Ko magazine issue 004

Page 1

Issue 3 MAY 14

KK

K

MAGAZINE M It'sAIntellectual G A Masturbation ZINE

NAKHONSAWAN PROVINCE Issue

04 JUNE 2014


Editor's

ขอทำ�ตัวเป็นคนขี้อวดสักครั้ง!! ผมภาคภูมิใจและอยากจะอวดรูปหน้าปกนิตยสารฉบับนี้อย่างออกนอกหน้า เราทั้งคู่พบกันในกลุ่มสังคมออนไลด์ที่ใช้ชื่อว่า ‘เสน่ห์เมืองปากน้ำ�โพ’ หลังจากที่คลิกเข้าไปดูรูปนี้แบบชัดๆ เพียงในเวลาไม่เกิน 2 นาทีเห็นจะได้ ผมก็ไม่ลังเลใจแม้แต่น้อยที่จะส่งข้อความแสดงตัว และเอ่ยปากขออนุญาตใช้รูปนี้ จากเจ้าตัว..ผู้เป็นเจ้าของภาพตัวจริงแบบไม่อาย การเจรจาสำ�เร็จดั่งใจหมาย!! เจ้าของรูปนี้น่ารักกับผมมาก ยินดีและให้เกียรตินิตยสาร ก. เป็นอย่างยิ่ง และแล้ว..ผมก็ได้รูปที่ผมต้องการมาขึ้นปก KO-Magazine ฉบับที่ 4 สำ�หรับหนังสือหรือยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเป็นนิตยสารด้วยแล้วหล่ะก็ ‘หน้าปก’ เพียงหน้าเดียวอาจชี้เป็นชี้ตายในเรื่องของความนิยม รวมถึงยอดขายหนังสือเล่มนั้นๆ ได้เลยทีเดียว เค้าว่ากันว่า...นอกจากความสวยงามในเชิงศิลปะ หน้าปกที่ดีจะต้อง ทำ�ตัวกึ่งเด็กมีปัญหาเรียกร้องความสนใจอย่างน่าเอ็นดู อธิบายความพอมีนัยสั้นๆ ชวนให้ค้นหาภายในจากหน้ากระดาษที่เหลือ นิตยสารส่วนใหญ่มักใช้นายแบบ นางแบบ หรือผู้ที่อยู่ในกระแสความสนใจของผู้คน ณ ช่วงเวลานั้นๆ เพราะเป็นดั่งแรง ดึงดูดสายตาผู้ที่เดินวนเวียนอยู่หน้าแผงหนังสือได้อย่างฉมังนัก Issue 4 JUNE 2014

facebook.com/komagazine

Read me & Free download

issuu.com/jaaaaazy

K

K

Contact us

MAGAZINE

ko-magazine #4.2014


คุณสมบัติคร่าวๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด หากนิตยสารเล่มไหนจับมันมาใส่ไว้ได้ นั่นหล่ะ..ถือเป็นหน้าปกที่ทำ�หน้าที่ของตัวมันเองได้สมบูรณ์แบบทีเดียว ฉะนั้นแล้ว..ในช่วงเวลาก่อนที่หนังสือจะถูกนำ�เสนอสู่สายตาชาวโลก ความเป็น Secret ของมันถือเป็นสิ่งสำ�คัญอีกข้อหนึ่ง มิอาจยอมให้เล็ดรอดออกไปสู่สายตาชาว บ้านได้เป็นอันขาด ด้วยเงื่อนไขอย่างที่ว่าไว้ ผมจึงต้องตรวจสอบคุณสมบัตินี้กับรูปที่ ผมหมายปรองอีกครั้ง วินาทีต่อมา...สิ่งที่ปรากฎ 214 และตามด้วย 8,xxx มันคือจำ�นวนยอด Like ของรูปนี้ ต่อด้วยจำ�นวนสมาชิก ในกลุ่มทั้งหมด ตัวเลขทั้งสองทำ�ให้ผมเข้าใจได้ว่า อย่างน้อยที่สุด 214 คน...หรืออาจ จะเป็นทั้งหมดของจำ�นวนสมาชิกในกลุ่มนี้ที่ได้ชื่นชมรูปนี้แล้ว มิหนำ�ซ้ำ�อาจจะมากกว่า ที่ผมคิดด้วยซ้ำ�ไป แต่ด้วยความที่ผมชอบรูปนี้มาก ชนิดที่เรียกว่าเห็นปุ๊บ..ก็รักเลย และภาคภูมิใจเป็นยิ่งนักที่จะได้อวดมุมสวยๆ ของบ้านเกิด เมืองนอน (อืมมมม! จริงๆ แล้ว...ก็...ไม่ได้แค่ใช้เป็นที่เกิดและนอนเท่านั้นอ่ะนะ) ผมจึงไม่ใยดีกับตัวเลขที่เห็น และก็ไม่ได้คิดอะไรที่มันซับซ้อน เหตุผลเดียวเลยก็คือว่า ประชากรทั้งโลกที่เหลือ น่าจะยังไม่เคยได้เห็นรูปนี้...ผมจึงขอทำ�หน้าที่แบ่งปันมันอีกสักหนเถอะ

“ไม่เชื่อก็ดูซิ... บ้านผมสวยใช่มั้ยหล่ะ” ปล. ขอบคุณน้องแชมป์ (ตากล้อง) และกลุ่ม ‘เสน่ห์เมืองปากน้ำ�โพ’ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย กิจจา ทั่งศิริ

KITJA TANGSIRI

3


CONTENTS ISSUE 04

Good Share 06 ในความทรงจำ�เดียวกัน 10 หลีลูกชิ้นปลา

โลกเปลี่ยนไป เมื่อใจเปลี่ยนแปลง 14 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี

Interview 20

สรรเพชญ นิสสภา

Sediment 30

จิรัฏฐ์ พรพนิตพันธุ์

คนถ่ายปก 32 ธรณ์ สุขเมือง

Uthaitani 34

by WORAWUT TAMTHINTHAI

Thanks

for Contribute Thon sukmuang ( photograph of Cover ) Worawut Tamthinthai ( photograph of Column Uthaitani ) Kate Phiphatchayakul Noppamas Ruangjutipopan Titiwat Intama The Burger Lab ko-magazine #4.2014

facebook.com/The Burger Lab


คิดจะสดชื่น... คิดถึงน้ำ�แก้ว

Dewa 5


Good Share

HE LP

DE SK

Coca-Cola ประเทศเยอรมนี ทำ�เก๋เปิดตัว “The mini CocaCola” ที่มีความจุเพียง 0.15L (150 ml) โดยใช้แคมเปญในการทำ�การ ตลาดด้วยการสร้างร้านขายของชำ�ย่อ ส่วนให้สมกับขนาดของเจ้า “The mini Coca-Cola” เคียงคู่กับตู้ หยอดโค๊กมินิ กลยุทธ์นี้สามารถดึงดูด ความสนใจแก่ผู้พบเห็น จนอดไม่ได้ที่ จะต้องควักเหรียญในกระเป๋าเพื่อ หยอดเจ้าโค๊กมินิออกมายลโฉม อีกทั้ง แคมเปญนี้ยังกลายเป็นกระแสในโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างรวดเร็ว เพราะทุก คนที่พบเห็นมันเป็นต้องโฟสท่าถ่ายรูป กับเจ้าร้านค้าไซด์มินิกันแทบทุกคน

THE mini Coca-Cola

ที่มา www.tcdcconnect.com

“Help Desk” โต๊ะเรียนจากกล่องกระดาษเพื่อเด็กด้อย โอกาศ ในประเทศอินเดีย มันเป็นทั้งโต๊ะและกระเป๋าใส่อุปกรณ์การ เรียนในเวลาเดียวกัน Aarambh คือมูลนิธิเด็กที่ทำ�งานแก้ปัญหาเกี่ยว กับเด็กๆ ในประเทศอินเดีย ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน จึงคิดค้นโต๊ะเรียนหนังสือสำ�หรับเด็กที่ด้อยโอกาศเหล่านี้ ในประเทศ อินเดียมีเด็กจำ�นวนมากที่ต้องนั่งเรียนหนังสือกับพื้นว่างเปล่า ซึ่งส่งผล เสียแก่เด็กๆ ทั้งปัญหาเรื่องสายตา สภาพร่างกายโดยรวม อีกทั้งเรื่อง สมาธิในการเรียนน้องลง Aarambh แก้ปัญหาโดยการนำ�กล่องกระดาษ เก่ามาดัดแปลงเป็นโต๊ะเรียนอเนกประสงค์ เป็นได้ทั้งโต๊ะเรียน และกระเป๋าใส่หนังสือ ทำ�ให้เด็กๆมีความสุขในการมาเรียน หนังสือมากขึ้น ที่มา www.marketeer.co.th ko-magazine #4.2014


Good Share

STRIDER จักรยานสำ�หรับเจ้าตัวเล็ก Strider คือยี่ห้อของจักรยานสำ�หรับเด็กที่เริ่มต้นฝึกขี่จักรยานโดยเฉพาะ

ถ้ามองดีๆ จักรยานคันนี้จะไม่มีจานปั่น มันถูกคิดค้นโดย McFarland เมื่อครั้งที่เค้าพยายามหัดให้ลูกชายวัย 2 ขวบขี่จักรยาน เริ่มจากสอนการทรงตัวและการออกแรงปั่นจักรยานโดยที่เท้าทั้งสองไม่แตะพื้น แต่การที่เด็กในวัยขนาดนี้จะทรงตัวได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างแน่นอน เค้าจึงแก้ปัญหาโดยการถอด จานปั่น โซ่ และบันไดถีบออกซะเลย เหลือไว้เพียงตัวจักรยานและล้อเท่านั้น จากนั้นก็ให้ลูกชาย ของเค้าค่อยๆ ก้าวเท้าไปพร้อมจักรยาน และให้เพิ่มความเร็วในการก้าวเท้าไปข้างหน้า จนกระทั้งลูกชายของเค้ายกเท้าทั้ง 2 ข้างและทรงตัวอยู่บนหลังอานจักรยานได้เองโดยไม่รู้ตัว และในที่สุดก็สามารถขี่จักรยานปกติได้ด้วยตัวของเจ้าหนูน้อยเอง เด็กๆ จะมีความสุขมากกว่า การหัดด้วยจักรยานปกติ เพราะเค้าสามารถไปไหนต่อไหนได้พร้อมจักรยาน โดยไม่รู้สึกว่านี้คือ อุปสรรคแต่อย่างใด เค้าคิดว่ามันคือของเล่นชิ้นใหม่ชิ้นนึง เมื่อปีที่ผ่านมา STRIDER มียอดขาย ทั่วโลกราว 10 ล้านดอลลาร์ หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่มีเจ้าตัวน้อยและถึงวัยขี่จักรยานได้แล้ว สามารถหาซื้อได้แล้วในประเทศไทย ที่มา www.businessinsider.com

