปบนสมาร์ตโฟนจับคูอ่ ปุ กรณ์บลูทธู
ต้องขอปรบมื อให้กบั เจ้าของผลงานเปลีย่ นโลกตัวนี ้ !!!
M 6
MAKERS
Non-programming line tracking robot from basic electronic circuit
Robot
หุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามเส้นอัตโนมัติจากวงจร อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน ท�างานได้ โดยไม่ต้อง เขียนโปรแกรม
kit
ชุ ด ประกอบหุ ่ น ยนต์ ที่ พั ฒ นาขึ้ น ตามแนวคิ ด หุ่นยนต์ BEAM (Biology, Electronics, Aesthetics, Mechanics) อั น เป็ น สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ที่ ไ ด้ รั บ อิ ท ธิ พ ล มาจากการเลียนแบบพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตตาม ธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแมลงและสัตว์เลื้อย คลาน ส�าหรับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์หุ่นยนต์ BEAM นับเป็นสื่อที่สนับสนุนการเรียนรู้การท�างาน ของวงจรอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ อย่างง่าย โดยไม่ต้องมีความรู้หรือต้องมีการเขียน โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมการท�างานแต่ อย่างใด
Education Supported
อุปกรณ์ภายในชุด
บอร์ดควบคุม iBEAM x 1
แผ่นกริด 80x80 มม. x 1
ชิ้นต่อมุมป้าน x 2
แผงวงจร ZX-03 x 2
ถาดรองกะบะถ่าน x 1
แท่งต่อ 5 รู x 2
ล้อพร้อมยาง x 2
นอต 3 มม. x 16 ฉากโลหะ 2x3 รู x 2
สกรูเกลียวปล่อย 2 มม. x 2 สกรูหัวตัด 3x8 มม. x 4 สกรู 3x10 มม. x 4 สกรู 3x15 มม. x 2 สกรู 3x25 มม. x 4
ชุดเฟืองขับมอเตอร์ อัตราทด 120:1 x 2
เสารองพลาสติก 25 มม. x 2
สกรู 3x35 มม. x 2
Education Supported
บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำกัด
108 ซอยสุขุมวิท 101/2 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 www.inex.co.th The Prototype Electronics MAKERS
7 57
Drone
CMMC
Maker Invention เชียงใหม่เมกเกอร์คลับ (CMMC)
Basic Drone อากาศยานยนต์หัวใจไทย
เรื่องราวแห่งความภูมิใจของ เมกเกอร์คลับชื่อดังจากเชียงใหม่ กับผลงาน อากาศยานยนต์ โปรแกรมได้ที่ใครๆ ก็เรียนรู้ และเข้าถึงได้
8
MAKERS
ในวันที่
อากาศยานยนต์หรือโดรน (drone) เป็นกระแสที่มาแรงในวงการเมกเกอร์เมืองไทย ทั้งโดรนแบบส�ำเร็จรูปที่น�ำมาปรับแต่งติดตั้งชิ้น ส่วนใหม่ หรือโดรนแบบประกอบใหม่ทั้งล�ำหรือ โดรนแบบสร้างเอง ทางเชียงใหม่เมกเกอร์คลับ (ต่อไปนี้ขอเรียกสั้นๆ ว่า ชมรม หรือ CMMC) ก็มีโดรนที่สร้างเองตั้งแต่ระดับบอร์ดควบคุม และบังคับด้วยสมาร์ตโฟนที่ติดตั้งแอปพลิเคชั่น ที่ ท างชมรมพั ฒ นาขึ้ น มาเอง ในบทความนี้ เป็นการเปิดตัวต่อสาธารณะผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เป็ น ครั้ ง แรก จึ ง ขอน� ำ เสนอถึ ง ส่ ว นประกอบ ต่างๆ ที่ส�ำคัญของโดรนล�ำนี้และทิศทางการ พัฒนาต่อไปในอนาคต
เริ่มที่อยากรู้อยากเห็น ก่ อ นอื่ น เลยโปรเจ็ ก ต์ นี้ เ ริ่ ม จาก สมาชิกของ CMMC หลายคนเล่นโดรน กันอยู่แล้ว แต่ก็ยังอยากจะสร้างโดรน ด้ ว ยตั ว เอง ซึ่ ง การสร้ า งโดรนของพวก เรานั้ น ไม่ ไ ด้ แ ค่ ซื้ อ อุ ป กรณ์ ต ่ า ง ๆ มา ประกอบกัน พวกเราอยากจะเข้าใจหลัก การท�ำงาน การควบคุมโดรน รวมถึงการ เขียนโปรแกรมทั้งหมดด้วย หลังจากทีไ่ ด้ศกึ ษา ทดสอบ ลองผิด ลองถูก ลองสร้างโดรนมาหลากหลายรุ่น จนถึ ง รุ ่ น ที่ พ อใจ จึ ง มี ค วามคิ ด อยาก แบ่งปันให้กันคนที่สนใจเล่นอย่างพัฒนา และเข้าใจหลักการของโดรน จึงน�ำมาซึ่ง การสร้างชุด Basic Drone นี้ขึ้นมา เพื่อ ให้ผู้ที่สนใจน�ำไปศึกษา ทดลอง ทดสอบ เขียนโปรแกรมได้สะดวกขึ้น
Maker Invention คุณสมบัติที่เห็นและเป็นไป CMMC Basic Drone เลือกโครงโดรนขนาด 220 ถึง 250 มม. ที่ใช้มอเตอร์ทดเฟือง ท�ำให้มีแรงยกที่สูง บินแบกน�้ำหนักได้มากขึ้น และบินได้นานขึ้น เป็นโดรนที่น�ำจุดเด่นของโดรนขนาดเล็กและใหญ่ มารวมกัน นั่นคือ เลือกใช้โครงสร้างขนาดเล็ก ท�ำให้ความแข็งแรง ทนทานสูงเมื่อเทียบระหว่างความแข็งแรงต่อน�้ำหนัก ใช้มอเตอร์ และแบตเตอรี่ ข นาดเล็ ก ท� ำ ให้ มี ร าคาถู ก และทนทานต่ อ การชน การกระแทกขณะทดสอบ บอร์ดควบคุมถูกติดตั้งวงจรขับมอเตอร์ มาในตัว ขับมอเตอร์ไฟตรงทีอ่ ยูใ่ นโครงโดรนได้ทนั ที แบตเตอรีท่ ใี่ ช้เป็น แบบลิเธียมโพลิเมอร์เซลเดียว 3.7V ที่มีราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย บอร์ ด ควบคุ ม ใช้ เ ป็ น บอร์ ด ที่ พั ฒ นาขึ้ น เอง โดยเลื อ กระบบ ประมวลผลประสิ ท ธิ ภ าพสู ง ที่ ส ามารถเขี ย น แก้ ไ ข หรื อ ปรั บ แต่ ง เฟิร์มแวร์เองได้ ท�ำให้สร้างสรรค์ความสามารถใหม่ๆ ได้ไม่รู้จบ และ ยังใช้ระบบ coprocesser คือ ใช้ไมโครคอนโทลเลอร์ 2 ตัวท�ำงาน ร่วมกัน ท�ำให้การออกแบบเฟิร์มแวร์มีความยืดหยุ่น โดยเฟิร์มแวร์ พื้นฐานที่ CMMC พัฒนานั้น แยกการท�ำงานเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตั ว แรกท� ำ หน้ า ที่ รั ก ษาเสถี ย รภาพของการ ทรงตัวในการบินของโดรน มันจะคอยควบคุมการท�ำงานของมอเตอร์ เป็นหลัก ส่วนไมโครคอนโทรลเลอร์อีกตัวหนึ่งท�ำหน้าที่จัดการดูแล ระบบ WIFI ประมวลผลค� ำ สั่ ง จากผู ้ ค วบคุ ม เพื่ อ ควบคุ ม ทิ ศ ทาง การบิน ถ้าหากผู้ที่น�ำไปศึกษาต้องการปรับเปลี่ยนหรือทดสอบการ ท�ำงานในรูปแบบใหม่ๆ ก็สามารถแก้ไขเพื่อทดสอบได้เลย
หน้าตาแอปที่สุดชิก ทันสมัย และให้ความรู้สึกเหมือนใช้รีโมตบังคับราคาแพง
มีวงจร WIFI ส�ำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ นอกจากนี้ ยังมี การพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ใช้ในการควบคุมอย่างต่อเนื่อง มีฟังก์ชั่น พิเศษที่รองรับการเปลี่ยนค่าต่างๆในเฟิร์มแวร์ได้จากสมาร์ตโฟน ผ่ า น WIFI ซึ่ ง สะดวกต่ อ การปรั บ จู น แบบเวลาจริ ง หรื อ รี ล ไทม์ ไ ด้ นอกจากจะทดสอบทดลองในโลกจริงแล้ว CMMC ยังพัฒนาโปรแกรม จ� ำ ลองการควบคุ ม โดรนในโลกเสมื อ นส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ ยั ง ไม่ มี ประสบการณ์ในการควบคุมมาก่อนให้ฝึกบินโดรนกันอีกด้วย
หน้าตาของบอร์ดควบคุมที่ท�ำหน้าที่สื่อสารกับสมาร์ตโฟนเพื่อควบคุมผ่าน WiFi ใช้ Espresso Lite เป็นตัวประมวลผลหลัก
บอร์ดควบคุมการท�ำงานของมอเตอร์เพื่อรักษาเสถียรภาพในการบินของโดรน ชุดอุปกรณ์พร้อมสรรพ เพื่อการเรียนรู้และต่อยอด MAKERS
9
CMMC
Basic Drone ภาพตั้งใจหลุดของ CMMC Basic Drone
แนวทางการเรียนรู้ - ท�ำจริงจัง ไม่ได้มาเล่นๆ การศึ ก ษาเรี ย นรู ้ เ พื่ อ พั ฒ นา CMMC Basic Drone แบ่งเป็น 4 ส่วนหลักดังนี้ 1. ศึกษาลักษณะทางกายภาพ โครงสร้างการ วิเคราะห์จลนศาสตร์และพลศาสตร์ของโดรน 2. เรียนรู้ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โปรโตคอลของการสื่อสารแบบต่างๆ 3. ศึกษาการเขียนโปรแกรมส�ำหรับไมโครคอล โทรเลอร์ การใช้ตัวควบคุมแบบป้อนกลับ PID 4. รู ้ จั ก กั บ แอปพลิ เ คชั่ น ที่ ใ ช้ ใ นการฝึ ก การ ควบคุมการควบคุมด้วยสมาร์ตโฟน และการปรับแต่ง พารามิเตอร์ที่ส�ำคัญ เมื่อพอมีแนวทางในการท�ำความเข้าใจหลักการ ท�ำงานของโดรนและการเขียนโปรแกรมควบคุมแล้ว การประยุกต์และปรับปรุงรวมทั้งยังสามารถน�ำความรู้ อื่นๆ ที่มี มาผสมผสานเพื่อสร้างลูกเล่นที่แปลกใหม่ให้ กับโดรนได้ด้วย อาทิ เขียนโปรแกรมสั่งให้โดรนตีลังกา 360 องศาอัตโนมัติ การติดตั้งตัวตรวจจับเพิ่มเติมเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถให้โดรน เช่น ตัวตรวจจับอัลตร้า โซนิกเพื่อวัดระยะทาง ช่วยให้โดรนสามารถควบคุม ระดับความสูงในการบินได้อัตโนมัติ หรือการติดกล้อง วิดีโอเพื่อให้โดรนสามารถบินตามวัตถุได้ เป็นต้น
