คู่มือการสร้างที่จอดรถสำ�หรับวัด
2019
2
3
บรรณาธิการ: ปริยาภรณ์ สุขกุล ที่ปรึกษา: อ. ประยงค์ โพธิ์ศรีประเสริฐ, อ. พรหมมินท์ สุนทระศานติก, เสาวลักษณ์ นฤมิตพันธ์เจริญ ผู้เขียน: ศากุน บางกระ คณะจัดทำ�: ศากุน บางกระ, จิติมา จิตรวรนันท์, อรอำ�ไพ สามขุนทด เนื้อหา: ????? ออกแบบกราฟฟิก: อิศฎา กุลถาวรากร
4
วัดปัญญานันทา
าราม จ. กรุงเทพ
5
6
วัดปัญญานันทา
าราม จ. กรุงเทพ
7
8
ในปั จ จุ บั น พุ ท ธศาสนิ ก ชนล้ ว นใช้ ร ถยนต์ เ พื่ อ เดิ น ทางไปวัด วัดจึงจำ�เป็นต้องมี “ที่จอดรถ” เพื่อ รองรับและอำ�นวยความสะดวกให้ การสร้างที่จอด รถภายในวัดอย่างเหมาะสม เข้ากับสภาพแวดล้อม และการใช้งาน จึงเป็นสิ่งสำ�คัญที่แต่ละวัดควรจะ พิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงระบบ การจั ด การดู แ ลจากการทำ � งานของโครงการวั ด บั น ดาลใจที่ ไ ด้ เ ข้ า ไปเห็ น ลั ก ษณะทางกายภาพและ การจัดการของหลายๆ วัด สัมผัสทั้งปัญหา ข้อดี ข้อเสีย ของการทำ�ที่จอดรถแบบต่างๆ ทางโครง การฯ จึงได้รวบรวมแนวคิดการออกแบบ วิธีการ สร้าง พรรณไม้ที่ควรปลูก และกรณีศึกษาของวัดใน โครงการฯ เอาไว้ในคู่มือฉบับนี้ โดยเน้นไปที่การทำ� ที่จอดรถ “สีเขียว” โดยประยุกต์แนวคิดของพุทธ ศาสนาและความรู้ ท างด้ า นสถาปั ต ยกรรมเข้ า ไว้ ด้วยกัน เพื่อให้พระสงฆ์และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทำ�ความ เข้าใจและนำ�ไปปรับใช้กับวัดของตนได้
9 วัดญาณเวศกวัน จ. นครปฐม
10
รมณีย์ ค
วัดปัญญานันทา
คืออะไร?
าราม จ. กรุงเทพ
11
12
รมณีย์ คืออะไร เกี่ยวข้องกับ “ที่จอดรถ” อย่างไร “รมณีย์” เป็นหลักสำ�คัญในการพัฒนาวัด กล่าว อีกอย่างคือ วั ด จะต้ อ งเป็ น พื ้ น ที ่ ท ี ่ เ หมาะในการ พั ฒ นามนุ ษ ย์ ก ารพั ฒ นาวั ด ให้ เ ป็ น รมณี ย สถาน จึงเป็นเรื่องสำ�คัญ วัดควรจะมีบรรยากาศที่เป็น ธรรมชาติ มีต้นไม้ ร่มรื่น โปร่ง โล่ง ลมพัดผ่าน อากาศ เย็นสบาย ทำ�ให้เป็นที่สงบ สงัด สะอาด ปลอดภัย วัดควรจะมีสิ่งก่อสร้างและองค์ประกอบเท่าที่จำ�เป็น ต่อการใช้งาน เพื่อให้เรียบง่ายสอดคล้องกลมกลืน กับสภาพแวดล้อมที่ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด และ ยังดูแลรักษาได้ง่าย ไม่เป็นภาระมากจนเกินไป
“ได้ไปถึงตำ�บลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่า น่าเพลิดเพลินใจ มีแม่น้ำ�ไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำ�สะอาดดี น่ารื่นรมย์ มี โคจรคามอยู่โดยรอบ เราจึงคิดว่า ภูมิประเทศเป็นที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่าน่า เพลิดเพลินใจ มีแม่น้ำ�ไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำ�สะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจร คามอยู่โดยรอบ เหมาะแก่การบำ�เพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ปรารถนาจะบำ�เพ็ญ เพียร เราจึงนั่ง ณ ที่นั้นด้วยคิดว่า ที่นี้เหมาะแก่การบำ�เพ็ญเพียร” (ม.มู. (ไทย) ๑๒/๓๗๓/๔๐๙.) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวไว้ว่า รมณีย์ หมายถึง น่าบันเทิงใจ น่ารื่นรมย์ น่าสนุก รมณียสถาน คือ สถานที่ดีงาม ร่มรื่น ที่ชวน ให้จิตใจสดชื่นร่าเริงเบิกบาน เรียกสั้นๆ ว่า รมณียะ หรือ รมณีย์ ซึ่งเป็นลักษณะ สำ�คัญของสถานที่ที่ดี สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตพัฒนาตน เอื้อ ให้เกิดกายภาวนา หรือ เบญจทวารกาย อันหมายถึงที่ประชุมของทวารทั้ง ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เมื่อตาได้เห็นสิ่งที่น่ารื่นรมย์ก็จะน้อมให้จิตใจสบาย สงบ คิดดี ได้ยินเสียงนก ได้กลิ่นสะอาด ได้รับอากาศสดชื่นย่อมทำ�ให้เกิดภาวนา ๔ พัฒนากาย ศีล จิต ปัญญา ได้ไม่ยาก ลักษณะของรมณีย์มีด้วยกัน ๔ ข้อ ได้แก่ (๑) ฉายูทกสมบัติ หมายถึง จะต้องมีต้นไม้และน้ำ� เป็นหลักพื้นฐานที่สำ�คัญ ที่สุด เป็นธรรมชาติ ความพร้อม ด้วยน้ำ�และร่มเงา มีน้ำ�อุดม มีร่มไม้ให้พักพิง (๒) ภูมิภาคสมบัติ คือ พื้นที่และบริเวณที่สะอาด เรียบร้อย ร่มรื่น เดินง่าย ไม่ขรุขระ ปลอดภัย สบายตา น่าชื่นชม เดินสะดวก จะมีเนินมีหญ้าก็แล้วแต่ (๓) คมนาคมสมบัติ คือ ไม่ใกล้เกินไป ไม่ห่างไกลเกินไป เดินทางสะดวก (๔) บุคคลสมบัติ คือ ปลอดคนร้าย มีคนที่พึ่งพาอาศัยได้ที่จะให้ความรู้ ความเข้าใจ (เช่นพระสงฆ์) สงบ สงัด ไม่แออัด ไม่พลุกพล่าน ควรแก่การแสวง วิเวก สภาพแวดล้อมที่น้อมให้ผู้รับรู้เตรียมจิตให้พร้อมที่จะรับธรรมะ เกิดการ ศึกษาและพัฒนาตนไปสู่การเกิดกุศลธรรม เกิดปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ
13
พระพุ ท ธศาสนาเกี่ ย วข้ อ งกั บ สภาพแวดล้ อ มที่ เ ป็ น ธรรมชาติ ม าโดย ตลอด ในพระไตรปิฎกมีบันทึกเกี่ยวกับสภาพธรรมชาติ ต้นไม้ ป่า ภูเขา แม่น้ำ� ตลอดจนถิ่นที่เป็นรมณีย์ เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับแสดงธรรม พระอรหันตสาวกใช้เป็นที่อยู่ พระสงฆ์ใช้เป็นที่หลีกเร้นบำ�เพ็ญความเพียร ดัง ตัวอย่างของสถานที่ตรัสรู้ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
