Issue 3 MAY 14
K
K
MAGAZINE
It's Intellectual Masturbation FREE download issuu.com/jaaaaazy
Editor's
ความเขินอายยังไม่ได้ลดน้อยลงแต่อย่างใด ทุกครั้งที่ถึงเวลาจะต้องเขียนข้อความส่วนนี้ บนพื้นที่ที่นิตยสารทุกเล่มมีเหมือนกันหมด ถ้าจะให้เปรียบ..คงเทียบได้กับ ‘ท่าบังคับ’ ในการแข่งขันกีฬายิมนาสติก เห็นจะได้! และโดยส่วนตัวแล้ว ทุกครั้งที่หยิบหนังสือหรือนิตยสารฉบับใหม่ขึ้นมา หน้าแรกที่จะพลิกอ่าน หลังจากเปิดดูผ่านๆ ทั้งเล่ม ก็จะเป็นบทบรรณาธิการก่อนเลยเป็นอันดับแรก เหตุผลก็คือว่า ทัศนะคติแรกที่จะเกิดขึ้นในหัว ไม่ว่าจะบวกหรือลบ ‘จริต’ ของเจ้าของหนังสือ หรือผู้เป็นบรรณาธิการ จะใกล้เคียงกับ ‘จริต’ เราหรือไม่ ผมมักจะใช้หนึ่งหน้านี้แหละทำ�ความรู้จักเบื้องต้น ก่อนที่จะรู้จัก นิสัยใจคอกันมากกว่านี้ ถ้างั้น..ผมขอเริ่ม ‘ท่าบังคับ’ ที่ว่าไว้เลยแล้วกัน! ผมอยากจะเชิญชวนให้ ผู้ที่กำ�ลังทำ�อะไรดีๆ สนุกๆ สร้างสรรค์ๆ ได้มาใช้พื้นที่บนหน้ากระดาษ ( เสมือน! ) ของ ko-magazine เพื่อได้แสดงผลงาน หรืออย่างน้อยๆ ก็ทำ�ให้เราได้รู้จักกัน ได้รู้ว่า มีใครทำ�อะไรที่ไหนบ้าง เกิดเป็นชุมชนคนทำ�งานสร้างสรรค์ คงจะดีไม่น้อย หรือถ้าใครชอบเขียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้น สกู๊ปเรื่องราวที่ชอบส่วนตัว ถ้าเป็นประโยชน์แก่คนอื่น ยิ่งยินดีเป็นที่สุด (ลื่นไหลสู่ท่าที่ 2)... หลังจากที่ได้ลองทำ�หนังสือมา 3 เล่มก่อนหน้า มีทั้งแบบจริงจังสุดๆ และก็แบบที่หยิบโน่น หยิบนี่มายำ�ๆ คลุกไปคลุกมาจนออกมาหน้าตาคล้ายๆ นิตยสารกับเค้าเหมือนกัน จนมาถึงเล่มนี้ที่คุณกำ�ลังอ่านอยู่ ในระหว่างที่ทำ�ไปได้ 2 คอลัมน์ มันก็เกิดคำ�ถามขึ้นมาในใจ ว่าสิ่งที่กำ�ลังทำ�อยู่ เองแน่ใจนะว่ามันจะไม่ใช่ ‘ขยะทางข้อมูล’ ดีๆ นี่เอง! เนื้อหาก็ไม่ได้แปลกใหม่อะไร หลายคนอาจจะเคยเห็นเคยอ่านมาแล้วก็ได้ เพราะ 3 เล่มก่อนหน้าที่ว่า เราสนุกกับการที่เราได้ทำ�ในสิ่งที่เราไม่เคยทำ�มาก่อน (แต่ก็ยังอยู่บนพื้นฐานของความตั้งใจให้มันเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย) Issue 3 MAY 14
Facebook / นิตยสาร ก.
Read me & Free download
issuu.com / jaaaaazy
K
K
Contact us
MAGAZINE
ko-magazine #3.2014
ถ้าว่ากันแบบให้เห็นภาพมากที่สุด ผมนึกไปถึง.. สมัยที่คุณๆ เราๆ ท่านๆ เป็นเด็กจบใหม่ แล้วได้เริ่ม CONTENTS ชีวิตวัยทำ�งานครั้งแรกที่ไหนสักแห่ง ทำ�อะไรผิดๆ ถูกๆ เป็นประโยชน์แก่บริษัทหรือไม่ ทุกคน BADSELLER ในออฟฟิตก็เห็นเป็นเรื่องน่ารัก น่าชัง ไปซะหมด 04 แต่ช่วงโปรโมชั่นของชีวิตแบบนี้มักสั้นเสมอ ระบุวันหมด กวี+ทำ�นอง=บทเพลง อายุไว้ชัดเจน ไม่ว่ากับเรื่องอะไรก็ตาม 06 (แม้กระทั้งเรื่องความรัก ^^ ) LOVE MY HOMETOWN ผมถึงกับหวั่นไหวไปพักใหญ่ เพราะยังตอบตัวเอง 08 ไม่ได้! แต่ก็ทำ�ต่อจนเสร็จ พยายามเอาเหตุผล โลกเปลี่ยนไป เมื่อใจเปลี่ยนแปลง ส่วนตัวเข้าสู้ไว้ก่อน คือทำ�แล้วชอบ พอเกิดความชอบ ‘โจน จันได’ ความสุขก็ตามมา 18 จนในที่สุดผมก็ได้ข้ออ้างที่ทำ�ให้ตัวเองดูดี ก็อีตอนที่ หอศิลป์ ‘ดีคุ้น’ กับ ‘วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์’ จับดินสอเขียนบทบรรณาธิการนี้นี่แหละ! 22 ผมว่า..นิตยสารเล่มนึงน่าจะเหมือน ‘สำ�รับกับข้าว’ คนรักศิลปะ โดย โกยัพ คอนหวัน สำ�รับนึง มีอาหารหลายอย่าง ‘แกง ผัด ต้ม ทอด’ 39 พอมาวางรวมกันก็น่าจะทำ�ให้เจริญอาหารได้ในมื้อนั้น ตกตะกอน และที่ได้แน่ๆ คือเรื่องความหลากหลายทางโภชนาการ 66 ส่วนเรื่องความอร่อยก็ขึ้นอยู่กับฝีมือพ่อครัว คนกินเค้าจะ ตัดสินเองว่าถูกปากหรือไม่ ถ้าถามผม..