INTRODUCTION TO SOCIOLOGY
แนวคิดเบื้องต้นทางสังคมวิทยา รหัสวิชา 262102 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 (สัปดาห์ที่ 5 – 7.9.58)
• Technology & Innovation .. Media • Globalization • Westernization • Americanization • Similarity • Global Culture of Consumption
วัฒนธรรม นักมานุษยวิทยา ความแตกต่าง อดีต
• การล่าอาณานิคม • การสารวจทางทะเล • ค้าขาย • ชนเผ่าพื้นเมืองมีความ หลากหลายทางวัฒนธรรม • เรียนรู้จักกลุ่มพื้นเมือง
ความเหมือน ปัจจุบัน • วัฒนธรรม-เศรษฐกิจ-การเมือง
ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
• การเผยแพร่เทคโนโลยี นวัตกรรม การสื่อสาร • พลเมืองปราศจากหลากหลาย ทางวัฒนธรรม • รักษา+อนุรักษ์วัฒนธรรมของ กลุ่มพื้นเมืองไว้
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (1) การเปลี่ยนแปลง
(Change) คือ การทาให้สิ่งต่างๆ เปลี่ยนไปจากที่เป็นอยู่เดิม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) หมายถึง การที่ระบบสังคม กระบวนการแบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว ระบบการปกครองได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไป ได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยการวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง และที่เป็น ประโยชน์หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น (ราชบัณฑิตยสถาน, 2524) การเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมเกี่ ย วข้ อ งกั บ การพั ฒ นาชุ ม ชน, แผนพั ฒ นา, ความทั นสมั ย , การพั ฒ นาสัง คม, ผลกระทบต่อสั ง คม, การเปลี่ย นแปลง, ก า ร พั ฒ น า , สั ง ค ม เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง , ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม ข อ ง ชุ ม ช น
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน
1. ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านสังคม 3. ด้านวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
1. สภาพแวดล้อม ธรรมชาติ และประชากร 2. การพัฒนาเศรษฐกิจ 3. ทัศนคติ/ความเชื่อของคนในสังคม 4. การเคลื่อนไหวทางสังคม 5. กระบวนการทางวัฒนธรรม*** 6. การประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งใหม่ๆ
3 ด้าน
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (1) สุพิศวง ธรรมพันธา (2538 : 68 อ้างอิงมาจาก Smelser, 1988 : 382) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม” เป็นการ เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความรู้ ความเชื่อ และลักษณะการแสดงออกของวิถี ชีวิตทั่วไปในสังคม ผลของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทาให้เกิดเทคโนโลยี ใหม่ที่ทาให้เปลี่ยนแปลงวิถีใหม่มาให้ผู้คน เช่น ความก้าวหน้าของวิชาฟิสิกส์ ทาให้เกิดการผลิตระบบสื่อสารทาให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม กว้างขวางทั่วโลก เป็นต้น ณรงค์ เส็งประชา (2541 : 207) ให้ความหมายไว้ว่า “การเปลี่ยนแปลง ทางวัฒนธรรม” เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มนุษย์กาหนดให้มีขึ้นทั้งสิง่ ที่เป็น วัตถุและไม่ใช่วัตถุที่นาเอามาใช้เป็นองค์ประกอบในการดาเนินชีวิตร่วมกันใน สังคม
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (2)
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ – ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 99 – 100) ได้กาหนดความหมายไว้ว่า “การเปลี่ยนแปลงทาง วัฒนธรรม” หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมของประชาชาติ หนึ่ ง ๆ ทั้ ง วั ฒ นธรรมทางวั ต ถุ แ ละวั ฒ นธรรมที่ ไ ม่ ใ ช่ วั ต ถุ แต่ อั ต ราการ เปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมสองประเภทนี้เป็นไปไม่เท่ากัน โดยทั่วไปวัฒนธรรม ที่ไม่ใช่วัตถุเปลี่ยนแปลงช้ากว่า
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมควบคู่ไปด้วย เช่น การประดิษฐ์ซึ่งเป็นผลทางวัฒนธรรมหลายอย่างด้วยกัน เช่น โทรศัพท์ รถยนต์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ได้สร้างพื้นฐานการดาเนินงานของคนในสังคม อันเป็นอิทธิพลของ วัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในทานองเดียวกัน อิทธิพลของสังคมที่มีต่อ การเปลี่ ย นแปลงทางวั ฒ นธรรม เช่ น การที่ สั ง คมอุ ต สาหกรรมสมั ย ใหม่ ถื อ ว่ า เศรษฐกิ จ ส าคั ญ กว่ า เรื่ อ งอื่ น ๆ ท าให้ ร ะบบค่ า นิ ย มในวั ฒ นธรรมเปลี่ ย นแปลงไป
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม 1.