14
วัดอุโมงค์ (สวนพุทธ
ธธรรม) จ. เชียงใหม่
15
ที่จอดรถ : ปัญหาใหญ่ที่ท “รมณีย์”
ทำ�ให้วัดไม่เป็น
18
อุปสรรคสำ�คัญของการสร้างวัดให้เป็นรมณียสถานในปัจจุบันคือ ที่จอด รถ การใช้พื้นที่โล่งของวัดสำ�หรับจอดรถเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะ วัดที่อยู่ในเมือง บางวัดเป็นที่จอดรถของผู้ที่ตั้งใจมาวัด บางวัดให้เช่าพื้นที่ เป็นที่จอดรถ สามารถสรุปประเด็นปัญหาได้ดังนี้ - ความร้อน ที่จอดรถส่วนใหญ่ทำ�เป็นลานคอนกรีตโล่งกว้าง จึงเป็น พื้นที่รับความร้อนและสะสมความร้อน - มลพิษ รถยนต์นำ�มาซึ่งฝุ่น เสียง ไอเสีย หากที่จอดรถอยู่ใกล้อาคาร มากเกินไปก็จะเป็นมลพิษได้ - ทัศนอุจาด ที่จอดรถไม่น่ามอง ไม่ส่งเสริมบรรยากาศรมณีย์ ในบาง กรณีที่จอดรถยังบดบังอาคารสำ�คัญภายในวัด เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ฯลฯ เป็นการทำ�ลายคุณค่าของอาคารภายในวัด - พื้นที่ไม่เหมาะสม การใช้พื้นที่ไม่สมประโยชน์ ถนนและที่จอดรถที่มี ขนาดใหญ่เกินความจำ�เป็น การนำ�พื้นที่ที่มีคุณภาพ เช่น พื้นที่ริมน้ำ� พื้นที่ หน้าอาคาร มาทำ�เป็นที่จอดรถ แทนที่จะเป็นพื้นที่ร่มรื่นสำ�หรับปฏิบัติธรรม หรือจัดกิจกรรมอื่นๆ - เทคนิคการสร้างผิด การทำ�ถนนและทีจ ่ อดรถโดยไม่มรี ะบบระบาย น้�ำ อาจทำ�ให้เกิดน้ำ�ท่วมขังได้และส่งผลต่อความแข็งแรงของพื้นดินหรือบาง วัดทำ�ที่จอดรถแบบโครงสร้างมีหลังคาช่วยกันแดดกันฝนแต่วัสดุมุงหลังคา บางประเภทรับความร้อนและสะสมความร้อน บางครั้งไม่คงทนแข็งแรง บาง ครั้งมีรูปร่างหน้าตาหรือสีที่ขัดแย้งกับบรรยากาศอันสงบของวัด - การสัญจรไม่เป็นระบบ การสัญจรภายในวัดที่ไม่เป็นระเบียบ ขาดการ วางแผนที่ดี มีถนนและรถยนต์เข้าถึงได้ทุกบริเวณของวัด ก็จะทำ�ลายความ สงบลง
19
ที่จอดรถ : ปัญหาใหญ่ที่ทำ�ให้วัดไม่เป็น “รมณีย์”
20
วัดญาณเวศกว
วัน จ. นครปฐม
21
ที่จอดรถในว วางแผนและ
วัด : ะเตรียมการ
24
ที่จอดรถในวัด : วางแผนและเตรียมการ เมื่อวัดจำ�เป็นต้องทำ�ที่จอดรถจึงต้องคิดให้เหมาะสมกับลักษณะวัดและ ยังต้องคิดเผื่อเรื่องการเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งความเป็นรมณีย์ด้วย จึงควรศึกษา เพื่อทำ�ความเข้าใจพื้นที่ และเพื่อแก้ปัญหาที่อาจมีอยู่เดิม ป้องกันปัญหาที่อาจ จะเกิดในอนาคต ตลอดจนการคำ�นึงถึงการดูแลรักษาและการบริหารจัดการ สถานที่ เพื่อให้คงสภาพดังที่จัดไว้แต่แรก โดยเริ่มต้นจากการสำ�รวจพื้นที่ ขนาด จำ�นวนรถที่จะเข้ามาใช้พื้นที่จอดรถ เพื่อให้ตรงกับความต้องการใช้ งานให้ได้มากที่สุด หรือถ้าวัดมีพื้นที่ที่ใช้จอดรถอยู่แล้ว ก็ต้องคิดถึงเรื่องการ สอดแทรกพื้นที่สีเขียวเพื่อที่จะทำ�ให้เป็นรมณีย์ สิ่งที่ควรพิจารณา ได้แก่ ๑) ตำ�แหน่งที่ตั้ง ทั้งของที่จอดรถและถนนเข้าสู่ที่จอดรถ ควรวางแผน ควบคู่ไปกับการวางผังแม่บทของวัด ที่จอดรถควรอยู่ใกล้กับทางเข้า-ออก เพื่อจำ�กัดรถยนต์และพื้นที่ถนนภายในวัดให้มีเท่าที่จำ�เป็น แบ่งประเภทถนน ตามลักษณะรถยนต์ทั่วไป รถบริการ รถของวัด เป็นต้น มีถนนขนาดเล็กที่ สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ของวัดเพื่อความปลอดภัย เช่น กรณีเกิดอัคคีภัย เหตุ ฉุกเฉินอื่นๆ โดยในเวลาปกติอาจใช้เป็นทางเดินหรือเข้าได้เฉพาะรถของวัด หากเป็นไปได้ ที่จอดรถควรอยู่ในระยะเดิน (walking distance) ของคน เช่น จากที่จอดรถไปยังอาคารหลักส่วนพุทธาวาสอย่างโบสถ์ วิหาร ระยะเดินที่ดี ควรอยู่ในช่วงไม่เกิน ๒๐๐ เมตร แต่ก็ต้องพิจารณาในเรื่องการใช้สอยพื้นที่ และมุมมองควบคู่กันไป อาจทำ�เป็นพื้นที่จอดรับ-ส่ง แล้วให้วนรถไปจอดใน พื้นที่ส่วนอื่นที่เหมาะสมกว่า พร้อมกับการจัดทำ�ทางเดินเชื่อมต่อให้สะดวก และร่มรื่น
๓) มีสง ่ิ อำ�นวยความสะดวกรองรับคนพิการและผูส ้ ง ู อายุ การออกแบบ ให้เป็นอารยะสถาปัตย์ (Universal Design) ที่จอดรถ ทางลาด ฯลฯ
25
๒) ขนาดพื้นที่และจำ�นวนที่จอดรถ การจัดจำ�นวนที่จอดรถควรสัมพันธ์ กับขนาดพื้นที่วัด คำ�นึงถึงบรรยากาศและสร้างรมณีย์เป็นสำ�คัญ วัดควร คำ�นึงถึงการจอดรถในวันปกติมากกว่าวันที่มีเทศกาล เพราะไม่จำ�เป็นจะต้อง มีที่จอดรถให้เพียงพอกับความต้องการที่สูงที่สุด ในช่วงเทศกาลสำ�คัญที่มี ปริมาณการจราจรหนาแน่นอาจต้องใช้การบริหารจัดการเป็นกรณีไป เช่น ขอ ใช้พื้นที่ข้างเคียง จัดรถบริการรับ-ส่ง เป็นต้น ประเภทวัดและพฤติกรรมของ คนที่เข้ามาวัดก็เป็นสิ่งที่ต้องคำ�นึงถึง เช่น วัดในชุมชนเมือง วัดท่องเที่ยว วัด ในชนบท จะมีรูปแบบการเดินทางมายังวัดที่แตกต่างกันไป ใช้พาหนะที่แตก ต่างกัน และมีความต้องการที่จอดรถมากน้อยต่างกัน หากวัดต้องการที่จอด รถขนาดใหญ่ เช่น มีรถบัสเข้ามาบ่อยๆ นั่นหมายความว่า ขนาดถนนต้องมี ระยะวงเลี้ยวรถที่กว้างพอ เพื่อความสะดวกและความปลอดภัย
ที่จอดรถ ออกแบบ