ส่วนของใบพัดของโครงโดรนในชุด CMMC Basic Drone
เรื ่ องของโดรนเป็ นเรื ่ องน่าโดนแท้ๆ มาช่วยกัน สนับสนุนผลงานของกลุม่ เมกเกอร์ ไทย ติดตามข่าวสาร ของ Basic Drone ได้ที ่ https://www.facebook.com /groups/ChiangMaiMakerClub
แอปพลิเคชั่บนสมาร์ตโฟนส�ำหรับปรับแต่งค่า PID หนึ่งในเครื่อง มือส�ำหรับเรียนรู้การท�ำงานของโดรน 10
MAKERS
M
C
Circuit Scribe
ปากกาน�้าหมึกน�าไฟฟ้าที่น�าไฟฟ้าได้จริงๆ จากผลงานการวิจยั มายาวนานเป็นแรมปีของ ElectronInks สหรัฐอเมริกา ท�าให้ได้น�้าหมึกเงิน (silver ink) ที่น�าไฟฟ้าได้จริงๆ น�าไปสู่การพัฒนาเป็น ปากกาลูกลื่นที่บรรจุน�้าหมึกที่น�าไฟฟ้าได้ โดยมีค่าความต้านทานเพียง 2 ถึง 10W ต่อเซนติเมตรเมื่อน�าวาดเป็นเส้นขนาด 0.5 มม. ผลิตภัณฑ์ล�้ายุค ที่น�ามาซึ่งการเชื่อมโยงวงการศิลปะและเทคโนโลยีเข้าด้วยกันตัวนี้มีชื่อว่า Circuit Scribe
ปากกา Circuit Scribe นี้ 1 ด้ า มสามารถลากเส้ น ได้ ย าว 60 ถึ ง 200เมตร ขึ้ น กั บ วิ ธี ก ารวาดและชนิ ด ของ กระดาษที่ใช้ หากใช้กระดาษที่มีการซึมซับสูง เช่น ทิชชู่ หรือกระดาษปรู๊ฟ จะวาดได้ 60 เมตร ถ้าใช้กับกระดาษส�าหรับพิมพ์ ภาพถ่าย (photo paper) จะวาดได้ยาวถึง 200 เมตร ผู ้ ใ ช้ ง านสามารถลากเป็ น เส้ น แทนการใช้ ส ายไฟได้ ระบายเป็ น วงกลมหรือสี่เหลี่ยมเพื่อใช้เป็นจุดสัมผัส หรือสวิตช์ก็ได้ และยังใช้งานกับ อะลูมิเนียมฟอยล์และแถบแม่เหล็กได้ ท�าให้น�าไปใช้สร้างสรรค์โครงงาน อิเล็กทรอนิกส์เชิงศิลปะได้โดยไม่ต้องบัดกรี หรือถ้าจ�าเป็นต้องบัดกรีก็ท�าได้
ปากกา Circuit Scribe วาดวงจรและน�าไฟฟ้าได้จริงด้วยน�้าหมึกที่มีส่วน ประกอบของเงิน เป็นผลงานจาก ElectronInks (www.electroninks.com) การใช้งาน จะเหมือนกับปากกาลูกลื่นทุกประการ ไม่ต้องเขย่า ผู้ใช้งานสามารถวาด หรือระบายเป็นพื้นที่กว้างได้ ที่ส�าคัญไม่มีสารพิษ ไม่มีกลิ่นฉุนรบกวนใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อน�าไปใช้งานหมึกจะแห้งเกาะกระดาษทันที ไม่ต้องรอ ท�าให้ไม่ เลอะเทอะในขณะใช้งาน
Paperduino แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ท�าจากกระดาษและเชื่อมต่อ ขาสัญญาณต่างด้วยปากกา Circuit Scribe ผลพวงแห่งพัฒนาการด้านนาโนเทคโนโลยี ท�าให้เกิ ดสารและวัตถุ ดิ บใหม่ๆ ที ท่ �าให้มนุษยชาติ ก้าวข้ามผ่านข้อจ� ากัด น�าไปสู่การสร้างสรรค์ สิ่ งประดิ ษฐ์ และนวัตกรรมทีใ่ นอดีตแม้แต่คิดก็ยงั ท�าไม่ได้
บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำ�กัด
ดูกันจะจะว่า เส้นจากน�้าหมึกเงินที่วาดโดยปากกา Circuit Scribe จะแห้ง ซ.สุกน�ขาุมไฟฟ้ วิท า101/2 ทันที และไม่เลอะเทอะเหมือนสี108 หรือหมึ แบบอื่น ถ.สุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 www.tpemagazine.com
โทรศัพท์ 0-2747-7001-4 ,โทรสาร 0-2747-7005 URL : www.inex.co.th
2
The Prototype Electronics
MAKERS
11
Gadget
Maker Invention Tommy DIY
Straw LED Lamp ประดิษฐ์โคมไฟ LED ส�ำหรับอ่าน หนังสือและส่องสว่างยามค�่ำคืน แบบง่ายๆ จากวัสดุเหลือใช้
“เมื่อไหร่ จะซือ้ โคมไฟมาติดให้ ซักที” เสียงเล็กๆ ที่ทรงพลัง จากแม่บ้านของผม ผู้ชื่นชอบการอ่านหนังสือก่อนนอนเป็นยิ่งนัก ท�ำเอาเมกเกอร์อย่างเราเริ่มอยู่ไม่เป็นสุข ต้องท�ำอะไรบางอย่าง แล้วล่ะสิ ในเมื่อโจทย์ที่ได้รับคือไฟส�ำหรับอ่านหนังสือหัวเตียง จะไป ซื้อมาก็มีแต่ราคาสูง แถมเสียเชิงเมกเกอร์อย่างเราเป็นอย่างยิ่ง ว่า แล้วก็ร่างแบบ ท�ำการคุ้ยๆ เขี่ยๆ ของเก่าในบ้านจนเจอแถบ LED ที่ เคยซื้อเก็บไว้ ลองน�ำมาสอดกับหลอดดูดที่ได้มาจากร้านสะดวกซื้อ แม้ขนาดของหลอดจะเล็ กไปหน่ อยแต่ ก็ไม่ เป็ นไร ได้ แ สงขาวๆ ส�ำหรับอ่านหนังสือเป็นใช้ได้ มาดูกันเลยครับว่า ผู้เขียนใช้อุปกรณ์ อะไรบ้าง
เครื่องมือการประดิษฐ์ 1. หัวแร้ง+ตะกั่วบัดกรี 2. ปืนยิงกาวพร้อมกาวแท่ง 3. คัตเตอร์
2. 6.
1.
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ 1. LED แบบแถบ 6 ดวง 2. หลอดดูดแบบงอได้ 3 อัน 3. ตัวดูดกระจก ท�ำเป็นฐานยึด 4. แจ็กอะแดปเตอร์
5. 4.
5. สายไฟเส้นเล็กยาวประมาณ 30 ซม. 6. อะแดปเตอร์ไฟตรง 12V. 7. ลวด (เป็นอุปกรณ์เสริม) 12
MAKERS
3.
รูปที่ 1 อุปกรณ์ที่ต้องใช้
Maker Invention
ขั้นตอนการประดิษฐ์ (1) บัดกรีสายไฟเส้นเล็กเข้ากับขั้วบวกและลบของ LED แบบแถบ ดังรูปที่ 2
(5) ต่อหลอดชิ้นใหม่เพื่อเพิ่มความสูงของโคม โดยให้สายไฟสอด เข้าในหลอดดังรูปที่ 6.1 สอดลวดยาวประมาณ 15 ซม. เข้าไปในหลอด ดังรูปที่ 6.2 เพื่อเป็นช่วยรับน�้ำหนักและดัดโค้งได้ตามต้องการ จากนั้น สอดปลายหลอดเข้ากับรูของตัวดูดกระจก ดังรูปที่ 6.4
6.2
6.1
รูปที่ 2 บัดกรีสายไฟเข้ากับขั้วบวกและลบ ของ LED แบบแถบ (2) น�ำหลอดดูดมาผ่ากลางให้สามารถสอด LED แบบแถบเข้าไป ได้ดังรูปที่ 3 แต่หากผู้อ่านมีหลอดขนาดใหญ่พอสอด LED แบบแถบได้ ก็ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย (ตัวต้นแบบใช้หลอดจากร้านสะดวกซื้อเส้น ผ่านศูนย์กลางมันเล็กไปหน่อย)
6.3 6.4 รูปที่ 6 ต่อหลอดและเสริมลวด (6) ท�ำตัวครอบปิดแจ็กอะแดปเตอร์ ในที่นี้ใช้ปลายของซิลิโคน แบบหลอดน�ำมาตัดให้ได้ขนาดตามต้องการแล้วยึดด้วยปืนยิงกาว
7.1
7.2
3.1 3.2 รูปที่ 3 ผ่าหลอดดูดเป็นแนวยาวเท่ากับ LED แบบแถบ (3) ค่อยๆ แหวกเพื่อสอดสายไฟและ LED แบบแถบเข้าไปในหลอด ดังรูปที่ 4
7.3 รูปที่ 7 ท�ำฝาครอบแจ็กอะแดปเตอร์
7.4
(7) บัดกรีปลายสายเข้ากับแจ็กอะแดปเตอร์ดังรูปที่ 8 แล้วยึดเข้า กับตัวดูดกระจกด้วยปืนยิงกาว
4.1 4.2 รูปที่ 4 บรรจุ LED แบบแถบเข้าไปในหลอดดูด (4) ตัดหลอดอีก 1 ชิ้น ให้ความยาวเท่ากับ LED แบบแถบ ดังรูปที่ 5.1 แล้วผ่าตามแนวยาวดังรูปที่ 5.2 น�ำไปครอบ LED ดังรูปที่ 5.3 จะได้ ตัวโคมดังรูปที่ 5.4
5.1
5.3 รูปที่ 5 ครอบหลอดอีกชิ้นเป็นโคม LED
8.1 รูปที่ 8 บัดกรีสายไฟและติดตั้งแจ็กอะแดปเตอร์เข้ากับฝาครอบ
8.2
เพียงเท่านี้คุณก็ได้โคมไฟอ่านหนังสือประจ�ำหัวเตียง การใช้งาน ก็เพียงเสียบอะแดปเตอร์ LED ก็สว่างผ่านการกรองแสงไม่ให้จ้าเกินไป ด้วยหลอดดูดสีขาวขุ่น และยังปรับก้มเงยได้อีกต่างหาก
5.2
5.4
ลองท�ำกันดูนะครับ หรื อจะน�ำไอเดียไปดัดแปลงใช้กบั LED แบบ ดวงเดีย่ วและใช้กะบะถ่านเอาก็ย่อมได้ ส�ำหรับฉบับนีข้ อน�ำโคมไฟไป อวดแม่บา้ นก่อนล่ะคร้าบ
M
MAKERS
13
Craft
Maker Invention PINN Creative Space
Coffee Cozy
ผ้าหุ้มแก้วกาแฟ อุ่นมือ ด้วยงาน ประดิษฐ์จากหัวใจ...