ผมชอบ ‘สำ�รับ’ ที่บ้านมากที่สุด เมนูเดิมๆ (แม่ครัวทำ�เป็นไม่กี่อย่าง) แต่ถ้าได้กลับบ้าน มากินทีไรเป็นต้องคดข้าวเติมมากกว่าหนึ่งจานทุกทีไป เหตุผลความอร่อยน่ะหรอ..อาจเป็นเพราะแม่ครัวที่ว่า คือ ‘แม่เรา’ ละมั้ง เราเลยตั้งท่าอร่อยตั้งแต่คำ�แรกยังไม่ ได้เข้าปากก็เป็นได้ (แถมแม่ครัวก็มานั่งกินกับเราด้วยนะ) กิจจา ทั่งศิริ
3
Photo: kanchanapisek.or.th
thai culture
BSELLAd
ER
but best for life
เรามาร่วมกันทำ�ลายสถิติ คนไทย 8 บรรทัด กันเถอะ
‘
’
คิด โดย Creative Thailand
เพราะเป
โดย คิม Mew P
ตัวกู-ของกู โดย สันติ แต้พานิช กรุ๊ปเลือดบอกนิสัย ฮาได้ใจยกกำ�ลัง 3
Eenew Soonthornlakha
คิดสวนทาง โดย ประเสริฐ เอี่ยมรุ่งโรจน์
Kate Phiphatchayakul
viewplus โดย นำ�พงศ์ หมุดคำ�
ป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด
มรันโด ผู้แปล วิทิยา Phattaraporn
WAY โดย เว
สนุกสนาน
แง่คิด ความคิดสร้างสรรค์ สังคม
แรงบันดาลใจ
ศิลปะ
กวี + ทำ�นอง = บทเพลง คณะ Moderndog
ko-magazine #3.2014
“
ทบทวน
สายลม แผ่วพลิ้ว ลิ่วลอยมา กลบร่องรอยน้ำ�ตา ในวัน ที่ใจ เธออ่อนล้า วันที่ฟ้าหมองหม่น อาจมีบางคราว ที่เธอช้ำ�ใจ ในบางเวลา ที่ไม่เหลือใคร นานเท่าไร ต้องร้าวราน อยากบอกให้เธอได้ลองทบทวน ทุกอย่าง ยังมี หนทาง มองไปที่เส้นขอบฟ้างดงาม แม้ห่าง ยังมีคนเคียงข้าง ตรงนี้ยังมีใคร ทุกครั้ง ที่เธอ เจอสิ่งใด ทำ�ให้ใจไหวหวั่น แล้วคง ผ่านพ้น ไปสักวัน อย่าให้มันต้องหวั่นไหว อาจมีบางคราว ที่เธอช้ำ�ใจ ในบางเวลา ที่ไม่เหลือใคร นานเท่าไร ต้องร้าวราน อยากบอกให้เธอได้ลองทบทวน ทุกอย่าง ยังมี หนทาง มองไปที่เส้นขอบฟ้างดงาม แม้ห่าง ยังมีคนเคียงข้าง ตรงนี้ยังมีใคร ที่แล้วมา ให้มันผ่านไป แม้เรื่องราว มากมายแค่ไหน ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะเป็น เช่นไร แต่เธอยังมีคนเข้าใจ อยากบอกให้เธอได้ลองทบทวน ทุกอย่าง ยังมี หนทาง มองไปที่เส้นขอบฟ้างดงาม แม้ห่าง ยังมีคนเคียงข้าง วันนี้แค่เธอได้ลองทบทวน ทุกอย่าง ยังมีหนทาง มองไปที่เส้นขอบฟ้างดงาม แม้ห่าง ยังมีคนเคียงข้าง ตรงนี้ยังมีใคร
Chord Intro | B D#m/A# | G#m F# | B D#m | G#m F# | B D#m/A# G#m F# B D#m/A# G#m F#
”
B D#m/A# G#m F# B D#m/A# G#m F# E F# E F# D#m E F# B D#m/A# G#m F# E F# ( 2 time ) Instru | B D#m/A# | G#m F# | B D#m | G#m F# | B D#m/A# G#m F# B D#m/A# G#m F# ( 2 time ) E F# E F# D#m E F# B D#m/A# G#m F# E F# ( 2 time ) E F# E F# E G#m D#m/A# E F# B D#m/A# G#m F# E F# ( 4 time ) Outro | B D#m/A# | G#m F# | B D#m | G#m F# | B 7
Moderndog
LOVE MY HOME TOWN ko-magazine #3.2014
PHOTO
9
by
WORAWUT TAMTHINTHAI
ko-magazine #3.2014
11
ko-magazine #3.2014
13
ko-magazine #3.2014
15
“
อ่างเก็บน้ำ� คลองน้ำ�ไหล แหล่งท่องเที่ยวทาง นักท่องเที่ยวมายังไม่เยอะ สัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริง บรรยา ยังไม่มีเศษถุงพลาสติก สวย ใสแบบธรรมชาต
WORAWUT T ko-magazine #3.2014
งธรรมชาติ อีกที่นึงซึ่งยังไม่ได้ประชาสัมพันธ์ ากาศ เงียบสงบ สุขุม ไม่มีเพลงครื้นเครง ยังไม่มีเศษขวดเบียร์ ติจริง ไม่รู้ว่าจะอยู่แบบนี้ได้อีนานเท่าไหร่.....