ถในวัด : บอย่างไร
28
ที่จอดรถในวัด : ออกแบบอย่างไร ๑) ระบบการสั ญ จร ที ่ จ อดรถเป็ น ส่ วนหนึ ่ งของระบบการสั ญจรซึ ่ ง เป็นส่วนที่เชื่อมต่อพื้นที่ส่วนต่างๆ ภายในวัดเข้าด้วยกันและเชื่อมต่อไปยัง ภายนอก การออกแบบระบบการสัญจรเป็นทั้งเรื่องความงามและวิศวกรรม จราจร ทางสัญจรที่ดีจะกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็ สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ตลอดจนการคำ�นึงถึงผลกระทบ ของทางสัญจรต่อพื้นที่ข้างเคียง ระบบการสัญจรภายในวัดมักจะประกอบ ด้วย จุดเข้า-ออก ถนน ที่จอดรถ ทางเท้า จุดจอดรถรับ-ส่ง (drop off) จะเห็นได้ว่าระบบการสัญจรในวัดเป็นเรื่องสำ�คัญ มีส่วนประกอบที่ต้อง พิจารณาร่วมกันหลายประเด็น ไม่ใช่ที่จอดรถอย่างเดียว ถ้าเป็นไปได้ควร จัดที่จอดรถให้เป็นสัดส่วน โดยจัดให้ที่จอดรถแยกออกมาจากถนนทางเข้า หลัก (passing by) ไม่ให้ถนนผ่านที่จอดรถ (passing through) เพราะจะมี ปัญหาการจราจรติดขัดของรถที่ถอยเข้าออก ในกรณีที่มีเงื่อนไขพื้นที่แคบ อาจจะอนุโลมให้ถนนตัดผ่านพื้นที่จอดรถ โดยจัดพื้นที่จอดรถอยู่ด้านข้างได้ ๒) ขนาดถนนและที่จอดรถ ควรจัดให้พอดีเพื่อให้ใช้พื้นที่ได้อย่าง ประหยัด ใช้งานได้สะดวกปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด สำ�หรับขนาด และระยะต่างๆ สามารถอ้างอิงได้จากพระราชบัญญัตค ิ วบคุมอาคาร กล่าวคือ - ถนน สำ�หรับรถยนต์วิ่งทางเดียว กว้าง ๓.๕๐ เมตร สำ�หรับรถวิ่งสวน ทาง กว้าง ๖.๐๐ เมตร - ที่จอดรถ ๑ คัน แบบจอดตั้งฉากกับแนวถนน (เป็นแบบที่ก่อสร้างได้ ง่ายที่สุด) ขนาด ๒.๔๐ x ๕.๐๐ เมตร - ที่จอดรถ ๑ คัน แบบจอดขนานกับแนวถนน หรือทำ�มุมกับถนนน้อย กว่า ๓๐ องศา ขนาด ๒.๔๐ x ๖.๐๐ เมตร - ที่จอดรถ ๑ คัน แบบทำ�มุมกับถนนมากกว่า ๓๐ องศา ขนาด ๒.๔๐ x ๕.๕๐ เมตร
29
จอดแบบขนานถนน
ส่วนใหญ่จะเป็นที่จอดชั่วคราว
๑
30
จอดแบบตั้งฉาก
๒
ในการออกแบบจะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และลักษณะการใช้งานเป็นต้นว่า ตำ�แหน่งที่ตั้ง การจัดระบบการสัญจรเข้าออกตรงไหนอย่างไร เป็นที่จอดรถ ลอยๆ หรือสัมพันธ์กับตัวอาคาร จอดจบในตัว หรือต้องวนไปส่งคน ปริมาณ การใช้งานมากน้อยเพียงใด ฯลฯ แล้วจึงจะเลือกออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพนัน ้ ๆ การจอดรถตั้งฉากกับแนวถนนใช้ความกว้างมากกว่าการจอดรถแบบ เอียง แต่ประหยัดกว่า ถ้าพื้นที่เพียงพอให้จัดพื้นที่จอดรถแบบตั้งฉาก แต่ถ้า พื้นที่ไม่เพียงพอก็สามารถจัดที่จอดรถเอียงได้
31
จอดแบบเอียง
๓
32
๓) วัสดุพื้นผิวถนนและที่จอดรถ คำ�นึงถึงความแข็งแรงทนทาน ก่อสร้างง่าย สามารถเลือกใช้วัสดุได้ดังนี้
เหมาะกับการใช้งานหนัก คงทนแข็ง แรงน้อยกว่าคอนกรีต สะสมความร้อน และสะท้อนแสงน้อยกว่าคอนกรีต
๑ ผิวลาดยาง เหมาะกับการใช้งานหนัก คงทนแข็ง แรง แต่จะรับและสะสมความร้อนมากกว่า ผิวลาดยาง
๒ คอนกรีต เหมาะกั บ วั ด ที่ มี ป ริ ม าณการสั ญ จร น้อย แต่ต้องบดอัดดินให้ดีตามมาตรฐาน วิศวกรรม
๓ ผิวดินบดอัดแน่นโรย กรวดหรือหินเกล็ด
33
๔) ระบบระบายน้ำ� เมื่อสร้างที่จอดรถแล้วจะต้องทำ�ระบบระบายน้ำ�ควบคู่ กันไป อาจใช้เป็นรางรูปตัววี รางเปิดแบบมีตะแกรงครอบ รางโรยกรวด แนว ท่อใต้ดิน แนวระบายน้ำ�แบบธรรมชาติ (bio-swale) เป็นต้น ขึ้นอยู่กับสภาพ พื้นที่และปริมาณน้ำ�ในแต่ละแห่ง
ที่จอดรถ “สีเขีย
ยว” ทำ�อย่างไร
36
ที่จอดรถ “สีเขียว” ทำ�อย่างไร การเพิ่ม “สีเขียว” จากต้นไม้ จะช่วยทำ�วัดให้เป็นรมณียสถานได้เป็นอย่าง ดี ทั้งนี้หากจะทำ�โดยที่ยังคงมีถนนและที่จอดรถเพื่อรองรับการใช้งาน วิธีที่ ง่ายและสะดวกก็คือการปลูกไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ร่มเงา เสมือนกับการ กางร่มให้ถนนและที่จอดรถ ทั้งยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผลิต ออกซิเจน พรางแสงแดด ลดอุณหภูมิ สร้างบรรยากาศร่มรื่นให้แก่บริเวณ การปลูกไม้ยืนต้นจะไม่เป็นภาระในการดูแลรักษามากนัก เนื ่ อ งจากต้ น ไม้ จ ะ สามารถเจริญเติบโตได้เองตามธรรมชาติ อายุยืน ไม่ต้องรดน้ำ� ไม่ต้องใส่ปุ๋ย เพียงแต่คอยตัดแต่งกิ่งไม้เพื่อไม่ให้เป็นอันตราย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ไม้คลุมดิน ไม้ล้มลุก ไม้น้ำ� เนื่องจากเป็นพืชพันธุ์ที่ต้องการการดูแล รักษาเป็นประจำ� สม่ำ�เสมอ ทำ�ให้เป็นภาระของวัดในการดูแลรักษา นอกจาก การปลูกต้นไม้แล้ว ยังมีเทคนิควิธีอื่นเพื่อสร้างรมณีย์ให้กับวัด เช่น การซ่อน พรางที่จอดรถไม่ให้เห็นชัดมาก การแยกที่จอดรถแต่ละลานให้มีขนาดเล็กลง ฯลฯ การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวบริเวณพื้นที่จอดรถทำ�ได้ ๓ วิธี คือ (๑) ปลูกต้นไม้แทรกระหว่างที่จอดรถ ระยะห่างในการปลูกจะแตกต่างกัน ไป ขึน ้ กับชนิดของต้นไม้ และช่องจอดรถ เช่น ทีจ ่ อดรถ ๔ คัน แทรกต้นไม้ ๑ ต้น (๒) ปลูกต้นไม้ขนานไปตามแนวถนนหรือที่จอดรถ (๓) ปลูกต้นไม้บริเวณเกาะกลางถนน