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมหนึ่ง หรือในวัฒนธรรมหนึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสม่าเสมอ 2. การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้เป็นไปชั่วครั้งชั่วคราว หรือเป็นการเปลี่ยนแต่เฉพาะเรื่อง นั้นๆ โดยลาพัง แต่การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในลักษณะของลูกโซ่ คือมีผลต่อเนื่องกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ผลของการเปลี่ยนแปลงก็มีแนวโน้มที่จะขยายออกไปในอาณาบริเวณกว้าง หรือแผ่ออกไปทั่วโลก 3. การเปลี่ยนแปลงอาจเกิดได้ทุกสถานที่ และมีความสาคัญต่อสังคมและวัฒนธรรม นั้นๆ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและผลของมันย่อมมีความสัมพันธ์กัน คือ ก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ ติดตามมาอีก 4. การเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบกระเทือนถึงประสบการณ์ของปัจเจกบุคคล และการ หน้าที่ทางสังคมอย่างกว้างขวาง คนทุกคนย่อมมีประสบการณ์เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (1) การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
จะขึ้นอยู่กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทาง ความคิดของมนุษย์ ซึ่งมีกระบวนการอีกหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของความคิดของมนุษย์ คือ (ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ, 2526 : 19) 1. การขอยืมวัฒนธรรมของสังคมอื่น (Cultural Borrowing) เป็นการยืมหรือรับเอาแนวความคิด ค่านิยม เทคโนโลยี และวัตถุต่างๆ ของ สังคมอื่น เข้ามาใช้โดยพิจารณาว่าวัฒนธรรมเหล่านั้น มีความเหมาะสมกับ สังคมของเราหรือไม่ เช่น การที่สังคมไทยรับเอาเทคนิคการผลิตสินค้าโดย เครื่องจักร เข้ามาทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการผลิตสินค้าในประเทศ ไทยอย่างมาก
กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (2) 2. การประดิษฐ์ (Invention) เป็นการนาเอาความรู้ทางเทคโนโลยี หรือ ความรู้ทางวิชาการที่มีอยู่แล้วมาผสมผสานกับความรูใ้ หม่ แล้วนาเอาประดิษฐ์ เป็นของใหม่ขึ้นมา เช่น การนาเอาเครื่องยนต์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาไปใส่ในเรือ ทาให้ เกิดการประดิษฐ์เรือยนต์ขึ้นมา เป็นต้น นอกจากจะมีการประดิษฐ์ทางด้านวัตถุ แล้ว ก็ยังมีการประดิษฐ์ทางด้านสังคม เช่น การจัดตั้งรัฐบาล วัฒนธรรมและ การเมือง เป็นต้น การประดิษฐ์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อย ไป และมีการผสมผสานปรับปรุงที่ต่อเนื่องกัน เพื่อให้เหมาะสมกับความ ต้องการของสังคมมนุษย์มีความต้องการไม่สิ้นสุด
3. นวกรรมหรือสิง่ ประดิษฐ์ใหม่ๆ (Innovation) หมายถึง พฤติกรรม หรือสิ่งของซึ่งเป็นที่สร้างขึ้นหรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ โดยไม่เคยมีมาก่อน มี รูปแบบ หรือปริมาณแตกต่างกันไปจากเดิม
กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (3) การค้น พบ (discovery) หมายถึง การค้น พบข้ อเท็จจริง ที่ไ ม่ เคยรู้จั กมาก่อ น หรือเป็นการค้นพบสิ่งที่มีอยู่แล้ว และสามารถนาเอาสิ่งที่ค้นพบนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ สังคมได้ เช่น การค้นพบแก๊สในอ่าวไทย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจแก่ ประเทศไทยมาก การค้นพบเป็นปัจจัยที่ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาก เพราะผล ของการค้นพบในด้านต่างๆ ได้ถูกนามาใช้ในสังคม จึงทาให้ความเป็นอยู่และความสัมพันธ์ ของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก 5. การกระจายทางวัฒนธรรม (Cultural diffusion) หมายถึง การที่วัฒนธรรมจาก สังคมหนึ่งกระจายไปสู่สังคมอื่น ส่วนใหญ่ของการกระจายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มักจะ มี ส าเหตุม าจากการกระจายของวัฒ นธรรมของสั ง คมหนึ่ง ไปสู่ อีก สั งคมหนึ่ ง หรื อการ กระจายกันภายในสังคมนั้นก็ได้ การกระจายทางวัฒนธรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมีการปะทะสังสรรค์ ระหว่างวัฒนธรรมของแต่ละสังคม ตัวอย่างการกระจายทางวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาสู่ สังคมไทย เช่น การรับเอาเครื่องแต่งกายชุดสากลของผู้ชายไทย หรือการนุ่งกระโปรงของ หญิงไทย 4.