TAMTHINTHAI 17
”
่อใจเปล่ียนแปลง โลกเปลี่ยนไป เมื่อ่ยใจเปล โลกเปลี นไป เมื่ียนแปลง เรื่อง New Heart New World by Magnolia ภาพ New Heart New World
“
ผมเป็นคนที่มีความอายสูงมาก รู้สึกไม่มีความชื่อมั่นในตัวเอง คนอีสานในยุคนั้นเป็นจำ�นวนมหาสารที่คิดคล้ายๆกัน เพราะเราเติบโตมาในเบ้าหลอมอันเดียวกัน ก็คือความคิดที่ว่า คนอีสาน คือคนจน คนด้อยการศึกษา และคนโง่
”
โจน จันได
ผู้ที่เคยหนี แปรเปลี่ยนเป็นการเผชิญหน้า สู่การเข้าใจในชีวิต เรื่อง New Heart New World by Magnalia ภาพ New Heart New World
เราจะรู้สึกแบบนั้นตลอด ทำ�ให้รู้สึกว่าเวลาไปที่ ไหนก็จะอายคนอื่น มันฝังหัวมายาวนานมาก เชื่อไหม? คนอีสานจะถูกหล่อเลี้ยงมาให้กลัว คนอื่นตลอด ถ้าเข้ามากรุงเทพฯ จะไม่กล้าซื้อ อาหารกิน เพราะกลัวพูดภาษาไทยไม่ชัด อายคน กลัวถูกเย้ย กลัวถูกเหยียดหยาม อะไร ประมานนี้ ความอายทำ�ให้ผมหางานไม่ได้ ไป หางานผมก็จะอาย เวลาสัมภาษณ์ผมก็จะพูด ไม่ออก แล้วผมก็ไม่เคยได้งาน ผมแย่มาก ก็คือ ผมด้อยมาก การศึกษาก็ไม่มีเพราะเรียนการ ศึกษานอกโรงเรียนมาตลอด เงินก็ไม่มียากจน คนอย่างผมนี่!! จะอยู่บนโลกนี้ได้ยังไง!! มันทำ�ให้ผมเกิดความทุกข์มาก จนผมเริ่มคิดว่า ผมน่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อที่จะอยู่บนโลก ใบนี้ สิ่งหนึ่งที่ผมคิดได้ก็คือ ผมต้องเผชิญกับสิ่ง ที่ผมกลัว เผชิญกับสิ่งที่ผมอาย เผชิญเพื่อที่จะ ได้อยู่กับมัน เพราะในชีวิตผม!! ผมพยายามที่ จะหนีจากตัวผมเองตลอด หนีจากสิ่งที่กลัว ผมอายที่จะอยู่กับคนภาคอื่น หรือคนที่ไม่ได้ พูดภาษาอีสาน ภาษาลาว!! ผมก็จะไม่อยาก อยู่กับคนอื่น ผมก็จะอยู่แต่กับคนลาว ผมอาย ที่เกิดมาเป็นคนอีสาน คนลาว!! ผมพยายาม ที่จะแต่งตัวให้เหมือนกับคนกรุงเทพฯ ผมหนี ตลอดในชีวิต แล้วผมก็รู้สึกว่าการหนีมันไม่เคย ทำ�ให้ผมได้เข้าใจในสิ่งที่ผมกลัว หรือในสิ่งที่ ผมอาย ฉะนั้นผมจำ�เป็นที่จะต้องเผชิญหน้ากับ มัน ซึ่งการเผชิญของผม เริ่มต้นที่ความอาย สิ่งที่ผมทำ�ก็คือว่า ผมจะใส่เสื้อผ้า ใส่กางเกง
ชาวนา กางเกงชาวเล อะไรทำ�นองนี้!! แล้วก็ใส่ เสื้อขาดๆ ใส่หมวกขาดๆ สะพายย่าม ผมใช้ ชีวิตในกรุงเทพฯแบบนั้น เพื่อที่จะเผชิญกับการ ดูถูกเหยียดหยามของผู้คน เวลาผมเดินไปไหน ต่อไหน คนก็จะแซวว่า จะไปเลี้ยงควายที่ไหน อะไรทำ�นองนี้!! เดินขึ้นรถเมย์คนก็จะเดินถอย ห่างจากผม มันทำ�ให้ผมรู้สึกว่าคนอื่น เค้าก็กลัวเหมือนผม ทั้งๆที่ผมไม่มีอะไร ทั้งๆ ที่ผมอยู่ในสภาวะที่แย่มาก ทรุดโทรมมาก ฉะนั้นผมก็เริ่มเห็นว่าคนอื่น เค้ากลัวยิ่งกว่าผม เพราะว่าเค้ากลัวในสิ่งที่ไม่มีอะไรเลย คนที่จะ ทำ�ร้ายเค้าได้ไม่ใช่คนอย่างผม แม้แต่ตำ�รวจ เค้าก็ยังคิดแบบนั้นเห็นเมื่อไหร่!! เค้าก็จะค้นตัว บ่อย แต่กับคนที่แต่งตัวดีเค้ากลับไม่เคยค้นเลย อันนี้มันก็ทำ�ให้ผมคิดว่า จริงๆแล้วคนอื่นเค้า กลัวยิ่งกว่าผมซะอีก มันทำ�ให้ผมรู้สึกผ่อนคลาย
ko-magazine #3.2014
แล้วการที่อยู่กับการดูถูกเหยียดหยามนานๆ เข้า มันกลายเป็นความเคยชิน ความกลัว ก็ลดลง พอความกลัวลดลงผมก็ได้อยู่กับตัวเอง มากขึ้น ได้พิจารณาตัวเองมากขึ้น ซึ่งจริงๆแล้ว ผมไม่มีอะไรที่จะต้องอาย เพราะผมคือหนึ่ง เดียว ไม่มีใครเหมือนผม ฉะนั้นการฝึกใจของ ผม คือการฝึกที่จะฝืน ฝึกที่จะเผชิญกับอะไร ก็แล้วแต่ที่ผมไม่ชอบ อะไรที่รู้สึกชอบก็จะไม่เอา อะไรที่เกลียดก็จะไปอยู่กับมัน นี่คือการเผชิญ ของผม การฝึกตรงนี้ทำ�ให้ใจเปลี่ยนได้ พอฝึก ไปสักพัก มันก็จะคุ้นเคย พอคุ้นเคยมันก็จะ กลายเป็นเรื่องธรรมดา พอรู้สึกธรรมดาขึ้นมา มันก็ไม่รู้สึกกลัว ไม่รู้สึกอายหรือเขิลอีก อันนี้ คือเทคนิคที่ผมใช้กับตัวเองในการฝึกเท่านั้นเอง เพราะผมเป็นคนชอบหนีฉะนั้นผมจึงฝืน ฝืนใน ที่นี้หมายถึงฝืนอารมณ์ เพราะคนเรามันจะตาม