7


Good Share

Safety Duck “ เป็ดน้อยตัดไฟรั่ว” อ.ดุสิต สุขสวัสดิ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ใส่ใจและให้ความสำ�คัญ ที่จะแก้ปัญหาที่เกิดจากอุบัติเหตุ ‘ไฟฟ้ารั่ว-ไฟฟ้าดูด’ โดย เฉพาะที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ Safety Duck ถูกออกแบบให้ใช้งานสะดวกมาก โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบติดตั้ง อะไรมากมาย เพราะมันเป็นเสมือนปลั๊กพ่วงสายไฟ มีหน้าที่ เป็นตัวกลางระหว่างเครื่องใช้ไฟฟ้าและปลั๊กไฟหลัก หากโรงเรียน ใดสนใจ‘เป็ดน้อยตัดไฟรั่ว’ สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ www.facebook.com/SafetyDuck ที่มา www.tcdcconnect.com

curfew japan

ที่เมือง Kariya จังหวัด Aichi ประเทศญี่ปุ่น ทั้งสมาคมผู้ปกครอง คุณครู นักสังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่ตำ�รวจ มีความกังวลและเป็นห่วงลูกหลาน ที่ยังอยู่ในระดับชั้นประถมจนถึงมัธยมศึกษา ตอนต้น เกี่ยวกับผลกระทบจากการติดโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนที่มากเกินไป จึงออกกฎร่วมกัน โดยในช่วงเวลาหลัง 21.00 น.ไปแล้ว เด็กๆ ทุกคนจะต้องหยุดเล่นและฝากสมาร์ทโฟนไว้กับคุณพ่อ คุณแม่ อย่างไรก็ดีประกาศเคอร์ฟิวฉบับนี้ไม่มีผลบังคับทางกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความ สมัครใจของผู้ปกครองแต่ละครอบครัว ถึงอย่างไรก็ยังมีความคิดเห็นส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับเคอร์ฟิว ฉบับนี้ ที่มา www.japandailypress.com

ko-magazine #4.2014


HOMEMADE RESTAURANT 211/1 ถ.โกสีย์ ต.ปากน้ำ�โพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์, Amphoe Muang Nakhon Sawan, Thailand 60000 Tel. 081 044 8855 facebook.com/BaanMaiHomemade 9

BaanMaiHo

memade


ในความทรงจำ� ( เดียวกัน )

เรื่อง

กลุ่มเล่าเรื่องอดีตของปากนำ�้ โพ

ko-magazine #4.2014


สวีสดีค่ะ หลีลูกชิ้นปลา ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลากราย เป็นเจ้าแรกใน จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้ชื่อหลีลูกชิ้นปลา ตามชื่อ นายหลี ซึ่งคนเก่าแก่ใน ตลาดปากน้ำ�โพจะรู้จักเป็นอย่างดี ได้ป้ายเปิบพิสดารปี 2526 ปัจจุบันเปิดให้บริการ 2 ร้านหลัก ร้านหลีลูกชิ้นปลา ถ.สุชาดา ร้านหลีลูกชิ้นปลา 2 ถ.โกสีย์ หน้าโรงน้ำ�แข็งหลอดนครสวรรค์ ค่ะ อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม 056-314 292 ขอบคุณค่ะ คิดถึงลูกชิ้นปลากราย คิดถึงหลีลูกชิ้นปลาน่ะค่ะ ฟิกค์ ธัญวรัตม์

เคยเดินไปซื้อที่บ้านนายหลีจะอยู่หลังอำ�เภอทะลุซอยดาวดืงศ์นายหลีก้มๆ เงยๆทำ�ลูกชิ้น เห็นกะละมังอลูมิเนียมใบใหญ่มีสายยางปล่อยน้ำ�ใส่ลูกชิ้นลอย อยู่ในนั้น เราเป็นเด็กก็เห็นเท่านั้น (๕๐) กว่าปีแล้วนะ Walai Phisannoradej

เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน จะผลิตกันที่ซอยนิติธรรม หลังธนาคารไทยพานิชย์ครับ บ่ายๆจะมีกลิ่น เจียวกระเทียมด้วยน้ำ�มันหมูโชยมาทุกวัน เย็นๆก็จะมีร้านขายอยู่ริมน้ำ�เป็นร้านแรกๆ ถัดจากขนมแม่กุหลาบ ร้านบัวเกี๊ย โรตี แล้วก็ร้านตาหลี ถัดไปเป็นหอยทอดเจ๊ฮวย ^^ Nawaphan Hemachadviroon

ก่อนหน้าจำ�ไม่ได้ครับ กินครั้งแรกขายที่ถนน ศวิตชาต1 หน้าร้านลดาไหมไทยปัจุบัน พ.ศ.2517 สี่สิบปีพอดี กรธัช อัตตนนท์

11


ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ .. ผิดพลาดอย่างไร แย้งได้เลยนะครับ .. คิดว่า ทุกคนก็คงอยากได้ข้อมูลถูกต้องที่สุด / ผมได้ ลิ้มรส “ลูกชิ้นปลา เฮียหลี” เมื่อปี พ.ศ.2512 ที่ตรอก ห้องอาหารมานะกิจ โดยร้านของเฮียหลี จะไม่มีตู้ใส่เส้นก๋วยเตี๋ยว และเส้นหมี่ขาวแบบโบราณ แต่เฮียจะใส่ ในกระจาดแทนตู้ ร้านเฮียเป็นรถเข็นทำ�ด้วยไม้ โต๊ะนั่ง เก้าอี้ ก็เป็นไม้ แบบเก่า ... ผมชอบสั่ง เส้นหมี่ขาวแห้ง 1 น้ำ� 1 เพราะเส้นจะหอม และนุ่มมาก กินกับลูกชิ้นปลา ลูกเล็กๆ แบบคนนครสวรรค์ อร่อยสุดยอดครับ ... คนที่ปรุงจะมี 2 คน อาเฮียตัวเล็กๆ แล้วก็ เฮียหลี / ในตรอกนี้ .. จะมีร้านอาหารหลายร้าน มีร้านก๋วยเตี๋ยวราดหน้า 2 ร้าน ร้านถัดจาก ร้านเฮียหลี อาเฮียจะตัวสูงใหญ่ ผมน้อยสัก หน่อย ร้านนี้จะผัดอย่างใจเย็น พิถีพิถัน สะอาดมาก อร่อยทั้ง ราดหน้า และผัดซี่อิ๊ว .. ขอโทษด้วย ที่ลืมชื่อไปแล้วครับ.. เมื่อไม่กี่วัน ก่อน ยังเจอลูกเขยแกเลย (เฮียชุ้น ร้านวิชัย พาณิชย์ ขายน้ำ�มันเครื่องที่ตึกทรัพย์สินฯ