แนวโน้มของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (1) ในสังคมปัจจุบัน มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สาคัญเกิดขึ้นหลายลักษณะ ได้แก่ 1. การทาให้เป็นอุตสาหกรรม (Industrialization) หมายถึง กระบวนการ พัฒนาการเทคโนโลยี โดยการใช้วิทยาศาสตร์การประยุกต์ในการขยายผลิตกรรมขนาด ใหญ่ ด้านกาลังเศรษฐกิจ เพื่อตลาดการค้าอันกว้างใหญ่โดยการใช้แรงงานที่ชานาญ เฉพาะอย่าง 2. การทาให้เป็นเมือง (Urbanization) หมายถึง กระบวนการที่ชุมชนกลายเป็นเมือง หรือการเคลื่อนย้ายของผู้คน หรือการดาเนินกิจการงานเข้าสู่บริเวณเมือง หรือการ ขยายตัวของเมืองออกไปทางพื้นที่ การเพิ่มจานวนประชากร หรือการดาเนินกิจการ ต่างๆ มากขึ้น เช่น การขยายวิถีชีวิตแบบชาวเมือง โดยการผ่านการแพร่ของไฟฟ้า ถนนหนทาง และโทรทัศน์
แนวโน้มของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (2)
3. การทาให้ประชาธิปไตย (Democratization) ประชาธิปไตย หมายถึง ปรัชญา หรือระบบสังคมแบบหนึ่งที่เน้นการที่ประชากรมีส่วนร่วม และควบคุมกิจการของ ชุมชนในฐานะเป็นตัวเอง โดยไม่คานึงถึงยศ สถานภาพ หรือทรัพย์สมบัติ 4. การแพร่ของการจัดองค์การสมัยใหม่ (Bureaucratization) หมายถึง การ แพร่ของระบบบริหารงาน โดยมีเจ้าหน้าที่ตามลาดับขั้น ซึ่งแต่ละคนต้องรับผิดชอบ ต่อผู้บังคับบัญชาของตน โดยปกติมักจะมีอยู่ในองค์การรัฐบาลในสาขาต่างๆ มีใน ธุรกิจ การอุตสาหกรรม การเกษตร สหภาพแรงงาน องค์การศาสนา และธนาคาร แต่การที่มีกฎเฉพาะระเบียบตายตัวใช้ทั่วไป อาจทาให้ล่าช้าไม่เต็มใจรับผิดชอบ
แนวโน้มของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (3) 5.