37
38
วัดสุทธิวรารา
าม จ. กรุงเทพ
39
เลือกต้นไม้อย่างไ
ไรสำ�หรับที่จอดรถ
42
เลือกต้นไม้อย่างไรสำ�หรับที่จอดรถ ต้นไม้ที่ควรนำ�มาปลูก ควรเป็นไม้ที่ไม่ผลัดใบหรือไม่ทิ้งใบหมดต้น ไม่มี ผลขนาดใหญ่ซึ่งอาจร่วงลงมาเป็นอันตรายกับรถหรือคน ไม่มีผลที่เป็นแหล่ง อาหารของนก กระรอก เนื่องจากจะเกิดมูลสัตว์และสกปรก ไม่มีใบขนาดเล็ก จนเกินไปซึ่งจะปลิวไปไกลง่ายหรืออุดตันท่อระบายน้ำ� ไม่มีกิ่งเปราะหรือยาง เป็นพิษ ไม่มีดอกจำ�นวนมากร่วงลงมา ไม่มีระบบรากแบบพูพอน (รากที่มี ลักษณะคล้ายลำ�ต้นแผ่ขยายออก) หรือรากที่จะดันโครงสร้างเสียหาย และ ควรเป็นไม้พื้นถิ่นที่หาง่าย ราคาไม่แพง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อ มนั้นๆ ทนทานต่อโรคและแมลง ไม้พื้นถิ่นยังเป็นเอกลักษณ์ที่มีเฉพาะถิ่นนั้นๆ ช่วยส่งเสริมคุณค่าให้พื้นที่ การพิจารณาขนาดของไม้ยืนต้นที่จะนำ�มาปลูกนั้น หากอยากได้ร่ม เงาเร็ว สามารถนำ�ไม้ลอ ้ มมาปลูกได้เลย หรือถ้าต้องการปลูกให้ตน ้ ไม้มรี ะยะ เวลาในการเจริญเติบโต จะต้องเลือกไม้ช่วงวัยเจริญเติบโต ขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางลำ�ต้น ๑-๓ นิ้ว สูง ๒-๔ เมตร วิธีนี้จะขนย้ายง่าย เตรียมการปลูก ได้ง่าย มีโอกาสรอดสูง ทนทาน เจริญเติบโตดีกว่าในระยะยาว ไม้ยืนต้นขนาด ใหญ่ ที่ อ ายุ ม ากแล้ ว ขุ ด ล้ อ มย้ า ยมาจะมี โ อกาสสู ง ที่ จ ะหยุ ด ชะงั ก การเจริ ญ เติบโต โค่นล้มได้ง่าย ถึงแม้จะรอดชีวิตแต่อัตราการเจริญเติบโตจะช้าและไม่ สมบูรณ์สวยงาม ส่วนกล้าไม้ที่มีขนาดเล็กเกินไป ก็จะยังไม่แข็งแรง มีโอกาส รอดน้อย ต้องคอยดูแลรักษาและรดน้ำ�สม่ำ�เสมอ อย่างไรก็ตามสามารถเลือก ปลูกผสมกันได้ทั้งไม้ล้อมขนาดใหญ่และไม้ที่กำ�ลังเจริญเติบโต หลุมปลูกต้นไม้ควรมีขนาดไม่น้อยกว่า ๑ x ๑ เมตร หลังจากปลูกแล้ว ไม่ ควรมีอะไรมาปิดบังพื้นผิวรอบโคนต้นเพื่อให้อากาศถ่ายเทลงดินได้ สำ�หรับที่ จอดรถเดิมซึ่งเป็นคอนกรีต ให้เจาะพื้นคอนกรีตสำ�หรับปลูกต้นไม้ รองหลุม ปลูกด้วยปุ๋ย อิฐหัก ดินลูกรัง หรือใส่แกลบ ขึ้นอยู่กับสภาพดิน โดยต้องเตรี ยมดินให้มีธาตุอาหารที่เพียงพอแก่การเจริญเติบโตของต้นไม้
43
44
๑
๒
45
๓
๔
รายชื่อพรรณ
ณไม้ที่แนะนำ�
48
รายชื่อพรรณไม้ที่แนะนำ� (อ้างอิงจาก รายงานขั้นสุดท้าย โครงการศึกษาแนวทางการออกแบบ ปรับปรุงภูมท ิ ศ ั น์ทางหลวง โดยศูนย์บริการวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐) คำ�อธิบายหัวข้อในตารางรายชือ ่ พรรณไม้ทแ่ี นะนำ� - ชื่อภาษาไทย หมายถึง ชื่อภาษาไทยที่ใช้เรียกอย่างเป็นทางการ - ชื่อวิทยาศาสตร์ หมายถึง ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ที่ใช้เรียกเป็นสากล - เขตพรรณพฤกษชาติ หมายถึง เขตพื้นที่ที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ของพรรณพืช เป็นการแบ่งเขตจากการสำ�รวจพรรณพืชในประเทศไทยว่า พรรณพืช แต่ละชนิดมีความเหมาะสมและเจริญเติบโตได้ดีกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ใด ของประเทศ และนำ�มาพิจารณาเป็นแนวทางในการเลือกใช้พรรณพืชให้เหมาะ สมกับพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้มีความแตกต่าง มีเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาค และ เป็นแนวคิดของการใช้ไม้พื้นถิ่น แบ่งเป็น ๗ เขต ได้แก่ ๑) เขตภาคเหนือ N (Northern) ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน ลำ�พูน ลำ�ปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำ�แพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ๒) เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ NE (Northeastern) ได้แก่ เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำ�พู อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ๓) เขตภาคตะวันออก E (Eastern) ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำ�นาจเจริญ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ๔) เขตภาคกลาง C (Central) ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครปฐม ปทุมธานี นครนายก นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ๕) เขตภาคตะวันออกเฉียงใต้ SE (Southeastern) ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด
คุณสมบัติ หมายถึง ความสามารถในการปรับตัว ทนทานต่อสภาพแวดล้อม พิเศษ และลักษณะพิเศษของพรรณพืช “ทนแล้ง” คือ พรรณพืชทีส ่ ามารถทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดเี ป็นพิเศษ “ทนน้ำ�ท่วม” คือ พรรณพืชที่สามารถทนทานต่อน้ำ�ท่วมแช่ขังระยะสั้น “ทนน้ำ�ท่วมขัง” คือ พรรณพืชที่สามารถทนทานต่อน้ำ�ท่วมแช่ขังได้นาน ตลอดจนสามารถเจริญเติบโตในพื้นที่ที่มีน้ำ�ขังได้ “ทนไฟ” คือ ความสามารถทนทานต่อไฟได้มากกว่าพืชชนิดอืน ่ ๆ เมือ ่ เทียบใน ช่วงอายุเดียวกัน “ทนเค็ม” คือ ความสามารถทนความเค็มในดินหรือน้ำ�ได้มากกว่าพืช ชนิดอื่นๆ รวมทั้งสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ “-“ คือ ไม่มค ี ณ ุ สมบัตพ ิ เิ ศษ