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1. ผ้าสักหลาดสีต่างๆ ในบทความนี้ใช้ สีขาวธรรมดา
2. อุปกรณ์เย็บผ้า ด้าย เข็ม กรรไกร
3. จักรปักระบบคอมพิวเตอร์
สวั ส ดี ค ่ ะ เพื่ อ นๆ ชาวเมกเกอร์ พบกันคราวนี้ขอเอาใจคนรักกาแฟด้วย การท�ำ Coffee Cozy หรือจะเรียกแบบ ข�ำๆ ว่า ผ้าหุ้มแก้วกาแฟ เพื่อช่วยถือ แก้วกาแฟที่ร้อนๆ ได้ง่ายขึ้น รับรอง ว่า Coffee Cozy ที่น�ำมาแนะน�ำนี้เป็น แบบง่ายๆ แต่น่ารักให้เพื่อนๆ ได้ลอง ออกแบบและทดลองท�ำกัน ตามมาดู กันเลย
วิธีท�ำ (1) ออกแบบลายลงบนกระดาษ ในที่ นี้ เ ราออกแบบเป็ น ลายกราฟิ ก หน้ า ตุ ๊ ก ตาหรื อ ตั ว มอนสเตอร์ เ อาไว้ หลายๆ แบบ แล้วน�ำมาเรียงกัน เพื่อ ให้เกิดลายที่ต้องการ น�ำไปดัดแปลง ท�ำลายอื่นๆ ได้อีกด้วย หรือถ้าเพื่อนๆ สามารถออกแบบได้ ใ นคอมพิ ว เตอร์ ด้วยโปรแกรมต่างๆ ก็จัดมาเลยเจ้าค่ะ รูปที่ 1 อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม 14
MAKERS
Maker Invention
เมื่ อ เย็ บ ตี น ตุ ๊ ก แกเสร็ จ Coffee Cozy ลายน่ารักๆ ที่ออกแบบได้เองตามใจต้องการก็ พร้อมใช้งาน
รูปที่ 2 วาดแบบลงกระดาษ (2) น�ำลายที่ออกแบบเสร็จแล้วมาสแกน ส่งเข้าโปรแกรม illustrator ท�ำให้ภาพเป็นเวกเตอร์ เพราะต้ อ งใช้ เ ส้ น เวกเตอร์ ใ นการตี ล ายปั ก น�ำลายทีไ่ ด้มาวางเรียงในแพ็ตเทิรน์ ของ coffee cozy ที่เตรียมไว้ (ในที่นี้ท�ำไว้ส�ำหรับแก้วขนาด 22 ออนซ์) ออกแบบและวางสีเป็นไกด์เอาไว้ว่า ส่วนไหนจะใช้ด้ายสีอะไร
รูปที่ 5 น�ำไฟล์ของแบบปักลายผ้าเข้าไปยัง เครื่องปักคอมพิวเตอร์
รูปที่ 6 ปักลายผ้าด้วยเครื่องปักคอมพิวเตอร์ (6) เมื่อปักเสร็จแล้ว ท�ำการเย็บเก็บริม ผ้าให้เรียบร้อยด้วยจักรหรือใช้มือก็ได้ค่ะ รูปที่ 3 สร้างแบบเป็นไฟล์เวกเตอร์ (4) น� ำ ไฟล์ ที่ ไ ด้ น� ำ เข้ า ไปยั ง เครื่ อ งปั ก คอมพิวเตอร์รุ่น PR-1000 โดยเครื่องปักรุ่นนี้ รองรับการเชือ่ มต่อกับUSB แฟลชไดรฟได้ทนั ที (5) ขึงผ้าสักหลาดให้แน่น แล้วตัง้ โปรแกรม ปักตามลายทีท่ ำ� เอาไว้ เพือ่ นๆ สามารถใช้บริการ นี้ได้ที่ PINN Creative Space ทุกสาขาเลยค่ะ
รูปที่ 7 เย็บเก็บริมผ้าให้เรียบร้อย (7) น�ำตีนตุก๊ แกมาเย็บติดด้านข้างทัง้ สอง ด้านเพือ่ ใช้เป็นตัวเชือ่ มให้รดั รอบแก้วน�ำ้ ได้
รูปที่ 9 Coffee Cozy เมื่อใช้งานกับแก้วกาแฟ ขนาด 25 ออนซ์ ความส� ำคัญของงานฝี มื อชิ้ นนี ้คือ การ ใช้เครื ่ องมื อสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ งจักร ปั กคอมพิ วเตอร์ ใครอยากลองเล่น ลองใช้งาน ขอเชิ ญมาจอยกันที ่ PINN Creative Space ทุกสาขาคะ
M รูปที่ 8 เย็บติดตีนตุ๊กแก MAKERS
15
Raspberry Pi
Maker Knowledge Thai Easy Elec
Advertorial
Raspberry Pi Cluster
ระบบปฏิบัติการส�ำหรับ Raspberry Pi Raspberry Pi เป็นบอร์ด Embedded ที่สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติ การ (Operating System: OS) ลงไปได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ รองรับ OS หลักคือ Linux หลากหลาย Distribution ยกตัวอย่างเช่น • Raspbian ที่น�ำ Debian มาปรับแต่งให้เหมาะสมกับฮาร์ดแวร์ และทรัพยากรของตัวบอร์ด ปัจจุบันมีทั้งแบบธรรมดาที่เป็น Desktop และแบบ Lite ที่เป็น Console • Ubuntu MATE เป็น Ubuntu ซึ่งปรับแต่งให้สามารถรันบน ฮาร์ดแวร์ที่มีทรัพยากรไม่สูงมากได้ เป็นแบบ Desktop • Snappy Ubuntu Core เป็น Core OS ที่มีพื้นฐานจาก Ubuntu เป็นแบบ Console • Pidora เป็นตัวปรับแต่งมาจาก Fedora Remix ซึ่งถูกปรับแต่งมา จาก Fedora อีกต่อหนึ่ง โดย Fedora อยู่ฝั่ง Red Hat Enterprise Linux (RHEL) กับ CentOS
เกี่ยวกับบอร์ด Raspberry Pi Raspberry Pi บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ ศึกษาการท�ำงานและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น มีผู้สนใจ น�ำไปเรียนรู้และประยุกต์ใช้ในโครงการต่างๆ มากมาย แม้ประสิทธิภาพ หรือสมรรถนะอาจไม่ได้เทียบเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและ แลปทอปที่ ใ ช้ กั น อย่ า งแพร่ ห ลายในชี วิ ต ประจ� ำ วั น แต่ ด ้ ว ยราคารวม อุปกรณ์ที่ไม่สูงมากนักต่อชุดเริ่มต้นใช้งาน พร้อมพอร์ตอินเตอร์เฟส หลากหลายที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเพิ่มเติมแล้วพัฒนา แอพพลิเคชันควบคุมการท�ำงานอุปกรณ์เหล่านั้นได้ ท�ำให้ Raspberry Pi เหมาะกับการน�ำมาท�ำโครงงานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ อย่างแพร่หลาย 16
MAKERS
• Arch Linux ARM ซึ่งถูกพอร์ตมาจาก Arch Linux ซึ่งเน้นความ เรียบง่าย มีส่วนประกอบน้อย เหมาะกับการใช้งานบนบอร์ด Embedded OS ให้กินทรัพยากรน้อย ใช้สเปคไม่สูงมาก • OS เฉพาะซึ่งใช้ Linux เป็นพื้นฐานส�ำหรับท�ำเป็น Media Center เช่น OSMC, OpenELEC, LibreELEC, KODI เป็นต้น นอกจาก Linux บอร์ด Raspberry Pi ยังรองรับระบบปฏิบัติการ Windows 10 IoT Core ของ Microsoft โดยตัว OS ไม่ใช่ Windows แบบ Desktop ที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือแลปทอปส�ำหรับการใช้ งานทั่วไป แต่เป็นส่วนแกนหลักและระบบพื้นฐานของ Windows ส�ำหรับ ตดตั้งลงบนบอร์ดต่างๆ เพื่อให้รองรับการพัฒนาแอพพลิเคชันด้าน Internet of Things ด้วย Visual Studio สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ จาก https://developer.microsoft.com/en-us/windows/iot/iotcore
Maker Knowledge
ล่าสุดมีนักพัฒนาพบรายชื่อของ pifoundation และบอร์ด rpi3 ปรากฏเป็นรายชื่อฮาร์ดแวร์อยู่ใน Code Repository บน Android Open Source Project (AOSP) ที่ https://android.googlesource.com/ device/pifoundation/rpi3/ ซึ่งอยู่บนไดเรกทอรีเดียวกับอุปกรณ์จากผู้ ลิตรายอื่นๆ ที่ใช้ท�ำ Nexus ดูแล้วบอร์ด Raspberry Pi 3 อาจมีโอกาส ที่จะได้รับการพัฒนา Android ซึ่งเป็นตัว Official โดยตรงจาก Google ท�ำให้จะมีนักฐานพัฒนาเพิ่มขึ้นอีกกลุ่มใหญ่เลยทีเดียว กลับมาที่ Raspbian บน Raspberry Pi ซึ่งเหมาะส�ำหรับทั้งผู้ เริ่มต้นและผู้ใช้งานส่วนใหญ่ รองรับการใช้งานต่างๆ เกือบครบถ้วน ให้ ฟังก์ชันการท�ำงานคล้ายคลึงกับการใช้ Debian บนคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ สามารถใช้งานเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปหรือติดตั้งให้บริการเป็น เซิร์ฟเวอร์แม่ข่ายขนาดเล็กได้ รองรับการติดตั้งซอฟท์แวร์แพ็คเกจต่างๆ แบบออนไลน์จาก Repository ได้ผ่านอินเตอร์เน็ต แต่อย่างที่เกริ่นไปข้าง ต้นแล้วว่าบอร์ด Embedded OS แบบนี้ไม่ได้มีทรัพยากรระบบสูงมาก แม้ว่าปัจจุบันฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ จะพัฒนาไปมากแล้วก็ตาม ซึ่งหากน�ำไป เทียบการใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปก็จะท�ำงานได้ช้ากว่าและยิ่ง น�ำไปเทียบกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์แล้วยิ่งเทียบกันไม่ได้ในด้านของสมรรถนะ ดังนั้นความเหมาะสมในการใช้งานของบอร์ด Raspberry Pi จึงมุ่งเน้น ไปที่การเรียนรู้ จ�ำลอง หรือใช้งานจริงเพื่อสร้างระบบเล็กๆ ที่ต้องการ คุณสมบัติและฟังก์ชั่นการท�ำงานแต่ไม่เน้นประสิทธิภาพมากนัก
การน�ำ Raspberry Pi ไปใช้ Raspberry Pi ถูกน�ำไปท�ำโครงการต่างๆ มากมายทั้งแบบท�ำเล่นๆ และใช้งานจริงจัง หากยังนึกภาพไม่ออกว่าเอาไปท�ำอะไรได้บ้าง อาจลอง ดูตัวอย่างจากเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านี้ หรือค้นหาใน Google ก็จะเจออีก เยอะแยะมากมาย
https://www.raspberrypi.org/resources/make/
https://www.raspberrypi.org/magpi/
http://www.instructables.com/id/Raspberry-Pi-Projects/