กระบวนการสร้างคนชายขอบ (Marginalization) หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ทางสังคมที่ยังผลให้เกิดความเหลื่อมล้ามากยิ่งขึ้น โดยขณะที่เกิดความทันสมัยใน ส่วนหนึ่งในสังคม แต่ก็ทาให้คนอีกส่วนหนึ่งอยู่ห่างไกลจากการที่มีส่วนรับผลกระทบ ด้านลบของการเปลี่ยนแปลงไปทุกที ตัวอย่างเช่น การพัฒนาเมืองให้เจริญในด้าน ต่างๆ ขณะเดียวกันก็สร้างแหล่งสลัมสาหรับคนจานวนมากด้วย การพัฒนาชนบท ให้ทันสมัยด้วยไฟฟ้า และถนน แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มคนที่ยากจนข้นแค้น จนต้อง อพยพจากบ้านในชนบทไปรับจ้างในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น 6. กระบวนการโลกาภิวัตน์ (Globalization) หมายถึง การที่สังคมโลกในปัจจุบัน มีระบบการติดต่อสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง จนกระทั่งกล่าวได้ว่าเป็น ยุคของการที่โลกไร้พรมแดน การติดต่อระหว่างสังคมต่างๆ จึงกระทาได้ง่ายและ รวดเร็ว ทาให้การรับวัฒนธรรมระหว่างสังคมต่างๆ เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว จึงทาให้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว
การผสมผสานทางวัฒนธรรม (1) ACCULTURATION การผสมผสานทางวัฒนธรรม
หมายถึง วิธีการที่จะรับเอาวัฒนธรรมของสังคมอื่นมา ประพฤติ ป ฏิ บั ติ เช่ น เมื่ อ เราอยู่ สั ง คมใด เราก็ ต้ อ งเอา วั ฒ นธรรมนั้ น มาปฏิ บั ติ การผสมผสานก็จะเกิดขึ้น เช่น ถ้าจะรับเอาเด็กฝรั่งมาอบรม เลี้ยงดูแบบไทย เด็กก็จะ มีลักษณะเหมือนคนไทย อันเนื่องมาจากผลของการเรียนรู้ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมา ไม่ ว่ า จะโดยแบบรู้ ตั ว หรื อ ไม่ ก็ ต าม นั่ น ย่ อ มแสดงว่ า วั ฒ นธรรมมี อิ ท ธิ พ ลเหนื อ ความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ การผสมผสานทางวัฒนธรรมจะมีมากเมื่อสัง คมหนึ่ง ถูกรุกรานหรือ อี กฝ่ายหนึ่ง ชนะ พวกที่ชนะจะพยายามบังคับพวกที่แพ้ให้ปฏิบัติตามแบบอย่างการดารงชีวิตของตน เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เมื่อยึดครองดินแดนตะวันออกและแอฟริกาใต้ได้ ก็ให้ชาวพื้นเมือง เรีย นภาษาของตน อิ นเดีย พม่า มาเลเซีย จึง พูด ภาษาอัง กฤษได้ ดี อย่า งไรก็ ตาม การถ่ายทอดทางวัฒนธรรมนี้ไม่จาเป็นเสมอไปที่ฝ่ายแพ้จะ รับเอาวัฒนธรรมฝ่ายชนะ ถ้าฝ่ายชนะมีวัฒนธรรมด้อยกว่าอาจจะรับเอาวัฒนธรรม ฝ่ายแพ้ก็ได้
การผสมผสานทางวัฒนธรรม (2) ACCULTURATION การผสมผสานทางวัฒนธรรม
กระบวนการผสมผสานทางวัฒนธรรมไม่ใช่เรื่อง ง่ายดายเสมอไป บางคนอาจจะถ่ายทอดและรับง่ายกว่าบุคคลอื่น หรือบางคน อาจจะต่อต้าน เช่น ชาวจีนในสหรัฐ มิได้ถูกกลืนหายไปในสังคมอเมริกันเหมือน ชาติอื่นๆ การผสมผสานทางวัฒนธรรมมักจะเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกของวัฒนธรรมหนึ่งเกิด ติดต่อเกี่ยวข้องกับสมาชิกของอีกวัฒนธรรมหนึ่งเป็นเวลานาน ยกตัวอย่าง ชาวต่างขาติ ปฏิบัติตามประเพณีไทย เช่น ขับรถทางซ้าย เข้าโบสถ์ถอดรองเท้า ซื้อของต้องใช้เงินไทย เป็นต้น โดยทั่วไปการรับวัฒนธรรมของเราจากการ อบรมสั่งสอน แต่เราจะรับเอาวัฒนธรรมคนอื่น เกิดจากการติดต่อ จากการ เดินทาง จากการอยู่ต่างแดน จากหนังสือหรือข้อเขียน และจากวิธีการอื่นๆ
การผสมผสานทางวัฒนธรรม (3) (ACCULTURATION) การผสมผสานทางวัฒนธรรม
หมายถึง การเชื่อมต่อและก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใน วัฒนธรรมแต่ละฝ่ายขึ้น กลายมาเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่ยอมรับใช้ร่วมกัน การผสมผสาน ทางวัฒนธรรม เป็นรูปแบบหนึ่งของการติดต่อทางวัฒนธรรม เป็นผลมาจากการที่ปัจเจก ชนหรือกลุ่มคน ต่าง ๆ รับเอาวัฒนธรรมอื่น ๆ มาเป็นของตน เช่น กรณีการแต่งงานข้าม วัฒนธรรม กระบวนการบูรณาการของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ปรากฏว่ามีอยู่ 2 รูปแบบ คือ 1. The Melting Pot หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์นั้น ๆ จะสูญเสียอัตลักษณ์ทาง วัฒนธรรมของตนเองไปในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปและจะผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมใหญ่ 2.