49
๖) เขตภาคตะวันตกเฉียงใต้ SW (Southwestern) ได้แก่ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ๗) เขตภาคใต้หรือเขตคาบสมุทร PEN (Peninsular) ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
50
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ (ความสูงประมาณ 30 เมตรขึ้นไป)
รอ list ต้นไม้
51
วัดกรณ
ณีศึกษา
กรณีศึกษา : ลานจอดรถวัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร ความเป็นมา การทำ�พื้นที่สีเขียวภายในวัดเริ่มต้นจากพระสุธีรัตนบัณฑิต (สุทิตย์ อา ภากโร) เจ้าอาวาสวัดสุทธิวรารามต้องการปรับปรุงภูมิทัศน์วัดใหม่ โดยมี แนวคิดพัฒนาวัดใน ๓ ด้าน ได้แก่ สร้างพื้นที่ทางกายภาพที่สัปปายะ พื้นที่ ทางสังคมและการเรียนรู้ พื้นที่ทางจิตใจและปัญญาไปพร้อมๆ กัน จากการ ที่ท่านมีความรู้เรื่อง “นิเวศวิทยาทางพุทธศาสนา” ที่ว่าด้วยหลักการและวิธี การพัฒนาที่เคารพต่อธรรมชาติ ประกอบกับแนวคิด “เมืองนิเวศน์” (Eco Town) ที่ระบุว่า เมืองที่มนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่ควรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ท่าน จึงเห็นว่า พื้นที่สีเขียวเป็นสิ่งสำ�คัญที่จะต้องเพิ่มภายในวัดเพราะสามารถช่วย ในเรื่องของความสวยงามร่มรื่น และมีส่วนต่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา ด้วย “อยากให้เป็นพื้นที่สีเขียวทั้งหมด แต่ว่าเป็นไปไม่ได้เพราะว่ารถต้องเข้ามา ตอนเราไปอยู่ญี่ปุ่น เห็นเขาจอดรถเป็นระเบียบมาก ก็เลยขอลานจอดรถสักจุด หนึ่งที่เป็นบล็อกของมัน ไม่ต้องไปยุ่งกับคนอื่น มีต้นไม้กั้นล้อมเพื่อกันกลิ่น ควันรถ” เจ้าอาวาสวัดสุทธิวรารามกล่าวไว้ นอกจากนี้จากการที่พระสุธีรัตนบัณฑิตได้ไปเห็นตัวอย่างการให้ความ สำ�คัญกับ “ภูมิสถาปัตยกรรม” จากประเทศญี่ปุ่นอยู่บ่อยครั้ง การปรับปรุง ภูมิทัศน์ครั้งใหญ่ของวัด สุทธิ วรารามจึง ให้ค วามสำ� คัญกับ การสร้า งพื้น ที่ โดยรอบเป็นอย่างมาก “เรื่องสถาปัตยกรรม ญี่ปุ่นอาจจะสู้เราไม่ได้ แต่ถ้าเป็นภูมิสถาปัตย์ เรา แพ้ญี่ปุ่นราบคาบเลย องค์ประกอบของสถาปัตย์และภูมิสถาปัตย์ต้องไปคู่กัน ถึงจะสวย การสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆ ต้องมีพื้นที่ที่จะทำ�ให้คุณค่าพลังของความ ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ให้เข้าไปหาองค์ประกอบตรงกลาง แต่พอเราสร้างอะไรแน่นๆ มันไม่มีพื้นที่ทางภูมิสถาปัตย์เข้าไป ทำ�ให้ความงามดับไปเลย” พระสุธีรัตน บัณฑิตกล่าว
แนวทางการดำ�เนินงาน ขั้นการออกแบบ แนวคิดของทางวัดคือ นำ�เอากำ�แพงแก้วรอบโบสถ์ซึ่งอยู่ติดกับลาน จอดรถออก เพื่อทำ�ให้ดูโล่ง ไม่อึดอัด เข้าถึงง่าย จากนั้นจึงกำ�หนดพื้นที่จอด และวางผังการปลูกต้นไม้ให้เป็นแนว ซึ่งนักออกแบบได้ทำ�ภาพเสมือนจริงของ การสร้างมาใช้ในการเสนอในที่ประชุมเพื่อให้กรรมการวัดหรือญาติโยมเข้าใจ มากขึ้น และสื่อสารโดยการนำ�รูปภาพส่วนที่ต้องการปรับปรุงพร้อมด้วย เหตุผลติดไว้ตามบริเวณนั้นๆ ด้วย ขั้นการก่อสร้าง ๑) ทุบกำ�แพงแก้วรอบโบสถ์ เปิดพื้นที่ให้เชื่อมต่อและเข้าถึงได้ง่าย โดยรอบปลูกต้นไม้ปรับเป็นกำ�แพงสีเขียว เช่น ต้นพุด ต้นเข็มโบว์ และปู หินอ่อนรอบโบสถ์ใหม่ ทั้งนี้ได้ตกลงกับชุมชนว่าจะนำ�รายชื่อผู้บริจาคเงิน สร้างกำ�แพงแก้วมาทำ�เป็นป้ายติดไว้ใต้บันไดของโบสถ์ ๒) ทุบศาลา ๑๒ ซึ่งทรุดโทรมแล้ว เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการปลูกต้นไม้และ จอดรถ ๓) ปรับพื้นที่สีเขียวบางส่วน นำ�ไม้ล้อม เช่น ต้นประดูป่า ต้นแคนา มา ลงเป็นแนวขอบของลานจอดรถบริเวณที่ติดกับอาคารสำ�นักงาน ๔) เทคอนกรีตบริเวณลานจอดรถใหม่ในส่วนที่ทรุดโทรม ๕) ค่อยๆ แทรกพื้นที่สีเขียวบริเวณใต้ต้นไม้ รอบอุโบสถ และกำ�แพงวัด ด้วยไม้กระถาง ไม้แขวน
--[ล้อมกรอบ] เกร็ดการลงไม้ล้อม การลงต้นไม้ล้อมขนาดใหญ่ จะมีรับประกันให้ ๑ ปี โดยในขั้น ตอนการลงจะมี ผู้ เ ชี่ ย วชาญมาขุ ด หลุ ม ให้ ต ามขนาดต้ น ไม้ ที่ ล้ อ ม มา ถ้าหลุมกว้างประมาณ ๖๐ เซนติเมตรอย่างต้นไม้ที่ลานจอด รถของวัดสุทธิวราราม จะขุดลึกลงประมาณ ๑ เมตร และต้อง ใส่ปุ๋ยรองให้เหลือพื้นที่อยู่ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ส่วนบนของ หลุมจะกะไว้ประมาณ ๑๐ เซนติเมตร สำ�หรับใส่ดินกลบโคนต้นไม้
โดยต้องระวังอย่าถมดินมิดบริเวณโคนต้น เพราะรากพืชต้อง หายใจ และควรระวังเรื่องการระบายอากาศ เพราะอาจทำ�ให้ราก เน่าได้ ---