ตลาดบ่อนไก่ . แต่ตอนหลัง เฮียชุ้นแต่งงานกับ ลูกสาวเฮียราดหน้า เลยแยกไปเปิดร้านอาหาร ที่ ถนนดาวดึงส์) / ราดหน้าอีกร้านหนึ่ง ชื่อร้าน “โกหย่วน” เป็น “ขวัญใจ นศ. วค.น.ว.” เพราะจานเดียว คนกินจุ อิ่มพอดี อิ อิ ... ร้านนี้ ผงชูรสใส่ขวดแม่โขง เวลาใช้ ก็เทใส่ กะทะเหล็ก ที่ผัดผักเลย ... “น่ากลัว” ตอนที่แก หันไปคุย แล้วผงชูรสก็ยังไหลไม่หยุด ...... เอาแค่นี้ก่อน .. อ้อ..เกือบลืม ..ถ้านั่งกินที่ร้านนี้ มีดีตรงที่ อยู่ตรงข้าม ห้องอาหารมานะกิจ พอดี ซึ่ง จะมี “ตู้เพลงแบบแผ่นเสียง(Jukebox)” ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงฝรั่ง ตามความนิยม ในสมัยนั้น .... พอเราสั่งก๋วยเตี๋ยวแล้ว ก็เดินข้ามถนน ไปหยอดตู้เพลง.. ที่เลือกบ่อยๆ ก็มักจะเป็น เพลงของ C.C.R. , เพลงYellow River .... ขอแค่นี้ก่อนนะครับ ... ขอบคุณที่อ่านมาถึงจนถึงตรงนี้ 1

2

3

4

Vi Chet * ใช้สิทธิ์พาดพิง แม่โขง 1

ตำ�นานสุราไทย

2

Jukebox

3

ตู้เพลงหยอดเหรียญ

เพลง Yellow River

คณะ CHRISTIE

ko-magazine #4.2014

4

C.C.R

คณะCREEDENCE CLEARWATER REVIVAL


* ตามหาความทรงจำ�ที่เหลือได้ใน facebook/กลุ่มเล่าเรื่องอดีตของปากน้ำ�โพ

13


โลกเปลี่ยนไป เมื่อใจเปล่ียนแปลง เรื่อง New Heart New World by Magnolia ภาพ New Heart New World

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ

นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส

ko-magazine #4.2014


ทุกวันนี้เราไม่มีความเชื่อถือไว้วางใจต่อกัน ทำ�อะไรก็ยาก สังคมไทยไม่เคยมีวัตถุประสงค์เดียวกัน ก็จึงไม่มีพลัง ก็เป็นวัตถุประสงค์ส่วนบุคคล ของกลุ่มของพรรค ขององค์กร ของสถาบัน ถ้ามีวัตถุประสงค์ตรงกันได้เมื่อไหร่ มันจะเกิดพลัง

15


ko-magazine #4.2014


เดิมก็เหมือนคนทั่วๆ ไป เราเรียนหนังสือ มาเยอะ มันก็อยู่ในความบีบคั้น เวลาทำ�งานมัน ก็มีความทุกข์ มันไม่ได้อย่างใจ คนเราควรจะมี ความดี แต่ว่าเวลาทำ�งานก็จะต้องเจอ...จริงๆ คนเราไม่ได้เป็นอย่างนั้น เราก็จะโกรธ เกิดความหงุดหงิด เกิดความรำ�คราญเรียกว่า... แม้แต่ยึดมั่นถือมั่นในความดีก็นำ�ความทุกข์มา ให้ ทีนี้ก็มาเจอ..ว่าเอ๊ะ! เราเสียเวลา เสียพลัง งานไปเยอะ กับไอ้ความโกรธความเกลียดอะไร พวกเนี่ย! แล้วไอ้ความรู้ในตัวเราไม่พอ ก็เลยไป สนใจความรู้ทางพระพุทธศาสนา เดิมต้องถือ ว่าเราอยู่ในฐานะถูกบีบคั้นอยู่ในตัวเอง ตัวเอง เนี่ย! มันเป็นที่คับแคบ ฉะนั้นเมื่อจิตมันอยู่ในตัว เองมันก็ถูกบีบคั้น จะรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ แล้วแต่... แต่ส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกตัว รู้แต่ว่ามัน ไม่เป็นอิสระ มันหงุดหงิด มันรำ�คราญ

เพราะฉะนั้นมันต้องเรียนรู้ และที่จะทำ�อะไรให้ สำ�เร็จหรือไม่สำ�เร็จมันมีคนเกี่ยวข้องเยอะ เรา รู้คนเดียวก็ไม่สำ�เร็จ เพราะฉะนั้นต้องเรียนรู้ ร่วมกันในการปฏิบัติ ในการปฏิบัติเนี่ย! มันเป็น ของจริงมันต้องลงมือทำ� มันก็ต้องมีความถ่อม ตัว ไม่ใช่เอาตัวเราเองเป็นที่ตั้ง คนอื่นก็มีความ สำ�คัญ มันก็ต้องมีความรักความเมตตาต่อคน อื่น ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่มี มีแต่ความหมั่นไส้ รำ�คราญ เกลียดกันโกรธกันมันก็เรียนรู้ร่วมกัน ไม่ได้ ใช้วาจาที่ไม่ดีต่อกัน ลองสังเกตดูสิ!... ทุกวันนี้เราไม่มีความเชื่อถือไว้วางใจต่อกัน ทำ� อะไรก็ยากสังคมไทยไม่เคยมีวัตถุประสงค์เดียว กันก็จึงไม่มีพลัง ก็เป็นวัตถุประสงค์ส่วนบุคคล ของกลุ่มของพรรค ขององค์กร ของสถาบัน ถ้ามีวัตถุประสงค์ตรงกันได้เมื่อไหร่มันจะเกิด พลัง ที่เราทำ�ปฏิรูปประเทศไทย ปัญหาใหญ่