Culture Pluralism หมายถึง การยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่ม
ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในสังคม การผสมผสานทางวัฒนธรรมอาจเกิดขึ้นในสภาพการณ์ที่ถูก บังคับระหว่างการดารงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น เช่น ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและ ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างของการเข้าถึงทรัพยากรในการผลิต อานาจ ความรู้ สิทธิ กฎหมาย และผู้หญิง เป็นต้น
การต่อต้านและการยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (1) ปรากฏการณ์ทางสังคมหรือวัฒนธรรมใหม่ๆ
ไม่ใช่ว่าจะได้รับการยอมรับจากสังคม เสมอไป กระบวนการยอมรับสิ่งใหม่ๆ บางครั้งสิ่งนั้นได้รับการยอมรับทั้งหมด ยอมรับ บางส่วน หรือได้รับการปฏิเสธไปเลย สังคมจะยอมรับสิ่งใดเข้ามานั้นก็ต้องผ่านการ เลือกสรรมาก่อนทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตาม อุปสรรคของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีดังนี้ คือ (สุพัตรา สุภาพ, 2522 : 154 – 156) 1. เจตคติและค่านิยมเฉพาะ (Specific Attitudes and Values) ในแต่ละสังคมจะมี ค่านิยมและเจตคติเฉพาะ ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับกิจกรรมต่างๆ ในสังคม ความรู้สึกชอบ หรือไม่ชอบของประชาชนเป็นปัจจัยสาคัญสาหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น ใน สมัยหนึ่งชาวชนชนบทไทยได้รับแจกนมผงสาเร็จรูป มาจากองค์การยูนิเซฟเพื่อนามา เลี้ยงเด็กในชนบท ปรากฏว่าไม่ได้รับการยอมรับจากชาวชนบท เพราะชาวชนบทใน ขณะนี้ยังไม่รู้จักประโยชน์ของนมผงสาเร็จรูป ซึ่งมีรสจืด แต่มีความคุ้นเคยกับนมข้น หวาน และนิยมเอาเลี้ยงเด็กทั้งๆ ที่ประโยชน์น้อยกว่านมผงสาเร็จรูปมาก ทั้งนี้เนื่องจาก เป็นของใหม่ที่ยังไม่เคยชิน จึงไม่ยอมรับเอาไปเลี้ยงดูบุตรหลานของตนแทนนมข้นหวาน
การต่อต้านและการยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (2) การแสดงให้เห็นคุณประโยชน์ของสิ่งใหม่ (Demonstrability or Innovations) การเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆ จะเป็นที่ยอมรับอย่างรวดเร็ว ก็ต่อเมื่อประชาชนเห็น ประโยชน์ของสิ่งนั้นได้ง่าย เช่น การนาเอาแทรคเตอร์เข้ามาใช้แทนแรงงานสัตว์ในการไถ นาของชาวนาไทย ปรากฏว่าได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เพราะแทรคเตอร์ทางาน ได้รวดเร็วมาก และชาวนาได้รับความสะดวกไม่ต้องมีภาระในการเลี้ยงดูสัตว์อีกต่อไป 3. การสอดคล้องกับวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม (Compatibility with Existing Culture) สิ่งใหม่หรือนวัตกรรมจะได้รับการยอมรับได้ง่ายขึ้น ถ้าสิ่งนั้นสอดคล้องกับ วัฒนธรรมเดิมของสังคมนั้น เช่น ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ได้รับการยอมรับอย่าง รวดเร็วจากคนไทย เพราะว่าไปสอดคล้องกับปรัชญาการดาเนินชีวิตของชาวไทย ที่ชอบ ความอิสระและเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แข่งขันกันอย่างเต็มที่ ดังคากล่าวที่ว่า “ใครมือยาว สาวได้สาวเอา” อย่างไรก็ตามสิ่งที่ใหม่ไม่ใช่ว่าจะดีทุกอย่าง เพราะจะมีบางอย่างที่อาจไม่ สอดคล้องเหมาะสมกับวัฒนธรรมเดิม 2.
