เอกสารประกอบการเรียน สัปดาห์ที่ 6 (14.09.58)

Page 1

INTRODUCTION TO SOCIOLOGY

แนวคิดสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รหัสวิชา 262102 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 (สัปดาห์ที่ 6 – 14.9.58)


อิสระภาพทางความคิดของคนไทย ... ตามแนวคิดมานุษยวิทยา 

การเลือกปฏิบัติ  วาทกรรม ความจริง ความรู้ และอานาจ  คู่ตรงข้าม และความเป็นอื่น  ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ


การเลือกปฏิบัติ (DISCRIMINATION)

 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ได้ให้ความหมายไว้ว่า การปฏิบัติที่แตกต่างกัน การกีดกัน การหน่วงเหนี่ยว หรือการลาเอียงซึง่ มีพื้นฐานมาจากเรื่องเพศ ผิว เชื้อชาติ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติ หรือความยากดีมีจน สถานะของแหล่งกาเนิด หรือสถานะอื่นๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หรือมีผลกระทบหรือทาให้สูญเปล่าหรือทาให้การยอมรับ ต้องเสื่อมเสียไป ซึ่งขัดแย้งกับสิทธิหรือการใช้สิทธิโดยบุคคลทุกคนบน จุดยืนที่เสมอภาคกันซึ่งสิทธิและเสรีภาพทัง้ มวล  ชุลีรัตน์ ทองทิพย์ กล่าวว่า การเลือกปฏิบัติ หมายความว่า การกีดกันหรือ การให้สิทธิพิเศษ อันเนื่องจากความแตกต่าง ๆ เชื้อชาติ เพศ ศาสนา ความเห็นทางการเมือง การแบ่งแยกเชื้อชาติหรือสังคม อันนามาซึ่งความ เสื่อมเสียต่อความเสมอภาคในโอกาส


วาทกรรม คืออะไร (DISCOURSE) 

วาทกรรม “กระบวนการในการสร้างชุดความคิด ที่แสดงถึงระบบและ กระบวนการในการสร้าง/ผลิต (constitute) เอกลักษณ์ (identity) และความหมาย (significance) ให้กับสรรพสิ่งต่างๆ ในสังคม ไม่ว่าจะ เป็นความรู้ ความจริง อานาจ หรือตัวตนของเราเอง” (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2540: 90)  วาทกรรม “จึงเป็นการสร้าง/ผลิตสรรพสิ่ง (ความคิด) ขึ้นมาในสังคมภายใต้ กฎเกณฑ์ที่ชัดเจนชุดหนึ่ง และกฎเกณฑ์นี้ก็จะเป็นตัวกาหนดการดารงอยู่ การเปลี่ยนแปลง หรือการเลือนหายไปของสรรพสิง่ ที่ถูกสร้างขึน้ จึงกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในสังคมมักแปรผันควบคู่ไปกับสรรพสิ่งที่ วาทกรรมสร้างขึ้น ” (Foucault, 1972b: 126 - 131)


ปฏิบัติการของวาทกรรม 1 (DISCURSIVE PRACTICE) 

การวิเคราะห์วาทกรรมจึงเป็นพื้นที่ย่อยที่มีสภาวะของ “ปฏิสัมพันธ์ใน หลากหลายรูปแบบทั้งปะทะ ประสาน แทนที่ ต่อสูแ้ ย่งชิง ผนวกรวม และ ขจัดออกจากพื้นที่เดิม” (ธงชัย วินิจจะกูล, 2534: 30)  ภาคปฏิบัติการของวาทกรรมนอกจากจะแสดงผ่านการพูดของบุคคลในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการพูดด้วยวาจา ตัวหนังสือ สัญลักษณ์ และ/หรืออากัปกิริยา และไม่ว่าจะเป็นการสื่อในระดับใดแล้ว ยังปรากฏตัวผ่านจารีตปฏิบัติ ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และสถาบันในสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องกับ เรื่องนั้นอีกด้วย


ปฏิบัติการของวาทกรรม อานาจและความรู้ 1 

อานาจ ต้องกระทาผ่านวาทกรรมโดยการขุดคุ้ย และแกะรอยเพื่อเปิด ช่องทางและสร้างพื้นที่ให้แก่วาทกรรมชุดอื่นที่มีความแตกต่าง อานาจอื่นๆ ที่ถูกกดทับไว้จากวาทกรรมกระแสหลักของสังคมให้ได้มีโอกาสปรากฏตัว ออกมา  การวิเคราะห์วาทกรรมจึงต้องกระทาไปบนรากฐานความเชื่อมโยงระหว่าง อานาจและความรู้ เพราะวาทกรรมไม่สามารถที่จะดารงอยู่ได้อย่างอิสระ โดยปราศจากการค้าจุนของอานาจ และในทางกลับกันอานาจก็จะไม่สามารถ สถาปนาตัวเองขึ้นมาได้ หากขาดซึ่งวาทกรรมในการสร้างชุดความรู้ เพื่อการให้กลุ่มคนที่อยู่ใต้วาทกรรมปฏิบัติตามความคิด จึงเป็นที่มาของ อานาจ