มันอาจมีการสอนศีลธรรม แต่...ศีลธรรมก็ไม่ เกิด เพราะศีลธรรมไม่ใช่วิชาศีลธรรมคือการ ปฏิบัติ ศีลธรรมคือการอยู่ร่วมกัน และชุมชน ก็คือการอยู่ร่วมกัน

ที่สุดอยู่ที่โครงสร้างอำ�นาจ ประเทศเราเนี่ย!... ปกครองโดยรวมศูนย์อำ�นาจไว้ที่ส่วนกลาง ทำ�ให้การต่อสู้ทางการเมืองมันรุนแรง เพราะว่าถ้าใครชนะ มันกินรวบ หมดทั้งประเทศ

17


ไม่ว่าจะใช้เงินเท่าไหร่ ใช้ความรุนแรงก็ได้ขอ แค่ให้ฉันได้อำ�นาจ เพราะฉันกินรวบหมด มันก็เลยวนเวียนกันอยู่อย่างเนี่ย! ปัญหา!.. ชุมชนท้องถิ่นก็อ่อนแอ ราชการก็ไม่เวิร์ค การเมืองก็คุณภาพต่ำ� คอรัปชั่นก็มาก เพราะ มันยึดอำ�นาจได้ง่าย เพราะมันรวมศูนย์ แต่ถ้าอำ�นาจกระจายไปสู่ท้องถิ่นหมด ไม่รู้จะ ยึดตรงไหนซึ่งมันก็ต้องการการปฏิรูป แต่ว่า... มันจะปฏิรูปยากมาก ถ้าลำ�พังรัฐบาลทำ�มันจะ ไม่สำ�เร็จ มันต้องประชาชนทั้งประเทศมีความรู้ ตรงนี้ แล้วรุกเข้ามา ใช่มแี ต่คณะกรรมการไม่กคี่ น มันจะไม่สำ�เร็จ

แต่ว่าขณะนี้เนี่ย!... คนนั้น คนนี้ก็อยากจะปฏิรูป ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เดี๋ยวมันก็จะจับได้ว่าจะต้องทำ� ไงบ้าง เพราะการปฏิรูปที่ทำ�มาหลายครั้ง เนี่ย!... ล้วนทำ�โดยคนข้างบนทั้งสิ้นแล้วมันไม่ สำ�เร็จ พระเจดีย์สร้างจากยอดไม่ได้ พระเจดีย์ ต้องสร้างจากฐาน ถ้าฐานแข็งแรงแล้วจะรอง รับข้างบน

ถ้าเราสร้างพระเจดีย์จากยอดมันก็พังลงๆ เพราะมันไม่มีฐานรองรับ ที่ทำ�กันมาร้อย

ผมคิดว่าธรรมชาติของคนมันมีเมล็ดพันธุ์ แห่งความดีอยู่ในใจทุกคนแหละ มันเป็นธรรมชาติ ถ้าได้รับการรดน้ำ�พรวนดินที่เหมาะสม มันก็จะ งอก งอกออกมาได้เพราะว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ ถ้า...ไม่มีความเมตตากรุณาแล้วเนี่ย! มันจะไม่ รอดชีวิต ต่างจากสัตว์บางประเภท ใข่ทิ้งไป...

ให้ลูกมันออกมา ถึงไม่มีพ่อแม่มันเลี้ยงดูมันก็ สามารถรอดชีวิตได้ เพราะธรรมชาติมันสร้าง ไว้ว่ามนุษย์มีความเมตตากรุณาอยู่ เพราะฉะนั้นในสมองมีส่วนที่ว่า จะมีความ เห็นใจคนอื่น เห็นสีหน้า เห็นท่าทาง ได้ยินซุ่ม เสียงมันจะรับอารมณ์ความรู้สึกได้เร็วมาก เรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นมันก็เป็นอนิจจัง มันเกิดขึ้นแล้วเดี๋ยวมันก็ผ่านไป มันไม่มีใคร ขัดแย้งกันได้อย่างถาวร แม้แต่สงครามที่มัน รุนแรงกว่านี้มันก็ยังยุติลงมันไม่ใช่ว่าโลกจะเลว ร้ายอะไร เพราะมนุษย์มีศักยภาพอยู่ที่ตรงนี้...

(ท่านหัวเราะเบาๆ อย่างผู้ใหญ่ที่ผ่านร้อนผ่าน หนาว จนเข้าใจธรรมของชีวิต...)

กว่าปี คือการสร้างจากยอด ทำ�จากข้าง บน โดยคนข้างบน เพื่อคนข้างบน แต่คราว

นี้ถ้าเราจะทำ�ที่เรียกว่าปฏิรูปประเทศไทย... ต้องทำ�โดยข้างล่าง ko-magazine #4.2014


ขอบคุณและสามารถรับชมบทสัมภาษณ์ได้ที่ www.youtube.com/NewHeartNewWorld

19


INTERV with

สรรเพชญ


VIEW h

ญ นิสสภา


‘สรรเพชญ นิสสภา’ ชายหนุ่มรูปร่างสันทัดในวัย 30 เกือบกลางๆ คือผู้สร้างและใช้ชีวิตกับ Living Room ที่เป็นทั้งร้าน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ออฟฟิตและบ้านไปด้วยกัน นับรวมเวลาก็ 5 ปี