การต่อต้านและการยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (3) 3.
การสอดคล้องกับวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม 3.1 สิ่งที่เปลี่ยนใหม่ อาจจะขัดแย้งกับแบบของความประพฤติแต่เดิม เช่น ในบางส่วนของ ทวีปเอเชีย และแอฟริกา ศาสนาอิสลาม ได้แพร่หลายเร็วกว่าศาสนาคริสต์ ทั้งนี้ก็เพราะว่า หลักของคริสต์ศาสนา ขัดแย้งกับขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวพื้นเมืองที่อนุญาตให้ผู้ชาย มีภรรยาได้หลายคน แต่ศาสนาอิสลามสอดคล้องกับสิ่งที่ชาวพื้นเมืองยึดถืออยู่ 3.2 สิ่งที่เปลี่ยนใหม่ อาจจะสร้างแบบความประพฤติใหม่ ซึ่งไม่เคยปรากฏในวัฒนธรรมเดิมที่ ยึดถือปฏิบัติอยู่ ปกติสังคมจะยอมรับและใช้สิ่งใหม่ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่คล้ายคลึงกับของเดิม แต่ ถ้าของเดิมใช้ไม่ได้ผลสังคมก็จะพยายามหาสิ่งใหม่ที่ดีกว่ามาใช้แทน เช่น การสร้างบ้านด้วย คอนกรีตแทนไม้ ซึ่งเป็นของที่หายากราคาแพง คุณภาพก็สู้คอนกรีตเสริมเหล็กไม่ได้ เป็นต้น 3.3 สิ่งใหม่ที่เป็นของทดแทน ไม่ใช่การเข้าไปผสมผสานจะได้รับการยอมรับน้อย แต่ถ้าสิ่ง ใหม่นั้นเข้าไปผสมผสานกับวัฒนธรรมเดิมได้ง่าย สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว เช่น การแต่งกายตามแฟชั่นจะเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่คนไทย ซึ่งมีค่านิยมยกย่องความ ทันสมัยอยู่แล้ว เป็นต้น
การต่อต้านและการยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (4) 4. ค่าในการเปลี่ยนแปลง (Costs of Change) การเปลี่ยนแปลงมักจะถูกตีค่าออกมาทั้ง ที่เป็นเงินตรา หรือค่าทางจิตใจ เพราะการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเป็นการทาลายทั้งทางด้าน วัฒนธรรมเดิม และความรู้สึกของบุคคลด้วย เช่น การที่หญิงไทยยอมไปเป็นเมียเช่าของฝรั่ง นิโกรนั้น จะเป็นการเหมาะสมหรือคุ้มค่ากันหรือไม่ ต่อศักดิ์ศรีของหญิงไทย ถ้าพิจารณาแล้ว ว่าคุ้มค่า การยอมรับก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายแต่ถ้าไม่คุ้มค่าการยอมรับอาชีพเมียเช่าของหญิงไทยก็ คงจะไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่เป็นปัญหาต่อการเปลี่ยนแปลงคือ 4.1 อุปสรรคทางเทคนิคในการเปลี่ยนแปลง มีข้อน่าสังเกตว่ามีสิ่งใหม่ๆ ไม่มากนักที่ สามารถนาไปผสมผสานกับวัฒนธรรมเดิม สิ่งใหม่ส่วนมากทาให้วัฒนธรรมเดิมเปลี่ยนไป การที่จะเอาสิ่งใหม่ไปผสมผสานกับวัฒนธรรมนั้น ต้องอาศัยเทคนิคและวิธีการอีกมาก ทาให้ ไม่สะดวก จึงมักจะไม่ได้รับการยอมรับ 4.2 กลุ่มผลประโยชน์จะขัดขวางการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพราะถ้าสังคมเปลี่ยนแปลงหรือ มีการยอมรับสิ่งใหม่ขึ้นมาใช้ กลุ่มบุคคลที่ได้รับผลประโยชน์อยู่เดิมจะต่อต้าน เพราะเกิด สูญเสียผลประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ในชนบทที่มีหมอแผนโบราณ เมื่อนาเอาวิธีการรักษาโรค แบบสมัยใหม่เข้ามาเผยแพร่ ก็มักจะได้รับการขัดขวางจากกลุ่มของหมอแผนโบราณ
ผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (1) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