โปรเจ็กต์หนึ่งที่น่าสนใจด้านคอมพิวเตอร์ คือ การน�ำ Raspberry Pi มาสร้างเป็นระบบคลัสเตอร์ (Cluster) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน เช่น ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายที่ต้องการออกแบบวิเคราะห์ และสร้างต้นแบบระบบคอมพิวเตอร์หลายตัวที่ช่วยกันประมวลผลว่าจะ ท�ำงานร่วมกันและต้องปรับแต่งอย่างไรให้รองรับการท�ำงานตามต้องการ นักวิเคราะห์ข้อมูลหรือนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการศึกษาและจ�ำลองการ ประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) หรือข้อมูลจ�ำนวนมากโดย ใช้คอมพิวเตอร์หลายตัวช่วยกัน นักพัฒนาโปรแกรมที่ต้องการระบบ ส�ำหรับพัฒนาและทดสอบการท�ำงานของโปรแกรมที่ท�ำงานแบบขนาน กัน (Parallel Programing) บนเครื่องหลายๆ เครื่องว่าให้ผลลัพธ์การ ท�ำงานตามที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งหากต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่อง แม่ข่ายจริงๆ ในการเรียนรู้ ทดสอบ จ�ำลอง หรือสร้างก็จะมีต้นทุนสูง แต่ หากเพียงเลือกใช้บอร์ด Raspberry Pi กับ SD Card และ Power Supply พร้อมเชื่อมต่อเครือข่าย LAN ก็พอจะสร้างระบบขนาดเล็กๆ ขึ้นมาพิสูจน์ แนวคิดดังกล่าวได้ คลัสเตอร์เป็นการสร้างคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงรูปแบบหนึ่ง โดยการรวมกันของคอมพิวเตอร์หลายเครื่องให้เสมือนมีการท�ำงานเป็น เครื่องเดียวโดยอาศัยการส่งผ่านข้อความ (Message Passing) เพื่อ ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน อาจมีจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน
High Availability (HA) cluster หรือ Failover cluster เพื่อรองรับ การท� ำ งานได้ ต ลอดเวลาต่ อ เนื่ อ งเมื่ อ มี เ ครื่ อ งเสี ย หายไม่ ส ามารถให้ บริการได้ก็จะสลับการท�ำงานไปยังเครื่องที่พร้อมให้บริการอยู่ในลักษณะ แบบ Active-Standby หรือท�ำงานพร้อมกันแต่เมื่อมีเครื่องเสียหายเครื่อง ที่ยังให้บริการอยู่ก็จะรับการท�ำงานหนักขึ้นหรือลดประสิทธิภาพของการ ท�ำงานลงในลักษณะแบบ Active-Active ตัวอย่างเครื่องที่ใช้งานแบบนี้ คือ Database Server ต่างๆ Load-balancing cluster กระจายการท�ำงานหลายๆ งานไปยัง เครื่องที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบในการรองรับงานพร้ อมๆ กันและกระจายงานให้แต่ละเครื่องอย่างทั่วถึงแทน ตัวอย่างเครื่องที่ ใช้งานแบบนี้คือ Web Server หรือ Application Server ต่างๆ High Performance Computing (HPC) cluster มีจุดประสงค์ หลั ก เพื่ อ ใช้ ใ นการค� ำ นวณโดยแบ่ ง กั น ประมวลผลข้ อ มู ล หรื อ งานจะ ถูกแบ่งและส่งไปให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องช่วยกันประมวลผลแบบ ขนาน (Parallel Computing) แล้วส่งผลลัพธ์กลับมา มักจะถูกใช้ใน การวิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์และข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analysis) ตัวอย่างคือการน�ำไปใช้งานแทนเครื่อง Supercomputer ใน บางครั้งหรือบางงานที่พลังในการประมวลผลเพียงพอ คลั ส เตอร์ ที่ เ ราจะสร้ า งจะมี ลั ก ษณะเหมื อ น Beowulf Cluster (https://en.wikipedia.org/wiki/Beowulf_cluster) คือ น�ำเอาเครื่อง คอมพิวเตอร์ทั่วไปที่มีอยู่ตามบ้านมารวมกันสร้างเป็นคลัสเตอร์ โดยไม่ จ�ำกัดซอฟต์แวร์ที่ใช้งานบนเครื่องเพียงแต่มุ่งเน้นไปที่ซอฟต์แวร์ฟรีหรือ ที่เป็น Open Source และใช้ระบบปฏิบัติการในกลุ่ม Unix-like ได้แก่ BSD Linux หรือ Solaris ใช้ไลบรารีจัดการประมวลผลแบบขนานรวมกับ อินเตอร์เฟสในการส่งข้อความ (Message Passing Interface: MPI)
การเตรียมการบน Raspberry Pi เพื่อท�ำคลัสเตอร์ เรามาลองท�ำคลัสเตอร์ด้วยบอร์ด Raspberry Pi เพื่อเอาไว้เป็น เครื่ อ งมื อ ศึ ก ษาการท� ำ งานและหลั ก การประมวลผลแบบขนาน โดย สามารถหยิบเอาบอร์ดรุ่นต่างๆ ที่เรามีอยู่แล้วทั้งเก่าและใหม่มาท�ำได้ แต่ควรจะเป็นรุ่นที่มีพอร์ต LAN ในบทความนี้จะใช้บอร์ด 3 รุ่น ได้แก่ Raspberry Pi Model B (รุ่นแรก) Raspberry Pi 2 Model B และ Raspberry Pi 3 Model B (รุ่นล่าสุด) ซึ่งแต่ละตัวมีสเปค CPU ที่แตกต่าง กันทั้งเทคโนโลยีและความเร็ว แต่สามารถน�ำมาใช้งานร่วมกันได้ เตรียม อุปกรณ์ดังนี้ • บอร์ด Raspberry Pi จ�ำนวนตั้งแต่ 2 บอร์ดขึ้นไป ควรเป็นรุ่นที่มี พอร์ต LAN จะใช้รุ่นละกี่บอร์ดก็ได้ • SD Card หรือ Micro SD Card ตามจ�ำนวนบอร์ดและรุ่นที่ใช้ ขนาดอย่างน้อย 8 GB ความเร็ว Class 10 • Power Supply แหล่งจ่ายไฟตามจ�ำนวนบอร์ดและรุ่นที่ใช้ ปกติ แล้ว Raspberry Pi ใช้พลังงานไม่มาก หากไม่ได้ต่อ USB หรืออุปกรณ์ อื่นเพิ่มเมื่อ CPU Full Load (ผลทดสอบการใช้พลังงานจาก http://blog. pimoroni.com/raspberry-pi-3/) • B หรื อ B+ น่าจะใช้ไม่เกิ น 300mA
• 2B จะใช้ไม่เกิ น 500mA
• 3B จะใช้ประมาณ 800mA
MAKERS
17
• Network Switch ที่มีจ�ำนวนพอร์ตตามจ�ำนวนบอร์ดและมีช่อง ว่างอีก 1 พอร์ตส�ำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าไปสั่งงานหรือต่อกับ ระบบเครือข่ายอื่น สามารถใช้แบบ Fast Ethernet ก็เพียงพอเนื่องจาก บอร์ดรองรับสูงสุดแค่ 100 Mbps แต่ก็สามารถใช้ Gigabit Ethernet ได้ เพื่อเป็นขาอัพลิงก์และเชื่อมต่อกับเครื่องอื่นที่เป็น 1000 Mbps
• UTP Cable CAT 5e ตามจ�ำนวนบอร์ดที่ใช้
• จอมอนิเตอร์ + คีย์บอร์ด + เมาส์ ส�ำหรับผู้ที่ไม่ถนัดคอนฟิกด้วย SSH ผ่านระบบเครือข่าย เริ่มจากติดตั้ง Raspbian OS ลงบน SD Card ตาม https://www. raspberrypi.org/documentation/installation/installing-images/ แล้ว เสียบ SD Card เข้ากับบอร์ด จากนั้นจ่ายไฟบูตบอร์ดขึ้นมา หากใครคุ้น เคยกับการใช้งานบอร์ดอยู่แล้วขั้นตอนต่างๆ สามารถท�ำได้ผ่าน Secure Shell หากไม่คุ้นเคยก็สามารถต่อจอมอนิเตอร์ เมาส์ และคีย์บอร์ดเหมือน การใช้งานคอมพิวเตอร์ปกติ แล้วตั้งค่าผ่านหน้าจอได้เช่นกัน เปิด Terminal ขึ้นมาแล้วเรียกเมนู Raspberry Pi Configuration ด้วยค�ำสั่ง
แล้วกด Enter เลือก OK
กรอกรหัสผ่านใหม่ใน Enter new UNIX password: ตอนพิมพ์รหัส จะไม่แสดงข้อความที่พิมพ์ไป แล้ว Enter จากนั้นใส่รหัสผ่านเดิมอีกครั้ง ใน Retype new UNIX password: แล้ว Enter โปรแกรมจะแจ้งว่าเปลี่ยน รหัสผ่านเรียบร้อยแล้ว กด Enter เลือก Ok กลับไปหน้าเมนู ปกติเมื่อติดตั้ง Raspbian จะถูกตั้งชื่อเครื่องว่า raspberrypi การ ใช้งานพร้อมกันหลายเครื่องอาจะท�ำให้เราสับสนได้ เราต้องเปลี่ยนชื่อ เครื่องแต่ละเครื่องให้ต่างกัน โดยเลือกเมนู 9 Advanced Options แล้ว กด Enter
sudo raspi-config
ขยาย Root Partition บน SD Card ให้ใช้งานได้เต็มพื้นที่ หากเป็น Raspbian ตัวอัพเดทล่าสุด 27 May 2016 จะขยายขนาดอัตโนมัติเมื่อ บูตครั้งแรก แต่จะท�ำซ�้ำก็ได้ไม่มีผลกระทบอะไร โดยเลือกเมนู 1 Expand Filesystem แล้วกด Enter
ในเมนูย่อยเลือก A2 Hostname แล้วกด Enter
โปรแกรมจะขยายขนาดพื้นที่แล้วแจ้งผลให้ทราบ โปรแกรมจะแสดงค�ำแนะน�ำในการตั้งชื่อ กด Enter เลือก Ok จาก นั้น ใส่ชื่อที่ต้องการในช่อง Please enter a hostname ยกตัวอย่างเช่น เครื่องแรกเราอาจตั้งโดยใส่หมายเลข 1 หรือ 01 ไว้ด้านหลัง หากเรา วางแผนว่าจะมีเครื่องจ�ำนวนมากให้เพิ่มจ�ำนวนหลักเผื่อไว้ด้วย อาจ เป็น 001 หากต้องมีเครื่องในระบบเดียวกันเกิน 100 เครื่อง เสร็จแล้วกด Enter เลือก Ok กลับเมนู
แล้วกด Enter เลือก OK จะกลับไปหน้าเมนูหลัก Partition จะใช้ งานได้หลังจากรีบูต เปลี่ยนรหัสผ่านชื่อผู้ใช้งานเพื่อความปลอดภัย โดยค่าเริ่มต้นชื่อผู้ ใช้ คือ pi รหัสผ่าน คือ raspberry เลือกเมนู 2 Change User Password
18
MAKERS
หากเราไม่ได้ใช้งาน GPU สามารถลดขนาด RAM ที่แบ่งไปให้ GPU ได้เพื่อให้ระบบมีหน่วยความจ�ำหลักในการท�ำงานมากขึ้น เลือกเมนู 9 Advanced Options เลือกเมนูย่อย A3 Memory Split
เลื่อนลงมาท้ายไฟล์แล้วป้อนค่าในช่วงที่เครือข่ายของเราสามารถ ใช้งานได้ ตามตัวอย่างเครือข่ายใช้ • ip_address 192.168.137.11 โดย /24 เป็นการก�ำหนด Subnet mask มีค่าเท่ากับ 255.255.255.0
สามารถก�ำหนดค่าหน่วยความจ�ำให้ GPU ได้ตั้งแต่ 16 ถึง 256 MB ค่าเริ่มต้น คือ 64 MB เนื่องจากบอร์ดรุ่นหลังๆ จะมีหน่วยความจ�ำหลัก 1 GB หากใช้งานบอร์ดรุ่นเก่าที่มีหน่วยความจ�ำ 512 MB (Model B/B+) หรือ 256 MB (Model A/A+) แล้วไม่จ�ำเป็นต้องใช้ GPU สามารถปรับ ลดลงมาได้ ในทีนี้เราจะก�ำหนดไว้ที่ 16 MB แล้วกด Enter เลือก Ok กลับ เมนู
ก�ำหนดค่าเริ่มต้นตอนบูตระบบโดยเลือกเมนู 3 Boot Options แล้ว กด Enter
ปกติ Raspbian เวอร์ชันใหม่จะตั้งต้นมาเป็น Desktop Autologin แต่เราไม่ใช้ Desktop เพื่อประหยัดทรัพยากรระบบและหน่วยความจ�ำ ให้ เปลี่ยนโดยเลือกเมนูย่อย B2 Console Autologin หรือ B1 Console แล้ว กด Enter เพื่อ Ok กลับเมนู
• router หรือค่า Default Gateway เป็นค่า 192.168.137.1
• domain_name_servers หรือค่า DNS เป็นค่า 192.168.137.1
เสร็จแล้วกด Ctrl + X