ko-magazine #4.2014


Life is living เรื่อง กิจจา ทั่งศิริ ภาพ Living Room

23


วันที่ไปสัมภาษณ์หลังจากที่ติดต่อนัดหมายกันไว้ล่วงหน้า ภาพแรกที่เห็นหลังจาก จอดรถเสร็จสรรพ เจ้าของร้านสวมเสื้อยืดสีขาว กางเกงขาสั้น เนื้อตัวเปียกปอนเล็กน้อยพร้อมกับชาย วัยรุ่นอีก 3 คน กำ�ลังช่วยกันทำ�ความสะอาดอยู่ภายในร้าน คนนึงถือสายยางฉีดน้ำ�ไล่ ลงที่พ้นจากด้ ื านใน ค่อยๆ ตล่อมสิ่งไม่พึงประสงค์ออกมาจนถึงด้านนอก อีกคนก็จัด การกวาดตามไปเรื่อยๆ ส่วน 2 คนที่เหลือก็กำ�ลังยกอุปกรณ์อะไรบางอย่าง อยู่ข้างใน ร้าน น่าจะเกิดอะไรขึ้นแล้วหล่ะ เรามาผิดวันหรือเปล่านะ (...คิดอยู่ในใจเพียงลำ�พัง) ดูท่าแล้ว ไม่น่าจะใช่แค่การทำ�ความสะอาดแบบธรรมดาแน่ๆ... ข้าวของถูกยกออกมาวางอยู่ใน ลักษณะที่คาดเดาได้ว่า น่าจะเป็นการแต่งองค์ทรงเครื่องภายในร้านใหม่ หลังจากส่งเสียงทักทายกันตามลำ�ดับ ผมจึงขอตัวนั่งรออยู่หน้าร้าน เวลาผ่านไปสักพัก สถานการณ์เริ่มดีขึ้น...น้องคนนึงเรียกผมเข้าไปนั่งภายในร้าน ผมนั่งดูหนังสือไปพลางๆ แต่ชายทั้ง 4 คนยังคงเดินไปเดินมา ยกโน่นยกนี่ ก้มๆ เงยๆ ตลอดเวลา ผมเริ่มไถ่ถามจากเจ้าของร้าน ได้ใจความว่าพวกเค้ากำ�ลังจัดร้านใหม่ เพราะ มีออฟชั่นบางอย่างมาเสริมให้กับร้านนี้ เพื่อเตรียมพร้อมบริการให้กับลูกค้าอันเป็นที่รัก ยิ่ง ผมหายสงสัยแต่ก็ยังแอบสังเกตการณ์ สลับกับชวนพวกเค้าคุยไปด้วย ผมเห็นอะไรบางอย่างในระหว่างที่นั่งรอ!! ร้านนี้ใช้ชื่อว่า Living Room ตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน ในความหมายของชื่อนี้ คือ ‘ห้องนั่งเล่น’ บ่งบอกถึงความสบายๆ เป็นกันเอง มีไว้พักผ่อน อาจรวมถึงความ สนุกสนานที่อยู่ในห้องนี้ในยามที่แขกมาเยื่อน ฟังก์ชั่นของห้องนั่งเล่นที่ผมยกมาพูดทั้ง หมด ดูไปแล้วเหมือนจะอยู่ในตัวชายผู้เป็น ‘เจ้าของร้าน’ นี้แทบทั้งหมด

ko-magazine #4.2014


และเมื่อทุกอย่างในร้านเริ่มคลี่คลาย ‘สรรเพชญ’ เดินไปเปิดตู้เย็นพร้อมหยิบเครื่องดื่มออกมา 2 กระป๋อง ยื่นให้ผม 1 กระป๋องพร้อมทั้งเลื่อนเก้าอี้นั่งลงเริ่มสนทนา

25


เริ่มมีชีวิตเป็นของตัวเองตามเส้น ทางที่ได้เรียนมา เราก็เหมือนคนอื่นทั่วไปเรียนจบสาขาบัญชี เข้าไปทำ�งานที่กรุงเทพฯ อยู่ในบริษัททัวร์ มีชีวิตเป็นพนักงานประจำ� อยู่กับสิ่งที่เราเรียน มา ตอนนั้นผมจะได้หยุดวันเสาร์ครึ่งวัน และก็วันอาทิตย์อีกหนึ่งวัน มันก็พอจะมีเวลา ว่างอยู่บ้าง แฟนก็ไม่มี ไม่รู้จะทำ�อะไรวันหยุด ก็เลยเอาเวลาไปเรียนคอร์สพิเศษ เพิ่มทักษะ และความรู้ให้ตัวเองดีกว่า... เราเป็นคนที่ชอบ และสนใจพวกเครื่องดื่ม อีกอย่างรู้สึกว่าคนที่ เป็นบาร์เทนเดอร์ หรือบาริสต้าก็เท่ดีนะ คืออยากเท่...ว่างั้นแหละเราจึงเลือกลงเรียนใน คอร์สของบาริสต้า เราชอบดื่มกาแฟอยู่แล้วด้วย จุดเริ่มน่าจะเป็นตรงนี้ที่เราได้สัมผัสกับงาน ประเภทนี้ จุดเปลี่ยนสำ�คัญที่ไม่พึงประสงค์ ใช้ชีวิตแบบนั้นมาเรื่อยๆ สนุกกับงานที่ทำ� จนมาถึงช่วงที่เปลี่ยนที่ทำ�งานแห่งใหม่ เป็น ช่วงที่เรียกได้ว่าทำ�งานหนักมาก ทำ�งาน 7 วัน