อารมณ์ตลอดใช่ไหม? เราจะใช้อารมณ์นำ�ชีวิต ตลอด อารมณ์ชอบก็จะไปตามมัน ถ้าเกลียด อันนี้ก็จะผลักมัน ฉะนั้นผมเห็นว่าการวิ่งตาม อารมณ์ทำ�ให้คนเหนื่อย และหลงทางในชีวิต ฉะนั้นผมก็ต้องเผชิญกับอารมณ์ของตัวเอง ทั้งหมดเป็นการเผชิญอารมณ์ เพื่อให้สติ เป็นใหญ่ ให้ใจมีความเข้มแข็งขึ้นมา พอเราเผชิญกับความอายไปสักพักหนึ่ง มันจะ เกิดความสว่างขึ้นมาทีละนิด ทีละนิด ว่าเอ่อ! จริงๆแล้วที่เราอายเนี่ย มันไม่มีเหตุผลเลยนะ ทำ�ไมเราอายในเมื่อเราทำ�ในสิ่งที่ถูกต้อง เราไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ไม่ได้ทำ�
ในสิ่งที่เลวร้ายเลย เราไม่ใช่คนที่จะต้องอาย คนอื่นต่างหากที่จะต้องอาย คนที่โกง คนที่ ทำ�ร้ายคนอื่น คนที่เอาเปรียบคนอื่น คนเหล่า นั้นต่างหากที่จะต้องอาย ไม่ใช่เรา!! ผมจะต้อง อายทำ�ไม มันเกิดความสว่างขึ้นมาว่าไม่มี เหตุผลที่จะต้องอายเลย มันเป็นความสว่างที่ รู้สึกตื่นเต้นที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป การที่ผมเผชิญ ตรงนั้นทำ�ให้ผมมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงขึ้น จริงๆแล้วผมไม่ได้มีปัญหา ผมคือคนปกติ คนหนึ่งบนโลกใบนี้ ผมไม่กลัวคนอื่น ไม่รู้สึก ละอายที่เป็นคนลาว เป็นคนอีสาน เชื่อมั่น ในตนเองมากขึ้น ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ ผมมีความเชื่อมั่นว่าคนทุกคนมีเสรีภาพที่จะ เปลี่ยนชีวิตตัวเอง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเลือก ผมรู้สึกอย่างนั้น!!
ขอบคุณและสามารถรับชมบทสัมภาษณ์ได้ที่ www.youtube.com/NewHeartNewWorld
โจน จันได คือผู้ก่อตั้งศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์ พื้นบ้าน ‘พันพรรณ’ ศูนย์แห่งนี้ยังเป็น แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง และสวนเกษตรอินทรีย์ ตั้งอยูใ่ นอำ�เภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
21
www.punpunthailand.org
d
kunst หอศิลป์ ‘ดีคุ้น’ หอศิลป์ที่พยายามลดช่องว่าง ระหว่างศิลปะกับชุมชน จ.ราชบุรี
ko-magazine #3.2014
23
ko-magazine #3.2014
ทำ � ไมศิ ล ปะต้ อ งเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของชุ ม ชน ลองหาคำ�ตอบจากบทสัมภาษณ์นี้ดู ‘วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์’ ทายาทโอ่งมังกรราชบุรีรุ่นที่ 3 ผู้ก่อตั้ง หอศิลป์ ‘ดีคุ้น’
25
ko-magazine #3.2014
‘วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์’ ปั้นเมืองโอ่งให้เป็นเมืองศิลปะ ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยาก ‘เมืองศิลปะ’ ใช่จะสร้างกันได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเมืองศิลปะที่ทุกหลังคาเรือนมี ส่วนร่วมได้จริง แม้พวกเขาจะไม่เคยหาคำ�ตอบในความหมายของ ‘ศิลปะ’ เลยก็ตาม คือเมืองศิลปะที่ศิลปะไม่ได้ทำ�ตัวเหินห่างจากชุมชนจนกลายเป็น สิ่งแปลกปลอม ตรงกันข้าม ศิลปะและชุมชนกำ�ลังละลายเป็นเนื้อเดียวกันโดยที่ ชาวเมืองอาจไม่เคยรู้ตัว ‘ราชบุรี…เมืองศิลปะ‘ Q: คุณจะอยากสร้างเมืองศิลปะทำ�ไม ดีกรีการศึกษาจากเยอรมันก็มี แล้วยังเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของ ‘เถ้าฮงไถ่’ โรงงานโอ่งมังกรรายแรกและราย ใหญ่แห่งราชบุรีอีกต่างหาก อยู่เฉยๆ ก็ได้? A: เออ เนอะ ไปๆ มาๆ เริ่มถามตัวเองแล้วเหมือนกันนะ (วศินบุรีรำ�พึงออกมา ในขณะที่กำ�ลังใช้สมาธิอยู่กับงานเซราหมิกชิ้นใหม่ตรงหน้า) มันก็แค่มาจากความ รู้สึกชอบและอยากให้บ้านเรามีอะไรกับเขาบ้าง เอาแค่ราชบุรีก่อนนี่ล่ะ อยากให้ศิลปะอยู่กับชุมชนจริงๆ ซึ่งศิลปะชุมชนนี่ก็ไม่ได้เพิ่งมาเริ่มทำ�นะ มันเริ่ม มาตั้งแต่ผมอยู่เยอรมันแล้วมีช่วงหนึ่งได้กลับเมืองไทย (ปี 1999) ซึ่งเราไม่มี
27