มีผลต่อมนุษย์และสังคมหลายประการ ดังนี้ 1. ทาให้มนุษย์เกิดความสะดวกสบายในด้านต่างๆ เช่น การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ และสิ่งต่างๆ ขึ้นเพื่อใช้งานแทนมนุษย์ เป็นต้น 2. ทาให้เกิดการขยายตัวทางด้านการผลิตสินค้าและสิ่งต่างๆ มากขึ้น สินค้าอุปโภคและ บริโภคจึงมีเพียงพอแก่สมาชิกในสังคม 3. ทาให้เกิดการวางแผนพัฒนาสังคม เพื่อความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้นของมนุษย์ 4. ทาให้มนุษย์ในแต่ละสังคมเกิดการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันขึ้น และมีผลทา ให้วิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 5. ทาให้เกิดความล้าหลังทางวัฒนธรรมขึ้นได้ หากอัตราการเปลี่ยนแปลงระหว่าง วัฒนธรรมทางวัตถุกับวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุเกิดขึ้นไม่เท่ากัน เช่น มีถนน มีรถยนต์ที่ ทันสมัย แต่คนในสังคมไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจร เป็นต้น
การล้าหลังทางวัฒนธรรม (CULTURE LAG)
William F. Ogburn ให้ความหมายว่า
“การล้าหลังทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานการณ์ซึ่งส่วนใดส่วนหนึ่งของการล้าหลังทางวัฒนธรรมอยู่หลังอีกอันหนึ่งและ ก่อให้เกิด การขาดดุลและความไม่กลมกลืนขึ้นในสังคม” สังคมที่เป็นระเบียบเรียบร้อยดีนั้น ส่วนประกอบต่าง ๆ ของวัฒนธรรมจะต้องเจริญก้าวหน้า พร้อม ๆ กันไปหมดทุกด้านและส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นอย่างดี เพื่อ ธารงไว้ซึ่งความเป็นระเบียบของสังคม การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมทางวัตถุจะล้าหน้าการ เปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุ จึงเกิด “การล้าหลังทาง วัฒนธรรม” เช่น ความเจริญของระบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นความเจริญก้าวหน้าของ วัฒนธรรมทางวัตถุ มี ส่วนช่วยให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบาย แต่ขณะเดียวกัน วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัด ระเบียบโรงงานอุตสาหกรรมยังล้าหลังอยู่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับ ลูกจ้าง ปัญหาการคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น หรือในสังคมไทยมียวดยานพาหนะอันเป็นความ เจริญทางวัตถุอย่างมากมาย แต่วัฒนธรรมทางจิตใจ คือ มรรยาทการขับรถแย่มาก
ผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
มีผลต่อมนุษย์และสังคมหลายประการ ดังนี้ 6. ทาให้เ กิด ความไม่ เป็น ระเบี ยบทางสังคม เพราะเมื่ อเกิด การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมขึ้นนั้น คนในสังคมบางส่วนสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ แต่บ างส่ว นไม่ ส ามารถปรับ ตัว ได้ จึ งน าไปสู่ก ารต่อ ต้า นการเปลี่ย นแปลง ก่อ ให้ เกิ ด ความขัดแย้งกันขึ้น และนาไปสู่ความไม่เป็นระเบียบทางสังคมขึ้น 7. ทาให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นได้ ถ้าหากว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมนั้น ท าให้ ค นในสั ง คมมี พ ฤติ ก รรมที่ เ บี่ ย งเบนไปจากปกติ เช่ น มลพิ ษ อาชญากรรม ยาเสพติด เป็นต้น 8. ทาให้สังคมที่มี วัฒนธรรมเหนือกว่าได้เปรียบสังคมที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่า หรือเกิด การด้ อ ยพั ฒ นาและการพึ่ ง พาขึ้ น ซึ่ ง ท าให้ สั ง คมในโลกขาดความเสมอภาคและ ความเป็นธรรม