ปฏิบัติการของวาทกรรม อานาจและความรู้ 2 

วาทกรรมและความรู้เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน อย่างใกล้ชิด ในลักษณะ ของการมีผลกระทบถึงกันและกัน  อานาจเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ โดยความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นมาก็จะเข้าไปทาหน้าที่ รับรองอานาจ เพื่อให้สามารถยึดครองพื้นที่ เบียดไล่ และ/หรือแย่งชิงพืน้ ที่ จากอานาจในชุดอืน่ ที่แตกต่างไปจากตน  ความรู้จึงมิได้ ใสซื่อปลอดจากการถูกครอบงาโดยอานาจ และความรู้ก็มิได้ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการปลดปล่อยมนุษย์สู่ชีวิตแห่งเสรีภาพ แต่ความรู้เป็น พันธนาการที่เข้มงวด วางกฎระเบียบ และครอบงามนุษย์ให้สยบยอม (Sarup, 1993: 67)


ปฏิบัติการของวาทกรรม อานาจและความรู้ 3 

แม้พื้นที่ในสังคมจะเต็มไปด้วยเส้นใยของความสัมพันธ์เชิงอานาจ แต่ก็เป็น ความสัมพันธ์ที่มีลักษณะของการกระจัดกระจายไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งนั่นย่อม หมายถึง ลักษณะของอานาจที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในสังคม อานาจที่มีอยู่ ในความสัมพันธ์จึงขาดการรวบรวม สะสม และจัดเรียงให้เห็นถึงความ ต่อเนื่อง ส่งผลให้อานาจในความสัมพันธ์เหล่านั้นไม่สามารถสถาปนาตนเอง ขึ้นได้อย่างมั่นคง ช่องว่างตรงนี้เองที่ทาให้วาทกรรมหลัก ได้มีโอกาสและ ช่องทาง ในการเข้าไปทาให้เกิดการผลิต สะสม และหมุนเวียนจนเกิดการ รวบรวมและสถาปนาอานาจขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม (Foucault, 1980: 93)


ปฏิบัติการของวาทกรรม อานาจและความรู้ 4 

วาทกรรมได้กลายเป็นเป้าหมายแห่งความปรารถนา เป็นการต่อสู้หรือเป็น ระบบของการครอบงา เป็นสิ่งทีส่ ื่อแสดงถึงอานาจที่จะต้องถูกยึดกุม เพราะ หากสามารถเข้ายึดกุมวาทกรรมและทาให้สมาชิกของสังคมยอมรับในวาท กรรมนั้นได้ ย่อมหมายถึง การเข้ายึดครองอานาจโดยมีวาทกรรรมเป็น เครื่องมือครอบงาความคิดไปสู่การปฏิบัติ  ความรู้ อานาจ และวาทกรรมจึงเป็นฟันเฟืองที่สาคัญในการทาให้อานาจเกิด การหมุนเวียน เปลี่ยนถ่าย และแทรกซึมไปได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องในทุก พื้นที่ของสังคม แม้แต่ในส่วนของวิถีปฏิบัติที่เป็นส่วนตัวของปัจเจกบุคคล ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ร่างกาย หรือแม้แต่เรื่องเพศ (Foucault, 1980: 119 - 120)


ปฏิบัติการของวาทกรรม อานาจและความรู้ 5 

อานาจยังมีแง่มุมที่ก่อให้เกิดความกดขี่ ชื่นชอบ และสยบยอมโดยไม่มี ข้อสงสัย ซึ่งอานาจในแง่นี้เองที่วาทกรรมเข้ามาแสดงตัวและมีบทบาทอย่าง มาก เพราะวาทกรรมจะเข้าไป “สร้างความจริง” (the production of truth) ขึ้นมาในรูปลักษณ์ของชุดความรู้ และด้วยรูปลักษณ์ที่ ‚ดูเหมือน‛ ใสซื่อ เป็นกลาง ทาให้การต่อต้านขัดขืนชุดความคิด/วาทกรรมเกิดขึ้น ในระดับต่า  สภาพความเป็นจริงของสังคม ที่มีทั้งการใช้อานาจในด้านบวกและด้านลบ ร่วมกันเพื่อการควบคุม การจัดการ และการสร้างระเบียบวินัยให้แก่สังคม ฉะนั้นการพิจารณาถึงอานาจจึงไม่อาจละเลยอีกด้านหนึ่งของอานาจที่อยู่ใน รูปลักษณ์ของความรู้ ความจริงได้


ปฏิบัติการของวาทกรรม อานาจและความรู้ 6  ‚ความจริง‛

สามารถปรากฏออกมาได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขนึ้ อยู่กับ เงื่อนไขของการผลิต/เผยแพร่ของผู้ให้และรูปแบบการบริโภคของผู้รับ การผลิตและส่งต่อจะตกอยู่ภายใต้การควบคุม (apparatuses) ของกลไกที่มีความสาคัญทางการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น มหาวิทยาลัย และ กองทัพ  ฉะนั้น “ความจริง” จึงหมุนเวียนผ่านกลไกทางการศึกษา และระบบข้อมูล ข่าวสารที่มีอยู่ในสังคม และเป็นประเด็นปัญหาทางการเมืองที่ก่อให้เกิดการ ถกเถียงและเผชิญหน้ากันทางสังคม (Foucault, 1980: 131 - 132)