คอนเน็กชั่นอะไรกับใครทั้งสิ้น ไม่รู้อะไร เลยทั้งนั้น คิดแค่ทื่อๆ ว่าอยากให้ศิลปะ ได้มาอยู่กับ ‘บ้านเรา’ กับชุมชนราชบุรี ตอนนั้นจึงไปคุยกับพิพิทธภัณฑ์ราชบุรีซึ่ง สมัยนั้นเป็นตึกร้างและเขายังไม่มีแผนจะ ทำ�อะไร เข้าไปขอสถานที่ว่าจะใช้เป็นพื้น ที่แสดงงานศิลปะ กะว่าจะยืมงานของเพื่อ นที่เยอรมันมาแสดง แล้วทำ�โปรเจ็กต์เป็น ‘โมเดินอาร์ตคอลเล็กชั่นแห่งแรกของ ประเทศไทย’ ซึ่งงานเพื่อนที่ขอมาก็เป็นคน ดังๆ ทั้งนั้น พอทางพิพิทธภัณฑ์โอเค เราก็ กลับไปคุยคอนเซ็ปต์กับเพื่อนที่โน่น จนขน ของขึ้นคอนเทนเนอร์มาถึงเมืองไทยหมด แล้ว ปรากฏพิพิทธภัณฑ์บอกว่านโยบาย เปลี่ยน เขาจะทำ�ออฟฟิศ จะใช้เป็นที่แสดง ของพื้นเมือง เราก็เสียใจนะ เพราะกว่าจะ ได้งานแต่ละชิ้นข้ามมาถึงเมืองไทยมันไม่
ใช่ง่ายๆ ตอนนั้นก็อ้าว…ทำ�ไงดีวะกู เลยต้องเอางานทั้งหมดที่ขอเ งานเรามาแล้ว ที่สำ�คัญ ‘เขาไม่ได้ให้เรานะ เขาให้เมืองเรา ให้จังห เมืองในเยอรมันที่ไม่ได้มีความสำ�คัญอะไรเลย แต่ทำ�ไมเขาถึงทำ�พ บินมารับรางวัล แล้วทำ�ไมเราจะทำ�ในเมืองราชบุรีของเราบ้างไม่ได ช็อป ในเรื่องของเซรามิกให้กับเด็กๆ นักศึกษาไปก่อน เพราะโรงง นักเรียนมาทำ�งาน ทำ� thesis เราก็ช่วยทุกคน เพราะอย่างมากเรา เป็นระบบกงสี พ่อยังทักเลยว่า เรื่องของ know-how เป็นสิ่งสำ�คัญ คนอื่นเขาหมด ซึ่งผมว่าถ้าคนนิสัยดีก็ต้องหาทางออกในแบบของต ที่ได้ไปสร้างงานในรูปแบบของตัวเองมันก็ไม่เห็นจะเป็นไร ผมว่าบ เพราะถ้าเราไม่สร้างคน บ้านเราก็จะเป็นแบบนี้ตลอดไป เราต้อง ko-magazine #3.2014
‘Clay Overture 75 ปีเถ้าฮงไถ่’ นั่นล่ะ ตอนนั้นก็เกรงใจระบบกงสีเหมือนกันนะที่ เขาต้องมาออกเงินช่วยซัพพอร์ทสตางค์ แต่ผมบอกเขาไปว่าขอให้เงินก้อนนี้ (หนึ่งล้านบาท) เป็นส่วนแรกที่จะมาใช้ หมุนเวียนเพื่อต่อยอดทางศิลปะของพวก เราต่อไป แต่ไปๆ มาๆ ค่าสติ๊กเกอร์ค่า สูจิบัตรก็หมดไปแล้วห้าแสนกว่าบาท ค่าใช้ จ่ายในงานส่วนอื่นๆ อีก แต่งานนั้นขายผล งานศิลปินได้สองแสน รวมกับที่ศิลปินเอง เขาบริจาคให้บ้างก็เลยมีเงินเหลือสำ�หรับ ตั้งต้นเพื่อทำ�โปรเจ็กต์ต่อๆ ไปประมาณ สองแสนห้า ซึ่งหลังจากนิทรรศการครั้งแรก นั้น ผมก็ไม่เคยขอเงินโรงโอ่งอีกเลย งานแรกที่จัดไปมันก็เหมือนกับเราเริ่มเข้าม าชุมชนแล้วแต่มันยังอยู่แค่ในเถ้าฮงไถ่กับ คนเฉพาะกลุ่มที่สนใจดูงานเซรามิก
เพื่อนมาไปยกให้กับหอศิลป์แห่งชาติเจ้าฟ้า เพราะเพื่อนเขาให้ หวัดราชบุรี’จากนั้นมาเราก็ยังมีความคิดเดิมว่าหลายๆ พิพิทธภัณฑ์ศิลปะระดับโลกที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งปิกัสโซหรือดาลี่ต้อง ด้!? จนกระทั่งผมกลับมาเมืองไทยจริงจังก็เลยอาสาเป็นโต้โผเวิร์ค งานเราซัพพอร์ตเรื่องต่างๆ ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ มีนักศึกษา าก็แค่เสียเวลา เสียแมททีเรียล เสียแรงงานคน ซึ่งบ้านผม ญมากสำ�หรับโรงงานเซรามิก แต่ทำ�ไมผมเอาไปสอนให้ ตัวเอง know-how มันเป็นเรื่องหนึ่ง การเอา know-how บ้านเรามีเรื่องของการก็อปปี้เยอะมาก ฉะนั้นเราต้องสร้างคน งสร้างให้คนมี signature มีตัวตนของตัวเอง ก็เลยเป็นที่มาของ 29
ถ้าพูดถึงจุดเปลี่ยนแปลงที่เข้าถึงตัวชุมชนเลยจริงๆ ก็คือหอศิลป์ดีคุ้น (d Kunst) มันเหมือนเราได้กระดึ๊บ เข้าไปหาชุมชนมากขึ้น แต่ในช่วงแรกๆ ชาวบ้านก็อาจจะยังรู้สึกว่ามันแตะต้องยาก จนพอเราเริ่ม ‘งานติดศิลป์บน’ เราได้เยาวชนมาทำ�งานด้วยกันเพียบเลย เป็นพวกน้องๆ ในราชบุรีที่ขึ้นมานั่งกิน กาแฟนี่แหละ ซึ่งการจัดหลายๆ อีเว้นท์ต่อมาก็มาจากกองเงินสองแสนห้าเดิม ถ้าเป็นงานแสดง ของเยาวขน ขายได้เท่าไร เราให้เขาหมด แต่ถ้าเป็นศิลปินเราจะขอหักสามสิบเปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยมาก ศิลปินเขาก็จะยกให้เราเองหมดเลย