กด Y เพื่อบันทึก และ กด Enter เพื่อยอมให้เขียนทับไฟล์ จากนั้นรี บูตระบบอีกครั้งให้ค่าที่ตั้งไว้ท�ำงานโดยใช้ค�ำสั่ง sudo reboot หลังจากท�ำเครื่องแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ท�ำแบบเดียวกันนี้กับ เครื่องที่ต้องการน�ำมาท�ำคลัสเตอร์ โดยในตัวอย่างจะท�ำทั้งหมด 3 เครื่อง ได้แก่
Hostname: raspi01
IP Address: 192.168.137.11
Hostname: raspi02
IP Address: 192.168.137.12
Hostname: raspi03
IP Address: 192.168.137.13
ขั้นตอนสุดท้ายส�ำหรับบทความตอนแรกนี้เราจะท�ำให้แต่ละบอร์ด รู้จักชื่อของกันและกัน เมื่อต้องการใช้งานจะได้ชื่อเครื่องแทนการใช้ หมายเลข IP Address ซึ่งสะดวกและจดจ�ำได้ง่ายกว่า เราสามารถดูไฟล์ ดังกล่าวได้ด้วยค�ำสั่ง more /etc/hosts
จากนั้นเข้าไปแก้ไขไฟล์โดยใช้ค�ำสั่ง
sudo nano /etc/hosts
ใส่รายละเอียดของเครื่องต่างๆ ที่เราต้องการลงในไฟล์ดังนี้ จากนั้น กด Ctrl + x แล้วกด Y แล้วกด Enter เพื่อบันทึก
เสร็จแล้วเลือก Finish แล้วกด Enter ระบบจะถามว่ารีบูตหรือไม่ให้ เลือก Yes แล้วกด Enter เพื่อ Reboot ก�ำหนดค่า IP Address แบบ Static ส�ำหรับพอร์ต Ethernet LAN (eth0) ส�ำหรับ Raspbian Jessie จะตั้งค่าอยู่ในไฟล์ /etc/dhcpcd.conf ใช้ค�ำสั่ง
sudo nano /etc/dhcpcd.conf
ค�ำสั่งจะเรียกโปรแกรม nano เป็น Text Editor ที่ใช้งานง่ายบน Linux แล้วเปิดไฟล์ /etc/dhcpcd.conf ที่เราต้องการแก้ไข
191.168.137.11 raspi01 raspi01.local raspi01.lan
191.168.137.12 raspi02 raspi02.local raspi02.lan
191.168.137.13 raspi03 raspi03.local raspi03.lan
ทดสอบการเข้าถึงบอร์ดอื่นด้วยชื่อโดยใช้ค�ำสั่ง ping ไปที่เครื่อง ต่างๆ
ที่เครื่อง raspi01 ping raspi02 ping raspi03
MAKERS
19
ที่เครื่อง raspi02 ping raspi01 ping raspi03
ที่เครื่อง raspi03 ping raspi01 ping raspi02
การท�ำคลัสเตอร์บน Raspberry Pi หลังจากก�ำหนดชื่อเครื่อง IP Address และก�ำหนดไฟล์ Hosts เรียบร้อยแล้ว ในการท�ำงานของคลัสเตอร์เมื่อต้องการให้แต่ละโหนดช่วย ประมวลผลจะต้องมีการสั่งงานระหว่างกันผ่าน SSH เมื่อเราเชื่อมต่อไป ยังเครื่องที่ต้องการจะต้องกดยอมรับการเข้าถึง รวมทั้งใส่ชื่อผู้ใช้และรหัส ผ่านทุกครั้งท�ำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน ในขั้นตอนต่อไปเราจะจัดการ กับคีย์ของ SSH เมื่อเรียกใช้ SSH จะล็อคอินจากเครื่องหนึ่งไปยังอีก เครื่องหนึ่งให้โดยอัตโนมัติตามขั้นตอนดังนี้ ที่เครื่อง raspi01 ใช้ค�ำสั่ง ssh-keygen เพื่อเริ่มสร้าง Public / Private คีย์ด้วย RSA เพื่อใช้จับคู่
จากนั้นให้ยืนยันการเชื่อมต่อด้วยการพิมพ์ yes แล้วกด Enter ตาม ด้วยกรอกรหัสผ่านของเครื่อง raspi02 คีย์ที่ได้จากการอ่านด้วยค�ำสั่ง cat ที่เครื่อง raspi01 จะถูกส่งไปเขียนลงบนไฟล์ authorized_keys บนเครื่อง raspi02 ผ่านทาง SSH ให้คัดลอกคีย์จากเครื่อง raspi01 ไปไว้ที่ raspi03 โดยใช้ค�ำสั่งเดียวกัน แต่เปลี่ยนชื่อเครื่องให้ถูกต้อง cat .ssh/id_rsa.pub | ssh pi@raspi03 ‘cat >> .ssh/authorized_keys’
ทดสอบ SSH จากเครื่อง raspi01 ไปยังเครื่อง raspi02 ด้วยค�ำสั่ง ssh pi@raspi02 จะพบว่าไม่ต้องใส่รหัสผ่าน แล้วล็อกเอาต์ออกด้วยค�ำสั่ง exit และทดสอบ SSH จากเครื่อง raspi01 ไปยังเครื่อง raspi03 ด้วยค�ำ สั่ง ssh pi@raspi03 จะไม่ต้องใช้รหัสผ่านเช่นกัน แล้วอย่าลืมล็อกเอาต์ กลับมาที่ raspi01
ssh pi@raspi02
exit
ssh pi@raspi03
exit
• เลือกทีเ่ ก็บไฟล์ ค่าปกติจะเป็น /home/pi/.ssh/id_rsa ให้กดปุม่ Enter
• ก�ำหนด Passphrase เพิ่มเติมได้หากต้องการใช้งาน ตรงนี้เราไม่ ก�ำหนด ให้กด Enter • ใส่ Passphrase ซ�้ำอีกครั้ง หากเราไม่ได้ใส่ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ ให้กด Enter โปรแกรมจะสร้าง Identification ไว้ในไฟล์เรกทอรี่ /home/pi/.ssh/ id_rsa สร้าง Public Key ไว้ในไฟล์ /home/pi/.ssh/id_rsa.pub *** ข้อสังเกต - เวลาใช้งาน SSH ในตอนนีเ้ รามี 3 เครื ่องแล้วให้ระวัง การสับสนว่าล็อคอิ นไปอยู่บนเครื ่องไหน (ใครท�ำโหนดเยอะกว่านีจ้ ะ สับสนกว่านีอ้ ีก) สังเกตได้จาก username@hostname ทีอ่ ยู่ดา้ นหน้าตัว หนังสือสีเขี ยวว่าก�ำลังล็อคอิ นไปสัง่ งานอยู่ทีเ่ ครื ่องไหน ท�ำแบบเดียวกันบน raspi02 โดยคัดลอกคีย์ด้วยค�ำสั่ง cat และ ทดสอบ SSH จากเครื่อง raspi02 ไปที่ raspi01 และ raspi03
ท�ำแบบเดียวกันกับเครื่อง raspi02 และ raspi03
ใช้ค�ำสั่ง more .ssh/id_rsa.pub ในไฟล์ id_rsa.pub เพื่อ ดูรายละอียดของคีย์ในไฟล์ ซึ่งจะไม่ซ�้ำกันในแต่ละเครื่อง ในส่วนท้ายจะ เป็น username@hostname ของเครื่องที่สร้าง
คัดลอกคีย์ไปไว้ตามเครื่องต่างๆ โดยเก็บไว้ที่ไฟล์ authorized_ keys ในไดเรกทอรี /home/pi/.ssh/ ยกตัวอย่างเช่นไฟล์ของเครื่อง raspi01 ต้องมีคีย์ส�ำหรับ pi@raspi02 และ pi@raspi03 อยู่ในไฟล์
คัดลอกคีย์จากเครื่อง raspi01 ไปไว้ที่ raspi02 โดยใช้ค�ำสั่งดังนี้
cat .ssh/id_rsa.pub | ssh pi@raspi02 ‘cat >> .ssh/authorized_keys’ 20
MAKERS
ท�ำแบบเดียวกันบน raspi03 โดยคัดลอกคีย์ด้วยค�ำสั่ง cat และ ทดสอบ SSH จากเครื่อง raspi03 ไปที่ raspi01 และ raspi02
หากติดปัญหาไม่สามารถ SSH ได้ตามต้องการ ให้ลองตรวจสอบ ไฟล์ authorized_keys ใน /home/pi/.ssh/authorized_keys ว่ามีคีย์ครบ ถ้วนดังนี้
เครื่อง raspi01 ต้องมีคีย์ของ raspi02 และ raspi03 อยู่ในไฟล์
แต่การรันให้ท�ำงานแบบขนานใช้ค�ำสั่ง mpiexec เป็นค�ำสั่งให้ Execute เรียกรันโปรแกรมแบบ MPI โดยพารามิเตอร์ -n คือ จ�ำนวนโพร เซสที่ต้องการรัน ในตัวอย่างคือ 5 ครั้งหรือ 5 โพรเซส โดยรันโปรแกรม Python ด้วยการเรียกใช้ค�ำสั่ง python ตามด้วยชื่อโปรแกรมที่ต้องการ รัน ในที่นี่คือ helloworld.py อยู่ในไดเรกทอรี demo ภายในไดเรกทอรี mpi4py-1.3.1 ที่แตกไฟล์ออกมา mpiexec –n 5 demo/helloworld.py
python
mpi4py-1.3.1/
เครื่อง raspi02 ต้องมีคีย์ของ raspi01 และ raspi03 อยู่ในไฟล์
จากตัวอย่างยังเป็นการรันบนเครื่อง raspi01 เพียงเครื่องเดียว ให้
sudo apt-get update และติดตั้งตามขั้นตอนด้านบนกับเครื่อง
เครื่อง raspi03 ต้องมีคีย์ของ raspi01 และ raspi02 อยู่ในไฟล์
ในการทดสอบและเรียนรู้การท�ำงานแบบขนานในบทความนี้จะ ใช้ Message Passing Interface (MPI) ซึ่งเป็น API มาตรฐานส�ำหรับ การท�ำ Parallel Computing และ Distributed Computing สามารถหา ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.mpi-forum.org ปัจจุบันมาตรฐานออกถึงรุ่น 3.1 โดยตัวอย่างเป็นการใช้ MPI for Python (python-mpi4py) ซึ่งเป็น MPI ที่รองรับการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา Python บน Raspberry Pi สามารถติดตั้งผ่าน Repository ได้ ตัว python-mpi4py รันบนซอฟต์แวร์ Open MPI Project (https://www.open-mpi.org) ที่พัฒนาขึ้นตาม คุณลักษณะที่ MPI ก�ำหนด
จากนั้นใช้ค�ำสั่งรันโปรแกรม helloworld.py บนเครื่อง raspi01 ให้ แจกโพรเซสไปรันที่เครื่องอื่นๆ โดยเพิ่มพารามิเตอร์ -host ตามด้วยชื่อ เครื่องที่ต้องการได้แก่ raspi01,raspi02,raspi03 เพื่อก�ำหนดเครื่องที่ ต้องการใช้รันโปรแกรม mpiexec –n 5 –host raspi01,raspi02,raspi03 python mpi4py-1.3.1/demo/helloworld.py
ติดตัง้ python-mpi4py และแพ็คเกจทีเ่ กีย่ วข้องส�ำหรับ Raspberry Pi
sudo apt-get update
sudo apt-get install gfortran pythondev python-mpi4py
ดาวน์ โ หลดตั ว อย่ า งโปรแกรมส� ำ หรั บ ทดสอบการท� ำ งานของ mpi4py ด้วยค�ำสั่ง
wget https://mpi4py.googlecode.com/ files/mpi4py-1.3.1.tar.gz
raspi02 และ raspi03 แล้วดาวน์โหลดและแตกไฟล์โปรแกรมตัวอย่างบน ทั้งสองเครื่องด้วย จากนั้นลองรัน mpiexec บนเพื่อทดสอบการท�ำงาน
แตกไฟล์ด้วยค�ำสั่ง
tar xvzf mpi4py-1.3.1.tar.gz
จากนั้นทดลองรันโปรแกรม helloworld.py หากเป็นการรัน โปรแกรม Python ปกติ เราใช้ค�ำสั่ง python ตามด้วยชื่อโปรแกรม
python mpi4py-1.3.1/demo/helloworld.py
จะเห็นว่าโปรแกรมถูกแจกไปโพรเซสที่เครื่องต่างๆ แล้วตอบกลับ มาแสดงผล โดย MPI จะแจกโปรแกรมไปรันบนเครื่องต่างๆ ตามล�ำดับ หากมีจ�ำนวนโพรเซสมากกว่าจ�ำนวนเครื่องที่มีจะวนกลับไปแจกเครื่อง แรกใหม่ โพรเซส 0 รันที่เครื่อง raspi01 โพรเซส 1 รันที่เครื่อง raspi02 โพรเซส 2 รันที่เครื่อง raspi03 โพรเซส 3 รันที่เครื่อง raspi01 โพรเซส 4 รันที่เครื่อง raspi05 หากมีจ�ำนวนหลายเครื่องในคลัสเตอร์การต้องมาก�ำหนดชื่อเครื่อง ในแต่ละครั้งที่รันโปรแกรมอาจไม่สะดวกในการใช้งาน ยิ่งหากมีเครื่อง จ�ำนวนมากกว่านี้จะยุ่งยากขึ้นไปอีก เราสามารถสร้างไฟล์เพื่อเก็บชื่อ เครื่องที่ต้องการสั่งงานแล้วเรียกใช้จากไฟล์ได้