วาทกรรม คู่ตรงข้าม และ การกลายเป็นอื่น  กับดักคู่ตรงข้าม

คือความคิดเรื่องการกลายเป็นอื่น เช่น ดี-เลว รวย-จน เมือง-ชนบท พัฒนา-ด้อยพัฒนา ไพร่-อามาตย์ ราชการ-ราษฎร ฯลฯ  มิเชล ฟูโก้ เรียกความคิดคู่ตรงข้ามว่า วาทกรรม  มนุษย์ติดอยู่ในกับดักวาทกรรม ที่มีกระบวนการของการแย่งชิง เพื่อให้มีอานาจ  ใช้สัญญะเพื่อให้รู้ว่าเราพวกเดียวกันและต่างจากพวกอื่น (โดยอาศัยอานาจในรูปแบบของวาทกรรมเป็นตัวเชื่อม)  จึงลืมไปว่า ความเป็นจริงของการเป็นมนุษย์คืออะไร  วาทกรรมบางอย่างลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ลง (รูปธรรมของความไม่เท่าเทียม)


วาทกรรมคู่ตรงข้าม (DICHOTOMIES)

... คู่ตรงข้าม ... ตั้งแต่เมือ่ ไหร่ ???  เมื่อมนุษย์รวมกันเป็นกลุ่มและแบ่งแยกกลุ่มตน ฉัน (ตัวเรา) เธอ (คนอื่น) ร่วมกัน แข่งขัน แย่งชิงปัจจัย4 โดยการต่อสู้เพื่อแย่งชิงสิ่งเหล่านี้ ก่อเกิดเป็น ปัญหา ความมมั่นคง และความสงบสุขของสังคมมนุษย์  มนุษย์จึงสร้างเครื่องมือเพื่อตอบสนองความรู้สึกในสิ่งที่เรียกว่าความสุข จึงก่อเกิดเป็นกรอบ กฏหมายจารีต ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ของกลุ่ม ปฎิบัติสืบทอดสิ่งเหล่านี้จนกลายเป็นวัฒนธรรมกลุ่ม  เมื่อวัฒนธรรมผิดจากกลุ่มตน มักก่อให้เกิด เป็นคนอื่น กลุ่มอื่น คนนอก สิ่งเหล่านี้ศัพท์ทางมานุษยวิทยา เรียก ความเป็นอื่น (Otherness)  มนุษย์ถูกสอนให้คิดเรื่อง


ความเป็นอื่น 1 (OTHERNESS) 

แนวคิดความเป็นอื่น จะกาหนดตัวเรา กาหนดอารยะธรรมของเรา  แนวคิดที่มาจากนักปรัชญาฝรั่งเศส Foucault "ความเป็นอื่น" (the other) หมายถึง คนอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งซึ่งได้ถูกนิยามในฐานะ ที่เป็นคนที่แตกต่าง หรือหมายถึงคนที่มีสถานะต่ากว่าหรือเป็นรองกว่า (sub-human) ที่รวมเข้ากับเอกลักษณ์ของกลุ่มๆ หนึ่ง  ยกตัวอย่างเช่น (นาซี-ยิว) กลุ่มนาซี เขานิยามตัวเองให้แตกต่างกับชาวยิว (พยายามที่จะธารงรักษาความต่าง) ในความหมายนี้ "ความเป็นอื่น" คือการลดคุณค่าลงมา เมื่อมันได้ถูกนาไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มคน" (สมเกียรติ ตั้งนโม, 2544)  (พัฒนา-ด้อยพัฒนา) การ "ด้อยพัฒนา" ก็คือ "ความเป็นอื่น" ที่ถูกกาหนดขึ้นโดยวาทกรรมของการพัฒนา


ความเป็นอื่น 2 (OTHERNESS)

ความเป็นอื่น: คือการสร้างความเป็น ‘ตัวตน’ หรือ ‘องค์รวม’ ของ กลุ่มคนนั้น ให้มีความชัดเจนเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ในขณะเดียวกันก็ปลุกเร้า ให้สมาชิกที่อยู่ในกลุ่มนั้นเกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีความ ต้องการที่จะแสดงตนในฐานะที่เป็นส่วนหนึง่ ขององค์รวมนั้น ในขณะเดียวกัน เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการกระตุ้นความเป็นกลุ่ม โดยการเปรียบเทียบกับการ มี และดารงอยู่ของ ‘ชาติอนื่ ’ หรือ ‘ความเป็นอื่น’ อันสื่อถึงภาพลักษณ์ และ การแสวงประโยชน์ทแี่ ตกต่าง ที่นามาซึ่งความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความ หวาดระแวง ความขัดแย้ง การแก่งแย่งแข่งขัน และความเป็นศัตรู


ความเป็นอื่น 3 (OTHERNESS)