แต่ก็มีบ้างที่บางงานเราอาจจะได้สามหมื่นบาทจากเปอร์เซ็นต์ ของการขายงานศิลปะ แต่เอาเข้าจริงค่าอาหารวันจัดงานก็ปาเข้าไปสามหมื่นแล้ว นั่นหมายถึงเรา ไม่ได้อะไรเลย บวกลบเท่ากับศูนย์ ซึ่งก็ถือว่ายังโอเค กูไม่ต้องควักเองเยอะก็โอเคแล้ว เพราะไอ้การ ควักเนื้อมันเป็นเรื่องปรกติอยู่แล้ว Q: การนำ�พาศิลปะเข้าสู่วิถีชุมชนอันเรียบง่ายของราชบุรี มั่นใจได้ยังไงว่าพวกเขาจะสนใจใน สิ่งที่คุณพยายามขับเคลื่อนอยู่? A: มันต้องเริ่มไง ตราบใดที่เรามีแต่คำ�ว่า ‘อุดมคติ’ เราจะไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรบวกหรือลบ ดีหรือไม่ดี คนไทยสนุกและรู้สึกเท่มากกับคำ�ว่าจินตนาการ ซึ่งสำ�หรับผม จินตนาการไม่ได้มีประโยชน์ ผมเป็นคนชอบ ‘ทำ�ลายจินตนาการ’ และผมรู้สึกว่าเราต้องสอนให้คนรู้จักการทำ�ลายจินตนาการ ko-magazine #3.2014
ซึ่งมันก็คือการลงมือทำ�จริง ไม่ใช่แค่สรุปเอาเองตั้งแต่ต้นว่ามันคงเป็น ไปไม่ได้หรอก เราไม่ควรจบอยู่แค่ illusion, fantasy หรือ imagine เราต้องลงมือทำ�ด้วย พอทำ�ลงไปแล้ว ก็เท่ากับจินตนาการมันได้ถูก ทำ�ลายแล้ว Q: จากวันแรกจนวันนี้ เสียงตอบรับของชุมชนต่อ ‘หอศิลป์ดีคุ้น’ เป็นยังไงบ้าง? A: ณ วันนี้คนแถวนี้เริ่มเป็นพันธมิตรกับเรา ซึ่งมันไม่ได้ใช้เวลาแค่วันสอง วัน มันคือการที่เราต้องเข้าไปอยู่ที่นั่น ทำ�ตัวให้กลมกลืนกับชุมชน ไม่ใช่ ทำ�ตัวให้ชุมชนรู้สึกว่าเขาแตกต่าง ผมจะสอนลูกน้อง สอนเด็กๆ ในร้านตลอดว่าต้องมีสัมมาคารวะ อย่าทำ�ตัวโดดเด่น เราต้องทำ�ตัว กลมกลืนกับเขา ซึ่งพอเวลาผ่านไปจนวันนี้ น้าฮั้ว (เจ้าของร้านชำ�ที่อยู่ติด กับดีคุ้น) กลายเป็นพีอาร์ชั้นดีของเรา เวลาใครมา แกจะบอกให้เลย ‘วันนี้ปิด…วันนี้เปิด…ขึ้นข้างบนต้องขึ้นทางนี้’ ซึ่งจริงๆ เขาไม่ต้องยุ่ง อะไรเลยก็ได้ แต่เพราะอะไร เพราะเขารู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของเรา แล้วไง ซึ่งไม่ใช่แค่น้าฮั้วคนเดียวแต่ยังมีอีกหลายคนมากๆ หรือ น้องพานา หลานตัวเล็กของร้านข้าวหมูแดงจะชอบเข้ามานั่งเล่นที่ร้าน กาแฟบนหอศิลป์บ่อยๆ ซึ่งผมมองว่ามันคือจุดเริ่มต้นที่ดี การที่เด็กไม่ รู้สึกแปลกกับคำ�ว่าหอศิลป์ เขาคุ้นเคยกับมันมาตั้งแต่เล็ก พื้นที่นี้ก็จะ ไม่ใช่พื้นที่แปลกแยกสำ�หรับเขา ความคุ้นเคยเล็กๆ น้อยๆ กลายเป็น สิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำ�วัน จนอีกหน่อยเขาจะเริ่มคิดต่อว่า เอ๊ะ…แล้ว หอศิลป์ที่อื่นจะเป็นยังไง จะเหมือนบ้านเราไหม แต่ถ้าราชบุรีไม่มีหอศิลป์ ไม่มีศิลปะให้เด็กทำ� วันนึงเขาจะรู้สึกไม่คุ้นเคยและไม่รู้สึกว่ามันต้องมี จริงๆ คำ�ว่า ‘ศิลปะ’ มันไม่ได้ยากนะ ผมว่าแค่การจัดวาง การแขวน ปฏิทิน มันก็เป็นการมองอย่างมีองค์ประกอบทางศิลปะได้ การแขวน กระจกอันหนึ่งว่าไว้มุมนี้สวยไหม ดีไหม ชัดไหม นี่ก็เป็นรูปแบบหนึ่ง ของการจัดองค์ประกอบเพื่อให้ตัวเราเองชอบว่า
31
‘เออๆ แขวนตรงนี้สวยดีนะ’ ซึ่งสวยที่เรารู้สึกของเราก็ไม่ได้เป็นสากล ความงามไม่ได้เป็นสากล มันเป็นความชอบของปัจเจกแต่จากนั้นก็เป็น ไปได้ว่าจะมีคนอีกจำ�นวนหนึ่งอาจเห็นคล้อยตามว่า เออวะ มันสวยจริงๆ Q: ปัญหาของการทำ�หอศิลป์ดีคุ้น คืออะไร? A: ปัญหาคือกูทำ�คนเดียว! มันเหนื่อยนะ เพราะงานก็ไม่ได้มีแค่นี้ ต้องคิด ตั้งแต่ตัวงาน คุยงาน เตรียมงาน พีอาร์งาน หาเงิน ทำ�มันทุกอย่างนี่ล่ะ ก็มั่วๆ งงๆ บ้างอะไรบ้าง ซึ่งถามว่าอยากยึดอำ�นาจอยู่ศูนย์กลางคน เดียวหรือเปล่า กูไม่ได้อยากยึด! แต่กูไม่มีคน ช่วงแรกๆ ก็มีเด็กนักศึกษา มาช่วยหรอก แต่ตอนหลังเขาเอาเราไปพูดไม่ดีเสียๆ หายๆ ก็เลยเข็ด ที่จะเชื่อใครแบบนี้อีกแล้ว Q: สำ�หรับคุณ ‘ศิลปะกับชุมชนเมืองราชบุรีในวันนี้’ ใกล้จะเป็น เนื้อเดียวกันหรือยัง? A: ยังหรอก มันเพิ่งเริ่มต้นด้วยซ้ำ� คิดดูว่าทั้งราชบุรีมีตั้งกี่ครอบครัว