งบประมาณในการดำ�เนินการ ทางวัดสุทธิฯ ได้งบมาจากการบริจาค โดยทำ�ประชาสัมพันธ์ผ่านป้าย ประกาศให้ญาติโยมรับรู้ว่า กำ�ลังจะมีโครงการปรับพื้นที่รอบอุโบสถ ซึ่งทาง วัดไม่ได้ขอเงินจากญาติโยมเป็นพิเศษ มีการจัดงานทอดผ้าป่าและกฐินประจำ� ปีตามปกติ - ลานจอดรถ ทางวัดเทคอนกรีตเอง ใช้งบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท และ ได้สำ�นักงานกรุงเทพมหานครมาทำ�ถนนลาดยางให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย - ไม้ล้อมต้นละ ๒๐,๐๐๐ บาท ต้นใหญ่ราคาอยู่ที่ ๕๐,๐๐๐ บาท มีจำ�นวน ๑๒ ต้น เฉลี่ยแล้วต้นละ ๒๕,๐๐๐ บาท ส่วนไม้ดอกไม้ประดับใช้งบประมาณ ทั้งหมด ๖๐,๐๐๐-๗๐,๐๐๐ บาท - ปูหินอ่อนรอบอุโบสถ ตารางเมตรละ ๒,๐๐๐ บาท การใช้งานและการดูแลรักษา - ระยะแรกได้ปลูกหญ้าคลุมดินบริเวณใต้ต้นไม้ แต่มีปัญหาคือ มีสุนัขและ แมวเข้ามาถ่าย และหญ้าตายเร็ว จึงหันไปเพิ่มไม้ประดับอื่นๆ แทน - ไม้ล้อมบางต้นตาย เช่น ต้นพุด ต้องหาต้นไม้อื่นมาปลูกแทน - มีพระและเณรที่คอยรดน้ำ�ต้นไม้ประจำ�อยู่ ๒ รูป และยังมีบุคลากรที่ดูแล ที่จอดรถของวัดช่วยกันทั้งรดน้ำ� ใส่ปุ๋ย เจ้าหน้าที่ประจำ�ลานจอดรถจะแบ่ง เวลากันเข้าเวรเป็น ๓ ช่วง ได้แก่ ช่วงเช้า สายถึงบ่าย และเย็น “ใครที่ดูที่จอดรถเขาก็จะต้องรดน้ำ�ต้นไม้ดูอะไรให้ด้วย ว่างๆ ไม่มีรถมา เขาก็จะรดน้ำ�ต้นไม้บ้าง กวาดบ้าง แต่เราก็บอกเขาว่า ห้ามให้ต้นไม้เหี่ยวถ้า นั่งอยู่ตรงไหน ไม่ได้มีกฎว่าต้องใส่ปุ๋ย จะมีพระท่านดูแลด้วย บางทีต้นไม้ใน กระถางสองวัน สามวัน ฝนไม่ลงมันก็จะเหี่ยว เพราะฉะนั้นใครเห็นว่าเหี่ยว เขาก็จะต้องรับผิดชอบตรงนั้นแบ่งเวรหลักให้พระเณรดูแลแล้วคนงานก็มา เสริม พระก็รดน้ำ�ด้วย ปุ๋ยที่ใส่ก็เป็นปุ๋ยอินทรีย์บ้างปุ๋ยเคมีบ้าง” เจ้าอาวาสวัด สุทธิวรารามกล่าวไว้
ผลลัพธ์ จากการปรับปรุงพื้นที่ส่งผลให้บริเวณรอบวัดเย็นขึ้น ความร่มรื่นของวัด ส่งผลให้คนในชุมชนเข้าวัดเพิ่มขึ้น แม้จะไม่ได้มาทำ�บุญก็ยังมาออกกำ�ลังกาย รอบอุโบสถ มีนักเรียนมาอาศัยพื้นที่วัดในการนั่งพักผ่อน มีญาติโยมเข้าโบสถ์ เพื่อนั่งสมาธิก่อนร่วมงานศพจากที่ไม่เคยมีเลย ในช่วงแรกที่การก่อสร้างยัง ไม่แล้วเสร็จ ได้มีเสียงบ่นจากคนในชุมชนในทำ�นองว่า ไม่ควรรื้อกำ�แพงแก้ว แต่เมื่อมีพื้นที่สีเขียวชัดเจนขึ้น ก็มีเสียงชมว่า ควรจะรื้อนานแล้ว และเมื่อวัด พัฒนาพื้นที่ทางสังคมและการเรียนรู้ เช่น จัดกิจกรรมดูหนังหาแก่นธรรม ก็มี ผลต่อเนื่องให้คนเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น โดยผลทางกายภาพมีดังนี้ - สัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๒๐ จากเมื่อก่อนที่มีเพียง ร้อยละ ๓-๕ - ส่วนของการจอดรถ การจัดการพื้นที่ให้เป็นระเบียบช่วยให้จอดรถได้ มากขึ้น ๑๐ กว่าคัน ขณะนี้ที่วัดสุทธิฯ รองรับได้อยู่ที่ ๔๐ คัน ได้แก่ รถขาจร ที่มาทำ�ธุระบริเวณใกล้กับวัด รถจอดประจำ�ช่วงกลางวัน ช่วงเวลา ๗.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ประมาณ ๓๐ คัน เป็นกลุ่มคนที่ทำ�งานใกล้กับวัด รถจอดประจำ� กลางคืน ประมาณ ๒๐ คัน เป็นกลุ่มคนที่ไม่มีที่จอดรถที่บ้าน และรถจอด ชั่วคราวเพื่อร่วมงานสวดพระอภิธรรมของวัด แผนการในอนาคต วัดวางแผนจะแบ่งที่จอดรถออกเป็น ๒ โซน คือ สำ�หรับรถที่จอดประจำ� และสำ�หรับจอดชั่วคราว โดยจะให้รถที่จอดประจำ�อยู่ด้านใน ทำ�ต้นไม้เป็นแนว เพื่อกันไม่ให้รถที่จอดชั่วคราวเข้ามาด้านใน และวางแผนจะปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น บริเวณกำ�แพงวัด โดยอาจจะทำ�เป็นสวนในแนวตั้ง คำ�แนะนำ�จากเจ้าอาวาส การสื่อสารกับชาวบ้านด้วยคำ�ที่เข้าใจง่ายเป็นส่วนสำ�คัญที่สามารถ ทำ�ให้ดำ�เนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ได้สำ�เร็จและส่งผลให้มีผู้สนับสนุนปัจจัยการ สร้าง เช่น การอธิบายเรื่องประโยชน์ของพื้นที่สีเขียวกับชุมชน ทางวัดได้ใช้ คำ�พูดว่า วัดจะปลูกต้นไม้ แทนคำ�ว่า การสร้างภูมิทัศน์ การสร้างพื้นที่สีเขียว ฯลฯ เพื่อให้ชาวบ้านทั่วไปเข้าใจได้ง่าย และสุดท้ายจะพากันมาช่วยสนับสนุน เอง - ต้นไม้ที่อยู่ภายในวัด ส่วนหนึ่งมาจากการที่วัดไปเลือกซื้อเอง จากต้นไม้ พวงหรีดงานศพ เช่น ต้นไทรเกาหลี ต้นแก้ว และส่วนหนึ่งมาจากการบริจาค
“ชาวบ้านทั่วไปก็จะชวนว่า จะปลูกต้นไม้เพิ่ม เขาก็จะบอกว่าหลวงพี่เอา ต้นไม้มาลงเหรอ สวยดีนะ เขาก็จะถามว่าต้นเท่าไหร่ เราบอกไปแปดพัน แต่ จริงๆ แล้วสองหมื่น เราก็จะไม่บอกทั้งหมด เพราะจะรบกวนโยม จะบอกที่แปด พัน เก้าพัน หมื่นหนึ่ง เขาก็จะบอกว่าไม่เท่าไหร่หรอก ถ้าหกพัน เขาจะมาเป็นเจ้า ภาพให้ เขาเห็นเราปลูกต้นไม้ เขาก็เอามาให้เรื่อยๆ” เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม สะท้อนไว้ ###
วัดสุทธิวรารา
าม จ. กรุงเทพ
วัดสุทธิวรารา
าม จ. กรุงเทพ