แนวคิดจาก Erick Erikson มองว่า แต่เดิมนั้นมนุษย์เป็นสัตว์ ประเภทเดียวกัน แต่ได้แบ่งแยกตัวเองออกเป็นชาติ เป็นเผ่า วรรณะ ชนชัน้ ศาสนา และอุดมการณ์ที่ต่างกัน จนทาให้เกิดความรู้สึกว่าตนเท่านั้นเป็น มนุษย์ประเภทที่แท้จริง กลุ่มอื่นล้วนเป็นเพียงอะไรบางอย่างที่ต่ากว่ามนุษย์  ติช นัท ฮันห์ เป็นกพระเซนชาวเวียดนามเห็นว่า ความยึดมั่นถือมั่นใน "ตัว เรา" "ตัวเขา" "ของเรา" "ของเขา" นั้น ทาให้มนุษย์ขาดความสามารถที่จะ มองเห็นความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น เกิดความไม่พยายามที่จะเข้าใจผู้อื่น และ ไม่เปิดใจกว้างยอมรับซึ่งกันและกัน จนตกเป็นเหยื่อของลัทธิความเชื่อใด ความเชื่อหนึ่งได้อย่างง่ายดาย 


ความเป็นอื่น 4 (OTHERNESS)

ความเป็นอื่น นั้นถูกนิยามว่าเป็นความแตกต่างจากตน (self/oneness) ใน ด้านหลักๆ 2 ด้าน คือ ความเป็นอื่นเชิงวัตถุวิสัย (objective otherness) และความเป็นอื่นเชิงอัตวิสัย (subjective otherness)  ความเป็นอื่นเชิงวัตถุวิสัย หมายถึงความเป็นอื่นทางภูมิศาสตร์ (geographical others) ซึ่งหมายถึงคนที่มาจากที่อื่นๆ ที่มิใช่พื้นที่ของตน เช่น ภาค ประเทศ โซน และทวีป เป็นต้น  ความเป็นอื่นเชิงอัตวิสัย คือ ความเป็นอื่นในแง่ของกลุ่มหรือองค์กรที่มีพื้นที่ เฉพาะ (spatial organization) ซึ่งมิใช่พื้นที่ทางธรรมชาติเช่นเดียวกับ ความหมายแรก แต่เป็นในแง่ของสังคม วัฒนธรรม ความประพฤติ หรือ แม้กระทั่งความแตกต่างในเรื่องของความคิดเห็นหรือมุมมอง และรวมถึง สาเนียงการพูด (Murdick et al., 2004)


อคติชาติพันธุ์ ... ความเป็นอื่น 1 สถานการณ์: ในประเทศไทยจึงกลายเป็นชาวเขา ไม่ใช่ชาวเราเหมือนคนไทยทั่วไป และโดยมากชาวเขา เหล่านี้ก็ไม่มีสิทธิที่พึงมีตามกฏหมายด้วย เป็นเหตุให้ไม่ได้รับการบริการและการปฏิบัติตลอดจน ทัศนคติ มุมมองที่ดีจากบางหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน  ความพยายามของมนุษย์ที่จะแยกแยะความแตกต่างทางวัฒนธรรมมีมานานแล้ว ในระยะแรกๆนั้น มักจะแยกแยะกันตามลักษณะรูปธรรมของวัฒนะรรมที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น ความแตกต่างของภาษา พูดบ้าง เครื่องแต่งกายบ้าง และวิธีการดารงชีวิตบ้าง แต่หลังจากลัทธิล่าอาณานิคมได้ขยายตัวออกไป ทั่วโลก ชาวยุโรปตะวันตกได้เริ่มใช้ อคติทางชาติพันธุ์ (Ethnocentrism)มาเป็นพื้นฐานใน การแยกแยะความแตกต่างทางวัฒนธรรมมากขึ้น ด้วยการจัดแบ่งประชากรในโลกออกเป็น เชื้อชาติตาม สีผิว (Race) ซึ่งแฝงนัยของลาดับชั้นของความยิ่งใหญ่ไว้ด้วย เพราะมักจะจัดให้ชาวผิวขาวของตนเอง นั้นเป็นเชื้อชาติที่ยิ่งใหญ่ทสี่ ุด ส่วนชาวสีผิวอื่นๆก็จะลดลาดับความสาคัญรองๆลงมา แต่ชาวผิวสีดาจะ ถูกจัดให้อยู่ในลาดับต่าที่สุดในระยะต่อๆมา การจัดลาดับเช่นนี้ก็ถูกทาให้เป็นจริงเป็นจังมากขึ้นเรื่อยๆ จนยึดถือกันเสมือนว่าเป็นจริงตามธรรมชาติ โดยไม่มีการตั้งคาถามใดๆทั้งตัวเหยื่อเองและผู้ได้รับ ประโยชน์จากการจัด ลาดับเช่นนี้ ในที่สุดก็ก่อให้เกิดลัทธินิยมเชื้อชาติตามสีผิวอย่างบ้าคลั่งหรือ ลัทธิ เหยียดสีผิว (Racism) ซึ่งเป็นสาเหตุของโศกนาฏกรรมในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 


อคติชาติพันธุ์ ... ความเป็นอื่น 2  ความพยายามของมนุษย์ที่จะแยกแยะความแตกต่างทางวัฒนธรรมมีมานาน