พหุวัฒนธรรมนิยม (1) (MULTICULTURALISM) การดารงอยู่ร่วมกันของวัฒนธรรมที่หลากหลายของกลุ่มคน
ชนชั้น ชาติพันธุ์ เพศ ท้องถิ่น ฯลฯ ในสังคมที่มีความสลับซับซ้อน อันเนื่องมาจากการอพยพผู้คนและแรงงาน การ เคลื่อนย้ายทางสังคม การผสมกลมกลืน การปรับตัว ความขัดแย้ง และปัญหาต่างๆ เช่น การมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิและความเสมอภาค สังคมพหุวัฒนธรรม (Multicultural Society) คือ สังคมที่มีบุคคลหลากหลาย ครอบครัว หลายเชื้อชาติ หลายศาสนา หลายชนชั้น มาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่มีการ แบ่งแยก ชนชั้น และสังคมพหุวัฒนธรรม ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งได้ พหุสังคม พหุวัฒนธรรมในสังคมไทย 1. พหุลักษณ์ (Plurality) ทางความคิด การยอมรับความต่าง การดารงอยู่ของส่วนที่ ต่าง กลับปรากฏในช่วงการปฏิรูปการเมืองในปี 2540 พหุลักษณ์ทางด้านสังคม ความต่างในกลุ่มคนในท้องถิ่นต่าง ๆ อาชีพ ชนชั้น เมืองต่าง ๆ
พหุวัฒนธรรมนิยม (2) (MULTICULTURALISM) การรั บ รองพหุ นิ ย มทางวั ฒ นธรรมก็ คื อ การรั บ รองหลั ก เกณฑ์ ว่ า
ไม่มีต้นแบบแบบ อเมริ กั น (Americanization) เพี ย งแบบเดี ย ว พหุ นิ ย มทางวั ฒ นธรรมเป็ น มากกว่าการปรับตัวชั่วคราว เพื่อที่จะทาให้ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติสงบลง มันเป็นแนวคิดที่มุ่งหมายจะไปสู่ความรู้สึกตระหนักถึงการดารงอยู่ และความเป็นหนึ่ง เดีย วกัน ของสังคมทั้ง หมด อันมี ร ากฐานอยู่ บนความเข้ ม แข็ง ของทุก ๆ ส่วน จาก แนวคิ ด เช่ น นี้ ได้ ท าให้ เ กิ ด การปรั บ นโยบายครั้ ง ใหญ่ จ าก การผนวกรวม (assimilation) เป็นการประสานรวม (integration) ซึ่งถูกนาไปใช้ทั้งในอเมริกา และอังกฤษในลักษณะการยอมรับความแตกต่างภายในเอกภาพเดียวกัน
การบูรณาการทางวัฒนธรรม (CULTURE INTEGRATION) เมื่อผู้หยิบยืมวัฒนธรรมของผู้อื่นกลับเข้าสู่กลุ่มเดิมของตน
วัฒนธรรมเดิมนั้นก็จะคงรูป แบบเดิมได้ดี แต่เมื่อออกมาพบปะกับคนวัฒนธรรมอื่นอีกเขาจะผสมผสานเข้ากับ วัฒนธรรมใหม่ที่มาสัมผัสกันอีก การปลูกฝังวัฒนธรรมของตนมาดีแล้วการรับวัฒนธรรมใหม่ก็เป็นไปได้ค่อนข้างยาก ในทางตรงกันข้ามถ้าบุคคลนั้นได้รบั การปลูกฝังวัฒนธรรมอย่างหละหลวมการรับ วัฒนธรรมใหม่ก็เป็นไปได้โดยง่าย วัฒนธรรมสองกลุ่มที่แตกต่างกันมาปฏิสัมพันธ์กัน มีการปรับตนเองให้เข้ากับ วัฒนธรรมที่มีพลังมากกว่า เพื่อคงเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ หรือผสมกลมกลืนทาง วัฒนธรรม เกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่ยอมรับใช้กัน กระบวนการหล่อหลอมทางวัฒนธรรมจากรัฐ ได้แก่ 1. การกาหนดนโยบายของรัฐ เช่น การศึกษา 2. การดาเนินการภายใต้นโยบาย เช่นการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ 3. การยอมรับภายใต้กฎหมายของรัฐ
อ้างอิง อมรา
พงศาพิชญ์. วัฒนธรรม ศาสนาและชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทย ในแนวมานุษยวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2541. อมรา พงศาพิชญ์. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (วิธีวิทยาและบทบาทใน ประชาสังคม). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2545.