แล้วจากที่เราเดินเข้าไปเคาะประตูบ้านแนะนำ�ตัว คุยโปรเจ็กต์ปกติศิลป์ที่ผ่านมาให้เขาฟังจนมีห้าสิบครอบครัวซึ่งเ จากความคิดของเรา เราอยากเป็นเบื้องหลัง ถ้าเด็กๆ เขาอยากทำ�อะไรให้เขาไปคิดแล้วเอามาคุยกัน เพราะถ้าทุก อาจจะคึกหน่อย แต่ปีหน้าอาจจะไม่มีเลยสักงานก็ได้ เพราะเราก็เหนื่อยเหมือนกัน เราถึงอยากให้ทุกคนคิดและเรา ที่ไม่มีแบ็คกราวด์อะไรทั้งนั้นมาก่อนเลย จะเข้าไปคุยกันท่าไหนล่ะ
Q: จาก 50 บ้านในวันนี้ คุณคาดหวังยังไงกับจำ�นวนครอบครัวที่จะมาเข้าร่วมโครงการศิลปะในโอกาสต่อๆ ko-magazine #3.2014
เข้าร่วมกับเรา มันเป็นการเดินทางที่ดูจะยังอีกไกลมากนะ แต่ก็คุยกับพวกเด็กๆ ในชุมชนว่า ไม่อยากให้ทุกงานเกิด กงานมาจากเราหมดก็หมายถึงปีนี้ าจะเป็นเบื้องหลัง แต่ว่าไป มันก็ยาก เพราะขนาดเราเอง เวลาต้องเข้าไปคุยกับราชการยังยากเลย แล้วพวกเด็กๆ
ๆ ไป? 33
ko-magazine #3.2014
A: ค่อยๆ เพิ่มทีละบ้านก็ดีนะ ได้เพิ่มมาสักปีละบ้านก็ถือว่ากำ�ไรแล้ว คล้ายๆ คนทำ�งานศิลปะแหละ ขายได้ก็ถือว่าเป็นกำ�ไร ถ้าขายไม่ได้ อย่างน้อยเราก็ได้ทำ�งานของเราให้เห็นสำ�เร็จออกมาเป็นรูปธรรม แล้ว บางคนอาจะบอก ใช่สิ ก็มึงมีโรงงานหนิ มึงก็ไม่ต้องคิดมากสิ อ้าว…แล้วไง? ก็กูเป็นอย่างนี้ และโรงงานมันก็มีของมันอยู่แล้ว จะให้ทำ�ไง? ซึ่งในเมื่อมีโรงงานแล้วทำ�ไมกูจะใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิด ความสุขตามที่ต้องการไม่ได้ล่ะ ในชีวิตประจำ�วันของคนคนหนึ่ง มีอะไรตั้งเยอะแยะที่เราไม่อยากทำ� แต่จำ�เป็นต้องทำ� งั้นแล้วทำ�ไมสิ่งที่เราต้องการ เราจะไม่ทำ�ล่ะ Q: “เขาก็ทำ�ได้สิ เขามีตังค์ เขาคือเถ้าฮงไถ่” … คุณคิดอย่างไรกับประโยคนี้? A: (ถอนหายใจ…เฮือก) จริงๆ เคยโมโหอาจารย์อยู่คนนึงนะ แกพูดว่าก็เถ้าฮงไถ่นี่หว่า จะทำ�อะไรก็ได้ เราก็อยากถามกลับไปเหมือนว่า แล้วกูต้องทำ�เหรอ? กูไม่ต้องทำ�ก็ได้! เฮ้อ!! (ถอนอีกเฮือก)…ทำ�ไมไม่ดู ที่เจตนาของการกระทำ�แทนที่จะมาช่วยคิดกันสร้างแต่กลับนั่งคิดกันแบบนั้น อย่างทุกวันนี้ ถามว่าคาดหวังเลยไหมว่าคนจะต้องมาชอบศิลปะในทันที ผมไม่เคยคิดนะ ทุกอย่างเราต้องทดลอง ถ้าไม่ทำ�ก็ไม่รู้ แต่ผมอยากรู้ผมก็เลยต้องทำ� อย่างหอศิลป์เราก็ไม่ได้มานั่งเร่งเวลาแต่เป็นการทำ�ไป เรื่อยๆ มีเวลาก็ทำ� มีตังค์ตอนไหนกูก็ทำ� และส่วนของร้านกาแฟ จริงๆ แล้วมันเป็นแค่ตัวเชื่อม เพราะทำ�หอศิลป์อย่างเดียวคนไม่เข้าหรอก ซึ่งพอมีร้านกาแฟ คนที่เข้ามาดื่มกาแฟเขาก็ได้เสพในส่วน ของหอศิลป์เป็นของแถมกลับไปนิดๆ หน่อยๆ ‘ศิลปะอาจจะเป็นของแถมในวันนี้ แต่มันอาจเป็น เมนหลักของเขาในวันหน้าก็ได้’ เพราะเอาเข้าจริง เราพูดกันว่า ‘คนไทยไม่สนใจศิลปะ’ แต่เคยคิดไหม ว่า ‘หรือแท้ที่จริงแล้วศิลปินต่างหากที่ไม่สนใจคนทั่วไป?’ ศิลปินมักจะทำ�งานตอบสนองแต่ need ตัวเอง หรือเราต่างหากที่ทำ�ตัวเหินห่างจากคนทั่วไป? ศิลปะของผมที่ทำ�ๆ อยู่เลยทำ�ให้มันง่ายจนเคย มีคนรู้จักทักงานของเถ้าฮงไถ่ว่าทำ�ไมเชย ผมก็เออ ไม่สนใจ เชยก็เชย ผมอยากทำ� ผมทำ� ผมไม่ได้คิด ว่าตัวเองจะต้องทำ�งานเพื่อตอบสนองกลุ่มดีไซน์เนอร์หัวสูงหรืออะไร เราแค่ทำ�งานเพราะเราสนุก และเราอยากเห็นมันออกมาเป็นรูปธรรม ก็แค่นั้น…จบการสัมภาษณ์…วศินบุรีมองหน้าเราและถามว่า “เฮ้ย… นี่กดเทปสัมภาษณ์ไปแล้วเหรอ”…เรายิ้มพร้อมพยักหน้า และบอกเขาว่า “ไม่ได้มาสัมภาษณ์ ที่มาเนี่ยเพราะอยากได้ตัวตน“ ฟังเสร็จ เขาไม่สนใจอะไรมากไปกว่าพูดลอยๆ ขึ้นมาว่า “เออ เว้ย” จากนั้นก็ก้มระบายสีลงเซรามิกที่รอเข้าเตาเผาต่อไป
35
CreativeMOVE is a social innovation agency. Our mission is to create social impact throu www.creativemove.com ko-magazine #3.2014
ugh creativity, art & design.