แล้ว หลังจากลัทธิล่าอาณานิคมได้ขยายตัวออกไปทั่วโลก ชาวยุโรปตะวันตกได้ เริ่มใช้ อคติทางชาติพันธุ์ (Ethnocentrism) มาเป็นพื้นฐานในการแยกแยะ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมมากขึ้น ด้วยการจัดแบ่งประชากรในโลกออกเป็น เชื้อชาติตามสีผิว (Race) ซึ่งแฝงนัยของลาดับชั้นของอานาจความยิ่งใหญ่ของ ความเป็นมหาอานาจไว้ด้วย โดยมักจะจัดให้ชาวผิวขาวของตนเองนั้นเป็นเชื้อ ชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ส่วนชาวสีผิวอื่นๆก็จะลดลาดับความสาคัญรองลงมา แต่ชาว ผิวสีดาจะถูกจัดให้อยู่ในลาดับต่าที่สุด การจัดลาดับเช่นนี้ก็ถูกทาให้เป็นจริงเป็น จังมากขึ้นเรื่อยๆ จนยึดถือกันเสมือนว่าเป็นจริงตามธรรมชาติ โดยไม่มีการตั้ง คาถามใดๆทั้งตัวเหยื่อเองและผู้ได้รับประโยชน์จากการจัดลาดับเช่นนี้


อคติชาติพันธุ์ ... ความเป็นอื่น 3  เมื่อไม่มีการตั้งคาถามใดๆ

ในที่สุดก็ก่อให้เกิดลัทธินิยมเชื้อชาติตามสีผิว อย่างบ้าคลั่งหรือ ลัทธิเหยียดสีผิว (Racism) ซึ่งเป็นสาเหตุของโศกนาฏกรรม ในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์  ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา นักมานุษยวิทยาคนสาคัญของอเมริกาคือ Franz Boas ได้ค้นพบจากการวิจัยจานวนมากว่า สายพันธุ์ทางชีววิทยากับ วัฒนธรรมและภาษาไม่จาเป็นจะสอดคล้องต้องกันเสมอไป และเสนอให้แยก ประเด็นของเชือ้ ชาติตามสีผิวออกจากภาษาและวัฒนธรรม พร้อมๆกับต่อต้าน ลัทธิเหยียดสีผิว


อคติชาติพันธุ์ ... ความเป็นอื่น 4 

นักมานุษวิทยาเสนอให้หันมาการศึกษาเกี่ยวกับ ความเป็นชาติพันธุ์ (Ethnicity) เพราะเป็นกระบวนการแสดงความเป็นตัวตนทางวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชน แทนการจัดลาดับเชื้อชาติตามสีผิว ซึ่งถือเป็น กระบวนการกีดกันทางสังคม  นนักมนุษยวิทยาเสนอให้เรียกกลุ่มชน ที่แสดงความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม ว่า กลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Groups) แทน ชนเผ่า (Tribe) ซึ่งแฝงไว้ด้วย แนวความคิดวิวัฒนาการ ที่จัดให้ชนเผ่าเป็นกลุ่มชนบทในสังคมแบบบุพกาล ดั้งเดิม ในความหมายที่ล้าหลังและแฝงนัยในเชิงดูถกู ดูแคลนไว้ด้วย เพราะเป็น ขั้นตอนแรกของวิวัฒนาการสังคมที่ยังไม่มีรัฐ ก่อนที่จะก้าวไปสู่สังคมรัฐแบบ จารีต และสังคมทันสมัยในที่สุด ซึ่งเต็มไปด้วยอคติต่างๆ โดยไม่สามารถหา หลักฐานมายืนยันในเชิงประวัติศาสตร์ได้เสมอไป


อคติชาติพันธุ์ ... ความเป็นอื่น 5  เช่น

ชาวเขาในประเทศไทยมักจะถูกเรียกว่าเป็นชนเผ่า ทั้งๆที่ในประวัติศาสตร์ ชาวเขาบางกลุ่มไม่ว่าจะเป็นชาวอาข่าก็ดี ชาวลีซอก็ดี หรือชาวลาหู่ก็ดี ล้วนสืบทอดวัฒนธรรมเดียวกันกับกลุ่มชนที่เคยปกครองอาณาจักรน่านเจ้า ในอดีต  ในภาษาไทย คาว่าชนเผ่ามีนัยแตกต่างจากความหมายชนเผ่าของชาวตะวันตก อยู่บ้าง ตรงที่คนทั่วไปจะใช้กับชนเผ่าไทยด้วย ซึ่งน่าจะแสดงว่า ภาษาทั่วไปใช้ คาว่า ชนเผ่า ในความหมายเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในทางวิชาการด้วย ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงนัยในเชิงงดูถูกที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้คาว่าชนเผ่า ใน งานทางวิชาการจึงควรใช้ กลุ่มชาติพันธุ์ เมื่อพูดถึงกลุ่มชนที่แตกต่างกัน ทาง วัฒนธรรม


การเมืองของความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ ... ความเป็นอื่น 1 