สร้างไฟล์ชื่อ machinefile แล้วด้วยค�ำสั่ง nano machinefile
MAKERS
21
แล้วใส่ชื่อเครื่องต่างๆ ลงไปดังนี้ แล้วบันทึกและปิดไฟล์
รันโปรแกรม helloworld.py โดยเพิ่มจ�ำนวนเป็น 18 ครั้ง ด้วยค�ำสั่ง
mpiexec –n 18 –machinefile machinefile python mpi4py-1.3.1/demo/helloworld.py
raspi01 raspi02 raspi03
รันโปรแกรม helloworld.py โดยใช้พารามิเตอร์ -machinefile ตาม ด้วยชื่อไฟล์ machinefile
mpiexec –n 5 –machinefile machinefile
python mpi4py-1.3.1/demo/helloworld.py
การกระจายงานประมวลผล บทความนี้ใช้บอร์ด Raspberry Pi ที่แตกต่างกัน 3 บอร์ดที่มี CPU ประมวลผลแตกต่างกัน คือ Raspberry Pi Model B = Single-Core ARM11 700 MHz Raspberry Pi 2 Model B = Quad-Core ARM Cortex-A7 900 MHz Raspberry Pi 3 Model B = Quad-Core ARM Cortex-A54 1.2 GHz หากต้องการให้การกระจายงานประมวลผลสามารถก�ำหนดการจ่าย งานไปยังแต่ละเครือ่ งได้ในไฟล์ machine ไฟล์ ยกตัวอย่างเช่นอาจก�ำหนด ให้มกี ารท�ำงานเหมาะสมกับจ�ำนวนคอร์ของซีพยี ขู องบอร์ดแต่ละรุน่
เปิดไฟล์ machinefile ขึ้นมาแก้ไขด้วยค�ำสั่ง
nano machinefile
เพิ่มพารามิเตอร์ slots ด้านหลังแต่ละเครื่องดังนี้ แล้วบันทึกและปิด ไฟล์
raspi01 slots=1
raspi02 slots=4
raspi03 slots=4
Raspberry Pi 3
เฉพาะบอร์ด Raspberry Pi3 #9100022 @ 1,872 บาท 22
จากผลการรันจะเห็นว่า
โพรเซสที่ 0 และ 9 รันบน Raspberry Pi Model B
โพรเซสที่ 1 2 3 4 10 11 12 13 รันบน Raspberry Pi 2 Model B
โพรเซสที่ 5 6 7 8 14 15 16 17 รันบน Raspberry Pi 3 Model B
หวังว่าบทความนี้จะเป็นการเริ่มต้นหรือพอจะจุดประกายในการน�ำ Raspberry Pi มาใช้งานท�ำคลัสเตอร์เพื่อเป็นการเริ่มต้นเรียนรู้การท�ำงาน แบบ Parallel Computing และ Distributed Computing บนเครื่อง คอมพิวเตอร์จริงๆ ที่มีต้นทุนไม่สูงมาก มีเพียงแค่ตัวบอร์ด Raspberry Pi พร้อม Adapter และ SD Card เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย LAN ก็สามารถ ทดลองท�ำคลัสเตอร์เล็กๆ ขึ้นมาเองได้แล้ว ผู้สนใจสามารถน�ำไปต่อย อดในการใช้งานเพิ่มเติมได้ โดยศึกษาตัวอย่างการเขียนหรือพัฒนา โปรแกรมให้รองรับการท�ำงานแบบขนานหรือกระจายงาน เพื่อทดสอบ พฤติกรรมการท�ำงานของระบบหรือแอพพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นก่อนน�ำไปติด ตั้งใช้งานบนคลัสเตอร์จริงๆ ขนาดใหญ่ต่อไป หากท่านสนใจสิ นค้า Raspberry Pi รุ่นต่างๆ รวมทัง้ สิ นค้าที ่ เกี ย่ วข้อง สามารถเข้าชมได้ทีเ่ ว็บไซต์ www.ThaiEasyElec.com
M
คุณสมบัติ • ชิปประมวลผลหลัก : Broadcom BCM2837 ARM • Cortex-A53 แบบ 4 แกน ความเร็ว 1.2GHz • หน่วยประมวลกราฟิกหรือ GPU : Broadcom • VideoCore IV dual-core GPU หรือเทียบเท่า รองรับการแสดงผลผ่านจอ HDMI • หน่วยความจ�ำ SDRAM : 1GB LPDDR2 • ส่วนสื่อสารข้อมูล : พอร์ตอีเธอร์เน็ต 10/100, WiFi 2.4GHz 802.11n และ Bluetooth 4 (Bluetooth Low Energy - BLE) • จุดต่อ : USB 2.0 จ�ำนวน 4 พอร์ต รองรับการขยาย ผ่าน USB ฮับ ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ USB ได้หลาย แบบอาทิ เมาส์, คีย์บอร์ด, WiFi ดองเกิล, บลูทูธดอง เกิล, ฮาร์ดดิสก์ภายนอก, USB แฟลชไดรฟ เป็นต้น
• แจ๊ก AV ที่รวมเอาต์พุตเสียงและสัญญาณภาพ หรือวิดีโอไว้ด้วยกันเป็นแจ๊กหูฟัง 3.5 มม. • คอนเน็กเตอร์หรือจุดต่อพอร์ตอินพุตเอาต์พุต 40 ขา (General • Purpose Input/Output : GPIO) ที่มีขาต่อบัส SPI (Serial Peripheral Interface Bus), I²C, I²S, ขาสัญญาณรับส่งข้อมูลอนุกรมหรือ UART • ซ็อกเก็ตของ micro SD การ์ดส�ำหรับเสียบ micro SD การ์ดที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการแล้ว • จุดต่อ CSI ส�ำหรับต่อโมดูลกล้อง Raspberry Pi • จุดต่อ DSI ส�ำหรับจอแสดงผล LCD • จุดต่อไฟเลี้ยง +5V ผ่านคอนเน็กเตอร์ microUSB • ต้องการไฟเลี้ยง +5V 2.5A เป็นอย่างน้อย แนะน�ำ ใช้งานกับอะแดปเตอร์ไฟตรง +5V 2.5A ขึ้นไป หรือ เครื่องจ่ายไฟส�ำรอง Power Bank +5V ที่มีความ สามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้ามากกว่า 2A ขึ้นไป
บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จ�ำกัด
MAKERS
108 ซ.สุขุมวิท 102/2 ถ.สุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 | โทรศัพท์ : 0-2747-7001 - 4 | Url : www.inex.co.th
INNOVATIVE EXPERIMENT
Android
Maker Knowledge อวิรุทธ์ วิชาเร็ว
การโปรแกรมเฟิร์มแวร์ IOIO-Q บอร์ด เชื่อมต่ออุปกรณ์แอนดรอยด์ด้วย
PICkit3 และ MPLABX แนะน�ำขั้นตอนเพื่อการโปรแกรมและ อัปเกรดบอร์ดอินพุตเอาต์พุตส�ำหรับ อุปกรณ์แอนดรอยด์ยอดนิยม
บอร์ด IOIO หรือ IOIO-Q เป็นบอร์ด อิ น พุ ต เอาต์ พุ ต ส� ำ หรั บ เชื่ อ มต่ อ กั บ อุ ป กรณ์ แอนดรอยด์ผ่านพอร์ต USB หรือผ่านทางบลู ทูธที่เป็นบอร์ดแรกๆ ซึ่งออกมาให้นักพัฒนา แอปของอุปกรณ์แอนดอรยด์ได้ใช้งานอุปกรณ์ แอนดอรยด์ ทั้ ง สมาร์ ต โฟนและแท็ บ เล็ ต ใน แนวทางที่แตกต่าง เพราะมันสามารถรับค่า จากสัญญาณไฟฟ้าภายนอกมาประมวลผล และส่ ง สั ญ ญาณไฟฟ้ า ไปควบคุ ม อุ ป กรณ์ ภายนอกอย่ า ง LED หรื อ รี เ ลย์ มอเตอร์ ได้ (โดยใช้วงจรขับภายนอกช่วยเพิ่มเติม) บอร์ด IOIO-Q เป็นบอร์ดที่ทาง INEX (www,inex.co.th) ผลิตและออกจ�ำหน่ายเพือ่ ใ ช้ในการเรียนรูแ้ ละพัฒนาโครงงานเพือ่ เชือ่ มต่อ อุปกรณ์ภายนอกกับอุปกรณ์แอนดรอยด์ โดย ผูพ้ ัฒนาด�ำเนินการพัฒนาเฉพาะแอปพลิเคชั่น ทางฝั่งแอนดรอยด์เท่านั้น ไม่ต้องเขียนโค้ด มายังบอร์ด IOIO-Q ท�ำให้งานลดลงไปได้พอ สมควร โดยการพัฒนาแอปพลิเคชั่นจะมี API ช่วย ข้อมูลโดยสรุปของ IOIO-Q แสดงใน กรอบแยกที่ 1
ท�ำไมต้องโปรแกรมเฟิร์มแวร์
โครงการ IOIO เป็ น แบบซอร์ ส เปิ ด ผู ้ ส นใจ สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ดังนั้นเมื่อสร้างขึ้นมาเอง จึงต้องมีโปรแกรมข้อมูลลงในไมโครคอนโทรลเลอร์ บนบอร์ด IOIO รวมไปถึง หากมีการปรับปรุงเฟิรม์ แวร์ เกิดขึ้นจากผู้พัฒนาต้นฉบับ และผู้ใช้งานต้องการ อัปเกรดตาม ก็ต้องมีการโปรแกรมเฟิร์มแวร์ หรือ หากบอร์ด IOIO หรือ IOIO-Q เสียหาย จนต้องเปลี่ยน ตั ว ไมโครคอนโทรลเลอร์ ก็ ต ้ อ งมี ก ารโปรแกรม เฟิร์มแวร์เข้าไปใหม่ (แม้ว่า กรณีนี้อาจใช้บริการผู้ ผลิตบอร์ดอย่าง INEX ได้ก็ตาม) จะว่ า ไปแล้ ว เคยมี ก ารน� ำ เสนอขั้ น ตอนการ โปรแกรมเฟิร์มแวร์ให้แก่บอร์ด IOIO-Q มาแล้ว ด้วย เครื่องโปรแกรม PICkit3 แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ ที่ใช้งานได้ถูกยกเลิกโดย Microchip ผู้ผลิตไมโคร คอนโทรลเลอร์เบอร์ PIC24FJxxxDA ที่ใช้บนบอร์ด IOIO-Q และได้แนะน�ำให้เปลี่ยนมาด�ำเนินการผ่าน ซอฟต์แวร์หลักที่ชื่อ MPLABX แทน บทความนี้จึง เป็นการน�ำเสนอขั้นตอนวิธีการโปรแกรมเฟิร์มแวร์ ของ IOIO-Q ด้วยเครื่องโปรแกรม PICkit3 ผ่านทาง ซอฟต์แวร์ MPLABX
MAKERS
23
Maker Knowledge
ข้อมูลของ IOIO-Q บอร์ดอินพุตเอาต์พุตส�ำหรับเชื่อมต่อ กับอุปกรณ์แอนดรอยด์
•
ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์ PIC24FJ128DA หรือ PIC24FJ256DA
•
ขาอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล 48 ขา
• ขาอินพุตอะนาลอก 16 ขา รับแรงดันได้ 0 ถึง +3.3V ต่อเข้ากับ โมดูลแปลงสัญญาณอะนาลอกเป็นดิจิตอลภายในตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ มีความละเอียดในการแปลงสัญญาณ 10 บิต • ขาเอาต์พุต PWM 9 ขา ที่สร้างสัญญาณ PWM ด้วยความละเอียดของ ข้อมูล 10 บิต
ขาสื่อสารข้อมูลอนุกรม UART จ�ำนวน 4 ชุด • ขาสื่อสารข้อมูลผ่านบัส I2C จ�ำนวน 3 ชุด
•
คอนเน็กเตอร์ USB แบบ A ส�ำหรับต่อกับอุปกรณ์แอนดรอยด์
•
LED แสดงผลการท�ำงาน (STATUS) และสถานะไฟเลี้ยง (POWER)
•
ใช้ไฟเลี้ยงตั้งแต่ +5V ถึง +15V กระแสไฟฟ้า 500mA ส�ำหรับ IOIO
• ใช้ไฟเลี้ยงตั้งแต่
•
+6V ถึง +9V กระแสไฟฟ้า 500mA ส�ำหรับ IOIO-Q
• มีวงจรควบคุมไฟเลี้ยงคงที่ส�ำหรับวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์และ อุปกรณ์ภายนอก ทั้ง +3.3V และ +5V จ่ายกระแสไฟฟ้าได้ 500mA ถึง 1A