กรณีศึกษา : ลานจอดรถวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร ความเป็นมา แนวคิ ด การเพิ่ ม พื้ น ที่ สี เ ขี ย วของวั ด นายโรงมาจากความต้ อ งการ แก้ปัญหาความร้อนภายในวัด ซึ ่ ง ส่ วนหนึ ่ ง เป็ น เพราะลานจอดรถทำ � จาก คอนกรีต ประกอบกับความต้องการปรับเปลี่ยนวัดให้มีความสัปปายะ เป็น ระเบียบเรียบร้อย โดยพระครูรัตนโสภณ เจ้าอาวาสวัดนายโรงนั้นเคยเป็น อาจารย์สอนวิชา “พระพุทธศาสนากับการพัฒนา” เคยเป็นผู้ประสานงาน โครงการตามแนวพุทธธรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) และเคยทำ�งานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนในด้านการพัฒนา จึงมีความรู้ ในด้านการพัฒนาพื้นที่ เมื่อได้รับตำ�แหน่งเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.๒๕๕๓ จึงได้ โอกาสปรับปรุงวัดใหม่ตามแนวทางที่ท่านสนใจ จากความคิดเห็ น ของเจ้ าอาวาสและที ่ ป ระชุ ม คณะกรรมการวั ด เมื ่ อ ทยอยปรับปรุงอาคารหลายหลังในวัดแล้วจึงเริ่มเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้วัด โดย วางผังให้ปลูกต้นไม้บริเวณลานจอดรถ ต้นไม้ที่ปลูกใหม่ทางวัดตกลงกันว่า ควรมีความสัมพันธ์กับวัดและมีความสำ�คัญทางพระพุทธศาสนาด้วย เช่น ต้น มะพลับ ตามประวัติในสมัยหลวงปู่รอด เจ้าอาวาสรุ่นที่ ๒ ได้นำ�ด้ายสำ�หรับทำ� เครื่องราง “เบี้ยแก้” แช่น้ำ�ลูกมะพลับดิบไว้เพื่อให้มีความคงทน และตามพุทธ ประวัติ ต้นมะพลับยังต้นไม้ประจำ�พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑๘ “อยากจะพัฒนาวัดให้เป็นสถานที่ที่มีความสัปปายะ ร่มรื่นให้สมกับคำ�ว่า อาราม คำ�ว่า อาราม ก็คือ มีความสะอาด มีความเป็นระเบียบ มีความร่มรื่น” เจ้าอาวาสวัดนายโรงอธิบาย โดยท่านเห็นว่า สถานที่ที่เป็นไปตามนี้ จะส่งผล ให้เกิดศรัทธาได้ และจากการที่วัดเคยทำ�ผ้าป่าต้นไม้มาก่อนในปี พ.ศ.๒๕๕๕ หลังจากที่ ประสบภัยน้ำ�ท่วม ซึ่งประสบความสำ�เร็จอย่างมาก ได้ต้นไม้ไปบริจาคให้วัด อื่นๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดจำ�นวนมาก การปรับภูมิทัศน์ครั้งนี้จึง คิดที่จะกลับมาทำ�ผ้าป่าอีกครั้ง
แนวทางการดำ�เนินการ ๑) ทำ�ผังแม่บทใหม่ครอบคลุมการพัฒนาทั้งวัด โดยกำ�หนดโจทย์เรื่อง พื้นที่สีเขียวในผังด้วย แล้วเก็บข้อมูลการปลูกต้นไม้ของวัด เช่น มีต้นไม้อะไร อยู่ที่ตำ�แหน่งใด ในที่สูงหรือที่ต่ำ� มีต้นไม้อะไรที่สำ�คัญในวัด และทำ�แผนผัง ต้นไม้ไว้ ๒) ปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง เช่น กุฏิพระสงฆ์ อุโบสถ วิหาร เขื่อนริมน้ำ� ห้องน้�ำ ห้องรับรอง ก่อน จนกระทัง ่ ปี พ.ศ.๒๕๕๘ ได้หน ั มาพัฒนาลานจอดรถ ๓) กำ�หนดพันธุ์ไม้ที่ต้องการปลูก และระบุตำ�แหน่งไว้ในผัง โดยคำ�นึงถึง ระยะห่างจากตัวอาคาร และที่ตั้งที่ไม่กีดขวาง ๔) ประกาศหาเจ้าภาพในการปลูกต้นไม้ โดยการทำ� “ผ้าป่าต้นไม้”
---[ล้อมกรอบ] ผ้าป่าต้นไม้ การทำ�ผ้าป่าต้นไม้ของวัดนายโรงทำ�โดยประชาสัมพันธ์เรื่อง การจัดผ้าป่าต้นไม้ผ่านสื่อวิทยุและป้ายต่างๆ รวมไปถึงสื่อบุคคล คือ เจ้าอาวาสที่จะคอยอธิบายแนวคิดการปรับปรุงพื้นที่ “อธิบายว่า ต้องการจัดวัดให้มีความร่มรื่น เพราะฉะนั้นวัด ณ ปัจจุบันเป็นพื้นปูน ถ้าเราเข้ามาอยู่จริงๆ กลางวันมันจะร้อน ทำ�ให้ภูมิ ทัศน์ของวัดมันดูไม่งาม เราต้องการทำ�ให้มันเป็นระเบียบ” เจ้าอาวาส วัดนายโรงอธิบายถึงวิธีการพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจกับชุมชน และได้กล่าวถึงแนวทางการทำ�ผ้าป่าต้นไม้ ดังนี้ “การทำ�ผ้าป่าต้นไม้ กำ�หนดไปเลยว่าอยากได้ไม้อะไรบ้าง เพราะ บางทีถ้าเราไม่ได้กำ�หนด เขาก็จะเอาต้นไม้ที่โทรมๆ อยู่ตามบ้านเอา มาให้เรา มาเพิ่มขยะให้เราต้องมาดูแลอีกเพราะฉะนั้นถ้าเรากำ�หนดไป เลยมันจะดี” โดยจากการประชาสัมพันธ์ทำ�ให้ต้นไม้ใหญ่จำ�นวน ๕ ต้น มีเจ้าภาพในการปลูกทั้งหมด -----
๕) หาซื้อต้นไม้จากแหล่ง เช่น มะพลับต้นใหญ่อายุประมาณ ๕๐ ปี ได้มา จากอำ�เภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ๖) ลงต้นไม้ล้อมให้เป็นไปตามผังที่วางไว้ ใช้วิธีขนส่งต้นไม้ทางน้ำ�จาก ท่าเรือวัดใหม่ยายแป้น เขตบางกอกน้อย มาเทียบที่เขื่อนของวัด ต้นไม้ที่นำ�มา ลง ได้แก่ ต้นโพธิ์ ต้นมะพลับ ต้นนางกวัก ต้นไทร ต้นมั่งมี ต้นชงโค ต้นสมอ ต้นทองกวาว ต้นมะตูม ต้นมะขาม มีทั้งต้นไม้ที่ต้องใช้ผู้รู้มาดูแลเรื่องการขุด หลุม และต้นไม้ที่ขุดหลุมปลูกได้เอง ซึ่งได้เด็กนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมวัด นายโรงมาช่วยกันปลูก ๗) ทยอยปลูกต้นไม้เพิ่ม ทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ที่สามารถแทรกได้ ---[ล้อมกรอบ] การเริ่มปลูกต้นไม้ การปลูกต้นไม้ต้องปลูกให้ตรงกับหน้าฝน ช่วงที่เหมาะที่สุด คือเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม จะทำ�ให้ต้นไม้ติดรากไว ดังนั้น การประชาสั ม พั น ธ์ เ รื่ อ งผ้ า ป่ า ต้ น ไม้ จ ะทำ � ในช่ ว งเดื อ นเมษายนพฤษภาคม พยายามหลีกเลี่ยงไม้ผล เพราะนอกจากปัญหาเรื่องผลที่จะ หล่นเกลื่อนกลาดแล้ว ยังมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับญาติโยม เช่น เมื่อ ต้นไม้ออกผล มักจะมีคนมาแย่งกันเก็บ อาจนำ�ไปสู่ความไม่ลงรอย กันได้ หรือแม้แต่กับวัดเอง หากไปห้ามไม่ให้เก็บ อาจจะทำ�ให้เข้าใจ เจตนาผิดไปได้ ----