ko-magazine #4.2014


www.facebook.com/Living-room-ii-リビングルーム

27


เข้างาน 2 ที่ กลางวันนั่งทำ�ในออฟฟิต ตกเย็นจน ถึงดึกต้องเข้าไปดูร้าน คือเป็นธุระกิจประเภท ร้านอาหาร มีหลายๆ อย่างอยู่ในนั้น เราก็เข้า ไปดูแลระบบ วางระบบให้เค้า อะไรที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องเงินเราจะเป็นคนดูแล ชีวิตก็วนอยู่แบบ นั้น ค่อนข้างเหนื่อยนะ แต่เราก็ยัง ok! อยู่ คิดแค่ว่าเดี๋ยวทุกอย่างมันก็คงพาเราไปเอง ไม่ได้วางแผนอะไรที่มันไกลมาก จนมาเกิด วิกฤตเศรษฐกิจ ‘ต้มยำ�กุ้ง’ นั้นคือจุดเปลี่ยน ชีวิตเราจริงๆ พอเกิดเหตุการณ์แบบนี้ บริษัทจำ� เป็นต้องลดจำ�นวนพนักงานซึ่งเราก็เป็นหนึ่งใน นั้น จากคนที่เคยทำ�งาน 7 วันอยู่ดีๆ กลายมา เป็นคนว่างงาน เราก็คิดไม่ถึงเหมือนกัน... ว่ามันจะเกิดขึ้น เริ่มเดินในเส้นทางที่ตัวเองกำ�หนด เราตั้งคำ�ถามกับตัวเองต่อเลย หลังจากเกิด เหตุการณ์อย่างที่เล่า แล้วเราจะทำ�อะไรต่อ? จะหาสมัครงานใหม่ดีมั้ย?... ชีวิตก็คงต้องวน เวียนอยู่แบบเดิมอีก เพราะเราก็ไม่ใช่คนที่ชอบวิถี ชีวิตคนเมืองมากนัก ช่วงเวลาที่ผ่านมา เรา ก็เต็มที่กับชีวิตแบบนั้นแล้ว เหมือนกับอิ่มตัวกับ มัน ฐานเงินเดือนเราก็ไม่น้อยนะ ถือว่าเยอะ เลยแหละ...ยิ่งเป็นสมัยนั้นด้วยแล้ว คงยากที่ จะกลับไปจุดนั้น เราจึงไม่เลือกข้อนี้ เราตัดสินใจเลือกที่จะกลับบ้าน และคิดว่า จะหาอะไรทำ�เป็นของตัวเองดีกว่า มันเป็น

จังหวะเดียวกับรัฐบาลสมัยนั้นมีโครงการ ‘ต้นกล้าอาชีพ’ พอดี เราก็สนใจเลยไปสมัคร เข้าร่วมโครงการเพื่ออบบรม ใช้เวลา 2 เดือน คอร์สที่อบรมเราเลือกด้านกาแฟ เพราะเรามี พื้นฐานมาบ้างเมื่อตอนที่เรียนครั้งแรกสมัยอยู่ กรุงเทพฯ เริ่มต้นให้ได้...แล้วทุกอย่างจะพา เราไปเอง ผมเริ่มจากร้านเล็กๆ มีแค่เครื่องทำ�กาแฟ เครื่องเดียว หมื่นกว่าบาทสมัยนั้น ไม่มีโต๊ะให้ นั่ง ซื้อกลับบ้านได้อย่างเดียว ทีแรกคิดไว้ว่า กลุ่มลูกค้าน่าจะเป็นคนที่อยู่แถวนี้ เพราะแถวนี้ คึกคักพอสมควร แถมมีมหาวิทยาลัยอยู่ใกล้ๆ แล้วเราก็ใช้ที่นี่เป็นออฟฟิตด้วย เพราะยังรับ งานบัญชีทำ�ควบคู่ไปด้วย เราก็คิดแค่นี้ตอนเปิด ร้านครั้งแรก แต่พอเปิดมาระยะหนึ่ง ลูกค้าหลัก ที่มาประจำ�...กลับกลายเป็นน้องๆ เด็กๆ นักเรียนมัธยม ชอบมานั่งเล่น มาคุย เหมือน เป็นที่รวมตัวหลังเลิกเรียนประมาณนั้น ที่ร้านจะมีหนังสือเยอะ ทั้งหนังสือการ์ตูน หนังสือที่ซื้อมาจากต่างประเทศบ้าง และก็ ของเล่นซึ่งก็เป็นของสะสมของเราอยู่แล้ว พวกเด็กๆ เค้าก็เลยชอบมาร้านเรา จากที่ไม่มี โต๊ะให้นั่ง ทีนี้เราก็ต้องบริการลูกค้า เริ่มจาก 4 โต๊ะเล็กๆ สิ่งที่ตามมาอีกอย่าง ก็คือขนม เค้าอยากกินเราก็ลองทำ�ให้เค้ากิน ไม่ได้ตั้งใจจะขายจริงจังอะไร รู้สึก...ตอนนั้น

ko-magazine #4.2014


อย่างแรกที่ทำ�น่าจะเป็นขนมวาฟเฟิล เพราะมัน ง่ายที่สุดแล้ว... ส่วนประเภทที่เป็นข้าว เราก็ ไม่ได้ตั้งใจอีกเหมือนกัน เราทำ�ข้าวหมูทอดกิน เอง เด็กๆ เห็นเรากิน ก็ร้องจะกินมั่ง เราก็ต้อง ทำ�ให้เค้ากิน จนกลายเป็นเมนูประจำ�ร้าน แต่ก็มีแค่อย่างเดียวนั้นแหละ (หัวเราะ...)

อยากหาอะไรใหม่ๆ บ้าง ระยะหลังมานี้คน ทำ�ร้านกาแฟเยอะมาก เราก็อยากฉีกออกไป จากเดิม พอหลังจากน้ำ�ท่วมผ่านไป เราก็ปรับ ปรุงร้านขายมาเรื่อยๆพร้อมกับเริ่มคิดและหา ข้อมูลว่าจะเปลี่ยนเป็นแนวไหนดี จนมาลงตัว อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งมันก็เป็นความชอบ ส่วนตัวของเราอยู่แล้วก็เลยออกมาแนวนี้