ในปัจจุบันการเมืองของความสัมพันธุ์ทางชาติพันธุ์ นับว่าเป็นประเด็นสาคัญ อย่างมาก เพราะกลายเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการของการสร้างความหมาย เพื่อ การแยกแยะกลุ่มชนต่างๆ บนพื้นฐานของความสัมพันธุ์เชิงอานาจ ในกรณีของ สังคมไทย การเมืองในลักษณะเช่นนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงแรกของกระบวนการ สร้างรัฐ ประชาชาติ เมื่อผู้นาทางการเมืองและการปกครองในกรุงเทพฯ ที่เป็น ศูนย์กลางของอานาจ เริ่มสร้างภาพของ ความเป็นคนอื่น (The Otherness) ให้กับกลุ่มชนต่างๆในชาติ ด้วยการมองว่า กลุ่มชนที่อยู่ห่างออกไปจากศูนย์กลาง เป็นคนบ้านนอก และถ้าอยู่ห่างออกไปอีก ก็ถึงกับเรียกว่าเป็นคนป่า ทั้งๆที่พวก เขาต่างก็อยู่ร่วมในรัฐประชาชาติเดียวกัน นัยที่เกิดขึ้นจากการสร้างภาพดังกล่าว ได้กลายเป็น วาทกรรม (Discourse) หรือการนิยามความหมายเชิงอานาจ ที่ ผลักดันให้กลุ่มชนที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางของอานาจ


การเมืองของความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ ... ความเป็นอื่น 2 

การตกอยู่ในสภาวะไร้อานาจ ที่ผลักดันให้กลุ่มชนที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์กลาง ของอานาจ ต้องตกอยู่ในสภาวะไร้อานาจ หรือทีเ่ รียกว่า สภาวะชายขอบของ สังคม (Marginality) ซึ่งเท่ากับเป็นกระบวนการกีดกันให้กลุ่มชนที่อยู่ ห่างไกลเหล่านั้น ต้องสูญเสียสิทธิต่างๆที่พึงมีพึงได้จากการพัฒนาต่างๆในรัฐ ชาติ ในทางสังคมวิทยาจะเรียกกระบวนการเช่นนี้ว่า กระบวนการสร้างสภาวะ ความเป็นชายขอบ (Marginalization) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับกลุ่มชนที่ อยู่ห่างไกลจากอานาจ ทั้งในแง่ของระยะทางและความสัมพันธ์ ดังจะพบว่าใน ปัจจุบัน แม้จะอยู่ในกรุงเทพฯ แต่คนในชุมชนแออัดก็ต้องตกอยู่ในสภาวะเป็นคน ชายขอบ เพราะอยู่ห่างไกลจากความสัมพันธุ์เชิงอานาจ สาหรับกลุ่มชนที่อยู่ ห่างไกลจากอานาจในแง่ระยะทางด้วยแล้ว ก็จะยิ่งไร้อานาจมากขึ้น เช่นในกรณี ของชาวเขาในภาคเหนือ


การเมืองของความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ ... ความเป็นอื่น 3  ชาวเขามักจะถูกกีดกันต่างๆ

นานา ทั้งในแง่ของสิทธิในความเป็นพลเมือง สิทธิ ในการตั้งถิน่ ฐาน และสิทธิในการจัดการทรัพยากร จนขยายตัวเป็นปัญหาของ ความขัดแย้งอย่างรุนแรงในปัจจุบัน เมื่อชาวเขาต้องถูกคุกคามและถูกกดดันให้ ย้ายตั้งถิ่นฐานออกจากป่า เพราะรัฐไม่รับรองสิทธิของชาวเขาในการตั้งถิน่ ฐานอยู่ ในป่า ทั้งๆที่พวกเขาอยู่อาศัยมาก่อน ขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะหา ประโยชน์จากวัฒนธรรมของชาวเขา ดังปรากฏในรูปของ กระบวนการทาให้ชาติ พันธุ์เป็นสินค้า ซึ่งหมายถึงการใช้วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นสินค้า  สาหรับการหารายได้จากการท่องเที่ยวในรูปต่างๆไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย หัตถกรรม และวิถีชีวิต ในกระบวนการดังกล่าวจะมีการสร้างภาพของชาวเขาให้ เป็นเสมือนชุมชนดั้งเดิม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสความแปลกที่แท้จริง จึงเท่ากับยิ่งตอกย้าภาพของชาวเขาที่หยุดนิ่งตายตัวมากขึ้น


การเมืองของความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ ... ความเป็นอื่น 4  เมื่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

บนที่สูงไม่ยอมตั้งรับแต่ฝ่ายเดียวเช่นในยุคก่อน แต่หันมารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆที่พึงมีพึงได้ในฐานะพลเมืองไทย พร้อมๆกับการออกมาแสดง ความมีตัวตนทางชาติพันธุ์ (Ethnic Identity) ด้วยการสร้างอัตลักษณ์ของชาวเขาผ่านทั้งพิธีกรรมและการแสดงออกต่างๆ ที่แสดง ว่าชาวเขานั้นมีความรู้และศักยภาพในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่า ในด้านหนึ่งก็เพื่อตอบโต้อคติต่างๆ ที่มีอยู่ในวาทกรรมของรัฐ ในอีกด้านหนึ่ง ก็เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่ชาวเขาเอง


การเมืองของความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ ... ความเป็นอื่น 5  มานุษยวิทยาเรียกกระบวนการข้างต้นนี้ว่า

การเปิดพื้นที่ทางสังคมและ วัฒนธรรม (Social and Cultural Space) ของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ เปรียบเสมือนพื้นที่ในการแสดงออกของ สิทธิของกลุม่ ชาติพันธุ์ (Ethnic Rights) รวมทั้ง ภูมิปัญญาความรู้ (Indigenous Knowledge)  เพื่อนิยามการดารงอยู่ทางวัฒนธรรมอย่างแตกต่าง และกาหนดความสัมพันธุ์ ทางสังคมของตนเองกับกลุ่มอื่นๆในสังคม แทนที่จะปล่อยให้ผู้อื่นเป็นผู้กาหนด ฝ่ายเดียว ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นสิทธิชุมชนอย่างหนึ่ง ที่รัฐในระบอบประชาติธิปไตย จะต้องยอมรับ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของประชาสังคม


ความเป็นไทย ... ในบริบทของความเป็นอื่น 1  ในความเป็นอื่น

ต้องกล่าวถึง ความเป็นไทย (Thainess) ภายใต้บริบทของ สังคมไทยที่ทาให้ภาพของ “ความเป็นอื่น” นั้นเด่นชัดขึ้น เนื่องจาก“ความ เป็นไทย” ถูกใช้ในการสร้างชาติเพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันซึ่งเป็นการ รับประกันความมั่นคงของชาติ และทาให้ความเป็นชาติไทยถูกสงวนไว้สาหรับ คนไทยเท่านัน้ ซึ่งทาให้ตัดสินคนอื่นทีแ่ ตกต่างจากตนพร้อมจะ เบียดขับพวก เขาเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชาติพันธุ์อื่นหรือคนอื่นที่มีสถานะด้อยกว่า ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (โสฬส, 2551; สายชล, 2551) จนกลายเป็นการ เปิดโอกาสให้เกิดการเลือกปฏิบัติกับคนที่ “เป็นอื่น” (Traitongyoo, 2008)


แรงงานเด็กผิดกฏหมาย... ในบริบทของความเป็นอื่น 

แรงงานเด็กผิดกฏหมายกับความเป็นอื่นในสังคมไทย ด้วยความเป็นอื่นที่ เชื่อมโยงกับการเข้าถึงบริการสาธารณะ การคุ้มครองแรงงาน ยิ่งเป็นภาพ สะท้อนความ (ไม่) สามารถเข้าถึงทรัพยากร และการได้รับผลประโยชน์จาก การพัฒนาต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ที่จัดให้โดย รัฐไทย ทั้งนี้เนื่องจากพวกเขาถูกมองว่าเป็น “คนอื่น” ที่มีสถานะเป็นเพียง แรงงานราคาถูกในกระบวนการผลิตเท่านั้น


คนชายขอบ 1 (MARGINAL MAN)

การที่คนส่วนน้อยที่สูญเสียสิ่งที่มีค่าในชีวิต เพราะถูกผลักดันออกไปจาก เครือข่ายของผลประโยชน์ ที่ระบบศูนย์กลางอานาจ ดูแลคุ้มครองให้กับคน ส่วนใหญ่ซึ่งสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระบบอานาจ อาจด้วยสาเหตุที่คนส่วนน้อย ดังกล่าว ตัดขาดตนเองอยู่นอกขอบเขตทางกายภาพของสังคมใหญ่ คาว่า ‚คนชายขอบของสังคม‛ จึงมีนัยพอที่จะครอบคลุมถึงใครก็ตามที่ถูกกระทา ให้ไร้ตัวตนไร้เกียรติและศักดิ์ศรีในสังคม‛


คนชายขอบ 2 (MARGINAL MAN)

ความเป็นชายขอบนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ทว่าเกิดจาก การถูกกระทาเป็นชายขอบ โดยมีสาเหตุใหญ่ๆ อาทิ การกาเนิดรัฐชาติ การพัฒนา และโลกาภิวัตน์ เริ่มต้นจากการกาเนิดรัฐชาติ ทาคนที่มิใช่พลเมือง ของรัฐชาติหรือ “คนอื่น” กลายเป็นคนชายขอบ เนื่องจากไม่ได้ถูกนับรวม ว่าเป็นพวก (self/one) ส่วนการพัฒนานั้นที่ผ่านมา มิติการพัฒนาได้ มุ่งเน้นไปที่ศูนย์กลาง โดยทาให้พื้นที่ที่ถูกละเลย โดยเฉพาะพื้นที่ที่เรียกว่า “ไกลปืนเที่ยง” กลายเป็นพื้นที่ชายขอบ และคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หล่านนั้น ก็กลายเป็นคนชายขอบ สาหรับโลกาภิวัตน์ กระแสของโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้น และดาเนินอยู่ได้ทาให้ผู้คนที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับกระแสในมิติการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม กลายเป็นคนชายขอบ อีกรูปแบบหนึ่ง (สุริชัย, 2550)