About the Writer Pat (Pattrica Lipatapanlop) พัทริกา ลิปตพัลลภ (แพท) ทำ�งานอยู่ที่กองบก. นิตยสารเล่มหนึ่งแต่เธอไม่เคยเรียกตัวเองว่า ‘นักเขียน’ เธอเป็นแค่ ‘คนเล่าเรื่อง’ ที่สนุกกับ การเดินทางลำ�บากเพราะไปสบายทีไรไม่เคยมี อะไรให้เขียน ดวงของเธอสมพงษ์ มากกับกลุ่มคนทำ�งาน ศิลปะที่เธอเรียกว่า ‘ARTDERGROUND’ ซึ่งอาร์ตเด้อกราวด์คือพวก ‘คนมีของ’ ทำ�งาน ศิลปะจากเนื้อแท้ไม่ดัจริตเป็นอาหารจานเดียวใน โลก เป็น ‘ของจริง’ ที่รอให้ใครสักคนไปขุดเจอซึ่ง เธอดันชอบถือจอบด้วยสิ
Credit www.creativemove.com รูปภาพ โดย facebook.com/THT.dKunst facebook.com/wasinburee.supan ichvoraparch * บทความทั้งหมดที่นำ�เสนอในคอลัมน์นี้ นำ�มาจาก www.creativemove.com เรามิได้มีเจตนาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาแต่ อย่างใด หากแต่มุ่งหวังที่จะบอกต่อเรื่องราว ที่เห็นว่ามีประโยชน์ ขอบคุณและขออภัย creativemove มา ณ ที่นี้ หากเป็นการไม่สมควร
37
คิดจะสดชื่น... คิดถึง
Dewa
คนรักศิลปะ
ผลงาน โดย โกยัพ คอนหวัน
ART & Skill
ศิ ล ป ะ ก า ร แ ก ะ โ ฟ ม
39
ko-magazine #3.2014
41
ko-magazine #3.2014
43
ko-magazine #3.2014
45
ko-magazine #3.2014
47
ko-magazine #3.2014
49
ko-magazine #3.2014
51
ko-magazine #3.2014
53
ko-magazine #3.2014
55
ko-magazine #3.2014
57
ko-magazine #3.2014
59
ko-magazine #3.2014
61
ko-magazine #3.2014
63
ตอนแรกผมก็จับทางไม่ถูกเพราะ ผมโตมากับงานที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์.. ทุกอย่างทำ�จากมือหมด พอมาเจอ ช่วงรอยต่อเป็นช่วงที่งานโฆษณาเริ่มใช้ เครื่องพิมพ์..เลยต้องหาแนวให้กับ ตัวเองใหม่ พอดีผมเป็นคนเขียนโฟมเวทีอยู่แล้ว ..เลยลองแกะประยุกต์งานให้กับคนที่ มาจ้าง..ก็เลยเป็นช่องทางเปิดทำ�ให้เรา ไม่ตายกับความคิดและอาชีพ ผมอยากให้น้องๆรุ่นหลังมีพื้นฐาน การสเก็ตแบบแน่นๆ..แล้วความคิด เชิงสร้างสรรค์งาน มันจะตามมา..
โ ก ยั พ ค อ น ห วั น
65
ตกตะกอน รู้ว่าต้องทำ� รู้เลยว่าต้องทำ� อย่างเนี่ย ทำ�ได้ (เสียงมั่นใจ) รู้เลย นอนก็คิด เดินไปไหน ก็มีสิ่งนี้อยู่ในหัวตลอดเลย กูทำ�ได้ จริงๆ นะเนี่ย กูเอาอยู่แน่ๆ เลย ออกไปเล่าเรื่องคนเดียวเนี่ย จริงๆ กูทำ�ได้จริงๆ (หัวเราะ) แม่งไปพูดให้ใครฟัง ก็ไม่มีใครเชื่อ มันเหมือนกับ
“กูว่า..ผีมีจริง” “ไหน...ไหน...ผีมีจริง มึงเจอที่ไหน” (เสียงดูแคลน) “กูยังไม่เคยเห็นหรอก..แต่กูว่ามีจริง” อุดม แต้พานิช ส่วนหนึ่งในหนังสือ ตัวกู-ของกู โดย สันติ แต้พานิช
หน้า ๓๙ บรรทัด ๑-๘ ko-magazine #3.2014
67
Issue 3 MAY 14
K
K
MAGAZINE
Contact us
Facebook / นิตยสาร ก.
Read me & Free download
issuu.com / jaaaaazy