เมื่อมันถึงเวลา!! มีอยู่ 2 เหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่เราต้องทำ�ร้าน ใหม่ ถือเป็นความบังเอิญทั้ง 2 ครั้งเลยนะ ด้วยความที่เราอยู่ร้านคนเดียวทำ�เองทุกอย่าง ไม่มีลูกน้องเหมือนตอนนี้ วันนั้นเราก็ยุ่งอยู่หน้า ร้าน แล้วตั้งกระทะทิ้งไว้ ลืมสนิท!... ก็เรียบร้อยเลย ไฟไหม้ครัว ไฟลุกท่วมเลย โชคดีที่เอาอยู่... (หัวเราะ...บนร่องรอยของ ความตื่นเต้น) จึงเป็นเหตุให้เราต้องทำ�ครัวใหม่ ไหนๆ ก็ทำ� แล้ว...เลยถือโอกาสปรับร้านใหม่ซะเลย เพิ่ม เมนูอาหารมากขึ้น แต่ทุกเมนูเราก็เลือกที่เรา เคยทำ�กินกันเอง เมนูไหนทำ�อร่อยคิดว่าพอจะ ทำ�ขายได้เราก็ต่อยอด ลองผิดลองถูก ปรับสูตร จนคิดว่า ok แล้วเราก็ทำ�ขาย

วิธีคิดแบบ... ผมว่าต้องเริ่มที่ความชอบก่อนนะ คุณชอบ และคุณอยากทำ�อะไร ลองถามตัวเองดู แล้ว ลองทำ�เลย ปฏิบัติเลย เพื่อคุณจะได้รู้ศักยภาพ ของตัวเองว่าทำ�มันได้ถึงระดับไหน แต่ถ้าไม่ ลองลงมือทำ�สักที มันก็เป็นได้แค่สิ่งที่เห็นอยู่ ไกลๆ ไม่เกิดขึ้นจริง และยิ่งคุณทำ�แล้วพัฒนา มันต่อไปเรื่อยๆ มันก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีกเรื่อยๆ แค่นั้นเอง...

จนการสนทนา ผมปิดเครื่องบันทึกเสียง และถอดอุปกรณ์เสริมบางอย่างที่ ‘สรรเพชญ’ ให้ผมยืมใช้ตลอดการพูด คุย...ซึ่งมันทำ�ให้การสัมภาษณ์ครั้งนี้ดู ‘ไฮโซ’ ขึ้นมาเป็นกอง... K

ส่วน Living room ในเวอร์ชั่นปัจจุบัน อย่างที่เห็นนะหรอ เหตุคือว่า! เกิดเหตุการณ์น้ำ�ท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ร้านเละหมด...ต้องทำ�ร้านกันใหม่อีกครั้ง ประกอบกับเราทำ�ร้านมาได้ระยะหนึ่งแล้ว 29


“ อย่าดีแต่แต่งตัว แต่ให้แต่งตัวดี “

Dont just dress up, but be welldressed

Ppoo Jiradt Pornpanitphan

จิรัฏฐ์ พรพนิตพันธุ์ ผู้ก่อตั้งนิตยสาร cheeze และบรรณาธิการบริหารหนังสือ looker

ko-magazine #4.2014


SEDIMENT Photo facebook/Ppoo Jiradt Pornpanitphan

31


คนถ่ายปก

เรื่อง ธรณ์ สุขเมือง

* ด้านซ้าย ถนนอรรถกวี / ด้านขวา ถนนมาตุลี

ko-magazine #4.2014


สวัสดีทุกคนครับ ผมมีงานอดิเรกอยู่หลายอย่างครับ ปั่นจักรยาน วาดรูป ถ่ายภาพ แต่สิ่งที่ผมรักและผมสนใจที่จะศึกษาอย่างจริงจังก็คือ การถ่ายภาพครับ ผมถ่ายภาพมาตั้งแต่ตอนอยู่ ม.5 แล้วครับ ตอนนี้ก็ ปาเข้าไปมหาวิทยาลัยปี 4 ผมว่าการถ่ายภาพนั้นเป็นการฝึกสมาธิเรา ครับ และเรายังได้เปิดโลกให้กับตัวเองด้วยครับ เปิดจินตนาการ การนึก คิดที่จะสร้างสรรค์ภาพในแบบที่ใจเรารักออกมาครับ และที่สำ�คัญการ ถ่ายภาพนอกจากจะใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แล้ว ยังสามารถสร้าง รายได้สร้างอาชีพให้เราตั้งแต่ยังเรียนครับ ผมเชื่อว่าทุกคนนั้นมีฝันที่ไม่ เหมือนกันแต่เราเลือกที่จะตั้งใจทำ�ให้ประสบความสำ�เร็จได้ทุกคน ผมอยากให้วัยรุ่น น้องๆ สมัยใหม่นี้ได้ใช้เวลาว่าง ทำ�ตามความฝันของ ตัวเอง ไม่ใช่แค่การถ่ายภาพ อาจจะเป็นเล่นกีฬาเล่นดนตรีครับ โดยที่ห่างไกลจากยาเสพติด หรือพฤติกรรมที่ทำ�ให้สังคมเดือดร้อน สำ�หรับตัวผม มีแนวทางแน่วแน่ตั้งใจฝันอยากจะเป็นช่างภาพที่ เก่งๆครับ และกำ�ลังเดินตามทางที่สร้างด้วยตัวเอง จึงขอเป็น กำ�ลังใจให้ทุกคน สู้เพื่อความฝันของเราครับ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโชยน์ ทั้งต่อตัวเราและผู้อื่น คติของผมในการถ่ายภาพคือ “การที่เรามองเห็น ด้วยสองตา โดยที่จะสร้างสรรค์ภาพออกมาให้ทุกคนประทับใจคือความ สุขยิ่งใหญ่ของช่างภาพ” ขอบคุณ KO-magazine ที่ช่วยสร้างแรงบันดาล ใจในการสร้างผลงานต่อๆไป ขอบคุณทุกคนครับ

ชื่อเล่น ชื่อจริง อาชีพ

แชมป์ นายธรณ์ สุขเมือง นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ปี 4 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ่สิงที่รัก การถ่ายภาพ

33


TL PHOTO by

WORAWUT TAMTHINTHAI

Uthaithani

h

A

ko-magazine #4.2014


A

I N

D 35


Issue 3 MAY 14

KK

K

MAGAZINE M It'sAIntellectual G A Masturbation ZINE


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.