งบประมาณในการดำ�เนินการ - ไม้ล้อมอายุ ๔๐-๕๐ ปี ราคาอยู่ที่ประมาณ ๒๐,๐๐๐-๔๐,๐๐๐ บาท ต้น ที่ไม่ใหญ่มาก ราคาประมาณต้นละ ๒,๐๐๐-๕,๐๐๐ บาท รวมเงินที่ได้จากการ ทำ�ผ้าป่าต้นไม้ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท - ค่าขนส่งไม้ล้อมมาจากอำ�เภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เที่ยวละ ๘,๐๐๐ บาท ส่ว นใหญ่ จ ะเอาไปลงที ่ วั ด ใหม่ ย ายแป้ น แล้ ว ขนมาทางเรื อ จากนั้นใช้รถเครนยกขึ ้ น โดยเรือทางน้ำ�ได้ความอนุเคราะห์จากบริษัทที่ทำ� เขื่อนริมน้ำ�ให้วัด ส่วนรถเครนคิดค่าจ้างวันละ ๔,๕๐๐ บาท
การใช้งานและการดูแลรักษา - การรดน้ำ�ต้นไม้ใช้วิธีวางท่อให้ใกล้กับต้นไม้ โดยดึงน้ำ�มาจากแม่น้ำ� เพื่อรดต้นไม้โดยเฉพาะ และทำ�ก๊อกน้ำ�ประปาพร้อมปั๊มน้ำ�สำ�หรับใช้ในเดือน มกราคม – เมษายน เพราะช่วงนี้น้ำ�จากแม่น้ำ�จะกร่อย เมื่อนำ�ไปรดต้นไม้ จะ ทำ�ให้ใบไหม้ได้ - ระยะแรกจะใส่ปุ๋ยให้ต้นไม้ เมื่อโตขึ้นแล้วก็ใส่เพียงปีละ ๑ ครั้ง - พระในวัดจะช่วยตัดแต่งกิ่งต้นไม้เป็นประจำ� และทุกสัปดาห์ พระจะต้อง ช่วยกันกวาดลานวัดพร้อมกันทั้งหมด นอกจากนั้นยังมีลูกศิษย์ช่วยดูแล - จิตอาสาจะหมุนเวียนกันมาทำ�กิจกรรมตลอด โดยกิจกรรมที่ทำ�จะมีการ ดูแลต้นไม้ด้วย - คนในชุมชนที่มีความรู้เรื่องต้นไม้ช่วยดูตั้งแต่การปลูก การวัดขนาด การขุดหลุม การใส่ปุ๋ย และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้ตั้งเป็นชมรมเข้ามา ช่วยดูแลด้วย - การดูแลรถภายในลานจอด จะมีกรรมการวัดคอยตรวจตรารถที่เข้ามา จอด และดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย ผลลัพธ์ จากการปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ โ ดยเน้ น ที่ ก ารปลู ก ต้ น ไม้ ส่ ง ผลให้ ผู้ ท่ี เ ข้ า วั ด สัมผัสได้ถึงความร่มรื่น ความสวยงามของต้นไม้ ผู้ปกครองนักเรียนที่มาส่ง ลูกเรียนหนังสือเข้ามานั่งอ่านหนังสือตรงศาลาวัด มีคนรู้จักวัดมากขึ้น เป็น ผลดีเมื่อวัดทำ�กิจกรรม ทำ�ให้มีคนเข้าและช่วยเหลือวัดมากขึ้น มีคนมาออก กำ�ลังกาย และมีเด็กมาวิ่งเล่นในวัดจากที่ไม่เคยมี แม้ระยะแรก จะมีเสียงไม่เห็น ด้วยจากชาวบ้าน เพราะกลัวพื้นที่วัดจะลดลง ทั้งเจ้าอาวาสและคณะกรรมการ ต้องช่วยกันชี้แจงถึงผลลัพธ์ที่จะได้ โดยผลทางกายภาพที่เห็นชัดเจนมีดังนี้ - เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ขึ้นในเวลาประมาณ ๖ เดือน มีสัตว์เล็กอย่าง กระแต กระรอก นกหลายชนิด เข้ามาอยู่ในต้นไม้ จากที่ไม่เคยมี - สัดส่วนพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นมาเป็นร้อยละ ๔๐ จากร้อยละ ๒๐ - พื้นที่สำ�หรับจอดรถลดลง จากที่จอดได้ ๗๐ กว่าคัน ปัจจุบันจอดได้ ๕๕ คัน แต่ก็เพียงพอและเหมาะสมกับพื้นที่ที่ช่วงกลางวันไม่ค่อยมีรถมาก รถ ที่มาจอดส่วนใหญ่เป็นรถในชุมชน มีรถขาจรไม่ถึงร้อยละ ๑๐
--[ล้อมกรอบ] การตีเส้นที่จอดรถ ตามความเข้ า ใจทั ่ ว ไป การตี เ ส้ น เป็ น ช่ อ งสำ � หรั บ ให้ จ อดรถ เป็นการจัดระเบียบให้รถ แต่สำ�หรับวัดนี้ซึ่งเป็นวัดของชุมชน เจ้า อาวาสเห็นว่า ไม่ควรตีเส้นกำ�หนดช่องสำ�หรับจอดรถ เพราะทาง ด้านหน้าอุโบสถและด้านหลังของวัดไม่ได้กำ�หนดพื้นที่แน่นอน หาก ตีเส้น จะมีคนถือสิทธิเป็นเจ้าของช่องนั้น ทั้งที่ทุกคนควรจะได้มีสิทธิ จอดเท่ากันไม่ว่าช่องไหน ----
แผนการในอนาคต ปัจจุบันพื้นที่ปลูกต้นไม้เต็มแล้ว แต่ยังมีพันธุ์ไม้ที่เก็บไว้จากการทำ�ผ้าป่า ต้นไม้ และมีญาติโยมเอาต้นไม้มาถวายเรื่อยๆ จึงคิดจะส่งต่อให้วัดที่ประสงค์ จะปลูก คำ�แนะนำ�จากเจ้าอาวาส - ต้องคิดว่า ทำ�อย่างไรที่จะให้ชุมชนมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ชุมชนคิดให้ ได้ ตอนประชุมกับชุมชนต้องเตรียมข้อมูลให้ครบ อาจทำ�การบ้านโดยการไป สำ�รวจดูวัดอื่นๆ ที่มีแนวทางการพัฒนาที่ดี ถ้าสามารถใช้โปรเจ็คเตอร์ฉายได้ ให้เห็นภาพได้จะเป็นเป็นผลดีอย่างมาก - การเลือกพันธุ์ไม้ที่สำ�คัญทางพระพุทธศาสนาจะไม่มีคนคัดค้าน - การทำ�ผ้าป่าต้นไม้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการจัดหาต้นไม้ ทุกวัดสามารถ นำ�ไปใช้ได้ - พยายามมองหาคนที่มีความรู้เรื่องต้นไม้มาช่วยงาน ทางวัดนายโรง มีกรรมการวัดและพระในวัดที่รู้จักต้นไม้ดี การดำ�เนินงานจึงไม่ติดขัด และมีที่ ปรึกษาเสมอ “อยู่ที่ผู้นำ� บางทีอาจจะกลัวว่าทำ�ไปแล้วจะถูกตำ�หนิ ถูกต่อว่า หรือว่า บางทีท่านมองเห็นว่าพื้นที่สีเขียวมันไม่ค่อยจำ�เป็น เอาไปจอดรถดีกว่า เพราะ ฉะนั้น อยู่ท ี่ว่าท่านมองเห็ น ความสำ � คั ญ อย่ างไร เจ้ า อาวาสเป็ น เบอร์ ห นึ ่ ง เบอร์สองก็คือกรรมการ พยายามพูดประชุมปรึกษากัน อาตมาว่า วัดทุกวัด
สามารถทำ�ได้เพราะว่ามีทุนอยู่แล้ว ญาติโยมเขาพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุน อยู่แล้ว แต่ท่านจะต้องให้ความสำ�คัญเป็นเรื่องง่ายนิดเดียวและผ้าป่าต้นไม้ก็ หาคนทำ�บุญง่ายเพราะคนเขามีสวนมีต้นไม้ก็มี” เจ้าอาวาสวัดนายโรงกล่าวไว้ ###
รูปวัดนายโรง
วัดนายโรง
จ. กรุงเทพ