เพศที่สาม ... กับการเป็นชายขอบในสังคมไทย 1  เพศที่สามถูกสังคมวางเอาไว้

ให้กลายเป็นคนชายขอบไม่ได้รับการคุ้มครอง ทางกฎหมาย ถูกจากัดสิทธิเสรีภาพ และกลายเป็นคนบาป ของสังคม  เหตุใดเพศที่สามจึงมีภาพลักษณ์กลายเป็นแบบนี้ ?  เพราะว่าความแตกต่างกันของเกียรติ ศักดิ์ศรี คุณค่าของมนุษย์ที่เกิดใน สถานะภาพต่างๆล้วนแต่เป็นสิ่งที่ได้รับ การอ้างเหตุผลรองรับด้วยความเชื่อ ทางศาสนา


เพศที่สาม ... กับการเป็นชายขอบในสังคมไทย 2 (วาทกรรม: ศาสนา)  ศาสนาคริสต์

ตราหน้าเพศที่สามว่า ‚เป็นบุคคลที่เสื่อมจากสิริของ พระผู้เป็นเจ้า‛  ศาสนาอิสลาม กล่าวถึงเพศที่สามไว้ว่า ‚การเป็นเพศที่ 3 จะมีความผิดเมื่อ การเป็นเช่นนัน้ เกิดจากความพยายามที่จะเป็น (ความผิดทานองเดียวกับ การศัลยกรรมรูปร่างหน้าตา เพราะไม่พอใจต่อสิ่งที่มอี ยู่เดิมตามธรรมชาติ) หรือ แสดงออกในสิง่ ที่ผดิ ศีลธรรมของสังคมอิสลาม‛  ศาสนาพุทธ พูดถึงเหตุของการเกิดเป็นเพศทีส่ ามเอาไว้ว่า ‚คนที่เกิดเป็น เพศที่สามเป็นเพราะชาติที่แล้วทากรรม ผิดศีลข้อกาเม‛


เพศที่สาม ... กับการเป็นชายขอบในสังคมไทย 3 ในการแบ่งแยกเพศที่สามออกจากสังคม มีหลักการอย่างไร ??  สิ่งนี้สามารถอธิบายได้ด้วยแนวคิดเรื่อง “การขยายออกของตัวตน” และ “การข้ามพ้นตนเอง” ตัวตนของเราสามารถขยายออกได้ในอีกแบบหนึ่ง คือในการเกิดขึ้นของความเป็น ‚พวกเรา‛ และ ‚คนอื่น‛ นี่คือสิ่งทีเ่ ราเรียกว่า ‚อัตลักษณ์ร่วม‛ (Collective Identity) เมื่อคนกลุ่มหนึ่งมีอะไรหลายๆอย่าง ร่วมกันจนสามารถตั้งชื่อพิเศษให้กับกลุ่มของตน สร้างความรู้สึกพิเศษให้แก่ กลุ่มของตน ตีวงแยกกลุ่มของตนออกจากคนอื่นที่เหลือทั้งหมด สร้างความรู้สึก ยกย่องในเกียรติและค่าของตนเองที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกว่ากลุ่มของตน อยู่เหนือผู้อนื่ ซึ่งศาสนาก็ใช้แนวคิดนี้เองในการแบ่งแยกเพศที่สาม และทาให้เพศที่สามกลายเป็นแพะรับบาปของสังคม 


ชาย-หญิง เพศสภาพกับการเป็นชายขอบในสังคมไทย  ประเด็นนี้แสดงให้เราเห็นว่าธรรมชาติของอัตลักษณ์ร่วม

คือ การแสวงหา อานาจให้กลุ่มตัวเองอยู่เหนือผู้อื่น แก่นแท้ของอัตลักษณ์ร่วมจึงเป็นเรื่องของ อานาจที่จะครอบครองทรัพยากรอย่างมีตนเองเป็นใหญ่  สังเกตได้ว่าว่าในทุกอารยะธรรมใหญ่ๆของมนุษย์มีการกาหนดให้ผู้หญิงมี สถานะที่ต่ากว่าผู้ชาย นั่นก็เป็นอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นการสร้างอัตลักษณ์ร่วม คือ เมื่อเพศชายรวมตัวกันมากขึ้นก็สร้างความยกย่องในเกียรติและค่าของ ตนเองออกจากเพศหญิง และสร้างความเชื่อเข้าไปในศาสนาว่า เพศหญิงเป็น เพศที่มีกรรม ต้องเกิดมาใช้กรรม แต่แล้วเมื่อเกิดมีเพศที่สามขึ้นในหมู่เพศชาย ที่ยกตัวขึ้นเหนือกว่าผู้หญิง ทาให้มีความรู้สึกเหมือนถูกกบฏ จึงมีการกล่าวอ้าง จากศาสนาเข้ามาว่า เพศที่สามเป็นคนบาป เป็นเรื่องด่างพร้อยของสังคม


รายงานกลุ่ม ตอน แชท แชร์+รูป profile ในfacebook ของคนในกลุ่ม (กลุ่มตัวตนของกลุ่มส่วนใหญ่) สรุปวัฒธรรมชุปแป้งทอด

สรุปเด็กขายพวงมาลัย

ชีวิตชายขอบในเมือง (กลุ่มตัวตนของกลุ่มส่วนน้อย)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.