•
เครื่องมือที่ต้องการ สิ่งที่ต้องเตรียมหรือต้องมีไว้เพื่อท�ำการโปรแกรมหรือ อัปเกรดเฟิร์มแวร์ของ IOIO--Q คือ
1. เครื่องโปรแกรม PICkit3 พร้อมกับสายต่อพอร์ต USB
2. คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ MPLABX
3. บอร์ด IOIO-Q หากใช้งานร่วมกับบอร์ด IOIO-Activity จะสะดวกมากขึ้น 4. แหล่ ง จ่ า ยไฟ +6V แต่ ไ ม่ เ กิ น +9V กระแสไฟฟ้ า 500mA ขึ้นไป
การติดตั้งซอฟต์แวร์ MPLABX ก่อนท�ำการติดตัง้ โปรแกรม ถ้ายังไม่มไี ฟล์ตดิ ตัง้ ดาวน์โหลด ได้ฟรีที่ http://www.microchip.com/mplab/mplab-x-ide เลือกดาวน์โหลดไฟล์ที่ชื่อว่า MPLAB® X IDE v3.26
(1) ดับเบิลคลิกที่ไอคอน MPLABX
เชื่อมต่อกับอุปกรณ์แอนดรอยด์แบบ Android Debug Bridge (ADB)
• ท�ำงานร่วมกับอุปกรณ์แอนดรอยด์ที่มีระบบปฏิบัติการ Android ตั้งแต่เวอร์ชัน 1.5 ขึ้นไป
ข้อมูลของโครงการ IOIO : https://github.com/ytai/ioio/wiki รูปที่ 1
24
MAKERS
Maker Knowledge
(2) ท�ำการติดตั้งแล้วกด Next > เพื่อตอบรับในทุกขั้นตอนของ การติดตั้งโปรแกรม
(5) เมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้ว จะพบกับหน้าต่างแจ้งการติดตั้ง เสร็จสมบูรณ์ คลิกปุ่ม Finish เพื่อเริ่มใช้งานได้เลย
รูปที่ 2 (3) เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเลือกไดรฟที่จะติดตั้งโปรแกรม แนะน�ำ ให้เก็บในต�ำแหน่งที่โปรแกรมเลือกไว้จะดีที่สุด จากนั้นก็คลิกปุ่ม Next
รูปที่ 5
ขั้นตอนการโปรแกรมเฟิร์มแวร์ (1) เชื่อมต่อบอร์ด IOIO-Q เข้ากับเครื่องโปรแกรม PICkit3
(1.1) น�ำบอร์ด IOIO-Q มาติดตั้งลงบนบอร์ด IOIO Activity
(1.2) จ่ายไฟเลี้ยง +6 ถึง +9V เข้ากับบอร์ด IOIO Activity
(1.3) น�ำ PICkit3 มาเชื่อมต่อเข้ากับบอร์ด IOIO-Q ตามรูปที่ 6
(1.4) จากนั้นก็น�ำสาย miniUSB ต่อกับ PICkit3 และต่อเข้ากับ พอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์
รูปที่ 3 (4) เลือกโปรแกรมที่จะท�ำการติดตั้ง ให้เลือกทั้งสองตัว แล้วคลิก ปุ่ม Next จากนั้นคลิกตอบรับในขั้นตอนถัดๆ ไป แล้วรอจนกระทั่งการ ติดตั้งจบลง
รูปที่ 4 รูปที่ 6 เชื่อมต่อเครื่องโปรแกรม PICkit3 กับบอร์ด IOIO-Q
MAKERS
25
Maker Knowledge
(2) การด�ำเนินการทางซอฟต์แวร์
(2.4) เมื่อเลือกเสร็จแล้ว คลิกปุ่ม Connect ตามรูปที่ 10
(2.1) ดับเบิลคลิกไอคอนของซอฟต์แวร์ MPLAB IPE v3.26
รูปที่ 7 (2.2) ท�ำการเชื่อมต่อซอฟต์แวร์เข้ากับ PICkit3 โดยเลือก Family > All Family
รูปที่ 10 (2.5) ถ้าการเชื่อมต่อถูกต้อง หน้าต่างของโปรแกรมจะแสดงสถานะ ดังรูปที่ 11
รูปที่ 8 (2.3) เลื อ ก Device > PIC26FJ128DA106 หรื อ PIC24FJ25 9DA106 ให้สังเกตที่บอร์ด IOIO-Q
รูปที่ 9 26
MAKERS
รูปที่ 11 (2.6) น�ำไฟล์เฟิร์มแวร์เข้ามายังโปรแกรม โดยเลือกที่ File > Import > Hex
รูปที่ 12
Maker Knowledge
(2.7) เลือกไฟล์ที่ต้องการ
(2.9) จากนั้นคลิกปุ่ม Program เพื่อโปรแกรมเฟิร์มแวร์ให้กับไมโคร คอนโทรลเลอร์บนบอร์ด IOIO-Q
รูปที่ 13 (2.8) เมื่อการน�ำเข้าไฟล์เสร็จสมบูรณ์ โปรแกรมก็จะแสดงข้อความ Hex file loaded successfully
รูปที่ 14
รูปที่ 15
(2.10) เมื่อการโปรแกรมเสร็จสมบูรณ์ จะแสดงสถานะตามรูปที่ 16
รูปที่ 16 เมื่ อ ได้ ตามนี้ เป็ นอั นเสร็ จ สิ้ นการโปรแกรมเฟิ ร์ มแวร์ ข องบอร์ ด IOIO-Q น�ำไปใช้งานได้เลย ขัน้ ตอนอาจมี พอสมควร แต่เชื อ่ ว่าไม่ยากเกิ นไป ขอให้แฟนๆ และ สาวก IOIO สนุกกับการพัฒนาโครงงานด้วยอุปกรณ์ แอนดรอยด์และ บอร์ ด IOIO-Q
M MAKERS
27
Robotic/DIY
Maker Invention อวิรุทธิ วิชาเร็ว
Silicone Sumo Wheel ท�ำล้อยางซิลิโคนส�ำหรับหุ่นยนต์ซูโม่ด้วยตัวเอง
จัดมาเต็มๆ กับเทคนิคการท�ำ ล้อยางส�ำหรับหุ่นยนต์ซูโม่ใน แบบฉบับของตัวเอง
เมกเกอร์สายหุ่นยนต์คงจะคุ้นเคยกับการแข่งขันหุ่นยนต์ซู่ โม่มาพอสมควร หลายๆ คนที่ท�ำหุ่นยนต์ซู่โม่มาแข่งขันคงมีความ ต้องการล้อที่เกาะพื้นมากเป็นพิเศษ เพื่อช่วยให้หุ่นยนต์ดันกับคู่ ต่อสู้ได้ดีขึ้น หาวิธีการปรับปรุงมาก็หลากหลาย ก็ยังเป็นเหมือนเดิม ไม่ไหวจะเคลียร์แล้ว จนมาถึงการใช้วิถีแห่งเมกเกอร์ นั่นคือ ลงมือ ท�ำเสียเอง ด้วยกาวซิลิโคนที่ใช้อุดรอยรั่ว ฟังดูเป็นงง กันแน่ๆ มา ติดตามไปพร้อมกันครับ
เริ่มด้วยขั้นตอนสุดล�้ำ ท�ำแม่พิมพ์ล้อจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (1) ออกแบบแม่พมิ พ์ของล้อหุน่ ยนต์ เพือ่ น�ำไปพิมพ์ดว้ ยเครือ่ งพิมพ์ 3 มิ ติ หรื อ อาจใช้ ท ่ อ พี วี ซี แ ทนก็ ไ ด้ ในที่ นี้ ใ ช้ ซ อฟต์ แ วร์ TinkerCAD ในการออกแบบ ดาวน์โหลดแบบแม่พิมพ์เป็นไฟล์ .stl ได้จาก www. makersmagazine.in.th
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
28
MAKERS
1. กาวซิลิโคน
2. แป้งข้าวโพด
3. แก้วหรือขวดน�้ำแล้วน�ำมาตัดให้เหลือแต่ก้นขวด
4. สกรูเกลียวปล่อย
5. สกรู 3 มม.
6. แม่พิมพ์ล้อ
รูปที่ 1 แบบของแม่พิมพ์ล้อที่สร้างขึ้นจาก TinkerCAD
Maker Invention
(2) บันทึกเป็นไฟล์ .stl น�ำไปแปลงเป็น G-Code เพื่อน�ำไปพิมพ์กับ เครื่องพิมพ์ 3 มิติโดยเข้าไปที่ Design >Dowload for 3D Printer > .stl
(4) ระหว่างรอให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติพิมพ์งาน จัดหากาวซิลิโคนกับ แป้งข้าวโพดเพื่อเตรียมท�ำล้อหุ่นยนต์
2.2
2.1 รูปที่ 2 บันทึกไฟล์แม่พิมพ์เป็นไฟล์ .stl เพื่อน�ำไปสร้างไฟล์ G-code
(3) น�ำไฟล์ .stl แปลงเป็น G-Code ด้วยซอฟต์แวร์ Cura เพื่อน�ำไป พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ในที่นี้ใช้เครื่องพิมพ์รุ่น QBiX-9 (www.inex. co.th)
4.1
4.2
รูปที่ 4 เตรียม 2 วัตถุดิบส�ำคัญที่ใช้หล่อล้อหุ่นยนต์นั่นคือ กาวซิลิโคน (รูปที่ 4.1) และแป้งข้าวโพด (รูปที่ 4.2) (5) เมื่อชิ้นงานถูกพิมพ์เสร็จแล้ว น�ำมาประกอบกันด้วยสกรูเกลียว ปล่อย
3.1
5.1
5.3 รูปที่ 5 ประกอบร่างแม่พิมพ์
5.2
5.4
หล่อล้อยางจากส่วนผสมกาวซิลิโคน
3.2
(6) ผสมกาวซิลิโคนกับแป้งข้าวโพดในอัตราส่วน 3:1 เหตุผลที่ใช้ แป้งข้าวโพดเนื่องจาก มันช่วยให้กาวซิลิโคนไม่ติดกับแม่พิมพ์เมื่อแห้ง ท�ำให้ถอดแบบออกได้ง่าย
3.3
3.4
รูปที่ 3 น�ำไฟล์ .stl แปลงเป็นไฟล์ g-Code เพื่อพิมพ์ชิ้นงานออกมาด้วย เครื่องพิมพ์ 3 มิติ
6.1 6.2 รูปที่ 6 ผสมกาวซิลิโคนกับแป้งข้าวโพด MAKERS
29
Maker Invention
(7) ใช้ไม้หรือก้านลูกโป่งกวนจนกาวซิลิโคนรวมเข้ากับเนื้อแป้งจน เป็นเนื้อเดียวกัน
ถอดแบบแล้วใช้งาน (10) รอให้ส่วนผสมยางซิลิโคนแห้ง ใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 3 ชั่วโมง จากนั้นค่อยๆ แกะออกจากแบบ โดยขันสกรูออกให้หมด
10.1 10.2 รูปที่ 10 ถอดแบบออกจากยางซิลิโคนที่แห้งแล้ว (11) เมื่อแกะแบบออกมาแล้ว น�ำไปใส่กับหุ่นยนต์ได้เลย ส่วนแกน ล้อก็อาจใช้เป็นตัวเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือท�ำขึ้นมาใหม่ก็ได้ รูปที่ 7 กวนกาวซิลิโคนและแป้งให้รวมกันเป็นเนื้อเดียวกัน
(8) เทส่วนผสมลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ให้ล้นออกมานิดหน่อย
รูปที่ 11 ยางซิลิโคนแบบ limited edition ที่ท�ำได้ด้วยตัวคุณเอง เมื่อน�ำมา ประกอบกับหุ่นยนต์ซูโม่
รูปที่ 8 เทส่วนผสมยางลงในแม่พิมพ์ (9) จากนั้นน�ำแผ่นอะครีลิกใสที่เจาะรูเล็กๆ หรือใช้วัสดุอื่นที่มีผิว เรียบมากดทับและปาดส่วนผสมยางซิลิโคนออก เพื่อให้เนื้อยางซิลิโคน เต็มแม่พิมพ์ตามรูปที่ 9
รูปที่ 9 ปาดให้เนื้อยางซิลิโคนเต็มและเรียบเสมอแม่พิมพ์ 30
MAKERS
เสร็ จสมอารมณ์ หมายส�ำหรับการท� ำล้อยางหุ่นยนต์ ใช้เอง จากใช้ วัสดุทีห่ าได้รอบตัว หวังว่าเมือ่ น�ำไปใส่กบั หุน่ ยนต์ซูโม่แล้ว มันจะช่วยให้ เกาะพืน้ มากขึ้น ช่วยให้แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิ ภาพมากขึ้น นอกจากนัน้ ด้วยวิธีการเดียวกันนีย้ งั น�ำไปประยุกต์ใช้สร้างล้อแบบอืน่ ๆ ให้กบั หุน่ ยนต์ ในแบบอืน่ ๆ ได้ดว้ ย
M
บ
1 โท
พบกับสินค้าสำาหรับเมกเกอร์ได้ที่
www.inex.co.th/shop/maker-shop.html บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำ�กัด 108 ซอยสุขุมวิท 101/2 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ : 0-2747-7001-4 / email : sale@inex.co.th / URL : www.inex.co.th
MAKERS
31
เรียนรู สนุกไปกับ คอรสเรียน ระยะสั้น
32
3D PRINTER FOR MAKER
เรียนสีน้ำและวางลาย แพทเทิรน ตามสไตล Did you see any pattern?
สอนตั้งแตการประกอบเครื่อง 3D PRINTER พรอมสอนพื้นฐานการใชงานเครื่อง โดยผูเชี่ยวชาญ
สอนวาดภาพสีน้ำ และนำไปจัดองคประกอบ สรางลายแพทเทิรนของคุณเอง
MAKERS
info@pinncreative.com
Everything in control ALFAT-SD ราคา 1,500.Module Read/Write SD-CARD • ท�ำงาน ด้ วย ALFAT SoC processor ประสิทธิภาพสูง • รองรับ หน่วยความจ�ำ SD-CARD ความจุ สูงสุด 8 GB • รองรับไฟล์ได้ 2 ระบบ คือ FAT16 และ FAT32 • ต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ได้ 4 รูปแบบ คือ I2C, SPI, UART (TTL) และ RS232 • สามารถเลือกโหมดการติดต่อสื่อสารด้วยจั้มเปอร์ ในกรณีใช้งานแบบ UART (TTL), RS232 และ Boot loader (ส�ำหรับ Update Firmware) • ไฟแสดงสถานะการติดต่อสื่อสารด้วย LED
ALFAT-USB ราคา 1,500.Module Read/Write FLASH DRIVE • ท�ำงานด้ ว ย ALFAT SoC processor ประสิทธิภาพสูง • รองรับห น่ วยความจ�ำ FLASH DRIVE USB 2.0 • รองรับ FLASH DRIVE ความจุได้ถงึ 8 GB • รองรับไฟล์ได้ 2 ระบบ คือ FAT16 และ FAT32 • ต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ได้ 4 รูปแบบ คือ I2C, SPI, UART (TTL) และ RS232 • สามารถเลือกโหมดการติดต่อสื่อสารด้วยจั้มเปอร์ ในกรณีใช้งานแบบ UART (TTL), RS232 และ Boot loader (ส�ำหรับ Update Firmware) • ไฟแสดงสถานะการติดต่อสื่อสารด้วย LED
WIFI220 ราคา 1,850.RS232 to Wireless LAN WIFI220 คือ บอร์ดส�ำหรับแปลงข้อมูลจาก RS232 เป็น Wireless LAN หรือ WIFI • เหมาะส�ำหรับงานที่ไม่ต้องการเดินสาย • หรือต้องการส่งข้อมูลจาก RS232 เข้าใน ระบบ TCP/IP (LAN) • การตั้งค่าใช้งานผ่านทาง RS232 ด้วย AT-Command แบบ Command line • มีโปรแกรมส�ำหรับตั้งค่าให้ใช้งานง่าย โดยไม่ต้องใช้ AT-Command เอง (โปรแกรมจะสร้าง AT-Command ให้อัตโนมัติเพียงคุณเลือกโหมดการใช้งาน และ ใส่ค่าต่างๆ ตามต้องการ)
• Wireless Lan มาตรฐาน 802.11 b/g ความถี่ 2.412 - 2.484 GHz • พร้อมเสาอากาศ และ LED แสดงสถานะบน บอร์ด • RS232 ใช้ความเร็วได้ 1200 - 115200 bps • การตั้งค่ากระท�ำผ่าน PC (ต่อกับ RS232) มี โปรแกรมให้ใน CD-Rom (AT Command) สามารถปรับการตั้งค่าผ่านทาง Web-Base ได้ ด้วย • ใช้ไฟเลี้ยง 5 - 9 VDC
• ย่านความถี่สาธารณะ 433 MHz เลือกความถี่ได้ 8 ช่อง • ส่งได้ไกลโดยมีระยะหวังผลถึง 100 เมตร • RS232 ใช้ความเร็วได้ 1200 - 19200 bps • การตั้งค่ากระท�ำผ่าน PC (ต่อกับ RS232) มีโปรแกรมให้ใน CD-Rom • หรือผู้ใช้อาจสร้างโปรแกรมตั้งค่าเองผ่าน AT Command ก็ได้ • ใช้ไฟเลี้ยง 9 VDC หรือ 5 VDC ก็ได้
AP-250 ราคา 4,650.Remote I/O Controller ผ่านระบบ Lan
• ใช้ตัวโมดูล CIEM10 มีขั้ว RJ45 ที่เสียบสายเข้ากับระบบ Lan 10/100 Base-T ได้ทันที • มี 8 Input (4 หน้าคอนแทคผ่านวงจร Opto และ 4 Intput แบบ TTL 3.3V) • มี 8 Output (4 Relay มีขั้ว NO,NC และ 4 Output แบบ TTL 3.3V) • มี 1 Analog Input แบบ 10-Bit A/D สามารถเลือกระดับแรงดันได้ด้วย Jumper 0-3.3V 0-5V 0-12V 0-24V • มี 1 Port RS232 สามารถใช้งานเป็นตัวแปลง Lan to RS232 ได้ด้วย • เหมาะส�ำหรับการควบคุมผ่าน Lan โดยตรงจากคอมพิวเตอร์ และใช้ควบคุม แบบ Web-Base ได้ด้วย • ใช้ไฟเลี้ยง 9 VDC และมีตัว Adapter จ่ายไฟให้พร้อม
PRO-WRITER ราคา 3,250.เครื่องโปรแกรมชิพ Megawin (MCS-51)
X-FE6051 ราคา 350.บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์อเนกประสงค์ ... ขนาดเล็ก ราคาประหยัด
• มีอุปกรณ์บนบอร์ดเป็น LED (และเป็น RS485-Drive ด้วย) , Buzzer และ Key=2 • มีพอร์ทสื่อสาร RS232 ขั้ว 3 Pin หรือ RS485 ขั้ว 2 Pin (Option-ต้องเปลี่ยนชิพเป็น Max3082) • ใช้ไฟเลี้ยง 5 VDC ผ่านขั้ว 2 Pin และใช้ระบบ Reset ภายในตัว MCU
เช่น การตัง้ ให้ใช้ Xtal ภายในของเบอร์ 87FE6051 (ซึง่ การโปรแกรมแบบ ISP ท�ำไม่ได้) • มีบอร์ดเสริม 5 ชิ้น เพื่อการเลือกเบอร์ชิพได้หลากหลาย (บอร์ดเสริมพัฒนาโดยศิลา ท�ำให้สินค้ามีราคาถูกลงมาก) • ใช้กับเบอร์ได้ดังนี้ 89L(E)5x 82L(E)54 82G516 87FL(E)x051 82FL(E)5xx • สามารถเลือกใช้งานแบบ On-Line หรือแบบ Off-Line (ไม่ต้องต่อกับเครื่อง PC) ก็ได้ สะดวกส�ำหรับการโปรแกรมจ�ำนวนมาก • ต่อกับเครื่อง PC ผ่านทาง USB Port พร้อมโปรแกรมบน PC ที่ใช้งานได้ง่ายและ สะดวก • อุปกรณ์ครบชุด พร้อม Adapter จ่ายไฟ และมีสาย 3 Pin ใช้งานแบบพ่วงหลายๆ บอร์ดได้ด้วย
บริษัท ศิลารีเสิร์ช จำ�กัด
www.silaresearch.com
คือบอร์ดขยายการท�ำงานของตัว Infrared Remote Control ทั่วไป เช่น รีโมททีวี รีโมทเครื่องเสียง รีโมทเครื่อง ฉายภาพ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน ... ดังนี้ 1. เพิ่มระยะทางของตัวรีโมทได้ทันที (ยิงสัญญานไปที่ตัวรับบน MKIT-7 และ MKIT-7 จะส่งสัญญาณออกทางตัวส่งทันที) 2. เพิ่มระยะทางของตัวรีโมทผ่านสาย RS485 (ต้องใช้ MKIT-7 จ�ำนวน 2 บอร์ด ตัวหนึ่งเป็นตัวรับ อีกตัวหนึ่งเป็นตัวส่ง) 3. เพิ่มระยะทางของตัวรีโมทแบบไร้สาย (เหมือนข้อ 2 และต้องเพิ่มโมดูล RFN96 ส่งผ่านคลื่นวิทยุ กับทั้ง 2 บอร์ดด้วย) 4. ท�ำเป็นตัวรีโมทส�ำรอง โดยโปรแกรมแต่ละคีย์ให้เหมือนรีโมทต้นฉบับได้ (ต้องเพิ่ม ชิพ EEprom และแผงคีย์ DK-16,32) 5. จากข้อ 4 นอกจากใช้เป็นตัวรีโมทแทนตัวต้นฉบับแล้ว ยังต่อพ่วง MKIT-7 ให้ ควบคุมหลาย ๆ จุดได้ด้วย ผ่านสาย RS485 6. จากข้อ 5 ไม่เพียงแต่ส่งสัญญาณด้วยปุ่มกด อาจสั่งงานกดจากเครื่อง PC ได้ด้วย ผ่านทาง RS485 เช่นกัน • ใช้ไฟเลี้ยงจากหม้อแปลง 9 VAC หรือจากตัว Adapter 9 VDC • มี LED แสดงสัญญาณ IR และไฟเลี้ยง ตั้งโหมดการท�ำงานด้วย Dip-Switch 4 ตัว • ขั้ว 16 Pin (4x8K) ส�ำหรับต่อกับแผงคีย์ DK-16 หรือ DK-32 • ขนาดบอร์ด 71 x 80 mm SLAB-TEST ราคา 250.ชุดทดสอบ I/O ส�ำหรับบอร์ดไมโครของศิลา
• การโปรแกรมสามารถก�ำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของชิพได้อย่างครบถ้วน
• มี Flash Memory 8K ... เป็น 6K (AP) และ 1K (IAP) และ 1K (ISP)
• มี I/O อิสะแบบ 5 Pin (3B Port) จ�ำนวน 2 ชุด และแบบ 3 Pin (I/O Port) จ�ำนวน 3 ชุด
MKIT-7 ราคา 490.บอร์ด IR Remote Extender
• ใช้กับชิพรุ่น Dip เท่านั้น โดยต้องน�ำชิพมา เสียบลงบน Socket แบบมีคันโยก บนเครื่อง โปรแกรม
• MCU เบอร์ MG87FE6051 ของ Megawin (ขาเหมือน Atmel 89S4051)
• มี Ram 256 Byte และโปรแกรมผ่านขั้ว ISP (3 Pin) ด้วยตัวโหลด PRO-MISP
• ชุดค�ำสัง่ แบบ Ascii Command แสดงตัวเลขหรือก�ำหนดระดับ Segment ได้ ปรับความสว่างได้ • หรือจะสัง่ งานผ่าน 3B Port (Dat,Clk,Str) ก็ได้ โดยมีรปู แบบเหมือนชิพ 595 (ต้องเพิม่ Delay) • ตัง้ คุณสมบัตดิ ว้ ย Dip-Switch 8 ตัว (RS485 / 3B , ความสว่าง 0-7 , Digit 0-15) • ใช้ไฟเลีย้ ง 12 VDC/AC กินกระแสสูงสุด 130 mA (ต่อหลัก) KYL200U ราคา 1,250.ตัวแปลงสัญญาณ RS232 เป็นคลื่น RF
• ใช้บอกคาบเวลาในโรงเรียน หรือโรงงาน โดยใช้ ไฟล์เสียงแบบ MP3 ที่บรรจุใน SD-Card • มี Line-Out ต่อเครื่องขยายเสียง และปลั๊กไฟ รองรับการเปิดปิดเครื่องขยาย (220VAC 3A)
• AP=Application Program IAP=In-Application Programming ISP=InSystem Programming
• มีบอร์ดควบคุมในตัวท�ำงานด้วย MCU เบอร์ 82E54AS2 • ปรับความสว่างได้ 8 ระดับ รองรับการใช้งานทัง้ In-Door และ Out-Door • ต่อพ่วงกันทาง RS485 ได้สงู ถึง 15 หลัก สัง่ งานด้วยค�ำสัง่ ชุดเดียว (Speed 19200)
TNSWII3 ราคา 1,150.ตัวแปลงสัญญาณ RS232 เป็น Wireless Lan
TMX-1000 ราคา 4,950.นาฬิกาบอกเวลาด้วยเสียง
• ตั้งหรือกดปุ่มให้บอกเวลาเป็นเสียงพูด เช่น ขณะนี้เวลาเก้านาฬิกายี่สิบสองนาที • แสดงเวลา HH:MM:SS ด้วยตัวเลขสีแดงสูง 1 นิ้ว มองเห็นได้ชัดเจน • แสดงวันเดือนปี DD/MM/YY ด้วยตัวเลขสีแดงสูง 0.56 นิ้ว • แสดงอุณหภูมิ XX.Xc เป็นองศาเซลเซียส ด้วยตัวเลขสีแดงสูง 0.56 นิ้ว • ระบบนาฬิกาเที่ยงตรงสูง ผิดพลาดไม่เกิน 2 นาที/ปี สามารถตั้งเวลามาตรฐาน จาก PC หรือ GPS ได้ • ตั้งโปรแกรมควบคุมเสียงได้ 2 ชุด ชุดละ 50 โปรแกรมแบบรอบสัปดาห์ (เลือกท�ำ ชุดใดชุดหนึ่ง) • มีปุ่มกดบนหน้าปัด 2 ปุ่ม และการตั้งโปรแกรมต่าง ๆ กระท�ำผ่านตัว Remote แบบ 18 Keys • มี LED บนบนหน้าปัด 2 ตัว แสดงสถานะการบอกเวลา และสถานะ Alarm Disable/Enable • มีพอร์ทอนุกรม RS232 หรือ RS485 ต่อสั่งงานผ่านเครื่อง PC หรือต่อเพื่อ Link เวลามาตรฐาน • ใช้ไฟบ้าน 220 VAC ขนาดตัวเครื่อง 233 x 165 x 61 mm
TZ-9 ราคา 1,250.แผงตัวเลข 7-Segment LED สีแดงความสูง 9 นิ้ว
1108/27 ถ.สุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร. 02-712-2850 โทรสาร.02-381-1447 เวลาท�ำการ : จันทร์-ศุกร์ 9.00-17.00 น. เสาร์ 9.00-12.00 น. ตัวแทนจ�ำหน่าย : บจก. อีเลคทรอนิคส์ ซอร์ซ (บ้านหม้อ) โทร. 02-623-9460-6
ประกอบด้วย แผ่น PCB ทั้งหมด 9 ชิ้นพร้อมสาย 2 เส้น • ใช้ทดลองกับขั้ว 1B-I/O Port (3 Pin) , 3B-Port (5 Pin) , 8B-Port (16 Pin) • ใช้เป็น Output LED หรือ Input Switch และต่อกับ VR เพื่อทดลอง A/D Port ได้ด้วย ชุดเดียวครบถ้วน ราคาประหยัด สะดวกในการพัฒนางาน ควรมีไว้ประจ�ำโต๊ะ ทดลอง
ติดตามข้อมูลและสือ่ สารกับเราได้ทางช่องทางใหม่ ... เพียงแค่กด Like
www.facebook.com/silaresearch
DEV-MI0700LT HDMI-01-V1 คุณสมบัติ จอแสดงผลขนาด 7" พร้อมระบบสัมผัส Resistive Touch Screen แสดงผลโดยต่อผ่าน HDMI port ความละเอียด 800X(RGB)X480 , color =262k ควบคุมการท�ำงานของ Touch Screen ผ่าน Mini USB Port สามารถจ่ายไฟเลี้ยงวงจร ผ่าน USB Port หรือจ่ายตรงเข้ากับ ตัวบอร์ด
Application
ต่อกับบอร์ด Raspberry PI หรือต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ผ่าน HDMI Port
บริษัท อีเลคทรอนิคส์ ซอร์ซ จ�ำกัด 7/129 ชั้น 17 ห้อง 21702 เซ็นทรัลทาวเวอร์เอปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 Tel. 02-884-9210, Fax. 02-884-9214, Email: info@es.co.th สาขาบ้านหม้อ 77 ถนนบ้านหม้อ แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพ 10200 Tel. 02-623-9460, Fax. 02-623-9473-74
www.es.co.th